OIE

Page 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 20 เดือนพฤศจิกายน 2556

“อุตสาหกรรมยุคใหม่” ก้าวที่ท้าทายสู่อนาคต


Contents

ประจ�ำเดือนพฤศจิกายน 2556

7

12 Econ Focus

3

Econ Review

7

Sharing

9

- OIE Forum ปี 2556 Next Generation of Thai lndustry “อุตสาหกรรมยุคใหม่” ก้าวที่ท้าทายสู่อนาคต

- สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2556

3

- ท�ำความรู้จัก สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association for Regional Co-operation : IOR-ARC)

Life

12

Movement

15

- หนาวสนุกสุขภาพไฉไล

Editor’s Note

ที่ปรึกษา

สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน ส�ำหรับ OIE SHARE ฉบับนี้ ก้าวมาถึงฉบับที่ 20 แล้วนะคะ เรายังมีสาระความรูด้ ี ๆ มา ฝากเช่นเคยค่ะ เริ่มจาก Econ Focus กับงาน OIE Forum ประจ�ำปี 2556 ในหัวข้อ Next Generation of Thai lndustry “อุตสาหกรรมยุคใหม่” ก้าวที่ท้าทายสู่อนาคต ส่ ว นสถานการณ์ ก ารผลิ ต อุ ต สาหกรรมประจ� ำ เดื อ น กันยายน 2556 จะเป็นอย่างไรพลิกเข้าไปดูได้เลยค่ะ ใน คอลัมน์ Sharing มาท�ำความรู้จักสมาคมความร่วมมือแห่ง ภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย สุดท้ายพลาดไม่ได้กับคอลัมน์ Life ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับหน้าหนาว และฉบับ นี้เรายังเปิดรับความคิดเห็นของทุกท่านทุกช่องทาง พบกัน ใหม่ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ

ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

บรรณาธิการบริหาร

วารี จันทร์เนตร

กองบรรณาธิการ

ศุ ภิ ด า เสมมี สุ ข , ศุ ภ ชั ย วั ฒ นวิ ท ย์ ก รรม์ , ชาลี ขั น ศิ ริ , สมานลักษณ์ ตัณฑิกุล, ขัตติยา วิสารัตน์, ศักดิ์ชัย สินโสมนัส, กุลชลี โหมดพลาย, บุญอนันต์ เศวตสิทธิ์, วรางคณา พงศาปาน

OIE SHARE ยิน ดีรับ ฟังความคิด เห็น ค�ำชี้แนะ และข่ าวประชาสัมพั น ธ์ต ่ า งๆ ติด ต่ อ ได้ ที่ กองบรรณาธิ ก าร OIE SHARE กลุ่มประชาสัมพันธ์และบริการห้องสมุด ส�ำนักบริหารกลาง ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 อีเมล์ : OIESHARE@oie.go.th ข้อความที่ปรากฎใน OIE SHARE เป็นทัศนะของผู้เขียน

2


Next Generation of Thai Industry

“อุตสาหกรรมยุคใหม่” ก้าวที่ท้าทายสู่อนาคต l

ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จัดเวทีเสวนา OIE Forum ปี 2556 ภายใต้หัวข้อ : Next Generation of Thai Industry “อุตสาหกรรมยุคใหม่” ก้าวทีท่ า้ ทายสูอ่ นาคต ซึง่ การ เสวนาดั ง กล่ า วแบ่ ง เป็ น 3 ประเด็ น ย่ อ ย ประกอบด้ ว ย 1. “อุตสาหกรรมยุคใหม่” เชือ่ มเครือข่ายสูภ่ มู ภิ าค 2. “อุตสาหกรรม ยุคใหม่” นวัตกรรม องค์ความรู้ สู่สากล และ 3. อุตสาหกรรม ยุคใหม่” ก้าวไกลสู่ความยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ เชีย่ วชาญและมีชอื่ เสียงจากตัวแทนนักวิชาการ ผูท้ รงคุณวุฒิ ภาค เอกชนและภาครัฐ ร่วมให้มุมมองและความคิดเห็น เพื่อน�ำเสนอ วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศ ตลอดจนทิศทาง และแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมในอนาคต เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2556 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา 1. “อุตสาหกรรมยุคใหม่” เชื่อมเครือข่ายสู่ภูมิภาค ความเชื่อมโยงเครือข่ายสู่ภูมิภาคของภาคอุตสาหกรรม อาจ แบ่งออกเป็นความเชื่อมโยงภายใน ได้แก่ การจัดระบบคมนาคม ขนส่งภายในประเทศให้มคี วามพร้อม ทัง้ ทางบก ทางน�ำ้ และอากาศ เพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอนาคต และความ เชื่อมโยงภายนอก ได้แก่ ความเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่ง การค้า และการลงทุน ระหว่างไทยกับประเทศเพือ่ นบ้านในอาเซียน รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค อาเซียนมีเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาความเชื่อมโยง ของอาเซียน (ASEAN Connectivity) เพือ่ น�ำไปสู่ “Single market

ส�ำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ส�ำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2 ส�ำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

and Production base” โดยผ่านความเชือ่ มโยงทางกายภาพ และ ความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบและกฎหมาย ซึ่งจะท�ำให้ตลาด การค้าเป็นตลาดเดียวกันและมีฐานการผลิตร่วมกัน เป็นตลาดที่มี ขนาดใหญ่ขึ้นและผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดี ความเชื่อมโยงกฎระเบียบและ กฎหมายของอาเซียนยังไม่มคี วามสอดคล้องกันมากนัก จึงจ�ำเป็นที่ ประเทศสมาชิกจะต้องปฏิรปู กฎระเบียบและกฎหมายภายในให้เป็น ไปในแนวทางเดียวกัน เพือ่ ลดอุปสรรคทางการค้าในภูมภิ าค ในขณะ เดียวกันผู้ประกอบการไทยควรใช้ประโยชน์จาก FTAs ฉบับต่าง ๆ รวมถึงความเชื่อมโยงในภูมิภาคในการสร้างโอกาสและขีดความ สามารถในการแข่งขัน โดยการเพิ่มมูลค่าในสินค้า ซึ่งเป็นสิ่งจ�ำเป็น ทีผ่ ปู้ ระกอบการจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง รวมทัง้ การศึกษา และวิจัยสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการแข่งขันและตอบ สนองต่อความต้องการของผูบ้ ริโภคทัง้ ภายในและภายนอกประเทศ ส�ำหรับปัญหาด้านแรงงาน ภาครัฐ รวมถึงผูป้ ระกอบการควรเข้ามา มีบทบาทส�ำคัญในการส่งเสริมการศึกษา การให้ความรู้ และการ พัฒนาทักษะฝีมอื และความช�ำนาญของแรงงาน เพือ่ เสริมศักยภาพ และเตรียมความพร้อมของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมรองรับการ ประกอบการอุตสาหกรรมในอนาคต รวมถึงตอบสนองต่อบริบทการ พัฒนาอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป การเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งของไทยไม่ควรจ�ำกัดอยู่แต่ เฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านัน้ แต่ควรขยายให้ครอบคลุมในพืน้ ทีส่ ำ� คัญ ของประเทศ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งจาก ภายในประเทศไปสู่ระดับภูมิภาค โดยค�ำว่า Logistics มักมีความ เข้าใจคลาดเคลือ่ นว่าเป็นเพียงเรือ่ งของการขนส่ง หรือการลงทุนใน Mega Project เพือ่ พัฒนาถนนหนทาง ระบบราง การขนส่งทางน�ำ้ และอากาศ เพือ่ ลดต้นทุนทางธุรกิจ ซึง่ แตกต่างจากความหมายเดิม และการจัดการโลจิสติกส์ในทางปฏิบัติอย่างมาก ซึ่ง The Council

3


of Logistics Management (CLM) ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความของการ จัดการโลจิสติกส์ไว้วา่ “กระบวนการในการวางแผน ด�ำเนินการ และ ควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการไหล การจัดเก็บวัตถุดบิ สินค้าคงคลังในกระบวนการ สินค้าส�ำเร็จรูป และสารสนเทศที่ เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค” นั่นคือ การลดต้นทุน “ไม่ใช่” เป้าประสงค์หลัก แต่ต้องเข้าใจในความต้องการของลูกค้า เช่น ในบางกรณีลกู ค้าอาจต้องการความรวดเร็วและตรงเวลาในการ ส่งสินค้า มากกว่าความกังวลในเรือ่ งของต้นทุนทีส่ งู ขึน้ ในการขนส่ง สินค้า และประเด็นที่ส�ำคัญอีกส่วนหนึ่งส�ำหรับการน�ำความรู้ด้าน โลจิสติกส์มาปรับใช้กบั การด�ำเนินธุรกิจของแต่ละบริษทั นัน้ คือ ไม่มี “One size fit all” เพราะองค์กรแต่ละแห่งต่างมีความแตกต่างกัน ในบริบทของการบริหารจัดการหลาย ๆ ด้าน อาทิ กลยุทธ์ทางธุรกิจ ลูกค้า เงินทุน โครงสร้างองค์กร วัฒนธรรม หรือบุคลากร และ วิธีการบริหารจัดการ จึงจ�ำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งและ ขีดความสามารถของธุรกิจผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Service Providers) เพื่ออ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ในการขนส่งสินค้าไปสูผ่ บู้ ริโภคได้อย่างรวดเร็ว และรองรับการขยาย ตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในฐานะที่ไทยเป็นศูนย์กลางด้าน โลจิสติกส์ในภูมิภาค ส�ำหรับเรื่องการเชื่อมโยงเครือข่ายทางธุรกิจสู่ภูมิภาคอาเซียน หรือการสร้าง Production Network ควรมีการมองในภาพรวมถึง ความร่วมมือระหว่างกันเพือ่ ก่อให้เกิดประโยชน์สงู สุดในระดับภูมภิ าค มิใช่การเข้าไปลงทุนเพื่อเก็บเกี่ยวผลก�ำไรกลับประเทศหรือปกป้อง ไม่ให้เพือ่ นบ้านเข้ามาลงทุนฉกฉวยโอกาสในประเทศเท่านัน้ จึงต้อง อาศัยความร่วมมือร่วมใจในการขับเคลือ่ นทัง้ สามเสาของประชาคม อาเซียน คือ การเมืองและความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม ไป พร้อม ๆ กับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การตัดสินใจค้าขาย หรือลงทุนในภูมภิ าคควรพิจารณาจากความจ�ำเป็น ความพร้อมและ ศั ก ยภาพของบริ ษั ท มากกว่ า การเข้ า ไปตามกระแสตื่ น ตั ว ต่ อ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยพิจารณาจาก 1) ธุรกิจที่ท�ำอยู่ อิ่มตัวหรือก�ำลังการผลิตเหลือหรือไม่ และ 2) มีความจ�ำเป็นต้อง เสาะหาแหล่งทรัพยากร ในการผลิต ทั้งวัตถุดิบและแรงงานที่ถูกลง จริงหรือไม่ เพราะการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ดังนั้น อุตสาหกรรมยุคใหม่ จึงควรตอบสนองต่อกระแสการ เปลี่ยนแปลงทางการค้าโลก ควรมีการผลักดันในเรือ่ งกฎระเบียบ และกฎหมายให้มคี วามสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันมาก ขึ้น รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยมี ศักยภาพและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ตลอดจนส่งเสริมให้มี การปรับระบบโลจิสติกส์ให้มีความเหมาะสม ตอบสนองต่อความ ต้องการของลูกค้า และค�ำนึงถึงการประกอบการอุตสาหกรรมอย่าง ยั่งยืน

4

2. “อุตสาหกรรมยุคใหม่” นวัตกรรม องค์ความรู้ สู่สากล เมือ่ ภาคอุตสาหกรรมก�ำลังก้าวสูย่ คุ ใหม่ ทีต่ อ้ งเตรียมตัวพร้อม

รับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทุกด้านที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น และต้อง ปรับตัวให้ทันกับประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา จ�ำนวนมาก ซึ่งเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ปัจจุบันและที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคตถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ ส� ำ คั ญ ในการยกระดั บ เศรษฐกิ จ ของประเทศและขั บ เคลื่ อ น อุตสาหกรรมไทยให้เดินไปข้างหน้า อย่างไรก็ตามพบว่าปัจจุบนั มีผล งานวิจัยจ�ำนวนมากที่ไม่ถูกน�ำมาพัฒนาต่อยอดไปสู่การผลิตเชิง พาณิชย์ดว้ ยข้อจ�ำกัดต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนเงินลงทุน และความ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่จากความร่วมมือเป็นอย่างดีระหว่าง ภาครัฐและภาคเอกชน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่อยู่ใน ระดับงานวิจัยให้สามารถผลิตได้ในระดับอุตสาหกรรม

โครงการพัฒนาระบบสกัดน�้ำมันปาล์มแบบแยกกะลาเม็ดใน โดยไม่ใช้ไอน�้ำ ขนาดก�ำลังการผลิตรวม 5 ตันทะลายปาล์มต่อชั่วโมง

ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีระบบสกัดน�้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ ไอน�้ำ ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างศูนย์เทคโนโลยีโลหะและ วัสดุแห่งชาติ (MTEC) และบริษัท เพื่อกระบี่ปาล์มออยล์ จ�ำกัด ได้ ส�ำเร็จเป็นเครื่องแรกของโลก โดยการใช้ก๊าซ LPG แทน ท�ำให้ กระบวนการผลิตสัน้ ลง ลดการเปลีย่ นเป็นกรดไขมัน และลดปริมาณ น�้ำเสีย ขณะที่ศูนย์นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีได้ร่วมมือกับภาค เอกชนในการน�ำนาโนเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ทวี่ างจ�ำหน่าย ในตลาดแล้ว เช่น แผ่นปิดแผลเส้นใยนาโนไบโอเซลลูโลสที่เคลือบ อนุภาคซิลเวอร์นาโนสีฟา้ ของบริษทั โนวาเทค เฮลธ์แคร์ จ�ำกัด ซึง่ ได้จดลิขสิทธิ์เป็นรายแรกของโลก มีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกัน การติดเชื้อในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่มีแผลกดทับ/แผลไฟไหม้ รุนแรง และไม่ติดเนื้อเยื่อเวลาลอกออก รวมถึงรถพยาบาลเคลือบ ผิวภายในด้วยซิลเวอร์นาโน ของบริษัท สุพรีม โพรดักส์ จ�ำกัด และ สินค้าอุปโภคของผูผ้ ลิตรายอืน่ ๆ เช่น ผงซักฟอก น�ำ้ ยาดับกลิน่ กาย

(ซ้าย) แผ่นปิดแผลเส้นใยนาโนไบโอเซลลูโลสที่เคลือบอนุภาคซิลเวอร์นาโนสีฟ้า (ขวา) สารละลายอนุภาคซิลเวอร์นาโนที่มีสีแตกต่างกันตามขนาดและรูปร่างของอนุภาค


เป็นต้น นอกจากนี้ ประเด็นปัญหาภาวะโลกร้อนและกระแสรัก สุขภาพได้ผลักดันให้เกิดการวิจยั และพัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์จากชานอ้อย ที่สามารถย่อยสลายได้ภายใน 45 วัน และไม่มีสารที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ เพื่อทดแทนการใช้ภาชนะโฟม โดยเป็นความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับบริษทั บรรจุ ภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จ�ำกัด (มหาชน) ซึ่งในอนาคตบริษัทมีแผน จะขยายเทคโนโลยีไปสู่การผลิตบรรจุภัณฑ์จากไบโอพลาสติกด้วย หากพูดถึงกระแสที่ร้อนแรงในวงการอุตสาหกรรมทั้งปัจจุบัน และในอนาคตคงหนี ไ ม่ พ ้ น เรื่ อ งสุ ข ภาพและสิ่ ง แวดล้ อ ม โดย เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีนาโนจะเข้ามามีบทบาทเพิ่มมาก ขึน้ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพือ่ ตอบสนองกระแสดังกล่าว และ จากค� ำ กล่ า วที่ ว ่ า “อุ ต สาหกรรมจะขาดความมั่ น คง ถ้ า ไม่ มี เทคโนโลยี และเทคโนโลยีจะไม่มคี วามหมาย ถ้าอุตสาหกรรมไม่นำ� ไปใช้” ดังนั้น อุตสาหกรรมกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจะต้องก้าว ไปด้วยกัน และต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อก้าวไปสู่ อุตสาหกรรมยุคใหม่ ซึง่ การพัฒนาอุตสาหกรรมให้กา้ วไปอย่างยัง่ ยืน

เทคโนโลยี ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อภาคเอกชน เมื่ออุตสาหกรรมไทยจ�ำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาธุรกิจให้อยู่รอดในอนาคต ดังนั้น ปัจจัยสู่ความส�ำเร็จดังกล่าวคือ การปรับความคิดของนักวิจัยและ ความต้องการของผู้ประกอบการให้ตรงกัน เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่ ตอบโจทย์ความต้องการของผูผ้ ลิต และสามารถต่อยอดไปสูก่ ารผลิต เชิงพาณิชย์ของอุตสาหกรรมยุคใหม่ได้ ซึ่งปัจจุบันเรามีแหล่งข้อมูล เชิ ง ลึ ก มากมายด้ า นอุ ต สาหกรรม ทั้ ง จากส� ำ นั ก งานเศรษฐกิ จ อุตสาหกรรม (สศอ.) และสถาบันเฉพาะทาง รวมถึงคลังข้อมูลงาน วิจัย อย่าง 6ส 1ว1 ที่เป็นการบูรณาการหน่วยงานวิจัยของประเทศ เพือ่ ลดความซ�ำ้ ซ้อนของงานวิจยั และเปิดโอกาสให้ผทู้ สี่ นใจน�ำงาน วิจัยที่มีอยู่ไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่ า นี้ จ ะสามารถช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ระกอบการในการพั ฒ นา อุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืนต่อไป

รถพยาบาลนาโนปลอดเชื้อ ที่เคลือบด้วยอนุภาคซิลเวอร์นาโน ขนาดอนุภาค 70-100 นาโนเมตร ได้ จ�ำเป็นต้องมีการพูดคุยกันระหว่างนักวิจัยและผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความไว้วางใจ และเพื่อให้นักวิจัยเข้าใจความต้องการที่ ชัดเจนของผูป้ ระกอบการ ซึง่ จะน�ำไปสูค่ วามร่วมมือของทุกฝ่ายและ การพัฒนาเทคโนโลยีทตี่ รงกับความต้องการนัน้ ทัง้ นี้ การลงทุนท�ำ ธุรกิจให้ประสบความส�ำเร็จ ผู้ประกอบการจ�ำเป็นต้องทราบข้อมูล ด้านตลาดก่อน และเมื่อทราบตลาดที่ชัดเจนแล้ว จึงเชื่อมโยง องค์ความรูท้ มี่ อี ยูท่ งั้ ในประเทศและต่างประเทศ วิเคราะห์ความเป็น ไปได้ในการลงทุน และจัดหาแหล่งเงินทุนต่อไป อย่างไรก็ตาม ภาค อุตสาหกรรม โดยเฉพาะ SMEs จ�ำเป็นต้องมีความพร้อมทั้งด้าน บุคลากรและห้องทดสอบ ซึ่งสามารถปรึกษาด้านเทคโนโลยีและใช้ บริการด้านการทดสอบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานภาค รัฐและสถาบันวิจัย เพื่อร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และท�ำ R&D ร่วมกันตามโจทย์ทภี่ าคเอกชนก�ำหนด ขณะทีภ่ าครัฐควรบูรณาการ การท�ำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน บนพื้นฐานของนโยบายการ พัฒนาอุตสาหกรรมที่ชัดเจน เช่น กระทรวงอุตสาหกรรมดูแลเรื่อง การผลิต กระทรวงพาณิชย์ดูแลเรื่องตลาด และกระทรวงวิทยา ศาสตร์ฯ เข้ามาช่วยเรื่องการเพิ่มมูลค่าโดยอาศัยวิทยาศาสตร์และ

3. อุตสาหกรรมยุคใหม่” ก้าวไกลสู่ความยั่งยืน การพัฒนาอุตสาหกรรมให้ก้าวไกลสู่ความยั่งยืน ในส่วนของ ภาครั ฐ ได้ ก� ำ หนดกรอบยุ ท ธศาสตร์ เ พื่ อ พั ฒ นาอุ ต สาหกรรมสู ่ อุตสาหกรรมเชิงนิเวศทีม่ คี วามสมดุลและยัง่ ยืน ซึง่ ได้ให้ความส�ำคัญ กับ 3 เรื่องหลัก ดังนี้ 1) Growth การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ และ การสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้นมาในตลาด 2) Great การพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากร การบริการ และ เทคโนโลยีในอุตสาหกรรม 3) Green เทคโนโลยี ECO การพัฒนาที่ยั่งยืน การใส่ใจ รับ ผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

5


บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากชานอ้อย ที่ผลิตในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งแผนการด�ำเนินงานการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่ความ ยั่งยืน แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะแรก (ปี 2553 – 2557) Knowledge Based Industry : เป็นการพัฒนาโดยใช้ความรูพ้ นื้ ฐานเดิม การแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ การพัฒนาโครงสร้างวัตถุดบิ การวิจยั และพัฒนา การจัด Zoning/ Cluster อุตสาหกรรม การส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่สอง (ปี 2553 – 2562) Innovative Industry : การ ต่อยอดความรู้พื้นฐานเดิมให้มีมูลค่าเพิ่ม (Value Added) การ แปรรูปสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งต่อยอดนวัตกรรมสู่ อุตสาหกรรมเชิงรุกมากขึ้น ระยะที่ 3 (ปี 2553 – 2572) Sustainable Industry : การ มุง่ เน้นอุตสาหกรรมทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม ส่งเสริมการประหยัด พลังงาน การใช้พลังงานทดแทน อุตสาหกรรมไทยจะมุ่งสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ด้วยการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานหรือใช้ทรัพยากรและ พลังงานอย่างคุม้ ค่า ลดการปล่อยของเสียให้เหลือน้อยทีส่ ดุ พร้อม กับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และได้รับการยอมรับจาก

ชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของภาคเอกชน ต้องด�ำเนินธุรกิจให้มกี ารเติบโตควบคู่ ไปกับการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบพื้นที่โรงงานให้ มีรูปแบบเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน โดยด�ำเนินธุรกิจให้ สอดคล้องกันระหว่างเศรษฐกิจ สิง่ แวดล้อม และสังคม โดยแนวทาง การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนจะต้องสร้างความสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม ธรรมชาติ และรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิด ความยัง่ ยืนในอุตสาหกรรม การด�ำเนินธุรกิจนอกจากค�ำนึงถึงความ ต้องการของผู้บริโภค รายได้ของธุรกิจ ยังต้องค�ำนึงถึงสังคมและ สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการผลิตหรือการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการออกแบบทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม มีความ ส�ำคัญทั้งในด้านการค้าและการส่งออก การออกแบบที่เป็นมิตรกับ สิ่ ง แวดล้ อ มจะช่ ว ยลดต้ น ทุ น ในแต่ ล ะขั้ น ตอนของการพั ฒ นา ผลิตภัณฑ์ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ซึ่งจะส่ง ผลดีต่อธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นแนวทางน�ำไป สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

****************************************************

รายชื่อวิทยากร หัวข้อ “อุตสาหกรรมยุคใหม่” เชื่อมเครือข่ายสู่ภูมิภาค 1. นายธานินทร์ ผะเอม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2. ผศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 3. ผศ.ดร. สถาพร โอภาสานนท์ อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์ และการขนส่ง (IBLT) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4. นายเกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อ�ำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จ�ำกัด ด�ำเนินรายการโดย นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ สศอ. หัวข้อ “อุตสาหกรรมยุคใหม่” นวัตกรรม องค์ความรู้ สู่สากล 1. รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อ�ำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2. รศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ รองผู้อ�ำนวยการฝ่ายวัสดุ ศูนย์นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. นายพรชัย หอมชื่น ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จ�ำกัด (มหาชน) ด�ำเนินรายการโดย นายอิทธิชัย ปัทมสิริวัฒน์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2 สศอ. หัวข้อ “อุตสาหกรรมยุคใหม่” ก้าวไกลสู่ความยั่งยืน 1. นางสมจินต์ พิลึก รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2. นายสุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม 3. นายน�ำพล ลิ้มประเสริฐ ผู้จัดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศและความยั่งยืน เอสซีจี ด�ำเนินรายการโดย นายอิทธิชัย ยศศรี ผู้อ�ำนวยการส�ำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สศอ.

6


ECON การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2556 หดตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือน

เดี ย วกั น ของปี ก ่ อ น จากการผลิ ต ที่ ล ดลงใน อุตสาหกรรมส�ำคัญ อย่างอุตสาหกรรมรถยนต์ซงึ่ การ ส่ ง มอบรถยนต์ ใ นโครงการรถคั น แรกครบแล้ ว ส�ำหรับอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตในเดือนกันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 64

การผลิตอุตสาหกรรมส�ำคัญในเดือนกันยายน 2556 ยังคง ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากตัวเลขฐานสูงในปีก่อนที่อุตสาหกรรม ส�ำคัญเร่งการผลิตหลังการฟื้นฟูจากน�ำ้ ท่วม อีกทั้งการผลิตใน อุตสาหกรรมรถยนต์ทชี่ ะลอลงเข้าสูภ่ าวะปกติ จากการส่งมอบ รถยนต์ในโครงการรถคันแรกครบถ้วนแล้ว โดยอุตสาหกรรม การผลิตรถยนต์มีดัชนีผลผลิตหดตัวลงร้อยละ 15.3 ส�ำหรับ

REVIEW

สรุปสถานการณ์ การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2556 l

ส�ำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตชิน้ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการปรับเปลี่ยน เทคโนโลยีทรี่ วดเร็ว อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมการผลิต Hard Disk Drive ยังคงขยายตัวร้อยละ 2.33 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อ เนือ่ งเป็นเดือนที่ 2 เนือ่ งจากตัวเลขฐานต�ำ่ ในปีกอ่ นจากความไม่ มัน่ ใจกับสถานการณ์นำ�้ ท่วม ผูป้ ระกอบการจึงชะลอการผลิตลง

7


สถานการณ์อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใน บ้าน ดัชนีผลผลิตหดตัวลงร้อยละ 15.1 เนือ่ งจากค�ำสัง่ ซือ้ ทัง้ ภายในประเทศและจากต่างประเทศลดลง ส�ำหรับอุตสาหกรรม การผลิตทีเ่ กีย่ วข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่อตุ สาหกรรม การผลิตเครื่องปรับอากาศ และอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก มี ดัชนีผลผลิตขยายตัวตามการก่อสร้างในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ เพิ่มขึ้น โดยอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศมีดัชนี ผลผลิตขยายตัวร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี ก่อน ส�ำหรับการผลิตเหล็กมีดชั นีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าส�ำเร็จรูป ดัชนีผลผลิตกลับมาขยายตัว ร้อยละ 6.1 เนื่องจากมีค�ำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดย เฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น ส�ำหรับการผลิตสิ่งทอต้นน�้ำ ดัชนี ผลผลิตขยายตัวร้อยละ 3.7 จากการส่งออกสิ่งทอประเภท ผ้าผืนที่เพิ่มขึ้นมากในกลุ่มประเทศอาเซียน เนื่องจากหลาย ประเทศเป็นฐานการผลิตเสื้อผ้าส�ำเร็จรูป

8

http://www.gotw2012.blogspot.com

การจ�ำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2556 มี ระดับลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการ ส่งสินค้าลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนดัชนีสินค้าส�ำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น จากการสต็อกสินค้าในอุตสาหกรรม บุหรีท่ จี่ ะมีการปรับราคาสินค้าตามการเปลีย่ นแปลงโครงสร้าง ภาษี ส�ำหรับดัชนีแรงงานในอุตสาหกรรมลดลงเล็กน้อยที่ ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราการ ใช้ก�ำลังการผลิตในเดือนกันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 64


SHARING

ทำ�ความรู้จัก

สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association for Regional Co-operation : IOR-ARC) l

ภูมิหลัง สมาคมความร่วมมือแห่งภูมภิ าคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association for Regional Co-operation : IOR-ARC) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 มีสมาชิกก่อตั้งครั้งแรก ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย แอฟริกาใต้ เคนยา สิงคโปร์ โอมาน และ มอริเชียส โดยมีวตั ถุประสงค์ในการจัดตัง้ เพือ่ การรวมกลุม่ ของประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดีย ส่งเสริมความร่วมมือทาง เศรษฐกิจแบบไตรภาคี ระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาค วิ ช าการ ทั้ ง นี้ คณะรั ฐ มนตรี มี ม ติ เ ห็ น ชอบเมื่ อ วั น ที่ 28 พฤษภาคม 2540 ให้ประเทศไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิก IORARC และต่อมาที่ประชุมสภารัฐมนตรี IOR-ARC ได้มีฉันทามติ (consensus) เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก IOR-ARC อย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อวันที่ 30-31 มีนาคม 2542 ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) IOR-ARC มีสมาชิกรวมทัง้ หมด 20 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย แอฟริกาใต้ เคนยา สิงคโปร์ โอมาน มอริเชียส อินโดนีเซีย มาดากัสการ์ มาเลเซีย โมซัมบิก ศรีลงั กา แทนซาเนีย เยเมน ไทย บังคลาเทศ อิหร่าน สหรัฐอาหรับ

ส�ำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ

เอมิเรตส์ เซเซลส์และโคโมรอส และมีประเทศคู่เจรจา ได้แก่ อียิปต์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ประธานปัจจุบัน คือ อินเดีย โดยออสเตรเลียและอินโดนีเซีย เตรียมความพร้อมจะรับต�ำแหน่งประธานและรองประธาน ใน การประชุมสภารัฐมนตรี IOR-ARC ครั้งที่ 13 ในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2556 กลไกการท�ำงาน ส�ำนักงานเลขาธิการ IOR-ARC ปัจจุบันตั้งอยู่ที่มอริเชียส มีเลขาธิการใหญ่ (Secretary General) ทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ โดย สภารัฐมนตรี IOR-ARC เป็นหัวหน้าส�ำนักงาน มีวาระด�ำรง ต�ำแหน่งคราวละ 3 ปีและอาจต่ออายุได้อกี 1 ปี โดยเลขาธิการ คนปั จ จุ บั น เป็ น ชาวอิ น เดี ย ทั้ ง นี้ ประเทศสมาชิ ก จะต้ อ ง สนับสนุนค่าบ�ำรุงสมาชิกแบบเท่าเทียมกัน ประมาณปีละ 16,500 เหรียญสหรัฐฯ และอาจมีการปรับเพิ่มเติมตามความ เหมาะสมโดยความเห็นชอบของสภารัฐมนตรี โดย IOR-ARC แบ่งกลไกการท�ำงานออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

9


1.) สภารัฐมนตรี (Council of Ministers) มีการจัดประชุม ทุกปี ล่าสุด ครั้งที่ 12 จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่ ประเทศอินเดีย โดยการประชุม ครั้งที่ 13 ก�ำหนดจะจัดให้มี ขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2556 ณ ประเทศออสเตรเลีย 2.) คณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโส (Committee of Senior Officials) ที่ผ่านมา มีการจัดประชุมทุกปีคู่ขนานกับ การประชุมสภารัฐมนตรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2553 ได้เห็นชอบ ให้มกี ารประชุมเจ้าหน้าทีอ่ าวุโส ปีละ 2 ครัง้ ล่าสุดการประชุม เจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 3 จัดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2556 ณ ประเทศมอริเชียส 3.) คณะท�ำงาน 3 ด้าน (Working Group) ประกอบด้วย คณะท�ำงานด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลัก คณะท�ำงานด้านเวทีภาคธุรกิจ มีคณะ กรรมการร่วมสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย (กกร.) เป็นหน่วยงาน หลัก และคณะท�ำงานด้านการค้าและการลงทุน มีกระทรวง พาณิชย์และส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็น หน่วยงานหลัก โดยคณะท�ำงานทัง้ สามคณะ จะรายงานขึน้ ตรง ต่อคณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโส

10

ในส่วนของกลไกการท�ำงานของไทยในภาพรวม กระทรวง การต่างประเทศเป็นหน่วยงานประสานงานหลักและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเป็นหน่วยงานสนับสนุน โครงการส�ำคัญ (Flagship Projects) ในการด�ำเนินงานที่ ผ่านมา IOR-ARC มีโครงการที่ส�ำคัญ ได้แก่ 1.) Regional Centre for Science and Transfer of Technology (RCSTT) ตั้งอยู่ที่อิหร่าน มีกิจกรรม เช่น การจัด


อบรม สั ม มนาเพื่ อ แลก เปลี่ ย น ถ่ า ยทอดความรู ้ ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยี 2.) Fisheries Support Unit ตัง้ อยูท่ โี่ อมาน ด�ำเนิน กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความ ร่ ว มมื อ ด้ า นการประมง และ 3.) Maritime Transport Council โอมานเสนอตัวเป็นที่ ตั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการขนส่งทาง ทะเล การประเมิ น ผลการด� ำ เนิ น โครงการที่ ผ ่ า นมาพบว่ า โครงการต่าง ๆ ไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร การหารือในเวที ต่าง ๆ มักมุง่ เน้นเรือ่ งกลไกบริหารมากกว่าการผลักดันโครงการ ให้มีผลเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง นอกจากนี้โครงการความร่วม มือบางสาขามีความซ�้ำซ้อน อีกทั้งประเทศสมาชิกมีระดับการ พัฒนาและผลประโยชน์ที่แตกต่างกันมาก จึงอาจท�ำให้หาผล ประโยชน์ ร ่ วมกั น ได้ยากและบางประเทศมีความอ่อนไหว ทางการเมืองสูง

อย่างไรก็ดี IOR-ARC ถือเป็นโอกาสที่ดีของไทยที่จะได้ มีส่วนร่วมในเวทีภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย ส�ำหรับการ ด�ำเนินกิจกรรมพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของ ไทย เพือ่ ส่งเสริมการค้าและการลงทุน เชือ่ มโยงกับประเทศ เพือ่ นบ้านและภูมภิ าค รวมทัง้ การเชือ่ มโยงปัจจัยการผลิต กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การแสวงหาแหล่ ง วั ต ถุ ดิ บ ทาง ทะเลในมหาสมุทรอินเดีย ตลอดจนการเชื่อมโยงด้านการ คมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ไปยังตลาดขนาดใหญ่ และมีศกั ยภาพ เช่น เมียนมาร์ อินเดีย ศรีลงั กา บังคลาเทศ และประเทศแถบตะวันออกกลาง ข้อมูลอ้างอิง กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ********************************

จัดท�ำโดย นายชาลี ขันศิริ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนช�ำนาญการ

11


Life

หนาวสนุกสุขภาพไฉไล l

สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน ส�ำหรับคอลัมน์ life ฉบับนี้มา พร้อมกับลมหนาวเย็น ๆ เป็นสัญญาณของการเข้าสูเ่ ทศกาล รับลมหนาวอย่างเต็มตัวแล้วนะคะ หลายคนคงสัมผัสกับลม หนาวได้บ้างแล้ว เอ๊ะ! หน้าหนาวแบบนี้คุณผู้อ่านเตรียม พร้อมรับมือกับอากาศหนาวเย็นที่อาจจะท�ำให้คุณเจ็บป่วย ไม่สบายกันบ้างหรือยังคะ ฉบับนีเ้ ราจึงอยากจะแนะน�ำให้คณ ุ ผู้อ่านดูแลสุขภาพตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้ากันไปเลยค่ะ 1. อย่าปล่อยให้ผิวแห้ง อากาศแห้งเย็นมักจะท�ำให้ผิวเราแห้งกร้าน หรือแตกเป็น ขุย ฉะนัน้ ครีมทาผิวจึงเป็นสิง่ ส�ำคัญ เลือกครีมทีม่ สี ว่ นประกอบ ของมอยเจอร์ไรเซอร์สงู หรือมีนำ�้ มันเล็กน้อย ครีมแบบนีจ้ ะช่วย กักเก็บ และเพิม่ ความชุม่ ชืน่ ให้แก่ผวิ ในช่วงหน้าหนาวได้ดเี ยีย่ ม แต่ส�ำหรับเจ้าตัวน้อยนั้น ก็ควรใช้เบบี้ออยล์ทาผิวหลังอาบน�้ำ จะดีที่สุดค่ะ เพราะไม่ระคายเคืองต่อผิว ไม่มีส่วนของน�้ำหอม แต่อย่าทาเยอะไปนะคะ ไม่งั้นอาจจะกลายเป็นหนูน้อยอาบ น�้ำมันไปซะก่อน หรือคุณพ่อคุณแม่จะใช้ด้วยก็ได้ค่ะ 2. ใส่ใจเรื่องอาหาร แน่นอนค่ะว่าอากาศเย็น ๆ หนาว ๆ แบบนีต้ อ้ งคูก่ บั อาหาร อุ่น ๆ ร้อน ๆ ดังนั้นควรเลือกทานอาหารร้อน เพื่อรักษา อุณหภูมิของร่างกาย ส่วนใครที่ชอบทานของเย็น ๆ อย่าง ไอศกรีม น�้ำแข็งไส หรือน�้ำเย็นอยู่ล่ะก็ ลองลดลงบ้างค่ะ ถ้าไม่ อยากเป็นหวัดหรือปวดท้อง

12

ส�ำนักบริหารกลาง


3. ท�ำความสะอาดที่นอน อันนีส้ ำ� คัญค่ะ เพราะหน้าหนาวแบบนีเ้ ราจะชอบซุกตัวกับ ทีน่ อน แบบสุขอุรากันเกินไป แต่ในหน้าหนาวแบบนีท้ ชี่ ดุ เครือ่ ง นอนของเรามักจะมีกลิน่ อับ ไรฝุน่ ดังนัน้ หมัน่ เอาชุดเครือ่ งนอน ทัง้ หลายมาซักตาก หรือผึง่ แดดอยูเ่ สมอ เพราะในหน้าหนาวผิว เราแห้งอยู่แล้ว เราอาจจะแพ้ไรฝุ่นจากที่นอนจนท�ำให้เกิด อาการคัน เป็นแผล หรือมีปัญหาโรคผิวหนังได้นะคะ 4. ระวังโรคหน้าหนาว ไม่ว่าจะหวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัดเยอรมัน อีสุกอีใส อุจจาระร่วง รวมไปถึงอาการผื่นคัน ไมเกรน ปวดเกร็งตะคริว ถ้าพบว่ามีอาการน่าสงสัย เช่น ตัวร้อนต่อเนือ่ งไข้ไม่ลด ท้องเสีย ต่อเนื่อง หรือผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง ให้รีบพบแพทย์โดย ด่วน อาจจะดูตกใจไปหน่อยแต่กนั ไว้ดกี ว่าแก้ เพราะโรคภัยสมัย นี้รุนแรงขึ้นทุกวันนะคะ 5. อย่าใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ถ้าเกิดป่วยแบบไม่ทันตั้งตัว ไหนจะแพ้อากาศจามไม่หยุด น�้ำมูกไหล เป็นหวัดตัวร้อน ผื่นคัน หรือผิวแห้งแตกรุนแรงจนมี อาการเจ็บหรือมีเลือดซึม อย่าหายามาใช้เอง ควรพบแพทย์เพือ่ ดูอาการ และรับยา เพราะยาตัวเดียวกันไม่ได้ใช้ได้กับทุกคนที่ แม้จะมีอาการเหมือนกัน 6. เครื่องกันหนาว ไม่ว่าจะเป็นเสื้อกันหนาว เสื้อแขนยาว ผ้าพันคอ ถุงเท้า หรือแม้แต่ถุงมือ ของพวกนี้ควรเตรียมไว้เสมอ โดยเฉพาะตอน กลางคืน ถ้าอากาศหนาวมากก็ควรใส่ถุงเท้านอนตลอดค่ะ เพราะบริเวณเท้าเราจะรับความเย็นไว้มากที่สุด และจะท�ำให้ อุณหภูมิในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็วจนท�ำให้ไม่สบายได้

13


7. กระเป๋าน�้ำร้อน ควรมีไว้บา้ งก็ดี ปัจจุบนั มีกระเป๋าน�ำ้ ร้อนขนาดพกพาเล็ก ๆ ถ้าวันไหนรู้สึกหนาวมากจนชุดเครื่องกันหนาวก็เอาไม่อยู่แล้ว ให้เทน�้ำร้อนใส่กระเป๋าน�้ำร้อนแล้วพกติดตัวไปเลยค่ะ ถือไว้ให้ อุ่นมือ หรือเอาไปซุกไว้ในตัวก็ช่วยรักษาอุณหภูมิในร่างกายได้ ดีค่ะ 8. ออกก�ำลังกายสม�่ำเสมอ หน้าหนาวแล้วก็อย่าขี้เกียจไปออกก�ำลังกายนะคะ ยิ่ง หนาวก็ต้องยิ่งออกก�ำลังกายให้ร่างกายได้อบอุ่น และแข็งแรง อยูเ่ สมอ เพราะถ้าเราเอาแต่นอนซุกผ้าห่มสบายใจ ไหนจะอ้วน ไหนจะกล้ามเนือ้ อ่อนแรง แล้วยังจะรูส้ กึ เหนือ่ ยง่ายด้วย ดังนัน้ ควรออกก�ำลังกายกันเถอะค่ะ 9. รักษาความสะอาดของร่างกาย ถึงจะหนาวแค่ไหนก็ตอ้ งอาบน�ำ้ เสมอ เพราะร่างกายเราไป เจอสิง่ สกปรกภายนอกมาเยอะ อาจเกิดการสะสมเชือ้ โรคจนน�ำ ไปสูอ่ าการเจ็บป่วยได้ แต่ถา้ หนาวจนทนไม่ไหวจริงๆ ก็แนะน�ำ ให้ท�ำน�้ำอุ่นผสมน�้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ท�ำความสะอาดร่างกาย แล้ว ใช้ผ้าขนหนูชุบมาเช็ดท�ำความสะอาดร่างกายแทนได้ แต่อย่า ท�ำบ่อยนะคะเพราะทางที่ดีที่สุดคือต้องอาบน�้ำให้สะอาดค่ะ เป็นยังไงบ้างคะ กับการเตรียมความพร้อมรับมือกับหน้า หนาว ท�ำไม่ยากเลยกับการทีจ่ ะใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวคุณ เอง เพราะไม่วา่ จะหนาวแค่ไหนคุณก็จะมีความสุขถ้าร่างกาย ของคุณพร้อม รับรองได้ว่าจะไปเที่ยวขึ้นเหนือ ลงใต้ หรือ แม้แต่ภาคอีสาน คุณก็จะแฮปปีส้ ดุ ๆ หนาวนีส้ ขุ ภาพแข็งแรง เที่ยวให้สนุกทุกท่านนะคะ เจอกันใหม่ฉบับหน้าสวัสดีค่ะ ที่มา/แหล่งข้อมูล: www.108health.com

ภาพประกอบในเล่มจาก

http://www.parssea.org http://www.iorarc.org http://www.mrunal.org http://www.bangladeshchronicle.net http://www.iasiasias.blogspot.com http://www.theconfessionsofaproductjunkie.com

14

http://www.designmom.com http://www.upwardonward.com http://www.exploreanswer.com http://www.howtoremovethat.com http://rtvneruda.com http://www.diabetesmine.com http://www.backinaflashchiro.com

http://www.periscope-the-magazine.com http://www.aliexpress.com http://gamrconnect.vgchartz.com http://www.palmerstores.com http://sustainablejill.com http://www.eppleyplasticsurgery.com http://www.alignedforlifechiropractic.com


Movement

ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จัดงานสัมมนาวิชาการประจ�ำปี 2556 (OIE Forum) ภายใต้ชื่องาน Next Generation of Thai Industry : “อุตสาหกรรมยุคใหม่” ก้าวที่ท้าทายสู่อนาคต เพื่อน�ำเสนอแนวโน้มและภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศ ตลอดจนทิศทางและ แนวโน้มภาคอุตสาหกรรมโดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานเป็นจ�ำนวนมาก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม 2556 ณ ห้อง GH 201-203 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา

ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ร่วมกับศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดงาน สัมมนาในหัวข้อเรื่อง “ถอดรหัสอุตสาหกรรมดาวเด่นใน IMT-GT” โดยมี นายอิทธิชัย ปัทมสิริวัฒน์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2 ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน มีผู้สนใจเข้าร่วมงานเป็นจ�ำนวนมาก เมื่อวันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2556 ณ โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ (ห้องบอลรูม 1)

ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นวิทยากรในการบรรยายให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในโครงการฝึกอบรม หลักสูตรพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้าน AEC เมื่อวันพุธที่ 16 ตุลาคม 2556 ณ ห้อง 601 ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จัดแถลงข่าว “ดัชนีอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2556” โดยมี ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน เศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นประธานการแถลงข่าว ร่วมกับผู้บริหาร สศอ. โดยมีสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจ�ำนวนมาก เมื่อวัน จันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2556 ณ ห้องประชุม 202 ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

15


ติ ด ตามชม Animation ความรู้เกี่ยวกับ AEC ได้ทาง www.oie.go.th

ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2202 4274, 0 2202 4284 โทรสาร 0 2644 7023 www.oie.go.th, www.facebook.com/oieprnews, http://twitter.com/oie_news


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.