15815051

Page 1

1

เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)

เบื้องหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยาม สมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE: ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)

อานนท์ จันทรมุข บทคัดย่อ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยามเป็นช่วงเวลาของการเริ่มต้นบทบาทของสตรีที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สตรีในราชสานักผู้มีส่วนในการบริหารประเทศ คาสาคัญ : บทบาทสตรี ,ราชสานักสยาม ABSTACT: Absolute monarchy period is the clearly beginning of ladies’ role. Especially Royal ladies who is a part of Governance KEYWORDS: Ladies’ Role, Royal Court Of Siam



1

เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)

สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของราชสานักสยามนับเริ่มตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุเพราะเป็นรัชสมัยที่มีการรวมอานาจเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างแท้จริงเริ่มตั้งแต่พ .ศ.2411 จนถึง พ.ศ.24751 ถือได้ว่า เป็นยุคที่รุ่งเรืองมากของประเทศสยามโดยการนาของพระมหากษัตริย์มหาบุรุษผู้ซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ในราช สานักฝ่ายหน้า หากแต่ความรุ่งเรืองนั้นไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ก็เป็นผลมากจากสตรีในราชสานักฝ่ายในอยู่ ไม่น้อย ราชสานักฝ่ายในเป็นสถาบันที่ประกอบไปด้วยสตรีหลายชนชั้น ตั้งแต่พระมเหสี พระสนม พระราชธิดาของ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์สตรี ธิดาของขุนนาง ตลอดจนข้าไพร่ โดยสามารถแบ่งสตรีเหล่านี้ออกเป็นกลุ่มตาม ฐานะทางสังคมและหน้าที่ได้ดังนี้ กลุ่มพระภรรยาเจ้าและบาทบริจาริกา เป็นสตรีกลุ่ มที่เป็นภรรยาของพระมหากษัตริย์สามารถแบ่งได้เป็น 2ชั้นใหญ่ๆได้แก่ ชั้นแรกคือพระภรรยาเจ้า หมายถึง พระภรรยาที่มีพระชาติกาเนิดเป็นเจ้า 2 ซึ่งตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยพระฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้า ได้กาหนดไว้ว่ามี 4 ขั้น คือ พระอัครมเหสี พระมเหสี พระราชเทวี และ พระอรรคชายา 3 พระอั ค รมเหสี เ ป็ น พระอิ ส ริ ย ยศพระภรรยาเอกในพระเจ้ า แผ่ น ดิ น หรื อ เป็ น พระมารดาของ องค์รัชทายาท ในอดีตนั้นพระอัครมเหสีมีคานาพระนามแตกต่างกันแล้วแต่รัชสมัย อาทิ กรมหลวงบาทบริจาใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระนางเธอโสมนัสวัฒนาวดี พระนางนาฎบรมอัครราชเทวีในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น และชั้นที่รองลงมาคือบาทบริจาริกาหรือพระสนม หมายถึง ภรรยาที่เป็นสามัญชน ของพระมหากษัตริย์ พระมหาอุปราช และเจ้าฟ้า4 คือ มีฐานันดรตั้งแต่ หม่อมราชวงศ์หญิงลงไป โดยมีคานาหน้านาม ว่า เจ้าจอม โดยบาทบริจาริกามีลาดับชั้น 4 ชั้น คือ พระสนมเอก พระสนม เจ้าจอม และนางอยู่งาน กลุ่มพระราชวงศ์สตรี เป็นกลุ่มสตรีที่เป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ พระธิดาของเจ้านายที่มีพระ อิส ริย ยศชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป โดยในกลุ่ มนี้ สามารถแบ่งเป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ชั้ นเจ้าฟ้าและชั้น พระองค์เจ้าและสามารถแบ่งย่อยเป็นชั้นเอก ชั้นโทได้ในแต่ละประเภทอีกด้วย ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือพระธิดาของ เจ้ านายที่มีพระอิส ริ ย ยศชั้น พระองค์เจ้ าขึ้น ไปจะมีพระอิส ริยยศพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า เป็นต้น กลุม่ ข้าราชสานัก เป็นกลุ่มสตรีที่มีความสัมพันธ์แบบบริวาร บรรดาลูกผู้ดีมีตระกูล ลูกหลานของขุนนางชั้นสูง รวมถึงราชนิกุลชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง สตรีกลุ่มนี้เข้าสู่พระราชสานักโดยการถวายตัวเข้าเป็นข้าราชสานัก อาจแบ่งได้เป็น ข้าหลวงเรือนนอก ข้าหลวงเดิม5 เเละข้าหลวงในพระองค์ กลุ่มชนชั้นล่าง โขลน สนม คนรับใช้ของข้าราชสานัก กลุ่มสตรีที่น่าจะมีบทบาทมากที่สุดเห็นจะเป็นกลุ่มพระภรรยาเจ้าและบาทบริจาริกา และกลุ่มพระราชวงศ์ สตรีโดยการสนับสนุนและตอบสนองโดยกลุ่มข้าราชสานักและกลุ่มชนชั้นล่างในราชสานักฝ่ายใน

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2542). นิตยสารสารคดี "24 มิถุนายน 2475" , หน้า 110 จิรวัฒน์ อุตตมะกุล. (2548). พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5. หน้า 4 3 สมภพ จันทรประภา. (2530). สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ. หน้า 38 4 ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. หน้า 668 5 Bee Melanie Ontrakarn. (2005). Servitude of the ladies of the royal inner court during the reign of king rama IV V and VI. Page 86-88 1 2


เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)

2

การ “ขึ้น” และ “ตก” ของพระภรรยาเจ้า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สภาวการณ์ที่ข้าราชสานักฝ่ายในมักจะได้ประสบพบเห็น กันอยู่บ่อยๆเห็นจะเป็นสภาวการณ์ที่เรียกว่าการ “ขึ้นๆ ตกๆ”6 คือสภาวะที่พระภรรยาเจ้าหรือพระสนมได้เป็นที่ทรง โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือการมิเป็นที่ทรงโปรดปราน สิ่งที่ยืนยันสถานะของการ ขึ้นหรือตกนั้นสามารถวัดได้จากการได้รับการสถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศให้สูงขึ้นหรือการสถาปนาพระองค์ใดพระองค์ หนึ่งให้มีพระอิสริยยศสูงกว่า เช่นในกรณีของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี7 พระภรรยาเจ้าชั้น ลูกหลวงพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาเปี่ยม ผู้ได้รับการกล่าวขานในโคลงฯ ว่า "หน้าตาคมสันองค์สว่าง [สว่างวัฒนา-ผู้เขียน] พูดจากระจัดกระจ่างองค์สุนันทา"8 เมื้อสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หั วทรงเข้ารับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระ อิสริยยศ “พระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวี” จนทรงมีพระประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้า ฟ้ามหาวชิรุณหิศ ต่อมาเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคตจึงทรงได้อยู่ในฐานะพระราชชนนีในสมเด็จพระ บรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของสยาม นับเป็นช่วงที่ “ทรงขึ้น” แต่ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จสวรรคตก็เป็นการ เริ่มต้นช่วงแห่งความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและเป็นช่วงแห่งการ “ทรงตก” จนทรงมีพระราชดารัสว่า "...ฉันน่ะไม่เคยขี้เหนียวหรอก แต่เห็นเสียแล้ว เมื่ อ เวลาฉั น มีบุ ญ น่ ะ ล้ ว นแต่ม าห้ อ มล้ อ มฉั น ทั้งนั้ น แหละ เวลามีงานมีก ารอะไร ฉันก็ช่ว ย เต็มที่ไม่ขัด แต่พอฉัน ตกก็หั น หนี ห มด ไปเข้า ตามผู้มีบุญต่อไป ฉะนั้นฉันจึงตัดสินใจไม่ทาบุญ กับคนรู้จัก แต่จะทาการกุศลทั่วไปโดยไม่เลือก" ในขณะที่ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า สว่ า งวั ฒ นา พระบรมราชเทวี “ทรงตก” ก็ เ ป็ น ช่ ว งที่ พ ระนางเจ้ า เสาวภาผ่ อ งศรี พระอรรคราชเทวี 9 ที่ ท รงได้ รั บ การ พระบรมฉายาลักษณ์ทรงฉายพร้อมด้วย สมเด็จฯ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์และ สถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จ พระนางเจ้า สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช 10 พระอรรคราชเทวี ” ในฐานะของพระราชชนนีของ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์ใหม่จนถึงการขึ้นเป็น “สมเด็จรีเยนต์”หรือ“สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ” ผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะที่เสด็จฯประพาสยุโรป อันเป็นการ “ทรงขึ้น”มาแทนที่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี จะเห็นได้ว่ามูลเหตุของการ “ขึ้น” หรือ “ตก” คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2552). สี่แผ่นดิน. หน้า 24 ต่อมาสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวอานันทมหิดลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสรยยศพระบรมอัยยิกาเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า 8 ศรีสวรินทิรานุสรณีย์ น้อมราลึกถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า, หน้า 20 9 ต่อมาสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสรยยศพระบรมราชชนนีเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง 10 พระบรมราชโองการ ประกาศ ออกพระนามพระชนนีแห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช. (2439,15 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 12. ตอนที่ 24. หน้า 211-212 6 7


3

เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)

นั้นมีสาเหตุมาจากพระราชสถานะของพระราชโอรสพระราชธิดา ทาให้เกิดการความอิจฉาริษยาไม่ลงรอยกันของราช สานักฝ่ายในโดยเฉพาะในกลุ่มพระภรรยาเจ้า


เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)

การศึกษา

4


5

เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)

การแต่งกาย ในสมัยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์สตรีในราชสานักเริ่มมีการปรับเปลี่ยนการแต่งกายจากเดิมที่สตรีนุ่งผ้ายก หรือผ้าลายทอง ห่มสไบเฉียงด้วยผ้าปักหรือผ้าแพรที่พับเหมือนอัดกลีบ ปรับมาเป็นการนุ่งจีบนุ่งโจง ห่มสไบแนบตัว หรือเสื้อกระบอก ห่มสไบเฉียงทับเสื้อ โดยอาจจะเพิ่มเติมในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ โดยรับอิทธิพลตะวันตกบาง ประการเช่นเครื่องเพชร ดังปรากฏหลักฐานจากฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ครั้งเสด็จฯ ออกต้อนรับปรินส์ออสการ์ ดยุคออฟสก๊อตแลนด์ พระราชปิตุลาของพระเจ้ากรุงสวีเดน เมื่อครั้งมาเยือน เมืองไทย ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2427 ความตอนหนึ่งว่า “...จึ ง เข้ าไปถึง ห้ อ งรั บ แขกของพระราชินี ไ ทย ฉั น แปลกใจเมื่อ เข้ ามาเผชิญ หน้ า กับ ผู้ ที่ มี รูปร่าอ้อนแอ้น แบบบาง อายุราวๆ 19 ปี แต่งคล้ายกับมหาดเล็ก แต่มีความคิดดีในการแต่งกาย ทาให้ ดูหยดย้อยแสนจะหรูหรา พระเจ้าแผ่นดินทรงแนะนาว่าเป็นพระมเหสีของพระองค์ เครื่องทรงของ พระราชินีซึ่งเข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างวิเศษสุดนั้น ประกอบด้วยฉลองพระองค์โบรเคตสีทองๆ เงินๆ พอดีพระองค์ แขนเป็นจีบๆ ทาด้วยไหมทองมีจุดขาว มี แพรสีเขียวพันรอบพระองค์ ชายข้างหนึ่งพาด บนพระอังสาซ้ายอย่างหลวมๆ ทรงสนับเพลาหรือผ้าทรงแบบเดียวกับที่พวกผู้ชายนุ่งเป็นสีน้าเงินแก่ กับทอง ทาให้ดูเครื่องพระองค์ที่ประหลาดแต่สวยงามนี้ครบชุดโดยมีดุมเพชรเม็ดใหญ่และเข็มกลัด เพชรกลัดตรึงไว้ รอบพระศอทรงสังวาลย์เครื่ องราช อิสริยาภรณ์ ประดับเพชรวูบวาบติดทับอยู่บน ฉลองพระองค์...” โดยในสมัยนี้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีทรงรับเป็นธุระในเครื่องแลองพระองค์มากขึ้น ทรงตั้งโรงเย็บผ้าส่วนพระองค์ ณ พระที่นั่งทรงธรรมสวนศิวาลัยและจ้างครูฝรั่งมาฝึกสอนการตัดเย็บโดยมีหม่อ มเจ้า ไขศรี ปราโมชเป็นผุ้ควบคุมโดยรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าสมัยใหม่แก่เจ้านายในพระราชสานักฝ่ายในด้วย หลังจากการเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การแต่งกายของสตรีในราช สานักฝ่ายในเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งโดยการนาของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ 11 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ 12ราชสานักฝ่ายในมักเป็นผู้นาในการเปลี่ยนแปลงการแต่งกายและแพร่ กระจาย ออกมาจากข้าราชสานัก สู่ภรรยาขุนนางต่างๆ จนถึงประชาชนผู้พอจะมีอันจะกิน

11 12

ได้รับการสถาปนาขึ้นแล้ว ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2559). หอมติดกระดาน. หน้า 39-43


เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)

6

สภาอุณาโลมแดง

โรงเลี้ยงเด็ก พระราชโอรสพระราชธิดานั้นนับได้ว่าเป็นดั่งดวงพระหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระภรรยาเจ้าพระสนมทุกพระองค์ แต่การสูญเสียพระราชโอรสพระราชธิดานั้นในบางแง่มุมก็บังเกิดเป็นผลดี อานวยแก่ ร าษฏรสยาม อย่ า งในกรณี พระลู ก เธอ พระองค์ เจ้ านภาจรจ ารั ส ศรี 13 (เขจรจารัส )14 พระราชธิด าใน พระบาทสมเด็จพระจุ ล จอมเกล้าเจ้ าอยู่หั ว อันประสู ติแต่พระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย 15 เป็นพระราชธิดา พระองค์ใหญ่ในพระอรรคชายาเธอฯ เมื่อทรงเจริญพระชันษาได้เพียง 6 ปี ก็ประชวรสิ้นพระชนม์ นาความสลดพระ ราชหฤทัยแก่สมเด็จพระบรมชนกนาถ และพระมารดายิ่งนัก แต่พระอรรคชายาเธอฯ ก็มิได้ทรง ปล่อยให้ความเศร้า โศกครอบงาพระหฤทัย หรือกัดกร่อนให้เกิดความทดท้อ หากแต่ทรงแปรความสูญเสียให้บังเกิดเป็นการสร้างสรรค์อัน จะเป็นพระราชกุศลแด่พระลูกเธอพระองค์นั้น พระองค์ได้ทรงหวนคิดไปถึงบรรดาทารกของบิดามารดา ซึ่ งมีฐานะ พระนามแรกประสูติว่า “พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเขจรจารัส” แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิทรงโปรดจึง พระราชทานพระนามใหม่ว่า “พระลูกเธอ พระองค์เจ้านภาจรจารัสศรี ภัทรวดีราชธิดา” 14 จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค 17. (2481). พระนคร : อักษรนิติ, หน้า 108 15 ภายหลังสถาปนาเป็นพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 13


7

เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)

ลาบากขัดสนว่า หากมีความเจ็บป่วยไข้แสนสาหัสแล้วก็คงจะยิ่งมีความลาบากมากกว่านัก จนถึงอาจทอดทิ้งบุตรเสีย แต่เยาว์ให้เป็นกาพร้า หรือปล่อยให้เติบโตตามยถากรรม โดยมิได้รับการบารุงสุขภาพหรือให้การศึกษามีวิชาสาหรับ เลี้ ย งชี พ ต่ อ ไปได้ ด้ ว ยพระด าริ อั น เป็ น พระกุ ศ ลดั ง กล่ า ว พระอรรคชายาเธอฯ ได้ น าความกราบบั ง คมทู ล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดสร้างโรงเลี้ยงเด็ก โดยทรงบริจาค ทรัพย์ซื้อที่ดิน ตึกโรงเรือนต่างๆ ซ่อมแซม ก่อสร้างบริเวณ และเครื่องใช้เครื่องแต่ง ณ ที่ตาบลสวนมะลิ ริมถนนบารุง เมือง เพื่อจัดการบารุงเลี้ยงทารกและเด็กชายหญิงบุตรคนยากจน พระดาริอันกอปรด้วยพระจริยวัตรอันเป็นกุศลยิ่งนี้ เป็นที่ทรงพระโสมนัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง ทรงอนุโมทนาและเป็นพระราชธุระ ช่วยอุปการะบารุงด้วยพระบรมเดชานุภาพ จนการจัดสร้างโรงเลี้ยงเด็กแห่งแรกแล้วเสร็จตามพระประสงค์ ในพระวิ มาดาเธอฯ ทุกประการ และได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดาเนินไปทรงบาเพ็ญพระราชกุศล ประกอบพระราชพิธี เปิดเป็นพระฤกษ์เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม รั ตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พุทธศักราช ๒๔๓๒) และทรงพระกรุณาโปรดให้ เรียกชื่อว่า “โรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายาเธอ” อันเป็นพระอนุสรณ์ราลึกในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจร จารัสศรี พระราชธิดาพระองค์แรก พระจริยวัตรในพระวิมาดาเธอฯ ดังกล่าวนี้ นับได้ว่า ทรงเป็นผู้ริเริ่มงานสังคม สงเคราะห์ในสมัยเริ่มแรกของไทย16 และยังเป็นพื้นฐานของการจัดการศึกษาปฐมวัยต่อมา17

16 17

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2547). สตรีสาคัญในประวัติศาสตร์. หน้า 136-186 อนามัย,กรม. (2542). เอกสารอัดสาเนาคู่มือผู้ดาเนินงานศูนย์เด็กเล็ก. หน้า 7


เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)

8

การส่งเสริมสิทธิสตรี เมื่อวิทยาการตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลและแพร่ขยายไปทั่วในสยาม สตรีในราชสานักได้รับการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะกับสตรีในราชสกุลวรวรรณ สตรีในราชสานักผู้มีบทบาทโดดเด่นในการส่งเสริมให้สตรีสยามรู้ จักคุณค่าของ ตนและมีความทัดเทียมกับบุรุษผู้นั้นคือ พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าจุลจักรพงศ์ทรงเล่าประทานไว้ในพระนิพนธ์ เกิดวังปารุสก์ ความว่า "... ไม่ มี ผู้ ห ญิ ง คนไทยครอบครั ว ใดที่ จ ะช่ า งคุ ย สนุ ก สนานเท่ า องค์ ห ญิ ง ตระกู ล วรวรรณ เท่ า ที่ ข้ า พเจ้ า เคยรู้จักพบมา..."18 อันแสดงถึงบุคลิกลักษณะของสตรีในราชสกุลวรวรรณว่าเป็นผู้ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกมา ด้วยความที่ พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ทรงมีความคิดที่ล้าสมัยสตรีไทยในยุคนั้น ทรงเขียนบทความชื่อ "ดาริ หญิง" ในหนังสือดุสิตสมิธรายสัปดาห์เมื่อ พ.ศ. 2463 ในทานองส่งเสริมให้สตรีมีความเท่าเทียมกับบุรุษ เพราะสตรีก็มี ความสามารถ และจะอุ้มชูหรือชักบุรุษให้ต่าลงก็ทาได้ แต่ก็มีพระประสงค์ให้บุรุษเข้าใจและเคารพสถานภาพของสตรี รู้จักหน้าที่ของบุรุษตามแบบสากล และขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้สตรีรู้จักทาหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง ความว่า "...หญิงโดยมากมักบูชาว่าชายเป็นมนุษย์ที่วิเศษกว่าตัวเทือกเทวดา ทั้งนี้ก็เพราะในบ้านโดยมากชายเป็นเจ้า บ้านมีอานาจบังคับบัญชากดขี่หญิง การที่ชายได้อานาจไปมากเช่นนั้น ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า คิดว่าคง เป็นเพราะหญิงมิได้ถือหน้าที่ที่ตนควรประพฤติ..."19 แม้ในเนื้อความจะเป็นความจริงก็ตาม แต่ในขณะนั้นก็ยังไม่มีสตรีคนใดที่สามารถตีแผ่ความจริงได้อย่างห้าวหาญแจ่ม ชัดอย่างที่พระองค์ได้พระนิพนธ์ไว้ในบทความตอนหนึ่ง ความว่า "...ความเข้าใจของข้าพเจ้าคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีความบกพร่องอยู่ ในตัวอย่างที่ไม่รู้จักกันพอ เช่นหญิงชายแรก คบกันคงจะต้องสรรท่าที่ตัวคิดว่าดีออกอวดกัน ต่างคนก็บูชากันว่าเป็นผู้วิเศษในขณะนั้น ความพอใจย่อมมี ต่อกันมาก ก็อาจให้สัญญาต่อกันทุกอย่างในความต้องการของฝ่ายใด ครั้นเมื่อคุ้นกันเข้า ความบกพร่องซึ่ง เป็นของธรรมดาตามมากน้อยก็ต้องเกิดความรู้กันขึ้นทั้งสองฝ่าย ความนับถือซึ่งกันก็ย่อมซาไป..." 20 นอกจากนี้ในบทความของพระองค์ที่ทรงนิพนธ์ขึ้น แสดงให้เห็นถึงความมั่นพระทัยในบทบาทและความสามารถของ สตรีในการผลักดันบุรุษให้ทากิจการต่าง ๆ ความว่า "...ข้าพเจ้าเห็นว่ามือเบา ๆ ของหญิงนี่แหละ อาจลูบหลังชายให้ออกไปต้านศึกได้ง่าย ๆ ยิ่งกว่าจะใช้ปืนจ้อง ให้ต้องกลับหลังหันไป..." มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระองค์ที่กล่าวขานเชิงนินทาในเรื่องเกี่ยวกับพระอุปนิสัยของพระวรกัญญาปทานอย่างหนึ่ง คือการ ปฏิบัติพระองค์ต่อข้าราชบริพารซึ่งเคยรับใช้สนองพระเดชพระคุณใกล้ชิดก่อนจะทรงหมั้น[14] เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งเมื่อ พระวรกัญญาปทานเสด็จมาถึงพระราชวังพญาไท มหาดเล็กเดิมคนหนึ่งได้เข้าไปเพื่อจะรับพระหัตถ์ตามธรรมเนียม ตะวันตก แต่พระองค์ไม่ทรงยินยอมครั้นเมื่อเรื่องไปถึงพระกรรณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็กลายเป็น ว่าทรงสะบัดมือ และแสดงพระกิริยาดูถูกมหาดเล็กเดิมคนนั้น ทาให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกริ้ว และอาจ

จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. (2554). เกิดวังปารุสก์ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัยประชาธิปไตย. หน้า 153 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2555). ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสาเร็จในราชสานัก. หน้า 249 20 เรื่องเดิม, หน้า 250 18 19


9

เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)

เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการถอดถอนหมั้น ซึ่งในเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงระบายความทุกข์ ในพระทัยด้วยรูปแบบพระราชหัตถเลขาถึงหม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ วรวรรณ พระน้องนางเธอของพระวรกัญญาปทาน21

21

เรื่องเดิม, หน้า 254


เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)

10

เอกสารอ้างอิง เอกสารภาษาไทย กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. (2558). เจ้าจอมก๊กออ. กรุงเทพฯ:อมรินทร์ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2547). สตรีสาคัญในประวัติศาสตร์. จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา6รอบ 12 สิงหาคม 2547. หน้า 136-186 จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค 17. (2481). พระนคร : อักษรนิติ, หน้า 108 จิรวัฒน์ อุตตมะกุล. (2548). พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มติชน จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. (2554). เกิดวังปารุสก์ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัย ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ริเวอร์ บุ๊คส์ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2542). เหตุแห่งการปฏิวัติสยาม 2475. สารคดี "24 มิถุนายน 2475" , ฉบับที่ 172: หน้า 110 พระบรมราชโองการ ประกาศ ออกพระนามพระชนนีแห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช. (2439,15 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 12. ตอนที่ 24. หน้า 211-212 พันวัสสาอัยยิกาเจ้า, มูลนิธิสมเด็จพระ. (2549). ศรีสวรินทิรานุสรณีย์ น้อมราลึกถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า. กรุงเทพฯ ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน,หน้า 668 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2555). ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสาเร็จในราชสานัก. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ :มติชน ______________. (2559). หอมติดกระดาน พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :มติชน สมภพ จันทรประภา. (2530). สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:บารุงสาส์น,หน้า 38 สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2555). บทวิจารณ์หนังสือ “ราชสานักฝ่ายในสมัยรัตนโกสินทร์”. วิจัยมข. ปีที่ 2 (ฉบับที่1). หน้าที่ 131-137 อนามัย,กรม. (2542). เอกสารอัดสาเนาคู่มือผู้ดาเนินงานศูนย์เด็กเล็ก. กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 7 เอกสารภาษาอังกฤษ Bee Melanie Ontrakarn. Servitude of the ladies of the royal inner court during the reign of king rama IV V and VI. Master’s Thesis, Department of Thai Studies, faculty of Arts, Chulalongkorn University, 2005


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.