ศาสนพิธีในพระราชพิธี
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
ศาสนพิธีในพระราชพิธ ี ผู้จัดพิมพ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จำนวนพิมพ์ ๕,๐๐๐ เล่ม ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ปรึกษา นายสด แดงเอียด คณะทำงาน ๑. นายจรูญ นราคร ๒. นายพิสิทธิ์ นิรัตติวงศกรณ์ ๓. นายปกรณ์ ตันสกุล ๔. นายเอนก ขำทอง ๕. นายปัญญา สละทองตรง ๖. นายพิสิฐ เจริญสุข ๗. นายสันติ ผลิผล ๘. นายสมชัย เกื้อกูล ๙. นายสุวรรณ กลิ่นพงศ์ ๑๐. นางสาวพิไล จิรไกรศิริ ๑๑. นายชวลิต ศิริภิรมย์ ๑๒. นายแถลงการณ์ วงษ์สวัสดิ์ ๑๓. นายจำลอง ธงไชย ๑๔. นายโอสธี ราษฎร์เรือง ๑๕. นายปกรณ์ ศรแสง ๑๖. นายปิยวัฒน์ วงษ์เจริญ ๑๗. นางสาวสุมาลี ปราชญนภารัตน์ ออกแบบปก/รูปเล่ม นายยงยุทธ สังคนาคินทร์ พิมพ์ที่
อธิบดีกรมการศาสนา รองอธิบดีกรมการศาสนา ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงานและเลขานุการ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ๗๙ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑ นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา พ.ศ. ๒๕๕๔
คำนำ สังคมไทยเป็นสังคมที่มีแบบแผนและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ที่สืบทอดมาแต่ โบราณกาลในการปฏิบัติงานด้านศาสนพิธี ไม่ว่าจะเป็นงานพระราชพิธีต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์ ทรงปฏิบัติเป็นประจำ หรืองานศาสนพิธีต่าง ๆ ที่ประชาชนชาวไทยทั่ว ๆ ไปปฏิบัติกันอยู่ในวิถีชีวิต ก็ยังคงรักษาแบบแผนและแนวปฏิบัติแต่เดิมไว้ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลัก ดำเนินงาน ของรัฐด้านศาสนา โดยการทำนุบำรุง รักษา ส่งเสริม สืบทอด ให้การอุปถัมภ์คุ้มครองกิจการ ด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ที่ทางราชการรับรอง และดำเนินการเกี่ยวกับงานพระราชพิธี งานพระราชกุศล งานรัฐพิธี และงานศาสนพิธี ได้รวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับงานศาสนพิธี ในพระราชพิธีขึ้น และได้แยกเรื่องจัดพิมพ์ไปแล้วจำนวน ๓ ครั้ง ตามลำดับ หนังสือดังกล่าว ได้หมดลงแล้ว กรมการศาสนา จึงได้จัดพิมพ์องค์ความรู้เกี่ยวกับศาสนพิธีในพระราชพิธีขึ้นใหม่
ในครั้งนี้ โดยได้รวบรวมเรื่องต่าง ๆ มารวมไว้ในเล่มเดียวกัน เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า และนำไปเป็นแนวปฏิบัติ กรมการศาสนา หวังว่าหนังสือ “ศาสนพิธีในพระราชพิธี” นี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ ได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น (นายสด แดงเอียด) อธิบดีกรมการศาสนา
สารบัญ หน้า คำนำ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชา
๑
พระราชพิธีสงกรานต์
๖
พระราชพิธีฉัตรมงคล
๒๐
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
๒๘
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา
๔๕
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง
๕๕
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา
และเทศกาลเข้าพรรษา
๖๓
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช
๗๓
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน
๙๑
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
๑๑๑
พระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย
บรรณานุกรม
๑๔๙ ๑๕๔
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชา
วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง มีประวัติความเป็นมาว่า ในครั้ง พุ ท ธกาล หลั ง จากพระพุ ท ธเจ้ า ทรงตรั ส รู ้ แ ล้ ว ได้ เ ทศนาสั่ ง สอนเวไนยสั ต ว์ ให้ ไ ด้ รั บ ความรู ้ ความเข้าใจในสภาวะความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่อุบัติขึ้นในโลก จนทำให้ผู้ที่รับฟังคำสั่งสอน ได้เกิดความรู้ความเข้าใจ สำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์จำนวนมาก และรับการอุปสมบทเป็น
พระภิกษุด้วยวิธีอุปสมบท ที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือโดยการที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งวาจาว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด จนกระทั่งมีผู้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเป็นจำนวนมาก ต่ อ มาวั น หนึ่ ง เป็ น วั น ที่ พ ระจั น ทร์ เ สวยมาฆฤกษ์ คื อ วั น ขึ ้ น ๑๕ ค่ ำ เดื อ น ๓ พระอรหันตขีณาสพ ผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยวิธีที่กล่าวมา ได้หวนระลึกนึกถึงพระบรมศาสดา พากั น เดิ น ทางมา ณ บริ เ วณเวฬุ วั น อั น เป็ น สถานที่ ป ระทั บ ของพระบรมศาสดา นั บ เป็ น
เหตุอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ๔ ประการ ที่เรียกกันว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ ๑. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ๒. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันตขีณาสพทั้งสิ้น ๓. พระสงฆ์ทั้งนั้น ได้รับการอุปสมบทด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญกลางเดือน ๓ พระพุ ท ธเจ้ า ได้ ท รงแสดงหั ว ใจพระพุ ท ธศาสนา ที่ เ รี ย กว่ า โอวาทปาติ โ มกข์ แก่พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นโดยมคธภาษาว่า
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐฺยนฺโต สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
และทรงตรัสแก่พระสงฆ์ทั้งหลายอีกว่า จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ. แปลความว่า ความอดทนคือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นธรรมอันยอดเยี่ยม ผู้ที่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้ที่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ นั่นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย การไม่ว่าร้ายผู้อื่น การไม่เบียดเบียน ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร การประกอบความเพียรในอธิจิต นั่นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อเกื้อกูลแก่หมู่ชน เพื่อความสุข แห่งหมู่ชน เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้ วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญเช่นนี้ พุทธศาสนิกชนจึงได้ทำการบูชากันอย่างมโหฬาร แต่เดิม ไม่เคยมีพระราชพิธีเกี่ยวกับวันมาฆบูชา มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงปรารภว่า เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันอันเป็นเหตุสำคัญในพระพุทธศาสนา และเพื่อ เป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบรมศาสดา จึงทรงประกาศให้วัดทั้งหลายได้ประกอบพิธีทำการบูชา เป็นพิเศษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้นเป็นงานพระราชพิธี ในวั น ขึ ้ น ๑๕ ค่ ำ เดื อ น ๓ สำหรั บ ในปี ท ี่ ม ี อ ธิ ก มาส (เดื อ น ๘ สองหน) ให้ เ ลื่ อ นไปจั ด
ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชานั้นให้นิมนต์พระสงฆ์วัดบวรนิเวศ และวัดราชประดิษฐ์ จำนวน ๓๐ รูป มารับพระราชทานฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่ ว นในเวลาค่ ำ เสด็ จ ฯ ออกทรงจุ ด เที ย นเครื่ อ งนมั ส การ พระสงฆ์ ส วดทำวั ต รเย็ น และ เจริญพระพุทธมนต์ พร้อมทั้งสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วย เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว ทรงจุดเทียนรายตามราวรอบ ๆ พระอุโบสถ จำนวน ๑,๒๕๐ เล่ม เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า
และพระอรหันต์ จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มีประโคมครั้งหนึ่ง แล้วจึงมีถวายพระธรรมเทศนาโอวาท ปาติโมกข์กัณฑ์หนึ่ง ทรงบูชากัณฑ์เทศน์ด้วยผ้าจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนมหลากหลายชนิด
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชานี้ ได้บำเพ็ญสืบต่อกันมาจนถึงรัชกาล ปัจจุบัน และได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการบำเพ็ญพระราชกุศล ตามที่ปรากฏในปัจจุบัน ดังนี้ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนบูชา ดังนี้ - ทรงจุดเทียนรุ่งบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และพระสัมพุทธพรรณี - ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และพระสัมพุทธพรรณี - ทรงจุดธูป จุดเทียนท้ายที่นั่งบูชาพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ และพระพุทธเลิศหล้านภาไลย - ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่หน้าธรรมาสน์ศิลา - ทรงหยิบเทียนชนวนจุดไฟที่โคมไฟฟ้า พระราชทานให้ผู้อำนวยการกองพระราชพิธี เพื่ อ เชิ ญ ไปถวายเจ้ า อาวาสเพื่ อ จุ ด เที ย นรุ่ ง ที่ ท รงพระราชทานอุ ท ิ ศ ไปยั ง พระอารามหลวง ๕ พระอาราม คือ - วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม - วัดบวรนิเวศวิหาร - วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม - วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม - วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระสงฆ์ ๓๐ รูป ซึ่งนิมนต์จากวัดต่าง ๆ (เฉพาะธรรมยุติกนิกาย) สวดทำวัตรเย็น เจริ ญ พระพุ ท ธมนต์ แ ละสวดคาถาโอวาทปาติ โ มกข์ จบแล้ ว เสด็ จ ฯ ไปทรงโปรยดอกมะลิ
ที่ธรรมาสน์ศิลา แล้วเสด็จฯ ประทับพระราชอาสน์ พระราชาคณะผู้ถวายพระธรรมเทศนาขึ้นนั่งบน ธรรมาสน์ ทรงจุ ด เที ย นดู ห นั ง สื อ เทศน์ (เที ย นส่ อ งธรรม) ทรงจุ ด ธู ป เที ย น เครื่ อ งทรงธรรม พระราชทานให้เจ้าพนักงานพระราชพิธีนำไปตั้งที่ข้างธรรมาสน์ศิลาเรียบร้อยแล้ว พระราชาคณะ ถวายศีล ถวายพระธรรมเทศนา จบแล้ว ถวายอนุโมทนา (ยะถา.) บนธรรมมาสน์ ทรงหลั่ง ทักษิโณทก พระสงฆ์ทั้งนั้นรับสัพพีติโย พระราชาคณะลงมานั่งที่อาสน์สงฆ์ เมื่อสวดบทสัพพีติโย... จบ เสด็จมาทรงประเคนเครื่องไทยธรรมกัณฑ์เทศน์ และถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์ทั้งหมด พระสงฆ์ถวายอดิเรก และสวดภวตุ สพฺพมงฺคลํ... จบแล้วลงจากอาสน์สงฆ์ ออกจากพระอุโบสถ พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินกลับ เป็นเสร็จการพระราชพิธี สำหรับประชาชนทั่ว ๆ ไป เมื่อถึงวันสำคัญเช่นนี้ ในตอนเช้าอาบน้ำชำระกายให้หมดจด ไปวัด ทำบุญ ใส่บาตร รักษาศีล ส่วนในตอนค่ำ จะมีการฟังเทศน์ เวียนเทียน ตามวัดที่อยู่ใกล้ ๆ บ้านเรือนของตน ถือเป็นการบุญอันสำคัญวันหนึ่ง การเวียนเทียนวันมาฆบูชานั้น มีคำบูชาก่อน เวียนเทียน ดังนี้
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
อชฺ ฌ ายํ มาฆปุ ณฺ ณ มี สมฺ ป ตฺ ต า มาฆนกฺ ข ตฺ เ ตน ปุ ณฺ ณ จนฺ โ ท ยุ ตฺ โ ต ยตฺ ถ ตถาคโต อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ จาตุรงฺคิเก สาวกสนฺนิปาเต โอวาทปาติโมกฺขํ อุทฺทิสิ ตถาหิ อฑฺฒเตรสานิ ภิกฺขุสตานิ สพฺเพสํเยว ขีณาสวานํ สพฺเพ เต เอหิภิกฺขุกา สพฺ เ พหิ เต อนามนฺ ต ิ ต า ว ภควโต สนฺ ต ิ กํ อาคตา เวฬุ ว เน กลนฺ ท กนิ ว าเป มาฆปุ ณฺ ณ มิ ยํ วฑฺฒมานกจฺฉายาย ตสฺมึ สนฺนิปาเต ภควา วิสุทฺธุโปสถํ อกาสิ อยํ อมฺหากํ ภควโต เอโกเยว สาวกสนฺนิปาโต อโหสิ จาตุรงฺคิโก อฑฺฒเตรสานิ ภิกฺขุสตานิ สพฺเพสํเยว ขีณาสวานํ มยนฺทานิ อิมํ มาฆปุณฺณมีนกฺขตฺตสมยํ ตกฺกาลสทิสํ สมฺปตฺตา สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิตํ ภควนฺ ตํ อนุ สฺ ส รมานา อิ ม สฺ ม ึ ตสฺ ส ภควโต สกฺ ข ี ภู เ ต เจติ เ ย อิ เ มหิ ทณฺ ฑ ที ป ธู ป ปุ ปฺ ผ า ทิสกฺกาเรหิ ตํ ภควนฺตํ ตานิ จ อฑฺฒเตรสานิ ภิกฺขุสตานิ อภิปูชยาม สาธุ โน ภนฺเต ภควา สสาวกสงฺโฆ สุจิรปรินิพฺพุโตปิ คุเณหิ ธรมาโน อิเม สกฺกาเร ทุคฺคตปณฺณาการภูเต ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย. วันนี้ มาถึงวันมาฆบุรณมี พระจันทร์เพ็ญประกอบด้วยฤกษ์มาฆะแล้ว วันนี้ตรงกับวันที่ พระตถาคต องค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์สาวก ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ ครั้งนั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ ล้วนแต่เป็นเอหิภิกษุ มิได้มีใคร นิมนต์นัดหมาย ได้มาประชุมพร้อมกันเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร เวลาตะวั น บ่ า ย ในวั น มาฆบุ ร ณมี และพระผู ้ ม ี พ ระภาคเจ้ า ได้ ท รงกระทำวิ สุ ท ธิ อุ โ บสถ ในที่ ประชุมนั้น การประชุมพระสงฆ์สาวกพร้อมด้วยองค์ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลายนี้ ได้มีขึ้นเพียงครั้งนี้ครั้งเดียวเท่านั้น พระภิกษุผู้เข้าประชุม ๑,๒๕๐ องค์นั้น ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ บัดนี้ ถึงวันมาฆบุรณมีนักขัตสมัย คล้ายวันจาตุรงคสันนิบาตนั้นแล้ว เราทั้งหลาย มาระลึ ก ถึ ง พระผู ้ ม ี พ ระภาคเจ้ า พระองค์ นั ้ น แม้ เ สด็ จ ปริ น ิ พ พานไปนานแล้ ว ขอน้ อ มบู ช า พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระสงฆ์สาวก ๑,๒๕๐ องค์นั้น ด้วยเครื่องสักการบูชาทั้งหลาย มีเทียน ธูป และดอกไม้ เป็นต้น เหล่านี้ ณ เจดีย์สถานนี้ ซึ่งเป็นสักขีพยานแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก แม้เสด็จปรินิพพาน ไปนานแล้ว ยังคงอยู่แต่พระคุณทั้งหลาย จงทรงรับสักการะบรรณาการคนยากเหล่านี้ ของ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ. เมื่อกล่าวคำบูชาจบแล้ว พึงเวียนเทียนประทักษิณรอบสถูปเจดีย์ อุโบสถ หรือสถานที่ สักการบูชา จำนวน ๓ รอบ โดยในรอบที่ ๑ กำหนดระลึกถึงพระพุทธคุณ ในรอบที่ ๒ กำหนด ระลึกถึงพระธรรมคุณ ในรอบที่ ๓ กำหนดระลึกถึงพระสังฆคุณ ครบ ๓ รอบแล้ว นำดอกไม้
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ธูปเทียน ไปวางในที่สำหรับบูชา เป็นเสร็จพิธี แต่บางวัดจัดให้มีการแสดงพระธรรมเทศนาตลอดรุ่ง ก็มี การพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวันมาฆบูชานี้ หากปีใดมีอธิกมาส (เดือน ๘ สองหน) การพระราชพิธีและการทำพิธีมาฆบูชาเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระราชพิธีสงกรานต์
พระราชพิธีสงกรานต์ เป็นพระราชพิธีที่สำคัญพระราชพิธีหนึ่ง ซึ่งได้มีการปฏิบัติมาแต่ โบราณ โดยปรารภถึงการเถลิงศกใหม่หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทย พระมหากษัตริย์จะทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลต่าง ๆ รวม ๓ วัน ในช่วงประมาณวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ กลางเดือนเมษายนของทุก ๆ ปี ในทางจันทรคติจะตรงกับเดือน ๕ ซึ่งเป็นช่วงขึ้นปีใหม่ของไทย ดังปรากฏตามพระบรมราชาธิบาย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนว่า การพระราชกุศล ที่ยังคงอยู่ในเวลาสงกรานต์ ปัจจุบันนี้มีเป็นสองอย่าง ซึ่งข้าพเจ้าลืมเสีย หาได้กล่าวข้างต้นไม่ คือ สงกรานต์สามวันอย่างหนึ่ง สงกรานต์สี่วันอย่างหนึ่ง และการพระราชกุศลนั้น เริ่มแต่วันจ่าย คือ วันก่อนหน้าสงกรานต์วันหนึ่ง ตั้งสวดมนต์พระปริตรในการที่จะสรงมุรธาภิเษกวันเถลิงศก บนพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์มีเครื่องตั้ง คือ ตั้งโต๊ะหมู่สูงชนกันสองตัว ตั้งพระพุทธรูปห้ามสมุทรฉันเวร และพระชัยเนาวโลห โต๊ะหมู่อย่างต่ำสองตัวตั้งพระครอบมุรธาภิเษกรองพานแว่นฟ้า มีเครื่อง นมัสการกระบะถมฉันเวรสำรับหนึ่ง พระสงฆ์ที่สวดมนต์นั้น พระครูปริตรไทย ๔ รามัญ ๔ ไม่มี พระราชาคณะนำเพราะไม่เป็นการเสด็จออกเลย สวดสามวัน คือ วันจ่ายวันหนึ่ง วันสงกรานต์ วันหนึ่ง วันเนาวันหนึ่ง ถ้าปีใดสงกรานต์ ๔ วัน ก็เลื่อนไปตั้งสวดต่อวันมหาสงกรานต์ รุ่งขึ้น วันเถลิงศกเป็นวันสรง พระสงฆ์ที่สวดมนต์ทั้ง ๘ รูปนั้น เข้าสมทบฉันในท้องพระโรง ถวายชยันโต ในเวลาสรงมุรธาภิเษกด้วย มีของไทยธรรม จีวร รองเท้า พัดขนนกหนึ่งเล่ม พระมหากษัตริย์ในอดีตทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสงกรานต์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมีประการต่าง ๆ อาทิ มีสวดพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ สดั บ ปกรณ์ พ ระบรมอั ฐ ิ พระอั ฐ ิ สรงน้ ำ พระพุ ท ธรู ป สำคั ญ สรงน้ ำ ปู ช นี ย วั ต ถุ ปู ช นี ย สถาน โดยประกอบพิธีการต่าง ๆ ในหมู่พระมหามณเฑียรซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ส ร้ า งขึ ้ น ในครั ้ ง ตั ้ ง กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ เ ป็ น ราชธานี ในปั จ จุ บั น การพระราชพิธีสงกรานต์ มีสวดพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ สดับปกรณ์พระบรมอัฐิ พระอัฐิ ที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน และที่หอพระนาก ส่วนสถานที่อื่น ๆ อีกนั้น พระมหากษัตริย์เสด็จไปทรงพระสุหร่ายสรงพระพุทธรูป พระบรมธาตุ ทรงบูชาพระสยามเทวาธิราช ทรงกราบถวายบังคมพระบรมอัฐิ สรงพระบรมอัฐิและพระอัฐิ ตามพระที่นั่งและตามหอต่าง ๆ การบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธีสงกรานต์นี้ ปัจจุบันจัดวันเดียว โดยสำนักพระราชวัง
จะออกหมายกำหนดการ ดังนี้
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ที่ ๖/๒๕๕๐ หมายกำหนดการ พระราชพิธีสงกรานต์ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
วัน
เวลา
อาทิตย์ที่ ๑๕ ๑๐.๓๐ น. ๑๗.๐๐ น.
รายการ
ที่
สรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระบรมอัฐิ พระอัฐิ เจริญพระพุทธมนต์ เลี้ยงพระ สดับปกรณ์ผ้าคู่ สรงน้ำปูชนียวัตถุ สดับปกรณ์ผ้าคู่
แต่งกาย
หอพระสุลาลัย หอพระธาตุมณเฑียร พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หอพระนาก
ปกติขาว
เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า พระราชพิธีสงกรานต์ปีนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการบำเพ็ญพระราชกุศล ดังต่อไปนี้ วันอาทิตย์ที่ ๑๕ เมษายน เวลา ๗ นาฬิกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงาน นิมนต์พระสงฆ์ ๑๕๐ รูป เข้าไปรับพระราชทานอาหารบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวัง เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แทนพระองค์ ณ พระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร สรงน้ำ พระพุทธรูปสำคัญที่หอพระสุลาลัยพิมาน ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ แล้วเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงจุดธูปเทียนบูชาพระสยามเทวาธิราชที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เสด็จพระราชดำเนินไปยัง
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
หอพระธาตุ ม ณเฑี ย ร ทรงจุ ด ธู ป เที ย นเครื่ อ งราชสั ก การะและสรงน้ ำ พระบรมอั ฐ ิ พระอั ฐ ิ แล้ ว เสด็ จ ฯ ออกพระที่ นั่ ง อมริ น ทรวิ น ิ จ ฉั ย ทางพระทวารเทวราชมเหศวร ทรงจุ ด ธู ป เที ย น เครื่ อ งนมั ส การบู ช าพระรั ต นตรั ย พระสงฆ์ ท รงสมณศั ก ดิ์ ๗๔ รู ป เจริ ญ พระพุ ท ธมนต์
การพระราชพิธีสงกรานต์จบแล้ว ทรงประเคนภัตตาหาร เมื่อพระสงฆ์รับพระราชทานฉันเสร็จ เจ้าพนักงานเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิ ออกประดิษฐานบนพระราชบัลลังก์ ภายใต้นพปฎล มหาเศวตฉัตรและบนพระที่นั่งกง ภายใต้ฉัตรขาวลายทอง ๕ ชั้น ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะ ถวายบังคมพระบรมอัฐิแล้ว ทรงทอดผ้าคู่ พระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิและพระอัฐิแล้ว ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรถยนต์พระที่นั่ง ที่พระทวารเทเวศรรักษา เสด็จพระราชดำเนินกลับ เวลา ๑๗ นาฬิกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แทนพระองค์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าพนักงานกราบบังคมทูลรายงานเครื่องราชสักการะ ที่ทรงพระราชอุทิศพระราชทานให้กระทรวงมหาดไทยเชิญไปถวายเป็นพุทธบูชาปูชนียสถานต่าง ๆ แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงพระสุหร่ายสรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสั ม พุ ท ธพรรณี พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกย์ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาไลย ทรงจุ ด ธู ป เที ย น ถวายนมัสการ แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปสรงน้ำปูชนียวัตถุตามเจดียสถานในพระอารามนี้แล้ว เสด็ จ พระราชดำเนิ น เข้ า สู่ ห อพระนาก ทรงจุ ด ธู ป เที ย นถวายราชสั ก การะพระบรมอั ฐ ิ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้า และทรงทอดผ้าคู่ พระสงฆ์ ๕ รู ป สดั บ ปกรณ์ แล้ ว ทรงทอดผ้ า คู่ พระสงฆ์ อ ี ก ๔๐ รู ป สดั บ ปกรณ์ พ ระอั ฐ ิ พ ระราชวงศ์ พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก เป็นเสร็จการ การแต่งกาย แต่งเครื่องแบบปกติขาว อนึ่ ง ในวั น ที่ ๑๓ เมษายนถึ ง วั น ที่ ๑๕ เมษายน ตั ้ ง แต่ เ วลา ๘ นาฬิ ก า ถึ ง เวลา ๑๗ นาฬิกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้สาธุชนเข้าถวายบังคม สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชที่ปราสาทพระเทพบิดร สำนักพระราชวัง วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
การพระราชพิธีสงกรานต์ มีลำดับการเตรียมการและการปฏิบัติพระราชพิธี ดังนี้ การเตรียมการ ๑. เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา จัดทำฎีกาและบัญชีพระสงฆ์ จำนวน ๑๕๐ รูป นิมนต์เข้ารับพระราชทานอาหารบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ ๑๕ เมษายน ๒. จั ด ทำฎี ก าและบั ญ ชี พ ระสงฆ์ เพื่ อ นิ ม นต์ เ ข้ า การพระราชพิ ธ ี จำนวน ๗๔ รู ป พร้อมแจ้งรายละเอียดในหมายเหตุ คือลำดับที่ ชุดที่ และสถานที่ในการนั่งสดับปกรณ์ เนื่องจาก จะมี พ ิ ธ ี ส ดั บ ปกรณ์ ๒ แห่ ง คื อ พระที่ นั่ ง อมริ น ทรวิ น ิ จ ฉั ย มไหสู ร ยพิ ม าน และหอพระนาก ตลอดถึงการครองผ้า การนำบาตรมา และการนำพัดยศมา เป็นต้น ๓. จัดทำบันทึกขอรับพระบัญชากราบทูลสมเด็จพระสังฆราช เพื่อทรงพิจารณาอนุมัติ บัญชีพระสงฆ์ที่จัดทำไว้ ๔. จัดทำบันทึกเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และจัดทำหนังสือกราบเรียน นายกรั ฐ มนตรี เพื่ อ ทราบบั ญ ชี พ ระสงฆ์ กั บ ทั ้ ง จั ด ทำหนั ง สื อ เรี ย นเลขาธิ ก ารคณะรั ฐ มนตรี เพื่อทราบและนำบัญชีพระสงฆ์กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ๕. จัดทำหนังสือเรียนเลขาธิการพระราชวังพร้อมบัญชีพระสงฆ์ จำนวน ๑๒ ชุด ๖. จัดทำบัญชีพระสงฆ์ตามลำดับฐานันดรศักดิ์ของพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ที่ประดิษฐาน บนพระราชบัลลังก์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร และบนพระที่นั่งกง ภายใต้ฉัตรขาวลายทอง ๕ ชั้น สำหรับใช้จัดลำดับพระสงฆ์ในการนั่งสดับปกรณ์ ลำดับฐานันดรศักดิ์พระบรมอัฐิ พระอัฐิ และลำดับที่นั่งพระสงฆ์สดับปกรณ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน มีรายละเอียด ดังนี้
พระแท่นเศวตฉัตรที่ ๑ พระสงฆ์ชุดที่ ๑
ที่ พระบรมอัฐิและพระอัฐิ พระสงฆ์ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย วัดอรุณราชวราราม ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดราชโอรสาราม ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดบวรนิเวศวิหาร ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ที่
พระบรมอัฐิและพระอัฐิ
๘
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
สยามินทราธิราช
๙
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระสงฆ์
วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสุวรรณดาราราม
๑๐ สมเด็จพระอัมรินทราบรมราชินี
วัดรัชฎาธิษฐาน
๑๑ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
วัดเขมาภิรตาราม
๑๒ สมเด็จพระศรีสุลาไลย
วัดเฉลิมพระเกียรติ
๑๓ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
วัดเทพศิรินทราวาส
๑๔ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
วัดราชาธิวาส
๑๕ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
วัดราชาธิวาส
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
๑๖ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๑๗ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม
วัดปทุมวนาราม
พระบรมราชชนก
๑๘ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
พระแท่นเศวตฉัตรที่ ๑ พระสงฆ์ชุดที่ ๒ ที่
พระบรมอัฐิและพระอัฐิ
พระสงฆ์
๑๙ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี
วัดระฆังโฆสิตาราม
๒๐ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
วัดราชบุรณะ
๒๑ สมเด็จพระรูปสิริโสภาคย์มหานาคนารี
วัดอัมพวันเจติยาราม
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดดุสิดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมกุฏกษัตริยาราม
๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๗
สมเด็จพระเจ้าปฐมบรมวงศ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี สมเด็จกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระวิสุทธิกษัตริย์ ศาสนพิธีในพระราชพิธี
10
ที่
พระบรมอัฐิและพระอัฐิ
พระสงฆ์
๒๘ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์
วัดเทพศิรินทราวาส
๒๙ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข
วัดเทพศิรินทราวาส
เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
๓๐ สมเด็จพระยุพราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
๓๑ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระเทพนารีรัตน์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๓๒ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๓๓ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
๓๔ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินทร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
๓๕ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี วัดบวรนิเวศวิหาร
พระแท่นเศวตฉัตรที่ ๑ พระสงฆ์ชุดที่ ๓ ที่
พระบรมอัฐิและพระอัฐิ
พระสงฆ์
๓๖ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี วัดบวรนิเวศวิหาร ๓๗ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
๓๘ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์พินิต
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๓๙ สมเด็จเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๔๐ สมเด็จเจ้าฟ้าอิสริยาลงกรณ์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๔๑ สมเด็จเจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๔๒ สมเด็จเจ้าฟ้าตรีธุตเพชรธำรง
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๔๓ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
๔๔ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมสิริราชกกุธภัณฑ์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๔๕ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมศิราภรณ์โสภณ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
๔๖ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณอินทราชัย
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
๔๗ พระชนกในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
วัดเขมาภิรตาราม
๔๘ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๔๙ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
11 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ที่
พระบรมอัฐิและพระอัฐิ
พระสงฆ์
๕๐ สมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา
วัดราชาธิวาส
๕๑ สมเด็จเจ้าฟ้าโสมนัส
วัดโสมนัสวิหาร
๕๒ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
วัดโสมนัสวิหาร
พระแท่นเศวตฉัตรที่ ๑ พระสงฆ์ชุดที่ ๔ ที่
พระบรมอัฐิและพระอัฐิ
พระสงฆ์
๕๓ เจ้าฟ้ากรรณิกาแก้ว กรมขุนขัติยกัลยา
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
๕๔ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
๕๕ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎาจันทร์
วัดบวรนิเวศวิหาร
๕๖ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสวรรค์โลกลักษณาวดี
วัดเทพศิรินทราวาส
๕๗ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๕๘ สมเด็จเจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๕๙ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๖๐ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทองเขตรขัติยนารี
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๖๑ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาถ กรมขุนอัครราชกัญญา
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๖๒ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๖๓ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๖๔ พระชนนีในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี
วัดเทพศิรินทราวาส
๖๕ พระชนกในสมเด็จพระศรีสุลาไลย
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
๖๖ พระชนนีในสมเด็จพระศรีสุลาไลย
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
๖๗ พระชนกในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
วัดอนงคาราม
๖๘ พระชนนีในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
วัดอนงคาราม
๖๙ หม่อมหลวงบัว กิตติยากร พระชนนีในสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
วัดนรนาถสุนทริการาม
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
12
ลำดับพระสงฆ์สดับปกรณ์ที่หอพระนาก ที่
พระบรมอัฐิและพระอัฐิ
พระสงฆ์
๑
สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท
วัดชนะสงคราม
๒
สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์
วัดบวรมงคล
๓
สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพย์
วัดไพชยนต์พลเสพย์
๔
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดหงส์รัตนาราม
๕
กรมพระราชวังบวรวิเศษไชยชาญ
วัดราชผาติการาม
พระสงฆ์สดับปกรณ์พระอัฐิพระราชวงศ์ ๔๐ พระองค์ มีจำนวนพระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ ดังนี้ ๑) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จำนวน ๘ รูป ๒) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จำนวน ๗ รูป ๓) วัดสุทัศนเทพวราราม จำนวน ๗ รูป ๔) วัดบวรนิเวศวิหาร จำนวน ๖ รูป ๕) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จำนวน ๖ รูป ๖) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม จำนวน ๖ รูป รวม ๔๐ รูป ๗. จัดทำบัตรรายนามพระสงฆ์ นำไปติดที่อาสน์สงฆ์ ตามลำดับสมณศักดิ์เพื่อสะดวก ในการตั้งพัดยศ บาตร และในการนิมนต์พระสงฆ์เข้านั่ง ๘. ประสานการปฏิ บั ต ิ ง านพระราชพิ ธ ี ตามลำดั บ แต่ ล ะขั ้ น ตอน และวิ ธ ี ก ารกั บ
เจ้าพนักงานพระราชพิธี สำนักพระราชวังทุก ๆ หน่วย เพื่อความพร้อมเพรียง เรียบร้อยของงาน เนื่องจากต้องปฏิบัติงานร่วมกันในทุก ๆ ขั้นตอน การปฏิบัติพระราชพิธี วันที่ ๑๕ เมษายน เวลาประมาณ ๐๖.๓๐ นาฬิกา เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา จะไปรอรับพระสงฆ์ จำนวน ๑๕๐ รูป และนำเข้ารับพระราชทานอาหารบิณฑบาต ในพระบรมมหาราชวัง
13 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
อนึ่ง แต่เดิมมามีธรรมเนียมปฏิบัติว่า พระสงฆ์ที่จะมารับพระราชทานอาหารบิณฑบาต ในวั น ที่ ๑๕ เมษายนนั ้ น ให้ น ิ ม นต์ พ ระสงฆ์ จ ากวั ด ต่ า ง ๆ คื อ วั ด มหาธาตุ ยุ ว ราชรั ง สฤษฎิ์ วั ด ราชบุ ร ณะ วั ด บพิ ต รพิ มุ ข วั ด จั ก รวรรดิ ร าชาวาส วั ด ระฆั ง โฆสิ ต าราม วั ด อมริ น ทราราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสระเกศ วัดราชนัดดาราม วัดเทพธิดาราม วัดอรุณราชวราราม วัดโมลีโลกยาราม วัดหงส์รัตนาราม วัดประยุรวงศาวาส วัดกัลยาณมิตร และ พระสงฆ์จากวัดคณะธรรมยุต และเมื่อนิมนต์มาพร้อมแล้ว ยังมีการจัดพระสงฆ์ที่จะนำบิณฑบาต โดยดูตามวันทางสุริยคติว่า วันที่ ๑๕ เมษายน ตรงกับวันใด แล้วจัดพระสงฆ์ ดังนี้ วันอาทิตย์ พระสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ นำบิณฑบาต วันจันทร์ พระสงฆ์วัดราชบุรณะ นำบิณฑบาต วันอังคาร พระสงฆ์วัดระฆังโฆสิตาราม นำบิณฑบาต สมทบด้วยพระสงฆ์วัดอมรินทราราม วันพุธ พระสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นำบิณฑบาต วันพฤหัสบดี พระสงฆ์จากวัดคณะธรรมยุต นำบิณฑบาต วันศุกร์ พระสงฆ์วัดสุทัศนเทพวราราม นำบิณฑบาต สมทบด้วยพระสงฆ์วัดสระเกศ วัดราชนัดดาราม และวัดเทพธิดาราม วันเสาร์ พระสงฆ์วัดอรุณราชวราราม นำบิณฑบาต สมทบด้วยพระสงฆ์วัดโมลีโลกยาราม วัดหงส์รัตนาราม วัดประยุรวงศาวาส และวัดกัลยาณมิตร เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา รอรับพระสงฆ์ ด้านหน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน รับบาตร พัดยศ เข้าตั้งตามลำดับอาสนะที่จัดไว้ รับบาตรมาแล้วต้องจัดให้เรียบร้อย โดยรวบ สายสะพายบาตรให้ม้วนเป็นเกลียวแล้วคล้องที่เชิงบาตร จัดพับถุงบาตรส่วนที่ปิดบาตรให้สวยงาม ตั้งไว้บนโต๊ะอาหารด้านขวามือของพระสงฆ์ นิมนต์พระสงฆ์พัก ณ สถานที่รับรอง เมื่อใกล้เวลา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินถึง จึงนิมนต์พระสงฆ์เข้าประจำอาสนะ ตามลำดับสมณศักดิ์
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
14
เวลา ๑๐.๐๐ น. โดยประมาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินสู่หอพระสุราลัยพิมาน ทรงพระสุหร่าย สรงพระพุทธรูปสำคัญต่าง ๆ ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ ทรงกราบ ประทับพระราชอาสน์ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว และสมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชิ น ี น าถ สรงพระบรมธาตุ จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดธูปเทียนบูชา พระสยามเทวาธิราช ทรงกราบ เสด็จพระราชดำเนินไปยังหอพระธาตุมณเฑียร ทรงจุดธูปเทียน เครื่องราชสักการะ ทรงกราบถวายบังคมพระบรมอัฐิ สรงพระบรมอัฐิ และพระอัฐิทุกพระโกศแล้ว ทรงกราบที่พระแท่นหน้าเครื่องราชสักการะ เสด็จฯ ออกจากหอพระธาตุมณเฑียร เสด็จฯ ออก พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ทางพระทวารเทวราชมเหศวร ทรงจุดธูปเทียนบูชา พระพุทธรูปที่หน้าพระที่นั่งบุษบกมาลา ทรงกราบ ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้า ประทับพระราชอาสน์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา เข้าไปถวายคำนับแล้วอาราธนาศีล ประธานสงฆ์ถวายศีล เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธีอาราธนาพระปริตร พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์จบแล้ว พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงจุ ด ธู ป เที ย นที่ พ นมข้ า วบิ ณ ฑ์ หน้ า พระที่ นั่ ง บุ ษ บกมาลา แล้วเสด็จฯ ไปทรงประเคนภัตตาหารแด่สมเด็จพระสังฆราช หรือแด่สมเด็จพระราชาคณะผู้ที่เป็น ประธานสงฆ์ และประทับพระเก้าอี้ เมื่อพระสงฆ์รับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปประทับพระราชอาสน์ที่เดิม เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา รับบาตรจากพระสงฆ์นำไปมอบ แก่ ศ ิ ษ ย์ ท ี่ ต ามมา (มี ธ รรมเนี ย มปฏิ บั ต ิ อ ย่ า งหนึ่ ง ว่ า สำหรั บ บาตรของสมเด็ จ พระราชาคณะ เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนมพลเรือน ปฏิบัติทั้งตอนรับเข้าและตอนถอนออก ส่วนบาตร ของพระสงฆ์นอกนั้น เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา) จากนั้น
เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะเก็บอาหาร และโต๊ะอาหารออกจากด้านหน้าอาสน์สงฆ์ เจ้าพนักงานพระราชพิธี เชิญพระโกศพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ออกประดิษฐานบนพระแท่น นพปฎลมหาเศวตฉัตร และประดิษฐานบนพระที่นั่งกง ฉัตรขาวลายทอง ๕ ชั้น เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา นิมนต์พระสงฆ์ลงจากอาสนะ ไปนั่งยัง อาสน์สงฆ์ที่ใช้เป็นที่สดับปกรณ์ โดยจัดเป็นชุด ๆ และจัดลำดับพระสงฆ์นั่งตามลำดับฐานันดร พระบรมอัฐิและพระอัฐิ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อพระสงฆ์นั่งอาสน์สงฆ์เรียบร้อยแล้ว เจ้าพนักงาน ภูษามาลา ลาดรองพระภูษาโยง และลาดพระภูษาโยง เจ้าพนักงานฝ่ายศุภรัต ทูลถวายผ้าคู่
และน้ำอบแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงทอด พระสงฆ์สดับปกรณ์ผ้าคู่แล้วลงกลับไปนั่ง ณ อาสน์สงฆ์เดิม
15 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา นิมนต์พระสงฆ์ขึ้นสู่อาสน์สงฆ์ ในพระราชพิธีนี้ นิยมแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น ๔ ชุด ชุดที่ ๑ พระสงฆ์ ๑๘ รูป ชุดต่อ ๆ ไป พระสงฆ์ ชุดละ ๑๗ รูป โดยขึ้นด้านหน้าและลงด้านหน้าทั้ง ๔ ชุด แต่บางปีแบ่งเป็น ๓ ชุด คือ ๑๙, ๒๕, ๒๕ ก็มีการจัดพระสงฆ์ขึ้นอาสน์สงฆ์นั้น ถ้าจัด ๓ ชุด ชุดที่ ๑ ขึ้นด้านหน้า ลงด้านหน้าอาสน์สงฆ์ ชุ ด ที่ ๒ ขึ ้ น ด้ า นหน้ า ลงด้ า นหลั ง อาสน์ ส งฆ์ ชุ ด ที่ ๓ ขึ ้ น ด้ า นหลั ง ลงด้ า นหน้ า อาสน์ ส งฆ์ เหตุ ท ี่ ม ี ก ารจั ด พระสงฆ์ ข ึ ้ น ลงอย่ า งนี ้ เนื่ อ งจากบางปี ม ี ก ารทอดผ้ า คู่ ทั ้ ง หมดเพี ย งครั ้ ง เดี ย ว เสร็จแล้วกลับไปนั่ง ณ อาสน์สงฆ์เดิม พระสงฆ์ทั้งนั้นถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ถ้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้อื่นแทน ไม่ต้องถวายพระพรลา เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธีรับพระสงฆ์
ลงจากอาสนะออกจากพระที่ นั่ ง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เสด็ จ พระราชดำเนิ น กลั บ เป็นเสร็จการพระราชพิธีในช่วงเช้า ในช่วงบ่าย พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินทางประตูวิเศษไชยศรีไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่มุขหน้าพระอุโบสถ ผู้อำนวยการกองพระราชพิธี กราบบังคมทูลทรงพระราชอุทิศเครื่องราชสักการะ ให้กระทรวงมหาดไทยเชิญไปสำหรับถวายเป็น พุทธบูชาปูชนียสถานสำคัญต่าง ๆ แล้วเสด็จไปที่หน้าธรรมาสน์ศิลา ทรงพระสุหร่ายฉีด และ ทรงจุดธูปเทียนท้ายที่นั่งบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย ทรงคม ทรงจุดธูปเทียนที่เครื่องนมัสการทองใหญ่ที่หน้า ธรรมาสน์ศิลา ทรงกราบ เสด็จฯ ออกจากพระอุโบสถไปยังหอพระคันธารราษฎร์ ทรงพระสุหร่าย สรงพระพุทธคันธารราษฎร์ แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ ทรงกราบ จากนั้นเสด็จฯ ไปยัง
หอพระราชกรมานุสร ทรงพระสุหร่ายสรงพระพุทธรูปปางประจำรัชกาลพระมหากษัตริย์ กรุงสุโขทัย ๑ พระองค์ กรุงศรีอยุธยา ๓๓ พระองค์ และกรุงธนบุรี ๑ พระองค์ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ ทรงกราบ เสด็ จ ฯ ออกจากหอพระราชกรมานุ ส ร ไปหอพระราชพงศานุ ส ร ทรงพระสุ ห ร่า ย สรงพระพุทธรูปปางประจำรัชกาลพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ ๘ พระองค์ ทรงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการ ทรงกราบ เสด็จฯ จากหอพระราชพงศานุสรไปยังพระศรีรัตนเจดีย์ ทรงพระสุหร่าย สรงองค์พระพุทธเจดีย์ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ ทรงกราบ เสด็จฯ ออกจากพระศรีรัตนเจดีย์ ขึ้นสู่พระมณฑป ทรงพระสุหร่ายสรงพระไตรปิฎก ทรงจุดธูปเทียน เครื่ อ งนมั ส การ ทรงกราบ เสด็ จ ฯ ออกจากพระมณฑปไปยั ง จระนำปราสาทพระเทพบิ ด ร ทรงพระสุหร่ายสรงพระพุทธรูปเทพบิดรและพระพุทธรูปบริวารแล้ว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ ทรงกราบ ต่อจากนั้นเสด็จฯ ไปยังต้นนิโครธ ทรงพระสุหร่ายฉีดสรงต้นนิโครธ ทรงจุดธูปเทียน
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
16
เครื่องนมัสการ ทรงคม เสด็จฯ จากต้นนิโครธไปยังพระวิหารยอด ทรงพระสุหร่ายสรงพระพุทธรูป ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ ทรงกราบ เสด็จฯ ออกจากพระวิหารยอด ไปสู่หอพระมณเฑียรธรรม ทรงพระสุหร่ายสรงพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ และ พระพุทธบาทจำลอง ทรงจุดธูปเทียนท้ายที่นั่ง และทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ทรงกราบ เสด็จฯ ออกจากหอพระมณเฑียรธรรมไปยังหอพระนาก ทรงพระสุหร่ายสรงพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ทรงกราบ ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ แล้วประทับ พระราชอาสน์ พระสงฆ์ จำนวน ๕ รูป คือ พระสงฆ์จากวัดชนะสงคราม วัดบวรมงคล วัดไพชยนต์- พลเสพย์ วัดหงส์รัตนาราม และวัดราชผาติการาม ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ นิมนต์ ขึ้นนั่งบนอาสน์สงฆ์พร้อมอยู่ก่อนที่พระมหากษัตริย์จะเสด็จฯ ถึง เมื่อประทับพระราชอาสน์แล้ว เจ้ า พนั ก งานลาดรองพระภู ษ าโยงและพระภู ษ าโยง พระมหากษั ต ริ ย์เ สด็ จ ฯ ไปทรงทอดผ้ า คู ่ พระสงฆ์สดับปกรณ์พระอัฐิพระบวรราชเจ้า ๔ พระองค์ และพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว อีก ๑ พระองค์ เสร็จแล้วพระสงฆ์ลงจากอาสน์สงฆ์แถวหน้า ไปนั่ง ณ อาสน์สงฆ์ แถวหลัง (อาสน์สงฆ์มี ๒ แถว) เจ้าพนักงานจะเปลี่ยนพระภูษาโยงจากสายต้น เป็นสายตาดเงิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ นิมนต์พระสงฆ์อีก ๑๐ รูป ขึ้นนั่ง ณ อาสน์สงฆ์แถวหน้า โดยขึ้นด้านหน้าอาสน์สงฆ์ พระมหากษัตริย์ เสด็จฯ ไปทรงทอดผ้าคู่เที่ยวเดียว จำนวน ๔๐ คู่ (เรียกกันในหมู่ผู้ปฏิบัติว่า ทอดแช่) พระสงฆ์ ๑๐ รูป สดับปกรณ์แล้วลงด้านหลังอาสน์สงฆ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ จะนิมนต์พระสงฆ์ชุดนี้ไว้ ๕ รูป จัดให้นั่ง ณ อาสน์สงฆ์แถวหลัง ต่อจากพระสงฆ์ ๕ รูปแรก ที่เหลือ ๕ รูป นิมนต์ออกไปนั่งนอกหอพระนาก เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ นิมนต์พระสงฆ์อีก ๑๐ รูป ขึ้นนั่ง ณ อาสน์สงฆ์ โดยขึ้นด้านหลัง เมื่อสดับปกรณ์แล้ว ลงด้านหลัง ออกไปนั่งนอกหอพระนาก และนิมนต์พระสงฆ์ อีก ๑๐ รูป ขึ้นนั่ง ณ อาสน์สงฆ์ โดยขึ้นด้านหลังอาสน์สงฆ์ เมื่อสดับปกรณ์แล้ว ถวายอนุโมทนา พระมหากษัตริย์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอดิเรก แล้วลงด้านหน้าอาสน์สงฆ์ ออกจาก หอพระนาก พระมหากษั ต ริ ย์ เสด็ จ ฯ ไปทรงกราบที่ ห น้ า เครื่ อ งทองน้ อ ย ทรงรั บ การถวาย ความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ แต่เดิมมา ประเพณีสงกรานต์นั้น ในส่วนของประชาชนทั่ว ๆ ไป จะมีการบำเพ็ญกุศล เป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งบำเพ็ญกุศลอุทิศแด่บุพการี มีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหาร บังสุกุลอัฐิญาติผู้ล่วงลับ สรงน้ำอัฐิเพื่อเป็นการระลึกถึงผู้ที่มีอุปการคุณแก่ตน
17 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
อี ก ส่ ว นหนึ่ ง บำเพ็ ญ กุ ศ ล เพื่ อ ความเป็ น สิ ร ิ ม งคล ซึ่ ง ถื อ ว่ า เถลิ ง ศกใหม่ อาทิ สรงน้ ำ พระ รดน้ำดำหัวขอพรญาติผู้ใหญ่ ก่อเจดีย์ทราย กับทั้งยังมีการละเล่นรื่นเริงต่าง ๆ เช่น เล่นรดน้ำ ลูกช่วง พวงมาลัย มอญซ่อนผ้า เป็นต้น การบำเพ็ญกุศลมีประการต่าง ๆ ดังกล่าวมา ล้วนแต่ อาศัยการพระราชพิธีเป็นแบบอย่าง เป็นแนวทางในการปฏิบัติ จะมีส่วนที่แตกต่างออกไปบ้าง ก็เป็นเพียงแนวคิด สภาพแวดล้อม และความเชื่อของชุมชนนั้น ๆ เท่านั้น
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
18
19 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระราชพิธีฉัตรมงคล
พระราชพิธีฉัตรมงคล คือ การพระราชพิธีมงคลสำคัญพระราชพิธีหนึ่ง ซึ่งจัดขึ้นเนื่องใน วันคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้น เถลิงถวัลยราชสมบัติ และสมโภชพระมหาเศวตฉัตร เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ แต่เดิมมายังไม่มีการพระราชพิธีนี้ มีเพียงพนักงานที่รักษาเครื่องราชูปโภค และรักษาตำแหน่งหน้าที่ เช่น พระทวารและประตูวัง เป็นต้น เมื่อถึงปีใหม่คราวหนึ่ง จะต้องทำการสมโภชเครื่องราชูปโภค และตำแหน่งซึ่งตนรักษาครั้งหนึ่ง มีการสวดมนต์เลี้ยงพระบ้าง มีเครื่องสังเวย เครื่องประโคมบ้าง มีร้อยดอกไม้ประดับบ้าง จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีนี้ขึ้น ดังที่ปรากฏในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ว่า ธรรมเนียมแต่ก่อนมีมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อเปลี่ยนปีใหม่ ถึงเดือน ๖ พนักงานข้างหน้าข้างใน บรรดาซึ่ ง รั ก ษาเครื่ อ งราชู ป โภคและรั ก ษาตำแหน่ ง หน้ า ที่ มี พ ระทวารและประตู วั ง เป็ น ต้ น ต้องทำการสมโภชเครื่องราชูปโภคและตำแหน่งซึ่งตนรักษาคราวหนึ่ง ข้างฝ่ายหน้า แต่ก่อนมา ถึงมีสวดมนต์เลี้ยงพระด้วยก็มีแต่ข้างฝ่ายในนั้นมีแต่เครื่องสังเวย เครื่องประโคม แล้วร้อยดอกไม้ เป็นตาข่ายอุบะมาลัยแขวนตามกำลังมากน้อยเป็นของส่วนเจ้าพนักงานทำเอง หาได้เกี่ยวข้อง เป็นการหลวงไม่ ครั้นมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย- ราชสมบัติบรมราชาภิเษก ในวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีกุน ตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ จึงทรงพระราชดำริว่า วันบรมราชาภิเษกนั้น เป็นมหามงคลสมัย ซึ่งประเทศทั้งปวงที่มีพระเจ้าแผ่นดิน
ปกครอง ย่อมนับถือวันนั้นว่าเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล แต่ในกรุงสยามนี้เฉย ๆ อยู่ มิได้ มีการนักขัตฤกษ์อันใด ทั้งนี้ การบรมราชาภิเษกของพระองค์ เฉพาะตรงกับสมัยที่เจ้าพนักงาน เคยสมโภชเครื่องสิริราชูปโภคแต่เดิมมา ควรที่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตร ให้เป็นสวัสดิมงคล แก่ราชสมบัติ จึงได้ทรงพระราชดำริจัดการพระราชกุศล ซึ่งพระราชทานชื่อว่า ฉัตรมงคล นี้ขึ้น
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
20
การพระราชพิธีฉัตรมงคล ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในสมัยเริ่มแรกนั้น ยังมิได้มีการ พระราชกุศลทักษิณานุประทาน คงมีแต่การพระราชพิธีฉัตรมงคลอย่างเดียว ล่วงมาถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงมีพระราชดำริที่จะ สนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลทักษิณานุประทานเพิ่มเข้ากับการพระราชพิธีฉัตรมงคล ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ เป็นต้นมา ในปั จ จุ บั น นี ้ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงมี พ ระบรมราชโองการให้ ส ำนั ก พระราชวังจัดการพระราชพิธีฉัตรมงคล ๓ วัน คือ วันที่ ๓-๔-๕ พฤษภาคม ของทุกปี ในวันที่ ๓ พฤษภาคม มีการพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ส่วนในวันที่ ๔-๕ พฤษภาคม มีการพระราชพิธ ี
ฉัตรมงคล โดยสำนักพระราชวังจะออกหมายกำหนดการพระราชพิธี ดังนี้
21 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ที่ ๘/๒๕๕๐ หมายกำหนดการ พระราชกุศลทักษิณานุประทาน และ พระราชพิธีฉัตรมงคล พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
วัน
เวลา
รายการ
ที่
ทักษิณานุประทาน พฤหัสบดีที่ ๓ ๑๗.๐๐ น. สวดมนต์ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เทศน์กัณฑ์ ๑ สดับปกรณ์ ฉัตรมงคล ศุกร์ที่ ๔ ๑๗.๐๐ น. ประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เจริญพระพุทธมนต์ เสาร์ที่ ๕ ๘.๑๗ น. ถวายบังคมสมเด็จ ปราสาทพระเทพบิดร พระบูรพมหากษัตริยาธิราช ๑๐.๓๐ น. เลี้ยงพระ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สมโภชราชกกุธภัณฑ์ ๑๗.๐๐ น. พระราชทานตราจุลจอมเกล้า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แล้วเสด็จฯ ไปถวายสักการะ ปราสาทพระเทพบิดร พระพุทธรูปเทพบิดร และถวายบังคมสมเด็จ พระบูรพมหากษัตริยาธิราช
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
22
แต่งกาย ครึ่งยศ
ครึ่งยศ สุภาพ ปกติขาว เหรียญ เต็มยศ สายสร้อย จุลจอมเกล้า
พระราชกุศลทักษิณานุประทาน วันที่ ๓ พฤษภาคม เจ้าพนักงานสำนักพระราชวัง เตรียมการพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชบูรพการี ขึ ้ น ประดิ ษ ฐานเหนื อ พระราชบั ล ลั ง ก์ ภายใต้ น พปฎลมหาเศวตฉั ต ร และเชิ ญ พระพุ ท ธรู ป
ประจำพระชนมวารคู่พระบรมอัฐิ ประดิษฐานในพระที่นั่งบุษบกมาลา ประกอบด้วยเครื่องบรมอิสริยราชูปโภคพร้อมสรรพ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา มีการเตรียมการเกี่ยวกับพระราชพิธีนี้
คือ ในการพระราชกุศลทักษิณานุประทาน พิจารณานิมนต์พระสงฆ์ในพระอารามที่เกี่ยวข้องกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น วัดประจำรัชกาล เป็นต้น จัดทำฎีกานิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ จำนวน ๒๕ รูป จัดทำฎีกานิมนต์พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา ๑ รูป รวม ๒๖ รูป ส่วนในการพระราชพิธีฉัตรมงคล จัดทำฎีกานิมนต์พระสงฆ์ตามลำดับสมณศักดิ์ เจริญพระพุทธมนต์ จำนวน ๒๐ รูป และต้องจัดทำบัญชีรายนามพระสงฆ์ดังกล่าว กราบทูลสมเด็จพระสังฆราช เพื่อทรงพิจารณาอนุมัติ นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบ นำเสนอเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ก่อนวันเริ่มการพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา ต้ อ งไปวงสายสิ ญ จน์ ร อบพระที่ นั่ ง ดุ ส ิ ต มหาปราสาท โดยเริ่ ม ต้ น จากพระแท่ น มณฑลมุ ก ซึ่งประดิษฐานอยู่บริเวณมุขด้านทิศเหนือ บนพระแท่นมณฑลมุกนี้ ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๗ และพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ ๙ เว้นพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ ๘ ซึ่งยังมิได้ทรงจัดสร้างก็ด่วนสวรรคตไปก่อน วงออกไปทางพระทวารด้ า นตะวั น ออก วงรอบเป็ น ทั ก ษิ ณ าวรรต มาบรรจบ ณ พระทวาร ด้านตะวันออก มีจุดเชื่อมต่อเข้าทางพระทวารด้านทิศตะวันตก แนบผนังตรงมายังพระแท่น
นพปฎลมหาเศวตฉัตร คล้องที่พระบาทเทพยดา ซึ่งประดิษฐานที่คันนพปฎลมหาเศวตฉัตร แล้วโรย สายสิญจน์ลงมาที่พระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร วงเวียนขวา บริเวณหัวเม็ดของพระที่นั่ง ๓ รอบ มีจุดเชื่อมต่อที่ช่องพระแกล มุมพระที่นั่งด้านทิศเหนือ เดินแนบผนังและโรยลงตรงเสามุมพระที่นั่ง ต่อแยกออกเป็น ๒ สาย เหลือกลุ่มสายสิญจน์ไว้สำหรับพระสงฆ์ถือเวลาเจริญพระพุทธมนต์ ๒ กลุ่ม ใส่พานวางไว้ที่ข้างประธานสงฆ์ด้านทิศตะวันออก ๑ พาน และวางไว้ที่ข้างประธานสงฆ์ ด้านทิศเหนือ ๑ พาน อาสนะสำหรับพระสงฆ์จัดไว้สองด้าน คือ ทางมุขด้านทิศตะวันออก สำหรับ พระมหาเถระ ๑๐ รูป ทางมุขด้านทิศเหนือ สำหรับพระเถระรอง ๆ ลงมา ๑๐ รูป
23 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
วันที่ ๓ พฤษภาคม เจ้าหน้าที่ไปรอรับปฏิบัติพระสงฆ์ ณ บริเวณพระที่นั่งอมรินทร- วิ น ิ จ ฉั ย มไหสู ร ยพิ ม าน นำพั ด ยศไปตั ้ ง ตามลำดั บ สมณศั ก ดิ์ นิ ม นต์ พ ระสงฆ์ ใ ห้ พั ก บริ เ วณ หน้าพระที่นั่งส่วนใน ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายวรอาสน์จัดถวายไว้ตามจำนวนพระสงฆ์ที่จะสวดพระพุทธมนต์ เมื่อใกล้เวลาที่พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนิน จึงนิมนต์พระสงฆ์เข้าประจำ อาสนะในพระที่นั่ง ส่วนพระสงฆ์ที่จะถวายพระธรรมเทศนา จัดให้พักข้างนอกพระที่นั่ง พร้อมทั้ง พัดยศ พัดรอง คัมภีร์เทศน์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง ทรงจุดธูปเทียนบูชาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประทับ ณ พระราชอาสน์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์ สวดพระพุทธมนต์จบแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ เชิญคัมภีร์เทศน์ไปวางที่ธรรมาสน์ ด้านขวาของพระเทศน์ เชิญพัดยศพัดรอง และนำพระสงฆ์เข้าไปเพื่อรอขึ้นธรรมาสน์ วางพัดยศ ที่อาสน์สงฆ์แล้วนิมนต์พระสงฆ์นั่งที่อาสน์สงฆ์ครู่หนึ่ง วางพัดรองบนธรรมาสน์ด้านซ้ายของ พระเทศน์ นำพระสงฆ์ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์ก่อนที่เจ้าพนักงานจะนำเทียนดูหนังสือเทศน์มาปักที่ จงกลทั้งสองด้านของธรรมาสน์ เรียบร้อยแล้ว พระมหากษัตริย์ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม แล้วเสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนที่เครื่องทองน้อย ที่หน้าพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร เจ้าหน้าที ่
ฝ่ายพิธีผู้เชิญคัมภีร์เทศน์ อาราธนาศีล พระสงฆ์ที่ถวายพระธรรมเทศนาถวายศีล เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธ ี
อาราธนาธรรม พระสงฆ์ถวายพระธรรมเทศนาไปจนจบ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธีรับคัมภีร์เทศน์รับพัดรอง และรับพระสงฆ์ลงจากธรรมาสน์มานั่งที่อาสน์สงฆ์ เจ้าพนักงานถวายน้ำฉัน เรียบร้อยแล้ว พระมหากษั ต ริ ย์ เ สด็ จ ฯ มาถวายเครื่ อ งไทยธรรมกั ณ ฑ์ เ ทศน์ เจ้ า หน้ า ที่ ฝ่ า ยพิ ธ ี
จำนวนหนึ่งถวายคำนับเข้าไปรอรับเครื่องไทยธรรมกัณฑ์เทศน์จากพระสงฆ์ ซึ่งรับประเคนจาก พระมหากษัตริย์ รับพัดยศและรับพระสงฆ์ลงจากอาสน์สงฆ์ มารอเข้าลำดับเพื่อขึ้นสดับปกรณ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธีจำนวนหนึ่งนิมนต์พระสงฆ์ที่สวดพระพุทธมนต์ทั้ง ๒๕ รูป และพระสงฆ์ที่ถวาย พระธรรมเทศนาอีก ๑ รูป มาขึ้นอาสน์สงฆ์สำหรับสดับปกรณ์ โดยขึ้นเที่ยวเดียว นั่งสองแถว จัดเป็นแถวหน้า ๑๗-๑๘ รูป แถวหลัง ๙ รูป หรือ ๘ รูป แล้วแต่กรณี เจ้าพนักงานลาดรอง พระภู ษ าโยงและพระภู ษ าโยง พระมหากษั ต ริ ย์ท รงทอดผ้ า ไตรที่ เ จ้ า พนั ก งานศุ ภ รั ต ทู ล ถวาย พระสงฆ์สดับปกรณ์ พระบรมอัฐิ พระมหากษัตริย์ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ รับพระสงฆ์ออกจากพระที่นั่ง พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินกลับ วันนี้ แต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
24
พระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๔ พฤษภาคม เวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ นิมนต์ พระสงฆ์ ๒๐ รูป ขึ้นประจำอาสนะบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนิน ไปยั ง พระที่ นั่ ง ดุ ส ิ ต มหาปราสาท ทรงจุ ด ธู ป เที ย นที่ เ ครื่ อ งนมั ส การพานทองสองชั ้ น บู ช า พระพุ ท ธปฏิ ม าชั ย วั ฒ น์ ประจำรั ช กาลที่ ๑-๗ และรั ช กาลที่ ๙ ยกเว้ น พระปฏิ ม าชั ย วั ฒ น์ ประจำรัชกาลที่ ๘ ซึ่งยังมิได้ทรงจัดสร้าง เสร็จแล้วประทับพระราชอาสน์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ อาราธนาศีล พระสงฆ์ถวายศีลจบแล้ว ต่อจากนั้น พระมหากษัตริย์จะเสด็จฯ ไปทรง จุดเครื่องทองน้อยที่หน้าพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งประดิษฐานเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ ทรงคม ประทับพระราชอาสน์ หัวหน้าคณะพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล จบแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบ ตั้งพัดยศ ถวายอดิเรก และภวตุ สพฺพมงฺคลํ .....ฯ พระสงฆ์รูปที่ ๒ ถวายพระพรลา เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ รับพระสงฆ์ลงจากพระที่นั่ง พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินกลับ วันนี้ แต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ วันที่ ๕ พฤษภาคม เวลาประมาณ ๑๐.๓๐ น. พระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินไปยัง
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่พระแท่นมณฑลมุก ซึ่งประดิษฐาน พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ ประทับพระราชอาสน์ ประธานสงฆ์ถวายศีล และพระสงฆ์สวดถวายพรพระ จบแล้ว พระมหากษัตริย์เสด็จฯ ไปทรงประเคนภัตตาหารแด่ประธานสงฆ์ แล้วประทับ ณ ที่นั้น ส่วนภัตตาหารนอกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ทรงประเคน เมื่อพระสงฆ์
รับพระราชทานฉันเรียบร้อย พระมหากษัตริย์ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิ เรก ถวายพระพรลา เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถั มภ์ รั บ พระสงฆ์อ อกจากพระที่ นั่ ง เจ้ า พนั ก งานปู ผ ้ า แดงเตรี ย มการเวี ย นเที ย น พระมหากษั ต ริ ย ์ จะเสด็ จ ฯ ไปทรงจุ ด เครื่ อ งทองน้ อ ยที่ ห น้ า พระแท่ น นพปฎลมหาเศวตฉั ต ร บู ช าเทพยดา รักษานพปฎลมหาเศวตฉัตรสิริราชกกุธภัณฑ์ ทรงคม ประทับพระราชอาสน์ พราหมณ์เบิกแว่น เวียนเทียนสมโภชนพปฎลมหาเศวตฉัตรสิริราชกกุธภัณฑ์ โหรผูกผ้าสีชมพู พราหมณ์เจิมนพปฎล มหาเศวตฉัตร พระมหากษัตริย์เสด็จฯ ไปทรงพระสุหร่ายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ที่พระแท่น นพปฎลมหาเศวตฉั ต ร เสด็ จ ฯ ไปทรงกราบพระพุ ท ธปฏิ ม าชั ย วั ฒ น์ ท ี่ พ ระแท่ น มณฑลมุ ก เสด็จพระราชดำเนินกลับ เวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ จะได้ยิงปืนใหญ่ เฉลิ ม พระเกี ย รติ ฝ่ า ยละ ๒๑ นั ด เช้ า วั น นี ้ แต่ ง กายเครื่ อ งแบบปกติ ข าว ประดั บ เหรี ย ญ เว้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์
25 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
เวลา ๑๗.๐๐ น. พระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท โดยรองเลขาธิการพระราชวัง ปฏิบัติหน้าที่สมุหพระราชมณเฑียร และสมุหพระราชพิธี นำเสด็จฯ ไปประทับพระราชอาสน์ที่หน้าพระราชบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตร ขณะประทับ ตำรวจหลวง ชูพุ่มดอกไม้ทอง ข้าราชการถวายความเคารพ พนักงานกระทั่งแตร มโหระทึก ทหารกองเกียรติยศ ถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อสุดเสียงประโคม พระมหากษัตริย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เสร็จแล้ว ประทับยืน รับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ เสด็จฯ ออกจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตำรวจหลวง ชูพุ่มดอกไม้ทอง ข้าราชการถวายความเคารพ พนักงานกระทั่งแตร มโหระทึก ทหารกองเกียรติยศ ถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริ ญ พระบารมี จากนั ้ น พระมหากษั ต ริ ย ์ เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธ- มหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่หน้าธรรมาสน์ศิลา ทรงกราบ เสด็จฯ ออกจากพระอุโบสถไปยัง จระนำปราสาทพระเทพบิดร ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการพระพุทธรูปเทพบิดร ทรงกราบ เสด็ จ ฯ ออกจากจระนำปราสาทพระเทพบิ ด รไปขึ ้ น ปราสาทพระเทพบิ ด ร ทรงจุ ด ธู ป เที ย น เครื่ อ งทองน้ อ ย และทรงจุ ด ธู ป เที ย นเครื่ อ งราชสั ก การะ ทรงกราบถวายบั ง คมพระบรมรู ป
สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับ บ่ายวันนี้ แต่งกายเครื่องแบบ เต็มยศ สายสร้อยจุลจอมเกล้า อนึ่ง วันที่ ๕ พฤษภาคม เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย- ราชสมบั ต ิ โดยประกอบการพระราชพิ ธ ี บ รมราชาภิ เ ษกตามโบราณขั ต ติ ย ราชประเพณี จึ ง ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ เ ปิ ด ปราสาทพระเทพบิ ด ร ณ วั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชน ได้ถวายบังคม สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา การนี้ แต่งกายสุภาพ
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
26
27 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณกาล แบ่งการปฏิบัติออกเป็นสองพิธี คือ พระราชพิธีพืชมงคลกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ แต่เดิมนั้นมีแต่พิธีพราหมณ์อย่างเดียว ไม่มีพิธีสงฆ์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงเพิ่มพิธีสงฆ์ในการพระราชพิธีนี้ด้วย โดยแยกออกเป็นพระราชพิธีต่างหาก เรียกว่า พระราชพิธีพืชมงคล และได้จัดพิธีไว้คนละวัน การพระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ นิมนต์ พระสงฆ์ ๑๑ รูป เจริญพระพุทธมนต์ ทำขวัญพืช วันรุ่งขึ้นจึงมีการพระราชพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จัดขึ้นเพื่อเป็น
สิริมงคลแก่พันธุ์พืช เพื่อจะได้นำไปปลูกให้เจริญงอกงาม บริบูรณ์พูนผล และเป็นสวัสดิมงคล บำรุงขวัญกำลังใจแก่ประชาชนผู้ประกอบการกสิกรรม พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า “การพระราชพิธีกล่าวเป็นสองชื่อ แต่เกี่ยวเนื่องเป็นพิธีเดียวนี้ คือ ปันวันสวดมนต์ เป็นพระราชพิธีพืชมงคล ทำขวัญพืชต่าง ๆ มีข้าวเปลือก เป็นต้น จรดพระนังคัล เป็นพิธีเวลาเช้า คือ ลงมือไถ ถ้าจะแบ่งเป็นคนละพิธีก็ได้ ด้วยพิธีพืชมงคลไม่ได้ทำแต่ในเวลาค่ำวันสวดมนต์ รุ่งขึ้นเช้าก็ยังมีการเลี้ยงพระต่อไปอีก การจรดพระนังคัลนั้นเล่า ก็ไม่ได้ทำแต่วันซึ่งลงมือแรกนา เริ่มพระราชพิธีเสียแต่เวลาค่ำวันสวดมนต์พิธีพืชมงคลนั้นแล้ว พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ ทำที่ท้องสนามหลวงในพระนคร พระราชพิธีจรดพระนังคัลเป็นพิธีพราหมณ์ ทำที่ทุ่งส้มป่อย นอกพระนคร พิธีทั้งสองนั้นก็นับว่า ทำพร้อมกันในคืนเดียววันเดียวกัน จึงได้เรียกชื่อติดกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล การแรกนา ที่ต้องถือเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นธรรมเนียมมีมาแต่โบราณ เช่น ในเมืองจีน สี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงลงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสี เลี้ยงตัวไหม ส่วนเรื่องราวในประเทศสยามนี้ ที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอเป็นนิตย์ ไม่มีเว้นว่าง ด้วยการซึ่งผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตล่วงหน้า เป็นต้นเหตุ ของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่าง ๆ ไม่เป็นแต่
ลงมือไถนาเป็นตัวอย่างเหมือนอย่างชาวนาทั้งปวง ลงมือไถนาของตัวตามปรกติก็ด้วยความ
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
28
หวาดหวั่นต่ออันตราย คือ น้ำฝน น้ำท่วมมากไป น้อยไป ด้วง เพลี้ย และสัตว์ต่าง ๆ จะบังเกิดเป็น เหตุอันตราย ไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ เป็นกำลัง จึงได้ต้องแส่หาทางแก้ไขและอุดหนุน และที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้า จะได้เป็นที่ มั่นอกมั่นใจ ก็การที่จะแก้ไขเยียวยาน้ำฝนน้ำท่า ซึ่งเป็นของเป็นไปโดยฤดูปรกติเป็นเอง โดยอุบาย ลงแรงลงทุนอย่างไรไม่ได้ จึงต้องอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษ นับว่าเป็นการสวัสดิมงคล ซึ่งมีมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรง และเป็นที่มั่นใจตามปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สิ้นสุด” ในสมัยสุโขทัย เดือน ๖ แรกนาขวัญ พราหมณ์อัญเชิญเทวรูปเข้าไปในโรงพิธี ครั้นถึง
วันฤกษ์แรกนา พระร่วงเสด็จออกไปประทับ ณ พระตำหนักห้าง พร้อมด้วยพระอัครชายา และ พระบรมวงศานุวงศ์พร้อมด้วยสนมกำนัลใน ซึ่งเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย ออกญาพหลเทพธิบดี
แต่งตัวอย่างลูกหลวง ตั้งขบวนแห่มาที่มณฑล ชาวพระโคนำพระโคอุสุภราชออกเทียมไถทอง พระครูพรหมพรตพิธีมอบยามไถและประตักทองให้ ครั้นแล้วออกญาพหลเทพธิบดี เดินไถเป็น อันดับที่หนึ่ง พระศรีมโหสถแต่งเครื่องขาวอย่างพราหมณ์ ถือไถเงินเทียมด้วยโคเศวตพระพร เดินไถรัตเป็นลำดับที่สอง พระวัฒนเศรษฐีแต่งกายอย่างคฤหบดี ถือไถหุ้มด้วยผ้ากำพลแดง เทียมโคกรวิน ถือไม้ประตัก เดินไถต่อไปเป็นลำดับที่สาม การไถ ไถเวียนซ้ายไปขวา พราหมณ์ โปรยข้าวตอกดอกไม้ เป่าสังข์ ตีไม้บัณเฑาะว์ นำหน้าไถ ขุนศรีบริบูรณ์ธัญญากับพนักงานหลวง แต่งตัวนุ่งเพลาะ คาดราดประคต สวมหมวกสาน ถือกระเช้าข้าวปลูก เดินหว่านตามรอยไถ ทั้งสามรอบ เสร็จแล้วปลดพระโคออกกินของเสี่ยงทาย ของห้าสิ่ง คือ ข้าว ถั่ว งา หญ้า น้ำ แล้วพราหมณ์ก็ทำนายตามตำหรับไตรเพท สมั ย กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ การแรกนามี ม าแต่ ป ฐมรั ช กาลไม่ ไ ด้ เ ว้ น ว่ า ง ส่ ว นตำแหน่ ง
เป็นผู้แรกนา คือ เจ้าพระยาพลเทพคู่กันกับยืนชิงช้า ดังนั้น เจ้าพระยาพลเทพ แรกนายืนชิงช้าผู้เดียว ไม่ ไ ด้ ผ ลั ด เปลี่ ย น เมื่ อ พระยาพลเทพป่ ว ย ก็ โ ปรดให้ เ จ้ า พระยาประชาชี พ แทนบ้ า ง และเมื่ อ เจ้าพระยานิกรบดินทร์ยืนชิงช้า ก็โปรดให้แรกนาด้วย ในครั้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว เกือบจะตกลงให้เป็นธรรมเนียมว่า ผู้ใดยืนชิงช้า ผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย ครั้นแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาพหลเทพ (หลง) แรกนา เผอิญถูกคราวฝนแล้ง ราษฎรไม่เป็นที่ชอบใจ จึงโปรดให้เจ้าพระยาภูธราภัยแรกนา ถูกคราวดีก็เป็นการติดตัวเจ้าพระยา ภูธราภัย จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องว่า เป็นผู้แรกนาดี เมื่อเจ้าพระยาภูธราภัย ถึงอสัญกรรมแล้ว จึงได้ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์เป็นผู้แรกนา เมื่อพระยาอภัยรณฤทธิ์ป่วย แรกนา ไม่ได้ จึงได้ให้พระยาภาสกรวงศ์ ที่เกษตราธิบดี ผู้เป็นเจ้าของตำแหน่งเป็นผู้แรกนา การพระราชพิ ธ ี พ ื ช มงคลจรดพระนั ง คั ล แรกนาขวั ญ ในปั จ จุ บั น นี ้ สำนั ก พระราชวั ง ได้ออกหมายกำหนดการไว้ ดังนี้
29 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ที่ ๙/๒๕๕๐
หมายกำหนดการ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พุทธศักราช ๒๕๕๐
เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า พระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้กำหนดดังรายการต่อไปนี้ วันพุธที่ ๙ พฤษภาคม เจ้าพนักงานเตรียมการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัล แรกนาขวัญที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามและที่พิธีมณฑลท้องสนามหลวงไว้พร้อม เวลาบ่าย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรา- ลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลา ๑๗ นาฬิกา เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการ พระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร และพระพุ ท ธรู ป สำคั ญ พระราชคณะ ถวายศี ล จบแล้ ว ทรงพระสุ ห ร่ า ย ถวายดอกไม้ บู ช าพระพุ ท ธคั น ธารราษฎร์ ทรงอธิ ษ ฐานเพื่ อ ความสมบู ร ณ์
แห่งพืชผลของราชอาณาจักรไทย หัวหน้าพราหมณ์ อ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคล พระสงฆ์ ๑๑ รูป เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้ว ทรงหลั่งน้ำสังข์ ทรงเจิม พระราชทานพระธำมรงค์กับ พระแสงปฏั ก สำหรั บ ตำแหน่ง พระยาแรกนาแก่น ายบรรพต หงส์ท อง ปลั ด กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ทรงหลั่งน้ำสังข์ ทรงเจิม พระราชทานเทพีผู้ที่จะเข้าในการพระราชพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญ ขณะนั้น พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา พนักงานประโคมฆ้องชัย เครื่องดุริยางค์แล้ว ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ออกจากพระอุโบสถ เสด็จพระราชดำเนินกลับ วันนี้ แต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤษภาคม เวลา ๗ นาฬิกา ๓๐ นาที ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ น ายบรรพต หงส์ ท อง ปลั ด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขึ ้ น รถยนต์ ห ลวงที่ ห น้ า วั ด
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
30
พระศรีรัตนศาสดาราม ออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูสวัสดิโสภา ถนนสนามไชย ไปยัง พิธีมณฑลท้องสนามหลวงแล้วเดินกระบวนอิสริยยศแห่ไปส่งที่โรงพิธีพราหมณ์ จุดธูปเทียน ถวายสักการะเทวรูปสำคัญแล้ว จะได้ตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกายไว้พร้อม ครั้นเวลา ๘ นาฬิกา ๓๐ นาที ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แทนพระองค์ ณ พลับพลาท้องสนามหลวง ระหว่างเวลาพระฤกษ์ ๘ นาฬิกา ๓๙ นาที ถึงเวลา ๙ นาฬิ ก า ๑๙ นาที นายบรรพต หงส์ท อง ปลั ด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ ง ทำหน้ า ที ่
พระยาแรกนา จะได้ยาตราพร้อมเทพีออกจากโรงพิธีพราหมณ์ มีราชบัณฑิตและพราหมณ์ นำผ่านพลับพลาหน้าพระที่นั่ง พระยาแรกนาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทถวายบังคมแล้วไปยัง
ลานแรกนา เจ้าพนักงานจูงพระโคเทียมแอก พระยาแรกนาเจิมพระโคและไถ แล้วจึงไถดะไปโดยรี ๓ รอบ โดยขวาง ๓ รอบ หว่านธัญพืช โหรลั่นฆ้องชัย แล้วไถกลบอีก ๓ รอบ เจ้าพนักงาน ปลดพระโคออกจากแอก พระยาแรกนาและเทพีกลับไปยังโรงพิธีพราหมณ์ พราหมณ์เสี่ยงของกิน ๗ สิ่ ง ตั ้ ง เลี ้ ย งพระโค โหรหลวงจะได้ ถ วายคำพยากรณ์ เสร็ จ แล้ ว จะได้ แ ห่ พ ระยาแรกนา เป็นกระบวนอิสริยยศจากโรงพิธีพราหมณ์ พระยาแรกนาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทถวายบังคมแล้ว เข้ากระบวนไปขึ้นรถยนต์หลวงกลับยัง ศาลาว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าช เจ้ า ฟ้ า มหาวชิ ร าลงกรณ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร เสด็ จ พระราชดำเนินกลับ วันนี้ แต่งกายเครื่องแบบปกติขาว สำนักพระราชวัง วันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
31 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
การเตรียมการการปฏิบัติ - จั ด ทำฎี ก านิ ม นต์ พ ระสงฆ์ เจาะจงพระราชาคณะจากวั ด ระฆั ง โฆสิ ต าราม เป็นประธานสงฆ์ พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค ที่เป็นภิกษุหนุ่มจากวัดต่าง ๆ อีกจำนวน ๑๐ รูป รวม ๑๑ รูป เจริญพระพุทธมนต์ - จัดทำบัญชีพระสงฆ์กราบทูลสมเด็จพระสังฆราช เพื่อทรงพิจารณาอนุมัติ - จั ด ทำบั ญ ชี พ ระสงฆ์ น ำเรี ย นรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงวั ฒ นธรรม เพื่ อ ลงนาม กราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบ และลงนามเรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำความ กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท - จัดทำบทสวด (คาถาพืชมงคล) ส่งถวายพระสงฆ์ที่นิมนต์พร้อมฎีกานิมนต์ - นมั ส การประธานสงฆ์ นั ด วั น ซ้ อ มสวดคาถาพื ช มงคล เพื่ อ ความพร้ อ มเพรี ย ง และไปร่วมอำนวยความสะดวกในวันซ้อมเจริญพระพุทธมนต์ - ก่ อ นงาน ๑ วั น ไปจั ด วงสายสิ ญ จน์ ร อบแท่ น ที่ ป ระดิ ษ ฐานพระพุ ท ธมหามณี
รัตนปฏิมากร อ้อมด้านหลังพระสัมพุทธพรรณี เดินสายมาที่คันฉัตรพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ และพระพุทธเลิศหล้านภาไลย เกี่ยวลงตรงกลางด้านหลัง แล้ววงรอบธรรมาสน์ศิลาที่ประดิษฐาน พระพุทธคันธารราษฎร์ และวงรอบ ๆ ภาชนะซึ่งบรรจุเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ ที่วางข้างธรรมาสน์ศิลา ให้ ทั่ ว อี ก สายหนึ่ ง ต่อ จากคั น ฉั ต รพระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกย์ เดิ น ไปตามฝาผนั ง พระอุ โ บสถ และต่อลงตรงที่ประธานสงฆ์ ๑ กลุ่ม และเดินสายไปลงตรงพระสงฆ์รูปที่ ๔-๕ อีก ๑ กลุ่ม สำหรับหัวหน้าคณะพราหมณ์จะได้ถือในเวลาอ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคล - ในวันพระราชพิธีพืชมงคล เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา ไปรอรับพระสงฆ์ เผดียงพระสงฆ์ในเรื่องขั้นตอนการปฏิบัติพิธี และประสานการปฏิบัติพิธีกับ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง เมื่อใกล้เวลาที่พระมหากษัตริย์จะเสด็จถึง นิมนต์พระสงฆ์ขึ้นประจำ อาสน์สงฆ์บนพระอุโบสถ ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ส มเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร เสด็ จ พระราชดำเนิ น ไปทรงปฏิ บั ต ิ
พระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ดังนี้
พระราชพิธีพืชมงคล วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินจากวังศุโขทัย ไปพระบรมมหาราชวัง เสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดธูปเทียน
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
32
ท้ายที่นั่งบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย ทรงคม ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองใหญ่ที่หน้าธรรมาสน์ศิลา ทรงกราบ ถวายความเคารพพระราชอาสน์ และทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ แล้วประทับพระเก้าอี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาศีล พระราชาคณะ ประธานสงฆ์ถวายศีล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงศีลจบแล้ว เสด็จฯ ไปที่ ธ รรมาสน์ ศ ิ ล า ทรงพระสุ ห ร่ า ยสรงพระพุ ท ธรู ป ปฏิ ม าชั ย วั ฒ น์ พระพุ ท ธคั น ธารราษฎร์ และทรงประพรมพืชต่าง ๆ ซึ่งตั้งอยู่บนโต๊ะสองข้างนั้นด้วย ทรงโปรยดอกไม้และถวายพวงมาลัย
ที่พระพุทธรูปนั้นทุกพระองค์ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธคันธารราษฎร์ ๒ คู่ และทรงจุดเทียน ที่พระคันธารราษฎร์จีนอีก ๑ เล่ม ทรงกราบอธิษฐานขอความสมบูรณ์แห่งพืชผลราชอาณาจักร จากนั้น พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าคณะพราหมณ์ อ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคล จบแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงหลั่งน้ำสังข์ ทรงเจิม นายบรรพต หงส์ ท อง ปลั ด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ ง ทำหน้ า ที่ พ ระยาแรกนา และพระราชทาน พระธำมรงค์กับพระแสงปฏัก ขณะนี้ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ทรงหลั่งน้ำสังข์ ทรงเจิม ผู้เป็นเทพีในการแรกนาขวัญเสร็จแล้ว เสด็จฯ ไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์
ที่เจริญพระพุทธมนต์ ประทับพระเก้าอี้ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ออกจากพระอุโบสถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่อง นมัสการ ถวายความเคารพพระราชอาสน์ ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ เสด็จฯ ออกจากพระอุโบสถ เสด็จพระราชดำเนินกลับ
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เวลา ๐๗.๓๐ น. ครั้นเวลา ๘ นาฬิกา ๓๐ นาที ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แทนพระองค์ ณ พลับพลาท้องสนามหลวง ระหว่างเวลาพระฤกษ์ ๘ นาฬิกา ๓๙ นาที ถึงเวลา ๙ นาฬิ ก า ๑๙ นาที นายบรรพต หงส์ท อง ปลั ด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ ง ทำหน้ า ที ่
พระยาแรกนา จะได้ยาตราพร้อมเทพีออกจากโรงพิธีพราหมณ์ มีราชบัณฑิตและพราหมณ์นำผ่าน
33 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พลับพลาหน้าพระที่นั่ง พระยาแรกนาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทถวายบังคมแล้วไปยังลานแรกนา เจ้าพนักงานจูงพระโคเทียมแอก พระยาแรกนาเจิมพระโคและไถ แล้วจึงไถดะไปโดยรี ๓ รอบ โดยขวาง ๓ รอบ หว่านธัญพืช โหรลั่นฆ้องชัย แล้วไถกลบอีก ๓ รอบ เจ้าพนักงานปลดพระโค ออกจากแอก พระยาแรกนาและเทพีกลับไปยังโรงพิธีพราหมณ์ พราหมณ์เสี่ยงของกิน ๗ สิ่ง ตั้งเลี้ยงพระโค โหรหลวงจะได้ถวายคำพยากรณ์ เสร็จแล้วจะได้แห่พระยาแรกนาเป็นกระบวน อิ ส ริ ย ยศจากโรงพิ ธ ี พ ราหมณ์ พระยาแรกนาเข้ า เฝ้ า ทู ล ละอองพระบาท ถวายบั ง คมแล้ ว เข้ากระบวนไปขึ้นรถยนต์หลวงกลับยังศาลาว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าช เจ้ า ฟ้ า มหาวชิ ร าลงกรณ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร เสด็ จ พระราชดำเนินกลับ วันนี้ แต่งกายเครื่องแบบปกติขาว ในการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ มีบทสวดสำหรับพระสงฆ์สวด ในพระราชพิธีพืชมงคลโดยเฉพาะ โดยพระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ไปตามลำดับพระราชพิธี ดังนี้ ๑. ถวายศีล จบแล้ว หัวหน้าคณะพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคล ๒. เชิญชุมนุมเทวดา ๓. บทนมัสการ (นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส) ๔. สรณคมนปาฐะ ๕. สัมพุทเธ ๖. นโมการอัฏฐกคาถา ๗. มังคลคาถา (อเสวนา) ๘. รตนปริตตคาถา (ยังกิญจิ วิตตัง) ๙. กรณียเมตตสูตร (เมตตัญจ สัพพะโลกัสมิง) ๑๐. วัฏฏกปริตร (อัตถิ โลเก) ๑๑. อนุสสรณปาฐะ (อิติปิ โส ภควา) ๑๒. คาถาพืชมงคล ๑๓. อรหัง ๑๔. ทุกขัปปัตตา ๑๕. ภวตุ สัพพมังคลัง ๑๖. นักขัตตะยักขะภูตานัง
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
34
ในเวลาที่พระมหากษัตริย์พระราชทานน้ำสังข์ ทรงเจิม พระยาแรกนา และเทพี พระสงฆ์ เจริญชัยมงคลคาถา ขณะทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก สำหรับคาถา พืชมงคลนั้น มีใจความในภาษาบาลีและคำแปลภาษาไทย ดังนี้
คาถาพืชมงคล
นโม ตสฺส ภควโต สมฺมาวิรุฬฺหธมฺมสฺส ตสฺส ปารมิเตเชน เกลฺสสนฺตาปจฺจุเณฺหปิ ตํ โข พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวนฺทิย ปูเชตฺวา โรเปม ปุญฺญฺพีชานิ โลเก ทุกฺขสฺส โลกมฺหา นานปฺปกาโรปการ- ทิฏฺฐฺธมฺเม สมฺปราเย ยญฺเจตฺถ ทิฏฺฐฺธมฺมสฺมึ ปวุตฺตํ ปุญฺญฺวีชํ ยํ กาเล สมฺมา วิรูหนฺตุ ปุพฺพณฺณาปรณฺณวีชานิ ยานิ อิมสฺมึ ปวุตฺตานิ ภาสิตํ พุทฺธเสฏฺเฐฺน สทฺธา พีชํ ตโป วุฏฺฐฺิ หิรี อีสา มโน โยตฺตํ กายคุตฺโต วจีคุตฺโต สจฺจํ กโรมิ นิทฺทานํ วิริยํ เม ธุรโธรยฺหํ คจฺฉติ อนิวตฺตนฺตํ เอวเมสา กสี กฏฺฐฺา เอตํ กสึ กสิตฺวาน
สุนิพฺพุตสฺส ตาทิโน สาวกานํ ปรมฺปรา สทฺธมฺโม อมตปฺผโล โลเก รูหติ ฐานโส สสทฺธมฺมํ สสาวกํ สุกฺเขตฺเต รตนตฺตเย ญฺาณสฺส สาธกานิ โน สมฺมา นิสฺสรณสฺส จ ผลานํ ยุตฺตกาลโต อปราปริเยปิ จ ผลานํ สมฺปทายกํ เทตุ ตํ อิจฺฉิตปฺผลํ มา วินสฺสนฺตุ สพฺพโส อิมานิ อีทิสานิ จ สยามรฏฺเฐฺ ตหึ ตหึ สจฺจํ โลกคฺควาทินา ปญฺญฺา เม ยุคนงฺคลํ สติ เม ผาลปาจนํ อาหาเร อุทเร ยโต โสรจฺจํ เม ปโมจนํ โยคกฺเขมาธิวาหนํ ยตฺถ คนฺตวา น โสจติ สา โหติ อมตปฺผลา สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ ฯ
35 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
เอเตน สจฺจวชฺเชน ปุพฺพณฺณา จาปรณฺณา จ ราชาณกฺเขตฺตภูตสฺมึ ปุปฺผภารผลปิณฺฑิ- ภาสิตา จยิมา คาถา คาโว ตสฺส ปชายนฺติ วุตฺตานํ ผลมสฺนาติ วิรุฬฺหมูลสนฺตานํ อมิตฺตา นปฺปสหนฺติ เอเตน จาปิ สจฺเจน ปุพฺพณฺณา จาปรณฺณา จ ราชาณกฺเขตฺตภูตสฺมึ สมฺปุณฺณา ผลปุปฺเผหิ อมฺหากญฺจ มหาราชา รฏฺฐฺํ สมฺมาภิปาเลนฺโต ราชาณกฺเขตฺตภูตสฺมึ สพฺเพสมฺปิ นิวาสีนํ สุขํ วุฑฺฒึ จ ปตฺเถติ เอเตน จาปิ สจฺเจน ปุพฺพณฺณา จาปรณฺณา จ ราชาณกฺเขตฺตภูตสฺมึ สมฺปุณฺณา วิปุลา โหนฺตุ
ปวุตฺตา พีชชาติโย วิรูหนฺตุ ตหึ ตหึ สพฺพตฺถ ภูริมณฺฑเล ธรา โหนฺเตฺวว สพฺพโส มูคผกฺเกน สตฺถุนา เขตฺเต วุตฺตํ วิรูหติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ นิโคฺรธมิว มาลุโต โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ ฯ ปวุตฺตา พีชชาติโย วิรูหนฺตุ ตหึ ตหึ สพฺพตฺถ ภูริมณฺฑเล ปชายนฺเตฺวว สพฺพโส ฯ ปรมินฺโท มหิปฺปติ สมฺพุทฺธสฺสาปิ สาสนํ สกเล มหิมณฺฑเล ปาณีนํ สุขกามินํ เวปุลฺลญฺจานุปุพฺพโส ปวุตฺตา พีชชาติโย วิรูหนฺตุ ตหึ ตหึ สพฺพตฺถ ภูริมณฺฑเล สมฺปชฺชนฺเตฺวว สพฺพโสติ ฯ
คำแปลคาถาพืชมงคล ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จนิพพานดีแล้ว ยังมีพระคุณคงที ่
มีพระธรรมงอกงามโดยชอบแล้ว เพราะอันนำสืบ ๆ มาแห่งพระสาวกทั้งหลาย ด้วยเดชะแห่งบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระสัทธรรมมีอมตะเป็นผล ย่อมเจริญขึ้น ในโลก แม้ร้อนระงมด้วยความแผดเผาแห่งกิเลส ตามฐานะ
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
36
เราทั้งหลายอภิวาทบูชาแล้ว ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทั้งพระสัทธรรม ทั้งพระสาวก เชื่อว่าหว่านพืชคือบุญทั้งหลายในพระรัตนตรัย อันเป็นเขตดี พืชคือบุญนั้น เป็นเครื่องยังญาณของเรา ทั้งหลายให้สำเร็จด้วย ยังความทำที่สุดแห่งทุกข์ในโลกให้สำเร็จด้วย ยังความหลีกออกจากโลก โดยชอบให้สำเร็จด้วย พืชคือบุญ มอบให้ซึ่งผลเป็นอุปการะมีประการต่าง ๆ ตามกาลอันเหมาะสมในทิฏฐธรรมด้วย ในสัมปรายภพด้วย ทั้งในภพต่อ ๆ ไปด้วย ส่วนพืชคือบุญชนิดใด ๆ มอบให้ซึ่งผลทั้งหลายในทิฏฐธรรมนี้ ที่เราได้หว่านไว้แล้ว
ขอพืชคือบุญนั้น ๆ จงให้ผลที่เราปรารถนาแล้ว บุพพัณณพืชและอปรัณณพืชทั้งหลายเหล่าใด ที่กสิกรทั้งหลายหว่านไว้แล้ว ในที่นั้น ๆ ในสยามรัฐ ขอบุพพัณณพืชและอปรัณณชาติทั้งหลาย เช่นนี้ เหล่านี้ จงงอกงามดีตามฤดูกาลเถิด อย่าเสียไปโดยประการทั้งปวงเลย คำสัจจ์ อันพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นอรรถวาทีในโลก ได้ตรัสไว้แล้วว่า ศรัทธา เป็นดังพืช ตบะเป็นดังฝน ปัญญาของเราเป็นดังแอกและไถ หิริเป็นดังงอนไถ ใจเป็นดังเชือกชัก สติของเราเป็นดังผาลและประตัก เรามีกายอันคุ้มครองแล้ว มีวาจาอันคุ้มครองแล้ว ระวังแล้วซึ่งอาหารในท้อง กระทำ สัจจะให้เป็นเหตุ โสรัจจะเป็นดังความว่าง วิริยะของเราเป็นดังการนำแอกไป ความเกษมจากโยคะเป็นดังการสำเร็จกิจ บุคคล ไปในคติใดย่อมไม่เศร้าโศก เขาย่อมไปสู่คตินั้น ไม่กลับ นานั ้ น อั น บุ ค คลไถแล้ ว อย่ า งนี ้ ย่ อ มเป็ น ที่ ม ี อ มตะเป็ น ผล บุ ค คลไถแล้ ว ซึ่ ง นานั ้ น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ด้วยการกล่าวสัจจะนี้ บุพพัณณพืชและอปรัณณพืชทั้งหลายที่หว่านไว้แล้วในที่นั้น ๆ จงงอกขึ้น ต้นไม้ทั้งหลายในภูริมณฑลทั้งปวง ซึ่งเป็นพระราชอาณาเขต จงทรงไว้ซึ่งดอกและผล เป็นกลุ่มช่อ โดยประการทั้งปวง เทอญ อนึ่ง คาถาเหล่านี้ อันพระศาสดาผู้หักรานเสียซึ่งความใบ้ ได้ทรงภาษิตไว้ว่า ผู้ใด ไม่ ป ระทุ ษ ร้ า ยมิ ต ร โคทั ้ ง หลายของผู ้ นั ้ น ย่ อ มตกลู ก พื ช ที่ ห ว่ า นไว้ ใ นนาย่ อ มงอกงาม ผู ้ นั ้ น
ย่อมบริโภคผลแห่งพืชทั้งหลายที่หว่านไว้แล้ว ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร ศัตรูทั้งหลายย่อมข่มเหงผู้นั้นไม่ได้ เหมือนลมรังควานต้นไทร อันมีรากและลำต้นงอกงามแล้วไม่ได้ฉะนั้น
37 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
แม้ด้วยคำสัจจ์นี้ด้วย บุพพัณณพืชและอปรัณณพืชทั้งหลาย ที่หว่านไว้แล้วในที่นั้น ๆ จงงอกงามขึ้น ต้นไม้ทั้งหลายในภูริมณฑลทั้งปวง ซึ่งเป็นพระราชอาณาเขต จงสมบูรณ์ด้วยผลและดอก เผล็ดออกโดยประการทั้งปวงทีเดียว ก็สมเด็จพระมหาราชของพวกเรา ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินจอมสยาม จงอภิบาลแว่นแคว้น โดยชอบ ทั้งพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ทรงปรารถนาความสุข ความเจริญ และ ความไพบูลย์โดยลำดับ ๆ แก่ประชาชนแม้ทั้งปวง ผู้อยากได้ความสุขอาศัยอยู่ในปฐพีมณฑลทั้งสิ้น อันเป็นพระราชอาณาเขต แม้ ด ้ ว ยคำสั จ จ์ น ี ้ บุ พ พั ณ ณพื ช และอปรั ณ ณพื ช ทั ้ ง หลาย ที่ ห ว่ า นไว้ แ ล้ ว ในที่ นั ้ น ๆ จงงอกงามขึ้น ต้นไม้ทั้งหลายในภูริมณฑลทั้งปวง ซึ่งเป็นพระราชอาณาเขต จงเป็นพฤกษชาติสมบูรณ์ ไพบูลย์ จงถึงพร้อมโดยประการทั้งปวง เทอญ อนึ่ ง ในวั น พระราชพิ ธ ี พ ื ช มงคลนั ้ น ผู ้ เ ป็ น หั ว หน้ า คณะพราหมณ์ จ ะอ่ า นประกาศ พระราชพิธีพืชมงคล ก่อนที่พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ คำประกาศนั้นมีเนื้อความ ดังนี้
คำประกาศพระราชพิธีพืชมงคล ขยมบาทบวร อาทรถวายอภิ ว าท นาถนายก ดิ ล กโลกวิ สั ย บไหวด้ ว ยโลกยธรรม์ สรรพ์เกลสลอยมละ สละสิ่งเศร้าโศกศูนย์ สมบูรณธรรมเป็นที่งอก พันลอกล้ำพิไลงาม ยามนรชาติ หญิงชาย กระหายร้อนดำฤษณรัญจวน บควรเป็นที่งอกแห่งผล พระธรรมที่สมเด็จพระทศพล บัณฑูรตรัส อุบัติงอกด้วยงาม ความนี้ยิ่งควรยอ ผู้ข้าขอบังคม บรมสุคตโคดมนั้น ซั้นเคารพนบ ในธรรมคุณ สุนทรศราวกสงฆ์ อันจำนงว่าเป็นเนื้อนาวิเศษ เหตุหว่านพืชเจริญผล อนันตคุณูปการ เฟื่องพี้ ในภพนี้ภพหน้า อนึ่ง อันว่าพืชคือกุศล อันให้ผลในปรัตยุตบัน จงพลันเสร็จแสดงผล กลปรารถนา บรรดาบุพพัณณอปรัณณชาติ ในมาสนี้กำหนดมี รัฐพิธีพืชมงคล ขอพืชผลในสยาม จงงอกงามด้วยดี อย่ามีพิบัติเบียนบำราศผล สมเด็จพระทศพลบัณฑูรแถลง แสดงว่าศรัทธาเป็น ของปลูกประจำปี อินทรีย์สำรวมคือน้ำฝน ปัญญากลนับแอกไถ ใจเป็นเชือกชัก ประตักคือสติ กสิเกษตร ประเวศนสู่ศิวาไลย อันนิรภัยพ้นพิบาก พระผู้ทรงพระภาค บัณฑูรธรรมบรรยาย คลายคลี่ถ้วน ล้วนคำจริงพระเจ้าตรัส อำนาจสัตย์เป็นที่ดำรง จงพืชอันชนหว่าน ทุกทั่วย่านแนว ประชาราษฎรชนบท งอกงามหมด บวิกล ฝนอุดมดี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
38
หนึ่งพระเตมีย์มูคกุมาร ขานคาถาสดุดี ว่าโคของผู้มีจิตคดต่อเพื่อน ย่อมจะกลาดเกลื่อน มานมากมวล ควรเป็ น อุ ป การแด่ โ ครส จรดงานไถได้ ส ะดวกพลั น พื ช สามั ญ อั น ตนหว่ า น พ่านเหลือแหล่ แพร่เหลือหลาย สบายบริโภค เพิ่มพูนสวัสดิ์ อำนาจสัตยไมตรีจิต มิตรธรรมคุณ สุนทรพิเศษ ขอให้ข้าวอันจะหว่านลงในเขตสยามรัฐชนบท กำหนดสามวัน พลันงอกงามสรดื้น อธึกทั่วภูมิพื้น แผ่นหล้าเส็งไสว อนึ่ง สมเด็จบรมจอมไทยถวัลยรัชบำรุงราษฎร์ รังพุทธศาสนให้รุ่ง มุ่งพระกมล อุตสาหะ สละความไร้ให้พระนคร ถอนทุกข์ทั่วอาณาเขต เหตุการุณ พหุลเมตตา ตั้งพระหฤทัยให้ไพบูลย์ ทั่วตระกูลกุฏมพิกพาณิช พิพิธเรียงอาณาประชาราษฎร์ อำนาจสัตย์ ทรงอธิษฐาน จงบันดาล ให้พืชอันเพาะเลยและสำรวยเจริญงอก พันลอกลัดรบัดใบ ไกลอุปทรพสิ่งวิกล สำเร็จผลเพิ่ม ประโยชน์ ย าวชี ว ิ ต กิ จ เกื ้ อ หนุ น ทุ น ทรั พ ย์ อั น ซื ้ อ ขายง่ า ยสะดวกได้ โดยดั่ ง สมเด็ จ ไท้ ร าชเจ้ า โปรดประสงค์ โสดเทอญ อนึ่ง ข้าพระบาท ผู้รับพระราชดำรัสเหนือเกล้า ประกาศแด่เทพเจ้าทั้งมวล ผู้ควรสดับรับ พจนประกาสิ ต แห่ ง สมเด็ จ พระบรมบพิ ต รเจ้ า จอมภพ ทรงพระปรารภเรื่ อ งพระพุ ท ธปฏิ ม า คันธารราษฎร์ อันมีในวาริชชาติชาดกนิทานว่า เมื่อสมเด็จพระพิชิตมารมุนีเนาในพระเชตวัน ขันธเสมา เมืองสาวัตถี มีทุรภิกษพิกล ทั้งเวียง เผลี่ยงแล้งกระลำพร ใช่นาดอนถึงลุ่มลาดบำราศน้ำ ทุกแหล่งหล้า ข้าวกล้าไป่งามลัด อุบัติเพลี้ยเตี้ยต่ำดิน สินธุในมาบลาบลำธาร ละหานแห้ง เป็นระแหง หมู่มัตสยา ก็ฟุบแฝง ดำดินด้นตระดกใจ ไภยพิหคกากาจมา กวนกินทุกเช้าค่ำย่ำยายี แม้ถึงว่าน้ำในโบกขรณีอันบริสุทธิ์ พุทธบริโภคเคยเพ็ญอยู่ก็ยุบยอบจนเห็นตม สมเด็จพระบรมศาสดา ได้ทราบอรรถ ความพิบัติบังเกิดแก่หมู่มัจฉาชาติแหล่หลายและอันตรายแก่ข้าวกล้า ฟ้าฝนแล้ง แห้งใบโรย เป็นไปโดยวิปริต ธก็ดำริคิดจะอนุเคราะห์ มหาชนอันทนทุกข์ลำบาก ครั้งธเสด็จ
จากโคจรสถาน สำราญภัตตกิจสถิตแทบเฉนียน เดียถ์สโรชโบกขรณี ธก็มีพุทธพจน์อันไพเราะ เรียกพระอานนท์ ให้นำผ้าสรงชลมาด่วนด่วน ส่วนพระอานนท์อนุชก็ทูลแถลง แสดงว่าน้ำในสระสิ้น เสียหลายวัน ธก็ตรัสฉันดังก่อน เร่งเอาท่อนอุทกสาฎกมาอย่านิ่งเนา เราจะโสรจสนานสำราญ สกนธ์ ในตำบลโบกขรณีนี้จงได้ พระอนุชหน่อไท้ ธก็นำท่อนอุทกสาฎก ยกมายื่นถวายต่อพระหัตถ์ แห่งพระองค์ ธก็ทรงกระหวัด พระวรกายชายส่วนหนึ่ง ครึ่งหนึ่งนั้นทรงคลุมพระอังษประเทศ ทำอาการปานประหนึ่งจะสรงชล กฤษณะนั้นมหาเมฆมืดทั่วหล้า ฟ้าอุโฆษครรชิต วิชชุลดาเมลือง แมลบแวบวาบคัคณานต์ พรรษาธาร ทุ่มสงบน้อย พะพร้อยพร่ำพรู บัดเดี๋ยวดูน้ำน่านนองทุกย่าน แนวนา ฝูงประชาชื่นแช่ม แจ่มใจชม บรมพุทธานุภาพ
39 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระเจ้าทราบสารสดุดี ธก็มีพุทธบัณฑูรแถลง แสดงมัจฉชาดก ยกยุบลบรรยายว่า แม้ถึง ในกาลจำงายอดีตภพ เราเป็นนฬปมัจฉชาติ สมัยนั้นปราศจากฝนชลชรทึง บึงบางทางละหานห้วย ก็แห้งขาด เราผู้นฬปมัจฉชาติ อาจอธิษฐานบันดาลให้น้ำฟ้า ตกทั่วหล้าแหล่งดินดอน ชละจร เริงรื่นผ้าย ผุดดำว่ายเกษมสินธุ์ เพื่อประฏิทินคำสัตย์ มหัศจรรยาธิษฐาน มีตำนานในพุทธศาสน์ ครั้งพระโลกนาถนิพพานแล้ว แคล้วมาหลายร้อยฉนำ มีบุรีรัมย์พิไสย ชื่อเวียงไชยคันธารราษฎร์ พระบาทเจ้ากรุงโกรม โสมนัสน้อมเลื่อมใส ในพระมัชฌันติกเถร เวนตนตั้งยั้งอยู่ในพุทธศาสน์ ภายหลังคันธารพิไสยองค์ใด องค์หนึ่งนั้น ซั้นสดับเรื่องพุทธฤทธิ มหิทธมเหาฬาร บันดาลให้ฝน สวรรค์พ รรษุ ท ก ตกทั น อยากมากด้ ว ยดี ธก็ ม ี ก มลประสงค์ ทรงให้ ส ร้ า งวรพิ ม พ์พุ ท ธปฏิ ม า ทรงสาฎกปกพระสกนธ์ส่วนหนึ่ง ครึ่งหนึ่งนั้นทรงสะพัก พระกรขวากวักเรียกฝน ดำกลกรซ้าย หงายรองพิรุณ แสดงคุณ คือปริศนานัยขอฝนดลวสานฤดูใดเผลี่ยงแล้ง ข้าวกล้าแห้งใบสรบง ธก็ให้เชิญองค์ปฏิมา เหนือมัญจาสนพิธีพลีบายบูชาอายาจน์ ขอพรุณพาษธารุทกให้ตกในระเทศ เกษตรแห่งตนตามปรารถนา เนื่องนามมาพุทธพิมพ์เพศ ดังนั้นหมั้นสมมติสมญา พุทธคันธารราษฎร์ มีมามาตรบัดนี้ เพื่อพิมพ์พระเจ้ากี้ก่อสร้างสืบมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ บุณยโศลกสยามินทร์ ทรงพระราชจินตนาการ ในตำนานเรื่องมัจฉาชาติ สามารถรู้เรียกพรรษุทกให้ตกในประเทศ หนึ่งได้ทรงทอดพระเนตร รูปพระคันธารราษฎร์ อันนายช่างฉลาดหล่อแต่โบราณ มีอาการดังกล่าวแล้วบแคล้วก็จะคลาด จึงได้มีพระบรมราชวโรงการ สารสั่งให้สร้างอย่างยิ่งยง พระองค์หนึ่งใหม่กาไหล่ด้วยคำงามเงา เฉลาอาสน์เอี่ยมลออตา ควรบูชาสรวมพรรษพิธี และอัญชลีในวันหว่านพืชเป็นปฐม และประณม ในชโลสารณพิธี ดลวันดีเดือนไพศาข ทรงปริตรยาคยิ่งยง บายบรรจงบรรเจิดเลิศด้วยสูปพยัญชน์ เทียรย่อมทานถวายแด่สงฆ์ ทรงอุทิศส่วนพระราชกุศล แด่สกลเทพในแหล่งหล้า ฟ้าเมืองแมน แดนพรหมโกฏ จงสมโมทกมลยิ น ดี รั บ พลี ธ รรมบรรณาการ มานสุ ข สั ม ฤทธิ์ หนึ่ ง ทรงอุ ท ิ ศ พระราชกุศลราศี แด่สมเด็จนรบดีพระเจ้าแผ่นดินแต่หลัง ๆ อันเสด็จสถิตยังพยัฆเหมเกษมนิเวศน์ ประเทศทิพยใด ๆ จงมีพระหฤทัยจำนงดำรงรับพระราชกุศลสรรพ์ทรงบำเพ็ญ เป็นที่ชื่นชมบรมยินดี ทุกทุกพระเจ้าแผ่นดิน บัดนี้ สมเด็จพระสยามินทรภูมิพลอดุลยเดช เสด็จดำรงสยามประเทศรัตนราไชสวรรย์ กันอาณาจักร รักษาพุทธศาสน์ พระบาทมีกมล ประสงค์จะบำรุงผดุงราษฎร์ ชาติชีพราหมณ์ พรหมจรรย์ สรรพ์สมณเพศให้ไพบูลย์ พูนพันเอิญเจริญศุภผลดลโดยจิต ขอพุทธฤทธิ์เทพอำนาจ ราชอานุภาพพระเจ้าแผ่นดินสิ้นทุกพระองค์ จงบันดาลด้วยดี ให้มีสุขสวัสดีทั่วหน้า ดั่งประสงค์
เจ้าจอมหล้า เพื่อนี้โสดเทอญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ศาสนพิธีในพระราชพิธี
40
41 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
42
43 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
44
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา
วิสาขบูชา คือ การบูชาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วิสาขปุณณมี) เป็นวันสำคัญยิ่งในทาง พระพุทธศาสนาวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่ตรงกับวันประสูติ วันตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และวันเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งเหตุ ๓ ประการนั้นเกิดต่างวาระกัน แต่เกิดขึ้น ตรงกันในวันเพ็ญกลางเดือน ๖ เช่นเดียวกัน อาศัยเหตุอันน่าอัศจรรย์นี้ เมื่อถึงวันสำคัญดังกล่าว ประเทศที่ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาจึงพากันทำการบูชาอย่างยิ่งใหญ่ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศทั้งหลาย ที่ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนา สืบเนื่องมาเป็นเวลาช้านาน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในการอุปถัมภ์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มีการสร้างวัดวาอาราม ส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้คำสอนในทางพระพุทธศาสนา ทรงสถาปนา แต่งตั้งพระสงฆ์ที่ช่วยอบรมสั่งสอนประชาชนให้เป็นคนดีมีศีล มีธรรม ให้ดำรงสมณศักดิ์ในระดับ ต่าง ๆ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ จนพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตามยุคตามกาลสมัยที่พอสืบค้นได้ คือ สมัยสุวรรณภูมิ (สมัยแรกที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย) สมัยพนม สมัยทวาราวดี สมัยศรีวิชัย หรือสมัยศรีโพธิ์ สมัยลพบุรี สมัยศรีธรรมราช สมัยสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การทำพิธีวิสาขบูชาในสมัยต่าง ๆ นั้น ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน แต่มีปรากฏในตอนหนึ่ง ของหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยว่า อันพระนครสุโขทัยราชธานี ถึงวันวิสาขนักขัตฤกษ์ครั้งใด ก็สว่างไสวไปด้วยแสงประทีป เทียน ดอกไม้เพลิง แลสล้างสลอนไปด้วยธงชายและธงผ้า ไสวไปด้วยพู่พวงดวงดอกไม้กรองร้อย
45 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ห้อยแขวน หอมตลบไปด้วยกลิ่นสุคนธรส ระรวยรื่นเสนาะสำเนียงเสียงพิณพาทย์ ฆ้อง กลอง ทั้งทิวาราตรี มหาชนชาย หญิงพากันมากระทำกองการกุศล เหมือนจะเผยซึ่งทวารพิมานฟ้า
ทุกช่องชั้น ดังนี้ ในสมัยสุโขทัยนี้ เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระมหากษัตริย์ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ เป็นอันมาก ในเวลาตะวันชายแสงจะเสด็จพระราชดำเนินทรงเวียนเทียน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์
และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ วัดต่าง ๆ รวม ๓ วัน คือ วัดหน้าพระธาตุราชอารามหลวง วันหนึ่ง วัดราชบุรณพระวิหารหลวง วันหนึ่ง และวัดโลกสุทธราชาวาส วันหนึ่ง ในส่วนของ ประชาชนทั่วไปก็พร้อมใจกันประดับประดาอาคารบ้านเรือน ตลอดถึงวัดวาอาราม และพระราชวัง ให้งดงามสว่างไสว ด้วยถือกันว่าวันวิสาขบูชานี้เป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลที่สำคัญยิ่ง สำหรั บ ในสมั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา สมั ย กรุ ง ธนบุ ร ี และสมั ย กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ต อนต้ น ไม่ ป รากฏหลั ก ฐานว่ า มี ก ารทำพิ ธ ี ว ิ ส าขบู ช าในรู ป แบบใดในกฎมณเฑี ย รบาล ศั ก ราช ๗๒๐ ซึ่งกล่าวถึงพระราชพิธีสิบสองเดือน ก็ไม่มีการกล่าวถึงการพระราชพิธีวิสาขบูชาไว้ การทำพิธีวิสาขบูชา ในสมั ย ดั ง กล่ า วมา คงจะกระทำเหมื อ น ๆ กั บ แบบสมั ย สุ โ ขทั ย แต่ พ ิ ธ ี น ี ้ อ าจขาดช่ ว งไปบ้ า ง ในยามที่ บ ้ า นเมื อ งมี ศ ึ ก สงคราม จนถึ ง เมื่ อ ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๖๐ ในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ
พระพุทธเลิศหล้านภาไลย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระสังฆราช (มี) ซึ่งเป็น สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ถวายพระพรขอให้พระบาทสมเด็จ
พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาไลย ทรงบำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลวิ ส าขบู ช า ซึ่ ง ได้ ม ี พ ระราชดำริ เ ห็ น ชอบ และทรงพระกรุ ณ าโปรดให้ ม ี ก ารพระราชพิ ธ ี บ ำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลวิ ส าขบู ช าขึ ้ น ตั ้ ง แต่นั ้ น มา พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุก ๆ พระองค์ ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชาสืบมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย รัชกาลที่ ๒ ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้จัดให้มีขึ้นนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้มีพระบรมราชาธิบายไว้ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า “สมัยรัชกาลที่ ๒ พระองค์โปรดให้พระอารามต่าง ๆ ทั้งบ้านเรือน ตามประทีป โคมไฟ ในวันวิสาขบูชา ประดับประดาด้วยมาลาดอกไม้ ให้ข้าราชการและราษฎรรักษาศีลฟังธรรม สมั ย รั ช กาลที่ ๓ เมื่ อ ทรงสร้ า งวั ด สุ ทั ศ นเทพวราราม โปรดให้ ท ำเกยขึ ้ น สำหรั บ ตั ้ ง พระสิตตมหาสถานรอบพระอุโบสถ และวันวิสาขบูชาก็ให้เชิญพระพุทธรูปออกตั้งแล้วมีเทศนา ปฐมสมโพธิกถาให้สัปบุรุษไปฟังและนมัสการพระพุทธรูป และที่ตั้งวัดพระเชตุพนก็ได้โปรดให้มี ตะเกียงรายรอบกำแพงแก้วเพิ่มเติม
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
46
สมัยรัชกาลที่ ๔ พระองค์โปรดให้มีการตั้งเครื่องบูชาในระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และต่อมาได้โปรดให้ทำโคมตามตำแหน่ง ตั้งหรือแขวนตามศาลาราย” สำหรับในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายใน เดินเทียน (เวียนเทียน) และสวดมนต์ คล้ายกับการพระราชพิธีที่ทำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปัจจุบัน สมัยรัชกาลที่ ๖ การบำเพ็ญพระราชกุศลนักขัตฤกษ์วิสาขบูชา เหมือนกับในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่างกันแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ประทับอยู่ในต่างจังหวัด ถ้าถึงกาลนักขัตฤกษ์วิสาขบูชา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ณ อารามในจังหวัดที่ประทับแรมอีกแห่งหนึ่ง ส่วนทางวัด
พระศรีรัตนศาสดารามทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ผู้ใหญ่ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แทนพระองค์ สมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีการตั้งเปรียญธรรม ๖ ประโยค และ ๙ ประโยค ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก่อนวันวิสาขบูชา ๑ วัน คือ ตั้งเปรียญวันขึ้น ๑๔ ค่ำ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เสด็จฯ ออกสวดพระพุทธมนต์ เวียนเทียนบูชาพระรัตนตรัย และทรงสดับพระธรรมเทศนา การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในรัชกาลปัจจุบัน มีรูปแบบปฏิบัติเหมือนในสมัย รัชกาลที่ ๗ คือ ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ทรงตั้งเปรียญธรรม ๙ ประโยค และ ๖ ประโยค ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อเสด็จฯ ถึงด้านหน้าพระอุโบสถผู้อำนวยการกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง กราบทูลรายงานจำนวน ธูปเทียนที่ทรงพระราชอุทิศพระราชทานไปจุดบูชาพระรัตนตรัยตามพระอารามหลวงในวันวิสาขบูชา และวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า (แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖) ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมเทียนทุกเล่ม เสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนท้ายที่นั่งบูชา พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธเลิศหล้านภาไลย
ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่หน้าธรรมาสน์ศิลา ทรงกราบ ต่อจากนั้น ประทับยืน กลางพระอุโบสถพระราชทานประกาศนียบัตร พัดยศเปรียญ และผ้าไตร แก่พระภิกษุและสามเณร ที่สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค และ ๖ ประโยค ตามลำดับ เสร็จแล้วเสด็จไปทรงประเคนผ้าไตร พระสงฆ์ที่เจริญชัยมงคลคาถา ประทับพระราชอาสน์ พระราชทานรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด
47 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
แต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาพระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรกทรงหลั่งทักษิโณทก เสด็จ พระราชดำเนินกลับ สำหรับในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามพระราชกิจพอสรุปได้ ดังนี้ ในตอนเย็ น พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว จะเสด็ จ พระราชดำเนิ น ยั ง พระอุ โ บสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนท้ายที่นั่งบูชา พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
พระสัมพุทธพรรณี
พระพุทธเลิศหล้านภาไลย
ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่หน้าธรรมาสน์ศิลา ทรงกราบ จากนั้นเสด็จฯ ออกจาก พระอุโบสถประทับยืนที่ชานพระอุโบสถ ผู้อำนวยการกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ทูลเกล้าฯ ถวายเทียนทรงจุดไฟจากโคมไฟฟ้าแล้วพระราชทาน เพื่อเชิญไปถวายเจ้าอาวาส จุดเทียนบูชา พระรัตนตรัยตามพระอารามหลวงที่ได้ทรงพระราชอุทิศไว้ จากนั้นผู้อำนวยการกองพระราชพิธี ทูลเกล้าฯ ถวายเทียนชนวนทรงจุดไฟจากโคมไฟฟ้าและทรงถือไว้ เจ้าพนักงานศุภรัต นำโคมเทียน สำหรั บ ทรงถื อ เมื่ อ เวลาเสด็ จ ฯ เวี ย นเที ย นประทั ก ษิ ณ พระอุ โ บสถ มาขอพระราชทานจุ ด ไฟ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ เข้าไปเฝ้าฯ ขอพระราชทานต่อเทียนที่ทรงถือนั้น เสร็จแล้ว พระราชทานเทียนชนวนให้เจ้าพนักงานสนมพลเรือนรับไป ทรงกราบแล้วทรงนำสวดสรรเสริญ คุณพระรัตนตรัย จบแล้วทรงรับโคมเทียนจากเจ้าพนักงานศุภรัต เสด็จฯ เวียนเทียนประทักษิณ พระอุ โ บสถพร้ อ มด้ ว ยพระบรมวงศานุ ว งศ์ ข้ า ราชการ จำนวน ๓ รอบแล้ ว เสด็ จ ฯ ขึ ้ น สู ่ พระอุโบสถ ไปยังธรรมาสน์ศิลา ทรงโปรยดอกมะลิที่ธรรมาสน์ศิลาแล้วเสด็จฯ ประทับพระราชอาสน์ ทรงศี ล พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา จบแล้ ว ถวายอนุ โ มทนา (ยะถา วาริ ว หา) บนธรรมาสน์ ทรงหลั่ ง ทั ก ษิ โ ณทก พระสงฆ์ ๔ รู ป สวดอนุ โ มทนา พระราชาคณะลงมานั่ ง ณ อาสน์สงฆ์ เสด็จฯ ไปทรงประเคนเครื่องไทยธรรมกัณฑ์เทศน์ และทรงประเคนไทยธรรม แด่พระสงฆ์ ๔ รูป ที่สวดอนุโมทนา พระสงฆ์ถวายอดิเรก ออกจากพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ เป็นอันเสร็จ การพระราชพิธี ในส่วนของประชาชนชาวพุทธทั่ว ๆ ไป เมื่อถึงวันสำคัญเช่นนี้ ก็มีธรรมเนียมประเพณี ปฏิบัติสืบ ๆ กันมา ทั้งชาววัดชาวบ้านจะพากันทำความสะอาดวัดวาอาราม อาคารบ้านเรือน ในตอนเช้าเข้าวัดทำบุญใส่บาตร รักษาศีล ฟังธรรม ถือศีลอุโบสถ ตอนค่ำ ๆ จะมีพิธีเวียนเทียน
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
48
ที่ศาลารายรอบ ๆ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จะมีผู้นำโคมสวยงามไปแขวนเป็น พุทธบูชากันเป็นจำนวนมากมาย ในส่วนของวัดต่าง ๆ ทุกวัดทั่วประเทศจะมีการจัดพิธีเวียนเทียนกัน เป็ น กิ จ กรรมหลั ก บางแห่ ง อาจมี ก ิ จ กรรมอื่ น ๆ เพิ่ ม เติ ม เสริ ม ตามความเหมาะสม เช่ น จัดนิทรรศการ สนทนาธรรม บำเพ็ญประโยชน์ ในปัจจุบันได้มีการรับรองให้วันวิสาขบูชาเป็น
วันสำคัญสากล โดยที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติรับรอง เมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ สำหรับพิธีการเวียนเทียนในวันวิสาขบูชา มีข้อควรปฏิบัติทั่ว ๆ ไป พอสรุปเป็นแนวทางได้ ดังนี้ - ชำระร่างกายให้สะอาด แต่งกายสุภาพเรียบร้อย - เตรียมดอกไม้ ธูป เทียน สำหรับบูชาให้พร้อม โดยเฉพาะเทียนควรใช้เล่มใหญ่ จะได้ไม่ดับในเวลาเวียนเทียน - ไปวัดหรือสถานที่เวียนเทียนก่อนเริ่มพิธี - ที่วัดหรือสถานที่เวียนเทียนจะมีพิธีบูชาพระ ไหว้พระ รับศีลก่อนเวียนเทียนเสมอ - เมื่อเริ่มเวียนเทียน พึงทำจิตใจให้สงบแจ่มใส ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย โดยใน รอบที่ ๑ ระลึกถึงพระพุทธคุณ (หากสวดภาษามคธได้ ให้สวดบท อิติปิ โส ภควา) ในรอบที่ ๒ ระลึกถึงพระธรรมคุณ (หากสวดภาษามคธได้ ให้สวดบท สวากขาโต) ในรอบที่ ๓ ระลึกถึงพระสังฆคุณ (หากสวดภาษามคธได้ ให้สวดบท สุปฏิปันโน) - ไม่ควรพูดคุย หยอกล้อ ส่งเสียงดัง หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ในขณะเวียนเทียน - เวี ย นเที ย นครบ ๓ รอบแล้ ว นำเครื่ อ งบู ช าไปวางในที่ บู ช าซึ่ ง ทางสถานที่ จั ด ไว้ หรื อ วางไว้ ณ ที่ อั น สมควร หลั ง จากนั ้ น จะมี พ ิ ธ ี อ ื่ น ๆ เช่ น ทำวั ต ร สวดมนต์ และสดับพระธรรมเทศนา เกี่ยวกับพระพุทธประวัติ ก็พึงปฏิบัติตามที่ตนสะดวก คำบูชาก่อนจะเวียนเทียนในวันวิสาขบูชา ดังนี้ ยมมฺ ห โข มยํ ภควนฺ ตํ สรณํ คตา โย โน ภควา สตฺ ถ า ยสฺ ส จ มยํ ภควโต ธมฺ มํ โรเจม อโหสิ โข โส ภควา มชฺ ฌ ิ เ มสุ ชนปเทสุ อริ ย เกสุ มนุ สฺ เ สสุ อุ ปฺ ป นฺ โ น ขตฺ ต ิ โ ย ชาติ ย า โคตโม โคตฺ เ ตน สกฺ ย ปุ ตฺ โ ต สกฺ ย กุ ล า ปพฺ พ ชิ โ ต สเทวเก โลเก สมารเก สพฺ ร หฺ ม เก สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ นิ สฺ ส งฺ ส ยํ โข โส ภควา อรหํ สมฺ ม าสมฺ พุ ทฺ โ ธ วิ ชฺ ช าจรณสมฺ ป นฺ โ น สุ ค โต โลกวิ ท ู
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถาเทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา
49 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
สวากฺขาโต โข ปน เตน ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐฺิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ สุปฏิปนฺโน โข ปนสฺส ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญฺายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริปุริสยุคานิ อฏฺฐฺปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโยอญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญฺกฺเขตฺตํ โลกสฺส อยํ โข ปน (ถูโป, ปฏิมา) ตํ ภควนฺตํ อุทฺทิสฺส (กโต, กตา) ยาวเทว ทสฺสเนนตํ ภควนฺตํ อนุสฺสริตฺวา ปสาทสํเวคปฏิลาภาย มยํ โข เอตรหิ อิมํ วิสาขปุณฺณมีกาลํ ตสฺส ภควโต ชาติสมฺโพธินิพฺพานกาลสมฺมตํ ปตฺวา อิมํ ฐฺานํ สมฺปตฺตา อิเม ทณฺฑทีปธูปาทิสกฺกาเร คเหตฺวา อตฺตโน กายํ สกฺการุปธานํ กริตฺวา ตสฺส ภควโต ยถาภุจฺเจ คุเณ อิมํ (ถูปํ, ปฏิมํ) ติกฺขตฺตุํ ปทกฺขิณํ กริสฺสาม ยถาคหิเตหิ สกฺกาเรหิ ปูชํ กุรุมานา สาธุ โน ภนฺเต ภควา สุจิรปรินิพฺพุโตปิ ญาตพฺเพหิ คุเณหิ อตีตารมฺมณตาย ปญฺญฺายมาโน อิเม อมฺเหหิ คหิเต สกฺกาเร ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย. เราทั้งหลายได้ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย และเราทั้งหลายชอบใจในธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้เสด็จอุบัติขึ้นในหมู่มนุษย์ชาวอริยกะ ในมัชฌิมชนบท พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เป็นพระโคตมโดยพระโคตร ทรงเป็นกษัตริย์ศากยบุตร เสด็จออกทรงผนวชจากศากยสกุล ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึง พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้ ไม่มีผู้ใดยิ่งไปกว่า ทรงเป็นพระบรมศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว เป็นผู้ทรงสิริโสภาคย์อย่างไม่ต้องสงสัย อนึ่ง พระธรรมคือพระพุทธศาสนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นธรรมที่มิประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาปฏิบัติ เป็นธรรมที่วิญญูชน จะพึงรู้ได้เฉพาะตน และพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ปฏิบัติดี เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร พระสงฆ์สาวกนี้ เมื่อนับเป็นคู่ได้ ๔ คู่ นับเป็น
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
50
บุคคลได้ ๘ นี้ คือ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ เป็นผู้ควรแก่ ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ของทำบุญ เป็นผู้ควรประนมมือไหว้ เป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นใด ยิ่งไปกว่า (พระสถูป, พระพุทธปฏิมา) นี้ ได้สร้างไว้อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เพียงเพื่อจะให้ได้ความเลื่อมใสและสังเวชในเมื่อได้ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วย ญาณทัสนะ บัดนี้ ถึงวันวิสาขปุณณมี ซึ่งถือเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน ของพระผู ้ ม ี พ ระภาคเจ้ า พระองค์ นั ้ น แล้ ว เราทั ้ ง หลายจึ ง มาประชุ ม พร้ อ มกั น ณ ที่ น ี ้ ได้ ถ ื อ
เครื่องสักการบูชา มีเทียนธูปเป็นต้น ทำกายของตนให้เป็นดั่งภาชนะรองรับเครื่องสักการบูชา น้อมระลึกถึงพระคุณตามที่เป็นจริงของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จะกระทำประทักษิณ (พระสถูป, พระพุทธปฏิมา) นี้ ๓ รอบ ถวายสักการบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเครื่องสักการบูชาตามที่ถือไว้นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ไปนานนักแล้ว แต่ยังปรากฏอยู่ด้วยพระคุณ ซึ่งข้าพเจ้าทั้งหลายทราบได้โดยเป็นอตีตารมณ์ ขอได้ทรงอนุเคราะห์รับเครื่องสักการบูชาที่ข้าพเจ้าทั้งหลายถือบูชาอยู่นี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ หมายเหตุ คำในวงเล็บ ถูโป, ปฏิมา, ถูปํ, ปฏิมํ พึงเปลี่ยนใช้ตามสถานที่ที่จะเวียนเทียน หากเป็นสถูป เจดีย์ ใช้ ถูโป ถูปํ หากเป็นพระพุทธรูป อุโบสถ ใช้ ปฏิมา ปฏิมํ การพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชานี้ หากในปีใดเป็นปีมีอธิกมาส (มี เ ดื อ น ๘ สองหน) การพระราชพิ ธ ี แ ละการประกอบพิ ธ ี ว ิ ส าขบู ช าในปี นั ้ น จะเลื่ อ นออกไป จัดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
51 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
52
53 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
54
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง
การพระราชกุ ศ ลทรงผนวชของพระบรมวงศานุ ว งศ์ และการอุ ป สมบทนาคหลวง เป็นพระราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณ เป็นการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในเทศกาลเข้าพรรษาของ พระมหากษั ต ริ ย์ ใ นฐานะพระองค์ ท รงเป็ น พุ ท ธมามกะ ซึ่ ง พระราชนิ พ นธ์ ใ นพระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน เรียกพระราชพิธีเข้าพรรษา ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์นี้ว่า พระราชพิธีเดือน ๘ อันเป็นพระราชพิธีที่มีการประพฤติปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย ซึ่งนางนพมาศ ได้กล่าวไว้ทั้งการหลวงและการราษฎร์ ดังนี้ “เดือน ๘ นักขัตฤกษ์บูชาใหญ่การพระราชพิธีอาษาฒมาส พระวรบุตะพุทธชิโนรส
ในพระศาสนาจะจำพรรษาเป็นมหาสันนิบาตทุกพระอาราม ฝ่ายพราหมณาจารย์ก็จะเข้า พรตสมาทานศีล บริโภคกระยาบวชบูชาคุณ (หรือกุณฑ์) พิธีกึ่งเดือน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงดำรัสสั่งนายนักการ ให้จัดแจงตกแต่งเสนาสนะทุกพระอาราม แล้วทรงถวายบริขาร สมณะเป็นต้นว่า เตียง ตั่ง ที่นั่ง ที่นอน เสื่อสาดลาดปูเป็นสังฆทาน แต่ในสมัยสุโขทัยนี้ไม่มี กล่าวไว้ว่าเจ้านายและผู้มีบรรดาศักดิ์ทั้งปวง จะต้องบวชเมื่ออายุบวชหรือไม่ ดูไม่มีปรากฏ กล่าวถึงในหนังสือนพมาศเลย” ในสมัยกรุงศรีอยุธยา หนังสือขุนหลวงหาวัดได้กล่าวถึงพิธีอาษาฒว่า เป็นการบวชนาคหลวง เท่าพระชนมายุ แต่ก็ไม่กล่าวถึงการทรงผนวชของเจ้านาย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ว่า “การที่บวชนาคหลวงเท่าพระชนมายุเห็นจะเป็น
ในแผ่ น ดิ น พระบรมโกศ ทรงพระราชศรั ท ธาตั้ ง ธรรมเนี ย มขึ้ น ใหม่ เลื อ กช่ ว ยคนบวช
แต่การบวชนาคหลวงเท่าพระชนมายุนี้ เห็นจะไม่ช่วยคนไถ่ค่าตัว ถ้าช่วยไถ่ค่าตัวถึงหกสิบ เจ็ดสิบคนจะหลายสิบชั่ง ทั้งค่าผ้าไตร บาตรบริขารทุกปีทุกปีคงลมจับ ไม่อาจทำ ชะรอย
จะใช้นาคมหาดเล็กและตำรวจข้าราชการไม่ว่าหมู่ใด กรมใด พระราชทานแต่ผ้าไตรและ บริขารอย่างบวชนาคมหาดเล็กที่เป็นนาคหลวงในชั้นหลัง ๆ หรือจะนับทั้งพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า ด้วยประการใด ก็ไม่ทราบ ดูว่าก็จะเป็นอันได้บริจาคพระราชทรัพย์มากพอควร อยู่แล้ว” และในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าได้กล่าวไว้ว่า “เดือน ๘ พระราชพิธีอาษาฒ พระเจ้ า กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ทรงบำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลบวชนาคเป็ น ภิ ก ษุ บ้ า ง สามเณรบ้ า ง
รวมจำนวนเท่าพระชนมายุ” ดังนั้น จะเห็นว่าพระราชกุศลนี้เป็นพระราชประเพณีที่มีมาแต่ โบราณ
55 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสืบทอดพระราชประเพณีนี้มาเช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ได้ถือจำนวนเท่าพระชนมายุ สุดแต่ปีใดจะมีพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาท มีจิตศรัทธาที่จะเข้ารับการบรรพชาอุปสมบทเท่าใด และใครจะเป็นนาคหลวง ใครจะเป็นนาค ในพระบรมราชานุเคราะห์ ก็สุดแต่ตำแหน่งหน้าที่ทางการงานและความใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท และการที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นสำคัญ ซึ่งประเพณีการทรงผนวชพระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพาร ผู้ใดจะอุปสมบท โดยเป็นนาคหลวงต้องนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต ก่อนถึงกำหนดการทรง ผนวชและอุปสมบท เมื่อมีพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแล้ว ผู้นั้นจึงจะเป็น นาคหลวงและเข้าอยู่ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง โดยปกติการทรง ผนวชของพระบรมวงศานุวงศ์ หรือการอุปสมบทนาคหลวงนั้น จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีทรงผนวชหรืออุปสมบทนาคหลวงขึ้น ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งจะอยู ่
ในช่วงวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ก่อนเข้าพรรษา เว้นแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กำหนดการเปลี่ยนแปลงเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งการทรงผนวชหรืออุปสมบทนาคหลวงนี้ ผู้ที่จะทรง ผนวชหรืออุปสมบทในคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกายก็ได้ ฝ่ายมหานิกายก็ได้ สุดแต่ผู้บวชจะสมัครใจ ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ปรากฏว่า มีพระบรมวงศานุวงศ์ทรงผนวชทั้งคณะสงฆ์ฝ่าย มหานิกายและธรรมยุตนิกาย เมื่อได้รับการอุปสมบท ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล อุปสมบทนาคหลวงแล้ว ผู้ที่ทรงผนวชหรือได้รับการอุปสมบทแล้วจะเลือกอยู่จำพรรษาวัดใดก็ได้ แต่ต้องตกลงกับเจ้าอาวาสวัดนั้นไว้ก่อน ในปัจจุบันได้มีระเบียบที่ต้องถือปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะได้รับพระราชทานพระมหากรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ทรงผนวชหรืออุปสมบทเป็นนาคหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ - พระบรมวงศานุวงศ์ - ข้าราชการฝ่ายทหาร ตำรวจ ยศตั้งแต่พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก พันตำรวจเอก - ราชองครักษ์ประจำ นายตำรวจราชสำนัก เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยชั้นสัญญาบัตร ที่ปฏิบัติหน้าที่ในราชสำนัก - ข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไป - ข้าราชการในพระองค์ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป รับราชการสนองเบื้องพระยุคลบาท มาไม่น้อยกว่า ๕ ปี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
56
สำหรับข้าราชการฝ่ายทหาร ตำรวจ พลเรือน และข้าราชการในพระองค์ที่เป็นราชสกุล หรื อ ราชิ น ิ กุ ล ที่ ม ี ฐ านะเป็ น ข้ า ราชการสั ญ ญาบั ต ร แม้ จ ะมี ย ศต่ ำ กว่ า ที่ ก ล่ า วมาแล้ ว ข้ า งต้ น ก็อาจทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงได้ ส่วนบุคคลทั่วไปถ้าทรงคุ้นเคยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณา ก็อุปสมบทเป็นนาคหลวงได้เช่นกัน นอกจากนี้ สามเณรที่สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อมีอายุครบที่จะอุปสมบท เป็นพระภิกษุ ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาให้อุปสมบท ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อนึ่ ง ในการพระราชทานพระมหากรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ในการอุ ป สมบทแก่ ส ามเณร ที่สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ตั้งแต่วัสสกาล ๒๕๔๘ เป็นต้นมา ให้ดำเนินการ ดังนี้ ๑. สามเณรเปรียญธรรม ๙ ประโยค อายุไม่เกิน ๒๒ ปี พระราชทานพระมหากรุณา อุปสมบทเป็นนาคหลวง ๒. สามเณรเปรียญธรรม ๙ ประโยค อายุเกิน ๒๒ ปี พระราชทานพระมหากรุณา อุปสมบทเป็นนาคในพระบรมราชานุเคราะห์ นาคในพระบรมราชานุ เ คราะห์ คื อ นาคที่ ไ ด้ รั บ พระมหากรุ ณ าพระราชทาน เครื่องสมณบริขารไปประกอบพิธีอุปสมบทกรรมยังวัดที่ผู้เป็นนาคมีความประสงค์จะเข้ารับ
การอุ ป สมบท สำหรั บ บุ ค คลทั่ ว ไปที่ จ ะขอพระราชทานพระมหากรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ เป็ น นาค ในพระบรมราชานุเคราะห์นั้นจะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้ - บุคคลที่ทรงคุ้นเคยและควรได้รับพระราชทานพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่ยัง ไม่อยู่ในฐานะที่จะอุปสมบทเป็นนาคหลวง - ข้าราชการในพระองค์ที่ต่ำกว่าระดับ ๓ แต่ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณ อยู่ในราชสำนักกว่า ๕ ปี ธรรมเนี ย มปฏิ บั ต ิ ก ารจั ด ลำดั บ เข้ า ทรงผนวชหรื อ อุ ป สมบทเป็ น นาคหลวง ถ้ า เป็ น พระบรมวงศานุวงศ์ถือตามพระอิสริยศักดิ์ ถ้าทรงมีพระอิสริยศักดิ์เสมอกัน จึงจัดลำดับเข้ารับ
การทรงผนวชตามพระชันษา ต่อจากพระบรมวงศ์ เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ราชสกุล และราชินิกุล ตามลำดับ ส่วนข้าทูลละอองธุลีพระบาททั่วไป ถือการเข้ารับการอุปสมบทตามลำดับอาวุโส และ ถ้ามีสามเณรเปรียญธรรม ๙ ประโยค เข้ารับการอุปสมบทเป็นนาคหลวงด้วย ก็จะจัดให้สามเณร เปรียญธรรม ๙ ประโยคเข้ารับการอุปสมบทก่อนข้าทูลละอองธุลีพระบาททั่วไป
57 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง ส่วนใหญ่จะอยู่ใน วัน วันที่ หรือเดือนใด ให้ไปตรวจสอบจากปฏิทินให้แน่นอน แล้วลงวัน เดือน ปี ให้ถูกต้องตามทาง สุริยคติ ถ้าหากมีการอุปสมบททั้งฝ่ายมหานิกายและฝ่ายธรรมยุตนิกาย ก็จะทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีอุปสมบทแยกกันแต่ละนิกาย ซึ่งอาจจะเป็นนิกายละวันหรือวันเดียวกัน แต่ น ิ ก ายละเวลาก็ สุ ด แต่ จ ะทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ สำหรั บ ในปั จ จุ บั น ทรงพระกรุ ณ า โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดเป็นวันเดียวกันแต่นิกายละช่วงเวลา โดยภาคเช้าเป็นการอุปสมบทของ คณะสงฆ์ ฝ่ า ยมหานิ ก าย และภาคบ่ า ยเป็ น การอุ ป สมบทของคณะสงฆ์ ฝ่ า ยธรรมยุ ต นิ ก าย เมื่ อ นิ ก ายใดอุ ป สมบทเรี ย บร้ อ ยแล้ ว หรื อ ขณะรอเข้ า รั บ พิ ธ ี อุ ป สมบทกรรมในพระอุ โ บสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้นาคที่จะเข้ารับการทรงผนวชหรืออุปสมบทไปรออยู่ ณ ศาลาสหทัย สมาคม ภายในพระบรมมหาราชวัง จนกว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา ได้แจ้งให้ทราบ และนำมายังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นาคหลวงที่ทรงผนวชหรืออุปสมบทในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อเสร็จพิธีอุปสมบท กรรมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรง ประเคนเครื่องสมณบริขารแก่พระภิกษุนาคหลวง และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้ว สำนัก พระราชวังจะจัดรถยนต์พระประเทียบรับไปส่งยังพระอารามหรือวัดที่พระภิกษุนาคหลวงนั้น ๆ จะจำพรรษาอยู่ สำหรับการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งมีกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง ดังนี้
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
58
หมายรับสั่งที่ ๑๙๗๐๙
๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐
สำนักพระราชวัง
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบท นาคหลวง พุทธศักราช ๒๕๕๐ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. สามเณรฉัตรชัย ช่างทองคำ สามเณรไพรสณฑ์ โข่ต๊ะ สามเณรเสริมศักดิ์ คูณชัย สามเณรอำนาจ จอมนาค สามเณรอนุวัติ จั น ทเณร สามเณรสุ ร พงษ์ พั น ธ์ ไ ผ่ และสามเณรขวั ญ ชั ย บุ ต รพรหม สอบได้ เ ปรี ย ญธรรม ๙ ประโยค ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นนาคหลวงเข้าสู่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแล้ว เข้าขอบรรพชาอุปสมบทต่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่ามกลางสังฆมณฑล เมื่ออุปสมบทเสร็จแล้ว ไปพักที่ศาลาสหทัยสมาคม เวลา ๑๔.๐๐ น. นายภานุพันธ์ ชัยรัต และนายพิทักษ์ อดิศักดิ์เดชา ซึ่งทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ เป็นนาคหลวง ออกจากศาลาสหทัยสมาคม เข้าสู่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแล้ว เข้าขอบรรพชาอุปสมบทต่อสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่ามกลางสังฆมณฑลตามลำดับ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ส มเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เวลา ๑๗.๓๐ น. เสด็ จ พระราชดำเนิ น เข้ า สู่พ ระอุ โ บสถวั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแล้ว ทรงประเคนเครื่องสมณบริขาร แก่พระภิกษุนาคหลวง ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก เสด็จพระราชดำเนินกลับ แต่งกายเครื่องแบบปกติขาว
59 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง พุทธศักราช ๒๕๕๐ ทรงพระราชทานพระมหากรุณาให้การอุปสมบทเป็นนาคหลวง ซึ่งเป็นสามเณรสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค รวม ๗ รูป คือ ๑. สามเณรฉัตรชัย ช่างทองคำ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ราชบุรี ๒. สามเณรไพรสณฑ์ โข่โต๊ะ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร ๓. สามเณรเสริมศักดิ์ คูณชัย วัดชัยมงคล ชลบุรี ๔. สามเณรอำนาจ จอมนาค วัดเทพลีลา กรุงเทพมหานคร ๕. สามเณรสุรพงษ์ พันธ์ไผ่ วัดเทพลีลา กรุงเทพมหานคร ๖. สามเณรขวัญชัย บุตรพรหม วัดจองคำ ลำปาง ๗. สามเณรอนุวัติ จันทเณร วัดขันเงิน ชุมพร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง จำนวน ๒ คน คือ ๑. นายภานุพันธ์ ชัยรัต ๒. นายพิทักษ์ อดิศักดิ์เดชา และทรงพระราชทานพระมหากรุณาให้อุปสมบทสามเณรสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค เป็นนาคในพระบรมราชานุเคราะห์ รวม ๕ รูป คือ ๑. สามเณรสุชิน ลมขุนทด วัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ๒. สามเณรอัมราช เหมัง วัดราชสิงขร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ๓. สามเณรสมบัติ ปุ่งคำน้อย วัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ๔. สามเณรสมอาจ อิ่มเอม วัดดาวดึงษาราม เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๕. สามเณรประจักษ์ ทองดาษ วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ที่ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าหน้าที่นำพระสงฆ์และพระภิกษุนาคหลวงที่อุปสมบทใหม่ ไปพักที่ศาลาสหทัยสมาคม เพื่อ
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
60
รอรับการทรงประเคนเครื่องสมณบริขารแก่พระภิกษุนาคหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประเคนในภาคบ่าย เวลาประมาณ ๑๗ นาฬิกา เวลา ๑๗ นาฬิกา เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา นิมนต์พระสงฆ์ และพระภิกษุนาคหลวง เข้านั่งยังอาสน์สงฆ์พร้อมพัดยศตามลำดับสมณศักดิ์ ภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลา ๑๗ นาฬิกา ๓๐ นาที ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุ ม ารี เสด็ จ พระราชดำเนิ น ทรงปฏิ บั ต ิ พ ระราชกรณี ย กิ จ แทนพระองค์ ณ วั ด พระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง - เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดธูปเทียน ถวายนมั ส การพระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร ขณะนี ้ เจ้ า หน้ า ที่ ฝ่ า ยพิ ธ ี กองศาสนู ป ถั ม ภ์ กรมการศาสนา นิมนต์พระภิกษุนาคหลวงลงจากอาสน์สงฆ์ เพื่อเตรียมเข้ารับการทรงประเคน เครื่องสมณบริขาร รูปละ ๖ ชิ้น ดังนั้น จะต้องจัดเจ้าหน้าที่ประมาณ ๑๕-๑๖ คน เข้ารับ เครื่องสมณบริขารจากพระภิกษุนาคหลวง ออกมาพักไว้ยังชานด้านขวาของพระอุโบสถ เพื่อมอบให้ ญาติพระภิกษุนาคหลวงนำไปยังพระอารามหรืออารามที่พระภิกษุนาคหลวงอยู่จำพรรษา - ทรงประเคนเครื่องสมณบริขารแก่พระภิกษุนาคหลวงที่อุปสมบทใหม่ เมื่อรับทรง ประเคนแล้ว ให้พระภิกษุนาคหลวงกลับมานั่งยังอาสน์สงฆ์ ณ ที่เดิม เพื่อเตรียมกรวดน้ำรับพร - ทรงประทับพระเก้าอี้ - ทรงหลั่งทักษิโณทก (พระสงฆ์อนุโมทนา ถวายอดิเรก, พระภิกษุนาคหลวงกรวดน้ำ รับพร) - เจ้ า หน้ า ที่ ฝ่ า ยพิ ธ ี กองศาสนู ป ถั ม ภ์ กรมการศาสนา เข้ า รั บ พระสงฆ์ ล งจาก อาสน์สงฆ์ออกจากพระอุโบสถ เว้นแต่พระภิกษุนาคหลวงที่อุปสมบทใหม่ ให้นั่งรออยู่บนอาสน์สงฆ์ ด้วยอาการอันสงบ ยังไม่ต้องลงจากอาสน์สงฆ์ เพื่อส่งเสด็จผู้แทนพระองค์เสด็จพระราชดำเนิน กลับแล้ว จึงนำพระภิกษุนาคหลวงลงจากอาสน์สงฆ์ และไปส่งรถยนต์พระประเทียบเพื่อกลับยัง พระอารามหรืออารามที่อยู่จำพรรษาต่อไป
61 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
62
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล
เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา
วันอาสาฬหบูชา คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันที่มีความสำคัญในพระพุทธศาสนา อี ก วั น หนึ่ ง ที่ พุ ท ธศาสนิ ก ชนทั่ ว ไปจะพึ ง ระลึ ก ถึ ง และทำการบู ช าเป็ น กรณี พ ิ เ ศษ ด้ ว ยเหตุ ว่า วันดังกล่าวนี้มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นหลายประการ คือ - เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (เทศน์กัณฑ์แรก) ถือเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก - เป็ น วั น ที่ พ ระสงฆ์ อ งค์ แ รกบั ง เกิ ด ขึ ้ น ในโลก คื อ พระอั ญ ญาโกณฑั ญ ญะ ได้ รั บ
การอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาวิธีเป็นองค์แรกในวันนั้น - เป็นวันที่บังเกิดพระสังฆรัตนะ ทำให้พระรัตนตรัย คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ ครบบริบูรณ์ ในวันนั้น แม้วันอาสาฬหบูชาจะมีเหตุการณ์สำคัญเช่นที่กล่าวมา แต่ก็มิได้มีการจัดพิธีพุทธบูชา เช่นกับวันสำคัญอื่น ๆ คงจะเป็นด้วยเหตุว่า ในเดือน ๘ ยังมีวันสำคัญอีกวันหนึ่ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เรียกว่า วันเข้าพรรษา ซึ่งพระพุทธเจ้ามีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา ไม่จาริก ไปค้างแรมที่อื่นเป็นเวลา ๓ เดือน ในฤดูฝน ยกเว้นมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง โดยมีสาเหตุจากพระภิกษุ ฉัพพัคคีย์พาบริวารประมาณ ๑,๕๐๐ รูป จาริกไปในที่ต่าง ๆ ในฤดูฝน พากันเหยียบย่ำทำให้ เกิดความเสียหายแก่พืชผัก ข้าวกล้าของชาวนา ถูกชาวบ้านติเตียน ความนั้นทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงมีพระบรมพุทธานุญาตดังกล่าว วันเข้าพรรษานี้ ถือเป็นวันสำคัญ เพราะพระสงฆ์จำนวนมาก จะได้อยู่รวมกัน ประชาชนทั่ว ๆ ไป จึงนิยมทำบุญทำกุศลในวันดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษ ในส่วนการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา แต่เดิมไม่เคยมีมา คงมีแต่การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา การพระราชกุศล ดั ง กล่ า วนี ้ จ ะเริ่ ม มี ม าแต่ ส มั ย ใดไม่ ป รากฏหลั ก ฐาน แต่ สั น นิ ษ ฐานว่ า น่ า จะมี ม าตั ้ ง แต่ ส มั ย สุวรรณภูมิ หรือตั้งแต่พระพุทธศาสนาประดิษฐานมั่นคงในสยามประเทศ ในสมัยสุโขทัยได้มี หลักฐานปรากฏอยู่ในหนังสือ เรื่องนางนพมาศ กล่าวถึงการบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในเทศกาล เข้าพรรษาไว้ว่า
63 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
“ครั้นถึงเดือน ๘ นักขัตฤกษ์บูชาใหญ่ การพระราชพิธีอาษาฒมาส พระวรมุตะพุทธชิโนรส ในพระศาสนา จะจำพรรษาเป็ น มหาสั น นิ บ าตทุ ก พระอาราม ฝ่ า ยพราหมณาจารย์ ก็ จ ะเข้ า
พรตสมาทานศีล บริโภคกระยาบวชบูชาคุณ (หรือกุณฑ์) พิธีกึ่งเดือน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงดำรัสสั่งนายนักการ ให้จัดแจงตกแต่งเสนาสนะทุกพระอารามหลวง แล้วก็ทรงถวายบริขารสมณะ เป็นต้นว่า เตียง ตั่ง ที่นั่งนอน เสื่อสาด ลาดปูเป็นสังฆทาน และผ้ากาสาวาสิกพัตร์ สลากภัต คิลานภัต ทั้งประทีปเทียนจำนำพรรษาบูชาพระบรมธาตุพระพุทธปฏิมากร พระปริยัติธรรม สิ ้ น ไตรมาส ถวายธู ป เที ย นชวาลา น้ ำ มั น ตามไส้ ป ระที ป แด่ พ ระภิ ก ษุ ส งฆ์ บ รรดาจำพรรษา ในพระอารามหลวง ทั้งในกรุงนอกกรุง ทั่วถึงกันตามลำดับ ประการหนึ่ง ทรงพระราชอุทิศเครื่องกระยาสังเวยพลีกรรม พระเทวรูปในเทวสถานหลวง ทุกสถาน ทั้งสักการะหมู่พราหมณาจารย์ซึ่งจำพรตอ่านอิศวรเวท-เพทางคศาสตร์ บูชาพวกเป็นเจ้า
ด้วยเศวตรพัสตราภรณ์และเครื่องกระยาบวช ทั้งประทีปธูปเทียนวิเลปนให้บูชาคุณ (หรือกุณฑ์) โดยทรงพระราชศรัทธาในพุทธศาสนาไสยศาสตร์เจือกัน” เมื่อพิเคราะห์จากหลักฐานข้างต้นแล้ว จะเห็นว่า การพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่ อ งในเทศกาลเข้ า พรรษา น่ า จะมี ม าก่ อ นสมั ย สุ โ ขทั ย และมี ส ื บ ๆ กั น ต่ อ มาจนถึ ง สมั ย
กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ แต่การพระราชพิธีดังกล่าว มีรายละเอียด พิธีแตกต่างกันออกไปบ้าง กับทั้งได้มีการเปลี่ยนชื่อไปตามกาลตามสมัย เช่น ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เปลี่ยนชื่อพระราชพิธีนี้ว่า พระราชพิธีเข้าพระวษา กำหนดไว้ ในกฎมณเฑียรบาล ให้เป็นพิธีหนึ่งในพระราชพิธี ๑๒ เดือน อนึ่ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ก็มีชื่อเรียกพระราชพิธีเดือน ๘ นี้ว่า พระราชพิธีอาษาฒ ปรากฏตามคำให้การชาวกรุงเก่า ดังนี้ “เดือน ๘ พระราชพิธีอาษาฒ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวชนาค เป็นพระภิกษุบ้าง สามเณรบ้าง รวมเท่าจำนวนพระชนมายุ มีการมหรสพสมโภชพระพุทธสุรินทร ๓ วัน ๓ คืน ทรงหล่อเทียนพรรษา จบหัตถ์แล้ว ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ส่งไปถวายเป็นพุทธบูชา ตามพระอารามทั้งในกรุงและหัวเมือง” สำหรับการเรียกชื่อพระราชพิธีดังกล่าว พอสรุปตามยุคสมัยได้ ดังนี้ - สมัยสุโขทัย เรียกว่า พระราชพิธีอาษาฒมาส - สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เรียกว่า พระราชพิธีเข้าพระวษา - สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เรียกว่า พระราชพิธีอาษาฒ - สมั ย กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ พ.ศ. ๒๔๕๑-๒๔๗๖ เรี ย กว่ า การพระราชกุ ศ ลในฤดู
เข้าพรรษา
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
64
- สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๕๐๐ เรียกว่า การพระราชกุศลเข้าพรรษา - สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๕๐๑ เรียกว่า การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล อาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา - ปั จ จุ บั น เรี ย กว่า พระราชพิ ธ ี ท รงบำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลเนื่ อ งในวั น อาสาฬหบู ช า และเทศกาลเข้าพรรษา ปั จ จุ บั น นี ้ รายละเอี ย ดในการจั ด พระราชพิ ธ ี ไ ด้ เ ปลี่ ย นแปลงไปเป็ น อั น มาก เช่ น การบวชนาคเป็นพระภิกษุ ก็แยกออกเป็นอีกพระราชพิธีหนึ่ง เรียกว่า พระราชพิธีอุปสมบทนาคหลวง พระราชพิธีนี้จะจัดในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ การสมโภชพระพุทธสุรินทร ไม่มีการหล่อเทียนพรรษา ทรงหล่ อ และพระราชอุ ท ิ ศ พระราชทานไปตามพระอารามหลวงต่ า ง ๆ ก่ อ นวั น เข้ า พรรษา มีการพระราชกุศลทรงบาตรในเวลาเช้า มีพิธีถวายพุ่มเทียนพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ ณ พระอุโบสถ วั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม มี พ ระราชพิ ธ ี เ ปลี่ ย นเครื่ อ งทรงพระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร (พระแก้วมรกต) จากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน กับทั้งได้รวมวันสำคัญทั้ง ๒ วัน คือ วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา จัดเข้าไว้ในพระราชพิธีเดียวกัน เรียกว่า พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา สำหรับพระราชกิจในการพระราชพิธีดังกล่าว พอสรุปได้ ดังนี้ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ วันอาสาฬหบูชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม - ทรงจุดเทียนพรรษาบูชาพระรัตนตรัย - ทรงจุดธูปเทียนท้ายที่นั่งและถวายพุ่มธูปเทียน พุ่มต้นไม้ บูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย - ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองใหญ่ - ทรงจุดเทียนชนวนพระราชทานแก่เจ้าพนักงาน เพื่อเชิญไปถวายเจ้าอาวาสและ พระราชวงศ์จุดเทียนพรรษาที่ทรงพระราชอุทิศไว้ ณ พระศรีรัตนเจดีย์ หอพระมณเฑียรธรรม หอพระศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง และพระอารามหลวงต่าง ๆ ที่มิได้
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงจุดด้วยพระองค์เอง - ทรงประเคนพุ่มธูปเทียน แด่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ และพระภิกษุนาคหลวง พระสงฆ์ถวายอดิเรกแล้วออกจากพระอุโบสถ จึงเสด็จ พระราชดำเนินกลับ
65 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ วันเข้าพรรษา เวลาเช้า เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน ๑๕๐ รูป เข้ารับพระราชทานอาหารบิณฑบาตของหลวง ในพระบรมมหาราชวัง ในการพระราชกุศล เข้ า พรรษา เวลาบ่ า ย พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เสด็ จ พระราชดำเนิ น ไปยั ง พระอุ โ บสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม - เสด็จฯ ขึ้นไปด้านหลังบุษบก ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทรงประกอบพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน - เสด็จฯ ลงมาประทับพระเก้าอี้ที่ข้างฐานชุกชี ทรงหยิบผ้าขาวที่ใช้ซับองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ชุบน้ำพระสุคนธ์ในโถแก้ว ทรงบีบลงในโถแก้วและหม้อน้ำ - เสด็จฯ ไปทรงถอดยอดพระรัศมีพระสัมพุทธพรรณี ประจำฤดูร้อนออก เปลี่ยนสวมยอด พระรัศมีพระสัมพุทธพรรณีประจำฤดูฝนถวาย ทรงพระสุหร่าย ทรงวางกระทงดอกไม้ ทรงจุดธูปเทียนท้ายที่นั่งแล้ว ทรงจุดเทียนห่วงบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และพระสัมพุทธพรรณี - เสด็จฯ ไปจุดธูปเทียนท้ายที่นั่งบูชาพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย - เสด็จฯ ไปทรงจุดเครื่องนมัสการทองใหญ่ ทรงกราบ ประทับพระราชอาสน์ - ทรงรั บ พระมหาสั ง ข์เ พชรน้ อ ย สรงที่ พ ระเศี ย รแล้ ว เสด็ จ ฯ ไปทรงพระสุ ห ร่า ย น้ำพระพุทธมนต์แก่ข้าราชการที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระอุโบสถแล้วประทับ พระราชอาสน์ - พราหมณ์ เบิกแว่นเวียนเทียน ๓ รอบ และเจิมที่ฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร - เสด็ จ พระราชดำเนิ น ออกจากพระอุ โ บสถ ทรงพระสุ ห ร่ า ยน้ ำ พระพุ ท ธมนต์ แ ก่ ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จฯ บริเวณลานพระอุโบสถ สองข้างทางที่เป็นทางเสด็จ พระราชดำเนิน จากนั้น เสด็จฯ ไปวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นอันเสร็จการพระราชพิธี อนึ่ง ในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษานี้ นอกจากการพระราชพิธีดังกล่าวแล้ว ยังมีประเพณีของหลวงที่ปฏิบัติสืบ ๆ มา อีก ๒ ประการ คือ ประเพณีการสวดพระมหาชาติ คำหลวงและประเพณีการสวดโอ้เอ้พิหารราย การสวดทั้ง ๒ ประเภทนั้น ทุกปีมีกำหนดสวด ดังนี้ ต้นพรรษา วันขึ้น ๑๔, ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ กลางพรรษา วันแรม ๑๓, ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ และวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ออกพรรษา วันขึ้น ๑๔, ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
66
การสวดพระมหาชาติคำหลวง เป็นธรรมเนียมที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัย สมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถ สวดที่ พ ระอุ โ บสถวั ด พระศรี ส รรเพชญ์ จนถึ ง รั ช สมั ย สมเด็ จ พระเจ้าทรงธรรม จึงมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า “ทำนองที่ใช้สวด มหาชาติคำหลวง เป็นทำนองอันเกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระเจ้าทรงธรรม โดยทรงพระอุตสาหะ ฝึ ก หั ด นั ก สวดด้ ว ยพระองค์เ อง โดยให้ ร าชบุ รุ ษ ผู ้ เ ป็ น เจ้ า พนั ก งาน รั บ เครื่ อ งราชบรรณาการ เป็นกรมนักสวด” ในปัจจุบันก็ยังมีปฏิบัติอยู่ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา เป็นผู้รับผิดชอบในการฝึกหัดนักสวด และจัดเจ้าหน้าที่ไปสวด ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันละ ๔ นาย ตามกำหนด ซึ่งทางสำนักพระราชวัง จะมีหนังสือแจ้งให้ทราบก่อนวันเข้าพรรษา ประเพณีการสวดโอ้เอ้พิหารราย เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่มีการสวดในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา การสวดประเภทนี้ได้ชื่อตามสถานที่ที่นั่งสวด คือ ทำการสวดกันที่ พระวิหารรายรอบ ๆ พระอุโบสถ โดยใช้ผู้ที่ฝึกหัดสวดพระมหาชาติคำหลวงซึ่งยังไม่ชำนาญ ในการสวด ไปสวดที่วิหารรายก่อนเมื่อชำนาญแล้วจึงไปสวดในพระอุโบสถ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดนักเรียนโรงทานอ่านหนังสือสวด ตามที่ตัวเล่าเรียน เป็นทำนองยานี ฉบัง สุรางคณางค์ตามแต่ผู้ใดจะถนัดสวดเรื่องใด ทำนองใด สวดตามศาลารายรอบพระอุ โ บสถวั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม ทุ ก ศาลาราย ศาลาละ ๒ คน หากนั ก เรี ย นโรงเรี ย นใดเสี ย งดี สวดได้ ไ พเราะ จะถู ก จั ด ให้ ม าสวดที่ ศ าลาราย ใกล้ ท าง เสด็จพระราชดำเนิน ปัจจุบันยังไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง เมื่อจวนถึงกำหนดสวด สำนักพระราชวัง จะมีหนังสือแจ้งกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสั่งการให้โรงเรียนต่าง ๆ ส่งนักเรียนมาทำการสวด วันอาสาฬหบูชาในส่วนของประชาชนทั่วไปนั้น ไม่เคยมีจัดกันมาก่อน เพิ่งมาเริ่มจัดกัน เป็นทางการ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ จากการที่คณะสังฆมนตรีมีมติเห็นชอบ และได้มีประกาศ คณะสงฆ์ เรื่อง กำหนดวันสำคัญทางศาสนา ลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๑ โดยให้วัดต่าง ๆ ถือปฏิบัติ ดังนี้ - วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ให้เรียกว่า วันอาสาฬหบูชา - ให้ประกอบพิธีบูชาเช่นเดียวกับพิธีวิสาขบูชา - ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส ให้กำหนดประกอบพิธีในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลัง - ให้วัดทั้งหลายประกอบพิธีอาสาฬหบูชา ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๑ เป็นต้นไป
67 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
แม้ทางรัฐบาลก็เห็นความสำคัญในวันดังกล่าว จึงประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ และ ได้มีการจัดพิธีวันอาสาฬหบูชามาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ การเวียนเทียนในวันอาสาฬหบูชานี้ มีระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เหมือนกับการเวียนเทียน ในวันมาฆบูชาและวิสาขบูชานั้นเอง คำบูชาก่อนเวียนเทียนวันอาสาฬหบูชา มีดังนี้ ยมมฺห โข มยํ ภควนฺตํ สรณํ คตา โย โน ภควา สตฺถา ยสฺส จ มยํ ภควโต ธมฺมํ โรเจม อโหสิ โข โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ สตฺเตสุ การุญฺญฺํ ปฏิจฺจ กรุณายโก หิเตสี อนุกมฺปํ อุปาทาย อาสาฬฺหปุณฺณมิยํ พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย ปญฺจวคฺคิยานํ ภิกฺขูนํ อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปฐฺมํ ปวตฺเตตฺวา จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ปกาเสสิ. ตสฺ ม ิ ญฺ จ โข สมเย ปญฺ จ วคฺ ค ิ ย านํ ภิ กฺ ขู นํ ปมุ โ ข อายสฺ ม า อญฺ ญฺ า โกณฺ ฑ ญฺ โ ญฺ ภควโต ธมฺมํ สุตฺวา วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ ปฏิลภิตฺวา ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ ภควนฺตํ อุปสมฺปทํ ยาจิตฺวา ภควโตเยว สนฺติกา เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทํ ปฏิลภิตฺวา ภควโต ธมฺมวินเย อริยสาวกสงฺโฆ โลเก ปฐฺมํ อุปฺปนฺโน อโหสิ พุทฺธรตนํ ธมฺมรตนํ สงฺฆรตนนฺติ ติรตนํ สมฺปุณฺณํ อโหสิ. มยํ โข เอตรหิ อิมํ อาสาฬฺหปุณฺณมีกาลํ ตสฺส ภควโต ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนกาลสมฺมตํ อริยสาวกสงฺฆอุปฺปตฺติกาลสมฺมตญฺจ รตนตฺตยสมฺปูรณกาลสมฺมตญฺจ ปตฺวา อิมํ ฐฺานํ สมฺปตฺตา อิเม สกฺกาเร คเหตฺวา อตฺตโน กายํ สกฺการุปธานํ กริตฺวา ตสฺส ภควโต ยถาภุจฺเจ คุเณ อนุสฺสรนฺตา อิมํ (ถูปํ, พุทฺธปฏิมํ) ติกฺขตฺตุํ ปทกฺขิณํ กริสฺสาม ยถาคหิเตหิ สกฺกาเรหิ ปูชํ กุรุมานา สาธุ โน ภนฺ เ ต ภควา สุ จ ิ ร ปริ น ิ พฺ พุ โ ตปิ ญฺ า ตพฺ เ พหิ คุ เ ณหิ อตี ต ารมฺ ม ณตาย ปญฺญฺายมาโน อิเม อมฺเหหิ คหิเต สกฺกาเร ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย. เราทั้งหลาย ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย และเราทั้งหลายชอบใจในธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงอาศัย ความการุญในหมู่สัตว์ทรงพระมหากรุณา มีพระทัยใฝ่ประโยชน์เกื้อกูล ทรงอาศัยความเอ็นดู ได้ทรงแสดงพระธรรมจักรประกาศอริยสัจ ๔ เป็นครั้งแรก แก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสีในวันอาสาฬหปุณณมี อนึ่ง ในสมัยนั้นแล ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้เป็นประธานของภิกษุปัญจวัคคีย์
ได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ธรรมจักษุอันบริสุทธิ์ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา จึงทูลขออุปสมบทกับพระผู้มี พระภาคเจ้า ได้รับเอหิภิกขุอุปสมบทจากสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดเป็นอริยสาวกองค์แรก ในโลกในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
68
และในสมัยนั้นแล พระสังฆรัตนะได้บังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก พระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ ได้สมบูรณ์แล้วในโลก บั ด นี ้ เราทั ้ ง หลาย มาประจวบมงคลสมั ย วั น อาสาฬหปุ ณ ณมี วั น เพ็ ญ เดื อ น ๘ อันเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร เป็นวันที่เกิดขึ้นแห่งพระอริยสงฆ์สาวก และเป็นวันที่พระรัตนตรัยสมบูรณ์ คือ ครบ ๓ รัตนะ จึงมาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ ถือเครื่องสักการะเหล่านี้ ทำกายของตนให้เป็นดั่งเครื่องรองรับ เครื่องสักการะ ระลึกถึงพระคุณตามความเป็นจริง ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จักกระทำ ประทักษิณรอบ (พระสถูป, พระพุทธปฏิมา) นี้ สิ้นวาระ ๓ รอบ น้อมบูชาด้วยเครื่องสักการะที่ถือ กันอยู่ ณ บัดนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เสด็จปรินิพพานไปนานนักแล้ว แต่ยังปรากฏ อยู่ด้วยพระคุณ ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพึงรู้ได้ โดยความเป็นอตีตารมณ์ ขอจงทรงรับ
เครื่องสักการะอันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถือไว้นี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ
69 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
70
71 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
72
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช
การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิ ยมหาราช วันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็นวัน
อภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ผู้ทรง พระคุ ณ อั น ประเสริ ฐ อั น เป็ น วั น ที่ พ สกนิ ก รชาวไทยในแผ่ น ดิ น สยามได้ ท ำพิ ธ ี น ้ อ มรำลึ ก ถึ ง
พระมหากรุณาธิคุณ โดยทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันสำคัญของชาติไทยวันหนึ่ง เรียกว่า “วันปิยมหาราช” หรือ “วันถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระโอรสองค์ที่ ๔ ในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยที่ทรงปกครองประเทศ ได้ทรงบริหารบ้านเมืองได้สงบสุขและ มีการพัฒนาประเทศในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชกรณียกิจสำคัญของพระองค์
ที่ทรงได้รับพระสมัญญานามว่า “พระปิยมหาราช” ซึ่งหมายความว่า “พระราชาผู้ยิ่งใหญ่
อันเป็นที่รักของประชาชน” ก็คือ การเลิกทาส การตราระเบียบการปกครอง โดยทรงจัดระบบ หน่วยงานของราชการออกเป็นกระทรวง ทบวง กรม กองต่าง ๆ นอกจากนั้นยังทรงจัดระบบ ด้านการสาธารณูปโภค ด้านการศึกษา และด้านอื่น ๆ อีกหลายประการ ซึ่งถือว่าพระองค์
ได้ทรงนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่บ้านเมือง และได้เสด็จประพาสต้น เพื่อต้องการดูแลทุกข์สุข
ของอาณาประชาราษฎรอย่างใกล้ชิด ดังนั้น ในมหามงคลสมัย เมื่อเสด็จดำรงราชสมบัติมาถึง ๔๐ ปีบริบูรณ์ อันเป็นรัชสมัยที่ทรงครองราชสมบัติที่ยืนนานยิ่งกว่าสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช แห่ ง สยามประเทศในอดี ต กาล พระบรมวงศานุ ว งศ์ เสนามาตย์ ร าชบริ พ าร พร้ อ มด้ ว ย สมณพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทุกเชื้อชาติ ทุกชนชั้นบรรดาศักดิ์ทั่วราชอาณาจักร ได้ร่วมใจร่วมกายโดยพร้อมเพรียงกัน สร้างพระบรมราชานุสรณ์ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายในมหามงคลสมั ย อั น เป็ น การประกาศเกี ย รติ ย ศในพระองค์ และเป็ น การแสดงออกถึ ง
ความจงรักภักดีในสมเด็จพระปิยมหาราชาธิราชของพสกนิกรไทยทุกถ้วนหน้า พระคุ ณ อั น เป็ น เหตุ แ ห่ ง การทำให้ ป ระชาชนชาวไทยและชาวต่ า งชาติ ท ี่ อ ยู่ ภ ายใต้ พระบรมโพธิ ส มภารได้ ร ำลึ ก ถึ ง พระองค์ท่า นด้ ว ยความกตั ญ ญู ก ตเวที ต่อ เบื ้ อ งพระยุ ค ลบาท มีปรากฏอยู่อย่างสมบูรณ์ตามที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร กราบบังคมทูลน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบรมรูป เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑๑ ม.ร.ว.แสงสูรย์ ลดาวัลย์, พระราชพิธีประจำปี, คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์ ๒๕๒๓ : ๑๐๐-๑๐๓. ๑
73 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ดังจะได้อัญเชิญมาบันทึกไว้เพื่อจะได้พิจารณาถึงคุณูปการที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้อย่างสมบูรณ์เพื่อทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรของพระองค์ ดังนี้ “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า พระราชวงษานุวงษ์ เสนามาตย์ราชบริพาร ทั้งสมณพราหมณาจารย์และ คหบดีพ่อค้าพาณิช ตลอดถึงสามัญชนทั่วไปในสยามประเทศพร้อมกันในวันนี้ ต่างรู้สึกปรีดา ปราโมทย์ รำลึกถึงการที่รัชพรรษาของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมาบรรจบครบสี่สิบปีบริบูรณ์ นับว่าได้เสด็จดำรงสิริราชมไหสวรรยาธิปัตย์ยืนยิ่งกว่าพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทั้งปวงในสยาม ประเทศเขตกรุงศรีอยุธยา นับจำเดิมแต่สมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์ผู้ทรงตั้งกรุงเทพทวาราวดี ศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีตลอดมาจนกาลปัตยุบันนี้ ถึงในตำนานแห่งชาติไทยในโบราณภาคก่อน แต่ยุคนั้นขึ้นไป ก็มิได้มีข้อความปรากฏชัดเจนอันเป็นที่ควรเชื่อถือได้ว่า ได้เคยมีพระมหากษัตริย์ ซึ่งครองราชสมบัติยั่งยืนนานเท่ารัชพรรษากาลแห่งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเลย เฉพาะเท่านี้ ก็ควรที่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะนิยมในพระบารมีแห่งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพออยู่แล้ว แต่ ข ้ า พระพุ ท ธเจ้ า มาคำนึ ง ต่ อ ไปว่ า แม้ เ วลาที่ พ ระมหากษั ต ราธิ ร าชได้ เ สด็ จ อยู่ ใ น ราชสมบัติ จะช้านานน่าพิศวงสักปานใดก็ดี ยังมีข้อควรเพ่งเล็งดูอีกอย่างหนึ่งว่า ในเวลาที่เป็น รัชสมัยนั้น พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงประชาชน ข้าขอบขันธสีมาด้วยประการไรบ้าง ถ้าในระหว่างนั้น พระองค์ได้ทรงกระทำประโยชน์ให้บังเกิดมีขึ้นแก่ชาติบ้านเมืองเป็นลำดับมาไซร้ จึงจะควรกล่าวได้ว่า พระมหากษัตราธิราชพระองค์นั้นมิได้ดำรงราชสมบัติอยู่นานเสียเปล่า เมื่อข้าพระพุทธเจ้ามารำลึกดู
ถึงความจำเริญแห่งกรุงสยาม ในระหว่างสี่สิบปีที่ล่วงมาแล้ว ทำให้รู้สึกนิยมในพระบรมโพธิสมภาร แห่งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทหาสิ่งใดเปรียบเสมอเหมือนมิได้ แม้จะหาสิ่งใดมาชั่งกับประโยชน์ ซึ่งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้ทรงบันดาลให้บังเกิดมีขึ้นแก่ชาติบ้านเมืองและชนนิกรทั่วไป ให้ได้ประมาณพอกันก็มิได้เลย นับว่าได้เสด็จอวตารมาในกาลสมัยอันเหมาะสมยิ่ง กล่าวคือ เวลาที่ กรุงสยามพึงจะจำเริญยืดตัวขึ้น เป็นเวลาตัวต่อระหว่างเก่ากับใหม่ ถ้ามิได้อาไศรยพระปรีชาญาณ สามารถแห่งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระมหากรุณาชักจูงประชาชนด้วยรัฏฐาภิปาลโนบาย อันสุขุม ให้ดำเนินไปในหนทางอันชอบไซร้ เมืองไทยก็จัดหาได้ย่างขึ้นสู่ความจำเริญรุ่งเรืองเช่นนี้ ไม่เลย พยานแห่ ง พระเมตตาคุ ณ ของใต้ ฝ่ า ละอองธุ ล ี พ ระบาท อั น มี อ ยู่ ใ นหมู่ ช นชาวสยาม ประเทศนี ้ แม้ จ ะพรรณนาก็ ห าที่ สุ ด มิ ไ ด้ เปรี ย บประดุ จ มหาสมุ ท รอั น ใหญ่ ก ว้ า ง สุ ด สายตา แห่งมนุษย์จะแลเห็นตลอดไปถึงฝั่งฟากโน้นได้ แม้จะยกขึ้นกล่าวแต่บางข้อ ก็เกือบจะไม่มีเวลาพอ จะบรรยายให้ละเอียด ไฉนเล่าจะมีถ้อยคำสำนวนพอที่จะกล่าวสรรเสริญพระองค์ ผู้ทรงพระเมตตา
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
74
ทรงบริจาคมหาทานอันประเสริฐยิ่ง กล่าวคือ อภัยทาน พระราชทานอภัยให้ประชาชนได้เป็นไทยแท้ สมแก่นามแห่งชาติ สู้ทรงสละอำนาจอันมีอยู่ในพระองค์พระมหาราชาธิบดี พระราชทานแก่ ชนนิกรส่วนหนึ่งด้วยความเต็มพระราชหฤทัย เพราะทรงเห็นแก่ประโยชน์แห่งชาติยิ่งกว่าประโยชน์ เฉพาะพระองค์ อันพระเมตตาคุณนี้เป็นอาภรณ์อลงกฏพระมหากษัตราธิราชงามยิ่งเสียกว่า
อลังการใด ๆ แลเป็นพระแสงอันมีฤทธิ์มีเดชยิ่งกว่าพระแสงทั้งปวง อาจที่จะกระทำให้ทรงชำนะ ทั่วไป เพราะว่าใจแห่งมนุษย์จะชำนะได้ก็ด้วยเมตตาเป็นอาทิ เพราะฉะนั้นต้องนับว่าใต้ฝ่าละอองธุลี- พระบาททรงเป็ น ชิ ต าวี อั น ใหญ่ ย ิ่ ง ทรงชำนะจิ ต ร์ แ ห่ ง ชนนิ ก รแล้ ว ยั ง ได้ ท รงผู ก พั น ไว้ ด ้ ว ย พระเมตตาการุญภาพนั้นเอง ชนทั้งปวงจึงมิได้มีเวลารู้สึกอย่างอื่น นอกจากอิ่มใจว่า ได้พำนัก
พระบารมีแห่งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเป็นที่ร่มเย็นเกษมสำราญนิราศพ้นสรรพภยันตราย แม้แต่ ชนชาวประเทศอื่นก็พากันสรรเสริญพระเกียรติคุณ แลตั้งจิตร์คิดเป็นไมตรี นี่ก็เพราะพระเมตตา บารมีบันดาลดลใจให้นิยมในพระราชกฤษฎีกาภินิหารทั่วกัน ส่วนพระมหากรุณาธิคุณอันมีอยู่ใน ประชาชน ก็ปรากฏอยู่แก่ตา ได้ทรงพระอุสาหะทรงพระราชดำริห์สรรพกิจน้อยใหญ่เพื่อให้บังเกิด ความสุข และทรงชักจูงให้ดำเนินไปในหนทางที่ชอบ ละหนทางที่ผิด เปรียบประหนึ่งบิดาปราณี บำรุงเลี้ยงบุตรอันเป็นที่รักใคร่มิได้มีเวลาทรงเบื่อหน่ายหรือย่อท้อแต่สักขณะเดียว สู้ทรงทน ความลำบากพระกาย มุ่งหมายแต่ประโยชน์แห่งประชาชนเป็นที่ตั้ง ยังมิหนำซ้ำทรงวางพระองค์ไว้ ให้เป็นตัวอย่างแห่งชนทั้งหลาย ความประพฤติอย่างไรจะชอบจะดียิ่ง สิ่งนั้นได้ทรงกระทำไปด้วย พระขันติและพระวิริยะภาพเสมอต้นเสมอปลายให้ปรากฏ เพื่อชนทั้งหลายจะได้พยายามโดยเสด็จ ตามทางนั้นบ้าง ข้อความที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นแต่ส่วนหนึ่งและเป็นส่วนอันน้อย ในข้อซึ่งควรจะยกขึ้น กล่ า วสรรเสริ ญ พระบารมี ใ นใต้ ฝ่ า ละอองธุ ล ี พ ระบาท แต่ ก็ พ อจะเป็ น ตั ว อย่ า งแห่ ง ความที ่
ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ทั ้ ง หลายได้ แ ลเห็ น ปรากฏและรู ้ ส ึ ก อยู่ ใ นใจทั่ ว หน้ า เป็ น เครื่ อ งปลุ ก น้ ำ ใจ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้มีความจงรักภักดีในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมั่นคง ไม่มีเวลาที่จะเสื่อมถอย ไปได้ เ ลย เต็ ม ใจเป็ น ข้ า ฝ่า ละอองธุ ล ี พ ระบาทจนตลอดชาติ ต ลอดกาล ตลอดทั ้ ง ตั ว จนชั่ ว ชั ้ น
บุตรหลาน ขอพระราชทานพึ่งพระบรมโพธิสมภารสืบไป อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีความประสงค์จะใคร่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้เป็นพยานให้มหาชน ในอนาคตกาลทราบความรู ้ ส ึ ก แห่ง ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ทั ้ ง หลาย ในบั ด นี ้ จึ ง ได้ ช่ว ยกั น ขวนขวาย ตามกำลังสามารถ สถาปนาพระบรมรูปของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทขึ้นไว้ หวังให้เป็นอนุสาวรีย์ แห่งความจงรักภักดีของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันมีอยู่ในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปรากฏอยู ่ ชั่วกัลปาวสาน แลชาวต่างประเทศผู้พึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทราบความดำริห์นี้ก็พลอยยินดี
75 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
เข้าช่วยเป็นกำลังด้วย จึ่งได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตประดิษฐานพระบรมรูปองค์นี้ไว้
ในกลางหน้าพระลาน วังสวนดุสิต อันเป็นที่เสด็จสถิตและเป็นสง่าผ่าเผยสมควรแก่พระเกียรติยศ บัดนี้ พระบรมรูปก็ได้ประดิษฐานไว้ดีแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอพระราชทาน อัญเชิญเสด็จใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงชักคลุมพระบรมรูปให้เปิดออก เพื่อเพิ่มพูนความปีติ แลเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่สยามอาณาจักรในกาลบัดนี้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม”
การนำความกราบบังคมทูลน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดคลุม พระบรมรูปมาลงไว้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีของพสกนิกรที่มีต่อองค์พระมหากษัตริย์ จึงมีความพยายามที่แสดงออกให้เป็นรูปธรรมด้วยการร่วมใจและพร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสรณ์
ถวายพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว พระมหากษั ต ริ ย์ อั น เป็ น ที่ รั ก ของตนอย่ า ง เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงศรัทธาเลื่อมใสในความเสียสละของพระองค์ อันเป็นที่ประทับใจของปวงชนชาวไทย ตราบนานเท่านานมาจนถึงยุคของลูกหลานไทย เพื่ อ เป็ น การน้ อ มรำลึ ก ถึ ง พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ในพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้าอยู่หัว และเป็นการแสดงออกถึงซึ่งความกตัญญูกตเวทีของประชาชนชาวไทยที่มีต่อพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลต่อ ๆ มา จึงได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เนื่องใน อภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒ ประการ คือ ๑. เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลาพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ ลานพระราชวังดุสิต ๒. เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ถวายพระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง โดยทรงกำหนดเป็น “พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลวันปิยมหาราช” เป็นประจำทุกปี ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ตามหมายกำหนดการ ดังนี้
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
76
ที่ ๑๕/๒๕๕๐
หมายกำหนดการ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช พุทธศักราช ๒๕๕๐
เลขาธิ ก ารพระราชวั ง รั บ พระบรมราชโองการเหนื อ เกล้ า ฯ สั่ ง ว่า การพระราชพิ ธ ี ทรงบำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลทั ก ษิ ณ านุ ป ทานในวั น “ปิ ย มหาราช” ซึ่ ง เป็ น อภิ ลั ก ขิ ต สมั ย คล้ า ย วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนด ดังรายการต่อไปนี้ วันอังคารที่ ๒๓ ตุลาคม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แทนพระองค์โดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังพระบรมราชานุสรณ์ที่พระลานพระราชวังดุสิต เวลา ๑๗ นาฬิกา ทรงวางพวงมาลาแล้ว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะ กราบ ถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการแล้ว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะ กราบถวายบังคมพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระสงฆ์ ๕๗ รูป สวดพระพุ ท ธมนต์ จ บแล้ ว ทรงจุ ด ธู ป เที ย นเครื่ อ งทรงธรรม พระราชาคณะถวายศี ล และ ถวายพระธรรมเทศนากัณฑ์ ๑ จบแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ แล้วทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ ที่สวดพระพุทธมนต์ ๕๗ รูป และพระราชาคณะที่ถวายพระธรรมเทศนา สดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก เสด็จพระราชดำเนินกลับ
77 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
การแต่งกาย แต่งเครื่องแบบครึ่งยศ. การนี ้ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุ ญ าตให้ ส าธุ ช นเข้ า ถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชที่ปราสาทพระเทพบิดร ตั้งแต่เวลา ๘ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๗ นาฬิกา
สำนักพระราชวัง วันที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
78
ในการพระราชพิธีนี้ นิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ๕๗ รูป เท่าพระชนมพรรษา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนาอีก ๑ รูป รวมเป็น ๕๘ รูป ตามบัญชีพระสงฆ์ ดังนี้
บัญชีพระสงฆ์
สวดพระพุทธมนต์ ถวายพระธรรมเทศนา และสดับปกรณ์ ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันปิยมหาราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. สมเด็จพระพุฒาจารย์ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระญาณวโรดม พระวิสุทธาธิบดี พระสาสนโสภณ พระพรหมเมธี พระธรรมปัญญาบดี พระพรหมมุนี พระพรหมเวที พระพรหมวชิรญาณ พระพรหมเมธาจารย์ พระพรหมโมลี พระพรหมสุธี
วัดสระเกศ วัดชนะสงคราม วัดปากน้ำ วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดสัมพันธวงศาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดสุทัศนเทพวราราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม วัดยานนาวา วัดบุรณศิริมาตยาราม วัดพิชยญาติการาม วัดสระเกศ
79 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระวิสุทธิวงศาจารย์ พระธรรมกิตติวงศ์ พระธรรมกิตติมุนี พระธรรมกวี พระธรรมกิตติเมธี พระธรรมกิตติเวที พระธรรมวรเมธี พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ พระธรรมเจดีย์ พระธรรมปริยัติเวที พระธรรมปิฎก พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมไตรโลกาจารย์ พระธรรมสุธี พระธรรมสิทธินายก พระเทพวิสุทธิเมธี พระเทพปัญญามุนี พระเทพรัตนสุธี พระเทพสารเวที พระเทพภาวนาวิกรม พระเทพปริยัติมุนี พระเทพเมธี พระราชสมุทรรังษี พระราชปริยัติสุนทร พระราชสุธี พระราชกิตติโสภณ พระราชรัตนวราภรณ์ พระราชวิสุทธิโกศล พระราชปัญญาเวที ศาสนพิธีในพระราชพิธี
วัดปากน้ำ วัดราชโอรสาราม วัดเฉลิมพระเกียรติ/นนทบุรี วัดราชาธิวาส วัดสัมพันธวงศาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดราชสิทธาราม วัดกัลยาณมิตร วัดพระปฐมเจดีย์/นครปฐม วัดพระพุทธบาท/สระบุรี วัดประยุรวงศาวาส วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดสระเกศ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดปทุมวนาราม วัดปทุมคงคา วัดบวรนิเวศวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม วัดทองนพคุณ วัดอรุณราชวราราม วัดอัมพวันเจติยาราม/สมุทรสงคราม วัดหัวลำโพง วัดเทวราชกุญชร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดพนัญเชิง/พระนครศรีอยุธยา วัดพิชยญาติการาม วัดตากฟ้า/นครสวรรค์ 80
พระราชมุนี พระสมุหวรคณิสสรสิทธิการ พระโสภณธีรคุณ พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ พระปริยัติกิจวิธาน พระโสภณธรรมเมธี พระวิสุทธิ์พุทธิศาสตร์ พระพิพัฒน์ปริยัติสุนทร พระสุทธิสารเมธี พระพิพัฒน์วราภรณ์ พระนิภากรกิตติพิลาส พระพิศิษฎ์พัฒนพิธาน
วัดเทพศิรินทราวาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดเทพธิดาราม วัดไร่ขิง/นครปฐม วัดโสธรวราราม/ฉะเชิงเทรา วัดสุวรรณคีรี วัดกวิศราราม/ลพบุรี วัดเทพลีลา วัดสัมพันธวงศาราม วัดศรีสุดาราม วัดตรีทศเทพ วัดหนองหอย/ราชบุรี
ถวายพระธรรมเทศนา พระธรรมคุณาภรณ์
วัดสามพระยา
รวม ๕๘ รูป
ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๔ โทรสาร ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๖
สำหรับการถวายพระธรรมเทศนา ในพิธีการบำเพ็ญพระราชกุศลทรงพระราชอุทิศ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น จะเป็นการถวายพระธรรมเทศนา เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจหิตานุหิตประโยชน์ที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้แก่ประเทศชาติ ซึ่ ง ในปี น ี ้ พ ระราชาคณะผู ้ ถ วายพระธรรมเทศนา คื อ พระธรรมคุ ณ าภรณ์ (เอื ้ อ น หาสธมฺ โ ม ป.ธ.๙) เจ้ า คณะภาค ๑๔ และเจ้ า อาวาสวั ด สามพระยา จึ ง ขอนำมา ลงพิมพ์ไว้ ดังนี้
81 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
อโมฆชีวิตกถา
ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงพระราชอุทิศถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง วันอังคารที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ พระธรรมคุณาภรณ์ (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.๙) เจ้าคณะภาค ๑๔ และเจ้าอาวาสวัดสามพระยา รับพระราชทานถวาย ขอถวายพระพร เจริ ญ พระราชสิ ร ิ ส วั ส ดิ พ ิ พั ฒ นมงคลพระชนมสุ ข ทุ ก ประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารพระองค์ สมเด็จพระปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ บัดนี้ จะรับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนาในอโมฆชีวิตกถา ฉลองพระเดชพระคุณประดับพระปัญญาบารมี ถ้ารับพระราชทานถวายวิสัชนาไปมิได้ต้องตาม โวหารอรรถาธิบาย ในพระธรรมเทศนา ณ บทใดบทหนึ่งก็ดี ขอเดชะ พระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ พระขันติคุณ ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานอภัยแก่อาตมะผู้มีสติปัญญาน้อย ขอถวายพระพร
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
82
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถาติ ฯ บัดนี้ จักรับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนาในอโมฆชีวิตกถา ฉลองพระเดช พระคุณประดับพระปัญญาบารมีอนุรูปตามพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน อันสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า เอกอัครศาสนูปถัมภก ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ได้ทรง อนุสรณ์ถึงวันปิยมหาราช ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม อันเป็นอภิลักขิตสมัยคล้ายวันเสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ เพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย พร้อมทั้งสมเด็จ
พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ด้วยกำลังแห่งพระกตัญญูกตเวทิตาธรรม อันมีอยู่อย่างเปี่ยมล้นในพระราชหฤทัย ซึ่งเป็นวิสัย
ของสัตตบุรุษ สมดังพระบาลีว่า “สปฺปุริโส จ โข ภิกฺขเว กตญฺญู โหติ กตเวที แปลความว่า ภิกษุทั้งหลาย สัตตบุรุษ เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพ เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ตรงกับวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู พระองค์เป็นพระราชปิโยรส ของพระบาทสมเด็จบรมชนกนาถ มาแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ โปรดให้อยู่ใกล้ชิดพระองค์เสมอ แม้ในเวลาเสด็จประพาสหัวเมืองใกล้หรือไกล ก็โปรดให้โดยเสด็จ
ด้วยทุกครั้ง พระองค์ทรงได้รับการศึกษาวิชาทั้งปวงจากอาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา มาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในด้านวิชารัฐศาสตร์ ราชประเพณีโบราณคดีทั้งปวงนั้น พระบาท- สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานฝึกสอนด้วยพระองค์มาโดยลำดับ จนมีพระปรีชาสามารถ มาแต่ยังทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ เป็นพระรามาธิบดีที่ ๕ ในมหาจักรีบรมราชวงศ์ ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๑ ทรงมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
83 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ทรงมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา ทรงบรรลุนิติภาวะโดยสมบูรณ์ จึงเสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุ เป็นเวลา ๑๕ วัน เมื่อทรงลาผนวชแล้ว ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๑๖ พระองค์ทรงนำประเทศชาติให้ผ่านพ้นอุปสรรคอันตรายของลัทธิล่าอาณานิคม ด้วย พระปรีชาสามารถ ทรงปกครองให้เกิดความสุขความเจริญแก่ประชาราษฎร์ทั่วไป ทรงมีความรัก คื อ พระเมตตากรุ ณ าในประชาราษฎร์ ปกครองประชาราษฎร์ เ หมื อ นดั ง บิ ด าปกครองบุ ต ร ดังพระราชดำรัสตรัสแก่ประชาราษฎร์ผู้มาเฝ้าครั้งหนึ่งว่า “เราจะเป็นบิดาของเจ้าเสมอไป
ย่อมยินดีด้วยในเวลามีสุข และจะปลดเปลื้องอันตรายในเวลามีภัยได้ทุกข์” พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกิจ อนุวรรตน์ตามปฏิปทาแห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้ทรงตั้งพระราชอุตสาหะในการปฏิรูปปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานให้ทันสมัย เพื่อป้องกันรักษาพระราชอาณาจักร และทำนุ บำรุงให้เจริญทันสมัย ทรงจัดการระมัดระวัง บำรุงพลนิกร เพื่อป้องกันภัยจากศัตรู อันจะทำให้เกิด อนัตถะ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ ภัยที่ยังไม่เกิดก็ระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ทรงพระราชอุตสาหะระงับให้ราบคาบ เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพ ก็ทรงผ่อนผันการเลิกทาส ทรงยกเลิกธรรมเนียมประเพณีที่ล้าสมัย ที่ขัดต่อความเจริญของประเทศ ราชกิจใดเป็นความมั่นคง และความเจริ ญ ของประเทศ ถึ ง แม้ ร าชกิ จ นั ้ น จะสำเร็ จ ได้ ย าก ก็ ไ ม่ ท รงทอดพระราชธุ ร ะ ทรงพระราชอุตสาหะจัดทำขึ้น และที่ได้จัดขึ้นแล้ว ก็ทรงมีพระราชประสงค์จะรักษาให้ยั่งยืนมั่นคงถาวร จึงทรงสอดส่องตรวจตราราชกิจนั้น ๆ อยู่เป็นนิตย์ พระองค์ทรงมีอภินิหารในราชกิจ ให้สำเร็จด้วยพระราชฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ ทรงพระปรีชา สามารถในสังคหอุบาย ในการสงเคราะห์ให้เหมาะแก่บุคคลและเวลา จึงทรงเจริญด้วยพระบริวารยศ เป็นกำลังเครื่องตั้งมั่นแห่งพระองค์ และเป็นที่พึ่งของปวงชนทั้งหลาย สมดังคาถาประพันธ์ว่า ขนฺธิมา ว มหาทุโม ปติฏฺฐฺา โหติ ปกฺขินํ
สาขาปตฺตผลูเปโต มูลวา ผลสมฺปนฺโน
แปลความว่า เหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงมั่นในพสุธา ตั้งลำต้นแตกสาขาผลิใบเผล็ดผล ย่อมเป็นที่พึ่งของหมู่วิหคในอรัญ ต่างพากันอาศัย ใครต้องการร่มเงาก็เข้าจับ ใครต้องการผล ก็บริโภค ฉะนั้น พระองค์ทรงผูกสัมพันธไมตรีด้วยพระเจ้าแผ่นดินและประธานาธิบดีในต่างประเทศ ทรงเผยพระเกียรติพระอัจฉริยภาพแห่งพระปรีชาสามารถในการบริหารประเทศให้ปรากฏ เมื่อครั้ง
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
84
เสด็ จ ประพาสยุ โ รป ทรงรั บ การต้ อ นรั บ ของท่ า นผู ้ ค รองแผ่ น ดิ น นั ้ น ๆ โดยฉั น เป็ น พระราชสัมพันธมิตรสนิทสนม เป็นผลของมิตรสัมปทา สมดังคาถาประพันธ์ว่า ยํ ยํ ชนปทํ ยาติ สพฺพตฺถ ปูชิโต โหติ
นิคเม ราชธานิโย โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ
แปลความว่า ชนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไปสู่ชนบท สู่นิคม ราชธานีใด ๆ ย่อมเป็นผู้อันเขาบูชา ในที่นั้น ๆ ทุกหนทุกแห่งไป นอกจากทรงพระราชอุตสาหะพัฒนาราชกิจในฝ่ายอาณาจักรให้มีความเจริญทันสมัย ประชาชนมี ค วามร่ม เย็ น เป็ น สุ ข ตามพระราชประสงค์แ ล้ ว ยั ง ทรงมี พ ระราชอุ ต สาหะพั ฒ นา พระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคง เป็นหลักใจของประชาชน จะพึงเห็นได้จากพระดำรัส ตรั ส ตอบพระสงฆ์ ณ วั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม เมื่ อ ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๔๐ ว่ า “ข้ า พเจ้ า
ย่อมรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับ
พระราชอาณาจักรให้ดำเนินไปทางวัฒนาถาวรพร้อมกันทั้งสองฝ่าย” พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๒ ทรงสร้างวัดราชบพิตรขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล ทรงสร้างวัดนิเวศธรรมประวัติขึ้นที่พระราชวัง บางปะอิน สร้างวัดเทพศิรินทราวาส เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชชนนี ในปลายรัชกาล ได้ขยายพระนครขึ้นไปทางทิศเหนือ ทรงสร้างพระราชวังดุสิตและวังอื่น ๆ และได้ทรงสร้าง วัดเบญจมบพิตรขึ้นเป็นวัดประจำพระราชวังจิตรลดา นอกเหนือไปจากทรงสร้างแล้ว ยังทรงได้ ปฏิสังขรณ์พระอารามหลวง เช่น วัดอรุณราชวราราม วัดราชาธิวาส ทรงประกาศมอบวัดให้เป็นที่ ประกอบกิจของสงฆ์ ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๑ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระไตรปิฎกยังไม่สมบูรณ์ ที่พิมพ์ เป็นอักษรไทยยังไม่มี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระพระไตรปิฎก และพิมพ์เป็นอักษรไทย เรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์” ได้พระราชทานราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๑,๐๐๐ ชั่ง เป็นค่าจัดพิมพ์พระไตรปิฎก จำนวน ๑,๐๐๐ จบ นับเป็นครั้งแรกที่มีการตีพิมพ์พระไตรปิฎก อักษรไทย และโปรดเกล้าฯ พระราชทานถวายไปยังอารามต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นผลให้พระสงฆ์ได้ อาศัยพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ เป็นแนวทางในการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมมาจนกระทั่ง ปั จ จุ บั น นี ้ และยั ง ได้ ท รงพระราชทานไปยั ง สถานศึ ก ษาในต่ า งประเทศอี ก หลายแห่ ง ทำให้ พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองแผ่ขยายไปในต่างประเทศด้วย
85 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๕ พระองค์มีพระราชประสงค์จะทรงเห็นความเจริญมั่นคงของ พระพุทธศาสนา ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครอง พระสงฆ์ เพื่อจัดสังฆมณฑลให้เป็นระเบียบเรียบร้อยทั่วพระราชอาณาจักร ด้วยทรงมีพระราชดำริ ว่า ถ้าการปกครองสังฆมณฑลเป็นระเบียบแบบแผน เรียบร้อย ดีงาม พระพุทธศาสนาก็เจริญ รุ่งเรืองมั่นคง จากผลพระราชบัญญัติลักษณะปกครองพระสงฆ์นี้ แสดงให้เห็นพระบรมราโชบาย ของพระองค์ ซึ่งทรงเห็นคุณค่าของการศึกษาในวัด ที่จะทำให้กุลบุตรได้ความรู้คู่คุณธรรม มีธรรม เป็นหลักใจ เพราะในพระราชบัญญัติกำหนดให้พระสงฆ์ตั้งแต่ชั้นเจ้าอาวาสขึ้นไปจนถึงระดับ
ชั้นสูงสุดไว้ประการหนึ่งว่า ต้องมีหน้าที่บำรุงการศึกษาด้วย มหาเถรสมาคมก็ได้รับสนองตาม พระราชประสงค์นี้ทุกประการ ได้มีคำสั่งให้เจ้าอาวาสแต่ละวัดต้องจัดตั้งทุนการศึกษาสงเคราะห์ ระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา หรืออุดมศึกษา สุดแต่ความสามารถของเจ้าอาวาสแต่ละวัด จะต้องจัดทำ จากพระบรมราโชบายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าทรงดำเนินการให้สอดคล้องกับประกาศ เรื่องการจัดการศึกษาเล่าเรียนในหัวเมือง พุทธศักราช ๒๔๔๑ ซึ่งมีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นตามวัด ต่าง ๆ มีพระภิกษุเป็นผู้อบรมสั่งสอน ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดการตีพิมพ์ หนังสือแบบเรียนหลวง ทั้งส่วนที่จะสอนธรรมปฏิบัติและวิชาความรู้อย่างอื่นอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อจะพระราชทานถวายแก่พระภิกษุทั้งหลายไว้ฝึกสอนกุลบุตรทั่วไป และทรงพระราชทาน ถวายพระราชธุ ร ะนี ้ ให้ ส มเด็ จ พระมหาสมณเจ้ า กรมพระยาวชิ ร ญาณวโรรส และสมเด็ จ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ดำเนินการจัดการศึกษาในหัวเมืองต่าง ๆ พระองค์มีพระราชประสงค์จะส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของพระสงฆ์ให้มั่นคง จึงทรง โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้นตามวัดต่าง ๆ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน ของพระภิกษุและสามเณร ได้ทรงกำหนดให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรมเป็นประจำทุกปี ได้ทรง โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถานการศึกษาชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ขึ้นสองแห่ง คือ มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย เพื่อเป็นสถานการศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อเป็น สถานการศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต เป็นผลให้การศึกษาของคณะสงฆ์มีความเจริญสืบทอด มาจนปัจจุบัน และในปัจจุบันนี้ สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
ได้ทรงอนุวรรตน์ปฏิบัติตามปฏิปทาแห่งองค์สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทาน ราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงตั้งเป็นกองทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานถวายแก่สถาบันการศึกษา ของพระสงฆ์ และมหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ทั้งสองแห่งด้วย นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณ
อย่างล้นพ้นหาที่สุดมิได้แก่คณะสงฆ์
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
86
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์นั้นทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมล้น
ด้วยพระเมตตากรุณา ทรงมีความสุขุมคัมภีรภาพ ตลอดเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติได้ทรง บำเพ็ญพระราชกิจต่าง ๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ ทรงปกครอง พระราชอาณาจักรให้สมบูรณ์ด้วยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้ร่มเย็นเป็นสุข ขจัดภัยอันตราย ภายในประเทศและป้องกันภัยอันตรายภายนอกประเทศ ทรงนำประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ สามารถดำรงเอกราชไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้ ทั้งทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรือง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าพระองค์เสด็จสวรรคตไปนานแล้วก็ตาม แต่พระเกียรติยศ พระเกียรติคุณ ก็ยังปรากฏอยู่เป็นอาภรณ์เครื่องประดับเหลือไว้ในโลกนี้ ให้สาธุชนคนดีทั้งหลาย ผู ้ ด ำรงมั่ น ในกตั ญ ญู ก ตเวที ไ ด้ ก ราบไหว้ บู ช า พระราชกิ จ ทั ้ ง ปวงที่ พ ระองค์ ไ ด้ ท รงบำเพ็ ญ ตลอดพระชนมชีพ ก็มิได้สูญสลายไป ยังคงดำรงอยู่เป็นสมบัติของรัฐสืบทอดมาถึงปัจจุบันนี้ สมด้วยพระบาลีที่ยกขึ้นตั้งเป็นนิกเขปบทแห่ง พระธรรมเทศนาว่า รูปํ ชีรติ มจฺจานํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี
นามโคตฺตํ น ชีรติ
อโมฆํ ชีวิตํ ยถา
แปลความว่า ร่างกายของสรรพสัตว์ทั้งหลายย่อมแก่ไปและแตกสลายไป จะเหลือไว้แต่
นามและโคตร บัณฑิตพึงดำเนินชีวิต โดยประการที่ชีวิตจะไม่ว่างเปล่าจากประโยชน์ ดังที่ได้
แสดงมาด้วยประการ ฉะนี้ ด้วยอำนาจพระราชกุศลทักษิณานุปทาน อันสมเด็จพระบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศทั้งปวงนี้ จงสำเร็จเป็นวิปากราศี อำนวยอิฏฐวิบูลมนุญผล แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตามพระบรมราชประสงค์ทุกประการ ขอเดชานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย ได้โปรดอภิบาลรักษา สมเด็จบรมบพิตร พระราช- สมภารเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระราชโอรส พระราชธิดา ให้ทรงพระเกษมสำราญ มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน มีพระอิสริยยศ พระเกียรติยศ พระบริวารยศ แผ่ไพศาลขจรไกล ได้ลุถึงสรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล อิฏฐวิบูลมนุญผลตามพระบรมราชประสงค์ เสด็จสถิตในสิริราชสมบัติ เป็นร่มฉัตรร่มเกล้าของประเทศชาติและพสกนิกรตลอดจิรัฐิกาล
87 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
สิทฺธิมตฺถุ สิทฺธิมตฺถุ สิทฺธิมตฺถุ อิทํ ผลํ
เอตสฺมึ รตนตฺยสฺมึ สมฺปสาทนเจตโส ขอผลที่กล่าวนี้ จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จ แต่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า ผู้มีพระราชมนัสเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ สมพระบรมราชประสงค์ทุกประการ รับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนาในอโมฆชีวิตกถา พอสมควรแก่เวลา ยุติลง แต่เพียงนี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ขอถวายพระพร
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
88
89 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
90
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน
ในสมัยพุทธกาล มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก กฐินขันธกะว่า ครั้งที่พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล มีพระภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ (ปาฐา) ประมาณ ๓๐ รูป ทั้งหมดเป็นผู้ถืออารัญญิกธุดงค์ ถือปิณฑปาติกธุดงค์ และถือเตจีวริกธุดงค์ เดินทางมากรุงสาวัตถี มีความประสงค์จะเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อพระภิกษุเหล่านั้นเดินทางมาถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างจาก กรุงสาวัตถีประมาณ ๖ โยชน์ ก็ถึงวันเข้าพรรษาพอดี ตามหลักพระวินัยบัญญัติ เมื่อถึงวัน
เข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น เป็นเวลาสามเดือน จะเดินทางไปค้างแรมที่อื่น มิได้ ดังนั้น พระภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ (ปาฐา) เหล่านั้น จึงต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต ตามพระวินัยบัญญัติ ในขณะที่จำพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นมีใจรัญจวน อยู่จำพรรษาด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ห่างพวกเราเพียง ๖ โยชน์ ก็ยังมิได้เฝ้าพระองค์ ครั้นพอออกพรรษา กระทำ ปวารณาตามพระวินัยบัญญัติแล้ว จึงรีบพากันเดินทางไปยังกรุงสาวัตถีทันที แต่ในระยะเวลานั้น ยังไม่พ้นฤดูฝน ยังมีฝนตกชุก ทำให้หนทางที่จะเดินไปเฉอะแฉะ เปียกชุ่มไปด้วยน้ำ ทั้งยังเป็น
โคลนตมไม่สะดวก แม้จะลำบากยากเข็ญในการเดินทางเพียงใด พระภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ (ปาฐา) เหล่ า นั ้ น มิ ไ ด้ ย่ อ ท้ อ ทั ้ ง บุ ก ทั ้ ง ลุ ย เดิ น ทาง มี จ ี ว รชุ่ ม ชื ้ น ด้ ว ยน้ ำ ทั ้ ง เหน็ ด เหนื่ อ ย จนกระทั่งเดินทางถึงกรุงสาวัตถี ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าสมความปรารถนา ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควร พระพุ ท ธเจ้ า ทรงสนทนาปราศรั ย กั บ พระภิ ก ษุ ช าวเมื อ งปาเฐยยะ (ปาฐา) เหล่า นั ้ น
ถึงความตั้งใจและความรัญจวนใจที่อยากจะมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงตรัสถามถึงเรื่องการอยู ่ จำพรรษาที่เมืองสาเกต การอาหารบิณฑบาต ตลอดถึงเรื่องความลำบากในการเดินทางมากรุงสาวัตถี พระภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องการเดินทางให้ทรงทราบทุกประการ พระพุทธเจ้าได้ทรงทราบ และ ทรงเห็นถึงความลำบากของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงยกเป็นเหตุแล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาต ให้พระภิกษุที่จำพรรษาถ้วนไตรมาสกรานกฐินได้ (คือการตัด การเย็บ การย้อม การทำจีวรใหม่ โดยการขึงกับไม้สดึง) และเมื่อพระภิกษุกรานกฐินแล้ว ทั้งพระภิกษุผู้กรานกฐิน ทั้งพระภิกษุ ผู้อนุโมทนากฐิน จะได้รับอานิสงส์กฐิน ๕ ประการ ตามพระวินัยบัญญัติ ยืดออกไปจากเขต จีวรกาล (กลางเดือน ๑๑-กลางเดือน ๑๒) ถึงกลางเดือน ๔
91 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
คำว่า กฐิน เป็นชื่อของกรอบไม้ที่เป็นแม่แบบสำหรับขึงทาบผ้า เพื่อเย็บชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้ ต ิ ด กั น ตามรู ป แบบ ในภาษาไทยเรี ย กไม้ แ บบนี ้ ว่า ไม้ ส ดึ ง ปั จ จุ บั น นี ้ คำว่า กฐิ น ใช้ ไ ปใน ความหมายอื่น ๆ อีกหลายกรณี เช่น ใช้เป็นชื่อผ้า เรียกว่าผ้ากฐิน หรือผ้าพระกฐิน ใช้เป็นชื่อ ประเพณีการทำบุญกุศล เรียกว่า ทอดกฐิน หรือถวายกฐิน ใช้เป็นชื่อสังฆกรรมของพระสงฆ์ เรียกว่า การกรานกฐิน บางคราวใช้เป็นชื่อของช่วงเวลาก็มี เช่น กฐินกาล หรือฤดูทอดกฐิน เป็นต้น เหตุที่มีการใช้คำว่า กฐิน ต่าง ๆ กันไปนั้น ท่านผู้รู้ได้อธิบายไว้ดังนี้ ๑. ที่เป็นชื่อของกรอบไม้ เพราะในสมัยพุทธกาล การตัดเย็บสบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อน) มีรูปแบบเป็นกระทงนา (ขัณฑ์) จะตัดเย็บผ้าดังกล่าวให้มีรูปลักษณะตามแบบ นั้น ๆ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก จึงต้องทำกรอบไม้เป็นแม่แบบไว้ ทาบผ้าลงไปที่แม่แบบแล้วลงมือตัด เย็บ ตามแบบ การตัด เย็บผ้ากฐินนี้ ต้องตัด เย็บ และย้อมให้เสร็จภายในวันเดียว แม้ในปัจจุบัน หากมีการถวายผ้าขาวเป็นผ้ากฐิน หรือในการถวายกฐินประเภทหนึ่ง ที่เรียกว่า จุลกฐิน ก็จะต้อง ทำการตั้งแต่เก็บฝ้าย ปั่น ทอผ้า ตัด เย็บ ย้อม และถวาย ให้เสร็จภายในวันเดียวเช่นกัน ไม้แม่แบบนั้น เมื่อเลิกใช้ก็รื้อออกเก็บไว้ใช้ในปีต่อ ๆ ไปได้อีก การรื้อไม้แม่แบบเรียกว่า เดาะกฐิน ต่างจาก คำว่า กฐินเดาะ ซึ่งหมายถึงการถวายกฐิน หรือการกรานกฐินที่ไม่สมบูรณ์ไม่ถูกต้องตามพระวินัย ๒. ที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่ง น้อมนำมาถวายในท่ามกลางสงฆ์
ภายในกำหนดเวลา ๑ เดือน ที่เรียกว่า กาลกฐิน หรือกฐินกาล คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ผ้าที่นำมาถวายนั้น ไม่จำกัดว่าจะเป็นผ้าชนิดใด จะเป็นผ้าขาว ผ้ า บั ง สุ กุ ล หรื อ ผ้ า อื่ น ใดที่ ส ามารถตั ด เย็ บ ย้ อ ม ทำเป็ น ผ้ า นุ่ ง ผ้ า ห่ ม สำหรั บ พระสงฆ์ ไ ด้ ก็เป็นอันใช้ได้ ผ้าที่เขาถวายแด่สงฆ์ในเวลาดังกล่าวนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ๓. ที่เป็นชื่อของประเพณีการทำบุญกุศล คือ การถวายผ้าตามกำหนดเวลาแก่สงฆ์ ตามที่ได้กล่าวมา นิยมเรียกกันว่า ทำบุญทอดกฐิน หรือถวายกฐิน การทำบุญกุศลเช่นว่านี้ ต้องถวายพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาครบไตรมาส (๓ เดือน) อย่างต่ำจำนวน ๕ รูปขึ้นไป จุดมุ่งหมาย ในการถวายผ้ า กฐิ น นี ้ เพื่ อ ให้ พ ระภิ ก ษุ ท ี่ ม ี ผ ้ า นุ่ ง ผ้ า ห่ ม เก่ า หรื อ ขาดชำรุ ด จะได้ ผ ลั ด เปลี่ ย น เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระภิกษุต้องอยู่จำพรรษา ไม่สามารถไปแสวงหาผ้านุ่ง ผ้าห่มได้ และการทอดกฐินจะกระทำได้ภายในเวลา ๑ เดือน ที่เรียกว่า กฐินกาลเท่านั้น บางอาจารย์ เรียกการทำบุญเช่นนี้ว่า กาลทาน ๔. ที่ เ ป็ น ชื่ อ สั ง ฆกรรมของพระสงฆ์ คื อ เมื่ อ มี บุ ค คลใดบุ ค คลหนึ่ ง ไม่ว่า จะเป็ น บรรพชิตคือพระภิกษุสามเณร หรือนักบวช หรือจะเป็นคฤหัสถ์ นำผ้ากฐินมาถวายในท่ามกลางสงฆ์ ผ้านั้น มิได้เจาะจงถวายแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง จะต้อง
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
92
ทำพิธียกผ้านั้นให้แก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อเป็นผู้กรานกฐิน วิธีการยกให้นี้เรียกว่าอปโลกนกรรม ต้องทำการสวดยกให้ด้วยญัตติทุติยกรรม ภายในสีมา จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่ง สำหรับ
พระภิกษุที่ได้รับผ้านั้น ต้องทำพิธีกรานกฐิน โดยแจ้งแก่สงฆ์ว่า จะใช้ผ้านั้นเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม พระสงฆ์ทั้งปวงก็จะอนุโมทนา ๕. ที่เป็นชื่อของช่วงเวลา คือ หลังจากออกพรรษาแล้ว ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นต้นไป จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (วันลอยกระทง) ชาวบ้านทั่วไปจะรู้กันว่าเป็นฤดูทอดกฐิน ผู้ที่มีทุนทรัพย์และมีศรัทธาก็จะพากันไปจองกฐิน ณ วัดที่ตนศรัทธาเลื่อมใส การจองกฐินนั้น คือการไปแจ้งให้ทางวัดได้ทราบถึงความประสงค์ที่จะถวายกฐิน สาเหตุที่ต้องจองก็เพราะว่า วัดหนึ่ง ๆ ในปีหนึ่งและในเวลาหนึ่งเดือน จะทอดหรือถวายกฐินได้เพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น หากไม่จอง ไว้ก่อน อาจไม่ได้ถวายกฐิน ณ วัดที่ต้องการ คืออาจมีผู้อื่นมาจองและถวายก่อน ในช่วงเวลา ที่กล่าวข้างต้น เรียกว่าฤดูกฐินหรือกฐินกาล โดยรวมแล้ ว คื อ พระพุ ท ธเจ้ า ทรงมี พ ระบรมพุ ท ธานุ ญ าต ให้ พ ระภิ ก ษุ ท ี่ จ ำพรรษา ครบถ้วนไตรมาส มีโอกาสได้จัดทำจีวรใหม่ โดยที่สงฆ์จะรับถวายผ้าใหม่ ผ้าเก่า ผ้าบังสุกุล ผ้าตกตามร้าน ผ้าที่ไม่ได้ทำเครื่องหมาย ฯลฯ ซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งนำมาถวาย พระภิกษุเหล่านั้น ยั ง ได้ รั บ สิ ท ธิ พ ิ เ ศษ (อานิ ส งส์ ) อี ก ด้ ว ย อานิ ส งส์ ท ี่ ว่ า นี ้ คื อ อานิ ส งส์ ก ารจำพรรษานั่ น เอง โดยปกติอานิสงส์การจำพรรษาจะมีอายุ ๑ เดือน คือตั้งแต่กลางเดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ แต่เมื่อได้กรานกฐิน อานิสงส์จะยืดออกไปถึงกลางเดือน ๔ อานิสงส์ ๕ ประการ มีดังนี้ ๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ๒. เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ ๓. ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ ๔. ทรงอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา ๕. จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ อานิสงส์ดังกล่าวมานั้น มีผลแก่พระภิกษุที่ได้รับและกรานกฐินเท่านั้น หาได้มีประโยชน์ ต่อบุคคลอื่นไม่ แต่สำหรับบุคคลที่นำผ้ากฐินไปถวายพระภิกษุที่จำพรรษาถ้วนไตรมาส (สามเดือน) แล้ ว ถื อ ว่ า ได้ บุ ญ กุ ศ ลเป็ น อั น มาก เนื่ อ งจากการถวายผ้ า กฐิ น นั ้ น ต้ อ งอาศั ย มู ล เหตุ ปั จ จั ย หลายประการรวมกัน จึงสามารถถวายได้ คือ ต้องถวายเฉพาะพระภิกษุที่จำพรรษาครบไตรมาส ต้องถวายแก่สงฆ์ไม่จำเพาะพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ในปีหนึ่ง วัดหนึ่ง ๆ จะถวายได้เพียงครั้งเดียว และจะถวายได้ตามกำหนดเวลา ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เท่านั้น ด้ ว ยเหตุ น ี ้ ก ระมั ง ผู ้ ม ี ศ รั ท ธาในสมั ย โบราณจึ ง นิ ย มถวายกฐิ น กั น เป็ น อั น มาก ผู ้ ใ ดมี ฐ านะพอ
93 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
จะทำการถวายได้ เมื่อถึงเวลาออกพรรษาก็จะรีบไปจองกันไว้ก่อนทีเดียว บางคราวจองไว้ตั้งแต่ ยังไม่ออกพรรษาก็มี ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันมิให้มีการจองกฐินซ้ำซ้อนกับผู้อื่นนั่นเอง ในสมัยครั้งพุทธกาล การถวายผ้ากฐินมีเพียงแบบเดียว คือนำผ้ามาถวายสงฆ์ พระภิกษุ ทำการกะ ตัด เย็บ ย้อม ทำสังฆกรรมยกให้ กรานและอนุโมทนาในวันเดียวกัน เนื่องจากผ้าที่ม ี
ผู้นำมาถวายนั้น ๆ ยังไม่มีรูปร่างเป็นจีวร ต้องทำการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา การกระทำการนั้น ต้องอาศัยความสามัคคีของพระภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในอาวาสนั้น ช่วยกันทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงแจ้งแก่สงฆ์เพื่อสวดญัตติมอบให้แก่พระภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้กรานกฐิน เพื่ออนุโมทนา การปฏิบัติ เช่นนี้ เท่ากับสงฆ์ได้กรานกฐิน คณะได้กรานกฐิน และบุคคลได้กรานกฐิน ทุกฝ่ายได้รับอานิสงส์ กฐินทั่วกัน ในปัจจุบันมีผ้าสำเร็จรูปเป็นจีวรมากมาย ไม่มีความจำเป็นต้องกะ ตัด เย็บ ย้อมอีก เพียงทำพินทุกัปปะก็กรานได้แล้ว แต่ในวัดที่รักษารูปแบบเดิม ยังคงมีการกะ ตัด เย็บ ย้อม เหมือนโบราณ แต่อาจเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติไปบ้าง การกฐินนั้น แต่เดิมทีเป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะ พระภิกษุสงฆ์ต้องจัดการ ขวนขวายหาผ้ามาเอง โดยการเก็บผ้าเปื้อนฝุ่น (ผ้าบังสุกุล) หรือผ้าที่เขาทิ้งตามป่าช้าหรือที่ใด ที่หนึ่ง ซึ่งเป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของ นำมาซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม ทำเป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อน ผืนใดผืนหนึ่ง จะออกปากขอต่อใคร ๆ โดยตรง หรือโดยอ้อม หรือจะแนะนำให้ใครเขานำผ้ากฐิน มาถวายไม่ได้ ในกาลต่อมา คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาเห็นความลำบากของพระภิกษุ จึงได้นำผ้ากฐิน มาถวาย เพื่อบรรเทาความลำบากของพระภิกษุ และเพื่อเป็นการสร้างบุญกุศลอีกประการหนึ่ง การทอดกฐินได้วิวัฒนาการมาโดยลำดับ จากการถวายผ้าผืนเดียวเริ่มมีการถวายสิ่งของที่เรียกกันว่า บริวารกฐิน เช่น ยารักษาโรค และอุปกรณ์เครื่องใช้ของพระภิกษุต่าง ๆ และเริ่มมีการถวายผ้ากฐิน แตกแยกออกไปหลายประเภท แต่ ส รุ ป ลงคงมี ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คื อ กฐิ น ราษฎร์ และ กฐินหลวง กฐินราษฎร์ ยังแบ่งออกไปตามลักษณะการถวายอีก เช่น มหากฐิน คือ กฐินที่ต้อง เตรียมการก่อนถวายนาน หรือกฐินสามัคคี คือ กฐินที่บุคคลผู้มีศรัทธามาร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถวายหลาย ๆ คน จุลกฐิน คือ กฐินที่ต้องทำทุกอย่าง ตั้งแต่เก็บฝ้าย ทอผ้า กะ ตัด เย็บ ย้อม กราน และถวายผ้ า แก่ส งฆ์ ให้ แ ล้ ว เสร็ จ ในวั น เดี ย วกั น ส่ว นอี ก ประเภทหนึ่ ง คื อ กฐิ น หลวง ได้แก่ กฐินที่พระมหากษัตริย์ทรงถวาย กฐินหลวงนี้แบ่งออกได้ตามลักษณะการถวาย ดังนี้ พระกฐินต้น ได้แก่ พระกฐินที่เสด็จพระราชดำเนินทรงถวายในวัดราษฎร์ เป็นการ ส่วนพระองค์ พระกฐินเสด็จพระราชดำเนิน ได้แก่ พระกฐินที่เสด็จพระราชดำเนินถวายใน พระอารามหลวงที่กำหนดไว้ และพระกฐินพระราชทาน ได้แก่ พระกฐินที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ส่วนราชการ กระทรวง ทบวง กรม องค์กรเอกชน และบุคคลทั่วไป ที่ขอรับพระราชทาน
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
94
นำไปถวายยั ง พระอารามหลวงทั่ ว ประเทศ สำหรั บ ในประเทศไทย ประเพณี ก ารทอดกฐิ น พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งพุทธกาลจนกระทั่งปัจจุบันนี้ เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่เข้ามายังประเทศไทย การทอดกฐินเป็นประเพณีอย่างหนึ่ง ที่ได้มีการปฏิบัติสืบต่อ ๆ กันมา แม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ทรงรับประเพณีการทอดกฐิน เป็นการ บำเพ็ญพระราชกุศลประการหนึ่งซึ่งทรงปฏิบัติเป็นประจำทุกปี จนถือเป็นพระราชพิธีที่สำคัญ พระราชพิธีหนึ่ง และพระราชพิธีนี้เป็นพระราชพิธีที่มีศาสนพิธีเกี่ยวเนื่องโดยตลอดทั้งพระราชพิธี เพราะเป็นพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ด้วยเหตุที่พระราชามหากษัตริย์ได้เข้ามามีบทบาท ในการทอดกฐิน ทำให้มีการแบ่งประเภทกฐินออกไปดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น กฐินที่พระมหากษัตริย์ ทรงถวาย ไม่ว่าจะเป็นพระอารามหลวงหรือวัดราษฎร์ก็เรียกกฐินหลวง สำหรับวัดที่เรียกว่า
พระอารามหลวง จะต้องได้รับกฐินหลวงทั้งสิ้น พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรง ถวายด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ไปถวายแทนพระองค์ เรียกว่า กฐินเสด็จพระราชดำเนิน มี ๑๖ พระอาราม หากพระมหากษัตริย ์ ไม่เสด็จพระราชดำเนินไปถวายด้วยพระองค์เอง จะพระราชทานให้ผู้มีศรัทธารับไปถวายยัง พระอารามหลวงต่าง ๆ เรียกกฐินประเภทนี้ว่า พระกฐินพระราชทาน มี ๒๖๕ พระอาราม ตามตำนานที่พอสืบค้นได้ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินนี้ มีมาตั้งแต่สมัย สุโขทัยเป็นราชธานี ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า “คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน
พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ ทั้งชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้น ทั ้ ง หลาย ทั ้ ง ผู ้ ช ายผู ้ ห ญิ ง ฝู ง ท่ ว ยมี ศ รั ท ธาในพระพุ ท ธศาสนา ทรงศี ล เมื่ อ พรรษาทุ ก คน
เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย พนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่ง หมอนนอน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสวดญัตติกฐินถึงอรัญญิกพู้น
เมื่อจะเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อรัญญิกพู้น เท่าหัวลานดำบงดำกลอยด้วยเสียงพาทย์เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน เมืองสุโขทัยนี้ม ี
สี่ปากประตูหลวง เทียนญอมคนเสียดกันเข้าดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้ดังจักแตก” ข้อความดังกล่าวแสดงถึงประเพณีการทอดกฐินในสมัยสุโขทัย ซึ่งก็คงสืบทอดประเพณีนี้มาตั้งแต่ โบราณกาลนั่นเอง ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ประเพณีการทอดกฐินนี้ได้ปฏิบัติ สื บ ต่ อ กั น มามิ ไ ด้ ข าด ทั ้ ง ที่ เ ป็ น ของประชาราษฎร์ ทั ้ ง ที่ เ ป็ น ของหลวง กระทั่ ง ล่ ว งมาถึ ง สมั ย รัตนโกสินทร์ ถือเป็นงานบุญงานกุศลที่ยิ่งใหญ่ นอกจากผ้าที่ถือเป็นองค์กฐินแล้ว ยังมีการจัด บริวารกฐินอีกเป็นจำนวนมาก เช่น ที่นอน หมอน มุ้ง กาน้ำชา กระติกน้ำร้อน ช้อนส้อม กระเป๋า
95 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
เครื่องมือโยธา เช่น ค้อน เลื่อย สิ่ว ตะไบ คีม กบไสไม้ พร้อมทั้งจตุปัจจัยไทยธรรม เป็นต้น นำไป ถวายพร้อมองค์กฐินด้วย เจ้าภาพบางรายประสงค์จะทำบุญกุศลให้มากกว่านั้นไปอีก ก็จะจัด
กองผ้าป่าเพื่อไปทอดถวายหลังจากการทอดกฐินเสร็จแล้ว ผ้าป่านี้นิยมเรียกกันว่า ผ้าป่าหางกฐินบ้าง ผ้าป่าแถมกฐินบ้าง หมายความว่ารวมถวายไปในคราวเดียวกับการถวายกฐินนั่นเอง การทอดกฐินหรือการถวายกฐินที่กล่าวมาทุกประเภท เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนพิธี โดยตลอด เพราะเป็นการบำเพ็ญกุศลอย่างสำคัญประการหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา จะกล่าวถึง แนวทางในการปฏิบัติวิธีการทอดกฐิน แยกตามประเภท ดังนี้
การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน เป็นพระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์ โดยตรง ซึ่ ง ในปี ห นึ่ ง ๆ เมื่ อ ถึ ง เทศกาลออกพรรษาแล้ ว ราษฎรจะพากั น ไปถวายผ้ า กฐิ น
ตามวั ด ต่ า ง ๆ ตามที่ ไ ด้ จ องไว้ พระมหากษั ต ริ ย์ ก็ ม ี วั ด ที่ จ ะต้ อ งเสด็ จ ฯ ไปถวายผ้ า พระกฐิ น เช่นเดียวกัน เรียกว่า พระอารามหลวง ซึ่งมีจำนวนมากมาย แต่ได้มีการสงวนพระอารามหลวง ไว้ ส ำหรั บ พระมหากษั ต ริ ย์ เ สด็ จ ฯ ไปทรงถวายโดยพระองค์ เ องจำนวนหนึ่ ง ปั จ จุ บั น มี ๑๖ พระอาราม ได้แก่
วัดบวรนิเวศวิหาร วัดอรุณราชวราราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดราชาธิวาส วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดพระปฐมเจดีย์ วัดสุวรรณดาราราม
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดราชโอรสาราม วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดนิเวศธรรมประวัติ
การถวายผ้าพระกฐินทั้ง ๑๖ พระอารามนี้ พระมหากษัตริย์มิได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงถวายทุกพระอาราม จะเสด็จฯ ไปทรงถวายเพียง ๑-๒ พระอารามเท่านั้น ส่วนพระอาราม ที่เหลือจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จไปถวายผ้าพระกฐิน
แทนพระองค์ ใน ๑๖ พระอารามนี้ มีวิธีการถวาย ดังนี้
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
96
- สำนักพระราชวัง จะออกหมายกำหนดการว่า พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนิน ไปถวายผ้าพระกฐินที่พระอารามใดเป็นพระอารามแรก วัน เวลาใดในสมัยโบราณจะกำหนดวันที่ จะเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินวันแรก คือ วันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ แม้ปัจจุบันก็ยังยึดถือเป็น
แนวปฏิบัติ สำนักพระราชวัง จะมีหนังสือแจ้งหมายกำหนดการ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐินให้กรมการศาสนานมัสการเจ้าอาวาส แจ้งกำหนดการเสด็จพระราชดำเนิน ถวายผ้าพระกฐิน ให้ทางวัดจัดเตรียมอาสน์สงฆ์เพื่อพระสงฆ์ลงอนุโมทนากฐิน พร้อมกับวางฎีกา นิมนต์พระสงฆ์ในวัดนั้น ๆ ลงอนุโมทนากฐินด้วย และในหมายกำหนดการนั้น จะแจ้งการแต่งกาย ของเจ้าหน้าที่ ที่จะไปปฏิบัติงานพิธีถวายผ้าพระกฐิน แจ้งพระนามผู้ที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรง ถวายด้วย การถวายพระกฐินนี้ เมื่อถึงกำหนดวันเสด็จฯ สำนักพระราชวังจะจัดเตรียมผ้าพระกฐิน พร้อมทั้งเครื่องบริวารกฐินต่าง ๆ นำไปจัดเตรียมตั้งไว้ภายในพระอุโบสถ หรือสถานที่อื่นใด ที่ใช้เป็นสถานที่รับกฐิน สำนักพระราชวังจะไปจัดเตรียมสถานที่ประทับ จัดเครื่องบูชานมัสการ พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น การถวายผ้าพระกฐินที่ประตูพระอุโบสถ ถวายเทียนชนวน รับพระราชทานผ้าห่มพระประธาน ถวายพระเต้าน้ำ (อุปกรณ์สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงหลั่ง
ทักษิโณทก) ส่วนเจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา ก็มีหน้าที่จัดอุปกรณ์และเตรียม ปฏิบัติ เช่น เตรียมกังสดาลไปตีให้สัญญาณวงปี่พาทย์ของกรมศิลปากร ซึ่งไปบรรเลงในพิธี เตรียมจัดทำบัญชีพระสงฆ์ในพระอารามนั้น ๆ เตรียมบุคคลที่จะไปกราบทูลรายงานจำนวน พระสงฆ์ เตรียมบุคลากรไปปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น รับผ้าและนำพระสงฆ์ลงไปครองผ้า รับเครื่อง พระกฐินจากพระสงฆ์ในขณะที่พระมหากษัตริย์ทรงประเคน เป็นต้น การเสด็จพระราชดำเนิน
ทรงบำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลถวายผ้ า พระกฐิ น แต่ ล ะพระอาราม มี ก ิ จ กรรมแตกต่ า งกั น ออกไป บางพระอารามมีพิธีสดับปกรณ์ บางพระอารามมีพิธีพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้ที่ร่วมโดยเสด็จ พระราชกุ ศ ลถวายผ้ า พระกฐิ น บางพระอารามเสด็ จ พระราชดำเนิ น ทางรถยนต์ ที่ เ รี ย กว่ า สถลมารค บางพระอารามเสด็จพระราชดำเนินทางเรือ ที่เรียกว่าชลมารค มีลำดับการปฏิบัติพิธี โดยสรุป ดังนี้ พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินถึงบริเวณพระอุโบสถ วงดุริยางค์บรรเลงเพลง สรรเสริญพระบารมี เสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงรับผ้าพระกฐินจากเจ้าพนักงานศุภรัตซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายบริเวณประตูพระอุโบสถ ขณะนี้ ปี่พาทย์กรมศิลปากรบรรเลงเพลง เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ เตรียมให้สัญญาณคนหนึ่ง เตรียมตีกังสดาลคนหนึ่ง เมื่อรับผ้าพระกฐินแล้ว ทรงอุ้มประคอง ผ้าพระกฐินเสด็จฯ ไปทรงวางบนพานแว่นฟ้าซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าพระสงฆ์ รูปที่ ๒ ทรงรับเทียนชนวน จากเจ้ า หน้ า ที่ ฝ่ า ยสนมพลเรื อ น ทรงจุ ด ธู ป เที ย นเครื่ อ งนมั ส การบู ช าพระรั ต นตรั ย ทรงคื น
97 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
เทียนชนวนแก่เจ้าหน้าที่ ในขณะนี้ เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์จะต้องให้สัญญาณแก่คนตีกังสดาล คนที่ถือกังสดาลจะตี ๑ ครั้ง ปี่พาทย์ต้องหยุดบรรเลงทันที แม้ยังไม่จบเพลง พระมหากษัตริย ์ ทรงกราบ แล้วเสด็จมาที่พานแว่นฟ้าประทับยืน เจ้าพนักงานภูษามาลาถวายคำนับ เข้าไปรับ
ผ้าห่มพระประธานที่ทรงหยิบพระราชทานให้แล้วถอยออก อธิบดีกรมการศาสนา (หรือผู้แทน) ยืนถวายคำนับประมาณกลาง ๆ อาสน์สงฆ์ แล้วกราบทูลรายงานจำนวนพระสงฆ์ที่จำพรรษา ณ พระอารามนั้น จบแล้วถวายคำนับ ถอยออกไปนั่ง ณ ที่ซึ่งจัดไว้สำหรับผู้กราบทูลรายงาน จำนวนพระสงฆ์ พระมหากษัตริย์จะทรงอุ้มประคองผ้าพระกฐิน ประนมพระหัตถ์หันไปทางพระประธาน พระอุโบสถ ทรงกล่าว นะโม ๓ จบ หันมาทางชุมนุมสงฆ์ ทรงกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้ว ทรงวางผ้าพระกฐินบนพานแว่นฟ้า ทรงยกประเคนพระสงฆ์รูปที่ ๒ และทรงประเคนพานเทียน พระปาติโมกข์ด้วย จากนั้นประทับพระราชอาสน์ พระสงฆ์จะเริ่มทำสังฆกรรม คือ อปโลกน์
ยกผ้าให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นผู้ครองกฐิน พระภิกษุที่ได้รับให้เป็นผู้ครองกฐินจะลงไปครองผ้า แล้วขึ้นมานั่งยังอาสน์สงฆ์ ในขณะพระสงฆ์ลงไปครองผ้า ปี่พาทย์กรมศิลปากรจะบรรเลงเพลง โดยเจ้ า หน้ า ที่ ก องศาสนู ป ถั ม ภ์ จ ะเคาะกั ง สดาลให้ สั ญ ญาณ และจะต้ อ งหยุ ด บรรเลงทั น ที เมื่อเจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์เคาะกังสดาลเป็นสัญญาณให้หยุด ในเวลาที่พระสงฆ์กลับขึ้นมานั่ง ณ อาสน์สงฆ์ ลำดับนี้ พระมหากษัตริย์จะเสด็จฯ มาที่ประธานสงฆ์ ทรงรับเครื่องบริวารพระกฐิน จากเจ้าหน้าที่ ทรงประเคนแด่ประธานสงฆ์จนครบทุกชิ้น เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ มีหน้าที่ ต้ อ งรั บ เครื่ อ งบริ ว ารพระกฐิ น ที่ ป ระธานสงฆ์ รั บ ประเคนแล้ ว ออกไปตั ้ ง วางในที่ อั น สมควร เมื่ อ พระมหากษั ต ริ ย์ เ สด็ จ ฯ ไปประทั บ พระราชอาสน์ แ ล้ ว เจ้ า หน้ า ที่ เ ชิ ญ พระเต้ า น้ ำ เข้ า ไป พระสงฆ์ตั้งพัดยศถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก จบแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงกราบลาพระประธาน ทรงลาพระสงฆ์ หากมีของที่ระลึกที่จะถวายพระมหากษัตริย์ ประธานสงฆ์จะถวายในช่วงนี้ เรียบร้อยแล้ว พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินกลับ เป็นเสร็จพิธี ยังมีอีกกรณีหนึ่ง คือ พิธีสดับปกรณ์ และการพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้ที่บริจาคเงิน โดยเสด็ จ พระราชกุ ศ ล ทั ้ ง สองพิ ธ ี ไ ด้ ม ี เ กิ ด ขึ ้ น ในสมั ย หลั ง เนื่ อ งจากพระมหากษั ต ริ ย์ ท รงมี พระประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเพิ่มเติมเพื่อพระราชทานอุทิศแด่พระราชอุปัธยาจารย์ จึงมีพิธีสดับปกรณ์เกิดขึ้น ปัจจุบันพิธีนี้มี ๓ พระอาราม คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระเชตุพน- วิมลมังคลาราม และวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เวลาประกอบพิธีดังกล่าวนี้ ต้องทำหลังจาก ถวายผ้าพระกฐินแล้ว สำหรับวัดบวรนิเวศวิหารและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระสงฆ์
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
98
ที่สดับปกรณ์แล้วจะต้องลงไปครองผ้าพร้อมกับรูปที่ครองกฐินสำหรับวัดราชบพิธสถิตมหาสีมา ราม เริ่มมีพิธีหลังจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสนมหาเถระ) สิ้นพระชนม์ แต่เดิมประกอบพิธีในพระวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระรูปสมเด็จ พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสนมหาเถระ) ต่อมา เห็นว่าเป็นการไม่สะดวก ทั้งแก่พระสงฆ์ที่จะสดับปกรณ์ ทั้งแก่พระมหากษัตริย์ จึงได้อัญเชิญ พระอัฐิสมเด็จพระสังฆราชมาประกอบพิธีในพระอุโบสถ ส่วนพิธีพระราชทานของที่ระลึกแก่
ผู้บริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลนั้น สุดแต่พระอารามใดจะจัดให้มี โดยกราบทูลให้ทรงทราบ เป็นการล่วงหน้า เมื่อถึงวันเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ทางวัดจะเชิญผู้ที่ถวายเงิน มาพร้อมที่วัดเพื่อเข้ารับพระราชทานของที่ระลึก และเตรียมจัดหาของที่ระลึกไว้ และจัดพิธี พระราชทานภายหลังจากการถวายผ้าพระกฐินเรียบร้อยแล้ว พระกฐิ น ที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ เ สด็ จ พระราชดำเนิ น ถวายโดยพระองค์ เ อง หรื อ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้อื่นไปถวายแทน ณ พระอารามหลวง เรียกว่า พระกฐินหลวง พระกฐินที่เสด็จไปถวายตามวัดราษฎร์ เรียกว่า พระกฐินต้น วิธีปฏิบัติในการถวายก็เหมือน ๆ กับ พระกฐินหลวง พระกฐินต้นนี้ จะเริ่มมีชื่อเรียกใช้ตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏหลักฐาน ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีเรียกกันโดยอาศัยเรียกตามการเสด็จประพาสบ้าง วัตถุเครื่องใช้บ้าง อาทิ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ ได้มีการเสด็จประพาสหัวเมือง โดยทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้จัดแบบง่าย ๆ พอพระทัยจะประทับที่ใดก็ประทับ ไม่ต้องให้ทางหัวเมืองจัดเตรียม ที่ประทับไว้ การเสด็จประพาสเช่นนี้ เรียกว่า เสด็จประพาสต้น และเช่นเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๔๗ เสด็จประพาสในแม่น้ำอ้อม มีรับสั่งให้จัดหาเรือมาดเพิ่มจากเรือที่ประทับอีกลำหนึ่ง แจวตามเรือมาดพระที่นั่ง เพื่อมิให้ใคร ๆ ได้รู้จักพระองค์ เรือมาดลำนั้นได้ชื่อว่า เรือต้น กฐินที่ เสด็จฯ ไปถวายเป็นการส่วนพระองค์ก็เรียกตาม ๆ กันไปว่า พระกฐินต้น สืบมาในการถวายพระกฐินต้น มีหลักเกณฑ์ว่า ต้องเป็นวัดที่ยังไม่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ประชาชนมีความเลื่อมใสวัดนั้นมาก และประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท แม้พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบันก็เคยเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายพระกฐินต้นอยู่บ่อยครั้ง พระกฐินอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนถึง ๒๖๕ พระอาราม และยังมีเพิ่มขึ้นอีก ทุก ๆ ปี ตามจำนวนพระอารามหลวงที่ขอตั้งเพิ่มขึ้น กฐินที่จะถวายวัดเหล่านี้ อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ เป็นพระราชอำนาจที่จะพระราชทานให้ใคร ๆ ที่มีศรัทธาขอรับ พระราชทานไปถวายก็ได้ แต่มิใช่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปถวายแทนพระองค์ กฐินเช่นนี้ เรียกว่า พระกฐินพระราชทาน ถวายได้เฉพาะวัดที่เป็นพระอารามหลวงทั่วประเทศ การขอรับ
99 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระราชทานและการดำเนินการต่าง ๆ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการศาสนา เช่น รับจอง จัดหาเครื่องพระกฐินและบริวาร จัดทำบัญชีรายนามผู้ขอรับพระราชทาน จัดทำบัญชีเงินถวายกฐิน กราบทูลถวายพระราชกุศล ตลอดถึงงานธุรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พระกฐินพระราชทานนี้ ทางการจะจัดเครื่องพระกฐินมอบแก่ผู้ที่ขอรับพระราชทาน ๑ ชุด ต่อ ๑ พระอาราม เมื่อรับไปแล้ว จะไปจัดหาบริวารพระกฐินอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกก็ทำได้ แต่ไม่นิยมให้จัดหาในลักษณะการเรี่ยไร ผู้ขอรับพระราชทานต้องประสานงานกับทางวัดถึงกำหนดวัน เวลา ที่จะไปถวายผ้าพระกฐิน ให้ แ น่ น อน เพื่ อ ทางวั ด จะได้ เ ตรี ย มการรั บ พระกฐิ น ให้ พ ร้ อ ม ส่ ว นการเตรี ย มการปฏิ บั ต ิ พ ิ ธ ี ในวันถวาย มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
เตรียมการและปฏิบัติการ - จัดสถานที่ จัดโต๊ะหมู่ถวายราชสักการะและวางผ้าพระกฐินหน้าพระอุโบสถ - จัดโต๊ะตั้งพานแว่นฟ้าเปล่า และจัดพานเทียนพระปาติโมกข์ วางไว้หน้าอาสน์สงฆ์
ตรงพระสงฆ์รูปที่ ๒ - จัดเตรียมธูปเทียน สำหรับบูชาพระรัตนตรัย - จัดเตรียมเทียนชนวน ไฟแช็ก ที่กรวดน้ำไว้ด้านท้ายอาสน์สงฆ์ วัน เวลา ที่จะถวายผ้าพระกฐิน - ประธานพิธีเดินทางถึงด้านหน้าพระอุโบสถ เข้าไปที่โต๊ะหมู่ซึ่งวางผ้าพระกฐินไว้ - ทำความเคารพ (คำนับหรือถอนสายบัว) พระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรม- สาทิสลักษณ์ เปิดกรวยดอกไม้ แล้วทำความเคารพอีกครั้งหนึ่ง - ยกผ้าไตรขึ้นอุ้มประคอง ยืนตรง (ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี) จบแล้ว เดินเข้าสู่พระอุโบสถทางประตูกลาง (กรณีพระอุโบสถมี ๓ ประตู) หรือประตูขวามือ ของประธาน ไปวางผ้าพระกฐินที่พานแว่นฟ้า ด้านหน้าพระสงฆ์รูปที่ ๒ - จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กราบแล้วลุกมาที่หน้าอาสน์สงฆ์ - หยิบผ้าห่มพระประธานมอบให้ศาสนพิธีกร หรือไวยาวัจกรแล้วอุ้มประคองผ้า พระกฐิน ประนมมือ ผินหน้าไปทางพระพุทธรูปประธาน ว่านะโม... ๓ จบ หันมาทาง ชุมนุมสงฆ์ - กล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้ว วางผ้าพระกฐินบนพานแว่นฟ้า (คำถวายพระกฐิน ต้องพิมพ์ติดไว้บนผ้าพระกฐิน เวลากล่าวคำถวายจะได้อ่านสะดวก และควรทำ สำเนาให้ประธานฝึกอ่านให้คล่องแคล่ว)
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
100
- ยกประเคนพระสงฆ์รูปที่ ๒ แล้วประเคนพานเทียนพระปาติโมกข์ ไปนั่งที่เก้าอี้ ประธาน - พระสงฆ์กระทำอปโลกนกรรมจบ ลงไปครองผ้าขึ้นมานั่งยังอาสน์สงฆ์ - ประธานลุ ก ไปยื น หรื อ นั่ ง ที่ ห น้ า ประธานสงฆ์ รั บ บริ ว ารพระกฐิ น จากผู ้ ท ี่ เ ชิ ญ มา ถวายแด่ประธานสงฆ์จนครบ ส่วนผู้มาร่วมพิธีถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์ - เจ้าหน้าที่ประกาศยอดเงินถวายพระกฐิน จบแล้วเชิญประธานประเคนใบปวารณา แด่ประธานสงฆ์ - พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก (ขณะพระสงฆ์ถวายอดิเรก ให้ลดมือลง ไม่ต้องประนมมือ เพราะการถวายอดิเรกนั้น เป็นการถวายพระพรแด่พระมหากษัตริย ์ โดยเฉพาะ เมื่อพระสงฆ์รูปที่ ๒ รับว่า ภวตุ สัพพะมังคะลัง จึงประนมมือรับพรต่อไป) - ประธานกรวดน้ำ รับพรเสร็จแล้ว - กราบลาพระประธานพระอุ โ บสถแล้ ว กราบลาพระสงฆ์ ออกจากพระอุ โ บสถ หากประธานสงฆ์มีของที่ระลึกจะมอบให้ ก็ให้มอบในตอนนี้ เป็นเสร็จพิธีการถวาย พระกฐินพระราชทาน กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ประชาชนทั่วไปถวายวัดต่าง ๆ ที่เป็นวัดราษฎร์ มีชื่อเรียกกันไป ตามลักษณะการถวาย เช่น จุลกฐิน มีลักษณะการจัดถวายแบบรีบด่วน ทั้งการเตรียมการ ทั้งการถวาย ต้องทำให้เสร็จในวันเดียว มหากฐินก็มีลักษณะการเตรียมการมากกว่า คือไม่รีบด่วน ใช้เวลา ได้มากกว่า กฐินสามัคคี มีลักษณะการถวายแบบร่วมกัน หลาย ๆ เจ้าภาพจัดหาทุนมาทอดถวาย กฐินโจร หรือกฐินตก มีลักษณะการถวายแบบไม่แจ้งล่วงหน้า เมื่อระยะเวลาที่จะทอดกฐิน จวนจะสิ้นสุดลง ผู้ที่มีศรัทธานำผ้ากฐินและบริวารกฐินเดินทางไปในที่ต่าง ๆ พบว่าวัดใดยังไม่ม ี
ผู ้ ท อดกฐิ น หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า ตกกฐิ น ก็ จ ะเข้ า ไปทอดถวายที่ วั ด นั ้ น ๆ การถวายกฐิ น ราษฎร์ มีขั้นตอนพิธีการ พอสรุปได้ ดังนี้ - จองกฐิน คือแจ้งให้ทางวัดทราบว่า จะมาทอดกฐินที่วัดนี้ - นัดวัน เวลา ที่จะทำการถวายกฐินกับพระสงฆ์ - จัดพิธีฉลองกฐิน โดยจัดแบบงานมงคล (จะจัดหรือไม่ก็ได้) - จัดสถานที่วางเครื่องบริวารกฐินในอุโบสถ ด้านท้ายอาสน์สงฆ์ - จั ด โต๊ ะ ตั ้ ง พานแว่ น ฟ้ า วางผ้ า กฐิ น และจั ด พานเที ย นพระปาติ โ มกข์ ว างไว้ ห น้ า อาสน์สงฆ์ ตรงด้านหน้าพระสงฆ์รูปที่ ๒ - จัดเตรียมธูปเทียน สำหรับจุดบูชาพระรัตนตรัย
101 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
- จัดเตรียมเทียนชนวน ไฟแช็ก ที่กรวดน้ำ ไว้ด้านท้ายอาสน์สงฆ์ให้พร้อม เมื่อถึง วัน เวลา ที่จะทอดกฐิน พระสงฆ์ลงมาพร้อม เจ้าภาพและญาติมิตรมาพร้อมกัน ในอุโบสถ หรือสถานที่ที่จะทำพิธีถวายกฐิน เริ่มพิธี ดังนี้ - เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย - ศาสนพิธีกรอาราธนาศีล ทุกคนรับศีล จบแล้ว - เจ้าภาพลุกจากเก้าอี้มาที่หน้าอาสน์สงฆ์ หยิบผ้าห่มพระประธานมอบให้ศาสนพิธีกร หรื อ ไวยาวั จ กรแล้ ว อุ ้ ม ประคองผ้ า กฐิ น ประนมมื อ หั น หน้ า ไปทางพระพุ ท ธรู ป ประธาน ว่านะโม... ๓ จบ - หันมาทางชุมนุมสงฆ์ กล่าวคำถวายกฐิน (การถวายกฐินราษฎร์ นิยมให้เจ้าภาพ กล่าวนำ ผู้ร่วมพิธีกล่าวตาม เพราะส่วนใหญ่เป็นกฐินสามัคคี) คำถวายกฐินควรพิมพ์ ติดไว้ที่ผ้ากฐิน เวลากล่าวถวายจะได้อ่านสะดวก - จบแล้ว วางผ้ากฐินบนพานแว่นฟ้า ยกพานประเคนพระสงฆ์รูปที่ ๒ และประเคน พานเที ย นพระปาติ โ มกข์ แ ล้ ว ไปนั่ ง ที่ เ ก้ า อี ้ (เหตุ ท ี่ เ รี ย กว่ า เที ย นพระปาติ โ มกข์ เพราะพระสงฆ์จะใช้เทียนนี้จุดในเวลาที่ทำสังฆกรรมสวดพระปาติโมกข์) - ในระหว่างนี้พระสงฆ์กระทำอปโลกนกรรม ลงไปครองผ้ากลับขึ้นมานั่งยังอาสน์สงฆ์ เรียบร้อย - เจ้าภาพลุกไปนั่งหรือยืนที่ด้านหน้าประธานสงฆ์ รับบาตรและสิ่งของบริวารอื่น ๆ ที่เจ้าหน้าที่เชิญมา ถวายแด่ประธานสงฆ์ - ผู้มาร่วมงานถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ - ปวารณาปัจจัยบำรุงวัด ถวายองค์ครอง คู่สวด และพระสงฆ์ แล้วถวายใบรายการ ที่ปวารณาแก่ประธานสงฆ์ - พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำ รับพร - กราบลาพระประธานอุโบสถ กราบลาพระสงฆ์ เป็นเสร็จพิธี ถ้ามีการบริจาคเงินบำรุงการศึกษา ควรทำพิธีมอบตอนนี้ หากบริจาคเป็นอุปกรณ์
การศึกษา หรือเครื่องใช้ เช่น สมุด ดินสอ หนังสือ ถังน้ำดื่ม ตู้เอกสาร เป็นต้น นิยมมอบกัน ภายนอกพระอุโบสถ
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
102
คำถวายผ้าพระกฐิน
สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แบบที่ ๑ ใช้ถวายวัดมหานิกาย
อิมํ สปริวารํ กฐฺินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม ทุติยมฺปิ อิมํ สปริวารํ กฐฺินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม ตติยมฺปิ อิมํ สปริวารํ กฐฺินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แบบที่ ๒ ใช้ถวายวัดธรรมยุติกนิกาย
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐฺินทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐฺินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐฺิน ํ
อตฺถรตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย. สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายแทนพระองค์ ผ้าพระกฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร- มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ กอปรด้วยพระราชศรัทธาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้าน้อมนำมาถวาย แด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษากาลถ้วนไตรมาสในอาวาสวิหารนี้ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าพระกฐินทานนี้ กระทำกฐินัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตนั้น เทอญ สำหรับประธานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ผ้าพระกฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร- มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ กอปรด้วยพระราชศรัทธาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน ให้...........น้อมนำมาถวายแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษากาลถ้วนไตรมาสในอาวาสวิหารนี้ ขอพระสงฆ์ จงรับผ้าพระกฐินทานนี้ กระทำกฐินัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตนั้น เทอญ
103 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
คำถวายกฐินสำหรับผู้เป็นเจ้าภาพถวายกฐินราษฎร์ แบบที่ ๑ คำแปล
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐฺินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม ทุติยมฺปิ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐฺินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม ตติยมฺปิ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐฺินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สอง ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่ ๓
แบบที่ ๒ คำแปล
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐฺินทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐฺินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐฺินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย. ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน กับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ.
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
104
105 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
106
107 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ความหมายตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา
๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙ เป็นภาพพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็นอุณาโลม รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือวงจักรเป็นพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันหมายถึง พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มีพระบรมเดชานุภาพเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โดยในการพระราชพิธี บรมราชาภิเษก พระองค์ได้ประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ตามโบราณราชประเพณี และสมาชิกรัฐสภาได้ถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปดเป็นครั้งแรกแทนราชบัณฑิต ส่วนพระแท่นลานั้น โรยด้วยดอกพิกุลเงินพิกุลทอง ๙ ดอก พระราชลัญจกรล้อมรอบด้วยเพชร ๘๐ เม็ด หมายถึง พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ด้ า นบนพระราชลั ญ จกรเป็ น พระมหาพิ ชั ย มงกุ ฎ อั น เป็ น
เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราช ภายในพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นเลข ๙ หมายถึง รัชกาลที่ ๙ พระมหาพิชัยมงกุฎ นั้นอยู่ด้านหน้าพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรซึ่งอยู่กึ่งกลางและขนาบข้างด้วยพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น อันเป็นเครื่องแสดงพระราชอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ ด้านล่างพระราชลัญจกร เป็นเลข ๘๐ หมายถึง พระองค์มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ถัดจากเลขไทยลงมาเป็นแพรแถบ บอกชื่องานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ แพรแถบ นอกจากบอกชื่องานพระราชพิธีแล้ว ยังรองรับประคองพระเศวตฉัตรด้วย
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
108
109 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
110
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชาธิบายการพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษาไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือนว่า “เป็นการทำบุญวันเกิด
ทุก ๆ ปี โดยพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำเป็นต้นเดิมมาตั้งแต่ ครั้งยังทรงผนวช ด้วยทรงมีพระราชดำริเห็นว่า การซึ่งมีอายุมาถึงบรรจบครบรอบปีถือเป็นลาภ
อันอุดม ซึ่งเป็นกาลอันควรที่จะมีการแสดงความยินดี เมื่อมีความยินดีก็ควรที่จะมีการบำเพ็ญกุศล ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น สมกับที่มีน้ำใจยินดีต่อกันประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง
ควรจะเป็ น ผู้ ท ำตนให้ เ ป็ น ผู้ ท ี่ ตั้ ง อยู่ แ ห่ ง ความไม่ ป ระมาท ดั ง นั้ น การที่ บ รรจบรอบปี เ ช่ น นี้
ควรจะบำเพ็ญการกุศล และประพฤติหันเข้าหาสุจริตธรรม วันเกิดปีหนึ่งเป็นเครื่องเตือนใจ
ครั้งหนึ่ง ให้รู้สึกว่าอายุได้ล่วงไปอีกก้าวหนึ่ง” พระราชพิธีนี้ไม่เคยมีปรากฏในสมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และต้นยุครัตนโกสินทร์ เริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันพระบรมราชสมภพมาตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่ พระราชกุศลที่ทรงบำเพ็ญ คือ นิมนต์พระสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์ และรับพระราชทานฉันจำนวน ๑๐ รูป และเมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ก็ ยั ง ทรงบำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลเพี ย งเจริ ญ พระพุ ท ธมนต์ และรั บ พระราชทานฉั น เหมื อ น เมื่อครั้งยังทรงผนวช และทรงทำเป็นพระราชพิธีใหญ่เมื่อทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา โดยทรงมีหมายกำหนดการพระราชพิธี ดังนี้ ทรงจุ ด เที ย นเท่ า พระองค์ (เที ย นมี ค วามสู ง เท่ า พระองค์ และมี จ ำนวนไส้ เ ที ย นเท่ า พระชนมพรรษา) และเทียนมหามงคล (เทียนที่มีขนาดยาวเท่ากับรอบของพระเจ้า) แล้วพระสงฆ์ ๖๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ นอกจากนั้น ได้เสด็จออกมหาสมาคม ให้พระบรมวงศานุวงศ์และ ข้าราชการเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เจ้านายและขุนนางอ่านคำถวายพระพรชัยมงคล ทรงสดับพระธรรมเทศนา มีการสรงพระมุรธาภิเษก มีการพระราชทานเหรียญทองคำดารา พระมหามงกุฎแก่ข้าราชการ ซึ่งเป็นต้นเค้าของการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในการเฉลิม พระชนมพรรษาในกาลต่อมา และมีการจุดประทีปโคมไฟในพระบรมมหาราชวัง การพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ได้ถือแบบที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
111 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ได้ทรงกระทำในการเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา เป็นแนวในการปฏิบัติพระราชพิธ ี
เฉลิมพระชนมพรรษา ส่วนการประดับประทีปโคมไฟนั้น ในชั้นแรก ๆ จะกระทำกันอยู่เฉพาะ ในวังเจ้านายและตามบ้านของข้าราชการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่ อ งจากพระบรมวงศานุ ว งศ์ แ ละบรรดาข้ า ราชการกระทำด้ ว ยความสมั ค รใจ เพื่ อ เป็ น การ เฉลิมพระเกียรติยศ โดยที่ทางราชการไม่ได้ขอร้องให้กระทำ ต่อมาบรรดาบริษัท ห้างร้าน องค์กร ต่ า ง ๆ ประชาชนทั่ ว ไปก็ พ ลอยยิ น ดี และมี ก ารแสดงความจำนงในการแต่ ง ประที ป โคมไฟ เพื่ อ ประดั บ และเป็ น การแสดงออกซึ่ ง ความพลอยยิ น ดี ใ นศุ ภ วารดิ ถ ี วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษา ในพระมหากษัตริย์บ้าง เนื่องจากต่างก็มีความจงรักภักดีต่อเบื้องพระยุคลบาทโดยทั่วหน้ากัน สำหรับกาลพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เวียนมา บรรจบในวันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปี ปวงชนชาวไทยและชาวต่างประเทศที่อยู่ภายใต้พระบรม- โพธิสมภารต่างก็ถือเป็นเรื่องที่ปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งในอันที่จะร่วมกันจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง ในวาระเช่นนี้ เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่เทิดทูนของไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ทั่วราชอาณาจักรไทย ซึ่งในการจัดกิจกรรมพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาก็ได้มีการจัดให้เป็นไปตามพระราชประเพณี มีทั้งงานพระราชพิธี ศาสนพิธี รัฐพิธี และกิจกรรมที่หน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ทั ้ ง ในประเทศและต่ า งประเทศ ได้ จั ด ขึ ้ น เพื่ อ เป็ น การเฉลิ ม ฉลอง อั น เป็ น การแสดงออกถึ ง ซึ่งความจงรักภักดีของพสกนิกรทั้งปวง เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ ดังนั้น พสกนิกรชาวไทย รวมตลอดทั้งสมณชีพราหมณ์ เมื่อถึงอภิลักขิตกาลวันพระราชสมภพ เวียนมาบรรจบครบรอบปี จึงถือเป็นวันสำคัญยิ่งของชาติไทย ในวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นปีมหามงคลอันประเสริฐที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา สำนักพระราชวังจึงได้จัดทำหมายกำหนดการ ดังนี้
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
112
ที่ ๑๙/๒๕๕๐ หมายกำหนดการ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ วัน เวลา อังคารที่ ๔ ๐๙.๐๐ น. ถึง พฤหัสบดีที่ ๖ ๑๗.๐๐ น.
พุธที่ ๕ ๑๓.๐๐ น. ถึง ๑๗.๐๐ น. พุธที่ ๕ ๐๗.๓๐ น.
๑๐.๓๐ น.
๑๖.๔๕ น.
๑๗.๔๕ น.
พฤหัสบดีที่ ๖ ๑๐.๓๐ น.
เสาร์ที่ ๘ ๑๗.๓๐ น.
รายการ
ลงพระนาม และลงนามถวายพระพร และถวายบังคมสมเด็จพระบูรพ- มหากษัตริยาธิราช แห่เชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ ์
ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เสด็จออกมหาสมาคม รับการถวาย พระพรชัยมงคล บรรพชิตจีนและญวนถวายพระพร สวดนพเคราะห์ ผู้ได้รับพระราชทาน ราชสังคหวัตถุเฝ้าฯ ทรงตั้งสมณศักดิ์ ทรงตั้งพระครู พราหมณ์ เจริญพระพุทธมนต์
การพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา เลี้ยงพระ เทศน์มงคลวิเศษ พระสงฆ์ถวายพระพร คณะทูตเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
แต่งกาย
ในพระบรมมหาราชวัง ปกติขาว ปราสาทพระเทพบิดร หรือสุภาพ
พระอุโบสถ เต็มยศ วัดพระเชตุพน ช้างเผือก วิมลมังคลาราม มุขเด็จ พระที่นั่ง เต็มยศ จักรี จักรีมหาปราสาท หรือช้างเผือก สายสร้อย จุลจอมเกล้า
วัดพระศรีรัตน- ศาสดาราม เต็มยศ พระที่นั่งอมรินทร จุลจอมเกล้า
วินิจฉัย
พระที่นั่งอมรินทร เต็มยศ นพรัตน์ หรือช้างเผือก วินิจฉัย ศาลาดุสิดาลัย สากลสีเข้ม สวนจิตรลดา เจ้าหน้าที ่
ปกติขาว
113 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ที่
เลขาธิ ก ารพระราชวั ง รั บ พระบรมราชโองการเหนื อ เกล้ า ฯ สั่ ง ว่ า นายกรั ฐ มนตรี ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า ในโอกาสวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เป็นปีมหามงคลอันประเสริฐที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พระบรมวงศานุ ว งศ์ คณะรั ฐ มนตรี ข้ า ราชการทหารพลเรื อ น สมณชี พ ราหมณ์ พสกนิ ก ร ทุ ก หมู่ เ หล่ า ต่ า งปลื ้ ม ปี ต ิ โ สมนั ส เปี่ ย มด้ ว ยความจงรั ก ภั ก ดี แ ละสำนึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ
เป็นอเนกอนันต์ ดังนั้น คณะรัฐมนตรีได้ประชุมมีมติให้จัดงานเฉลิมฉลองพระมหากรุณาธิคุณ ตามโบราณราชประเพณีด้วยความกตัญญูกตเวทิตา และนำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานชื่อการจัดงานและชื่อพระราชพิธี ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ การจั ด งานนี ้ ว่า “งานเฉลิ ม พระเกี ย รติ เ นื่ อ งในโอกาสมหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา
๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐” ชื่อพระราชพิธีว่า “พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธั น วาคม ๒๕๕๐” ซึ่ ง การจั ด งานและชื่ อ พระราชพิ ธ ี ภ าษาอั ง กฤษว่ า “The Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 80th Birthday Anniversary 5th December 2007” คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติตั้งคณะกรรมการอำนวยการและอนุกรรมการจัดงานพระราชพิธี รัฐพิธี บัดนี้ คณะกรรมการอำนวยการและอนุกรรมการได้ดำเนินการพร้อมแล้ว ขอพระราชทาน กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังดำเนินการ มีรายการ ดังนี้
เสด็จออกมหาสมาคม รับการถวายพระพรชัยมงคล
ณ มุขเด็จ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วั น พุ ธ ที่ ๕ ธั น วาคม เจ้ า พนั ก งานเตรี ย มการตกแต่ ง พระที่ นั่ ง จั ก รี ม หาปราสาท ณ ท้องพระโรงกลาง เจ้าพนักงานเชิญพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุดตานถม พร้อมราชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชูปโภค แวดล้อมด้วยต้นไม้ทอง เงิน ที่มุขเด็จ พระที่นั่ง
จักรีมหาปราสาททอดผ้าทิพย์ตราพระครุฑพ่าห์ เป็นที่สำหรับเสด็จออกมหาสมาคมเพื่อรับการ ถวายพระพรชัยมงคลที่สนามหน้ามุขเด็จ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ตั้งแท่นพร้อมเสาบัววางพาน ดอกไม้ธูปเทียนแพสำหรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทู ล เกล้ า ฯ ถวาย และตั ้ ง เสาบั ว วางพานดอกไม้ ธู ป เที ย นแพสำหรั บ นายกรั ฐ มนตรี ประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา ทูลเกล้าฯ ถวายตามลำดับ ถัดมาด้านหลังเป็นแถว คณะรัฐมนตรี คณะทูตานุทูต สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการทหาร
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
114
พลเรือน ผู้แทนศาสนาอื่น ๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทตามตำแหน่งหน้าที่ บริเวณด้านหน้า พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ๘ ตำรวจหลวงยืนเฝ้าฯ รักษาการณ์ และนายทหารราชองครักษ์ ยืนเฝ้าฯ ตามหน้าที่ ส่วนที่สนามหน้าศาลาสหทัยสมาคมและท้องสนามหลวง ราษฎรทุกหมู่เหล่า เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล เวลา ๖ นาฬิ ก า เจ้ า หน้ า ที่ ฝ่ า ยพิ ธ ี เ ชิ ญ พระเต้ า ปทุ ม นิ ม ิ ต ทอง นาก เงิ น บรรจุ
น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรจัดทำแล้วส่งให้กระทรวงมหาดไทย ประมวลนำไปประกอบพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ที่พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ แล้วนั้น ออกจากพระอุโบสถ ตั้งขบวนอิสริยยศ มีผู้แทนปวงชนแต่ละจังหวัด รวม ๗๖ จังหวัด เชิญพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะไว้พร้อมที่ หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ด้านถนนสนามไชย เวลา ๗ นาฬิ ก า ๓๐ นาที ขบวนแห่ เ ชิ ญ น้ ำ พระพุ ท ธมนต์ ศั ก ดิ์ ส ิ ท ธิ์ อ อกจากวั ด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไปตามถนนสนามไชย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหน้าพระลาน เข้าสู่ พระบรมมหาราชวังทางประตูวิเศษไชยศรี ประตูพิมานไชยศรี ไปยังหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เจ้ า พนั ก งานเชิ ญ น้ ำ พระพุ ท ธมนต์ ศั ก ดิ์ ส ิ ท ธิ์ ไ ปตั ้ ง ยั ง บุ ษ บกและพานธู ป เที ย นแพตั ้ ง ที่ เ สาบั ว กลุ่มหน้าที่ยืนเฝ้าฯ ของนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานศาลฎีกา ส่วนพานพุ่มดอกไม้ของแต่ละจังหวัดนำไปตั้งถวายราชสักการะ ณ แท่นซึ่งจัดไว้ตามแนวกำแพง พระบรมมหาราชวังด้านขวาและด้านซ้ายของประตูวิเศษไชยศรี เวลา ๙ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะทูตานุทูต สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ข้าราชการทหารพลเรือน ผู้มีตำแหน่งเฝ้าฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพร้อมในมณฑลพระราชพิธีพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เวลา ๑๐ นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็ จ พระราชดำเนิ น โดยรถยนต์ พ ระที่ นั่ ง จากพระตำหนั ก จิ ต รลดารโหฐาน พระราชวั ง ดุ ส ิ ต ไปยังพระบรมมหาราชวัง เข้าทางประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ ประตูราชสำราญ รถยนต์พระที่นั่งเทียบที ่
อัฒจันทร์ทิศตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชิ น ี น าถ เสด็ จ ออกพระที่ นั่ ง จั ก รี ม หาปราสาท พระบรมวงศานุ ว งศ์ องคมนตรี เลขาธิการพระราชวัง ราชเลขาธิการ สมาชิกราชสกุล และสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่ท้องพระโรงหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงยืนเฝ้าฯ ที่แท่นหน้ามุขเด็จ
115 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พร้อมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมุขเด็จ พระที่นั่งจักรี มหาปราสาท ชาวพนักงานกระทั่งมโหระทึก ประโคมแตรฝรั่ง ทหารกองเกียรติยศ ๓ เหล่าทัพ ถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และ ตำรวจยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ฝ่ายละ ๒๑ นัด พระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรเจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง กลอง ระฆัง พร้อมกับการประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่น ๆ ครั ้ น สุ ด เสี ย งเพลงสรรเสริ ญ พระบารมี แ ล้ ว สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าช เจ้ า ฟ้ า มหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ แล้วกราบบังคมทูล
พระกรุ ณ าถวายพระพรชั ย มงคลแทนพระบรมวงศานุ ว งศ์ จ บ เสด็ จ พระราชดำเนิ น ไปเฝ้ า ฯ ณ ท้องพระโรงหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท นายกรัฐมนตรี เปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ แล้วกราบบังคมทูลพระกรุณา ถวายพระพรชัยมงคลแทนคณะรัฐมนตรี ข้าราชการทหารพลเรือน และราษฎรทุกหมู่เหล่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ แล้วกราบบังคมทูล พระกรุณาถวายพระพรชัยมงคลแทนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา เปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ แล้วกราบบังคมทูลพระกรุณา ถวายพระพรชัยมงคลแทนข้าราชการตุลาการจบ ทหารกองเกียรติยศ ๓ เหล่าทัพ ถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี จบเพลงสรรเสริญพระบารมี ผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในมหาสมาคมถวายความเคารพพร้อมกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสตอบจบแล้ว ผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในมหาสมาคมทั ้ ง หมดถวายความเคารพ ชาวพนั ก งานกระทั่ ง มโหระทึ ก ประโคมแตรฝรั่ ง ทหารกองเกียรติยศ ๓ เหล่าทัพ ถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไป ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ การแต่งกาย แต่งเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายมหาจักรี หรือสายสะพายช้างเผือก สายสร้อยจุลจอมเกล้า
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันพุธที่ ๔ ธันวาคม เจ้าพนักงานเตรียมการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งตู้เทียนเท่าพระองค์ เทียนพระมหามงคล อาสน์สงฆ์สำหรับพระสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์และบัตรเทวดานพเคราะห์กับเครื่องนมัสการไว้พร้อม
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
116
ส่วนที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เจ้าพนักงานเตรียมการตั้งแต่งเชิญพระพุทธปฏิมา ชัยวัฒน์ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระกรัณฑ์ ดวงพระบรม- ราชสมภพ พระสุ พ รรณบั ฏ พระปรมาภิ ไ ธย และพระราชลั ญ จกร ประดิ ษ ฐาน ณ พระแท่ น ราชบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตร และตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระพุทธรูป เทวรูปพระเคราะห์ องค์เสวยอภิบาลพระชนมายุ องค์แทรกพระชนมพรรษา พร้อมด้วยตู้เทียนเท่าพระองค์ และ เทียนมหามงคล เครื่องนมัสการไว้พร้อม เวลา ๑๖ นาฬิกา ๔๕ นาที ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แทนพระองค์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลา ๑๗ นาฬิกา รถยนต์พระที่นั่งเทียบที่ประตูเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จพระราชดำเนินไปยังชานหน้าพระอุโบสถ ทรงประเคนพัดรองที่ระลึกพระราชพิธีมหามงคล เฉลิ ม พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา แด่ บ รรพชิ ต จี น และญวน จากนั ้ น บรรพชิ ต จี น และญวน ถวายพระพรชัยมงคลแล้ว เสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมณีรัตนปฏิมากร พระสั ม พุ ท ธพรรณี และพระพุ ท ธรู ป ฉลองพระองค์ ทรงจุ ด ธู ป เที ย นเครื่ อ งนมั ส การแล้ ว ทรงประเคนพัดรองที่ระลึกฯ แด่พระสงฆ์ที่จะเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ แล้วทรงจุดเทียน ที่หน้าอาสน์สงฆ์ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ และทรงจุดเทียนบูชาเทพดา นพเคราะห์ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ โหรหลวงบูชาเทพดานพเคราะห์ เสด็ จ ลงสู่ ช านหน้ า พระอุ โ บสถ ข้ า ทู ล ละอองธุ ล ี พ ระบาทผู ้ สู ง อายุ ฝ่ า ยหน้ า -ฝ่ า ยในที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานราชสังคหวัตถุ จำนวน ๘๑ คน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินจากพระอุโบสถไปประทับรถยนต์พระที่นั่งที่ประตูเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปเทียบที่หน้าพระทวารเทเวศรรักษา เสด็จเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เพื่อรอเฝ้าฯ รับเสด็จ เวลา ๑๗ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระบรมมหาราชวัง เข้าทางประตูวิเศษไชยศรี เวลา ๑๗ นาฬิ ก า ๔๕ นาที รถยนต์ พ ระที่ นั่ ง เที ย บที่ ห น้ า พระทวารเทเวศรรั ก ษา เสด็จเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์ สำนักอาลักษณ์และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการ สถาปนาสมณศักดิ์ชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะ จบแล้วพระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานลั่นฆ้องชัย ประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ
117 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประเคนหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร เครื่องประกอบสมณศักดิ์แด่รองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา ตามลำดับ จากนั้นทรงประเคนสัญญาบัตร พัดยศ แด่พระสงฆ์ซึ่งได้รับพระราชทานตั้ง เลื่อน สมณศักดิ์ใหม่อีกตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสัญญาบัตรฐานันดรศักดิ์ แก่พราหมณ์ประจำพระราชสำนัก ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระราชาคณะถวายอดิเรก ออกจากพระที่นั่ง เจ้าพนักงานกองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา นิมนต์พระสงฆ์ ๘๑ รูป ที่จะเจริญพระพุทธมนต์พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ขึ้นนั่งยังอาสน์สงฆ์พร้อมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเทียนพระมหามงคล เทียนเท่าพระองค์ และธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป เทวรูปพระเคราะห์ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ แล้วทรงประเคนพัดรองที่ระลึกพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา แด่สมเด็จ พระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประเคนพัดรอง ที่ ร ะลึ ก ฯ แด่ ส มเด็ จ พระราชาคณะ และพระราชาคณะจนครบ ๘๑ รู ป ทรงศี ล พระสงฆ์
เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ระหว่างพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางพระทวารเทวราชมเหศวร ทรงจุดเทียนพระมหามงคลบูชา พระสยามเทวาธิราช แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้ว สมเด็จพระราชาคณะถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรถยนต์ พระที่นั่งที่พระทวารเทเวศรรักษา เสด็จพระราชดำเนินกลับ การแต่งกาย แต่งเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายจุลจอมเกล้า
การพระราชกุศลเลี้ยงพระเทศน์มงคลวิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๖ ธันวาคม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แทนพระองค์ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ภายในพระบรมมหาราชวัง เข้าทางประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ ประตูราชสำราญ เทียบรถยนต์พระที่นั่งที่ประตูข้างหอพระสุลาลัยพิมาน เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที เสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดธูปเทียนบูชา พระสยามเทวาธิราช แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยทางพระทวารเทวราชมเหศวร เพื่อรอเฝ้าฯ รับเสด็จ
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
118
เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระบรมมหาราชวัง เข้าทางประตูวิเศษไชยศรี เวลา ๑๐ นาฬิกา ๔๕ นาที รถยนต์พระที่นั่งเทียบที่หน้าพระทวารเทเวศรรักษา เสด็จ
เข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป เทวรูปพระเคราะห์ แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ พระสงฆ์ถวายพรพระจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประเคนภัตตาหาร พระสงฆ์รับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว ทรงจุดธูปเทียน เครื่องทรงธรรม สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเศษกัณฑ์ ๑ จบแล้ ว พระสงฆ์ ถ วายพระพรชั ย มงคลคาถา “ภู ม ิ พ ลมหาราชวรสฺ ส ชยมงฺ ค ลคาถา” พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงประเคนจตุ ปั จ จั ย ไทยธรรมเครื่ อ งบู ช ากั ณ ฑ์ เ ทศน์ และทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จ
พระสังฆราช แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ จนครบ ๘๖ รูป ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรถยนต์พระที่นั่งที่พระทวารเทเวศรรักษา เสด็จพระราชดำเนินกลับ เจ้าพนักงานตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน พราหมณ์เบิกแว่น โหรหลวงและข้าราชการรับ
แว่นเทียนฉลองสมโภชดวงพระบรมราชสมภพ พระสุพรรณบัฏพระปรมาภิไธย และพระราชลัญจกร การแต่งกาย แต่งเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายนพรัตน์ หรือสายสะพายช้างเผือก
คณะทูตานุทูตและผู้แทนฝ่ายกงสุล เฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล วันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม เวลา ๑๗ นาฬิกา ๓๐ นาที เสด็จออก ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา คณะทูตต่างประเทศและผู้แทนฝ่ายกงสุลถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสตอบ ได้เวลาสมควรเสด็จขึ้น อนึ่ง ภายหลังเวลาเสด็จขึ้นแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานองคมนตรี
และคณะองคมนตรี ป ฏิ บั ต ิ ห น้ า ที่ ใ นการต้ อ นรั บ คณะทู ต ต่ า งประเทศและผู ้ แ ทนฝ่ า ยกงสุ ล
ในงานเลี้ยงรับรอง การแต่งกาย แต่งชุดสากลสีเข้ม เฉพาะเจ้าหน้าที่แต่งเครื่องแบบปกติขาว
119 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
อนึ่ง ในระหว่างวันที่ ๔ และ ๖ ธันวาคม ตั้งแต่เวลา ๙ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา ส่วนในวันที่ ๕ ธันวาคม ตั้งแต่เวลา ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา สำนักพระราชวัง จะได้จัดที่ สำหรับลงพระนาม ลงนามถวายพระพรไว้ในพระบรมมหาราชวัง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เ ปิ ด ปราสาทพระเทพบิ ด ร ณ วั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวั ง เพื่ อ ให้ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชน ได้ถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช การแต่งกาย แต่งเครื่องแบบปกติขาว หรือสุภาพ
สำนักพระราชวัง วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
120
ภูมิพลมหาราชวรสฺส ชยมงฺคลคาถา ภูมิพโล มหาราชา รฏฺฐฺปฺปสาสเน พฺยตฺโต สมฺพุทฺธมามโก อคฺโค รชฺชํ กาเรติ ธมฺเมน ทยฺยานํ วุฑฺฒิมากงฺโข เตสํ ทุกฺขาปเนตา โส สพฺพทยฺยานมตฺถาย ทุกฺขโต ทุกฺขิเต ทยฺเย ถิรจิตฺโต ปโมเจติ เมตฺโตทเกน โตเสติ สมฺมาอาชีวโยคสฺส ยา เจสา โลกนาเถน อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา ทยฺยานํ รฏฺฐฺปาลีนํ อิทาเนโส มหาราชา อีทิเส มงฺคเล กาเล รตนตฺตยานุภาเวน ยํ สพฺพํ กุสลํ กมฺมํ ยนฺโน สพฺพปริตฺตญฺจ ตสฺส ตสฺสานุภาเวน จิรญฺชีวตุ ทีฆายุ วณฺณวา พลสมฺปนฺโน อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ยํ ยํ จิรํ รชฺเช ปติฏฺฐฺาตุ นิจฺจํ ปสฺสตุ ภทฺรานิ
นวโม จกฺกิวํสิโก นีติจาริตฺตโกวิโท สาสนสฺสูปถมฺภโก ทีฆทสฺสี วิจกฺขโณ สนฺติมคฺคนิโยชโก สทา สุโขปสํหโร กรณฺยานิ ปกุพฺพเต ภยโต ภยตชฺชิเต มหาการุญฺญฺเจตสา ฆมฺเม เทโวว ภูมิเช วิธึ วิเนติ โยนิโส ภาสิตา สมชีวิตา อนุยุญฺชติ ตํ สทา เอตญฺเจวานุสาสติ สมฺปุณฺณาสีตยายุโก เทมสฺส ชยมงฺคลํ รตนตฺตยเตชสา อมฺเหหิ ปสุตํ สมํ ภณิตํ สิทฺธิทายกํ ภูมิพโล นริสฺสโร ทยฺยานฺํ ธมฺมขตฺติโย สุเขธิโต จ นิพฺภโย ตํ ตํ ตสฺส สมิชฺฌตุ ปติฏฺฐฺา ทยฺยวาสินํ โสตฺถิโก โหตุ สพฺพทาติฯ กองบาลีสนามหลวง แต่ง มหาเถรสมาคม ตรวจแก้
121 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
คำแปล พระคาถาถวายพระพรชัยมงคล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระปรีชาสามารถในการบริหารประเทศ ตลอดถึงหลักนิติธรรม ขนบธรรมเนียมราชประเพณี ทรงเป็นพุทธมามกะ เป็นอัครศาสนูปถัมภก มีพระวิสัยทัศน์กว้างไกล แก้ไขวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติด้วยทศพิธราชธรรมเสมอมา พระองค์ทรงมุ่งหวังความเจริญรุ่งเรืองแก่พสกนิกรชาวไทย แนะนำแนวทางสมานฉันท์ ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุข แก่ปวงชนชาวไทย มีพระราชหฤทัยแน่วแน่มั่นคง ทรงปลดเปลื้องชาวไทยผู้ประสบความทุกข์ยาก ให้พ้นจากความทุกข์ยาก ผู้ประสบภัยพิบัติให้พ้นจากภัยพิบัติ ด้วยพระราชหฤทัยกอปรด้วย พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ พระราชทานความชุ่มฉ่ำใจแก่ปวงชนชาวไทยด้วยน้ำพระทัย
อันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาธรรม เสมือนหนึ่งสายฝนโปรยปรายลงมาสู่พื้นพสุธาในหน้าแล้ง ทำให้สรรพสัตว์ชุ่มฉ่ำใจฉะนั้นฯ พระองค์พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างเหมาะสม ทรงวาง พระองค์เป็นแบบอย่าง ปฏิบัติพระองค์ไปตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่สมเด็จพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า สมชีวิตา ทั้งพระราชทานพระบรมราโชวาทแนวทางเศรษฐกิจ พอเพียงแก่พสกนิกรและรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวัน บั ด นี ้ จวบมหามงคลโอกาสที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว พระปรมิ น ทรธรรมิ ก
มหาราชาธิราชเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ในมหามงคล สมัยเช่นนี้ อาตมภาพทั้งหลาย ขอถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ด้วยเดชานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย ทั้งอานุภาพแห่งกุศลกรรมทั้งปวง ที่อาตมภาพทั้งหลาย ได้ สั่ ง สมอบรมมา พร้ อ มทั ้ ง อานุ ภ าพแห่ ง พระปริ ต รที่ อ ำนวยความศั ก ดิ์ ส ิ ท ธิ์ ใ ห้ ทุ ก ประการ ที่อาตมภาพทั้งหลายได้สังวัธยายแล้วนี้ ขอสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณ
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
122
อันประเสริฐเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยสมบูรณ์ ทรงพระเกษมสำราญ ปราศจาก ภัยพิบัติ อุปัทวันตรายทั้งปวง มีพระราชประสงค์สิ่งใด ๆ ขอสิ่งนั้น ๆ จงพลันสำเร็จสมพระราชปณิ ธ านทุ ก ประการ ขอพระองค์ ท รงสถิ ต สถาพรอยู่ ใ นมไหสวรรยาธิ ปั ต ย์ เป็ น ศู น ย์ ร วมใจ ของพสกนิกรชาวไทยทุกถ้วนหน้า ขอสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารพระองค์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐทรงประสบ สิ่งที่ดีงาม และทรงเจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลพระชนมสุขทุกประการ ในกาลทุกเมื่อเทอญ ขอถวายพระพรฯ ในการจัดพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้มีการจัดกิจกรรมในพระราชพิธี ดังนี้
สถานที่ประกอบพระราชพิธี พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ในปีนี้มีการจัดพระราชพิธีรวม ๓ แห่ง คือ เสด็จออก มหาสมาคม รับการถวายพระพรชัยมงคล ณ มุขเด็จ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท บรรพชิตจีนนิกาย และอนัมนิกายถวายพระพรชัยมงคล พระสงฆ์สวดนพเคราะห์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงสถาปนาและทรงตั้งสมณศักดิ์ พระราชทานสัญญาบัตรฐานันดรศักดิ์แก่พราหมณ์ประจำ พระราชสำนัก และพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ณ พระที่ นั่ ง อมริ น ทรวิ น ิ จ ฉั ย ในพระบรมมหาราชวั ง นอกจากนี ้ ในส่ว นภู ม ิ ภ าคได้ ม ี ก ารจั ด ที่ศาลากลางจังหวัดและที่ว่าการอำเภอ สำหรับในกรุงเทพมหานคร ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาจัดให้มีทั้งพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์ พิธีโหร และสวดนพเคราะห์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้เบิกสายสิญจน์จากพระมงคลภาณกาจารย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐ- สถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นพระสงฆ์ผู้ทำพิธีจับสายสิญจน์เพื่อใช้ในการพระราชพิธีของหลวง และ พิธีที่พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการประกอบพิธีต่าง ๆ เพื่อนำมา วงรอบฐานองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วเดินสายสิญจน์มาที่โต๊ะบูชาและโต๊ะบูชาเทวดา นพเคราะห์ แล้วเดินไปยังอาสน์สงฆ์ที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ สำหรับ
พระสงฆ์ถือในเวลาสวดนพเคราะห์ และสำหรับโหรถือสวดบูชาเทพดานพเคราะห์ และเชื่อมต่อ สายสิญจน์อีกสายหนึ่งจากสายสิญจน์ที่วงไว้ที่ฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรออกไปทางประตู
123 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ด้านหลังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปทางด้านขวาของพระอุโบสถ ข้ามกำแพงไปยัง
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แล้วเดินสายสิญจน์ไปตามซุ้มหน้าต่างด้านขวาพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ไปจนจรดประตูที่ ๓ ทางด้านขวาพระที่นั่ง แล้วเดินสายสิญจน์เข้าสู่มณฑลพิธีภายในพระที่นั่ง
อมรินทรวินิจฉัย เดินไปวงรอบฐานพระแท่นมหาเศวตรฉัตร โยงไปรอบโต๊ะบูชาพระพุทธรูปไชยวัฒน์ เทวรูปพระเคราะห์ เทียนมหามงคล เทียนเท่าพระองค์ แล้วโยงไปที่อาสน์สงฆ์ สำหรับพระสงฆ์ ถือเจริญพระพุทธมนต์ และอีกสายหนึ่งไปพักไว้ยังธรรมาสน์ สำหรับพระสงฆ์รูปที่ถวายพระธรรม- เทศนามงคลวิเสสกถา สำหรับถือในขณะถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา
บรรพชิตจีนนิกายและอนัมนิกาย ถวายพระพรชัยมงคล บรรพชิตจีนนิกายและอนัมนิกาย เป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาที่ถือลัทธิมหายาน สืบเนื่องมาจากประเทศจีนและประเทศเวียดนาม เมื่อเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพำนักอยู่ใน ประเทศไทย ก็ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์ตามควรแก่ฐานะเช่นเดียวกับคณะสงฆ์ไทย มีเจ้าคณะใหญ่ ปกครองทั้งฝ่ายจีนนิกายและอนัมนิกาย โดยมีสายงานการบริหารคณะอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสอันสมควร ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของทุกปี พระสงฆ์ทั้งจีนนิกายและอนัมนิกาย ได้เข้าถวายพระพรชัยมงคลที่มุขหน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยเจ้าคณะใหญ่ ทั้งสองนิกายจะสลับกันนำถวายพระพรชัยมงคลกันคนละปี ในวันที่ ๕ ธันวาคม เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๐ นาที เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธีกองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา นิมนต์พระสงฆ์จีนนิกายและอนัมนิกาย เข้ายืนเรียงแถวที่มุขหน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม คอยเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปยังชานหน้าพระอุโบสถ ทรงประเคนพัดรองที่ระลึก พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา แด่บรรพชิตจีนนิกายและอนัมนิกาย แล้ ว พระมหาคณานั ม ธรรมปั ญ ญาธิ วั ต ร (กิ๊ น เจี๊ ย ว) เจ้ า คณะใหญ่ อ นั ม นิ ก าย นำสวดถวาย พระพรชัยมงคล และทูลถวายเทียนมังกรพร้อมด้วยเครื่องสักการะตามธรรมเนียมประเพณี
ฝ่ายมหายาน แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ (ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ บรรพชิต
อนัมนิกาย นำถวายพระพร)
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
124
บัญชีบรรพชิตจีนนิกายถวายพระพรชัยมงคล
ในการพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ณ หน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ในวันพุธที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๔๕ น. ๑. พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต๊ก) เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย ๒. พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเซี้ยว) รองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย ๓. พระอาจารย์จีนวินยานุกร (เย็นอี่) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายขวาจีนนิกาย ๔. พระอาจารย์จีนธรรมานุกร (เย็นเฮ้า) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายซ้ายจีนนิกาย ๕. พระอาจารย์จีนคณาณัติจีนพรต (เย็นเกา) ปลัดขวาจีนนิกาย ๖. พระอาจารย์จีนธรรมรสจีนศาสน์ (เย็นจี่) ปลัดซ้ายจีนนิกาย ๗. หลวงจีนธรรมนาทจีนประพันธ์ (เย็นซิม) รองปลัดขวาจีนนิกาย ๘. หลวงจีนธรรมนันท์จีนประพัทธ์ (เย็นบุญ) รองปลัดซ้ายจีนนิกาย ๙. หลวงจีนธรรมรัตจีนประจักษ์ (เย็นงี้) ผู้ช่วยปลัดขวาจีนนิกาย ๑๐. หลวงจีนธรรมรักษ์จีนประจิต (เย็นอี่) ผู้ช่วยปลัดซ้ายจีนนิกาย
ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๗ โทรสาร ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๖
125 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
บัญชีบรรพชิตอนัมนิกายถวายพระพรชัยมงคล
ในการพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ณ หน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ในวันพุธที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๔๕ น. ๑. พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (กิ๊นเจี๊ยว) เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย ๒. พระคณานัมธรรมวิริยาจารย์ (ตัยเฟือง) รองเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย ๓. พระคณานัมธรรมวิธานาจารย์ (ว่างเยียน) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายขวา ๔. พระสมณานัมราชวุฒาจารย์ (เถี่ยนถึก) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายซ้าย ๕. พระสมณานัมธีราจารย์ (ติ่นเรียน) ปลัดขวาอนัมนิกาย ๖. พระบริหารอนัมพรต (มินเอิง) ปลัดซ้ายอนัมนิกาย ๗. องสรภาณมธุรส (ติ่นทิน) รองปลัดขวาอนัมนิกาย ๘. องสุตบทบวร (เกวิ๊กชัน) รองปลัดซ้ายอนัมนิกาย ๙. องสรพจนสุนทร (เหยี่ยวคัง) ผู้ช่วยปลัดขวาอนัมนิกาย ๑๐. องพจนกรโกศล (เหยี่ยวหาย) ผู้ช่วยปลัดซ้ายอนัมนิกาย
ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๗ โทรสาร ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๖ ศาสนพิธีในพระราชพิธี
126
พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าช เจ้ า ฟ้ า มหาวชิ ร าลงกรณ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร เสด็ จ พระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปฉลองพระองค์ และทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ แล้วทรงจุดธูปเทียนที่พระสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ และเทียนที่บูชาเทพดานพเคราะห์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ๕ รู ป เจริ ญ พระพุ ท ธมนต์ น วั ค คหายุ ส มธั ม ม์ โหรหลวงสวดบู ช าเทพดานพเคราะห์ เสด็ จ พระราชดำเนิ น ลงสู่ช านมุ ข หน้ า พระอุ โ บสถพระราชทานสั ง คหวั ต ถุ (การพระราชทานเงิ น แก่ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้สูงอายุที่ชราภาพตั้งแต่อายุ ๗๒ ปีขึ้นไป) แล้วเสด็จพระราชดำเนิน
ไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ ถือเป็นประเพณีสืบสานมาแต่ในรัชกาล ก่อน ๆ ให้นิมนต์พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต จากวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม มีพระราชาคณะเป็น หัวหน้าพร้อมด้วยพระครูสัญญาบัตร พระครูฐานานุกรม พระเปรียญธรรม การเจริญพระพุทธมนต์ นวัคคหายุสมธัมม์ หรือการสวดนพเคราะห์นั้น พนักงานโหรหลวงสวดชุมนุมเทวดาก่อน จบแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
เจ็ดตำนาน แต่ใช้สูตรตามลำดับนพเคราะห์ หยุดเว้นระยะให้โหรหลวงบูชาเทพดาพระเคราะห์ พอโหรหลวงบูชาเทพดานพเคราะห์จบ พระสงฆ์ก็จะเจริญพระพุทธมนต์ประจำเทพดานพเคราะห์ สลับกันไปจนกว่าจะจบ เทพดานพเคราะห์ ๙ องค์ คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระเสาร์ พระพฤหัสบดี พระราหู พระศุกร์ และพระเกตุ เมื่อเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ จบ เป็นเสร็จพิธี วันรุ่งขึ้นพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์จึงไปรวมกับพระสงฆ์ ที่ เ จริ ญ พระพุ ท ธมนต์ใ นการพระราชพิ ธ ี เ ฉลิ ม พระชนมพรรษา ณ พระที่ นั่ ง อมริ น ทรวิ น ิ จ ฉั ย เพื่อถวายพรพระและรับพระราชทานฉัน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
127 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
บัญชีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๐.๓๐ น. รับพระราชทานฉัน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
พระราชวราภรณ์ พระมงคลภาณกาจารย์ พระครูอุโฆษธรรมคุณ พระครูธรรมสารโกศล พระครูธรรมศาสนโฆษิต
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๗ โทรสาร ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๖
การสถาปนาและทรงตั้งสมณศักดิ์ วันที่ ๕ ธันวาคม เวลา ๑๗ นาฬิกา เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เจ้าหน้าที่ฝ่ายการคณะสงฆ์ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายศุภรัต กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง นิมนต์
พระสงฆ์ที่ได้รับการสถาปนา เลื่อนสมณศักดิ์ และตั้งสมณศักดิ์ใหม่เข้าไปนั่งยังอาสน์สงฆ์ภายใน พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ตั้งแต่อาสน์สงฆ์ลำดับที่ ๑๑ เป็นต้นไป เว้นอาสน์สงฆ์ลำดับที่ ๑-๑๐ ไว้ สำหรับพระสงฆ์สมณศักดิ์ผู้ใหญ่ ๑๐ รูป ซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราช หรือประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน เพื่อเจริญชัยมงคลคาถา (สวดบท ชยนฺโต ฯ) ซึ่งเรียกว่า พระสงฆ์นำตั้ง
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
128
เวลา ๑๗ นาฬิกา ๔๕ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ อ าลั ก ษณ์ สำนั ก อาลั ก ษณ์ แ ละเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ สำนั ก เลขาธิ ก ารคณะรั ฐ มนตรี อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการสถาปนาสมณศักดิ์ชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะ ๒ รูป ขณะนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา นิมนต์พระสงฆ์ที่ได้รับการสถาปนา สมณศักดิ์เป็นชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะ พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานการเลื่อนสมณศักดิ์ และพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานการตั้งเป็นพระราชาคณะใหม่ ลุกจากอาสน์สงฆ์และยืนขึ้น แล้วเดินเรียงแถวเข้ารับพระราชทานการสถาปนา เลื่อน และตั้งใหม่ ตามลำดับ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้ า ฯ ให้ ส มเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าช เจ้ า ฟ้ า มหาวชิ ร าลงกรณ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร ทรงประเคนหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องประกอบสมณศักดิ์แด่รองสมเด็จพระราชาคณะ ทั้ง ๒ รูป ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา ตามลำดับ และทรงประเคนสัญญาบัตร พัดยศ แด่พระราชาคณะที่ได้รับพระราชทานเลื่อนและตั้งใหม่ ตามลำดับ (ขณะนั้น พระสงฆ์สมณศักดิ์นำตั้ง ๑๐ รูป เจริญชัยมงคลคาถา เรื่อยไปจนถึงรูปลำดับสุดท้าย) รองสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ ที่ ไ ด้ รั บ การสถาปนาและพระราชทานสมณศั ก ดิ์ เ รี ย บร้ อ ยแล้ ว กลั บ มานั่ ง ยั ง อาสน์ ส งฆ์ ท ี่ นั่ ง ก่อนเข้ารับพระราชทานแล้ว หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานสัญญาบัตร ฐานันดรศักดิ์แก่พราหมณ์ประจำราชสำนัก เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์สมณศักดิ์นำตั้ง และพระสงฆ์ทุกรูปตั้งพัดยศ รองสมเด็จพระราชาคณะที่ได้รับพระราชทานการสถาปนารูปแรก (หรือพระสงฆ์ที่เข้ารับพระราชทานเลื่อนหรือตั้งสมณศักดิ์สูงสุดซึ่งเป็นรูปแรกในปีนั้น ๆ) ขึ้น ยถา วาริวหา ปูรา....... ประธานสงฆ์นำตั้ง รับ สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ...... พระสงฆ์ทั้งนั้นร่วมถวาย อนุโมทนา ทรงหลั่งทักษิโณทก เมื่อจบที่ สุขํ พลํฯ ประธานสงฆ์นำตั้ง ถวายอดิเรก จบ รูปที่สอง นำตั้ง รับ ภวตุ สพฺพมงฺคลํ....... จบแล้ว พระสงฆ์นำตั้งรูปที่สอง ถวายพระพรลา พระสงฆ์ ที่ไม่ได้รับนิมนต์เข้าเจริญพระพุทธมนต์ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาออกจากพระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัยกลับพระอารามและอาราม ส่วนพระสงฆ์ที่ได้รับนิมนต์เข้าเจริญพระพุทธมนต์ ลุกไปนั่งยังอาสนะตามลำดับสมณศักดิ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา ได้เผดียงสงฆ์ให้ทราบไว้แล้วนั้น
การเจริญพระพุทธมนต์ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในปีนี้ มีพระสงฆ์ จำนวน ๘๑ รูป ซึ่งนิมนต์พระสงฆ์ทั้งมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย ตามลำดับทางการบริหาร
129 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ของคณะสงฆ์และสมณศักดิ์ ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณการนิมนต์พระสงฆ์ในงานพระราชพิธี สำคัญ ๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา จะนิมนต์พระราชาคณะในภูมิภาคระดับเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์หรือสวดพระพุทธมนต์ด้วย เพื่อที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงรู้จักคุ้นเคย และเจ้าคณะพระสังฆาธิการก็จะได้รับทราบพระราชกรณียกิจ และธรรมเนียมประเพณีการเจริญพระพุทธมนต์ การรับพระราชทานฉัน การถวายพระธรรม เทศนา การถวายอดิเรก ถวายพระพรลา สามารถนำไปบอกเล่าให้พสกนิกรในชนบทได้รับทราบถึง พระราชกรณียกิจและธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เมื่อมีโอกาสทางหน่วยงาน ราชการที่รับผิดชอบในการนิมนต์พระสงฆ์ในพิธีการต่าง ๆ เมื่อมีพระราชพิธีหรือพิธีสำคัญ ๆ ควรจะได้นิมนต์พระราชาคณะในส่วนภูมิภาคเข้าร่วมในพระราชพิธีหรือพิธีนั้น ๆ ด้วยเสมอ เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา ได้นิมนต์พระสงฆ์เข้านั่งประจำ อาสน์สงฆ์เรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกิจตามลำดับ ดังนี้ - ทรงจุดเทียนพระมหามงคล - ทรงจุดเทียนเท่าพระองค์ - ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป เทวรูปพระเคราะห์ - ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ - ทรงประเคนพัดรองที่ระลึก พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา แด่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดสระเกศ จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประเคนพัดรองที่ระลึกฯ แด่สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะจนครบ ๘๑ รูป จากนั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาศีล ประธาน คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ถวายศีล ทรงศีล จบแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาพระปริตร สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญฺ) วัดปากน้ำ ขัดตำนานชุมนุมเทวดา (สรชฺชํ สเสนํ สพนฺธุํ นรินฺทํ ฯลฯ ธมฺมสวนกาโล อยมฺภทนฺตา) พระสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางพระทวารเทวราชมเหศวร ทรงจุดเทียน พระมหามงคลบูชาพระสยามเทวาธิราช แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
130
เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติ หน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประธานสงฆ์ ถวายอดิเรก สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐฺานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม รับ ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ เมื่อจบ สพฺพสงฺฆานุภาเวน สทาโสตฺถี ภวนฺตุ เต ฯ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม ถวายพระพรลา ในนามพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ ในการพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อจบคำว่า “ขอถวายพระพร” เจ้าหน้าที่ ฝ่า ยพิ ธ ี กองศาสนู ป ถั ม ภ์ กรมการศาสนา เข้ า รั บ พั ด ยศ พั ด รอง พร้ อ มย่า ม เพื่ อ นำสมเด็ จ
พระราชาคณะ และพระราชาคณะ ลงจากอาสน์สงฆ์ และนำออกจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย อนึ่ ง เจ้ า หน้ า ที่ ผู ้ ซ ึ่ ง เข้ า รั บ พั ด ยศและย่ า ม จะต้ อ งคอยระวั ง และรั บ ใช้ ส มเด็ จ พระราชาคณะ พระราชาคณะที่ตนเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จนกว่าผู้เป็นศิษย์จะมารับ และต้องเผดียงสงฆ์ให้ศิษย์นำบาตรพร้อมถลกบาตรมาในการรับพระราชทานฉันวันรุ่งขึ้นด้วย (วันที่ ๖ ธันวาคม)
เจริญพระพุทธมนต์บทถวายพรพระและรับพระราชทานฉัน วันที่ ๖ ธันวาคม รุ่งขึ้น วันที่ ๖ ธันวาคม พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ในการพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา จำนวน ๘๑ รูป และพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ จำนวน ๕ รูป รวม ๘๖ รูป เข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา เข้ารับพัดยศและบาตรของรองสมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ สำหรับ บาตรของสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนมพลเรือน กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เป็นผู้รับ ส่วนพัดยศของสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ เป็นผู้รับ เมื่อรับพัดยศและบาตรแล้ว รูปใดมาถึงก่อนให้นำเข้านั่งประจำยังอาสน์สงฆ์ตามลำดับสมณศักดิ์ เช่นเดียวกับวันที่เจริญพระพุทธมนต์ได้ทันที เมื่อนำบาตรไปตั้งไว้บนโต๊ะสำหรับฉันภัตตาหาร ของพระสงฆ์รูปนั้น ๆ แล้ว เจ้าหน้าที่ต้องแต่งถลกบาตรให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันสายสะพายบาตร ไปเกี่ยวกับภาชนะต่าง ๆ ที่วางไว้บนโต๊ะสำหรับฉันภัตตาหาร เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกิจ ดังนี้ - ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป เทวรูปนพเคราะห์ - ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ
131 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์บทถวายพรพระ การเจริญพระพุทธมนต์หรือการสวด พระพุทธมนต์ในพระราชพิธีหรือพิธีหลวง ถ้าหากมีการถวายพระธรรมเทศนาจะไม่มีการสมาทาน ศีลก่อนการเจริญพระพุทธมนต์หรือการสวดพระพุทธมนต์ แต่จะมีการสมาทานศีลในขั้นตอนก่อน จะถวายพระธรรมเทศนา สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ขึ้นบทถวายพรพระ ดังนี้ - นโม ตสฺส ภควโต ฯลฯ - พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฯลฯ - อิติปิ โส ภควา ฯลฯ - พาหุํ สหสฺสมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ ฯลฯ - มหาการุณิโก นาโถ ฯลฯ - ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์บทถวายพรพระ จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงประเคนภัตตาหาร พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และทรงสนทนาอยู่จนกว่า พระสงฆ์จะฉันภัตตาหารคาวหวานและน้ำชาเรียบร้อยแล้ว จึงจะเสด็จฯ ไปประทับยังพระราชอาสน์
และพระเก้าอี้ เจ้าหน้าที่จะต้องเตรียมตัวเข้าไปถอนบาตรจากพระสงฆ์ เมื่อสังเกตเห็นว่าพระสงฆ์ ส่วนใหญ่ฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้รีบเข้าไปทยอยถอนบาตรจากพระสงฆ์ออกมาจาก โต๊ะที่ฉันภัตตาหาร เพื่อนำมามอบให้ศิษย์ที่ด้านหน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เมื่อพระสงฆ์
ฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนั้นจะเป็นวาระที่ทรงสดับพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา
การถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา การถวายพระธรรมเทศนาในงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี เรียกว่า “การถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา” นับว่าเป็นการถวายพระธรรมเทศนาพิเศษ กว่างานพระราชพิธีอื่น ๆ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา จะเลือกนิมนต์ สมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่งรูปใดอย่างงานพระราชพิธีอื่น ๆ ไม่ได้ เนื่องจากพระสงฆ์ผู้รับหน้าที่ ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถานี้ จะต้องนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อขอพระบรมราชานุญาต เปลี่ยนเป็นรูปอื่น ๆ ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เช่น ในรัชกาลพระบาทสมเด็พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงถวายเป็นประจำ ในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว รั ช กาลที่ ๗ สมเด็ จ พระสั ง ฆราชเจ้ า
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
132
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ทรงถวาย ต่อมาได้เปลี่ยนให้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส ถวายพระธรรมเทศนา ซึ่งก็ได้ถวายต่อเนื่องจนถึงรัชกาลที่ ๘ เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส มรณภาพ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถระ) วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม (รับหน้าที่ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา ตั้งแต่ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จ พระวันรัต) ซึ่งถวายต่อมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้กราบบังคมทูล ถวายพระพรให้สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐฺายีมหาเถระ) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นผู้ถวาย พระธรรมเทศนา ตั้งแต่ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ลำดับถัดมาสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นลำดับมา ปัจจุบัน สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐฺานิสฺสรมหาเถระ) วัดชนะสงคราม เป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา สำนวน พระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถานั้น โดยปกติเป็นการพรรณนาถึงพระราชกรณียกิจและพระราชจริ ย วั ต รในองค์ พ ระมหากษั ต ริ ย าธิ ร าชเจ้ า ที่ พ ระองค์ ท รงพระปรี ช าสามารถในการดำเนิ น รัฐประศาสโนบายในการบริหารประเทศ และการปกครองพสกนิกรพลเมืองให้ได้รับความร่มเย็น เป็นสุข โดยอาศัยหลักทศพิธราชธรรมจริยานุวัตร ๑๐ ประการ ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ทานํ การให้ทาน สีลํ การตั้งอยู่ในศีล ปริจฺจาคํ การทรงสละราชทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งตามธรรมเนียมปฏิบัติ
พระสงฆ์ผู้ถวายพระธรรมเทศนาในการพระราชพิธีหรือพิธีหลวง จะต้องมีการแต่งสำนวนการเทศน์ และจัดพิมพ์สำเนาเทศน์ให้สำนักพระราชวัง นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสำนวนการถวายพระธรรมเทศนา เมื่อพระสงฆ์รับพระราชทานฉันภัตตาหารคาวหวานและน้ำชาเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา เชิญคัมภีร์เทศน์ขึ้นสู่ธรรมาสน์ ๑ คน ขณะเชิญ คัมภีร์เทศน์ขึ้นสู่ธรรมาสน์ให้เดินด้วยอาการอันสำรวม ตัวตั้งตรง มือพนมไว้ระหว่างอก แล้ววาง คัมภีร์เทศน์ไว้ระหว่างหัวแม่มือและนิ้วชี้ในขณะกระพุ่มมือไหว้ และอีก ๑ คน เชิญพัดรองไปวางไว้ ทางด้านซ้ายมือของธรรมาสน์ ผู้ที่เชิญพัดรองต้องถวายความเคารพ (คำนับ) ก่อนเดินเข้าไป และอีก ๑ คน เดินเข้าไปปฏิบัติและนิมนต์พระสงฆ์ผู้ถวายพระธรรมเทศนาขึ้นสู่ธรรมาสน์ โดยมี ผู้ร่วมเข้าปฏิบัติงานในขั้นตอนนี้ คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายศุภรัต เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนมพลเรือน กองพระราชพิธี สำนั ก พระราชวั ง เจ้ า หน้ า ที่ ก รมประชาสั ม พั น ธ์ ข้ อ สั ง เกตในการที่ จ ะนิ ม นต์พ ระสงฆ์ผู ้ ถ วาย พระธรรมเทศนาขึ้นธรรมาสน์ จะต้องสังเกตขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนมพลเรือน กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง นำเทียนชนวนเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงจุดเทียนส่องธรรม และทรงจุดธูปเทียน เครื่องทรงธรรม ขณะทรงรับเทียนชนวนจุดเทียนส่องธรรม ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ นิมนต์พระสงฆ์ผู้ถวายพระธรรมเทศนาเดินขึ้นสู่ธรรมาสน์ทันที เมื่อพระสงฆ์นั่งเรียบร้อยแล้ว
133 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนมพลเรือน กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง จะได้อัญเชิญเทียนส่องธรรม ไปปักยังจงกลณีที่ธรรมาสน์โดยสะดวก เมื่อดนตรีหยุดบรรเลง เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาศีล สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ถวายศีล ทรงศีล เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี อาราธนาธรรม สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา เมื่อถวาย พระธรรมเทศนามงคลวิ เ สสกถา จบ พระสงฆ์ ทั ้ ง นั ้ น เจริ ญ บทถวายพระพรชั ย มงคลคาถา “ภูมิพลมหาราชวรสฺส ชยมงฺคลคาถา” จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประเคน จตุ ปั จ จั ย ไทยธรรมเครื่ อ งบู ช ากั ณ ฑ์ เ ทศน์ และทรงประเคนจตุ ปั จ จั ย ไทยธรรม แด่ ส มเด็ จ
พระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ส มเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าช เจ้ า ฟ้ า มหาวชิ ร าลงกรณ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร ทรงประเคน จตุปัจจัยไทยธรรม แด่สมเด็จพระราชาคณะ รองสมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะจนครบ ๘๖ รู ป สำหรั บ พระราชาคณะตั ้ ง แต่ ชั ้ น รองสมเด็ จ พระราชาคณะลงมา เจ้ า หน้ า ที่ ฝ่ า ยพิ ธ ี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา จะต้องเผดียงสงฆ์โดยการนิมนต์ลงจากอาสน์สงฆ์ และเดินแถว เข้ า รั บ การทรงประเคนแล้ ว เดิ น กลั บ มานั่ ง อาสนะที่ นั่ ง อยู่ เ ดิ ม ตามลำดั บ จนถึ ง รู ป สุ ด ท้ า ย เมื่อพระสงฆ์รูปสุดท้ายนั่งยังอาสนะเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้น พึงตั้งพัดยศ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก และถวายพระพรลา ตามลำดับ ขณะพระสงฆ์กล่าวถวายพระพรลา เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา และเจ้าหน้าที่ฝ่ายศุภรัต กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ต้องเตรียมตัวเข้ารับพัดยศและถวายการปฏิบัติพระสงฆ์ลงจากอาสน์สงฆ์เช่นเดียวกับวันแรก และขอนำพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๕๐ ลงพิมพ์ไว้ ดังนี้
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
134
พระมงคลวิเสสกถา ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง วันพฤหัสบดีที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๒.๐๐ น. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม รับพระราชทานถวาย ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล พระชนมสุขทุกประการ จงมีแด่ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ บัดนี้ จักรับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา ฉลองพระเดชพระคุณ ประดับ พระปัญญาบารมี ถ้าถวายวิสัชนาไปมิได้ต้องตามโวหารอัตถาธิบาย ในพระธรรมเทศนา ณ บทใด บทหนึ่งก็ดี ขอเดชะพระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ พระขันติคุณ ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทาน อภัยแก่อาตมะ ผู้มีสติปัญญาน้อย ขอถวายพระพร นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ หิโต พหุนฺนํ ปฏิปชฺช โภเค ตํ เทวตา รกฺขติ ธมฺมคุตฺตํ พหุสฺสุตฺตํ สีลวตูปปนฺนํ ธมฺเม ฐฺิตํ น วิชหาติ กิตฺติ ธมฺมฏฺฺฐฺํ สีลสมฺปนฺนํ สจฺจวาทึ หิรีมนํ เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว โก ตํ นินฺทิตุมาหรติ เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโตติ. บัดนี้ จักรับพระราชทานถวายวิสัชนา พระธรรมเทศนา พระมงคลวิเสสกถา ฉลอง พระเดชพระคุณ ประดับพระปัญญาบารมี เป็นปสาทนียกถามังคลานุโมทนา ในมหามงคลสมัย
อภิลักขิตกาล โดยสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงเจริญ
135 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระชนมพรรษามาโดยสวัสดี ครบ ๘๐ พระวัสสาบริบูรณ์ ซึ่งไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใด ในอดีตกาล ที่ทรงพระชนมายุยืนนานถึงเพียงนี้ นับได้ว่าสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้มีบุญอันประกอบด้วยการเจริญพระชนมายุยืนนาน คือ เมตตากรุณา ในผู้อื่นสัตว์อื่น อันทรงปฏิบัติบำเพ็ญไว้ในชาติก่อน ภพก่อน ผลสะท้อนจึงส่งมาในชาตินี้ ภพนี้ บัดนี้มาบรรจบพระบรมราชสมภพ ทรงพระราชปรารภมหามงคลสมัย ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา ทรงกระทำ สักการบูชา พระพุทธาทิรัตนตรัย ด้วยราชาภิมานสักการภัณฑ์ ประทีป ธูปเทียน สุคันธชาติ ระเบียบกุสุมมาลา พระราชทานถวายบิณฑบาตขัชชะโภชนาหาร และไทยธรรมสมณบริขารใน พระภิกษุสงฆ์แล้ว ทรงพระราชอุทิศส่วนพระราชกุศลแก่เทพยดาและมนุษย์ เป็นส่วนเทวดาพลี ญาติพลี และสรรพสาธารณพลี ธรรมบรรณาการเพื่อให้อนุโมทนาสัมฤทธิผล สุขสมบัติอันไพบูลย์ เพื่อจักได้เกื้อกูล ไมตรีหิโตปเทศกัลยาณจิต ประสิทธิชัยมงคลพระชนมสุข ศุภวิบูลมนุญผล เพิ่มพระบรมโพธิสมภารสัปปุริสปฏิบัติ ด้วยพระกัลยาณเกียรติคุณอดุลยบริสุทธิ์ สมดังพุทธนิพนธ์ ภาษิตที่ตรัสไว้ในปัญจกนิปาต อังคุตตรนิกาย ว่า สปฺปุริโส ภิกฺขเว ชายมาโน เป็นอาทิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุรุษเกิดในตระกูลเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชน เป็นจำนวนมาก คือ แก่มารดาบิดา แก่บุตรภรรยา แก่คนรับใช้คนทำงานทั่วไป แก่มิตรอำมาตย์ แก่สมณพราหมณ์ เหมือนอย่างมหาเมฆฝนหลวงตกลงมายังข้าวกล้าทั้งปวงให้ถึงพร้อมงอกงาม เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก ฉะนั้น หิโต พหุนฺนํ ปฏิปชฺช โภเค บุคคลผู้ใดได้ปฏิบัติ โภคสมบัติ ดำรงฆราวาสวิสัย เกื้อกูลเป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ตํ เทวตา รกฺขติ ธมฺมคุตฺตํ เทพดาย่อมรักษาบุคคลนั้น ผู้อันธรรมรักษาคุ้มครองแล้ว พหุสฺสุตํ สีลวตูปปนฺนํ ธมฺเม ฐฺิตํ น วิชหาติ กิตฺติ ชื่อเสียงเกียรติคุณย่อมไม่ละไม่ทอดทิ้งบุคคลนั้น ผู้เป็น
พหุสูต มีการสดับตรับฟังมาก ธมฺมฏฺฐฺํ สีลสมฺปนฺนํ มีสีลาจารวัตรมารยาทอันงาม ดำรงมั่น ในคุณธรรม โก ตํ นินฺทิตุมาหรติ ใครเล่าควรจะติเตียนบุคคลนั้น จักขอรับพระราชทานถวายวิสัชนาเรื่องทาน การให้ การบำเพ็ญบุญ ซึ่งสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงบำเพ็ญอยู่ตลอดเวลา ทาน การให้ โดยทั่วไป คือ การให้เพื่ออนุเคราะห์ผู้ที่ขาดแคลนควรที่จะอนุเคราะห์ เพื่อสงเคราะห์ผู้ที่ควรสงเคราะห์ เป็ น การผู ก ใจ ผู ก ไมตรี จ ิ ต หรื อ เพื่ อ บู ช าผู ้ ท ี่ ค วรบู ช า เป็ น การบู ช าคุ ณ หรื อ ตอบแทนคุ ณ หรือเป็นการบำเพ็ญบุญในบุญเขต สมเด็จพระบรมโลกเชฎฐ์ ตรัสสอนให้ทำทานอย่างมีขอบเขต และเหตุผลดังที่ตรัสไว้ว่า วิเจยฺยทานํ ทตพฺพํ ทรงสรรเสริญการเลือกให้ พิจารณาใคร่ครวญให้ และทรงแสดงคุณสมบัติของทานไว้ ๓ ประการ คือ เจตนาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยเจตนา คือมีเจตนาดี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
136
ก่อนจะให้ กำลังให้ก็มีจิตผ่องใส ครั้นให้แล้วก็อิ่มใจ วัตถุสัมปทา ถึงพร้อมด้วยสิ่งของ ได้แก่ สิ่งของที่ควรให้ เป็นประโยชน์แก่ผู้รับ ปฏิคาหกสัมปทา ถึงพร้อมด้วยผู้รับ คือผู้รับเป็นผู้สมควร ที่จะรับทาน และตรัสสอนให้ทำทานเป็นบุญ คือให้เป็นความดี เป็นเครื่องชำระล้างความชั่ว เช่น โลภะ ความอยากได้ และมัจฉริยะ ความตระหนี่ อิสสา ความริษยา เป็นต้น ให้ทำทานเป็นกุศล คือ เป็นกิจของคนฉลาด ตรัสสอนให้ทำทานเป็นสัปปุริสทาน ได้แก่ ทานของคนดีมีปัญญา เช่น ให้ถูกกาลถูกสมัย ตรงกับใจของผู้รับ ไม่ทำตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน นอกจากนี้ยังตรัสสอน ให้ขยันหมั่นเพียรแสวงหาทรัพย์ให้ได้มาในทางที่ชอบ รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ ให้คบเพื่อนดีงาม ที่จะชักนำไปทางดี ไม่ชักนำไปทางชั่ว เช่น ทางอบายมุขต่าง ๆ และรู้จักใช้ทรัพย์พอเหมาะพอดี คือ รู้จักประหยัดและอดออม ทั้งได้สอนถึงวิธีใช้จ่ายไว้ด้วย ดังที่ตรัสสอนถึงประโยชน์เกิดแต่การถือ โภคทรัพย์ ๕ อย่าง คือ ๑) เลี้ยงตนเอง มารดาบิดา บุตรภรรยา ผู้ที่ตนรับผิดชอบให้เป็นสุข ๒) เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข ๓) บำบัดอันตรายอันเกิดจากเหตุต่าง ๆ ๔) ทำพลี ๕ อย่าง คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ อติถิพลี ต้อนรับแขก ปุญฺพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ราชพลี ถวายหลวง มีภาษีอากร เป็นต้น เทวดาพลี บำเพ็ญบุญถวายเทวดา ๕) บริจาคทานในสมณพราหมณ์ อนึ่ง สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงทานการให้ไว้ ๒ ประการ คือ อามิสทาน การให้พัสดุ
สิ่งของต่าง ๆ เครื่องบำรุงร่างกาย เครื่องใช้สอย เสื้อผ้า อาภรณ์ เป็นต้น ๑ ธรรมทาน การให้ธรรม คือ การแนะนำ สั่งสอน บอกกล่าว อบรม ชี้โทษ แสดงคุณ ฯลฯ ๑ ตรัสว่า การให้ทั้งสองอย่างนี้ ธรรมทาน การให้ธรรมเป็นเลิศ ประเสริฐที่สุด พิจารณาโดยเหตุผล ก็พึงเห็นความสำคัญได้ว่า ความทุกข์ยากขาดแคลนของคนเรา มี ๒ ทาง คือ ทางร่างกายและจิตใจ อามิสทานเป็นเครื่องบรรเทา ความทุกข์ยากขาดแคลนทางกาย เช่น เมื่อต้องการอาหาร เครื่องนุ่งห่ม แล้วได้สิ่งเหล่านั้น มาบริโภคใช้สอย ก็บรรเทาความทุกข์ยากขาดแคลนทำให้เกิดความสุขทางกายได้ ส่วนธรรมทาน การให้ธรรมเป็นเครื่องบรรเทาความทุกข์ยากขาดแคลนทางจิตใจ เช่น ขณะที่จิตใจเกิดความทุกข์ร้อน เมื่อได้ธรรมที่เหมาะสมมาดับทุกข์ ก็ทำให้จิตใจเกิดความสุขได้ นอกจากนี้ ธรรมทานยังเป็นเครื่อง บรรเทากิเลสทางจิตใจ แก้ความประพฤติชั่วร้ายเสียหาย ทำให้จิตใจที่หิวกระหายด้วยโลภะ ตัณหา ให้รู้จักอิ่ม ให้รู้จักเต็ม ให้รู้จักพอ ธรรมะอย่างเดียวเท่านั้น เป็นเครื่องแก้ กัน บรรเทากิเลส และทุจริตได้ ทำให้เกิดความสุขทางกายได้ด้วย เพราะเมื่อบุคคลมีธรรมะแล้ว พากันละทุจริต ประกอบสุจริต พากันประกอบอาชีพและการงานต่าง ๆ ด้วยความขยันหมั่นเพียรในทางที่ชอบ ก็จักเกิดความสมบูรณ์พูนสุขโดยทั่วไป ดังเรื่องในกุรุธรรมชาดก ท่านสาธกไว้ว่า ชาวเมืองกลิงครัฐ เกิ ด ทุ พ ภิ ก ขภั ย ฝนแล้ ง ข้ า วยากหมากแพง จึ ง ไปขอช้ า งเผื อ กจากกุ รุ รั ฐ ซึ่ ง ฝนตกบริ บู ร ณ์ด ี ด้วยคิดว่าช้างเผือกเป็นเหตุให้ฝนตกดี พระเจ้าแผ่นดินกุรุรัฐก็พระราชทานช้างให้ตามประสงค์
137 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
เมื่อชาวกลิงครัฐได้ช้างไปแล้ว ฝนก็ยังไม่ตก ชาวกลิงครัฐจึงกราบทูลขอไปใหม่ ซึ่งสิ่งที่ได้ไปแล้ว
จะทำให้ฝนตกดีเหมือนกุรุรัฐ พระเจ้าแผ่นดินกุรุรัฐจึงพระราชทานกุรุธรรม คือ ศีล ๕ ให้ชาวกลิงครัฐ
รักษาสมาทานกัน ชาวกลิงครัฐเมื่อได้รักษาสมาทานศีล ๕ แล้ว ฝนก็ตกลงบริบูรณ์ แก้ความขาดแคลน แคว้นกลิงครัฐก็เกิดความอุดมสมบูรณ์พูนสุขขึ้น ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดา จึงทรง ภาษิตว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมคำสั่งสอนชนะการให้ทั้งปวง แม้สมเด็จพระบรมศาสดา เมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ก็ได้ทรงประทานสิ่งของทั้งปวงมาโดยลำดับ เมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ก็ทรงประทานพระธรรมคำสั่งคำสอน คือพระพุทธศาสนา ซึ่งชาวโลกพุทธบริษัททั้งปวงได้รับไว้ และได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา พระพุทธศาสนาจึงได้ดำรงมั่นอยู่ในโลก เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์ เกื้อกูลและความสุขตราบเท่าถึงทุกวันนี้ ทานอีกประเภทหนึ่ง คือ อภัยทาน การให้อภัย ไม่มีเวรไม่มีภัยต่อกัน โดยมีเมตตาไมตรี มีความรัก เอื้ออาทร กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็นคุณธรรมนำ คือ เป็นเบื้องหน้า เป็นเบื้องต้น ในบุคคลและสัตว์อื่นที่ควรให้อภัย บุคคลผู้ให้อภัยทาน เมื่อเหตุการณ์ก่อให้เกิด ความโกรธ อาฆาต พยาบาทเกิดขึ้น เช่น ถูกด่าว่า ทุบตี ใส่ร้ายป้ายสี ตำหนิติเตียน ประหัต ประหาร ทำร้ายร่างกาย ทำลายจิตใจ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏ ก็งดโทสะประทุษร้าย ตอบ โกรธตอบ ด่ า ตอบได้ ไม่ พ ยาบาทอาฆาตผู ้ ท ี่ ก ระทำก่ อ นนั ้ น โดยยึ ด หลั ก คำสอนของ พระพุ ท ธศาสนาเป็ น เครื่ อ งระงั บ หลั ก คำสอนของพระพุ ท ธศาสนา สมเด็ จ พระบรมศาสดา ทรงตำหนิผู้ที่ด่าตอบ ทุบตีตอบ ว่าร้ายตอบ ใส่ความตอบ ตำหนิติเตียนตอบ ประหัตประหารตอบ ว่าเป็นผู้เลวทรามกว่าผู้ที่กระทำก่อน ผู้ปฏิบัติเช่นนี้ เป็นผู้ชื่อว่าผู้ให้อภัย ตามหลักของพระพุทธศาสนา มีเรื่องสาธกท่านยกตัวอย่างไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎกความว่า พระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์ผู้ครอง พระนครพาราณสี มีพระประสงค์จะขยายราชอาณาจักรให้แผ่ไพศาล จึงเสด็จกรีฑาทัพยกพลบุก ยึดแคว้นโกศล ซึ่งมีพระเจ้าทีฆีติโกศลเป็นพระราชา แคว้นโกศลมีพลเมืองน้อย ไม่อาจสู้รบพระเจ้า พรหมทัตได้ จึงเสด็จหนีออกจากพระนคร ไปหลบซ่อนพระองค์อยู่ ณ บ้านช่างหม้อ พร้อมทั้ง
พระมเหสี ต่อมาพระมเหสีทรงพระครรภ์ประสูติพระโอรสเป็นพระราชกุมาร ทรงขนานพระนามว่า ทีฆาวุกุมาร อยู่ด้วยอาการปกปิดพระองค์ ไม่ประสงค์จะให้ผู้ใดทราบว่าเป็นเชื้อสายกษัตริย์ พระเจ้าทีฆีติโกศล จึงทรงนำทีฆาวุกุมารไปฝากไว้ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักกศิลา กาลต่อมา พระเจ้าพรหมทัตสืบทราบว่า พระเจ้าทีฆีติโกศลพร้อมทั้งพระมเหสีหลบซ่อนพระองค์ อยู่ที่บ้านนายช่างหม้อ จึงส่งทหารไปล้อมจับ เมื่อจับได้แล้วให้จัดการสำเร็จโทษคือประหารตาม หน้าที่ เมื่อข่าวทราบถึงทีฆาวุกุมารว่า พระบิดาพระมารดาถูกจับจะถูกประหาร จึงมีความทุกข์ และกั ง วลใจ จึ ง แฝงพระองค์เ ข้ า ไปในที่ ป ระชุ ม นั ้ น ประทั บ ยื น อยู่ห่า ง ๆ พระเจ้ า ที ฆ ี ต ิ โ กศล
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
138
และพระเทวี ถูกมัดอยู่ที่ตะแลงแกงประหาร ทอดพระเนตรเหลือบเห็นทีฆาวุกุมาร ก็ทรงจำได้ ไม่ ท รงประสงค์ จ ะให้ ท ี ฆ าวุ กุ ม ารผู ก เวรสร้ า งภั ย พยาบาทปองร้ า ยพระเจ้ า พรหมทั ต ต่ อ ไป จึงประทานโอวาทว่า ทีฆาวุ พ่ออย่าเห็นยาวดีกว่าสั้น ทีฆาวุ พ่ออย่าเห็นสั้นดีกว่ายาว ในที่ประชุมนั้น ก็เกิดความสงสัยขึ้นว่า ทีฆาวุเป็นใครอยู่ที่ไหน ชะรอยจะเป็นเชื้อสายของพระเจ้าทีฆีติโกศล ทุกคน ก็เห็นเช่นนี้ ภายหลัง เมื่อทีฆาวุกุมารเจริญวัยในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ตั้งใจศึกษาศิลปวิทยา การในยุทธวิธีและการดีดพิณ เมื่อมีความรู้ความสามารถพอสมควรแล้ว ก็ลาออกจากสำนักอาจารย์
มุ่งมั่นเข้าไปสมัครงานเป็นคนเลี้ยงช้างของพระเจ้าพรหมทัต ด้วยหวังจะแก้แค้นแทนพระบิดา พระมารดา ปฏิบัติงานด้วยความขยันหมั่นเพียรและรอบคอบ จนพระเจ้าพรหมทัตวางพระทัยตั้งไว้ เป็นทหารคนสนิทใกล้ชิดพระองค์ ให้ติดตามทุกหนทุกแห่งที่เสด็จไป วันหนึ่ง พระเจ้าพรหมทัตมีพระประสงค์จะทรงกีฬาล่าสัตว์ในกลางไพร จึงให้ทีฆาวุกุมาร ตามเสด็จไปด้วย เพื่อช่วยป้องกันอันตราย เมื่อทรงตามเนื้อไปไกลจากไพร่พลทั้งหลายมีแต่ทีฆาวุกุมาร เพียงคนเดียวที่ติดตามไป ทรงเหนื่อยพระวรกายมากขึ้น ประสงค์จะพักผ่อน จึงเสด็จเข้าไป ประทับ ณ โคนไม้ใหญ่ ทรงอาศัยพระเพลาของทีฆาวุกุมารเป็นเสมือนพระเขนย จึงทรงม่อยผอย หลั บ ไป เป็ น โอกาสให้ ท ี ฆ าวุ กุ ม ารได้ ว าระที่ จ ะปลงพระชนม์ แ ก้ แ ค้ น แทนพระเจ้ า ที ฆ ี ต ิ โ กศล ผู้พระบิดา ทีฆาวุกุมารชักพระแสงดาบออกมาด้วยหวังจะปลงพระชนม์พระเจ้าพรหมทัตแต่กลับ ระลึกขึ้นมาว่า ตนเจริญเติบโตขึ้นมาถึงเพียงนี้ เพราะพระเจ้าพรหมทัตชุบเลี้ยง จึงระงับดับอารมณ์ สอดพระแสงดาบเข้าฝักดังเก่า ข่มพระทัยระงับไว้ ทรงชักพระแสงดาบออกถึงสองครั้ง แต่มิได้ ตัดสินพระทัยฟันลงไป เพราะระลึกถึงพระกรุณาที่พระเจ้าพรหมทัตชุบเลี้ยง จึงวางพระแสงดาบไว้ ใกล้ ๆ แล้ ว ทรงระลึ ก ต่ อ ไปว่ า พระบิ ด าพระมารดาของเราถู ก ชิ ง ราชสมบั ต ิ ไ ร้ ท ี่ อ ยู่ อ าศั ย ต้องหลบซ่อนอยู่ที่บ้านนายช่างหม้อ ต่อมายังให้ทหารจับมาปลงพระชนม์ จึงควรที่เราจะแก้แค้นแทน พระบิดาพระมารดา เมื่อตกลงใจเช่นนี้จึงหยิบพระแสงดาบขึ้นมากำไว้แน่นด้วยหมายใจจะฟัน พระศอพระเจ้าพรหมทัตให้ขาด จึงจับที่มวยพระเกศาพระเจ้าพรหมทัตไว้แน่น ขณะนั ้ น พระเจ้ า พรหมทั ต กำลั ง ทรงพระสุ บ ิ น ว่ า ที ฆ าวุ กุ ม ารเงื ้ อ พระแสงดาบ จะฟันพระองค์ พระองค์ตกพระทัยกลัว จึงประนมมือร้องขอชีวิตว่า พ่อทีฆาวุ ขอชีวิตเรา อย่าฆ่าเราเลย เมื่อทีฆาวุกุมารได้ยินดังนั้น ก็ระลึกถึงพระโอวาทของพระเจ้าทีฆีติผู้บิดาประทานไว้ครั้งสุดท้ายว่า ทีฆาวุ พ่ออย่าเห็นยาวดีกว่าสั้น ทีฆาวุ พ่ออย่าเห็นสั้นดีกว่ายาว ขึ้นมาได้ จึงปล่อยมวยพระเกศา พระเจ้าพรหมทัต วางพระแสงดาบทันที แล้วทูลขอชีวิตต่อพระเจ้าพรหมทัตว่า หม่อมฉันผิดไปแล้ว ขอพระราชทานอภั ย ให้ ช ี ว ิ ต แก่ ห ม่ อ มฉั น ด้ ว ย พระเจ้ า พรหมทั ต จึ ง ตรั ส ว่ า เรายกชี ว ิ ต ให้ เ จ้ า
139 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
เพราะเจ้าไม่ฆ่าเรา ทั้งสองก็ให้อภัยแก่กันและกัน แคว้นทั้งสองคือ กาสีและโกศล ก็เป็นมณฑล อันเดียวกันแต่นั้นมา อภัยทาน คือความมีเมตตากรุณา ไม่ก่อเวรสร้างภัย ไม่พยาบาทปองร้าย ปรารถนา ความสุ ข แก่ ผู ้ อ ื่ น สั ต ว์ อ ื่ น โดยส่ ว นเดี ย ว จึ ง เป็ น เหตุ ใ ห้ สั ง คมโลกอยู่ เ ย็ น สุ ข สบาย คลายร้ อ น ผ่อนความทุกข์ ดังพรรณนามา ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล คือการรักษากายวาจา มีปรกติ กล่าวคำสัตย์ คำจริง มีใจประกอบไปด้วยหิริละอายบาปทุจริต ผู้บริสุทธิ์ดุจแท่งทองชมพูนุท เทวาปี นํ ปสํสนฺติ พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต แม้เทพยดาก็ยกย่องนิยม ถึงพรหมก็สรรเสริญบุคคลผู้นั้น ด้วยประการ ดังนี้ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ได้ทรงอบรมพระองค์ให้ทรงสมบูรณ์ด้วยคุณธรรม เป็นมงคลวิเสสส่วนอัตตสมบัติ ทรงดำรงรัฐราไชศวรรย์ปกครองอภิบาลประเทศชาติประชาชน โดยธรรม เป็ น มงคลวิ เ สสส่ ว นรั ฏ ฐาภิ ป าลโนบายให้ วั ฒ นาสถาพรในทุ ก ทาง ได้ ท รงปฏิ บั ต ิ พระราชกรณี ย กิ จ ทุ ก อย่ า ง เพื่ อ ให้ ป ระเทศชาติ ไ ทยวั ฒ นาสถาพรด้ ว ยสารสมบั ต ิ ทั ้ ง ปวง เป็นส่วนปรปฏิบัติประชาชนทั้งชาติกับทั้งคณะสงฆ์ทั้งปวง ต่างระลึกและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
พ้นประมาณ เมื่อถึงปีครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พระพรรษา ใน พ.ศ. ๒๕๔๙ จึงพร้อมใจกัน เฉลิมฉลองทั่วประเทศ ดังที่ปรากฏแก่ชาวโลกที่ผ่านมา สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เสด็จเถลิงถวัลย์ สิริราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ของปวงชนชาติไทย ทรงประทานพระปฐมบรมราชโองการแก่ ปวงชนชาวไทยในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข
แห่งมหาชนชาวสยาม” นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระราชกรณียกิจใหญ่น้อยทุกประการที่ทรง ปฏิบัติได้เป็นไปตามพระปฐมบรมราชโองการครบถ้วนบริบูรณ์ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเยียนประชาชน พระราชทานความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาประชาชนในท้องที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นต้นมา เพราะทรงถือว่า การช่วยเหลือประชาชนเป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ต้องทรงทำเป็นประจำ อยู่แล้ว อนึ่ง การช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยากนั้น เป็นบุญเป็นกุศลแก่ผู้กระทำ เป็นไปตาม หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา คือ การสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ผู้ทำบุญย่อมได้รับความ อิ่มอกอิ่มใจในการกระทำ คือได้บุญ การพัฒนาประเทศมีความจำเป็นต้องทำตามลำดับชั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้
วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้หลักฐานมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นโดยลำดับ สถาบัน
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
140
พระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาต่าง ๆ ที่เรียกว่า โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำรินั่นแล เป็นที่มาของความมั่นคงของชาติ และความสงบสุขของสังคมไทย ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต อนึ่ง ในวาระที่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงบำเพ็ญ พระราชกรณียกิจเป็นพิเศษ มีพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เป็นต้น ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทเป็นเครื่องเตือนใจให้สติแก่ผู้ร่วมพิธีงานนั้น ๆ ย่อมเป็นธรรมทาน การให้ธรรมะคำสั่งสอน ขอพระราชทานนำมาสาธก ยกเป็ น ตั ว อย่ า งในที่ น ี ้ ซึ่ ง มี ข ้ อ ความตามพระบรมราโชวาทว่ า “ท่านทั้งหลายที่สำเร็จการศึกษา และจะได้ออกไปประกอบการงานเริ่มต้นชีวิตใหม่ของท่านนั้น ข้าพเจ้าขอฝากคติไว้เป็นเครื่องกำกับใจ มีคุณธรรมข้อหนึ่งสำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อยู่เสมอ คือความสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริต เป็นพื้นฐาน ท่านทั้งหลายจะออกไปรับราชการก็ดี หรือประกอบกิจการงานส่วนตัวก็ดี ขอให้ยึดมั่น อยู่ใ นคุ ณ ธรรมทั ้ ง ๓ ประการ คื อ สุ จ ริ ต ต่อ บ้ า นเมื อ ง สุ จ ริ ต ต่อ ประชาชน สุ จ ริ ต ต่อ หน้ า ที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญของบุคคลทั่วไป” พระบรมราโชวาท ที่ทรงประทานแก่นักเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ ความว่า “การที่เราศึกษาวิชาความรู้นั้น ความจริงไม่ใช่เพื่อใครเลย แต่เพื่อตัวเราเอง ในการที่จะดำเนินชีวิตต่อไปในวันหน้า ถ้าเรียนดี ก็จะได้ใช้ความรู้ในการประกอบกิจการให้เป็น ประโยชน์เป็นที่พึ่งแก่ตน และเป็นที่ชื่นชมแก่วงศ์ตระกูลต่อไปด้วย” พระบรมราโชวาท ในพิ ธ ี พ ระราชทานปริ ญ ญาบั ต รของมหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๐๓ ความว่า “การที่จะใช้ความรู้ประกอบอาชีพต่อไปข้างหน้า ควรนึกถึงเกียรติ และความซื่อตรง เพื่อประโยชน์ส่วนรวมให้มาก บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรือง ก็ได้อาศัยคนดีที่มีความรู ้
ช่วยกันประกอบกิจการงาน” พระบรมราโชวาท ในโอกาสที่สถาบันและองค์กรทางศาสนาเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ๔ ธั น วาคม ๒๕๑๑ ความว่ า “ศี ล นี ้ ก็ ห มายความว่ า เป็ น กฎเกณฑ์ ห รื อ กฎปฏิ บั ต ิ ใ นสั ง คม ศีลไม่ใช่สิ่งที่สูงส่งแท้ ๆ คือถ้าพูดถึงทางศาสนา ก็เป็นขั้นต้น มีศีลก็หมายถึงว่า สามารถที่จะมีชีวิตอยู่ โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น แล้วก็ไม่เบียดเบียนตนเอง” พระบรมราโชวาท ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๒ ความว่า “ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดี
ได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที ่
การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความ เดือดร้อนวุ่นวายได้”
141 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
อันพระราชกุศลจริยาสัมมาปฏิบัติ เป็นที่ตั้งแห่งสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลพระชนมสุข
ทุกประการ ที่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงบำเพ็ญมา ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งปัจจุบัน เกี่ยวกับทาน การพระราชทาน การให้ การสงเคราะห์ การอนุเคราะห์ ศีล การรักษาพระวรกาย พระวาจา ให้สะอาดปราศจากโทษมลทิน ภาวนา การน้อมนึกระลึกถึง คุณพระศรีรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า เป็นสรณะเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ เป็นอากรบ่อเกิดความพิพัฒน์สวัสดี เป็นที่เจริญพระชนมสุขทุกประการ คือ พระชนมายุยืนนาน พระฉวีวรรณผ่องใส สุขพระวรกาย สุขพระทัยบริบูรณ์ เพิ่มพูนพระกำลังพระวรกาย กำลังพระทัย กำลังพระสติปัญญา พระกำลังความสามารถ เป็นพระอัตตสมบัติ สมบัติส่วนพระองค์ เป็นพระปรหิต
ปฏิบัติ ทรงปฏิบัติประโยชน์สุขเพื่อผู้อื่น คือ พสกนิกรไทยทั้งชาติ และเป็นรัฏฐาภิปาลโนบาย คือ อุบายวิธีในการป้องกันประเทศ รักษาประเทศไทยให้เจริญงอกงาม มั่นคง ดำรงอยู่ตลอดกาล ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ นี้ เป็นปีที่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พระวัสสา ประชาชนทั้งชาติ คณะสงฆ์ทุกฝ่าย ต่างพร้อมใจกันจัดงาน เฉลิมฉลองพระเกียรติ ทั่วประเทศยิ่งใหญ่ไพศาลพิเศษ แสดงความจงรักภักดีด้วยวิธีต่าง ๆ โดยคณะรั ฐ บาลอำนวยการมี อ าทิ ขอพระราชทานพระมหากรุ ณ าหล่อ พระปฏิ ม าสุ ด แต่จ ะมี
พระราชดำริ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า
มหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อพระพุทธปฏิมาประจำ พระชนมวาร ในพระราชพิธีหล่อ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม คณะสงฆ์โดยมหาเถรสมาคม จั ด ชำระพระไตรปิ ฎ ก ฉบั บ เฉลิ ม พระเกี ย รติ ทั ้ ง ฉบั บ ภาษาบาลี แ ละภาษาไทย คณะรั ฐ บาล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม จัดให้ข้าราชการและประชาชนทั่วประเทศอุปสมบท ถวายพระราชกุศล โดยทางราชการไม่คิดเป็นวันลา ๑๕ วัน โดยตั้งจำนวนผู้มีศรัทธาไว้ ๘,๐๐๐ คน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชักชวนนักเรียนชั้นประถมและชั้นมัธยมทั่วประเทศ ให้บรรพชา เป็นสามเณรเฉลิมพระเกียรติถวายพระราชกุศลในระหว่างปิดภาคเรียนทั่วประเทศ ประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน โดยมิต้องใช้งบประมาณ ปรากฏว่า วัด อาราม บิดามารดา ครูอาจารย์ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ทุกฝ่ายให้การสนับสนุนโดยมิต้องใช้งบประมาณ องค์กรศาสนา พุทธสมาคม รัฐวิสาหกิจ หน่วยราชการสังกัดทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจภูธรภาค ตลอดจน กระทั่งองค์กรสมาคม จัดการกุศลเฉลิมพระเกียรติโดยกุศลวิธีต่าง ๆ วัดในพระพุทธศาสนา จัดสร้างปูชนียวัตถุ พระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ เสนาสนะถาวรวัตถุ มีศาลาการเปรียญ โรงเรียน พระปริยัติธรรม โรงเรียนประชาบาลประถมศึกษา เฉลิมพระเกียรติ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย พระราชกุศล จำนวนหลายแห่งหลายที่
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
142
อนึ่ ง รั ฐ บาลได้ จั ด หาน้ ำ ที่ ท ำพิ ธ ี พ ลี ก รรมจากแหล่ ง น้ ำ ศั ก ดิ์ ส ิ ท ธิ์ ที่ ม ี ช ื่ อ เป็ น มงคล ทั่วพระราชอาณาจักร ที่ประชาชนเคารพนับถือมาแต่โบราณกาล ทำพิธีพลีกรรมพร้อมกันในวันธงชัย และได้อัญเชิญมาประกอบพิธีเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ณ พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม กรุงเทพมหานคร ในวันจันทร์ที่ ๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ นี้ เพื่อน้อมเกล้า น้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคล คณะสงฆ์ โดยคณะกรรมการมหาเถรสมาคม มีเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน จัดการให้เจ้าคณะใหญ่หนต่าง ๆ ทั้งสี่หน จัดพิธีนวคหายุสมธรรม เฉลิมพระเกียรติ เสริมพระบารมีสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า วันเสาร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต จัดพิธีที่วัดเทพศิรินทราวาส เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก จัดพิธี ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ จัดพิธีที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ในวันจันทร์ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง จัดพิธีที่วัดชนะสงคราม และเจ้าคณะใหญ่หนใต้ จัดที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ในมงคลสมัย พ.ศ. ๒๕๕๐ นี้ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณ
อันประเสริฐ ทรงเจริญพระชนมพรรษาบรรจบครบ ๘๐ พระวัสสา ทรงดำรงสิริราไชศวรรย์สมบัติ ปกครองประเทศชาติโดยธรรม ให้วัฒนาสถาพรในทุกทาง ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทุกอย่าง เพื่อให้ประเทศไทยนี้เจริญด้วยธนสารสมบัตินานาประการ แม้ในทางศาสนจักรก็ได้ทรงปฏิบัติ ในฐานะทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก โดยสมควรทุกประการ คณะรัฐบาล ประชาชนทั้งชาติ คณะสงฆ์ทุ ก ส่ว น ต่า งสำนึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ พ้ น ประมาณ จึ ง กำหนดการเฉลิ ม ฉลอง พระชนมพรรษาครบ ๘๐ พระวัสสาบริบูรณ์ ทั่วประเทศตลอดปี แสดงความจงรักภักดีด้วยวิธีการ ต่าง ๆ บำเพ็ญกุศลสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย ด้วยจิตใจเคารพ สักการะ เทิดทูน บูชา ศรัทธาในสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น องค์ ป ระมุ ข แห่ ง ประเทศชาติ องค์ เ อกอั ค รศาสนู ป ถั ม ภก ตั ้ ง สั ต ยาธิ ษ ฐานเป็ น อั น เดี ย วกั น ถวายพระพรชัยมงคล จิรญฺชีวี มหาราชา
สุขปฺปตฺโต อนามโย
ขอถวายพระพรสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงประดับด้วยพระคุณสมุทัย อันพิเศษนั้น ๆ ทรงพระชนมพรรษายืนนาน ทรงสำราญสมบูรณ์พระอนามัย ทรงพระเจริญด้วย พระราชอิ ส ริ ย ยศเดชานุ ภ าพ ทอดพระเนตรเห็ น แต่ก ิ จ การอั น เจริ ญ เป็ น นิ ต ยกาล เสด็ จ สถิ ต
ยิ่งยืนนานในสิริราชสมบัติ ปกครองรัฐสีมาให้สมบูรณ์สมพระราชประสงค์
143 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ลำดับนี้ พระสงฆ์เถรานุเถรทั้งหลายในมหาสมาคมมงคลกาลนี้ มีสมานฉันท์พร้อมใจกัน ตั้งสัตยาธิษฐาน อัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย ที่ปรากฏเป็นมงคลสูงสุดของทวยเทพและมนุษย์ ทั้งหลายประสิทธิถวายพระพรชัยแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า โดยรตนัตยคาถา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
อุตฺตมํ ธมฺมมชฺฌคา
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระธรรมอันสูงสุด ยังพระสงฆ์หมู่ใหญ่ให้เบิกบาน ตื่นจากกิเลสนิทรา นี้จัดว่าพระรัตนตรัย คือ วัตถุอันประเสริฐให้เกิดความยินดี ๓ ประการ ย่ อ มเป็ น ไปเพื่ อ ความบริ สุ ท ธิ์ อ ย่ า งยิ่ ง ไพศาลแก่ ผู ้ เ ลื่ อ มใส ด้ ว ยเดชานุ ภ าพพระศรี รั ต นตรั ย ดลบันดาล ขออุปัทวันตรายและอุปสรรคศัตรูทั้งหลาย จงอย่าบังเกิดถูกต้องพ้องพาน ซึ่งไทยสยามรัฐนี้ ในกาลไหน ๆ จงบำราศไกลด้ ว ยประการทั ้ ง ปวง ขอความไม่ ม ี โ รค ความเกษมสุ ข สำราญ ความมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน และความบริบูรณ์แห่งวัตถุทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งวิบุลผลนั้น ๆ ทั้งสุขโสมนัสสวัสดี ในที่ทุกสถาน จงเกิดมี จงเป็นไป แด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงอภิบาลไทยสยามรัฐมหาชนนี้ กับทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชโอรส พระราชธิ ด า พระราชวงศานุ ว งศ์ และคณะรั ฐ บาล มุ ข อำมาตย์ มนตรี สภา เสวกามาตย์ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พสกนิกร ประชาราษฎร์ สมณชีพราหมณ์ ขอเทพเจ้าทั่วทุกจักรราศี ซึ่งสถิตอยู่ในไทยสยามรัฐมณฑลนี้ จงตั้งไมตรีจิตอภิบาลรักษาสกลไทยสยามรัฐสีมาอาณาเขต ซึ่งมีสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงเป็นองค์พระประมุข ด้วยนำเข้าไปให้ถึงซึ่งความสุข อิฏฐวิบุลผลอันเป็นหิตานุหิตประโยชน์ คอยป้องกันสรรพโทษอันไม่เกื้อกูลแก่ความเจริญ อย่าให้ เกิดมี สิทฺธิมตฺถุ สิทฺธิมตฺถุ
สิทฺธมตฺถุ อิทํ ผลํ
ขอผลที่กล่าวนี้ จงเป็นผลสัมฤทธิ์ จงเป็นผลสัมฤทธิ์ จงเป็นผลสัมฤทธิ์ แด่สมเด็จ บรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้มีพระราชหฤทัยทรงเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ สมพระบรมราช ประสงค์ทุกประการ รับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนาในพระมงคลวิเสสกถา เป็นปสาทนียมังคลา นุโมทนา สมควรแก่เวลา เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ขอถวายพระพร
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
144
บัญชีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
รับพระราชทานฉัน ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. เจริญพระพุทธมนต์ วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๐.๓๐ น. รับพระราชทานฉัน
สมเด็จพระพุฒาจารย์ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระญาณวโรดม พระวิสุทธาธิบดี พระสาสนโสภณ พระพรหมเมธี พระพรหมมุนี พระพรหมเวที พระพรหมวชิรญาณ พระพรหมเมธาจารย์ พระพรหมโมลี พระพรหมสุธี พระวิสุทธิวงศาจารย์ พระพรหมจริยาจารย์ พระพุทธวรญาณ พระธรรมกิตติวงศ์ พระธรรมปริยัติโมลี พระธรรมโสภณ พระธรรมกิตติมุนี
วัดสระเกศ วัดชนะสงคราม วัดปากน้ำ วัดสัมพันธวงศาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดสุทัศนเทพวราราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดบวรนิเวศวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม วัดยานนาวา วัดบุรณศิริมาตยาราม วัดพิชยญาติการาม วัดสระเกศ วัดปากน้ำ วัดกะพังสุรินทร์/ตรัง
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดราชโอรสาราม วัดทินกรนิมิต/นนทบุรี
วัดสุทธจินดา/นครราชสีมา วัดเฉลิมพระเกียรติ/นนทบุรี
145 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระธรรมวิสุทธิกวี พระธรรมกวี พระธรรมกิตติเมธี พระธรรมวรเมธี พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ พระธรรมเจดีย์ พระธรรมคุณาภรณ์ พระธรรมปริยัติเวที พระธรรมปิฎก พระธรรมโมลี พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมไตรโลกาจารย์ พระธรรมสุธี พระธรรมสิทธินายก พระธรรมรัตนากร พระธรรมเจติยาจารย์ พระธรรมนันทโสภณ พระเทพวิสุทธิเมธี พระเทพปัญญามุนี พระเทพรัตนสุธี พระเทพสารเวที พระเทพภาวนาวิกรม พระเทพสิทธิวิเทศ พระเทพปริยัติมุนี พระเทพสมุทรโมลี พระเทพสุธี พระเทพเมธี พระเทพคุณาธาร พระเทพวิริยาภรณ์ ศาสนพิธีในพระราชพิธี
วัดโสมนัสวิหาร วัดราชาธิวาส วัดสัมพันธวงศาราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดราชสิทธาราม วัดกัลยาณมิตร วัดสามพระยา วัดพระปฐมเจดีย์/นครปฐม วัดพระพุทธบาท/สระบุรี วัดศาลาลอย/สุรินทร์
วัดประยุรวงศาวาส วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดสระเกศ วัดปากน้ำ วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระธาตุช้างค้ำ/น่าน วัดระฆังโฆสิตาราม วัดปทุมวนาราม วัดปทุมคงคา วัดบวรนิเวศวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม วัดอานันเมตยาราม/สิงคโปร์
วัดทองนพคุณ วัดเพชรสมุทร/สมุทรสงคราม วัดไตรธรรมาราม/สุราษฎร์ธานี
วัดอรุณราชวราราม วัดดุลยาราม/สตูล วัดหัวลำโพง 146
พระเทพชลธารมุนี พระราชสมุทรรังษี พระราชรัตนรังษี พระราชธรรมกวี พระราชพิพัฒนาทร พระราชสุวรรณมุนี พระราชรัตนวราภรณ์ พระราชเมธากรกวี พระราชวิสุทธิโกศล พระราชวชิรโสภณ พระราชปริยัตยาภรณ์ พระราชปัญญาเวที พระราชมุนี พระราชวชิรดิลก พระราชจริยาภรณ์ พระอมรเมธี พระวินัยสารสุธี พระโสภณธีรคุณ พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ พระปริยัติกิจวิธาน พระโสภณธรรมเมธี พระวิมลสุตาภรณ์ พระวิสุทธิ์พุทธิศาสตร์ พระพิพัฒน์ปริยัติสุนทร พระสุทธิสารเมธี พระนิภากรกิตติพิลาส พระปัญญารัตนาภรณ์ พระวินัยเวที พระวินัยสุธี
วัดบ่อทองราษฎร์บำรุง/ชลบุรี วัดอัมพวันเจติยาราม/สมุทรสงคราม วัดกุฉินาราเฉลิมราชย์/อินเดีย วัดบวรมงคล วัดปทุมวนาราม วัดมหาธาตุ/เพชรบุรี วัดพนัญเชิง/พระนครศรีอยุธยา วัดเสนาสนาราม/พระนครศรีอยุธยา วัดพิชยญาติการาม วัดวชิรธรรมสาธิต
วัดเขียนเขต/ปทุมธานี วัดตากฟ้า/นครสวรรค์
วัดเทพศิรินทราวาส วัดเพชรสมุทร/สมุทรสงคราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดตากฟ้า/นครสวรรค์ วัดวชิราลงกรณวราราม/นครราชสีมา วัดเทพธิดาราม วัดไร่ขิง/นครปฐม วัดโสธรวราราม/ฉะเชิงเทรา วัดสุวรรณคีรี วัดพิกุลทอง/สิงห์บุรี
วัดกวิศราราม/ลพบุรี
วัดเทพลีลา วัดสัมพันธวงศาราม วัดตรีทศเทพ วัดกัลยาณมิตร วัดเสนาสนาราม/พระนครศรีอยุธยา วัดธาตุทอง
147 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
พระพิศิษฎ์พัฒนพิธาน พระพิพัฒนกิจวิธาน
วัดหนองหอย/ราชบุรี วัดวชิรธรรมสาธิต
ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา
สมเด็จพระมหาธีราจารย์
วัดชนะสงคราม รวม ๘๑ รูป
กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๔ โทรสาร ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๖
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
148
พระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย
ประเทศไทยมี ก ารปกครองในระบอบสมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ ใ นสมั ย กรุ ง สุ โ ขทั ย กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ คือ สมัยสุโขทัย ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีการปกครองในลักษณะพ่อปกครองลูก ดังที่ ปรากฏมีการเรียกองค์พระประมุขว่า “พ่อขุน” และเรียกผู้ปกครองเมืองต่าง ๆ ว่า “พ่อเมือง” สมัยอยุธยา ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากพราหมณ์และขอม จึงมีการนำความคิด
ที่เกี่ยวกับสมมติเทวราชมาเป็นประมุขของประเทศ คือ องค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมีกรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางของอาณาจักร และมีเมืองหน้าด่าน ๔ ด้าน โดยแบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ตามขนาดและความสำคัญของเมือง สมัยรัตนโกสินทร์ในยุคต้น มีการปกครองในลักษณะเดียวกับกรุงศรีอยุธยา ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริในการที่จะ เปลี่ยนแปลงการบริหารประเทศ เนื่องจากพระองค์ได้ทรงเสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ ในแถบ ยุโรปหลายประเทศ แต่แนวการบริหารประเทศนั้น พระองค์ทรงเน้นวัฒนธรรมไทยแต่เดิมทั้งทาง พุทธศาสนจักรและอาณาจักร ดังนั้น ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๗ ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ อันเป็นการนำไปสู่การบริหารประเทศโดยคณะที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งทรงดำเนินกิจการ ทุกประการ อันเป็นการปูพื้นฐานในการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย ต่ อ มาพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงดำเนิ น ตามพระบรมราโชบาย ในพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ดั ง นั ้ น พระองค์ จ ึ ง ได้ ท รงก่ อ ตั ้ ง ดุ ส ิ ต ธานี ข ึ ้ น เพื่อเป็นการทดลองการบริหารการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยอันแน่วแน่ จะให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ประชาชนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีแนวปฏิบัติในระบอบประชาธิปไตยที่ให้ได้ผลดีและมีความชัดเจน ดังนั้น ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ ได้มีการตราพระราชบัญญัติองคมนตรีขึ้น โดยให้มีคณะบุคคลเป็นสภาองคมนตรี จำนวน ๒๒๗ ท่าน เป็นที่ปรึกษาและให้ความเห็นในการบริหารราชการแผ่นดิน และให้มีคณะบุคคล
149 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๗๐ ท่าน เป็นสภากรรมการองคมนตรี มีอำนาจหน้าที่ในการประชุม
ปรึกษาหารือข้อราชการ นอกจากนี้ ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้มีการศึกษาทางการเมือง แก่ประชาชนก่อน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามรูปแบบเทศบาล และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ ได้ทรงมี พระราชดำรัสว่า “ฉันมีความประสงค์จะให้รัฐธรรมนูญแก่ประชาชนโดยเร็วที่สุด และต้องให้ทัน
ในวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๖ ซึ่งเป็นวันครบรอบมหาจักรี” แต่ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้มีคณะบุคคลคิดเปลี่ยนแปลงระบอบ การปกครองเสียก่อน จึงได้พระราชทานรัฐธรรมนูญทันที ซึ่งทรงได้มีพระราชดำรัสว่า “ข้าพเจ้า
มีความเลื่อมใสในวิธีการเช่นนี้อยู่เสมอ และกำลังดำริจะจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองของ ประเทศสยามให้เป็นไปตามรูปแบบนั้น” และ “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของ ข้าพเจ้าอยู่เดิมให้ราษฎรทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด
คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร์” ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร พระองค์ได้เสด็จ ออกประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่ง อนันตสมาคม ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดเป็นสถานที่ประชุมรัฐสภา และ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พระราชทานเป็นกฎหมายสูงสุดในการ บริหารราชการแผ่นดิน เพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศ ทางราชการจึงได้ถือเป็นวันที่ระลึก สำคั ญ ของชาติ และมี พ ระราชพิ ธ ี ฉ ลองวั น พระราชทานรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในวันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี ซึ่งในปัจจุบันได้เสด็จพระราชดำเนิน
ไปถวายราชสักการะ ถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่หน้าตึกรัฐสภา พระราชวังดุสิต และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชพิธีฉลอง วั น พระราชทานรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย ณ พระที่ นั่ ง อนั น ตสมาคม เมื่ อ เสด็ จ พระราชดำเนินถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการหน้าแท่นประดิษฐาน พระพุทธรูป ทรงประทับพระเก้าอี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาศีล สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ถวายศีล ทรงศีล เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์ ๑๕ รูป เจริ ญ พระพุ ท ธมนต์ เมื่ อ พระสงฆ์ เ จริ ญ พระพุ ท ธมนต์ จ บแล้ ว ทรงประเคนผ้ า ไตรแด่ ส มเด็ จ
พระพุฒาจารย์ และผู้แทนหน่วยราชการต่าง ๆ ประเคนผ้าไตรแด่สมเด็จพระราชาคณะ รองสมเด็จ
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
150
พระราชาคณะ และพระราชาคณะครบทุ ก รู ป เจ้ า หน้ า ที่ ฝ่ า ยสนมพลเรื อ น กองพระราชพิ ธ ี สำนักพระราชวัง และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา รีบเข้าไปถอนผ้าไตร จากสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะทันที ในขณะที่เสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับนั่ง ยังพระเก้าอี้ พระสงฆ์ทั้งนั้นตั้งพัดยศ ถวายอนุโมทนา ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอดิเรก เมื่อจบบท ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา เข้ารับพัดยศ ย่าม สมเด็จพระราชาคณะ รองสมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ พร้อมทั้งคอยปฏิบัต ิ
พระสงฆ์ลงจากอาสน์สงฆ์ และนำมาพักยังห้องรับรองพระสงฆ์ทางมุขด้านใต้ จนกว่าจะเสด็จ พระราชดำเนินกลับ ตามหมายกำหนดการ อนึ่ ง การนิ ม นต์ พ ระสงฆ์ ใ นพระราชพิ ธ ี ฉ ลองวั น พระราชทานรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง
ราชอาณาจักรไทยนั้น เป็นพระราชพิธีที่นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน ๑๕ รูป ซึ่งถือเป็นธรรมเนียม ประเพณี ดังนี้ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าภาพ จำนวน ๑ รูป และส่วนราชการต่าง ๆ เท่า จำนวนกระทรวงแต่ แ รก จำนวน ๑๔ กระทรวง กระทรวงละ ๑ รู ป โดยรวมเป็ น ๑๕ รู ป แต่เดิมในพระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ มีการถวาย ภัตตาหารแด่พระสงฆ์ด้วย สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าภาพ ๑ รูป กระทรวงต่าง ๆ เป็น
เจ้าภาพ หน่วยงานละ ๑ รูป รวมเป็น ๑๕ รูป ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงมาจัดพระราชพิธ ี
ในภาคบ่าย จึงไม่มีการถวายภัตตาหาร แต่กระนั้นก็มีการถวายจตุปัจจัยผ้าไตรไทยธรรม โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม จำนวน ๑ รูป และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าหน้าที่กรมวัง สำนักพระราชวัง เชิญผู้แทน หน่วยราชการต่าง ๆ ประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม หน่วยละ ๑ รูป รวมเป็นจำนวน ๑๕ รูป
151 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ที่ ๒๐/๒๕๕๐
หมายกำหนดการ ถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ เลขาธิ ก ารพระราชวั ง รั บ พระบรมราชโองการเหนื อ เกล้ า ฯ สั่ ง ว่า การถวายบั ง คม พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชพิธีฉลองวันพระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนด ดังนี้ วันจันทร์ที่ ๑๐ ธันวาคม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แทนพระองค์ โดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าตึกรัฐสภา พระราชวังดุสิต เวลา ๑๗ นาฬิ กา ทรงวางพานพุ่มดอกไม้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ พานพุ่มดอกไม้ของส่วนพระองค์ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะถวายบังคมพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ พระสงฆ์ ๑๕ รูป เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว ทรงประเคนผ้าไตร และจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก เสด็จพระราชดำเนินกลับ การแต่งกาย แต่งเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายช้างเผือก
สำนักพระราชวัง วันที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
152
บัญชีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
ในการพระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศาราม พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศนเทพวราราม พระพรหมเวที วัดไตรมิตรวิทยาราม พระพรหมสุธี วัดสระเกศ พระพุทธวรญาณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระธรรมกิตติเมธี วัดสัมพันธวงศาราม พระธรรมวรเมธี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระธรรมสิทธินายก วัดสระเกศ พระเทพภาวนาวิกรม วัดไตรมิตรวิทยาราม พระราชสุธี วัดเทวราชกุญชร พระราชรัตนวราภรณ์ วัดพนัญเชิง/พระนครศรีอยุธยา พระราชจริยาภรณ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๔ โทรสาร ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๖
153 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
บรรณานุกรม กรมการศาสนา. คู่มือพิธีกรและการปฏิบัติพิธีทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๔๘. . คู่มือการปฏิบัติศาสนพิธี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๕๐. จมื่นอมรดรุณารักษ์, (แจ่ม สุนทรเวช). พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว เรื่อง พระราชประเพณี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๓๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การค้าของคุรุสภา, พ.ศ. ๒๕๓๓. ภาพพระราชทาน งานพระราชพิธีสงกรานต์, งานพระราชพิธีฉัตรมงคล, งานพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ, สำนักพระราชวัง, กรุงเทพมหานคร. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พุทธศักราช ๒๕๓๙. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙. ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไพศาลศิลป์การพิมพ์, ๒๕๑๖. . พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๓๑. สำนักพระราชวัง. หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช. พุทธศักราช ๒๕๕๐. . หมายกำหนดการ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา. ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐.
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
154
สำนักพระราชวัง. หมายกำหนดการ ถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว และพระราชพิ ธ ี ฉ ลองวั น พระราชทานรั ฐ ธรรมนู ญ
แห่งราชอาณาจักรไทย. ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๐. . หมายรับสั่ง กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง. พุทธศักราช ๒๕๕๐. . หมายกำหนดการ สำนักพระราชวัง. กรุงเทพมหานคร : พ.ศ. ๒๕๕๐. แสงสูรย์ ลดาวัลย์, ม.ร.ว.. พระราชพิธี, คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์.
155 ศาสนพิธีในพระราชพิธี
ศาสนพิธีในพระราชพิธี
156