พื้นที่แบ่งปันความรู้ สู่ระบบสุขภาพที่สมดุลและยั่งยืน
ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
www.hsri.or.th
บท บรรณาธิการ ส า ร บั ญ
CONTENT รายงานพิเศษ
03 03
วิกฤติ NCDs
ภาระโรค...วาระชาติ
นวัตกรรม บนโลกสุขภาพ
07
ฉลากยา
บ่งบอกการหมดอายุ
วิจัยเปลี่ยนชีวิต
08
ค่ายอาสา
“หลักสูตร” นอกต�ำรา บ่มเพาะหมอชนบท
เปิดห้องรับแขก
11
เมื่อผีเสื้อขยับปีก
ในมุม นพ.สรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์
แกะกล่องงานวิจัย
ทบทวน
12
การแพทย์ฉุกเฉินไทย มองวิวัฒนาการ จาก “อดีต” สู่ “อนาคต”
HEALTH@I สุขภาพดี เริ่มที่เรา
14
ทราบแล้ว “เปลีย ่ น!!!” แค่ขยับ = ออกก�ำลังกาย
จุลสาร HSRI FORUM จัดท�ำโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข น้อมรับค�ำติชม พร้อมเปิดกว้างรับทุกความคิดเห็น ข้อมูลข่าวสารทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบวิจยั สุขภาพ ที่ hsri@hsri.or.th ติดตามข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจได้ที่ http://www.hsri.or.th และ
http://www.facebook.com/hsrithailand
02
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
ส
วัสดีครับคุณผู้อ่าน มาพบกันในจุลสารสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ที่เราใช้ชื่อว่า “HSRI FORUM” ซึง่ ถือเป็นย่างก้าวเข้าสูป่ ที ี่ 3 แล้ว มาในปีนเ้ี ราพัฒนาเนือ้ หาให้กระชับ พร้อมรูปโฉมในฉบับ ในรูปแบบทีม่ สี สี นั สดใส อยูใ่ นรูปแบบไฟล์ออนไลน์ทที่ า่ นสามารถ เข้ามาดาวน์โหลดไปอ่านกันได้ทาง www.hsri.or.th โดยจะมาพบกันในทุกๆ สองเดือน และเช่นเคยที่ เรายังคงรวบรวมสาระดีๆ และเข้มข้น ในแวดวงระบบสุขภาพมาแบ่งปันกันในฉบับ โดยการก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 นี้ มาเกาะไปกับกระแส “สุขภาพ” ของคนไทย ที่ต้องเดินขนานไปกับ การเปลี่ยนแปลงของ “โลก” ยุคปัจจุบันจนน�ำมาสู่ “โรค” ที่ก�ำลังเป็นภัยคุกคามสุขภาพทั้งจากโรค ติดเชื้อมาเป็นโรคไม่ติดต่อ ภัยเงียบจากพฤติกรรมเสี่ยงจากการบริโภคและการด�ำรงชีวิตในสังคม ปัจจุบัน ที่คร่าชีวิตคนไทยในทุกช่วงอายุและเพศ จึงได้น�ำเสนอผ่านรายงานพิเศษในเรื่อง มหันตภัย ร้ายเรื้อรัง...NCDs : ภาระคน – ภาระประเทศ ที่จะมาสะท้อนให้เห็นถึงตัวเลขเชิงสถิติ สถานการณ์ จากรายงานการศึกษาโรคที่ก่อให้เกิดการสูญเสียทางด้านการเจ็บป่วยของคนไทย พร้อมด้วยโฟกัส โรคร้ายยอดฮิตสาเหตุการตายของคนไทย นอกจากนี้ยังสะท้อนค่าใช้จ่ายรายโรคที่ประเมินจากการ ศึกษาวิจยั แน่นอนว่านีค่ อื ปัญหาทีส่ ำ� คัญทีเ่ สมือนคลืน่ ลูกใหญ่ในระบบสาธารณสุขทีส่ ามารถเริม่ ต้นการ แก้ปัญหาได้จากตัวบุคคลและการแก้ไขปัญหาในเชิงระบบ ในส่วนหนึ่งของการอุดช่องโหว่ของ ปัญหานั้น สวรส. ก็ได้เดินหน้าโครงการวิจัยมุ่งเป้าเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) หนึ่งในโจทย์งานวิจัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุขไปด้วย ในฉบับมาติดตามรายงานการศึกษาโครงการวิจัย “การประเมินนโยบายว่าด้วยวิวัฒนาการ ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน” ในคอลัมน์แกะกล่องงานวิจัย เพื่อทบทวนการพัฒนาและสะท้อนภาพ เปลี่ยนแปลงการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย ที่ด�ำเนินงานนานกว่า 2 ทศวรรษแล้ว จากนั้นมาร่วม Filed Trip ไปกับ สวรส. ในงานประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2557 คอลัมน์ “วิจัยเปลี่ยนชีวิต” ร่วมศึกษาดูงาน “ค่ายอาสา “หลักสูตร” นอกต�ำรา บ่มเพาะหมอ ชนบท” ของนักศึกษาแพทย์ รพ.มหาราชนครราชสีมา ที่ต้ังต้นจากงานวิจัยทางด้านก�ำลังคนทางการ แพทย์ที่ก�ำลังขาดแคลนสู่การเป็นต้นแบบของกิจกรรมการปลูกฝังอุดมการณ์ความเป็นหมอให้ฝังลึก ต่อกันด้วยสัมภาษณ์พิเศษ คอลัมน์เปิดห้องรับแขก ต้อนรับ “นพ.สรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์” ใน ฐานะคุณหมอนักพัฒนา ที่เสมือนเป็น “ผีเสื้อ” อีกตัวหนึ่งที่ก�ำลังขยับปีก และมีส่วนส�ำคัญของการ ช่วยแก้ไขปัญหาก�ำลังคนในระบบสุขภาพ ส�ำหรับโฉมใหม่ของ HSRI FORUM ฉบับนับจากนี้ เราเติมเต็ม คอลัมน์ “นวัตกรรมบนโลก สุขภาพ” ข้อมูลดีๆมาอัพเดทเพื่อไม่ให้ตกกระแส มาทันข่าวกับผลวิจัยคิดค้น “ฉลากยาแบบระบุ สัญลักษณ์ได้ว่า นี่คือยาที่บ่งบอกการหมดอายุ” รวมถึงคอลัมน์ “HEALTH@I สุขภาพคนไทย เริ่ม ต้นที่ฉัน” สาระด้านสุขภาพ เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ที่ฉบับนี้ฟังทัศนะเรื่องมุมมองการออกก�ำลังกายที่ แต่ละคนล้วนมีเทคนิคการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกันออกไป ขอฝากทิง้ ท้ายเอาไว้กอ่ นพลิกอ่านในฉบับ ว่าปัญหาสุขภาพจากการเจ็บไข้ได้ปว่ ย จะเป็นภาระของ ผู้ป่วย ครอบครัว และภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอีกด้วย ฉะนั้นระบบสุขภาพคนไทยจะยั่งยืน ได้ ต้องเริ่มจากสุขภาพที่ดีของประชาชน ซึ่งแต่ละคน สามารถเริ่มต้นง่ายๆ เพียงแค่ปรับพฤติกรรมใน ชีวิตประจ�ำวัน ได้แก่ การบริโภคอาหารสุขภาพ การออกก�ำลังกาย ควบคู่การไม่ดื่มสุรา และไม่สูบบุหรี่ ตลอดจนหลีกเลีย่ งอุบตั เิ หตุ สุขภาพของคุณก็จะดีขนึ้ ส่งผลต่อการเปลีย่ นแปลงคุณภาพชีวติ และระบบ สุขภาพที่ดีอย่างแน่นอนครับ ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล
ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
รายงาน พิเศษ
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
โรคเบาหวาน หัวใจขาดเลือด มะเร็ง หลอดเลือดสมองแตก ความดันโลหิตสูง ข้อเข่าเสื่อม อ้วน ไขมันในเลือด ฯลฯ
งบประมาณแผ่นดิน... จากภาระค่าใช้จ่าย ของประเทศที่สูงขึ้น
ปั
ญหาด้ า นสุ ข ภาพยั ง มี ช ่ อ งว่ า งมากมายที่ ร อการแก้ ไ ข โดยเฉพาะปั ญ หาที่ ก� ำ ลั ง สร้ า งแรง “กระเพื่ อ ม” ก็ คื อ
“โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” Non Communicable diseases (NCDs) ซึ่งการศึกษาวิจัยมีข้อมูลชี้ชัดด้วยว่า กลุ่ม
โรคไม่ ติ ด ต่ อ ไม่ ว ่ า จะเป็ น โรคเบาหวาน หั ว ใจขาดเลื อ ด หลอดเลื อ ดสมองแตก มะเร็ ง ต่ า งๆ รวมถึ ง อุ บั ติ เ หตุ
ที่ส�ำคัญภาวะที่เกิดขึ้นยังจะเป็นห่วงโซ่ “กระเทือน” ไปถึง “ระบบสุขภาพ” ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพของประเทศ
เป็นสาเหตุ “การตาย” เป็นอันดับต้นๆ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น เป็น “ภัย (ไม่) เงียบ” คุกคามสุขภาพคนไทย
“ดีดตัว” สูงขึ้น ท้าทายไปกว่านั้นในร่างภาพอนาคตสะท้อนให้เห็นด้วยว่า การย่างก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในระยะเวลา
อันใกล้นี้ หากไม่มีเตรียมการป้องกันหรือแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพของระบบสุขภาพและขาดการใส่ใจดูแลตนเอง ปัญหา เหล่านี้ก็จะเสมือน “ไฟไหม้ฟาง” ที่อาจเกิดได้ในอีกไม่ช้า !!
03
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
กลุ่มอายุ
ภาระโรคที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรก ของคนไทย (จ�ำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ) ชาย
0 – 14 ปี
หญิง
1. น�้ำหนักแรกเกิดต�่ำ 2. ทารกขาดอากาศ 3. อุบัติเหตุจราจร
15 – 29 ปี
1. ดื่มสุรา 2. อุบัติเหตุจราจร 3. โรคจิตเภท
1. อุบัติเหตุจราจร 2. เอดส์ 3. ซึมเศร้า
30 – 59 ปี
1. ดื่มสุรา 2. อุบัติเหตุจราจร 3. เอดส์
1. เบาหวาน 2. ซึมเศร้า 3. หลอดเลือดสมอง
1. หลอดเลือดสมอง 2. ปอดอุดกั้นเรื้อรัง
1. หลอดเลือดสมอง 2. เบาหวาน
> 60 ปี
3. หัวใจขาดเลือด
3. หัวใจขาดเลือด
ตารางภาระโรคทีเ่ ป็นปัจจัยเสีย ่ งสาเหตุของการเสียชีวต ิ ของคนไทย แสดงให้เห็นช่วงวัย : ข้อมูลจาก รายงาน ภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย 2552 โดยส�ำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
ย้อนมอง... ภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงคนไทย
จากรายงานการศึ ก ษา “ภาระโรคและปั จ จั ย เสี่ ย งของ ประชากรไทย ปี 2552” เพื่อแสดงภาระทางสุขภาพในภาพรวม จากทั้งการตายก่อนวัยอันสมควร รวมทั้งการเจ็บป่วยและการพิการ ที่เกิดขึ้นตามมาจากโรคภัยและการบาดเจ็บต่างๆ ของประเทศและ เปรียบเทียบภาระจากโรคและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งท�ำการศึกษาทุก 5 ปี โดย ส�ำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) (ดาวน์โหลดงานวิจัยฉบับเต็มได้ทาง http://www.thaibod.net)
พบว่ า ปั จ จั ย เสี่ ย งอั น ดั บ ต้ น ๆ ของการสู ญ เสี ย ปี สุ ข ภาวะ ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ภาวะ น�ำ้ หนักเกินและโรคอ้วน การมีเพศสัมพันธ์ทไี่ ม่ปลอดภัย การไม่สวม หมวกนิรภัย (ดูเพิ่มเติมในตารางภาระโรคทีเ่ ป็นปัจจัยเสีย่ งสาเหตุของการเสีย ชีวติ ของคนไทย ตามช่วงวัย)
ข้อมูลจ�ำเพาะ
• ปีสุขภาวะ คือปีที่มีสุขภาพสมบูรณ์มีชีวิตตามปกติ ท�ำกิจกรรมได้ตามปกติ เมื่อน�ำผลรวมของปีสุขภาวะที่สูญเสียไปของประชากร ทั้งหมดมารวมกัน ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ชี้ถึงสุขภาพได้ชัดเจน • ตัวอย่างการค�ำนวณหาปีสุขภาวะ เช่น ถ้าเราตายก็จะสูญเสียปีสุขภาวะไป 1 ปีเต็มๆ แต่ถ้าเกิดเจ็บป่วยพิการแขนขาด ก็จะสูญเสียปี สุขภาวะไปบางส่วน แต่ว่าน้อยกว่า 1 ปี สมมุติเรามีสุขภาพดีเพียง 85 เปอร์เซ็นต์ ก็หมายถึงว่าเรามีความพิการ 15 เปอร์เซ็นต์ของ ปีสข ุ ภาพดีเต็มที่ ฉะนัน ้ ปีนน ั้ เรามีความพิการเกิดขึน ้ 15 เปอร์เซ็นต์ สมมุตว ิ า ่ เรามีชว ี ต ิ อยูใ่ นสภาพแขนขาด 5 ปี เท่ากับว่าเรามีความ สูญเสียเกิดขึน ้ 0.15 ปี ทุกๆ 5 ปี เมือ ่ น�ำผลรวมของปีสข ุ ภาวะทีส ่ ญ ู เสียไปของประชากรทัง ้ หมดมารวมกัน ก็จะได้ผลลัพธ์แสดงออก มาให้เห็นภาพรวมการสูญเสียปีสุขภาวะของคนทั้งประเทศ
ข้อมูลบ่งชี้ว่า ในปี พ.ศ. 2552 โรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นสาเหตุของการสูญเสียปีสุขภาวะมากเป็นอันดับหนึ่ง และเป็นสาเหตุส�ำคัญ ของความพิการที่รุนแรง ก�ำลังคุกคามต่อชีวิตของประชาชนไทยและทั่วโลก เหตุผลที่ท�ำให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอาจมาจากการได้รับปัจจัยเสี่ยง ต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ การขาดการออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอ การดื่มแอลกอฮอล์ (ดูจากตารางการสูญเสียสุขภาวะ 10 อันดับแรกของคนไทย จ�ำแนกตามเพศ พ.ศ.2547 และ 2552)
04
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
โฟกัส ภาระโรค ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่ วันนี้ “อุบัติการณ์” ของโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้นทั้งในเด็กและใน ผู้ใหญ่ แม้ที่ผ่านมาจะมีการรณรงค์ “คนไทย...ไร้พุง” กลับยังพบ ข้อมูล “คนไทย...ไว้พงุ ” เพิม่ ขึน้ โดยเฉพาะความอ้วนนัน้ เป็นสัญญาณ อันตราย และท�ำให้เสีย่ งต่อการเกิดโรคเรือ้ รัง มากมาย อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยพฤติกรรมสุขภาพ กรมสนับสนุน บริการสุขภาพ พบว่า ระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เด็กก่อนวัยเรียนอ้วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 ขณะที่เด็กและผู้ใหญ่อ้วนเพิ่มขึ้นปีละ 4 ล้านคน เสียชีวิตจากโรคอ้วนปีละประมาณ 20,000 คน สาเหตุส�ำคัญเกิด จากการมีพฤติกรรมสุขภาพทีไ่ ม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารที่ ไม่มคี ณ ุ ค่าทางโภชนาการ มีไขมันสูง มีรสหวาน เค็มจัด ดืม่ เครือ่ งดืม่ ที่มีน�้ำตาลสูง รวมทั้งการขาดการออกก�ำลังกาย เป็นต้น ขณะที่ ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิรชิ ยั กุล ผูอ้ ำ� นวยการ สวรส. แสดงความเป็นห่วงว่าว่า ทุกวันนี้ไม่อยากให้การตรวจคัดกรอง ระดั บน�้ ำ ตาลในคนไทย เป็นการตรวจเพื่อ หาความเสี่ยงหาโรค เท่านั้น เพราะเมื่อผลการตรวจไม่พบ ก็หันมาบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม เหมือนเดิม ฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมกันจริงๆ หลีก เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงถ้ารู้ว่าอาหารประเภทไหนไม่มีประโยชน์ต่อร่ายกาย ก็เริ่มลดได้แล้ว”
ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่ง คือ การศึกษาผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์และคุณภาพ ชีวติ จากโรคอ้วนในประเทศไทย สนับสนุนการวิจยั โดยส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันวิจยั ระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทรวงสาธารณสุข ศึกษาวิจยั โดย ผศ.ดร.ภญ. มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ระบุชด ั เจนว่า “โรคอ้วน เป็ น ปั จ จั ย เสี่ ย งของการเสี ย ชี วิ ต และโรคเรื้ อ รั ง จ� ำ นวนมาก เป็ น สาเหตุ ข องการสู ญ เสี ย ผลิ ต ภาพ หลายด้าน คือ การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การขาดงาน การขาดประสิทธิภาพขณะท�ำงาน การพิการ การสูญเสียโอกาสในการถูกจ้างงาน” (ดาวน์โหลดงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ทาง http://www.hitap. net/research/9567) นอกจากนี้จากการศึกษา “โรคอ้วน” ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์เป็นจ�ำนวน มหาศาล โดยค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นจากโรคอ้วนในประเทศไทย ปี 2552 มีมูลค่าสูงถึงประมาณ 5,584 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของต้นทุนทั้งหมด โดยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากที่สุด คือ ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวาน (ประมาณ 3,387 ล้านบาท) รองลงมาหัวใจขาดเลือด (ประมาณ 1,070 ล้านบาท) (ดูจากตารางข้อมูลผลกระทบเชิง เศรษฐศาสตร์และคุณภาพชีวิต)
05
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
จับทิศทาง “ภาระโรค” สู่ทางออก “วาระ” ชาติ จากปัญหาภาระโรคที่เกิดกับประชากรไทย ที่มีงานวิจัยศึกษา ออกมานั้น ก้าวใหม่หรือทิศทางในการพัฒนาระบบสุขภาพจึงถึง เวลาที่ปัญหาต่างๆ จะถูกก�ำหนดให้เป็นภาระของประเทศที่ทุก ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะได้มาร่วมผลักดันเสนอแนะแนวทางในการ พัฒนาต่อไป • ศูนย์อำ� นวยการการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่ง ชาติ คาดการณ์สถานการณ์การติดเชื้อรายใหม่ในช่วงปี 2555-2559 ว่าภาระโรคเอดส์นั่น จะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 43,040 ราย โดยที่กลุ่มเสี่ยงยังไม่เปลี่ยนไป คือ กลุ่มเพศ สัมพันธ์ระหว่างชายระหว่างพนักงานบริการกับลูกค้า และจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ข้อเสนอแนะในการ แก้ไขปัญหาด้านนโยบายและการป้องกันที่จะยกระดับ มาตรการการป้องกันในอนาคต เร่งขยายการป้องกันใน กลุ่มเสี่ยง •
สะท้ อ น สถานการณ์มะเร็งในประเทศไทยและการจัดล�ำดับสาเหตุ การตายปี 2553 พบว่า มะเร็งเป็นอันดับหนึ่ง มีการ เสียชีวิตถึง 58,076 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุส�ำคัญหนึ่งในการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย คือ มีกลุ่ม ประชากรสูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการบริโภคในปัจจุบัน ฉะนั้น วิ ธีจ ะลด ภาระโรคควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและการตรวจคัดกรอง สถาบั น มะเร็ ง แห่ ง ชาติ กรมการแพทย์
ความเสี่ยงในปัจจุบัน...เป็นความเสี่ยงจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เป็นเพราะเทคโนโลยีที่ พัฒนาไปอย่างรุดหน้า ท�ำให้มนุษย์สบายมากขึ้นลดการใช้แรง รวมถึงการใช้พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูก หลัก เช่น บริโภคอาหารไขมันสูง อาหารขบเคี้ยว ไม่รับประทานผักและผลไม้ ขาดการออกก�ำลังกาย ฉะนั้นการวิเคราะห์ภาระโรคของประเทศ จะเป็นประโยชน์เพื่อทราบสถานการณ์ปัญหาและน�ำไปปรับ เปลี่ยนนโยบาย โดยเฉพาะการบูรณาการการป้องกันควบคุม “โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” (NCDs) เข้าสู่ทุก ภาคส่วน ของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนให้เป็นแผนงานระดับประเทศต่อไป
“วิจัย”สู่การเปลี่ยนแปลงส�ำคัญ...อุดช่องโหว่ภาระโรค ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กล่าวว่า สวรส. เรามอง ระบบสุขภาพในมิติที่เป็นภาพรวมของสังคม นอกเหนือไปจากมิติด้านสาธารณสุข เรายังให้ความส�ำคัญ กับมิติสังคม สิ่งแวดล้อม เพราะเหล่านี้ล้วนมีผลต่อระบบสุขภาพ ส�ำหรับยุทธศาสตร์ในปี 2557 – 2561 สวรส. ได้มีการพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อลดช่องว่างในประเด็น ภาระโรคจากปัญหาอุบัติเหตุ “อุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 1 ใน 3 ของประชากรไทยเกือบทุกกลุ่มอายุ การวิจัยเชิง ปฏิบตั กิ ารจะเป็นการสร้างองค์ความรูท้ จี่ ะเป็นประโยชน์สำ� หรับเสนอให้หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องด�ำเนินการ เช่น กระทรวงคมนาคม มหาดไทย ศึกษาธิการ เพื่อที่จะลดการเกิดอุบัติเหตุให้ได้ตามเป้าหมาย รวมถึง การยกระดับมาตรฐานโดยเฉพาะการมีระบบตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน และวางแผนให้มีการ แยกประเภทถนน หรือจัดการมาตรฐานถนน โดยมีพื้นที่น�ำร่อง เป็นต้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ยังไม่หน่วย งานใดศึกษาหรืออธิบายอัตราการตายว่ามีสาเหตุที่แท้จริงของกายภาพของพื้นถนนด้วยหรือไม่” นอกจากนี้ สวรส. ยังมีโครงการวิจัยมุ่งเป้า เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นประเด็นที่จะมา ช่วยอุดช่องโหว่ของระบบสุขภาพจากภาระโรคและการบาดเจ็บที่เกิดคนในคนไทย
ผอ.สวรส. กล่ า วว่ า ภาวะโรคเรื้ อรั งของคนไทยสู งขึ้ น โดยมีส าเหตุก ารเสียชีวิตอัน ดับ ต้น ๆ • ภาควิ ช ากุ ม ารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ ศ าสตร์ ในช่วงวัยกลางคน อาทิ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ อุบัติเหตุ ซึมเศร้า ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตในวัยสูงอายุ ม.สงขลานครินทร์ มองว่ า ภาระโรคในเด็ ก เป็ น เรื่ อ ง พบภาวะสมองขาดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด เบาหวาน เป็นต้น ไม่เล็กแต่ลดได้ ที่ผ่านมาการสูญเสียสุขภาวะของกลุ่ม “ที่ผ่านมาประเทศไทยมีองค์ความรู้ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพมากมาย ที่จะสามารถ เด็กอายุ 0-14 ปี มีสาเหตุตั้งแต่การฝากครรภ์ การดูแล น�ำมาขับเคลื่อนให้เกิดความรู้ เพื่อสุขภาพดีและชีวิตที่ยืนยาวของคนไทยได้ เช่น การรณรงค์ เด็กพัฒนาการเด็ก ภาวะโภชนาการ การเจ็บป่วยพิการ ของ สสส. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น ส�ำหรับงานวิจยั มุง่ เป้าโรคไม่ตดิ ต่อเรือ้ รัง การบาดเจ็บ ข้อเสนอแนะในในการลดภาระโรคในเด็กที่ จะเป็นงานวิจยั ทีม่ เี ป้าหมายในการสร้างองค์ความรูท้ จี่ ะมาลดช่องว่างของปัญหาสุขภาพทีจ่ ะ ต้องครอบคลุมไปถึงการแพทย์และระบบบริการรวมถึง ต้องเริ่มท�ำตามยุทธศาสตร์ในปี 2557 – 2561” สังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การมีสุขภาพดี ศ.นพ.สมเกียรติ แนะน�ำว่า ควรจะต้องเริ่มจากตนเองก่อนด้วย ถ้าคนไทยมีสขุ ภาพดี เจ็บป่วยก็จะลดน้อยลง ระบบบริการต่างๆ ก็ไม่ตอ้ งรับภาระจนเกิดปัญหาคนไข้ลน้ • ศู น ย์ วิ จั ย ปั ญ หาสุ ร า ส� ำ นั ก งานพั ฒ นานโยบาย โรงพยาบาล ซึง่ เป็นภาพทีป่ ระเทศไทยควรลดปัญหาแบบนีข้ นานกันไปด้วย เพราะการเจ็บป่วยน�ำปัญหา สุขภาพระหว่างประเทศ ระบุว่า ภาระโรคจากอุบัติเหตุ ตามมาคือ การบริการที่ไม่ทั่วถึง รอคิวนาน ยาไม่เพียงพอ ซึ่งจะกลายเป็นห่วงโซ่ของปัญหา คนไทยจึง และการบาดเจ็บที่เกิดจากแอลกอฮอล์ มีต้นตอเกิดจาก ต้องมีวินัยด้านสุขภาพในการดูแลตนเอง การเมาสุราถึง ร้อยละ 21 ดังนั้นควรมีมาตรการการ เพราะภาระโรคจะ “ลด” หรือจะ “เพิ่ม” ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการป้องกัน คือ คนที่ไม่ ป้องกันแก้ไข ในประเด็น ภาษี ราคา การจ�ำกัดการเข้าถึง ป่วยหรือมีโรคควรป้องกันไม่ให้เกิดโรค หรือเมื่อป่วยมีโรคภัยก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ ของกลุม่ อายุ เวลาสถานที่ รวมถึงการโฆษณา และมาตรการ แทรกซ้อน นี่คือการปฏิวัติระบบสุขภาพที่สมดุลและยั่งยืนอีกทางหนึ่ง ด้านกฎหมายที่จะช่วยลดปริมาณการดื่ม และการเข้าถึง การดื่มสุราของนักดื่มหน้าใหม่ในอนาคตต่อไป ข้อมูลจากเวทีสัมมนาภาระโรคประชากรไทย กับก้าวใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพ จัดโดยส�ำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
06
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
นวัตกรรม บนโลกสุขภาพ 4
RE 4 PI.201 EX.09
ฉลากยา
บ่งบอกการหมดอายุ
ห
ากคุณเคยลองหยิบบรรจุภัณฑ์ยาเพื่อดูวันหมดอายุ เชื่อเลยว่าบรรจุภัณฑ์ยาจ�ำนวนไม่น้อย คุณจะต้อง พลิกหมุนกลับไปกลับมาเพื่ออ่านฉลาก นั่นเพราะ อักษรที่พิมพ์มีขนาดเล็ก บางฉลากก็เลือนรางจางอ่อนจนไม่รู้วัน เดือนปี และหากเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่ยาแบบฟอยล์ แค่ยับนิดหน่อย ก็ดูยากแล้ว ยิ่งคนสูงวัยที่จ�ำเป็นต้องทานยาอยู่เป็นประจ�ำหรือมี ปัญหาทางสายตาก็ต้องใส่ใจดูกันดีๆ แล้วจะเป็นไปได้ไหมถ้าจะมีฉลากที่ท�ำออกมาให้ดูง่ายๆ... คอลัมน์ “นวัตกรรมบนโลกสุขภาพ” HSRI FORUM ฉบับนี้ มีข้อมูลดีๆ เรียบเรียงมาจาก www.digitaltrends.com มาอัพเดท กันเพื่อไม่ให้ตกกระแส เมื่อคุณเก๊าทัม โกล (Gautam Goel) นักชีวการแพทย์ กับคุณคานุปริย่า โกล (Kanupriya Goel) สองสามีภรรยาชาวอินเดียที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ ลงมือวิจัยคิดค้นจนเกิดเป็น “ฉลากยาแบบระบุได้ว่านี่คือยาอะไร
แค่นี้เพียงเห็นสัญลักษณ์ปรากฏบนฉลากเมื่อใกล้หมดอายุของ ยา ก็ไม่น่าหยิบจับแล้ว ถือเป็นการเตือนกันแบบแรงๆ เพราะยาที่ หมดอายุแล้วบางชนิดอาจมีอันตรายต่อระบบภายในร่างกาย หรือ อาจถึงแก่ชีวิตได้เลย ส�ำหรับผลงานชิ้นนี้ของสองสามีภรรยาจดสิทธิบัตรการคิดค้น เรียบร้อยแล้ว และก�ำลังขออนุญาตต่อองค์การอาหารและยา และ ขอมาตรฐานต่างๆ จากหน่วยงานในสหภาพยุโรป เพื่อเตรียมให้ องค์กรต่างๆ ในได้ใช้กันเร็วๆนี้ เรียกว่าเป็นการ “ปฏิวัติในแวดวง สาธารณสุขโลก” และอนาคตอาจพัฒนาไปใช้กบั บรรจุภณ ั ฑ์ประเภท อื่นๆ ในชีวิตประจ�ำวันได้อีกด้วย
และเตือนผูห ้ ยิบได้ทน ั ทีหากเห็นสัญลักษณ์ทบ ี่ ง ่ บอกการหมด อายุ”
ตัวฉลากท�ำจากฟิล์ม, โพลิเมอร์ และสีแบบพิเศษ ที่ท�ำให้เมื่อ ถึงวันหมดอายุ ฉลากจะเปลี่ยนไปชัดเจนมาก โดยมีอักษรสีเข้ม แสดงออกมาว่ายาหมดอายุ รวมถึงการปรากฏตัวกากบาทสีเข้ม เพือ่ แสดงว่า “ห้ามทาน” !!
ฉลากก่อนหมดอายุ
ฉลากแสดงการหมดอายุ ห้ามรับประทาน
07
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
วิ จ ั ย เปลี่ยนชีวิต
ค่ายอาสา
“หลักสูตร” นอกต�ำรา บ่มเพาะหมอชนบท การออกค่ายอาสาของนักศึกษาแพทย์ รพ.มหาราชนครราชสีมา ถือเป็นกิจกรรมในโครงการ “ผลิตแพทย์เพิม ่ เพือ ่ ชาวชนบท”
(Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctors: CPIRD) ที่ไม่ได้คาดหวังเพียงต้องการ “เพิ่มปริมาณ
แพทย์” เข้าสู่ระบบสาธารณสุขเท่านั้น แต่ “คุณภาพและคุณธรรม” ของการเป็น “หมอรักษาคน” มากกว่าเป็น “หมอรักษา โรค” คือ ผลผลิตทีอ ่ าจารย์ผส ู้ อนให้ความส�ำคัญ ทีแ่ ห่งนีจ ้ ง ึ เป็นหนึง ่ ในต้นแบบของกิจกรรมการปลูกฝังอุดมการณ์ความเป็น หมอให้ฝังลึก
เ
ป็นระยะเวลากว่า 4 ชั่วโมง รถบัสคณะศึกษาดูงานได้น�ำ “อาคันตุกะ” จากต่างแดนเดินทางจากพัทยาสถานที่การ จั ด งาน ประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2557 มาถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล (รพ.สต.) ด่านเกวียน อ�ำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 1 ใน 6 ไซต์งาน ซึง่ ได้รบั คัดเลือก เป็นสถานที่ศึกษาดูงานประจ�ำปีนี้ภายใต้แนวคิด “การเรียนรู้เพื่อ ปรับกระบวนทัศน์ สู่ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ” โดยมีสถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข หรือ สวรส. รับหน้าเสื่อในการจัดทริป... วันที่ 28 มกราคม 2557 วันจัดกิจกรรม “ค่ายอาสาสร้างเสริม ประสบการณ์นักศึกษาแพทย์ ครั้งที่ 58” โดยน้องๆ นักศึกษา แพทย์จาก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กว่า 120 ชีวิต มาร่วมกันท�ำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ที่ รพ.สต.ด่านเกวียน จากภาพแรกที่ ไ ด้ สั ม ผั ส นั้ น นั ก ศึ ก ษาแพทย์ ป ี 4-6 ต่ า งก� ำ ลั ง “ร่วมแรง – ร่วมใจ” ตามฐานต่างๆที่จัดขึ้น เช่น ตรวจเด็ก ตรวจ ตา ตรวจคัดกรองโรคทางสูตินารีเวช ตรวจโรคทั่วไป ให้ค�ำปรึกษา และจ่ายยาที่จ�ำเป็น รวมถึงท�ำกิจกรรมนันทนาการกับชาวบ้าน กว่า 200 คนจาก 15 ชุมชนในพื้นที่ที่เข้ามารับบริการ กิจกรรมนี้ ยังถือเป็นการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาแพทย์ เพื่อก้าวสู่การ เป็นแพทย์ในระบบบริการสาธารณสุขและช่วยเติมเต็มช่องว่างการ ขาดแคลนหมอชนบทที่เรื้อรังมานาน...
08
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
วิกฤตสมองไหล สู่เส้นทางสร้างหมอชนบท จากรายงานการศึกษาปี 2554 เรื่อง “ก�ำลังคนด้านสุขภาพ ที่เป็นมา เป็นอยู่ และจะเป็นไป” ของส�ำนักงานวิจัยและพัฒนาก�ำลังคนด้านสุขภาพ โดยการสนับสนุนจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ส�ำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพ ระหว่ า งประเทศ (IHPP) สะท้ อ นแง่ มุ ม ของปั ญ หาว่ า ช่ ว งหนึ่ ง ของแผนพั ฒ นาสุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ 6-7 (พ.ศ.2529-2538) เศรษฐกิ จ ประเทศเติ บ โตจนท� ำ ให้ โ รงพยาบาลเอกชนในเมื อ ง ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ท�ำให้ตลาดงานมีความต้องการก�ำลังคนด้านสุขภาพ ภาวะสมองไหลของบุคลากร ภาครัฐไปเอกชนจึงเกิดขึ้น ปี 2537 กระทรวงสาธารณสุข เข้าเกียร์เดินหน้าโครงการ “ผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะแพทย์มหาวิทยาลัยต่างๆ มีมุ่งเป้าเพิ่มแพทย์สู่ชนบทปีละ 300 คน ในเวลา 10 ปี ความส�ำเร็จของโครงการท�ำให้ผลิตแพทย์เพิม่ ได้ถงึ 2,982 คน จากนัน้ รัฐจึงขยายโครงการ ออกไปอีก 10 ปี (พ.ศ.2547-2556) แม้จะสามารถป้อนแพทย์เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของประเทศได้มากขึ้น ประเด็นที่น่ากังวล ตามมา คือ การมุ่งเน้นของการเพิ่มปริมาณแพทย์สู่ชนบทก็จะได้แต่ “ผลผลิต” แต่ไม่ได้ “หมอ” !! “การที่จะได้แพทย์มาอยู่ท้องถิ่น คิดว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะการผลิตวิชาชีพแพทย์เป็นเรื่อง ลึกซึ้ง ไม่เหมือนการผลิตสินค้า แม้ว่าเราจะได้ปริมาณแพทย์จบใหม่เพิ่มขึ้น จะมั่นใจได้อย่างไรว่า เราได้หมออย่างที่สังคมต้องการ” นี่เป็นมุมมองของ นพ.สรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์ รองผู้อ�ำนวยการ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษา งานพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน รพ.มหาราชนครราชสีมา
พัฒนาหลักสูตร ฟื้นจุดแข็ง “นักศึกษาแพทย์”
คุณหมอสรรัตน์ เล่าว่า จากการประเมินบัณฑิตแพทย์ในโครงการฯ ที่จบมาในรุ่นแรกๆ ของ รพ.มหาราชนครราชสีมา ประเมินได้ว่า เราติดอาวุธให้เด็กน้อยไป เพราะขณะนั้นเราพยายามทุ่มเท การเรียนการสอนตามแบบโรงเรียนแพทย์ในเมืองหลวง ทั้งที่บริบทแตกต่างกันมาก ส่วนตัวรู้สึกว่า เราอาจจะได้แต่ “นักสอบวิชาชีพแพทย์” โดยไม่ได้แพทย์จริงๆ เด็กที่ต้องไปเรียน 3 ปีแรก ใน กทม. จิตใจย�่ำแย่จากผลการสอบที่อยู่ในเกณฑ์ต�่ำ สูญเสียความมั่นใจ บางคนสอบตก เพราะเด็กในพืน้ ทีส่ ว่ นหนึง่ มีปญ ั หาในเรือ่ งของพืน้ ฐานการเรียน ทักษะทีต่ า่ งกับเด็กในเมืองอยูบ่ า้ ง ส่วน หนึ่งเพราะสังคมการศึกษาแพทย์วัดผลความรู้จากการสอบล้วนๆ แต่ไม่ได้วัดว่าเด็กคนนี้มีความตั้งใจ มีเจตคติต้องการอยู่ชนบทแค่ไหน กลายเป็นว่าไปลบจุดแข็งของเด็ก เช่น ความสามารถในการพูดภาษา พื้นบ้านได้ เข้าใจบริบทพื้นที่ มีจิตใจรักษ์ท้องถิ่น มีจริยธรรม ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นทุนที่จ�ำเป็น เพราะเด็ก จบมาก็พร้อมใช้งานได้เลย แม้เด็กจะถูกบั่นทอนมาจากการเรียนใน กทม. คุณหมอสรรัตน์ ก็ยังเชื่อว่า เมื่อเด็กกลับมาเรียนต่อ ปี 4-6 ที่ท้องถิ่นหรือกลับมาอยู่โรงพยาบาลกับเรา เค้าจะสามารถฟื้นฟูสภาพจิตใจของความเป็นหมอ ได้อีกครั้ง ดังนั้น เมื่อ รพ.มหาราชนครราชสีมา ต้องเดินหน้าโครงการดังกล่าวจากการมอบหมายของ กสธ. เมื่อ 17 ปีก่อน ศูนย์แพทยศาสตร์แห่งนี้ ตระหนักถึงจุดแข็งจุดอ่อนตัวเอง จึงได้พยายามพัฒนาหลักสูตร จัดกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาเทคนิคให้สอดคล้องกับบริบท โดย “การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อ เนื่อง (Continuous Quality Improvement: CQI)
หลักสูตรนอก รพ. “เสริมหัวใจ...สายพันธุ์หมอ”
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาจึงมีการพัฒนากิจกรรมในชื่อ “ค่าย สร้างเสริมประสบการณ์นักศึกษาแพทย์” กิ จ กรรมนี้ เ กิ ด ขึ้ น มาในช่วง 10 กว่าปีที่แล้ว หากนึกย้อนกลับไปค่ายอาสาก�ำลังเป็น เทรนด์ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในยุคนั้น มีการออกค่ายไปรณรงค์ การสร้าง วัตถุ อาคาร เช่นท�ำห้องสมุดในโรงเรียน แต่ช่วงแรกๆ สามารถจัดได้เพียงปีละครั้ง และนักศึกษาไปร่วมกิจกรรมไม่ได้ทุก คน ท�ำให้คดิ ว่าไม่กอ่ ให้เกิดประโยชน์มากนัก เพราะในเมือ่ นักศึกษา แพทย์และอาจารย์แพทย์มาเยือนถึงถิ่น ชาวบ้านก็คาดหวังจะมา ขอรับบริการปรึกษาด้านสุขภาพ เราเห็นแววตาและความตั้งใจของ นักศึกษาแพทย์ในการให้บริการปรึกษาสุขภาพแก่ชาวบ้าน ท�ำให้ ได้ความคิดว่าน่าจะมีกิจกรรมที่เอื้อให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพชาวบ้านอย่างสม�่ำเสมอทั้งปี และนักศึกษา สามารถเข้าร่วมได้มาก ต่อมาจึงได้พัฒนาค่ายอาสามาจัดแบบค่ายสร้างเสริมสุขภาพ ภายใน 1 วัน ทุก 2 เดือน ที่มีทั้งการรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงการเกิด โรค การตรวจคัดกรองโรคตา โรคทางสูตินารีเวช ให้ค�ำปรึกษา การ ตรวจทั่วไป พัฒนาการเด็กตลอดจนการลงเยี่ยมคนไข้ในชุมชนเพื่อ ศึกษาคนไข้อย่างเป็นองค์รวม ไม่ละเลยมิติทางสังคม ขณะเดียวกัน ยังเป็นโอกาสทีร่ นุ่ พีจ่ ะได้สอนรุน่ น้อง เป็นการเรียนรูร้ ว่ มกันระหว่าง ศิษย์กับอาจารย์ในบรรยากาศผ่อนคลาย จากการประเมิน กิจกรรม ดังกล่าวช่วยท�ำให้เกิดการพัฒนาทักษะการท�ำงานเป็นทีม เพราะ นักศึกษาแพทย์ต้องท�ำงานกับทีมสุขภาพ ทั้งพยาบาล อาสาสมัคร สาธารณสุข (อสม.) ผู้น�ำชุมชน อบต. เป็นต้น “กิจกรรมจากการออกค่ายทั้งหมดนี้ จะเป็นการกล่อมเกลา และหล่ อ หลอมให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงความคิ ด ภายในตั ว เด็ ก การเรียนรู้ในที่นี้จะช่วยสร้างสปริต พัฒนาจิตอาสา มีอิสระทาง ความคิด ไม่มกี ารประเมินจากอาจารย์ แต่เน้นให้เด็กประเมินตนเอง จากการท�ำงาน เป็นการฝึกฝนให้นักศึกษาแพทย์มีหัวใจของความ เป็นหมอมากขึ้น...” คุณหมอสรรัตน์ สะท้อนความรู้สึกออกมาด้วยว่า ทุกครั้งใน การออกค่ายตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ผมเห็นแววตาของเด็กใน
การลงพื้นที่ตรวจรักษาคนไข้แล้ว มันเป็นประกายของความ กระตือรือร้นของคนเป็นหมอให้จ�ำติดใจมาจนบัดนี้
09
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
บ่มเพาะกล้า “เข้าถึง – เข้าใจ” ผูป ้ ว ่ ย จากนั้นคณะท�ำงาน พร้อมกลุ่มน้องนักศึกษาแพทย์ ได้ชวน ผู้ร่วมศึกษาดูงานลงพื้นที่ชุมชนในการติดตามอาการคนไข้ของ สิรกาญจน์ โจวเจริญ หรือ เตย นักศึกษาแพทย์ปี 5 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.มหาราชนครราชสีมา ซึ่งเป็นชาวโคราช หนึ่งในต้นกล้าของโครงการการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท การได้มาตรวจคนไข้ถึงบ้านมีความแตกต่างจากการตรวจใน โรงพยาบาล ทีอ่ ยูแ่ ต่ในห้องสีเ่ หลีย่ ม แต่การออกตรวจท�ำให้เราเห็น มิตทิ างสิง่ แวดล้อมของคนไข้ ได้เห็นบริบทจริง เพราะปกติคนไข้จะ มาหาหมอ...แต่ครานี้...หมอมาหาคนไข้ นศพ.สิรกาญจน์ กล่าวว่า การลงพื้นที่เรามีเวลาให้กับคนไข้ มากขึ้น ได้ฝึกตรวจแบบ OPD case ตัวอย่างคนไข้มีปัญหาการ ปวดหลังและเอว ซึ่งมีผลต่อการประกอบอาชีพ เมื่อได้มาพูดคุย ซักประวัติ ตรวจร่างกายถึงบ้านท�ำให้ทราบถึงต้นเหตุของปัญหาได้ มากขึ้น เพราะสอบถามอย่างละเอียดถึงท่านั่ง ท่าท�ำงาน ท่านอน รวมไปถึงท่าการออกก�ำลังกายที่นักกายภาพเคยแนะน�ำไปแล้วว่า ท�ำถูกต้องหรือไม่ คิดว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดี เพราะมีอาจารย์และ แพทย์รุ่นพี่คอยแนะน�ำใกล้ชิด เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ท่ามกลาง การปฏิบัติงานทางคลินิกในชุมชน แม้การลงมาเยี่ยมเยือนคนไข้ถึงบ้านจะไม่มีอุปกรณ์การตรวจ รักษาที่แพงๆ ทันสมัยติดไม้ติดมือมา แต่การที่ได้พบผู้ป่วย พูดคุย ซักประวัติ ตรวจร่างกาย เห็นบ้านและสภาพแวดล้อม เสมือนมี “ยาใจ” ที่มีผลต่อการรักษาผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ความกังวลในการ เล่าอาการก็จะลดลง แน่นอนว่าประสบการณ์ครั้งนี้มีความต่างจาก ห้องตรวจที่บางครั้งแพทย์ “เพียงแค่ถามอาการแล้วก็สั่งจ่ายยา” นักศึกษาแพทย์ตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่เตรียมจะก้าวเท้าออกจาก บ้านหลังนี้ในอีกไม่นาน เปรยออกมาว่า “กิจกรรมนี้ช่วยเพิ่มแรง บันดาลใจของการเป็นแพทย์ที่ไม่มีในหลักสูตรการเรียน ยิ่งได้เห็น อาจารย์หมอและรุ่นพี่ที่มีความช�ำนาญแนะน�ำก็ท�ำให้เราอยาก พัฒนาตนเองให้เหมือนทุกคน และท�ำให้รู้ว่าการใส่ใจคนไข้เป็น สิ่งส�ำคัญ” นี่คือกิจกรรมที่ค่อยๆ ซึมซับจิตวิญญาณของความเป็นหมอ ให้กับนักศึกษาแพทย์ทุกคนที่อาสามาร่วมกิจกรรม เมื่อจบมาแล้ว พร้อมที่จะท�ำงานในบ้านเกิดของตนเอง
10
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
รุ่นพี่ตัวอย่าง จาก นศพ. ก้าวสู่ หมอชนบท นพ.ศุภชัย ครบตระกูลชัย หรือ หมอบอย ผู้เคยร่วมค่ายอาสาของ รพ.มหาราชนครราชสีมา ปัจจุบันเป็นแพทย์ใช้ทุนอยู่ที่ รพ.นาแห้ว จ.เลย สะท้อนความรู้สึกผ่าน www.gotoknow.org ใน เรื่องค่ายแห่งการเรียนรู้สู่ความเป็นแพทย์ที่มั่นใจว่า ประโยชน์ของการออกค่ายฯ เป็นการฝึกเพื่อ ก้าวสู่ “การเป็นแพทย์ที่แท้จริง” (Humanized Medicine) การออกตรวจแบบนี้เพิ่มความสัมพันธ์ ของ อาจารย์-ศิษย์ รุ่นพี่-น้อง สร้างระบบความเป็นแพทย์ที่เหนียวแน่นในระยะยาว ด้วย concept ว่า “พวกเรา (อาจารย์-ศิษย์) มาร่วมกันอาสาท�ำความดีเถอะ” กระตุ้นให้เกิดจิตอาสา...ใจที่พร้อมจะให้ นอกจากนี้ การออกตรวจจะกระตุ้นต่อมอยากรู้ของนักศึกษาแพทย์ทุกๆคน ให้เกิดการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เพราะที่นี่คือ สนามทดสอบจริงที่สนุก “เมื่อทุกคนมีความอยาก มีใจน�ำแล้ว อาจารย์อยากสอน เด็กก็อยากรู้ร่วมกันย่อมมีผลต่อการ เรียนรู้อย่างถึงที่สุด” ในระหว่างการดูงานนั้น หลังจากมีการตรวจคนไข้แล้ว ทางอาจารย์แพทย์ นักศึกษาแพทย์ รุ่นพี่ รุ่นน้องก็มานั่งจับกลุ่มท�ำกิจกรรมที่เรียกว่า After Action Review (AAR) คือ การทบทวนหลังปฏิบัติ งาน เพื่อร่วมกันถอดบทเรียนที่ทุกคนจะได้สรุปสิ่งที่ได้มาแลกเปลี่ยนมุมมองกับเพื่อน ซึ่งอาจารย์ย�้ำ ว่าการเสนอมุมมองจะไม่มีผิดและไม่มีถูก เพื่อทุกคนมีอิสระในการถ่ายทอดความคิด ระบบนี้ช่วยพัฒนาระบบการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาแพทย์น�ำไปปฏิบัติจริงได้ มากขึ้น
กิจกรรมค่ายอาสาของนักศึกษาแพทย์ ตามแนวทาง “รพ.มหาราชนครราชสีมา” ทีจ ่ ด ั มานาน
ต่อเนือ ่ งถึง 58 ครัง ้ นัน ้ เป็นตัวอย่างของ Best Practice เล็กๆ ตามแนวทางของการจัดการเรียนรู้
ส�ำหรับนักศึกษาแพทย์ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ทักษะนอกต�ำราที่มีผลด้านการเปลี่ยนแปลงในจิตใจ และพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาแพทย์ที่พร้อมท�ำงานเพื่อชนบทจริงๆ
สอดรับกับข้อเสนอของการศึกษาวิจย ั เรือ ่ ง “ก�ำลังคนด้านสุขภาพ ทีเ่ ป็นมา เป็นอยู่ และจะเป็น
ไป” ระบุว่า โรงเรียนแพทย์ทุกแห่งควรมีการปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรศึกษาของตนเองเป็น ระยะๆ เพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาให้บัณฑิตแพทย์พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อเกิดผลด้าน “คุณภาพและคุณธรรม” สามารถรับใช้ประเทศชาติได้ตรงตามความต้องการของสังคม
เปิ ด ห้องรับแขก
เมื่อผีเสื้อขยับปีก
ในมุม นพ.สรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์
ห
ากเปรียบปรากฏการณ์ “ผีเสือ ้ ขยับปีก” หนึง ่ ครัง ้ อาจมีผล ท� ำ ให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงเกิ ด ขึ้ น โดยไม่ รู ้ ตั ว และหากมี “ผีเสือ ้ ขยับปีก” หลายๆ ตัว ก็อาจจะน�ำไปสูก ่ ารเปลีย ่ นแปลง เป็นพายุก็ได้
นายแพทย์สรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์ แขกรับเชิญ HSRI FORUM ฉบับ
นี้ เสมือน “ผีเสื้อ” อีกตัวหนึ่งที่ก�ำลังขยับปีก และมีส่วนส�ำคัญของการ ช่ ว ยแก้ ไ ขปั ญ หาก� ำ ลั ง คนในระบบสุ ข ภาพ เมื่ อ โรงพยาบาลมหาราช
นครราชสีมา เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวง สาธารณสุข เดินหน้าโครงการผลิตแพทย์เพิม ่ เพือ ่ ชาวชนบท ผ่านมากว่า
17 ปี ผีเสื้อตัวนี้ขยับปีกโครงการฯ ให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงอย่างไร บ้าง มาร่วมรับฟังไปพร้อมๆ กัน
1
ช่วยเล่าการเริ่มต้นโครงการฯ ของโรงพยาบาล
เป็นโครงการที่ดี ที่โรงพยาบาลจะได้มีโอกาสคัดเด็กที่มีหัวใจพร้อมก้าวสู่การ เป็นหมอของแผ่นดิน เราได้เด็กที่เติบโตจากท้องถิ่น พูดภาษาถิ่นได้ เข้าใจบริบทของ พื้นที่ แต่เด็กที่ผ่านการคัดเลือกจากเราก็จะมีข้อเสียเปรียบคือ ช่วงไปเรียน 3 ปีแรก ในคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ส่วนใหญ่ก็จะพบปัญหาการเรียน จากเด็กที่เคยได้ เกรดสูงๆในอ�ำเภอ พอไปอยู่ กทม. ได้เกรดต�่ำ เพราะไปอยู่ท่ามกลางเด็กเก่งๆ กับ หลักสูตรที่เข้มข้นระดับโลก ถือว่าเป็นการเริ่มต้นแบบ “หัวมังกุ ท้ายมังกร” จึงสอบ ตกกันเยอะ ผลการเรียนไม่ดี เด็กจึงเกิดการสูญเสียความเป็นตัวตน เสียความมั่นใจ เพราะสังคมการศึกษาแพทย์วัดผลจากผลสอบ ไม่ได้มาวัดว่าเด็กคนนี้มีความตั้งใจ มีเจตคติต้องการอยู่ชนบทแค่ไหน แต่เน้นการวัดความรู้ล้วนๆ
2
ขณะนั้นมีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร
หลักสูตรที่เราก้มหน้าก้มตาสอนกันไปนั้น เป็นหลักสูตรที่สร้างมาแบบตะวันตก บางอย่างก็ไม่เอื้อกับบริบทของบ้านเรา เพื่อแก้ไขจุดอ่อนดังกล่าว จึงเสริมทักษะให้ กับนักศึกษาแพทย์ทุกชั้นปีในช่วงก่อนเปิดเทอม เช่น นักศึกษาแพทย์ปี 1 และ 2 จะ เสริมทักษะการเรียนรู้และใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย นศพ.ปี 3 เน้นการเข้าค่ายธรรมะ ฝึกสมาธิเบื้องต้น เพราะการมีสมาธิ มีสติ รู้จักการมีความสุขกับตัวเอง เหล่านี้จะเป็น เครื่องมือพื้นฐานที่ดีไว้ส�ำหรับการเรียนที่หนักขึ้น ส�ำหรับปี 4-6 มีกิจกรรมที่จัดเสริม ทุก 2 เดือน คือ การออกค่ายสร้างเสริมประสบการณ์นักศึกษาแพทย์ ในการออก ชุมชน ดูคนทั้งคน ดูมิติสังคม เพื่อช่วยให้นักศึกษาพร้อมเป็นหมอชนบท เป็นหมอ ของแผ่นดิน ควรค่าตามเจตนารมณ์ที่รัฐคาดหวังไว้ (อ่านในคอลัมน์วจิ ยั เปลีย่ นชีวติ )
3
ผลลัพธ์การด�ำเนินงานถึงปัจจุบน ั และมองอนาคต
ปัจจุบันอาจารย์แพทย์หลายแผนกของโรงพยาบาลได้เปลี่ยนแนวทางการสอน โดยพัฒนาแนวทางมาเน้นให้นักศึกษาแพทย์เรียนรู้ในชุมชนมากขึ้น อย่างน้อยก็ 1 วันในชุมชน แทนที่จะนั่งรอผู้ป่วยในโรงพยาบาลหรือรอให้คนไข้มาหา ซึ่งออก ตรวจคนไข้ในบริบทของชุมชน นักศึกษาจะเห็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ท�ำงานปฐมภูมิ ได้เรียนรู้ว่าการเชื่อมโยงการท�ำงานกับ รพ.ชุมชน รพ.สต. รวมถึง ผู้น�ำชุมชน อสม. เราหวังว่าในอนาคตจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนที่ไม่ได้อยู่แค่ต�ำรา ในวิชาชีพแพทย์ที่เรียนอยู่ทุกวัน น่าจะมีเรื่องแบบนี้ เสมือนเป็นการฝึกสมองซีกขวา ทีใ่ ช้ในการสร้างสรรค์ และควรขยายผลท�ำร่วมกับวิชาชีพอืน่ ๆ เช่น พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ นักกายภาพ ฯลฯ โดยไม่ต้องไปปรับหลักสูตรหรือไปสร้างกฎกติกาขึ้น มาใหม่ วิธีนี้คือ การกล่อมเกลาทางสังคม ทีละเล็กละน้อย ให้เกิดค่านิยมว่า เราคือ บุคลากรด้านสาธารณสุข เมื่อประชาชนในประเทศก�ำลังทุกข์ยากต้องร่วมกันแก้ไข ปัญหา
4
อัตราความคงอยู่ชนบท
ของแพทย์จบใหม่เป็นอย่างไร
จากการเก็บข้อมูลในช่วงทีผ่ า่ นมา นักศึกษาแพทย์จาก รพ.มหาราชนครราชสีมา ประมาณ 95-100% ท�ำงานอยู่ในพื้นที่ครบ 3 ปี เมื่อเทียบกับภาพรวมทั้งประเทศก็ นับว่าสูง เป็นเพราะแพทย์ชนบทในปัจจุบันอยู่ยาก ระบบระเบียบใหม่ๆ ที่มีเงื่อนไข มากกว่ายุคก่อนๆ ท�ำให้แพทย์ที่อยู่ชนบทไม่มีความสุข บางคนต้องทนอยู่ รอวันไป เรียนต่อเป็นแพทย์ผเู้ ชีย่ วชาญเฉพาะทาง ปัจจัยทีท่ ำ� ให้นกั ศึกษาแพทย์คงอยู่ เกิดจาก อุดมการณ์ การปลูกฝังให้เด็กรักสถาบัน รักท้องถิ่น ท�ำอย่างไรให้รู้สึกว่านี่คือบ้านเรา และสามารถท�ำงานใช้ทนุ ครบในชนบท คือ เพิม่ พูนทักษะ 1 ปี และใช้ทนุ ใน รพช. 2 ปี ซึ่ง 3 ปีที่ท�ำงานให้กับชนบทผมมองว่าคุ้มค่าแล้ว พอครบ 3 ปี 70-80% ไปเรียนต่อ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยรับทุนจากโรงพยาบาลในพื้นที่ เพื่อกลับมาเป็น หมอผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น ผมคิดว่าถ้าเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะเป็นการแก้ปัญหาการ ขาดแคลนแพทย์ชนบท
5
ความรู้สึกหรือมุมมองที่อยากจะฝากให้กับสังคม
เราเป็นผีเสื้อตัวเล็กๆ ก็ค่อยๆ ขยับปีกกันไป แต่ถ้าช่วยกันขยับปีกหลายๆตัว อาจจะเกิดพายุก็ได้นะ
11
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
แกะ กล่องงานวิจัย
ทบทวนการแพทย์ฉุกเฉินไทย มองวิวัฒนาการจาก “อดีต” สู่ “อนาคต”
การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นสาเหตุในการเสียชีวต ิ เป็น อันดับหนึ่งในเกือบทุกประเทศทั่วโลก เพราะการ เจ็บป่วยฉุกเฉินเกิดได้จากโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิด ตั้ ง แต่ ก ารเจ็ บ ป่ ว ยฉุ ก เฉิ น ด้ ว ยโรคต่ า งๆ เช่ น โรคหั ว ใจ หลอดเลื อ ดสมอง รวมทั้ ง การบาด เจ็ บ จากอุ บั ติ เ หตุ ภั ย พิ บั ติ การได้ รั บ สารพิ ษ ข้ อ มู ล จากสถาบั น การแพทย์ ฉุ ก เฉิ น แห่ ง ชาติ (สพฉ.) ที่รวบรวมการใช้บริการห้องฉุกเฉินของ โรงพยาบาลต่ า งๆทั่ ว ประเทศ พบว่ า ปี ห นึ่ ง จะมี ก ารใช้ ห ้ อ งฉุ ก เฉิ น ประมาณ 12 ล้ า นครั้ ง ในจ� ำ นวนนี้ มี ผู ้ เ จ็ บ ป่ ว ยฉุ ก เฉิ น เสี ย ชี วิ ต นอก โรงพยาบาลประมาณ 60,000 คน
ปั
จจุบันการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย ได้ด�ำเนินมานานกว่า 2 ทศวรรษ แล้ว โดยเฉพาะช่วงหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา นับเป็นจุดหักเหส�ำคัญของการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ครั้งส�ำคัญของประเทศ ซึ่งการก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงของระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ผ่านมากว่า 4-5 ปี นั้น พัฒนาไปในทิศทางใดนั้น รายงานการศึกษาโครงการวิจัย “การประเมินนโยบายว่าด้วย วิวัฒนาการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน” สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จะเป็นค�ำตอบ หนึ่งเพื่อทบทวนการพัฒนาและสะท้อนภาพเปลี่ยนแปลง โดยมี ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี และคณะเป็นผู้ศึกษาวิจัย ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล นักวิจัย กล่าวว่า หลักคิดของการท�ำงานโครงการวิจัยครั้งนี้ เพื่อการรับรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน เพื่อก�ำหนดอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานโยบาย และแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้วยการศึกษาอาศัยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็น ระบบ การส�ำรวจประสบการณ์ผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินของเครือข่ายโรงพยาบาล หรือ รพ.ตติยภูมิเดี่ยว การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในส่วนการบริหาร การระดมความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านระบบการแพทย์ ฉุกเฉิน วิธีการคาดการณ์ผลลัพธ์โดยวิธีการออกความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Delphi) และการวิเคราะห์ ข้อมูลในระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บและระบบบริการกู้ชีพ แล้วน�ำเสนอเป็นบทสังเคราะห์ คณะวิจัย ได้แบ่งช่วงการท�ำงานของระบบการแพทย์ฉุกเฉินออกเป็น 4 ยุค คือ
1. ยุคบุกเบิกก่อนปี พ.ศ.2537 เป็นบริการน�ำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลด้วยอาสาสมัครมูลนิธิ ต่างๆ เช่น มูลนิธิปอเต็กตึ้ง จิตอาสาในการกู้ชีพผู้บาดเจ็บ ให้การดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล ต่อมาภาครัฐได้จัดหน่วยบริการ “ศูนย์ส่งกลับโรงพยาบาลต�ำรวจ” “ศูนย์กู้ชีพนเรนทร” และ เริ่มมีศูนย์ตติยภูมิด้านอุบัติเหตุ หรือ Trauma Center ที่ จ.ขอนแก่น 2. ยุคต้นแบบ (พ.ศ.2537 – 2547) เน้นการพัฒนาเรือ ่ งการดูแลผูบ ้ าดเจ็บ/ป่วยฉุกเฉิน จากการ จัดตั้ง “Trauma Center” ที่ขอนแก่น นับเป็นต้นแบบระบบการแพทย์ฉุกเฉินของไทย และต่อมา ขยายผลไปทัว ่ ประเทศ และเพิม ่ หน่วยกูช ้ พ ี ในพืน ้ ที่ กทม. ทีเ่ ชือ ่ มการประสานงานกับศูนย์กช ู้ พ ี น เรนทร ขณะที่โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ได้จัดตั้งหน่วยกู้ชีพกว่า 90 แห่ง 3. ยุคขยายผล Trauma Care (พ.ศ.2548 – 2551) การให้บริการการแพทย์ฉก ุ เฉินทัง ้ ภายในและ ภายนอกโรงพยาบาล ได้ขยายบริการไปยังส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นอย่างก้าว กระโดด มีการบริการฉุกเฉินด้านอายุรกรรมบางกลุ่มโรคได้เริ่มขึ้น เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือด หัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ในเขตพื้นที่ กทม. และบางจังหวัดในเขตภูมิภาค 4. ยุคหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 ถึงปัจจุบัน...
12
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
ส�ำหรับศึกษาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการพัฒนาเชิงระบบ การแพทย์ฉุกเฉินช่วงหลังประกาศ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉินแห่ง ชาติ 2551 ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้น รายงานการวิจัยชี้ว่า ในยุคนี้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้จัดตั้งขึ้นรองรับการ พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินโดยเฉพาะ เพื่อหวังผลการพัฒนา ระบบแตกต่างจากอดีต ซึ่งหลังจัดตั้ง สพฉ. ได้เริ่มมีการผลักดัน ให้ อปท. มีบทบาทหลักเฉพาะบริการกู้ชีพ ซึ่งเป็นแนวทางเดิม ที่ทาง สปสช. ได้บุกเบิกไว้ องค์ประกอบต่างๆของระบบบริการ มีความชัดขึ้น เช่น ด้านก�ำลังคน มีหลักสูตรรองรับการผลิตและ ขึ้นทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ สพฉ. ด้านคุรุภัณฑ์และอุปกรณ์ให้ บริการ มีมาตรฐานก�ำกับ รวมถึงเงินอุดหนุนบริการและพัฒนา ระบบสนับสนุนที่มีการจัดสรร โดย สพฉ. แต่ผลของการพัฒนา 3 ประการนี้ ปรากฏเด่นชัดเชิงปริมาณ แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเชิง คุณภาพในภาพรวมของประเทศ และยังมีความเหลื่อมล�้ำอย่างเด่น ชัดระหว่างพื้นที่ โดยจากการน�ำเสนอรายงานการวิจัย ศ.นพ.ไพบูลย์ ได้เสนอ ข้อค้นพบจากการศึกษาและเสนอเชิงนโยบาย ที่คอลัมน์แกะกล่อง งานวิจัย หยิบยกบางประเด็นมาน�ำเสนอ อาทิ • การจัดบริการ จากหลักฐานชี้ให้เห็นว่า เกิดปรากฏการ ขยายตัวในเชิงปริมาณอย่างเด่นชัดของหน่วยกู้ชีพอย่าง รวดเร็วโดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2551 หลังจัดตั้ง สพฉ. โดย ปริมาณบริการกู้ชีพกระจุกตัวในภาคอีสานมากอย่างโดด เด่น ด้านหนึ่งบ่งชี้ขีดความสามารถในการปรับตัวของ หน่วยบริการในภาคอีสาน เพื่อใช้โอกาสทางนโยบายใน รูปของเงินอุดหนุนและพัฒนาการกระจายอ�ำนาจเป็น สิ่งที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ แต่ทั้งนี้ยังต้องการการกระจาย อ�ำนาจให้มากขึ้นเพื่อน�ำไปสู่การบริการอย่างไร้รอยต่อ (Seamless Care) ในการบริการในระบบการแพทย์ ฉุกเฉิน ตั้งแต่จุดเกิดเหตุในชุมชน การบริการน�ำส่งโรง พยาบาล การดูแลระหว่างการเคลื่อนย้าย จนถึงการ ดูแลในห้องฉุกเฉินศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง หรือหอ ผู้ป่วยหนัก (ICU) • ด้านก�ำลังคนบุคลากรต้องมีการกระจายอ�ำนาจมากขึ้น เพราะการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินในพื้นที่จะอยู่ได้ นานกว่าที่ส่วนกลางผลิตแล้วส่งไปให้ และมีระบบการ สอนงานแบบ On the Job Training เพื่อติดตามอย่าง ต่อเนื่อง นอกจากนี้ กรณีตัวอย่างที่พยาบาลเสียชีวิต เนือ่ งจากรถพยาบาลฉุกเฉินประสบอุบตั เิ หตุ อันเกีย่ วข้อง กั บ การใช้ ค วามเร็ ว สู ง สะท้ อ นขี ด จ� ำ กั ด ด้ า นคุ ณ ภาพ บุคลากรประจ�ำรถกู้ชีพของไทย • มาตรฐานของพาหนะในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีระบบ ประกันคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง ทั้งยังมี หน่วยงานที่สามเป็นผู้ตรวจรับรองมาตรฐานของระบบ การแพทย์ฉุกเฉิน สร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการ เช่น
คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ส่วนประเทศไทย มีการจัดท�ำมาตรฐานการบริการ ทั้งยานพาหนะ อุปกรณ์ ตลอดจนหลักสูตร แต่ยังไม่พบหลักฐานผลการ Audit ว่าระบบบริการฉุกเฉินได้รับ การรับรอง เช่น Accreditation ดังประเทศที่พัฒนาแล้ว • ระบบสารสนเทศ จะต้องเอือ้ ต่อการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศทีง่ า่ ยขึน้ จากทีผ่ า่ นมาพบตัวอย่าง ของเรื่องนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินเข้าถึงทุกที่ เป็นนโยบายที่เห็นได้ชัดเจนว่าเข้าถึงข้อมูลได้ ยาก ท�ำให้ประชาชนขาดความรู้และเข้าใจเพียงพอ • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พบว่าเกิดความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของก�ำลังคนและอุปกรณ์ ต่างๆที่ใช้ในแต่ละพื้นที่ ท�ำให้การต่อยอดและการตอบสนองต่อโอกาสที่จะลงไปยังพื้นที่ ไม่เหมือนกัน นักวิจัยเสนอให้ค�ำนึงถึงความพร้อมของแต่ละพื้นที่มากกว่าการใช้การสั่งการ เพราะจะได้ข้อมูลที่ไม่จริง เป็นต้น การพัฒนาระบบการการแพทย์ฉกุ เฉินไปในทิศทางใด จะต้องมองถึงกรอบความคิดแบบใหม่ๆ และ เปลี่ยนวิธีคิดในการท�ำงานแบบใหม่ พร้อมทั้งต้องมีการสร้างคนที่มีความรู้ การประสานงานและเทคนิค ซึ่งกุญแจที่จะท�ำให้การพัฒนาไปสู่ความส�ำเร็จ คือ ผู้น�ำในระบบนี้จะต้องมีภาวะผู้น�ำอย่างแท้จริงมี ธรรมาภิบาล สามารถดูแลบุคลากรในการท�ำงานได้อย่างมีความยืดหยุ่น ความเข้าใจ เป้าหมายชัดเจน รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่องด้วย ความรู้เหล่านี้มีความจ�ำเป็นต่อการจัดสรรทรัพยากร ทั้งบุคลากร เงินและอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันยังประเทศไทยยังไม่มีความรู้เหล่านี้
ในอนาคตการสนับสนุนการวิจย ั ระบบการแพทย์ฉก ุ เฉิน จึงควรให้นำ �้ หนักกับการวิจย ั ระบบ
และ การวิจัยเพื่อการต่อยอดไปสู่การน�ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (Translational Research) นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉก ุ เฉินแห่งชาติ (สพฉ.) “ระบบการแพทย์
ฉุกเฉินในประเทศไทย ถือว่ามีการพัฒนามาอย่างต่อเนือ ่ ง ปัจจุบน ั เห็นได้วา ่ มีเครือข่ายภาคีการแพทย์ ฉุกเฉินเพิ่มขึ้น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น องค์กรการกุศลไม่แสวงหาผลก�ำไร มีการสนับสนุน
การจัดตัง ้ ชุดปฏิบต ั ก ิ ารฉุกเฉินให้ครอบคลุมทัว ่ ประเทศ การพัฒนาศูนย์รบ ั แจ้งเหตุและสัง ่ การ การ ผลิตและพัฒนาผู้ปฏิบัติการ พัฒนามาตรฐาน และส่งเสริมให้มีอาสาฉุกเฉินชุมชนเพื่อช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลเบือ ้ งต้น และสามารถแจ้งเหตุได้ถก ู ต้องและเหมาะสม ทัง ้ นี้ จากผลการวิจย ั และรายงาน
ต่างๆ ยังพบว่ามีช่องว่างที่จ�ำเป็นต้องได้รับการพัฒนา ทั้งในเรื่องความไม่เพียงพอของจ�ำนวน
ผูป ้ ฏิบต ั ก ิ ารในระบบการแพทย์ฉก ุ เฉิน การเข้าถึงบริการ การด�ำเนินการและการบริหารจัดการระบบ การแพทย์ฉุกเฉิน การมีส่วนร่วมของหน่วยงาน องค์กร และภาคส่วนต่างๆ รวมถึงการสร้างและ เผยแพร่ความรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน
ระบบการแพทย์ฉุกเฉินไทย ยังต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการบูรณาการ
ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้างพลังการขับเคลื่อน และลดช่องว่างการแพทย์ฉุกเฉิน ไทย ให้ก้าวไกลสู่ความเป็นสากล โดยมุ่งเน้นนโยบายดังนี้ 1.มีระบบปฏิบัติการฉุกเฉินครอบคลุม ทุ ก พื้ น ที่ 2. มี ร ะบบการรั บ แจ้ ง เหตุ แ ละสื่ อ สารสั่ ง การออกปฏิ บั ติ ง านที่ ค ล่ อ งแคล่ ว ทั น ท่ ว งที
3.มีเครือข่ายการแพทย์ฉก ุ เฉินพร้อมรับสาธารณภัย ตลอด 24 ชัว ่ โมง 4.มีการพัฒนาระบบ สูค ่ วาม เป็นมาตรฐาน มีคุณภาพ ให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจ 5. ผู้ปฏิบัติงานได้รับความคุ้มครอง และมี ความปลอดภัย”
สามารถดาวน์โหลดรายงานประเมินนโยบายว่าด้วยวิวัฒนาการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ฉบับสมบูรณ์ได้ทาง http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3944
13
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
HEALTH@I สุขภาพดี เริ่มที่เรา
ทราบแล้ว “เปลี่ยน!!!” แค่ขยับ = ออกก�ำลังกาย
H
EALTH@I สุขภาพคนไทย เริ่มต้นที่ฉัน คอลัมน์ ใหม่ ป ระจ� ำ จุ ล สาร HSRI FORUM มาตาม กระแสสุขภาพ จากสถานการณ์ที่คนไทยก�ำลัง เผชิญเกิดโรคจากพฤติกรรมเสี่ยง การบริโภค ปัจจัยทางสังคม จนน�ำไปสูก่ ารเจ็บป่วย โดยเฉพาะในกลุม่ โรคทีไ่ ม่ตดิ ต่อเรือ้ รัง เช่น โรคเบาหวาน หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิต หัวใจ ฯลฯ ภาระ โรคที่ก่อให้เกิดการสูญเสีย “ทรัพย์สิน – ชีวิต” หากปล่อยปะ ละเลยเป็นแบบนีต้ อ่ ไป “ค่าใช้จา่ ยในด้านสุขภาพของประเทศ” ก็จะพุ่งสูงคนเป็นภาระประเทศตามไปด้วย ปีนี้ นอกจาก “สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข” จะเดิน หน้าวิจัยและพัฒนาในระดับนโยบายเพื่อน�ำข้อเสนอหรือแนวทาง ปฏิบัติส่งมอบให้กับผู้ก�ำหนดนโยบายแล้ว สวรส. ยังจัดแคมเปญ สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “HEALTH@I” เพื่อร่วมรณรงค์การ ลดภาระโรคของคนไทยด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การมี สุขภาพดีควบคู่ไปด้วย ฉะนั้นการกระตุ้นให้สังคมตระหนักและ ปฏิบัติจริงจะต้องช่วยกันคนละไม้ละมือบอกกล่าวต่อสังคม... ปฐมฤกษ์ฉบับนี้ จึงขอนับ 1 เปิดตัวเรือ่ ง “การออกก�ำลังกาย” ที่ใครๆ ก็รู้จักกันดี แต่ไฉนเอาเข้าจริงก็เสมือนสอบผ่าน “ทฤษฎี” แต่สอบตก “ปฏิบัติ” เพราะรู้แต่ไม่ท�ำ จึงไม่แปลกใจที่สถิติของ การไม่ออกก�ำลังกายพุ่งสูงขึ้น ท�ำให้โรคร้ายต่างๆ คุกคามคนไทย เป็นจ�ำนวนมาก เห็นตัวเลขการส�ำรวจพฤติกรรมการเล่นกีฬาหรือการออก ก�ำลังกายของคนไทย ปี 54 โดยส�ำนักงานสถิติแห่งชาติแล้วนั้น ก็ นึกอดเป็นห่วงสุขภาพของคนไทยในอนาคตไม่ได้ เพราะค่าเฉลี่ย ของคนไทยในกลุ่มส�ำรวจ (11 ปี ขึ้นไป) ที่มีจ�ำนวน 57.7 ล้านคน พบว่าเปอร์เซนต์เฉลี่ย 42.6 ล้านคน ไม่ออกก�ำลังกาย !! ฉะนั้น ตัวเลขของผู้เล่นกีฬาหรือออกก�ำลังกาย จึงมีเพียง 15.1 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของประชาชนทั้งหมด
14
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
กับแคมเปญที่ สวรส. จะมาชวนคุณปรับความคุนชินเดิมๆ ที่อาจนำไปสูสารพัด โรครายที่ปองกันได เพียงคุณเริ่มไปพรอมกับเราตั้งแตวันนี้ แลวคุณจะรูวา การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นนี้ ไมใชการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกับตัวคุณเทานั้น HEALTH@I
ชวนคุณ “ปรับ” เพื่อช�ว�ตที่ “เปลี่ยน”
วลีฮิต...คนไทย ü ไม่มีเวลา
ü วันนี้อ่อนล้าแล้ว
ü ไม่มีอุปกรณ์
ü น�้ำหนักมากเกินจะขยับ
ü แก่เกินจะออกก�ำลังกาย
ü ฯลฯ
ใครที่ชอบบ่นว่า ไม่มีเวลาไปออกก�ำลังกาย เลิกอ้างได้แล้ว เพราะเราสามารถออกก�ำลังกายแบบ ง่ายๆ “แค่ขยับ = ออกก�ำลังกาย” มาแนะน�ำ ดังนี้
1. เดิน
• เดินสะสมระยะทางให้ได้ 15
กม.หรือเฉลี่ยวันละ 3-5 กม.
• เดินสะสมในระยะเวลา 6-7
เดือน หรือเฉลี่ยวันละ 30 นาที
2. วิ่ง
• วิ่ง 100-200 เมตร หรือขึ้น-ลงบันได 2 เที่ยวแล้วพัก • วิ่ง 1.5 กม. ใน 8 นาที เริ่มมีผลต่อหัวใจแต่ยังไม่ลด พุง
• วิ่งต่อเนื่องไม่หยุด 12 นาที มีผลต่อหัวใจและลดพุง • วิ่งต่อเนื่องไม่หยุด 30 นาทีขึ้นไป มีผลต่อหัวใจ ลด พุงชัดเจน
3. ยกน�้ำหนักเบาๆ บ่อยๆ
• ท�ำให้กล้ามเนื้อกระชับ ไม่ลีบ
• ระดับฮอร์โมนต่างๆ ท�ำงานได้ คงที่ เช่น อินซูลิน
• ระดับความดันเลือดคงที่
4. แอโรบิคเบาๆ บ่อยๆ
• ลดความเครียด เกร็ง ของกล้ามเนื้อ
• ชะลอขบวนการเสื่อมจากวัยของระบบกล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด และกระดูก
Exercise นานแค่ไหนดี...ครัง ้ ละ 30 นาที ในช่วงเริม ่ ต้น น�ำ ้ หนักอาจยังไม่ลด จากนัน ้ เพิม ่ เป็นครัง ้ ละ 60 นาที น�้ำหนักลดแน่นอน รวมแล้วให้ได้ 150-200 นาทีต่อสัปดาห์ รวม 16 สัปดาห์
ค�ำประจ� ถาม ำฉบับ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และศูนย์การ แพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับเครือ
ข่ า ยจาก 5 สถาบั น การศึ ก ษาและองค์ ก รทางการแพทย์ ศึกษาพบว่า กิจกรรมทางกายที่สม�่ำเสมอ...มีประโยชน์
• ลดการเสียชีวิตและความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหน้าอก ซ�้ำซ้อนได้ถึงร้อยละ 50 • ลดความเสีย ่ งต่อการเกิดมะเร็งล�ำไส้ใหญ่ได้ถง ึ ร้อยละ 60
1.
• ลดความเสีย ่ งต่อการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รอ ้ ยละ 58 • ช่วยให้การรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 มีประสิทธิภาพถึง 2 เท่า เทียบกับการได้รับอินซูลินแบบมาตรฐาน • ลดภาวะซึ ม เศร้ า ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเที ย บเท่ า การ บ�ำบัดด้วยยาและพฤติกรรม • ผูใ้ หญ่ทม ี่ ค ี วามแข็งแรงของกล้ามเนือ ้ นัน ้ มีความเสีย ่ งต่อ การเสียชีวิตน้อยกว่าผู้มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใน ระดับต�่ำถึงร้อยละ 20 และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งน้อยกว่าถึงร้อยละ 33
Vox Pop : ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต “ออกก�ำลังกาย...ทุกคนเริ่มต้นได้” “ตั้งแต่เปลี่ยนงานมาขับรถ 1 ปี ไม่ค่อยได้ออกก�ำลังกายหรือเล่น กีฬาเลยครับ จากเมื่อก่อนเปิดร้านให้เช่าพระ จะมีเวลาว่างใน ตอนเย็น ก็ต้องกระโดดเชือก สามารถกระโดดต่อเนื่องได้วันละ ครึ่งชั่วโมง หรือนับได้เป็นพันครั้ง พักหลังต้องช่วยภรรยาขายของ เลี้ยงลูก พองานเปลี่ยนพฤติกรรมก็เปลี่ยนตาม ท�ำให้วันนี้รู้เลยว่า น�้ำหนักเพิ่มขึ้น เริ่มมีพุง เสื้อผ้าคับ แต่ผมก็ไม่ได้นิ่งดูดาย เพราะ ในทีท่ ำ� งานมีคนออกก�ำลังกายให้เห็น ก�ำลังหาเวลาว่างในการแบ่ง เวลามากระโดดเชือก หากปล่อยไว้โรคภัยไข้เจ็บจะตามหาแน่...” นายชโยดม สารี่
พนักงานขับรถ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข “ไม่ มี เ วลาส� ำ หรั บ การออกก� ำ ลั ง กายเลยครั บ เพราะอยู ่ เ วร วันหนึ่งก็ครึ่งวันหรือ 12 ชั่วโมงแล้ว ในบางครั้งพอออกเวรก็ ต้ อ งพั ก ผ่ อ น หรื อ รั บ จ๊ อ บหารายได้ เ สริ ม เป็ น อย่ า งนี้ ม านาน มาก หากถามว่ า ถ้ า จะให้ เ ริ่ ม ออกก� ำ ลั ง กายน่ ะ เหรอ ก็ คิ ด ว่ า โดยส่วนตัวเป็นคนที่อ้วนอยู่แล้ว หากให้ไปออกก�ำลังกายไม่รู้ จะเริ่มแบบไหน แต่ถ้าหากจะให้เริ่มต้นออกก�ำลังกาย คงต้อง บอกว่า การเดินตรวจอาคารโดยเดินขึ้นบันไดไม่ใช้ลิฟท์ อันนี้ คิดว่าง่ายสุดแล้วนะ” ศิริชัย เงินทองทวี
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย อาคารสุขภาพแห่งชาติ
ท่านทราบหรือไม่ว่า สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เตรียมจัดแคมเปญสื่อสาร การตลาดเพื่อสังคม ที่มีเป้าหมายมุ่งให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การมี สุขภาพดี ในชื่อโครงการอะไร ? ก. Good Health Start Here “สุขภาพดีเริ่มต้นที่นี่...ที่ตัวคุณ
• ลดการเกิดโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงได้ถง ึ ร้อยละ 40 • ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 27
ค�ำถามประจ�ำฉบับ
2.
ข. HEALTH@I : สุขภาพ “คนไทย” เริ่มได้ที่ “ฉัน” ท่านมีเทคนิคในการดูแลสุขภาพอย่างไร เพือ ่ การมีสข ุ ภาพดี ? (เขียนเทคนิคสัน ้ ๆ)
ส่ ง ค� ำ ตอบมาทาง e-mail : hsri@hsri.or.th โดยเขี ย นชื่ อ และที่ อ ยู ่ พร้อมต�ำแหน่งหน่วยงานที่สังกัด ผู้ตอบค�ำถามถูก 5 ท่าน ลุ้นรับรางวัล ของที่ระลึกจาก สวรส. เป็น “หนังสือรอยเวลา...เส้นทางประวัติศาสตร์ สุขภาพ” มูลค่าเล่มละ 1,290 บาท
“ทราบว่าการออกก�ำลังกายมีประโยชน์ แต่ตัวเองก็ไม่ได้เล่นกีฬามานานกว่า 30 ปีแล้ว เพราะมีอาชีพ แม่บา้ นในส�ำนักงาน แต่ละวันก็ใช้แรงไปเยอะแล้ว เลยคิดว่าได้ออกก�ำลังกายแล้วเพราะงานของป้าต้อง เคลื่อนไหวอยู่ตลอด เช่น ปั่นจักรยานไปกลับที่ท�ำงานวันละ 1 กิโลเมตร มากวาดและถูกพื้น ท�ำความ สะอาดห้องน�้ำ ก่อนเที่ยงก็ต้องปั่นจักรยานไปซื้อกลับข้าวให้พนักงานที่ติดประชุม ท�ำอย่างนี้มาจนชิน แล้ว คิดว่าสุขภาพยังแข็งแรงดี แม้ว่าจะไม่เคยไปตรวจสุขภาพ ซึ่งตลอด 17 ปี ตั้งแต่คลอดลูกคนแรก ยังไม่เคยป่วยจนถึงมือหมอเลย” เพ็ญ ศรีเพ็ชร์
แม่บ้านสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข “จริงอยู่ที่ว่าการออกก�ำลังกายหรือเล่นกีฬาท�ำให้มีสุขภาพดี แต่ผมมองว่าบางคนหรือบางอาชีพอาจ มีข้อจ�ำกัดในกิจกรรมดังกล่าว ฉะนั้นอยากนิยามด้วยว่า การมีกิจกรรมทางกายสม�่ำเสมอก็เป็นการ ออกก�ำลังกายเช่นกัน เช่น ท�ำสวน รดน�้ำต้นไม้ ท�ำงานบ้าน เป็นต้น ส่วนเทคนิคการดูแลสุขภาพ ร่างกายสามารถท�ำได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น เวลาอากาศร้อนผมใช้การพัดแทนที่จะเปิดแอร์ หรือการไป ท�ำธุระในพื้นที่ละแวก 1–2 กิโลเมตร ก็จะเดินหรือปั่นจักรยาน แนวทางของผม จึงเป็นแบบพอเพียง” สายชล คล้อยเอี่ยม
นักวิจัยอิสระ “ในแต่ละวันต้องนั่งท�ำงานหน้าคอมพิวเตอร์ 7– 8 ชั่วโมง ระหว่างนี้ก็จะท�ำให้สายตาและกล้ามเนื้อ เมื่อยล้าอยู่บ้าง ทุกๆ 2 ชั่วโมง ผมจึงหาวิธีการผ่อนคลายด้วยการลุกเดินไปจัดเรียงหนังสือ หรือการ เดินส�ำรวจรอบๆ ห้องสมุด เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวบ้าง แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการออกก�ำลังกาย นะครับตรงนี้จะช่วย Relax มากกว่า ส่วนการออกก�ำลังกายจะใช้เวลาหลังเลิกงานในการยืดเหยียด ร่างกาย วิ่ง วันละ 1 – 2 ชั่วโมง เป็นกิจวัตรประจ�ำที่ผมยึดปฏิบัติมาช่วง 2-3 ปีมานี้ เพราะที่ผ่านมา ใช้เวลากับการอ่านหนังสือเป็นหลัก แม้การออกก�ำลังกายจะใช้พลังงานบ้าง แต่ ถ้าท�ำเป็นนิสัยเราจะสนุกกับมัน” จักรกฤช พงษ์ทอง
บรรณารักษ์ ห้องสมุด 100 ปี เสม พริ้งพวงแก้ว
15
วิกฤติ NCDs ภาระโรค...วาระชาติ
กับแคมเปญที่ สวรส. จะมาชวนคุณปรับความคุนชินเดิมๆ ที่อาจนำไปสูสารพัด โรครายที่ปองกันได เพียงคุณเริ่มไปพรอมกับเราตั้งแตวันนี้ แลวคุณจะรูวา การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นนี้ ไมใชการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกับตัวคุณเทานั้น HEALTH@I
ชวนคุณ “ปรับ” เพื่อช�ว�ตที่ “เปลี่ยน”
www.hsri.or.th แบ่งปันความรู้โดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สามารถดาวน์โหลดจุลสาร HSRI Forum ได้ที่ www.hsri.or.th สอบถามเพิ่มเติม หน่วยสื่อสารความรู้และขับเคลื่อนสังคม โทร 0-2832-9245-6 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ซ.สาธารณสุข 6 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2832-9200 โทรสาร 0-2832-9201 www.hsri.or.th