HSRI FORUM ปีที่ 1 ฉบับที่ 3

Page 1

พื้นที่แบ่งปันความรู้ สู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน

ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555

เคลื่อนยุทธศาสตร์ กำลังคนด้านสุขภาพ

www.hsri.or.th


บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

วัสดีครับท่านผู้อ่าน... พบกันเช่นเคยกับ HSRI Forum จุลสาร สวรส. รายเดือนฉบับเดือนสิงหาคม

2555 ฉบับนี้นำเสนอเรื่อง ‘แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ.2550-2559’ เป็นรายงานพิเศษ เนื่องในโอกาสที่แผนยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าว ดำเนินงานมาได้ 5 ปีหรือถือเป็นครึ่งทางของแผน ดังนั้นจึงได้มีการประเมินผลการดำเนินงาน ตามแผนยุทธศาสตร์ฯ และนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ฯ ในช่วง 5 ปีที่เหลือเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการและยั่งยืนต่อไป ปัจจุบันประเด็นปัญหากำลังคนด้านสุขภาพมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะปัญหา

ไม่ได้อยู่ที่การขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวพัน ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เช่น การกระจุกตัวของบุคลากรในเมืองใหญ่ การใช้แรงจูงใจทางด้าน การเงินอาจไม่ได้ผลในระยะยาว เพราะเมื่อบุคลากรเหล่านี้มีครอบครัว เขาก็ต้องการให้ลูกได้ เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีมาตรฐาน โรงเรียนในอำเภอเล็กๆ อาจไม่ตอบสนองความต้องการ

ในที่สุดบุคลากรเหล่านี้ก็ต้องย้ายตัวเองและครอบครัวไปอยู่ในเมืองใหญ่

สารบัญ

CONTENT 03 08 10

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การผลิตบุคลากรที่ตอบสนองต่อความ ต้องการของตลาด แต่ไม่ตอบสนองความต้องการของสังคม ดังนั้นเราจึงเห็นคลินิกเสริมความ งามเกิดขึ้นมากมาย โดยบุคลากรทางการเเพทย์ถูกดึงไปเพื่อเป้าหมายทางธุรกิจ ขณะที่เเพทย์ ผ่าตัดกำลังขาดเเคลน ทำให้เเพทย์ส่วนที่เหลือต้องทำงานหนักส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ รักษา นอกจากนั้นนักศึกษารุ่นใหม่ก็ไม่มีเเรงจูงใจเเละความมุ่งมั่นที่จะเรียนเเพทย์มาเพื่อ

ตอบสนองความต้องการของสังคมอย่างเเท้จริง แต่ใช่ว่าปัญหาเหล่านี้จะไม่มีทางแก้ไข ‘คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ’ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว จึงได้ปรับปรุงแผนในช่วง 5 ปีที่ เหลือให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ส่วนจะมีรายละเอียดอย่างไรติดตามกันในฉบับครับ ส่วนเนื้อหาอื่นๆ ก็มีความน่าสนใจเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการเสนองานวิจัยของพื้นที่สู่ นโยบายฟื้ น ฟู ส มรรถภาพคนพิ ก ารไปสู่ ก ารปฏิ บั ติ จ ริ ง ของหน่ ว ยงานระดั บ พื้ น ที่ อย่ า ง

ม.มหาสารคาม เพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของคนพิการ จากนั้นไปพบกับ ต้นแบบ จากเมืองเหนือ อบต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ภาคท้องถิ่นที่มีบทบาทในการส่งเสริม คุณภาพชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุในชุมชน แต่จะมีรูปแบบอย่างไร นายก อบต. ได้มาเล่าสู่ กันฟังในฉบับ นอกจากนี้ ยังมีควันหลงจากการประชุมวิชาการ R2R ผลงานวิจัย ‘R2R’ ที่ได้รับรางวัล งานวิจัยดีเด่น ฉบับนี้ กองบรรณาธิการ นำเรื่อง “ระบบยาคุณภาพที่เรียบง่ายด้วย IT ในการ บริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด” และ “ปริมาณของ ORS ที่ผู้ป่วยเด็กที่มี ภาวะขาดน้ ำ รั บ ได้ เปรียบเทียบระหว่างการให้ในรู ป แบบของสารละลายและแบบแช่ แ ข็ ง ”

มานำเสนอ รวมถึ ง ข่ า วสารต่ า งๆ ในรอบเดื อ นที่ ผ่ า นมา ในฉบั บ นี้ พ ลิ ก อ่ า นกั น ได้ เ ลย

แล้วกลับมาพบกันใหม่ในฉบับหน้า สวัสดีครับ !

02

HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ

12

รายงานพิเศษ

เคลื่อนยุทธศาสตร์ กำลังคนด้านสุขภาพ

เส้นทางสู่สุขภาพ ที่เป็นธรรมและยั่งยืน

“สถาปนิก” รับใช้คนพิการจาก ห้องเรียนสู่ “ปฏิบัติการ” ระดับพื้นที่

ต้นกล้าความรู้ สู่ต้นแบบสุขภาพ

ภาคท้องถิ่นยุคใหม่ อบต.ดอนแก้ว กับภารกิจ เพื่อ “ผู้พิการ-ผู้สูงวัย”

แกะกล่องงานวิจัย

โชว์ 2 ผลงาน R2R ดีเด่น ระบบยาคุณภาพ ด้วย IT และไอติมเกลือแร่แช่แข็ง !!

เกาะกระแส

14

สสพ. จัดสัมมนาเครือข่ายวิชาการ จากแนวคิดสู่นโยบายและการปฏิบัติ • สวรส. ลงนามร่วมมือกับ วช.ยกเครือ่ ง งานวิจัยระบบสุขภาพ • ฯลฯ

จุลสาร HSRI Forum

จัดทำโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ที่ปรึกษา นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ทพ.จเร วิชาไทย ภก.สรชัย จำเนียรดำรงการ ภญ.หญิงพรพิศ ศิลขวุธท์ นพ.บุญชัย กิจสนาโยธิน ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ นพ.คณิตสรณ์ สัมฤทธิ์เดชขจร บรรณาธิการ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข กองบรรณาธิการ นิธิภา อุดมสาลี ฐิติมา นวชินกุล ศุภฑิต สนธินุช ณัฐกานต์ ธรรมเวช


ร า ย ง า น พิ เ ศ ษ

เคลื่อนยุทธศาสตร์ กำลังคนด้ านสุขภาพ ไขลาน “กลไก” ระดับพื้นที่...ปลดปัญหาขาดแคลน–การกระจายตัว

ปั

สำรวจ “สถานการณ์” กำลังคนด้านสุขภาพ

จจุบันสถานการณ์ “กำลังคนด้านสุขภาพ” ยังเป็นวิกฤตปัญหาที่สำคัญของระบบ

สุขภาพของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในเรื่อง...

• การขาดแคลนกำลังคนด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในเขตชนบท • การกระจายของกำลังคนด้านสุขภาพที่ยังไม่ทั่วถึงและเท่าเทียม • การขาดกลไกการทำงานเรื่องกำลังคนด้านสุขภาพในภาพรวมของประเทศ • การาดการจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ไม่มีกลไกการประสานงาน ติดตาม

กำลั ง คนด้ า นสุ ข ภาพที่ มี อ ยู่ ใ นปั จ จุ บั น เมื่ อ เที ย บเคี ย ง

กั บ จำนวนประชากรแล้ ว จะพบว่ า หลายวิ ช าชี พ ยั ง คงมี

ความขาดแคลนอยู่ แม้ว่าในหลายวิชาชีพจะมีการเพิ่มกำลัง การผลิต แต่ความต้องการบุคลากรที่เพิ่มมากขึ้นก็ทำให้ใน อนาคตการขาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในเกือบ ทุกวิชาชีพจะยังเป็นปัญหาที่ท้าทายระบบบริการสุขภาพของ ประเทศไทยอยู่ และจากการสำรวจยังพบว่า กำลังคนด้านสุขภาพมีการ กระจายตัวอย่างไม่สมดุล โดยเฉพาะแพทย์กระจุกตัวอยู่ใน พื้นที่เมืองมากกว่าชนบท กรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังคงเป็นที่ กระจุกตัวของกำลังคนทุกวิชาชีพ

HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ

03


ในเกือบทุกวิชาชีพจะยังเป็นปัญหาท้าทายระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยอยู่ งานวิจัย ของ ฑิณกร โนรี, หริญ โชคชัยชาญ และวีระศักดิ์ มงคลพร ซึ่งรวบรวมตัวเลขการคาดการณ์ ก�าลังการผลิตและความต้องการก�าลังคนด้านสุขภาพของ 4 วิชาชีพหลักของระบบสุขภาพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร ในปี 2558 และพบว่ามีเพียงทันตแพทย์เพียงวิชาชีพ เดียวที่มีก�าลังการผลิตเกินกว่าความต้องการ รายละเอียดดังตาราง

ตารางที่ 1.4 แสดงสถานการณและความตองการกําลังคนดานสุขภาพในปจจุบัน ตารางแสดงสถานการณ์ แ ละความต้ อ งการกำลั ง คนด้ า นสุ ข ภาพในปั จ จุ บั น ของ ของโรงพยาบาลศูนย/ทั่วไป สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กําลังคนด้านสุขภาพ

โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ความต้องการตาม GIS

กําลังคนที่มี

โรงพยาบาลชุมชน กําลังคนที่ขาด

ความต้องการตาม GIS

กําลังคนที่มี

กําลังคนที่ขาด

แพทย์

6,727

6,221

506

7,010

4,705

2,305

ทันตแพทย์

3,174

980

2,194

4,264

2,430

1,834

เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ

3,194

1,959

1,235

3,848

3,180

668

54,474

40,326

14,148

56,627

46,181

10,446

นักกายภาพบําบัด

1,280

431

849

2,095

579

1,516

นักเทคนิคการแพทย์

1,894

930

964

2,798

877

1,921

นักรังสีการแพทย์

1,280

313

967

1,397

230

1,167

[ ที่มา : กองการเจ้าหน้าที่ กระทรวงสาธารณสุข, 2554 ]

จํานวนที่ขาด/เกิน

2,416 - 4,733

[ ที่มา : ฑิณก

โดยแผนยุ ท ธศาสตร์ มี ก รอบน​ โ ยบาย​ ทิ ศ ทาง​ แ ละ​ เป้าหมายหลัก​ เพื่อขยายบริบท​การพัฒนากำลังคนด้าน

สุขภาพ​ให้กว้างกว่าวิชาชีพหลัก ​โดย​ให้ครอบคลุม​ถึง​ผู้ที่

ดู​แลสุขภาพ​ในชุมชน​และภูมิปัญญาท้องถิ่น ​การวาง​แผน​ และพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ​ให้สอดคล้องกับระบบบริ​ การสุขภาพ​และตอบสนองกับ​ความต้อง​การด้านสุขภาพ ของประชาชน​ทั้ง​ในระดับพื้นที่​และระดับประ​เทศ กระจาย บทบาท​การวาง​แผน พัฒนา​และจัด​การกำลังคนลง​ไป​ใน ระดับพื้นที่ รวมไปถึงการสร้าง​การมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาค​ เ อกชน ภาคท้ อ งถิ่ น​ แ ละภาคประชาชน​ ใ นทุ ก ระดั บ

โดยมี 5 ยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนงาน ประกอบด้วย • ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างและพัฒนากลไกในการกำหนด ตารางที่ 1.5 แสดงการคาดการณ ําลังการผลิ ยบกั บความตอองการกำลั งการกําลังงคนในปี คนในป 2558 ตารางแสดงการคาดการณ์ กำลังกการผลิ ตเทีตยเทีบกั บความต้ 2558 นโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนฯ ทีส่ อดคล้องกับระบบสุขภาพ ของประเทศ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล • ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 2 ปรั บ เปลี่ ย นระบบการผลิ ต และ 38,217 - 41,282 10,323 25,124 120,197 - 173,321 กําลังการผลิต พั ฒ นากำลั ง คนด้ า นสุ ข ภาพ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ก ำลั ง คนที่ เ พี ย งพอ 40,633 - 46,015 9,924 - 9,468 32,761 - 33,698 137,997 - 142,366 ความต้องการ เพื่อนำไปสู่การสร้างความเสมอภาคในระบบสุขภาพ 2,416 - 4,733 537 - 1,399 7,637 - 8,574 30,955 - 17,800 จํานวนที่ขาด/เกิน • ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการ กำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อให้มีการกระจายบุคลากรอย่างเป็น 14 :: กำ�ลังคนด้�นสุขภ�พ [ ที่มา : ฑิณกร โนรี, หริญ โชคชัยชาญ, วีระศักดิ์ มงคลพร, 2548 ] ธรรม สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข • ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างและจัดการความรู้เพื่อไปสู่การ ทั้งนี้ ปัญหากำลังคนด้านสุขภาพ นับวันยิ่งทวีความซับซ้อนมากขึ้น สิ่งที่น่ากังวลนอกเหนือไป พัฒนากำลังคนด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้อง กับบริบทของระบบสุขภาพของประเทศ จากการขาดแคลนและการกระจายบุคลากร ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะต้องจับตาดูนับจากนี้ ก็คือ • ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาไทย • การเจริ ญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ กั บ การขยายตั ว ของธุ ร กิ จ โรงพยาบาลเอกชน และ

นโยบายส่งเสริมให้ชาวต่างชาติมารับบริการทางการแพทย์ ส่งผลให้เกิดการไหลออก และผู้ที่ดูแลสุขภาพในชุมชนให้มีบทบาทในการดูแลปัญหา ของบุคลากรด้านสุขภาพจากรัฐสู่ภาคเอกชน • การใช้ บ ริ การสุขภาพที่เพิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป เป็ น ผลมาจากหลายปั จ จั ย เช่ น

นโยบายหลักประกันสุขภาพทำให้อัตราการใช้บริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้น แนวโน้ม การ

เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง โรคเกิดใหม่ ฯลฯ ส่งผลต่อภาระงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความ

ต้องการกำลังคนด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น รวมไปถึงความต้องการทักษะเฉพาะที่มากขึ้น ฯลฯ ก�Ãสุขภ�พ໚ นÃкº·Õ • การเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนส่ÃкººÃÔ งผลต่อการโยกย้ ายกำลั งคนด้è านสุขภาพทั้งเข้าและออก µŒÍงก�ÃáÃงง�นคนÁ�กกÇ‹�àคÃ×èÍงÁ×Í àคÃ×èÍง¨ักà ดังนั้น¼ลกÃзºµ‹�งæ ·ÕèàกÔดขÖ้นกัºกำ�ลังคนดŒ�นสุขภ�พ ทวนเข็มนาฬิกา ยุคเริ ม ่ แผนกำลังคนสุขภาพ 50-59 ‹ÍÁËÁ�¶Öง¼ลกÃзºµ‹ÍÃкº ºÃÔก�Ãสุขภ�พãนภ�พÃÇÁดŒÇ ปัญหา “กำลังคนด้านสุขภาพ” มิได้เพิ่งจะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ทว่าเป็น ปัญหาที่ “เรื้อรัง” มานานหลายสิบปี กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีบทบาท หลักในการดูแลระบบสุขภาพของประเทศ ในสมัย นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ ขึ้นมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2549 โดยมี นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เป็นประธาน มีคณะกรรมการ จัดทำแผนซึ่งมาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจนสำเร็จเป็นแผนยุทธศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ในเวลา ต่อมา โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ ‘แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ.2550-2559’ ในเดือนเมษายน 2550 ที่เป็นมา เป็นอยู่ และจะเป็นไป :: 15

04

HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ

537 -

ÃкººÃÔก µŒÍงก�Ãá àคÃ×èÍง ·ÕèàกÔดขÖ้น ‹ÍÁËÁ�¶Öง¼ ºÃÔก�Ãสุขภ


แผนฉบับนี้ จึงเป็นร่มใหญ่เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนา กำลังคนด้านสุขภาพในช่วง 10 ปี (พ.ศ.2550-2559) โดยมี ‘คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ’ เป็นกลไก หลั ก ในการขั บ เคลื่ อ นแผนยุ ท ธศาสตร์ ไ ปสู่ ก ารปฏิ บั ติ ที่ เ ป็ น รูปธรรม ในส่วนของคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ นั้น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการสุขภาพแห่ง ชาติ (คสช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกฯ เป็นประธาน สำหรับคณะกรรมการกำลังคนฯ ชุดแรกได้รับการแต่งตั้งขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน 2550 มี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย เป็น ประธาน และมี ค ณะกรรมการที่ ม าจากภาคส่ ว นต่ า งๆ ที่ เกี่ ย วข้ อ งทั้ ง หน่ ว ยงานภาครั ฐ และเอกชน ประกอบด้ ว ย กระทรวงสาธารณสุ ข สำนั ก งานคณะกรรมการข้ า ราชการ พลเรื อ น สำนั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ

และสั ง คมฯ กรมส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ่ น สำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฯลฯ

ประเมินการขับเคลื่อนแผน หลังผ่านครึ่งทาง...

ปัจจุบัน “แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550-2559” ได้ดำเนินงานมาครบ 5 ปี นับเป็นครึ่งทางของเเผนดำเนินงาน ปัจจุบัน คณะกรรมการกำลัง คนด้านสุขภาพเเห่งชาติ มี​ี นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นประธาน ได้จัดให้มีการประเมินผล การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว เพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและพัฒนาการ ดำเนินงานในอนาคต โดยมี ดร.ไพรัช บวรสมพงษ์ และคณะ เป็นผู้ประเมิน ซึ่งได้นำผลการ ประเมินเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการกำลังคนฯ ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 ที่ ผ่านมา โดยผลสรุปการประเมินผลการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพ

แห่งชาติในช่วง 5 ปีแรก ของ ดร.ไพรัช บวรสมพงษ์ และคณะ ระบุว่า 1. ความเป็ น แผนยุ ท ธศาสตร์ ท ำให้ เ เผนมี ลั ก ษณะยื ด หยุ่ น มี ก รอบการทำงานที่ ก ว้ า ง

มีทิศทางร่วม แต่ยังขาดแนวทางการดำเนินงานเเละการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน ขาด การกำหนดข้อบ่งชี้ความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนที่จะเป็นยุทธศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลง 2. ผลการประเมินการรับรู้ในบทบาทหน้าที่ของกรรมการ พบว่า กรรมการรับรู้บทบาทแต่ ยังมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ไม่ตรงกันนัก ตลอดจนประเด็นความรับผิดชอบที่มี ต่อแผน ในด้านจำนวนบุคลากร โดยเฉพาะในส่วนของฝ่ายเลขานุการ ซึ่งมีภารกิจสำคัญใน การขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการกำลังคนฯ มีไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผล ต่อเนื่องถึงคุณภาพการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่

เสนอแนวทางทำงานในระยะที่ 2 เน้นความร่วมมือของคณะกรรมการฯ

ทางด้าน นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาที่พบในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์

ที่ผ่านมา เรื่องแรก คือ แผนยุทธศาสตร์ไม่มีรูปธรรมการจัดลำดับความสำคัญว่าเรื่องใดมี ความสำคัญมากหรือรองลงมา เรื่องที่ 2 คือ การที่มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการ ยกร่างแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ขึ้นมาแล้วจะทำให้หน่วยงานต่างๆ เห็นภาพรวม เห็นวิสัยทัศน์ ร่วมกันที่ชัดเจนและมาช่วยกันผลักดัน ยังไม่เกิดขึ้นจริง ขาดความ เป็นเจ้าของร่วมของแผนยุทธศาสตร์ “หน่วยงานต่างๆ มีแนวโน้มจะยึดเป้าหมายขององค์กรเป็น หลัก ทำให้เรือ่ งนีก้ ลายเป็นเป้าหมายรอง หน่วยงานก็จะไม่เอาจริง เอาจั ง ในการที่ จ ะผลั ก ดั น แผนเท่ า ไหร่ ทำให้ ย้ อ นกลั บ มาที่ กระบวนการเหมือนเดิมว่า ถ้าอย่างนั้นเราจะปรับยังไง เพื่อมา ทำเรื่องใหญ่เรื่องนี้ ร่วมกัน” นพ.พงษ์พิสุทธิ์ กล่าวถึงอุปสรรค

ในการขับเคลื่อนแผนช่วง 5 ปีแรก นอกจากนี้ ยังมีช่องว่างของการเชื่อมต่อระหว่างกลไกระดับชาติกับกลไกระดับพื้นที่ ควร ต้องมีการปรับปรุงหรือจัดให้มีกลไกการบริหารจัดการเพิ่มขึ้น รวมไปถึงแนวทางการสนับสนุน กลไกภายในพื้นที่ที่จะจัดการตนเอง

HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ

05


โดยคณะผู้ประเมินมีข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินงานใน ระยะต่ อ ไป เช่ น ควรมี ก ารสร้ า งความเข้ า ใจร่ ว มกั น ของ คณะกรรมการฯ และมีความเป็นเจ้าของร่วม ควรมีการ แบ่ ง แผนย่ อ ยฯ สู่ ก ารปฏิ บั ติ การกำหนดเป้ า หมายชี้ วั ด และการกำหนดบทบาทผู้รับผิดชอบ ทบทวนเป้าหมายของ แผนเป็นระยะๆ รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กร เครือข่ายและท้องถิ่นเพื่อจัดการปัญหาระดับพื้นที่ เป็นต้น

หลังจากการประชุมคณะกรรมการกำลังคนฯ ครัง้ ที่ 1/2555 เดื อ นเมษายนเสร็ จ สิ้ น ลง ที่ ป ระชุ ม ได้ ม อบหมายให้ ที ม เลขานุ ก ารฯ ไปจั ด กระบวนการจั ด ทำแผนปฏิ บั ติ ก ารแบบ

มีส่วนร่วม เพื่อทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ในช่วงต่อไป โดยมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นในระหว่าง วันที่ 21-22 มิถุนายน 2555 ที่ จ.สมุทรสงคราม มีผู้เข้าร่วม รวม 52 คน จากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ ระดับนโยบายระดับชาติ จนถึงระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ รวมทั้ ง ฝ่ า ยวิ ช าการจากองค์ ก รวิ ช าชี พ สถาบั น การศึ ก ษา และสถาบันวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการประชุมเชิงปฏิบัติการได้ทบทวนสภาพปัญหากำลัง คนด้ า นสุ ข ภาพ การขาดแคลนกำลั ง คน ต่ อ มาในวั น ที่

25 มิถุนายน 2555 ได้มีการประชุมคณะกรรมการกำลังคน ด้านสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2/2555 โดยที่ประชุมได้นำร่าง แผนปฏิบัติการ ยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนฯ ที่ได้จากการ ประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารเข้ า สู่ ก ารพิ จ ารณา โดยที่ ป ระชุ ม

คณะกรรมการกำลังคนฯ ได้เสนอให้ปรับปรุงแก้ไขร่างแผน ยุทธศาสตร์ให้มีรายละเอียดชัดเจนขึ้น เช่น กำหนดกิจกรรม หลั ก ผลลั พ ธ์ ระยะเวลา และหน่ ว ยงานหลั ก ที่ รั บ ผิ ด ชอบ ส่วนยุทธศาสตร์หลักทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ยังคงเหมือนเดิม แต่ จะกำหนดจุดเน้นการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ กล่าวถึงการผลักดันกลยุทธ์นี้ว่า ขณะนี้ยังไม่มีคณะกรรมการกำลังคน ด้านสุขภาพระดับจังหวัด โครงสร้างยังไม่มี มีแต่คณะกรรมการบริหารบุคคลของสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด แต่ตรงนั้นดูแลเฉพาะบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข สิ่งที่เราอยากเห็น คือคณะกรรมการในระดับพื้นที่ ตรงนี้ขอใช้คำว่า “พื้นที่” ก่อน ที่ดูแลบุคลากรทั้งหมดไม่ว่า จะอยู่ในสังกัดไหน เช่น สถานีอนามัยในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลในสังกัด เทศบาล โดย 1. ดู ว่ า มี จ ำนวนบุ ค ลากรด้ า นสุ ข ภาพอยู่ เ ท่ า ไหร่ เพี ย งพอหรื อ ไม่ มี ก ารกระจายอย่ า ง เหมาะสมหรือเปล่า มีปัญหาในการปฏิบัติงานไหม ตรงนี้จะเป็นกรรมการที่เข้ามาดูมากกว่า บุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2. ดูว่าคณะกรรมการกำลังคนระดับพื้นที่จะอยู่ที่ “จังหวัด” หรือ “เขต” ซึ่งกำลังพิจารณา กันอยู่ ตอนเวิร์คช็อปได้มีการเสนอเป็นระดับเขต แต่พอมาเข้าสู่กรรมการมีคนเสนอว่าควรจะ อยู่ที่จังหวัด เร็วๆ นี้จะหารือ เพื่อศึกษาถึงจุดเเข็งจุดอ่อนถึงขอบเขตต่างๆ ดังกล่าว จากนั้น ในปี 56 จะเริ่ ม นำร่ อ งดำเนิ น การในพื้ น ที่ ที่ มี ค วามสมั ค รใจว่ า ถ้ า อยู่ ที่ จั ง หวั ด แล้ ว จะช่ ว ย

แก้ปัญหากำลังคนได้จริงหรือไม่ ถ้าแก้ปัญหากำลังคนได้จริง ต่อไปก็จะเสนอให้เป็นนโยบาย ปรับยุทธศาสตร์กำลังคนด้าน ปจากบทเรียนว่าต้องมาแก้กฎหมาย หรือกฎระเบียบอะไรบ้าง แล้วควรจะให้กลไกนี ้ สุขภาพ “ไขลาน” กลไกระดับพื้นที่ โดยสรุ ทำหน้าที่อะไร ทั้งหมดนี้จะนำมาเสนอเป็นนโยบายในปี 2557-2558 หลังจากที่ทดลองใน

ล่ า สุ ด เมื่ อ วั น ที่ 31 กรกฎาคมที่ ผ่ า นมา ที่ ป ระชุ ม บางพื้นที่แล้ว อันนี้ก็เป็นส่วนนำของยุทธศาสตร์ที่ 1 ที่เราจะดำเนินการ คณะกรรมการกำลั ง คนฯ ได้ พิ จ ารณาเห็ น ชอบร่ า งแผน เมื่อมีคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพในระดับพื้นที่แล้ว จะส่งเสริมกลไกทั้งหมดใน ปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้าน พื้นที่ให้มีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนากำลังคนฯ มากขึ้น เช่น หากขาดกำลังคนก็อาจ สุขภาพแห่งชาติระยะที่สอง (2556-2559) เพื่อเตรียมนำแผน จะส่งเสริมให้ท้องถิ่นจัดทุนการศึกษา หรือให้สถาบันการศึกษาเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อตอบสนอง ยุทธศาสตร์ไปขับเคลื่อนให้เห็นผลเป็นรูปธรรมต่อไป โดยมี การขาดกำลังคนฯ ในพื้นที่ กลยุ ท ธหลั ก คื อ ‘สร้าง ส่งเสริม และพัฒนากลไกระดับ เขตพื้นที่ในการจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ’ ซึ่งเป็นแผน “ขณะนีย้ งั ไม่มคี ณะกรรมการกำลังคนระดับจังหวัด ในยุทธศาสตร์ท่ี 1 โดยมีกิจกรรมหลัก คือ การจัดเวทีสัมมนา และยั ง ไม่ มี โ ครงสร้ า ง มี แ ต่ ก รรมการบริ ห ารบุ ค คล เพื่ อ หาข้ อ ยุ ติ ร ะดั บ พื้ น ที่ ที่ เ หมาะสมในการจั ด การกำลั ง คน ของสำนั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด ซึ่ ง ดู แ ลเฉพาะ ด้านสุขภาพ บุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข”

06

HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ


โดยมองว่ า การกระจายกำลั ง คนด้ า นสุ ข ภาพ ยั ง เป็ น ประเด็นปัญหาที่สำคัญ ดังนั้น มาตรการหนึ่งที่จะทำให้การ กระจายตัวของบุคลากรดีขึ้น เเละเป็นสิ่งที่เรากำลังพยายาม จะทำ ก็คือ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นใน ชนบท อย่างเช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน อุปกรณ์เครื่อง ไม้เครื่องมือ โอกาสก้าวหน้าทางวิชาการ และค่าตอบแทนที่ เหมาะสม ซึ่ ง เป็ น ภารกิ จ หนึ่ ง ของแผนที่ จ ะต้ อ งพั ฒ นา สิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติการให้ดีขึ้น นอกจากนี้ เสนอว่า คนจำนวนหนึ่งจริงๆ แล้วอยู่ในพื้นที่ ได้ เพราะเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของชุมชน เพราะฉะนั้นการสร้างสิ่งแวดล้อมในชุมชน สังคม ให้ เ กิ ด ความผู ก พั น และกลายเป็ น สิ่ ง ที่ เ ป็ น ปั จ จั ย ที่ ท ำให้

หลายคนอยู่ในพื้นที่ได้นาน ส่วนหนึ่งที่น่าจะดำเนินการเช่น เดียวกัน คือ ในเรื่องสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ควรมีประกอบกัน ไป เช่น แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่มีครอบครัว และมีลูกต้องเข้า โรงเรียน ถ้าโรงเรียนในแต่ละพื้นที่มีคุณภาพไม่เท่าเทียมกัน ทำให้หลายคนคิดว่าส่งลูกเข้าโรงเรียนในต่างจังหวัดจะทำให้ “นี่คือรูปธรรมของคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพ ในระดับพื้นที่ที่จะตัดสินใจเอง ลูกเสียโอกาส และในที่สุดเขาก็ต้องย้ายเพื่อให้มีโรงเรียนดีๆ เราจะไม่ไปลงรายละเอียดว่าจะทำอะไรหรือไปตัดสินใจแทนเจ้าของพื้นที่ที่รู้รายละเอียดใน อั น นี้ ก็ เ ป็ น อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ที่ อ ยู่ น อกวงการสาธารณสุ ข ที่ เ ราต้ อ ง พื้นที่ว่าตรงไหนขาดบุคลากรด้านสุขภาพเท่าไหร่ เราเชื่อมั่นในเรื่องของการกระจายอำนาจ ทำให้ระบบสนับสนุนอื่นๆ เอื้อด้วย เพราะคนไม่ได้ต้องการ ดังนั้นจึงเสนอว่า กลไกการจัดการในระดับพื้นที่น่าจะสามารถเข้ามามีบทบาท และทำให้ เงินอย่างเดียว แต่ยังต้องการโอกาสดีๆ ด้วย อันนี้ก็เป็นความ การจั ด การกำลั ง คนฯ พั ฒ นาได้ ดี ขึ้ น ขณะเดี ย วกั น เราก็ ต้ อ งแก้ ไ ขกลไกในส่ ว นกลาง คิดที่จะทำให้คนกระจายอยู่ในชนบท ที่สำคัญก็คือแต่ละเรื่องๆ ในเรื่องการวางแผนภาพรวมของประเทศ การปรับระเบียบ กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องแก้อะไรกันบ้าง เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม ค่าตอบแทนใน รวมทั้ ง การปรั บ หลั ก สู ต รการศึ ก ษาเพื่ อ จะได้ ค นที่ เ หมาะสมกั บ การทำงานในพื้ น ที่ ” การปฏิบัติงาน เหล่านี้ก็จะมีคณะอนุกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ดูแลว่ามีอะไรต้องแก้ไขบ้างและรับไปทำรายละเอียดต่อ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ กล่าว ส่วนของการผลิตบุคลากรด้านสุขภาพในอนาคตควร นอกจากนี้ กิจกรรมหลักๆ ที่จะมีการขับเคลื่อนต่อไป อาทิ การสื่อสารนโยบายและร่วม ออกแบบแนวทางการจัดกลไกการจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ ที่จะต้องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ดูความต้องการในภาพรวมของประเทศ มากกว่าการเปิด สนั บ สนุ น ความเข้ ม แข็ ง การจั ด การกำลั ง คนฯ ระดั บ พื้ น ที่ (ระยะเวลา ส.ค.55-ก.ย.57) เอาใจผู้เรียน “พอมีหมออยากเรียนสาขาไหนเยอะๆ โรงเรียนแพทย์ก็ การกำหนดรูปแบบและพื้นที่ปฏิบัติการนำร่องกลไกการจัดการกำลังคนฯ ที่เหมาะสม (ระยะ เวลา ม.ค.56-ก.ย.57) ขณะที่ในยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตและพัฒนา เปิดมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติเสียโอกาสในการ กำลั ง คนฯ จะเน้ น การศึ ก ษาแนวโน้ ม และคาดการณ์ ค วามต้ อ งการกำลั ง คนที่ ส อดคล้ อ ง ได้แพทย์ที่ขาดแคลน กลไกของคณะกรรมการกำลังคนด้าน กับระบบสุขภาพในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับผลกระทบของการก้าวสู่ AEC (ระยะเวลา สุขภาพพยายามจะทำตรงจุดนี้แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ต.ค.55-ก.ย.56) การผลั ก ดั น หลั ก สู ต รและกระบวนการผลิ ต กำลั ง คนฯ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ สิ่ ง ที่ จ ะทำได้ คื อ เริ่ ม ทำจากหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งมี ค วาม ความต้องการและเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในชนบท (ระยะเวลา ส.ค.55 - ส.ค.56) เป็นต้น สัมพันธ์กัน ฟังซึ่งกันและกัน และตัดสินใจได้ร่วมทำงานให้ เกิ ดขึ้น จริง เเละในอนาคตหวั งไว้ ว่าจะเปลี่ ยนเเปลงในเชิง ของกลไกทางนโยบายและอำนาจตรงนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และ ทำให้ทุกคนต้องปฏิบัติตามสิ่งที่ควรจะเป็นก็น่าจะทำให้ระบบ มองอนาคต ปลดล็อคปัญหา... มันพัฒนาไปได้เร็วขึ้น”

กำลังคนเพียงพอ ไม่กระจุกอยู่ในเมือง

“การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้าน สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ” ในช่ ว งระยะ 5 ปี ต่ อ จากนี้ กำลั ง ส่ ง นพ.พงษ์พิสุทธิ์ ได้กล่าวถึง ความคาดหวังในเรื่องการขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามแผน สัญญาณของการจุดประกายความหวังในการ “ปลดล็อค” ยุทธศาสตร์ในช่วง 5 ปีหลังนับจากนี้ ว่า โดยรวมโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องของการจัดการ ปัญหาทางด้านกำลังคนที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ เพื่อให้ กำลังคนด้านสุขภาพยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะการทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันต้องมา มีกำลังคนที่เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ พร้อมบริการ ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพระดับพื้นที่และประเทศ ทำงานกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น สิ่ ง ที่ ส ำคั ญ คื อ การผลิ ต กำลั ง คนฯ ให้ เ พี ย งพอมี คุ ณ ภาพที่ เ หมาะสมต่ อ ท้ อ งถิ่ น ในอนาคต ที่สำคัญ การกระจายตัวจะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่กระจุกตัวอยู่แต่ในเมือง

HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ

07


เ ส้ น ท า ง สู่ สุ ข ภ า พ ที่ เ ป็ น ธ ร ร ม แ ล ะ ยั่ ง ยื น

“สถาปนิก” รับใช้คนพิการ จากห้องเรียนสู่ “ปฏิบัติการ” ระดับพื้นที่

“ ส้นทางสุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน” ฉบับนี้

เกาะขอบเวทีงานสัมมนาเครือข่ายวิชาการ

สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) “จากแนวคิดสู่นโยบายและการปฏิบัติ” จัดโดย สถาบั น สร้ า งเสริ สุขภาพคนพิการ (สสพ.) เครือ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่ได้ระดม เครือข่ายที่เรียกได้ว่า ทำงาน “ใกล้ชิด” กับคน พิการ รวมถึงผู้สูงวัย มาจากหลากหลายแห่ง ที่ ร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการ ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ “จิ๊ ก ซอว์ ” ชิ้ น สำคั ญ ของการทำงานเพื่ อ คน พิการอย่างหนึ่ง ที่นอกเหนือไปจากงานทางด้าน การบำบั ด ฟื้ น ฟู การมอบเงิ น ช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ เป็ น สวัสดิการแล้ว สิ่งที่เราๆ อาจไม่ค่อยเห็นมากนัก

ก็ คื อ “การออกแบบบ้ า นเพื่ อ คนพิ ก าร” ซึ่ ง

นับเป็นอีกหนึ่งงานท้าทายที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็ม การช่วยเหลือคนพิการในสังคมให้มีความสมบูรณ์ มากยิ่งขึ้น

08

ในที่นี้ขอนำเสนอ รูปธรรมของภาคสถาบันการศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ที่ยื่น “ไมตรี” ของความเป็น “จิตอาสา” ในการรับใช้คนพิการ เพื่อต้องการลดอุปสรรคต่อ การใช้ชีวิตของคนพิการในสังคม และยังเป็นการส่งสัญญาณบอกพื้นที่อื่นๆ ให้รู้บทบาทของตนในการ ช่วยเหลือคนพิการ ภายใต้ศักยภาพที่แตกต่างไปในแต่ละหน่วยงานและแต่ละพื้นที่ อ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตร ศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เกริ่นนำว่า วันนี้หน่วยงานในท้องถิ่นควรจะ มีบทบาทในการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับคนพิการ เพราะ ครอบครัวหรือคนพิการส่วนใหญ่ไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้ ทำให้คนพิการใช้ชีวิตด้วย ความลำบาก หรือแม้แต่ผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนที่มีสภาพไม่เหมาะสม เช่ น อาศั ย อยู่ บ นเรื อ นชั้ น บนก็ อ าจจะพลั ด ตกบั น ได หรื อ ลื่ น ล้ ม ในห้ อ งน้ ำ ทำให้เกิดความพิการได้ ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ ม.มหาสารคาม จึงได้ร่วมกับ สสพ. และ องค์กรปกครองท้องถิ่นใน 3 จังหวัด คือ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และหนองบัวลำภู จัดทำ ‘โครงการ สนับสนุนการออกแบบที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เอื้อกับคนพิการและผู้สูงอายุ’ ขึ้นมาในช่วง ต้นปี 2555 ที่ผ่านมา โดยขั้ น ตอนในการดำเนิ น โครงการนั้ น อ.กตั ญ ญู กล่ า วว่ า ทางคณะวิ จั ย ประกอบด้ ว ยอาจารย์

(สถาปนิก) และนักศึกษาจากคณะสถาปัตย์ และคณะแพทยศาสตร์ ม.มหาสารคาม จะลงพื้นที่เพื่อ ทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการเก็บข้อมูลครัวเรือนผู้พิการ การสำรวจข้อมูลเพื่อออกแบบ เช่น การ ทำผังเส้นทางสัญจรภายในตัวบ้านและนอกบ้าน บริเวณทีเ่ สีย่ งต่อการเกิดอุบตั เิ หตุ ฯลฯ โดยทางเจ้าหน้าทีจ่ าก คณะแพทยศาสตร์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับสภาพร่างกายและการเคลื่อนไหวของคนพิการแต่ละประเภท เพื่อให้สถาปนิกเข้าใจ

HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ


“ในด้านปัญหาความพิการนั้น แต่ละประเทศควรพัฒนานโยบาย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ความพิ ก ารไปจนถึ ง การวางแผนเพื่ อ นำนโยบายไปสู่ การปฏิบัติจริง ฉะนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมใน การนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติทุกขั้นตอนตั้งแต่การพัฒนา การนำ แผนสู่การปฏิบัติ โดยใช้ข้อมูลระบาดวิทยาความพิการ เพื่อให้บริการ ที่ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการที่ แ ท้ จ ริ ง ของคนพิ ก าร เหมาะสมกั บ สถานภาพทางสังคม เศรษฐฐานะ และการเปลี่ยนแปลงอุปสรรคต่างๆ ที่ขัดขวางไม่ให้คนพิการเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน ฉะนั้ น การที่ จ ะนำนโยบายไปสู่ ก ารปฏิ บั ติ ไ ด้ จ ริ ง ทุ ก พื้ น ที่ ค วรรู้ บทบาทและศักยภาพของแต่ละองค์กรในพื้นที่ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในขั้น ตอนใด นอกจากนี้การศึกษาพบว่า องค์กรระดับเขตจะมีศักยภาพใน การนำนโยบายไปปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่องค์กรระดับจังหวัดมี ศักยภาพในการประสานงานกับองค์กรอื่นๆ ในชุมชน และองค์กรคน พิการมีศักยภาพในการค้นหาและสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของ คนพิการในพื้นที่” _________________________ ข้อมูลจากบทคัดย่อจากงานวิจัยในเรื่อง “จากนโยบายสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาจากนโยบายการพัฒนาฐานข้อมูลคนพิการ” โดย ศิรินาถ ตงศิริ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หลังจากได้ข้อมูลมาแล้วก็จะเป็นขั้นตอนการออกแบบให้เหมาะสมกับคน พิการแต่ละครอบครัวแล้ว นำแบบไปให้คนพิการและครอบครัวเสนอความ เห็นเพื่อปรับปรุงแก้ไข จากนั้นจึงเป็นขั้นตอนการปรับปรุงซ่อมแซม โดยมี แรงงานจากอาสาสมัครและครอบครัวของคนพิการมาช่วย เช่น คนพิการที่ใช้ รถเข็นก็อาจจะปรับปรุงพื้นที่ทางเข้าบ้านให้มีทางลาดเหมาะกับรถเข็น ขยาย ประตูห้องน้ำให้กว้างเพื่อให้รถเข็นเข้าได้ มีราวจับพยุงตัวในห้องน้ำ-ในบ้าน หรือคนพิการที่มีห้องน้ำอยู่ห่างจากตัวบ้านก็จะย้ายห้องนอนไปใกล้ห้องน้ำ หรื อ ปรั บ พื้ น ที่ นั่ ง เล่ น ใหม่ ใ ห้ เ ป็ น พื้ น นุ่ ม เพื่ อ ลดบาดแผลจากการเคลื่ อ นไหว ฯลฯ ที่ผ่านมามีนักศึกษาเข้าร่วมในโครงการนี้แล้วประมาณ 60 คน และมีบ้าน คนพิการที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย 3 จังหวัด จำนวน 33 หลัง โดย สสพ. จะ สนับสนุนงบประมาณหลังละ 5,500 บาท ส่วนที่เหลือเป็นงบประมาณจาก ท้องถิ่น เช่น อบจ.,อบต. และหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งเงินบริจาคจากชาวบ้าน “โครงการนี้เป็นกระบวนการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดการที่พักอาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับ

คนพิการให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมให้หน่วยงานมีแผนการดำเนิน งาน มาตรการ การจัดบริการที่พักและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ผู้พิการ โดยจะเน้นการสร้างต้นแบบและพัฒนากลไกการจัดการในระดับท้องถิ่นที่มี ประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีข้ึนของคนพิการและครอบครัว” อ.กตัญญู กล่าว

“สถาปนิ ก เป็ น อาชี พ ที่ รั บ ใช้ ทุ น นิ ย ม มานานแล้ว ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่สถาปนิก จะต้องทำงานรับใช้ประชาชน ทาง ม.นเรศวร จึงมีโครงการได้ให้นักศึกษาคณะสถาปัตย์ ลงไปสำรวจพื้นที่ ดูสภาพบ้าน สภาพความ พิการ แล้วกลับมาสรุปให้เห็นปัญหาสภาพ บ้านเรือนที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของ คนพิ ก าร เพื่ อ จะได้ รู้ ว่ า ความพิ ก ารทางสายตาต้ อ งใช้ ไ ม้ เ ท้ า หรื อ เคลื่อนไหวร่างกายช่วงล่างไม่ได้ต้องนั่งรถวีลแชร์ ควรจะดีไซน์แบบ ออกมาอย่างไร เมื่อเรียนจบออกมาแล้วก็สามารถใช้ความรู้กลับไป ทำงานในท้ อ งถิ่ น เช่ น เป็ น สถาปนิ ก ของ อบต.ก็ ไ ด้ เพราะอบต.

มี ง บประมาณในการสนั บ สนุ น ชุ ม ชน ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งเข้ า ไปทำงานใน เมือง” อ.วิติยา ปิดตังนาโพธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร จ.พิษณุโลก

“หลังจากเสร็จสิ้นโครงการในเดือนกรกฎาคม 2555 นี้แล้ว ก็จะมีการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานระหว่างคนพิการ

ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ เช่น อบต. สถานพยาบาล อาสาสมัคร ฯลฯ เพื่อสร้างเครือข่ายขึ้นมา หวังว่าโครงการนี้จะเป็นโมเดลหรือ เป็นต้นแบบให้หน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่นได้นำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุต่อไป” อ.กตัญญู กล่าว อ.กตัญญู กล่าวในตอนท้ายว่า ขณะนี้ตนกำลังร่างหลักสูตร การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) ซึ่งรวมถึงการออกแบบที่อยู่อาศัยและสภาพ

แวดล้อมให้เหมาะสมต่อคนพิการและผู้สูงอายุด้วย คาดว่าจะเปิดสอนในระดับปริญญาตรีที่ ม.มหาสารคามได้ในปีหน้า นักศึกษาที่จบออกไปก็สามารถนำ

ความรู้ไปทำงานเพื่อสังคมได้

นอกจากคณะสถาปั ต ย์ ม.มหาสารคาม จะมี โ ครงการออกแบบที่ อ ยู่ อ าศั ย และสภาพแวดล้ อ มที่ เ อื้ อ ต่ อ คนพิ ก ารและผู้ สู ง อายุ ดั ง ที่ ก ล่ า วไปแล้ ว มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก และ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงใหม่ ก็ได้ร่วมกับ สสพ. ดำเนินโครงการในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน

HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ

09


ต้ น ก ล้ า ค ว า ม รู้ สู่ ต้ น แ บ บ สุ ข ภ า พ

ภาคท้องถิ่นยุคใหม่ อบต.ดอนแก้ว กับภารกิจ เพื่อ “ผู้พิการ-ผู้สูงวัย”

น้ำ

ไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก” ได้กลายเป็นวิสัยทัศน์ของ อบต. ในยุคเก่าๆ

ซึ่ง อบต. ยุคใหม่ช่วงหลังมานี้ มีมุมมองกับความสนใจโดยให้ความ

สำคัญกับการพัฒนาในมิติทางสังคมเเละสุขภาพมากขึ้น ซึ่ง “ต้นกล้า ความรู้ สู่ ต้ น แบบสุ ข ภาพ” ฉบั บ นี้ ได้ มี โ อกาสเกาะติ ด กระแสการประชุ ม สั ม มนาเครื อ ข่ า ย วิชาการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) “จากแนวคิดสู่นโยบายและการปฏิบัติ” ซึ่งเป็นพื้นที่ของการเเลกเปลี่ยนความรู้ เเละนำเราให้ไปพบกับต้นแบบจากเมืองเหนือ คือ อบต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ภาคท้องถิ่นยุคใหม่ที่มีบทบาทในการส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุในชุมชน ส่วนการทำงานจะเป็นอย่างไรนั้น “นพดล ณ เชียงใหม่” นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว จะมาฉายภาพให้เรารู้จัก อบต.ดอนแก้ว ให้มากขึ้น “จากการสำรวจข้อมูลในตำบล พบว่าผู้พิการและผู้สูงอายุส่วน ใหญ่มีฐานะยากจน บ้านเรือนมีสภาพทรุดโทรมผุพัง บางครอบครัว ต้องออกไปทำงานนอกบ้านจึงต้องปล่อยให้ผ้พู ิการอยู่บ้านตามลำพัง ขณะเดียวกันครอบครัวก็ไม่มีความรู้ในการดูแลผู้พิการ ทำให้ผู้ พิการใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก ขาดคนดูแล บ้างก็ถูกทอดทิ้ง” นี่คือปัญหาของพื้นที่ที่ นพดล เริ่มเล่าให้ฟัง ตนในฐานะที่เป็นนายกฯ อบต.จึงต้องให้ความช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุเหล่านี้ เพราะถือว่าเป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคม และเมื่อ อบต.ดอนแก้วรับการถ่ายโอนสถานีอนามัย มาบริหารจัดการในปี 2551 แล้ว อบต. จึงได้ออก ‘ข้อบัญญัติเรื่องการดูแลช่วยเหลือคน พิการและผู้สูงอายุ’ เพื่อเป็นหลักประกันว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร อบต.ในอนาคต แต่ข้อบัญญัติของ อบต.เรื่องการช่วยเหลือผู้พิการฯ ก็จะคงอยู่ และผู้บริหารชุดใหม่ก็จะต้อง ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินั้น

10

HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ


สาระสำคัญของข้อบัญญัติเรื่องการดูแลช่วยเหลือคนพิการ และผู้สูงอายุของ อบต.ดอนแก้ว คือ การจัดให้มีกองทุนเพื่อ ช่วยเหลือผู้พิการฯ ทั้งเรื่องการส่งเสริมอาชีพ ความรู้ การให้ กู้ยืมเงินไปประกอบอาชีพ การซ่อมแซมบ้านเรือนให้เหมาะสม แก่สภาพของคนพิการและผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม กองทุนนี้ ไม่ได้กำหนดเอาไว้ตายตัวว่าแต่ละปี อบต.จะสมทบงบประมาณ จำนวนเท่ า ไหร่ ขึ้ น อยู่ กั บ แผนงานและความต้ อ งการของ

ผู้พิการ ที่ผ่านมามีผู้ที่ใจบุญร่วมบริจาคเงินเข้ากองทุนด้วย “เราจะมีการสำรวจและสอบถามความต้องการของผู้ พิ ก ารก่ อ นว่ า มี ค วามต้ อ งการหรื อ อยากจะได้ รั บ การ สนับสนุนในเรื่องใด โดยไม่ไปยัดเยียดที่จะต้องช่วยเหลือ บางคนอยากจะทำอาหารขาย หรืออยากจะเย็บผ้าเพื่อหา รายได้ ก็ จ ะหาผู้ เ ชี่ ย วชาญมาสอน จากนั้ น ให้ กู้ ยื ม เงิ น ไป เป็นทุนประกอบอาชีพ รายละไม่เกิน 10,000 บาท บางคน ก่อนจะพิการมีความรู้เรื่องการซ่อมคอมพิวเตอร์มาก่อน เราก็ให้ยืมเงินไปเปิดร้านซ่อมคอมฯ ที่ผ่านมา อบต.ได้ให้ คนพิ ก ารกู้ ยื ม เงิ น ไปประกอบอาชี พ แล้ ว กว่ า 10 ราย”

จากนั้นจึงจะให้ช่างและชาวบ้านช่วยกันลงแรงปรับปรุงซ่อมแซมสภาพบ้านเรือนและที่อยู่ อาศัยให้เหมาะสม ตรงกับความต้องการของคนพิการและครอบครัว เช่น คนพิการที่ใช้รถเข็น อาจมีการจัดทำทางลาดภายในบริเวณบ้านเพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก ทำประตูห้องน้ำให้ กว้างเพื่อให้รถเข็นเข้าไปได้ ทำราวพยุงตัว ปูพื้นห้องน้ำเพื่อกันลื่น ฯลฯ ซึ่งที่ผ่านมา อบต.ได้ ช่วยปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนพิการและผู้สูงอายุไปแล้วจำนวน 10 หลัง นอกจากนี้ในพื้นที่สาธารณะ เช่น วัด สุสาน ก็ได้จัดทำห้องน้ำสำหรับคนพิการ

เพื่อให้คนพิการออกมาใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปได้ เพราะคนพิการส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่อง

การขับถ่าย และห้องน้ำสาธารณะที่มีอยู่ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำเผื่อคนพิการ เช่น ประตูห้องน้ำแคบ รถเข็นเข้าไม่ได้ ไม่มีราวจับช่วยพยุงตัว ส่วนการดูแลผู้สูงอายุนั้น อบต.ได้ส่งอาสาสมัครไปเยี่ยมผู้สูงอายุสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ให้

คำแนะนำในเรื่องสุขภาพ เช่น ไม่ควรกินอาหารรสเค็ม อาหารหวานมันมากเกินไป ไม่สูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้า เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไต เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แล้วชวนผู้สูงอายุมาออกกำลังกายทุกวันอังคารและพฤหัส เป็นการเสริมสร้างสุขภาพให้แข็ง แรง เพราะหากผู้สูงอายุเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมาก็มีโอกาสเสี่ยงต่อความพิการที่จะตามมา ปัจจุบันในตำบลดอนแก้วมีผู้พิการทุกประเภท รวมกันประมาณ 130 คน นายก อบต.

ดอนแก้ว บอกว่า ก่อนหน้านี้ไม่นานจำนวนคนพิการทั้งตำบลมีอยู่ประมาณ 70 คนเท่านั้น

แต่เมื่อ อบต.ดอนแก้ว ได้ให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง จึงทำให้คนพิการจากนอกตำบลย้ายเข้ามาอยู่ที่ดอนแก้วเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแต่การฟื้นฟูสมรรถภาพและการช่วยเหลือผู้พิการ อบต.ดอนแก้ว ยังมีแผนงาน สำคัญในการป้องกันไม่ให้มีผู้พิการ นพดล บอกว่า ปัจจุบัน อบต. มี ‘ศูนย์พัฒนาครอบครัว’ อยู่แล้ว ดังนั้นตนจึงมีเป้าหมายที่จะใช้ศูนย์พัฒนาครอบครัวเป็นศูนย์ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ หนุ่มสาวในตำบลที่กำลังจะมีครอบครัวหรืออยู่ในวัยเจริญพันธุ์ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมี ครอบครัว เพราะหากมีการตัง้ ครรภ์ในสภาวะทีไ่ ม่พร้อม เช่น แม่ยงั เป็นวัยรุน่ หรือมีโรคประจำตัว บุตรที่คลอดออกมาก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะพิการ “เรามีแผนงานที่จะส่งเจ้าหน้าที่อนามัยของเราไปฝึกอบรมหรือร่วมมือกับหน่วยงาน อื่นๆ เพื่อจัดเก็บข้อมูลคนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ในตำบลย้อนหลังไปถึงครอบครัวว่า ครอบครัว ใดเคยมีใครเจ็บป่วยด้วยโรคที่ติดต่อทางพันธุกรรมบ้าง หรือเคยเป็นโรคที่อาจจะทำให้เกิด ความพิการได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางสายตา เพื่อให้ความรู้แก่คนที่ กำลังจะมีครอบครัว จะได้หาทางป้องกันไม่ให้ตนเองและครอบครัวเป็นโรคต่างๆ ที่มีความ เสี่ยงต่อความพิการที่จะตามมา”

นายก อบต.ดอนแก้ว ยกตัวอย่างความช่วยเหลือ นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้ง ‘ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคน พิการและผู้สูงอายุ’ ขึ้นมา โดยใช้สถานที่ของสำนักสงฆ์ใน ตำบลเป็นที่ทำการ มีการทำกายภาพบำบัดให้แก่คนพิการ และผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ใช้วัสดุในท้องถิ่นมาทำ เป็นอุปกรณ์ในการออกกำลังกล้ามเนื้อและทำกายภาพบำบัด รวมทั้งการนวดแผนไทยและกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพให้ แก่คนพิการทางปัญญา เช่น การเย็บตุ๊กตาดับกลิ่น ฯลฯ กิ จ กรรมสำคั ญอีกอย่างหนึ่งในการฟื้นฟูสมรรถภาพคน พิการในตำบลดอนแก้ว คือ การเปิดรับอาสาสมัครเพือ่ ช่วยเหลือ ดูแลคนพิการ ปัจจุบันมีอาสาสมัครในตำบลดอนแก้วประมาณ 30 คน อาสาสมัครเหล่านี้จะได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ ในการดู แ ลคนพิ ก ารและผู้ สู ง อายุ จากนั้ น อาสาสมั ค รก็ จ ะ ออกไปเยี่ยมบ้านสัปดาห์ละ 2 วัน ช่วยสอนญาติหรือคนใน ครอบครัวให้ดูแลคนพิการอย่างถูกต้อง และช่วยนำคนพิการ ออกมาทำกายภาพบำบัด มาร่วมกิจกรรมสันทนาการที่ศูนย์ ฟื้นฟูฯ เพื่อให้คลายเหงา หรือช่วยฟื้นฟูจิตใจให้แจ่มใส ไม่ต้อง เก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ส่วนการช่วยซ่อมแซมหรือปรับปรุงบ้านเรือนให้เหมาะสม กั บ สภาพการใช้ ชี วิ ต ของคนพิ ก ารและผู้ สู ง อายุ นั้ น นายก อบต.ดอนแก้วบอกว่า จะมีทีมงานของ อบต.ซึ่งประกอบไป ด้วยเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย อสม. และเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างออก ไปสำรวจสภาพบ้านเรือน ดูสภาพความเป็นอยู่ ความเดือดร้อน ของผู้พิการและผู้สูงอายุ และตรวจดูบริเวณพื้นที่ที่อาจจะเกิด อันตราย เช่น ในห้องน้ำ เพราะหากพื้นห้องน้ำลื่น ผู้สูงอายุ

นี่คือบทบาทของ อบต.ยุคใหม่ ซึ่งไม่ได้ทำงานเฉพาะการบริการสาธารณูปโภค ก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้และเสี่ยงต่อความพิการที่จะ พื้นฐานแบบ “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก” อีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นแบบอย่างในการ เกิดขึ้นตามมา ขยายบริการด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน รวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถภาพของ ผู้พิการและผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ

11


แ ก ะ ก ล่ อ ง ง า น ว ิจ ัย

โชว์ 2 ผลงาน R2R ดีเด่น

ระบบยาคุณภาพ ด้วย IT และไอติมเกลือแร่แช่แข็ง !!

คอลัมน์ “แกะกล่องงานวิจัย” ฉบับเดือนสิงหาคม ขอแนะนำ 2 ผลงานวิจัยดีเด่น จากการประกวดรางวัล R2R (Routine to Research) ครั้งที่ 5 ประจำปี 2555 ภายใต้แนวคิด “วิถี R2R : เรียบง่าย คุณภาพ ครบวงจร” การันตีว่า “ผลงานประจำสู่งานวิจัย” ที่ HSRI FORUM นำมาเสนอในฉบับนี้ จะต้องถูกกด “Like” อย่างแน่นอน !!

“ระบบยาคุณภาพ” ทำง่ายๆ ด้วยระบบ IT

ฉบับนี้ขอเริ่มต้นผลงานวิจัยประเภทงานสนับสนุนบริการและบริหาร เรื่อง

“ระบบยาคุณภาพที่เรียบง่ายด้วย IT ในการบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาล พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด” โดยภาสกร รัตนเดชกุล อดิศร วัฒนวงษ์สงิ ห์ จันทร์จารึก

รัตนเดชสกุล พัสรี ศรีอุดร ณัฐวุฒิ ผดุงไสย์ และศุภชาติ สมมาตย์ ภก.ภาสกร รั ต นเดชกุ ล หั ว หน้ า ฝ่ า ย เภสัชกรรมชุมชน รพ.พนมไพร นักวิจัยหลัก เกริ่น นำว่ า นโยบายความปลอดภั ย ด้ า นยา เช่ น Medication Reconciliation (MR) และการตรวจ สอบการแพ้ยา เป็นนโยบายทีท่ างโรงพยาบาลปฎิบตั ิ มาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติยังถือว่า อยู่ในระดับไม่มาก โดยในปี 2552 พบว่ามีการ ปฏิบัติกันเพียงร้อยละ 62 โดยเฉพาะกระบวนการทำ MR มีน้อยที่สุด เนื่องจาก ภาระงาน ระบบข้อมูลที่ไม่ไวพอ และการทำงานที่ซ้ำซ้อน โดยเฉพาะการคัด ลอกรายการยาในแบบฟอร์ม MR ที่ยังต้องใช้มือเขียน ทำให้เกิดความล่าช้า และคลาดเคลื่อนได้ “งานวิจัย R2R ชิ้นนี้เกิดจากแนวคิดที่ว่า การให้บริการผู้ป่วยด้านยามี เป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาที่ถูกต้อง ปลอดภัย และรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องมี ระบบดักจับปัญหาที่ดี และมีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จะช่วยป้องกัน ความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication Error : ME) ลดความซ้ำซ้อน ลดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยด้านยาได้” เพื่อแก้ปัญหาจากงานประจำ ทีมงานวิจัยได้ประชุมกำหนดแผนงานการ วิจัย มีการจัดเก็บข้อมูลการให้บริการด้านยาแก่ผู้ป่วยใน แบบฟอร์มที่ใช้ใน การบริการด้านยา, ปัญหาและข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาของผู้ป่วยใน

12

HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ

จากระบบเดิม ที่ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 - พฤษภาคม 2554 เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ หาแนวทางแก้ไข ด้วยการออกแบบระบบรายงาน ใหม่ให้รองรับการทำงานตามนโยบายความปลอดภัยด้านยา โดยนำโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ‘HOSxP’ (โปรแกรมสำหรับใช้ในสถานบริการทางสาธารณสุข ทั่วไป ที่ช่วยสนับสนุนงานระบบเวชระเบียน ระบบผู้ป่วยใน ระบบห้องจ่ายยา) มาใช้ และเขียนโปรแกรมใหม่ขึ้นมาเพื่อให้รองรับกับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ จากนั้นจึงติดตั้งโปรแกรมฝึกสอนเจ้าหน้าที่ให้ใช้งาน และทดสอบระบบ ซึ่ ง ใช้ ร ะยะเวลาตั้ ง แต่ เ ดื อ นสิ ง หาคม 2554-มกราคม 2555 ผลการศึ ก ษา เปรียบเทียบพบว่า ระบบเดิมมีการดำเนินงานไม่ครบถ้วน เช่น การจัดทำ แบบฟอร์ม MR และทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในเรื่องความต่อเนื่องการรับ ยาของผู้ป่วย ส่วนระบบใหม่หลังจากนำโปรแกรม ‘HOSxP’ มาใช้ พบว่า มีการปฏิบัติ ตามนโยบายความปลอดภัยทางยาจากเดิม 62% เป็น 100% ช่วยลดระยะ เวลาให้บริการ เจ้าหน้าที่เกิดความพึงพอใจ สามารถพิมพ์ใบ MR โดยอัตโนมัติ แสดงรายการยาโรคเรื้อรังจากโปรแกรม HOSxP ย้อนหลังได้ถึง 200 วันเพื่อ ตรวจสอบความถูกต้อง สามารถดักจับและพบความคลาดเคลื่อนทางยา (ME) จาก 1.65 เป็น 2.84 ต่อ 1,000 วันนอน นอกจากนี้ ใบ Drug Profile รวมกับใบ Medication Administration Record เพื่ อ ตรวจสอบการบริ ห ารยาร่ ว มกั น ระหว่ า งเภสั ช กรกั บ พยาบาล

มีสัญลักษณ์เตือนข้อมูลที่ควรทราบ และเฝ้าระวังความปลอดภัย เช่น ยาที่ไม่ ควรใช้ในผูส้ งู อายุ ผูป้ ว่ ยโรคไตทีต่ อ้ งปรับขนาดยาหรือสงสัยการแพ้ยา ใบนัดหมาย รวมกับใบ Home MED ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลจากทีมบริการเมื่อมาตาม นัดได้อย่างต่อเนื่อง และมีสัญลักษณ์เปลี่ยนแปลงการใช้ยา ฯลฯ


สำหรับการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำนั้น ทำให้เกิดประโยชน์หลายด้าน เช่น 1.ผู้ป่วยในได้รับบริการด้านยาที่ปลอดภัย ถูกต้อง และรวดเร็ว 2.มีระบบรายงานที่ตอบสนองต่อการบริการด้านยาตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่าย และมีการเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยาเชิงรุกมากขึ้น 3.ลดภาระงาน

ด้ า นเวลาและความซ้ ำ ซ้ อ น 4.เกิ ด ระบบเชื่ อ มโยงที่ เ รี ย บง่ า ย แต่ ส ามารถทำงานร่ ว มกั น ในที ม สหสาขาวิ ช าชี พ และบุ ค ลากรตระหนั ก ในการใช้ ย าเพิ่ ม ขึ้ น

5.หน่วยงานอื่นได้นำระบบรายงานไปใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน ปัจจุบัน รพ.พนมไพร ยังได้นำโปรแกรม HOSxP ไปช่วยสนับสนุนโรงพยาบาลอีก 4 แห่งใน จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งพบว่ามีผลดีเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการลดขั้นตอน ลดเวลา ลดความคลาดเคลื่อน เพราะเมื่อก่อนต้องเขียนรายงาน เขียนแบบฟอร์ม ใช้เวลามาก ฉะนั้น แค่คลิ๊กเม้าส์ ข้อมูลก็ไหลออกมาแล้ว !!

“ไอติมเกลือแร่” แช่แข็ง !! แก้ภาวะเด็กขาดน้ำจากท้องร่วง

ผลงานวิจัย R2R ดีเด่นระดับตติยภูมิ เรื่อง “ปริมาณของ ORS ที่ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะ ขาดน้ำรับได้ เปรียบเทียบระหว่างการให้ในรูปแบบของสารละลายและแบบแช่แข็ง” โดย

จุติรัตน์ มากมิ่งจวน ปริศนา วานิช และวัชรีย์ แสงมณี ฝ่ายการพยาบาล หอผู้ป่วยเด็ก 1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จุติรัตน์ มากมิ่งจวน พยาบาลชำนาญการ นักวิจัยหลัก กล่าวว่า แนวคิดงานวิจัยเรื่องนี้ มาจากงานประจำในหอผู้ป่วยเด็ก มีการเก็บข้อมูลเด็กที่ป่วยด้วย โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ในปี 2548 จำนวน 20 ราย โดยให้ผู้ ป่วย 10 รายแรกรับประทาน ORS (Oral Rehydration Salts) หรื อ ‘ผงน้ ำ ตาลเกลื อ แร่ ’ แบบสารละลาย และอี ก 10 ราย รับประทาน ORS แบบแช่แข็งโดยไม่จำกัดเวลา เพื่อรักษาภาวะ ร่างกายขาดน้ำอันเนื่องมาจากโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน จากการศึ ก ษาในครั้ ง นั้ น พบว่ า ผู้ ป่ ว ยส่ ว นใหญ่ ไ ม่ ย อมรั บ ประทาน ORS ด้วยการป้อนด้วยช้อน แต่เมื่อใส่ขวดนมให้ดูดก็จะดูดหมดอย่างรวดเร็ว เพราะ เด็กเหล่านี้จะกระหายน้ำ แต่การรับประทาน ORS อย่างรวดเร็วจะทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูด ซึมได้ทัน ทำให้การรักษาไม่เป็นไปตามแผนของแพทย์ จึงต้องให้สารละลาย ORS ทางหลอด เลือดดำนานขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องเจ็บตัวจากการแทงเข็มอีกหลายครั้ง ทีมงานจึงได้คิดค้นพัฒนาการผลิต ORS แบบแช่แข็ง ให้มีลักษณะเหมือน ‘ไอติมแท่ง’

และพบว่าผู้ป่วยรับประทาน ORS แบบแช่แข็งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17.1 เป็นร้อยละ 79.35 อย่ า งไรก็ ต าม การศึกษาในครั้งนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ ไ ม่ ไ ด้ มี ก ารเปรี ย บเที ย บปริ ม าณ ORS

ทั้ง 2 รูปแบบในเวลาที่เท่ากัน และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจาก ORS แบบแช่แข็ง รวมทั้ง ความพึงพอใจของผู้ปกครอง สำหรับงานวิจัยครั้งล่าสุดนี้ เป็นการศึกษาแบบ Randomized Controlled Trial (RCT)

ในผู้ป่วยเด็กอายุระหว่าง 1-12 ปีที่พักรักษาตัวอยู่ใน รพ.สงขลานครินทร์ ด้วยโรคอุจจาระร่วง เฉียบพลัน ระหว่างเดือนธันวาคม 2553- กรกฎาคม 2554 จำนวน 30 ราย ซึ่งผู้ป่วย

ทุกรายมีภาวะการขาดน้ำระดับน้อยและปานกลาง แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 15 ราย กลุ่มแรกให้รับประทาน ORS แบบสารละลาย และกลุ่มหลังให้รับประทาน ORS แบบแช่แข็ง ซึ่งใส่สีและเติมกลิ่นเหมือนกับไอติม 1 แท่ง ( 80 มล.)

ผู้ ป่ ว ยทั้ ง 2 กลุ่ ม รั บ ประทาน ORS ทั้ ง 2 รู ป แบบตาม ปริมาณแผนการรักษาของแพทย์และมาตรฐานขององค์การ อนามัยโลก โดยมีแพทย์ท่ีใช้ทุนระดับ 2 ปีข้ึนไปเป็นผู้ประเมิน ภาวะการขาดน้ำของผู้ป่วยและปริมาณ ORS ที่ผู้ป่วยสมควร ได้รับตามเกณฑ์มาตรฐาน ใช้สถิติ Student’s t-test สำหรับ เปรียบเทียบปริมาณความแตกต่างของ ORS ทั้ง 2 ชนิดที่

ผู้ป่วยได้รับ และ chi-square test สำหรับเปรียบเทียบความ พึงพอใจของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม และปริมาณ ORS ที่ผู้ป่วยรับ ได้ อย่างน้อยร้อยละ 80 ของปริมาณที่ควรได้รับตามเกณฑ์ มาตรฐานในเวลา 30 นาที กำหนดค่า p<0.05 ผลการศึกษาพบว่า ในเวลา 30 นาที ผู้ป่วยที่รับประทาน ORS แบบแช่แข็งในปริมาณเฉลี่ย 66.8 มล. มากกว่าผู้ป่วยที่ รับประทาน ORS แบบสารละลายในปริมาณเฉลี่ย 39.8 มล. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.023) ไม่พบอาการข้างเคียง จากการรั บ ประทาน ORS แบบแช่ แ ข็ ง ผู้ ป กครองยอมรั บ ORS แบบแช่แข็งมากกว่าแบบสารละลาย โดยพบความพึง พอใจแบบแช่แข็งร้อยละ 86.7 และแบบสารละลายร้อยละ 40 การศึกษาครัง้ นีย้ งั พบว่า เด็กๆ จะชอบ ORS ทีเ่ หมือนกับไอติม จึงต้องมีการแต่งสี แต่งกลิ่นให้ออกมาเป็นรสส้ม สตรอเบอร์รี่ องุ่น เมลโล ฯลฯ ซึ่งหากเด็กมีอาการไม่หนัก ผู้ปกครองก็ สามารถทำเองที่บ้านได้ โดยมีรายละเอียดระบุไว้ข้างซอง

“การดื่ม ORS แบบสารละลายบางครั้งเด็กก็จะอาเจียน เพราะรสชาติที่เฝื่อน แต่เมื่อแต่งสี เติมกลิ่น เด็กก็จะดูด หรือกัดแทะได้เรื่อยๆ ซึ่งก็จะมีผลดี เพราะทำให้สารละลาย ORS ค่อยๆ ซึมเข้าสู่ลำไส้ ทำให้การรักษาเป็นไปตามแผน ของแพทย์ และช่ ว ยรั ก ษาภาวะการขาดน้ ำ ในเด็ ก ที่ ป่ ว ย ด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน”

ปัจจุบัน รพ.สุไหง-โกลก และ รพ.พัทลุง ได้นำแนวคิด ‘ไอติมเกลือแร่’ ไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะร่างกายขาดน้ำจากโรคอุจจาระร่วง ทั้งยังนำไปใช้กับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ไข้ออกผื่น รวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีอาการเยื่อบุลำคออักเสบจากการฉายแสงได้ เพราะหากรับประทาน ORS แบบสารละลายก็อาจจะทำให้มีอาการเจ็บคอ จึงต้องให้ผู้ป่วยค่อยๆ กัดแทะไอติมเกลือแร่ HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ

13


เกาะกระแส สวรส.

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว ประจำเดือนกรกฎาคม 2555

องคมนตรี แนะถอดบทเรียนวิจัย R2R สนับสนุนสร้างผลงาน สู่ “นวัตกรรมใหม่”

ระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สถาบัน วิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล และภาคีเครือข่าย R2R จัดงานประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ “จากงานประจำสู่งานวิจัย” (R2R) ครั้งที่ 5 ประจำปี 2555 ภายใต้แนวคิด “วิถี R2R : เรียบง่าย คุณภาพ ครบวงจร” ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรัม่ เมืองทองธานี มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,700 คน โดยใน พิธีเปิดได้รับเกียรติจาก นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน สำหรับไฮไลท์ในงานทั้ง 3 วัน นอกจากจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำเสนอผลงานวิจัย R2R แล้ว ยังมีปาฐกถาพิเศษจาก ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี โดยกล่าวถึง งานวิจัย R2R ที่ สวรส. ได้ผลักดันมาตลอด 5 ปีว่า สามารถช่วยสนับสนุนงานด้านสาธารณสุขได้อย่างมากมาย เพราะเป็นกระบวน การพัฒนาข้อมูลจากงานประจำ ผ่านกลไก กระบวน การคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือ งาน R2R ของบุ ค ลากรทางด้านสาธารณสุขทุกผลงานนั้นมี คุ ณ ค่ า ช่ ว ยเสริ มการทำงานให้ มีคุ ณ ภาพดี ทำให้คนทำงานสาธารณสุขสบายใจขึ้น คนรับบริการก็มีความสุข “งานวิจัย R2R จึงมีคุณค่าที่สอดคล้องกับหลักธรรมว่า ‘พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย’ ที่มุ่งทำในสิ่งที่เป็น ประโยชน์ และเป็นความสุขของประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ผ้ปู ฏิบัติงานเหล่านี้จะทำให้เกิดระบบสาธารณสุขที่ เป็นปึกแผ่นที่เข้มแข็งมากขึ้น” ศ.นพ.เกษม กล่าวด้วยว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปีของการจัด R2R มีผลงานที่มากพอสำหรับการถอด บทเรียน โดยเสนอให้มีคณะกรรมการ 1 ชุด เพื่อทำการประเมินสรุปหาคุณค่าว่ามีอะไรที่ควรพัฒนาเป็น ประโยชน์ หรือยังต้องปรับปรุง เพื่อรวบรวมมาทำให้เกิดการใช้งาน R2R ในวงกว้างกับระบบสาธารณสุข แพทย์ พยาบาล เภสัช ประชาชน รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะที่ปัจจุบันภาคการศึกษาถือว่า เข้ามามีบทบาทในเรื่องงานวิจัย R2R ยังไม่มากพอ ฉะนั้นจะต้องมาช่วยกันคิดต่อว่าจะทำอย่างไรให้แต่ละ สถาบัน โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรีนำเรื่องนี้บรรจุไว้ในการเรียนการสอน เชื่อว่าจะทำให้เกิดประโยชน์ อย่างมหาศาลในอนาคต รวมไปถึงการดึงโรงพยาบาล หน่วยงานสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามี ส่วนร่วม เพื่อขยายเครือข่าย R2R ซึ่งถือว่าเป็นโจทย์ที่สำคัญ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผอ.สวรส. กล่าวว่า ทิศทางการพัฒนางานวิจัย R2R ในอนาคต ต้องการให้งานวิจัย R2R กับการเรียนรู้ในองค์กรเป็นเรื่องเดียวกันและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และทำให้ งาน R2R เข้ามาแทนวัฒนธรรมเชิงอำนาจ นอกจากนี้จะต้องยกระดับเครือข่าย R2R ที่มีกว่า 10 แห่งทั่ว ประเทศ ให้มีบทบาทในการขับเคลื่อนสนับสนุนงานที่ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงการผลักดันให้เกิดผลงานวิจัย R2R ให้เป็นเครื่องมือที่เรียกว่า “นวัตกรรม ใหม่” คือไม่ได้วิจัยเฉพาะเรื่องเดียวที่เป็น งานชิ้ น เล็ ก ๆ แต่ ส ามารถที่ จ ะบู ร ณาการ เชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ไม่ใช่หน่วย งานด้ า นสุ ข ภาพเท่ า นั้ น เช่ น เพื่ อ รองรั บ ปัญหาวิกฤติหรือภัยธรรมชาติร่วมกับหน่วย งานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ เป็นต้น

14

HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ

สสพ. จัดสัมมนาเครือข่ายวิชาการ “จากแนวคิดสู่นโยบายและการปฏิบัติ”

เมื่อวันที่ 16-17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สถาบันสร้างเสริมสุขภาพ คนพิการ (สสพ.) เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดงาน สัมมนาเครือข่ายวิชาการภายใต้หัวข้อ “จากแนวคิดสู่นโยบาย และการปฏิบัติ” ณ โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี เพื่อนำเสนอผล งานวิจัย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ โดยได้รับเกียรติจาก นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธาน คณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 2 สสส. เป็นประธานเปิดงาน รูปแบบงานวันแรกเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยใน 3 ประเด็น คือ ประเด็นการพัฒนาข้อมูลด้านความสามารถโดยใช้กรอบ แนวคิด ICF (The International Classification of Functioning, Disability and Health) ประเด็นการพัฒนาเครื่องมือและ

รูปแบบการจัดบริการด้านสุขภาพคนพิการ และประเด็น นโยบายสาธารณะที่เข้าใจคนพิการ เช่น การประเมินแบบทด สอบการได้ ยิ น 5 นาที ฉ บั บ ภาษาไทยในการคั ด กรองการได้ ยิ น ใน ชุมชน โดย รศ.พญ.ขวัญชนก ยิ้มแต้ คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น การพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย ระยะกึ่ ง เฉี ย บพลั น และไม่ เ ฉี ย บพลั น โดย ดร.อรทั ย เขี ย วเจริ ญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ส่วนในวันสุดท้าย มีการเสวนาเรื่อง ‘บทบาทของหน่วยงาน ท้องถิ่นต่อการนำนโยบายการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการใช้ชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุสู่การปฏิบัติได้ จริง’ นำเสนอรูปธรรมจากพื้นที่ที่มีการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ คนพิการและผู้สูงอายุ เช่น ที่เชียงใหม่ กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม พร้อมชูบทบาทท้องถิ่นเป็นกลไกในการดูแลและพัฒนาศักยภาพคน พิ ก าร จากนั้ น เป็ น การเปิ ด เวที ร ะดมความคิ ด เห็ น ต่ อ ข้ อ เสนอและ ทิศทางการวิจัย พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพ คนพิการ (สสพ.) กล่าวว่า การสัมมนาทั้ง 2 วันได้ข้อมูลทางวิชาการ ที่มีประโยชน์ เช่น การเสนอให้คนพิการมีส่วนร่วมในการวิจัย การ เสนอให้นำข้อมูล ICF ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือทำให้นักการเมือง ท้องถิ่นเข้าใจง่าย เพื่อจะได้นำฐานข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อคน พิการ ข้อเสนอให้ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทในการดูแลและสร้างเสริม ศักยภาพของคนพิการและผู้สูงอายุ ฯลฯ แนวคิดและข้อเสนอต่างๆ จะได้นำมาใช้ในการวางกรอบยุทธศาสตร์การทำงานเพื่อขับเคลื่อนสู่ นโยบายและการปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของ สสพ. ต่อไป


สวรส. ลงนามร่วมมือกับ วช. ยกเครื่องงานวิจัยระบบสุขภาพ

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ ได้มีการ

ลงนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ “เพื่ อ พั ฒ นาและดำเนิ น งานยุทธศาสตร์การวิจัยด้านสุขภาพ และชีวเวชศาสตร์” ระหว่ า งสถาบั น วิ จั ย ระบบสาธารณสุ ข (สวรส.) กั บ สำนั ก งาน

คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นพ.สุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ รั ฐ มนตรี ช่ ว ยว่ า การกระทรวง สาธารณสุข กล่าวว่า นับเป็นโอกาสที่ดีที่หน่วยงานด้านการวิจัยระดับ ชาติ คือ สวรส. และ วช. จะได้จับมือร่วมกันทำงานอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาสุขภาพของประเทศ รองรับปัญหาและความ ท้าทายใหม่ด้านสุขภาพในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด โรคติดเชื้อ อุบัติใหม่ อุบัติซ้ำที่ไม่สามารถคาดเดาได้ โรคเรื้อรัง ความรุนแรง ของภัยพิบัติ กลายเป็นความท้าทายที่ต้องการบริการสุขภาพและการ จัดบริการที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น “กระทรวงฯ พร้อมให้การสนับสนุนเต็มที่ ภายใต้การใช้ความรู้ จากงานวิจัยเป็นเข็มทิศสำคัญในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู และควบคุมโรคต่างๆ ให้มีคุณภาพ” รมช.สธ. กล่าว ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า การวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ และ

ชีวเวชศาสตร์ มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ จึงจำเป็นต้อง อาศัยกลไกการบริหารจัดการและดำเนินงานที่เป็นระบบ วช. จึงร่วม กับ สวรส. พัฒนาระบบวิจัยด้านสุขภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด เน้น การใช้องค์ความรู้เป็นฐานในการพัฒนาข้อเสนอให้กับฝ่ายนโยบาย ตลอดจนการบู ร ณาการงานให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพ ลดความซ้ ำ ซ้ อ น โดยบันทึกข้อตกลงนี้มีระยะเวลาความร่วมมือ 3 ปี โดย วช. พร้อม จัดสรรงบเพิ่มหากมีความจำเป็น นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า บทบาทของ สวรส. ภายใต้ข้อตกลง ความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นกลไกกลางในการบริหารนโยบายวิจัยด้าน สุขภาพ และบริหารจัดการเพื่อให้เกิดงานวิจัยที่คุ้มค่ากับการลงทุน สร้ า งผลกระทบระดั บ สู ง โดยกำหนดประเด็ น วิ จั ย ทั้ ง ในระยะสั้ น กลาง และยาว ตลอดจนรวบรวมข้อมูลด้านการวิจัยสุขภาพจนเกิด เป็นคลังข้อมูลที่พร้อมสำหรับการพัฒนาและแก้ปัญหาระบบสุขภาพ ของประเทศ โดยจะมีการทำงานเชื่อมประสานกับ วช. และภาคีที่ เกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

สวปก.จัดประชุมชี้แจงนโยบาย พัฒนาระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล ขรก.

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพ ไทย (สวปก.) เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดประชุมชี้แจงนโยบายและแนวทางการ ดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการปีงบประมาณ 2555 ที่โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้บริหารโรงพยาบาล ตัวแทนหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประชุมประมาณ 500 คน งานนี้ได้รับเกียรติจาก นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธานเปิดการ ประชุม พร้อมมอบเกียรติบัตรให้แก่ผ้บู ริหารโรงพยาบาลนำร่องจำนวน 34 แห่งทีส่ ง่ ข้อมูลใบสัง่ ยาอิเล็กทรอนิกส์ เพือ่ ประกอบการเบิกค่ายา จากนัน้ เป็นการอภิปรายในหัวข้อ ‘การดำเนินตามนโยบายส่งเสริมและ กำกับการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและคุ้มค่า’ โดย นพ.สมชัย นิจพานิช รองปลัดกระทรวง สาธารณสุข พันเอกทักษิณ เจียมทอง ผูแ้ ทนเจ้ากรมการแพทย์ทหารบก นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ สวปก. ทำให้ทีมผู้บริหารโรงพยาบาลในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการทั่วประเทศ ได้ รั บ ทราบนโยบายและมี โ อกาสหารื อ แลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น และเสนอแนะการทำงานต่ อ ผู้ ก ำหนด นโยบายระบบการชดเชยค่ารักษาพยาบาลและค่ายาของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ รวมทั้งมี การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การสั่งยา มาตรการควบคุมกำกับการใช้ยาของโรงพยาบาล นำร่อง และตัวชี้วัดในการติดตามผลจากผู้แทนโรงพยาบาลต่างๆ

รมว.สาธารณสุข มัลดีฟส์ เยี่ยมชม สวรส. - ห้องสมุด 100 ปี พ่อเสม

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 ดร.อาเหม็ด จัมชีด โมฮัมเหม็ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข สาธารณรัฐมัลดีฟส์ เดินทางมาเยี่ยมชมสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) อย่างไม่เป็น ทางการ หลังเสร็จภารกิจการเยือนประเทศไทย เพื่อประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขไทย ด้านการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง และบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งขยายความร่วมมือด้านอื่นๆ โดยมี พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ในเครือ สวรส. ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ที่ ป รึ ก ษาสำนั ก งานพั ฒ นานโยบาย สุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) และ นพ.ภูษติ ประคอง สาย ผู้อำนวยการ IHPP นำเยี่ยมชมการดำเนินงานของ สถาบันฯ นอกจากนี้ ยั ง ได้ เ ยี่ ย มชมห้ อ งสมุ ด 100 ปี เสม

พริ้ ง พวงแก้ ว ซึ่ ง เป็ น การสนั บ สนุ น ร่ ว มกั น ของ สวรส.

กับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สถาบัน รับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) และ สถาบั น การแพทย์ ฉุ ก เฉิ น แห่ ง ชาติ (สพฉ.) ทั้ ง นี้

ดร.อาเหม็ด จัมชีด โมฮัมเหม็ด ให้ความสนใจเป็นพิเศษ กั บ การให้ บ ริ ก ารฐานข้ อ มู ล งานวิ จั ย ระบบสุ ข ภาพแบบ ออนไลน์ที่เปิด ให้บริการงานวิจัยฉบับแปลภาษาอังกฤษ ไว้เป็นจำนวนมาก

HSRI Forum : เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ

15


ไฮไลท์ ผลงานวิจัย R2R ดีเด่น ครั้งที่ 5 ประจำปี 2555

วิถี R2R : เรียบง่าย คุณภาพ ครบวงจร “Insulin Injection Cycle” พยุงเต้าตรวจหัวใจ แผ่นเสริมความมั่นใจจากการฉีดยา ด้วยคลื่นเสียงสะท้อน

การใช้ Insulin Injection Cycle มุ่งเน้น ให้ผู้ป่วยและญาติหมุนเวียนเปลี่ยนที่ฉีดยา บริเวณหน้าท้องไม่ให้ซำ้ ทีเ่ ดิมภายใน 1 เดือน เพื่ อ ลดภาวะแทรกซ้ อ นหลั ง ฉี ด ยาอิ น ซู ลิ น บริเวณหน้าท้อง ลดความกลัว เสริมความ มั่นใจและความกล้า พบว่าผู้ป่วยที่ใช้แผ่น Insulin Injection Cycle จำนวน 40 ราย

ไม่เกิดภาวะ lipohypertrophy ผู้วิจัย : สุภาภรณ์ นิลเทศ โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

กราฟชีวิตลิขิตเบาหวาน “กราฟชีวิตลิขิตเบาหวาน” เป็นสื่อการ สอนให้ ผู้ ป่ ว ยทราบระดั บ น้ ำ ตาลในเลื อ ด ภาวะสุขภาพในปัจจุบัน แนวโน้มของภาวะ สุขภาพ และโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมกำหนดเป้าหมายและ ปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง แนวคิดได้จากการดูดวง

ในลั ก ษณะกราฟชี วิ ต ที่ แ สดงแนวโน้ ม ดวง ของตัวเองและมีคำแนะนำในการแก้ดวง ทีมวิจัย : ศรีสุพรรณ นันทไพบูลย์ และคณะ โรงพยาบาลพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา

เปิดใจ… ใส่จังหวะ “Pacemaker” สื่ อ การสอนด้ ว ยหุ่ น จำลองเพื่ อ เตรี ย ม ความพร้อมก่อนใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของ หัวใจชนิดชั่วคราวและชนิดถาวร โดยแสดง ตำแหน่งการทำหัตถการ วิธีสอดสายสื่อใน หลอดเลือดดำ และตำแหน่งการวางเครื่อง กระตุ้นการเต้นของหัวใจ ใช้เวลาสอนเพียง 5 นาที พบว่าผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเพิ่ม เป็นร้อยละ 93.6 ไม่ปฏิเสธการรักษา ทั้งขจัด ปัญหาสายสื่อเลื่อนหลุด ทีมวิจัย : ทัศนียา ไกรสรสวัสดิ์ และคณะ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี

การใช้ เ ครื่ อ งพยุ ง เต้ า นมเพื่ อ เพิ่ ม ประสิทธิภาพในการตรวจ transthoracic echocardiography ในผู้ ป่ ว ยหญิ ง ที่ มี ทรวงอกขนาดใหญ่ ช่วยลดระยะเวลาและ เพิ่มคุณภาพของภาพจากการตรวจหัวใจด้วย คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านผนังทรวงอก ทีมวิจัย : เกษรี ปั้นลี้ และคณะ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร

พยุงเท้า-พยุงกระเป๋า อุปกรณ์พยุงเท้า (Ankle Foot Orthosis-AFO) สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา

ข้อเท้าฝ่าเท้าบิดเกร็ง ข้อเท้าไม่มั่นคงหรือข้อเท้าตก โดยเฉพาะชนิดที่เพิ่ม พิสัยการเคลื่อนไหวนั้นมีราคาแพงเพราะต้อง นำเข้าจากต่างประเทศ งานกายอุปกรณ์ของ โรงพยาบาลยะลา จึ ง พั ฒ นาข้ อ ต่ อ ข้ อ เท้ า Plastic AFO แบบประหยัดรับแรงกดได้เพิ่ม ขึ้น โดยใช้เศษอลูมิเนียมและน็อตจากไม้ค้ำ ยั น รั ก แร้ ที่ ผู้ ป่ ว ยบริ จ าค มี ต้ น ทุ น การผลิ ต ต่ำเพียง 533 บาท ใช้เวลาผลิต 2 วัน อายุ การใช้งานไม่ต่างจากที่นำเข้า ทีมวิจัย : วิรัช ราชสงค์ และคณะ โรงพยาบาลยะลา อ.เมือง จ.ยะลา

Syringe คู่ซี้

รพ.สต.ปทุมพบอัตราการพ่นยาของผู้ป่วย เพิ่มขึ้น เฉลี่ยเดือนละ 10-20 ครั้ง เนื่องจากผู้ ป่วยไม่ทราบหลักการหายใจที่ถูกวิธีและมี ประสิทธิภาพ รวมทั้งใช้ยาไม่ถูกวิธี ทีมวิจัย จึงให้ความรู้การบริหารปอดอย่างถูกต้องและ ต่อเนื่อง พร้อมทั้งประดิษฐ์เครื่องบริหารปอด แบบพกพา เพื่อให้ผู้ป่วยนำกลับไปใช้ที่บ้าน ได้ ง่ า ย ราคาต้ น ทุ น เพี ย ง 17 บาท

(ประกอบด้วย set IV, syringe 5 มล, 50 มล) ผู้วิจัย : สุปราณี เมืองโคตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

แบ่งปันความรู้โดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

สามารถดาวน์โหลดจุลสาร HSRI Forum ได้ที่ www.hsri.or.th สอบถามเพิ่มเติม หน่วยสื่อสารความรู้และขับเคลื่อนสังคม โทร 0-2832-9245 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ซ.สาธารณสุข 6 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2832-9200 โทรสาร 0-2832-9201 www.hsri.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.