5 kaen

Page 1

CITY CASES STUDY. RAK KAEN MAGAZINE. 3 January, 2018. Photo Credit : Rawipad Shaiyes


“การตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้นอีกแห่งหนึ่งนี้ เป็นคุณอย่าง ยิ่งเพราะทำ�ให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภูมิภาคที่ สำ�คัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีแก่ การพัฒนา ยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค นี้เป็นอย่างยิ่งความสำ�เร็จในการตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเป็นความสำ�เร็จที่ทุกคนควร จะยินดี” พระราชดำ�รัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำ�เนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510

นานมาแล้วภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือเคยเป็นพื้นที่ที่ขาดแหล่งการศึกษาหาความรู้ระดับอุดมศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชทรงเห็นถึงปัญหาและต้องการที่จะพัฒนาคนโดยปลูกฝังการศึกษา แม้จะเป็นเรื่องที่ใช้เวลา แต่เป็นเรื่องที่จำ�เป็น จึงเป็นเหตุให้มีการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นศูนย์รวมทางความคิด สติปัญญาของสังคม และเป็นศูนย์รวมการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้เสด็จ พระราชดำ�เนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2510 ให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ขณะนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่และเก่า แก่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถานที่คอยส่งเสริมการศึกษา ให้แก่ผู้คนในภูมิภาค ต้นกัลปพฤกษ์ที่พระองค์ทรงปลูกพระราชทานเมื่อ ครั้งเสด็จพระราชดำ�เนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัย ยังคงผลิดอกเป็นบัณฑิต ที่พัฒนาประเทศอยู่เรื่อยมา




ART & ARCHITECHTURE ISSUE

S S I A M I เรื่อง : ภคพล ขุราษี ภาพ : ปวีณา ภัทรสิริโรจน์

สิม-ไซ

สถาปัตยกรรมและ จิตรกรรม สิม-สินไซ

นี่เป็นเช้าวันใหม่ของเดือน ที่ไม่ค่อยจะสดใสนัก ท้องฟ้า ปกคลุมด้วยเมฆบางๆ เพียงแค่แสงแดดอ่อนๆ ก็ทำ�ให้เราแสบตาได้ ระหว่างเดินทางไปวัดไชยศรี เราเห็นสัตว์ตัวหนึ่งอยู่บนยอดเสาไฟ สัตว์ ที่มีหัวเป็นช้างและลำ�ตัวเป็นราชสีห์ มองดูคุ้นตา แต่ชื่อของมันยังคงติด อยู่ที่ปาก

เมื่อมาถึงวัด สิ่งเดียวที่เราเห็นหลังจากก้าวลงจากรถคือ ศาลาของที่นี่ หากไร้ซึ่งของพวกนั้นคงไม่ทำ�ให้รู้ว่าที่นี่คือวัด ไร้ซึ่งพระ ผู้คนและเสียงใดๆ เราเดาว่านี่คงเป็นเวลาฉันเพล ด้วยความสงสัยว่า ทำ�ไมจึงเงียบเช่นนี้ ทำ�ให้เราเริ่มมองหา และก็ได้หันไปพบกับสิ่งหนึ่ง เข้า กลิ่นของประวัติศาสตร์และความงามได้นำ�ทางเราไป


ÃÒ¡

เราพบกั บ สิ่ ง ปลู ก สร้ า งที่ มี โ ครงสร้ า ง ทางสถาปัตยกรรมที่พวกเราอาจไม่ค่อยได้พบเห็น บ่อยนักในชีวิตประจำ�วันและค่อนข้างโบราณ การ ออกแบบด้วยห้องสี่เหลี่ยมยกสูงและใส่หลังคาเป็น ทรงไทย นั่นคือ สิม ได้รับอิทธิพลจากนายช่าง ญวนที่อพยพมา ภายนอกตกแต่งด้วยหน้าต่าง สามด้านแต่มีเพียงหน้าต่างของจริงเพียงด้านเดียว เท่านั้น ที่นี่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมของอีสานไว้ เป็นอย่างดี โดยมีการติดป้ายอย่างชัดเจนว่าห้าม สตรีขึ้นไปบนสิม เพียงแค่มองก็รู้สึกได้ถึงความเก่า แก่และความขลัง ทันทีที่เดินเข้ามาในบริเวณสิม ก็ทำ�ให้ จุดที่เด่นที่สุดของสิมแห่งนี้ สะดุดตาเราเข้า สิ่งที่ ผู้คนมักบอกกันมาว่าคนสมัยก่อนเล่าเรื่องโดยใช้ ภาพ ภาพทั้งหมดที่อยู่รอบสิมคือฮูปแต้ม แต่ละ รูปมีจุดเชื่อมโยงกันในการเล่าเป็นลำ�ดับเพื่อจะบอก เล่าเหตุการณ์บางอย่าง ในขณะกำ�ลังทำ�ความเข้า ใจรูปภาพบนผนัง เราได้เหลือบไปเห็นภาพที่คล้าย กับสิ่งซึ่งเราพึ่งเจอจากยอดเสาไฟ รูปบนฝาผนัง ยังคงชัดแม้จะผ่านไปเป็นร้อยปี เมื่อเห็นสัตว์ตัว นั้นยืนคู่กับคนถือธนู และคนที่ออกมาจากหอย สังข์ เราจึงนึกออกว่ามันคือสีโหจากวรรณคดีเรื่อง สินไซ เมื่อกลับไปทบทวนจุดเริ่มต้นของจิตรกรรม ฝาผนังนี้อีกครั้ง จากตอนแรกที่ดูไม่ออกว่าคือ ภาพเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร ในตอนนี้ทำ�ให้สามารถ ทำ�ความเข้าใจเหตุการณ์ได้ง่ายขึ้น ว่าภาพที่เล่า ออกมาคือเหตุการณ์ในวรรณคดีเรื่องสินไซนั่นเอง นอกจากนั้นยังมีเวสสันดรชาดกและภาพของนรก เจ็ดขุม ที่ช่างแต้มวาดให้น่ากลัว เพื่อสอนให้ชาว บ้านไม่กล้าทำ�บาปอยู่ผนังด้านนอก ผนังด้านในมี การเขียนภาพอดีตพระพุทธเจ้าเรื่องพระเวสสันดร ชาดก ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากสุนทรียภาพของช่างแต้ม นามว่า ทอง ทิพย์ชา การใช้สีพาสเทล เช่น สีคราม เหลือง ขาว และการวางจังหวะของภาพที่ลงตัว สามารถผสานกั น ได้ อ ย่ า งดี เ ยี่ ย มจนเกิ ด เป็ น จิตรกรรมฝาผนังที่เรียกว่า “ฮูปแต้ม”

2


ÃÒ¡

3

ในปัจจุบัน การเข้ามาของเทคโนโลยี การเติบโต ของบ้านเมือง การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจะทำ�ให้ ศิลปะเหล่านี้เริ่มเลือนหายไป และทำ�ให้คนรุ่นใหม่สนใจแต่ เทคโนโลยีที่ทันสมัยจนลืมความงามเหล่านี้ เทศบาลนครขอนแก่ น เห็ น ว่ า จั ง หวั ด ขอนแก่ น มีต้นทุนเรื่องราวของสังข์ศิลป์ชัยสูงเช่นฮูปแต้มบนสิมที่ วัดไชยศรี ภาพเขียนที่วัดสนวนวารีพัฒนาราม ด้วยเหตุ นี้เทศบาลเมืองขอนแก่นจึงยกย่องให้ตัวละครเอกทั้งสาม จากเรื่องสังข์ศิลป์ชัย คือ สีโห ศิลป์ชัย และสังข์ทอง เป็น สัญลักษณ์ของเมือง และได้นำ� “สีโห” หนึ่งในตัวละครเอก จากเรื่องสินไซ มาประดับยอดเสาไฟ ตามนโยบายกระตุ้น ให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจเรื่องสินไซ นั่นจึงเป็นที่มาของสัตว์ ที่อยู่บนเสาไฟในเมืองขอนแก่นนั่นเอง แม้การเปลี่ยนแปลงจะเข้ามาในเมืองและวัฒนธร รมเก่าๆ ค่อยๆ หายไปแต่ขอนแก่นก็ทำ�ให้เห็นถึงการผสม ผสานกันของความเจริญและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในเมือง สามารถมองเห็นได้จากทั่วเมืองขอนแก่นคือสีโหที่อยู่บนเสา ไฟตามท้องถนนนั่นเอง


ชุมชน เมือง

ในวงล้อม

ของ

LIVING ISSUE

เรื่องและภาพ : ปวีณา ภัทรสิริโรจน์


ÃÒ¡

5

แสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าสาดส่องผ่านม่านบางๆ ปลุกผู้คนให้ตื่น จากการหลับใหลเสมือนเป็นสัญญาณว่าเช้าวันใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว นาฬิกา ข้อมือกระดิกเข็มบอกเวลาว่าอีกไม่กี่นาทีจะถึงเวลานัด ฉันที่มาถึงก่อนจึง เดินส�ำรวจบริเวณรอบ ๆ ก่อนที่ทุกคนจะเริ่มค่อยๆ ทยอยกันมา และเดิน เข้าไปในชุมชนพร้อมกัน “คุณลุงน้อยใช่ไหมครับ” หนึ่งในสมาชิกถามขึ้น หลังจากที่เห็น ชายวัยกลางคนก�ำลังมัดเชือกกั้นบริเวณซ่อมแซมถนนของชุมชนอย่างขยัน ขันแข็ง คุณลุงยิ้มรับตอบ และกล่าวทักทายอย่างเป็นมิตร พร้อมกับชวนกิน ลาบเป็ดร้านอร่อยที่ลุงน้อยเป็นเจ้าของ เรานั่งคุยกันอยู่นานและได้คุยกันถึง เรื่องประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่าจะมาเป็นชุมชนแห่งนี้ที่ไม่เคยรู้มา ก่อน คุณลุงน้อย สุระชัย สุวรรณสิรินนท์ ประธานชุมชนหลักเมือง คุณลุงน้อยเริ่มเล่าให้ฟังว่าเดิมทีคุณลุงเป็นคนชุมแพ แต่ย้ายมาขายของกับ พ่อแม่ที่ขอนแก่นตั้งแต่ ป.6 สมัยก่อนที่นี่เคยเป็นสลัม ไม่ได้อยู่กันเป็นชุมชน เหมือนทุกวันนี้ ทุกคนอยู่แบบอยู่ใครอยู่มันมาตลอดหลายสิบปี จากหลายๆ อ�ำเภอ หลายๆ จังหวัดมาอยู่รวมกันเนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่ของสาธารณะ แต่จุดเปลี่ยนของที่นี่คือ เมื่อปี พ.ศ. 2515 ทางเทศบาลมีนโยบายที่จะให้ ประชาชนในเขตเทศบาลได้มีการรวมตัวกันเพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมและ มีบทบาทในการป้องกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาจึงได้เกิดการจัดตั้งชุมชน หลักเมืองในปี พ.ศ. 2539 เป็นเวลาถัดมา ซึ่งเหตุผลที่ชื่อว่าชุมชนหลักเมืองก็ เพราะว่า ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นศาลที่ชาวขอนแก่นให้ความเคารพนับถือ มาตลอดจนถึงปัจจุบันนั่นเอง เมื่อมีการจัดตั้งเป็นชุมชนเกิดขึ้นและเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงใน ปี พ.ศ. 2550 ได้เช่าที่ดินของการรถไฟ (กระทรวงคมนาคม) เพื่อที่อยู่อาศัย


ÃÒ¡

ในราคาตารางเมตรละ 20 บาท คิดเป็นคนละ ประมาณ 1,200 บาท/ปี ไม่นานพื้นที่คลองน�้ำถูก เปลี่ยนเป็นถนน แต่ยังไม่มีสาธารณู​ูปโภคที่ดีนัก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ พอช. จึงได้ให้ งบประมาณมาพัฒนาคนด้อยโอกาสหรือคนจน เมืองเพื่อผลักดันการอยู่อาศัยแบบสลัมให้กลาย เป็นชุมชนมากขึ้น ซึ่งงบที่ได้มา ได้น�ำไปถมดิน ท�ำท่อระบายน�้ำ การไฟฟ้า การประปา จนเริ่ม กลายเป็นชุมชนโดยสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2555 จึง ท�ำให้ชาวบ้านมีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีอย่างทุกวันนี้ ความภูมิใจของชุมชนหลักเมืองถูกส่งผ่านน�้ำ เสียง สีหน้าท่าทาง และแววตาของคุณลุงอย่าง ชัดเจน ต่อมาเมื่อขอนแก่นมีการสร้างระบบ รถไฟรางคู่ขึ้นท�ำให้ชุมชนต้องคืนพื้นที่บางส่วน ให้การรถไฟ ลุงน้อยกล่าวว่า หากจะขอที่เพิ่ม จะต้องหาที่อยู่ใหม่ให้คนในชุมชนและต้องน�ำ สาธารณูปโภคไปด้วย เพื่อให้ได้ชาวบ้านอยู่มี ชีวิตอยู่ที่ดีกันแบบเดิมไม่เช่นนั้นทุกอย่างที่ร่วม สร้างกันมาคงสูญเปล่าเมื่อชุมชนกลับกลายเป็น สลัมอีกครั้ง คุณลุงเดินน�ำพวกเราเข้าไปในศาลาซึ่ง เป็นที่ประชุมของชุมชนพร้อมกับชี้ภาพถ่ายใน อดีตของชุมชนให้ดูตั้งแต่เริ่มจัดตั้งชุมชน ขณะที่ รถ backhoe ก�ำลังถมดิน เจ้าหน้าที่ก�ำลังลงพื้นที่ หรือการจัดกิจกรรมในวันส�ำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นกิจกรรมวันกีฬาสีชุมชน วันขึ้นปีใหม่ วันเด็ก วันสงกรานต์ หยาดเหงื่อและใบหน้าเปื้อนยิ้ม ของผู ้ ค นในภาพคงบ่ ง บอกได้ ถึ ง อารมณ์ แ ละ 6 ความสุขของชาวบ้านได้อย่างชัดเจน ท�ำให้เห็น ได้ว่า ไม่ใช่แค่ลุงน้อยแต่เป็นทุกคนในชุมชนหลัก เมืองทุกคนที่ช่วยกันพัฒนาจนชุมชนมีความเข้ม แข็งอย่างทุกวันนี้ ในปัจจุบัน ขอนแก่นเป็นเมืองที่ได้รับ การพัฒนาขึ้นมาก มนุษย์จ�ำเป็นต้องก้าวตามให้ ทันโลกยุคใหม่ เหมือนกับที่ลุงน้อยได้น�ำความ เปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชนชุมชนหลักเมือง จากเมื่อ ก่อนที่เคยแยกกันอยู่ วันนี้ผู้คนได้มารวมตัวกัน จนเกิดเป็นชุมชน และมีสาธารณูปโภคที่ท�ำให้ คนในชุมชนอยู่ดีกินดีถึงทุกวันนี้ และท�ำให้ปัญหา ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเล็กๆ ทีถ่ ูกรายล้อม ด้วยความเจริญหมดไป

“การเป็นประธานชุมชน ไม่มีเงินเดือน ท�ำด้วยใจ ท�ำด้วยจิตอาสาและ ต้องท�ำให้ดีที่สุด” - สุระชัย สุวรรณสิรินนท์ (ลุงน้อย) -


เรื่ิอง : ภราดร ใสบาล ภาพ : ปวีณา ภัทรสิริโรจน์

เมื่อขยะหาย รา¡

7

PEOPLE ISSUE

เขาว่ากันว่าที่ไหนมีคน ก็ต้องมีขยะ ใน ทางกลับกันเมื่อขยะเกิดขึ้น ก็จะเกิดกลุ่มคนที่ใช้ขยะ ในการทำ�เงินเช่นกัน ที่เราเห็นบ่อย ๆ ก็คงจะเป็นคน เก็บขยะ แน่นอนว่าในเมืองอย่างขอนแก่น และเมือง ใหญ่อื่นๆ ที่มีคนเป็นแสนคนต้องมีขยะเยอะแน่ แต่ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปคนเริ่มตระหนักถึงปัญหาของ ขยะ การลดขยะเริ่มเป็นกลายเป็นเทรนด์ของคนยุค ใหม่ ถุ ง พลาสติ ก และขยะชิ้ น เล็ ก ชิ้ น น้ อ ยอยู่ เกลื่อนเต็มสองข้างถนน วันนี้พวกเรามาสำ�รวจความ เป็นอยู่ของคนเก็บขยะท่ามกลางขยะนับพันตันบน เนื้อที่กว่าร้อยไร่ ณ บ่อขยะ เทศบาลขอนแก่น บ้าน คำ�บอน ต.โนนท่อน “ทุกคนพร้อมนะ” ผมสูดหายใจเข้าไป เฮือกใหญ่เพื่อเตรียมใจให้พร้อมก่อนลงจากรถ เมื่อ เปิดประตูออกไป กลิ่นขยะจากภูเขาขยะตรงหน้าก็ ส่งกลิ่น ขยะสูงสามชั้นประกอบด้วยพลาสติก ขวด แก้ว โลหะ และยาง เราลองสูดหายใจเอากลิ่นเข้า เต็ม ๆ ปอด รู้สึกว่าจะไม่เหม็นเท่าไหร่ งานนี้คงง่าย กว่าที่คิด เราเดินเข้าไปลึกกว่าเดิม นี่สิของจริงกลิ่นขยะที่รถตักขยะขุดขึ้นมา ส่งกลิ่นรุนแรงปานจะทำ�ลายประสาทการรับกลิ่น ได้ ตรงข้ามจุดที่มีการขุดขยะมีผู้หญิงคนหนึ่งนั่งพับ ถุงอยู่ข้างกับกองขวดเล็กๆ “คุณป้าคะ ขอถ่ายรูป หน่อยค่ะ” ตากล้องของเราถามคุณป้าอย่างนุ่มนวล ป้าเขียวหันมาด้วยหน้างงเล็กน้อย แต่ก็ยิ้มให้ หลัง รัวชัตเตอร์เสร็จ ป้าก็ขอตัวขึ้นไปเก็บขวด ก่อนเดิน ไต่ภูเขาขยะขึ้นไป พวกเราลังเลอยู่สักพัก สุดท้ายก็ ยอมไต่ตามไป กลิ่นขยะที่หมักหมมใต้ภูเขายังคงส่งกลิ่น รุนแรงเช่นเดิมแต่จมูกเราเริ่มชินซะแล้วมั้ง ขยะเหล่า นี้ถูกขุดขึ้นมาตากก่อนนำ�ไปเข้ากระบวนการผลิต ไฟฟ้า เราเดินตามหาป้าเขียวอยู่สักพักบนกองขยะ พันตัน ความมหึมาของกองขยะยังทำ�ให้ผมช็อกอยู่ ขยะเหล่ า นี้ เ กิ ด จากสิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ ท รงปั ญ ญาที่ สุ ด ในโลกเพียงแค่ไม่กี่แสนคน ระหว่างที่ผมยังคงช็อก


ประเด็นเรื่องอาชีพรองรับ ควรถูกยกขึ้นมาเป็น ประเด็นคู่กัน

รา¡

กับกองขยะ ตากล้องของเรากลับรู้สึกตื่นเต้นวิ่งไปถ่ายไปดูเธอตื่น เต้นเอามากๆ ที่แปลกคือเราเดินวนอยู่เป็นชั่วโมงก็ยังไม่เห็นแววป้า เขียวหรือคนเก็บขยะสักคน “เจอป้าแล้ว!” ตากล้องของเราตะโกนขึ้นมาพลางชี้ไปอีก ด้านของภูเขา สรุปคือขยะเยอะมากจนเดินได้ไม่ทั่ว ป้าเขียวชวนเรา ลงไปคุยกันที่ด้านล่างซึ่งเป็นจุดพักประจำ�ของป้า ลมเย็นพัดมา ใต้ร่มป่ากฐินเรานั่งคุยกันกับป้าเขียว ป้า เขียวพูดคุยด้วยท่าทางเป็นมิตร ไม่เขินไม่เกร็งเลย เพราะตลอด เวลา 15 ปีที่ป้าเก็บขยะมา ป้าก็นั่งตรงนี้มาตลอด ใครมาทำ�ข่าวทำ� รายงานอะไร ก็ต้องมาถามป้าทุกคน จากที่คุยกับป้ามา ป้าไม่ต้อง ทำ�งานหนักมาก เพราะจะมาเก็บขวดตอนเช้า นั่งรอเขาขุดขึ้นมา แล้วก็ไปเก็บเอาพวกขวดแก้ว กระป๋องโลหะ เลิกงานก็ตอนบ่ายสาม บ่ายสี่ บางวันเหนื่อยอยากกลับบ้านก็กลับตั้งแต่เที่ยง ขวดที่เก็บได้ก็ มีคนมาซื้อถึงที่ รายได้วันหนึ่งก็ประมาณสองร้อยสามร้อยบาท ดู ๆ แล้วง่ายกว่าทำ�งานในเซเว่นเสียอีกนะ ป้าเขียวเล่าว่าที่ภูเขาขยะนั่น แต่ก่อนเป็นบ่อน้ำ�ลึกมาก ทางเทศบาลก็มาขอเทขยะ ชาวบ้านก็ไม่ว่าอะไร เพราะคนใน หมู่บ้านก็ไม่มีงานทำ� จึงยึดเอาการเก็บขยะเป็นอาชีพหลัก ถมไปถม มาก็สูงขึ้นมาเป็นภูเขา แต่ก่อนรายได้ต่อวันสูงถึงวันละพันบาทเลย แต่พอสร้างโรงไฟฟ้า ขยะส่วนใหญ่ที่มาจากเทศบาลก็ไปเผาทำ�ไฟฟ้า หมด ขวดที่เก็บได้นี่ก็เป็นขวดเก่าจากภูเขาก่อนจะมีโรงงานไฟฟ้า พอขยะลดลง คนในหมู่บ้านก็ต้องออกไปหางานทำ�ที่อื่น ที่เหลือก็มี แต่ป้าเขียว กับผู้หญิงอีกคน ในยุคที่การจัดการขยะกลายเป็นประเด็นใหญ่ ดูผิวเผิน แล้วเหมือนกับสังคมกำ�ลังแกล้งเหล่าคนเก็บขยะอยู่ แต่คงไม่มีใคร ต้องการเป็นคนเก็บขยะไปตลอดหรอก เป้าหมายของประเทศคือ ความเจริญ การจัดการขยะที่ถูกต้องจะช่วยลดปัญหาการว่างงาน ของประชาชน ดังนั้นประเด็นเรื่องอาชีพรองรับจึงควรถูกยกขึ้นมา เป็นประเด็นคู่กันเพื่อรับการหายไปของอาชีพคนเก็บขยะในสังคม ศิวิไลซ์ด้วยเช่นกัน

8



ผี พราหมณ์ พุทธ

เรื่อง : ปวีณา ภัทรสิริโรจน์

CULTURE ISSUE

ศาลหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง ศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ เป็นต้น แต่ ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น เนื่องจาก เป็นสถานที่ ที่ชาวขอนแก่นให้ความเคารพนับถือ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองของขอนแก่น รวมถึงเป็นที่สักการะของชาวขอนแก่นและ นักท่องเที่ยวที่มีโอกาสได้มาเยือน แต่ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อ หลักเมืองไม่เพียงทำ�ให้มีผู้คนหลั่งไหลมากราบไหว้เท่านั้น พวกเขาต่าง นิยมมาขอพรและบนบานศาลกล่าว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องโชคลาภ ความ รัก ความสำ�เร็จในชีวิต สุขภาพร่างกาย ฯลฯ โดยจะนำ�หมู เป็ด ไก่ ไข่ต้ม มาถวายตามกำ�ลังและความเชื่อส่วนบุคคลนั้น ๆ แต่จากความ เชื่อของคนในพื้นที่ ที่บอกต่อกันมาทำ�ให้ได้ทราบว่าส่วนใหญ่มักจะมี การนำ�รูปปั้นหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ และฉายหนัง กลางแปลงถวาย โดยจะเป็นระยะเวลากี่วัน กี่คืน ตามที่ได้ตกลงกับสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ ดูเหมือนว่าความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมาจะเกิดจากความกลัวที่ เกิดจากการปรุงแต่งภายใต้จิตใจของมนุษย์ การขาดความมั่นใจ การ ขาดที่พึ่งทางใจ จิตใจที่อ่อนแอ ความโดดเดี่ยว หรืออาจจะเป็นเหตุผล อื่นตามสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ตนเองอยู่ ซึ่งความกลัวต่าง ๆ 10 ทำ�ลายความสุขหรือรบกวนจิตใจของมนุษย์เป็นอย่างมาก จึงต้องหาที่ พึ่งทางจิตใจเพื่อเป็นตัวยึดไว้ให้กับตัวเองและเพื่อความสบายใจของตน เท่านั้น เหมือนเป็นเพียงกำ�ลังใจที่ทำ�ให้ผ่านเรื่องร้าย ๆ ไปได้ เพราะใน ความเป็นจริงนั้นผลที่เกิดขึ้นมามีเหตุจากการกระทำ�ของเรานั่นเอง อย่างไรก็ตามศาสนานั้นไม่ใช่พิธีกรรมแต่เพียงอย่างเดียว แต่ ศาสนาเป็นแนวทางเพื่อการดำ�เนินชีวิต “ไม่เชื่อแต่อย่าลบหลู่” เป็น ถ้อยคำ�คลาสสิกที่มุ่งให้เราตระหนักว่า แม้เราจะมีความเชื่อที่แตกต่าง กัน แต่เราก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะลบหลู่ความเชื่อของผู้อื่น เพราะความเชื่ออาจ เป็นความหวังเดียวที่มนุษย์คนหนึ่งใช้เป็นกำ�ลังใจในการดำ�เนินชีวิต

ÃÒ¡

รถเก๋งสีดำ�ที่ถูกแปะด้วยสติ๊กเกอร์ท้ายรถที่ว่า “รถคันนี้สีแดง” สีเสื้อที่สวมถูกเลือกตาม SMS แนะนำ�เสื้อถูกโฉลกในตอนเช้าบนหน้าจอ โทรทัศน์ของทุกวัน การบนบานขอพรต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หล่อด้วย ปูนประกอบเป็นรูปสัตว์น้อยใหญ่นับพันตัว ประกบข้างต้นไม้ต้นใหญ่ที่ พันด้วยผ้าสามสีเพียงเพราะเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ เรามักจะถูกปลูกฝังมาด้วยคำ�คลาสสิกที่ว่า เมืองไทยเมือง พุทธ เมืองแห่งความดีงาม ความบริสุทธิ์ ไร้ซึ่งมลทิน ห้ามวิจารณ์ และออกความคิดเห็นที่เป็นการขัดแย้งความเชื่อทางศาสนาและความ เชื่อของบรรพบุรุษที่มีมาแต่บรรพกาล แต่หลังจากที่ได้ยินคำ�พูดแบบนั้น แล้วคงต้องกลับมาคิดทบทวนใหม่ ว่าความเชื่อที่ถ่ายทอดส่งต่อกันมา มันถูกต้องแล้วหรือ ฉันคิดว่ามัน “ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิง” เพราะพระพุทธ ศาสนาสอนให้เชื่อในหลักความเป็นจริงและเชื่อในเหตุผล เดิมทีคนไทยนับถือผี ผีเป็นพลังงานอย่างหนึ่งภาษาทาง ศาสนาเราเรียกว่า วิญญาณ คนไทยนับถือศาสนาพุทธแต่ก็มีพิธีเกี่ยว กับพราหมณ์เข้ามามีบทบาทในการดำ�เนินชีวิต ซึ่งเห็นได้จากเดิมคน พื้นเมืองบางส่วนที่นับถือผีมาก่อนไม่ยอมรับจึงมีการประนีประนอม ยกย่องผีบางเรื่อง เช่น ยอมรับโล้ชิงช้าของผีมาอยู่ในพิธีพราหมณ์ ตรียัมปวาย ยอมรับเรื่องการทำ�ขวัญของผีมาอยู่ในพิธีบวชพระของพุทธ ศาสนาหรือจะเห็นได้จากตำ�นาน นิทานที่พระพุทธเจ้าทรงปราบนาค หรือยักษ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อเรื่องผีของคนพื้นเมืองในอดีต ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่จึงเรียกได้ว่ามีการนับถือศาสนา แบบผสมผสานซึ่งเป็นศาสนาไทย หรืออีกชื่อคือ ศาสนาผี พราหมณ์ พุทธ คือเป็นศาสนาพุทธที่เลือกผสมผสานความเชื่อเรื่องพราหมณ์และ ผี โดยการประดับประดาศาสนาด้วยสิ่งละอันพันละน้อย เพื่อให้ดูดี มี สง่าราศี ทันสมัย น่าเลื่อมใสศรัทธากว่าเก่าเท่านั้น หากกล่าวถึงจังหวัดขอนแก่นอาจพบวิถีความเชื่อนี้ได้ตาม


DEMONSTRATI ONSCHOOLOF KHONKAENUNI VERSI TY


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.