เศรษฐสาร ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม 2561

Page 1

ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม 2561

32/01

ISSN 0875-5924 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

02

เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ

แรงงานต่างด้าว ช่วยจริงหรือวุ่นวาย ธีรวุฒิ ศรีพินิจ

05

ศัพท์นโยบายเศรษฐกิจไทย

ค่าจ้างขั้นต�่ำ วี ร ะวั ฒ น์ ภั ท รศั ก ดิ์ ก� ำ จร

06

สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน ปกิกณะเศรษฐศาสตร์

ขบคิดไปกับ Poverty, Inc. : เมื่อผลลัพธ์จากเงินบริจาค ไม่ได้สวยงามเสมอไป ธั น ย์ ช นก นั น ทกิ จ

08

สนุกคิดกับอาจารย์พิชญ์

สนุกคิด กับอาจารย์พิชญ์ พิชญ์ จงวัฒนากุล

ในกระแสโลกาภิวัฒน์ เส้นแบ่ง ‘สินค้าและบริการ’ ระหว่างประเทศพร่าเลือนไป แต่เส้นแบ่ง ‘คน’ กลับชัดเจนขึ้น เศรษฐสารชวนร่วมขบคิดกับประเด็นแรงงานต่างด้าวว่า เขาเหล่านั้น “ช่วยจริงหรือวุ่นวาย? ” เพือ่ ต้อนรับศักราชใหม่นี้ เศรษฐสารได้เพิ่มเนื้อหาให้หลากหลายขึ้น คอลัมน์ศัพท์นโยบายเศรษฐกิจไทย น�ำเสนอที่มาและความหมายของ ‘ค่าจ้างขั้นต�่ำ’ ตลอดจนถึงข้อสังเกตที่เกี่ยวข้อง คอลัมน์ปกิณกะ เศรษฐศาสตร์ ชวนกันตั้งค�ำถามดังๆ กับภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Poverty, Inc. ว่า เงินบริจาคให้ผลลัพธ์ ที่สวยงามเสมอไป ? และคอลัมน์สุดท้าย สนุกคิดกับอาจารย์พิญช์ มีปริศนาอักษรไขว้มาให้เล่นกัน

www.setthasarn.econ.tu.ac.th

สวัสดีปีใหม่ 2561 กองบรรณาธิการ ‘เศรษฐสาร’

่ รึกษา ชยันต์ ตันติวัสดาการ | ภราดร ปรีดาศักดิ์ บรรณาธิการ สิทธิกร นิพภยะ กองบรรณาธิการ หงษ์ฟ้า ทรัพย์บุญเรือง | ธีรวุฒิ ศรีพินิจ | นภนต์ ภุมมา | ทีป พิชญ์ จงวัฒนากุล | วีรวัฒน์ ภัทรศักดิก ์ ำ� จร | ธันย์ชนก นันทกิจ | อิสร์กุล อุณหเกตุ ผู้จัดการ พิชามญชุ์ ดีทน


เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ

ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม 2561

แรงงาน ต่างด้าว ช่วยจริง หรือวุ่นวาย

เศรษฐสาร

สกปรก (Dirty) สาเหตุ สุ ด ท้ า ยคื อ การบริ ห าร จัดการแรงงานและประสิทธิภาพของแรงงาน เช่น ถ้าแรงงานหนึ่งคนสามารถท�ำงานเก่งขึ้นสองเท่า ก็เท่ากับเราได้ก�ำลังแรงงานเพิ่มขึ้นสองเท่าโดยไม่ ต้องเพิ่มจ�ำนวนคนเลย สถานการณ์ของประเทศไทยเป็นอย่างไร

ประเทศไทยสมัยก่อนเรามีแรงงานเหลือมากพอที่ จะส่งออกแรงงานไปยังประเทศอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ไปท�ำงานในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง แต่ ในปั จ จุ บั น การเปลี่ ย นแปลงโครงสร้ า งทาง เศรษฐกิ จ และสั ง คมกลั บ ท� ำ ให้ ป ระเทศไทยมี ปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง นับตั้งแต่ ประเทศไทยเริ่มปรับตัวเป็นประเทศที่ใช้เทคโนโลยี มากขึ้น หันมาพึ่งพิงรายได้จากการส่งออก และมี จ�ำนวนประชากรมากขึ้น ประเทศไทยจึงต้องขยาย ทุกวันนี้ไปไหนมาไหนเราจะเริม ่ ชินกับการเห็นแรงงานจาก ก�ำลังการผลิต จากจ�ำนวนแรงงานที่มากขึ้นและ เพื่อนบ้านมาท�ำงาน ตั้งแต่อยู่ที่บ้าน ไปกินข้าว ไปท�ำงาน เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ประเทศไทย หรือไปตามทีท ่ ่องเทีย ่ วต่างๆ จนบางทีก็อดจะถามไม่ได้ว่า ก็เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ก�ำลังแรงงานจะต้องแบก แรงงานเหล่านี้เขามากันอย่างไร เขาอยูก ่ น ั อย่างไร แล้วในวันที่ รับภาระเลีย้ งดูคนวัยชราสูงขึน้ และท�ำให้กำ� ลังแรงงาน โตไม่ทันกับการขยายก�ำลังการผลิต นอกจากนี้ บ้านเรามีแ รงงานต่ า งชาติ เ พิ่ ม มากขึ้ น มากเรื่ อ ยๆ แบบนี้ หากมองไปทีค่ วามสามารถของแรงงานประสิทธิภาพ จนหลายคนคงอดสงสั ยไม่ได้ว่า แรงงานต่ า งด้ า ว ของแรงงานไทยไม่ ไ ด้ เ พิ่ ม สู ง ขึ้ น เท่ า กั บ การ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม มาช่วยหรือมาสร้างความวุ่นวายให้กับเรากับแน่ สุดท้ายแล้วสถานการณ์การขาดแคลนแรงงาน ในประเทศไทยจึงถูกรุมเร้าจากทั้งความต้องการ แรงงานที่เพิ่มขึ้น ก�ำลังแรงงานโตช้าเกินไปและ ธี ร วุ ฒ ิ ศรี พ ิ น ิ จ ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ เฉพาะของประเทศไทย ถ้าหากเริม่ จากความจ�ำเป็น แรงงานมีประสิทธิภาพไม่เท่ากับการเปลี่ยนแปลง ประจำ � คณะเศรษฐศาสตร์ แม้ว ่า เราจะมีเ ครื่องจักรเทคโนโลยีมากมายแต่ มหาวิ ท ยาลั ธ รรมศาสตร์ ไม่มคี นท�ำ เราก็จะไม่สามารถผลิตอะไรออกมาได้เลย แรงงานข้ามชาติมาช่วยหรือสร้างความ ่ วาย ดังนั้นแรงงานจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยการผลิตส�ำคัญ วุน ที่จะท�ำให้เศรษฐกิจเติบโตไปได้ เมื่อประเทศหนึ่ง “เมือ่ เปิดหน้าต่าง ย่อมมีแมลงบินเข้ามา” ค�ำพูด เมื่ อ วั น ที่ 13 พฤศจิ ก ายน 2560 ที่ ผ ่ า นมา ขาดแคลนแรงงาน ก็จะน�ำเข้าแรงงานมาจากอีก ที่โด่งดังของ เติ่งเสี่ยวผิง ผู้น�ำจีนที่ใช้นโยบายเปิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศหนึ่ ง เพื่ อ ตอบสนองกั บ ความต้ อ งการ ประเทศและท� ำ ให้ ป ระเทศจี น ก้ า วมาเป็ น ผู ้ น� ำ เศรษฐกิจโลกในเวลาไม่ถึง 50 ปี ค�ำพูดนี้เกี่ยว ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาจาระไนข้อสงสัยดั ง กล่ า ว แรงงานส่วนเกินนั้น อะไรกั บ สถานการณ์ แ รงงานของประเทศไทย? ในงานสัมมนาโครงการติดตามประเด็นเศรษฐกิจไทย เมือ่ เราไม่สามารถหาคนไทยท�ำงานทีค่ นไทยต้องท�ำได้ Thammasat Economic Focus ครั้ ง ที่ 12 ท�ำไมจึงเกิดการขาดแคลนแรงงาน การขาดแคลนแรงงานเกิดจาก 3 สาเหตุหลัก เราก็จำ� เป็นจะต้องให้คนต่างชาติชว่ ยท�ำ แล้วในเมือ่ “แรงงานต่างด้าว ช่วยจริงหรือวุ่นวาย” สาเหตุแรกคือ ความต้องการการจ้างงานมากขึ้น คนต่างชาติไม่ใช่คนไทย เราจึงจะต้องมีวิธีที่ต่าง ท� ำ ไมเราจึ ง เห็ น แรงงานข้ า มชาติ เป็ น ผลมาจากเศรษฐกิ จ เติ บ โตและซั บ ซ้ อ นขึ้ น ออกไปในการบริหารจัดการและให้ความเป็นธรรม ในประเทศเรามากขึ้ น การผลิ ต สิ น ค้ า และบริ ก ารต่ า งๆ จึ ง ต้ อ งอาศั ย และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นใน ถ้าจะตอบแบบก�ำปั้นทุบดินก็คงจะต้องตอบว่า ทั้ งแรงงานจ�ำนวนมากและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ประเทศไทยในขณะนี้ เพราะเมื่อมีคนต่างชาติ เพราะมีคนจ้าง แต่เพื่อให้เห็นภาพว่าท�ำไมเราถึง สาเหตุต่อมาคือ ขาดคนท�ำงาน เนื่องจากแรงงาน เข้ามาท�ำงาน แรงงานเหล่านี้ต้องมากินนอนใน จ้างแรงงานต่างชาติ วิทยากรในงานสัมมนาได้ให้ โตช้าและงานบางอย่างไม่น่าพิสมัยจนคนจะไม่ ประเทศไทย มาใช้สทิ ธิและสวัสดิการเหมือนคนไทย ค� ำ ตอบไว้ อ ย่ า งครบถ้ ว น โดยเริ่ ม ตั้ ง แต่ ค วาม อยากท�ำหรือที่เรามักได้ยินว่าเป็นงาน 3D คือกลุ่ม เราจึ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ร ะเบี ย บมี ก ฎหมายเพื่ อ ดู แ ล จ� ำ เป็ น ของการใช้ แ รงงานไปจนถึ ง สถานการณ์ งานที่ยาก (Difficult) อันตราย (Dangerous) และ และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นมากมาย 2


www.setthasarn.econ.tu.ac.th

เรากังวลอะไรกับแรงงานต่างชาติบา้ ง

ความกังวลอันดับต้นๆ ของเรา คือ เราจะถูกแย่ง งานไปท�ำไหม ถ้าหากดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน ของประเทศไทยแล้ ว จะพบว่ า เป็ น ปั ญ หานี้ น่ากังวลน้อยที่สุด เพราะเรามักจะเห็นแรงงานข้าม ชาติ ม าท� ำ งานในกลุ ่ ม งานที่ ค นไทยไม่ อ ยากท� ำ (กลุ่มงาน 3D ที่กล่าวไว้ตอนต้น) แล้วถ้าหากเป็น งานที่คนไทยอยากท�ำและท�ำได้ แรงงานข้ามชาติ จะเข้ามาก็เพราะว่าเราขาดแคลนอยู่แล้ว ความ กังวลถัดมาคือแรงงานเหล่านี้เมื่อเข้ามาแล้วย่อม มาใช้สวัสดิการไม่ว่าจะเป็นน�้ำประปา ไฟฟ้า ถนน จนถึงบริการทางการแพทย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คนไทย เสียภาษีถงึ จะได้ใช้ และก็ดเู หมือนจะยังไม่เพียงพอ ด้วยซ�ำ้ ความกังวลในข้อนีเ้ ริม่ จะมีนยั มากขึน้ เพราะ เมือ่ มีคนเยอะขึน้ แต่บริการต่างๆ มีอยูไ่ ม่มากก็ตอ้ ง มีการแย่งกันใช้อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี แรงงานที่เข้ามาท�ำงานในประเทศไทยก็ต้องเสีย ภาษีเช่นทุกครัง้ ทีเ่ ขาซือ้ ของจะต้องเสียภาษีมลู ค่าเพิม่ (VAT) ในอัตราเดียวกับคนไทย หากเป็นแรงงานที่ เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องเสียภาษี เหมือนคนไทยทุกอย่าง และยังต้องเสียค่าธรรมเนียม การเข้าเมืองอีกด้วย ดังนัน้ ข้อกังวลนีแ้ ม้จะมีนยั ขึน้ แต่ก็ยังสมเหตุสมผลของมันอยู่ ข้อกังวลสุดท้าย คือเมื่อมีแรงงานต่างชาติมากขึ้นย่อมจะมีปัญหา สังคมตามมา ทั้งการลักเล็กขโมยน้อย จนไปถึง ปัญหาอาชญากรรมอืน่ ๆ ความกังวลในข้อนีด้ เู หมือน จะเป็นความกังวลทีไ่ กลตัวทีส่ ดุ จากปัญหาทีต่ ามมา จากการขาดแคลนแรงงาน แต่ดูเหมือนจะเป็น ปั ญ หาที่ ส� ำ คั ญ และยากที่ สุ ด ที่ ต ้ อ งจั ด การ ซึ่งเราจะต้องพึ่งการดูแลจากภาครัฐบาลทางด้าน กฎหมาย และการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่ ดู เ หมื อ นระเบี ย บ และกฎหมายต่ า งๆ กลั บ กลายเป็นปัญหาที่ส�ำคัญ ระเบียบ และกฎหมาย มีบทบาทอย่างไร?

วัตถุประสงค์ส�ำคัญของระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ มี ไ ว้ เ พื่ อ ดู แ ลความเรี ย บร้ อ ยและคุ ้ ม ครอง ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับแรงงาน ต่างชาติทงั้ หมดก็มเี พือ่ เฝ้าติดตามแรงงานต่างชาติ ทุกๆ คน เพื่อให้การคุ้มครองแรงงานเอง และ ควบคุมให้ไม่เกิดปัญหา ลักษณะส�ำคัญของกฎ ระเบียบต่างๆ คือ กฎระเบียบที่เข้มงวดจะช่วยให้ เกิดความปลอดภัยและควบคุมได้ง่าย แต่การใช้ แรงงานต่างชาติกย็ อ่ มท�ำได้ยากขึน้ และมีตน้ ทุนสูง กฎระเบี ย บที่ ผ ่ อ นคลายลงจะช่ ว ยอ� ำ นวยความ สะดวกในการจ้างแรงงานต่างชาติได้ แต่ก็ต้อง สู ญ เสี ย การติ ด ตามและการคุ ้ ม ครองแรงงาน

ต่างชาติไป กรณีของประเทศไทย ส�ำหรับนายจ้าง และแรงงานมี ค วามเห็ น ว่ า กฎระเบี ย บต่ า งๆ มีลักษณะครอบจักรวาลและยังขาดความยืดหยุ่น กล่าวคือ กฎระเบียบได้วางไว้ทั่วไป ไม่ได้ปรับไป ตามสภาวะของกลุ ่ ม แรงงานที่ จ� ำ เป็ น จะต้ อ ง จัดการต่างกัน เป็นผลท�ำให้ต้นทุนการจ้างแรงงาน ต่างชาติสูงมาก และท�ำให้ไม่สามารถประหยัด ค่า จ้างแรงงานจากการจ้า งแรงงานต่างชาติได้ อย่ า งที่ ค วร ส่ ว นแรงงานต่ า งชาติ ก็ ม องว่ า กฎระเบี ย บมี ค วามซั บ ซ้ อ นและยุ ่ ง ยากมาก กฎระเบียบมีหลายฉบับ หลายประเภท จนท�ำให้ ยากต่อการท�ำความเข้าใจ และยังจ�ำกัดการย้าย งานและการเดินทาง แต่ทั้งนี้กฎระเบียบนี้ไม่ได้ เป็นปัญหาส�ำหรับแรงงานต่างชาติทักษะสูงเช่นที่ เข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญตามบริษัทใหญ่ๆ เลย แต่ กลุ่มแรงงานที่เป็นปัญหารุนแรงคือกลุ่มแรงงาน ทักษะไม่สูงนัก ซึ่งกฎระเบียบที่เข้มงวดกลับท�ำให้ ความคุ้มค่าในการจ้างงานแรงงานกลุ่มนี้หมดไป ่ กฎระเบียบไม่อ�ำนวย เราก็จะไม่มี เมือ แรงงานต่างชาติ

ปั ญ หาการขาดแคลนแรงงานในประเทศไทย ที่รุนแรงเกิดขึ้นในแรงงานที่มีทักษะไม่สูง ซึ่งกฎ ระเบียบอะไรก็ไม่สามารถห้ามความหิวได้ มีเรื่อง เล่าว่าหากไปเสนองานให้พ่อค้าว่า มีงานหนึ่งเสี่ยง อั น ตรายมากแต่ ก� ำ ไรดี จ ะท� ำ ไหม มี ง านหนึ่ ง ผิดกฎหมายแต่ก�ำไรดีจะท�ำไหม และมีงานหนึ่ง ถูกกฎหมายและปลอดภัยด้วยจะท�ำไหม พ่อค้า จะท�ำสองอย่างแรก แต่จะไม่ท�ำอย่างสุดท้าย เช่น เดียวกัน เมื่อกฎระเบียบมีความล�ำบากแต่ค่าจ้าง ในประเทศไทยสูงพอก็ย่อมจะจูงใจแรงงานข้าม ชาติให้เข้ามาท�ำงาน และแรงงานจะเลือกยอม เข้ า เมื อ งผิ ด กฎหมาย เมื่ อ ผิ ด จากเข้ า เมื อ งผิ ด กฎหมายแล้ว ก็สามารถมองข้ามการผิดกฎหมายอืน่ ๆ ได้ไม่ยาก ส่วนฝัง่ นายจ้างหากมีความจ�ำเป็นต้องจ้าง แต่ ก ระบวนการตามกฎหมายมี ค วามซั บ ซ้ อ น ไม่ทันการ เขาคงไม่อยากจ้าง เพราะต้นทุนการ จ้างงานแพง สิ่งที่ปรากฎตามมาคือจะมีคนเห็น โอกาสเชื่ อ มโยงความต้ อ งการของนายจ้ า งกั บ แรงงานให้ถงึ กัน หรือคนทีเ่ ราเรียกว่านายหน้านัน่ เอง นายหน้าเหล่านี้ท�ำหน้าที่ “อ�ำนวยความสะดวก” ให้แก่แรงงานในการหางาน แรงงานต่างชาติกลุ่ม หนึ่งก็ยอมเสียค่านายหน้าเพื่อจะได้เข้ามาท�ำงาน นายจ้ า งก็ ย อมจ้ า งแรงงานผิ ด กฎหมายเหล่ า นี้ เพราะแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่าย แต่ก็ได้รับความสะดวก ไม่ต้องยุ่งยากรับผิดชอบเหมือนกรณีเข้าเมืองตาม กฎหมาย ส่วนเจ้าหน้าที่เองก็อาจจะสับสนกับ

กฎระเบียบทั้งหลายจนท�ำหน้าที่ควบคุมได้ไม่ดี ผลที่ตามมาเลยกลายเป็นกฎหมายมีเจตนาดีแต่ เกิดผลเสีย คือแทนที่จะได้คุ้มครองแรงงานและ นายจ้าง ความยุ่งยากกลับท�ำให้เกิดตลาดมืดที่ ใหญ่ขึ้น น�ำไปสู่ขบวนการค้ามนุษย์ มีแรงงาน เข้ า เมื อ งผิ ด กฎหมายมากขึ้ น ตั ว แรงงานและ นายจ้างก็กลับไม่ได้รับการคุ้มครอง ปัญหาแรงงานข้ามชาติคือขนมชั้น ่ อกยาก ทีล

สุ ด ท้ า ยแล้ ว แรงงานต่ า งชาติ ม าช่ ว ยหรื อ สร้ า ง ความวุ่นวาย ก็ยังเป็นค�ำถามที่ตอบได้ยาก แต่ สรุปได้ว่า แรงงานข้ามชาติที่เข้ามามีความเฉพาะ เจาะจงกันไปทั้งในงานที่ท�ำ ที่มาของแรงงาน และ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมปัญหาแรงงานข้าม ชาติจงึ เปรียบเสมือนขนมชัน้ เพราะแรงงานทีเ่ ข้ามา มีหลายรูปแบบ คือ มีหลายชั้น แยกแยะและตรวจ สอบยาก คือ ลอกยาก ถ้าจะแก้ปัญหาให้ชัดเจน และตรงจุด ก็ต้องมองแต่ละชั้นให้ชัดเจน ผ่านการ ขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติก่อน จากนั้นก็ค่อยๆ แกะ ค่อยๆ ลอกแต่ละชัน้ ออกด้วยวิธที แี่ ตกต่างกันไป ผ่ า นนโยบายที่ ยื ด หยุ ่ น และเหมาะสม หากเรา สามารถจัดการปัญหาเหล่านี้ได้แรงงานข้ามชาติ จะเป็นก�ำลังส�ำคัญที่ท�ำให้ประเทศไทยสามารถแก้ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้ และท�ำให้เป็น ขนมชั้นชิ้นนี้เป็นขนมที่อร่อยเลยทีเดียว

รับชมงานสั มมนา Thammasat Economic Focus ครั้งที่ 12: แรงงานต่างด้าว ช่วยจริงหรือวุ่นวาย goo.gl/EYRhX8

3


ศัพท์นโยบายเศรษฐกิจไทย

ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม 2561

เศรษฐสาร

ค่าจ้างขัน ้ ต�่ำ วี ร ะวั ฒ น์ ภั ท รศั ก ดิ์ ก� ำ จร

อาจารย์ ป ระจำ � คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์

้ ค่าจ้าง เรามักจะได้ยินข่าวตามสื่อต่างๆ เรือ ่ งการเรียกร้องขอปรับขึน ขั้นต�่ำอยู่เป็นระยะๆ ล่าสุด เมือ ่ เดือนกันยายน พ.ศ. 2560คณะ กรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) จัดงานแถลงข่าวเรียกร้อง ให้ค่าจ้างขั้นต�่ำแรกเข้าให้เพียงพอเลีย ้ งชีพตนเองและสมาชิก ในครอบครัวอีก 2 คน ค�ำนวณออกมาได้ประมาณ 600-700 บาท ต่อวัน ในเดือนถัดมา ได้มีข้อสรุปตัวเลขดังกล่าวที่ 712 บาทต่อวัน ซึง่ สูงกว่าค่าจ้างขั้นต�่ำในปัจจุบันถึง 2.3 เท่า ข้อเรียกร้องดังกล่าว จึงก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง บทความนี้จึงขอน�ำ เสนอ 3 ประเด็นทีเ่ กีย ่ วกับค่าจ้างขั้นต�่ำดังนี้ 1) ทีม ่ าและความหมายของค่าจ้างขัน ้ ต�่ำ 2) ค่าจ้างขัน ้ ต�่ำในประเทศไทย 3) ข้อสั งเกตทีส ่ �ำคัญของค่าจ้างขัน ้ ต�่ำ

่ าและความหมายของ 1) ทีม ค่าจ้างขั้นต�่ำ การปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้ การผลิ ต เพื่ อ การพาณิ ช ย์ ข ยายตั ว อย่ า งรวดเร็ ว ท� ำ ให้ ค วามต้ อ งการใช้ แ รงงานประกอบกั บ เครื่องจักรมีมากขึ้น ในยุคนี้ แรงงานในประเทศ แถบยุโรปถูกใช้งานอย่างหนักในกระบวนการผลิต โดยเฉลี่ยแล้ว แรงงานจะต้องท�ำงานเฉลี่ย 70-80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ประมาณ 10-11ชั่วโมงตลอด ทั้ง 7 วันในหนึ่งสัปดาห์) มีการใช้แรงงานผู้หญิง และเด็กในลักษณะเดียวกัน ค่าจ้างถูกกดให้อยู่ ระดับต�่ำเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ สภาพและการ ใช้ชีวิตของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมจึงเป็นไป ด้วยยากล�ำบาก อายุขัยเฉลี่ยของแรงงานต�่ำมาก (ประมาณ 30-40 ปี) ท�ำให้เกิดแรงผลักดันที่ น�ำไปสู่การเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานบางอย่างของ แรงงาน 4

ค่ า จ้ า งขั้ น ต�่ ำ ประกาศใช้ ใ นฐานะ “กฎหมาย” ที่ แ รกในประเทศนิ ว ซี แ ลนด์ ใ นปี ค.ศ. 1894 ตามมาด้วยประเทศออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1896 ประเทศสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1909 ประเทศ สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1912 ปัจจุบนั มีเพียงร้อยละ 8 ของประเทศที่เป็นสมาชิกองค์กรแรงงานระหว่าง ประเทศ (International Labour Organization: ILO) เท่านั้น ที่ไม่มีกฎหมายค่าจ้างขั้นต�่ำ (15 จาก 186 ประเทศ) ILO เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ มีหน้าที่หลักคือการศึกษา รวบรวมข้อมูล และเป็น ศูนย์กลางของมาตรฐานแรงงานให้แก่ป ระเทศ สมาชิก ดังนั้น ผลการประชุมร่วมเพื่อก�ำหนด กรอบแนวทางต่างๆ ก็มาจากการเจรจาระหว่าง ประเทศสมาชิกจ�ำนวนมากซึ่งถือว่าเป็นที่ยอมรับ โดยทัว่ กัน ILO ได้กำ� หนดนิยามและหลักการ ของค่า จ้างขั้นต�่ำไว้ว่าเป็น “ระดับค่าจ้างต�่ำที่สุดที่นายจ้าง ต้องจ่ายให้กับลู ก จ้ า งในระยะเวลาหนึ่ ง ๆ โดยที่

นายจ้ า งไม่ ส ามารถเจรจาต่ อ รองกั บ ลู ก จ้ า ง เพื่ อ จ่ า ยค่ า จ้ า งที่ ร ะดั บ ต�่ ำ กว่ า ค่ า จ้ า งขั้ น ต�่ ำ ” จุดประสงค์ของการก�ำหนดระดับค่าจ้างขั้นต�่ำเพื่อ “ป้องกันไม่ให้จ่ายค่าจ้างต�่ำเกินควร และเพื่อให้ แรงงานได้รับผลตอบแทนจากการผลิตทีเ่ หมาะสม” ค่าจ้างขั้นต�่ำจึงเป็นเครื่องมือในการสร้างความ ธรรมด้วยตัวของมันเอง นอกจากนั้น ค่าจ้างขั้นต�่ำ ยั ง เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของมาตรการที่ ช ่ ว ยลดปั ญ หา ความยากจนและความเหลื่อมล�้ำระหว่างแรงงาน ชายหญิง รายละเอียดตามเอกสารกรอบแนวทาง ของ ILO ยั ง มี อี ก มาก เช่ น ใครควรเป็ น คน ก�ำหนดค่าจ้างขั้นต�่ำ ควรมีความแตกต่างระหว่าง พื้นที่และกลุ่มอาชีพหรือไม่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ จะขอยกไปอธิบายเฉพาะประเทศไทยในส่วนถัดไป 2) ค่าจ้างขั้นต�่ำในประเทศไทย ประเทศไทยเริ่ ม มี ค ่ า จ้ า งขั้ น ต�่ ำ ครั้ ง แรกตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2516 ที่ 12 บาท ต่ อ วั น เฉพาะในเขตกรุ ง เทพฯ และปริ ม ณฑล มีก ารปรั บ ขึ้ น ครั้ ง ส� ำ คั ญ ในปี พ.ศ. 2555 ตาม นโยบายค่าจ้างขั้นต�่ำ 300 บาทต่อวันของพรรค เพื่อไทย และปรับขึ้นครั้งล่าสุดในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2560 โดยกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่ 310 บาทต่อวัน จังหวัดอื่นๆ เฉลี่ยกันแล้วอยู่ที่ 304 บาทต่อวัน ในปั จ จุ บั น นั้ น ค่ า จ้ า งขั้ น ต�่ ำ ถู ก ก� ำ หนดโดย คณะกรรมการไตรภาคี (tripartite committee) กรรมการ 3 ฝ่ายมาจากฝั่งนายจ้าง รัฐบาล และ ลู ก จ้ า ง แบ่ ง ออกเป็ น กรรมการ 3 ชุ ด คื อ (1) คณะกรรมการค่าจ้าง มีปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน และกรรมการ 3 ฝ่าย ฝ่ายละ 5 คน (2) คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง มีรอง ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน และกรรมการ 3 ฝ่าย ฝ่ายละ 3 คน (3) คณะอนุกรรมการค่าจ้าง จังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และ

1 รายงานของส�ำนักงานสถิติแห่งชาติแบ่งค่าจ้างออกเป็นช่วง จึงไม่สามารถหาจ�ำนวนของผู้ที่ได้รับค่าจ้างต�่ำกว่าระดับค่าจ้างขั้นต�่ำได้ นอกจากนั้นบางคนอาจเป็นลูกจ้างชั่วคราวหรือท�ำงานแบบไม่เต็มเวลา (part-time) จึงท�ำให้ค่าจ้าง ณ เดือนที่ส�ำรวจต�่ำกว่า 10,000 บาท


www.setthasarn.econ.tu.ac.th

จังหวัดอื่นๆ

300 300 300 300 300

101

28

35

45

66 66

68 70

70 70

74

125

136

147 147 151 151 151

165 169 169 170

178

184

191 198 198

206

310

215

84

2544 2545 2546 2547 2548 2549 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2516 2559 2560

25

63

118

2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543

25

61

2534 2535

18

54

2517 2518 2519 2520 2521 2522 2523 2524 2525 2526 2527 2528 2529 2530 2531 2532 2533

12

2516

350 300 250 200 150 100 50 0

ค่าเฉลี่ยอัตราจ้างขั้นตํ่า

กรุงเทพ และปริมณฑล

หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยมาจากการคิดเฉลี่ยค่าจ้างขั้นต�่ำในแต่ละพื้นที่ในปีนั้น ๆ โดยไม่ถ่วงน�้ำหนัก ในบางปีอาจมีบางจังหวัด เช่น ภูเก็ตมีค่าจ้างขั้นต�่ำที่สูงกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วงปี พ.ศ. 2544-2547 จังหวัดอื่นๆ มีค่าเฉลี่ยลดลงเนื่องจาก มีการก�ำหนดค่าจ้างขั้นต�่ำแยกตามจังหวัดมากขึ้น ที่มา: กระทรวงแรงงาน

กรรมการ 3 ฝ่าย ฝ่ายละ 5 คน คณะกรรมการทัง้ 3 ชุด จะท�ำงานร่วมกันพิจารณาการปรับอัตราค่าจ้าง ขั้ น ต�่ ำ เมื่ อ มี ข ้ อ เสนอจากทางฝั ่ ง องค์ ก รลู ก จ้ า ง คณะกรรมการค่ า จ้ า ง หรื อ รั ฐ บาล เกณฑ์ ที่ ใ ช้ ในการพิ จ ารณา ได้ แ ก่ ค่ า ครองชี พ ของลู ก จ้ า ง ความสามารถ ในการจ่ายของนายจ้าง และสภาพ เศรษฐกิจสังคม

ประการที่สอง แม้ว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต�่ำจะสร้าง ความกั ง วลเรื่ อ งราคาสิ น ค้ า และการว่ า งงาน แต่งานศึกษาจ�ำนวนมากพบว่า การปรับขึ้นค่าจ้าง ขั้นต�่ำส่งผลต่อระดับราคาเพียงเล็กน้อย ในปี พ.ศ. 2555 ประเทศไทยขึ้นค่าจ้างขั้นต�่ำเป็น 300 บาท แต่ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ซึ่งแสดงถึงระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ในประเทศ กลับไม่ได้เพิม่ ขึน้ แตกต่างจากในช่วงอืน่ ๆ 3) ข้อสั งเกตที่ส�ำคัญของ มากนัก อัตราการว่างงานในปี พ.ศ. 2554-2556 ค่าจ้างขั้นต�่ำ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 0.8 เท่านั้น ประการแรก ค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ ส่งผลต่อกลุม่ แรงงานที่ ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น งานศึ ก ษาในต่ า งประเทศยั ง พบ เป็น “ลูกจ้าง” เท่านัน้ รายงานจากส�ำนักงานสถิตแิ ห่ง ว่า การขึ้นค่าจ้างขั้นต�่ำแทบไม่ส่งผลกระทบกับ ชาติ ไตรมาสที่ 4 ในปี พ.ศ. 2559 พบว่า ประเทศไทย มีผมู้ งี านท�ำ 38.3 ล้านคน ประมาณ 18 ล้านคน ดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2551-2558 มีสถานะการท�ำงานเป็นลูกจ้าง และประมาณ (ปีฐาน พ.ศ.2558) 9.8 ล้านคนที่ได้รับค่าจ้างต�่ำกว่า 10,000 บาทต่อ 105 เดือน1 หมายความว่าเมือ่ ใดก็ตามมีการปรับค่าจ้าง 100 95 ขัน้ ต�ำ่ ให้สงู ขึน้ จะกระทบกับคนกลุม่ นีแ้ ละคนทีไ่ ด้รบั ค่าจ้างสูงกว่าค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ เล็กน้อย ยังมีแรงงานอีก 90 85 จ�ำนวนมากที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึน้ ค่า 80 จ้างขั้นต�่ำโดยตรง ได้แก่ คนที่มีรายได้สูง หรือ 75 ที่ ม า : ส� ำ นั ก ดั ช นี เ ศรษฐกิ จ การค้ า กระทรวงพาณิ ช ย์ ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ ช่างตัดผม มอเตอร์ไซค์ รับจ้าง คนขับแท็กซี่ แม่คา้ ทีข่ ายของในตลาดสด ผูร้ บั งานไปท�ำที่บ้านที่ได้รับเงินตามชิ้นงาน กระนัน้ เอง อั ต ราการว่ า งงาน และการขึ้ น ค่ า จ้ า งขั้ น ต�่ ำ ยั ง การประกาศขึน้ ค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ อาจเป็นสัญญาณบาง ส่งผลอย่างมีนัยส�ำคัญต่อการกระจายรายได้และ อย่างในการก�ำหนดค่าจ้าง ค่าตอบแทนในตลาด สวัสดิภาพของแรงงาน อย่างไรก็ตาม งานศึกษา แรงงาน ทีส่ ามารถส่งผลกระทบไปยังตลาดสินค้าได้ ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย แม้ว่าบางคนจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าจ้างขั้นต�่ำ (TDRI) พบว่า มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากบริษัท โดยตรงแต่กย็ อ่ มรับรูถ้ งึ สัญญาณดังกล่าว ซึง่ อาจน�ำ ขนาดเล็กไปสู่ขนาดใหญ่มากขึ้น แสดงให้เห็นว่า ไปสูก่ ารเรียกร้องกดดันให้นายจ้างเพิม่ ค่าตอบแทน ผูผ้ ลิตรายเล็กบางส่วนแบกรับต้นทุนทีเ่ พิม่ ขึน้ ไม่ไหว ตามชิ้นงาน หรือถือโอกาสในการขึ้นราคาสินค้าได้ ท�ำให้ต้องลดการจ้างงานหรือแม้แต่ปิดกิจการไป 2 ค่าจ้างขั้นต�่ำที่หักผลของเงินเฟ้อออกแล้ว

ประการที่สาม แรงงานควรได้รับค่าจ้างตามส่วน ที่แรงงานผลิตได้ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ แต่ ในความเป็นจริงการแยกว่าแรงงานสร้างผลผลิต เป็นมูลค่าเท่าไรนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากสินค้า ส่วนใหญ่มีการแบ่งงานกันท�ำในกระบวนการผลิต แรงงานแต่ละคนมีทักษะไม่เท่ากันแม้จะท�ำงาน ลักษณะเดียวกัน และในกระบวนการผลิตต้องใช้ ปัจจัยการผลิตหลายอย่าง ทั้งทุน ที่ดิน แรงงาน และผู้ประกอบการ ภาพที่ไม่ชัดเจนท�ำให้แรงงาน บางกลุ่มถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยการจ่ายค่าจ้าง ขั้นต�่ำเป็น “ค่าจ้างขั้นสูง” กล่าวคือไม่มีการปรับค่า จ้างขึ้นให้แม้จะมีความช�ำนาญในงานที่ท�ำมากขึ้น แม้ว่าจะมีการก�ำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐาน ฝีมือในระดับที่สูงกว่าค่าจ้างขั้นต�่ำก็ตาม ธุรกิจ บางรายที่มีขนาดเล็กอาจแข่งขันกับธุรกิจรายใหญ่ ไม่ได้ จึงไม่สามารถจ้างแรงงานในราคาที่สูงกว่า ค่าจ้างขั้นต�่ำ ค่าจ้างขั้นต�่ำจึงเป็นเครื่องมือเดียว ในการต่อรองของแรงงานกลุ่มนี้ ท�ำให้เห็นการ ออกมาเรียกร้องการขึ้นค่าจ้างขั้นต�่ำอยู่บ่อยครั้ง ประการสุดท้าย ภาครัฐมีบทบาทส�ำคัญอย่างยิ่ง ในการก�ำหนดค่าจ้างขั้นต�่ำ หากดูจากโครงสร้าง คณะกรรมการและอนุกรรมการแต่ละชุด สมมติว่า ทางฝั่งนายจ้างและลูกจ้างมีความเห็นขัดแย้งกัน เนื่องจากฝั่งนายจ้างเสียประโยชน์และฝั่งลูกจ้าง ได้ประโยชน์ กรรมการที่มาจากฝั่งรัฐบาลจึงเป็น ผู้ตัดสินว่าจะให้มีการปรับค่าจ้างหรือไม่ ปัจจัย ทางการเมืองมีผลอย่างมากต่อหลักการพื้นฐาน ตัวอย่างเช่นช่วงปี พ.ศ. 2540-2550 ค่าจ้างขั้นต�่ำ ที่แท้จริง2 มีแนวโน้มลดลงตลอด แม้ว่าเศรษฐกิจ ในช่วงหลังของทศวรรษดังกล่าวจะเริ่มฟื้นตัวจาก วิกฤตเศรษฐกิจแล้ว การขึ้นค่าจ้างขั้นต�่ำ 300 บาท ในปี พ.ศ. 2555 ก็ เ ป็ น ผลพวงจากนโยบาย พรรคการเมือง ซึ่งขาดความแน่นอนและคาดเดา ไม่ได้ หลังจากนัน้ กว่า 5 ปีกว่าจะมีการปรับขึน้ อีกครัง้ ในช่ ว งนี้ ค ่ า จ้ า งขั้ น ต�่ ำ ที่ แ ท้ จ ริ ง ก็ มี แ นวโน้ ม ลดลงอี ก เช่ น กั น ทั้ ง หมดนี้ เ ป็ น ผลพวงมาจาก กฎเกณฑ์ในการปรับค่าจ้าง เพราะการพิจารณา แต่ละครั้งจะมาจากข้อเสนอของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ได้มีการพิจารณาภายในกรอบเวลาที่ท�ำเป็น ประจ�ำ ในทางปฏิบัติ ค่าจ้างขั้นต�่ำควรเป็นเท่าไร ในปั จ จุ บั น เป็ น เรื่ อ งทางเทคนิ ค ซึ่ ง ค� ำ นวนและ น�ำมาถกเถียงกันได้ แต่โครงสร้างในการก�ำหนด เกณฑ์ในการพิจารณา ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายนั้ น มี ค วามส� ำ คั ญ ไม่ ยิ่ ง หย่ อ นไปกว่ า กั น ในการใช้ เ ครื่ อ งมื อ นี้ เ พื่ อ สร้ า งความเป็ น ธรรมควบคู ่ ไ ปกั บ การพั ฒ นา เศรษฐกิจ 5


ปกิณกะเศรษฐศาสตร์

ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม 2561

เศรษฐสาร

หนังเรื่อง Poverty, Inc. จะพาคุณเข้าสู่มุมมองการ ช่วยเหลือข้ามชาติ (Foreign aid) อีกแบบที่คุณอาจ ไม่คาดคิดมาก่อน

ธั น ย์ ช นก นั น ทกิ จ

อาจารย์ ป ระจำ � คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์

ขบคิดไปกับ Poverty, Inc. : ่ ผลลัพธ์จากเงิน เมือ บริจาคไม่ได้สวยงาม เสมอไป

หนังสารคดีเรื่อง Poverty, Inc. จะท�ำให้คุณได้ทบทวน การให้ความช่วยเหลือด้วยการบริจาคของคุณใหม่ เพราะบางครั้งเจตนาอันบริสุทธิ์ผ่านการให้ ไม่ได้ ท�ำให้เกิดผลที่สวยงามเสมอไป เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ร่วมกับ Documentary club ได้จัดงาน เสวนาภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Poverty, Inc.บริษัทนี้มี ความจนมาขาย โดยมี อ.นนท์ นุชหมอน, อ.ดร.ชญานี ชวะโนทย์, อ.ชล บุญนาค, และ อ.อิสร์กุล อุณหเกตุ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวภาพยนตร์เรื่อง นี้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้งถกประเด็นที่ว่า การให้ การบริจาคนั้นจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาในประเทศ ยากจน หรือซ�้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงกว่าเดิม

การให้อยู่รอบตัวของเรา ลุกให้คนท้องนั่ง พาคนพิการ ข้ามถนน บอกทางแก่คนต่างชาติ ถ้ามองในมุม คุณเคยให้ความช่วยเหลือใครด้วย เศรษฐศาสตร์ เหล่าอาจารย์ได้ให้ความเห็นในงาน การบริจาคไหม ในฐานะผู้ให้คุณคง เสวนาไว้ว่า การให้ความช่วยเหลือต่างๆ ถือเป็นการ แลกเปลี่ยนแบบหนึ่งที่มิได้ซื้อขายผ่านทางราคาดัง เกิดความสุขลึกๆ ในใจ แต่คุณเคย สินค้าทั่วไป แต่ผ่านความสุขใจบางอย่างที่เกิดขึ้นแก่ ฉุกคิดไหมว่า ผู้รับต้องการความช่วย ทั้งผู้ให้และผู้รับ หากใครสักคนเดินถือของมาเต็มไม้ เหลือนัน ้ จริงหรือเปล่า แล้วยิง่ เป็นการ เต็มมือก�ำลังเดินเข้าประตูมา แล้วคุณช่วยเปิดประตู ให้เขา ระบบอุปถัมภ์ก็ได้ถือก�ำเนิดขึ้น เพราะผู้ให้ซึ่งมี บริจาคข้ามชาติด้วยแล้วผลกระทบ อย่ า งล้ น เหลื อ ได้ ใ ห้ บ างอย่ า งแก่ ผู ้ รั บ ซึ่ ง เป็ น คนที่ ระยะยาวของเงินบริจาคของคุณจะ ขาดแคลน แต่ในความเป็นจริงคุณจะแน่ใจได้อย่างไร ว่าเขาคนนัน้ อยากจะเดินเข้าประตูจริงๆ คุณผลิตสินค้า ช่วยให้ประเทศเหล่านั้นหลุดพ้น ได้ ต รงตามความต้ อ งการของเขาหรื อ เปล่ า จากความยากจนได้จริงไหม ระบบอุ ป ถั ม ภ์ ทุ ก วั น นี้ ก� ำ ลั ง เกิ ด ปั ญ หานั้ น และ 6

ในงานเสวนา ทั้งอาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมรับชม หนังเรื่อง Poverty, Inc. ไปพร้อมกัน หนังอธิบายการ ช่วยเหลือข้ามชาติ (Foreign aid) ผ่าน 3 ผู้เกี่ยวข้อง หลัก ซึ่งการช่วยเหลือยังคงมีผู้ให้และผู้รับ แล้วเพิ่ม เติมองค์กรอิสระ มูลนิธิ หรือ NGOs เข้าร่วมมาด้วย เริ่มต้นรัฐบาลประเทศผู้ให้จ้างวานองค์กรอิสระ มูลนิธิ หรือ NGOs ไปท�ำโครงการช่วยเหลือต่างๆ ให้แก่ รั ฐ บาลประเทศก� ำ ลั ง พั ฒ นาซึ่ ง เป็ น ผู ้ รั บ แต่ ท ว่ า กระบวนการเหล่านั้นกลับถูกจูงใจด้วยผลประโยชน์ ก้ อ นโตจนเป้ า หมายของการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ผิ ด เพี้ ย นไปเป็ น ผลิ ต ความจนระดั บ นานาชาติ แ ทน หนังได้เล่าถึงโครงการก่อสร้างในประเทศกานาว่า หลังจากประเทศกานารับเงินกู้ยืมจากประเทศยุโรป ด้วยอัตราดอกเบี้ยต�่ำ บริษัทชาติยุโรปซึ่งเป็น 1 ใน 5 ผู ้ ร ่ ว มประมู ล ก็ ผ ลั ก ภาระงานที่ ย ากที่ สุ ด แต่ ผลตอบแทนน้ อ ยที่ สุ ด ไปให้ บ ริ ษั ท ท้ อ งถิ่ น แทน บริษัทชาติยุโรปจึงได้รับเงินก้อนนั้นไปโดยแทบไม่ได้ ลงแรงใดๆ อีกตัวอย่างหนึ่งคือกรณีก่อสร้างถนนสาย หนึ่งในประเทศแทนซาเนียซึ่งระดมเงินทุนมหาศาล จากต่ า งชาติ ไ ปจ้ า งบริ ษั ท ด้ ว ยราคาสู ง เกิ น จริ ง ท้ า ยที่ สุ ด แล้ ว เม็ ด เงิ น จากกระบวนการช่ ว ยเหลื อ ข้ามชาติเหล่านี้ก็จะไหลกลับเข้ามาในกระเป๋าของ เจ้าของเดิมอยู่ดี การให้ความช่วยเหลือก�ำลังบิดเบือนระบบตลาดใน ประเทศผู้รับเงิน ชาวนาในประเทศเฮติไม่คุ้มที่จะปลูก ข้าวเพื่อท�ำมาหากินอีกต่อไป หลังจากที่สหรัฐอเมริกา บริจาคข้าวจนท�ำให้ราคาข้าวในเฮติตกต�ำ่ อุตสาหกรรม สิ่งทอในประเทศเคนย่าต้องหดตัวลง โรงงานปิดตัว คนงานถูกเลิกจ้าง หลังจากรับเสื้อผ้ามือสองจากยุโรป สหรัฐอเมริกา และแคนาดาเข้าประเทศ เจ้าของ กิ จ การขายไข่ ไ ก่ ใ นรวั น ดาขาดทุ น จนต้ อ งล้ ม เลิ ก กิจการ เพราะภายหลังเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ มีการแจกจ่ายไข่ฟรีให้กับคนที่เดือดร้อน โรงงานผลิต แผงโซล่ า เซลล์ ใ นเฮติ มี ย อดขายลดลงอย่ า งมาก เพราะหลั ง เกิ ด แผ่ น ดิ น ไหวรุ น แรงในเฮติ เ มื่ อ ปี ค.ศ. 2010 NGOs ได้บริจาคแผงโซลล่าเซลล์ฟรี จนไม่มีใครอยากจ่ายเงินซื้อไฟอีก ผู้ผลิตรองเท้าใน ท้องถิ่นได้รับผลกระทบหนัก หลังจากบริษัทรองเท้า TOMs ท�ำโครงการ One for One บริจาครองเท้าให้กับ คนยากจน เหตุการณ์เหล่านี้ก�ำลังสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อมีของฟรีส่งมาทุ่มตลาดจนเกิดเป็นอุปทานส่วน เกิน กลไกราคาสินค้าจะท�ำงานผลักให้ราคาสินค้านั้น


www.setthasarn.econ.tu.ac.th

้ กลาง คนชนชัน เป็นแรงส� ำคัญในการ ผลักดันประชาธิปไตย แต่การช่วยเหลือจะไป ท�ำลายอุตสาหกรรมท้องถิน ่ คนจนจึงไม่สามารถขยับ ตัวเป็นคนชนชั้นกลางได้

- อ.ชล -

ตกต�่ ำ ลงจนผู ้ ผ ลิ ต ในประเทศก� ำ ไรหดหาย และไม่ สามารถแข่ ง ขั น ในตลาดได้ อี ก ต่ อ ผู ้ ผ ลิ ต ท้ อ งถิ่ น ถู ก ผลักให้ออกจากระบบตลาด ไม่มีรายได้จุนเจือ ครอบครั ว แล้ ว ก็ ก ลั บ เข้ า มาสู ่ ว งจรความยากจน รอคอยสิ่งของบริจาคเช่นเดิม ระบบของการช่ ว ยเหลื อ ข้ า มชาติ ใ นปั จ จุ บั น ก� ำ ลั ง ให้ปลาแก่คนยากจน แต่ไม่ได้สอนวิธีให้คนตกปลา สุดท้ายผู้รับจะไม่สามารถหาปลาไว้กินเองได้ เขาจะรอ พึ่งพาเพียงความช่วยเหลือตลอดไปเท่านั้น คนในเฮติ ไม่ได้ต้องการข้าว แต่ต้องการขยายตลาดข้าวและการ ส่งออกข้าว คนยากจนไม่ได้รอคอยรองเท้าฟรี แต่ อยากมีเงินมากพอเพื่อซื้อรองเท้าได้เอง พ่อแม่ชาวเฮติ ไม่อยากส่งลูกเขาสถานเลี้ยงเด็กก�ำพร้า แต่อยากมี งาน มีแหล่งรายได้เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว ความจริงแล้ว คนจนมิได้ไร้ความสามารถ เขามีศักยภาพมากพอที่จะ ถีบตัวเองออกจากความยากจน แต่เขาต้องอาศัย

คนจนไม่ได้ต้องการเงิน บริจาค แต่ต้องการ ใบเบิกทางให้เข้าถึง ทรัพยากรต่างๆ ได้

- อ.ชญานี -

รากฐานทางกฎหมาย สถาบัน และนโยบาย อันได้แก่ กฎหมายคุ ้ ม ครองจากโจรกรรมและความรุ น แรง ความยุ ติ ธ รรมในชั้ น ศาล การมี ก รรมสิ ท ธิ์ ใ นที่ ดิ น เสรีภาพที่จะเปิดกิจการและจดทะเบียนอย่างถูกต้อง ช่องทางซื้อขายแลกเปลี่ยนในวงกว้าง เป็นต้น ซึ่งจะ เป็นบันไดสู่ความมั่งคั่งให้เขาพ้นจากความยากจน ในมุมของเศรษฐศาสตร์การพัฒนา บันไดที่จะเปิด โอกาสให้คนจนคือ หลักนิติธรรม หรือ Rule of law ที่ว่า คนมีสิทธิ มีหน้าที่ และได้รับการคุ้มครองอย่างไร Rule of law ก็ เ ปรี ย บเสมื อ นกติ ก าในเกมฟุ ต บอล เพราะแม้ว่า ใครๆ ก็เตะฟุตบอลได้ แต่เกมจะด�ำเนิน ต่อไม่ได้หากไร้กติกา ในระบบทุนนิยมก็เช่นเดียวกัน ใครๆ ก็ ซื้ อ ขายเป็ น และมี ค วามสามารถด้ า นการ ประกอบการ แต่กติกาในการควบคุมกิจกรรมทาง เศรษฐกิจยังมีข้อบกพร่อง กฎหมายคีเบราไม่อนุญาต คนจนน�ำสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวที่เขาครอบครองมาจด ทะเบี ย น เจ้ า ของร้ า นขายของช� ำ รายเล็ ก ๆ จึ ง ไม่ สามารถจดทะเบียนการค้าได้ เพราะร้านของเขาเป็น สิ่งปลูกสร้างชั่วคราว และเขายังเขาขาดโอกาสในการ ขอสินเชื่อ เพราะไม่อสังหาริมทรัพย์ค�้ำประกัน เจ้าของ บริษัทขายน�้ำผลไม้ในประเทศกานาก็เผชิญปัญหาที่ คล้ายคลึงกัน เพราะตนไม่ได้ถือครองอสังหาริมทรัพย์ จนไม่ ท รั พ สิ น ย์ ค�้ ำ ประกั น ในการขอเงิ น กู ้ ที่ มี ต ้ น ทุ น เหมาะสมได้ ชาวไร่ ช าวนาที่ ไ ม่ ก รรมสิ ท ธิ์ ใ นที่ ดิ น อาจจะท�ำอาชีพต่อได้ด้วยการเช่าพื้นที่ก็จริง แต่เขาจะ ขาดโอกาสในการพั ฒ นาผลิ ต ภาพการผลิ ต เช่ น ซื้ออุปกรณ์ท�ำไร่นาเพิ่ม เนื่องจากตนขาดหลักทรัพย์มา ค�้ำประกันเพื่อขอเงินกู้ Rule of law ที่ ข าดหายในประเทศก� ำ ลั ง พั ฒ นา ไม่ได้หมายความว่าประเทศมีกฎหมายน้อยเกินไป แต่ มันสะท้อนภาพว่า ประชาชนไม่มีหนทางในการเข้าถึง ระบบการผลิต และก�ำลังเผชิญกับแรงกดดันจากกลุ่ม ผู ้ น� ำคอร์ รั ป ชั น ซึ่ ง เป็ น ผู ้ มี อ� ำนาจในการใช้ ก ฎหมาย ออกข้อบังคับที่สลับซับซ้อนจนปิดโอกาสคนจนที่ไม่มี เส้ น สาย และไม่ เ ปิ ด โอกาสให้ ค นอื่ น ๆ ได้ อ ยู ่ ร อด สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาซึ่งคนจนขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ขาดโอกาสพัฒนาขีด ความสามารถของตัวเองเพื่อแข่งขันในตลาด และยัง ถูกซ�้ำเติมด้วยกฎหมายอันซับซ้อนจนเข้าไม่ถึงระบบ ความยุติธรรมในชั้นศาล ระบบการช่วยเหลือข้ามชาติ ในปัจจุบันก็มิได้แก้ปัญหาความยากจนที่จุดนี้ ซ�้ำร้าย ยังจูงใจให้ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ผลิตความยากจนให้แก่ คนจนไม่รจู้ บ บางครัง้ เรามิได้ฉกุ คิดถึงความจริงทางสังคม (Social Fact) เหล่านี้ ความเชือ่ คติ บรรทัดฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ ได้หล่อหลอมให้เราคิด ให้เราท�ำในสิง่ ต่างๆ โดยไม่สงสัย

ระบบตลาดของช่วยเหลือ จะไม่มีประสิ ทธิภาพ ่ ู้ผลิตให้ ถ้าสิ นค้าทีผ ไม่ตรงกับความต้องการ ของผู้รับ

- อ.นนท์ -

ไต่ถาม ระบบการให้ความช่วยเหลือในปัจจุบนั สะท้อนว่า เราก�ำลังมีวิธีคิดแบบแบ่งเขาแบ่งเรา คิดว่าคนจนเป็น สิ่งของสิ่งหนึ่งที่ได้แต่รอความเอื้อเฟื้อ ไม่ใช่คนคนหนึ่ง ที่เป็นตัวเอกในการพัฒนา เราถูกล้างสมองไปโดยไม่รตู้ วั ว่าคนจนคือคนอืน่ ช่วยคนจนได้ดว้ ยการบริจาคเท่านัน้ คนจนเองก็ถูกล้างสมองว่าฉันไม่ดีพอ คนพวกนี้ดีกว่า เหนือกว่า หากแม้มคี นคิดได้ และพยายามแก้ไข แต่ใช้วธิ ี คิดแบบเดิมๆ แก้ปญ ั หาเดิม สุดท้ายเราก็จะยังอยูใ่ นวงจร แบบเดิมที่ไม่สามารถกระตุ้นการพัฒนาในประเทศ ยากจนได้สักที การให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยเจตนาดี ก็ จ ริ ง แต่ผลกระทบในระยะยาวไม่ได้สวยงามเสมอไป Poverty, Inc. จะท�ำให้คุณเริ่มตั้งค�ำถามเกี่ยวกับ Social Fact และ สั่นคลอนความเชื่อเดิมๆ ที่ว่าการให้ความช่วยเหลือจะ ช่วยคนจนได้ แท้จริงแล้วการบริจาคอาจไม่ใช่ค�ำตอบ เพราะคนจนต้องการใบเบิกทางให้เข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ได้ ขณะทีผ่ ใู้ ห้ตอ้ งสร้าง Rule of law ทีเ่ หมาะสมเพือ่ เป็น รากฐานให้พวกเขาได้เติบโต โดยทีผ่ ใู้ ห้ไม่จำ� เป็นต้องคอย เปิดประตูให้คนถือของหนักตลอดไป

ถ้าเราเปิดประตูให้เขา เราต้องคอยเปิดประตูให้ เขาตลอดไปไหม ้ ฐานทีเ่ อือ ้ โครงสร้างพืน ต่อคนจนต่างหาก ่ อบโจทย์ ไม่ใช่แค่ ทีต การให้ความช่วยเหลือ

- อ.อิสร์กุล 7


สนุกคิดกับอาจารย์พิชญ์

ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม 2561

เศรษฐสาร

สวัสดีครับ สนุกคิดกับอาจารย์พชิ ญ์ ฉบับนีช้ วนผูอ้ า่ นเศรษฐสาร มาเล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ (Crossword) ซึ่งมีทั้งอักษรย่อ ชื่อบุคคล และค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ ในแวดวงเศรษฐศาสตร์ ผูอ้ า่ นทีส่ ง่ ค�ำตอบมาที่ setthasarn@econ.tu.ac.th 10 ท่านแรก กองบรรณาธิการจะติดต่อกลับ และส่งกระเป๋าผ้าสุดสวยเป็นของรางวัลด้วยครับ

พิ ช ญ์ จงวั ฒ นากุ ล

อาจารย์ ป ระจำ � คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ 1

2

3

4

5

6

7

8 9

10

แนวนอน 1. ชือ่ และนามสกุลของผูว้ า่ การธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบน ั 5.

อักษรย่อในปัจจุบนั ของธนาคารแห่งแรกในประเทศไทย 9. กรอบการดําเนินนโยบาย การเงินทีใ่ ช้อตั ราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย

้ 2. สินค้าทีผ่ บ แนวตัง ู้ ริโภคจะจับจ่ายเงินซือ้ น้อยลง หากรายได้ของเขาเพิม่ สูงขึน้ 3.

เศรษฐสาร เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบทีแ ่ สดงทีม ่ า-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงต้นฉบับ เว้นแต่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น

ชือ่ ของอาหารทีใ่ ช้เรียกวิกฤติสนิ เชือ่ ซับไพรม์ทเี่ กิดขึน้ ในสหรัฐอเมริกาช่วง พ.ศ. 2550 - 2551 4. อักษรย่อของข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ 6. จังหวัดทีจ่ ะเป็นทีต่ งั้ โรง ไฟฟ้าถ่านหินเทพา 7. สกุลเงินดิจติ อล ทีม่ มี ลู ค่ามากทีส่ ดุ และได้รบั ความนิยมมาก ทีส่ ดุ 8. อักษรย่อใช้เรียกกลุม่ ประเทศทีม่ กี ารพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอัน ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ 10. อักษรย่อของสถาบันวิจยั เพือ่ การพัฒนาประเทศไทย ช�ำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ 2/2521 ไปรษณียห ์ น้าพระลาน

ในราชการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เหตุขัดข้องน�ำจ่ายผู้รับไม่ได้ 1. จ่าหน้าซองไม่ชัดเจน 2. ไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้า 3. ไม่ยอมรับ 4. ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า 5. ไม่มารับตามก�ำหนด 6. เลิกกิจการ 7. ย้าย ไม่ทราบที่อยู่ใหม่ 8. อื่นๆ

กรุณาส่ง

ลงชื่อ....................................................... คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ 10200


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.