ปีที่ 2 ฉบับที่ 21 เดือนธันวาคม 2556
สรุปภาวะอุตสาหกรรมไทยปี 2556
และแนวโน้มปี 2557
Contents
ประจ�ำเดือนธันวาคม 2556
12 7
Econ Focus
3
Econ Review
7
Sharing
9
- สรุปภาวะอุตสาหกรรมไทยปี 2556 และแนวโน้มปี 2557
- สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2556
3
- รู้รับ ปรับตัวทันกระแสโลก จาก Mega Trends สู่ SMEs ไทย
Life
12
Movement
15
- ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ท�ำอะไรกันดี
Editor’s Note
ที่ปรึกษา
สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน ส�ำหรับ OIE SHARE ฉบับนี้เริ่ม จาก Econ Focus สรุปภาวะอุตสาหกรรมไทยปี 2556 และ แนวโน้มปี 2557 ส่วนสถานการณ์การผลิตอุตสาหกรรมประจ�ำ เดือนตุลาคม 2556 จะเป็นอย่างไรพลิกเข้าไปดูได้เลยค่ะ และ ในคอลัมน์ Sharing ท�ำความรู้จักกับ Mega Trends และ แนวทางการปรับตัวของ SMEs ไทย สุดท้ายพลาดไม่ได้กับ คอลัมน์ Life เราควรจะท�ำอะไรดีในช่วงเทศกาล ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ และฉบับนีเ้ รายังเปิดรับความคิดเห็นของทุกท่าน ทุกช่องทาง ขอบคุณคุณผู้อ่านที่ติดตาม OIE SHARE มาโดย ตลอด พบกันใหม่ฉบับหน้ากับปี 2557 สวัสดีค่ะ
บรรณาธิการบริหาร
ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม วารี จันทร์เนตร
กองบรรณาธิการ
ศุ ภิ ด า เสมมี สุ ข , ศุ ภ ชั ย วั ฒ นวิ ก ย์ ก รรม์ , ชาลี ขั น ศิ ริ , สมานลักษณ์ ตัณฑิกุล, ขัตติยา วิสารัตน์, ศักดิ์ชัย สินโสมนัส, กุลชลี โหมดพลาย, บุญอนันต์ เศวตสิทธิ์, วรางคณา พงศาปาน
OIE SHARE ยิน ดีรับ ฟังความคิด เห็น ค�ำชี้แนะ และข่ าวประชาสัมพั น ธ์ต ่ า งๆ ติด ต่ อ ได้ ที่ กองบรรณาธิ ก าร OIE SHARE กลุ่มประชาสัมพันธ์และบริการห้องสมุด ส�ำนักบริหารกลาง ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 อีเมล์ : OIESHARE@oie.go.th ข้อความที่ปรากฎใน OIE SHARE เป็นทัศนะของผู้เขียน
2
สรุปภาวะอุตสาหกรรมไทยปี 2556 และแนวโน้มปี 2557 l
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2556 คาดว่าจะหดตัว เล็กน้อย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 ภาคอุตสาหกรรม ยังคงขยายตัวจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น นโยบาย รถคันแรก ในช่วงไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ของปี 2556 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ภาคอุตสาหกรรมหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.1 และ 0.4 ตาม ล� ำ ดั บ (ดั ง ภาพที่ 1) ซึ่ ง ปั จ จั ย ที่ ก ดดั น ภาวะเศรษฐกิ จ อุตสาหกรรมในปี 2556 ได้แก่ การชะลอตัวของอุปสงค์หรือ ความต้องการซื้อทั้งภายในและภายนอกประเทศ การบริโภค ภายในประเทศชะลอตัวอันเป็นผลมาจากปัญหาหนีค้ รัวเรือนที่
ส�ำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
อยู่ในระดับสูง และค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ท�ำให้ก�ำลังซื้อลดลง ในส่ ว นของอุ ป สงค์ ต ่ า งประเทศที่ ช ะลอตั ว เป็ น ผลมาจาก เศรษฐกิ จ โลกและเศรษฐกิ จ ของประเทศคู ่ ค ้ า ที่ ส� ำ คั ญ ๆ ชะลอตัว ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเพียง เล็กน้อย ในปี 2556 คาดว่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมจะ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4 – 5 อีกทั้งการลงทุนในปี 2556 ก็คาด ว่าจะขยายตัวลดลง เนือ่ งจากปี 2555 ภาคเอกชนมีการลงทุน เพิ่มขึ้นมากเพื่อฟื้นฟูหลังสถานการณ์น�้ำท่วม
3
ภาพที่ 1 : แสดงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ภาคอุตสาหกรรม ณ ราคาคงที่
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4
ภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมใน 3 ไตรมาสของปี 2556 พบ ว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) หดตัวร้อยละ 1.9 (ภาพที่ 2) ปัจจัยที่ส่งผล ให้ MPI หดตัว ได้แก่ 1) การบริ โภคภายในประเทศที่หดตัว ซึ่ง ส่งผลให้ อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อตอบสนองตลาดภายในประเทศ อาทิ ผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม เบียร์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต อาหารสัตว์ เยื่อกระดาษ หดตัวตามไปด้วย 2) ปัจจัยตลาดในประเทศที่อิ่มตัวจากสินค้ารถยนต์หลัง ส่งมอบรถยนต์ตามนโยบายรถคันแรก แรงขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมจากนโยบายรถคันแรกหมดลงในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2556 3) เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก ๆ ยังคงชะลอตัว ส่ง ผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวในตลาดส�ำคัญทุก ตลาด โดยเฉพาะการส่งออกไปประเทศจีน ซึ่งประเทศจีนได้ น�ำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมน้อยลง โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่ม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ Hard Disk Drive (HDD) 4) ปัญหาด้านอุปทานในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น
การขาดแคลนกุง้ เนือ่ งจากปัญหาโรคระบาดกุง้ ท�ำให้วตั ถุดบิ ที่ ใช้ในการผลิตขาดแคลน และการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ของผูผ้ ลิตเนือ้ ไก่รายใหญ่ ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออก คาดว่าไตรมาสที่ 4 ของปี 2556 MPI ก็ยังคงติดลบ เนื่องจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 มีฐานตัวเลขสูง ภาพที่ 2 : แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI)
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
5
ส�ำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปี 2557 จะ ขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2556 ปัจจัยที่จะท�ำให้เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมในปี 2557 ขยายตัวดีขึ้น เช่น การส่งออก และ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ การฟืน้ ตัวของภาคการส่งออกจะปรับตัวดีขนึ้ กว่าปี 2556 แต่จะไม่สูงมากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและ เศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวดีขึ้นแต่ก็เป็นไปอย่างช้า ๆ อย่างไร ก็ตาม การส่งออกของไทยยังต้องเผชิญกับข้อจ�ำกัดด้าน โครงสร้างสินค้าส่งออกที่เน้นการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ เป็นสินค้าเทคโนโลยีเก่า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จึงอาจท�ำให้ไม่ได้รบั อานิสงส์จากการทยอยฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจ
blog.quadranet.com
6
โลกได้ เ ต็ ม ที่ เ ท่ า กลุ ่ ม ประเทศที่ เ น้ น การส่ ง ออกสิ น ค้ า อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เกาหลีใต้และไต้หวัน เนื่องจากไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ได้ทนั ตามความต้องการของตลาดโลก ซึง่ ประเทศไทยเป็นฐาน การผลิต HDD ของบริษทั ผูผ้ ลิตรายใหญ่ของโลก แต่ในปัจจุบนั HDD เป็นสินค้าที่มีความต้องการลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ บริโภคเปลีย่ นแปลงรสนิยมจากการใช้ Personal Computer ที่มี HDD เป็นหน่วยความจ�ำไปสู่ Smartphone หรือ Tablet ซึ่งใช้ Solid State Drive (SSD) เป็นหน่วยความจ�ำ แม้ผู้ผลิต HDD รายใหญ่ของโลกพยายามรักษาความสามารถในการ แข่งขันโดยการเข้าซื้อและร่วมทุนกับบริษัทผู้ผลิต SSD แต่จะ ยังคงใช้ไทยเป็นฐานการผลิต HDD ตามเดิม และไม่มีแนวโน้ม จะลงทุนผลิต SSD ในไทยเนือ่ งจากขาด Cluster รองรับ รวม ถึงความไม่พร้อมด้านบุคลากรโดยเฉพาะการขาดวิศวกรที่ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นอกจากนี้ หนี้ภาคครัวเรือนที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหนี้ ที่ เ กิ ด จากนโยบายรถคั น แรก จะส่ ง ผลให้ การบริโภคในปี 2557 ยังคงอยู่ในระดับต�่ำต่อไปอีก 3 – 5 ปี ตามระยะเวลาการผ่อนช�ำระ ในส่วนของการลงทุนในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐาน ของภาครัฐ ส�ำหรับแนวโน้มการขยายตัวของ GDP ภาคอุตสาหกรรมไทย ปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น
ECON การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2556 หดตัวร้อยละ 4.02 เมื่อเทียบกับเดือน
เดี ย วกั น ของปี ก ่ อ น จากการผลิ ต ที่ ล ดลงอย่ า ง ต่อเนือ่ งในอุตสาหกรรมส�ำคัญ เช่น อุตสาหกรรมการ ผลิตรถยนต์ และการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจาก ความต้องการสินค้าในประเทศลดลง ส�ำหรับอัตรา การใช้ก�ำลังการผลิตในเดือนตุลาคม 2556 อยู่ที่ ร้อยละ 63.46
การผลิตอุตสาหกรรมส�ำคัญในเดือนตุลาคม 2556 ลดลง อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 เนื่องจากการผลิต ทีช่ ะลอลงของอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นส�ำคัญ โดยอุตสาหกรรม การผลิตรถยนต์มีดัชนีผลผลิตหดตัวลงร้อยละ 27.28 เมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากระดับการผลิตที่เริ่มเข้า สูภ่ าวะปกติ เนือ่ งจากการส่งมอบรถยนต์ในโครงการรถคันแรก
REVIEW
สรุปสถานการณ์ การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2556 l
ส�ำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ครบถ้วนแล้ว ส�ำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในบ้าน ดัชนีผลผลิตหดตัวลงร้อยละ 19.91 เนื่องจาก ความต้องการภายในประเทศลดลง หลังจากทีผ่ บู้ ริโภคซือ้ สินค้า ทดแทนของเดิมหลังเหตุการณ์น�้ำท่วมไปแล้ว แต่อุตสาหกรรม การผลิตเครื่องปรับอากาศยังคงขยายตัวที่ระดับร้อยละ 8.75 เมือ่ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีกอ่ น จากการเติบโตของธุรกิจ
7
อสังหาริมทรัพย์ ส�ำหรับการผลิตเหล็กมีดัชนีผลผลิตหดตัว ร้อยละ 2.51 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก การชะลอการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนือ่ ง ได้แก่ อุตสาหกรรม การผลิตรถยนต์ และการผลิตอาหารทะเลกระป๋อง สถานการณ์ ก ารผลิ ต ชิ้ น ส่ ว นอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ใ นเดื อ น ตุลาคม 2556 มีดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 4.80 เมื่อเทียบ กับเดือนเดียวกันของปีกอ่ น จากการฟืน้ ตัวของสถานการณ์การ ส่ ง ออกในตลาดส� ำ คั ญ อย่ า งจี น และสหรั ฐ อเมริ ก า โดยอุตสาหกรรมการผลิต Hard Disk Drive การผลิตขยาย
www.bigbearautomation.com
8
ตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเดือนตุลาคม 2556 มีดัชนีผลผลิตขยาย ตัวร้อยละ 10.55 เนือ่ งจากตัวเลขฐานต�ำ่ ในปีกอ่ นจากความไม่ มั่นใจสถานการณ์น�้ำท่วม ผู้ประกอบการรายใหญ่จึงชะลอ การผลิตลง การผลิตเสือ้ ผ้าส�ำเร็จรูป ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 4.43 เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคตะวันออกและภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ได้รับผลกระทบจากน�้ำท่วม ไม่สามารถขนส่ง วัตถุดิบและสินค้าได้ ส�ำหรับการผลิตสิ่งทอต้นน�้ำ ดัชนีผลผลิต ขยายตัวร้อยละ 2.04 จากการส่งออกไปยังญี่ปุ่น และประเทศ ในกลุ่มอาเซียนที่เพิ่มขึ้น การจ�ำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2556 มี ระดับลดลงเมือ่ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีกอ่ น โดยดัชนีการ ส่งสินค้าลดลงร้อยละ 10.24 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี ก่อน เป็นไปตามสถานการณ์การผลิตทีช่ ะลอลงในอุตสาหกรรม ส�ำคัญ ส่วนดัชนีสินค้าส�ำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.51 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส�ำหรับดัชนีแรงงานใน อุตสาหกรรมอยู่ในระดับทรงตัวซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02 เมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีกอ่ น โดยอัตราการใช้กำ� ลังการผลิต ในเดือนตุลาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 63.46
SHARING
l
รู้รับ ปรับตัวทันกระแสโลก จาก Mega Trends สู่ SMEs ไทย สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ได้จดั การสัมมนา “Future Foresight Forum 2020 / Unveil SMEs in Mega Trends” เนื่องในวาระการก้าวเข้าสู่ปีที่ 15 ของสถาบันฯ โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างแนวคิดให้ผู้ ประกอบการ SMEs ไทยมีวสิ ยั ทัศน์ในการปรับตัวพร้อมรองรับ และแสวงหาโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งการ เปลี่ยนแปลงส�ำคัญที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวในการด�ำเนิน ธุรกิจของผูป้ ระกอบการ SMEs ทีถ่ กู หยิบยกมาเป็นประเด็นใน การสั ม มนาครั้ ง นี้ เรี ย กว่ า “Mega Trends” คื อ การ เปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ต่อเนือ่ งยาวนานอย่างน้อย 10 ปีขนึ้ ไป มี ด้วยกัน 6 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันและ มีแนวโน้มจะทวีความส�ำคัญมากขึ้นในอนาคต จึงจ�ำเป็นอย่าง ยิง่ ทีผ่ ปู้ ระกอบการจะต้องตระหนักรูแ้ ละเร่งปรับตัวเพือ่ รองรับ แนวโน้มดังกล่าว ได้แก่ 1. Urbanization คือ แนวโน้มการขยายตัวของเมืองใหญ่ ไปสู่หัวเมืองต่างๆ จะเห็นได้ว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้คนเริ่ม มีที่พักอาศัยในแถบชานเมืองมากขึ้น ส่วนคนที่มีที่อยู่อาศัยใน เมืองหลวงอยู่แล้วก็เริ่มมองหาที่อยู่อาศัยแห่งที่ 2 ไม่ว่าจะเป็น บ้านหรือคอนโดมิเนียมในต่างจังหวัดเพิ่มจากเดิมที่มีอยู่แล้ว แนวโน้มดังกล่าวท�ำให้ความเจริญเติบโตกระจายไปสู่ภูมิภาค มากขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน เห็นได้จากการ ขยายตัวของห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกรายใหญ่ตามจังหวัด
ส�ำนักนโยบายอุตสาหกรรมมหภาค
ต่างๆ ในภูมิภาค รวมถึงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้ง ระบบคมนาคมขนส่ง การสือ่ สาร สาธารณูปโภค ส่งผลให้ความ แตกต่างระหว่างกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่ เป็นศูนย์กลางในแต่ละภูมิภาคลดลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ ยังก่อ ให้เกิดผลในด้านสังคม ท�ำให้การใช้ชีวิตของคนในต่างจังหวัด เปลี่ยนไป จากความเจริญที่เข้าไปในพื้นที่ประกอบกับความ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ท�ำให้คนต่างจังหวัดสามารถเข้าถึง ข้อมูลข่าวสารได้สะดวกขึ้น กรุงเทพฯ จึงไม่ใช่พื้นที่เป้าหมาย ทางเศรษฐกิจของประเทศเพียงแห่งเดียวอีกต่อไป จังหวัดอืน่ ๆ โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคจะเป็นพื้นที่ที่ สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการได้ ในขณะ เดียวกัน ผู้ประกอบการควรตระหนักว่า แม้แนวโน้ม Urbanization จะส่งผลให้เกิดการเคลือ่ นย้ายคน การค้า การผลิต การ บริการ ซึ่งน�ำไปสู่อาชีพและธุรกิจใหม่ที่จะสร้างรายได้ให้แก่ผู้ ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อ SMEs ในท้องถิน่ ทีม่ อี ยูเ่ ดิมได้เช่นกัน หากไม่มกี ารเตรียมพร้อม และปรับตัวได้ดีพอ 2. Digital Lifestyle คือ แนวโน้มการใช้ชีวิตที่อยู่บน อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ต่างๆ และการพัฒนาอุตสาหกรรม ดิจติ อลคอนเทนต์ ซึ่งจะเติบโตมากขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้าและ เป็นอีกหนึ่งกลไกหลักในการผลักดัน GDP ของประเทศ ผู้ ประกอบการ SMEs ต้องเข้าใจว่าในอนาคตการค้าจะไม่มี
9
พรมแดน ช่ อ งทางในการขยายธุ ร กิ จ ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพคื อ อินเตอร์เน็ต ซึง่ ในปัจจุบนั อินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในวิถี ชีวติ ของคนทัว่ โลก ไม่วา่ จะเป็นการติดต่อสือ่ สาร การรับข้อมูล ข่าวสาร การท�ำงาน การท�ำธุรกรรมทางการเงิน ท�ำให้ผบู้ ริโภค สามารถด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและทัน เวลา ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็สามารถด�ำเนินธุรกิจได้ อย่างฉับไวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยความแพร่หลาย ของอินเตอร์เน็ตท�ำให้การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์มี แนวโน้มลดลง ในขณะที่การประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อออนไลน์ จะมีมากขึ้น แต่ในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ประกอบการไทยเพียง 1 ใน 10 ของผู้ประกอบการทั้งหมดเท่านั้นที่มีตัวตนในโลก ออนไลน์ ทัง้ นี้ จากข้อมูลทีไ่ ด้จากการส�ำรวจ พบว่า ประเทศไทย มีผใู้ ช้งานอินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนถึง 24 ล้านคน โดยทีก่ าร ขยายตัวของการใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเพือ่ ทดแทนเครือ่ ง คอมพิวเตอร์จะสูงขึน้ เรือ่ ยๆ เนือ่ งจากมีราคาถูก คุณภาพดี และ สามารถพกพาไปได้ทุกที่ ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEs จึงควร ให้ความส�ำคัญกับการใช้สอื่ ดิจติ อลเพือ่ สร้างโอกาสทางธุรกิจให้ มากขึ้น ด้วยการรวมเอาดิจิตอลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการ วางแผนการตลาดและน�ำเอาความเป็นดิจิตอลมาสร้างเป็น คอนเทนต์ (Content) เพื่อสร้างความได้เปรียบรองรับกับการ แข่งขันที่รุนแรงขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการพัฒนาเพื่อรองรับ การใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต เช่น การพัฒนาเว็บไซด์ โดยออกแบบให้สะดวกต่อการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต หรือที่เรียกว่า Mobile Website เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้ม การใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้บริโภคในอนาคต 3. Hi-speed and Coverage Logistics คือ แนวโน้ม ระบบโลจิสติกส์ทรี่ วดเร็ว มีประสิทธิภาพและต้นทุนต�ำ่ ลง สิง่ ที่ สะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมรองรับแนวโน้มดังกล่าวได้ อย่างชัดเจน คือการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ในวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งครอบคลุมการพัฒนารถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง จากกรุงเทพฯ ไปยัง 4 เมืองหลัก ในภูมิภาค ได้แก่ หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ และนครราชสีมา ถือ เป็นการย่อขนาดประเทศ สร้างประเทศให้มีความทันสมัย (Modernization) และเป็นการสร้างโอกาส/ความเสมอภาค ของคนไทยที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศให้มีคุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้น สอดคล้องกับแนวโน้ม Urbanization ในข้อ 1. ระบบ โครงสร้างพืน้ ฐานด้านคมนาคมขนส่งทีม่ ปี ระสิทธิภาพ นอกจาก จะท�ำให้การเดินทางเข้าเมืองเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วแล้ว
ยั ง เป็ น ปั จ จั ย สนั บ สนุ น ที่ ส� ำ คั ญ ในการสร้ า งโอกาสให้ กั บ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย โดยเฉพาะหลังการเข้า สู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะมีกลุ่มลูกค้าเพิ่มขึ้น และมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นมาก ประเทศไทยจึงควรแสวงหา ประโยชน์จากการขยายตัวของตลาดโดยใช้ความได้เปรียบเชิง ภูมิศาสตร์ของพื้นที่บนพื้นฐานความสามารถที่มีอยู่ของตนเอง ทัง้ นี้ จากการคาดการณ์พบว่า อัตราการเติบโตของการเดินทาง ท่องเที่ยวจะอยู่ในระดับตัวเลข 2 หลัก คือร้อยละ 10 ขึ้นไป อย่างต่อเนื่องในระยะ 10-15 ปีข้างหน้า เมื่อประกอบกับการ ขยายตั ว ของตลาดจากการเข้ า สู ่ ป ระชาคมอาเซี ย น การ ท่องเที่ยวไทยจึงมีช่องทางที่จะพัฒนาได้อีกมาก การพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ท่ีเน้นในเรื่องของความเร็วและการเชื่อมโยง เข้าหากัน จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนที่ส�ำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในแง่ของ การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทั้งภายในประเทศและ ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่ต้องการความ สดใหม่ เช่น ผัก ผลไม้ อาหารทะเล อีกทั้งระบบการผลิตยังมี แนวโน้มจะยกระดับจากระบบ just in time1 เป็น super just in time หรือ zero inventory มากขึ้น ดังนั้น ยิ่งระบบโลจิสติกส์ มีประสิทธิภาพและสามารถลดเวลาได้มากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งช่วย ให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนและตอบสนองต่อความ ต้องการของลูกค้าได้มากขึน้ เท่านัน้ นอกจากนี้ ระบบโลจิสติกส์ ยังมีบทบาทส�ำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด ท�ำให้การคิดค้นเทคโนโลยี/การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ท�ำได้ เร็วขึ้น จากเดิมในช่วงปี พ.ศ. 2553 – 2543 ใช้เวลาในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เฉลีย่ 10 ปี ลดลงเป็น 5 ปีในปัจจุบนั และ คาดว่าจะลดลงอีกในอนาคต
4. Aging Society คือ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ ประชากรผูส้ งู อายุ ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ทำ� ให้ คนมีอายุยืนยาวขึ้น โดยมีการประมาณการว่า ในปี พ.ศ. 2568 จะมีประชากรกลุ่มนี้ถึงร้อยละ 20 ของประชากร ทัง้ หมด ซึง่ ประชากรกลุม่ นีจ้ ะเป็นกลุม่ ทีก่ ำ� หนดทิศทางของ ตลาดไม่ ว ่ า จะเป็ น ในด้ า นเศรษฐกิ จ การค้ า หรื อ ด้ า น การเมือง กล่าวคือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ /การก�ำหนด นโยบายทางการเมืองจะต้องค�ำนึงถึงกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย โดยเฉพาะกลุม่ ผูส้ งู อายุทมี่ เี งินและมีกำ� ลังซือ้ สูง การพัฒนา สินค้าและบริการส�ำหรับผู้สูงอายุ เช่น ธุรกิจอาหารเพื่อ สุขภาพ ธรุกิจบริการสุขภาพส�ำหรับผู้สูงอายุจึงเป็นโอกาส และทางเลือกที่น่าสนใจมากส�ำหรับ SMEs ไทย ซึ่งมีความ
ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just In Time หรือ JIT) คือ การผลิตหรือการส่งมอบสิ่งของที่ต้องการในเวลาที่ต้องการ ด้วยจ�ำนวนที่ต้องการ โดยใช้ความ ต้องการของลูกค้าเป็นเครือ่ งก�ำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วตั ถุดบิ ซึง่ จะท�ำให้วสั ดุคงคลังทีไ่ ม่จำ� เป็นในรูปของวัตถุดบิ (Raw Material) งานระหว่างท�ำ (Work in Process) และสินค้าส�ำเร็จรูป (Finished Goods) อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดจนกลายเป็นศูนย์ (Zero Inventory) [ที่มา http://jeducation.com/career/ knowledge/2010/03/-just-in-time-system-jit.html]
1
10
ได้เปรียบภายในประเทศเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ความพร้อมด้านบุคลากร ด้านวัตถุดบิ เช่น สมุนไพร วัตถุดบิ ทางการเกษตร ความสามารถในการให้บริการทีเ่ ป็นเลิศ ได้ รับการยอมรับในระดับสากล และอยู่ในราคาที่สมเหตุ สมผล ในส่วนของภาครัฐเองก็ได้ตระหนักถึงความส�ำคัญใน เรือ่ งนี้ จึงได้กำ� หนดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพือ่ สุขภาพเป็น หนึ่ ง ในอุ ต สาหกรรมอนาคตเป้ า หมาย และก� ำ หนด เป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพ ไว้ใน ยุทธศาสตร์ประเทศ พ.ศ. 2556 – 2561 ซึ่งจะเป็นกรอบ แนวทางการบูรณาการท�ำงานเพื่อพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปีต่อจากนี้ด้วย 5. Greening Economy คือ แนวโน้มกระแสโลกสี เขียวที่เรียกร้องให้ผลิตภัณฑ์และบริการมีความรับผิดชอบ ต่อสิง่ แวดล้อมมากขึน้ ดังนัน้ ผูป้ ระกอบการจึงต้องมุง่ สูก่ าร พัฒนาเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยเริ่ม จากความมุ่งมั่นตั้งใจก่อนเป็นล�ำดับแรก แล้วจึงด�ำเนิน กิจกรรมต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามที่ตั้ง เป้าหมายไว้ เช่น การเพิม่ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน/เพิม่ ปริมาณการใช้พลังงานทดแทนในการผลิต การประยุกต์ใช้ หลักการ 3R (Reduce Reuse Recycle) การปรับปรุง เทคโนโลยีการผลิต ลดการใช้ทรัพยากร การประกอบการ โดยมีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งการสนับสนุนการมี ส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบสภาพ แวดล้อม โดยทุกคนในองค์กรจะต้องร่วมมือกันด�ำเนินการ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ก่อนจะขยาย ไปสูก่ ารด�ำเนินการตลอดห่วงโซ่อปุ ทาน การด�ำเนินการตาม ขัน้ ตอนข้างต้นสอดคล้องกับระดับการรับรองอุตสาหกรรม สีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะลดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและ มีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน ระดับที่ 2 ปฏิบตั กิ ารสีเขียว (Green Activity) คือการด�ำเนินกิจกรรม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้ ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) คือการบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตาม ประเมิน ผลและทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้ รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับและการรับรอง มาตรฐานด้านสิง่ แวดล้อมต่างๆ ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือการทีท่ กุ คนในองค์กรให้ความร่วมมือ ร่วมใจด�ำเนินงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกด้าน ของการประกอบกิ จ การจนกลายเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ วัฒนธรรมองค์กร และสุดท้ายระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว
(Green Network) คือการแสดงถึงการขยายเครือข่าย ตลอดห่ ว งโซ่ อุ ป ทานสี เขี ย ว โดยสนั บ สนุ น ให้ คู ่ ค ้ า และ พันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีโรงงานได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสี เขียวในระดับ 1 ถึง 4 แล้วกว่า 3,500 โรงงาน แสดงให้เห็น แนวโน้มที่ดีในการปรับตัวของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ไทยเพื่อก้าวสู่เศรษฐกิจสีเขียวรองรับกระแสโลก 6. She-conomy (Woman Power) คือ แนวโน้ม การเพิม่ ขึน้ ของบทบาทสตรีในการขับเคลือ่ นประเทศทัง้ ใน ด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันผู้ หญิงได้เข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะในโลก ของการท�ำงาน การด�ำรงต�ำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของ ผูห้ ญิงมีมากขึน้ จากปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นการ มีการศึกษาในระดับทีส่ งู ขึน้ กฎหมายทีส่ ร้างความเท่าเทียม ในเรือ่ งเพศ อีกทัง้ ผูห้ ญิงยังมีบทบาทหน้าทีใ่ นการดูแลด้าน การเงินและการจับจ่ายใช้สอยภายในครอบครัว ผูป้ ระกอบ การจึงควรน�ำแนวโน้มในประเด็นนี้มาเชื่อมโยงกับโอกาส ทางธุรกิจและปรับรูปแบบการด�ำเนินธุรกิจให้สอดคล้อง เช่น การผลิตสินค้าเกี่ยวกับแฟชั่นเพื่อผู้หญิงท�ำงาน สินค้า สุขภาพที่แม่บ้านจะคัดสรรให้แก่สมาชิกในครอบครัว รวม ถึงการพัฒนาแผนการตลาดในรูปแบบทีจ่ งู ใจสุภาพสตรีโดย การลด แลก แจก แถม เป็นต้น เมื่อทราบถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงในอนาคตแล้ว ผู้ ประกอบการ SMEs จะต้องเร่งปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมรองรับ และใช้ประโยชน์จากการเปลีย่ นแปลงเหล่านีใ้ ห้ได้มากทีส่ ดุ เพือ่ สร้างโอกาสทางธุรกิจและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น อันจะน�ำ มาซึง่ ความอยูร่ อดและการเติบโตได้อย่างมัน่ คงต่อไปในอนาคต โดยการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เข้มแข็ง เพราะผู้เข้มแข็ง เท่านั้นที่จะเป็นผู้ชนะและอยู่รอดได้ ผู้ประกอบการจะต้องมี ความพร้ อ มและความเป็ น มื อ อาชี พ ในทุ ก ด้ า น ทั้ ง ในด้ า น บุคลากร การเงิน เครือ่ งจักรอุปกรณ์ โดยมีจดุ มุง่ หมายหลักเพือ่ ลดต้นทุน เพิม่ ก�ำไร ส่วนภาครัฐจะท�ำหน้าทีเ่ ป็นผูอ้ ำ� นวยความ สะดวก ให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนในด้านปัจจัย พื้นฐานต่างๆ ซึ่งการด�ำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและผู้ ประกอบการตามแนวทางนีจ้ ะน�ำไปสูก่ ารเพิม่ ความสามารถใน การแข่งขันของประเทศในภาพรวม พร้อมรับมือกับ Mega Trends ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ---------------------------------------
เรียบเรียงโดย นางสาวสมานลักษณ์ ตัณฑิกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนช�ำนาญการพิเศษ
11
Life
ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ทำ�อะไรกันดี l
สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านทุกท่าน เผลอแป๊บเดียวก็แวะเวียนมาถึง เดือนธันวาคมอีกครั้งแล้วนะคะ ซึ่งเดือนธันวาคมนี้มีวัน ส�ำคัญ ทั้งวันพ่อ วันรัฐธรรมนูญ และวันสิ้นปี นอกจากจะมี วันส�ำคัญแล้ว ยังมีวันหยุดยาวให้พักผ่อนกันอีกด้วยค่ะ เมือ่ พูดถึงเดือนธันวาคม บางคนก็เริม่ คิดจัดหาของขวัญชิน้ ที่ถูกใจเพื่อมอบให้ครอบครัวอันเป็นที่รัก หรือแม้แต่ผู้บริหาร หัวหน้างาน เพือ่ นร่วมงาน เพือ่ นสนิท บางคนถึงกับคิดหนักเลย ทีเดียวกับการเลือกหาของขวัญสักชิน้ เพราะความกังวลทีว่ า่ จะ ถูกใจผู้รับหรือไม่ เหมาะสมหรือเปล่ากับของขวัญที่มอบให้ไป แต่ไม่วา่ จะอย่างไร การให้ของขวัญกับบุคคลทีเ่ ราอยากจะมอบ ให้นั้น ของสิ่งนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคา แต่อยู่ที่ว่าของสิ่งนั้น เรา มอบให้ด้วยความจริงใจ เพียงเท่านี้ผู้รับก็ยิ้มอย่างมีความสุข แล้วล่ะค่ะ เทศกาลต้อนรับปีใหม่กับวันหยุดยาวแบบนี้ คุณผู้อ่านคิด หรือยังคะว่า จะท�ำอะไรเพื่อเป็นของขวัญให้กับตัวเองและ ครอบครัวดี เริม่ ต้นปีใหม่แล้วสิง่ ทีค่ วรท�ำเพือ่ ความเป็นศิรมิ งคล ให้กบั ชีวติ ควรเริม่ ท�ำจากทีบ่ า้ นคือ การท�ำความสะอาดโต๊ะหมู่ บูชาพระ เก็บกวาดบ้านให้ดูสะอาดงามตา หากว่าคุณผู้อ่านมี
12
ส�ำนักบริหารกลาง
สิง่ ของทีไ่ ม่ใช้แล้วทีย่ งั สามารถใช้งานได้อยู่ อย่างหนังสือ เสือ้ ผ้า ก็ควรจัดและแยกเก็บไว้ เพราะสิ่งของเหล่านี้เราสามารถน�ำไป บริจาคได้เช่นกันค่ะ นอกจากนี้แล้วคุณผู้อ่านยังสามารถให้ของขวัญกับตัวเอง โดยการสวดมนต์น่ังสมาธิในห้องพระที่บ้าน เพื่อท�ำให้คุณเอง รูจ้ กั การปล่อยวางทัง้ ยังท�ำให้มจี ติ ใจทีส่ งบและบริสทุ ธิ์ และการ ให้ของขวัญบางอย่างแก่คนในครอบครัว ไม่จ�ำเป็นต้องเสียเงิน ซื้อของขวัญอะไรมากมาย เพียงแค่คุณตั้งใจเลิกนิสัยบางอย่าง ทีไ่ ม่ดี เช่น เลิกการพูดจาหยาบคาย เลิกพูดจาเบียดเบียนท�ำให้ ผู้อื่นเสียใจ หรือการกระท�ำที่ไม่ดี ก็ถือได้ว่าเป็นของขวัญที่มี คุณค่าให้กับคนในครอบครัวได้เหมือนกันค่ะ และนาน ๆ ครั้ง จะมีวันหยุดยาวอย่างนี้ แถมได้อยู่กันแบบพร้อมหน้าพร้อมตา จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ท�ำกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัว อย่างการพูดคุย ถามไถ่คนในครอบครัว เพื่อที่จะได้ทราบถึง ปัญหาทีม่ อี ยู่ เพราะการพูดคุยกันภายในครอบครัวนัน้ ก็เหมือน เป็นการแชร์ความรู้สึกในเรื่องที่เราอัดอั้นอยู่ในใจ เพื่อจะได้หา ทางออกร่วมกัน พูดให้ก�ำลังใจซึ่งกันและกัน แค่นี้ความทุกข์ที่ อยู่ในใจคุณก็จะบรรเทาลงท�ำให้มีแรงที่จะลุกขึ้นสู้กับอุปสรรค
ต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ กับคุณได้แล้วล่ะค่ะ นอกจากการพูดคุยกันแล้ว กิจกรรมทีจ่ ะท�ำร่วมกันภายในครอบครัว ยังมีการจัดงานฉลอง ปีใหม่ในบ้านพร้อมหน้าพร้อมตาทุกคนในครอบครัว นับถอย หลังปีใหม่ด้วยกัน สร้างความอบอุ่นได้ดีเยี่ยมทีเดียวค่ะ
13
ให้เวลากับครอบครัวแล้ว ก็อย่าลืมนะคะว่า ควรจะให้เวลา กับตัวเองด้วย หากคุณคิดย้อนเวลากลับไป คิดทบทวนอดีตที่ ผ่านมาและการวางแผนอนาคต ว่าได้เคยท�ำกิจกรรมใด ๆ ที่ เป็นประโยชน์ให้แก่ตนเองบ้าง เมื่อคิดทบทวนกับสิ่งที่ผ่านมา แล้ว ในเรื่องของการบกพร่องต่อหน้าที่การงาน บกพร่องเรื่อง เรียน รวมถึงเรื่องการใช้จ่ายเงิน สิ่งบกพร่องต่าง ๆ เราสามารถ แก้ไขด้วยตัวเราเองโดยไม่ต้องรอเวลาว่าจะต้องเป็นปีใหม่ คุณ สามารถจัดแจงวางแผนได้ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อไม่ให้เวลาเดินผ่าน ไปโดยเปล่าประโยชน์ สิง่ ทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดนีเ้ ป็นเพียงแค่บางเรือ่ งนะคะ หากแต่ คุณผูอ้ า่ นคงรูเ้ รือ่ งราวของตัวท่านดี ว่าควรปฏิบตั ติ อ่ ครอบครัว และตัวท่านเองอย่างไร ไม่ตอ้ งรอถึงเทศกาลปีใหม่หรอกค่ะ คุณ ลองปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ท�ำได้ตั้งแต่วันนี้ และ หากคุณผู้อ่านยังไม่มีแผนการจะท�ำอะไรในช่วงส่งท้ายปีเก่า
ภาพประกอบในเล่มจาก http://www.bloggang.com http://www.plus.google.com http://www.scoop.mthai.com http://www.samakeeschool.com
14
ต้ อ นรั บ ปี ใ หม่ ขอแนะน� ำ ว่ า ควรจะให้ เวลากั บ ตั ว เองและ ครอบครัวจะดีที่สุดค่ะ สุดท้ายนีข้ อให้คณ ุ ผูอ้ า่ นมีความสุขกับเทศกาลต้อนรับปี ใหม่ปี 2557 ที่ใกล้จะมาถึงในไม่ช้านี้ พบกันใหม่ในปีหน้า ส�ำหรับ OIE SHARE และอย่าพลาดกับคอลัมน์ Life เชียว นะคะ สวัสดีค่ะ
http://www.watkositaram.com http://www.bloggang.com http://www.goody108.com http://www.clickatmall.blogspot.com http://www.thainews.prd.go.th http://www.dodeden.com http://www.scment.pt
http://www.bigbearautomation.com www.autospinn.com www.recruitepc.com www.themotorreport.com.au en.responsejp.com www.9carthai.com www.headlightmag.com
Movement
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม แถลงข่าว การจัดท�ำดัชนีเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม (Industrial Economic Indicator) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทย และนับเป็นครั้ง แรกที่ได้มีการน�ำข้อมูลของแต่ละหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมมาบูรณาการเข้าด้วยกัน โดยมีสื่อมวลชนแขนง ต่าง ๆ ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจ�ำนวนมาก เมื่อวันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ กระทรวงอุตสาหกรรม
คณะผู้บริหารส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสื่อมวลชน ร่วมกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรภายใต้ชื่อ โครงการ “ก้าวต่อไป ของเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง” ณ บริษัทโยโกฮามา ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จ�ำกัด จังหวัด ระยอง เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2556
ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จัดแถลงข่าว “สรุปภาวะอุตสาหกรรมไทยปี 2556 และแนวโน้มปี 2557” โดยมี ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นประธานการแถลงข่าว ร่วมกับผู้บริหาร สศอ. โดยมีสื่อมวลชนแขนง ต่าง ๆ ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจ�ำนวนมาก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุม 202 ส�ำนักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม
15
ติ ด ตามชม Animation ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ได้ทาง www.oie.go.th
ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2202 4274, 0 2202 4284 โทรสาร 0 2644 7023 www.oie.go.th, www.facebook.com/oieprnews, http://twitter.com/oie_news