1
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
เบื้องหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยาม สมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE: ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
อานนท์ จันทรมุข บทคัดย่อ สตรีในราชสานักสยามสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นมีบทบาทชัดเจนขึ้นจากในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดย รูปแบบการเปลี่ยนแปลงนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามการพัฒนาของราชสานักฝ่ายหน้า ประเทศสยาม และประเทศ ตะวันตกที่มีความสัมพันธ์กับประเทศสยาม และในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ขับเคลื่อนกิจการของประเทศสยามอีกทาง หนึ่งด้วย ทั้งด้านการเมือง สังคม วัฒนธรรม การสาธารณกุศลและการส่งเสริมสิทธิสตรี ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับประเทศ ในกลุ่มชนชั้นสูง รวมถึงประชาชนชาวสยามอีกด้วย คาสาคัญ : บทบาทสตรี ,ราชสานักสยาม ABSTACT: Royal ladies in the royal court of Siam in Absolute monarchy period is the clearly beginning of ladies’ role than Beginning Ratanakosin period. A form of changing relate to officials of the king, Siam and western country that have a relationship with Siam. at the same time, Royal ladies in the royal court of Siam are mover of Siam affair include, Political ,Society, Culture, public charity and women's rights Promoting. This is a cause of changing in country level, elite and people of Siam KEYWORDS: Ladies’ Role, Royal Court Of Siam
1
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของราชสานักสยามนับเริ่มตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุเพราะเป็นรัชสมัยที่มีการรวมอานาจเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างแท้จริงเริ่มตั้งแต่พ .ศ.2411 จนถึง พ.ศ.24751 ถือได้ว่า เป็นยุคที่รุ่งเรืองมากของประเทศสยามโดยการนาของพระมหากษัตริย์มหาบุรุษผู้ซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ในราช สานักฝ่ายหน้า หากแต่ความรุ่งเรืองนั้นไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ก็เป็นผลมากจากสตรีในราชสานักฝ่ายในอยู่ ไม่น้อย ราชสานักฝ่ายในเป็นสถาบันที่ประกอบไปด้วยสตรีหลายชนชั้น ตั้งแต่พระมเหสี พระสนม พระราชธิดาของ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์สตรี ธิดาของขุนนาง ตลอดจนข้าไพร่ โดยสามารถแบ่งสตรีเหล่านี้ออกเป็นกลุ่มตาม ฐานะทางสังคมและหน้าที่ได้ดังนี้ กลุ่มพระภรรยาเจ้าและบาทบริจาริกา เป็นสตรีกลุ่มที่เป็นภรรยาของพระมหากษั ตริย์สามารถแบ่งได้เป็น 2ชั้นใหญ่ๆได้แก่ ชั้นแรกคือพระภรรยาเจ้า หมายถึง พระภรรยาที่มีพระชาติกาเนิดเป็นเจ้า 2 ซึ่งตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยพระฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้า ได้กาหนดไว้ว่ามี 4 ขั้น คือ พระอัครมเหสี พระมเหสี พระราชเทวี และ พระอรรคชายา 3 พระอั ค รมเหสี เ ป็ น พระอิ ส ริ ย ยศพระภรรยาเอกในพระเจ้ า แผ่ น ดิ น หรื อ เป็ น พระมารดาของ องค์รัชทายาท ในอดีตนั้นพระอัครมเหสีมีคานาพระนามแตกต่างกันแล้วแต่รัชสมัย อาทิ กรมหลวงบาทบริจาใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระนางเธอโสมนัสวัฒนาวดี พระนางนาฎบรมอัครราชเทวีในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น และชั้นที่รองลงมาคือบาทบริจาริกาหรือพระสนม หมายถึง ภรรยาที่เป็นสามัญชน ของพระมหากษัตริย์ พระมหาอุปราช และเจ้าฟ้า4 คือ มีฐานันดรตั้งแต่ หม่อมราชวงศ์หญิงลงไป โดยมีคานาหน้านาม ว่า เจ้าจอม โดยบาทบริจาริกามีลาดับชั้น 4 ชั้น คือ พระสนมเอก พระสนม เจ้าจอม และนางอยู่งาน กลุ่มพระราชวงศ์สตรี เป็นกลุ่มสตรีที่เป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ พระธิดาของเจ้านายที่มีพระ อิส ริย ยศชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป โดยในกลุ่ มนี้ สามารถแบ่งเป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ชั้นเจ้าฟ้าและชั้น พระองค์เจ้าและสามารถแบ่งย่อยเป็นชั้นเอก ชั้นโทได้ในแต่ละประเภทอีกด้วย ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือพระธิดาของ เจ้ านายที่มีพระอิส ริ ย ยศชั้น พระองค์เจ้ าขึ้น ไปจะมีพระอิส ริยยศพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า เป็นต้น กลุ่มข้าราชสานัก เป็นกลุ่มสตรีที่มีความสัมพันธ์แบบบริวาร บรรดาลูกผู้ดีมีตระกูล ลูกหลานของขุนนางชั้นสูง รวมถึงราชนิกุลชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง สตรีกลุ่มนี้เข้าสู่พระราชสานักโดยการถวายตัวเข้าเป็นข้าราชสานัก อาจแบ่งได้เป็น ข้าหลวงเรือนนอก ข้าหลวงเดิม5 เเละข้าหลวงในพระองค์ กลุ่มชนชั้นล่าง โขลน สนม คนรับใช้ของข้าราชสานัก กลุ่มสตรีที่น่าจะมีบทบาทมากที่สุดเห็นจะเป็นกลุ่มพระภรรยาเจ้าและบาทบริจาริกา และกลุ่มพระราชวงศ์ สตรีโดยการสนับสนุนและตอบสนองโดยกลุ่มข้าราชสานักและกลุ่มชนชั้นล่างในราชสานักฝ่ายใน
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2542). นิตยสารสารคดี "24 มิถุนายน 2475" , หน้า 110 จิรวัฒน์ อุตตมะกุล. (2548). พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5. หน้า 4 3 สมภพ จันทรประภา. (2530). สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ. หน้า 38 4 ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. หน้า 668 5 Bee Melanie Ontrakarn. (2005). Servitude of the ladies of the royal inner court during the reign of king rama IV V and VI. Page 86-88 1 2
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
2
การ “ขึ้น” และ “ตก” ของพระภรรยาเจ้า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สภาวการณ์ที่ข้าราชสานักฝ่ายในมักจะได้ประสบพบเห็น กันอยู่บ่อยๆเห็นจะเป็นสภาวการณ์ที่เรียกว่าการ “ขึ้นๆ ตกๆ”6 คือสภาวะที่พระภรรยาเจ้าหรือพระสนมได้เป็นที่ทรง โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือการมิเป็ นที่ทรงโปรดปราน สิ่งที่ยืนยันสถานะของการ ขึ้นหรือตกนั้นสามารถวัดได้จากการได้รับการสถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศให้สูงขึ้นหรือการสถาปนาพระองค์ใดพระองค์ หนึ่งให้มีพระอิสริยยศสูงกว่า เช่นในกรณีของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี 7 พระภรรยาเจ้าชั้น ลูกหลวงพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาเปี่ยม ผู้ได้รับการกล่าวขานในโคลงฯ ว่า "หน้าตาคมสันองค์สว่าง [สว่างวัฒนา-ผู้เขียน] พูดจากระจัดกระจ่างองค์สุนันทา"8 เมื้อสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเข้ารับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระ อิ ส ริ ย ยศ “พระนางเจ้ า สว่ า งวั ฒ นา พระราชเทวี ” จนทรงมี พ ระประสู ติ ก าลสมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก ยาเธอ เจ้ า ฟ้ า มหาวชิรุ ณหิ ศ ต่อมาเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคตจึงทรงได้อยู่ในฐานะพระราชชนนีในสมเด็จ พระบรมโอรสาธิร าช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของสยาม นับเป็น ช่วงที่ “ทรงขึ้น” แต่ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จสวรรคตก็ เป็นการเริ่มต้นช่วงแห่งความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและเป็นช่วงแห่งการ “ทรงตก” จนทรงมีพระราชดารัสว่า "...ฉันน่ะไม่เคยขี้เหนียวหรอก แต่เห็นเสียแล้ว เมื่ อ เวลาฉั น มีบุ ญ น่ ะ ล้ ว นแต่ม าห้ อ มล้ อ มฉั น ทั้งนั้ น แหละ เวลามีงานมีก ารอะไร ฉันก็ช่ว ย เต็มที่ไม่ขัด แต่พอฉัน ตกก็หั น หนี ห มด ไปเข้า ตามผู้มีบุญต่อไป ฉะนั้นฉันจึงตัดสินใจไม่ทาบุญ กับคนรู้จัก แต่จะทาการกุศลทั่วไปโดยไม่เลือก" ในขณะที่ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า สว่ า งวั ฒ นา พระบรมราชเทวี “ทรงตก” ก็ เ ป็ น ช่ ว งที่ พ ระนางเจ้ า เสาวภาผ่ อ งศรี พระอรรคราชเทวี 9 ที่ ท รงได้ รั บ การ พระบรมฉายาลักษณ์ทรงฉายพร้อมด้วย สมเด็จฯ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์และ สถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จ พระนางเจ้า สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช 10 พระอรรคราชเทวี ” ในฐานะของพระราชชนนีของ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์ใหม่จนถึงการขึ้นเป็น “สมเด็จรีเยนต์”หรือ“สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ” ผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หั วในขณะที่เสด็จฯประพาสยุโรป อันเป็นการ “ทรงขึ้น”มาแทนที่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2552). สี่แผ่นดิน. หน้า 24 ต่อมาสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวอานันทมหิดลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสรยยศพระบรมอัยยิกาเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า 8 ศรีสวรินทิรานุสรณีย์ น้อมราลึกถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า, หน้า 20 9 ต่อมาสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสรยยศพระบรมราชชนนีเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง 10 พระบรมราชโองการ ประกาศ ออกพระนามพระชนนีแห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช. (2439,15 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 12. ตอนที่ 24. หน้า 211-212 6 7
3
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
การแต่งกาย ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์สตรีในราชสานักเริ่มมีการปรับเปลี่ยนการแต่งกายจากเดิมที่สตรีนุ่งผ้ายกหรือ ผ้าลายทอง ห่มสไบเฉียงด้วยผ้าปักหรือผ้าแพรที่พับเหมือนอัดกลีบ ปรับมาเป็นการนุ่งจีบนุ่งโจง ห่มสไบแนบตัวหรือ เสื้อกระบอก ห่มสไบเฉียงทับเสื้อ โดยอาจจะเพิ่มเติมในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ โดยรับอิทธิพลตะวันตกบางประการ เช่นเครื่องเพชร ดังปรากฏหลักฐานจากฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ครั้งเสด็จฯ ออกต้อนรับปรินส์ออสการ์ ดยุคออฟสก๊อตแลนด์ พระราชปิตุลาของพระเจ้ากรุงสวีเดน เมื่อครั้งมาเยือนเมืองไทย ใน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2427 ความตอนหนึ่งว่า “...จึ ง เข้ าไปถึง ห้ อ งรั บ แขกของพระราชินี ไ ทย ฉั น แปลกใจเมื่อ เข้ ามาเผชิญ หน้ า กับ ผู้ ที่ มี รูปร่าอ้อนแอ้น แบบบาง อายุราวๆ 19 ปี แต่งคล้ายกับมหาดเล็ก แต่มีความคิดดีในการแต่งกาย ทาให้ ดูหยดย้อยแสนจะหรูหรา พระเจ้าแผ่นดินทรงแนะนาว่าเป็นพระมเหสีของพระองค์ เครื่องทรงของ พระราชินีซึ่งเข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างวิเศษสุดนั้น ประกอบด้วยฉลองพระองค์โบรเคตสีทองๆ เงินๆ พอดีพระองค์ แขนเป็นจีบๆ ทาด้วยไหมทองมีจุดขาว มีแพรสีเขียวพันรอบพระองค์ ชายข้างหนึ่งพาด บนพระอังสาซ้ายอย่างหลวมๆ ทรงสนับเพลาหรือผ้าทรงแบบเดียวกับที่พวกผู้ชายนุ่งเป็นสีน้าเงินแก่ กับทอง ทาให้ดูเครื่องพระองค์ที่ประหลาดแต่สวยงามนี้ครบชุดโดยมีดุมเพชรเม็ดใหญ่และเข็มกลัด เพชรกลัดตรึงไว้ รอบพระศอทรงสังวาลย์เครื่องราช อิสริ ยาภรณ์ ประดับเพชรวูบวาบติดทับอยู่บน ฉลองพระองค์...” โดยในสมัยนี้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีทรงรับเป็นธุระในเครื่องแลองพระองค์มากขึ้น ทรงตั้งโรงเย็บผ้าส่วนพระองค์ ณ พระที่นั่งทรงธรรมสวนศิวาลัยและจ้างครูฝรั่งมาฝึกสอนการตัดเย็บโดยมีหม่อมเจ้า ไขศรี ปราโมชเป็นผุ้ควบคุมโดยรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าสมัยใหม่แก่เจ้านายในพระราชสานักฝ่ายในด้วย ต่อมาหลังจากการเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การแต่งกายของสตรีใน ราชสานักฝ่ายในเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งโดยการนาของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ11 อีกบุคคลหนึ่งที่ทรงมีบทบบาทสาคัญคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์12 ทรงเลือกแต่งฉลองพระองค์ซึ่งมี สีสันสวยงาม ทั้งนี้พระองค์โปรดปรานฉลองพระองค์กระโปรง และตัดพระเกศาอย่างชาวตะวันตก ทั้งยังทรงเป็นผู้ ริเริ่มการนุ่งผ้าถุงเป็นพระองค์แรกโดยการดัดแปลงผ้าซิ่นธรรมดาให้เป็นผ้าถุงสาเร็จเพื่อความสะดวกสบายในการนุ่ง พระองค์ถื อเป็ น เจ้ านายพระองค์ห นึ่ ง ที่ทรงนาสมัย ในเรื่องการแต่ง กาย ฉลองพระองค์ของเจ้ าฟ้า วไลย อลงกรณ์ ถือเป็นฉลองพระองค์เจ้านายที่ทันสมัยและเก๋ไก๋ที่สุดในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระพี่เลี้ยงหวน หงสกุล ได้บันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ความว่า
11 12
ได้รับการสถาปนาขึ้นแล้ว ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2559). หอมติดกระดาน. หน้า 39-43
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
"...ท่านโปรดทรงหนังสือฝรั่ง ทรงรับแมคคาซีนนอก แม้แต่แบบเสื้อก็สั่งนอก แม่ [พระพี่ เลี้ยงหวน] ก็เป็นผู้เย็บให้ทรงคนเดียว บางครั้งก็ทรงเลือกแบบเอง แล้วให้ฝรั่งห้างยอนแซมสันตัด แต่ เป็นชื่อของแม่ และวัดตัวแม่เอง ไม่ต้องลอง นาไปถวายก็ทรงพอดีเลย ถ้าเป็นเสื้อแม่ ฝรั่งเรียกราคาตัว ละ ๘๐ บาท ถ้าเป็นฉลองพระองค์เขาก็เรียกราคาแพงกว่านั้น ต่อมาเมื่อเย็บได้เก่งแล้ว ภายหลังก็ไม่ ต้องจ้างฝรั่งเย็บ" พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ก็ทรงกล่าวถึงพระองค์ใน เกิดวังปารุสก์ ความว่า "...ทูลหม่อมอาหญิงท่านทั้งงามทั้งเก๋ ข้าพเจ้าชอบไปเฝ้าท่านบ่อย ๆ... " ในช่ ว งงานวั น สมโภชพระนคร 150 ปี มี ข่ า วลื อ เกี่ ย วกั บ การลอบท าร้ า ย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ที่สาคัญ พระองค์ก็มิทรง หวาดหวั่นและกล่าวถึงด้วยพระอารมณ์ขันว่า "...วันนี้แต่งเต็มที่ เพราะเวลาตายจะได้สวย ๆ..."13 พระองค์ไม่โปรดเครื่องประดับชิ้นใหญ่ แม้จะทรงมีเครื่องประดับจานวน มากก็ตาม แต่โปรดเครื่องประดับชิ้นเล็ก ๆ ที่เหมาะสมกับฉลองพระองค์ในแต่ละ ชุด ซึ่งเด็ก ๆ ในพระอุปถัมภ์ พระองค์ก็ไม่ทรงปล่อยให้เชย หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุลทรงเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ว่า เมื่อโรงเรียนราชินีมีงานออกร้านขายของนั้น โปรดให้หม่อมเจ้าพิไลยเลขามาช่วยขายของให้เจ้านายต่างประเทศ รับสั่งให้ถอด เครื่องเพชรที่แต่งอยู่ออกให้หมด เหลือเพียงจี้เพชรอย่างเดียว แล้วตรัสว่า สมเด็จฯ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ทรงสวม เครื่องประดับศีรษะที่เหมาะกับชุด "เด็กฝรั่งเขาไม่แต่งเพชรมาก ๆ"14 รวมทั้งนางข้าหลวงของพระองค์ถูกกล่าวถึงว่า "...ไม่มีข้าหลวงตาหนักใดจะสวยเก๋ทันสมัยเท่าข้าหลวงของสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์..."15
13 14
ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2556). สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ผู้นาการแต่งกายทั้งงามทั้งเก๋. หน้า 26 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2559). หอมติดกระดาน. หน้า 16
4
5
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
เจ้าคุณพระประยูรวงศ์
นอกจากนั้นยังมีสตรีอีกผู้หนึ่งผู้เป็นดวงใจแรกของพระบาทมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่ หัว นั่น คือ เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ในปี พ.ศ. 2484 นายกรัฐ มนตรี ประกาศ ชักชวนสตรีไทยให้เปลี่ยนเครื่องแต่งตัว เช่นเปลี่ยนตัดผมสั้นเป็นไว้ยาว เปลี่ยนนุ่งผ้า โจงกระเบนเป็ นนุ่งถุง และให้ ใส่ เกือกใส่ ห มวกเป็นต้น รัฐ บาลได้ช วนเจ้าคุณพระ ประยูรวงศ์ให้เป็นผู้นาสตรีที่มีบรรดาศักดิ์ให้เปลี่ยนแปลง ท่านก็ยินดีรับช่วยและเอา ตัวของท่านเองออกหน้าเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวตามอย่างที่ต้องการ ก็มีผลให้ผู้อื่นปฏิบัติ ตามท่านอย่างคึกคัก ท่านจึงได้รับความเคารพนับถือจากรัฐบาลในสมัยนั้น จะเห็นได้ว่าราชสานักฝ่ายในมักเป็นผู้นาในการเปลี่ยนแปลงการแต่งกายและ แพร่ กระจาย ออกมาจากข้าราชสานัก สู่ ภรรยาขุนนางต่างๆ จนถึงประชาชนผู้ พอจะมีอันจะกิน
สภาอุณาโลมแดง ปี 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่าง ประเทศสยาม กับ ประเทศฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้า ในช่วงนั้น นักล่าอาณานิคมทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสต่างรุกเข้ามายึดทั้งพม่า มลายู ลาว และกัมพูชา ทาให้สยามที่ปกครองอยู่ก่อน ต้องปกป้องทาให้เกิดการสู้รบกัน ศึกระหว่างฝรั่งเศสกับสยาม ก่อนเรือรบฝรั่งเศสเข้ามารุกน่านน้า เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2436 เคยเกิด ขึ้นมาก่อนแล้ว เป็นต้นว่าที่สมรภูมิมณฑลลาวกาว ทหารฝรั่งเศสเข้าขับไล่ข้าหลวงสยามที่เมืองเชียงแตงหรือสตรึงเตรง ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือของกัมพูชา เขตติดต่อกับจังหวัดใต้สุดของลาว การสู้รบทาให้ทหารสยามเสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจานวนมาก แต่ไม่มีหน่วยงานใดๆ เข้าไปดูแลเป็นที่ทุกขเวทนาอย่างสาหัส ผลจากการรบช่วงนั้น ทาให้ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ภริยาเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)คิด หาทางช่วยเหลือ จึงร่วมกับข้าราชบริพารจัดตั้งหน่วยงานช่วยเหลือขึ้นหลังรับพระบรมราชานุญาตแล้ว สภาฯแห่งนี้ได้ คณะทางานประกอบด้วย พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี เป็นสภานายิกา สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เป็นสภาชนนี ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เป็นเลขานุการินี การประชุมของสภาฯ เปิดครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2436 ณ พระที่นั่งพระบรมราชสถิตย์ มโหฬาร ยังมีหลักฐานเป็นสมุดลงนามผู้เข้าประชุมเก็บรักษาไว้ พร้อมนิทรรศการเรื่องราวอุณาโลมแดง ก่อนจะมาเป็น สภากาชาดไทย แสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย สถานเสาวภา ดังนั้น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ จึงได้ชักชวนสตรีอาสาสมัครขึ้น และได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนาง เจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้ง "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" เมื่อ ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสว่า เป็นความคิดอันดี ตามแบบอย่างประเทศที่เจริญแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง "สภา อุณาโลมแดง" ขึ้น เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2436 ซึ่งถือเป็น "วันสถาปนาสภากาชาดไทย" นอกจากนี้ ยังทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงเป็น"สภาชนนี" สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภา ผ่องศรี พระวรราชเทวี ทรงเป็น"สภานายิกา" และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ เป็นเลขานุการิณีสภาอุณาโลมแดง ภารกิจของหน่วยงานนี้ ปรากฏในพระราชหัตถเลขา รัชกาลที่5 ความตอนหนึ่งว่า
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
6
“ตั้งขึ้นเพื่อจะได้เป็นการอุดหนุนพลทหารบกทหารเรือ ซึ่งเอาชีวิตร่างกายรักษาพระราชอาณาเขตต์ ” พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงพระกรุ ณ า โปรดเกล้ า ฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2436 สนองเจตนาท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ โดยมี สตรีในราชสานักและภริยาข้าราชการเป็นผู้ร่วมการจานวนมากเช่น 1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ทรงเป็น ผู้บารุงการ 2. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงเป็น สภาชนนี 3. พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ทรงเป็น สภานายิกา 4. พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี 5. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร 6. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติ รัตนกุมารี กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ 7. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล สรรพสกนธ์กัลยาณี กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี 8. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี 9. พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา 10. พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา 11. เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็น/เป็น อุปนายิกา 12. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ 13. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภัศร 14. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี ทรงเป็น ผู้ช่วยเลขานุการิณี 15. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ ทรงเป็น เหรัญญิกา 16. จ่าง ภรรยาเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ เป็น ผู้ช่วยเหรัญญิกา 17. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ 18. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา 19. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา 20. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน 21. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 22. หม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา 23. หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา 24. ท่านผู้หญิงสุ่น โชติกเสถียร 25. ท่านผู้หญิงเลื่อม บุนนาค 26. ท่านผู้หญิงตลับ ฉัตรกุล ณ อยุธยา 27. สุ่น ภรรยาพระยาสวัสดิ์รามะดิฐ 28. ทรามสงวน ภรรยาพระยาอินทรเทพ 29. เพิ่ม ภรรยาพระบริบูรณโกษากร บันทึกการประชุมก่อตั้งสภาอุณาโลมแดง เมื่อ 6 สิงหาคม 2534
7
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
30. โป๋ ภรรยาพระภักดีภัทรากร 31. อิ่ม ภรรยาพระเจริญราชธน 32. พอน ภรรยาพระพิบูลย์พัฒนากร ทรงเป็น/เป็น กรรมการิณี 33. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี 34. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง 35. หม่อมเจ้าหญิงแฉ่ง เกษมสันต์ 36. หม่อมเจ้าหญิงเลื่อน จรูญโรจน์ 37. ท่านผู้หญิงเกษร สุวรรณทัต 38. ท่านผู้หญิงจับ กัลยาณมิตร 39. เอี่ยม ภรรยาพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง 40. คุณหญิงแก้ว เกตุทัต 41. สังวาลย์ ภรรยาพระยามหาเทพ 42. สอน ภรรยาพระยาไพศุลป์สมบัติ 43. ต่วน ภรรยาพระอภิรักษ์ราชอุทยาน 44. เชื้อ ภรรยาพระอาณัติพรากร 45. ปั้น วัชราภัย 46. หนู ภรรยานายเจียม ทรงเป็น/เป็น อนุกูลกรรมการิณี16 โรงเลี้ยงเด็ก พระราชโอรสพระราชธิดานั้นนับได้ว่าเป็นดั่งดวงพระหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระภรรยาเจ้าพระสนมทุกพระองค์ แต่การสูญเสียพระราชโอรสพระราชธิดานั้นในบางแง่มุมก็บังเกิดเป็นผลดี อานวยแก่ ร าษฏรสยาม อย่ า งในกรณี พระลู ก เธอ พระองค์ เจ้ านภาจรจ ารั ส ศรี 17 (เขจรจารัส )18 พระราชธิด าใน พระบาทสมเด็จพระจุ ล จอมเกล้าเจ้ าอยู่หั ว อันประสู ติแต่พระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย 19 เป็นพระราชธิดา พระองค์ใหญ่ในพระอรรคชายาเธอฯ เมื่อทรงเจริญพระชันษาได้เพียง 6 ปี ก็ประชวรสิ้นพระชนม์ นาความสลดพระ ราชหฤทัยแก่สมเด็จพระบรมชนกนาถ และพระมารดายิ่งนัก แต่พระอรรคชายาเธอฯ ก็มิได้ทรง ปล่อยให้ความเศร้า โศกครอบงาพระหฤทัย หรือกัดกร่อนให้เกิดความทดท้อ หากแต่ทรงแปรความสูญเสียให้บังเกิดเป็นการสร้างสรรค์อัน จะเป็นพระราชกุศลแด่พระลูกเธอพระองค์นั้น พระองค์ได้ทรงหวนคิดไปถึงบรรดาทารกของบิดามารดา ซึ่งมีฐานะ 16
แจ้งความด้วยเรื่องหญิงชาวสยามร่วมกันคิดออกทุนทรัพย์ตั้งทานสถานสาหรับชาติขึ้นชื่อว่า สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติ สยาม. (2434,25 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 10. หน้า 151-168 17 พระนามแรกประสูติว่า “พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเขจรจารัส” แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิทรงโปรดจึง พระราชทานพระนามใหม่ว่า “พระลูกเธอ พระองค์เจ้านภาจรจารัสศรี ภัทรวดีราชธิดา” 18 จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค 17. (2481). พระนคร : อักษรนิติ, หน้า 108 19 ภายหลังสถาปนาเป็นพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
8
ลาบากขัดสนว่า หากมีความเจ็บป่วยไข้แสนสาหัสแล้วก็คง จะยิ่งมีความลาบากมากกว่านัก จนถึงอาจทอดทิ้งบุตรเสีย แต่เยาว์ให้เป็นกาพร้า หรือปล่อ ยให้เติบโตตามยถากรรม โดยมิได้รับการบารุงสุขภาพหรือให้การศึกษามีวิชาสาหรับ เลี้ ย งชีพ ต่ อไปได้ ด้ ว ยพระดาริ อั น เป็ น พระกุศ ลดัง กล่ า ว พระอรรคชายาเธอฯ ได้ น าคว ามกราบบั ง คมทู ล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต จัดสร้างโรงเลี้ยงเด็ก โดยทรงบริจาค ทรัพย์ซื้อที่ดิน ตึกโรงเรือนต่างๆ ซ่อมแซม ก่อสร้างบริเวณ และเครื่องใช้เครื่องแต่ง ณ ที่ตาบลสวนมะลิ ริมถนนบารุง พระอรรคชายา หม่อมเจ้าสาย เมือง เพื่อจัดการบารุงเลี้ยงทารกและเด็กชายหญิงบุตรคน ยากจน พระดาริอันกอปรด้วยพระจริยวัตรอันเป็นกุศลยิ่งนี้เป็นที่ทรงพระโสมนัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง ทรงอนุโมทนาและเป็นพระราชธุระ ช่วยอุปการะบารุงด้วยพระบรมเดชานุภาพ จนการจัดสร้าง โรงเลี้ยงเด็กแห่งแรกแล้วเสร็จตามพระประสงค์ ในพระวิมาดาเธอฯ ทุกประการ และได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราช ดาเนินไปทรงบาเพ็ญพระราชกุศล ประกอบพระราชพิธีเ ปิดเป็นพระฤกษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 108 (พุทธศักราช 2432) และทรงพระกรุณาโปรดให้เรียกชื่อว่า “โรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายาเธอ” อันเป็นพระอนุสรณ์ ราลึกในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจรจารัสศรี พระราชธิดาพระองค์แรก พระจริยวัตรในพระวิมาดาเธอฯ ดังกล่ าวนี้ นับ ได้ว่า ทรงเป็ นผู้ริ เริ่มงานสั งคมสงเคราะห์ในสมัยเริ่มแรกของไทย 20 และยังเป็นพื้นฐานของการจัด การศึกษาปฐมวัยต่อมา21 การส่งเสริมสิทธิสตรี เมื่อวิทยาการตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลและแพร่ขยายไปทั่วในสยาม สตรีในราชสานักได้รับการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะกับสตรีในราชสกุลวรวรรณ สตรีในราชสานักผู้มีบทบาทโดดเด่นในการส่งเสริมให้สตรีสยามรู้จักคุณค่าของ ตนและมีความทัดเทียมกับบุรุษผู้นั้นคือ พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าจุลจักรพงศ์ทรงเล่าประทานไว้ในพระนิพนธ์ เกิดวังปารุสก์ ความว่า "... ไม่มีผู้หญิงคนไทยครอบครัวใดที่จะช่างคุยสนุกสนานเท่าองค์หญิงตระกูลวรวรรณ เท่าที่ข้าพเจ้า เคยรู้จักพบมา..."22 อันแสดงถึงบุคลิกลักษณะของสตรีในราชสกุลวรวรรณว่าเป็นผู้ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกมา ด้วยความที่ พระวรกั ญ ญาปทาน พระองค์เ จ้ า วัล ลภาเทวี ทรงมีค วามคิ ด ที่ ล้ าสมั ยสตรี ไทยในยุ ค นั้ น ทรงเขี ย นบทความชื่ อ "ดาริหญิง" ในหนังสือดุสิตสมิธรายสัปดาห์เมื่อ พ.ศ. 2463 ในทานองส่งเสริมให้สตรีมีความเท่าเทียมกับบุรุษ เพราะ สตรีก็มีความสามารถ และจะอุ้มชูหรือชักบุรุษให้ต่าลงก็ทาได้ แต่ก็มีพระประสงค์ให้บุรุษเข้าใจและเคารพสถานภาพ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2547). สตรีสาคัญในประวัติศาสตร์. หน้า 136-186 อนามัย,กรม. (2542). เอกสารอัดสาเนาคู่มือผู้ดาเนินงานศูนย์เด็กเล็ก. หน้า 7 22 จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. (2554). เกิดวังปารุสก์ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัยประชาธิปไตย. หน้า 153 20 21
9
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
ของสตรี รู้จักหน้าที่ของบุรุษตามแบบสากล และขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้สตรีรู้จักทาหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง ความ ว่า "...หญิงโดยมากมักบูชาว่าชายเป็นมนุษย์ที่วิเศษกว่าตัวเทือกเทวดา ทั้งนี้ก็เพราะในบ้านโดยมากชาย เป็นเจ้าบ้านมีอานาจบังคับบัญชากดขี่หญิง การที่ชายได้อานาจไปมากเช่นนั้น ตามความเข้าใจของ ข้าพเจ้า คิดว่าคงเป็นเพราะหญิงมิได้ถือหน้าที่ที่ตนควรประพฤติ..." แม้ในเนื้อความจะเป็นความจริงก็ตาม แต่ในขณะนั้นก็ยังไม่มีสตรีคนใดที่สามารถตีแผ่ความจริงได้อย่างห้าวหาญแจ่ม ชัดอย่างที่พระองค์ได้พระนิพนธ์ไว้ในบทความตอนหนึ่ง ความว่า "...ความเข้าใจของข้าพเจ้าคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีความบกพร่องอยู่ในตัวอย่างที่ไม่รู้จักกันพอ เช่นหญิง ชายแรกคบกันคงจะต้องสรรท่าที่ตัวคิดว่าดีออกอวดกัน ต่างคนก็บูชากันว่าเป็นผู้วิเศษในขณะนั้น ความพอใจย่อมมีต่อกันมาก ก็อาจให้สัญญาต่อกันทุกอย่างในความต้องการของฝ่ายใด ครั้นเมื่อคุ้นกัน เข้า ความบกพร่องซึ่งเป็นของธรรมดาตามมากน้อยก็ต้องเกิดความรู้กันขึ้นทั้งสองฝ่ าย ความนับถือซึ่ง กันก็ย่อมซาไป..." 23 นอกจากนี้ในบทความของพระองค์ที่ทรงนิพนธ์ขึ้น แสดงให้เห็นถึงความมั่นพระทัยในบทบาทและความสามารถของ สตรีในการผลักดันบุรุษให้ทากิจการต่าง ๆ ความว่า "...ข้าพเจ้าเห็นว่ามือเบา ๆ ของหญิงนี่แหละ อาจลูบหลังชายให้ออกไปต้านศึกได้ง่า ย ๆ ยิ่งกว่าจะใช้ ปืนจ้องให้ต้องกลับหลังหันไป..." มีเรื่องเกี่ยวกับพระองค์ที่กล่าวขานเชิงนินทาในเรื่องเกี่ยวกับพระอุปนิสัยของพระวรกัญญาปทานอย่างหนึ่ง คือการ ปฏิบัติพระองค์ต่อข้าราชบริพารซึ่งเคยรับใช้สนองพระเดชพระคุณใกล้ชิดก่อนจะทรงหมั้น เล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้ าอยู่หั ว รัช กาลที่ 6 เสด็จฯ โดยรถยนต์ห รือรถม้าไม่แน่ชัดพร้อมด้ว ย พระวรกัญญาปทาน โดยมีพระยาประสิทธิ์ศุภการ 24 ผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์โดยเสด็จฯ ตามตาแหน่ง เมื่อถึงที่หมาย พระยาประสิทธิ์ศุภการ ลงไปรอรับเสด็จที่ประตูรถตามหน้าที่ เมื่อพระวรกัญญาปทานจะเสด็จลงจากพระราชพาหนะ ก่อนที่ล้นเกล้าฯ จะเสด็จลง พระยาประสิทธิ์ศุภการ ได้ยื่นมือไปรอรับเสด็จเพื่ออานวยความสะดวกในเวลาเสด็จลง จากรถตามธรรมเนียมฝรั่ง พระวรกัญญาปทานทรงชักพระหัตถ์หนีพร้อมมีรับสั่งตาหนิ พระยาประสิทธิ์ศุภการ ด้วย ถ้อยคาที่ไม่เหมาะสม ล้นเกล้าฯ จึงกริ้วและเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธ และ ประพันธ์กลอนเชิงบริภาษว่า “อย่าทะนงอวดองค์ว่างามเลิศ สวยประเสริฐยากที่จะเปรียบได้ อย่าทะนงอวดองค์ว่าวิไล อันสุรางค์นางในยังมากมี 23
24
เรื่องเดิม, หน้า 250 ต่อมาคือ เจ้าพระยารามราฆพ
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
10
อย่าทะนงอวดองค์ว่าทรงศักดิ์ จะใฝ่รักแต่องค์พระทรงศรี นั่งรถยนต์โอ่อ่าวางท่าที เป็นผู้ดีแต่ใจไพล่เป็นกา อย่าดูถูกลูกผู้ชายที่เจียมตน อย่าดูถูกฝูงชนที่ต่ากว่า อย่าทะนงอวดองค์ว่าโสภา อันชายใดฤๅจะกล้ามาง้องอน” เรื่องราวดูจะจบลงด้วยดีในสายตาของพสกนิกรผู้ได้ พบเห็น แต่แล้ว 6 เดือนต่อมา จึงมีพระบรมราชโองการให้ ถอนหมั้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2464 และทรงโปรด เกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วัลลภาเทวี ความตอนหนึ่งว่า "...มีความเสี ย พระราชหฤทัย เป็ น อย่ างยิ่ง ที่ได้มา ทรงทราบตระหนักแน่ชัดขึ้นว่า การจะไม่เป็นไปโดย เรียบร้อย สมพระราชประสงค์อันดีที่กล่าวมาแล้ว เพราะเหตุ ที่ พ ระราชอั ธ ยาศั ย ของพระวรกั ญ ญา พระองค์เจ้าวัลภาเทวี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมิได้ต้องกัน ซึ่งอาจจะ แสดงละครเรือ่ งโพงพาง พร้อมด้วยพระยาประสิทธิ์ศุภการ เป็นเพราะพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมีพระโรคประจา พระองค์อันเป็นไปใน ทางพระเส้นประสาทไม่ปรกติ ทรงพระราชดาริว่า ถ้าแม้จะคงให้การดาเนิน ต่อไปจนถึงกระทาการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ก็อาจจะมีผลอันไม่พึงปรารถนา..." ยังพระราชทานโซ่ทองคาแก่นางเฒ่าแก่และท้าวนางจ่าโขลน ไปเกาะกุมพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมาติดศาลาภายใน พระบรมมหาราชวัง เรียกว่า “จาสนม”หรือ “ขังหลวง ”แต่ด้วยทรงพระทิฐิมานะ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีจึงไม่ทรงทูล ขอพระราชทานอภัย ด้วยเหตุนี้ จึงทรงถูกจาขังลงโซ่ตรวนทองคาอยู่ในพระบรมมหาราชวังนับแต่นั้นจนตลอดทั้ง รัชกาล โดยสาเหตุที่ต้องโทษนั้น เป็นเพราะพระวรกัญญาปทานนั้นไม่พอพระทัยพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงคั่นหน้าบท ละครเรื่องศกุนตลาและขีดเส้นเน้นข้อความในตอน ฤษีทุรวาสสาปท้าวทุษยันต์ให้ลืมนางศกุนตลา ว่า “ทรงภพผู้ปิ่นโปรพฦาสาย พระองค์เองสิไม่มียางอาย พูดง่ายย้อนยอกกรอกคา มาหลอกลวงชมเล่นเสียเปล่าๆ ทิ้งให้คอยสร้อยเศร้าทุกเช้าค่า เด็ดดอกไม้มาดมชมจนช้า ไม่ต้องจดจานาพา เหมือนผู้ร้ายย่อเบาเข้าลักทรัพย์ กลัวเขาจับวิ่งปร๋อไม่รอหน้า
11
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
จงทรงพระเจริญเถิดราชา ข้าขอลาแต่บัดนี้”25 โดยใจอาจจะเพียงตัดพ้อพระเจ้าอยู่หัว แต่พระองค์ทรงกริ้วมาก เนื่องจากเป็นของพระราชทานแทนจิตประดิพัทธ์ของ พระองค์ กระนั้นหากพระวรกัญญาปทานจะละฐิลงและขอพระราชทานอภัยโทษ เชื่อแน่ว่าพระเจ้าอยู่หัวจะทรงยอม ให้เป็นแน่ แต่พระวรกัญญาปทานนั้นไม่ทรงขออภัยโทษ และยังห้ามให้ผู้ใดทูลขอแทนด้วย อันเป็นการแสดงถึงจุดยืน ของพระองค์ในการเป็นสตรียุคใหม่ สรุป สตรีในราชสานักสยามสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นมีบทบาทชัดเจนขึ้นจากในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดย รูปแบบการเปลี่ยนแปลงนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามการพัฒนาของราชสานักฝ่ายหน้า ประเทศสยาม และประเทศ ตะวันตกที่มีความสัมพันธ์กับประเทศสยาม และในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ขับเคลื่อนกิจการของประเทศสยามอีกทาง หนึ่งด้วย ทั้งด้านการเมือง สั ง คม วัฒนธรรม การสาธารณกุศลและสิ ทธิสตรี ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งใน ระดับประเทศ ในกลุ่มชนชั้นสูง รวมถึงประชาชนชาวสยามอีกด้วย
25
เรื่องเดิม, หน้า 254
เบือ้ งหลังบัลลังก์ครุ ฑ : บทบาทสตรีในราชสานักสยามสมัยสมบู รณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7) BEHIND THE GARUDA THRONE : ROYAL LADIES’ ROLE IN THE ROYAL COURT OF SIAM DURING ABSOLUTE MONARCHY PERIOD (REIGN OF KING RAMA V - RAMA VII)
12
เอกสารอ้างอิง เอกสารภาษาไทย กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. (2558). เจ้าจอมก๊กออ. กรุงเทพฯ:อมรินทร์ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2547). สตรีสาคัญในประวัติศาสตร์. จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา6รอบ 12 สิงหาคม 2547. หน้า 136-186 จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค 17. (2481). พระนคร : อักษรนิติ, หน้า 108 จิรวัฒน์ อุตตมะกุล. (2548). พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มติชน จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. (2554). เกิดวังปารุสก์ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัย ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ริเวอร์ บุ๊คส์ แจ้งความด้วยเรื่องหญิงชาวสยามร่วมกันคิดออกทุนทรัพย์ตั้งทานสถานสาหรับชาติขึ้นชื่อว่า สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติ สยาม. (2434,25 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 10. หน้า 151-168 นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2542). เหตุแห่งการปฏิวัติสยาม 2475. สารคดี "24 มิถุนายน 2475" , ฉบับที่ 172: หน้า 110 พระบรมราชโองการประกาศออกพระนามพระชนนีแห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช. (2439,15 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 12. ตอนที่ 24. หน้า 211-212 พันวัสสาอัยยิกาเจ้า, มูลนิธิสมเด็จพระ. (2549). ศรีสวรินทิรานุสรณีย์ น้อมราลึกถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า. กรุงเทพฯ ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน,หน้า 668 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2555). ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสาเร็จในราชสานัก. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ :มติชน ______________. (2559). หอมติดกระดาน พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :มติชน ______________. (2556). สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ผู้นาการแต่งกายทั้งงามทั้งเก๋. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 34 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2556. กรุงเทพฯ:มติชน, หน้า 26 สมภพ จันทรประภา. (2530). สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:บารุงสาส์น,หน้า 38 สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2555). บทวิจารณ์หนังสือ “ราชสานักฝ่ายในสมัยรัตนโกสินทร์”. วิจัยมข. ปีที่ 2 (ฉบับที่1). หน้าที่ 131-137 อนามัย,กรม. (2542). เอกสารอัดสาเนาคู่มือผู้ดาเนินงานศูนย์เด็กเล็ก. กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 7 เอกสารภาษาอังกฤษ Bee Melanie Ontrakarn. Servitude of the ladies of the royal inner court during the reign of king rama IV V and VI. Master’s Thesis, Department of Thai Studies, faculty of Arts, Chulalongkorn University, 2005