20 ปฐมแลนด์

Page 1

e v o l u t i o n

a n d

c o n s e r vat i o n


ปฐม

นิเทศ

เนื่องจากนิตยสาร ‘ปฐมแลนด์’ ได้มีการจัดท�ำเป็นหนังสือเสียงเพื่อเป็นทาง เลือกให้กับผู่อ่าน และเอื้อประโยชน์ต่อผู้ พิการทางสายตา ซึ่งมีตัวเลือกการเข้าถึง 2 ช่องทางด้วยกัน ได้แก่

ช่องทางที่ 2 ผ่านทางการสแกน QR CODE ที่ปรากฏอยู่ใน หน้าของเนื้อหานั้นๆ ซึ่งอาจใช้โปรแกรมจ�ำพวก QR CODE READER หรือผ่านทางแอปพลิเคชัน LINE และ FACEBOOK ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ช่องทางที่ 1

Pathomland official website www.pathomland.wixsite.com/pathomland

LINE เมื่ อ อยู ่ ห น้ า โปรไฟล์ ข องเราและรายการ เพื่อน ให้เข้าสู่เมนูการเพิ่มเพื่อน (สัญลักษณ์ รูปคนและเครื่องหมายบวก) บริเวณแถบ เมนูมุมบนขวา และเลือกเพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE จากนั้นน�ำกล้องส่องไปยัง QR CODE แล้วกดเปิดผลการสแกน

Facebook เมื่ออยู่หน้าฟีดข่าว ให้เลื่อนไปยังหน้าแสดง โปรไฟล์และเมนูต่างๆ (สัญลักษณ์รูปขีด แนวนอนสามขีดซ้อนทับกัน) เลือกเมนู ‘คิวอาร์โค้ด’ จากนั้นน�ำกล้องส่องไปยัง QR CODE แอปพลิเคชันจะเปิดผลการสแกน โดยอัตโนมัติ


สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน เชื่อว่ามีหลายท่านอ่านชื่อนิตยสารแล้ว อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับจังหวัดนครปฐม แต่ก็เชื่อว่ามีหลายคนคงพอเดาออก เช่นเดียวกัน เพราะค�ำว่า ‘ปฐม’ มาจากภาษาบาลี แปลว่าล�ำดับแรก ส่วนค�ำว่า ‘แลนด์’ เป็นภาษาอังกฤษ ที่แปลว่าแผ่นดิน ดังนั้นเมื่อแปลรวมกันแล้วสามารถรวมความได้เป็น แผ่นดินแห่งแรกในยุคประวัติศาสตร์ของสยามประเทศนั่นเอง เนื่องด้วยนักวิชาการเคยให้เหตุผลไว้ว่า ยุคประวัติศาสตร์มักจะเริ่มต้นเมื่อ มนุษย์รู้จักบันทึกข้อความเป็นลายลักษณ์อักษรหรือมีภาษาเขียน จากหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ชาติไทยได้มีการประดิษฐ์ตัวอักษรในสมัยพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช ผนวกกับหลักฐานการรวมคนไทยรัฐไทยขับไล่ขอมเป็นผลส�ำเร็จและสถาปนาเอกราช ให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ จึงสรุปให้อาณาจักรสุโขทัยเป็น ‘ปฐมราชธานีของสยาม’ ด้วยความที่มีอายุเก่าแก่ ท�ำให้เกิดวัฒนธรรมมากมาย แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายสิ่ง หลายอย่างต้องเปลี่ยนไปตามยุคโลกาภิวัตน์แต่ก็มีอีกหลายๆ สิ่ง ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมา ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ วัฒนธรรมที่ดั้งเดิมบางส่วนเริ่มหายไปและ วัฒนธรรมใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ แต่ก็มีวัฒนธรรมดั้งเดิมบางอย่างที่ด�ำรงอยู่ ที่ส�ำคัญคือ สามารถปรับตัวกับสิ่งใหม่ๆ ได้ด้วย หรือที่เรียกว่าการรวมวัฒนธรรม และคณะผู้จัดท�ำ ต้องการสื่อ ความหมายโดยนัยให้เห็นถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยังด�ำรงอยู่ได้ในยุคปัจจุบัน จึงกลายมาเป็นที่มาของชื่อนิตยสาร ‘ปฐมแลนด์’ ซึ่งหากกล่าวโดยสรุป นิตยสารฉบับนี้ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจังหวัดสุโขทัย จังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรสุโขทัยและ มีความหลังทางประวัติศาสตร์แห่งสยามประเทศ และนอกจากนี้คณะผู้จัดท�ำเล็งเห็นถึง ความส�ำคัญของการได้รับข้อมูลความรู้ของผู้พิการทางสายตา จึงได้จัดท�ำให้นิตยสาร เล่มนี้ เป็น ‘Audio book’ เพื่อเป็นรูปแบบเพิ่มเติมในการให้ข้อมูลแก่ผู้พิการทาง สายตาอีกด้วย เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราจะขอน�ำพาทุกท่าน ไปพบกับหลายสิ่ง หลายอย่างใน ‘ปฐมแลนด์’ แดนสยามแห่งนี้ ที่หลายคนยังไม่เคยได้รู้ ได้สัมผัส เราจะ น�ำมาเปิดเผย ณ ที่แห่งนี้

ปฐมทีม กองบรรณาธิการ นายกฤษณ์ธร แสงเวียง นายนพรัตน์ อยู่พ่วง นายณัฐชนน ภูขมัง อาจารย์ที่ปรึกษา นายวรรณชัย ทะนะแก้ว นายส�ำราญ สีแก้ว โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา

ออกแบบและจัดการเว็บไซต์ นายกฤษณ์ธร แสงเวียง ก�ำกับและออกแบบศิลป์ นายณัฐชนน ภูขมัง ขอขอบคุณ นายสมชาย เดือนเพ็ญ นายวรินทร์ โฆษิตฤทธิเดช นางสาวเบญญาภา เหมือนเพชร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ส�ำนักงานจังหวัดสุโขทัย


ปฐม ชม รักษ์ | 4

สารบัญ

เล่าเรื่อง.. เมืองสวรรค์ | หน้า 4 หน้า 6 | ศาสตร์ภูมินทร์ สินสุโขทัย

จตุราหาร จานเด็ด | หน้า 8 หน้า 9 | สืบประเพณีด�ำรง ลอยกระทงสุโขทัย

ภูมิชน คนหาดเสี้ยว | หน้า 10 หน้า 12 | เอาใจสายบุญ ครูคณิตฯ จิตกวี | หน้า 14

หลายท่านคงก�ำลังประหลาดใจกับหัวเรื่องที่เราเขียนไปข้างต้น ใช่ไหมครับ? ภาพในจินตนาการของผู้อ่านหลายท่าน คงเป็นภาพของ ดิ น แดนสุ ข าวดี ที่ มี น างฟ้ า นางสวรรค์ เ หาะเหิ น เดิ น อากาศไปมาอย่ า ง น่าอัศจรรย์ แต่ไม่เลย! เมืองสวรรค์ที่กล่าวถึงข้างต้นไม่ได้อยู่ที่ไหนไกล แต่ เมืองสวรรค์แห่งนี้คือ ‘อ�ำเภอสวรรคโลก’ อ�ำเภอเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ในแผ่นดิน ประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งก็คือจังหวัดสุโขทัยนั่นเอง แล้วเหตุใดพวกเราถึงต้องบอกกล่าวเรื่องราวของที่นี่อย่างนั้น หรือครับ? ก็เพราะที่นี่เป็นอ�ำเภอที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ช่วงเวลา ที่ผ่านเลยในแต่ละยุคสมัยท�ำให้อ�ำเภอแห่งนี้มีมนต์ขลังที่น่าหลงใหล อาทิ หากผมบอกว่าอ�ำเภอแห่งนี้แต่เดิมเคยเป็นจังหวัดมาก่อน ท่านผู้อ่านจะเชื่อ ไหมครับ?

แรกเริ่มเดิมทีนั้น ‘สวรรคโลก’ เป็นเมืองที่เกิดขึ้นมาร่วมสมัย กับกรุงสุโขทัย มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงในนาม ‘เมืองศรีสัชนาลัย’ ต่อมา ในปีพุทธศักราช 1994 พระเจ้าติโลกราช เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้ยกทัพมาตี เมืองศรีสัชนาลัยและเปลี่ยนชื่อเป็น ‘เมืองเชียงชื่น’ แต่ท้ายที่สุดในปี พุทธศักราช 2017 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสามารถยึดเอาเมืองเชียงชื่น คืนมาได้ และทรงเปลี่ยนชื่อครั้งสุดท้ายเป็น ‘เมืองสวรรคโลก’ ในปีพุทธศักราช 2459 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกฐานะเมืองสวรรคโลกเป็นจังหวัดสวรรคโลก และมีอ�ำเภออยู่ภายใต้การปกครองทั้งสิ้น 2 อ�ำเภอ ได้แก่ อ�ำเภอสวรคโลก และอ�ำเภอศรีสัชนาลัย ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พุทธศักราช 2474 กระทรวงมหาดไทยได้ ป ระกาศยุ บ จั ง หวั ด สุ โ ขทั ย ให้ ม าอยู ่ ภ ายใต้ การปกครองของจังหวัดสวรรคโลก ดังนั้นจังหวัดสวรรคโลกจึงมีอ�ำเภออยู่ ในความปกครองถึง 5 อ�ำเภอ กับอีก 2 กิ่งอ�ำเภอ ได้แก่ อ�ำเภอสวรรคโลก อ�ำเภอศรีสัชนาลัย อ�ำเภอสุโขทัยธานี อ�ำเภอศรีส�ำโรง อ�ำเภอกงไกรลาศ กิ่งอ�ำเภอคีรีมาศ และกิ่งอ�ำเภอบ้านด่านลานหอย ในฐานะจังหวัดและความอุดมสมบูรณ์ของสวรรคโลก ท�ำให้ สวรรคโลกในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองทุกๆ ด้าน เช่น การได้รับขนานนามว่า เป็นเมืองค้าพืชไร่อันดับต้นๆ ของประเทศ โดยเฉพาะข้าว ถั่วเหลือง และ ฝ้าย ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจของสุโขทัยในปัจจุบัน ล�ำน�้ำยมที่ไหลผ่าน กลาย เป็นเส้นทางล�ำเลียงไม้ส่งไปขายยังต่างประเทศ และอีกหนึ่งความเจริญที่มี หลักฐานอย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือการคมนาคมขนส่งของจังหวัดสวรรคโลก


ปฐม ชม รักษ์ | 5

พ.ศ. 2465

ชาวเมืองสวรรคโลกร่วมให้การต้อนรับ พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) มาด�ำรงต�ำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสวรรคโลก ณ สถานีรถไฟสวรรคโลก

‘สถานีรถไฟสวรรคโลก’ เป็นสถานที่หนึ่งที่เป็นหลักฐานยืนยัน ความส� ำ คั ญ และความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งด้ า นการคมนาคมของสวรรคโลก อย่างชัดเจน เพราะถือเป็นสถานีรถไฟแห่งแรกและแห่งเดียวของจังหวัด สวรรคโลก โดยสถานีรถไฟแห่งนี้เป็นพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างทาง รถไฟถึงสวรรคโลกเมื่อปีพุทธศักราช 2452 ท�ำให้สวรรคโลกเป็นศูนย์กลาง การคมนาคมทางบกของจังหวัดใกล้เคียง จังหวัดสวรรคโลกในยุคนั้นจึง คึกคักคลาคล�่ำไปด้วยผู้คน และมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจใน ขณะเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากสวรรคโลกมีธนาคารพาณิชย์มากถึง 8 แห่ง โรงภาพยนตร์ 4 แห่ง และโรงแรมอีกมากมายเพื่อรองรับการเดินทางของ ผู้คนที่หลั่งไหลเข้ามา ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2482 ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้มีการเปลี่ยนแปลง ครั้งประวัติศาสตร์ของชาวสวรรคโลก กล่าวคือ กระทรวงมหาดไทยได้ยุบ จังหวัดสวรรคโลก ให้ไปตั้งจังหวัดใหม่ที่อ�ำเภอเมืองสุโขทัย ส่งผลให้ สวรรคโลกด� ำ รงสถานะเป็ น อ� ำ เภอหนึ่ ง ของจั ง หวั ด สุ โขทั ย นั บ แต่ นั้ น เป็นต้นมา ด้วยเหตุผลทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวไปข้างต้น สวรรคโลกจึงเป็น เมืองที่มีคุณค่าทั้งในอดีต ปัจจุบัน ตลอดจนในอนาคตที่ลูกหลานต้องช่วย กันดูแลรักษาทั้งภาพลักษณ์ในอดีต โบราณวัตถุ โบราณสถาน ประเพณี อันดีงาม รวมถึงวิถีชีวิตของชาวสวรรคโลก เพราะหลังจากนี้ไป ‘จังหวัด สวรรคโลก’ จะกลายเป็นเพียงค�ำบอกเล่า ถ้าความส�ำนึกในคุณของแผ่นดิน จืดจางไปเมื่อใด ต�ำนานการกล่าวขานถึงที่แห่งนี้ก็คงแผ่วเบาลงทุกขณะ และท้ายที่สุดก็จะไม่หลงเหลือสิ่งใดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษากันอีกเลย แม้แต่ ค�ำว่าต�ำนาน


ปฐม ชม รู้ | 6

หากท่านต้องการเดินทางมาเยือนสวรรคโลก แต่ไม่ต้องการเดินทางโดย รถโดยสารประจ�ำทางหรือรถไฟ อย่าวิตกกังวลไปครับ เพราะสวรรคโลกมีสนามบิน และเที่ยวบิน บินตรงจากบางกอกสู่เมืองสวรรค์แห่งนี้ ที่พร้อมให้บริการผู้ที่ต้องการ มาเยือนอย่างสะดวกสบาย อย่างไรก็ตาม สนามบินของที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ ช่องทางการคมนาคมของคนในจังหวัดเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตร ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชด�ำริเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร- มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร อีกด้วย ซึ่งถือเป็นสนามบินแห่งแรกและ แห่งเดียวของประเทศที่ตระหนักถึงประโยชน์ของการท�ำการเกษตรอินทรีย์และ เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ส�ำหรับผู้ที่สนใจ ให้ได้ศึกษาตามอัธยาศัย


ปฐม ชม รู้ | 7

ค�ำว่า ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ นั้นเป็นปรัชญาว่าด้วยการพึ่งพาตนเองอย่าง มีภูมิคุ้มกัน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชด�ำรัสแก่ชาวไทยเมื่อปีพุทธศักราช 2517 ในครานั้น คนไทยส่วนมาก ยังไม่ตระหนักถึงความส�ำคัญ จนเมื่อเกิดวิกฤติต้มย�ำกุ้งเมื่อปีพุทธศักราช 2540 หลักปรัชญาของในหลวงรัชกาลที่ 9 นั้น ได้เป็นกุญแจส�ำคัญที่น�ำพาคนไทยผ่านพ้น วิกฤติในครั้งนั้นมาได้ ศาสตร์ของพระราชาจึงเป็นแนวทางในการด�ำเนินชีวิตของ พสกนิกรนับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเฉพาะการท�ำการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนว พระราชด�ำริ ซึ่งมีการแบ่งพื้นที่ที่มีอยู่ออกเป็น 4 ส่วน ด้วยอัตราส่วน 30:30:30:10 ส�ำหรับ 30 แรก คือการแบ่งพื้นที่ 30% ไว้ท�ำนาปลูกข้าว ส่วน 30 ที่สอง คือการ แบ่งพื้นที่ 30% ไว้ท�ำสวนผลไม้ หรือไม้ยืนต้น และ 30 ที่สาม คือการแบ่งพื้นที่ 30% ไว้ขุดสระส�ำหรับเลี้ยงปลาและกักเก็บน�้ำเอาไว้ใช้ยามหน้าแล้ง อีก 10% ที่เหลือ คือ การแบ่งพื้นที่ไว้ส�ำหรับตั้งบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย คอกสัตว์ ยุ้งฉางหรือโรงเรือน เพียง เท่านี้ก็จะสามารถมีวัตถุดิบส�ำหรับประกอบอาหารได้ตลอดทั้งปี และส่วนที่เหลือ จากการบริโภคก็สามารถน�ำไปขายเพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัวได้อีกด้วย ด้วยหลักปรัชญานี้ ท�ำให้พื้นที่กว่า 1200 ไร่ในโครงการเกษตรอินทรีย์ สนามบินสุโขทัย ถูกจัดสรรและใช้ประโยชน์ตามศาสตร์ที่กล่าวไปข้างต้น ที่ส�ำคัญ คือ ในการท�ำเกษตรที่นี่ไม่มีการพึ่งพาสารเคมีแม้แต่ขั้นตอนเดียว จึงท�ำให้ผลผลิตที่ ได้นั้นมีความสด สะอาด ปลอดภัย ถึงแม้รูปลักษณ์ภายนอกจะไม่สวยงามเหมือนที่ ขายกันในตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตก็ตาม นอกจากนี้ทางโครงการยังมีการพัฒนา พันธุ์ข้าวหลากหลายชนิดเช่น ข้าวหอมแดงสุโขทัย 1 และข้าวหอมด�ำสุโขทัยซึ่งเรา พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ขึ้นใหม่ ให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอย่างที่ตั้งใจโดยข้าว กล้องหอมแดงสุโขทัย 1 อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร โปรตีน และธาตุเหล็ก ในขณะที่ ข้าวกล้องหอมด�ำสุโขทัย 2 ก็โดดเด่นเรื่องแคลเซียมและวิตามินต่างๆ ที่พิเศษกว่า นั้นคือ ในข้าวทั้งสองชนิดมีสารประกอบโพลีฟีนอล (Polyphenols) ซึ่งเป็นสาร ธรรมชาติ ที่ นั ก วิ ท ยาศาสตร์ เชื่ อ ว่ า ช่ ว ยชะลอความเสื่ อ มของเซลล์ ใ นร่ า งกาย ซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย


ปฐม ชม ชิม | 8

ในเมื่อพามาเยือนท้องที่เกษตรอินทรีย์กันแล้ว ผู้เขียนขอถือโอกาสนี้พาผู้อ่านทุกท่าน ไปลิ้มลอง 4 เมนูอาหารที่ขึ้นชื่อของที่นี่ ซึ่งผู้เขียนการันตีเลยว่าเป็นเมนูที่ หาทานที่อื่นไม่ได้อย่างแน่นอน ณ ร้านอาหารของโครงการที่มีชื่อว่า ‘ครัวสุโข’ ที่นอกจากจะมีรสชาติเป็นตัวชูโรงแล้ว ยังมีความ ‘คลีน’ เป็นตัวเสริมความน่าลิ้มลอง ซึ่งเหมาะมากๆ ส�ำหรับผู้รักสุขภาพ เพราะ 4 เมนูอาหารที่จะพาไปลิ้มลองต่อไปนี้ ท�ำมาจากผักสดๆ ที่เก็บมาจากแปลงเกษตรอินทรีย์ ซึ่งผักสดนั้นทางโครงการดูแลเป็น อย่างดีด้วยกรรมวิธีทางชีวภาพ ปลอดสารเคมีอย่างแน่นอน สามารถเรียกได้เต็มปากเต็มค�ำเลยว่า ‘ออแกนิคแท้ 100%’ แต่ส�ำหรับผู้ที่ไม่ชอบทานอาหารคลีน ผู้เขียน ก็ปรารถนาให้ท่านลองเปิดใจชิมดูสักครั้ง ถึงแม้ว่าเมนูเหล่านี้จะท�ำมาจากผัก แต่ก็มีรสชาติที่ถูกปากอย่างเหลือเชื่อเลยทีเดียว รับรองเลยว่าเมื่อมีค�ำแรกแล้วจะต้องมีค�ำที่ สองค�ำที่สามตามมาอย่างแน่นอน

อ า ห า ร จ า น แ ร ก คื อ ‘หมั่นโถว’ ครับ ถึงแม้จะเป็นเมนูที่ หาทานได้ทั่วไป แต่หมั่นโถวของที่นี่ ท�ำจากแป้งสาลีชั้นเลิศที่ได้จากข้าว ในโครงการ ซึ่งวิธีการท�ำจะมีการน�ำ แป้งสาลีมาปั้นด้วยมือ ผสมผสานกับ น�้ำฟักข้าวให้มีสีส้มอ่อนๆ น่าทาน ก่อนจะน�ำไปนึ่ง และทีเด็ดก็คือ การน� ำ หมั่ น โถวที่ ไ ด้ จ ากการนึ่ ง นั้ น มาทอดอี ก ครั้ ง หนึ่ ง เพื่ อ ให้ ก รอบ ด้านนอก นุ่มด้านใน แต่ที่เด็ดยิ่งกว่า ก็คือน�้ำพริกเผาที่เสิร์ฟคู่กับหมั่นโถว เพราะเป็ น น�้ ำ พริ ก เผาสู ต รพิ เ ศษ ที่ทางครัวสุโขคิดค้นขึ้นเอง ถือว่าเป็น ส่วนเสริมความอร่อยให้กับหมั่นโถว ได้อย่างลงตัวเลยทีเดียว

จานถั ด มาเป็ น กั บ ข้ า วที่ เราคุ ้ น เคยกั น ดี ใ นชี วิ ต ประจ� ำ วั น เชื่อว่าหลายๆ ท่าน ที่ไปนั่งทานตาม ร้านอาหารตามสั่ง ต้องเคยสั่งเมนูนี้ มาทานกันอย่างแน่นอน เมนูนั้นก็คือ ‘ผัดกะเพรา’ ครับ แต่ของที่นี่ไม่ใช่ผัด กะเพราธรรมดา เพราะมันคือ ‘ผัด กะเพราสายบัว’ ซึ่งเป็นอาหารที่ เหมาะมากๆ ส�ำหรับผู้ที่ต้องการลด ความอ้วน เพราะนอกจากจะมี ส่วนช่วยในการขับถ่ายแล้ว สายบัว ยังมีส่วนช่วยในการบ�ำรุงกระดูกและ ฟัน บ�ำรุงสายตา อีกทั้งยังช่วย ดับร้อนในร่างกายอีกด้วย ส่วนเรื่อง รสชาติไม่ต้องพูดถึง ท่านลองนึกถึง รสชาติที่เข้มข้นของผัดกะเพรารวม กั บ ความกรุ บ กรอบของสายบั ว ดูสิครับ แค่คิดก็น�้ำลายสอแล้ว!

จานที่สาม เป็นเมนูชูโรง อีกจานหนึ่งซึ่งชื่อดูแปลกตาน่าฉงน เมนูนั้นก็คือ ‘ส้มต�ำผักน�้ำ’ ซึ่งผักน�้ำ นั้ น มี ชื่ อ เรี ย กอย่ า งเป็ น ทางการว่ า ‘วอเตอร์เครส (Watercress)’ เป็น ผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก โดย จะมี ป ริ ม าณวิ ต ามิ น และแร่ ธ าตุ สู ง กว่าผักหลายชนิด และสรรพคุณที่ ส�ำคัญคือ ผักชนิดนี้มีคุณสมบัติใน การล้ า งสารพิ ษ ตกค้ า งในร่ า งกาย และยังสามารถช่วยต่อต้านมะเร็งได้ อีกด้วย แต่ด้วยรสชาติที่ค่อนข้างทาน ยากของมัน ท�ำให้ต้องราดน�้ำส้มต�ำ ลงไป เพื่อให้รสชาติกลมกล่อม ง่ายต่อการรับประทานนั่นเอง

จานสุดท้าย ไม่สิ! ผู้เขียน ขอเรี ย กว่ า แก้ ว สุ ด ท้ า ยจะดี ก ว่ า เพราะเมนู ต บท้ า ยของเราเป็ น เครื่องดื่มครับ เมนูนั้นมีชื่อว่า ‘น�้ำ ใบข้าว’ เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ ขอบอกเลยว่า ถ้ามาแล้วไม่ได้ดื่ม แสดงว่ามาไม่ถึง เพราะเป็นเมนู ไฮไลท์ของที่นี่เช่นเดียวกัน ด้วย กลิ่ น หอมของข้ า วหอมมะลิ แ ละ รสชาติหวานอ่อนๆ ผนวกกับ คุ ณ ประโยชน์ จ ากสารพอลิ ฟ ี น อล (Polyphenols) ที่ได้จากใบยอดข้าว ซึ่งมีส่วนช่วยในการต่อต้านมะเร็งได้ เป็นอย่างดี จึงท�ำให้เมนูนี้เป็นเมนูตบ ท้ายที่จะท�ำให้การมาเยือนโครงการ เกษตรอินทรีย์ตามแนวพระราชด�ำริ ในครั้งนี้สมบูรณ์แบบนั่นเอง


ปฐม ชม เที่ยว | 9

สืบประเพณีด�ำรง

ลอยกระทง

สุโขทัย

หากเอ่ยถึงจังหวัดที่จัดงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย แน่นอนว่าจังหวัดสุโขทัยต้องติดโผมาเป็นล�ำดับที่หนึ่ง อย่างแน่นอนและยังติด 1 ใน 10 เทศกาลยอดเยี่ยมที่ดีที่สุดในโลก เนื่องด้วย จังหวัดสุโขทัยพยายามคงรูปแบบของงานให้เป็นไปตามหลักศิลาจารึกมาก ที่สุด แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ได้เพิ่มเติม แสง สี เสียง เพื่อสร้าง ความตระการตาและเพื่อให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัยในอดีต ฉะนั้นบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจึงถูกรายล้อมไปด้วยไฟ โคมชัก โคมแขวน และยังมีการละเล่นพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อีก อย่างหนึ่งของงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟจังหวัดสุโขทัย เมื่อแสง สี เสียงอลังการถูกสาดส่องทาบไปยังสถาปัตยกรรมที่ งดงามของวัดมหาธาตุ ซึ่งเต็มไปด้วยศิลปะสมัยสุโขทัยอันประณีต การแสดง ที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้นก็เริ่มขึ้น เนื้อที่จัดงานทั้งหมดถูก เนรมิตให้เต็มไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นกรุงเก่า อีกทั้งสุโขทัยยังมีการใช้ ระบบ ‘ตลาดโบราณ’ ตลาดที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมประเพณี ‘ตลาด แลกเบี้ย’ ที่คอยรับแลกเบี้ยสกุลเงินในสมัยสุโขทัยที่น�ำมาใช้ในงาน และ ‘ตลาดปสาน’ ตลาดที่จับจ่ายใช้สอยในสมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นแห่งเดียวใน ประเทศไทย งานลอยกระทงหากไม่ลอยกระทง ก็คงเป็นงานแสง สี เสียง ธรรมดาๆ งานหนึ่ง แต่ไฮไลท์ของงานนี้คือจะมีพระประทีปพระราชทานจาก พระมหากษัตริย์มาลอยในงานเป็นประจ�ำทุกปี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ อันล้นพ้นที่มีต่อชาวสุโขทัย บรรยากาศภายในงาน ความงดงามตระการตา กลิ่นอายของ ความเป็นเมืองเก่า รวมถึงการได้ร่วมสืบสานประเพณีของไทยในงานเพ็ญ เดือนสิบสอง ท�ำให้ผู้คนหลั่งไหลมากจากทั่วสารทิศ เพียงเพื่อจะได้มาร่วม รักษาประเพณี และเหตุผลทั้งหมดก็เพียงพอต่อการที่คุณต้องลองมาเยี่ยมชม และร่วมงานสักครั้งในชีวิต แต่เมื่อคุณมาร่วมงานแล้วคุณจะกลับไปได้แต่ตัว เท่านั้นหัวใจของคุณจะถูกตรึงไว้ ณ งานแห่งนี้


ปฐม ชม รักษ์ | 10

ห่างจากเมืองเก่าสุโขทัยขึ้นมาทางเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งชุมชนบ้าน หาดเสี้ยว ซึ่งถือเป็นแหล่งภูมิปัญญาแห่งหนึ่งในอ�ำเภอศรีสัชนาลัย ชาวบ้านที่นี่มีเชื้อสายไทยพวน บรรพบุรุษของพวกเขาเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งยังคงมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่น่าสนใจ กล่าวคือผู้คนส่วนใหญ่ยังคงด�ำรงชีวิตตามวิถีดั้งเดิม ประกอบอาชีพกสิกรรม เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ แต่ เมื่อว่างงานหรือหมดฤดูท�ำนาแล้ว หนุ่มสาวหรือแม้แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ของที่นี่ จะมีกิจกรรมที่เป็น เอกลักษณ์ กระท�ำสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเฉพาะงานหัตถกรรมเกี่ยวกับการทอผ้าทั้งหลาย อาทิ ผ้าซิ่นตีนจกที่เป็นที่เลื่องลือว่าไม่มีที่ไหนจะเทียบได้ จนกลายอัตลักษณ์ของชาวชุมชน บ้านหาดเสี้ยวที่ว่า ‘ว่างจากหน้านา หญิงทอผ้า ชายตีเหล็ก’


ปฐม ชม รักษ์ | 11 การทอผ้าตกเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิง สาวๆที่นี่เขานิยมทอผ้านุ่งห่มกันเอง โดยในเวลา กลางคืนหลังจากที่ทุกคนเสร็จจากภาระที่บ้านจนหมดแล้ว หญิงสาววัยรุ่นก็จะน�ำเอาฝ้ายพร้อมด้วย อุปกรณ์การท�ำฝ้ายมารวมกลุ่มกันเป็นพวกๆ วิธีการต่อจากนี้ก็คือการก่อไฟไว้ตรงกลางแล้ว นั่งล้อมวงกันท�ำ มือท�ำไปปากก็พูดคุยกันอย่างสนุกสนาน บางครั้งก็มีฝ่ายชายรุ่นราวคราวเดียวกัน มาเที่ยวหาและคุยด้วย ก็ยิ่งเพิ่มความสนุกสนานมากขึ้นทวีคูณ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีใครเกียจคร้าน มาร่วมกิจกรรมนี้หลังทานอาหารเย็นเสร็จ ต่างคนต่างรีบมา ใครมาก่อนก็ก่อไฟไว้คอยเพื่อน ไม่มี การเกี่ยงงอนหรือเอารัดเอาเปรียบกัน ฟืนส�ำหรับก่อไฟนั้น ก็เป็นฟืนที่สาวๆ พร้อมใจกันไปหามา จากป่าในเวลากลางวัน โดยมีลักษณะเป็นไม้ไผ่แห้งตายซาก เรียกว่า ‘หลัว’ พากันไปหามาครั้งหนึ่ง ก็มีพอใช้ไปหลายวัน ส่วนการร่วมกันท�ำฝ้ายเช่นนี้ เราเรียกกันว่า ‘การลงข่วง’ ส่วนสาวใหญ่ที่มีอายุพอสมควรซึ่งมีความช�ำนาญในการทอผ้าแล้ว ก็มีหน้าที่น�ำด้ายที่ได้ จากการท�ำฝ้ายของเหล่าหญิงสาววัยรุ่นมาถักทอเป็นผ้า แต่ด้วยความที่กี่ทอผ้ามีขนาดใหญ่ พอสมควร ซึ่งไม่เหมาะที่จะน�ำมานั่งล้อมวงท�ำกันกลางแจ้ง จึงต้องตั้งกี่ทอผ้าไว้ที่เรือนของตนแล้ว ทอผ้ากันที่นั่นเสียเลย และสิ่งที่พวกเธอถักทอกันออกมา ปัจจุบันก็ได้กลายเป็นผ้าขึ้นชื่อของต�ำบล หาดเสี้ยวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ‘ผ้าซิ่นตีนจก’ คือผลลัพธ์ของการถักทอข้างต้น ซึ่งค�ำว่า ‘จก’ เป็นศัพท์ในแวดวงการ ทอผ้า หมายถึงการน�ำขนเม่นมาแยกเส้นด้ายยืนเส้นหนึ่งออกเป็นสองส่วน แล้วควักเอาด้ายที่อยู่ ด้านล่างขึ้นมาด้านบน จากนั้นแยกด้ายยืนอีกเส้นมากดไว้แล้วน�ำเส้นที่เราควักขึ้นมานั้นสอดลงไปยัง ช่องว่างระหว่างด้ายยืนเส้นที่สอง ท�ำเช่นนี้ไปตลอดความกว้างของเส้นด้าย เสร็จแล้วน�ำมาต่อกับ ตีนผ้า เย็บติดต่อกันจนเป็นผ้าซิ่นส�ำเร็จรูป ก็เป็นอันว่าพร้อมนุ่ง ฟังดูน่าฉงนใช่ไหมครับ? แต่วิธีนี้ที่ท�ำให้ได้ผ้าซิ่นที่มีลวดลายงดงามเป็นเอกลักษณ์ ให้สาวๆ นุ่งไปออกงานต่าง ๆ ที่ต้องพบปะผู้คนได้อย่างไม่อายใคร เพราะด้วยความที่กว่าจะเป็นผ้าซิ่นหนึ่งผืนนั้น ต้องอาศัยทั้ง ความเพียรพยายาม ความละเอียดลออ และเวลาที่มากโข ผ้าซิ่นตีนจกจึงเป็นสัญลักษณ์ของ ความขยันหมั่นเพียรและแสดงถึงความเป็นสาวโดยสมบูรณ์นั่นเอง ฝ่ายชายก็ไม่น้อยหน้า ก้มหน้าก้มตาตีเหล็กตามอัตลักษณ์วรรคที่สามด้วยความตั้งใจ โดยในระยะแรกเป็นการตีเหล็กส�ำหรับท�ำเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนเท่านั้น อาทิ ขวาน จอบ ซึ่ง สมัยก่อนต้องน�ำแร่เหล็กมาถลุงให้ได้เนื้อเหล็กเสียก่อน แล้วจึงน�ำไปขึ้นรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ต่างๆ ในระยะต่อมามีคนนิยมใช้ขวาน มีด พร้า จอบ เสียม ที่ท�ำขึ้นในท้องถิ่นนี้มากขึ้น จึงมีการท�ำ เป็นอุตสาหกรรมประจ�ำบ้านแล้วน�ำไปขายตามงานเทศกาลต่างๆ หรือมีผู้มารับซื้อไปขายยังท้องถิ่น อื่นบ้าง จนกระทั่งถูกขนานนามว่าเป็นแหล่งตีมีดที่มีชื่อเสียงโด่งดังตีคู่ไปกับแหล่งตีมีดดาบน�้ำพี้ของ จังหวัดอุตรดิตถ์เลยทีเดียว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังคงมีการด�ำรงไว้ซึ่งวิถีชีวิตแบบฉบับออริจินัล แต่ก็เหลือน้อย เต็มทน ถึงขั้นที่สามารถท�ำให้ภูมิปัญญาเหล่านี้ ถูกฝังกลบให้สูญหายไปด้วยความเจริญทางสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้เขียนจึงต้องการบันทึกเรื่องราวเหล่านี้เอาไว้ให้แก่ชนรุ่นหลัง ได้เรียนรู้ และตระหนักถึงความส�ำคัญของแหล่งภูมิปัญญาแห่งนี้ ที่มีนามว่า “ต�ำบลหาดเสี้ยว”


ปฐม ชม ไหว้ | 12

มาเยือนดินแดนประวัติศาสตร์ชาติไทยทั้งที โดยเฉพาะ อย่างยิ่งสุโขทัยที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องวัดวาอารามที่สง่างามและมีคุณค่า ในทุกยุคทุกสมัยแล้วนั้นไซร้ ก็ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ที่จะ แวะเวียนมาไหว้พระขอพร หรือชื่นชมความงามของวัดต่างๆ ใน จังหวัดสุโขทัย พวกเราจึงใคร่ขอน�ำเสนอวัดที่ทุกท่านต้องมาเยือนหาก ท่านมาสุโขทัย ซึ่งแต่ละวัดจัดเป็นวัดที่ล้วนแต่มีความส�ำคัญต่างกัน ออกไปในแต่ละอ�ำเภอ โดยเราเริ่มต้นที่ตัวเมืองสุโขทัยขึ้นไป ทางเหนือ ผ่านทางอ�ำเภอศรีส�ำโรง สวรรคโลก ทุ่งเสลี่ยม และ ปิดท้ายที่ศรีสัชนาลัย

อ�ำเภอเมืองสุโขทัย วัดศรีชุม

อ.เมือง จ.สุโขทัย ๐ สักการะ ‘พระอจนะ’ พระที่สร้าง ขึ้นในสมัยสุโขทัย ๐ ไขปริศนาต�ำนานพระพูดได้ ๐ สถานที่พบศิลาจารึกหลักที่ 2

วัดโบสถ์ เมืองบางขลัง

อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ๐ สักการะ’หลวงพ่อขาว’ พระพุทธรูปโบราณที่ยังคงมีความ สมบูรณ์ขององค์พระ แม้นผ่านกาลเวลามากว่า 700 ปี แม้แต่ รถ ไถเครื่องจักรก็ไม่อาจท�ำให้องค์พระพุทธรูปเสียหายได้ ๐ ดินแดนประวัติศาสตร์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของประเทศไทย ดังจะเห็น ได้จากข้อความที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 2

อ�ำเภอศรีส�ำโรง วัดโสภาราม

อ.ศรีส�ำโรง จ.สุโขทัย ๐ สักการะ ‘พระพุทธบารมีศรีสุโขทัย’ หรือที่ เรียกกันว่า ‘พระสุโขทัยองค์ใหญ่’ ขนาดหน้า ตัก 22 × 28 เมตร

อ�ำเภอสวรรคโลก วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร

อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ๐ สักการะพระพุทธเรืองฤทธิ์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หลายร้อยปี ๐ สถานที่ที่เจ้าเมืองสวรรคโลก จะต้องกระท�ำพิธีถือน�้ำพิพัฒน์สัตยา


ปฐม ชม ไหว้ | 13

วัดพิพัฒน์มงคล

อ.ทุ่งเสลี่ยม จ. สุโขทัย ๐ สักการะพระพุทธสุโขโพธิ์ทอง พระพุทธรูปทองค�ำ หนัก 9 กิโลกรัม เดิมองค์พระพอกปูนลงรักปิดทองอารักขาภัยไว้ มีอายุประมาณ 500 ปี ๐ สักการะมีพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุรากขวั ญ(ไหปลาร้า) ซึ่งได้ อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา ๐ ชมวิหารที่วิจิตรงดงาม ทั้งศิลปะแบบไทยและแบบล้านนา

วัดหาดเสี้ยว

อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ๐ ไหว้พระและชมโบสถ์เก่าแก่กว่า 100 ปี ๐ หากมาช่วงต้นเดือนเมษายนจะมีงานประจ�ำปีบวชนาคแห่ช้าง ซึ่งเป็น ประเพณีที่น่าสนใจของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว

อ�ำเภอทุ่งเสลี่ยม วัดพระปรางค์

อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ๐ สักการะพระบรมสารีริกธาตุ ในพระปรางค์ ๐ สักการะหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ ๐ สักการะพระร่วงเจ้า พระลือเจ้า ในวิหาร พระร่วงพระลือ

อ�ำเภอศรีสัชนาลัย วัดช้างล้อม

อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ๐ ชมเจดีย์ทรงลังกาที่ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส มีช้างปูนปั้นเต็มตัวล้อมรอบ ซึ่งเป็น ที่มาของชื่อวัดช้างล้อม

วัดชมชื่น

อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ๐ ชมโครงกระดูกที่มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9


ปฐม ชม ชื่น | 14

“มรดกโลกล�้ำเลิศ ก�ำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ด�ำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข”

จากค�ำขวัญอันแสดงถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของจังหวัดสุโขทัยข้างต้น หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนหรือ จินตกวีมืออาชีพ แต่เปล่าเลย เพราะค�ำขวัญข้างต้นเป็นผลงานของครูส�ำราญ สีแก้ว ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา และ ทีมงานต้องการเผยแพร่ข้อมูลส่วนนี้ เพราะแม้แต่เด็กๆ ในโรงเรียนของคุณครูส�ำราญ ก็แทบจะไม่มีใครรู้ด้วยซ�้ำว่าค�ำขวัญที่พวกเขาท่องกัน มีที่มา จากครูในโรงเรียนของพวกเขาเอง เราจึงพาทุกท่านมารู้จักกับครูท่านนี้กันครับ Q: อยากทราบประวัติคร่าวๆ ของครูสักนิดครับ? A: ครูเป็นเด็กบ้านนอก เกิดที่ป่ากุมเกาะ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ครูเป็น ศิษย์เก่าโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา และครูได้รับการบรรจุแต่งตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532 จนปัจจุบันก็ได้มาสอนที่นี่ Q: พวกเราทราบมาว่าครูนั้นได้แต่งค�ำขวัญ ซึ่งเป็นค�ำขวัญของจังหวัด สุโขทัยที่พวกเรารู้จักกัน อยากทราบว่าครูคิดได้อย่างไร แล้วท�ำไมขณะนั้น ถึงต้องเปลี่ยนค�ำขวัญของจังหวัดสุโขทัยครับ? A: ปีพุทธศักราช 2538 ครูได้ทราบข่าวจากทางจังหวัด ผ่านหนังสือพิมพ์ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยในสมัยนั้นต้องการเปลี่ยนค�ำขวัญของจังหวัดสุโขทัย ครูก็เลยมีโอกาสเขียนส่งไปเพราะชอบและถนัดทางบทกลอนอยู่แล้ว อีกทั้งยัง ได้รับการคัดเลือกเป็นต้นแบบของค�ำขวัญจังหวัดสุโขทัย แล้วคณะกรรมการก็ น�ำมาขัดเกลาเพิ่มเติมต่างๆ ให้ครบความของจังหวัดสุโขทัย Q: ด้วยความที่ค�ำขวัญเก่าก็มีอยู่แล้ว เพราะเหตุใดผู้ว่าฯ ถึงต้องเปลี่ยน ค�ำขวัญใหม่เป็นของครูครับ? A: ความแตกต่างก็คือ ค�ำขวัญเดิมใจความไม่ครบตามของดีในจังหวัด เช่น ทอง โบราณ ผ้าตีนจก เป็นต้น และเนื่องด้วยสุโขทัยเป็นเมืองมรดกโลกในปี พ.ศ. 2534 ครูจึงใช้ค�ำว่ามรดกโลกเปิดหัวอีกทั้งค�ำว่ารุ่งอรุณแห่งความสุขอัน เป็นความหมายของชื่อจังหวัดปิดท้าย ข้างในค�ำขวัญครูต้องการสื่อให้เห็น เอกลักษณ์ของจังหวัดสุโขทัยที่เกิดจากแต่ละอ�ำเภอด้วย

Q: นอกจากการสอนและแต่งค�ำขวัญจังหวัดสุโขทัยแล้ว ครูมีผลงานการ เขียนอย่างอื่นอีกไหมครับ? A: มีการแต่งหนังสือของประวัติเมืองสวรรคโลกที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับสวรรคโลก หลวงปู่สวรรค์วรนายก และรวบรวมภาพเก่าๆที่หายากของเมืองสวรรคโลกมา อธิบายภาพด้วยบทกลอนต่างๆ และยังได้ร่วมแต่งบทอาขยานของอ�ำเภอ สวรรคโลกที่ขับร้องโดยชินกร ไกรลาศ ศิลปินแห่งชาติชาวสุโขทัย นอกจากนี้ ยังมีหนังสือสุโขทัยใต้ร่มพระบารมี ซึ่งเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการเสด็จเยือน สุโขทัยทั้ง 7 ครั้งของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่รวบรวมพระราชด�ำริ ภาพถ่ายต่างๆ เอาไว้ Q: สุดท้ายนี้ก็อยากให้ครูฝากข้อคิดถึงเด็กรุ่นใหม่ๆ ในฐานะพ่อพิมพ์ของ ชาติบ้างครับ? A: ข้อนี้ไม่เห็นบอกไว้ก่อนเลย (หัวเราะ) อาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องรักเด็กดูแล เด็กต้องรักมากกว่าลูกเป็น 2 เท่า ผู้ปกครองทุกคนไว้วางใจเรา เราจึงต้องดูแล ให้ดีกว่าลูกของเรา ส่วนเรื่องที่อยากจะฝาก คือ เด็กในยุคปัจจุบัน การใช้ เครื่องมือสื่อสารในยุคสมัยนี้ไม่ค่อยเป็นประโยชน์ต่อตัวเองเท่าที่ควร อยากให้ มองมุมกลับกันถ้าใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองมันก็จะ สร้างสรรค์ผลงานให้กับตัวเองและประเทศชาติต่อไปด้วย


พระเกียรติก้องเกริกไกรแผ่ไพศาล ปรีชาชาญราชกิจทุกทิศา พระบารมีปกเกล้าเหล่าประชา เทพเทวาถวายชัยให้บดินทร์ ด�ำรงรัฐปกเกศประเทศสุข บ�ำบัดทุกข์ผองไทยให้สูญสิ้น ปวงประชาแซ่ซ้องก้องแผ่นดิน องค์ภูมินทร์ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าทีมงานนิตยสาร ‘ปฐมแลนด์’ โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จ.สุโขทัย ประพันธ์โดย ครูส�ำราญ สีแก้ว


นิตยสาร ‘เชื่อมโลก’ ประเทศไทยมีผู้พิการทางสายตาประมาน 700,000 คน แต่มีหนังสือ เสียง (Audio book) ส�ำหรับผู้พิการทางสายตาเพียง 5,000 เล่ม หรือคิดเป็น 0.71% เท่านั้น ซึ่งถือเป็นปริมาณที่น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่ง อุปสรรคอีกอย่างของผู้พิการทางสายตาคือคือไม่มีความรู้เกี่ยวกับอักษรเบรลล์ ท�ำให้การช่วยเหลือด้านหนังสืออักษรเบรลล์นั้นถูกจ�ำกัดตามไปด้วย ทีมงานจึง อยากให้นิตยสาร ‘ปฐมแลนด์’ เป็นหนังสือเสียงอีกเล่มหนึ่งที่ช่วยให้ผู้พิการ ทางสายตานั้นได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดสุโขทัยเช่นเดียวกันกับคนปกติทั่วไป ผ่านการแสกน QR CODE ภายในนิตยสาร เพื่อให้โลกของคนปกติและคนพิการ เชื่อมเข้าหากันง่ายขึ้นนั่นเอง

นิตยสารภายใต้หัวข้อ

‘พลังแผ่นดิน ปัญญาแผ่นดิน’ โครงการกล้าใหม่.. ใฝ่รู้ ปีที่ 12 โดยธนาคารไทยพาณิชย์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.