D-TELL MAGAZINE
“ชุมชนวัดดวงแข”
LIFE STYLES
HIDDENPLACE
LIVE TO EAT
ชมชุมผสมผสานไทย-จีน
ศรัทธาแห่งวิถีพุทธและวิถีจีน
กินเพื่ออยู่และอยู่เพื่อกิน !
D-TELL
ดี-เทล ทักทาย
D-TELL คืออะไร ???
คำ�ว่า ดี-tell พ้องเสียงกับคำ�ว่า “detail” ที่แปลว่ารายละเอียด แต่สำ�หรับพวกเรา เราให้นิยามของคำ�ว่า ดี-เทล ไว้ว่าเป็นการ tell ในเรื่องดีๆ หรือบอกเล่าในเรื่องราวดี ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ของพวกเราที่ต้องการจะบอกเล่าเรื่องราวดี ๆ ของชุมชนเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งซ่อนตัวในชุมชนเมืองหลวงที่แสนวุ่นวายด้วยการจราจร และความเร่งรีบแห่งวิถีชีวิตคนเมือง ที่คงไม่มีใครคาดคิดว่าชุมชนเล็ก ๆ ชุมชนหนึ่งจะ มีรายละเอียดที่น่าสนใจได้ถึงขนาดนี้ สำ�หรับพวกเราแล้ว ชุมชนที่มีเสน่ห์ คือชุมชนที่ยังสามารถรักษาวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้ ในขณะที่สังคมรอบข้างมีการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา ยิ่งเป็นสังคมในเมืองใหญ่แล้ว ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจได้อีกเป็นเท่าตัว นี่คือสิ่งที่ทำ�ให้พวกเราเดินทางมายังชุมชนเล็กๆใจกลางเมือง หลวงแห่งนี้ “ชุมชนวัดดวงแข”
D-CONTENT LIFE STYLES
2
HIDDEN PLACE
7
LIVE TO EAT
ตลาดนัดชุมชนวัดดวงแข Teng Lung
3 5
วัดดวงแข ศาลเจ้าทีกง
8 10
ร้านเด็ดเป็ดย่างห้องแถว หมูแผ่นร้านใจ่เส็ง
D-TELL TEAM นักเรียนชั้นมัธมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน นางสาวจิดาภา วัฒนไพลิน / นางสาวสิตานัน เกตุทอง / นางสาวพัทธมน ศรีมหันต์ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ฐานภา รอดเกิด และ อาจารย์ รวีวรรณ อรรถานิธี
D-TELL
1
12 13 14
ชุมชนไทย ในวิถีจีน
Life style
2
D-TELL
The local market ตลาดนัดชุมชนวัดดวงแข
พวกเรามาถึงที่นี่ในเวลาเช้าตรู่ของวันอาทิตย์ สิ่งแรกที่เห็นคือผู้คนจำ�นวนมากกำ�ลังจับจ่าย
ใช้สอยกันอย่างคับคั่งในตลาดวัดดวงแข ตลาดสดประจำ�ชุมชน ที่เปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางของ ชุมชน มีทั้งอาหารสด อาหารแห้ง รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ที่จำ�เป็นต่างๆ ทำ�ให้ผู้คนที่นี่ไม่จำ�เป็น ต้องออกไปซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ตไกล ๆ ให้เสียเวลา พวกเราเดินลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ และด้วยความที่เป็นช่วงเช้า อากาศจึงไม่ร้อนมาก นัก ทำ�ให้พวกเราเดินสำ�รวจรอบตลาดได้อย่างสบาย ๆ โดยไม่เหน็ดเหนื่อย พวกเราพบว่าร้านค้า ต่างๆมีอายุต่างกันไปตั้งแต่ร้านที่เพิ่งเปิดมาได้ 1-2 ปี จนไปถึงร้านที่เปิดมานานกว่า 60 ปีแล้ว โดยร้านเก่าแก่ที่สุดตามคำ�บอกเล่าของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าในตลาดก็คือ ร้านขายดอกไม้ ที่เปิดอยู่ บริเวณปากทางเข้าตลาดแห่งนี้ พวกเราไม่รอช้า เข้าไปขอพูดคุยกับเจ้าของร้านในทันที
D-TELL
3
Q : เปิดขายมากี่ปีแล้วคะ? A : 65 ปี แล้วลูก Q : ขายมากี่รุ่นแล้วคะ? A : ขายมาตั้งแต่รุ่นยาย (ชี้ไปที่รูปบนหิ้ง) รุ่นนี้รุ่น ที่3แล้ว Q : ขายตรงนี้มานานรึยังคะ? A : 65 ปีแล้ว ตั้งแต่เปิดมาก็ขายอยู่ตรงนี้ตลอด ไม่เคย ย้ายไปไหนเลย (หัวเราะ) Q : ปกติขายตั้งแต่กี่โมงถึงกี่โมงคะ? A : ก็ขายทั้งวัน บางทีสองทุ่มก็ยังมีคนมาซื้อ Q : ขายดีไหมคะ? A : เมื่อก่อนขายดีมาก แต่เดี๋ยวนี้คนน้อยลง...คนย้ายกัน ไปหมด เพราะเขาทำ�ทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) Q : ทุกวันนี้ขายดีช่วงไหนคะ? A : วันโกนวันพระจะขายดี แต่ก็ยังน้อยกว่าเมื่อก่อนเยอะ Q : คิดว่าถ้าวันหนึ่งสังคมรอบข้างมีการเปลี่ยนแปลงไป ร้านยังจะอยู่ได้ไหมคะ? A : อันนี้ก็ไม่รู้นะเพราะเป็นที่วัด วัดเขาจะต่อสัญญาให้อยู่ถึง เมื่อไหร่ก็ไม่รู้
เราขอบคุณคุณป้าเจ้าของร้านดอกไม้ ที่ใจดีตอบคำ�ถามของพวก เรา ก่อนจะเดินสำ�รวจตลาดต่อ ผู้คนเริ่มเพิ่มมากขึ้น บ้างก็เดินมา ซื้อกับข้าวเพื่อใส่บาตร บ้างก็ซื้ออาหารนำ�กลับไปบ้านสำ�หรับคนใน ครอบครัว ตลาดดูคึกคักมีชีวิตชีวาด้วยเสียงพูดคุยต่อรองสอบถาม ราคาระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย พวกเราเดินสำ�รวจร้านต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังเช้าเกินไป สำ�หรับมื้อเช้าของเรา แต่ร้านขายของต่างๆก็ทำ�ให้เราอยากจะลอง ชิมไปเสียทุกร้าน
4
D-TELL
Teng Lung
คืออะไร ไว้ทำ�อะไร ใครรู้บ้าง กว่าพวกเราจะเดินชมตลาดเสร็จ แสงสีทองของแดดยามเช้าก็เริ่มจับที่ขอบฟ้าแล้ว พวกเราเดินต่อไปยังจุดหมายต่อไป ที่อยู่ไม่ไกลจากตลาดมากนัก นั่นก็คือวัดดวงแข วัดเก่าแก่ประจำ�ชุมชนแห่งนี้นั่นเอง
พวกเราเดินเข้าไปในซอยที่อยู่ถัดจากซอยตลาดเพื่อเข้าสู่ตัววัด แต่ก่อนที่พวกเราจะเข้าไป พวกเราก็สะดุดตาเข้ากับห้องแถว เล็กๆห้องหนึ่งบริเวณตรงข้ามประตูวัด บริเวณหน้าร้านเต็มไปด้วยโคมไฟแบบจีน หรือ เต็งลั้ง แขวนอยู่พวงใหญ่ ดูแล้วคง ไม่ได้มีไว้ประดับเองที่บ้าน เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ พวกเราถึงรู้ว่านี่คือร้านขายโคมไฟของป้าท่านหนึ่ง โคมไฟแบบนี้ถ้าใครเป็นลูก หลานบ้านที่มีเชื้อสายจีน จะต้องร้องอ๋อกันทุกคน แต่ที่หน้าสนใจไปกว่านั้นคือ ป้าไม่ได้รับโคมไฟสำ�เร็จรูปมาขาย แต่นั่งทำ� โคมไฟเองที่หน้าร้านเลย
D-TELL
5
Q : ขายที่นี่มานานหรือยังคะ? A : นานแล้ว ประมาณ 40 ปีกว่าปี Q : ขายมาเป็นรุ่นที่เท่าไหร่แล้วคะ? A : รุ่นที่ 2 แล้ว Q : วันนี้กำ�ลังทำ�อะไรหรอคะ ? A : อันนี้โคมไหว้เจ้า ไว้ห้อยที่ศาลเจ้าก็ได้ หน้าบ้านก็ได้ Q : การติดโคมไฟแบบนี้มีความหมายยังไงคะ ? A : ก็คือให้พรดี อย่างอันนี้เป็นโคมไหว้ทีกง-ทีม่า(ฟ้าดิน) Q : โคมไฟแบบนี้มีกี่ขนาดหรอคะ ? A : มีเกือบ 10 ขนาด เบอร์ 1 ใหญ่ที่สุด Q : วิธีทำ�มีอะไรบ้างคะ ? A : ไม้ที่ใช้ทำ�โครงจะใช้ไม้ที่ไม่มีตา เวลาลูบแล้วเนื้อไม้จะดูเรียบ จะสั่งโครงไม้มาจากต่างจังหวัด แล้วเอามาทากาวนำ�้ แล้วติดกระดาษคำ�อวยพรต่างๆลงไป Q : ปกติขายยังไงคะ ? A : ทั้งปลีกทั้งส่งเลย โคมเดียวก็ขาย คุณป้ายังบอกว่า ช่วงที่ขายดีและมีคนสั่งโคมมาก น่าจะเป็นช่วง ตรุษจีน เพราะส่วนใหญ่เมื่อใกล้ตรุษจีน คนจีนมักจะเปลี่ยนของ เก่าทิ้ง อย่างเช่น การเปลี่ยนดอกไม้สักการะเทพเจ้า การเปลี่ยน โคมที่ประดับหน้าบ้านเป็นต้น เนื่องจากจะต้องทำ�ความสะอาด บ้านให้สะอาด ของชิ้นใดเก่าแล้วก็จะหาของใหม่มาเปลี่ยน ชาวจีนเชื่อว่าบ้านที่สะอาดและมีของใหม่ จะช่วยต้อนรับสิ่งดี ๆ ใหม่ๆ เข้ามา ดังนั้นเต็งลั้งที่แขวนประดับอยู่ที่หน้าบ้านมาตลอด ทั้งปีก็จะต้องเปลี่ยนใหม่ด้วย และในการเปลี่ยนก็จะต้องเปลี่ยน เป็นคู่ คุณป้าให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับเราว่า ตามบ้านคนเชื้อสายจีนก็มักจะ ประดับประดาหน้าบ้านด้วยโคมจีนสีแดง เพื่อจะเป็นเครื่องชี้นำ� ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนจีนได้มองเห็นบ้านที่ห้อยโคม จีนก่อน และช่วยให้คนในบ้านนี้มีความสุขความเจริญและความ มั่งคั่ง ตัวหนังสือภาษาจีนที่เขียนอยู่บนโคม ส่วนใหญ่จะเป็นคำ�อวยพร หรือไม่ก็เป็นชื่อเทพเจ้าต่าง ๆ ที่คนจีนนิยมสักการะบูชา
6
D-TELL
HID DEN PLACE D-TELL
7
วัดดวงแข
พุทธศรัทธา คู่ชุมชน
นอกจากจะเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว
วัดยังเป็นสถานที่ที่ชาวพุทธมักจะนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เมื่อมี เรื่องไม่สบายใจ ทำ�ให้ไม่ว่าชุมชนจะตั้งอยู่ในสถานที่ใดวัด ก็มัก จะตั้งอยู่ในสถานที่นั้นเสมอ แม้แต่ชุมชนเล็กๆอย่างที่นี่ ก็ยังมีวัด ดวงแขไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ถึงแม้ทุกวันนี้รอบ ๆ ชุมชนจะ เจริญขึ้นไปมากขนาดที่ทางด่วนตัดผ่านอยู่หน้าวัดก็ตาม เมื่อคุยกับป้าร้านขายโคมเสร็จแล้ว พวกเราจึงเดินข้ามฝั่งถนน เล็กๆ เพื่อเข้าไปยังบริเวณวัดดวงแข ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ท่ามกลาง การคมนาคมที่สะดวก อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟหัวลำ�โพง วัดดวงแคสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2370 หรือเมื่อกว่า 190 ปีที่แล้ว ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง เดิมชื่อวัดแค เป็นวัดราษฎร์ เล็กๆ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดดวงแขในปี พ.ศ.2460 เนื่องจาก ทางคณะสงฆ์เห็นว่า ชื่อวัดแคนั้น มีความคล้ายกันอยู่หลายวัด ปัจจุบันมีพระครูเขมบัณฑิต เป็นเจ้าอาวาส เราเดินชมรอบ ๆ บริเวณวัด เห็นถาวรวัตถุมากมายที่มีลักษณะที่ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งสิ้น โดยเฉพาะพระอุโบสถหลังงามที่ ตั้งตระหง่านอยู่ตรงหน้าของพวกเราในตอนนี้ พระอุโบสถหลังนี้ถูกสร้างขึ้นตามศิลปะแบบพระราชนิยมใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โดยจะใช้ กระเบื้องเคลือบสีแบบจีนประดับตรงหน้าบันของพระอุโบสถ และไม่มีช่อฟ้า-ใบระกา เป็นศิลปะแบบจีนกวางตุ้ง ดัดแปลงบาง อย่างให้เข้ากับศิลปะของไทย เท่าที่พวกเราทราบพระอุโบสถหลัง นี้จะเปิดทุกวันในเวลา 15.00 น. แต่จากที่พวกเราบางคนเคยมา ก่อนหน้านี้แทบจะไม่มีสักครั้งเลยที่พระอุโบสถจะเปิด แต่นับว่า เป็นความโชคดีของพวกเรา ที่วันนี้มีพิธีอุปสมบท ทำ�ให้พวกเรา มีโอกาสเข้าไปกราบพระประธานและชมความงามของจิตรกรรม ของผนังภายใน
8
D-TELL
ภายในพระอุโบสถมีขนาดไม่กว้างมากนักแต่ก็กว้างพอที่จะรองรับ ญาติโยมจำ�นวนมากในพิธีงานบุญได้สบายๆ “พระพุทธสุวรรณอินทราธิบดีศรีรองเมือง” คือนามขององค์ พระประธานที่ประดิษฐานอยู่พร้อมพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและ ขวา เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทองคำ�ปางมารวิชัย หน้าตักกว้างประมาณ 63 นิ้ว ประดิษฐานชุกชีประดับกระจก มีคำ�จารึกบนฐานบัวหน้าองค์พระ เป็นข้อความว่า ภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถ
“ข้าพระพุทธเจ้าพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง นิยมผัว ท่านจุ้ยภรรยามีจิตร์ศรัทธาพร้อมใจกันจ้างหม่อมเจ้าสุบรรณปั้น หล่อรูปพระปฏิมากร จงคืนนั้นวันลงมือพลังแด่ ณ วันพฤหัสบดี เดือนเก้า ขึ้นสิบสามค่ำ�พระพุทธสาศนะกาลล่วงแล้วสองพันสี่ร้อย ยี่สิบพรรษา กับสองเดือนเลศวันยี่สิบเจ็ด ชิมแม่นักสัตว์ ปัญจศรี เป็นวันปัจจุบันนั้นเทอญ” จึงทำ�ให้พอเดาได้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2420 โดยพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ซึ่งต่อมาได้เป็นที่เคารพ ของพุทธศาสนิกชนในระแวกนั้น และเชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก ชาวบ้านมักจะมาขอพรในโอกาสต่าง ๆ กันมากมาย ฝาผนังอุโบสถทั้งสี่ด้านเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับเรื่องพุทธ ประวัติที่ทุกคนเห็นจนชินตา แต่ว่าแสงเงาและการจัดวางภาพของ ที่นี่ทำ�ให้ผลงานที่ดูธรรมดากลับงดงามขึ้นอย่างน่าประหลาด
พระพุทธสุวรรณอินทราธิบดีศรีรองเมืองในพระอุโบสถ
พวกเราเดินออกจากพระอุโบสถและตรงไปยังวิหารอดีตเจ้าอาวาส หรือวิหารพระญาณวิสุทธิเถร (รัตน์ ตุฏฐจิตุโต) ซึ่งเป็นอดีตเจ้า อาวาสวัดดวงแข พ.ศ. 2484 ถึง 20 ก.ค. 2535 เพื่อแสดงความ เคารพก่อนที่จะเดินทางออกจากวัดไปยังสถานที่ต่อไป หากท่านพอจะมีเวลาได้ผ่านมาแถวหัวลำ�โพง ลองเข้ามาสักการะ พระพุทธสุวรรณอินทราธิบดีศรีรองเมือง และ เยี่ยมชมความสงบ สวยงามภายในวัดดวงแขแห่งนี้ได้ แล้วท่านจะเห็นได้ว่า แม้ความ เจริญทางด้านวัตถุจะมากขึ้นเพียงใดแต่ก็ไม่สามารถทำ�ลายความ เชื่อและความศรัทธาที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนใน ชุมชนไปได้ ต่อให้เวลาจะผ่านไปนานสักแค่ไหนก็ตาม
D-TELL
9
วิหารอดีตเจ้าอาวาส
นอกเหนือจากวัดดวงแขแล้ว ยังมีศาลเจ้าอีกสถานที่หนึ่ง ที่เป็นที่
ศาลเจ้าทีกง
ไม่มีเทพองค์ใดที่จะ ทัดเทียมฟ้าดินได้
ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีน ที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีนโพ้นทะเลและเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองไทย โดยศาลเจ้าทีกงตรงบริเวณสีแยกวัดดวงแข มีประวัติความเป็นมาที่ น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลย ศาลเจ้าทีกงหรือศาลเจ้าฟ้าดิน เป็นศาลเจ้าที่ตั้งขึ้นตามคติความเชื่อ ของชาวจีน ที่ว่าฟ้าดินนั้นยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่มีเทพองค์ไหนที่จะทัดเทียม ฟ้าดินได้ ศาลเจ้าทีกงแห่งนี้มีที่มาจากการเดินทางมาเมืองไทยของ ชาวจีนคนหนึ่งเมื่อกว่า 80 ปีมาแล้ว โดยชาวจีนคนนั้นได้นำ�กระถาง ธูปบูชาฟ้าดินจากเมืองจีนติดตัวมาด้วย เมื่อมาถึงเมืองไทยก็ได้ตั้ง กระถางนั้นไว้อยู่หน้าบ้านของตนซึ่งก็อยู่ในบริเวณศาลเจ้าปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านไปผู้คนที่ศรัทธาก็พามากันสักการบูชามาขึ้น จนคืนหนึ่งในปี พ.ศ.2485 ชาวจีนเจ้าของกระถางธูปได้มีนิมิตถึง พระโพธิสัตว์กวนอิม ในนิมิตท่านได้มีดำ�ริให้สร้างศาลเจ้าเล็ก ๆ ขึ้น ในบริเวณนี้เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนในชุมชน ศาลเจ้าถูกสร้างขึ้น ตามนิมิตนั้นและตั้งอยู่จนถึงวันที่พื้นที่บริเวณรอบๆชุมชนถูกเวนคืน เพื่อสร้างทางพิเศษศรีรัช ด้วยความจำ�เป็นนั้นทำ�ให้ศาลเจ้าทีกง ถูกรื้อไป
10
D-TELL
จนกระทั่งในปี พ.ศ.2539 ศาลเจ้าทีกงได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ใน ตำ�แหน่งที่ขยับออกมาจากของเดิมเล็กน้อย (ตำ�แหน่งเดิมคือ บริเวณที่เป็นตอม่อทางด่วนในเขตพื้นที่ของศาล) และเพื่อ เป็นการแสดงออกถึงความสำ�นึกในพระมาหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงได้มีการ ประทับตราสัญลักษณ์ที่ระลึกงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมถึง ข้อความ“ฉลองกาญจนาภิเษก พ.ศ.2539” ที่บริเวณ หน้าศาลเจ้าอีกด้วย ศาลเจ้าแห่งนี้ได้กลับมาเป็นที่สักการะบูชา ของคนในชุมชนอีกครั้ง และยังคงเป็นอยู่จนถึงทุกวันนี้
พื้นที่ในตัวศาลนั้นเล็กมาก เล็กถึงขนาดที่ว่า คนยืนเรียงแถวหน้ากระดานต่อกัน 5 - 6 คนก็เต็มพื้นที่แล้ว ศาลเจ้าแห่งนี้ไม่มีรูปเคารพอื่นใดนอกจากกระถางธูป ที่มีชื่อเทพต่าง ๆ ของทางจีนติดไว้ จะมีก็แต่รูปปั้น ของเทพเจ้ากวนอู และพระโพธิสัตว์กวนอิมที่ประทับอยู่ทางฝั่งซ้าย-ขวาของศาลเท่านั้น จากการสอบถาม คุณน้าเจ้าของร้านขายธูปเทียนบริเวณหน้าศาลทำ�ให้พวกเราทราบว่า เดิมทีศาลเจ้านี้มีเพียงกระถางธูปเท่านั้น จนวันหนึ่งมีคนนำ�รูปเคารพของเทพเจ้าทั้งสองมาทิ้งไว้ที่นี่ และได้มีการทำ�พิธีอัญเชิญเข้าไปในภายหลัง นอกจากนี้ คุณน้ายังช่วยพวกเราแปลชื่อเทพเจ้าบนกระถางธูปต่าง ๆ ทำ�ให้เรารู้ถึงชื่อในภาษาไทยของพวกท่าน อีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นเทพเจ้าที่พวกเราคุ้นชื่อกันอย่างไฉ่ชิงเอี้ยะ (เทพเจ้าโชคลาภ) ตั่วเหล่าเอี้ยะ (เจ้าพ่อเสือ) และอาเนี้ย (พระโพธิสัตว์กวนอิม) ก่อนที่จะเดินไปยังสถานที่ต่อไป พวกเราได้สักการะขอพรต่อเทพเจ้าทั้งหลายเพื่อความเป็นสิริมงคลโดยที่พวกเรา อดคิดไม่ได้เลยว่าเมื่อวันเวลาผ่านไปศาลเจ้าเล็กๆหลังนี้ จะเป็นอย่างไรบ้าง แต่พวกเราก็มั่นใจอยู่ลึก ๆ ว่าสิ่งปลูก สร้างใด ๆ ก็ไม่สามารถที่จะทำ�ลายความศรัทธาของผู้คนได้ เหมือนกับศาลเจ้าหลังนี้ ที่จะยังคงเป็นที่เคารพ สักการะต่อไป แม้จะมีตอม่อทางด่วนขนาดใหญ่ตั้งขวางไว้อยู่ตรงหน้าประตูก็ตาม
D-TELL
11
LIVE TO EAT อาหารการกิน
12
D-TELL
ร้านเด็ด
เป็ดย่างห้องแถว
เรื่องกินกำ�ลังกลายเป็นเรื่องใหญ่ของเรา เพราะท้อง ของเราเริ่มส่งเสียงประท้วงแล้ว เราจึงมองหาร้านตามคำ�บอกเล่า ของคนแถวนั้นว่าร้านนี้เป็นร้านเด็ด
เมื่อพวกเราเดินออกจากศาลเจ้ามาตามถนนจารุเมืองไม่ ไกล นักก็พบกับร้านอาหารที่พวกเราจะฝากท้องในเช้าวันนี้ “สิทธิ์ โภชนา” ร้านเป็ดย่างในห้องแถวเล็กๆ แต่เนืองแน่นไปด้วยลูกค้า ทั้ง ขาประจำ�และขาจร ทำ�ให้พวกเราต้องรอนานอยู่พอ สมควรกว่าที่จะได้คุยกับเจ้าของร้านนี้ โดยระหว่างที่รอพวกเราได้ สั่งบะหมี่เป็ดย่างมากินแก้หิว แค่เพียงกัดเป็ดย่างชิ้นหนาเนื้อแน่น เข้าไปเพียงคำ�เดียวพวกเราก็หายสงสัยในทันทีว่าทำ�ไมร้านนี้ถึงได้มี ลูกค้ามากมายนัก พวกเราจัดการกับมื้อเช้าเสร็จพร้อมกับที่คุณอา เจ้าของร้านว่างพอดี พวกเราจึงได้มีโอกาสสอบถามถึงความเป็นมา ของร้านอาหารร้านนี้ “เฮียเท้า” หรือ เจ๊กเท้า เจ้าของร้านบอกพวกเราว่าปีนี้เป็น ปีที่ 32 แล้ว ที่ได้ขายมาโดยไม่ได้ย้ายไปไหนเลย เจ๊กเท้าเล่าว่า เดิมประกอบอาชีพเป็นพนักงานขายยาไม่ได้มีความสนใจในด้าน อาหารเลยจนถึงจุดหนึ่งที่เบื่อกับงานประจำ� ประกอบกับมีห้องแถว ว่างอยู่และคุณพ่อคุณแม่ของเจ๊กเท้าประกอบอาชีพขายเป็ดพะโล้ อยู่ในตลาด (ตลาดวัดดวงแข) เจ๊กเท้าจึงตัดสินใจนำ�สูตรเป็ดพะโล้ ของคุณพ่อคุณแม่มาปรับเข้ากับสูตรจากร้านเท็กซัสสุกี้(เยาวราช) มาใช้กับเป็ดย่างของตน และเปิดร้านที่นี่ในปี พ.ศ.2529 เจ๊กเท้าบอกว่า จุดเด่นของร้านนี้อยู่ที่เป็ดเพราะมีหนังที่กรอบ เนื้อที่นุ่ม และรสชาติที่ไม่หวานจนเกินไป นอกจากนี้ยังมีหมูกรอบ กับหมูแดงที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ทำ�ให้ร้านนี้มีลูกค้ามากมาย โดยจะมีลูกค้ามากในช่วงเที่ยงกับบ่ายในวันธรรมดา และช่วงเช้าใน วันเสาร์อาทิตย์ นอกจากนี้ก็จะเป็นช่วงเทศกาลอย่างตรุษจีน กับสารทจีน เพราะทางร้านเปิดให้สั่งเป็ดเพื่อเป็นของไหว้ เจ๊กเท้า ทิ้งท้ายว่า อีกไม่นานก็คงจะยกกิจการร้านนี้ให้ลูกชายไป ดำ�เนินการต่อ เพราะตนก็เริ่มอายุมากแล้ว โดยในปัจจุบันลูกชาย ก็เปิดร้านสาขาของร้านนี้อยู่ในศูนย์อาหารของห้างย่านชานเมือง อยู่แล้ว ซึ่งร้านสาขาเองก็มีลูกค้ามากมายไม่แพ้กัน ร้านสิทธิ์โภชนาตั้งอยู่บนถนนจารุเมืองติดกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยเปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00-14.00 น. โดยราคาของอาหารจะ เริ่มต้นที่ 45-50 บาท และเป็ดย่างราคาตัวละ 480 บาท
D-TELL
13
หมูแผ่นสุร้ดายอดภู นใจ่มิปเัญส็ญา ง
แห่งการถนอมอาหาร หากจะพูดถึงเทศกาลไหว้เจ้า ตามประเพณีของคนจีนแล้ว
สิ่งที่หลาย ๆ คนนึกถึง คงจะหนีไม่พ้นอาหารคาวหวานหลากหลายชนิด ที่แต่ละครอบครัวได้เตรียมไว้สำ�หรับประกอบ พิธีกรรม และแน่นอนว่าอาหารเหล่านั้น ก็จะมีส่วนที่เหลือที่ไม่สามารถรับประทานหมดได้ ภายในวันเดียว ชาวจีนในสมัยก่อนจึงได้คิดค้นวิธีการถนอมอาหารที่เหลือ เพื่อให้สามารถ เก็บไว้รับประทานได้นานขึ้น ซึ่งหนึ่งในวิธีเหล่านั้นก็คือการทำ�หมูแผ่นกรอบนั่นเอง หมูแผ่นกรอบเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของชาวจีนทำ�กันมาอย่างยาวนาน แต่ก็ยังสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน ในรูปแบบที่มีความหลากหลายขึ้น อีกทั้งยังกลายเป็นของ ติดไม้ติดมือไปฝากเพื่อนฝูงได้อีกด้วย โดยมีกรรมวิธีในการทำ�หลากหลายขั้นตอน เริ่มจากนำ� เนื้อหมูไม่ติดมันมาบดจนละเอียด ปรุงรสด้วยนำ�้ตาล นำ�้ปลา แต่จะไม่ใช้เกลือเพราะไม่ต้องการ ให้หมูแผ่น ที่ได้ มีรสชาติเค็มจนเกินไป จากนั้นนำ�มารีดจนเป็นแผ่นบาง ก่อนจะนำ�ไปตากแดดจน แห้ง แล้วนำ�ไปย่างด้วยเตาถ่านแทนการอบ เพราะจะทำ�ให้ได้หมูที่กรอบและอร่อยกว่า ซึ่งในปัจจุบันร้านที่ยังใช้กรรมวิธีเหล่านี้ หายากขึ้นไปทุกทีด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่มีอยู่มากมาย ทำ�ให้ร้าน ต่าง ๆ หันไปใช้เตาอบไฟฟ้า แทนการตากแดดแล้วนำ�ไปย่าง แต่ไม่ใช่สำ�หรับ “ร้านใจ่เส็ง” ร้านโชห่วยเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวัดดวงแข มานานกว่า 60 ปี ร้านนี้ยังคงทำ�หมูแผ่น ด้วยกรรมวิธีดั้งเดิม จนถึงทุกวันนี้ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาตั้งแต่อดีต ที่ควรค่า แก่การอนุรักษ์ไว้ในปัจจุบัน
14
D-TELL
การเดินทางเพื่อไปเรียนรู้วิถีชีวิตในชุมชนเล็ก ๆ แต่น่ารักและเปี่ยมเสน่ห์ของเราจบลงในช่วงบ่าย ๆ พวกเราทั้งอิ่มท้องและ ได้รับความรู้มากมาย ต้องขอขอบคุณพี่ ป้า น้า อา คุณตา คุณยาย ในชุมชนที่เมตตาให้ข้อมูลกับพวกเรา อีกทั้งขอขอบคุณ เพื่อน ๆ ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการจัดทำ�นิตยสาร D-Tell ฉบับนี้โดยเฉพาะ นายกฤตกานต์ โภคินธรณ์ ช่างภาพคนเก่ง นายนันทพงษ์ จักรเครือ และนางสาวพรธีรา จรรยาศิริ ที่ช่วยคิดบทสัมภาษณ์และเรียบเรียงบทสัมภาษณ์ คุณพ่อคุณแม่ ของเราทุกคน และอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งสองท่านที่คอยให้คำ�ปรึกษา ขอบคุณท่านผู้อำ�นวยการและอาจารย์โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ทุกท่าน และสุดท้ายนี้ขอขอบคุณทางโครงการ SCB กล้าใหม่ใฝ่รู้ ที่ได้จัดโครงการ ดี ๆ แบบนี้ขึ้น เพื่อให้เยาวชนอย่างพวกเรา ได้รู้จักและภูมิใจในชุมชนของพวกเรามากขึ้น