อรรถรส ฉบับที่ ๑ ประจ�ำวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๘ นิตยสารสาระ เพื่อการเรียนรู้
ร่องรอย
“อดี ต ” คือมรดกที่ย้อนรอยประวัติศาสตร์ โดยสุธิดา ทองพันธ์
ร่องรอย“อดีต” ๒
คือมรดกที่ย้อนรอยประวัติศาสตร์ โบราณสถานและพิพิธภัณฑสถาน
จัดเป็นสถานที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ทั้งหมด ที่เกิดขึ้นในอดีต สิ่งที่มนุษย์ได้กระท�ำ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ ของโบราณวัตถุ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือสร้าง แนวความคิดไว้ในอดีต ทั้งหมดนี้ล้วนมีประโยชน์ทั้งต่อการศึกษา ประวัติศาสตร์ที่ท�ำให้ได้รับรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อ ถือ มีความถูกต้องเป็นความจริง หรือใกล้เคียงความเป็นจริง มากที่สุด เพราะได้มีการศึกษาอย่างเป็นระบบ อย่างมีขั้นตอน มีความระมัดระวัง รอบคอบ อย่างเช่น “วัดกัลยาณมิตร” หรือ “พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร”
“วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร” เริ่มสร้างขึ้น โดย เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตรได้อุทิศ ที่ ดิ น บริ เ วณใกล้ เ คี ย งสร้ า งขึ้ น เป็ น วั ด ถวายแด่ พ ระพุ ท ธเลิ ศ หล้านภาลัย (รัชกาลที่ 3) พระองค์ทรงพระราชทานนามว่า “วัดกัลยาณมิตร” และทรงพระราชทานสร้างพระประธาน เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางมารวิชัย พระราชทานนามว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” หรือเรียกกันว่า ”หลวงพ่อโต” เป็นที่ เคารพสักการะของชาวจีนในพื้นที่นี้เป็นโดยชาวจีนจะเรียกหลวง พ่อโตว่า “ซ�ำปอกง” นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลงานต่าง ๆ โดย เฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีน จะมีชาวจีนหลั่งไหลมากราบไหว้ เคารพสักการะขอพรเป็นจ�ำนวนมากจนแน่นขนัดวัด มีจิตรกรรม ฝาผนังเรื่อง พุทธประวัติที่แทรกเรื่องราวชีวิตชาวบ้านชาวเมือง สมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งนอกจากจะมีคุณค่าทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมี คุณค่าทางประวัติศาสตร์สังคมอย่างยิ่งอีกด้วย นอกจากนี้ภายในวัดยังมีกลองที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย มีปูนปั้นศิลปะของจีนให้ชม และแถวนี้ยังมีขนมที่ มีชื่อเสียงคือ “ขนมฝรั่งกุฏีจีน”
>หลวงพ่อโต “ซ�ำปอกง” ที่วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ สร้งเมื่อ พ.ศ.2380(รัชกาลที่ 3 โปรดฯให้จ�ำลองจากวัดพนัญเชิง อยุธยา) อายุการสร้าง ห่างจากองค์แรก 513 ปี ขนาดหน้าตักกว้าง 11.75 เมตร สูง 15.44 เมตร (ขนาดหน้าตักเล็กกว่าเกือบครึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับองค์แรก)
๓
>ภาพประวัติศาสตร์ชาติไทย สมัยมนุษย์ยุคหิน ชนเผ่า ฯล
ส�ำหรับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร นั้น แต่เดิม เป็นวังหน้าของ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ที่โปรด เกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับวังหลวง มีพระที่นั่งที่ส�ำคัญ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธศวรรย์ พระที่นั่งอิศรา วินิจฉัย ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขึ้นที่ศาลาสหทัยสมาคม เรียกว่า “มิวเซียม” แล้วจึงย้ายมาไว้ที่วัง หน้าของกรมพระราชวังบวรฯ ซึ่งบางส่วนกลายเป็นมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และบริเวณข้างเคียงมีโรงเรียนช่างศิลป์ วิทยาลัย นาฏศิลป์ และโรงละครแห่งชาติอยู่ในบริเวณเดียวกัน โดยสิ่งที่ น่าสนใจนอกจากพิพิธภัณฑ์แล้วยังมี “วัดบวรสถานสุทธาวาส” ตั้งอยู่ภายในบริเวณวังหน้า ใกล้กับโรงเรียนช่างศิลป์ วัดนี้เรียก กันว่า “วัดพระแก้ววังหน้า” พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร นับ เป็นพิพิธภัณฑสถานส�ำหรับประชาชนแห่งแรก ของประเทศไทย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2402 แต่ เดิมเป็น “พระราชวังบวรสถานมงคล” หรือ “วัง หน้า” ซึ่งประกอบด้วยพระที่นั่งและพระต�ำหนัก อันนับเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง
ความส�ำคัญของทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์มีความส�ำคัญ คือ ท�ำให้ เรื่องราว กิจกรรม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ มีความน่าเชื่อถือ มีความถูกต้องเป็นความจริง หรือใกล้ เคียงความเป็นจริงมากที่สุด เพราะได้มีการศึกษาอย่าง เป็นระบบ อย่างมีขั้นตอน มีความระมัดระวัง รอบคอบ โดยผู้ได้รับการฝึกฝนในระเบียบวิธีการทางประวัติศาสตร์ มาดีแล้ว ส�ำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่ ส�ำคัญอยู่ประการหนึ่ง เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มี อยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจ�ำได้หมด แต่หลัก ฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน ดังนั้นประวัติ ศาตร์จึงมีความส�ำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางส�ำหรับผู้ศึกษา ประวัติศาสตร์ ทั้งสามารถเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญา ของมนุษย์ สมัยอดีตได้จากโบราณสถาน โบราณวัตถุและแหล่ง โบราณคดีประเภทต่างๆ นอกจากนี้ เรายังสามารถเรียน รู้ถึงวิธีการ ดิ้นรนขวนขวายและปรับตัวของมนุษย์เพื่อ การอยู่รอด เพื่อการดํารงสังคมให้คงอยู่ จึงเป็นที่ยอมรับ กันว่าโบราณสถาน โบราณวัตถุ และแหล่งโบราณคดี นั้น ก็เปรียบได้เสมือนเป็นภาชนะท่ีบรรจุความรู้นานา
๔ ประการอยู่มากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งคนในปัจจุบัน สามารถลอก เลียนหรือประยุกต์เพื่อนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไม่สิ้น สุด ด้วยเหตุนี้ โบราณวัตถุโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีจึง ถูกจัดไว้เป็น“ทรัพยากรทางวัฒนธรรม” หรือ “ทรัพย์สินทาง วัฒนธรรม” หรือ “มรดกทางวัฒนธรรม” ของแต่ละชาติ ในกรณีของประเทศไทยนั้น ก็เห็นความสําคัญนี้และเห็นว่าจํา เป็นต้อง อนุรักษ์แหล่งโบราณคดี เช่นเดียวกับโบราณวัตถุ มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการใช่ศึกษาถึงเรื่องราวและพฤติกรรมของคนในอดีต อาจ ทราบถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในอดีตได้จากสิ่งของ เหล่านี้ นั่นหมายความว่าโบราณวัตถุสามารถเล่าเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์อันยาวไกลของผู้คนในอดีต (ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการ บันทึกเล่าเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร)ให้เราได้รู้ ตัวอย่างเช่น เศษเครื่องปันดินเผา สามารถเล่าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตได้ มาก ตั้งแต่การแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางเทคโนโลยีใน การผลิต รูปแบบภาชนะซึ่งอาจแสดงให้เห็นถึงความนิยมในกลุ่ม ชนที่แตกต่างกัน แม้กระทั่งสามารถบอกถึงการติดต่อสัมพันธ์ของ คนในท้องถิ่นต่างๆ และบอก เส้นทางการค้าหรือการคมนาคมกับ ดินแดนอื่นๆ ได้อีกด้วย โบราณสถานระดับชาติได้แก่ -โบราณสถานที่ มี คุ ณ ค่ า ในด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ แ ละ โบราณคดีศิลปะสถาปัตยกรรมวิชาการสังคมหรือชาติพันธุ์วิทยา ฯลฯซึ่งมีความสําคัญไม์เฉพาะต่อชุมชนใด ชุมชนหนึ่ง -โบราณสถานที่ มี ป ระวั ติ ค วามเป็ น มาเกี่ ย วข้ อ งกั บ สถาบัน พระมหากษัตริย์และราชสํานัก โดยมีหลักฐานบ่งชี้ อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น พระราชวังโบราณเกาะเมือง พระนครศรีอยุธยา -โบราณสถานซึ่งมีลักษณะเด่น เป็นตัวแทนขององค์ ประกอบ ทางสถาปัตยกรรม หรือ ศิลปกรรมที่มีคุณค่าทาง สุนทรียภาพเยี่ยมยอด หรือสามารถบ่งชี้ได้ถึงพัฒนาการทาง ศิลปะ สถาปัตยกรรม -โบราณสถานท่ีมีลักษณะที่หาได้ยาก และมีเหลืออยู่ น้อยแหล่งเป็นตัวแทนของรูปแบบใดๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ -โบราณสถานท่ียังมิได้มีการสํารวจ ดําเนินการขุดค้น ขุดแต่งทางโบราณคดี หรือขึ้นทะเบียนโบราณสถาน -ซากโบราณสถานซึ่งเป็นโบราณสถานร่างที่มีความเก่า แก่และไม่มีการใช้งานในลักษณะที่สืบเนื่องจากประโยชน์ใช้สอย ด้ังเดิมของโบราณสถาน
ร่องรอยอดีต ประวัติศาสตร์ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ ร่องรอยที่ไม่เคยเจือจางไปกับอดีต และขึ้นชื่อว่าอดีตก็ไม่เคยหายไป จากปัจจุบัน มันจึงมีความหมายในปัจจุบันที่เราทั้งหลายควรศึกษา เพื่อให้ร่องรอยอดีตยังชัดเจนอยู่เสมอ