7 LANGSUAN LIFE

Page 1

LL A NIG SFUAEN December 2017

of

H I S T O R Y . L I F E S T Y L E . C U LT U R E . I N T E RV I E W . F O O D & F R U I T . T R AV E L

ISSUE 001

MAGAZINE


Editor’s note

“หลังสวน” จากค�ำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่สมัยนั้นจะ

ไม่สร้างบ้านริมน�้ำแต่จะปลูกสวนแทน ส่วนตัวบ้านจะสร้างถัดจากสวนจึงเป็นที่มาของ ค�ำว่า หลังสวน อ�ำเภอหลังสวนนั้นตั้งอยู่ที่จังหวัดชุมพรมีประวัติมาอย่างยาวนาน และถือได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งเลยก็ว่าได้ และที่ส�ำคัญคนหลังสวนนั้นมีวิถีชีวิต ที่เรียบง่าย ใช้ชีวิตแบบบ้าน ๆ ไม่หรูหราและสะดวกสบาย

นอกจากนี้หลังสวนยังมีวัฒนธรรมประเพณีที่ทรงคุณค่าและเอกลักษณ์ที่

น่าจับตามอง นั่นคือ “ประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง” ที่ถือว่าเป็น highlight ในช่วงวันแรม 1 ค�ำ่ เดือน 11 เลยก็วา่ ได้ เพราะนอกจากจะมีขบวนแห่เรือพระทีส ่ วยงามแล้ว ยั ง มี ก ารแข่ ง เรื อ ขึ้ น โขนชิ ง ธงที่ มี แ ห่ ง เดี ย วในประเทศไทยจนการท่ อ งเที่ ย วแห่ ง ประเทศไทยยกให้เป็น UNSEEN THAILAND ของการแข่งเรือ

และที่ส�ำคั ญ นอกจากหลั งสวนจะมี วัฒ นธรรมประเพณี ที่ มี เ อกลั ก ษณ์ แ ล้ ว

ยังเป็นศูนย์กลางในการค้าขายที่ส�ำคัญของประเทศอีกด้วย มีผลไม้ที่อร่อยมากมาย อาทิเช่น ทุเรียน มังคุด และยังไม่หมดแค่นห ี้ ลังสวนยังมีสถานทีท ่ อ ่ งเทีย ่ วทีส ่ วย ๆ ทีท ่ ก ุ คน จะหลงใหล ทางทีมงานก็เลยน�ำสถานที่สุดฮิต 10 อันดับมาฝากคนอ่านอีกด้วย

จะเห็นว่าหลังสวนเป็นชุมชนที่มีสิ่งที่น่าสนใจมากมายแต่ยังไม่ค่อยถูกน�ำมา

เสนอให้ภายนอกได้รบ ั รู้ พวกเราในฐานะทีเ่ ป็นคนหลังสวนจึงอยากจะน�ำเสนอความเป็น หลังสวนทีห ่ ลาย ๆ คนไม่รห ู้ รืออาจจะรูจ ้ ก ั แต่ยง ั ไม่มากพอ ได้รบ ั รูถ ้ ง ึ ความเป็นหลังสวน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และสืบทอดให้คงอยู่สืบไป

LANGSUAN TEAM ทีมบรรณาธิการ โรงเรียนเมืองหลังสวน


บทบรรณาธิการ

4 HISTORY

ประวัติ เรื่องราวของ อำ�เภอหลังสวน

DECEMBER 2017

ISSUE 001

5 LIFESTYLE

วิถีชีวิตของชาวหลังสวน อตีด ปัจจุบัน และอนาคต

6 CULTURE

เรื่องราวของประเพณีแห่พระ แข่งเรือขึ้นโขนชิงธง

10 INTERVIEW TOP 5 คนรักวัฒนธรรม

ที่ถ่ายทอดเรื่องราวประเพณี

12 FOOD & FRUIT ขนมจีนหาดยาย & ทุเรียน

BEHIND THE COVER

CONTENTS

EDITOR’S NOTE

การออกแบบปกนิ ต ยสารบางครั้ ง ก็ ยากอยู่เหมือนกันต่างจากการท�ำปกรายงาน ส่งคุณครูทั่วไป ส�ำหรับครั้งนี้ครูได้มอบหมาย ให้ผมออกแบบปกนิตยสาร LIFE of LANGSUAN วันหนึ่งได้มีโอกาสไปนั่งทานข้าวต้มตอนเช้า ในร้านแห่งหนึ่งในตลาดหลังสวน รอบ ๆ ผนัง ของร้านซึง ่ เป็นไม้เก่า ๆ ถูกแปะไว้ดว ้ ยโปสเตอร์ มากมาย แต่ทน ี่ า่ สนใจคือโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ประเพณี แ ห่ พ ระแข่ ง ขั น เรื อ ขึ้ น โขนชิ ง ธงใน แต่ละปีที่ถูกจัดวางไว้อย่างน่าสนใจ โปสเตอร์ แต่ละปีจะมีความโดดเด่นและเอกลักษณ์ท่ีแตก ต่างกัน แต่สามารถสะท้อนวิถีชีวิตของชาว หลังสวนได้อย่างดี และนี่ก็เป็นที่มาของปก นิตยสารเล่มนี้ ครับ

14 TRAVEL

10 แหล่งท่องเที่ยวยอดฮิต

บุญญฤทธิ์ นวลชนะ

ของอำ�เภอหลังสวน

LIFE of LANGSUAN Magazine ISSUE 001 กองบรรณาธิการ นายบุญญฤทธิ์ นวลชนะ นางสาวลลิตา ชำ�นาญรบ นางสาวจิตติมา เมืองอุดม ครูที่ปรึกษา ครูชัยยนต์ ศรีเชียงหา ขอขอบคุณ

โครงการ “กล้าใหม่ ใฝ่รู้” ธนาคารไทยพาณิชย์ นายนพรุจ เขียวสอาด ครูประสิทธิ์ นาคสิงห์ ครูกฤษณ์ คงเปีย ครูทับทิม พุ่มคล้าย ท่านเจ้าคุณพระวิจิตร ปฎิภาร ครูสมัย สุวรรณอำ�ภา ครูจุฑารัตน์ ศรีเชียงหา ครูจุรีมาศ สุวรกุล ครูเนตรชนก ธานีรัตน์ ครูโกวิทย์ ธานีสอน นายประชา หมาดดิรักษ์ นายเอกพงษ์ ศรีกลิ่น นายอรุณ พรหมเรืยง นางสาวเบญจวรรณ โตใหญ่ นายอภิศักดิ์ ธุลีวรรณ


LANGSUAN TIME LINE

2432 ร.5 เสด็จประพาสหลังสวนโดย ทรงประทับ ณ ถ�้ำเขาเงินและ จารึกปรมาภิไธยย่อ “จปร” ทรงให้สร้างพระเจดีย์ไว้หน้าถ�้ำ และมีเรือมะเขือย�ำ และเรือศรีนวล เป็นเรือน�ำขบวนเสด็จ

2441

LIFE of LANGSUAN December 2017

4

ร.5 เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรเมือง หลังสวนทรงพระราชด�ำเนินมา นมัสการพระเจดีย์ ณ ถ�้ำเขาเงิน

2458

เปลี่ยนมณฑลชุมพรเป็น สุราษฎร์หลังสวนเป็นเมืองหนึ่ง ของมณฑลสุราษฎร์

2460

เปลี่ยนอ�ำเภอหลังสวนเป็น ต�ำบลขันเงิน

2475

ยุบจังหวัดหลังสวนเป็น อ�ำเภอขันเงินและขึ้นตรง ต่อจังหวัดชุมพร

2492

History

เรื่อง : บุญญฤทธิ์ นวลชนะ ภาพ : เบญจวรรณ โตใหญ่

อ�ำเภอหลังสวนได้ยกฐานะ เป็นอ�ำเภอ ชั้นเอก มีขุนผดุง แดนสวรรค์ เป็นนายอ�ำเภอ ชั้นเอกคนแรก

2427

ร.5 ทรงแต่งตั้งเมืองหลังสวน เป็นเมืองจัตวา

2439

ร.5 ปฏิรูปการปกครอง ครั้งใหญ่หลังสวนจึงได้เป็น เมืองหนึ่งของมณฑลชุมพร

2452

ร.5 ทรงเสด็จประพาสด�ำเนิน ไปทอดพระเนตรที่ว่าการ เมืองหลังสวนและถนนตัดใหม่

2459 เปิดท�ำการรถไฟและเปลี่ยนเป็น จังหวัดหลังสวนโดยมีผู้ว่า ราชการจังหวัดเป็นผู้ดูแลก�ำกับ

2468 ระบบการปกครองมณฑลชุมพร ได้ถูกยกเลิก หลังสวนจึงไปขึ้น กับมณฑลนครศรีธรรมราช

2481 ร.8 ให้เปลี่ยนอ�ำเภอขันเงิน กลับมาเป็นอ�ำเภอหลังสวน เพื่อรักษาปประวัติศาสตร์ที่เคย เป็นมาแต่โบราณ


Lifestyle

เรื่อง : ลลิตา ชำ�นาญรบ ภาพ : บุญญฤทธิ์ นวลชนะ

อนาคตข้าง หน้าบ้านหลังนี้ ก็คงกลายเป็น ตึกไปเหมือนกับ หลังอืน ่

เรื่องเล่าของป้าเอี่ย

5

เช้าวันเสาร์ชว่ งสาย ๆ หนูและเพือ่ นอีกสองคน ได้เดินทาง เข้าไปในชุมชนตลาดหลังสวนเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตของคนแถวนั้น เมื่อเดินทางไปได้สักพักพวกเราสามคนได้เห็นบ้านไม้หลังเก่า ๆ หลังหนึ่งที่มีอายุมากพอสมควรที่อยู่ท่ามกลางตึกที่สร้างขึ้นใหม่ ลักษณะบ้านเป็นห้องเช่าที่เรียงต่อกันเป็นแถวกันสามหลังและมี ลวดลายฉลุ ดูโดดเด่นสวยงาม พวกเราเห็นแล้วก็สะดุดตาทันทีจึง เดินไปเคาะประตูเพื่อสอบถามในเรื่องราวของบ้านหลังนี้ จากนั้น ไม่นานมีหญิงสาวร่างเล็ก ๆ คนหนึ่งอายุราว ๆ 50-60 ปี เดินออก มาเปิดประตูด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ดูเป็นมิตร หลังจากนั้นพวกเราก็ได้พูดคุยกันได้ไม่นานจึงทราบว่า ท่านชื่อ จุรีมาศ สุวรกุล หรือคนแถวนั้นเรียกท่านว่า “ป้าเอี่ย” ท่าน ประกอบอาชีพรับราชการครูที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในอ�ำเภอหลังสวน ไม่นาน ป้าเอี่ยได้เชิญพวกเราเข้าบ้านแต่ประตูบ้านท่านสามารถ เปิดได้บานเดียวเนือ่ งจากโดนน�ำ้ ท่วมเมือ่ ปีทแี่ ล้ว เมือ่ เข้าไปในบ้าน แล้วข้างในบ้านมีสภาพทีเ่ ก่าและเสือ่ มโทรม ในบ้านมีสนุ ขั และแมว ทีอ่ ยูเ่ ป็นเพือ่ นคลายเหงาเพราะป้าเอีย่ ท่านอยูค่ นเดียว ป้าเอีย่ ได้บอก พวกเราว่ า ท่ า นมี เ ชื้ อ สายจี น เนื่ อ งจากพ่ อ ได้ อ พยพมาจากจี น ไหหล�ำและแม่เป็นลูกครึ่งไทยจีน ท่านบอกว่าอยู่ที่บ้านหลังนี้มา ตั้งแต่เกิดไม่ได้ย้ายไปไหนเลย จากนั้นท่านเล่าต่ออีกว่าเมื่อก่อนชุมชนหลังสวนบริเวณ นี้มีแต่บ้านไม้เต็มไปหมด ถนนเป็นปูนเก่า ๆ และถนนก็อยู่ต�่ำจาก บ้านเยอะมาก ตอนเด็กจะมีคนมาเล่นตะกร้อหน้าบ้านท่านทุกวัน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นลูกพี่ลูกน้อง ไม่ก็บ้านใกล้เรือนเคียง ส่วนการ เดินทางในสมัยก่อนนั้นท่านบอกว่าตอนนั้นไม่มีรถยนต์ไม่มีรถ จักรยานยนต์มีแต่รถเข็นที่เข็นของขายตามตลาดและรถจักรยาน ที่เด็กมาขี่เล่นเท่านั้น ถ้าไปโรงเรียนก็เดินอย่างเดียว ไม่เหมือน สมัยนี้ “ป้าเอี่ยกล่าวแล้วหัวเราะ”

ส่วนวิถีชีวิตป้าเอี่ยก็บอกว่าเมื่อก่อนคนหลังสวนใช้ชีวิต แบบบ้าน ๆ เหมือนคนชนบทในปัจจุบันอาชีพส่วนใหญ่ก็จะขาย ของช�ำ บ้านแต่ละบ้านจะมีไฟฟ้าซึง่ เป็นดวงไฟสีแดง ๆ แม่ของท่าน เคยเล่าให้ฟงั ว่าเมือ่ ก่อนเขาให้ไฟบ้านละ 2 ดวง แล้วบางบ้านก็แอบ ๆ ใช้ อย่างบ้านป้าก็มีพวกหนุ่ม ๆ มาแอบช่วยท�ำไฟให้ดวงสองดวง ท่านพูดไปพลางยิ้มไปด้วย หลังจากที่ท่านได้เล่าวิถีชีวิตของคนหลังสวนแล้ว พวก เราก็อดสงสัยไม่ได้เลยถามท่านว่า ตอนนี้บ้านก็เก่าแล้วอีกไม่นาน คงจะพัง ป้าไม่คิดที่จะสร้างหรือปรับปรุงให้ใหม่บ้างหรือค่ะ ท่าน หันมาตอบทันทีเลยว่า บ้านหลังนี้ท่านอยู่มาตั้งแต่ดั้งเดิมก็เคยชิน เมื่อก่อนตอนเด็ก ๆ ใครอย่ามาบ้านนะอายเขาเพราะบ้านของเรา เก่าและก�ำลังจะพังด้วย แต่พอเดี๋ยวนี้มีแต่คนอยากมาถ่ายรูปหน้า บ้าน คู่รักมาถ่ายภาพเวดดิ้งก็มี บางทีก็มีนิสิตนักศึกษามาศึกษา หาข้อมูลต่าง ๆ ท�ำให้รสู้ กึ ประทับใจกับบ้านเก่า ๆ ของเราหลังนีม้ าก แต่น่าเสียดายบ้านเรามันผุและพังแล้วเพราะไม่ได้ดูแลรักษามัน ให้ดีตั้งแต่แรก จะมาดูแลตอนนี้มันก็ไม่ทันแล้วอนาคตข้างหน้า บ้านหลังนีก้ ค็ งกลายเป็นตึกไปเหมือนกับหลังอืน่ ๆ หลังจาก ทีท่ า่ น พูดกับพวกเราสามคนเห็นทันทีเลยว่าหน้าท่านดูเศร้าและเสียใจมาก ท�ำให้พวกเราเข้าใจทันทีว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป อะไร ๆ ก็เปลี่ยนไปด้วยไม่ว่าจะบ้านหลังเก่า ๆ ที่ก�ำลังทรุดโทรม ตามกาลเวลาและสภาพอากาศหรือแม้กระทั่งวิถีชีวิตของคนใน ชุมชนเหมือนกันถึงแม้ว่าเราจะคิดรักษามันดีแ ค่ไ หนแต่เมื่อมี วัฒนธรรมอื่น ๆ หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ แทรกเข้ามา วิถีชีวิตมันก็จะ ค่อยหายไปเช่นกัน

LIFE of LANGSUAN December 2017

จากบ้านหลังเก่า ๆ สู่วิถีชีวิตของคนหลังสวน


Culture

เรื่อง : ลลิตา ชำ�นาญรบ ภาพ : ชัยยนต์ ศรีเชียงหา

ประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง มรดกทางวัฒนธรรมแห่งลุ่มน้ำ�หลังสวน

ใน

LIFE of LANGSUAN December 2017

6

หากสายน�้ำไม่หยุดไหล เราจะไม่ปล่อยวัฒนธรรมของเรา ให้หยุดนิ่ง

วันแรม 1 ค�ำ่ เดือน 11 ของทุกปี เป็น วันที่ชาวหลังสวนตั้งตาและรอคอยกับ งานประเพณี ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ที่ สุ ด ของชาว อ�ำเภอหลังสวน ทุกคนต่างเตรียมพร้อม และร่วมด้วยช่วยกันในงานประเพณีแห่งนี้ให้ออกมางดงาม และทรงเสน่ห์ให้สมกับการเป็นงานประเพณีที่สุดแห่งความ ยิ่งใหญ่ ที่มีผู้คนมากมายหลายหมื่นคนหลั่งไหลเข้าอย่างไม่ ขาดสายบางคนอาจจะมาเพื่อพบปะเพื่อนฝูงญาติมิตรที่ไม่ ได้พบกันนาน หรือบางคนอาจจะมาท่องเที่ยวดูความงดงาม ทีไ่ ม่เหมือนใครและไม่มใี ครเหมือน หรือบางคนอาจจะมาเพือ่ สืบทอดความเป็นหลังสวนและเอกลักษณ์ทที่ ำ� ให้หลาย ๆ คน ต้องหลงใหลไปกับมัน ซึง่ ประเพณีทกี่ ล่าวถึงนัน่ คือ ประเพณีแห่พระแข่งเรือ ขึ้นโขนชิงธงที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้มีการบันทึกไว้เป็น ประวัติว่า การแข่งเรือหลังสวนนั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ประมาณ พ.ศ.2387 เป็นเวลาที่ไทยว่างเว้นจากศึกสงคราม ท�ำให้มีการค้าขายรุ่งเรือง มีการสร้างวัดวาอารามที่เกิดขึ้น มากมาย และได้มกี ารประกอบพิธที ำ� บุญแห่พระและลากพระ ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองหลังสวนซึ่งเป็นเมือง จัตวาขึ้นตรงต่อราชธานี ใน ร.ศ. 108 มีเรือน�ำเสด็จ 2 ล�ำ คือ เรือมะเขือย�ำ และเรือศรีนวล จึงเป็นหลักฐานได้ว่าการแข่ง เรือหลังสวนมาเกือบ 200 ปี ส�ำหรับจุดเด่นของงานที่ขาดไม่ได้คือ การแห่พระ ซึ่งการแห่พระ หรือลากพระของอ�ำเภอหลังสวนจะมี 2 ขบวน คือ ขบวนทางบกและทางน�ำ ้ ขบวนทางบกจะเคลือ่ นตัวไปตาม ถนนสายหลักกลางเมืองหลังสวน ในช่วงสาย ๆ จะมีขบวนที่ อัญเชิญโล่และถ้วยพระราชทาน ขบวนแห่รูปหล่อจ�ำลองพระ เทพวงศาจารย์ อริยสงฆ์ผู้ล่วงลับซึ่งเป็นผู้มีบทบาท ในงาน ประเพณีนี้มาตั้งแต่อดีต และมีขบวนแห่ของคนในท้องถิ่น และองค์กรทุกภาคส่วนที่ช่วยคนกันคนละไม้คนละมือจัด ตกแต่งขบวนให้มสี สี นั สวยงามในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดทัง้ ขบวน ส่วนขบวนทางน�ำ้ จะมีในช่วงบ่ายในลุม่ น�ำ้ หลังสวน ไม่วา่ จะเป็น เรือพระทางน�ำ ้ เรือสวยงาม ขบวนเรือยาวทีเ่ ข้าร่วมการแข่งขัน เรือกองเชียร์ เรือตลกขบขันที่สร้างเสียงหัวเราะซึ่งต่อแถวยาว เรียงต่อกันเต็มผืนน�้ำหลังสวน


LIFE of LANGSUAN December 2017

Langsuan LIFE December 2017

7 8


LIFE of LANGSUAN December 2017

8

เมื่อเสร็จจากการแห่พระหรือลากพระแล้ว อีกอย่าง หนึ่งที่ขาดไม่ได้เหมือนกันนั่นก็คือ การแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงที่ เป็นสุดยอดต�ำนานแห่งการแข่งเรือที่อยู่คู่กับชาวหลังสวนมา เกือบ 2 ศตวรรษ ที่มีเอกลักษณ์ที่แสนจะโดดเด่นเพราะว่าการ แข่งเรือของหลังสวนนั้นไม่ได้วัดกันที่ความเร็วว่าใครถึงเส้นชัย ก่อนจะเป็นผู้ชนะแต่เป็นการวัดด้วยการที่นายหัวเรือจะต้อง ปีนขึ้นโขนเรือเพื่อจับธงเป็นการตัดสินแพ้-ชนะ ด้วยเอกลักษณ์ ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนท�ำให้การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทยยกให้เป็น UNSEEN IN THAILAND ของการแข่งเรือ ที่มแี ห่งเดียวในประเทศไทย และทีส่ ำ� คัญการแข่งเรือของหลังสวน นั้นจะมีฝีพายอย่างน้อย 30 คน และไม่เกิน 32 คน เท่านั้น เพราะคนหลังสวนถือว่าคนเราต้องมีครบ 32 เรือก็เหมือนกัน โดยการแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงจะจัดขึ้นที่สนามแม่น�้ำหลังสวน บริเวณหน้าวัดด่านประชากร ซึ่งเป็นสนามกลางของภาคใต้ ท�ำให้มีผู้คนมากมายต่างให้ความสนใจและประทับใจจนสอง ฝั่งแม่น�้ำหลังสวนเนืองแน่นไปด้วยผู้คนแทบจะไม่มีที่ให้เดิน เสียงเชียร์ที่ดังสนั่นทั่วลุ่มน�้ำหลังสวน และเสียงพากษ์เรือที่ ท�ำให้การแข่งเรือนั้นสนุกยิ่งขึ้น ท�ำให้การแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง ของอ�ำเภอหลังสวนเป็นแหล่งรวมตัวของคนในท้องถิ่น ต่างถิ่น ต่างแดนอย่างล้นหลามเป็นประจ�ำทุกปี ปัจจุบนั ประเพณีแห่พระ แข่งเรือขึ้นโขนชิงธงมีอายุ 174 ปีแล้ว

การที่ ง านประเพณี แ ห่ พ ระแข่ ง เรื อ ขึ้ น โขนชิ ง ธง สามารถอยู่มาได้ถงึ 174 ปี ถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ทหี่ ายาก และน่าจับตามอง จริงอยูง่ านประเพณีนอี้ าจจะมีมานานแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะอยู่คู่กับหลังสวนตลอดไปเพราะ หากไม่ มี ค นคอยอนุ รั ก ษ์ รั ก ษางานประเพณี นี้ ก็ จ ะหายไป เหมือนกับเราปลูกต้นไม้ถ้าเราไม่คอยหมั่นรดน�้ำพรวนดิน ต้นไม้ก็จะค่อย ๆ เหี่ยวแห้งและตายไปในที่สุด งานประเพณี ก็เช่นกันถ้าเราคอยมัวแต่ดูแต่ไม่คิดที่จะศึกษา เรียนรู้และ สืบทอดงานประเพณีนี้ก็จะค่อย ๆ หายไปจากหลังสวน จน ในที่สุดอาจจะไม่มีประเพณีนี้อยู่อีกเลยก็เหมือนกับต้นไม้ที่ ตายเช่นกัน


คำ�ที่พ่อสอนไว้... ...ขอให้ร่วมรักสามัคคี ให้งานประเพณี อยู่ยั่งยืนตลอดไป ภาพเมื่อปี พ.ศ.2507คณะกรรมการงานประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง อำ�เภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ได้ ขอพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อทูลเกล้าถวายฟิล์มภาพยนตร์ งานประเพณีแห่พระแข่งเรือและรายได้จากการจัดงานและเข้าเฝ้ารับพระราชทานงานเลีย้ ง ณ สวนอัมพร พสกนิกร ชาวหลังสวนจะสำ�นึกในพระมหา กรุณาธิคุณ ของพระองค์ตลอดไป

ที่มาภาพ : เพจคนรักวัฒนธรรม

การแข่งเรือที่อ�ำเภอหลังสวนโด่งดังจนมีเรือจาก หลายพื้นที่เข้ามาร่วมแข่งขันกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 คณะกรรมการจัดการแข่งขัน 9 เรือยาวประเภท ข ขึ้นมาอีกประเภทหนึ่ง โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ สนับสนุนฝีพายท้องถิน่ ให้พัฒนาฝีมือและความสามารถ และในปี นั้น นายชัด รัตนราช อดีตผู้ตรวจราชการ กระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลขอ พระราชทานถ้วยรางวัล ซึ่งพระองค์ทรง พระราชทาน “ถ้วยยอดทอง” ให้เป็นรางวัล ของการแข่งเรือยาวประเภทฝีพายท้องถิน่ และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งรางวัลพระราชทานที่ ท�ำให้ชาวหลังสวนต่างส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ถ้วยใบนีถ้ อื เป็นจุดก�ำเนิดในการสร้างความรัก ความสามัคคี ของคนในชุมชนและคนในท้องถิน่ และสร้างชือ่ เสียงให้ชาวหลังสวน เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทยและชาวโลก ชาวหลังสวนจังหวัดชุมพรทุกคน ล้วนส�ำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้าทั้งสองพระ องค์ที่ทรงเห็นคุณค่าของงานประเพณีอัน เก่ า แก่ นี้ ดั ง นั้ น พวกเราควรอนุ รั ก ษ์ และสื บ ทอดประเพณี นี้ ใ ห้ อ ยู ่ คู ่ กั บ อ�ำเภอหลังสวนและประเทศไทยต่อไป ดัง พระราชด�ำรัสของสมเด็จพระปรมินทรมหา ภู มิ พ ลอดุ ล เดชเกี่ ย วกั บ ประเพณี ค วาม ตอนหนึ่งว่า “...ประเพณีทั้งหลายย่อม มี ป ระโยชน์ ใ นการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ของ แต่ละคน เรามีประเพณีของชาติไทย เป็นสมบัติ เราควรจะยินดีอย่างยิง่ และ ช่วยกันส่งเสริมรักษาไว้ เพื่อความเจริญ ก้าวหน้าของประเทศ...”

LIFE of LANGSUAN December 2017

ด้วยประวัติความเป็นมาของประเพณีที่ยาวนานส�ำหรับ การแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธงที่แตกต่างจากที่อื่น ๆ ท�ำให้อ�ำเภอ หลังสวนเป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะใครที่ ชื่นชอบการแข่งขันเรือยาวจะยกให้สนามนี้เป็นต�ำนานการแข่งขัน นอกเหนือจากการถูกยกย่องเป็นต�ำนานของสนามการแข่งขันแล้ว สิ่งที่สร้างความรู้สึกภาคภูมิใจทุกครั้งให้กับชาวหลังสวน ก็คือ โล่รางวัลพระราชทานใบแรกของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ที่ พ ระองค์ ท รงพระราชทานแก่ ก าร แข่งขันเรือยาวในประเทศไทย และรางวัล พระราชทานนั้นคือโล่พระราชทานใบนี้ เมือ่ ปี พ.ศ. 2506 นับเป็นพระมหา กรุณาธิคณ ุ ต่อชาวชุมพร พระบาทสมเด็จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช แ ล ะ ส ม เ ด็ จ พ ร ะ น า ง เ จ ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรง พระราชทานโล่ ร างวั ล ชนะเลิ ศ การ แข่งขันเรือยาวและโล่รางวัลชนะเลิศเรือ สวยงาม เพื่อเป็นขวัญก�ำลังใจให้แก่ผู้เข้าร่วม แข่งขัน และได้ทรงพระราชทานโล่รางวัลเป็นรางวัลการ แข่งขันของ 14 จังหวัดภาคใต้ ซึง่ นับว่าโล่พระราชทานใบนัน้ เป็นโล่ ใบแรกของ 14 จังหวัดภาคใต้ และของประเทศไทยด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 ประเพณีแห่พระ แข่ ง เรื อ ขึ้ น โขนชิ ง ธงได้ จั ด งานประเพณี อย่างยิ่งใหญ่ เพื่อให้สมพระเกียรติและ ด้วยความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ อันล้นเกล้าของทั้งสองพระองค์และ ได้มีการถ่ายทอดภาพยนตร์ของการจัด งานและถวายฟิล์มภาพยนตร์ของงาน ประเพณีแห่พระแข่งเรือขึน้ โขนชิงธงชิงโล่ พระราชทานประจ�ำปี พ.ศ. 2507 และ สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุยเดช ได้ทรงมีพระราชด�ำรัสกับคณะที่เข้า เฝ้าตอนหนึ่งว่า... “ ขอให้ร่วมรักสามัคคี ให้งานประเพณีอยูย่ งั่ ยืนตลอดไป ”


Interview

เรื่อง : ลลิตา ชำ�นาญรบ ภาพ : บุญญฤทธิ์ นวลชนะ

TOP 5 คนรักวัฒนธรรม

แห่งลุ่มน้ำ�หลังสวน

งานประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงจะสนุก และมีเอกลักษณ์ไม่ได้ถ้าขาดความร่วมมือของคนใน ชุมชนและคนเหล่านีเ้ิ ช่น ฝีพาย นายหัวเรือ นายท้ายเรือ คนพากษ์เรือ หรือแม้กระทั่งคนขุดเรือที่อยู่เบื้องหลัง ความส�ำเร็จในงานประเพณี ดั ง นั้ น พวกเราจึ ง ได้ ไ ปสั ม ภาษณ์ กั บ บุ ค คลที่ เกี่ยวข้องจ�ำนวน 5 คน เพื่อรับรู้ถึงแนวคิด ทัศนคติ ความรู้สึก และบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนต่อประเพณี แห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงที่มีมาอย่างยาวนาน

LIFE of LANGSUAN December 2017

10

1

ท่านเจ้าคุณพระวิจิตร ปฎิภาร พระผู้สืบทอดประเพณีอันทรงคุณค่า

“เนื้อแท้ของงานประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขน ชิงธงคือการเสียสละ รักใคร่กลมเกลียว ไม่ใช่เพราะเงิน” ถ้าเป็นเรื่องประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงคนที่ รูแ้ ละเข้าใจมากทีส่ ดุ ทีข่ าดไม่ได้เลย คือ ท่านเจ้าคุณพระวิจติ ร ปฎิภาร เจ้าคณะจังหวัดชุมพร เจ้าอาวาสวัดราชบุรณะพระ อารามหลวง เพราะท่านเจ้าคุณก็ผูกพันมาตั้งแต่เด็กและเป็น ผูร้ เิ ริม่ เรือพระบกให้คนท�ำบุญตักบาตร ในบทบาทของการเป็น พระของท่านเจ้าคุณ คือเรือจะต้องอยูค่ กู่ บั วัดเพือ่ ดูแลและรักษา ท่านเล่าว่า เมือ่ ก่อนประเพณีนท้ี ำ� ให้คนในชุมชนมีความสามัคคี การเสียสละ รักใคร่กลมเกลียว และมีส่วนร่วมในงานประเพณี แต่ปจั จุบนั ทุกอย่างเปลีย่ นไปหมด มีแต่การแข่งเรือทีท่ ำ� ให้เกิด ความขัดแย้ง ความสามัคคีนับวันยิ่งลดลง เพราะมีเรื่องเงิน เรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจุบันจึงท�ำให้ไม่สามารถ พูดได้ว่างานแข่งเรือเป็นประเพณีเพราะถ้าเป็นประเพณีจริง ต้ อ งมี ค วามเสี ย สละและความสามั ค คี ม าเกี่ ย วข้ อ งไม่ ใ ช่ เหมือนทุกวันนี้ ท่านเจ้าคุณกล่าวกับพวกเราอย่างนั้น

ประชา หมาดดิรักษ์ ลุงชาช่างขุดเรือยาว แห่งลุ่มแม่น้ำ�หลังสวน

“ประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงมันคือ ความผูกพันทางสายเลือดของชาวหลังสวน” คนขุดเรือแห่งลุ่มแม่น�้ำหลังสวนที่ผูกพันกับการ แข่งเรือมาอย่างยาวนานจนเข้าไปอยู่ในสายเลือดของ คนหลังสวนทุกคน คุณลุงชาได้เล่าความในใจว่าท่านอยู่ กับการแข่งเรือมาตัง้ แต่เกิด เมือ่ ก่อนชีวติ เด็ก ๆ ไม่มที เี่ ทีย่ ว ที่ไหนนอกจากงานแข่งเรือถ้าไม่พายเรือยาวก็ไม่รู้ว่าจะ ไปท�ำอะไร และลุงชาก็เลือกทีจ่ ะเป็นคนขุดเรือเพราะได้คยุ กับชาวบ้านไปเรื่อย ๆ มันสนุกดี และที่ส�ำคัญการขุดเรือ นัน้ ต้องใช้ศลิ ปะขัน้ สูงและมีใจรักเท่านัน้ ถึงจะท�ำได้ แต่ใน ปัจจุบันนี้ช่างขุดเรือก็เหลือน้อยลง อีกไม่นานก็หมดจะ เหลือแต่ช่างต่อเรือแทน ส่วนที่ท่านยังคงขุดเรืออยู่นั้น เป็นเพราะว่า เรือยาวเป็นสายเลือดคนหลังสวนที่ผูกพัน และฝังลึกอยู่ในจิตใจ

“ลุงชา”

2


เอกพงษ์ ศรีกลิ่น

“พี่เบิร์ด”

คนรุ่นใหม่ ผู้ใช้เสียงของตน เพื่อบอกเล่าวัฒนธรรมประเพณี

“ประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงถ้าไม่ใช่คน หลังสวนอนุรักษ์แล้วใครจะอนุรักษ์” เด็กรุ่นใหม่ที่มีหัวใจรักงานประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้น โขนชิงธง น้อยคนนักทีจ่ ะหันมาสนใจและอนุรกั ษ์แบบนี้ ซึง่ พีเ่ บิรด์ ได้ท�ำหน้าที่เป็นนักพากษ์เรือที่เป็นหัวใจหลักของการแข่งเรือ เพราะถ้าขาดคนพากษ์ไปสนามก็จะเงียบเหงาและไม่สนุกเท่า ที่ควร พี่เบิร์ดบอกว่า ในฐานะที่เกิดเป็นคนหลังสวน เรามีหน้าที่ อนุรกั ษ์ไม่ใช่ทำ� ลายวัฒนธรรมประเพณีทปี่ ยู่ า่ ตายายสร้างมาให้ กว่า 174 ปี ” ดังนั้นเราควรอนุรักษ์ ดูแลรักษา และสืบทอด เพราะมันคือหน้าที่ของเยาวชนรุ่นหลังอย่างพวกเรา

11

“พี่ต้น” อรุณ พรหมเรียง

“ครูอุ๊ก”

โกวิทย์ ธานีสอน

นายหัวเรือผู้กล้า ที่มีประสบการณ์มา 18 ปี

ครูรุ่นใหม่ผู้เป็นโค้ชเรือยาว สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ลูกศิษย์

“การขึน้ โขนเรือยาว ผูข้ นึ้ โขนใจต้อง กล้าเพื่อคว้าธงชิงชัย” หัวใจหลักของการแข่งเรือหลังสวนที่ เป็นเอกลักษณ์และขาดไม่ได้เลย คือ คนขึ้น โขนชิงธงหรือรู้จักกันทั่วไปว่านายหัวเรือ พี่ต้น ผู้ที่เรียนรู้และสนใจการแข่งเรือมาตั้งแต่เด็ก จนกลายมาเป็นนายหัวเรือที่มีใจกล้าหาญที่มี ประสบการณ์ถึง 18 ปี พี่ต้นเผยว่าการเป็นนาย หัวเรือที่ดีต้องมีใจกล้าหาญ กล้าเสี่ยง มีก�ำลัง ขาที่แข็งแรงและต้องดูจังหวะที่เหมาะสมและ ที่ขาดไม่ได้เลยต้องหมั่นฝึกซ้อมเป็นประจ�ำ เพื่อให้ก ล้า มขาของเรานั้น แข็ง แรง ส�ำหรับ ความภูมิใจที่สุดของการเป็นนายหัวเรือของ พี่ต้น นั้นก็คือการได้รับรางวัลนายหัวเรือดีเด่น 4 ปี

“สิ่งแรกในการเป็นโค้ชที่ส�ำคัญคือ การซื้อใจเด็ก” จากฝีพายเรือนักเรียน นายท้ายเรือที่ ผันตัวมาเป็นแม่พิมพ์ของชาติและสร้างแรง บั น ดาลใจให้ กั บ เยาวชนและนั ก เรี ย นที่ ต้องการสืบทอดประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้น โขนชิงธงของหลังสวน ไว้ด้วยการฝึกนักเรียน และเยาวชนให้เป็นนักกีฬาเรือพาย และเทคนิค ส�ำคัญของครูโกวิทย์ในการเป็นโค้ชฝึกเด็กคือ การซือ้ ใจเด็กหรือการเข้าถึงสภาพจิตใจ ท�ำอย่างไร ให้เค้ารักที่จะฝึกและเชื่อมั่นในการลงมือท�ำ ของตนเอง และสิ่งแรกของการเป็นฝีพายคือใจ ต้องมาก่อน ครูโกวิทย์เผยว่า ความประทับใจ ของท่านคือการที่ลูกศิษย์นั้นสามารถน�ำสิ่งที่ สอนไปต่อยอด เช่น ใช้ในการศึกษาต่อ แค่นี้ ท่านก็ภูมิใจแล้ว

หลังจากที่พวกเราสัมภาษณ์แล้วท�ำให้พวกเราเข้าใจว่า เบื้องหลังของประเพณีที่มัน ไม่ได้งา่ ยอย่างทีค่ ดิ ถ้าขาดความสามัคคี ความเสียสละ และความร่วมมือของคนในชุมชน และเยาวชนรุน่ ใหม่ หากไม่มคี นเหล่านีง้ านประเพณีกไ็ ม่สามารถประสบความส�ำเร็จได้เลย ถึงแม้วัฒนธรรมบางอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่พวกเราเชื่อว่าคนหลังสวนจะไม่มี วันทิ้งวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์แบบนี้อย่างแน่นอน

LIFE of LANGSUAN December 2017

4

3 5


Food & Fruit

เรื่อง : จิตติมา เมืองอุดม ภาพ : บุญญฤทธิ์ นวลชนะ

เมนูเส้นเหรอ…

‘‘วันนี้พวกเราจะพาคุณไปตามหาเมนูเส้นใน รูปแบบใดนั้น ตามพวกเรามาเลยค่ะ!’’

LIFE of LANGSUAN December 2017

12

มองไปไกลสุดสายตาก็เห็นห้องแถว 2 ชั้นที่ท�ำด้วยไม้ ตัวอาคารดูแล้วช่างเก่ายิ่งนัก ชั้นบนเปิดให้คนได้เช่า แต่เอ๊ะ! ท�ำไมด้านล่าง กลับมีคนมากมายล่ะ ยิ่งเข้าไปใกล้ก็ยิ่งเห็นชัด ขึ้นทุกที ยิ่งท�ำให้เราแปลกใจว่าท�ำไมบนโต๊ะถึงมีผักพื้นบ้านวาง เรียงกันไม่น้อยกว่า 3 แถว ไม่ว่าจะเป็นผักเหลียงลวก มะเดื่อ ขนุนอ่อน หัวปลีต้มกะทิ สะตอต้ม ถั่วพู แตงกวา ยอดอ่อน มะม่วงหิมพานต์ ผักเสี้ยนดอง มะเขือยาวต้มกะทิ ถั่วฝักยาว และยังมีผักอื่น ๆ อีกมากมาย นึกสงสัยแล้วหันกลับมาดูที่ตู้กระจกเห็นที่กระจกติด สติก๊ เกอร์ไว้วา่ ‘‘ขนมจีนหาดยายสาขา 2’’ อ๋อ สัง่ สิคะ ‘‘คุณน้า เอาขนมจีนใส่น�้ำพริกกับน�้ำยา 1 จานค่ะ’’ ‘‘ได้จ้าสักครู่นะ... มาแล้วจ้า’’ ค�ำแรกนัน้ ไม่รบั รูถ้ งึ รสชาติได้เลย แต่แปลก...ค�ำทีส่ อง กลับรับรู้ได้ถึงกลิ่นที่หอมและอร่อยของน�้ำพริกและน�้ำยาบวก กับความนุ่มของเส้นพร้อมกับหยิบผักเข้าไปพร้อม ๆ กัน ช่างสุด ยอดไปเลยค่ะ นีแ่ หละเมนูเส้นของแท้ทเี่ ราตามหา...ความพิเศษ ไม่ได้อยู่ตรงที่หิว แต่มันพิเศษตรงที่ร้านอาหารในหลังสวนมี มากมาย แต่เรากลับเลือกที่จะน�ำเสนอร้านอาหารบ้าน ๆ อย่าง ร้านขนมจีนหาดยายสาขา 2 นั่นหมายถึงว่าความพิเศษไม่ได้อยู่ ทีค่ วามสวยงามของตัวร้าน แต่อยูท่ รี่ สชาติอนั แสนอร่อยและล�ำ้ ค่า ของอาหารต่างหาก ส�ำหรับใครทีส่ นใจมาลิม้ ลองความอร่อยของ ขนมจีนหาดยายสาขา 2 นั้นมาไม่ยากค่ะ ร้านตั้งอยู่ทางขวามือ ของถนนสายหลักที่วิ่งเข้าสู่ตลาดหลังสวนห่างจากสี่แยกไฟแดง หลังสวนที่ถนนหมายเลข 41 ประมาน 500 เมตร ขอบอกว่าให้ รีบมาหน่อยนะคะ เพราะหากเลยช่วงเที่ยงไปแล้วคุณอาจจะอด กินแน่นอน


“หลังสวน เมืองผลไม้ พายเรือแข่ง แหล่งทุเรียนกวน สวนสมเด็จ” จากค�ำขวัญของอ�ำเภอหลังสวนท�ำให้เราทราบว่าที่หลังสวน ทุเรียนกลายเป็นผลไม้ประจ�ำท้องถิ่น และเป็นเอกลักษณ์ของหลังสวน ไปแล้ว ในช่วงที่ฤดูทุเรียนออกเราก็จะพบเห็นความคึกคักของผู้คนที่มา ท�ำการค้าขายเพื่อส่งออกทุเรียนไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะนายทุน จากต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ดังนั้นหากใครที่ผ่านไปผ่านมาก็จะเห็น แผงทุเรียนเยอะแยะมากมาย เป็นการสร้างเงินรวมถึงสร้างเศรษฐกิจของ หลังสวนเป็นอย่างมาก ที่ได้กล่าวไปนั้นคือ ‘‘ทุเรียนหมอนทอง’’ ที่เราส่ง ออกและสร้างรายได้และเศรษฐกิจที่ก�ำลังเติบโตไปพร้อมกันคือการค้า ปุ๋ย สารเคมี และยาฆ่าแมลง ยิ่งทุเรียนเป็นที่ต้องการมากขึ้น ก็ยิ่งมีการ ใช้สารเคมีในปริมาณมากตามไปด้วยนั่นเอง.. แต่อีกมุมหนึ่ง หากเราหันไปมองถึงชาวบ้านในหลังสวนจะมี ทุเรียนบ้าน ทีม่ นั เกิดขึน้ เองตามธรรมชาติมเี ยอะมาก และผลผลิตทีไ่ ด้กม็ าก แต่ไม่สามารถที่จะส่งออกได้ วันนี้เราได้พบกับเจ้าของ ร้านสมจิต ร้าน ขายของฝากที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยมี คุณจักรา ซังธาดา เป็นเจ้าของร้าน ท่านได้เล่าให้พวกเราฟังว่า หลังสวนเริ่มต้นมีการค้าขาย ผลไม้กันในตลาดแห่งนี้ จากนั้นผลไม้ที่น�ำไปขายมันมากเกินไป เลยน�ำ ทุเรียนบ้านมาท�ำเป็นทุเรียนกวน เพราะให้รสชาติทอี่ ร่อยกว่าทุเรียนอืน่ ๆ

13 LIFE of LANGSUAN December 2017

หลังสวนดั้งเดิมเป็นต้นต�ำรับของทุเรียนกวนและ กิจการการขายทุเรียนกวน มังคุดกวน ยอดขายนั้นขายได้ เรื่อย ๆ จึงเปิดร้านนี้ขึ้น ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นคนท้องถิ่นที่ กลับมาเยี่ยมบ้าน เมื่อกลับไปก็จะซื้อของฝากติดไม้ติดมือ กลับไป ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะชอบและติดใจสินค้าของเรา เพราะเป็นสินค้าทีเ่ ราท�ำเองรับซือ้ ผลผลิตจากชาวสวน เพื่อท�ำ เป็นของฝากประจ�ำท้องถิ่น พวกทุเรียนกวนที่ท�ำเสร็จ ใหม่ๆ ทุเรียนทอดใหม่ๆ ของฝากประจ�ำท้องถิ่นเหล่า นี้แหละที่เป็นตัวดึงดูดลูกค้าเข้ามาครับ... สุดท้ายท่านยังบอกกับพวกเราอีกว่า ทุเรียนหรือ ผลไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ควรที่จะมีการส่งเสริมให้คนรุ่น ใหม่ได้สนใจ ช่วยกันอนุรักษ์และใช้ความรู้ที่มีอยู่ร่วมกับ ภูมปิ ญ ั ญาทีป่ ยู่ า่ ตายายของเราสร้างไว้ มาพัฒนา ปรับปรุง คุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้นและเผยแพร่ออกสู่คนภายนอก ให้ได้รจู้ กั และสนับสนุนสินค้าท้องถิน่ ของเรา แล้วท้องถิน่ เรา จะอยู่ได้ด้วยตนเอง และเกิดความยั่งยืน


Travel

เรื่อง/ภาพ : บุญญฤทธิ์ นวลชนะ

TOP 10 สถานที่ท่องเที่ยว

ห้ามพลาด

นอกจากอ�ำเภอหลังสวนจะมีเอกลักษณ์และวัฒนธรรม อันโดดเด่นแล้ว สถานทีท ่ อ ่ งเทีย ่ วของหลังสวนก็สวยงามไม่แพ้ทไี่ หน เหมือนกัน วันนี้พวกเราจะพาคนอ่านไปตะลุยกับสถานที่ยอดฮิต 10 อันดับของหลังสวน ที่เป็นแหล่งรวมตัวของนักท่องเที่ยวหรือคนใน ท้องถิ่นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวัด ภูเขา ทะเล สถานที่ส�ำคัญต่าง ๆ ที่ หลายคนอาจจะไม่รู้จัก และที่ส�ำคัญถ้าใครมาถึงหลังสวนแล้วไม่ได้ ไปเที่ยวสถานที่ยอดฮิต 10 อันดับของเรา ถือว่าพลาดสุด ๆ และนั่น หมายความว่าท่านยังมาไม่ถึงหลังสวน บอกค�ำเดียวเลยว่าสถานที่ท่องเที่ยวของหลังสวนเด็ด สุด ๆ เพราะจะท�ำให้ทุกคนหลงใหลและต้องมนต์เสน่ห์กับสถานที่ ยอดฮิตเหล่านี้ งั้นเราอย่ารอช้าไปตะลุยกันเลยดีกว่าครับ

LIFE of LANGSUAN December 2017

14

แผนที่ท่องเที่ยว อำ�เภอหลังสวน


6. วัดแหลมสน อิ่ ม บุ ญ กั บ วั ด เก่ า แก่ ที่ คู ่ กั บ ปากน�้ ำ หลั ง สวนมายาวนาน กราบพระใหญ่ ป างมารวิ ชั ย องค์ สี ข าวนวลสวยงามเด่ น สง่าในวัดแหลมสน

3. สวนสมเด็จ พระศรีนครินทร์ฯ สถานที่ พั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจตั้ ง อยู ่ ติ ด กั บ ถ�้ ำ เขาเงิ น ประดั บ ด้วยสวนดอกไม้ที่ใจกลางเป็น อ นุ ส า ว รี ย ์ ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ศ รี นครินทราบรมราชชนนี

1. จุดชมวิวเขาออง สัมผัสความเย็นพร้อมกับทะเลหมอกและชมความงามของทิวทัศน์ 360 องศา บนยอดเขาสูง 251 เมตรจากระดับน�้ำทะเล

7. เรือจ�ำลอง จักรีนฤเบศร ชมทะเลปากน�้ำหลังสวน กราบ สักการะเสด็จกรมหลวงชุมพร เขตอุ ด มศั ก ดิ์ ที่ เ คารพนั บ ถื อ ของชาวชุ ม พรบนเรื อ จ�ำลอง ขนาดใหญ่

4. วัดถ�้ำเขาเกรียบ

ตามรอยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเมื่อ เสด็จประพาสเมืองหลังสวนกับถ�้ำที่มีร่องรอยและหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์นานกว่า 100 ปี

ชมความงามภายในถ�้ ำ ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยหิ น งอกหิ น ย้ อ ยส่ อ ง แสงประกาย และพระพุ ท ธรู ป ซึ่ ง ประดิ ษ ฐานอยู ่ พ บกั บ หิ น ศั ก ดิ์ สิ ท ธ์ ที่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ น�ำมาท�ำองค์จตุคามรามเทพ

8. ตลาดนัด ปากน�้ำหลังสวน ชิ ม อาหารสดใหม่ จ าก ทะเลพร้อมด้วยอาหาร พื้ น บ้ า น ช้ อ ปเสื้ อ ผ้ า เ ค รื่ อ ง ป ร ะ ดั บ ข อ ง ที่ ระลึ ก ต่ า ง ๆ กั บ ตลาด นั ด ทุ ก เสาร์ ติ ด กั บ เรื อ จ�ำลองจั ก รี น ฤเบศร บรรยากาศสุดชิลล์เดิน รับลมชมทะเล

5. เกาะพิทักษ์ ซึ ม ซั บ วิ ถี ชี วิ ต ชาวเกาะล้ อ มรอบด้ ว ย ธรรมชาติอันสงบ ลิ้มรสอาหารสด ๆ จาก ทะเลและโฮมสเตย์ บ รรยากาศสบาย ๆ สไตล์ชาวเล

9. วัดบรรพตพิสัย (วัดในเขา) สถานที่ส�ำคัญทางพระพุทธศาสนา ทัศนา บรรยากาศและวีถีชิวิตของชาวปากน�้ำ

10. จุดชมวิวคอเขา อ้าแขนรับแรงปะทะลมจากทะเลจากจุดชมวิวริม ทะเล ฟังเสียงคลืน ่ กระทบโขดหิน และชมเรือจ�ำลอง จักรีนฤเบศรขนาดเล็ก

LIFE of LANGSUAN December 2017

2. วัดถ�้ำเขาเงิน

15


“...ประเพณีทั้งหลายย่อมมีประโยชน์ ในการด�ำเนินชีวิตของแต่ละคน เรามีประเพณีของชาติไทยเป็นสมบัติ เราควรจะยินดีอย่างยิ่งและช่วยกันส่งเสริม รักษาไว้ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ...”

พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในพิธีพะราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๐๓


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.