บทแรกของ “ทําไมต้อง Homeschool” เขียนโดย แม่ส้ม (เขียนเมื่อ พ.ศ. 2538 ปัจจุบันพี่ฟ้าใสอายุ 26 สายเมฆ 20 ใบคา 18)
"ลูกๆเรียนอยู่โรงเรียนอะไรคะ" "เรียนอยู่ที่บ้านค่ะ" ฉันตอบ ใครๆ ต่างพากันมองหน้าฉันด้วยความสงสัย ถ้าบนสนทนานี้เกิดขึ้นระหว่างฉันกับบุคคลที่ไม่สนิท กันเท่าไหร่ ฉันจะรีบหาข้ออ้างปลีกตัวทันที ด้วยคร้านที่จะตอบข้อซักไซ้ที่อาจตามมาอีกหลาย ขบวน ค่ะ ฉันกําลังจะบอกว่า ลูกๆทั้งสามของฉันไม่ได้สังกัดโรงเรียนในระบบทั้งของรัฐและเอกชน บาง คนเรียกวิธีการเรียนอย่างนี้ว่า Homeschool หรือ Home-Based Study ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้อยู่ที่ บ้าน จะว่าเรียนอยู่กับบ้านเสียทีเดียวก็ไม่เชิงนะคะ เพราะการเรียนแบบนี้จําเป็นต้องใช้การทัศนศึกษา นอกบ้านควบคู่ไปด้วยตลอดเวลา ค่ะ หรือใครจะชอบคําเรียกอื่นๆ เช่น Self Education, Learn in Freedom, Unschooling, Independent Learner หรืออะไรอื่นๆอีกก็ตาม
แต่ทั้งหมดก็หมายถึงการที่เด็กๆไม่ต้องตื่นแต่เช้ามืด รีบเร่งอาบน้ําแต่งชุดนักเรียน ไปกินอาหาร เช้าแห้งๆบนรถ แล้วหลับต่ออีกสักชั่วโมงบนท้องถนน(ในกรุงเทพ) เพื่อที่จะไปเรียนรู้การฟังคําสั่ง ฝึกฝนตนให้เป็นผู้พิชิตคว้าคะแนนและเหรียญทอง ตกเย็นรีบกินข้าวแล้วนั่งทําการบ้านต่อถึง 3 ทุ่ม โอ..เสียงใบไม้เสียดไหวยามลมพัดผ่าน มันดังยังไงหนอ เด็กน้อยจะเคยได้ยินไหมนะ "แล้วถ้าไม่ไปโรงเรียน เด็กจะมีความรู้ได้อย่างไรล่ะ" "เด็กจะมีเพื่อน มีสังคมได้ยังไง ถ้าเรียนอยู่กับบ้าน" "แล้วเธอจะใช้หลักสูตรอะไรสอนลูกล่ะจ๊ะ" "แต่ชื่อเสียงของโรงเรียนก็สามารถช่วยลูกให้มีเครดิตเมื่อเขาโตขึ้นนะ" เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของคําถามที่สงสัยและเป็นห่วง ทั้งยังมีคําถามอื่นๆอีกซึ่งจะค่อยๆเล่าให้ฟังค่ะ
ฉันและเพื่อนชีวิต (พ่อของลูก) รู้จักกันเมื่อปี พ.ศ. 2521 ในสมัยนั้นเราทั้งคู่ยังอยู่ในวัยแห่งอุดมคติ เราคุยกันถกกันเรื่องความถูกต้องของสังคมและความดีงามของผู้คน เมื่อมีลูกคนแรก เราสนใจใฝ่รู้ เรื่องราวเกี่ยวกับเด็กๆในทุกด้าน ขณะเดียวกันเราทั้งคู่ก็เฝ้ามองและติดตามเรียนรู้ความเป็นไปของ โลก เราพบว่าเราเป็นนักเรียนจริงๆ เป็นนักเรียนตลอดเวลา เรามีครูบาอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่จากทั่วโลก มีทั้ง”ครูทางความคิด” ผู้สามารถให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีคิด สอนเราให้รู้จักคิดวิเคราะห์ คิดหาเหตุผล คิดไตร่ตรอง คิดสร้างสรรค์ คิดวางแผน คิดทบทวน คิดเชื่อมโยง ฯลฯ ทักษะการคิดทําให้เราสามารถเข้าใจความเป็นไปของสังคม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นิเวศวิทยา สุขอนามัย โภชนาการ การบริหาร การจัดการ และ การเมือง และเราก็มี”ครูทางจิตวิญญาณ” ผู้สอนให้เรารู้จักการภาวนา รู้จักเมตตากรุณา รู้จักพอใจในสิ่งที่ ตนมีตนเป็น รู้จักการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน รู้จักกําหนดลมหายใจ รู้ปัจจุบันขณะ และรู้จัก เจริญสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญาจากด้านใน ซึ่งเป็นความรู้พิเศษที่นําพาชีวิตและครอบครัวให้พบความ สุขสงบเย็น ครูบาอาจารย์และกัลยาณมิตรที่ฉันน้อมจิตเคารพและรําลึกในพระคุณนั้นมีมากมาย บุคคลผู้เป็นครู ที่ฉันได้รับความรู้อันมีค่าจากท่านเหล่านั้น บางท่านก็ไม่เคยได้พบตัวจริงเลย หลายท่านเป็น บุคคลที่อยู่คนละยุคสมัยกับฉัน และทุกวันนี้ความรู้จากครูอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกมากมายก็ยังรอ ความใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาของฉันอยู่ และนี่คือสภาวะที่ฉันเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงประโยคที่ว่า “ชีวิตคือการ เรียนรู้... Where there is life , there is learning” ที่กล่าวอ้างมาเสียยืดยาว ก็เพื่อจะอธิบายและตอบคําถามที่ว่า “ถ้าลูกไม่ไปโรงเรียน ลูกจะมีความรู้ ได้อย่างไร”
แน่นอนว่าสิ่งที่ฉันเอ่ยถึงด้านบนนั้นเป็นแค่”แนวคิด” และบางคนอาจจะอยากถามถึง”วิธีการ” สําหรับฉัน “วิธีการ”นั้นเป็น “ทักษะ” หลายคนพยายามถามเพื่อให้ได้สูตรสําเร็จซึ่งเขียนออกมาเป็น ข้อๆ ให้เหมือนกับหลักสูตรวิธีการที่โรงเรียนในระบบใช้อยู่ ตอนเช้าตื่นกี่โมง 8 โมงเช้าต้องเรียนอะไร 9 โมงเช้าต้องทําอะไร ลูกอายุ 6 ขวบควรมีไอคิวเท่าไหร่ เด็กวัย 13 ปีควรจําปีพ.ศ.ที่อยุธยาเสียกรุงได้ บลาบลาบลา สิ่งเหล่านี้ฉันถือว่าไม่ใช่สารัตถะที่ สําคัญ ทําไมเราต้องสอนลูกให้เป็นประหนึ่งคอมพิวเตอร์ผู้เที่ยงตรงต่อโปรแกรมคําสั่ง เมื่อตาเรา เห็นนาฬิกาชี้เลข 12 ปั๊บ เราบอกตัวเองทันทีว่า “ควรจะหยุดเรียน หยุดทํางาน แล้วออกไปกินข้าว เที่ยง” เราได้ฟังท้องของเราบ้างหรือเปล่า เมื่อเสียงออดในโรงเรียนดังขึ้นเป็นสัญญาณเร่งให้เด็ก ทุกคนเข้าห้องเรียน หูได้ยินเสียง สมองสั่งให้เท้าวิ่งไปที่ห้องเรียนทันที ไม่ว่าเด็กๆจะกําลังเตะ บอลกันอย่างสนุก ก็ต้องเปลี่ยนโหมดฉับพลันมานั่งตัวตรงมือจับปากกาขีดเขียนไปตามที่ครูสั่ง เราสามารถสั่งให้เด็กๆทําอย่างนี้ได้เฉพาะทางกายภาพเท่านั้นค่ะ ส่วนภายในจิตใจเขา เราจะไป บังคับให้เขาเกิดความกระตือรือร้นและสนใจเรียนขึ้นมาราวกับกดปุ่มนั้นไม่ได้แน่นอน มนุษย์ต่างกับหุ่นยนต์ ระบบความคิดความจําของคนต้องทํางานสัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึกด้วย เมื่อเด็กรู้สึกพร้อมและสนุก ต่อให้บทเรียนยากๆ หนังสือกองเป็นตั้งๆ เขาก็อ่านได้หมด อ่านแล้วจํา ได้ด้วย ไม่ต้องมีเสียงออดเสียงระฆังมาบังคับต้อนไล่กันให้เข้าห้อง ฉันเคยป้อนคําถามเข้าไปในกระดานข่าวของเว็บไซต์โฮมสคูลต่างประเทศเว็บไซต์หนึ่ง ถามพวกเขา ว่า “พวกคุณใช้หลักสูตรอะไรสอนลูก” คําตอบที่ได้มานั้นหลากหลาย บ้างตอบว่าก็อ้างอิงหนังสือ คู่มือตามมาตรฐานของรัฐ บ้างตอบว่าครอบครัวเขาออกแบบหลักสูตรให้ลูกเป็นเฉพาะๆคนไม่ เหมือนกัน บางคนก็เล่าประสบการณ์ให้ฟัง แต่ที่ประทับใจเห็นจะเป็น 2 ประโยคนี้ค่ะ “We are surrounded by curriculum” และ “We’re using life as our primary curriculum source” มีอีกคําตอบหนึ่งซึ่งตรงกับประสบการณ์จริงของฉัน จากคําถามที่ถามว่า “คุณพัฒนาหลักสูตรของ คุณอย่างไร” คําตอบที่โดนใจและมีชีวิตมากคือคําตอบนี้จากคุณแม่คนหนึ่ง “We don’t , our children do” เป็นเรื่องจริงนะคะที่เรามองข้ามศักยภาพอันไม่รู้จบของเด็กๆ บางวันฉันเพียงแต่เฝ้าสังเกต สารภาพตามตรงว่าไม่ต้องสอนอะไรเลย แต่พวกลูกๆต่างหากที่จัดระบบการเรียนรู้ของพวกเขาเอง นับตั้งแต่ลืมตาตื่นจนถึงค่ํา พลังใฝ่รู้มหาศาลหลั่งไหลออกมาด้วยแรงขับเคลื่อนภายในตัวเด็กเอง เป็นธรรมชาติ มีชีวิตชีวา มีความเป็นองค์รวมในตัวมันเอง ถ้าเราเอามาแยกย่อยเป็นรายวิชา เชื่อไหมว่าเพียงกิจกรรมที่เด็กเล่นสนุกๆเพียงกิจกรรมเดียว ได้ครอบคลุมวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา ธรรมชาติศึกษา จริยธรรม นิเวศวิทยา และที่สําคัญที่สุดคือ วิชา ทักษะสร้างสุข
จะว่าไปบ้านเราก็มีหลักสูตรกับเขาเหมือนกันนะคะ เป็นหลักสูตรที่พวกเราช่วยกันคิด และยินยอม พร้อมใจที่จะปฏิบัติและเรียนตามนั้น มันเป็นหลักสูตรเล็กๆ แต่น่ารัก มีชีวิตชีวา ฉันให้ชื่อหลักสูตร นี้ว่า “หลักสูตรเรียนด้วยหัวใจ” ใครจะถือว่าเป็น Alternative Curriculum ก็ไม่ว่ากัน “หลักสูตรเรียนด้วยหัวใจ”นี้ประกอบด้วยหัวข้อหลักและหัวข้อย่อย เด็กๆสามารถเลือกหัวข้อย่อย ได้อิสระตามใจในแต่ละวัน เขาจะเปลี่ยนกิจกรรมในหัวข้อย่อยไปเรื่อยๆเมื่อเขาเบื่อหัวข้อเก่าแล้ว (เราคงไม่อยากทําอะไรซ้ําๆทุกวันใช่ไหมคะ แม้ว่ามันจะเคยสนุกก็ตาม เด็กๆก็เหมือนกันค่ะ) เรื่องที่เป็นหัวข้อหลักก็ตกลงกันก่อนว่าต้องทําให้ครบภายใน 1 เดือน แล้วเจ้าแผ่นหลักสูตรเรียน ด้วยหัวใจนี้ ก็จะถูกเขียนขึ้นใหม่บนกระดาษโปสเตอร์แผ่นใหญ่ด้วยมือบรรจงของแม่เอง แปะติดไว้ ที่ผนังบ้านให้ได้เห็นกันทุกคน สายเมฆและใบคายังอ่านหนังสือไม่ออก พี่ฟ้าใสก็อ่านให้น้องฟังค่ะ ฉันขอย่อหลักสูตรเรียนด้วยหัวใจของเรามาให้ดูกันด้านล่างนี้นะคะ ไม่สงวนลิขสิทธิค่ะ อ่านดูแล้ว บางคนอาจจะรู้สึกว่านี่เป็นการเล่นมากกว่าการเรียน อย่าซีเรียสสิคะ ถ้าเราทําความรู้สึกในขณะ ทํางานให้สนุกได้เท่าๆกับความรู้สึกของเด็กขณะที่กําลังเล่น จินตนาการดูสิคะว่าชีวิตการทํางานจะ มีความสุขแค่ไหน
หัวข้อหลัก
หัวข้อย่อย
10 นิ้วของฉัน
งานประดิษฐ์ ทําอาหาร ต่อโมเดล ต่อบล็อกไม้ ทําของเล่น เอง งานช่าง
อาหารสมอง
อ่านหนังสือ คิดเลข วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ทํา รายงาน จดบันทึก
ร่างกายแข็งแรง
เล่นนอกบ้าน ดินน้ําลมไฟ ฝึกโยคะกับแม่ ต่อยมวยกับพี่ จิ้งเหลน ขี่จักรยาน วิ่งเล่นกับเพื่อนตอนบ่าย
เพื่อส่วนรวม
ถูบ้าน เก็บของเล่นเข้าที่ ล้างจาน พับผ้า ให้อาหารสัตว์ เปิดปิดไฟ เปิดปิดหน้าต่างประตู
สุนทรียภาพ
วาดรูป ฟังเพลง เล่นดนตรี อ่านบทกวี เขียนกลอน ดูงาน ศิลปะ
โลกกว้างใหญ่
ไปเที่ยว ฟังเรื่องเล่าจากลุงป้าน้าอา ต่างบ้านต่างเมือง ทะเล ภูเขา ท้องฟ้า อวกาศ จักรวาล
บันเทิงเริงใจ
อ่านและฟังนิทาน ทายปัญหา เล่าเรื่องตลก เล่น คอมพิวเตอร์ ดูการ์ตูน
ดูแลตัวเอง
กินข้าวเอง อาบน้ําเอง เก็บข้าวของของตัวเอง ฝึกควบคุม และดูแลตัวเอง
หัวข้อหลัก
หัวข้อย่อย
อยู่เงียบๆ
นอนดูก้อนเมฆ ดูใบไม้เต้นระบํา ฝึกโยคะท่าศพ นั่งสมาธิ ดอกบัว ฟังเสียงลม
จิตใจดี
ขอบคุณ สวัสดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ไหว้ด้วยใจ ซื่อตรง มีเมตตา
คิดสร้างสรรค์
รีไซเคิล ดัดแปลง ต่อเติม คิดใหม่
เอื้ออาทร
แบ่งเสื้อผ้า ของเล่น หนังสือ อาหาร ขนม ให้คนที่ขาดแคลน และดูแลสัตว์เลี้ยง
มีสังคม
รับโทรศัพท์ คบเพื่อนใหม่ คิดถึงเพื่อนเก่า ต้อนรับทักทาย แขกที่มาบ้าน
รู้จักความรู้สึก
พูดสิ่งที่รู้สึก ฟังสิ่งที่คนอื่นรู้สึก คิดดีๆต่อตัวเอง คิดดีๆต่อ คนอื่น