จุดความรู้ด้วยความอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก

Page 1

ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก เล่มที่ 4 แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ



ข้อมูลบรรณานุกรม ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก

เล่มที่ 4 แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ ผู้จัดทำ�

สำ�นักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำ�นักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 60/1 ซอยพิบูลวัฒนา 7 ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2265 6585 โทรสาร 0 2265 6586 Email: thailandworldheritage@gmail.com

ผู้ศึกษา

สถาบันวิจัยและให้คำ�ปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 7 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0 2613 3120-2 โทรสาร 0 2224 1376

การอ้างอิง

สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2556. ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก เล่มที่ 4 แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

คำ�สืบค้น

แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

พิมพ์เมื่อ กันยายน 2556 จำ�นวนพิมพ์ 1,500 เล่ม จำ�นวนหน้า 58 หน้า ผู้พิมพ์ บริษัท โมโนกราฟ สตูดิโอ จำ�กัด

โทรศัพท์ 02 616 6459, 08 5913 6484 โทรสาร 02 616 6459

สงวนลิขสิทธิ์ในประเทศไทย ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดย สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2556



คณะผู้จัดทำ� “ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก” ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ปรึกษา 1. นายสันติ บุญประคับ 2. นางรวีวรรณ ภูริเดช

เลขาธิการส�ำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองเลขาธิการส�ำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คณะกรรมการก�ำกับโครงการ 1. นางดวงมาลย์ สินธุวนิช 2. นางกิตติมา ยินเจริญ 3. นางสาวกรพินธุ์ พยัคฆประการณ์ 4. นางสาวกนกกาญจน์ โกติรัมย์ 5. นางสาวสิริวรรณ สุโอฬาร 6. นางสวนิต เทียมทินกฤต

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักจัดการสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและศิลปกรรม นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการพิเศษ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการพิเศษ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการ


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สถาบันวิจยั และให้ค�ำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) คณะที่ปรึกษา 1. รองศาสตราจารย์โรจน์ คุณเอนก หัวหน้าโครงการ และผู้เชี่ยวชาญด้าน การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ กีรติประยูร ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์มรดกทาง ธรรมชาติและนิเวศวิทยา 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์มรดกทาง วัฒนธรรมและวางแผนภูมสิ ถาปัตยกรรม และผังเมือง 4. อาจารย์ ดร. ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. อาจารย์จิรวัฒน์ รุ่งเลิศตระกูลชัย ผู้ประสานงานโครงการ และ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการมีสว่ นร่วมของชุมชน 6. นางสาวอุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์ ผู้ช่วยวิจัย


คำ�นำ�

ประเทศไทยมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่ได้รับ การขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จ�ำนวน 5 แหล่ง และยังมีแหล่งมรดกฯ อันมีคุณค่าความส�ำคัญโดดเด่นที่อยู่ระหว่างการน�ำเสนอเพื่อขอขึ้นทะเบียน เป็นแหล่งมรดกโลก จ�ำนวน 4 แหล่ง ปัจจุบันแหล่งมรดกฯ ที่ได้กล่าวมานั้น ได้รบั ผลกระทบจากภัยคุกคามเพิม่ มากขึน้ รวมถึงมีการบุกรุกพืน้ ที่ โดยมีสาเหตุ มาจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทัง้ จากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ของภาครัฐ การขยายตัวของชุมชนบริเวณโดยรอบแหล่งมรดกฯ ทีข่ าดการวางแผน การบริ ห ารจั ด การพื้ น ที่ แ ละการบั ง คั บ ใช้ ม าตรการทางกฎหมาย ฯลฯ ซึ่ ง ส่ ง ผลกระทบต่ อ ระบบนิ เ วศและทั ศ นี ย ภาพโดยรวมของแหล่ ง ทั้งนี้ สาเหตุส�ำคัญประการหนึ่งคือ การขาดความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ตลอดจนการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งมรดกฯ ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้พิจารณา เห็นว่า เพื่อเป็นการด�ำเนินการและปฏิบัติตามพันธกรณีการเข้าร่วมเป็น ภาคีอนุสัญญาฯ ที่จะต้องด�ำเนินการดูแล คุ้มครอง ป้องกัน และอนุรักษ์ แหล่งมรดกโลก รวมทั้งการคุ้มครองและอนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและ ทางธรรมชาติที่มีคุณค่าโดดเด่นเป็นสากล (Outstanding Universal Value) ให้บงั เกิดผลเป็นรูปธรรม และสามารถรักษาสถานภาพของการเป็นแหล่งมรดกโลก ไว้ได้อย่างยั่งยืน จ�ำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและความร่วมมือร่วมใจจาก ทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงาน องค์กร ชุมชน ประชาชน และเยาวชนที่สนใจ จึงเห็น สมควรจัดท�ำโครงการเสริมสร้างศักยภาพในการอนุรกั ษ์ คุม้ ครองแหล่งมรดกโลก เพือ่ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กบั ผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับการอนุรกั ษ์ คุม้ ครอง แหล่งมรดกโลก ซึ่งเอกสารชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกโลก นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการดังกล่าว ก


ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า เอกสารชุดความรูน้ ี้ จะช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในคุณค่าและความส�ำคัญ ของแหล่งมรดกฯ ตลอดจนเป็นประโยชน์กบั ทุกภาคส่วน ในการอนุรกั ษ์ คุม้ ครอง ดูแล รักษาคุณภาพสิง่ แวดล้อมโดยรอบแหล่งมรดกฯ เพือ่ ให้แหล่งมรดกฯ สามารถ คงคุณค่าโดดเด่นเป็นสากลและคงความสมบูรณ์ไว้ได้ตลอดไป สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


สารบัญ

หน้า คำ�นำ� ก สารบัญ ค บทที่ 1 มรดกโลก เส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Pathways to sustainable development) 1 1.1 การตระหนักถึงความสำ�คัญของแหล่งมรดกที่มีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Recognizing the role of heritage in sustainable development) 3 1.2 ความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและ แหล่งมรดกทางธรรมชาติ (Linking cultural and natural heritage) 4 บทที่ 2 เมืองสีแดง: ย่านเมืองเก่ามาร์ราเกช ประเทศโมร็อกโก (The Red City: Medina of Marrakesh, Morocco) 7 2.1 ย่านเมืองเก่ามาร์ราเกช (Medina of Marrakesh) ในประเทศโมร็อกโก 7 2.2 ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง (Challenges and Transformations) 10 2.3 กฎบัตรทางด้านสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับ ย่านเมืองเก่ามาร์ราเกช 12 2.4 พันธมิตรระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน (Public-private partnerships) 17 2.5 การพัฒนาการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนให้ดีขึ้น (Improved Community Involvement) 20 2.6 การพัฒนาแหล่งมรดกแบบผสมผสาน (Integrated heritage development) 22 บทที่ 3 การสนับสนุนของชุมชนในการปกป้องแนวปะการัง Great Barrier Reef ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่ประเทศออสเตรเลีย 25 3.1 ความสำ�คัญพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่นที่มีต่อ GBR 31 3.2 ชุมชนอะบอริจินและชุมชนชาวเกาะที่อาศัยอยู่โดยรอบ 32 ค


3.3 คณะกรรมการท้องถิ่นที่ทำ�หน้าที่ในการให้คำ�ปรึกษาทางทะเล 35 3.4 โครงการพิทักษ์รักษาแนวปะการัง 36 3.5 ความสำ�คัญของชุมชนในการจัดการเขตพื้นที่ 38 3.6 การระวังป้องกันคุณค่าอันโดดเด่นโดยรวม 39 3.7 บทเรียนที่ได้รับและความท้าทายที่รออยู่ 40 3.8 สถานการณ์ปัจจุบันของ The Great Barrier Reef ในบัญชีมรดกโลก 42 บรรณานุกรม 45


บทที่ 1

มรดกโลก เส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Pathways to sustainable development) ในช่วงระยะเวลาเกือบห้าสิบปีที่ผ่านมา อนุสัญญามรดกโลก (World Heritage Convention) ได้รบั การยอมรับว่าเป็นกลไกส�ำหรับความร่วมมือระหว่าง ประเทศในการปกป้องแหล่งที่มีคุณค่าและมีความส�ำคัญในระดับสากล และยัง ได้กลายมาเป็นที่มาของเครื่องมือในการก�ำหนดกฎหมายเกี่ยวกับมรดกระดับ นานาชาติ เพื่อที่จะน�ำเอาวัฒนธรรมที่หลากหลายและแหล่งมรดกให้เข้ามาอยู่ ร่วมกัน ปัจจุบนั มีรัฐภาคีสมาชิกถึง 190 ประเทศ วิสยั ทัศน์นี้กอ่ ให้เกิดประโยชน์ เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ตลอดจนมีการแบ่งปันกันเกินกว่าสิ่งที่ปรากฏเพียงแค่เป็น แนวเขตของแหล่งมรดกโลก การเน้นย�้ำให้เห็นถึงความส�ำคัญเกี่ยวกับหลักการ ของคุณค่าในระดับสากลอันโดดเด่นซึง่ ท�ำหน้าทีช่ ว่ ยก�ำหนดทิศทางของการพัฒนา อย่างยัง่ ยืน โดยเฉพาะอย่างยิง่ การพัฒนาชุมชนท้องถิน่ หลักจรรยาบรรณเกีย่ วกับ การอนุรกั ษ์โดยองค์รวมได้รบั การรวบรวมและกล่าวถึงอย่างชัดเจนในฐานะทีเ่ ป็น ประเด็นหลักของการประชุมเนือ่ งในโอกาสครบรอบ 40 ปีแห่งอนุสญ ั ญาคุม้ ครอง มรดกโลกในปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) ภายใต้หัวข้อ World Heritage and Sustainable Development – the Role of Local Communities การแลกเปลีย่ น ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าในระดับสากลอันโดดเด่นระหว่างชุมชนต่างๆ ที่มี ความแตกต่างกันทั้งวัฒนธรรมและภาษาที่กระจายกันอยู่ทั่วโลกได้ก่อให้เกิด ความเข้าใจทางวัฒนธรรมที่ถูกต้อง และเข้าถึงซึ่งจิตวิญญาณของการอนุรักษ์ ทีเ่ กิดขึน้ จากการแลกเปลีย่ นประสบการณ์จากผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทัง้ ในระดับท้องถิน่ ระดับภูมภิ าค ระดับชาติ และในระดับโลก และทีส่ �ำคัญทีส่ ดุ ของการแลกเปลีย่ น แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

1


แนวคิดต่างๆ ได้กลายมาเป็นตัวแปรส�ำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จิตวิญญาณและข้อตกลงร่วมกันได้รับการกล่าวถึงโดย Madame Irrina Bokova ผูอ้ �ำนวยการใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (Director-General of UNESCO) ทีไ่ ด้กล่าวเอาไว้ในการฉลอง ครบรอบ 40 ปี ขององค์การสหประชาชาติซงึ่ ได้ก�ำหนดให้เป็นปีแห่งการฟืน้ ฟูแหล่ง มรดกโลก “มรดกโลกก�ำลังยืนอยูบ่ นทางแยกระหว่างการเปลีย่ นแปลงภูมอิ ากาศโลก การเปลีย่ นแปลงทางสังคม และกระบวนการสร้างความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างผูค้ น มรดกโลกต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงในการระบุเอกลักษณ์และการครอบครอง ของผู้คน ส�ำหรับเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการพัฒนาทางสังคมของชุมชน” นอกจากนี้เธอยังได้แสดงความคิดเห็นว่า “แหล่งมรดกไม่ได้หมายถึงตัวแทน แห่งความหรูหราร�่ำรวย แต่มันเป็นการลงทุนของประเทศเพื่ออนาคต ซึ่งมัน เปรียบเสมือนกับเป็นมูลนิธิที่ปราศจากค�ำว่าไม่มีอะไรที่ไม่สามารถสร้างขึ้นได้ หากเราไม่ได้ให้ความส�ำคัญต่อแหล่งมรดกย่อมส่งผลกระทบต่อความเป็น ตัวตนของเรา เปรียบเสมือนกับการตัดแขนอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้” และยังกล่าวให้ การสนับสนุนต่อการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ยิ่งขึ้นไป ภายใต้ “ทิศทางส�ำหรับการศึกษาวิจัยแนวใหม่ได้แก่การผสมผสาน การให้ความส�ำคัญต่อผลลัพธ์ที่จะได้รับ และความเกี่ยวข้องกับแนวนโยบาย โดยมุ่งเน้นให้เกิดความเข้มแข็งของการศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์” Mr. Ban Ki-moon เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (SecretaryGeneral of the United Nations) ได้เน้นย�้ำถึง “การเติบโตของเศรษฐกิจโลก ต่อหัวประชากร ประกอบไปด้วยจ�ำนวนประชากรของโลก ที่มีมากกว่า 7,000 ล้านคน ได้กอ่ ให้เกิดความกดดันต่อระบบนิเวศทีเ่ ปราะบางอย่างไม่เคยมีมาก่อน ในประวัติศาสตร์ เป็นที่ทราบกันดีว่าเราไม่สามารถที่จะใช้ประโยชน์และบริโภค ทรัพยากรในรูปแบบเดิมเพือ่ ใช้เป็นหนทางน�ำไปสูค่ วามมัง่ คัง่ ได้อกี ต่อไป และเรา ยังไม่สามารถทีห่ าทางแก้ไขทีช่ ดั เจนได้ ซึง่ หนทางแก้ไขเพียงทางเดียวทีเ่ ป็นไปได้ ในปัจจุบันซึ่งยังคงเป็นเหมือนเมื่อยี่สิบปีที่แล้วก็คือการพัฒนาอย่างยั่งยืน” 2

ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


1.1 การตระหนักถึงความส�ำคัญของแหล่งมรดกทีม่ ตี อ่ การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน (Recognizing the role of heritage in sustainable development) มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมโดยทั่วไปจะถือว่าเป็นประเด็นหลัก ในการพิจารณาเกีย่ วกับองค์ประกอบพืน้ ฐานของความอยูด่ กี นิ ดี ความมีชอื่ เสียง เกียรติยศ และการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืน ซึ่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ด�ำเนินการรณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง อย่าง น้อยที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 วัฒนธรรมและแหล่งมรดกมีความส�ำคัญใน ฐานะที่เป็นแรงขับเคลื่อนและก่อให้เกิดโอกาสของการพัฒนา และเมื่อไม่นาน มานี้ปัจจัยส�ำคัญทั้งสองประการได้ก่อให้เกิดแนวทางในการด�ำเนินการที่ส�ำคัญ สองประการที่ก�ำหนดขึ้นโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (the General Assembly of the United Nations) ในเอกสาร N. 65/166 และ N. 66/208 ที่มุ่งเน้นถึงความส�ำคัญอย่างยิ่งของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็น “องค์ประกอบที่ ส�ำคัญของการพัฒนามนุษย์ เป็นหลักฐานทีม่ าของการระบุเอกลักษณ์ นวัตกรรม และการสร้างสรรค์ของปัจเจกชนและชุมชน” ในทีป่ ระชุม Rio+20 ได้เน้นยำ�้ ถึงหลักการดังกล่าวโดยให้การยอมรับว่า “วัฒนธรรมและอารยธรรมทั้งมวลมีส่วนส�ำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (ย่อหน้าที่ 41 ของเอกสารบันทึกผลการประชุม ในหัวข้อ The Future We Want) และ “ผู้คนมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ยากไร้มีความจ�ำเป็นต้องพึ่งพา อาศัยระบบนิเวศโดยตรงในการด�ำรงชีวติ เศรษฐกิจ สังคม และชีวติ ความเป็นอยู ่ ทางกายภาพ ตลอดจนเป็ น แหล่ ง มรดกทางวั ฒ นธรรมของพวกเขา” (ย่อหน้าที่ 30) ในที่ประชุม Rio Conference ยังได้ให้ความส�ำคัญต่อ “คุณค่าความส�ำคัญภายในตัวเองของความหลากหลายทางชีวภาพ เช่นเดียวกันกับ คุณค่าความส�ำคัญทางนิเวศวิทยา พันธุศาสตร์ สังคม เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การศึกษา วัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ คุณค่าความงดงามตามธรรมชาติ” (ย่อหน้าที่ 197) แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

3


1.2 ความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและแหล่งมรดก ทางธรรมชาติ (Linking cultural and natural heritage) โดยพื้นฐานแล้วความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด พัฒนาการของ ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทัง้ สองด้านนีเ้ กิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ งตลอดช่วง ระยะเวลาทีม่ นุษย์มกี ารปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ดังนัน้ ความหลากหลาย ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมจึงมีความเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อกันและ กันในรูปแบบที่มีความสลับซับซ้อนเกินกว่าที่จะแยกออกจากกันโดยเด็ดขาดได้ เนื่องจากธรรมชาติและวัฒนธรรมมีกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นมาร่วมกัน นัน่ เอง ด้วยเหตุนขี้ นบธรรมเนียมประเพณีและแนวทางในการปฏิบตั ทิ เี่ กิดขึน้ ใน แต่ละท้องถิ่นเพื่อการจัดการและการปกปักรักษาตลอดจนการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรแวดล้อมโดยทัว่ ไปแล้วเกิดขึน้ เนือ่ งจากธรรมชาติทงั้ สิน้ ซึง่ ขนบธรรมเนียม และวิถที างในการปฏิบตั ทิ เี่ กิดขึน้ ในท้องถิน่ จะมีรปู แบบของความยัง่ ยืนมากกว่า ทัง้ ในแง่ของการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ การผลิต และการบริโภค ส่งผลให้เกิดความมัน่ คง ทางด้านอาหารตลอดจนการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน�้ำ โดยอาศัยพื้นฐานจากองค์ความรู้และแนวทางในการปฏิบัติที่ผ่านการพัฒนา มากว่าศตวรรษของการเปลี่ยนแปลง สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่านโยบายของ ท้องถิ่นใดก็ตามที่มีเป้าหมายเพื่อที่จะปกป้องสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและ เพื่อให้เกิดผลของการพัฒนาที่ยั่งยืนควบคู่กันไปจ�ำเป็นที่จะต้องพิจารณาและ ด�ำเนินการภายใต้ความตระหนักถึงความส�ำคัญของวัฒนธรรมและชุมชน ตัวอย่างแนวทางการจัดการมรดกโลกทั้ง 2 แห่งที่ยกมากล่าวถึง ในบทต่อๆ ไปของเอกสารฉบับนี้จัดได้ว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (best practice) ที่แสดงให้เห็นถึงการจัดการแหล่งมรดกโลกตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และสอดคล้องกับแนวทางการจัดการที่ตระหนักถึงการให้ชุมชนที่อยู่โดยรอบ 4

ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


ได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการด้วย โดยในบทที่ 2 จะเป็นตัวอย่างแนวปฏิบัติ ส�ำหรับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม และในบทที่ 3 เป็นตัวอย่างของแนวปฏิบัติ ส�ำหรับแหล่งมรดกทางธรรมชาติ ดังมีรายละเอียดปรากฏแล้วในบทต่อไป

แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

5



บทที่ 2 เมืองสีแดง: ย่านเมืองเก่ามาร์ราเกช ประเทศโมร็อกโก (The Red City: Medina of Marrakesh, Morocco) 2.1 ย่านเมืองเก่ามาร์ราเกช (Medina of Marrakesh) ในประเทศโมร็อกโก มาร์ราเกชหรือที่รู้จักกันในชื่อเมืองสีแดง “Red City” ถือเป็นเมือง ที่มีย่านเมืองเก่าที่มีชีวิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจากจ�ำนวน 31 เมือง ของประเทศ โมร็อกโก (Medinas)1 โดยมีพื้นที่ภายในขนาด 640 เฮกแตร์ รวมไปถึง Aguedal และ Ménara garden ป้อมปราการขนาดใหญ่ที่มีประตูเมืองตั้ง ตระหง่านใหญ่โตน่าเกรงขาม อนุสาวรีย์และบ้านเรือนที่อยู่อาศัยจ�ำนวนมาก สวนพฤกษศาสตร์ที่ได้รับการสงวนไว้ ตลาดเก่าที่ท�ำการค้าขายสืบทอดกัน มาอย่างยาวนาน และงานหัตถกรรมพื้นบ้าน ลานกว้างกลางจัตุรัส Jamaâ El Fna square ซึ่งเป็นศูนย์กลางการชุมนุมของผู้คนภายในเมือง เป็นบริเวณที่ เป็นสือ่ กลางในการแลกเปลีย่ นทางวัฒนธรรมระหว่างย่านเมืองเก่ากับโลกภายนอก สถานทีน่ มี้ คี วามน่าสนใจเกีย่ วกับการผสมผสานกันระหว่างประชาชนทีม่ พี นื้ ฐาน ที่มาที่แตกต่างกัน ช่วยเพิ่มคุณค่าของแหล่งมรดกย่านเมืองเก่า และชุมชนเมือง ทั้งหมดที่มีอยู่ภายในประเทศโมร็อกโก ประชากรที่อาศัยอยู่ในย่านเมืองเก่า คิดเป็นร้อยละ 17.17 ของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองมาร์ราเกช (182,637 คน จากทั้งหมด 1,063,415 คน) (ข้อมูลปี ค.ศ. 2004) จ�ำนวนประชากรคิดเป็น 1. เมดิน่า (Medinas) เป็นรูปแบบวิถีชีวิตของคนเมืองในแอฟริกาเหนือ ที่ถูกออกแบบให้เป็น บ้านเรือนที่แออัดหนาแน่น มีทางเดินแคบๆ คดเคี้ยวไปทั่วทั้งเมือง ล้อมรอบด้วยก�ำแพงสูงหนา มีประตู เมืองแข็งแรง แต่ตกแต่งประดิดประดอยอย่างสวยงาม แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

7


หนึ่งในสี่ของจ�ำนวนประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่าของประเทศ โมร็อกโก (182,637 คน จาก 737,945 คน) เมืองมาร์ราเกชถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์อัลโมราวิด (Almoravid Dynasty) ประมาณปี ค.ศ. 1070-1071 โดยปราศจากความจ�ำเป็นทางด้าน ยุทธศาสตร์การทหาร มาร์ราเกชเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายระหว่าง ชุมชนที่อาศัยอยู่ตามภูเขากับชุมชนที่อาศัยอยู่ตามพื้นราบ เมืองนี้ตั้งอยู่ใน พื้นที่เขตแดนของเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่ชื่ออามูร์ (Amur) ซึ่งเป็นเมืองที่ปราศจาก ความรุนแรง ภายใต้การปกครองของเทพเจ้าเบอร์เบอร์ (Berber) ทีช่ อื่ ว่า Akuch หรือชื่อที่ถูกต้องคือ Amur Akuch สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ภายใต้การปกครองของ Akuch เมืองมาร์ราเกชเป็นสถานที่ซึ่งแสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเมือง ในยุคแรก เมืองนี้เคยเป็นเมืองหลวงเก่าในประวัติศาสตร์ของแอฟริกาเหนือ และเป็นหนึ่งในเมืองส�ำคัญทางชายฝั่งตะวันตกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในยุคกลาง (Middle Ages) อนุสาวรีย์ถูกสร้างขึ้นในหลายช่วงเวลา เป็นสิ่งที่ ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของเมืองมาร์ราเกช ที่สับสน ขาดความต่อเนื่อง มีทั้งช่วงที่เจริญรุ่งเรืองและช่วงที่เสื่อม ย่านเมืองเก่ามาร์ราเกชได้รบั การเสนอชือ่ ให้อยูใ่ นบัญชีมรดกโลก (World Heritage List) ในปี ค.ศ. 1985 โดยมีคุณค่าความส�ำคัญโดดเด่น 4 ประการ ได้แก่ ุ ค่าความส�ำคัญของผลงานทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม (i) มีคณ ในระดับผลงานชิ้นเอกที่เป็นต้นต�ำรับ ภายในเมืองเก่า ผลงาน แต่ละชิ้นได้รับการยอมรับว่ามีคุณค่าความส�ำคัญอันโดดเด่น (ii) ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับคุณภาพของเมือง ในฐานะที่เป็น เมืองหลวงประวัตศิ าสตร์ทเี่ ป็นต้นแบบ และส่งผลต่อการตัดสิน ใจพัฒนาเมืองโดยเฉพาะอย่างยิง่ ทีเ่ มืองเฟส (Fez) ซึง่ เป็นอดีต เมืองหลวงแห่งแรกของโมร็อกโกทีม่ อี ายุนบั พันปี จนถึงปัจจุบนั 8

ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


นี้ก็ยังมีบรรยากาศของเมืองโบราณให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามา สัมผัสอยู่โดยทั่วไป (iv) ชื่อมาร์ราเกช (Marrakesh) ได้รับการพิจารณาให้เป็นชื่อของ ราชอาณาจักรโมร็อกโก เป็นตัวอย่างเมืองหลวงของรัฐอิสลาม ที่ส�ำคัญที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (v) เป็นการเน้นย�้ำให้เห็นถึง เมืองประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิต มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการ เปลี่ยนแปลงของประชากร สาเหตุทที่ �ำให้ยา่ นเมืองเก่าได้รบั การเสนอชือ่ เพราะย่านนีม้ เี อกลักษณ์ ทีส่ �ำคัญ 2 ประการได้แก่ ประการแรกอาณาเขตของย่านเมืองเก่าทีข่ ยายออกไป ทางทิศใต้ครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นสวน Agdal gardens, Menara olive groves (สวนมะกอก), สระน�้ำที่ขุดขึ้นในศตวรรษที่ 13 และศาลาที่สร้างขึ้นในศตวรรษ ที่ 19 ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้เป็นหัวใจของการสร้างเมืองในประวัติศาสตร์ของ เมืองมาร์ราเกช นอกจากนี้ยังมีสวนปาล์มที่มีอายุเก่าแก่นับพันปี (Palmeraie) ซึง่ ยังคงมีปาล์มหลงเหลืออยูเ่ ป็นจ�ำนวนมากจนถึงปัจจุบนั ประการทีส่ องย่านเมืองเก่า มีประชากรอาศัยอยู่ 182,637 คน ขณะที่มีอาคารที่ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่ได้รับการคุ้มครองอยู่ในบริเวณส่วนที่เป็นจุดศูนย์กลาง ประเทศโมร็อกโก มีพนื้ ทีท่ ไี่ ด้รบั การประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกจ�ำนวนทัง้ สิน้ 8 แห่ง แต่มเี พียง แห่งเดียวคือ เมืองเก่ามาร์ราเกชเท่านั้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเนื่องจากคุณค่า ความส�ำคัญของผลงานชิน้ เอกทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมตามข้อก�ำหนด (i)

แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

9


2.2 ความท้าทายและการเปลีย่ นแปลง (Challenges and Transformations) ในระยะแรกของการเสนอชื่อให้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ชุมชน ท้องถิน่ ถูกจ�ำกัดบทบาทในการเข้ามามีสว่ นร่วม การด�ำเนินการส่วนใหญ่อยูภ่ ายใต้ การท�ำงานของกระทรวงมหาดไทย (Ministry of Interior) และการท�ำงานพัฒนา เมืองในระดับกรม โดย Department for Urbanism และสถานภาพของการเป็น แหล่งมรดกโลกส่งผลกระทบต่อประชาชนเพียงเล็กน้อย จนกระทัง่ ปี ค.ศ. 2000 อย่างไรก็ตามกระทรวงวัฒนธรรม (Ministry of Culture) มีสว่ นช่วยในการอนุรกั ษ์ ปกป้องพืน้ ทีจ่ ากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาเมือง การพัฒนาด้านการท่องเทีย่ ว ตลอดช่วงระยะเวลาสิบปีทผี่ า่ นมาและการตั้งถิ่นฐานของประชาชนภายในเมือง ได้น�ำมาซึ่งความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์พื้นที่สวน กลางบ้าน (Riads) (รูปแบบบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวโมร็อกโกจะมีพื้นที่ว่าง ที่เป็นส่วนที่ไม่ได้มีการมุงหลังคา จัดเป็นสวนกลางบ้านและมักจะปลูกต้นไม้ จ�ำพวกส้มเอาไว้) และบ้านเรือนที่เพิ่มมากขึ้นในย่านเมืองเก่า นอกจากนี้ยังมี ปัญหาความไม่สมดุลกันระหว่างทรัพยากรธรรมชาติทมี่ อี ยูอ่ ย่างจ�ำกัด ส่วนใหญ่ คือ น�ำ ้ และปัญหาแหล่งวัฒนธรรมกับการเติบโตของประชากรและการท่องเทีย่ ว จึงมีความจ�ำเป็นในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์กบั ชุมชนท้องถิน่ และชุมชนโดยรอบให้แนบแน่นยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการ น�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการอนุรักษ์พื้นที่

10 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


รูปที่ 2-1 การใช้ประโยชน์พื้นที่สวนกลางบ้านดั้งเดิมของชาวโมร็อกโก (Riads) ที่มา: Moroccan House Style (2012)

ทิศทางในการปฏิบัติตามโครงการที่เกิดขึ้นในย่านเมืองเก่า ตลอดช่วง ทศวรรษหลังก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงบวกต่อสภาพความเป็นอยูข่ องผูค้ นภายใน เมืองประวัตศิ าสตร์แห่งนี้ การด�ำเนินงานต่างๆ ประกอบด้วย การปรับปรุงระบบ บ�ำบัดน�้ำเสีย ปูถนน ซ่อมแซมน�้ำพุสาธารณะ สร้างสวนสาธารณะขนาดเล็ก กระจายไปในพื้นที่ต่างๆ ขึ้นทะเบียนบ้านเก่าที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมที่เสี่ยง ต่อการพังทลาย พร้อมทั้งประเมินโครงสร้างของเมืองเก่า การปรับปรุงสภาพ พื้นที่ของย่านเมืองเก่า นับตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1990-1999 ท�ำให้ภาพลักษณ์ของ เมืองดีขนึ้ เป็นล�ำดับ อย่างไรก็ตามการด�ำเนินการดังกล่าวท�ำให้ราคาบ้านเรือนทีม่ ี สวนกลางบ้านเพิม่ สูงขึน้ อย่างรวดเร็ว การเก็งก�ำไรเกีย่ วกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ดึงดูดให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในย่านเมืองเก่า โดยเฉพาะ อย่างยิ่งชาวยุโรป ปรากฏการณ์ดังกล่าวน�ำมาซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่างกันของ นักวิชาการบางคนคิดว่าปรากฏการณ์ดงั กล่าวมีความสลับซับซ้อนและเป็นโอกาส แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

11


ในการคุม้ ครองรักษาบ้านเรือนดัง้ เดิมเอาไว้ ไม่เช่นนัน้ บ้านเรือนก็จะอยูใ่ นภาวะที่ สุม่ เสีย่ งต่อการผุพงั และเสือ่ มสลายไป ขณะทีน่ กั วิชาการบางส่วนกลับมีความคิดว่า การเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้นน�ำไปสู่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเกิดของ ชุมชนใหม่ แต่ความสลับซับซ้อนของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มีมากเกินกว่า มุมมองทั้งสองด้านที่กล่าวมาแล้วในแง่ที่เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่าง ชุมชนท้องถิ่นกับผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ (ชาวต่างชาติท่ีเข้ามาตั้งถิ่นฐาน) และ หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นอาจถูกครอบง�ำจนไม่สามารถที่จะจัดการต่อ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วได้ ถึงแม้ว่าในระยะแรก จะขาดความสามารถในการบรรเทาผลกระทบทางลบทีเ่ กิดขึน้ ต่อแหล่งมรดกโลก แต่ภายหลังได้มกี ารประกาศใช้กฎหมายใหม่ เมือ่ วันที่ 18 ธันวาคม ปี ค.ศ. 2003 ซึ่งมีส่วนช่วยในการสงวนที่พัก (Guest house) แบบดั้งเดิมจ�ำนวนมากที ่ ยังมีพื้นที่สวนกลางบ้าน

2.3 กฎบัตรทางด้านสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับย่านเมืองเก่ามาร์ราเกช การฟื้นฟูสภาพและการบูรณะบ้านเก่า โดยเจ้าของบ้านรายใหม่ที่ม ี แรงบันดาลใจและพื้นเพทางด้านวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน น�ำไปสู่ความท้าทาย เกีย่ วกับการเปลีย่ นรูปแบบของการจัดสวนกลางบ้าน การปรับปรุงใหม่สว่ นใหญ่ จะให้ความส�ำคัญกับความสูงของตัวอาคารมากกว่าแผนการปรับปรุงใหม่ทงั้ หมด กฎบัตรย่านเมืองเก่าถูกประกาศใช้ในปี ค.ศ. 2008 โดยส�ำนักงานเมืองมาร์ราเกช (the Urban Agency of Marrakesh) ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานระดับ ภูมภิ าคช่วยตรวจสอบเนือ้ หาภายใน ประกอบด้วยรูปแบบของสถาปัตยกรรมและ ลักษณะของเมืองประวัติศาสตร์ โดยพิจารณาจากการจัดล�ำดับชั้นของพื้นที่วา่ ง บริเวณข้างเคียง และโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม กฎบัตรนี้ยังกล่าวถึง ข้อบังคับต่างๆที่จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานด้านการปกครองกับ ภาคประชาชนนัน้ ดีขนึ้ ภายใต้ขนบธรรมเนียม วิถปี ฏิบตั ขิ องเมืองและการอนุรกั ษ์ 12 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


กฎบัตรนีย้ งั เกีย่ วข้องกับทรัพย์สนิ ส่วนบุคคล อาคารสาธารณะ พืน้ ทีเ่ พือ่ การค้าและ บริการ (รวมไปถึง Guest houses) สิง่ ตกแต่งภายนอกอาคาร โครงสร้างพืน้ ฐาน ส�ำหรับน�้ำดื่ม ป้ายสัญญาณบนท้องถนน และการวางผังเมือง โดยมีกรณีที่เป็น ข้อยกเว้นซึ่งต้องการการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบในเชิงลึกจากรูปแบบของ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก เช่น สระว่ายน�้ำ ลิฟต์ และห้องใต้ดินของบ้าน การสร้าง ตึกหรือการดัดแปลงแก้ไขอาคารที่มีความสูงเกินกว่า 8.5 เมตร ในย่านเมืองเก่า ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการสร้างที่ผิดไปจากวัตถุประสงค์ ในการใช้ประโยชน์เดิม หรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการใช้ประโยชน์ เหล่านี้ ต้องได้รับอนุญาต ผู้มีอ�ำนาจในการใช้กฎบัตรนี้ได้แก่ ฝ่ายปกครองที่มีหน้าที่ใน การดูแลเกี่ยวกับแหล่งมรดกและการวางผังเมือง เพื่อที่จะควบคุมอาคารและ การก่อสร้างที่เกิดขึ้นภายในแหล่งมรดกโลกแห่งนี้ มาตรการต่างๆ ในการอนุรักษ์ที่ได้ถูกน�ำมาปรับใช้ประกอบด้วย การลดลงของประชากรท้องถิน่ ภายในย่านเมืองเก่าอย่างต่อเนือ่ ง ส่งผลให้สภาพ ความเป็นอยู่ภายในย่านเมืองเก่าที่เป็นแหล่งมรดกโลกแห่งนี้ดีขึ้น ซึ่งผลกระทบ นี้สามารถท�ำการตรวจวัดได้ในปีถัดไป ถึงแม้ว่าการลดลงของจ�ำนวนประชากร จะเป็นไปอย่างช้าๆ (ประมาณ 7,000 คน ในช่วงระยะเวลาน้อยกว่า 10 ปี ในช่วงปี ค.ศ. 1994-2004) แต่ก็ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงกลับมา เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ดัชนีชี้วัดที่แสดงออกเช่นนี้เป็นสัญญาณเตือนให้เห็นถึง การจัดสรรที่ดิน เนื่องจากการกระจายของบ้านเรือนระหว่างทายาท หรือการที่ มีผู้เช่าหลายรายเช่าห้องอาศัยอยู่ภายในพื้นที่เดียวกัน ในระยะหลังนี้เกิด การเปลีย่ นแปลงทางสังคมขนานใหญ่ตอ่ ครอบครัวชาวโมร็อกโก โดยเฉพาะอย่างยิง่ การเปลี่ ย นแปลงจากครอบครั ว ขยายมาเป็ น ครอบครั ว เดี่ ย วขนาดเล็ ก การเปลีย่ นแปลงเช่นนีเ้ ป็นสิง่ ทีส่ ะท้อนให้เห็นถึงความต้องการพืน้ ทีใ่ นการก่อสร้าง เพิ่มขึ้นจนเข้าขั้นวิกฤติ แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

13


การท่องเที่ยวถือว่าเป็นปัจจัยส�ำคัญเกี่ยวข้องกับการพิจารณาเกี่ยวกับ การพัฒนาอย่างยั่งยืนของย่านเมืองเก่ามาร์ราเกช ถึงแม้จะยังไม่ได้ม ี การศึกษาในเชิงลึกเกีย่ วกับคุณค่าความส�ำคัญจากการได้รบั การขึน้ ทะเบียนให้เป็น แหล่งมรดกโลกทีส่ ง่ ผลท�ำให้เมืองได้รบั ความสนใจเพิม่ ขึน้ แต่จากหลักฐานต่างๆ ทีป่ รากฏก็เป็นเครือ่ งยืนยันความเชือ่ เช่นนัน้ ด้วยคุณค่าของความเป็นแหล่งมรดก ทางวัฒนธรรมของจัตรุ สั Jamaâ El Fna square เมืองมาร์ราเกชอ�ำนวยความสะดวก และให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจ�ำนวนประมาณ 1.5 ล้านคนต่อปี ขณะที่มี ประชากรอาศัยอยูใ่ นเมืองแห่งนีป้ ระมาณ 1 ล้านคน เมืองมาร์ราเกชมีโรงแรมต่างๆ ถึง 130 แห่ง และหลายแห่งตัง้ อยูใ่ นย่านเมืองเก่า พร้อมกับมีทพี่ กั (Guest house) อีก 578 แห่ง นักท่องเทีย่ วทีม่ ายังมาร์ราเกช มีวตั ถุประสงค์ของการมาเยีย่ มเยือน หลายรูปแบบ ไม่วา่ จะเป็นการมาท่องเทีย่ วเป็นหมูค่ ณะ นักท่องเทีย่ วระดับหรูหรา การมาติดต่อธุรกิจ หรือการประชุม โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยของการพักอาศัย ทีเ่ มืองนีป้ ระมาณ 4 วัน สิง่ ทีค่ วรระวังส�ำหรับการพัฒนาด้านการท่องเทีย่ ว ได้แก่ การใช้น�้ำเนื่องจากพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่แห้งแล้งที่มีปริมาณน�้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี น้อยกว่า 300 มิลลิลิตร ปัญหาเกี่ยวกับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติโดย เฉพาะอย่างยิง่ เรือ่ งน�ำ้ กลายเป็นประเด็นทีไ่ ด้รบั การกล่าวถึงกันบ่อยครัง้ ในปัจจุบนั เพื่อที่จะหารูปแบบการจัดการที่เหมาะสมแก่การท่องเที่ยว วิสัยทัศน์ส�ำหรับ การท่องเที่ยวของประเทศโมร็อกโกในปี ค.ศ. 2020 ได้บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับ ประเด็นเรื่องน�้ำเข้าไว้ในแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นหลักที่ควรได้รับ การพิจารณาเพื่อความยั่งยืน หนึง่ ในมาตรการทีม่ กี ารด�ำเนินการเพือ่ ให้เกิดความยัง่ ยืนของทรัพยากรน�ำ ้ ได้แก่ การก่อสร้างโรงบ�ำบัดน�ำ้ เสียในมาร์ราเกช โดยได้มกี ารท�ำพิธเี ปิดโรงบ�ำบัดน�ำ้ เสีย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2011 โรงบ�ำบัดน�้ำเสียมีพื้นที่ขนาด 17 เฮกแตร์ มีคา่ ใช้จา่ ยในการก่อสร้างทัง้ หมด 1,230 ล้านเดอร์แฮม (dirham; สกุลเงินโมร็อกโก) การด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์นี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่ผลิต น�ำ้ ประปาและไฟฟ้าในเมืองมาร์ราเกช (RADEEMA) และอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ ว 14 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


จากปริมาณน�ำ้ เสียจ�ำนวน 43 ล้านเมกะลิตร ทีเ่ มืองผลิตขึน้ ในแต่ละปี (รวมไปถึง นำ�้ ทิง้ จากแหล่งมรดกโลก) โรงบ�ำบัดนำ�้ เสียแห่งนีส้ ามารถท�ำการบ�ำบัดน�ำ้ และน�ำ กลับมาใช้ใหม่ได้ถงึ 33 ล้านเมกะลิตร น�ำ้ ทีผ่ า่ นการบ�ำบัดจะถูกน�ำไปใช้รดน�ำ้ ต้นไม้ ตามสถานทีต่ า่ งๆ และในบริเวณสนามกอล์ฟ นอกจากนีย้ งั ได้มกี ารด�ำเนินการเกีย่ ว กับการอนุรกั ษ์และพัฒนาควบคูก่ นั ไป โดยการปลูกสวนปาล์มขนาดเล็กในมาร์ราเกช ซึง่ เริม่ ในปี ค.ศ. 2007 โดย The Mohammed VI Foundation for Environmental Protection โครงการดังกล่าวยังเน้นไปที่การศึกษาและการประชาสัมพันธ์ ในทีส่ าธารณะเกีย่ วกับพิพธิ ภัณฑ์โอเอซิสและการปลูกต้นปาล์มเป็นจ�ำนวนมาก (กระทัง่ วันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2012 ได้ท�ำการปลูกต้นปาล์มไปแล้วจ�ำนวน 456,160 กล้า) ยุทธศาสตร์เพื่อความยั่งยืนยังได้กล่าวถึงการให้ความส�ำคัญทางด้าน วัฒนธรรมอย่างต่อเนือ่ ง ตามรายงานประจ�ำงวด ปี ค.ศ. 2010 ( the Periodic Report of 2010 ) ซึง่ รายงานเกีย่ วกับสถานภาพของการอนุรกั ษ์ แหล่งมรดกโลก แสดงให้เห็นว่า ย่านเมืองเก่าต้องเผชิญกับกิจกรรมทีก่ อ่ ให้เกิดผลกระทบด้านลบ เช่น กิจกรรมการ ค้าขายทีไ่ ม่ได้รบั การควบคุม การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานด้านการบริการ และการขนส่ง รายงานดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ จากการฟืน้ ฟู และปรับปรุง อาคารบ้านเรือนทีท่ รุดโทรมโดยกลุม่ คนชัน้ กลาง ส่งผลให้เกิดการขับไล่ผทู้ มี่ รี ายได้นอ้ ย ออกจากพื้นที่ (Gentrification) เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการรวมกลุ่มทางสังคม การเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างของประชากร การเลือนหายไปของวิถี การด�ำรงชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณี การสูญหายไปขององค์ความรู้ทาง ขนบธรรมเนียมดัง้ เดิมเกีย่ วกับการจัดการ และขยายตัวอย่างรวดเร็วของกิจกรรม ที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยว รายงานฉบับดังกล่าวยังเน้นย�้ำให้เห็นถึงภัยคุกคาม จากปัญหาด้านความกลมกลืนของสิ่งปลูกสร้าง (Visual Integrity) ความงดงาม ของรูปแบบการตกแต่งบริเวณด้านหน้าอาคาร การสัน่ สะเทือนและมลพิษทีเ่ กิดจาก การคมนาคมขนส่ง การพัฒนาพื้นที่เมืองโดยรอบย่าน เมืองเก่า ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อแนวเขตปริมณฑลทีป่ รากฏต่อสายตา และการสูญหายไปของระบบระบายน�ำ้ ที่อยู่ใต้ดิน (Khettaras) แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

15


รูปที่ 2-2 Badii Palace ที่มา: Shelbypoppit (2013)

มีความพยายามอย่างมากในการลดผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ ต่อแหล่งท่องเทีย่ ว ทางวัฒนธรรมทีซ่ งึ่ มีนกั ท่องเทีย่ วไปเยีย่ มชมมากทีส่ ดุ เช่น Badii Palace, Bahia Palace, Dar Si Saïd Museum, Saadis Tombs, Medersa Ben Youssef และ Ménara gardens สถานที่ส�ำคัญเหล่านี้บางแห่งต้องตกอยู่ในสถานะ ทีเ่ ผชิญกับการเสือ่ มสลายหรือถูกท�ำลายลงเป็นอย่างมากภายในช่วงระยะเวลาไม่กปี่ นี ี้ ตัวอย่างเช่น the Almoravid Qoubba (Koutoubia Mosque) เป็นต้น สถานทีต่ า่ งๆ เหล่านีม้ คี ณุ ค่าความเป็นมรดกทางวัฒนธรรม จึงมีความจ�ำเป็นเร่งด่วนในการวางกลยุทธ์ ในการจัดการนักท่องเที่ยว โดยการก�ำหนดเพดานควบคุมจ�ำนวนนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งหาแนวทางในการก�ำหนดดัชนีที่ใช้ในการตรวจวัดการด�ำเนินการ ด้านการอนุรกั ษ์ สถานทีท่ ไี่ ด้รบั การคัดเลือกเป็นเป้าหมายของการอนุรกั ษ์ ส่วนใหญ่ จะเป็นสถานที่ที่ได้รับการก่อสร้างขึ้นในช่วง French Protectorate (1912-56) สถานที่ท่องเที่ยวแห่งอื่นมีการเตรียมความพร้อมส�ำหรับรองรับนักท่องเที่ยว 16 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


เช่น Dar El Bacha Palace, บานประตูประวัติศาสตร์ของ the Rampart, สะพานที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 13 เพื่อข้าม Tensift River, the Medersa Ben Saleh และซากปรักหักพังของ the Almoravid Palace ทีข่ ดุ ขึน้ ในปี ค.ศ. 1996 ใกล้กบั Koutoubia Mosque ซึง่ เป็นหนึง่ ในหลายๆ แห่งทีไ่ ด้รบั การจ�ำแนกและ ประเมินคุณค่าความส�ำคัญ โดยได้รบั การประเมินว่ามีคณ ุ ค่าความส�ำคัญอันโดดเด่น มากจนประเมินค่ามิได้

2.4 พันธมิตรระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน (Public-private partnerships) แผนการด�ำเนินการต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ได้เน้นให้เห็นถึงความส�ำคัญของชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งตลอดระยะเวลาหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ประกอบการที่ให้บริการ ด้านที่พักอาศัยภายในย่านเมืองเก่า ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศเป็นตัวแปรส�ำคัญ ในการท�ำให้ราคาบ้านที่มีสวนกลางบ้านเพิ่มสูงขึ้น เกิดการขยายตัวของบริษัท ที่ด�ำเนินธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ในย่านเมืองเก่าและเมืองใหม่ แต่ทั้งนี้ การด�ำเนินธุรกิจในย่านเมืองเก่า โดยกลุ่มทุนต่างๆ ถูกควบคุมโดยข้อบังคับหรือ กฎหมายทีผ่ มู้ อี �ำนาจจากหน่วยงานภาครัฐเป็นผูอ้ นุญาตให้ด�ำเนินการได้ถกู ต้อง ตามกฎหมาย หรือก�ำหนดให้มีการปรับรูปแบบโดยการน�ำเอาโครงสร้างพื้นฐาน เดิมของเมืองเก่ามาใช้ประโยชน์อีกครั้ง แต่มีผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นเพียงน้อย นิดเท่านั้นที่ตกไปถึงชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ที่ถูกบีบให้ทิ้งบ้านของตนเองให้ไปอาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนท์และหอพักของเมือง ที่ปราศจากพื้นที่สีเขียว และโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามยังมีการด�ำเนินการร่วมกันโดยหน่วยงานภาครัฐและผูอ้ ยูอ่ าศัย บางกลุม่ เพือ่ ทีจ่ ะบรรเทาความยากจนและช่วยปรับปรุงรายได้ครัวเรือนให้ดขี นึ้ หรือกล่าวโดยทั่วไปคือการท�ำให้ชีวิต ความเป็นอยู่ดีขึ้น ภายใต้กรอบแผนการ ด�ำเนินงานของ the National Initiative for Human Development (INDH) แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

17


ซึ่งลงนามโดย King Mohammed VI ในปี ค.ศ. 2005 ส่งผลให้เกิดการฟื้นฟู และปรับปรุงโรงแรมขนาดใหญ่แบบดั้งเดิม (Caravanserais) จ�ำนวน 11 แห่ง ภายในย่านเมืองเก่า การฟื้นฟูเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการจ�ำแนกโดยมีพื้นฐาน มาจากการศึกษาในปี ค.ศ. 2006 มีการน�ำเสนอรูปแบบและมุมมองเกี่ยวกับ การฟื้นฟู โดยพิจารณาจากลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ เช่น โรงงานผลิตเครือ่ งจักสาน ทัง้ นีส้ ถานะของการเป็นแหล่งมรดกโลกไม่เพียงแต่ชว่ ย ในการปกป้องบ้านเรือนเหล่านีจ้ ากการถูกละเลยและปล่อยให้เสือ่ มสลายไปเท่านัน้ แต่มันยังช่วยต่อลมหายใจให้กับบ้านเรือนเหล่านั้น โดยส่งผลกระทบด้านบวก แก่เมืองทีอ่ ยูโ่ ดยรอบ อีกตัวอย่างหนึง่ ได้แก่ จัตรุ สั Jamaâ El Fna square จัตรุ สั แห่งนี ้ ได้รบั การป้องกันโดยการประยุกต์ใช้ความสามารถในการรับรูข้ องผูค้ นถึง คุณค่าความส�ำคัญที่เป็นนามธรรมของมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการด�ำเนินการในรูปแบบของสมาคม และมีส่วนช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจ ในการเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบในโครงการใดๆ ที่มีส่วนช่วยใน การปกป้องความรู้และทักษะของพวกเขา กิจกรรมที่ก่อให้เกิดความร่วมมือและถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น โดยเน้นไปทีค่ นหนุม่ สาว ถูกจัดขึน้ ควบคูก่ นั ไปกับการฝึกภาคปฏิบตั ิ การประเมิน การสนับสนุนจากสังคม การดูแลรักษาสุขภาพ และอื่นๆ การเป็นพันธมิตรร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ภายในย่านเมืองเก่ามาร์ราเกชจะมีความแตกต่างกัน บางโครงการประสบความส�ำเร็จ ภายใต้กรอบแผนการด�ำเนินการที่ปรากฏครั้งแรกในแผนพัฒนาชุมชน (the Communal Development Plan (PCD)) ซึง่ ริเริม่ ขึน้ โดยนายกเทศมนตรี ของเมือง (the Mayoralty) เมื่อไม่นานมานี้เอง แผนการด�ำเนินงานตาม PCD ก�ำหนดกรอบครอบคลุมช่วงเวลาระหว่างปี ค.ศ. 2011-2016 ซึง่ แผนการดังกล่าว ได้ผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบโดยอาศัยหลักการพื้นฐานของความร่วม มือกันในการท�ำงานระหว่างหน่วยงานที่ประกอบด้วย สมาชิกคณะเทศมนตรี ตัวแทนจากภาคประชาสังคม (the Civil Society Representatives) นักวิชาการ 18 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


จากมหาวิทยาลัย และนักลงทุนจากภาคเอกชน ซึ่งแผนการด�ำเนินงาน PCD จะประกอบไปด้วยชุดโครงการที่เลือกโดยผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ที่จัดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2010 โครงการต่างๆ เหล่านี้ครอบคลุมเนื้อหาในหลาย ประเด็น ได้แก่ โครงสร้างพืน้ ฐานและการจราจรภายในเมือง การต่อสูก้ บั รูปแบบ ทีอ่ ยูอ่ าศัยทีไ่ ม่ถกู สุขลักษณะ การเข้าถึงบริการขัน้ พืน้ ฐาน และการต่อสูก้ บั การกีดกัน ทางสังคมและความยากจน การวางผังเมืองทัง้ ในส่วนทีเ่ ป็นเมืองและแหล่งมรดกโลก สภาพแวดล้อมของเมืองและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การปกครองส่วนท้องถิ่น สังคมและวัฒนธรรม และกีฬาภายในชุมชนเมือง ซึ่งแผนงานดังที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้นนี้ก�ำลังอยู่ในช่วงของการด�ำเนินการให้ประสบผลส�ำเร็จ การด�ำเนินการ ตามโครงการแหล่งมรดกโลกทีเ่ กิดขึน้ โดยคณะเทศมนตรีและกลุม่ พันธมิตรแสดง ให้เห็นดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 โครงการความร่วมมือของภาครัฐกับภาคเอกชน Project

Location

Urban infrastructure, system of roads, car circulation and lighting

Inside and around the Medina, palm grove and the Ménara and Agdal gardens

Mayoralty

Private and pulic parners

Total (MAD)*

33,820,000 54,600,000 88,420,000

Ramparts of the Medina, 4,500,000 44,000,000 48,500,000 Agdal gardens, Agdal Ba Hmad gardens - 45,000,000 45,000,000 Construction of ditches Around the Medina against floods Restoration and rehabilitation work

Recreation Ghabat Chabab park between Medina and infrastructure Ménara gardens

6,000,000 6,000,000

12,000,000

Total (MAD)

44,320,000 149,600,000 193,920,000

*US$1 = 8 MAD (Moroccan dirham)

ที่มา: Mayoralty official website: www.ville-marrakech.ma แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

19


ขณะนีก้ �ำลังอยูใ่ นระหว่างการด�ำเนินการสร้างความร่วมมือกับกลุม่ พันธมิตรอืน่ ซึง่ ถือว่าเป็นครัง้ แรกทีม่ คี วามร่วมมือเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานธนาคารและบริษทั ด้านโทรคมนาคมที่ได้มีส่วนเข้ามาช่วยในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมแห่งนี้ โดย the Banques Populaires Foundation ได้เข้ามามีสว่ นช่วยในการสนับสนุน งบประมาณในการฟื้นฟูน�้ำพุที่มีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์จ�ำนวน 3 แห่ง ใน Bahia, Bab Aylen และ Bab El Khmis นอกจากนี้การฟื้นฟูสภาพ ของสวนทีอ่ ยูภ่ ายใน the Arset Moulay Abdeslam (ทีส่ ร้างขึน้ ในคริสต์ศตวรรษ ที่ 17 มีเนื้อที่ 9.2 เฮกแตร์) ให้เป็น A Cyber-Park ภายใต้กรอบความร่วมมือ ของพันธมิตรระหว่าง the Mohammed VI Foundation for Environmental Protection เมืองมาร์ราเกช จังหวัด และบริษัท Moroc Telecom นอกจากนีย้ งั มีความร่วมมือในความพยายามทีจ่ ะปกป้องย่าน Medina ทีเ่ กิดขึน้ ในระดับชาติ ระหว่างปี ค.ศ. 2006-2008 โดยสหภาพยุโรป (European Union) ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการ the Rehabi Med Project ภายใต้กรอบแผนการจัดการโครงการ the Programme Euromed Heritage ทีม่ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ การฟืน้ ฟูบา้ นในย่านเมืองเก่า จ�ำนวน 3 หลัง เพือ่ ให้ผอู้ ยูอ่ าศัย เกิดความรูส้ กึ ถึงคุณค่าของวิธกี ารในการก่อสร้างแบบดัง้ เดิม การด�ำเนินการดังกล่าว เป็นการรักษาเอกลักษณ์ ที่ได้รับค�ำขอบคุณและการตอบรับจากเพื่อนบ้าน ใกล้เคียงที่เห็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่มีส่วนร่วม รับผิดชอบในการปรับปรุงฟื้นฟูให้อยู่ในมาตรฐานระดับมืออาชีพ

2.5 การพัฒนาการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนให้ดีขึ้น (Improved Community Involvement) การอนุรกั ษ์ยา่ นเมืองเก่ามาร์ราเกชได้มกี ารแบ่งการรายงานผลการด�ำเนิน งานออกเป็น 2 ช่วงเวลาได้แก่ ปี ค.ศ. 2000 และปี ค.ศ. 2009 โดยประเด็น ส�ำคัญทีไ่ ด้มกี ารรายงานไว้ในปี ค.ศ. 2000 ยังคงมีการด�ำเนินการและรายงานผล 20 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


อย่างต่อเนือ่ งในปี ค.ศ. 2009 ซึง่ ผลการด�ำเนินการดังกล่าวได้สง่ ผลกระทบทางบวก ต่อการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกแห่งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประชาชนมีความตระหนักถึงความส�ำคัญ ของแหล่งมรดกโลกแห่งนี้เพิ่มขึ้น และมีส่วนช่วยสนับสนุนและเป็นแรงผลักดัน ให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการตัวแหล่งมรดกโลก เพิม่ ขึน้ โดยมีการก�ำหนดวิสยั ทัศน์ทชี่ ดั เจนทีจ่ ะก่อให้เกิดการท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน โดยเน้นไปทีอ่ งค์ประกอบทัง้ สองส่วนได้แก่ ทรัพยากรทางธรรมชาติและแหล่งมรดก ทางวัฒนธรรม ชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ภายในแหล่งมรดกโลกต่างต้องการที่จะ ได้รบั ผลตอบแทนหรือผลก�ำไรทีเ่ พิม่ ขึน้ มรดกทางวัฒนธรรมภายในย่านเมืองเก่า ได้กลายมาเป็นแรงขับเคลือ่ นทีแ่ ท้จริงส�ำหรับการพัฒนาเมืองอย่างยัง่ ยืน การทีม่ ี แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเช่น ย่านเมืองเก่ามาร์ราเกช หรือแหล่งมรดกประเภท “Sleeping Heritage” คือ แหล่งมรดกทีย่ งั ไม่ได้รบั การประกาศอย่างเป็นทางการ สามารถทีจ่ ะเป็นแรงส่งให้เกิดการปรับปรุงมาตรฐานการด�ำเนินชีวติ ของคนในท้องถิน่ ช่วยให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงสภาพทางสังคมและวัฒนธรรม และการสร้างงาน ชุมชนท้องถิ่นนับว่า มีสว่ นส�ำคัญในการจ�ำแนก และยกระดับคุณค่าของแหล่งอืน่ ๆ เพือ่ น�ำมาซึง่ รายได้ ที่เพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวซึ่งในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 11 ล้าน MAD ต่อปี (1 ล้านยูโร) ควบคูไ่ ปกับการด�ำเนินการผ่านระบบการเมืองในปัจจุบนั ทีม่ ผี แู้ ทนจาก การเลือกตัง้ (บนพืน้ ฐานของสมาชิกสภาเทศบาล ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี และเทศมนตรี ที่ได้รับการเลือกเข้ามาจากเสียงส่วนใหญ่) ได้มีการปรับปรุงการ ด�ำเนินการจากแนวคิดและความคิดเห็นทีไ่ ด้รบั จากผูท้ มี่ สี ว่ นได้สว่ นเสีย เพือ่ ทีจ่ ะ ก่อให้เกิดการมีสว่ นร่วมของชุมชนในท้องถิน่ ทีด่ ขี นึ้ ในการจัดการและการพัฒนา ย่านเมืองเก่า ทั้งนี้ความรู้สึกของการเป็นเจ้าของระหว่างผู้ที่อยู่อาศัยในระแวก ใกล้เคียงกับแหล่ง และตัวแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมจ�ำเป็นต้องได้รบั การปรับปรุงให้ ดีขนึ้ ประชาชนจ�ำนวนมากต่างคิดว่าอนุสาวรียท์ อี่ ยูข่ า้ งเคียงเป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

21


และนักท่องเทีย่ วส่วนใหญ่รวมไปถึงเด็กๆ ไม่เคยทีจ่ ะเข้าไปภายในสถานทีส่ กั การะ ที่อยู่ในแหล่งมรดกโลกนี้เลย นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึง การมีส่วนร่วม ของชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในสภาพที่ล่อแหลมต่อความไม่ยั่งยืน (Precarious Conditions) ในการจัดการพื้นที่แหล่งมรดกโลก ซึ่งต้องอาศัยการด�ำเนินการ จัดการในระยะยาว

2.6 การพัฒนาแหล่งมรดกแบบผสมผสาน (Integrated heritage development) ย่านเมืองเก่ามาร์ราเกชที่มี Jamaâ El Fna square เป็นจุดศูนย์กลาง ได้ รั บ การบั น ทึ ก ภายใต้ อ นุ สั ญ ญาของ UNESCO 2 อนุ สั ญ ญา ได้ แ ก่ World Heritage Convention ปี ค.ศ. 1972 และ Intangible Heritage Convention ปี ค.ศ. 2003 ได้เปิดโอกาสให้กบั ทุกภาคส่วนได้รบั ประโยชน์รว่ มกัน ก่อให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันในการก�ำหนดข้อตกลงร่วมกันในการอนุรักษ์และ ป้องกันสถานที่ที่มีคุณค่าอันโดดเด่นแห่งนี้ มาร์ราเกชเปรียบเสมือนห้องสมุดที่ รวมการผสมผสานของแหล่งมรดกทัง้ ทีเ่ ป็นรูปธรรมและนามธรรม ซึง่ แหล่งมรดก ที่ได้รับการรับรองภายใต้เครื่องมือทางกฎหมายระหว่างประเทศ 2 ฉบับ ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือของชุมชนท้องถิ่นที่ดีขึ้นในการปกป้องแหล่งมรดก ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมแห่งนี้ มาตรการต่างๆ ที่ใช้ในการปกป้องจัตุรัส ไม่อาจน�ำไปประยุกต์ใช้จนประสบความส�ำเร็จได้หากปราศจากผู้สืบทอดมรดก ทางวัฒนธรรมเอาไว้ และเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการบริหารงานในรูปของสมาคม ซึ่งได้จุดประกายการเป็นพันธมิตรร่วมกันในการปกป้ององค์ความรู้ที่มี ผู้คนใน ชุมชนได้รับสิทธิทางสังคมเพิ่มขึ้นเช่น การได้รับเงินช่วยเหลือ (Allowances) การได้รับการดูแลด้านสุขภาพ และการได้รับสิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่เพียงพอ

22 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


ส�ำหรับการฝึกฝน ถ่ายทอดองค์ความรูจ้ ากคนรุน่ ก่อนไปสูเ่ ยาวชนและคนหนุม่ สาว มรดกทางวัฒนธรรมจึงเป็นมาตรการทีม่ คี วามเหมาะสมในการปกป้องโครงสร้าง และคุณค่าโดยรวมของแหล่งมรดกโลก

แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

23



บทที่ 3 การสนับสนุนของชุมชนในการปกป้องแนวปะการัง Great Barrier Reef ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่ประเทศออสเตรเลีย แนวปะการัง Great Barrier Reef (GBR) ตลอดแนวชายฝัง่ ตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศออสเตรเลีย เป็นระบบนิเวศปะการังทีม่ ขี นาดใหญ่ทสี่ ดุ ในโลก โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของแนวปะการังทั่วโลก และจัดได้ว่า เป็นแนวปะการังที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความสลับซับซ้อนมากที่สุด แห่งหนึ่งของโลก แนวปะการัง Great Barrier Reef ได้รับการยกระดับให้มีความส�ำคัญ โดดเด่นในระดับโลกเมื่อปี ค.ศ. 1981 เมื่อแนวปะการังซึ่งมีพื้นที่ถึง 348,000 ตารางกิโลเมตร แห่งนีไ้ ด้รบั การขึน้ ทะเบียนให้เป็นหนึง่ ในรายชือ่ ของแหล่งมรดกโลก (World Heritage List) โดยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อก�ำหนดเกี่ยวกับแหล่ง ธรรมชาติ 4 ข้อ ได้แก่ (i) เป็นตัวอย่างที่มีความโดดเด่นที่แสดงถึงขั้นตอนหลักที่ส�ำคัญ ของประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพัฒนาการของโลก (ii) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นทีแ่ สดงถึงการเปลีย่ นแปลงทางธรณีวทิ ยา วิวฒ ั นาการทางชีววิทยา และปฏิสมั พันธ์ระหว่างมนุษย์กบั สภาพ แวดล้อมทางธรรมชาติ (iii) มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หายาก หรือมีปรากฏการณ์ทาง ธรรมชาติทมี่ คี วามพิเศษ มีโครงสร้างทางธรณีสณ ั ฐานหรือเรือ่ ง ราวหรือพื้นที่ที่มีความงดงามตามธรรมชาติที่เหนือค�ำบรรยาย เช่น ตัวอย่างทีโ่ ดดเด่นของระบบนิเวศทีม่ คี วามส�ำคัญต่อมนุษย์ แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

25


(iv) เป็นถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของสิง่ มีชวี ติ ทัง้ พืชและสัตว์หายากหรือสิง่ มีชวี ติ ทีม่ คี วามเสีย่ งต่อการสูญพันธุก์ ย็ งั สามารถอาศัยอยูใ่ นพืน้ ทีน่ ไี้ ด้ ปัจจุบันพื้นที่มรดกโลก Great Barrier Reef (The Great Barrier Reef World Heritage Area (GBRWHA)) ยังคงเป็นแหล่งที่มีคุณค่า ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ อันประกอบด้วย แนวปะการังนำ�้ ตืน้ และป่าชายเลน หมู่เกาะ เกาะปะการัง แหล่งหญ้าทะเล แนวปะการังตอนกลางของขอบทวีป และแนวปะการังด้านนอกของขอบทวีป และบริเวณทะเลลึกที่มีระยะห่างจาก แนวชายฝั่งถึงกว่า 250 กิโลเมตร ภายในขอบเขตของ GBRWHA ประกอบด้วย The GBR Marine Park ซึ่งเป็นอุทยานทางทะเลของรัฐ (Federal Marine Park) ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 99% ของ พื้นที่มรดกโลกทั้งหมด แนวเขตของอุทยานทางทะเลภายใต้ ข้อก�ำหนดของกฎหมายจะไปสิ้นสุดที่ระดับน�้ำลงต�่ำสุดตลอด แนวชายฝั่งของแผ่นดินใหญ่ (ยกเว้นในส่วนพื้นที่ที่เป็นท่าเรือ) และโดยรอบเกาะ (ยกเว้นพื้นที่เกาะส่วนตัวประมาณ 70 เกาะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานทางทะเล) ประมาณครึ่งหนึ่งของเกาะจาก 950 เกาะภายใต้ข้อก�ำหนด ทางกฎหมายของรัฐ Queensland ทีไ่ ด้รบั การประกาศให้เป็น อุทยานแห่งชาติ และ น่านน�้ำภายในรัฐ Queensland (รวมไปถึงพื้นที่ท่าเรืออีก จ�ำนวนมาก)

26 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


รูปที่ 3-1 แนวปะการัง Great Barrier Reef ที่มา: National Geographic Society (2013)

ถึงแม้ว่า Great Barrier Reef จะไม่ได้คงสภาพเป็นแหล่งมรดกโลก ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกต่อไป แต่ Great Barrier Reef ก็ยังคงเป็น แหล่งมรดกโลกทีม่ คี วามส�ำคัญมากทีส่ ดุ ในการอนุรกั ษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ และแม้วา่ แนวปะการัง ป่าชายเลน และแหล่งหญ้าทะเลจะปรากฏอยูท่ วั่ ไปบนโลก แต่กลับไม่มที ใี่ ดเลยทีจ่ ะพบการแพร่กระจายของระบบนิเวศเหล่านีอ้ ย่างกว้างขวาง ครอบคลุมพื้นที่ที่มีความแตกต่างทางละติจูดและระยะทางตามแนวไหล่ทวีป (เป็นการผสมผสานความหลากหลายที่เกิดขึ้นตามระดับความลึกของน�้ำ) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของระบบนิเวศต่างๆ ตลอดจน ถิ่นที่อยู่อาศัย และชนิดของสิ่งมีชีวิตที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน

แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

27


การจัดการเกีย่ วกับแหล่งมรดกโลกทีม่ ขี นาดใหญ่เช่นนีจ้ งึ มีความยุง่ ยาก และสลับซับซ้อนอันเนือ่ งมาจากความทับซ้อนกันในด้านกฎหมายและการบังคับใช้ ระหว่างรัฐบาลกลางกับมลรัฐ Queensland ดังนัน้ การจัดการจ�ำเป็นต้องด�ำเนินการ ภายใต้หน่วยงานหลายหน่วยงานทั้งจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นของ มลรัฐภายใต้แผนการด�ำเนินงานตามข้อตกลงระหว่างรัฐ (Intergovernmental Agreement) ซึ่ ง ได้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง ขึ้ น ในปี 2009 โดยการผสมผสาน เครือ่ งมือต่างๆ ในการจัดการเช่น การแบ่งพืน้ ที่ (Zoning Plans) แผนการจัดการ (Plans of Management) แผนการจัดการประมง (Fishery Management Plans) ข้อตกลงร่วมเรื่องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลที่ถือปฏิบัติ กันมาตามประเพณี (Traditional Use of Marine Resources Agreements) พื้นที่สงวนส�ำหรับพะยูน (Dugong Protection Areas) โดยมีรูปแบบและ เป้าหมายในการด�ำเนินการทีแ่ ตกต่างกันประกอบด้วย การให้การศึกษา (Education) การวางแผน (Planning) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental impact assessment) การติดตาม (Monitoring) การบริการและให้ค�ำแนะน�ำ (Stewardship) และการบังคับใช้ (Enforcement) ทัง้ นีเ้ พือ่ ควบคุมการใช้บริการ และเพือ่ ควบคุมและ/หรือติดตามผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ จากกิจกรรมต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ เช่น การท่องเที่ยว (Tourism) การประมง (Fisheries) การขนส่งทางทะเล (Shipping) หรือเพื่อการประเมินถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศโลก หรือการเสื่อมลงของคุณภาพน�้ำ หน่วยงานต่างๆ ทีเ่ ข้าไปมีสว่ นร่วมส�ำหรับการจัดการพืน้ ที่ Great Barrier Reef ประกอบด้วย 1) The Great Barrier Reef Marine Park Authority (GBRMPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานจากรัฐบาลกลางที่มีความรับผิดชอบใน การวางแผนและการจัดการในพืน้ ที่ Great Barrier Reef Marine Park ทั้งนี้ GBRMPA มีอ�ำนาจในการในการออกบทบัญญัติ เกี่ยวกับกฎหมายให้สอดคล้องกับการออกกฎหมายหลักของ 28 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


รัฐบาลกลาง โดยหน้าที่ความรับผิดชอบ ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี สิง่ แวดล้อมของรัฐบาลกลาง (Federal Environment Minister) 2) The Australian Government’s Department of Sustainability, Environment, Water, Population and Communities มีหน้าทีค่ วามรับผิดชอบในการควบคุมการด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ทีอ่ าจส่งผลกระทบต่อคุณค่าโดยรวมอันโดดเด่น หรือผลกระทบ ด้านอื่น ภายใต้ข้อก�ำหนดของกฎหมายสิ่งแวดล้อมของชาติ โดยท�ำหน้าทีเ่ ป็นหน่วยงานประจ�ำรัฐ (State Party) ทีร่ บั ผิดชอบ มรดกโลกของประเทศออสเตรเลียทั้งหมด 3) หน่วยงานของรัฐ Queensland อีกเป็นจ�ำนวนมากที่ให้ การสนับสนุนเกีย่ วกับการจัดการ Great Barrier Reef และรอยต่อ กับผืนแผ่นดิน เกาะ และทะเล โดยมี the Queensland Parks and Wildlife Service (QPWS) ท�ำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลัก ที่รับผิดชอบกิจกรรมการจัดการในภาคสนามทั้งหมด 4) นอกจากนีย้ งั มีอกี หลายหน่วยงานของรัฐบาลกลางและรัฐบาล ของมลรัฐทีเ่ ข้ามาเกีย่ วข้องกับการจัดการบางเรือ่ งเป็นการเฉพาะ เช่ น การขนส่ ง ทางทะเล การประมง การซ้ อ มรบ และการป้องกันภัยทางอากาศ หน่วยงานต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นต่างมีความเชื่อว่า GBRWHA มีความส�ำคัญอย่างยิง่ ต่อชุมชนท้องถิน่ ตลอดจนผูท้ เี่ ข้ามาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และการนันทนาการขึน้ อยูก่ บั ว่า Great Barrier Reef ตอบสนองต่อความต้องการ ในการพักผ่อนและการใช้ชีวิตประจ�ำวันได้เพียงใด คุณลักษณะทีส่ �ำคัญของ Great Barrier Reef ท�ำให้ผคู้ นมากมายตระหนักว่า พืน้ ทีท่ งั้ หมดเปรียบเสมือนกับพืน้ ทีค่ มุ้ ครองทางทะเล (Marine sanctuary) หรือ อุทยานแห่งชาติทางทะเล (Marine national park) อย่างไรก็ตามหลังจาก แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

29


ที่ได้ยื่นเพื่อขอขึ้นทะเบียนเมื่อปี ค.ศ. 1975 เป็นต้นมา พื้นที่ Great Barrier Reef ได้ถกู น�ำไปใช้เพือ่ วัตถุประสงค์ตา่ งๆ ทีห่ ลากหลาย พืน้ ทีค่ มุ้ ครองทางทะเล (Marine-protected area) ที่ซึ่งการจัดแบ่งพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือ ที่ส�ำคัญส�ำหรับการจัดการ แนวทางการจัดแบ่งพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์หลายด้าน ช่วยขจัดปัญหาข้อขัดแย้งในเรือ่ งการใช้ประโยชน์ และยังก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ เชิงพาณิชย์และการนันทนาการได้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งบางกิจกรรมสามารถ น�ำไปสู่การจัดการเพื่อขอรับการอนุญาตให้ด�ำเนินการได้อย่างเป็นระบบ คุณค่าความส�ำคัญของแนวปะการัง Great Barrier Reef ต่อสังคม และเศรษฐกิจ เป็นที่ประจักษ์ต่อประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากร ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยรอบราว 1.12 ล้านคน คุณค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว กิจกรรมนันทนาการ และการท�ำการประมงภายในอุทยานทางทะเล Great Barrier Reef (รวมไปถึง การท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่โดยรอบ) ได้มีการประเมินไว้ว่ามีมูลค่าเกินกว่า 5.4 พันล้านเหรียญออสเตรเลียต่อปี และช่วยก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 66,000 ต�ำแหน่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เมื่อไม่นานมานี้มีการคาดการณ์กันว่า มีประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ รับนำ�้ ตามแนวปะการัง Great Barrier Reef เข้ามาใช้ประโยชน์ดา้ นการท่องเทีย่ ว ภายในแนวปะการัง Great Barrier Reef จ�ำนวน 14.6 ล้านคนต่อปี และมีพาหนะ ที่ใช้เพื่อการท่องเที่ยวมากกว่า 83,000 คัน ที่ได้ลงทะเบียนใช้ในบริเวณชายฝั่ง รอบแนวปะการัง Great Barrier Reef อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนถือเป็น ส่วนส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐ Queensland ซึ่งอุตสาหกรรม เหล่านี้ล้วนขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศของแนวปะการัง Great Barrier Reef ท�ำให้เกิดความพยายามในการสร้างเครือข่ายและพันธมิตร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ 30 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


ในระยะยาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการประมง เนื่องจากการค้าที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว การสร้างพันธมิตรในการด�ำเนินงานช่วยก่อให้เกิดประโยชน์ ในการท�ำงานร่วมกันโดยเฉพาะหน่วยงานต่างๆ ที่จะต้องท�ำงานด้านการจัดการ ร่วมกัน อย่างไรก็ตามแนวปะการัง Great Barrier Reef มีความส�ำคัญต่อ ชุมชนท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียอื่นซึ่งไม่จ�ำเป็นว่าจะต้อง เป็นผู้ใช้ทรัพยากรภายในแนวปะการัง Great Barrier Reef โดยเฉพาะเท่านั้น มีหลายแนวทางที่ช่วยให้สมาชิกภายในชุมชนสามารถท�ำงานร่วมกับหน่วยงาน ทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ การจัดการได้อย่างใกล้ชดิ เพือ่ ให้เกิดความมัน่ ใจในประสิทธิภาพ ของการจัดการในการปกป้องพื้นที่ GBRWHA

3.1 ความส�ำคัญพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่นที่มีต่อ GBR ระยะแรกที่แนวปะการัง Great Barrier Reef ได้รับการจัดตั้งให้เป็น อุทยานทางทะเลในช่วงปลายปี ค.ศ. 1970-1979 ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนส�ำคัญ อย่างมากในการช่วยปกป้องคุณค่าความส�ำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ใน ปัจจุบันยังมีความร่วมมือและข้อตกลงร่วมกันในการรักษาความร่วมมือร่วมกัน ระหว่างคนที่อาศัยอยู่ภายในพื้นที่ ชุมชนท้องถิ่น และผู้ใช้ประโยชน์อื่นให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดในการอนุรกั ษ์คณ ุ ค่าความส�ำคัญอันโดดเด่นของแนวปะการัง Great Barrier Reef และช่วยเพิ่มความสามารถในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ของแนวปะการัง Great Barrier Reef การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่อุทยาน ทางทะเลแนวปะการัง Great Barrier Reef ได้ถูกน�ำเสนอเข้าพิจารณาเป็น แหล่งมรดกโลก ตัวอย่างที่ส�ำคัญได้แก่การที่สาธารณะชนได้ให้การสนับสนุน แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

31


ในเรื่องการจัดการและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรโดยพิจารณาจาก ความส�ำคัญและลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เช่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรม GBR-Wide Rezoning ในปลายช่วงปี ค.ศ. 1990-1999

3.2 ชุมชนอะบอริจินและชุมชนชาวเกาะที่อาศัยอยู่โดยรอบ ชาวอะบอริจินและชุมชนชาวเกาะ (Aboriginal and Torres Strait Islanders) มีความผูกพันและเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางทะเลในเขต แนวปะการัง Great Barrier Reef ที่ถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานนับพันปี ผู้คนเหล่านี้ได้ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ที่ช่วยให้เกิดความยั่งยืน ในการใช้ทรัพยากรทางทะเลของประเทศ มีชุมชนชาวเกาะอย่างน้อยที่สุด ถึง 70 ชุมชนที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกของ Torres Strait Islands ไปจนถึง ทางเหนือของ Bundabery ชุมชนชาวเกาะถือเป็นส่วนหนึ่งของ GBRWHA แต่ละชุมชนสามารถสามารถรักษาคุณค่าความส�ำคัญของมรดกทางวัฒนธรรม ที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังมองไปถึงอนาคตเพื่อการรักษา มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศและภูมิภาคให้สามารถสืบทอดต่อไปได้ ความเชื่อมโยงอันยาวนานของชนเผ่าอะบอริจินและชาวเกาะกับ สภาพแวดล้อมในเขตแนวปะการัง Great Barrier Reef เป็นสิง่ ยืนยันถึงลักษณะ ที่ตรงตามข้อก�ำหนดของเกณฑ์ที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในข้อ (ii) เมื่อปี ค.ศ. 1981 ที่บัญญัติไว้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติ (Man’s interaction with his Natural Environment) GBRMPA มีการด�ำเนินการในการจัดตัง้ กลุม่ พันธมิตรภายใน (Indigenous Partnerships Group) ที่ท�ำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับเจ้าของวัฒนธรรม ท้องถิ่น (Traditional Owners) เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงกันระหว่าง ขนบธรรมเนียมประเพณีกับแหล่งธรรมชาติ Great Barrier Reef กลุ่มพันธมิตร 32 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


ที่จัดตั้งขึ้นได้แก่ ความร่วมมือระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับรัฐบาลรัฐ Queensland ในการพัฒนาแผนการจัดการแนวเขตของแผ่นดินที่ติดกับทะเล ประกอบด้วย ข้อตกลงร่วมในการใช้ทรัพยากรทางทะเลตามธรรมเนียมปฏิบตั ดิ งั้ เดิม (Traditional Use of Marine Resources Agreements; TUMRAs) และข้อตกลงเกี่ยวกับ การใช้ประโยชน์ทดี่ นิ ภายในอุทยานทางทะเล (Marine Park Indigenous Land Use Agreements; ILUAs) ทั้งนี้ TUMRAs เป็นข้อตกลงที่เป็นทางการที่เกิดขึ้น จากชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งผ่านการรับรองทั้งจาก GBRMPA และรัฐบาลของ รัฐ Queensland ซึง่ การด�ำเนินงานของ TUMRAs เกิดขึน้ จากการทีช่ มุ ชนท้องถิน่ ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งมีความต้องการที่จะจัดการการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ (รวมไปถึงชนิดที่ได้รับการคุ้มครอง) ตลอดจนการให้ ความส�ำคัญในการติดตามสถานภาพการเปลีย่ นแปลงของพืช สัตว์ และมนุษย์ภายใน พืน้ ที่ การน�ำแผนไปสูก่ ารปฏิบตั ติ ามแนวทางของ TUMRAs สามารถด�ำเนินการ ได้โดย การเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณะชนเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ของชุมชนที่อาศัยตามแนวชายฝั่ง และการให้ความรู้แก่สมาชิกของชุมชน ท้องถิ่นดั้งเดิมกลุ่มอื่นๆ เกี่ยวกับสถานภาพของ TUMRAs ปัจจุบันมี TUMRAs อยู่ 5 กลุ่ม และ ILUA อีก 1 กลุ่ม ที่ปฏิบัติงาน ให้กับอุทยานทางทะเล Great Barrier Reef ครอบคลุมพื้นที่ถึงร้อยละ 18 ของพื้นที่ชายทะเล ภายในอุทยานทางทะเล (หรือร้อยละ 22 ของพื้นที่ชายฝั่ง ของแผ่นดินใหญ่) รวมไปถึงชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมอีก 14 ชุมชน การท�ำงานของ TUMRA จะด�ำเนินการตามช่วงเวลา ภายหลังจากที่ได้มีการปรึกษาหารือกัน เรียบร้อยแล้ว โครงการช่วยเหลือปะการังของรัฐบาลออสเตรเลีย (Australian Government’s Reef Rescue Program) ช่วยเปิดโอกาสในการเชื่อม ความสัมพันธ์ระหว่างผูค้ นทีอ่ าศัยอยูต่ ามแนวชายฝัง่ ให้เพิม่ มากขึน้ เพือ่ ให้เกิดประโยชน์ ต่อความยัง่ ยืนของการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ ตามขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น การท่องเที่ยวภายในพื้นที่ชายฝั่งทะเล การเรียนรู้และการวิจัย แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

33


เกีย่ วกับแนวเขตชายทะเล การวางแผนในการใช้พนื้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเล และความเชือ่ มโยง กับอุทยานทางทะเล ตลอดระยะเวลาในการด�ำเนินงานของโครงการต่างๆ ( ไปจนถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2013) พบว่าชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมมากกว่า 50 จาก ทั้งหมด 70 ชุมชนที่เชื่อมโยงกับ GBR มีการน�ำเสนอรูปแบบของกิจกรรมเพื่อ การจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ดั้ ง เดิ ม ยั ง ได้ มี ก ารน�ำเสนอโครงการที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด การท�ำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ของ GBRMPA เพื่อการผสมผสานระหว่าง ความรูจ้ ากวัฒนธรรมดัง้ เดิมกับความรูส้ มัยใหม่ในการปกป้องแนวปะการัง Great Barrier Reef ให้ดียิ่งขึ้น มีประชาชนจากชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมมากกว่า 220 ราย ที่อยู่ในระหว่างการเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ ความตระหนัก และการให้ความยอบรับในความส�ำคัญของทรัพยากรทางทะเลด้านต่างๆ และทีส่ �ำคัญเป็นการเพิม่ ศักยภาพและอ�ำนาจการต่อรองของชุมชนท้องถิน่ ดัง้ เดิม ในการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล GBRMPA ยังสนับสนุนชุมชนที่อาศัยอยู่ภายในแนวปะการัง Great Barrier Reef ให้เข้ามามีสว่ นร่วมในการเป็นคณะกรรมการของ An Indigenous Reef Advisory Committee ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ค�ำแนะน�ำแก่หน่วยงานต่างๆ ว่าสามารถด�ำเนินกิจกรรมโดยให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ให้ดีที่สุดได้อย่าไร อีกตัวอย่างทีป่ ระสบความส�ำเร็จได้แก่ การจัดท�ำฐานข้อมูลของสถานที ่ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง (The Story Place Database) ที่มีการแบ่งปัน ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม และความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ บกและทะเลซึ่ ง เป็ น แหล่ ง ทรั พ ยากรที่ มี คุ ณ ค่ า ต่ อ ชาวอะบอริ จิ น และ ชาวเกาะ Torres Strait Islanders ท�ำให้ผู้จัดการ นักวิจัย และผู้สนใจคนอื่นๆ เกิดการเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม กับแนวปะการัง Great Barrier Reef 34 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


3.3 คณะกรรมการท้องถิ่นที่ท�ำหน้าที่ในการให้ค�ำปรึกษาทางทะเล การให้ค�ำปรึกษาแก่ GBRMPA ต่อแนวทางการจัดการในระดับท้องถิ่น เกิดขึ้นผ่านทางคณะกรรมการท้องถิ่นซึ่งท�ำงานด้วยจิตอาสาที่เรียกว่า Local Marine Advisory Committees (LMACs) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1999 โดยมี หน่วยงาน LMACs จ�ำนวน 12 แห่ง ร่วมกับหน่วยงานด้านการจัดการด้านอื่น ในการจัดการเพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝัง่ ในระดับท้องถิน่ และก่อให้เกิดความเข้าใจต่อการด�ำเนินงานของ GBRWHA สมาชิกของคณะกรรมการอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือตัวแทนของชุมชน หรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือที่ได้รับผลกระทบ เป้าหมายของ การด�ำเนินการก็เพือ่ ทีจ่ ะรักษาสภาพความสมดุลระหว่างผูค้ นในท้องถิน่ ทีเ่ ข้าไป เกี่ยวข้องกับการจัดการหรือใช้ประโยชน์จากอุทยานทางทะเล ทั้งนี้ประโยชน์ หลักทีเ่ กิดจาก LMACs ได้แก่การเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลีย่ นข้อมูลระหว่าง ชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ องค์ประกอบของ LMAC แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความสนใจท้องถิ่น และประเภทของอุตสาหกรรม สมาชิกของชุมชนทั้ง 210 คนที่เกี่ยวข้องกับ LMACs ตลอดแนวชายฝั่งของแนวปะการัง Great Barrier Reef ประกอบด้วย กลุม่ ประมงเพือ่ การค้าและการพักผ่อน กลุม่ อนุรกั ษ์ เกษตรกร ธุรกิจการท่องเทีย่ ว รัฐบาลท้องถิ่น อุตสาหกรรม และกลุ่มที่สนใจด้านอื่นตลอดจนชาวอะบอริจิน และชาวเกาะ Torres Strait Islander ตัวแทนจากหน่วยงานของรัฐทั้งจาก รัฐบาลกลางและรัฐบาลของมลรัฐ ต้องเข้าร่วมเป็นส่วนหนึง่ ของคณะท�ำงานด้าน การจัดการในระดับอาวุโสของ GBRMPA และยังต้องเข้าร่วมประชุมกับ LMAC อีกหนึ่งการด�ำเนินงานที่ประสบความส�ำเร็จในการให้ชุมชนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วม เกิดขึ้นจากการจัดตั้ง Community Access Points (CAPs) โดยหน่วยงาน CAPs มากกว่า 300 แห่งตลอดแนวชายฝั่งแนวปะการัง Great Barrier Reef ช่วยให้เกิดแผนที่แสดงการจัดแบ่งพื้นที่และค�ำแนะน�ำ แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

35


จากหน่วยงานด้านการจัดการ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงโดยตรงต่อผู้ใช้ประโยชน์ และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความสนใจ

3.4 โครงการพิทักษ์รักษาแนวปะการัง GBRMPA เริ่มด�ำเนินโครงการพิทักษ์รักษาปะการังในปี ค.ศ. 2003 โดยมีการจัดการเรียนการสอนเกีย่ วกับการพิทกั ษ์รกั ษาปะการัง ปัจจุบนั โครงการนี้ พิ สู จ น์ ใ ห้ เ ห็ น แล้ ว ว่า ความร่ ว มมื อ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในระดั บ ชุ ม ชนเกิ ด จากการ สร้างความสัมพันธ์และท�ำงานร่วมกันกับผู้คนที่ใช้ประโยชน์หรืออาศัย GBR เพื่อการประกอบอาชีพหรือการพักผ่อน สามารถที่จะเข้ามาร่วมในการปกป้อง คุณค่าทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของแนวปะการัง Great Barrier Reef ได้และยังช่วยสร้างให้สภาพแวดล้อมของแนวปะการัง Great Barrier Reef ดีขึ้นและมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น โครงการเกี่ยวกับโรงเรียนผู้พิทักษ์รักษาปะการัง (Reef Guardian Schools Program) ซึง่ มีการด�ำเนินการอย่างต่อเนือ่ งช่วยยกระดับความเข้มแข็ง ของโครงการ โดยมีนกั เรียนมากกว่า 111,000 คน จาก 285 โรงเรียนทัง้ ในระดับรัฐ โรงเรียนศาสนา และโรงเรียนเอกชนตลอดทั้ง Queensland ที่ปัจจุบัน เข้ามามีส่วนร่วมในการด�ำเนินโครงการเกี่ยวกับการพิทักษ์ดูแลแนวปะการัง Great Barrier Reef หากมีประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบแนวปะการัง Great Barrier Reef จ�ำนวนประมาณ 1.2 ล้านคน นั่นแสดงว่ามีผู้คน ประมาณร้อยละ 10 เข้าร่วมกับโครงการนี้ซึ่งบ่งบอกถึงความส�ำคัญของ การด�ำเนินโครงการดังกล่าว ความส�ำเร็จของโครงการเกี่ยวกับโรงเรียนผู้พิทักษ์รักษาปะการัง ก่อให้เกิดการขยายตัวของผู้ที่เข้าร่วมโครงการไปสู่สภาบริหารท้องถิ่น (Local Government Councils) ในปี ค.ศ. 2007 ปัจจุบนั สภาการบริหารของเมืองทัง้ สิน้ 36 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


13 เมือง จาก เมืองBundaberg ไปจนถึง เมืองCooktown ได้รว่ มลงนามในฐานะ ที่เป็นสภาผู้พิทักษ์รักษาปะการัง (Reef Guardian Councils) นั่นเป็นสิ่งยืนยัน ถึงประสิทธิภาพในการด�ำเนินการเพือ่ ปรับปรุงตลอดจนการฟืน้ ฟูสภาพแวดล้อม ของแนวปะการัง Great Barrier Reef ผ่านทางการริเริ่มในการด�ำเนินกิจกรรม ด้านต่างๆ เช่น การจัดการน�ำ ้ การบ�ำบัดน�ำ้ ชะถนน การน�ำเอาน�ำ้ ทิง้ กลับมาใช้ใหม่ และการน�ำกลับมาใช้ซ�้ำ การจัดการด้านพืชและแมลงศัตรูพืช การควบคุม การชะล้างพังทลายของดิน การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้พลังงาน และทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการให้การศึกษาแก่ชุมชน ในปี ค.ศ. 2010 มีการจัดสรรทุนส�ำหรับการด�ำเนินโครงการในระยะสัน้ เพือ่ ช่วยให้โครงการ สภาผูพ้ ทิ กั ษ์รกั ษาปะการัง และโรงเรียนผูพ้ ทิ กั ษ์รกั ษาปะการัง ให้มีความเข้มแข็งขึ้น และยังช่วยให้เกิดการขยายตัวของโครงการผู้พิทักษ์รักษา ปะการังไปสูเ่ กษตรกรและชาวประมง ได้แก่ โครงการ Reef Guardian Farmers และ Reef Guardian Fishers ถึงแม้ว่าเป็นโครงการที่อยู่ในระยะเริ่มแรก ของการด�ำเนินการแต่โครงการที่จัดขึ้นส�ำหรับเกษตรกรและชาวประมงช่วยให้ เห็นคุณค่าความส�ำคัญของการขยายฐานการมีส่วนร่วมจากประชาชนทั่วไปไป สู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยส�ำคัญ การจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดการ แบ่งปันข้อมูลเพื่อการจัดการให้เกิดความยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจ ของผู้ใช้ประโยชน์ทั่วไปและภาคอุตสาหกรรม และเพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ ว่าการปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของแนวปะการัง Great Barrier Reef ให้ดีขึ้นจะน�ำไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมภายใน GBRWHA

แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

37


3.5 ความส�ำคัญของชุมชนในการจัดการเขตพื้นที่ การสนับสนุนจากชุมชนเป้าหมายถือเป็นส่วนหนึง่ ของมาตรการอันเข้มข้น ในการจัดท�ำแผนการจัดการที่ส่งผลต่อการจัดเขตพื้นที่ของอุทยานทางทะเล ทั้งหมดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ถึงปี ค.ศ. 2003 ความเกี่ยวข้องของชุมชน และการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนมีความจ�ำเป็นต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ในประเทศออสเตรเลียมาอย่างยาวนาน ขั้นตอนส�ำคัญสองขั้นตอนส�ำหรับ จัดท�ำแผนเพือ่ การจัดการประกอบด้วยปัจจัยน�ำเข้าและการน�ำเสนอต่อสาธารณะ จ�ำเป็นต้องอาศัยค�ำแนะน�ำ และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก และ ชุมชนเป็นส�ำคัญ การท�ำประชาพิจารณ์รวมไปถึงการประชุมทัง้ ทีเ่ ป็นทางการและไม่เป็น ทางการ รวมไปถึงการให้ขอ้ มูลข่าวสารแก่ผคู้ นทีอ่ าศัยอยูต่ ามแนวชายฝัง่ และไกลจาก แนวชายฝัง่ ของแนวปะการัง Great Barrier Reef ซึง่ ประกอบไปด้วยชุมชนท้องถิน่ องค์การด้านการประมงทั้งเพื่อการค้าและนันทนาการ ผู้คนที่อาศัยอยู่ภายใน (รวมถึงชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม) บริษัทจัดการท่องเที่ยว กลุ่มอนุรักษ์ สภาท้องถิ่น และนักการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับรัฐบาลกลาง ผลที่ได้รับจาก การสนับสนุนของชุมชน จนน�ำไปสู่การจัดท�ำ (ร่าง) แผนการจัดแบ่งพื้นที่เพื่อ การจัดการ เพื่อน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในขั้นตอนสุดท้าย โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพภายในแนวปะการัง Great Barrier Reef ให้ดีขึ้น

38 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


3.6 การระวังป้องกันคุณค่าอันโดดเด่นโดยรวม ในขณะที่แนวปะการัง Great Barrier Reef ยังคงเป็นระบบนิเวศ ปะการังทีม่ คี วามอุดมสมบูรณ์มากทีส่ ดุ ของโลก แต่สภาพโดยรวมก็เสือ่ มโทรมลง ภายหลังการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป ในหนังสือ The Great Barrier Reef Outlook Report 2009 สรุปว่า ระบบนิเวศของแนวปะการัง Great Barrier Reef เดินทางมาถึงจุดที่เป็นทางแยกแล้ว การตัดสินใจภายในระยะเวลา 2-3 ปี นับจากนี้จะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้นต่อ Great Barrier Reef ในระยะยาว ในรายงานของ The Outlook Report ได้จ�ำแนกผลกระทบหลัก 4 ประการที่ส่งผลต่อแนวปะการัง Great Barrier Reef ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ 2) คุณภาพน�้ำตามล�ำน�้ำต่างๆ ที่ไหลลงสู่พื้นที่ชายฝั่งแนว ปะการัง Great Barrier Reef ลดลงอย่างต่อเนื่อง 3) การสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง 4) ผลกระทบจากการท�ำการประมงรวมไปถึงสัตว์น�้ำคุ้มครองที่ จับได้โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งก่อให้เกิดการตายของชนิดพันธุ์ที่ไม่ได้ เป็นเป้าหมายในการจับ หนทางที่ดีที่สุดที่จะท�ำให้เกิดความมั่นใจในอนาคตของแนวปะการัง Great Barrier Reef ได้ก็คือพยายามลดความกดดันที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นให้ได้มากที่สุด และปล่อยให้ระบบนิเวศมีการฟื้นตัวมากขึ้น เพื่อช่วย ในการรักษาระบบนิเวศให้คงสภาพดีอยู่ ซึ่งเป็นการปกป้อง GBRWHA ตัวอย่าง ของแผนการด�ำเนินการที่ได้เกิดขึ้นแล้วในบางพื้นที่เช่น Reef Water Quality Protection Plan โดยรัฐบาลกลางออสเตรเลียและรัฐบาลของรัฐ Queensland แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

39


ได้รว่ มมือกันในการลงทุนและด�ำเนินการในการปรับปรุงคุณภาพน�ำ้ ทีไ่ หลมาจาก พื้นที่เกษตรกรรมลงสู่พื้นที่ชายฝั่งรอบแนวปะการัง Great Barrier Reef หลังจากที่ The Outlook Report ได้รายงานไว้ในปี ค.ศ. 2009 สามารถ น�ำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมิน ในรายงานฉบับต่อไปในปี ค.ศ. 2014 โดยมีหัวข้อต่างๆ ประกอบด้วย การเพิ่มขึ้นของการเดินเรือซึ่งเป็นผลมาจาก การขยายกิจการท่าเรือ การเติบโตของประชากรซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัว ของชุมชนเมืองและอุตสาหกรรมตามแนวชายฝั่ง การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งและ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในพื้นที่ลุ่มน�้ำรอบแนวปะการัง Great Barrier Reef และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น ปัญหาน�้ำท่วม หรือผลกระทบจากพายุไซโคลน ทั้งนี้จ�ำเป็นต้องยอมรับว่า การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งยังคงเป็นหัวข้อส�ำหรับการจัดการที่ส�ำคัญในล�ำดับแรกๆ ทีค่ วรให้ความสนใจในการด�ำเนินการต่อไป ทัง้ นีก้ ารวางแผนการจัดการทีด่ �ำเนินไป อย่างเข้มข้น ตลอดจนการจัดการพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทีม่ กี ารปรับปรุงอย่างต่อเนือ่ งสามารถ ช่วยปรับปรุงภาพลักษณ์ของแนวปะการัง Great Barrier Reef ให้ดีขึ้นได้

3.7 บทเรียนที่ได้รับและความท้าทายที่รออยู่ การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการปกป้องและจัดการถือเป็น หนึ่งในความส�ำเร็จของ แผนการจัดแบ่งพื้นที่ (Zoning Plan) แนวปะการัง Great Barrier Reef เริ่มมีผลบังคับใช้กลางปี ค.ศ. 2004 ซึ่งตลอดระยะเวลา ของการจัดท�ำแผนได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากนับตั้งแต่ฉบับร่าง จนกว่าจะถึงแผนฉบับสุดท้าย โดยการเพิม่ การมีสว่ นร่วมของชุมชนเข้าไปมากขึน้ การบรรจุแนวปะการัง Great Barrier Reef เข้าสู่บัญชีรายชื่อ แหล่งมรดกโลก (World Heritage List) ก่อให้เกิดประโยชน์ทงั้ ต่อ GBRWHA และ ชุมชนท้องถิน่ โดยสถานภาพของพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั การประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลก 40 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


ได้ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจแก่ประชาชนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ช่วยให้เกิดความรูส้ กึ ร่วมในการแสดงออกถึงความรับผิดชอบในการคุม้ ครองพืน้ ที่ อย่างไรก็ตามการขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลก ยังหมายถึงความจ�ำเป็นที่จะต้องดูแล เอาใจใส่เรือ่ งราวต่างๆ ตลอดจนแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อแหล่งมรดกโลก ให้เพิ่มมากขึ้นจนเป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ การบริหารจัดการพื้นที่ตามมุมมองของ GBRWHA ต้องพิจารณา ทัง้ ในแง่ของการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม บทเรียนต่างๆ ทีไ่ ด้รบั จากพืน้ ทีแ่ นวปะการัง Great Barrier Reef สามารถน�ำไปปรับใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก แห่งอื่นได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากรูปแบบการจัดการภายในพื้นที่แนวปะการัง Great Barrier Reef ทีป่ ระสบความส�ำเร็จเป็นอย่างดีเกิดขึน้ จากเหตุผลสนับสนุน หลายประการ ซึง่ บางรูปแบบของการจัดการก็ไม่สามารถทีจ่ ะน�ำไปใช้ในพืน้ ทีอ่ นื่ ได้ ปัจจัยอืน่ ทีส่ ง่ ผลต่อความส�ำเร็จในการจัดการพืน้ ทีเ่ ชิงระบบนิเวศ ได้แก่ การทีค่ วามหนาแน่นของประชากรทีอ่ าศัยอยูต่ ามแนวชายฝัง่ แนวปะการัง Great Barrier Reef อยูใ่ นระดับตำ �่ ประชากรทีอ่ าศัยอยูใ่ นพืน้ ทีย่ งั มีมาตรฐานการด�ำรง ชีวิตที่สูง ประเทศมีความมั่นคงทางการปกครองในทุกระดับ ตลอดจนประชากร ในพื้นที่และชุมชนท้องถิ่นยังมีส่วนส�ำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเห็นได้วา่ การมีสว่ นร่วมของชุมชนมีความจ�ำเป็นหากต้องการให้ GBRWHA ของประเทศออสเตรเลีย ได้รบั การจัดการตามข้อก�ำหนดภายใต้อนุสญั ญาคุม้ ครอง มรดกโลก (World Heritage Convention) ดังนั้นเพื่อให้การคุ้มครองพื้นที่ ที่มีคุณค่าโดดเด่นในระดับโลกนี้ประสบความส�ำเร็จ จึงจ�ำเป็นต้องมีแผนการ ด�ำเนินงานภายใต้ยทุ ธศาสตร์ของความร่วมมือโดยค�ำนึงถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิด กันระหว่างชีวติ ความเป็นอยูข่ องคนในชุมชนทีม่ คี วามมัน่ คงยัง่ ยืนควบคูไ่ ปกับการ คุม้ ครองและการจัดการพืน้ ทีแ่ นวปะการัง Great Barrier Reef ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ การสนับสนุนการด�ำเนินงานให้ประสบความส�ำเร็จ ยังขึ้นอยู่กับ ความตัง้ ใจจริงของสมาชิกภายในชุมชนและผูท้ มี่ สี ว่ นได้สว่ นเสียอืน่ ในการสนับสนุน แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

41


กิจกรรมด้านต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง และต้องค�ำนึงถึงความถูกต้องในการปฏิบตั ริ ว่ มกัน ในการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งในทางปฏิบัติ หน่วยงานที่ด�ำเนินการในการจัดการ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องกระตุน้ ให้เกิดประสบการณ์และความรูส้ กึ ทีด่ ภี ายในชุมชนเพือ่ ให้เกิด ความมัน่ คงในการใช้ทรัพยากรภายในชุมชน เพือ่ ทีจ่ ะก่อให้เกิดความมัน่ ใจว่าเป็น ไปตามข้อ 5 ของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (Article 5 of the Convention) ที่ว่า แหล่งมรดกโลกจะต้องมี “.....หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินชีวิตของคนภายในชุมชน.....”

3.8 สถานการณ์ปจั จุบนั ของ The Great Barrier Reef ในบัญชีมรดกโลก ถึงแม้วา่ รัฐบาลท้องถิน่ ของมลรัฐ Queensland ประเทศออสเตรเลียและ ชุมชนท้องถิน่ ได้มคี วามพยายามในการจัดการพืน้ ทีข่ อง The Great Barrier Reef ร่วมกันอย่างดีเพียงใดก็ตาม แต่ระบบนิเวศทางทะเลทีม่ คี วามส�ำคัญในระดับโลก แห่งนีก้ ย็ งั คงมีความเสีย่ งทีจ่ ะได้รบั การขึน้ บัญชีเป็นแหล่งมรดกโลกทีอ่ ยูใ่ นสถานะ ถูกคุกคาม ซึ่งเป็นผลจากการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 37 ในปี ค.ศ. 2013 ที่ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที ่ 16 มิถุนายน ถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 ในเบื้องต้นที่ประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกคาดว่าจะมีการแจ้งบัญชีรายชือ่ แหล่งมรดกโลกทีอ่ ยูใ่ นสถานะถูกคุกคาม (List of the endangered places) ในปี 2015 แต่ได้มีการปรับเลื่อนขึ้นมาเป็น ปี 2014 แทน ซึง่ คณะกรรมการมรดกโลกได้สง่ สารทีแ่ สดงถึงความวิตกกังวลเกีย่ ว กับสถานการณ์ของ the Great Barrier Reef มายังรัฐบาลกลางของประเทศ ออสเตรเลีย และรัฐบาลท้องถิน่ ของมลรัฐ Queensland โดยตรง การด�ำเนินการ ดังกล่าวมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้เกิดความตระหนักถึงปัญหาทีแ่ หล่งมรดกโลกในพืน้ ที่ นัน้ เผชิญอยูแ่ ละหวังทีจ่ ะก่อให้เกิดมาตรการในการด�ำเนินการเพือ่ ปกป้องคุม้ ครอง แหล่งมรดกโลกไม่ให้ถกู ท�ำลายจนไม่สามารถแก้ไขได้ ซึง่ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า 42 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


พายุหมุนเขตร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสัญจรทางน�้ำ ที่มีความหนาแน่น เพิ่มขึ้นล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความอุดมสมบูรณ์ ของแนวปะการังทั้งสิ้น (Becker, 2013) คณะกรรมการมรดกโลกไม่ต้องการให้ ทางราชการอนุมัติโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งใหม่ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณค่า ของแนวปะการังที่เป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งผลกระทบที่ส�ำคัญที่เกิดขึ้นต่อพื้นที่ ชายฝัง่ ทะเล ได้แก่ การก่อสร้างท่าเทียบเรือ และการพัฒนาพืน้ ทีน่ คิ มอุตสาหกรรม นอกจากนี้ คณะกรรมการมรดกโลกยังต้องการที่จะเห็นการน�ำเสนอมาตรการ ในระยะยาว ในการปกป้องพืน้ ทีท่ มี่ คี วามอ่อนไหวต่อการพัฒนาตลอดแนวปะการังแห่งนี ้ อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีกระทรวงสิง่ แวดล้อมของมลรัฐ Queensland ได้ยนื ยันว่า รัฐบาลท้องถิ่นมีการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อมในบริเวณ พืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทีม่ รี ะดับมาตรฐานทีส่ งู อยูแ่ ล้ว และการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพืน้ ที่ นัน้ ไม่สามารถทีจ่ ะแยกออกจากค่ามาตรฐานคุณภาพสิง่ แวดล้อมทีม่ คี วามเข้มงวด ได้โดยเด็ดขาด (McCarthy, 2013) อย่างไรก็ตาม วาระการประชุมสมัยสามัญครัง้ ที่ 37 ของคณะกรรมการ มรดกโลก ก็ยังไม่ได้มีการบรรจุวาระที่เกี่ยวกับการขึ้นบัญชี แหล่งมรดกโลก ที่อยู่ในสถานะถูกคุกคาม (List of the endangered places) แต่อย่างใด (UNESCO World Heritage Centre, 2013. http://whc.unesco.org/ en/sessions/37COM/ documents/ สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2556) แต่การทีค่ ณะกรรมการมรดกโลกแสดงความวิตกกังวลเกีย่ วกับผลกระทบทีจ่ ะเกิด ขึน้ ต่อ the Great Barrier Reef ก็เป็นสิง่ ทีต่ อกย�ำ้ ให้เห็นถึงคุณค่าความส�ำคัญของ แหล่งมรดกโลกทีเ่ ปรียบเสมือนมรดกของคนทัง้ โลกได้อย่างดี และเป็นการเน้นย�ำ ้ ให้เห็นถึงความส�ำคัญของการมีส่วนร่วมในการปกป้องรักษาคุณค่าความส�ำคัญ ของแหล่งมรดกโลกให้อยู่คู่กับโลกของเราไปตราบนานเท่านาน

แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

43



บรรณานุกรม เดชาวุธ เศรษฐพรรค์. 2548. การเสนอพื้นที่ที่เหมาะสมให้ขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ. ในรายงานการประชุมความหลากหลาย ทางชีวภาพด้านป่าไม้ และสัตว์ป่า ความก้าวหน้าของผลงานวิจัยและ กิจกรรม ปี 2548 ณ โรงแรมรีเจนท์ ชะอ�ำ เพชรบุรี วันที่ 21-24 สิงหาคม 2548. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. น. 442-446. ส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม และคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2549. แนวทางการจัดการ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน): กรุงเทพมหานคร. ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. 2554ก. โครงการ จัดท�ำแนวทางการป้องกัน แก้ไขปัญหาทีจ่ ะคุกคามแหล่งมรดกโลก: พืน้ ที่ รอบแนวเขตแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: กรุงเทพฯ. ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2554ข. โครงการจัดท�ำรายงานการติดตามแหล่งมรดกโลก (Periodic Report) เพื่อเตรียมน�ำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก: รายงานสถานภาพและ กรอบแนวทางการจัดการแหล่งมรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: กรุงเทพฯ. ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. 2556. การอนุรกั ษ์ สิง่ แวดล้อมรอบแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม: กรุงเทพฯ. แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

45


ส�ำนักงานโบราณคดีและพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ 3. 2543. มรดกไทย-มรดกโลก. ศิริพร นันตา(บรรณาธิการ), บริษัท กราฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์) จ�ำกัด: กรุงเทพมหานคร. ส�ำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. 2555. การเตรียมการน�ำเสนอแหล่งมรดกเพือ่ ขึ้นบัญชีมรดกโลก (PREPARING WORLD HERITAGE NOMINATIONS). สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จ�ำกัด: กรุงเทพฯ, 152 น. องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ. 2552. อนุสญั ญา ว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ: รับรอง โดย สมัยประชุมสามัญครั้งที่ 17 ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กรุงปารีส 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515. ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม: กรุงเทพฯ. Day, J.C., Wren, L., Vohland K., 2012. Community engagement in safeguarding the world’s largest reef: Great Barrier Reef, Australia. In World heritage: Benefits Beyond Borders, Galla A. (Ed). Cambridge University Press, Cambridge. pp. 18-29. Rao, K., 2012. Pathways to sustainable development. In World heritage: Benefits Beyond Borders, Galla A. (Ed). Cambridge University Press, Cambridge. pp. 325-331. Skounti, A., 2012. The red city: Medina of Marrakesh, Morocco. In World heritage: Benefits Beyond Borders, Galla A. (Ed). Cambridge University Press, Cambridge. pp. 82-93. World Heritage Centre, July 2013. Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Covention.

46 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


เว็บไซด์ ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก กระทรวงวัฒนธรรม. มปป. แหล่งมรดกโลกทั่วโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2555, จาก http://www.thaiwhic.go.th/ index.aspx. เที่ยวท่องมองเมือง. 2011. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.theawthong.com/dataprovince/ sukhothai/attraction/srichatchanarai.html. ส�ำนักงานการท่องเทีย่ วและกีฬาจังหวัดก�ำแพงเพชร. 2010. อุทยานประวัตศิ าสตร์ ก�ำแพงเพชร. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556, จาก http:// kamphaengphet.mots.go.th/. ส�ำนักงานจังหวัดสุโขทัย. มปป. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. สืบค้นเมื่อวัน ที่ 2 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.sukhothai.go.th/tour/ tour_01.htm. Moroccan House Style, 2012. Riad Merstane: Marrakech is the most exotic city in Morocco. (cited 2013 May 2), Available from: http://moroccan-house-style.blogspot.com/2012/03/ riad-merstane-marrakech-is-most-exotic.html. National Geographic Society, 2013. Great Barrier Reef. (cited 2013 May 2), Available from: http://travel.nationalgeographic.com/ travel/world-heritage/great-barrier-reef. Shelbypoppit, 2013. Badii Palace. (cited 2013 May 2), Available from: http://www.flickr.com/photos/shelbypoppit/8750394654/in/ photostream. แนวคิดและตัวอย่างการจัดการแหล่งมรดกโลกในต่างประเทศ

47


UNESCO World Heritage Centre. 2009. World Heritage List 19922012. (cited 2012 September 2), Available from: http://whc. unesco.org/en/list. The National Science Foundation. Nd. Yellowstone National Park’s. (cited 2012 September 1), Available from: http://www.nsf.gov/ discoveries/disc_summ .jsp?cntn_id=110651&org=ERE. Skounti, A., 2012. The red city: Medina of Marrakesh, Morocco. In World heritage: Benefits beyond borders, Galla A. (Ed). Cambridge University Press, Cambridge. Pp. 82-93. Cited in www.ville-marrakech.ma, Retrived on 2013 May 2.

48 ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ คุมครองแหลงมรดกโลก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.