คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

Page 1

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม www.dra.go.th


คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน ผู้จัดพิมพ์

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ปีที่พิมพ์

พ.ศ. ๒๕๕๒

จำนวนพิมพ์

๓,๐๐๐ เล่ม

ISBN

978-974-9536-71-1

ที่ปรึกษา ๑. นายสด แดงเอียด ๒. นายปกรณ์ ตันสกุล ๓. นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ๔. นางสาวภัคสุจิ์ภรณ์ จิปิภพ ๕. นายพิสิฐ เจริญสุข ๖. นายปัญญา สละทองตรง

อธิบดีกรมการศาสนา รองอธิบดีกรมการศาสนา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เลขานุการกรมการศาสนา ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ นักวิชาการศาสนาเชี่ยวชาญ

รวบรวม/เรียบเรียง/งานวิชาการ ๑. นางศรีนวล ลัภกิตโร ๒. นายยอดชาย แสงศิริ

นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ นักวิชาการศาสนา

คณะทำงานกรมการศาสนา ๑. นายสำรวย นักการเรียน ๒. นางสาววิภารัตน์ กอพยัคฆินทร์ ๓. นางสาวอมรา ไหมพิมพ์ ๔. นางสาวรักชนก ษมาสิริ ๕. นายชนะกิจ คชชี ๖. นางสาวภคภรณ์ อมรรัตน์ ๗. นายธนพล พรมสุวงษ์ ๘. นายวีระพงษ์ ฉัตรเวทิน ๙. นางสาวจิตรา เกตุสร้อย ๑๐. นายเกียรติพงษ์ สุทธการ

นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ นักวิชาการศาสนา เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โทร. ๐-๒๔๒๒-๘๘๑๖ พิมพ์ที่

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย เลขที่ ๗๙ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑ นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา พ.ศ. ๒๕๕๒


คำนำ กิ จ กรรมการเข้ า ค่ า ยคุ ณ ธรรม เป็ น กระบวนการปลู ก ฝั ง คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรมกิ จ กรรมหนึ่ ง ที่ จั ด ขึ้ น ในรู ป แบบของการเรี ย นรู้ ที่ เ ปิ ด โอกาสให้ เ ด็ ก และเยาวชนได้ ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา ได้ศึกษารู้ซึ้งถึงหลักธรรม และรู้จัก ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่วัย เพื่อนำหลักธรรมไปพัฒนาตนเองและสร้างสรรค์ สั ง คมให้ เ จริ ญ ก้ า วหน้ า บนรากฐานที่ มั่ น คง ซึ่ ง ปั จ จุ บั น การจั ด ค่ า ยคุ ณ ธรรม เป็นกระบวนการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับการตอบรับทั้งจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สามารถนำทุนทางสังคมที่มีค่า คื อ สถาบั น ทางศาสนา ให้ เ ป็ น ที่ พึ่ ง ทางใจของคนในสั ง คมไทย สร้ า งสั ง คม แห่งปัญญา กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้จัดทำ “คู่มือการจัดค่าย คุณธรรมเยาวชน” ขึ้น เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการ จัดค่ายคุณธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้อง อาทิ วิทยากร ครูอาจารย์ สถานศึกษา และ หน่วยงานอื่น ๆ โดยได้รวบรวมเนื้อหาในการจัดค่าย และทะเบียนพระธรรม วิทยากร ตามโครงการศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชน โดย ความร่วมมือของกรมการศาสนา และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรมการศาสนา หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า “คู่ มื อ การจั ด ค่ า ยคุ ณ ธรรม เยาวชน” เล่มนี้จะอำนวยประโยชน์แก่ผู้ประสงค์จะศึกษาหาความรู้และนำไปปฏิบัติ ต่อไปโดยทั่วกัน (นายสด แดงเอียด) อธิบดีกรมการศาสนา



สารบัญ หน้า คำนำ ภาพกิจกรรม ๑ บทที่ ๑ บทนำ การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ๙ บทที่ ๒ งานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดค่ายคุณธรรม ๒๕ บทที่ ๓ แนวทางการดำเนินงานการจัดค่ายคุณธรรม ๕๗ ตัวอย่าง แผนการจัดกิจกรรมของพระธรรมวิทยากร ๘๑ ภาคผนวก ๑๓๗ - โครงการศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชน ๑๓๙ - ประกาศกรมการศาสนา เรื่อง รับสมัครพระวิทยากร ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ประจำปี ๒๕๕๒ ๑๔๕ - หลักสูตรและวิทยากรอบรม “พระธรรมวิทยากร” ๑๔๗ - กำหนดการอบรมพระวิทยากร ๑๔๘ ทำเนียบพระธรรมวิทยากร ๑๕๙ - คณะผู้บริหาร หัวหน้ากิจกรรม และหัวหน้าพระธรรมวิทยากร ฝ่ายบริการฝึกอบรม ส่วนธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๒ ๑๖๑ - ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม รุ่นที่ ๑ ฝ่ายบริการฝึกอบรม ส่วนธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๒ ๑๖๙


สารบัญ (ต่อ)

หน้า - ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม รุ่นที่ ๒ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสถาบันส่งเสริมและเผยแพร่ การพระศาสนาแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๕๒ ๑๘๑ - ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม รุ่นที่ ๓ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสถาบันส่งเสริมและเผยแพร่ การพระศาสนาแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๕๒ ๒๐๗ บรรณานุกรม ๒๔๑ คณะทำงาน ๒๔๒


กรมการศาสนา จัดถวายความรู้พระธรรมวิทยากร โครงการพัฒนารูปแบบและกลไก

การส่งเสริมคุณธรรมเยาวชน โดยสถาบันศาสนา กรมการศาสนา

ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด วันที่ ๑๒-๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


พิธีมอบวุฒิบัตรแก่พระธรรมวิทยากร

นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา บรรยายพิเศษ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


โครงการศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชน : ถวายความรู้พระธรรมวิทยากร กรมการศาสนา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ ณ อาคารเจษฎาบดินทร์ วัดยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


งานแถลงข่าวโครงการอบรมพระธรรมวิทยากรจัดค่ายคุณธรรมภายใต้ โครงการศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชนและการสัมมนาแนวทาง การดำเนินงานของพระธรรมวิทยากร โดยมีพระพรหมวชิรญาณ ประธานฝ่ายบรรพชิต นายสด แดงเอี ย ด อธิ บ ดี ก รมการศาสนา พร้ อ มด้ ว ยพระธรรมวิ ท ยากร และ ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


บทที่ ๑ บทนำ การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม



บทนำ การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

ความสำคัญในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม คุ ณ ธรรมและจริ ย ธรรมเป็ น ข้ อ ควรประพฤติ ที่ มี ค วามถู ก ต้ อ งดี ง าม เป็นแนวทางแห่งการถือประพฤติปฏิบัติแต่ลำพังในแนวทางแห่งความดีถูกต้องนั้น ไม่เพียงพอที่จะจูงใจให้คนปฏิบัติหรือประพฤติตนให้เป็นคนดีได้ เรื่องการสร้าง คุณธรรมและจริยธรรมเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ความคิดเรื่องคุณธรรมเมื่อสัมพันธ์กับ หน้าที่ ยกตัวอย่างได้ว่า เมื่อผู้ทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ผู้นั้นมักกล่าวได้ว่าขาดคุณธรรม แต่ผู้ทำหน้าที่สมบูรณ์ยังไม่แน่ว่าจะเป็นผู้มีคุณธรรม อาจทำหน้าที่เพราะกลัว

ถูกลงโทษทางวินัย เพราะกลัวความผิด โดยไม่ใช่เพราะความรู้สึกในทางดีงาม จากจิตใจที่แท้จริงของผู้นั้นได้ แต่ถ้าผู้นั้นมีความรู้สึกในทางดีงาม มีความยินดี พอใจในการปฏิ บั ติ และเชื่ อ ว่ า การทำผิ ด หน้ า ที่ เ ป็ น สิ่ ง ไม่ ดี ไม่ ท ำผิ ด อย่ า งนี ้

จึงถือว่าผู้นั้นมีคุณธรรม คุณธรรมแสดงออกถึงหน้าที่ คนที่มีคุณธรรมเป็นผู้ที่รัก หน้าที่ของตนเองและทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ทำหน้าที่ที่เขาทำอย่างดีจนเป็นนิสัย นั่นเองนำไปสู่การสร้างสรรค์คุณธรรมต่อไป และให้สูงส่งยิ่ง ๆ ขึ้นไป หน้าที่ กับคุณธรรมจึงต้องอาศัยซึ่งกัน และเป็นเหตุผลของกันและกันอย่างแยกไม่ได้ มันเป็นสิ่งเดียวที่มี ๒ ด้าน ด้านหนึ่งเป็นหน้าที่ อีกด้านหนึ่งเป็นคุณธรรม คุณธรรม คือ ความล้ำเลิศแห่งอุปนิสัยภายใน ส่วนหน้าที่ คือ การแสดงออกภายนอก ของอุปนิสัยอันดีงาม เพราะฉะนั้น คุณธรรมก็คือ คุณภาพแห่งอุปนิสัยอันแสดงออก ให้เห็นโดยการกระทำ คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

11


ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นจะเห็นได้ว่า คุณธรรมจริยธรรมมีคุณค่าและมี ความสำคัญทั้งต่อตัวบุคคลและต่อสังคมส่วนรวม เนื่องจากการดำเนินชีวิตให้อยู่ ได้ในสังคมอย่างมีความสุขนั้นต้องเริ่มต้นที่ตนเองก่อนและจากการคิดดีทำดีเป็นผล ต่อเนื่องถึงสังคมดีและมีสันติภาพนั่นเอง

การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเด็กและเยาวชน ผลการศึกษาวิจัยสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชน จากผลการวิจัย ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และผลการวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งสถาบันต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสังคม และการปลูกฝังคุณภาพ จริยธรรมของประชาชน ผลปรากฏว่า สภาพปัญหาที่ท่วมท้นจนถึงขั้นวิกฤต ต่อเยาวชนและคนไทยใน ๑๒ เรื่อง คือ ๑. ระดับสติปัญญาของเด็กไทย (Intellectual Quotient) มีแนวโน้ม ลดต่ำลงจนน่าเป็นห่วง ในรายงานการศึกษาและข้อค้นพบของมูลนิธิสาธารณสุข แห่งชาติและสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ล้วนชี้ตรงกันว่าเด็กเกือบ ร้อยละ ๕๐ มีความเสี่ยงต่อการมีไอคิวน้อยกว่า ๙๐ ที่เข้าขั้นเรียนรู้ช้า ในข้อเท็จจริง คือ ในระดับล่าง ครอบครัวไทยจำนวนไม่น้อยกำลังสร้างหน่วยใหม่บนความ ไม่พร้อมแทบทุกด้าน ทั้งขัดสนยากจน วุฒิภาวะต่ำและการแยกเด็กจากระบบ ครอบครัว อันเนื่องจากข้อจำกัดของการโยกย้ายถิ่นฐานภูมิภาคที่อาศัยอยู่เดิม ครอบครัวจำนวนไม่น้อยเป็นครอบครัวที่ขาดความรู้และทักษะการเลี้ยงลูกของ ตนเองติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจกับบุตรหลานยากขึ้น การกระตุ้นสติปัญญาด้วย กิจกรรมการเรียนรู้ขาดความต่อเนื่อง เด็กถูกปล่อยปละละเลยอยู่กับสิ่งแวดล้อม ที่เสี่ยงและอันตรายจนซึมซับและนำไปสู่การเชื่อมโยงกับปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น

อย่างไม่รู้ตัว

12

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


๒. สภาพร่างกายที่อ่อนแอลง ขาดภูมิต้านทานทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เด็กจำนวนไม่น้อยที่ติดสารเสพติด เช่น ยาบ้า บุหรี่ สุรา ฯลฯ การบำบั ด รั ก ษาและการป้ อ งกั น แก้ ไ ขปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ไม่ ส ามารถเยี ย วยาและ ช่วยเหลือเด็กได้ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ๓. วุฒิภาวะทางอารมณ์ พฤติกรรมและการแสดงออกแฝงไปด้วย ความก้ า วร้ า วรุ น แรงในการดำเนิ น ชี วิ ต และการแก้ ไ ขปั ญ หาต่ า ง ๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น สภาวะทางอารมณ์ เ หล่ า นี้ ถู ก กระตุ้ น จากสื่ อ ลามกอนาจาร เกมที่ รุ น แรง การกระตุ้นทางเพศและอารมณ์ที่แปรปรวนอันเกิดจากการเร้าความต้องการที่มีมากขึ้น ในทุก ๆ ด้าน ในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นและซื้อสิ่งของที่ไม่ควรแก่วัยและ วุฒิภาวะของเด็กได้อย่างหลากหลาย ในรูปของซีดี หนังสือการ์ตูน นิตยสาร อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ แผ่นโฆษณา เป็นต้น ๔. เด็กวัยใสที่อ่อนเยาว์แต่กลับเรียนรู้ทางเพศเร็วกว่าวัยที่ควรจะเป็น ในรายงานการศึกษาและผลการสำรวจของสถาบันการศึกษาหลายแห่งพบว่า เด็กหญิงชายอายุ ๑๐-๑๑ ขวบ บางคนเริ่มเรียนรู้การมีเพศสัมพันธ์กันแล้ว เฉลี่ย ของเด็กไทยที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมีอายุลดน้อยลงตามลำดับ ในปัจจุบันเด็กหญิง เฉลี่ย ๑๗ ปี และเด็กชายอายุ ๑๖ ปี การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควร ล้วนนำไปสู่ปัญหาการตั้งครรภ์ทีไม่พึงประสงค์ การทำแท้ง การขยายบริการทางเพศ การติดเชื้อและปัญหาข้อยุ่งยากที่ติดตามมาอีกมากมาย ๕. การแสวงหาความรู้ ความสุข และการมีเพื่อนใหม่ทางอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ครอบครัวไทย สถาบันการศึกษามีความตื่นตัวจัดซื้อและจัดหาในเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ เพื่อหวังให้เด็กและเยาวชนก้าวทันไปกับ กระแสโลกาภิวัตน์ ในข้อเท็จจริงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในด้านดีเด็กได้มีห้องสมุดโลกที่สะดวก ง่ายต่อการเรียนรู้ และหาข้อมูลที่ทันสมัย

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

13


อันจักเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้า ในทางตรงข้ามข้อเสียของอินเทอร์เน็ตมีอยู่ มากมายเช่นเดียวกัน ถ้าไม่รู้จักการป้องกันไว้ก่อน การพูดคุยที่ไร้สาระ (Chat) การเปิดเว็บ (Wed) ล้วนนำไปสู่การเสี่ยงอันตรายแบบใหม่ อาชญากรทางเพศ ที่ ไ ม่ มี ตั ว ตน การหลอกลวง การนำเสนอหรื อ ชั ก จู ง ให้ ห ลงผิ ด ความผิ ด ปกติ ทางเพศ การคุกคามทางเพศ เด็กที่อ่อนแอในด้านความคิดรู้ ไม่เท่าทัน จะกลาย เป็นเหยื่อทางเพศให้กับผู้ที่รู้ช่องทางและมีความชำนาญในเรื่องนี้มากกว่าเพิ่มขึ้น เป็นลำดับ ๖. วัตถุนิยมเป็นตัวตั้งในการสร้างคุณค่าเชิงปริมาณ เด็กและเยาวชนไทย ถู ก หล่ อ หลอมมายาวนานให้ ยึ ด ติ ด กั บ บริ โ ภคนิ ย ม สิ น ค้ า ราคาแพง การเสพ และการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย เด็กถูกกำหนดพฤติกรรม ระดับความสามารถ ความพึงพอใจจากเงื่อนไขและความสำเร็จจากการเรียนรู้ คะแนนผลสัมฤทธิ์ การได้รับวัตถุสิ่งของมักถูกตีคุณค่าตามราคามากน้อยที่บิดามารดา ผู้ปกครองซื้อ และจัดหาให้จนเป็นความเคยชินและติดกับการได้ปรนเปรอผลตอบแทนในรูปวัตถุ สิ่งของมากกว่าคุณค่าทางด้านจิตใจ ความรักการดูแลเอาใจใส่ที่เด็กเข้าใจความ เป็นรูปธรรมนี้ได้ยากขึ้นทุกที ๗. การให้ความสำคัญกับตนเองมากกว่าส่วนร่วม นับเป็นแนวโน้ม ที่ยิ่งชัดเจนต่อคุณลักษณะของคนรุ่นใหม่ที่มองตนเองเป็นศูนย์กลางของความสุข พึงพอใจและการได้รับประโยชน์ที่ขาดจิตสำนึก ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้อื่น สังคม โดยส่วนรวม คุณธรรม การเสียสละเพื่อคนอื่น การบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม การเป็ น อาสาสมั ค รในโครงการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสจางหายไปจากสถาบัน การศึกษาทุกแห่ง แต่กลับเห็นเด็ก เยาวชนจำนวนมากสนใจตนเอง เพศตรงข้าม และกลุ่มพรรคพวกเพื่อนฝูงที่สนุกสนาน และดำเนินชีวิตไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ขยายตัวมากขึ้นในทุกมิติของกิจกรรมทุกอย่างที่มีอยู่

14

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


๘. เด็กจำนวนไม่น้อยขาดรากเหง้าทางศาสนา ศีลธรรม วัฒนธรรม สูญสิ้นความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย การปฏิเสธวิถีธรรม การห่างไกลจาก ระเบียบแบบแผนที่ดีงามในอดีต ที่ให้ความสำคัญกับระบบคุณค่าความละเอียดอ่อน ความประณีตของศาสนา วัฒนธรรม คตินิยม ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้ เด็กไทยมีสำนึกที่อ่อนลง ตรงกันข้ามกลับนิยมยกย่องวัฒนธรรมตะวันตกและ วัฒนธรรมญี่ปุ่นเข้ามาสอดแทรก เกิดความนิยมคลั่งไคล้ ในรูปของการแต่งกาย ภาษาที่ใช้ การดำเนินชีวิตและค่านิยมเทียมที่ยึดติดกับเปลือกวัฒนธรรมภายนอก มากขึ้น จนสูญสิ้นคุณลักษณะของเด็กไทยที่สังคมคาดหวัง ๙. เกิดสภาวะความเครียด การกดดันจากการแข่งขัน มีวัฒนธรรม เงียบเก็บตัวและแยกตัวเองจากคนในครอบครัว การหย่าร้างในคู่สมรสในแต่ละ ครอบครัวมีอัตราเพิ่มขึ้น การสั่งสมสภาวะไร้สุขส่วนหนึ่งมาจากการศึกษาที่เน้น

แต่ เ รื่ อ งการท่ อ งจำ การสอบที่ เ น้ น การแข่ ง ขั น และจำเป็ น ต้ อ งแก่ ง แย่ ง กั น เข้ามหาวิทยาลัยให้ ได้ นอกจากนี้ข้อมูลสถิติในเรื่องที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นอัตรา การฆ่าตัวตาย ครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง เด็กติดสารเสพติด การคุยโทรศัพท์ กั บ เพื่ อ นเป็ น เวลานาน ล้ ว นบ่ ง บอกสภาวะและอาการเครี ย ดกดดั น และไร้ สุ ข ของเด็กไทยได้ดีทีเดียว ๑๐. การมองความสำเร็จในเชิงตัวบุคคลมากกว่าการใช้ความเป็นหลักการ และเหตุผลมีความคิดที่เป็นรูปสำเร็จ (Package) การลอกเลียนแบบ (Copy) ที่เป็นไปตามค่านิยม โดยขาดการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ก่อนการใช้กระบวนการ คิดด้วยปัญญา การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การแก้ปัญหา ไม่รู้วิธีการที่จะประเมิน คุณค่าที่ดีให้กับตนเอง ส่งผลให้เด็กและเยาวชนหันไปมองและคิดเอาดีที่ปลายเหตุ ส่งผลให้มีแต่ความแปลกแตกต่างที่เป็นผลมาจากการลอกเลียนแบบและวิธีการ ของผู้อื่น แต่มิได้มาจากจินตนาการและความคิดที่สร้างสรรค์ที่เป็นของตนเอง

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

15


๑๑. การเล่นพนันบอล การมีหนี้สินจนมีผลเสียต่ออนาคตของเด็กและ เยาวชน การขยายตัวของกีฬา บันเทิง และการพนันกำลังเป็นที่นิยม เพราะมีทั้ง ความสนุ ก สนาน ตื่ น เต้ น การได้ เ สี ย ที่ เ พิ่ ม ความเข้ ม ข้ น เร้ า ใจมากยิ่ ง ขึ้ น คุณลักษณะข้อนี้ล้วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับนิสัยดั้งเดิมที่คนไทยนิยมเล่นการพนัน ในทุ ก รู ป แบบ การพั ฒ นาการเล่ น พนั น บอลได้ พั ฒ นาเป็ น สากลนานาชาติ สนุกสนานตื่นเต้น มีเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยได้เข้าไปสู่วงจรพนันบอลอย่าง ถอนตัวไม่ขึ้น เป็นหนี้สิน ถูกขู่ทำร้ายร่างกาย หลบหนีจากครอบครัวและโรงเรียน จนเสียอนาคตไปในที่สุด ๑๒. เด็ ก ทำงานหนั ก ไม่ เ ป็ น เด็ ก จำนวนไม่ น้ อ ยเติ บ โตขึ้ น กั บ ความสะดวกสบายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น นอนในห้องปรับอากาศ อาบน้ำอุ่น ดูโทรทัศน์ เล่นอินเทอร์เน็ต เดินเล่นจับจ่ายในห้างสรรพสินค้า ชีวิตส่วนใหญ่มีหน้า ที่รับผิดชอบการศึกษาเล่าเรียนด้านเดียว ไม่ต้องทำงานหารายได้หรือแบ่งเบาภาระ ของครอบครัว ลักษณะนิสัยบางด้านจึงดูหยิบโหย่ง ไม่สู้งาน รักษาความสะดวกสบาย แต่ต้องการความก้าวหน้าทั้งในเชิงฐานะรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ภาพชุดคุณลักษณะของเด็กไทย ๑๒ ประการนี้ เป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น

ในอนาคตอันใกล้ของสังคมไทย ด้วยปัจจัยข้อมูล การศึกษา ดัชนีบ่งชี้ ผลการวิจัย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง การสำรวจที่ เ ป็ น ปั จ จุ บั น ล้ ว นระบุ ถึ ง ความเสี่ ย งและความเป็ น ไป ของคุณลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ เด็กหลายคนอาจมีคุณลักษณะดังกล่าวหลายข้อ หรือไม่มีเลยก็เป็นได้ หรือมีเพียงบางข้อแต่อาจลดหรือเพิ่มขึ้นได้เช่นเดียวกัน ในข้อ สรุ ป เบื้ อ งต้ น ทุ น ทางสั ง คมไม่ ว่ า จะเป็ น หน่ ว ยทางครอบครั ว โรงเรี ย น ชุ ม ชน ศาสนา สถาบัน และหน่วยงานต่าง ๆ ล้วนอยู่ในภาวะอ่อนแอ ผุกร่อน บทบาทลดลง และข้ อ สำคั ญ ยิ่ ง คื อ การแยกส่ ว นกั น ทำหน้ า ที่ ขาดการเชื่ อ มโยงประสาน

16

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


สัมพันธ์ ไม่มีศักยภาพ (Empowerment) ในองค์รวมที่ดูแลเชิงคุณภาพได้มากนัก ในทางตรงกันข้ามองค์กรทางอาชญากรรม สิ่งแวดล้อมความเลวร้ายอันตราย กลั บ ขยายตั ว อย่ า งรวดเร็ ว แต่ มุ่ ง กลุ่ ม เป้ า หมายคื อ เด็ ก และเยาวชนเป็ น หลั ก การครอบงำทางความคิด การให้ความหมายและคำตอบที่เป็นการสนับสนุนค่านิยม ที่ผิด ๆ จนสถาบันทางสังคมแทบจะหมดหนทางในการป้องกันบุตรหลานของ ตนเอง หากสังคมไทยยังคงปล่อยปละละเลยไม่คิดร่วมมือช่วยเหลือกัน มิติสังคม สิ่งแวดล้อมที่เป็นผลด้านลบอันตรายจะค่อย ๆ หล่อหลอมและสร้างเด็กไทยให้มี คุณลักษณะดัง ๑๒ ข้อที่กล่าวมาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนยากแก่การแก้ไขเยียวยา ให้กลับมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าที่ดีต่อสังคมได้ (สำนักงานเลขาธิการ

สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๙) จากเหตุผลความจำเป็นสภาพปัญหาที่เกิดกับเด็กและเยาวชนของไทย จำเป็นจะต้องมีสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กเยาวชนของไทย ซึ่งถือเป็นทรัพยากร บุคคลที่สำคัญของชาติ โดยเฉพาะประเทศไทยมีทุนทางสถาบันที่นำพาประเทศไทย ให้อยู่เย็นเป็นสุขสืบมาช้านาน ได้แก่ สถาบันศาสนา ซึ่งนับเป็นสถาบันที่มีความ สำคัญต่อความมั่นคงของชาติสถาบันหนึ่ง เนื่องจากความสำคัญของศาสนาได้ หล่อหลอมบุคคลให้เกิดการพัฒนาเป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมและพัฒนาสังคม ให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

17


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเยาวชนด้วยกระบวนการจัดค่ายคุณธรรม

เด็ ก และเยาวชนเป็ น ทรั พ ยากรสั ง คมและเป็ น อนาคตของประเทศ การสร้ า งเสริ ม อนาคตที่ ดี ข องเด็ ก และเยาวชนจึ ง เป็ น ภารกิ จ การสร้ า งชาติ ที่ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จากผลการวิจัยของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (๒๕๔๙) และผลการวิจัย ของสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งสถาบันต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสังคม ผลปรากฏว่า สภาพปัญหาที่ท่วมท้นจนถึงขั้นวิกฤตต่อเยาวชน เป็นแนวโน้ม ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ของสังคมไทย ด้วยปัจจัยข้อมูล การศึกษา ดัชนีบ่งชี้ การสำรวจที่เป็นปัจจุบันล้วนระบุถึงความเสี่ยงและความเป็นไปของคุณลักษณะ ที่ไม่พึงประสงค์ ในข้อสรุปเบื้องต้นทุนทางสังคมไม่ว่าจะเป็นหน่วยทางครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ศาสนา สถาบัน และหน่วยงานต่าง ๆ ล้วนอยู่ในภาวะอ่อนแอ ผุกร่อน บทบาทลดลงและข้อสำคัญยิ่ง คือ การแยกส่วนกันทำหน้าที่ ขาดการ เชื่อมโยงประสานสัมพันธ์ ไม่มีศักยภาพ (Empowerment) ในองค์รวมที่ดูแล เชิงคุณภาพได้มากนัก ในทางตรงกันข้ามองค์กรทางอาชญากรรม สิ่งแวดล้อมชั่วร้าย

18

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


อันตรายกลับขยายตัวอย่างรวดเร็ว เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายมีอำนาจในทางการเมือง และผ่ า นกลไกรั ฐ มากยิ่ ง ขึ้ น ประสานกั น เป็ น ธุ ร กิ จ ขนาดใหญ่ ที่ ห ลากหลาย ซั บ ซ้ อ น แต่ มุ่ ง กลุ่ ม เป้ า หมายคื อ เด็ ก และเยาวชนเป็ น หลั ก มี ทั้ ง อิ ท ธิ พ ล การครอบงำทางความคิ ด การให้ ค วามหมายและคำตอบที่ เ ป็ น การสนั บ สนุ น

ค่านิยมที่ผิด ๆ จนสถาบันทางสังคมแทบจะหมดหนทางในการป้องกันบุตรหลานของ ตนเอง หากสังคมไทยยังคงปล่อยปละละเลยไม่คิดร่วมมือช่วยเหลือกัน มิติสังคม สิ่งแวดล้อมที่เป็นผลด้านลบอันตรายจะค่อย ๆ หล่อหลอมเด็กไทยจนยากแก่

การแก้ไขเยียวยา ให้กลับมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าที่ดีต่อสังคมได้ กรมการศาสนาในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทต่อการพัฒนา เด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีความมุ่งหมายที่จะนำหลักธรรมทาง ศาสนามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นเด็กดี เด็กเก่งเช่นเด็ก ในอดีต ได้นำร่องโครงการศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชน : การเข้าค่ายคุณธรรม และโครงการพัฒนารูปแบบและกลไกการส่งเสริมคุณธรรม เยาวชนโดยสถาบันศาสนา กลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรม ไม่ รุ น แรงสามารถที่ จ ะปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมให้ เ ป็ น เด็ ก ดี ข องสั ง คมได้ ด้ ว ย กระบวนการเข้าค่ายคุณธรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องปราม และสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็ก กลุ่ ม นี้ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นาจิ ต และ สร้างเสริมการเรียนรู้ด้วยปัญญา จนสามารถดำเนิ น ชี วิ ต ได้ อ ย่ า ง ถูกต้อง มีเหตุผล และคุณธรรม ต า ม ห ลั ก ธ ร ร ม ค ำ ส อ น ท า ง พระพุ ท ธศาสนา ตลอดจนมี

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

19


จิ ต สำนึ ก ที่ ดี ต่ อ ตนเอง และบุ ค คลอื่ น เห็ น คุ ณ ค่ า ของการบำเพ็ ญ ประโยชน์ เพื่อสังคมส่วนรวม และมีความตั้งใจจริงที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นคนดีของ ครอบครัว และไม่กลับมากระทำผิดซ้ำ อันเป็นการวางรากฐานชีวิตของเด็กให้มี คุณภาพที่ดีในระยะยาวนำไปสู่การพัฒนาความสามารถและทักษะในการดำรงชีวิต ร่ ว มกั บ ผู้ อื่ น และสามารถเติ บ โตเป็ น ผู้ ใ หญ่ อ ย่ า งมี ส ติ ปั ญ ญาและคุ ณ ภาพ พึ่งตนเองได้ และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส และพัฒนากิจการของ ชุมชน จนเป็นที่ยอมรับของสังคม นอกจากนี้ ในโครงการดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองของเด็กและ เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม “ค่ายคุณธรรมจริยธรรม” ได้ร่วมเรียนรู้ในการจัดค่าย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรมเช่นเดียวกับเด็ก

ในปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครองได้เห็นประโยชน์จากการเข้าค่าย คุณธรรมจริยธรรม ให้ผู้ปกครองได้ ใช้เวลาและมีความใกล้ชิดกับเด็กในปกครอง มากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างครอบครัวอบอุ่น ให้ผู้ปกครองสามารถเป็นต้นแบบในการ มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีการควบคุมอารมณ์ และการช่วยเหลือหรือเอื้อเฟื้อ ต่อผู้อื่น ให้ผู้ปกครองรู้จักส่งเสริมให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา ตนเอง ครอบครัว และชุมชน ในด้านคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งให้ผู้ปกครองได้ เรียนรู้วิธีการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กโดยใช้มิติทางศาสนา ซึ่งจะได้นำ ความรู้ที่ได้รับไปใช้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องหลังจากกลับไปยังภูมิลำเนาของตนเอง

หลักคิด การจัดค่ายคุณธรรม มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ดังนี้ ๑. เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนให้เป็นเด็กดีตาม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับ เด็กและเยาวชน ให้รู้จักหน้าที่ในการเป็นชาวพุทธที่ดี เนื่องจากชาวพุทธที่ดีจะต้อง 20

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


มีความเข้มแข็งที่จะตั้งมั่นอยู่ในหลักการที่ถูกต้องตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลทั่วไป นอกจากนี้ยังต้องรักษาวินัยชาวพุทธ โดยการมีศรัทธา ความเชื่อประกอบด้วยปัญญาไม่งมงาย ยึดมั่นในพระรัตนตรัย ไม่หวั่นไหว ถือธรรมเป็นใหญ่และสูงสุด และมีศีล ตั้งอยู่ในศีล ๕ และสัมมาชีพ ถือศีลอุโบสถตามกาลเพื่อพัฒนาตนให้มีชีวิตที่มีความสุข สามารถพึ่งพาตนเอง ลดการเบียดเบียนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ๒. เป็ น การวางรากฐานชี วิ ต ของเด็ ก และเยาวชนให้ มั่ น คงยั่ ง ยื น ในอนาคต โดยให้เด็กและเยาวชนรู้จักดำเนินชีวิตที่ดีงามและร่วมสร้างสรรค์สังคม ให้เจริญมั่นคงโดยรู้จักประพฤติดีและละเว้นความชั่ว ได้แก่ เว้นจากบาปกรรม ที่ ท ำให้ ชี วิ ต มั ว หมอง คื อ ไม่ ท ำร้ า ยร่ า งกายทำลายชี วิ ต ไม่ ลั ก ทรั พ ย์ ล ะเมิ ด กรรมสิ ท ธิ์ ไม่ ป ระพฤติ ผิ ด ทางเพศ ไม่ พู ด เท็ จ โกหกหลอกลวง เว้ น จากอคติ ความลำเอียง คือ ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ไม่ลำเอียงเพราะชัง ไม่ลำเอียงเพราะขลาด ไม่ลำเอียงเพราะเขลา ตลอดจนเว้นจากอบายมุข ช่องทางเสื่อมทรัพย์ ไม่เสพติดสุรา ไม่ เ อาแต่ เ ที่ ย วไม่ รู้ เ วลา ไม่ จ้ อ งหาแต่ ร ายการบั น เทิ ง ไม่ เ หลิ ง ไปกั บ การพนั น ไม่พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว ๓. เป็นการฟื้นฟูเอกลักษณ์ของเด็กไทยที่พึงประสงค์ ให้กลับคืนสู่ สังคมไทย ได้แก่ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ดำรงรักษา ศิลปะ วัฒนธรรม

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

21


ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ยิ้มอย่างไทย มีน้ำใจ ใฝ่สันติ รักความยุติธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นมิตรกับทุกคน มี ค วามผู ก พั น ในครอบครั ว รั ก ธรรมชาติ มี ค วามมั่ น ใจในตนเองแบบสากล แต่มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตนแบบไทย ใฝ่ศึกษาหาความรู้ มีความสามารถ ในการใช้ทักษะทางภาษา และวัฒนธรรมที่หลากหลาย รู้จักสิทธิ หน้าที่ความรับผิดชอบ เคารพสิทธิของผู้อื่นตามระบอบประชาธิปไตย ดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักพึ่งตนเองได้ มีความอดทน รู้จักประหยัด อดออม รู้จักคุณค่าของตนเอง ยอมรับในความแตกต่างแห่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และเกิดประโยชน์สุขแก่ทุกฝ่าย เป็นคนเก่ง ดี มีความสุข รู้จักการปรับตัวในกระแส โลกาภิวัตน์ ได้อย่างสมดุล และรู้เท่าทัน รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลรอบด้าน และพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง มีภูมิต้านทานของจิตใจที่เข้มแข็งจนสามารถจัดการกับปัญหา ที่เกิดและปฏิเสธสิ่งยั่วยุให้หลงผิดได้ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จริยธรรม คุณธรรม มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน มีศักดิ์ศรี และมีความภาคภูมิใจในการทำงานที่สุจริต มีจิตสำนึกสาธารณะ รู้จักช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน

ลักษณะกลุ่มเด็กและเยาวชน ในการจัดกลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อใช้วิเคราะห์การจัดค่ายแบ่งกลุ่มเด็ก

และเยาวชนดังนี้ ๑. กลุ่มป้องกัน คือ เด็กและเยาวชน ในสถาบันศึกษาทั่วไปทุกระดับชั้น ๒. กลุ่มฟื้นฟูของศาล คือ เด็กและเยาวชนศาลเยาวชนและครอบครัว ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ๓. กลุ่มพิเศษ คือ กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง

22

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


สิ่งที่เด็กและเยาวชนได้รับจากการเข้า “ค่ายคุณธรรมจริยธรรม” เด็กรู้จักเลือกหาแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี เด็กและเยาวชนที่จะ เติบโตไปสู่ชีวิตที่ดีงาม สามารถพัฒนาชีวิตของตนเอง พัฒนาสังคมได้ต้องเป็นคน ที่รู้จักเลือกหาแหล่งความรู้ และแบบอย่างที่ดี รู้จักคบคน รู้จักเลือกสื่อไม่ถูกปัจจัย แวดล้อมที่ไม่ดีหล่อหลอม โดยมีผู้ปกครอง พ่อแม่ ครูอาจารย์ สื่อสารมวลชน และผู้ ใหญ่ทั่วไป มีหน้าที่เป็นกัลยาณมิตร เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดี และช่วยจัดสรร สภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่เด็ก เด็ ก รู้ จั กจัดระเบียบชีวิตและการอยู่ร่ว มกับผู้อื่นในสังคม เด็กและ เยาวชนจะมีวินัย มีศีล รู้จักจัดระเบียบชีวิตของตนและรู้จักจัดระเบียบความสัมพันธ์

กั บ ผู้ อื่ น หรื อ การอยู่ร่วมกับผู้อื่น เพราะชีวิตที่จัดระเบียบได้ดีแล้วจะเป็นชีวิต ที่พร้อมจะรับการพัฒนา เด็กมีแรงจูงใจที่ถูกต้อง เด็กและเยาวชนจะได้รับการเรียนรู้ ให้รู้จัก การเลือกรับแรงจูงใจที่ถูกต้อง ที่เรียกว่า ฉันทะ ได้แก่ การใฝ่รู้ และใฝ่สร้างสรรค์ หรื อ ใฝ่ ท ำ และเชื่ อ ว่ า การที่ ม นุ ษ ย์ จ ะพั ฒ นาชี วิ ต ไปได้ จะต้ อ งมี แ รงจู ง ใจ คื อ ความปรารถนาที่ใฝ่ดี เด็กได้รับกำลังใจที่จะพัฒนาศักยภาพของตนให้เต็มที่ เด็กและเยาวชน จะได้รับการเรียนรู้ จากพระพุทธศาสนาที่ถือว่า มนุษย์สามารถฝึกได้ พัฒนาได้ และมีศักยภาพในตัวตน มนุษย์แต่ละคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาให้สมบูรณ์ ได้ ทั้งศักยภาพเฉพาะตัว คือ ความถนัดของตนเอง และศักยภาพที่เกิดจากการพัฒนา ทำให้เด็กเกิดแนวคิดและกำลังใจที่จะพัฒนาตนเอง เด็กมีทัศนคติและค่านิยมที่ดี ค่านิยมและทัศนคติที่ถูกต้อง ตามหลัก ของพระพุทธศาสนา เริ่มด้วยการมองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นท่าที

ของจิตใจที่นำมาซึ่งปัญญาและการกระทำตามเหตุผล ทัศนคติในพระพุทธศาสนา เป็นทัศนคติที่มองสิ่งต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย เด็กและเยาวชน จะได้รับการปลูกฝัง คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

23


และพัฒนาให้มีทัศนคติแบบนี้ อันเป็นทัศนคติพื้นฐานของพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ทัศนคติที่มองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย อันนำไปสู่ทัศนคติหรือท่าทีแห่งการเรียนรู้ เป็นการสร้างสรรค์เด็กและเยาวชนในขั้นรากฐานให้มีทัศนคติที่ถูกต้อง เด็กมีความกระตือรือร้น ขวนขวาย ไม่ประมาท เด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้จากพระพุทธศาสนาที่สอนในเรื่องความเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับหลัก ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความไม่เที่ยงนี้ไม่ได้เป็นไป อย่างเลื่อนลอย แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย หลักการนี้สำคัญมากเป็นเครื่องชี้บ่งว่า คนที่อยู่ในพระพุทธศาสนาเป็นคนที่มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ไม่ใช่คนเฉื่อยชา เด็กจึงมีจิตสำนึกต่อความเปลี่ยนแปลง นำไปสู่ความไม่ประมาท ความกระตือรือร้น ขวนขวายไม่อยู่นิ่งเฉย ไม่ปล่อยเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ เด็กรู้จักคิดพิจารณาให้เกิดปัญญาที่จะรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความ เป็นจริง เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ ว่าการที่มีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น เป็นเพราะ การปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายไม่ถูกต้อง จึงต้องรู้จักสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้จักโลก รู้จักชีวิต รู้จักปัญหา รู้จักเหตุของปัญหา ด้วยสติปัญญา คือการรู้จักคิด รู้จักพิจารณา เรียกว่า การคิดเป็น การคิดพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง จะทำให้เกิดปัญญาและเกิดคุณธรรม

24

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


บทที่ ๒ งานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ การจัดค่ายคุณธรรม



งานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ การจัดค่ายคุณธรรม

การดำเนิ น งานการจั ด ค่ า ยคุ ณ ธรรม จำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งศึ ก ษาแนวคิ ด ทฤษฎี และงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถนำความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์กับ การจัดค่ายคุณธรรม ซึ่งเป็นการปฏิบัติจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังมีงานวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

พุทธวิธีในการสอน ทางพุทธศาสนาให้แยกความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็น ๒ ด้าน คือ ๑. ด้านอธิมุติ คือ เรื่องความถนัด ความสนใจ ความพอใจ และ ภู มิ ห ลั ง อะไรต่ า ง ๆ ตลอดจนความเคยชินที่ลงตัวอยู่ตัว ซึ่งเรียกว่า วาสนา ยกตัวอย่างเมื่อกี้ว่าไปห้างสรรพสินค้า คนหนึ่งเข้าร้านเครื่องบันเทิง คนหนึ่ง

เข้าร้านหนังสือ เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าไปตามวาสนา ๒. ด้านอินทรีย์ คือ ระดับการพัฒนา เช่นว่า มีศรัทธา มีสติ มีสมาธิ มีปัญญาเท่าใด พระพุทธเจ้าจะสอนคน ต้องทรงรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้ง ๒ ด้าน คือ ● ด้านอธิมุติ เรียกว่า นานาธิมุติกญาณ ● ด้านอินทรีย์ เรียกว่า อินทริยปโรปริยัตตญาณ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

27


แต่ที่ได้ยินพูดกันอยู่เวลาพูดถึงความแตกต่างของเด็ก มักจะไปเน้น เรื่องความถนัด เรามักจะพูดถึงด้านเดียว แต่ที่จริงความแตกต่างต้องครบ ๒ ด้าน ด้านอินทรีย์นี้ต้องฝึกทุกคน ต้องพยายามให้ ได้มากที่สุดสูงสุด ไม่ใช่ไปดูแต่ด้าน ความถนัดอย่างเดียว ศั ก ยภาพของเด็ ก กั บ ศั ก ยภาพของความเป็ น มนุ ษ ย์ บางที ก็ ไ ม่ ใ ช่

สิ่งเดียวกัน เราจะต้องพยายามให้เด็กทุกคนเข้าถึงสุดยอดแห่งศักยภาพของมนุษย์ ไม่ใช่เอาแค่ศักยภาพของตัวเขาเท่านั้น... เรื่ อ งนี้ เ ป็ น ตั ว อย่ า ง แต่ ร วมความก็ คื อ เรื่ อ งของยุ ค สมั ย เช่ น เรื่องของแนวคิดต่าง ๆ ที่เข้ามา เราต้องทันและนำมาวิเคราะห์ ความเท่าทัน สถานการณ์นี้จึงเป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่ง ของที่นำเข้า ต้องรู้ ให้เต็มเท่าที่เขาเข้าใจ ของเขาพร่องตรงไหน ก็ต้องรู้และเติมให้เต็มจริง ๆ เราอาจจะต้องมาคุยกันในเรื่องเหล่านี้ว่า “แนวคิดที่เข้ามาสมัยใหม่นี้ ของตะวันตกว่าอย่างไร หรือใครว่าอย่างไร มีข้อดีข้อด้อยอย่างไร มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร หรือมีความหมายที่แท้อย่างไร คลาดเคลื่อนไปอย่างไร?” เวลานี้ เรื่อง Child-Centered Education เมื่อฟังนักการศึกษา พูด ครูอาจารย์ในโรงเรียนต่าง ๆ ดีไม่ดีก็เข้าใจแค่ว่ามุ่งสนองความพอใจของเด็ก เด็กเอาอย่างไร ก็เอาแค่นั้น เลยไม่ต้องพัฒนาเด็ก ประกอบด้วย ในกรณีต่าง ๆ และในกรณีนั้น ๆ จะต้องเข้าใจความหมายของอุเบกขาให้ถูกต้องด้วย นอกจากนี้ความกรุณาที่แสดงออกในการอบรมสั่งสอนย่อมเป็นส่วน ประกอบสำคัญให้เกิดคุณลักษณะของผู้สอนอย่างที่เรียกว่า องค์คุณของกัลยาณมิตร ซึ่งมี ๗ ประการ ดังต่อไปนี้ ๑. ปิโย-น่ารัก (ในฐานเป็นที่วางใจและรู้สึกสนิทสนม) ๒. ครุ-น่าเคารพ (ในฐานให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้ และ ปลอดภัย) 28

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


๓. ภาวนีโย-น่ายกย่อง (ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง) ๔. วัตตา-รู้จักพูด (คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี) ๕. วจนักขโม-อดทนต่อถ้อยคำ (พร้อมที่จะรับฟังคำซักถามต่าง ๆ อยู่เสมอ และสามารถรับฟังได้ด้วยความอดทนไม่เบื่อ) ๖. คมภีรัญฺจ กถัง กัตตา-(กล่าวชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งได้) ๗. โน จัฏฺฐฺาเน นิโยชเย-(ไม่ชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย)๑ พึงสังเกตไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า พระพุทธศาสนาถือว่า ความสัมพันธ์ของ ผู้สอนที่มีต่อผู้เรียนนั้น อยู่ในฐานะเป็นกัลยาณมิตร คือ เป็นผู้ช่วยเหลือแนะนำ ผู้ เ รี ย นให้ ด ำเนิ น ก้ า วหน้ า ไปในมรรคาแห่ ง การฝึ ก อบรม ๒ องค์ คุ ณ ทั้ ง ๗ นี้ เป็นคุณลักษณะที่ผู้สอนหรือครูผู้มีความกรุณาโดยทั่วไปจะมีได้ ไม่จำกัดเฉพาะ พระพุทธเจ้าเท่านั้น เมื่อมองกว้าง ๆ การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง จะดำเนินไปจนถึง ผลสำเร็จ โดยมีคุณลักษณะซึ่งเรียกได้ว่าเป็นลีลาในการสอน ๔ อย่าง ดังนี้ ๑. สันทัสสนา อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือนจูงมือไปดูเห็นกับตา ๒. สมาทปนา จูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตาม จนต้องยอมรับ และนำไปปฏิบัติ ๓. สมุตเตชนา เร้าใจให้แกล้วกล้า บังเกิดกำลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะ แข็งขัน มั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จได้ ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก ๔. สัมปหังสนา ชโลมใจให้ แ ช่ ม ชื่ น ร่ า เริ ง เบิ ก บาน ฟั ง ไม่ เ บื่ อ และเปี่ยมด้วยความหวัง เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติ

๑ ๒

สขสูตร, องฺ.สตฺตก. ๒๓/๓๔ พึ ง ระลึ ก ถึ ง ฐานะของผู้ ส อนอั น สั ม พั น ธ์ กั บ ความตอนนี้ ที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส ไว้ ว่ า “อกฺ ข าตาโร ตถาคตา-ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางให้” (ขุ.ธ. ๒๕/๓๐) และเรื่องที่ทรงแจงแก่พราหมณ์ว่า พระองค์เป็นเพียงผู้ชี้ทาง ใน ม.อุ. ๑๔/๑๐๑ ด้วย คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

29


อาจผูกเป็นคำสั้น ๆ ว่า แจ่มแจ้ง จูงใจ หาญกล้า ร่าเริง หรือชี้ชัด เชิญชวน คึกคัก เบิกบาน

กระบวนการฝึกอบรมคุณธรรมตามแนวความคิด พระพรหมคุณาภรณ์

(ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ธรรมกับการพัฒนาชีวิต

การพั ฒ นาชี วิ ต คื อ การทำให้ ชี วิ ต เจริ ญ งอกงามมี คุ ณ ภาพเพิ่ ม ขึ้ น

จนเข้าถึงจุดหมายของชีวิตในทางพระพุทธศาสนา เป็นจุดหมายในการเป็นอิสระ ไร้ ปั ญ หา ไร้ ทุ ก ข์ ซึ่ ง เป็ น ความเต็ ม อิ่ ม ที่ ชี วิ ต ไม่ มี ค วามบกพร่ อ ง ไม่ มี ค วาม ขาดแคลน เป็นชีวิตที่มีความเต็มในตัวของมันเอง ธรรมกับการพัฒนาชีวิต เป็นการ เชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับการพัฒนาชีวิต วิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงาม เรียกว่า มรรค ซึ่งนำไปสู่จุดหมายด้วยการฝึกฝน ฝึกหัดให้ชีวิตดำเนินไปในวิถีที่ถูกต้องดีงาม หรือการฝึกฝนคนให้เข้าสู่วิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ในทางพุทธศาสนาจึงใช้เรียก การฝึกฝน ในความหมายเดียวกับการพัฒนาชีวิตคือการศึกษา และการศึกษาเป็น การฝึกในพัฒนาคนให้ดำเนินไปในวิถีที่ถูกต้องดีงาม เรียกว่า สิกขา หรือศึกษา นั่นคือ การศึกษาเป็นการฝึกฝนให้ชีวิตดำเนินไปในวิถีที่ถูกต้องดีงาม หรือการฝึกฝนคนให้ เข้าสู่วิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ในทางพุทธศาสนาจึงใช้เรียกการฝึกฝนในความหมาย เดียวกันกับการพัฒนา การพัฒนาชีวิต คือ การศึกษา และการศึกษาเป็นการฝึกฝน พั ฒ นาคนให้ ด ำเนิ น ไปในวิ ถี ชี วิ ต ที่ ถู ก ต้ อ งดี ง าม หมายความว่ า คนเราต้ อ งมี การศึกษาตลอดชีวิตจนกว่าจะถึงจุดหมายของชีวิตที่เป็นอิสระไร้ปัญหา ไร้ทุกข์ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๑-๕) หลักสำคัญในการพัฒนาชีวิต เป็นการทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นหรือ ภาวนาทางพุทธศานาแสดงไว้ ๔ อย่าง คือ กายภาวนา เป็นการทำกายให้เจริญ หรือพัฒนากาย ศีลภาวนา เป็นการพัฒนาด้านการมีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม หรือการพัฒนาศีล จิตภาวนา การทำให้จิตใจเจริญงอกงาม หรือการพัฒนา 30

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ปั ญ ญา ทั้ ง สี่ ป ระการเป็ น การพั ฒ นาชี วิ ต หรื อ พั ฒ นาคน ตามคำสอนของ พระพุ ท ธศาสนาหรื อ ตามแนวทางของพระพุ ท ธศาสนา (พระธรรมปิ ฎ ก

(ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๕-๘) ๑. กายภาวนา เป็นการพัฒนากายหรือทำให้กายเจริญงอกงามด้วย การพัฒนาทักษะ ความชำนาญในการประกอบการต่าง ๆ หรือนำสิ่งต่าง ๆ พัฒนาอินทรีย์ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ที่ใช้สัมพันธ์กับโลกภายนอก ที่เป็นสภาพแวดล้อมทางวัตถุ และทางธรรมชาติเพื่อให้เกิดการใช้อินทรีย์ต่าง ๆ พัฒนาอินทรีย์ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ที่ใช้สัมพันธ์กับโลกภายนอก ที่เป็นสภาพแวดล้อมทางวัตถุ ทางธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการใช้อินทรีย์ต่าง ๆ ของ ผู้นั้นไปสัมพันธ์กับโลกภายนอกให้ ได้ผลดี ซึ่งเป็นการฝึกฝนพัฒนาอินทรีย์หรือ อินทรีย์ภาวนานั้นมี ๒ แง่ด้วยกัน (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙,

๘-๑๐) คือ ๑.๑ ฝึกฝนในแง่การใช้งาน คือ ทำให้อินทรีย์มีความเฉียบคม มีความละเอียดอ่อน มีความไวมีความคล่อง มีความชัดเจน คล้ายกับที่พูดว่า

ฝึกทักษะ ๑.๒ ฝึ ก ในแง่ ก ารทำให้ รู้ จั ก เลื อ กรั บ เอาสิ่ ง ที่ มี คุ ณ ค่ า เป็ น ประโยชน์เข้ามาให้แก่ชีวิต ป้องกันไม่ให้รับเอาสิ่งที่ไม่ดีหรือเป็นโทษเข้ามา การฝึกในแง่ที่สองเป็นเรื่องของความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม การที่ ค นเราเอาอิ น ทรี ย์ ไ ปสั ม พั น ธ์ กั บ โลก การใช้ ต าของตนเองไปสั ม พั น ธ์ กั บ

สิ่งทั้งหลายโดยใช้ตาดูสิ่งต่าง ๆ ผู้นั้นมองเห็นสิ่งต่าง ๆ เรียกว่าเป็นประสบการณ์

หรือทางพระเรียกว่าอารมณ์ที่รับเข้ามา การรับอารมณ์หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ของตัวผู้นั้นสามารถรับได้ ในสิ่งที่เป็นคุณและเป็นโทษแก่ชีวิต ถ้ารับไม่เป็นเพราะ ขาดการพัฒนาอินทรีย์อาจรับเข้ามาในลักษณะที่เป็นโทษแก่ชีวิตทำให้เกิดกุศล ธรรมเจริญงอกงาม เกิดคุณภาพชีวิต เช่น เด็กดูโทรทัศน์รู้จักใช้อินทรีย์ดู ดูเป็น

ได้คุณประโยชน์ ได้ความรู้ ได้สิ่งที่เป็นเป็นสาระ แต่หากดูไม่เป็นไม่รู้จักเลือกดู คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

31


จะได้สิ่งที่เป็นโทษเกิดผลเสียแก่ชีวิตในการรับประทานอาหารหรือการใช้ลิ้นเป็น หรือรับประทานอาหารเป็นทำให้เกิดคุณภาพชีวิต ได้รับคุณค่าทางอาหาร แต่หาก รับประทานอาหารไม่เป็นมุ่งแต่อร่อยทำให้เสียคุณภาพชีวิตอาจท้องเสีย เสียสุขภาพ เป็นไปได้ต่าง ๆ อันเป็นการใช้อินทรีย์ที่จะรับเอาคุณหรือโทษเข้ามาจากสิ่งที่คนเรา เข้าเกี่ยวข้องสัมพันธ์ทั้งหมดนั้น การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตนเองหรือ อินทรีย์ของตนเองกับวัตถุหรือสิ่งที่เสพสิ่งที่บริโภคนับแต่ปัจจัย ๔ เป็นต้นไป จะต้องพัฒนาความสัมพันธ์อย่างถูกต้องจึงจะเรียกว่า พัฒนากาย หากมีความ สัมพันธ์อย่างไม่ถูกต้องต้องเรียกว่า ไม่ได้พัฒนากายเกิดการรับสิ่งต่าง ๆ อย่าง เป็นโทษ เช่น การกินอาหารไม่เป็น ดูโทรทัศน์ไม่เป็น ฟังวิทยุไม่เป็น การฟังคนพูด ทำให้เกิดอารมณ์เข้ามาทำให้เกิดโทษ เกิดโทสะ ไม่รู้จักรับเข้ามาในทางที่ทำให้เกิด ปัญญา การพัฒนากายในทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์กับ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ให้เป็นไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิต ด้วยการอยู่ กับธรรมชาติด้วยดี มีการเกื้อกูลกันระหว่างชีวิตของตนกับธรรมชาติ เป็นสุขอยู่กับ ธรรมชาติและรักษาธรรมชาติ ทำให้ธรรมชาติรู้จักรับความสดชื่นจากธรรมชาติ เป็นสุขอยู่กับธรรมชาติทำให้ชีวิตได้รับความดีงาม ความงอกงามจากธรรมชาติ รู้จักรับความสดชื่นจากธรรมชาติ เป็นสุขอยู่กับธรรมชาติ และรักษาธรรมชาติ ทำให้ธรรมชาติอยู่ในสภาพดี มีความสวยงาม ร่มรื่น อันเป็นความสัมพันธ์ที่ดีกับ ธรรมชาติแวดล้อม (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๑๐-๑๒) ๒. ศี ล ภาวนา หรือการพัฒนาศีล เป็นการพัฒนาคนให้มีระเบียบ ในการดำเนินชีวิตและในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมระบบสังคม โดยศีลเป็นสภาพ หรือคุณสมบัติของตัวบุคคล และวินัยเป็นกิจกรรมที่เป็นไปในสังคม ศีลเป็นเรื่อง ของการที่บุคคลนั้นมีระเบียบในการดำเนินชีวิตและในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ซึ่งความมีระเบียบหรือประพฤติตนอยู่ในระเบียบ เรียกว่า ศีล ส่วนวินัยเป็นการจัด ระเบียบสังคมทั้งหมด ศีลกับวินัยจึงเป็นของคู่กันคือ วินัยทำให้เกิดศีล ถ้าผู้ ใด รักษาวินัยผู้นั้นเป็นผู้มีศีล ทางพระเรียกว่า ผู้มีศีล แต่โดยทั่วไปเรียกว่า คนมีวินัย 32

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ซึ่งวินัยนั้นเนื่องอยู่กับสังคม โดยวินัยเป็นบัญญัติคือกำหนดวางขึ้นมาเพื่อเป็น แบบแผนสำหรับการประพฤติที่ดีงามของบุคคล และเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยดีใน สังคมซึ่งเป็นเรื่องสมมติ เช่น การขับรถชิดซ้าย ชิดขวา เป็นต้น การจัดระเบียบ อย่างไร เพื่อให้สังคมมีระเบียบวินัยเรียกว่า เป็นวินัย ดังนั้น วินัยเป็นการสร้าง กฎเกณฑ์ขึ้นมาให้คนในสังคมมีระเบียบในการดำเนินชีวิตและอยู่ร่วมกันให้ดี และ ศีลคือการที่คนมีระเบียบชีวิตหรือประพฤติตนอยู่ในระเบียบ และเรียกคนที่รักษา วินัยว่าเป็นคนมีศีล (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๑๓-๑๔) ความมีระเบียบในการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในระบบสังคม แบ่งออกเป็นหลายระดับ คือระดับพื้นฐานในเรื่องของการไม่เบียดเบียนกัน ได้แก่ ไม่ เ บี ย ดเบี ย นต่ อ กันในทางชีวิตร่างกายในทางทรัพย์สินในทางคู่ครอง ในการ ใช้วาจา และไม่เบียดเบียนสติสัมปชัญญะของตนเองรวมไปถึงการช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นศีลในระดับที่เป็นบวก ระดับฝึกฝนควบคุมตน เป็นศีลที่เลยจากขั้นเบียดเบียนด้วยการ ฝึกฝนควบคุมตนในทางกายวาจา เพื่อเป็นพื้นฐานของการฝึกจิตใจ ได้แก่ ศีลของ อุบาสก ศีลของพระ เป็นศีลที่ต้องมีการฝึกกาย วาจา เพื่อเป็นพื้นฐานในการ พัฒนาจิตใจ การควบคุมบังคับตนเองในร่างกายได้ต้องบังคับควบคุมจิตใจของ ตนเองไปด้วยในตัวศีลในขั้นชั้นนี้ จึงเป็นการประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือ ข้อบัญญัติ เพื่อฝึกฝนตนเองในการที่จะเจริญขึ้นในคุณธรรมต่าง ๆ ในทางจิตใจ ยิ่งขึ้นไปอันเป็นหลักที่เรียกว่าการพัฒนาศีล ๓. จิตภาวนา หรือการพัฒนาจิตใจ เป็นเรื่องที่กว้างขวางมาก สามารถ แบ่ ง ได้ เ ป็ น ๓ ด้ า น คื อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพจิ ต เป็ น การพั ฒ นาจิ ต ใจของตน มีคุณภาพ เริ่มจากคุณธรรมในด้านต่าง ๆ ที่ทำให้จิตใจประณีตดีงามมีเมตตา กรุณา มีศรัทธา และมีความกตัญญู กตเวที เป็นต้น การพัฒนาสมรรถภาพจิต หรือสมรรถภาพของจิตใจที่มีความเข้มแข็งสามารถนำไปใช้งานได้ดี ทั้งนี้เพราะ จิ ต ที่ มี ส มรรถภาพของจิ ต อยู่ ที่ ส มาธิ คื อ จิ ต ที่ มี ส มาธิ ดี จ ะทำงานได้ ผ ล และ คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

33


เจริญก้าวหน้าดีในการพัฒนาชีวิต สมรรถภาพของจิตอยู่ที่สมาธิ คือ จิตที่มีสมาธิดี จะทำงานได้ผลดี รวมทั้งต้องมีสติ มีวิริยะ อันเป็นความเพียรพยายาม ความกล้าสู้ ความเอาใจใส่ ความรับผิดชอบ ความเข้มแข็งของจิตใจ และความอดทน เป็นต้น และการพั ฒ นาจิ ต หรื อ จิ ต ภาวนาจะต้ อ งพั ฒ นาคุ ณ ภาพจิ ต ให้ คุ ณ ธรรมในด้ า น ต่าง ๆ พัฒนาสมรรถภาพจิตให้มีสมาธิ มีสติ มีวิริยะ และพัฒนาสุขภาพจิต

ให้มีความสุขในลักษณะต่าง ๆ ให้ครบทั้ง ๓ ด้าน ๔. ปั ญ ญาภาวนา หรื อ การพั ฒ นาปั ญ ญา คื อ การฝึ ก การรั บ รู้ ประสบการณ์ ที่ เ ข้ า มานั้ น ตรงตามสภาพความเป็ น จริ ง โดยไม่ ยิ น ดี ยิ น ร้ า ย เพื่อป้องกัน การคิดปรุงแต่งที่ทำให้เกิดภาพคลาดเคลื่อนจากสิ่งที่ถูกรับรู้ ดังนั้น การปฏิบัติถูกต้องในการรับรู้ประสบการณ์ตามสภาพที่เป็นจริง จะทำให้เกิดการรับรู ้

ที่ถูกต้องจากฐานของข้อมูลที่รับเข้ามาอย่างถูกต้อง การคิดพิจารณาดำเนินไป อย่างถูกต้องเป็นการใช้สติปัญญาพิจารณา วินิจฉัยและวางแผนที่เป็นอิสระอย่าง บริสุทธิ์และถูกต้องโดยไม่ถูกอำนาจอคติเข้าครอบงำ ได้แก่ ความชอบ ความชัง ความกลั ว ด้ ว ยการถู กชักจูงด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ทำให้เกิดอยากได้ จึงคิด วางแผนคิดวินิจฉัย ตามความโลภความอยากได้ของตนเอง หรือตามความเห็นแก่ตัว หรือเอาให้ได้ ถ้ามีโทสะเกิดความไม่ชอบใจ มีความเกลียดชัง คิดทำลายคิดวางแผน การคิ ด แบบนี้ เ รี ย กว่ า เป็ น ปั ญ ญาที่ ไ ม่ เ ป็ น อิ ส ระ ดั ง นั้ น การคิ ด พิ จ ารณา วินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ และวางแผนด้วยปัญญา ที่เป็นอิสระอันเป็นปัญญาที่บริสุทธิ์ ความสามารถในการนำความรู้มาดำเนินการให้สำเร็จผลเป็นการนำความสามารถ หรือปัญญามาใช้เแก้ปัญหา และดำเนินการให้สำเร็จ คือ ความสามารถในการ สืบค้นเหตุปัจจัย แยกแยะ วิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ที่จะเอื้ออำนวยในการแก้ปัญหา และทำกิจกรรมให้สำเร็จผล และความรู้เท่าทันโลกและชีวิตตามเป็นจริง เป็นการ ทำให้จิตใจเป็นอิสระ มีปัญญาเข้าใจโลก และชีวิตตามความเป็นจริง ไม่ยึดติดถือ มั่ น ในโลกมี สิ่ ง ใดเข้ า มาให้ รั บ รู้ ต ามเป็ น จริ ง ปฏิ บั ติ ต่ อ สิ่ ง เหล่ า นั้ น ตามเหตุ ผ ล 34

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ด้วยความรู้เท่าทันต่อเหตุปัจจัย แต่ไม่มีความยึดติดถือมั่นที่จะมาบีบคั้นตัวเอง เรียกว่าไม่ทำให้เกิดความทุกข์ คือ คนมีปัญญาถึงขั้นทำให้จิตใจเป็นอิสระการรับรู้ ต่าง ๆ ที่เข้ามาจะบริสุทธิ์ตรงตามสภาพที่เป็นจริง ในทางพระพุทธศาสนาต้องมี การพัฒนาปัญญาในหลายขั้นตอนจนกว่าจะบรรลุจุดหมายสุดท้ายคือ มีปัญญา รู้เท่าทันโลกและชีวิตซึ่งมีผลให้จิตใจเป็นอิสระ คือ การเจริญทางด้านปัญญาอย่าง ถูกต้องจะส่งผลแก่จิตใจทำให้จิตใจดีงามมีความสุข เป็นอิสระและเข้าถึงจุดหมาย สูงสุดของชีวิต โดยรวมการพัฒนามีหลักใหญ่ ๔ ประการ คือ พัฒนาทางกาย หรือจิตภาวนา และการพัฒนาปัญญา ภาวนา (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๑๗-๒๓) เมื่ อ ใดมี ภ าวนาครบ ๔ ประการครบถ้ ว นสมบู ร ณ์ เรี ย กว่ า เป็ น

พระอรหันต์ คือ บุคคลที่ได้พัฒนาสี่ด้านครบถ้วนบริบูรณ์ เป็นคุณสมบัติของ พระอรหันต์ ได้แก่ ภาวิตกาย มีกายที่ภาวนา คือ พัฒนาแล้ว ภาวิตศีล มีศีล ที่พัฒนาแล้ว ภาวิตจิต มีจิตที่พัฒนาแล้ว ภาวิตปัญญา มีปัญญาที่พัฒนาแล้ว เรีย กว่า เป็น บุคคลที่สมบูรณ์เข้าถึงจุดหมายของการพัฒนาชีวิตอย่างแท้จริง (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๒๓)

หลักแห่งวิถีชีวิตของการพัฒนาชีวิต กระบวนการพัฒนาชีวิตที่ทำให้ชีวิตดำเนินไปในทางที่ถูกต้องด้วยวิถีชีวิต ที่ถูกต้อง เรียกว่า มรรค และการทำให้ชีวิตดำเนินไปในวิถีโดยวิธีที่ถูกต้อง เรียกว่า สิกขา หรือการศึกษา ตัวนำคือ ตัวที่นำให้ชีวิตดำเนินไปในวิถีที่ถูกต้อง และเป็น ตัวนำให้เกิดการพัฒนาชีวิต หรือพัฒนาตัวมนุษย์เองให้มีวิถีชีวิตที่ถูกต้อง เรียกว่า

บุพนิมิตของวิถีชีวิตที่ดี หรือบุพนิมิตของชีวิตที่ดี หมายถึง เครื่องหมายที่ส่อแสดง ล่วงหน้าของวิถีชีวิตที่ดีงามถูกต้อง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รุ่งอรุณของการศึกษา พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เหมือนกับเมื่อดวงอาทิตย์จะขึ้นสู่ท้องฟ้าย่อมมีแสงอรุณ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

35


ขึ้นก่อนฉันใด ชีวิตที่ดีงามจะเกิดขึ้นย่อมมีองค์ประกอบ คือ ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้น ก่ อ นฉั น นั้ น รุ่ ง อรุ ณ ของการศึ ก ษาหรื อ บุ พ นิ มิ ต ของชี วิ ต ที่ ดี มี ๗ ประการ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๘๕-๘๗) ๑. รู้จักเลือกหาแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี เป็นการเดินหน้าในการ พัฒนาชีวิตด้วยการรู้จักเลือกหาแหล่งความรู้เริ่มตั้งแต่รู้จักเลือกคบคนซึ่งเป็น แหล่งความดีงาม โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ชอบทำตามแบบอย่างที่จะต้องรู้จักเลือกหา แหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดีงามในการรู้จักเลือกแหล่งความรู้และเลือกคบคน รู้จักนิยมแบบอย่างที่ดี รู้จักเลือกดูโทรทัศน์เรื่องรายการที่จะได้ความรู้เป็นประโยชน์ นักเรียนรู้จักคิดพิจารณาเลือกว่าเรื่องนี้ควรปรึกษาใคร ควรจะค้นหนังสืออย่างไร ซึ่งเป็นบุพนิมิตที่สำคัญข้อหนึ่งของการศึกษา และพัฒนาชีวิตที่จะดำเนินก้าวต่อไป เรียกว่า กัลยาณมิตตตา เป็นความมีกัลยาณมิตร สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นผู้บริหารและ จัดการศึกษา ตลอดจนพ่อแม่ ผู้ปกครอง สื่อมวลชนผู้บริหารประเทศ และผู้ใหญ่ ทั่วไป ซึ่งมีหน้าที่จัดสรรหาแหล่งความรู้ และแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป รวมทั้งการมีหน้าที่ในการที่จะทำตนหรือปฏิบัติตนให้เป็น แบบอย่างที่ดี ซึ่งจะต้องทำให้เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปเกิดความ สามารถที่รู้จักเลือกหาแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดีงาม จึงจะเป็นการเริ่มต้น

ของการศึกษาอย่างแท้จริงอันเป็นรุ่งอรุณของการศึกษา คือ จัดสรรและเป็น กัลยาณมิตร ที่ทำให้เด็กรู้จักเลือกกัลยาณมิตร จึงจะเกิดการเริ่มต้นของการศึกษา (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๘๗-๘๘) ๒. การมี ชี วิ ต และอยู่ ร่ ว มสั ง คมเป็ น ระเบี ย บวิ นั ย เป็ น การรู้ จั ก

จัดระเบียบชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้สังคม อยู่ร่วมกันด้วยความเรียบร้อยไม่วุ่นวายสับสน ทำให้เกิดความสะดวกมีช่องทาง มีโอกาสที่เป็นจุดเริ่มที่จะอำนวย เกื้อกูลต่อกระบวนการศึกษา และกระบวนพัตนา ชีวิตที่จะเดินหน้าต่อไปได้ง่าย ด้วยการที่บุคคลมีระเบียบในการดำเนินชีวิต และ 36

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


มีระะเบียบในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมเป็นบุพนิมิต ที่เรียกว่า สีลสัมปทา เป็นความถึงพร้อมด้วยศีล (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๘๘-๘๙) ๓. ความพร้อมด้วยแรงจูงใจใฝ่รู้สร้างสรรค์ เป็นการมีแรงจูงใจที ่

ถูกต้องด้วยความใฝ่รู้ใฝ่ดีที่เรียกว่า ใฝ่ธรรม หรือ ฉันทะ ความจริงความดีงามเข้าถึง

ได้ด้วยความรู้ที่ต้องใฝ่รู้ ใฝ่ความจริงเกิดขึ้นได้ต้องใฝ่ความรู้ ใฝ่ความดีงามเป็นการ ใฝ่สร้างสรรค์ทำความดีงามให้เกิดขึ้น มีแรงจูงใจที่ถูกต้องเป็นการใฝ่รู้ ใฝ่ดีแล้ว ซึ่งจะสามารถทำให้ก้าวไปในการศึกษา การพัฒนาชีวิต และการสร้างสรรค์ผลิต สิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้พ้นปัญหาที่เกิดจากการใฝ่เสพใฝ่บริโภคจากการบริโภคนิยม เป็นบุพนิมิตที่เรียกว่า ฉันทสัมปทา เป็นความถึงพร้อมด้วยฉันทะ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๘๙-๙๐) ๔. การมุ่งพัฒนาตนให้เต็มศักยภาพ เป็นหลักที่แสดงว่ามนุษย์เป็น สั ต ว์ ที่ มี ศั ก ยภาพสู ง สุ ด เป็ น สั ต ว์ ที่ ฝึ ก ได้ และฝึ ก จนประเสริ ฐ สุ ด โดยแต่ ล ะคน มีศักยภาพของตนที่สามารถพัฒนาเป็นพระพุทธเจ้าได้ เป็นพระอรหันต์ได้ซึ่งจะต้อง มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ที่มีอยู่ในตนและมีจิตสำนึกในการพัฒนาตน อยู่เสมอด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพให้เต็มที่เป็นบุพนิมิตที่เรียกว่า อัตตสัมปทา เป็นการทำตนให้ถึงพร้อม (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๙๐) ๕. การปรั บ ทั ศ นคติ แ ละค่ า นิ ย มให้ ส มแนวเหตุ ผ ล เป็นการมีท่าที

ถูกต้องต่อประสบการณ์ต่าง ๆ และมองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย อันเป็นการ มีทัศนคติและค่านิยมที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นท่าทีของการเรียนรู้ และมองตามเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นคำสอนเบื้องต้นที่สุดและสำคัญยิ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์แยกแยะ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดความรู้จริง ปัญญางอกงาม และมีค่านิยมตามแนวเหตุผล ซึ่ง สอดคล้องกับเจตคติที่มองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัยแล้วมีค่านิยมที่ดีงาม ซึ่งเป็น ส่วนสำคัญของการศึกษาและการมีชีวิตที่ดีงามเป็นบุพนิมิต ที่เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา เป็นการทำความเห็นความเข้าใจให้ถึงพร้อม (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๙๐-๙๑) คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

37


๖. การมีสติกระตือรือร้นตื่นตัวทุกเวลา เป็นการมีจิตสำนึกต่อกาลเวลา และความเปลี่ยนแปลงที่พระพุทธศาสนาสอนหลักอนิจจัง ซึ่งการเปลี่ยนแปลง สัมพันธ์กับกาลเวลา และสิ่งสำคัญจะต้องทำให้เกิดความไม่ประมาท ด้วยการต้องมี ความตื่นตัวต่อเหตุการณ์และสถานการณ์ทุกอย่างที่ผูกพันอยู่กับกาลเวลา และ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ดังนั้น จึงต้องมีการตื่นตัวต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

ว่าสิ่งนั้นเป็นเหตุปัจจัยของความเสื่อมหรือเป็นเหตุปัจจัยของความเจริง ถ้าเป็น

เหตุปัจจัยของความเสื่อมจะต้องรีบป้องกันแก้ไข และหากเป็นเหตุปัจจัยที่จะทำให้

เกิดความเจริญจะต้องรีบสร้างสรรค์ขึ้น อันเป็นความตื่นตัวกระตือรือร้นที่เรียกว่า ความไม่ประมาท เป็นตัวเร่งที่โยงเข้าไปหาการศึกษาเหตุปัจจัย และการกระทำให้ ตรงกับเหตุปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ต้องมีการพัฒนาชีวิตอยู่ตลอดเลา เป็นบุพนิมิต ที่เรียกว่า อัปปมาทสัมปทา เป็นการถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๙๑-๙๒) ๗. การแก้ปัญหาและการพึ่งพาตนเองได้ด้วยความรู้คิด เป็นการ ต้องรู้จักคิด รู้จักพิจารณาคิดเองเป็นด้วยการคิดตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย

ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ เป็นการคิดเองเป็นและรู้จักคิดตามกระบวนการแห่งเหตุ ปัจจัย ซึ่งเป็นหลักสำคัญทำให้แก้ปัญหาได้ถูกต้อง และเป็นวิธีการสำคัญทำให้เกิด ปัญญาและพัฒนาปัญญาให้งอกงามยิ่งขึ้นไป ดังนั้น หลักการรู้จักคิดและคิดเป็น จึงเป็นจุดย้ำเน้นในพระพุทธศาสนา และเป็นหลักที่ทำให้มนุษย์พึ่งพาตนเองได้ หากมนุ ษ ย์ ทั้ ง เด็ ก และผู้ ใ หญ่ ที่ ยั ง ไม่ มี โ ยนิ โ สมนสิ ก าร ยั ง ไม่ รู้ จั ก คิ ด เองเป็ น ตราบนั้นบุคคลนั้นยังต้องอาศัยกัลยาณมิตรต่อไปเพื่อไม่ให้ถลำออกจากทางของ การศึกษา หรือการพัฒนาชีวิต แต่เมื่อบุคคลนั้นคิดเองเป็นก็จะอาศัยกัลยาณมิตร น้อยลง สามารถพึ่งพาตนเองได้แก้ปัญหาด้วยตนเองได้ แล้วรู้จักใช้ประโยชน์จาก กัลยาณมิตรได้ดีด้วย เป็นบุพนิมิตที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการสัมปทา เป็นความถึง พร้อมด้วยโยสิโสมนสิการ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๙๒-๙๓) 38

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


บุพนิมิตของชีวิตที่ดีงามหรือรุ่งอรุณของการศึกษาจะเกิดขึ้นในตัว บุคคลในตัวเด็กในกระบวนการศึกษา จะต้องอาศัยบุคคลสำคัญ คือ ครูอาจารย์ ทำหน้าที่ในบทบาทกระตุ้นชักจูงให้เกิดองค์ประกอบ ๗ ประการ ในตัวผู้เรียน ซึ่งการทำหน้าที่ของครูอาจารย์ จะทำให้กลายเป็นกัลยาณมิตรในการจัดสรร และ เป็นกัลยาณมิตรในการสอน แนะนำให้รู้จักเลือกัลยาณมิตรเอง รวมไปถึงให้เกิด ความเจริญในองค์ประกอบข้ออื่น ๆ ทั้งหมดในรุ่งอรุณของการศึกษาจนครบทั้ง ๗ ประการ จนถึงโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นตัวนำไปสู่ปัญญา อันเป็นแกนนำของ การศึกษา หรือพัฒนาชีวตที่ก้าวไปให้ถึงความสมบูรณ์ของการพัฒนาชีวิตด้วย การพึ่ ง พาตนเองได้ ถึ ง อิ ส รภาพอย่ า งแท้ จ ริ ง เป็ น ปั จ จั ย เด่ น ที่ เ ป็ น หลั ก ทั้ ง กัลยาณมิตรกับโยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบคู่กันโดยกัลยาณมิตรเป็นปัจจัย ภายนอก และโยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยภายใน ซึ่งจัดเป็นปัจจัยแห่งสัมมาทิฐิ อันเป็นแนวความคิดที่ถูกต้องในองค์ประกอบข้อแรกของมรรค ในวิถีชีวิตที่ดีงาม หรือวิถีแห่งการพัฒนาชีวิต ดังนั้น ในกระบวนการศึกษา หรือพัฒนาชีวิตจึงต้อง เน้นองค์ประกอบทั้งสองนี้เป็นพิเศษ ซึ่งหากผู้ ใดมีโยนิโสมนสิการย่อมไม่จำเป็น ต้องอาศัยกัลยาณมิตรช่วยให้รู้จักโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น โดยเมื่อใดบุคคลเกิดมี องค์ประกอบ ๗ ประการของรุ่งอรุณของการศึกษาครบถ้วน ย่อมจะมีการศึกษา เกิดขึ้น หรือเป็นชีวิตที่มีการพัฒนาตนเอง คือ การศึกษาหรือการพัฒนาชีวิตเกิดขึ้น ต้ อ งอาศั ย รุ่ ง อรุ ณ ของการศึ ก ษา หรื อ บุ พ นิ มิ ต รของชี วิ ต ที่ มี อ งค์ ป ระกอบ ๗ ประการ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) : ๒๕๓๙, ๙๓-๙๖)

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม ๑. ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของเพียเจท์ (Piaget’s Moral Development Theory) เพียเจท์ (Piaget) เป็นนักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้เริ่มแนว ความคิดที่ว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความฉลาด คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

39


ในการรับรู้กฎเกณฑ์และลักษณะต่าง ๆ ทางสังคม พัฒนาการทางจริยธรรมของ บุคคลจึงขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของบุคคล เพียเจท์ ได้แบ่งขั้นของ พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ออกเป็น ๓ ขั้น (Piaget, ๑๙๖๙ อ้างถึงใน ถาวร สุขสำราญ, ๒๕๔๑: ๒๓) คือ ๑. ขั้ น ก่ อ นจริ ย ธรรม (Premoral stage) เกิ ด ขึ้ น กั บ เด็ ก ที่ มี อ ายุ อยู่ ร ะหว่ า งแรกเกิ ด ถึ ง ๒ ขวบ ในขั้ น นี้ เ ด็ ก ยั ง ไม่ มี ค วามสามารถในการรั บ รู ้

สิ่งแวดล้อมอย่างละเอียดแต่มีความต้องการทางร่างกายโดยไม่คำนึงถึงกาลเทศะ ใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น เด็กจะร้องเมื่อหิว เด็กจะส่งเสียงดัง ร้องไห้ เมื่อกลัวหรือตกใจ ๒. ขั้นยึดคำสั่ง (Heteronymous stage) เกิดกับเด็กในช่วง ๒-๘ ปี ขั้นนี้เด็กจะมีความเกรงกลัวผู้ ใหญ่ และเห็นว่าคำสั่งของผู้ ใหญ่เป็นประกาศิต ที่จะต้องทำตาม ๓. ขั้นยึดหลักแห่งตนเอง (Autonomous Stage) เกิดกับบุคคลอายุ ตั้งแต่ ๘–๑๐ ปี เพียเจท์เชื่อว่าเกิดขึ้นจากพัฒนาการทางสติปัญญา และจาก ประสบการณ์ในการมีบทบาทในกลุ่มเพื่อนด้วยกัน ความเกรงอำนาจภายนอกเป็น เพียงหลักภายในจิตใจของเด็กเกี่ยวกับความยุติธรรม ซึ่งหมายถึงการแลกเปลี่ยนกัน และความเท่ า เที ย มกั น ของบุ ค ล ในช่ ว ง ๘-๑๐ ปี เด็ ก ที่ อ ยู่ ใ นสั ง คมปกติ จะบรรลุขั้นที่สาม แต่ก็อาจมีเด็กบางคนที่พัฒนาช้ากว่านี้หรือบางครั้งพัฒนาการ หยุดชะงักในขั้นที่สอง เนื่องจากการบังคับอย่างผิดปกติของผู้เลี้ยงดูหรือสังคม หรือเกิดจากการขาดประสบการณ์ในกลุ่มเพื่อนก็ ได้ ๒) ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg’s Moral Development Theory) ลอว์เรนซ์ โคลเบอร์ก (Lawrence Kohlberg) ได้ศึกษาพัฒนาการ ทางจริยธรรมตามแนวเพียเจท์ และพบว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์นั้น มิได้บรรลุจุดสมบูรณ์เมื่อบุคคลอายุได้ ๑๐ ปี แต่จะพัฒนาไปอีกหลายขั้นตอนจากอายุ ๑๑-๒๕ ปี และเขายังเชื่อว่า ในการวัดขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมนั้นจะต้องใช้ 40

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมอย่างเดียวเท่านั้น (Kohlberg, ๑๙๗๖ อ้างถึงใน ถาวร สุขสำราญ, ๒๕๔๑: ๒๓) โคลเบอร์ก ได้แบ่งระดับของจริยธรรมออกเป็น ๓ ระดับ ซึ่งทั้ง ๓ ระดับนั้นจัดเป็นขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมได้ ๖ ขั้น คือ (Kohlberg, ๑๙๗๖ อ้างถึงใน ถาวร สุขสำราญ, ๒๕๔๑: ๒๓) ขั้นที่ ๑ ใช้ ห ลั ก การหลบหลี ก การลงโทษ (Obedience and Punishment Orientation) เกิดขึ้นกับเด็กในช่วงอายุแรกเกิดถึง ๗ ปี ขั้นนี ้

เด็ ก ชอบใช้ ก ารหลี ก เลี่ ย งการถู ก ลงโทษ เลื อ กกระทำในทางที่ เ กิ ด ประโยชน์

แก่ตนเองมากกว่า เด็กมักเข้าใจว่าความดี หมายถึง สิ่งที่ทำแล้วไม่ถูกลงโทษ หรื อ ถู ก ตำหนิ เช่ น เด็กทำการบ้าน เด็กทำเวรเพราะกลัวครู กลัวถูกลงโทษ เป็นต้น การตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิด เด็กจะมองที่ผลของการกระทำว่าถ้าทำ เสียหายมากก็ตัดสินว่าการกระทำนั้นผิด ไม่ได้มองที่สาเหตุของการกระทำ ขั้นที่ ๒ ใช้หลักการแสวงหารางวัล (Naively Egoistic Orientation) เกิดกับเด็กในช่วงอายุ ๗-๑๐ ปี ขั้นนี้เด็กจะค่อย ๆ เน้นความสำคัญของการได้รับ

รางวัลและคำชมเชย การสัญญาว่าจะให้รางวัลจึงเป็นแรงจูงใจให้เด็กกระทำ ความดีได้มากกว่าการดุว่าหรือขู่ว่าจะลงโทษ เช่น เด็กจะช่วยบิดามารดาทำงาน เพื่ อ ต้ อ งการได้ รั บ คำชมเชย สรุ ป ว่ า จริ ย ธรรมขั้ น นี้ จ ะเน้ น การต้ อ งการได้ รั บ

คำชมเชยและรางวัลมากกว่าการได้รับการลงโทษ ขั้นที่ ๓ ใช้ ห ลั ก การกระทำที่ ค นอื่ น เห็ น ว่ า ดี (Good-boy Orientation) เกิ ด กั บ บุ ค คลในช่ ว งอายุ ๑๐-๑๓ ปี ขั้ น นี้ ต รงกั บ วั ย ที่ เ ด็ ก

ย่างเข้าวัยรุ่น เด็กจะให้ความสำคัญแก่กลุ่มเพื่อนมาก จะกระทำเพื่อต้องการ ให้กลุ่มยอมรับจึงมีการเลียนแบบตัวแบบที่ตนเห็นว่าดีงาม คือ เอาอย่างเด็กดี (Good Boy, Nice Girl) เด็กวัยนี้ส่วนใหญ่จะทำตามในสิ่งที่ตนตัดสินว่าคนอื่น จะเห็ น ด้ ว ยหรื อ ยอมรั บ เพื่ อ ให้ เ ป็ น ที่ ช อบพอและเป็ น ที่ ย อมรั บ ของกลุ่ ม เพื่ อ น สรุ ป จริ ย ธรรมขั้ น นี้ เ น้ น หนั ก ในด้ า นการทำตามคนอื่ น มากกว่ า การคำนึ ง เรื่ อ ง การถูกลงโทษ และการต้องการรางวัล คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

41


ขั้นที่ ๔ ใช้ ห ลั ก การกระทำตามหน้ า ที่ (Authority and Social Order Maintaining Orientation) เกิดกับบุคคลในช่วงอายุ ๑๓-๑๖ ปี ขั้นนี้ บุคคลจะมีความรู้และประสบการณ์ว่าแต่ละกลุ่มจะมีกฎเกณฑ์ ให้สมาชิกยึดถือ มีความเข้าใจในหน้าที่ของตนในกลุ่ม มีศรัทธาในกฎเกณฑ์ของกลุ่มมากพอสมควร เข้ า ใจในบทบาทของผู้ อื่ น การกระทำที่ ถู ก ต้ อ งจะต้ อ งพิ จ ารณาเพื่ อ กลุ่ ม หรื อ

ส่วนรวมสรุปว่า จริยธรรมขั้นนี้ ในเรื่องการกระทำตามหน้าที่ในหมู่คณะ ทำตาม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมมากกว่ากลัวการถูกลงโทษ หรือทำเพื่อ ต้องการรางวัลหรือกระทำตามกลุ่มเพื่อน ขั้นที่ ๕ ใช้ ห ลั ก การเคารพตนเองหรื อ การทำตามคำมั่ น สั ญ ญา (Contractual Legalistic Orientation) เกิดกับบุคคลอายุตั้งแต่ ๑๖ ปีขึ้นไป ขั้ น นี้ บุ ค คลพยายามกระทำเพื่ อ หลบหนี ไ ม่ ใ ห้ ถู ก ตราหน้ า ว่ า เป็ น คนขาดเหตุ ผ ล เป็นคนไม่แน่นอน คำว่าหน้าที่ของบุคคลในที่นี้ หมายถึง การกระทำตามที่ตกลง มีความเคารพตนเองและต้องการให้ผู้อื่นเคารพตน ขั้นนี้บุคคลจะมีอุดมคติหรือ

คุณธรรมประจำใจตนเองหรือสัญญาไว้กับผู้อื่น ไม่พยายามลิดรอนสิทธิของผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวด้วย ขั้นที่ ๖ ใช้หลักอุดมคติสากล (Conscience Orientation) เช่น หิริโอตตัปปะ คือ มีความละอายใจตนเองในการกระทำชั่ว และเกรงกลัวบาป เป็นบุคคลที่มีการเสียสละเพื่อสังคมอย่างแท้จริง เช่น มหาบุรุษของอินเดีย คือ คานธี เป็นต้น จากขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมทั้งหกขั้นเหล่านี้ โคลเบอร์ก (Kohlberg,

๑๙๗๖ อ้างถึงใน ถาวร สุขสำราญ, ๒๕๔๑: ๒๓) ได้แบ่งออกเป็นสามระดับ ดังนี้

42

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ตารางที่ ๒ แสดงขั้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและระดับของจริยธรรม ของโคลเบอร์ก

ขั้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม

ขั้นที่ ๑ ใช้หลักการหลบหลีกการลงโทษ (๒-๗ ปี) ขั้นที่ ๒ ใช้หลักการแสวงหารางวัล (๗-๑๐ ปี)

ระดับของจริยธรรม ๑. ระดับก่อนกฎเกณฑ์ (๒-๑๐ ปี)

ขั้นที่ ๓ ใช้หลักการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ (๑๐-๑๓ ปี) ๒. ระดับตามกฎเกณฑ์ (๑๐-๑๖ ปี) ขั้นที่ ๔ ใช้หลักการทำตามหน้าที่ของสังคม (๑๓-๑๖ ปี) ขั้นที่ ๕ ใช้หลักการเคารพตนเองหรือ ๓. ระดับเหนือกฎเกณฑ์ การทำตามคำมั่นสัญญา (๑๖ ปีขึ้นไป) (๑๖ ปีขึ้นไป) ขั้นที่ ๖ ใช้หลักอุดมคติสากล (วัยผู้ ใหญ่)

ระดับ ๑ คือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์ (Preconvention level) (๒-๑๐ ปี) หมายถึง การตัดสินใจเลือกกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง โดยไม่คำนึงถึง ผลที่จะเกิดแก่ผู้อื่น ในขั้นแรกสุด คือ การมุ่งที่จะหลบหลีกมิให้ตนเองถูกลงโทษ ทางกาย เพราะกลัวความเจ็บปวดที่จะได้รับ และยอมทำตามคำสั่งผู้ ใหญ่เพราะ เป็ น ผู้ มี อ ำนาจทางกายเหนื อ ตน ขั้ น ที่ ส องคื อ การเลื อ กกระทำในสิ่ ง ที่ จ ะนำ ความพอใจมาให้ตนเองเท่านั้น เริ่มรู้จักการแลกเปลี่ยนแบบเด็ก ๆ คือ เขาทำมา ฉันต้องทำไป เขาให้ฉัน ฉันต้องให้เขาตอบแทน เป็นต้น ระดับ ๒ ระดับตามกฎเกณฑ์ (Conventional level) (๑๐-๑๖ ปี) หมายถึง การทำตามกฎเกณฑ์ของกลุ่มย่อย ๆ ของตนหรือทำตามกฎหมายและ ศาสนา บุคคลผู้มีจริยธรรมในระดับ ๒ นี้ยังต้องมีการควบคุมจากภายนอกแต่ก็มี ความสามารถที่จะแสดงบทบาทสังคมได้ ในขั้นที่สาม บุคคลยังไม่เป็นตัวของตัวเอง ชอบคล้อยตามการชักจูงของผู้อื่นโดยเฉพาะเพื่อน ๆ ส่วนในขั้นที่สี่ บุคคลมีความรู ้

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

43


ถึ ง บทบาทหน้ า ที่ ข องตนในฐานะที่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในสั ง คมของตน จึ ง ถื อ ได้ ว่ า ตนมีหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สังคมของตนกำหนดหรือคาดหมาย ระดับ ๓ คือ ระดับเหนือกฎเกณฑ์ (Post Conventional level) (๑๖ ปีขึ้นไป) หมายถึง การตัดสินใจข้อขัดแย้งต่าง ๆ ด้วยการนำมาตริตรองด้วย ตนเอง และตัดสินใจไปตามแต่ว่าจะเห็นความสำคัญของสิ่งใดมากกว่ากัน ขั้นที่ห้า คือ การเห็นความสำคัญของคนหมู่มาก ไม่ทำตนให้ขัดต่อสิทธิอันพึงมีพึงได้ของ ผู้อื่น สามารถควบคุมบังคับใจตนเองได้ ขั้นที่หก ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดแสดงถึงการมี ความรู้สึกสากลนอกเหนือจากกฎเกณฑ์ในสังคมของตน และการมีความยืดหยุ่น ทางจริยธรรม เพื่อจุดมุ่งหมายในบั้นปลายอันเป็นอุดมคติที่ยิ่งใหญ่ การพัฒนาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมนั้น โคลเบอร์กเชื่อว่าเป็นไปตามขั้น จากขั้นที่หนึ่ง ผ่านแต่ละขั้นไปจนถึงขั้นที่หก บุคคลจะพัฒนาข้ามขั้นไม่ได้ เพราะ การใช้เหตุผลในขั้นที่สูงขึ้นไปจะเกิดขึ้นด้วยการมีความสามารถในการใช้เหตุผล ในขั้นต่ำกว่าอยู่ก่อนแล้ว และต่อมาบุคคลได้รับประสบการณ์ทางสังคมใหม่ ๆ หรื อ สามารถเข้ า ใจความหมายของประสบการณ์ เ ก่ า ๆ ได้ ดี ขึ้ น จึ ง เกิ ด การ เปลี่ยนแปลงทางความคิดและเหตุผล ทำให้การใช้เหตุผลในขั้นที่สูงต่อไปมีมากขึ้น ตามลำดับ และโคลเบอร์กพบว่า บุคคลส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการทางจริยธรรม ถึงขั้นที่สี่เท่านั้น

การทำงานเป็นทีม การจัดค่ายสิ่งที่สำคัญคือ จะต้องมีการทำงานเป็นทีม มีการแบ่งงาน หน้าที่รับผิดชอบ การมอบหมายงาน ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องการทำงาน เป็นทีม เพื่อให้การจัดค่ายมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล คือ การทำงานเป็นทีม หมายถึง การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า ๑ คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคน ต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นทีม มีความ 44

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


สำคัญในทุกองค์กร การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการบริหารงาน การทำงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี ลักษณะของทีม ลักษณะที่สำคัญของทีม ๔ ประการ ได้แก่ ๑. การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล หมายถึง การที่สมาชิกตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มีความเกี่ยวข้องกันในกิจการของกลุ่ม/ทีม ตระหนักในความสำคัญ ของกันและกัน แสดงออกซึ่งการยอมรับ การให้เกียรติกัน สำหรับกลุ่มขนาดใหญ่ มักมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายมากกว่าการติดต่อกันตัวต่อตัว ๒. มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายร่วมกัน หมายถึง การที่สมาชิกกลุ่ม จะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมร่วมกันของทีม/กลุ่ม โดยเฉพาะจุดประสงค์ของ สมาชิกกลุ่มที่สอดคล้องกับองค์การ มักจะนำมาซึ่งความสำเร็จของการทำงานได้ง่าย ๓. การมีโครงสร้างของทีม/กลุ่ม หมายถึง ระบบพฤติกรรม ซึ่งเป็น แบบแผนเฉพาะกลุ่ม สมาชิกกลุ่มจะต้องปฏิบัติตามกฎหรือมติของกลุ่ม ซึ่งอาจจะ เป็นกลุ่มแบบทางการ (Formal Group) หรือกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ (Informal Group) ก็ ได้ สมาชิกทุกคนของกลุ่มจะต้องยอมรับและปฏิบัติตามเป็นอย่างดี สมาชิ ก กลุ่ ม ย่ อ ยอาจจะมี ก ฎเกณฑ์ แ บบไม่ เ ป็ น ทางการ มี ค วามสนิ ท สนมกั น อย่างใกล้ชิดระหว่างสมาชิกด้วยกัน ๔. สมาชิกมีบทบาทและมีความรู้สึกร่วมกัน การรักษาบทบาทที่มั่นคง ในแต่ละทีม/กลุ่ม จะมีความแตกต่างกันตามลักษณะของกลุ่ม รวมทั้งความรู ้

ความสามารถของสมาชิก โดยมีการจัดแบ่งบทบาทและหน้าที่ ความรับผิดชอบ กระจายงานกันตามความรู้ ความสามารถ และความถนัดของสมาชิก การทำงานเป็นทีมเป็นแรงจูงใจสำคัญที่จะผลักดันให้ท่านเป็นผู้นำที่ดี ถ้าท่านประสงค์ที่จะนำทีมให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน ท่านจำเป็นต้อง ค้ น หาคุ ณ ลั ก ษณะของการทำงานเป็ น ที ม ให้ พ บระลึ ก ไว้ เ สมอว่ า ทุ ก คนมี อิ ส ระ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

45


ในตัวเอง ขณะเดียวกันก็เป็นส่วนหนึ่งของทีม แล้วจึงนำเอากลยุทธ์ในการสร้างทีม เข้ามาใช้เพื่อให้ทุกคนทำงาน คุ ณ ลั ก ษณะของที ม ที ม ที่ จ ะประสบความสำเร็ จ ในการทำงานคื อ กลุ่มของบุคคลที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของทีม ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ท่าน และเพื่ อ นร่ ว มที ม จะต้ อ งยึ ด ถื อ เป็ น กรอบเพื่ อ ทำงานร่ ว มกั น มี ค วามเป็ น หนึ่ ง เดียวกัน จัดการด้วยตนเอง พึ่งพาตัวเอง ขนาดของกลุ่มที่พอเหมาะ มีความเป็นหนึ่งเดียวกันสมาชิกของทีมที่ประสบความสำเร็จในการ ทำงานจะต้องมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ทุก ๆ คนจะถูกดึงเข้ามาในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้บรรลุความสำเร็จในงาน และ/หรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วงาน และ/หรือเป้าหมายอาจบรรลุได้เมื่อทำงานร่วมกันแทนที่จะต่างคนต่างทำทีมงาน ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพจะมี ลั ก ษณะโดดเด่ น และสมาชิ ก ทุ ก คนมี ค วามรู้ สึ ก ว่ า ตนเอง มีส่วนร่วมในความสำเร็จด้วย จัดการด้วยตนเอง ทีมงานที่ประสบความสำเร็จ ในการทำงานมีแนวโน้มว่าจะสร้างโครงสร้างเฉพาะตนขึ้นมา เนื่องจากสมาชิก ยอมรับบทบาทของตนในเวลาต่าง ๆ กัน คล้อยตามความจำเป็น ความต้องการ และความสามารถของตน บางคนอาจมีประสบการณ์ ในงานเฉพาะอย่างจึงอาจ เป็นคนจัดการให้คนอื่น ๆ ทำตาม คนอื่น ๆ ก็จะทำหน้าที่ในกิจกรรมของตนไป ในงานที่เขาคุ้นเคย พฤติกรรมเหล่านี้จะถูกพัฒนาไปในแนวของโครงสร้างองค์กร และสมาชิกทุกคนจะต้องปฏิบัติตามพึ่งพาตัวเองสมาชิกของทีมที่ประสบความ สำเร็จในการทำงานจะร่วมมือกับคนอื่น ๆ เพื่อทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือทำให้

เป้าหมายสำเร็จอย่างไม่หลีกเลี่ยง ร่วมกันทำงานตามกำลังความสามารถของตนเอง ให้คำปรึกษาแนะนำและชักจูงเมื่อจำเป็น ร่วมประสานงานในหน้าที่และแก้ไขปัญหา อุปสรรคร่วมกัน ทุกคนต่างเอื้ออาทรช่วยเหลือกันและมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ถ้ามีบุคคลหนึ่งบุคคลใดทำงานเกินกำลังหรือประสบปัญหายุ่งยาก

46

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


เป็นนักคิด สมาชิกประเภทนี้อาจเรียกว่าเป็น “คนเจ้าความคิด” เขามักเข้าไป ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องกระทำและมักจะมีความคิดความอ่านและมีข้อเสนอแนะต่าง ๆ มากมาย นักคิดมักไม่ค่อยสนใจในรายละเอียดมากนัก โดยปกติแล้วสมาชิกของทีม ประเภทนี้จะต้องถูกจัดการอย่างระมัดระวัง ให้เกียรติ ให้กำลังใจ และแม้แต่ การยกย่องให้เกิดความภาคภูมิใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เขาถอนตัวออกไปจากทีมเสียก่อน เป็นนักจัดองค์กร การทำงานร่วมกับนักคิดที่สร้างสรรค์ยิ่งขึ้นซึ่งอาจเป็นนักจัดองค์กร ผู้ซึ่งชอบเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการทำงานของทีมงานเสมอ เพื่อไปจัดการและจัดสรรงาน และหน้ า ที่ ต่ า ง ๆ เป็ น คนเจ้ า หลั ก การและเจ้ า ระเบี ย บ แต่ ก็ เ ป็ น ผู้ ท ำงานที่ มี ประสิทธิภาพดี นักจัดองค์กรบางครั้งก็ ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความคิดกว้างไกล แต่ไม่ค่อยยืดหยุ่นนัก ในการทำงานเขามักจะประสบกับปัญหาสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงและมีความไม่แน่นอน ท่านจะต้องมีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เพื่อประสานงานกับเขาอย่างสม่ำเสมอ เป็นนักปฏิบัติการ สมาชิกประเภทนี้เป็นนักสร้างงาน และมีทัศนคติที่จะตั้งใจทำงานเพื่อ ให้มีผลงานเกิดขึ้น เป็นคนเปิดเผย หุนหันพลันแล่น ไม่อดทนหากการตัดสินใจ ล่าช้าหรือถูกดูแลควบคุมการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด และมักจะผิดหวังเมื่อทุกสิ่ง ทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจ ท่านจะต้องใช้ความพยายามควบคุมหน่วงเหนี่ยว เขาไว้เพื่อไม่ให้รับผลกระทบจากความรุนแรงที่เกิดขึ้น เป็นสมาชิกของทีม ไม่น่าแปลกใจนักที่สมาชิกของทีมจะเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำงาน เพื่ อ ให้ ที ม งานประสบความสำเร็ จ และมี ก ารกระทำที่ ส นั บ สนุ น และสามั ค คี

กลมเกลียวต่อเพื่อนร่วมทีมเป็นอันดี พยายามที่จะพัฒนาและเสนอแนวความคิด

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

47


ของกลุ่มมากกว่าแนวความคิดของตัวเอง สมาชิกของทีมมักไม่ชอบการเผชิญหน้า และการทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่ต้องการต่อต้านใครคนใดคนหนึ่ง บางครั้งสมาชิก ของทีมก็ ไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควรจึงพยายามปลีกตนเองออกจากคนอื่น ๆ ท่านจะต้องกระตุ้นและชักจูงให้เขาเสนอความคิดเห็น หรือให้ข้อแนะนำและมอง ในด้านบวกอยู่เสมอ เป็นนักตรวจสอบ ก็เป็นไปตามชื่อนั่นแหละ นักตรวจสอบหรือนักตรวจซ้ำ มักชอบจับตาดูว่า มีงานอะไรบ้างที่ก้าวหน้า เขามักคิดว่าตนเองเป็นคนยุติธรรมและมีความพิถีพิถัน แต่คนอื่น ๆ อาจมองว่าเขาเป็นคนชอบใช้อำนาจและเป็นพวกเผด็จการ นักตรวจสอบ มี บ ทบาทที่ ต้ อ งคอยเตื อ นให้ ที ม งานรู้ สึ ก ถึ ง ความจำเป็ น ต้ อ งใช้ ค วามรี บ ด่ ว น ปฏิบัติงานอย่างจริงจัง เพื่อให้งานก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมายทันเวลา ท่านอาจ ต้องเข้าไปประสานกับนักตรวจสอบหรือทำหน้าที่ประนีประนอมเมื่อเขามีความ ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมทีมคนอื่น ๆ เป็นนักประเมินผล สมาชิ ก ประเภทนี้ เ ป็ น ผู้ ที่ ส ร้ า งสมดุ ล อย่ า งดี ยิ่ ง ระหว่ า งนั ก คิ ด และ นักปฏิบัติการ ชอบความเป็นอิสระและมักจะแยกตัวออกจากทีม มีความระมัดระวัง และรอบคอบในการเข้าไปประเมินหรือวิเคราะห์ข้อมูลหรือสถานการณ์ ถึงแม้ว่า นั ก ประเมิ น ผลจะไม่ เ ป็นที่ชื่นชอบของสมาชิกบางคน แต่ทัศนะของเขาก็ ได้รับ การยอมรับนับถือจากสมาชิกร่วมทีมคนอื่น ๆ

การจัดการค่ายคุณธรรม ค่ายคุณธรรม เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่จัดขึ้นในรูปของการเรียนรู้นอก ห้ อ งเรี ย น เป็ น ลั ก ษณะของกิ จ กรรมนำความรู้ เพื่ อ พั ฒ นาความรู้ สู่ ปั ญ ญา ส่งเสริมให้เกิดทักษะจากการลงมือทำผ่านกิจกรรม เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู ้

48

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ที่ ต้ อ งการส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ เ รี ย นเรี ย นรู้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง มี ทั ก ษะชี วิ ต คิ ด แก้ ปั ญ หา ด้วยปัญญา มีวินัย สามัคคี และมีสำนึก รวมถึงการคิดสร้างสรรค์ การจั ด การค่ า ยจำเป็ น ต้ อ งมี ก ระบวนการจั ด การอย่ า งเป็ น ระบบ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ การจัดการมีการแบ่งหน้าที่การทำงาน อย่างชัดเจน มีผู้นำและผู้ตาม โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑. หัวหน้าค่าย/ผู้นำค่าย มีหน้าที่ดังนี้ ๑.๑ ก่อนทำงาน - ติ ด ต่ อ ประสานงานระหว่ า งสถาบั น /สถานศึ ก ษา/ ส่วนงานที่จะมาเข้าค่าย - วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ - ประชุมแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกในทีม ๑.๒ ระหว่างงาน - ประชุมคณะครูและพี่เลี้ยง ให้รับรู้ถึงการทำงานเพื่อให้ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน - ควมคุมและติดตามการทำงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของโครงการ - ตัดใจสินแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน - เพิ่มเติมในงานบางส่วนที่ไม่สมบูรณ์ ๑.๓ หลังการทำงาน - ตรวจสอบความเรียบร้อยของสถานที่อบรม - ประชุมทีมชี้แจงข้อผิดพลาดของการทำงาน รวมไปถึง เพิ่มเติ่มในส่วนที่ควรจะมี - เปิ ด โอกาสให้ ส มาชิ ก ได้ ว่ า กล่ า วตั ก เตื อ นแนะนำ การทำงานได้ เพื่อการแก้ไขในครั้งต่อไป

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

49


๒. ฝ่ า ยปกครอง มีหน้าที่ควบคุมดูแล ระเบียบวินัยให้เป็นไปตาม มาตรฐานของค่าย ๒.๑ ก่อนทำงาน - วางแผนการจัดแถวให้เหมาะสมกับห้องอบรม - เตรียมอุปกรณ์การล๊อคที่นั่ง เช่น กระดาษ A๔, ปากกา เคมี, ป้ายชื่อ, ฯลฯ - เตรียมสถานที่รับประทานอาหาร - วางแผนการนั่งรับประทานอาหาร - วางแผนการเก็บจานล้างจาน/แก้วน้ำ/โต๊ะ/เก้าอี้ - เตรียมป้ายสำหรับการวางรองเท้า - ดูความเรียบร้อยของห้องน้ำ/ห้องนอน/ห้องอบรม ๒.๒ ระหว่างงาน - จัดลำดับการนั่งของผู้เข้าอบรมให้เรียบร้อย - แจกป้ายชื่อผู้เข้ารับการอบรม - ล๊ อ คที่ นั่ ง ของผู้ เ ข้ า รั บ การอบรมหลั ง จากที่ จั ด แถว เสร็จแล้ว มีแบบฟอร์มให้กรอก - ทำแผนผั ง ล๊ อ คที่ นั่ ง โดยเอาตารางแต่ ล ะแถวมารวม ให้อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกัน - ตรวจสอบโรคประจำตั ว ของผู้ เ ข้ า รั บ การอบรม เพื่ อ ความปลอดภัยของผู้เข้ารับการอบรม - ชี้แจงกติกาการอยู่ค่าย เช่น การเดิน/การพูด/เข้า-ออก ห้องประชุม/การรับประทานอาหาร เป็นต้น - ควบคุมระเบียบกติกาการอยู่ค่ายอย่างเคร่งคัด - ควบคุมเวลาให้เป็นไปตามกำหนดการค่าย - ดูแลความปลอยภัยของผู้เข้ารับการอบรม 50

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


๒.๓ หลังการทำงาน - ตรวจสอบข้อผิดพลาดของการทำงาน ๓. ฝ่ายนันทนาการ หมายถึง ฝ่ายที่ทำหน้าที่ผ่อนคลายให้ผู้เข้าอบรม มีความสนุกสนานและมีส่วนร่วมกับการอบรม ไม่เคร่งเครียดกับการอบรมมากเกินไป โดยมีหน้าที่ดังนี้ ๓.๑ ก่อนทำงาน - สำรวจผู้เข้าอบรมว่าเป็นระดับใด - วางแผนการนันทนาการให้เหมาะสมกับผู้เข้าอบรม - เตรียมอุปกรณ์สำหรับการนันทนาการ (ถ้ามี) - เตรียมบทสรุปในแต่ละช่วงเวลาให้สอดคล้องกับกิจกรรม ของแต่ละวัน ๓.๒ ระหว่างงาน - มีท่าทีที่เป็นกันเองสำหรับผู้เข้ารับการอบรม - เตรียมเกมและกิจกรรมให้เหมาะสมแก่ช่วงเวลา - การนันทนาการแต่ละครั้งให้มีสาระและบทสรุปสอดแทรก ทุก ๆ ครั้ง ๓.๓ หลังการทำงาน - ทบทวนการทำงานและบทสรุปของการนันทนาการ ๑. ฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่ในการบรรยายกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ของโครงการโดยแบ่งย่อยตามรายละเอียดได้ ดังนี้ - ฝ่ายบรรยายกิจกรรม มีหน้าที่บรรยายกิจกรรมตามที่ได้กำหนดไว้ - ฝ่ายวิปัสสนา มีหน้าที่นำผู้เข้าอบรม ทำวัตร สวดมนต์ เจริญจิตภาวนา

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

51


๒. ฝ่ายอาคารสถานที่ มีหน้าที่ดังนี้ - ตรวจสอบความเรียบร้อยของสถานที่ เช่น ห้องอบรม/ห้องพัก/ ห้องน้ำ เป็นต้น - ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องเสียง, โปรเจคเตอร์, ไฟ

บุคลิกภาพพระวิทยากรที่พึงประสงค์ บุคลิกภาพในการทำงาน

บุคลิกภาพทางกาย รูปลักษณ์ภายนอก คือส่วนที่ปรากฏแก่สายตาผู้คน อากัปกิริยา/ท่าทาง ทั้งหน้าเวที หลังเวที ความสะอาดของร่างกายเป็นความสำคัญอันดับแรก การแต่งกาย เรียบร้อยเหมาะสมกับตำแหน่ง วัย และสถานการณ์ รูปลักษณ์ภายใน บุคลิกภาพภายในของบุคคลนั้น ๆ บุคลิกภาพส่วนนี้ จะเป็นตัวสื่อสารให้บุคคลที่พบเห็นรู้จักท่านในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ระดับ

การศึกษา ตำแหน่ง ฐานะทางเศรษฐกิจ ชนชั้นในสังคม จากสายตาของเขาเอง โดยไม่ต้องใช้ภาษาพูด ด้านวิชาการบางท่านเรียกสิ่งนี้ว่า การสื่อสารที่ไร้ศัพท์ วิทยากรควรใส่ใจในรูปลักษณ์ภายในให้มาก วิทยากรควรมีความสามารถในการพูด การโต้ ต อบที่ ดี มี ค วามฉลาดแหลมคมในการสนทนา เป็ น ผู้ น ำกลุ่ ม ได้ และ ต้ อ งมี ข้ อ มู ล อย่ า งเพี ย งพอ เพื่ อ ประกอบการตอบโต้ อ ย่ า งแหลมคมได้ ดั ง นั้ น วิทยากรจำเป็นต้องอ่านหนังสืออยู่เสมอจะได้ทันสมัย บุคลิกภาพทางสติปัญญา วิทยากรที่มีบุคลิกภาพดี ต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พอที่จะเป็นผู้นำ กิจกรรม สามารถคิดสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สถานศึกษาได้ บุคลิกภาพทางอารมณ์ ความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่หงุดหงิดฉุนเฉียวบ่นว่าตลอดเวลา มีความ กล้าหาญในการเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก มีจิตใจ 52

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


เป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักชมเชยพูดจา โน้ ม น้ า ว จู ง ใจคนให้ ท ำงานเพื่ อ ความเจริ ญ ก้ า วหน้ า ขององค์ ก ร วิ ท ยากรที่ ด ี

ต้องมีบุคลิกภาพดี ต้องรักษาอารมณ์ ได้ ทนต่อความว้าเหว่ได้มากกว่าผู้อื่น และ ระงับความโกรธได้อย่างรวดเร็ว การพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคม วิทยากรควรเป็นผู้นำในการศึกษาหาความรู้ในพิธีการต่าง ๆ ของสังคม เพื่ อ จะได้ ป ฏิ บั ติ ต ามมารยาทสากลได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง สามารถเป็ น ตั ว อย่ า ง ให้คำแนะนำแก่ครูอาจารย์ นักเรียน ตลอดทั้งคนรอบข้างได้ ทั้งนี้ต้องหาประสบการณ์ อย่างต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา ความรู้และประสบการณ์ ในเรื่องที่จะทำการสอน ได้แก่ - รู้รายละเอียด - รู้สาเหตุ - รู้สมมติฐานและประยุกต์ความรู้นั้นได้ - สามารถในการถ่ายทอด - มีความรู้เรื่องจิตวิทยาการสอน

ศิลปะ ลีลา ในการนำเสนอ เทคนิคในการบรรยาย เริ่มต้นต้องประทับใจ ทักทายด้วยกลอน มีมุกที่สุภาพไม่เป็นดาบสองคม บรรยากาศสำคัญ หาคำทักทายที่เข้ากับบรรยากาศ จังหวะ (Timing) ต้องได้ ระดับเสียงสูง-ต่ำ ตามอารมณ์ต้องมี เปลี่ยนมุก เปลี่ยนกิจกรรม ต้องเนียนเป็นเรื่อง เดียวกัน ปูพื้นเรื่อง กิจกรรม จาก ๑ ไป ๒ จาก ๒ ไป ๓ มีรายละเอียด ที่ชัดเจน เนื้อหาสร้างสรรค์ กุศโลบายแยบยล ภาษา ศัพท์เฉพาะให้เหมาะกับ วัตถุประสงค์ของเนื้อเรื่อง สังเกตอาการสะท้อนต่อคำพูด ต่อกิจกรรม ของผู้เข้า

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

53


อบรมอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข ได้ทุกสถานการณ์ สิ่งใดที่พึงรู้ ได้ด้วยคำพูด แนะนำด้วยคำพูด สิ่งใดที่พึงรู้ด้วยการเห็น ชักนำให้ได้เห็น พูดมาก ไม่มีเวลาคิด ฟังมากได้ลองคิด

นักฝึกอบรม (Training) มือใหม่ เข้าใจกับงาน Training การทำงานทุกกระบวนการ (Process) ต้องอาศัยความเข้าใจเป็นพื้นฐาน ในการทำงาน ถ้าเราไม่เข้าใจในกระบวนการทำงาน เข้าใจ หมายถึงอะไร...ก็หมายถึง

เรารู้ว่าเรากำลังทำ Training = การอบรม, มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คนเกิด

การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทางด้านความรู้ (Knowledge)-ทักษะ (Skill)ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behavior), เรา Training เพื่อตอบสนอง เป้าหมายของบริษัทที่ต้องการให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้น เพื่อ

เพิ่มผลกำไรให้องค์กร และท้ายสุดผลกำไรเหล่านั้นก็ปันผลเป็นโบนัส, สวัสดิการ, เงินเดือนค่าจ้างของพวกเราทุกคนนั่นเอง สนใจกับงาน Training ก่อนที่จะฝึกอบรม (Training) ในแต่ละครั้ง ต้องมีความสนใจในการ หาข้อมูลของหลักสูตรนั้นอย่างเพียงพอ ตั้งวัตถุประสงค์การอบรมอย่างชัดเจน แจ้งผู้เข้าอบรมเรียบร้อยยืนยันแน่นอน รวมทั้งสนใจที่จะคอยประเมินผลการฝึก อบรมแต่ละครั้ง และนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไข สนใจที่จะติดตามผลหลังการ อบรมทุ ก ครั้ ง ว่ า ผู้ เ ข้ า รั บ การฝึ ก อบรมได้ น ำความรู้ ที่ อ บรมไปใช้ ใ นงานได้ อ ย่ า ง เหมาะสมหรือไม่ สนใจที่จะคอยหาความรู้ หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับผู้เข้ารับ

การฝึกอบรมได้ทราบข้อมูล เพื่อแบ่งปันความรู้ ถ่ายเทความรู้ซึ่งกันและกัน เป็นต้น

54

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ใส่ ใจกับงาน Training ความใส่ใจเป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จ เพราะถ้าใส่ใจในงานที่เราทำ แม้เพียงเรื่องเล็กน้อยก็จะไม่พลาด ด้วยความใส่ใจและวางแผนอย่างดี ใส่ใจ หมายถึ ง อะไร หมายถึ ง ทุ ก ครั้ ง ที่ เ ราจั ด Training เราจะทำทุ ก ขั้ น ตอน อย่างประณีต มีเป้าหมายอย่างชัดเจนในทุกขั้นตอนที่ทำ มีการกำหนดระยะเวลา ชัดเจน คอยติดตามผลอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที มีแผนงาน ที่ครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และก็มีแผนสำรอง เพื่อรองรับกับ ปัญหาเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น วิทยากรที่จะเข้าอบรมหลงทางทำให้มาถึงสถานที่ อบรมช้ า ถ้ า เราใส่ ใ จเราต้ อ งมี ก ารวางแผนล่ ว งหน้ า ว่ า จะแก้ ไ ขสถานการณ์ นี้ อย่างไร อาจเล่นเกมในระหว่างรอ เป็นต้น ตั้งใจกับงาน Training การกระตื อ รื อ ร้ น ในการที่ จ ะทำอะไรสั ก อย่ า งหนึ่ ง ออกมาให้ ดี ที่ สุ ด มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากที่ สุ ด อยู่ เ สมอนั้ น เรี ย กว่ า ความตั้ ง ใจ…พฤติ ก รรมนี้ ส ามารถ ดูได้ ไม่ยากสำหรับคนทำงานว่าเขามีความตั้งใจหรือไม่ โดยดูจากความมุ่งมั่น ที่จะทำงานให้สำเร็จ ความไม่ย่อท้อต่อปัญหาที่พบ คนที่มีความตั้งใจเมื่อมอบหมาย งานให้ก็มั่นใจได้ว่างานนั้นสำเร็จไปกว่าครึ่งแน่นอน ความตั้งใจ หมายถึงอะไร หมายถึง การที่เรามีความต้องการให้งาน Training ของเราในแต่ละครั้งนั้นออก มามี ค วามพร้ อ มมากที่ สุ ด และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากที่ สุ ด เริ่ ม ตั้ ง แต่ ผู้ เ ข้ า อบรม วิทยากร หลักสูตร สถานที่ เอกสาร และอื่น ๆ สมบูรณ์เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เมื่ อ พบปั ญ หาก็ พ ยายามหาสาเหตุ แ ละแก้ ไ ขให้ ส ำเร็ จ ลุ ล่ ว งไปด้ ว ยดี หรื อ

ความตั้ ง ใจที่ จ ะพยายามปรั บ ปรุ ง กระบวนการของการฝึ ก อบรม (Training) ให้มีประสิทธิภาพ, การคิดหาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้เพิ่มขึ้น หรือแม้กระทั่งการเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ในเรื่องการพัฒนาบุคลากร

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

55


หัวใจกับงาน Training หัวใจ หรือความรัก ในงานที่เราทำถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ การที่คน ๆ หนึ่ง ต้ อ งนั่ ง ทำงานที่ ตั ว เองต้ อ งใช้ ค วามอดทนในการที่ จ ะทำงานให้ ส ำเร็ จ กั บ

คน ๆ หนึ่ ง ที่ ท ำงานด้ ว ยหั ว ใจ อยากจะทำงานต่ อ ไปอย่ า งไม่ มี วั น รู้ สึ ก เบื่ อ หน่ า ย ถ้ า เป็ น พวกเราจะเลื อ กเป็ น คนประเภทไหน บางคนอาจจะเป็ น นั ก ฝึ ก อบรม (Training) ด้วยหัวใจ งานที่เรารักน้อยคนนักที่จะได้ทำ สู้เรามาเผชิญหน้ากับ ความจริง วิ่งหนีความฝัน ที่มิอาจจะเกิดขึ้นได้ โดยการมีความรัก และใช้หัวใจ ในงานที่ ท ำหรื อ ได้ รั บ มอบหมาย ไม่ ว่ า งานนั้ น จะเป็ น งานเล็ ก หรื อ งานใหญ่ แต่นั่นก็เป็นงานที่ทำให้เรามีคุณค่าในชีวิต

56

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


บทที่ ๓ แนวทางการดำเนินงาน การจัดค่ายคุณธรรม



แนวทางการดำเนินงาน การจัดค่ายคุณธรรม

ความเข้าใจพื้นฐานการจัดค่าย

ค่าย (Camp) หมายถึง การที่กลุ่มบุคคลไปใช้ชีวิตร่วมกันในบริเวณ แห่งใดแห่งหนึ่ง (ค่ายคุณธรรมส่วนใหญ่จัดที่วัด สถานปฏิบัติธรรม สถานศึกษา) ภายใต้คำแนะนำของผู้นำค่ายที่ได้รับการฝึกมาแล้ว การจัดค่าย หมายถึง กระบวนการที่ทำให้ผู้เข้าค่าย ได้เกิดการเรียนรู้ หรื อ ได้ ป ระสบการณ์ ด้ า นการศึ ก ษา การทำงาน การสั น ทนาการ การใช้ ชี วิ ต

อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นคณะ ในสถานที่ที่เหมาะสม อันจะเป็นประโยชน์ ในการ พัฒนาร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์โดยมีผู้นำค่ายซึ่งผ่านการฝึกอบรม หรือมีความรู้โดยเฉพาะเป็นผู้ดำเนินการ ค่ายคุณธรรม หมายถึง การจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เข้ารับการอบรมเป็น ศูนย์กลาง เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ผ่านกระบวนการปฏิบัติธรรม เนื้อหา กิจกรรมจะสอดแทรกในกิจวัตรประจำวันตลอดช่วงอยู่ค่าย เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมด้ายการปฏิบัติจริง โดยสามารถรู้ และคิดได้ด้วยตนเอง วัตถุประสงค์ของการจัดค่ายคุณธรรม (กลุ่มเยาวชนในสถานศึกษา) ๑. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรมทางศาสนา และเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรม ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ๒. เพื่อให้เด็กและเยาวชนนำหลักคุณธรรมจริยธรรมไปพัฒนาคุณภาพ ชีวิตได้อย่างเหมาะสม คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

59


๓. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน ๔. เพื่อให้เด็กและเยาวชน เกิดการพัฒนาตนเอง คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น จนนำไปสู่การพัฒนาครอบครัว สังคม และประเทศชาติ วัตถุประสงค์ของการจัดค่ายคุณธรรม (กลุ่มเยาวชนกลุ่มเสี่ยง) ๑. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดศาลเยาวชนและครอบครัว กลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมไม่รุนแรง ได้รับโอกาสในการเข้าค่ายคุณธรรม ๒. เพื่อให้เยาวชนกลุ่มเป้าหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ได้นำหลักธรรมในศาสนามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนและพัฒนาจิตใจอย่างมี เหตุมีผลในการดำรงชีวิต ๓. เพื่อให้เกิดการแก้ ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ด้วยมิติทางศาสนา พัฒนาทางด้านศีลธรรมและปลูกฝังจริยธรรมในกลุ่มเป้าหมาย ๔. เพื่ อ สร้ า งเสริ ม จิ ต สำนึ ก ที่ ดี ต่ อ การดำรงตนอย่ า งมี ส ติ สั ม ปชั ญ ญะ มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีต่อตนเองและบุคคลอื่น ทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ๕. เพื่ อ สร้ า งภู มิ คุ้ ม กั น ทางด้ า นจิ ต ใจด้ ว ยหลั ก ธรรมในพุ ท ธศาสนา ที่จะป้องปรามมิให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้นได้กระทำความผิดขึ้นซ้ำอีก ๖. สามารถปรับกระบวนทัศนวิสัยในการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยเด็ก และเยาวชนที่พ้นกระบวนการยุติธรรมไปแล้วกลับคืนสู่สังคมได้โดยปกติ สามารถ เข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือบุคคลที่ด้อยโอกาส และอยู่ร่วมกับ บุคคลหรือชุมชนที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมค่ายคุณธรรม การจัดค่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย จะต้องมีการบริหารและการจัดทรัพยากรที่ดี ต้องมีขั้นตอนในการจัดการ เช่นเดียวกับ

60

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


การวางแผน

การดำเนินการ

การประเมินผล

การบริหารจัดการทั่วไป โดยเริ่มจากการเตรียมงาน การวางแผน การดำเนินการ และการประเมินผล จนถึงการนำผลการประเมินสู่การพัฒนา ในทุกขั้นตอน ผู้เกี่ยวข้องในการจัดค่ายคุณธรรมจะต้องรับผิดชอบ ในบทบาทหน้าที่ของตนเอง และสร้างความร่วมมือทำงานเป็นทีมเดียวกัน

ขั้นที่ ๑ การวางแผน (Planning) มีขั้นตอนการวางแผนประกอบด้วย

๑.๑ การวางแผนงานค่าย - การเตรียมโครงการ ศึกษาโครงการค่าย ตั้งเป้าหมายร่วมกัน

โดยให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมและมีหน้าที่รับผิดชอบ - รวบรวมและเตรียมเอกสาร รวบรวมเอกสารที่ใช้ ในค่าย ทั้ ง หมด เช่ น ใบสมั ค ร ใบอนุ ญ าตจากผู้ ป กครอง แผนที่ ก ารเดิ น ทาง ข้ อ มู ล

การเดินทาง แบบประเมินผล แบบสำรวจสุขภาพ ฯลฯ จัดเตรียมเอกสารทุกเรื่อง ไว้ให้พร้อม - ตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ค่าย ตั้งเป้าหมายของงานค่าย พร้อมจัดทำแผนการทำงานโดยละเอียด ระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน จัดทำตารางเวลาให้มีทั้งกิจกรรมด้านวิชาการ นันทนาการ และกิจกรรมกลุ่ม สัมพันธ์ - วางแผนกิจกรรมค่ายในแต่ละวันตามลักษณะของค่ายที่จัด ๑.๒ การวางแผนบุคลากรค่าย - จั ด หาคนทำงานค่ า ย อาจใช้ บุ ค คลภายในหน่ ว ยงานที่ มี ความรู้ ความสามารถ หรือมีความถนัดเพื่อกำหนดให้ทำหน้าที่ในตำแหน่งต่าง ๆ หรือจัดกันเองในกลุ่มคณะทำงาน

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

61


- อบรมคนทำงานค่ า ย ให้ ก ารอบรมคนทำงานค่ า ย โดย เฉพาะพี่เลี้ยง เพราะเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดชาวค่ายมากที่สุด จึงต้องมีความสามารถ ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี อบรมบุคลากรด้านอื่น ๆ อาจทำ ในรูปการประชุม หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม - จั ด ระบบการบริ ห ารค่ า ย กำหนดบทบาทและหน้ า ที่ ข อง บุคลากรตามภารกิจในการจัดค่ายให้ชัดเจน จัดประชุมบุคลากรทุกฝ่ายให้รับทราบ ภารกิจล่วงหน้า มีการประชุมหารือในช่วงการจัดกิจกรรมค่ายเพื่อวางแผนงานเป็น ระยะ ๆ ๑.๓ การวางแผนจัดการทรัพยากร - ด้ า นสถานที่ สำรวจสถานที่ จั ด ค่ า ยล่ ว งหน้ า เช่ น ด้านหอพัก ห้องน้ำ บริเวณรอบนอก ความสะอาด และความปลอดภัย เป็นต้น จัดทำป้ายบอกทางเป็นระยะ - ด้านอุปกรณ์ สำรวจอุปกรณ์ที่มีอยู่ จัดหาเต็นท์ให้เพียงพอ กับสมาชิก ที่มาเข้าค่ายเตรียมความพร้อม ทำความสะอาด และซ่อมบำรุงอุปกรณ์ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้ ได้ สำรวจความต้องการใช้อุปกรณ์เบื้องต้น สำรวจราคาวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกกิจกรรม - การบริหารงบประมาณ จัดทำงบประมาณค่าย ที่แสดง ให้เห็นถึงที่มาของเงิน เพื่อดำเนินงานค่ายและจัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จั ด ทำระบบบั ญ ชี แ ละการเงิ น ในค่ า ยพร้ อ มทั้ ง จั ด เตรี ย มเอกสารที่ เ กี่ ย วข้ อ ง จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องด้านการเงิน เพื่อวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เพียงพอ

ขั้นที่ ๒ การดำเนินงาน (Implementing)

๒.๑ เตรียมพร้อมก่อนเริ่มงาน - เรื่องบุคลากร : จัดประชุมทบทวนแผนและบทบาทของ บุคลากรแต่ละคน เพื่อเตรียมความพร้อม เช่น ทบทวนวิธีการนำกิจกรรม วิธีการ ต้อนรับชาวค่าย ตารางกิจกรรมฯ 62

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


- เรื่ อ งสถานที่ / อุ ป กรณ์ : เช็ ก ความพร้ อ มเรื่ อ งสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๒.๒ จัดทำระบบการควบคุมงาน - การควบคุ ม ตามแผน : จั ด ทำระบบควบคุ ม งาน เช่ น วางแผนกิจกรรมล่วงหน้า วางแผนระหว่างดำเนินงาน และจัดประชุมระหว่างการ เข้าค่ายเป็นครั้งคราว - จัดกิจกรรมค่าย : ดำเนินการจัดกิจกรรมในแต่ละวันตาม แผนที่วางไว้ โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ประเมินผลการจัด กิจกรรมค่ายวันต่อวัน เพื่อปรับปรุงแก้ไข และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้ ตลอดเวลา ประสานงานฝึ ก อบรมพี่ เ ลี้ ย งเพิ่ ม เติ ม เพื่ อ เพิ่ ม พู น ทั ก ษะ การจั ด กิจกรรมตามความเหมาะสม - จัดให้มีฝ่ายสนับสนุน : เสริมความเข้มแข็งและความคล่องตัว เพื่อสนับสนุนในทุกด้าน เช่น ด้านสถานที่ อาหาร สวัสดิการ เอกสาร และการเงิน ๒.๓ เตรียมพร้อมในการแก้ ไขปัญหา - จัดระบบเพื่อการแก้ปัญหา : จัดระบบรักษาความปลอดภัย เช่น Buddy Systern เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ จัดระบบการดับเพลิง การเฝ้าระวัง และอื่น ๆ ที่คาดว่าอาจเกิดขึ้นได้ - จัดระบบช่วยแก้ปัญหาบุคลากร : ใช้ระบบ Feedback เพื่อแก้ไขปัญหาการทำงานร่วมกันของบุคลากรค่าย จัดให้มีเวลาพัก - จัดระบบช่วยแก้ปัญหาการจัดกิจกรรม เตรียมกิจกรรม ทดแทนในกิจกรรมที่คาดว่าอาจจัดไม่ได้ เนื่องจากสภาพปัจจัยทางภูมิอากาศ ไม่อำนวย เช่น เตรียมจัดกิจกรรมข้างนอกไม่ได้ หากฝนตก เป็นต้น

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

63


ขั้นที่ ๓ การประเมินผล (Evaluation)

๓.๑ ประเมินผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ค่าย - ประเมินผลก่อนเริ่มค่าย (pretest) : จัดทำแบบสอบถาม ชาวค่ายก่อนเริ่มค่ายเพื่อวัดผลดูว่า ชาวค่ายมีพื้นฐานตามวัตถุประสงค์มากน้อย เพียงใด - ประเมินผลระหว่างค่าย : ประเมินผลระหว่างค่ายโดยวิธี ตอบแบบสอบถามหรือสังเกตพฤติกรรม - ประเมินผลภายหลังค่าย (Posttest) : จัดทำแบบประเมิน ชาวค่ายเช่นเดียวกับการประเมินผลก่อนเริ่มค่าย เพื่อดูผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายค่าย ๓.๒ ประเมินผลวิธีการจัดค่าย - ประเมินผลระหว่างการจัดค่าย : จัดทำการประเมินผลผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสอบถาม หรือใช้กลุ่มในการประเมินผล (Group Discussion) - ประเมินผลภายหลังการจัดค่าย : จัดทำการประเมินผล ผู้เกี่ยวข้องโครงการ ตอบแบบสอบถาม หรือประเมินผลกลุ่ม ๓.๓ จัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ - สรุปการดำเนินการค่ายทุกขั้นตอนอย่างละเอียด เพื่อใช้เป็น ข้อมูลในการจัดค่ายครั้งต่อไป

การเตรียมความพร้อมการดำเนินโครงการ การเตรี ย มความพร้ อ มในการจั ด ทำโครงการโดยเฉพาะช่ ว งปฏิ บั ติ (การเข้าค่ายคุณธรรม) เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เนื่องจากการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเยาวชน : เข้าค่ายคุณธรรม เป็นเรื่องของหลักธรรม เรื่องจิตใจ ซึ่งเป็น นามธรรมจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน จะส่งผลในด้านพฤติกรรมระยะยาว จำเป็น ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เป็นเยาวชน 64

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ที่จะต้องปลุกจิตสำนึกในเรื่องคุณงามความดี จะต้องเตรียมกระบวนการที่ต่อเนื่อง การดูแล การเอาใจใส่ทุกเรื่องทุกอย่าง ดังนั้น การจัดเตรียมกระบวนการจะต้องมีการประชุมหารือกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาคคณะสงฆ์ ภาคราชการ ภาคเอกชน การจัดค่ายแต่ละรุ่น แต่ละครั้ง คณะผู้จัดจะต้องมีความมุ่งมั่น เอาใจใส่ทุกขั้นตอน และทุ่มเทให้กับ

โครงการฯ นี้ รวมทั้ ง ระดมความร่ ว มมื อ จากทุ ก ภาคส่ ว นให้ ค วามสำคั ญ กั บ โครงการฯ สถานศึกษา/หน่วยงานที่มีความพร้อมและมุ่งมั่นที่จะดำเนินการ ควรเตรียม ความพร้อมในการดำเนินงานค่ายคุณธรรม ดังนี้ ๑. จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๑.๑ การจั ด ค่ า ยคุ ณ ธรรม สำหรั บ เยาวชนในสถานศึ ก ษา จัดประชุมภายในสถานศึกษา ชี้แจงการเข้าค่าย การเตรียมการของผู้เข้าค่าย ๑.๒ การจัดค่ายคุณธรรม สำหรับเยาวชนภายใต้การดูแลของ ศาลเยาวชนและครอบครัว หรือกลุ่มเสี่ยง ควรมีการประชุมโดยภาพรวม เมื่อเสร็จสิ้น

โครงการฯ เยาวชนกลุ่มนี้จะได้ตัดสินใจว่า จะทำอะไรต่อไป ใครจะเป็นผู้ส่งต่อ ดูแล เมื่อประชุมภาพรวมแล้ว ให้ทุกภาคส่วนของจังหวัดได้เข้าใจ และส่งความ ร่วมมือให้กับเยาวชนกลุ่มนี้ เพื่อให้ศาลเยาวชนและครอบครัวได้รู้จักเครือข่าย ความร่วมมือของจังหวัด อาจนำโครงการนี้ เสนอในที่ประชุมของจังหวัดให้รับทราบ กับการแก้ไขปัญหาของเยาวชนกลุ่มนี้ทั้งกระบวนการ จะส่งผลดีต่อจังหวัดเอง การประชุมกลุ่มคณะทำงานที่จะเข้าสู่กระบวนการเข้าค่ายคุณธรรมฯ กลุ่ ม เยาวชน สำนั ก งานวั ฒ นธรรมจั ง หวั ด จะต้ อ งดู ค วามพร้ อ มว่ า สามารถ รวมกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนเท่าใด เมื่อไหร่ ต่อจากนั้นจึงนำมาวางแผนเป็นขั้นตอน โดยเฉพาะขั้นตอนที่ ๑ และขั้นตอนที่ ๒ ที่จะเตรียมกระบวนการเข้าค่ายปฏิบัติธรรม ทั้งภาคความรู้และภาคปฏิบัติ จะต้องเตรียมความพร้อมทุกด้าน การประสานงาน อย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงาน จนถึงขั้นติดตามผลและประเมินผลของเยาวชน ที่ผ่านกระบวนการเข้าค่ายคุณธรรมนี้ คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

65


๒. การเตรียมทำโครงการ การจัดทำโครงการจะต้องดูบริบทปัญหาของเยาวชนในแต่ละกลุ่ม แต่ ล ะลั ก ษณะ จั ง หวั ด การมี ส่ ว นร่ ว มของหน่ ว ยงานระดั บ จั ง หวั ด ที่ เ ห็ น ความสำคัญร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ ไขปัญหา และร่วมแรงร่วมใจกับโครงการนี้ นำเสนอตามขั้นตอน ๓. การเตรียมเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย กลุ่ ม เป้ า หมาย คื อ เยาวชนแต่ ล ะรุ่ น ควรมี จ ำนวนไม่ ม ากและ ไม่น้อยเกินไป เนื่องจากมีการลงทุนที่สูงมาก ทั้งเรื่องวิทยากร สถานที่ สื่อ/อุปกรณ์ อาหาร เสื้อผ้า ฯลฯ การดูแลใกล้ชิดกับเยาวชนมากที่สุด การจัดกิจกรรมย่อย ในกรณีแบ่งฐานจะได้ ไม่น่าเบื่อ รวมทั้งความสะดวกเรื่องการจัดที่พัก สถานที่ อบรมทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย และเรื่องอาหารที่เป็นเรื่องสำคัญของการจัด

โครงการฯ (ขั้นปฏิบัติ) ๔. การเตรียมวิทยากรที่ใช้ ในการอบรม วิ ท ยากรที่ผ่ านการจัดกิ จกรรม/อบรมค่า ยคุณ ธรรม จะเป็น ผู้มี ประสบการณ์ที่มีความเชี่ยวชาญในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ดังเช่น โครงการนำร่อง ที่กรมการศาสนาดำเนินการได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ วิทยาลัย มีพระธรรมวิทยากรที่เชี่ยวชาญการจัดค่ายคุณธรรมโดยเฉพาะทาง วิทยากรที่ใช้ ในการอบรมจึงควรมีความเชี่ยวชาญในการบรรยายและ ดำเนินกิจกรรมหลัก ๔ ด้าน คือ ๑. ด้านพิธีการและกระบวนการจัดค่าย ๒. ด้านหลักการเดินจงกรม-นั่งสมาธิ ๓. ด้านองค์ความรู้ภาพรวม ๔. ด้านกิจกรรม ที่จัดในแต่ละกิจกรรม สามารถจัดได้เป็นลำดับ

ขั้นตอน 66

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ข้อควรปฏิบัติการดำเนินงาน ๑. วิทยากรที่ใช้ ในการอบรมเฉพาะกลุ่มเป้าหมายนี้ ควรมีการ ประชุมหารือข้อตกลงร่วมกันตั้งแต่การจัดกระบวนการขั้นตอนที่ ๑ จะมองเห็น ภาพกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากเป็นเยาวชนกลุ่มพิเศษ วิทยากรและผู้จัดทำโครงการ จะต้องร่วมประชุมหารือ สรุปผลการจัดกิจกรรมทุกขั้นตอน แล้วนำมาวางแผน ๒. วิ ท ยากรเฉพาะด้ า น เนื่ อ งจากเป็ น ค่ า ยคุ ณ ธรรม จำเป็ น จะต้องมีพระสงฆ์และวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดค่ายคุณธรรม โดยเฉพาะเข้าใจกระบวนการ มีจิตวิทยาในการโน้มน้าวกลุ่มเยาวชนเป็นอย่างดี มีสื่อประกอบการจัดกิจกรรมที่เน้นเรื่องการเสริมสร้างกระบวนการปลุกจิตสำนึก ในเรื่องคุณธรรมทุกช่วง ๓. วิ ท ยากรพิ เ ศษ อาจเชิ ญ วิ ท ยากรภายนอกมาให้ ค วามรู้ เล่าประสบการณ์ หรือผู้ที่แต่ละจังหวัด/แต่ละแห่งได้พิจารณาเห็นว่า เป็นวิทยากร ที่จะมาช่วยเสริมให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก หรือเป็นต้นแบบของเรื่องคุณงามความดี ซึ่งแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละจังหวัดที่จัด (การเชิญวิทยากรพิเศษ ควรมี การพิจารณาว่า กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มใด เช่น กลุ่มเยาวชนที่ต้องการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม วิทยากรจะต้องมีสิ่งที่น่าสนใจ น่าติดตาม) ควรกำหนดเวลาให้พอ ประมาณ ไม่เช่นนั้นกิจกรรมที่เหลือจะน่าเบื่อ ข้อเสนอแนะ มหาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย และมหาวิ ท ยาลั ย มหามกุฏราชวิทยาลัย แต่ละแห่งจะมีพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดค่าย คุณธรรม สถานที่ติดต่ออยู่ภาคผนวก ทั้งนี้จังหวัดอาจมีวิทยากร หรือวัดที่ชำนาญ ในเรื่องการจัดค่ายคุณธรรมอยู่แล้ว ขอให้มีการเชิญประชุม ชี้แจงระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

67


๕. การเตรียมงบประมาณ งบประมาณที่จะได้รับนอกเหนือจากที่กรมการศาสนาได้จัดสรร งบประมาณมาบ้างแล้ว เนื่องจากเป็นโครงการใหม่ ที่อยู่ระหว่างการขยายผลไป ทั่วประเทศ เพื่อความยั่งยืนความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรม จึงขอให้มีการระดม ทรัพยากรจากทุกภาคส่วนของจังหวัด (จากจังหวัด อบต. อบจ. เทศบาล ชุมชน ท้องถิ่น ที่ให้ความสำคัญของโครงการในการพัฒนาเยาวชนของจังหวัดกลุ่มนี้) โครงการนี้ ได้ ป ระเมิ น ผลจากการจั ด ทำโครงการนำร่ อ ง เมื่ อ ปี ง บประมาณ ๒๕๕๐ ความร่วมมือของกรมการศาสนาและศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง พบว่า กลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนชาย จำนวน ๑๐๐ คน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไปในทางที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง ดังนั้น จึงมีความเชื่อว่า มิติศาสนาเป็นการพัฒนา จิตใจที่ยั่งยืน แต่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงขอให้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป็นผู้นำหลักในการจัดทำโครงการฯ และขอความ ร่วมมือจากทุกภาคส่วน ๖. การเตรียมความพร้อมด้านอื่น ๆ การจั ด โครงการฯ จะต้ อ งมี ค วามพร้ อ มทุ ก ด้ า น สำนั ก งาน วัฒนธรรมจังหวัดจะต้องมีความพร้อม มีคณะทำงานที่จะจัดทำโครงการฯ มีการ เตรียมการล่วงหน้า ประสานงานกับเครือข่ายในจังหวัดที่มีความเข้มแข็งในเรื่อง การจัดค่ายคุณธรรม ตั้งคณะทำงานในด้านต่าง ๆ ให้ชัดเจน อาทิ ด้านพิธีกร ด้ า นอุ ป กรณ์ ก ารจั ด ค่ า ย ด้ า นสถานที่ ด้ า นโภชนาการ ด้ า นการรั ก ษาความ ปลอดภัย ติดตามประสานงานความก้าวหน้าของการจัดเตรียมเป็นระยะ ๆ ประชุม เตรียมความพร้อมทุกด้าน ก่อนวันเข้าค่ายตามกำหนดการของจังหวัด

68

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


การเตรียมจัดกิจกรรม ๑. การเตรียมงานการเข้าค่ายคุณธรรม ช่วงการจัดกิจกรรมเป็นช่วงที่สำคัญมาก เนื่องจากจะต้องมีหลักสูตร กระบวนการความพร้อมทุกขั้นตอน การต่อเนื่องของกิจกรรม ตารางการอบรม การเข้าที่พัก จึงควรมีการแต่งตั้งคณะรับผิดชอบกระบวนการของการจัดกิจกรรม ช่วงการเข้าค่ายคุณธรรม คือ - ประสานงานทั่วไป - กองอำนวยการ - ผู้รับผิดชอบสถานที่ - วิชาการ (กระบวนการให้ความรู้) - พิธีกร - โภชนาการ (อาหารช่วงการอยู่ค่าย) - วัสดุอุปกรณ์ - ปฏิคม - โสตทัศนูปกรณ์ - ประชาสัมพันธ์ - การดูแลรักษาพยาบาล - การเงินและงบประมาณ - ความปลอดภัย - การประเมินผลโครงการ ๒. เตรียมเอกสาร คู่มือ ความพร้อมของผู้เข้ารับการอบรม ประสานงานกับศาลเยาวชนและครอบครัวของจังหวัดให้ดำเนินการ เตรี ย มเยาวชนกลุ่ ม เป้ า หมาย เรื่ อ งจำนวนเยาวชนที่ จ ะเข้ า ค่ า ยคุ ณ ธรรม แจ้ ง กำหนดวั น ที่ จ ะเข้ า ค่ า ย โดยให้ ศ าลเยาวชนและครอบครั ว แจ้ ง เยาวชน กลุ่ ม เป้ า หมาย นั ด แนะวั น เข้ า ค่ า ย สถานที่ การเตรี ย มอุ ป กรณ์ แ ละเครื่ อ งใช้ เครื่องแต่งกาย ดังนี้ ของใช้ที่จำเป็น - เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ชุดนอน เสื้อและกางเกงสีขาว (จากผล ที่ได้ดำเนินการมาแล้วพบว่า เสื้อผ้าสีขาวทำให้เยาวชนมีความตระหนัก และ มีความเรียบร้อยขึ้น)

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

69


- ของใช้ ที่ จ ำเป็ น ทุ ก คนต้ อ งมี ส มุ ด ปากกา สบู่ แปรงสี ฟั น ยาสีฟัน - สิ่งของต้องห้ามสำหรับผู้เข้ารับการอบรม สิ่งเสพติดทุกชนิด บุหรี่ สิ่งการพนันทุกอย่าง หนังสือทุกชนิด เครื่องมือสื่อสาร เครื่องดนตรี และ สิ่งของการละเล่นทุกชนิด ๓. จัดทำรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มละเท่า ๆ กัน พร้อมจัดทำป้ายชื่อผู้เข้ารับการอบรม คณะวิทยากร พระพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม ๔. การเตรียมสถานที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป็นผู้ประสานงานหาสถานที่จัดอบรม เยาวชนในการเข้าค่าย จะต้องเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย มีอากาศถ่ายเทดี ไม่อึดอัด ควบคุมดูแลได้ มีความพร้อมด้านที่พัก การจัดกิจกรรม การเตรียมอาหาร อุปกรณ์ เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ เครื่องฉาย LCD หากมีความพร้อมในเรื่องดังกล่าว ควรมี ก ารปรึ ก ษาหารื อ ในเรื่ อ งสถานที่ กั บ ศาลเยาวชนและครอบครั ว กลาง ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น ความพร้อมทุกประการ (เยาวชนกลุ่มนี้ ต้องมีการควบคุม จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ) หากมีความพร้อมแล้ว ควรเตรียม สถานที่ ดังนี้ ๑. ห้องประชุม - ตกแต่งเวที เขียนป้ายเวทีการอบรม - จัดโต๊ะหมู่บูชา ธงชาติ พระบรมฉายาลักษณ์ - ชุดรับแขก ทั้งของวิทยากรที่ใช้ตลอดการอบรม และประธาน ผู้มีเกียรติในพิธีเปิด - ติ ด ตั้ ง เครื่ อ งขยายเสี ย งพร้ อ มอุ ป กรณ์ (พระ/วิ ท ยากร สามารถควบคุมได้เอง) - สถานที่ มี แ สงสว่ า งเพี ย งพอในการจั ด ทำกิ จ กรรมทั้ ง ภาคกลางวันและภาคกลางคืน 70

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


- เสื่อ สำหรับปูห้องประชุม (แล้วแต่สถานที่และความเหมาะสม) ๒. การเตรียมเรื่องอาหารตลอดการเข้าอบรม - ที่วางอาหาร ที่วางคูลเลอร์น้ำ ที่วางแก้วน้ำ (มีเพียงพอ และดูแลความสะอาดตลอดเวลา) - ภาชนะใส่อาหาร (อาจเป็นถาดหลุม) หรือจัดอาหารเป็นโต๊ะ จำนวนเท่ากับผู้เข้ารับการอบรม ทั้งของวิทยากร เยาวชน ผู้ปกครอง ผู้ดูแล ความปลอดภัย พยาบาลฯ บริการให้เพียงพอ - ที่ล้างภาชนะใส่อาหาร พร้อมน้ำยาล้างจาน ที่เก็บและตาก ภาชนะใส่อาหาร (อาจจัดเวรให้เยาวชน หรือให้ทุกคนเป็นผู้ล้างภาชนะของตัวเอง) - เตรียมแม่ครัวทำอาหารจำนวน ๗ มื้อ (อบรมเวลา ๓ วัน ๒ คืน) ควรรวมเป็นกลุ่มแม่บ้าน มีส่วนร่วมในการทำอาหารและบริการ ๓. ที่พัก ที่นอน การจัดค่ายคุณธรรมของกลุ่มเป้าหมายนี้ ให้แยก เยาวชนชายและหญิง ไม่ควรจัดรวมกันเพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่คาดคิด เตรียมสถานที่นอน ที่เพียงพอ หมอน มุ้ง ควรดูแลความสะอาดตลอดเวลา ๔. ห้ อ งอาบน้ ำ ห้ อ งสุ ข า เตรี ย มอย่ า งเพี ย งพอ สามารถดู แ ล ความเรียบร้อยได้ จัดเวรดูแล และควรมีราวตากผ้า เพราะจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๓ วันในการเข้าค่ายครั้งนี้ ๕. ที่วางรองเท้า เลือกที่วางรองเท้าที่เหมาะสม เขียนป้ายที่วาง รองเท้าพร้อมชื่อกลุ่มของแต่ละกลุ่มติดไว้ ควรทำเป็น ๒ ชุด ใช้สำหรับที่พัก

และที่เข้าอบรม) ทั้งนี้ตามความเหมาะสมของสถานที่แต่ละแห่ง ๖. สถานที่ อ บรมเป็ น ฐาน คื อ ที่ ป ระชุ ม รวม ที่ ท ำสมาธิ ที่ จั ด กิจกรรมเป็นกลุ่ม ๆ หรือการจัดสถานที่ให้สอดคล้องกับหลักสูตร การแบ่งกลุ่ม จัดกิจกรรม ขอให้ผู้จัดได้พิจารณาตามความเหมาะสม ๗. เตรียมเจ้าหน้าที่พยาบาลหรือยาสามัญประจำบ้าน กรณีเยาวชน มีอาการป่วยเล็กน้อย คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

71


๕. เตรียมอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การจั ด อุ ป กรณ์ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งต่ า ง ๆ ควรสอดคล้ อ งกั บ หลั ก สู ต ร กระบวนการจัดกิจกรรม ซึ่งมีการเตรียมความพร้อมทุกอย่าง อาทิ คอมพิวเตอร์ พร้อมเครื่องพิมพ์ (กรณีจัดทำเอกสารประกอบการประชุม) กระดาษแข็งสี คละสี อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พาน ธูป เทียน ดอกไม้ (จำนวนเท่ากับ ผู้เข้าอบรม) แบบประเมินผลการอบรม วุฒิบัตรสำหรับเยาวชนที่เข้ารับการอบรม เกียรติบัตรแก่พระ/วิทยากร คณะทำงาน แบบทดสอบแต่ละกิจกรรมที่วางแผนไว้ ป้ายโครงการฯ

ตัวอย่าง

โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเยาวชน : เข้าค่ายคุณธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด.................และ..................................... สถานที่ ณ................................................ ระหว่างวันที่..........................................ถึง.................................. สนับสนุนโดย........................................................................................................... ................................................................................................................................ ๖. เตรียมพิธีเปิด-ปิดการเข้าค่ายคุณธรรม ช่วงพิธีเปิด จัดเตรียมพิธีกร จุดเทียนชนวนส่งให้ประธานในพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเปิดการเข้าค่ายฯ ให้โอวาทและกล่าวเปิดการอบรม ผู้กล่าวรายงาน คำกล่าวเปิด-ปิด จัดเตรียมของชำร่วย หรือแล้วแต่ความเหมาะสม ของแต่ละจังหวัด

72

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ตัวอย่างการจัดสถานที่เหมาะสมกับการจัดอบรม

ตัวอย่าง

แผนผังการจัดห้องประชุมรวม

โต๊ะหมู่ บูชา

อาสนสงฆ์

พระบรมฉายาลักษณ์

ฐานกลุ่มเมตตา

ฐานกลุ่มกรุณา

ฐานกลุ่มมุทิตา

เวที (ยกระดับ)

ฐานกลุ่มอุเบกขา

แผนผังการจัดห้องประชุมรวม

เวที ด้านหน้าปูเสื่อขวาง ชุดรับแขก

ชุดรับแขก

ธงชาติ

ที่นั่งผู้เข้าอบรม ปูเสื่อตามยาว

แผนผังการปูเสื่อในห้องประชุม

โต๊ะแผนพยาบาล และอำนวยความสะดวกในการอบรม

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

73


ตัวอย่างการจัดสถานที่เหมาะสมกับการจัดอบรม

เวที

พระพุทธรูปองค์ ใหญ่

โต๊ะหมู่บูชา

ห้องประชุม ที่ตักอาหาร ฐานกลุ่มเมตตา

ฐานกลุ่มกรุณา

ฐานกลุ่มมุทิตา

ฐานกลุ่มอุเบกขา

การประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเยาวชน เป็นความ ร่วมมือของหลายฝ่าย จึงขอเสนอแนะให้จัดทำหนังสือถึงผู้เกี่ยวข้อง ทำหนังสือ แจ้ ง การจั ด โครงการหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งทุ ก ฝ่ า ย หนั ง สื อ สรุ ป ผลโครงการฯ หนังสือขอบคุณผู้ให้การสนับสนุน ดังนี้ ๑. หนังสือเชิญประธานพิธีเปิด เชิญผู้มีเกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ ทุกหน่วยงานในจังหวัด ๒. หนั ง สื อ เชิ ญ วิ ท ยากร เจ้ า หน้ า ที่ ต ำรวจ เจ้ า หน้ า ที่ ส าธารณสุ ข ผู้ให้การสนับสนุน อบต. อบจ. เทศบาล มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ

74

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


๓. หนังสือเชิญสื่อมวลชนท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์ ให้ชุมชนมีส่วนร่วม และเห็นความสำคัญกับโครงการฯ ๔. หนั ง สื อ สรุ ป ผลโครงการฯ หนั ง สื อ ขอบคุ ณ ไปยั ง หน่ ว ยงาน ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้สนับสนุนโครงการฯ (ถ้ามี)

ภารกิจในการจัดเตรียมการประชุม/หน่วยงานที่จัดประชุม ๑. ติดต่อประสานงานเรื่องสถานที่จัดอบรม และเตรียมความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ

ดังนี้

๑) การจั ด เตรี ย มความพร้ อ ม ขั้ น ติ ด ต่ อ ประสานงาน/หน่ ว ยงาน ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ● เสนออนุมัติโครงการประชุมถวายความรู้แต่ละจังหวัด ● แต่งตั้งคณะทำงาน/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มอบหมายงานรับผิดชอบ และประสานงาน ● จัดทำหนังสือขอใช้สถานที่ ● จั ด ทำหนั ง สื อ เรี ย นเชิ ญ ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด ทราบและเชิ ญ เป็นเกียรติในพิธีเปิดฯ ● จัดทำหนังสือผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด

เป็นเกียรติฯ เปิดการอบรมฯ ● จัดทำคำกล่าวเปิด/คำกล่าวรายงาน ● จัดเตรียมเอกสารและเบิกจ่ายค่าพาหนะ กรณีมีค่าใช้จ่าย ● จัดทำวุฒิบัตรสำหรับเยาวชนผู้รับการอบรมในครั้งนี้ (ภาคผนวก) ๒) ความพร้อมสถานที่/ห้องประชุม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ประสานเตรียมความพร้อมต่าง ๆ โดยร่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ยหรื อ หน่ ว ยงานที่ จ ะร่ ว มดำเนิ น โครงการฯ ได้ แ ก่ จั ด เวที

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

75


พิธีเปิดโต๊ะหมู่บูชา โต๊ะวิทยากร โต๊ะ-เก้าอี้ ผู้เข้าประชุม วัสดุอุปกรณ์ เครื่องเสียง อุปกรณ์ที่ใช้ ในการอบรม (อาจมีโทรทัศน์วงจรปิด) LCD (สำหรับฉาย) โน้ตบุ๊ก หรือคอมพิวเตอร์ สำหรับประกอบการบรรยาย จัดทำป้ายผ้า ฯลฯ ● จัดห้องแถลงข่าว แต่ละจังหวัดให้แจ้งประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด

แต่ละแห่งเมื่อเปิดการอบรม มีการแถลงข่าวตามร่างกำหนดการ เพื่อเผยแพร่ เรื่องคุณธรรมนำความรู้ ให้ความสำคัญกับเยาวชนทุกกลุ่มเป้าหมายของจังหวัด เพื่อต้องการผลกระทบในวงกว้าง ด้วยมิติศาสนา

การแบ่งส่วนงานความรับผิดชอบในการจัดค่ายคุณธรรม ในการดำเนินงานค่ายคุณธรรม สามารถพิจารณาในส่วนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้ ๑. แผนกอำนวยการและติดต่อประสานงาน มีหน้าที่ประสานงานระหว่างครู-ผู้เข้ารับการอบรม พระวิทยากร ในรายละเอียดการดำเนินการรับรองอำนวยความสะดวก แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม

เท่า ๆ กัน ตัวอย่างเช่น ๑.๑ กลุ่มเมตตา ชาย ๒๐ คน หญิง ๒๐ คน ๑.๒ กลุ่มกรุณา ชาย ๒๐ คน หญิง ๒๐ คน ๑.๓ กลุ่มมุทิตา ชาย ๒๐ คน หญิง ๒๐ คน ๑.๔ กลุ่มอุเบกขา ชาย ๒๐ คน หญิง ๒๐ คน จัดเตรียมผู้เข้ารับการอบรมเข้าเรียนรู้ตามสถานีหรือฐาน ๔ ฐาน เมื่อจัดเรียบร้อยแล้วให้ทุกกลุ่มเลือกหัวหน้า รองหัวหน้าของกลุ่ม ๒. แผนกวิชาการและธุรการ (จัดทำเอกสาร) มีหน้าที่จัดทำคู่มือเข้าค่าย แบบการประเมิน ตารางคะแนนประจำวัน ตรวจเช็ ก ผู้ เ ข้ า รั บ การอบรม เก็ บ รวบรวมเอกสารที่ เ กี่ ย วข้ อ ง และรายงาน

76

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


การประเมินผลในวันสุดท้าย วุฒิบัตรสำหรับผู้เข้ารับการอบรมเกียรติบัตรสำหรับ คณะอาจารย์วิทยากร ๓. แผนกโภชนาการ แผนกนี้ เ ป็ น แผนกที่ ส ำคั ญ ต่ อ กิ จ กรรมที่ ต่ อ เนื่ อ งเป็ น อย่ า งมาก โดยมี ร ะยะเวลาในการรั บ ประทานอาหารของผู้ เ ข้ า รั บ การอบรม ดั ง นี้ แผนก อาหารจึงต้องตรงเวลา หรือเสร็จก่อนเวลา โดยมีหน้าที่จัดเตรียมอาหารวันละ ๓ มื้อ ตลอดการอบรมโดยเตรียมภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ในตอนเช้า ๐๗.๐๐ น. และ เพล ๑๑.๐๐ น. ส่วนอาหารผู้เข้ารับการอบรมให้จัดเตรียมมาตั้งในที่ ๆ จัด เตรียมไว้ในเวลาตอนเช้า ๐๖.๕๐ น. ตอนกลางวัน ๑๑.๓๐ น. และเย็นเวลา ๑๖.๕๐ น. หรือตามความเหมาะสมของแต่ละแห่ง ๔. แผนกธรรมนันทนาการ มีหน้าที่จัดกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด ละลายพฤติกรรม โดยเน้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ร่วมกิจกรรมหรือเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม ๕. แผนกสถานที่ มีหน้าที่จัดสถานที่อบรม ที่พักนักเรียนชาย-หญิง-วิทยากร ติดป้าย - ที่พัก - ที่อาบน้ำ - ราวตากผ้า - ที่ล้างภาชนะ - ที่ตากภาชนะ - หลอดไฟแสงสว่าง - ติดตั้งเครื่องขยายเสียง - จัดโต๊ะหมู่บูชา - เครื่องฉายสไลด์ - เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ - กระบะทราย - ที่วางรองเท้า ๒ แห่ง คือ ที่ห้องประชุมและที่พัก ๖. แผนกปฏิคม มีหน้าที่คอยต้อนรับแขกผู้มาเยือนกิจกรรมการอบรม และอำนวย ความสะดวก ประสานงานในเรื่องต่อไปนี้

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

77


๑. เตรียมภัตตาหารสำหรับพระสงฆ์ สามเณร เช้า ๐๗.๐๐ น. เพล ๑๑.๐๐ น. และอาหารสำหรับวิทยากร ๒. จัดเตรียมที่วางอาหาร แก้วน้ำ ที่ล้างภาชนะ ที่วางตากภาชนะ น้ำยาล้างจาน ๓. กิจกรรมพิธีมอบตัวเป็นศิษย์ เตรียมนักเรียน หญิง ๑ อ่าน บทความ ผู้อาราธนาศีล ชาย-หญิง ๔ คู่ ตัวแทนกลุ่มถือพาน พานดอกไม้ ธูป เทียน จำนวน ๔ พาน ในวันแรกของการอบรม เวลา ๑๐.๐๐ น. ๔. กิ จ กรรมจุ ด เที ย นปั ญ ญา เตรี ย มนั ก เรี ย นชาย-หญิ ง ๑ คู่ อ่ า นบทความ ขณะจุ ด เที ย นปั ญ ญา เตรี ย มเที ย นไขขนาด ๕-๖ นิ้ ว (หนัก ๑ บาท) จำนวนเท่ากับครู นักเรียน พระ ผู้ร่วมกิจกรรม เตรียมกระบะทราย พร้อมเทียนประธาน (เทียนพรรษา) ตกแต่งให้สวยงามก่อนเย็นวันที่สอง ๕. กิจกรรมบิณฑบาตความดี-ความชั่ว เตรียมกระดาษ ๑/๖ ของกระดาษถ่ า ยเอกสาร จำนวน ๒ เท่ า ของผู้ เ ข้ า รั บ การอบรมทั้ ง หมด บาตร ๒ ใบ กะละมั ง ใหญ่ ส ำหรั บ เผากระดาษ เช้ า วั น ที่ ส ามของการอบรม เวลา ๐๖.๐๐ น. ๖. กิจกรรมดอกไม้คุณธรรม ดอกไม้ (ควรเป็นดอกกุหลาบ ไม่ตูมหรือบานเกินไป ประมาณ ๕-๖ ดอก) ๗. แบบประเมินผลการอบรมและแบบทดสอบอื่น ๆ ๗. แผนกประเมินผล มี ห น้ า ที่ ป ระเมิ น ผล ให้ ค ะแนน และประเมิ น ผลการเข้ า อยู่ ค่ า ย ทั้ง ๓ ระยะ คือ ก่อนการอบรม ขณะการอบรม และหลังการอบรม ๘. แผนกพยาบาล มีหน้าที่จัดดูแลผู้เข้ารับการอบรมที่เจ็บป่วย โดยเตรียมจัดหายา ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม

78

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


บทบาทและหน้าที่ของอาจารย์พี่เลี้ยง ๑. ดูแลให้นักเรียนปฏิบัติตามระเบียบในการอยู่ค่ายอบรม โดยเน้น มี ค วามสามั ค คี ความตรงต่ อ เวลา ความมี ร ะเบี ย บวิ นั ย และเข้ า ห้ อ งประชุ ม

โดยพร้อมเพรียงกันอย่างสงบ ๒. สำรวจผู้เข้ารับการอบรมทุกกิจกรรม และก่อนเข้านอนทุกคืน ๓. ช่วยจัดเลี้ยงอาหาร น้ำดื่ม ตามเวลาที่กำหนด ๔. รับฝากสิ่งของและคืนเมื่อครบกำหนดการอบรม ๕. ประสานงานกับพระวิทยากรในการอบรมเยาวชน ๖. ร่วมนอน รวมกิน ร่วมกิจกรรมทุกอย่างกับผู้เข้ารับการอบรม ๗. เป็นวิทยากรเสริม รับทราบปัญหา เป็นที่ปรึกษาของผู้เข้ารับการอบรม

สิ่งของที่ต้องจัดเตรียมในการเข้าค่ายโดยสรุป (สำหรับพระวิทยากร) ๑. บัตรประจำตัวผู้เข้าค่าย พระวิทยากร ๒. หนังสือคู่มือการจัดค่ายและคู่มืออบรมค่ายคุณธรรม ๓. วุฒิบัตรสำหรับผู้เข้ารับการอบรม เกียรติบัตรแก่พระวิทยากรและ ผู้เกี่ยวข้อง ๔. สื่ อ การสอน เช่ น แผ่ น ซี ดี รู ป ภาพ ม้ ว นเทปเพลงประกอบ การบรรยายและการอบรม ๕. กล้องถ่ายรูปพร้อมฟิล์ม ๖. เครื่องเสียงกระเป๋าหิ้วพร้อมไมโครโฟน ๗. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

79



ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรม ของพระธรรมวิทยากร



แผนการจัดกิจกรรมที่ ๑ เรื่อง กฎระเบียบการเข้าฝึกอบรม

วัตถุประสงค์

๑.๑ เพื่อปลูกฝังความมีระเบียบวินัย ในการปฏิบัติตนให้มีวิถีชีวิต ที่งดงาม ๑.๒ เพื่อชี้แจงรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับที่พัก ห้องประชุม ห้องน้ำ การรับประทานอาหาร ๑.๓ เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดผู้เข้าอบรมให้มีทักษะในการปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อม สามารถอยู่รวมกับผู้อื่นได้

ขอบข่ายเนื้อหา

๒.๑ ความงดงามอยู่ที่การมีมารยาทต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ๒.๒ กฎกติกาเป็นเครื่องร้อยรัดให้เกิดความสวยงามในสังคม ๒.๓ คนกับคนเป็นเหมือนกระจกซึ่งกันและกัน

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

๓.๑ วิทยากรเตรียมความพร้อม ปากกา กระดาษ A๔ ตัดสี่ส่วน ๓.๒ วิทยากรนำเข้าสู่กิจกรรมด้วยคำพูดที่เป็นข้อคิดสะเกิดใจ “ไม่มี ของฟรี ความดี ความสุข ต้องสร้างเอง ธรรมะแปลว่า ทำ ไม่ได้ แปลว่ า ฝากทำ จงสร้ า งคุ ณ ค่ า ให้ กั บ ตั ว เองด้ ว ยการเป็ น

ผู้อ่อนน้อมถ่อมตน จงมองสิ่งที่ผ่านไปด้วยความเข้าใจ มองสิ่งที่ กำลังจะเกิดขึ้นด้วยความมั่นใจ และมองสิ่งที่อยู่รอบข้างด้วย ความรัก เมตตา” คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

83


๓.๓ แจกปากกาพร้อมกระดาษ A๔ ที่ตัดเรียบร้อยแล้ว ให้คนละ ๑ แผ่น ขณะเดียวกันให้ผู้เข้าอบรมนั่งสมาธิหลับตา โดยมี เงื่ อ นไขว่า หากใครไม่ปฏิบัติก็จะไม่ได้รับแผ่นกระดาษ หรือ

ตั้งเงื่อนไขอื่นก็ ได้ ๓.๔ วิทยากรนำเข้าสู่กิจกรรมด้วย ช่วงแรก ให้ ผู้ เ ข้ า อบรมเขี ย นสิ่ ง ที่ ค าดหวั ง จากการอบรมครั้ ง นี้ ว่ า ต้ อ งการ มาอบรมเพื่ออะไร/เมื่อเขียนเสร็จหันหน้าเข้าหากัน อ่านให้เพื่อนฟัง ให้ครบ ๕ คน ช่วงสอง ให้ผู้เข้าอบรมเขียนบรรยายว่า วิทยากรที่ดีควรเป็นอย่างไร เมื่อเขียนเสร็จ หันหน้าเข้าหากัน อ่านดัง ๆ ให้วิทยากรฟัง หรือรวบรวมลงในแผ่นกระดาษเทาขาว ด้วยหัวข้อว่า วิทยากรที่ดี ช่วงสาม ให้ ผู้ เ ข้ า อบรมเขี ย นบรรยายว่ า ผู้ เ ข้ า อบรมที่ ดี ค วรเป็ น อย่ า งไร เมื่อเขียนเสร็จ ให้ร่วมกลุ่ม ๕ ถึง ๑๐ คน รวบรวมลงในแผ่นกระดาษเทาขาว ด้วยหัวข้อว่า ผู้เข้าอบรมที่ดีควรเป็นอย่างไร และนำมาเสนอ ๓.๕ วิ ท ยากรนำเอาประเด็ น ที่ ไ ด้ จ ากความคิ ด ของผู้ เ ข้ า อบรม ในหั ว ข้ อ ว่ า ผู้ เ ข้ า อบรมที่ ดี ค วรเป็ น อย่ า งไร มาประกาศใช้

ในการเข้าฝึกอบรม เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าห้องประชุม การออกจากห้องประชุม การรับประทานอาหาร หากประเด็น ไม่ครอบคลุมให้วิทยากรคอยเสริม แนะนำกฎกติกา มารยาท ๓.๖ กำหนดแผนที่ผังที่นั่ง เช็กยอด แบ่งกลุ่ม ชี้แจงกฎระเบียบ และติดป้ายชื่อให้เรียบร้อย

84

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


สื่อ/อุปกรณ์

๔.๑ กระดาษ A๔ ๔.๒ กรรไกร, เมจิกสี, ปากกา, กระดาษเทาขาว ๔.๓ ป้ายชื่อเท่าจำนวนผู้เข้ารับการอบรม

คุณธรรมที่ได้รับ

๕.๑ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ๕.๒ การทำงานเป็นทีม/และการระดมสมอง (สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความสามัคคีนำมาซึ่งความสุขของหมู่คณะ) ๕.๓ จริงใจ ไมตรี สำนึกดี ขอบคุณ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

85


เอกสารประกอบการจัดกิจกรรม เรื่อง กฎระเบียบการเข้าฝึกอบรม

ข้อ ๑ การเข้ า ห้ อ งประชุ ม ตรงต่ อ เวลา นั บ เป็ น นาที จะมี ป ระกาศ หน้าประตู กรณีมาสาย กรุณารออยู่หน้าประตูเพื่อรอรับการพูดคุยจากวิทยากร ข้อ ๒ เมื่อเข้าสู่ห้องประชุมกราบพระเป็นการส่วนตัว แล้วนั่งสมาธิ รอความพร้อมของห้องประชุม ทำเป็นเอกสารการปฏิบัติในห้องประชุม ประกาศ ใช้หน้าเวทีให้รับรู้ทั่วถึงกัน ต้องเอาจริงเอาจังตั้งแต่วันแรกเพื่อความเป็นระเบียบ ของการฝึกอบรม ข้อ ๓ การถอดรองเท้า เป็นกลุ่ม เป็นแถว เป็นระเบียบ ข้อ ๔ กิริยามารยาท ต้องแนะนำให้ผู้เข้าอบรมปฏิบัติจนชิน ติดตัว เป็ น นิ สั ย เช่ น การสนทนากั บ พระสงฆ์ ต้ อ งประนมมื อ การเดิ น ผ่ า นพระสงฆ์ การพูด นักเรียนชายกล่าวว่า “ขอบคุณครับผม” นักเรียนหญิงกล่าวว่า “ขอบคุณ เจ้าค่ะ” เดินเก็บมือสำรวม ข้อ ๕ การติดป้ายชื่อ ผู้เข้าอบรมต้องติดบัตรให้เรียบร้อย

86

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

87


แผนการจัดกิจกรรมที่ ๒ (๔๕ นาที) เรื่อง วิถีธรรม วิถีไทย

วัตถุประสงค์

๑.๑ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับกาลเทศะ ๑.๒ เพือ่ ปลูกฝังค่านิยมแบบไทย ย.ว.ท. ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ๑.๓ เพือ่ ปลูกจิตสำนึกความอ่อนน้อมถ่อมตน

ขอบข่ายเนื้อหา

๒.๑ ขั้นตอนมารยาท การนั่ง การยืน การเดิน การไหว้ การกราบ การส่งของ การรับของ ๒.๒ การปฏิบัติด้วยความอ่อนโยนต่อผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตนเอง ๒.๓ ทำเพราะเป็นความดี มิใช่การบังคับ ทำเพื่อทำ ไหว้เพื่อไหว้ กราบเพื่อกราบ เป็นการยกระดับจิตใจ

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

๓.๑ วิ ท ยากรนำเข้ า สู่ กิ จ กรรมด้ ว ยคำพู ด ที่ เ ป็ น ข้ อ คิ ด สะกิ ด ใจ “บุคคลผู้เจริญแล้ว ย่อมมีวาจาต้องอ่อนหวานไพเราะ กิริยา สุ ภ าพเรี ย บร้ อ ย อ่ อ นโยน/แสดงมารยาทไม่ ช้ า จนอื ด อาด และไม่เร็วขึ้นจนลุกลี้ลุกลน” ๓.๒ วิทยากรบอกถึงอานิสงส์ของความอ่อนน้อมถ่อมตน และแนะนำ วิ ธี ก ารปฏิ บั ติ เ มื่ อ ได้ ยิ น สั ญ ญาณ สั ญ ญาณ ๑ ทั้ ง หมด “เตรียม” ชายคุกเข่าขึ้น ฝ่าเท้าตั้งเข่าห่าง มือวางที่หน้าเข่า

88

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


เป็นท่าเทพบุตร หญิง คุกเข่าขึ้น ฝ่าเท้าราบเข่าชิด มือวาง ที่หน้าเข่า เป็นท่าเทพธิดา สัญญาณ ๒ ทั้งหมด “กราบพระพร้อมกัน” ทุกคนเปล่งวาจาว่า อั ญ ชลี พร้ อ มพนมมื อ เป็ น ดอกบั ว อยู่ ร ะหว่ า งอก วั น ทา พร้ อ มยกมื อ ที่ พ นมขึ้ น จรดใบหน้ า น้ อ มศี ร ษะเล็ ก น้ อ ย ส่วนปลายนิ้วหัวแม่มือจรดที่ระหว่างคิ้ว อภิวาท หมอบกราบ ที่พื้น แบมือห่างกันเท่าผลส้มเกลียง หน้าผากแตะพื้น ๓.๓ ให้ผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติพร้อมสลับการยืน การเดินผ่านพระ การพนมมือ การสำรวม การพูด

สื่อ/อุปกรณ์

๔.๑ วีดิทัศน์เรื่อง เด็กน้อยน่ารัก, ความอ่อนน้อมของในหลวง ๔.๒ เครือ่ งฉายโปรเจคเตอร์

คุณธรรมที่ได้รับ

๕.๑ ความอ่ อ นน้ อ มถ่ อ มตนเป็ น มงคลของชี วิ ต บุ ค คลที่ เ จริ ญ ย่อมปฏิบัติตนให้เป็นคนไหว้คน ไม่ใช่คนใหญ่กว่าคน พรสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข พละ ย่อมเจริญแก่คนที่มีการกราบไหว้ เป็นปกติ ๕.๒ ให้สุขกับผู้อื่น เหมือนสุขตัวเอง ให้ทุกข์กับผู้อื่น เหมือนให้ทุกข์ กับตัวเอง ๕.๓ ความอ่อนโยน (มัททวัง) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพ ในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส และอ่อนโยนต่อ บุคคลที่เสมอกันและต่ำกว่า คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

89


90

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


แผนการจัดกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง เป้าหมายชีวิต

วัตถุประสงค์

๑.๑ เพื่อให้มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ และอบายมุข ๑.๒ เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ๑.๓ เพื่อให้ผู้รับการอบรมมีทักษะในการแก้ปัญหาชีวิต

ขอบข่ายเนื้อหา

๒.๑ รางวัลแห่งการเรียนรู้ “ความล้มเหลว” ๒.๒ การมองหาสิ่งสูงส่งที่สุด ดีที่สุดในตัวบุคคล ๒.๓ ศรัทธาต่อการมีลมหายใจ

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

๓.๑ วิทยากรเตรียมความพร้อม แก้วน้ำ ๔ ใบ ถาดรอง เหยือกน้ำ ๓.๒ วิทยากรนำเข้าสู่กิจกรรมด้วยคำพูดที่เป็นคำถามว่า “ใครรู้บ้างว่า ชีวิตพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร วันนี้คุณได้ทำชีวิตยิ่งใหญ่หรือยัง/ ความยิ่งใหญ่ที่ไม่ต้องพาดหัวข่าวหน้าหนึ่ง หรือออกรายงาทีวี/ ความยิ่งใหญ่ที่ว่านี้เป็นวิถีชีวิต ความยิ่งใหญ่ เป็นเรื่องของการ ให้ความสำคัญแก่คนว่าเขาเป็นใครมากกว่าสิ่งที่ครอบครอง/ ความเอิบอิ่มที่อยู่บนใบหน้ามากกว่าตำแหน่งที่อยู่ในนามบัตร

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

91


คนส่วนใหญ่ในโลกนี้เป็นคนดีที่ทำแต่สิ่งดี ๆ เราไม่ควรจะปล่อย ให้เสียงในแง่ลบกลบเสียงแห่งความดีรอบ ๆ ตัวเรา” ๓.๓ เข้าสู่กระบวนการด้วยแก้วน้ำ ๖ ใบ วิทยากรถามผู้เข้าอบรมว่า ตัวเราเป็นแก้วประเภทไหน โดย หาวิธีในการให้ผู้เข้าอบรมมีส่วนรวมในการอธิบายแก้วทั้ง ๖ ใบ และวิ ท ยากรสรุ ป โดยนำเอาอาการของคนที่ จ ะเข้ า อบรม มาเปรียบเทียบกับแก้วทั้ง ๖ ใบ ๓.๔ วิทยากรนำเข้าสู่กิจกรรมที่สอง ช่วงแรก ให้ผู้เข้าอบรมเป่ายิ่งฉุป ใครชนะให้กำมือขวาไว้ ใครแพ้ต้องแกะมือที่กำ ของผู้ชนะออกมาให้ ได้ เริ่มให้สัญญาณในการเล่น หลังจากนั้นให้สลับกันไปมา พอสมควรแก่เวลา ช่วงสอง วิทยากรถามว่า ใครที่สามารถเอามือเพื่อนที่กำอยู่ออกโดยที่เพื่อน ไม่เจ็บ ยกมือขึ้น แล้วเชิญมาหน้าเวที ให้ผู้เข้าอบรมได้แสดงให้ดูว่า มีวิธีการ ทำอย่างไร ช่วงสาม วิทยากรสรุปการเรียนรู้จากกิจกรรม มือที่กำเหมือนใจ การเปิดใจ จะช่วยให้เราเห็นโลกกว้าง ทุมเทใจในการฝึก การเรียนให้เต็มที่ เต็มร้อย ๓.๕ วิทยากรนำเข้าสื่อธรรมะ กำลังใจ สื่อคนเก่งหัวใจแกร่ง, นิก, สมจิ ต ร จงจอหอ ไม่ เ ริ่ ม ก็ ไ ม่ ช นะ และสื่ อ PowerPoint เรื่อง Plan of Life

92

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


๓.๖ ประเด็นชวนคุย - เป้าหมายชีวิตของพวกเราเป็นอย่างไร (ความฝัน ความคาดหวัง ความชื่นชอบ…) - ถ้าเราอยากให้ชีวิตของเราเป็นไปตามที่เราคาดหวังเราต้อง ทำอย่างไร - คุ ณ ธรรมข้ อ ใดบ้ า งที่ จ ะช่ ว ยนำชี วิ ต ของเราไปสู่ เ ป้ า หมาย ได้อย่างสมบูรณ์ สวยงาม

สื่อ/อุปกรณ์

๔.๑ สื่อวีดิโอเกี่ยวกับเรื่องที่จะบรรยายเรื่อง กำลัง PowerPoint ๔.๒ เครือ่ งฉายโปรเจคเตอร์ ๔.๓ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

คุณธรรมที่ได้รับ

๕.๑ วิธีมอง วิธีคิด วิธีวิเคราะห์ ที่เป็นสัมมาทิฐิ ๕.๒ กระบวนการคิดแบบอิริยสัจ ๔ ๕.๓ ทักษะการฟังวิถีพุทธ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

93


เอกสารประกอบการจัดกิจกรรม ๓ เรื่อง พลังแห่งความรักความเมตตา

แก้ว ๖ ใบ ใบที่ ๑ ใบที่ ๒ ใบที่ ๓ ใบที่ ๔ ใบที่ ๕ ใบที่ ๖

น้ำล้นแก้ว คือ ผู้ที่ไม่ยอมรับฟังอะไร ถือตัวเองรู้มากแล้ว จนรับไม่ไหว น้ำเต็มแก้ว คือ คนที่ไม่ต้องการรับรู้อะไรอีก ถือตัวเองรู้พอแล้ว น้ำครึ่งแก้ว คือ คนที่มีความรู้พอประมาณตนเอง สามารถรับความรู้ใหม่

เพิ่มได้ แก้วน้ำล้ม คือ คนที่ไม่อยากจะรู้อะไร เพราะความรู้ที่ตนมีก็รักษาไม่อยู่ แก้ ว น้ ำ คว่ ำ คื อ คนที่ ปิ ด กั้ น ตนเองไม่ เ ปิ ด โอกาสรั บ รู้ อ ะไร ย่ อ มโง่ อยู่อย่างนั้น แก้วน้ำเปล่า คือ คนที่พร้อมอยู่เสมอ ทำตัวให้ว่าง ยอมรับความรู้ใหม่ ๆ เข้ามาใส่ตนเองเมื่อมีโอกาส

สื่อกำลังใจ สิ่งสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้ปมด้อยมาเกาะกินรบกวน และรังควาน ชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดและยุติธรรมต่อตัวเราเท่าใดนัก เพราะมันรังแต่จะทำให้ เราอับอาย เบื่อหน่าย ท้อแท้ ท้อถอย และเป็นทุกข์ สิ่งที่ควรทำทันที คือ ละลายมัน

ออกไปจากความรู้สึกเบื้องลึกเสีย ซึ่งข้อควรปฏิบัติอย่างแรกก็คือ ยืดอกยอมรับมัน อย่างเต็มใจ เมื่อเราสนใจอะไร สิ่งนั้นจะทวีความสำคัญขึ้นมา กฎแห่งการดึงดูด คือ พลังงานที่เราส่งออกสู่โลกจะย้อนกลับมาหา เราเสมอ การให้อภัยที่แท้จริง คือการเลิกคาดหวังว่าอดีตน่าจะเปลี่ยนไปอีกแบบ จงนำความสุขมาสู่ชีวิต ให้เรารู้สึกถึงในหัวใจทุกวัน เราต้องพร้อม และยอมปล่อยสิ่งเก่า ๆ ออกไปจากชีวิต สิ่งใหม่ ๆ จะเข้ามาในชีวิตเราไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้สึกขอบคุณที่เราได้มีชีวิต จงรักตัวเองอย่างที่สุด 94

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


แผนการจัดกิจกรรมที่ ๔ เรื่อง พลังแห่งความรักความเมตตา

วัตถุประสงค์

๑.๑ เพื่อปลูกฝังความรักความเมตตาในใจของนักเรียน ๑.๒ เพือ่ ให้มีจิตสาธารณะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ๑.๓ เพือ่ ให้มีความสงบในจิตใจ

ขอบข่ายเนื้อหา

๒.๑ คุณธรรมที่ยิ่งใหญ่ คือ ความรักความเมตตา ๒.๒ การพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์ ๒.๓ การไม่เบียดเบียน

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

๓.๑ ให้ ผู้ เ ข้ า อบรมนั่ ง หั น หน้ า เข้ า หากั น จ้ อ งตากั น ๒ นาที โดยมีเงื่อนไขว่า มองเข้าไปในนัยตาดำของเพื่อนที่อยู่ข้างหน้า หากหัวเราะ หรือ ไม่ยอมมองตากัน แสดงถึงความไม่จริงใจต่อกัน ๓.๒ วิทยากรถามว่า เห็นใครในตาข้างหน้าเรา คำตอบก็คือ ตัวเราเอง ฉะนั้นคนที่อยู่ข้างหน้าเรา ก็คือตัวเราเอง ๓.๓ วิทยากรให้ทุกคนว่าตาม ขอให้เธอโชคดี ขอให้เธอมีความสุข ขอให้เธอประสพความสำเร็จ และภาวนาในใจคำว่า ขอให้เธอ โชคดี พร้อมเปิดเพลงเมื่อดอกรักบาน แล้วให้ทุกคนจับมือกันไว้

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

95


สื่อ/อุปกรณ์

- สื่อ PowerPoint เรื่องพลังหัวใจยิ่งใหญ่ทุกวัน

คุณธรรมที่ได้รับ

๕.๑ เมตตาธรรมค้ำจุนโลก ๕.๒ เราเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันกับจักรวาล ๕.๓ รักและเมตตา คือคำตอบในการแก้ปัญหาชีวิต

96

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


เอกสารประกอบการจัดกิจกรรม ๕ เรื่อง พลังแห่งความรักความเมตตา บทบรรยาย “พลังหัวใจยิ่งใหญ่ทุกวัน”

ถามก่อน ใครรู้บ้างว่า ชีวิตพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร วันนี้คุณได้ทำชีวิตยิ่งใหญ่หรือยัง/ความยิ่งใหญ่ที่ไม่ต้องพาดหัวข่าว หน้าหนึ่ง หรือออกรายงานทีวี/ความยิ่งใหญ่ที่ว่านี้เป็นวิถีชีวิต ความยิ่งใหญ่ เป็นเรื่องของการให้ความสำคัญแก่คนว่าเขาเป็นใครมากกว่าสิ่งที่ครอบครอง/ ความเอิบอิ่มที่อยู่บนใบหน้ามากกว่าตำแหน่งที่อยู่ในนามบัตร แรงจูงใจมากกว่า ความสามารถ คนส่วนใหญ่ในโลกนี้เป็นคนดีที่ทำแต่สิ่งดี ๆ เราไม่ควรจะปล่อยให้เสียง ในแง่ลบกลบเสียงแห่งความดีรอบ ๆ ตัวเรา

PowerPoint ๑ ทุกคนยิ่งใหญ่/ กิจกรรม/สัมผัส เมตตา…การกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ในวันนี้ของเรา จะมี ผ ลทวี คู ณ มากมายในอนาคต.....บ้ า นโฮมพุ ท เตย จั ง หวั ด กาญจนบุ รี เจ้าแม่....คนจ้างมาฆ่า แต่กลับไม่ทำอะไร

PowerPoint ทุกคนยิ่งใหญ่/ ท่ามกลางความมืดมิดกลางทะเลในคืนที่หมอกลงจัด กัปตันเรือเห็น

สิ่งที่เหมือนกับแสงไฟ จากเรืออีกลำหนึ่งกำลังแล่นตรงเข้ามาที่เรือของตนเมื่อเห็น เช่นนั้น เขาจึงสั่งพนักงานส่งสัญญาณให้ติดต่อกับเรือด้วยรหัสแสงไฟข้อความสื่อสาร นั้นคือ “หันหัวเรือของท่านไปทางทิศใต้สิบองศา” คำตอบที่กลับมาคือ “หันหัวเรือ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

97


ของท่านไปทางทิศเหนือสิบองศา” กัปตันเรือตอบมาว่า “ผมเป็นกัปตันเรือ เพราะ ฉะนั้น จงหันหัวเรือของท่านไปทางทิศใต้สิบองศา” คำตอบคือ “ผมเป็นกะลาสี

ชั้นเอก หันหัวเรือของท่านไปทางทิศเหนือสิบองศา” ข้อความโต้ตอบครั้งสุดท้าย ทำให้กัปตันเรือโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงเขา จึงส่งสัญญาณกลับไปว่า “เราเป็นเรือรบ หั น หั ว เรื อ ของท่ า นไปทางทิ ศ ใต้ สิ บ องศา” คำตอบคื อ “เราเป็ น ประภาคาร หันหัวเรือของท่านไปทางทิศเหนือสิบองศา”

เนื้อหา เมื่ อ เราทำร้ า ยผู้ อื่ น หรื อ ทำร้ า ยสั ง คมไม่ ว่ า จะทางใดก็ ต ามเรากำลั ง ทำร้ายตัวเราเองด้วย ถ้าเราเอาศีรษะของเราชนกับเสา เสาก็ชนเรากลับด้วยแรง ที่เท่า ๆ กับที่เราชนมัน แล้วเรานั่นเองที่รู้สึกเจ็บ นี่คือกฎของแรงกิริยาเท่ากับแรง ปฏิกิริยา นักดาบตายเพราะดาบ คำนี้ย้ำเตือนให้เราระลึกว่าถ้าเรารุนแรงต่อผู้อื่น เราก็จะได้รับความรุ่งแรงเช่นกัน ถ้าเราทำร้ายผู้อื่น ผู้อื่นก็จะทำร้ายเรากลับด้วย แต่ถ้าเรารักผู้อื่น เราก็จะได้รับความรักกลับคืน ถ้าเราอยากมีความสุขเราควรทำให้ ผู้อื่นมีความสุขเสียก่อน ดังนั้น เราควรรักทุกคน และรับใช้ทุกคน

98

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


พลังหัวใจยิ่งใหญ่ทุกวัน EVERYDAY GREATNESS

จากหนังสือ Everyday Greatness พลังหัวใจยิ่งใหญ่ทุกวัน โดย Stephen R.covey

ปัจจัยที่นำพาไปสู่พลังหัวใจยิ่งใหญ่

- มีศรัทธา - หลักการ - ลงมือกระทำ

ทุกๆ คนยิ่งใหญ่ได้ด้วย - ด้วยกำลังใจที่มอบให้แก่ผู้อื่น - ด้วยความเมตตาที่มอบให้แก่ผู้อื่น - ด้วยการเสียสละ แม้ว่าชีวิตบนโลกนี้ จะเหลือเพียงไม่กี่วัน - ด้วยชีวิตที่เป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นชื่นชม และเจริญรอยตาม - ความยิ่งใหญ่มาจากการกระทำที่มาจากใจ

ชีวิตที่มีความหมาย - ทำตัวให้เป็นประโยชน์ - ชีวิตที่เสียสละ - ชีวิตที่มีแต่ความเมตตา - ชีวิตที่เต็มไปด้วยความใส่ใจ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

99


แผนการจัดกิจกรรมที่ ๕ เรื่อง กิจกรรมนันทนาการ

วัตถุประสงค์

๑.๑ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความสนุกสนานผ่อนคลายก่อนเริ่ม กิจกรรมอื่น ๆ ๑.๒ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมไม่เบื่อหน่ายกับการเข้าค่ายคุณธรรม ๑.๓ เพื่อความกระตุ้นความสนใจในกิจกรรมที่นำเสนอ

ขอบข่ายเนื้อหา

๒.๑ กิจกรรมประกอบท่าทาง ๒.๒ เกมนันทนาการ ๒.๓ ข้อคิด คำคม

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

100

- วิทยากรนำเข้าสู่กิจกรรม ด้วยท่าทางประกอบคำพูด เกริ่น

เกมประกอบท่าทาง - - -

ตั้งใจทำ ทำด้วยใจ มีจุดยืน มีพื้นฐาน ใช้ปัญญา ก้าวไปข้างหน้า สงบ สง่า ภาวนา เรามีความกล้า เรามีความพยายาม ปัญหาใด ๆ เราไม่เคยหวั่น ต้องฟันฝ่าถึงเส้นชัย

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


เกมต่าง ๆ

กิจกรรม

ท่าทางประกอบเพลง

- - - -

ดอกไม้ ผีเสื้อ สติเท้า สติมือ สติใจ รับไม่ต้าน นักรบ นักรัก

- - - -

กระจกเงา เจ้าลาโง่ TRY ช่างตัดผ้า

- smile meditation - ใจใส ๆ โลกสวย

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

101


คำบรรยายแม่ พ่อแม่รัก บางทีเราก็รั้น อย่างนี้ ท่านก็จะเสียใจ พ่อแม่ยังเห็นเรา เป็นลูกเล็ก ลูกรักเสมอ แม่เมื่อไกลตัว ไกลตา ท่านก็สวดมนต์ไหว้พระ ใครคนหนึ่ ง ร้ อ งไห้ เ สี ย ใจ กั บ ...นานแค่ ไ หนแล้ ว ครั บ …ที่ เ ราไม่ ไ ด้ รอยยิ้ม แววตาที่แสนจะมีความสุข และนานเท่าไรแล้วที่เราไม่ได้กินข้าว รินน้ำ แล้วนั่งทานข้าวพ่อแม่ลูก ยังจำได้บ้างไหมว่า คำแรกที่เราพูดได้…กลับจากงานมา เหนื่อยเหลือเกิน ครั้งหนึ่งลูกสนใจที่จะฟัง ร้องไห้ทุกครั้งเมื่อห่างแม่ สองเท้า สองมือ หนึ่งปาก ขยี้หัวใจ เราไม่ได้สนใจต่อคำอ้อนวอน คำขอร้องของแม่พ่อว่า อย่านะลูก ๆ หลายคำพูด มันยังก้องอยู่ในความรู้สึกของเราอยู่หรือป่าว เราเบื่อที่จะฟังเสียงบ่น เสียงด่า แต่รู้ไหม เสียงบ่น เสียงด่า จะอยู่กับเรา ไม่ได้นานหรอกนะลูก ทุกอย่างที่เสียไป เราอาจหาได้ใหม่ เว้นแต่แม่ที่ล่วงลับไปแล้ว เราไม่สามารถที่หาใหม่ได้ ฟังเค้าบ้าง สนใจเค้าบ้าง นักเรียนทุกคนครับ จะมีซัก ครั้งไหม ที่ลูกคนนี้เข้าไปจับที่มือแม่ นวดที่ขา ถามไถ่ด้วยความเป็นห่วง ใบหน้าที่เหี่ยวย่น สองมือของแม่ที่หยาบกร้าน สองขาของแม่ที่เส้นขอด นี้คือ ประจักพยานที่คอยตอกย้ำให้ลูก สำนึกถึงความยากลำบากของแม่ที่ยอมอุทิศ

เพื่อเลี้ยงดูลูก เบื้องหลังความหล่อ ความเท่ห์ ความสวยของลูก คือ ความน่ารังเกียจ ของพ่ อ แม่ ทุ ก ครั้ ง ที่ อ อกจากบ้ า นไปทำงาน ดู เ สื้ อ ผ้ า ที่ เ ขาใส่ สิ เบื้ อ งหลั ง

เสียงหัวเราะของลูก มันคือ เสียงร้องไห้ของพ่อแม่ กี่ครั้งแล้วที่เราทำให้ท่านร้อง กี่ครั้งแล้วที่เราไม่เคยยอมท่าน แม่ยอม ให้ลูกได้ทุกอย่าง ไม่ว่าลูกจะเอาเปรียบแม่สักปานใด ลูกจะรู้ไหมว่าพ่อแม่ นอนมือ ก่ายหน้าผาก ทุกข์ใจกับพฤติกรรมของลูก

102

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


เจ้าคือความหวังของพ่อแม่ วั น ที่ ลู ก ชายไม่ อ ยู่ บ้ า น กลั บ บ้ า นดึ ก …ลู ก ๆ ทุ ก คนเชื่ อ ไหมว่ า ความรู้สึกห่วงใยกังวล เกิดขึ้นในใจของพ่อแม่ ใครจะทำลายลูกเรา ได้ยินข่าวไม่ดี เกี่ยวกับลูกยิ่งนอนไม่หลับ ลูกบางคนเห็นเพื่อนดีกว่าแม่ เสียงหัวเราะที่สดใส ที่เคยมีอยู่ประจำทุกค่ำเช้า วันนี้ดูเงียบสงัดไป พ่ อ แม่ ก ำลั ง รอการกลั บ มาของลู ก ด้ ว ยสายตาที่ เ ปี่ ย มด้ ว ยความรั ก ถวิ ล หา ด้วยสายใยแห่งรักที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย ยามล้มกลิ้งใครหนอวิ่งเข้าช่วย แล้วปลอบด้วยคำหวานกล่อมขวัญให้ พร้อมจูบที่เจ็บชะมัดปัดเป่าไป ผู้นั้นไซร้…ที่แท้…แม่ฉันเอง แม่ไม่หิว ถ้าลูก ไม่อิ่มก่อน แม่ไม่นอน ถ้าลูก ไม่หลับสนิท แม่เลี้ยงดู ปลูกใจ อยู่ใกล้ชิด แม่อุทิศ ทุกสิ่ง อย่างจริงใจ ร่างกายของแม่ดูอิดโรยซูบผอมไป ตรากตรำทำงานหนัก เหน็ดเหนื่อย แทบขาดใจ ก็เพื่อจะหาเงินมาเลี้ยงดู ให้ลูกได้ใช้จ่าย ให้ได้รับการศึกษา เผื่อวันข้างหน้า ลูกของแม่คนนี้ จะมีความเป็นอยู่ที่ดี สุขสบายกว่าแม่คนนี้ กำลังใจที่จะต่อสู้เพื่อ ลูกมีอยู่เต็มเปี่ยมในหัวใจของแม่ แล้วลูกล่ะ เคยคิดถึงแม่ และคิดจะทำอะไรเพื่อแม่ บ้างหรือเปล่า? ลูก ๆ ลองมองด้วยใจเป็นธรรมบ้างเถิด แล้วลูก ๆ จะได้รับคำตอบว่า ใครหนอ รักเราเท่าชีวี ใครหนอ ปรานีไม่เสื่อมคลาย ใครหนอ รักเราใช่เพียงรูปกาย รักแล้วมิหน่าย มิคิดทำลาย ใครหนอ? คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

103


ลูก ๆ ที่รักทั้งหลาย ในขณะที่ เ ราอยู่ ใ นท้ อ งของแม่ นั้ น แม่ ไ ม่ เ คยตั้ ง ความรั ง เกี ย จ หรื อ รำคาญในตัวลูกแม้แต่น้อย ทั้ง ๆ ที่แม่นั้นหมดความสะดวกสบายในหลาย ๆ ด้าน แม้ แ ต่ อ าหารการกิ น แม่ ต้ อ งคอยระมั ด ระวั ง เกรงว่ า ลู ก ในครรภ์ จ ะได้ รั บ

อั น ตราย แม่ ไ ม่ รู้ ห รอกว่าลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ของแม่นั้น เป็นใครมาจากไหน มาจากนรกขุมไหน หรือจากสวรรค์ชั้นใด แม่จะคิดเสมอว่า “เราจะได้ทำหน้าที่ อันยิ่งใหญ่” ลูก ๆ ทั้งหลาย แม่รู้อยู่ตลอดเวลาว่า วันหนึ่งข้างหน้านี้ เป็นวันที่แม่ จะต้องเจ็บปวดที่สุด ทรมานที่สุด จะต้องเสี่ยงกับความตาย แต่แม่ก็พร้อมและเต็มใจ ที่จะเผชิญหน้ากับวันนั้น และตั้งใจรอวันนั้นด้วยใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรัก วันนั้น…วันที่แม่เกือบเอาชีวิตไม่รอด กลับเป็นวันที่…บัดนี้ ลูก ๆ ลืมนึกถึงผู้หญิง คนนั้นจนหมดสิ้น จัดงานวันเกิดอย่างยิ่งใหญ่ สนุกสนานร่าเริง ลืมนึกถึงบุคคล ผู้มีพระคุณอย่างมากล้นผู้นี้อย่างน่าสลดใจ…ขอให้ลูก ๆ ทุกคนน้อมใจ นึกถึงภาพ ของแม่ที่กำลังคลอดลูก ที่ได้ดูผ่านไปแล้วเมื่อสักครู่นี้ กว่าที่แม่จะคลอดลูกออกมา ได้ นั้ น แม่ ต้ อ งเจ็ บ ปวดทรมานขนาดไหน ดั ง นั้ น ในวั น คล้ า ยวั น เกิ ด เช่ น นี้ พระอาจารย์จึงขอให้ลูก ๆ ทั้งหลาย ปรับตัวเองเสียใหม่ อย่ามัวสนุกสนานร่าเริง อยู่เลย ในวันที่แม่ของเราเกือบเอาชีวิตไม่รอดเช่นนี้ ทำสิ่งดี ๆ ทำให้ท่านสบายใจ เพื่อตอบแทนท่านบ้าง ไปกราบท่าน มอบสิ่งดี ๆ ให้ท่าน เท่านี้ก็เป็นการตอบแทน บุ ญ คุณ ต่ อ บุ ค คลผู้ ที่ ยอมสละได้แม้ชีวิต เลิกเสียทีกับการจัดงานฉลองวันเกิด เพราะ วันเกิดลูก เกือบคล้าย วันตายแม่ เจ็บท้องแท้ เท่าไร แม่ไม่บ่น กว่าอุ้มท้อง กว่าคลอด รอดเป็นคน เติบโตจน บัดนี้ นี่เพราะใคร แม่เจ็บเจียน ขาดใจ ในวันนั้น กลับเป็นวัน ลูกฉลอง กันผ่องใส

104

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ได้ชีวิต แล้วก็เหลิง ลืมผู้ให้ ชีวิต ไฉนเรา เรียกกัน วันผู้ให้ กำเนิด คำอวยพร ที่เขียน ให้มารดา คุณเป็นสุข เลิกจัดงาน วันเกิด ควรที่จะ คุกเข่า รำลึกใน พระคุณ อย่ามัวแต่ จัดงาน (เปิดเพลงแว่วเสียงแม่-เพลงบูชาบุพการี)

ระเริงใจ อนิจจา ว่าวันเกิด จะถูกกว่า ควรเปลี่ยนมา จึงถูกแท้ กันเถิดนะ กราบเท้าแม่ อบอุ่นแด ประจานตัว

ลูก ๆ ที่รักทั้งหลาย ในบางครั้ง หากลูก ๆ กระทำผิด มีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ แม่เท่านั้น ที่จะคอยเป็นกำลังใจ ปลอบขวัญ และหาทางออกที่ดีให้เสมอ แม่ไม่เคยซ้ำเติม ดุด่า

ให้ลูกเสียกำลังใจ แม่จะคอยปกป้องคุ้มครองให้ลูกปลอดภัย หากลูกเจ็บป่วยไม่สบาย หรือมีอุบัติเหตุเภทภัยต่าง ๆ ดวงใจของแม่ประหนึ่งว่าจะแตกสลายไปพร้อม ๆ กับลูก ๆ แม่อยากเป็นผู้มีส่วนแบ่งเบาบรรเทาทุกข์ เอาความเจ็บปวดนั้นมากองไว้ ที่ตัวแม่คนนี้เสียเอง ดังคำกล่าวที่ว่า เพียงคำน้อย แม่ไม่เหน็บ ให้เจ็บจิต ผิดเท่าผิด ถือว่าบุตร สุดจักหา แม้ชีวิต แม่ก็ ให้ เมื่อภัยมา ขอลูกยา ได้อยู่รอด ปลอดภัยพาล

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

105


(ตัวอย่าง) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเยาวชน : ค่ายคุณธรรมจริยธรรม ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

106

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

107


กิจกรรมการเข้าค่าย ๔ วัน ๓ คืน (กระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม) การเข้าค่ายคุณธรรม การเข้าค่ายคุณธรรม เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่เปิดโอกาส ให้เยาวชนได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่วัย ได้พัฒนาตนเองและ สร้างสรรค์สังคม โดยรู้ซึ้งถึงหลักธรรม มีความรักความศรัทธา มีความใกล้ชิดกับ พระพุทธศาสนา ขอบข่ายการอบรม ๑. ภาควิชาการพระพุทธศาสนา ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ธรรมประยุกต์ คือ การแนะนำหลักธรรมเพื่อมาผสานกับการดำเนินชีวิต ศาสนพิธี สร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับศาสนพิธี มรรยาทไทย เพื่อความเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามของไทย เป็นต้น ๒. ภาคอบรมจิ ต ใจ มี ก ารทำวั ต รสวดมนต์ เจริ ญ สมาธิ ภ าวนา เดินจงกรม แผ่เมตตา เป็นการปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่วัย เป็นการฝึกความแน่วแน่ และความอดทนของจิต อันจะนำมาซึ่งการเข้าใจในอารมณ์และจิตใจของตน ๓. ภาคนั น ทนาการ หรื อ กิ จ กรรมที่ ส่ ง เสริ ม จริ ย ธรรมและปลู ก ฝั ง เจตคติที่ดีสำหรับเยาวชน เช่น เกมคุณธรรม นำความบันเทิงมาผสมกับคุณธรรม สรภัญญะ เป็นบทสวดทำนองส่งเสริมให้เกิดสติปัญญา เกิดความแช่มชื่นแก่จิตใจ การโต้วาทีธรรมะ เป็นต้น ๔. กิจกรรมพิเศษ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมและทัศนคติที่ดี เช่น แสงเทียนแสงธรรม ที่มีเป้าหมายเพื่อรำลึกถึงพระคุณแม่ กิจกรรมจุดเทียน ปัญญา เป็นการสร้างสำนึกให้เด็กรู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบในการกระทำ ความดี การทอดผ้าป่ากิเลส เป็นการบำเพ็ญสัจจะบารมี ละเลิกความชั่ว และตั้งใจ ทำแต่ความดี เป็นต้น

108

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ผลการดำเนินเชิงคุณภาพ โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องปราม และ สร้ า งภู มิ คุ้ ม กั น ที่ ดี ใ ห้ กั บ เด็ ก และเยาวชน เพื่ อ ให้ เ ด็ ก ได้ รั บ การพั ฒ นาจิ ต และ สร้างเสริมการเรียนรู้ด้วยปัญญา จนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง มีเหตุผล และคุณธรรม ตามหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนมีจิตสำนึก ที่ดีต่อตนเองและบุคคลอื่น เห็นคุณค่าของการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม และมีความตั้งใจจริงที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นคนดีของครอบครัว และ ไม่กลับมากระทำผิดซ้ำ อันเป็นการวางรากฐานชีวิตของเด็กให้มีคุณภาพที่ดี ใน ระยะยาว นำไปสู่การพัฒนาความสามารถและทักษะในการดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่น และสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างมีสติปัญญาและคุณภาพ พึ่งตนเองได้ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม “ค่ายคุณธรรมจริยธรรม” ได้ร่วมเรียนรู้ในการจัดค่ายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรมเช่นเดียวกับเด็กในปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจ ให้ผู้ปกครองได้เห็นประโยชน์จากการเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม ให้ผู้ปกครองได้ใช้ เวลาและมีความใกล้ชิดกับเด็กในปกครองมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างครอบครัวอบอุ่น ให้ผู้ปกครองสามารถเป็นต้นแบบในการมีความรับผิดชอบ มีวินัย มีการควบคุม อารมณ์ และการช่วยเหลือหรือเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ให้ผู้ปกครองรู้จักส่งเสริมให้เด็ก

ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชน ในด้าน คุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งให้ผู้ปกครองได้เรียนรู้วิธีการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ของเด็ ก โดยใช้ มิ ติ ท างศาสนา ซึ่ ง จะได้ น ำความรู้ ที่ ไ ด้ รั บ ไปใช้ ด ำเนิ น การอย่ า ง ต่อเนื่องหลังจากกลับไปยังภูมิลำเนาของตนเอง ผลการประเมินโดยรวม จากการประเมินผลจากแบบสอบถามความที่ได้รับหลังจากที่เข้าร่วม โครงการฯ เด็ก เยาวชน และพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่เข้ารับการอบรม พบว่า เด็ก เยาวชน และผู้ ป กครอง ที่ ผ่ า นการอบรมความรู้ แ ละกิ จ กรรมตามวิ ถี ธ รรม และวิถีพุทธในแต่ละฐานการเรียนรู้ของชีวิตประจำวัน จะสามารถนำหลักคำสอน คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

109


ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งการพัฒนากาย คือ การแสดงออกทาง กิริยามารยาท พฤติกรรมที่ดีงามเหมาะสม ไม่นำสิ่งเสพติดเข้าสู่ร่างกายของเรา การพัฒนาศีล โดยการกลับไปอยู่ร่วมกับบุคคลในสังคม ด้วยความเกื้อกูลและ ประกอบอาชีพที่สุจริต การพัฒนาจิต ให้เป็นจิตที่สมบูรณ์ ทั้งคุณภาพจิต พลังจิต และสุ ข ภาพจิ ต และการพั ฒ นาปั ญ ญา ให้ เ กิ ด ปั ญ ญาในการรู้ จ ริ ง รู้ เ ท่ า ทั น

ทางเจริญทางเสื่อม โดยคาดหวังว่าการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครู อาจารย์ เป็ น พ่ อ แม่ ผู้ ป กครองที่ ดี ข องบุ ต รหลาน เป็ น เพื่ อ นที่ ดี ข องเพื่ อ น เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการฯ ๑. เยาวชนกลุ่ ม เป้ า หมายได้ รั บ การพั ฒ นาพฤติ ก รรมและจิ ต ใจ ให้ เ ข้ า ใจเข้ า ถึ ง หลั ก ธรรมในพระพุ ท ธศาสนา รู้ จั ก การเรี ย นรู้ และสามารถ นำหลักธรรมทางศาสนา ประยุกต์ไปใช้ในการดำรงชีวิต อย่างมีเหตุมีผล ๒. สามารถนำมิติศาสนามาสร้างเสริมคุณธรรมให้กับเด็กกลุ่มพิเศษ และผู้ปกครองให้มีจิตสำนึกที่ดีต่อการดำรงตนอย่างมีสติสัมปชัญญะ มีคุณธรรม จริยธรรม เข้าใจในตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ๓. สามารถนำทุนทางสังคมที่มีค่า คือ สถาบันทางศาสนา ให้เป็นที่พึ่ง

ทางใจของคนในสังคมไทย สร้างสังคมแห่งปัญญา ๔. เด็กได้รับการแก้ ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับทัศนวิสัยในการ อยู่ร่วมกันในสังคม มีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจด้วยหลักธรรมในพุทธศาสนา

110

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


สรุปการถวายความรู้พระธรรมวิทยากร การอบรม คือ การติดอาวุธทางปัญญา

การพูดได้มากกว่าหนึ่งภาษา... มีทักษะในด้านใดด้านหนึ่ง จงถามตัวเองว่า มีจุดแข็ง จุดอ่อนอย่างไร จงถามตัวเองว่า ตัวเองมีกลุ่มอารมณ์ใดอยู่บ้าง จงถามตัวเองว่า ตัวเองมีลักษณะอย่างไร

ค่านิยมองค์กรของ ● ● ● ● ● ●

Accountability สำนึกในหน้าที่ Customer Service Mind ใส่ใจผู้รับบริการ Creativity คิดใหม่ Efficiency Excellent มุ่งประสิทธิภาพ Plan for the future คิดไกล มีแผนการ Teamwork เรียนรู้และทำงานเป็นทีม

งาน

นำเสนอโครงการ

๑. จัดระบบงานให้ดี ๒. วางคนให้เหมาะกับงาน ๓. พัฒนาการทำงานเป็นทีม ๔. จัดสภาพการทำงานให้ดี ๑. เขียนโครงการ ๒. ขออนุมัติโครงการ ๓. ดำเนินโครงการ คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

111


๔. ขออนุมัติเบิกเงินทดรองจ่าย ๕. คืนเงินทดรองจ่าย ๖. สรุปโครงการ

คนเชื่อถือ

งานอบรมในอนาคต

- - -

สัญญา เวลา น้ำใจ พูดแล้วต้องจำ ทำสิ่งที่พูดให้ได้

- การอบรมยุคนี้ รู้น้อยเป็นภัย - การอบรมยุคหน้า เวลาเป็นเรื่องสำคัญ - การอบรมยุคใหม่ ต้องไม่ธรรมดา บุคลิกภาพพระวิทยากรที่พึงประสงค์ ลักษณะเด่นของวิทยากร คุณค่าของความเป็นครู คือ การเป็นผู้ที่ไหว้คนอื่นก่อน - พูดแล้วมองสบสายตา - ปราศรัยทักทาย - กระจายยิ้มจากใจ - ให้ความสำคัญงาน

- ทำไปไม่เถียง - หลีกเลี่ยงตำหนิ - ตริตรองแก้ไข - จริงใจเสมอ

การบริหารเวลาที่ดี ควรยึดประสิทธิผลก่อนประสิทธิภาพ การจัดโครงสร้างการทำงาน ๑. วานที่เขาพอใจ ๒. อย่าตั้งเงื่อนไข ๓. ให้เขาตัดสินใจเอง 112

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


การจัดโครงสร้างการทำงาน

การพัฒนาบุคลากร

- - - -

แบ่งงานโดยแยกออกเป็นแต่ละงาน แต่ละแผนก หรือหน่วยงาน มอบหมายงานและความรับผิดชอบตามความถนัดของตน ประสานงานต่าง ๆ ให้ดำเนินไป เพื่อจัดงานออกเป็นกลุ่ม ๆ

๑. การให้ความรู้หรือแนวคิดในการทำงาน ๒. การเพิ่มพูนทักษะในการทำงาน ๓. การเพิ่มพูนคุณวุฒิของผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร ๑. การปฐมนิเทศ ๒. การสอนงาน ๓. การส่งไปดูงาน ๔. การส่งไปศึกษาต่อ ๕. การมอบอำนาจความรับผิดชอบให้สูงขึ้น ๖. การสับเปลี่ยนโยกฝ่ายหน้าที่ ๗. การให้ทำหน้าที่ผู้ช่วย ๘. การให้รักษาการแทน ๙. การให้เข้าร่วมประชุมในโอกาสอันควร ๑๐. จัดคู่มือปฏิบัติงาน ๑๑. การฝึกงานระหว่างการศึกษาอบรม ๑๒. การสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาบุคลากร ๑๓. การฝึกอบรม

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

113


การรับคน

หัวหน้าโครงการการดำเนินการฝึกอบรม

๑. เขาปรับตัวเข้ากับทีมงานได้หรือไม่ ๒. ตั้งใจทำงานหรือไม่ ๓. ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ไหม ๔. ใฝ่ความรู้ก้าวหน้าไม่พร้อมกับองค์กรหรือไม่ ๓ H Hand ลงมือทำ Head สมองคิด Heart ใจพร้อมที่จะทำ

๑. หน้าที่-ภารกิจในการฝึกอบรม ๒. การสร้างและการพัฒนาหลักสูตร ๓. หาทางผลิตสื่อในการฝึกอบรม ๔. เตรียมตัวเป็นวิทยากร ๕. ช่วยให้คำแนะนำ ๖. ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ๗. ลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง ๘. ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ๙. จัดทำโครงการฝึกอบรมตามที่วางแผนไว้ ๑๐. ติดต่อสถานที่อบรม ๑๑. ติดต่อวิทยากรภายในให้เป็นการแน่นอน ๑๒. ประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ๑๓. ติดต่อฝ่ายธุรการเพื่อช่วยทำหนังสือต่าง ๆ ๑๔. ควบคุมดูแลเรื่องต่าง ๆ

114

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


๑๕. ประเมินผลการอบรม ๑๖. ทำรายงานสรุปผล ๑๗. สรุปผล ๑๘. สรุปข้อเสนอแนะ ๑๙. ติดตามผลภายหลังการฝึกอบรม บอกฉันแล้ว ฉันก็ลืมทำ ให้ฉันดู ฉันอาจจำได้ ให้ฉันมีส่วนร่วมด้วย ฉันจะเข้าใจ

หกระยะการทำโครงการ

คุณลักษณะหัวหน้าโครงการที่ดี

ระยะที่หนึ่ง กระตือรือร้น ระยะที่สอง ผิดหวังอย่าท้อแท้ ระยะที่สาม สับสน ไตร่ตรองพิจารณา แล้วตัดสินใจ ระยะที่สี่ ดำเนินไปอย่าถอย ระยะที่ห้า ทำไป ใช้ความพยายาม ระยะที่หก สรรเสริญยกย่องผู้มีส่วนร่วม

๑. อดทน อดทนต่อความลำบาก อดทนต่อความเจ็บปวดเล็กน้อย อดทนต่อความเจ็บใจจากการทำงาน ๒. รู้จักเสียสละ รู้จักเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่องาน สู้ด้วยใจจริงตั้งใจทำงาน ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

115


116

๓. วางตัวให้น่าเชื่อถือ มีความรับผิดชอบ พูดให้เหมาะกับกาล กับสถานที่ มีวาจาสุขุม รอบคอบ ๔. ใฝ่หาความรู้ ใหม่ ๆ อยู่เสมอ อ่อนน้อมและอ่อนโยน เปิดใจกว้าง พูดคุยกับนักปราชญ์ ๕. มีบุคลิกการนำที่ดี สามารถเชื่อมโยงความรู้ มีความเข้าใจทัศนคติที่ดีกับผู้เข้าอบรม ไม่ใช้ความรู้สึกตัวเองในการบริหารจัดการ ๖. สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาได้ เข้าหาและเข้าถึงซึ่งข้อมูลที่เป็นจริง นำสิ่งที่ด้อยมาเป็นจุดเด่น แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และรีบทำ

ลักษณะเด่นของหัวหน้า

๑. มองหน้าสบสายตา ๒. ปราศรัยทักทาย ๓. กระจายยิ้มจากใจ ๔. ให้ความสำคัญ ๕. ฉันจำคุณได้ ๖. ฟังไว้ไม่เถียง ๗. หลีกเลี่ยงตำหนิ ๘. ตริตรองแก้ไข ๙. จริงใจเสมอ คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


วิทยากร บทบาทของวิทยากร

● ● ● ●

บทบาทตามความคาดหมาย บทบาทตามหน้าที่ บทบาทหลังการฝึกอบรม บทบาทตามจริยาภาพ

สร้างความเด่นให้กับตัว

ศึกษาว่าตลาดต้องการอะไรทำมาเป็นข้อมูลในการพูด ● รู้จักเลือกสื่อ ● มีความรู้เป็นปัจจุบัน ● ถ่ายทอดความรู้ ให้เข้ากับเนื้อหา มีจิตวิทยาการถ่ายทอด ● สร้างจุดฝึกอบรม ● ชักจูงโน้มน้าวคนได้ อย่าลืม ๑. อย่าลืมยิ้ม ๒. อย่าลืมให้ ๓. อย่าลืมขอบคุณ ๔. อย่าลืมพ่อแม่ ๕. อย่าลืมตนเอง ความรู้และประสบการณ์ ในเรื่องที่จะทำการสอน ได้แก่ รู้รายละเอียด รู้สาเหตุ รู้สมมติฐานและประยุกต์ความรู้นั้นได้ สามารถในการถ่ายทอด มีความรู้เรื่องจิตวิทยาการสอน ●

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

117


ศิลปะ ลีลา ในการนำเสนอ ● พูดอย่างไร ให้เห็นภาพ ● พูดอย่างไร ให้รู้เรื่อง ● พูดอย่างไร ให้รู้สึก ถ้าเราเห็น เราจะได้ ๒๐% ถ้าเราดู เราจะได้ ๓๐% ถ้าเราฟัง เราจะได้ ๔๐% ถ้าเราอ่าน เราจะได้ ๕๐% ถ้าเราทำ เราจะได้ ๑๐๐% ข้อมูลซึ่งวิทยากรควรนำมาพูด เป็นเรื่องที่เชื่อถือได้ คือต้องเป็นข้อมูลที่วิทยากรเคยใช้ เคยทดลองมาก่อนหรือเคยมีประสบการณ์มาสนับสนุน จะทำให้น่าเชื่อยิ่งขึ้น

เทคนิคในการบรรยาย

เริ่มต้นต้องประทับใจ ทักทายด้วยกลอน มุกสุภาพ หาคำทักทายที่เข้ากับบรรยากาศ จังหวะต้องได้ระดับเสียงสูง-ต่ำ ตามอารมณ์ต้องมีเปลี่ยนมุก เปลี่ยน กิจกรรม ต้องเนียนเป็นอันเนื้อเดียวกัน ปูพื้นเรื่อง จาก ๑ ไป ๒ จาก ๒ ไป ๓ มีรายละเอียดที่ชัดเจน เนื้อหาสร้างสรรค์ กุศโลบายแยบยล ภาษา ศัพท์เฉพาะให้เหมาะกับบุคคล สังเกตอาการสะท้อนต่อคำพูด ต่อกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข ได้ทุกสถานการณ์ 118

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


สิ่งใดที่พึงรู้ได้ด้วยคำพูด แนะนำด้วยคำพูด สิ่งใดที่พึงรู้ด้วยการเห็น ชักนำให้ได้เห็น พูดมากไม่มีเวลาคิด ฟังมากได้ลองคิด คำพูดที่วิทยากรควรหลีกเลี่ยง คำพูดที่ไม่สุภาพ มีความหมาย ๒ แง่ ๒ ง่าม คำพูดซึ่งมีความหมายคลุมเครือไม่ชัดเจนอาจตีความได้หลายอย่าง เป็นคำพูดที่ยากต่อการเข้าใจ เช่น การใช้คำศัพท์ต่างประเทศ ควรพูดจากความ ● จริงใจ ● สุดใจ ● มั่นใจ ● เข้าใจ ● ถึงใจ ● จับใจ ● กินใจ ● จากสุดขั้วหัวใจ

เครื่องปรุงนักพูด มุมมอง

ส่องหา ประสบการณ์

เวลาครบ

นักฝึกอบรม (Training) ทำการใดจงทำอย่างเข้าใจ พร้อมสนใจ หมั่นศึกษาหาความรู้ เก็บรายละเอียดใส่ใจ อย่าเพียงดู สุดท้ายผูต้ ั้งใจ ต้องด้วยหัวใจ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

119


วิธีการบรรยาย

๑. ทักทายผู้ฟังอย่างจริงใจ ๒. บรรยายชัดเจน เน้นตรงจุด ๓. หยุดเมื่อมีเสียงปรบมือจนกว่าจะหยุดปรบมือจึงพูดต่อ ๔. มีกิจกรรม-บรรยายตลอดเวลา ๕. สร้างบรรยากาศให้น่าฝึกอบรม ๖. จัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ๗. สรุปความคิดรวบยอดที่ได้จากการจัดกิจกรรม

ใส่ในการแสวงหาความรู้ ➢ เข้าใจสรรหาเรื่องมาพูด ➢ มองเรื่องให้แตกต่างจากคนอื่น ➢ ต้องเข้าใจอธิบายเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ➢ สาระและความบันเทิงเป็นวิธีการพูด ➢ หยิบยกเรื่องใกล้ตัว ➢ การพูดจะให้สนุกสนานจะต้องมี “แก็ก” มาใช้เหมาะสมกลมกลืนกับเนื้อหา ➢ พูดภาษาวิชาการให้เป็นภาษาชาวบ้าน ➢ พูดสนุก ฟังสบาย การตอบปัญหาที่ไม่สามารถตอบได้ทันที - ชะลอการตอบโดยให้ผู้ถามถามอีกครั้ง - เปลี่ยนเป็นถามผู้ถามเอง - พูดเรื่องอื่น

แยกแยะ

วิทยากรมืออาชีพ ➢

หลักการตอบปัญหา

120

➢ สร้างความรู้ที่หลากหลาย ➢ ร่วมกันแบ่งปันความรู้

➢ เพิ่มพูนสมรรถนะและศักยภาพ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


สูตรสู่ความสำเร็จ

๑. กัลยาณมิตร ๒. ความถนัดส่วนตัว ๓. อิทธิบาท ๔ ๔. วางแผนชีวิต ๕. ติดเป้าหมาย ๖. บริหารกาย ๗. บริหารจิต ๘. ทำงานทุกชนิดให้เป็นสุข ๙. อ่าน พูด เขียน เรื่องการจัดการ

การใช้เกมประกอบการอบรม

เตรียมการที่ดี ➢ ศึ ก ษาข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ผู้ เ ข้ า อบรม วั ฒ นธรรมขององค์ ก รปั ญ หา ที่เกิดขึ้นในการทำงาน ➢ จัดหัวข้ออบรม กิจกรรมให้สอดคล้องกับการแก้ปัญหา ➢ ประสานงานกั บ ผู้ จั ด การอบรม ในการจั ด เตรี ย มสถานที่ แ ละ อุปกรณ์ประกอบการอบรมล่วงหน้า ➢ เตรียมกิจกรรมและเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับความต้องการ ➢ มีศิลปะการถ่ายทอด ➢ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ➢ ใช้เกมสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา ➢ เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์

คำทักทายที่เป็นทางการ

๑. กราบเรียนท่านประธาน ท่านวิทยากร และผู้เข้าอบรมทุกท่าน วันนี้...

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

121


วันนี้...

๒. กราบเรียนท่านผู้อำนวยการ คณาจารย์ และสวัสดีนักเรียนทุก ๆ คน ๓. ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน วันนี้... ๔. ท่านผู้ฟังที่เคารพรักทุกท่าน ๕. สวัสดีเพื่อนนักศึกษาที่รักทุกคน ๖. สวัสดีพ่อแม่พี่น้องชาว...ที่รักทุกคน ๗. สวัสดีท่านสมาชิกผู้เข้าอบรม...ทุกท่าน

เกริ่นนำเรื่อง

➢ ➢

เนื้อเรื่อง

➢ ➢

การจบเรื่อง

พูดกระตุ้นเพื่อให้เห็นความสำคัญของเรื่องที่พูด ทำไมเราจึงนำเรื่องนี้มาพูด (เพราะมันเป็นปัญหา) มีเหตุผลเกี่ยวข้องกับผู้ฟัง มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง เป็นเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ บอกถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาแปลกใหม่และน่าเชื่อว่าทำได้

ท่านผู้ฟังครับ ผมอยากให้ท่านจำไว้เพียงสั้น ๆ ว่า เราทุกคน เป็นลมหายใจของกันและกัน ฉะนั้นการดูแลคนอื่น เหมือนดูแลตัวเราเอง ให้สุขเขา เราสุขเอง ให้ทุกข์เขา เราทุกข์เอง ➢ ท่านผู้ฟัง ผมอยากให้ท่านลองคิดดูนะครับว่า ทุกคนมีเวลาเท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้เวลาอย่างไร ➢ ท่ า นผู้ ฟั ง ครั บ ถ้ า ลองทำตามที่ ผ มแนะนำแล้ ว ท่ า นจะเห็ น จริ ง

ว่าความจนจะไม่อยู่กับคนที่ขยันทำงานหรอกครับ

122

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


การถามปัญหาวิทยากร

กระผม...............................................ตำแหน่ง.......................................... ขอเรียนถามท่านวิทยากรเกี่ยวกับเรื่อง ดังนี้........................................... ขอขอบพระคุณครับ

คำกล่าวขอบคุณวิทยากร เรียน วิทยากรที่เคารพ กระผม ในนามของคณะผู้เข้ารับการอบรม......................ขอขอบพระคุณ ท่านวิทยากรเป็นอย่างสูง ที่ท่านได้กรุณานำความรู้เกี่ยวกับเรื่อง...มาให้พวกเรา อย่างมากมาย ความรู้ที่ท่านมอบให้ในวันนี้......................

พิธีกร

หลักการ ➢ ดำเนินพิธีการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ ➢ รู้ขั้นตอนทั้งหมดของงานว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง ➢ รู้ว่าแต่ละขั้นตอนใครเป็นผู้ทำกิจกรรม ➢ เป็นผู้สร้างบรรยากาศของงาน ➢ เป็นผู้พูดคนแรกและคนสุดท้าย ➢ เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีการนั้น ➢ เป็นผู้ตกลงนัดหมายให้ความรู้เบื้องต้น วิธีการ ➢ ทักทายผู้ฟัง ➢ กล่าวเกริ่นงานว่างานอะไร ➢ มีจุดประสงค์อะไร ➢ บอกชื่อกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ ➢ เริ่มดำเนินกิจกรรมตามลำดับ ➢ ให้ใครทำอะไร คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

123


โฆษก

หลักการ ➢ เพื่อบอกว่างานอะไร ➢ วัตถุประสงค์อะไร มีกิจกรรมอะไรบ้าง ➢ ชักชวนผู้ฟังเข้ามาร่วมงานหรือทำบุญ วิธีการ ➢ ทักทายผู้ฟัง ➢ บอกว่าเป็นงานอะไร ➢ บอกจุดประสงค์ของงาน ➢ บอกกำหนดการในงาน ➢ บอกกิจกรรมหรือพิธีการ ➢ พูดโน้มน้าวใจให้คนมาร่วมงาน เสน่ห์ ➢ ยิ้ม ➢ สบตา ➢ ทักทาย ➢ เสน่ห์วาจา ผู้คนหลงใหล ➢ เสน่ห์ใบหน้า ผู้คนพอใจ ➢ เสน่ห์บริการ ผู้คนบานตะไท

๑. การกำหนดปัญหาให้ถูกต้อง ๒. การตั้งสมมติฐาน ๓. การทดลองและการเก็บข้อมูล ๔. การวิเคราะห์ข้อมูล ๕. การสรุปผล

วิธีคิดค้นคบแบบวิทยาศาสตร์

124

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


วิธีคิดแบบอริยสัจ

กระบวนธรรม (ตามสภาวะ) ก. คิดให้ตรงตามความเป็นจริง ๑. ขั้นกำหนดทุกข์ กำหนดปัญหา ๒. ขั้นสืบสาวสมุทัย ๓. ขั้นเก็งนิโรธ (ตั้งสมมติฐาน) ข. กระบวนวิธีที่จะปฏิบัติ ๔. เป็นหามรรค - พิสูจน์ทดลอง - ตรวจสอบ - ค้นข้อที่ผิดออก

๑. คิด-ทำ-พูดสิ่งที่ดี ๒. เขาสอนไม่โกรธ ๓. ชอบระเบียบวินัย ๔. ชักนำในทางที่ดี ๕. ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์

๑. ตื่นแต่เช้า รีบลุกทันที อย่าบิดขี้เกียจ ๒. เก็บที่นอนรีบอาบน้ำ ๓. หางานทำเบา ๆ อย่านอนเล่นอีก ๔. ดูว่าวันนี้จะทำอะไรบ้าง ๕. คิดพึ่งตนเองเสมอ ๖. ก่อนนอนตั้งใจตื่นว่าจะตื่นเวลาเท่าใด ๗. นอน-ตื่นตรงเวลาโดยใช้นาฬิกาปลุกและต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง

ลักษณะบัณฑิต

วิธีแก้ความขี้เกียจ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

125


ธรรมอันเป็นที่พึ่ง

๑. ความมีกายวาจาถูกต้องดีงาม ๒. ความรอบรู้ในวิชาการ ๓. มีเพื่อนดี สหายดี ๔. ความเป็นผู้ที่ว่าง่าย ๕. ความขยันในกิจธุระหน้าที่ ๖. ความพอใจในธรรม ๗. ความองอาจแกล้วกล้า ๘. ความรู้จักพอ ๙. ความรู้ตัว ๑๐. ความรอบรู้ในโลกและชีวิต

๑. คำสอนที่เป็นกลาง ปฏิบัติสายกลาง ๒. มีหลักการเป็นสากล ๓. ถือสำคัญทั้งสาระรูปแบบ ๔. มุ่งอิสรภาพ ๕. เป็นศาสนาแห่งปัญญา ๖. สอนหลักอนัตตา ๗. มองตามเหตุปัจจัย ๘. เป็นศาสนาแห่งการศึกษา ๙. ให้ความสำคัญทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ๑๐. ให้ตื่นตัวด้วยความไม่ประมาท ๑๑. มองเห็นความทุกข์แต่ปฏิบัติด้วยความเป็นสุข ๑๒. มุ่งประโยชน์สุขเพื่อมวลชน

ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

126

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


เปิดหัวใจของฝ่ายตรงข้าม

๑. มองข้ามข้อบกพร่องของเขาแล้วมองด้านอื่น ๒. ยอมรับดีกว่าโต้เถียง ๓. นั่งเรียงหน้ากระดานกับเขาแล้วสร้างความคุ้นเคยได้ดีกว่า ๔. สนใจคนที่มากับฝ่ายตรงข้ามด้วย ๕. เรื่องที่ตนรู้แล้วบอกว่าไม่รู้ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามพูดเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่

ยุทธวิธีทางด้านจิตใจสำหรับการมองทะลุจิตใจฝ่ายตรงข้าม

๑. เสนอคำถามอย่างชัดเจน เพื่อยอมรับความคิดเห็นของฝ่ายตรงข้าม “ทราบแล้ว” แปลว่าไม่ยอมรับความเห็นของเรา ๒. อย่าสืบเสาะอดีตของฝ่ายตรงข้าม ๓. ถ้ามาสายไม่แก้ตัวเป็นคำอธิบายที่ดีที่สุด ๔. กำหนดจุดขายของตนเองก่อนเผชิญหน้า ๕. ถ้าฝ่ายตรงข้ามพูดว่า “ทราบแล้ว” แปลว่าไม่ยอมรับความเห็นของเรา ครูสมัยใหม่ - สอบตรง ๒๐% - อธิบายเพิ่ม ๔๐% - ให้นักเรียนคิด/ทำ ๖๐% การเรียนที่ดี - มีทางเลือก - มีความหลากหลาย - มีความเป็นกันเอง การศึกษายุคใหม่ - All for education - Education for all - Long like education คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

127


คนยุคใหม่ - เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ - สะสมองค์ความรู้ - มีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และการดำรงชีวิต - มีความเป็นไทย และความเป็นสากล คน ๔ พวก - คนที่มองไม่เห็นคุณค่าตัวเอง - คนมองโลกในแง่ร้าย - คนมองตัวเองดีเลิศ - คนที่มองคนล้วนพึ่งพาอาศัยกัน คน ๔ ประเภท - คนฉลาดเกินไป จนไม่สามารถเปิดรับผู้อื่นได้ คือคนโง่ - คนโง่ที่ฉลาดแสร้งโง่ ที่แท้คือคนฉลาด - คนฉลาดที่โง่ คนโง่แกล้งฉลาด คือคนโง่ - คนโง่ดักดาน ทำอะไรไม่เป็น คือโง่ดักดาน การพัฒนา ๔ ด้าน - กาย - สังคม - จิต - ปัญญา นักวิชาการที่แท้ - รู้ลึก รู้รอบ - คิดค้นและคิดวิเคราะห์ - รู้ซึ้งแล้วแสดงออกให้ปรากฏ - สามารถนำหลักวิชาไปประยุกต์ใช้ 128

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


- มีความฉับไว คล่องตัว - ไม่ติดอัตตา - ศรัทธาต่อเพื่อนมนุษย์ ซื่อตรง ฉลาด ครองใจคน - มีของมาฝาก ให้ของขวัญ - กำนัลด้วยคำชม - นิยมอย่างจริงใจ - ให้การดูแลเอาใจใส่ยามเจ็บปวด - ช่วยเหลือยามทุกข์ยาก - ให้ความรักความห่วงใย หัวหน้าต้องไม่ - ไม่ลำเอียง - ไม่นินทา - ไม่ซัดทอด - ไม่พูดแต่ตัว

คนดีที่ควรมอบหมายภารกิจให้

๑. คนมีความรับผิดชอบ และมีเป้าหมายในชีวิตที่ยิ่งใหญ่ มีความ ทะเยอทะยาน ๒. คนที่รักความก้าวหน้า ต้องพัฒนาตนเอง ๓. คนที่น้อมรับสอนงานอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ๔. คนที่เฉลียวฉลาด มีไหวพริบจริง

คำแนะนำในพัฒนาตน

๑. เอาใจใส่ดูแลตัวเอง - แต่ละวันหาเวลาทำงานอดิเรกที่ชอบ - ให้รางวัลพิเศษตัวเองเป็นระยะ - มีอารมณ์ขันในชีวิต คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

129


๒. รับรู้ความโกรธและจัดการกับมัน - ให้รู้ตัวเองว่าคุณพูดเสียดสีหรือกระทบกระเทียบเมื่อไม่พอใจ - เรียนรู้ที่ยอมรับความโกรธว่าเป็นเรื่องธรรมดา - ถามตัวเองว่ามีอะไรที่อยู่เบื้องหลังความโกรธ - พยายามตระหนักว่าการแสดงความโกรธ น่ารังเกียจ ๓. งาน - ประเมินคุณค่างานของคุณ - เรียนรู้จากความผิดพลาด - พัฒนาแก้ไขปรับปรุง ๔. ความสัมพันธ์ - มีสิ่งดี ๆ อยู่มากในส่วนที่แย่สุด ๆ ของเรา - ฝึกที่จะให้อภัยตนเองและผู้อื่นที่ยังมีข้อบกพร่อง - ให้กำลังใจและชมเชยผู้อื่นให้มากขึ้น

มองให้เห็นทุกสิ่ง ฝึกมองข้ามให้มาก ๆ แก้ ไขเพียงเล็กน้อยก็พอ

กำกับใจให้พ้นผิด

สิ่งที่ทำให้เราทำผิดได้ง่าย ๔ อย่าง - ลาภ - ยศ - สรรเสริญ - สุข

130

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


หลักสำหรับการครองตน - ต้องเข้าใจในความคิดของตนเอง - คิดให้กระจ่าง รอบคอบ มีเป้าหมายแน่ชัด - คิดดี คิดเชิงบวก - อาศัยหลักศีลธรรมเป็นพื้นฐานของความคิด รู้จักคิดแก้ปัญหา - รู้สาเหตุของปัญหา - รู้สภาวะความเป็นจริงของธรรมชาติ - รู้จักการปรับสภาพจิตให้ถูกกับสถานการณ์ - รู้จักกำหนดขั้นตอนของการแก้ปัญหา - รู้จักวางแผนก่อนดำเนินการ ยึดหลักธรรม - ทุกอย่างในโลกล้วนเกิดมาเพราะมีเหตุปัจจัย - ต้องตรวจสอบข้อบกพร่องของตนเองอย่างสม่ำเสมอ - ต้องกำกับ ควบคุม และกำจัดข้อบกพร่อง - มีความรัก - ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาไม่งมงาย ต้องรู้จักครองใจให้คนรัก - ปรับตัวเข้าหากัน - ปรับใจเข้าหากัน - รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา - ไม่สร้างความแตกแยกทางความคิด - มีคุณธรรมจริยธรรม

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

131


ในชีวิต 132

ต้องมี ใจอยากให้ทาน - เป็นการให้โดยไม่หวังประโยชน์ตอบแทน - ให้ด้วยใจ - ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ ต้องประสานมิตรไมตรี การสร้างมิตรไมตรีเป็นสิ่งหนึ่งที่จะนำมาซึ่งความสุขและความสำเร็จ - มิตรจะคอยคุ้มครองเวลามีภัย - คอยให้กำลังใจ - คอยร่วมยินดีเวลาประสบความสำเร็จ - ความช่วยเหลือเมื่อลำบาก การพูดจาต้องน่ารัก - พูดอย่างไพเราะน่าฟัง - พูดในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ - พูดให้เกิดความน่าเชื่อถือ - พูดให้ถูกกาลเวลา ต้องเข้าใจในความคิดของผู้อื่น - ฟังความคิดเห็นทุกฝ่าย - ทำความเข้าใจในความเห็นของผู้อื่น - แก้ปัญหาร่วมกัน - รับผิดชอบร่วมกัน ต้องรักงานที่ทำ - เห็นความสำคัญ - เห็นประโยชน์ - เห็นคุณค่า คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ต้องมีเป้าหมายชีวิต - เราเกิดมาทำไม - มีชีวิตอยู่เพื่ออะไร - ทำงานเพื่ออะไร สิ่งที่เราต้องการจากหน้าที่การงานคืออะไร

๑. มองสิ่งดีด้วยใจดีจะมีแต่ได้ มองสิ่งร้ายด้วยร้ายมีแต่เสีย ๒. เต็มใจทำ เป็นธรรม จำใจทำ เป็นกิเลส ๓. สุขและทุกข์ ได้และเสีย ชนะและแพ้ เท่ากัน การทำงาน - มีความพร้อม - ตรงเวลา - มีความมั่นใจในการสร้างพลัง สิ่งควรระวัง - อย่าตะคอกในที่ทำงาน - ระมัดระวังเรื่องการกล่าวโทษผู้อื่น - รับฟังและพิจารณาความคิดเห็นที่ตรงข้าม

ข้อคิดในการทำงาน

เครือข่ายพระธรรมวิทยากร

การส่งเสริมคุณธรรมเยาวชนโดยมิติศาสนาขัดเกลาจิตใจ โดยเฉพาะ กิ จ กรรมเข้ า ค่ า ยปฏิ บั ติ ธ รรม ที่ ส อดคล้ อ งกั บ การดำเนิ น การในวิ ธี ชี วิ ต ในการ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ได้นำหลักธรรมในศาสนามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา จิตใจอย่างมีเหตุมีผลในการดำรงชีวิต โดยกรมการศาสนา ร่วมกับฝ่ายบริการ ฝึกอบรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมจัดค่ายคุณธรรมกับ เยาวชนกลุ่มเสี่ยง (เยาวชนภายใต้การดูแลของศาสเยาวชนและครอบครัวกลาง และศาลจังหวัด แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) ผลการติดตามพบว่า เยาวชน คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

133


ที่ผ่านการเข้าค่ายคุณธรรมเยาวชนไม่กลับมากระทำผิดซ้ำซาก จนเป็นที่ยอมรับของ ศาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยกระบวนการเข้าค่ายปฏิบัติธรรมตามหลักธรรม คำสอน พัฒนาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กลุ่มเป้าหมายได้มีพื้นฐานในการ ดำเนิ น ชี วิ ต อั น จะนำไปสู่ ก ารพั ฒ นาที่ ส มดุ ล และยั่ ง ยื น จะสามารถนำมาใช้ เพี่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและสังคมได้เป็นอย่างดี โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมให้มี การนำศีลธรรมและคุณธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการร่วมสร้างสรรค์กลุ่มเด็กและ เยาวชน ดังนั้น พระวิทยากรนับเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าของการดำเนินการ จัดค่ายคุณธรรม เพราะพระวิทยากรทำหน้าที่สำคัญที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เกิ ด ความรู้ เกิ ด ทั ศ นคติ ที่ ดี เ กี่ ย วกั บ เรื่ อ งการปลู ก ฝั ง คุ ณ ธรรม ให้ ไ ด้ ผ ลตาม วัตถุประสงค์ที่ต้องการ ดังนั้น การจัดค่ายคุณธรรมที่จะให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถปรั บ เปลี่ ย นพฤติกรรม ได้ข้อคิด น้อมนำหลักธรรมสู่การปฏิบัติ และ สนุกสนาน ขึ้นอยู่กับความสามารถของพระวิทยากรเป็นผู้นำค่ายคุณธรรม ดังนั้น กระบวนการเข้าค่ายคุณธรรมโดยมิติศาสนา จะประสบผลสำเร็จได้จำเป็นต้องมี พระวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ และขั้นตอนที่สำคัญคือ การอบรมพระ ที่จะเป็นวิทยากร โดยพระวิทยากรที่ผ่านการอบรมจะสามารถนำความรู้ที่ได้จัด

ค่ายคุณธรรมให้กับเยาวชน ตามหลักวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป จากการดำเนินงานการถวายความรู้พระธรรมวิทยากร โดยความร่วม มือของกรมการศาสนาและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้พิจารณาเห็นว่า การจะพัฒนางานค่ายคุณธรรม จำเป็นจะต้อง สร้างเครือข่ายพระธรรมวิทยากร เพื่อร่วมคิด ร่วมกิจกรรมอย่างเป็นระบบ โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ ดี ย วกั น เพื่ อ บั ง เกิ ด ผลในทางการพั ฒ นาที่ ดี จะทำให้ เ กิ ด ระบบ การทำงานมีความสัมพันธ์แบบสองทาง (two - way relationship) โดยมี

เป้ า หมายเดี ย วกั น และมี ก ารประสานร่ ว มงานกั น โดยประโยชน์ ข องเครื อ ข่ า ย 134

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


พระธรรมวิทยากร จะบังเกิดในรูปของความมีประสิทธิภาพ มีการแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสาร ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ เครื่องมือ และสื่อ การให้ความร่วมมือกัน ในการดำเนินโครงการ ฯ การแบ่งปันทักษะและประสบการณ์ ให้แก่กัน เป็นการ เสริมความสมบูรณ์ให้กับพระธรรมวิทยากร เชื่อมโยงวิธีการทำงาน การจัดองค์กร ส่งผลให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้น นำไปสู่การทำงานร่วมกัน เพื่อประโยชน์ของ ทุกฝ่าย ดังนั้น ความสำเร็จของเครือข่ายพระธรรมวิทยกร ต้องอาศัยระยะเวลา ตลอดจนการสร้างกรอบทางความคิด การแก้ ไขปัญหาร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งการดำเนินการร่วมกันระหว่าง

การดำเนินการในอนาคต

กรมการศาสนา ได้กำหนดนโยบายดำเนินการส่งเสริมพัฒนาค่ายคุณธรรม ให้ มี คุ ณ ภาพมี ม าตรฐานเป็ น ที่ ย อมรั บ และเชื่ อ ถื อ ของประชาชนทั่ ว ไป รวมทั้ ง

องค์ ป ระกอบต่ า ง ๆ เพื่ อ ให้ ส ามารถขั บ เคลื่ อ นค่ า ยคุ ณ ธรรมให้ มี ค วามพร้ อ ม ในทุกด้าน ที่จะสามารถให้บริการแก่หน่วยงานที่ประสงค์จะส่งเด็กและเยาวชนให้ มาเข้าค่ายคุณธรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีมี คุณธรรม โดยกรมการศาสนาจะดำเนินการ ดังนี้ ๑. ขยายการส่งเสริมให้มีการจัดค่ายคุณธรรมทั่วประเทศให้เหมาะสม กั บ กลุ่ ม ต่ า ง ๆ โดยเฉพาะจะเร่งจัดทำหลักสูตรที่หลากหลายให้เหมาะสมกับ กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เช่น เด็กในกลุ่มป้องกัน เด็กในกลุ่มฟื้นฟู เด็กในกลุ่มพิเศษ ๒. ส่งเสริมและพัฒนา “พระธรรมวิทยากร” ให้มีคุณภาพและมีจำนวน เพียงพอที่จะไปทำหน้าที่เป็นผู้นำการจัดค่ายคุณธรรม เพื่อให้พระธรรมวิทยากร มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคทางด้านการจัดค่ายคุณธรรม ที่หลากหลาย สามารถผลิตสื่อและสร้างกิจกรรมใหม่ๆ ที่เหมาะกับเด็ก มีทักษะใน การเป็นวิทยากรค่ายคุณธรรม จะเป็นพระวิทยากรที่มีคุณภาพและสามารถนำ ความรู้ที่ได้รับ ไปดำเนินการจัดค่ายคุณธรรมให้กับเด็กเยาวชน ตามหลักวิชาการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวม คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

135


๓. ประชาสัมพันธ์และประสานงานกับทุกภาคส่วนของสังคมให้เห็น ความสำคัญของการจัดค่ายคุณธรรม ให้มีการดำเนินการลงสู่การปฏิบัติอย่าง เป็นรูปธรรม ๔. พัฒนาการจัดค่ายคุณธรรมให้มีระบบ มีมาตรฐาน และมีคุณภาพ มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ มีหลักสูตรเป็นการเฉพาะ มีพระธรรมวิทยากร ที่มีประสบการณ์ โดยมี พระวิทยากรเป็นเครือข่ายที่สำคัญที่จะไปขยายการทำงาน จัดค่ายไปยังจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ และมีการรายงานผลจากพระธรรมวิทยากร เข้ามายังกรมการศาสนา เพื่อกรมการศาสนาจะได้มีข้อมูลเพื่อปรับปรุงค่ายคุณ ธรรมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ๕. สนับสนุนส่งเสริมให้เด็กทั่วประเทศทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้เข้าใจ เข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาจากการเข้าค่ายคุณธรรม ๖. เร่งสร้างเครือข่ายโรงเรียนให้เป็นแกนนำในการจัดค่ายคุณธรรม โดยมีพระธรรมวิทยากรในจังหวัดต่างๆ ร่วมมือกันจัดตั้งเป็นทีมงานจัดค่ายคุณ ธรรมให้กับสถาบันการศึกษาทุกระดับ และหน่วยงานต่าง ๆ ๗. สนับสนุนในเรื่องวิชาการในการจัดค่ายคุณธรรมให้กับทุกภาคส่วน ของสังคม โดยจะมีการหลักสูตรการเข้าค่ายคุณธรรมที่หลากหลาย หลักสูตร แต่ละหลักสูตรจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม สอดคล้องกับความแตกต่าง ของวัยของเด็กและตามความแตกต่างของระดับชั้นทางการศึกษาในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงอุดมศึกษา โดยจะประสานงานร่วมกับมหาวิทยาลัยมหา จุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลัย ที่มี ความพร้ อมทั้งในด้า นบุ คลากรและวิชาการทาง พระพุทธศาสนา ๘. จัดตั้งศูนย์ประสานงานค่ายคุณธรรมของกรมการศาสนาขึ้นเพื่อทำ หน้าที่เป็นศูนย์บริการข้อมูลเกี่ยวกับการจัดค่ายคุณธรรม อาทิ รายชื่อพระวิทยากร ที่มีศักยภาพซึ่งกรมการศาสนาได้ขึ้นทะเบียนไว้ เนื้อหาหลักสูตรค่ายคุณธรรม ที่ควรใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สถานที่ที่เหมาะสมที่จะใช้จัดค่ายคุณธรรม เป็นต้น 136

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ภาคผนวก



โครงการศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชน (ถวายความรู้พระวิทยากรจัดค่ายคุณธรรม) กรมการศาสนา ร่วมกับ ฝ่ายบริการฝึกอบรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีงบประมาณ ๒๕๕๒

หลักการและเหตุผล

เด็ ก และเยาวชนเป็ น ทรั พ ยากรสั ง คมและเป็ น อนาคตของประเทศ การสร้ า งเสริ ม อนาคตที่ ดี ข องเด็ ก และเยาวชน จึ ง เป็ น ภารกิ จ การสร้ า งชาติ

ที่ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จากการศึกษาข้อมูลสถานการณ์การกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ชีวิต และทรัพย์สิน รวมทั้งความผิดเกี่ยวกับสิ่งเสพติดและอบายมุขทั้งหลาย และจากสภาพครอบครัว แตกร้าว ทำให้เด็กและเยาวชนถูกทอดทิ้งและได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม นำพา ให้เด็กและเยาวชนบางส่วนพลัดหลงเข้าสู่การกระทำความผิด เด็กและเยาวชน ที่กระทำผิดไปแล้วก็มีการกระทำผิดซ้ำที่ซับซ้อนรุนแรงขึ้น รวมถึงเด็กและเยาวชน อีกบางส่วนยังต้องตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้สภาพ ปัญหาของเด็ก เยาวชน และครอบครัวไทยในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น จากสาเหตุหลายประการข้างต้น และเป็นวัยที่อยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนอง ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นปัจจัยที่ทุกภาคส่วนของ สังคมไทย จะต้องร่วมกันแก้ไข ช่วยเหลือ และสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจให้กับ เยาวชน ดังนั้น เพื่อป้องกันเรื่องดังกล่าว จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในสังคมไทย และจากการที่กรมการศาสนา ได้ดำเนินการให้เยาวชนเข้าค่ายปฏิบัติธรรม ที่ผ่านมา พบว่า การจัดกิจกรรมค่ายคุณธรรม เป็นกระบวนการพัฒนาจิตใจ และการปฏิ บั ติ ธ รรม เป็ น วิ ธี ก ารเปลี่ ย นพฤติ ก รรมพื้ น ฐานในการดำเนิ น ชี วิ ต คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

139


ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์และกระบวนการในการอบรม เลี้ยงดูบุตรหลานในแนวทาง ที่ ถู ก ต้ อ ง โดยใช้ มิ ติ ท างศาสนา และหลั ก ธรรมคำสอนมาประยุ ก ต์ ให้ เ กิ ด สติ สั ม ปชั ญ ญะและปั ญญา อันจะนำไปสู่การสร้างบุคลากรที่มีคุณค่าในสังคม และการสร้างครอบครัวอบอุ่น ซึ่งเป็นรากฐานของประเทศที่จะนำพาให้สังคม และประเทศชาติเข้มแข็ง ด้วยบุคลากรของชาติที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ดังนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าการส่งเสริมคุณธรรมเยาวชนโดยมิติศาสนา ขัดเกลาจิตใจ โดยเฉพาะกิจกรรมเข้าค่ายปฏิบัติธรรม สอดคล้องกับการดำเนินการ ในวิถีชีวิตในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำหลักธรรมทางศาสนามาเป็น เครื่องมือในการพัฒนาจิตใจอย่างมีเหตุมีผลในการดำรงชีวิต กรมการศาสนา จึงร่วมกับฝ่ายบริการฝึกอบรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมจัด กิ จ กรรมค่ า ยคุ ณ ธรรมกั บ เยาวชนกลุ่ ม เสี่ ย ง (เยาวชนภายใต้ ก ารดู แ ลของ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และศาลจังหวัด แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) ผลการติดตาม พบว่า เยาวชนที่ผ่านการเข้าค่ายคุณธรรมไม่กลับมากระทำผิด ซ้ำซาก จนเป็นที่ยอมรับของศาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่า กระบวนการเข้าค่าย ปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมคำสอน สามารถพัฒนาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ให้กลุ่มเป้าหมายให้มีพื้นฐานในการดำเนินชีวิต อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน จะสามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและสังคมได้เป็น อย่างดี โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมให้มีการนำศีลธรรมและคุณธรรมมาใช้เป็นแนวทาง ในการร่วมสร้างสรรค์กลุ่มเด็กและเยาวชน จากการดำเนินงานการจัดค่ายคุณธรรม กรมการศาสนา พบว่า พระวิทยากร เป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าของการดำเนินงานเพราะพระวิทยากรทำหน้าที่ สำคัญที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เกิดความรู้ เกิดทัศนคติที่ดี ในการปลูกฝัง คุณธรรม ให้ ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ดังนั้น การจัดค่ายคุณธรรมที่จะ ให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้ข้อคิด น้อมนำหลักธรรม สู่การปฏิบัติ และสนุกสนาน ขึ้นอยู่กับความสามารถของพระวิทยากรเป็นผู้นำค่าย 140

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


คุ ณ ธรรม กระบวนการเข้ า ค่ า ยคุ ณ ธรรมโดยมิ ติ ศ าสนา จะประสบผลสำเร็ จ

ได้จำเป็นต้องมีพระวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ และขั้นตอนที่สำคัญคือ การอบรมพระที่จะเป็นวิทยากร รุ่นนี้นับเป็นรุ่นที่ ๒/๒๕๕๒ โดยพระวิทยากร ที่ผ่านการอบรมจะสามารถนำความรู้ที่ได้จัดค่ายคุณธรรมให้กับเยาวชน ตามหลัก วิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้พระที่เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เสริมสร้างฝึกทักษะ ในการเป็นวิทยากรค่ายคุณธรรม ๒. เพื่ อ ให้ พ ระที่ เ ข้ า อบรมได้ เ รี ย นรู้ ยุ ท ธวิ ธี เทคนิ ค การนำเสนอ การเป็นผู้นำการจัดค่ายคุณธรรม ๓. เพื่อให้พระที่เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติในการจัดกิจกรรมในการจัดค่าย คุณธรรม กลุ่มเป้าหมาย พระวิทยากร จำนวน ๓๕๐ รูป

วิธีดำเนินการ กรมการศาสนา ๑. กรมการศาสนา และมหาวิ ท ยาลั ย จุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย ประชุมหารือการดำเนินงาน วางแผนงานร่วมกัน ๒. จั ด ทำคู่ มื อ การดำเนิ น งานการเข้ า ค่ า ย หลั ก สู ต ร กระบวนการ ดำเนินการ วิธีการขั้นตอน จนถึงการติดตามประเมินผล เพื่อใช้ ในการนำร่อง ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ๓. กรมการศาสนาร่วมกันจัดโครงการถวายความรู้พระวิทยากรกับ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยา จัดทำทะเบียนพระวิทยากรที่ผ่านการอบรมฯ ๔. จั ด ทำรายงานผลการปฏิ บั ติ ง านแต่ ล ะรุ่ น และแต่ ล ะแห่ ง ทุ ก ครั้ ง นำเสนอผลจากการปฏิบัติงานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

141


มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๑. จัดหลักสูตรการรับสมัครพระวิทยากร ๒. ดำเนินการถวายความรู้พระวิทยากร ๓. จัดทำคู่มือการอบรม วิธีการ กระบวนการ/เทคนิค การจัดค่าย

วิธีการฝึกอบรม ๑. วิทยากรบรรยายหัวข้อต่าง ๆ โดยใช้เอกสารและสื่อการสอนต่าง ๆ พร้อมตัวอย่างประกอบ ๒. เปิดโอกาสให้ซักถาม ตอบข้อสงสัยต่าง ๆ พร้อมแนะนำให้คำปรึกษา เพิ่มเติมตามสมควร ๓. ฝึกปฏิบัติเทคนิคต่าง ๆ กับการเป็นวิทยากรค่ายคุณธรรม ๔. สรุ ป และประเมิ น ผลโดยฝ่ า ยบริ ก ารฝึ ก อบรม มหาวิ ท ยาลั ย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ระยะเวลาดำเนินการ

ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒

พระวิทยากรที่ผ่านการอบรม ๑. จัดทะเบียนพระวิทยากรที่ผ่านการอบรมฯ เพื่อจัดค่ายคุณธรรม ๒. ได้รับวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรม ๓. ได้รับบัตรประจำตัวผ่านการอบรม ๔. พระวิทยากรจะเป็นเครือข่าย มีการประชุมติดต่อทุกเดือน หรือ การส่งข่าว การประสานงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะการปฏิบัติงาน อย่างต่อเนื่อง และร่วมงานจัดค่ายคุณธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ

142

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


คุณสมบัติของพระวิทยากร ๑. สำเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอก หรือเปรียญธรรม ๓ ประโยค ขึ้นไป หรือ ๒. สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง (มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) ๓. อายุไม่เกิน ๔๕ ปี ๓ พรรษาขึ้นไป ๔. มีประสบการณ์การจัดค่ายคุณธรรมหรือพระนักเทศน์ พระนักเผยแผ่ หรือพระจริยนิเทศก์ เป็นต้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ทำให้ เ ด็ ก และเยาวชนของชาติ มี ค วามรู้ แ ละเข้ า ใจในหลั ก ธรรมทาง ศาสนา ตระหนั ก ในคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม สามารถนำไปประพฤติ ป ฏิ บั ติ ใ นชี วิ ต ประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ในตัวของเด็กและเยาวชน ซึ่งจะเป็นการสร้างทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณธรรมจริยธรรม อันเป็นปัจจัย

ในการพัฒนาประเทศให้เกิดประสิทธิผลต่อไป

ผลที่ต้องการให้เกิดหลังจากเยาวชนได้เข้าค่ายคุณธรรม ๑. เห็นคุณค่าตนเอง เกิดความรักตนเอง ไม่ทำร้ายตนเองด้วยยาเสพติด และสิ่งอื่น ๆ ๒. สามารถตัดสินใจในทางที่ถูก ให้มีหลักคิดแยกแยะ ผิดชอบชั่วดี และกล้าปฏิเสธสิ่งที่ไม่ถูกต้อง (รัก/ใฝ่ดี) ๓. รู้จักวิธีควบคุมอารมณ์ตนเอง การจัดการความเครียดในตน แก้ไข ปัญหาด้วยสติปัญญา มีเป้าหมายของชีวิต

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

143


๔. รู้จักวางแผนชีวิต มีเป้าหมายของชีวิต ๕. สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นในสังคมได้ โดยเคารพสิทธิ ผู้อื่น รู้วิธีสื่อสารกับผู้อื่นที่ถูกต้อง (ปิยวาจา) ยอมรับความแตกต่างและอยู่ในความ แตกต่างได้ ๖. รู้ จั ก บทบาทหน้ า ที่ ข องตนเอง ต่ อ ผู้ อื่ น เช่ น ครอบครั ว เพื่ อ น ครู พระ เพื่อนบ้าน ฯลฯ ๗. มีจิตสาธารณะที่จะกระทำสิ่งใดเพื่อส่วนร่วม

144

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ประกาศกรมการศาสนา เรื่อง รับสมัครพระวิทยากร ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ประจำปี ๒๕๕๒ ด้วยกรมการศาสนา มีภารกิจในการส่งเสริมให้คนไทยนำหลักธรรมทาง ศาสนามาใช้ ใ นการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ให้ เ กิ ด ความรู้ คู่ คุ ณ ธรรม เป็ น คนดี มีศีลธรรม ได้พิจารณาเห็นว่า เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรสังคมและเป็นอนาคต ของประเทศ การสร้างเสริมอนาคตที่ดีของเด็กและเยาวชนจึงเป็นภารกิจการสร้างชาติ

ที่ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จากการศึกษาข้อมูลสถานการณ์การกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน พบว่ า มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม มากขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว ทั้ ง ในคดี ค วามผิ ด เกี่ ย วกั บ เพศ ชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น รวมทั้งความผิดเกี่ยวกับสิ่งเสพติดและอบายมุขทั้งหลาย จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมที่มีแนวโน้มว่าจะเสี่ยงต่อการกระทำผิด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะป้องกันเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง และได้เห็นว่ากิจกรรม เข้ า ค่ า ยปฏิ บั ติ ธ รรม มี ก ระบวนการที่ ส ามารถปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมพื้ น ฐาน ในการดำเนินชีวิตในแนวทางที่ถูกต้อง โดยใช้มิติทางศาสนา น้อมนำหลักธรรมคำสอน มาประยุกต์ ให้เกิดสติและปัญญา อันจะนำไปสู่การสร้างบุคลากรที่มีคุณค่าในสังคม และการสร้างครอบครัวอบอุ่น ซึ่งเป็นรากฐานของประเทศที่จะนำพาให้สังคมและ ประเทศชาติเข้มแข็ง ด้วยบุคลากรของชาติที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

145


การจั ด กิ จ กรรมเข้ า ค่ า ยคุ ณ ธรรม จำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งมี พ ระวิ ท ยากร ที่มีความรู้ ความสามารถ ทั้งภาควิชาการพระพุทธศาสนา ภาคอบรมจิตใจ และ ภาคนันทนาการ ดังนั้น เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการจัดค่ายคุณธรรม กรมการศาสนา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กำหนดจัดอบรมถวายความรู้ พระวิทยากร รุ่นที่ ๒/๒๕๕๒ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ ณ วัดยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร จึงเปิดรับสมัครพระภิกษุสงฆ์ที่มี คุณสมบัติ ร่วมเป็นพระวิทยากรจัดค่ายคุณธรรม โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ ๑. สำเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอก หรือเปรียญธรรม ๓ ประโยค ขึ้นไป หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ๒. อายุไม่เกิน ๓๕ ปี และอุปสมบทไม่น้อยกว่า ๓ พรรษาขึ้นไป ๓. มีประสบการณ์การจัดค่ายคุณธรรม หรือได้ปฏิบัติงานพระนักเทศน์ พระนักเผยแผ่ พระจริยนิเทศก์ หรือเป็นครูพระสอนศีลธรรม สมัครได้ที่ฝ่ายบริการฝึกอบรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม สอบถามได้ที่โทรศัพท์ ๐๒-๔๒๒-๘๘๑๖ หรือส่งใบสมัคร Fax ๐๒-๔๒๒-๘๘๑๓ หรือ senddra@hotmail.com ตั้ ง แต่ บั ด นี้ เ ป็ น ต้ น ไป จนถึ ง วั น ที่ ๑๗ สิ ง หาคม ๒๕๕๒ รายละเอี ย ดตาม ใบสมัครที่แนบท้ายประกาศนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ 146

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

(นายสด แดงเอียด) อธิบดีกรมการศาสนา


หลักสูตรและวิทยากรอบรม “พระธรรมวิทยากร” โครงการพัฒนารูปแบบ และกลไก การส่งเสริมคุณธรรมเยาวชนโดยสถาบันศาสนา กรมการศาสนา ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และฝ่ายฝึกอบรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วันที่ ๑๒-๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่

เนื้อหา

วิทยากร

๑ ๑. มุมมองชีวิตและการฟัง ๒. ทักษะชีวิตพลังจิตปัจจุบันและการทำงานเป็นทีม ๓. สรุปการอบรมและจัดตั้งเครือข่ายปฏิบัติงาน

พระมหาวิชาญ สุวิชาโน หัวหน้าฝ่ายฝึกอบรม

๒ สาธิตกิจกรรม “ธรรมนันทนาการ”

พระมหาธนเดช ธมปญฺโญฺ พระธรรมวิทยากร

๓ ๑. เทคนิคการใช้สื่อ “ค่ายคุณธรรม” ๒. เทคนิคการจัดค่าย

พระมหาเก่งกาจ สํวโร พระมหาสรพงษ์ วรปญฺโญฺ พระอาทิตย์ สิริจนฺโท

๔ เทคนิคและอุดมการณ์การเป็นพระวิทยากร

พระครูวินัยธรวัลลภ โกวิโล

๕ ๑. อานุภาพแห่งน้ำ ๒. การส่งพลังบวกและอานุภาพคำพูด

อาจารย์สุรพล เธียรธิติ

๖ เทคนิคการสอนจาก “พุทธฉือจี้”

อาสาสมัครพุทธฉือจี้

๗ รู้รักสามัคคี

คุณแทนคุณ จิตต์อิสระ พิธีกรและดาราคุณธรรม

๘ ธรรมสู่ความสุขในชีวิต

ดร.พระมหาไพเราะ ฐฺิตสีโล

๙ ความรู้เรื่องยาเสพติด

วิทยากรสำนักงาน ป.ป.ส.

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

147


กำหนดการอบรมพระวิทยากร โครงการศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชน (ถวายความรู้พระวิทยากรจัดค่ายคุณธรรม รุ่นที่ ๒/๒๕๕๒) กรมการศาสนา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ ณ อาคารเจษฎาบดินทร์ วัดยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร วันพุธที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา กิจกรรม วิทยากร ๐๗.๐๐-๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน ๐๙.๐๐-๐๙.๔๐ น. พิธีเปิดการประชุม

- พระพรหมวชิรญาณ

กรรมการมหาเถรสมาคม และ

เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ประธานฝ่ายสงฆ์

กล่าวสัมโมทนียกถา

- นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา

ประธานฝ่ายฆราวาส กล่าวเปิดประชุม

- นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ผู้อำนวยการ

สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กล่าวรายงาน ๐๙.๔๕-๑๑.๐๐ น. - นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา

มอบนโยบายและบรรยายพิเศษ ๑๑.๐๐-๑๑.๓๐ น. ชี้แจงกติกา ฝ่ายบริการฝึกอบรม ๑๑.๓๐-๑๓.๐๐ น. พัก-ฉันภัตตาหารเพล วัดยานนาวา ๑๓.๐๐-๑๔.๓๐ น. เทคนิคการสอนการบริหารจิตเจริญปัญญา อาจารย์วัชราพร ลำพราย

สำหรับเด็กและเยาวชน ยุวพุทธิสมาคมฯ ๑๔.๓๐-๑๕.๐๐ น. พัก-ฉันน้ำปานะ ๑๕.๐๐-๑๖.๓๐ น. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์-อาศรม พระครูวินัยธรณรงค์ 148

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


วันพุธที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) เวลา กิจกรรม วิทยากร ๑๖.๓๐-๑๘.๐๐ น. พัก ๑๘.๐๐-๑๙.๓๐ น. ทำวัตร-ปฏิบัติธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ม.จ.ร. ๑๙.๓๐-๒๐.๐๐ น. พัก-ฉันน้ำปานะ ๒๐.๐๐-๒๑.๐๐ น. สาธิตกิจกรรมนันทนาการ ฝ่ายบริการฝึกอบรม ๒๑.๐๐-๒๒.๐๐ น. บทบาทพระวิทยากรและนโยบายเผยแผ่ธรรมะเชิงรุก พระครูวินัยธรวัลลภ

โกวิโล

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ๐๕.๐๐-๐๖.๐๐ น. ๐๖.๐๐-๐๗.๐๐ น. ๐๗.๐๐-๐๘.๓๐ น. ๐๘.๓๐-๑๐.๐๐ น. ๑๐.๐๐-๑๑.๓๐ น. ๑๑.๓๐-๑๓.๐๐ น. ๑๓.๐๐-๑๔.๓๐ น. ๑๔.๓๐-๑๕.๐๐ น. ๑๕.๐๐-๑๖.๓๐ น. ๑๖.๓๐-๑๘.๐๐ น. ๑๘.๐๐-๑๙.๐๐ น. ๑๙.๐๐-๑๙.๓๐ น. ๑๙.๓๐-๒๐.๐๐ น.

ทำวัตรสวดมนต์ เจริญปัญญา ฝ่ายวิปัสสนาธุระ แบ่งกลุ่มปฏิบัติธรรม เดินจงกรม ฝ่ายบริการฝึกอบรม พัก-ฉันภัตตาหารเช้า เทคนิคการพูด การถ่ายทอด อาจารย์สุรวงศ์ วัฒนกูล

และบุคลิกภาพของวิทยากร เทคนิคการเผยแผ่ธรรมะให้ทันสมัยและโดนใจ คุณแทนคุณ จิตต์อิสระ พัก-ฉันภัตตาหารเพล กิจกรรมการฝึกอบรมการพัฒนาองค์กร พระมหาวิชาญ สุวิชาโน พัก-ฉันน้ำปานะ พูดอย่างไรให้จับใจคนฟัง ดร.พระมหาไพเราะ ฐฺิตสีโล พัก สาธิตกิจกรรม ทำวัตร ฝ่ายวิปัสสนาธุระ สาธิตกิจกรรมธรรมนันทนาการ พระวิทยากร ม.จ.ร. พัก-ฉันน้ำปานะ

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

149


วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) เวลา กิจกรรม ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น. ภูมิปัญญาไทยในสถาบันสงฆ์ และการรักชาติ

วิทยากร สถาบันส่งเสริมภูมิปัญญา เพื่อสังคม

อ.กันตา แป้นบางนา

พล.ต.หญิงอุษนีย์

เกษมสันต์ ณ อยุธยา

และคณะ

วันศุกร์ที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ๐๕.๐๐-๐๖.๐๐ น. ๐๖.๐๐-๐๗.๓๐ น. ๐๗.๓๐-๐๘.๓๐ น. ๐๘.๓๐-๑๐.๓๐ น. ๑๐.๓๐-๑๑.๓๐ น. ๑๒.๓๐-๑๓.๐๐ น. ๑๓.๐๐-๑๔.๐๐ น.

ทำวัตรสวดมนต์ เจริญปัญญา ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประชุมทีม พบพระพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม พระวิทยากร ม.จ.ร. พัก-ฉันภัตตาหารเช้า แนวคิดและภารกิจจิตอาสาเพื่อมนุษยธรรม มูลนิธิพุทธฉือจี้ ภาระกิจของพระวิทยากรและ พระมหาวิชาญ สุวิชาโน

โครงสร้างการบริหารงาน พัก-ฉันภัตตาหารเพล พิธีปิดการประชุม โดยพระพรหมวชิรญาณ

กรรมการมหาเถรสมาคม และ

เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ประธานฝ่ายสงฆ์

- เดินทางกลับ

หมายเหตุ : กำหนดการอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

150

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


แบบรายงานผลการปฏิบัติงานพระธรรมวิทยาการ ชื่อ......................................................................ฉายา..................................................................... สถานที่ติดต่อ วัด...............................................ตำบล/แขวง.......................................................... อำเภอ/เขต.....................................จังหวัด..................................รหัสไปรษณีย์.............................. โทรศัพท์....................โทรศัพท์มือถือ....................โทรสาร....................E-mail........................................ ที่ ว/ด/ป

สถาบัน/หน่วยงาน/โรงเรียน อำเภอ

จังหวัด

ระดับ

จำนวน

๑. ท่านได้จัดกิจกรรมค่าย/สอน/อบรมด้วยวิธีใด ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ๒. สิ่งที่ต้องการในการส่งเสริมและสนับสนุนที่จะทำให้การปฏิบัติงานของท่านได้รับผลดีขึ้น ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. (................................................) พระธรรมวิทยากร หมายเหตุ กรุณาส่งให้กรมการศาสนา ภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

151


แบบรายงานการปฏิบัติงานของพระธรรมวิทยากร กรมการศาสนา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๑. ชื่อ-ฉายา.............................................................................................................................. วัด.......................................... เขต/อำเภอ.................................. ตำบล................................ โทรศัพท์.................................โทรศัพท์มือถือ............................ โทรสาร............................. E-mail…………………………………................................................ ๒. ชื่อสถานศึกษา/หน่วยงานที่อบรม....................................................................................... ที่ตั้ง...................................................................................................................................... ๓. ประเภทกลุ่มเด็กผู้เข้ารับการอบรม จำนวน......................................คน เด็กปกติทั่วประเทศ เด็กกลุ่มฟื้นฟูของศาล เด็กกลุ่มพิเศษ ๔. หลักสูตร.............................................................................จำนวน.................................วัน ๕. สถานที่อบรม....................................................................................................................... เขต/อำเภอ............................ ตำบล............................................จังหวัด.............................. โทรศัพท์.................................โทรศัพท์มือถือ............................ โทรสาร............................. ๖. คณะพระวิทยากร จำนวน....................................................คน ๗. ความรู้ ความสามารถที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดค่ายครั้งนี้.................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. ๘. ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน......................................................................................... .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. ๙. ภาพประกอบ (ถ้ามี) จำนวน ๕ ภาพ กรุณาบันทึกแผ่น CD ๑๐. หลังจากการเข้าอบรมถวายความรู้แล้ว ได้เป็นพระธรรมวิทยากร จำนวน.................ครั้ง (...........................................................................) ชื่อ........................................................................ 152

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


แบบตอบรับการจัดกิจกรรมมอบอบรมคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๑. ชื่อหน่วยงาน........................................................................................................................ ที่อยู่......................................ตำบล......................................อำเภอ...................................... จังหวัด......................................................................รหัสไปรษณีย์...................................... ผู้ประสานงาน.........................................................โทรศัพท์มือถือ...................................... โทรศัพท์ส่วนงาน........................................E-mail............................................................. ๓. ประเภทผู้เข้ารับการอบรม นักเรียน ชั้น....................................... จำนวน................................................... นักศึกษา ชั้น....................................... จำนวน................................................... ครูอาจารย์ ระดับ................................... จำนวน................................................... เจ้าหน้าที่ ระดับ................................... จำนวน................................................... พนักงาน ระดับ................................... จำนวน................................................... อื่น ๆ ........................................................ จำนวน................................................... เจ้าหน้าที่ ระดับ.................................. จำนวน................................................... ๔. หัวข้อการบรรยาย/อบรม..................................................................................................... ............................................................................................................................................. ๕. จำนวนพระวิทยากรที่ต้องการ......................................รูป ๖. อบรมวันที่................เดือน................................พ.ศ.................รวมระยะเวลา................วัน ๗. ข้อมูลเบื้องต้นและวัตถุประสงค์เด่นชัดที่ต้องการในการจัดกิจกรรม ๑) ..................................................................................................................................... ๒) ..................................................................................................................................... ๓) .....................................................................................................................................

รับรองตามนี้

ลงชื่อ.................................................................... (...........................................................................) ตำแหน่ง............................................................... คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

153


กิจกรรม............................... แบบรายงานการปฏิบัติกิจกรรม โครงการเผยแพร่ศีลธรรมนำธรรมะสู่สังคม กรมการศาสนา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๑. ชื่อโครงการ.......................................................................................................................... ๒. ชื่อโรงเรียน/สถาบัน............................................................................................................. ที่อยู่...........................ตำบล/แขวง...................................อำเภอ/เขต................................... จังหวัด......................................................................รหัสไปรษณีย์...................................... ผู้ประสานงาน..............................................เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อ...................................... Fax..................................................E-mail......................................................................... ๓. สถานที่อบรม........................................................................................................................ ที่อยู่..............................ตำบล......................................อำเภอ/เขต...................................... จังหวัด......................................................................รหัสไปรษณีย์...................................... ๔. หัวหน้าพระวิทยากร.........................................................เบอร์โทร...................................... จำนวนพระวิทยากร.................................รูป คือ ๑) .............................................................................โทร.................................................. ๒) .............................................................................โทร.................................................. ๓) .............................................................................โทร.................................................. ๔) .............................................................................โทร.................................................. ๕) .............................................................................โทร.................................................. ๖) .............................................................................โทร.................................................. ๗) .............................................................................โทร.................................................. ๕. หลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรม.......................................................................................................... ๖. ระยะเวลาการอบรม วันที่..........เดือน..............................พ.ศ.....................รวมระยะเวลาอบรม....................วัน ๗. ผู้เข้าอบรม ระดับชั้น.................จำนวน..........คน แบ่งเป็น ชาย..........คน หญิง..........คน ๘. จำนวนครู...........................คน จำนวนผู้ปกครอง................................คน (ถ้ามี) จำนวนพี่เลี้ยง....................คน (ถ้ามี) หัวหน้าพี่เลี้ยง......................................................... 154

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


๙. บันทึกรายงานเหตุการณ์ประจำวันของหัวหน้าพระวิทยากร (การประชุม-การประสานงาน เหตุการณ์เฉพาะหน้าและการดำเนินการแก้ไข-การร่วมมือของพระวิทยากร ครู พี่เลี้ยง และ เจ้าของสถานที่ โปรดรายงานให้ชัดเจนตามความเป็นจริง) วันที่ ๑ ของการอบรม ............................................................................................................................................. .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... วันที่ ๒ ของการอบรม ............................................................................................................................................. .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... วันที่ ๓ ของการอบรม ............................................................................................................................................. .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

155


๑๐. ความประทับใจ - สิ่งที่ได้ การนำไปพัฒนาต่อเนื่องหลังการอบรม และข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมเกี่ยวกับการอบรมของผู้ประสานงานหรือผู้จัดโครงการ .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับ...........มากที่สุด...........มาก...........ปานกลาง ...........พอใช้...........น้อย ลงชื่อ.................................................................... (...........................................................................) ตำแหน่ง...............................................................

156

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


๑๑. บันทึกของหัวหน้าพระวิทยากรสำหรับสิ่งที่ได้ดำเนินการเป็นพิเศษ สิ่งที่ขาดไปในการอบรม ครั้งนี้และแนวทางพัฒนาครั้งต่อไป .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... ..........................................................................................................................................................

รับรองตามนี้

ลงชื่อ.................................................................... (...........................................................................) หัวหน้าพระวิทยากร สิ่งที่ต้องส่งมาพร้อมรายงานนี้ ๑) ให้ส่งภาพถ่ายกิจกรรมค่ายที่คัดแล้ว เป็นซีดีโรงเรียนละ ๑ แผ่น ๒) ให้ส่งบัญชีรายรับ-รายจ่าย ในค่าย แนบมาพร้อมกันนี้ด้วย

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

157



ทำเนียบพระธรรมวิทยากร กรมการศาสนา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย



ทำเนียบพระธรรมวิทยากร คณะผู้บริหาร หัวหน้ากิจกรรม และหัวหน้าพระธรรมวิทยากร ฝ่ายบริการฝึกอบรม ส่วนธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๒ ชื่อ-ฉายา : พระครูวินัยธรวัลลพ โกวิโล สังกัดวัด : วัดประยุรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๒๗ ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการส่วนธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การศึกษา : น.ธ.เอก, ป.ธ.๘, พธ.บ. อักษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ : ๐๘๑-๙๒๕-๑๔๙๑ E-mail : Bigwallop@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระมหาวิชาญ สุวิชาโน สังกัดวัด : วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๒๐ ตำแหน่ง : หัวหน้าฝ่ายบริการฝึกอบรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การศึกษา : น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, พธ.บ. (จิตวิทยาสังคม), พธ.ม. (ธรรมนิเทศ) โทรศัพท์ : ๐๘๗-๐๗๓-๕๐๓๕ E-mail : Charnb007@hotmail.com

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

161


ชื่อ-ฉายา : พระเก่งกาจ สํวโร สังกัดวัด : วัดแจงร้อน กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๑๐ ตำแหน่ง : ผู้ประสานงานกลาง และหัวหน้ากิจกรรม Dhamma for Teens การศึกษา : น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, พธ.บ. (รัฐศาสตร์), กำลังศึกษาระดับปริญญาโท ม.รังสิต โทรศัพท์ : ๐๘๖-๓๐๗-๗๖๒๕ E-mail : maha_keng@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระอาทิตย์ สิริจนฺโท สังกัดวัด : วัดสิงห์ กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๙ ตำแหน่ง : หัวหน้ากิจกรรมธรรมะสู่โรงเรียน Dhamma to School การศึกษา : น.ธ.เอก, พธ.บ. (ภาษาอังกฤษ), กำลังศึกษาระดับปริญญาโท ม.รังสิต โทรศัพท์ : ๐๘๔-๐๒๖-๗๕๖๖ E-mail : arthitthaimai44@hotmail.com ชื่อ-ฉายา สังกัดวัด พรรษา ตำแหน่ง

: พระมหาพลอย ธมฺมทายาโท : วัดมณฑป กรุงเทพมหานคร : ๑๐ : หัวหน้ากิจกรรมธรรมะนำสมัย Dhamma in Trend และหัวหน้าทีม ชุดที่ ๔ การศึกษา : น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, พธ.บ. (สังคมศึกษา) โทรศัพท์ : ๐๘๑-๙๗๔-๔๖๗๘ E-mail : Dhamma4u@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระมหาสรพงษ์ วรปญฺโญฺ สังกัดวัด : วัดชัยฉิมพลี กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๕ ตำแหน่ง : หัวหน้ากิจกรรมพิเศษ การศึกษา : น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๑-๖๔๗-๐๑๘๗ E-mail : Sora_pong19@hotmail.com 162

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : พระครูธรรมธรองอาจ ฉนฺทธมฺโม สังกัดวัด : วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๓ ตำแหน่ง : หัวหน้าพระธรรมวิทยากร ชุดที่ ๑ การศึกษา : น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๙-๐๗๑-๖๕๖๖ E-mail : Oodchang007@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระมหานพดล ธมฺมานนฺโท สังกัดวัด : วัดละหาร จังหวัดนนทบุรี พรรษา : ๔ ตำแหน่ง : หัวหน้าพระธรรมวิทยากร ชุดที่ ๒ และเป็นเลขานุการกิจกรรม DTS การศึกษา : น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, พธ.บ. (จิตวิทยา) โทรศัพท์ : ๐๘๙-๐๑๗-๖๑๖๙ E-mail : mahanoppa_th@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระวชิระ สุปภาโส สังกัดวัด : วัดชัยชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๑ ตำแหน่ง : หัวหน้าพระธรรมวิทยากร ชุดที่ ๓ การศึกษา : น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๖-๓๓๐-๑๑๘๙ E-mail : mahaton1@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระครูวินัยธรณรงค์ ฐฺิตจาโร สังกัดวัด : วัดชิโนรส กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๑๔ ตำแหน่ง : หัวหน้าพระธรรมวิทยากร ชุดที่ ๕ การศึกษา : น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พระพุทธศาสนา), ปริญญาโท (ศิลปศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๒-๔๔๔-๓๒๕๕ E-mail : narong_mcu@hotmail.com

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

163


ชื่อ-ฉายา : พระศรีทร โกสโล สังกัดวัด : วัดเทพนารี กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๑๘ ตำแหน่ง : หัวหน้าพระธรรมวิทยากร ชุดที่ ๖ การศึกษา : น.ธ.เอก, พธ.บ. (พุทธศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๖-๑๖๖-๖๖๙๐ E-mail : munoi555@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : พระมหาอณุ ปภสฺสโร สังกัดวัด : วัดประชาศรัทธาธรรม กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๗ ตำแหน่ง : หัวหน้าพระธรรมวิทยากร ชุดที่ ๗ การศึกษา : น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ. (การสอนภาษาไทย), ปริญญาโท (คอมพิวเตอร์) โทรศัพท์ : ๐๘๗-๖๘๙-๔๘๙๙ E-mail : Anu2524@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระใบฎีกาปิยะพงษ์ ปิยสีโล สังกัดวัด : วัดสังข์กระจายวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๑๑ ตำแหน่ง : หัวหน้าพระธรรมวิทยากร ชุดที่ ๘ การศึกษา : น.ธ.เอก, บช.บ บริหารธุรกิจ (บัญชี) โทรศัพท์ : ๐๘๙-๔๕๓-๘๑๒๓ E-mail : pvboy999@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระสุริยา สุริโย สังกัดวัด : วัดธาตุน้อย (เจดีย์พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์) จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรษา : ๕ ตำแหน่ง : หัวหน้าพระธรรมวิทยากร ชุดที่ ๙ การศึกษา : น.ธ.เอก, พธ.บ. (ภาษาอังกฤษ) โทรศัพท์ : ๐๘๔-๐๕๗-๓๓๓๖ E-mail : R-0314@hotmail.com 164

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : พระครูสังฆรักษ์ปรีชา ฐฺิตญฺาโณ สังกัดวัด : วัดเทวราชกุญชร กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๑๒ ตำแหน่ง : หัวหน้าทดลองปฏิบัติงาน การศึกษา : น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ค.บ. (เทคโนโลยีการศึกษา) โทรศัพท์ : ๐๘๖-๕๗๐-๖๙๖๐ E-mail : Phrarjan@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระปลัดคเณศ สุปฏิปนฺโน สังกัดวัด : วัดเทพวนาราม จังหวัดภูเก็ต พรรษา : ๘ ตำแหน่ง : หัวหน้าทดลองปฏิบัติงาน การศึกษา : น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๒ โทรศัพท์ : ๐๘๗-๘๙๕-๖๖๔๒ E-mail : kanast_dukdik@windowslive.com ชื่อ-ฉายา : พระปรีชา ปริชาโน สังกัดวัด : วัดนายโรง กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๑๒ ตำแหน่ง : หัวหน้าทดลองปฏิบัติงาน การศึกษา : น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, พธ.บ. (การบริหารการศึกษา), พธ.ม. (การบริหารการศึกษา) โทรศัพท์ : ๐๘๓-๕๔๔-๖๗๒๕, ๐๘๕-๐๕๙-๕๒๘๒ E-mail : - ชื่อ-ฉายา : พระนัตกร ชนาสโภ สังกัดวัด : วัดเทพนารี กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๔ ตำแหน่ง : หัวหน้าทดลองปฏิบัติงาน การศึกษา : น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, พธ.บ. (ปรัชญา) โทรศัพท์ : ๐๘๙-๔๘๐-๖๓๒๖ E-mail : Nicoras88@hotmail.com

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

165


ชื่อ-ฉายา : พระมหาเจริญศักดิ์ รตนเมธี สังกัดวัด : วัดภาษี กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๑ ตำแหน่ง : หัวหน้าทดลองปฏิบัติงาน การศึกษา : น.ธ.เอก, ปริญญาตรี โทรศัพท์ : ๐๘๐-๔๕๖-๒๑๓๖, ๐๘๔-๐๔๑-๘๘๐๘ E-mail : boss.009@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระธงชัย จิตฺตกาโร สังกัดวัด : วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๑๗ ตำแหน่ง : หัวหน้าทดลองปฏิบัติงาน การศึกษา : น.ธ.เอก โทรศัพท์ : ๐๘๗-๙๘๕-๑๙๖๔ E-mail : birdchai2512@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระมหาแสงสุวรรณ ธีราโภ สังกัดวัด : วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จังหวัดนนทบุรี พรรษา : ๖ ตำแหน่ง : หัวหน้าทดลองปฏิบัติงาน การศึกษา : น.ธ.เอก, ป.ธ.๕, พธ.บ. (จิตวิทยา) โทรศัพท์ : ๐๘๙-๔๙๔-๖๖๙๖, ๐๘๙-๑๕๔-๘๗๗๐ E-mail : kapula_๑๒@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระศรชัย ภูริญฺาโณ สังกัดวัด : วัดเรไร กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๕ ตำแหน่ง : หัวหน้าทดลองปฏิบัติงาน การศึกษา : น.ธ.เอก, พธ.บ. (การเมืองการปกครอง), บริหารธุรกิจ (การบริหารบุคคล) โทรศัพท์ : ๐๘๔-๖๘๔-๗๔๑๕ E-mail : Phuri_ _@hotmail.com 166

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : พระสุเมธ สุเมโธ สังกัดวัด : วัดเรไร กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๖ ตำแหน่ง : หัวหน้าทดลองปฏิบัติงาน การศึกษา : น.ธ.เอก, พธ.บ. (รัฐศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๐-๖๐๓-๖๘๙๔ E-mail : lapan_2006@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระสมคิด อภิเตโช สังกัดวัด : วัดสุทธาราม กรุงเทพมหานคร พรรษา : ๒ ตำแหน่ง : หัวหน้าทดลองปฏิบัติงาน การศึกษา : น.ธ.เอก, พธ.บ. (จิตวิทยา), ศศ.บ. (รัฐศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๓-๐๑๕-๔๔๕๙ E-mail : heart_fachula@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระกรุงศรี จารุภาณี สังกัดวัด : วัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี พรรษา : ๙ ตำแหน่ง : หัวหน้าทดลองปฏิบัติงาน การศึกษา : น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์), ปริญญาโท (บริหารการศึกษา) โทรศัพท์ : ๐๘๖-๕๘๔-๙๒๐๒ E-mail : happy.202@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : พระทวีพงษ์ ฐฺิตญฺาโณ สังกัดวัด : วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ พรรษา : ๗ ตำแหน่ง : หัวหน้าทดลองปฏิบัติงาน การศึกษา : น.ธ.เอก, พธ.บ. (พุทธจิตวิทยา), ปริญญาโท (จิตวิทยาอุตสาหกรรรม) โทรศัพท์ : ๐๘๐-๑๓๕-๑๑๕๔ E-mail : james.99inwong@hotmail.com คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

167



ทำเนียบพระธรรมวิทยากร ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม รุ่นที่ ๑ ฝ่ายบริการฝึกอบรม ส่วนธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๒ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระสุวัชร ชยากโร วัดพุพลู จังหวัดเพชรบุรี ๘ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) ๐๘๑-๐๕๕-๗๗๘๔ -

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระไพวัลย์ ธมฺมวโร วัดดอกไม้ กรุงเทพมหานคร ๑๕ น.ธ.เอก, พธ.บ. (การบริหารการศึกษา) ๐๘๙-๐๖๕-๕๖๓๓ n2006_01@hotmail.com

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

169


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระลิขิต เตชปญฺโญฺ วัดอินทร์บรรจงทรงวาดราษฎร์บำรุง กรุงเทพมหานคร ๑๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ศาสนศึกษา) ๐๘๐-๒๖๙-๒๔๙๗ n2006_01@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระไพรวรรณ คมฺภีรปญฺโญฺ วัดเทพากร กรุงเทพมหานคร ๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (อังกฤษ) ๐๘๙-๗๖๐-๓๓๘๔ -

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระวงศ์ธวัช กลฺยาณเมธี วัดสังข์กระจายวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๕-๗๑๘-๖๒๐๐ Wong_mcu@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระปัญญา วรปญฺญฺาเมธี วัดแจงร้อน กรุงเทพมหานคร ๘ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (สังคมศึกษา) ๐๘๙-๑๔๐-๐๐๑๙ Mr.Panya.999@hotmail.com

170

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระมหาสำรอง สุจิตฺโต วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ๑๒ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (ศาสนาและปรัชญา) ๐๘๙-๖๕๗-๕๘๒๔ Lovelove_mcu@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระณัฐอรรคเดช อภิชฺชวานนฺโท วัดราษฎร์ประคองธรรม จังหวัดนนทบุรี ๒ น.ธ.เอก, ป.ธ.๑-๒ ๐๘๑-๐๑๑-๑๙๓๐ Doktiw_19@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

สามเณรชูชัย ปิโยรัมย์ วัดยางสุทธาราม กรุงเทพมหานคร - น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๙-๗๗๕-๒๐๗๘ Somsan_123@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระนนทนันท์ ตปสีโล วัดฉัตรแก้วจงกลนี กรุงเทพมหานคร ๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) ๐๘๑-๖๔๓-๔๕๓๓ Gomyut@hotmail.com

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

171


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระพิภพ พลวฑฺฒโน วัดละหาร จังหวัดนนทบุรี ๗ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (บริหารรัฐกิจ) ๐๘๑-๓๖๓-๓๘๔๕ Peeraphon97@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระเดวิท สิริวฑฺฒโก วัดถาวรชัยศิริ จังหวัดชัยภูมิ ๒ น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ๐๘๔-๖๐๖-๔๗๘๓ patam@thaimail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระมหาณรงค์ราช ปณิธานธิติ วัดเทพลีลา กรุงเทพมหานคร ๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๘, ปริญญาตรี (สังคมศึกษา) ๐๘๓-๙๒๙-๒๑๖๖ Nongraj_2009@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระสฤษดิ์ อานนฺโท วัดใหม่ยายมอญ กรุงเทพมหานคร ๑๕ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ภาษาอังกฤษ) ๐๘๔-๕๕๘-๘๒๔๓ -

172

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระพัชรินทร์ ภทฺรเมธี วัดหัวบึงทุ่ง จังหวัดนครพนม ๓ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๕-๐๐๙-๖๗๗๒ Kusu7@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาประยงค์ศักดิ์ มหาปุญฺญฺภาวี วัดชัยฉีมพลี กรุงเทพมหานคร ๓ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว) โทรศัพท์ : ๐๘๖-๕๓๘-๑๐๓๔ E-mail : Pysso_fc@hotmail.com ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระประภาส คุตฺตจิตฺโต วัดใหม่ยายแป้น กรุงเทพมหานคร ๑๐ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ภาษาอังกฤษ) ๐๘๔-๑๔๑-๙๒๗๕ phraprapat@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระพุทธายะ อชิตปญฺโญฺ วัดใหม่อมตรส กรุงเทพมหานคร ๒ น.ธ.ตรี, ปริญญาตรี (การสอนภาษาอังกฤษ) ๐๘๗-๗๐๔-๗๗๑๕ Botcob@hotmail.com

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

173


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระสมาน ปภากโร วัดเรไร กรุงเทพมหานคร ๑๐ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (การบริหารการศึกษา) ๐๘๕-๑๕๙-๖๓๓๐ phra_sman@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระทรงยศ ฐฺานยุตฺโต วัดอนงคาราม กรุงเทพมหานคร ๑๓ น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, ปริญญาตรี (สังคมศึกษา) ๐๘๔-๐๑๔-๑๘๓๖ Songyut_007@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระมหาอธิวัฒน์ อริยธชฺโช วัดสาครสุ่นประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร ๓ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๑-๖๒๖-๖๓๙๗ Athi_thach@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระนพรัตน์ ธมฺมวโร วัดเรไร กรุงเทพมหานคร ๑๓ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) ๐๘๓-๗๘๕-๓๕๖๕ -

174

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระศักดิ์มงคล สุมงฺคโล วัดสุคันธาราม กรุงเทพมหานคร ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๓-๔๙๔-๐๔๒ Nongkon_nin@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระวรยศ โรจนวํโส วัดสระมะเกลือ จังหวัดลพบุรี ๓ น.ธ.เอก, ม.๖ ๐๘๓-๑๙๙-๒๒๕๙ -

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระอดิศร ฐฺานวุฑฺโฒ วัดพระยาทำวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ๕ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๙-๒๑๕-๘๑๖๓ -

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระวัชรพล สุเมโธ วัดชลอ จังหวัดนนทบุรี ๑ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒ ๐๘๗-๙๖๖-๑๔๕๒ Soomatno@hotmail.com

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

175


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระทองจันทร์ กิตฺติปาโล วัดรัชฎาธิษฐาน วรวิหาร กรุงเทพมหานคร ๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว) ๐๘๗-๐๐๔-๓๘๕๖ Kiuy_303031@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระมหาณัฐวุฒิ กลฺยาณเมธี วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ม.๖ ๐๘๙-๙๕๒-๖๒๕๔ -

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระมหาศิลชัย สีลชโย วัดบางน้ำชน กรุงเทพมหานคร ๕ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศึกษา) ๐๘๖-๙๘๘-๐๘๘๙ Smastoo_oo@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระมหาอนันต์ อมโร วัดพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ๑๘ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศึกษา) ๐๘๔-๑๖๖-๓๕๓๔ -

176

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระสาโรจน์ ธมฺมสโร วัดนาคปรก กรุงเทพมหานคร ๒ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (มนุษยศาสตร์) ๐๘๐-๐๗๔-๒๑๔๔ Sarote209@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระสิปปวิชญ์ ปญฺญฺาวโร วัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร ๑๓ นธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (การพัฒนาชุมชน) ๐๘๙-๙๗๐-๘๙๐๒ Sip_sato/@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระวิฑูรย์ ฐฺานเมธี วัดจันทร์นอก กรุงเทพมหานคร ๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (รัฐประศาสนศาสตร์) ๐๘๔-๑๖๕-๐๒๙๕ colojiw@gmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระมหาสมศักดิ์ สุทฺธจิตฺโต วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพมหานคร ๙ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (ปรัชญา) ๐๘๗-๐๓๖-๖๗๕๔ Kaorang_mt@hotmail.com

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

177


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

สามเณรวีรยุทธ พูลสิงห์ วัดนาคปรก กรุงเทพมหานคร - น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (มนุษยศาสตร์) ๐๘๒-๔๘๕-๓๕๐๔ werayut_1989@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระธวัชชัย ปญฺญฺาวชิโร วัดไชยทิศ กรุงเทพมหานคร ๕ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (การสอนภาษาอังกฤษ) ๐๘๙-๐๓๒-๒๘๖๙ Chaihello@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระมหานคเรศ นครธมฺโม วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี ๑๒ น.ธ.เอก, ป.ธ.๕, ปริญญาตรี (พระพุทธศาสนา) ๐๘๕-๐๘๓-๙๘๕๑ Nakarate3579@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาพงษ์เจริญ สุจิณฺโณ วัดบ่อพระอินทร์ จังหวัดสระบุรี ๑๐ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (การสอนภาษาไทย), ปริญญาโท (หลักสูตรและการสอน) โทรศัพท์ : ๐๘๔-๑๑๐-๒๔๘๔ E-mail :

178

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร ๓ น.ธ.เอก, ป.ธ.๕, พธ.บ. (รัฐศาสตร์) ๐๘๒-๔๔๔-๔๒๕๙ Jojomonoco@hotmail.com

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ : E-mail :

พระยิ่งยศ นิสฺสโก วัดวังปริง จังหวัดสงขลา ๑ น.ธ.ตรี, ปวส, นศท. ๐๘๙-๖๕๗-๕๘๒๔ Noboon_a3@hotmail.com

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

179



ทำเนียบพระธรรมวิทยากร ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม รุ่นที่ ๒ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสถาบันส่งเสริมและเผยแพร่การพระศาสนาแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๕๒ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาถนอม ถาวโร วัดพายัพ จังหวัดนครราชสีมา ๕๓ ๓๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์), ปริญญาโท (ครุศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๓-๑๒๙-๐๕๘๘ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาอนุศักดิ์ ขนฺติโก วัดกลางวรวิหาร จังหวัดสมุทรปราการ ๕๔ ๒๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖ ๐๘๙-๖๗๒-๙๖๐๒

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

181


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระประดับ มหาปญฺโญฺ วัดเฉลิมพระเกียรรติวรวิหาร จังหวัดนนทบุรี ๓๙ ๒๖ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๓ โทรศัพท์ : ๐๘๖-๐๒๘-๒๔๖๕ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาบุญทวี วิจิตฺตธมฺโม วัดบางไส้ไก่ กรุงเทพมหานคร ๕๓ ๓๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี, ปริญญาโท (ศึกษาศาสตร์) ๐๘๖-๕๗๗-๕๖๐๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระศิริชัย ติกฺกวโร วัดชมนิมิตร จังหวัดสมุทรปราการ ๓๒ ๑๒ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (ศาสนาและปรัชญา) ๐๘๕-๓๔๙-๕๔๓๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาอนุชา ปริชาโน วัดเขียนเขต จังหวัดปทุมธานี ๓๙ ๒๖ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๓ โทรศัพท์ : ๐๘๖-๐๒๘-๒๔๖๕ 182

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระวิสิทธิ์ ฐฺิตวิสิทฺโธ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ๓๑ ๙ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์), ปริญญาโท (พุทธศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๙-๙๕๐-๐๔๐๔

ชื่อ-ฉายา : พระมหาประจวบ ฐฺานจนฺโท สังกัดวัด : วัดทินกรนิมิต จังหวัดนนทบุรี อายุ : ๒๙ พรรษา : ๖ การศึกษา : น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์), ปริญญาโท (การจัดการศึกษา) โทรศัพท์ : ๐๘๙-๖๗๒-๙๖๐๒ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาณัฐกฤษฏ์ สุเมโธ วัดประชาระบือธรรม กรุงเทพมหานคร ๒๔ ๔ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๖-๙๘๗-๘๐๖๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระวีระวงศ์ วีรวํโส วัดประมวลราษฎร์ จังหวัดนครราชสีมา ๒๔ ๒ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (เกษตรศาสตร์) ๐๔-๔๒๐-๓๐๕๕

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

183


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอนุชน ติกฺขปรกฺกโม วัดโพธารามพระอารามหลวง จังหวัดนครสวรรค์ ๒๔ ๒ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐๘๑-๖๘๘-๒๐๙๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระเสกข์พิสิทธิ์ สุเมธโส วัดคีรีวงศ์ จังหวัดนครสวรรค์ ๒๓ ๒ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๕-๒๖๘-๘๗๗๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระปิยวุฒิ ญฺาณวีโร วัดคีรีวงศ์ จังหวัดนครสวรรค์ ๒๓ ๒ น.ธ.โท, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๗-๓๑๖-๗๖๓๐

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระชัยพร จนฺทวํโส วัดพิชัยสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ ๓๙ ๘ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (นิเทศศาสตร์), ปริญญาโท (นิเทศศาสตร์) ๐๘๙-๐๒๖-๗๘๐๑

184

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระนิคม ธมฺมธโร วัดกันตทาราม กรุงเทพมหานคร ๔๑ ๒๐ น.ธ.เอก, ป.ธ.๑-๒, ปริญญาโท (พุทธศาสตร์) ๐๘๕-๘๑๘-๑๑๐๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาทสันติ มหาลาโภ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ๓๔ ๑๔ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖ ๐๘๙-๙๘๗-๒๕๐๐

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาชรินทร์ ชรินฺโท วัดทินกรนิมิต จังหวัดนนทบุรี ๓๖ ๑๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๙-๕๒๑-๙๓๐๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาไวพจน์ รตนญฺาโณ วัดสุทธาราม กรุงเทพมหานคร ๓๐ ๑๐ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๕-๘๔๓-๗๘๙๖

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

185


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาญาณกฤต เสฏฺฐฺเมธี วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา ๓๐ ๘ น.ธ.เอก, ป.ธ.๙, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์), ปริญญาโท (สังคมศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๖-๐๗๕-๒๕๘๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหามณเฑียร ฐฺิติเมธี วัดเกยไชยเหนือ จังหวัดนครสวรรค์ ๒๘ ๖ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์), ปริญญาโท (รัฐประศาสนศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๖-๗๓๕-๕๘๐๖ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาชาตรี จินฺตามโย วัดชลอ จังหวัดนนทบุรี ๒๔ ๔ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (มนุษยศาสตร์) ๐๘๕-๑๕๗-๓๙๐๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสุทัศน์ เขมปญฺโญฺ วัดสระเรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๔ ๓ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐๘๔-๑๕๗-๕๙๑๕

186

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระธรรมวิทย์ ฐฺานธมฺโม วัดราษฎร์บำรุงวนาราม จังหวัดสระบุร ี ๓๕ ๒ น.ธ.ตรี ๐๘๕-๙๘๔-๘๔๓๘

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสวัสดิ์ จิตฺตโสภโณ วัดคีรีวงศ์ จังหวัดนครสวรรค์ ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๔-๘๑๘-๕๐๙๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

สามเณรวุฒิชัย วงศ์กล้า วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ๑๙ - น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๒ โทรศัพท์ : ๐๘๔-๕๔๙-๕๐๓๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาประจักษ์ วฑฺฒโน วัดประชาศรัทธาธรรม กรุงเทพมหานคร ๒๔ ๔ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓ กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๓ (ครุศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๔-๙๗๖-๗๐๘๖ คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

187


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาสุรัตน์ จนฺทูปโม วัดทองศาลางาม กรุงเทพมหานคร ๔๗ ๒๕ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐๘๙-๙๙๕-๔๙๐๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหากิตติคุณ คุณธมฺโม วัดทองบางจาก กรุงเทพมหานคร ๔๐ ๑๙ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ศึกษาศาสตร์) ๐๘๑-๕๘๔-๖๓๔๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระครูวินัยธรมรกต อคฺคปญฺโญฺ วัดแจ้งวรวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ๓๗ ๑๗ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๔-๖๘๙-๔๐๑๘

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาบุญช่วย เขมจารี วัดขุนคง จังหวัดเชียงใหม่ ๓๖ ๑๕ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐-๕๓๒๗-๔๔๐๔

188

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาอดิศร อภิชฺชยานนฺโท วัดภาษี กรุงเทพมหานคร ๒๙ ๗ น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์), ปริญญาโท (สังคมศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๔-๓๒๘-๒๗๒๘ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระสุวัตน์ วชิโร วัดประมวลราษฎร์ จังหวัดนครราชสีมา ๒๗ ๖ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (มนุษยศาสตร์), ปริญญาโท (รัฐประศาสนศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๙-๐๘๑-๗๓๘๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสันทัด สญฺญฺจิตฺโต วัดนาคปรก กรุงเทพมหานคร ๓๕ ๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (เกษตรศาสตร์) ๐๘๓-๙๖๕-๐๕๐๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระธงชัย ฐฺานจาโร วัดสระเรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๓ ๓ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๙-๑๘๓-๓๒๘๕

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

189


190

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอุทิศ อาสภจิตฺโต วัดอัมพวัน กรุงเทพมหานคร ๒๐ ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๗-๐๓๙-๐๑๗๘

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาอุบล ญฺาณเมธี วัดกาญจนสิงหาสน์วรวิหาร กรุงเทพมหานคร ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (ศึกษาศาสตร์) ๐๘๗-๓๕๘-๔๗๕๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

สามเณรอาคม สอนศิริ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ๒๒ - น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๑-๖๗๔-๙๑๘๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหามงคล สิริมงฺคโล วัดประชาศรัทธาราม กรุงเทพมหานคร ๒๗ ๖ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๔-๗๗๔-๓๖๙๐

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาอำนาจ วราสโภ วัดอัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม ๕๑ ๒๕ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๗-๑๕๑-๔๗๗๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมุทร ทีปโก วัดอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ๓๙ ๑๘ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒ ๐๘๓-๗๘๗-๐๙๑๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมุห์ไตรณรงค์ ฐฺิตธมฺโม วัดพระนอน (ขอบม่วง) จังหวัดเชียงใหม่ ๓๖ ๑๕ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๔-๗๔๐-๐๒๓๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาบัณฑิต ปภสฺสโร วัดกาญจนสิงหาสน์วรวิหาร กรุงเทพมหานคร ๓๗ ๑๓ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๑-๖๐๖-๖๔๘๙

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

191


192

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสิทธิเดช สีลเตโช วัดกลาง จังหวัดชลบุรี ๓๑ ๑๑ น.ธ.เอก ๐๘๙-๘๐๒-๗๑๘๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาเฉลิมเกียรติ ยโสธโร วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร ๓๐ ๙ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๐-๗๕๕-๐๔๑๘

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาสมยศ ยโสธโร วัดทองบน กรุงเทพมหานคร ๒๗ ๗ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๖-๑๖๘-๐๗๐๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาวิชัยชาญ ณฏฺฐฺชโย วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ๒๗ ๖ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (มนุษยศาสตร์) ๐๘๗-๘๓๑-๙๓๒๔

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระเสถียร ฐฺิติสมฺปนฺโน วัดกาญจนสิงหาสน์วรวิหาร กรุงเทพมหานคร ๒๖ ๔ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๔-๕๓๓-๗๖๒๓

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาวิรัตน์ รตนเมธี วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒๓ ๓ น.ธ.เอก, ป.ธ.๘, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๑ ๐๘๗-๗๙๑-๘๑๖๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระชัยนคร ติกฺขวีโร วัดกาญจนสิงหาสน์วรวิหาร กรุงเทพมหานคร ๒๔ ๒ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๗-๑๖๗-๗๒๕๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระทศพร ธนวํโส วัดใหญ่ศรีสุพรรณ กรุงเทพมหานคร ๒๔ ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๖-๗๗๒-๙๕๕๓

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

193


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอรรถสิทธิ์ อริยเมธี วัดปากบ่อ กรุงเทพมหานคร ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, กำลังศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๓ (ม.จ.ร.) ๐๘๕-๑๔๙-๓๓๑๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาณรงค์ชัย กิตฺติสมฺปนฺโน วัดประชาศรัทธาธรรม กรุงเทพมหานคร ๒๖ ๕ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐๘๔-๙๗๙-๖๔๑๘

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาอุทัย วชิรเมธี วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๔ ๔ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐๘๔-๖๕๖-๐๕๕๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมุห์สนอง ยสิโก วัดลาดบัวขาว กรุงเทพมหานคร ๔๔ ๒๒ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๙-๐๗๔-๔๑๖๕

194

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาจำเนียร ฐฺิตปญฺโญฺ วัดบางพลัด (ใน) กรุงเทพมหานคร ๕๓ ๑๕ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์), ปริญญาโท (ศึกษาศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๙-๒๑๑-๙๙๐๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาเหรียญชัย ธีรธมฺโม วัดบางขมิ้น จังหวัดสมุทรปราการ ๓๒ ๑๐ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์), ปริญญาโท (ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต) โทรศัพท์ : ๐๘๕-๐๕๖-๗๓๑๖ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระสัญญา สญฺญฺาคโม วัดกลางวรวิหาร จังหวัดสมุทรปราการ ๒๙ ๙ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (บริหารธุรกิจ), ปริญญาโท (พุทธศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๔-๕๕๑-๖๙๕๐

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระพงศกร ฐฺิตวํโส วัดใหญ่ศรีสุพรรณ กรุงเทพมหานคร ๓๘ ๕ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (อุตสาหกรรม) ๐๘๙-๑๗๐-๐๐๒๒

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

195


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระบุญธรรม สุเมโธ วัดปากบ่อ กรุงเทพมหานคร ๒๕ ๔ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์), ปริญญาโท (สังคมศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๓-๐๐๓-๔๓๕๘ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอดิศักดิ์ มหาปุญฺโญฺ วัดคลองทราย จังหวัดระยอง ๓๑ ๓ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (มนุษยศาสตร์) ๐๘๑-๐๒๖-๐๖๒๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอำนาจ อภิวฑฺฒโน วัดบางปรงธรรมโชติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๕ ๒ น.ธ.เอก, การบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ม.จ.ร.) ๐๘๗-๒๑๕-๖๗๔๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมพงษ์ ปภสฺสโร วัดกล้าชอุ่ม จังหวัดปทุมธานี ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (มนุษยศาสตร์) ๐๘๗-๙๓๙-๑๓๗๖

196

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอนนท์ ธมฺมานนฺโท วัดศรีบุญเรือง กรุงเทพมหานคร ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๗-๐๗๑-๔๙๔๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมงคล วชิรปญฺโญฺ วัดกาญจนสิงหาสน์วรวิหาร กรุงเทพมหานคร ๒๒ ๑ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (นิติศาสตร์) ๐๒-๔๑๘-๕๐๖๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระภูมิพิพัฒน์ วรมงฺคโล วัดสุทธิวาตวราราม จังหวัดสมุทรสาคร ๓๑ ๘ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ศึกษาศาสตร์บัณฑิต), ปริญญาโท (ครุศาสตรมหาบัณฑิต) โทรศัพท์ : ๐๘๙-๔๗๘-๐๙๓๐ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาพิชัย ธมฺมวิชโย วัดเขาทำเนียบ จังหวัดปทุมธานี ๔๒ ๒๒ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐๘๖-๖๒๖-๓๕๑๑

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

197


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาวิทยา สุวิชฺโช วัดป้อมวิเชียรโชติการาม จังหวัดสมุทรสาคร ๓๖ ๑๕ น.ธ.เอก, ป.ธ.๘, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์), ปริญญาโท (ศึกษาศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๔-๗๒๖-๕๓๗๕ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระกฤษฎา สุเมธี วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ๓๑ ๑๐ น.ธ.เอก, ปวช. (วิชาการออกแบบ) ๐๘๖-๐๒๗-๔๑๑๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระณัฐวุฒิ สุเมโธ วัดดอนสะแก จังหวัดนนทบุรี ๓๒ ๙ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๖-๗๗๑-๕๙๑๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาวิชัย ธีรชโย วัดอนงคาราม กรุงเทพมหานคร ๓๑ ๗ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ม.๖ ๐๘๕-๙๐๕-๗๑๘๔

198

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระวีระพร จนฺทวโร วัดแหลม จังหวัดสมุทรปราการ ๔๖ ๕ น.ธ.เอก ๐๘๙-๑๐๖-๕๒๐๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหามนฑล ปญฺญฺาธโร วัดกล้าชอุ่ม จังหวัดปทุมธานี ๒๕ ๔ น.ธ.เอก, ปริญญาโท (รัฐศาสตร์) ๐๘๖-๖๐๒-๑๖๓๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระณภัทร กิจฺจธโร วัดสุวรรณ กรุงเทพมหานคร ๒๗ ๓ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๕-๐๒๙-๗๓๓๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระปลัดณรงค์ อุตฺตมวํโส วัดสระเรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๕ ๒ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐๘๙-๐๑๖-๐๐๘๓

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

199


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาจักรกฤษ จกฺกญฺาโณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๔-๙๐๐-๑๔๓๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาวัฒนา วฑฺฒนปญฺโญฺ วัดทองบน กรุงเทพมหานคร ๒๓ ๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๑-๗๑๐-๖๓๐๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระครูสมุห์สังวาลย์ สติปญฺโญฺ วัดโพธาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา ๔๗ ๒๒ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐๘๙-๐๕๑-๓๖๘๖

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมาโนชญ์ โรจนสิริ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จังหวัดสมุทรปราการ ๔๒ ๑๖ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์), ปริญญาโท (ไทยศึกษา) ๐๘๙-๙๑๙-๖๐๓๗

200

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาปรีชา ปภสฺสโร วัดลาดบัวขาว กรุงเทพมหานคร ๒๔ ๓ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๖-๖๒๕-๓๗๙๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาบวรศักดิ์ ณฏฺฐฺิโก วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี ๒๘ ๔ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (มนุษยศาสตร์) ๐๘๖-๘๓๓-๘๐๗๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมสี สีลวณฺโณ วัดปากบ่อ กรุงเทพมหานคร ๒๖ ๕ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (มนุษยศาสตร์) ๐๘๗-๙๘๑-๒๕๘๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาวิชัช วรเมธี วัดนาคปรก กรุงเทพมหานคร ๒๒ ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๒๗ -๗๖๖๒-๒๙๙๘

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

201


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระประยุทธ ปริตฺตเมธี วัดนาคปรก กรุงเทพมหานคร ๒๒ ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๔-๙๙๓-๗๑๑๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระศักดา กิตฺติปาโล วัดรัชฎาธิษฐาน กรุงเทพมหานคร ๒๒ ๑ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๗-๔๙๔-๙๕๗๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระวันชัย ภทฺทจารี วัดยางสุทธาราม กรุงเทพมหานคร ๒๕ ๒ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์), ปริญญาโท (รัฐประศาสนศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๖-๖๒๗-๕๐๗๖ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

202

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

พระสุรินทร์ อินฺทวํโส วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ๓๗ ๑๗ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๔-๔๘๔-๘๕๖๗


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระครูธรรมธรประสาน สิริธโร วัดแหลมใต้ จังหวัดฉะเชิงเทรา ๕๒ ๑๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐๓-๘๘๑-๗๖๑๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระไพบูลย์ ญฺาณวิปุโล วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จังหวัดสมุทรปราการ ๓๗ ๑๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐๘๙-๑๘๔-๔๕๖๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาสมยศ ขนฺติธมฺโม วัดบุญรอดธรรมาราม กรุงเทพมหานคร ๔๘ ๑๐ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐๘๙-๖๗๕-๕๐๓๖

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระฉัตรชัย กตปุญฺโญฺ สำนักสงฆ์สันเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๓๓ ๙ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ศาสนา-ปรัชญา) ๐๘๖-๙๑๙-๗๘๙๑

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

203


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระใบฎีกาพิเชษฐ์ มหาปุญฺโญฺ วัดราษฎร์บำรุงวนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๗ ๗ น.ธ.เอก ๐๘๖-๘๒๙-๐๗๔๖

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระบัณฑิต ฐฺิตปญฺโญฺ วัดปิตุลาธิราชรังสฤกษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ๓๓ ๙ น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) ๐๘๑-๖๖๘-๙๒๔๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระสมเกียรติ กิตฺติภทฺโท วัดทินกรนิมิตร จังหวัดนนทบุรี ๔๓ ๑๕ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (Political Scions), ปริญญาโท (Public Admn) โทรศัพท์ : ๐๘๓-๒๙๗-๘๖๕๗ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

204

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

พระอภิวัฒน์ อภินนฺโท วัดปากบ่อ กรุงเทพมหานคร ๒๘ ๗ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๙-๕๐๔-๕๔๗๕


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระณัฏฐชัย สีลสํวโร วัดภาษี กรุงเทพมหานคร ๒๑ ๑ น.ธ.โท, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (บริหารธุรกิจ) ๐๘๑-๑๕๖-๕๒๙๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาอาทิตย์ อภิปุญฺโญฺ วัดทองศาลางาม กรุงเทพมหานคร ๒๒ ๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๗-๕๖๘-๔๖๐๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาประสพสุข ปิยภาณี วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๕ ๒ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (มนุษยศาสตร์) ๐๘๖-๕๕๖-๒๙๗๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระครูสังฆรักษ์พศวีร์ ธีรปญฺโญฺ วัดแจ้งศิริสัมพันธ์ จังหวัดนนทบุรี ๕๓ ๑๒ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (มนุษยศาสตร์) ๐๒-๙๖๘-๐๒๙๘, ๐๘๖-๓๙๐-๗๘๔๕

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

205


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

206

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

พระปรีชา คุตฺตธมฺโมฺ วัดชะเมา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๕ ๓ น.ธ.เอก ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๕-๔๗๐-๙๓๐๕


ทำเนียบพระธรรมวิทยากร ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม รุ่นที่ ๓ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสถาบันส่งเสริมและเผยแพร่การพระศาสนาแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๕๒ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระราพิน ปญฺญฺาธโร วัดกลางดาวคะนอง กรุงเทพมหานคร ๓๗ ๓ น.ธ.เอก, ม.๖ ๐๘๗-๗๗๕-๐๕๗๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสัญญา มหาปญฺโญฺ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ๒๕ ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พระพุทธศาสนา) ๐๘๐-๒๐๕-๕๗๙๙

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

207


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระถนอมศักดิ์ อภินนฺโท วัดปากสามัคคี จังหวัดเชียงใหม่ ๒๗ ๗ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๒-๓๘๗-๒๙๒๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระทวนทอง กิตฺติญฺาโณ วัดใหม่ประชาสรรค์ จังหวัดอุบลราชธานี ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (การสอนภาษาอังกฤษ) ๐๘๔-๔๙๘-๕๙๔๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมิถา จนฺทปญฺโญฺ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จังหวัดนนทบุรี ๒๕ ๑ ปริญญาตรี (ภาษาอังกฤษธุรกิจ), ปริญญาโท (พระพุทธศาสนา) ๐๘๖-๖๖๑-๘๐๗๓๘

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมุห์วิชัย วิชโย วัดธรรมนิมิตต์ จังหวัดชลบุรี ๔๘ ๒๕ น.ธ.เอก, ม.๖ ๐๘๑-๕๕๗-๕๒๕๗

208

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมพร กิตฺติภทฺโท วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ๒๕ ๕ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (รัฐประศาสนศาสตร์) ๐๘๖-๘๖๙-๗๖๕๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระประยูร วิสุทฺธญฺาโณ วัดศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ๒๕ ๕ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์), ปริญญาโท (พุทธศาสตร์) ๐๘๖-๕๓๘-๕๔๐๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอัษฎาวุธ เอกคฺคจิตฺโต วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ๓๔ ๑๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) ๐๘๗-๑๘๑-๗๑๗๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมพงษ์ สุเมโธ วัดบวกครกน้อย จังหวัดเชียงใหม่ ๓๒ ๖ น.ธ.เอก -

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

209


210

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระประหยัด ปภากโร วัดใหม่ประชาสรรค์ จังหวัดอุบลราชธานี ๓๑ ๓ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (หลักสูตรและการสอน) -

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาณัฐสิทธิ์ สุจิตฺโต วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ๒๕ ๓ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (จิตวิทยา) ๐๘๕-๙๒๒-๓๔๘๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระรัศมี อาภสฺสโร วัดชัยฉิมพลี กรุงเทพมหานคร ๒๕ ๒ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (การสอนภาษาไทย) ๐๘๔-๖๖๑-๑๓๒๓

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระชุมพล จตฺตมโล วัดจันทร์ประดิษฐาราม กรุงเทพมหานคร ๓๒ ๒ น.ธ.โท, ม.๖ ๐๘๙-๖๖๑-๖๖๘๑

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมยศ อติภทฺโท วัดลาดสนุ่น จังหวัดปทุมธานี ๒๕ ๒ น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๔-๓๕๓-๙๒๓๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาภูมินทร์ ปุณฺณวฑฺโฒ วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร ๓๑ ๑๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (การตลาด), ปริญญาโท (การจัดการฯ) โทรศัพท์ : ๐๘๑-๑๗๓-๔๗๓๒ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหามาโนชญ์ ฐฺานวโร วัดเจ้าอาม กรุงเทพมหานคร ๒๐ ๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓ ๐๘๗-๓๗๙-๕๐๐๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอัครอริญชย์ ธีรวํโส วัดมงคลโกวิทาราม จังหวัดอุบลราชธานี ๓๑ ๔ น.ธ.เอก, ม.๖ ๐๘๙-๕๘๒-๐๗๗๐

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

211


212

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสายชล คเวสโก วัดพุพูล จังหวัดเพชรบุรี ๓๔ ๕ น.ธ.ตรี -

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาธีระศักดิ์ ชิตธีโร วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๙-๙๘๔-๐๒๓๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระเรวัตร ชุติปญฺโญฺ วัดสุทธาวาส จังหวัดเพชรบุรี ๓๖ ๑๖ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (นิติศาสตร์) ๐๘๓-๐๓๙-๖๙๕๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระทองหล่อ อริยวํโส วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ๒๘ ๘ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) ๐๘๗-๑๘๑-๗๑๗๗

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอำนาจ ถิรวิริโย วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๔ ๐๘๗-๑๗๕-๘๒๗๖

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสุภาพ อานนฺโท วัดสนามนอก จังหวัดนนทบุรี ๔๕ ๑๕ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พระพุทธศาสนา) ๐๘๕-๑๑๙-๕๑๐๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระวีระชาติ สิริชนโชโต วัดป่าธรรมโสภณ จังหวัดลพบุรี ๒๙ ๘ น.ธ.เอก, ประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ ๐๘๐-๑๐๙-๘๔๔๐

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอนุสิทธิ์ อานนฺโท วัดมงคลโกวิทาราม จังหวัดอุบลราชธานี ๒๓ ๓ น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (ภาษาอังกฤษ) ๐๘๗-๗๕๖-๓๐๗๘

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

213


214

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระศักดิ์ชัย สิรินฺธโร วัดบ้านหมากมี่ จังหวัดอุบลราชธานี ๒๔ ๓ น.ธ.โท, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๙-๗๐๖-๓๓๙๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระไทย สุวณฺณรตโน วัดเชตุพน จังหวัดเชียงใหม่ ๒๐ ๑ น.ธ.โท, ม.๖ ๐๘๒-๘๘๘-๓๗๙๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระไกรวิทย์ กนฺตปญฺโญฺ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดเชียงใหม่ ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมสงเคราะห์ศาสตร์) ๐๘๑-๒๘๘-๘๖๑๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาสมาน กมฺพุวณฺโณ วัดบ้านโพธิ์ จังหวัดสุรินทร์ ๓๔ ๑๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ๐๘๗-๔๕๗-๔๙๙๙

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระเฉลียว ถิรธมฺโม วัดสนามนอก จังหวัดนนทบุรี ๔๒ ๒๒ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๙-๙๙๑-๓๗๗๓

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระหาญศักดิ์ ขนฺติสุโภ วัดวิมุตยาราม กรุงเทพมหานคร ๓๒ ๓ น.ธ.ตรี, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๔-๙๐๘-๘๕๗๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระสมุทร ฐฺานภทฺโท วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร ๕๐ ๑๒ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (สังคมวิทยา), (การบริหารรัฐกิจ) โทรศัพท์ : ๐๒-๒๘๑-๔๓๐๗ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอำนาจ มหาวิริโย วัดปากบ่อ กรุงเทพมหานคร ๒๖ ๖ น.ธ.เอก, ม.๖ ๐๘๗-๐๔๔-๖๓๐๖

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

215


216

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระคำขอด สิริวฑฺฒโก หอพัก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒๒ ๓ กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (สังคมศึกษา) ๐๘๓-๕๕๓-๕๒๐๐

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระยงยุทธ์ วชิรธมฺโม วัดราษฎร์บำรุง จังหวัดสงขลา ๓๑ ๙ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ปรัชญาศาสนา) ๐๘๖-๙๖๓-๓๕๘๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาชัยวิชิต ขนฺติธโร วัดมงคลโกวิทาราม จังหวัดอุบลราชธานี ๓๕ ๑๓ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (ศาสนา) ๐๘๕-๘๕๖-๓๘๐๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระประพัตร์ สุภทฺโท วัดลครทำ กรุงเทพมหานคร ๒๒ ๓ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พระพุทธศาสนา) ๐๘๔-๖๙๐-๘๘๕๑

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระครูวินัยธรวิเชียร วชิรธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร ๔๕ ๒๕ น.ธ.เอก, ป.ธ.๕, ปริญญาตรี (ศาสนา) ๐๘๑-๘๔๐-๗๗๔๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระพจเวช สุวโจ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จังหวัดนนทบุรี ๒๗ ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (นิติศาสตร์) ๐๘๔-๑๔๕-๖๘๗๘

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

Bhikkhu Varamonkkalo วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร ๔๗ ๒๒ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) ๐๘๙-๐๓๕-๙๑๔๓

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระครูสังฆรักษ์พิสิฏฐ์ มุนิจาโร วัดตรณาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๔๐ ๑๖ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ศาสนา) ๐๘๙-๗๒๔-๔๒๔๔

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

217


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระเชี่ยวชาญ เตชปญฺโญฺ วัดศรีประดู่ จังหวัดอุบลราชธานี ๓๐ ๙ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (หลักสูตรและการสอน) ๐๘๗-๒๒๐-๔๒๘๖

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระวิฑูรย์ ณฏฺฐฺิโก วัดพลมานีย์ กรุงเทพมหานคร ๓๔ ๕ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, กำลังศึกษา ปบส. ๐๘๙-๙๖๔-๔๓๒๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระณรงค์ วุฑฺฒิเมธี วัดชลอ จังหวัดนนทบุร ี ๒๐ - น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๕-๗๙๕-๒๕๑๘

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาอนันต์ อนนฺโท วัดทองธรรมชาติ กรุงเทพมหานคร ๓๙ ๑๖ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ปริญญาตรี (สังคมศึกษา), ปริญญาโท (บริหารการศึกษา) โทรศัพท์ : ๐๘๑-๗๕๙-๘๗๖๓ 218

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหางามพล กิตฺติโสภโณ วัดภาษี กรุงเทพมหานคร ๓๓ ๑๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ปริญญาตรี (ภาษาอังกฤษ), ปริญญาโท (ศาสนาเปรียบเทียบ) โทรศัพท์ : ๐๘๕-๓๕๑-๕๒๑๒ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระนิรันดร สุจิณฺโณ วัดนามะตูม จังหวัดชลบุร ี ๓๔ ๘ น.ธ.เอก, ปวส. ๐๘๖-๑๓๘-๖๔๒๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมงคล อาภาธโร วัดเรไร กรุงเทพมหานคร ๒๖ ๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ศาสนา) ๐๘๙-๔๕๖-๒๘๓๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระชัยฤทธิ์ ชยานนฺโท วัดมงคลโกวิทาราม จังหวัดอุบลราชธานี ๒๖ ๕ น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๘๙-๗๒๑-๐๙๕๗

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

219


220

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระทิพย์พนากรณ์ ชยาภินนฺโท วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ๒๘ ๘ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ภาษาอังกฤษ) ๐๘๑-๔๖๘-๗๑๐๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระเวียง กิตฺติธโร วัดเรไร กรุงเทพมหานคร ๒๙ ๙ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (จริยศึกษา)

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมุห์บรรเจิด ยสินฺธโร วัดเทพวนาราม จังหวัดภูเก็ต ๒๕ ๕ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พระพุทธศาสนา) ๐๘๔-๘๓ ๑-๖๘๕๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระเทิดศักดิ์ อรุโณ วัดเมืองน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ๓๒ ๗ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมศึกษา) ๐๘๗-๒๕๑-๑๑๖๕

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระสิทธิพงษ์ ถิรปุญฺโญฺ วัดด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ๔๓ ๑๙ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) โทรศัพท์ : ๐๒-๓๙๔-๑๘๙๙ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระครูวรสุตาธิคุณ สงฺขวโร วัดสามบ่อ จังหวัดสงขลา ๔๒ ๒๒ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปวค., ปริญญาตรี (วางแผนและนโยบาย) ๐๘๐-๘๗๖-๔๘๖๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระปลัดวินัย วินโย วัดเอก จังหวัดสงขลา ๕๑ ๑๗ น.ธ.เอก ๐๘๔-๑๙๕-๒๓๓๐

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอดุลย์ สุวณฺโณ วัดใหม่ (ยายแป้น) กรุงเทพมหานคร ๒๔ ๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (เศรษฐศาสตร์) ๐๘๗-๒๔๘-๒๑๕๙

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

221


222

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระทองไล กิตฺติปาโล วัดเรไร กรุงเทพมหานคร ๒๔ ๓ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ภาษาอังกฤษ) ๐๘๓-๗๓๗-๖๒๘๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอุดร ปิยวณฺโณ วัดเกาะแก้วสุวรรณาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา ๓๕ ๑๒ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (พระพุทธศาสนา) ๐๘๐-๐๑๔-๕๙๐๓

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอำนาจ จนฺทโชโต วัดชลธราราม จังหวัดเพชรบุรี ๓๐ ๑๑ น.ธ.เอก ๐๘๙-๐๐๑-๑๑๙๓

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระจิรศักดิ์ จิรวฑฺฒนเมธี วัดปากบ่อ กรุงเทพมหานคร ๒๔ ๔ น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (การสอนภาษาไทย) ๐๘๖-๔๐๘-๕๘๕๑

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาอรรฆพร สุทฺธิญฺาโณ วัดบางนาใน กรุงเทพมหานคร ๓๒ ๑๐ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ปริญญาตรี (การสอนสังคม), ปริญญาโท (บริหารภาครัฐ) โทรศัพท์ : ๐๘๑-๕๘๖-๒๔๐๓ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระครูปภากรวิหารกิจ ปภากโร วัดดอกไม้ กรุงเทพมหานคร ๖๙ ๒๔ น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๓ ๐๘๗-๗๑๑-๔๔๐๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอธิการบุญศรี ปภากโร วัดโพธิ์ชัย จังหวัดอำนาจเจริญ ๓๒ ๙ น.ธ.เอก -

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระจันทจร ฐฺานิสฺสโร วัดศรีเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ๒๓ ๒ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (หลักสูตรและการสอน) ๐๘๖-๘๗๒-๐๖๐๓

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

223


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมงคล คมฺภีรปญฺโญฺ วัดแสนสำราญ จังหวัดอุบลราชธานี ๒๔ ๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (หลักสูตรการสอน), ปริญญาโท (บริหารการศึกษา) โทรศัพท์ : ๐๘๕-๖๕๘-๔๗๔๕

224

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมพงษ์ อตฺตานุรกฺขี วัดศรีประดู่ จังหวัดอุบลราชธานี ๒๔ ๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (หลักสูตรและการสอน) ๐๘๑-๐๗๒-๓๔๐๖

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสุภักดิ์ ธมฺมภคฺคตฺติโย วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ๒๘ ๘ น.ธ.ตรี, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (เศรษฐศาสตร์) ๐๘๘-๐๙๐-๓๒๓๓

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอธิการพงษ์วัฒณ์ ภทฺทญฺาโณ วัดสามแยกโพธาราม จังหวัดอุบลราชธานี ๒๙ ๘ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ศาสนาและปรัชญา) ๐๘๖-๒๔๙-๘๓๙๖

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระธานินทร์ คุณธมฺโม วัดใหม่เทพนิมิตร กรุงเทพมหานคร ๒๗ ๖ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (เศรษฐศาสตร์) ๐๘๒-๗๐๕-๐๖๙๖

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระปลัดสุชาติ สุชาโต วัดควนเกย จังหวัดนครศรีธรรมราช ๔๔ ๑๐ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) ๐๘๔-๐๕๗-๘๓๓๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระวันชาติ โอภาสวีโร วัดแหลมสุวรรณาราม จังหวัดสมุทรสาคร - - - -

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมณาง ธมฺมวิสุทฺธตฺเถโร วัดสุทธาราม กรุงเทพมหานคร ๓๓ ๑๒ น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, ปริญญาตรี (บาลีสันสกฤษต) ๐๘๕-๘๔๙-๒๘๐๑

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

225


226

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาสิงห์ ธมฺมวโร วัดคฤหบดี กรุงเทพมหานคร ๒๗ ๗ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญญาตรี (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) ๐๘๖-๙๙๓-๕๓๔๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหามานิตย์ จารุวณฺโณ วัดป่าธรรมโสภณ จังหวัดลพบุรี ๔๗ ๒๕ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปวค., ปริญญาตรี (เศรษฐศาสตร์) ๐๘๔-๐๗๘-๘๐๙๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระปลัดเจริญ วฑฺฒโน วัดเอก จังหวัดสงขลา ๓๗ ๑๒ นธ.เอก, ปริญญาตรี (การประถมศึกษา) ๐๘๔-๑๘๖-๙๒๐๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระศักดิ์นรินทร์ ฐฺานวีโร วัดพลมานีย์ กรุงเทพมหานคร ๒๙ ๕ น.ธ.เอก ๐๒-๗๓๘-๑๗๔๑

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาประยุทธ นิรุตฺติกุสโล วัดดุสิตาราม กรุงเทพมหานคร ๒๕ ๒ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ม.๖ ๐๘๔-๐๒๓-๓๘๒๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาธีรพล วชิรปญฺโญฺ วัดธาตุน้อย จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๔ ๔ น.ธ.เอก, ป.ธ.๕, ปริญญาตรี (ภาษาอังกฤษ) ๐๘๖-๗๑๕-๙๘๗๘

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมนู รตนโชโต วัดช่อม่วง จังหวัดเพชรบุรี ๔๔ ๒๓ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พัฒนาชุมชน) ๐๘๗-๘๒๘-๖๘๗๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระสุรศักดิ์ โชติวโร วัดแท่นบัลลังก์ จังหวัดบุรีรัมย์ ๒๑ ๒ น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (รัฐประศาสนศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๙-๘๔๖-๗๙๙๔ คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

227


228

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหามานัส ปสนฺโน วัดหน้าพระธาตุ จังหวัดชลบุรี ๓๖ ๘ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (การจัดการเชิงพุทธ) ๐๘๖-๘๓๓-๗๘๗๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาบุญสี อภิวโร วัดด้ามพร้า จังหวัดอุบลราชธานี ๓๐ ๗ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (หลักสูตรและการสอน) ๐๘๗-๔๓๙-๒๒๙๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระโกศล ธีรปญฺโญฺ วัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (ภาษาอังกฤษ) ๐๘๗-๓๕๓-๔๑๔๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอาคม จนฺทวํโส วัดบูรพาราม จังหวัดนครพนม ๓๐ ๓ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๙-๘๔๓-๕๓๑๑

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระองอาจ กิตฺติโสภโณ วัดเทพวนาราม จังหวัดภูเก็ต ๒๓ ๓ น.ธ.เอก, ม.๓ ๐๘๒-๖๕๔-๒๒๘๓

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระวัชรปัญญา วรสงฺกปฺโป วัดธรรมิการามวรวิหาร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๓๑ ๗ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (พุทธศาสตร์) และ (รัฐศาสตร์) โทรศัพท์ : ๐๘๖-๕๔๑-๑๔๓๙ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสำเริง สุวณฺโณ วัดแจ้งศิริสัมพันธ์ จังหวัดนนทบุรี ๔๒ ๑๑ น.ธ.ตรี ๐๘๐-๒๗๗-๙๓๘๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระศักดิ์นรินทร์ สมจิตฺโต วัดราษฎร์อำนวย จังหวัดมุกดาหาร ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๔-๖๘๔-๔๑๙๕

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

229


230

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระจำเริญ คุตฺตวฑฺฒโน วัดหนองกก จังหวัดบุรีรัมย์ ๓๒ ๗ น.ธ.เอก, อนุปริญญา (พัฒนาชุมชน) ๐๘๙-๖๒๔-๖๕๓๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาวิโรจน์ อคฺคปญฺโญฺ วัดพุทธภาวนาราม จังหวัดสมุทรปราการ ๒๒ ๒ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี (นิติศาสตร์) ๐๘๕-๒๑๔-๒๘๔๘

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระปฐวี อาภทฺธโร วัดแจ้งศิริสัมพันธ์ จังหวัดนนทบุรี ๓๕ ๑๑ น.ธ.เอก ๐๘๑-๕๔๖-๒๓๕๐

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาภมร ฐฺานวโร วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร ๒๗ ๗ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ปริญญาตรี (กฎหมาย) ๐๘๑-๕๗๑-๖๗๙๒

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระสมุห์บุญส่ง ธมฺมทสฺสี แหลมสุวรรณาราม จังหวัดสมุทรสาคร ๖๕ ๔๔ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ศาสนา), ปริญญาโท (ศาสนาเปรียบเทียบ) โทรศัพท์ : - ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระครูศรีปรีชากร ฐฺิตวุโณ วัดหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๔๘ ๒๗ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ปริญญาตรี (สังคมศึกษา), ปริญญาโท (ธรรมนิเทศ) โทรศัพท์ : ๐๘๔-๗๕๔-๒๑๖๖ ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาวิชาญ ปภสฺสโร วัดอ่าวบัว จังหวัดสงขลา ๔๒ ๑๘ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปบส. ๐๘๗-๓๙๘-๘๘๘๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระวัชรพงษ์ พุทฺธญฺาโณ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ๒๑ ๑ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (รัฐศาสตร์) ๐๘๐-๔๘๒-๐๖๒๙

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

231


232

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระศิลปชัย สนฺติกโร วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ๒๘ ๘ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ภาษาอังกฤษ) ๐๘๙-๖๓๒-๒๖๗๖

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาเพชรดี สิริวชฺโร วัดหลวง จังหวัดอุบลราชธานี ๒๒ ๒ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ๐๘๔-๖๓๑-๒๗๙๖

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาศรีธน ฉนฺทสาโร วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ๔๔ ๗ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (สังคมสงเคราะห์ศาสตร์) ๐๘๖-๒๕๔-๖๘๖๘

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระภิญโญ ฐฺานุตฺตโม วัดสระมะเกลือ จังหวัดลพบุรี ๒๖ ๕ น.ธ.เอก ๐๘๗-๒๒๕-๔๕๙๘

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาประเสริฐ อคฺคเตโช วัดท่าพระ กรุงเทพมหานคร ๓๓ ๑๓ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ม.๖ ๐๘๓-๙๑๒-๓๗๗๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมุห์อรุณ อรุโณ วัดห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม ๕๑ ๒๘ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ปรัชญา) ๐๘๙-๕๐๑-๙๐๖๐

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอดิศักดิ์ อติสกฺโก วัดด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ๔๔ ๕ น.ธ.เอก, ม.๓ ๐๘๗-๓๒๖-๑๔๑๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระศุภชัย สุภชโย วัดพุทธยาภิบาล จังหวัดนครพนม ๒๑ ๑ น.ธ.โท, ปริญญาตรี (สังคมศึกษา) ๐๘๕-๔๕๗-๑๑๕๒

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

233


234

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาเฉลิมพร ปญฺญฺาสิริ วัดยางน้อย จังหวัดอุบลราชธานี ๒๒ ๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๕, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ๐๘๗-๔๓๙-๔๑๒๐

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาพงษ์พิทักษ์ วิรกฺขวํโส วัดด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ๒๘ ๕ น.ธ.เอก, ป.ธ.๗ ๐๒-๗๗๖๕-๒๓๔๓๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระไกร์วัลย์ อภิปสนฺโน วัดตาลเอน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒๖ ๖ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พุทธจิตวิทยา) ๐๘๐-๐๗๙-๑๖๘๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสมาน สุเมธโส วัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร ๒๕ ๑ นธ.เอก, ประโยค ๑-๒ ๐๘๒-๗๙๘-๔๕๑๕

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระปลัดประเสริฐ กตปุญฺโญฺ วัดวาลุการาม จังหวัดชุมพร ๒๙ ๙ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (ศาสนา) ๐๘๗-๘๙๖-๓๔๑๐

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาสุภิญญา ปภสฺสโร วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร ๒๗ ๗ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี -

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาชัยวิชิต วิชิตฺโต วัดยางน้อย จังหวัดอุบลราชธานี ๒๓ ๑ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ๐๘๖-๒๔๖-๒๕๒๒

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาไกรสิทธิ์ ฐฺานทตฺโต วัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร ๓๙ ๑๙ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ปริญญาตรี (ศาสนา) ๐๘๗-๔๒๘-๔๒๓๖

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

235


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระบุญส่ง ปภสฺสโร วัดโพธิ์เผือก จังหวัดนนทบุรี ๒๔ ๔ น.ธ.ตรี, ปริญญาตรี (บริหารการศึกษา) และ (การสอนสังคม) ๐๘๑-๖๓๔-๙๖๒๘

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระอธิวัฒน์ ฐฺานกโร วัดสระมะเกลือ จังหวัดลพบุรี ๓๑ ๘ น.ธ.เอก ๐๘๓-๖๔๙-๑๖๑๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระยุทธนา ปญฺญฺาวุโธ วัดสระมะเกลือ จังหวัดลพบุรี ๒๘ ๕ น.ธ.เอก ๐๘๕-๙๔๐-๖๘๕๖

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา :

พระมหาเดชาธร สุภชโย วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร ๔๖ ๒๔ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (คอมพิวเตอร์), ปริญญาโท (พุทธศาสนา) โทรศัพท์ : ๐๘๙-๙๘๙-๐๘๘๘ 236

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระภูธร ธมฺมทีโป วัดนามะตูม จังหวัดชลบุร ี ๓๐ ๑๐ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (การจัดการเชิงพุทธ) ๐๘๗-๑๓๓-๑๑๒๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระบุญเลิศ ปภสฺสโร วัดลีตลากร จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๖ ๖ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (นิติศาสตร์) ๐๘๑-๕๘๑-๕๔๓๖

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระคณพศ กิตฺติสาโร วัดไทร จังหวัดนนทบุรี ๓๑ ๗ น.ธ.เอก, ปริญญาตรี (พุทธศาสนา) ๐๘๔-๐๕๑-๘๐๙๗

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระมหาวิมล โชติธมฺโม วัดท่าพระ กรุงเทพมหานคร ๔๖ ๒๗ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (การสอนสังคม) ๐๒-๘๖๘-๒๑๒๐

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

237


238

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

พระสุรศักดิ์ อคฺคปญฺโญฺ วัดท่าพระ กรุงเทพมหานคร ๒๒ ๑ น.ธ.เอก, กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๔ (จิตวิทยา) ๐๘๙-๔๗๕-๗๙๕๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

สามเณรเฉลิม ศรีปรัง วัดโพธิ์ตาก จังหวัดอุบลราชธานี ๒๐ - น.ธ.เอก -

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

สามเณรนนท์ศักดิ์ ลาดำ วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร ๒๑ - น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ปริญญาตรี (ครุศาสตร์) ๐๒๗-๗๖๔-๘๙๒๖๔

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

สามเณรการณ์ หอมขจร วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ๑๙ - น.ธ.โท, ปริญญาตรี (สังคมศึกษา) ๐๘๕-๔๑๓-๓๖๑๕

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

สามเณรมังกร บัวทอง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ๒๐ - น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, ปริญญาตรี (วิทยาการคอมพิวเตอร์) ๐๘๕-๙๕๖-๖๑๓๐

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

สามเณรชานนท์ สายรัตน์ วัดเวฬุวนาราม (ใผ่เขียว) กรุงเทพมหานคร ๑๙ - น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๖-๘๕๙-๙๗๖๑

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

สามเณรกิตติ เข็มจันทร์ วัดภาณุรังษี กรุงเทพมหานคร ๑๘ - น.ธ.เอก, ม.๖ ๐๘๗-๖๙๐-๔๖๐๙

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

สามเณรวทัญญู ทาจันทร์ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ๑๘ - น.ธ.เอก ๐๘๙-๕๖๐-๖๑๙๓

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

239


ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

สามเณรสนธยา รุ่งเรือง วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร ๒๐ - น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, ปริญญาตรี (สังคมศาสตร์) ๐๘๔-๓๕๘-๕๘๙๕

ชื่อ-ฉายา : สังกัดวัด : อายุ : พรรษา : การศึกษา : โทรศัพท์ :

สามเณรศตสิณฑ์ ตันชาลี วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ๑๙ - น.ธ.เอก, ป.ธ.๕ ๐๘๓-๙๑๘-๖๖๒๑

240

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


บรรณานุกรม กรมการศาสนา. (๒๕๕๑). โครงการเฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด. นงลักษณ์ ใจฉลาด. (๒๕๕๒). รู ป แบบการเสริ ม สร้ า งคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม ของนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทย. การศึ ก ษาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต มหาวิทยาลัยนเรศวร. พระณชารีย์ อุปสนโต (ชินวรสิริวัชร). (๒๕๔๗). การจัดอบรมค่ายคุณธรรม คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมแก่เยาวชน. สำนักงานควบคุมโรคที่ ๘ จังหวัดนครสรรรค์. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) (๒๕๓๙). ธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (๒๕๕๑). รู้หลักก่อนแล้วศึกษาและ สอนให้ ได้ผล. ธรรมสภาศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา. สำนั ก งานกิ จ การสตรี แ ละสถาบั น ครอบครั ว . (๒๕๕๑). คู่ มื อ การเรี ย นรู้ แบบมีส่วนร่วมและวิทยากรกระบวน. โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว. http://d.scribd.com/docs/wyye7dwf6lkrehraj7t.pdf http://www.prlabschools.com/PR/teamwork.htm#top

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

241


คณะทำงาน ฝ่ายบริการฝึกอบรม ส่วนธรรมนิเทศ

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๑. พระครูวินัยธรวัลลพ โกวิโล ๒. พระมหาวิชาญ สุวิชาโน ๓. พระเก่งกาจ สํวโร ๔. พระอาทิตย์ สิริจนฺโท ๕. พระมหาพลอย ธมฺมทายาโท ๖. พระมหาสรพงษ์ วรปญฺโญฺ ๗. พระครูวินัยธรณรงค์ ฐฺิตจาโร ๘. พระครูธรรมธรองอาจ ฉนฺทธมฺโม ๙. พระใบฎีกาปิยะพงษ์ ปิยสีโล ๑๐. พระมหาอณุ ปภสฺสโร ๑๑. พระศรีทร โกสโล ๑๒. พระสุริยา สุริโย ๑๓. พระมหานพดล ธมฺมานนฺโท ๑๔. พระวชิระ สุปภาโส

242

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

243

พระมหาพลอย ธมฺมทายาโท รองประธานฝ่ายวิชาการ พระครูธรรมธรองอาจ หัวหน้าพระธรรมวิทยากร พระวชิระ สุปภาโส หัวหน้าพระธรรมวิทยากร พระปรีชา ปริชาโน หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระมหาอาทิตย์ สิริจนฺโท รองประธาน ฝ่ายทะเบียนและสถิติ พระมหานพดล ธมฺมานนฺโท หัวหน้าพระธรรมวิทยากร พระมหาเจริญศักดิ์ รตนเมธี หัวหน้าพระธรรมวิทยากร พระครูสังฆรักษ์ปรีชา หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระมหาสรพงษ์ วรปญฺโญ รองประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ พระมหาอณุ ปภสฺสโร หัวหน้าพระธรรมวิทยากร พระใบฎีกาปิยะพงษ์ หัวหน้าพระธรรมวิทยากร พระศรชัย ภูริญาโณ หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

ประธานพระธรรมวิทยากร

พระมหาวิชาญ สุวิชาโน พระเก่งกาจ สํวโร รองประธาน ฝ่ายพัฒนาบุคลากร พระศรีทร โกสโล หัวหน้าพระธรรมวิทยากร พระสุริยา สุริโย หัวหน้าพระธรรมวิทยากร พระมหาแสงสุวรรณ ธีราโภ หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

แผนผังโครงสร้างการบริหารพระธรรมวิทยากร ฝ่ายบริการฝึกอบรม ส่วนธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระมหาวิชาญ สุวิชาโน ฝ่ายบริการฝึกอบรม พระครูวินัยธรณรงค์ เลขานุการธรรมวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ พระนัตกร ชนาสโภ พระนิสิตทดลองปฏิบัติงาน พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท นิสิตทดลองปฏิบัติงาน


พระมหาวิชาญ สุวิชาโน สำนักงานฝ่ายบริการฝึกอบรม

พระครูวินัยธรณรงค์

เลขานุการธรรมวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒ ิ

พระนัตกร ชนาสดโภ พระนิสิตทดลองปฏิบัติงาน

พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท พระนิสิตทดลองปฏิบัติงาน

พระครูวินัยธรวิเชียร วชิรธมฺโม

พระครูสังฆรักษ์พศวีร์ ธีรปญฺโญ

พระสุเมธ สุเมโธ

พระครูศรีปรีชากร ฐิตวุโณ

พระปลัดเจริญ วฑฺฒโน

พระธงชัย จิตฺตกาโร

พระครูประภากรวิหารกิจ ปภากโร

พระปลัดสุชาติ สุชาโต

พระปฐวี อาภทฺทโร

พระครูวินัยธรมรกต อคฺคปญฺโญ

พระสมุห์บรรเจิด ยสินฺธโร

พระมหามานิตย์ จารุวณฺโณ

พระครูธรรมธรประสาน สิริธโร

พระมหาอนุศักดิ์ ขนฺติโก

พระทองหล่อ อิรยวํโส

พระครูสมุห์สนั่น ฐานกโร

พระสมยศ อติภทฺโท

พระอัครอริญชย์ ธีรวํโส

พระครูสมุห์สังวาลย์ สติปญฺโญ

พระชุมพล จตฺตมโล

พระสมพงษ์ อตฺตานุรกฺขี

พระสมุห์อรุณ อรุโณ

พระมหาวิชาญ ปภสฺสโร

พระถนอมศักดิ์ อภินนฺโท

พระสมุห์สนอง ยสิโก

พระมหาภมร ฐานวโร

พระราพิน ปญฺญาธโร

พระสมุห์ไตรณรงค์ ฐิตธมฺโม

พระอำนาจ ถิรวิริโย

พระสำเริง สุวณฺโณ

พระสมุห์วิชัย วิชโย

พระมหาเฉลิมพร ปญฺญาสิริ

พระมหางามพล กิตฺติโสภโณ

พระปลัดวินัย วินโย

พระมหามานัส ปสนฺโน

พระศรีธน ฉนฺทสาโล

พระปลัดเจริญ วฑฺฒโน

พระมหาถนอม ถาวโร

พระเชี่ยวชาญ เตชปญฺโญ

พระจิรศักดิ์ จิรวฑฺตนเมธี

พระมหาประยุทธ นิรุตฺติกุสโล

พระมนู รตนโชโต

พระอัษฎาวุธ เอกคฺคจิตฺโต

พระมหาเพชรดี สิริวชฺโร

พระศิลปชัย สนฺติกโร

244

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


พระเก่งกาจ สํวโร

(รองประธาน ฝ่ายบริหารบุคลากร) พระศรีทร โกสโล หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระสุริยา สุริโย หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระปลัดคเณศ สุปฏิปนฺโน หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระกรุศรี จารุภาณี

พระปัญญา วงปญฺญาเมธี

พระสุวัชร ชยากโร

วิฑูรย์ ฐานเมธี

พระมหาสำรอง สุจิตฺโต

พระมหาณรงค์ราช ปณิธานธิติ

พระไพรวรรณ คมฺภีรปญฺโญ

พระยิ่งยศ นิสฺสโก

พระวงศ์ธวัช กลฺยาณเมธี

พระมหาชาตรี จินฺตามโย

พระวีระวงศ์ วีรวํโส

พระมหามงคล สิริมงฺคโล

พระมหาอุบล ญาณเมธี

พระสวัสดิ์ จิตฺตโสภโณ

พระมหาเฉลิมเกียรติ ยโสธโร

พระมหาบัณฑิต ปภสฺสโร

พระสิทธิเดช สีลเตโช

พระพงศกร ฐิตวํโส

พระมหาเหรียญชัย ธีรธมฺโม

พระสัญญา สญฺญาคโม

พระอำนาจ อภิวฑฺฒโน

พระบุญธรรม สุเมโธ

พระอดิศักดิ์ มหาปุญฺโญ

พระณภัทร กิจฺจธโร

พระวีระพร จนฺทวโร

พระมหามนฑล ปญฺญาธโร

พระสุรินทร์ อินฺทวํโส

พระศักดา กิตติปาโล

พระมหาอาทิตย์ อภิปุญฺโญ

พระสมณาง ธมฺมวิสุทฺธตฺเถโร

พระณัฏฐชัย สีลสํวโร

พระพจเวช สุวโจ

พระมหาวิโรจน์ อคฺคปญฺโญ

พระมหาพีรวัฒน์ ปิยเมธี

พระสมพร กิตฺติภทฺโท

พระจำเริญ คุตฺตวฑฺฒโน

พระมหาสิงห์ ธมฺมวโร

พระภูธร ธมฺมทีโป

พระศุภชัย สุภชโย

พระวัชรปัญญา วรสงฺกปฺโป

พระอาคม จนฺทวํโส

พระศิริชัย ติกฺกวโร

พระวัชระพงษ์ พุทฺธญาโณ

พระองอาจ กิตฺติโสภโณ

พระมหาบุญสี อภิวโร

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

245


พระอาทิตย์ สิริจนฺโท

(รองประธาน ฝ่ายทะเบียนและสถิติ) พระมหานพดล ธมฺมานนฺโท หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระมหาเจริญศักดิ์ รตนเมธี

หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระครูสังฆรักษ์ปรีชา หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระทวีพงษ์ ฐิตญาโณ

พระสิปปวิชญ์ ปญฺญาวโร

พระมหาศิลชัย สีลชโย

พระมหาอธิวัฒน์ อริยธชฺโช

พระอดิศร ฐานวุฑฺโฒ

พระมหาอนันต์ อมโร

พระศักดิ์มงคล สุมงฺคโล

พระณัฐอรรคเดช อภิชฺชวานนฺโท

พระทองจันทร์ กิตฺติปาโล

พระชัยพร จนฺทวํโส

พระวัชรพล สุเมโธ

พระมหาทสันติ มหาลาโภ

พระมหาอดิศร อภิชฺชยานนฺโท

พระนิคม ธมฺมธโร

พระมหาบุญช่วย เขมจารี

พระมหาวิรัตน์ รตนเมธี

พระสุทัศน์ เขมปญฺโญ

พระทศพร ธนวํโส

พระอรรถสิทธิ์ อริยเมธี

พระสุวัตน์ วชิโร

พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ

พระมหาพิชัย ธมฺมวิชโย

พระชัยนคร ติกฺขวีโร

พระใบฎีกาพิเชษฐ์ มหาปุญฺโญ

พระมหาปรีชา ปภสฺสโร

พระทิพย์พนากร ชยาภินนฺโท

พระเฉลียว ถิรธมฺโม

พระสมสี สีลวณฺโณ

พระมาโนชญ์ โรจนสิริ

พระมหาณัฐสิทธิ์ สุจิตฺโต

พระมหาเดชาธร สุภชโย

พระฉัตรชัย กตปุญฺโญ

พระโกศล ธีรปญฺโญ

พระปลัดประเสริฐ กตปุญฺโญ

พระอดิศักดิ์ อติสกฺโก

พระอธิการพงษ์วัฒน์ ภทฺทญาโณ

พระมหาธีระพล วชิรปญฺโญ

พระเรวัตร ชุติปญฺโญ

พระอำนาจ มหาวิริโย

พระไชยฤทธิ์ ชยานนฺโท

พระธานินทร์ คุณธมฺโม

พระมหาธีรเมธี ธีรวํโส

พระเทิดศักดิ์ อรุโณ

พระมงคล อาภากโร

พระประยูร วิสุทฺธญาโณ

246

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


พระมหาพลอย ธมฺมทายาโท (รองประธาน ฝ่ายวิชาการ)

พระครูธรรมธรองอาจ หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระวชิระ สุปภาโส หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระปรีชา ปริชาโน หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระสมาน ปภากโร

พระนนทนันท์ ตปสีโล

พระมหาประยงค์ศักดิ์ มหาปุญฺญภาวี

พระไพวัลย์ ธมฺมวโร

พระพิภพ พลวฑฺฒโน

พระประภาส คุตฺตจิตฺโต

พระนพรัตน์ ธมฺมวโร

พระสฤษดิ์ อานนฺโท

พระทรงยศ ฐานยุตฺโต

พระพัชรินทร์ ภทฺรเมธี

พระวรยศ โรจนวํโส

พระมหาอนันต์ อนนฺโท

พระมหาถนอม ถาวโร

พระมหาอนุศักดิ์ ขนฺติโก

พระประดับ มหาปญฺโญ

พระอนุชน ติกฺขปรกฺกโม

พระเสกข์พิสิทธิ์ สุเมธโส

พระปิยวุฒิ ญาณวีโร

พระมหาประจักษ์ วฑฺฒโน

พระมหาสุรัตน์ จนฺทูปโม

พระมหากิตติคุณ คุณธมฺโม

พระมหาอำนาจ วราสโภ

พระสมุทร ทีปโก

พระเสถียร ฐิติสมฺปนฺโน

พระมหาสมยศ ยโสธโร

พระมหาวิชัยชาญ ณฏฺฐชโย

พระภูมิพิพัฒน์ วรมงฺคโล

พระสมพงษ์ ปภสฺสโร

พระอนนท์ ธมฺมานนฺโน

พระมหาวัฒนา วฑฺฒนปญฺโญ

พระปลัดณรงค์ อุตฺตมวํโส

พระมหาจักรกฤษ จกฺกญาโณ

พระมหาสมย ขนฺติธมฺโม

พระศักดิ์นรินทร์ ฐานวีโร

พระไพบูลย์ ญาณวิปุโล

พระสิทธิพงษ์ ถิรปุญฺโญ

พระศักดิ์นรินทร์ สมจิตฺโต

พระสัญญา มหาปญฺโญ

พระมหาพงษ์พิทักษ์ วิรกฺขวํโส

พระมหาธีระศักดิ์ ชิตธโร

พระวิฑูรย์ ณฏฺฐิโก

พระสมุทร ฐานภทฺโท

พระยุทธนา ปญฺญาวุโธ

พระคำขอด สิริวฑฺฒโก

พระสมาน สุเมธโส

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน

247


พระมหาสรพงษ์ วรปญฺโญ (รองประธาน ฝ่ายประชาสัมพันธ์)

พระมหาอณุ ปภสฺสโร หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระใบฎีกาปิยะพงษ์

หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระศรชัย ภูริญาโณ หัวหน้าพระธรรมวิทยากร

พระมหาณรงค์ชัย กิตฺติสมฺปนฺโน

พระธวัชชัย ปญฺญาวชิโร

พระพุทธายะ อชิตปญฺโญ

พระลิขิต เตชปญฺโญ

พระเดวิท สิริวฑฺฒโก

พระมหาณัฐวุฒิ กลฺยาณเมธี

พระสาโรจน์ ธมฺมสโร

พระมหาสมศักดิ์ สุทฺธจิตฺโต

พระมหาอนุชา ปริชาโน

พระมหาพงษ์เจริญ สุจิณฺโณ

พระมหาประจวบ ฐานจนฺโท

พระมหาณัฐกฤษฎ์ สุเมโธ

พระมหาชรินทร์ ชรินฺโท

พระมหาไวพจน์ รตนญาโณ

พระมหามณเฑียร ฐิติเมธี

พระสันทัด สญฺญจิตฺโต

พระธงชัย ฐานจาโร

พระอุทิศ อาสภจิตฺโต

พระมหาอุทัย วชิรเมธี

พระณัฐวุฒิ สุเมโธ

พระมหาจำเนียร ฐิตปญฺโญ

พระมหาบวรศักดิ์ ณฏฺฐิโก

พระมหาวิชัช วรเมธี

พระมหาวิชัย ธีรชโย

พระบัณฑิต ฐิตปญฺโญ

พระสมเกียรติ กิตฺติภทฺโท

พระประยุทธ ปริตตฺเมธี

พระสุภาพ อานนฺโท

พระสมิถา จนฺทปญฺโญ

พระณรงค์ วุฑฺฒิเมธี

พระภิญโญ ฐานุตฺตโม

พระอธิวัฒน์ ฐานกโร

พระบุญส่ง ปภสฺสโร

พระคณพศ กิตฺติสาโร

พระมหาไกรสิทธิ์ ฐานทตฺโต

พระนิรันดร สุจิณฺโณ

พระหาญศักดิ์ ขนฺติสุโภ

พระมหาสมาน กมฺพุวณฺโณ

พระมหาชัยวิชิต ขนฺติธโร

พระอนุสิทธิ์ อานนฺโท

พระสุรศักดิ์ โชติวโร

พระไทย สุวณฺณตโน

พระวีระชาติ สิริชนโชโต

พระอำนาจ จนฺทโชโต

พระมหามาโนชญ์ ฐานวโร

248

คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.