HSRI FORUM ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

Page 1

พื้นที่แบ่งปันความรู้ สู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555

เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออกของสังคมไทย

www.hsri.or.th


บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร

H

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

SRI Forum จุลสารรายเดือน ปรากฏโฉมออกมาเป็นรูปเล่มทักทายท่านผู้อ่านกัน

เป็ น ฉบั บ แรก หลั ง จากฉบั บ เดื อ นพฤษภาคม 2555 ซึ่ ง สถาบั น วิ จั ย ระบบ

สาธารณสุข (สวรส.) ได้ทำจุลสาร HSRI Forum ฉบับพิเศษ “ทศวรรษที่ 2 สู่ หลักประกันสุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน” ออกมาในรูปแบบออนไลน์ พร้อมให้ผู้ที่สนใจ ดาวน์โหลดได้ทาง www.hsri.or.th สำหรับฉบับนี้ ถือเป็นฉบับที่ 1 ประจำเดือนมิถุนายน 2555 ที่มาพร้อมกับสาระความรู้ที่เข้มข้น ซึ่งจะได้นำมาแบ่งปันกันในฉบับนี้ โดยเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) และคณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ร่วมกันจัดงานสัมมนาระดับชาติ เรื่อง “เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ : ภาวะวิกฤติสุขภาพคนไทย” ขึ้ น ที่ ร ะดมเหล่ า นั ก วิ ช าการ ตลอดจนบุ ค ลากรสาธารณสุ ข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมคิดค้นหาทางออกจากวิกฤตสถานการณ์เชื้อดื้อยาปฎิชีวนะที่ กำลังทวีความรุนแรงและขยายผลกระทบไปทั่วโลก โดยมีข้อเสนอสำคัญๆ เกิดขึ้นจากเวทีนี้ ที่คาดว่าภายในปีนี้ข้อเสนอต่างๆ จะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น ปัญหาเรื่องเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะจัดเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สำคัญ ถึงขนาดที่ทางองค์การอนามัย โลกได้กำหนดเป็นคำขวัญในวันสุขภาพโลก ประจำปี 2554 ว่า “Antimicrobial Resistance: No Action Today, No Cure Tomorrow” เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้นานาชาติหันมา ให้ความสนใจและมีมาตรการในการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาก่อนที่สถานการณ์จะรุนแรง ไปกว่านี้ เพราะเชื้อดื้อยาถือว่าเป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่มีอันตรายรุนแรง ถึงขั้นทำให้เสียชีวิต โดยทำให้เราย้อนกลับไปเหมือนในอดีตในยุคก่อนปี 80 ที่ไม่มียาปฏิชีวนะหรือยาที่มีประสิทธิภาพ ใดๆ ในการรักษาโรค ที่สำคัญยาที่จะนำมารักษาโรคที่เกิดจากเชื้อดื้อยาอาจมีราคาแพงกว่า ราคาทองคำในตลาดเสียด้วยซ้ำ ในส่ ว นของแกะกล่ อ งงานวิ จั ย ได้ น ำเอางานประเมิ น “ผลลัพธ์มาตรการสร้างเสริม สุขภาพ” ขององค์กรยักษ์ใหญ่ด้านสุขภาพ ที่เรารู้จักกันดีในนาม สสส. มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่ง ความน่าสนใจของงานนี้อยู่ที่การประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานขององค์กรด้วยการวัด “ความ เต็มใจควักประเป๋าจ่ายให้กับมาตรการดังกล่าว” ของประชาชน ตลอดจนเครื่องมือการวัด ทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งในต่างประเทศมีการนำระเบียบวิธีวิจัยนี้มาใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับใน ประเทศไทยยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับระเบียบวิธีท่เี หมาะสมกับองค์กรด้านสุขภาพด้วยเครื่องมือนี้ อยู่ แต่ถึงอย่างไรงานวิจัยนี้น่าจะเป็นจุดต่อยอดพัฒนาแนวทางการประเมินให้ดีขึ้นต่อไปได้ สุดท้ายงานวิจัยนี้ได้ทิ้งทายไว้ด้วยการท้าทายการพัฒนาในระยะถัดไปของ สสส. ด้วยการ พัฒนาเป้าหมายและตัวชี้วัดโดยกำหนดเป็นจำนวนนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ และจำนวนผู้ที่เลิก ดื่มเลิกสูบได้จากการดำเนินงานของ สสส. งานนี้...แม้จะเป็นเรื่องไม่ง่ายแต่ท้าทายคนทำงาน ได้ไม่น้อย นอกจากนีย้ งั มีเรือ่ งทีน่ า่ สนใจอืน่ ๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (มรอ.) อีกหนึง่ “โมเดล” ที่เป็นต้นแบบในการขยายผลโครงการ ”1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัด” ที่เกิดจากการตื่นตัวและ ตอบรับที่จะปรับตัวเองให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสังคม โดยยื่นมือออกไปช่วยสังคมมากขึ้น ด้วยการนำความรู้ต่างๆ จากงานวิจัยบนหิ้งลงสู่ชุมชนและท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ฯลฯ ก่อนลาจากกัน ในยามที่ฟ้าฉ่ำฝนเช่นในเดือนนี้ หลายท่านอาจเป็นหวัด มีน้ำมูกใส หาก อาการไม่รุนแรงก็ไม่ควรกินยา พักผ่อนให้เพียงพอ อาการหวัดก็จะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่ วัน แต่หากมีเสมหะ มีน้ำมูกข้นสีเขียวหรือเหลือง ก็ไม่ควรไปซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง ควรไปให้ แพทย์ตรวจวินิจฉัย ว่าสมควรจะกินยาปฏิชีวนะหรือไม่ หรือมียาอื่นใดที่เหมาะสม เพื่อลดการ ใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ และป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย...สวัสดีครับ !!

02

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก

สารบัญ

CONTENT 03

รายงานพิเศษ

เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ : วิกฤตและทางออกของสังคมไทย

แกะกล่อง

07

เปิดผนึกงงานวิจัย : “ผลลัพธ์ มาตรการสร้างเสริมสุขภาพ”

09

สำรวจอุณหภูมิ... 7 ปี “กองทุน สุขภาพตำบล” กับบทบาทจัดการ ตนเอง เดินหน้าสู่ความยั่งยืน

13

เส้นทางสู่สุขภาพ ที่เป็นธรรมและยั่งยืน ต้นกล้าความรู้ สู่ต้นแบบสุขภาพ

อุตรดิตถ์โมเดล : พลิกวิธีคิด จากงานวิจัยขึ้นหิ้ง สู่วิจัยเพื่อชุมชน

เกาะกระแส

14

ลุ้นผลงานวิจัย R2R ดีเด่นปี 2555 • ครบรอบ 1 ปีห้องสมุด ๑๐๐ ปี เสม พริ้งพวงแก้ว • ฯลฯ

จุลสาร HSRI Forum

จัดทำโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ที่ปรึกษา นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ทพ.จเร วิชาไทย ภก.สรชัย จำเนียรดำรงการ ภก.หญิงพรพิศ ศิลขวุธท์ นพ.บุญชัย กิจสนาโยธิน ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ นพ.คณิตสรณ์ สัมฤทธิ์เดชขจร บรรณาธิการ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข กองบรรณาธิการ สุวัฒน์ กิขุนทด นิธิภา อุดมสาลี ฐิติมา นวชินกุล ศุภฑิต สนธินุช ณัฐกานต์ ธรรมเวช


ร า ย ง า น พิ เ ศ ษ

เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออกของสังคมไทย

คนไทยติดเชื้อดื้อยามากกว่าปีละ 100,000 คน นอนรักษาตัวใน รพ. นานขึ้น มากกว่า 1 ล้านวัน เสียชีวิตมากกว่าปีละ 30,000 ราย สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล!!

ชื้อดื้อยาต้านจุลชีพกำลังเป็นปัญหาในระดับนานาชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จาก

สถานการณ์ทั่วโลก มีการพบเชื้อดื้อยา Carbapenem-Resistant Enterobacteriaceae

(CRE) ชนิด KPC (Klebsiella pneumoniae carbapenemase) ครั้งแรกในปี 2544 ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นระบาดไปยังพื้นที่ต่างๆ และตั้งแต่ปี 2552 เริ่มพบเชื้อ CRE ชนิด NDM (New Delhi metallo-beta-lactamase) ส่วนผู้ป่วยรายใหม่ที่ติดเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายๆ ขนาน (Multi drug-resistant Tuberculosis, MDR-TB) มีมากกว่า 400,000 ราย และเสียชีวิต 150,000 ราย มีการระบาดของวัณโรคดื้อยาแทบทุกขนาน (Extreme drug-resistant Tuberculosis, XDR-TB) ใน 64 ประเทศทั่วโลก และในเอเชียอาคเนย์เริ่มพบปัญหาเชื้อมาเลเรีย Falciparum ดื้อยา Artesunate มากขึ้น ประเทศไทยใช้ยาปฏิชีวนะมีมูลค่ามากกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

(พ.ศ.2543-2554) พบเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะมากขึ้น และดื้อยาหลายขนาน คนไทยติดเชื้อดื้อยา มากกว่าปีละ 100,000 คน ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้นมากกว่า 1 ล้านวัน และเสียชีวิตมากกว่าปีละ 30,000 ราย ก่อให้เกิดความสูญเสียทาง เศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาในประเทศไทย คือ การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็นและไม่เหมาะสม ขาด มาตรการควบคุม แม้แต่ร้านขายของชำในหมู่บ้านก็มียาปฏิชีวนะจำหน่าย แม้แต่ในช่วงน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ก็ยังพบมียาปฏิชีวนะอยู่ในถุงยังชีพด้วย HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก

03


มารู้จัก “ยาปฏิชีวนะ – ยาต้านจุลชีพ – เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ”

จากสถานการณ์ เ ชื้ อ ดื้ อ ยาต้ า น จุลชีพดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข

ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) หมายถึง สารที่สร้างขึ้นหรือแยกได้จากเชื้อจุลชีพชนิดหนึ่งที่ไปออกฤทธิ์ ยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำลายเชื้อจุลชีพอีกชนิดหนึ่ง ยาต้านจุลชีพ (antimicrobial agents) หมายถึง กลุ่มของสารที่แยกได้จากเชื้อจุลชีพหรือสาร สังเคราะห์เหมือนสารที่แยกได้จากเชื้อจุลชีพ และสารที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมีโดยตรง ที่มีฤทธิ์ ยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำลายเชื้อจุลชีพ ดังนั้นยาต้านจุลชีพจึงมีความหมายรวมถึงยาปฏิชีวนะด้วย ยาต้านจุลชีพ เป็นยาทำลาย หรือยับยั้งการเจริญการเติบโตของเชื้อจุลชีพที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

ในมนุษย์ เชื้อจุลชีพอาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อปรสิต (เช่น มาลาเรีย บิดอะมีบา) เชื้อริกเกตเซีย

(เช่น ไทฟัส) และเชื้อไวรัส เชื้ อ ดื้ อ ยาต้ า นจุ ล ชี พ หมายถึ ง เชื้ อ โรคที่ ดื้ อ ยาต้ า นจุ ล ชี พ มาตรฐานที่ เ คยใช้ รั ก ษา (standard treatment) โดยอาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อปรสิต หรือเชื้อก่อโรคอื่น เชื้อดื้อยาส่วนมากเป็นผล จากการใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้ยาต้านจุลชีพมากเกินความจำเป็นและไม่เหมาะสมทั้งใน คนและสัตว์ การใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัดที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพ การใช้ยาต้านจุลชีพระยะเวลาสั้นหรือนานเกินไป

, สถาบั น วิ จั ย ระบบสาธารณสุ ข

(สวรส.), สำนักงานพัฒนานโยบาย สุ ข ภาพระหว่ า งประเทศ (IHPP) และคณะแพทยศาสตร์ ศิ ริ ร าช พยาบาล จึงร่วมกันจัดสัมมนาระดับ ชาติ เ รื่ อ ง “เชื้ อ ดื้ อ ยาปฏิ ชี ว นะ : ภาวะวิ ก ฤตต่ อ สุ ข ภาพคนไทย”

(Antimicrobial Resistance : Health Crisis in Thais) เมื่ อ ในงานนี้ Dr. Maureen E. Birmingham ผู้ แ ทนองค์ ก ารอนามั ย โลก (WHO) วั น ที่ 28-29 พฤษภาคม 2555 ที่ ประจำประเทศไทย ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ‘เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ : วาระเร่งด่วนทาง โรงแรมสยามซิ ตี้ กรุ ง เทพฯ โดยมี ด้ า นสุ ข ภาพในระดั บ โลก’ (Antimicrobial Resistance : An Urgent Global ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้า Health Agenda) โดยนำเสนอภาพรวมของสถานการณ์ปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพว่าเป็น

WHO ชู “เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ” วาระโลก !!

ร่วมงานสัมมนานี้ประมาณ 100 คน

04

ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ และเป็นสิ่งที่น่าวิตกในระดับที่คล้ายกับยุคก่อนที่จะมียาต้านจุลชีพ โดยองค์การ อนามัยโลกมีคำขวัญว่า ‘Antimicrobial Resistance : No Action Today, No Cure Tomorrow’ หรือ ‘เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ : ถ้าไม่แก้ไขวันนี้ จะไม่สามารถรักษาโรคติดเชื้อได้วันพรุ่งนี้’

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก


สธ.เฝ้าระวังเชื้อ E. Coli แพร่กระจาย !!

คุ ณ สุ ร างค์ เดชศิ ริ เ ลิ ศ ศู น ย์ เ ฝ้ า ระวั ง เชื้ อ ดื้ อ ยาต้ า นจุ ล ชี พ แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำเสนอว่าศูนย์ฯ ได้ตั้งขึ้น เมื่อปี 2541 โดยการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก ปัจจุบันมี โรงพยาบาลที่เป็นสมาชิกเครือข่ายร่วมดำเนินการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา ทั่วประเทศจำนวน 60 แห่ง ซึ่งห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลแต่ละ จับตา “เชื้อดื้อยา” แห่งจะเก็บข้อมูลผลการเพาะเชื้อและทดสอบความไวของเชื้อแบคทีเรีย ก่อโรค แล้วส่งข้อมูลมายังศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาฯ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ความชุกของ ในสัตว์เลี้ยง – ฟาร์ม แบคทีเรียก่อโรคและสถานการณ์ดื้อยาระดับประเทศ ข้อมูลความชุกของแบคทีเรียก่อโรคและสถานการณ์เชิ้อดื้อยาระดับประเทศที่น่าสนใจ มีดังนี้ ปั จ จั ย หนึ่ ง ที่ ท ำให้ เ กิ ด เชื้ อ ดื้ อ ยาปฏิ ชี ว นะคื อ การนำยา 1. เชื้อ Coagulase negative Staphylococcus พบมากเป็นอันดับ 1 เชื้อส่วนมาก ปฏิชีวนะสำหรับมนุษย์ไปใช้ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ประมง กสิกรรม นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับมนุษย์ไป เกิดจากการปนเปื้อนระหว่างการเก็บตัวอย่างตรวจจากผู้ป่วย รักษาโรคติดเชื้อในสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว กระต่าย และ 2. เชื้ อ E. Coli, Klebsiella pneumoniae, Pseudomonas aeruginosa,

เชื้อดื้อยาอาจถ่ายทอดจากสัตว์สู่สัตว์และสัตว์สู่คนได้ Acinetobacter baumannii และ Staphylococcus aureus เป็นเชื้อที่พบ

นสพ.ศศิ เจริ ญ พจน์ สำนั ก มากใน 10 อั น ดั บ แรกจากตั ว อย่ า งที่ เ ก็ บ จากผู้ ป่ ว ยเกื อ บทุ ก ชนิ ด เช่ น เลื อ ด

พัฒนาระบบและรับรองมาตรฐาน ปัสสาวะ แผลฝีหนอง เสมหะ น้ำไขสันหลัง เชื้อเหล่านี้มีความชุกของการดื้อยา

สินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กล่าว เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างเชื้อดื้อยาที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ คือ Acinetobacter baumannii เป็น เชื้อดื้อยาที่พบในโรงพยาบาล ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด โลหิตเป็นพิษ และปอด อักเสบ ในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปี (พ.ศ.2543-2554) เชื้อนี้ด้อื ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Carbapenems ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะขนานสุดท้ายของการรักษาเชื้อดื้อยา จากร้อยละ 1-2 เป็นร้อยละ 63-64 โดยเฉพาะเชื้อ Acinetobacter baumannii ที่ก่อโรคในผู้ป่วยที่อยู่ใน ICU พบว่าในปี 2554 ดื้อยา Imipenem สูงถึง 79% ส่วนเชื้อ Escherichia coli (E. Coli) เป็นเชื้อดื้อยาที่พบใน ชุ ม ชน ทำให้ เ กิ ด โรคติ ด เชื้ อ ที่ ท างเดิ น ปั ส สาวะ การติ ด เชื้ อ ในช่ อ งท้ อ ง และการติ ด เชื้ อ ใน กระแสเลือด พบว่าเชื้อนี้ดื้อยาปฏิชีวนะกลุ่มที่ออกฤทธิ์กว้าง เช่น ampicillin สูงถึง 80% และ ดื้ อ ยากลุ่ ม 3 rd generation cepharosporins สู ง ขึ้ น เป็ น ลำดั บ ทำให้ ต้ อ งใช้ ย ากลุ่ ม Carbapenems เพิ่มขึ้น ในปี 2553 เริ่มพบเชื้อ E. Coli ที่ดื้อต่อยากลุ่ม Carbapenems แล้ว เรื่องเหล่านี้ ทำให้วงการสาธารณสุขทั่วโลกกำลังวิตกว่า หากมีการดื้อยาดังกล่าวมากขึ้น และจะเหลือยาที่สามารถรักษาได้เพียง Colistin แต่ยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงต่อไต

ว่า การผลิตสัตว์ (ในอุตสาหกรรม) ที่ปลอดภัยจากสารตกค้างและเชื้อ ดื้อยาปฏิชีวนะเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะจำเป็นต้องกำกับดูแลตั้งแต่ ต้นทางในการขึ้นทะเบียนตำรับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม การ ควบคุมการกระจายยาปฏิชีวนะ และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่าง ถูกต้อง รวมทั้งการดูแลสุขลักษณะในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ ฟาร์มสัตว์เลี้ยง จนถึงผู้บริโภค โดยกรมปศุสัตว์ให้ความสำคัญ กั บ การปรั บ ปรุ ง มาตรฐานการเลี้ ย งสั ต ว์ เช่ น ส่ ง เสริ ม ให้ มี ฟาร์มมาตรฐานเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ และสร้างระบบใน การควบคุ ม โรคที่ ดี ตั้ ง แต่ ร ะดั บ ฟาร์ ม โรงงานอาหารสั ต ว์ โรงฆ่าสัตว์ และสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ การตรวจสอบและเฝ้ า ระวั ง สารตกค้ า งในปี 2554 พบ อาหารหมู มี ส ารตกค้ า งประเภท Tetracyclines และ Sulphonamides จำนวน 15 ตัวอย่างจาก 1,297 ตัวอย่าง, น้ำดื่มสัตว์ปีกพบสาร Anticoccidials จำนวน 8 ตัวอย่าง จาก 678 ตัวอย่าง, กล้ามเนื้อหมูพบสาร Nitrofurans และ Tetracyclines จำนวน 12 ตัวอย่างจาก 800 ตัวอย่าง, ไข่ไก่ พบสาร Enrofloxacin, Tetracyclines และ Anticoccidal จำนวน 45 ตัวอย่างจาก 670 ตัวอย่าง การเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะนั้น กรมปศุสัตว์มีการเฝ้า ระวังเชื้อปนเปื้อนและการดื้อยาต้านจุลชีพในสินค้าปศุสัตว์ และการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในสัตว์ป่วย โดยตรวจ สอบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียและการดื้อยาต้านจุลชีพในโรง ฆ่าสัตว์ภายในประเทศ โรงงานเพื่อการส่งออก และโรงงาน แปรรูปเนื้อสัตว์ ซึ่งแบคทีเรียที่มีปัญหาเชื้อดื้อยามีหลายชนิด เช่น E. Coli, Staphylococcus aureus

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก

05


สำหรับปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยนั้น ข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์เลี้ยงและการดื้อยายังไม่มีการสำรวจและเก็บรวบรวมใน ระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์เลี้ยงที่พบได้บ่อยและอาจทำให้เชื้อดื้อยา คือ การได้รับยาปฏิชีวนะไม่ต่อเนื่อง กล่าวคือเมื่อ สัตว์มีอาการดีขึ้นเจ้าของสัตว์เลี้ยงมักไม่กลับมารักษาต่อ หรือในกรณีที่ได้รับยาปฏิชีวนะที่จะต้องป้อนสัตว์เลี้ยง แต่เจ้าของป้อนไม่ครบตามระยะเวลาที่กำหนด หรือสัตว์เลี้ยงป้อนยาได้ยาก เจ้าของจึงไม่อยากป้อนนอกจากนี้ เจ้าของสัตว์มักมาขอซื้อยาปฏิชีวนะเอง โดยไม่ได้พาสัตว์เลี้ยงมาพบสัตวแพทย์ หรือเจ้าของสัตว์ ไปซื้อยาปฏิชีวนะตามร้านยา

ตัวอย่างผลการทดสอบเชื้อดื้อยา ที่มีความสำคัญทางสัตวแพทย์สาธารณสุข

1. การตรวจหาเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) โดยสถาบัน สุขภาพสัตว์แห่งชาติ ซึ่งตรวจยีนที่ดื้อต่อยา methicillin จาก DNA ของเชื้อ coagulase-positive staphylococci ที่แยกได้จากน้ำนมโคจำนวน 807 สายพันธุ์ ระหว่างปี 2543-2546 พบเชื้อ MRSA 1.2% 2. การตรวจหาเชื้ อ Vancomycin-resistance Enterococci จากเนื้ อ ไก่ ใ นโรงฆ่ า สั ต ว์ ซึ่ ง มี พนักงานตรวจเนื้อ และสัตวแพทย์กรมปศุสัตว์ดูแลระหว่างปี 2550-2554 จำนวน 17,363 ตัวอย่าง พบ เชื้อ Vancomycin-resistance Enterococci จำนวน 3 ตัวอย่าง

ทางออก – ทางเลือก – ทางรอด “วิกฤตเชื้อดื้อยา” ศ.นพ.วิ ษ ณุ ธรรมลิ ขิ ต กุ ล คณะแพทย

ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประธานคณะกรรมการ วิจัยและพัฒนาระบบการควบคุมและป้องกันการ ดื้อยาต้านจุลชีพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

(สวรส.) กล่าวว่า ยาปฏิชีวนะเป็นยาฆ่าเชื้อโรคที่มี

ความจำเป็นและยานี้ได้ช่วยคนจำนวนมากให้รอด ตายจากการติดเชื้อตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา แต่ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ที่มากขึ้นและเกินความจำเป็น ทำให้มีเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั่วโลก ประเทศไทยบริโภคยาปฏิชีวนะมากกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี คน ไทยมีการติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะปีละกว่า100,000 คน อยู่โรงพยาบาลนานขึ้น มากกว่า 1 ล้านวัน และเสียชีวิตมากกว่าปีละ 30,000 ราย ยาปฏิชีวนะสำหรับ รักษาเชื้อดื้อยามีราคาแพงมาก เช่น Carbapenems ขนาด 15 กรัม ราคา ประมาณ 30,000 บาท ในขณะที่ทองคำน้ำหนักเท่ากันมีราคาถูกกว่า นพ.สุ วิ ท ย์ วิ บุ ล ผลประเสริ ฐ ประธานคณะ กรรมการกำกับทิศทางการวิจัยและพัฒนาระบบ ยา สวรส. กล่าวว่าการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา

ต้องมีมาตรการหลัก ดังนี้ 1. สถานพยาบาลทุ ก แห่ ง ต้ อ งมี ม าตรการ

ควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างเคร่งครัด 2. สถานพยาบาลต้องเข้มงวดในการตรวจสอบและอนุมัติการใช้ยาปฏิชีวนะ 3. บุ ค ลากรสาธารณสุ ข ต้ อ งให้ บ ริ ก ารผู้ ป่ ว ยตามแนวทางการใช้ ย า

ปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล

06

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก

4. สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและความตระหนักเรื่องเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ

ให้ประชาชน 5. จำกัดการจำหน่ายยาปฏิชีวนะที่ร้านยา 6. งดใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร นพ.พงษ์ พิ สุ ท ธิ์ จงอุ ด มสุ ข ผู้ อ ำนวยการ

สวรส. กล่าวว่า ปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเป็นปัญหา ที่ ซั บ ซ้ อ นเพราะเกี่ ย วข้ อ งกั บ บุ ค คลและหน่ ว ยงาน จำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดให้ปัญหา เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะและการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างสมเหตุสมผลเป็นนโยบายระดับชาติที่สำคัญ และเร่งด่วน ดังนั้น สวรส.จึงได้ประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม โดยตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การสัมมนาระดับ ชาตินี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติงาน โดยจะนำผลที่ได้ไปใช้ขับเคลื่อนเพื่อ ควบคุมและป้องกันเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะต่อไป นอกจากนี้ การสัมมนานี้ยังมีข้อเสนอแนวทางการควบคุมและป้องกัน การดื้ อ ยาปฏิ ชี ว นะที่ ห ลากหลาย ทั้ ง มาตรการทางกฎหมาย มาตรการ ทางการศึกษา มาตรการทางสังคม มาตรการสร้างแรงจูงใจ และมาตรการ ลงโทษ การผลักดันเรื่องเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จัดให้มีวันรณรงค์ “เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะแห่งชาติ” เพื่อให้ปัญหาการดื้อยา ปฏิชีวนะในประเทศไทยซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพเร่งด่วนลดลงหรือหมดไปเร็ว ที่สุด


แ ก ะ ก ล่ อ ง : เ ปิ ด ผ นึ ก ง า น ว ิจ ัย

เปิดผนึกงานวิจัย

“ผลลัพธ์มาตรการสร้างเสริมสุขภาพ”

ประเมิน “ความคุ้มค่า ลดเหล้า – บุหรี่” วัด “ความเต็มใจจ่าย” สะท้อนผลงาน จากภาค ปชช.

ลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยังไม่มีงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความคุ้มค่าขององค์กรทางด้านสุขภาพประจักษ์

ออกมามากนัก ซึ่งจากโจทย์นี้ คณะนักวิจัยจาก ‘โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ’ หรือ HITAP

โดยการนำของ ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ พร้ อ มคณะนั ก วิ จั ย ผศ.ดร.ภญ.มนทรัตน์ ถาวรเจริญทรัพย์ และ

ภญ.พัทธรา ลีฬหวรงค์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษา “การประเมินผลลัพธ์การดำเนินมาตรการสร้าง เสริมสุขภาพ : การประเมินความเต็มใจจ่ายของครัวเรือนต่อมาตรการสร้างเสริมสุขภาพของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (.สสส)” ใช้ระยะเวลาศึกษากว่า 2 ปี โดยการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดยมีการ

แถลงผลการศึกษาต่อสื่อมวลชนไปเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข โดยการศึกษาวิจัยของ HITAP ในครั้งนี้ได้แบ่งเป็น 2 โครงการย่อย คือ 1) การพัฒนาแนวทางการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด ของการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาต้นทุนความเจ็บป่วย ที่โฟกัสมาเฉพาะ 2 แผนงาน คือ แผนการควบคุมการบริโภคยาสูบ และแผนงานการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของ สสส. และ 2) การประเมินความ เต็มใจจ่ายของครัวเรือนต่อมาตรการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. โดยใช้วิธีการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งในต่างประเทศมีการ นำระเบียบวิธีวิจัยนี้มาใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับในประเทศไทยยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับระเบียบวิธีที่เหมาะสมกับองค์กรด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นองค์กรทางสังคมในลักษณะนี้ ที่งานวิจัยนี้น่าจะเป็นจุดต่อยอดการพัฒนาแนวทางการประเมินให้ดีขึ้นต่อไปด้วย

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก

07


ผลวิจัยต้นทุน ‘นักสูบ - นักดื่มหน้าใหม่’

เริ่มจาก โครงการย่อยที่ 1) การพัฒนาแนวทางการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดของ ในส่วนของต้นทุนที่ป้องกันได้หากทำให้ผู้ที่ดื่มเลิกดื่มได้ การดำเนิ น งานสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพของ สสส. โดยใช้ ข้ อ มู ล จากการศึ ก ษาต้ น ทุ น ความ นั้น พบว่า ในทุกระดับของการดื่ม การทำให้เลิกดื่มได้เร็วจะ เจ็บป่วย ผลการวิเคราะห์ต้นทุนความเจ็บป่วยจากการสูบบุหรี่ พบว่า การสูบบุหรี่ทำให้เกิด ทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น โดยพบว่า ต้นทุนที่ป้องกัน ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล โดยต้นทุนต่อนักสูบหน้าใหม่เพศชาย 1 คน มีค่า ได้แตกต่างกันไปตามเพศและประเภทของการดื่ม (ดูจากตาราง ประมาณ 158,000 บาท (แบ่งเป็น ต้นทุนจากการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 96,000 บาท, จุดคุ้มทุนของการรณรงค์ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ต้นทุนจากการสูญเสียผลิตภาพในการทำงาน 62,000 บาท) ในขณะที่จะมีอายุสั้นลง 4.6 ปี ฉะนั้น ผลการศึกษาดังกล่าว แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน สำหรับในเพศหญิงนั้น ต้นทุนต่อนักสูบหน้าใหม่ 1 คนจะมีค่าประมาณ 85,000 บาท (แบ่งเป็น ว่า การป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ 1 ราย และนักดื่ม ต้นทุนจากการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 32,000 บาท และต้นทุนจากการสูญเสียผลิตภาพใน หน้าใหม่ 1 ราย รวมทั้งการทำให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ-เลิกดื่ม การทำงาน 53,000 บาท) ในขณะที่จะมีอายุสั้นลง 3.4 ปี ได้จะช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้เป็นจำนวนมาก ในส่วนของต้นทุนที่ป้องกันได้หากทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่เลิกสูบได้นั้น พบว่า การทำให้เลิกสูบได้ ดั ง นั้ น มาตรการหรื อ นโยบายที่ ช่ ว ยป้ อ งกั น นั ก สู บ และ

เร็วยิ่งทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น โดยพบว่า ในเพศชายที่เลิกสูบบุหรี่ที่อายุ 30, 35 และ นั ก ดื่ ม หน้ า ใหม่ และลดจำนวนผู้ ที่ สู บ บุ ห รี่ - ดื่ ม เหล้ า จึ ง มี 40 ปี จะมีอายุสั้นลง 1.4, 1.7 และ 2 ปีตามลำดับ ในขณะที่เพศหญิงเลิกสูบบุหรี่ที่อายุ 30, 35 ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และ 40 ปี จะมีอายุสั้นลง 0.6, 0.8 และ 1 ปีตามลำดับ ทั้งนี้ ต้นทุนที่ป้องกันได้หากทำให้ เพศชาย 1 คนเลิกสูบบุหรี่ได้ที่อายุ 30, 35 และ 40 ปี คือ 71,000 บาท 55,000 บาท และ 42,000 บาท ตามลำดับ สำหรับต้นทุนที่ป้องกันได้หากทำให้เพศหญิง 1 คนเลิกสูบบุหรี่ได้ที่ ผล “ความเต็มใจจ่าย” ของครัวเรือน อายุ 30, 35 และ 40 ปี คือ 40,000 บาท 31,000 บาท และ 23,000 บาท ตามลำดับ การวิ เ คราะห์ ต้ น ทุ น ความเจ็ บ ป่ ว ยจากการบริ โ ภค นอกจากนี้ HITAP ยั ง มี โ ครงการย่ อ ยที่ 2 หั ว ข้ อ การ เครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์ พบว่ า การบริ โ ภคเครื่ อ งดื่ ม ประเมิ น ความเต็ ม ใจจ่ า ยของครั ว เรื อ นต่ อ มาตรการสร้ า ง แอลกอฮอล์ ท ำให้ เ กิ ด ความสู ญ เสี ย ทางเศรษฐกิ จ จำนวน เสริมสุขภาพของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม มหาศาล โดยในการประเมินต้นทุนต่อนักดื่มหน้าใหม่ 1 ราย สุขภาพ (สสส.) เพื่อประเมินคุณค่าที่ประชาชนมอบให้ โดย จำแนกตามเพศและระดับการดื่ม โดยในเพศชาย หากมี ใช้สถานการณ์สมมติว่า “ในอนาคตรัฐบาลจะไม่มีการให้เงิน การดื่มต่อเนื่องจะมีอายุสั้นลง 2.6 ปี และ 3.86 ปี หากดื่ม สนับสนุน สสส. แล้ว เนื่องจากรัฐบาลต้องนำงบประมาณ แบบอันตรายและอันตรายมากตามลำดับ สำหรับในเพศ ไปใช้ในนโยบายอื่น และหากท่านยังต้องการให้ สสส.ทำงาน หญิงจะมีอายุส้นั ลง 1.47 ปี และ 2.2 ปี หากดื่มแบบอันตราย เพื่อ...(เช่น ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ต่อไป และอันตรายมากตามลำดับ (ดูจากตารางต้นทุนความเจ็บป่วย อีก 1 ปี โดยจ่ายเงินของครอบครัวท่านเอง ท่านยินดีจะ จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และตารางดื่มแบบไหนอันตราย จ่าย...(เช่น 200 บาท) ให้ สสส.หรือไม่.... มากน้อย)

08

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก


เป็นการสำรวจครัวเรือนไทยภาคตัดขวางในพื้นที่ กทม. และภูมิภาคต่างๆ รวม 11 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย นครสวรรค์ ยโสธร หนองคาย นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา อยุธยา เพชรบุ รี พั ท ลุ ง และชุ ม พร เก็ บ ข้ อ มู ล ทั้ ง สิ้ น 7,311 คน

ผลการประเมิ น ความเต็ ม ใจจ่ า ยของครั ว เรื อ นต่ อ มาตรการ สร้างเสริมสุขภาพของ สสส. พบว่า ร้อยละ 70 ของกลุ่ม ตัวอย่างต้องการเห็น สสส.ดำเนินงานต่อ และพร้อมจะจ่าย เงิ น เพื่ อ สนั บ สนุ น ด้ ว ยเหตุ ผ ลที่ ว่ า มาตรการดั ง กล่ า วเป็ น

ประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ซึ่ ง ในกลุ่ ม ที่ เ ต็ ม ใจจ่ า ยเงิ น นั้ น มี ก ารศึ ก ษาว่ า “เต็ ม ใจ จ่ า ย” เพื่ อ ให้ สสส.ทำงานด้ า นใดบ้ า ง โดยแบ่ ง ออกเป็ น

6 แผนงาน พบว่ า กลุ่ ม แผนควบคุ ม การบริ โ ภคเครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์มีผู้เต็มใจจ่ายมากที่สุดถึง 2,456 คน โดยเต็มใจ จ่ายที่ 50 บาท/ปี รองลงมา กลุ่มแผนควบคุมการบริโภคยาสูบมี ผู้เต็มใจจ่าย 2,439 คน ในอัตรา 50 บาท/ปี กลุ่มแผนควบคุม ปั จ จั ย เสี่ ย งทางสุ ข ภาพเรื่ อ งอาหารและโภชนาการมี จ ำนวน 2,435 คน ในอัตรา 50 บาท/ปี ส่วนแผนการส่งเสริมการออกกำลังกาย และกลุ่มแผนการ ป้องกันอุบัติเหตุทางถนน มีผู้เต็มใจจ่ายเท่ากัน คือ 2,432 คน ในอัตรา 100 บาท สุดท้ายกลุ่มแผนสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมมี จำนวน 2,427 คน ในอัตรา 20 บาท ซึ่งค่าเต็มใจจ่ายรวมทั้ง 6 แผนงานประมาณ 8 พันล้านบาท โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับ การเต็มใจจ่าย (โดยไม่พิจารณาจำนวนเงินที่ยินดีจ่าย) ได้แก่ ระดับการศึกษามัธยมศึกษาขึน้ ไป รายได้สงู อายุนอ้ ย ออกกำลัง กาย และเคยรับรู้การดำเนินงานของ สสส. อย่างไรก็ตาม ในจำนวนร้อยละ 30 “ไม่เต็มใจ” โดยกลุ่ม ที่ไม่เต็มใจ ส่วนมากจะมีการศึกษาสูงสุดในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย และมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มสุราร่วมด้วย สะท้อน

ให้เห็นว่า คนกลุ่มนี้ยังมีปัญหาในเรื่องความตระหนักรู้ใน การส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้นกรณีดังกล่าว สสส. อาจต้อง มีนโยบายเพื่อเข้าถึงคนกลุ่มนี้มากขึ้น สำหรั บ ข้ อ มู ล ในส่ ว นของประชาชนที่ ไ ม่ เ ต็ ม จ่ า ย มี เหตุผลที่ไม่จ่าย (ไม่แยกตามแผนงาน) ดังนี้ 1.เห็นประโยชน์ ของการทำงานของ สสส. แต่ไม่มเี งิน 49% 2.ไม่เห็นประโยชน์ ของงานที่ สสส. ทำ 37% 3.แม้ว่า สสส. ไม่ทำก็มีหน่วย งานอื่ น ทำ 3% และ 4.รั ฐ บาลควรเป็ น ผู้ ส นั บ สนุ น ไม่ ใ ช่ ประชาชน 11% โดยปั จ จั ย ที่ สั ม พั น ธ์ กั บ ความไม่ เ ต็ ม ใจจ่ า ย

ภาพสะท้อนงานวิจัย สู่ก้าวต่อไป

จากผลการประเมินความเต็มใจจ่ายเป็นการประเมินว่าประชาชนให้คุณค่ากับ สสส. มาก น้อยเพียงใด ซึ่งวิธีวัดความเต็มใจจ่ายเป็นวิธีการที่นักเศษฐศาสตร์นิยมใช้ในการประเมินค่า สินค้าที่ไม่มีในตลาด ดังนั้นค่าความเต็มใจจ่ายรวม 8 พันล้านบาท ของ 6 แผนงานคงไม่ สามารถนำไปใช้ในการกำหนดงบประมาณที่ควรลงทุนที่แท้จริงได้ และประชาชนที่ยินดีจ่าย เนื่ อ งจากมี ค วามพึ ง พอใจและเล็ ง เห็ น คุ ณ ค่ า ของการทำงานอย่ า งจริ ง จั ง และมี ป ระโยชน์ ต่ อ สังคมส่วนรวม ดังนั้นการจ่ายเงินเพื่อการสนับสนุนให้มีการดำเนินงานต่อไป เป็นการจ่ายเพื่อ แนวคิดเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งหาก สสส. จะนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต้องระมัดระวัง เป็นอย่างยิ่ง นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข (สวรส.) เสนอความเห็นต่องานวิจัยว่า เรื่องนี้ไม่ได้ สะท้อนคุณค่าของ สสส.ทั้งหมด แต่ผลการวิจัยนี้สะท้อนออกมาได้

2 มุม คือ 1) ประชาชนพร้อมที่จะลงทุนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ โดยวัดจากความเต็มใจที่จะจ่ายเงินในการทำงานให้กับ สสส. ซึ่ง ถือว่าเป็นพัฒนาการที่สำคัญของสังคม 2.การมีตัวเลขแสดงต้นทุน ความสูญเสียจากการสูบบุหรี่และสุรา และตัวเลขการลดต้นทุนที่ป้องกันได้ ถือเป็นเรื่องที่ดีที่มี การนำเอาข้อมูลด้านสุขภาพมาคำนวณเป็นตัวเลข ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้นับเป็นต้นแบบของการ ประเมินความคุ้มค่าขององค์กรด้านสุขภาพโดยใช้มุมมองทางเศรษฐศาสตร์ พร้อมกันนี้ คณะนักวิจัยยังได้มีข้อเสนอแนะทางนโยบาย ดังนี้ 1. สสส. และภาคีเครือข่าย สามารถนำข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้ไปใช้ในกิจกรรมรณรงค์เพื่อ

ป้องกันไม่ให้เกิดนักดื่มหน้าใหม่และนักสูบหน้าใหม่ในสังคม รวมถึงรณรงค์ให้ผู้ที่สูบ

บุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ในปัจจุบันเลิกสูบ เลิกดื่มได้ในระยะเวลาที่เร็วขึ้น 2. พัฒนาเป้าหมายและตัวชี้วัดการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยการกำหนด

เป้าหมายเป็นจำนวนนักดื่มหน้าใหม่และนักสูบหน้าใหม่ที่ป้องกันได้และจำนวนผู้ที่เลิก

ดื่ม เลิกสูบจากการดำเนินงานของ สสส.และภาคีเครือข่าย 3. สสส. และภาคีเครือข่ายควรทำงานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ไปพร้อมกันอย่างเป็นองค์

รวม โดยเฉพาะพฤติกรรมการสูบและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มักมาคู่กันเสมอ 4. สสส. ยังเข้าไม่ถึงคนระดับล่างของสังคม (การศึกษาน้อย อาชีพเกษตรกรรม มีรายได้

น้อย) ซึ่งมักมีพฤติกรรมเสี่ยงสูง ที่ สสส. ต้องเข้าไปทำงานกับคนกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น นี่คือผลงานวิจัยของ HITAP ที่แม้ว่าจะไม่ได้สะท้อนให้เห็นคุณค่าของ สสส. ได้ทั้งหมด แต่ผลงานตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาของ สสส.ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสังคม โดยสิ่งที่ ท้าทายยิ่งกว่า คือ สสส. และภาคีเครือข่ายจะนำผลงานวิจัยชิ้นนี้ไปต่อยอดหรือนำไปปรับ ใช้ เพื่ อ ทำให้ ค นไทยมี สุ ข ภาพดี ไม่ เ จ็ บ ป่ ว ย ด้ ว ยการดู แ ลป้ อ งกั น ตนเอง ตามแนวทาง “สร้างนำซ่อม” ให้ได้มากที่สุดได้อย่างไร !!

คือ อายุตั้งแต่ 36-65 ปี ไม่ได้ประกอบอาชีพ ไม่รับรู้เกี่ยวกับ มาตรการสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพของ สสส. การศึ ก ษาต่ ำ กว่ า มัธยมศึกษา, ไม่ได้ออกกำลังกายในรอบ 12 เดือน, ไม่มีสมาชิก ในครอบครัวที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก

09


เ ส้ น ท า ง สู่ สุ ข ภ า พ ที่ เ ป็ น ธ ร ร ม แ ล ะ ยั่ ง ยื น

สำรวจอุณหภูมิ... 7 ปี

กองทุนสุขภาพตำบล กับบทบาทจัดการตนเอง เดินหน้าสู่ความยั่งยืน แม้ว่าเงินกองทุนสุขภาพตำบล ได้ถูกขับเคลื่อนมาตั้งแต่ปี 2549 หรือเป็นเวลานับ 7 ปี ทว่า บทบาทที่แท้ จริง “ชาวบ้าน” ยังขาดการรับรู้และมีส่วนร่วม ดังนั้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การดำเนินหรือบริหาร โครงการจึงไปอยู่กับ “รัฐ” มากกว่า นับจากนี้ถึงเวลา “ปลดล็อค” เงินกองทุนสุขภาพตำบล เพื่อให้ ชุมชนได้แสดง “บทบาท” เจ้าของอย่างจริงจังอีกครั้ง !!

องทุนตำบลกับการจัดการกับปัจจัยทางสังคม ที่มีผลกระทบ เรื่ อ งการนำเงิ น กองทุ น สุ ข ภาพตำบลไปใช้ ใ นบางกิ จ กรรมแต่ ติ ด ขั ด อยู่ ที่ ข้ อ ต่อสุขภาพ” เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง โดยในมุมมอง ระเบียบราชการ ที่จะมีหน่วยงานเข้าตรวจสอบอย่างเคร่งครัดโดยกลัวว่าจะใช้

ของนักวิชาการ กับอีกด้านของท้องถิ่นมีทรรศนะที่แตกต่างกัน ไปเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งนี้ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการ จั ด การระบบสุ ข ภาพ ได้ ใ ห้ มุ ม มองกั บ เรื่ อ งนี้ ว่ า การขั บ เคลื่ อ นเรื่ อ งกองทุ น สุ ข ภาพตำบลใช้ ท ฤษฎี สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะที่ดี คือ ต้องมี 1. คน คือ มีความรู้ในการจัดการ 2. สภาพ แวดล้ อ ม เช่ น วิ ถี ชี วิ ต ศาสนา วั ฒ นธรรม และ

3. กลไก ซึ่งหมายถึงกองทุนฯ ที่ผ่านมาได้มีการ ลงไปประเมินพื้นที่เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการเรื่องสุขภาพของตนเองได้ ซึ่งมี องค์ ป ระกอบสำคัญหลายด้าน เช่น 1. วิธีคิดหรื อกระบวนทั ศ น์ ข องชุ ม ชน

2. การจัดทำข้อมูล 3. การวางแผน และ 4. การบริหารจัดการ “จากการประเมิ น พบว่ า ชาวบ้ า นส่ ว นใหญ่ คิ ด ว่ า การเจ็ บ ป่ ว ยหรื อ เรื่ อ ง สุ ข ภาพเป็ น เรื่ อ งทางการแพทย์ เมื่ อ เจ็ บ ป่ ว ยก็ ต้ อ งไปหาหมอ ไม่ ไ ด้ คิ ด ว่ า กองทุนสุขภาพตำบลจะช่วยขับเคลื่อนอะไรได้ ดังนั้นกิจกรรมหรือแผนงานที่ ชุมชนท้องถิ่นทำจึงเป็นกิจกรรมที่ทำให้แล้วเสร็จไปในแต่ละปี ไม่ได้คิดเรื่อง การทำให้กองทุนฯ งอกเงยหรือเติบโตขึ้นมา” นอกจากนี้ ข้อมูลที่ชุมชนมีอยู่หรือจัดทำขึ้นมา ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลจาก หน่วยงานราชการ เพื่อนำมาประกอบการเขียนโครงการเสนอของบประมาณ ไม่ใช่เป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์หรือวางแผนแก้ไขปัญหา ส่วนแผน ทางเดินยุทธศาสตร์ที่จัดทำขึ้นก็จัดทำด้วยคนเพียงไม่กี่คน โดยชาวบ้านส่วน ใหญ่ไม่มีส่วนร่วม แผนดังกล่าวจึงไม่ได้นำไปใช้จริง ขณะเดียวกันยังมีปัญหา

10

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก

เงินผิดประเภท ซึ่งทำให้ขาดความคล่องตัวเกิดข้อจำกัดในการทำงาน ผศ.ดร.พงค์เทพ สรุปว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนจะต้องช่วย กัน “ปลดล็อค” เพราะเข้าใจว่าสปสช./กสธ.เป็นเจ้าของกองทุน เมื่อมองเช่น นั้นทำให้ติดเงื่อนไขการใช้เงินกองทุน ที่ผ่านมาบางพื้นที่ เช่น โรงพยาบาล ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพตำบล (รพสต.) บางแห่ ง ก็ น ำเงิ น กองทุ น ไปใช้ เ อง หรื อ ให้ อสม.ไปทำโครงการ หรือ อปท. ก็เข้าใจว่างบกองทุนฯ เป็นของตนเอง ทำให้ ชาวบ้านไม่รู้เรื่องและไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเงินกองทุน จึงต้อง ช่วยกันปลดล็อคให้กองทุนเป็นของชุมชน ให้ชุมชนบริหารและตัดสินใจใช้เงิน เองได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้ชุมชนเข้มแข้ง ไม่ต้องกลัวว่าจะติดเงื่อนไข หรือหากยังไม่ได้ผล ประชาชนก็อาจจะต้องไปคุยกับ สตง.เพื่อชี้แจงให้เข้าใจ ทางด้าน ผศ. ดร. ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อคิดเห็นว่า จากการลงพื้น ที่ เ พื่ อ ทำการวิ จั ย เรื่ อ งกองทุ น ตำบล มี ข้ อ เสนอว่ า แต่ละพื้นที่ควรจะเพิ่มเป้าหมายสุขภาพชุมชนเพิ่ม ขึ้นอีก 4 ข้อคือ 1. การดูแลทรัพยากรที่ชุมชนมีอยู่ เช่น ป่าไม้ แหล่งน้ำ ฯลฯ 2. การรักษาอัตลักษณ์ ของชุมชน เช่น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรที่ชุมชนมีอยู่และนำมาใช้ประโยชน์ 3. การเฝ้าระวังปัญหาสังคมที่มีผลกระทบต่อชุมชน ยาเสพติด ความรุนแรง ในครอบครัว ภัยพิบัติ และ 4. ชุมชนต้องสร้างข้อมูลเอง เก็บข้อมูลเอง และ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ต้องรอหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานภายนอก


“จากการลงพื้นที่เพื่อทำการวิจัย พบว่า หัวใจ ของการพัฒนาสุขภาพชุมชน คือการให้ชาวบ้านมี ส่วนร่วม ไม่ใช่ปล่อยให้ อสม.ทำอย่างเดียว โดย ชาวบ้ า นจะต้ อ งมี ข้ อ มู ล โดยรู้ ว่ า ตั ว เองมี ค วาม ต้ อ งการและปั ญ หาอะไร เพื่ อ นำมาใช้ ใ นการ ตัดสินใจและร่วมวางแผนโดยชุมชน และจะนำไป สู่ แ ผนที่ ยุ ท ธศาสตร์ ว่ า จะเดิ น ไปสู่ เ ป้ า หมายใหญ่ ร่วมกันได้อย่างไร โดยใช้เงินจากกองทุนฯ และมี ภาคีความร่วมมือจากภายนอกเข้ามาช่วยสนับสนุน” ผศ. ดร. ชะนวนทอง กล่าว มาถึ ง มุ ม มองจาก ภาคท้องถิ่น สมเกียรติ เ ก รี ย ง ไ ก ร อ นั น ต์

นายกเทศมนตรีเทศบาล ตำบลไทรย้อย จ.พิษณุโลก เล่ า ว่ า ตำบลไทร ย้อยมี 17 หมู่บ้าน ประชากรประมาณ 9,000 กว่า คน ที่ผ่านมาเทศบาลเราเน้นไปที่การจัดการด้าน สุขภาพของชาวบ้าน มากกว่าการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน เช่น ทำถนน สร้างอาคาร เพราะเหล่านี้ ต้ อ งใช้ ง บประมาณมากมาย แต่ เ รื่ อ งสุ ข ภาพไม่ ต้ อ งใช้ เ งิ น ก็ ท ำงานได้ โดยมี ฐ านความคิ ด ให้ ประชาชนในท้ อ งถิ่ น และ อสม. ทำโครงการ

เกี่ ย วกั บ สุ ข ภาพขึ้ น มา แล้ ว ทางเทศบาลจะเป็ น

ผู้สนับสนุนงบประมาณ

นานาทรรศนะ

“กองทุนสุขภาพตำบล เริ่มเมื่อ 2549 โดยมีแนวคิดมาจากเรื่อง สวั ส ดิ ก ารชุ ม ชน เน้ น กระบวนการมี ส่ ว นร่ ว มของชุ ม ชนและการ

กระจายอำนาจ เพื่อให้ชุมชนบริหารและจัดการสุขภาพด้วยตัวเอง แผนงานภาพใหญ่แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรก นำร่อง 800 แห่งทั่วประเทศ ช่วงที่สอง ปี 53-54 ขยายเป็น 7,700 แห่ง และช่วงที่สาม (2555- 2560) จะขยายให้เต็มพื้นที่ทั่วประเทศ โดยจะเน้นการป้องกันโรค และให้ชุมชนท้องถิ่นแต่ละแห่งจัดทำแผน งานและบริ ห ารงานเอง” อรจิ ต ต์ บำรุ ง สกุ ล สวั ส ดิ์ สำนั ก งาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) “เป้าหมายสุดท้ายของกองทุนสุขภาพตำบล คือ เพื่อให้ชุมชนได้ ดู แ ลสุ ข ภาพของตั ว เอง โดยไม่ ต้ อ งรอหมอหรื อ พยาบาล ควรใช้ วัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีอยู่เป็นตัวตั้งแล้วทำเรื่องสุขภาพขึ้นมา อาจไป ศึกษาดูงานจากพื้นที่อื่นๆ แล้วนำมาประยุกต์โดยไม่จำเป็นต้องทำ เหมื อ นกั น เมื่ อ มี เ งิ น เข้ า มาแล้ ว กองทุ น สุ ข ภาพฯ ต้ อ งบริ ห ารโดย ประชาชน อสม. เทศบาล หรือท้องถิ่น ที่เกิดจากการระดมความ ต้ อ งการของคนพื้ น ที่ เพื่ อ นำมาบริ ห ารกองทุ น ให้ ถู ก จุ ด ” ธีรภัทร คัชมาตย์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น “ผู้ บ ริ ห ารกองทุ น สุ ข ภาพตำบล ต้ อ งมองครอบคลุ ม ทุ ก มิ ติ ใ น ชุมชน เช่น ครอบครัว สังคม สิ่งแวดล้อม เพราะเหล่านี้ส่งผลต่อสุข ภาวะของคนในชุมชน แล้วทำให้เกิดกระบวนการสมัชชา โดยมีแผน งานและกระบวนการต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำกิจกรรมเพื่อให้เสร็จไปในแต่ละปี อยากให้ชุมชนเป็นอย่างไร เยาวชนเป็นอย่างไร จึงเขียนร่างลงไปใน แผน แล้วนำไปปฏิบัติ เชื่อว่า ในปลายทางเมื่อชุมชนเข้มแข็งก็จะ สามารถจัดการและแก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง” สุทธิพงศ์ วสุโสภาพล สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก

11


“ยกตัวอย่างตำบลไทรย้อย อ.เนินมะปราง เป็นแหล่งปลูกมะม่วง ที่ผ่านมา มีการใช้สารเคมีกันมาก จากนั้นจึงเริ่มสำรวจถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมี โดยการตรวจเลือดชาวบ้านและเด็กนักเรียน พบว่ามีสารเคมีตกค้างในระดับที่ ควรได้ รั บ การแก้ ไ ข ดั ง นั้ น เราจึ ง ให้ ช าวบ้ า นร่ ว มกั น คิ ด ว่ า จะทำอย่ า งไรให้ สุขภาพตนเองเข้มแข็ง เรามีโครงการสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกพืชผักปลอด สารพิ ษ ซึ่ ง เป็ น เพี ย งโครงการหนึ่ ง จากการจั ด การเรื่ อ งสุ ข ภาพชุ ม ชนผ่ า น กองทุนสุขภาพตำบล โดยเชิญแพทย์ นักวิชาการด้านสาธารณสุขมาเป็นที่ ปรึกษา จะเห็นได้ว่ากองทุนสุขภาพก็สามารถอยู่ได้ ไม่ใช่เข้มแข็งเพราะหมอ หรือพยาบาล แต่ต้องเริ่มจากชาวบ้านเอง”

หมายเหตุ : งบประมาณของกองทุนสุขภาพตำบลมาจาก

ส่วนเรื่องวิธีการดำเนินการเรื่องสุขภาพชุมชนนั้น สมเกียรติ กล่าวว่า จะ ใช้วิธีการประชาคมหรือการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้าน หากเทศบาล จะมีการทำกิจกรรมใดๆ หรือมีโครงการจากหน่วยงานภายนอกเข้ามา เช่น กองทุนสุขภาพตำบล เพือ่ ให้ประชาชนได้รบั รู้ มีสว่ นร่วม และดำเนินโครงการเอง โดยเทศบาลหรือหน่วยงานอื่นๆ มีบทบาทเป็นพี่เลี้ยงร่วมด้วย “กองทุนสุขภาพตำบล” กับแนวคิดที่ชุมชนเป็นแกนหลักจัดการตนเอง โดยมีหน่วยงานภาคีเป็นเพียงพี่เลี้ยง นั่นเป็นเพียงหลักการที่ในทางปฏิบัติยังมี ปัจจัยและบริบทที่ทำให้เราไปไม่ถึงฟากฝันได้ดังเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ โดยยังรอ การจั ด การกั บ ปั ญ หาและการพั ฒ นาให้ เ กิ ด ผลอย่ า งแท้ จ ริ ง ในอั น จะทำให้ ชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการสุขภาพของตนเองได้ ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วม และการพัฒนาสู่ความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

• เงินสมทบขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่หรือเทศบาลต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจาก

กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ • เงินสมทบขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักฯ • เงินสมทบขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักฯ

สำหรับ บทสรุปของเวที “กองทุนตำบลกับการจัดการกับปัจจัยทางสังคม ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ” จากการประชุมวิชาการของ สวรส. ที่ผ่านมา มีข้อเสนอที่สำคัญ คือ เพื่อพัฒนาศักยภาพกองทุนใน อนาคต ควรให้ มี ก ารจั ด นิ เ ทศแบบเสริ ม พลั ง โดยการปรั บ กระบวนทั ศ น์ วิ ธี ก ารทำงานของ สปสช. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนได้เข้าใจว่า “กองทุนสุขภาพเป็นของ ชุมชน” และชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ดำเนินงาน และตรวจสอบกองทุนสุขภาพตำบล

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่หรือระหว่างกองทุน โดยเฉพาะกองทุนชั้นนำที่มีศักยภาพในการเป็น พี่เลี้ยง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนบรรลุเรื่องสุขภาวะ ครอบคลุม สุขภาพในทุกมิติ ซึ่งจะเป็นการหาจุดที่สมดุลในการบริหารจัดการด้านสุขภาพในระดับท้องถิ่นให้มีความ ยั่งยืน

12

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก


ต้ น ก ล้ า ค ว า ม รู้ สู่ ต้ น แ บ บ สุ ข ภ า พ

อุตรดิตถ์โมเดล

พลิกวิธีคิด จากงานวิจัยขึ้นหิ้ง สู่วิจัยเพื่อชุมชน ”1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัด” อีกแนวคิดการปฏิรูปประเทศไทย ตามแนวทางส่งเสริมอุดมศึกษาร่วมสร้างประเทศไทยน่าอยู่ ที่จะปรับเปลี่ยนบทบาท ของตัวเองไปเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพือ่ สังคมทีจ่ ะนำพาและชีน้ ำสังคมสูก่ ารเปลีย่ นแปลง โดยการขับเคลือ่ นยุทธศาสตร์ให้สถาบันอุดมศึกษาในแต่ละจังหวัดได้ เข้าไปมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น จังหวัด และประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (มรอ.) เป็นอีกหนึ่ง “โมเดล” ที่เป็นต้นแบบในการขยายผลโครงการดังกล่าว ที่เกิดจากการตื่นตัวและตอบรับที่จะ ปรับตัวเองให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสังคม โดยยื่นมือออกไปช่วยสังคมมากขึ้น ด้วยการนำความรู้ต่างๆ จากงานวิจัยบนหิ้งลงสู่ชุมชนและท้องถิ่น อย่างเป็นรูปธรรม

อุตรดิตถ์โมเดล

จุดสำคัญที่หนุนให้ มรอ. มีความโดดเด่น คือ การออกแบบการทำงานที่ เรี ย กว่ า “ระบบบริ ห ารจั ด การงานวิ จั ย แบบบู ร ณาการเพื่ อ พั ฒ นาพื้ น ที่ โ ดย มหาวิ ท ยาลั ย ราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมกับองค์กรปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น (อปท.) และองค์กรภาคี” มีกลไกเชิงระบบตั้งแต่ต้นทาง ระหว่าง ถึงปลายทาง เริ่ม จาก 1.ระบบพัฒนาโจทย์วิจัย 2.ระบบพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย 3.ระบบ ติดตามสนับสนุน และ 4.ระบบเผยแพร่สู่การใช้ประโยชน์ รวมทั้งมีการจัดทำ คู่ มื อ การบริ ห ารจั ด การเนื่ อ งจากอาจมี ก ารผลั ด เปลี่ ย นคนทำงาน และร่ า ง

แผนงานวิจัยบูรณาการ แผนพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย แบ่งเป็นระยะสั้น

(1 ปี) กลาง (4 ปี) และระยะยาว (15 ปี) นอกจากนี้ ได้เชื่อมโยงกับชุมชนโดยการทำฐานข้อมูลร่วมกับตำบลที่เป็น ภาคี 30 ตำบล โดยประสานงานใน 5 เรื่อง ได้แก่ 1) ศักยภาพและทุนชุมชน ที่ชุมชนมีอยู่แล้ว 2) องค์กรชุมชน แหล่งเรียนรู้และเครือข่าย 3) นวัตกรรม/ องค์ความรู้/ภูมิปัญญา 4) สถานการณ์สุขภาวะชุมชนข้อนี้จะมีการทำตัวชี้วัด ภายใต้ เ ป้ า หมายร่ ว มกั น คื อ การเป็ น 30 ตำบลต้ น แบบสุ ข ภาวะ และ

5) ประเด็นปัญหาเพื่อการวิจัยและพัฒนาอื่นๆ ในอนาคต ในส่วนของกลไกขับเคลื่อนการทำงานจะให้หน่วยจัดการงานวิจัย หรือ Research Management Unit (RMU) ที่ทาง มรอ. ได้จัดตั้งขึ้นในทุกคณะ ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างมหาวิทยาลัยกับพื้นที่ตามประเด็นความถนัด สอดคล้ อ งกั บ งานนั้ น ๆ ตั ว อย่ า ง “การทำงานของหน่ ว ยจั ด การงานวิ จั ย ”

ที่ทำงานร่วมกับ อปท. และองค์กรภาคีที่อยู่ในพื้นที่ทั้งภาคีภาครัฐ ภาคีภาค ประชาชน และภาคีภาควิชาการ ส่วนหนึ่ง คือ กระบวนการนโยบายสาธารณะ แบบมีส่วนร่วมซึ่งจะเป็นจุดนำเข้า (Entry Point) ของแผนหรือนโยบายสาธารณะ ระดับท้องถิ่น จากนั้นทางภาควิชาการจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ ปัญหา ความต้องการ หรือศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้สำคัญ ในชุมชน และสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งถอดบทเรียนแหล่ง เรียนรู้

ถอดบทเรียนประสบการณ์

มีตัวอย่างที่ดีของการบรูณาการการแก้ปัญหาระหว่าง มรอ. อปท. และ ชุมชน ที่ ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ กับการเข้ามาช่วยชุมชนใน การแนะนำการแก้ปัญหาการจัดการ “ขยะ” ด้วยการคัดแยกขยะ เพื่อนำไป ขายจนเกิดเป็นธนาคารขยะที่ช่วยสร้างอาชีพ ส่วนเศษอาหารก็นำไปหมักเป็น ปุ๋ย เพื่อลดต้นทุนการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันมีโรงปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 13 โรง มีแปลงปลูกข้าวอินทรีย์รวมกันกว่า 454 ไร่ ส่วนผลผลิตมี ชาวต่างชาติมารับซื้อถึงในชุมชน เพื่อส่งขายต่างประเทศได้ในราคาที่สูงถึงตัน ละ 18,360 บาท ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในครอบครัวและชุมชนดีขึ้นมาก นอกจากนี้ มีตัวอย่างที่ ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ จากอาชีพหลัก คือ การเลี้ยงวัว มากกว่า 800 ตัว ทำให้แต่ละวันวัว 1 ตัว จะปล่อยมูลออกมา ประมาณ 6 กิโลกรัม ทำให้มูลเรี่ยราดไม่เป็นระเบียบ และส่งกลิ่นเหม็น ชาว บ้านจึงแก้ปัญหาด้วยการนำมูลวัวมาตากแห้งเพื่อทำเป็นปุ๋ยจำหน่าย แต่ทาง คณะเห็นว่ามูลวัวน่าจะมีประโยชน์มากกว่านั้น จึงช่วยกันคิดกับชาวบ้านและ ในที่สุดก็นำไปสู่การผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ซึ่งช่วยให้ชาวบ้านลดรายจ่ายเรื่อง ค่าก๊าซหุงต้มลงไปได้ 100-150 บาทต่อเดือน ปัจจุบันมีชาวบ้านหันมาใช้ก๊าซ ชีวภาพ 18 ครัวเรือน และกำลังขยายผลออกไปสู่ครัวเรือนอื่นๆ ปัจจัยความสำเร็จ (Key Success Factor) ของอุตรดิตถ์โมเดล • ชุมชนเข้มแข็งได้เพราะเริ่มเรียนรู้และเห็นว่าสิ่งที่ภาควิชาการทำมีประโยชน์

จึง “เลือกใช้และนำมาปฎิบัติ” • การลงพื้นที่ไปทำให้ชาวบ้านเขาเห็นข้อมูลของตัวเอง เห็นปัญหา และทำให้

เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร โดยมาร่วมดูว่า

อะไรคือศักยภาพที่มีอยู่ • บางส่วนของข้อมูลหรือความรู้ในชุมชนที่ไม่มี จะมีการเชื่อมโยงกับภายนอก

เช่ น พาไปศึ ก ษาดู ง าน เพื่ อ ให้ ชุ ม ชนเห็ น ประสบการณ์ ค วามสำเร็ จ ของ

ชุมชนอื่น สู่การโยงกระบวนการเข้ามาภายในชุมชนของตนเอง • ฟังชาวบ้านให้มากที่สุดเพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจพื้นที่ มากกว่าการนำ

โจทย์วิจัยมาเป็นตัวตั้ง

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก

13


เกาะกระแส สวรส.

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว ประจำเดือนพฤษภาคม 2555

ลุ้นผลงานวิจัย R2R ดีเด่นปี 2555

หลังจากที่ สวรส. และภาคีเครือข่าย R2R เปิดให้บุคลากรด้านสาธารณสุขและผู้ที่สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดรางวัล R2R (Routine to Research) ดีเด่น ครั้งที่ 5 ประจำปี 2555 ภายใต้แนวคิด “วิถี R2R : เรียบง่าย คุณภาพ ครบวงจร” โดยมุ่งให้เกิดการสร้างความรู้ ใหม่ และต่อยอดความรู้เดิมที่มีการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับการทำงาน ซึ่งจะนำไปสู่ การพัฒนาระบบงานด้านสาธารณสุขและระบบสุขภาพต่อไป ปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 549 เรื่อง และได้คัดเลือกผลงานเข้ารอบเหลือจำนวน 72 เรื่อง ซึ่งจะได้ประกาศผลงานวิจัย

R2R ดีเด่น ผ่านทางเว็บไซต์ ผู้ที่สนใจสามารถคลิกเข้าไปชมกันได้ทาง www.hsri.or.th นอกจากนี้ ในวันที่ 10 - 12 กรกฎาคม จะมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “จากงาน ประจำสู่งานวิจัย” ครั้งที่ 5 นี้ ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ในงานมีการ มอบรางวัลให้กับงานวิจัยดีเด่น พร้อมนำเสนองานวิจัย R2R ที่เป็นแบบอย่างการพัฒนาคุณภาพ ต่อยอดด้วยความสุขของงานวิจัย, เทคนิคการทำงาน R2R ที่ง่ายแต่ได้คุณค่า, แนะแนวทางสู่งานระดับสากล และยังเป็นการพบปะเชื่อมโยงเครือข่าย R2R

ทั่วประเทศ ผู้สนใจสามารถสมัครลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมผ่านทาง www.hsri.or.th/r2rforum สอบถาม โทร 0 2832 9203-4

ครบรอบ 1 ปีห้องสมุด ‘๑๐๐ ปี เสม พริ้งพวงแก้ว’

...ห้องสมุด ๑๐๐ ปี เสม พริ้งพวงแก้ว และหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ตลอดจนเครือข่าย ภาคีจัดงานครบรอบ 1 ปี หลังเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ มาตั้งแต่ 1 พ.ค.2554 โดยการจัดงานมีขึ้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ ห้องสมุด ๑๐๐ ปี เสม พริ้งพวงแก้ว อาคารสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ปูชนียบุคคลที่สำคัญของวงการสุขภาพไทย ทั้งนี้เพื่อ เป็นการรำลึกถึงเกียรติประวัติและคุณงามความดีของท่าน รวมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดฯ กิจกรรมในงานวันนั้นมีหลากหลาย เริ่มตั้งแต่การถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์วัดโพธิ์เผือก การกล่าวเปิดงาน โดย นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผอ.สวรส..... รายการเล่าสู่กันฟัง 1 ปีห้องสมุด โดย นพ.อุกฤษฏ์ มิลินทางกูร ประธานคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดฯ......กล่าวสัมโมทนียกถา โดย พระวิชิต เปานิล..... เสวนา เรื่อง “ดุจดังครอบครัวใหญ่ : คุณพ่อเสมกับแนวทางการบริหาร” ร่วมเสวนา โดย ผศ.ภญ.สำลี ใจดี กลุ่มศึกษาปัญหายา ผศ.เนตรนภา ขุมทอง มูลนิธิหมอชาวบ้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ นพ.วิชัย โชควิวัฒน ร่วมเสวนา โดยมี นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ดำเนินรายการ ทั้งยังมีกิจกรรมมอบ รางวัลผู้ใช้บริการดีเด่น (สถิติการยืมสูงสุด) แนะนำ 100 คันรถเข็น 100 เล่มนิทาน สานอุดมการณ์ 100 ปี คุณตาเสม พริ้งพวงแก้ว.... และมีนิทรรศการจัด แสดงให้ผู้ที่สนใจเข้าชมจนถึงวันที่ 30 มิถุนายนนี้

14

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก


ประชุมเชิงปฏิบัติการ ‘สรุปบทเรียนและทิศทาง ในอนาคตการถ่ายโอนสถานีอนามัย’

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

(สปสช.) และสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) จะจัดให้มีการประชุมเชิง ปฏิบัติการ ‘สรุปบทเรียนและทิศทางในอนาคตการถ่ายโอนสถานีอนามัย’ ขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน 2555 นี้ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น ณ โรงแรมริชมอนด์ ถ.รัตนาธิเบศร์ อ.เมือง

จ.นนทบุรี พบกั บ กิ จ กรรมน่ า สนใจและบุ ค คล สำคัญในวงวิชาการและวงการสาธารณสุข อาทิเช่น ปาฐกถา ‘ทิศทางและอนาคตของ

การถ่ า ยโอนภารกิ จ สถานี อ นามั ย ให้ แ ก่ อปท.’ โดย นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ, ผลการประเมิ น ภายหลั ง การถ่ า ยโอน

สถานีอนามัยให้แก่ อปท. 28 แห่ง โดย

รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง นอกจากนี้ มี เสวนา “มุ ม มองต่ อ การถ่ า ยโอนสถานี อนามัย : จากบทเรียนสู่ทางออก” โดย นพ.นิทัศน์ รายยวา (กสธ.) คุณธนา ยันตรโกวิท (กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น) ทพญ.วิไลลักษณ์ ทิวากรกฎ (สสจ.สมุทรสงคราม) และผู้นำระดับท้องถิ่น ส่วนภาคบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ‘สรุปบทเรียน และทิ ศ ทางในอนาคตการถ่ า ยโอนสถานี อ นามั ย ’ ทั้ ง นี้ ไ ด้ รั บ เกี ย รติ จ าก นพ.มงคล

ณ สงขลา (ผู้ทรงคุณวุฒิ สวรส.) เป็นประธานเปิดงานครั้งนี้

‘กีฬาสานสัมพันธ์ ปี 55’

... “กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ” ....ผ่ า น พ้นไปด้วยความชื่นมื่นสำหรับ ‘กีฬาสาน สัมพันธ์ ปี 55’ ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาเชื่อม ความสั ม พั น ธ์ ข องหน่ ว ยงานพั น ธมิ ต ร 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข (สวรส.), สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.), สถาบันรับรองคุณภาพสถาน พยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.), สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP), โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) และสำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ (สช.) เจ้าภาพ โดยเริ่มการแข่งขันมาตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. ณ บริเวณอาคาร สุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข งานนี้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้รับเกียรติจาก นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช. ประธานคณะอำนวยการจัดการแข่งขัน เปิดงาน พร้อมด้วย นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผอ.สวรส. นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการ สพฉ. และ

ผู้บริหารจากหน่วยงานพันธมิตรเข้าร่วมกิจกรรม... กีฬาที่แข่งขันในปีนี้ ประกอบด้วย ปิงปอง ปาเป้า ฟุตซอล เปตอง และกีฬามหาสนุก การ แข่งขันเป็นไปด้วยความตื่นเต้น สนุกสนานกันทั้งนักกีฬาและกองเชียร์ โดยผลชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ เจ้าภาพ สช. 14 คะแนน อันดับที่ 2 HITAP 11 คะแนน อันดับที่ 3 IHPP 8 คะแนน อันดับที่ 4 สพฉ. 8 คะแนน อันดับที่ 5 สรพ. 6 คะแนน และ สวรส. (ถือคติ ‘แพ้เป็นพระ’) เข้าป้ายเป็นอันดับที่ 6 ได้ 5 คะแนน ...แว่วว่าทีมกีฬา สวรส.กำลังเร่งวิเคราะห์หาจุดอ่อนจาก การแข่งขันครั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ปรับปรุงเตรียมการแข่งขันในปีต่อไป..!! โดยในปีหน้า สพฉ. ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน

วันสำคัญ ในรอบเดือน

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก เป็นวันที่ได้รับการ

ประกาศจากองค์ ก ารสหประชาชาติ ตรงกั บ วั น ที่

5 มิถุนายน ของทุกปี สืบเนื่องมาจากโลกของเราเกิด วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและรู้ทันเหตุการณ์ จึงได้มีการจัดประชุมใหญ่ ระดับโลกขึ้นที่ กรุงสตอกโฮลม์ ประเทศสวีเดน ในช่วง วันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยมีรัฐบาลของสวี เดนเป็นประธานในการประชุมในครั้งนั้น

9 มิ ถุ น ายน

วั น อานั น ทมหิ ด ล เป็ น วั น คล้ า ย

วั น เสด็ จ สวรรคตของพระบาทสมเด็ จ พระปรเมนทร-

มหาอานั น ทมหิ ด ล พระอั ฐ มรามาธิ บ ดิ น ทรพระ

ผู้ พ ระราชทานกำเนิ ด คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยในทุกปีจะมีการจัดงาน “วันอานันทมหิดล” ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่ ท รงได้ ส ร้ า งคุ ณู ป การต่ อ วงการแพทย์ แ ละการศึ ก ษา เพื่ อ เป็ น การเผยแผ่ พ ระเกี ย รติ คุ ณ ให้ เ ป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ใ ห้ พสกนิกรได้ร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์สืบไป

21 มิถุนายน วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้า-

บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรง ราชานุ ภ าพ ซึ่ ง ในโอกาสที่ ปี พ.ศ.2555 ครบ 150 ปี และครบ 50 ปี ที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นบุคคล สำคัญของโลกคนแรกของไทย เมื่อปี 2505 ทรงเป็นกำลัง สำคัญของ รัชกาลที่ 5 มีบทบาทในการพัฒนาประเทศ ให้ ก้ า วหน้ า หนึ่ ง ในนั้ น คื อ ทรงก่ อ ตั้ ง กรมพยาบาล ปั จ จุ บั น คื อ กระทรวงสาธารณสุ ข และมี อี ก หลาย กระทรวง หลายกรม ที่ทรงเป็นผู้ริเริ่ม

26 มิถุนายน

วันต่อต้านยาเสพติดโลก เป็นไป ตามมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพื่อต่อต้าน การใช้ยาในทางที่ผิด และค้ายาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยหมายความถึงยาเสพติด ซึ่งถือเป็นวันสำคัญประจำ ปี ม าตั้ ง แต่ ก ารประกาศเมื่ อ 26 มิ ถุ น ายน พ.ศ. 2531

(ค.ศ. 1988) เหตุที่กำหนดเป็นวันนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ การถอนสัมปทานการค้าฝิ่น ก่อนสงครามฝิ่นครั้งแรก โดยนายอำเภอหลิน เจ๋อสวี ตำบลหู่เหมิน มณฑลกวางตุ้ง

HSRI Forum : เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ วิกฤตและทางออก

15


แบ่งปันความรู้โดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

สามารถดาวน์โหลดจุลสาร HSRI Forum ได้ที่ www.hsri.or.th สอบถามเพิ่มเติม หน่วยสื่อสารความรู้และขับเคลื่อนสังคม โทร 0-2832-9245 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ซ.สาธารณสุข 6 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2832-9200 โทรสาร 0-2832-9201 www.hsri.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.