ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561
32/02
ISSN 0875-5924 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
02
ศัพท์นโยบายเศรษฐกิจไทย
นโยบายการคุมกำ�เนิด และการวางแผนครอบครัว นภนต์ ภุ ม มา
05
โลกหนังสือ
Misbehaving เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ลอยลม ประเสริ ฐ ศรี
06
มองรักมุมเศรษฐศาสตร์
ภารกิจรัก เกมที่ชนะได้ด้วยความร่วมมือ ชญานนท์ เจริ ญ ชั ย พงศ์
พอดีในรัก รักอย่างพอดี ชวั ล รั ต น์ บู ร ณะกิ จ
08
สนุกคิดกับอาจารย์พิชญ์
สนุกคิด กับอาจารย์พิชญ์
พิชญ์ จงวัฒนากุล
สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน เพื่อต้อนรับเดือนแห่งความรัก เศรษฐสารฉบับนี้จึงเตรียมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความรักทั้งโดยตรง และโดยอ้อมมามอบให้แก่ผู้อ่านทุกท่าน เริ่มจากคอลัมน์ศัพท์นโยบายเศรษฐกิจไทยที่จะน�ำทุกท่าน ย้อนอดีตไปพบกับประวัติความเป็นมาของนโยบายคุมก�ำเนิดและการวางแผนครอบครัวในประเทศไทย ต่อด้วยบทความของนักศึกษาเศรษฐศาสตร์รุ่นเยาว์ที่จะชวนทุกท่านเปิดมุมมองความรักผ่านแนวคิด แบบเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้แล้ว อย่าพลาดคอลัมน์อื่นๆ ที่มีสาระน่ารู้ชวนติดตาม ทั้งบทความแนะน�ำหนังสือ Misbehaving ที่เขียนโดย Richard H. Thaler เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์คนล่าสุด และปิดท้ายด้วยปริศนาอักษรไขว้ชวนขบคิดในคอลัมน์สนุกคิดกับอาจารย์พิชญ์เช่นเคย สวัสดีเดือนแห่งความรักครับ กองบรรณาธิการ ‘เศรษฐสาร’
ที่ปรึกษา ชยันต์ ตันติวัสดาการ | ภราดร ปรีดาศักดิ์ บรรณาธิการ | สิ ทธิกร นิ พภยะ
กองบรรณาธิการ หงษ์ฟ้า ทรัพย์บุญเรือง | ธีรวุฒิ ศรีพินิจ | นภนต์ ภุมมา | พิชญ์ จงวัฒนากุล | วีรวัฒน์ ภัทรศักดิก ์ �ำจร | ธันย์ชนก นั นทกิจ | อิสร์กุล อุณหเกตุ
ผู้จัดการ พิชามญชุ์ ดีทน
เศรษฐสาร เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์
www.setthasarn.econ.tu.ac.th
แบบทีแ ่ สดงทีม ่ า-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงต้นฉบับเว้นแต่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น
ศัพท์นโยบายเศรษฐกิจไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561
เศรษฐสาร
นโยบายคุมก�ำเนิด และการวางแผนครอบครัว ในประเทศไทย นภนต์ ภุ ม มา
อาจารย์ ป ระจำ � คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์
ในอดีตเมื่อสินค้าเกษตรยังเป็นสินค้าหลักของไทย และการท�ำเกษตรกรรม ยังเป็นอาชีพหลักของคนไทย ชีวิตประจ�ำวันของคนไทยส่วนใหญ่จะมีความ เกี่ยวพันกับการเกษตรตั้งแต่ตื่นจนกระทั่งเข้านอน คนในครอบครัวแต่ละคน อาจมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น สมาชิกบางคนตื่นเช้าขึ้นมาเพื่อท�ำ อาหารให้สมาชิกทุกคนรับประทานและมีแรงออกไปท�ำนาตลอดวัน แม่ไม่ไป ท�ำสวนในตอนกลางวันเพือ่ เลีย้ งลูกและท�ำงานบ้านด้วยหวังว่าเมือ่ ลูกเติบโตขึน้ จะสามารถท�ำงานเพื่อเลี้ยงครอบครัวได้ ลูกในวัยหนุ่มสาวต้องท�ำไร่เพื่อหา รายได้เลี้ยงพ่อแม่สูงอายุที่ไม่สามารถหารายได้พอเพียงต่อการเลี้ยงชีพ ตนเอง การที่ครอบครัวหนึ่งๆ มีสมาชิกเพิ่มขึ้นหนึ่งคนหมายถึงภาระที่คน ในครอบครัวต้องช่วยกันดูแลในช่วงต้นของชีวติ ใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็หมายถึง แรงงานที่จะเพิ่มขึ้นหนึ่งคนในอนาคต เหตุการณ์ธรรมดาของชีวิตในภาค เกษตรกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของแรงงาน ที่ทุกคนเสียสละ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสินค้าเกษตรในสังคมไทย และแสดงให้เห็นว่า แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตส�ำคัญที่ท�ำให้สังคมเกษตรกรรมของประเทศไทย ด�ำเนินไปได้ด้วยดี เมื่อแรงงานเป็นปัจจัยการผลิตส�ำคัญในสังคมเกษตรกรรม การที่ครอบครัว หนึ่งมีขนาดใหญ่ย่อมหมายความว่า ครอบครัวนั้นมีแรงงานที่สามารถสร้าง รายได้ ใ ห้ แ ก่ ค รอบครัวได้ม ากขึ้น ผู้อ อกนโยบายในระดับประเทศก็เ ห็น เช่นเดียวกันว่า การที่ประเทศหนึ่งมีแรงงานมากขึ้นหมายถึงว่าประเทศนั้น จะมี โ อกาสสร้ า งความมั่ ง คั่ ง เพิ่ ม ขึ้ น ประเทศไทยในอดี ต ตั้ ง แต่ ส มั ย ต้ น รัตนโกสินทร์จึงมีนโยบายเพิ่มประชากรอยู่เสมอ เช่น นโยบายสนับสนุนการ อพยพเข้าเมืองของแรงงานจีนในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ นโยบายห้ามท�ำแท้ง ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) พระไอยการ ลักษณะผัวเมียในกฎหมายตราสามดวงที่อนุญาตให้ชายมีภรรยากี่คนก็ได้ อย่างถูกต้องตามกฎหมายนโยบายส่งเสริมการเพิ่มประชากรที่ชัดเจนที่สุดคือ นโยบายสนับสนุนการสมรสและการมีลกู มากในสมัยจอมพล ป. พิบลู สงคราม เช่น (1) การพิมพ์หนังสือ คู่มือสมรส เพื่อแจกจ่ายเป็นแนวทางในการมี ครอบครัวอย่างเป็นสุขแก่ประชาชนทั่วไปโดยในหนังสือมีข้อความที่สนับสนุน การมีลูกมาก เช่น “ชาติไทยจะปลอดภัยอยู่ที่เรามีก�ำลังคนมาก และชาติไทย จะเป็นมหาอ�ำนาจตามทีเ่ ราตัง้ ความมุง่ หมายไว้ทกุ คนนัน้ ก็อยูท่ มี่ กี ำ� ลังคนมาก”
(2) การจัดตัง้ ส�ำนักงานสือ่ สมรสขึน้ ทุกจังหวัดเพือ่ ท�ำหน้าทีเ่ ป็นส�ำนักงาน จัดหาคู่ นัดหมายให้ชายหญิงที่อยากแต่งงานมาลงทะเบียน และท�ำหน้าที่นัด หมายให้ได้พบกัน (3) การเก็ บ ภาษี ช ายโสดตามพระราชบั ญ ญั ติ ช ายโสด พ.ศ. 2487 เพื่อกระตุ้นให้ชายโสดแต่งงาน (4) การจัดส่งเสริมบทบาทของแม่และการประกวดแม่ลกู ดกในจังหวัดต่าง ๆ (5) การสงเคราะห์ผู้มีบุตรมาก เช่น ลดค่าเล่าเรียน การให้ทุนการศึกษา การเลื่ อ นขั้ น เงิ น เดื อ นโดยค� ำ นึ ง ถึ ง จ� ำ นวนบุ ต รและให้ เ งิ น ช่ ว ยเหลื อ แก่ ครอบครัวที่มีบุตรเกิน 5 คน (6) การออกกฎหมายให้ผู้ที่สามารถท�ำหมันได้จะต้องได้รับการอนุญาต จากแพทย์ไม่น้อยกว่า 3 คน และมีบุตรแล้วไม่น้อยกว่า 5 คน นโยบายเหล่ า นี้ ส่งผลอย่างส�ำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของจ�ำนวนประชากร จากประมาณ 17.4 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2490 เป็น 26.2 ล้านคนในปี พ.ศ. 2503
2 ้อหาและข้อมูลเกือบทั้งหมดของบทความนี้ถูกเรียบเรียงจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หัวข้อ เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการวางแผนครอบครัวของไทย เนื ศึกษาจากกระบวนการนโยบาย โดย ชัยยนต์ ประดิษฐ์ศิลป์ ในปี พ.ศ. 2533
www.setthasarn.econ.tu.ac.th
อย่างไรก็ตาม หลังจากประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามนโยบายของรัฐบาล แล้ว ประชาชนและรัฐบาลกลับพบว่า การเพิ่มขึ้นดังกล่าวไม่ได้ท�ำให้ประเทศ รุ่งเรืองอย่างรวดเร็วดังที่คาด แต่กลับกลายเป็นปัญหาด้วยซ�ำ้ ในด้านหนึ่ง ครอบครัวที่มีลูกมากนั้นต้องประสบกับภาระอันหนักอึ้งในการใช้จ่ายเงิ น จ�ำนวนมากเพื่อเลี้ยงดูลูก ซึ่งท�ำให้ครอบครัวเหล่านี้อยู่ในภาวะยากจนและ คุณภาพชีวติ ทีย่ �่ ำ แย่ ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น การพั ฒ นาเทคโนโลยี ในทศวรรษ 2500 ท�ำให้เกษตรกรต้องการใช้ปจั จัยการผลิตทีท่ นั สมัยในการเพิม่ ผลิตภาพการผลิต เช่น การใช้รถไถและการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งถือเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร ที่แต่ละครอบครัวจ�ำเป็นต้องจ่ายเพิ่มขึ้น หากครอบครัวเกษตรกรเหล่านี้มีลูก มากย่ อ มท� ำ ให้ ก ารเข้ า ถึ ง เทคโนโลยี ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมี ค วามจ� ำ กั ด และ ไม่สามารถหลุดออกจากภาวะยากจนได้
ตลอดช่ ว งทศวรรษ 2500 มี ก ารเคลื่ อ นไหวเพื่ อ สนั บ สนุ น การวางแผน ครอบครั ว เกิ ด ขึ้ น จากทั้ ง ฝั ่ ง ภาครั ฐ และภาคเอกชนทั้ ง ในประเทศและ ต่างประเทศ เช่น (1) โครงการวิ จั ย อนามั ย ครอบครั ว ที่ อ� ำ เภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2507-2510 โดยความร่วมมือของสภาวิจัยแห่งชาติ กระทรวง สาธารณสุข (2) องค์ ก รระหว่ า งประเทศ ชื่ อ Population Council น�ำเสนอผล งานวิจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางนโยบายเรื่องการคุมก�ำเนิด โดยเนื้อหาของงาน วิจัยตอนหนึ่งระบุว่า สตรีในวัยเจริญพันธุ์ในชนบทร้อยละ 71 ไม่ต้องการ มีลูกเพิ่ม ดังนั้นรัฐบาลจึงควรสนับสนุนนโยบายคุมก�ำเนิดให้ทั่วถึง (3) การจัดตัง้ ศูนย์วางแผนครอบครัวในคณะแพทย์ศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัย เชี ย งใหม่ และคณะแพทย์ ศ าสตร์ รามาธิบดี ในช่วงปี พ.ศ. 2507-2508 จากกระแสเรี ย กร้ อ งให้ มี น โยบายชะลอการเพิ่ ม ของจ� ำ นวนประชากร ในการประชุมคณะรัฐมนตรีปี พ.ศ. 2513 จอมพลถนอม กิตติขจร นายก รั ฐ มนตรี ใ นขณะนั้ น จึ ง ประกาศนโยบายสนั บ สนุ น ให้ ป ระชาชนวางแผน ครอบครัวในชื่อ “นโยบายวางแผนครอบครั ว แห่ ง ชาติ ” การสนั บ สนุ น นโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นในหลายด้าน ได้แก่
ในอี ก ด้ า นหนึ่ ง การขาดแคลนเงิ น ออมในระดั บ ครั ว เรื อ นเนื่ อ งจากการ มี ลูกมากก็ส่งผลต่อเศรษฐกิจมหภาคด้วย กล่าวคือ ในช่วงทศวรรษ 2500 ที่เทคโนโลยีจากต่างประเทศเริ่มแพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทยนั้นเป็นโอกาส ทีภ่ าคอุตสาหกรรมจะพัฒนาขึ้นได้ แต่ประเทศไทยกลับขาดแคลนเงินออม เมื่ อ ขาดแคลนเงิ น ออมก็ เ ท่ า กั บ ว่ า ไม่ มี เม็ดเงินที่สามารถน�ำไปใช้ในการ ลงทุ น ให้ ส อดรับกับการพัฒนาเทคโนโลยีแ ละโอกาสในการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในมุมของภาครัฐนั้น ประชากรที่เพิ่มขึ้นหมายถึงค่าใช้ จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา การรักษา ด้ า นเครื อ ข่ า ยสาธารณสุ ข ของรั ฐ บาล พยาบาล การท�ำถนนและสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้อ งการ รั ฐ บาลพยายามส่งเสริมการวางแผนครอบครัว ผ่านสถานพยาบาลของ ของประชาชน นอกจากนี้ ประชากรที่เพิ่มขึ้นยังก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ เช่น รัฐบาลที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในภู มิ ภ าคต่ า งๆ ตั้งแต่ระดับสถานีอนามัยและ ส�ำนักงานผดุงครรภ์ไปจนถึงระดับโรงพยาบาลประจ�ำจังหวัด โดยมีเจ้าหน้าที่ การว่างงาน ชุมชนแออัด อาชญากรรม และยาเสพติด ของรัฐคอยท�ำหน้าทีใ่ ห้ความรู้เกี่ยวกับการคุมก�ำเนิด การวางแผนครอบครัว การท�ำรัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 และ พ.ศ. 2501 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ และให้บริการคุมก�ำเนิดที่มีความทันสมัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ ท�ำให้กลุม่ ทหารมีอำ� นาจเด็ดขาดในการปกครองประเทศไทย รัฐบาลในยุคนัน้ ของรัฐยังท�ำงานร่วมกับประชาชนในพื้นที่ของตน ด้วยการจัดตั้งผู้น�ำชาวบ้าน จึ ง ใช้ อ� ำ นาจที่ มี อ ยู ่ เ พื่ อ เร่ ง พั ฒ นาเศรษฐกิ จ ให้ มี ค วามทั น สมั ย มากขึ้ น ในรูปของอาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข แต่การเพิ่มขึ้นของจ�ำนวนประชากรอย่างรวดเร็วนั้นเป็นอุปสรรคต่ อ การ (ผสส.) เพื่อท�ำหน้าที่ชักชวนให้ประชาชนวางแผนครอบครัวและคุมก�ำเนิด พั ฒ นาเศรษฐกิจ แนวคิดเรื่องนโยบายคุมก�ำเนิดจึงเริ่มขึ้นโดยมีทั้งฝ่ายที่ โดยพั ฒ นาการของบริ ก ารคุ ม ก� ำ เนิ ด ในเครื อ ข่ า ยสาธารณสุขของรัฐบาลนี้ เห็ น ด้ ว ยและไม่ เ ห็ น ด้ ว ย ในการประชุ ม คณะรั ฐ มนตรี ปี พ.ศ. 2504 สามารถสรุปได้ดงั ตารางข้างล่างนี้ จอมพลสฤษดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นพยายามประนีประนอมความคิด ของทั้ ง สองฝ่ า ย แนวนโยบายของรั ฐ บาลจึ ง เป็ น ในลักษณะที่ไม่รณรงค์ ให้ ประชาชนคุมก�ำเนิด แต่ อ นุ ญ าตให้ ท� ำ ได้ โดยให้ ป ระชาชนพิ จ ารณา สภาพครอบครัวของตนเองว่าควรมีการคุมก�ำเนิดหรือไม่
พั ฒนาการของบริการคุมกําเนิดในเครือข่ายสาธารณสุ ขของรัฐบาล โรงพยาบาล จังหวัด
โรงพยาบาล อําเภอ
2508
2513
2518
2523
2528
83 แห่ ง
83 แห่ ง
83 แห่ ง
83 แห่ ง
83 แห่ ง
227 แห่ ง
254 แห่ ง
297 แห่ ง
484 แห่ ง
5,842 แห่ ง
7,189 แห่ ง
154 แห่ ง
ทําหมันชายและหญิง
ห่วงอนามัย
ยาฉีดคุมกําเนิด
สถานีอนามัย
อาสาสมัคร สาธารณสุข
2,119 แห่ ง
3,358 แห่ ง
4,676 แห่ ง
ยาฝังคุมกําเนิด
4,500ดคน ด้านความคิ และอุดมการณ์53,498
คน ยาเม็ดคุมกําเนิด
3
ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561
รัฐบาลมีการประชาสัมพันธ์การคุมก�ำเนิดและวางแผนครอบครัวอย่างแพร่ หลาย โดย “มีชัย วีระไวทยะ” ผู้เคยแสดงเป็นโกโบริในละครเรื่อง คู่กรรม ซึง่ ออกอากาศทางช่อง 4 บางขุนพรหมในปี พ.ศ. 2513 เป็นพรีเซนเตอร์รณรงค์ ให้ประชาชนใช้ถุงยางอนามัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ท�ำให้ถุงยางอนามัยมี ชื่ อ เรี ย กอี ก ชื่ อ ในสั ง คมไทยว่ า “ถุ ง มี ชั ย ” การโหมประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล ประสบความส�ำเร็จ และท�ำให้การวางแผนครอบครัว และการคุมก�ำเนิด กลายเป็นวาระแห่งชาติได้ในทศวรรษ 2510
เศรษฐสาร
โดยสรุปแล้ว นโยบายของประเทศไทยต่ อ จ� ำ นวนประชากรในประเทศ นั้ น เปลี่ ย นแปลงไปจากอดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น แต่ เ ดิ ม นั้ น ประเทศไทยเคย เป็นประเทศทีส่ นับสนุนการเพิม่ ขึน้ ของประชากร แต่เมือ่ ประมาณห้าสิบปีทแี่ ล้ว การเปลี่ ย นแปลงทางเศรษฐกิ จ และสั ง คมท� ำ ให้ ก ารเพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว ของจ�ำนวนประชากรไม่ใช่สิ่งที่พึงประสงค์อีกต่อไป การวางแผนครอบครัว จึงกลายเป็นแนวนโยบายแห่ง ชาติ ตลอดระยะเวลาที่ ผ่ านมาต้ อ งถื อ ว่ า รัฐบาลไทยประสบความส�ำเร็จอย่างดีในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของประชากร โดยอัตราการเพิ่มจ�ำนวนของประชากรไทยลดลงจากร้อยละ 2.9 ต่อปีในปี สิ่งที่น่าสังเกตคือ ในช่วงทศวรรษ พ.ศ. 2513 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปีในปี พ.ศ. 2559 ที่ 2500 ในขณะที่ ก ารวางแผน ครอบครั ว และการคุ ม ก� ำ เนิ ด ในปั จ จุ บั น การเพิ่ ม ขึ้ น ของประชากรไม่ ใ ช่ ป ั ญ หาที่ คุ ก คามความมั่ น คง ยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ การยอมรั บ เป็ น แนว หรือส่งผลเสียต่อการเจริญเติบ โตทางเศรษฐกิ จอี ก ต่ อ ไป ปั ญ หาส� ำ คั ญ นโยบายแห่งชาตินั้น กลุ่มที่ต่อต้าน ปั ญ หาใหม่ ข องสั ง คมไทยคื อ ปั ญ หาการท� ำ แท้ ง และการตั้ ง ครรภ์ ใ นวั ย ที่ เห็นว่า การวางแผนครอบครัวและ ไม่เหมาะสม ซึ่งคนไทยทุกคนจ�ำเป็นต้องตระหนักและร่วมกันแก้ไข ผู้เขียน การคุมก�ำเนิดนั้นขัดต่ออุดมการณ์ หวังว่าเราจะท�ำได้ส�ำเร็จเหมือนกับการแก้ไขปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากร ของชาติ ทั้งความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อห้าสิบปีก่อน และพุทธศาสนา กล่าวคือ การคุม ก�ำเนิดและการวางแผนครอบครัว อ้างอิง นั้ น อาจเป็ น ภั ย ต่ อ ความมั่ น คง ชัยยนต์ ประดิษฐ์ศิลป์. 2533. เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการวางแผน เพราะจะท�ำให้จ�ำนวนทหารลดลง ครอบครัวของไทย ศึกษาจากกระบวนการนโยบาย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ในอนาคต และขั ด แย้ ง ต่ อ หลั ก มหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ศาสนาพุทธ อย่างไรก็ตาม หลังจากปี พ.ศ. 2513 รั ฐ บาลได้ ผ นวกเอา การวางแผนครอบครั ว เข้ า เป็ น อุ ด มการณ์ ห นึ่ ง ข อ ง รั ฐ ร ่ ว ม กั บ อุ ด มการณ์ อื่ น ๆ ที่ มี อ ยู ่ แ ล้ ว ค� ำ ขวั ญ “ลู ก มากยากจน” ได้ แ ทรกซึ ม ไปทั่ ว ทุ ก แห่ ง ในประเทศผ่ า นการประชาสั ม พั น ธ์ ของรั ฐ และการศึ ก ษา ตัวอย่างเช่น นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 จะได้เรียนเรื่องปัญหา ของการมี ลู ก มากและการขาดการวางแผนครอบครั ว ในวิ ช าสร้ า งเสริ ม ประสบการณ์ชีวิต (สปช.) เป็นต้น ด้านความร่วมมือกับธุรกิจเอกชน
ธุรกิจเอกชนโดยเฉพาะร้านขายยาในเมืองได้รับประโยชน์จากการวางแผน ครอบครัวและคุมก�ำเนิดทีเ่ ป็นทีน่ ยิ มมากขึน้ ตัง้ แต่ทศวรรษ 2500 ขณะทีบ่ ทบาท เชิ ง รุ ก ของรั ฐ บาลในการให้ บ ริ ก ารคุ ม ก� ำ เนิ ด แก่ ป ระชาชนผ่ า นนโยบาย วางแผนครอบครัวแห่งชาติในปี พ.ศ. 2513 นั้นยิ่งท�ำให้ประชาชนเล็งเห็นถึง ความส�ำคัญของการคุมก�ำเนิดและซื้อผลิตภัณฑ์คุมก�ำเนิด เช่น ยาเม็ดคุม ก�ำเนิด ถุงยางอนามัย และยาฆ่าเชื้ออสุจิ เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลยังมี นโยบายสนับสนุนธุรกิจเอกชนในการคุมก�ำเนิด เช่น การอนุญาตให้ขาย ยาเม็ ด คุ ม ก� ำ เนิ ด ได้ โ ดยไม่ ต ้ อ งมี ใ บสั่ ง ยาจากแพทย์ การจั ด หายาคุ ม ก�ำเนิดราคาถูกให้ร้านขายยาจ�ำหน่าย และการเปิดช่องให้นายทุนบริษัทยา มีบทบาทในการก�ำหนดนโยบาย ผ่านการจัดองค์กรแบบบรรษัทนิยมในรูป คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชน เป็นต้น
4
โลกหนังสื อ
www.setthasarn.econ.tu.ac.th
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม: เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ที่มองคน ไปไกลกว่าสัตว์เศรษฐกิจ ลอยลม ประเสริ ฐ ศรี
อาจารย์ ป ระจำ � คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ธ รรมศาสตร์
Misbehaving เป็ น หนั ง สื อ ที่ ย ่ อ โลกวิ ช าการ เศรษฐศาสตร์ พ ฤติ ก รรม ( B e h a v i o u r a l Economics) ที่ เ ขี ย นโดยนั ก เศรษฐศาสตร์ รางวั ล โนเบลคนล่ า สุ ด “Richard H. Thaler” ซึ่ ง ถื อ เป็ น นั ก เศรษฐศาสตร์ พ ฤติ ก รรมรุ ่ น บุ ก เบิ ก ในยุคเดียวกับ Daniel Kahneman (รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 2002) และ Amos Tversky (ผูพ้ ฒ ั นาทฤษฎี Prospect Theory) ปัจจุบนั Thaler เป็นศาสตราจารย์ดา้ นเศรษฐศาสตร์ที่ Booth School of Business แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก หนังสือเล่มนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ พฤติ ก รรมและกลไกการตั ด สิ น ใจของมนุ ษ ย์ โดย Thaler เริ่มต้นหนังสือจากการเล่าชีวิตและการ ท� ำ งานของตั ว เขาเองและเพื่ อ นร่ ว มอุ ด มการณ์ ที่ ร ่ ว มบุ ก เบิ ก งานวิ ช าการสาขานี้ รวมถึ ง เล่ า ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการ ของการศึกษาวิจัย ทางด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ซึ่งผสมผสาน ระหว่ า งศาสตร์ 2 ศาสตร์ คื อ จิ ต วิ ท ยาและ เศรษฐศาสตร์ ในภาพรวมนั้นหนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทความ ขนาดสั้ น ที่ คั ด ย่ อ มาจากบทความที่ ตี พิ ม พ์ ใ น วารสารวิชาการที่ Thaler และคณะร่วมท�ำกันมา ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ตลอดจนบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นการคัดย่อมาจาก งานวิชาการ แต่ Thaler สามารถพาผู้อ่านไปท่อง โลกวิชาการด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย อ่านเพลิน และ มีตัวอย่างประยุกต์ในชีวิตประจ�ำวันที่น่าติดตาม
สิ่งที่ Thaler แสดงให้เห็นผ่านตัวอักษรของเขาคือ ความส�ำคัญของความรู้และความเข้าใจทางด้าน พฤติกรรมศาสตร์ ทีม่ ตี อ่ ทุกคน ทุกอาชีพ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ก�ำหนดนโยบาย (Policy maker) ทั้งใน ภาครัฐและองค์กรธุรกิจ ที่สามารถน�ำองค์ความรู้ ด้านพฤติกรรมไปใช้ในการออกแบบและวางแผน ทางนโยบาย บทเรียนส�ำคัญจากหนังสือเล่มนีค้ อื ทฤษฎีเสรีภาพ ในการเลือก (Libertarian paternalism) กล่าวคือ Thaler แฝงแง่มุมความคิดในหลายๆ ตอนว่า เขาเชื่อว่า การปรับพฤติกรรมของมนุษย์ต้องไม่ใช้ วิธีการภาคบังคับ แต่ต้องเริ่มต้นจากความเข้าใจ พฤติกรรมมนุษย์อย่างถ่องแท้ แล้วจึงค่อยๆ ปรับ พฤติกรรมของมนุษย์ให้เป็นไปโดยสมัครใจ ตั ว อย่ า งในตอนท้ า ยของหนั ง สื อ แสดงให้ เ ห็ น ผลสัมฤทธิ์เชิงนโยบายที่ Thaler มีส่วนร่วมผลักดัน และให้ค�ำปรึกษาต่อรัฐบาลอังกฤษ ในการก่อตั้ง หน่วยงานชื่อ The Behavioural Insights Team ซึ่งเป็นหน่วยงานที่น�ำองค์ความรู้ด้านพฤติกรรม ศาสตร์ ไ ปสู ่ ก ารประยุ ก ต์ ใ ช้ แ ละประสบความ ส�ำเร็จในหลายต่อหลายนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นการ ส่งเสริมให้คนจ่ายภาษีตรงต่อเวลา การส่งเสริมให้ คนบริจาคอวัยวะ หรือแม้กระทั่งการส่งเสริมให้คน อังกฤษเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษามากขึ้น ความ ส�ำคัญของการพัฒนารากฐานของพรมแดนความรู้ ทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม รวมถึงการน�ำองค์ ความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงนี่เองที่ส่งผลให้ Thaler ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจ�ำปี 2017
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม: เศรษฐศาสตร์ แนวใหม่ที่มองคนไปไกลกว่าสัตว์เศรษฐกิจ (Misbehaving: The Making of Behavioral Economics) ผู้แต่ง: ริชาร์ด เธเลอร์ (Richard H. Thaler) ผู้แปล: ศรพล ตุลยะเสถียร และ พิมพัชรา กุศลวิทิตกุล สำ�นักพิมพ์: openworlds ปีที่พิมพ์: 2559
5
บทความนักศึกษา
ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561
เศรษฐสาร
มองรักมุมเศรษฐ(ศาสตร์)
ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปี ไม่ว่าเราจะมองไปทางใด หรือไม่ว่าเราจะไปทีไ่ หน เราก็จะเห็นบรรยากาศอันสวยงามของเทศกาล ่ ัดอีเวนท์เพือ ่ เอาใจคู่รัก สิ นค้าหลากหลายชนิดออกโฆษณาภายใต้แนวคิด แห่งความรัก ไม่ว่าจะเป็นเหล่าห้างสรรพสิ นค้าทีจ ่ ่องเทีย ่ วต่างๆ จัดซุ้มถ่ายรูปทีป ่ ระดับไปด้วยรูปหัวใจสี แดงและสี ชมพู ‘เศรษฐสาร’ จึงขอถือเอาเทศกาล ของความรัก สถานทีท
วันวาเลนไทน์นี้ชวนผู้อ่านมองความรักผ่านมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ จากข้อเขียนของนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ่ ะเล่าถึงพัฒนาการความรัก ธรรมศาสตร์ 2 คน ในโครงการ Research Training Program เริ่มจาก ชญานนท์ เจริญชัยพงศ์ ทีจ ่ นะได้ด้วยความร่วมมือ) จากนั้น ชวัลรัตน์ บูรณะกิจ จะพาพวกเรา ระหว่างบุคคลว่า รักอย่างไรจึงจะมีความสุ ข (ภารกิจรัก เกมทีช ้ ด้วยการเล่าถึงความรู้สึกรักทีเ่ รามีต่อสิ่ งต่างๆ (พอดีในรัก รักอย่างพอดี) ่ ว้างขึน ไปมองความรักในภาพทีก
ภารกิจรัก เกมที่ชนะได้ ด้วยการร่วมมือ หากมองชีวิตเป็นเกม ชีวิตก็คงเป็นเกมที่ผู้เล่น ผลลัพธ์ทด ี่ ีทส ี่ ุ ด อย่างเราต้องสู้ให้ผ่านทั้งในภารกิจหลักและภารกิจ ย่อย แม้ว่าโครงเรื่องหลักของเกมชีวิตจะแตกต่าง มาจากการทีท ่ ุกๆ คน กั น ออกไปตามลั ก ษณะของผู ้ เ ล่ น แต่ ล ะราย ในกลุ่มท�ำดีทส ี่ ุ ด แต่กระนั้นสิ่งที่ขับเคลื่อนผู้เล่นทุกรายให้ลงเล่น เกมนี้ต่อไปก็คือความต้องการอันไม่สิ้นสุดของชีวิต เพือ ่ ตัวเองและเพือ ่ กลุ่ม ทว่าความจ�ำกัดของเงินและเวลากลับเป็นบอสร้าย - จอห์น แนช ของเกมทีป่ รากฏตัวขึน้ ทัง้ ในภารกิจหลัก และในทุกๆ บิดาแห่งทฤษฎีเกม นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ภารกิจย่อย วิธีเล่นให้บรรลุจุดมุ่งหมายของเกมนี้ สาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1994 ได้ดีที่สุดคือ ผู้เล่นต้องตัดสินใจ “เลือก” สิ่งที่ให้ ความคุ้มค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับตัวเลือกอื่น ๆ เลือกได้ดีขึ้นในรอบ restart หน้าของเกมรัก กระทั่ง ภารกิจหนึ่งที่อาจเป็นภารกิจหลักของใครบางคน ได้คู่แท้ ได้สร้างครอบครัวตามที่หวัง ระยะสร้าง แต่อาจเป็นเพียงภารกิจย่อยหนึ่งของคนอีกคน คือ ครอบครัวในเกมรักก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บางครั้งคนรัก ภารกิจรัก คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนส่วนใหญ่วางเป้า ส่งสัญญาณของการเพิกเฉยไม่ใส่ใจ แอบออกไป หมายของภารกิจนี้ไว้ว่าเป็นการแต่งงานและการมี ไหนโดยไม่บอกกล่าว จนมีแนวโน้มของการนอกใจ ครอบครัวที่มีความสุข เมื่อเป้าหมายถูกตั้งธงไว้ และแสวงหาความสุขจากที่อื่น แอบมี เ ล็ ก มี น ้ อ ย ต่อมาเราจะเริ่มตะลุยภารกิจนี้อย่างไร เนื่องจาก จากปั ญ หาเหล่ า นี้ ทั้ ง คู ่ อ าจทะเลาะกั น อย่ า ง เรามีเวลา มีเงินที่จ�ำกัด ระยะแรกเมื่อเราพยายาม รุ น แรงและจบลงที่ ก ารแยกทางกั น ไปซึ่ ง เป็ น จีบใครสักคน เราคงต้องค่อยๆ ตัดทางเลือกทีค่ าดว่า ผลลั พ ธ์ ที่ เ ลวร้ า ยที่ สุ ด ของความสั ม พั น ธ์ จะท�ำให้ภารกิจล้มเหลวออก แล้วเอาเวลาไปทุม่ เท ให้ ค นที่ พ อจะมีใ จให้เราแทน เราอาจจะหักอก เกมรักจะไม่จบลงทีก่ ารแยกทางเลย หากคูร่ กั เชือ่ ใจ เขาบ้าง หรือโดนเขาหักอกบ้าง แต่ความล้มเหลว กันและกัน สร้างความน่าเชือ่ ถือ และไม่คดิ เองเออเอง เหล่านี้ล้วนเป็นบทเรียนที่ดีที่จะท�ำให้เราสามารถ หากมองให้ละเอียดรอบคอบมากขึ้น ความรู้สึกว่า 6
ชญานนท์ เจริญชัยพงศ์
นั ก ศึ ก ษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์
ได้ รั บ การใส่ ใ จน้ อ ยลงอาจมาจากสาเหตุ อื่ น มากมายนอกเหนื อ จากการนอกใจ เช่ น ความ เหนื่อยล้า ความกดดัน ความเครียดสะสมจากการ ท�ำงาน การหันหน้ามาคุยกันด้วยเหตุและผลจะ ช่วยให้เกิดความเข้าใจกันมากขึน้ ถึงสาเหตุทแี่ ท้จริง ชีวิตคู่จะยืนยาวได้ คู่รักต้องพยายามเข้าใจซึ่งกัน และกัน เป็นที่ปรึกษาและคอยให้ก�ำลังใจแก่กัน ทั้งคู่ควรค�ำนึงถึงจุดที่สบายใจร่วมกัน และท�ำเพื่อ ครอบครัวมากกว่าความพอใจของตน ภารกิจรักจะน�ำพาผู้เล่นไปสู้เป้าหมายของความ สุขได้หรือไม่นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของความรู้สึกเพียง อย่างเดียว ความรักนั้นมีเหตุผลซึ่งการตัดสินใจ เลือกของผู้เล่นอยู่เบื้องหลังทั้งหมด ตั้งแต่ตอนเริ่ม ชอบ ตามจีบ ขอเป็นแฟน สร้างครอบครัว และประคับ ประคองชีวิตคู่ แน่นอนว่าภารกิจนี้ไม่ได้มีผู้เล่นแค่ เราคนเดียว แต่มีเขามาลงเล่นเกมแห่งความรักกับ เราด้วย ดังนั้นเพื่อให้คู่รักมีความสุขที่สุด การเล่น เกมอย่างเห็นแก่ตัวคงไม่ใช่วิธีการที่ฉลาดเท่าไหร่ ในเกมนี้ ความไว้ใจและการตกลงร่วมมือกันต่างหาก ที่จะเป็นค่าพลังส�ำคัญที่จะช่วยให้ทั้งเราและเขา ชนะเกมรักครั้งนี้ด้วยกัน
ร์
www.setthasarn.econ.tu.ac.th
พอดีในรัก รักอย่างพอดี เมื่อกล่าวถึงค�ำว่า “ความรัก” เรามักจะนึกถึงความรักที่เกิดขึ้น ระหว่างบุคคลเท่านั้น แต่หากเรามองไปรอบตัว เราจะพบอีก นิ ย ามของความรั ก ในมุ ม มองที่ ก ว้ า งขึ้ น รั ก ที่ ไ ม่ มี ข อบเขต ก�ำหนดแค่เพียงความรู้สึกระหว่างบุคคล แต่เป็นความรู้สึกของ คนเราต่อสิ่งต่างๆ ด้วย เช่น ชลาทิศรักแมวที่เขาเลี้ยง นิติรัก รถยนต์ที่เขาตั้งใจท�ำงานเก็บเงินซื้อ และดาวิการักการท่องเที่ยว เป็นชีวิตจิตใจ
ชวัลรัตน์ บูรณะกิจ
นั ก ศึ ก ษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์
อาจท�ำให้เธอรักการท่องเที่ยวน้อยลงจนกระทั่งเลิกรักไปเลย ก็ได้ เพราะคนเราเมื่อท�ำอะไรซ�้ำเดิมมากๆ เข้า ก็จะเบื่อหน่าย และเลิกท�ำไปในที่สุด
การรักษาความรักให้คงอยู่กับเราได้ตลอดไปนั้น ต้องรักษา สมดุลให้ได้ว่า จุดที่พอดีของการท�ำสิ่งต่างๆ อยู่ตรงไหน เมื่อใด ที่เ ราเริ่มอยู่กับสิ่งที่เ รารักมากเกิ น ไป ให้ ลองสลั บไปอยู ่ กั บ สิ่ ง อื่ น ในชี วิ ต เราบ้ า ง แล้ ว ค่ อ ยกลั บ มาท� ำ สิ่ ง ที่ เ รารั ก ก็ จ ะ ความรูส้ กึ รักเกิดขึน้ ได้อย่างไร? เชือ่ ว่าเมือ่ เจอค�ำถามนี้ หลายคน ท�ำให้ความรักที่เรามีต่อสิ่งนั้นคงอยู่ต่อไปได้ ยิ่งเราหายไปจาก คงบอกว่ายากที่จะตอบได้ ดังค�ำกล่าวที่ว่า “ความรักมักเกิดขึ้น สิ่งที่เรารักนานๆ หรือท�ำสิ่งที่เรารักน้อยลงบ้าง เมื่อถึงเวลาที่เรา โดยไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ เราก็คิดถึงแต่เค้าทั้งวันทั้งคืนแล้ว” หาก กลับมาหามัน เราจะรู้สึกมีความสุข และรักมันมากขึ้นอีกด้วยซ�้ำ ลองพิจ ารณาดูจ ะพบว่า แท้จ ริง แล้วความรักมักเกิดขึ้นเมื่อ สิ่งเหล่านั้น หรือบุคคลเหล่านั้น ท�ำให้เราเกิดความรู้สึกพึงพอใจ “ความรักก็เหมือนอากาศ จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่ถ้าขาด และมี ค วามสุ ข ได้ อ ย่ า งสม�่ ำ เสมอ ซ�้ ำ ๆ เป็ น เวลานาน เช่ น มันไป ชีวิตก็อยู่ไม่ได้” หลายคนอาจเคยได้ยินค�ำกล่าวนี้มาบ้าง ดาวิกาได้ไปท่องเที่ยวมาหลายที่ และมีความสุขทุกครั้งที่ได้ ถึงแม้จะฟังดูเลี่ยนไปบ้าง แต่ก็เป็นความจริง คนเราทุกคนต่างมี ท่องเที่ยว ยิ่งได้เที่ยวหลายที่มากขึ้น ระดับความสุขหรือระดับ สิ่งที่เรารักอยู่รอบตัว มีคนที่เรารักอยู่ข้างกายเสมอ ซึ่งความรักนี้ ความพึงพอใจนั้นยิ่งเพิ่มมากขึ้น จนท�ำให้ถึงจุดหนึ่งที่ดาวิกา จะท�ำให้ชีวิตเราเดินต่อไปข้างหน้าได้ ความรักย่อมท�ำให้เราเกิด แรงบันดาลใจในการท�ำสิ่งต่างๆ และใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ตกหลุมรักการท่องเที่ยว ความรักจะท�ำให้เราอยากตืน่ ขึน้ มาในตอนเช้า เพือ่ พบคนทีเ่ รารัก จากเรื่องราวความรักการท่องเที่ยวของดาวิกา อยู่มาวันหนึ่ง เพื่อออกไปท�ำสิ่งที่เรารัก และท�ำให้เราเข้านอนในตอนกลางคืน ดาวิกากลับเลิกออกไปเที่ยว ด้วยเหตุผลที่ว่าเธอเบื่อ เหนื่อย ด้วยความรู้สึกอิ่มเอมใจ ดังนั้น เพียงแค่เราหาจุดที่พอดีของ และอยากหยุดพัก เหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น? ค�ำตอบคือคนเราย่อม ความรักได้ ความรักก็จะอยู่กับเรานานพอ พอให้เราชุ่มฉ�่ำใน มีจดุ อิม่ ตัวในความสุข ถึงแม้ดาวิกาจะออกไปเทีย่ วอีก ก็ไม่สามารถ หัวใจตลอดไป ท�ำให้เธอมีความสุขมากขึ้นได้อีกแล้ว และถ้ายังไปเที่ยวอีก หากความรักจะท�ำให้คนตาบอด ‘เศรษฐสาร’ ขอชวนให้ใช้ความรูเ้ ศรษฐศาสตร์ ควบคูไ่ ปกับหัวใจ ถ้าเรารักใคร บทความเรือ่ ง ‘ภารกิจรัก เกมทีช่ นะได้ดว้ ยการร่วมมือ’ แนะน�ำให้เราร่วมมือกันเพือ่ ดูแลความรัก แล้วผลประโยชน์รวมของชีวติ คูจ่ ะมีมากกว่ากรณีที่ต่างฝ่ายต่าง คิดถึงแต่ประโยชน์ของตนเอง ตามตัวอย่างของ Prisoner’s dilemma ในเนื้อหาเศรษฐศาสตร์เรื่องทฤษฎีเกม ซึ่งชีใ้ ห้เห็นว่า หากนักโทษทั้งสองคนร่วมมือกันปฏิเสธข้อกล่าวหา ทั้งคู่จะติดคุกน้อยกว่ากรณีที่ต่างคนยอมรับผิดแล้วเข้าคุกนานขึ้น ถ้าหากว่าเรารักอะไร บทความเรื่อง ‘พอดีในรัก รักอย่างพอดี’ ได้บอกเราว่า คนเรามี diminishing of love คล้ายกับ diminishing returns ในการผลิต ในเรื่องความรัก ช่วงแรกรัก เรามักมีรักอย่างเต็มร้อย แต่ค่อย ๆ ลดน้อยลงเป็นศูนย์ในช่วงหลังที่เราเริ่มเบื่อ คล้ายกับการใช้ปัจจัยการผลิตในช่วงแรกที่ก่อให้เกิดผลผลิตมากมาย แต่หลังจากนั้น ปัจจัยการผลิตที่ใส่ลงไปจะมีผลได้น้อยลง จนผลิตไม่ได้เพิ่มมากเท่าเดิม ความไม่มากไปไม่น้อยไปของความรักจึงเป็นจุดพอดีที่จะท�ำให้รักได้อย่างมีความสุข สุดท้ายนี้ ‘เศรษฐสาร’ หวังว่า แนวคิดจากข้อเขียนของนักเศรษฐศาสตร์รุ่นเยาว์ทั้งสองคนจะช่วยให้ท่านผู้อ่านได้เปิดตาและใช้ หัวใจเรียนรู้วิธีรักอย่างมีความสุข พบจุดพอดีของความรัก แล้วประคับประคองความรักให้อยู่ในหัวใจของท่านตลอดไป สุขสันต์วันวาเลนไทน์ 7
สนุกคิดกับอาจารย์พิชญ์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม 2561
เศรษฐสาร 1
2
3
4
5
6
พิ ช ญ์ จงวั ฒ นากุ ล
อาจารย์ ป ระจำ � คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์
7
8
สวัสดีครับ สนุกคิดกับอาจารย์พิชญ์ ฉบับนี้ชวนผู้อ่านเศรษฐสาร มาเล่ น เกมปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ (Crossword) ซึ่ ง มี ทั้ ง อั ก ษรย่ อ ชื่อบุคคล และค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ ในแวดวงเศรษฐศาสตร์ผู้อ่านที่ ส่งค�ำตอบมาที่ setthasarn@econ.tu.ac.th 10 ท่านแรก กองบรรณาธิการ จะติดต่อกลับ และส่งกระเป๋าผ้าสุดสวยเป็นของรางวัลครับ แนวนอน
3. ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ คนปัจจุบนั 6. นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลผูบ้ กุ เบิกเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral Economics) 7. การท�ำธุรกิจในรูปแบบใหม่ ทีส่ ามารถสร้างรายได้ จากทรัพย์สนิ เหลือใช้ผา่ นการให้บริการบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Airbnb Uber 9. ชือ่ เรียกสถานทีซ่ งึ่ เป็นแหล่งหลบภาษี เช่น หมูเ่ กาะเคย์แมน 10. ตลาดแลกเปลีย่ นเงินตราสากลทีใ่ หญ่สดุ ในโลก
9
10
เฉลยเกมปริศนาอักษรไขว้ เศรษฐศาสตร์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2561)
เพือ่ เป็นการอธิบายเพิม่ เติม กองบรรณาธิการได้เลือกศัพท์เศรษฐศาสตร์ทเี่ คยตีพมิ พ์ ในเศรษฐสารฉบับก่อนๆ มาให้อา่ นประกอบด้วย ครับ แนวนอน
1. 5. 9.
VeerathaiSantiprabhob อ่านเพิม่ เติม ธนาคารกลาง (Central Bank) ได้ที่เศรษฐสาร ฉบับเดือน ต.ค. 50 และ ก.ย. 51 HSBC อ่านเพิม่ เติม บทบาทธนาคารพาณิชย์ (Commercial bank) และ สถาบันการเงิน (Financial institutions) ได้ที่เศรษฐศาสตร์ ฉบับเดือน ต.ค. 50 Inflation Targeting อ่านเพิ่มเติม เงินเฟ้อ Inflation ได้ที่เศรษฐสาร ฉบับเดือน เม.ย. 51
2. 3. 4. 6. 7. 8. 10.
Inferior Goods อ่านเพิม่ เติม การแบ่งประเภทของสินค้าในวิชาเศรษฐศาสตร์ ได้ทเี่ ศรษฐสาร ฉบับเดือน มิ.ย. - ก.ค. 54 Hamburger NAFTA อ่านเพิม่ เติม การรวมกลุม่ เศรษฐกิจ ได้ทเี่ ศรษฐสาร ฉบับเดือน ต.ค. 58 Songkhla อ่านเพิม่ เติม ภาวะโลกร้อน (Global warming) และภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect) ได้ทเ่ี ศรษฐสารฉบับเดือน มิ.ย. 51 Bitcoin อ่านเพิม่ เติม เงินกระดาษ (Paper money) เงินไร้สงิ่ หนุนหลัง (Fiat money) เงินทีม่ คี า่ ไม่เต็มตัว (Token money) ได้ทเี่ ศรษฐสาร ฉบับเดือน เม.ย. 52 BRICS อ่านเพิม่ เติม กิจกรรมทางเศรษฐกิจและหน่วยเศรษฐกิจ ได้ทเี่ ศรษฐสาร ฉบับเดือน พ.ย. 56 TDRI
้ แนวตัง
้ แนวตัง
1. ชือ่ ของข้อตกลงซึง่ เกิดขึน้ ในปี ค.ศ. 1985 ทีม่ ผี ล ท�ำให้คา่ เงินเยนของญีป่ นุ่ แข็งค่าขึน้ เมือ่ เทียบกับดอลลาร์สหรัฐ 2. สหกรณ์แห่งแรกของประเทศไทย เกิดขึน้ ทีจ่ งั หวัดใด 4. ผลตอบแทนระดับต�ำ่ สุดทีล่ กู จ้างพึงได้รบั ตามกฎหมาย ซึง่ อาจมีการก�ำหนดเป็นอัตรารายเดือน รายวัน หรือรายชัว่ โมง แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ 5. สกุลเงินของประเทศฟิลปิ ปินส์ 8. ชือ่ ย่อของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน 10 ประเทศ กับคูภ่ าคี 6 ประเทศ คือ จีน ญีป่ นุ่ เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ช�ำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ 2/2521 ไปรษณียห ์ น้าพระลาน
ในราชการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เหตุขัดข้องน�ำจ่ายผู้รับไม่ได้ 1. จ่าหน้าซองไม่ชัดเจน 2. ไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้า 3. ไม่ยอมรับ 4. ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า 5. ไม่มารับตามก�ำหนด 6. เลิกกิจการ 7. ย้าย ไม่ทราบที่อยู่ใหม่ 8. อื่นๆ
กรุณาส่ง
ลงชื่อ....................................................... คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ 10200