หลักความเชื่อคาทอลิก

Page 1


หลักความเชื่อคาทอลิก

โดย สำ�นักงานศาสนิกสัมพันธ์ (Secretarius Pro non Christianis)





คำ�นำ�ของผู้จัดพิมพ์ หนังสือ “หลักความเชื่อคาทอลิก” เล่มนี้ จัดทำ�ขึ้นโดย ฯพณฯ ปิเอโตร โรสสาโน สมัยที่ท่านดำ�รงตำ�แหน่งรองเลขาธิการสำ�นักงานศาสนิก สัมพันธ์ (Secretarius Pro non Christianis) ซึ่ ง หนั ง สื อ เล่ ม บางๆ เล่มนี้มุ่งเสนอความรู้ที่เป็นแก่นสารของคริสตศาสนา เพื่อทำ�ให้ผู้อ่านทราบว่า คริสตชนเป็นอย่างไรกันแน่ ชีวิตวิญญาณของเขาเป็นอย่างไร และเนื้อแท้ของ ศาสนาคริสต์เป็นเช่นไร และด้วยเหตุที่ในปีนี้ พระศาสนจักรสากลประกาศให้เป็น “ปีแห่ง ความเชื่อ” ผมจึงเห็นว่าหนังสือเล่มนี้มีประโยชน์สำ�หรับผู้ที่เป็นคริสตชนจะ ได้เรียนรู้และรู้ซึ้งซึ่งอัตลักษณ์ของตนเอง นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นประโยชน์ สำ�หรับผู้ที่สนใจในคริสตศาสนา เพื่อที่จะมาเรียนรู้และรู้จักองค์พระเยซู คริสตเจ้าผู้ซึ่งเป็น “ผู้เลี้ยงแกะที่ดี” และเป็น “หนทาง ความจริง และชีวิต” (ยน 14:6) บาทหลวงเอกรัตน์ หอมประทุม ผู้จัดการแผนกคริสตศาสนธรรมฯ 5 พฤษภาคม 2555


คำ�นำ� การเสนอเรื่องคริสตศาสนาโดยสังเขปนี้ สำ�นักเลขาธิการศาสนิก สัมพันธ์เป็นผู้จัดทำ�ขึ้น โดย ฯพณฯ ปิเอโตร โรสสาโน รองเลขาธิการฯ เอง เป็นผู้เรียบเรียง และอาศัยความร่วมมือของที่ปรึกษาหลายฝ่ายด้วยกัน จุด มุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้เพื่อเสนอเรื่องชีวิตคริสตชนอย่างง่ายๆ ซื่อๆ ตรง จุดหมายตามที่พระศาสนจักรสั่งสอนและตามที่สัตบุรุษประพฤติปฏิบัติอยู่ หนังสือเล่มบางๆ นี้ จะทำ�ให้ทุกท่านทราบว่า คริสตชนเป็นอย่างไร กันแน่ ชีวิตวิญญาณของเขาเป็นอย่างไร และเนื้อแท้ของศาสนาคริสต์เป็น อย่างไร หนังสือเล่มนี้มุ่งเสนอความรู้ที่เป็นแก่นสารของคริสตศาสนาแก่ผู้ที่มิ ใช่คริสตชน ในฐานะ​ที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อเป็นพื้นฐานในการติดต่อ วิสาสะกับทุกคน อันเป็นจุดหมายสูงสุดจุดหนึ่งของพระศาสนจักรทุกวันนี้ หนังสือเล่มนี้ใช้สำ�นวนกระทัดรัด ใช้ภาษาตรงกับพระคัมภีร์ พยายามหลีกเลี่ยงสูตรวิชาการทางเทววิทยา มุ่งเพียงให้เนื้อเรื่องเข้าใจแจ่ม แจ้งโดยง่าย คริสตศาสนาแสดงออกถึงลักษณะ 3 ประการ คือ 1) ในฐานะเป็นประวัติการณ์อย่างหนึ่งของมนุษย์ 2) แสดงถึงความปรีชาสุขุมของคริสตชน และ 3) แสดงถึงชีวิตคริสตชนเอง


ทุกวันนี้เรากำ�ลังเผชิญกับเหตุการณ์อันเป็นประวัติการณ์ เหตุการณ์ ซึ่งนำ�วิถีทางใหม่ในการดำ�รงชีวิต จงขอบใจพระคุณของพระจิตซึ่งมาจาก พระผู้เป็นเจ้า และนำ�เรากลับไปหาพระองค์ ศาสนาคริสต์ดำ�รงอยู่เสมอ ฉะนั้นเมื่อพิจารณาอ่านหนังสือเล่มนี้จบ ไปครั้งหนึ่งหรือสองครั้ง และหลังจากพินิจพิจารณาโดยตลอดแล้ว เราก็จะ เข้าใจศาสนานี้ดีขึ้น แน่นอน ยังมีปัญหาข้อคลางแคลงใจอีก เราต้องแสวงหา ความรู้ใหม่ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ในกรณีเช่นนี้วิธีที่ดีที่สุด คือ ไปปรึกษาหารือ กับผู้รู้ในปัญหานั้นๆ อย่างไรก็ดี โปรดเข้าใจว่า ไม่มีใครเลยจะเข้าใจคริสตศาสนาอย่าง ทะลุปรุโปร่ง โดยขาดการปฏิบัติศาสนา เพราะพระวรสารคือ “ชีวิต สันติสุข และความชื่นชมในพระจิตของพระเป็นเจ้า” พระคาร์ดินัล ปอล มาเรลลา เลขาธิการสำ�นักงานศาสนิกสัมพันธ์


สารบัญ บทที่ 1 ประวัติคริสตศาสนา พระเยซูคริสตเจ้า 10 สานุศิษย์ของพระเยซูเจ้า 15 ประวัติความรอดก่อนพระเยซูเจ้าเสด็จมา 19 ประวัติความรอดเมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จมาแล้ว 24 บทที่ 2 ความปรีชาสุขุมแบบคริสตชน ความปรีชาสุขุมแบบคริสตชน 32 เอกสารแสดงความปรีชาสุขุมของคริสตชน 33 ธรรมล้ำ�ลึกเรื่องพระเป็นเจ้า 35 ธรรมล้ำ�ลึกเรื่องการสร้างสรรค์ 37 ความยิ่งใหญ่และความน่าสมเพชของมนุษย์ 39 ธรรมล้ำ�ลึกเรื่องความรอดในพระคริสตเจ้า 41 พระจิตกับความรอดของแต่ละคน 44 ธรรมล้ำ�ลึกเรื่องพระศาสนจักร 46 ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรอด 50 ผู้ที่มิใช่คริสตชน 52 ชีวิตนิรันดร 53 บทที่ 3 การเจริญชีวติ แบบคริสตชน คริสตชนคือใคร 57 สภาพจิตใจที่สำ�คัญของคริสตชน 58


หลักเกณฑ์ของเหตุผลและมโนธรรม แบบดำ�เนินชีวิตของคริสตชน บ่อเกิดแห่งชีวิตของคริสตชน คริสตชนสนทนากับพระเป็นเจ้า ความประพฤติของคริสตชน ภาค​ผนวก โครง​รางภายนอก​ของ​ศาสนจักร​คาทอลิก บทภาวนา เอกสารแห่งสภาสังคายนา วาติกันที่ 2 สมัชชาพระสังฆราชคาทอลิก ราย​ชื่อ​หนังสือพระคัมภีรและ​อักษร​ยอ

61 62 64 67 70 75 78 88 90 92


บทที่ 1 ประวัติคริสตศาสนา

พระเยซูคริสตเจ้า 1. คริสตศาสนามีกำ�เนิดขึ้น โดยพระเยซูคริสตเจ้าเป็นผู้ตั้ง พระองค์ ทรงเป็นชนชาติยิว เรารู้ว่าพระองค์ทรงประสูติ ดำ�รงพระชนม์ชีพ และ สิ้นพระชนม์ในประเทศปาเลสไตน์โบราณ อันเป็นที่ที่ 3 ทวีป และวัฒนธรรม 3 แบบมาบรรจบพบกัน คือ ทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปยุโรป คริสตศักราชซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันเกือบทั่วโลกนั้น เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ คำ�นวณว่าเป็นปีสมภพของพระเยซูคริสตเจ้า 2. พระเยซูเจ้าประสูติ ณ เมืองเบธเลเฮม ทรงถือกำ�เนิดจากชนชาติ อิสราเอล พระนางมารีย์ พระมารดาของพระองค์เป็นหญิงพรหมจารี ได้ ปฏิสนธิ์อย่างมหัศจรรย์ ด้วยพระฤทธานุภาพของพระเจ้า พระองค์ทรงใช้ เวลาในพระชนม์ชีพเกือบทั้งหมดอย่างเงียบๆ และทรงทำ�งานแบบสามัญชน ธรรมดาในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง ชื่อ นาซาเร็ธ 10


3. เมื่อทรงพระชนม์ได้ 30 พรรษา พระองค์ทรงเริ่มออกประกาศ เทศนาแก่คนชาติเดียวกันในที่สาธารณะ เช่น ตรัสว่า “จงกลับใจเถิด เพราะ อาณาจักรสวรรค์อยู่ใกล้แล้ว” (มธ 4:17) การประกาศเทศนาของพระองค์เป็นการรบเร้าเชิญชวนให้มนุษย์ รื้อฟื้นเปลี่ยนจิตใจ และยังเป็นการสัญญาจะช่วยมนุษย์ให้หลุดพ้นจากทุกข์ มาพบความสุขด้วย การที่พระเป็นเจ้าใช้พระเยซูเจ้ามานั้นเท่ากับเป็นการ สำ�แดงองค์ให้มนุษย์รู้จัก และเรียกมนุษย์ให้มาร่วมชิดสนิทกับพระองค์ เพื่อ จะได้ความสุขครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ปรารถนา 4. พระเยซูทรงประกาศว่า ผู้ต่ำ�ต้อยน้อยศักดิ์ ผู้มีใจบริสุทธิ์และน้ำ� ใสใจจริง ผู้มีใจเมตตาเที่ยงธรรมและรักสันติ เป็นผู้มีบุญ พระองค์ทรงเรียก ร้องให้มนุษย์ละทิ้งความบาปทุกชนิด แม้จะต้องเสียสละอย่างใหญ่หลวง ตามที่พระองค์ตรัสว่า “มนุษย์จะได้ประโยชน์ใดในการที่ได้โลกทั้งโลกเป็น กำ�ไร แต่ต้องเสียชีวิต มนุษย์จะต้องให้สิ่งใดเพื่อแลกกับชีวิตที่สูญเสียไปให้ กลับคืนมา” (มธ 16:26) พระองค์ทรงเรียกร้องให้ศิษย์ของพระองค์อภัย ความผิดกัน เหมือนดังที่พระเป็นเจ้าทรงอภัยบาปให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้ ก็เท่ากับพระองค์ทรงนำ�ความหวังมาให้ทุกคน ทำ�ให้สามารถมองพระเป็นเจ้า ได้ด้วยความไว้ใจ 5. พระองค์ได้ทรงสู้ทนความทุกข์และความยากลำ�บากต่างๆ ใน ชีวิตประจำ�วัน ทรงสอนให้ถือการทำ�งานและชีวิตในครอบครัวเป็นสิ่งมีเกียรติ ควรยกย่อง ทรงประกาศว่าชายและหญิงเท่าเสมอกัน พระองค์รักเด็กๆ 11


เป็นพิเศษ ทรงรักมิตรสหายและซื่อตรงต่อประเทศชาติ ก่อนจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงสรุปคำ�สั่งสอนของพระองค์ โดยตรัสแก่สานุศิษย์ว่า “เราให้ บทบัญญัติใหม่แก่ท่านทั้งหลายให้ท่านรักกัน เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด ถ้าท่านมีความรักต่อกัน ทุกคนจะรู้ว่า ท่านเป็น ศิษย์ของเรา” (ยน 13:34-35) 6. เพราะทรงเวทนาผู้ที่ได้รับทุกข์ทรมาน และเพราะทรงปรารถนา จะแสดงว่าพระเป็นเจ้าสถิตอยู่ในพระองค์ พระองค์ได้ทรงทำ�สิ่งมหัศจรรย์ เป็นอันมาก เช่น รักษาคนตาบอด คนพิการ คนง่อย และยังทำ�ให้คนตาย กลับเป็นขึ้นมา เมื่อทรงกระทำ�ดังนี้ พระองค์ทรงพิสูจน์ให้เห็นว่าพระเป็นเจ้า ทรงใช้พระองค์ให้มาหามนุษย์อย่างแท้จริง 7. พระเยซูเจ้าทรงสอนสานุศิษย์ เกี่ยวกับพระองค์เอง และภารกิจ ของพระองค์ เฉพาะเท่าที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ แต่พระองค์ได้ทรงสัญญา ว่า ภายหลังจะทรงใช้พระจิตมาดลใจเขาให้รู้เข้าใจความจริงอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ พระเยซูเจ้าทรงเรียกพระเป็นเจ้าว่า “พระบิดา” และเรียกพระองค์ เองว่า “พระบุตร” ที่พระบิดาทรงใช้มาและมีฤทธิ์อำ�นาจเท่าเสมอกับพระ บิดาทุกประการ พระองค์ทรงประกาศว่า “พระองค์พร้อมอยู่เสมอที่จะปฏิบัติ ตามน้ำ�พระทัยของพระบิดา” และ “อาหารของพระองค์ก็คือการปฏิบัติตาม น้ำ�พระทัยของพระเป็นเจ้า” 12


8. ชีวิตทั้งชีวิตของพระองค์ จุดรวมมุ่งไปอยู่ที่ภารกิจของพระองค์ ภารกิจนั้น พระองค์ได้ทรงปฏิบัติด้วยจิตตารมณ์ของความรักและความ เคารพเชื่อฟัง พระองค์ทรงประกาศว่า “บุตรแห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่น รับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และมอบชีวิตของตนเป็นสินไถ่ เพื่อมวลมนุษย์” (มธ 20:28) พระองค์ทรงเรียกพระองค์เองเป็นนายชุมพาบาลที่ดี “เราเป็น ผู้เลี้ยงแกะที่ดี ผู้เลี้ยงแกะย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน” (ยน 10:11) และ ยังเปรียบการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ว่าเหมือนกับเมล็ดข้าวสาลีที่ตกลงใน ดิน แล้วก็เน่าเปื่อยไป เพื่อจะงอกขึ้นมาเป็นต้นพืชใหม่ที่จะออกผลมากมาย 9. พระวาจาและพระจริยาวัตร​ของพระองค์ ได้ทำ�ให้พวกหัวหน้า ฝ่ายศาสนาผู้หยิ่งทะนงถือตัวในประเทศของพระองค์เกลียดชังคั่งแค้น เขา จึงตัดสินใจจะกำ�จัดพระองค์เสีย ข้อนี้พระเยซูเจ้าทรงทราบดี แต่ไม่พยายาม หลีกเลี่ยงอันตรายที่คุกคามชีวิตของพระองค์ ในที่สุด พระองค์ทรงถูกจับกุม และถูกนำ�ไปมอบให้แก่ปอนซีโอ ปีลาโต ข้าหลวงชาวโรมัน ที่เป็นคนอ่อนแอ และมีเล่ห์เหลี่ยมทางการเมือง เขาอยากเอาใจประชาชนชาวยิว จึงตัดสิน ลงโทษให้พระองค์ต้องถูกทรมานจนสิ้นพระชนม์อย่างน่าอดสูด้วยการถูก ตรึงกางเขน ขณะที่ถูกตรึงอยู่บนกางเขนก่อนจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ได้ ทรงมอบฝากตัวพระองค์กับพระบิดา และได้ประทานอภัยให้แก่เพชฌฆาต ผู้ประหารชีวิตพระองค์ นายทหารชาวโรมันซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการประหาร เมื่อเห็นพระองค์สิ้นพระชมน์แล้ว ได้ร้องประกาศว่า “ชายคนนี้เป็นบุตรของ พระเจ้าแน่ทีเดียว” (มธ 27:54) 13


10. ศิษย์ของพระเยซูเจ้าบางคน ได้ขออนุญาตข้าหลวงชาวโรมัน เชิญพระศพของพระองค์ไปฝัง พระคูหามีทหารเฝ้าอย่างเข้มแข็ง แต่ถึง กระนั้น สามวันหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว เขาได้พบว่าพระคูหาว่าง เปล่า พระเยซูเจ้าได้เสด็จกลับเป็นขึ้นมาจากความตาย ตามที่พระองค์ได้ ทรงสัญญาไว้และยังได้สำ�แดงพระองค์ให้พวกสานุศิษย์เห็นประจักษ์ชัดแจ้ง ในโอกาสต่างๆกันหลายครั้ง ดังนั้นพวกสานุศิษย์จึงประกาศยืนยันว่าได้ เห็นพระองค์ด้วยตาตนเอง และได้จับต้องพระองค์ด้วยมือตนเอง ต่อมาวัน หนึ่งพระองค์ได้เสด็จขึ้นสวรรค์ต่อหน้าเขา จนหายลับสายตาไป หลังจากได้ ปฏิบัติภารกิจในโลกสำ�เร็จแล้ว เมื่อสิ้นพิภพ พระองค์จะปฏิบัติตามที่ทรง สัญญาไว้ คือจะเสด็จมาอีกครั้งหนึ่งอย่างมีเกียรติรุ่งโรจน์ เพื่อเกี่ยวพืชผล ที่พระองค์ได้ทรงหว่านไว้ และเพื่อปูนบำ�เหน็จหรือลงโทษแล้วแต่มนุษย์แต่ละ คนได้เจริญชีวิตอย่างไร 11. พฤติการณ์สำ�คัญๆ ในพระชนม์ชีพของพระเยซูเจ้า กับถ้อยคำ� สั่งสอนของพระองค์นั้น สานุศิษย์ของพระองค์ได้ถ่ายทอดให้ตกมาถึงใน หนังสือพระวรสารสี่เล่ม ซึ่งคริสตศาสนิกชนถือว่าเป็นส่วนที่สำ�คัญที่สุดใน ภาคพันธสัญญาใหม่ พระวรสารสี่เล่มนี้บรรจุข้อความที่พวกอัครธรรมทูต ประกาศและยืนยันถึงพระเยซูเจ้า ในปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ตอนนี้ก็ยังตั้ง ปัญหาถามมนุษย์ในโลกเหมือนกับที่พระเยซูเจ้าถามพวกสานุศิษย์ว่า “ท่าน ล่ะคิดว่าเราเป็นใคร” (มธ 16:15)

14


สานุศิษย์ของพระเยซูเจ้า 12. แม้พระเยซูเจ้าดำ�รงพระชนม์ อย่างสนิทใกล้ชิดกับพระบิดา ด้วยการภาวนาและสำ�นึกองค์อยู่ตลอดเวลา แต่พระองค์ก็ได้สำ�แดงให้เห็น อยู่เสมอว่า ทรงพระทัยใคร่จะผูกพันร่วมอยู่กับมนุษย์ทั้งหลายอย่างแท้จริง พระองค์ทรงพระทัยอารีต่อทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิง ไม่ว่าสาธุชนหรือคน บาปหยาบช้า ไม่ว่าคนมั่งมีหรือคนยากไร้ ไม่ว่าชาวยิวด้วยกันหรือคนต่าง ชาติ พระองค์แสดงความรักเมตตาเป็นพิเศษต่อผู้ต่ำ�ต้อย และต่อผู้ที่ทนทุกข์ ทรมานหรือท้อถอยสิ้นหวัง พระองค์แสดงความเคารพยกย่องมนุษย์ทุกคน อย่างไม่มีใครเคยแสดงเช่นนั้นมาก่อนเลย ผู้ปฏิบัติตามคำ�สอนของพระองค์ รู้สึกตนว่าเป็นผู้มีอิสรภาพอย่างแท้จริง 13. พระองค์เสด็จไปที่ใด ประชาชนมักรวมกลุ่มติดตามพระองค์ไป แต่พระองค์ทรงหลีกเลี่ยงทุกครั้งที่มีผู้คิดจะยกพระองค์ขึ้นเป็นวีรบุรุษของ ประชาชน และตั้งแต่เริ่มดำ�รงพระชนม์ชีพอย่างเปิดเผย พระองค์ทรงเลือก ศิษย์หมู่หนึ่งสำ�หรับร่วมทำ�งานอย่างใกล้ชิดกับพระองค์ ตามที่เล่าในพระ วรสาร เมื่อภาวนาถึงพระบิดาก่อนแล้ว พระองค์ได้ทรงเรียกคนที่คัดเลือก 12 คน ให้ตามพระองค์ไป แล้วทรงมอบศิษย์กลุ่มนั้นซึ่งจะต้องอยู่เคียงข้าง พระองค์ และต่อไปจะต้องไปประกาศเทศนาคำ�สั่งสอนของพระองค์ เพราะเหตุนี้แหละ พระองค์จึงเรียกศิษย์สิบสองคนนี้ว่า “อัครธรรมทูต” (Apostles) ซึ่งแปลว่า “ผู้ถูกใช้ไปประกาศธรรม” พระองค์ได้โปรดให้ พวกอัครธรรมทูตมีส่วนร่วมในการสอน ภารกิจ และแม้กระทั่งอำ�นาจของ พระองค์เป็นพิเศษ และขณะที่ยังดำ�รงพระชนม์อยู่ได้ทรงใช้ให้ประกาศ 15


เทศนาตามหมู่บ้านและเมืองเล็กๆในประเทศปาเลสไตน์ ในหมู่อัครธรรมทูต พระองค์ทรงเลือกเปโตร และทรงมอบหมายให้ท่านเอาใจใส่ดูแล กับแนะนำ� บรรดาผู้ที่จะเชื่อถึงพระองค์โดยตรัสว่า “จงช่วยค้ำ�จุนพี่น้องของท่านเถิด” (ลก 22:32) 14. พระเยซูเจ้าได้ทรงสัญญาแก่เปโตรและอัครธรรมทูตอื่นๆ ว่า พระจิตจะปกป้องคุ้มครองเขาเป็นพิเศษโดยส่องสว่างและนำ�เขาไปในทาง แห่งความจริง ให้เขาถ่ายทอดคำ�สั่งสอนของพระองค์ต่อไปถึงนานาชาติได้ อย่างถูกต้อง พระองค์ทรงมอบหมายให้เขาปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับความรอด ในโลกนี้ อันเป็นงานที่พระองค์ได้ทรงเริ่มขึ้นแล้ว และยังโปรดให้เขามีอำ�นาจ ในนามของพระองค์ที่จะประกอบพิธีศีลล้างบาป ศีลอภัยบาป กับพิธีเกี่ยวกับ รหัสธรรมแห่งความรอด คือ ศีลมหาสนิท พิธีศีลมหาสนิทต้องประกอบตามแบบการเลี้ยงอาหารครั้งสุดท้าย ซึ่งพระองค์ทรงจัดเตรียมกับบรรดาสานุศิษย์วันก่อนที่จะสิ้นพระชนม์คือ ใน ระหว่างการเลี้ยงอาหารมื้อนี้กับอัครสาวกสิบสองคน พระองค์ทรงหยิบปังกับ ถ้วยเหล้าองุ่น แล้วตรัสว่า “‘นี่เป็นกายของเราที่ถูกมอบเพื่อท่านทั้งหลาย ... ถ้วยนี้เป็นพันธสัญญาใหม่ในโลหิตของเราที่หลั่งเพื่อท่านทั้งหลาย... จงทำ� ดังนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (ลก 22:19-20) 15. เมื่อเสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพแล้ว ก่อนจะจากโลกนี้ไป พระเยซู เจ้าทรงสัญญาย้ำ�กับพวกอัครสาวกว่าจะประทานพระจิตมาถึงเขา และทรง กำ�ชับอีกครั้งหนึ่งให้ปฏิบัติภารกิจของพระองค์ต่อไปในโลก พระองค์ตรัสว่า 16


“พระเจ้าทรงมอบอำ�นาจอาชญาสิทธิ์ทั้งหมดในสวรรค์และบนแผ่นดินให้แก่ เรา เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำ�พิธีล้างบาปให้เขาเดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต จงสอนเขา ให้ปฏิบัติตามคำ�สั่งทุกข้อที่เราให้แก่ท่าน แล้วจงรู้เถิดว่าเราอยู่กับท่านทุกวัน ตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ” (มธ 28:18-20) เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงให้ เห็นอำ�นาจของเขาต่อหน้ามนุษย์ พระองค์โปรดให้เขามีอำ�นาจที่จะทำ�อัศจรรย์ ในนามของพระเป็นเจ้า และอำ�นาจนั้น เขาก็ได้ใช้จริงๆด้วย 16. พวกอัครสาวกได้เริ่มงานของเขาในทันที ที่ได้รับพระจิตแล้ว คือ ห้าสิบวันหลังจากพระเยซูเจ้ากลับคืนชีพ และไม่กี่วันหลังจากพระองค์ เสด็จขึ้นสรรค์ วันที่พวกอัครสาวกได้รับพระจิตนั้น เป็นวันฉลองของยิวที่ เรียกว่าวันที่ห้าสิบ (Pentecost) ทันที เปโตร พวกอัครสาวกกับผู้ร่วมงาน หมู่แรกได้เริ่มเทศนาในที่เปิดเผยและประกาศ “ข่าวดี” อย่างกล้าหาญ คือ ข่าวดีแห่งความรอด ซึ่งพระเยซูคริสตเจ้าทรงนำ�จากพระเป็นเจ้ามาแจ้งแก่เรา ทั้งหลาย เปโตรประกาศว่า “ดังนั้น ขอให้เผ่าพันธุ์อิสราเอลทั้งมวลรู้แน่เถิดว่า พระเจ้าทรงแต่งตั้งพระเยซูผู้นี้ที่ท่านทั้งหลายนำ�ไปตรึงบนไม้กางเขนให้เป็น องค์พระผู้เป็นเจ้าและพระคริสตเจ้า” (กจ 2:36) อัครธรรมทูตเปาโลเขียนว่า “ดังนั้น เราจึงเป็นทูตแทนพระคริสตเจ้า ประหนึ่งว่าพระเจ้าทรงใช้เราให้เชิญ ชวนท่านทั้งหลาย เราจึงขอร้องแทนพระคริสตเจ้าว่า จงยอมคืนดีกับพระเจ้า เถิด” (2คร 5:20) 17


อัครสาวกยอห์นก็เขียนไว้เหมือนกันว่า “เราได้ฟัง เราได้เห็นด้วยตา ของเรา เราได้เฝ้ามอง และเราได้สัมผัสด้วยมือของเรา... เราประกาศให้ ท่านทั้งหลายรู้ด้วย เพื่อท่านจะได้สนิทสัมพันธ์กับเรา ความสนิทสัมพันธ์นี้ คือความสนิทสัมพันธ์กับพระบิดา และกับพระบุตรของพระองค์ คือพระเยซู คริสตเจ้า เราเขียนเรื่องนี้ถึงท่าน เพื่อความปิติยินดีของเราจะได้สมบูรณ์” (1ยน 1:1-4) 17. ผู้ที่เชื่อคำ�กล่าวยืนยันของพวกอัครธรรมทูต ได้รับศีลล้างบาป และได้ประกอบกันเป็นชนกลุ่มแรกแห่ง “พระศาสนจักร” ของพระเป็นเจ้า เรื่องราวในประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นอย่างแจ่มชัดว่าพระศาสนจักรในสมัย แรกได้เริ่มรวบรวมคนมาจากทวีปเอเชีย แอฟริกาและยุโรป เอกสารฉบับ หนึ่งซึ่งเขียนในสมัยนั้น ให้คำ�บรรยายถึงคริสชนหมู่แรกว่าดังนี้ “คนเหล่านั้น ประชุมกันอย่างสม่ำ�เสมอเพื่อฟังคำ�สั่งสอนของบรรดาอัครสาวก ดำ�เนินชีวิต ร่วมกันฉันพี่น้อง ร่วม”พิธีบิขนมปัง” และอธิษฐานภาวนา... ร่วมกินอาหาร ด้วยความยินดี และเข้าใจกัน สรรเสริญพระเจ้า และได้รับความนิยมจาก ประชาชนทุกคน องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงทำ�ให้จำ�นวนผู้ที่ได้รับความรอดพ้น เพิ่มขึ้นทุกวัน” (กจ 2:42,46-47)

18


ประวัติแห่งความรอดก่อนพระเยซูคริสตเจ้าจะเสด็จมา 18. พวกอัครสาวกได้ป่าวประกาศว่า พระเยซูคริสตเจ้าเป็นพระผู้ กอบกู้มนุษยชาติ ที่มนุษย์รอคอยมาช้านาน เมื่อพระองค์เสด็จมาแล้ว ชนชาติ อิสราเอลก็ได้สมความปรารถนาตามที่เขาเตรียมตัวรอคอยมาอย่างอดทน พวกอัครสาวกประกาศเช่นนี้ด้วยความมั่นใจ เพราะทราบจากพระคัมภีร์ซึ่ง พระเยซูเจ้าอธิบายให้เขาฟังและภายหลังศาสนิกชนหมู่แรกก็เช่นเดียวกัน เมื่อมาถือความเชื่อ เขารู้สึกงงงวยต่อเหตุการณ์ประการหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าเกิดขึ้น ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ก็เหนือกวาวิสัยที่มนุษย์จะเข้าใจแจ่มแจ้งได้ พวก ยิวที่กลับใจ ยอมรับว่า เรื่องต่างๆที่พระเป็นเจ้าทรงสัญญากับบรรพบุรุษของ เขาได้สำ�เร็จเป็นไปในองค์พระเยซูคริสตเจ้า ส่วนพวกที่มิใช่ยิวเขาได้รับความ เมตตาปรานีจากพระเป็นเจ้าอย่างล้นเหลือ และความเมตตาปรานีนั้น บัดนี้ได้ แสดงให้ประจักษ์อย่างเต็มที่ งานของพระคริสตเจ้ากับองค์พระคริสตเจ้า ซึ่ง เป็นหัวใจของแผนการที่พระเป็นเจ้าทรงกำ�หนดนั้น ปรากฏว่าได้ครอบคลุม และทำ�ให้ประวัติศาสตร์ทั้งหมดมีความหมายตั้งแต่ต้นจนอวสานของโลก 19. พระเป็นเจ้า พระผู้เนรมิตสร้างจักรวาลและมนุษย์ ทรงเอา พระทัยใส่ดูแลสิ่งสร้างของพระองค์ไม่ว่าจะเป็นปัจเจกชนหรือชาติใดคอย ชักจูงเขาด้วยความรักใคร่เยี่ยงบิดาให้ไปถึงจุดหมายปลายทางอันเดียวกัน แม้ว่าการขัดสู้พระเป็นเจ้าและบาปต่างๆซึ่งมีผลทำ�ให้เกิดความทุกข์ทรมาน และความตาย ได้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ตั้งแต่ปฐมกาลมาก็ตาม พระเป็นเจ้าก็ยังมิได้ทรงเลิกรักมนุษย์ที่พระองค์ได้ทรงสร้างมา และยังทำ�ให้ มนุษย์สำ�นึกรู้จักด้วยงานของพระองค์ “พระองค์ไม่ทรงต้องการการปรนนิบัติ 19


จากมือมนุษย์ ประหนึ่งว่าพระองค์ทรงขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะพระองค์ทรง เป็นผู้ประทานชีวิต ลมหายใจและทุกสิ่งให้แก่มนุษย์ทุกคน” (กจ 17:25) พระคัมภีร์ตอนหนึ่งบรรยายถึงความรักอันไม่รู้จักเหนื่อยหน่ายของพระเป็น เจ้าต่อมนุษยชาติ อย่างเร้ารึงตรึงใจที่สุดว่า “ความรักมั่นคงของพระยาห์เวห์ เปี่ยมล้นทั่วแผ่นดิน” (สดด 33:5) และอีกตอนหนึ่งว่า “จงมีลูกมาก และ ทวีจำ�นวนขึ้นจนเต็มแผ่นดิน จงปกครองแผ่นดิน จงเป็นนายเหนือปลาในทะเล นกในอากาศ และสัตว์ทุกชนิดที่เคลื่อนไหวอยู่บนแผ่นดิน” (ปฐก 1:28) ในพันธสัญญาเดิม ผู้ปรีชาคนหนึ่งภาวนาเป็นความว่าโลกทั้งโลก วางอยู่ต่อหน้าพระองค์ ไม่หนักไปกว่าเม็ดหนึ่งที่อยู่ในเครื่องชั่งหรือน้ำ�ค้าง หยดหนึ่งบนพื้นดินเวลาเช้า แต่พระองค์ทรงพระเมตตาต่อมนุษย์ทุกคน เพราะพระองค์ทรงสามารถทำ�ได้ทุกสิ่ง และพระองค์ทรงปิดพระเนตรไม่ มองบาปของมนุษย์เพื่อเขาจะได้สำ�นึกผิดด้วยว่าพระองค์ทรงรักสิ่งที่มีตัวตน ทุกอย่าง และไม่ทิ้งขว้างสิ่งใดที่พระองค์ได้สร้างมา จริงทีเดียวถ้าพระองค์ ทรงเกลียดชังสิ่งใด ก็คงมิได้สร้างมา สิ่งนั้นจะดำ�รงอยู่ต่อไปได้อย่างไร ถ้าพระองค์ไม่ประสงค์ให้มันอยู่แต่เมื่อพระองค์ทรงเอาพระทัยดูแลทุกสิ่ง เพราะทุกสิ่งนั้นเป็นของพระองค์ ข้าแต่พระเจ้าผู้ทรงรักชีวิตทั่วไป ลมปราณ อันไม่รู้จักเสื่อมเสียของพระองค์จึงแทรกซึมเข้าไปในสิ่งเหล่านั้น (เทียบ ปชญ 11:17-26) พระญาณเอื้ออาทรของพระเป็นเจ้าสำ�แดงฤทธิ์ให้ปรากฏ เมื่อ เริ่มกำ�เนิดของทุกชาติ ทุกวัฒนธรรม และทุกประเพณีนิยมทางศาสนา เพราะพระเป็นเจ้าทรงสำ�แดงองค์ให้มนุษย์รู้จักโดยอาศัยความเป็นระเบียบ เรียบร้อยในธรรมชาติ และอาศัยมโนธรรมสะกิดใจเขา “พระเจ้าทรงกระทำ� 20


ดังนี้ เพื่อให้มนุษย์แสวงหาพระเจ้า แม้จะต้องคลำ�หา เขาก็ยังพบพระองค์ ได้” (กจ 17:27) เมื่อปฏิบัติภารกิจในโลกพวกอัครสาวกก็เหมือนกับเข้าไป ในสถานที่ปฏิบัติงานของพระเป็นเจ้าเอง และสถานที่ปฏิบัติงานนี้พวกอัคร สาวกพบเห็นเครื่องหมายนับไม่ถ้วน แสดงว่าพระเป็นเจ้าสถิตอยู่แม้ว่ามนุษย์ ที่ตกเป็นทาสของบาปและแสดงความเห็นแก่ตัวและประพฤติผิดนอกลู่นอก ทางก็ตาม เพราะเหตุนี้แหละนักบุญเปาโลจึงเรียกยุคในประวัติแห่งความ รอดก่อนพระคริสตเจ้าเสด็จมาว่าเป็น “ยุคที่พระเป็นเจ้าทรงเพียรอดทน” 20. แต่มนุษย์ทุกคนไม่ได้เจริญชีวิตอยู่ในสภาพเดียวกันทั้งหมด ก่อนพระคริสตเจ้าเสด็จมา พวกอัครสาวกรู้ข้อนี้ดี ในอดีตพระเป็นเจ้าได้ทรง ปฏิบัติการพิเศษบางอย่างต่อมนุ​ุษย์ พระองค์ได้ทรงเลือกเอาชนหมู่หนึ่ง เพื่อ ปฏิบัติให้สำ�เร็จไปตามแผนการของพระองค์ คือ ประมาณ 2000 ปี ก่อน พระคริสตเจ้าจะเสด็จมา พระเป็นเจ้าได้ทรงเลือก อับราฮัม ซึ่งเป็นคนเชื้อสาย เซมิติกผู้ชอบธรรมและสุจริต ให้เป็นผู้ตั้งประชากรของพระองค์ พระเป็นเจ้า ทรงทำ�พระสัมพันธไมตรีกับท่านและครอบครัวของท่าน พระองค์ได้ขอ อับราฮัมให้สมัครใจรับข้อผูกมัดทางใจข้อหนึ่ง กับให้เคารพเชื่อฟังพระองค์ และเพื่อเป็นการตอบแทน พระองค์ทรงสัญญาจะประทานพรแก่ท่านซึ่งพร นั้นจะสืบต่อไปถึงลูกหลานทั้งหมด และอาศัยลูกหลานเหล่านั้นจะสืบต่อไป จนถึงชาติทุกชาติในโลกด้วย อาศัยสัมพันธภาพพิเศษซึ่งพระองค์ได้ตั้งขึ้นกับอับราฮัมนี้พระเป็น เจ้าได้ทรงพระดำ�ริสอดแทรกเข้ามาในประวัติศาสตร์ของชาติมนุษย์ เพื่อ ปฏิบัติให้สำ�เร็จไปตามแผนการของพระองค์ที่จะช่วยชนทุกชาติให้รอด ตาม 21


ที่พระองค์ตรัสแก่อับราฮัมว่าอาศัยบุตรหลานของท่าน พระพร (เทียบ ปฐก 12:3)

ชนทุกชาติจะได้รับ

21. หลายศตวรรษต่อมา โมเสสได้ทำ�ให้ลูกหลานของอับราฮัม สำ�นึกถึงความเป็นชาติ ซึ่งความเป็นชาตินั้นตั้งขึ้นได้ก็เพราะพระเป็นเจ้า แสดงความโปรดปรานต่างๆต่อเขา และได้ทรงทำ�พระสัมพันธไมตรีกับเชื้อ สายของอับราฮัมทั้งหมด โดย​ตรัส​วา “ท่านจะเป็นอาณาจักรสมณะ” (อพย 19:6) เพื่อประกาศพระนามของพระเป็นเจ้าต่อหน้านานาชาติ การเชื่อมพระ สัมพันธไมตรีใหม่นี้เกิดขึ้นด้วยการถือพระบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระเป็นเจ้า ได้มอบฝากแก่โมเสส โดยถือเป็นการแสดงน้ำ�พระทัยของพระองค์ บัญญัติสิบประการนั้นคือ (อพย 20:1-17,ฉธบ 5:1-21) “เราคือองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่าน” 1. จงนมัสการ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าพระองค์เดียวของท่าน 2. อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ 3. อย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ 4. จงนับถือบิดามารดา 5. อย่าฆ่าคน 6. อย่าผิดประเวณี 7. อย่าลักขโมย 8. อย่าพูดเท็จใส่ร้ายผู้อื่น 9. อย่าปลงใจผิดประเวณี 10. อย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น 22


22. เหตุผลและจุดหมายของการที่พระเป็นเจ้าทรงสอดแทรกเป็น พิเศษเช่นนี้ ก็คือ พระองค์ใคร่จะตั้งชนชาติหนึ่งซึ่งจะประกาศพระองค์ในโลก เพื่อทำ�พระสัมพันธไมตรีในที่ทั่วไปกับเพื่อเผยแสดงอย่างสมบูรณ์ เมื่อถึง กำ�หนดเวลาโดยใช้พระเมสสิยาห์เสด็จมา (คำ� “เมสสิยาห์” เป็นศัพท์ฮีบรู แปลว่า “ผู้ได้รับการเจิม ผู้ได้รับการอภิเษก”) ลักษณะพิเศษของพระสัมพันธไมตรีใหม่ ก็คือเรื่องพระเป็นเจ้า สถิตใกล้ชิดในหมู่มนุษย์กับเรื่องความเข้าใจและความรักต่อพระเป็นเจ้าแพร่ ขยายไปทั่วโลก ในหนังสือของประกาศกเยเรมีย์ มีข้อความสำ�คัญยิ่งตอน หนึ่งทำ�นายไว้ว่า “ดูซิ วันเวลาจะมาถึง เมื่อเราจะทำ�พันธสัญญาใหม่กับพงศ์ พันธุ์อิสราเอลและพงศ์พันธุ์ยูดาห์... เราจะใส่ธรรมบัญญัติของเราไว้ภายใน เขา เราจะเขียนธรรมบัญญัติไว้ในใจของเขา เราจะเป็นพระเจ้าของเขา และ เขาจะเป็นประชากรของเรา... ทุกคนจะรู้จักเรา ตั้งแต่คนเล็กน้อยที่สุดจนถึง คนใหญ่โตที่สุด” (ยรม 31:31-34) ในหนังสือประกาศกเอเสเคียล มีความ เพิ่มเป็นทำ�นองคล้ายคลึงว่า “เราจะใส่จิตใหม่ไว้ในเขา เพื่อเขาจะดำ�เนินตาม ข้อกำ�หนดของเรา” (อสค 11:19-20) 23. พระสัมพันธไมตรีใหม่นี้แหละ ที่พระเป็นเจ้าได้สถาปนาขึ้น ในพระเยซูคริสตเจ้า อัครธรรมทูตเปาโลได้กล่าวสรุปเหตุการณ์ยิ่งใหญ่ สำ�คัญนี้ว่า “เมื่อถึงเวลาที่กำ�หนดไว้ พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ ให้มาบังเกิดจากหญิงผู้หนึ่ง เกิดมาอยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อทรงไถ่ผู้ที่ อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ และทำ�ให้เราได้เป็นบุตรบุญธรรม” (กท 4:4-5) ดังนี้ พระสัมพันธไมตรีของพระเป็นเจ้ากับประชากรชาวยิวได้เจริญงอกงามอย่าง 23


เต็มที่ในพระสัมพันธไมตรีใหม่ ซึ่งมุ่งขยายไปทั่วทุกแห่ง พระเยซูคริสตเจ้า ซึ่งเป็นพระ-มนุษย์ คนกลางแห่งความรอดและพระผู้ไถ่มนุษย์ทุกคนเป็น จุดศูนย์กลางแห่งพระสัมพันธไมตรีใหม่นี้ อาศัยพระองค์พระเป็นเจ้าสถิต อยู่ในหมู่มนุษย์ ประทานพระวจนะและความสว่างซึ่งสามารถจะเปลี่ยนแปลง มนุษย์ไปถึงพระองค์ ประวัติแห่งความรอดเมื่อพระคริสตเจ้าเสด็จมาแล้ว 24. เมื่อพระศาสนจักรแรกตั้งขึ้นนั้น คริสตชนทุกคนเป็นสักขี พยานและเป็นผู้ประกาศพระคริสตเจ้า ภายในเวลาไม่กี่ปี เพราะการประกาศ ของคริสตชนหมู่แรกนี้ ความเชื่อถึงพระคริสตเจ้าได้แพร่ขยายจากประเทศ ปาเลสไตน์เข้าไปในอาณาเขตรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา ยิ่งกว่านั้น ยังเริ่มแพร่เข้าไปยังเขตภายในของทวีปเหล่านี้อีก ด้วย อัครสาวกเปโตรไปประกาศพระวรสารในประเทศซีเรียกับที่กรุงโรม และได้สิ้นชีวิตเป็นศาสนสักขีที่นครนี้ อัครธรรมทูตเปาโลได้ไปแพร่ธรรมทั่ว ดินแดนของชาวกรีกและโรมัน อัครสาวกยอห์นและโทมัสไปประกาศพระว รสารในภูมิภาคตะวันตกของทวีปเอเชีย ส่วนอัครสาวกยากอบจัดระเบียบ พระศาสนจักร ในหมู่ชาวยิวที่กลับใจในกรุงเยรูซาเล็ม ดังนี้ จึงเป็นอันสำ�เร็จ ไปตามคำ�ทำ�นายของท่านอิสยาห์ที่กล่าวถึงกรุงเยรูซาเล็มเมื่อหลายศตวรรษ ก่อนว่า “ชนชาติที่ไม่รู้จักท่านจะวิ่งมาหาท่าน” (อสย 55:5)

24


25. ถึงแม้จะลังเลใจอยู่บ้าง แต่เพราะอำ�นาจที่ได้รับจากพระจิต พวกอัครธรรมทูตก็ได้ประกาศว่า พระคุณความรอดนั้น ใครๆก็มีสิทธิ์รับ ได้ โดยไม่เลือกว่าเป็นชาติใด หรือถือกำ�เนิดมาจากที่ใด เพื่อรับพระคุณ นี้เพียงแต่เชื่อถึงพระคริสตเจ้าและนำ�พระโอวาทของพระองค์มาปฏิบัติก็ พอแล้ว แต่ละบุคคลแต่ละชาติต่างก็ได้รับเรียกให้มาถือพระวรสาร ทั้งๆที่ยัง มีคุณสมบัติทางฝ่ายกายและใจของแต่ละคน หรือแต่ละชาติอยู่ เพราะเหตุ นี้แหละ อัครธรรมทูตเปาโลจึงทำ�ตัว “เป็นยิวกับคนยิว เป็นชาวกรีกกับชาว กรีก” และประกาศบ่อยๆว่า ไม่มีคนต่างด้าว ไม่มีชาวยิว ไม่มีทาส ไม่มีนาย ต่อหน้าพระเป็นเจ้าทุกคนรวมกันเป็นครอบครัวเดียวในพระคริสตเจ้า (เทียบ 1คร 12:13) ท่านยังกล่าวอีกว่า “มีแต่พระเจ้าเดียว ความเชื่อเดียว ศีลล้างบาป เดียว พระเจ้าเดียวซึ่งเป็นพระบิดาของทุกคน อยู่เหนือทุกคน เพื่อทุกคนและ ในทุกคน” ความแตกต่างเกี่ยวกับชาติและวัฒนธรรม มิใช่แต่ไม่ถูกกำ�จัดให้ สูญไปเท่านั้น ตรงกันข้ามกลับได้รับการสนับสนุนให้เจริญงอกงามอย่างเต็ม ที่ในพระศาสนจักรด้วย 26. ดังนี้ ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มของพระศาสนจักร ความแตกต่างกัน หลายอย่างได้มีอยู่ภายในคริสตชนหมู่เดียว ซึ่งชุมนุมอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มและ กรุงโรม ที่เมืองเอเฟซัสและโครินธ์ ในหมู่ชาวเมืองอันทิโอกและชาวเมือง อเล็กซานเดรีย ทุกแห่งที่รับสารของพระคริสตเจ้า สารนั้นก็ประสานเข้ากับ คุณสมบัติฝ่ายจิตที่มีอยู่ก่อนแล้ว สิ่งอันมีคุณค่าฝ่ายศาสนาและฝ่ายมนุษย์ ของชนทุกชาติได้นำ�มาชำ�ระและยกให้สูงขึ้นในพระคริสตเจ้า ตามวาทะของ 25


นักบุญเปาโลว่า “ทุกสิ่งล้วนเป็นของพวกท่าน แต่พวกท่านเป็นของพระคริสต์ และพระคริสต์เป็นของพระเจ้า” (1คร 3:22-23) 27.ต่ อ ไปนี้ เ ป็ น การเล่ า ประวั ติ พ ระคริ ส ตศาสนาโดยสั ง เขป ภายในสี่ศตวรรษแรก พระคริสตศาสนาได้แพร่เข้าไปในภูมิภาครอบทะเล เมดิเตอร์เรเนียนในจักรวรรดิโรมัน และได้เลยเข้าไปในทวีปแอฟริกา แคว้น เมโสโปเตเมียและประเทศเปอร์เซีย ในขณะนั้น ชาวโรมันบังคับให้นับถือ ศาสนาของรัฐ ดังนั้นการนับถือพระเจ้าองค์เดียวกับพระเยซูคริสตเจ้า พระ บุตรของพระองค์ จึงถูกข่มเหงเรื่อยมา จนถึงวันที่พลเมืองทุกคนในจักรวรรดิ ได้รับเสรีภาพในการนับถือศาสนา ในศตวรรษที่ 5 เมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มจะเสื่อมโทรมลง พระ ศาสนจักรได้ตั้งมั่นอยู่ในเขตวัฒนธรรมใหญ่ๆ สามแห่งแล้วคือ เขตตะวันตก ของชาวลาติน ภายใต้อิทธิพลของกรุงโรม ซึ่งในเขตนี้ผู้สืบตำ�แหน่งต่อจาก นักบุญเปโตร “ทำ�การปกครองหมู่คริสตชนทั่วไปทั้งหมด” (ตามจดหมาย ของนักบุญอิกญาซีโอถึงชาวโรมัน) และถือว่า “เปโตรยังมีชีวิตและยังพูดอยู่ ในตัวบรรดาผู้สืบตำ�แหน่งต่อจากท่าน” ต่อไปเป็น เขตตะวันออกของชาวกรีก ภายใต้อิทธิพลของกรุงบีซันส์ กับเขตของชาวซีเรีย ภายใต้อิทธิพลของเมือง อันทิโอกและเอเดสซา ในเขตทั้งสามนี้ พระคริสตศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง ตามแบบฉบับของแต่ละชาติที่รับศาสนาไว้ กล่าวคือ ชาวโรมันเป็นผู้ชำ�นาญ ในเรื่องสัจธรรม ชาวกรีกเป็นผู้เชี่ยวชาญในทางปรัชญา ส่วนชาวซีเรียเป็นผู้ เคร่งครัดในทางบำ�เพ็ญพรต 26


ในระหว่างนั้น ทั้งสามเขตนี้ได้พยายามแพร่พระคริสตศาสนาให้ ขยายออกไปรอบข้างอย่างสงบ พระศาสนจักรที่กรุงโรม ได้ส่งธรรมทูตไป ประกาศศาสนาแก่ชาวฟรังก์ ชาวแซลติก ชาวแองโกลแซ็กซัน ชาวสลัฟ ชาว ฮังการีและ ชาวสแกนดีเนเวีย พระศาสนจักรที่กรุงบีซันส์ ได้เผยแพร่ความเชื่อเข้าไปในหมู่ชนชาติ ที่อยู่ภาคตะวันออกของทวีปยุโรป พระศาสนจักรที่เมืองอันทิโอกกับเอเดสซา ได้นำ�พระวรสารไป ประกาศในแคว้นเมโสโปเตเมีย และเปอร์เซีย และจากนั้น พระคริสตศาสนา ได้แพร่จนถึงประเทศอินเดีย ประเทศจีน และจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก ใน ขณะเดียวกัน พระคริสตศาสนาได้แพร่จากเมืองอเล็กซานเดรีย และแอฟริกา เหนือเข้าไปในประเทศเอธิโอเปีย และดินแดนอื่นๆในทวีปแอฟริกา ชีวิตของนักบุญบางองค์ได้แสดงให้เห็นประจักษ์ว่า พระศาสนจักร ในสมัยนั้นมีความเข้มแข็งและปฏิบัติถูกต้องตามความต้องการฝ่ายวิญญาณ ในยุคนั้น ชีวิตของนักบุญเหล่านั้นยังสะท้อนให้เห็นคุณสมบัติทางฝ่าย วิญญาณในสมัยนั้น ซึ่งมีมากมายหลายประการ เช่น นักบุญเอากุสตีโน ซึ่ง เป็นชาวแอฟริกานั้นเป็นนักเทวศาสตร์ที่ใจเร่าร้อนชั้นเยี่ยมยอด นักบุญยอห์น คริสซอสโตม ซึ่งเป็นชาวเอเชียน้อย เป็นนักเทศน์และนักบำ�เพ็ญพรต นักบุญ เบเนดิกต์ ซึ่งเป็นชาวโรมัน เป็นคนชอบสวดมนต์ภาวนาและทำ�งาน และเป็น บิดาของการถือพรตในภาคตะวันตกด้วย รวมความแล้ว บุคคลสำ�คัญเหล่า นี้ดูคล้ายจะเป็นประวัติของวัฒนธรรมภาคตะวันตก ไปทีเดียวก็ว่าได้

27


28. แต่น่าเสียดายที่ในระหว่างหลายศตวรรษ ความรักบูชาชาติ และความไม่เข้าใจกันต่างๆ ได้ก่อให้เกิดความบาดหมางและแตกแยกขึ้นใน หมู่คริสตชน ความผิดมีอยู่ด้วยกันทั้งสองฝ่าย เมื่อคริสตชนหลายกลุ่มใหญ่ แตกแยกจากสหพันธ์และเอกภาพของพระศาสนจักรคาทอลิก ระหว่างศตวรรษที่ 5 กับศตวรรษที่ 10 พระศาสนจักรตะวันออก กับพระศาสนจักรแห่งกรุงโรมได้แตกแยกกันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นในระยะเวลา เดียวกันนั้น ประชาคมคริสตชนทางภาคตะวันตก ต้องเผชิญกับการขยาย ตัวอย่างรวดเร็วของศาสนาอิสลามในทวีปเอเชียแอฟริกาและยุโรป พวกคริสตชนทางภาคตะวันออกและตะวันตกต้องป้องกันความเป็น เอกราชของตน และเนื่องจากปัญหาความเชื่อกับปัญหาการเมืองในขณะนั้น เกี่ยวโยงกันและกันอย่างใกล้ชิด จึงมิใช่แต่เกิดการรบราฆ่าฟันกันเท่านั้น ซ้ำ� ยังเกิดการโต้แย้งกันทางลัทธิความเชื่อถือ ทำ�ให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันอีกไม่ ได้ คริสตชนยังต้องป้องกันตัวต่อสู้กับชาวมองโกล ซึ่งในศตวรรษที่ 13 ได้ รุกมาจนถึงใจกลางทวีปยุโรปหลังจากที่ได้ทำ�ลายทุกสิ่งที่เป็นของคริสตชน ในเอเชียแล้ว อย่างไรก็ดีในสมัยเดียวกันนี้เอง พระศาสนจักรได้เป็นกำ�ลังสำ�คัญ ทำ�ให้สังคมในภาคตะวันตกเปลี่ยนแปลงไป ความเชื่อของคริสตชนได้ทำ�ให้ เกิดการพัฒนาทางสังคมและบำ�เพ็ญฌาณอย่างกว้างขวาง กับทำ�ให้เกิด ขบวนการและงานศิลปกรรมชั้นเยี่ยมยอดอย่างแท้จริง นักบุญฟรังซิส แห่ง อัสซีซี ได้ถือความร่าเริงและความยากจนตามที่พระวรสารสอน เป็นแบบ อย่างแก่คนในสมัยเดียวกับท่าน นักบุญโทมัส อไควนัส ได้สังเคราะห์ความ จริง เท่าที่พระเป็นเจ้าเผยแสดงและมนุษย์คิดหาเหตุผลได้ 28


29. ตอนปลายสมัยกลางและตอนต้นสมัยใหม่ พระศาสนจักรใน ยุโรปรู้สึกว่าจำ�เป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไข คือ ต้องฟื้นฟูศีลธรรมปรับปรุง จิตใจและปฏิบัติให้สอดคล้องกับปรัชญาในสมัยนั้น นักพรตชาวเยอรมันผู้หนึ่ง ชื่อลูเธอร์ ได้เป็นผู้ริเริ่มการปฏิรูปศาสนา และพวกเจ้านายชาวเยอรมันได้สนับสนุน การปฏิรูปนั้นเลยกลายเป็น “การ คัดค้าน” ทำ�ให้บรรดาประชาคมคริสตชนทางภาคเหนือของยุโรปแตกแยก ออกจากพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกภายในพระศาสนจักรแห่งกรุงโรม บรรดาพระสันตะปาปาและพระสังฆราชได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปอย่าง จริงจัง และการปฏิรูปนั้นก็ได้เกิดข​ ึ้นในการประชุมสังคายนาที่เมืองเตรนโต ในการประชุมสังคายนาครั้งนี้ข้อสำ�คัญแห่งคำ�สอนคริสตชนเกี่ยวกับมนุษย์ก็ ดี เกี่ยวกับเรื่องความรอดมีลักษณะแท้จริงภายในเป็นอย่างไรก็ดี ตลอดจน โครงร่างพระฐานานุกรมแห่งพระศาสนจักรก็ดี (ซึ่งพวกโปรเตสเตนท์ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ) ได้รับการนิยามอย่างแจ่มแจ้ง นักบุญจำ�นวนมากมาย ไม่ว่าพวกที่เพ่งพินิจรำ�พึง เช่น นักบุญ เทเรซา แห่งเมืองอาวีลา กับนักบุญยวงแห่งกางเขนหรือพวกที่ปฏิบัติงาน เช่น นักบุญอิกญาซีโอ ​แหงโลโยลา นักบุญชาร์ล บอร์โรเมโอ นักบุญฟรันซีส เดอซาลส์ กับพวกริเริ่มตั้งขบวนการเมตตาจิตและสังคมสงเคราะห์อีกเป็นอัน มาก ได้ปฏิบัติตามที่สภาสังคายนาที่เมืองเตรนท์สอน ในขณะเดียวกันความ ร้อนรนในงานธรรมทูตได้กลับเข้มแข็งขึ้นในพระศาสนจักร และพระวรสารได้ ถูกนำ�ไปประกาศจนถึงภูมิภาคต่างๆในทวีปเอเชีย แอฟริกาและอเมริกาซึ่ง ชาวยุโรปเพิ่งจะค้นพบ 29


30. ทุกวันนี้ในโลกซึ่งมนุษย์กระหายอิสรภาพและความเจริญ ก้าวหน้า แต่ภายในใจมีความกระวนกระวายทุกข์ร้อนนั้น พระศาสนจักร คาทอลิกพยายามเสนอพระวรสาร ซึ่งมีอานุภาพจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้หมด สิ้น พระศาสนจักรสำ�นึกถึงขอบเขตความอ่อนแอ ซึ่งทำ�ให้การประกาศเทศน์ สอนของตนมีประสิทธิภาพน้อยลง จึงทำ�การฟื้นฟูจิตใจและปรับปรุงตนให้ ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับจิตตารมณ์ของพระคริสตเจ้าและ ความต้องการของมนุษย์ในสมัยนี้มากที่สุด พระศาสนจักรปรารถนาอย่าง ร้อนแรงยิ่งขึ้น ที่จะสร้างเอกภาพอย่างสมบูรณ์ขึ้นใหม่ระหว่างคริสตชนภาค ตะวันออกกับภาคตะวันตกหลังจากได้แตกแยกกันมานานนักหนาแล้ว พระ ศาสนจักรยังมีน้ำ�ใจเผื่อแผ่หันไปหาผู้ที่มิใช่คริสตชนเป็นจำ�นวนล้านๆคนและ มีสาส์นพิเศษซึ่งจะทำ�ให้เขาบรรลุถึงชีวิต การประชุมสังคายนาวาติกันที่ 2 แสดงให้เห็นว่า พระศาสนจักร ได้พยายามอย่างยิ่ง ที่จะปฏิบัติภารกิจต่อมนุษย์ทุกคน ตามที่พระคริสตเจ้า ทรงฝากไว้ ในเรื่องนี้ พระศาสนจักรหวังพึ่งพระคริสตเจ้าที่ยังสถิตอยู่กับตน ยิ่งกว่าจะคิดพึ่งความสามารถของมนุษย์ เพราะก่อนที่จะจากไป พระองค์ได้ ตรัสแก่เขาว่า “เราอยู่กับท่านทุกวันตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ” (มธ 28:20) การสวดภาวนาและพันธะทุกอย่างของคริสตชนก็เกิดจากความเชื่อนี้แหละ “ขอให้พระวาจาขององค์พระผู้เป็นเจ้าเผยแผ่ไปอย่างรวดเร็วและได้รับการ ยกย่องดังที่เป็นไปในหมู่ท่านแล้ว” (2ธส 3:1) และเพื่อให้มนุษย์ที่มีน้ำ�ใจ ดีทุกคน รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระบิดาในพระศาสนจักรสากล ตาม ที่มีกล่าวในพระคัมภีร์ว่า “พระองค์จะทรงพำ�นักอยู่ในหมู่เขา เขาจะเป็น ประชากรของพระองค์ และพระองค์จะทรงเป็นพระเจ้าของเขา พระองค์จะ 30


ทรงเช็ดน้ำ�ตาทุกหยดจากนัยน์ตาของเขา จะไม่มีความตายอีกต่อไป จะไม่มี การคร่ำ�ครวญ การร้องไห้ และความทุกข์อีกต่อไป เพราะโลกเดิมผ่านพ้น ไปแล้ว” (วว 21:3-4)

31


บทที่ 2 ความปรีชาสุขุมแบบคริสตชน ความปรีชาสุขุมของคริสตชน 1. มนุษย์มักจะตั้งปัญหาถามตัวเอง เพราะมนุษย์เป็นนักค้นหาที่ ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อจะดำ�รงชีวิตอยู่ มนุษย์ต้องการรู้ว่าต้องทำ�อย่างไร และทำ�ไมต้องทำ�อย่างนั้น ดังนั้น แม้เมื่อมีความรู้ทางวิชาการ พอแก่ความ ต้องการทางวัตถุของชีวิตแล้ว มนุษย์ยังคิดจะขบปัญหาเรื่องชีวิตของตนต่อ ไป หมายความว่ามนุษย์นั้นหมกมุ่นจมอยู่ในโลกอันมีขอบเขต แต่มีความ ใฝ่ฝันไปถึงสิ่งอันไม่มีขอบเขต มนุษย์มักถามตัวเองว่า ชีวิตมีจุดหมายอะไรและมีความหมายอะไร ทำ�ไมจึงมีความดีกับความชั่ว ความทุกข์กับความตายมาจากไหน และมี ความหมายประการใด มีทางที่จะบรรลุถึงความสุขแท้หรือไม่มีใครตอบ ปัญหาที่ทรมานจิตใจเหล่านี้ได้ มีแต่ความเงียบงันและความไม่ยินดียินร้าย ของจักรวาลกระนั้นหรือ ตั้งแต่เกิดมาและในส่วนลึกของตนเอง มนุษย์ทั่วทั้ง โลกพยายามจะรู้ว่า ทำ�ไมตนจึงเกิดมา 2. พระเยซูเจ้าเสด็จมาในโลก ได้ตรัสอย่างมีอำ�นาจว่า “เราเป็น หนทาง ความจริง และชีวิต ไม่มีใครไปเฝ้าพระบิดาได้นอกจากผ่านทางเรา” (ยน 14:6) อัครธรรมทูตเปาโลอธิบายว่า “ในพระคริสตเยซูผู้ที่พระเจ้าทรง ตั้งให้เป็นปรีชาญาณสำ�หรับเรา ทั้งยังทรงเป็นผู้บันดาลความชอบธรรม ความ 32


ศักดิ์สิทธิ์และการไถ่กู้อีกด้วย” (1คร 1:30) ถ้าเช่นนั้นความปรีชาสุขุมของ คริสตชนก็คือองค์พระคริสตเจ้า พระองค์ทรงเป็นสะพานที่ทอดให้มนุษย์ ร่วมชิดสนิทกับพระเป็นเจ้า เป็นพระวาจาอันทรงชีวิต ซึ่งอาศัยพระวาจานั้น มนุษย์จึงรู้จักพระเป็นเจ้าพระบิดาของตน และสามารถติดต่อกับพระองค์ เยี่ยงบุตร ธรรมล้ำ�ลึกต่างๆ ซึ่งครอบคลุมชิวิตของมนุษย์ ย่อมสุกใสประจักษ์ แจ้งด้วยความสว่างของพระคริสตเจ้า เอกสารที่แสดงความปรีชาสุขุมของคริสตชน 3. ความปรีชาสุขุมของคริสตชนไม่ได้เกิดจากการค้นคว้าของมนุษย์ หรือจากการคิดหาเหตุผลของนักปรัชญาเมธี แต่เป็นผลที่เกิดจากการเผย แสดงของพระเป็นเจ้า อัครธรรมทูตเปาโลเขียนว่า “ในอดีต พระเจ้าตรัสกับ บรรพบุรุษของเราโดยทางประกาศกหลายวาระและหลายวิธี ครั้นสมัยนี้เป็น วาระสุดท้าย พระองค์ตรัสกับเราโดยทางพระบุตร” (ฮบ 1:1-2) ข้อเผยแสดงที่พระเป็นเจ้าประทานแก่มนุษย์ ก่อนพระคริสตเจ้า ประสูติมานั้น มีบันทึกอยู่ในหนังสือ 46 เล่มของพระคัมภีร์เดิม (พันธสัญญา เดิม) ส่วนข้อเผยแสดงที่พระคริสตเจ้านำ�มาเผยนั้น บรรจุอยู่ในหนังสือ 27 เล่มของพระคัมภีร์ใหม่ (พันธสัญญาใหม่) คริสตชนถือว่า หนังสือรวมกันทั้งหมดนี่เป็นพระธรรมลิขิตหรือพระ คัมภีร์ที่พึงเคารพและศึกษาอย่างไม่รู้จักเหนื่อยหน่าย หนังสือพระคัมภีร์ที่ เขียนเหล่านี้แต่งโดยผู้ประพันธ์ ซึ่งได้รับการช่วยเหลือพิเศษที่เรียกว่า “การ ดลใจ” ของพระเป็นเจ้า เพราะเรื่องที่เขากล่าวถึงนั้นมีความสำ�คัญยิ่ง การ รักษาข้อเผยแสดงของพระเป็นเจ้าไว้ให้ถูกต้องเที่ยงแท้ กับการอธิบาย 33


ตีความข้อเขียนที่บรรจุข้อเผยแสดงนั้น เป็นภาระหน้าที่ของพระศาสนจักร ซึ่ง เป็นพระเยซูเจ้าได้ตั้งไว้ สำ�หรับเป็น “พระศาสนจักรซึ่งเป็นหลักและรากฐาน ของความจริง” (1 ทธ 3:15) การที่พระศาสนจักรถ่ายทอดและสอนข้อเผย แสดงแก่มนุษย์อย่างมีอำ�นาจนี้แหละ ที่เราเรียกว่า ธรรมประเพณีของคริสต ชน (Tradition) 4. การเผยแสดงของพระเป็นเจ้านั้น ถ้ากล่าวโดยหลักสำ�คัญก็เป็น เรื่องที่เกี่ยวถึงพฤติการณ์และคำ�สอนที่กล่าวถึงการปฏิบัติของพระเป็นเจ้า ต่อมนุษย์ จิตใจของมนุษย์ไม่สามารถจะเข้าใจพฤติการณ์และคำ�สอนเหล่า นั้นโดยลำ�พังตนเองได้เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตที่เกินสติปัญญา มนุษย์ จึงสามารถเห็นแต่สิ่งที่จะใช้เป็นแนวทางเจริญชีวิตและคิดได้เพียงรางๆ เท่านั้น โดยนัยนี้ความจริงแห่งพระคริสตศาสนาหลายข้อจึงเป็น “ธรรมล้ำ� ลึก” หมายความว่าเป็นข้อความจริงศักดิ์สิทธิ์และเร้นลับ ซึ่งเราสามารถรู้ได้ อย่างคลุมเครือและอาศัยการเผยแสดง ด้วยความเชื่อที่พระเป็นเจ้าประทาน แก่มนุษย์ “​ทุก​ถ้อยคำ�​ใน​พระ​คัมภีร์​ได้​รับ​การ​ดลใจ​จาก​พระ​เจ้า และ​มี​ ประโยชน์เพื่อ​สั่งสอน ว่ากล่าว​ตักเตือน​ให้​ปรับปรุงแ​ ก้ไข​และ​อบรม​ให้​ดำ�เนิน​ ชีวิต​อย่าง​ชอบ​ธรรม คน​ของ​พระ​เจ้า​จะ​ได้​เตรียมพร้อม​และ​พร้อมสรรพ​เพื่อ​ กิจการ​ดี​ทุกอย่าง” (2 ทธ 3:16-17)

34


ธรรมล้ำ�ลึกเรื่องพระเป็นเจ้า 5. คริสตศาสนิกชนรู้ว่ามีพระเป็นเจ้าเดียวทรงชีวิตและเที่ยงแท้ เป็นปฐมเหตุของสรรพสิ่งที่มีอยู่ พระองค์นั้นทรงฤทธิ์ทุกประการดำ�รงอยู่ ในนิรันดรภาพ มีพระทัยเมตตา เป็นผู้ดีพร้อมทุกประการ โดยมีพระสติ ปัญญา น้ำ�พระทัยและพระคุณลักษณะทุกประการ พระองค์อยู่แยกจาก โลก เราแลเห็นพระองค์ไม่ได้และไม่สามารถจะเข้าใจว่าพระองค์เป็นอย่างไร แต่พระองค์ก็อยู่ใกล้ชิดมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งปวง “พระองค์ทรงเป็นผู้ ประทานชีวิต ลมหายใจและทุกสิ่งให้แก่มนุษย์ทุกคน” (กจ 17:25) เพราะเหตุนี้มนุษย์จึงสามารถรู้จักพระองค์ โดยอาศัยสรรพสัตว์ที่ ฉายให้เห็นพระองค์ในฐานะเป็นปฐมเหตุของชีวิตและเป็นความดีพร้อมของ สรรพสัตว์เหล่านั้น ตามที่นักบุญเปาโลกล่าวว่า “ทั้งๆ ที่พระเจ้าทรงทำ�ให้สิ่ง ที่รู้ได้เกี่ยวกับพระองค์ปรากฏชัดอยู่แล้ว กล่าวคือ ตั้งแต่เมื่อทรงสร้างโลก คุณลักษณะที่ไม่อาจแลเห็นได้ของพระเจ้า คือพระอานุภาพนิรันดรและเทว ภาพของพระองค์ปรากฏอย่างชัดเจนแก่ปัญญามนุษย์ในสิ่งที่ทรงสร้าง ดัง นั้น คนเหล่านี้จึงไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ” (รม 1:19-20) 6. เมื่อรู้ว่ามนุษย์สามารถรู้จักพระเป็นเจ้า และพระเป็นเจ้าก็สถิต อยู่ใกล้มนุษย์เช่นนี้ คริสตชนก็ยกย่องถือคารวะกิจและศาสนกิจทุกแบบ ได้อย่างมั่นใจ โดยเห็นเป็นเครื่องหมายแสดงว่าพระเป็นเจ้าเอาพระทัยใส่ สอดส่องมนุษยชาติทั้งสิ้นบังเกิดจากคนๆ เดียวและทวีแพร่ไปทั่วพื้นแผ่นดิน “ทั้งๆ ที่พระเจ้าทรงทำ�ให้สิ่งที่รู้ได้เกี่ยวกับพระองค์ปรากฏชัดอยู่แล้ว กล่าว คือ ตั้งแต่เมื่อทรงสร้างโลก คุณลักษณะที่ไม่อาจแลเห็นได้ของพระเจ้า คือ 35


พระอานุภาพนิรันดรและเทวภาพของพระองค์ปรากฏอย่างชัดเจนแก่ปัญญา มนุษย์ในสิ่งที่ทรงสร้าง ดังนั้น คนเหล่านี้จึงไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ” (กจ 17:2628) 7. ชีวิตของพระเป็นเจ้าก็คือความรู้แจ้งและความรักอย่างสุดล้นพ้น ประมาณ พระเยซูเจ้าได้เผยความไพบูลย์แห่งชีวิตภายในของพระเป็นเจ้า นี้ โดยตรัสเป็นภาพเปรียบเทียบและคำ�พูดที่ยืมมาจากชีวิตมนุษย์ เพราะ ความรัก พระบิดาทรงใช้พระบุตรแต่องค์เดียวมาในโลก เพื่อนำ�มนุษย์ไปหา พระองค์ พระบิดากับพระบุตรทรงใช้พระจิตมาเพื่อให้มนุษย์ศักดิ์สิทธิ์และ เป็นลูกของพระเป็นเจ้า เพราะเหตุนี้คริสตชนจึงเชื่อถึงพระบิดา พระบุตรและ พระจิต ซึ่งเป็นพระเป็นเจ้าหนึ่งเดียวดำ�รงอยู่ในสามพระบุคคล ซึ่งมีธรรมชาติ พระเป็นเจ้าอย่างเดียวกัน เป็นเรื่องที่เหลือวิสัยที่มนุษย์จะอธิบายชี้แจงให้ เข้าใจลึกซึ้งได้เมื่ออยากจะขบคิดธรรมล้ำ�ลึกข้อนี้ แต่ชีวิตของคริสตชนจะเข้ม แข็งก็ด้วยธรรมล้ำ�ลึกข้อนี้เอง เพราะสามพระบุคคลแต่ละองค์เป็นผู้ช่วยให้ มนุษย์รอด 8. อัตถ์ลึกซึ้งเรื่องมีสามพระบุคคลในพระเป็นเจ้านั้น เป็นเรื่อง ที่ไม่สามารถอธิบาย เพราะเกินสติปัญญามนุษย์ที่จะเข้าใจได้ แต่เทววิทยา ของคริสตชนได้คิดหาตัวอย่าง ที่มนุษย์ค้นและพอจะเอาชีวิตของพระเป็นเจ้า มาเปรียบได้ เช่น เอามาเปรียบเทียบกับกำ�ลังในตัวมนุษย์ระหว่างดวงจิตที่ “คิด” กับดวงความคิดที่ “เกิด” ขึ้น เพราะเหตุนี้พระบุคคลที่สองในพระตรี เอกภาพจึงเรียกเป็น “พระบุตร” ของพระบิดา หรือ “พระวจนาตถ์” ส่วนพระ 36


บุคคลที่สามถือว่าเป็นความรักระหว่างพระบุคคลทั้งสอง เราจึงมักเรียกพระ จิตว่าเป็นองค์ความรัก จินตกวีคริสตชนโบราณผู้หนึ่งประพันธ์ไว้ว่า “ท่านอาจจะนึกเห็น พระอาทิตย์เป็นรูปหมายถึงพระบิดา นึกถึงความสว่างเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ เป็นรูปหมายถึงพระบุตร และนึกเข้าใจความร้อนแรงของดวงอาทิตย์เป็น รูปหมายถึงพระจิต แต่ถึงเช่นนี้ ก็เป็นของอันเดียวกัน ใครเลยจะสามารถ อธิบายสิ่งที่เข้าใจไม่ได้ (นักบุญเอเฟรม) ธรรมล้ำ�ลึกของการสร้างสรรค์ 9. พระเป็นเจ้าทรงเป็นต้นกำ�เนิดของทุกสิ่ง อย่างไรก็ดีสิ่งสร้างนั้น มีเป็นชั้นๆ ซึ่งสูงขึ้นเป็นลำ�ดับ คือจากวัตถุเบื้องต้นผ่านสิ่งที่เป็นอินทรีย์และ มีชีวิต จนถึงขั้นที่มีชีวิตฝ่ายจิตเรียกว่ามนุษย์และบนชั้นสุดยอด ก็มีที่เป็น จิตล้วน เรียกว่า ทูต​สวรรค (เทวดา) ไม่ว่าสิ่งใดที่ดำ�รงอยู่ ก็เป็นสิ่งที่พระ เป็นเจ้าสร้างมา พระเป็นเจ้าทรงเนรมิตสิ่งต่างๆ มา ก็เพื่อให้มีส่วนในความ ดีพร้อมและในความรักของพระองค์ ในพระคัมภีร์ตั้งแต่หน้าแรกๆ กล่าวถึง กำ�เนิดของจักรวาล และมนุษย์ซึ่งพระองค์เป็นผู้สร้างแต่ผู้เดียว เป็นอุปมา โวหารธรรมดาๆแต่ลึกซึ้งมาก การที่พระเป็นเจ้าให้กำ�เนิดแก่สิ่งต่างๆ โดยให้เกิดขึ้นจากความดี พร้อมของพระองค์นั้น เราเรียกว่า “เนรมิต” พระคัมภีร์อธิบายอานุภาพอัน มหัศจรรย์นี้โดยกล่าวว่า พระเป็นเจ้าทรงเนรมิตด้วยพระวาจาของพระองค์ พระคัมภีร์ยังกล่าวว่า “พระเจ้าทรงเห็นว่าทุกสิ่งที่ทรงสร้างนั้นดีมาก” (ปฐก 1:31) หมายความว่าทุกสิ่งที่พระเป็นเจ้าสร้างนั้น ล้วนเป็นสิ่งดีอยู่ในตัวของ 37


มันเอง ข้อเผยแสดงของพระเป็นเจ้าไม่บอกว่าจักรวาลและมนุษยชาติ ได้ เจริญขึ้นด้วยวิธีใดและไม่บอกว่าทฤษฎีเรื่องวิวัฒนาการซึ่งวิทยาศาสตร์สมัย นี้มองเห็นรางๆนั้น มีคุณค่าหรือไม่ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีที่กล่าวนี้สอดคล้อง กับทัศนะของพระคัมภีร์ ซึ่งถือว่ามนุษย์มาเป็นลำ�ดับสุดท้ายในบรรดาสิ่ง ต่างๆที่พระเป็นเจ้าสร้างมาในโลก 10. พระเป็นเจ้าทรงประเสริฐกว่าโลกและมนุษย์อย่างสุดที่จะ ประมาณได้ เป็นผู้แตกต่างกับโลกและมนุษย์อย่างหาที่เปรียบมิได้ แต่ถึง กระนั้น พระองค์ก็มิใช่ว่าจะสนใจไยดีต่อมนุษย์ตรงกันข้ามพระองค์อยู่กับสิ่ง สร้างทั้งหลาย ทรงบำ�รุงรักษาให้ดำ�รงอยู่และคอยนำ�ทางไป สนิทใกล้ชิดกับ มนุษย์ ยิ่งกว่ามนุษย์ใกล้ชิดกับมนุษย์เองเสียอีก สิ่งที่พระเป็นเจ้าทรงสร้าง มาทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์เป็นดังกระจกสะท้อนให้เห็นพระปรีชา ญาณ และความยิ่งใหญ่ของพระเป็นเจ้า ตามที่กล่าวในหนังสือเพลงสดุดีว่า ข้าแต่พระยาห์เวห์ พระเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระนามของพระองค์ ช่างยิ่งใหญ่ทั่วแผ่นดิน คำ�สรรเสริญพระองค์ขึ้นไปถึงฟากฟ้า เมื่อข้าพเจ้าแหงนมองท้องฟ้า ซึ่งนิ้วพระหัตถ์บรรจงสร้างไว้ มองดูเดือนดูดาวที่พระองค์ทรงประดับไว้อย่างมั่นคง มนุษย์เป็นใคร พระองค์จึงทรงระลึกถึงเขา บุตรแห่งมนุษย์เป็นใคร พระองค์จึงต้องทรงเอาพระทัยใส่ ถูกแล้ว พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้ด้อยกว่าทูตสวรรค์เพียงน้อย นิด 38


ประทานความรุ่งโรจน์และเกียรติยศให้เป็น เสมือนมงกุฎประดับ ศีรษะ ทรงแต่งตั้งเขาให้เป็นเจ้านายของผลงานทั้งมวลจากฝีพระหัตถ์ และทรงวางสรรพสิ่งไว้ใต้เท้าของเขา ฝูงแพะแกะ และปศุสัตว์ทั้งปวง รวมทั้งสัตว์ป่าทั้งหลาย” (สดด 8:1,4-7) ความยิ่งใหญ่และความน่าสมเพชของมนุษย์ 11. ความยิ่งใหญ่ของมนุษย์อยู่ตรงที่มนุษย์สามารถทำ�ให้สิ่งที่พระ ทรงสร้างมาสมบูรณ์ดียิ่งขึ้น และชักจูงไปหาพระเป็นเจ้าซึ่งเป็นจุดหมาย ปลายทางและเป็นเจ้านายของทุกสิ่ง พระเป็นเจ้าโปรดให้มนุษย์มีสติปัญญา และเจตจำ�นงอิสระ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงอำ�นาจอธิปไตยของมนุษย์ เพราะถ้าจะรักพระองค์ ก็ต้องรักโดยสมัครใจเท่านั้น จึงจะเป็นที่สบพระทัย พระองค์ การที่มนุษย์มีเสรีภาพที่จะจงใจขัดสู้พระเจ้าได้ง่ายๆ เท่ากับ สามารถจะอ่อนน้อมต่อพระองค์นั้น ต้องนับเป็นธรรมล้ำ�ลึกที่เข้าใจยากแต่ ประสบการณ์แสดงว่าเรื่องนี้เป็นไปได้ และพระคัมภีร์ก็ยืนยันว่าเรื่องนี้ได้ อุบัติเป็นไปแล้ว นับเป็นโศกนาฎกรรมสำ�คัญที่ทำ�ลายความเป็นระเบียบของ มนุษยชาติและประวัติศาสตร์ บิดามารดาคู่แรกของมนุษย์ ซึ่งพระเป็นเจ้าทรง สร้างมาเพราะรักและเพื่อให้ไปถึงพระองค์นั้น ได้คิดกบฏต่อพระองค์เพราะ ความเย่อหยิ่ง และความเห็นแก่ตัวตั้งตัวเองขึ้นเป็นผู้วินิจฉัยความดีความชั่ว และผู้ทำ�ทุกสิ่งเพื่อประโยชน์ของตน นี่แหละคือความหมายของเรื่องที่เล่าเป็น 39


คำ�เปรียบเทียบให้เข้าใจ หมายถึงความผิดของมนุษย์คู่แรก คืออาดัมและ เอวา ในตอนแรกของพระคัมภีร์ 12. ดังนั้นมนุษยชาติทั้งมวลจึงพากันพินาศไปตามความผิดของ บิดามารดาเดิม พระคัมภีร์เล่าว่ามนุษย์คู่แรกเป็นคนดี มิใช่ในความหมาย ว่าดีอย่างที่ใครๆ ในโลกเป็นโดยธรรมชาติเท่านั้น แต่ในความหมายว่าเขา เป็นคนศักดิ์สิทธิ์เต็มเปี่ยมไปด้วยพระคุณของพระเป็นเจ้า กับดำ�รงสนิท ด้วยชีวิตและมิตรภาพกับพระองค์ ความศักดิ์สิทธิ์กับการมีชีวิตร่วมสนิทกับ พระเป็นเจ้านี้แหละที่ได้ถูกทำ�ลายสูญเสียไปเพราะความผิดแรกของบิดา มารดาเดิมของเรา มนุษย์เปรียบเหมือนถูกปล้นจนสิ้นเนื้อประดาตัว และต้อง กระวนกระวายทั้งภายในใจตนเองทั้งในการติดต่อกับโลกภายนอก บาปประการแรกนั้นได้หว่านเชื้อการคิดกบฏลงในจิตใจของมนุษย์ และทำ�ให้สติความคิดขัดสู้กับเจตจำ�นง ความสับสนวุ่นวายในโลก และโดย เฉพาะอย่างยิ่งความตาย ต้องนับเป็นผลที่เกิดขึ้นเพราะบาปนี้ อัครธรรมทูต เปาโลยืนยันว่า “บาปเข้ามาในโลกเพราะมนุษย์คนเดียว และความตายเข้า มาเพราะบาปฉันใด ความตายก็แพร่กระจายไปถึงมนุษย์ทุกคนเพราะทุกคน ทำ�บาปฉันนั้น” (รม 5:12) เพราะเหตุนี้ซาตาน คือทูต​สวรรค (เทวดา) ที่ได้ กบฏต่อพระเป็นเจ้า และได้เป็นผู้ชักนำ�ให้บิดามารดาเดิมของเราถูกทดลอง ใจนั้น จึงได้กลายเป็นไปตามที่พระเยซูเจ้าเรียกว่า “เจ้าแห่งโลกนี้” 13. ที่กล่าวมานี้มิได้หมายความว่า มนุษย์และโลกได้กลายเป็นสิ่ง ชั่วช้าจนถึงแก่น แต่ยังคงเป็นสิ่งสร้างของพระเป็นเจ้าจึงยังมีพื้นฐานที่ดีอยู่ 40


พระคัมภีร์กล่าวว่า “พระองค์ทรงเนรมิตทุกสิ่งให้ดำ�รงคงอยู่ บรรดาสิ่งสร้าง ในโลกล้วนมีอยู่เพื่อชีวิต” (ปชญ 1:14) แม้เมื่อทำ�ผิดครั้งแรกแล้ว มนุษย์ก็ ยังสามารถประกอบความดีได้ และเป็นอิสระที่จะยอมหรือไม่ยอมให้ ธรรมชาติฝ่ายต่ำ�ชักพาไป โดยที่บางครั้งต้องขืนตัวอย่างยากลำ�บาก เขายัง มีความคิดถึง ยังต้องการพระเป็นเจ้าและต้องการชีวิตที่ไม่รู้จักตาย ซึ่งบาง ครั้งก็เป็นเช่นนั้นโดยเขาไม่รู้สึกตัว นี่แหละคือมูลเหตุที่ทำ�ให้ชนทุกชาติทำ�การ ค้นหาเกี่ยวกับศาสนาและทำ�ให้จิตใจของมนุษย์มีความกระวนกระวายอย่าง สุดประมาณ เพราะจิตใจนั้นจะไม่รู้จักอิ่มตราบเท่าที่ยังไม่นิ่งสงบในพระเป็น เจ้า ธรรมล้ำ�ลึกเรื่องความรอดในพระคริสตเจ้า 14. ถึงแม้มนุษย์ทำ�ผิดแต่แรกเริ่ม พระเป็นเจ้าก็ยังคงรักมนุษย์ ตามข้อเผยแสดง พระเป็นเจ้าได้สัญญาแก่มนุษยชาติว่าจะประทานพระผู้ไถ่ องค์หนึ่ง ดังนี้ ตั้งแต่ต้นประวัติศาสตร์ของมนุษย์เราก็ทราบว่าพระเป็นเจ้าจะ เสด็จมากอบกู้มนุษย์ จะทรงช่วยเราให้รอดและจะฟื้นฟูงานเนรมิตสร้างของ พระองค์เสียใหม่ เพราะเหตุนี้ พระศาสนจักรจึงกล่าวในบทภาวนาบทหนึ่งว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เมื่อสร้างมนุษยชาติ พระองค์โปรดให้มีศักดิ์ศรีอย่างน่า พิศวง ครั้นเวลาไถ่เล่า พระองค์ก็ทรงฟื้นฟูอย่างน่าพิศวงกว่านั้นไปอีก” และ พระศาสนจักรกล้าเรียกความผิดแรกของมนุษย์ว่าเป็นความผิด “ที่มีบุญ” เพราะได้เป็นเหตุให้เราได้พระผู้ไถ่ผู้ล้ำ�เลิศ คือองค์พระคริสตเจ้า

41


15. พระเยซูคริสตเจ้าเป็นทั้งศูนย์กลางและผู้สร้างประวัติแห่งความ รอด ตามแผนการของพระเป็นเจ้าประวัติของมนุษยชาติรวมจุดมาที่พระองค์ ทุกสิ่งจะต้องรื้อฟื้นให้กลับมีชีวิตในพระองค์ ประวัติแห่งความรอดนั้น เป็น ประวัติเล่าเรื่องความรักอย่างเพียรอดทนและถือสัตย์ของพระเป็นเจ้ากับเล่า เรื่องความโลเลเหลวไหลของมนุษย์ พระคัมภีร์บรรยายให้เราเห็นพระทัยดี ของพระเป็นเจ้าต่อมนุษยชาติ เมื่อกล่าวถึงการทำ�พระสัมพันธไมตรีหลาย ครั้งหลายหน ทุกครั้งที่ทำ�พระสัมพันธไมตรี พระเป็นเจ้าสัญญาจะประทาน ความรอด และเหมือนกับผูกมัดพระองค์ว่าจะรักษาคำ�สัตย์ต่อมนุษยชาติ ทั้งมวล ครั้งแรกพระองค์ทรงสัญญากับอับราฮัม ต้นตระกูลของชนชาติยิว ต่อไปทรงสัญญากับโมเสสผู้ตั้งกฎหมายและกอบกู้ชาวยิว ว่าจะให้ความ ปกป้องคุ้มครองเป็นพิเศษ 16. ที่สุดพระเป็นเจ้าได้เสด็จมาถึงมนุษยชาติอย่างประหลาด มหัศจรรย์ กล่าวคือ พระบุตรแห่งพระเจ้าได้รับเอาธรรมชาติมนุษย์อย่าง แท้จริงด้วยพระองค์เอง โดยถือกำ�เนิดจากพระนางพรหมจารีมารีอา ตามน้ำ� พระทัยของพระบิดาและด้วยพระฤทธานุภาพของพระจิต ด้วยประการฉะนี้ พระเยซูคริสตเจ้าพระบุตรของพระนางมารีย์ จึงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ ตามที่นักบุญยอ​หน กล่าวว่า “พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์ และเสด็จ มาประทับอยู่ในหมู่เรา เราได้เห็นพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ เป็นพระสิริ รุ่งโรจน์ที่ทรงรับจากพระบิดา ในฐานะพระบุตรเพียงพระองค์เดียวเปี่ยมด้วย พระหรรษทานและความจริง” (ยน 1:14) 42


17. การร่วมชิดสนิทระหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่ง ความชื่นชม และความหวังอันไม่รู้จักเหือดแห้งสำ�หรับมนุษยชาติทั้งมวลนั้น ได้เป็นอันสำ�เร็จไปในองค์พระคริสตเจ้าในพระองค์นั้นพระเทวภาพสถิตอยู่ อย่างครบบริบูรณ์ และความรักของพระเป็นเจ้าเป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่มนุษย์ ทั้งหลาย ในพระองค์นั้น พระเป็นเจ้าได้มาแบ่งเอาชีวิตมนุษย์ตลอดจนความ หวังและวิตกกังวลในชีวิตทุกอย่างเพื่อจะได้อยู่ในหมู่มนุษย์ เป็นมนุษย์คน ใหม่ ซึ่งร่วมสนิทอย่างแท้จริงกับพระเป็นเจ้าและพี่น้องเพื่อนมนุษย์ ในพระ คริสตเจ้ามนุษย์ทุกคนสามารถพบความรอดโดยร่วมชิดสนิทกับพระองค์ด้วย ความเชื่อและประพฤติถือตามแบบชีวิตและพระโอวาทของพระองค์ 18. ด้วยการสิ้นพระชนม์ พระคริสตเจ้าทรงทำ�หน้าที่เป็นสงฆ์และ ผู้แทนมนุษยชาติทั้งมวล โดยอุทิศถวายชีวิตของพระองค์ เป็นเครื่องบูชา อันเลิศประเสริฐแด่พระเป็นเจ้า การที่พระคริสตเจ้าถวายพระองค์แด่พระ บิดา โดยมีความรักและเคารพเชื่อฟังเยี่ยงบุตรนั้น ถือเป็นการฟื้นฟูการร่วม สนิทซึ่งได้เสียไประหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์ “มวลมนุษย์กลายเป็นคนบาป เพราะความไม่เชื่อฟังของมนุษย์คนเดียวฉันใด มวลมนุษย์ก็จะเป็นผู้ชอบ ธรรม เพราะความเชื่อฟังของมนุษย์คนเดียวฉันนั้น…ที่ใดบาปทวีขึ้น ที่นั่น พระหรรษทานก็ยิ่งทวีขึ้นมากกว่า” (รม 5:19-20) 19. แต่พระเยซูเจ้าได้กลับเป็นขึ้นมาจากความตาย และการกลับ เป็นขึ้นมาของพระองค์นั้น ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่สุดในทุกสมัย “ความ ตายเอ๋ย ชัยชนะของเจ้าอยู่ที่ไหน” ในฐานะเป็นหัวหน้าและผลแรกเกิดแห่ง 43


มนุษยชาติใหม่ บัดนี้พระเยซูนำ�มนุษย์ทุกคนไปถึงพระเป็นเจ้าอย่างแน่นอน และให้ความมั่นใจว่าจะได้กลับเป็นขึ้นมาแบบเดียวกับพระองค์ เพราะอัตถ์ ลึกซึ้งเรื่องพระเยซูเจ้ากลับเป็นขึ้นมาได้สำ�เร็จเสร็จสิ้นไปในธรรมล้ำ�ลึกเรื่อง พระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ กล่าวคือพระเยซูเจ้าได้เอาพระธรรมชาติมนุษย์ที่ได้ รับการยกย่อง เข้าไปในพระเกียรติมงคลของพระบิดา พระคริสตเจ้าเป็นผู้ แทนมนุษยชาติทั้งสิ้น ต่อหน้าพระเป็นเจ้า เป็นผู้เสนอวิงวอนและเป็นคนกลาง ในฐานะเป็นประมุขประชากรของพระเป็นเจ้า พระองค์เสนอความใฝ่ฝัน น้ำ�ตา และความปรารถนาที่จะนำ�เรา​กลับไปสูพระ​ ​ บิดา พระองค์ประทานพระจิต และพระคุณทุกชนิดแก่ประชากรของพระองค์ พระจิตกับความรอดของแต่ละคน 20. พระเยซูเจ้านำ�ความรอดมาถึงมนุษย์ ก็โดยอาศัยที่มนุษย์มี ความเชื่อ ความเชื่อคือการยึดมั่นอย่างฝังจิตฝังใจในพระเป็นเจ้าและ พระคริสตเจ้า ผู้ที่มีความเชื่อ ย่อมได้รับพระจิตที่พระบิดาและพระบุตร ประทานให้ พระจิตที่สถิตอยู่ในคริสตชนนั้นทำ�ให้คริสตชนเหมือนมีลักษณะ เป็นพระเจ้าและร่วมสนิทกับพระเยซูคริสตเจ้าและพระบิดาโดยมีชีวิตร่วมกัน และจะร่วมอย่างสนิทสมบูรณ์เมื่อตายแล้ว ตามพระวจนะที่พระคริสตเจ้าตรัส ว่า “ผู้ใดรักเรา ผู้นั้นจะปฏิบัติตามวาจาของเรา พระบิดาของเราจะทรงรักเขา พระบิดาจะเสด็จพร้อมกับเรามาหาเขา จะทรงพำ�นักอยู่กับเขา” (ยน 14:23) การที่พระจิตสถิตอยู่ภายในตัวมนุษย์นั้น ไม่ได้ทำ�ให้พระเป็นเจ้ากับ สิ่งสร้างเป็นตัวบุคคลเช่นเดียวกัน องค์พระจิตไม่ได้กลืนบุคลิกลักษณะของ ตัวมนุษย์ให้หายไป มนุษย์ยังคงเป็นสิ่งสร้างที่อ่อนแอยังรู้จักถูกล่อลวงให้ 44


ทำ�ผิดอยู่ แต่พระจิตสามารถรักษาเขาให้หายจากความอ่อนแอทางใจ และ ช่วยให้พ้นจากความเป็นทาสต่อราคะตัณหาและความเห็นแก่ตัว โปรดให้มี พละกำ�ลังและความหวัง ซึ่งเป็นผลจากการที่พระเป็นเจ้าสถิตอยู่ พระจิตส่อง สว่างให้เขาเดินตามทางแห่งความดี และทำ�ให้เขาเกิดความรู้สึกใน “ความ รัก ความชื่นชม ความสงบ ความอดทน ความเมตตา ความใจดี ความ ซื่อสัตย์ ความอ่อนโยน และการรู้จักควบคุมตนเอง” (กท 5:22-23) เพราะ เหตุนี้แหละ คริสตชนจึงวิงวอนขอพระจิตช่วย โดยถือเป็น “พระอาคันตุกะ” ของตน อาศัยพระหรรษทานของพระเป็นเจ้าช่วย ความใกล้ชิดกับพระจิต นี้บางครั้งอาจเจริญถึงขั้นสนิท จนฝ่ายที่เป็นมนุษย์ดูประหนึ่งเปลี่ยนแปลง และจมอยู่ในความสว่างแห่งความรักของพระเป็นเจ้านี่เป็นจุดสูงสุดของการ บำ�เพ็ญพรตแบบคริสตชน ซึ่งมีนักบุญหลายองค์บรรลุถึง 21. อาศัยความสว่างของพระจิต คริสตชนอาจมองเห็นความ เสื่อมโทรมและความทุกขเวทนา ซึ่งมนุษย์อาจตกไปถึงได้ ถ้าไม่ปราบ ธรรมชาติฝ่ายต่ำ�ของตน นักบุญเปาโลระบุความชั่วต่อไปนี้ว่าเป็นความชั่วที่ “กิจการของธรรมชาติมนุษย์นั้นปรากฏชัดแจ้ง คือ การผิดประเวณี ความ ลามกโสมม การปล่อยตัวตามราคตัณหา การกราบไหว้รูปเคารพ การใช้ เวทมนตร์คาถา การเป็นศัตรูกัน การทะเลาะวิวาท ความอิจฉาริษยา ความ โกรธเคือง การแก่งแย่งชิงดี การแตกแยก การแบ่งพรรคแบ่งพวก การ เมามาย การสำ�มะเลเทเมา และอีกหลายประการในทำ�นองเดียวกันนี้” (กท 5:19-21) 45


22. การที่พระเป็นเจ้าสถิตอยู่ในวิญญาณและทำ�ให้วิญญาณ เปลี่ยนแปลงไปดังนี้ เราเรียกว่า พระหรรษทานศักดิ์สิทธิกร หรือ พระหรรษ ทานเฉยๆ การพูดถึงใครคนหนึ่งว่าเขาอยู่ในศีลในพรของพระ หรือมีชีวิต ของพระคริสตเจ้าในตัว หรือเป็นลูกของพระ หรือมีพระหรรษทานของพระ ถือเป็นสำ�นวนพูดสื่ออย่างที่มีความหมายเหมือนกัน สำ�หรับกล่าวถึงธรรม ล้ำ�ลึกเรื่องความรอดของพระคริสตเจ้า นักบุญเปาโลกล่าวว่า ธรรมล้ำ�ลึก ข้อนี้ปิดปังมิให้คนในสมัยก่อนเข้าใจแต่บัดนี้ได้เผยให้เห็นเป็นที่เข้าใจแล้ว “พระคริสตเจ้าทรงดำ�รงอยู่ในท่าน ทรงเป็นความหวังเพื่อให้ท่านได้รับความ รุ่งเรือง” (คส 1:27) การที่พระเป็นเจ้าสถิตอยู่นี้ กระตุ้นคริสตชนให้ก้าวไป หาพระองค์ด้วยความเชื่อ ความไว้ใจ และความรัก ธรรมล้ำ�ลึกเรื่องพระศาสนจักร 23. อาศัยพระคุณของพระจิต คริสตชนได้เข้าในประชาคมฝ่ายจิต คือพระศาสนจักร และผู้ที่เป็นศูนย์ของพระศาสนจักรก็คือพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ไถ่มนุษยชาติ พระศาสนจักรรวบรวมบรรดาผู้ที่เชื่อถึงพระเยซูคริสตเจ้า ได้รับศีลล้างบาปและเป็นพยานประกาศพระองค์ในโลก โดยร่วมมือในงาน ความรอดของพระองค์ 24. บ่อยครั้งเราเปรียบพระศาสนจักรเป็นร่างกาย ซึ่งมีพระคริสต เจ้าเป็นศรีษะและพระจิตเป็นวิญญาณ นับเป็นร่างกายที่มีชีวิตและกำ�ลังเจริญ เติบโต เรายังเรียกพระศาสนจักรว่า “ประชากรของพระเป็นเจ้า” ที่พระเยซู คริสตเจ้าได้ทรงไถ่และพระจิตเจ้าทำ�ให้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะพระเป็นเจ้าไม่มีพระ 46


ประสงค์ช่วยให้มนุษย์รอดเป็นคนๆโดยไม่เกี่ยวพันถึงกันและกัน แต่มีพระ ประสงค์รวมมนุษย์ให้เป็นประชากรที่จะเป็นสื่อทำ�ให้เกิดเอกภาพ ความหวัง และความรอดสำ�หรับมนุษยชาติทั้งมวล ทั้งจะเป็นดังเกลือที่ทำ�ให้อาหารทุก ชนิดมีรส กับเป็นความสว่างส่องแสงใหกับทุกคน โดยไม่ฝืนความสมัครใจ ของเขา มนุษย์ทุกคนได้รับเชิญให้มาเข้าพระศาสนจักร โดยไม่เลือกว่าชาติ ใด ถือวัฒนธรรมอะไรและเป็นคนชั้นไหน เพราะฉะนั้น พระศาสนจักร จึง ภาวนาและทำ�งาน เพื่อให้มนุษย์ทุกคนมาเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า รับ พระจิต และพึ่งพระคริสตเจ้าผู้เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง จะได้ถวายพระ เกียรติยศและพระเกียรติมงคลแด่พระบิดาผู้ทรงเนรมิตจักรวาล 25. ถึงแม้ว่าพระศาสนจักรประกอบด้วยมนุษย์ แต่พระศาสนจักร ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้นเหมือนสังคมอื่นๆ หากเป็นสิ่งที่พระเจ้าตั้งขึ้น เพราะผู้ ตั้งพระศาสนจักรเป็นพระเยซูคริสตเจ้าซึ่งเป็นพระเจ้า พระเป็นเจ้าเรียกมนุษย์ ทั้งหลายให้มาเข้าในพระศาสนจักรอยู่ตลอดเวลา โดยพระจิตดลใจเขาให้มา ถือความเชื่อ ดังนี้การมีชีวิตร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่มีหน้าที่และการ งานต่างๆกันภายในพระศาสนจักรจึงมิใช่มีต้นกำ�เนิดมาจากมนุษย์ แต่มา จากพระเป็นเจ้า 26. ประมุขของพระศาสนจักรคือพระสันตะปาปา ผู้สืบตำ�แหน่ง ต่อจากนักบุญเปโตร เป็นรากฐานและเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นได้ว่า ประชากรของพระเป็นเจ้าร่วมชิดสนิท และมีความเชื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 47


พระสันตะปาปาประทับอยู่ที่กรุงโรม ไม่มีอำ�นาจทางการเมืองแต่รับผิดชอบ ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั่วไปของมนุษย์ทุกคนอีกด้วย พระศาสนจักรตั้งอยู่ใน ภูมิภาคส่วนต่างๆของโลก ปกครองโดยบรรดา พระสังฆราช ซึ่งเป็นผู้สืบ ตำ�แหน่งต่อจากอัครสาวก และบรรดาพระสังฆราชก็มีพระสงฆ์ และสังฆานุ กร เป็นผู้ช่วยอีกชั้นหนึ่ง บรรดาพระสังฆราชต้องเคารพเชื่อฟังพระสันตะปาปา และร่วมมือ กับพระสันตะปาปา รับผิดชอบในการปกครองพระศาสนจักรสากลด้วย พระ สันตะปาปาและบรรดาพระสังฆราชกับพระสงฆ์เป็นผู้ประกาศความเชื่อในหมู่ ประชากรของพระเป็นเจ้า เมื่อประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ ท่านเหล่านั้นก็ประ สาทพระหรรษทาน เมื่อสอนและทำ�ตนเป็นแบบฉบับ ท่านก็นำ�ทางสัตบุรุษ ไปด้วยอำ�นาจที่ได้รับจากพระคริสตเจ้าอำ�นาจที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เป็นการกดขี่ บังคับ แต่เป็นการรับใช้ประชากรของพระเป็นเจ้า เพื่อให้เจริญเติบโตและ แพร่ขยายไปในโลก 27. ฆราวาสเต็มใจร่วมกับนายชุมพาบาลของตน เพื่อแผนการความ รอดของพระเป็นเจ้า จะได้ดำ�เนินไปถึงมนุษย์ทั่วโลกอย่างกว้างขวางมากยิ่ง ขึ้น ฆราวาสตอบสนองการที่พระเป็นเจ้าเรียกให้มาร่วมมือในภารกิจทั่วไป ของพระศาสนจักรโดยอุตส่าห์ทำ�งานปรกติในครอบครัว ในธุระการงานและ ในสิ่งที่มีคุณค่าฝ่ายโลกทุกอย่าง เพื่อจัดสิ่งเหล่านี้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ตามแผนการของพระเป็นเจ้า และตามเจตนารมณ์ของพระคริสตเจ้า

48


28. แต่ผู้ที่อยู่ในพระศาสนจักร มิใช่มีแต่คริสตชนที่มีชีวิตบนแผ่น ดินนี้เท่านั้น แต่ยังมีผู้ชอบธรรมและผู้ศักดิ์สิทธิ์อีกเป็นอันมากซึ่งล่วงลับไป แล้วและบัดนี้อยู่กับพระเป็นเจ้า ทุกคนร่วมสนิทกันด้วยการมีส่วนช่วยเหลือ กันอย่างลึกล้ำ�และลึกลับ ด้วยการผูกพันกันทางฝ่ายจิตที่ต้องมีชีวิตและ ความทุกข์สุขร่วมกัน นี่แหละคือสิ่งที่เราเรียกว่า “ความ​สัมพันธ​เปนหนึ่ง​เดียว ของ​ผู​ศักดิ์สิทธิ์” หมายความว่าผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ย่อมมีส่วนร่วมในบุญกุศล ของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกคนมีส่วนในพระหรรษทานและของพระคริสตเจ้า และ ได้รับประโยชน์จากคำ�ภาวนาแห่งพระมารดาของพระองค์ด้วย 29. ในบรรดาสมาชิกแห่งพระศาสนจักรนั้น มีท่านผู้หนึ่งที่เด่นเป็น พิเศษ เพราะได้มีส่วนในงานระยะเริ่มแรกของพระศาสนจักรในการปฏิบัติ ตามแผนการของพระเป็นเจ้า ท่านผู้นั้นคือ พระนางมารีย์ พระมารดาของ พระคริสตเจ้า ตั้งแต่นิรันดรเมื่อพระเป็นเจ้าได้ทรงพระดำ�ริ จะบังเกิดจาก สตรีผู้หนึ่งในโลกนั้น พระองค์ได้ทรงเลือกพระนางมารีย์ให้รับเกียรติสูงสุดนี้ พระองค์มิได้ยกเว้นมิให้พระนางอยู่ในสภาพผิดปรกติธรรมดาของชีวิต แต่ ประทานพระหรรษทานให้แก่พระนางตั้งแต่เริ่มชีวิต และไม่ยอมให้พระนาง ติดมลทินของบาปกำ�เนิดเลย พระเป็นเจ้าได้ทรงยกพระนางไว้ให้เป็นผู้ ศักดิ์สิทธิ์และหามลทินมิได้ และพระเยซูคริสตเจ้าพระบุตรของพระนาง​มี “ทุกอย่างเหมือนกับเรา ยกเว้นบาป” ดังที่นักบุญเปาโลเขียนไว้ (ฮบ 4:15) เมื่อถึงกำ�หนดเวลา พระเป็นเจ้าได้ถามความสมัครใจของพระนาง มารีย์ ในการที่จะทำ�ให้งานของพระจิตได้สำ�เร็จเป็นไปอย่างมหัศจรรย์ใน พระนาง และในการที่จะเป็นมารดาฝ่ายมนุษย์ของพระผู้ไถ่ ตั้งแต่เริ่มเดิมที 49


คริสตชนยกย่องเคารพพระนาง เรียกเป็น “พระมารดาของพระเจ้า” ซึ่งไม่ ไดหมายความว่าพระนางเป็นพระมารดาของพระเจ้าในฐานะที่เป็นพระเป็นเจ้า แต่หมายความว่าเป็นพระมารดาฝ่ายธรรมชาติมนุษย์ ที่พระเป็นเจ้าได้รับเอา ในพระคริสตเจ้า พระนางได้ร่วมมืออย่างแข็งขันในการไถ่บาปเยี่ยงผู้รับใช้ต่ำ�ต้อย ของพระเป็นเจ้า ตั้งแต่พระคริสตเจ้าบังเกิด ตลอดเวลาปฐมวัยและพระ ชนมชีพเปิดเผยจนถึงสิ้นพระชนม์บนกางเขน พระนางได้มีส่วนร่วมกับพระ คริสตเจ้าอย่างสนิทใกล้ชิดตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลก เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว พระนางยังมีส่วนร่วมกับพระองค์ต่อไป โดยที่เป็น เอกในหมู่สิ่งสร้างทั้งปวงและเป็นแบบฉบับของมนุษย์ ทั้งหลาย พระกายของพระนางมิได้เน่าเปื่อยเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว แต่ได้รับพระ เกียรติเช่นเดียวกับพระกายของพระคริสตเจ้าเมื่อกลับเป็นขึ้นมา เนื่องจาก พระนางร่วมชิดสนิทกับพระเยซูคริสตเจ้า รับพระจิตอย่างสมบูรณ์และ อ่อนน้อมต่อพระบิดาอย่างครบถ้วน พระนางจึงเป็นแบบฉบับอันดีเยี่ยม สำ�หรับคริสตชน และเป็นมารดาฝ่ายวิญญาณของพระศาสนจักรทั่วไปด้วย ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรอด 30. เมื่อตรัสถึงความสัมพันธ์ของพระองค์กับมนุษย์ และโดย เฉพาะอย่างยิ่งกับบรรดาสานุศิษย์ พระเยซูเจ้าชอบเปรียบพระองค์เป็นผู้เลี้ยง แกะ เป็นธารน้ำ� เป็นชีวิตและเป็นปังซึ่งเป็นอาหารเลี้ยงเรา พระเยซูเจ้ายังคง ประกอบกิจการที่ให้ชีวิตและช่วยให้รอดต่อไปในพระศาสนจักร โดยใช้จารีต ที่หมายถึงพระหรรษทานและประสาทพระหรรษทานนั้น เครื่องหมายที่รู้สึก 50


เห็นได้เหล่านี้ พระเยซูเจ้าเองเป็นผู้กำ�หนด และพระสังฆราชกับผู้ร่วมมือของ พระสังฆราช คือพระสงฆ์กับสังฆานุกร เป็นผู้ประกอบพิธี เครื่องหมายเหล่านี้ ภาษาคริสตชนเรียกว่า “ศีลศักดิ์สิทธิ์” สำ�หรับ ศีลแต่ละศีลพระคริสตเจ้าเป็นผู้ประกอบ โดยใช้ศาสนบริก​รผู้ได้รับศีลบวช เพราะฉะนั้นศีลเหล่านั้นจึงมีประสิทธิภาพทุกครั้ง ผลด้านจิตใจที่เกิดจากศีล เหล่านั้นจึงมีประสิทธิภาพทุกครั้ง ผลด้านจิตใจที่เกิดจากศีลเหล่านั้นย่อมสุด แล้วแต่สภาพความเชื่อ ความอ่อนน้อมและความสุจริตใจของผู้ที่รับศีลนั้น 31. ในศีลศักดิ์สิทธิ์ พระคริสตเจ้าเสด็จมาหามนุษย์ และประทาน พระองค์แก่มนุษย์ โดยประทานพระคุณให้อย่างเหมาะสมแก่ทุกกรณีในชีวิต ของเขา มนุษย์เริ่มมีชีวิตด้วยการปฏิสนธิ์และบังเกิด พระเยซูคริสตเจ้าโปรด ให้มนุษย์เกิดมาสู่ชีวิตใหม่ด้วย “ศีลล้างบาป” มนุษย์เจริญเติบโตและบรรลุถึงความเติบโตเต็มที่ พระเยซูคริสต เจ้าก็โปรดให้มนุษย์มีชีวิตที่เจริญอย่างเต็มที่ด้วย “ศีลกำ�ลัง” ชีวิตฝ่ายร่างกายของมนุษย์ต้องการอาหาร อาหารของชีวิตใหม่ก็คือ พระกายอันได้รับพระเกียรติของพระคริสตเจ้าผู้สถิตอย่างลึกล้ำ� ภายใต้รูป ปรากฎภายนอกของปังและเหล้าองุ่นใน “ศีลมหาสนิท” ชีวิตตามธรรมชาติของร่างกายถูกคุกคามจากโรคภัย และบาดแผล ซึ่งอาจถึงตายได้ ถ้ากำ�ลังร่างกายและฤทธิ์ยาไม่เหนือกว่า การรักษาให้หาย และการบำ�รุงชีวิตใหม่ให้แข็งแรงก็สำ�เร็จได้อย่างมีผลด้วย “ศีลอภัยบาป” กับ “ศีลเจิมผู้ป่วย” หมายความว่าด้วยศีลอภัยบาปวิญญาณได้รับการรักษา ให้หายจากบาดแผลของบาป และด้วยศีลเจิมผู้ป่วย พระคริสตเจ้าเสด็จมา 51


ถึงคนไข้ ชำ�ระให้บริสุทธิ์จากร่องรอยของบาปและบำ�รุงให้แข็งแรงในการ เผชิญสู้กับความตาย ครอบครัวและสังคมเป็นเครื่องประกันค้ำ�ชูความเป็นอยู่ของสมาชิก แต่ละคนฉันใด “ศีลบรรพชาและศีลสมรส” ก็เป็นเครื่องประกันค้ำ�ชูการ ขยายตัวด้านสังคมของชีวิตใหม่ฉันนั้นอาศัยอำ�นาจที่ศีลบรรพชาโปรดให้แก่ สังฆราชและพระสงฆ์ พระคริสตเจ้าทรงเพิ่มพูนทำ�ให้ชีวิตใหม่ดำ�รงต่อไปใน ประชากรของพระเป็นเจ้า ซึ่งถือว่าพระสงฆ์เป็นผู้นำ�ทางและผู้สอน ส่วนในศีล สมรสของคริสตชน ชายและหญิงแต่งงานกันเพื่อช่วยเหลือกันและให้กำ�เนิด ชีวิตใหม่ ซึ่งมีอยู่สำ�หรับรับใช้และรักพระเป็นเจ้าในโลกนี้ ผู้ที่มิใช่คริสตชน 32. แม้ว่าศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆเป็นช่องทางปรกติที่มนุษย์จะได้รับ ความรอด แต่ถ้าคิดว่าพระเป็นเจ้าทรงจำ�กัดขอบเขตความรักในการช่วย มนุษย์ให้รอดเพียงเท่านี้ ก็น่าจะเป็นการหมิ่นน้ำ�พระทัยของพระองค์เป็น แน่ เพราะเหตุนี้ คริสตชนไม่ควรจะพิพากษาและกล่าวโทษคนที่อยู่นอกพระ ศาสนจักร แต่ควรจะแสดงความรัก และช่วยเหลือเขา คริสตชนย่อมมีความสุขใจที่ได้พบความรอดในพระศาสนจักรและ โดยเห็นแก่พระคริสตเจ้ายังเชื่อตระหนักว่า พระทัยดีของพระเป็นเจ้าจะ ประทานความรอดแก่มนุษย์ผู้มีน้ำ�ใจดีและกว้างขวางทุกคน ซึ่งแม้ดูภายนอก ไม่อยู่ในพระศาสนจักร แต่เจริญชีวิตประพฤติถือตามมโนธรรมตามที่สภา สังคายนาวาติกันที่ 2 แถลงว่า “พระญาณเอื้ออาทรของพระเป็นเจ้าไม่ ปฏิเสธที่จะประทานความช่วยเหลือที่จำ�เป็นสำ�หรับความรอดแก่ผู้ซึ่งไม่รู้จัก 52


พระเป็นเจ้าอย่างแจ่มแจ้ง โดยไม่ใช่ความผิดของเขา แต่ก็ยังพยายามเจริญ ชีวิตอย่างเที่ยงตรง อาศัยพระหรรษทานของพระองค์ช่วย สิ่งใดพบเห็นเป็น สิ่งดีและเป็นความจริงในตัวเขา พระศาสนจักรก็ถือว่าเป็นการเตรียมทางไป สู่พระวรสาร และเป็นพระคุณของพระผู้ส่องสว่างให้มนุษย์ทุกคนบรรลุถึง ความรอดในที่สุด” (สังฆธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร มาตรา 16) เพราะเหตุนี้ คริสตชนแท้ต้องรำ�พึงถึงหน้าที่และเอกสิทธิ์ของผู้ที่จะ เป็นพยานประกาศให้คนทั้งโลกรู้ถึงพระเป็นเจ้าและความรอดอันเป็นงานที่ พระคริสตเจ้ากระทำ�อยู่ในตัวเขา ชีวิตนิรันดร 33. เมื่อเชื่อถึงพระคริสตเจ้าและพระจิต คริสตชนก็ได้รับเกียรติ เป็นลูกของพระเป็นเจ้า การมีชีวิตร่วมสนิทกับพระเป็นเจ้าในพระคริสตเจ้า นี้ ก็คือชีวิตนิรันดรที่อยู่ในตัวเขาแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคริสตชน ต้องบำ�รุงและพัฒนาพระคุณนี้ จนกว่าจะเจริญเต็มที่ คริสตชนผู้ซื่อสัตย์สิ้น ชีวิตลงเมื่อใด พระสัญญาของพระคริสตเจ้าก็เป็นอันสำ�เร็จไปเมื่อนั้น ตาม ที่พระองค์ตรัสว่า “พระประสงค์ของพระบิดาของเรา ก็คือทุกคนที่เห็นพระ บุตร แล้วเชื่อในพระบุตรจะมีชีวิตนิรันดร และเราจะให้เขากลับคืนชีพในวัน สุดท้าย... ผู้ที่เชื่อในเรา ก็มีชีวิตนิรันดร” (ยน 6:40-47) มีแต่ความตายทาง ฝ่ายร่างกายเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงสภาพทางฝ่ายร่างกายได้ การร่วมเป็นหนึ่ง เดียวกับพระคริสตเจ้าจะไม่สิ้นสุดลงด้วยความตายเลย ตรงกันข้ามจะกลับ ปรากฏให้เห็นสุกใสอย่างเต็มที่ เพราะมนุษย์ผ่านจากสิ่งที่ไม่ถาวรในโลกนี้ ไปสู่การมีชีวิตฝ่ายจิตที่ดำ�รงอยู่นิรันดรในพระเป็นเจ้า 53


34. คำ�ว่า “สวรรค์” หรือ “วิมานสวรรค์” หมายถึงการที่คนจาก โลกนี้ไปเจริญชีวิตอยู่กับพระเป็นเจ้า มนุษย์ไม่สามารถที่จะมีความคิดได้ถูก ต้องว่า การมีชีวิตอยู่กับพระเป็นเจ้าเป็นอย่างไร เพราะนอกจากไม่รู้อย่างชัด แจ้งว่านิรันดรภาพคืออะไรแน่แล้ว ยังรู้แต่เพียงเลือนลาง โดยการสันนิษฐาน ว่า พระเป็นเจ้าทรงสภาพอย่างไร และรู้แต่ในทางลบอย่างเดียวว่าตนเอง จะเป็นอย่างไรเมื่อตายแล้ว เพราะฉะนั้น คริสตชนจึงเชื่อตามที่มีการเผย แสดงว่าชีวิตที่อยู่กับพระเป็นเจ้าคือชีวิตที่มีแต่ความสงบสุข ได้เห็นพระเป็น เจ้าอย่างเต็มที่ และได้ร่วมในความ​สัมพันธ​เปนหนึ่ง​เดียว​ของ​ผศัู​ กดิ์สิทธิ์ ที่ นักบุญเปาโลเขียนไว้ว่า “เราจะได้อยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้าตลอดไป จงใช้ ถ้อยคำ�เช่นนี้ปลอบใจกันเถิด” (1 ธส 4:17-18) 35. ข้อเผยแสดงยังกล่าวว่า เมื่อเราตายแล้ว อาจมีอันเป็นไปได้ อย่างหนึ่ง คือตกนรก ผู้ที่รู้ตัวดีว่ากำ�ลังทำ�อะไรอยู่ ไม่ยอมรับพระวาจาของ พระคริสตเจ้า และไม่ยอมรับความรอดที่พระองค์นำ�มาโปรด หรือผู้ที่ได้รับ พระวาจาของพระองค์แล้ว แต่ยังเจริญชีวิตและประพฤติฝ่าฝืนพระบัญญัติ ของพระองค์ หรือขัดต่อมโนธรรมของตนอยู่ตลอดเวลา ผู้นั้นจะไม่บรรลุถึง ความสงบสุข และจะต้องรับทุกข์ตรอมตรมอยู่ห่างไกลจากพระเป็นเจ้าตลอด กาล พระคัมภีร์เรียกสภาพเช่นนี้ด้วยคำ�อันน่าสะพึงกลัวว่า “ตายครั้งที่สอง” แน่นอนไม่มีมนุษย์คนใดจะตัดสินได้ว่ามีใครได้รับความทุกข์เช่นนี้หรือไม่ พระเป็นเจ้าเท่านั้นทรงทราบว่ามีคนต้องรับทุกข์เช่นนี้หรือไม่ และเป็นผู้ใดบ้าง

54


36. ข้อเผยแสดงยังพูดแย้มถึงสภาพอีกอย่างหนึ่ง คือ สภาพของ คน ที่ไม่ถึงกับถูกแยกขาดจากพระเป็นเจ้าเมื่อตายแล้ว แต่ยังไม่สมควรจะ ไปอยู่ร่วมสนิทกับพระองค์อย่างสมบูรณ์ สภาพเช่นนี้ เราเรียกว่า “ไฟชำ�ระ” คือ สภาพที่ต้องชำ�ระตัวให้สะอาด ก่อนที่จะได้มีชีวิตร่วมสนิทอย่างสมบูรณ์ กับพระเป็นเจ้าคริสตชนภาวนาอุทิศแก่วิญญาณเหล่านี้เพื่อให้เขาหลุดพ้น จากความผิด 37. ที่สุด ตามแผนการของพระเป็นเจ้า ประวัติศาสตร์จะต้องสิ้นสุด ลง พระเยซูคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมาในโลกนี้อีกอย่างทรงเกียรติรุ่งโรจน์และ ให้เราเห็นได้ ไม่มีใครทราบว่าพระองค์จะเสด็จมาวันใดและเวลาใด เรื่องนี้ เป็นความลับเกี่ยวกับเวลาในอนาคต ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดสามารถล่วงรู้ได้ แต่คริสตชนก็เชื่อมั่น และความลับนั้นกระตุ้นให้พระศาสนจักรคอยเฝ้าระวัง อยู่ตลอดเวลา คริสตชนต้องมีใจเร่าร้อน และพร้อมที่จะต้อนรับพระคริสตเจ้า อยู่ทุกวันเวลา 38. เวลานั้นแหละ มนุษย์จะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางของตนใน พระเป็นเจ้า และจะบรรลุถึงเกียรติมงคลที่ตนได้ถูกสร้างมาให้รับนั้น ภาษาของมนุษย์ไม่สามารถที่จะบรรยายเรื่องที่อยู่เหนือธรรมชาติมนุษย์ได้ แต่พระคัมภีร์ก็ได้อธิบาย โดยใช้ภาพพจน์และสัญลักษณ์หลายอย่าง เช่น อธิบายว่า มนุษย์ทุกคนจะกลับเป็นขึ้นมา และผู้ชอบธรรมจะอยู่ในสภาพ รุ่งโรจน์เหมือนอย่างพระคริสตเจ้าผู้ทรงคืนพระชนม์ชีพ โดยจะมีร่างกาย สุกใสเปล่งปลั่ง ไม่มีสิ่งขาดตกบกพร่องใดๆของชีวิตในโลกนี้ ทั้งจะแสดง 55


บุค ลิ กลัก ษณะของแต่ละคนออกมาอย่างงามพร้อ มไม่ ต้อ งสงสั ยเลยว่า สำ�หรับผู้ชอบธรรม ความชื่นชมยินดีและเกียรติมงคลจะมีมากน้อยตามส่วน ที่เขาได้รับพระคุณของพระเจ้า และตามส่วนที่เขาได้สนองตอบพระคุณเหล่า นั้น เมื่อโลกซึ่งมีมลทินบาปและความตายดับสูญไปแล้ว “ฟ้าใหม่และ แผ่นดินใหม” (วว 21:1) “พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าส่องแสงเหนือนคร” (วว 21:23) “เพื่อพระเจ้าจะได้ทรงเป็นทุกสิ่งในทุกคน” (1คร 15:28)

56


บทที่ 3 การเจริญชีวิตแบบคริสตชน

คริสตชนคือใคร 1. คำ� “คริสตชน” (คริสต+องค์) มาจากคำ�วา “คริสต์” คริสตชน จึงแปลว่า ผู้นับถือพระคริสตเจ้า เมื่อพูดว่าใครผู้หนึ่ง “ดำ�รงชีวิตแบบคริสต ชน” ย่อมหมายความว่าผู้นั้นตัดสินใจแน่วแน่เด็ดขาดที่จะจงรักภักดี และเดิน ตามพระฉบับแบบของพระคริสตเจ้า นับเป็นการมีชีวิตร่วมสนิทกับพระองค์ ผู้ เป็นพระเชษฐาพระผู้ไถ่ และเจ้านายของมนุษย์ทั้งหลาย 2. พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้กระตุ้นปลุกชีวิตของคริสตชน เป็นแบบ ฉบับของคริสตชนไม่ว่าในกิจการใดๆ ในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต ไม่ว่าเวลา ยินดีหรือขัดสน ไม่ว่าเวลาทำ�งานหรือหยุดพักผ่อน รวมถึงเวลาเสี่ยงภัยและ ประจญภัย ตลอดเวลากระสับกระส่ายใกล้จะตาย คริสตชนสามารถมองดู พระเยซูคริสตเจ้า ผู้เสด็จมาก่อนและสอนว่า ต้องไปหาพระเป็นเจ้าอย่างไร คริสตชนเมื่ออ่านพระวรสารบ่อยๆ จนคุ้น ก็จะพบพระวาจาและพระฉบับของ พระคริสตเจ้า ซึ่งทรงแนะให้ประพฤติอย่างไรในภาวะการณ์ต่างๆ 3. การถือตามพระฉบับแบบของพระคริสตเจ้าทุกๆ เวลานั้น ไม่ใช่ เป็นเพียงการเอาอย่างในข้อปลีกย่อยภายนอกเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่เป็นการลอกแบบสภาพจิตใจ ซึ่งพระคริสตเจ้าได้สำ�แดงให้เห็นประจักษ์ 57


ในพระชนม์ชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรับทนทรมานและสิ้นพระชนม์ของ พระบุตรและความรักต่อมนุษย์ด้วยน้ำ�ใจกว้างขวาง ตามที่พระองค์ตรัสว่า “เหมือนกับที่บุตรแห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และมอบชีวิตของตนเป็นสินไถ่เพื่อมวลมนุษย์” (มธ 20:28) อัครธรรมทูต เปาโลก็เขียนไว้ว่า “จงมีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับที่พระคริสตเยซูทรงมี เถิด” (ฟป 2:5) 4. ความพยายามของคริสตชนที่จะถือตามพระคริสตเจ้านี้ พระ จิตเป็นผู้ปลุกให้เกิดขึ้นและบำ�รุงให้คงอยู่ พระจิตเป็นผู้เปลี่ยนแปลงภายใน คริสตชน และดลใจให้มีความรู้สึกเหมือนกับพระคริสตเจ้า คือให้มีความ จงรักภักดีเยี่ยงบุตรต่อพระบิดาและให้มีน้ำ�ใจดีต่อมนุษย์ คริสตชนที่มีผู้นำ� ทางเช่นนี้ย่อมปฏิบัติการต่างๆได้เยี่ยงบุตรของพระเป็นเจ้า และเดินตามรอย พระยุคลบาทของพระคริสตเจ้าอย่างอิสระ สภาพจิตใจที่สำ�คัญของคริสตชน 5. พระคริสตเจ้าทรงสรุปพระบัญญัติสำ�คัญ เกี่ยวกับการดำ�รงชีวิต แบบคริสตชนว่า “ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ ... ท่านต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” (มธ 22:37-39) 6. รักพระเป็นเจ้า หมายความว่าเชื่อถึงพระองค์ คือปฏิบัติตาม พระวาจาและน้ำ�พระทัยของพระองค์ ความอ่อนน้อมต่อพระเป็นเจ้านี้ ซึ่ง คล้ายกับความอ่อนน้อมแบบดีพร้อมของพระคริสตเจ้านั้น ภาษาคริสตชน 58


เรียกว่า “ความเชื่อ” ต้องตั้งใจแน่วแน่จะปฏิบัติตามพระวาจาของพระเป็นเจ้า แม้ว่าจะต้องสละละทิ้งน้ำ�ใจของตนเอง พระจิตเป็นผู้ปลุกความเชื่อให้เกิดขึ้น ใน​จิตใจของคริสตชน ทำ�ให้มีกำ�ลังที่จะปฏิบัติงานเหมือนอย่างท่านอับราฮัม “บิดาของผู้มีความเชื่อ” ที่ได้เอาชีวิตและอนาคตของท่าน ผูกพันไว้กับความ เชื่ออย่างหมดสิ้น 7. พระเยซูคริสตเจ้าทรงประกาศความรักต่อมนุษย์ โดยเน้นอย่าง หนักแน่นว่า “ท่านอยากให้เขาทำ�กับท่านอย่างไร ก็จงทำ�กับเขาอย่างนั้น เถิด” (มธ 7:12) พระคริสตเจ้าเรียกร้องให้คริสตชนรักมนุษย์ทุกคนเป็น พี่น้อง โดยไม่คำ�นึงถึงเรื่องเชื้อชาติความสามารถหรือฐานะของเขา ก็เพราะ พระบิดารักมนุษย์อย่างบุตรและพระคริสตเจ้าก็เป็นคนหนึ่งในมวลมนุษย์นั้น ลำ�พังหัวใจของมนุษย์เองไม่สามารถจะรักเช่นนี้ได้ “เราจงรักกัน เพราะความ รักมาจากพระเจ้า... เพราะพระเจ้าทรงเป็นความรัก” (1ยน 4:7-8) พระจิต เป็นผู้ทำ�ให้ความรักนี้เกิดขึ้นในใจของคริสตชนพร้อมกับความเชื่อ และไม่ ยอมให้ยกเว้นใคร และถ้าจะต้องรักใครให้มากกว่า คนที่ต้องรักให้มากกว่า นั้นก็ควรเป็นคนยากจนและต่ำ�ต้อย 8. แต่ความรักแบบคริสตชนนั้นไม่หมายความต้องรักมนุษย์ทุกคน เท่าเสมอกัน แต่หมายความว่า ต้องรักตามส่วนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ โดยคำ�นึงว่าเป็นความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือไม่ระหว่างเพื่อนฝูง เป็นความ สัมพันธ์ทั่วไปหรือในระหว่างชาติต่างๆ 59


9. ธรรมประเพณีคริสตชนสอนว่า คุณธรรมทุกอย่างสรุปได้และ แสดงออกมาในความรักต่อเพื่อนมนุษย์นี้เอง นักบุญเปาโลบรรยายเรื่องนี้ได้ อย่างไพเราะจับใจว่า “ความรักย่อมอดทน มีใจเอื้อเฟื้อ ไม่อิจฉา ไม่โอ้อวด ตนเอง ไม่จองหอง ไม่หยาบคาย ไม่เห็นแก่ตัว ความรักไม่ฉุนเฉียว ไม่จดจำ� ความผิดที่ได้รับ ไม่ยินดีในความชั่ว แต่ร่วมยินดีในความถูกต้อง ความรัก ให้อภัยทุกอย่าง เชื่อทุกอย่าง หวังทุกอย่าง อดทนทุกอย่าง” (1คร 13:4-7) 10. เมื่อรักพระเป็นเจ้าและเพื่อนมนุษย์ดังนี้ คริสตชนย่อมไม่หวัง จะได้รางวัลหรือผลประโยชน์ทางโลก ตรงกันข้าม เขารู้ว่าตนอาจต้องทน ทุกข์ทรมาน เพราะเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ผู้ถูกตรึงกางเขน และยังคงเป็น เครื่องหมายแห่งความขัดแย้งในโลก คริสตชนเป็นผู้ถ่อมตน เพราะรู้ว่าตน อ่อนแอ ตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลก แต่มีความเชื่อและรู้ว่าตนหวังพึ่งความ ช่วยเหลือของพระบิดาในการสู้รบบนแผ่นดินนี้ได้เสมอ และหวังจะได้ความ สุขที่ไม่รู้จักสิ้นสุดเมื่อปลายทางชีวิต 11. ความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นว่าชีวิตมีความหมายดังนี้ ย่อมทำ�ให้ คริสตชนมีความหวังและความเห็นในแง่ดีที่ไม่มีอะไรจะทำ�ลายได้ พระคริสต เจ้าเตือนผู้ติดตามพระองค์ไว้แล้วว่า “ในโลกนี้ ท่านจะมีความทุกข์ยาก แต่ อย่าท้อแท้ เราชนะโลกแล้ว” (ยน 16:33) คริสตชนร่วมกับพระคริสตเจ้ารบ สู้กับความชั่ว เพื่อให้โลกดีขึ้นกว่านี้ ความหวังของคริสตชน เนื่องจากอิงอยู่ กับพระเป็นเจ้าอย่างสิ้นเชิงจึงไม่คลอนแคลน แต่ทำ�ให้เกิดบรรยากาศความ ไว้ใจอันเหมาะที่จะทำ�ให้มนุษย์เจริญก้าวหน้า นักบุญเปาโลเขียนว่า “พระเจ้า 60


ทรงอยู่ข้างเรา ใครจะสู้เราได้” (รม 8:31) หลักเกณฑ์ของเหตุผลและมโนธรรม 12. คริสตชนแท้ที่ติดตามพระเยซูคริสตเจ้าไปตามการดลใจของ พระจิตนั้น เป็นคนที่โดยปรกติค่อยๆ เป็นคนดีขึ้นทีละน้อย แม้ว่าชีวิตจะไม่ แน่นอนและมีภัยต่างๆ เนื่องจากเป็นการยากที่จะเลือกแนวปฏิบัติที่ชอบ และ เนื่องจากเกิดความขัดแย้งเพราะความรู้สึกผลักดันไปทางหนึ่ง ส่วนเหตุผล ก็วินิจฉัยไปอีกทางหนึ่ง ดังนั้นจึงทำ�ให้คริสตชนรู้จักความรับผิดชอบและ เสรีภาพของตน 13. เสรีภาพภายในตัวเป็นเอกสิทธิ์ที่ทุกคนได้รับมาตั้งแต่เกิด แต่ สำ�หรับคริสตชน พระจิตทรงบำ�รุงรักษาเสรีภาพนั้น หมายความว่า คริสตชน จะเลือกเดินไปโดยมิใช่แต่ฟังเหตุผลเท่านั้น แต่ยังต้องคำ�นึงถึงข้อเผยแสดง ของพระเป็นเจ้า ตามพระฉบับแบบของพระคริสตเจ้าด้วย 14. สำ�หรับคริสตชนก็ดี หรือสำ�หรับคนอื่นๆ ทั่วไปก็ดี ไม่ใช่เป็นการ ง่ายที่จะเห็นอย่างแจ่มแจ้งและในทุกโอกาสว่า เหตุผลอันถูกต้องและพระจิต ชี้ให้เดินไปทางใด ดังนั้นคริสตชนจึงเต็มใจยอมรับบัญญัติและกฏเกณฑ์ของ พระเป็นเจ้า ของพระศาสนจักร ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง และประเพณีนิยมใน ชาติของตน เมื่อประพฤติดังนี้ ก็ย่อมหลีกพ้นอันตรายที่เกิดจากการหลอก ลวงตน และการตั้งตนเองเป็นหลักศีลธรรม 61


15. เมื่อยืนยันว่าตนมีสิทธิ์และหน้าที่ต้องถือตามมโนธรรม ดังนี้ ศิษย์ของพระคริสตเจ้าก็รับรู้ด้วยว่า ผู้มีความเชื่อถือไม่เหมือนกับตน ก็มี สิทธิ์และหน้าที่อย่างเดียวกัน รู้ว่าพระเป็นเจ้าต้องการให้มนุษย์ยอมรับนับถือ พระองค์โดยความสมัครใจ และพระองค์จะพิพากษาแต่ละคน ตามที่เขามี ความซื่อตรงในการถือตามมโนธรรมและสนองตอบพระคุณของพระองค์ แบบดำ�เนินชีวิตของคริสตชน 16. ไม่มีแบบดำ�เนินชีวิตพิเศษแบบใดแสดงให้เห็นภายนอกว่าใคร เป็นคริสตชน ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของพระคริสตศาสนา อัครธรรมทูตเปาโล แนะนำ�ผู้กลับใจให้ถือแบบดำ�เนินชีวิตเหมือนเมื่อก่อนกลับใจ อาชีพและ แบบดำ�เนินชีวิตทุกแบบถ้าไม่ผิดต่อมโนธรรม พระศาสนจักรก็รับรองทั้งสิ้น เพราะพระศาสนจักรเป็นองค์การที่ต้อนรับคุณสมบัติและหน้าที่ต่างๆ ของ สมาชิกแต่ละคนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม คริสตชนอยู่ที่ใด ก็เป็นองค์พยาน ประกาศความเชื่อความหวัง และความรักของตนอยู่ในที่นั้น เช่นเดียวกับ เกลือที่รักษาของมิให้เสีย คริสตชนก็มีส่วนช่วยให้สังคมและวัฒนธรรมใน โลกศักดิ์สิทธิ์ โดยปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุด และโดยถือตามจิตตา รมณ์ของพระวรสาร 17. คริสตชนย่อมนิยมยกย่องแบบดำ�รงชีวิตทั้งสองแบบ คือ การ สมรสที่เป็นชีวิตมีครอบครัว กับการถือพรหมจรรย์ซึ่งเป็นชีวิตอุทิศแด่พระ เป็นเจ้าและแก่ผู้อื่น 62


18. พระเป็นเจ้าทรงพอพระทัยให้มีการสมรสตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ของมนุษยชาติ ตามที่พระคัมภีร์กล่าวว่า “เพราะฉะนั้น ชายจะละบิดามารดา ของตนไปผูกพันกับภรรยา และทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน” (ปฐก 2:24) ฉะนั้นการสมรสของคริสตชนจึงถือว่าเป็นการที่ชายหญิงสองคนมาอยู่ร่วม สนิทกันอย่างแท้จริง อย่างซื่อสัตย์ และเลิกร้างกันไม่ได้ เป็นการร่วมสนิท ที่ได้รับพรด้วยการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ และในพิธีนั้นการสัญญาจะถือ ซื่อสัตย์ของมนุษย์ได้ศักดิ์สิทธิ์ไปด้วยอำ�นาจของพระคริสตเจ้า ในครอบครัว คริสตชน สามีภรรยาต้อนรับบุตรที่พระเป็นเจ้าประทานให้ด้วยความชื่นชม ยินดี โดยปราศจากความเห็นแก่ตัว และด้วยความสำ�นึกถึงความรับผิดชอบ ของตน เขาอบรมลูกให้มีความเชื่อและความรัก ให้รักชีวิตและใช้เสรีภาพ อย่างถูกต้อง ลูกๆ เป็นผู้รื้อฟื้นทำ�ให้ความสนิทและความซื่อสัตย์ของสามี ภรรยามั่งคงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและทำ�ให้ประชากรของพระเป็นเจ้าในโลกเพิ่ม จำ�นวนขึ้นด้วย 19. แต่มิใช่ว่าคริสตชนทุกคนรับเรียกให้มาถือแบบดำ�เนินชีวิตสมรส บางคนรับกระแสเรียกให้ถือพรหมจรรย์เพื่อถวายตัวแด่พระเป็นเจ้าตามพระ ฉบับแบบของพระคริสตเจ้า เขาเหล่านี้อุทิศตนเพื่อรับใช้ผู้อื่นทั้งฝ่ายกายและ วิญญาณ นั่นคือแบบดำ�รงชีวิตของพระสงฆ์ นักพรต และฆราวาสเป็นอันมาก ทั้งชายและหญิง ที่สัญญาจะละทิ้งทุกสิ่งเพราะเห็นแก่พระคริสตเจ้า และจะ เป็นพยานประกาศพระองค์ในท่ามกลางมนุษย์ทั้งหลาย

63


20. ทั้งในชีวิตสมรสและในชีวิตถือพรหมจรรย์ คริสตชนต้องเสีย สละหลายอย่าง (แต่สานุศิษย์ที่หวาดกลัว เพราะอุดมการที่พระองค์เสนอ นั้นสูงส่งและเรียกร้องมาก) พระเยซูเจ้าตรัสปลุกปลอบว่า “สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สำ�หรับมนุษย์ ก็เป็นไปได้สำ�หรับพระเจ้า” (ลก 18:27) และนักบุญเปาโล อธิบายว่า “พระเจ้าประทานพระพรพิเศษให้แต่ละคน คนหนึ่งได้รับพระพรนี้ และอีกคนหนึ่งได้รับพระพรนั้น” (1คร 7:7) บ่อเกิดแห่งชีวิตคริสตชน 21. พระคริสตเจ้าเองเป็นผู้ถ่ายทอดชีวิตลูกของพระให้มาถึงคริสต ชน พระองค์เองเสด็จมาถึงคริสตชนในโอกาสพิเศษของชีวิต โดยกำ�หนด ให้การพบกันนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องหมายสำ�คัญบางอย่างหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ขึ้นอยู่กับจารีตพิธีที่พระศาสนจักรเรียกว่า “ศีลศักดิ์สิทธิ์” ข้างฝ่ายคริสตชน ก็เตรียมตัวพบพระองค์อย่างลึกล้ำ�โดยมีน้ำ�ใจกว้างขวางและด้วยการร่วมมือ จำ�เป็นต้องมีน้ำ�ใจเช่นนี้ ศีลศักดิ์สิทธิ์จึงจะเกิดผลอย่างแท้จริง สำ�หรับศีลประการแรก คือ ศีลล้างบาป นั้น สิ่งที่เราเห็นภายนอก คือการล้างด้วยน้ำ� ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ พระคริสตเจ้าชำ�ระล้างมนุษย์ให้ พ้นจากความผิดทั้งปวง ทำ�ให้เกิดชีวิตพระเจ้า ทำ�ให้ร่วมสนิทกับพระองค์ อย่างใกล้ชิด รับเข้าในพระศาสนจักรเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า และทำ�ให้ ศักดิ์สิทธิ์ไปด้วยพระคุณของพระจิต ศีลล้างบาป นับเป็นวิธีการประการแรก ที่จำ�เป็นต้องประกอบ ชีวิตของคริสตชนจึงจะมีขึ้นได้ พ่อแม่คริสตชนจัดการ ให้ลูกที่เกิดใหม่ได้รับศีลล้างบาป แต่ภายหลังลูกต้องยืนยันและรื้อฟื้นข้อ ผูกพันที่ผู้อื่นได้ทำ�แทนตนไว้อีก 64


22. ศีลมหาสนิทเป็นบ่อเกิดของชีวิตคริสตชนทั้งหมด ศีลมหาสนิท เป็นพิธีที่ประกอบขึ้นในระหว่างจารีตอันสง่างามและสำ�คัญเป็นพิเศษอย่าง หนึ่ง เรียกว่า พิธี​บูชา​ขอบพระคุณ ในพิธี​บูชา​ขอบพระคุณนั้นพระสงฆ์เป็น ผู้แทนพระคริสตเจ้า ผู้ทรงถวายชีวิตของพระองค์เพื่อความรอดของโลก บนกางเขน พระสงฆ์ย้ำ�พระวาจาที่พระเยซูเจ้าได้ตรัส และย้ำ�อากัปกิริยาที่ พระองค์ได้ทรงกระทำ�ก่อนสิ้นพระชนม์ พระสงฆ์เปล่งวาจาเหนือปังและเหล้า องุ่นว่า “นี่คือกายของเรา…นี่คือโลหิตของเรา” ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นการถวาย บูชาขอบพระคุณที่ดีพร้อม ทำ�ให้มนุษย์สนิทกับพระเป็นเจ้า และทำ�ให้มนุษย์ ด้วยกันเองร่วมสนิทกันด้วย คริสตชนจึงถือว่าศีลมหาสนิทเป็นอาหารเลี้ยง ชีวิต ภายใต้รูปปรากฎของปังและเหล้าองุ่น พระคริสตเจ้ากลายเป็นอาหาร เลี้ยงศิษย์แต่ละคน และบำ�รุงเขาให้มีกำ�ลังเดินไปสู่ชีวิตนิรันดร 23. ชีวิตใหม่ที่ได้รับเมื่อวันล้างบาปและชุบเลี้ยงด้วยศีลมหาสนิท นั้น ถูกความชั่วที่อยู่ในตัวมนุษย์ และการหลอกล่อของมารซาตาน “เจ้า แห่งโลกนี้” คุกคามอยู่ตลอดเวลา ชีวิตใหม่นั้นอาจถูกทำ�ลายดับไปอย่าง สิ้นเชิงด้วยการปฏิเสธไม่ยอมรับพระเป็นเจ้าและระเบียบศีลธรรมที่พระองค์ ได้ตั้งขึ้น บาปหนัก ซึ่งเท่ากับเป็นการจงใจหันหลังให้พระเป็นเจ้าอย่างสิ้นเชิง นั้น ทำ�ให้มนุษย์เสียหายอย่างร้ายแรง เพราะทำ�ลายชีวิตของพระเป็นเจ้าใน ตัวมนุษย์ให้สูญไป คริสตชนที่แยกตนออกจากพระเป็นเจ้าเช่นนี้ ย่อมรู้ว่าตน ไม่ใช่สมาชิกที่มีชีวิตอยู่ในพระศาสนจักรอีก แม้ว่าภายนอกอาจจะเห็นว่ายัง อยู่ในพระศาสนจักรก็ตาม 65


24. แต่พระคริสตเจ้าทรงเน้นสอน และสำ�แดงให้เห็นด้วยการดำ�รง พระชนม์ของพระองค์ว่า พระทัยดีของพระเป็นเจ้าพร้อมอยู่เสมอที่จะรับ มนุษย์ที่เป็นทุกข์สำ�นึกถึงความชั่วซึ่งได้กระทำ�ให้อยู่ในฐานะเดิม คริสตชน ถือว่าการสารภาพบาปอย่างจริงใจเป็นยาบำ�บัดที่มีผลชะงัดและแน่นอน เมื่อ แสดงความผิดและความทุกข์สำ�นึกแก่พระสงฆ์ คริสตชนก็ได้รับการยกบาป จากพระเป็นเจ้า ได้กลับเข้าในหมู่ประชากรที่มีชีวิตของพระศาสนจักรและ กลับมีความละหม้ายคล้ายคลึงกับพระคริสตเจ้า เวลาเราสารภาพบาป พระ สงฆ์มิใช่ผู้พิพากษา แต่เป็นผู้แทนพระเป็นเจ้า เพราะเหตุนี้พระสงฆ์ที่ฟังแก้ บาป ต้องถือเป็นความลับอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นจะเป็นความผิดอย่างอุกฤษฎ์ และจะถูกพระศาสนจักรลงโทษอย่างหนัก ในประวัติศาสตร์ เคยมีพระสงฆ์ที่ ยอมพลีชีพแต่ไม่ยอมเผยความลับที่รู้ในที่แก้บาป ศีลนี้เรียกว่า ศีลอภัยบาป 25. นอกจากศีลล้างบาป ศีลมหาสนิท และศีลแก้บาป ยังมีศีลอีก 4 ศีล คือ ศีลกำ�ลัง เป็นศีลที่พระคริสตเจ้าใช้เพื่อโปรดให้คริสตชนวัยรุ่นมี กำ�ลังของพระจิต ทำ�ให้บรรลุถึงความสุขุมคัมภีรภาพฝ่ายวิญญาณและ พันธะอันแท้จริงของคริสตชน ศีลบรรพชา (ศีลบวช) เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่โปรดให้ผู้ชายเป็นศาสนบริ กร ประกาศพระวรสาร ประกอบพิธีกรรม และอภิบาลดูแลประชากรของพระ เป็นเจ้ามี 3 ขั้นคือ สังฆานุกร พระสงฆ์ และพระสังฆราช ศีลสมรส (ศีลกล่าว) เมื่อรับศีลนี้ สามีภรรยาคริสตชนได้รับ พระคุณทำ�ให้การสมรสของเขาศักดิ์สิทธิ์ และทำ�ให้เขามีกำ�ลังที่จะตั้งครอบ 66


ครัวคริสตชนขึ้นใหม่ ศีลเจิมผู้ป่วย ได้แก่การเอาน้ำ�มันเจิมเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ พระคริสตเจ้าเสด็จมาเยี่ยมผู้เป็นศิษย์ซึ่งใกล้จะจากโลกนี้ เพื่อว่าเมื่อได้มี ส่วนในการสิ้นพระชนม์ของพระองค์แล้ว จะได้มีส่วนในการกลับเป็นขึ้นมา อย่างรุ่งโรจน์ของพระองค์ด้วย คริสตชนสนทนากับพระเป็นเจ้า 26. ศีลศักดิ์สิทธิ์ คือเวลาพิเศษที่คริสตชนได้สนิทกับพระเป็นเจ้า แต่นอกจากนี้ ยังมีเวลาอื่นตลอดชีวิตของคริสตชน เช่น เวลาสวดภาวนากับ เวลารำ�พึงถึงพระวาจาของพระเป็นเจ้า ตลอดเวลาทำ�งานและรับใช้ผู้อื่น ก็ ถือว่าเป็นการพบกับพระเป็นเจ้า ซึ่งทำ�ให้คริสตชนมั่นคงในชีวิตของพระองค์ 27. การภาวนานั้น ก่อนอื่น คือการที่มนุษย์ตอบพระเป็นเจ้าโดย เฉพาะอย่างยิ่งสำ�หรับคริสตชนซึ่งได้รับพระคุณมากมายจากพระองค์ และ เขาต้องภาวนาเช่นนี้ตลอดชีวิต คริสตชนถือว่า การที่ต้องภาวนานั้น ไม่ใช่ เพราะหมดฤทธิ์สิ้นปัญญา แต่เพราะอยากผูกพันตนในแผนการความรอด ของพระเป็นเจ้า พระจิตเป็นผู้ดลใจให้มนุษย์ภาวนาแบบคริสตชน พระองค์ เสด็จมาช่วยมนุษย์ผู้อ่อนแอ และกระตุ้นให้ภาวนาและคิดถึงพระเป็นเจ้า ดังนี้ พระเป็นเจ้าเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางของการภาวนา ซึ่งทำ�ให้ คริสตชนมีความสนิทใกล้ชิดกับพระบิดา พระบุตรและพระจิต

67


28. การภาวนาของคริสตชนมีอยู่ด้วยกันสามแบบ คือภาวนา เพื่อนมัสการ และแสดงความรักต่อพระเป็นเจ้าผู้เป็นพระผู้สร้างและพระ บิดา ภาวนาเพื่อขอบพระคุณพระเป็นเจ้าที่ได้ประทานพระคุณให้เรา ภาวนา เพื่อวอนขอพระคุณ สำ�หรับตนเองและผู้อื่น คริสตชนยังภาวนาเพื่อขอสิ่งที่ ต้องการทางโลก แต่ยังรู้ว่าเมื่อภาวนาแล้ว ไม่ใช่ว่าไม่ต้องอุตสาห์พยายาม ไม่ต้องศึกษาและไม่ต้องใช้วิธีการตามธรรมชาติ หรือการภาวนามีไว้สำ�หรับ แก้ไขสิ่งที่ตนได้ทำ�ผิดพลาด หรือเป็นเพียงวิธีแนะนำ�พระอานุภาพของพระ เป็นเจ้ามาใช้ตามใจชอบ การภาวนาอุทิศแก่ผู้ตายเป็นธรรมเนียมเก่าแก่และ ศักดิ์สิทธิ์ในพระคริสตศาสนา เราภาวนาขอพระเป็นเจ้าโปรดรับผู้ที่จากโลกนี้ เข้าไปในสันติสุขของพระองค์ 29. บทภาวนาที่คริสตชนชมชอบมากที่สุด คือบท “ข้าแต่พระบิดา” ซึ่งพระเยซูเจ้าสอนแก่สานุศิษย์ของพระองค์ เมื่อสวดบทนี้ คริสตชนใช้พระ วาจาของพระเยซูเจ้าพูดกับพระเป็นเจ้าเหมือนอย่างพูดกับพระบิดาของตน คำ�ภาวนาของคริสตชนในโลกรวมเข้ากับคำ�ภาวนาของนักบุญ ซึ่งอยู่กับพระ เป็นเจ้าแล้ว และเราหวังพึ่งคำ�เสนอวิงวอนของท่านเหล่านั้นได้ พระนางมา รีย์ พระมารดาของพระเยซูเจ้ามียศสูงสุดในหมู่นักบุญทั้งหลาย คริสตชนรัก เคารพพระนาง ถือเป็นแม่ของตน เพราะพระนางเป็นพระมารดาของพระเยซู เจ้า ซึ่งเป็นพระเชษฐาของมนุษย์ทั้งหลาย คริสตชนย่อมวอนขอพระนางโดย สวด “วันทามารีย์” บ่อยๆ ด้วยความไว้ใจและความรัก

68


30. นอกจากการภาวนาส่วนตัวแล้วคริสตชนยังร่วมในการภาวนา ส่วนรวมซึ่งศาสนิกชนทั้งในวัดของตนและทั้งในวัดทั่วโลกถวายแด่พระเป็น เจ้า โดยร่วมกับพระคริสตเจ้าและนักบุญทั้งหลาย ในการภาวนาแบบนี้ เรียก ว่าการภาวนาตามพิธีกรรม คริสตศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการสรรเสริญพระ เป็นเจ้าและภาวนาอุทิศแก่มนุษย์ทั้งสิ้นพร้อมกับคริสตชนทั้งหมด การภาวนา ตามพิธีกรรมที่ประเสริฐที่สุดก็คือ พิธี​บูชา​ขอบพระคุณ แต่ยังมีการภาวนา สาธารณะแบบอื่น ที่ปฏิบัติโดยพระสงฆ์ และผู้ที่ถวายตัวแด่พระเป็นเจ้าโดย เฉพาะอีกด้วย 31. เมื่ออ่านหรือฟังอ่านพระคัมภีร์ ก็เท่ากับคริสตชนได้ยินเสียง ของพระเป็นเจ้าเอง ซึ่งเรียกและนำ�เขาให้เดินไป เมื่อเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่ ล่วงแล้วไป เช่น ความปรวนแปรกลับกลอกของประชากรชาวยิวก็ดี หรือ วาจาและการกระทำ�ของพระเยซูคริสตเจ้าและอัครสาวกก็ดี ย่อมถือว่า พระ คัมภีร์เป็นสาส์นที่มีชีวิตสำ�หรับคริสตชนและมนุษย์ทุกคน เพื่อจะทำ�ให้การ อ่านที่กล่าวนี้เกิดผล เป็นธรรมดาอยู่เองที่จำ�เป็นต้องอ่านด้วยความตั้งใจและ ความสำ�รวมใจตามสมควร พระจิตเป็นผู้ดลบันดาลให้เกิดสภาพจิตใจเช่นนี้ ทำ�ให้สติปัญญาสว่าง เห็นแจ้งและทำ�ให้ดวงใจเข้มแข็งด้วยวาจาของพระเป็น เจ้า 32. การรำ�พึงที่เรียกว่าจิตภาวนานั้น เป็นการคิดถึงข้อความจริงขั้น มูลฐานแห่งความเชื่อ และเป็นการยกใจขึ้นจนสนทนากับพระเป็นเจ้าได้ การ รำ�พึงเป็นการสำ�รวมใจ ที่ช่วยให้คริสตชนมอบฝากชีวิตของตนไว้ในแผนการ 69


ของพระเป็นเจ้า และให้ถือของในโลกนี้มีความสำ�คัญเท่าที่เหมาะที่ควร เท่านั้น การรำ�พึงเป็นกิจปฏิบัติที่ขอกำ�ชับเป็นพิเศษ สำ�หรับผู้ที่ถวายตัวแด่ พระเป็นเจ้า ผู้ที่ทำ�การรำ�พึงอย่างซื่อสัตย์อาจจะได้รับพระคุณจากพระจิต คือพระคุณเข้าฌาน ซึ่งทำ�ให้มนุษย์สนิทกับพระเป็นเจ้าด้วยความชื่นชอบ ความประพฤติของคริสตชน 33. สำ�หรับคริสตชน “เชื่อ” หมายความว่าเจริญชีวิตตามแนวความ เชื่อถึงพระเป็นเจ้า ความประพฤติของคริสตชนกำ�หนดตามพันธะที่ผูกมัดเขา ไว้กับสังคม และโดยพันธะที่เขามีต่อพระเยซูคริสตเจ้า เขารู้ว่าพระเยซูเจ้าได้ มาร่วมสนิทกับมนุษย์แต่ละคน และสิ่งที่เขาทำ�ต่อคนที่ต่ำ�ต้อยที่สุด ก็ถือว่า เขาได้ทำ�ร่วมกับพระเยซูคริสตเจ้าเอง ความรักต่อผู้อื่นนั้นเป็นการแสดงว่า คริสตชนรักพระเป็นเจ้าด้วย ตามที่นักบุญยอห์นกล่าวว่า “ผู้ไม่รักพี่น้องที่ เขาแลเห็นได้ ย่อมไม่รักพระเจ้าที่เขาแลเห็นไม่ได้ ” (1ยน 4:20) เพราะ ความรักนี้แหละ เขาย่อมให้อภัยความผิดแก่ผู้อื่น และถึงกับทำ�ดีต่อศัตรู ของตนเอง ตามที่พระเยซูเจ้าสอนในพระวรสารว่า “เพราะถ้าท่านให้อภัยผู้ ทำ�ความผิด พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ ก็จะประทานอภัยแก่ท่านด้วย แต่ถ้าท่านไม่ให้อภัยผู้ทำ�ความผิด พระบิดาของท่านก็จะไม่ประทานอภัยแก่ ท่านเช่นเดียวกัน” (มธ 6:14-15) 34. คริสตชนถือต่อตนเองโดยเหมาะสมแก่สภาพความเป็นจริง คือ เป็นคนถ่อมตนและมีสติ ที่ว่าเป็นคนถ่อมตนนั้น ก็เพราะสำ�นึกว่าตนมีความ สามารถน้อยและอ่อนแอ และรู้ว่าความหยิ่งทะนงเป็นแต่การหลอกลวงตน 70


ด้วยว่าพระเป็นเจ้าประทานทุกสิ่งให้เปล่า คริสตชนพึ่งพระเป็นเจ้าตลอดเวลา เพราะขัดสนและอ่อนแอ เพื่อขอพระองค์ประทานพละกำ�ลังและอภัยความ ผิด และที่ว่าเป็นคนมีสติ ซึ่งหมายความว่าเป็นนายบังคับกาย ความรู้สึกและ ความลำ�เอียงไปข้างความสนุกสบายนั้น ก็เพราะรู้ว่ามีความไม่เป็นระเบียบ แอบแฝงอยู่ในตน และมักถูกประจญให้หันเหไปทางความสนุกต่างๆทาง โลก เพราะเหตุนี้ คริสตชนจึงเป็นคน (ตื่น) เฝ้าระวังระไว เพื่อเป็นคนดี พร้อมเท่าที่จะเป็นได้ตามพระฉบับแบบของพระคริสตเจ้า รบสู้กับความโลภ และความอิจฉาแม้จะเป็นแต่ความรู้สึกภายใน ถือการอดเนื้อและการอด อาหาร พยายามเป็นคนใจกว้าง เพื่อพร้อมยิ่งขึ้นที่จะปฏิบัติตามการดลใจ ของพระจิตให้ถือชีวิตภาวนาและความรัก 35. ในฐานะเป็นเอกชน คริสตชนเป็นคนถือความสุจริตแม้ในเรื่อง เล็กๆน้อยๆเป็นคนถือกฎศักดิ์สิทธิ์ของครอบครัวอย่างเคร่งครัด ยกย่อง ญาติพี่น้อง เคารพคู่ครองถือเท่าเสมอตน และอบรมลูกให้เป็นคนที่มี เสรีภาพ ในฐานะเป็นพลเมือง คริสตชนถือหน้าที่ต่อสังคม “ของซีซาร์ คืนให้ ซีซาร์” ตามที่พระคริสตเจ้าสอนหลีกเลี่ยงการใช้กำ�ลังบังคับและพยายามอยู่ อย่างสามัคคีปรองดองกับทุกๆคน เคารพสิทธิ์ของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสรีภาพที่จะทำ�ตามมโนธรรมของตน 36. คริสตชนไม่ชอบอยู่เปล่า นักบุญเปาโลกล่าวว่า “ถ้าผู้ใดไม่ อยากทำ�งานก็อย่ากิน” (2ธส 3:10) คริสตชนถือว่าการทำ�งานเป็นการที่ 71


มนุษย์ร่วมมือกับพระเป็นเจ้า เป็นวิธีทำ�ให้ตนครบสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ แก่ประชาคมมนุษย์ เวลาทำ�งานก็เท่ากับมนุษย์ปฏิบัติตามน้ำ�พระทัยของพระ เป็นเจ้าในการเนรมิตสร้าง ความสามารถและความสุจริตในวิชาชีพเป็นสิ่งที่ จำ�เป็นสำ�หรับทำ�ให้เขาเป็นคนดีพร้อม 37. คริสตชนไม่ใช่คนอยู่โดดเดี่ยวในหมู่มนุษย์ แต่เป็นดังกิ่งไม้กิ่ง หนึ่งหรืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย จึงถือตนเป็นส่วนหนึ่งในพระศาสนจักร ซึ่งเป็นประชาคมมีชีวิตของคริสตชนแล้วร่วมเข้าในชีวิตพระศาสนจักรอย่าง เปิดเผย มีส่วนร่วมในวันฉลอง ซึ่งเป็นเวลาแสดงความชื่นชมยินดี หรือการใช้ โทษบาปเพื่อประกาศความเชื่อ และแสดงความเป็นน้ำ�หนึ่งใจเดียวกับพี่น้อง ร่วมศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีส่วนในพิธีบูชาขอบ​พระคุณ เพราะเขามีหน้า ที่ต้องร่วมซึ่งในพิธีนั้น เขามีส่วนร่วมในการถวายบูชาของพระคริสตเจ้า ร่วม กับประชาคมทั้งหมดและมีความสามัคคีปรองดองกับทุกคน 38. การให้อภัยและอยู่เป็นปรกติสุขนั้น ไม่หมายความว่าอยู่นิ่ง เฉย ตรงกันข้ามคริสตชนรู้ว่าตนมีหน้าที่ต้องส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม สันติภาพและเสรีภาพ เพราะมนุษยชาติต้องดียิ่งขึ้นและพัฒนาจนถึงที่สุด ซึ่ง มีแต่พระเป็นเจ้าเท่านั้นที่ทรงทราบในสังคมที่มืดมัวไปเพราะความอยุติธรรม และความหน้าซื่อใจคดนั้น คริสตชนย่อมต่อต้านการแสวงหาผลประโยชน์ การเบียดเบียนข่มเหงและอคติทุกแบบ ลงมือทำ�การส่งเสริมผู้อื่นด้วยตนเอง การทำ�งานเพื่อส่งเสริมมนุษยชาตินั้น 72


คริสตชนถือว่าเป็นจุดมุ่งหมายที่มีผลในตัวของมันเองและเขาทำ�งาน นั้น โดยร่วมมือกับบุคคลอื่นๆอีกเป็นอันมากที่มีความเชื่อถือไม่เหมือนกัน แต่คริสตชนจะพอใจแต่เพียงได้อุตสาห์ทำ�ให้โลกมีมนุษยธรรมเท่านี้หาได้ ไม่ เพราะเขาเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรซึ่งมีหน้าที่ต้องประกาศให้มนุษย์ ทุกคนรู้ว่าพระเป็นเจ้ารักเขา และได้ทรงใช้พระเยซูคริสตเจ้าพระบุตรของ พระองค์มาแจ้งให้เขาทราบถึงความรักของพระองค์ 39. คริสตชนได้เห็นพระเยซูคริสตเจ้าเป็นแบบฉบับความซื่อตรง และจริงใจในคำ�พูดและในความประพฤติทั่วไป แต่พระองค์ยังเป็นแบบฉบับ ความสงบและความยินดีภายในด้วย โดยที่รู้ว่าพระเป็นเจ้าเป็นพระบิดา คริสตชนไม่กระวนกระวายใจและไม่หวาดกลัว เมื่อประเชิญกับอำ�นาจแห่ง ความชั่ว เมื่อทำ�ความดีเขาก็ทำ�เพราะมีความรักเยี่ยงบุตร และความรักนั้น ย่อมขับไล่ความกลัวและทำ�ให้มีแต่ความชื่นชมยินดี คริสตชนเป็นผู้มีอิสระใน การใช้สิ่งของทางฝ่ายกายและวิญญาณ ตามที่นักบุญเปาโลสอนว่า “ทุกสิ่ง ล้วนเป็นของพวกท่าน แต่พวกท่านเป็นของพระคริสต์และพระคริสต์เป็นของ พระเจ้า” (1 คร 3:22-23) 40. คริสตชนเป็นผู้ที่มีความหวังตลอดเวลาในประวัติศาสตร์ เพื่อ คอยเร่งให้อนาคตซึ่งพระเป็นเจ้าแย้มให้เขาเห็นด้วยการเผยแสดงเป็นอัน สำ�เร็จไป ชีวิตของคริสตชนคอยขะมักเขม้นรับใช้ให้เป็นไปตามแผนการของ ความรักซึ่งพระเป็นเจ้ามีต่อมนุษย์ และคำ�ภาวนาของคริสตชนเป็นการสวด ขอทุกวันให้ได้ชีวิตที่พระเป็นเจ้าทรงสัญญาว่า “พระอาณาจักรพระองค์จงมา 73


ถึง” 41. เมื่อเชื่อมั่นดังนี้แล้ว แม้จะประสบความทุกข์เข็ญอย่างแสน สาหัส คริสตชนก็ยังสามารถรักษาใจให้แจ่มใสและสงบเขารู้ว่าพระเป็นเจ้า ไม่ปรารถนาให้มีความทุกข์และความเจ็บปวด แต่ที่มีความทุกข์และความเจ็บ ปวดในหมู่มนุษย์นั้น เพราะเป็นผลของบาป ฉะนั้นคริสตชนต่อสู้กับความทุกข์ ทรมานอย่างเต็มที่และพยายามบรรเทาความทุกข์ทรมานนั้นด้วยวิชาความ รู้ทุกวิถีทาง แต่เขาก็รู้ด้วยว่าความทุกข์ทรมานจะต้องมีอยู่เสมอในชีวิตของ มนุษยชาติที่ได้ทำ�บาปดังนั้นเช่นเดียวกับพระคริสตเจ้าที่ได้รักษาบรรเทาผู้ เจ็บป่วย แต่ก็ทรงยอมรับทนทรมานลำ�บากโดยไม่บ่นว่าและร่วมสนิทกับพระ คริสตเจ้า เมื่อมีส่วนในความทุกข์ลำ�เค็ญของพระองค์ เขาก็จะมีส่วนในการก ลับเป็นขึ้นมาของพระองค์ด้วย 42. ดังนี้ เมื่อคิดถึงความตาย คริสตชนย่อมไม่หวาดกลัว ความ ตายเป็นสิ่งที่น่าหวาดหวั่นสำ�หรับเขาเหมือนสำ�หรับมนุษย์ทุกคนก็จริงแต่ เพราะเขามีความเชื่อ ความตายกลับเป็นเครื่องกระตุ้นให้เขาถือซื่อสัตย์และ มีความหวัง เขารู้ว่าเขายืนหยัดอยู่ในความเชื่อและความรักต่อพระเป็นเจ้าจน วาระสุดท้ายในชีวิตนี้ เขาจะตายโดยร่วมสนิทกับพระคริสตเจ้า ที่จะนำ�ไป เสวยบรมสุขกับพระเป็นเจ้าตลอดไป เมื่อนั้นแหละ เขาจะดำ�รงอยู่ในความ สนิทใกล้ชิดกับ พระบิดา พระบุตร และพระจิต เขามีความหวังดังนี้ทุกครั้ง ที่ทำ�เครื่องหมายกางเขนบนตัวพลางออกพระนามพระตรีเอกภาพ 74


ภาคผนวก โครงสรางภายนอกของพระศาสนจักรคาทอลิก 1. พระศาสนจักรคาทอลิกมีโครงสรางแบบง่ายๆ แต่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งเราจะเห็นได้เกือบทั่วโลก โครงสรางนั้นสร้างขึ้นสำ�หรับใช้ส่งเสริมความ เชื่อและความรัก ทำ�ให้จุดหมายสำ�คัญของพระศาสนจักรสำ�เร็จไปได้ง่ายขึ้น จุดหมายของพระศาสนจักรก็คือ พระเกียรติมงคลพระเป็นเจ้าและความรอด ของมนุษย์ 2. ประมุขของพระศาสนจักรคือพระสันตะปาปา พระสันตะปาปา มีหน้าที่ปกครองพระศาสนจักร อีกทั้งป้องกันและส่งเสริมสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่พระศาสนจักร พระสันตะปาปาประทับอยู่ที่กรุงโรม ดูแลเอาใจใส่ ประโยชน์ส่วนรวม สันติสุขและความสามัคคีในหมู่มนุษย์ อำ�นาจของพระองค์ ไม่ใช่อำ�นาจทางการเมือง ผู้ทำ�งานใกล้ชิดช่วยพระสันตะปาปา คือ พระ คาร์ดินัลซึ่งพระองค์เป็นผู้แต่งตั้งกับศูนย์การบริหารพระศาสนจักร (Roman Curia) ซึ่งประกอบด้วยสมณกระทรวง สำ�นักงานและศาลต่างๆ พระองค์ มีอำ�นาจอธิปไตยเหนือนครวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนส่วนน้อย เหลือจากดิน แดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของพระสันตะปาปาในครั้งกระโน้นอาศัยอำ�นาจ อธิปไตยที่กล่าวนี้ พระสันตะปาปาสามารถปฏิบัติภาระหน้าที่ได้อย่างเป็น อิสระเต็มที่ กับส่งผู้แทนไปยังชาติต่างๆ ทั้งที่เป็นและไม่เป็นคาทอลิกสำ�หรับ ทำ�งานเพื่อสันติภาพและเพื่อประโยชน์ของชาวคาทอลิกในประเทศเหล่านั้น 75


3. พระสันตะปาปาแบ่งหน้าที่ปกครองพระศาสนจักรกับบรรดาพระ สังฆราช พระสังฆราชเหล่านี้เป็นผู้สืบตำ�แหน่งต่อจากคณะอัครสาวก ที่พระ เยซูคริสตเจ้าได้เลือกแต่ก่อนนี้ พระสังฆราชแต่ละองค์ซึ่งร่วมสนิททางพระ ฐานานุกรมกับพระสันตะปาปานั้นปกครองดินแดนที่ไดมอบกับท่านและเรียก ว่าสังฆมณฑล นอกจากนั้นพระสังฆราชทุกองค์มีส่วนร่วมกับพระสันตะปาปา ในการปกครองพระศาสนจักรสากล โดยอาศัยสมัชชาสังฆราช (Synod of Bishops) แต่ละสังฆมณฑลมีการปกครองเหมือนพระศาสนจักรสากล คือมี ผู้ช่วยงานพระสังฆราชซึ่งได้แก่คณะสงฆ์ผู้ได้รับมอบให้ดูแลส่วนต่างๆที่แบ่ง จากสังฆมณฑลอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่าสังฆตำ�บล แต่ละสังฆมณฑลมีจุดสำ�คัญ เรียกว่า “อาสนวิหาร” ฉันใดแต่ละสังฆตำ�บลก็มีวัดของตนเองสำ�หรับให้ สัตบุรุษบำ�เพ็ญศาสนกิจฉันนั้น 4. ชาวคาทอลิกถือว่าคณะนักบวชต่างๆ เช่น คณะเยสุอิต คณะ เบเนดิกติน คณะฟรันซิสกัน คณะดอมีนิกัน ฯลฯ ทั้งที่เป็นชายและหญิง ทั้ง ที่เป็นสงฆ์และฆราวาส มีความสำ�คัญอย่างยิ่ง คณะเหล่านี้ บางคณะก็ทำ�การ เพ่งพินิจรำ�พึง บางคณะก็ทำ�งานแพร่ธรรมในโลก ได้ตั้งขึ้นในเวลาต่างๆกัน โดยบุคคลสำ�คัญในประวัติศาสตร์ และโดยมากมักเป็นนักบุญ คณะเหล่า นี้ทำ�งานในกิจการแขนงต่างๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล งานอบรมเยาวชน งานเมตตาจิต งานธรรมทูต ฯลฯ และขึ้นกับอธิการใหญ่ แล้วแต่วินัยของ แต่ละคณะ และแล้วแต่ประโยชน์ทั่วไปของพระศาสนจักร 5. เนื่องจากมีลักษณะไม่เลือกถือชาติ พระศาสนจักรส่งเจ้า หน้าที่ของตนไปยังทุกชาติที่พระศาสนจักรตั้งอยู่ และให้ถือวัฒนธรรมกับ 76


การใช้ภาษาของเขา ดังนั้น ทุกวันนี้ พิธีศาสนาของพระศาสนจักรทำ�เป็น เป็นภาษาต่างๆ กว่า 250 ภาษา ในภาษาเหล่านี้ ภาษาลาตินได้รับการ ยกย่องเป็นพิเศษ เพราะเป็นภาษาที่ใช้ ณ กรุงโรมและมีความสำ�คัญทาง ประวัติศาสตร์ ถ้าพิจารณาในบางแง่อาจถือได้ว่าภาษาลาตินเป็นภาษาเอก ของพระศาสนจักรเป็นต้น ในการประกอบพิธีมิสซา ถ้าใช้ภาษาลาติน พระ สงฆ์สามารถเข้าใจกันและภาวนาร่วมกันได้ ไม่ว่าที่ใดในโลก 6. เพื่อสามารถดำ�รงและปฏิบัติงานได้ปรกติเรียบร้อยในสังคม ตั้งแต่แรกเริ่ม พระศาสนจักรได้ตั้งบัญญัติต่างๆชุดหนึ่งขึ้น คอยแก้ไขให้ทัน สมัยอยู่เสมอ และทุกวันนี้รวมเข้าไว้ในประมวลบัญญัติแห่งพระศาสนจักร บัญญัติเหล่านั้นกำ�หนดกฎเกณฑ์ภายนอกว่า ต้องถือชีวิตคริสตชนอย่างไร ระบุว่าคริสตชนมีสิทธิ์อะไร มีหน้าที่อะไร และจะถูกลงโทษอย่างไรถ้าทำ� ผิด นอกจากนั้น ยังวางระเบียบเกี่ยวกับการติดต่อในระหว่างพระฐานานุกรม คณะนักบวชและสัตบุรุษตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างพระศาสนจักรกับรัฐ ต่างๆด้วย 7. การสมัครใจบริจาคทรัพย์ของสัตบุรุษเป็นรายได้ทางเดียวเท่านั้น สำ�หรับจุนเจือความต้องการทางวัตถุของพระฐานานุกรมและการงานของสังฆ ตำ�บล สังฆมณฑล คณะนักบวช และแม้แต่องค์พระสันตะปาปาเอง การ บริจาคทรัพย์นั้นสัตบุรุษพึงทำ�ตามสติกำ�ลังและตามการดลใจของพระจิต ดังนี้ ก็เห็นได้ว่าพระศาสนจักรคาทอลิกมิใช่มหาอำ�นาจทางเศรษฐกิจและ ทางวัตถุแต่หวังพึ่งพระจิตของพระเป็นเจ้าแต่อย่างเดียว 77


บทภาวนา เดชะพระนาม พระบิดา และพระบุตร และพระจิต อาแมน บทอัญเชิญพระจิตเจ้า (Veni Sancte Spiritus) ก่อ เชิญเสด็จมา ข้าแต่พระจิตเจ้า รับ เชิญเสด็จมาสถิตในดวงใจสัตบุรุษ และทรงบันดาลให้ลุกร้อนด้วย ความรักของพระองค์ ก่อ โปรดประทานพระจิตของพระองค์ และสรรพสิ่งจะอุบัติขึ้นมา รับ แล้วพระองค์จะทรงเนรมิตแผ่นดินขึ้นใหม่ ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงสอนใจสัตบุรุษด้วยการส่องสว่างของพระจิต โปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลายซาบซึ้งในความเที่ยงธรรมโดยพระจิตนั้น และโปรด ให้ได้รับความบรรเทาจากพระองค์ท่านเสมอ เดชะพระคริสตเจ้า องค์พระผู้ เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย อาแมน บทข้าแต่พระบิดา (มธ 6:9-13) (Pater Noster) ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์ พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ พระอาณาจักรจงมาถึง พระประสงค์จงสำ�เร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์ 78


โปรดประทานอาหารประจำ�วัน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้ โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้แพ้การผจญ แต่โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้ายเทอญ อาแมน บทวันทามารีย์ (Ave Maria) วันทามารีย์ เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน พระเจ้าสถิตกับท่าน ผู้ได้รับ พระพรกว่าสตรีใดๆ และพระเยซูโอรสของท่าน ทรงได้รับพระพรยิ่งนัก สันตะมารีย์ พระมารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อลูกทั้งหลายผู้เป็น คนบาป บัดนี้และเมื่อจะตาย อาแมน บทพระสิริรุ่งโรจน์ (Gloria Patri) พระสิริรุ่งโรจน์แด่พระบิดา และพระบุตร และพระจิต เหมือนในปฐมกาล บัดนี้และทุกเมื่อตลอดนิรันดร อาแมน ความสุขแท้จริง (มธ 5:3-10) ผู้มีใจยากจนย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้าย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน ผู้มีใจอ่อนโยนย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับแผ่นดินเป็นมรดก ผู้หิวกระหายความชอบธรรมย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะอิ่ม ผู้มีใจเมตตาย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา ผู้มีใจบริสุทธิ์ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้เห็นพระเจ้า 79


ผู้สร้างสันติย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรพระเจ้า ผู้ถูกเบียดเบียนข่มเหงเพราะความชอบธรรมย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักร สวรรค์เป็นของเขา บทสารภาพบาป (Confuteor) ข้าพเจ้าขอสารภาพต่อพระเจ้า ผู้ทรงสรรพานุภาพและต่อพี่น้องด้วย ว่าข้าพเจ้าได้ทำ�บาปมากมาย ด้วยกาย วาจา ใจ และด้วยการละเลย ข้าพเจ้า เป็นคนบาป ข้าพเจ้ายอมรับว่าเป็นคนบาป (ข้อน-อก เพียงครั้งเดียว) ดังนั้น ขอพระนางมารีย์ผู้ทรงเป็นพรหมจารีเสมอ ขอทูตสวรรค์ และนักบุญทั้งหลาย และพี่น้องด้วย ช่วยวิงวอนพระเจ้าเพื่อข้าพเจ้าด้วยเทอญ พระบัญญัติความรัก (มธ 22:37,39) จงรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุด สติปัญญาของท่าน (ฉธบ 6:5) จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง (ลนต 19:18) บทบัญญัติพื้นฐานของพระศาสนจักร 1. จงร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ และหยุดทำ�งานในวันอาทิตย์และวันฉลอง บังคับ 2. จงรับศีลอภัยบาปอย่างน้อยปีละครั้ง 3. จงรับศีลมหาสนิทอย่างน้อยปีละครั้งในกำ�หนดปัสกา 4. จงอดอาหาร และอดเนื้อ ในวันที่กำ�หนด 80


5. จงบำ�รุงพระศาสนจักรตามความสามารถ พระบัญญัติสิบประการ (อพย 20:1-17,ฉธบ 5:1-21) “เราคือองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่าน” 1. จงนมัสการ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าพระองค์เดียวของท่าน 2. อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ 3. อย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ 4. จงนับถือบิดามารดา 5. อย่าฆ่าคน 6. อย่าผิดประเวณี 7. อย่าลักขโมย 8. อย่าพูดเท็จใส่ร้ายผู้อื่น 9. อย่าปลงใจผิดประเวณี 10. อย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น บทข้าพเจ้าเชื่อ (สัญลักษณ์ของอัครสาวก) (Credo) ข้าพเจ้าเชื่อในพระเจ้า พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ ทรงเนรมิตฟ้า ดิน ข้าพเจ้าเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรหนึ่งเดียวของพระเจ้า องค์พระ ผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย ทรงปฏิสนธิเดชะพระจิตเจ้า ทรงบังเกิดจาก พระนางมารีย์พรหมจารี ทรงรับทรมานสมัยปอนทิอัส ปิลาต ทรงถูกตรึง กางเขน สิ้นพระชนม์ และทรงถูกฝังไว้ เสด็จสู่แดนมรณะ วันที่สามทรงกลับ คืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย เสด็จสู่สวรรค์ ประทับเบื้องขวาพระเจ้า พระ 81


บิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ แล้วจะเสด็จมาพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย ข้าพเจ้าเชื่อในพระจิตเจ้า พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์สากล ความ สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวของผู้ศักดิ์สิทธิ์ การอภัยบาป การกลับคืนชีพของ ร่างกาย และชีวิตนิรันดร อาแมน บทแสดงความเชื่อ ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้าเชื่อมั่นในความจริงทุกข้อ ที่พระองค์ทรงเปิด เผย และที่พระศาสนจักรสั่งสอน โปรดทรงเพิ่มพูนความเชื่อของข้าพเจ้าด้วย เถิด อาแมน บทแสดงความหวัง ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้าหวังอย่างแน่วแน่ว่า เดชะพระบารมีของพระ เยซูคริสตเจ้า พระองค์จะประทานพระหรรษทานแก่ข้าพเจ้าในโลกนี้ และ สันติสุขนิรันดรในโลกหน้า ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรงรักษาพระสัญญาที่ทรงให้ ไว้เสมอ อาแมน บทแสดงความรัก ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้ารักพระองค์สุดดวงใจยิ่งกว่าสิ่งทั้งปวง เพราะ พระองค์ทรงเป็นความดีงามหาที่สุดมิได้ และทรงสมควรได้รับความรักจาก มนุษย์ทั้งมวล และเพราะรักพระองค์ ข้าพเจ้าจึงรักผู้อื่นเหมือนรักตนเอง และ พร้อมจะให้อภัยผู้อื่นเสมอ โปรดทรงเพิ่มพูนความรักของข้าพเจ้าด้วยเถิด อาแมน 82


บทแสดงความทุกข์ ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้าเป็นทุกข์เสียใจที่ได้ทำ�บาป เพราะบาปเรียก ร้องการลงโทษ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บาปทำ�เคืองพระทัยพระองค์ ผู้ทรง ความดีและทรงสมควรได้รับความรักจากมนุษย์ทั้งมวล เดชะพระหรรษทาน ช่วย ข้าพเจ้าตั้งใจแน่วแน่ว่า จะไม่ทำ�บาปอีกเลย จะหลีกหนีโอกาสบาป และจะพยายามใช้โทษบาป โปรดทรงพระกรุณาอภัยบาปแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด อาแมน บทเยซู มารีย์ โยเซฟ เยซู มารีย์ โยเซฟ ข้าพเจ้าขอถวายดวงใจ สติปัญญาและชีวิตแด่ท่าน เยซู มารีย์ โยเซฟ โปรดทรงช่วยข้าพเจ้าเมื่อใกล้จะตาย เยซู มารีย์ โยเซฟ โปรดทรงช่วยข้าพเจ้าให้สิ้นใจอย่างราบรื่นในศีลใน พรของท่านด้วยเทอญ บททูตสวรรค์ของพระเจ้า ทูตสวรรค์ของพระเจ้า พระองค์ทรงพระกรุณามอบข้าพเจ้าไว้ใน ความอารักขาของท่าน โปรดส่องสว่าง พิทักษ์รักษา คุ้มครอง และนำ�ทาง ชีวิตข้าพเจ้าในวันนี้ (คืนนี้) ด้วยเทอญ อาแมน บทโปรดระลึกเถิด โปรดระลึกเถิด พระแม่มารีย์พรหมจารีผู้โอบอ้อมอารี แต่ไหนแต่ไร มายังไม่เคยได้ยินเลยว่า ผู้ที่มาพึ่งพา ขอความช่วยเหลือและความคุ้มครอง 83


จากพระแม่ จะถูกพระแม่ทอดทิ้ง ลูกมั่นใจดังนี้จึงรีบมาเฝ้าพระมารดา พรหมจารีแห่งพรหมจารีทั้งหลาย ลูกเป็นคนบาป มาคร่ำ�ครวญอยู่เฉพาะ พระพักตร์ของพระแม่ ข้าแต่พระมารดาแห่งพระวจนาตถ์ โปรดอย่าเมินเฉย ต่อวาจาของลูก แต่โปรดฟังและประทานตามที่ลูกวอนขอด้วยเทอญ อาแมน บทข้าแต่พระชนนีพระเจ้า ข้าแต่พระชนนีพระเจ้า ลูกทั้งหลายหลบภัยมาพึ่งพระแม่ โปรดอย่า เมินเฉยต่อคำ�วอนขอในยามทุกข์ร้อนของลูก แต่โปรดช่วยลูกให้พ้นภัยทั้งสิ้น เสมอเถิด พระมารดาพรหมจารีผู้ทรงได้รับพระพร บทภาวนาก่อนอาหาร ข้าแต่พระเจ้า โปรดประทานพรแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายและแก่อาหารที่ จะรับประทานนี้ เพื่อจะได้ดำ�เนินชีวิตรับใช้พระองค์และเพื่อนมนุษย์ อาแมน บทภาวนาหลังอาหาร ขอขอบพระคุณ พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ สำ�หรับของประทาน นานาประการที่ได้รับจากพระองค์ ผู้ทรงจำ�เริญ และครองราชย์ตลอดนิรันดร อาแมน บทอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ ข้าแต่พระเจ้า โปรดประทานการพักผ่อนนิรันดรแก่เขาเถิด ขอให้ความสว่างนิรันดรส่องแสงแก่เขา 84


ขอให้เขา (ทั้งหลาย) ได้พักผ่อนตลอดนิรันดรเถิด บทวันทาพระราชินี (Salve Regina ) วันทาพระราชินี พระแม่ผู้ทรงเมตตากรุณา ทรงเป็นชีวิต ความอ่อน โยน และความหวังของลูกทุกคน ลูกผู้เป็นลูกหลานที่ถูกเนรเทศของเอวา ขอวันทา ร้องหาพระแม่ ถอนใจคร่ำ�ครวญร่ำ�ไห้ในเหวน้ำ�ตานี้ โปรดเถิดพระ แม่ ผู้ทรงช่วยเหลือเกื้อกูลลูก โปรดทอดพระเนตรเมตตามายังลูก และ เมื่อชีวิตเนรเทศนี้ผ่านพ้นไปแล้ว โปรดแสดงให้ลูกเห็นพระเยซู พระบุตร ผู้ทรงได้รับพระพร ข้าแต่พระแม่ผู้เมตตากรุณา พระแม่ผู้โอบอ้อมอารี มารีย์ พรหมจารีผู้มีพระทัยอ่อนโยน ก่อ รับ ก่อ รับ ก่อ รับ

บททูตสวรรค์แจ้งข่าว ทูตสวรรค์แจ้งข่าวแด่พระนางมารีย์ และพระนางทรงครรภ์เดชะพระจิตเจ้า วันทามารีย์ ฯลฯ ข้าพเจ้าคือผู้รับใช้ของพระเจ้า จงเป็นไปแก่ข้าพเจ้าตามวาทะของท่าน วันทามารีย์ ฯลฯ พระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ และเสด็จมาประทับอยู่ท่ามกลางข้าพเจ้าทั้งหลาย วันทามารีย์ ฯลฯ 85


ก่อ โปรดภาวนาเพื่อลูกด้วยเถิด พระชนนีเจ้าข้า รับ ลูกจะได้เหมาะสมที่จะรับตามพระสัญญาของพระคริสตเจ้า ให้เราภาวนา ข้าแต่พระเจ้า ทูตสวรรค์มาแจ้งข่าวให้ทราบแล้วว่าพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระองค์ทรงรับสภาพมนุษย์ ขอพระองค์ทรงพระกรุณาประทาน พระหรรษทานลงในจิตใจข้าพเจ้าทั้งหลาย ให้พึ่งพระทรมานและกางเขนของ พระคริสตเจ้า เพื่อจะได้กลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ เดชะพระคริสตเจ้า องค์ พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย (รับ) อาแมน บทราชินีสวรรค์ (Regina Caeli) ก่อ ราชินีสวรรค์ จงยินดีเถิด อัลเลลูยา รับ เพราะพระบุตรที่พระแม่ให้กำ�เนิดนั้น อัลเลลูยา ก่อ ทรงกลับคืนพระชนมชีพดังตรัสไว้ อัลเลลูยา รับ โปรดวอนขอพระเจ้าเพื่อลูกเถิด อัลเลลูยา ก่อ จงชื่นชมยินดีเถิด มารีย์พรหมจารี อัลเลลูยา รับ เพราะองค์พ ระผู้เป็น เจ้าทรงกลับคืน พระชนมชี พแล้ วอย่ า งแท้ จริ ง อัลเลลูยา ให้เราภาวนา ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงบันดาลให้โลกยินดี อาศัยการกลับ คืนพระชนมชีพของพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระองค์ อาศัยพระนาง มารีย์พรหมจารี พระมารดาของพระบุตร ขอทรงพระกรุณาโปรดให้ข้าพเจ้า 86


ทั้งหลาย ได้รับความสุขแห่งชีวิตนิรันดร เดชะพระบารมีพระคริสตเจ้า องค์ พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย (รับ) อาแมน

87


เอกสารแห่งสภาสังคายนา วาติกันที่ 2

1. พระสังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ 4 ธ.ค.1963 2. พระสมณกฤษฎีกาว่าด้วยสื่อมวลชน 4 ธ.ค.1963 3. พระธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร 21 พ.ย.1964 4. พระสมณกฤษฎีกาแห่งสภาสังคายนาว่าด้วยสากลสัมพันธภาพ 21 พ.ย.1964 5. พระสมณกฤษฎีกาแห่งสภาสังคายนาว่าด้วยบรรดาคริสตจักรคาทอลิก ตะวันออก 21 พ.ย.1964 6. พระสมณกฤษฎีกาแห่งสภาสังคายนาว่าด้วยการปรับปรุงและฟื้นฟูชีวิต นักบวช 28 ต.ค.1965 7. คำ�แถลงของสภาสังคายนาเรื่องความสัมพันธ์แห่งพระศาสนจักรกับ บรรดาศาสนาที่มิใช่คริสตศาสนา 28 ต.ค.1965 8. พระสมณกฤษฎีกาแห่งสภาสังคายนาว่าด้วยการแพร่ธรรมของฆราวาส 18 พ.ย.1965 9. พระธรรมนูญเรื่องการเผย (ความจริง) ของพระเป็นเจ้า 18 พ.ย.1965 10. พระสมณกฤษฎีกาแห่งสภาสังคายนาว่าด้วยการปฏิบัติงานและชีวิต ของพระสงฆ์ 7 ธ.ค.1965 88


11. สมณกฤษฎีกาแห่งสภาสังคายนาว่าด้วยการอบรมพระสงฆ์ 7 ธ.ค. 1965 12. พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ 7 ธ.ค.1965 13. พระสมณกฤษฎีกาว่าด้วยงานธรรมทูตแห่งพระศาสนจักร 7 ธ.ค.1965 14. คำ�แถลงของสภาสังคายนาว่าด้วยเสรีภาพในการถือศาสนา สิทธิของ บุคคล และของบุคคลที่จะมีเสรีภาพทางสังคม และบ้านเมืองในเรื่อง ศาสนา 7 ธ.ค.1965 15. พระสมณกฤษฎีกาแห่งสภาสังคายนาว่าด้วยหน้าที่ของพระสังฆราชใน การอภิบาลสัตบุรุษในพระศาสนจักร 28 ต.ค.1965 16. คำ�แถลงของสภาสังคายนาเรื่องการอบรมตามหลักพระคริสตธรรม 28 ต.ค.1965 ปณิธานของพระศาสนจักรคาทอลิก “พระศาสนจักรในประเทศไทยจะอุทิศตนฟื้นฟูชีวิตให้ชิดสนิทกับพระคริสต เจ้า ร่วมมือกัน และแบ่งปันซึ่งกันและกัน แสวงหาคุณค่าแห่งพระอาณาจักร ในสังคมไทย เจริญชีวิตเรียบง่าย ใกล้ชิดและรับใช้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ ยากจน” สาสน์ของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย 3 เมษายน 1988

89


สมัชชาพระสังฆราชคาทอลิก 1. การประชุมสามัญ ครั้งที่ 1 (28 กันยายน-29 ตุลาคม 1967) ออกสมณสาสน์เรื่อง “เกี่ยวกับความเห็นที่เป็นอันตรายและอเทวนิยม” (28 ตุลาคม 1967/2510) และพระสงฆ์ศาสนบริการ” (30 พฤศจิกายน 1967/2510) 2. การประชุมวิสามัญ ครั้งที่ 1: 11-28 ตุลาคม 1969 “เกี่ยวกับความ สัมพันธ์ระหว่างสันตะสำ�นักและสภาพระสังฆราช” 3. การประชุมสามัญครั้งที่ 2 (30 กันยายน –6 พฤศจิกายน 1971) ออกสมณสาสน์เรื่อง “ความยุติธรรมในสังคม” (30 พฤศจิกายน 1971/2514) 4. การประชุมสามัญ ครั้งที่ 3 (27 กันยายน –26 ตุลาคม 1974) สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ออกพระสมณสาสน์ “การประ กาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน” (Eveangelii Nuntiandi 8 ธันวาคม 1975/2518) 5. การประชุมสามัญ ครั้งที่ 4 (30 กันยายน-29 ตุลาคม 1977) บรรดา พระสังฆราชออกสาสน์ถึงประชากรของพระเป็นเจ้า เรื่อง “การสอน คำ�สอน” และสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ออกพระสมณ สาสน์เตือนใจเรื่อง “การสอนคำ�สอนในยุคปัจจุบัน (Catechesi Tradendae –16 ตุลาคม 1979/2522) 90


6. สมัชชาเฉพาะของสังฆราชแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ ลักแซมเบอร์ก และเบลเยี่ยม:14-31 มกราคม 1980) 7. สมัชชาเฉพาะของพระสังฆราชยูเครน:มีนาคม 1980 8. การประชุมสามัญ ครั้งที่ 5 (26 กันยายน-25 ตุลาคม 1980) บรรดา พระสังฆราชออก “สารถึงครอบครัวคริสตชนในโลกปัจจุยัน และมอบ ข้อเสนอแด่พระสันตะปาปา 43 ข้อ ซึ่งพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 สรุปเนื้อหาในพระสมณสาสน์ “ครอบครัวคริสตชนในโลกปัจจุบัน” (Familiaris Consortio-22 พฤศจิกายน 1981/2524) 9. การประชุมสามัญ ครั้งที่ 6 (29 กันยายน –29 ตุลาคม 1964) บรรดาพระสังฆราชออกสาสน์แก่ชาวโลก และพระสันตะปาปาออกพระ สมณสาสน์เรื่อง “การกลับคืนดีและการชดเชยใช้โทษบาป” (Reconciliatio et paenitentia-2 ธันวาคม 1984/2527) 10. การประชุมวิสามัญ ครั้งที่ 2 (24 พฤศจิกายน – 8 ธันวาคม 1985) โอกาสฉลองครบรอบ 20 ปี ที่การประชุมพระสังคายนาวาติกันที่ 2 สิ้นสุดลง ซึ่งบรรดาพระสังฆราชออกสาสน์ถึงประชากรของพระเจ้า และ “รายงานการประชุมครั้งสุดท้าย” (Relatio Finalis) 7 ธันวาคม 1985/2528 11. การประชุมสามัญ ครั้งที่ 7 (ตุลาคม 1987) เรื่อง “กระแสเรียก และงานแพร่ธรรมของฆราวาสในพระศาสนจักรและสังคม” และพระ สันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ออกสมณสาสน์เรื่อง “ฆราวาสคริสต ชน” (Cristifideles Laici) 30 ธันวาคม 1988/2531 12. การประชุมสามัญ ครั้งที่ 8 (ตุลาคม 1990) เรื่องการอบรมพระสงฆ์ 91


รายชื่อหนังสือพระคัมภีร์และอักษรย่อ ภาคพันธสัญญาเดิม 1. ปฐมกาล 2. อพยพ 3. เลวีนิติ 4. กันดารวิถี 5. เฉลยธรรมบัญญัติ 6. โยซูวา 7. ผู้วินิจฉัย 8. นางรูธ 9. ซามูแอลฉบับที่หนึ่ง 10. ซามูแอลฉบับที่สอง 11. พงศ์กษัตริย์ฉบับที่หนึ่ง 12. พงศ์กษัตริย์ฉบับที่สอง 13. พงศาวดารฉบับที่หนึ่ง 14. พงศาวดารฉบับที่สอง 15. เอสรา 16. เนหะมีย์ 17. โทบิต 18. ยูดิธ

ปฐก อพย ลนต กดว ฉธบ ยซว วนฉ นรธ 1ซมอ 2ซมอ 1พกษ 2พกษ 1พศด 2พศด อสร นหม ทบต ยดธ 92


19. เอสเธอร์ 20. มัคคาบีฉบับที่หนึ่ง 21. มัคคาบีฉบับที่สอง 22 โยบ 23. เพลงสดุดี 24. สุภาษิต 25. ปัญญาจารย์ 26. เพลงซาโลมอน 27. ปรีชาญาณ 28. บุตรสิรา 29. อิสยาห์ 30. เยเรมีย์ 31. เพลงคร่ำ�ครวญ 32. บารุค 33. เอเสเคียล 34. ดาเนียล 35. โฮเชยา 36 โยเอล 37 อาโมส 38. โอบาดีย์ 39. โยนาห์ 40. มีคาห์

อสธ 1มคบ 2มคบ โยบ สดด สภษ ปญจ พซม ปชญ บสร อสย ยรม พคค บรค อสค ดนล ฮชย ยอล อมส อบด ยนา มคา 93


41. นาฮูม 42. ฮะบากุก 43. เศฟันยาห์ 44. ฮักกัย 45. เศคาริยาห์ 46. มาลาคี

ภาคพันธสัญญาใหม่ 1. . มัทธิว 2. มาระโก 3. ลูกา 4. ยอห์น 5. กิจการอัครสาวก 6. โรม 7. โครินธ์ฉบับที่หนึ่ง 8. โครินธ์ฉบับที่สอง 9. กาลาเทีย 10. เอเฟซัส 11. ฟีลิปปี 12. โคโลสี 13. เธสะโลนิกาฉบับที่หนึ่ง 14. เธสะโลนิกาฉบับที่สอง

นฮม ฮบก ศฟย ฮกก ศคย มลค มธ มก ลก ยน กจ รม 1คร 2คร กท อฟ ฟป คส 1ธส 2ธส 94


15. ทิโมธีฉบับที่หนึ่ง 16. ทิโมธีฉบับที่สอง 17. ทิตัส 18. ฟีเลโมน 19. ฮีบรู 20. ยากอบ 21. เปโตรฉบับที่หนึ่ง 22. เปโตรฉบับที่สอง 23. ยอห์นฉบับที่หนึ่ง 24. ยอห์นฉบับที่สอง 25. ยอห์นฉบับที่สาม 26. ยูดา 27. วิวรณ์

1ทธ 2ทธ ทต ฟม ฮบ ยก 1ปต 2ปต 1ยน 2ยน 3ยน ยด วว

95




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.