HSRI FORUM

Page 1

พื้นที่แบ่งปันความรู้ สู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน

ปีที่ 1 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ค่าใช้จ่ายต่อหัวใน

กองทุนสวัสดิการ ข้าราชการ

ค่าใช้จ่ายต่อหัวใน

กองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ

ค่าใช้จ่ายต่อหัวใน

กองทุน ประกันสังคม

ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม

“3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต

www.hsri.or.th


บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

สารบัญ

CONTENT 03

วัสดีครับท่านผู้อ่าน HSRI Forum พื้นที่แบ่งปันความรู้ด้านระบบสุขภาพ เดินมา

ถึ ง ฉบั บ ที่ 6 เดื อ นพฤศจิ ก ายน 2555 ในเล่ ม นี้ น ำเสนอเนื้ อ หาที่ เ ป็ น ประเด็ น

สำคั ญ ระดั บ ชาติ ที่ ต้ อ งได้ รั บ การปฏิ รู ป เพื่ อ สร้ า งความเป็ น ธรรมให้ เ กิ ด แก่ ประชาชน นั่นคือ การจัดการระบบบริหารทั้ง 3 กองทุนสุขภาพ ประกอบด้วย กองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และกองทุนประกันสังคม ซึ่งเมื่อ ช่วงเดือนมีนาคมปีนี้ ทางรัฐบาลมีนโยบายให้หามาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้าง ความเป็นธรรมในระบบบริการสุขภาพให้มากขึ้น HSRI Forum ฉบับนี้ จึงได้นำเรื่อง 3 ระบบกองทุนสุขภาพ มาเสนอให้เห็นความเป็นมา และความแตกต่าง พร้อมนำเสนอให้เห็นความคืบหน้าของมาตรการในการลดความเหลื่อมล้ำ ของ 3 กองทุน โดยเฉพาะนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ในด้าน

ต่างๆ เช่น การปรับโครงสร้างการเงิน การคลัง ฯลฯ ทั้งยังมีมุมมองและความเห็นเรื่องการจัดการและบริหารกองทุนสุขภาพจากผู้ทำงานวิชาการ ตลอดจนประเด็นความท้าทายในอนาคตของระบบหลักประกันสุขภาพไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การบริหารจัดการกองทุนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ การปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพในการ บริการ การก้าวไปสู่สังคมผู้สูงวัยที่จะต้องเผชิญกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น การขาดแคลน บุคลากรด้านสุขภาพ ปัญหาด้านการเงินการคลังของประเทศ ฯลฯ ซึ่งจะเป็นความท้าทายของ ระบบสุขภาพในอนาคต ส่วนเนื้อหาอื่นๆ ภายในเล่ม ‘แกะกล่องงานวิจัย’ หยิบเนื้อหาในมุมของปัญหาอุปสรรค และทิศทางการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพ 3 กองทุน และแนวทางในการแก้ไขปัญหา

ต่างๆ มาขยายผล ส่วน ‘เส้นทางสู่สุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน’ นำประเด็นร้อนๆ ของ ปัญหาวิกฤตพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวทั่วประเทศที่รวมตัวกันเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุข บรรจุ เ ข้ า เป็ น ข้ า ราชการประมาณ 17,000 ตำแหน่ ง หลั ง จากรอคอยมานานกว่ า 7 ปี

ขณะที่ทาง สธ. เองก็กำลังหาทางในการไขปัญหา ขณะที่ ‘ต้ น กล้ า ความรู้ สู่ ต้ น แบบสุ ข ภาพ’ นำเสนอประเด็ น การบริ ห ารบุ ค ลากรของ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ซึ่งถือว่าเป็นโรงพยาบาลที่บริหารงานในรูปแบบ องค์การมหาชนแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย เนื่องในโอกาสที่ดำเนินงานมาครบ

10 ปี โดยพนักงานทุกคนของโรงพยาบาลบ้านแพ้วต่างมีฐานะเป็น ‘พนักงานโรงพยาบาล’ ไม่ใช่ข้าราชการ แต่ทุกคนก็ทำงานอย่างมีความสุข พอใจกับสวัสดิการที่ตัวเองได้รับ ถือเป็น กรณีศึกษาสำหรับโรงพยาบาลรัฐแห่งอื่นๆ ที่ต้องการปฏิรูปตัวเอง เหล่านี้ติดตามกันแบบจุใจ ในฉบับ แล้วกลับมาพบกันกับ HSRI Forum ฉบับหน้า...สวัสดีครับ !

02

รายงานพิเศษ

ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความ เป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต

08

10

12

14

แกะกล่องงานวิจัย

จากปัญหา สู่ทิศทางการปฏิรูป ระบบหลักประกันสุขภาพ 3 กองทุน

เส้นทางสู่สุขภาพ ที่เป็นธรรมและยั่งยืน

ทางแยก ‘วิกฤตกำลังพยาบาล’ กับแสงสว่างปลายทาง

ต้นกล้าความรู้ สู่ต้นแบบสุขภาพ “รพ.บ้านแพ้ว” ดึงดูดกำลังคน ไม่พึ่งตำแหน่ง ขรก.

เกาะกระแส

สวรส. ร่วมกับ CUSRI เปิดเวทีหารือ กับ Prof. Dr. Michael Burawoy • ศมสท. จัดประชุมประเมินระบบทะเบียน ราษฎร์และสถิติชีพ • สวรส. เก็บข้อมูล พัฒนาเครื่องมือ Health Literacy

จุลสาร HSRI Forum

จัดทำโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ที่ปรึกษา นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ทพ.จเร วิชาไทย ภก.สรชัย จำเนียรดำรงการ ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ นพ.บุญชัย กิจสนาโยธิน ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ นพ.คณิตสรณ์ สัมฤทธิ์เดชขจร บรรณาธิการ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข กองบรรณาธิการ นิธิภา อุดมสาลี ฐิติมา นวชินกุล ศุภฑิต สนธินุช

HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต


ร า ย ง า น พิ เ ศ ษ

ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม

“3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต

ะบบบริการสุขภาพของประเทศไทย ถือเป็นประเด็น

สำคั ญ ที่ จ ำเป็ น ต้ อ งได้ รั บ การปฏิ รู ป อย่ า งเร่ ง ด่ ว น

เพื่ อ สร้ า งความเป็ น ธรรมให้ เ กิ ด แก่ ป ระชาชน ทั้ ง หมด 65 ล้ า นคน ดั ง ที่ “นางสาวยิ่ ง ลั ก ษณ์ ชิ น วั ต ร นายกรัฐมนตรี” กล่าวไว้ในงานประชุมวิชาการ ‘หลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าในทศวรรษที่สอง’ ที่โรงแรมรามาการ์เด้น กรุ ง เทพฯ เมื่ อ ช่ ว งต้ น ปี ว่ า รั ฐ บาลมี แ นวนโยบายลดความ เหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในระบบบริการสุขภาพที่ ประชาชนจะได้รับผ่านการบูรณาการจัดการระบบบริหารทั้ง

3 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาล ข้าราชการ และกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความเป็นธรรม โดยให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการตาม สิทธิประโยชน์หลัก ครอบคลุมการดูแลสุขภาพทีจ่ ำเป็นเหมือนกัน ส่วนบริการเพิม่ เติมแต่ละกองทุน สุขภาพอาจจัดให้โดยขึ้นอยู่กับขีดความสามารถทางการเงินของกองทุนนั้นๆ ซึ่งขณะนี้ได้ร่วม กันทำสิทธิประโยชน์หลักเรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนั้นรัฐบาลยังพัฒนา ‘ระบบหรือกลไกกลาง’ เพื่ อ สนั บ สนุ น การบริ ห ารจั ด การร่ ว มกั น ทำให้ ล ดความซ้ ำ ซ้ อ น และสามารถอำนวยความ สะดวกให้กับประชาชนได้มากขึ้น โดยเริ่มดำเนินการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อน (เริ่ม ตัง้ แต่ 1 เม.ย. 55) และจะตามมาด้วยการรักษาผู้ป่วยโรคไต เอดส์ และมะเร็ง ในเวลาอันใกล้นี้

HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต

03


รากเหง้า “ความเหลื่อมล้ำ”

หลั ง จากที่ “นพ.ประดิ ษ ฐ สิ น ธวณรงค์ ” รั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงสาธารณสุข คนใหม่ได้เข้ามารับตำแหน่งต่อจาก “นายวิทยา บุรณศิริ” ประกาศเดินหน้าสนองนโยบายบูรณาการ 3 กองทุนสุขภาพ ให้มีความต่อเนื่อง โดยยืนยันว่ารัฐบาลไม่มีนโยบายในการรวมกองทุน เนื่องจากที่มาของแต่ละกองทุนต่างกัน และสิทธิประโยชน์ของแต่ละ กองทุนจะต้องไม่ลดลง โดยจะยกระดับสิทธิประโยชน์แต่ละกองทุน ขึ้นไปให้เท่ากันและบูรณาการให้มีมาตรฐานเดียวกัน คำกล่าวของ รมว.สธ. สะท้อนถึงนโยบายการคงไว้ซึ่งความแตกต่าง ขณะเดียวกันก็ชี้ให้ เห็นว่า ความเป็นมาที่แตกต่างกันของแต่ละกองทุนเป็นรากเหง้าของความเหลื่อมล้ำในระบบ บริการสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญที่จำเป็นต้องบูรณาการเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรม นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ ผู้ อ ำนวยการสำนั ก งานวิ จั ย เพื่ อ การพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เครือสถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข เล่าถึงที่มาและพัฒนาการของกองทุนสุขภาพ 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน และลูกจ้างประจำ

ภาครัฐ 2) กลุ่มลูกจ้างภาคเอกชน และ 3) กลุ่มประชาชนที่อยู่ใน ภาคการจ้างงานแบบไม่เป็นทางการดังนี้ กลุ่ ม แรก เป็ น กลุ่ ม ที่ อ ยู่ ใ นระบบ ‘กองทุ น สวั ส ดิ ก ารรั ก ษา พยาบาลข้ า ราชการ’ ที่ รั ฐ จั ด ให้ เ พื่ อ เป็ น สวั ส ดิ ก ารแก่ ข้ า ราชการและบุ ค คลในครอบครั ว ครอบคลุมสิทธิการใช้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน สามารถเลือกใช้บริการในสถานบริการ ของรัฐทุกแห่ง เป็นการจ่ายตามปริมาณการใช้บริการหรือแบบปลายเปิด และใช้ระบบเบิกจ่าย ตรง ผู้ป่วยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า มีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีแหล่งเงินจากภาษี ครอบคลุมข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐและบุคคลในครอบครัวประมาณ 4.9 ล้านคน กลุ่ ม ที่ ส อง ลู ก จ้ า งภาคเอกชนจะอยู่ ใ นระบบ ‘กองทุ น ประกันสังคม’ เกิดจากหลักคิดเพื่อสร้างความมั่นคงด้านสังคม ให้แก่ลูกจ้าง เป็นระบบที่ครอบคลุมเฉพาะตัวลูกจ้างไม่รวมคู่ สมรสและบุตร มีแหล่งเงินจากการสมทบ 3 ฝ่าย คือ นายจ้าง 5% ลูกจ้าง 5% และรัฐบาล 2.5% ใช้การจ่ายแบบเหมาจ่าย รายหัวโดยไม่มีการปรับอัตราเหมาจ่ายตามความเสี่ยง และให้ ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญาหลักได้อย่างเสรี ครอบคลุ ม ผู้ เ อาประกั น ตนที่ เ ป็ น ลู ก จ้ า งและพนั ก งานบริ ษั ท เอกชน ประมาณ 9.9 ล้านคน อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กลุ่ ม ที่ ส าม อยู่ ใ นระบบ ‘กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ ถ้วนหน้า’ ที่เกิดขึ้นโดยยึดหลักการรักษาพยาบาลเป็นสิทธิขั้น พื้นฐานที่ประชาชนทุกคนจะได้รับตามรัฐธรรมนูญ ถือเป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการค่อนข้างมาก ก่อนหน้านี้รัฐสั่งสมประสบการณ์มาจากการให้ความช่วยเหลือบางกลุ่ม เช่น ผู้มีรายได้น้อย ทหารผ่านศึก ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้มีบัตรสุขภาพเรื่อยมา กระทั่งเมื่อรัฐบาลประกาศนโยบาย หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจึงสามารถดำเนินการและขับเคลื่อนไปได้ จนเป็นบทเรียนและ เป็นที่ศึกษาดูงานของต่างประเทศ สำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อยู่ภายใต้การ ดูแลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีแหล่งที่มาของเงินค่ารักษาพยาบาล จากภาษี ไม่ต้องจ่ายเมื่อเข้ารับบริการ ครอบคลุมสิทธิประโยชน์อย่างรอบด้านและให้ความ สำคัญกับระบบบริการปฐมภูมิและบริการส่งเสริมป้องกันโรค โดยใช้ระบบงบประมาณและ

04

การจ่ายค่าบริการแบบปลายปิดเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย ด้วยวิธี การเหมาจ่ า ยแบบรายหั ว เช่ น เดี ย วกั บ กองทุ น ประกั น สั ง คม ครอบคลุมประชากรราว 48 ล้านคน

ฉะนั้น เมื่อแต่ละกองทุนมีที่มาต่างกัน จึงมี “ปรัชญา หลักการ - วิธีคิด - การดูแล” ของหน่วยงานรับผิดชอบ ที่แตกต่างกัน รวมไปถึงระเบียบวิธีการและกฎหมายรองรับ ต่างกัน เป็นสาเหตุท่ที ำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างกองทุน โดยหั ว ใจสำคั ญ ของความเหลื่ อ มล้ ำ อยู่ ที่ ก ารออกแบบ ระบบ เช่น รูปแบบการจ่าย อัตราการจ่าย ขณะที่รายการ รักษาและสิทธิประโยชน์ในภาพรวมไม่ค่อยมีความแตกต่าง กันเท่าใดนัก

จากความแตกต่ า งของรู ป แบบการจ่ า ย โดยกองทุ น สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการมีระบบการจ่ายตามปริมาณ การใช้บริการหรือแบบปลายเปิด ขณะที่กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการจ่ายแบบ เหมาจ่ายรายหัว ส่งผลให้อัตราการจ่ายมีความแตกต่างกัน มาก โดยในปี ง บประมาณ พ.ศ.2556 กองทุ น หลั ก ประกั น สุขภาพถ้วนหน้า มีงบเหมาจ่ายรายหัว 2,755.60 บาทต่อคน ต่อปี กองทุนประกันสังคม มีงบเหมาจ่ายรายหัวอยู่ที่ 2,500 บาทต่ อ คนต่ อ ปี ส่ ว นกองทุ น สิ ท ธิ ส วั ส ดิ ก ารข้ า ราชการมี งบประมาณกว่ า 60,000 ล้ า นบาท เฉลี่ ย ค่ า ใช้ จ่ า ยต่ อ หั ว ประมาณ 15,000 บาท ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับอีกสองกองทุน “ประกั น สั ง คมและหลั ก ประกั น สุ ข ภาพจ่ า ยตามราย หั ว โรงพยาบาลจึ ง มี แ รง จู ง ใจในการควบคุ ม ค่ า ใช้ จ่าย แต่ข้าราชการจ่ายตาม ปริ ม าณการใช้ ไม่ มี ก าร ควบคุมเป็นประเด็นสาเหตุ ที่ ท ำให้ เ กิ ด ความแตกต่ า ง ซึ่งในต่างประเทศกำหนดให้ ผูใ้ ห้บริการต้องมีความเสีย่ ง อยู่ด้วย ไม่ใช่เบิกจ่ายตาม ปริมาณการใช้อย่างที่เป็น อยู่ ใ นกลุ่ ม ข้ า ราชการ”

นพ.สัมฤทธิ์ กล่าว รากเหง้า “ความเหลื่อมล้ำ” หากล้วงลงไปให้ลึกแล้วจะ พบว่า พัฒนาการของแต่ละกองทุนและวิธีคิดที่แตกต่างกัน ทำให้การบริหารความเหลื่อมล้ำมีความยากลำบาก ที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดกลไกระดับชาติเข้ามาบริหารจัดการระหว่าง กองทุ น โดยแต่ ล ะกองทุ น ก็ มี ก ฎหมายของตนเองรองรั บ แตกต่างกับต่างประเทศที่จะมีกฎหมายแม่มากำหนดให้กองทุน แต่ละแห่งต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและเป็น ธรรม HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต


ตารางเปรียบเทียบระบบประกันสุข ภาพหลัก 3 ระบบในประเทศไทย

ระบบสวัสดิการรักษา พยาบาลข้าราชการ

แนวคิด

สวัสดิการ (fringe benefit) สาหรับผู้ทางานภาครัฐ

ความมั่นคงด้านสังคม (social security)

สิทธิขั้นพื้นฐานประชาชน (entitlement)

หน่วยงาน รับผิดชอบ

กรมบัญชีกลาง กระทรวงการ คลัง

สานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

สานักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (สปสช.)

จานวนผู้มีสิทธิ๑

๕ ล้านคน (๘%)

๙.๒๙ ล้านคน (๑๕.๘%)

๔๗ ล้านคน (๗๕%)

แหล่งเงิน

งบประมาณรัฐ

สมทบจากรัฐ นายจ้าง และ งบประมาณรัฐ ลูกจ้างฝ่ายละเท่ากันร้อยละ ๑.๕ ของเงินเดือน โดยมีเพดาน เงินเดือนสูงสุดที่ใช้คานวณที่ ๑๕,๐๐๐ บาท

รูปแบบการคลัง การเบิกจ่ายคืน (public reimbursement)

ระบบประกันสังคม

สัญญาทางปกครอง (public contracted)

ระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ

การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ และสัญญาทางปกครอง (public service unit registration & contracted)

งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑

๕๔,๙๐๔.๔๘ ล้านบาท๒ (~๑๑,๐๐๐ บาท/คน)

อัตราเหมาจ่ายรายหัวเท่ากับ อัตราเหมาจ่ายรายหัว เท่ากับ ๑,๓๐๖ บาท และมีรายจ่ายรวม ๒,๑๐๐ บาท๑ ค่ารักษาพยาบาล ๑๘๕๒๘.๑๕ ล้านบาท ค่าคลอดบุตร ๕๗๔๖.๑๔ ล้านบาท คิดเป็น ค่าใช้จ่าย ๒,๖๑๒ บาท/คน หรือ ๑,๙๙๔ บาท/คนหากคิด เฉพาะค่ารักษาพยาบาล๒

สิทธิประโยชน์

รอบด้านทั้งบริการผู้ป่วยนอก/ ใน ทันตกรรม ค่ายาเวชภัณฑ์ ค่าอาหารและห้องพิเศษ ค่าคลอดบุตร

รอบด้านทั้งบริการผู้ป่วยนอก/ ใน ทันตกรรม ค่ายาเวชภัณฑ์ ค่าอาหารและห้องสามัญ ชดเชย กรณีคลอดบุตร ตาย พิการ

เงื่อนไขการใช้ บริการ

สถานพยาบาลรัฐแห่งใดก็ได้ ตามอิสระ ใช้ รพ.เอกชนได้ กรณีฉุกเฉินแบบผู้ป่วยใน แต่ เบิกได้ไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท

เฉพาะโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน เฉพาะโรงพยาบาลรัฐหรือ คู่สัญญาที่ข้ึนทะเบียนด้วย และ เอกชนคู่สัญญาที่ขึ้นทะเบียน สถานพยาบาลในครือข่าย ด้วย และสถานพยาบาลใน เครือข่าย

รูปแบบวิธีการ จ่ายเงิน

ผู้ป่วยนอก ตามปริมาณบริการ เหมาจ่ายรายหัวรวมสาหรับ และราคาที่เรียกเก็บย้อนหลัง บริการผู้ป่วยนอกและใน และ สาหรับ บริการผู้ป่วยในตาม จ่ายเพิ่มเป็นรายกรณี รายป่วยในอัตราที่กาหนด (กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม)

รอบด้านทั้งบริการผู้ป่วยนอก/ ใน ทันตกรรม ค่ายาเวชภัณฑ์ ค่าอาหารและห้องสามัญ ค่าคลอดบุตร ชดเชยตาม ม.๔๑

เหมาจ่ายรายหัวสาหรับบริการ สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และผู้ป่วยนอก; งบประมาณ จากัดวงเงินรวมถ่วงน้าหนักตาม กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม และจ่าย ตามปริมาณบริการหรือรายป่วย เฉพาะกรณี สาหรับบริการ ผู้ป่วยใน

รวมทั้งการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการ รั ก ษาพยาบาลข้ า ราชการมี โ อกาสได้ รั บ การตรวจทางห้ อ ง ปฏิ บั ติ ก ารมากกว่ า ผู้ ป่ ว ยที่ ใ ช้ สิ ท ธิ ห ลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ อันเป็นผลมาจากวิธีการจ่ายเงินทั้ง 3 กองทุนต่างกัน เช่นเดียวกับระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยใน กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการจากโรคหรือภาวะ ต่างๆ เช่น ปอดบวม ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจขาด เลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดตีบในสมอง นานกว่าผู้ป่วย สิทธิหลักประกันสุขภาพ และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล ของผู้ป่วยเบาหวานสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการก็ สูงกว่าทั้งสองสิทธิ เป็นต้น นอกจากนี้ การมี ก องทุ น สุ ข ภาพหลายกองทุ น ยั ง ทำให้ ระบบขาดประสิทธิภาพ เช่น การซ้ำซ้อนของสิทธิ การผลัก ภาระการจ่ายจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบ รวมทั้งยังก่อให้ เกิดการขาดประสิทธิภาพในระบบจากรูปแบบการจ่ายแบบ ปลายเปิ ด โดยค่ า ใช้ จ่ า ยในระบบสวั ส ดิ ก ารรั ก ษาพยาบาล ข้าราชการเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากร้อยละ 10 เพิ่มขึ้น เป็นกว่าร้อยละ 20 นับจากปี 2549 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีกองทุนสุขภาพอยู่หลาย กองทุนหลายระบบ แต่ประชากรบางกลุ่มกลับขาดหลักประกัน สุขภาพไม่ได้รับการเหลียวแล เช่น กลุ่มแรงงานต่างชาติที่ เข้ามาทำงานในประเทศไทยที่ขาดการดูแล นพ.สัมฤทธิ์ให้ ความเห็ น ว่ า “แรงงานต่ า งชาติ ไ ม่ มี เ จ้ า ภาพในการดู แ ล

สุขภาพ ทั้งที่มีข้อมูลยืนยันว่าแรงงานเหล่านี้สร้างผลผลิต ให้ แ ก่ ร ะบบเศรษฐกิ จ ของประเทศไทยถึ ง ร้ อ ยละ 5 ของ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวมในประเทศ เราเอาเปรี ย บเขามาก

แต่ไม่มีใครคุ้มครองสิทธิ กรณีนี้คนที่ได้ประโยชน์ทุกคน ควรมีส่วนร่วมจ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลให้ โดยเฉพาะ กลุ่มผู้ประกอบการ”

4 นโยบาย สู่ความเป็นธรรม 3 กองทุน

สำหรับการขับเคลื่อนเป้าหมายบูรณาการ 3 กองทุนสุขภาพ สู่ความเท่าเทียมและเป็นธรรมนั้น นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดทิศทางการ ทำงาน โดยเฉพาะระบบหลักประกันสุขภาพที่กำลังก้าวเข้าสู่ ปัญหาและช่องว่าง ไม่เป็นธรรม ทศวรรษที่สองโดยมีนโยบายหลัก 4 ประการ ดังนี้ 1. ปรับโครงสร้างด้านการเงินการคลังเพื่อสร้างความสมดุล เมื่อกองทุนสุขภาพแต่ละกองทุนมีกฏหมาย มีกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงมีวิธีการออกแบบและ ของรายได้และรายจ่ายด้านสุขภาพของประเทศในระยะยาว การจ่ายที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ !! ในระดับมหภาค ภูมิภาค และโรงพยาบาลที่เหมาะสมของ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยในกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ได้รับยานอกบัญชียา แต่ละแห่ง โดย สปสช. ต้องมีระบบการใช้งบประมาณอย่าง หลัก ยาต้นแบบนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงการได้บริการหัตถการ เช่น การผ่าคลอด มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับระบบตัวชี้วัดร่วมกับกระทรวงฯ การผ่าตัดส่องกล้อง สูงกว่าผู้ป่วยกองทุนประกันสังคมและกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีการปรับระบบโครงสร้างเพื่อรองรับงานใหม่ เป็นต้น

ที่มา : ๑รายงานประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๑ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, ๒สำนักงานประกันสังคม รายงานประจำปี

พ.ศ. ๒๕๕๑, ๓กรมบัญชีกลาง

HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต

05


2. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลระดับ ชาติ และภายใน 1 ปี จะมีหน่วยงานกลางในการจัดทำธุรกรรมการ เบิกจ่ายระดับชาติ (National clearing house) โดยหน่วยบริการจะ ส่ ง ข้ อ มู ล ทุ ก ระบบผ่ า นหน่ ว ยงานเดี ย วระบบเดี ย ว มี ร ะบบการ เรียกเก็บเงินจาก สปสช.ไปยังกองทุนอื่น และจ่ายเงินจาก สปสช. ให้หน่วยบริการเป็นระบบเดียวใช้ได้กับ 3 กองทุน เป็นต้น 3. การเสริ ม สร้ า งบทบาทหลั ก ประกั น สุ ข ภาพของประเทศ ไทยในระดับโลกและระดับภูมิภาค รวมถึงประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีและประโยชน์ร่วมกัน การมี ส่ ว นร่ ว มในการกำหนดตั ว ชี้ วั ด สหั ส วรรษใหม่ โ ดยนำบทเรี ย น

เกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับ ประเทศไทย 4. การเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพและปรั บ ปรุ ง คุ ณ ภาพของระบบ หลักประกันสุขภาพ มีนโยบายสำคัญคือ 1) การบูรณาการสิทธิ ของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่างๆ ให้ทัดเทียม กัน เช่น มีหลักเกณฑ์การรักษาโรคมะเร็งเหมือนกัน ใช้ระบบ การเบิกจ่ายเดียวกัน มีการจัดระบบการจัดซื้อยารวมเพื่อให้ได้ ราคาถูกลง 2) การดูแลสุขภาพในระยะยาว โดยจะร่วมกับญี่ปุ่น จัดทำระบบหลักประกันสุขภาพแนวใหม่ และ 3) การดูแลผู้ป่วย มะเร็ ง แบบประคั บ ประคอง นำระบบบำบั ด อาการป่ ว ยมะเร็ ง ระยะสุดท้ายมาใช้ เป็นต้น นพ.สัมฤทธิ์ ให้ความเห็นว่า สิ่งสำคัญคือกลไกกลางระดับ ชาติทำหน้าที่บริหารจัดการในภาพรวม ตลอดจนการเบิกจ่าย ระหว่างกองทุน โดยกรรมการที่มีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาค ส่วน จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำซ้ำซ้อนในการบริหารกองทุนสุขภาพ ทั้ง 3 กองทุนได้เป็นอย่างดี แม้ว่าช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจะมีความ พยายามแก้ปัญหาการลดความไม่เท่าเทียมกันของกองทุนสุขภาพ แต่เป็นเพียงการแก้ไขในรายละเอียดยิบย่อยเท่านั้น หัวใจสำคัญ ของการแก้ปัญหาเรื่องนี้ คือ กฎหมายหลักที่จะทำให้ทิศทางของ 3 กองทุนเกิดเอกภาพและความเท่าเทียม

อภิบาลระบบ ดึง สธ. เจ้าภาพหลัก

ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหาร

จัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ชี้ว่า ข้อมูลจากงานวิจัยหัวข้อ ‘แนวทางการอภิบาล ระบบประกั น สุ ข ภาพไทย’ ที่ ศึ ก ษาโมเดลจากต่ า งประเทศ

พบว่า การบริหารจัดการกองทุนสุขภาพที่ประสบความสำเร็จไม่ ว่าจะมีก่ีกองทุนก็ตาม จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของกระทรวง หรือหน่วยงานเดียว

“จะมี กี่ ก องทุ น ไม่ ว่ า แต่ ค วรอยู่ ก ระทรวงเดี ย ว เพราะการที่ อ ยู่ ภ ายใต้ ก ระทรวง เดียวกันทำให้การบริหารจัดการเป็นอันหนึ่งอันเดียว หลายประเทศส่วนมากมีความ เห็นว่าเรื่องของเบี้ยประกันและสิทธิประโยชน์นั้นไม่ควรแตกต่างกันมากนักไม่ว่าจะมีกี่ กองทุน ดังนั้นเรื่องของกองทุนเป็นเพียงเรื่องของการบริหารจัดการในด้านการเงิน

แม้จะแยกบริหารเป็นกองทุนแต่เรื่องสิทธิประโยชน์และเบี้ยประกันส่วนมากจะไม่ต่างกัน”

จากการศึ ก ษาของที ดี อ าร์ ไ อ พบว่ า แนวคิ ด ที่ ดี ที่ สุ ด คื อ ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งยุ บ รวม

3 กองทุนมาเป็น 1 กองทุน เพียงแต่ต้องเอางบประมาณด้านการดูแลสุขภาพมาขึ้นอยู่กับ เจ้าภาพเดียวกัน หากไม่ยอมรับให้ สปสช. บริหารเงินทั้งระบบ ก็ควรมีการตั้งบุคคลที่ 3 มาดูแล ในที่นี้คงไม่มีใครเหมาะสมเท่ากระทรวงสาธารณสุข หากทำอย่างนี้ได้เชื่อว่าแรง ต้านจะลดลง

“รวมหรือไม่รวม อาจจะไม่สำคัญเท่ากับพยายามให้สิทธิประโยชน์ เบี้ยประกัน และ ค่ า ใช้ จ่ า ยที่ ต้ อ งรั บ ภาระต้ อ งสอดคล้ อ งกั น ” ดร.เดื อ นเด่ น ระบุ และยกกรณี ก องทุ น

ประกันสังคมที่ผู้เอาประกันต้องจ่ายเงินสมทบ ทว่าสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล กลับด้อยกว่ากองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ผู้รับบริการไม่ต้องจ่ายเงินสมทบทำให้ เกิดความรู้สึกเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น หากศึ ก ษาโมเดลต่ า งประเทศว่ า ประเทศต่ า งๆ รวมกองทุ น ด้ า นสุ ข ภาพอย่ า งไร

เพื่อไม่ให้เกิดแรงต้าน วิธีการคือรัฐบาลต้องไปรับภาระตรงนั้นแทนหรือไม่เก็บเบี้ยประกัน หรื อ ในประเทศอั ง กฤษที่ แ ต่ ก่ อ นก็ มี ห ลายกองทุ น และบางกองทุ น ก็ จ่ า ยเยอะจ่ า ยน้ อ ย สุดท้ายแล้วรัฐบาลบอกว่าเรื่องสุขภาพจะต้องฟรีสำหรับทุกคน ซึ่งรัฐบาลก็จ่ายให้หมดโดย เก็บจากภาษีรายได้หรือภาษีทรัพย์สิน เช่นเดียวกับ นพ.สัมฤทธิ์ ที่เสนอว่า ต้องมีกลไกการอภิบาลระบบระดับชาติมาแก้ที่ ปัญหารากเหง้าความเหลื่อมล้ำ คือการปรับอัตราและรูปแบบการจ่าย แทนที่จะให้ปล่อยให้ “เมื่อนายกฯ ได้มานั่งเป็นประธานคณะกรรมการลดความ แต่ละกองทุนกำหนดกันเอง กระทรวงสาธารณสุขมีความเหมาะสมที่สุดในการเป็นกลไก เหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนสุขภาพ มีตัวแทนจาก 3 กองทุนฯ ระดับชาติ พร้อมกับเสนอให้ปรับบทบาทของกระทรวงให้เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบาย และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง โดยได้มีมติสำคัญออกมา สาธารณสุขของชาติ โดยต้องแยกบทบาทการเป็นผู้ให้บริการออกไป โรงพยาบาลควรเป็น คื อ การดู แ ลผู้ ป่ ว ยฉุ ก เฉิ น ภายใต้ ม าตรฐานเดี ย วกั น ของ องค์กรอิสระ เพราะหากยังเป็นเช่นนี้อยู่กระทรวงสาธารณสุขยังคงต้องนึกถึงและปกป้อง

3 กองทุน โดยไม่ต้องถามสิทธิ ไม่ต้องสำรองจ่ายสามารถเข้า แต่ในส่วนของตัวเอง

รับบริการได้จากสถานพยาบาลทั่วประเทศ รวมทั้งมาตรการ ควบคุมราคายาก็เป็นผลมาจากกลไกนี้” “เป็นความเฉียบคมของรัฐบาลที่ใช้กลไกบริหารมากำกับ ทำให้มีความเป็นไปได้สูงในการแก้ปัญหาระบบประกันสุขภาพ โดยไม่ ไ ด้ ป รั บ เปลี่ ย นโครงสร้ า งทั้ ง หมดที เ ดี ย ว คื อ ค่ อ ยๆ ปลดล็อคทีละเรื่อง เริ่มจากการเจ็บป่วยฉุกเฉิน จากนั้นก็มา เป็นโรคไต โรคเอดส์ และมะเร็ง ทำให้ไม่มีแรงต้าน เมื่อเทียบ กับการยุบรวมกองทุน” นพ.สัมฤทธิ์ ให้ความเห็น

06

นพ.พงษ์ พิ สุ ท ธิ์ จงอุ ด มสุ ข ผู้ อ ำนวยการสถาบั น วิ จั ย ระบบสาธารณสุข (สวรส.) สะท้อนถึงการเปลี่ยนผ่านบทบาท

ของกระทรวงสาธารณสุ ข ว่ า ประเด็ น สำคั ญ ที่ ค วรพิ จ ารณา อย่างยิ่ง คือ กระทรวงสาธารณสุขไม่ควรจะมีบทบาทเพียงแค่ การบริหารจัดการสถานพยาบาลของรัฐเท่านั้น แต่ควรมีบทบาท ในการเป็นหน่วยพัฒนาและกำหนดนโยบายสุขภาพของประเทศ การกำหนดมาตรฐานสุขภาพด้านต่างๆ การควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการตามกฎหมาย และนโยบายต่างๆ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญ ทั้งยังเป็นบทบาทที่ไม่มีหน่วยงานใดจะทำหน้าที่ นี้แทนกระทรวงสาธารณสุขได้ จึงควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาบทบาทดังกล่าว

HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต


ขณะที่ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวระหว่างการบรรยาย พิเศษ เรื่อง ‘นโยบายและแนวทางการตรวจราชการและนิเทศงานกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2556’ ว่า สธ. จะปฏิรูปบทบาทใน 5 นโยบาย หลักด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ การจัดการบริการใน 3 กองทุนสุขภาพ ที่เริ่มไปเมื่อในวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ในเรื่องการล้างไตและยาเอดส์ ที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน โดยเริ่มจากเรื่องของการเงินการ คลังที่จะปรับการจัดการระบบในหลายๆ ด้านให้กลับเข้ามาอยู่ภาย ใต้ ก ารดู แ ลของ สธ. ทั้งนี้จะเร่งจัดการดำเนินการระบบให้ เ สร็ จ ภายในสิ้นปีนี้ นับเป็นการส่งสัญญาณของ สธ. ในการปรับบทบาทเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็น หน่วยงานกลางที่จะต้องคอยติดตามกันต่อไป...

ประเด็นที่สาม ความสามารถของระบบสาธารณสุขในการ

รองรับปัญหาสุขภาพใหม่ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้าน วิทยาการระบาดของโรคและการชราภาพของประชากรไทย ส่ ง ผลให้ เ พิ่ ม ภาระการดู แ ลผู้ ป่ ว ยโรคเรื้ อ รั ง และผู้ มี ภ าวะ ทุพพลภาพ เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต, ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บสมองหรือไขสันหลัง ผู้สูงอายุ ในภาวะพึ่งพิง ขณะที่ระบบบริการสุขภาพปัจจุบันยังคุ้นเคย อยู่กับการรักษาโรคแบบเฉียบพลันเป็นหลัก การพัฒนาระบบ บริ ก ารในเชิ ง รุ ก ในชุ ม ชนเพื่ อ เข้ า ไปดู แ ลผู้ ป่ ว ยกลุ่ ม นี้ ยั ง มี อ ยู่ จำกั ด ทำให้ ผู้ ป่ ว ยจำนวนมากเข้ า ไม่ ถึ ง บริ ก าร จำเป็ น ต้ อ ง พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ โดยเฉพาะบริการสาธารณสุขเชิง รุกในท้องถิ่น ส่วนการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลยังเป็น ประเด็นท้าทายระบบเป็นอย่างยิ่ง เพราะในขณะที่อุปสงค์ต่อ บริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นมากจากปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น ความท้าทายของ 3 กองทุนในอนาคต และเปลี่ยนไป แต่ระบบสาธารณสุขในไทยปัจจุบันกำลังประสบ ในขณะที่ ร ะบบประกั น สุ ข ภาพของประเทศไทยยั ง มี ป ระเด็ น ความเหลื่ อ มล้ ำ อยู่ ห ลาย ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรวิชาชีพแทบทุกสาขา ประเด็ น สุ ด ท้ า ย ความยั่ ง ยื น ด้ า นการคลั ง ระบบบริ ก าร ประการ รวมถึงด้านประสิทธิภาพของระบบ คุณภาพการรักษาพยาบาล ก็ยังมีปัญหาความ ท้าทายอื่นรออยู่ข้างหน้า โดยเฉพาะความยั่งยืนด้านการคลังเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา สาธารณสุข วิเคราะห์จากภาระรายจ่ายด้านสุขภาพเมื่อเทียบ นพ.สัมฤทธิ์ ได้สรุปประเด็นความท้าทายในอนาคตของระบบประกันสุขภาพไทยที่รออยู่ กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (GDP) พบว่าบัญชี รายจ่ายสุขภาพแห่งชาติในช่วงปี 2537- 2551อยู่ที่ระดับร้อย เบื้องหน้า ดังนี้ ประเด็นแรก การลดความเหลื่ อ มล้ ำ ระหว่ า งระบบประกั น สุ ข ภาพ ที่ ด ำเนิ น การได้ ใ น ละ 3.5 - 3.7 ของ GDP และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.2 ในปี 2551 หลายรูปแบบ เช่น การรวมกองทุนต่างๆเข้าด้วยกัน ให้เป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่ง โดยรายจ่ายภาครัฐมีอตั ราการเพิม่ ขึน้ มากกว่ารายจ่ายภาคเอกชน ชาติกองทุนเดียว แนวทางนี้หากดำเนินการได้จะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพไทยเป็น โดยสัดส่วนรายจ่ายภาครัฐเพิ่มจากร้อยละ 45 ในปี 2537 เป็น มาตรฐานเดียวกันและลดความเหลื่อมล้ำได้ แต่ในทางปฏิบัติเป็นเรื่องไม่ง่ายเนื่องจากมีแรง ร้อยละ 56 ในปี 2544 และค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 71- 72 ในปี 2551 ต้านจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการเป็นสำคัญ จากบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติข้างต้น พบว่า รายจ่าย อีกแนวทางหนึ่ง คือ การมีกลไกด้านนโยบายที่อยู่เหนือกองทุนโดยไม่ต้องรวมกองทุน

แต่จำเป็นต้องมีกลไกกลางเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ เช่น กลไกในการกำหนดสิทธิประโยชน์กลาง ด้านสุขภาพภาครัฐเมื่อเทียบกับสัดส่วนรายจ่ายภาครัฐทั้งหมด กลไกการพัฒนาและกำหนดอัตราการจ่าย กลไกการเบิกจ่าย และกลไกการตรวจสอบการ เพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 15 ช่วงก่อนมีหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เพิม่ ขึน้ เป็นประมาณร้อยละ 20 หลังมีระบบหลักประกัน เบิกจ่าย รวมไปถึงการมีรูปแบบและอัตราจ่ายที่เป็นมาตรฐาน ประเด็นที่สอง การเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในระบบ แม้ว่าระบบหลักประกันสุขภาพ สุขภาพแห่งชาติ และในปี 2551 มีสดั ส่วนร้อยละ 22 ของรายจ่าย แห่ ง ชาติ แ ละระบบประกั น สั ง คม จะควบคุ ม ค่ า ใช้ จ่ า ยได้ ดี พ อสมควร เมื่ อ เที ย บกั บ ระบบ ภาครัฐทั้งหมด ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง “เมื่อวิเคราะห์ภาระค่าใช้จ่ายในอนาคตที่มีแนวโน้มเพิ่ม สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ แต่ยังมีความกังวลว่าแรงจูงใจในการควบคุมค่าใช้จ่ายใน ระบบการจ่ายแบบปลายปิด อาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการและคุณภาพที่ประชาชนใน มากขึ้นจากสภาพปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนไปและการชราภาพ ระบบประกันสุขภาพของสองระบบจะได้รับ โดยเฉพาะระบบประกันสังคม จำเป็นต้องมีการ ของประชากร ก็เป็นที่น่ากังวลต่อความยั่งยืนของภาระการ พัฒนารูปแบบอัตราการเหมาจ่ายที่ปรับด้วยภาระความเสี่ยง และนำแนวคิดในการแยกการ คลังภาครัฐในการลงทุนด้านสุขภาพ จึงอาจมีความจำเป็น จ่ายบริการผู้ป่วยในจากงบเหมาจ่ายรายหัว โดยจะนำรูปแบบการจ่ายเงินตามกลุ่มวินิจฉัยโรค ต้องพิจารณาถึงแหล่งเงินอื่นๆเพิ่มเติมด้วย” นพ.สัมฤทธิ์ กล่าวทิ้งท้ายถึงทางออกเพื่อแก้ปัญหาภาระการคลังของระบบ มาร่วมใช้สำหรับบริการผู้ป่วยใน ส่วน ระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ นั้น ประเด็นสำคัญคือการควบคุม บริการสาธารณสุขในอนาคต ค่าใช้จ่าย ซึ่งระบบการเบิกจ่ายตรงและการเบิกจ่ายตามปริมาณการใช้บริการสำหรับผู้ป่วย นอก ทำให้ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็น ค่ า ยาถึ ง ร้ อ ยละ 83 ดั ง นั้ น ในระยะที่ ยั ง ไม่ มี ก ารปรั บ เปลี่ ย นรู ป แบบการจ่ า ยค่ า บริ ก าร

ผู้ป่วยนอก การใช้มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาจึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน เช่น การ พัฒนาระบบฐานข้อมูลในการติดตามการใช้และการเบิกจ่ายค่ายาอย่างเหมาะสม ในอนาคต หากจะควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการจ่ายให้เป็นลักษณะปลายปิดมากขึ้น

HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต

07


แ ก ะ ก ล่ อ ง ง า น ว ิจ ัย

จากปัญหา สู่ทิศทางการปฏิรูป

ระบบหลักประกันสุขภาพ 3 กองทุน เรียบเรียงจากหนังสือ ‘ระบบหลักประกันสุขภาพไทย’ โดยสุรจิต สุนทรธรรม และคณะ

พื่อความต่อเนื่องกับรายงานพิเศษ ในฉบับนี้คอลัมน์แกะกล่องงาน

วิจัย ขอเสนอบางแง่มุมของการประกันสุขภาพในระบบสวัสดิการ

รักษาพยาบาลข้าราชการ โดย กุลเศกข์ ลิมปิยากร และรชตะ อุน่ สุข, การประกันสุขภาพในระบบประกันสังคม โดย สมพร ทองชื่นจิตต์ และรังสิมา ปรี ช าชาติ และการประกั น สุ ข ภาพในระบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ

โดย จเด็จ ธรรมธัชอารี และวลัยพร พัชรนฤมล

08

เริ่ ม จาก “การประกั น สุ ข ภาพในระบบสวั ส ดิ ก ารรั ก ษาพยาบาล ข้าราชการ” ที่ ส รุ ป ปั ญ หาสำคั ญ โดยพบว่ า การเบิ ก จ่ า ยค่ า รั ก ษาพยาบาล ประเภทผู้ ป่ ว ยนอกที่ เ พิ่ ม สู ง ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยเฉพาะการเบิ ก จ่ า ยค่ า ยา

มีเหตุปัจจัยสำคัญประการหนึ่งจากการเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้สะดวกขึ้น จากระบบการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลที่กรมบัญชีกลางเริ่มดำเนินการ ตั้ ง แต่ ปี ง บ ประมาณ 2550 ขณะที่ บุ ค ลากรผู้ รั บ ผิ ด ชอบงานมี จ ำกั ด และ งบประมาณในการบริหารจัดการระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลมีไม่เพียงพอ โดยได้รับงบเพื่อบริหารจัดการและพัฒนาระบบสวัสดิการฯ 41 ล้านบาท หรือ น้อยกว่าร้อยละ 0.1 ของค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปในการรักษาพยาบาล (กว่า 60,000 ล้านบาท)

HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต


ข้อเสนอแนะในการบริหารระบบสวัสดิการนี้ คือ จำเป็นต้องมีการบริหาร จัดการระบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรมีการศึกษาความเหมาะสมและ ความเป็นไปได้ในการจัดตัง้ ‘องค์การกำกับดูแลบริหารจัดการระบบสวัสดิการ รักษาพยาบาลข้าราชการ’ เป็นหน่วยงานแยกออกจากกรมบัญชีกลางอย่าง จริงจัง เพื่อให้บริหารจัดการระบบสวัสดิการได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัว มีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มาช่วยในการวิเคราะห์และบริหารจัดการงานได้ อย่างเหมาะสม มีการดูแลครอบคลุมถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆของรัฐด้วย เพื่อลดภาระการบริหารงานด้านสวัสดิการของ หน่วยงานต่างๆของรัฐ ในส่ ว นของ “ระบบประกันสังคม” ปั ญ หาอุ ป สรรคที่ ผ่ า นมา เป็ น เรื่ อ ง ปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มประโยชน์ทดแทนด้านการแพทย์ และจำนวนผู้ประกันตนเพิ่มขึ้น ประกอบกับนโยบายรัฐบาลในการลดจำนวน คนภาครัฐ ทำให้ลูกจ้างส่วนหนึ่งต้องเข้ามาในระบบประกันสังคม ที่น่าสนใจ คือ การแอบแฝงเข้ามาในระบบประกันสังคมที่แม้จะมีระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติรองรับประชาชนที่ไม่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคมหรือสวัสดิการฯ แต่ยังมีบุคคลที่มิได้เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการเข้ามาในระบบประกัน สังคม ขณะที่สถานพยาบาลคู่สัญญาบางแห่งหลีกเลี่ยงการส่งต่อผู้ประกันตน ที่เกินขีดความสามารถ ไปรับบริการที่สถานพยาบาลซึ่งมีขีดความสามารถที่ เหมาะสม หรือให้บริการเพียงการประคับประคอง จากปัญหาและอุปสรรคมีข้อเสนอทิศทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กองทุ น ประกั น สั ง คม เป็ น 2 ระยะ ได้ แ ก่ การดำเนินงานระยะสั้น เช่ น

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของสถานพยาบาลในการให้บริการทางการ แพทย์ เพื่ อ อำนวยความสะดวกและเพิ่ ม ความพึ ง พอใจให้ กั บ ผู้ ป ระกั น ตน

2.การปรับวิธีการจ่ายค่าบริการสุขภาพ เช่น ปรับวิธีการจ่ายค่าบริการสุขภาพ จากเหมาจ่ายครอบคลุมทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เป็นเหมาจ่ายเฉพาะผู้ป่วย นอกและกันเงินเหมาจ่ายส่วนผู้ป่วยในมาบริหารจัดการ เพื่อให้สถานพยาบาล ได้รับการจัดสรรค่าบริการสุขภาพเหมาะสมตามภาระงานที่เกิดขึ้นจริง รวมถึง การแยกโรคค่าใช้จ่ายสูงมาบริหารจัดการเฉพาะ เป็นต้น ส่วนการดำเนินงาน ระยะยาว ควรจัดระบบสถานพยาบาลประกันสังคมเป็นระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลระดับต่างๆ สุดท้ายมาถึง “ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ที่ในรายงานระบุว่า ชุดสิทธิพื้นฐานตามประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่กำหนด โดย เฉพาะด้านระบบบริการ เช่น ระบบบริบาลปฐมภูมิ การสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ยังไม่มกี ารปรับปรุงเปลีย่ นแปลงมากนัก ผลงานด้านกระบวนการ ให้บริการส่วนใหญ่ยังไม่ชัดเจน และส่วนที่ชัดเจนก็พบว่า มีการให้บริการน้อย กว่าที่ควรเป็น ส่วนด้านการรักษาพยาบาลก็ยังคงมีปัญหาในการนำเทคโนโลยี ใหม่ๆ ซึ่งมีราคาแพงเข้ามาใช้ แม้ว่าในปัจจุบัน สปสช. ได้ใช้ระบบประเมิน ความคุ้มค่าของเทคโนโลยีมาช่วยในการคัดกรอง แต่ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ที่ต้องรอการประเมินว่ามีความสำเร็จหรือไม่อย่างไร อีกทั้งยังไม่มีระบบการ จ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เหมาะสม ว่าควรเป็นแบบเหมาจ่ายรายหัว การจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน หรือการจ่าย เป็นเงินเพิ่มพิเศษ

จากรายงานในหัวข้อ ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย โดย นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ ในด้านการเพิม่ ประสิทธิภาพและคุณภาพในระบบระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เสนอว่า การพัฒนารูปแบบการจ่ายเพื่อให้สร้างแรงจูงใจที่ เหมาะสมในการให้บริการจึงเป็นสิ่งจำเป็น ได้แก่ 1. การพั ฒ นารู ป แบบการจ่ า ยเงิ น ให้ เป็ น ไปตามผลลั พ ธ์ แ ละคุ ณ ภาพบริ ก าร รู ป แบบการจ่ า ยค่ า บริ ก ารแบบเหมาจ่ า ย รายหัวนั้นไม่อาจก่อให้เกิดแรงจูงใจในการ ให้ บ ริ ก ารเท่ า ที่ ค วร โดยเฉพาะหากไม่ มี การปรับตามความเสี่ยงของผู้ท่ีลงทะเบียน เลื อ กหน่ ว ยบริ ก ารประจำ หากระบบให้

ผู้มีสิทธิเลือกลงทะเบียนได้ อาจทำให้ผู้ที่ มีความเสี่ยงสูงถูกปฏิเสธหรือผลักภาระกัน ซึ่ ง ในระบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ปั จ จุ บั น นั้ น ยั ง ไม่ ย อมมี ก ารให้ เ ลื อ กแบบ เสรี ปัญหาดังกล่าวจึงไม่เกิด อย่างไรก็ตาม อาจมีปญั หาในด้านการเลือก ปฏิบัติในการให้บริการเนื่องจากกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงก็จะมีค่าใช้จ่ายในการ ให้ บ ริ ก ารสู ง ไปด้ ว ย เช่ น การพั ฒ นาอั ต ราเหมาจ่ า ยรายหั ว สำหรั บ บริ ก าร

ผู้ป่วยนอกที่สะท้อนค่าใช้จ่ายและความจำเป็นด้านสุขภาพของผู้มีสิทธิ เพื่อให้ สถานพยาบาลไม่รังเกียจหรือเลือกปฏิบัติในการให้บริการ การกำหนดอัตรา การจ่ายสาหรับผู้ป่วยส่งต่อหรืออุบัติเหตุฉุกเฉินที่มีการใช้บริการข้ามเขตใน ปัจจุบันกำหนดเป็นลักษณะอัตราเดียว ซึ่งส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจของผู้ให้ บริการหรือมีผลกระทบต่อการส่งต่อ กล่าวคือโรงพยาบาลที่ส่งต่อผู้ป่วยที่มี

ค่าใช้จ่ายการตามจ่ายถูกกว่าการให้บริการเองแม้ว่าตนเองจะให้บริการได้

ในขณะที่โรงพยาบาลที่รับการส่งต่อก็ไม่อยากให้บริการเนื่องจากทราบอยู่แล้ว ว่าขาดทุน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดรูปแบบและอัตราการจ่ายทีเ่ หมาะสม เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขมีแรงจูงใจพอสมควรและไม่มีผลกระทบเชิงลบต่อ ผู้รับบริการ 2. การพัฒนารูปแบบการซื้อและจัดบริการในพื้นที่ รวมถึงการติดตาม และกำกับการให้บริการและคุณภาพบริการ การวางแผนการซื้อและจัดบริการ สาธารณสุขที่จำเป็น รวมถึงการกำกับติดตามในระดับพื้นที่ เช่น เขตหรือ จังหวัด น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการซือ้ บริการหรือกำกับติดตามในส่วนกลาง เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับผู้ให้บริการมากกว่า นอกจากนั้นยังมีข้อมูลที่ดีกว่า ในการตัดสินใจ จากประสบการณ์ที่ดำเนินการมาหลายปีบ่งชี้ว่า กลไกการซื้อ บริการปกติทำงานไม่ได้ดีในบริบทที่มีการผูกขาดหรือไม่มีการแข่งขัน (เช่น พื้นที่ส่วนใหญ่ในชนบท) เนื่องจากมีผู้ให้บริการเพียงรายเดียว ดังนั้นในอนาคต ต้องอาศัยแนวคิดแบบ “หุ้นส่วนกลยุทธ์” ในการให้บริการ คือมีการกำหนด กลยุทธ์และเป้าหมายในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขร่วมกันมากกว่า เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ให้บริการสาธารณสุข รวมทั้งต้องกำหนด เป้าหมายเชิงผลลัพธ์เพื่อการติดตามกำกับการให้บริการและคุณภาพบริการ มากกว่าเป็นการกำกับกิจกรรมในการให้บริการ จะเห็นได้ว่าปัญหาและอุปสรรคของทั้ง 3 กองทุนสุขภาพในประเทศ ไทย เป็นเรื่องท้าทายในการพัฒนาไปสู่ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของระบบ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียม เป็นธรรมในอนาคต

HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต

09


เ ส้ น ท า ง สู่ สุ ข ภ า พ ที่ เ ป็ น ธ ร ร ม แ ล ะ ยั่ ง ยื น

ทางแยก ‘วิกฤตกำลังพยาบาล’

ปั

กับแสงสว่างปลายทาง

ญหากำลั ง คนด้ า นสาธารณสุ ข เป็ น ปั ญ หาที่

เรื้อรังมายาวนานหลายปี โดยเฉพาะ “วิกฤต

กำลั ง พยาบาล” ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจาก “นโยบายการควบคุมตำแหน่งข้าราชการพลเรือน” ตั้งแต่ ปี 2543 หลังวิกฤติฟองสบู่แตก ทำให้บุคลากรด้านสุขภาพใน สังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ช่วงปีดังกล่าว เป็นต้นมา ไม่สามารถบรรจุเป็นข้าราชการได้ ยกเว้นแพทย์ และทั น ตแพทย์ ที่ ยั ง ถื อ ว่ า เป็ น วิ ช าชี พ ขาดแคลน ฉะนั้ น “พยาบาล” จำนวนไม่นอ้ ยจึงมีสถานะเป็นเพียงลูกจ้างชัว่ คราวที่ ต้องต่อสัญญาจ้างงานทุก 1 ปี ทำให้ขาดความมั่นคงในอาชีพ ขาดรายได้และสวัสดิการที่ทัดเทียมกับข้าราชการ แม้ว่าภาระ หน้าที่การงานจะไม่แตกต่างกัน ขณะที่ส่วนหนึ่งเดินหน้าหา อนาคตด้วยการลาออกไปทำงานในภาคเอกชน ครั้นก็มาถึงวัน “ทวงถามถึงสัญญา” จากเครือข่ายพยาบาล วิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข ที่ออกมาเรียกร้อง ให้รัฐบาลบรรจุแต่งตั้งพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตำแหน่ง ลูกจ้างชั่วคราวของโรงพยาบาลรัฐให้เป็นข้าราชการ !?!

เปิดเวทีหาทางออก “วิกฤตพยาบาล”

เพื่ อ ร่ ว มหาทางออกของวิ ก ฤติ ดั ง กล่ า ว คณะ กรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ร่วมด้วย หน่วยงานภาคีด้านสุขภาพ ประกอบด้วย กระทรวง

สาธารณสุข (สธ.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

(สวรส.) สำนั ก งานคณะกรรมการสุ ข ภาพแห่ ง ชาติ (สช.) จึงเปิดเวทีสาธารณะ “วิกฤตพยาบาล ระดมปัญญาร่วมหาทางออก”

โดยมี ตั ว แทนจากสำนั ก งานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (กพ.) สำนักงบประมาณ ตัวแทนพยาบาลวิชาชีพ ร่วมเสนอความคิดเห็น นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะ กรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า “พยาบาล” ถือเป็นกระดูกสันหลังของระบบ สาธารณสุข แต่เดิมวิทยาลัยพยาบาลเป็นผู้ผลิต โดยนำคนในท้องถิ่นมาเรียนแล้วส่งกลับไป บรรจุในโรงพยาบาลท้องถิ่น จึงทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องสมองไหล แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใน ประเทศ รัฐจึงต้องจำกัดกำลังคนในภาครัฐ ผลกระทบตามมา คือ ทำให้มีการบรรจุพยาบาลเป็น ข้าราชการน้อยลง มีแต่ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว จึงเกิด การสะสมพยาบาลที่ ไ ม่ ไ ด้ บ รรจุ จากจำนวนหลั ก ร้ อ ย เพิ่มเป็นพันจากหลักพันเพิ่มเป็นหลักหมื่นที่ไม่ได้รับการ บรรจุ ตอนนี้ปัญหาเรื่องกำลังพยาบาลเปรียบเสมือนอยู่ ในถ้ำมืด จึงต้องช่วยกันหาแสงสว่างของทางออกร่วมกัน ข้อมูลจากเอกสารความจริงว่าด้วยตำแหน่งข้าราชการ กับวิกฤติกำลังพยาบาล ระบุวา่ ผลกระทบต่อระบบสุขภาพ เมื่อบุคลากรไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ แบ่งออก เป็น 3 เรื่องสำคัญ คือ 1. ผลกระทบต่อการเงินการคลังของโรงพยาบาล

10

เช่น วิกฤติการเงินของโรงพยาบาลหลายแห่งถูกซ้ำเติม มากขึ้น เมื่อต้องนำรายได้ที่มีไม่เพียงพออยู่แล้วมาจ้าง ลูกชั่วคราวสายวิชาชีพเพิ่ม เพื่อให้มีกำลังคนเพียงพอกับ ความต้องการบริการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต


ทางด้าน ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ผู้จัดการงาน วิ จั ย สวรส. ได้ น ำเสนอข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น แนวทางในการบริ ห าร 2. ผลกระทบต่อบุคลากรในระบบสุขภาพ สถานะลูกจ้างชั่วคราวที่รายได้น้อย บุคลากร กรณีศึกษา ‘การประเมินผล 10 ปี โรงพยาบาล สวัสดิการต่ำ ขาดแรงจูงใจ ไม่มีความมั่นคง มีภาระงานที่ไม่ต่างจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ ที่เป็นข้าราชการอาจส่งผลให้กำลังคนใหม่ไม่เดินเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพภาครัฐ และ บ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)’ โดยระบุว่า รพ.บ้านแพ้ว เป็น กำลังคนเดิมในระบบมีภาระงานมากขึ้น โรงพยาบาลที่มีฐานะเป็นองค์กรอิสระแห่งแรกและแห่งเดียว ของประเทศไทย ปัจจุบันมีพยาบาลวิชาชีพจำนวน 184 คน 3. ผลกระทบต่อการให้บริการสุขภาพ การมี ก ำลั ง คนที่ ไ ม่ เ พี ย งพอในระบบ โดยทุ ก ตำแหน่ ง มี ฐ านะเป็ น พนั ก งานโรงพยาบาล ไม่ มี ใ คร บริการสุขภาพ รวมถึงการที่กำลังคนที่เป็นทีมสุขภาพต้องอยู่ในระบบพร้อมกับความ เป็นข้าราชการ ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้สึกไม่มั่นคง ทำให้ระบบบริการสุขภาพของประเทศมีความไม่มั่นคงตามไปด้วย (อ่าน และมีความสุข เห็นได้จากการเข้ารับบริการของประชาชน เพิ่มเติมได้ทาง http://www.hsri.or.th/issue/1004) และอั ต ราการลาออกของบุ ค ลากรที่ ต่ ำ กว่ า ค่ า เฉลี่ ย การลา ออกของบุคลากรในสังกัดโรงพยาบาลรัฐอื่นๆ (อ่านเพิ่มได้ใน คอลัมน์ต้นกล้าความรู้สู่ต้นแบบสุขภาพ หน้า 12) แม้จะดูเหมือนว่าวิกฤตพยาบาลในครั้งนี้ยังดูเหมือนมืดมน

ทางแยกปลดวิกฤตพยาบาล ไร้ทางออก แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทุกฝ่ายได้หันหน้า จากเวทีวิกฤตพยาบาล ระดมปัญญาร่วมหาทางออก นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด เข้ามาพูดคุยกัน และร่วมกันเสนอทางออกจากปัญหาที่เรื้อรัง กระทรวงสาธารณสุ ข ระบุ ว่ า เป็ น ไปไม่ ไ ด้ ที่ ทุ ก คนจะเป็ น ข้ า ราชการทั้ ง หมด เพราะด้ ว ย มายาวนาน นพ.มงคล ณ สงขลา ประธานคณะกรรมการ ข้อจำกัดหลายประการ ทั้งกรอบอัตรากำลังและงบประมาณภาพรวมของประเทศ ทว่าสิ่งที่ กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ให้ข้อคิดเอาไว้ว่า “อย่าไปยึด สธ. ต้องดำเนินการคือ การปรับบทบาทกระทรวงฯ ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและสถานการณ์ ติดกับสิง่ หนึง่ สิง่ ใดอย่างเดียว จะบรรจุเป็นข้าราชการเพียง ในปัจจุบัน เช่น การกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น และการบริหารกำลังคนด้วยการจ้างงานใน อย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องใช้สติในการพิจารณาปัญหาทีเ่ ป็นจริง ในการนำเสนอสิง่ ทีด่ ี เพือ่ เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป” หลายรูปแบบ ส่วนการแก้ปัญหาให้กลุ่มพยาบาลที่มีสถานะเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่เรียกร้องให้บรรจุเป็น ข้าราชการนั้น ขณะนี้ สธ. ได้ยกร่างระเบียบกระทรวง “พนักงานกระทรวงสาธารณสุข”

(พนง.กสธ.) ไว้แล้ว รอเพียงให้กระทรวงการคลังเห็นชอบจะมีผลบังคับใช้ทันที เสียงสะท้อนจากเวที รศ.ดร.จินตนา ยูนิพันธุ์ นายกสมาคมพยาบาลแห่ง สาระสำคัญของร่างระเบียบดังกล่าวจะมีการแบ่งกำลังคนเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มวิชาชีพ ประเทศไทย กล่ า วว่ า ปั ญ หาวิ ก ฤตพยาบาลมี ม านาน เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัช 2.กลุ่มสนับสนุน เช่น ธุรการ การเงิน บัญชี และ 3.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แล้ว โดยรอการบรรจุมานานกว่า 7 ปี ส่วนการบรรจุเป็น เช่น สถาปนิก วิศวะ หรือกลุ่มงานอื่นที่กระทรวงฯ ต้องใช้ความเชี่ยวชาญพิเศษ ทำให้หลังจากนี้ พนั ก งาน กสธ.เป็ น ทางออกในระยะยาว แม้ ว่ า ระบบ จะไม่มีระบบลูกจ้างชั่วคราวอีกต่อไป เงินเดือนจะเท่ากับข้าราชการก็ยังไม่พอ ยังไม่จูงใจ ทั้งนี้

“พนักงานกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวจะได้เงินเดือนมากกว่าข้าราชการ 1.2 เท่า

มีสิทธิการลาเท่ากับข้าราชการ ส่วนสิทธิการรักษาพยาบาลจะนำเข้าระบบกองทุนประกัน สังคม ซึ่งในอนาคตจะมีการปรับมาตรฐานทั้ง 3 กองทุนให้เท่าเทียมกัน (ประกันสังคม หลักประกันสุขภาพ และสวัสดิการข้าราชการ) อย่างไรก็ตาม พนง.กสธ. จะไม่มีบำเหน็จ บำนาญ แต่จะมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการสาธารณสุข โดยการหักเงินสะสมและ รัฐจะสมทบในอัตราเท่าๆ กันเข้ากองทุนทุกเดือน” รองปลั ด สธ.กล่ า ว ส่ ว นในเรื่ อ งของ

ความก้าวหน้าในวิชาชีพจะแก้ไขระเบียบบางเรื่องเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถเติบโต ในสายงานได้ รวมทั้งสิทธิการรักษาพยาบาลสำหรับคนในครอบครัว นอกจากนี้ ในการประชุมมีการนำเสนอทางออกจากวิกฤติดังกล่าว เช่น “ข้อเสนอจัด

อัตรากำลังและการบริหารจัดการบุคลากรในภารกิจบริการด้านสุขภาพในสังกัดกระทรวง สาธารณสุข” โดย วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย นักวิจัยและคณะ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา

ในระยะสั้น คือ การปรับรูปแบบการจ้างงานเป็นรูปแบบอื่นๆ ที่มีข้อพึงให้ความสำคัญในหลาย ประเด็น เช่น การใช้คำว่าลูกจ้างที่ผ่านมาทำให้มีผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินหรือสินเชื่อ การปรับปรุงระบบการจ่ายค่าตอบแทน รวมถึงการพิจารณาเพิ่มตำแหน่งข้าราชการในกรณีที่ จำเป็น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและแก้ปัญหาขาดแคลนในบางพื้นที่ เป็นต้น ส่วนข้อเสนอแนวทาง แก้ปญั หาระยะยาว คือ การพัฒนารูปแบบการจ้างและการกำหนดค่าตอบแทนแนวใหม่ การศึกษา ปัจจัยทางด้านกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับการบริหารจัดการบุคลากร พัฒนาการจัด ระบบบริการที่มีการใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ฯลฯ

เมื่อการบรรจุพยาบาลกลับมาใช้ระบบแบบเดิมไม่ได้อาจ ต้องมาคิดนอกกรอบ เช่น ปลดล็อคนโยบายของรัฐเพื่อ ให้มีอัตราที่เหมาะสม นางจงกล อินทสาร หัวหน้าพยาบาล รพ.บางปะหัน จ.อยุธยา กล่าวว่า วิกฤตพยาบาลที่ผ่านมายังไม่มีผู้นำ ในการแก้ ไ ขปั ญ หา พยาบาลยั ง ทำงานหนั ก สั ด ส่ ว น บุคลากรน้อย ทำให้ประชาชนได้รับบริการตามมีตามเกิด หรือตามกำลัง เราจะหาทางออกในการบรรจุเป็นข้าราชการ เป็ น เป้ า หมายของพยาบาล เพื่ อ ลดความเหลื่ อ มล้ ำ กั บ ข้าราชการ การได้เงินตอบแทนไม่ใช่คำตอบเพียงอย่าง เดียว เรื่องของศักดิ์ศรีก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการ สธ. กล่าวว่า ปัญหากำลังพยาบาลคนนอกยากที่จะเข้าใจ ทั้งนี้อย่าเพิ่ง หวังอะไรกันมาก เพราะจะกลายเป็นการหลอกกัน มอง อี ก ทางหนึ่ ง คื อ การฝากสำนั ก งบประมาณพิ จ ารณาว่ า นโยบายลดอัตรากำลังที่ผ่านมาช่วยลดงบประมาณมาก น้ อ ยเพี ย งใด คุ้ ม ค่ า หรื อ ไม่ เพราะการแก้ ร ะเบี ย บจาก ลูกจ้างชั่วคราวมาเป็น พนง.กสธ. ก็ยังต้องใช้งบประมาณ ของรัฐอยู่ดี

HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต

11


ต้ น ก ล้ า ค ว า ม รู้ สู่ ต้ น แ บ บ สุ ข ภ า พ

รพ.บ้านแพ้ว

• สาธารณสุขอำเภอบ้านแพ้ว • เจ้าหน้าที่/ผู้จัดบริการในระดับสถานีอนามัย/PCU • ตัวแทนหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ริหารองค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น “ในยุคการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2540 รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้โรงพยาบาลบางแห่งเปลี• ่ยผู้บนแปลงสถานะเป็ นโรงพยาบาลใน • ตัวแทน/ผู้นำชุมชน กำกับของรัฐ กระทั่งได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543”

ดึงดูดกำลังคน ไม่พึ่งตำแหน่ง ขรก.

H

๒.๓ การบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) เป็ น สถานพยาบาลประเภท SRI FORUM ฉบั บ นี้ ข อนำเสนอ ‘การประเมิ น ผล 10 ปี

งแรกและแห่ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)’ ของ ดร.วีระศักดิ์ องค์การมหาชน วิ“แห่ ธีการศึ กษา งเดียว” ของประเทศไทย ภายหลังการปรับ ฐให้เป็นโรงพยาบาลในกำกั บของรัฐหรือ พุทธาศรี และคณะ โดยหยิบยกมุมของการบริหารบุคลากร เปลี่ยนสถานะจากโรงพยาบาลของรั ๑) ทบทวนวรรณกรรม เอกสาร รายงานของโรงพยาบาลบ้ าน ของ รพ.บ้านแพ้ว ที่มีการบริหารจัดการจนประสบผลสำเร็จ นับเป็นกรณี องค์การมหาชน ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและวิธีการบริหารจัดการการเงินการ 10 ปีของการทำงาน พบว่า รูปแบบสถานการณ์จ้างงานมีความแตกต่าง ศึ ก ษาที่ เ ป็ น ทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ความท้าทายของปั ญ หาบุ ค ลากร แก่ รายงานการประชุ ระเบี จากที่อื่นๆ เพราะแพทย์ ทัได้นตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลมกรรมการ รวมทั้งเจ้าหน้ าที่ทยุกบ ประกาศ ต่าง ด้านสาธารณสุขของภาครัฐ อมูนลทุ“พนั ตยิ กภูงานโรงพยาบาล” มิ รายงานการเงินไม่มรายรั คน มีรูปแบบเดียวกัน ๒)คือศึมีกฐษาข้ านะเป็ ีใครเป็บและค่ น าใช้จา่ ยประ ข้าราชการ จำนวนบุคลากรต่ารพ. ้งแต่ปี 2551-2553 มีบุคกลากรทั ้งหมดรวม อข่าย การม ง ๆ ตัของโรงพยาบาลองค์ ารมหาชนและเครื 2,286 คน ร่วมสนับสนุนด้านการเงินการคลัง และรายได้แหล่งอืน่ ๆ ใน นพ.สุรพงษ์ บุญประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว บอกถึง ๑๐ ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๔๓ - ๒๕๕๒) หลั ก คิ ด สำคั ญ และสิ่ ง ท้ า ทายของการบริ ห ารงานบุ ค คลในรู ป แบบองค์ ก าร มหาชน คือ 1. สร้างมาตรการทีส่ ำคัญ คือ แรงจูงใจบุคลากร โดยการใช้แรงจูงใจด้าน

การเงินอย่างเดียวไม่สามารถแก้การประเมิ ปัญหาการลาออกของบุ คลากรในระยะ

นผล ๑๐ ปี โรงพยาบาลบ้ านแพ้ว (องค์การมหา ยาวได้ 2. การสร้ า งวั ฒ นธรรมการทำกิ จ กรรมร่ ว มกั น เพื่ อ พั ฒ นาองค์ ก รอย่ า ง

สม่ำเสมอ 3. เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคนได้แสดงความสามารถ โดยเฉพาะการ

บริหารจัดการบุคลากรที่ไม่มีซีหรือตำแหน่งเหมือนระบบราชการ

12

HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต


4. สร้างระบบการจ่ายตามผลปฏิบัติงาน เพื่อกระตุ้นการให้บริการ โดยมี

เงินเดือนเป็นการประกันขั้นต่ำ 5. สิ่งที่ยังเป็นความท้าทายของการบริหารบุคลากรองค์การมหาชน คือ

ต้องมีรายรับที่โรงพยาบาลสามารถเลี้ยงตัวเองได้ แนวคิดนี้ส่งผลให้การบริหารบุคลากรของโรงพยาบาลมีความคล่องตัวและ ยืดหยุ่นสูง เนื่องจากกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎเกณฑ์การ บริหารจัดการบุคลากร โดยสามารถกำหนดอัตราค่าตอบแทนบุคลากรเองได้ เพื่อให้มีแรงจูงใจในการทำงาน การกำหนดอัตราเงินเดือน ค่าตอบแทนบุคลากร จึ ง ดำเนิ น การได้ อ ย่ า งสอดคล้ อ งเหมาะสมกั บ ภารกิ จ มี ค วามยื ด หยุ่ น ตาม คุณสมบัติและลักษณะงาน โดยกลุ่มวิชาชีพแพทย์และสาธารณสุขจะได้รับ

ค่าตอบแทนวิชาชีพและค่าทำเวชปฏิบัตินอกเวลาเหมือนกับแพทย์ในระบบ ราชการด้วย นอกจากนั้น การบริหารจัดการคนสามารถปรับเปลี่ยนตามความสามารถ และพันธกิจเฉพาะ ขณะเดียวกันก็มีระบบฝึกให้บุคลากรสามารถทำงานได้ หลายหน้าที่ เช่น พยาบาลที่ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิต้องสามารถมาปฏิบัติ งานรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลได้ หลักการสำคัญในการบริหารบุคลากรของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว คือ “การ สร้างแรงจูงใจทั้งที่เป็นตัวเงิน” และ “ไม่ใช่ตัวเงิน”

• การสร้างแรงจูงใจที่เป็นตัวเงิน

บุคลากรบ้านแพ้วมีฐานเงินเดือนที่ใกล้เคียงข้าราชการประจำ แต่มีการ สร้ า งแรงจู ง ใจเพิ่ ม ด้ ว ยการจ่ า ยค่ า ตอบแทนตามภาระงาน ทำมากได้ ม าก

ทำน้อยได้น้อย โดยมีเงินเดือนเป็นการประกันรายได้ขั้นต่ำ ทำให้บุคลากรได้ รับความเป็นธรรม โดยในปี 2553 แพทย์ ทันตแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญสาขา จะมีค่าตอบแทน เฉลี่ยตั้งแต่ 13,650-60,000 บาท ค่าวิชาชีพ 5,000 บาท ค่าไม่ทำเวชปฏิบัติ นอก รพ.อีก 10,000 บาท แพทย์ ทันตแพทย์ท่วั ไป มีค่าตอบแทนเฉลี่ย 10,50050,000 บาท ค่าวิชาชีพ 5,000 บาท ค่าไม่ทำเวชปฏิบัตินอก รพ. 10,000 บาท เภสัชกร ค่าตอบแทนเฉลี่ย 9,450-45,000 บาท ค่าวิชาชีพ 2,000 บาท พยาบาลวิชาชีพค่าตอบแทน 7,875-40,000 บาท ค่าวิชาชีพ 2,000-3,500 บาท ผู้ช่วยพยาบาล มีค่าตอบแทนเฉลี่ย 6,500-28,000 บาท โดยใครจะได้ ค่าตอบแทนมากน้อยแค่ไหนอยู่ที่ภาระงาน • การสร้างแรงจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงิน

นอกจากความมั่นคงในสายงานแล้ว พนักงานของโรงพยาบาลและญาติ สายตรง (สามี/ภรรยา บิดามารดา และบุตร) ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาล คล้ายๆ สิทธิสวัสดิการข้าราชการ มีโอกาสความก้าวหน้าทั้งสายงานวิชาชีพ และบริหาร มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เช่นเดียวกับลูกจ้างบริษัทเอกชน และ พยาบาลสามารถลาศึกษาต่อได้ โดยเฉพาะแพทย์มีสิทธิลาศึกษาต่อโดยทำ สัญญากับโรงพยาบาลโดยตรง รวมทั้งยังมีสวัสดิการการเบิกค่าบำรุงการศึกษาบุตร มีสหกรณ์ออมทรัพย์ หอพัก คูปองอาหาร บริการรถรับส่ง เป็นต้น นอกจากนั้นจุดเด่นของการ บริหารบุคลากรโรงพยาบาลบ้านแพ้วอีกประการหนึ่งคือ การมีระบบติดตาม ข้อมูลด้านการบริการบุคลากรและสุขภาพบุคลากรด้วย สำหรับอัตราการลาออกของบุคลากรโรงพยาบาลบ้านแพ้วในปีงบประมาณ 2553 ถือได้ว่าต่ำมากเพียงร้อยละ 0.86 โดยมีจำนวนลาออกเฉลี่ย 7.5 คนต่อ ปี ถ้าพิจารณาเฉพาะบุคลากรวิชาชีพทางการแพทย์จะมีอัตราการลาออกต่ำ กว่าคือร้อยละ 0.18 เท่านั้น กล่าวโดยสรุป รูปแบบการบริหารงานแบบองค์การมหาชน ที่กรรมการ บริหารสามารถออกข้อบังคับในการดำเนินการได้เอง ทำให้มีความคล่องตัว ในการบริ ห ารบุ ค คลและระบบจ่ า ยค่ า ตอบแทน ความยื ด หยุ่ น ของระเบี ย บ

การจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า ง ทำให้ ส ามารถถ่ า ยโอนงานภารกิ จ โดยใช้ ร ะบบจ้ า งเหมา และทำให้มีช่องทางการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่หลากหลาย รวมถึงการ ร่วมลงทุน อย่างไรก็ตามความสำเร็จของการดำเนินงานของโรงพยาบาลขึ้น อยู่กับผู้นำองค์กรและกรรมการเป็นสำคัญ ‘การประเมินผล 10 ปี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การ มหาชน)’ โดย ดร.วีระศักดิ์ พุทธาศรี และคณะ ได้รับ การสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา ผลการดำเนินงานของ รพ.บ้านแพ้ว ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2543 โดยได้ดำเนินการในรูปแบบองค์การมหาชนมานานกว่า 10 ปี เพื่ อ เป็ น บทเรี ย นสำหรั บ ข้ อ เสนอเชิ ง นโยบายในการปฏิ รู ป โรงพยาบาลของรัฐให้เป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐหรือองค์การ มหาชนในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับ เต็มได้ที่ www.hsri.or.th/media/866

HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต ๔. การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ การคัดเลือก

13


เกาะกระแส สวรส.

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว ประจำเดือนตุลาคม 2555

ศมสท. จัดประชุมประเมินระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพ

ศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (ศมสท.) เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จัดประชุม

การประเมินระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพ (Civil Registration and Vital Statistics : CRVS) เมื่อวันที่

6 พ.ย. 2555 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เพื่อระดมแนวคิดและข้อเสนอเกี่ยวกับสถานการณ์

และทิศทางการพัฒนาระบบ CRVS ของประเทศให้มีประสิทธิภาพ หน่วยงานเข้าร่วมประชุมประกอบด้วย สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, สำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, Economic and Social Commission for Asia and the Pacific

(ESCAP), สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, สำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ,สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สถาบันวิจัยเพื่อการ พัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ,มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง สถาบันวิจัยประชากรและ สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายวิชาการ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข กล่าวว่า ประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพ (CRVS) มานานแล้ว ที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาระบบซึ่งช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น เช่น การพิสูจน์สัญชาติจนสามารถจำแนกประชากรได้ อย่างเป็นระบบ การพัฒนาระบบเพื่อรองรับบริการด้านสุขภาพโดยใช้ระบบทะเบียนราษฎร์สำหรับเชื่อมโยง ข้อมูลในการลงทะเบียนประชากรเข้าระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นต้น “อย่างไรก็ตาม ระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพในประเทศไทย ยังพบปัญหาในด้านการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลสำหรับการวางแผน เนื่องจากข้อมูลที่ไม่ตรงหรือไม่สอดคล้องกันกับแหล่งข้อมูลอื่นในสถิติบาง ตัว สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยต้องหาแนวทางพัฒนาระบบข้อมูลของประเทศให้มีมาตรฐาน เพื่อให้มี ข้อมูลภาพรวมที่น่าเชื่อถือ สามารถอ้างอิงและเปรียบเทียบระหว่างประเทศได้ และจะเป็นประโยชน์กับ หน่วยงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การสร้าง เสริมสุขภาพของประชาชนของหน่วยงานด้านสุขภาพ” ทั้งนี้ ศมสท. จึงรับเป็นหน่วยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ CRVS เพื่อดำเนินการ ประเมินระบบดังกล่าว โดยมีการใช้เครื่องมือมาตรฐานการประเมินและคู่มือพัฒนาระบบ CRVS เบื้องต้น

ที่เรียกว่า “Rapid Assessment” พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลียร่วมกับองค์การ อนามัยโลก เพื่อประเมินระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพเบื้องต้น กรณีศึกษาประเทศไทย ในที่ประชุมมี

ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบอย่างกว้างขวาง อาทิ การลงทะเบียนราษฎร์ เน้นการบำรุงรักษาระบบ เพื่อรองรับกรณีระบบขัดข้องและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จัดหลักสูตรการให้สาเหตุการตายให้แพร่หลาย มากขึ้นสำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุขและมิใช่ทางด้านการแพทย์ เช่น ผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันที่ได้รับมอบ อำนาจในการให้สาเหตุการตายนอกโรงพยาบาลของลูกบ้าน ส่งเสริมให้มีบุคลากรที่ให้รหัสการตายมากขึ้น เพื่อช่วยในการตรวจสอบการให้รหัส เป็นต้น ส่วนประเด็นท้าทายจากการระดมความคิดเห็น คือ ควรหาแนวทางเพื่อลดการให้รหัสด้วยการตายไม่ ทราบสาเหตุ การจัดการรองรับกรณีแรงงานต่างด้าว การกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของระบบ โดยใช้ กระบวนการ “การใช้ประโยชน์จากข้อมูล” เนื่องจากผู้ใช้จะช่วยเสริมจุดอ่อนให้ผู้ผลิตได้เห็นถึงสภาพ ปัญหาได้มากขึ้น

14

สวรส. ร่วมกับ CUSRI เปิดเวทีหารือกับ Prof. Dr. Michael Burawoy

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

(สวรส.) ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย (CUSRI) เปิ ด เวที ก ารประชุ ม ในหั ว ข้ อ “Politics in health care system and its stewardship” โดยมี Prof. Dr. Michael Burawoy, President, International Sociology Association (ISA), University of California, Berkeley, CA, USA ร่วมหารือกับ ศ.สุริชัย หวันแก้ว ผูอ้ ำนวยการศูนย์ศกึ ษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผอ.สวรส. ผศ.ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) และนักวิชาการจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ (สช.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ

(IHPP) โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) เครือข่ายถมช่องว่างทางสังคม (SIR-NET) ณ ห้องประชุมสุปัญญา สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เวทีการหารือมีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิเช่น เรื่องความเหลื่อมล้ำ ของ 3 กองทุน (ระบบรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการ ประกัน สังคม หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เรื่องการกระจายกำลังคนด้าน สุ ข ภาพที่ ไ ม่ เ ป็ น ธรรม การเข้ า ถึ ง บริ ก ารสุ ข ภาพของคนไร้ สั ญ ชาติ

เรื่องธุรกิจยาที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพประชาชน เป็นต้น

HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต


เปิ ด ชั ้ น หนั ง สื อ งานวิ จ ั ย

สวรส. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลพัฒนาเครื่องมือ Health Literacy

ระหว่างวันที่ 10-16 พ.ย.55 ทีผ่ า่ นมา สถาบันวิจยั ระบบสาธารณสุข (สวรส.) ลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัย “โครงการ พัฒนาเครื่องมือ ประเมิ น Health Literacy สำหรับประชาชนไทย” ร่ ว มกั บ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ม.มหิดล, ม.เดคิน ประเทศออสเตรเลีย และสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) เครือ สวรส. ทำการ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพกับกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มคนทั่วไปใน กทม.และปริมณฑล กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มคนพิการทางการได้ยิน และการมองเห็น เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องมือประเมิน Health Literacy ของประเทศ ซึ่งเหมาะสมกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ความ คิดความเชื่อของคนไทย จนนำไปสู่การจัดการสุขภาพตนเองได้อย่าง เหมาะสม รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสุขภาพยัง สามารถนำไปใช้ ใ นการติ ด ตามและประเมิ น การดู แ ลสุ ข ภาพของ

ผู้ป่วยแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ความหมายของคำว่า “Health Literacy” องค์การอนามัย โลก (WHO) ได้ให้นิยามว่า เป็นทักษะด้านกระบวนการรับรู้และวิธี คิด และทักษะด้านสังคมที่กำหนดแรงจูงใจและความสามารถของ บุคคลที่จะเข้าถึง เข้าใจ และใช้ข้อมูลที่ได้รับมาในวิธีที่สนับสนุนและ ธำรงสุขภาพของตนเอง สำหรับการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ ได้ดำเนินการเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย

ที่เป็นผู้พิการทางการได้ยิน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยมีพื้นที่ เป้าหมายสำรวจตัวแทนใน 4 ภูมภิ าค ได้แก่ พิษณุโลก ชลบุรี อุดรธานี นครศรีธรรมราช รวม 400 คน อย่างไรก็ตามการดำเนินงานในระยะ ต่ อ ไป ที ม วิ จั ย จะสรุ ป ข้ อ มู ล จากการสำรวจนี้ เพื่ อ ทำการปรั บ แบบสอบถามให้ มี ค วามกระชั บ และเหมาะสมกั บ บริ บ ทของกลุ่ ม

ผู้พิการทางการได้ยิน จากนั้นจะมีการสำรวจเป็นครั้งที่ 2 เพื่อประเมิน แบบสอบถามซ้ำ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ทั้งนี้ สวรส. จะนำเสนอความรู้เรื่อง Health Literacy ในเวที ประชุมนานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 21 “การลงทุน

ที่ ดี ที่ สุ ด เพื่ อ สุ ข ภาพ” ที่ จ ะจั ด ขึ้ น ในวั น ที่ 25-29 สิ ง หาคม 2556

ณ ศูนย์การประชุมพีช พัทยา ด้วย

ชื่อเรื่อง ระบบหลักประกันสุขภาพไทย ผู้แต่ง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องย่อ จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบประกันสุขภาพและ

ระบบบริ ก ารสาธารณสุ ข ไทยในช่ ว งทศวรรษที่ ผ่ า นมา

ดังกล่าว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

เห็นถึงความสำคัญที่ต้องมีการทบทวนโดยได้จัดทำหนังสือ

“หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย” ขึ้นมาอีก

ครั้งเพื่อปรับปรุงข้อมูลต่างๆ ให้ทันสมัย รวมทั้งทบทวน

และบั น ทึ ก การเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น ในระบบประกั น

สุขภาพและระบบบริการสาธารณสุขไทยไว้อย่างครบถ้วน

ชัดเจน

ชื่อเรื่อง บัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2553 ผู้แต่ง คณะทำงานจัดทำบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ

พ.ศ. 2552-2553 เรื่องย่อ ผลการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล รายจ่ า ยสุ ข ภาพของประเทศไทย

ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2537 - 2553 โดยจำแนกรายจ่าย

สุขภาพตามแหล่งการคลัง ซึ่งจ่ายสำหรับกิจกรรมสุขภาพ

ประเภทต่างๆ และจ่ายไปยังผู้ให้บริการทั้งในภาครัฐและ

เอกชน การแจกแจงดังกล่าวจัดทำตามระบบบัญชีรายจ่าย

สุขภาพที่เสนอโดย องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

และการพัฒนา โดยข้อมูลรายจ่ายภาครัฐนั้น รวบรวมจาก

หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในภาครัฐ ชื่อเรื่อง การประเมินผลรูปแบบการทบทวนตำรับยา ผู้แต่ง หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม เรื่องย่อ โครงการการประเมินผลรูปแบบการทบทวนทะเบียนตำรับ

ยา เป็นโครงการศึกษาการดำเนินงานโครงการการพัฒนา

รูปแบบทบทวนทะเบียนตำรับยาและการนำไปสู่การปฏิบัติ

ที่ดำเนินการโดยกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการ

อาหารและยา โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อสรุปบทเรียน

และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการทบทวนทะเบียน

ตำรับยาสำหรับประเทศไทย

http://www.sem100library.in.th

HSRI Forum : ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม “3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต

15


ก า ร ป ร ะชุ ม น า น า ช าติ

ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่21 25-29 สิงหาคม 2556

“Best Investments for Health (การลงทุนที่ดีที่สุดเพื่อสุขภาพ)” ณ ศูนยประชุมพีช พัทยา

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ (สสส.) และ The International Union for Health Promotion and Education (IUHPE) สถาบันวิจยั ระบบสาธารณสุข (สวรส.) สํานักงานหลักประกันสุขภาพแหงชาติ (สปสช.) สํานักงานคณะกรรมการ สุขภาพแหงชาติ (สช.) และ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ขอเชิญชวนบุคลากรดานการสรางเสริมสุขภาพทุกทาน สงบทคัดยอและเขารวม งาน การประชุมนานาชาติดา นการสรางเสริมสุขภาพครัง้ ที่ 21 ซึง่ จะจัดขึน้ ในวันที่ 25-29 สิงหาคม 2556 ณ ศูนยประชุมพีช เมืองพัทยา เปดรับบทคัดยอ วันนี้ – 31 ธันวาคม 2555 ผูสนใจสามารถสงบทคัดยอ (งานวิจัย แนวคิดเชิงนโยบาย หรือบทเรียนจากการปฏิบัติจริง) ภายใตหัวขอหลักในการประชุม “การลงทุนที่ดีที่สุดเพื่อสุขภาพ (Best Investments for Health)” หรือ หัวขอรองในการประชุม ในมิติตางๆ ตอไปนี้ • นโยบายระหวางภาคสวน ยุทธศาสตรและการปฏิบัติการที่มีสวนชวยใหเกิดการลงทุนดานสุขภาพที่ยั่งยืน • การรวมมือกันของภาคสวนตางๆในการสรางเสริมสุขภาพ • การวิจัยพัฒนาและการติดตอสื่อสารดานการสรางเสริมสุขภาพ • ประเด็นสุขภาพและกลุมประชากรในการสรางเสริมสุขภาพ • สังคม สิ่งแวดลอมและวัฒนธรรมในการสรางเสริมสุขภาพ • หัวขออื่นๆ การสงบทคัดยอเพื่อนําเสนอในเวทีหลักการประชุมฯ สามารถสงไดในรูปแบบ 1) การนําเสนอผลงานแบบปากเปลา (Oral Presentation)/โปสเตอร (Poster Presentation) 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) หรือ 3) เวทีอภิปราย (Symposium) ไดทั้งในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน ผูสนใจกรุณาอานรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสงบทคัดยอไดที่ www.iuhpeconference.net/ login.php เปดรับบทคัดยอวันนี้ – 31 ธันวาคม 2555 เปดรับบทคัดยอ เปดรับลงทะเบียนลวงหนา (Early Bird) เปดรับสมัคร ผูขอทุนสนับสนุนคาใชจายในการเขารวมประชุม ปดรับบทคัดยอ ประกาศผลบทคัดยอที่ไดรับเลือก ประกาศผลผูไดรับทุนสนับสนุนคาใชจายในการเขารวมประชุม ปดรับลงทะเบียนลวงหนา (Early Bird) ปดรับลงทะเบียน (อัตราปกติ) การประชุมนานาชาติดานการสรางเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 21

20 สิงหาคม 2555 31 ธันวาคม 2555

www.IUHPEconference.net

1 มีนาคม 2556 30 เมษายน 2556 5 สิงหาคม 2556 25-29 สิงหาคม 2556

เจาภาพรวม:

เจาภาพ: www.IUHPEconference.net

info@iuhpeconference.net

www.facebook.com/IUHPE2013 www.twitter.com/IUHPE2013

แบ่งปันความรู้โดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

สามารถดาวน์โหลดจุลสาร HSRI Forum ได้ที่ www.hsri.or.th สอบถามเพิ่มเติม หน่วยสื่อสารความรู้และขับเคลื่อนสังคม โทร 0-2832-9245 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ซ.สาธารณสุข 6 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2832-9200 โทรสาร 0-2832-9201 www.hsri.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.