4 growth

Page 1


“ ประตูสู่เมืองตราด ”

Welcome Home

6 8 10 11

บรรณาธิการ ที่ปรึกษา ขอขอบคุณ ผลิตโดย

: นายกิตติพันธุ์ เวชสิทธิ์ : ภาพและเรื่อง : นายวัชรภูมิ กั้งปู่ นางสาวกาญจนา สุภาพร นายกิตติพันธุ์ เวชสิทธิ์ : นายประธาน ทวีผล : นายสมเกียรติ แซ่เต็ง : นายสุรักษ์ สุทธิพิบูลย์ คณะครูโรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด(มหาชน) : พระครูวิเชียร ธรรมากร : นายประเสริฐ พันธุ์พิริยะ : นางสำ�รอง พันธุ์พิริยะ นางสาวพงศ์นภา สุขะ : นายวันชัย เวชสิทธิ์ : นางทิพย์สุดา เวชสิทธิ์ : นายสนิท กั้งปู่ : นางอรุณศรี กั้งปู่ นายอำ�พร สุภาพร : นางอมร สุภาพร โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม ตำ�บลห้วยแร้ง อำ�เภอเมือง จังหวัดตราด FB : โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม E-Mail : khownoi.math@gmail.com : 094 448 9914


“ความสำ�เร็จ” เป็นสิ่งที่วัดผลได้เมื่อทุกอย่างดำ�เนินมาถึงปลายทาง แต่คงจะเป็นเรื่องที่เสี่ยงไม่ใช่น้อยหากเรา จะรอแต่เพียง “ผล” จากการ “กระทำ�” แค่เพียงอย่างเดียว การเจริญ-เติบ-โต ไปสู่ความสำ�เร็จ ในมุมมองของ GrowTH เชื่อว่า การถ่ายทอดบทเรียนตามวิถีการคิดแบบไทยๆ ในบริบทที่ใกล้ตัวน่าจะทำ�ให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยมีคอลัมน์ประจำ�ฉบับ คือ “ย้อนคิด” ถึงเรื่องราวในอดีตที่จะบอกเล่าความเป็นไป และ...ต่อไปในอนาคต “หาให้เห็น” หนทางที่จะพาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มั่นคง และก้าวหน้า จากเรื่องราวรอบตัว จากสิ่งที่มีอยู่อย่างสร้างสรรค์ “มองมุมกลับ เพื่อปรับมุมมอง” สร้างแรงเสริม เติมแรงก้าวด้วยการมองในมุมที่แตกต่างอย่างรู้คิดจากเรื่องที่น่าคิด และสุดท้ายคือ “เดินไปด้วยกัน” บอกเล่าเรื่องราวที่จะเติบโตและก้าวไปพร้อมๆ กับพันธมิตรทางความคิดและกัลยาณมิตรแห่งการพัฒนา นิตยสาร GrowTH ฉบับปฐมฤกษ์นี้จะพาทุกท่านเริ่มต้นค้นหาหนทางสู่ความสำ�เร็จที่ “จังหวัดตราด” จังหวัดเล็กๆ สุดปลายแผ่นดินตะวันออก ที่..ครั้งหนึ่งเคยได้ใช้เป็นฐานตั้งมั่นเพื่อการกอบกู้ชาติ สมัยพระเจ้าตาก และ..ครั้งนี้ก็เป็นหัวหอกสำ�คัญในการเปิดประตูสู่นานาชาติ การค้าอาเซียน

ทำ�ไม...จุดเล็กๆแบบไทยๆ...จึงเติบโตไปสู่ความสำ�เร็จ

ทั้งหมดนี้เพราะเราเชื่อว่าการ ทบทวนอย่างถ่องแท้ เข้าใจแบบเข้าถึง และเสริมแรงอย่างมีมุมมองที่ดี ย่อมส่งผลให้ “ความสำ�เร็จ” มีความเป็นไปได้มากกว่าแค่ “ทำ�”แล้ว “รอ” และทั้งหมดนี้ ก็คือ ปฐมบทของ Grow…Thailand “GrowTH” เติบโตอย่างไทยๆ โตไปอย่างมั่นคง บรรณาธิการ




6

“ ย้อนคิด ”

Back In Times

การหาหัวข้อนำ�มาเขียนในคอลัมน์นี้ยากพอๆ กับการที่จะทำ�ให้ลมหนาวอยู่กับจังหวัดตราดได้นานๆ ดังนั้นเมื่อลมหนาวมาสักครั้ง การใช้เหตุผลของการ หาหั ว ข้ อ งานด้ ว ยการขี่ ร ถเที่ ย วเมื อ งในตอนเย็ น ๆ จึงดูสมเหตุสมผลยิ่งสำ�หรับเด็กสายซิ่งอย่างพวกเรา หลังจากวนไปเวียนมาทัว ่ เมืองตราด ด้วยมอเตอร์ไซค์ คันเล็กๆ จึงทำ�ให้เราได้คำ�ตอบว่า วัดไผ่ล้อม ที่ตั้งอยู่ ใกล้กับศาลากลางจังหวัดตราด น่าจะเป็นทางเลือก ที่ดีที่สุด เพราะถ้าหากเราจะต้อง “ย้อนคิด” เราคงต้อง เริ่มกันที่สถานที่เก่าๆ ที่เป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ของจังหวัดตราด และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ซึ่งสถานที่ แห่งนี้ก็เข้าองค์ประกอบทั้งสิ้น เย็ น วั น นั้ น พวกเราได้ พ บกั บ ท่ า นพระครู วิเชียร ธรรมากร การสนทนาเริม ่ ต้นทีค ่ วามสงสัยของ ท่านพระครูว่าเด็กสามคนนี้ขี่มอเตอร์ไซค์เข้าวัดตอน เย็นมาทำ�อะไรกัน พวกเราจึงบอกท่านไปว่าเรามาหา ข้อมูลเพื่อนำ�ไปเขียนบทความ ซึ่งท่านดูจะสนใจและให้ ความเป็นพิเศษแก่พวกเราขึน ้ มาในทันที ท่านนำ�พวกเรา เดินชมวัด อากาศวันนัน ้ ช่างวิเศษเหลือเกิน แดดอ่อนๆ ในยามเย็น ลมหนาวแบบอุ่นๆ (อยากเก็บบรรยากาศ แบบนี้ไว้นานๆ) พวกเรานั่งคุยกันใต้ต้นไทรบริเวณข้าง โบสถ์ พร้อมสูดกลิน ่ ของดอกไม้ในต้นฤดูหนาวทีม ่ ากับ สายลมเบาๆ เรื่ อ งเล่ า และเรื่ อ งราวมากมายข้ า มเวลามา อย่างสนุกสนาน เรื่องที่เราไม่เคยรู้ถูกถ่ายทอดอย่างมี อรรถรส จนถึงบทสนทนาหนึง่ ทีพ ่ วกเราสนใจเป็นพิเศษ กับคำ�พูดที่พวกเราเคยได้ยินมาว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เคยเสด็จมาที่จังหวัดตราด และพระองค์ทรงตรัสว่า “จะไม่มาจังหวัดตราดอีกแล้ว”

“ จะมาจังหวัดตราดเพียงครั้งนี้ ครั้งเดียว และครั้งสุดท้าย ” พระราชดำ�รัสในพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ.2511)


ท่านพระครูวิเชียรได้เล่าว่า การ เสด็ จ มาของพระองค์ ใ นครั้ ง นั้ น ตรงกั บ วั น ที่ 18 ตุ ล าคม 2511 ซึ่ ง เป็ น เวลา กว่า 49 ปีมาแล้วที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ เ สด็ จ พระราชดำ � เนิ น มาเพื่ อ ทรงถวาย ผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ ณ วัด ไผ่ล้อม อำ�เภอเมือง จังหวัดตราด ท่าน พระครูเล่าว่าวันนัน ้ เป็นวันทีฝ ่ นตก ในหลวง รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จมาถึงที่ทุ่งกว้างๆ ใกล้ๆ วัดโดยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ เมื่อเสด็จ มาถึงวัดก็ทรงได้พบกับประชาชนคนตราด ที่ ร อต้ อ นรั บ พระองค์ อ ยู่ เ ป็ น จำ � นวนมาก ในหลวงท่านได้เสด็จเข้าไปในโบสถ์เพือ ่ ถวาย กฐินหลวงและทรงมีพระราชปฏิสันถารกับ เจ้าอาวาสวัดไผ่ลอ ้ มเกีย ่ วกับสารทุกข์สก ุ ดิบ ของคนตราดว่าเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งนั่นเป็น ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ในหลวงรัชการที่ 9 ได้ทรงเสด็จประพาสเมืองตราด ในครั้ง นั้นพระองค์ตรัสว่า “จะไม่มาจังหวัดตราด อีกแล้ว” ชาวตราดเราทั้งหลายฟังแล้วก็ ใจหาย ก่อนทีพ ่ ระองค์จะตรัสต่อว่า “จังหวัด ตราดไม่มีอะไรที่เราต้องกังวล ต้องให้การ ช่วยเหลือ ประชาชนไม่เดือดร้อน ล้วนกินดี อยู่ดี” หลังจากครั้งนั้นมา พระองค์ก็ไม่เคย เสด็จมาจังหวัดตราดอีกเลย หากแต่พระองค์ ทรงเลือกที่จะเสด็จไปยังถิ่นทุรกันดารอื่นๆ ตลอดระยะเวลาทรงงานของพระองค์

เรื่องเล่าดำ�เนินมาถึงจุดนี้ เราทั้ง สามล้วนแต่มองหน้ากันท่ามกลางเสียงลม ทีด ่ งั ชัดขึน ้ หลังบทสนทนาสิน ้ สุดลง คำ�ถาม ที่ อ ยากถาม ได้ ถู ก ตอบอย่ า งหมดสิ้ น ใน ตอนท้ายของเรื่องเล่านี้เอง คงเหลือแต่ สิ่งที่ต้องย้อนกลับมาคิดอีกครั้งว่าเรื่องนี้ พวกเราได้(คิด)อะไร พระองค์ท่านทรงเห็น อะไรในความเป็ น ตราด จั ง หวั ด เล็ ก ๆ ที่ ไม่ ไ ด้ เ จริ ญ ด้ ว ยวั ต ถุ ห รื อ เทคโนโลยี เ ช่ น จังหวัดหัวเมืองต่างๆ จังหวัดที่การเปลี่ยน ผ่านของเวลาไม่ได้ทำ�ให้เกิดการเปลีย ่ นแปลง ของวัฒนธรรมและสังคม จังหวัดทีม ่ ค ี นรัก บ้านรักเมือง ภูมใิ จในประวัตศ ิ าสตร์ชาติของ ตนอยู่ร่วมทุกศาสนาอย่างกลมเกลียวและ เทิดทูนสถาบันสูงสุดด้วยความจงรักภักดี จังหวัดที่มีแค่ต้นทุนน้อยนิดแต่รู้จักใช้และ ทำ�กินบนต้นทุนที่มีอย่างคุ้มค่า การเติบโต ที่ไม่ได้ใช้ความรวดเร็วแต่แค่ต้องเติมเต็ม และก้าวอย่างช้าๆและมั่นคง เหล่านี้หรือไม่ ที่พระองค์ทรงมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล ทอด พระเนตรผ่านเวลา 49 ปีมาถึงปัจจุบัน สำ�หรับพวกเราทัง้ สามกับเวลาของเย็นวันหนึง่ ในการขีม ่ อเตอร์ไซค์ทา้ ลม(ไม่)หนาว และเรื่องเล่าเรื่องราวเหล่านี้ การได้รู้สึกและเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว ได้สร้างความรู้สึก ปลาบปลื้ม ตื้นตันที่มีความเศร้าและความอาลัยปนอยู่อย่างบอกไม่ถูก... หนึ่งวันที่ได้ย้อน คิด ทำ�ให้เรามัน ่ คงขึน ้ ไม่โอนเอนและพร้อมตัง้ รับวันพรุง่ นีท ้ จ ี่ ะมาถึง เมือ ่ หนึง่ วันนีส ้ น ิ้ สุดและ คิดได้ วันใหม่พรุ่งนี้จะต้องดีกว่า สำ�หรับคนที่เตรียมพร้อมอยู่เสมอ พวกเราเชื่อเช่นนั้น.... สิน ้ สุดการสนทนานีเ้ ราจึงใช้เวลาทีเ่ หลือกับฤดูหนาว(ทีแ่ สนจะสัน ้ มาก) กับการขีม ่ อเตอร์ไซค์ ชมเมืองกันต่อไป


8

“ มองมุมกลับ เพื่อปรับมุมมอง ”

From Another Point of View

“รำ�พา ประเพณีที่ร้องขอ เพื่อการให้ต่อท่ีมากกว่า” นายวัชรภูมิ กั้งปู่

พี่ตูน บอดี้สแลม กับการวิ่งเพื่อหาเงินสมทบทุนให้กับโรงพยาบาลต่างๆ วันนี้ได้กลายเป็นกระแสสังคมที่ได้รับความชื่นชม เป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของเป้าหมาย ความคิดและการนำ�เสนอ ที่ทำ�ให้หลายต่อหลายคนอยากที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมตามสโลแกนของ กิจกรรมที่ว่า ก้าวคนละก้าว จนกลายมาเป็นก้าวของคนหลายๆก้าวอย่างที่เราได้เห็นตามข่าวสารต่างๆ เรื่องราวเหล่านี้ทำ�ให้ผมนึกถึง กิจกรรมหนึ่งที่ได้เคยมีส่วนร่วมเมื่อปีก่อน คืนวันนั้นผมจำ�ได้ดีว่ารองเท้าและเสื้อผ้าคือสิ่งสำ�คัญที่สุดของกิจกรรมนี้ พวกเราออกมารวมตัวกันที่จุดนัดพบของหมู่บ้าน กลุ่มของเรามีผู้ใหญ่วัยคุณตาคุณยายเสียเป็นส่วนใหญ่ มีเด็กๆอย่างพวกผมอยู่ไม่กี่คน เพราะส่วนมากเวลานี้คือเวลาที่เราจะต้อง นอนจ้องหน้าจอมือถืออยู่บนเตียงนอน เมื่อถึงเวลาที่นัดหมายหัวหน้าทีมก็พาพวกเราออกเดินเท้าไปยังบ้านแรกซึ่งอยู่ไม่ไกลมากนัก ในเวลาค่ำ�คืนเช่นนี้ แสงจากตะเกียงกลมๆ เป็นเหมือนจุดรวมสายตาเพียงแห่งเดียวของคณะพวกเรา แม้จะมืดสักเพียงใดก็มิได้มีผลต่อ เสียงสนทนาอย่างออกอรรถรสของบรรดาท่านผู้อาวุโสเหล่านี้เลย เสียงหัวเราะพูดคุยดังอื้ออึงตลอดการเดินทาง เมื่อถึงยังเป้าหมาย แรกการร้องเพลงรำ�พาจึงเริ่มต้นขึ้น บทบรรยายและการร้องด้นคล้ายกับเพลงฉ่อยที่มีลูกคู่ร้องรับ เอฉ่าฉะ ไปเรื่อยๆ จนจบบทร้อง ผมฟังได้ความว่า พวกเรามาขอทานพวกท่าน โปรดสงเคราะห์หน่อยเถอะนะ และเราก็จะได้รับสิ่งของบริจาคเยอะแยะมากมายจากบ้าน หนึ่งสู่อีกบ้านหนึ่ง เราเดินกันต่อไปจนหมดเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ การขอทานหรือการรำ� พานี้ มีขึ้นเพราะในสมัยก่อนการเดินทางไม่สะดวก อาศัยเดินทางเท้า ชาวบ้านที่จะนำ� ข้าวของไปทำ� บุญ ก็ไปลำ�บาก การฝากบุญจึงน่าจะดีกว่า ส่วนสาเหตุที่ต้องไปตอนกลางคืนก่อนวันสงกรานต์ก็เพราะว่าในช่วงกลางวันชาวบ้านส่วนใหญ่ ไม่อยู่บ้าน ต้องออกไปทำ�นา ทำ�สวน กว่าจะกลับเข้าบ้านก็ค่ำ�มืด ส่วนสิ่งของที่มักจะได้รับบริจาคนั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นข้าวสารอาหารแห้ง ซึ่งจะถูกนำ�ไปใช้ทำ�เป็นอาหารสำ�หรับการทำ�บุญเลี้ยงพระ เลี้ยงชาวบ้านตั้งโรงทานที่มาร่วมงานทำ�บุญฉลองกองทรายในวันสงกรานต์ นั่นเอง


เมื่อมองในมุมหนึ่ง ผมเห็นการร้องขอ ในสิ่งที่จริงๆแล้วก็ ไม่น่าจะต้องร้องขอ อย่างเช่นของทำ�บุญที่หลายบ้านเหมือนจะเตรียม ไว้แล้วมากมาย ทำ�ไมเราต้องมาร้องขอ หรือว่าจริงๆแล้วถ้าเราไม่ขอ เขาก็จะไม่ให้ ไม่ไปทำ�บุญหรืออย่างไร ทำ�ไมเราต้องมาขอ เพราะจริงๆ แล้วเราไปทำ�บุญเองที่วัดเราก็ได้บุญแล้ว ไม่เห็นต้องมาขอจากคนอื่น เพื่อเอาไปมอบต่อ แต่เมื่อมองจากมุมของคณะรำ�พาที่ผมร่วมเดินมา ด้วยกันตลอดคืน ผมเห็นความสุขของคนที่ได้ให้ และรอที่จะให้ ผม เห็นความสุขของคนที่ได้นำ�ไปให้ต่อและรอรับอยู่ ผมเห็นการทำ�หน้าที่ ของทุกๆคนที่เติมเต็มกัน ใครร้องได้ก็ร้อง ใครร้องไม่ได้ก็เป็นลูกคู่รับ ใครอยากเดินก็เดิน ใครอยากรำ�ก็รำ� แต่สุดท้ายคือเราไปด้วยกัน เราสุข สนุก และหัวเราะด้วยกัน เหล่านี้กระมังครับที่ผมอยากเรียกกิจกรรมนี้ ว่า รำ�พา ประเพณีที่ร้องขอ เพื่อการให้ต่อที่มากกว่า

อี ก มุ ม หนึ่ ง ของกิ จ กรรมการรำ � พาที่ ผ มได้ ม องเห็ น ก็ คื อ การพบปะเยีย ่ มเยียนญาติผใู้ หญ่ การได้เห็นคุณค่าและความสำ�คัญของ บุคคลที่หลายคนอาจหลงลืมและละเลย การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยน เรียนรู้ด้วยความเอ็นดู ผมว่ามันคือบรรยากาศของการเป็นครอบครัว อย่างแท้จริง ผมได้เรียนรู้ว่าในการมองมุมหนึ่งให้เห็นในมุมที่ต่างอย่าง เข้าใจ มันสำ� คัญกับการเติบโตของความคิดผมเช่นไร แค่เรามองมุมกลับ และปรับมุมมอง เราก็จะเห็นโลกเดิมในทางใหม่ๆ ได้ เมื่อวันนี้ผมได้ลอง เข้ามาก้าวตามในทางที่ผมเห็น ในสิ่งที่ผมเข้าใจ ปลายทางจะเป็นอย่างไร คนก้าวเท่านั้นที่รู้ได้

สงกรานต์ผ่านมาถึงธันวาแล้ว แม้ว่าอีกหลาย เดื อ นกว่ า ที่ ก ารรำ � พาจะกลั บ มาให้ ผ มได้ ส นุ ก และ ได้บญ ุ อีกครัง้ วันนีผ ้ มก็ขอก้าวคนละก้าวกับพีต ่ น ู ก่อน ก็แล้วกัน เพราะนี่ก็คือ “การรำ�พาในแบบฉบับของพี่ตูน บอดี้สแลม”


10

“ หาให้เห็น ”

Let’s See

ถึงไก่กระวานที่รัก หมูชะมวงตอบจดหมายช้าไปนิดเพราะช่วงนี้ Event เยอะ ติดเดินสายไปหลายประเทศ ช่วงนี้เขาทำ� หมูชะมวงกระป๋อง ปรับรสชาติ upgrade ให้เป็นไทยในแบบ Europe Style อยู่ล่ะ นี่ถ้าตีตลาดจีนได้นะ รับรอง เลยล่ะว่าคงจะมีรายได้กน ั อีกเยอะทีเดียว อุย ๊ ขอโทษนะท่ม ี ว ั แต่คย ุ เรือ ่ งของตัวเองเยอะไปหน่อย ก็จะขอตอบเรือ ่ ง ที่ไก่กระวานถามละกันว่าทำ�ไมถึงจะ Go Inter ได้อย่างเราน่ะ เคล็ดลับน่ะมีนิดเดียวเอง อันดับแรกนะ ต้องสร้าง จุดขายความเป็น Local Brand ให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Ingredient ซึ่งหมูชะมวงว่านะ ไก่กระวานก็มีส่วน นี้เป็นจุดแข็งอยู่แล้วล่ะ เพราะกระวานก็เป็น Herb ที่มีความเป็นท้องถิ่น อันดับต่อไปนะ ตัวเองต้องชูจุดขายใน ด้านรสชาติที่เป็น Original ส่วนการตลาดในช่วงแรกๆ ให้ตั้งเป้าไปที่คนในประเทศเสียก่อน ทำ�อย่างไรให้เราเป็น หนึ่งใน Menu ยอดนิยม ที่ใครๆก็ต้องสั่ง เมื่อมานั่งที่ตราด ตรงนี้สำ�คัญนะ ต้องช่วยกันเป็น Team เพราะ การ Promote แบบร่วมด้วยช่วยกันสำ�คัญที่สุดจริงๆ กว่าหมูชะมวงจะมาถึงจุดนี้ มีคนช่วยเราเยอะ ทุกวันนี้ Technology ทันสมัยมากเลย ลองใช้วิธีนี้ดูสิ นำ�เสนอแบบนี้เพื่อ Present ดูก็ได้นะ .... จำ�ไว้นะว่า การปรับ กลยุทธ์ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป็นสิ่งที่สำ�คัญที่สุด รักนะจุ๊บๆ จากหมูชะมวงสุดจ๊าบ ปล. อย่าลืมดูคลิปนี้เป็นตัวอย่างนะจ๊ะ


11

“ เดินไปด้วยกัน ”

Together We Go

หลังจากข้ามสะพานแม่น้ำ�ตราดที่เป็นเขตพรมแบ่งกั้นจังหวัดจันทบุรีและตราด เราจะได้เห็นประติมากรรม ทรงประหลาดรอต้อนรับแขกเมืองทุกท่าน บ้างก็ว่าเป็นรูปร่ม บ้างก็ว่าเป็นดอกเห็ด และไม่น้อยที่จะมอง ว่านี่เป็นจานบิน ซึ่งถ้าจะกล่าวตามความประสงค์ของผู้สร้างแล้ว สิ่งก่อสร้างที่เป็นเหมือนประตูเมือง นี้คือ “งอบ” ที่เป็นเสมือนตัวแทนหนึ่งของจังหวัดตราดนั่นเอง แม้ว่างอบจะไม่ได้เป็นหนึ่งในคำ�ขวัญ ประจำ�จังหวัด แต่ก็เป็นสินค้า OTOP ห้าดาวที่ต้องห้ามพลาดเมื่อมาเยือนเมืองตราด จากเครื่องมือที่เคยทำ�เองใช้เอง หาง่ายในท้องถิ่น อุปกรณ์ที่เป็นเหมือนปัจจัยที่ห้าของคนในยุคสมัยหนึ่ง วันนี้ได้เปลี่ยนบทบาทมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของความเป็นคนตราด สัญลักษณ์ที่ต้องมีจุดขายในตัว เอง ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปคนรุ่นหนึ่งรู้จักในฐานะของเครื่องมือทำ� มาหากิน คนอีกรุ่นหนึ่งรู้จักในนามของ สิ่งที่เป็นของฝากสร้างรายได้ จากหมวกที่สวมใส่เปลี่ยนมาเป็นโคมไฟ ของตั้งโชว์ หากแต่ความคงอยู่ ยัง คงมีอยู่ แม้หน้าที่จะเปลี่ยนแปลงไปบอกให้เรารู้ว่าการถักทอร่วมกันของภูมิปัญญา วิถีชีวิต และยุคสมัย คือสายเกลียวที่ถักรวมกันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี ที่หมุนเปลี่ยนปรับแปรไปตามยุคสมัย หากเพียง แค่เรารู้ว่าเหง้าและรากของสิ่งนั้นมีมาอย่างไร ต่อให้ใครจะสวมหมวกใบเก๋เพื่อการทำ�งาน เราก็จะยังหยิบ งอบหรือหมวกใบจากใบเดิมมาสวมใส่ได้เช่นกัน


ชีวิตติดงอบ...

“ ยายก็ใช้มาตั้งนานแล้วน่ะ ตั้งแต่สมัยยังเด็กๆ นั่นแหละ พ่อแม่ของยายเค้าก็ใช้กัน...” คุณยายสำ�รอง พันธุ์พิริยะ

“งอบ” หรือทีช่ าวจังหวัดตราดรูจ ้ ก ั และนิยมเรียกกันว่า “หมวกใบจาก” ตรงๆ ตามประเภทการใช้งานและวัสดุที่นำ�มาเย็บ เป็ น สิ่ ง ที่ ช าวตราดส่ ว นใหญ่ รู้ จั ก กั น เป็ น อย่างดี คุณตาประเสริฐและคุณยายสำ�รอง พันธุพ ์ ริ ย ิ ะ เจ้าของสวนยางพาราและนาข้าว ในตำ�บลห้วยแร้ง จังหวัดตราด ที่ทำ�สืบต่อ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น ได้เล่ากล่าวให้ทีมงาน Growth ฟังว่า งอบเป็นเหมือนอุปกรณ์ ประจำ�กาย ทุกครั้งเวลาจะออกไปทำ�งาน ลงสวนหรือเข้านา สิ่งสุดท้ายที่จะต้องไม่ ลืมหยิบไปเสมอก็คือ งอบคู่ใจ ซึ่งเมื่อถาม ว่าซือ ้ งอบมาจากไหน คำ�ตอบคือเสียงหัวเราะ อย่ า งอารมณ์ ดี ข องคุ ณ ตาและคุ ณ ยาย

“งอบเนี่ย ฉันเย็บเอง ทำ�เอง แล้วก็จะเอาไปใช้ เวลาทำ�สวน ถางหญ้า หรือตอนเกี่ยวข้าว หว่านข้าวก็ใช้ มันสะดวก ทำ�ง่าย บังแดดบังฝนได้ด้วยน่ะ” สำ�เนียงเหน่อๆ แบบชาวตราด ที่ดั้งเดิมสุดๆ ของยายรองชวนให้คนถามอดยิ้มไปด้วยไม่ได้ ในขณะที่คุณยายก็กำ�ลังสาละวน กับการถางหญ้าโดยสวมใส่หมวกใบจากใบเก่ง “ก็ใช้มาตั้งนานแล้วนะ ตั้งแต่สมัยยังเด็กๆ นั่น แหละ พ่อแม่ของตายายเค้าก็ใช้กัน บ้านของตากะยายเนี่ยมันอยู่ ติดริมคลอง เวลาเดินเท้ากันไป ลงน้ำ� จับปลาก็จะตัดใบจากมาสานเป็นหมวกใช้ต่อด้วย ทำ�ได้ เยอะก็เอาไปขาย ได้เงินมาใช้อีก” ตาประเสริฐกล่าวอย่างยิ้มแย้มและหัวเราะอย่างอารมณ์ดี ทำ�ให้ผู้เขียนนึกย้อนไปถึงสมัยเด็กๆ ทีต ่ อ ้ งเข้าสวนกับพ่อแม่ ภาพของหมวกใบไม้ ทีแ่ ม่มก ั จะเอามาใส่ให้เป็นประจำ� เพือ ่ กันแดดกันฝน นั้นก็คือ งอบนั่นเอง(ผู้เขียนหลงเรียกว่าหมวกใบไม้เสียตั้งนาน)


ยายรอง ได้เล่าให้ฟังต่อว่า กว่าจะออกมาเป็นงอบแต่ละใบ ไม่ได้ใช้แค่มือใน การทำ� หากแต่ตอ ้ งใส่ใจลงไปด้วย ให้อารมณ์เหมือนกำ� ลังปรุงแต่งรสชาติอาหาร ให้กลมกล่อม เพราะทุกๆขั้นตอนต้องมีความประณีต ทุกเส้นสานของใบจาก คือการบอกเล่าเรือ ่ งราวและวิถชี ว ี ต ิ ของคนในชุมชน หากใครทีไ่ ด้มาเยือนทีช่ ม ุ ชน ห้วยแร้งของเราคงต้องเห็นชาวบ้านใส่งอบกันชินตา แต่กไ็ ม่ใช่แค่หว้ ยแร้งทีม ่ งี อบ ทีไ่ หนๆในตราดก็มี คุณยายบอกต่ออีกว่า ยายไม่อยากให้ภม ู ป ิ ญ ั ญาการทำ�งอบนี้ มันหายไปเลย ยิง่ เวลาเปลีย ่ นไป ยายก็กลัวว่าคนจะลืม อยากจะเก็บเป็นของสะสม อนุรักษ์ให้ลูกหลานได้รู้จักและสืบสานต่อ ดูจากสีหน้าคุณยายแล้วทำ� ให้พวกเรา รู้สึกได้เลยว่า ยายรักและหวงแหนภูมิปัญญาการทำ�งอบมาก แต่หวงในที่นี้คือ การไม่อยาก ให้มันหายไป ดังนั้นในทุกครั้งที่มีโอกาสได้รับเชิญเป็นวิทยากรสอน ไม่ว่าจะตามโรงเรียนหรือหน่วยงานต่างๆ คุณยายจะตอบตกลงโดยทันทีโดย ไม่หวังค่าตอบแทนใดๆ และคำ�ถามสุดท้ายคือเมื่อเห็นงอบกลายเป็นของฝาก เป็น พวงกุญแจ เป็นโคมไฟประดับ คุณตาคุณยายรู้สึกอย่างไร บรรยากาศดูอึมครึม สักนิดก่อนที่คุณตาประเสริฐจะกล่าวว่า “ตาก็ทำ�แบบนั้นส่งร้านเหมือนกันแหละ ไอ้หนู ราคามันดีกว่าราคายางเยอะเลย” แล้วเราก็จบบทสนทนาด้วยการระเบิด เสียงหัวเราะใส่กันอย่างอารมณ์ดี

ถ้าบทความนี้เป็นนิทานเรื่องหนึ่งก็คงต้องจบลงด้วยคำ�ว่า “นิทานเรื่อง นี้สอนให้รู้ว่า หากเราหยุดสิ่งหนึ่งไว้กับเวลาที่ผ่านมาแล้ว สิ่งนั้นคงได้ชื่อแค่ เพียงว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความทรงจำ� แต่หากเราเดินต่อไปด้วยกันกับเวลาที่ จะไม่ย้อนหรือหยุด สิ่งๆนั้นจะเปลี่ยนบทบาทให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของโอกาส ให้แก่ผู้ที่มองเห็นและนำ�มันไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ต่อไป”

“ กว่าจะออกมาเป็นงอบแต่ละใบ ไม่ได้ใช้แค่มือในการทำ� หากแต่ต้องใส่ใจลงไปด้วย ” คุณยายสำ�รอง พันธุ์พิริยะ


งอบ : หมวกใบจาก DIY By ยายรอง วัตถุดิบที่ใช้ : ใบจาก เชือก เข็มเย็บจาก ไม้ไผ่ + อารมณ์ดีและความตั้งใจ

ใช้ใบจาก ไม่แก่ไป ไม่อ่อนเกิน ประมาณ 24–36 ใบ เรียงเป็นตับ จากนั้นใช้เข็มร้อยด้ายแทง รวบให้ใบยึดติดกัน มัดให้แน่น

จับใบจากหมุนเวียนจากใบล่างสุดไปเรื่อยๆ เรียงกันใบต่อใบจับสอดเรียงสลับขึ​ึ้ลง ทำ�อย่างนี้ไปจนหมด ใช้เชือกรัดใบไว้ โดยสลับปลายเชือก จะได้ใบจากที่ขึ้นรูปหมวกและตัดปลาย พร้อมจะเย็บต่อไป

ใช้ก้นเข็มขีดเป็นวงกลม จากนั้นใช้เข็มเย็บตามรอยที่ขูดไว้โดยเย็บด้วยวิธีการด้น ดังรูป จากนั้นเย็บขอบโดยใช้ตอกไม้ไผ่ และนำ�ไปตากแดดให้แห้ง

จากนั้นติดเสวียนก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำ�หมวกใบจากแบบ กรรมวิธีสไตล์บ้านๆ ของยายสำ�รอง พันธุ์พิริยะ เป็นที่เรียบร้อย

“ความรู้ คือพื้ืนฐานของความก้าวหน้า รู้วันนี้เพื่อวันหน้า ปัญญาจะเป็นอาวุธอันทรงพลานุภาพ”


รู้จัก “จาก” ต้ น จาก เป็ น พื ช ในตระกู ล ปาล์ ม (Nypa fruticans Wurmb) เป็นพืช ที่แตกกอ มีลำ�ต้นใต้ดินหรือเลื้อยไปบนดิน พบเห็นได้ทว ั่ ไปในบริเวณป่าชายเลน นับเป็น พืชที่ได้ชื่อว่าอรรถประโยชน์มากชนิดหนึ่ง ใบจากสามารถนำ � มาใช้ ใ นการจั ก สาน โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ชาวตราดจะรู้ จั ก ดี ในชื่อของหมวกใบจากหรืองอบ นอกจาก นี้ใบอ่อนยังถูกนำ�มาใช้มวนเป็นใบจากสูบ กับยาเส้น (อันนี้ไม่ค่อยแนะนำ�นะครับ) และ ยังนำ�มาใช้ห่อขนมพื้นบ้านที่ชื่อว่าขนมจาก ผลของต้นจากที่เรียกว่าลูกจากนั้นยังรส เลิศ รับประทานได้ ลักษณะคล้ายลูกชิด นิยมนำ�มาเชื่อม เรียกว่าลูกจากเชื่อม ส่วน ประโยชน์อ่ืนๆ นอกเหนือจากนี้ ก็แตกต่าง ออกไปตามแต่ละพืน ้ ที่ สำ�หรับจังหวัดตราด นั้นเราจะพบเห็นวิถีวัฒนธรรมประเพณีที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ต้ น จากมากมาย อาทิ เ ช่ น เรื่องอาหารการกิน อาชีพหรือแม้กระทั่ง พิธีกรรมต่างๆ ดังได้นำ�เสนอไปก่อนหน้านี้

และหน้าที่สำ�คัญที่สุดของต้นจากที่เราอาจจะไม่รู้ก็คือ ป่าจากเป็นแนวกันคลื่นกันลม ป้องกันน้ำ�เซาะตลิ่งได้เป็นอย่างดีและ เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ�เค็มทีด ่ ท ี ส ี่ ด ุ แหล่งหนึง่ แต่กระนัน ้ แล้วสภาวการณ์ของต้นจากในทุกวันนีก ้ ย ็ งั คงย่ำ�แย่ ต้นจากลดน้อยลงเรือ ่ ยๆ ซึ่งเป็นผลมาจาการรุกล้ำ�ทำ�ลายและความมักง่ายของคน ในท้ายที่สุดนี้เราอาจจะต้องจำ� “จาก” ไว้เพียงแค่ภาพของความทรงจำ�

เรือ ่ งเล่าและเรือ ่ งราวมากมาย ได้ถก ู สัง่ สมไว้เพือ ่ การเรียนรู้ เราคงย้อนมองเพือ ่ คิดดูวา่ เมือ ่ วันก่อนความสำ�เร็จเกิดขึน ้ จากจุดใด วันนีจ ้ ะต้องเป็นเช่นไร วันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เหล่านีล ้ ว ้ นมีความสัมพันธ์กน ั ทัง้ สิน ้ การเติบโตและความก้าวหน้าก็จำ�เป็นต้องมีเหตุและ ปัจจัยมาจากเรือ ่ งราวเหล่านี้ เราจำ�เป็นต้องหาจุดเชือ ่ มต่อเพือ ่ หาหนทางและโอกาส แม้บางเรือ ่ งราวอาจจะเทียบเคียงกันไม่ได้ บริบททีต ่ า่ ง และไม่เหมือนกัน แต่เรื่องราวเหล่านี้จะเป็นประสบการณ์ความคิดที่จะสร้างประสบการณ์ชีวิตในวันเวลาหนึ่งได้เมื่อถึงเวลานั้นๆ จังหวัด ตราด งอบ ต้นจาก วิถีชีวิต ความคิด การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาจากจุดต่างสู่จุดร่วมที่มองเห็น ต่างคนก็มองเห็นโอกาสนั้นๆ ได้ต่างกัน สำ�หรับ GrowTH ฉบับนี้ คุณได้ Grow ไปกับพวกเราในเรื่องใด Growth ในตัวคุณ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณเข้าใจและอยากจะ เข้าใจ เมื่ออ่านมาถึงบรรทัดนี้ เราอยากรู้ว่า GrowTH แรกที่จังหวัดตราดของคุณ เป็นอย่างไร



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.