ARCHSUE

Page 1

Architecture Magazin

TH I ISSUE



TH I ISSUE อยาก อยู่ อย่าง ไทย


เมืองไทยถือเป็นเมืองทีม่ ศี ลิ ปะและวัฒนธรรมมากมาย หลายอย่าง ถือเป็นแหล่งรวมชนชาติแห่งหนึ่งมีทั้ง จีน เขมร ลาว ฝรั่ง อินเดีย และอีกมาก แต่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนาน แค่ไหน เมืองไทยก็ยังคงเป็นเมืองไทยวันยันค่ำ� มีเอกลักษณ์ มีความเป็นไทย เป็นคนไทย จึงควรรูจ้ กั ทีม่ าและเปลีย่ นแปลง ของความไทยๆนี้ ดังนั้น ในฉบับนี้จึงนำ�เรื่องราวที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเรือนไทยต่างๆ ทั้งแบบดั่งเดิม จนไปถึงแบบโมเดิรน์ สมัยใหม่ มาเรียบเรียงให้ท่านผู้อ่านได้เรียนรู้และนำ�ไปเป็น แบบอย่างและเก็บความไทยๆนี้เอาไว้ชั่วลูกชั่วหลายได้ดูกัน ณัฐนันท์ มนัสสุรกุล บรรณาธิการบริหาร


อยาก อยู่ อย่าง ไทย


2

EDITORIAL Difference of thai house

6 12

The jim thompson house

18

Thai - modern combination


TH I ISSUE อยาก อยู่ อย่าง ไทย

เรียนรู้ อัตลักษณ์ของชาติ และความเป็นไทยให้มากขึ้นกับ หัวข้อประจำ�เดือนนี้กับบ้านที่คุณจะ อยาก อยู่ อย่าง ไทย


difference of thai house นานา เรือนไทย ในมุมมองของคนใน เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคือ สถาปัตยกรรมของภาคต่างๆ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาค เหนือ พื้นถิ่นภาคอีสาน พื้น ถิ่นภาคใต้ เป็นต้น โดยท่าน เห็นว่าสถาปัตยกรรมไทย คือสถาปัตยกรรมในเมือง หลวง คือ สถาปัตยกรรม สุโขทัย อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ นอกเหนือ จากนี้คืองานพื้นถิ่นภาค

ต่างๆ ในขณะที่อีกกลุ่มมอง ว่า สถาปัตยกรรมภายใน เมือง ทั้งวัดวาอาราม บ้าน เรือนที่สร้างถาวรด้วยไม้ และปูน เป็นสถาปัตยกรรม ไทย แต่จ�ำ แนกออกเป็นไทย ภาคต่างๆ และเห็นว่าเฉพาะ เรือนพักอาศัยแบบเครื่อง ผูก คือเรือนที่สร้างกึ่งถาวร ด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ เป็น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แต่ส่วนใหญ่จะให้น�้ำ หนักไป ที่สถาปัตยกรรมที่ไม่ใช่ช่าง

หลวงในเมืองหลวง และเน้น ที่เรือนพักอาศัยและเรือน ประกอบของชาวบ้านใน ชนบท


กล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคือ สถาปัตยกรรมของสามัญชน หรือชาวบ้าน และหมาย รวมถึงสถาปัตยกรรมทุกประเภท ทั้งอาคารพักอาศัย ทั้ง ชั่วคราวและถาวร อาคารสำ�หรับอาชีพ เช่น ยุ้งข้าว โรง เก็บของ โรงสี โรงปั้นหม้อ ฯลฯ ทั้งอาคารสาธารณะ วัดวา อารามในชุมชน ศาลากลางบ้าน ศาลาท่าน้ำ� ศาลาริมทาง ฯลฯ ส่วนการจะรวมสถาปัตยกรรมของชนชั้นกลาง หรือผู้ที่ พอมีฐานะ แต่ยังเป็นสามัญชน ไม่ได้เป็นเจ้านายหรือผู้มี บรรดาศักดิ์เข้าเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นหรือไม่นั้น ก็เป็น

เรื่องเฉพาะบุคคลที่มีทั้งที่รวมและไม่รวม ตัวอย่างของงาน สถาปัตยกรรมกลุ่มนี้ เช่น เรือนกาแลของภาคเหนือ เรือน ไม้จริงที่มีการประดับตกแต่งอย่างประณีต และวัดต่างๆ ในตัวเมืองเก่าในต่างจังหวัด เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ หรือ สงขลา ที่แม้จะสร้างโดยกษัตริย์หรือเจ้าเมือง แต่ก็เป็นหัว เมืองห่างไกลจากศูนย์กลางการปกครอง โดยในที่นี้จะแบ่งสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นนั้นจจะแบ่งออก เป็น 4 ภาค ซึ่งได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และ ภาคใต้


เรือนไทย

ภาคกลาง เรือนไทยภาคกลางเป็นเรือนไทยประเภทที่นิยมที่สุด มีลักษณะเป็นเรือนยกพื้น ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศีรษะ คนยืน รูปทรงล้มสอบ หลังคา ทรงสูงชายคายื่นยาว เพื่อ กันฝนสาด แดดส่อง นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อม ทิศทางลมตามความเหมาะสม ถือเป็นแบบฉบับของเรือนไทย เดิมที่เราคุ้นเคยกันดี ในรูปแบบ เรือนฝาปะกนถือเป็น เรือนไทยแท้ เรือนไทยฝาปะกน คือเรือนที่ฝาทำ�จากไม้สัก มีไม้ลูกตั้งและลูกนอน และมีแผ่นไม้บางเข้าลิ้นประกบกัน สนิท หน้าจั่วก็ท�ำ ด้วยวิธีเดียวกัน เราจะพบเห็นเรือนไทย ภาคกลาง รูปแบบต่าง ๆ อาทิ เรือนเดี่ยว เรือนหมู่ เรือน หมู่คหบดี และ เรือนแพ


เรือนไทย

ภาคเหนือ รูปทรงจะมีความโดดเด่นเป็นแบบศิลปะล้านนา การปลูก เรือนพักอาศัยของคหบดีผู้มีอันจะกินทางภาคเหนือนิยมใช้ สัญญลักษณ์ ”กาแล” ซึง่ เป็นไม้ปา้ นลมสลักลายอย่างงดงาม ไขว้กันติดที่ปลายยอดหลังคา ใต้ถุนของตัวเรือนค่อนข้างต่ำ� เพราะอยู่บนดอยหรือทิวเขา น้�ำ ท่วมไม่ถึง หลังคาส่วนใหญ่ จะเป็นทรงหน้าจัว่ คล้ายเรือนไทยภาคกลางแต่จะถ่างมากกว่า ที่ยอดของปั้นลมมักติดกาแล และด้วยสภาพภูมิอากาศที่ หนาวเย็นกว่า เรือนภาคเหนือจึงมีหน้าต่างบานเล็กและแคบ มักจะวางโอ่งนำ�้ พร้อมกระบวย หรือ มีเรือนน้�ำ ให้ผู้สัญจร ไปมาได้ดื่มกิน ถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ของเรือนล้านนา ครัวมักสร้างแยกจากเรือนนอน มีระเบียง หลังบ้านติดกับเรือนครัว การแบ่งอาณาเขตของบ้านจะใช้วิธี ล้อมรั้วด้วยไม้ไผ่ขัดกันเป็นตาโปร่ง


เรือนไทย

ภาคอีสาน รูปแบบของเรือนไทยภาคอีสาน เสายกพื้นค่อนข้างสูง ทำ�ให้มีพื้นที่ใต้ถุนสูง ใช้เป็นที่ประกอบหัตถกรรมครัวเรือน ทอผ้า ใช้เก็บไห หมักปลาร้า เป็นคอกเลีย้ งสัตว์ เก็บอุปกรณ์ ทำ�ไร่ทำ�นา ไปจนถึงจอดเกวียนหรือล้อก็ได้ ถือว่าเป็นส่วน ที่มีการใช้สอยมากที่สุด มักทำ�ยุ้งข้าว ไว้ใกล้ๆเรือน หลังคา ใช้วัสดุในท้องถิ่นคือมุงด้วยหญ้าหรือสังกะสี ฝาเรือนมักใช้ ฝาแถบตอง โดยใช้ใบกุงหรือใบชาดมา ประกบด้วยไม้ไผ่ สานโปร่งเป็นตาตาราง หรือทำ�เป็น ฝาไม้ไผ่สาน มีส่วนที่ เรียกว่า “เกย” (ชานโล่งมีหลังคา คลุม) เป็นพื้นที่ลดระดับ ลงมาจากเรือนนอนใหญ่ มักใช้เป็นที่รับแขก ที่รับประทาน อาหาร ส่วนของใต้ถุนจะเตี้ยกว่าปกติใช้เป็นที่เก็บฟืน “ชานแดด” เป็นบริเวณ นอกชานเชื่อมระหว่างเกยเรือนแฝด กับเรือนไฟมีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี “ฮ้างแอ่งน้�ำ ” เป็น ที่วางหม้อดิน ใส่น้ำ�ดื่มอยู่ตรงขอบ ของชานแดด บริเวณ รอบๆเรือนอีสานไม่นิยมทำ�รั้วเพราะเป็นสังคมเครือญาติ วัฒนธรรมไทยอีสานทีส่ บื ทอดกันมาจนถึงปัจจุบนั เอกลักษณ์ ของเรือนไทยภาคอีสาน คือ ไม่นยิ มทำ�หน้าต่างทางด้านหลัง ตัวเรือน ถ้าจะทำ�จะเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ พอให้ยน่ี ศีรษะออกไป ได้เท่านัน้


เรือนไทย

ภาคใต้ ลักษณะที่โดดเด่นของเรือนไทยทางภาคใต้ คือหลังคา ที่มีทรงสูง มีความลาดเอียง ลงเพื่อให้น�้ำ ฝน ไหลผ่านได้ อย่างสะดวก ชายคาต่อยาวออกไปคลุมถึงบันได เนื่องจาก ฝนตกชุกมาก เสาเรือนไม่นิยมฝังลงไปในพื้นดิน แต่จะใช้ “ตอม่อ” หรือฐาน เสาที่ทำ�ด้วยไม้เนื้อแข็ง ศิลาแลง หรือที่ ทำ�จากการก่ออิฐฉาบปูนรองรับ เป็น ลักษณะเด่นของเรือน ทางภาคใต้ เรือนไทย เรียกได้ว่าเป็นเรือนไทยที่มี “ตีนเสา” เพื่อป้องกันปัญหาการผุกร่อนของเสาเมื่อได้รับความชื้น จากพื้นมาก ๆ วิธีการ สร้างนั้น จะประกอบส่วนต่างๆ ของ เรือนบนพื้นดินก่อน แล้วจึงยกส่วน โครงสร้างต่างๆ ขึ้น ประกอบเป็นตัวเรือน อีกทีหนึ่ง การวาง ตัวเรือนจะหัน เข้าหา เส้นทางสัญจรทั้งทางน้ำ�และทางบก ซึ่งสามารถรับ ลมบกและลมทะเลได้ การวางตัว เรือนแบบนี้ท�ำ ให้คนทาง ภาคใต้หันหัวนอนไปทางทิศใต้เป็นหลัก



เรือนไทยน่าไปเยือน

the

JIM THOMPSOn

house HOUSE OF attraction เรือนไทย น่าไปเยือน

เรือนไทยจิม ทอมป์สัน เป็นที่พำ�นักของ เจมส์ เอช. ดับเบิลยู. ทอมป์สัน นักธุรกิจ ชาวอเมริกันผู้สร้างชื่อให้กับไหมไทยจนที่รู้จักในระดับโลก ความสำ�เร็จของจิม ทอมป์สัน ใน ระยะเวลา 25 ปีที่พำ�นักอยู่ในเมืองไทยส่งผลให้เขามีชื่อเสียงในฐานะ “ชาวอเมริกันผู้กลาย เป็นตำ�นานในประเทศไทย”.

ภายหลังการหายตัวไป ของเขาในปี พ.ศ. 2510 หลังจากเดินทางไปพักผ่อน กับเพื่อนๆ ที่แคมเมอรอนไฮแลนด์ส ในประเทศมาเลเซีย และไม่ได้กลับมาอีกเลย เป็นจุดเริ่มต้นของตำ�นาน เรื่องจิม ทอมป์สัน ซึ่งเป็น หนึ่งในตำ�นานที่ได้รับการ

เล่าขานมากที่สุดในเอเชีย หลังสมัยสงครามโลกครัง้ ที่ 2 โดยเรือนไทยซึ่งเขาเคย พำ�นักอยู่ได้รับการอนุรักษ์ ให้คงสภาพเดิม ดึงดูดนัก ท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชม อย่างไม่ขาดสาย ประกอบด้วยเรือนทรงไทยปลูกด้วย ไม้สัก 6 หลัง ที่ซื้อต่อมา

จากเจ้าของบ้านเดิมหลาย รายจากที่ต่างๆ หลายแห่ง ในประเทศ โดยขนย้ายชิ้น ส่วนของเรือนมายังสถานทีต่ ง้ั ปัจจุบัน เรือนไทยแห่งนีส้ ร้าง เสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2502 แม้จะล่วงเลยมานาน นับตั้งแต่เจ้าของบ้านหายสาบสูญไป และเหลือไว้เพียง

ชื่อและตำ�นานให้กล่าวขวัญ แต่ความงดงามและเสน่ห์ แห่งวันวานก็ยังคงฝังแน่นอยู่ ในทุกอณูแผ่นไม้ ไม่จางหายไปตามกาลเวลา เป็น อนุสรณ์ที่เปี่ยมด้วยคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ซึ่งหลงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลังได้ ศึกษา


JIM THOMPSOn house ด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่น บ้านทรงไทยเรือนไม้สัก สถานที่ซึ่งเคยเป็นที่ท�ำ งาน ของจิม ทอมป์สัน นายทหาร ชาวอเมริกาซึ่งเดินทางมา ประเทศไทยช่วงปลาย สงครามโลกครั้งที่ 2 และ ช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมผ้า ไหมไทย ปัจจุบันบ้านหลัง นี้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์และ ร้านกาแฟ ตั้งอยู่ที่ซอย เกษมสันต์ 2 ตรงข้าม สนามกีฬาแห่งชาติ ย่าน สยามสแควร์ ผลงานที่จัด แสดงโดยหลักคือ ศิลป-

โบราณวัตถุแบบเอเชียที่ จิม ทอมป์สัน สะสมไว้ ทั้งนี้ จะมีมคั คุเทศก์อาสาสมัครซึง่ จะช่วยอธิบายเกี่ยวกับของ สะสมเหล่านี้แก่นักท่องเที่ยว ระหว่างการเที่ยวชม และ คุณสามารถเลือกซื้อผ้าไหม รวมถึงของที่ระลึกคุณภาพ ดีจากที่นี่เพื่อเป็นของฝาก เพื่อนฝูงหรือครอบครัวได้ ด้วยเช่นกัน จิม ทอมป์สัน สังเกต เห็นว่าบ้านไทยโบราณที่ สวยงามหลายหลังยังคงอยู่ ในสภาพดีเยี่ยม แม้จะเก่าแก่

นับร้อยปีหรือเก่ากว่านั้นอีก เขาจึงตัดสินใจซื้อเรือนเก่า หลายหลังและนำ�มาประกอบ เป็นเรือนหมูห่ ลังใหญ่

เรือนหมูน่ ป้ี ระกอบด้วย เรือนทรงไทยปลูกด้วยไม้สัก 2 หลังที่ซื้อต่อมาจาก เจ้าของ บ้านเดิมหลายราย จากทีต่ า่ งๆ หลายแห่งในประเทศ ชิน้ ส่วน ของเรือนขนย้ายมายังสถานที่ตั้งปัจจุบัน เรือนไทยแห่งนี้ สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502)


เรือนไทยน่าไปเยือน

แม้ว่าลักษณะงาน ตกแต่งประดับประดาจะมี อิทธิพลของวัฒนธรรมสำ�คัญ อื่นๆของโลกอย่างเช่น จีน อินเดีย เขมร ตลอดจนพม่า ที่ผสมผสานเข้ามา แต่ สถาปัตยกรรมบ้านทรงไทย ก็ยังคงมีลักษณะค่อนข้าง เรียบง่าย รูปแบบสำ�คัญของ เรือนไทยเกิดจากสภาพภูมิอากาศ วัสดุก่อสร้างที่หาได้ ในท้องถิ่นและความต้องการ ใช้งานของชาวบ้านในแถบนี้ ซึง่ ส่วนใหญ่ด�ำ เนินชีวติ ทีอ่ าศัย เกษตรกรรมเป็นหลัก

ภูมิภาคแถบนี้มีไม้อยู่ทั่วไป ไม้และกระดานจึงเป็นวัสดุ ที่ใช้กันมากที่สุดในการปลูก บ้านคนที่มีฐานะดีนิยมใช้ ไม้สัก ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งทนทานจากป่าไม้ในภาคเหนือ

บ้านไทย จิม ทอมป์สัน ตั้งอยู่ในซอยเกษมสันต์ 2 บนถนน พระราม 1 ตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ เวลาเปิด: 09.00 - 18.00 น. ทุกวัน กำ�หนดเวลาของทัวร์ทม่ี ี มัคคุเทศก์นำ�ชม รอบสุดท้ายอยู่ที่เวลา 18.00 น. * การเดินทางไปบ้านไทยจิม ทอมป์สัน: สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่กลาง ใจเมืองกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปได้ทางรถยนต์ แท็กซี่ สามล้อเครื่อง หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส ค่าเข้าชม: ผู้ใหญ่ 150 บาท นักเรียน - นักศึกษา (อายุต่ำ�กว่า 22 ปี) 100 บาท * การเข้าชมต้องมีมัคคุเทศก์น�ำ ชมโดยรอบบ้าน



Thai modern combination เรือนไทยยุคใหม่

บ้านไทยอีสานในรูปแบบสมัยใหม่ที่กลมกลืนไปกับบริบท ของสิ่งแวดล้อมแบบชนบท ของคุณปิแอร์ เวอร์เมียร์ ที่ อยู่เมืองไทยมาได้ 6 ปีแล้ว จึงคุ้นเคยกับวิถีแบบไทยและ ติดใจในความเป็น “บ้านนอกที่อบอุ่น” ในจังหวัดอุดรธานี แห่งนี้ ที่ตั้งของบ้านนี้คือบริเวณบ้านเดิมของ คุณนิตยา สำ�แดง คู่รักของคุณปิแอร์ เมื่อถึงเวลาต้องปรับปรุงบ้าน จึงถือโอกาสสร้างใหม่ทั้งหลังเสียเลยโดยมี คุณเล็ก – กรรณิการ์ รัตนปรีดากุล รับหน้าที่ออกแบบ


ชั้นล่างของบ้านเป็นส่วนรับแขกและครัวมีพื้นที่เชื่อมต่อกัน ให้บรรยากาศคล้ายใต้ถุน บ้านไทย มีบันไดโปร่งอยู่กลางบ้าน ห้องครัวด้านหน้า และระเบียงรายรอบ ผนังเป็นกรอบ โครงคร่าวที่ใช้วัสดุเพียง 3 ชนิด คือ ผนังไม้ซ้อนเกล็ด กระจกบานเกล็ด และแผ่นซีเมนต์ บอร์ด การวางผังที่โล่งในแบบฉบับบ้านไทย มีหน้าต่างประตูที่เปิดให้ลมพัดผ่านได้สะดวก ทำ�ให้พื้นที่นี้ดูร่มเย็น

Thai - modern combination


้ ่ บ้านพืนถิน “ความโปร่ง” คือหัวใจ สำ�คัญของบ้านพื้นถิ่นไทย นอกจากจะสบายตาแล้วยัง ช่วยให้กระแสลมในบ้านพัด ผ่าน ได้ดี จะเห็นว่าทั้งบันได แบบบาง (แต่ไม่บอบบาง) โถงทางเดินหลังคาสูง ไปจน ถึงระเบียงหลังบ้านล้วนไม่ กีดขวาง ทางลม ทำ�ให้ทั้ง บ้านอยู่ในสภาวะน่าสบาย ไม่ร้อนอับ ชานระเบียงทางเดิน รอบบ้านและชายคา ซึ่ง ความจริงคือโครงสร้างของ ชั้นสองที่ยื่นคลุมออกมา ตามระยะชาน เป็นการสร้าง พื้นที่ร่มเงาให้แดดสาดเข้าไป

บ้านสมัยใหม่

ไม่ถึงบริเวณด้านใน หนึ่งใน เคล็ดลับการออกแบบบ้านไทย สุดปลายทางเดิน คือห้องน้ำ� ที่ตั้งไว้นอกบริเวณทีพ่ กั อาศัย แต่เดินถึงได้โดยยังอยู่ใต้ ชายคาระเบียงชั้นสอง โครงสร้างหลักของ บ้านหลังนีเ้ ลือกใช้โครงเหล็ก H-Beam แล้วนำ�องค์ประกอบ ของบ้านไทยในพื้นถิ่นเข้ามา ประกอบ รายละเอียดส่วน ต่อเชื่อมต่าง ๆ ของโครงสร้างบ้านจึง ไม่เหมือนใคร เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำ�ความเข้าใจรอยต่อระหว่าง “บ้านพื้นถิ่น” กับ “บ้านสมัยใหม่” เรื่อง : “วุฒิกร สุทธิอาภา” ภาพ : ศุภกร ศรีสกุล





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.