คุตะบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วย สุจริตธรรม

Page 1

§ÿµ∫–Œå (∫∑∏√√¡°∂“) «à“¥â«¬ ÿ®√‘µ∏√√¡

§ÿµ∫–Œå (∫∑∏√√¡°∂“) «à“¥â«¬

ÿ®√‘µ∏√√¡

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วย สุจริตธรรม

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม ผู้จัดพิมพ์ ผู้แต่ง ผู้แปลและเรียบเรียง ปีที่พิมพ์ จำนวนพิมพ์

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการจัดทำหนังสือคุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) นายอับดุลลอฮ ดาโอ๊ะ และนายแวหามะ ดีแม พ.ศ. 2553 4,000 เล่ม

ที่ปรึกษา 1. นายสด แดงเอียด 2. นายกฤษศญพงษ์ ศิริ 3. นายเอนก ขำทอง 4. นายพิสิทธิ์ นิรัตติวงศกรณ์ 5. นางสาวภัคสุจิ์ภรณ์ จิปิภพ

อธิบดีกรมการศาสนา รองอธิบดีกรมการศาสนา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ เลขานุการกรมการศาสนา

ผู้รับผิดชอบดำเนินการ 1. นายอนุชา หะระหนี 2. นางสมจิตต์ ปัญญา 3. นางสาวชวมน เลมงคล 4. นางสาววาสนา เพ็งสะและ 5. นางสาวปริญญาภรณ์ กิจบรรทัด 6. นายพีระพล อาแว 7. นายนพรัตน์ ปันธิ 8. นางสาวจิรภา เกิดนิมิตร

หัวหน้าฝ่ายประสานกิจการศาสนาอิสลาม นักวิชาการศาสนา ชำนาญการ นักวิชาการศาสนา ชำนาญการ นักวิชาการศาสนา ชำนาญการ นักวิชาการศาสนา ปฏิบัติการ นักวิชาการศาสนา ปฏิบัติการ เจ้าพนักงานการศาสนา ปฏิบัติงาน นักวิชาการศาสนา

ปกและรูปเล่ม นายอนุชา หะระหนี


คำนำ

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจและ หน้าที่ในการสนับสนุนกิจการด้านศาสนา ตลอดจนส่งเสริมคุณธรรม ศีลธรรม ประชาชนในชาติ ให้ประพฤติปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เหมาะสม ตามหลักธรรม คำสอนของศาสนา ได้ร่วมกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ศาสนาอิสลามจัดทำหนังสือ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) เกี่ยวกับคุณธรรม 4 ประการ ประกอบด้วย เมตตาธรรม สามัคคีธรรม สุจริตธรรม และเที่ยงธรรม ในมิติของหลักธรรมคำสอนทางศาสนา อิสลาม เพื่อมอบให้แก่ผู้แสดงธรรมประจำมัสยิดต่าง ๆ ทั่วประเทศ นำไปแสดง คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ในวันศุกร์แก่ประชาชน หนังสือคุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม เป็นการรวบรวม หลักธรรมคำสอนทางศาสนาเกี่ยวกับความสุจริตในมิติของหลักธรรมคำสอน ทางศาสนาอิสลามไว้อย่างสมบูรณ์ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถนำหลัก คุณธรรมเกี่ยวกับความสุจริตไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม โดยมุ่งหวังให้เกิดการคิดดี ปฏิบัติดีต่อกัน อันเป็นรากฐานสำคัญในการเสริมสร้าง ความสมานฉันท์สามัคคีระหว่างกันของสมาชิกในสังคม กรมการศาสนา จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือคุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่ า ด้ ว ยสุ จ ริ ต ธรรมเล่ ม นี้ จะเป็ น แนวทางสำคั ญ ประการหนึ่ ง ในการส่ ง เสริ ม ให้ชาวไทยมุสลิมประพฤติปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันได้อย่างเข้มแข็งตามหลัก คำสอนของศาสนาอิสลาม เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของสังคมไทยสืบไป (นายสด แดงเอียด) อธิบดีกรมการศาสนา



สารบัญ

คุตบะฮ์วันศุกร์ เงื่อนไขและองค์ประกอบสำคัญ คุตบะฮ์ว่าด้วยสุจริตธรรม 1. สุจริตธรรม คุณธรรมค้ำจุนโลก 2. สุจริตธรรม นำสู่ความจำเริญ 3. สุจริตธรรมในครอบครัว 4. ผู้นำ-ผู้ตามในด้านสุจริตธรรม 5. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เชิงความสุจริตธรรม 6. การถือความสัตย์เป็นที่ตั้ง 7. สุจริตธรรม 8. สุจริตวาจา (สุจริตธรรม) 9. คุณลักษณะมุสลิมด้านสุจริตธรรม 10. “การใช้ทรัพย์สินอย่างสุจริตธรรม” 11. “สุจริตธรรมและความอดทน เป็นส่วนหนึ่งของความยำเกรง” 12. การละหมาดด้วยความสุจริตธรรม คือยอดแห่งอิบาดะห์ 13. สุจริตธรรม นำสังคมสู่สันติภาพ 14. “สุจริตธรรม นำสังคมให้พ้นวิบัติ และต้องกำจัดที่ต้นตอ” 15. การทำงานโดยสุจริตธรรม เสริมสร้างศีลธรรม คุตบะฮ์ที่สอง ภาคผนวก คำสั่งกรมการศาสนา ที่ 72/2553 คำสั่งกรมการศาสนา ที่ 111/2553

หน้า 1 5 11 15 20 25 28 32 38 43 46 51 56 62 67 72 77 79


คุตบะฮ์วันศุกร์ เงื่อนไขและองค์ประกอบสำคัญ

เงื่อนไขของคุตบะฮ์วันศุกร์ มีดังนี้ 1. คอเต็บต้องยืนแสดงธรรมคุตบะฮ์ทั้งสอง ถ้าหากมีความสามารถยืน และต้องนั่งคั่นระหว่างสองคุตบะฮ์ หากไม่สามารถยืนได้ก็ให้นั่ง และให้นั่งนิ่ง ๆ ระหว่างสองคุตบะฮ์ 2. คุตบะฮ์ต้องอยู่ก่อนละหมาดวันศุกร์ มีฮะดีษจำนวนมากที่ยืนยันในเรื่องนี้ และเป็นมติเอกฉันท์ 3. คอเต็ บ ต้ อ งสะอาด ปราศจากฮะดั ษ ทั้ ง เล็ ก และใหญ่ และ ต้องปราศจากสิ่งโสโครก (นะยิส) ที่ศาสนาไม่ยอมอภัยให้ที่เสื้อผ้า ร่างกาย และสถานที่ และต้องปกปิดเอาเราะห์ (อวัยวะที่ต้องปกปิด) เพราะคุตบะฮ์

คล้ายกับละหมาด จึงมีเงื่อนไขเรื่องความสะอาดเหมือนกับละหมาด 4. ต้องอ่านรุกุนคุตบะฮ์เป็นภาษาอาหรับ คอเต็ บ จำเป็ น ต้ อ งแสดงธรรมคุ ต บะฮ์ เฉพาะส่ ว นที่ เ ป็ น รุ กุ น เป็นภาษาอาหรับ ถึงแม้ผู้ที่มาร่วมละหมาดญุมอะห์นั้นจะไม่เข้าใจภาษาอาหรับ เลยก็ตาม 5. ต้องมีความต่อเนื่องกันระหว่างรุกุนคุตบะฮ์ ระหว่างคุตบะฮ์ทั้งสอง และระหว่ า งคุ ต บะฮ์ ที่ ส องกั บ ละหมาดญุ ม อะห์ ถ้ า หากมี สิ่ ง ใดมาคั่ น กั น นาน ระหว่างคุตบะฮ์ที่หนึ่งกับคุตบะฮ์ที่สอง หรือระหว่างคุตบะฮ์กับละหมาด คุตบะฮ์นั้น ถือว่าใช้ไม่ได้ ดังนั้นถ้าหากสามารถจะอ่านคุตบะฮ์อีกครั้งหนึ่งพร้อมละหมาด ญุมอะห์ได้ทันในเวลา ก็จำเป็นต้องกระทำ แต่ถ้าไม่สามารถก็ให้ละหมาดดุห์ริ 6. จะต้องมีผู้ได้ยินคุตบะฮ์สี่สิบคนจากบุคคลที่ปฏิบัติญุมอะห์ใช้ได้


รุกุน (องค์ประกอบสำคัญ) ของคุตบะฮ์ มีดังนี้ : 1. กล่าวคำสรรเสริญอัลลอฮ์ ด้วยคำใดก็ได้ 2. กล่าวคำซอลาวาตนบี (ซ.ล.) ด้วยการซอลาวาตรูปแบบใดก็ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องกล่าวถึงท่านนบีอย่างชัดเจน เช่น ใช้คำว่า แต่จะใช้

สรรพนามแทนไม่ได้ 3. กำชับให้มีการยำเกรงอัลลอฮ์ ตาอาลา จะด้วยถ้อยคำหรือสำนวนใด ก็ได้ รุกุนทั้งสามนี้ เป็นรุกุนของทั้งสองคุตบะฮ์ ถ้าหากไม่มีรุกุนทั้งสามนี้ อยู่ในคุตบะฮ์ ก็จะใช้ไม่ได้ 4. อ่านอายะฮ์หนึ่งหรือส่วนหนึ่งของอายะฮ์อัลกุรอานในคุตบะฮ์ใด

คุ ต บะฮ์ ห นึ่ ง โดยมีเงื่อนไขว่าอายะฮ์ที่อ่านนั้นจะต้ อ งให้ ค วามเข้ า ใจได้ และ มีความหมายชัดเจน การอ่านอายะฮ์ที่เป็นอักษรย่อ ในตอนเริ่มต้นของซูเราะฮ์ ต่าง ๆ นั้นใช้ไม่ได้ 5. ขอพร (ดุอาห์) ในคุตบะฮ์ที่สอง ด้วยถ้อยคำที่เรียกกันว่าเป็นดุอาห์ หมายเหตุ : รุกุน (องค์ประกอบ) ทั้ง 5 ประการนี้ ต้องแสดงเป็นภาษาอาหรับ ส่วนคำสอนและคำตักเตือนในคุตบะฮ์นั้นจะเป็นภาษาใดก็ได้



สุจริตธรรม คุณธรรมค้ำจุนโลก

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงยำเกรงอัลลอฮ์ และจงดำรงไว้ซึ่งความสุจริตธรรมเถิด อันที่จริง แรงกระตุ้นที่จะทำให้บุคคลหนึ่งมุ่งสู่การทำงาน เร่งเร้าให้ปฏิบัติภารกิจอย่าง วิจิตรบรรจง อดทน เสียสละในหน้าที่การงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยนั้นมีปัจจัย มาจากหลายประการด้วยกัน บางประการเป็นปัจจัยโดยตรงซึ่งอาจจะมองเห็นได้ พร้อม ๆ การงานที่ได้ปฏิบัติ บางอย่างเป็นปัจจัยทางอ้อมที่ซ่อนเร้นอยู่ในส่วนลึก ของจิตใจ ซึ่งบางครั้งผู้ที่ปฏิบัติงานเองก็แทบจะไม่รู้สึกถึงอิทธิพลของปัจจัยตัวนี้ ทั้ ง ที่ ใ นความเป็ น จริ ง มั น คื อ สาเหตุ ส ำคั ญ ที่ ค อยกระตุ้ น ให้ เ ขาเกิ ด ปฏิ กิ ริ ย า ที่จะกระทำหรือละทิ้งในสิ่งนั้น ๆ อิสลามให้ความสำคัญกับหัวใจเพราะมันคือฐานของการตั้งเจตนาว่า

จะสุ จ ริ ต ใจหรื อ ไม่ นั้ น อยู่ ที่ หั ว ใจทั้ ง สิ้ น ดั ง นั้ น อิ ส ลามจึ ง ให้ ก ารควบคุ ม ดู แ ล อย่างใกล้ชิดต่อเจตนาที่ควบคู่กับการกระทำ และให้ความสำคัญต่อแรงกระตุ้น และปฏิ กิ ริ ย าที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ การกระทำกิ จ การงานต่ า ง ๆ ของมนุ ษ ย์ และ งานปฏิบัตินั้นจะเกิดมรรคเกิดผลและมีคุณค่าในทัศนะของอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮู วะตะอาลา จะต้ อ งวางอยู่ บ นฐานของความสุ จ ริ ต ใจเป็ น สำคั ญ ดั ง ที ่

ท่านบรมศาสดามูฮำหมัดศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “แท้จริงกิจการงานทั้งหลาย (จะสมบูรณ์ได้) ก็ด้วยเจตนา และแต่ละคน จะได้รับผลตามที่ตนตั้งเจตนาไว้ ดังนั้นบุคคลใดที่การอพยพของเขาเพื่ออัลลอฮ์ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


และศาสนฑูตของพระองค์ การอพยพของเขาก็ย่อมเป็นไปเพื่ออัลลอฮ์ และ ศาสนทูตของพระองค์ และบุคคลใดที่การอพยพของเขาเพื่อโลกนี้เขาก็จะได้

รับมัน หรือเพื่อสตรีเขาก็จะได้แต่งงานกับนาง ดังนั้นการอพยพของเขาย่อม

เป็นไปตามเจตนาที่เขาได้อพยพไป” (รายงานโดยบุคอรี) พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย จิตใจที่ดีและบริสุทธิ์เพื่อพระเจ้าแห่งสากลโลกนั้นสามารถยกระดับ กิจการงานแห่งโลกดุนยาที่เขากระทำขึ้นสู่ระดับกิจการงานทางศาสนา ซึ่งจะได้

รับผลตอบแทน และในทางตรงกันข้ามการมีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์แอบแฝงนั้น จะลบล้ า งการปฏิ บั ติ คุ ณ งามความดี ผู้ ก ระทำจะไม่ ไ ด้ รั บ สิ่ ง ใดตอบแทนเลย หลังจากที่ได้กระทำไปอย่างเหน็ดเหนื่อย นอกจากความล้มเหลวและความ ขาดทุน อาจจะมี ใ ครบางคนได้ ส ร้ า งปราสาทที่ สู ง เสี ย ดฟ้ า กว้ า งขวางโอ่ อ่ า ล้อมรอบด้วยภูมิทัศน์อันสวยงาม หากเขามีเจตนาในการก่อสร้างดังกล่าวนั้น ด้ ว ยความสุ จ ริ ต ธรรมเพื่ อ เป็ น ประโยชน์ แ ก่ ม วลมนุ ษ ย์ แ ล้ ว เขาจะได้ รั บ กุ ศ ล ที่หลั่งไหลไม่ขาดสาย ดังหะดีษบทหนึ่งได้ระบุว่า “เล่าจากท่านอนัส รอดิยัลลอฮุอันฮู ว่า : ท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮ์

ได้กล่าวว่า : ไม่มีมุสลิมคนใดที่ได้ปลูกต้นไม้หรือเพาะปลูกพืชพันธุ์แล้วมีนก มนุษย์ หรือสัตว์มากิน นอกจากกุศลทานย่อมเป็นของเขาด้วยการดังกล่าว” (รายงานโดยมุสลิม) พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย จิ ต ใจที่ ข าดความสุ จ ริ ต ใจไม่ มี ค วามสุ จ ริ ต ธรรมจะไม่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ผล การตอบรับแก่การปฏิบัติในสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เปรียบได้ดั่งหินที่ลื่นปราศจาก คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


คราบดิ น จะไม่ มี พื ช พั น ธุ์ ใ ด ๆ งอกเงยขึ้ น มาได้ เปลื อ กนอกสุ ก ใสสกาว ย่อมไม่สามารถรักษาเนื้อในเน่าเสีย คุณค่าของสุจริตธรรมนั้นมันยิ่งล้ำค่าเสียนี่กระไร และความมีสิริมงคล ของมั น ก็ สู ง ส่ ง ยิ่ ง อะไรปานนั้ น การงานเพี ย งน้ อ ยนิ ด หากผสมผสานด้ ว ย ความสุจริตใจก็จะเติบโตจนมีน้ำหนักเท่าภูเขา ในทางกลับกันการงานที่มากมาย ใหญ่หลวงหากปราศจากความสุจริตใจ ณ อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา แล้วจะไม่มี น้ำหนักใด ๆ แม้เพียงเท่าผงธุลี ดังนั้นบุคคลใดก็ตามที่ชีวิตของเขาผูกพันอยู่กับข้อเท็จจริงที่กล่าวมา แน่นอนเขาจะดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข และพร้อมที่จะกลับคืนสู่พระองค์ อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เขาจะไม่เสียดายต่อสิ่งที่สูญเสียไป และไม่เศร้า โศกเสี ย ใจในสิ่ ง ที่ พ ลาดพลั้ ง ดั ง วจนะของท่ า นศาสดา ศอลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิวะซัลลัม ที่ว่า

ความว่า “บุคคลใดได้ตายจากโลกนี้ไปโดยมีความสุจริตใจต่ออัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เพียงองค์เดียว และสักการะต่อพระองค์โดยมิได้ตั้งภาคี

ใด ๆ และดำรงการละหมาด และบริ จ าคซะกาต แน่ น อนเขาได้ ต ายไปโดย

ความพอพระทัยของอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา” (รายงานโดยอิบนูมาญะฮ์) พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย พลังแห่งความสุจริตใจจะค่อย ๆ ดับรัศมีลงทีละน้อย ๆ ทุกขณะที ่

ความเห็นแก่ตัวได้เข้ามาครอบงำจิตใจ เกิดหลงชอบคำสรรเสริญเยินยออยากมี อำนาจอิทธิพล คลั่งไคล้ความสูงส่งและชื่อเสียง แต่พระองค์อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮู คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


วะตะอาลา ทรงรักในกิจการงานที่บริสุทธิ์ปราศจากความขุ่นมัวของสิ่งที่น่าตำหนิ ทั้งหลาย ดังที่พระองค์อัลลอฮ์ ทรงตรัสว่า : ความว่า “พึงสังวรเถิดสำหรับอัลลอฮ์นั้นคือการนมัสการโดยบริสุทธิ์”

(ซูเราะฮ์ อัซซุมัร อายะฮ์ที่ 3) จากโองการดังกล่าวข้างต้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ความสุจริตใจนั้นเป็นรากฐาน อั น สำคั ญ ของมนุ ษ ย์ ที่ มี ต่ อ พระผู้ เ ป็ น เจ้ า และที่ มี ต่ อ มนุ ษ ย์ ร่ ว มโลก เพราะ ความสุจริตใจ ความสุจริตธรรมนั้นถือเป็นคุณธรรมที่สูงส่งในการค้ำจุนโลก ให้เกิดสันติสุขอย่างแท้จริง ลักษณะของความสุจริตธรรมนั้น เป็นคุณธรรมทางศาสนาที่อิสลาม ประกาศยืนยัน ปรากฏอยู่ในหลักพื้นฐานทั่ว ๆ ไป ด้วยการอธิบายว่า บทบัญญัติ ที่พระเจ้าดำรัสใช้กับมนุษย์นั้นวางอยู่บนกฎเกณฑ์ที่แน่นอน นั่นคือการศรัทธา การปฏิบัติคุณงามความดี ไมตรีจิต และสุจริตใจ สุจริตธรรมในอิสลามเป็นศาสนบัญญัติ เป็นระบบที่ครอบคลุมวิถีชีวิต ของมนุษย์ทั้งหมดที่สอดคล้องกับผู้คนในพื้นโลก เหล่าศาสนฑูตแห่งอัลลอฮ์

ได้ร่วมกันก่อสร้างประภาคารแห่งความสุจริตธรรมและความสงบสุขบนโลกนี ้

ในทุกยุคทุกสมัย ในที่สุดสุจริตธรรมก็ได้หล่อหลอมบังเกิดขึ้นในจิตใจของบรรดา ผู้ร่วมอุดมการณ์สารแห่งมูฮำหมัด ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อย่างครบถ้วน จึ ง ไม่ ต้ อ งสงสัยเลยว่าความหมายแห่งสุจ ริ ต ธรรมเหล่ า นี้ จ ะซึ ม ซาบ เข้ า ไปในตั ว ของมนุ ษ ย์ และสะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง คุ ณ ค่ า ของภารดรภาพระหว่ า ง เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ด้ ว ยกั น นั้ น ก็ ด้ ว ยความสุ จ ริ ต ใจเพื่ อ ช่ ว ยกั น รั ง สรรค์ ค้ ำ จุ น โลก ให้มีความสงบสุขอย่างยั่งยืน

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


สุจริตธรรม นำสู่ความจำเริญ

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้รับการต้อนรับกลับบ้านเกิด นครมักกะห์ ท่านได้เข้ายังมัสยิดหะรอม ได้ตอวาฟ (เวียนรอบ) วิหารกะอ์บะฮ์ หลังเสร็จการตอวาฟ ท่านได้เรียก อุสมานบินฎอลหะฮ์ผู้ถือกุญแจกะอ์บะฮ์- ท่านเก็บกุญแจนั้นไว้ เมื่อท่านได้จัดการเรื่องทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ท่านก็เข้าไป ด้านในวิหารกะอ์บะฮ์ ท่านได้ละหมาดด้านประตูกะอ์บะฮ์แล้วกล่าวว่า “ลาอิลาฮ่า อิลลั้ลลอฮุวะห์ดะฮ์ ศอดาก้อวะอ์ดะฮ์ วะนะศ่อร่ออั๊บดะฮ์ วะฮะซะมั้ลอะห์ซา

บ่าวะห์ดะฮ์” จากนั้นท่านออกมาแล้วนั่งที่มัสยิด บัดนั้นท่านอะลี บิน อะลีฎอลิบ รอดิยัลลอฮุอันฮู ได้กล่าวว่า “โอ้ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ โปรดให้พวกเราทำหน้าที่

เป็นผู้ดูแลกะอ์บะฮ์ และบริการน้ำ” (แทนอุสมาน) ท่านนบีมิได้พูดว่ากระไร แต่ ไ ด้ เ รี ย กหาว่ า “อุ ส มาน บิ น ฎอลหะฮ์ อ ยู่ ไ หน?” เมื่ อ มี ผู้ น ำอุ ส มานมา ต่อหน้าท่านนบี ท่านได้กล่าวแก่อุสมานว่า “เอ้านี่กุญแจกะอ์บะฮ์ของท่านรับไป

โอ้ อุ ส มานวั น นี้ เ ป็ น วั น ดี วั น แห่ ง การรั ก ษาสั ญ ญา” แล้ ว อั ล ลอฮ์ ก็ ป ระทาน อัลกุรอานความว่า “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงบัญชาใช้พวกเจ้าให้สะสางเรื่องกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ แก่ เจ้าของสิทธิ์นั้น” (ซูเราะฮ์ อันนิซาอ์ อายะฮ์ที่ 58) คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


ความจากเรื่ อ งที่ ก ล่ า วมานี้ จ ะเห็ น ได้ ว่ า ท่ า นนบี ศอลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิวะซัลลัม ปฏิเสธที่จะมอบกุญแจกะอ์บะฮ์ให้ท่านอะลีที่รับอาสาบริการผู้ประกอบ พิธีฮัจย์แต่ท่านนบีมอบให้ท่านอุสมาน บินฎอลหะฮ์ เพื่อเป็นไปตามพระบัญชา ของอัลลอฮ์ที่ใช้ให้มอบกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์นั้น สุจริตธรรม หมายความตามภาษาว่า ความประพฤติชอบ สุจริตใจ บริสุทธิ์ใจ และมักใช้คู่กับคำ “ซื่อสัตย์” ว่า “ซื่อสัตย์สุจริต” ซึ่งครอบคลุม

ภาษาอาหรับว่า “อัลอะมานะห์” และ “อัลอิคลาส” ซึ่งมีความหมายว่า การให้ และรักษาสิทธิ์โดยครบถ้วนถูกต้องอย่างสุจริตใจ ดังนั้น มุสลิมต้องให้กรรมสิทธิ์ แก่ เ จ้ า ของสิ ท ธิ์ โ ดยสมบู ร ณ์ ทั้ ง สิ ท ธิ์ ข องอั ล ลอฮ์ ใ นการปฏิ บั ติ ศ าสนกิ จ

และควบคุมทุกอวัยวะมิให้ล่วงล้ำสู่การต้องห้าม และสิทธิ์ของผู้อื่นที่ต้องคืน

ให้เจ้าของสิทธิ์อย่างครบถ้วน พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย นอกจากอัลลอฮ์จะทรงบัญชาให้ปฏิบัติตามสิทธิ์ของตนและคืนสิทธิ์ แก่เจ้าของสิทธิ์โดยสุจริตธรรมแล้ว ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังให้ น้ำหนักความมีสุจริตธรรมเป็นเครื่องหมายแสดงความศรัทธาของบุคคลด้วย โดยท่านกล่าวความว่า “ไม่ถือว่ามีศรัทธาอันสมบูรณ์ สำหรับผู้ที่ไม่มีความสุจริตธรรม” (รายงานโดยอาหมัด) การมีสุจริตธรรม เป็นคุณธรรมและพื้นฐานสำคัญของอิสลาม ซึ่งต้องมี อยู่ในทุกกระบวนท่าของการดำรงชีพในภพนี้สำหรับศรัทธาชนที่แท้จริง เพราะ สุจริตธรรมมีหลากหลาย เช่น คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


สุจริตธรรมต่อศาสนกิจ โดยปกติของมุสลิมต้องมีหน้าที่ปฏิบัติสิทธิ์ ของศาสนกิจ ต้องดำรงการละหมาด ถือศีลอด กตัญญูต่อบิดามารดา เป็นอาทิ การเหล่ า นี้ ถื อ เป็ น ภารกิ จ ที่ อั ล ลอฮ์ ท รงมอบหมายไว้ จึ ง จำเป็ น ต้ อ งคื น สิ ท ธิ ์

อันบริบูรณ์แก่พระองค์ สุจริตธรรมต่อร่างกาย มุสลิมต้องระวังรักษาอวัยวะทุกส่วนให้ถูกใช้ไป ตามสิทธิ์อันชอบธรรมของมัน มิให้มันตกอยู่ในการต้องห้าม ดังนั้น ตาต้องไม่ใช้ มองสิ่งต้องห้าม หูต้องไม่ใช้ฟังสิ่งไร้สาระและเป็นบาป มือต้องไม่กระทำการ ที่ผิดศาสนา ปากต้องไม่ใช้เพื่อการโกหก ให้การเป็นพยานเท็จ และให้ร้ายผู้อื่น และเท้าต้องไม่ย่างกรายไปสู่การชั่ว เป็นต้น สุจริตธรรมต่อของฝาก เมื่อมีผู้ไว้วางใจฝากของไว้ มุสลิมมีหน้าที่ดูแล รั ก ษาของฝากนั้ น มิ ใ ห้ บ กพร่ อ งหรื อ สู ญ หายและต้ อ งคื น ของนั้ น ให้ ค รบถ้ ว น แก่ ผู้ เ ป็ น เจ้ า ของ หากเขาต้ อ งการหรื อ ครบกำหนดฝากในสภาพที่ ส มบู ร ณ์ ดั ง ตั ว อย่ า งที่ ท่ า นนบี ศอลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลั ม ปฏิ บั ติ ต่ อ พวกมุ ซ ริ กี น

มักกะห์ ซึ่งพวกเขาเชื่อในความซื่อสัตย์สุจริตของท่านนบีจึงได้ฝากสิ่งของไว้

เป็นจำนวนมาก และเมื่อท่านนบีจำต้องอพยพไปเมืองมะดีนะห์อย่างกะทันหัน ท่านจึงขอให้ท่านอะลี รอดิยัลลอฮุอันฮู อยู่ที่มักกะห์ก่อน เพื่อสะสางจัดการคืน ของฝากอันเป็นสิทธิ์ของชาวมักกะห์แก่เจ้าของเสียก่อน สุจริตธรรมต่อคำพูด คำพูดของคนเรานั้นสำคัญยิ่งนัก บางครั้งจะดูว่า ใครดีหรือเลวอาจดูจากคำพูดได้ เหมือนสำนวนไทยที่ว่า “สำเนียงส่อภาษา

กิริยาส่อสกุล” อัลลอฮ์ตรัสเป็นอุทาหรณ์ในอัลกุรอานบทอิบรอฮีมอันเกี่ยวกับ คำพูดที่ดีและคำพูดที่ไม่ดีความว่า

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


“เจ้าเห็นแล้วมิใช่หรือ อัลลอฮ์ทรงชักตัวอย่างคำพูดที่ดี เปรียบเสมือน ต้นไม้ ที่ ดี อั น รากของมันหยั่งลงยึดแน่นอยู่ และยอดของมั น ชะลู ด ขึ้ น สู่ ฟ้ า ”

(ซูเราะฮ์ อิบรอฮีม อายะฮ์ที่ 24) “และคำพูดที่เลวเปรียบเสมือนต้นไม้ที่เหี่ยวเฉา ซึ่งมีแต่ถูกถอนทิ้ง

จากพื้นดินไม่มีที่มั่นคง” (ซูเราะฮ์ อิบรอฮีม อายะฮ์ที่ 26) คำพูดที่สุจริตธรรม นอกจากจะได้รับการตอบรับจากผู้ฟังด้วยดีแล้ว ยั ง ถื อ เป็ น การบริ จ าคทานที่ จ ะส่ ง ให้ ผู้ พู ด ได้ กุ ศ ลอั น ยิ่ ง ใหญ่ ด้ ว ย ท่ า นนบี

ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม พจนารถว่า “และคำพูดที่ดีนั้น เป็นการบริจาคทานหนึ่ง” (รายงานโดยมุสลิม) สุจริตธรรมต่อการทำงาน ผู้มีหน้าที่การงานที่ต้องปฏิบัติ เขาต้องทำ หน้าที่ให้ดีที่สุด รับผิดชอบในหน้าที่อย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์สุจริตในหน้าที่ นักเรียนนักศึกษาต้องทำหน้าที่การเรียนอย่างขยันขันแข็ง ไม่ทุจริตในการสอบ และต้องเชื่อฟังและเคารพต่อครูอาจารย์และบิดามารดา ดังนั้น การทำงาน ทุกอย่างโดยสุจริตมีแต่คนไว้วางใจและขอพรให้ ย่อมได้ดีมีแต่จำเริญ หน้าที่การงานทุกประเภท ต้องปฏิบัติให้เต็มกำลังความสามารถและ ด้วยสุจริตใจเพราะทุกภาระหน้าที่ นอกจากจะมีการตรวจสอบจากหัวหน้างานแล้ว ทุกคนต้องได้รับการตรวจสอบจากอัลลอฮ์ตะอาลาด้วย ท่านนบี ศอลลัลลอ ฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวความว่า

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


“พวกท่านทั้งหลายล้วนมีหน้าที่รับผิดชอบแล้วต้องถูกสอบในหน้าที่นั้น ดั ง นั้ น ผู้ น ำที่ ป กครองปวงชน เขาก็ ถู ก สอบที่ เ กี่ ย วกั บ ปวงชน สามี มี ห น้ า ที่

รับผิดชอบต่อครอบครัวของเขา เขาต้องถูกสอบที่เกี่ยวกับครอบครัวเหล่านั้น ภรรยามีหน้าที่รับผิดชอบดูแลบ้านและลูก ๆ สามีและนางต้องถูกสอบด้วย และ คนรับใช้ก็มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของเจ้านาย ซึ่งเขาต้องถูกสอบเรื่องนี้ด้วย ดังนั้น พวกท่ า นทุ ก คนถื อ ว่ า มี ห น้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบและพวกท่ า นก็ จ ะต้ อ งถู ก สอบงาน

ในหน้าที่ทุกคน” (รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม) สุ จ ริ ต ต่ อ ความลั บ เรื่ อ งและข่ า วบางอย่ า งเป็ น ความลั บ เฉพาะตั ว

หรือเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะราชการที่ต้องปกปิด เพราะหากเปิดเผยจะส่งผลเสีย

ต่อผู้เกี่ยวข้องและถ้าเป็นความลับของประเทศหากเปิดเผยไปก็จะส่งผลเสีย

มหาศาล ดังนั้น ความลับถือเป็นสิทธิ์ที่จะต้องปกปิด หากเปิดเผยก็จะเป็น

การละเมิดสิทธิ์ ซึ่งถือเป็นการทุจริต และไม่สุจริตต่อสิทธิ์ของความลับ ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

“เมื่ อ คนหนึ่ ง ได้ ส นทนา (กั บ คนหนึ่ ง ) โดยเจตนาให้ เ ป็ น ความลั บ

แล้วหันจากไป คำพูดนั้นถือเป็นหน้าที่ (ที่ต้องปฏิบัติตามสิทธิ์ของความลับ คือ ต้องไม่เปิดเผย)” (รายงานโดยอะบูดาวูดและติรมิซีย์) สุจริตธรรมต่อการค้าขาย การค้าขายต้องเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก จึ ง ต้ อ งมี ค วามซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต ไม่ เ อาเปรี ย บและคดโกงลู ก ค้ า การไม่ สุ จ ริ ต ในการค้ า ขายนอกจากจะเป็ น การทำลายระบบเศรษฐกิ จ แล้ ว ยั ง ถื อ เป็ น บาป อีกด้วย “ท่านนบีเคยเดินตลาด เห็นคนขายอาหารตั้งเป็นกอง ๆ ท่านเอามือล้วง ไปใต้กองอาหารนั้นปรากฏว่าเปียกแฉะ ท่านถามคนขายว่า นี่มันอะไรกันนี่?

คนขายตอบว่า มีฝนตกลงมาทำให้อาหารเปียก ท่านนบีจึงถามเชิงตำหนิว่า

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


10 แล้วเจ้าทำไมไม่เอามันกองให้คนได้เห็นชัด ๆ ล่ะ? ท่านกล่าวต่อว่า “ผู้หลอกลวง ไม่นับเป็นพวกของฉัน” (รายงานโดยมุสลิม)

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


11

สุจริตธรรมในครอบครัว

ท่านพี่น้องผู้มีศรัทธาที่เคารพ ขอให้ท่านพี่น้องทั้งหลายจงยำเกรงพระองค์อัลลอฮ์เถิด ด้วยการปฏิบัติ สิ่ ง ที่ พ ระองค์ ท รงใช้ แ ละละเว้ น ห่ า งไกลจากสิ่ ง ที่ พ ระองค์ ท รงห้ า มแล้ ว ท่ า น ทั้งหลายจะได้ถูกขนานนามว่า “อัลมุตตะกีน” ที่พระองค์จะทรงตอบแทนความสุข ให้พวกเขาในวันกิยามะห์ด้วยการให้เข้าสวนสวรรค์ของพระองค์ ความสุ จ ริ ต เป็ น คุ ณ ธรรมอี ก ประการหนึ่ ง ที่ มุ ส ลิ ม ทั้ ง หลายจะต้ อ งมี ประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นการพูด การกระทำหรือความคิด ก็จะต้องอยู่บนพื้นฐานของ คุณธรรมข้อนี้ การไม่พูดเท็จ ไม่หลอกลวง ไม่บิดพลิ้วในสัญญา ถือเป็นสิ่งจำเป็น สำหรั บ คนมุ ส ลิ ม การทำความดี แ ละการยึ ด เอาความถู ก ต้ อ งเป็ น หลั ก คื อ ความสุจริต ความสุ จ ริ ต นั้ น จะต้ อ งเกิ ด ขึ้ น ทั้ ง ทางใจ ทางวาจา และการกระทำ ความสุจริตทางใจนั้น หมายถึงการคิดดี มีจิตใจบริสุทธิ์ ไม่อิจฉาริษยา ไม่มีกิเลส ใด ๆ อยู่ในจิตใจ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บุคคลนั้นได้เข้าสวนสวรรค์ ดังมี รายงานเรื่องของศอฮาบะห์ท่านหนึ่ง ในสมัยของท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะ ซัลลัม ที่เป็นผู้มีจิตใจสุจริต ซึ่งมีรายงานดังต่อไปนี้ รายงานจากท่านอนัส บินมาลิก รอดิยัลลอฮุอันฮู ได้กล่าวในขณะที ่

พวกเราได้ นั่ ง อยู่ กั บ ท่ า นร่ อ ซู ลุ้ ล ลอฮ์ ศอลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลั ม ท่ า นได้ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


12 กล่ า วว่ า จะมี ช ายชาวสวรรค์ ค นหนึ่ ง มาปรากฏตั ว ต่ อ พวกเรา ต่ อ มาได้ ม ี

ชายชาวอันศ็อรคนหนึ่งมาปรากฏตัวต่อพวกเรา โดยที่เคราของเขามีน้ำไหลหยด จากน้ ำ ละหมาดของเขา เขาได้ ถื อ รองเท้ า ทั้ ง สองข้ า งของเขาด้ ว ยมื อ ซ้ า ย พอวั น รุ่ ง ขึ้ น ท่ า นนบี ศอลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลั ม ก็ ไ ด้ ก ล่ า วเหมื อ นเดิ ม ชายคนดั ง กล่ า ว ก็ ไ ด้ ป รากฏตั ว เหมื อ นกั บ ครั้ ง แรก พอวั น ที่ ส าม ท่ า นนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็กล่าวเช่นเดิม แล้วชายคนนี้ก็ปรากฏดังเคย เหมื อ นครั้ ง แรก เมื่ อ ท่ า นนบี ศอลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลั ม ลุ ก ยื น ขึ้ น

ท่ า นอั บ ดุ ล เลาะห์ บิ น อั ม ร์ บิ น อาศ จึ ง เดิ น ตามเขาไป และกล่ า วกั บ เขาว่ า ฉันทะเลาะกับบิดาของฉันและฉันได้สาบานว่า ฉันจะไม่ไปหาเขาสามวัน หากท่าน เห็ น ว่ า ท่ า นควรให้ ฉั น พั ก อยู่ กั บ ท่ า นจนกว่ า จะผ่ า นพ้ น ช่ ว งเวลาดั ง กล่ า ว ท่านจงกระทำเถิด เขากล่าวว่า ได้ซิ อนัสเล่าว่า อับดุลเลาะห์ได้เล่าให้เขาฟังว่า เขาได้ น อนอยู่ กั บ ชายคนดั ง กล่ า วสามคื น เขาไม่ เ ห็ น ว่ า ชายคนนั้ น ได้ ลุ ก ขึ้ น ตอนกลางคืนเลย นอกจากเมื่อเขาตื่น เขาก็จะพลิกตัวบนที่นอนของเขา เขาจะ กล่าวถึงอัลลอฮ์และกล่าวตักบีรจนกระทั่งเขาลุกขึ้นละหมาดฟัจร์ อับดุลเลาะห์ กล่าวว่า แต่ฉันไม่เคยได้ยินเขาพูด นอกจากความดี เมื่อเวลาผ่านไปสามคืนแล้ว จนฉันเกือบจะดูถูกความดีของเขาที่ทำว่าน้อยเหลือเกิน ฉันได้กล่าวความจริง แก่เขาว่า โอ้อับดุลเลาะห์ ระหว่างฉันกับบิดาของฉันไม่ได้มีเรื่องโกรธเคืองและ ไม่พูดจากัน แต่ฉันได้ยินท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว เกี่ยวกับตัวท่านสามครั้งว่า จะมีชายชาวสวรรค์ปรากฏตัวต่อพวกท่านในขณะนี้ และท่านก็ปรากฏตัวขึ้นทั้งสามครั้ง ฉันต้องการมาพักกับท่าน เพื่อฉันจะดูท่านว่า ท่านทำอะไรบ้าง แล้วฉันจะทำตามท่าน แต่ฉันไม่เห็นว่าท่านทำอามั้ลใหญ่โตเลย แล้วสิ่งใดเล่าเป็นสิ่งที่ทำให้ท่านบรรลุถึงสิ่งที่ท่านร่อซู้ลได้พูดถึง เขากล่าวว่า ไม่มีอะไรหรอกนอกจากสิ่งที่ท่านเห็น และเมื่อฉันจะกลับออกไป เขาได้เรียกฉัน แล้วกล่าวว่า คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


13

ไม่มีสิ่งใดนอกจากสิ่งที่ท่านเห็น แต่ฉันไม่พบในตัวฉันว่ามีการอาฆาต ผู้ใดจากบรรดามุสลิมและฉันไม่เคยอิจฉาคนหนึ่งคนใดเลยในความดีที่พระองค์ ทรงประทานแก่เขา ท่านอับดุลเลาะห์จึงกล่าวว่า นี่แหละคือสิ่งที่ทำให้ท่านบรรลุถึง (รายงานโดยอะบู ยะอ์ลา และท่านบัซซาร) นี่คือตัวอย่างของคนที่มีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเขาเป็น คนที่มีคำพูดที่ดี มีความคิดดี มีจิตใจบริสุทธิ์ ไม่อิจฉาริษยา ไม่อาฆาตแค้น

ไม่มีกิเลสใด ๆ อยู่ในจิตใจของเขา ส่วนความสุจริตทางวาจาและการกระทำนั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะการสุจริตทางวาจา และการกระทำนั้น จะทำให้บุคคลไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น เป็นคุณสมบัติของมุสลิมดังที่ท่านบบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ความว่า มุสลิมนั้นคือ บุคคลที่มุสลิมทั้งหลายได้รับความปลอดภัย จากวาจาและการกระทำของเขา (รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม) นอกจากนี้ ความสุจริตทางการกระทำยังครอบคลุมถึงการไม่ทำลาย สิ่งของที่เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น ต้นไม้ และธรรมชาติต่าง ๆ ที่พระองค์ อัลลอฮ์ได้สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์โลกด้วย การมีความสุจริตทั้งกาย วาจา และจิตใจ หากนำมาใช้ในครอบครัวแล้ว จะทำให้ครอบครัวนั้นเป็นครอบครัวที่มีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ เนื่องจาก บรรดาสมาชิกในครอบครัวต่างไม่สร้างความเดือดร้อน ไม่สร้างความหวาดระแวง ซึ่ ง กั น และกั น พู ด จาสนทนากั น ด้ ว ยคำพู ด ที่ ไ พเราะด้ ว ยความจริ ง ใจ ความ สมานฉั น ท์ ก็ จ ะเกิ ด ขึ้ น ภายในครอบครั ว และเมื่ อ ออกไปประกอบอาชี พ เพื่ อ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


14 แสวงหาปัจจัยมาหล่อเลี้ยงครอบครัว รายได้ที่ได้มาจากการประกอบอาชีพก็เป็น รายได้ ที่ บ ริ สุ ท ธิ์ มี บ ารอกั ต (สิ ริ ม งคล) เพราะเกิ ด จากการประกอบอาชี พ

ที่สุจริต เนื้อหนังของสมาชิกของครอบครัวที่เจริญเติบโตขึ้นมาก็เป็นเนื้อหนัง ที่เจริญเติบโตขึ้นมาด้วยเครื่องอุปโภค บริโภคที่ฮาลาล อันเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่จะทำให้บรรดาบุคคลเหล่านั้นเป็นบุคคลที่อยู่ในหลักการของศาสนา ไม่ปฏิบัติ ในสิ่งที่ศาสนาห้ามหรือเป็นบาป เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถที่จะช่วยเหลือ และพัฒนาสังคม และประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ สังคมใดก็ตามหากประกอบขึ้นจากครอบครัวที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ สังคมนั้นก็เป็นสังคมที่เข้มแข็ง เป็นสังคมที่สามารถพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าได้ เป็นสังคมที่ปราศจากอบายมุขทั้งหลาย และปลอดภัยทั้งร่างกายและทรัพย์สิน ของผู้อยู่อาศัย เป็นสังคมที่น่าอยู่เพราะสมาชิกของสังคมนี้ล้วนเป็นคนดี จำเป็นอย่างยิ่งที่เราท่านทั้งหลายจะต้องนำเอาสุจริตธรรมมาใช้ เริ่มตั้งแต่ ภายในครอบครั ว จนกระทั่ ง การนำธรรมข้ อ นี้ ไ ปใช้ ใ นสั ง คม เพื่ อ ให้ เ ป็ น ไป ตามคำสั่งใช้ของอัลอิสลามที่ไม่ให้สร้างความเดือดร้อน อันตรายให้กับตัวเอง และผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นก็ตาม ดังที่ท่านนบี

ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ความว่า ไม่มีการทำความเดือดร้อนใด ๆ ต่อตัวเองและผู้อื่น. (รายงาน โดยอะหฺมัด.)

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


15

ผู้นำ-ผู้ตามในด้านสุจริตธรรม

คำว่า “สุจริต” ตามพจนานุกรมหมายถึง ความประพฤติชอบ บริสุทธิ์ใจ จริงใจ เช่น เขาช่วยเหลือด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ส่วนคำว่า “ธรรม” นั้น หมายถึง คำสั่งสอนในศาสนา ซึ่งเมื่อนำเอาคำว่าสุจริตและคำว่า ธรรมมารวมกั น ก็ ไ ด้ ค วามหมายว่ า “พฤติ ก รรมที่ บ ริ สุ ท ธิ์ ต ามคำสั่ ง สอน

ของศาสนา” ซึ่ ง ก็ ห มายถึ ง มี ว จี ก รรม พฤติ ก รรม และมโนกรรมที่ บ ริ สุ ท ธิ์ ตามหลักคำสอนของศาสนานั่นเอง ศรัทธาชนที่เคารพทุกท่าน การอยู่ร่วมกันจำเป็นต้องมีผู้นำและผู้ตาม มิใช่ทุกคนเป็นผู้นำแล้วก็ ไม่ใช่ทุกคนเป็นผู้ตาม ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ต้องการเป็นผู้นำ ปัญหาทางสังคม จึ ง เกิ ด ขึ้ น ไม่ ห ยุ ด หย่ อ น ความอยาก ความต้ อ งการอย่ า งนี้ เ ป็ น เรื่ อ งที่ ขั ด กั บ หลั ก การของศาสนาแห่ ง เรา ในสมั ย อดี ต ผู้ น ำเป็ น ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ ความเชื่ อ ถื อ

ได้ รั บ การยกย่ อ งจากผู้ ค นด้ ว ยความจริ ง ใจและบริ สุ ท ธิ์ ใ จ เรี ย กได้ ว่ า “ผู้ น ำ

ทางธรรมชาติ ” ไม่ ต้ อ งผ่ า นการสรรหา ไม่ ต้ อ งผ่ า นการสมั ค ร ไม่ ต้ อ งผ่ า น การเลือกตั้ง ไม่ต้องผ่านการหาเสียง เป็นประชามติโดยเอกฉันท์ว่า คน ๆ นั้นคือ ผู้นำปวงชน เพราะเขาอยู่ในใจของคนทุกคน เขามีสภาวะการนำที่ทุกคนยอมรับ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


16 มาในปั จ จุ บั น ผู้ น ำทางธรรมชาติ สู ญ พั น ธุ์ ไ ป จึ ง ต้ อ งมี ก ารสรรหา มีการเสนอ มีการรับรอง มีการสมัคร มีการหาเสียง มีการเลือกตั้งใช้เสียงของ ประชาชนที่เรียกว่า “อำนาจ” ที่เรียกว่าอำนาจเป็นของมวลชนมาเป็นตัวตัดสิน มองดูสะอาดดี แต่ละขั้นตอนแปดเปื้อนไปด้วยปัญหา แม้ว่าเสียงส่วนใหญ่

ก็เป็นเรื่องที่ก่อปัญหา แปลว่า ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่มีการศึกษา ผู้นำก็เป็นผู้ไม่มี การศึกษา ถ้าคนส่วนใหญ่เลวผู้นำก็จะได้กับคนเลวต่อให้มีโต๊ะอิหม่ามสักร้อยคน เจ้ า อาวาสอี ก สั ก ร้ อ ยคน ร่ ว มคั ด สรรอยู่ ด้ ว ยก็ จ ะได้ กั บ คนส่ ว นใหญ่ ดั ง นั้ น

หากคนส่วนใหญ่มี 800 คน บวกกับโต๊ะอิหม่ามอีก 100 คน และเจ้าอาวาส อีก 100 คน ผู้นำก็จะได้กับคนส่วนใหญ่ ก็จะไม่ได้กับคนดี ๆ อย่างโต๊ะอิหม่ามดี ๆ และเจ้าอาวาสดี ๆ คงไม่ขอเสนอในแง่การได้มาซึ่งผู้นำ แต่จะเสนอถึงสุจริตธรรมที่ต้องมี อยู่ในตัวผู้นำ มี ค ำสอนทางศาสนากล่ า วว่ า โลกนี้ อ ยู่ ไ ด้ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข สั น ติ ด้วยปัจจัย 4 ประการ 1. ด้วยความรู้ของผู้รู้ 2. ด้วยความยุติธรรมของผู้นำ 3. ด้วยความใจบุญของคนรวย 4. ด้วยการขอพรของคนยากคนจน ศาสดามู ฮ ำหมั ด คุ ณ สมบั ติ ข องท่ า นที่ ต้ อ งตามประการหนึ่ ง คื อ

“อัซซิดกุ” ซึ่งแปลว่า “สัจจะ” ซื่อสัตย์ สุจริต ตรงไปตรงมาบนพื้นฐานแห่ง

หลักธรรมในด้านคำพูด (วจีกรรม) ท่านได้กล่าวไว้ว่า ซึ่ ง หมายความว่ า “แท้ จ ริ ง การมี สั จ จะนั้ น นำไปสู่ ค วามดี และการมี

ความดีนั้นนำไปสู่สวรรค์” ในกุรอานกล่าวว่า คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


17

ซึ่งมีความว่า “และพวกท่านจงเป็นอยู่ร่วมกับบรรดาสุจริตชน” (ซูเราะฮ์ อัตเตาบะฮ์ อายะฮ์ที่ 120) ในทางพฤติ ก รรม ท่ า นก็ เ ป็ น ที่ ย อมรั บ ของปวงชน ว่ า เป็ น ผู้ ท รง “อัล-อามีน” ไว้ใจได้ตั้งแต่ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮ์ให้เป็นรอซู้ล

ท่านไม่เคยสั่งให้รุดหน้า ให้ไปข้างหน้า นอกจากยังสถานที่ที่มีความปลอดภัย

แต่ท่านจะใช้คำพูดว่า “จงตามข้าพเจ้ามา” แปลว่า ท่านจะต้องเผชิญกับทุกสิ่ง

ทุกอย่างก่อน ในเรื่องการธำรงรักษาไว้ซึ่งอธิปไตย แต่หากเป็นเรื่องของเกียรติยศ ท่านจะสั่งให้บรรดาศอฮาบะห์ของท่านนำหน้า และท่านเดินตาม ดังในหนังสือ บัรซันยี ตอนหนึ่งกล่าวว่า ซึ่งแปลว่า “พวกท่านจงทำให้ด้านหลังฉันว่างเพื่อมลาอีกะฮ์” ในทางมโนกรรม แน่ น อนบ่ ง ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง มโนกรรมของท่ า นได้ ท าง พฤติกรรม และวจีกรรมดังกล่าวแล้ว ไม่ ว่ า เป็ น ใครเมื่ อ มี สุ จ ริ ต ธรรม คนนั้ น ต้ อ งได้ รั บ การยกย่ อ ง คำว่ า

สุจริตธรรมเมื่อมีในผู้นำ-ผู้ตาม สังคมจะเป็นสุข นั่นหมายถึงผู้นำมีสุจริตธรรม เพื่ออัลลอฮ์ ผู้ตามมีสุจริตธรรมเพื่ออัลลอฮ์ ไม่ได้เลือกแสดงความสุจริตธรรม เฉพาะที่จะนำมาซึ่งประโยชน์ในเรื่องใด ๆ จาก กิน-กาม-เกียรติ แก่ตนเองเท่านั้น หากแต่ต้องรักษา เกาะเกี่ยว ยึดเหนี่ยวไว้ แม้จะไม่ได้ก่อเกิดประโยชน์แก่ตัวเอง หรือบุคคลที่ต้องการก็ตาม หากได้แสดงออกซึ่งอาการใด ๆ เพื่ออัลลอฮ์ คนที่แสดงออกก็จะไม่มี อาการท้อแท้ ไม่มีความรู้สึกว่าเสียเปรียบ หรือกลัวถูกประณามว่า “โง่” เพราะ ทำเพื่ออัลลอฮ์ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


18 ตัวอย่างเช่น เราปฏิบัติดีต่อภรรยา และสมาชิกภายในบ้าน แต่เราไม่ได้ รับการปฏิบัติดีตอบ แน่นอนเราจะเกิดความท้อแท้ แต่หากเราทำไปเพื่ออัลลอฮ์ เพราะมันคือหน้าที่ของเรา เราก็จะมีความภูมิใจที่เราได้ทำเพื่ออัลลอฮ์ ดังนั้น

เมื่อเราทำเพื่อภรรยาหรือเพื่อลูก ๆ ของเรา พวกเขากลับไม่ทำดีตามคำแนะนำ ของเรา ก็ช่างเขา เราพ้นหน้าที่แล้ว เราได้ทำเพื่ออัลลอฮ์แล้ว และเราก็จะทำ ต่อไปโดยไม่ท้อแท้ ไม่รู้สึกในเรื่องได้เปรียบเสียเปรียบ หรือถูกประณามว่าเป็น “ไอ้โง่” อย่าท้อแท้นะครับ ในสมัยของท่านศาสดานั้น มีคนรวยไปขโมยของคนอื่น เมื่อถูกจับได้

ก็ยังติดสินบน ท่านนบี ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

ความว่า “หากฟาติมะฮ์บุตรสาวของมูฮำหมัดเป็นคนขโมย ฉันก็ต้อง

ตัดมือนาง” แปลว่า ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เห็นกับครอบครัว ไม่เห็นแก่ญาติพี่น้องทุกคน ต้องอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ความสุจริต นอกจากจะเป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติเองแล้ว คนรอบข้างไม่ว่า จะเป็นพรรคพวก ญาติพี่น้องก็พลอยได้รับรังสีแห่งความดีนั้นไปด้วย และก็ทำให้ คนเลว ๆ ได้แง่คิด กลับตัวกลับใจเป็นคนดีได้ เช่น เรื่องราวของชายคนหนึ่งที่จะ ไปศึกษาหาความรู้ ก่อนจะเดินทางไปแม่ได้ให้เงินติดตัวไป 40 ดีนาร แล้วสั่งเสีย ว่าลูกต้องเป็นผู้ที่มีความสุจริตในทุก ๆ เรื่อง ปรากฏว่าขณะเดินทาง กองโจรได้ ปล้นสดมภ์ผู้โดยสารในพาหนะนั้นเพื่อยึดทรัพย์สินที่มีค่า โดยที่ทุกคนจะถูกถาม จากหั ว หน้ า กองโจรนั้ น ว่ า “มี อ ะไรติ ด ตั ว มาบ้ า ง นำออกมาให้ ห มด” ทุ ก คน ไม่ยอมบอกความจริง ได้ยื่นทรัพย์สินที่ติดตัวมาเพียงบางส่วนเท่านั้นให้โจรไป เมื่อหัวหน้ากองโจรได้เดินมาขอจากชายผู้นี้ ชายผู้นี้บอกตามตรงว่า “มีเงินติดตัว คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


19 ซึ่ ง แม่ ใ ห้ ม า 40 ดี น าร” หลั ง จากยื่ น ให้ ก็ ถู ก ตรวจค้ น เพิ่ ม เติ ม แต่ ไ ม่ พ บว่ า

มีทรัพย์สินหรือของมีค่าอื่นใดอีก หัวหน้าโจรจึงได้ถามว่า “ทำไมท่านจึงสุจริต บอกตามตรง ไม่เหมือนผู้โดยสารรายอื่น ๆ” ก็ได้รับคำตอบว่า “แม่สั่งให้สุจริต

ตรงไปตรงมาไม่โกหก” หัวหน้าโจรได้คิด จึงเลิกพฤติกรรมนั้น และสั่งให้ลูกน้อง คืนทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้โดยสารทุก ๆ คน

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


20

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เชิงความสุจริตธรรม

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย ขอให้เราท่านทั้งหลายจงมีความยำเกรงอัลลอฮ์และมีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อกันเถิด ความซื่อสัตย์เป็นหลักคุณธรรมประการหนึ่งที่ศาสนาอิสลามต้องการให้ มุสลิมทุกคนต้องมีไว้เป็นคุณสมบัติประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการกระทำ หรือแม้แต่การนึกคิด มุสลิมต้องพูดจริงทำจริง ไม่โกหกหลอกลวง ไม่บิดพลิ้ว

ต่อสัญญา อิสลามได้เรียกร้องและเชิญชวนผ่านทางคำสอนจากอัลกุรอานและ อัลหะดีษ ตลอดจนแบบฉบับของบรรพชนรุ่นก่อนที่ได้เคยปฏิบัติมา อั ล ลอฮ์ ซุ บ ฮานะฮู ว ะตะอาลา ทรงกำชั บ ให้ มุ ส ลิ ม มี อ ะมานะฮ์ มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ว่าเราจะอยู่ในสภาพใดก็ตาม มุสลิมก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามหลักการศาสนาอย่างเคร่งครัด ทั้งต่อหน้า ผู้คนและลับหลัง และไม่มีการทรยศต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่ว่าจะปฏิบัติ ต่อบุคคลในสังคมหรือในครอบครัว พร้อมกับให้ความยุติธรรมแก่ทุกคน บุคคล ที่ปราศจากความซื่อสัตย์เป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางศาสนาและการศรัทธา อย่างยิ่ง อั ล ลอฮ์ ซุ บ ฮานะฮู ว ะตะอาลา ทรงกล่ า วไว้ ใ น (ซู เ ราะฮ์ อั น นิ ซ าอ์

อายะฮ์ที่ 58) ว่า คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


21 ความว่า : แท้จริงอัลลอฮ์ทรงใช้ให้พวกเจ้ามอบสิ่งที่ได้รับความไว้วางใจ แก่เจ้าของสิทธิของมัน” ท่านพี่น้องที่เคารพ ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในด้านความซื่อสัตย์สุจริต ท่านได้รับสมญานามตั้งแต่วัยเยาว์ว่า “อัลอะมีน” แปลว่าผู้ซื่อสัตย์ แม้ชาว กุ เ รซมั ก กะห์ จ ะไม่ ศ รั ท ธาต่ อ สิ่ ง ที่ ท่ า นนำมาบอก และตั้ ง ตนเป็ น ศั ต รู กั บ ท่ า น แต่คนเหล่านั้นก็ยังนำสิ่งของไปฝากกับท่าน และยอมรับในความซื่อสัตย์สุจริต และความไว้เนื้อเชื่อใจในตัวท่านมาโดยตลอด นั ก วิ ช าการได้ แ บ่ ง ความซื่ อ สั ต ย์ ต ามหลั ก คำสอนของอิ ส ลามได้

4 ประการ คือ 1) ความซื่อสัตย์ต่ออัลลอฮ์ อันหมายถึงมีความศรัทธาอย่าง บริ สุ ท ธิ์ ใ จและปฏิ บั ติ ต ามสิ่ ง ที่ พ ระองค์ สั่ ง ใช้ แ ละออกห่ า งจากสิ่ ง ที่ พ ระองค์ ทรงสั่งห้าม 2) ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง หมายถึงการมีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำและไม่ประณามตนเองและผู้อื่น 3) ความซื่อสัตย์ ต่อสังคม หมายถึงการมีความซื่อสัตย์ต่อคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว

เพื่อนสนิทมิตรสหายหรือเพื่อนบ้านเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น และ 4) ความซื่อสัตย์ ต่อสิ่งแวดล้อม หมายถึงการดูแลรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้อยู่ในสภาพ ที่ดี ไม่ทำลายหรือสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม อันจะทำให้เกิดอันตราย ต่อตนเองและสังคมโดยรวม ท่านพี่น้องที่เคารพ ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่เป็นเสมือนเครื่องค้ำจุนโลก การทรยศ ต่ออัลลอฮ์และร่อซู้ลของพระองค์ รวมถึงต่อหน้าที่ของตน ถือเป็นสิ่งเลวร้าย ที่สุดและเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับ ผู้ศรัทธา ท่านร่อซู้ล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


22 ซัลลัม ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ไว้มาก ถึงกับนำไปเป็นเงื่อนไขด้านความ สมบูรณ์ของการศรัทธาเลยทีเดียว ท่านได้กล่าวเตือนไว้ว่า ความว่า : “ถือว่าไม่มีความศรัทธา สำหรับผู้ที่ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต และถือว่าไม่มีศาสนา สำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา” (รายงานโดยอิหม่ามอะห์หมัด) มี เ รื่ อ งราวหนึ่ ง ที่ บ อกเล่ า ผ่ า นอั บ ดุ ล ลอฮ์ บิ น ดี น าร์ ในเรื่ อ งความ ซื่อสัตย์สุจริตของชายคนหนึ่งที่เป็นทาสรับใช้เจ้านาย ว่าครั้งหนึ่งที่ตนเองได้ออก เดินทางร่วมกับท่านคอลีฟะฮ์อุมัร์ บิน อัลค็อฏฏ็อบ ไปยังนครมักกะห์ ระหว่าง ที่แวะพักข้างทางก็ได้พบกับคนเลี้ยงแพะนำฝูงแพะกลับจากทุ่งหญ้าบนเขาพอดี ท่ า นอุ มั ร์ ไ ด้ ก ล่ า วแก่ ค นเลี้ ย งแพะว่ า ท่ า นจะขายแพะแก่ เ ราสั ก ตั ว ได้ ไ หม? คนเลี้ยงแพะกล่าวว่า ฉันเป็นแค่ทาสคนหนึ่งไม่อาจขายให้ท่านได้หรอก ท่านอุมัร์ จึ ง กล่ า วเพื่ อ ลองใจคนเลี้ ย งแพะว่ า ท่ า นก็ บ อกเจ้ า นายสิ ว่ า แพะตั ว หนึ่ ง ถู ก หมาป่ากิน คนเลี้ยงแพะมองหน้าท่านอุมัร์และกล่าวว่า แล้วฉันจะเอาอัลลอฮ์ ไปไว้ตรงไหน? เท่านั้นแหละท่านคอลีฟะฮ์อุมัร์ถึงกับร่ำไห้ในความซื่อสัตย์ของ ทาสผู้นั้น และท่านก็ได้ไปหาเจ้านายของเขา ไถ่ตัวเขาออกมาพร้อมกับบอกกับ คนที่เพิ่งได้รับอิสรภาพว่า “คำพูดของท่านปลดปล่อยท่านให้พ้นจากความเป็น ทาสได้ในโลกนี้ ฉันหวังว่าคำพูดเดียวกันนี้จะปลดปล่อยท่านพ้นจากไฟนรก

ในวันแห่งการตัดสินได้เช่นกัน” มีโองการจากอัลกุรอานอีกมากมายที่อัลลอฮ์ทรงกล่าวชื่นชมบรรดา ผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และทรงยืนยันว่าความซื่อสัตย์สุจริตจะอำนวยประโยชน์ แก่พวกเขาในวันแห่งการตัดสิน แม้ว่าเขาอาจจะไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ ในโลก ดุนยานี้ แต่สวนสวรรค์และความสุขอันมากมาย คือ รางวัลตอบแทนพวกเขา และเหนือสิ่งอื่นใดคือการที่พวกเขาได้รับความพึงพอพระทัยจากพระองค์ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


23 ท่านพี่น้องที่เคารพ การมีความซื่อสัตย์เป็นหน้าที่จำเป็นของมุสลิมทุกคน ไม่ว่าเขาผู้นั้น จะเป็นผู้ปกครอง เป็นผู้อยู่ใต้การปกครอง เป็นหัวหน้า เป็นลูกน้อง เป็นนายจ้าง เป็นลูกจ้าง เป็นพ่อค้าแม่ค้า เป็นหญิงหรือชาย เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ล้วนต้องมี ความซื่อสัตย์สุจริตในทุกสิ่งที่ตนได้รับความไว้วางใจ และถือเป็นภาระหน้าที ่

ที่สำคัญที่สุด และผู้มีความซื่อสัตย์นั้นถือเป็นผู้มีเกียรติสูงส่งในสายตาของ ศาสนา มีเรื่องราวบอกกล่าวถึงความซื่อสัตย์สุจริตของหญิงสาวผู้หนึ่ง ในสมัย ท่านคอลีฟะฮ์อุมัร์ บุตร อัลค็อฏฏ็อบ ที่กำลังรีดนมแพะอยู่กับแม่ของเธอในบ้าน ซึ่ ง บั ง เอิ ญ ท่ า นอุ มั ร์ แ อบได้ ยิ น สองแม่ ลู ก สนทนากั น ขณะเดิ น ออกตรวจตรา ความเรี ย บร้ อ ยในนครมะดี น ะห์ ผู้ เ ป็ น แม่ ไ ด้ แ นะนำให้ ลู ก สาวผสมน้ ำ ลงไป ในนมแพะ เนื่องจากแพะให้นมน้อยอาจขายไม่ได้ราคา แต่ลูกสาวกล่าวปฏิเสธว่า ไม่ ไ ด้ ห รอกเพราะท่ า นคอลี ฟ ะฮ์ อุ มั ร์ ห้ า มกระทำดั ง กล่ า ว ผู้ เ ป็ น แม่ ก็ ก ล่ า วว่ า โอ้ลูกรัก ไม่มีใครรู้เห็นเรื่องนี้หรอก ลูกสาวก็ตอบกลับไปว่า แต่พระเจ้าของ คอลีฟะฮ์อุมัร์ทรงเห็นการกระทำของเรา ท่านอุมัร์รู้สึกประทับใจในความซื่อสัตย์ ของหญิงสาวผู้นี้มาก ต่อมาท่านอุมัร์ได้นำลูกชายชื่ออาศิม มาสู่ขอหญิงสาวผู้นี้ เป็นภรรยา และได้ให้กำเนิดลูกสาวคนหนึ่งชื่อไลลา และไลลาผู้นี้ก็คือแม่ของ ท่านคอลีฟะฮ์อุมัร์บุตรอับดุลอาซีซ คอลีฟะฮ์ผู้ทรงธรรมลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์ อุมาวีย์ในเวลาต่อมา ท่านพี่น้องที่เคารพ มนุษย์ทุกคนถูกใช้ให้มีความซื่อสัตย์สุจริตในทุกภาระหน้าที่ที่ได้รับมา จะเป็ น เรื่ อ งเล็ ก หรื อ เรื่ อ งใหญ่ เป็ น คำพู ด หรื อ การกระทำ และจะทำไปเพื่ อ องค์อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา หรือเพื่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันก็ตาม เขาจำต้อง คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


24 รักษาความซื่อสัตย์นี้ไว้ และจะบิดพลิ้วไม่ได้โดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพราะคุณธรรม ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งมีค่ายิ่งทางสังคม ทำให้คนในสังคมมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

มีความรักความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ปัญหาความขัดแย้งและ ความหวาดระแวงก็จะไม่เกิดขึ้น และในที่สุดมนุษย์ทุกคนจะอยู่ร่วมกันในสังคม ได้อย่างมีความสุข

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


25

การถือความสัตย์เป็นที่ตั้ง

พี่น้องผู้ศรัทธาที่รัก “จงยำเกรงอัลลอฮ์ด้วยการน้อมนำปฏิบัติตามพระบัญชาใช้อย่างสุด ความสามารถและหลีกห่างจากสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงบัญญัติห้ามเอาไว้โดยสิ้นเชิง” มุสลิมที่ดี คือ ผู้ที่ตั้งในความสัตย์ รักในความซื่อตรงถึงพร้อมด้วย ความสัตย์นั้น ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งวาจาและการประพฤติปฏิบัติ อันความ สัตย์ซื่อนั้นย่อมนำทางสู่ความประพฤติชอบ และความประพฤติชอบย่อมนำทาง สู่สรวงสวรรค์ และสรวงสวรรค์คือยอดปรารถนาของมุสลิมทุกคน การยึดเอา ความสัตย์เป็นที่ตั้งมิใช่เป็นเพียงคุณธรรมอันประเสริฐที่มุสลิม จำต้องปฏิบัติ เท่านั้น หากแต่ถือเป็นสิ่งเติมเต็มให้ศรัทธามีความสมบูรณ์อีกด้วย อัลลอฮ์ ซุ บ ฮานะฮู ว ะตะอาลา ทรงบั ญ ชาให้ ผู้ ศ รั ท ธามี ค วามสั ต ย์ ซื่ อ และพระองค์

ทรงชื่มชมยกย่องผู้มีคุณลักษณะดังกล่าวในพระดำรัสที่ว่า : ความว่า : “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกท่านจงยำเกรงอัลลอฮ์ และ จงอยู่พร้อมกับเหล่าผู้มีความสัตย์ซื่อเถิด” (ซูเราะฮ์ อัต-เตาบะฮ์ อายะฮ์ที่ 119) และพระดำรัสที่ว่า : ความว่า : “บรรดาบุรุษที่พวกเขามีความซื่อตรงต่อสิ่งที่พวกเขาได้ให้ สัตยาบันเอาไว้กับอัลลอฮ์บนสิ่งนั้น” (ซูเราะฮ์ อัล-อะห์ซาบ อายะฮ์ที่ 23) คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


26 การตั้งมั่นในความสัตย์และสุจริตธรรมมีผลในเชิงบวกหลายประการ สำหรับผู้มีคุณธรรมอันประเสริฐประการนี้ เช่น มีความสงบทางใจ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สับสน ดังปรากฏในอัล-หะดีษว่า : “ความซื่อสัตย์คือความสงบ” (รายงานโดยอัต-ติรมีซีย์) - มี ค วามสิ ริ ม งคลและความเพิ่ ม พู น งอกงามในโภคทรั พ ย์ ข้ อ นี้ สอดคล้องกับคำพูดที่ว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” - ได้รับสถานภาพอันสูงส่งของบรรดาชะฮีดดังปรากฏในอัล-หะดีษว่า :

ความว่ า : “ผู้ใดวิงวอนขอการเป็นชะฮีดต่ อ อั ล ลอฮ์ ด้ ว ยความสั ต ย์ อัลลอฮ์จักทรงให้ผู้นั้นบรรลุถึงบรรดาสถานภาพของเหล่าชะฮีด ถึงแม้ว่าผู้นั้น

ได้สิ้นใจบนที่นอนของเขาก็ตาม” (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์) - ได้รับความปลอดภัยและคลาดแคล้วจากสิ่งไม่ดี เป็นต้น ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย การแสดงคุ ณ ธรรมแห่ ง ความสั ต ย์ ซื่ อ ให้ ป รากฏอย่ า งเป็ น รู ป ธรรม ในพฤติกรรมของเรานั้นสามารถกระทำได้หลากหลาย ดังในกรณีต่อไปนี้ 1. ความสัตย์ในวจีกรรม กล่าวคือ พูดจริง ไม่มุสาวาจา ไม่หลอกลวง ไม่กลับกลอก กะล่อนปลิ้นปล้อน 2. ความสั ต ย์ ซื่ อ ในการทำธุ ร กรรมและการมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ กั บ ผู้ ค น ทั้งหลาย กล่าวคือ ซื่อตรง ไม่คดโกง ไม่ทุจริตหรือคอรัปชั่น คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


27 3. ความสัตย์ซื่อในเจตนา กล่าวคือ เมื่อตัดสินใจกระทำสิ่งใดที่ชอบ ตามหลักการของศาสนาแล้วก็ไม่ลังเล ไม่บิดพลิ้วหรือไม่พลัดวันประกันพรุ่ง

แต่มุ่งมั่นกระทำจนเสร็จสิ้น 4. ความสั ต ย์ ซื่ อ ในคำสั ญ ญา ไม่ บิ ด พลิ้ ว ไม่ ท รยศ คิ ด คดหรื อ ผิดสัญญา 5. ความสั ต ย์ ซื่ อ ในสภาวะที่ แ สดงออก กล่ า วคื อ มี ค วามจริ ง ใจ ไม่เสแสร้ง เป็นต้น สิ่ ง สำคั ญ อีกประการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้อ งตระหนั ก และพากเพี ย ร ในการตรวจสอบหรือประเมินพฤติกรรมของตนก็คือ คำพูดที่เอื้อนเอ่ยต้องตรง กับพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก มุสลิมจะต้องไม่ประพฤติในสิ่งที่ขัดแย้ง กับคำพูดของตน โดยเฉพาะมุสลิมที่เป็นผู้นำของสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในด้าน ศาสนา การเมือง การปกครอง หรือการศึกษาก็ตาม ตลอดจนผู้นำครอบครัว

ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวด คำพูดของผู้นำในทุกระดับล้วนแต่ส่งผล ต่อตัวผู้พูดและผู้ตาม หากผู้นำเหล่านี้ขาดความซื่อสัตย์ในคำพูดและพฤติกรรม คือ พูดอย่างทำอย่าง ความน่าเชื่อถือย่อมสูญสิ้นไปในที่สุด สถานภาพของ ความเป็นผู้นำย่อมสั่นคลอนและเกิดข้อกังขา หากเป็นผู้นำทางศาสนาก็เรียกได้ ว่าเป็นผู้รู้กำมะลอ เพราะได้แต่เที่ยวสั่งสอนผู้คน แต่ตนไม่นำพาเสียเองหากเป็น ผู้นำทางการเมืองการปกครองก็เรียกได้ว่าเป็นนักปกครองที่หลอกลวงประชาชน เป็นนักการเมืองผู้มากด้วยเล่ห์เพทุบาย หากเป็นผู้นำครอบครัวก็เรียกได้ว่าเป็น “แม่ พิ ม พ์ ที่ ช ำรุ ด ” จึงขอย้ำกับพี่น้องผู้ศรัทธาทุกท่ า นให้ ตั้ ง อยู่ ใ นสุ จ ริ ต ธรรม และความสัตย์ และหมั่นประเมินพฤติกรรมของเราให้สอดคล้องกับวจีกรรม ที่ เ อื้ อ นเอ่ ย อยู่ เ สมอ เพื่ อ ท้ า ยที่ สุ ด แล้ ว เราจั ก ได้ ชื่ อ ว่ า “อั ศ -ศิ ด ดี ก ” หรื อ “สัตยวาทิน” ผู้พูดแต่ความจริง พระองค์อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


28

สุจริตธรรม

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย อัลลอฮ์ ทรงสร้างมนุษย์ให้มีปัญญาอันชาญฉลาดสมบูรณ์พร้อมกว่า สรรพสั ต ว์ ทั้ ง มวลที่ พ ระองค์ ท รงสร้ า ง แต่ ใ นความเหนื อ กว่ า นี่ เ องที่ พ ระองค์ อัลลอฮ์ได้ทรงสร้างให้มนุษย์มีกิเลส มีตัณหา มีความหึงหวง มีความโกรธควบคู่ ไปด้วยกัน และเมื่อมนุษย์คนใดดำเนินชีวิตของตนบนหนทางแห่งสุจริตธรรม มีวาจาสุจริต คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ

เหลวไหล มี ใ จสุ จ ริ ต คื อ ใจไม่ โ ลภ ใจไม่ โ กรธ ใจไม่ ห ลง มี ก ายสุ จ ริ ต คื อ

ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ประพฤติผิดประเวณี ไม่ลักเล็กขโมยน้อย นั่นคือทางรอด ส่วนมนุษย์ผู้ใช้ชีวิตตามหนทางแห่งกิเลส ตามอารมณ์ เพื่อสนองตัณหาแห่งตน มนุ ษ ย์ ผู้ นั้ น ย่ อ มอยู่ ใ นแนวทางแห่ ง นรกและการลงโทษ มั น เป็ น การสมควร เยี่ยงนี้แล้ว ถ้ามนุษย์ผู้นั้นเป็นพวกชอบเผลอเรอกับชีวิตของตนเอง ปล่อยตัว ตามอารมณ์อาศัยการสนองตัณหา และการชักนำของชัยตอนมารร้ายเป็นที่ตั้ง ชอบฝ่ า ฝื น บทบั ญ ญั ติ ไม่ ส นใจใยดี ต่ อ คำสั่ ง ใช้ ใ ห้ ท ำอิ บ าดั ต คนประเภทนี้ แม้ได้ชื่อว่าเป็นมุสลิม แต่นานวันเข้ามันจะยิ่งเข้ารกเข้าพง ไม่เห็นแสงเดือน แสงตะวัน ไม่เห็นแม้กระทั่งสุเหร่า และท้ายที่สุดของคนพวกนี้อาจจะไม่รู้จัก

แม้กระทั่งพระเจ้าของตัวเองด้วยซ้ำ เมื่อไม่รู้จักพระเจ้า ต่อมาก็ไม่เชื่อในการ ลงโทษของพระองค์ และเมื่อใดที่คนเราหากไม่เชื่อในการลงโทษของอัลลอฮ์ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


29 เมื่อนั้นอะไรก็ทำได้ กว่าจะนึกได้อีกที ก็ต่อเมื่อตนเองไปอยู่ ณ เบื้องหน้าของ อัลลอฮ์ในวันสอบสวน ตอนนั้นอยากกลับตัวกลับใจ อยากแม้กระทั่งการกลับมา มีชีวิตใหม่บนหน้าโลกดุนยา เพื่อจะแก้ไขปรับปรุงตนเอง แต่มันไม่มีโอกาสเช่นนี้ อีกแล้ว ดังที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงดำรัสไว้ใน (ซูเราะฮ์ อัล-มุอ์มินูน อายะฮ์ที่ 99-100) ว่า ความว่า “จวบจนเมื่อความตายได้มาประสบกับคนหนึ่งในหมู่พวกเขา เขาก็จะกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของฉัน ขอพระองค์ได้ทรงให้ข้ากลับไปมีชีวิตใหม่เถิด เพื่อข้าพระองค์จะได้ประกอบกรรมดี ที่ได้ปล่อยปละละเลยไว้” พี่น้องทั้งหลาย รากฐานที่ นั บ ว่ า สำคั ญ ของความเป็ น มนุ ษ ย์ ที่ ส มบู ร ณ์ คื อ รากฐาน ด้ า นจิ ต ใจ อั น ได้ แ ก่ ความหนั ก แน่ น สุ จ ริ ต ธรรม และความจริ ง ใจ ดั ง นั้ น

รูปลักษณ์ที่สวยงามภายนอกของมนุษย์ ไม่มีความสำคัญเท่ากับความสวยงามที่ ซ่อนเร้นอยู่ภายใน เพราะความสวยงามของเรือนร่างไม่ใช่สิ่งที่จีรังยั่งยืนไม่วันใด วันหนึ่งในภายภาคหน้าความสวยงามย่อมสูญหายไป แต่จิตใจที่สุจริตและความ ประพฤติ ที่ ดี ง าม คื อ สิ่ ง ที่ ยั่ ง ยื น มนุ ษ ย์ ที่ มี สุ จ ริ ต ธรรม คื อ ผู้ ที่ แ สดงออก สอดคล้องตรงกับสิ่งที่อยู่ในหัวใจ ไม่ใช่ปากอย่างใจอย่าง หรือทำอย่างใจอย่าง นี่คือสิ่งที่ต้องระมัดระวัง เพราะสังคมที่เราดำรงอยู่ทุกวันนี้ สอนให้ดำเนินไป ในทิ ศ ทางที่ ต รงข้ า มกับหลักการดังกล่าว สังคมกำลั ง สอนให้ ข ยั น เพื่ อ เอาใจ เจ้านาย สอนให้ทำดีเพื่อคำสรรเสริญเยินยอ สอนให้บริจาคเพื่อเกียรติยศและ ชื่อเสียง และเพื่อให้ได้มาซึ่งผลตอบแทนเล็ก ๆ น้อย ๆ และในที่สุดการกระทำ ที่มันไม่ได้ก่อเกิดขึ้นมาจากใจ เสมือนว่าทำไปโดยถูกบังคับ ทำไปแบบเสียไม่ได้ ทำเพียงให้พ้นไปวัน ๆ และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือ สิ่งที่มันอยู่ในใจสำคัญกว่า

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


30 การกระทำที่เผยให้เห็น และยังเป็นสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จะทรงพิจารณาว่า คนไหนดี คนไหนเลว ดังที่ท่านศาสดามูฮำหมัดทรงกล่าวว่า แท้ จ ริ ง อั ล ลอฮ์ จ ะไม่ ม องยั ง ร่ า งกายและรู ป พรรณของพวกท่ า น แต่พระองค์จะมองไปยังหัวใจของพวกท่าน พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย ผู้สุจริตธรรมต้องปฏิบัติตนด้วยความจริงใจ เมื่อมีการปฏิบัติสิ่งใดต้อง กระทำอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ฉวยโอกาสเมื่อใกล้เงิน ไม่หลงไหลเมื่อใกล้ อิ ส ตรี ไม่ ลั ก ทรั พ ย์ ไม่ ป ระพฤติ ผิ ด ในกาม ไม่ ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น วั ต ถุ ไม่ ยึ ด ถื อ เอาความรวยเป็นที่ตั้ง และผู้สุจริตธรรมต้องไม่ลืมว่า วัตถุก็ดี ความร่ำรวยก็ดี เหล่านี้คือเปลือก คือรูปลักษณ์ภายนอก มันไม่ใช่แก่น มันไม่ใช่ตัวที่จะสร้าง สังคม เมื่อเทียบดูกับต้นไม้ ถ้าเราเอามีดไปฟันลำต้น ไปฟันเปลือก ไปฟันใบ ต้นไม้มันไม่ตาย ต้นไม้ยังอยู่ได้ บางครั้งแตกกิ่งแตกใบใหม่เพิ่มขึ้นอีก แต่ถ้าเรา ลองไปขุดราก ไปฟันเหง้ามันขึ้นมา ต้นไม้อยู่ไม่ได้ คนก็เหมือนต้นไม้ หูหนวก ตาบอด แขนขาด คนอยู่ได้ แต่ถ้าหากหัวใจตาย ใจไม่มีศาสนา คนเราก็อยู่ไม่ได้ ใจคอมันร้อนรุ่ม ระงับอารมณ์ตัวเองไม่ได้ อยากทำอะไรก็ทำ ผิดลูกผิดเมียก็ทำ เหล้าก็กิน ไพ่ก็เล่น เมื่อมนุษย์ขาดสุจริตธรรม สังคมก็จะเสื่อมเสีย ดังนั้นวัตถุ

ไม่ได้เป็นตัวสร้างมนุษย์ ศาสนาเท่านั้นที่เป็นตัวสร้างมนุษย์และสังคมมนุษย์ให้มี จริยธรรมคุณธรรมให้มีคุณค่าตลอดมา สิ่งที่ศาสนาต้องการคือความสุขที่เกิด จากการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ศาสนาใช้ ออกห่างจากสิ่งที่ศาสนาห้าม และ ที่สำคัญที่การกระทำนั้นจะต้องมีที่มาจากใจที่บริสุทธิ์ ดังที่ศาสดาทรงกล่าวว่า

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


31 ความว่า “บรรดาการกระทำนั้นขึ้นอยู่กับเจตนา และสำหรับทุกคนนั้น

จะได้รับในสิ่งที่เขา นิยะฮ์ตั้งเจตนา” นบีมูฮำหมัดได้ชี้ให้เห็นในหะดีษบทนี้ว่า ใจคือตัวการสำคัญที่จะทำให้ การกระทำบรรลุผล จะดี จะชั่ว จะถูก จะผิด ศาสนาให้มองที่ใจเป็นหลัก ไม่ใช่ มองที่การกระทำหรืออาการที่แสดงออก ดังนั้นคนที่ใจรั่ว คนที่การกระทำกับใจ ไม่ ต รงกั น ปากอย่ า งใจอย่ า ง การกระทำของเขาย่ อ มไม่ ไ ด้ ม รรคไม่ ไ ด้ ผ ล ถ้าเปรียบไปก็เป็นเหมือนถังน้ำที่ก้นมันรั่ว ให้ใส่น้ำเท่าไหร่ก็ไม่มีวันเต็ม จะเอามา ใช้ประโยชน์อะไรก็ไม่ได้ ยิ่งตักน้ำใส่ก็ยิ่งเสียแรงเปล่า มีไว้เก็บไว้ก็รังแต่จะรก และเป็นภาระแก่ตัวเจ้าของด้วยซ้ำ พี่น้องที่เคารพ เราทุกคนต่างก็รู้และเข้าใจดีว่า โลกดุนยานี้หาใช่สถานที่ พำนักอันจีรังถาวร ข้อนี้คงไม่มีใครปฏิเสธ และทั้ง ๆ ที่รู้ว่าดุนยาไม่ถาวร แต่เราก็ ยึดติดกับมัน เรายึดติดกับเกียรติ ยึดติดกับชื่อเสียง และความสุขฉาบฉวย ที่ดุนยาสร้างขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับเกียรติยศและความสุข ที่อัลลอฮ์สัญญาไว้ และการที่โลกดุนยาเป็นโลกชั่วคราว ไม่จีรัง จึงทำให้นบี มูฮำหมัดเปรียบเทียบไว้ดังที่ อิบนุอุมัร กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ได้จับที่บ่า

ของฉันแล้วกล่าวว่า “ท่านจงอยู่ในโลกนี้เหมือนคนแปลกหน้าหรือผู้เดินทาง” (รายงานโดยอัล-บุคคอรีย์)

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


32

สุจริตวาจา (สุจริตธรรม)

ท่านผู้ศรัทธาที่เคารพ พระองค์อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาพร้อมกับ อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายที่มีความสมบูรณ์ถือเป็นความโปรดปราณอันยิ่งใหญ่ ซึ่งในแต่ละอวัยวะต่างก็มีความสำคัญ เช่น ลิ้น พระองค์อัลลอฮ์ทรงสร้างลิ้น มนุษย์ขึ้นมาเพื่อได้อ่านอัลกุรอาน กล่าวซิกรุ้ลลอฮ์ กล่าวสดุดี สอนมนุษย์ให้ เข้าใจหลักธรรมคำสอนของศาสนาอิสลาม ดังนั้นพี่น้อง ผู้ศรัทธาต้องระมัดระวัง การใช้ลิ้นให้มากถ้าหากไม่มีการระมัดระวังการใช้ลิ้นอาจทำให้เกิดความหายนะ สำหรับผู้พูดเองและจะต้องเสียใจไปตลอดโดยไม่สามารถจะเรียกคืนได้ ดังจะ เห็นตัวอย่างจากสังคมปัจจุบันที่มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีความรับผิดชอบ ต่อคำพูดของเขาพูดไปโดยขาดสติพูดไปโดยขาดสัจจะวาจาขาดซึ่งสุจริตธรรม จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนเองทำให้ขาดความน่าเชื่อถือและในที่สุดก็ส่งผล ไปสู่ สั ง คม ทำให้ ต นเองขาดการยอมรับจากสังคม อี ก ทั้ ง จะทำให้ สั ง คมเกิ ด

ความเสียหายด้วย ดังนั้นขอให้ผู้ศรัทธาได้ใช้ความระมัดระวังในการใช้วาจา ให้มาก ก่อนจะพูดอะไรออกไปแต่ละคำต้องไตร่ตรองให้ดีเสียก่อนว่าควรจะ พู ด ประโยคใดจึ ง จะมี ค วามเหมาะสมและต้ อ งเป็ น คำพู ด ที่ เ ป็ น สั จ จะวาจา เป็นประโยคที่ไพเราะน่าฟัง ดังที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ใน อัลกุรอานว่า คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


33

ความว่า “และจงระลึกถึงขณะที่เราได้เอาคำมั่นสัญญาจากวงศ์วาน

อิสรออีลว่า พวกเจ้าจะต้องไม่เคารพสักการะสิ่งใดนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น และ จงทำดี ต่ อ บิ ด ามารดา ญาติ ใ กล้ ชิ ด เด็ ก กำพร้ า และผู้ ขั ด สน และจงพู ด จา

แก่ เ พื่ อ นมนุ ษ ย์ ด้ ว ยคำพู ด ที่ ส วยงาม และจงดำรงไว้ ซึ่ ง การละหมาด และ

จงบริจาคซะกาต แต่แล้วพวกเจ้าก็ได้ผินหลังให้นอกจากเพียงเล็กน้อยในหมู่

พวกเจ้าเท่านั้นและพวกเจ้าก็กำลังผินหลังให้อยู่” (ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 83) จากอายะฮ์ดังกล่าวพระองค์อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้สอน มวลมนุษย์ให้ได้รับทราบถึง หลักเตาฮีด หลักสัจธรรม และหลักปฏิบัติ กล่าวคือ ให้มนุษย์นมัสการพระองค์อัลลอฮ์องค์เดียว สอนให้ปฏิบัติคุณงามความดีต่อ บิ ด ามารดา ปฏิ บั ติ ดี ต่ อ ญาติ ใ กล้ ชิ ด เอื้ อ เฟื้ อ เผื่ อ แผ่ ค นจนคนขั ด สน และ พระองค์ทรงสอนให้มนุษย์รู้จักวิธีการพูดคุย วิธีการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนมนุษย์ ต้องมีการกล่าวถ้อยคำที่สวยงามซึ่งหมายถึงถ้อยคำที่เป็นสัจจะวาจา มีสุจริต วาจา มี ค วามไพเราะ อ่ อ นน้ อ มนิ่ ม นวลโดยไม่ พู ด จาที่ โ กหก บิ ด พลิ้ ว หรื อ

ในลักษณะกุข่าวขึ้นมาจนทำให้ข้อมูลข่าวสารมีความคลาดเคลื่อนซึ่งลักษณะเช่นนี้ เป็นลักษณะของมุนาฟิกซึ่งเป็นลักษณะอันไม่พึงประสงค์ซึ่งท่าน นบีมูฮำหมัด

ศอลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลั ม สอนให้ ร ะมั ด ระวั ง ในเรื่ อ งนี้ ใ ห้ ม ากคื อ ให้ ร ะวั ง

การพู ด จาที่ มี ก ารบิ ด พลิ้ ว มี ก ารโกหก ดั ง นั้ น ผู้ ป กครอง ผู้ บ ริ ห าร ผู้ น ำ ในทุกระดับต้องใช้ความระมัดระวังในเรื่องดังกล่าวให้มากโดยต้องให้ความสำคัญ ทางด้านสุจริตธรรม ทั้งทางด้านกิริยา วาจา และจิตใจ โดยต้องเป็นแบบอย่างที่ดี คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


34 ให้กับผู้ที่อยู่รอบข้างและสังคมโดยรวม เพราะคำพูดถือเป็นอาวุธที่สำคัญของ มนุ ษ ย์ ถ้ า ใช้ อ าวุ ธ อย่ า งถู ก ต้ อ งถู ก วิ ธี ค ำพู ด นั้ น ก็ จ ะทรงคุ ณ ค่ า แก่ ผู้ พู ด อย่ า ง มหาศาล จะได้รับผลบุญจากพระองค์อัลลอฮ์จะได้รับการตอบแทนอย่างคุ้มค่า ซึ่ ง การมี สั จ จะวาจา สุ จ ริ ต วาจา ถื อ เป็ น หลั ก จริ ย ธรรม คุ ณ ธรรมที่ นั บ ว่ า มี ค วามสำคั ญ ประการหนึ่ ง เพราะเป็ น ลั ก ษณะ (ซิ ฟั ต ) ของท่ า นนบี มู ฮ ำหมั ด

ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องน้อมนำแบบอย่างของท่านนบี มาใช้ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการบริหารจัดการ อีกทั้งต้องนำมาเผยแผ่อีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันถ้าหากผู้ใดใช้ถ้อยคำที่โกหก บิดพลิ้ว ซึ่งเป็นลักษณะของ มุ น าฟิ ก (ผู้ ก ลั บ กลอก) เพี ย งครั้ ง เดี ย วก็ ต ามความหายนะจะติ ด ตั ว อยู่ กั บ เขาตลอดไป จะทำให้เขาเสียศักดิ์ศรี เสียชื่อเสียง ขาดความน่าเชื่อถือ ไม่มีใคร อยากจะอยู่ร่วมเคียงข้างด้วย สังคมจะรังเกียจแม้จะมีความรู้หรือมีความมั่งคั่ง

มี ท รั พ ย์ ส มบั ติ สั ก เพี ย งใดก็ ต าม ดั ง นั้ น จึ ง ขอให้ ผู้ ศ รั ท ธาจงระมั ด ระวั ง และ หลีกห่างจากคำพูดที่โกหก หยาบคาย เกี่ยวกับเรื่องนี้พระองค์อัลลอฮ์ซุบฮานะ ฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

ความว่า แท้จริงบรรดาผู้ไม่ศรัทธาต่อโองการทั้งหลายของอัลลอฮ์นั้น

ได้กุความเท็จขึ้นและชนเหล่านั้นคือผู้กล่าวเท็จ (ซูเราะฮ์ อัลนะห์ลุ อายะฮ์ที่ 105) อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสไว้ใน (ซูเราะฮ์ อัลฮัซร์ อายะฮ์ที่ 10) ว่า

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


35 ความว่า เจ้ามิเห็นดอกหรือว่า บรรดาผู้กลับกลอกกล่าวแก่พี่น้องของ พวกเขาที่ปฏิเสธศรัทธาในหมู่ของชาวคัมภีร์ว่า หากพวกท่านถูกไล่ออกแน่นอน เราก็ จ ะออกไปพร้ อ มกั บ พวกท่ า นด้ ว ย และเราจะไม่ เ ชื่ อ ฟั ง ปฏิ บั ติ ต ามผู้ ใ ด เป็นอันขาดเกี่ยวกับพวกท่าน และหากพวกท่านถูกโจมตี แน่นอนเราจะช่วยเหลือ

พวกท่านและอัลลอฮ์ทรงเป็นพยานว่า แท้จริงพวกเขาเป็นผู้กล่าวเท็จ (ซูเราะฮ์ อัลฮัซร์ อายะฮ์ที่ 11) จากโองการดังกล่าว พระองค์อัลลอฮ์ ได้กล่าวถึงลักษณะของเหล่าชน ผู้กลั บ กลอก (มุ น าฟิก) ซึ่งเป็นการแสดงความประหลาดแก่ ส ภาพของพวก มุนาฟิกีน คือพวกเขาได้กล่าวแก่พวกยะฮูดบะนีกุรอยเซาะห์และบะนีอันนะฏีร ซึ่ ง ได้ ป ฏิ เ สธศรั ท ธาต่ อ ศาสน์ ข องมู ฮ ำหมั ด ว่ า หากพวกท่ า นถู ก ไล่ อ อกจาก นครมะดีนะห์พวกเราก็จะออกไปกับพวกท่านด้วย พวกเราจะไม่เชื่อฟังคำสั่ง

ของมูฮำหมัดในการสู้รบกับพวกท่าน และหากผู้ใดเข้าไปโจมตีพวกท่าน เราก็จะ ช่วยเหลือ และอยู่เคียงข้างพวกท่านเพื่อต่อสู้กับศัตรูของพวกท่านและอัลลอฮ์

ทรงเป็นพยานว่าพวกมุนาฟิกีนนั้นเป็นผู้กล่าวเท็จในสิ่งที่พวกเขาได้กล่าวและ ให้สัญญากับพวกเขา ท่ า นผู้ มี ศ รั ท ธาที่ เ คารพ ขอให้ เ รามาช่ ว ยกั น สร้ า งสั ง คมพั ฒ นาคน ในสังคมให้มีคุณธรรมเพราะคุณธรรมเป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้ในท้องตลาดไม่มีขาย ในห้ า งสรรพสิ น ค้ า หากแต่ จ ะต้ อ งได้ รั บ การปลู ก ฝั ง ตั้ ง แต่ เ ยาว์ วั ย พ่ อ แม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ต้องเป็นแม่พิมพ์เป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกหลานเยาวชน ให้การปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีงามตั้งแต่เยาว์วัย เมื่อเริ่มฝึกพูดขอให้เริ่มด้วย ประโยคที่ ดี ง าม ประโยคที่ แ สดงออกถึ ง วั ฒ นธรรมอิ ส ลาม สอนให้ ก ล่ า ว บิสมิ้ลลาฮ์ อัลฮัมดุลิ้ลลาฮ์ อัลลอฮุอักบัร รวมทั้งประโยคที่เป็นคำขอบคุณ หรือประโยคใด ๆ ที่เป็นคำสุภาพและเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย จะทำให้เด็กคนนั้น เป็นคนมีอุปนิสัยอ่อนน้อม อ่อนโยน ไม่แข็งกร้าวหรือแข็งกระด้าง ประการสำคัญ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


36 พ่อแม่ผู้ปกครองต้องระมัดระวังอย่าให้เด็กได้ยินได้ฟังได้เห็นการทะเลาะวิวาท หรื อ พฤติ ก รรมใด ๆ ของคนรอบข้ า งหรื อ คนในสั ง คมที่ แ สดงออกถึ ง

การใช้วาจาที่ไม่สุภาพ การใช้วาจาที่ก้าวร้าว วาจาที่เบี่ยงเบนจากข้อเท็จจริง เพราะปัญหาสังคมในปัจจุบันนี้ต้นเหตุของปัญหาคือการบริโภคสื่อ หากแหล่ง ที่ ม าของข้ อ มู ล ข่ า วสารที่ สื่ อ นำมาเสนอผิ ด เพี้ ย น บิ ด เบื อ นจากข้ อ เท็ จ จริ ง

ขาดความรับผิดชอบ จะส่งผลให้เกิดวิกฤติทางสังคมทันที ดังนั้นผู้ทำหน้าที ่

เผยแพร่ ข้ อ มู ล ข่ า วสารจะต้ อ งมี ลั ก ษณะที่ มี สั จ จะวาจา มี ค วามสุ จ ริ ต ธรรม ซึ่งข้อมูลที่จะนำเสนอนั้น หรือข่าวสารที่จะนำเสนอนั้นต้องเป็นความจริงสามารถ ตรวจสอบได้ผู้นำเสนอต้องมีความรับผิดชอบมีแหล่งที่มาที่ชัดเจน แม้กระทั่ง การพูดคุยกันเพียงสองคนหรือพูดคุยในวงเล็ก ๆ ก็ตามจะต้องพูดแต่ความจริง เท่ า นั้ น และห้ า มนำเรื่ อ งที่ ไ ม่ ดี ข องคนอื่ น มาพู ด คุ ย ท่ า นนบี ศ อลลั ล ลอ ฮุอะลลัยฮิวะซัลลัม กล่าว่า “แท้จริงการมีสัจจะวาจาจะเป็นทางนำไปสู่ความดี

และแท้จริงความดีนั้นจะนำไปสู่สวรรค์” ท่านผู้ศรัทธาที่เคารพ มีผู้คนหลายต่อหลายคนที่ต้องเสียใจเพราะคำพูด ของเขาเองจะด้ ว ยความเจตนาหรื อ ไม่ ก็ ต าม บางคนถึ ง ขั้ น ถู ก ศาลพิ พ ากษา ให้ถูกปรับ บางรายถูกจำคุก ในขณะที่บางรายถูกพิพากษาทั้งจำและปรับ เพราะ คำพูดเพียงไม่กี่คำ นั่นคือการพิพากษาในโลกดุนยานี้เท่านั้น แต่การลงอาญาของ อัลลอฮ์ในหลุมฝังศพหรือในอาลัมบัรซักและในวันกิยามะห์มันยิ่งใหญ่นัก สำหรับ ผู้ ที่ ใ ช้ ว าจาผิ ด วิ ธี ทำให้ ผู้ อื่ น เสี ย หายเสี ย ศั ก ดิ์ ศ รี ในที่ สุ ด ตนเองก็ จ ะได้ รั บ

การตอบแทนในสิ่งที่ได้กระทำไป จึงขอให้พี่น้องผู้ศรัทธาทุกท่านได้ตระหนักและ มีการระมัดระวังในการใช้ลิ้นให้มากโดยการใช้ถ้อยคำที่เป็นสัจจะวาจา สุจริตวาจา และต้องมีความรับผิดชอบต่อคำพูดทุกคำทุกประโยคที่ได้พูดออกไป ซึ่งถ้อยคำ ที่ดีมีความไพเราะย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำทานได้ด้วย ดังนั้นการพูดจาที่ดี จะทำใด้เกิดความสง่างามกับตนเอง เกิดความน่าเชื่อถือ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากใช้ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


37 โอกาสต่าง ๆ ไปอบรมสั่งสอน เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการศาสนาอิสลามเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่สังคม ย่อมถือว่าเป็นการใช้ลิ้นใช้ถ้อยคำที่คุ้มค่า หรือไม่มีโอกาสได้สอนผู้อื่น สมควรอย่างยิ่งที่จะใช้เวลาว่างทำการอ่านอัลกุรอาน กล่ า วซิ ก รุ้ ล ลอฮ์ อิ น ซาอั ล ลอฮ์ พ ระองค์ อั ล ลอฮ์ จ ะตอบแทนความดี แ ก่ เ ขา เพราะท่านนบีศอลลอลลอฮุอะละยฮิวะซัลลัมสอนว่า การกล่าว ซุบฮานั้นลออฮ์ เป็นประโยคที่เบาลิ้น (คือกล่าวได้ง่าย) แต่จะทำให้ตราชั่งแห่งความดีมีความหนัก หมายถึงพระองค์อัลลอฮ์จะตอบแทนคุณงามความดีกับผู้กล่าวสดุดีต่อพระองค์ อย่ า งมหาศาล ดั ง นั้ น จึ ง ขอให้ พี่ น้ อ งผู้ ศ รั ท ธาจงได้ ต ระหนั ก ด้ า นการใช้ ว าจา ไปในทางที่ ถู ก ต้ อ ง ต้ อ งเป็ น ถ้ อ ยคำที่ มี สั จ ธรรม สุ จ ริ ต ธรรม เพื่ อ จะให้ เ กิ ด

ความสง่างามแก่ตนเอง คนในสังคมก็จะได้รับแต่ความสุข ประเทศชาติจะเกิด ความรุ่งเรือง ประการสำคัญจะได้รับการตอบแทนจากพระองค์ อัลลอฮ์ ซุบฮานะ ฮูวะตะอาลาโดยได้รับความสุขทั้งดุนยาและอาคิเราะห์

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


38

คุณลักษณะมุสลิมด้านสุจริตธรรม

ศรัทธาชนที่รักทั้งหลาย อัลฮัมดุลิ้ลล่าฮ์ การสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์แห่งอัลลอฮ์ ซุบฮานะ ฮูวะตะอาลา ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลและจักรวาล จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์เถิด เพราะการยำเกรงจะเป็ น เสบี ย งที่ ดี ใ นโลกนี้ และโลกหน้ า ขอให้ เ ราใช้ ชี วิ ต ตามแนวทางและครรลองอิสลามในทุกมิติ ทั้งด้านอิบาดะฮ์และมุอามะลาต (สังคม) โดยใช้อัลกุรอานและซุนนะห์เป็นบรรทัดฐาน เงื่อนใขที่อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงตอบรับการงานของเรา คือ การทำงานด้วยความสุจริตใจ มีเป้าหมายเพื่อแสวงความโปรดปรานจากพระองค์ โดยไม่ มี ว าระซ่ อ นเร้ น ซ่ อ นเงื่ อ น หรื อ ต้ อ งการให้ ผู้ อื่ น สรรเสริ ญ เยิ น ยอ ความสุจริตใจเป็นเรื่องที่มุสลิมต้องมีอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเราทำภารกิจใด ๆ หรื อ ประกอบอาชี พ อะไร ดั ง คำกล่ า วที่ ว่ า หาเงิ น ให้ ถู ก ต้ อ ง และใช้ เ งิ น ให้ มี ประสิ ท ธิ ภ าพ ใครที่มีความสุจริตจะไม่แสดงออกด้ ว ยความเสแสร้ ง ไม่ เ ป็ น

หน้าไว้หลังหลอก ตีสองหน้า เจ้าเล่ห์ พยาบาท ในทางศาสนาเรียกความสุจริตนี้ว่า อิคลาศ หมายความว่า สะอาด บริสุทธิ์ หรือมีใจบริสุทธิ์ ไม่ปะปนกับสิ่งอื่น ในที่นี้หมายถึง หากเราต้องการทำ อิบาดะฮ์ (ประกอบศาสนกิจ) เราต้องตั้งเจตนาอันแน่วแน่เพื่ออัลลอฮ์ ซุบฮานะฮู วะตะอาลาและหวังผลตอบแทนความดีงามจากพระองค์เท่านั้น ส่วนผลที่ตามมา คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


39 ภายหลังไม่ว่าทรัพย์สิน เงินทอง คำชมเชย และชื่อเสียง เป็นผลพลอยได้ไม่ใช่ เป้ า หมาย สิ่ ง ที่ ค วรระวั ง ในคำสรรเสริ ญ คื อ ความลื ม ตั ว และเคยชิ น กั บ

คำเยิ น ยอ จนกลายเป็ น ผู้ ย โสโอหั ง ซึ่ ง เป็ น พฤติ ก รรมของชั ย ตอนมารร้ า ย อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงตรัสว่า ความว่า : “และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจากเพื่อ เคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ เป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์” (ซูเราะฮ์ อัลบัยยินะฮ์ อายะฮ์ที่ 5) พี่น้องมุสลิมทั้งหลาย เมื่อผู้ใดมีความสุจริตใจเป็นตัวตั้ง เขาก็จะมีความบริสุทธิ์ใจต่อทุกคน หัวใจไม่คิดทำลายผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ หัวหน้า และเพื่อนร่วมงาน เขาไม่คิดร้าย ต่อใคร แม้มีการคิดร้ายต่อเขา เขาก็ไม่คิดที่ตอบแทนการคิดร้ายนั้น เขาพร้อม ที่จะให้อภัยอยู่ตลอดเวลา ความสุจริตในหน้าที่ถึงแม้ว่าจะมีรายได้น้อย หรือ

ได้รับผลตอบแทนน้อย แต่การใช้ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยความศิริมงคล ในขณะที่ การทุจริตในหน้าที่การงาน มีโอกาสแสวงหารายได้ ตักตวงผลประโยชน์และ สร้างฐานะได้อย่างมั่นคง ร่ำรวยอย่างรวดเร็ว แต่บั้นปลายของชีวิตอาจพบกับ

ความวุ่ น วาย โดยไม่ ค าดคิ ด ก็ ไ ด้ ผู้ ใ ช้ ชี วิ ต แบบสุ จ ริ ต จะพบกั บ ความผาสุ ก

สุขกาย สบายใจ ส่วนผู้ทุจริตอาจได้ครอบครองสิ่งที่ต้องการ แต่ยิ่งนานวันก็เกิด ความทุกข์ทางใจ ดังที่ท่านนบีมูฮำหมัด ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ความว่า : “แท้จริงการงานทั้งหลาย (ขึ้นอยู่) กับการตั้งเจตนา และ สำหรับทุกคนจะได้รับ (ผลตอบแทน) ตามที่เขาได้เจตนาไว้” รายงานโดยท่าน อิหม่ามบุคอรีและมุสลิม คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


40 ศรัทธาชนที่รัก ความบริสุทธิ์และความสุจริตใจนั้นเป็นการศรัทธาแขนงหนึ่ง การศรัทธา ที่เกิดจากใจ คือหลักความเชื่อและเจตนาต่าง ๆ อันประกอบด้วยการศรัทธาต่อ อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาและศาสนทูตของพระองค์ การศรัทธาในสิ่งเร้นลับ ต่าง ๆ ความรักต่ออัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ การปฏิบัติศาสนกิจด้วย ความบริสุทธิ์ใจ การกลับเนื้อกลับตัวตลอดทั้งการขอบคุณในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พวกเราได้รับจากพระองค์อันมากมาย เป็นต้น สิ่งที่จะมาเสริมความสุจริต

ให้เข้มแข็ง ก็คือ ความซื่อสัตย์ พูดจริงทำจริง ไม่ตลบตะแลง การรักษาคำพูดนั้น เป็นป้อมปราการที่จะป้องกันตัวเองจากการล่อลวงของชัยตอน มารร้าย และ จิตใจที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหา ในขณะเดียวกันการพูดเท็จ การไม่รักษาคำพูด ก็จะนำไปสู่ความไม่สมประกอบของจิตใจ ท่านนบีมูฮำหมัด ศอลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ได้กำชับเรื่องนี้ไว้ว่า ความว่า : “แท้จริงความซื่อสัตย์จะนำไปสู่ความดี และความดีจะนำพา ไปสู่สรวงสวรรค์” รายงานโดยท่านอิหม่ามบุคอรีและมุสลิม พี่น้องที่รักทั้งหลาย ความบริสุทธิ์หรือความสุจริตใจในการประกอบศาสนกิจ สิ่งที่ควรระวัง ก็ควรอย่าผสมผสานกันระหว่างความบริสุทธิ์ใจกับเจตนาอื่นแฝง หรือมีวาระ ซ่อนเร้น หมกเม็ด ดังตัวอย่าง - ผู้ที่แสวงหาความรู้นั้นไม่ต้องการความรู้ เพราะเป็นหน้าที่ที่อัลลอฮ์ ได้บัญชา แต่ต้องการจะได้ทำงานที่มีเกียรติ มีเงินเดือนสูง ปรารถนาให้ผู้คน ยกย่องสรรเสริญ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


41 - ผู้ที่ละหมาด ไม่ใช่ทำเพื่ออัลลอฮ์ทรงใช้ แต่ทำเพื่อการบริหาร และ โอ้อวดให้ผู้อื่นเห็นว่าเป็นผู้เคร่งครัด เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองหรือธุรกิจ - ผู้ ที่ ถื อ ศี ล อดไม่ ใ ช่ เ พื่ อ หวั ง ผลตอบแทนจากอั ล ลอฮ์ และความ ศรัทธา แต่เพื่อต้องการลดความอ้วน เพื่อสุขภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย - ผู้ที่จ่ายซะกาตหรือบริจาคทาน มิใช่เพื่อสนองตอบพระบัญชาแต่เพื่อ ต้องการได้หน้าได้ตา และให้ผู้อื่นสรรเสริญเยินยอว่าเป็นคนใจบุญสุนทาน - ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ มิใช่เพื่ออัลลอฮ์ แต่เพื่อไปทำธุรกิจ ทางการค้า หรือท่องเที่ยว - ผู้ ที่ ช่ ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล แม่ ห ม้ า ยและเด็ ก กำพร้ า ไม่ ใ ช่ เ พื่ อ ต้ อ งการ ความโปรดปรานจากอัลลอฮ์ แต่หวังจะได้แม่ม้าย หรือเด็กกำพร้าเป็นภรรยา จากตัวอย่างข้างต้น พอสรุปได้ว่า คุณค่าของงานไม่ได้อยู่ที่จำนวนมาก หรือน้อย แต่คุณค่าที่แท้จริงของการทำงาน อยู่ที่การตั้งเจตนาอันบริสุทธิ์นั่นเอง ศรัทธาชนที่รัก ความดี ทุ ก ประเภทที่ ส่ ง ผลทั้ ง ในโลกนี้ แ ละโลกหน้ า ต้ อ งกำหนด โดยอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง การปฏิบัติธรรมทุกชนิดจำเป็น ต้ อ งอาศั ย ความบริ สุ ท ธิ์ ใ จหรื อ สุ จ ริ ต เป็ น แกนหลั ก และจะต้ อ งไม่ มุ่ ง หวั ง ผลตอบแทนจากผู้ใด นอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น ดังท่านนบีมูฮำหมัด ศอลลัลลอ ฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้แนะนำว่า ความว่า : “แท้จริงอัลลอฮ์ จะไม่พิจารณาที่เรือนร่าง และรูปร่างของ ท่านทั้งหลาย แต่ทรงพิจารณาภายในจิตใจของท่านทั้งหลาย” (การประพฤติของ พวกท่าน) รายงานโดยท่านอิหม่ามมุสลิม คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


42 พี่น้องทุกท่าน คุณธรรมที่เกี่ยวข้องกับสุจริตธรรม หรือความบริสุทธิ์ใจนั้น ไม่เฉพาะ แต่ศาสนกิจที่เป็นอิบาดะฮ์เท่านั้น หากแต่การดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม การประกอบอาชีพ การดำเนินธุรกิจ ก็จำเป็นต้องอาศัยความบริสุทธิ์ใจเช่นกัน ประการสำคัญ ความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เป็นเงื่อนไขหนึ่ง ที่อัลลอฮ์ทรงตอบรับการงานของเราด้วย

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


43

“การใช้ทรัพย์สินอย่างสุจริตธรรม”

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาที่รักและเคารพทั้งหลาย ส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะและพระนามของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา นั้นคือ แปลว่า ผู้ทรงสร้างทุกสิ่งและ แปลว่า ผู้ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่ง มุสลิมทุกคนจำเป็นจะต้องศรัทธาว่า อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่งและอัลลอฮ์ ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่ง จักรวาลทั้งหมดรวมทั้งมนุษย์คือสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงสร้าง ขึ้นมา และพระองค์เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์อย่างแท้จริง ดังที่อัลลอฮ์ได้ทรงตรัสว่า : ความว่า : “และเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย

และสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ในระหว่างทั้งสองและสิ่งที่อยู่ใต้ผืนดิน” (ซูเราะฮ์ ฏอฮา อายะฮ์ที่ 6) สำหรับกรรมสิทธิ์ของมนุษย์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ที่มนุษย์ครอบครองนั้น อิสลามไม่ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง เป็นเพียงของฝาก (อะมานะฮ์) ที่อัลลอฮ์ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


44 มอบให้แก่มนุษย์ และให้มนุษย์มีอำนาจในกรรมสิทธิ์นั้น ๆ ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นมนุษย์จึงต้องตระหนักในสองด้าน คือ : หนึ่ง : ตระหนักในวิธีการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ ซึ่งต้องได้มาโดยสุจริตธรรม สอง : ตระหนักในวิธีการใช้กรรมสิทธิ์และต้องใช้จ่ายด้วยความสุจริตธรรม เช่นกัน หมายความว่าวิธีการได้มาซึ่งทรัพย์สิน และการใช้ทรัพย์สินนั้นจะต้อง เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ ที่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลาได้ทรงวางไว้เท่านั้น การละเมิดข้อกำหนดของอัลลอฮ์ เช่น การคดโกง การกินดอกเบี้ย การพนัน และการใช้จ่ายทรัพย์สินไปในทางของความชั่ว ถือเป็นบาปอันมหันต์ที่มนุษย์ จะต้องได้รับโทษจากอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ท่ า นพี่ น้ อ งผู้ ศ รั ท ธาทั้ ง หลาย อั ล ลอฮ์ ซุ บ ฮานะฮู ว ะตะอาลาได้ ท รง กำหนดให้ทรัพย์สินเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ดังที่อัลลอฮ์ ได้ตรัสไว้ว่า : ความว่า : “และจงอย่าให้แก่บรรดาผู้โง่เขลาซึ่งทรัพย์สินของพวกเจ้า

ซึ่งอัลลอฮ์ได้ทรงให้มันเป็นเครื่องดำรงชีวิตแก่พวกเจ้า” (ซูเราะฮ์ อันนิซาอ์ อายะฮ์ที่ 5) ในขณะเดี ย วกั น อั ล ลอฮ์ ก็ ไ ด้ บ อกเราว่ า ทรั พ ย์ สิ น นั้ น เป็ น เพี ย ง เครื่องประดับของโลกนี้เท่านั้นดังที่อัลลอฮ์ได้ตรัสว่า : ความว่ า : “อั น ทรั พ ย์ สิ น และลู ก หลานนั้ น เป็ น เพี ย งเครื่ อ งประดั บ

ของชีวิตในโลกนี้เท่านั้นแต่ผลกรรมอันอมตะที่ดีงามทั้งมวลย่อมประเสริฐกว่า

ณ องค์พระผู้อภิบาลของเจ้าในการตอบแทน และประเสริฐกว่าในการใฝ่หา” (ซูเราะฮ์ อัลกะฮ์ฟิ อายะฮ์ที่ 46) คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


45 จากอัลกุรอานทั้งสามอายะฮ์ข้างต้นพอสรุปเป็นหลักคำสอนได้ดังนี้คือ : หนึ่ ง : ทรั พ ย์ สิ น ทั้ ง มวลนั้ น เป็ น กรรมสิ ท ธิ์ ของอั ล ลอฮ์ โ ดยแท้ จ ริ ง มนุษย์เป็นเพียงผู้รับอะมานะห์จากอัลลอฮ์ ในการครอบครอง และเขาจะต้อง รับผิดชอบและถูกสอบสวนในสิ่งที่เขาครอบครอง สอง : ทรัพย์สินเป็นปัจจัยของชีวิตมิใช่เป้าหมายของชีวิต การเอา ทรั พ ย์ สิ น มาเป็ น เป้ า หมายของชี วิ ต เท่ า กั บ การตกเป็ น ทาสของทรั พ ย์ สิ น โดย ปริยาย และการตกเป็นทาสของทรัพย์สินก็เท่ากับตกอยู่ในหนทางแห่งความ หายนะ ดังที่ท่านนบีได้กล่าวว่า : ความว่า : ความหายนะได้ประสบกับผู้ตกเป็นทาสของทอง และผู้ตก เป็นทาสของเงิน เมื่อมีคนให้เขาก็พอใจ และเมื่อไม่มีคนให้เขาก็โกรธ สาม : ทรั พ ย์ สิ น เป็ น เพี ย งเครื่ อ งประดั บ ของชี วิ ต ในโลกนี้ เ ท่ า นั้ น ไม่มีแก่นสารและไม่มีความจีรังยั่งยืน เราจึงไม่ควรหลงใหลหรือยึดติดกับมัน

แต่ ค วรใช้ มั น ไปในวิ ถี ท างของอั ล ลอฮ์ และต้ อ งคำนึ ง ถึ ง ความสุ จ ริ ต ธรรม เป็นสำคัญเพื่อให้บังเกิดผลเป็นอะมัลที่ศอและห์ ยังประโยชน์แก่ผู้ที่ครอบครอง ทั้งในโลกดุนยาและอาคิเราะห์

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


46

“สุจริตธรรมและความอดทน เป็นส่วนหนึ่งของความยำเกรง”

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาที่เคารพ ขอให้เราท่านทั้งหลายจงมีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ มีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อกันเถิด อีกทั้งต้องมีการอดทน อดกลั้น เพื่อได้รับชัยชนะ พระองค์ อัลลอฮ์ตรัสว่า

“เรา หมายถึง อัลลอฮ์ จะทดสอบพวกเจ้าให้เผชิญกับความหวาดกลัว ให้ เ ผชิ ญ กั บ ความหิ ว ให้ ท รั พ ย์ ส มบั ติ ที่ มี อ ยู่ ห มดไปหรื อ น้ อ ยลง ให้ สุ ข ภาพ

ไม่สมบูรณ์ มีเจ็บไข้ได้ป่วย ให้พืชผลได้รับความเสียหาย (โดยที่การทดสอบอันนี้ จะไม่มีอะไรคุ้มกันนอกจากมีความอดทนและมีสติ ดังนั้นนบีแห่งข้าฯ) จงแจ้ง ข่าวดีแก่พวกเขาผู้มีความอดทนและมีสติ ผู้ซึ่งที่เมื่อได้ประสบเคราะห์กรรมแล้ว พวกเขาจะกล่าวว่า (พวกเรานั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ แล้วเราก็ต้องกลับไปหา พระองค์) พวกเขานั้นจะได้รับพรอันประเสริฐ จะได้รับความเมตตาจากพระเจ้า เพราะพวกเขาเหล่านั้น เป็นกลุ่มชนที่มีหลักยึด และอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง” ท่านพี่น้องที่เคารพ...ในชีวิตความเป็นอยู่ของเราท่านในแต่ละวันนั้น ย่อมมีความเครียด มีความกดดัน มีอารมณ์ที่ไม่เป็นปกติอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย ท่านออกไปทำมาหากิน ออกไปทำงาน เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางต้องยืน คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


47 รอรถนาน ๆ และเมื่ อ ขึ้ น รถได้ แ ล้ ว บางวั น รถก็ ติ ด อยู่ บ นท้ อ งถนนเป็ น เวลา หลายชั่วโมง ก็ให้เกิดความเครียด ความกดดัน ดังนั้นจึงต้องมีการอดทนให้มาก และต้องมีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ให้มาก ในโอกาสที่ท่านต้องอยู่ในสังคมท่านต้องคบค้าสมาคมกับผู้อื่น ก็ย่อมมี การกระทบกระทั่งกันบ้าง สังคมมีการแก่งแย่งกัน โอ้อวดกัน อิจฉาริษยากัน

ถือดีต่อกัน มันก็เป็นความเครียด ความกดดันอีกเช่นกัน ในครอบครัวบางครอบครัว อาจมีคนเจ็บคนป่วย มีการสูญเสีย เช่น การสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง หรือเสียชีวิต ในขณะเดียวกันต้องมีค่าใช้จ่าย รายวัน รายเดือน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ แล้วอีกหลาย ๆ อย่างที่รุมเร้าเข้ามามันก็เป็น ความเครียด เป็นความกดดัน จึงต้องใช้ความอดทน สรุปแล้ว จะอย่างไร สภาพใด และ ณ ที่ใดก็ตาม ในชีวิตความเป็นอยู่ ของคนเราในแต่ละวันนั้น ย่อมพบกับความกดดันที่เราท่านจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ท่านพี่น้องที่รัก สิ่งที่เราจะต่อสู้กับความเครียด ความกดดันเหล่านี้ ได้นั้น ก็คือ การซอบัร การอดทนอดกลั้นและมีสติ แล้วก็ต้องกระทำตนให้อยู่ใน ความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ด้วย แล้วนั่นแหละชีวิตของเราก็จะไปรอดมีทางออก ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ไม่เสียผู้เสียคน ไม่คิดมาก ไม่ฟุ้งซ่าน และจะทำให้จิตใจ ของเราสงบนิ่ ง ชี วิ ต ของเราเป็ น ของอั ล ลอฮ์ จึ ง ต้ อ งมอบหมายต่ อ อั ล ลอฮ์

ในทุกกิจการงาน และในความซอบัร อดทนอดกลั้นของเรานั้น ถือเป็นเรื่อง ของการสักการะในองค์อภิบาลโดยแท้ ซึ่งในเรื่องนี้นั้น ย่อมมีผลบุญตอบสนอง มากมาย ท่านร่อซู้ล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวในเรื่องนี้ไว้ว่า ความว่า “เมื่ออัลลอฮ์รักและภูมิใจบ่าวคนหนึ่ง อัลลอฮ์ก็จะทดสอบบ่าว ผู้นั้น (ให้ได้รับเคราะห์กรรมความเดือดร้อน สูญเสีย ผิดหวัง หรืออะไรก็ตาม) คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


48 เมื่อบ่าวคนนั้นมีความซอบัร อดทน ก็จะได้รับการหลีกเลี่ยงหรือหลุดพ้น และ

เมื่อยินยอม-ยอมรับในชะตากรรม ในเคราะห์กรรมนั้น ย่อมจะได้ชื่อว่าเป็นบ่าว

ที่ซื่อสัตย์” เราจะต้ อ งรั กษาการอีห ม่า น การศรั ทธาของเราไว้ ใ ห้ จ งดี ขณะเกิ ด

ความกลั ว หรื อ ความหวาดผวา จะต้ อ งสงบนิ่ ง เมื่ อ เกิ ด ความเศร้ า สลด เกิดความเสียใจ จะต้องไม่เอะอะโวยวาย ไม่โทษโน่นโทษนี่ ในส่วนที่เราได้ด ี

มีบารอกะห์ ก็อย่าได้ทะนงตน ให้ขอบคุณต่อพระเจ้า อย่าได้ถือตนเป็นที่ตั้ง

ในส่วนที่เป็นความไม่ดี เป็นเคราะห์กรรมโชคร้าย ก็ต้องอดทนอดกลั้น และ ต้องมีการวิงวอนขอต่อพระองค์ เพราะพระองค์นั้นคือที่พึ่งของเรา อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงกล่าวแก่ร่อซู้ล เพื่อนำมาชี้แจง แก่บุคคลทั่วไปว่า ความว่า “ศาสนทูตแห่งข้าฯ จงกล่าวแก่พวกเขาเถิดว่า อันความดี

ความชั่ ว นั้ น จะไม่ ป ระสบพบกั บ เรา เว้ น แต่ ก อดั ร พรหมลิ ขิ ต หรื อ กำหนด

การล่วงหน้าของอัลลอฮ์ ที่กำหนดไว้ให้ พระองค์เจ้าเท่านั้น ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรง ปกครองเราในทุกเรื่อง ในทุกกิจการ และในทุกสภาพการณ์ ดังนั้น มุมินผู้ศรัทธา ในพระเจ้าทั้งหลาย จงมอบหมายและยึดมั่นในอัลลอฮ์” (ซูเราะฮ์ อัต-เตาบะฮ์ อายะฮ์ที่ 51) ท่านพี่น้องที่เคารพ...ในความซอบัรอดทนของเรานั้น ถ้าจะพูดให้สั้น สักนิดหนึ่งก็คือ ต้องซอบัร อดทนอดกลั้นในเรื่องที่ไม่ดี ในเรื่องที่มีความกดดัน ให้ เ กิ ด เป็ น ความดี ให้ เ กิ ด เป็ น ความถู ก ต้ อ ง พร้ อ มกั บ ต้ อ งกระทำตนให้ อ ยู ่

ในการตักวา ในการยำเกรงอัลลอฮ์ด้วยแล้วนั้นแหละ การซอบัรของเราจึงจะมีผล ไปในทางที่ดี พี่น้องที่เคารพครับ...คนเราเมื่อเป็นคนดีของสังคมเป็นผู้มีสุจริตธรรม ใครก็ อ ยากจะคบหาสมาคมด้ ว ยอยากจะช่ ว ยเหลื อ และเมื่ อ มี โ อกาสมี ง าน คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


49 มีการก็อยากจะหยิบยื่นให้ทำ มีช่องทางก็อยากจะบอก อยากจะกล่าว มีอุปสรรค เดือดร้อน ก็มักจะได้รับการช่วยเหลือ พี่น้องที่เคารพ...การทำความดี มีคุณธรรม มีจริยธรรมของคน ๆ หนึ่ง นั่นแหละคือ การตักวา เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีความซอบัร มีการตักวา ชีวิตของเรา ก็จะไม่อับเฉา ไม่ตกต่ำ แต่กลับจะทำให้ชีวิตมีความสุข มีเกียรติ มีฐานะจะเป็น ชีวิตที่มีความสำเร็จในที่สุด อัลลอฮ์ทรงให้คำมั่นสัญญาแก่เราไว้ใน (ซูเราะฮ์ อัตตอลาก อายะฮ์

ที่ 2-3) ว่า ความว่ า “และผู้ใดยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (พยายามกระทำตน อดทน

ตั้ ง ตนอยู่ ใ นความดี อยู่ ใ นศี ล ในธรรม อยู่ ใ นจริ ย ธรรม อยู่ ใ นจารี ต ประเพณี

อันดีงาม) อัลลอฮ์จะให้เขาผู้นั้นพบทางออก (พบช่องทางในอันที่จะทำให้ชีวิต

ของเขาหลุดพ้นจากความยากจนและทุกข์ยาก)”

“และจะให้เขาได้รับริสกี โดยที่เขาไม่คาดคิด (ไม่คิดว่าจะได้ก็ได้)”

“ผู้ ใ ดมอบหมายตนต่ อ อั ล ลอฮ์ (ทำให้ ดี ที่ สุ ด ในทุ ก กิ จ การ แล้ ว ก็

มอบหมายต่อพระองค์) ก็เป็นการเพียงพอแล้ว” “อัลลอฮ์นั้นทรงบรรลุแล้วในจุดประสงค์และเป้าหมาย ในการบริหารงาน ของพระองค์”

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


50 “อัลลอฮ์ทรงให้ทุกสิ่ง (เป็นไปตามกาลเวลา) เป็นไปตามชะตากรรม (เป็นไปตามโชคนำแห่งชีวิต)” พี่น้องที่รัก...คนเราถ้าเป็นคนดี มีความอดทน อยู่ที่ไหนใครก็อ้าแขนรับ เรื่องจะอดตายหรือไม่มีงานทำนั้นย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านทั้งหลาย ได้ตระหนักถึงความอดทนให้มาก เป็นผู้นำ ผู้บริหาร เป็นอิหม่าม เป็นคณะกรรมการ ก็ต้องถูกตำหนิ ติเตียนบ้างเป็นธรรมดา เป็นครูบาอาจารย์ ให้การอบรมสั่งสอนผู้อื่น เกิดไปทำผิดพลาด ก็ต้อง ถูกตำหนิ ถูกโจทย์ขาน ก็ต้องมีความอดทน สรุปแล้วในทุกเรื่อง เราต้องมีความซอบัรอดทนและฐานะของการซอบัรนั้น คือ หน่วยหนึ่งของการอีหม่านมีผู้ถามท่านร่อซู้ล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถึงเรื่องการอีหม่าน ท่านตอบว่า การอดทนและอดกลั้นนั่นแหละ คือการอีหม่าน พี่น้องที่รัก...ในตัวของท่าน ในภาระหน้าที่ของท่าน ในสังคมของท่าน ในการกระทำของท่าน ในการทำความดีของท่าน ในการละความชั่วของท่าน ในการประพฤติตัวของท่าน ในเคราะห์กรรมของท่านนั้น จักต้องมีความซอบัร

อดทนและอดกลั้น ในความอดทนอดกลั้ น ในสิ่ ง เหล่ า นั้ น ถื อ เป็ น หน้ า ที่ ข องท่ า น และ ในหน้าที่ของท่านเหล่านี้นั้นถือเป็นเรื่องของการสักการะต่อพระผู้อภิบาลทั้งสิ้น จึ ง ขอให้ ผู้ ศ รั ท ธาทั้ ง หลาย จงดำเนิ น ชี วิ ต ตามหลั ก ธรรมคำสอนของศาสนา อิสลาม จงเป็นผู้มีสุจริตธรรม จงใช้ความอดทนให้มาก ประการสำคัญต้องตั้งมั่น อยู่ในความตักวา ความยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์อยู่เสมอ เพื่อได้รับชัยชนะ ทั้งดุนยาและอาคิเราะห์

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


51

การละหมาดด้วยความสุจริตธรรม คือยอดแห่งอิบาดะห์

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาที่เคารพ การละหมาดถือเป็นอิบาดะห์ที่สำคัญที่สุด เป็นเสาของศาสนา มุสลิม ผู้ยำเกรงอัลลอฮ์นั้นจะต้องดำรงไว้ซึ่งการละหมาดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ มีความ สุจริตธรรม พระองค์อัลลอฮ์ตรัสว่า ความว่ า “(โอ้ น บี แ ห่ ง ข้ า ฯ) จงปฏิ บั ติ ล ะหมาดทั้ ง ในช่ ว งแรกและ

ช่วงสุดท้ายของกลางวัน และทั้งช่วงเวลาที่แยกกำหนดไว้ในช่วงกลางคืน แท้จริง ความดีนั้นจะลบล้างความชั่ว การสั่งใช้ให้เจ้าปฏิบัติดังกล่าวนั้น เป็นคำสอน

เป็นคำแนะนำแก่ผู้มีความระลึกได้ในพระผู้เป็นเจ้า” (ซูเราะฮ์ ฮูด อายะฮ์ที่ 114) อีกอายะฮ์หนึ่งพระองค์ทรงกล่าวไว้ว่า

ความว่า “(โอ้นบีแห่งข้าฯ) จงอ่านคัมภีร์ของอัลลอฮ์ให้ถูกต้องตาม

กฎเกณฑ์ และจงปฏิบัติละหมาด (ให้ครบถ้วนสมบูรณ์) เพราะการละหมาด

(ด้วยจิตใจสำรวมและบริสุทธิ์) นั้น จะทำให้ผู้ปฏิบัติหยุดการประพฤติชั่ว หันเห ออกจากสิ่งที่เป็นบาป ออกจากสิ่งที่ไม่ชอบด้วยหลักการของศาสนาในที่สุด” (ซูเราะฮ์ อัลอังกะบูต อายะฮ์ที่ 45) คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


52 และการระลึกได้ในอัลลอฮ์ ในการตักวาอัลลอฮ์จะยังผลดีให้ผู้ปฏิบัติ ให้คุณค่า ให้ผลบุญอย่างมากมี อัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเจ้าได้ปฏิบัติกัน ทั้งในความดีและความชั่ว ทั้งสิ่งที่ทำให้โดยเปิดเผยและแอบทำ พี่น้องมุสลีมีนที่เคารพรัก...เราเป็นมุสลิมต้องปฏิบัติละหมาดให้ครบ เพราะการละหมาดถือเป็นรากฐานประการแรก เป็นประการสำคัญในด้านการ ปฏิบัติตนขั้นสูงสุด ในการดำรงไว้ซึ่งศาสนา และแสดงออกซึ่งความเป็นมุสลิม ของเรา เราพูดกันว่า ถ้าคนหนึ่งไม่ละหมาดเลย ในคุณงามความดี ในภาระ หน้าที่ที่เป็นกิจวัตรประจำวัน ณ ที่พระเจ้า ในวันอาคีเราะห์โน้น จะไม่มีผลอานิสงส์ คุณค่า ผลบุญตอบสนองให้อย่างแน่นอน นั่นก็เพราะว่าการคิดคุณค่าผลบุญ ตอบสนองให้นั้น เริ่มด้วยการละหมาดซึ่งถือเป็นบรรทัดฐาน เป็นอันดับสอง รองจากคำสั ต ย์ ป ฏิ ญ าณ เรี ย กว่ า ต้ อ งละหมาด เป็ น การปฏิ บั ติ ก ารสั ก การะ ยืนยันในคำสัตย์ปฏิญาณของเราต่อการเป็นเจ้าของพระเจ้า เป็นการน้อมรับ

ในศาสนาที่พระองค์มอบให้ไว้ เป็นแนวทางปฏิบัติเสียก่อน แล้วในการประกอบ กิจการงานในด้านอื่น ๆ ก็จะมีผลตามมา การละหมาดนั้ น จะห้ า มจากความชั่ ว และความผิ ด จะทำให้ ผู้ ป ฏิ บั ต ิ

หยุดการประพฤติชั่ว หยุดกระทำในสิ่งที่เป็นภัยในที่สุด พี่ น้ อ งที่ เ คารพรั ก ...ในอายะฮ์ ที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น บอกให้ เ รารู้ ว่ า ใน ส่วนหนึ่งนั้น คนเราชอบปฏิบัติชั่ว ประพฤติผิดต่อจารีตประเพณีและศีลธรรม ในสิ่งผิดพลาดเหล่านี้ เราขจัดออกได้ถ้าเราละหมาด เพราะการละหมาดนั้น คือ การขัดเกลาจิตใจและทำให้มีวินัย จิตของเราจะสะอาด กริยามารยาทจะงดงาม ความประพฤติ จ ะดี มี ศั ก ดิ์ มี ศ รี มี บ ารมี ก็ ต่ อ เมื่ อ เป็ น บุ ค คลที่ ไ ด้ ผ่ า นแล้ ว ซึ่ ง การขั ด เกลาจิ ต ใจ และการขั ด เกลาที่ เ รากำลั ง พู ด ถึ ง นี้ ในอิ ส ลามก็ คื อ การละหมาด การเข้าสู่พิธีกรรมในการสักการะต่อพระผู้เป็นเจ้า และการละหมาด คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


53 ที่ให้ผลไปในด้านของการขัดเกลาจิตใจ จะต้องเป็นการละหมาดที่ถูกต้อง เป็นไป ตามกฎเกณฑ์และข้อกำหนด แล้วก็ต้องเป็นละหมาดที่ปฏิบัติไปด้วยความสำรวม มีสมาธิ มีอากัปกิริยาท่าทางที่เป็นพิธีการ แสดงออกซึ่งการคารวะ น้อบน้อม และ ถ่อมตน เป็นละหมาดที่ตั้งความรู้สึกมุ่งไปสู่พระเจ้า ด้วยจิตที่แน่วแน่และจริงใจ เหมือนกับว่าท่านหยุดยืนต่อหน้าพระพักตร์ของพระผู้เป็นเจ้า ต้องทำจิตให้ว่าง จิตกับร่างต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน และต้องรู้ต้องสำนึกด้วยว่า ที่พระเจ้ามีบัญญัติ ให้เราละหมาดนั้น เพื่ออะไร? มีจุดมุ่งหมายไปในทางไหน? ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ได้กล่าวว่า ความว่ า : อั ล ลอฮ์ จ ะไม่ พิ จ ารณาการละหมาด ที่ ช ายคนหนึ่ ง เข้ า สู่ การละหมาด โดยจิตกับร่างไม่สัมพันธ์กัน ครับท่านที่รัก...การละหมาดที่จะหักห้ามความชั่ว ละหมาดที่จะทำให้

ผู้ปฏิบัติหยุดการทำชั่วได้นั้น ต้องเป็นละหมาดที่มีสมาธิ ละหมาดด้วยความตั้งใจ และต้องรู้ต้องมีจิตสำนึกด้วยว่า เป้าหมายหรือจุดประสงค์ของการที่พระเจ้า บัญญัติใช้ให้ละหมาดนั้นคืออะไร? ท่านพี่น้องที่เคารพ พระเจ้าใช้ให้เราละหมาด ในจุดแรกก็เพื่ออัลลอฮ์ เพราะพระองค์เป็นพระเจ้า เป็นที่พึ่งของเรา เราก็ต้องสักการะพระองค์ ยำเกรง ในพระองค์ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือเพื่อให้เราเป็นคนดี มีจริยธรรมมีคุณธรรม มีจิตใจสะอาด งดงาม จะทำอะไรก็ให้นึกถึงพระองค์ จะคบค้าสมาคม จะทำธุรกิจ กั บ ใครก็ ใ ห้ นึ ก ถึ ง พระองค์ ให้ นึ ก ถึ ง ความถู ก ต้ อ ง ให้ นึ ก ถึ ง บทบั ญ ญั ติ ห้ า ม และใช้ของพระองค์เป็นที่ตั้ง คนเราเมื่อจิตอยู่กับพระเจ้า จะทำอะไรก็ต้องตาม บทบั ญ ญั ติ ข องพระเจ้ า คนที่ เ ดิ น ตามบทบั ญ ญั ติ ใ ช้ ข องพระเจ้ า จะปฏิ บั ต ิ

ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้กระนั้นหรือ? คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


54 เพราะฉะนั้นท่านที่รัก ที่เราท่านละหมาดกันอย่างครบถ้วน 5 เวลา ไม่เคยขาดนั้น มันเป็นเรื่องดี เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตความเป็นมุสลิม ของเรา แต่ถ้าจะให้ดีมากขึ้น ก็ต้องเพิ่มจุดประสงค์และเป้าหมายของละหมาด เข้ า ไว้ ใ นจิ ต ใจของท่ า นด้ ว ย “เรี ย กว่ า ละหมาดแล้ ว ให้ ไ ด้ จิ ต สำนึ ก ” สำนึ ก

ในจริยธรรม สำนึกในคุณธรรม สำนึกในคำสั่งสอนของศาสนา สำนึกในความเป็น มุ ส ลิ ม นั่ น แหละครั บ ...จึ ง จะเป็ น ละหมาดที่ ส มบู ร ณ์ เป็ น ละหมาดที่ ใ ห้ ผ ล ให้ผู้ปฏิบัติหยุดและเลิกกระทำชั่วในที่สุด พี่ น้ อ งที่ เ คารพ กลั บ มาในแวดวงสั ง คมของเราท่ า นบ้ า ง หลายคน ละหมาด แต่ก็ไม่ทำให้จิตใจสะอาด หลายคนละหมาด แต่ไม่ทำให้ความประพฤติ ดีขึ้น หลายคนถามว่า แล้วละหมาดไปทำไม? ได้อะไรขึ้นมา และละหมาดนั้น จะหักห้ามความชั่วได้จริงหรือ? ครับแน่นอน ละหมาดนั้นย่อมขัดเกลาจิต และ หักห้ามความชั่วได้จริง ถ้าละหมาดนั้นเป็นละหมาดที่ถูกต้อง มีสมาธิ มีจิตสำรวม มีจิตมุ่งมั่นและมีความสุจริตธรรม และต้องเป็นละหมาดที่เกิดขึ้นจากการยำเกรง ในพระเจ้า เป็นละหมาดที่ได้มาซึ่งจิตสำนึกในจริยธรรมและคุณธรรม แต่ถ้าละหมาดแบบขอไปที ละหมาดโดยไม่มีจิตสำนึก ขาดจุดประสงค์ และเป้าหมายละหมาดเพราะต้องละหมาด การละหมาดของเขาก็เป็นเพียง การก้ม ๆ เงย ๆ เท่านั้น ย่อมจะไม่ให้ผลอะไร กลับจะเป็นสิ่งด่างพร้อยให้กับ

ตัวเองและสังคม คนเขาจะพูดว่า “อุตส่าห์ไว้ใจนึกว่าเป็นคนดี เห็นละหมาด

ไม่ขาด” ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ได้ถูกถามถึงเรื่องราวของหญิงคนหนึ่ง ซึ่งเธอถือบวช ในตอนกลางวัน ละหมาดในตอนกลางคืน และในขณะเดียวกันเธอก็ทำร้าย เพื่อนบ้านด้วยลิ้นของเธอ โดยการนินทาผู้อื่น เหน็บแนม มุสา อิจฉาตาร้อน ชอบปั้นน้ำเป็นตัว ชอบที่จะเห็นผู้อื่นมีทุกข์แล้วตัวเองจะมีความสุข ท่านร่อซู ลุ้ลลอฮ์ตอบว่า เธอผู้นั้นไม่มีความดีอะไรเลย เธอเป็นชาวนรก คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


55 ในหะดีษนี้บอกให้เรารู้ว่า ในเรื่องของบทบัญญัติที่ใช้ให้เราท่านปฏิบัติ ไม่ใช่เฉพาะแต่เรื่องละหมาด จะเป็นบทบัญญัติข้อไหนก็ตาม ถ้าเราท่านทำโดย ปราศจากจิตสำนึก และเป้าหมายในบทบัญญัตินั้น ก็มักจะไม่ได้ผลอะไร จงอย่าละหมาดเพราะว่าเป็นมุสลิมต้องละหมาด เห็นเขาละหมาดกัน

เราก็ละหมาดด้วย ละหมาดไปด้วยความเคยชิน โดยไม่รู้ว่าละหมาดเพื่ออะไร? เป้าหมายไปในทางไหน? จงอย่าละหมาดเพื่อให้คนเขารู้ว่าเรานั้นเคร่งละหมาด ไม่ขาด แล้วก็เที่ยวอวดอ้างสรรพคุณตนเอง จงอย่าละหมาดแล้วดึงเอาละหมาด มาแอบอ้างให้ตกต่ำ อย่างเช่นพูดว่า ฉันจะทำอย่างนั้นไปทำไม ฉันจะพูดอย่างนั้น ทำไม ฉันไม่เคยทำ ฉันไม่เคยพูด ฉันละหมาดไม่ขาด...จงละหมาดเพราะว่า ละหมาดเป็ น บทบั ญ ญั ติ เป็ น หน้ า ที่ เป็ น ฟั ร ดู ที่ เ ราท่ า นผู้ เ ป็ น มุ ส ลิ ม ทุ ก คน ต้องปฏิบัติ จะขาดไม่ได้ พร้อมกับในละหมาดนั้น จะต้องให้ได้มาซึ่งจิตสำนึก สำนึกได้ในจริยธรรมคำสั่งสอนของศาสนา นั่นแหละจึงเป็นละหมาดที่ถูกต้อง เป็นละหมาดที่ขัดเกลาจิตใจ และหักห้ามความชั่ว ความไม่ดีในที่สุด พระองค์ อัลลอฮ์ได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ความว่ า : อั น ความดี นั้ น จะลบล้ า งความชั่ ว การสั่ ง ใช้ ใ ห้ ป ฏิ บั ติ เป็นคำสั่งสอนแก่ผู้มีความระลึกได้ในพระผู้เป็นเจ้า เป็นข้อแนะนำ เป็นจริยธรรม คำสั่งสอนที่มาจากพระองค์ (ซูเราะฮ์ ฮูด อายะฮ์ที่ 114) ขอให้ผู้ศรัทธาจงดำรงไว้ ซึ่งการละหมาดด้วยความสุจริตธรรม และได้ดำเนินชีวิตตามหลักธรรม คำสอน ของศาสนาอิสลามเพื่อได้รับความสุขและมีชัยทั้งโลกนี้และโลกหน้า

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


56

สุจริตธรรม นำสังคมสู่สันติภาพ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาที่เคารพ มนุษย์ทุกคนต้องมีหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งต้องรับผิดชอบ ตนเอง รับผิดชอบสังคมและประเทศชาติ ความรับผิดชอบเป็นส่วนหนึ่งของ ความยำเกรง พร้อมกันนี้ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วยความสุจริตธรรม พระองค์อัลลอฮ์ตรัสว่า

ความว่ า “เมื่ อ พระผู้ เ ป็ น เจ้ า ของท่ า น กล่ า วแก่ บ รรดามลาอิ ก ะฮ์ ว่ า

เราจะแต่งตั้งตัวแทนให้ปกครองโลก บรรดามลาอิกะฮ์ก็กล่าวคัดค้านว่า ท่านจะ ทำให้ผู้หนึ่งทำความเสียหาย ทำลายล้าง และประหัตประหารกันอยู่บนโลก

อย่างนั้นหรือ? เรา (หมายถึงมลาอิกะฮ์) เป็นผู้ที่ยกย่อง และสรรเสริญพระองค์ (ไม่เคยทำให้พระองค์มัวหมอง) อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลาจึงกล่าวตอบว่า

เรารู้ ใ นสิ่ ง ที่ พ วกเจ้ า ไม่ รู้ ” (เรารู้ ว่ า ใครเหมาะสมที่ จ ะปกครองโลก) (ซู เ ราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 30) ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทั้งหลาย ในความเป็ น อยู่ ข องเราท่ า นนั้ น จะนิ่ ง เฉยไม่ ไ ด้ ต้ อ งเคลื่ อ นไหว ต้องดิ้นรนต่อสู้ ต้องทำมาหากิน ต้องแสวงหาปัจจัยในการดำรงชีพ นั่นก็คือ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


57 ทรัพย์สมบัติ เงินตราสิ่งของ เครื่องอุปโภคบริโภค และอีกหลาย ๆ อย่างที่จำเป็น แก่ชีวิต นั่นเป็นทางหนึ่งในด้านวัตถุ อีกทางหนึ่ง ทางด้านจิตใจแล้ว ก็ต้องมีศีลธรรม มีจริยธรรม สุจริตธรรม และต้องมีจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกัน รับผิดชอบในสัดส่วนของสังคม และกลุ่มชน ร่วมกัน แล้วชีวิตของเราก็จะมีความสุข ไม่ถูกตำหนิติเตียน มีแต่คำสรรเสริญ เยินยอ มีแต่สันติภาพจนทำให้เกิดความสมานฉันท์ ท่านพี่น้องที่เคารพ เกียรติ ศักดิ์ศรี บารมี การให้ความนับถือ ความรัก ความอบอุ่น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราจะหาซื้อได้ด้วยเงินตรา หากแต่เราได้มันมาด้วย คุณธรรม ด้วยความดี ด้วยการอุปถัมภ์ค้ำจุนกัน มอบสิ่งที่ดี ๆ ให้แก่กัน ไม่ใช่ ทำลายล้างสังคม หรือทำสังคมไปสู่ความวิบัติ หลายคนประกอบสัมมาชีพด้วยความสุจริต ขยันทำมาหากิน แล้วก็มี ความสุข แม้จะเหน็ดเหนื่อยอยู่บ้าง หลายคนมีรายได้ไม่เป็นกอบเป็นกำไม่พอกิน พอใช้ แต่ ก็ มี ชี วิ ต อยู่ได้ด้วยความอดออม อดทน อยู่ ด้ ว ยความยากลำบาก แต่ก็มีสติ ไม่ทำความเสื่อมเสียมาสู่สังคมและประเทศชาติ ท่านพี่น้องที่เคารพ...การรักษาความดี มีตักวาต่ออัลลอฮ์นั้น จะทำให้ ชีวิตดีขึ้นเอง อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ใน (ซูเราะฮ์ อัตตอลาก อายะฮ์ที่ 2-3) ว่า ความว่า “ผู้ใดยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ยึดปฏิบัติตามห้ามตามใช้) พระองค์ จะให้ผู้นั้นพบทางออก (พบช่องทางที่จะทำให้ชีวิตของเขาหลุดพ้นจากความ

ทุกข์ยาก)” “และอัลลอฮ์จะให้เขาได้รับริสกีโดยที่เขาไม่คาดคิด (ไม่คิดว่าจะได้ ก็ได้)” คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


58

“ผู้ใดมอบหมายตนต่ออัลลอฮ์ในทุกกิจการ (ทำให้ดีที่สุด) ก็เป็นการ เพียงพอแล้ว” “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงบรรลุแล้วในจุดประสงค์และเป้าหมาย (ในกิจการงาน ในการบริหารงานของพระองค์)” “อัลลอฮ์ทรงให้ทุกสิ่ง เป็นไปตามชะตากรรม (เป็นไปตามโชคนำชีวิต)” ท่านพี่น้องที่เคารพ อีกหลายคนมีรายได้ค่อนข้างดี มีความสุข แต่ก็เป็น ความสุขที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นรายได้ที่ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง เป็นรายได้ ที่ทำลายล้าง คร่าชีวิตผู้อื่น ยัดเยียดความตายให้ผู้อื่น โดยตายแบบผ่อนส่ง

ตายทั้งอนาคตและชีวิต โดยการประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมาย มนุษย์ทุกคนเป็นทรัพยากรของโลกและประเทศชาติที่มีคุณค่า เป็นขวัญ และกำลังใจของพ่อแม่ เป็นกำลังสำคัญของสังคมและประเทศชาติ แต่ก็ต้องมา ถูกทำลายล้างโดยภัยมืดที่แฝงอยู่ในสังคม เรากำลังพูดถึงอาชีพหนึ่งที่แฝงอยู่ใน เงามืดของสังคม เป็นอาชีพที่น่ารังเกียจ เป็นอาชีพที่โลกสาปแช่ง เป็นอาชีพ

ที่ทำความวิบัติมาสู่เด็กและเยาวชนที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มหันตภัยยาเสพติด ทำลายชีวิต ทำลายสังคม เพราะฉะนั้นอย่าเข้าใกล้ อย่ า ใช้ เ ป็ น เส้ น ทางทำมาหากิ น มั น เป็ น บาป เป็ น การกระทำของคนใจบาป เป็นอาชญากรที่ไร้มนุษยธรรม ที่อยู่ในรูปแบบของการทำลายล้างและคร่าชีวิต ของผู้อื่น ซึ่งก็เป็นญาติพี่น้องและบุคคลที่อยู่ในสังคม แม้จะไม่ตายในทันทีทันใด แต่มันก็ตายแบบผ่อนส่ง ซึ่งก็ถือว่าโหดร้ายและทรมานยิ่งกว่าตายโดยปัจจุบัน ทันด่วนเสียอีก คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


59 โทษของการฆ่าผู้อื่นตาย โทษของการทำลายชีวิต ถือเป็นบาปใหญ่ ตกนรกเพียงสถานเดียวฉันใด มหันตภัยยาเสพติด ทำลายชีวิต ทำลายสังคม ก็ฉันนั้นเช่นกัน อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ใน (ซูเราะฮ์ อันนิซาอ์ อายะฮ์ที่ 93) ไว้ว่า

ความว่า “ผู้ใดทำลายชีวิตหนึ่งที่เป็นมุอ์มินโดยเจตนา โทษของเขาก็คือ นรกยะฮันนัม ต้องตกอยู่ในขุมนรกนั้นตลอดไป (อันเนื่องมาจากการกระทำ

ความผิ ด ที่ ร้ า ยแรง) เป็ น ความผิ ด ที่ ท ำให้ อั ล ลอฮ์ โ กรธ และตั ด ออกจาก

ความเมตตา (เขาจะไม่ได้รับในสิ่งที่ดี ๆ ในชีวิต) อัลลอฮ์ได้เตรียมการลงโทษ สถานหนักไว้ให้แล้ว (นั่นก็คือขุมนรกยะฮันนัมเพียงสถานเดียวเท่านั้น)” เกี่ยวกับเรื่องนี้มีนักวิชาการบางท่านกล่าวว่า การทำความเสื่อมเสีย ทำความวิบัติอยู่บนหน้าโลกนี้ และไม่อาจที่จะเตาบัตตัวได้ ไม่ควรที่จะได้รับ

การผ่อนปรนใด ๆ มันบาปเกินกว่าที่จะให้อภัย เพราะฉะนั้น ท่านที่รัก โปรดอย่าได้เข้าใกล้ ย าเสพติด อย่ าคิ ด เสพ อย่าคิดจำหน่าย มันเป็นมหันตภัยทำลายล้าง คนเสพตาย คนจำหน่ายติดคุก

สุขไม่มี มีแต่ความมืดมน โลกประนามและสาปแช่ง ท่ า นพี่ น้ อ งที่ รั ก โลกยั ง มี ก ารเปลี่ ย นแปลง สภาพแวดล้ อ มผั น ผวน วั ฏ จั ก รของโลกยั ง ต้ อ งมี ก ารเสื่ อ มและสู ญ สลาย มนุ ษ ย์ ยั ง ต้ อ งประสบกั บ ชะตากรรมเกิดแก่เจ็บตาย ดีใจและโศกเศร้าที่พำนักพักพิงของเราในโลกดุนยานี้ ไม่มีอะไรยั่งยืน ไม่มีอะไรถาวร ทุกสิ่งย่อมมีการเสื่อมสลายและดับสูญไปตาม กาลเวลา ไปตามคุณลักษณะของมัน อย่างนี้แล้วความสุขในชีวิตของเราจะมี หรือ? คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


60 ในซูเราะฮ์ อัลมุลกุ อายะฮ์ที่ 1 และ 2 บอกถึงสภาพหนึ่ง บอกถึง

ฐานะหนึ่งที่มนุษย์อย่างเราท่าน ต้องดำรงชีพอยู่ในโลก ต้องทำอะไร? และต้อง รับผิดชอบอะไร? “เอกองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงควบคุมอำนาจการปกครอง ผู้ทรงเดชานุภาพ

และกำหนดสภาวการณ์”

“พระองค์ผู้ทรงให้มีการดับสูญให้มีการตายแล้วก็ให้มีชีวิตความเป็นอยู่”

“ก็เพื่อที่จะทดสอบเจ้า คือเราท่านทั้งหลายว่า ใครคนใดเล่าที่ทำดี

รับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ได้ดีที่สุด” อายะฮ์ดังกล่าวได้บอกให้เรารับรู้ว่า สถานภาพที่เราต้องอยู่ในโลกนี้นั้น ก็คือ หนึ่ง : อยู่ในฐานะที่ต้องถูกทดสอบ สอง : ต้องรับผิดชอบในภาระหน้าที่ ในการดูแลโลก ทั้งแก่ตัวเอง ครอบครัว และสังคม ต้องดูแลโลกให้สวยงาม ต้องไม่ทำความเสื่อมเสียแก่โลก นั่นเพราะโลกเป็นที่อยู่ของมนุษย์ และมนุษย์ก็เป็นผู้ปกครองโลกได้รับการแต่งตั้ง จากพระผู้เป็นเจ้า ผู้สร้างโลกขึ้นมา แล้วก็ให้มนุษย์เป็นผู้ปกครอง เป็นผู้ดูแล และเมื่อมนุษย์เราเป็นผู้ปกครองโลก ภาระหน้าที่ของเราท่านนั้นต้องทำอะไรบ้าง? โดยสรุปแล้ว เราท่านก็คงจะทราบกันดีอยู่ว่า การทำให้โลกสวยงาม ทำให้โลกน่าอยู่ ทำให้เกิดสุขและสันติ เพราะฉะนั้น ท่านที่รัก คนที่ถูกทดสอบ คนที่ถูกควบคุมความประพฤติ คนที่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในภาระหน้าที่ต่าง ๆ จะหาความสุขความสบายทั้งกายและใจ โดยสมบูรณ์แบบและถาวรได้หรือ? คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


61 ดังนั้น คำว่า “ภาระหน้าที่นั้น” หมายถึง ความรับผิดชอบ แม้จะทำให้ดี ที่ สุ ด สั ก เพี ย งใด แต่ ก็ อ าจมี ค วามผิ ด พลาดเกิ ด ขึ้ น ได้ อย่ า งน้ อ ยที่ สุ ด ก็ ยั ง มี ความกังวลใจอยู่ดี หากสังเกตดูในชีวิตของเรา เรามีความสมหวังในทุกเรื่อง หรือไม่? บางครั้งเราได้สิ่งหนึ่ง แต่ก็ต้องเสียอีกสิ่งหนึ่งไป มีความสุขในส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งอาจได้รับความเดือดร้อน หรือการมีเงินมีทองมากมาย แต่อาจเกิด ความเจ็ บ ไข้ ไ ด้ ป่ ว ย มั น ก็ ไ ม่ มี ค วามสุ ข ในขณะที่ ห ลายคนมี เ งิ น มี บ้ า นมี ร ถ มีทุกอย่างพร้อมสรรพ สุขภาพก็ดี แต่ไม่มีลูกทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น ขาดความสุข หรือครอบครัวนั้นมีลูก แต่ลูกเกิดมีนิสัยที่เกะกะเกเร ไม่รักดี ในที่สุดก็ต้องมีทุกข์ทางใจ มันก็ไม่มีความสุข ดังนั้นความสุขความสมบูรณ์ในชีวิต ของคนเรา หรือการเสวยสุขในความเป็นมนุษย์ของเราที่แท้จริงในโลกดุนยานี ้

จึงหาได้ยาก จะมีให้ก็อยู่ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าหากมนุษย์รู้จักความพอเพียง ในสิ่งที่ตนมีอยู่ รู้จักการมอบหมายตนต่ออัลลอฮ์จะทำให้มนุษย์มีความสุข ดังนั้นความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ ความสุขของสังคมนั้น คือ ความ เพียงพอในสิ่งที่ตนมีอยู่ ซึ่งทุกคนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง รับผิดชอบต่อ สังคมและประเทศชาติด้วยความสุจริตธรรม มีความอดทนอดกลั้น เพื่อนำสังคม ไปสู่ความสันติสุขความสันติภาพอย่างยั่งยืน

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


62

“สุจริตธรรม นำสังคมให้พ้นวิบัติ และต้องกำจัดที่ต้นตอ”

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาที่เคารพ ความสุจริตธรรมถือเป็นส่วนหนึ่งของความยำเกรง ซึ่งมนุษย์ทุกคน ต้ อ งยึ ด หลั ก ความสุ จ ริ ต ธรรมไว้ ใ ห้ มั่ น ทั้ ง ทางกิ ริ ย า วาจา และจิ ต ใจ และ ต้องระมัดระวังพฤติกรรมการบริโภคโดยต้องเลือกบริโภคเฉพาะอาหารที่ฮาลาล อาหารที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น พระองค์อัลลอฮ์ตรัสว่า

“โอ้มนุษย์ทั้งหลาย จงกิน จงบริโภคสิ่งที่ฮาลาล สิ่งที่ดีที่มีอยู่บนพื้นโลก และจงอย่างทำอย่าปฏิบัติไปตามการก้าวนำของซัยตอน เพราะแท้จริงซัยตอนนั้น สำหรับพวกเจ้าคือศัตรู ที่สำแดงพฤติกรรมของมันออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว มันจะทำให้พวกเจ้ากระทำในสิ่งที่เป็นความชั่ว โน้มน้าว จิตใจให้ประพฤติปฏิบัติไปในทางที่เสื่อมเสีย เลวทรามต่ำช้า แล้วก็จะให้พวกเจ้า กล่าวให้ร้ายพาดพิงถึงอัลลอฮ์ในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้” (ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 168-169) จากอายะฮ์ที่นำมากล่าวนี้ ชี้นำให้เราทราบว่า ในชีวิตความเป็นอยู่ของ มนุษย์เรา ต่อสภาพแวดล้อม เหตุการณ์ และความเป็นไปของโลก ที่เราต้อง ดำรงชีวิตอยู่นั้น ให้พึงระมัดระวังแผนร้ายของซัยตอน ที่มักจะนำเราไปสู่ความชั่ว คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


63 ความเป็นบาป พาเราไปตกหลุมพรางแห่งความเลวร้ายในกิเลสและความลุ่มหลง ในความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ทำให้ชีวิตของเราต้องเกิดความมัวหมอง สูญเสีย

ทั้งทรัพย์สินและเงินตรา ทั้งชีวิตและจิตวิญญาณ ทำให้สภาพทางสังคมที่เราอยู่ ร่วมกันเกิดความวิบัติ เสื่อมโทรมและไร้ความประพฤติที่ดีงาม ขาดศีลธรรม ขาดคุณธรรม ขาดความยำเกรงอัลลอฮ์ แล้วที่สุดอนาคตหรือนาวาชีวิตของ เราท่านที่โลดแล่นอยู่ในโลกอยู่ในสังคม ก็จะอัปปางลง ความระส่ ำ ระสาย ความไม่ เ ป็ น ระเบี ย บ ความชั่ ว ความเป็ น บาป ความผิดพลาดในการประพฤติปฏิบัติ ก็จะเกิดขึ้น นั่นเพราะซัยตอน เพราะฉะนั้น ซัยตอนคือศัตรูตัวฉกาจของเราท่าน ซึ่งก็เป็นศัตรูที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกและ มนุษย์ที่มากไปด้วยกิเลสที่อัลลอฮ์ทรงสร้างขึ้น นับจากนบีอาดัม บุรุษคนแรก ของโลก จนมาถึ ง เราท่ า น และมั น ก็ จ ะต้ อ งเป็ น ศั ต รู กั บ มนุ ษ ย์ อ ย่ า งเราท่ า น เรื่อยไป ตราบจนถึงวันกิยามะห์ ดังนั้น ผู้ใดที่อัลลอฮ์ให้การปกปักรักษาคุ้มครองจากแผนการชั่วร้าย ของซั ย ตอน เขาจะพ้ น ภั ย พ้ น ความวิ บั ติ ดั ง นั้ น ถ้ า เราต้ อ งการให้ อั ล ลอฮ์

คุ้มครองเรา เราก็ต้องดำรงตนอยู่ในหลักจริยธรรม หลักสุจริตธรรม ตามคำสั่งสอน ของพระองค์ อยู่ในบทบัญญัติศาสนา และทางนำของพระองค์โดยเคร่งครัด

แล้วนั่นแหละเราก็จะพ้นภัย และเมื่อใดขณะใดที่เราเผลอไผล ความเลวร้าย อันเนื่องมาจากพฤติกรรม การก้าวนำของซัยตอน ก็จะเข้าครอบงำ ท่ า นพี่ น้ อ งที่ รั ก ...ในประเทศของเราเป็ น สั ง คมที่ มี ค วามเป็ น ศิ วิ ไ ลซ์ มีความเจริญก้าวหน้า ทั้งในด้านวัตถุ ทั้งในด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่ค่อนข้าง จะทัดเทียมกับนานาอารยประเทศที่เจริญแล้ว แต่นั่นมิได้หมายถึงเป็นตัวบ่งชี้ ถึงความเจริญก้าวหน้าทางด้านจิตใจ ทางด้ า นความประพฤติ แ ละจิ ต ใต้ ส ำนึ ก ของบุ ค คลในสั ง คม ในทุ ก ตั ว บุ ค คล โดยเฉพาะเด็ก ๆ และเยาวชนคนรุ่นใหม่ วัยสดใสวัยน่ารักจะมีความเจริญเติบโต คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


64 และสวยงามไปตามสภาพความเจริญของบ้านเมือง ของสังคมที่แต่งแต้มสีสัน และก็ปรุงแต่งชีวิตของเราให้ได้รับความสะดวกสบายไปด้วย กลับทำให้วัยรุ่น

เด็ก ๆ และเยาวชนรุ่นใหม่มีพฤติกรรมความประพฤติเสื่อมลงแล้วก็เสื่อมลง นั่นเพราะธุรกิจการค้า แฟชั่นนำสมัย นวัตกรรมแบบใหม่ ๆ หรือแม้แต่ธุรกิจ บันเทิง เริงรมย์ต่างก็ออกมาโฆษณาเพื่อแก่งแย่งช่วงชิงลูกค้ากัน โดยไม่คำนึงถึง จริยธรรม ศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม เพียงเพื่อเงินตราหรือ

ผลกำไรที่ได้รับเท่านั้น เราในฐานะผู้บริโภค ไม่รู้จักเลือก ไม่รู้จักพิจารณา ไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่รู้จักแยกแยะสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี สิ่งไหนให้คุณ สิ่งไหนให้โทษ แล้วก็เดินสู ่

คำโฆษณา เดินไปสู่ภาพลวงแห่งค่านิยมเหล่านั้น มันเป็นเส้นทางของซัยตอน ทางแห่ ง หายนะแล้ ว ความชั่ ว ความเป็ น บาป พิ ษ ภั ย ความเดื อ ดร้ อ นในการ ประพฤติปฏิบัติตนก็จะเกิดขึ้น แล้วที่สุดนาวาชีวิตของเราก็จะอับปางลง ท่านพี่น้องที่รักทั้งหลาย...พฤติการณ์สร้างพฤติกรรม สภาพแวดล้อม มักเป็นตัวชี้นำ สภาพแวดล้อมดี สังคมก็ดี สภาพแวดล้อมวิกฤต สังคมวิบัติ ความเลวร้ายก็เกิดขึ้น ความทุกข์ความเดือดร้อนของคนในสังคมก็ตามมา เพราะฉะนั้น เราต้องระมัดระวัง อย่าให้เส้นทางหรือพฤติกรรมของ ซัยตอนเข้าครอบงำ กิเลสและความต้องการของคนเรานั้นมักตอบรับ เห็นดี เห็นงามไปกับเส้นทางของซัยตอนเสมอ ในอัลกุรอานกล่าวเตือนให้เราสังวรตน อยู่เสมอว่า “แท้จริงอารมณ์ตัณหามักจะยุยงส่งเสริม

ให้ทำความชั่ว” อันไหนไม่ดี ก็อยากจะลอง อยากจะทำ อยากจะสัมผัส เส้นทางไหน ที่ให้โทษ ให้อันตรายก็อยากจะเดิน อยากจะทำ อยากจะเสี่ยง มันตื่นเต้นและ เร้าใจดี นั่นแหละคือชีวิต ท่ า นพี่ น้ อ งที่ รั ก ...ความเจริ ญ ก้ า วหน้ า ของบ้ า นเมื อ งของเราท่ า นนั้ น เป็นส่วนหนึ่งที่เราท่านน่าจะภาคภูมิใจ ในฐานะที่เราเป็นประชากรเป็นเจ้าของบ้าน คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


65 เจ้ า ของประเทศ ขณะเดี ย วกั น ความเจริ ญ ทางด้ า นจิ ต ใจทางอารยธรรม ศีลธรรม จริยธรรมความประพฤติ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เป็นอีกประการหนึ่งที่เรา ท่ า นต้ อ งให้ ค วามสำคั ญ ต้ อ งระมั ด ระวั ง และให้ ก ารสั ง วรตน อย่ า ปล่ อ ยตั ว ปล่อยใจ ปล่อยลูกหลานให้เดินไปตามพฤติกรรมแวดล้อม และกระแสนิยม ของสั ง คมที่ ค่ อ นข้ า งจะวิ ก ฤติ ใ นทางจริ ย ธรรมความประพฤติ ใ นโลกปั จ จุ บั น

โลกสมัยใหม่ โลกของวัฒนธรรมเลียนแบบ แบบสุดกู่ เลียนแบบฝรั่ง เลียนแบบ ยุโรป เลียนแบบตะวันตก ที่ค่อนข้างจะมีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่เปิดกว้าง และ มีอิสรเสรีเกินกว่าขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่แบบไทย ๆ ของเรา โดยเฉพาะในมุมมองของเราท่าน ผู้เป็นมุสลิมจะรับได้ เด็ก ๆ และเยาวชนคนรุ่นใหม่ ชอบพฤติกรรมเสรี ไม่ชอบที่จะให้ใคร มาสอดส่ อ งดู แ ลและบี บ คั้ น ชอบความเป็ น ส่ ว นตั ว ชอบดู แ ลและมี ทิ ศ ทาง เป็นของตนเอง ประกอบกับยังอยู่ในวัยคึกคะนอง ก็อยากจะรู้ อยากจะเห็น อยากจะลอง ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ทุกขณะ เราในฐานะผู้ปกครอง ก็ต้อง หมั่นตรวจสอบ และให้ความอบอุ่นอย่างใกล้ชิด ในด้านของการแต่งเนื้อแต่งตัว คนรุ่นใหม่วัยรุ่นมักมุ่งเน้นไปในทาง เซ็กซ์ มีของดีต้องโชว์ เปิดไหล่ ผายอก สายเดี่ยว สาว ๆ วัยรุ่นวัยน่ารักวัยใส ๆ จะให้ดังจะให้เด่น มีความทันสมัยขึ้นมาหน่อย ก็ต้องเปิดสะดือ โชว์หน้าท้อง ใส่ไฮไลท์ทรงผมสักนิด ก็น่าจะดูดี ตกกลางคืนยามราตรี ยามที่ซัยตอนออก ปฏิบัติการ ก็ออกไปเที่ยว ไปรวมกลุ่ม ไปสนุกสนานกับเพื่อนฝูง ไปดิ้นตามเธค ไปนั่ ง ตามไนท์ ค ลั บ ตามแหล่ ง มั่ ว สุ ม ที่ มี อ ยู่ ม ากมายดาษดื่ น ทั่ ว ทุ ก มุ ม เมื อ ง ธุรกิจบันเทิงเฟื่องฟู มีกลยุทธ์ที่จูงใจ ให้การบริการลูกค้าแบบราชันย์ ไร้ขอบเขต ไร้กำหนดเวลา และไร้จิตสำนึก มุ่งมอมเมาเด็ก ๆ และเยาวชน เพียงเพื่อเงิน อย่างเดียว จนเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต้องออกมาจัดระเบียบสังคมดังที่เราเห็น กันอยู่ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


66 ความเกี่ยวเนื่องหรือผลกระทบที่ตามมาเป็นอย่างไร? ติดเหล้า ติดเบียร์ เสพกั ญ ชา เล่ น ยา ยาอี ยาบ้ า ยาม้ า ยากล่ อ มประสาท แล้ ว ก็ มั่ ว เซ็ ก ซ์

แอบมีเพศสัมพันธ์กันเป็นแฟชั่น ช่วงนี้ ที่ควรระมัดระวังกันหน่อย ก็คงเป็นยาเสพติด ในรูปของยาแก้ไอ โฉมใหม่ล่าสุด สี่คูณร้อย ส่วนผสมสุดมหาภัยร้าย มีทั้งยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง รวมทั้งสีย้อมผ้า แล้วก็ใส่น้ำหอมดับกลิ่น ติดง่ายเลิกยาก พิษภัยรุนแรงกว่า

ยาบ้าทั่วไป ลูกหลานใครเครียด มีอาการเหม่อลอย ออกอาการสติเลอะเลือน ก็ให้รีบตรวจสอบ เดี๋ยวจะสายเกินแก้ พี่น้องที่รักและเคารพครับ เราจะต้องช่วยกันสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตัวเรา ครอบครัวของเราลูกหลานของเรา และเยาวชนของเรา ด้วยศาสนา สร้างศรัทธา ให้เกิดขึ้นในกลุ่มชน มีตักวา มีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ เดินตามบทบัญญัติใช้ และแนวทางของพระองค์โดยเคร่งครัด นั้นแหละคือเกราะคุ้มกันหรือกำแพง ขวางกั้ น ไม่ ใ ห้ เ ราท่ า นและลู ก หลานของเราทุ ก คน เดิ น เข้ า ไปเกี่ ย วข้ อ งกั บ อบายมุข ยาเสพติด และพิษภัยความเลวร้ายต่าง ๆ นานาที่เกิดขึ้นในแวดวง สังคมซึ่งก็มีทั้งดีและไม่ดี ท่านพี่น้องที่รัก พึงสังวรเถิดว่า อบายมุข คือความชั่วช้า ยาบ้า คือ มหาภัย พลังใจทุกคนต้องสำนึก จึงขอให้พี่น้อง ผู้ศรัทธาดำรงไว้ซึ่งหลักการ ของศาสนา หลักสุจริตธรรมจะน้อมนำให้สังคมพ้นวิบัติ

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


67

การทำงานโดยสุจริตธรรม เสริมสร้างศีลธรรม

ผู้มีศรัทธาทั้งหลาย อัลหิซบะฮ์ คือ การกำชับให้ทำความดีเมื่อได้รับการละเลย และการห้ามทำความชั่วเมื่อมีการปฏิบัติเกิดขึ้น “ความดี” หมายถึง คำพูด การกระทำ เจตนาที่ศาสนาส่งเสริม และสนับสนุนให้ปฏิบัติ “ความชั่ว” หมายถึง คำพูด การกระทำ เจตนาที่ศาสนาถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและห้ามมิให้ปฏิบัติ การเสริมสร้างศีลธรรม เป็นภารกิจทางศาสนา โดยมีรากฐานมาจาก พระราชโองการของพระผู้เป็นเจ้าใน (ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน อายะฮ์ที่ 104) ดังนี้ “และจงให้บุคคลคณะหนึ่งในหมู่พวกท่าน ทำหน้าที่เรียกร้องสู่คุณธรรม กำชับให้ทำความดี และห้ามปรามความชั่ว เหล่านั้นแหละคือหมู่มวลผู้มีชัย” โดยนั ย นี้ ย่ อ มพิ จ ารณาได้ ว่ า งานเสริ ม สร้ า งศี ล ธรรม เป็ น ภารกิ จ

แห่งมหาชนมุสลิม ขณะที่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสใน (ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน อายะฮ์ที่ 110) ดังนี้ “พวกท่ า นเป็ น ประชาชาติ ที่ ป ระเสริ ฐ สุ ด ที่ อุ บั ติ ขึ้ น เพื่ อ มนุ ษ ยชาติ

โดยพวกท่านทำการเชิญชวน สู่ความดี ห้ามปรามความชั่ว และมีศรัทธาต่อ

พระผู้เป็นเจ้า” คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


68

พระศาสดาแห่งพระผู้เป็นเจ้า ศ้อลฯ ทรงตรัสว่า

“ผู้ ใ ดในหมู่ พ วกท่ า นเห็ น การทำความชั่ ว ก็ จ งห้ า มปรามด้ ว ยกำลั ง

ของตน หากไม่มีความสามารถก็ด้วยวาจาของตน และหากไม่มีความสามารถอีก ก็ด้วยจิตใจของตน นั้นก็คือการศรัทธาขั้นต่ำที่สุด” การปล่อยให้การเชิญชวนสู่ความดี และห้ามปรามความชั่ว เป็นเรื่อง ของหมู่มวลมุสลิมและผู้มีศรัทธา ที่จะทำการเชิญชวนระหว่างกัน และห้ามปราม ความชั่วแต่เพียงฝ่ายเดียวนั้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะบางคนเป็นคนชั่ว

โดยสันดาน และขาดความยำเกรงในพระผู้เป็นเจ้า การจะให้เลิกทำความชั่วย่อม เป็นไปได้ยาก นอกจากจะเห็นการลงโทษ ด้วยตัวเอง ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็น ต้ อ งแต่ ง ตั้ ง คณะทำงานฝ่ า ยปกครองเป็ น การเฉพาะขึ้ น รั บ ผิ ด ชอบภารกิ จ อันสำคัญนี้ นั่นคือ คณะทำงานเสริมสร้างศีลธรรม การเชิญชวน สู่ความดีและห้ามปรามความชั่ว ในอดี ต คอลี ฟ ะฮ์ เป็ น ผู้ ท ำหน้ า ที่ เ สริ ม สร้ า งศี ล ธรรมด้ ว ยตนเอง โดยท่ า นอุ มั ร อิ บ นุ ค๊ อ ตต๊ อ บ ออกตรวจตราหมู่ ม วลมุ ส ลิ ม ทั้ ง กลางคื น และ กลางวั น มุ่ ง ให้ ทุ ก ฝ่ า ยดำเนิ น ชี วิ ต ตามบทบั ญ ญั ติ ศ าสนา ครั้ น เมื่ อ ภารกิ จ

มี ม ากขึ้ น จึ ง แยกงานเสริ ม สร้ า งศี ล ธรรมเป็ น การเฉพาะ และบางภาวะได้

มอบหมายให้กอฏีย์เป็นผู้ทำหน้าที่เสริมสร้างศีลธรรม เนื่องจากลักษณะงาน มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด เงื่อนไขของผู้ทำหน้าที่เสริมสร้างศีลธรรม คุณสมบัติของผู้เสริมสร้างศีลธรรม ซึ่งแตกต่างจากผู้เชิญชวนสู่ความดี และห้ามปรามความชั่วตามปกติมีดังนี้ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


69 - ต้องเป็นผู้ศรัทธา - เป็นผู้บรรลุศาสนภาวะ - เป็นผู้มีความสามารถเชิญชวนสู่ความดี และห้ามปรามความชั่ว - เป็ น ผู้ มี ค วามรู้ ใ นบทบั ญ ญั ติ ศ าสนาที่ ต นทำการเชิ ญ ชวนหรื อ ห้ามปราม นั่นคือคุณสมบัติที่นักวิชาการ มีความเห็นตรงกัน ส่วนที่เห็นแตกต่างกัน ก็คือ - เป็นผู้มีความยุติธรรม - เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้นำหรือผู้ที่รับผิดชอบ คุณสมบัติของผู้เสริมสร้างศีลธรรม เพื่อให้การรณรงค์ของผู้สร้างเสริมศีลธรรมบรรลุผลตามจุดมุ่งหมาย และเป็นที่ยอมรับ จึงควรเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยหลักจริยธรรม ซึ่งจะกล่าว เพียงบางส่วนที่นักนิติศาสตร์อิสลามมีความเห็นพ้องกัน คือ เป็นผู้ปฏิบัติตนตามความรู้ โดยคำพูดและการกระทำต้องไม่แตกต่างกัน ต้องไม่เชิญชวนในสิ่งที่ตนเองไม่ทำ ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่ต้องเผชิญกับการเยาะเย้ย ถากถางจากผู้คน และเพื่อให้การรณรงค์นั้นเป็นที่ยอมรับ เป็นผู้มีมารยาทดี วางตัวตามสบาย มีความอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ข่มขู่ และมีวาจาสุภาพ เป็นผู้มีความนุ่มนวลในการตักเตือน การเชิญชวนและการห้ามปราม เพื่อผลในการโน้มน้าวจิตใจ และบรรลุตามความต้องการ พูดและทำโดยมีเจตนาเพื่อแสวงหาความพอพระทัยจากพระผู้เป็นเจ้า โดยไม่ ใ ส่ ใ จว่ า การทำหน้ า ที่ จ ะนำมาซึ่ ง ความโกรธแค้ น ของผู้ ค น หรื อ ได้ รั บ

ความพึงพอใจจากผู้คน

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


70 มี ค วามอดทนต่ อ อั น ตรายที่ เ กิ ด ขึ้ น ซึ่ ง ต้ อ งเกิ ด ขึ้ น แน่ น อน และ ด้ ว ยความอดทนจะเป็ น เหตุ แ ห่ ง ความสำเร็ จ ในการรณรงค์ แ ละได้ รั บ ชั ย ชนะ ในวันปรภพ อันเกิดจากกุศลอันยิ่งใหญ่ ปฏิ บั ติ ใ นเรื่ อ งที่ เ ป็ น สุ นั ต เป็ น เนื อ งนิ ต ย์ ตลอดจนสิ่ ง ดี ง ามตาม บทบัญญัติ นอกเหนือจากสิ่งที่เป็นฟัรดู และวายิบ เพราะสิ่งดังกล่าวจะนำมา ซึ่งความสุขุมคัมภีรภาพ ความใสสะอาดแห่งจิตใจและรัศมี เสริมส่งให้คำพูด เป็นที่ยอมรับ และคำเตือนบังเกิดผล หน้าที่ของผู้เสริมสร้างศีลธรรม อำนาจหน้าที่ของผู้เสริมสร้างศีลธรรม ในการเชิญชวนสู่ความดีที่ถูก ละเลย และห้ามปรามความชั่วที่ถูกนำมาปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อ อัลลอฮ์ ต่อมนุษย์ หรือทั้งต่ออัลลอฮ์ และต่อมนุษย์ สรุปได้ดังนี้ กำกับดูแลให้ไปละหมาดวันศุกร์ และละหมาดญะมาอะฮ์ที่มัสยิด รวมทั้ง การดำรงไว้ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งมวล และห้ามมิให้ขาดละหมาดโดยไม่มีเหตุจำเป็น ห้ามปรามผู้ขาดละหมาด หรือหลีกเลี่ยงการจ่ายชะกาต และห้ามผู้ไม่มี ความรู้ทำการวินิจฉัยปัญหาศาสนา ห้ามดื่มสุรา ห้ามสร้างสถานบันเทิงที่ขัดต่อหลักการศาสนา การปะปน กันระหว่างหญิงชาย หรือการกระทำอันเป็นที่สงสัย หน้าที่ต่อมนุษย์ ห้ า มการละเมิ ด สิ ท ธิ ข องเพื่ อ นบ้ า น ห้ า มใช้ ป ระโยชน์ จ ากสิ่ ง ที่ เ ป็ น กรรมสิทธิ์ของเพื่อนบ้าน โดยไม่ได้รับอนุญาต กำกับดูแลอาจารย์ แพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ให้ดำเนินไปโดย ซื่อสัตย์สุจริตใจ และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


71 หน้าที่ต่อพระผู้เป็นเจ้าและมนุษย์ ห้ามการคดโกงในการประกอบธุรกิจ ห้ามการซื้อขายที่ขัดต่อบทบัญญัติ ศาสนา รวมทั้งการทุจริตในมาตราชั่ง ตวง วัด ห้ า มอิ ห ม่ า มแต่ ล ะมั ส ยิ ด มิ ใ ห้ ท ำละหมาดนานเกิ ด ความพอดี และ ท้วงติงผู้พิพากษา ผู้นำละเลยคู่ความ และผู้มีสิทธิในผลประโยชน์ โดยไม่มีเหตุ จำเป็นตามศาสนบัญญัติ ห้ า มเจ้ า ของสัตว์เลี้ยงใช้งานเกินขีดความสามารถของสั ต ว์ รวมทั้ ง

ห้ามมิให้เจ้าของพาหนะบรรทุกเกินพิกัด จนนำไปสู่ความเสียหาย รักษามารยาทอิสลาม โดยการแยกระหว่างหญิง-ชาย กำกับดูแลการใช้เส้นทางสัญจร ให้ใช้ประโยชน์ได้โดยสมบูรณ์ตาม จุดมุ่งหมาย ห้ามการสร้างสิ่งก่อสร้าง กีดขวางเส้นทางจราจร รวมทั้งบนหลุมฝังศพ เพื่อจะได้ไม่ละเมิดศักดิ์ศรีของผู้ตาย จึงขอให้พี่น้องผู้ศรัทธาได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสังคมให้เกิดศีลธรรม สุจริตธรรมเพื่อน้อมนำไปสู่แนวทางแห่งพระผู้เป็นเจ้าโดยแท้จริง และเพื่อให้

ทุกคนในสังคมได้รับความเมตตา ได้รับความรักจากพระองค์อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะ ตะอาลาทั้งโลกนี้และโลกหน้า

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


72

คุตบะฮ์ที่สอง

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


73

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม



ภาคผนวก



77

คำสั่งกรมการศาสนา ที่ 72/2553 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหนังสือคุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ............................. ตามที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสพระราชทาน แก่ประชาชนชาวไทย เมื่อวันศุกร์ ที่ 9 มิถุนายน 2549 เกี่ยวกับคุณธรรม 4 ประการ ประกอบด้ ว ย เมตตาธรรม สามั ค คี ธ รรม สุ จ ริ ต ธรรม และ เที่ยงธรรม นั้น ในการนี้ เพื่อเป็นการน้อมนำพระราชดำรัสเกี่ยวกับคุณธรรม 4 ประการ ดังกล่าวไปสู่ประชาชนเพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน ได้อย่างเหมาะสม จึงเห็นสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อจัดทำ หนั ง สื อ คุ ต บะฮ์ (บทธรรมกถา) สำหรั บ ให้ ผู้ แ สดงธรรมประจำมั ส ยิ ด ต่ า ง ๆ ทั่วประเทศ นำไปแสดงคุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ประกอบด้วย 1. อธิบดีกรมการศาสนา ที่ปรึกษา 2. รองอธิบดีกรมการศาสนา ที่ปรึกษา 3. นายอรุณ วันแอเลาะ ที่ปรึกษา 4. นายทองคำ มะหะหมัด ที่ปรึกษา 5. นายอรุณ บุญชม ประธานกรรมการ 6. นายพิสิทธิ์ นิรัตติวงศกรณ์ กรรมการ 7. นายอับดุลเลาะห์ หนุ่มสุข กรรมการ คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


78 8. นายประสาน ศรีเจริญ กรรมการ 9. นายวิศรุต เลาะวิถี กรรมการ 10. นายพัฒนา หลังปูเต๊ะ กรรมการ 11. นายสันติ เสือสมิง กรรมการ 12. นายปริญญา ประหยัดทรัพย์ กรรมการ 13. นายเจ๊ะเลาะห์ แขกพงศ์ กรรมการ 14. นายอุสมาน ราษฎร์นิยม กรรมการ 15. นายสมยศ หวังอับดุลเลาะ กรรมการ 16. นายอนุชา หะระหนี กรรมการและเลขานุการ 17. นายแวหามะ ดีแม กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 18. นายพีระพล อาแว กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 (นายสด แดงเอียด) อธิบดีกรมการศาสนา

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


79

คำสั่งกรมการศาสนา ที่ 111/2553 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหนังสือคุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) เพิ่มเติม ............................. ตามที่ กรมการศาสนาได้ มี ค ำสั่ ง ที่ 72/2553 เรื่ อ ง แต่ ง ตั้ ง

คณะกรรมการจัดทำหนังสือคุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ลงวันที่ 12 มีนาคม 2553 เพื่อพิจารณาจัดทำต้นฉบับหนังสือคุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) เพื่อเป็นแนวทาง ในการประพฤติปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม โดยการน้อมนำ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เมื่ อ วั น ที่ 9 มิ ถุ น ายน 2549 เกี่ ย วกั บ คุ ณ ธรรม 4 ประการ ประกอบด้ ว ย เมตตาธรรม สามัคคีธรรม สุจริตธรรม และเที่ยงธรรม นั้น ในการนี้ เพื่ อ ให้ ก ารจั ด ทำต้ น ฉบั บ หนั ง สื อ คุ ต บะฮ์ ดั ง กล่ า ว สำเร็ จ ตามวัตถุประสงค์ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหนังสือคุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) เพิ่มเติมประกอบด้วย 1. นายสมหวัง บินหะซัน กรรมการ 2. นายนิมิต เลาะมะ กรรมการ 3 นายอนันต์ วันแอเลาะ กรรมการ 4. นายอับดุลลอฮ ดาโอ๊ะ กรรมการ

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


80

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

(นายสด แดงเอียด) อธิบดีกรมการศาสนา

คุตบะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสุจริตธรรม


104

AW_yavee3-4

104

9/2/11, 1:23 PM


103

AW_yavee3-4

103

9/2/11, 1:23 PM


102

AW_yavee3-4

102

9/2/11, 1:23 PM


101

AW_yavee3-4

101

9/2/11, 1:23 PM


100

AW_yavee3-4

100

9/2/11, 1:23 PM


99

AW_yavee3-4

99

9/2/11, 1:23 PM


98

AW_yavee3-4

98

9/2/11, 1:23 PM


97

AW_yavee3-4

97

9/2/11, 1:23 PM


96

AW_yavee3-4

96

9/2/11, 1:23 PM


95

AW_yavee3-4

95

9/2/11, 1:23 PM


94

AW_yavee3-4

94

9/2/11, 1:23 PM


93

AW_yavee3-4

93

9/2/11, 1:23 PM


92

AW_yavee3-4

92

9/2/11, 1:24 PM


91

AW_yavee3-4

91

9/2/11, 1:24 PM


90

AW_yavee3-4

90

9/2/11, 1:24 PM


89

AW_yavee3-4

89

9/2/11, 1:24 PM


88

AW_yavee3-4

88

9/2/11, 1:24 PM


87

AW_yavee3-4

87

9/2/11, 1:24 PM


86

AW_yavee3-4

86

9/2/11, 1:24 PM


85

AW_yavee3-4

85

9/2/11, 1:24 PM


84

AW_yavee3-4

84

9/2/11, 1:24 PM


83

AW_yavee3-4

83

9/2/11, 1:24 PM


82

AW_yavee3-4

82

9/2/11, 1:24 PM


81

AW_yavee3-4

81

9/2/11, 1:24 PM


80

AW_yavee3-4

80

9/2/11, 1:24 PM


79

AW_yavee3-4

79

9/2/11, 1:24 PM


78

AW_yavee3-4

78

9/2/11, 1:24 PM


77

AW_yavee3-4

77

9/2/11, 1:24 PM


76

AW_yavee3-4

76

9/2/11, 1:24 PM


75

AW_yavee3-4

75

9/2/11, 1:24 PM


74

AW_yavee3-4

74

9/2/11, 1:25 PM


73

AW_yavee3-4

73

9/2/11, 1:25 PM


72

AW_yavee3-4

72

9/2/11, 1:25 PM


71

AW_yavee3-4

71

9/2/11, 1:25 PM


70

AW_yavee3-4

70

9/2/11, 1:25 PM


69

AW_yavee3-4

69

9/2/11, 1:25 PM


68

AW_yavee3-3

68

9/2/11, 1:48 PM


67

AW_yavee3-3

67

9/2/11, 1:48 PM


66

AW_yavee3-3

66

9/2/11, 1:48 PM


65

AW_yavee3-3

65

9/2/11, 1:48 PM


64

AW_yavee3-3

64

9/2/11, 1:48 PM


63

AW_yavee3-3

63

9/2/11, 1:49 PM


62

AW_yavee3-3

62

9/2/11, 1:49 PM


61

AW_yavee3-3

61

9/2/11, 1:49 PM


60

AW_yavee3-3

60

9/2/11, 1:49 PM


59

AW_yavee3-3

59

9/2/11, 1:49 PM


58

AW_yavee3-3

58

9/2/11, 1:49 PM


57

AW_yavee3-3

57

9/2/11, 1:49 PM


56

AW_yavee3-3

56

9/2/11, 1:49 PM


55

AW_yavee3-3

55

9/2/11, 1:49 PM


54

AW_yavee3-3

54

9/2/11, 1:49 PM


53

AW_yavee3-3

53

9/2/11, 1:49 PM


52

AW_yavee3-3

52

9/2/11, 1:49 PM


51

AW_yavee3-3

51

9/2/11, 1:49 PM


50

AW_yavee3-3

50

9/2/11, 1:49 PM


49

AW_yavee3-3

49

9/2/11, 1:49 PM


48

AW_yavee3-3

48

9/2/11, 1:49 PM


47

AW_yavee3-3

47

9/2/11, 1:49 PM


46

AW_yavee3-3

46

9/2/11, 1:49 PM


45

AW_yavee3-3

45

9/2/11, 1:49 PM


44

AW_yavee3-2

44

9/2/11, 1:20 PM


43

AW_yavee3-2

43

9/2/11, 1:20 PM


42

AW_yavee3-2

42

9/2/11, 1:20 PM


41

AW_yavee3-2

41

9/2/11, 1:20 PM


40

AW_yavee3-2

40

9/2/11, 1:20 PM


39

AW_yavee3-2

39

9/2/11, 1:20 PM


38

AW_yavee3-2

38

9/2/11, 1:20 PM


37

AW_yavee3-2

37

9/2/11, 1:20 PM


36

AW_yavee3-2

36

9/2/11, 1:20 PM


35

AW_yavee3-2

35

9/2/11, 1:20 PM


34

AW_yavee3-2

34

9/2/11, 1:20 PM


33

AW_yavee3-2

33

9/2/11, 1:20 PM


32

AW_yavee3-2

32

9/2/11, 1:20 PM


31

AW_yavee3-2

31

9/2/11, 1:20 PM


30

AW_yavee3-2

30

9/2/11, 1:20 PM


29

AW_yavee3-2

29

9/2/11, 1:20 PM


28

AW_yavee3-2

28

9/2/11, 1:20 PM


27

AW_yavee3-2

27

9/2/11, 1:20 PM


26

AW_yavee3-2

26

9/2/11, 1:20 PM


25

AW_yavee3-2

25

9/2/11, 1:20 PM


24

AW_yavee3-2

24

9/2/11, 1:21 PM


23

AW_yavee3-2

23

9/2/11, 1:21 PM


22

AW_yavee3-2

22

9/2/11, 1:21 PM


21

AW_yavee3-2

21

9/2/11, 1:21 PM


20

AW_yavee3-1

20

9/2/11, 1:18 PM


19

AW_yavee3-1

19

9/2/11, 1:18 PM


18

AW_yavee3-1

18

9/2/11, 1:18 PM


17

AW_yavee3-1

17

9/2/11, 1:18 PM


16

AW_yavee3-1

16

9/2/11, 1:18 PM


15

AW_yavee3-1

15

9/2/11, 1:18 PM


14

AW_yavee3-1

14

9/2/11, 1:18 PM


13

AW_yavee3-1

13

9/2/11, 1:18 PM


12

AW_yavee3-1

12

9/2/11, 1:18 PM


11

AW_yavee3-1

11

9/2/11, 1:18 PM


10

AW_yavee3-1

10

9/2/11, 1:18 PM


9

AW_yavee3-1

9

9/2/11, 1:19 PM


8

AW_yavee3-1

8

9/2/11, 1:19 PM


7

AW_yavee3-1

7

9/2/11, 1:19 PM


6

AW_yavee3-1

6

9/2/11, 1:19 PM


5

AW_yavee3-1

5

9/2/11, 1:19 PM


4

AW_yavee3-1

4

9/2/11, 1:19 PM


3

AW_yavee3-1

3

9/2/11, 1:19 PM


2

AW_yavee3-1

2

9/2/11, 1:19 PM


1

AW_yavee3-1

1

9/2/11, 1:19 PM


7

AW_yavee3-F

7

26/3/11, 3:38 PM


6

AW_yavee3-F

6

26/3/11, 3:38 PM


65 71 78 87 92 100

102 104

AW_yavee3-F

5

26/3/11, 3:38 PM


1 7 15 21 29 36 41 48 55 61

AW_yavee3-F

4

26/3/11, 3:38 PM


AW_yavee3-F

3

26/3/11, 3:38 PM


AW_yavee3-F

2

26/3/11, 3:38 PM


AW_yavee3-F

1

26/3/11, 3:38 PM


§ÿµ∫–Œå (∫∑∏√√¡°∂“) «à“¥â«¬ ÿ®√‘µ∏√√¡

§ÿµ∫–Œå (∫∑∏√√¡°∂“) «à“¥â«¬

ÿ®√‘µ∏√√¡

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.