10 sync singora

Page 1


SYNC SINGORA

EDITOR’S TALK

นกน�้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋ า ศูนย์การค้าแดนใต้

Ratatouille ภาพยนตร์แอนิเมชัน เล่าเรื่องของหนูที่ฝัน อยากเป็นเชฟ มีพรสวรรค์ดา้ นกลิน่ เมือ่ ครัง้ หนึง่ หนูสนใจความมัน เค็มของชีส และความเปรี้ยวสดของสตรอว์เบอร์รี การรวมกันของ สองรสชาติจึงเกิดขึ้น เป็นการค้นพบความต่างที่แสนกลมกล่อม “สงขลา” เสน่หข์ องความต่าง เมืองสองเลแห่งนีเ้ ป็นทีต่ งั้ ของชุมชน โบราณที่ ส� ำ คั ญ ในคาบสมุ ท รภาคใต้ มี บ ทบาททางการค้ า ภูมิประเทศมีชายฝั่งทะเลทอดยาวไปตามอ่าวไทย เอื้ออ�ำนวยต่อ การเดินเรือค้าขายทั้งจากซีกโลกตะวันตกและตะวันออก ท�ำให้ เมื อ งสงขลามี ลั ก ษณะพิ เ ศษที่ มี ก ารผสมผสานศิ ล ปวั ฒ นธรรม ระหว่างไทยพุทธ มุสลิม จีน และตะวันตก ผูค้ นมีเอกลักษณ์ในความ เป็นอยู่ มีวิถีชีวิตที่โดดเด่น มีเรื่องเล่า มีต�ำนาน หากความต่างเป็นเสน่ห์สงขลา เราทีมงานนิตยสาร SYNC SINGORA ขอเชื่อมความต่าง ผ่านเรื่องราวการผสมผสาน ศิ ล ปวั ฒ นธรรม ทั ศ นะศิ ล ปิ น แห่ ง เมื อ งสองเลนี้ ความงามใน ความต่าง คงให้ความรู้สึกเหมือนได้ลิ้มรสที่แสนกลมกล่อมของ สตรอว์เบอร์รีกับชีส

บรรณาธิการ นางสาวธนพรรณ เรืองสุข (อุ๋มอิ๋ม) นางสาวนิรชา ลิ้มสิ​ิริสกุล (ครีม) เด็กหญิงสุเมธา ฟาง (แป้ง) อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวพิชญาภร หนูอุไร นางสาวปริตา ศรีเต้ง SYNC SINGORA


CONTENT

XII IX

III

01

VI

History Of Singora ที่มาของการผสมผสาน ทางสังคม

09 Interviews with ธนกร บัวปลอด ต่างคนต่างความคิด ตอน : ความงามในความน่าเกลียด

03 Hatyai Rail Station ชุมทางหาดใหญ่ เส้นทางรถไฟในความทรงจำ�

10 Interviews with โรสนี นูรฟารีดา ต่างคนต่างความคิด ตอน : การมองมุมต่างอย่างเข้าใจ

05 The King’s Philosophy ตามรอยพระราชา ภูมิปัญญาเเห่งเเผ่นดิน The Monkey Cheek Project แก้มลิงของพระราชา

11 Map of Singora รู้จักกับแลนด์มาร์คและ สถานที่ท่องเที่ยวของสงขลา

07 Into Hatyai’s Life&style Livings, Food ,Faith หนึ่งวันในหาดใหญ่

12 COMIC SYNC SINGORA


01

HISTORY OF SINGORA ภาพ : YHIB

HISTORY OF SINGORA “ที่มาของการผสมผสาน ทางสังคม”

“ซิงกอรา” (Singora) เป็นชื่อเดิม ของเมืองสงขลาที่มีการกล่าวถึงในบันทึกของ พ่อค้าชาวอาหรับเปอร์เซียในระหว่างปี พ.ศ. 1993-2093 แต่ถ้าจะให้กล่าวถึงที่มาของชื่อนี้ นั้นในหนังสือประวัติศาสตร์และการเมืองแห่ง ราชอาณาจักรสยาม ของนายนิโกลาส แซร์แวส เรียกเมืองนีว้ า่ “เมืองสิงหลา”หรือ“เมืองสิงขร” แปลว่าเมืองสิงห์ ซึ่งเกิดจากจินตนาการของ พ่อค้าที่เดินเรือเข้ามาค้าขาย มองเกาะที่อยู่ บริ เวณอ่ าวเป็ น รู ป สิ ง โตหมอบอยู่บ นพื้น น�้ำ (เกาะหนู เกาะเเมว) อีกทั้งในภาษาบาลี สิงขร แปลว่า ภูเขา สอดคล้องกับท�ำเลที่ตั้งเดิมของ เมืองที่เชิงหัวเขาแดง จากนั้นเป็นต้นมาชาติ อื่นๆทั้งชาวไทย จีน อินเดีย ชวา มลายู ชาติ ตะวันตก จึงเรียกตามกันว่า เซ็งคอราบ้าง SYNC SINGORA

ซิงโกราบ้าง ตามส�ำเนียงของแต่ละชาติจน เพี้ยนมาเป็น สงขลา ในปัจจุบัน ประวัตศิ าสตร์ทเี่ ก่าแก่ของสงขลาเริม่ ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 22 ในสมัยที่ชาติ ตะวันตกออกล่าอาณานิคมมาถึงคาบสมุทรอิน โดจีน ดาโต๊ะ โมกอล ชาวมุสลิมผูป้ กครองเมือง สาเลย์ (เกาะชวา อินโดนีเซีย) ได้ล่องเรือน�ำ พลพรรคชาวแขกชวา อพยพหนี ก ารล่ า อาณานิคมขึ้นมาหาท�ำเลที่พักพิง ท่านได้สร้าง บ้านแปลงเมืองขึน้ ใหม่จนพืน้ ทีบ่ ริเวณปากทาง เข้าทะเลสาบกลายเป็นท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ ที่สามารถจอดเรือสินค้าได้ ตั้งตนเป็นเจ้าเมือง ปกครองแบบรั ฐ สุ ร ต่ า น ขึ้ น ตรงกั บ กรุ ง ศรีอยุธยาของไทย ในสมัยนั้นการเดินทาง ระหว่ า งประเทศตะวั น ตกและตะวั น ออกมี อุปสรรคทางภูมิศาสตร์ในการเดินทางทางบก ชาติต่างๆจึงนิยมใช้เส้นทางทางทะเลเป็นหลัก ด้วยระยะทางที่ไกลมากจุดพักสินค้าบริเวณ เมืองท่าจึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิง่ จากท�ำเลทีต่ งั้ ที่เหมาะสมเมืองแห่งนี้จึงมีชื่อเสียงไปทั่วโลก

เจ้าเมืองมุสลิมปกครองเมืองสิงขรอยู่ ร่วม 40 ปี ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวัน ตกจนมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก มีป้อม ปืนใหญ่ถึง 20 ป้อม ในสมัย สุลต่านสุไลมาน (บุตรของดาโต๊ะโมกอล) เมืองสิงขรแข็งเมือง ตั้งตนเป็นเอกราช จนกรุงศรีอยุธยาต้องส่งทัพ มาปราบหลายครั้งจึงจะส�ำเร็จ ชาวเมืองที่หลง เหลืออยู่หลังสงครามยุติย้ายมาตั้งรกรากใหม่ ณ อีกฟากของทะเลสาบฝัง่ แหลมสน แล้วขยาย มาสู ่ เ มื อ งใหม่ ส งขลาฝั ่ ง บ่ อ ยางในปั จ จุ บั น โดยยังคงความเป็นเมืองท่าไว้เช่นเดิม เมืองสิงขร หรือ ซิงกอรา หรือ สงขลา ไม่ว่าที่แห่งนี้จะถูกเรียกขานเช่นไร ที่นี่ก็ยังคง เป็นศูนย์รวมการค้าส�ำหรับผูค้ นหลากหลายเชือ้ ชาติเสมอมา เกิดการเเลกเปลี่ยน วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา เเละความเชือ่ ระหว่างคนท้องถิน่ กับผูม้ าเยือน เกิดเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่ผสมผสานความแตกต่างทางศิลปวัฒนธรรม อย่างลงตัว สืบทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน ที่มา : หนังสือสงขลาเมืองสองเลเสน่ห์วัฒนธรรม


02

โคกเสม็ดชุน

ศูนย์กลางความเจริญของภาคใต้

เมื่อมีการสร้างทางรถไฟใหม่ๆ ก็มักจะมีชุมชนเกิดขึ้นตามมามากมาย จนพูดได้ว่า ‘ที่ไหนมีรถไฟ ที่นั่นมีความเจริญ’ เเต่ทว่าชุมทางรถไฟดั้งเดิมของหาดใหญ่นั้น เป็นที่ลุ่มน�้ำท่วม ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น จึงค้นหาถิ่นฐานใหม่ เเละพวกเขาพบเนินเขาที่เต็มไปด้วยต้นเสม็ดชุน จึงเรียกที่เเห่งนี้ว่า ‘โคกเสม็ดชุน’ ต่อมาได้กลายเป็น ‘หาดใหญ่’นั่นเอง ดังนั้นหากคุณ จะเรียกหาดใหญ่ว่า โคกเสม็ดชุน ก็ไม่ผิด เเต่หากไปพูดกับคนที่ไม่รู้จัก ก็คงท�ำให้เขางงไปพักใหญ่ เพราะชื่อนี้ไม่ได้ถูกใช้มานานแสนนานแล้ว ถ้าเช่นนั้นชื่อหาดใหญ่มาจากไหนกัน เมื่อ 145 ปีที่เเล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กลับจากการเสด็จประพาสอินเดีย พระองค์ทรงประทับเเรม ณ หาดทรายใหญ่ บริเวณริมคลองอู่ตะเภา ซึ่งเป็นบริเวณชุมทางรถไฟดั้งเดิม คนเก่าคนเเก่เคยเล่าให้ฟังว่า หาดทรายในคลองอู ่ ต ะเภาช่ ว งหน้ า เเล้ ง นั้ น กว้ า งใหญ่ ม าก จึ ง เป็ น ที่ ม าของ ‘หาดใหญ่ ’ นั่ น เอง จนกระทั่ ง หลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ได้มกี ารดูดทรายจากหาดทรายใหญ่ไปใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ทรายในหาดนัน้ จึงลดปริมาณ ลงเรื่อยๆตามกาลเวลา จนไม่หลงเหลือหาดทราย ให้เห็นอีกเลย...

เรื่องเล่า เกาะหนู - เกาะแมว หาดสมิหลาเปรียบเสมือนห้องรับแขกของคนสงขลา เมื่อมองออกไปจากหาดจะเห็น เกาะทีม่ ลี กั ษณะคล้ายหนูและแมว ซึง่ ทัง้ 2 เกาะก็มตี ำ� นานทีถ่ กู เล่าขานกันมานานและเป็นทีน่ า่ สนใจ เรื่องมีอยู่ว่า พ่อค้าชาวจีนผู้หนึ่งคุมเรือส�ำเภาเดินทางมาค้าขายระหว่างจีนกับสงขลาเป็น ประจ�ำ วันหนึ่งพ่อค้าผู้นี้ได้ซื้อหมากับแมวลงเรือไปเมืองจีนด้วย หมากับแมวอยู่บนเรือนานๆ เกิดความเบือ่ หน่าย จึงปรึกษาหาวิธที ตี่ นจะได้กลับบ้าน พวกมันรูว้ า่ พ่อค้ามีดวงแก้ววิเศษทีท่ ำ� ให้ ไม่จมน�ำ้ อยู่ แมวจึงคิดอุบายใช้ให้หนูไปขโมยแก้ววิเศษจากพ่อค้า และหนูขอหนีขนึ้ ฝัง่ ไปด้วย ทัง้ สามว่ายน�ำ้ หนีโดยทีห่ นูอมดวงแก้วเอาไว้ในปาก ขณะนัน้ หนูคดิ ได้วา่ ถ้าถึงฝัง่ หมากับแมวคงจะ แย่งเอาดวงแก้วไปจึงคิดที่จะหนี ฝ่ายแมวซึ่งตามหลังมาจึงรีบว่ายน�้ำไปหาหนู หนูตกใจไม่ทัน ระวังดวงแก้ววิเศษทีอ่ มไว้จงึ หล่นจมหายไปในทะเล เมือ่ ไม่มดี วงแก้ว หนูและแมวต่างก็หมดแรง จมน�ำ้ ตายกลายเป็นเกาะหนูเกาะแมวอยูท่ อี่ า่ ว ส่วนหมาตะเกียกตะกายว่ายน�ำ้ จนถึงฝัง่ และสิน้ ใจ ตายด้วยความเหน็ดเหนื่อย กลายเป็นหินบริเวณเขาตังกวนอยู่ริมอ่าว ดวงแก้ววิเศษที่หล่นจาก ปากหนูแตกละเอียด กลายเป็นหาดทรายแก้วอยู่ทางด้านเหนือของแหลมสนในปัจจุบัน…

ภาพ : ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๓๘) pantip.com

ภาพ : BKKSEEK.COM

SYNC SINGORA


03

รถไฟด่วนพิเศษ

ขบวนหนึ่ง เคลือ่ นออกจากกรุงเทพ เวลา 14 นาฬิกา 45 นาที และถึงจุดหมายปลาย ทาง ณ อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เวลา 6 นาฬิกา 35 นาทีของเช้า วันรุ่งขึ้น ใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมด 16 ชั่วโมง ยามเช้าที่นี่ชุมทาง หาดใหญ่ผู้คนยังพลุกพล่านเหมือนทุกๆวันที่ผ่านมา และผู้เขียนมั่นใจว่า ไม่ว่าพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้จ�ำนวนคนก็คงไม่ลดไป เพราะชุมทางเเห่งนี้ยังคง เป็นทางเชื่อมส�ำหรับผู้คนที่เดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างดินแดนปลาย ด้ามขวานกับทีอ่ นื่ ๆทัง้ ในประเทศไทยและประเทศเพือ่ นบ้าน ไม่วา่ จะเป็น เพื่อการค้าขาย การท่องเที่ยว หรือเหตุผลใดๆก็ตาม

ถึงเเม้กาลเวลาจะล่วงเลยมาถึง 108 ปีเเล้ว การเดินทางโดย รถไฟก็ยังคงเป็นการเดินทางสัญจร ที่ได้รับความนิยมเสมอส�ำหรับชาว สงขลา เพราะ เส้นทางสายนี้เต็มไปด้วยความผูกพันเเละความทรงจ�ำที่ หล่อหลอมให้มหี าดใหญ่และสงขลาในวันนี้ แม้ในปัจจุบนั จะมีตวั เลือกใน การเดินทางมากมายทัง้ เครือ่ งบินโดยสารหลากหลายสายการบิน หรือรถ บัสโดยสารประจ�ำทาง เเต่หากคุณได้มาลองสัมผัสประสบการณ์นั่งรถไฟ ดูสักครั้ง คุณก็จะพบกับเสน่ห์อีกรูปเเบบหนึ่งของรถไฟไทยที่จะตราตรึง ในความทรงจ�ำของคุณไปอีกนาน

ชุมทางหาดใหญ่ เส้นทางรถไฟ ในความทรงจำ�

เรื่อง : นิรชา ลิ้มสิ​ิริสกุล ภาพ : ภูษณิศา นิยมเดชา

SYNC SINGORA


04 เกิดรถไฟขบวนใหม่ ขบวนด่วนพิเศษที่ 31 สมเด็จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯสยามบรมราชกุ ม ารี ไ ด้ 2559 พระราชทานชื่อว่า “ทักษิณารัถย์” เดินทางจาก หาดใหญ่-กรุงเทพ

เริ่ ม ก่ อ สร้ า ง โครงการ รถไฟฟ้าโมโนเรล หาดใหญ่

2562

2561 2552

เริ่มการฟื้นฟูสถานีรถไฟสงขลาอีกครั้ง

ครบ 100 ปี ทางรถไฟหาดใหญ่ ยกเลิกชุมทางรถไฟสงขลา โดยอนุรักษ์รางรถไฟไว้ 2521

2509

ก�ำเนิดภาพยนตร์เรื่อง ชุมทางหาดใหญ่

พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จชุมทางหาดใหญ่ ครั้งทรงพระเยาว์ ไปยังสถานี ปาดังเบซาร์ เพื่อเดินทางต่อไปยังสถานี 2476 รถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ ณ รัฐปีนัง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย 2502 เดชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรม ราชินนี าถ เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงเยีย่ มราษฎร ในจังหวัดสงขลาเป็นครั้งเเรก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ 2472 ประพาสหัวเมืองทางใต้ เเละ โปรดเกล้าให้นาย เจียซีกี เป็น’ขุนนิพัทธ์จีนนคร’

เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ เกิดชุมชนบ้านโคกเสม็ดชุน เชือ่ มจากสงขลาขึน้ ไปชุมพร เเละ โดยนายเจียซีกี วิศวกรรถไฟ จากสงขลาลงมาสู่ชายเเดนมลายู พ่อค้าชาวจีนท้องถิ่น

2452

2455

ทางรถไฟสายใต้เปิดให้ บริการอย่างเป็นทางการ

2456

ชุ ม ท า ง ร ถ ไ ฟ หาดใหญ่กลายเป็น ย้ายสถานีรถไฟ ชุ ม ทางที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ในภาคใต้ จากสถานีเก่า (อู่ตะเภา) มายังโคก 2460 เ ส ม็ ด ชุ น ต ่ อ ม า เปลี่ ย นชื่ อ เป็ น ชุ ม ทางหาดใหญ่

2459

SYNC SINGORA


05

The King’s Philosophy

ตามรอยพระราชา ภูมิปัญญาเเห่งเเผ่นดิน

เรื่อง : สุเมธา ฟาง ภาพ : ปิยะพงษ์ ทองช่วย

คนเราถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุก ประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำ�อะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือ ในหลวงรัชกาลที่ 9

เท่าไหร่ถึงเรียกว่าพอ?

เป็นค�ำถามขึ้นต้นบทความที่ชวนให้คิด ค�ำตอบนั้น ขึ้นอยู่กับเเต่ละบุคคลว่าพอใจเเค่ไหน บางคนหมกมุ่น อยู่กับงานจนไม่มีเวลาให้กับตัวเอง ในขณะที่บางคน ไม่ทำ� อะไรเลย เเต่สงิ่ ทีอ่ ยากจะให้ลองถามตัวเราเองมาก ที่สุดคือ “ปัจจุบันเราพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่หรือยัง” เเน่นอนมนุษย์ทุกคนย่อมต้องมีความทุกข์ ทุกข์ในรูป เเบบของตนเอง ทุกข์ที่เกิดจากความต้องการไม่จบสิ้น บางคนหาทางแก้โดยการฟังธรรมะ นั่งสมาธิ เเต่ก็ไม่ได้ ช่วยอะไรมาก เพราะสักพักความทุกข์ก็กลับมาเยือน อีกครั้ง เเต่สิ่งๆหนึ่งที่เราอาจมองข้ามไปคือเเท้จริงเเล้ว ความสุข อยู่ใกล้เราเพียงแค่เอื้อมมือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุ ล ยเดชพระราชทานเเนวทางการเเก้ ไขปั ญ หา เศรษฐกิจให้กับคนไทยด้วย “หลักเศรษฐกิจพอเพียง” ฟังดูเหมือนจะซับซ้อน เเต่หากท�ำความเข้าใจกับมัน พบว่าง่ายยิ่งกว่าการฟังธรรมเสียอีก ในฐานะที่ผู้เขียน เป็นเด็กนักเรียน ไม่ได้มีประสบการณ์ชีวิตมากมายพอ ที่จะสั่งสอนผู้อื่น เพียงเเต่อยากแบ่งปันความสุขที่เกิด จากการได้ปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ผู้อ่าน

SYNC SINGORA

ทุกท่านทราบ ตอนเด็กๆ พอเห็นตุ๊กตา หรือ ของเล่น สวยๆ ก็ขอให้เเม่ซอื้ ให้ตามประสาของเด็กทัว่ ไป พอเเม่ ไม่ให้เด็กคนอื่นอาจจะร้องโวยวายเเบบเด็กเอาเเต่ใจ จนกว่าจะได้ของทีต่ อ้ งการ เเต่สำ� หรับครอบครัวของฉัน ไม่มเี เบบนัน้ ต่อให้รอ้ งจนตาบวม น�ำ้ มูกไหลเต็มจมูกจน หายใจไม่ออก ก็ไม่มีประโยชน์ พอโตขึ้นมาหน่อยในวัย ประถม หากอยากได้อะไรเเม่จะบอกว่า “อยากได้กเ็ ก็บ ตังค์ซื้อเอาเองสิ” ค�ำพูดของเเม่ท�ำให้ฉันติดนิสัยกลาย เป็นเด็กขี้เหนียว ได้เงินค่าขนมวันละ 20 บาท ก็เอาเข้า ธนาคารโรงเรียนหมด ฉันท�ำเเบบนี้เรื่อยมา ในวิ ช าสั ง คมศึ ก ษา คุ ณ ครู ส อนเรื่ อ ง เศรษฐกิจพอเพียง ครั้งเเรกฉันไม่เข้าใจว่าเรียนไปท�ำไม เรี ย นเเล้ ว ได้ อ ะไร คุ ณ ครู บ อกให้ ท ่ อ ง เราก็ ท ่ อ งไป เเบบนกเเก้วนกขุนทองว่าเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 ห่วง 2 เงื่อนไขอะไรบ้าง เวลาผ่านไปได้ไม่นานก็มีเรื่องเกษตร ทฤษฎี ใ หม่ เข้ า มาอี ก ความรู ้ ใ นหั ว ตี กั น มั่ ว ไปหมด จนเข้าใจผิดว่า เศรษฐกิจพอเพียงใช้กับเกษตกรเท่านั้น วันหนึ่งคุณครูที่รับฝากเงินในธนาคารซึ่งเห็นหน้าฉัน ทุกวัน สังเกตเห็นว่าฉันไม่เคยเอาเงินไปท�ำอย่างอืน่ เลย นอกจากฝากธนาคารจึงบอกกับฉันว่า “ประหยัดเกินไป ก็ไม่ดีนะ อะไรที่คิดว่าท�ำให้เธอมีความสุขเธอก็ซื้อไป

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541

เถอะ” ประกอบกั บ ตอนนั้ น เรี ย นเรื่ อ งค� ำ สอนของ พระพุทธเจ้าสอนให้เราเดินทางสายกลาง ทั้งสองเรื่อง ท�ำให้ฉันฉุกคิด การใช้เงินของฉันจึงเปลี่ยนไป จากเด็ก ขีเ้ หนียวก็เหลือเงินมาใช้จา่ ยบ้างตามเหมาะสม บางครัง้ ก็ใช้เทคนิค “รอให้น�้ำลายไหลเสียก่อน” บางทีรอจน ไม่อยากซือ้ เลยก็มี เรือ่ งเล็กๆน้อยๆเหล่านีฉ้ นั ไม่รตู้ วั เลย ว่ามันคือเศรษฐกิจพอเพียง ความพอดี พอใจ ของแต่ละ คนไม่เท่ากัน เราควรเลือกให้เหมาะกับตนเอง เวลา ด�ำเนินไปถึงชัน้ มัธยม ตอนนีใ้ นธนาคารของฉันมีเงินเก็บ ทั้งหมด 350,000 บาท เป็นความภูมิใจเล็กๆที่ได้ปฏิบัติตามเเนว ทางของในหลวงรัชกาลที่ 9 เเละจะปฏิบัติต่อไป ที่ฉัน บอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงง่าย ก็เพราะว่ามันคือชีวิต ประจ�ำวันของเรา ไม่มีรูปเเบบตายตัวเเละมันจะเเตก ต่างกันในเเบบของเรา เเต่เป้าหมายสุดท้ายคือ การพึ่ง ตนเอง ซึง่ เป็นเเก่นเเท้ของเศรษฐกิจพอเพียงทีพ่ ระองค์ ทรงเน้นย�้ำให้ชาวไทยได้น�ำไปปฏิบัติ ไม่จ�ำเป็นว่าต้อง เป็นอาชีพเกษตรกรเท่านัน้ ใครๆก็ปฏิบตั ไิ ด้ ขอบคุณพ่อ เเม่เเละคุณครูที่สอนเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็น มากกว่าทฤษฎีในหนังสือ


06

The Monkey Cheek Project

ตามปกติเวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ใน แก้มลิง เขาเคีย ้ วแล้วเอาไปเก็บในแก้ม น�ำ้ ท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ� โครงการ แก้มลิง น�้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้ เปรอะไปทั่วภาค กลาง จะต้องทำ� “แก้มลิง” เพื่อที่จะเอาน�้ำปีนี้ไปเก็บไว้

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2538

คุณผู้อ่านเคยได้ยินค�ำว่า “แก้มลิง” ไหมคะ? แน่นอนว่าแก้มลิงทีเ่ ราก�ำลังพูดถึงในทีน่ ไี้ ม่ ได้หมายถึงแก้มของลิงจริงๆ แต่หมายถึงหนึ่งใน โครงการพระราชดํ า ริ ข องในหลวงรั ช กาลที่ 9 พระองค์ทรงคิดค้นขึน้ มาเพือ่ แก้ปญ ั หาน�ำ้ ท่วมในทุก พืน้ ทีข่ องประเทศไทยโดยให้จดั หาสถานทีก่ กั เก็บน�ำ้ ตามจุดต่างๆ เพื่อรองรับน�้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึง เวลาที่คลองพอจะระบายน�้ำได้จึงค่อยระบายน�้ำ จากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป จึงสามารถลดปัญหา

อุทกภัยลงได้ เช่นเดียวกับหาดใหญ่ อ�ำเภอหนึ่งใน สงขลาทีม่ กั จะประสบปัญหาอุทกภัยหรือน�ำ้ ท่วมอยู่ เสมอ ย้อนไปยังเหตุการณ์น�้ำท่วมในความทรงจ�ำ ของชาวหาดใหญ่ ปี 2543 เกิ ด น�้ ำ ท่ ว มใหญ่ ที่ หาดใหญ่ ระดับน�้ำภายในบ้านสูงไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ภายนอกน�้ำท่วมสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตรสูงสุด ในรอบ 70 ปี มีความเสียหายเป็นมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับรู้ถึงความ ล�ำบากของราษฎรชาวหาดใหญ่ พระองค์มพี ระราช ด�ำรัสต่อคณะบุคคลที่เข้าเฝ้า เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับน�้ำท่วมหาดใหญ่ไว้ว่า “เหตุการณ์น�้ำท่วมที่หาดใหญ่ที่ผ่านมา มีความ เสียหายทั้งชีวิตคนและทรัพย์สิน ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ ไม่ ทั น รู ้ ว ่ า น�้ ำ มาอย่ า งไร ความจริ ง เคยได้ ไ ป หาดใหญ่แล้ว และเคยชี้ว่าจะท�ำอย่างไร มีการ สร้างสิง่ มาขวางกัน้ ทางน�ำ้ ถ้าไปดูทางด้านตะวัน ตกของเมืองจะพบว่ามีถนน แต่พยายามท�ำขึน้ มา คล้ายพนังกั้นน�้ำ แต่ ไม่ได้รักษา ทางทิศเหนือมี ถนนทีก่ ำ� ลังสร้างหรือสร้างใหม่ ๆ ซึง่ เป็นเขือ่ นกัน้ น�ำ้ ไม่ให้ไหลออกจากเมืองท�ำให้นำ�้ ท่วมเมืองสูงถึง 2-3 เมตร ได้บอกมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้วไม่ ให้สร้างถนนที่เป็นเขื่อนกั้นน�้ำ”

หาดใหญ่เป็นพื้นที่ราบเเอ่งล้อมรอบ ด้วยภูเขา พระองค์ทรงมีความเห็นว่าการสร้าง อ่างเก็บน�้ำเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม พระองค์มีพระ ราชด�ำริขุดคลองระบายน�้ำขนาดใหญ่ เเบ่งน�้ำจาก คลองอู่ตะเภาไปยังทะเลสาบสงขลา และใช้พื้นที่ แก้มลิงกักเก็บน�้ำ นอกจากนี้ยังมีโครงพระราชด�ำริ อีกหลายโครงการที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นแม้ภัย ธรรมชาติจะควบคุมได้ยากแต่ปัญหาอุทกภัยของ อ�ำเภอหาดใหญ่ก็บรรเทาเบาบางลงไปเป็นอย่าง มาก นับเป็นพระมหากรุณาธิคณ ุ อย่างใหญ่หลวงต่อ ชาวอ�ำเภอหาดใหญ่ และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ใกล้เคียง

SYNC SINGORA


07

Into Hatyai’s Life&style ตลาด

สถานที่ที่เป็นชุมนุมเพื่อเเลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า เป็นสถานที่ เเสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม เเละ ภูมิปัญญาของชุมชนนั้นๆ ตลาดเเต่ละ ท้องถิ่นมักมีเอกลักษณ์เเตกต่างกันไป ชีวิตของชาวสงขลามีความผูกพันกับตลาด มาช้านาน ด้วยว่าสงขลาเป็นเมืองท่า ท�ำการค้าขายอยูเ่ ป็นประจ�ำ ดังทีก่ ล่าวไว้ในบท ก่อนหน้า การค้าการขายจึงเปรียบเสมือนสายน�ำ้ ทีห่ ล่อเลีย้ งเมืองสงขลามาโดยตลอด ถึงเเม้ปจั จุบนั จะมีทางเลือกในการซือ้ สินค้ามากมาย ไม่วา่ จะเป็น ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้าง สรรพสินค้า หรือจะสั่งซื้อทางออนไลน์ เเต่ตลาดก็ยังคงเป็นสถานที่ที่มีผู้คนจับจ่าย ซื้อของเป็นประจ�ำทุกวัน เสียงหยดน�้ำกระทบที่หน้าต่าง ปลุกเราให้ตื่นจากการหลับใหล วันนี้เป็น อีกวันที่ท้องฟ้าเป็นสีเทาครึ้มหมอง ฝนตกหนักราวกับพายุเข้าท�ำให้มีหมอกหนา ปกคลุมไปทั่วเมือง บรรยากาศน่านอนหมกตัวอยู่บนเตียงยิ่งนัก เเต่ก็ไม่ได้เป็น อุปสรรคส�ำหรับเรา ทีมของพวกเราได้เดินทางไปยังตลาดชื่อดังในอ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นัน่ ก็คอื “ตลาดกิมหยง” ตลาดสไตล์โบราณซึง่ เป็นทีน่ ยิ มส�ำหรับผูค้ น ที่ตื่นเช้ามาออกก�ำลังกายแล้วเเวะกินอาหารเช้าร้อนๆให้อิ่มท้อง หรือซื้อวัตถุดิบสด ใหม่เพือ่ น�ำกลับไปท�ำอาหารกินทีบ่ า้ น นอกจากนีต้ ลาดแห่งนีย้ งั เป็น “เเลนด์มาร์ค”

SYNC SINGORA

ส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะมาสัมผัสวิถีชีวิตของชาวหาดใหญ่ได้ตลอดทั้งวัน สองข้างถนนขนาบไปด้วยตึกเเถวเก่าๆหลากหลายสีสัน มีการสลักปี พ.ศ. ที่สร้างไว้ บนผนังอาคาร มีปา้ ยสีฉดู ฉาด เขียนด้วยภาษาจีนทีจ่ ะท�ำให้คณ ุ รูส้ กึ เหมือนเดินอยูใ่ น ย่านเยาวราช สินค้าในตลาดก็สดุ จะหลากหลาย มีตงั้ แต่ขนม นมเนย ผลผลไม้อบแห้ง ช็อกโกแลต กาแฟ ถั่วต่างๆ สินค้าน�ำเข้าจากจีน มาเลเซีย ไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับราคาหลายพันบาท พูดได้ว่าตลาดเเห่งนี้มีตั้งเเต่สากกะเบือ ยันเรือรบ ท่ามกลางความชุลมุนวุ่นวาย และเสียงตะโกนเรียกนักท่องเที่ยวของ บรรดาพ่อค้า แม่ค้าเป็นภาษาจีนบ้าง ไทยบ้าง เราก็เห็นสีแก่นขนุนเข้มของผ้าจีวร สะท้อนเเสงเด่นมาเเต่ไกล พระสงฆ์กำ� ลังยืนรับบิณฑบาตทีช่ าวตลาดตัง้ จิตกุศลท�ำบุญ ตักบาตร แสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวหาดใหญ่ เป็นกิจวัตรที่เกิดขึ้นเป็นประจ�ำทุกเช้า ณ ตลาดแห่งนี้ หลังจากที่พวกเราเสร็จจากการถ่ายรูป เเละตระเวนเเวะชิมอาหารทั่วทั้ง ตลาด ฝนก็เทอย่างโหมกระหน�่ำแบบไม่บอกกล่าวกันล่วงหน้า พวกเราจึงรีบยกโขยง เข้ามาเบียดกันในบริเวณทีไ่ ม่เปียกฝน เพือ่ ยืนรอให้ฝนซาลง พลางบ่นในใจให้ฝนหยุด ตกเร็วๆเสียที เสียงของชายวัยประมาณ 60 ปี ก็ดังขึ้นทางด้านหลัง ‘นี่พวกหนูเข้ามา นั่งรอด้านในก่อนสิ’


08 พวกเราหันไปตามต้นเสียงก็เจอกับ อาเเปะท่าทางใจดี ก�ำลังยิ้ม ให้อย่างเป็นมิตร ท่านเเต่งกายด้วยเสื้อท�ำงานสบายๆ สไตล์คน จีน ก�ำลังโบกมือเรียกพวกเราให้เข้าไปนั่งในร้านด้านหลังซึ่งเป็น ร้านน�้ำชาเล็กๆ ภายในร้านมีโต๊ะเพียงไม่กี่โต๊ะ ในร้านมีอาม่าซึ่ง น่าจะเป็นเจ้าของร้านส่งยิ้มมาให้ ในมือก�ำลังชงชาอย่างช�ำนาญ พวกเราจึงไม่รีรอที่จะสั่งชาร้อนๆมาดื่มบ้าง ร้านของอาม่าท�ำมา จากไม้ สีนำ�้ ตาลทัง้ หลัง บรรยากาศสลัวๆจากหลอดไฟดวงเล็กๆ เก่าๆ เพียงดวงเดียว ดูเเล้วอบอุ่น รู้สึกได้ถึงเรื่องราวและความ ทรงจ�ำที่ผ่านมามากมาย บนผนังก�ำเเพงเต็มไปด้วยคอลเลกชั่น ปฏิทินที่มีพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ไล่เรียง ตามพ.ศ. บรรยายความรักของอาม่าที่มีต่อพระองค์ท่านได้เป็น อย่างดี เมื่อมองไปรอบๆก็มีบางสิ่งที่สะดุดตาเป็นพิเศษ สิ่งที่ หน้าตาเหมือนศาลเจ้าจีนขนาดจิว๋ จะว่าเป็นหิง้ พระก็ไม่ใช่เพราะ ตั้งอยู่บนพื้น อาม่าบอกว่าคนจีนเรียกกันว่า ตี่ จู้ เอี๊ยะ เป็นเจ้าที่ ตามคติความเชื่อของชาวจีน หากผู้คนในบ้านดูเเลท่านเป็นอย่าง ดี ท่านก็จะปกปักษ์รักษาผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านและน�ำความผาสุข มาให้ ค�ำสามค�ำรวมกันระหว่าง ตี่ จู้ และเอีย๊ ะ ให้ความหมาย ได้ว่า ศาลเจ้าที่ธาตุดินนั่นเอง ดังนั้นต้องวางติดดิน จะได้ดูดซับ พลังอ�ำนาจจากผืนดินได้ ตามหลัก ฮวงจุ้ยของคนจีน หลังจากที่ชามาถึงโต๊ะ อาม่าได้ยกถาด “ขนมข้าวต้ม มัด” ขนมข้าวเหนียวทีส่ อดไส้ตา่ งๆ ทัง้ ไส้ถวั่ ด�ำ ไส้ไข่เค็ม ไส้กล้วย มาให้พวกเรากินพร้อมกับชาร้อนๆ เข้ากันได้อย่างลงตัว เวลาล่วง เลยไปจนถึงตอนสายๆ ฝนหยุดตกแล้ว พวกเรายังต้องไปต่อ เราบอกลาร้านน�้ำชาเล็กๆ เก่าๆ ที่ไม่ธรรมดาแห่งนี้ เเละขอบคุณ อาม่าที่แบ่งปันเรื่องราวให้กับเรา ถึงแม้ตลาดกิมหยงจะอยู่คู่ชาว หาดใหญ่มาหลายยุคหลายสมัย มีหลายอย่างทีเ่ ปลีย่ นไป เเต่สงิ่ ที่ ไม่เคยเปลี่ยนเเปลงเลย ก็คือความผูกพันของชาวหาดใหญ่ที่มีต่อ ตลาดเเห่งนี้ การมาตลาดกิมหยงครัง้ นีท้ ำ� ให้เราได้เห็น ไม่ใช่เพียง เเค่ผู้คน หรือ สถานที่ เเต่เป็นวิถีชีวิตที่ฝังลึกลงไปในหัวใจของ หาดใหญ่

เรื่อง : สุเมธา ฟาง ภาพ : ภูษณิศา นิยมเดชา

ขนมบอก ขนมกระบอกเป็นขนมพื้นบ้านของสงขลา มีที่นี่ที่เดียว ในประเทศไทย ส่วนผสมส�ำคัญประกอบด้วย แป้งข้าว เหนียว น�ำ้ ผึง้ โหนดหรือน�ำ้ ตาลปีบ๊ และมะพร้าว ทีเ่ รียก ว่า “ขนมบอก” ตามลักษณะการปรุงขนมในกระบอก ไม้ไผ่กลมๆนั่นเอง

ภาพ : พิชญาภร หนูอุไร

ไก่ทอดหาดใหญ่ ไก่ทอดหาดใหญ่ ต้นต�ำรับความอร่อย เอกลักษณ์ขึ้นชื่อ โด่งดังไปทั่วประเทศ ไก่ทอดยอดฮิตของหาดใหญ่ เมนูที่ คนหาดใหญ่กช็ อบ ยิง่ ไปกว่านัน้ คนต่างถิน่ ก็ยงั ตามหาเมนู ขึ้นชื่อเมนูนี้ “ไก่ทอดหาดใหญ่” อย่ารอช้า! ไปตามหา ร้านไก่ทอดสูตรเด็ดของหาดใหญ่กัน

ภาพ : Wongnai

“ตลาดกิมหยง” ตลาดที่มาเดินได้ตั้งแต่เช้า ยันเย็น ทุกวันตัง้ อยูใ่ จกลางเมืองหาดใหญ่ เป็นชุมชนของ ชาวไทยเชื้อสายจีน จึงเป็นไชน่าทาวน์ เล็กๆในสงขลา

“ตลาดสงขลาเเต่เเรก” ตั้งอยู่ริมก�ำแพง เมื อ งเก่ า ในอ� ำ เภอเมื อ งสงขลา เต็ ม ไปด้ ว ยสิ น ค้ า โอท็อปเเละอาหารขึ้นชื่อของชาวสงขลา บรรดาพ่อค้า เเม่ค้าจะมาตั้งโต๊ะขายกันตอนเย็นของวัน ศุกร์ เสาร์

“ตลาดน�ำ้ คลองเเห” ตลาดน�ำ้ ยามค�ำ่ คืน ตัง้ อยู่ที่ภายในวัดคลองเเห อ�ำเภอหาดใหญ่มีสีสันสวยงาม มีศูนย์รวมอาหารและสินค้าหลากหลายสไตล์ของชาว ปักษ์ใต้ และชาวไทยมุสลิม แต่เตี​ี้ยม แต่เตี้ยม อาหารเช้าเลิศรสของชาวหาดใหญ่ สงขลา จัด จานเล็กๆ พอดีค�ำ มีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ขนมจีบ ซาลาเปา ฮะเก๋า ฯลฯ นึ่งมาร้อนๆ เป็นการ เริ่มต้นความสุขยามเช้า มาหาดใหญ่ต้องมาลอง

ภาพ : HiClassSociety

SYNC SINGORA


Interviews with

09

นายธนากร บัวปลอด ความงามในความน่าเกลียด

ค�ำพูดของ นายธนากร บัวปลอด หรือ พีเ่ บนซ์ ศิลปินรุน่ ใหม่ชาวจังหวัดสงขลาทีแ่ สดงให้พวก เราได้เห็นมุมมองความคิดด้านความสวยงามทางศิลปะ ที่ต่างไป สะท้อนถึงสังคมในปัจจุบัน คนเราชอบมอง ตัดสินอะไรแค่ภายนอก ไม่ได้มองให้ถอ่ งแท้ให้ถงึ ตัวตน ของสิ่งนั้น บางทีสิ่งที่เรารังเกียจมันก็มีความงามในตัว ของมัน พวกเราทีมงานนิตยสาร Sync Singora ได้ มีโอกาสพูดคุยกับพี่เบนซ์ จิตรกรจากรั้วมหาวิทยาลัย ศิ ล ปากร ด้ ว ยเทคนิ ค การสร้ า งงานศิ ล ปะที่ เ ป็ น เอกลักษณ์ ถูกใจศิลปินรุ่นใหญ่อย่าง อ.ถวัลย์ ดัชนี ท�ำให้พี่เบนซ์สามารถคว้ารางวัลจากศิลปินดาวเด่น จิตรกรรมบัวหลวง2551 ด้วยภาพวาด “เสือชราที่ ก�ำลังต่อสู้กับฝูงเหี้ย” พี่เบนซ์ได้กล่าวไว้ว่า สัตว์ที่มี อ�ำนาจมีพละก�ำลังเป็นเจ้าป่าอย่างเสือเมื่อถึงเวลาเเก่ ชราอ่อนเปลี้ยเสียเเรง เเม้เเต่สัตว์ที่ไม่ได้อยู่ในสาย ตาเเบบตัวเหี้ยก็ยังสู้ไม่ได้ มันมีความส�ำคัญในวัฎจักร ของชี วิ ต แล้ ว สามารถสะท้ อ นพฤติ ก รรมมนุ ษ ย์ ที่ สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี การเดิ น ทางมาถึ ง บ้ า นของพี่ เ บนซ์ ณ อ�ำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ภายนอกมีลักษณะเหมือน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มีสัตว์เลี้ยงมากมายอยู่ในคอก ห้อง ท�ำงานของพีเ่ บนซ์เป็นห้องโล่งขนาดใหญ่ตกเเต่งสไตล์ Loft พื้นเต็มไปด้วยผืนผ้าใบสีขาวขนาดยักษ์หลายใบ ทีเ่ ตรียมพร้อมส�ำหรับงานต่อไป ด้านข้างมีรปู วาดของ ม้าสีด�ำ เเละเเบบสเก็ตช์สัตว์ต่างๆมากมาย เมื่อพวก เราเจอพี่เบนซ์ครั้งแรกเนื้อตัวของเขายังคงเปรอะไป ด้วยสี เเววตามุ่งมั่นในการตอบค�ำถามสะท้อนให้เห็น ตัวตนของพี่เบนซ์ที่เป็นคนจริงจัง เเต่ในขณะเดียวกัน ก็ มี อ ารมณ์ ขั น การสั ม ภาษณ์ จึ ง ด� ำ เนิ น ไปอย่ า ง สนุกสนาน ท�ำไมถึงกลับมาอยู่บ้านที่สงขลา? พีเ่ บนซ์ : ตอนแรกผมก็มคี วามสุขกับการอยูท่ นี่ ครปฐม เพราะ มันใกล้กรุงเทพฯ มีคนมาซื้องาน ดูงานเรา มากมาย ชีวิตก็ควรจะเกาะกลุ่มอยู่ตรงนั้น อยู่ใน แวดวง แต่ว่าสุดท้ายเเล้ว อยู่ที่ไหนก็ไม่เหมือนที่บ้าน

SYNC SINGORA

สัตว์ที่มีอำ�นาจมีพละกำ�ลังเป็นเจ้าป่าอย่างเสือ เมื่อถึงเวลาเเก่ชราอ่อนเปลี้ยเสียเเรง เเม้เเต่สัตว์ที่ไม่ได้อยู่ ในสายตาเเบบตัวเหี้ยก็ยังสู้ไม่ได้

สไตล์ศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์มีที่มาอย่างไร? พี่เบนซ์ : งานของผมเกี่ยวกับสัตว์ เพราะชอบสัตว์ ชอบ เลี้ยง สนใจชีวิต ลักษณะสรีระของสัตว์ ผมคิดว่ามันสวย ศิลปินหลายคนชอบเขียนรูปคนและคิดว่าสรีระของคน นั้นสวย แต่เรามองว่าคนเป็นอะไรที่เฉยๆ แต่เวลาที่เรา มองสัตว์ มันรู้สึกว่ามันมีอะไรที่สวยงาม ผมเลือกใช้สีที่ มันเป็นเชื้อน�้ำ เช่น พวกสีอะคริลิค หมึก หรือว่าสีฝุ่นที่ ท�ำเองเอามาเขียนกับไข่ไก่ที่เป็นเทคนิคโบราณ อะไรที่ท�ำให้ผู้คนสนใจภาพวาดของพี่? พี่เบนซ์ : ความเฉพาะตัวของศิลปินแต่ละคนไม่เหมือน กัน แต่สิ่งแรกเลย คือ เรื่องของการปะทะ มันอธิบายไม่ ได้วา่ คุณต้องท�ำอย่างนีแ้ ล้วให้คนจะชอบงานคุณ มันต้อง เกิดจากการสั่งสมและการท�ำงานที่ยาวนาน เขาจะรู้ ความชอบในสิ่งที่เขาท�ำ แล้วค่อยๆกลั่นกรองมันจนมัน ตกผลึก งานผมไม่ได้เน้นวิธกี ารเขียน แต่ผมเน้นเรือ่ งแนว ความคิดของงาน เรือ่ ง ความงามของสิง่ ทีน่ า่ รังเกียจ มัน เกิดการ contrast กัน ความงามของสิ่งที่ไม่งาม พอเรา ท�ำออกมาในเชิงทีเ่ ป็นรูปภาพ เป็นสัญลักษณ์ เป็นศิลปะ พอเอาสุนทรียะเข้ามาจัด เส้น สี น�้ำหนัก รูปทรง มันจะ เกิดการปะทะเมื่อคนมอง ผมคิดว่า concept ก็ส�ำคัญ นะ เพราะฉะนัน้ มันไม่ได้จำ� เป็นเฉพาะรูปแบบ มันขึน้ อยู่ กับแนวความคิดและการตกผลึกของการท�ำงาน เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละคนที่ท�ำงาน คิดอย่างไรกับการลอกเลียนแบบผลงานของคนชื่น ชอบ เพื่อมาฝึกฝนตัวเอง? พีเ่ บนซ์ : ผมว่ามันไม่ใช่การเลียนแบบหรอก เขาเรียกว่า “อิทธิพล” แต่ไม่มีใครท�ำแบบนั้นไปทั้งปีทั้งชาติหรอก ส�ำหรับคนที่เรียนศิลปะมา ไม่มีใครจะลอกงานอาจารย์ ถวัลย์ อาจารย์เฉลิมชัย หรือผลงานของคนที่ตัวเองชอบ ไปตลอดหรอก ยังไงเขาก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ผมว่า แรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่ดีนะ การที่เรารับอิทธิพลมาเป็น สิ่งที่ดี ไม่มีศิลปินคนไหนไม่ได้รับอิทธิพลมาจากใครเลย

มีเทคนิคในการสร้างแรงบันดาลใจอย่างไรบ้าง? พี่เบนซ์ : ผมชอบเขียนสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์ รอบตัวผมมี แต่สัตว์ มีคอกม้า มีแพะ มีห่าน ท�ำให้มันอยู่รอบๆตัวเรา แต่อย่าเยอะไป อะไรทีม่ นั เยอะเกิน มันก็ไม่ดหี รอก สัตว์ มันเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือมีเหตุการณ์บางอย่างเกิด ขึ้ น มั น ยิ่ ง กว่ า การได้ เ ห็ น ภาพถ่ า ย เราได้ สั ม ผั ส ประสบการณ์นั้นจริงๆ การที่เราจะมีแรงบันดาลใจ เรา ต้องพยายามอยู่กับสิ่งที่เรารัก ไม่ว่าโลกภายนอกจะ เกิดอะไรขึ้น การอยู่กับผ้าใบหรืออะไรที่เรารัก นั่นแหละความสุข ค�ำว่า “ความแตกต่าง ที่ลงตัว” ในมุมมองพี่ตีความ อย่างไร? พี่เบนซ์ : มันตีความได้หลายแบบ เราต้องเข้าใจค�ำว่า แตกต่างก่อน หมายถึงการไม่เหมือน อย่างค�ำว่า “แตก ต่างแต่ลงตัว” ถ้าให้คิดง่ายๆก็อาจน�ำเสนอเรื่องราวที่ ส�ำเร็จรูป อะไรบางอย่างทีท่ ำ� ออกมาแล้วคนชอบ แต่ทมี่ า ของมันไม่มีใครสนใจ กระบวนการได้มาของบางสิ่งอาจ แตกต่างตรงกระบวนการ แต่ผลที่ออกมาอาจจะเป็นที่ นิยมก็ได้ มันอยู่ที่กระบวนการกับการน�ำเสนอ ทุกคน อาจจะรูว้ า่ ชิน้ นัน้ มันคืออะไร แต่อาจไม่เคยรูท้ มี่ าของมัน อยากฝากอะไรให้คนทีม่ คี วามฝันแต่วา่ ไม่กล้าทีจ่ ะท�ำ? พี่เบนซ์ : เราต้องลองในสิ่งที่เชื่อ เหมือนเพลงหนึ่งที่ผม ชอบเพลง คือ เพลง สุดทางแล้ว เขาบอกว่าถ้าวันนั้น ไม่ลองดู วันนี้เราก็คงไม่รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน ต้องใช้ชีวิตอยู่ กับความเสียดายทีไ่ ม่ได้ทำ� มันจะเป็นยังไง เราต้องตัดสิน ใจดีๆทุกอย่าง เราต้องคิดดีๆ การได้ฟงั มุมมองการสร้างผลงานศิลปะของ พี่ เ บนซ์ ท� ำ ให้ พ วกเรามองสั ง คมที่ เราอยู ่ เ ปลี่ ย นไป สิ่งเดียวกันแต่ละคนอาจมองเห็นต่างกันบางคนเห็น ความน่ารังเกียจแต่บางคนเห็นความสวยงามของมัน หากเราอยูร่ วมกันอย่างเข้าใจ เราก็จะอยูร่ ว่ มกันได้อย่าง มีความสุข


10

“”

โลกออนไลน์ไม่ใช่ผู้ร้ายสำ�หรับวงการหนังสือ อาจมีคนมองว่ามันคืออุปสรรค แต่เรากลับคิดว่ามันคือ โอกาส

ภาพ : โรสนี นูรฟารีดา

ในวงการนักเขียนเอเชีย “รางวัลซีไรต์” ได้ถกู ยกให้เป็นรางวัลทรงคุณค่าทีบ่ ง่ บอกถึงความส�ำเร็จ ด้านการเขียน ทั้งยังเป็นการเปิดมุมมองของโลกการ เขียนให้กว้างขึ้น มีหนังสือดีๆมากมายที่ได้ถูกเสนอเข้า ชิงรางวัลนี้ เช่นเดียวกับหนังสือเรื่อง “ไกลกว่ารั้วบ้าน ของเรา” โดย คุณโรสนี เเกสมาน เจ้าของนามปากกา โรสนี นูรฟารีดา กวีสาวชาวมุสลิม ที่ถ่ายทอดอารมณ์ ความรูส้ กึ ของเธอทีม่ ตี อ่ เหตุการณ์ตา่ งๆทีเ่ กิดขึน้ บนโลก ใบนี้ผ่านบทกวีได้อย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้คุณโรสนีได้ท�ำ การเเชร์บทกวีโดนๆผ่านทางเฟสบุค๊ ส่วนตัวของเธอเป็น ประจ�ำทุกวัน คุณโรสนี เเกสมาน หรือที่เราเรียกว่า พี่ด๊ะ เป็นนักกวีรุ่นใหม่ อายุเพียง 30 ปี เกิดเเละโตที่อ�ำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พีด่ ะ๊ ชืน่ ชอบการเขียนมาตัง้ เเต่ เด็กๆ ตอนมัธยมได้รวมกลุม่ กับเพือ่ นๆท�ำหนังสือขายใน โรงเรียนกันอย่างสนุกสนาน 10 ปีหลังจากนัน้ กวีนพิ นธ์ เรื่อง ไกลกว่ารั้วบ้านของเรา ก็ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทาง การเล่มเเรก จากเด็กตัวเล็กๆที่รักการเขียนเป็นชีวิต จิตใจ ได้กลายมาเป็นกวีสาวชาวมุสลิมคนเเรกทีถ่ กู เสนอ เข้าชิงรางวัลซีไรต์ ปัจจุบันพี่ด๊ะก�ำลังศึกษาปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พี่คิดว่าสิ่งที่มีค่า หรือส�ำคัญมากที่สุดส�ำหรับงานเขียน ชิ้นหนึ่งนั้น คือสิ่งใดคะ พีด่ ะ๊ : สิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ในทุกกระบวนการสือ่ สารคือ เนือ้ หา หรือ Content ไม่ว่าจะน�ำเสนอออกมาในรูปแบบไหน งานเขียนก็เช่นเดียวกัน เนือ้ หาหรือสิง่ ทีค่ ณ ุ อยากบอกจะ ท�ำให้งานของคุณโดดเด่น มีคุณค่า ส่วนวิธีการน�ำเสนอก็ เหมือนกับการแต่งหน้าทาปากให้ดึงดูดใจน่ามอง พี่มีเทคนิคในการสร้างเเรงบันดาลใจอย่างไรบ้างคะ พี่ด๊ะ : ความท้อแท้ก็แปรรูปมาเป็นงานได้ บทกวีหลายๆ ชิ้นเขียนขึ้นมาในขณะที่ก�ำลังเผชิญหน้ากับความยุ่งยาก ของชีวิต ความขมในขณะนั้นมันคือความขมจริงๆ ที่เรา ไม่ต้องประดิษฐ์ คือแผลจริง เจ็บจริง น�้ำตาไหลจริง เช่น เดียวกับอารมณ์ความรู้สึกอื่นๆ รัก ชอบ โกรธ เกลียด ก็ สามารถแปรรูปเป็นบทกวีได้ทั้งหมด วิธคี น้ หาแรงบันดาลใจของแต่ละคนแตกต่าง กัน บางคนฟังเพลง บางคนอ่านหนังสือ ดูหนัง อ่านข่าว แล้วอยากจะโต้ตอบกับสิง่ ทีต่ วั เองได้รบั รูม้ า ก็ถอื เป็นแรง บันดาลใจ

เเน่นอนว่าในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีของเราทันสมัยมาก ขึ้น พี่มีความคิดเห็นอย่างไรกับ โลกของงานเขียนใน พี่ช่วยอธิบายเนื้อหาคร่าวๆเกี่ยวกับ เรื่องไกลกว่ารั้ว สมัยนี้ พี่ด๊ะ : โลกออนไลน์ไม่ใช่ผู้ร้ายส�ำหรับวงการหนังสือ บ้านของเรา ว่ามีความเกี่ยวโยงกับอะไร พี่ด๊ะ : ‘ไกลกว่ารั้วบ้านของเรา’ เป็นกวีนิพนธ์ที่คล้าย อาจมีคนมองว่ามันคืออุปสรรค แต่เรากลับคิดว่ามันคือ กับการบันทึกเหตุการณ์ผ่านมุมมองของผู้หญิงวัย 20 โอกาส บางคนอาจจะกลัวว่าโลกออนไลน์จะฆ่าหนังสือ กระดาษ แต่เราว่าไม่จริง หนังสือกระดาษจะไม่หาย ปลายๆ บทกวีในเล่มนีเ้ ขียนขึน้ ในช่วงปี พ.ศ. 25562558 ขณะใช้ชีวิตอยู่ในวงการข่าว การรับรู้ข้อมูลบาง อย่างส่งผลต่อจิตใจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเหตุการณ์ เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ การสูญเสีย ความตาย คนที่ถูกท�ำให้หายไป ค่าเสี่ยงภัย เงินเยียวยา และ วีรบุรุษ นอกจากนี้ก็ยังพูดถึงสถานการณ์อื่นๆ ในโลก ข่าวก่อการร้าย เที่ยวบิน MH370 ที่หายไป ควันไฟป่า อินโดนีเซีย และความหลากหลายของการอยู่ร่วมกัน ท่ามกลางความแตกต่าง ท�ำไมพี่ถึงตัดสินใจเลือกที่จะเขียนผลงานประเภท กวีนิพนธ์ เเทนงานเขียนอื่นๆ พี่ด๊ะ : หลังจากทดลองเขียนงานประเภทอื่นๆ ก็พบว่า กลอนเปล่า หรือบทกวีไร้ฉนั ทลักษณ์ คือสิง่ ทีต่ วั เองถนัด ที่สุด สามารถบอกเล่าได้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องฝืน ไม่ต้องคาดคั้นตัวเองให้ผลิตมันออกมา แต่จะไหลลื่น ออกมาตามอารมณ์ความรูส้ กึ ทีแ่ ท้จริง เหมือนการเขียน บันทึกหรือไดอารี่ประจ�ำวัน

ไปง่ายๆ จากสังคมนี้เพราะคนที่หลงรักการอ่านหนังสือ เป็นเล่มยังคงมีอยู่ และมีอยู่อย่างเหนียวแน่น ในขณะ เดียวกันกลุ่มนักอ่านออนไลน์ก็เพิ่มสูงขึ้น ช่องทางการ สื่อสารออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งอีบุ๊คจึงเป็นทางเลือกอีก อย่างหนึ่งในการน�ำเสนอผลงานของนักเขียน ถ้าหากพี่ได้หัวข้อว่า ความเเตกต่าง ที่ลงตัว พี่จะ ตีความมันว่าอย่างไร พี่ด๊ะ : นึกถึงเพื่อนสนิท เราเป็นเด็กมุสลิมที่เรียนใน โรงเรียนที่ 99% เป็นนักเรียนพุทธมาตัง้ แต่อนุบาล เพราะ ฉะนั้นเพื่อนสนิทในแต่ละช่วงวัยจึงเป็นเพื่อนต่างศาสนา เราเกิดในชุมชนมุสลิมย่านชานเมืองของหาดใหญ่ ต้นซอย มีมัสยิด ท้ายซอยมีวัด คนพุทธกับมุสลิมในชุมชนพึ่งพา อาศัยกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ท�ำให้เราเห็นความ เอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ เห็นน�ำ้ ใจ ไปมาหาสูก่ นั ตลอด เห็นการช่วย งานบุญและการไปงานศพ จึงรูส้ กึ ว่าเหล่านีค้ อื ความลงตัว ของการอยูร่ ว่ มกัน ท�ำให้เรารูส้ กึ ว่านีค่ อื เพือ่ น นีค่ อื สังคม แห่งความสุข แม้ว่าความเชื่อทางศาสนาจะแตกต่างกัน แต่ก็ยังถ้อยทีถ้อยอาศัย และเรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตก ต่างนี้เสมอ สุ ด ท้ า ยเเล้ ว พี่ ด ๊ ะ ได้ ฝ ากกั บ พวกเราไว้ ว ่ า หนังสือก็เหมือนกับอาหาร คนอืน่ แนะน�ำเราได้วา่ ร้านไหน อร่อย แต่สุดท้ายแล้วเราต้องไปชิมเองถึงจะรู้ว่าอร่อยที่ คนอื่นว่า ใช่อร่อยของเรารึเปล่า ชิมเยอะๆ หลายๆ แบบ ก็จะตอบได้ว่าแบบไหนที่เราชอบ ไม่ชอบ ร้านไหนที่เรา ไปบ่อย เมนูไหนทีเ่ ราโปรดปรานและอยากชวนคนอืน่ มา กินด้วย

Interviews with การมองมุมต่างอย่างเข้าใจ

นางสาวโรสนี แกสมาน เจ้าของนามปากกา “โรสนี นูรฟารีดา” SYNC SINGORA


11

SYNC SINGORA


12

... ...

เรื่อง/ภาพ : ธนพรรณ เรืองสุข

SYNC SINGORA



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.