ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก เล่มที่ 3 การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
ข้อมูลบรรณานุกรม ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก เล่มที่ 3 การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก ผู้จัดทำ�
สำ�นักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำ�นักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 60/1 ซอยพิบูลวัฒนา 7 ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2265 6585 โทรสาร 0 2265 6586 Email: thailandworldheritage@gmail.com
ผู้ศึกษา
สถาบันวิจัยและให้คำ�ปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 7 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0 2613 3120-2 โทรสาร 0 2224 1376
การอ้างอิง
สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2556. ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก เล่มที่ 3 การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก คำ�สืบค้น การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก พิมพ์เมื่อ กันยายน 2556 จำ�นวนพิมพ์ 1,500 เล่ม จำ�นวนหน้า 156 หน้า ผู้พิมพ์ บริษัท โมโนกราฟ สตูดิโอจำ�กัด โทรศัพท์ 02 616 6459, 08 5913 6484 โทรสาร 02 616 6459
สงวนลิขสิทธิ์ในประเทศไทย ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดย สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2556
คณะผู้จัดทำ� “ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก ” ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ปรึกษา 1. นายสันติ บุญประคับ 2. นางรวีวรรณ ภูริเดช
เลขาธิการส�ำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองเลขาธิการส�ำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คณะกรรมการก�ำกับโครงการ 1. นางดวงมาลย์ สินธุวนิช 2. นางกิตติมา ยินเจริญ 3. นางสาวกรพินธุ์ พยัคฆประการณ์ 4. นางสาวกนกกาญจน์ โกติรัมย์ 5. นางสาวสิริวรรณ สุโอฬาร 6. นางสวนิต เทียมทินกฤต
ผู้อ�ำนวยการส�ำนักจัดการสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและศิลปกรรม นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการพิเศษ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการพิเศษ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สถาบันวิจยั และให้ค�ำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) คณะที่ปรึกษา 1. รองศาสตราจารย์โรจน์ คุณเอนก หัวหน้าโครงการ และผู้เชี่ยวชาญด้าน การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ กีรติประยูร ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์มรดกทาง ธรรมชาติและนิเวศวิทยา 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์มรดกทาง วัฒนธรรมและวางแผนภูมสิ ถาปัตยกรรม และผังเมือง 4. อาจารย์ ดร. ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. อาจารย์จิรวัฒน์ รุ่งเลิศตระกูลชัย ผู้ประสานงานโครงการ และ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการมีสว่ นร่วมของชุมชน 6. นางสาวอุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์ ผู้ช่วยวิจัย
คำ�นำ�
ประเทศไทยมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่ได้รับ การขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จ�ำนวน 5 แหล่ง และยังมีแหล่งมรดกฯ อันมีคุณค่าความส�ำคัญโดดเด่นที่อยู่ระหว่างการน�ำเสนอเพื่อขอขึ้นทะเบียน เป็นแหล่งมรดกโลก จ�ำนวน 4 แหล่ง ปัจจุบันแหล่งมรดกฯ ที่ได้กล่าวมานั้น ได้รบั ผลกระทบจากภัยคุกคามเพิม่ มากขึน้ รวมถึงมีการบุกรุกพืน้ ที่ โดยมีสาเหตุ มาจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทัง้ จากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ของภาครัฐ การขยายตัวของชุมชนบริเวณโดยรอบแหล่งมรดกฯ ทีข่ าดการวางแผน การบริ ห ารจั ด การพื้ น ที่ แ ละการบั ง คั บ ใช้ ม าตรการทางกฎหมาย ฯลฯ ซึ่ ง ส่ ง ผลกระทบต่ อ ระบบนิ เ วศและทั ศ นี ย ภาพโดยรวมของแหล่ ง ทั้งนี้ สาเหตุส�ำคัญประการหนึ่งคือ การขาดความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ตลอดจนการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งมรดกฯ ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้พิจารณา เห็นว่า เพื่อเป็นการด�ำเนินการและปฏิบัติตามพันธกรณีการเข้าร่วมเป็น ภาคีอนุสัญญาฯ ที่จะต้องด�ำเนินการดูแล คุ้มครอง ป้องกัน และอนุรักษ์ แหล่งมรดกโลก รวมทั้งการคุ้มครองและอนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและ ทางธรรมชาติที่มีคุณค่าโดดเด่นเป็นสากล (Outstanding Universal Value) ให้บงั เกิดผลเป็นรูปธรรม และสามารถรักษาสถานภาพของการเป็นแหล่งมรดกโลก ไว้ได้อย่างยั่งยืน จ�ำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและความร่วมมือร่วมใจจาก ทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงาน องค์กร ชุมชน ประชาชน และเยาวชนที่สนใจ จึงเห็น สมควรจัดท�ำโครงการเสริมสร้างศักยภาพในการอนุรกั ษ์ คุม้ ครองแหล่งมรดกโลก เพือ่ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กบั ผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับการอนุรกั ษ์ คุม้ ครอง แหล่งมรดกโลก ซึ่งเอกสารชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการดังกล่าว ก
ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า เอกสารชุดความรูน้ ี้ จะช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในคุณค่าและความส�ำคัญ ของแหล่งมรดกฯ ตลอดจนเป็นประโยชน์กบั ทุกภาคส่วน ในการอนุรกั ษ์ คุม้ ครอง ดูแล รักษาคุณภาพสิง่ แวดล้อมโดยรอบแหล่งมรดกฯ เพือ่ ให้แหล่งมรดกฯ สามารถ คงคุณค่าโดดเด่นเป็นสากลและคงความสมบูรณ์ไว้ได้ตลอดไป สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ข
สารบัญ
หน้า คำ�นำ� ก สารบัญ ค บทที่ 1 บทนำ� มรดกโลก: นิยาม และประเภทของแหล่งมรดกโลก 1 1.1 นิยาม 1 1.2 ประเภทของแหล่งมรดกโลก 2 บทที่ 2 กระบวนการการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก 7 บทที่ 3 เกณฑ์การพิจารณาแหล่งมรดกเพื่อขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก 11 3.1 ความมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลและหลักเกณฑ์การประเมิน 12 3.2 ความเป็นตัวแทน ความสมดุล และความน่าเชื่อถือของมรดกโลก 16 3.3 ความครบถ้วนสมบูรณ์ (Integrity) 18 3.4 ความเป็นของแท้ดั้งเดิม (Authenticity) 21 บทที่ 4 บัญชีรายชื่อเบื้องต้น 25 4.1 นิยามและความหมาย 25 4.2 องค์ประกอบของบัญชีรายชื่อเบื้องต้น 26 4.3 กรอบเวลาการเสนอบัญชีรายชื่อเบื้องต้น 27 4.4 การลงทะเบียนรับบัญชีรายชื่อเบื้องต้น 27 4.5 การให้ความช่วยเหลือในการจัดเตรียมบัญชีรายชื่อเบื้องต้น 29 บทที่ 5 การจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก 33 5.1 เกณฑ์การพิจารณาการเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก 34 5.2 องค์ประกอบของเอกสารเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก 34 5.3 กรอบเวลาสำ�หรับการเสนอเอกสารเพื่อขอขึ้นทะเบียน เป็นแหล่งมรดกโลก 40 5.4 แนวทางการพิจารณารับรองการจารึกแหล่งมรดกในบัญชีมรดกโลก 41 5.5 มติของคณะกรรมการมรดกโลก 45 5.6 การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกประเภทอื่นๆ 47 5.7 การช่วยเหลือหรือการร้องขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการมรดกโลก 49 ค
บทที่ 6 การขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกที่ต้องเข้ากระบวนการ บนพื้นฐานของความเร่งด่วน 53 บทที่ 7 การปรับเปลี่ยน/เปลี่ยนแปลง แหล่งมรดกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก 55 7.1 การปรับแนวเขตเพียงเล็กน้อย (Minor modifications to the boundaries) 55 7.2 การปรับแก้แนวเขตที่มีนัยสำ�คัญ (Significant modifications to the boundaries) 56 7.3 การปรับแก้หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการให้เหตุผล ในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก 56 7.4 การปรับแก้ชื่อของทรัพย์สินที่ได้รับการ ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก 57 บทที่ 8 กรอบระยะเวลาในภาพรวมของการเสนอ ขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก 59 บทที่ 9 ข้อสรุปเพื่อการพิจารณานำ�เสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก 65 อภิธานศัพท์ 71 บรรณานุกรม 91 ภาคผนวก
ง
95
บทที่ 1 บทนำ� มรดกโลก: นิยาม และประเภทของแหล่งมรดกโลก 1.1 นิยาม มรดกโลก หรือ World Heritage นั้น นอกเหนือจากนิยามเฉพาะของ แต่ละประเภทของมรดกโลกแล้ว ยังไม่มีผู้ให้นิยามเป็นการเฉพาะส�ำหรับค�ำว่า “มรดกโลก” แต่อย่างไรก็ตามจากการรวบรวมหลักการและแนวคิดต่างๆ ที่ได้มีการกล่าวถึงใน “แนวทางการอนุวัตตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก” หรือ “Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention” แล้ว สามารถสรุปได้กว้างๆ ว่า มรดกโลก หมายถึง ทรัพย์สินที่มีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลที่อยู่เหนือขอบเขตพรมแดนของ ประเทศหรือกลุม่ ของประเทศใดๆ ซึง่ มีความส�ำคัญต่อมวลมนุษยชาติทงั้ มวล ในโลก ความเสือ่ มโทรมหรือสูญเสียของทรัพย์สนิ เหล่านีถ้ อื เป็นความสูญเสีย ของมวลมนุษยชาติโดยรวม นิยามข้างต้น จะเห็นว่า ทรัพย์สินที่จัดว่าเป็น “มรดกโลก” มีความส�ำคัญ ต่อมวลมนุษยชาติโดยรวมในโลก ไม่ใช่มีคุณค่าความส�ำคัญต่อประเทศหรือ กลุม่ ประเทศใดประเทศหนึง่ เท่านัน้ ซึง่ ในย่อหน้าที่ 52 ของแนวทางการด�ำเนินการฯ ได้เน้นย�้ำในประเด็นนี้ไว้ว่า 52. อนุสัญญาฯ นี้ มิได้เป็นไปเพื่อความเชื่อมั่นว่า ทรัพย์สินที่ได้รับ ความสนใจ ที่มีความส�ำคัญ หรือมีคุณค่าทั้งหมดจะได้รับการคุ้มครองป้องกัน แต่มีขึ้นเพื่อจัดท�ำบัญชีรายชื่อทรัพย์สินที่มีคุณค่าโดดเด่นมากที่สุดจากมุมมอง การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
1
ในระดับสากล จึงไม่ควรคิดว่าทรัพย์สนิ ทีม่ คี ณ ุ ค่าในระดับชาติหรือระดับภูมภิ าค แล้ว จะต้องได้รับการจารึกลงในบัญชีแหล่งมรดกโลก
1.2 ประเภทของแหล่งมรดกโลก ถึงแม้จะไม่มีการระบุหรือให้นิยามของค�ำว่า “มรดกโลก” ไว้อย่างชัดเจน แต่ในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้กล่าวถึงกลุ่มหรือประเภทของ มรดกโลกพร้อมค�ำนิยาม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส�ำคัญในการก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อ การพิจารณาถึง “คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล” (Outstanding Universal Valuve: OUV) ทีป่ รากฏในแนวทางการอนุวตั ฯ โดยในอนุสญ ั ญาดังกล่าว ได้มกี ารจัดแบ่ง มรดกโลกออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ มรดกโลกทางวัฒนธรรม หรือ Cultural Heritage และมรดกโลกทางธรรมชาติ หรือ Natural Heritage และได้ม ี การก�ำหนดประเภทมรดกโลกเพิม่ เติมเป็นมรดกโลกแบบผสมระหว่างวัฒนธรรม และธรรมชาติ หรือ Mixed Cultural and Natural Heritage (ในย่อหน้าที่ 46 ของแนวทางการอนุวัตฯ) และภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape) (ในย่อหน้าที่ 47 ของแนวทางการอนุวตั ฯ) ซึง่ แต่ละแบบ ได้มนี ยิ ามก�ำหนดไว้ดงั นี้ มาตรา 1 ตามวัตถุประสงค์แห่งอนุสัญญา “มรดกทางวัฒนธรรม”(Cultural Heritage) มีความหมายครอบคลุมถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ - อนุสรณ์สถาน: ผลงานทางสถาปัตยกรรม ผลงานทางประติมากรรม หรือ จิตรกรรม ส่วนประกอบหรือโครงสร้างของโบราณคดี ธรรมชาติ จารึก ถ�้ำที่อยู่อาศัย และร่องรอยที่ผสมผสานกันของสิ่งต่างๆ ข้างต้น ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลในมิติทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือ วิทยาศาสตร์ 2
ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
- กลุม่ อาคาร: กลุม่ ของอาคารทีแ่ ยกจากกันหรือเชือ่ มต่อกันโดยลักษณะ ทางสถาปัตยกรรม หรือโดยความสอดคล้องกลมกลืน หรือโดยสถานที่ จากสภาพภูมทิ ศั น์ ซึง่ มีคณุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากลในมิตทิ างประวัตศิ าสตร์ ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์ - แหล่ง: ผลงานทีเ่ กิดจากมนุษย์ หรือผลงานทีเ่ กิดจากมนุษย์และธรรมชาติ และบริเวณอันรวมถึงแหล่งโบราณคดี ซึง่ มีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ในมิตทิ างประวัตศิ าสตร์ สุนทรียศาสตร์ชาติวงศ์วทิ ยา หรือมานุษยวิทยา มาตรา 2 ตามวัตถุประสงค์แห่งอนุสัญญา “มรดกทางธรรมชาติ” มีความหมาย ครอบคลุมถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ - สภาพทางธรรมชาติทปี่ ระกอบด้วยลักษณะทางกายภาพ และทางชีวภาพ หรือกลุ่มของสภาพธรรมชาติดังกล่าว ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ในมิติทางสุนทรียศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ - สภาพองค์ประกอบทางธรณีวิทยา หรือธรณีสัณฐาน หรือบริเวณที่พิสูจน์ ทราบอย่างชัดแจ้ง ว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์สัตว์และพืชที่ก�ำลัง ได้รับการคุกคาม ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลในมิติทางวิทยาศาสตร์ หรือการอนุรักษ์ - สภาพธรรมชาติหรือบริเวณทีพ่ สิ จู น์ทราบอย่างชัดแจ้งว่ามีคณ ุ ค่าโดดเด่น อันเป็นสากล ในมิติทางวิทยาศาสตร์ การอนุรักษ์ และความงดงาม ตามธรรมชาติ
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
3
มรดกผสมระหว่างวัฒนธรรมและธรรมชาติ (Mixed Cultural and Natural Heritage) 46. ทรัพย์สินที่พิจารณาให้เป็น “มรดกผสมระหว่างวัฒนธรรมและ ธรรมชาติ” จะต้องสอดคล้องกับส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของ หลักเกณฑ์การเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ที่ได้ก�ำหนดไว้ในมาตรา 1 และ 2 ของอนุสัญญาฯ นี้ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscapes) 47. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและเป็นตัวแทนของ การผสมผสานกันระหว่างผลงานที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและผลงาน จากมนุษย์ ตามที่ได้ก�ำหนดไว้ใน มาตรา 1 ของอนุสัญญาฯ นี้ ทั้งนี้ ภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรม เป็นการแสดงให้เห็นถึงวิวฒ ั นาการของสังคมมนุษย์ และการตั้งถิ่นฐานในช่วงเวลาที่ผ่านมา ภายใต้อิทธิพลของข้อจ�ำกัด ทางกายภาพและ/หรือโอกาสทีเ่ กิดขึน้ อันสืบเนือ่ งมาจากสภาพแวดล้อม ตามธรรมชาติ และแรงผลักดันภายในและภายนอกทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นตามมา นอกจากนี้ หากพิจารณาตามสภาพการปรากฏของทรัพย์สินภายใต้ อธิปไตยของรัฐภาคีแล้ว ยังอาจจะจัดแบ่งเป็นประเภทของทรัพย์สินที่อยู ่ ภายใต้อธิปไตยของประเทศใดประเทศหนึ่ง และทรัพย์สินที่อยู่คร่อมพรมแดน ระหว่างประเทศ (หรือปรากฏอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ งบริเวณพรมแดนของกลุม่ ประเทศ) ซึง่ เรียกว่า Transboundary properties โดยทีท่ รัพย์สนิ ประเภทต่างๆ ทัง้ หมดที่ ได้กล่าวแล้ว มักจะมีการปรากฏอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ งในเชิงพืน้ ที่ ในขณะทีม่ ที รัพย์สนิ อีกประเภทหนึ่งที่พบว่า มีสภาพการปรากฏที่ไม่ต่อเนื่องในเชิงพื้นที่ กล่าวคือ พบปรากฏอยูก่ ระจัดกระจายแต่มคี วามเกีย่ วข้องกันบนพืน้ ฐานของความส�ำคัญ 4
ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
ตามเกณฑ์ทกี่ �ำหนดในนิยามข้างต้น ซึง่ ทรัพย์สนิ ประเภทนีถ้ กู เรียกว่า ชุดทรัพย์สนิ หรือ Serial properties ซึง่ แหล่งมรดกทีเ่ ป็นชุดทรัพย์สนิ นี้ จะต้องมีคณ ุ ค่าโดดเด่น อันเป็นสากล และมีความสัมพันธ์กัน ตลอดจนจะต้องมีองค์ประกอบตั้งแต่ 2 ส่วนขึ้นไป (ในย่อหน้าที่ 137 ของแนวทางอนุวัตฯ) อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินประเภทใด จะยังคงใช้หลักเกณฑ์ การพิจารณาเดียวกัน ยกเว้นในส่วนของรายละเอียดของข้อก�ำหนดทีแ่ ตกต่างกัน เช่นในกรณีที่เป็นทรัพย์สินคร่อมพรมแดนระหว่างประเทศ ควรจะต้องมี การเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกร่วมกันระหว่างรัฐภาคีที่ทรัพย์สิน นั้นปรากฏอยู่ เป็นต้น
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
5
บทที่ 2 กระบวนการการขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ศูนย์มรดกโลก (World Heritage Centre: 1992-2013) ได้ระบุว่า “เฉพาะประเทศที่ได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลก” ซึ่งได้ให้สัตยาบัน ว่าจะคุ้มครองป้องกันแหล่งมรดกทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมของตน จึงจะสามารถยืน่ ข้อเสนอขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกส�ำหรับทรัพย์สมบัติ ที่อยู่ในขอบเขตอ�ำนาจปกครองของตนเพื่อขอรับการพิจารณาบรรจุรวมเข้าไว้ ในบัญชีมรดกโลกขององค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO’s World Heritage List) โดยได้สรุปกระบวนการการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. บัญชีรายชื่อเบื้องต้น ในขั้นตอนแรก รัฐภาคี จะต้องท�ำการส�ำรวจแหล่งมรดกทางธรรมชาติ และทางวัฒนธรรมที่ส�ำคัญของตน ภายในขอบเขตอ�ำนาจการปกครองของ ประเทศนั้นๆ “การส�ำรวจ” นี้ ถูกก�ำหนดให้เรียกว่า “บัญชีรายชื่อเบื้องต้น” หรือ Tentative List ซึ่งเป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่า ทรัพย์สมบัติดังกล่าว เป็นแหล่ง ที่รัฐภาคีอาจจะตัดสินใจเสนอเพื่อรับการพิจารณาจารึกลงในบัญชีมรดกโลก ในช่วงเวลา 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ บัญชีรายชื่อเบื้องต้นอาจจะมีการปรับปรุง ในช่วงเวลาใดๆ ก็ได้ ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงถือเป็นขั้นตอนที่ส�ำคัญ เนื่องจาก คณะกรรมการมรดกโลกจะไม่พิจารณาการเสนอขอเพื่อการจารึกไว้ในบัญชี การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
7
มรดกโลก นอกเสียจากว่าทรัพย์สมบัตินั้นได้รับการรวมเข้าไว้ในบัญชีรายชื่อ เบื้องต้นของรัฐภาคีนั้นแล้ว 2. เอกสารการเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก จากการจัดเตรียมบัญชีรายชื่อเบื้องต้นและจากการคัดเลือกแหล่งจาก บัญชีดงั กล่าว รัฐภาคีสามารถวางแผนในการก�ำหนดเวลาน�ำเสนอเอกสารเพือ่ ขอ ขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกของแหล่งทีค่ ดั เลือกนัน้ เมือ่ ใดก็ได้ โดยศูนย์มรดกโลก ยินดีให้ค�ำแนะน�ำและความช่วยเหลือแก่รัฐภาคีในการจัดเตรียมเอกสาร น�ำเสนอเพือ่ ขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกนี้ ซึง่ จ�ำเป็นจะต้องมีการจัดเตรียม ให้มคี วามสมบูรณ์และครอบคลุมมากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ เพือ่ ให้มคี วามมัน่ ใจว่า มีเอกสารและแผนที่ที่จ�ำเป็นครบถ้วน ข้อเสนอเพื่อขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็น มรดกโลกนี้ จะต้องยื่นเสนอต่อศูนย์มรดกโลกเพื่อการทบทวนและตรวจสอบ ความสมบูรณ์ครบถ้วน ในทันทีที่แฟ้มข้อเสนอนั้นมีความครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว (ตามกรอบเวลาของวงจรการพิจารณารับรองจารึกในบัญชีมรดกโลก) ศูนย์มรดกโลก จะส่งต่อไปยังองค์กรที่ปรึกษาที่เหมาะสมเพื่อการประเมิน 3. องค์กรที่ปรึกษา ทรัพย์สมบัติที่เสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกจะถูกประเมิน จากองค์กรที่ปรึกษา 2 คณะอย่างเป็นอิสระต่อกันตามข้อก�ำหนดของอนุสัญญา ว่าด้วยมรดกโลก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพย์สมบัติหรือแหล่งมรดก ทีน่ ำ� เสนอ ซึง่ ประกอบด้วย สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites: ICOMOS) และสหภาพสากลว่าด้วย การอนุรักษ์ (The World Conservation Congress) หรือชื่อเดิม คือ องค์การ ระหว่างประเทศเพื่อการสงวนทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources: IUCN (ส�ำนักความหลากหลาย 8
ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
ทางชีวภาพ ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2009-2012) โดยทัง้ 2 องค์คณะฯ จะเป็นผูใ้ ห้ขอ้ มูลแก่คณะกรรมการมรดกโลก ในการประเมินแหล่งทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติทถี่ กู เสนอตามล�ำดับ ส�ำหรับ องค์กรที่ปรึกษาที่ 3 คือ ศูนย์ระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษา การอนุรักษ์ และ ปฏิสังขรณ์สมบัติทางวัฒนธรรม (The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of Cultural Property: ICCROM) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลท�ำหน้าที่ให้ข้อแนะน�ำในฐานะผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ การอนุรักษ์แหล่งวัฒนธรรมและการจัดกิจกรรมฝึกอบรม 4. คณะกรรมการมรดกโลก เมื่อแหล่งได้รับการเสนอและถูกประเมิน (โดยองค์กรที่ปรึกษาตาม ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น) แล้ว คณะกรรมการมรดกโลกซึ่งเป็นคณะกรรมการ ระหว่างรัฐบาล จะเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการจารึกลงในบัญชีมรดกโลก โดยในแต่ละปี คณะกรรมการจะมีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ เพื่อตัดสินใจว่าแหล่งต่างๆ ที่มีเสนอ ขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ควรที่จะมีการจารึกลงในบัญชีมรดกโลกหรือไม่ ซึ่งผลการตัดสินใจดังกล่าว อาจจะรวมถึงการเลื่อนการตัดสินใจและขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งนั้นๆ ตามที่รัฐภาคีเสนอ 5. หลักเกณฑ์การคัดเลือก แหล่งที่จะได้รับการคัดเลือกให้รวมอยู่ในบัญชีมรดกโลก จะต้องมี คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ก�ำหนดอย่างน้อย 1 ข้อจากที่ได้ก�ำหนดไว้ทั้งหมด 10 ข้อ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้มีการอธิบาย ไว้ใน “แนวทางการอนุวัตตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention)” การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
9
ซึ่งนอกจากรายละเอียดที่ระบุไว้ในอนุสัญญาฯ แล้ว แนวทางการด�ำเนินงานนี้ ยังถือเป็นเครือ่ งมือหลัก ในการปฏิบตั งิ านเกีย่ วกับมรดกโลก ทัง้ นี้ “หลักเกณฑ์” ดังกล่าว คณะกรรมการจะท�ำการทบทวนปรับปรุงอย่างสม�ำ่ เสมอ เพือ่ ให้สะท้อน ถึงวิวัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลก ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา แหล่งมรดกโลกจะถูกคัดเลือกบน พื้นฐานของ 6 หลักเกณฑ์ส�ำหรับแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 หลัก เกณฑ์ส�ำหรับแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ซึ่งจากการปรับปรุงแนวทางการ ด�ำเนินการที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ได้รวบกันเข้าเป็นชุดของหลักเกณฑ์ซึ่งประกอบ ด้วย 10 หลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กระบวนการการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกโดยสรุปที่ได้กล่าว ถึงข้างต้น จะเห็นว่า มีการก�ำหนดขั้นตอนต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของ การจัดท�ำบัญชีรายชื่อเบื้องต้น การน�ำเสนอรายละเอียดของแหล่งมรดกที่เสนอ ขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก องค์กรที่ปรึกษาที่ท�ำหน้าที่พิจารณา การเสนอขอดังกล่าว รวมถึงกระบวนการของการตัดสินใจของคณะกรรมการ มรดกโลกว่าจะพิจารณาให้มีการจารึกแหล่งมรดกที่รัฐภาคีเสนอขอขึ้นทะเบียน แหล่งเป็นมรดกโลกลงในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติงานเพื่อการเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกยังมี รายละเอียดต่างๆ ในแต่ละส่วนที่จะได้กล่าวถึงต่อไป ซึ่งรวมทั้งการพิจารณา “ความมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล หรือ Outstanding Universal Value: OUV” ซึง่ เป็นสิง่ ทีจ่ ะต้องมีการพิจารณาเป็นเบือ้ งต้นก่อนทีจ่ ะน�ำเสนอลงในบัญชี รายชื่อเบื้องต้น เนื่องจากเป็นประเด็นหลักของการพิจารณาว่า แหล่งมรดกนั้น สมควรหรือไม่ที่จะได้รับการจารึกไว้ในบัญชีมรดกโลก
10 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
บทที่ 3 เกณฑ์การพิจารณาแหล่งมรดก เพือ่ ขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ในการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ขั้นตอนแรกที่ส�ำคัญตาม กระบวนการที่ได้สรุปไว้ในบทที่ 2 คือ จะต้องมีการรวบรวมแหล่งมรดกที่มี ศักยภาพเพียงพอที่จะได้รับการรับรองให้เป็นแหล่งมรดกโลกไว้ในบัญชี รายชือ่ เบือ้ งต้น หรือ Tentative list ซึง่ ในการรวบรวมแหล่งมรดกภายในขอบเขต รัฐภาคีหนึ่งๆ นอกจากจะต้องมีการส�ำรวจเพื่อน�ำเสนอรวมไว้ในบัญชีรายชื่อ เบื้องต้นแล้ว ยังจ�ำเป็นต้องมีการพิจารณาในด้านต่างๆ ที่เป็นข้อก�ำหนดพื้นฐาน ของเกณฑ์การพิจารณาเพือ่ จารึกไว้ในบัญชีมรดกโลกด้วย ซึง่ การพิจารณาเหล่านี้ ถือเป็นการกลั่นกรองคัดเลือกเฉพาะแหล่งทรัพย์สินที่มีศักยภาพที่เป็นไปได้ ในการที่จะได้รับการพิจารณาจารึกไว้ในบัญชีมรดกโลก อันเป็นแนวทางที่จะ ช่วยลดค่าใช้จา่ ยและเวลาในการจัดเตรียมเอกสารเพือ่ เสนอขอขึน้ ทะเบียนแหล่ง เป็นแหล่งมรดกโลกของทรัพย์สินที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ก�ำหนดซึ่งจะไม่ได้รับ การพิจารณาให้จารึกไว้ เกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้น ประกอบด้วย
- ความมีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากลและหลักเกณฑ์การประเมินคุณค่า ดังกล่าว - ความครบถ้วนและความเป็นของแท้ดั้งเดิม
- ความเป็ น ตั ว แทน ความสมดุ ล และความน่ า เชื่ อ ถื อ ของบั ญ ชี แหล่งมรดกโลก การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
11
3.1 ความมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลและหลักเกณฑ์การประเมิน คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Value: OUV) ในการพิจารณาคัดเลือกแหล่งมรดกของรัฐภาคีหนึ่งๆ เพื่อเสนอขอ ขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก นอกจากจะต้องมีคุณลักษณะเป็นไปตามข้อ ก�ำหนดของนิยาม “มรดกโลก” ที่ได้กล่าวถึงในบทที่ 1 แล้ว ยังจะต้องมี “คุณค่า โดดเด่นอันเป็นสากล” ด้วย ซึ่งในประเด็นนี้ แนวทางการอนุวัตตามอนุสัญญา คุ้มครองมรดกโลก ย่อหน้าที่ 49 ได้อธิบายความหมายของการมีคุณค่าโดดเด่น อันเป็นสากลไว้ดังนี้ 49. คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลหมายถึงคุณค่าความส�ำคัญในเชิงวัฒนธรรม และ/หรือธรรมชาติทมี่ มี ากเกินกว่าจะเป็นความส�ำคัญเฉพาะภายใน ขอบเขตประเทศหนึ่งๆ และเป็นสิ่งส�ำคัญทั่วไปร่วมกันของทั้งใน ยุ ค ปั จ จุ บั น และอนาคตของมวลมนุ ษ ยชาติ โ ดยรวม ดั ง นั้ น การคุ้มครองป้องกันอย่างถาวรของแหล่งมรดกนี้ เป็นสิ่งส�ำคัญ ทีส่ ดุ ของสังคมนานาประเทศโดยรวม โดยคณะกรรมการจะได้นยิ าม หลักเกณฑ์ในการก�ำหนดการจารึกทรัพย์สินนั้นไว้ในบัญชีมรดกโลก และได้มีการเน้นย�้ำถึงระดับของคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลอีกครั้งใน ย่อหน้าที่ 52 ที่ระบุว่า 52. อนุสัญญาฯ นี้ มิได้เป็นไปเพื่อความเชื่อมั่นว่า ทรัพย์สินที่ได้รับ ความสนใจ ทีม่ คี วามส�ำคัญ หรือมีคณ ุ ค่าทัง้ หมดจะได้รบั การคุม้ ครอง ป้องกัน แต่มีขึ้นเพื่อจัดท�ำบัญชีรายชื่อทรัพย์สินที่มีคุณค่าโดดเด่น มากที่สุดจากมุมมองในระดับสากล จึงไม่ควรคิดว่าทรัพย์สินที่มีคุณ ความส�ำคัญในระดับชาติหรือระดับภูมภิ าคแล้ว จะต้องได้รบั การจารึก ลงในบัญชีมรดกโลก 12 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
ในการน�ำเสนอเพื่อขอบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นของรัฐภาคีนั้นๆ จะต้องมีการระบุวา่ แหล่งมรดกดังกล่าว มีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ตามหลักเกณฑ์ ข้อใด (ซึง่ จะได้กล่าวถึงต่อไป) และหากได้รบั การยอมรับให้มกี ารขึน้ ทะเบียนเป็น มรดกโลกแล้ว “คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ตามหลักเกณฑ์ทไี่ ด้รบั ความเห็นชอบ ให้มีการขึ้นทะเบียน จะได้ถูกน�ำเสนอในแถลงการณ์ก�ำกับการยอมรับการจารึก ดังกล่าว (ย่อหน้าที่ 50 ใน แนวทางการอนุวัตตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก) และ “คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล” ที่ระบุไว้นี้ จะถูกน�ำไปใช้เป็นพื้นฐาน เพื่อการก�ำหนดแนวทางการคุ้มครองป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลคงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป (ย่อหน้าที่ 51 ในแนวทางการอนุวัตฯ)
หลักเกณฑ์การพิจารณาความมีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (Criteria) ย่อหน้าที่ 77 ใน “แนวทางการอนุวตั ฯ” ได้ก�ำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา ถึงการมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลไว้ดังนี้ 77. คณะกรรมการจะพิจารณาว่าทรัพย์สินมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (ดูย่อหน้า 49-53) ถ้าหากทรัพย์สินคุณสมบัติตามข้อใดข้อหนึ่งหรือ มากกว่าตามหลักเกณฑ์การพิจารณาดังต่อไปนี้ โดยทรัพย์สินที่น�ำ เสนอต้องเป็น i)
เป็นตัวแทนที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปกรรม หรือตัวแทนของความงดงามและ เป็นผลงานชิ้นเอกที่ จัดท�ำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดยิ่ง
ii)
แสดงถึงความส�ำคัญของการแลกเปลี่ยนคุณค่าของมนุษย์ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึง่ หรือในพืน้ ทีว่ ฒ ั นธรรมใดๆ ของโลก การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
13
ผ่านการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรมหรือทางเทคโนโลยี อนุสรณ์ ศิลป์ การวางแผนบ้านเมือง หรือการออกแบบภูมิทัศน์ iii) เป็นเอกลักษณ์ หายากยิ่ง หรือเป็นของแท้ดั้งเดิม iv) เป็นตัวอย่างของลักษณะโดยทั่วไปของสิ่งก่อสร้างอันเป็น ตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรืออุตสาหกรรม v)
เป็นตัวอย่างลักษณะอันเด่นชัด หรือของขนบธรรมเนียม ประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้ง ถิ่นฐานของมนุษย์ ที่มีความเปราะบางด้วยตัวมันเอง หรือ เสือ่ มสลายได้งา่ ยเพราะผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงทาง สังคมและวัฒนธรรมทีไ่ ม่สามารถกลับคืนดังเดิมได้ หรือการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
vi) มีความคิดหรือความเชือ่ ทีเ่ กีย่ วข้องโดยตรงกับเหตุการณ์หรือ บุคคลทีม่ คี วามส�ำคัญหรือความโดดเด่นยิง่ ในประวัตศิ าสตร์ vii) เป็นแหล่งทีเ่ กิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทมี่ คี วามโดดเด่น เห็นได้ชดั หรือเป็นพืน้ ทีท่ มี่ คี วามงามตามธรรมชาติหาพืน้ ที่ อื่นเปรียบเทียบไม่ได้ viii) เป็นตัวอย่างที่มีความโดดเด่นสะท้อนถึงวิวัฒนาการ ความเป็นมาของโลกในช่วงเวลาต่างๆ กัน ซึ่งรวมไปถึง ร่องรอยของสิ่งมีชีวิตหรือกระบวนการทางธรณีวิทยา ที่ส�ำคัญอันท�ำให้เกิดรูปลักษณ์ของแผ่นดินหรือลักษณะ ธรณีสัณฐาน หรือลักษณะภูมิประเทศที่ส�ำคัญ ix) เป็นตัวอย่างที่มีความโดดเด่นสะท้อนถึงกระบวนการ นิเวศวิทยา และชีววิทยาซึง่ ก่อให้เกิด และ มีพฒ ั นาการของ 14 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
ระบบนิเวศทางบก หรือระบบนิเวศน�้ำจืด หรือระบบนิเวศ ชายฝั่งและทางทะเล และสังคมสัตว์และพืช x)
เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความส�ำคัญสูงสุดส�ำหรับการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นก�ำเนิด ซึ่งรวมไปถึง ถิ่นที่อาศัยของชนิดพันธุ์พืช และ/หรือชนิดพันธุ์สัตว์ ทีม่ คี ณ ุ ค่าโดดเด่นเชิงวิทยาศาสตร์ หรือเชิงอนุรกั ษ์ระดับโลก
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ข้อ i-vi ใช้ส�ำหรับการพิจารณารับรองการเป็น แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม และหลักเกณฑ์ข้อ vii-x ใช้ส�ำหรับการพิจารณา รับรองการเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ หากเป็นแหล่งมรดกโลกแบบผสม มรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติแล้ว จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ทั้งสองส่วน อย่างน้อยส่วนละหนึ่งข้อ นอกจากจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทกี่ �ำหนดข้างต้นแล้ว ยังมีขอ้ ก�ำหนด เพิ่มเติมว่า บัญชีมรดกโลก จะต้องมี ความเป็นตัวแทน ความสมดุล และ ความน่าเชือ่ ถือ (หัวข้อ IIB ในแนวทางการอนุวตั ฯ) ซึง่ ความเป็นตัวแทน ความสมดุล และความน่าเชื่อถือของมรดกโลกนี้ จะพิจารณาโดยคณะกรรมการหรือ องค์คณะที่ปรึกษาที่ได้รับมอบหมาย พร้อมจัดท�ำเป็นรายงานเพื่อเผยแพร่ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่รัฐภาคีจะต้องพิจารณาแหล่งมรดกของตนในการเสนอ รวมเข้าไว้ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (ย่อหน้าที่ 71 ในแนวทางการอนุวัตฯ)
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
15
3.2 ความเป็นตัวแทน ความสมดุล และความน่าเชื่อถือของมรดกโลก ความเป็นตัวแทนของแหล่งมรดกโลก เป็นสิ่งที่ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่ม ของแหล่งมรดกโลกชนิดหรือประเภทหนึง่ ๆ ซึง่ มีความส�ำคัญรองไปจากหลักเกณฑ์ การพิจารณาคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ทั้งนี้ หากแหล่งทรัพย์สินนั้นๆ ได้รับ การพิจารณาแล้วว่ามีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลตามเกณฑ์ที่ก�ำหนด แต่พบ ว่ามีแหล่งทรัพย์สินในบัญชีมรดกโลกซึ่งมีความเป็นตัวแทนของกลุ่มประเภท นั้นๆ ดีกว่าปรากฏอยู่แล้ว แหล่งทรัพย์สินที่จะเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็น มรดกโลกนี้ อาจจะไม่ได้รับการพิจารณาให้จารึกไว้ในบัญชีมรดกโลก (ย่อหน้า ที่ 59 แนวทางการอนุวัตฯ) ดังนั้น ในการเสนอแหล่งเพื่อรวมเข้าไว้ในบัญชีราย ชื่อเบื้องต้น จ�ำเป็นต้องพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยสามารถตรวจสอบได้ จากบัญชีมรดกโลก หรือจากรายงานการศึกษาถึงช่องว่างของบัญชีมรดกโลก (ซึ่งหมายถึงกลุ่มหรือประเภทของแหล่งทรัพย์สินที่ยังไม่ได้รับการจารึกลงใน บัญชีมรดกโลก) (ย่อหน้าที่ 71 ในแนวทางการอนุวัตฯ) นอกจากนี้ เอกสารแนวทางด�ำเนินการฯ ยังได้ก�ำหนดถึง ความเป็น ตัวแทน ความสมดุล และความน่าเชื่อถือของการกระจายของมรดกโลกใน เชิงพืน้ ทีด่ ว้ ย โดยมีเป้าหมายต้องการให้มแี หล่งทรัพย์สนิ ทีไ่ ด้รบั การจารึกในบัญชี มรดกโลก ปรากฏกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคอย่างสมดุลกัน ซึ่งได้ก�ำหนดไว้เป็น แนวทางการด�ำเนินในการจัดล�ำดับการพิจารณาเพื่อรับรองการขอขึ้นทะเบียน แหล่งเป็นมรดกโลก (ย่อหน้าที่ 61c) และรวมถึงได้ก�ำหนดแนวทางปฏิบตั สิ �ำหรับ รัฐภาคีที่มีแหล่งมรดกโลกทรงคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลแต่มีแหล่งมรดกที ่ ได้รับการประกาศในบัญชีมรดกโลกอยู่น้อย ให้ด�ำเนินการไว้ในย่อหน้าที่ 60 ของแนวทางการอนุวัตฯ ดังนี้ a) ให้ความส�ำคัญกับการจัดเตรียมบัญชีเตรียมการและการขอขึน้ ทะเบียน เป็นแหล่งมรดกโลก 16 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
b) ก่ อ ตั้ ง และรวบรวมผู ้ ร ่ ว มด� ำ เนิ น การในระดั บ ภู มิ ภ าคเพื่ อ การแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางวิชาการ c) ส่งเสริมความร่วมมือระดับทวิภาคีหรือสหภาคีเพื่อเสริมสร้าง ความเชีย่ วชาญและความสามารถเฉพาะด้านของสถาบันทีม่ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบ เกี่ยวกับการคุ้มครองป้องกัน การให้ความปลอดภัย และการจัดการ แหล่งมรดก และ d) เข้ า มี ส ่วนร่วมกับวาระการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก ให้ มากเท่ าที่เ ป็นไปได้ ทั้งนี้ โดยสรุปของการเสนอขอบรรจุไว้ในบัญชีรายเตรียมการ รัฐภาคี ควรจะต้ อ งท�ำการส�ำรวจและพิ จ ารณาในเบื้ อ งต้ น ว่ า แหล่ ง มรดกนั้ น ๆ มีความเป็นไปได้หรือไม่ในการทีจ่ ะได้รบั การพิจารณารับรองให้เป็นมรดกโลก โดยจะ ต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์ของความมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลบนพื้นฐาน ของความครบถ้วนสมบูรณ์และความเป็นของแท้ดั้งเดิมของแหล่งมรดกนั้น รวมทั้งจะต้องพิจารณาถึงความเป็นตัวแทนของแหล่งมรดกประเภทนั้นๆ เปรียบเทียบกับแหล่งมรดกที่ได้รับการจารึกไว้ในบัญชีรายชื่อมรดกโลก (หรือศึกษาจากรายงานการเติมเต็มช่องในบัญชีมรดกโลกหรือ The World Heritage List: Filling the Gaps-an Action Plan for the Future ซึ่งสามารถ เข้าถึงได้ที่เว็บไซต์ของศูนย์มรดกโลก)
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
17
3.3 ความครบถ้วนสมบูรณ์ (Integrity) ทรัพย์สินทุกชิ้นที่น�ำเสนอเพื่อจารึกลงในบัญชีมรดกโลกต้องมีลักษณะ ทีส่ อดคล้องกับสภาพของความครบถ้วนสมบูรณ์ โดยในเอกสารแนวทางการอนุวตั ฯ ได้มกี ารก�ำหนดแนวทางการพิจารณาความครบถ้วนสมบูรณ์ของทรัพย์สนิ ไว้ดงั นี้ 88. ความครบถ้วนสมบูรณ์เป็นวิธกี ารตรวจสอบถึงความเป็นอยูท่ ปี่ รากฏ ในภาพรวมทั้งหมดและความรู้สึกที่สัมผัสได้ของแหล่งมรดกทาง ธรรมชาติ และ/หรือทางวัฒนธรรม และรวมถึงคุณลักษณะของสิง่ นัน้ ดังนัน้ ในการตรวจสอบถึงสภาพของความครบถ้วนสมบูรณ์ จ�ำเป็นต้อง มีการประเมินสิ่งต่างๆ ของทรัพย์สินที่ครอบคลุมถึง a) ทุกๆ องค์ประกอบทีจ่ ำ� เป็นในการอธิบายถึงคุณค่าโดดเด่นอันเป็น สากลของแหล่งมรดกนั้น b) การมีขนาดที่เพียงพอที่จะเป็นหลักประกันว่ามีความเป็นตัวแทน ที่ครบถ้วนของสภาพและกระบวนการที่แสดงออกถึงนัยส�ำคัญของ แหล่งมรดกนั้น c) การที่ แ หล่ ง มรดก จะต้ อ งอยู ่ ส ภาวะที่ เ ลวร้ า ยอั น เป็ น ผลเชิ ง ลบ จากการพั ฒ นาและการถู ก ปล่ อ ยปละละเลย สิ่งเหล่านี้ต้องถูกน�ำเสนอเพื่อใช้เป็นข้อแถลงเกี่ยวกับความครบถ้วน สมบูรณ์ของแหล่งมรดกหรือทรัพย์สินนั้น 89. ส�ำหรับทรัพย์สินที่น�ำเสนอภายใต้ข้อพิจารณที่ (i) ถึง (vi) สภาพทาง กายภาพของสิ่งของทรัพย์สินนั้น และ/หรือ คุณลักษณะที่ส�ำคัญของ สิง่ นัน้ จะต้องอยูใ่ นสภาพทีด่ ี และสิง่ ทีส่ ง่ ผลกระทบต่อกระบวนการเสือ่ ม สสายของสิง่ นั้น จะต้องได้รบั การควบคุม ทัง้ นีร้ วมถึงจะต้องมีสัดส่วน 18 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
ที่พอเหมาะขององค์ประกอบนั้น ที่สื่อถึงคุณค่าในภาพรวมทั้งหมด ซึง่ เป็นคุณค่าทีก่ ำ� หนดไว้ในแหล่งมรดก ความสัมพันธ์และหน้าทีท่ ยี่ งั คง มีการเปลีย่ นแปลงในแหล่งภูมทิ ศั น์เชิงวัฒนธรรม เมืองประวัตศิ าสตร์ หรือ คุณสมบัติที่ยังมีชีวิตอยู่อื่นๆ ที่ส�ำคัญต่อคุณลักษณะที่โดดเด่น ของแหล่งมรดกนั้น จะต้องยังคงมีการรักษาไว้ให้คงอยู่ 90. ส�ำหรับทรัพย์สินทุกอย่างที่ถูกเสนอภายใต้หลักเกณฑ์ที่ (vii) ถึง (x) ในเชิงสัมพัทธ์แล้ว กระบวนการทางชีวกายภาพและรูปแบบของสภาพ พื้นที่จะต้องยังคงอยู่ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ตระหนักว่าไม่มีพื้นที่ใดใน โลกนี้ที่มีสภาพเก่าแก่ดั้งเดิมอย่างแท้จริง และพื้นที่ธรรมชาติทั้งหมด อยู่ในสถานะภาพที่ยังคงมีการเปลี่ยนแปลง (พลวัต) และในขอบเขต ใดขอบเขตหนึ่งจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับประชาชน กิจกรรมของ มนุษย์ซึ่งรวมทั้งขนมธรรมเนียมประเพณีของสังคมและชุมชน ท้องถิน่ มักจะเกิดขึน้ ในพืน้ ทีธ่ รรมชาติ ซึง่ กิจกรรมเหล่านี้ อาจจะคงอยู่ อย่างมัน่ คงกับคุณค่าความส�ำคัญทีโ่ ดดเด่นอันเป็นสากลของพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ในขณะที่พื้นที่เหล่านั้นยังคงมีความยั่งยืนในเชิงนิเวศ 91. ทรัพย์สินที่น�ำเสนอภายใต้หลักเกณฑ์ที่ (vii) ถึง (x) ได้มีการก�ำหนด สภาพความครบถ้วนสมบูรณ์ที่สอดรับกับหลักเกณฑ์แต่ละข้อไว้ 92. ทรัพย์สินที่น�ำเสนอภายใต้ข้อก�ำหนดที่ (vii) จะต้องมีคุณค่าโดดเด่น อันเป็นสากลและรวมถึงพื้นที่ที่มีความส�ำคัญในการรักษาความงาม ของทรัพย์สิน ตัวอย่างเช่น ทรัพย์สินที่คุณค่าของทิวทัศน์ขึ้นอยู่กับ น�้ำตกจะสอดคล้องกับความครบถ้วนสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อพื้นที่ นั้นจะต้องรวมถึงพื้นที่รับน�้ำและพื้นที่ปลายน�้ำที่อยู่ข้างเคียงซึ่งถูก เชือ่ มโยงกันเพือ่ การรักษาถึงคุณภาพของความสวยงามของทรัพย์สนิ นัน้ 93. ทรัพย์สนิ ทีน่ ำ� เสนอภายใต้หลักเกณฑ์ที่ (viii) ต้องประกอบด้วยทัง้ หมด หรือส่วนใหญ่ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกันหรือมีความสัมพันธ์กัน การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
19
ตามความสัมพันธ์ตามธรรมชาติของสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ตัวอย่างเช่น พื้นที่ที่แสดงถึง ยุคน�้ำแข็ง จะมีความสอดคล้องกับความครบถ้วน สมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ พื้นที่นั้นจะต้องครบคลุมถึงลานหิมะ ตัวธารน�้ำแข็ง และพร้อมกับจะต้องมีส่วนที่แสดงถึงรูปแบบของรอยตัด การทับถม และพัฒนาการของพื้นที่ (ร่องรอยสิ่งต่างๆ ที่ถูกน�้ำแข็งพัดมา ระยะ เบิกน�ำของการทดแทนของพืช เป็นต้น) ในกรณีของภูเขาไฟนัน้ ชุดของ หินหนืดจะต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์ และจะต้องมีตวั แทนทีแ่ สดงให้ เห็นถึงชุดของหินทีไ่ หลออกมา และประเภทของการระเบิดของภูเขาไฟ 94. ทรัพย์สินที่น�ำเสนอภายใต้หลักเกณฑ์ที่ (ix) ต้องมีขนาดที่เพียงพอ และมีองค์ประกอบต่างๆ ที่จ�ำเป็นที่แสดงให้เห็นทิศทางหลักของ กระบวนการที่ส�ำคัญส�ำหรับการอนุรักษ์ในระยะยาวของระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่นั้น ตัวอย่าง เช่น พืน้ ทีป่ า่ ดิบชืน้ เขตร้อนแห่งหนึง่ แห่งใดจะสอดคล้องกับสภาพของ ความครบถ้วนสมบูรณ์ได้ ถ้าหากพืน้ ทีน่ นั้ ประกอบด้วยจ�ำนวนทีแ่ น่นอน จ�ำนวนหนึ่งของความผันแปรทางด้านความสูงจากระดับน�้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศและชนิดหรือประเภทของดิน ระบบของชิ้นส่วนพื้นที่และการเกิดขึ้นตามธรรมชาติของชิ้นส่วนของ พื้นที่เหล่านั้น เช่นเดียวกับแนวปะการังซึ่งอาจจะต้องครอบคลุมถึง ระบบนิเวศของหญ้าทะเล ป่าชายเลน และอื่นๆ ที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ ข้างเคียงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณของแร่ธาตุอาหารที่ จะถูกส่งต่อไปยังแนวปะการังนั้นๆ 95. ทรัพย์สินที่น�ำเสนอภายใต้หลักเกณฑ์ที่ (x) จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ ส�ำคัญอย่างยิง่ ส�ำหรับการอนุรกั ษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนัน้ ในหลักเกณฑ์นี้ จะมีเฉพาะทรัพย์สนิ ซึง่ มีความผันแปรทางชีวภาพมาก ที่สุดเท่านั้น ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์นี้ ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวนั้น จะ ต้องประกอบด้วยถิ่นที่อยู่อาศัยส�ำหรับการคงอยู่ของคุณลักษณะของ 20 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
พืน้ ทีท่ มี่ คี วามหลากหลายของพืชและสัตว์มากทีส่ ดุ ของเขตภูมศิ าสตร์ ทางชีววิทยา และระบบนิเวศทีพ่ จิ ารณา ตัวอย่างเช่น ทุง่ หญ้าเขตร้อน จะมีสอดคล้องกับความครบถ้วนสมบูรณ์ ถ้าพื้นที่นั้นเป็นการรวมกัน ของพืชและสิ่งมีชีวิตที่กินพืชที่ถูกวิวัฒนาการมาด้วยกัน ในขณะที่ ระบบนิเวศเกาะนั้น จะต้องมีการรวมของถิ่นที่อยู่อาศัยส�ำหรับ การรักษาไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น แหล่งทรัพย์สินที่ครอบคลุมชนิด พันธุท์ มี่ คี ณ ุ สมบัตพิ นื้ ฐานทีแ่ ตกต่างกันมาก จะต้องมีขนาดใหญ่พอทีจ่ ะ รวมเอาถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยทีม่ คี วามวิกฤตมากทีส่ ดุ ทีจ่ ะเป็นหลักประกันถึง การอยู่รอดของประชากรที่ด�ำรงชีวิตเป็นปกติของชนิดพันธุ์เหล่านั้น ส�ำหรับพืน้ ทีใ่ ดพืน้ ทีห่ นึง่ ทีม่ ชี นิดพันธุอ์ พยพเป็นองค์ประกอบ จะต้อง มีพนื้ ทีเ่ พือ่ การผสมพันธุแ์ ละท�ำรังตามฤดูกาล และเส้นทางอพยพของ จุดที่พบชนิดพันธุ์นั้น จะต้องได้รับการคุ้มครองป้องกันอย่างเพียงพอ
3.4 ความเป็นของแท้ดั้งเดิม (Authenticity) ส�ำหรับ “ความเป็นของแท้ดงั้ เดิม” ได้ก�ำหนดแนวทางการพิจารณาไว้ดงั นี้ 79. ทรัพย์สินที่ได้รับการน�ำเสนอภายใต้หลักเกณฑ์ที่ (I) ถึง (vi) ต้องมี สภาพของความเป็นของแท้ดั้งเดิม ทั้งนี้ ในเอกสารแนบ 4* ซึ่งเป็น เอกสารจากการประชุมทีเ่ มืองนาราทีเ่ กีย่ วกับความเป็นของแท้ดงั้ เดิม เป็นพืน้ ฐานในเชิงปฏิบตั เิ พือ่ การตรวจสอบความเป็นของแท้ดงั้ เดิมของ ทรัพย์สิน ซึ่งได้สรุปเสนอในล�ำดับถัดไป 80. ความสามารถในการเข้าใจถึงคุณค่าที่ถูกก�ำหนดให้เป็นคุณลักษณะ ของแหล่งมรดก ขึ้นอยู่กับระดับความน่าเชื่อถือและความจริงของ คุณค่า องค์ความรู้และความเข้าใจของแหล่งข้อมูลต่างๆ ใน * ในเอกสารแนวทางอนุวัตฯ การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
21
ความสัมพันธ์กบั คุณสมบัติ ณ จุดเริม่ ต้นและทีต่ ามมาของแหล่งมรดก ทางวัฒนธรรมเป็นพืน้ ฐานของความจ�ำเป็นส�ำหรับการประเมินในทุกๆ ด้านของความเป็นของแท้ดั้งเดิม 81. การตัดสินถึงคุณค่าของคุณลักษณะที่ถูกก�ำหนดให้แหล่งมรดก ทางวัฒนธรรม และรวมถึงความน่าเชือ่ ถือของแหล่งข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้อง อาจจะมีความแตกต่างกันในวัฒนธรรมหนึ่งกับอีกวัฒนธรรมหนึ่ง หรือแม้แต่ภายในวัฒนธรรมเดียวกัน เพื่อเป็นการให้ความเคารพกับ ทุกๆ วัฒนธรรม ดังนัน้ ในเบือ้ งต้น จะพิจารณาและตัดสินแหล่งมรดก ทางวัฒนธรรมในสภาพแวดล้อมที่วัฒนธรรมนั้นปรากฏอยู่ 82. บนพืน้ ฐานของประเภทแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อม ทีแ่ หล่งมรดกทางวัฒนธรรมหนึง่ ๆ ทรัพย์สนิ มีคณ ุ ลักษณะทีเ่ ป็นไปตาม เงื่อนไขของความเป็นของแท้ดั้งเดิม ถ้าหากคุณค่าในเชิงวัฒนธรรม ของแหล่งมรดกถูกอธิบายอย่างแท้จริงและน่าเชื่อถือจากชุดของ คุณลักษณะต่างๆ ดังนี้ • รูปแบบและการออกแบบ • วัสดุและสสาร • การใช้ประโยชน์และหน้าที่ • จารีตประเพณี เทคนิค และระบบการจัดการ • สถานที่ตั้งและสภาพองค์ประกอบ • ภาษาและรูปแบบอื่นๆ ของมรดกที่สัมผัสมิได้ • จิตวิญญาณและความรู้สึก • ปัจจัยภายในและภายนอกอื่นๆ 22 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
83. คุณลักษณะบางอย่าง เช่น จิตวิญญาณและความรู้สึกเป็นสิ่งที่ไม่ง่าย ในการน�ำไปใช้ในการพิจารณาถึงสภาพของความเป็นของแท้ดั้งเดิม แต่เป็นดัชนีบง่ ชีท้ ส่ี ำ� คัญของคุณสมบัตแิ ละความรูส้ กึ ของสถานที่ ตัวอย่าง เช่น การรักษาไว้ซึ่งจารีตประเพณีและความต่อเนื่องของวัฒนธรรม 84. การใช้แหล่งข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้มีการเพิ่มเติมรายละเอียด เฉพาะด้านในส่วนของมิติทางด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์ สังคม และ เชิงวิทยาศาสตร์ของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีการตรวจสอบ ทั้งนี้ “แหล่งข้อมูล” มีความหมายรวมถึงแหล่งต่างๆ ทั้งทางด้าน กายภาพ สิง่ ทีม่ กี ารบันทึกไว้ มีการเล่าขานปากต่อปาก และสิง่ ทีป่ รากฏ เป็นรูปร่างต่างๆ ทีม่ คี วามเป็นไปได้ในการทีจ่ ะช่วยให้ทราบถึงธรรมชาติ ความเป็นลักษณะเฉพาะ ความหมาย และประวัติศาสตร์ของแหล่ง มรดกทางวัฒนธรรมนั้น 85. เมื่อได้พิจารณาถึงสภาพของความเป็นของแท้ดงั้ เดิมของแหล่งมรดก ทางวัฒนธรรม นั้นแล้ว รัฐภาคีจะต้องจ�ำแนกคุณลักษณะทุกๆ ด้าน ของความเป็นของแท้ดั้งเดิมที่เป็นไปได้ในการจัดเตรียมการน�ำเสนอ ทรัพย์สนิ นัน้ โดยข้อความทีก่ ล่าวถึงความเป็นของแท้ดงั้ เดิมนัน้ จะต้อง ประเมินถึงระดับของความเป็นของแท้ดงั้ เดิมทีป่ รากฏอยูว่ า่ เป็นอย่างไร หรือความเป็นของแท้ดั้งเดิมที่ถูกอธิบายได้อย่างไร ของคุณลักษณะ ที่ส�ำคัญที่ได้จ�ำแนกไว้ 86. ในความเป็นของแท้ด้ังเดิม การสร้างขึ้นใหม่ของร่องรอยหลักฐาน ทางโบราณคดีหรืออาคารประวัติศาสตร์ หรือ แหล่งนั้น จะได้รับ การพิจารณาเฉพาะในสภาพการณ์ทไี่ ด้รบั การยกเว้นเท่านัน้ ซึง่ จะพิจารณา จากเอกสารที่มีความสมบูรณ์และมีรายละเอียดที่ครบถ้วน โดยจะไม่ พิจารณาด้วยการคาดเดา การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
23
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล รวมถึง คุณลักษณะของความครบถ้วนสมบูรณ์ และความเป็นของแท้ดั้งเดิมที่ได้กล่าว ข้างต้น จะถูกน�ำไปใช้เป็นแนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับการคุ้มครองป้องกัน และการจัดการที่รัฐภาคีจะต้องรวมไว้ในเอกสารที่น�ำเสนอเพื่อขอขึ้นทะเบียน แหล่งเป็นมรดกโลก โดยแนวทางการคุ้มครองป้องกันและการจัดการ จะต้อง เป็นไปเพื่อรักษาคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล และความครบถ้วนสมบูรณ์และ ความเป็นของแท้ดั้งเดิมที่รัฐภาคี ได้ระบุไว้ส�ำหรับแหล่งมรดกที่ได้น�ำเสนอนั้น
24 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
บทที่ 4 บัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้น 4.1 นิยามและความหมาย บัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้น หรือ Tentative lists เป็น บัญชีรายชือ่ แหล่งมรดก ทางวัฒนธรรม หรือ ทางธรรมชาติ หรือทรัพยสินทีไ่ ด้จากการส�ำรวจ ทีต่ งั้ อยูภ่ ายใน อาณาเขตของรัฐภาคี แต่ละรัฐ ซึง่ รัฐภาคีนนั้ ๆ ได้พจิ ารณาในเบือ้ งต้นแล้วเห็นว่ามี ความเหมาะสม ทีจ่ ะให้มกี ารจารึกไว้ในบัญชีมรดกโลก ดังนัน้ รัฐภาคีตา่ งๆ จึงควร จะรวบรวมรายชื่อทรัพย์สินต่างๆ ที่คิดว่ามีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลที่สมควร ก�ำหนดให้เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมหรือทางธรรมชาติซึ่งมีความต้องการที่ จะน�ำเสนอเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคต (ย่อหน้าที่ 62 ใน แนวทางการอนุวัตฯ) พร้อมทั้งได้ระบุในย่อหน้าที่ 63 ของแนวทางการอนุวัตฯ ว่า ทั้งนี้ หากรายการทรัพย์สินนั้นๆ ไม่ได้มีการบรรจุไว้ในบัญชีเบื้องต้นแล้ว จะไม่มีการพิจารณาเพื่อบรรจุไว้ในบัญชีมรดกโลก จะเห็นได้ว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น เป็นเครื่องมือส�ำหรับการวางแผน ที่มีประโยชน์และมีความส�ำคัญมาก ทั้งส�ำหรับรัฐภาคี คณะกรรมการมรดกโลก ส�ำนักงานเลขานุการคณะกรรการมรดกโลก ศูนย์มรดกโลก และองค์กรทีป่ รึกษา เนื่องจากบัญชีเตรียมการ เป็นตัวบ่งชี้ว่าจะมีการเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็น มรดกโลกในอนาคต (ย่อหน้าที่ 70 ในแนวทางการอนุวัตฯ) การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
25
ในทางปฏิบตั แิ ล้ว การบรรจุรายชือ่ แหล่งมรดกในบัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้น เป็น ขั้นตอนแรกที่ส�ำคัญของกระบวนการในการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติดังกล่าว จะได้ รับการเสนอขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกในอนาคต และเพือ่ ให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ของการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก รัฐภาคีควรจะ ต้องด�ำเนินการเบื้องต้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าแหล่งมรดกนั้นๆ เป็นไปตาม เกณฑ์ที่ก�ำหนดเกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ทั้งนี้เพื่อเป็น การลดค่าใช้จา่ ยและเวลาในการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ในการเสนอขอขึน้ ทะเบียน แหล่งเป็นมรดกโลก ซึง่ จะต้องใช้ทรัพยากรจ�ำนวนมาก โดยรัฐภาคีควรจะต้องมี การส�ำรวจและพิจารณาแหล่งมรดกภายในขอบเขตอธิปไตยของตนใน 2 ประเด็นหลัก คือความมีคุณค่าโดดเด่นในระดับสากลตามหลักเกณฑ์ที่ก�ำหนดบนพื้นฐาน ของความครบถ้วนสมบูรณ์และความเป็นของแท้ดั้งเดิม และความเป็นตัวแทน และช่องว่างของกลุ่มหรือประเภทของแหล่งมรดกนั้นๆ ในบัญชีมรดกโลก ซึ่งได้กล่าวถึงแล้วในบทก่อนหน้านี้
4.2 องค์ประกอบของบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เมือ่ แหล่งมรดกเป้าหมาย ได้รบั การพิจารณาว่าเป็นไปตามเกณฑ์ทกี่ �ำหนด ข้างต้นแล้ว รัฐภาคีจะต้องท�ำการจัดเตรียมรายละเอียดของแหล่งมรดกนั้น เป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศส โดยใช้รูปแบบมาตรฐานที่ได้แสดงไว้ในเอกสาร แนบ 2 (ของแนวทางการอนุวัตฯ) ซึ่งประกอบด้วย - ชื่อของทรัพย์สิน - ต�ำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ - รายละเอียดของทรัพย์สินอย่างย่อ และ - เหตุผลในการทีไ่ ด้ตดั สินว่าทรัพย์สนิ ดังกล่าวนัน้ มีคณุ ค่าโดดเด่นในระดับสากล 26 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
(กล่าวถึงในบทก่อนหน้านี้) โดยการจัดเตรียมบัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้นนัน้ รัฐภาคีควรเน้น การมีสว่ นร่วม ของผูท้ มี่ สี ว่ นได้สว่ นเสียต่างๆ รวมทัง้ ผูจ้ ดั การพืน้ ที่ องค์กรปกครองระดับภูมภิ าค หรือท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และภาคีและผู้มีส่วนร่วมอื่นๆ ที่มีความสนใจ (ย่อหน้าที่ 64 ในแนวทางการอนุวัตฯ)
4.3 กรอบเวลาการเสนอบัญชีรายชื่อเบื้องต้น การน�ำเสนอหรือการปรับปรุงบัญชีรายชื่อเบื้องต้นโดยทั่วไปแล้วนั้น จะกระท�ำในเวลาใดๆ ก็ได้ (World Heritage Centre, 1992-2013) อย่างไร ก็ตาม หากมีก�ำหนดการที่จะเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกส�ำหรับ แหล่งมรดกนั้นๆ แล้ว ควรจะต้องเสนอแหล่งมรดกนั้นเข้าอยู่ในบัญชีเบื้องต้น ล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี (ย่อหน้าที่ 65 ในแนวทางการอนุวัตฯ) ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าการเสนอหรือการขอปรับปรุงบัญชีรายชื่อเบื้องต้นนั้น สามารถกระท�ำในเวลาใดๆ ก็ได้ แต่ในแนวทางการอนุวัตฯ นั้น ได้เสนอแนะว่า รัฐภาคีควรจะต้องมีการตรวจสอบ และทบทวนการน�ำเสนอบัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้น อย่างน้อยทุกๆ รอบสิบปี (ย่อหน้าที่ 65 ในแนวทางการอนุวัตฯ)
4.4 การลงทะเบียนรับบัญชีรายชื่อเบื้องต้น บัญชีรายชื่อเบื้องต้นที่ได้มีการจัดเตรียมไว้สมบูรณ์เรียบร้อยแล้วนั้น จะต้องมีการลงนามโดยผู้ที่ได้รับมอบอ�ำนาจด�ำเนินการจากรัฐภาคีพร้อมทั้ง น�ำเสนอต่อศูนย์มรดกโลก ในฐานะส�ำนักงานเลขานุการคณะกรรมการมรดกโลก ตามที่อยู่ดังนี้ การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
27
UNESCO World Heritage Centre 7, Place de Fontenoy 75352 Paris 07 SP France Tel: +33 (0)1 4568 1136 E-mail:wh-tentativelists@unesco.org เมือ่ ส�ำนักงานเลขานุการคณะกรรมการมรดกโลกได้รบั เอกสารการน�ำเสนอ บัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้น ทีร่ ฐั ภาคีหนึง่ ๆ เสนอแล้ว ในล�ำดับแรกจะท�ำการตรวจสอบ ว่ารูปแบบของบัญชีเตรียมการนั้น เป็นไปตามรูปแบบมาตรฐานที่ก�ำหนดไว้ ในเอกสารแนบที่ 2* หรือไม่ หากไม่สอดคล้องกับรูปแบบมาตรฐานที่ก�ำหนด แล้ว เอกสารหรือบัญชีรายชื่อเบื้องต้นนั้น จะถูกส่งกลับไปยังรัฐภาคีที่เสนอเพื่อ การปรับปรุงแก้ไข ส�ำหรับบัญชีรายชื่อเบื้องต้นที่มีรูปแบบและมีความครบถ้วน สมบูรณ์ตามมาตรฐานทีก่ �ำหนดแล้ว จะได้รบั การลงทะเบียนและด�ำเนินการต่อไป (ย่อหน้าที่ 68 แนวทางการอนุวัตฯ) โดยในแต่ละปี จะมีการจัดท�ำสรุปและ ปรับปรุงบัญชีรายชื่อเบื้องต้นที่แต่ละรัฐภาคีเสนอมีความเป็นปัจจุบัน โดยใน การปรับปรุงบัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้นให้เป็นปัจจุบนั ดังกล่าวนัน้ รวมถึงการน�ำแหล่งมรดก ทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติท่ีได้รับการพิจารณาแล้วออกจากบัญชีรายชื่อ เบือ้ งต้น ทัง้ ทีเ่ ป็นแหล่งมรดกโลกทีไ่ ด้รบั การรับรองให้จารึกลงในบัญชีมรดกโลก และแหล่งมรดกที่ไม่ได้รบั การรับรองให้จารึกลงในบัญชีมรดกโลก (ย่อหน้าที่ 68 ในแนวทางการอนุวัตฯ) โดยบัญชีรายชื่อเบื้องต้นของรัฐภาคีต่างๆ นั้น สามารถ ดูได้จากเว็บไซต์ http://whe.unesco.org/en/ tentativelists (ย่อหน้าที่ 69 ในแนวทางการอนุวัตฯ) * เอกสารแนบที่ 2 ในเอกสารแนวทางอนุวัตฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 28 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
4.5 การให้ความช่วยเหลือในการจัดเตรียมบัญชีรายชื่อเบื้องต้น จากที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น จะเห็นว่าบัญชีรายชื่อเบื้องต้นนั้นเป็น ความจ�ำเป็นพืน้ ฐานในการเสนอขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก โดยเป็นตัวบ่งชี้ ว่าแหล่งมรดกนั้นๆ จะมีการเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกในอนาคต โดยที่ในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกนั้น เป็นกระบวนที่ใช้ทรัพยากรจ�ำนวนมาก ทั้งทรัพยากรทางด้านการเงิน บุคลากร และเวลา ดังนั้น จึงควรเสนอเฉพาะแหล่งมรดกที่มีศักยภาพสูงที่จะได้รับ การรับรองให้มกี ารจารึกไว้ในบัญชีมรดกโลกเท่านัน้ โดยในเอกสารแนวทางการอนุวตั ฯ นั้น ได้ระบุไว้ถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อการจัดเตรียมบัญชีรายชื่อเบื้องต้นที่มี ประสิทธิภาพดังนี้ 71. รัฐภาคี ควรจะต้องมีการตรวจสอบผลการวิเคราะห์ทั้งในส่วนของ บัญชีมรดกโลกและบัญชีรายชื่อเบื้องต้นที่คณะกรรมการได้ให้มี การจัดท�ำขึน้ โดยสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) และ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) ซึ่งผลการวิเคราะห์ดังกล่าว นั้น เป็นการวิเคราะห์ถึงช่องว่างที่ปรากฏอยู่ในบัญชีมรดกโลก โดยผลการวิเคราะห์นั้น อาจจะช่วยรัฐภาคีในการเปรียบเทียบกับ ความคาดหวังของทรัพย์สนิ ทีต่ อ้ งการให้มกี ารประกาศเป็นแหล่งมรดกโลก ทั้งในเรื่องของหัวข้อ ภูมิภาค กลุ่มวัฒนธรรมทางด้านภูมิศาสตร์ และ เขตทางภูมิศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต 72. นอกจากนี้ รัฐภาคีควรพิจารณาร่วมกับการศึกษาเฉพาะด้านทีด่ ำ� เนิน การโดยองค์กรที่ปรึกษา (ดูย่อหน้าที่ 147) ซึ่งการศึกษาเหล่านี้ เป็น ผลมาจากการทบทวนเกีย่ วกับบัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้นทีถ่ กู เสนอโดยรัฐภาคี ต่างๆ และจากรายงานการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการจัดแบ่งกลุ่มของ แหล่งทีเ่ สนออยูใ่ นบัญชีเตรียมการ ให้โดยแต่ละกลุม่ นัน้ มีคณ ุ ลักษณะ ที่สอดคล้องกันรวมถึงการศึกษาทางด้านวิชาการอื่นๆ ที่ด�ำเนินการ การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
29
โดยองค์กรที่ปรึกษา รวมถึงองค์กรและบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งนี้ รายชื่อของรายงานดังกล่าวที่เสร็จสมบูรณ์แล้วนั้น สามารถดูได้จาก เว็บไซต์: http://whc.unesco.org/en/globalstrategy 73. สนับสนุนให้รัฐภาคี มีการจัดแบ่งกลุ่มบัญชีรายชื่อเบื้องต้นที่มี คุณลักษณะที่สอดคล้องกันในระดับภูมิภาคและระดับหัวข้อ ทั้งนี้ การจัดแบ่งกลุม่ ดังกล่าวนัน้ เป็นกระบวนการทีร่ ฐั ภาคี ด้วยการช่วยเหลือ ขององค์กรทีป่ รึกษา จะได้ประเมินในภาพรวมของบัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้น เหล่านั้น ถึงช่องว่างและหัวข้อที่มีส่วนร่วมกัน โดยการจัดแบ่งกลุ่มนี้ อาจจะส่งผลให้มกี ารปรับปรุงบัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้น อันอาจจะก่อให้เกิด ข้อเสนอใหม่จากรัฐภาคีตา่ งๆ และเกิดความร่วมมือกันภายในกลุม่ ของ รัฐภาคีในการจัดเตรียมการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก นอกจากนี้ ในแนวทางการอนุวัตฯ ได้ก�ำหนดแนวทางการให้ความช่วย เหลือและการสร้างสมรรถนะส�ำหรับรัฐภาคีในการเตรียมบัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้น ดังนี้ 74. เพื่อด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์ระดับโลก ความพยายามด้าน ความร่วมมือในการสร้างสมรรถนะและการฝึกอบรมอาจเป็นสิง่ จ�ำเป็น ในการช่วยเหลือรัฐภาคีที่จะให้ได้มาซึ่งการเสริมสร้าง และ/หรือ การรวบรวมความเชีย่ วชาญในการจัดเตรียมความพร้อม ทัง้ ในด้านของ การปรับปรุง การปรับให้มคี วามเป็นปัจจุบนั และการจัดแบ่งกลุม่ แหล่ง ทีม่ คี ณ ุ ลักษณะทีส่ อดคล้องกันของบัญชีเตรียมการ และการจัดเตรียม การขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก 75. รัฐภาคีสามารถร้องขอความช่วยเหลือระดับนานาชาติ (International Assistance) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการเตรียมการปรับให้เป็น ปัจจุบนั และการจัดแบ่งกลุม่ แหล่งทีม่ คี ณ ุ ลักษณะทีส่ อดคล้องกันของ บัญชีรายชื่อเบื้องต้น 30 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
76. องค์กรทีป่ รึกษาและส�ำนักงานเลขานุการ อาจจะมีการประเมินเพือ่ จัด ให้มีการฝึกอบรมเชิงฏิบัติการในระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดเตรียม บัญชีรายชือ่ เตรียมการและการขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกเพือ่ ช่วยเหลือรัฐภาคีที่มีระดับของความเป็นตัวแทนอยู่น้อย
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
31
32 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
บทที่ 5 การจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอ ขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ก่อนทีจ่ ะมีการจัดเตรียมเอกสารเพือ่ เสนอขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ควรจะต้องมีการพิจารณาให้รอบครอบถึงข้อก�ำหนดเบื้องต้นต่างๆ ที่ได้กล่าว ถึงแล้วในบทก่อนหน้านี้ โดยสรุปคือ - ศักยภาพที่จะได้รับการพิจารณารับรองให้เป็นแหล่งมรดกโลก บนกรอบของหลักเกณฑ์ความมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล บนพื้นฐาน ของความสมดุล ความเป็นตัวแทน และความน่าเชือ่ ถือของแหล่งมรดกโลก รวมถึงความครบถ้วนสมบูรณ์และความเป็นของแท้ของแหล่งมรดกนั้นๆ ทั้งนี้เนื่องจากในกระบวนการของการจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอขอ ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จะต้องใช้ทรัพยากรจ�ำนวนมาก ทั้งทาง ด้านงบประมาณ บุคลากร และเวลา - ศึ ก ษาวงจรของการเสนอขอขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น แหล่ ง มรดกโลก เพือ่ ให้การด�ำเนินการสอดคล้องกับกรอบเวลาของการพิจารณาเพือ่ จารึก ลงในบัญชีมรดกโลก ทัง้ นี้ หากมีความผิดพลาดหรือคลาดเคลือ่ นของเรือ่ ง กรอบเวลาแล้ว อาจจะท�ำให้การพิจารณาจะต้องล่าช้าออกไป - ได้มีการเสนอบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นแล้ว
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
33
5.1 เกณฑ์การพิจารณาการเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ในระหว่างการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลก รัฐภาคีหรือผู้ที่ได้รับมอบอ�ำนาจให้ด�ำเนินการ จะต้องตระหนัก อยู่เสมอว่า การพิจารณารับรองการเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จะพิจารณาจากเอกสารบนพื้นฐานของหลักฐานที่ปรากฎภายใต้หลักเกณฑ์ ความมีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากลทีร่ ฐั ภาคีเสนอว่า “แหล่งมรดก” สมควรได้รบั การพิจารณารับรองให้เป็นแหล่งมรดกโลก โดยการพิจารณาจะเน้นในความเป็น เหตุเป็นผลบนพืน้ ฐานของความน่าเชือ่ ถือของหลักฐานประกอบ ไม่ใช่พจิ ารณาจาก รูปลักษณ์และปริมาณของเอกสารทีเ่ สนอขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นแหล่งมรดกโลก ดังนั้น ในกระบวนการจัดท�ำเอกสารเพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลกของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติหนึ่งๆ ควรจะ ต้องมีการตรวจสอบ/ทบทวน/ทวนสอบข้ามระหว่างเอกสารต่างๆ เป็นอย่างดี
5.2 องค์ประกอบของเอกสารเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของทรัพย์สินเพื่อจารึกในบัญชี มรดกโลก จะต้องจัดเตรียมให้เป็นไปตามรูปแบบที่ได้ก�ำหนดไว้ในเอกสารแนบ ที่ 5 (แนวทางการอนุวัตฯ) ซึ่งประกอบด้วย - การจ�ำแนกทรัพย์สิน - ค�ำบรรยายเกี่ยวกับทรัพย์สิน - การให้เหตุผลเพื่อการจารึก - สถานภาพของการอนุรักษ์และปัจจัยที่มีผลต่อทรัพย์สินนั้นๆ - การคุ้มครองป้องกันและการจัดการ 34 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
- การติดตามประเมินผล - เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง - ข้อมูลส�ำหรับการติดต่อกับผู้ที่มีอ�ำนาจรับผิดชอบ - ลายมือชื่อในนามของรัฐภาคี (หรือกลุ่มของรัฐภาคี) ทั้งนี้ เอกสารเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกหนึ่งๆ จะต้องมี ความสมบูรณ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) การจ�ำแนกทรัพย์สิน จะต้องมีการก�ำหนดแนวเขตของทรัพย์สินหรือแหล่งมรดกให้ม ี ความชัดเจน ทัง้ นี้ หากมีแนวกันชน (ซึง่ เป็นพืน้ ทีโ่ ดยรอบแหล่งทีต่ อ้ งการเสนอขอ ขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก) แล้ว จะต้องไม่มคี วามคลุมเครือระหว่างแนวเขต ของแหล่งมรดกนั้นกับพื้นที่แนวกันชน โดยแผนที่ที่แสดงขอบเขต จะต้องมี รายละเอียดเพียงพอที่จะระบุได้ว่าส่วนไหนของผืนดิน และ/หรือผืนน�้ำที่เป็น พื้นที่ที่เสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก หากเป็นไปได้ควรจะใช้แผนที่ ภูมิประเทศที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นล่าสุดอย่างเป็นทางการของรัฐภาคีที่ได้มีการใช้เพื่อ แสดงถึงขอบเขตของทรัพย์สินนั้น การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจะถูก พิจารณาว่า “ไม่สมบูรณ์” ถ้าหากไม่มีการระบุขอบเขตของทรัพย์สินที่ชัดเจน 2) รายละเอียดของทรัพย์สินหรือแหล่ง รายละเอียดของทรัพย์สินจะต้องประกอบด้วยการจ�ำแนกประเภท ของทรัพย์สนิ และภาพรวมของประวัตคิ วามเป็นมาและพัฒนาการของทรัพย์สนิ องค์ประกอบทุกส่วนทีก่ �ำหนดในแผนทีต่ อ้ งมีการจ�ำแนกและอธิบาย โดยเฉพาะ ในกรณีการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกที่เป็นชุด (Serial Nomination) จะต้องมีการอธิบายองค์ประกอบแต่ละส่วนให้มีความชัดเจน นอกจากนี้ จะต้องอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของทรัพย์สินว่ามา ถึง ณ จุดนีไ้ ด้อย่างไร และได้ผา่ นการเปลีย่ นแปลงทีส่ �ำคัญอะไรบ้าง ข้อมูลเหล่านี้ การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
35
จะต้องระบุถึงความจริงที่ส�ำคัญที่เป็นสิ่งจ�ำเป็นในการสนับสนุนหรือให้น�้ำหนัก กับข้อโต้แย้งทีว่ า่ ทรัพย์สนิ นัน้ สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในเรือ่ งของความมีคณ ุ ค่า โดดเด่นอันเป็นสากล และสภาพของความครบถ้วนสมบูรณ์และ/หรือความเป็น ของแท้ดั้งเดิม 3) ข้อเหตุผลในการจารึก ในส่วนนี้ จะต้องระบุถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการเป็น แหล่งมรดกโลกที่ได้กล่าวถึงข้างต้น โดยจะต้องพิจารณาว่าทรัพย์สินดังกล่าว เข้าหลักเกณฑ์ในข้อใด พร้อมทั้งจะต้องระบุถึงเหตุผลที่ยกมาอ้างของการใช้ หลักเกณฑ์นนั้ ๆ โดยจะต้องอธิบายให้มคี วามชัดเจนว่าเหตุใดทรัพย์สนิ นัน้ จึงสมควร จะได้รับการพิจารณาว่ามีคุณค่าเพียงพอที่จะต้องจารึกไว้ในบัญชีมรดกโลก รวมทั้งจะต้องจัดเตรียมเอกสารที่แสดงถึงการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบทั้งใน ระดับประเทศและระดับนานาชาติของทรัพย์สนิ นั้นๆ ทีส่ ัมพันธ์กบั ทรัพย์สินอืน่ ทีม่ คี วามคล้ายกันซึง่ อาจจะอยูห่ รือไม่อยูใ่ นบัญชีมรดกโลกก็ได้ โดยในการวิเคราะห์ เชิงเปรียบเทียบ จะต้องอธิบายถึงความส�ำคัญของทรัพย์สนิ ทีข่ อขึน้ ทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลกในบริบทของระดับประเทศและระดับนานาชาติ และจะต้องมี ข้อแถลง (Statement) ถึงความครบถ้วนสมบูรณ์และความเป็นของแท้ดั้งเดิม ของทรัพย์สินนั้น โดยค�ำอธิบายดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินนั้น มีความสอดคล้องกับสภาพที่ได้ก�ำหนดไว้ในย่อยหน้าที่ 78-95 (ของแนวทาง การอนุวัตฯ) อย่างไร 4) สภาพของการอนุรักษ์และปัจจัยที่มีผลต่อแหล่ง ในส่วนนีจ้ ะต้องมีขอ้ มูลทีถ่ กู ต้องเกีย่ วกับสภาพในการอนุรกั ษ์ทรัพย์สนิ นั้นในปัจจุบัน (รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางกายภาพของทรัพย์สินนั้น และ มาตรการการอนุรักษ์ที่มีอยู่) รวมทั้งจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผล ต่อทรัพย์สินนั้น (รวมทั้งปัจจัยคุกคาม) โดยข้อมูลที่ให้ไว้ในส่วนนี้จะถูกรวบรวม เป็นข้อมูลพื้นฐานซึ่งเป็นสิ่งจ�ำเป็นในการติดตามตรวจสอบถึงสภาพการณ์ของ การอนุรักษ์ทรัพย์สินที่เสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคต 36 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
5) การคุ้มครองป้องกันและการจัดการ 5.1 การคุม้ ครองป้องกัน: จะต้องมีการบรรยายถึงแนวทางการคุม้ ครอง ป้องกันแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติดงั กล่าว ซึง่ อาจจะประกอบ ด้วยมาตรการทางด้านกฎหมาย ระเบียบ สัญญา แผนงาน สถาบัน และ/หรือ ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่มีผลโดยตรงต่อการคุ้มครองป้องกันทรัพย์สินนั้น โดยจะต้องบรรยายอย่างละเอียดถึงวิธกี ารทีแ่ นวทางการคุม้ ครองป้องกันเหล่านัน้ จะด�ำเนินการได้จริง โดยจะต้องมีการแนบเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงแผนงาน และ/หรือ เอกสารในเชิงสถาบัน หรือสาระโดยย่อในเชิงกฎหมาย กฎระเบียบ และ/หรือสัญญาที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส 5.2 การจัดการ: จะต้องมีการบรรยายอย่างละเอียดถึงแผนการ จัดการที่เหมาะสมหรือระบบการจัดการอื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ความมั่นใจเกี่ยวกับ การน�ำไปปฏิบตั จิ ริงอย่างมีประสิทธิภาพของแผนการจัดการหรือระบบการจัดการ ทั้งนี้แผนการจัดการหรือระบบการจัดการนั้นๆ จะเป็นไปอย่างบูรณาการ บนหลักการของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ส�ำเนาของแผนการจัดการหรือเอกสารที่เกี่ยวกับระบบ การจัดการพร้อมการวิเคราะห์จะต้องผนวกรวมเข้าไปในเอกสารเสนอขอขึน้ ทะเบียน เป็นแหล่งมรดกโลก หากแผนการจัดการทีม่ อี ยูน่ นั้ อยูใ่ นภาษาอืน่ นอกเหนือจาก ภาษาอังกฤษหรือฝรัง่ เศสแล้ว จะต้องมีการจัดท�ำค�ำบรรยายอย่างละเอียดเกีย่ วกับ บทบัญญัติหรือข้อก�ำหนดเป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสแนบไปด้วย แผนการจัดการหรือระบบการจัดการพร้อมกับการวิเคราะห์ถึง ประสิทธิภาพของแผนหรือระบบการจัดการนั้นๆ ถือเป็นสิ่งที่ส�ำคัญและจ�ำเป็น อย่างยิง่ หากไม่ปรากฏเอกสารดังกล่าวในเอกสารเสนอขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่ง มรดกโลกแล้ว อาจจะพิจารณาว่าเอกสารการเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็น แหล่งมรดกโลกของทรัพย์สินนั้น มีสถานะภาพเป็น “ไม่สมบูรณ์” และจะไม่มี การด�ำเนินการต่อใดๆ ทั้งนี้ ยกเว้นในกรณีที่มีเอกสารประกอบอื่นๆ ที่สามารถ สื่อถึงแนวทางในการจัดการแหล่งมรดกนั้นๆ การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
37
6) การตรวจสอบติดตามผล ในเอกสารการเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จะต้อง บรรยายถึงแนวทางการติดตามตรวจสอบผลการด�ำเนินการ โดยจะต้องมีการระบุ ตัวชี้วัดหลัก ซึ่งอาจจะมีอยู่แล้วหรืออาจจะเสนอให้มีขึ้นเพื่อการตรวจวัดและ ประเมินสภาพของการอนุรักษ์ทรัพย์สิน ปัจจัยที่มีผลต่อทรัพย์สินนั้น มาตรการ การอนุรักษ์ในทรัพย์สินนั้น ช่วงเวลาของการตรวจสอบ และเอกลักษณ์ของผู้รับ ผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย 7) การจัดท�ำเอกสาร จะต้องมีการจัดเตรียมเอกสารทัง้ หมดทีจ่ �ำเป็นจะต้องใช้เพือ่ สนับสนุน การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก และรวมถึงสิ่งต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว ก่อนหน้านี้ ได้แก่ 7.1) ภาพที่มีคุณภาพเหมาะสมส�ำหรับการจัดพิมพ์ (ภาพเชิงตัวเลข ที่มีความละเอียดอย่างน้อย 300 dpi และถ้าเป็นไปได้ควร จะต้องมีภาพสไลด์ขนาด 35 มิลลิเมตร และถ้าจ�ำเป็นอาจใช้ สื่อวิดิทัศน์อื่นๆ เช่น ฟิล์ม วิดีโอ หรือสื่อภาพและเสียงอื่นๆ 7.2) การส�ำรวจที่จดั แสดงเป็นภาพ/สือ่ ภาพและเสียง พร้อมทัง้ แบบ ฟอร์มการมอบอ�ำนาจให้ด�ำเนินการ (ดูเอกสารแนบ 5 ข้อ 7.a) ทั้งนี้ สาระที่ปรากฏในการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จะต้องอยู่ในรูปแบบของการพิมพ์หรือรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ควรจัดให้อยู่ในรูปแบบของ Word และ/หรือ PDF) 8) ข้อมูลส�ำหรับการติดต่อกับหน่วยงานรับผิดชอบ เอกสารเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จะต้องให้ รายละเอียดของข้อมูลส�ำหรับการติดต่อกับหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบ (ซึง่ ได้รบั มอบ อ�ำนาจจากรัฐภาคี) 38 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
9) ลายมือชื่อในนามของรัฐภาคี การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจะต้องมีลายมือชื่อต้นฉบับ ของผู้ที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นทางการจากรัฐภาคี 10) จ�ำนวนของส�ำเนาที่ต้องน�ำเสนอ จ�ำนวนส�ำเนาทีต่ อ้ งน�ำเสนอมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทของ แหล่งมรดก ดังนี้ - การขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม (ไม่รวมภูมิทัศน์วัฒนธรรม) จ�ำนวน 2 ฉบับ - การขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของทรัพย์สนิ ทางธรรมชาติ และภูมิทัศน์วัฒนธรรม จ�ำนวน 3 ฉบับ - การขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของทรัพย์สนิ หรือมรดกผสม ระหว่างทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ จ�ำนวน 4 ฉบับ 11) กระดาษและรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจะต้องน�ำเสนอบนขนาด ของกระดาษ A4 (หรือ “letter”) ทั้งบนกระดาษและรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ (รูปแบบ Word และ/หรือ PDF) 12) การจัดส่ง รัฐภาคีตอ้ งเสนอเอกสารการขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเป็น ภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศส ที่มีการลงนามแล้วมายัง UNESCO World Heritage Centre 7, Place de Fontenoy 75352 Paris 07 SP France การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
39
Tel: +33 (0) 1 4568 1136 Fax: +33 (0) 1 4568 5570 E-mail: wh-nominations@unesco.org ทั้งนี้ รัฐภาคีอาจจะเสนอร่างเอกสารเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่ง มรดกโลก ต่อส�ำนักงานเลขานุการเพื่อขอความเห็นและตรวจสอบก่อนจะ น�ำเสนออย่างเป็นทางการ โดยจะต้องส่งภายในวันที่ 30 กันยายนของแต่ละปี ซึ่งในขั้นตอนนี้ (เสนอร่างเพื่อขอความเห็นและตรวจสอบ) เป็นขั้นตอนที่รัฐภาคี จะด�ำเนินการหรือไม่ก็ได้ (ตามความสมัครใจ) ส�ำนั ก งานเลขานุ ก ารจะจั ด เก็ บ เอกสารเสนอขอขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น แหล่งมรดกโลกทั้งหมด รวมทั้งที่เป็นแผนที่ แผนผัง วัสดุภาพ ฯลฯ ที่ส่งมากับ การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
5.3 กรอบเวลาส�ำหรับการเสนอเอกสารเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลก
กรอบเวลาของการเสนอเอกสารเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก เป็นไปตามกรอบระยะเวลาในการขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก โดยการเสนอ เอกสารเพื่อการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จะด�ำเนินการเมื่อใด ก็ได้ในระหว่างปี แต่การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกดังกล่าว จะได้รับ การพิจารณาในวาระการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกในรอบปีถดั ไปก็ตอ่ เมือ่ เอกสารเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก มีความครบถ้วนสมบูรณ์และ ส่งถึงส�ำนักงานเลขานุการภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เพื่อเข้าพิจารณาในวาระ การประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกของปีถดั ไป (เนือ่ งจากกระบวนการของ การพิจารณาเพือ่ รับการจารึกลงในบัญชีมรดกโลก จะต้องใช้เวลาประมาณหนึง่ ปีครึง่ ) ทั้งนี้ หากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ตรงกับวันหยุด ให้ถือวันท�ำการวันสุดท้ายก่อนหน้า 40 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
เป็นวันสุดท้ายของการรับเอกสารเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จากนั้น ส�ำนักงานเลขานุการคณะกรรมการมรดกโลกจะลงทะเบียน การรับเอกสารเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารที่เสนอ และภายในวันที่ 1 มีนาคม ส�ำนักงานเลขานุการจะแจ้งให้รฐั ภาคีทราบอย่างเป็นทางการเกีย่ วกับ การลงทะเบียนรับเอกสารน�ำเสนอ รวมทัง้ จะได้ระบุถงึ สภาพความครบถ้วนสมบูรณ์ ของเอกสารทีไ่ ด้น�ำเสนอดังกล่าว โดยเอกสารน�ำเสนอทีม่ คี วามครบถ้วนสมบูรณ์ จะเสนอต่อไปยังองค์กรทีป่ รึกษาเพือ่ เข้าสูก่ ระบวนการการประเมินและพิจารณา ให้ความเห็น ส�ำหรับเอกสารน�ำเสนอที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ จะถูกส่งกลับไปยัง รัฐภาคีทเี่ สนอพร้อมข้อเสนอแนะเพือ่ การปรับปรุงให้มคี วามครบถ้วนสมบูรณ์เพือ่ ที่จะได้น�ำเสนออีกครั้งภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ของปีถัดไป (ซึ่งแสดงว่าแหล่ง มรดกดังกล่าว จะต้องเข้าสูว่ งจรการขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในรอบถัดไป ดังนัน้ การเสนอร่างเอกสารเสนอขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกต่อส�ำนักงาน เลขานุการเพือ่ ขอความเห็นและพิจารณาตรวจสอบทีไ่ ด้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ ถึงแม้ จะเป็นขัน้ ตอนทีไ่ ม่ได้บงั คับ แต่อาจจะเป็นแนวทางปฏิบตั ทิ ดี่ เี พือ่ ให้การเสนอขอ ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเป็นไปตามกรอบเวลาที่รัฐภาคีต้องการ)
5.4 แนวทางการพิจารณารับรองการจารึกแหล่งมรดกในบัญชีมรดกโลก จากที่ ไ ด้ ก ล่ า วถึ ง ข้ า งต้ น เอกสารการเสนอขอขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น แหล่งมรดกโลกที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ จะมีการน�ำเสนอต่อไปยังองค์กร ที่ปรึกษาเพื่อประเมินและให้ความเห็นว่าแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและ ทางธรรมชาติทไี่ ด้รบั การเสนอ สมควรจะให้มกี ารจารึกลงในบัญชีมรดกโลกหรือไม่ ซึ่งองค์กรที่ปรึกษาที่ท�ำหน้าที่ประเมินมี 2 องค์กรหลัก ดังนี้
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
41
- สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites: ICOMOS) - สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (The World Conservation Congress) หรือชื่อเดิมคือองค์การระหว่างประเทศเพื่อการสงวน ทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources: IUCN) ในการประเมินแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม จะด�ำเนินการโดย ICOMOS และการประเมินมรดกทางธรรมชาติ จะด�ำเนินการโดย IUCN ในกรณีของ การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของทรัพย์สินทางวัฒนธรรมในกลุ่มของ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” ซึ่งหากมีความเหมาะสมแล้ว การประเมินจะด�ำเนินการ โดย ICOMOS ภายใต้การปรึกษาหารือกับ IUCN และส�ำหรับทรัพย์สนิ แบบผสม การประเมินจะด�ำเนินการโดยความร่วมมือกันระหว่าง ICOMOS และ IUCN ทั้งนี้ องค์กรที่ปรึกษาจะท�ำการประเมินว่าทรัพย์สินที่ได้น�ำเสนอโดย รัฐภาคี มีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล มีสภาพที่สอดคล้องกับความครบถ้วน สมบูรณ์ และ/หรือความเป็นของแท้ และสอดคล้องกับข้อก�ำหนดในการคุม้ ครอง ป้องกันและการจัดการ โดยวิธีการและรูปแบบการประเมินของ ICOMOS และ IUCN ได้แสดงรายละเอียดไว้ในเอกสารแนบที่ 6 ทั้งนี้ หลักการพื้นฐานใน การประเมินของทั้งสององค์กรที่ปรึกษา (ย่อหน้าที่ 148) มีดังนี้ a) ยึดมั่นกับอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกและแนวทางการด�ำเนินการ ตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกที่เกี่ยวข้อง และนโยบายเพิ่มเติม ที่ก�ำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการ b) อยู่บนพื้นฐานของหลักฐาน ความเข้มงวด และวิชาการในการประเมิน c) ต้องด�ำเนินการไปตามมาตรฐานหนึ่งเดียวของความเป็นมืออาชีพ d) ให้เป็นไปตามรูปแบบมาตรฐาน ทั้งในการประเมินและการน�ำเสนอ 42 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
ต้องยอมรับตามส�ำนักงานเลขานุการ และระบุชื่อของผู้ประเมินที่ได้ เข้าไปในพื้นที่ e) ชีแ้ จงชัดเจนและแยกแยะว่าทรัพย์สนิ นัน้ มีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากล มีสภาพความครบถ้วนสมบูรณ์ และ/หรือมีความเป็นของแท้ มีแผน หรือระบบการจัดการ และมีการคุ้มครองป้องกันทางกฎหมายหรือไม่ f) ประเมินทรัพย์สินแต่ละชิ้นอย่างเป็นระบบตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสภาพของการอนุรกั ษ์ในเชิงสัมพันธ์ กล่าวคือโดยการเปรียบเทียบ กับทรัพย์สินที่อื่นๆ ในประเภทเดียวกัน ทั้งในและนอกอาณาเขตของ รัฐภาคี g) ต้องมีการอ้างอิงการตัดสินใจและข้อเรียกร้องที่เกี่ยวกับข้อเสนอ เพื่อการจัดตั้งที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา h) ต้องไม่น�ำข้อมูลต่างๆ ทีร่ ฐั ภาคีได้น�ำเสนอภายหลังจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ซึง่ จะต้องพิจารณาจากประทับตราไปรษณีย์ ในปีทขี่ อ้ เสนอเพือ่ การจัดตัง้ ได้เข้ารับการพิจารณา โดยรัฐภาคีจะได้รับแจ้งหากข้อมูลเหล่านั้นมา ถึงภายหลังก�ำหนดดังกล่าว และข้อมูลเหล่านั้นจะไม่ถูกน�ำเข้าสู่การ ประเมิน ทั้งนี้ ก�ำหนดวันดังกล่าว จะต้องมีการถือปฏิบัติอย่างจริงจัง I) จดั ให้มกี ารให้เหตุผลทีเ่ ป็นจริงตามความคิดเห็นจากบัญชีรายการอ้างอิง (เอกสาร) ที่ใช้ตามความเหมาะสม ทัง้ นี ้ ในระหว่างกระบวนการของการประเมิน หากคณะกรรมการมรดกโลก พิจารณาแล้วเห็นว่าควรจะต้องมีหรือมีความจ�ำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเฉพาะ เรื่องเพิ่มเติมแล้ว จะได้มีการมอบหมายให้ ICOMOS และ IUCN ท�ำการศึกษา เฉพาะเรื่องเพิ่มเติมดังกล่าว ซึ่งอาจจะเป็นการประเมินแหล่งที่เสนอในบริบท ระดับภูมิภาค ระดับโลก หรือระดับเฉพาะเรื่อง หรืออาจจะเป็นการศึกษา เพื่อจัดแบ่งกลุ่มประเภทของแหล่งมรดกโลก การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
43
นอกจากนี้ ในระหว่างกระบวนการของการประเมินโดยองค์กรที่ปรึกษา หากองค์กรที่ปรึกษามีค�ำถาม หรือมีการร้องขอข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติมแล้ว จะต้องแจ้งให้รฐั ภาคีทราบภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถดั ไป ในทางตรงกันข้าม ในระหว่างการประเมินโดยองค์กรที่ปรึกษา หากรัฐภาคีตรวจพบว่ามี ข้อผิดพลาดในเอกสารทีเ่ สนอไปนัน้ รัฐภาคีสามารถส่งจดหมายทีแ่ สดงถึงรายละเอียด เกีย่ วกับข้อผิดพลาดต่างๆทีต่ รวจพบตามเอกสารแนบที่ 12 และจะต้องถูกส่งถึง ศู น ย์ ม รดกโลกไม่ น ้ อ ยกว่ า 14 วั น ก่ อ นการเปิ ด วาระการประชุ ม ของ คณะกรรมการ มรดกโลก (ที่แหล่งมรดกที่เสนอ จะเข้ารับการพิจารณา) พร้อม ทั้งจะต้องมีการส�ำเนาแจ้งองค์กรที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องและจดหมายดังกล่าวจะ ถูกผนวกไว้ในเอกสารวาระการประชุมทีเ่ กีย่ วข้องไม่ชา้ กว่าวันแรกของการประชุม คณะกรรมการมรดกโลก ศูนย์มรดกโลกและองค์กรที่ปรึกษาอาจจะเพิ่มเติม ความเห็นในเอกสารดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวข้องของแบบฟอร์มก่อน ทั้งนี้ รัฐภาคีอาจขอถอนการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกที่ได้ ยื่นไว้ในเวลาใดๆ ก็ได้ ก่อนที่จะถึงก�ำหนดวาระการประชุมคณะกรรมการ มรดกโลก โดยรัฐภาคีจะต้องแจ้งให้ส�ำนักงานเลขานุการทราบเป็น ลายลักษณ์อกั ษร ถึ ง การที่ จ ะขอถอนการขอขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น แหล่ ง มรดกโลกดั ง กล่ า ว ทั้งนี้ หากรัฐภาคียังมีความต้องการอยู่ก็สามารถน�ำทรัพย์สินนั้นกลับมาเสนอ ใหม่ได้ ซึ่งจะถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกใหม่ ภายหลังจากที่องค์กรที่ปรึกษาได้ประเมินและพิจารณาข้อเสนอเพื่อ การขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกแล้ว จะให้ขอ้ เสนอแนะอย่างใดอย่างหนึง่ ดังนี้ a) ทรัพย์สินที่แนะน�ำให้ท�ำการจารึกโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ b) ทรัพย์สินที่ไม่แนะน�ำให้ท�ำการจารึก c) ข้อเสนอเพื่อการจัดตั้งที่แนะน�ำให้ส่งกลับคืนไปยังรัฐภาคี หรือเลื่อน การพิจารณาออกไป 44 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะขององค์กรที่ปรึกษาข้างต้น จะถูกเสนอเข้าสู่ การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกในวาระการประชุมที่จะมาถึงเพื่อ การตัดสินใจสุดท้ายว่าจะให้มกี ารจารึกแหล่งมรดกดังกล่าวลงในบัญชีแหล่งมรดกโลก หรือไม่ หรือมีความเห็นเป็นอย่างอื่น ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป
5.5 มติของคณะกรรมการมรดกโลก จากผลการประเมินและข้อเสนอแนะขององค์กรทีป่ รึกษา คณะกรรมการ มรดกโลกเป็นผูต้ ดั สินใจว่าทรัพย์สนิ นัน้ สมควรทีจ่ ะจารึกหรือไม่จารึกลงในบัญชี มรดกโลก รวมทั้งการส่งกลับคืนไปยังรัฐภาคี หรือเลื่อนการพิจารณาออกไป โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับผลการพิจารณาดังนี้ - การพิจารณาเห็นชอบให้มีการจารึกในบัญชีมรดกโลก หากคณะกรรมการมรดกโลกได้ตัดสินใจว่าให้ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินหรือ แหล่งมรดกลงในบัญชีมรดกโลกแล้ว แสดงว่าคณะกรรมการโดยการแนะน�ำของ องค์กรทีป่ รึกษายอมรับเหตุผลเกีย่ วกับ การมีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากลส�ำหรับ ทรัพย์สนิ ทีร่ ฐั ภาคีเสนอ โดยจะจัดท�ำข้อแถลงซึง่ เป็นการสรุปผลการพิจารณาของ คณะกรรมการทีร่ ะบุถงึ ความมีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของทรัพย์สนิ นัน้ พร้อมทัง้ แจกแจงหลั ก เกณฑ์ ที่ ท�ำให้ ท รั พ ย์ สิ น นั้ น ได้ รั บ การจารึ ก ทั้ ง นี้ ร วมถึ ง การประเมินเกีย่ วกับสภาพของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือความเป็นของแท้ และ การคุ้มครองป้องกันและการจัดการที่มีผลบังคับใช้ และความต้องการส�ำหรับ การคุม้ ครองป้องกันและการจัดการ ทัง้ นีข้ อ้ แถลงดังกล่าวจะถูกน�ำไปใช้เป็นพืน้ ฐาน ส�ำหรับการคุ้มครองป้องกันและการจัดการทรัพย์สินนั้นในอนาคต นอกจากนั้น คณะกรรมการอาจให้ค�ำแนะน�ำอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองป้องกันและ การจัดการซึง่ ทรัพย์สนิ ทีเ่ ป็นมรดกโลกนัน้ โดยข้อแถลงข้างต้นจะได้รบั การบันทึก ไว้ในรายงานและสิ่งตีพิมพ์เผยแพร่ การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
45
ทัง้ นีจ้ ะเห็นว่าการพิจารณาถึงความมีคณ ุ ค่าโดดเด่นระดับสากล จะพิจารณา เฉพาะในประเด็นที่รัฐภาคีเสนอเท่านั้น - การพิจารณาไม่จารึกแหล่งมรดกในบัญชีมรดกโลก (Not to Inscribe) ในกรณีที่คณะกรรมการมรดกโลกได้ตัดสินใจว่าทรัพย์สินนั้นไม่ควร จารึกไว้ในบัญชีมรดกโลกแล้ว ไม่ควรน�ำข้อเสนอการเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลกมายื่นเสนอใหม่ ทั้งนี้ ยกเว้นในสถานการณ์บางอย่างที่ได้ รับการยกเว้น ตัวอย่างเช่น แหล่งมรดกดังกล่าวมีการค้นพบหลักฐานใหม่ มีข้อมูลในเชิงวิทยาศาสตร์ใหม่ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น หรือใช้หลักเกณฑ์ใหม่ ที่ไม่ปรากฏอยู่ในข้อเสนอเดิม ซึ่งในกรณีเหล่านี้ อาจยื่นเสนอใหม่ได้ - การส่งกลับการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก (Referral) การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกที่ส่งกลับคืนไปยังรัฐภาคีโดย การตัดสินใจของคณะกรรมการเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อาจจะน�ำมาเสนอใหม่ เพื่อรับการตรวจสอบในวาระการประชุมถัดไป โดยข้อมูลเพิ่มเติมจะต้องถูกส่ง ถึงส�ำนักงานเลขานุการภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ของปีที่คณะกรรมการต้องการ ตรวจสอบ จากนัน้ ส�ำนักงานเลขานุการจะด�ำเนินการส่งต่อไปยังองค์กรทีป่ รึกษา ทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ ด�ำเนินการประเมินทันที ทัง้ นี้ หากไม่มกี ารเสนอใหม่ภายในสามปี หลังการตัดสินใจของคณะกรรมการในครัง้ แรกแล้ว ถ้ามีการน�ำข้อเสนอขึน้ ทะเบียน เป็นแหล่งมรดกโลกดังกล่าวมาเสนอเพื่อการประเมินอีกครั้ง ให้ถือเป็นข้อเสนอ ใหม่ ซึ่งเป็นไปตามวิธีการและตารางก�ำหนดเวลาปกติ - การเลือ่ นการพิจารณาการขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก (Deferral) คณะกรรมการอาจจะตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาการขอขึ้นทะเบียน เป็นแหล่งมรดกโลกเพื่อการประเมินหรือการศึกษาในเชิงลึกมากขึ้น หรือ การทบทวนเพิ่มเติมรายละเอียดมากขึ้นของรัฐภาคี ทั้งนี้ รัฐภาคีควรตัดสินใจ
46 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
น�ำเสนอกลับเข้าไปใหม่ในปีทตี่ ามมาปีใดก็ได้ โดยเอกสารทีเ่ สนอกลับเข้าไปใหม่ จะต้องถึงส�ำนักงานเลขานุการภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดยการขอขึ้นทะเบียน เป็นแหล่งมรดกโลกทีเ่ สนอกลับเข้าไปใหม่นี้ จะได้รบั การประเมินใหม่ตามกรอบ ระยะเวลาปกติ
5.6 การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกประเภทอื่นๆ การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นการขอขึ้น ทะเบียนทรัพย์สิน ที่มีสภาพของการปรากฏที่ต่อเนื่องอยู่ในขอบเขตอธิปไตย ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งจากที่ได้กล่าวถึงในบทที่ 1 จะเห็นว่ามีทรัพย์สิน ที่มีสภาพการปรากฏอยู่ที่แตกต่างออกไป ทั้งที่เป็นทรัพย์สินที่ปรากฏอยู่คร่อม พรมแดนระหว่างประเทศ หรือเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพของการปรากฏอยู่ ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งในการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของทรัพย์สินเหล่านี้ จะมีข้อพิจารณาเพื่อการจัดท�ำเอกสารขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเพิ่ม เติมดังนี้ - ทรัพย์สินที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตแดน (Transboundary property) ทรัพย์สินที่ปรากฏตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนของกลุ่มประเทศ หรือ Transboundary property ในแนวทางการอนุวัตฯ ได้แนะน�ำว่า ควรจะต้อง มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการร่วม หรือองค์กรอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันใน การดูแลการจัดการในภาพรวมทัง้ หมดของทรัพย์สนิ คร่อมพรมแดนนัน้ (ย่อหน้า ที่ 135) และนอกจากนั้น อาจจะมีการขยายเขตแดนจากทรัพย์สินที่ได้รับ การจารึกให้เป็นมรดกโลกทีต่ งั้ อยูใ่ นรัฐภาคีหนึง่ ๆ โดยการเสนอให้เป็นทรัพย์สนิ คร่อมพรมแดนได้ (ย่อหน้าที่ 136) การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
47
- ทรัพย์สินที่มีความเชื่อมโยง (Serial property) ย่อหน้าที่ 137 ของแนวทางการอนุวัตฯ ได้ให้นิยามของค�ำว่า ทรัพย์สิน ที่มีความต่อเชื่อมโยง หรือ Serial property ว่า เป็นทรัพย์สินที่มีองค์ประกอบ จ�ำนวน 2 ส่วน หรือมากกว่า ที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งมีความเชื่อมโยงต่อกันที่ อธิบายได้อย่างชัดเจน ดังนี้ a) ชิ้นส่วนขององค์ประกอบจะต้องสะท้อนถึงความเชื่อมโยงต่อกัน ในเชิงหน้าที่ สังคม หรือวัฒนธรรมตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาซึ่งแสดง ถึงการเชื่อมต่อกันในเชิงภูมิทัศน์ นิเวศวิทยา วิวัฒนาการ หรือถิ่นที่อยู่ อาศัยอย่างใดอย่างหนึ่ง b) แต่ละชิ้นส่วนขององค์ประกอบนั้น จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณค่า โดดเด่นอันเป็นสากลในภาพรวมทั้งหมด ในเชิงวัสดุ วิทยาศาสตร์ ค�ำจ�ำกัดความ และสามารถเห็นได้ชดั เจน และอาจจะรวมถึงคุณลักษณะ ที่ถูกฝังอยู่หรือสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ ทั้งนี้ คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลที่เกิด ขึ้นนี้ จะต้องเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจและสื่อสารได้ง่าย c) เพื่อใช้เป็นแนวทางหลัก หลีกเลี่ยงการมีส่วนที่เป็นองค์ประกอบมาก เกินไป กระบวนการของการขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ซึง่ รวม ทั้งการคัดเลือกส่วนขององค์ประกอบด้วย จะต้องให้ความส�ำคัญกับ ความสามารถในการจัดการในภาพรวมทัง้ หมด และการเชือ่ มโยงถึงกัน ของทรัพย์สินเหล่านั้น (ดูย่อหน้า 114) และทรัพย์สนิ ทัง้ ชุดจะต้องเป็นหนึง่ เดียว และไม่ใช่เพียงส่วนขององค์ประกอบใด องค์ประกอบหนึ่งที่จะอธิบายได้ถึงคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล
48 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
ทรัพย์สินที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเป็นชุดนั้น อาจจะปรากฏ สภาพอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ a) ในอาณาเขตของรัฐภาคีใดรัฐภาคีหนึ่ง (จัดเป็นทรัพย์สินที่มีความต่อ เชื่อมโยง; serial national property) b) ภายในอาณาเขตของรัฐภาคีที่ต่างๆ ซึ่งอาจไม่เชื่อมติดต่อกัน และได้ รับการเสนอขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกด้วยความเห็นชอบของ รัฐภาคีทงั้ หมดทีเ่ กีย่ วข้อง (จัดเป็นทรัพย์สนิ ทีม่ คี วามต่อเชือ่ มโยงระหว่าง ชาติ; Serial transnational property) โดยการขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทีม่ คี วามต่อเชือ่ มโยง ซึง่ อาจจะมาจาก รัฐภาคีใด รัฐภาคีหนึ่ง หรือหลายๆ รัฐภาคีร่วมกัน อาจจะมีการเสนอเพื่อการ ประเมินในหลายๆ รอบการน�ำเสนอ ซึ่งท�ำให้ทรัพย์สินที่ได้รับการเสนอในครั้ง แรกมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลในสิทธิของรัฐภาคีนั้นเอง รัฐภาคีที่มีแผนการ ขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเพือ่ การจัดตัง้ เป็นชุดโดยผ่านรอบการน�ำเสนอ หลายรอบ ควรทีจ่ ะต้องแจ้งความจ�ำนงดังกล่าวให้คณะกรรมการรับทราบเพือ่ ให้ เกิดความมัน่ ใจทีม่ ากขึน้ ในแผนการนัน้ ๆ (ย่อหน้าที่ 139 ในแนวทางการอนุวตั ฯ)
5.7 การช่วยเหลือหรือการร้องขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการมรดกโลก ในระหว่างการเตรียมการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลก รัฐภาคีสามารถติดต่อหรือประสานงานกับส�ำนักงานเลขานุการ ได้ ต ลอดเวลา โดยคณะกรรมการมรดกโลกได้ ก�ำหนดแนวทางการให้ ความช่วยเหลือในการจัดท�ำเอกสารเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งได้แสดงอยู่ในย่อหน้าที่ 241 หัวข้อ การให้ความช่วยเหลือเพื่อการเตรียมการ หรือ Preparatory assistance ซึ่งมีใจความสรุป ดังนี้ การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
49
การให้ความช่วยเหลืออาจจะถูกร้องขอเพื่อ (ตามล�ำดับความส�ำคัญ) - จัดเตรียมหรือปรับปรุงบัญชีรายชื่อเบื้องต้นของทรัพย์สินที่สมควร ให้มีการจารึกไว้ในบัญชีมรดกโลก ซึ่งการร้องขอนี้รัฐภาคีมีภาระผูกพันที่จะ ต้องเสนอแหล่งเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตามล�ำดับของข้อแนะน�ำจาก การศึกษาเฉพาะเรือ่ งทีไ่ ด้รบั การรับรอง ตัวอย่างเช่น การศึกษาเฉพาะเรือ่ งทีจ่ ดั ท�ำ ขึน้ โดยองค์กรทีป่ รึกษาทีส่ อดคล้องกับผลการศึกษาถึงช่องว่างของบัญชีมรดกโลก เป็นต้น - จัดให้มีการประชุมเพื่อการจัดแบ่งกลุ่มหรือประเภทของบัญชีรายชื่อ เบื้องต้นระดับชาติภายในเขตพื้นที่ภูมิวัฒนธรรมเดียวกัน - การจัดเตรียมเอกสารเพื่อการเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งรวมทั้งภาระงานที่เกี่ยวกับการจัดเตรียมต่างๆ ตัวอย่างเช่น การเก็บรวบรวม ข้อมูลพืน้ ฐาน การศึกษาเพือ่ ก�ำหนดขอบเขตทีม่ ศี กั ยภาพเป็นไปได้ในการแสดงถึง คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล รวมทัง้ ความครบถ้วนสมบูรณ์ และความเป็นของแท้ การศึกษาเชิงเปรียบเทียบของทรัพย์สนิ ในเชิงสัมพันธ์กบั ทรัพย์สนิ อืน่ ทีม่ ลี กั ษณะ ทีค่ ล้ายกัน รวมถึงการวิเคราะห์ในด้านของสาระของการศึกษาเกีย่ วช่องว่างของ บัญชีมรดกโลกที่จัดท�ำขึ้นโดยองค์กรที่ปรึกษา ทั้งนี้ จะให้ล�ำดับความส�ำคัญ กับแหล่งที่ได้รับการตระหนักถึงในข้อแนะน�ำเฉพาะเรื่องที่ได้รับการรับรอง ทีส่ อดคล้องกับช่องว่างทีป่ รากฏในบัญชีมรดกโลก และ/หรือแหล่งทีเ่ ป็นผลจากการ ส�ำรวจเบือ้ งต้นได้แสดงให้เห็นว่าการส�ำรวจเพิม่ เติม จะท�ำให้ได้ขอ้ มูลทีเ่ พียงพอ โดยเฉพาะในกรณีของรัฐภาคีทมี่ แี หล่งมรดกอยูน่ อ้ ยหรือมีความเป็นตัวแทนน้อย ในบัญชีมรดกโลก - การขอความช่วยเหลือในการจัดเตรียมเกี่ยวกับการอนุรักษ์และ การจัดการเพื่อน�ำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก
50 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
นอกจากนี้ คณะกรรมการมรดกโลกยังได้ก�ำหนดแนวทางการให้ ความช่วยเหลือแก่รัฐภาคีในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลกในด้านอื่นๆ ดังนี้ (a) ความช่วยเหลือในการจ�ำแนกแผนทีแ่ ละภาพถ่ายทีเ่ หมาะสม และให้รายชือ่ ขององค์กรระดับชาติที่สามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือเกี่ยวกับ ข้อมูลแผนที่และภาพถ่าย (b) ตัวอย่างต่างๆ ทั้งที่เป็นการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกที่ ประสบผลส�ำเร็จแล้ว ข้อบัญญัตหิ รือข้อก�ำหนดทางด้านการจัดการและ ทางกฎหมาย (c) ข้อแนะน�ำส�ำหรับการเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกใน กลุ่มของทรัพย์สินที่แตกต่างออกไป เช่น แหล่งภูมิทัศน์วัฒนธรรม เมือง คลอง และเส้นทางมรดก (d) ข้อแนะน�ำส�ำหรับการขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของทรัพย์สนิ ที่เป็นชุดและเป็นรอยต่อระหว่างเขตแดน
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
51
บทที่ 6
การขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ทีต่ อ้ งเข้ากระบวนการบนพืน้ ฐานของความเร่งด่วน ในกรณีที่องค์กรที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องเห็นว่า ไม่มีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับ ความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ส�ำหรับจารึกลงในบัญชีมรดกโลก และทรัพย์สิน นัน้ ต้องผจญกับความเสียหายหรือประสบกับอันตรายทีเ่ ฉพาะและมีความรุนแรง จากเหตุการณ์ธรรมชาติหรือกิจกรรมของมนุษย์แล้ว การขอขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลกดังกล่าว จะถูกน�ำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาบนพื้นฐานของ ความเร่งด่วน และอาจจะได้รบั การจารึกลงในบัญชีมรดกโลกและบัญชีมรดกโลก ที่อยู่ในสภาวะอันตรายพร้อมๆ กัน การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยเข้าสู่การพิจารณาบน พื้นฐานของความจ�ำเป็นเร่งด่วน วิธกี ารส�ำหรับการขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยเข้าสูก่ ารพิจารณา บนพื้นฐานของความจ�ำเป็นเร่งด่วน มีล�ำดับขั้นตอนดังนี้ a) รัฐภาคียื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกพร้อมทั้งข้อเรียกร้อง ให้ด�ำเนินตามกระบวนการบนพื้นฐานของความจ�ำเป็นเร่งด่วน ทั้งนี้ ทรัพย์สนิ นัน้ จะต้องอยูใ่ นบัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้น หรือเสนอให้อยูใ่ นบัญชี รายชื่อเบื้องต้นทันที b) การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จะต้อง i) อธิบายและจ�ำแนกทรัพย์สิน ii) ให้เหตุผลถึงการมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลตามหลักเกณฑ์ การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
53
iii) ให้เหตุผลของความครบถ้วนสมบูรณ์ และ/หรือความเป็นของแท้ iv) อธิบายถึงการคุ้มครองป้องกันและระบบการจัดการ v) อธิบายถึงธรรมชาติของความจ�ำเป็นเร่งด่วน รวมถึงสภาพและ ขอบเขตของความเสียหายหรืออันตราย และแสดงให้เห็นว่าปฏิบัติ การทันทีทันใดของคณะกรรมการเป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับการอยู่รอด ของทรัพย์สินนั้น c) ส�ำนักงานเลขานุการจะจัดส่งการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ต่อไปอย่างรวดเร็ว ให้แก่ องค์กรที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้ท�ำ การประเมินในด้านการมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล และธรรมชาติ ของความจ�ำเป็นเร่งด่วน ความเสีย และ/หรืออันตราย ทั้งนี้ อาจจะมี การตรวจสอบในภาคสนาม หากองค์กรที่ปรึกษาเห็นว่าสมควรที่จะ ต้องมี d) หากองค์กรที่ปรึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่า ทรัพย์สินนั้นสอดคล้องกับ หลักเกณฑ์เพื่อจารึกลงในบัญชีมรดกโลกอย่างไม่มีปัญหาใดๆ และ พึงพอใจต่อข้อก�ำหนดต่างๆ ข้างต้น (ดูจาก a) แล้ว การขอขึน้ ทะเบียน เป็นแหล่งมรดกโลกดังกล่าว จะถูกบรรจุเพิม่ เติมลงในหัวข้อการประชุม ในวาระการประชุมคณะกรรมการครั้งถัดไป e) ในการตรวจสอบการขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก คณะกรรมการ จะต้องพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้ด้วย i) การจารึกในบัญชีมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย ii) การจัดสรรความช่วยเหลือระหว่างประเทศในการสร้างความสมบูรณ์ ของการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก iii) การปฏิบัติงานเพื่อการติดตามที่จ�ำเป็นโดยส�ำนักงานเลขานุการ และองค์กรทีป่ รึกษาทีเ่ กีย่ วข้องในทันทีทที่ รัพย์สนิ นัน้ ได้รบั การจารึก 54 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
บทที่ 7
การปรับเปลีย่ น/เปลีย่ นแปลง แหล่งมรดกทีไ่ ด้รบั การขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกโลก แหล่งมรดกทีไ่ ด้รบั การขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว หากต้องการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงใดๆ จะต้องด�ำเนินการดังนี้
7.1 การปรับแนวเขตเพียงเล็กน้อย (Minor modifications to the boundaries) การปรับปรุงหรือดัดแปลงแนวขอบเขตแหล่งมรดกโลกเพียงเล็กน้อย (Minor modifications to the boundaries) หมายถึง การปรับเปลี่ยนแนวเขตที่ไม่ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพย์สินในการเป็นแหล่งมรดกโลก และไม่มีผลกระทบ ต่อคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของทรัพย์สินนั้น โดยรัฐภาคีนั้นๆ สามารถ ร้องขอปรับแก้ขอบเขตของทรัพย์สินที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยให้ด�ำเนินการยืน่ ค�ำร้องขอดังกล่าวต่อคณะกรรมการมรดกโลก โดยผ่านทาง ศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ จากนัน้ ค�ำร้องดังกล่าวจะได้รบั การประเมิน โดยองค์กรที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาว่าการร้องขอเป็นการปรับเปลี่ยน เพียงเล็กน้อยหรือไม่ จากนั้นศูนย์มรดกโลกจะน�ำเสนอผลการประเมินต่อ คณะกรรมการมรดกโลก ซึง่ คณะกรรมการอาจจะเห็นด้วยกับการปรับแก้ดงั กล่าว หรืออาจจะพิจารณาเห็นว่าการปรับเปลี่ยนขอบเขตดังกล่าวมีนัยส�ำคัญมากพอ ทีจ่ ะท�ำให้เกิดขอบเขตใหม่ ซึง่ ในกรณีนจี้ ะต้องด�ำเนินการตามวิธกี ารปกติส�ำหรับ การขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกใหม่ การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
55
7.2 การปรับแก้แนวเขตที่มีนัยส�ำคัญ (Significant modifications to the boundaries) หากรัฐภาคีต้องการที่จะปรับแก้แนวเขตอย่างมีนัยส�ำคัญของทรัพย์สิน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว รัฐภาคีต้องยื่นข้อเสนอเช่นเดียวกับ การยืน่ การขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกใหม่ โดยการยืน่ การขอขึน้ ทะเบียน แหล่งเป็นมรดกโลกใหม่นี้ ต้องยื่นภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และจะเข้าสู่การ ประเมินตามรอบการประเมินหนึ่งปีครึ่ง ซึ่งเป็นไปวงจรของการพิจารณา การขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ซึง่ ข้อก�ำหนดนีจ้ ะใช้กบั ทัง้ ในกรณีทมี่ กี ารขยาย และลดขนาดของขอบเขตพื้นที่
7.3 การปรับแก้หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการให้เหตุผลในการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก เมือ่ รัฐภาคีตอ้ งการให้เพิม่ เติมหรือเปลีย่ นแปลงหลักเกณฑ์การขึน้ ทะเบียน ทรัพย์สนิ ทีไ่ ด้ขนึ้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกแล้ว จะต้องด�ำเนินการเสมือนหนึง่ ว่า เป็นการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกใหม่ ซึ่งการขอขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลกใหม่นี้ จะต้องจัดส่งถึงศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และ จะเข้าสูก่ ระบวนการพิจารณาการขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก โดยทรัพย์สนิ ที่น�ำเสนอ จะได้รับการพิจารณาเฉพาะหลักเกณฑ์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่เท่านั้น ทั้งนี้หากหลักเกณฑ์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ไม่ได้รับความเห็นชอบ ทรัพย์สินนั้นก็ จะยังคงอยู่ในบัญชีมรดกโลกบนพื้นฐานของหลักเกณฑ์เดิมที่ได้รับการรับรอง ตามข้อแถลงก่อนหน้านี้
56 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
7.4 การปรับแก้ชอ่ื ของทรัพย์สนิ ทีไ่ ด้รบั การขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก รัฐภาคีอาจร้องขอต่อคณะกรรมการในการเปลี่ยนแปลงชื่อของทรัพย์สิน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว โดยการร้องขอดังกล่าวจะต้องส่งถึง ศูนย์มรดกโลกอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
57
บทที่ 8
กรอบระยะเวลาในภาพรวมของการเสนอ ขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลกได้ก�ำหนดกรอบระยะเวลาการเสนอขอขึน้ ทะเบียน เป็นแหล่งมรดกโลกเพื่อใช้เป็นแนวทางส�ำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีรายละเอียด ในภาพรวมของกรอบระยะเวลาการด�ำเนินการดังกล่าว (ย่อหน้าที่ 168) ดังนี้
กำ�หนดเวลา
วิธีการ
30 กันยายน (ก่อนปีที่ 1)
วันสุดท้ายในการรับร่างเอกสารการขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่ง มรดกโลกจากรัฐภาคีโดยส�ำนักงานเลขานุการ (เป็นความสมัครใจ ซึ่งรัฐภาคีอาจจะด�ำเนินการในขั้นตอนนี้หรือไม่ก็ได้)
15 พฤศจิกายน (ก่อนปีที่ 1)
ส�ำนักงานเลขานุการตอบกลับรัฐภาคีเกีย่ วกับความสมบูรณ์ ของร่างการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก และหากร่าง ดังกล่าว ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ จะชี้หรือระบุให้เห็นถึงข้อมูลที่ขาด หายที่ตอ้ งการให้มกี ารเพิ่มเติมเพือ่ ให้การขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็น มรดกโลกมีความครบถ้วนสมบูรณ์
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
59
กำ�หนดเวลา 1 กุมภาพันธ์ ของปีที่ 1
วิธีการ วันสุดท้ายที่เอกสารการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ฉบับสมบูรณ์ต้องได้รับโดยส�ำนักงานเลขานุการ ในการที่จะส่งต่อ ไปยังองค์กรที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อการประเมิน เอกสารการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกจะต้องได้รับ ภายในเวลา 17.00 น. ตามเวลามาตรฐานเมืองกรีนิช หรือหาก วันดังกล่าวตกอยู่ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ให้ถือเอาเวลา 17.00 น. ของวันศุกร์ก่อนหน้านั้น การขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกที่ได้รับหลังจากวันดังกล่าว นี้ จะได้รับการพิจารณาในรอบต่อไป
1 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม ของปีที่ 1
การลงทะเบียน การประเมินถึงความสมบูรณ์ และการส่งต่อ ไปยังองค์กรที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้อง ส�ำนักงานเลขานุการท�ำการลงทะเบียนในแต่ละการขอขึน้ ทะเบียน แหล่งเป็นมรดกโลก แจ้งการได้รับไปยังรัฐภาคีผู้เสนอ และท�ำการ ส�ำรวจเนื้อหา โดยส�ำนักงานเลขานุการจะแจ้งรัฐภาคี ผู้เสนอว่า การขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกมีความสมบูรณ์หรือไม่ การขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกทีไ่ ม่สมบูรณ์ (ดูยอ่ หน้าที่ 132) จะไม่สง่ ต่อไปยังองค์กรทีป่ รึกษาเพือ่ การประเมิน ถ้าหากการขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกไม่สมบูรณ์ รัฐภาคีที่เกีย่ วข้องจะได้รับ การแนะน�ำเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการที่จะท�ำให้การขอขึ้นทะเบียน แหล่งเป็นมรดกโลกมีความสมบูรณ์เรียบร้อยภายในก�ำหนดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ของปีถดั ไปของการขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก เพื่อจะได้น�ำมาพิจารณาในรอบการประเมินถัดไป การขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกทีม่ คี วามสมบูรณ์จะถูกส่งต่อ ไปยังองค์กรที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อการประเมิน
60 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
กำ�หนดเวลา
วิธีการ
1 มีนาคม ของปีที่ 1
วันสุดท้ายทีส่ ำ� นักงานเลขานุการจะแจ้งให้รฐั ภาคีเกีย่ วกับการได้รบั เอกสารการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกนั้นๆ รวมทั้งระบุว่า ข้อเสนอดังกล่าวนั้นมีความสมบูรณ์หรือไม่ และข้อเสนอนั้นได้รับ ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์หรือไม่
มีนาคมของปีที่ 1 – พฤษภาคม ของปีที่ 2
ประเมินโดยองค์กรที่ปรึกษา
31 มกราคม ของปีที่ 2
หากมี ค วามจ� ำ เป็ น องค์ ก รที่ ป รึ ก ษาอาจร้ อ งขอให้ รั ฐ ภาคี เสนอข้อมูลเพิม่ เติมในระหว่างการประเมิน แต่ทงั้ นี้ ต้องไม่เกินกว่า วันที่ 31 มกราคมของปีที่ 2
28 เดือน กุมภาพันธุ์ ของปีที่ 2
วันสุดท้ายที่รัฐภาคีจะน�ำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ได้มีการร้องขอ โดยองค์กรที่ปรึกษาโดยน�ำเสนอผ่านส�ำนักงานเลขานุการ ข้อมูลเพิ่มเติม จะต้องยื่นต่อส�ำนักงานเลขานุการตามจ�ำนวน ส�ำเนาและรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เดียวกันกับที่ได้ก�ำหนดไว้ใน ย่อหน้าที่ 132 เพือ่ ป้องกันความสับสนระหว่างเอกสารใหม่และเก่า หากข้อมูลที่เสนอเพิ่มเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสาระหลักของ การขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกแล้ว รัฐภาคีควรยื่นในรูป แบบของเอกสารดั้งเดิมที่มีการแสดงจุดที่มีการแก้ไข ซึ่งจะต้องมี การระบุถงึ ต�ำแหน่งทีม่ กี ารแก้ไขให้ชดั เจน ทัง้ นีจ้ ะต้องมีเอกสารทีม่ ี การแก้ไขแล้วในรูปแบบของอิเลกทรอนิกส์แนบไปกับเอกสารฉบับพิมพ์
6 สัปดาห์ก่อน องค์กรที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องจัดส่งผลการประเมินและข้อเสนอแนะ ต่อส�ำนักงานเลขานุการเพื่อน�ำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก การวาระการ และรัฐภาคี ประชุมคณะ กรรมการมรดกโลก ของปีที่ 2 การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
61
กำ�หนดเวลา
วิธีการ
อย่างน้อย 14 วัน ท� ำ การ ก่ อ นการ เปิดประชุมประจ�ำปี คณะกรรมการ มรดกโลกในปีที่ 2
การแก้ไขความผิดพลาดที่แท้จริงโดยรัฐภาคี
วาระกาประชุม ประจำ�ปี คณะกรรมการ มรดกโลก (มิถุนายน/ กรกฎาคม) ของปีที่ 2 ดำ�เนินการทันที หลังวาระการ ประชุมประจำ�ปี ของคณะกรรมการ มรดกโลก
คณะกรรมการพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก และท�ำการตัดสินใจ
รัฐภาคีทเี่ กีย่ วข้องสามารถส่งจดหมายถึงประธานทีป่ ระชุม พร้อมด้วย ส�ำเนาแจ้งองค์กรที่ปรึกษาแสดงถึงรายละเอียดของข้อผิดพลาด ทีแ่ ท้จริงทีอ่ าจจะตรวจพบในการประเมินการขอขึน้ ทะเบียนแหล่ง เป็นมรดกโลกโดยองค์กรที่ปรึกษา ทั้งนี้ จะต้องด�ำเนินการ ส่งถึง ส�ำนักงานเลขานุการล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วันท�ำการก่อนการเปิด วาระการประชุม
การแจ้งรัฐภาคี ส�ำนักงานเลขานุการแจ้งข้อตัดสินใจทีเ่ กีย่ วข้องของคณะกรรมการ ให้กบั รัฐภาคีตา่ งๆ ทีไ่ ด้เสนอขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกและ ได้รับการตรวจสอบแล้วโดยคณะกรรมการ สืบเนือ่ งจากการตัดสินใจของคณะกรรมการมรดกโลกในการเห็นชอบ ให้จารึกทรัพย์สินลงในบัญชีแหล่งมรดกโลก ส�ำนักงานเลขานุการ จะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังรัฐภาคีและผู้จัดการพื้นที่พร้อม ด้วยแผนทีข่ องพืน้ ที่ ทีไ่ ด้รบั ความเห็นชอบให้จารึก และแถลงการณ์ ของความมีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (พร้อมทัง้ แหล่งอ้างอิงทีเ่ ป็น ไปตามเกณฑ์ข้อพิจารณา)
62 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
กำ�หนดเวลา
วิธีการ
ดำ�เนินการทันที หลังวาระการ ประชุมประจำ�ปี ของคณะกรรมการ มรดกโลก
ส�ำนักงานเลขานุการประกาศบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกฉบับ ปรับปรุงเป็นประจ�ำทุกปีภายหลังจากสิน้ สุดวาระการประชุมประจ�ำ ปีของคณะกรรมการ
ภายในเดือน ถัดไปหลังการปิด วาระการประชุม ประจำ�ปีของ คณะกรรมการ มรดกโลก
ส�ำนักงานเลขานุการจัดส่งรายงานเผยแพร่ข้อตัดสินใจทั้งหมดของ คณะกรรมการมรดกโลกไปยังรัฐภาคีทั้งหมด
โดยให้จัดพิมพ์ชื่อของรัฐภาคีที่ขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ของทรัพย์สนิ ได้รบั ความเห็นชอบให้จารึกลงในบัญชีมรดกโลกตาม แบบฟอร์ม ที่ก�ำหนด ภายใต้หัวข้อ “รัฐภาคีที่มีพันธกรณีการขึ้น ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกของทรัพย์สนิ ซึง่ เป็นไปตามอนุสญ ั ญาฯ (Contracting State having submitted the nomination of the property accordance with the Convention)”
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
63
บทที่ 9
ข้อสรุปเพือ่ การพิจารณานำ�เสนอ ขอขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก การขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก มีกระบวนการที่ไม่สลับ ซับซ้อนนัก ซึง่ ประกอบด้วยสองขัน้ ตอนทีส่ �ำคัญคือการเสนอบัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้น (Tentative List) และการเสนอเอกสารเพือ่ การขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก (Nomination Dossier) โดยจะต้องด�ำเนินการภายใต้กรอบระยะเวลาทีก่ �ำหนด ทีไ่ ด้มกี ารระบุไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ความยากในการด�ำเนินการกลับเป็น เรื่องของเกณฑ์การคัดเลือกแหล่งทรัพย์สินที่เสนอเพื่อให้ได้รับการรับรองให้มี การจารึกในบัญชีแหล่งมรดกโลก การพิจารณาคัดเลือกทรัพย์สนิ เพือ่ เสนอขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ความยากและซับซ้อนอยู่ที่การพิจารณาคัดเลือกทรัพย์สินที่มีความเป็นไป ได้ในการที่จะได้รับการพิจารณารับรองให้จารึกไว้ในบัญชีแหล่งมรดกโลก ทั้งนี้เนื่องจากการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลก จะต้องใช้ทรัพยากรจ�ำนวนมาก ทัง้ ทรัพยากรทางด้านงบประมาณ บุคลากร และเวลาในการด�ำเนินการ ดังนั้น ข้อเสนอเพื่อการขึ้นทะเบียน เป็นแหล่งมรดกโลกที่ไม่ได้รับการพิจารณารับรองให้จารึกในบัญชีมรดกโลก จึงเป็นการสูญเปล่าของทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในการด�ำเนินการจัดเตรียมเอกสาร ทั้งๆ ที่หลักเกณฑ์และกระบวนการต่างๆ ในการพิจารณาได้ถูกก�ำหนดไว้แล้ว อย่างชัดเจน ดังนั้น ก่อนการด�ำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียนแหล่ง เป็นมรดกโลก ผู้รับผิดชอบที่ได้รับมอบอ�ำนาจจากรัฐภาคีนั้นๆ ควรจะต้องมี การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
65
การศึกษาถึงรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ (Criteria) และข้อก�ำหนดต่างๆ ของการพิจารณารับรองการขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมี ข้อควรจะต้องพิจารณา ดังนี้ - ความมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Valuve: OUV) และ - ความครบถ้วนสมบูรณ์ (Integrity) และความเป็นของแท้ดั้งเดิม (Authenticity) และ - ความเป็นตัวแทน ความสมดุล และความน่าเชื่อถือของแหล่ง มรดกโลก และ - การพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานและเอกสารประกอบ ความมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Valuve: OUV) “ความมีคณ ุ ค่าโดดเด่นในระดับสากล” (Outstanding Universal Valuve: OUV) ได้มี การก�ำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้อย่างชัดเจน ประกอบด้วย หลักเกณฑ์ (Criteria) 10 ข้อ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้อใด ข้อหนึ่งเป็นอย่างน้อย ซึ่งการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ก�ำหนด ผู้ที่มีอ�ำนาจใน การตัดสินใจ จะต้องพิจารณาอย่างเป็นกลางในมุมมองระดับสากล แหล่งมรดก ทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของประเทศหนึง่ ๆ นัน้ ย่อมมีความส�ำคัญในกรอบ หรือขอบเขตของประเทศตนเอง ทั้งนี้ แหล่งมรดกดังกล่าว จะเข้าเกณฑ์ของ การเป็นมรดกโลกได้กต็ อ่ เมือ่ ความส�ำคัญดังกล่าว “มีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากล” ด้ ว ย ตั ว อย่ า งเช่ น อาจจะพบว่ า มี ถิ่ น ที่ อ ยู ่ อ าศั ย ของสั ต ว์ ป ่ า ชนิ ด หนึ่ ง ที่พบว่าใกล้จะสูญพันธุ์หรือหายากยิ่งในประเทศไทย แต่สัตว์ป่าชนิดเดียวกัน กลับพบว่ามีการแพร่พันธุ์อย่างแพร่หลายในประเทศอื่นๆ แหล่งที่อยู่อาศัย 66 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
ดังกล่าวก็ไม่ได้มีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล เป็นเพียงคุณค่าความส�ำคัญของ ประเทศนั้นๆ เท่านั้น ในขณะเดียวกัน หากพบว่าสัตว์ป่าชนิดนั้นๆ เป็นชนิด พันธุ์หลักของถิ่นที่อยู่อาศัยประเภทนั้นจะพบได้เฉพาะในถิ่นที่อยู่อาศัยนั้น เท่านั้น และไม่ปรากฏว่ามีการพบสัตว์ป่าชนิดนั้นในประเทศหรือภูมิภาคอื่นๆ ดังนัน้ ถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยดังกล่าวก็ถอื ว่ามีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากล การสูญเสียถิน่ ที่ อยูอ่ าศัยดังกล่าว อาจจะส่งผลให้สตั ว์ปา่ ชนิดนัน้ ๆ สูญหายไปจากโลกนีไ้ ด้ เป็นต้น การท�ำความเข้าใจกับ “ความมีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากล” นอกจากจะ ท�ำให้เข้าใจถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นอย่างดีแล้ว ยังมีสว่ นช่วยในการเขียน บรรยายเพื่อให้องค์คณะกรปรึกษา ที่เป็นผู้ประเมินข้อเสนอสามารถเข้าใจและ คล้อยตาม ทั้งนี้ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานที่เป็นจริงซึ่งอาจจะเป็นผล มาจากการศึกษาและการจัดท�ำรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ ความครบถ้วนสมบูรณ์ (Integrity) และความเป็นของแท้ดั้งเดิม (Authenticity) ความครบถ้วนสมบูรณ์ (Integrity) ของทรัพย์สิน เป็นข้อพิจารณา เกี่ยวกับความครบถ้วนขององค์ประกอบของทรัพย์สินที่เสนอขอขึ้นทะเบียน แหล่งเป็นมรดกโลก โดยเป็นเกณฑ์ที่ใช้กับทรัพย์สินทุกชิ้นที่น�ำเสนอ ทั้งนี ้ ในแนวคิดของ “ความครบถ้วนสมบูรณ์” จะต้องอยูบ่ นพืน้ ฐานของความครบถ้วน สมบูรณ์ที่สอดคล้องกับความมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ทั้งนี้อาจจะ เป็นในเชิงพื้นที่ เช่น จะต้องมีขนาดของพื้นที่ที่ใหญ่พอที่จะแสดงให้เห็นถึง ความมีคณ ุ ค่าโดดเด่นอันเป็นสากลทีไ่ ด้ระบุไว้ หากเป็นในเชิงขององค์ประกอบของ ชิน้ ส่วนต่างๆ หรือกระบวนการต่างๆ แล้ว ก็จะต้องมีองค์ประกอบหรือกระบวนการต่างๆ ครบถ้วนตามข้อเหตุผลของการมีคุณค่าโดดเด่นในระดับสากลที่ได้ระบุไว้ ส�ำหรับในส่วนของความเป็นของแท้ดงั้ เดิม (Authenticity) เป็นข้อพิจารณา ส�ำหรับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่เสนอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
67
ทางวัฒนธรรมตามหลักเกณฑ์ข้อ (i) ถึง (vi) โดยแนวทางการพิจารณาจะให้ ความส�ำคัญกับความแตกต่างของวัฒนธรรมตามบริบทของแหล่งมรดกนั้น โดยจะเน้นถึงความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะพิจารณาจาก รูปแบบและการออกแบบ วัสดุและสสาร การใช้ประโยชน์และหน้าที่ จารีตประเพณี เทคนิคและระบบการจัดการ สถานที่ตั้งและสภาพของ องค์ประกอบ ภาษาและรูปแบบอื่นๆ ของมรดกที่ไม่สามารถสัมผัสได้ จิตวิญญาณและความรู้สึก และปัจจัยภายในและภายนอกอื่นๆ ความเป็นตัวแทน ความสมดุล และความน่าเชื่อถือของมรดกโลก (Representative, Balance and Credible World Heritage List) “ความเป็นตัวแทน ความสมดุล และความน่าเชื่อถือของมรดกโลก” เป็นหนึง่ ในวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ทไี่ ด้รบั การรับรองโดยคณะกรรมการมรดกโลก ในคราวประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 26 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้แหล่งที่ได้รับ การจารึกในบัญชีมรดกโลกมีความเป็นตัวแทนของกลุม่ หรือประเภทของทรัพย์สนิ รวมถึงมีการกระจายอย่างสมดุลกันในระดับภูมภิ าคของโลก และมีความน่าเชือ่ ถือ ในส่วนของ “ความเป็นตัวแทน”(Representative) เป็นสิง่ ทีผ่ รู้ บั ผิดชอบ จะต้องพิจารณาให้ถถี่ ว้ น โดยเฉพาะในประเด็นทีว่ า ่ แหล่งทีไ่ ด้รบั การจารึกในบัญชี มรดกโลกแล้วมีความเป็นตัวแทนของประเภทหรือกลุม่ ของทรัพย์สนิ ทีจ่ ะเสนอขอ ขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกนัน้ หรือไม่ หากพบว่ามีอยูแ่ ล้ว หรือพบว่ามีแหล่งอืน่ ๆ ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้รับการจารึกในบัญชีมรดกโลกมีความเป็นตัวแทนที่ดีกว่า ข้อเสนอดังกล่าว ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะไม่ได้รับการพิจารณารับรองให้ม ี การจารึกลงในบัญชีมรดกโลก ทงั้ นี้ สามารถตรวจสอบความเป็นตัวแทนของประเภท หรือกลุม่ ของแหล่งมรดกได้จากรายงานการประชุมหรือรายงานการศึกษาเพือ่ เติมเต็ม ช่องว่างในบัญชีมรดกโลกซึง่ คณะกรรมการมรดกโลกได้มอบหมายให้องค์กรทีป่ รึกษา หรือผู้ศึกษาวิจัยที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการมรดกโลกด�ำเนินการ 68 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของคณะกรรมการมรดกโลก ทั้งนี้ ผลจากการตรวจสอบ/เปรียบเทียบดังกล่าวสามารถน�ำมาใช้เป็นแนวทาง ในการเขียนบรรยายเชิงเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นถึงคุณค่าความส�ำคัญของ ความเป็นตัวแทนของกลุ่มหรือประเภททรัพย์สินนั้นๆ ได้ด้วย ส�ำหรับ “ความสมดุล”(Balance) ของมรดกโลก จะเน้นไปในเชิงพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพือ่ ให้เกิดการกระจายของแหล่งมรดกโลกอย่างทัว่ ถึงในทุกภูมภิ าค โดยเป็นเกณฑ์ก�ำหนดอย่างหนึ่งของการจัดล�ำดับข้อเสนอเพื่อการพิจารณา ขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก โดยจะให้ความส�ำคัญกับรัฐภาคีหรือประเทศ ที่ยังไม่มีแหล่ง หรือมีแหล่งที่ได้รับการจารึกในบัญชีมรดกอยู่น้อย ทั้งนี้ ถือว่า เกณฑ์ก�ำหนดนี้เป็นข้อได้เปรียบของประเทศหรือรัฐภาคี ที่ยังไม่มีทรัพย์สินใด ภายใต้ขอบเขตของประเทศตนเอง ที่ได้รับการพิจารณารับรองให้จารึกใน บัญชีแหล่งมรดกโลก ส�ำหรับประเทศหรือรัฐภาคีทมี่ ที รัพย์สนิ ทีไ่ ด้รบั การพิจารณา รับรองให้จารึกลงในบัญชีมรดกโลกแล้ว ก็อาจจะใช้เป็นแนวทางเพือ่ การพิจารณา คัดเลือกทรัพย์สินที่มีคุณค่าและความส�ำคัญในเชิงประจักษ์ที่แท้จริง การพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานและเอกสารประกอบ การประเมินและพิจารณาเพื่อการรับรองการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็น มรดกโลก จะอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาจากเนื้อหาสาระของเอกสารที่ น�ำเสนอเป็นหลัก ดังนัน้ จะต้องมีหลักฐานทีเ่ ป็นเอกสารประกอบในการบรรยาย ถึงคุณค่าความส�ำคัญต่างๆ ทั้งนี้ หลักฐานเอกสารประกอบเหล่านั้น จะต้องมี ความน่าเชื่อถือและการบรรยายจะต้องมีความชัดเจน ตัวอย่างเช่น การเขียน บรรยายว่า “เป็นแหล่งที่มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์สูงสุด” จะต้องมีการระบุถึงเอกสารที่น�ำมาใช้ในการเปรียบเทียบ ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าว จะต้องมีความน่าเชื่อถือ เป็นต้น การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
69
จากแนวทาง หลักเกณฑ์ เกณฑ์การพิจารณา และข้อก�ำหนดต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงโดยสรุปข้างต้น จะเห็นว่ากระบวนการของการเสนอเพื่อ ขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก อาจจะไม่สลับซับซ้อนนัก แต่รายละเอียดภายใน ของแต่ละกระบวนการ กลับมีความซับซ้อนและยุ่งยาก ซึ่งเป็นความยากของ การตีความ และรวมถึงเป็นความยากของการบรรยายเพือ่ ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะ ของความมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ที่อยู่บนพื้นฐานของความครบถ้วน สมบูรณ์และ/หรือความเป็นของแท้ดงั้ เดิม ทีผ่ ดู้ �ำเนินการคิดว่าแหล่งมรดกนัน้ ๆ มี ดังนั้น เพื่อให้การด�ำเนินการในการเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก เป็นไปอย่างมีประสิทธฺ ภิ าพและมีประสิทธิผลแล้ว นอกจากจะต้องท�ำความเข้าใจ กับรายละเอียดของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ตามที่ได้มีการก�ำหนดไว้แล้ว การด�ำเนิน การโดยมีการประสานงานกับส�ำนักงานเลขานุการคณะกรรมการมรดกโลก ศูนย์มรดกโลก เพือ่ ขอรับการช่วยเหลือ ข้อแนะน�ำ และตรวจสอบเอกสารฉบับร่าง ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมเป้าหมายดังกล่าวให้ส�ำเร็จลุล่วงได้
70 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
อภิธานศัพท์ Advisory Bodies ในเอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า องค์คณะที่ปรึกษา หรือ หน่วยงาน ที่ปรึกษา แต่ในเอกสารฉบับนี้จะใช้ค�ำว่า องค์กรปรึกษา ซึ่ง เป็นหน่วยงานระดับนานาชาติที่ถูกก�ำหนดตามอนุสัญญาว่าด้วย การคุม้ ครองมรดกโลกให้ท�ำหน้าทีใ่ นการประเมินแหล่งมรดกทีไ่ ด้รบั การเสนอให้เป็นแหล่งมรดกโลกเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก ได้แก่ สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (the International Council on Monuments and Sites: ICOMOS) และ สหภาพสากลว่า ด้วยการอนุรักษ์ (the International Union for Conservation of Nature: IUCN) โดยองค์คณะที่ปรึกษาดังกล่าวจะท�ำหน้าที่ แยกจากกันอย่างเป็นอิสระในการประเมินแหล่งทางด้านวัฒนธรรม และทางด้านธรรมชาติตามล�ำดับ ส�ำหรับองค์คณะทีป่ รึกษาที่ 3 คือ ศูนย์ระหว่างชาติวา่ ด้วยการศึกษา การอนุรกั ษ์และปฎิสงั ขรณ์สมบัติ ทางวัฒนธรรม (the International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of Cultural Property: ICCROM) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ท�ำหน้าที่ให้ข้อแนะน�ำ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งวัฒนธรรมและ การจัดกิจกรรมฝึกอบรม การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
71
A
Authenticity ในเอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า ความเป็นของแท้ หรือ ความเป็นจริง หรือ ความดั้งเดิม แต่ในเอกสารฉบับนี้จะใช้ค�ำว่า ความเป็นของ แท้ดงั้ เดิม ซึง่ หมายถึงความเป็นของแท้ดงั้ เดิมทีแ่ ท้จริง (genuine) ตามข้อพิจารณาเสนอเข้ารับการพิจารณารับรองขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก โดยพิจารณาได้จากรูปแบบและการออกแบบ วัสดุและ สสาร การใช้ประโยชน์และหน้าที่ จารีตประเพณี เทคนิค และ ระบบการจัดการ สถานที่ตั้งและสภาพองค์ประกอบ ภาษาและ รูปแบบอื่นๆ ของมรดกทีส่ ัมผัสได้ จิตวิญญาณและความรู้สึก และ ปัจจัยภายในและภายนอกอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อก�ำหนดตามเกณฑ์การ พิจารณาคัดเลือกแหล่งมรดกโลกล�ำดับที่ i-iv
B
Buffer zone ในเอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า พื้นที่แนวกันชน แต่ในเอกสารฉบับนี้ ใช้ค�ำว่า แนวกันชน ซึ่งเป็นพื้นที่โดยรอบทรัพย์สมบัติที่ได้เสนอ ขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ซึง่ พืน้ ทีด่ งั กล่าวนัน้ มีขอ้ กฎหมาย คุ้มครองหรืออาจจะเป็นพื้นที่ที่มีข้อจ�ำกัดในการใช้ประโยชน์และ การพัฒนา ซึ่งเป็นการเพิ่มชั้นของพื้นที่ในการคุ้มครองป้องกัน แหล่งทรัพย์สมบัติดังกล่าว Bureau of the World Heritage Committee ในเอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า คณะกรรมการกลาง แต่ในเอกสาร ฉบับนีใ้ ช้ค�ำว่า คณะกรรมการบริหารของคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประกอบด้วยผู้แทนจากรัฐภาคี 7 ประเทศที่ได้รับการเลือกตั้ง โดยคณะกรรมการในแต่ละปีให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นประธาน 1 คน รองประธานจ�ำนวน 5 คน และผู้รายงานการประชุมจ�ำนวน 1 คน 72 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
โดยคณะกรรมการบริหารชุดนี้ มีหน้าที่ประสานงานงานของ คณะกรรมการมรดกโลก และรวมถึงการก�ำหนดวัน เวลา และล�ำดับ ของกิจกรรมต่างๆ ในการประชุม ทั้งนี้การเลือกตั้งคณะกรรมการ ชุดนี้ จะเกิดขึ้นในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในปีถัดไป Conservation การอนุรักษ์ เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อให้เกิด ความยั่งยืน Convention concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและ ทางธรรมชาติ หรือ อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ถือก�ำเนิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือใน หมู่รัฐภาคี ในการก�ำหนดมาตรการที่เหมาะสม ทั้งด้านนโยบาย การบริหาร เทคนิค และการเงิน เพื่อสงวนรักษา คุ้มครองและ ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ที่มีความส�ำคัญต่อ มวลมนุษยชาติให้คงอยู่ต่อไป และต่อมาในปี พ.ศ. 2519 องค์การ ยูเนสโก ก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อท�ำหน้าที่ดูแล แหล่งวัฒนธรรม และธรรมชาติทมี่ คี วามส�ำคัญระดับโลก โดยมีชอื่ ว่า “คณะกรรมการมรดกโลก” (The World Heritage Committee) พร้อมทั้งจัดตั้ง “กองทุนมรดกโลก” ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนใน การสนับสนุนการอนุรักษ์ แหล่งวัฒนธรรมและธรรมชาติ ที่ได้รับ การขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว ทัง้ นีก้ ติกาทีเ่ กีย่ วกับการคุม้ ครอง ป้องกันแหล่งมรดกของโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ เกิดขึ้นจากการประชุมองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และ การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
73
C
วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส ระหว่าง วันที่ 17 ตุลาคม ถึง 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) ด้วยการตระหนักถึงการถูกคุกคามจากการเสื่อมสภาพของแหล่ง มรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ทัง้ จากการเสือ่ มสลายตามปกติ และจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมี ผลร่วมกันท�ำให้สถานการณ์ของความเสียหายหรือการถูกท�ำลายมี ความน่ากลัวมากยิง่ ซึง่ การเสือ่ มสภาพหรือการสูญเสียของมรดกเหล่านี้ เป็นความสูญเสียของมวลมนุษยชาติทั้งมวล โดยการคุ้มครอง ป้องกันในระดับชาตินั้น อาจจะไม่เพียงพอเนื่องจากข้อจ�ำกัดของ ทรัพยากรในด้านต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ วิชาการ และเทคโนโลยี จึงจ�ำเป็นต้องมีองค์กรในระดับนานาชาติเป็นผูส้ นับสนุนทรัพยากร เหล่านั้น เพื่อให้มรดกนั้นๆ คงอยู่ เพิ่มขึ้น และรวมถึงการเผยแพร่ องค์ความรู้ด้วยการท�ำให้เกิดความมั่นใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์และ การปกป้องคุม้ ครองมรดกของโลก และให้ขอ้ แนะน�ำแก่ประเทศต่างๆ ให้เกิดการตระหนักถึงกติกานานาชาติที่จ�ำเป็นนี้ ส่งผลให้เกิด “อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและ ธรรมชาติ” หรือ World Heritage Convention” Criteria for selection of World Heritage sites ในเอกสารนีใ้ ช้ค�ำว่า เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกแหล่งมรดกโลก โดยเป็นข้อพิจารณาในการรับรองแหล่งมรดกทีไ่ ด้รบั การเสนอขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกโลก ซึง่ ประกอบด้วย 10 ข้อดังปรากฏในแนวทาง การด�ำเนินการเพือ่ ด�ำเนินการตามอนุสญ ั ญาว่าด้วยมรดกโลก” หรือ “Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention” ซึง่ จะมีการทบทวนและปรับปรุง อย่างสมำ�่ เสมอโดยคณะกรรมการเพือ่ ให้สะท้อนถึงแนวคิดเกีย่ วกับ มรดกโลก โดยแหล่งมรดกที่จะได้รับการรวมเข้าไว้ในบัญชีรายชื่อ 74 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
แหล่งมรดกโลกนั้น จะต้องมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลและเข้า เกณฑ์การพิจารณาดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งข้อ Criteria for the assessment of outstanding universal value เอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า ข้อก�ำหนดการพิจารณาความมี คุณค่าโดดเด่นในระดับสากล หรือ เกณฑ์มาตรฐานการพิจารณา ความมีคณ ุ ค่าโดดเด่นในระดับสากล แต่ในเอกสารฉบับนีใ้ ช้ค�ำว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาความมีคุณค่าโดดเด่นในระดับสากล ซึ่งระบุไว้ใน “แนวทางการด�ำเนินการเพื่อการด�ำเนินการตาม อนุสญ ั ญาว่าด้วยมรดกโลก” หรือ “Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention” รวม 10 ข้อ โดย 1-6 นั้น เป็นเกณฑ์ส�ำหรับการพิจารณา แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม และ 7-10 เป็นเกณฑ์ส�ำหรับการพิจารณา แหล่งมรดกทางธรรมชาติ ทั้งนี้แหล่งที่เสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่ง เป็นมรดกโลกนั้น จะต้องเข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ยกเว้นในส่วน ของแหล่งมรดกผสมระหว่างวัฒนธรรมและธรรมชาติ ที่จะต้อง เข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งของทั้งสองประเภท Cultural heritage เอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า มรดกทางวัฒนธรรม แต่เอกสารฉบับนี้ ใช้ค�ำว่า แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งหมายถึง สถานที่ซึ่งเป็น แหล่งศิลปกรรมไม่วา่ จะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถำ �้ หรือกลุม่ สถานที่ ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่ง สถานทีส่ �ำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมอื มนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกัน ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล�้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลป มนุษย์วิทยา หรือวิทยาศาสตร์ การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
75
Cultural landscape ในเอกสารฉบับนี้จะใช้ค�ำว่า ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ซึ่งเป็นทรัพย์สิน ทางวัฒนธรรมและเป็นตัวแทนของการผสมผสานกันระหว่าง ผลงานที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและผลงานจากมนุษย์ ตามที่ได้ ก�ำหนดไว้ในมาตรา 1 ของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ทั้งนี ้ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นการแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของสังคม มนุษย์และการตั้งถิ่นฐานในช่วงเวลาที่ผ่านมา ภายใต้อิทธิพลของ ข้อจ�ำกัดทางกายภาพ และ/หรือโอกาสทีเ่ กิดขึน้ อันสืบเนือ่ งมาจาก สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และแรงผลักดันภายในและภายนอก ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นตามมา
D
Deferral of nomination
E
Ensemble
การเลื่อนการพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก โดยการส่งคืนข้อเสนอเพือ่ ด�ำเนินการขอขึน้ ทะเบียนกลับเข้ามาใหม่
เอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า ผลงานทั้งหมด แต่ในเอกสารฉบับนี้ใช้ ค�ำว่า ผลรวมทั้งหมด ซึ่งหมายถึงการพิจารณาแหล่งในลักษณะ ภาพรวม ซึ่งหากพิจารณาเป็นรายชิ้นแล้ว จะไม่แสดงให้เห็นถึง ภาพรวมของสิ่งเหล่านั้น Extraordinary Sessions เอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยวิสามัญ แต่ในเอกสารฉบับนีใ้ ช้ค�ำว่า การประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกวาระพิเศษ ซึง่ สามารถจัดให้มกี ารประชุมได้โดยจะต้องมี 76 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
สมาชิกรัฐภาคีอย่างน้อย 2 ใน 3 ร่วมกันร้องขอให้จดั การประชุมขึน้ Geological and physiographical formations เอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า สภาพองค์ประกอบทางธรณีวทิ ยา หรือ สภาพทางธรณีวทิ ยา หรือ สภาพทางธรณีวทิ ยาและภูมปิ ระเทศ แต่ในเอกสารฉบับนี้ใช้ค�ำว่า องค์ประกอบทางธรณีวิทยา หรือ ธรณีสัณฐาน
G
General Assembly of the State Parties to the World Heritage Convention การประชุมสมัชชาทั่วไปว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก หรือ ที่ประชุมสมัชชาภาคี Global Strategy (for a Representative, Balanced, and Credible World Heritage List) เอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า ยุทธศาสตร์แห่งโลก แต่เอกสารฉบับนี ้ ใช้ค�ำว่า ยุทธศาสตร์ระดับโลก ส�ำหรับความเป็นตัวแทน ความสมดุล และความน่าเชื่อถือของแหล่งมรดกโลก Groups of Buildings กลุ่มอาคาร หมายถึง บริเวณที่ปรากฏอนุสรณ์สถานหลายๆ ชิ้น อยู่รวมกัน ICCROM ย่อมาจาก The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of Cultural Property ซึ่งมี การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
77
I
ผู้แปลว่า ศูนย์ระหว่างประเทศว่าด้วยการศึกษาด้านการสงวน รักษา และบูรณะ หรือ ศูนย์ระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวน รักษาและบูรณะปฏิสังขรณ์ทรัพย์ หรือ ศูนย์ระหว่างรัฐบาลว่า ด้วยการสงวนรักษาและบูรณะปฏิสังขรณ์ ทั้งนี้ ICCROM เป็น องค์กรระหว่างประเทศที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1956 ท�ำหน้าที่ให้ค�ำแนะน�ำด้วยความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แหล่งมรดกโลก และรวมถึงการจัดอบรมเกี่ยวกับเทคนิควิธีการ ในการฟื้นฟู ICOMOS ย่อมาจาก The International Council on Monuments and Sites ซึ่งมีผู้แปลว่า สภาสากลว่าด้วยอนุสรณ์สถานและแหล่ง แต่ในเอกสารนีจ้ ะใช้ค�ำว่า สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ ทั้งนี้องค์กรนี้ เป็นองค์กรที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาลของประเทศ ซึ่งได้ รับการสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1965 ภายหลังจากที่มีการรับรอง กฎบัตรเวนิซโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมหลักค�ำสอนและ แนวทางเชิงวิชาการในการอนุรักษ์ โดย ICOMOS จะเป็นผู้เสนอ ผลการประเมินแหล่งทีม่ คี ณ ุ ค่าทางด้านวัฒนธรรมทีถ่ กู เสนอขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลกให้กบั คณะกรรมการมรดกโลก รวมถึง การเสนอรายงานการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ การให้ความช่วยเหลือ ทางด้านวิชาการ และรายงานเกีย่ วกับสถานะภาพการอนุรกั ษ์ของ แหล่งที่ได้รับจารึกแล้ว Immovable Heritage แหล่งมรดกที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ หรือ แหล่งมรดกที่เคลื่อนที่ไม่ได้ 78 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
Inscription เอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า การบรรจุไว้ในบัญชีมรดกโลก หรือ การบันทึกไว้ในบัญชีมรดกโลก หรือ การจารึกไว้ในบัญชีมรดกโลก แต่ในเอกสารฉบับนีใ้ ช้ค�ำว่า การขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก Intangible Heritage เอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า มรดกที่สัมผัสมิได้ แต่ในเอกสารฉบับนี้ ใช้ค�ำว่า มรดกที่จับต้องไม่ได้ Integrity ในเอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า บูรณภาพ แต่ในเอกสารนี้ใช้ค�ำว่า ความครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งเป็นวิธีการตรวจสอบถึงความเป็นอยู่ ที่ปรากฏในภาพรวมทั้งหมดและความรู้สึกที่สัมผัสได้ของแหล่ง มรดกทางธรรมชาติ และ/หรือทางวัฒนธรรม และรวมถึงคุณลักษณะของ สิง่ นัน้ ดังนัน้ ในการตรวจสอบถึงสภาพของความครบถ้วนสมบูรณ์นนั้ จ�ำเป็นต้องมีการประเมินสิง่ ต่างๆ ของทรัพย์สมบัตทิ คี่ รอบคลุมถึง a) ทุกๆ องค์ประกอบที่จ�ำเป็นในการอธิบายถึงคุณค่าโดดเด่นใน ระดับสากลของแหล่งมรดกนั้น b) การมีขนาดทีเ่ พียงพอทีจ่ ะเป็นหลักประกันว่ามีความเป็นตัวแทน ทีค่ รบถ้วนของสภาพและกระบวนการทีแ่ สดงออกถึงนัยส�ำคัญของ แหล่งมรดกนั้น c) การทีแ่ หล่งมรดกนัน้ จะต้องอยูส่ ภาวะทีเ่ ลวร้ายอันเป็นผลเชิงลบ จากการพัฒนาและการถูกปล่อยปละละเลย
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
79
IUCN ย่อมาจาก The International Union for Conservation of Nature ซึ่งมีผู้แปลว่า องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ ธรรมชาติ หรือ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและ ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ในเอกสารฉบับนี้จะใช้ค�ำว่า องค์การ ระหว่างประเทศเพือ่ การสงวนทรัพยากรธรรมชาติ หรือ ปัจจุบนั ใช้ชื่อว่า สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ หรือ The World Conservation Congress เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่ขึ้น กับรัฐบาลของประเทศ ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1948 ท�ำหน้าที่ให้ค�ำแนะน�ำแก่คณะกรรมการมรดกโลกเกี่ยวกับ การขึ้นทะเบียนสมบัติที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ โดยจัดท�ำรายงาน เกี่ยวกับสถานะภาพการอนุรักษ์ของแหล่งมรดกโลกโดยผ่าน เครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญทั่วโลก
L
List of World Heritage in Danger บัญชีมรดกโลกทีอ่ ยูใ่ นภาวะอันตราย ในกรณีทมี่ รดกทางวัฒนธรรม และทางธรรมชาติในบัญชีรายชือ่ แหล่งมรดกโลก ได้รบั การคุกคาม จากการด�ำเนินการใดๆ เช่น โครงการพัฒนาต่างๆ การสงคราม การเสือ่ มโทรมของธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ฯลฯ จนมีแนวโน้ม อย่างชัดแจ้งหรืออย่างแอบแฝงว่ามรดกโลกแหล่งนัน้ ก�ำลังเผชิญหน้า กับภาวะอันตราย อนุสญ ั ญาคุม้ ครองมรดกโลก ได้ก�ำหนดให้มกี าร พิจารณาขึน้ ทะเบียนให้แหล่งมรดกโลกนัน้ เป็นแหล่งมรดกโลกใน ภาวะอันตราย ทัง้ นีเ้ พือ่ การพิจารณาก�ำหนดแผนปฏิบตั กิ ารอย่างใด อย่างหนึง่ ในการคุม้ ครอง และฟืน้ ฟูแหล่งมรดกโลกนัน้ อย่างเร่งด่วน และต่อเนื่อง ตามปกติแล้วการพิจารณาให้แหล่งมรดกโลกใดเป็น 80 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
แหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย ควรได้รบั ความยินยอมจากรัฐภาคี ผูม้ อี �ำนาจอธิปไตยเหนือแหล่งมรดกโลกนัน้ ๆ แต่ในกรณีทรี่ ฐั ภาคีผมู้ ี อ�ำนาจอธิปไตยเหนือแหล่งมรดกโลก นัน้ ไม่ให้ความร่วมมือในการ ด�ำเนินการใดๆ เพือ่ การอนุรกั ษ์และฟืน้ ฟู คณะกรรมการมรดกโลก ก็อาจมีมติให้แหล่งมรดกโลกนัน้ เป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย ได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากรัฐภาคี แต่อย่างใด Management Plan ในเอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า แผนการบริหารจัดการ แต่ในเอกสาร ฉบับนี้จะใช้ค�ำว่า แผนการจัดการ ซึ่งเป็นแผนงานในการบริหาร จัดการทรัพย์สมบัติ (แหล่ง) เพื่อรักษาไว้ซึ่งคุณค่าโดดเด่นอันเป็น สากลตามที่ระบุไว้ในข้อพิจารณาเพื่อการจารึกในบัญชีมรดกโลก Management system ระบบการจัดการ เป็นระบบการบริหารจัดการทรัพย์สมบัติ (แหล่ง) ที่ด�ำเนินการอยู่แล้วบนพื้นฐานของเป้าหมายในการรักษา ไว้ซงึ่ คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลตามทีไ่ ด้ระบุไว้ในข้อพิจารณาเพือ่ การจารึกในบัญชีมรดกโลก Materials and substance ในเอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า เนื้อหาและสิ่งประกอบ หรือ วัสดุ และสาร แต่ในเอกสารฉบับนีจ้ ะใช้ค�ำว่า วัสดุและเนือ้ หา ซึง่ หมาย ถึง ตัววัสดุ เนื้อ หรือเนื้อหาที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวแหล่งมรดก ทางวัฒนธรรม หรือแหล่งมรดกทางธรรมชาติ
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
81
M
Mixed cultural and natural heritage เอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า มรดกผสมทางวัฒนธรรมและ ธรรมชาติ แต่ในเอกสารฉบับนี้จะใช้ค�ำว่า แหล่งมรดกโลกแบบ ผสม ซึง่ เป็นทรัพย์สมบัตทิ จี่ ะต้องสอดคล้องกับส่วนหนึง่ ส่วนใดหรือ ทัง้ หมดของหลักเกณฑ์การเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและ ทางธรรมชาติที่ได้ก�ำหนดไว้ Monitoring เอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า การเฝ้าระวัง แต่ในเอกสารฉบับนี้ใช้ ค�ำว่า การติดตามตรวจสอบ ซึ่งใช้ส�ำหรับการติดตามตรวจสอบ ผลการด�ำเนินงาน Monuments เอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า อนุสาวรีย์ หรือ อนุสรณ์ หรือ โบราณสถาน แต่ในเอกสารฉบับนี้ใช้ค�ำว่า อนุสรณ์สถาน Movable heritage เอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า มรดกที่เคลื่อนย้ายได้ แต่ในเอกสาร ฉบับนี้ใช้ค�ำว่า มรดกที่เคลื่อนที่ได้
N
Natural features เอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า สภาพธรรมชาติ ในเอกสารฉบับนี้ใช้ ค�ำว่า สภาพทางธรรมชาติ Natural heritage แหล่งมรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะ ทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล�้ำเลิศ 82 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
ทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและ ภูมปิ ระเทศทีไ่ ด้รบั การวิเคราะห์ แล้วว่าเป็นถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของพันธุ์ พืชและสัตว์ ซึง่ ถูกคุกคามหรือเป็นแหล่งเพาะพันธุข์ องพืชหรือสัตว์ ที่หายาก เป็นต้น Natural site เอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า แหล่งพืน้ ทีธ่ รรมชาติ หรือ สภาพธรรมชาติ แต่ในเอกสารฉบับนี้ใช้ค�ำว่า แหล่งธรรมชาติ Nomination เอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า การน�ำเสนอ หรือ การเสนอชื่อ แต่ใน เอกสารฉบับนี้ใช้ค�ำว่า การขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก Nomination cycle วงจรของการเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก หมายถึง กรอบตารางเวลาส�ำหรับการเสนอขอขึน้ ทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก Nomination File เอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า แฟ้มข้อมูล แต่ในเอกสารฉบับนี้ใช้ค�ำ ว่า แฟ้มข้อเสนอ (เพื่อขอขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก) ซึ่งจะ ต้องมีองค์ประกอบต่างๆ ตามที่ได้แจ้งไว้ในข้อ IIIB ของแนวทาง การด�ำเนินการเพื่อการด�ำเนินการตามอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลก Operational Guidelines for the Inplememtation of the World Heritage Convention เอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า ข้อแนะแนวเพือ่ การด�ำเนินการ หรือ แนวทางในการปฏิบตั กิ าร แต่ในเอกสารนีจ้ ะใช้ค�ำว่า แนวทางการ การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
83
O
อนุวัตตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งหมายถึงเอกสารที่ใช้ เครื่องมือหลักในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับมรดกโลกตามอนุสัญญา คุม้ ครองมรดกโลก โดยคณะกรรมการมรดกโลกจะท�ำการทบทวน ปรับปรุงอย่างสม�่ำเสมอ เพื่อให้สะท้อนถึงวิวัฒนาการของแนวคิด เกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกเอง Ordinary session เอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า วาระการประชุมปกติของคณะกรรมการ มรดกโลก แต่ในเอกสารนี้ใช้ค�ำว่า การประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกสมัยสามัญ ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นปีละครั้ง ประมาณเดือน มิถุนายน-เดือนกรกฎาคมของทุกปี Outstanding universal value (OUV) ในเอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า คุณค่าโดดเด่นเป็นสากล หรือ คุณค่าโดดเด่นระดับสากล หรือ คุณค่าโดดเด่นในระดับสากล แต่ในเอกสารฉบับนีใ้ ช้ค�ำว่า คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ซึง่ หมาย ถึง คุณค่าความส�ำคัญในเชิงวัฒนธรรม และ/หรือธรรมชาติทมี่ มี าก เกินกว่าจะเป็นความส�ำคัญเฉพาะภายในขอบเขตประเทศหนึ่งๆ และเป็นสิ่งส�ำคัญทั่วไปร่วมกันของทั้งในยุคปัจจุบันและอนาคต ของมวลมนุษยชาติโดยรวม
P
Periodic report เอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า รายงานตามก�ำหนดเวลา แต่ในเอกสาร ฉบับนี้ใช้ค�ำว่า รายงานการติดตามแหล่งมรดกโลก Property(ies) ในเอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า แหล่ง หรือ ทรัพย์สิน แต่ในเอกสาร ฉบับนี้ใช้ค�ำว่า ทรัพย์สมบัติ 84 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
Protection ในเอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า การปกป้อง หรือ การคุ้มครอง แต่ใน เอกสารฉบับนี้ใช้ค�ำว่า การคุ้มครองป้องกัน Referral of nomination ในเอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า การส่งกลับข้อเสนอเพื่อการจัดตั้ง แต่ในเอกสารฉบับนีใ้ ช้ค�ำว่า การส่งกลับการขอขึน้ ทะเบียนแหล่ง เป็นมรดกโลก เป็นการส่งแฟ้มข้อเสนอกลับคืนไปยังรัฐภาคีโดย การตัดสินใจของคณะกรรมการเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม โดยอาจจะ แก้ไขเพิม่ เติมแฟ้มข้อเสนอแล้วน�ำมาเสนอใหม่เพือ่ รับการตรวจสอบ ในวาระการประชุมถัดไป Serial properties ในเอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า ทรัพย์ต่อเนื่อง แต่ในเอกสารฉบับ นี้จะใช้ค�ำว่า ชุดทรัพย์สิน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพการปรากฏ ทีไ่ ม่ตอ่ เนื่องในเชิงพืน้ ที่ กล่าวคือพบปรากฏอยู่กระจัดกระจายแต่ มีความเกีย่ วข้องสัมพันธ์กนั บนพืน้ ฐานของความส�ำคัญตามเกณฑ์ ที่ก�ำหนดในนิยาม โดยจะต้องมีองค์ประกอบตั้งแต่ 2 ส่วนขึ้นไป Setting ในเอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า การก่อตั้ง หรือ สภาพโดยรอบ หรือ สถานที่ แต่ในเอกสารนี้ใช้ค�ำว่า สภาพองค์ประกอบโดยรวม
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
85
R
S
Spirit and feeling ในเอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า วิญญาณและความรูส้ กึ แต่ในเอกสาร นี้ใช้ค�ำว่า จิตวิญญาณและความรู้สึก State of conservation ในเอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า สภาวะการอนุรักษ์ หรือ สภาพของ การอนุรักษ์ แต่ในเอกสารนี้ใช้ค�ำว่า สถานภาพการอนุรักษ์ Statement of Outstanding Universal Value ในเอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า สถานภาพของคุณค่าความโดดเด่น ระดับสากลของแหล่งมรดกโลก แต่ในเอกสารนีใ้ ช้ค�ำว่า แถลงการณ์ ของความมีคุณค่าโดดเด่นในระดับสากล State Parties รัฐภาคี เป็นกลุ่มประเทศที่มีการปฏิบัติตามอนุสัญญาคุ้มครอง มรดกโลก โดยประเทศเหล่านั้นได้จ�ำแนกและเสนอแหล่งใน ขอบเขตอธิปไตยของตนเองเพื่อเข้ารับการพิจารณาให้จารึกลงใน บัญชีมรดกโลก โดยรัฐภาคีมีภาระหน้าที่ในการปกป้องคุณค่าของ แหล่งมรดกโลกทีไ่ ด้รบั การจารึก และจะต้องจัดท�ำรายงานตามกรอบ เวลาทีก่ �ำหนดขึน้ เกีย่ วกับสถานการณ์ของแหล่งมรดกโลกเหล่านัน้
T
Tangible Heritage ในเอกสารบางฉบับใช้ค�ำว่า มรดกที่สัมผัสได้ แต่ในเอกสารฉบับนี้ ใช้ค�ำว่า มรดกที่จับต้องได้
86 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
Tentative List ในเอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า บัญชีเตรียมการ แต่ในเอกสารฉบับนี้ จะใช้ค�ำว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น ซึ่งเป็นบัญชีรายชื่อของทรัพย์ สมบัติที่รัฐภาคีเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก โดยรัฐภาคีอาจ จะตัดสินใจเสนอทรัพย์สมบัตินั้นเพื่อรับการพิจารณาจารึกลงใน บัญชีมรดกโลกในช่วงเวลา 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า ทั้งนี้บัญชีรายชื่อ เบื้องต้นอาจจะมีการปรับปรุงในช่วงเวลาใดๆ ก็ได้ ดังนั้นขั้นตอน นี้จึงถือเป็นขั้นตอนที่ส�ำคัญ เนื่องจากคณะกรรมการมรดกโลกจะ ไม่พจิ ารณาการเสนอขอเพือ่ การจารึกไว้ในบัญชีมรดกโลก นอกเสีย จากว่าทรัพย์สมบัตนิ ั้นได้รับการรวมเข้าไว้ในบัญชีรายชื่อเบือ้ งต้น ของรัฐภาคีนั้นแล้ว Transboundary properties เอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างเขตแดน หรือ แหล่งข้ามเขตแดน แต่ในเอกสารฉบับนีจ้ ะใช้ค�ำว่า ทรัพย์สนิ ทีอ่ ยู่ คร่อมพรมแดน ซึง่ เป็นทรัพย์สนิ ทีป่ รากฏอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ งบริเวณ พรมแดนของกลุ่มประเทศ World Heritage มรดกโลก หมายถึง ทรัพย์สิน/ทรัพย์สมบัติที่มีคุณค่าโดดเด่น อันเป็นสากลที่อยู่เหนือขอบเขตพรมแดนของประเทศหรือกลุ่ม ของประเทศใดๆ ซึ่งมีความส�ำคัญต่อมนุษยชาติทั้งมวลในโลก ความเสือ่ มโทรมหรือสูญเสียของทรัพย์สนิ เหล่านีถ้ อื เป็นความสูญเสีย ของมวลมนุษยชาติโดยรวม
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
87
W
World Heritage Centre ศูนย์มรดกโลก เป็นองค์กรระหว่างประเทศทีม่ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบเกีย่ วกับ การบริหารจัดการตามข้อก�ำหนดในอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลก และท�ำหน้าที่บริหารกองทุนมรดกโลก (World Heritage Fund) ทั้งนี้ปัจจุบันศูนย์มรดกโลกท�ำหน้าที่เป็นส�ำนักงานเลขาธิการของ คณะกรรมการมรดกโลกด้วย World Heritage Committee ในเอกสารนี้ใช้ค�ำว่า คณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งหมายถึงคณะ ผู้แทนจากรัฐภาคี 21 ประเทศที่ได้รับการเลือกตั้งโดยมีวาระ การด�ำรงต�ำแหน่ง 4 ถึง 6 ปี ซึ่งจะมีการประชุมกันปีละครั้ง โดยคณะกรรมการมรดกโลกนี้จะมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ การปฏิบตั ติ ามอนุสญั ญาคุม้ ครองมรดกโลก การจัดสรรการช่วยเหลือ ทางด้านการเงินจากกองทุนมรดกโลก และเป็นผู้ตัดสินว่าแหล่ง ใดสมควรจะได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก รวมถึง การตรวจสอบรายงานเกี่ยวกับสถานะภาพของการอนุรักษ์ของ แหล่งที่ได้รับการจารึกแล้ว และพิจารณาว่าแหล่งดังกล่าวนั้นควร จะคงอยู่ต่อไปในบัญชีมรดกโลกหรือถอดออกจากบัญชีรายชื่อ มรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย World Heritage Fund กองทุนมรดกโลก เป็นกองทุนที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญา คุ้มครองมรดกโลก ส�ำหรับใช้เป็นเงินทุนในการด�ำเนินการต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ โดยรายได้ของกองทุนฯ มีท่ีมาจากค่าบ�ำรุง ประจ�ำปีของสมาชิกรัฐภาคี เงินบริจาคจาก ประเทศต่างๆ รวมทั้งองค์กรและบุคคลโดยทั่วไป การใช้จ่าย เงินกองทุนมรดกโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการปกป้อง 88 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
คุม้ ครองและการอนุรกั ษ์มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ รวมทั้งเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย ในกรณีเร่งด่วน รัฐภาคีมสี ทิ ธิน�ำเสนอโครงการเพือ่ ขอรับความช่วยเหลือ จากกองทุนมรดกโลกนี้ภายใต้ขอบเขตด้านการศึกษาวิจัย ด้านเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญ ด้านการฝึกอบรม และเครื่องมือ อุปกรณ์ ขณะเดียวกันในกรณีพิเศษรัฐภาคีอาจขอกู้ยืมเงินจาก กองทุนฯ ได้ในระยะยาวและปลอดดอกเบี้ย World Heritage List ในเอกสารบางฉบับจะใช้ค�ำว่า บัญชีรายชื่อมรดกโลก หรือ บัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก หรือบัญชีรายชื่อมรดกโลก แต่ใน เอกสารฉบับนีจ้ ะใช้ค�ำว่า บัญชีมรดกโลก ซึง่ หมายถึงบัญชีรายชือ่ แหล่งมรดกโลกตามเกณฑ์ที่ได้รับการพิจารณาเห็นชอบจาก คณะกรรมการมรดกโลก
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
89
บรรณานุกรม เดชาวุธ เศรษฐพรรค์. 2548. การเสนอพื้นที่ที่เหมาะสมให้ขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ. ในรายงานการประชุมความหลากหลาย ทางชีวภาพด้านป่าไม้ และสัตว์ป่า ความก้าวหน้าของผลงานวิจัยและ กิจกรรม ปี 2548 ณ โรงแรมรีเจนท์ ชะอ�ำ เพชรบุรี วันที่ 21-24 สิงหาคม 2548. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. น. 442-446. ส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม และคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2549. แนวทางการจัดการ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน): กรุงเทพมหานคร. ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. 2554ก. โครงการ จัดท�ำแนวทางการป้องกัน แก้ไขปัญหาทีจ่ ะคุกคามแหล่งมรดกโลก: พืน้ ที่ รอบแนวเขตแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: กรุงเทพฯ. ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2554ข. โครงการจัดท�ำรายงานการติดตามแหล่งมรดกโลก (Periodic Report) เพื่อเตรียมน�ำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก: รายงานสถานภาพและ กรอบแนวทางการจัดการแหล่งมรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: กรุงเทพฯ. ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. 2556. การอนุรกั ษ์ สิง่ แวดล้อมรอบแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม: กรุงเทพฯ. การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
91
ส�ำนักงานโบราณคดีและพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ 3. 2543. มรดกไทย-มรดกโลก. ศิริพร นันตา(บรรณาธิการ), บริษัท กราฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์) จ�ำกัด: กรุงเทพมหานคร. ส�ำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. 2555. การเตรียมการน�ำเสนอแหล่งมรดกเพือ่ ขึ้นบัญชีมรดกโลก (PREPARING WORLD HERITAGE NOMINATIONS). สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จ�ำกัด: กรุงเทพฯ, 152 น. องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ. 2552. อนุสญั ญา ว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ: รับรอง โดย สมัยประชุมสามัญครั้งที่ 17 ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กรุงปารีส 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515. ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม: กรุงเทพฯ. Day, J.C., Wren, L., Vohland K., 2012. Community engagement in safeguarding the world’s largest reef: Great Barrier Reef, Australia. In World heritage: Benefits Beyond Borders, Galla A. (Ed). Cambridge University Press, Cambridge. pp. 18-29. Rao, K., 2012. Pathways to sustainable development. In World heritage: Benefits Beyond Borders, Galla A. (Ed). Cambridge University Press, Cambridge. pp. 325-331. Skounti, A., 2012. The red city: Medina of Marrakesh, Morocco. In World heritage: Benefits Beyond Borders, Galla A. (Ed). Cambridge University Press, Cambridge. pp. 82-93. World Heritage Centre, July 2013. Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Covention.
92 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
เว็บไซด์ ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก กระทรวงวัฒนธรรม. มปป. แหล่งมรดกโลกทั่วโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2555, จาก http://www.thaiwhic.go.th/ index.aspx. เที่ยวท่องมองเมือง. 2011. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.theawthong.com/dataprovince/ sukhothai/attraction/srichatchanarai.html. ส�ำนักงานการท่องเทีย่ วและกีฬาจังหวัดก�ำแพงเพชร. 2010. อุทยานประวัตศิ าสตร์ ก�ำแพงเพชร. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556, จาก http:// kamphaengphet.mots.go.th/. ส�ำนักงานจังหวัดสุโขทัย. มปป. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. สืบค้นเมื่อวัน ที่ 2 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.sukhothai.go.th/tour/ tour_01.htm. Moroccan House Style, 2012. Riad Merstane: Marrakech is the most exotic city in Morocco. (cited 2013 May 2), Available from: http://moroccan-house-style.blogspot.com/2012/03/ riad-merstane-marrakech-is-most-exotic.html. National Geographic Society, 2013. Great Barrier Reef. (cited 2013 May 2), Available from: http://travel.nationalgeographic.com/ travel/world-heritage/great-barrier-reef. Shelbypoppit, 2013. Badii Palace. (cited 2013 May 2), Available from: http://www.flickr.com/photos/shelbypoppit/8750394654/in/ photostream. การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
93
UNESCO World Heritage Centre. 2009. World Heritage List 19922012. (cited 2012 September 2), Available from: http://whc. unesco.org/en/list. The National Science Foundation. Nd. Yellowstone National Park’s. (cited 2012 September 1), Available from: http://www.nsf.gov/ discoveries/disc_summ .jsp?cntn_id=110651&org=ERE. Skounti, A., 2012. The red city: Medina of Marrakesh, Morocco. In World heritage: Benefits beyond borders, Galla A. (Ed). Cambridge University Press, Cambridge. Pp. 82-93. Cited in www.ville-marrakech.ma, Retrived on 2013 May 2.
94 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก
ภาคผนวก
ตัวอย่างการน�ำเสนอแหล่งมรดก
ทีข่ อบรรจุไว้ในบัญชีรายชือ่ เบือ้ งต้น
การเตรียมการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
95
เอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
กลุ่มป่าแก่งกระจาน (KKFC) เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
เอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้น ภาคีสมาชิก: ประเทศไทย
วันที่เสนอ:
ผู้จัดเตรียมการเสนอ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชื่อ: สํานักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่อยู่ : 61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
อีเมล์: np_ic@hotmail.com npdatabase@dnp.go.th โทรสาร: 662-561-0777#746 โทรศัพท์: 662-561-0777#746
สถาบัน/หน่วยงาน: สํานักอุทยานแห่งชาติ
ชื่อของพื้นที่: กลุ่มป่าแก่งกระจาน จังหวัด: จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ พิกัดภูมิศาสตร์: ระหว่าง 47P 0511000 E ถึง 0588000 E และ 1310745 N ถึง 1487800 N
คุณลักษณะ: กลุ่ ม ป่ า แก่ ง กระจานตั้ ง อยู่ ทิ ศ ด้ า นลาดฝั่ ง ตะวั น ออกของ เทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นพรมแดนเชื่อมต่อกับผืนป่าของ ประเทศเมียนมาร์ ลักษณะภูมิประเทศทางทิศตะวันตกของ พื้นที่ประมาณร้อยละ 60 เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ส่วน ภูมิประเทศด้านทิศตะวันออกเป็นแบบลูกคลื่นลอนลาดและ หุ บ ริ ม ห้ ว ย มี พื้ น ที่ ข องกลุ่ ม ป่ า รวมทั้ ง หมด 482,225 เฮกตาร์ ประกอบด้วยพื้นที่ 5 แห่ง คือ (1) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ําภาชี ซึ่งประกาศจัดตั้งภายใต้ พ.ร.บ. สงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (2) อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (3) อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ประกาศจัดตั้งภายใต้ พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (4) อุทยานแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ซึ่งกําลังดําเนินการเตรียมการ ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และ (5) พื้นที่แนวเชื่อมต่อระหว่างอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน/กุยบุรี ในเขต ป่าสงวนแห่งชาติและเขตปลอดภัยทางทหาร ซึ่งในอนาคต จะประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี 1 เอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้นกลุ่มป่าแก่งกระจาน
พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานจัดอยู่ในเขตนิเวศอินโดมาลายัน (Indo-Malayan Ecoregion) กลุ่ม Tenasserim - South Thailand semi-evergreen rain forests ชนิดป่าที่ปกคลุมพื้นที่มากที่สุดคือป่าดิบแล้ง ครอบคลุมพื้นที่ถึงร้อยละ 59 รองลงมาเป็นป่าดิบชื้น ร้อยละ 28 ป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบเขา และป่าเต็งรัง ตามลําดับ พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นแหล่งต้นน้ําของแม่น้ําสายสําคัญของภาคตะวันตกของ ประเทศไทย ได้แก่ แม่น้ําเพชรบุรี แม่น้ําภาชี แม่น้ําปราณบุรี และแม่น้ํา กุยบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ําภาชี ตั้งอยู่ทิศเหนือสุดของกลุ่มป่า มีพื้นที่ทั้งหมด 48,931 เฮกตาร์ สภาพภูมิประเทศเป็น เทือกเขาสลับซับซ้อน ตั้งอยู่ระหว่างระดับความสูง 2801062 เมตร จากระดับน้ําทะเล มีป่าทั้งหมด 5 ชนิด ส่วน ใหญ่เป็นป่าดิบแล้งประมาณ 60% ส่วนที่เหลือเป็นป่าดิบชื้น ป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง และป่าดิบเขา อุทยานแห่งชาติ
เฉลิมพระเกียรติไทยประจันมีพื้นที่ทั้งหมด 32,924 เฮกตาร์ สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน พื้นที่มีความสูง โดยประมาณ 200-806 เมตร จากระดับน้ําทะเล มีพื้นที่ป่าไม้ปกคลุมอยู่ 97.3% โดยมีชนิดป่า 4 ชนิด ส่วนใหญ่เป็น ป่าผสมผลัดใบ ร้อยละ 69 ส่วนที่เหลือเป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ ง และป่ า เต็ ง รั ง อุ ท ยานแห่ ง ชาติ แ ก่ ง กระจานเป็ น อุทยานแห่งชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศมีพื้นที่ทั้งหมด 291,470 เฮกตาร์ สภาพภู มิ ป ระเทศเป็ น เทื อ กเขา สลับซับซ้อน ยอดเขาสูงที่สุดในพื้นที่สูง 1,513 เมตร จาก ระดับน้ําทะเล มีชนิดป่าทั้งหมด 5 ชนิด ส่วนใหญ่คือป่าดิบ-
แล้ง ประมาณร้อยละ 64 ที่เหลือเป็นป่าดิบชื้น ป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบเขา และป่าเต็งรัง อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ซึ่งอยู่ ด้านทิศใต้สุดของกลุ่มป่า มีพื้นที่ทั้งหมด 96,900 เฮกตาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของกลุ่มป่า สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน พื้นที่มีความสูง ระหว่ า ง 200-985 เมตร จากระดั บ น้ํ า ทะเล มี ช นิ ด ป่ า ทั้งหมด 3 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบแล้งติดต่อกันเป็นผืน ใหญ่ประมาณร้อยละ 62 ที่เหลือเป็นป่าดิบชื้น และป่าผสม ผลัดใบ
เหตุผลที่สมควรสําหรับการมีคุณค่าความโดดเด่นเป็นสากล: กลุ่มป่าแก่งกระจานตั้งอยู่ในเขตภูมินิเวศ Indo-Malayan ด้วยตําแหน่งที่ตั้งอันเหมาะสมเพราะอยู่ตรงรอยต่อของเขต สัตวภูมิศาสตร์ย่อยที่กระจายลงมาจากทางเหนือ (SinoHimalaya) ขึ้นมาจากทางใต้ (Sundaic) รวมทั้งจากทาง ตะวันตก (Indo-Burma) และทางตะวันออก (Indo-China) ผนวกรวมกับอาณาเขตที่ต่อเนื่องกับพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ใน ประเทศพม่า ผืนป่าแก่งกระจานจึงนับเป็นศูนย์รวมความ หลากหลายทางชีวภาพที่สําคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย โดย พบชนิดพันธุ์สัตว์อย่างน้อย 720 ชนิด และยืนยันได้จากการ พบชนิดพันธุ์ของสัตว์ในเขตย่อย Sundaic มีการกระจาย พันธุ์จากถิ่นอาศัยทางใต้ขึ้นไปจนถึงบริเวณเหนือสุด ณ กลุ่ม ป่าแห่งนี้ เช่น ไก่ฟ้าหน้าเขียว (Lophura ignita) นกบั้งรอกปากแดง (Phanicophaeus javanicus) นกบั้งรอกเขียวอกแดง (P. curvirostris) และนกปรอดสีน้ําตาลตาแดง (Pycnonotus brunneus) ปาดป่าจุดขาว (Nyctixalus pictus) และ ค่างดํา (Presbytis femoralis) เป็นต้น นอกจากนั้ น ยั ง พบสั ต ว์ ที่ มี ถิ่ น อาศั ย ทางเหนื อ ในเขตย่ อ ย Sino-Himalaya ที่ได้มีการกระจายพันธุ์ลงมาจากทางเหนือ ถึงบริเวณใต้สุด ณ กลุ่มป่าแห่งนี้เช่นกัน ได้แก่ นกจับแมลง คอสี-น้ําเงินเข้ม (Cyornis rubeculoides) นกเอี้ยงหัวสีทอง (Ampeliceps coronatus) ส่วนสัตว์ที่พบใน Indochinese realm ที่กระจายพันธุ์ไปทางตะวันตกสุดที่ พบในกลุ่มป่า แก่งกระจานคือ นกกะลิงเขียดหางหนาม (Temnurus temnurus) และจาก Indo-Burmese realm ไปทางตะวันออก ได้แก่ เก้งหม้อ (Muntiacus feae) และ แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata) ประกอบกับ
เป็ น พื้ น ที่ ร อยต่ อ ระหว่ า งเขตภู มิ พ ฤกษ์ (Floristicprovinces) 4 ลักษณะเด่น ได้แก่ (1) ลักษณะภูมิพฤกษ์ Indo-Burmese หรือ Himalayan (2) ลักษณะภูมิพฤกษ์ Indo-Malaysian (3) ลักษณะภูมิพฤกษ์ Annamatic และ (4) ลั ก ษณะภู มิ พ ฤกษ์ Andamanese เช่ น พบ ต้ น สะตอ (Parkia speciosa) และต้นเนียง (Archidendron jiringa) ซึ่งปกติจะกระจายพันธุ์ทางใต้ของประเทศไทย นอกจากนั้น ความสูงจากระดับน้ําทะเลของป่าผืนนี้ ยังมีความแปรผันสูง มากเมื่อเทียบต่อหน่วยพื้นที่ จึงทําให้เกิดความหลากหลาย ของชนิดพันธุ์ที่สูงมากในพื้นที่เล็กๆ คุณค่าของผืนป่ากลุม่ นี้ นอกจากความหลากหลายของชนิด พั น ธุ์ ที่ ไ ด้ ก ล่ า วข้ า งต้ น แล้ ว ยั ง พบการปรากฏของพื ช เฉพาะถิ่น เช่น จําปีเพชร (Magnolia mediocris) และ จําปีดอย (M. gustavii) ซึ่งในประเทศไทยพบเฉพาะใน กลุ่มป่าแก่งกระจานเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีต้นแตงพะเนินทุ่ง (Trichosanthes phonsenae) ซึ่งพบเพียงแห่งเดียวใน โลก และพันธุ์ไม้หายากที่มีความสําคัญต่อการอนุรักษ์หลาย ชนิด เช่น โมลีสยาม (Reevesia pubescens Mast. var. siamensis Craib.) และมหาพรหม (Mitrephora winitii Craib.) นอกจากนั้น กลุ่มป่าแก่งกระจานยังเป็นแหล่งสําคัญของ สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered) คือ จระเข้น้ําจืด (Crocodylus siamensis) ซึ่งปัจจุบันพบ ในแหล่งธรรมชาติเพียง 3 ประเทศทั่วโลกเท่านั้น คือ ประเทศไทย บริเวณต้นแม่น้ําเพชรบุรี ในอุทยานแห่งชาติ แก่ ง กระจาน และเขตรั ก ษาพั น ธุ์ สั ต ว์ ป่ า เขาอ่ า งฤาไน เอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้นกลุ่มป่าแก่งกระจาน 2
ประเทศกั ม พู ช า และประเทศเวี ย ดนาม สํ า หรั บ สั ต ว์ ป่ า สําคัญอื่นๆ ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ได้แก่ วัวแดง (Bos javanicus) ช้าง (Elephas maximus) เสือโคร่ง (Panthera tigris) หมาใน (Cuon alpinus) เต่าหก (Manouria emys) สัตว์ป่าสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable) ได้แก่ หมีควาย (Ursus thibetanus) สมเสร็จ (Tapirus indicus) เลียงผา (Capricornis sumatraensis) ลิงเสน(Macaca arctoides) เป็นต้น นอกจากนั้น ในบรรดาสัตว์กินเนื้อทั้งหลายยังพบแมวป่าและ เสือถึง 8 ชนิดด้วยกัน งานวิจัยสํารวจสัตว์ป่าในกลุ่มป่าแก่งกระจาน ระบุพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถึง 91 ชนิด และนก 461 ชนิด ซึ่งคาดว่ายังมีอีกมากที่ยังรอการสํารวจพบ
ดังนั้น กลุ่มป่าแก่งกระจานจึงมีคุณค่าความสําคัญยิ่งสําหรับ การอนุรักษ์ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ในถิ่น ทั้งยังเป็น แหล่ ง ต้ น น้ํ า ของพื้ น ที่ ชุ่ ม น้ํ า เขาสามร้ อ ยยอด และพื้ น ที่ เกษตรกรรมในจังหวัดราชบุรี เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ป่าผืนนี้ยังได้รับการกําหนดให้เป็นพื้นที่สําคัญระดับภูมิภาค ในการอนุรักษ์เสือโคร่ง (Tiger Conservation Landscape) พื้นที่สําคัญเพื่อการอนุรักษ์นก (Important Bird Area) พื้นที่ที่มีความสําคัญยิ่งในระบบนิเวศอินโด-พม่า (Priority Site for Indo-Burma Hotspot) และยังได้รับการประกาศ ให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park) เมื่อปี 2546
เกณฑ์ที่เหมาะสม : (i)
(ii)
เกณฑ์ที่ X
(iii)
(iv)
(v)
(vi)
(vii)
(viii)
(ix)
(x) 3
ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติที่มีความสําคัญต่อการอนุรักษ์ในถิ่นที่อยู่ (In-situ conservation) ของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงถิ่นที่อยู่ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ที่มีความโดดเด่นเป็น สากลทั้งจากมุมมองของวิทยาศาสตร์หรือการอนุรักษ์
ข้อความยืนยันความสมบูรณ์ของพื้นที่: พื้ น ที่ ซึ่ ง ขอขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น มรดกโลกประกอบด้ ว ยพื้ น ที่ อนุรักษ์ 3 แห่ง พื้นที่เตรียมการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ 1 แห่ง และพื้ นที่แ นวเชื่อมต่อระหว่า งอุทยานแห่งชาติกุยบุรีและอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน รวมเนื้อที่ เกือบครึ่งล้านเฮกตาร์ ครอบคลุมระดับความสูงจากน้ําทะเล ตั้งแต่ 100 เมตร ถึงมากกว่า 1,500 เมตร อันเป็นคุณสมบัติ ที่เหมาะสมทั้งด้านขนาดและสภาพกายภาพของพื้นที่ในการ คุ้ ม ครองรั ก ษาถิ่ น ที่ อ ยู่ ข องความหลากหลายทางชี ว ภาพ และชนิดพันธุ์ที่โดดเด่นและมีคุณค่าด้านการอนุรักษ์ดังกล่าว แล้วข้างต้น การวิเคราะห์ภัยคุกคามนั้นได้บ่งชี้ถึงประเด็น เรื่ อ งการบุ ก รุ ก พื้ น ที่ การลั ก ลอบล่ า สั ต ว์ แ ละหาของป่ า ตลอดจนอั ต ราการเพิ่ ม ของประชากร อย่ า งไรก็ ดี พื้ น ที่ ดังกล่า ว มีกฎหมายคุ้มครองดูแล ทั้ง พ.ร.บ. สงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ทั้งยังมีแผนและการดําเนินการ 3 เอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้นกลุ่มป่าแก่งกระจาน
จัดการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแผนและ โครงการที่ประสบผลสําเร็จอย่างมาก เช่น โครงการมวลชน สัมพันธ์ในการแก้ไขปัญหาระหว่างคนกับช้างป่า การกําหนด เขตฟื้ นฟูแหล่งอาหารเพิ่ม เติมสํ าหรั บประชากรเสือ โคร่ ง การจัดตั้งหน่วยพิทักษ์ป่าและการเพิ่มประสิทธิภาพในการ ตรวจลาดตระเวน รัฐบาลไทยได้ให้ความสําคัญและมุ่งมั่น อย่ า งยิ่ ง ในการเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการคุ้ ม ครองดู แ ลรั ก ษา ทรั พ ยากรในพื้ น ที่ และสนั บ สนุ น งานวิ จั ย ในพื้ น ที่ ห ลาย โครงการ ด้ ว ยความร่ ว มมื อ จากหลายฝ่ า ย ทํ า ให้ ค วาม พยายามอย่ า งจริ ง จั ง ในการคุ้ ม ครองรั ก ษาชนิ ด พั น ธุ์ ซึ่ ง ปัจจุบันเหลืออยู่น้อยและกําลังถูกมนุษย์คุกคามอยู่ทั่วโลก ส่งผลเป็นที่ประจักษ์ว่าชนิดพันธุ์เหล่านั้นยังคงมีปรากฎอยู่ ในกลุ่มป่านี้ อันเป็นเหตุผลสํา คัญของการขอขึ้นทะเบียน เป็นมรดกโลกของกลุ่มป่าแก่งกระจาน
การเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน: กลุ่มป่าแก่งกระจานตั้งอยู่ในเขตนิเวศเดียวกันกับพื้นที่มรดก โ ล ก แ ห่ ง แ ร ก ท า ง ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ป ร ะเ ท ศ ไ ท ย คื อ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง แต่อยู่ในเขตย่อย ต่างกัน กลุ่มป่าแก่งกระจานตั้งอยู่ห่างไปทางตอนใต้ของ ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ประมาณ 220 กิโลเมตร ดังนั้น จึงมี ความชุ่มชื้นมากกว่า และมีสัดส่วนของป่าดิบแล้งมากกว่า ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง จึงมีชนิดพันธุ์ในเขต Sundaic ที่ หลากหลายกว่ า นอกจากนั้ น ความซั บซ้ อนของลั ก ษณะ ภูมิประเทศและระดับความสูงของพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ยังทําให้เกิดความหลากหลายสูงของชนิดพันธุ์ต่อหน่วยพื้นที่ ทั้งยังปรากฏพืชเฉพาะถิ่นและชนิดพันธุ์ที่มีสถานภาพใกล้ สูญพันธุ์ยิ่ง ซึ่งไม่ปรากฎในพื้นที่ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
สํ า หรั บ พื้ น ที่ ม รดกโลกทางธรรมชาติ อี ก แห่ ง หนึ่ ง ของ ประเทศไทยคือ ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งเป็นตัวแทน ของระบบนิเวศป่าดิบชื้นและยังเป็นถิ่นที่อาศัยสําคัญของ สั ต ว์ แ ละพื ช หลายชนิ ด ซึ่ ง เป็ น ที่ ส นใจระดั บ นานาชาติ อย่างไรก็ดี ลักษณะทางภูมิศาสตร์กายภาพของผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ซึ่งวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก ก็มี ความต่างอย่างชัดเจนกับกลุ่มป่าแก่งกระจานซึ่งวางตัวใน แนวเหนือ -ใต้ จึงทํ าให้ กลุ่ม ป่าดงพญาเย็น -เขาใหญ่ ขาด ลักษณะสําคัญของเขต Sundaic และ Indo-Burma ซึ่ง กลุ่มป่าแก่งกระจานมีอยู่อย่างเห็นได้ชัดเจน
เอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้นกลุ่มป่าแก่งกระจาน 4
Tentative list of the
Kaeng Krachan Forest Complex (KKFC) for Inscription on the World Heritage List
Tentative List STATE PARTY: Thailand
DATE OF SUBMISSION:
Submission prepared by: National Park, Wildlife and Plant Conservation Department Name:
E-mail: np_ic@hotmail.com
National Park Office
npdatabase@dnp.go.th
National Park, Wildlife and Plant Conservation Department Address: 61 Phaholyothin Road, Chatuchak, Bangkok
Telephone: 662-561-0777#746
Thailand 10900
Fax: 662-561-0777#746
Institution: National Park Office
Name of Property: Kaeng Krachan Forest Complex (KKFC) Province: Ratchaburi, Phetchaburi, and Prachuab Kirikhan UTM coordinates: 47P 0511000 E - 0588000 E and 1310745 N - 1487800 N
Description: The KKFC lies in the Tenasserim Range on the
The KKFC is located in the Tenasserim-South
boundary between Thailand and Myanmar and
Thailand semi-evergreen rain forest unit within the
covers a vast forest area of 3 western Thailand
Indo-Malayan ecoregion. This is a vast area of
provinces: Ratchaburi, Phetchaburi, and Prachuab
connected semi-evergreen forest (or dry evergreen
Kirikhan. The complex protects the headwaters of
forest),
many important rivers such as Phetchaburi, Kui Buri,
respectively 59% and 28% of the total area. Mixed
Pranburi, and Phachi Rivers. There are 3 legally
deciduous forest, montane forest, and deciduous
gazetted protected areas in the complex, one wildlife
dipterocarp forest also occur in the area. The area’s
sanctuary (Mae Nam Phachi protected under the
topography is rugged with high mountains in the
Wildlife Protection and Preservation Act, 1992) and
west and rolling hills to the east. Elevation ranges
two national parks (Kaeng Krachan and Kui Buri
between 100-1,500 meter above sea level. The
protected under the National Park Act, 1961). In
area’s geology is granite and limestone. The climate
addition, Chaloem Phrakiat Thai Prachan National
is influenced by the north-eastern and south-western
Park is in the process of being designated. Kaeng
monsoon winds. The rainy season generally starts in
Krachan and Kui Buri National Parks are connected
mid-May and ends in mid October. The cool season
by Kui Buri Forest Reserve and the Army Reserve
is from mid October to mid February with the dry
Zone. This corridor is under the Forest Reserve Act
season from mid February to mid May.
(1964) and the Military Reserve Zone Act (1935). The total area of the KKFC is 482,225 hectare.
1 Tentative list of KKFC
and
moist
evergreen
forest
covers
Justification of Outstanding Universal Value: The KKFC is located in the Indo-Malayan ecoregion.
Symptomatic of the high biodiversity in the area is
At the macro scale the complex is rich in biological
the presence of endemic species such as Magnolia
diversity as a result of being a meeting place of four
mediocris and M. gustavii, their only location in
zoogeographical provinces
subregions
(Indo-Burmese
Malaysian,
Annamatic,
or
and
four
floristic
Thailand. Trichosanthes phonsenae is another plant
Indo-
species and the complex represents its only known
For
location in the world today. In addition, the complex
Himalayan,
and Andamanese).
example, there are many Sundaic species for which
maintains
the complex is the most northerly known distribution
endangered species. Of special note is the presence
including birds such as the crested fireback
of the critically endangered, Siamese crocodile
ignita),
(Lophura
red-billed
javanicus),
important
populations
of
globally
malkoha
(Crocodylus siamensis) in Kaeng Krachan National
chestnut-breasted
Park, one of few locations in only three countries
(P. curvirostris), and red-eyed bulbul
worldwide where it still exists in the wild. In addition,
(Pycnonotus brunneus), amphibians such as the
there are also important populations of other
cinnamon treefrog (Nyctixalus pictus) and mammals
endangered
such as the banded langur (Presbytis femoralis).
javanicus), Asian elephant (Elephas maximus), tiger
(Phaenicophaeus malkoha
species
such
as
banteng
(Bos
There are also many Sino-Himalayan species for
(Panthera tigris ), Asiatic wild dog (Cuon alpinus),
which this is the most southerly distribution
Asian giant tortoise (Manouria emys); and vulnerable
including the resident species of blue-throated
species such as Asian black bear (Ursus thibetanus),
flycatcher (Cyornis rubeculoides) and golden-crested
Asian tapir (Tapirus indicus), southern serow
myna (Ampeliceps coronatus). Species from the
(Capricornis
Indochinese realm to the west include the ratchet
macaque (Macaca arctoides). A complete suite of
tailed treepie (Temnurus temnurus) whereas those
top carnivores has been identified in the area
from the Indo-Burmese realm to the east include
including eight species of wild cats.
sumatraensis)
and
stump-tailed
Fea’s muntjac (Muntiacus feae) and marbled cat (Pardofelis marmorata). These faunal distributions
Active research programmes in the complex have
are complemented by floristic distributions such as
inventoried 91species of mammals and 461 bird
the Sundaic Parkia speciosa and Archidendron
species and more are bound to be discovered. Thus,
jiringa. In addition to this macro-diversity at the
the KKFC is highly significant to in-situ conservation
micro scale the diverse geological characteristics
of biological diversity in this region. It also protects
and
the headwaters of Khao Sam Roi Yod wetland and
highly
variable
topography
contribute
to
many agricultural areas in Ratchaburi, Petchaburi
exceptionally high habitat diversity per unit area.
and Prachuab Kiri Khan Provinces.
Criteria considered to be met: (i)
(ii)
(iii)
(iv)
(v)
(vi)
(vii)
(viii)
(ix)
(x) 3
Tentative list of KKFC 2
Statement of integrity: The nomination embraces 4 protected areas
mitigate
covering almost half a million ha. and ranging from
establishment of prey recovery zones to provide
100 meters to over 1500 meters in elevation. As
enhanced food supply for the remaining populations
such, it is of sufficient size and contains all
of tigers, and establishment of new ranger patrol
necessary habitats to include all elements of the
stations and enhanced patrolling. The Royal Thai
exceptional biodiversity outlined above. A threat
Government is committed to ongoing investment in
analysis has identified challenges such as poaching,
enhancing protection in the KKFC and is currently
agricultural encroachment and growing human
supporting several research programmes in the
populations. However, all PA units in the complex are
area. The continued existence of many species in
under protective legislations and have active
the complex that are vulnerable to human threats is
management
tangible testament to the integrity of the property.
programmes
to
address
these
human-elephant
conflicts,
the
challenges. Some examples of these programmes include the successful outreach programme to
Comparison with other similar properties: The KKFC is in the same ecoregion as the first
Another World Heritage site in Thailand is Dong
natural World Heritage site in Thailand, Thungyai-
Phayayen-Khao
Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary (THKKWS) but
representing tropical moist evergreen forest. It also
in a different subregion. The KKFC is 220 kilometers
contains significant habitats for many species of
to the south of Thungyai - Huai Kha Khaeng WS and,
international concern. However, this complex has a
as such, has a greater proportion of evergreen
east-west orientation whereas the KKFC has a north-
elements in the flora and a greater mixing of fauna
south orientation. Therefore in comparison to KKFC,
from the Sundaic realm. Examples are given in the
DPKY-FC lacks the Sundaic and Indo-Burmese
statement
Yai Forest Complex (DPKY-FC)
Value.
elements that characterize the current nomination
Furthermore, the exceptionally high topographic
and also the highly variable topography that is likely
complexity of KKFC also generates very high species
to lead to considerably more species being
diversity per unit area and harbours endemic
discovered in the nominated
of
Outstanding
Universal
species and globally endangered species that are not found in the THKKWS World Heritage Site.
3 Tentative list of KKFC
เอกสารประกอบการน�ำเสนอบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
Tentative list of the
for Inscription on the World Heritage List
1
2
3
4
5
6
7
(i)
(ii)
(iii)
(iv)
(v)
(vi)
(vii)
(iii)
(iii)
(iii)
8
9
10
11
12
13
14
Coron Island Natural Biotic Area
Coron Island Natural Biotic Area ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Philippines) วันที่เสนอ: 16 พฤษภาคม 2549 (16/05/2006) เกณฑ์การพิจารณาเสนอเป็นแหล่งมรดกโลก: (iii)(ix)(x) ประเภท (Category): ผสม เสนอโดย (Submitted by): Department of Environment and Natural Resources (DENR) - Protected Areas and Wildlife Bureau มลรัฐ จังหวัด หรือภูมภิ าค (State, Province or Region): Coron, Palawan พิกัดทางภูมิศาสตร์ (Coordinates): ระหว่าง N11 48 to 12 00 E120 11 to 120 19 หมายเลขอ้างอิง (Ref.): 5035 เกาะ Coron อยู่ห่างจากกรุงมนิลา (Manila) และเมือง Puerto Princessa (Princessa City) ด้วยระยะทางโดยประมาณที่เท่าๆ กัน เกาะแห่ง นี้มีสภาพภูมิประเทศขรุขระ โดยทั่วไปเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยก้อน หินสูงชันและช่องแคบระหว่างภูมเิ ขา (Ravine) ประมาณ 70% ของพืน้ ทีท่ งั้ หมด เป็นหน้าผาหิน ขณะที่ 25% เป็นพื้นที่เขาที่มีลักษณะเป็นลอน (Rolling hill) และมีเพียง 5% เท่านั้น ที่เป็นพื้นที่ค่อนข้างราบ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเกิดจากการก่อตัวของหิน (Rock formation) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมด ท�ำให้มีพื้นที่เพียง 18% ที่ถูกใช้ เป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมของชนเผา Tagbanua พื้นที่ขนาดใหญ่มี ลักษณะเป็นแอ่งทีเ่ กิดจากการกัดกร่อนของน�ำ ้ (Karst) ซึง่ นกนางแอ่น (Swiftlets) สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยและสร้างรัง (รังนก) หน้าผาหินปูนที่เกิดขึ้นมีความสูง
มากถึง 600 เมตรจากระดับน�้ำทะเล และมีทะเลสาบน�้ำกร่อยจ�ำนวน 8 แหล่ง และมีอีก 3 แหล่งที่มีขนาดเล็กกว่าแต่มีทางเชื่อมต่อใต้ดินสู่ทะเล เกาะ Coron ประกอบด้วย 2 หมู่บ้าน (barangays) คือ Banuang Daan และ Cabugao ที่ล้วนเป็นชุมชนวัฒนธรรมพื้นถิ่นดั้งเดิม มีจ�ำนวนครัว เรือนทั้งสิ้น 373 ครัวเรือน ประชากรที่เป็น Tagbanua (ชนกลุ่มน้อยพื้นเมือง ดั้งเดิมที่มีอายุเก่าแก่ทีสุด) บนเกาะมีจ�ำนวน 2,028 คน ประชากรท้องถิ่นจาก ทั้งสองหมู่บ้านเป็นผู้ใช้ทรัพยากรหลักของเกาะนี้ ประชากรจากทั้งสองหมู่บ้าน จะไม่อาศัยอยู่บริเวณภูเขา ยกเว้นผู้ที่จับกลุ่มรวมกันเพื่อเก็บรังนกซึ่งเป็นแหล่ง หลักของรายได้ส�ำหรับชนพื้นเมืองในพื้นที่เกาะดังกล่าว เกาะ Coron เป็นเกาะ ภูเขาหินปูนที่มีลักษณะเป็นรูปลิ่ม มีลักษณะที่โดดเด่นเนื่องจากเป็นหินปูนใน ยุค Permian ที่มีจุดก�ำเนิดในยุค Jurassic พร้อมด้วยชายฝั่งทะเลที่ปกคลุมไป ด้วยป่าชายเลน โดยตั้งอยู่ในกลุ่มเกาะ Calamianes ซึ่งขึ้นกับเขตเทศบาลเมือง Coron บางส่วนของพืน้ ทีท่ หี่ ายากทีม่ ลี กั ษณะอันโดเด่น ซึง่ ปกติไม่พบในภูมภิ าค นี้คือทะเลสาบบนเกาะ (Lagoon) ที่สวยงามและเป็นต�ำนานที่เล่าขานกันต่อๆ มา โดยจะมีขนาดทีก่ ว้างใหญ่ ลึก และมีนำ�้ ทีใ่ สสะอาด ซึง่ ต่อเนือ่ งกันเป็นร่างแห บนเกาะหินที่มีขนาดใหญ่ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปว่าหมู่เกาะ Coron โดยมีก�ำแพง หน้าผาหินปูนขนาดใหญ่ล้อมรอบ ถือเป็นอัญมณีของขุนเขาล้อมรอบด้วยอ่าว Coron ที่สวยงามที่มีขนาดกว้างใหญ่ เป็นแหล่งธรรมชาติที่มีความน่าสนใจยิ่ง ค�ำประกาศของความเป็นของแท้และความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ ในเวลาต่อ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เกาะ Coron ได้รับการ ยอมรับให้เป็นแหล่งบรรพบุรุษตามค�ำรับรองของ CADC ล�ำดับที่ 134 ของชนก ลุ่มน้อย Tagbanua โดยค�ำประกาศดังกล่าวซึ่งรวมถึงพื้นที่ประมงดั้งเดิมของ ชนกลุ่มน้อย Tagbanua นั้น ครอบคลุมพื้นที่ 22,248 เฮกแตร์ (224.48 ตาราง กิโลเมตร) บริหารจัดการโดยแผนการจัดการเครือข่ายซึ่งถูกจัดเตรียมขึ้น
พื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ทางภาคเหนือของเมือง Palawan ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยพื้นที่เกาะทั้งหมดและแหล่งน�้ำล้อมรอบเกาะได้ถูกก�ำหนดให้เป็นแหล่ง บรรพบุรุษ (R04-CADC-13) ด้วยความช่วยเหลือขง PAFID (Philippine Association For Intercultural Development, Inc.) ท�ำให้กองทุน Tagbanua แห่งเกาะ Coron (Tagbanua Foundation of Coron: TFCI) ได้ด�ำเนินการจัดท�ำแผนการจัดการแหล่ง บรรพบุรุษ (Ancestral Domain Management Plan: ADMP) ของตนเองขึ้น อันเนือ่ งมาจากคุณลักษณะทางด้านนิเวศวิทยาทีเ่ ป็นหนึง่ เดียว (เอกลักษณ์ เฉพาะ) ดังกล่าว ส่งผลให้มกี ารออกกฎหมายจ�ำนวนมากเพือ่ ช่วยป้องกันทรัพยากร ที่มีคุณค่าอันหามิได้นี้ โดยในล�ำดับแรกนั้น พื้นที่เกาะและเกาะเล็กน้อยโดยรอบ นั้น ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนแห่งชาติตามประกาศ # 219 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) จากนั้นในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) นั้น พืน้ ทีเ่ กาะแห่งนีไ้ ด้รบั การประกาศตามประกาศ # 1801 ให้เป็นเขตนักท่องเทีย่ ว และพื้นที่สงวนทางทะเล ซึ่งเป็นการส่งถ่ายอ�ำนาจในการจัดการไปยังส�ำนักงาน การท่องเทีย่ วแห่งฟิลปิ ปินส์ และตามด้วยประกาศ 2152 ทีข่ ยายพืน้ ทีค่ รอบคลุม แหล่งสงวนป่าพรุชายเลนทั้งพื้นที่ เช่นเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ได้มีการออกข้อตกลงการส่งเสริมสนับสนุนป่าชุมชน โดยกรมสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติ (Department of Environment and Natural Resources: DENR ให้กบั กองทุน Tagbanua แห่งเกาะ Coron ซึง่ มีพนื้ ทีป่ ระมาณ 7,748 เฮก แตร์ (77.48 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งในที่สุดแล้ว ตามแนวทางของกฎหมาย NIPAS ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) พื้นที่แห่งนี้ได้จัดให้เป็นหนึ่งในพื้นที่ส�ำคัญที่ควร ได้รับการคุ้มครอง การเปรียบเทียบกับแหล่งสมบัติอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน หากเปรียบเทียบกับอุทยานแห่งชาติเทือกเขา Iglit-Baco แล้ว เกาะ Coron มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในด้าน ได้แก่การเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
ของ นกกระตั้ว Cockatoo ซึ่งรังของนกชนิดนี้สามารถใช้รับประทานได้ รวม ถึงเป็นถิ่นที่ตั้งของทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ที่ใสสะอาดและการก่อรูปของหินที่มีรูป แบบเฉพาะ ในขณะที่อุทยานแห่งชาติ Iglit-Baco นั้น มีชนิดพันธุ์ที่ส�ำคัญคือ ควายแคระ (Bubalus mindorensis) ส�ำหรับการวิถีการด�ำรงชีวิตของชนพื้น เมืองพบว่า ในพื้นที่เขา Iglit จะมีชนกลุ่มน้อย Mangyan อาศัยอยู่ร่วมกันกับ ประชากรของควายแคระดั้งเดิมในท้องถิ่น แต่ในเกาะ Coron นั้น เป็นชนกลุ่ม น้อย Tagbanwa ซึง่ วัฒนธรรมของชนกลุม่ น้อยกลุม่ นี้ มีความเกีย่ วข้องผูกพันกัน กับชีวติ ความเป็นอยูข่ องนกนางแอ่นกับรังของนกเหล่านัน้ ในถ�ำ ้ โดยถ�ำ้ ทีม่ รี งั นก ที่สามารถรับประทานได้นั้นจะถูกครอบครองโดยนกในวงศ์ใดวงศ์หนึ่งเท่านั้น ที่มา: เว็บไซด์ http://whc.unesco.org/ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2556
Coron Island Natural Biotic Area • Description
Philippines
Date of Submission: 16/05/2006 Criteria: (iii)(ix)(x) Category: Mixed Submitted by: Department of Environment and Natural Resources (DENR)- Protected Areas and Wildlife Bureau State, Province or Region: Coron, Palawan Coordinates: N11 48 to 12 00 E120 11 to 120 19 Ref.: 5035 Coron Island is roughly equidistant from Manila and Puerto Princessa City. The Island has a rugged topography, generally mountainous and its terrain marked by steep rock and ravines. Almost 70% of the area made up of rocky cliffs, 25% is rolling hills and 5% relatively flat. Out of the total area, approximately 18% is occupied by the Tagbanua as residential and agricultural lands, as rock formations almost dominate the entire area. Large area is composed of Karst formations where swiftlets dwell and build their nest (birds nest). There are vertical limestone cliffs that reach up to 600 meters above sea level and eight (8) brackish lakes and three (3) smaller one’s that have underground connections to the sea.
Coron Island comprises two barangays, Banuang Daan and Cabugao, all of them belong to the Indigenous Cultural Communities. There are 373 households with a population of 2,028 individuals of Tagbanua in the Island. The primary users of the resources of the island are the residents of these two settlements. Majority of the residents of the two barangays are seldom seen in the mountains except for the gatherers of edible bird’s nests on towering cliffs that serve as the major source of income for Indigenous people in the island. Coron Island is wedge-shaped limestone island, dominated by Permian Limestone of Jurassic origin, with few of its coastal areas being covered by mangrove forests. It is situated in the Calamianes group of Islands and belongs to the Municipality of Coron. Some of the rare places not found in the regions are the fantastic and legendary lagoons which are wide, deep and with very clear water, interestingly nestled in one huge and rocky island popularly known as the Coron Islands. Encircled by giant walls of limestone cliffs, this jewel of a mountain, boarders the beautiful and wide Coron harbor, where more wonders of nature abide. Satements of authenticity and/or integrity Consequently, on June 5, 1998 Coron Island was recognized as an ancestral domain with the issuance of CADC No. 134 to the Tagbanua. The claim which includes the Tagbanua ancestral fishing grounds, covered 22,248 has., operated via a framework management plan prepared by the aforementioned IP’s.
Located in North Palawan in the Philippines, the entire island and associated offshore waters have been designated as Ancestral Domain (R04-CADC-134). With the assistance of PAFID, the Tagbanua Foundation of Coron (TFCI) has produced its own Ancestral Domain Management Plan (ADMP). Owing to the unique ecological features of Coron island, piling legal instruments have been issued purposely to protect this valuable resource. The island including its surrounding islets was first declared a National Reserve by virtue of Proclamation # 219 on July 2, 1967. In 1978, another proclamation # 1801 declared the island a Tourist Zone and Marine Reserve. This facilitated the transfer of the management to the Philippine Tourism Authority. This proclamation was followed by Proclamation 2152, declaring the entire province a Mangrove Swamp Forest Reserve.Likewise, in 1990, a Community Forest Stewardship Agreement (CFSA) was issued by DENR to the Tagbanua Foundation of Coron Island which covered about 7,748 has. Finally, with the passage of NIPAS Act in 1992, it was listed part of the priority protected areas. Comparison with other similar properties Coron Island compared to Mts. Iglit-Baco National Park has several unique features being the habitat of the Philippine Cockatoo, the edible bird’s nest, the clean and sacred lakes and rock formations while Mts. Iglit-Baco NP has its Tamaraw (Bubalus mindorensis) as
its flagship species. While in Mt. Iglit, it is the Mangyan people who integrate with the local endemic tamaraw population, in Coron it is the Tagbanwa whose culture is intertwined with that of the swallows with their nests in the caves. Such edible birds nest caves are “owned� and maintained by in dividual families.