SE Catalag รวมกิจการเพื่อสังคมไทย

Page 1

SE Catalog

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ การเดินทางสู่สังคมที่ยั่งยืน SE Let’s Journey

SE Catalog

รวมกิ จ การ เพื่ อ สั ง คมไทย

รวมกิ จ การ เพื่อสังคมในไทย


Social Problem +

Business Planning

x Passion

= Social Enterprise ปัญหาสังคม + แผนธุรกิจทีด่ ี x ความตัง้ มัน่ ทีจ่ ะช่วยเหลือ = กิจการเพือ่ สังคม


SE CATALOG

รวมกิจการ เพือ่ สังคมในไทย

คณะผู้จัดท�ำ Be Magazine ผลิตโดย บริษทั ชิล ชิล แคปปิตัล จ�ำกัด เลขที่ 2 ซอยอินทามระ 35 ถนนสุทธิสาร แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 บรรณาธิการ ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ ภัทราวรรณ สุขมงคล ออกแบบปก พงศ์ธร ยิ้มแย้ม ช่างภาพ ปกาสิต เนตรนคร นวมินทร์ กุลประดิษฐ์ สุตสาย สังหาร กฤตภาส สุทธิกิตติบุตร สกลยุทธ มธุรประทีป วัจนนท์ ภาคะ เกรียงศิกดิ์ ปรีชาศิลป์ นักเขียน ปรัญชัย ฮวดชัย ปริยาภรณ์ สุขสีทอง พิสูจน์อักษร ปณาลี ดงขันตี ประสานงานการผลิต ธชวรรณ แก้วชนะ จัดพิมพ์โดย ส�ำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) เลขที่ 979 ชั้น 15 อาคาร เอส.เอ็ม ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2298 0500 ต่อ 2130 โทรสาร 0 2298 0500 ต่อ 2114 Email info@tseo.or.th Website www.tseo.or.th โรงพิมพ์ บริษัท แอคมี พรินติ้ง จ�ำกัด โทร. 0 2260 4972-3 แยกสี คลาสสิคสแกน โทร. 0 2291 7575 ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ

คณะผู้จัดท�ำรวมกิจการเพื่อสังคมในไทย SE Catalog รวมกิจการเพื่อสังคมในไทย - กรุงเทพฯ : บริษัท ชิล ชิล แคปปิตัล ก�ำจัด, 2555 304 หน้า ISBN : 978-616-235-127-3

Editorial ที่ผ่านมา...การพัฒนาประเทศตามแนวทางระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของโลก ได้สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันผลของการพัฒนา กลับสร้างผลกระทบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ...ความเหลื่อมล�ำทางเศรษฐกิจ และสังคม ...ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ...สุขภาพร่างกาย และจิตใจถูกบั่นทอน ด้วยกระแสบริโภคนิยม “กิจการเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise ที่เรียกว่า SE จึงเป็นมิติใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อย่างยั่งยืน ซึ่งให้ความส�ำคัญต่อการพัฒนา ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม เป็นการประสานความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ ผลตอบแทนทางสังคม และผลตอบแทนทางการเงิน โดยมี หัวใจของการบริหารจัดการด้วย “คุณธรรม” และ “ความพอเพียง” ไม่เบียดเบียนสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม หาก แต่มุ่งเน้นการเข้าไปพัฒนา และแก้ไขปัญหาต่างๆ ของสังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ (Social Innovation) มีรูปแบบการด�ำเนินการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน พร้อมน�ำก�ำไรส่วนใหญ่กลับไปลงทุนในกิจการ เพื่อ ขยายกิจการให้คืนกลับมาดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคม “SE Catalog รวมกิจการเพื่อสังคมในไทย” เล่มนี้ จึงเป็นเสมือนแผนที่ธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ ที่รวบรวมกิจการ เพื่อสังคมที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบทั้งบริษัท หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรสาธารณะประโยชน์ เครือข่าย องค์กรชุมชน และผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่พร้อมมาปักหมุด ก�ำหนดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต ว่าจะก้าวเดินไปอย่างไร ซึ่งผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมเหล่านี้ได้ลุกขึ้นก้าวเดินไปในเส้นทางของกิจการเพื่อสังคม แล้ว ส�ำหรับผู้สนใจที่จะมาร่วมเดินทางไปด้วยกันในเส้นทางสายกิจการเพื่อสังคม ยังมีพื้นที่ให้เราได้บุกเบิกเส้นทาง สายใหม่ๆ อีกเสมอ ตราบใดที่ทุกคนมุ่งมั่นว่าต้องการเห็นชุมชนและสังคมดีขึ้นกว่าเดิม หรือรูปแบบการสนับสนุน กิจการเพื่อสังคมไทย ด้วยการอุดหนุนและเลือกใช้สินค้า และบริการจากกิจการเพื่อสังคม ก็เป็นการให้ที่ยั่งยืน เพราะสิ่งที่เราสนับสนุนไม่ได้ตกไปอยู่ที่ผู้ใดผู้หนึ่ง หากแต่คืนกลับสู่สังคม เป็นการขับเคลื่อนภาคธุรกิจให้เติบโต เคียงข้างสังคมที่ยั่งยืน กว่า 80 กิจการเพือ่ สังคม ทีม่ รี ายชือ่ ปรากฏอยูใ่ นหนังสือเล่มนี้ เป็นเพียง “ตัวอย่าง” บางส่วนเท่านัน้ แท้จริงแล้ว ในประเทศไทยยังมีกิจการที่เข้าข่ายเป็นกิจการเพื่อสังคมอยู่อีกเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งไม่แน่...หนังสือเล่มนี้ อาจจุด ประกาย และเป็นแรงบันดาลใจ ให้หลายกิจการผันตนเองมาท�ำกิจการเพื่อสังคม ซึ่งเท่ากับว่าเป็นนิมิตรหมาย ที่ดีของการพัฒนาประเทศไทย สู่ระบบเศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางสู่สังคมที่ยั่งยืน SE Let’s Journey


สารจากผู้จัดการกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สารจากผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.)

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์

คุณมงคล เกษมสันต์ ณ อยุธยา

ปัญหาสังคมไทยปัจจุบัน นับวันซับซ้อนมากขึ้น ขอบเขตของปัญหาขยาย วงกว้างขึ้นเป็นอย่างมาก เกี่ยวข้องกับงานในหลากหลายด้านพร้อมๆ กัน การแก้ปัญหาโดยภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอและทั่วถึงได้ จึงท�ำให้เกิดรูปแบบการท�ำงานแบบใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมต่างๆ ได้ อย่างตรงจุด มีประสิทธิภาพ และมีความยัง่ ยืน ทีเ่ รียกว่า Social Enterprise หรือ กิจการเพื่อสังคมขึ้น แนวคิ ด ของกิ จ การเพื่ อ สั ง คม คื อ การ ด�ำเนินงานหรือกิจการที่มีเป้าหมายหลักเพื่อ แก้ไขปัญหาของสังคม แต่มีความแตกต่าง จากการด�ำเนินงานแบบเดิม ที่น�ำแนวคิดการ บริ ห ารงานที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพของภาคธุ ร กิ จ เข้ า มาใช้ ใ นการด� ำ เนิ น งานอย่ า งครบวงจร เพื่อท�ำให้กิจการเพื่อสังคมสามารถอยู่รอดได้ โดยไม่ ต ้ อ งพึ่ ง งบประมาณจากแหล่งทุนอื่น หรือเงินบริจาค สามารถสร้างรายได้เพื่อท�ำให้ กิ จ การมี ค วามยั่ ง ยื น และมี ค วามสามารถ ในการขยายงานให้ ก ว้ า งขวางขึ้ น ในขณะ เดียวกันก็สามารถแก้ไขปัญหาของสังคมได้ อย่างมีประสิทธิภาพไปพร้อมๆ กัน Social Enterprise จึ ง นั บ เป็ น ทางออกของการแก้ ปัญหาสังคม ที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ที่ สังคมไทยต้องหาทางน�ำแนวคิดนี้มาประยุกต์ ใช้ในประเทศไทย หัวใจของกิจการเพื่อสังคมประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกคือ Passion หรือแรงบันดาลใจ คนที่ ม าด� ำ เนิ น การกิ จ การเพื่ อ สั ง คมต้ อ งมี แรงบันดาลใจอย่างแรงกล้าที่อยากแก้ปัญหา สั ง คม เพราะกิ จ การเพื่ อ สั ง คมไม่ ใ ช่ ง านที่ ท�ำได้โดยง่าย หากไม่มีความตั้งใจจริงแล้ว ยากที่จะส�ำเร็จได้ ส่วนที่สองคือ Innovation หรือนวัตกรรม เป็นส่วนที่ส�ำคัญมาก ต้องใช้ ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดที่นอกกรอบ จึงจะสามารถคิดกระบวนที่แตกต่างและสร้าง วิธีการท�ำงานแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่า วิธีการแบบเดิมได้ ส่วนสุดท้ายคือ Business กิจการเพื่อสังคมต้องสามารถน�ำกระบวนการ

เชิ ง ธุ ร กิ จ มาประยุ ก ต์ ใ ช้ ไ ด้ อ ย่ า งเหมาะสม เพื่อให้การจัดการมีประสิทธิภาพ วัดผลได้ และสามารถพัฒนาให้กิจการเติบโตขึ้นอย่าง ต่อเนื่องและมั่นคง กิ จ การเพื่ อ สั ง คมถึ ง แม้ จ ะเป็ น ค�ำ ใหม่ ในวงการพั ฒ นาระดั บ โลก แต่ ที่ จ ริ ง แล้ ว ประเทศไทยมีองค์กรที่ด�ำเนินงานในลักษณะ กิจการเพื่อสังคมมานานหลายสิบปีแล้ว ถึงแม้ จะไม่ได้เรียกตัวเองว่าเป็นกิจการเพื่อสังคม ก็ตาม แต่ก็มีแนวคิดและวิธีการที่เข้ากับองค์ ประกอบของกิ จ การเพื่ อ สั ง คมในเกื อ บทุ ก ประการ องค์กรเหล่านี้สามารถเป็นต้นแบบ ให้สังคมไทยได้ศึกษา และเรียนรู้ เพื่อพัฒนา กิจการเพื่อสังคมให้เหมาะสมกับบริบทของ สังคมไทยต่อไป ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) เล็งเห็นว่าการส่งเสริม “กิจการ เพื่อสังคม” สอดคล้องกับพันธกิจของ สสส. ที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างเสริม สุขภาวะที่ดีของคนไทยในทุกมิติ ภาครัฐจึงควร ส่ ง เสริ ม กิ จ การเพื่ อ สั ง คมไทยให้ ข ยายตั ว อย่างกว้างขวาง โดยมีมาตรการในการส่งเสริม และสนับสนุน เช่น มาตรการทางด้านภาษี กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ รวมทั้งองค์กร ตัวกลางเพื่อจัดการทางการเงินและการลงทุน ในกิจการเพื่อสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ผูป้ ระกอบการภายใน SE Catalog เล่มนี้ จึ ง เปรี ย บเสมื อ นตั ว แทนกลุ ่ ม คนที่ ม องเห็ น ปัญหา และได้ลงมือแก้ไขปัญหานั้นๆ อย่าง จริงจังและเกิดผล โดยกระบวนการของกลุ่ม

ผู้ประกอบการเหล่านี้น่าจะแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง แนวคิดใหม่ๆ ที่ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสามารถจุ ด ประกายได้ ทั้ ง ในส่ ว นของ ผู้ประกอบการด้วยกันเอง คนทั่วไป และคน รุน่ ใหม่ทใี่ ห้ความสนใจในเรือ่ งปัญหาสังคมและ อยากลงมือแก้ปัญหา อาจจะมีประสบการณ์ บ้างหรือไม่มีประสบการณ์ก็แล้วแต่ ได้เกิดแรง บันดาลใจ และตกผลึกทางความคิดเมื่อได้ เห็นตัวอย่างจากต้นแบบที่ดี จนสามารถคิดหา วิธกี ารแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้หลากหลายมากขึน้ และสามารถลุกขึ้นมาท�ำอะไรเพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงด้วยตนเองได้ ปัญหาสังคมขณะนี้กว้างและซับซ้อนมากขึน้ กว่าแต่กอ่ น ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งของอาหารการกิน ความเป็ น อยู ่ สภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม ไปจนถึ ง เรื่องของความเหลื่อมล�้ำในสังคม และกลุ่มผู้ ด้อยโอกาส ด้วยเหตุนี้การรวบรวมกิจการเพื่อ สังคมในด้านต่างๆ แบ่งเป็นหมวดหมูห่ ลากหลาย ใน SE Catalog เล่มนี้ จึงถือเป็นการรวมการ บูรณาการแก้ปญั หา ซึง่ หวังจะท�ำให้ผอู้ า่ นได้เกิด มุมมองในเรือ่ งปัญหาสังคมทีก่ ว้างขึน้ สามารถ เชื่อมโยงต่อยอด และร่วมกันสนับสนุนกิจการ เพื่อสังคมให้เติบโตได้ต่อไป

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์

ลักษณะของกิจการเพื่อสังคม เป็นการประสานความสัมพันธ์ระหว่าง ธุรกิจ ผลตอบแทนในด้านสังคม สิง่ แวดล้อม และผลตอบแทนทางการเงิน โดยมีพนื้ ฐานจากความสนใจของเจ้าของกิจการ (Social Entrepreneur) ที่ต้องการสร้างผลตอบแทนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้รูปแบบการ บริหารจัดการของธุรกิจและท�ำประโยชน์แก่สังคมร่วมกัน

ส� ำ นั ก งานสร้ า งเสริ ม กิ จ การเพื่ อ สั ง คม แห่งชาติ หรือ สกส. ได้จัดตั้งขึ้นตามมติคณะ รัฐมนตรี เพื่อสนับสนุน ประสานความร่วมมือ และเชื่อมโยงไปสู่ทิศทางการพัฒนาศักยภาพ ของ “กิจการเพื่อสังคม” ซึ่งเป็นกิจการรูปแบบ ใหม่ทภี่ าครัฐและเอกชนก�ำลังจับตามอง เพราะ เป็นกิจการที่มีเป้าหมายอย่างชัดเจนในการ แก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม รวมถึง สิง่ แวดล้อมเป็นหลัก และเพือ่ ให้เกิดความยัง่ ยืน ของกิจการ มากกว่าการมุง่ แสวงหาผลก�ำไรเพียง อย่างเดียว ที่ผ่านมา สกส. ได้ด�ำเนินการผลักดัน เชื่อมโยง และพัฒนากลไกในการขับเคลื่อน กิ จ การเพื่ อ สั ง คมให้ มี ค วามเข้ ม แข็ ง ในการ ด�ำเนินกิจการ ภายใต้ภารกิจหลัก 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น • การสร้างการรับรู้ และการเรียนรู้เรื่อง กิจการเพื่อสังคม เพื่อผลักดันให้เกิดผลอย่าง เป็นรูปธรรม • การพัฒนารูปแบบ และขีดความสามารถ ของกิจการ เพื่อให้การสนับสนุนกิจการเพื่อ สังคม • การพัฒนาช่องทางการเข้าถึงแหล่ง เงิ น ทุ น และประสานผู ้ เ ชี่ ย วชาญ เพื่ อ เพิ่ ม ศักยภาพให้กับกิจการเพื่อสังคม • การผลักดันให้นโยบายและกฎหมาย ต่างๆ ที่สนับสนุนกิจการเพื่อสังคม รวมทั้ ง สกส. ยั ง ได้ เ ปิ ด โอกาสให้ ผู ้ ประกอบการ และผู้สนใจรายใหม่ๆ ร่วมเป็น ส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนกิจการเพื่อสังคม

ด้ ว ยการจั ด ตั้ ง กองทุ น ต้ น แบบเพื่ อ ส่ ง เสริ ม การเริ่มต้นกิจการเพื่อสังคม การจัดประกวด แผนกิจการเพื่อสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยสร้าง แรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคม รายใหม่ๆ ได้มองเห็นศักยภาพของตน และ ร่วมพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เพื่ออนาคตจะได้ เติบโตเป็นเครือข่ายกิจการเพื่อสังคมที่แข็งแรง อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากิจการเพื่อสังคม ในต่างประเทศจะได้รับการยอมรับในการแก้ ปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจได้จริง แต่ส�ำหรับสังคมไทย เรื่องนี้ยังนับว่าเป็นเรื่อง ใหม่ ดังนั้นการจะขับเคลื่อนให้กิจการเหล่านี้ เติบโตได้อย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน จ�ำเป็นต้อง ได้รับการพัฒนา และสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง เพือ่ ให้เกิดการรวมพลัง ช่วยเหลือซึง่ กันและกัน รวมทั้งต้องบ่มเพาะองค์ความรู้ด้านต่างๆ โดยหลักการแล้วกิจการเพือ่ สังคมมีรปู แบบ การบริหารจัดการไม่ตา่ งจากการท�ำธุรกิจทัว่ ไป แต่มีความแตกต่างที่ผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneur) จะต้องมีใจที่มุ่งมั่น ตั้งต้นที่จะท�ำธุรกิจเพื่อมาแก้ไขปัญหาในภาค สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นส�ำคัญ และจะต้อง ดูแลกิจการของตนเองให้อยู่ได้อย่างยั่งยืนและ ต่อเนื่อง เพราฉะนั้นอีกหนึ่งช่องทางที่ทาง สกส. จะ สนับสนุนและสร้างเสริมกิจการเพือ่ สังคม ก็คอื การจัดท�ำ SE Catalog เล่มนี้ เพื่อรวบรวม กิจการเพื่อสังคม ให้เกิดการรับรู้ต่อสังคมใน เรื่องของ Social Enterprise มากขึ้น และช่วย

ประชาสัมพันธ์สนิ ค้าและบริการของกิจการเพือ่ สังคมให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ซึ่งหนังสือ เล่มนีจ้ ะถูกเผยแพร่ไปยังภาคเอกชน หน่วยงาน ภาครัฐทีเ่ กีย่ วข้องกับ สกส. และภาคประชาชน ต่างๆ เพื่อให้ได้มีโอกาสรับรู้ และสนับสนุน กิจการเพื่อสังคม ให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งนอกจากจะท�ำให้กิจการเพื่อสังคมแข็งแกร่ง แล้ว การสนับสนุนและอุดหนุนสินค้าและบริการ ในกิจการเพือ่ สังคม ยังเป็นการช่วยแก้ไขปัญหา สังคมและชุมชนได้อย่างต่อเนื่องตลอดไป

คุณมงคล เกษมสันต์ ณ อยุธยา


ความแตกต่างของค�ำว่า CSR, Social Enterprise และ Social Business บทสัมภาษณ์คณ ุ สฤณี อาชวานันทกุล

CSR: Corporate Social การผลิตสินค้าจะเป็นไปเพื่อช่วยเหลือกลุ่ม Responsibility “การด�ำเนินธุรกิจอย่างมี เป้าหมายของการด�ำเนินกิจการ เช่น ผลิตสินค้า ความรับผิดชอบต่อสังคม”

และบริการเพื่อน�ำเงินรายได้ไปช่วยเหลือเด็ก ด้อยโอกาส ท�ำให้โดยโครงสร้างองค์กรแล้ว กิจการเพื่อสังคมบางรูปแบบอาจดูคล้ายธุรกิจ ทั่ ว ไป ที่ มี ก ารจั ด ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ ผลิ ต สิ น ค้ า และ บริการออกจ�ำหน่าย แต่จะต่างกันตรงที่เป็น กิจการที่ก่อตั้งขึ้นโดยมุ่งแก้ปัญหาสังคมและ สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็คำ� นึง ถึงความยั่งยืนทางการเงินของกิจการไปด้วย โดยวิธีการจ�ำแนกธุรกิจทั่วไปออกจากกิจการ เพื่อสังคมสามารถดูได้จาก สมมุติมีสินค้าที่ มีแววว่าตลาดจะโตเร็ว เช่น ผลิตภัณฑ์จาก เกษตรอินทรีย์ ธุรกิจทั่วไปจะเข้ามาท�ำตลาด ในผลิตภัณฑ์นี้เพื่อขยายตลาด เพื่อท�ำผลก�ำไร ให้กับกิจการ แต่กิจการเพื่อสังคมจะเข้ามา ท�ำโดยเห็นว่า ผลิตภัณฑ์จากเกษตรอินทรีย์ สามารถส่งเสริมเกษตรกรในหลายๆ ด้าน ไม่วา่ จะเป็นท�ำให้รายได้สงู ขึน้ สุขภาพดีขนึ้ รวมทัง้ ผู้บริโภคเองก็จะมีสุขภาพที่ดีขึ้น ทั้งนี้ จะต้อง มีวิธีการที่แสดงให้เห็นว่า ประโยชน์ต่างๆ นั้น ส่ง ผ่า นไปถึ งกลุ ่ม เป้ า หมายของกิ จ การจริง เช่น มีการส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน เป็นสหกรณ์ หรือในกรณีที่จัดท�ำในรูปองค์กร ไม่แสวงผลก�ำไร มีการเขียนโครงการขอเงิน สนับสนุนกิจการ ผู้สนับสนุนก็จะต้องสามารถ Social Enterprise “กิจการเพือ่ สังคม” รู้ได้ว่า แต่ละบาทแต่ละสตางค์ที่บริจาคไปนั้น การที่มีแนวคิดจะจัดตั้งเป็น Enterprise เดินทางไปถึงส่วนไหนที่ระบุไว้ในโครงการเป็น หรือเป็นกิจการนั้น จึงต้องมีการจดทะเบียน จ�ำนวนเท่าไหร่และอย่างไรบ้าง มีตัวตน แสดงให้เห็นว่ามีความต้องการด�ำเนิน กิจการอย่างต่อเนื่อง มีระบบการสืบทอดการ Social Business “ธุรกิจเพือ่ สังคม” เป็ น หน่ ว ยย่ อ ยของกิ จ การเพื่ อ สั ง คม บริหารงานที่ชัดเจน มีระบบการบริหารจัดการ สร้างความยั่งยืนทางการเงินที่ชัดเจน อาจจัด เป็นรูปแบบหนึ่งของการท�ำกิจการเพื่อสังคม ตั้งในรูปองค์กรแสวงหาผลก�ำไรหรือองค์กร เช่นเดียวกับการท�ำกิจการเพื่อสังคมในรูปแบบ ไม่แสวงหาผลก�ำไรก็ได้ ในกรณีที่เป็นองค์กร การจั ด ตั้ ง องค์ ก รไม่ แ สวงผลก� ำ ไร แต่ จ ะมี ไม่แสวงผลก�ำไร ลักษณะการด�ำเนินงานจะ ลักษณะของการจดทะเบียนเป็นธุรกิจ ซึ่งใน ไม่ใช่แค่ขอรับบริจาค หรือการเขียนโครงการ ความหมายของการท�ำ ธุ ร กิ จ ก็ ต ้ อ งมี โ มเดล ขอทุ น มาท� ำ โครงการไปเรื่ อ ยๆ หรื อ ได้ ทุ น ธุรกิจชัดเจน มีการผลิตสินค้าและบริการ แต่ ครั้งหนึ่ง ท�ำเสร็จครั้งหนึ่งแล้วก็หายไป แต่ เป้าหมายก็เป็นไปเพื่อสังคม เช่น การรับซื้อ จะมีแนวทางของความยั่งยืนทางการเงินของ หนั ง สื อ มื อ สองมาขายบนเว็ บ เพื่ อ น� ำ เงิ น ไป กิจการที่ชัดเจนกว่านั้น หากเป็นกรณีองค์กร ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา ลักษณะ แสวงผลก�ำไร ซึ่งมีการผลิตสินค้าและบริการ ส� ำ คั ญ ที่ ธุ ร กิ จ เพื่ อ สั ง คมพึ ง มี ก็ คื อ ผู ้ ถื อ หุ ้ น ออกจ�ำหน่าย ต้องชัดเจนว่าผลประโยชน์จาก สามารถถอนทุนคืนได้ แต่จะต้องไม่ได้รับเงิน

เป็ น การท� ำ ธุ ร กิ จ ที่ แ ตกต่ า งจากธุ ร กิ จ ทั่วไป คือ แทนที่จะให้ความส�ำคัญกับการท�ำ ก�ำไรสูงสุด ผูกพันธกิจของการด�ำเนินธุรกิจ ไว้กับความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ถือหุ้นเป็นหลัก เพียงอย่างเดียว แล้วปล่อยให้ความรับผิดชอบ อื่นๆ เป็นหน้าที่ของกฎหมาย เช่น ปล่อยให้ ผู ้ บ ริ โ ภคเป็ น ความรับผิดชอบของกฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภค ก็หันไปให้ความส�ำคัญต่อ ความรับผิดชอบต่อส่วนต่างๆ ของสังคม ที่มี ส่วนได้เสียอันเนื่องมาจากการด� ำเนินธุรกิจ มากขึ้ น เช่ น ด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ โดยใส่ ใ จความ รับผิดชอบของธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม แรงงาน ผู้บริโภค เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบัน บางส่วน ได้พฒั นาไปเป็น Corporate Social Sustainability หรื อ “การด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ เพื่ อ สั ง คมที่ ยั่ ง ยื น ” กล่าวคือ ไม่ว่าจะ CSR หรือ CSS ก็ยังเป็น กิจการที่มีเป้าหมายในการท�ำก�ำไร แต่ผนวก เอาแนวคิดในการค�ำนึงถึงความรับผิดชอบต่อ ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อการด�ำเนินธุรกิจเข้าไปในการด�ำเนินกิจการ ด้วย ไม่วา่ จะมีกฎหมายคุม้ ครองเป็นลายลักษณ์ อักษรหรือไม่ก็ตาม

ปันผล หรือห้ามจ่ายทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ก�ำไร ส่วนเกินจากต้นทุนจะต้องเก็บไว้ใช้ในการบริหาร เงินเพือ่ ประโยชน์แก่สงั คมตามเป้าหมายองค์กร เช่น ที่อังกฤษจะมีกฎหมายก�ำหนดไว้เลยว่า จ่ายปันผลได้ไม่เกินยี่สิบเปอร์เซ็นต์ หรือถ้า บริษทั ล้มเลิกกิจการไป ก็หา้ มกระจายสินทรัพย์ กลับไปให้ผถู้ อื หุน้ ต้องส่งมอบให้กลุม่ เป้าหมาย ในการด�ำเนินกิจการ จากความหมายของการด�ำเนินกิจการ ดังกล่าวข้างต้น จึงอาจกล่าวได้ว่า สามารถ แยกประเภทของการด� ำ เนิ น กิ จ การต่ า งๆ ตามวัตถุประสงค์และการด�ำเนินการดังนี้คือ CSR เป็นการด�ำเนินกิจการเพื่อแสวงหาก�ำไร สูงสุดให้กับองค์กร แต่ด�ำเนินการอย่างมีความ รับผิดชอบต่อสังคม โดยค�ำนึงถึงทุกภาคส่วนใน สังคมที่มีส่วนได้เสียกับการด�ำเนินธุรกิจ ไม่ว่า กฎหมายจะก�ำหนดไว้หรือไม่ก็ตาม ส�ำหรับ Social Enterprise เป็นการก่อตัง้ กิจการ เพื่อมุ่งหวังแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคมเป็น เป้าหมายหลัก โดยจะด�ำเนินการในรูปองค์กร แสวงผลก�ำไรหรือไม่ก็ได้ หากเป็นองค์กรไม่ แสวงผลก�ำไร ต้องมีรูปแบบการบริหารจัดการ ที่แสดงถึงความยั่งยืนขององค์กร แต่หากเป็น องค์กรแสวงผลก� ำไร หรืออยู่ในรูป Social Business จะต้องน�ำก�ำไรทีไ่ ด้ไปใช้เพือ่ การแก้ไข ปัญหาหรือพัฒนาสังคมตามวัตถุประสงค์ใน การก่อตั้ง ไม่มีการปันผลก�ำไรให้กับผู้ถือหุ้น หรือหากมี ก็ต้องเป็นสัดส่วนที่ไม่มากไปกว่า การน�ำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคม ตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งองค์กร

SE CATALOG

รวมกิจการ เพือ่ สังคมในไทย


Contents Product & Service ผลิตภัณฑ์ วัสดุและบริการ 14 สหกรณ์กรีนเนท 18 B.R.E.A.D. 22 Plan Toys 26 Try Arm 30 เขาค้อทะเลภู 34 เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน 38 แดรี่โฮม ออร์แกนิคมิลค์ 42 ไทยคราฟท์ แฟร์เทรด 46 Osisu 50 วิสาหกิจชุมชน ปทุมธานี (ตลาดนัดสีเขียว) 54 กลุ่มช่างชุมชนบางบัว 58 บ้านศักยภาพ 62 Urban Tree 66 ร้านศุภพัฒ 70 เลมอนฟาร์ม 74 บริษัท 141 จ�ำกัด 78 กรีนไทยโปรดักส์ 82 ธนาคารขยะออมทรัพย์ 86 นะโม น�ำมนต์ ฟาร์ม 90 ผักปลอดสาร เขตทวีวัฒนา 94 ศูนย์ศกึ ษาและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ เรนโบว์ ฟาร์ม 98 กาแฟอาข่า อ่ามา 102 บริษัท ศิรดา โปรดักส์ จ�ำกัด 106 ร้านปันกัน

206 My Social Motion

เขาค้อทะเลภู

Food อาหาร

Education การเรียนรู้และการศึกษา

มูลนิธสิ ถาบันส่งเสริม การจัดการความรู้ เพือ่ สังคม (สคส.)

Osisu

30

112 Cabbages & Condoms 116 ไข่ไก่อุดมชัยฟาร์ม 120 My Home 124 มังคุด คาเฟ่ By Club Arts 128 Be Organic By Lemon Farm 132 เป็นสุข 136 Friends’ Cafe 140 ครัวใส่ใจ

46

154

62

ซี แอนด์ ซี เขาใหญ่ รีสอร์ท

Urban Tree

124

146 Thai Handi Club 150 มูลนิธิกองทุนไทย 154 มูลนิธสิ ถาบันส่งเสริมการจัดการความรูเ้ พือ่ สังคม (สคส.) 158 เครือข่ายวิถีชีวิตเกษตรกรรมยั่งยืน 162 มูลนิธิศูนย์อบรมเกษตรกรรมและอาชีพ 166 Math Game Center

มังคุด คาเฟ่ By Club Arts

284

280

บ้านกลางทุง่ ออร์แกนิคโฮม

Distribution การขนส่ง 172 BikeXenger

Media สื่อ 178 BE Magazine 182 Freehap 186 กลุ่มละครมะขามป้อม 190 สนพ.มูลนิธิเด็ก 194 สนพ.หมอชาวบ้าน 198 Begin Do Good 202 เคียงบ่า เคียงไหล่ 206 My Social Motion 210 ป่าใหญ่ครีเอชั่น 214 Fuse 218 Mini Me Studio 222 บริษัท สวนเงินมีมา จ�ำกัด 226 สนพ.ผีเสื้อ 230 นิตยสารสารคดี 234 Green Living 238 สนพ.ธรรมสภา 242 Why Not 246 AHEAD WAY

Tourism ท่องเที่ยว 252 Bike and Travel 256 โฮมสเตย์บ้านท่าขันทอง 260 โบ๊ทเฮ้าส์ แหลมสิงห์โฮมสเตย์ 264 หาดสองแควโฮมสเตย์ 268 ไม้เค็ดโฮมสเตย์ 272 บ้านดงโฮมสเตย์ 276 Birds & Bees Resort 280 บ้านกลางทุ่ง ออร์แกนิคโฮม 284 ซี แอนด์ ซี เขาใหญ่ รีสอร์ท 288 ชุมพร คาบาน่า รีสอร์ทและศูนย์กีฬาด�ำน้ำ 292 โฮมสเตย์เบิ่งวัฒนธรรมหมอล�ำบ้านปลาค้าว 296 โฮมสเตย์บ้านแม่ก�ำปอง 300 โฮมสเตย์บ้านสามขา

ภาคผนวก

304 ภาคผนวก


Product & Service ผลิตภัณฑ์ วัสดุและบริการ


SECatalog 14

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

LIVE FAIR, LIVE ORGANIC

“สหกรณ์กรีนเนท” เกษตรอินทรีย์ครบวงจร

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : สหกรณ์กรีนเนท จ�ำกัด ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณวิฑรู ย์ ปัญญากุล (ประธานสหกรณ์กรีนเนท) และคุณวิบูลย์ เข็มเฉลิม (ประธานมูลนิธิสายใยแผ่นดิน) ที่อยู่ : เลขที่ 6 ซอยพิบูลอุปถัมภ์-วัฒนา นิเวศน์ 7 ถนนสุทธิสาร แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ : 0 2277 9380-1, 0 2277 9653 E-mail : info@greennet.or.th Website : www.greennet.or.th

นอกจากราคาปุ๋ยและสารเคมีที่เป็นต้นทุนหลักหนึ่งในการสร้างผลผลิต ยังมีเรื่องการถูกกดราคาของ พ่อค้าคนกลาง ได้กลายเป็นความชินใจ ชินหูของผู้บริโภคอย่างเราๆ ไปเสียแล้ว ซึ่งหากมองกันตามจริง เราเป็นประเทศที่ถูกขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมการเกษตร แต่เกษตรกรคนลงแรงตัวจริง กลับได้รับผลตอบแทนที่ไม่สูงนัก ด้วยเพราะยังขาดความรู้เรื่องตลาด ท�ำให้ไม่สามารถเรียกร้องต่อรอง ราคาที่ยุติธรรมได้

สหกรณ์ ก รี น เนท เป็ น องค์ ก รที่ ถู ก จั ด ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ ช่ ว ยแก้ ป ั ญ หาเรื่ อ งเศรษฐกิ จ ของ เกษตรกร รวมไปถึงส่งเสริมให้มีการท�ำเกษตร อินทรีย์ ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการ ท� ำ เกษตรอิ น ทรี ย ์ จ ากมู ล นิ ธิ ส ายใยแผ่ น ดิ น ซึ่ ง เป็ น วิ ธี ก ารแก้ ไ ขปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ มใน พื้ น ที่ เ พาะปลู ก ของเกษตรกรได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น โดยมีการจัดจ� ำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร ในระบบการค้าที่เป็นธรรม หรือ แฟร์เทรด ซึ่งเป็นระบบที่ผู้ผลิตเองได้มีส่วนร่วมในเรื่อง การก�ำหนดราคา ด้วยการมองเห็นสภาพปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ของ เกษตรกรในเรือ่ งปัญหาสภาพดิน ความแห้งแล้ง ระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม จากการใช้สาร เคมีในการเพาะปลูก ทีส่ ง่ ผลเสียต่อสุขภาพของ เกษตรกรและผู้บริโภค คุณวิฑูรย์ ปัญญากุล ผู้ร่วมก่อตั้งสหกรณ์กรีนเนท จึงมีความตั้งใจ มุ่งเน้นส่งเสริมการสร้างผลผลิตแบบเกษตร อินทรีย์อย่างแท้จริงที่ไม่ใช่เพียงการไม่ใช้ปุ๋ย หรือสารเคมี แต่ยิ่งกว่านั้นคือการอนุรักษ์และ ฟื้นฟูพื้นที่ท�ำการเกษตร เพิ่มความหลากหลาย

ผลผลิตจาก ธรรมชาติ ผูบ้ ริโภคปลอดภัย ซื้อได้ในราคา เป็นธรรม

15


SECatalog 16

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ของพืชพรรณ พัฒนาระบบเกษตรเพื่อความยั่งยืนผสม ผสานการค้าที่เป็นธรรมไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ยัง ส่งเสริมการแปรรูป เช่น สินค้าประเภทข้าว กาแฟ และ ธัญพืชต่างๆ เพื่อช่วยสร้างมูลค่าให้กับสินค้ามากขึ้น ส่วนเรือ่ งราคาขาย เกษตรกรเองจะมีสว่ นร่วมในการ ก�ำหนดราคา ทีน่ อกจากเกษตรกร ผูท้ อี่ ยูใ่ นระบบสหกรณ์ จะได้รับเงินปันผลจากการถือหุ้นแล้ว ยังมีรายได้อีกส่วน หนึ่งเรียกว่า ส่วนแฟร์เทรดพรีเมียม ซึ่งส่วนนี้จะถูกน�ำ ย้อนกลับมาสู่ชุมชน โดยเกษตรกรเองเป็นคนก�ำหนดได้ ว่าต้องการน�ำเงินไปท�ำอะไร เช่น น�ำไปพัฒนาพื้นที่เพาะ ปลูกเมื่อเกิดปัญหาน�้ำท่วม หรือฝนแล้ง เป็นต้น ตลาดในปัจจุบนั เริม่ ให้ความสนใจในการร่วมกิน ร่วมใช้ และ ร่วมส่งเสริมสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของทั้งเกษตรกรไทยและผู้บริโภคเอง ที่นอกจากจะได้กินของดี มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อสุขภาพ แล้วยังมีส่วนได้ช่วยสังคมอีกด้วย

17

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. สร้างช่องทางการตลาดในการจัดจ�ำหน่าย สินค้าให้กับเกษตรกร และให้ผลตอบแทนที่เป็น ธรรม เกษตรกรเองมีส่วนร่วมในการก�ำหนด ราคาขายได้ เพิ่มช่องทางเลือกสินค้าออร์แกนิค ให้แก่ผู้บริโภค 2. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน ส่งเสริมองค์ ความรู้เรื่องการท�ำเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน ให้กับเกษตรกรในท้องถิ่นและชุมชน 3. ท�ำโครงการกาแฟอินทรีย์ เพื่อการอนุรักษ์ ป่าไม้อย่างยัง่ ยืน เพือ่ รักษาพืน้ ทีป่ า่ กว่า 6,000 ไร่ ใน 7 หมู่บ้าน

Product & Service สินค้าและบริการ

1. จ� ำ หน่ า ยสิ น ค้ า เกษตรอิ น ทรี ย ์ ทั้ ง ในและ ต่างประเทศ อาทิเช่น ชาใบหม่อนเกษตรอินทรีย์ บรรจุ 20 ซองชง ราคา 115 บาท ข้าวหอมมะลิ อินทรีย์ กก.ละ 65 บาท ถัว่ เหลืองเกษตรอินทรีย์ 450 กรัม ราคา 42 บาท พืชผักต่างๆ และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากผ้า พืน้ เมือง เช่น ผ้าเช็ดตัวฝ้ายเกษตรอินทรีย์ สีขาว 285 บาท สีตุ่น 315 บาท ผ้าอ้อมฝ้ายเกษตร อินทรีย์ หนึ่งชุดมี 3 ชิ้น สีขาว 580 บาท/ชุด สีตุ่น 620 บาท มีวางจ�ำหน่ายที่ ท็อปส์ ซูเปอร์ มาร์เก็ต วิลล่า มาร์เก็ต สยามพารากอน และ ร้านจ�ำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพ

SIA ผลกระทบทางสังคม

ปั ญ หาเศรษฐกิ จ ของเกษตรกร จากการถู ก เอาเปรี ย บราคาผลผลิ ต รวมไปถึ ง ปั ญ หาสิ่ ง แวดล้อมและสุขภาพจากสารเคมีในการเพาะ ปลู ก ท� ำ ให้ เ มื่ อ มี ก ารจั ด ตั้ ง สหกรณ์ ก รี น เนท นอกจากจะเกิดช่องทางในการกระจายสินค้าสู่ ตลาดในราคาที่เป็นธรรม รายได้ปันผลกลับสู่ ชุมชนแล้ว สิ่งแวดล้อมยังได้รับการฟื้นฟูจาก องค์ ค วามรู ้ เ รื่ อ งการท� ำ เกษตรอิ น ทรี ย ์ และ ผลผลิตจากธรรมชาติยังส่งผลดีต่อสุขภาพต่อ ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคอีกด้วย


SECatalog 18

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

B.R.E.A.D. กิจการเอกชนเพื่อสังคมการศึกษา ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางด้าน การศึกษามีมานานและยังคงมี อยู่จนปัจจุบัน จ� ำนวนเด็กไม่รู้ หนังสือในชนบทยังมีจ�ำนวนมาก หลายคนไม่ มี โ อกาสได้ เ รี ย น เนื่ อ งจากขาดแคลนทุ น ทรั พ ย์ เมื่ อ หน่ ว ยงานรั ฐ ไม่ ส ามารถ ดูแลได้ทั่วถึง หน่วยงานเอกชน และคนทีม่ กี ำ� ลังพร้อมขับเคลือ่ น สั ง คมจึ ง ไม่ ส ามารถนิ่ ง เฉยกั บ เยาวชนเหล่านี้ได้

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท ธุรกิจเพื่อการศึกษา และพัฒนาชนบท จ�ำกัด หรือ B.R.E.A.D. (Business for Rural Education and Development) ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณมีชัย วีระไวทยะ ที่อยู่ : เลขที่ 6 ซอยสุขุมวิท 12 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 0 2229 4611 ต่อ 711, 705 E-mail : breadbkk@gmail.com Website : www.bread.co.th

B.R.E.A.D. (Business for Rural Education and Development) หรือบริษัท ธุรกิจ เพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท จ�ำกัด คืออีก หนึ่งความพยายามของ คุณมีชัย วีระไวทยะ ที่คิดอยากเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านวิธีคิดใหม่ๆ บนความเชื่ อ ที่ ว ่ า ไม่ มี ป ระเทศใดในโลกที่ รัฐบาลสามารถช่วยเหลือหรือดูแลประชาชนได้ อย่างสมบูรณ์ นั่นจึงเป็นหน้าที่หนึ่งของภาค เอกชนหรือผู้ที่มีความพร้อมกว่า ในการเข้ามา ร่วมมือกันช่วยเหลือหรือสนับสนุน เพื่อท�ำให้ สังคมโดยรวมเติบโตขึ้นได้ กิจการ B.R.E.A.D. จึงถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อ สนับสนุนการด�ำเนินงานของโรงเรียนมัธยม มีชัยพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ให้โอกาสเด็ก ยากไร้ที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวสามารถเข้าเรียนที่ โรงเรียนแห่งนี้ได้โดยวิธีจับฉลาก และไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น จากรายได้ของกิจการ 3 ด้านหลักๆ คือ เป็นผูผ้ ลิตข้าวสารบรรจุถงุ ในยีห่ อ้ “ข้าวโรงเรียน” รับผลิตหรือออกแบบของพรีเมียม ของขวัญ และของที่ระลึกให้แก่บริษัทต่างๆ และยังมี โครงการสุขใจ ซึง่ เป็นโครงการรับบริจาคเสือ้ ผ้า และของใช้ ไ ม้ ส อยคุ ณ ภาพดี จ ากผู ้ เ หลื อ ใช้ เพื่อน�ำไปจ�ำหน่าย โดยก�ำไรทั้งหมดหลังหัก ค่าใช้จ่าย จะถูกน�ำไปใช้เพื่อพัฒนานักเรียน และโรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งขณะนี้มีนักเรียนทั้งสิ้นประมาณ 120 คน และนอกจากให้โอกาสทางการศึกษาแล้ว ยังมี การปลูกฝังเรื่องการแบ่งปันให้กับเด็กๆ โดย มอบหมายหน้าที่ที่นักเรียนของโรงเรียนต้องท�ำ เช่น ในแต่ละปีนักเรียนต้องบ�ำเพ็ญสาธารณประโยชน์ 400 ชั่วโมงร่วมกับผู้ปกครอง และ ช่วยกันปลูกต้นไม้จำ� นวน 400 ต้น ทัง้ ยังปลูกฝัง ความเป็นผู้น�ำ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนเป็น หนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกครูอีกด้วย

19


SECatalog 20

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. โครงการสุขใจ เปิดรับบริจาคเสือ้ ผ้าและของใช้ คุณภาพดีเพือ่ น�ำไปจ�ำหน่าย สามารถบริจาคได้ที่ ร้านอาหาร “Cabbages and Condoms” สุขุมวิท ซอย 12 หรือการเป็นผู้รวบรวมของ บริ จ าค ในกรณี ที่ เ ป็ น นั ก เรี ย นหรื อ นั ก ศึ ก ษา ก็ ส ามารถรวบรวมของต่ า งๆ ทั้ ง จากภายใน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือชักชวนให้เพื่อนๆ มามี ส ่ ว นร่ ว มกั น บริ จ าคได้ โดยติ ด ต่ อ ไปที่ breadbkk@gmail.com เพือ่ ขจัดความยากจน และให้การสนับสนุนด้านการศึกษาทัว่ ประเทศไทย 2. เพิ่มพื้นที่การศึกษาให้เด็กยากไร้ ได้มีโอกาส เข้าเรียนหนังสือ โดยการกระจายโรงเรียนออกสู่ จังหวัดต่างๆ

Product & Service สินค้าและบริการ

1. จ�ำหน่ายข้าวสารหอมมะลิ 100% บรรจุถุง ตราข้าวโรงเรียน 150 กรัม ราคา 14 บาท 1 กก. ราคา 60 บาท และ 5 กก. ราคา 210 บาท ซึ่งเป็น โครงการข้าวจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียน มั ธ ยมมี ชั ย พั ฒ นา กั บ ชาวนาโดยรอบใน จ.บุรีรัมย์ เพื่อหารายได้สนับสนุนกิจกรรมของ โรงเรียน 2. รั บ ผลิ ต สิ น ค้ า พรี เ มี ย มที่ ร ะลึ ก ของขวั ญ อาทิ พวงกุญแจ USB Flash Drive เสื้อยืด และถุงผ้า เป็นต้น

เพิม่ พืน้ ทีก่ ารศึกษาให้แก่เด็กยากไร้ ได้มโี อกาสเรียนฟรี โดยแลกกับการปลูกต้นไม้ 400 ต้น

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาการศึกษาของเด็กยากไร้ในชนบท ท�ำให้เกิดโรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนาขึ้น เพื่อให้ เด็กในพื้นที่สามารถเข้าเรียนได้โดยไม่เสียค่า ใช้จ่าย กิจการ B.R.E.A.D. จึงถูกก่อตั้งขึ้นมา เพื่ อ หารายได้ ม าสนั บ สนุ น กิ จ กรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น พร้อมพัฒนาการศึกษาแก่โรงเรียนมัธยมมีชัย พัฒนา

21


SECatalog 22

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

23

PLAN TOYS ของเล่นคิดเพื่อโลก

ของเล่นหลากสี หลายดีไซน์ที่มีวางขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด หลายครั้งก็ท�ำเราลืมตัวกลายร่างเป็น เด็กอยากเล่นเสียเอง เพราะนอกจากของเล่นในยุคนี้จะถูกออกแบบมาเพื่อความสนุกแล้ว ยังเลือกใช้ วัสดุอย่างดี ใส่ใจสิ่งแวดล้อม แถมยังช่วยเรื่องพัฒนาการได้อีกต่างหาก

PLAN TOYS คือแบรนด์ของเล่นไม้ยางพารา ส�ำหรับเด็ก ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการความคิด ร่างกาย และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งแนวคิด ของเล่ น ทุ ก ชิ้ น เกิ ด มาจากปั ญ หาที่ ว ่ า ด้ ว ย ทุกวันนี้ของเล่นหลายชนิดไม่เหมาะสมกับเด็ก เนื่องจากวัสดุที่ใช้อาจไม่ปลอดภัย และเป็น ของเล่นทีไ่ ม่เหมาะสมกับช่วงวัย อาจท�ำให้เพิม่ ความก้าวร้าวต่อการแสดงออก และมีผลเสียต่อ พัฒนาการเด็กได้ คุณวิฑรู ย์ วิระพรสวรรค์ ผูก้ อ่ ตัง้ และประธาน บริษทั จึงเกิดแนวคิดในการผลิต ด้วยความตัง้ ใจ ที่ต้องการให้เด็กได้เล่นของเล่นที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัย รวมถึงมีการออกแบบให้ของเล่นมี ลักษณะที่เรียบง่ายสวยงามแต่สามารถเสริม พัฒนาการเรียนรู้ตามช่วงวัยได้เป็นอย่างดี จึงเกิดเป็นของเล่นเสริมพัฒนาการที่ใช้วัสดุ ไม้ยางจากธรรมชาติ และเลี่ยงการใช้สารเคมี ทีก่ อ่ ให้เกิดอันตราย รวมไปถึงการใช้สที มี่ คี วาม

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท แปลน ครีเอชั่นส์ จ�ำกัด ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณวิฑูรย์ วิระพรสวรรค์ ที่อยู่ : เลขที่ 114/1 ซอยสาทร 10 (ศึกษาวิทยา) ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ : 0 2237 9070 E-mail : mktg@plantoys.com Website : www.plantoys.com

ปลอดภัยสูงและยังคงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุที่น�ำ กลับมาใช้ใหม่ได้ นอกจากนี้ PLAN TOYS ยั ง จั ด ตั้ ง พิพธิ ภัณฑ์เด็ก ทีร่ วบรวมความรูต้ า่ งๆ เกีย่ วกับ ของเล่น และมีการจัดกิจกรรมกับเด็กในชุมชน


SECatalog 24

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ต่างๆ เพื่อเสริมทักษะพัฒนาการจากการเล่น ไปพร้อมกับการให้ความรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อม และยังมีโครงการของเล่นเพือ่ เด็กพิเศษ ด้วยการ ออกแบบของเล่นเพื่อเด็กที่มีความบกพร่อง โดยเฉพาะ ด้วยความเข้าใจในความแตกต่าง ของเด็กที่ท�ำให้ไม่สามารถเล่นของเล่นตาม ปกติได้ จากความตั้งใจมุ่งมั่นในการผลิตของเล่นที่ ปลอดภัย และส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ไป พร้อมๆ กับรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นของเล่นจาก ไม้ที่น่าสนับสนุนทั้งในด้านการออกแบบ และ แนวความคิด

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

25

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

เสริมจินตนาการ สร้างการเรียนรู้ กับของเล่นไม้ยาง รักษ์โลก

1. PLAN TOYS ของเล่นไม้ยางพาราส�ำหรับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัยที่เหมาะสม ผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม 2. โครงการของเล่นเพือ่ เด็กพิเศษ ผลิตของเล่น ส�ำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา เด็ก ออทิสติก และเด็กสมองพิการ เพื่อแก้ไขปัญหา และเสริมสร้างพัฒนาการ 3. พิพิธภัณฑ์เด็ก สถานที่ส�ำหรับเยาวชนเพื่อ การเรียนรูผ้ า่ นการเล่น กระตุน้ จินตนาการ พร้อม ให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพไปพร้อมๆ กัน

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ผลิตภัณฑ์ PLAN TOYS มีจ�ำหน่ายทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ เป็นผลิตภัณฑ์ของเล่น ท�ำจากไม้ยางพาราที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็กและ ไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม แบ่งประเภทของเล่นตาม อายุ เ พื่ อ ให้ เ หมาะสมกั บ พั ฒ นาการของเด็ ก ได้แก่ PLAN BABY, PLAN PRESCHOOL, PLAN ACTIVITY, PLAN LARGESCALE, PLAN DOLLHOUSE และ PLAN CITY หาซื้อ ได้ที่ห้างสรรพสินค้าชั้นน�ำ อาทิ Central, Zen และ Isetan

SIA ผลกระทบทางสังคม

ด้วยของเล่นหลายอย่างในปัจจุบนั มีกระบวนการ ผลิตที่เป็นอันตรายจากสารเคมี และสิ่งปนเปื้อน และไม่เหมาะสมกับช่วงวัย ท�ำให้ PLAN TOYS มีความตั้งใจผลิตของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการ และมี ค วามปลอดภั ย ต่ อ เด็ ก เป็ น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล้อม และออกแบบของเล่นส�ำหรับเด็กพิเศษ ทีม่ คี วามบกพร่องทางสายตา เด็กออทิสติก และ เด็กสมองพิการ รวมไปถึงการปลูกฝังความเข้าใจ เรื่องสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กๆ


SECatalog 26

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

27

TRY ARM ชุดชั้นในจากกลุ่มสตรีผู้ ไม่ยอมแพ้

เรายังจ�ำกันได้ดีกับข่าวการปลดพนักงานอย่างไม่เป็นธรรมของบริษัทชุดชั้นในแบรนด์ดัง จนเกิด การประท้วงเรียกร้องสิทธิ ท�ำให้เกิดการเคลื่อนไหวต่อสู้ของพนักงานตัวเล็กๆ กว่าพันคน เพื่อเรียก ร้องความยุติธรรม มาถึงวันนี้พวกเธอได้พิสูจน์แล้วว่า แม้จะถูกเอาความยุติธรรมไป แต่ทักษะความ สามารถนั้น ใครก็เอาไปไม่ได้

Try Arm เป็นทั้งชื่อแบรนด์ชุดชั้นในและ ชื่อเรียกกลุ่มสหภาพแรงงานสตรีกลุ่มหนึ่งที่ ก่อตั้งขึ้นเพื่อแสดงพลังแห่งการต่อสู่จากการ ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม จนถึงวันนี้ได้ล่วง เลยผ่านมากว่า 3 ปีแล้ว แต่พวกเธอเหล่านั้น ยั ง คงด� ำ เนิ น การผลิ ต สิ น ค้ า ด้ ว ยพลั ง ใจอั น เต็มเปี่ยมที่พร้อมฟันผ่าอุปสรรคและต่อสู้กับ ชีวิตด้วยทักษะอาชีพเพียงอย่างเดียวที่มีคือ การตัดเย็บชุดชัน้ ใน พร้อมเครือ่ งมือหาเลีย้ งชีพ ที่เสมือนแขนขาคือ จักรเย็บผ้า คุณจิตรา คชเดช และกลุม่ สมาชิก Try Arm จ�ำนวนกว่า 1,959 คน ร่วมกันท�ำงานแบบไม่มใี คร เป็นลูกน้องหรือนายจ้าง โดยจัดสรรให้พนักงาน ที่ตกงานมีทางเลือกในการประกอบอาชีพที่ตน

มีทกั ษะความช�ำนาญ โดยแบ่งหน้าทีเ่ ป็น 8 แผนก คือ แผนกตัด แผนกเย็บ แผนกปูผา้ แผนกขาย แผนกเช็คงาน แผนกจัดซือ้ วัตถุดบิ แผนกการตลาด และแผนกการเงิน พนักงานทุกคนจะได้สว่ นแบ่ง เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดการขายทั้งหมด โดยที่ Try Arm ยังคงเน้นในเรือ่ งคุณภาพทีด่ ใี ห้แก่ลกู ค้า เมือ่ สินค้ามีคณุ ภาพ การจ�ำหน่ายก็จะได้มากขึน้ พนักงานทุกคนก็จะมีรายได้เพิม่ มากขึน้ รวมทัง้ ผู้ซื้อยังได้ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและซื้อได้ใน ราคาที่ยุติธรรมอีกด้วย นอกเหนือจากนี้ กลุ่มพนักงาน Try Arm ยังร่วมกันท�ำกิจกรรมเพื่อสังคมมากมาย อาทิ การมอบเงินบริจาคช่วยเหลือผูเ้ ดือดร้อนในช่วง อุทกภัย การระดมเงินเพื่อซื้อวัตถุดิบตัดเย็บ

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : Try Arm ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณจิตรา คชเดช และ กลุ่มสมาชิก TRY ARM ทีอ่ ยู่ : เลขที่ 425/2 ซ.สุขมุ วิท 115 (ซอยอภิชาติ) อยู่ใกล้คาร์ฟูปู่เจ้าสิงพราย ต�ำบลส�ำโรงเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ : 08 7020 6672, 08 7926 5231 E-mail : tryarm.underwear@gmail.com ning2475@hotmail.com bus4530219@hotmail.com Website : www.tryarm.org www.facebook.com/tryarm และ tryarm.blogspot.com


SECatalog 28

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

และที่ส�ำคัญคือการค�ำนึงถึงผู้บริโภค เพื่อให้ เกิดความมั่นใจได้ว่าสินค้ามีคุณภาพเทียบเท่า แบรนด์ ใ นท้ อ งตลาด พร้ อ มเปิ ด โอกาสให้ ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการก� ำหนดราคาและ คุณภาพสินค้าที่เป็นธรรมระหว่างกัน เพื่อให้ การต่ อ สู ้ เ พื่ อ อาชี พ และรายได้ ยั ง คงด� ำ เนิ น การค้าเป็นธรรม เป็นแฟชั่นในสังคมไทย (Fair ต่อไป Try Arm ยึดถือวิธีด�ำเนินการผลิตแบบ Trade Fashion) ด้วยหวังว่าคนไทยจะหันมา สหกรณ์และยึดหลักประชาธิปไตยในองค์กร เลือกซื้อสินค้าที่ผลิตโดยคนไทยด้วยกันเอง เสื้ อ ผ้ า เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ระสบอุ ท กภั ย กว่ า 1,000 ตัว อีกทั้งยังจัดกิจกรรมลดราคาสินค้า 30% หากแจ้งความจ�ำนงว่าจะน�ำไปบริจาคให้ ผู้ประสบอุทกภัยและผู้เดือนร้อน

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ชุดชั้นในจากฝีมือ คนไทยมาตรฐาน ส่งออก ในราคา เป็นธรรมทั้ง ผู้ผลิตและผู้ซื้อ

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. การพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานส่ง ออก เพื่อให้เทียบเท่าแบรนด์ท้องตลาด เพื่อให้ ลูกค้าได้ใช้สินค้าที่มีมาตรฐาน และพนักงานก็จะ มีรายได้อย่างต่อเนื่อง

Product & Service สินค้าและบริการ

1. Try Arm จ�ำหน่ายชุดชั้นในสตรีและบุรุษที่มี หลากหลายเนือ้ ผ้า อาทิ ผ้าฝ้ายคอตตอน 100% และเนื้อผ้าฝ้ายผสมสเปนเดกที่ให้ความยืดหยุ่น กระชับ และสวมใส่สบาย คุณภาพเดียวกันกับ ยี่ห้อแบรนด์ชั้นน�ำ ในราคา 79-120 บาท มีวาง จ�ำหน่ายทีห่ น้าโรงงานผลิต ห้างสรรพสินค้า และ สัง่ ซือ้ ผ่านเว็บไซต์ นอกจากนีย้ งั มีการจัดออกร้าน ตามสถานที่ต่างๆ รวมถึงการส่งออกไปยังต่าง ประเทศ อาทิ ญีป่ นุ่ เดนมาร์ก และสวิตเซอร์แลนด์

SIA ผลกระทบทางสังคม

ปัญหาการตกงานจากการเลิกจ้างทีไ่ ม่เป็นธรรม ท�ำให้พนักงานพันกว่าคนลุกขึน้ มารวมกลุม่ จัดตัง้ TRY ARM แบรนด์ชดุ ชัน้ ในของคนไทย ท�ำให้เกิด การสร้างงานและรายได้อย่างเป็นธรรม พนักงาน มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ มีการแบ่ง ปันผลก�ำไรอย่างยุติธรรม รวมไปถึงก่อให้เกิด การค้าแฟร์เทรด ที่ราคาสินค้ามีความเหมาะสม กับคุณภาพ ซึง่ เทียบเท่าแบรนด์ในท้องตลาดและ สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ ผูบ้ ริโภคเอง ยังได้มีโอกาสใช้สินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เป็น ธรรม นับเป็นกิจการเพือ่ พนักงาน เพือ่ ผูบ้ ริโภค และเพือ่ สังคม

29


SECatalog 30

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

เขาค้บุกเบิอกป่ทะเลภู ารกร้าง

31

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท เขาค้อทะเลภู จ�ำกัด ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณสนธิ์ ชมดี ที่อยู่ : เลขที่ 137 หมู่ 5 ต�ำบลทุ่งสมอ อ�ำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67270 โทรศัพท์ : 0 5675 0061-2 โทรสาร : 0 5675 0063 E-mail : talaypu@khaokhonaturalfarm. com Website : www.khaokhonaturalfarm.com

สู่ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ เพื่อเกษตรไทย

เริ่มต้นกับการเปลี่ยนป่ารกร้างให้เป็นแปลงผักเกษตรอินทรีย์ขนาดใหญ่ มีผลผลิตออกจ�ำหน่าย เหลือ ก็น�ำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สีเขียวมากมายจนกลายมาเป็นบริษัท เขาค้อทะเลภู จ�ำกัด โดย คุณสนธิ์ ชมดี ผู้ก่อตั้งกิจการนี้ จนเป็นกิจการเพื่อสังคมสีเขียวสดใส ที่ใส่ใจเรื่องของสุขภาพและความเป็นไป อย่างมีความสุขของมนุษย์

ระยะเวลากว่า 20 ปี ทีเ่ ขาค้อทะเลภูได้ดแู ล ผลิตภัณฑ์ ดูแลแปลงเกษตรอินทรีย์ ดูแลสุขภาพ ของผู้คน และช่วยเหลือเกื้อกูลความเป็นอยู่ ของชาวเกษตรกรเกษตรอินทรีย์มาโดยตลอด โดยให้ความช่วยเหลือในรูปแบบของการเป็น แหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานแก่เกษตรกรจากทั่ว ประเทศ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน และกัน การให้ความรู้เกษตรอินทรีย์ เรื่องการ แปรรูปวัตถุดิบสร้างมูลค่า โดยใช้หลักการที่ว่า ท�ำงานน้อยลงแต่รายได้มากขึน้ ทัง้ ยังเพือ่ กระตุน้ ให้มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ โดยเฉพาะ พืช ผัก ผลไม้ และสมุนไพร โดยมุ่งหวังให้เป็น ศูนย์การผลิต จ�ำหน่าย วิจัยค้นคว้าและพัฒนา จุดนีท้ ที่ ำ� ให้ชาวบ้านมีรายได้มากขึน้ และกิจการ

ของเขาค้อทะเลภูกส็ ามารถอยูไ่ ด้ และไม่ใช่เพียง แค่เกษตรกรที่จะได้รับความรู้ในส่วนนี้ บุคคล ทัว่ ไปทีส่ นใจก็สามารถมาศึกษาเรือ่ งของเกษตร อินทรีย์ได้ในรูปแบบของการท่องเที่ยวที่ทาง เขาค้อทะเลภูมีบริการ นอกจากนี้ เขาค้อทะเลภูยังใส่ใจและ ส่งเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรบางรายด้วยการ รับซือ้ ผลผลิตทีใ่ ห้ราคายุตธิ รรม แต่ถา้ ไม่มตี ลาด ในการขายผลผลิต ทางเขาค้อทะเลภูกจ็ ะรับซือ้ โดยไม่มีข้อผูกมัด ท�ำให้เกษตรกรยิ้มแป้น และ พยายามสร้างผลผลิตให้มคี ณุ ภาพต่อไป หลักๆ ที่รับซื้อก็คือ ข้าวเกษตรอินทรีย์ เพื่อส่งเสริมให้ ชาวนาหันมาปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น นั่นเอง ทั้งยังเล็งเห็นถึงผู้บริโภค เพื่อที่จะได้มี


SECatalog 32

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

33

แหล่งเรียนรู้ เกษตรอินทรีย์ เน้นการอยู่แบบ พึ่งตัวเอง แบ่ง ปันรายได้สู่ภาค เกษตรกร Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม Product & Service สินค้าและบริการ

ทางเลือกในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร ต่อตัวเอง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกทาง มากขึ้น แต่มอี ยูส่ งิ่ หนึง่ ทีท่ างเขาค้อทะเลภูตอ้ งพยายาม กันในระยะยาวก็คอื การเพิม่ เกษตรกรเชิงเกษตร อินทรีย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย เพราะเกษตรกร ยังคงยึดอยู่กับตลาดเกษตรเคมีที่สร้างก�ำไรได้ มากกว่า เกษตรอินทรียท์ หี่ าตลาดค่อนข้างยาก และได้ผลผลิตที่อาจจะไม่สวยเท่าเกษตรเคมี และนี่คือ สิ่งที่ทางเขาค้อทะเลภูก�ำลังพยายาม ส่งเสริม สนับสนุนเกษตรอินทรีย์ให้มีมากขึ้น

1. เขาค้อทะเลภู รีสอร์ทระดับคุณภาพทั้งเรื่อง การบริ ก ารและผลิ ต ภั ณ ฑ์ ท� ำ เกษตรกรรม ธรรมชาติที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ซึ่งเป็น วิธีการได้มาซึ่งอาหารที่ดีเป็นธรรมชาติ และไม่มี สิ่งแปลกปลอมหรือสารเคมีตกค้างในร่างกาย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2. การแปรรูปผลิตภัณฑ์ของเขาค้อทะเลภูใช้ วัตถุดิบของตนเองและในชุมชนท้องถิ่นเป็นหลัก หลี ก เลี่ ย งการใช้ ส ารพิ ษ ในการผลิ ต และมุ ่ ง ค้นคว้าน�ำสารจากธรรมชาติมาทดแทนสารเคมี สังเคราะห์ ภายใต้หลักการค้าที่เป็นธรรม ส่งผล ให้สามารถสร้างรายได้ และปรับปรุงคุณภาพ ชีวิตของชาวบ้านในชุมชน ทั้งที่เป็นพนักงานและ คู่ค้าของบริษัท 3. เป็นศูนย์การผลิต จ�ำหน่าย วิจัยค้นคว้าและ พัฒนาองค์ความรูต้ า่ งๆ และพร้อมทีจ่ ะถ่ายทอด และแลกเปลี่ ย นความรู ้ ดั ง กล่ า วให้ แ ก่ ผู ้ ส นใจ ทั้งภาครัฐและเอกชน 4. ศูนย์กลางวัตถุดบิ และผลิตภัณฑ์ภมู ปิ ญ ั ญาไทย เพื่อการพึ่งตนเอง (ศวต.) ผลิตและจ�ำหน่าย วั ต ถุ ดิ บ และผลิ ต ภั ณ ฑ์ เป็ น เวที แ ลกเปลี่ ย น ประสบการณ์ของเครือข่ายต่างๆ

1. สามารถเลือกซือ้ สินค้าออร์แกนิคทีผ่ ลิตขึน้ เอง ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงการแปรรูป อาทิ ข้าวและ ธัญพืช ชาสมุนไพร อาหารเสริม แชมพู สบู่ สมุนไพร น�ำ้ มันมะพร้าว ขีผ้ งึ้ สมุนไพร ยาสมุนไพร ที่ ม าในรู ป แคปซู ล ต่ า งๆ เป็ น ต้ น สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพองค์รวม เขาค้อทะเลภู โทร. 0 5675 0061-2 2. ร้านอาหารครัวทะเลภู เพื่อสุขภาพ เป็นครัว ไร้สารพิษ ซึง่ ผักและผลไม้มาจากการเพาะปลูกใน แปลงเขาค้อทะเลภู สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติม ได้ที่โทร. 0 5675 0061-2 3. เปิดร้านจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์สาขากรุงเทพฯ ร้านไทสบาย 38 ถ.เทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 โทร. 0 2246 1397 4. รี ส อร์ ท เขาค้ อ ทะเลภู มี 4 แบบให้ เ ลื อ ก พั ก ผ่ อ น คั น ทรี เ ลคโฮม บ้ า นไม้ ริ ม ทะเลสาบ จ�ำนวน 11 หลัง พักได้ 4 ท่าน คืนละ 3,000 บาท บ้ า นอุ ่ น ไอดิ น ในบรรยากาศป่ า เขา จ� ำ นวน 50 หลังพักได้ 2 ท่าน ราคาคืนละ 1,200 บาท ทั บ เถี ย งนา บ้ า นไม้ ใ นรู ป แบบบ้ า นชนบทกั บ บรรยากาศริมทุ่ง พักได้ 2 ท่าน จ�ำนวน 2 หลัง คืนละ 1,200 บาท ร่มเงาสน เรียงรายล้อมรอบ

ใต้ทิวสนและสวนดอกไม้ พักได้ 2 ท่าน จ�ำนวน 14 หลัง คืนละ 700 บาท

SIA ผลกระทบทางสังคม

ปัญหาคุณภาพชีวติ ของคนไทย การบริโภคของที่ ไม่ เ ป็ น ประโยชน์ ห รื อ นิ ย มแต่ ข องตะวั น ตก ท�ำให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ การละเลยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ อย่ า งมั่ ง คั่ ง ในประเทศ การละเลยการใช้ ภูมิปัญญาไทยในด้านต่างๆ ท�ำให้เขาค้อทะเลภู ได้ น� ำ แนวคิ ด ที่ ใ ช้ ภู มิ ป ั ญ ญาบวกทรั พ ยากร ธรรมชาติ และสร้างเกษตรอินทรีย์เพื่อความ ยั่งยืน ส่งผลให้เกษตรกรเริ่มหันมาท�ำเกษตร อินทรีย์เพิ่มมากขึ้น สามารถส่งเสริมผลิตภัณฑ์ เกษตรอินทรียส์ ผู่ บู้ ริโภค เพิม่ ช่องทางการตลาด เกษตรอินทรีย์ ได้มากขึ้น และช่วยเพิ่มรายได้ ให้กับเกษตรกรด้วยชุดความรู้เรื่องการแปรรูป


SECatalog 34

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

The Innovator “เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน” พลังอินทรีย์

จากสภาพอากาศแห้งแล้ง กอปรกับการท�ำเกษตรแบบเชิงเดี่ยวเป็นระยะเวลานาน พรากความอุดม สมบูรณ์ของไร่นาในภาคอีสานของไทย ทั้งแรงเหวี่ยงจากสังคมที่หันไปสู่กระแสของบริโภคนิยม ได้ส่งผลกระทบต่อชาวนาชาวไร่ชนบทต้องประสบภาระหนี้สิน จนเกิดค�ำถามที่น่าคิดว่า เมื่อไรกระดูก สันหลังของชาติจะสามารถเงยหน้าลืมตาอ้าปากกันได้เสียที

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน จ�ำกัด ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณนาวี นาควัชระ ที่อยู่ : เลขที่ 199 หมู่ 5 บ้านหนองเชือก ต�ำบลเมืองแก อ�ำเภอสตึก จังหวัดบุรรี มั ย์ 31150 โทรศัพท์ : 08 1947 1174 E-mail : jacknawee@gmail.com

เครื อ ข่ า ยนวั ต กรรมชาวบ้ า น จั ง หวั ด บุรีรัมย์ เป็นบริษัทเกษตรอินทรีย์ชุมชนแบบ ครบวงจรที่มองเห็นในปัญหานั้น ท�ำงานเชื่อม โยงกั บ ชุ ม ชน ทั้ ง วั ต ถุ ดิ บ การผลิ ต และจั ด จ�ำหน่าย รวมทั้งการบริการ ในเชิงสาธารณะ ประโยชน์ไม่ใช่พ่อค้านายทุนหวังกอบโกยก�ำไร จุดเริ่มต้นกิจการเพื่อสังคมแห่งนี้เมื่อ 3 ปี ก่อน มาจาก คุณนาวี นาควัชระ ต้องการมุง่ พัฒนา ความรู้ เทคนิค และวิธีการแก้ไขปัญหาชีวิต เกษตรกร แต่การระดมทุนในแบบมูลนิธิหรือ องค์กรการกุศลไม่อาจช่วยได้อย่างยั่งยืน จึงมี

แนวคิดจัดตั้งเป็นรูปแบบบริษัท มีการด�ำเนิน กิจการอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เพื่อช่วยเหลือ พี่น้องเกษตรกร โดยใช้ชื่อว่า บริษัท นวัตกรรม ชาวบ้าน จ�ำกัด เพือ่ สร้างกระบวนการเรียนรูก้ าร ท�ำเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมี ในเครือข่าย ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ว่ากันว่าเป็น จังหวัดที่ยากจนที่สุดของเมืองไทย ด้วยการผสมผสานแนวคิดน�ำภูมิปัญญา ท้องถิ่นบวกวิทยาการสมัยใหม่ การท�ำงาน ของเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน จึงออกมา เป็นรูปแบบที่เกษตรกรเป็นทั้งผู้ผลิต เน้นข้าว อินทรีย์เป็นหลัก ขณะเดียวกันบางส่วนเป็น

ผู้วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาทิ พันธุ์ข้าว ปุ๋ยอินทรีย์เม็ดคุณภาพเทียบปุ๋ยเคมีแต่ราคา ต�่ำกว่า 3 เท่า และตัวแทนจัดจ�ำหน่ายผ่าน สมาชิกเครือข่าย ท�ำการตลาดโดยใช้ระบบ MLM (Multi Level Marketing) โดยที่ลูกค้า กลายมาเป็นสมาชิกที่ได้สิทธิพิเศษในการซื้อ ผลิตภัณฑ์ราคาถูก กระจายในชุมชนที่เป็น ร้านสะดวกซื้อคล้ายสหกรณ์ นับเป็นกิจการ แรกในเมืองไทยที่ท�ำเกษตรอินทรีย์ระบบนี้ นอกจากสมาชิ ก กว่ า 300 ครอบครั ว ครอบคลุมพืน้ ทีน่ าทัง้ ภาคอีสาน กลาง และเหนือ จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดอกผลที่เกิดตามคือ

35


SECatalog 36

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

สิ่งแวดล้อมได้รับการฟื้นฟู ดินคืนความอุดม สมบูรณ์ สารพิษตกค้างในนาเริ่มจางหายไป ชาวบ้านที่เคยป่วยก็ได้ธรรมชาติเป็นยาบ�ำบัด และสินค้าอินทรีย์ยังตกไปถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ ใส่ใจในการรักษาสุขภาพตัวเองยังมีอาหาร ปลอดภัยไว้ใจได้รับประทาน ท้ายทีส่ ดุ คุณนาวีได้กล่าวเอาไว้วา่ การท�ำให้ชวี ติ คนมีความสุขมากขึน้ คนทีไ่ ด้บริโภคสินค้าเรามี ความสุข ตัวเกษตกร คนยากคนจนมีความสุข นั่นคือความส�ำเร็จของเรา

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

37

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

น�ำภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมแนวคิด สมัยใหม่ สร้างเครือข่ายอินทรีย์ พัฒนาชีวิตยั่งยืน

1. ถ่ า ยทอดองค์ ค วามรู ้ ด ้ า นเกษตรอิ น ทรี ย ์ ช่วยให้เกษตรกรมีก�ำไรและคุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ 2. เป็นแหล่งทุนให้เกษตรกรอินทรียท์ เี่ ป็นสมาชิก ด้วยไมโครเครดิตส�ำหรับสมาชิก เป็นระบบผ่อน ช�ำระสินค้า และระบบการกูย้ มื เงินในอัตราดอกเบีย้ ร้อยละ 4 ต่อปี 3. ส่งเสริมและสนับสนุนการท�ำเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษลดปัญหาการสะสมของสารเคมี ในร่างกาย น�ำมาซึง่ สุขอนามัยทีด่ ใี ห้แก่เกษตรกร และผู้บริโภค 4. นวัตกรรมต่างๆ เช่น เตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูง ระบบก๊าซชีวภาพ ระบบน�ำ้ หยดและมินสิ ปริงเกอร์ และโครงการฝึกอบรมสร้างบ้านดิน ธนาคาร พันธุ์พืชและธนาคารพันธุ์สัตว์

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ผลิ ต ภั ณ ฑ์ข ้าวอิ นทรี ย์ อาทิ ข้าวหอมนิล ข้าวหน่วยเขือ ข้าวประกาอ�ำพันธ์ ภายใต้ตรา สินค้าเกษตรเขียว 2. ปุ๋ยอินทรีย์เม็ดสูตรพิเศษที่มีประสิทธิภาพ เท่าเทียมกับปุ๋ยเคมี ผลิตภัณฑ์ก�ำจัดศัตรูพืช โดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง

SIA ผลกระทบทางสังคม

สภาพความแห้งแล้ง การปลูกพืชเชิงเดีย่ ว ภาระ หนี้ สิ น เกษตรกร สั ง คมที่ หั น ไปสู ่ ก ระแสของ บริโภคนิยมเหล่านี้ ล้วนเป็นปัญหาเรื้อรังฝังลึก ในเมืองไทย การเริ่มต้นของเครือข่ายนวัตกรรม ชาวบ้ า น ได้ จุ ด ประกายความหวั ง ในการกู ้ วิกฤตการณ์นั้น ด้วยการน�ำภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสานผสานวิทยาการสมัยใหม่สู่การแก้ปัญหา อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชาวไร่ชาวนามีความรู้เรื่อง การท�ำเกษตรอินทรีย์ สร้างผลผลิตทีม่ คี ณ ุ ภาพ และมีรายได้สู่ครอบครัวมากยิ่งขึ้น


SECatalog 38

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

The Organic Milk

“แดรี่โฮม ออร์แกนิคมิลค์” ดื่มนมไร้สาร(พิษ)กันเถอะ

วันนี้คุณดื่มนมแล้วหรือยัง? ค�ำถามยอดฮิตที่ ชวนคนไทยดืม่ นมเพือ่ สุขภาพ แล้วนมทีค่ ณ ุ ดืม่ เป็นแบบออร์แกนิคหรือเปล่า? น่าจะเป็นค�ำถาม สดใหม่ ที่ถามเพราะอยากรู้ว่า คนไทยให้ความ สนใจกับนมออร์แกนิคมากน้อยแค่ไหน หรือใส่ใจ กับการเลือกอะไรให้สขุ ภาพของตัวเราหรือเปล่า

แดรีโ่ ฮม ออร์แกนิคมิลค์ ปากช่อง เป็นศูนย์ รวบรวมผลผลิตจากการเกษตรแบบอินทรีย์ โดย ใช้หลักการธรรมชาติในกระบวนการผลผลิตทัง้ ระบบ โดยมีนมวัวแบบออร์แกนิคเป็นพระเอก ชูโรง ทัง้ ยังเป็นสถานทีใ่ ห้ความรูแ้ ก่เกษตรกรใน เรื่องการไม่ใช้สารเคมี ซึ่งเป็นผลดีต่อตัวผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม จากการที่ คุณพฤฒิ เกิดชูชนื่ ผูก้ อ่ ตัง้ แดรีโ่ ฮม ออร์แกนิคมิลค์ คลุกคลีอยู่ในวงการโคนมมา กว่า 10 ปี มีประสบการณ์สอนเกษตรกรเลี้ยง โคนมและท�ำธุรกิจด้านอาหารปศุสัตว์มาอย่าง

ยาวนาน ภายหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2542 มีไอเดียที่ต้องการเปิดร้านอาหารและขายของ ซึง่ เป็นความคิดใสๆ ของลูกสาววัยเพียงสิบขวบ (ในขณะนัน้ ) และเห็นว่าตนมีเครือข่ายเกษตรกร อยูเ่ ป็นทุนเดิม จึงรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกร มีนมโคเป็นหลัก สิ่งที่ให้ความส�ำคัญ คือเรื่องกระบวนการ ผลิตทีส่ ะอาดและปลอดภัยจากสารพิษ มองเห็น คุณค่าของการผลิตแบบออร์แกนิค เรียนรู้และ ศึกษาจนสามารถถ่ายทอดสู่เกษตรกรผู้เลี้ยง และผู้ผลิต รับซื้อจากเกษตรกรในท้องถิ่นด้วย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท แดรี่โฮม จ�ำกัด ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณพฤฒิ เกิดชูชื่น ที่อยู่ : เลขที่ 100/1 หมู่ 11 อาคารก่อนถึง ฟาร์มโคนมไทยเดนมาร์ก ถนนมิตรภาพ ต�ำบลพญาเย็น อ�ำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30320 โทรศัพท์ : 0 4432 2230, 08 9801 9988 โทรสาร : 0 4432 2229 E-mail : pruitti@gmail.com Website : www.dairyhome.co.th

ราคาที่ยุติธรรม จากนั้นจึงมีโรงงานที่ได้รับ มาตรฐานผลิตด้วยกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ธรรมดา ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีการใช้เทคนิค แรกเริม่ สร้างร้านเพือ่ ขายนม และขับรถตระเวน ส่งตามบ้านลูกค้าแถบท้องถิน่ จนสามารถขยับ ขยายสูโ่ มเดิรน์ เทรด เริม่ ต้นกับเลมอนฟาร์มใน เวลาต่อมา เพื่อขยายรองรับความต้องการของ ผู้บริโภคที่มีใจรักในสุขภาพ ผลจากการประกอบกิจการ สามารถที่จะ ท�ำให้พนักงานมีสวัสดิการทีด่ ี มีการพาไปทัศนศึกษาเพือ่ กลับมาพัฒนาฟาร์ม และมีงบส�ำหรับ ท�ำงานวิจัยและศึกษา ขณะนี้ก�ำลังท�ำวิจัยร่วม กับส�ำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติที่จะเปลี่ยน ภาชนะบรรจุโยเกิร์ตให้เป็นพลาสติกที่ย่อย สลายได้ และมีผลงานจากการพัฒนานวัตกรรม ออกมาแล้วคือ ต้นทานตะวันอ่อน ส่งเสริมให้

เกษตรกรในท้ อ งถิ่ น เพาะปลู ก และเปิ ด ให้ เกษตรกรที่มีความคิดเรื่องเกษตรอินทรีย์มา เยี่ยมชมและศึกษาดูงาน นอกจากนี้ แดรี่โฮมได้รางวัลเครื่องหมาย รับรองมาตรฐานการท่องเที่ยว ด้านร้านอาหาร จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งเน้นย�้ำ ได้ว่า การมาท่องเที่ยวพักผ่อนและเลือกใช้ บริ ก ารแดรี่ โ ฮมแล้ ว จะได้ รั บ คุ ณ ค่ า ตาม โภชนาการที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ สิ่งที่แดรี่โฮม ออร์แกนิคมิลค์ เน้นย�้ำในการ ด�ำเนินกิจการตลอดมาคือ คุณภาพที่ดี สะอาด และเป็นธรรม ที่เป็นผลดีต่อทุกภาค ทั้งผู้ผลิต เกษตรกร ผู้บริโภค และส� ำคัญอย่างยิ่งคือ สิ่งแวดล้อม

39


SECatalog 40

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

41

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ผลิตภัณฑ์ คุณภาพดี สะอาด และเป็นธรรม ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

1. ศึกษาเรียนรู้ในเรื่องเกษตรอินทรีย์ ทั้งการ เพาะปลูกพืชและการเลี้ยงโคนม และถ่ายทอด องค์ความรู้ กระจายอาชีพสู่เกษตรกรในท้องถิ่น 2. รวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรในเครือข่ายที่ มีมาตรฐานการผลิตที่สะอาด และปลอดภัยใน ราคาที่ยุติธรรม 3. ท� ำ งานวิ จั ย และศึ ก ษานวั ต กรรมการผลิ ต ต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Product & Service สินค้าและบริการ

1. Dairy home Farm Shop ร้านจ�ำหน่าย ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษและของฝาก เปิดให้ บริ ก ารจ� ำ หน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ น มปลอดสารพิ ษ โยเกิร์ต ไอศครีม ขนมปัง ขนมต่างๆ ผัก ผลไม้ ฯลฯ วันและเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์-พฤหัสบดี 08.00-19.30 น. วันศุกร์-อาทิตย์ 08.00 น.20.00 น. 2. ร้านอาหาร Dairy home บริการอาหารและ เครื่องดื่ม ของว่าง ที่ใช้วัตถุดิบออร์แกนิคจาก ท้องถิ่น มีเมนูแนะน�ำ อาทิ สเต๊ก สลัดผักน�้ำใส ย�ำเห็ดออรินจิ ผัดผักหวาน ฯลฯ วันและเวลา เปิด-ปิด วันจันทร์-พฤหัสบดี 09.00-19.30 น. วันศุกร์-อาทิตย์ 09.00-20.00 น. 3. ผลิตภัณฑ์นม โยเกิร์ต และไอศกรีม Dairy home เลมอนฟาร์ ม มี จ� ำ หน่ า ยที่ ท็ อ ปส์ ซูเปอร์มาเก็ต ฟูด้ แลนด์ วิลล่า มาร์เก็ต สามารถ ดูรายละเอียดได้ที่ www.dairyhome.co.th หรือโทร. 0 4432 2230

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาผลิตผลและผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก การเกษตรที่มีสารพิษตกค้าง โดยเฉพาะผลิตภั ณ ฑ์ น ม ตั้ ง แต่ ก ระบวนการเลี้ ย ง การดู แ ล จนถึงการแปรรูป และจากการคลุกคลีในการ ท� ำ เกษตรทางด้ า นนี้ ม าอย่ า งยาวนาน ท� ำ ให้ แดรี่โฮม ออร์แกนิคมิลค์ ค�ำนึงถึงการส่งเสริม เรื่องเกษตรอินทรีย์ ซึ่งท้ายสุดแล้วจะส่งผลให้ เกิ ด ความปลอดภั ย ทั้ ง ผู ้ ผ ลิ ต ผู ้ บ ริ โ ภค และ สิ่งแวดล้อม


SECatalog 42

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Fair Trade “ไทยคราฟท์ แฟร์เทรด”

ข้อมูลพื้นฐาน ชือ่ กิจการ : บริษทั ไทยคราฟท์ แฟร์เทรด จ�ำกัด ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณสตีเฟ่นคุณสุวดี แซลมอน ที่อยู่ : เลขที่ 242 ถนนอาคารสงเคราะห์ สาย 15 แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 08 1241 1448 E-mail : info@thaicraft.org Website : www.thaicraft.org www.facebook.com/thaicraft.org

ตลาดค้าขายที่เท่าเทียม

พ่อค้าคนกลางกดราคาสินค้าหัตถกรรม แต่ มาจัดจ�ำหน่ายในราคาที่สูง ชาวบ้านต้องทนนั่ง หลังขดหลังแข็ง สร้างสรรค์สนิ ค้าท�ำมือแต่รายได้ พอจะซื้อยาทาแก้ปวดมาบรรเทา ครั้นจะขายเอง ช่องทางในการจัดจ�ำหน่ายสินค้าก็ค่อนข้างแคบ หรือจะตั้งบริษัทขายเองก็ขาดความรู้ ทั้งรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ก็แสนจะเชย เหล่านี้เป็นปัญหาใหญ่ ของช่างฝีมือไทย

43

ไทยคราฟท์ แฟร์เทรด เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2518 โดยอาสาสมัครกลุ่มแม่บ้านชาวต่างชาติ ของ International Church of Bangkok ออกตระเวนรับซื้อสินค้าหัตถกรรมจากกลุ่ม ช่างฝีมอื โดยตรงในหมูบ่ า้ นภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน ด้วยเหตุผลสั้นๆ ว่า ไม่มีใคร ช่วยผู้ผลิตชาวบ้านหาตลาดสินค้าหัตถกรรม ขณะนั้นยังไม่มีโอทอป ทั้งยังต้องเจอพ่อค้า คนกลางกดปัน่ ราคาแบบซือ้ ถูกขายแพง มาขาย ในเมืองที่มีก�ำลังซื้อในแบบงานแฟร์ ในช่วงปีแรกองค์กรหัวคิดดียังอาศัยทุน จากต่างประเทศ ถ้าท่อน�้ำเลี้ยงขาด งานแสดง สินค้าคงไปต่อไม่ได้ จึงได้พัฒนาเป็นบริษัท เพื่อที่จะสามารถน�ำผลประกอบการที่มาจาก การปันผลบางส่วนจากกิจกรรมมาหมุนเวียน ให้ขับเคลื่อนได้ ปัจจุบันมีการจัดงานแสดงและจ�ำหน่าย สินค้าเป็นรายเดือน เลือกตรงกับวันเสาร์ ผูผ้ ลิต จะเดินทางน�ำสินค้ามาจ�ำหน่ายเอง ให้ชาวบ้าน

ก�ำหนดราคาเองแบบสมเหตุสมผล เกิดการค้า แบบยุติธรรมทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ ด้วยมาตรฐาน แบบแฟร์เทรด ส่งผลให้สนิ ค้าหัตถกรรมขายได้ กิจการอยู่รอด และรักษาภูมิปัญญาไทย รักษา ประเพณี สืบทอดงานฝีมืออันมีค่าของชาติ นอกจากเป็นตลาดแห่งความเท่าเทียม ไทยคราฟท์ยังช่วยเป็นก�ำลังหนุนชาวบ้านใน เรือ่ งอืน่ ๆ อีก ไม่วา่ จะเป็นแนะน�ำทักษะในเรือ่ ง ของการผลิตและการประกอบธุรกิจ เป็นเพื่อน คู่คิดเรื่องการออกแบบที่ท�ำให้ภาพลักษณ์ของ พืน้ บ้านเชยๆ เป็นสินค้าเท่ๆ ร่วมสมัย เพือ่ ดึงดูด ความสนใจของผู้บริโภคในตลาด และให้ช่าง ฝีมือไทยได้พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ด้ ว ยการถื อ หลั ก การค้ า ที่ เ ป็ น ธรรมของ ไทยคราฟท์ แฟร์เทรด ได้สร้างผลประโยชน์ อย่างเท่าเทียมกัน ทัง้ ต่อผูผ้ ลิตสินค้า ต่อผูบ้ ริโภค อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ด้านงานหัตถกรรมไทยให้อยู่สืบไป


SECatalog 44

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

45

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ปรับรูปแบบ งานหัตถกรรม ให้สวยงาม สร้างตลาดงานฝีมือ ในราคายุติธรรม

1. เป็นตลาดกระจายสินค้าทีส่ ำ� คัญทัง้ ในและนอก ประเทศให้กับผู้ผลิตหัตถกรรมท้องถิ่น ได้รับ ผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมตามหลักแฟร์เทรด ปัจจุบันมีกลุ่มที่เข้าร่วมกว่า 70 กลุ่มจากทั่ว ประเทศ ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ท้องถิ่น 2. ส่งเสริมให้ผู้ผลิตรายย่อย ด�ำเนินการจัด นิทรรศการเพื่อขายสินค้า การท� ำการตลาด ด้วยตนเอง และคอยให้คำ� ปรึกษาอยู่เบื้องหลัง 3. ให้ค�ำปรึกษาด้านการตลาด การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ และการผลิตให้กลุ่มช่างฝีมือไทย

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ไทยคราฟท์ แฟร์เ ทรด งานแสดงและจัด จ� ำ หน่ า ยสิ น ค้ า หั ต ถกรรมของชาวบ้ า นจาก ทั่วประเทศกว่า 70 กลุ่ม ในราคายุติธรรม มี ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อาทิ สิ่ ง ทอ สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ที่ ท� ำ จาก ธรรมชาติ สิ่งประดิษฐ์ที่ท� ำจากขยะพลาสติก เครื่องครัว เครื่องประดับ และของตกแต่งบ้าน เป็นต้น ภายในงานยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้กับ ผู้ที่สนใจ จัดขึ้นเดือนละครั้ง (ตรงกับวันเสาร์) หมุ น เวี ย นในเขตกรุ ง เทพฯ สามารถติ ด ตาม ความเคลื่อนไหวได้ที่ www.thaicraft.org

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปั ญ หาพ่ อ ค้ า คนกลางกดราคาสิ น ค้ า หัตถกรรม และจัดจ�ำหน่ายในราคาที่สูง รวมทั้ง ช่องทางในการจัดจ�ำหน่ายสินค้าค่อนข้างแคบ ไทยคราฟท์ แฟร์เทรดมาตัดช่องว่างและขจัด ปัญหาราคาสินค้าที่ไม่ยุติธรรม ให้เกิดโอกาส ในการกระจายสิ น ค้ า หั ต ถกรรมด้ ว ยราคาที่ สมเหตุสมผล


SECatalog 46

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

OSISU เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์หัวใจรีไซเคิล

ยางรถยนต์ เศษเหล็ก เศษไม้ ถุงพลาสติก นมกล่อง สิง่ เหล่านีใ้ ครเห็น ก็มองว่าเป็นขยะที่ไม่มีค่ารอวันท�ำลายทิ้ง แต่ส�ำหรับ Osisu แบรนด์ เฟอร์นิเจอร์ที่เป็นแหล่งรวมตัวของกลุ่มนักออกแบบและสถาปนิก ผู้มีหัวใจสีเขียว กลับมองขยะเหล่านี้เป็น “ทอง”

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : Osisu ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต และคุณวีรนุช ตันชูเกียรติ ที่อยู่ : เลขที่ 18/18 หมู่ 3 ถนนนนทบุรี ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : 0 2968 1900, 0 2968 0939 E-mail : singhman@ku.ac.th osisudesign@gmail.com Website : www.osisu.com

47

หัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ผู้ก่อตั้ง ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์ประจ�ำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า ขยะกว่าร้อยละ 30-40 เป็นเศษวัสดุจากการ ก่อสร้าง ซึ่งนักออกแบบเองมีส่วนในการสร้าง ขยะให้กับโลกใบนี้ ด้วยการออกแบบโดยไม่ ค�ำนึงถึงสิง่ แวดล้อม เพียงคิดว่าจะท�ำอย่างไรให้ ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทีโ่ ดนใจผูบ้ ริโภค ท�ำอย่างไร ให้ผบู้ ริโภคซือ้ สินค้าใหม่ ทัง้ ทีบ่ างครัง้ สินค้าเก่า ยังไม่เสียหรือหมดอายุการใช้งาน โดยไม่ค�ำนึง ถึงขยะที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ด้วยเหตุนี้ ผศ.ดร.สิงห์ จึงเกิดความคิดที่ จะน�ำเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรม ต่างๆ มาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ที่ สามารถใช้ประโยชน์ได้อกี ครัง้ จึงได้รว่ มมือกับ คุณวีรนุช ตันชูเกียรติ ซึ่งท�ำธุรกิจรับเหมา ก่อสร้างและระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย ก่อตั้งบริษัท


SECatalog 48

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

49

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. Osisu แบรนด์ เ ฟอร์ นิ เ จอร์ ที่ น� ำ เศษวั ส ดุ เหลือใช้จากการผลิตงานอุตสาหกรรมและน�ำ เศษวัสดุหลากหลายมาออกแบบสร้างเป็นสิ่ง ใหม่ที่มีดีไซน์สวยงามและใช้งานได้จริง

Product & Service สินค้าและบริการ

Osisu ผลิตสินค้าจากเศษวัสดุเพื่อลดปริมาณ ขยะ และสร้ า งความตระหนั ก ในการรั ก ษา สิ่งแวดล้อมให้กับแวดวงนักออกแบบและคน ทั่วไป จากการเล็งเห็นถึงคุณค่าในวัสดุเหลือใช้ บนโลก อาทิ เศษไม้ เศษพลาสติก เศษหนัง เศษเหล็ก เศษผ้า เศษกระจก วัสดุเหล่านี้ได้ ถูกสร้างสรรค์เปลี่ยนให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ และของใช้ที่มีดีไซน์โดดเด่นไม่ซ�้ำใคร และ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อ ช่ ว ยเหลื อ สั ง คม โดยเข้ า ไปสอนให้ ชุ ม ชน รู ้ จั ก กระบวนการผลิ ต สิ น ค้ า จากเศษวั ส ดุ ในอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน รวมถึ ง ร่ ว มร่ า งหลั ก สู ต รและเปิ ด อบรมการ

ออกแบบจากเศษวั ส ดุ ร ่ ว มกั บ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ เป็นต้น Osisu น�ำเศษวัสดุต่างๆ จากโรงงานอุตสาหกรรมและจากชุมชนมาสร้างมูลค่า ผลิตเป็น เฟอร์ นิ เ จอร์ เ ครื่ อ งเรื อ นส� ำ หรั บ ใช้ ใ นบ้ า น ไปจนถึ ง สิ่ ง ของชิ้ น เล็ ก และสิ น ค้ า แฟชั่ น ที่สามารถปลุกกระแสค่านิยมใหม่ภายใต้ชื่อ โครงการเปลี่ยนขยะให้เป็นทอง ท�ำให้คนเริ่ม หันมามองขยะในทางทีเ่ ปลีย่ นไปและสร้างสรรค์ ขึ้น อีกทั้งฉุกความคิดค�ำนึงของคนให้หันมา ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งตรงกับความ ตั้งใจหลักในการแก้ไขปัญหาขยะล้นโลกได้ เป็นอย่างดี

1. Osisu เฟอร์นิเจอร์ที่น� ำเศษวัสดุเ หลือใช้ มาออกแบบเป็นเครือ่ งใช้ทมี่ ดี ไี ซน์ ส่งออกไปขาย ยังต่างประเทศ ส�ำหรับในประเทศไทย อาทิ กระเป๋า ใส่เอกสาร Caffeine ขนาด A4 ราคา 650 บาท กระเป๋าสะพาย New PP ราคา 950 บาท และ กระเป๋าถือ PP Clutch ราคา 750 บาท สามารถ ชมสินค้าของ Osisu ได้ที่ ร้าน Scrap Shop คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันจันทร์-ศุกร์ 10.00-19.00 น. โทร. 0 2942 8483 ร้าน Eco Shop โทร. 08 7099 0639 ร้าน Propaganda และศูนย์การเรียนรูผ้ ลิตภัณฑ์ งานออกแบบ TCDC และ CDC

แก้ปัญหา ขยะล้นโลก ด้วยการออกแบบ เป็นเฟอร์นิเจอร์ ใช้งานได้จริง

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาของขยะที่เกิดจากเศษวัสดุเหลือใช้ จากอุตสาหกรรม โรงงาน ชุมชน ท�ำให้ Osisu เพิม่ มูลค่าของเศษวัสดุเหล่านั้นด้วยการออกแบบ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะความช�ำนาญ แปรรูปเป็นเฟอร์นเิ จอร์และเครือ่ งใช้ต่างๆ ซึง่ ช่วย ลดปัญหาขยะได้เป็นอย่างดี และยังมีการร่วม พั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากวั ส ดุ เ หลื อ ใช้ ใ นชุ ม ชน พร้อมการถ่ายทอดความรูผ้ า่ นการปฏิบตั งิ านจริง ทีเ่ ห็นเป็นรูปธรรมอย่าง Scrap Shop ร้านทีช่ ว่ ย รณรงค์การรักษ์สิ่งแวดล้อม


SECatalog 50

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

GREEN MARKET วิสาหกิจชุมชน ปทุมธานี “ตลาดนัดสีเขียว” ตลาดนัดหรือตลาดสดมีอยู่มากมายทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย แต่สินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ยังเข้าถึงตลาดเหล่านี้ได้ยากนัก ค�ำว่า “ตลาดนัดสีเขียว” จึงเกิดขึ้นมาเพื่อสร้างศูนย์กลางค้าขาย ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรียจ์ ากผูผ้ ลิตรายย่อยให้สามารถเข้าถึงกลุม่ ผูบ้ ริโภค เพือ่ ให้ท�ำความรูจ้ กั เรียนรู้ และมีแหล่งหาซื้อได้สะดวกยิ่งขึ้น

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ด้วยปัญหาสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค และการเข้าถึงแหล่งจ�ำหน่ายอาหารปลอดภัย และสิ น ค้ า สี เ ขี ย วในชุ ม ชนเป็ น ไปได้ ย าก “ตลาดนัดสีเขียว ณ โรงพยาบาลปทุมธานี” ที่จังหวัดปทุมธานีจึงเริ่มขึ้น เพื่อเปิดโอกาส ให้ ผู ้ ค ้ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ กษตรอิ น ทรี ย ์ โ ดยเน้ น ที่ ผู้ค้ารายย่อยได้เข้ามาลงทะเบียน ซึ่งไม่มีค่า ใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น จัดเป็นพื้นที่ให้ขายสินค้า

ทั้งนี้เพื่อต้องการสร้างตลาดชุมชนให้เกิดขึ้น อีกทั้งยังต้องการให้เป็นตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการณรงค์เรื่องการใช้ถุงที่สามารถย่อย สลายได้ และการใช้กระทงใบตองแทนโฟมเพือ่ ให้เกิดสังคมสีเขียวเล็กๆ ขึ้น ซึ่งต่อมาถูกเรียก สั้นๆ ว่า “ตลาดนัดสีเขียว” หลั ง จากนั้ น ได้ มี ก ารขยายพื้ น ที่ ใ นการ จัดตลาดนัดสีเขียวไปตามโรงพยาบาลอื่นๆ

51

อีก 5 แห่ง นั่นคือ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลมิชชัน่ โรงพยาบาล บางโพ โรงพยาบาลกรุงธนบุรี1 และบริเวณ อาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ ย่านราชด�ำริ ต่อมาภายหลังเมื่อได้ด�ำเนินการมาได้ ระยะหนึ่งจึงมีการจัดตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า วิสาหกิจชุมชน ปทุมธานี จนถึง ปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะเป็นตลาดสีเขียวแล้ว

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : วิสาหกิจชุมชน ปทุมธานี ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณวิตตา และสมาชิก วิสาหกิจชุมชน ปทุมธานี ที่อยู่ : สถานที่หลัก ตลาดนัดสีเขียว (บริเวณลานต้นไทร) โรงพยาบาลปทุมธานี เลขที่ 7 ถนนปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว ต�ำบลบางปรอก อ�ำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 (มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปออกร้าน ตามสถานทีต่ า่ งๆ อาทิ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติฯ โรงพยาบาลมิชชั่น โรงพยาบาลบางโพ โรงพยาบาลกรุงธนบุรี 1 และโรงพยาบาลปทุมธานี และบริเวอาคาร รีเจ้นท์เฮ้าส์ ติดกับสถานีรถไฟฟ้า BTSราชด�ำริ) โทรศัพท์ : 08 9785 7720


SECatalog 52

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ยังมีการจัดกิจกรรมให้กบั ผูบ้ ริโภค อาทิ การสาธิต การท�ำอาหาร การสานปลาตะเพียน หรือการ ปัน้ ดิน เป็นต้น เพือ่ มุง่ หวังให้เกิดความสัมพันธ์ ที่ดี และเกิดความรักในตลาดนัดสีเขียวของ ชุมชนอีกด้วย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

กิจกรรมตลาดนัดสีเขียวยังคงหมุนเวียนผลัด เปลี่ยนไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ผู้ผลิต และผู้บริโภคได้พบปะกันโดยตรง ซึ่งช่วยให้ เกิดการแลกเปลี่ยนทัศนคติเรื่องสุขภาพการ บริโภค และประโยชน์ของเกษตรอินทรีย์ ซึ่ง ปูทางไปสู่การกระจายความรู้และค่านิยมการ บริโภคแนวใหม่ให้มากขึ้น

Product & Service สินค้าและบริการ

1. จากการรวมตั ว เลขของผู ้ ผ ลิ ต ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เกษตรอิ น ทรี ย ์ ใ นจั ง หวั ด ปทุ ม ธานี ได้ ข ยาย ตลาดออกไปอีก 5 แห่ง เพื่อกระจายสินค้าสีเขียว สู่ผู้บริโภค

1. ตลาดนัดสีเขียว จ�ำหน่ายสินค้าปลอดสารพิษ อาหารแปรรูป เวชส�ำอาง ผัก รวมถึงผลิตภัณฑ์ ปลอดสารพิษทุกชนิด • โรงพยาบาลปทุมธานี ทุกวันพุธ เวลา 07.0014.00 น. • ศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ทุกวันพฤหัสฯ เวลา 07.00-14.00 น. • โรงพยาบาลบางโพ ทุกวันศุกร์ เวลา 07.0014.00 น. • โรงพยาบาลมิชชั่น ทุกวันอาทิตย์ เวลา 07.0014.00 น. • โรงพยาบาลกรุงธนบุรี 1 ทุกวันศุกร์ เวลา 07.00-14.00 น.

SIA ผลกระทบทางสังคม

ตลาดสีเขียวอารมณ์ดี สร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ และกระจายเกษตรอินทรียส์ ผู่ บู้ ริโภค

53

ด้วยปัญหาด้านสุขภาพอนามัย และการเข้าถึง อาหารปลอดภัยของผู้บริโภค ตลาดนัดสีเขียว จึงเป็นเหมือนตลาดชุมชนเพื่อเพิ่มช่องทางการ จ� ำ หน่ า ยสิ น ค้ า เกษตรปลอดสารพิ ษ และยั ง เป็ น ช่ อ งทางให้ ผู ้ บ ริ โ ภคได้ เ ลื อ กซื้ อ อาหารที่ ปลอดภัย และเป็นต้นแบบระบบจัดการตลาด ในชุมชน


SECatalog 54

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

55

Together as One กลุ่มช่างชุมชนบางบัว สามัคคีเพื่อชุมชน งานช่างมักเป็นผู้ปิดทองหลังพระที่ไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงหรือได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควรในการ ถูกจ้างงาน ทั้งมักจะได้รับค่าจ้างที่ไม่เต็มจ�ำนวน และมีงานเข้าที่ไม่แน่นอน ด้วยเหตุนี้ใน “ชุมชนบางบัว” จึงมีการรวมตัวกลุ่มช่างขึ้นมา เพื่อสร้างศูนย์กลางช่างอาชีพที่น่าเชื่อถือให้เกิดช่องทางการต่อรองใน การรับงานมากขึ้น และมีการแบ่งผลก�ำไรอย่างถูกต้องเป็นธรรม

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : กลุ่มช่างชุมชนบางบัว ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณประภาส แสงประดับ และสมาชิกกลุ่มชุมชนบางบัว ที่อยู่ : เลขที่ 49/1 ถนนพหลโยธิน แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ : 08 7503 4658 E-Mail : klongbangbua@hotmail.com

ก่อนที่จะมาการรวมตัวกันเป็นกลุ่มใน ทุ ก วั น นี้ ชุ ม ชนบางบั ว ได้ มี ก ารพั ฒ นาที่ อ ยู ่ อาศัยจนเกิดกลุม่ ช่างฝีมอื ดีกลุม่ หนึง่ ทีร่ ว่ มกัน น�ำปัญหาทีพ่ บระหว่างการท�ำงานพัฒนาชุมชน มาเล่ า สู ่ กั น ฟั ง และหาแนวทางแก้ ไ ขต่ า งๆ จนท�ำให้เกิดการพัฒนาฝีมอื และมีประสบการณ์ ในการท�ำงาน ทั้งในด้านการซ่อมแซมอาคาร

และท่อน�้ำ ด้วยเหตุนี้จึงท�ำให้ คุณประภาส แสงประดับ ประธานชุมชนบางบัว ได้ตัดสินใจ ร่วมกับสมาชิกในชุมชนจัดตั้ง “กลุ่มช่างชุมชน บางบัว” ขึ้น โดยในช่วงแรกนั้นเป็นการรวมกลุ่มของ ช่างเพียง 7 คน ต่อมาภายหลังจากการรับงาน ก่อสร้างภายในชุมชน ควบคู่กับการออกไป รับงานจากชุมชนภายนอก โดยคิดค่าแรงต�่ำ กว่าท้องตลาด ท�ำให้ทุกวันนี้จ�ำนวนสมาชิก ช่างได้เพิ่มขึ้นกว่า 100 คนแล้ว นับว่าเป็นการ

สร้างงาน สร้างรายได้ให้กบั ชาวบ้านทีป่ ระกอบ อาชีพ “ช่าง” ได้ลืมตาอ้าปากเลี้ยงครอบครัว โดยสามารถแบ่ ง งานออกเป็ น สายงานย่ อ ย ได้กว่า 20 สายงาน นอกจากการสร้างงานและกระจายรายได้ กลุม่ ช่างชุมชนบางบัวยังช่วยกันสร้างนวัตกรรม เพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นชื่อเสียงให้กับ ชุมชนบางบัว นั่นคือการคิดค้นถังบ�ำบัดน�้ำเสีย ระบบชีวภาพ ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อช่วยรักษา สิง่ แวดล้อม อีกทัง้ ยังช่วยปลูกจิตส�ำนึกให้คนใน

ชุมชนหันมาใส่ใจการก�ำจัดของเสียในครัวเรือน อีกด้วย ในวันนีช้ มุ ชนบางบัวได้กลายเป็นชุมชนต้นแบบ ให้ อี ก กว่ า 30 ชุ ม ชนทั่ ว กรุ ง เทพมหานคร เป็นการยกระดับพื้นที่เสื่อมโทรมและพัฒนา คนในชุมชนให้รว่ มกันบูรณาการสภาพแวดล้อม แหล่งที่อยู่อาศัย รวมถึงพัฒนาจิตส�ำนึกให้ ร่วมกันท�ำประโยชน์เพื่อเกิดผลดีต่อตนเองและ ส่วนรวมได้ดียิ่งขึ้น


SECatalog 56

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

57

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. กลุ ่ ม ช่ า งชุ ม ชนบางบั ว รั บ งานก่ อ สร้ า ง ซ่อมแซม รวมไปถึงงานบริการรับผลิตและติดตั้ง ถังบ�ำบัดน�ำ้ เสียระบบชีวภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น สายงานย่อยได้กว่า 20 สายงาน

กลุม่ ช่างพัฒนาชุมชน นวัตกรรมบ�ำบัดน�้ำเสีย เพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้และอาชีพ

Product & Service สินค้าและบริการ

1. กลุ ่ ม ช่ า งชุ ม ชนบางบั ว รั บ งานก่ อ สร้ า ง ซ่อมแซม รวมไปถึงงานบริการรับผลิตและติดตัง้ ถังบ�ำบัดน�้ำเสียระบบชีวภาพที่มีคุณสมบัติใช้ บ�ำบัดน�้ำเสียในครัวเรือนก่อนระบายสู่แหล่งน�้ำ ซึ่งภายในถังมีระบบน�ำ้ วนสามารถแยกกาก และ ผันน�ำ้ เสียไปรวมในถังบ�ำบัด โดยทัง้ หมดใช้ระบบ ชีวภาพที่ไม่มีไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยค่าแรง ช่างฝีมือระดับมาตรฐานอยู่ที่ 200 บาท/วัน หากต้องการช่างผู้ช�ำนาญการ ค่าแรงอยู่ที่ 300 บาท/วัน โดยก�ำไร 10% จะถูกแบ่งน�ำไปพัฒนา กิจกรรมต่างๆ ในชุมชน

SIA ผลกระทบทางสังคม

การรวมกลุ่มของช่างภายในชุมชนเพื่อพัฒนา ที่อยู่อาศัย ยกระดับคุณภาพชีวิตจนเกิดความ ช�ำนาญในงานกลายเป็นอาชีพ จนสามารถรวม กลุ่มของกลุ่มช่างชุมชนบางบัว ท�ำให้เกิดการ สร้างอาชีพและกระจายรายได้ขึ้นในชุมชน รวม ไปถึงการสร้างนวัตกรรมถังบ�ำบัดน�้ำเสียเพื่อ รักษาสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมต่างๆ ภายใน ชุมชนยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ภายในชุมชน ให้แข็งแรงอีกด้วย


SECatalog 58

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

บ้านศักยภาพ จ.เชียงใหม่ ศูนย์กลางของ การจัดจ�ำหน่ายผลงานผลิตภัณฑ์ผู้พิการและ ผู้ต้องการโอกาส และเป็นศูนย์กลางระหว่าง ผู้พิการ บุคคลทั่วไป หน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชน รวมทั้งนักท่องเที่ยวเพื่อแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และความรูซ้ งึ่ กันและกัน เปิดก๊อก ให้ ผู ้ พิ ก าร ผู ้ ต ้ อ งการโอกาส และผู ้ สู ง อายุ ใช้ความสามารถของตัวเองสร้างผลงานออกสู่ สังคม มีความสุขกับสิง่ ทีไ่ ด้ทำ� เปิดโลกกว้างให้ พวกเขาได้เห็นว่ามีสถานที่ที่เห็นคุณค่าความ ส�ำคัญกับเขามากขึ้น จากความไม่พร้อมทางด้านร่างกายของ คุณพงษ์ศักดิ์ บุญยมหา ผู้ก่อตั้งบ้านศักยภาพ

The Disabled No Limit “บ้านศักยภาพ” พลังคนพิการไม่มีสิ้นสุด

ทุกคนมีพลังที่ซ่อนอยู่ในตัว เพียงแต่บางทีไม่รู้วิธีเปิดก๊อก ไม่รู้ว่า จะดึงออกมาใช้อย่างไร และปล่อยให้มันหลับอยู่ในตัว ไม่ได้นำ� มาใช้ ประโยชน์ ยิ่งเป็นกลุ่มคนพิเศษ คนพิการ คนด้อยโอกาส คนที่ถูก สังคมส่วนใหญ่เมินหน้าหนี ยิง่ ไม่รดู้ ว้ ยซ�ำว่าก๊อกอยูต่ รงไหน แต่หาก ค้นพบแล้ว สิ่งวิเศษเกิดขึ้นได้เสมอ

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บ้านศักยภาพ ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณพงษ์ศกั ดิ์ บุญยมหา ที่อยู่ : เลขที่ 33 ถนนมูลเมือง ซอย 6 ต�ำบลศรีภูมิ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ : 08 9700 1039, 0 5321 8779 E-Mail : potentiality33@hotmail.com Website : www.potentiality.info

โดยเขาเองเป็นหนึ่งในผู้พิการที่เคยถูกสังคม มองผ่าน แต่ไม่ได้น�ำมาเป็นอุปสรรคต่อพลัง ความคิดทีม่ องว่าทางเลือกในการประกอบอาชีพ ของผู้พิการมีมากกว่าเป็นคนขายล็อตเตอรี่ จึงตัดสินใจทุบกระปุกของตัวเองที่เก็บออม จากการผลิตสินค้าหัตถกรรมมากกว่า 10 ปี เริ่มต้นท�ำธุรกิจแห่งโอกาสนี้ เพราะเขาคิดว่า หากไม่ มี ใ ครให้ โ อกาสคนกลุ ่ ม นี้ เขาจะให้ โอกาสนั้นกับคนเหล่านั้นเอง คุณพงษ์ศกั ดิต์ อ้ งใช้พลังในการปรับทัศนคติ สร้างความเข้มแข็ง ดึงผูพ้ กิ ารออกมาจากสถานการณ์เดิมๆ คือ การทีอ่ ยูน่ อกสังคม แปรเปลีย่ น เป็นคนในสังคม ที่สามารถยืนได้ด้วยตัวเอง

59

อย่างผ่าเผย และมีโอกาสก้าวต่อไปในชีวิต ขณะเดียวกัน สิ่งเน้นย�้ำเสมอ คือสินค้าที่ จ�ำหน่ายต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ไม่ต้องการ ให้ผู้ซื้อสินค้าเพียงความสงสาร เพราะสุดท้าย ระบบธุรกิจนีก้ จ็ ะไม่ยงั่ ยืน เมือ่ สินค้าดีมคี ณุ ภาพ สิ่งที่ตามมาก็คือรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ของผู้พิการ ผู้ต้องการโอกาส ผู้สูงอายุ รวมทั้ง ครอบครัวของบุคคลเหล่านั้นด้วย บ้านศักยภาพเริ่มจากกลุ่มเล็กๆ แต่มาก ไปด้วยความตั้งใจจริง เป็นธุรกิจของผู้พิการ เพื่ อ ผู ้ พิ ก ารและผู ้ ต ้ อ งการโอกาสให้ มี พื้ น ที่ สามารถพัฒนาและสร้างรายได้แก่เขาเหล่านั้น อย่างยั่งยืน


SECatalog 60

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. พั ฒ นาศั ก ยภาพ ถ่ า ยทอดความรู ้ ค วาม สามารถเชิงหัตถกรรม งานประดิดประดอยและ งานออกแบบให้กับผู้พิการ ผู้ต้องการโอกาส 2. สนับสนุนผลงานและผลิตภัณฑ์ของผู้พิการ และผู้ที่ต้องการโอกาสให้สามารถเป็นที่ยอมรับ จากบุคคลทั่วไป 3. เป็นศูนย์กลางของการรับซื้อ และจ�ำหน่าย ผลิตภัณฑ์ให้ผู้พิการ ผู้ต้องการโอกาส

Product & Service สินค้าและบริการ

บ้านศักยภาพจัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ เครือ่ งครัว ของตกแต่งและของใช้ งานศิลปะ เครื่องประดับ ของที่ระลึก มากกว่า 50 รายการ อาทิ กล่องไม้ เชิงเทียน หมากรุกตาราง อุปกรณ์ในการนวดจาก

สิ่งส�ำคัญที่ท�ำให้บ้านศักยภาพสามารถด�ำเนิน กิจการเพื่อสังคมมากว่า 4 ปีนั้น เพราะความ ตัง้ ใจ ความพยายามของคุณพงษ์ศกั ดิท์ ตี่ อ้ งการ สร้างพื้นที่ส่งเสริม สนับสนุน และเปิดโอกาส ให้กบั ผูพ้ กิ าร และผูต้ อ้ งการโอกาส ได้นำ� ความ สามารถตามความถนัดออกมาใช้อย่างเต็มที่ นอกจากโชว์ฝีมือทางด้านที่ถนัด โดยเฉพาะ งานหัตถกรรมแล้ว ยังเป็นการพัฒนาทักษะและ กระตุ้นความสร้างสรรค์ รวมทั้งความกล้าที่จะ ออกมาอยู่ในสังคมเหมือนคนปกติทั่วไป

ปลุกพลังชีวิตผู้พิการ สร้างสรรค์โอกาส เพิ่มศักยภาพ และสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

ภูมปิ ญ ั ญาไทย เครือ่ งครัวจากไม้และกะลา เป็นต้น บ้านศักยภาพตั้งอยู่ที่ถนนมูลเมือง ซอย 6 เปิด บริการทุกวัน เวลา 10.00-20.00 น. ติดต่อสอบถาม คุณพงษ์ศักดิ์ บุญยมหา โทร. 08 9700 1039 สินค้าแนะน�ำ 1. สบู่สมุนไพรออร์แกนิค ผลิตจากสมุนไพรที่มี กรรมวิธีเพาะปลูกแบบออร์แกนิค อาทิ สบู่ขมิ้น น�้ ำ ผึ้ ง อโลเวร่ า ข้ า วหอมมะลิ อ โลเวร่ า ตะไคร้ สนนราคา 60 บาท 2. ไม้ น วดหน้ า คิ ด ค้ น และออกแบบเองโดย คุณพงษ์ศักดิ์ บุญยมหา ซึ่งได้รับรองสิทธิบัตร อย่างเป็นทางการแล้ว จ�ำหน่ายราคา 150-220 บาท 3. สร้อยก�ำไลข้อมือท�ำมือ โดยกลุ่มผู้พิการ

61

คุณภาพเยี่ยม เป็นที่นิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ ราคา 50-80 บาท

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาเรือ่ งการขาดแคลนโอกาส การเรียนรู้ และทั ก ษะในการประกอบอาชี พ ของผู ้ พิ ก าร ขาดโอกาสในการสร้างศักยภาพทีส่ งู ขึน้ และเมือ่ บ้านศักยภาพเกิดขึ้น ผลกระทบต่อสังคมคือ การที่ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ มีรายได้ เพิ่ ม ขึ้ น มี ทั ก ษะเชิ ง งานสร้ า งสรรค์ ม ากขึ้ น มีความกล้าที่จะออกมาใช้ชีวิตกับคนปกติมาก ขึน้ และทีส่ ำ� คัญคือ การทีก่ ลุม่ คนเหล่านีม้ โี อกาส ในการสร้างอาชีพมากขึ้น


SECatalog 62

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

UrbanTree กรีนช็อปที่คนเมืองควรรู้จัก ผู้คนจะมีทางเลือกในการหาซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ได้มากขึ้น เมื่อในประเทศไทยมีร้านค้าทางเลือกเพิ่มมากขึ้น และไม่ใช่เพียง ผู้บริโภคจะได้รับแต่สิ่งดีๆ เกษตรกรรายย่อยผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ก็จะมีชอ่ งทางการจ�ำหน่ายมากขึน้ ไม่ถกู กดราคา ส่งผลให้เกษตรกร เกษตรอินทรีย์มีขวัญและก�ำลังใจดีๆ เพื่อที่จะปลูกผลผลิตเกษตรอินทรีย์ดีๆ ให้ผู้บริโภคในระยะยาว

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Urban Tree ร้านจ�ำหน่ายสินค้าออร์แกนิค ที่ให้ความส�ำคัญกับการสนับสนุนเกษตรกร รายย่อยในท้องถิ่นชนบท สินค้าที่วางจ�ำหน่าย ในร้าน คือ ข้าว น�้ำผึ้ง ชา น�้ำมันมะพร้าว น�้ำมันพืชออร์แกนิค แชมพู สบู่ เครื่องส�ำอาง ซึ่งสินค้าเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ได้รับคัดเลือกมา จากผู้ผลิตรายย่อย หรือว่าเป็นบริษัทที่มีความ รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น โดยทางร้าน พยายามเพิ่มความหลากหลายให้กับ แต่ ล ะ ประเภทสินค้า เพือ่ ให้ผบู้ ริโภคมีตวั เลือกมากขึน้ เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้องงอก ข้าวหอมนิล ซึ่งข้าวเหล่านี้มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ปราศจากสารพิษ

จากยาฆ่าแมลง จึงเป็นสินค้าทีไ่ ด้รบั ความนิยม อย่างมาก ปัจจุบันร้าน Urban Tree มีเพียง สาขาเดียว แต่ได้มกี ารกระจายสินค้าไปฝากวาง จ�ำหน่ายตามร้านค้าอืน่ ๆ เช่น ร้านกรีนสวนเงิน มีมา เป็นต้น Urban Tree เป็ น อี ก หนึ่ ง ร้ า นค้ า ที่ จั ด จ�ำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นผลผลิต จากเกษตรกรรายย่อยในชุมชนต่างๆ ทัว่ ภูมภิ าค ในประเทศไทย โดยมีผู้ก่อตั้งคือ คุณอดิศักดิ์ แก้วรากมุข ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการพา นักเรียนแลกเปลี่ยนชาวอเมริกันไปทัศนศึกษา วิถีชีวิตของชาวบ้านในจังหวัดขอนแก่น และ เล็ ง เห็ น ว่ า ชาวบ้ า นปลู ก ข้ า วได้ ผ ลผลิ ต ดี

มีคุณภาพสูง ประกอบกับในผืนดินที่ชาวบ้าน ปลูกข้าวนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งท�ำให้สามารถปลูกข้าวได้หลายสายพันธุ์ แต่ ติ ด ปั ญ หาตรงที่ ไ ม่ มี ต ลาดวางจ�ำ หน่ า ย จึงท�ำให้คุณอดิศักดิ์ได้คิดจัดตั้งร้าน Urban Tree ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรรายย่อย น�ำสินค้ามาวางจ�ำหน่าย อีกทั้งยังให้เกษตรกร เป็นผู้ก�ำหนดราคาเอง นอกจากนี้ร้าน Urban Tree ยังเป็นการ ร่วมมือกันกับร้านค้าสีเขียวอื่นๆ อีกหลายแห่ง เพื่อจัดตั้งเป็นเครือข่ายร้านค้ากรีนที่จ�ำหน่าย ผลิตภัณฑ์สุขภาพเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งทุกชั้นวางสินค้าจะมีป้ายบอกถึงแหล่งที่มา

63

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : Urban Tree ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณอดิศกั ดิ์ แก้วรากมุข และคุณจิระสุดา อารีพันธุ์ ที่อยู่ : เลขที่ 934 ถนนสามเสน ซอย 24 (ตรงข้ามกับโรงเรียนราชินี) แยกบางกระบือ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ : 0 2243 2989, 08 1734 2970, 08 1974 0290 E-mail : urbantreeorganic@gmail.com Website : www.urbantreeorganics.com www.facebook.com/urbantree


SECatalog 64

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ของผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดเพื่อให้ข้อมูลแก่ ผู้บริโภคมากที่สุด รวมทั้งทาง Urban Tree ได้มีการรณรงค์ และปลูกจิตส�ำนึก รวมถึงสร้างความเข้าใจเรือ่ ง การบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ให้กับคน ทั่วไปตามงานออกร้านต่างๆ อาทิ งานออกร้าน ในเครือร้านค้ากรีน ที่ได้รับความร่วมมือจาก พิพิธภัณฑ์การเกษตรนวนคร ตลาดสีเขียว และงานออกร้านในเครือส�ำนักพิมพ์มติชน Urban Tree หวังจะให้ผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร ท้องถิ่นได้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ในสังคมเมือง เพื่อเป็นพลังเล็กๆ ส่วนหนึ่ง ที่ช่วยกันสร้างสรรค์ปรับเปลี่ยนแนวทางการ บริโภคของผู้คนให้เป็นไปอย่างใส่ใจสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

ร้านค้าหัวใจกรีน เปิดช่องทาง การตลาดให้ เกษตรรายย่อย และให้ราคาอย่าง เป็นธรรม

65

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. รับซื้อผลิตผลเกษตรอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์ แปรรูปจากเกษตรอินทรีย์ในราคาที่เป็นธรรม กับผู้ผลิต และกระจายสินค้าที่ดีมีประโยชน์สู่ผู้ บริโภค 2. รณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมทั้งภาคเกษตรกรรม กระบวนการผลิต และภาคผู้บริโภค

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ร้าน Urban Tree จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค อาทิ ข้าวอินทรีย์ น�ำ้ ผึง้ ชา น�ำ้ มันมะพร้าว แชมพู สบู ่ เครื่ อ งส� ำ อาง น�้ ำ ยาช� ำ ระล้ า งต่ า งๆ ฯลฯ พร้อมทั้งบริการอาหารและเครื่องดื่มในบรรยากาศวินเทจ ตั้งอยู่ถนนสามเสน ปากซอย 24 (ตรงข้ามโรงเรียนราชินบี น) วันและเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-19.00 น. วันเสาร์ เวลา 09.00-16.00 น. รายละเอียดเพิ่มเติม www.urbantreeorganics.com หรื อ www.facebook.com/urbantree โทร. 0 2243 2989

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาความเป็นอยู่ของเกษตรกรที่ยากไร้ การกระจายสิ น ค้ า เกษตรอิ น ทรี ย ์ ที่ จ� ำ กั ด และปัญหาสิ่งแวดล้อม ท�ำให้เกิดร้านค้าสีเขียว Urban Tree เพื่อเป็นช่องทางระบายสินค้าจาก ผู้ผลิต โดยที่ผู้ผลิตสามารถก�ำหนดราคาเอง ด้วยความเป็นธรรม ส่งผลให้คนเมืองได้มีสินค้า ปลอดภัยจากสารเคมีใช้ น�ำพามาซึ่งความเป็น อยู ่ ที่ ดี ข องผู ้ ผ ลิ ต ผู ้ ใ ช้ ไ ด้ สิ น ค้ า ที่ มี ป ระโยชน์ และร่วมกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี


SECatalog 66

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

67

Elegance Handicraft “ร้านศุภพัฒ” สานต่องานหัตถกรรม จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค

งานหัตถกรรมไทยที่ประดิษฐ์จากน�ำพักน�ำแรงและทักษะของสอง มื อ โดยฝี มื อ คนไทยนั้ น มี คุ ณ ค่ า และถื อ เป็ น อาชี พ ของชุ ม ชนที่ สอดคล้องและเอื้อกับวิถีชีวิต ทั้งยังช่วยสืบสานวัฒนธรรมอันน่า ภาคภูมิใจของเราให้ด�ำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : ร้านศุภพัฒ ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณภัทรีพนั ธ์ พงศ์วชั รี (ผูจ้ ดั การ) ที่อยู่ : อาคารยูทาวเวอร์ ชั้น1 เลขที่ 411 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ : 0 2731 6335, 08 2451 6496 E-Mail : smedi411@hotmail.com Website : www.suppapat.com

ร้านศุภพัฒ คือหนึ่งในผู้ที่ช่วยผลักดัน งานหัตถกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับ ที่นอก เหนือจากการท�ำหน้าที่เป็นผู้จ�ำหน่ายแล้วยัง รับหน้าที่เป็นผู้เชื่อมต่อกระบวนการของงาน หัตถกรรมอีกด้วย โดยสินค้าของร้านศุภพัฒ มีตั้งแต่ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่เป็นงานฝีมือ และจากเครื่ อ งจั ก รขนาดเล็ ก ที่ มี วิ ธี ก ารท� ำ ง่ายๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากชุมชน สมาชิก

สหกรณ์ และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่น ผู้พิการ รวมไปถึงผู้ประกอบการขนาดเล็ก ในส่วนของหน้าทีก่ ารเชือ่ มต่อกระบวนการ หัตถกรรมได้เริ่มตั้งแต่ต้นน�้ำ นั่นคือการช่วย พัฒนางานผลิต ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก สถาบันพัฒนาธุรกิจชุมชน (Small & Micro Enterprise Development Institute : SMEDI) ช่วยส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ โดยการให้ค�ำ

แนะน�ำการสร้างสรรค์งาน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพ มีความสวยงาม เพื่อให้เกิดงาน หัตถกรรมที่เหมาะสมกับการน�ำไปใช้งานและ ตรงกับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ทางศุภพัฒได้ท�ำหน้าที่ด้าน การตลาด เรียกว่าเป็นช่องทางการจ�ำหน่าย แล้ ว ยั ง ได้ ช ่ ว ยด้ า นการออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ บรรจุภัณฑ์ รวมถึงการน�ำผลิตภัณฑ์จากหลาย


SECatalog 68

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

69

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

กระตุ้นเศรษฐกิจ ระดับชาวบ้าน สร้างรายได้ขั้น พืน้ ฐานให้กบั ชีวติ ด้วยภูมิปัญญา ทรงคุณค่า

1.การที่ ร ้ า นศุ ภ พั ฒ น� ำ โจทย์ ข องลู ก ค้ า มา ออกแบบให้ ต รงกั บ ความต้ อ งการ ท�ำ ให้ ง าน หัตถกรรมจากฝีมือส่งตรงถึงมือลูกค้าแล้วเกิด ความพึงพอใจเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ชาวบ้าน ได้ รั บ ความไว้ ว างใจในการผลิ ต ชิ้ น งานต่ อ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง

Product & Service สินค้าและบริการ

แห่งมารวมกันเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่เพื่อเพิ่ม ความแปลกใหม่แปลกตายิ่งขึ้น และยังมีการ จัดกิจกรรมพัฒนาอาชีพให้กับชุมชนต่ า งๆ โดยร่วมกับสถาบันพัฒนาธุรกิจชุมชน อาทิ กิจกรรมด้านการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้พิการ อีกด้วย สิ่งที่ร้านศุภพัฒท�ำอยู่ได้เป็นส่วนช่วยเชื่อมโยง ความต้องการของลูกค้าไปสู่ผู้ผลิต ซึ่งเป็น หนทางที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้คนในพื้นที่ ชนบทต่างๆ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในระดับรากหญ้าให้คนเหล่านี้ได้มีชีวิตที่ดีขึ้น กว่าเดิม

1. ร้านศุภพัฒ จ�ำหน่ายสินค้าหัตถกรรมซึ่ง ล้วนแต่เป็นงานฝีมือที่ผลิตและสร้างสรรค์จาก ภูมิปัญญาคนไทยในชนบทจากทุกภาคทั่วไทย เพือ่ สร้างรายได้ให้กบั คนในชุมชน เป็นผลิตภัณฑ์ ทีไ่ ม่ทำ� ลายธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม อาทิ ตะกร้า หวายแต่งลูกไม้ ราคา 450 บาท หมวกสานแต่ง ลูกไม้ ราคา 250 บาท กระเป๋ากระจูด ไซส์ S ราคา 250 บาท ไซส์ M ราคา 350 บาท ไซส์ L ราคา 450 บาท ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและผ้าฝ้าย ในรูปแบบต่างๆ เครื่องเบญจรงค์ เครื่องแก้ว และดอกไม้ประดิษฐ์ สินค้ามีวางจ�ำหน่ายที่ร้าน ศุภพัฒ อาคารยูทาวเวอร์

SIA ผลกระทบทางสังคม

ร้ า นศุ ภ พั ฒ เป็นช่องทางการจ� ำ หน่ายสินค้า หัตถกรรมไทย ท�ำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ ท้องถิ่นและมีการพัฒนางานหัตถกรรมได้ตรง ตามความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงเป็นการ สืบสานงานฝีมือซึ่งเป็นวัฒนธรรมของคนไทย ให้คงอยู่


SECatalog 70

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Organics Shop “เลมอนฟาร์ม”

ด้วยปัจจุบันผู้คนต้องเจอกับภาวะทางสังคมที่เร่งรีบ คนเราไม่มีเวลาและโอกาสที่จะเลือกสรรอาหารที่ มีประโยช์ได้ แต่หากเรามีร้านค้าสักร้านที่ไว้ใจได้ เป็นเสมือนร้านค้าใกล้ๆ บ้านที่หันมาใส่ใจสุขภาพของ ผูบ้ ริโภคมากขึน้ อย่างน้อยเวลาทีม่ นี อ้ ยในการเลือกซือ้ อาหารนัน้ เราจะได้สบายใจเวลาทีต่ ดั สินใจเลือกซือ้

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : เลมอนฟาร์ม ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : บริษทั สังคมสุขภาพ จ�ำกัด ชื่อผู้จัดการ / ผู้รับผิดชอบโครงการ : คุณสุวรรณา หลัง่ น�ำสังข์ ทีอ่ ยู่ : เลขที่ 104/34 หมู่ 1 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ : 0 2575 2222 โทรสาร : 0 2575 3789 E-mail : suwanna@lemonfarm.com Website : www.lemonfarm.com, www.facebook.com/lemonfarmfan

ร้ า นเลมอนฟาร์ ม เป็ น ที่ รั บ ซื้ อ สิ น ค้ า ออร์ แ กนิ ค และสิ น ค้ า เกษตรแปรรู ป จาก เกษตรกรในเครื อ ข่ า ยที่ ก ระจายตามชุ ม ชน ท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ท�ำให้มีแหล่งผลิต ที่ใหญ่ที่สุด สร้างรายได้และความเป็นอยู่ของ เกษตรกรให้ดีขึ้น แล้วน�ำมาวางจัดจ�ำหน่ายใน ร้านเลมอนฟาร์ม ให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อ หาสินค้าเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น มีโอกาสรับประทาน อาหารที่ปลอดภัยต่อร่างกาย ที่มีร้านค้าอยู่ ใกล้ๆ บ้าน

ตลอดระยะเวลากว่า 13 ปีที่มองเรื่องการ ช่วยเหลือชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรต่างจังหวัด และช่วยเหลือผู้บริโภค ท�ำให้เกิดแนวความคิด ที่เชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้ ผู้ผลิตท�ำของดีๆ สะอาด ปลอดสารเคมี ซึ่งเป็นผลดีต่อร่างกาย เกื้อกูล สิง่ แวดล้อม โดยยึดหลักการท�ำงานทีจ่ ะวางแผน ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกร รับประกันตลาด และ ค่าตอบแทนทีเ่ ป็นธรรม สิง่ ทีเ่ ลมอนฟาร์มท�ำนัน้ ไม่ใช่เป็นพ่อค้าคนกลาง ด้านผู้ซื้อเองก็ได้มี ร้านค้าสีเขียวคู่ครัวที่ไว้ใจได้ เลมอนฟาร์ม สหกรณ์สินค้าออร์แกนิค ร้านค้าทีใ่ ส่ใจผูบ้ ริโภค ห่วงใยเรือ่ งคุณภาพดูแล

ชีวิตของเกษตรกรอินทรีย์ ซึ่งเป็นร้านแรกๆ ของประเทศไทยที่เปิดขึ้นมาจากการพยายาม ส่งเสริมเรื่องสุขภาพ และในขณะเดียวกันก็มี การก�ำหนดเงือ่ นไขทางด้านคุณภาพ เพือ่ ผลักดัน ให้เกษตรกรหันมาท�ำการเกษตรอินทรีย์ให้มี มากขึน้ ซึง่ วิธกี ารนีจ้ ะท�ำให้สามารถช่วยเหลือได้ ทัง้ ชาวบ้าน สิง่ แวดล้อม และผูบ้ ริโภค เป็นสายใย ที่ช่วยเหลือได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และสามารถ สร้างปรากฏการณ์สังคมอาหารปลอดภัยทั้ง ระบบได้ และนี่คือรางวัลล�้ำค่าที่เลมอนฟาร์ม มอบให้สังคม

71


SECatalog 72

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

สิ่งที่เลมอนฟาร์มคิดและคัดสรรมาตลอดคือ สิ่งที่มีประโยชน์ ทั้งในแง่ของผู้ผลิตที่มีความ ปลอดภัยต่อชีวิต ไม่ตกเป็นทาสของสารเคมี บั่นทอนร่างกาย ได้สิ่งแวดล้อมที่ดีกลับคืน ส่วนผู้บริโภคก็สามารถเข้าถึงอาหารปลอดภัย ได้ใกล้ตัวกว่าเดิม สร้างปรากฏการณ์ท�ำให้ คนไทยห่วงใยสุขภาพ เป็นช่องทางสร้างฐาน ตลาดอาหารปลอดภัยให้ขยายตัวมากขึ้น

ร้านค้าสีเขียว ร้านคู่ใจ ห่วงใยสุขภาพ

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. ร้ า นเลมอนฟาร์ ม แหล่ ง รวบรวมและจั ด จ� ำ หน่ า ยสิ น ค้ า ปลอดสารพิ ษ และผลิ ต ภั ณ ฑ์ แปรรูปจากผูผ้ ลิตทัว่ ประเทศในราคาทีเ่ ป็นธรรม 2. พัฒนาสร้างสรรค์อาหารเกษตรอินทรีย์ และ อาหารธรรมชาติให้เกิดมากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภค ได้มีอาหารที่ดี

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ร้านเลมอนฟาร์ม คัดสรรผักผลไม้อินทรีย์ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ป ลอดสารพิ ษ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ธั ญ พื ช ข้าวกล้องอินทรีย์ ไข่ไก่ปลอดสารพิษ ผลิตภัณฑ์ อาหารแปรรูปเพือ่ สุขภาพ ฯลฯ มี 9 สาขา ได้แก่ สาขาแจ้งวัฒนะ สาขาเกษตร สาขาประชาชื่น สาขาสุ ขุ ม วิ ท 39 สาขาเพชรเกษม 57 สาขา ประดิษฐ์มนูธรรม สาขาศรีนครินทร์ สาขาพาราไดซ์

พาร์ค และสาขาชิดลม ดูรายละเอียดเพิม่ เติมได้ที่ www.lemonfarm.com 2. กิจกรรมเสวนา อบรม แลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งประเด็นสุขภาพ เวทีสนทนาธรรม ห้องเรียน ธรรมชาติ อย่างสม�ำ่ เสมอประจ�ำทุกสัปดาห์ ติดตาม ความเคลื่อนไหว www.lemonfarm.com สนใจส� ำ รองที่ นั่ ง ได้ ที่ ส่ ว นส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพฯ โทร. 0 2575 2222 ต่อ 213, 260 3. วารสารเพื่อนสุขภาพรายสองเดือน ช่องทาง สื่อสารในการแนะน�ำผลิตภัณฑ์ การบริการ และ วิธกี ารรักษาสุขภาพ ติดตามได้ที่ www.lemon farm.com/lmf/index.php/new-aactivities 4. Macrobiotic House by Lemon Farm เปิดบริการทีร่ า้ นเลมอนฟาร์ม สาขาศรีนครินทร์

73

เป็นแห่งแรก บริการอาหาร Macrobiotics ที่ ถูกขนานนามว่าเป็นอาหารต้านโรคภัย โดยเฉพาะ โรคมะเร็ง มีรากฐานจากของอาหารธรรมชาติใน ศาสนาพุทธ นิกายเซน

SIA ผลกระทบทางสังคม

ทุกวันนี้คนไทยเข้าถึงอาหารปลอดสารพิษได้ ค่อนข้างน้อย ยังอยู่ท่ามกลางอาหารที่ผลิตจาก กระบวนการเกษตรที่ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง อยู่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้ บริโภค เลมอนฟาร์ม สร้างปรากฏการณ์ให้คน ไทยสามารถเข้าถึงอาหารปลอดสารพิษมากขึ้น ส่งสัญญาณที่ดีต่อคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัยทั้ง ผู้ปลูกและคนกิน


SECatalog 74

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

One for One “๑4๑ ผลิตภัณฑ์เพื่อสังคม” ซื้อหนึ่ง แถมหนึ่ง คืนสังคม

คุณเคยได้ยินรองเท้ายี่ห้อทอมส์ไหม มีนักลงทุนคนหนึ่งบินไปที่อาร์เจนตินา เห็นเด็กที่มีฐานะยากจน เดินเท้าเปล่า จึงอยากช่วยเด็กๆ ได้มีรองเท้าใส่ เกิดไอเดียธุรกิจเพื่อสังคมขึ้น ถ้าใครซื้อรองเท้าหนึ่งคู่ อีกคู่จะถูกส่งไปให้เด็กด้อยโอกาสในอาร์เจนตินา ได้มีโอกาสเข้าเรียนหนังสือในชั้นเรียน เพราะเด็กที่ ไม่มีรองเท้าใส่จะถูกมองเป็นคนอีกชนชั้นหนึ่ง

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท 141 จ�ำกัด ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณคมกฤช ตระกูลทิวากร และคุณกฤติยา ตระกูลทิวากร ที่อยู่ : เลขที่ 294/24 ถนนร่มเกล้า 1 แขวงคลองสามประเวศน์ เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 โทรศัพท์ : 08 1409 5711, 08 1615 0235 โทรสาร : 0 2737 7749 E-Mail : komgrit@141.in.th Website : www.141.in.th

เรื่องราวข้างบนเป็นแรงบันดาลใจให้ คุณ คมกฤช-คุณกฤติยา ตระกูลทิวากร หันมาท�ำ ผลิตภัณฑ์ไม้ และของเล่นไม้ ๑4๑ ผลิตภัณฑ์ เพื่อสังคม ลูกค้าซื้อหนึ่งชิ้น อีกหนึ่งชิ้นส่งต่อ น้องผู้ด้อยโอกาส โดยส่วนที่เหลือจากการผลิต ถู ก น� ำ มาประกอบเป็ น ของเล่ น สร้ า งสรรค์ จินตนาการ เพือ่ ส่งตัวไปยังศูนย์พฒั นาเด็กเล็ก ก่อนปฐมวัยทั่วประเทศ ๑4๑ ออกแบบและผลิตของใช้ ของตกแต่ง จากไม้ยางพาราที่ถูกโค่นทิ้งตามอายุไข มีสีสัน สวยงามจากสีผสมอาหาร อาทิ นาฬิกาแขวนผนัง ทีค่ นั่ หนังสือ ชัน้ วางหนังสือ โดดเด่นด้วยลวดลาย

75


SECatalog 76

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ผลิตภัณฑ์ไม้ สร้างสรรค์ ของเล่นเสริม จินตนาการ สู่การแบ่งปัน เด็กด้อยโอกาส จากการฉลุ ซึ่งเป็นส่วนที่น�ำไปประกอบเป็น ของเล่นเด็กเพื่อส่งไปบริจาคยังศูนย์พัฒนา เด็กเล็กทั่วประเทศ การลุกขึ้นมาจากโซนปลอดภัยของคุณ คมกฤช-คุณกฤติยาที่มีรายได้มั่นคงจากการ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย คุณคมกฤชเป็น อาจารย์สอนออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้ท�ำรถตู้ ม้ามีล้อจากไม้ลังให้ลูกๆ เล่น เกิดแนวความคิด ว่าคงเป็นเรือ่ งดีถา้ ท�ำของเล่นให้เด็กทีข่ าดแคลน การตัดสินใจครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง แต่เพื่อสังคม ได้สร้างสรรค์สังคมแห่งการให้ แม้สิ่งที่เขาท�ำเป็นเพียงปัจจัยเล็กๆ แต่ท�ำให้ เด็กเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้

และด้วยหัวใจความเป็นพ่อแม่ คิดค้น ของเล่น DIY ให้ผู้ปกครองลงมือท�ำของเล่นให้ ลูกๆ เสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว เพราะมองว่าของเล่นที่เป็นธรรมชาติ มีคุณค่า น่าจับต้องกว่าปืนพลาสติก ตุ๊กตาพลาสติก หรูหรา เกมบนแท๊บเลต ดีกว่าปล่อยให้เด็ก เติ บ โตมาท่ า มกลางของเล่ น ที่ ไ ม่ เ หมาะสม ส่งเสริมความรุนแรง ความฟุ่มเฟือย นอกจากนั้น มีความตั้งใจจะส่งเสริมอาชีพ ให้กับกลุ่มแม่บ้านตามชนบท ผู้สูงอายุที่พอมี ฝีมือด้านช่างได้มามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ เป็นช่องทางกระจายรายได้สู่ชุมชน และต้องการอาสาสมัครมาช่วยขัดของเล่น

เป็นการสร้างจิตส�ำนึกแห่งการเสียสละเพื่อ ผู้อื่นของคนในสังคมอีกด้วย การลาออกจากงานประจ� ำมาท�ำกิจการเพื่อ สังคม แน่นอนว่าอาจจะไม่มีวันรวย เพราะว่า ท้ายสุดแล้วก็น�ำคืนสู่สังคม แต่สิ่งที่ได้อย่าง แท้จริงคือ ความรู้สึกภาคภูมิใจของการเป็น ผูใ้ ห้อย่างต่อเนือ่ ง ไม่วา่ จะเป็นผูซ้ อื้ ผูข้ าย หรือ ผู้ผลิต ทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม ร่ ว มกั น และนี่ คื อ การตอกย�้ ำ แนวทางการ เดินทางสู่การท�ำกิจการเพื่อสังคมของ ๑4๑ ของเล่นเพื่อการให้อย่างแท้จริง

1. สร้ า งสรรค์ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ไ ม้ ส� ำ หรั บ เด็ ก ที่ มี คุณภาพ น� ำส่วนที่เหลือจากการผลิตมาเป็น ของเล่นชิ้นใหม่ เพื่อมอบให้แก่เด็กด้อยโอกาส สร้างจิตส�ำนึกระหว่างผู้ซื้อกับผู้รับ เพื่อสร้าง สังคมแห่งการให้ 2. ออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งของที่ไม่รบกวน ธรรมชาติ โดยใช้ไม้ยางพาราทีถ่ กู โค่นตามอายุไข และสีไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้ใช้ 3. ส่ ง เสริ ม จิ ต นาการของเด็ ก และเสริ ม สร้ า ง ความสัมพันธ์ในครอบครัว

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ผลิตภัณฑ์ ไม้ที่มีคุณภาพ ของใช้ของตกแต่ง จากไม้ยางพารา ใช้สีผสมอาหาร โดดเด่นกับ ลวดลายฉลุ อาทิ นาฬิกาแขวนผนัง ที่คั่นหนังสือ เฟอร์นิเจอร์โต๊ะเก้าอี้สำ� หรับเด็ก ชั้นวางหนังสือ และชุดของเล่น DIY เสริมสร้างความสัมพันธ์ใน ครอบครัว ราคา 199-2,800 บาท สามารถสั่งซื้อ สินค้าผ่าน www.141.in.th สอบถามเพิ่มเติม โทร. 08 1409 5711 หรือ 08 1615 0235 2. ของเล่นเชิงสร้างสรรค์ ของเล่นชิ้นใหม่ จาก การน� ำ วั ส ดุ ไ ม้ ที่ ฉ ลุ ม าออกแบบและผลิ ต เพื่ อ มอบให้ แ ก่ เ ด็ ก ด้ อ ยโอกาส ตามศู น ย์ พั ฒ นา เด็กก่อนประถมวัย โรงพยาบาลเด็ก ทั่วประเทศ อาทิ ของเล่นพวกตุ๊กตา สัตว์ ต้นไม้ รถเข็น เป็นต้น

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาเด็กที่เติบโตมาท่ามกลางของเล่นที่ ไม่เหมาะสม ส่งเสริมความรุนแรง ความฟุม่ เฟือย ๑4๑ เป็นทางเลือกหนึ่งในการให้ผ่านของเล่นไม้ เชิงสร้างสรรค์ที่มุ่งส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบ สมวัยด้วยวัสดุจากธรรมชาติที่ปลอดภัย สร้าง จินตนาการ สามารถเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีใน อนาคต และไม่ใช่เพียงแต่เด็กในเมืองที่มีโอกาส ได้ สั ม ผั ส ของเล่ น ที่ มี ป ระโยชน์ เพราะการซื้ อ

ของเล่น 1 ชิ้น อีก 1 ชิ้นจะถูกส่งต่อไปให้เด็ก ด้อยโอกาส ให้พวกเขาได้มีโอกาสเช่นกัน จาก ของเล่นเพียง 1 ชิ้น ส่งผลให้คนอีกหลายคน ได้รู้จักการให้ และร่วมส่งต่อการให้ กลายเป็น สังคมของการแบ่งปันไปโดยปริยาย

77


SECatalog 78

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Green Product “กรีนไทย โปรดักส์” ผลิตภัณฑ์สีเขียว

ปั ญ หาขยะ ดู จ ะไม่ เ ป็ น เรื่ อ งขยะๆ ที่ ทิ้ ง ขว้ า งได้ อี ก ต่ อ ไป เพราะเป็ น ปั ญ หาใหญ่ ที่ ส ่ ง ผลกระทบ โดยตรงต่อโลกของเรา การหันมาสร้างค่านิยมใหม่ โดยการน�ำขยะหรือวัสดุที่ใช้แล้วน�ำกลับมาใช้ซ�ำ จึงเป็นแนวคิดที่มาแรงในยุควิกฤติโลกร้อน โดยหวังช่วยบรรเทาความร้อนระอุที่ไม่ต้องใช้พลังงาน มหาศาลผลิตสินค้าใหม่ แต่กลับใช้ไอเดียเจ๋งๆ สร้างมูลค่าให้ขยะแทน

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : กรีนไทย โปรดักส์ ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณพจน์ เขียวชอุ่ม ที่อยู่ : ห้อง 404 หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร เลขที่ 939 ถ.พระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 08 6141 7385, 08 4538 2338 E-Mail : greenthaiproduct@hotmail.com Website : www.greenthaiproduct.com

กรีนไทย โปรดักส์ ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ที่ท�ำมาจากวัสดุรีไซเคิล ผ่านการ ออกแบบและผลิตอย่างพิถีพิถัน จนได้สินค้าที่ สวยงาม มีคณุ ภาพและสร้างสรรค์ เป็นทางเลือก ส�ำหรับผู้บริโภคเพื่อเป็นของใช้หรือมอบให้เป็น ของทีร่ ะลึก และมีสว่ นร่วมในการลดปริมาณขยะ จุ ด เริ่ ม ต้ น ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ สี เ ขี ย ว มาจาก คุณพจน์ เขียวชอุม่ ทีม่ โี อกาสพานักศึกษา ไปสร้างฝายชะลอน�้ำ จึงตั้งใจว่าถ้าจะมีบริษัท เป็นของตัวเองก็จะท�ำเกีย่ วกับสิง่ แวดล้อม และ เปิดบริษัท ร่วมคิด 99 จ�ำกัด รับออกแบบและ จัดกิจกรรมเกีย่ วกับสิง่ แวดล้อม การจัดประชุม สัมมนา ปลูกป่าชายเลน คัดแยกขยะ สร้างฝาย ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สมความ

ตั้งใจ ต่อมาลูกค้าต้องการสินค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ขณะนั้นในท้องตลาดหา ค่อนข้างยาก สบโอกาสเห็นช่องว่างจึงผันตัว มาผลิตสินค้า โดยร่วมกับวงษ์พาณิชย์ น�ำวัสดุ เหลือใช้เป็นของใกล้ตัวน�ำมาออกแบบให้ฟื้น ชีวิตกลับคืนมาได้ใหม่ นอกจากนี้ยังถ่ายทอด องค์ความรู้ให้กับนักศึกษา โดยเฉพาะสาขา ด้านการออกแบบ ย้อนเวลากลับไปเมื่อก่อน ถ้าพูดถึงเรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่ท�ำมาจากของรีไซเคิล ทุกคนต่าง ปฏิเสธ เคยน�ำผลิตภัณฑ์ไปเสนอขายบนห้าง แต่ถกู ปฏิเสธ จึงกลับมาคิดค้น พัฒนาประสิทธิภาพ เน้นย�้ำเรื่องความสะอาดของสินค้าให้คน ไม่รู้สึกว่าเป็นของรีไซเคิลมาจากขยะ ทุกวันนี้

79


SECatalog 80

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

81

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ทุกคนเริม่ ตืน่ ตัวมากขึน้ เพราะได้รบั ผลกระทบ จากสิ่งแวดล้อม มีแนวความคิดต้องการรวม กิจการที่เป็นกรีนโปรดักส์เป็นสมาคม เพื่อให้ ค�ำปรึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้กัน หลังจากทีเ่ ปิดตัวแบรนด์ได้ปกี ว่าๆ มีสนิ ค้า สู่ตลาด อาทิ สมุดจดบันทึก กระเป๋าสตางค์ ไอแพดเคส ฯลฯ ตอบโจทย์ลูกค้าที่เป็นคน รุ่นใหม่ ผู้ต้องการของขวัญที่ระลึกที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม และชาวต่างชาติจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย รัสเซีย ตอนนีค้ นไทยให้ความ สนใจเรือ่ งสิง่ แวดล้อมมาก ได้มสี ว่ นร่วมในการ ลดปริมาณขยะที่จะน�ำไปท�ำลาย อันก่อให้เกิด ผลเสียต่อสภาพแวดล้อม

1. น� ำ วั ส ดุ เ หลื อ ใช้ ก ลั บ มาใช้ ใ หม่ ด ้ ว ยการ ออกแบบและคิดค้นให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม คุ ณ ภาพดี เพื่อลดจ�ำนวนขยะในการก�ำจัดที่ ย่อยสลายยาก และเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม 2. สามารถพัฒนาการออกแบบและนวัตกรรม การผลิ ต และถ่ า ยทอดองค์ ค วามรู ้ ใ ห้ กั บ นักศึกษาด้านการออกแบบ และผู้ที่สนใจทั่วไป

Product & Service สินค้าและบริการ

สินค้าของกรีนไทย โปรดักส์ สร้างสรรค์และ ผลิตจากวัสดุรไี ซเคิล ส่วนใหญ่ใช้ฟอยล์หอ่ ขนม น�ำมาปั๊มด้วยหนัง สวยงาม คุณภาพเยี่ยม อาทิ ไอแพดเคส กระเป๋าใส่พาสสปอร์ต ทีเ่ ก็บนามบัตร ฯลฯ ชมตัวอย่างผลิตภัณฑ์ได้ที่ www.green thaiproduct.com สามารถพบกั บ สิ น ค้ า กรีนไทย โปรดักส์ จัดจ�ำหน่ายที่ร้าน Loft สาขา สยามดิ ส คั ฟ เวอร์ รี่ และจามจุ รี ส แควร์ ร้ า น Propaganda สาขาสยามดิสคัฟเวอร์รี่ และ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ร้าน Eco Shop ดิจติ อล เกตเวย์ ร้าน Scrap Shop ม.เกษตรศาสตร์ และ TCDC ตึกดิ เอ็มโพเรียม

สิง่ ทีค่ ณุ พจน์และกรีนไทย โปรดักส์ทำ� แม้ไม่ใช่.ช การทุ่มเงินมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้ สะอาดสดใส แต่ได้ใช้ใจบวกความคิดสร้างสรรค์ เป็นน�้ำมันในการขับเคลื่อนสังคม เพื่อช่วยลด ปริมาณขยะ ลดการเผาท�ำลาย ลดการฝังกลบขยะ และลดมลภาวะ เพื่อให้เราและโลกได้ยิ้มอย่าง สดใสอีกครั้ง

SIA ผลกระทบทางสังคม

รีไซเคิล+ดีไซน์ = ผลิตภัณฑ์ สีเขียวช่วยโลก

จากปัญหาขยะล้นเมืองอันน�ำไปสู่การก�ำจัดที่ ยากเย็น ย่อยสลายยาก ฝังกลบก็ใช้เวลานาน จะเผาก็ ไ ปท� ำ ลายชั้ น บรรยากาศ ด้ ว ยการ ออกแบบและคิดค้นน�ำสิ่งที่เคยเป็นขยะมาผลิต เป็นของใช้คอื ทางออกในการช่วยลดปริมาณขยะ และเพิ่มมูลค่าให้กลับมามีประโยชน์อีกครั้ง


SECatalog 82

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

83

Gold Garbage “ธนาคารขยะออมทรัพย์” เก็บขยะเท่ากับเก็บทอง

ล�ำพังจะให้คนรู้จักการออมทรัพย์ยังยาก หากบอกว่าให้หัดออมกันวันละ 1 บาท ยังไม่ค่อยมีคนสนใจ แล้วจะท�ำยังไงล่ะให้คนในชุมชนรู้จักออมไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมและความสะอาด เรื่อง ของธนาคารขยะจึงปิ๊งขึ้น กลายมาเป็นไอเดียดีๆ ในการบอกให้คนในชุมชนรู้จักการออม เพียงแค่นำ� ขยะมาแลก เสกให้กลายเป็นตัวเงิน สู่ระบบการจัดการทั้งขยะ การออม การสร้างรายได้ และการรักษา สิ่งแวดล้อมในชุมชนไปในตัว

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : รวมมิตร 2011 ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณฉัตรศนัน มาสว่างไพโรจน์ ที่อยู่ : เลขที่ 2508/184 ถนนดินแดง แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 08 1752 2443 E-Mail : ruammit2011@gmail.com Website : www.ruammit2011.com www.facebook.com/pages/รวมมิตร

รวมมิตร 2011 ผูด้ ำ� เนินการจัดตัง้ ธนาคาร ขยะออมทรัพย์ ชุมชนการเคหะดินแดง 8 ชั้น กล้าพอที่จะประกาศให้ชุมชนเก็บขยะเอาไว้ แล้วน�ำมาฝาก จากแนวความคิดต้องการแก้ไข ปัญหาสิ่งแลดล้อมควบคู่ไปกับการสร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านได้เห็นประโยชน์ของขยะและ การออม จุดเริ่มต้นทั้งหมดมาจาก คุณฉัตรศนัน มาสว่างไพโรจน์ เจ้าของรวมมิตร 2011 ส่งแผน กิจการเพื่อสังคมเข้าประกวดและได้ทุนจาก บริษัท บ้านปู จ�ำกัด (มหาชน) มาด�ำเนินงาน

ธนาคารขยะออมทรัพย์ เธอเป็นหนึ่งในสมาชิก ชุมชนเคหะดินแดง 8 ชั้น ท�ำให้ทราบข้อมูลว่า คนไทยขาดวินัยในการออม มีปัญหาหนี้นอก ระบบ และปัญหาเรื่องการจัดการขยะมูลฝอย โรคเรื้อรังของชุมชน จึงยกเรื่องขยะเป็นตัวขับ เคลื่อนการแก้ไขปัญหาสังคม ขั้นแรกสอนชุมชนคัดแยกขยะ ซึ่งหากท�ำ ถูกวิธียิ่งเพิ่มมูลค่า จากนั้นแนะน�ำมาฝากกับ ธนาคารขยะออมทรัพย์ซึ่งจะเป็นผู้จ�ำหน่ายต่อ แก่ ก ลุ ่ ม ที่ รั บ ซื้ อ เพี ย งเท่ า นี้ จ ากขยะที่ ไ ม่ มี มูลค่าเลย กลับสร้างมูลค่าเพิม่ ได้ทธี่ นาคารขยะ

โดยกลายเป็ น เงิ น ฝาก กระทั่ ง มี ห น่ ว ยงาน เฉพาะทางมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องของการ จัดการระบบธนาคารให้ดีขึ้น และมีการพัฒนา ศักยภาพและต่อยอดกิจการของธนาคารขยะ แห่งนี้เรื่อยมา ส่วนตัวคุณฉัตรศนัน มองว่าไม่ได้ท�ำเพียง แค่ธุรกิจ แต่เป็นตัวกลางสร้างความรู้เพื่อสอน ชุมชน จากขยะในชุมชนเป็นเงินฝาก ไม่ใช่แค่ ลดประมาณขยะ แต่ยงั เป็นการสร้างวินยั ในการ ออมให้กับชุมชน น�ำมาซึ่งเงินเหลือเก็บมีใช้ ตลอด นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อกู้ยืมเงินน�ำไปใช้


SECatalog 84

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

หนี้สิน โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเป็นขยะ ไม่แน่วันข้างหน้าอาจมีภาพผู้คนถือถุงขยะ รีไซเคิลอวดรอยยิ้มกันก็เป็นได้ เพราะชาวบ้าน เริ่มเห็นขยะวางระเกะระกะไม่ได้แล้ว สิง่ ทีเ่ ป็นหัวใจส�ำคัญของกิจการเพือ่ สังคมทีเ่ พิง่ เริม่ ต้นเป็นปีแรกคือ การรูจ้ กั รักคนอืน่ เราอยูใ่ น ชุมชนเดียวกัน ต้องการให้ชมุ ชนสะอาด ก็ตอ้ งมี จิตใจสาธารณะ บางทีอาจไม่ตอ้ งน�ำขยะมาฝาก ธนาคาร แค่สร้างนิสัยคัดแยกขยะ เพียงเท่านี้ ถือว่าได้ช่วยโลกใบนี้ให้น่าอยู่ขึ้นแล้ว

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ขยะกลายเป็นทุน สนับสนุนการออม คืนสิ่งแวดล้อม ที่ดี แก่ชุมชน

1. ส่งเสริมและสนับสนุนการออมทรัพย์ให้กับ ชาวชุมชน อันเป็นการเพิ่มรายได้เพื่อลดภาระ หนี้สิน 2. ให้ความส�ำคัญในกระบวนการคัดแยกขยะ อย่างถูกวิธี อันน�ำไปสู่การจัดการขยะและสร้าง สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน 3. เป็ น ศู น ย์ ถ ่ า ยทอดองค์ ค วามรู ้ เ รื่ อ งการ จั ด การสิ่ ง แวดล้ อ มในรู ป แบบธนาคารขยะ ออมทรัพย์ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน องค์กรต่างๆ และกลุ่มบุคคลที่สนใจ 4. สถานที่ฝึกสอนหัตถกรรมรีไซเคิล ส�ำหรับ ลู ก บ้ า นที่ ไ ม่ มี อ าชี พ มี ก ารสอนแปรรู ป ขยะ รีไซเคิลให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งไม่ต้องลงทุนซื้อ วัตถุดิบ เพราะหาได้ง่ายในชุมชน เป็นการต่อ ยอดความสร้างสรรค์เพื่อสร้างอาชีพและรายได้

Product & Service สินค้าและบริการ

1. บริการฝากขยะรีไซเคิล ธนาคารขยะออมทรัพย์ และเปิดบริการฝากขยะรีไซเคิลทุกวันเสาร์ที่ 2 และ 4 ของเดือน เวลา 10.00-17.00 น. หลังจาก ปิ ด รั บ ฝากจะมี ผู ้ ป ระกอบการมารั บ ขยะทั น ที ส่วนวันธรรมดาจะเปิดให้บริการถอนเงิน 2. สัจจะออมทรัพย์ บริการสินเชื่อดอกเบี้ยต�่ำ

กับสมาชิกคนที่มีรายได้น้อยและยังคงประสบ ปั ญ หาหนี้ น อกระบบ โดยจะต้ อ งเป็ น สมาชิ ก ธนาคารขยะออมทรัพย์อย่างน้อย 6 เดือน โดย คิดดอกเบี้ยคืนเป็นขยะ 3. ร้านค้าสวัสดิการขยะ หากไม่มีตังค์แต่มีขยะ รีไซเคิล เดินเข้าร้านนี้ไม่มีอด สามารถน�ำขยะมา จ่ายแทนเงินซื้อของได้ อาทิ ข้าวปลอดสารพิษ ผลผลิตพืชผักปลอดสารพิษ น�้ำยาล้างจานท�ำ จากผักผลไม้ เป็นต้น 4. จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากขยะรีไซเคิล ออกแบบและผลิ ต ร่ ว มกั บ กลุ ่ ม หั ต ถกรรม รีไซเคิล อาทิ กระเป๋าจากกระป๋องอะลูมิเนียม โคมไฟจากขวดพลาสติก เป็นต้น สินค้าทุกชิ้น เป็นงานท�ำมือ สามารถชมตัวอย่างและสั่งซื้อ ได้ที่ www.ruammit2011.com

SIA ผลกระทบทางสังคม

เป็นกิจการทีช่ ว่ ยสร้างวินยั ในการออม เพิม่ เงินออม และจัดหาสินค้าสวัสดิการราคาประหยัดมาให้กบั สมาชิก และท�ำให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้นด้วย การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกิจการ เพื่อสังคมที่ต้องการแก้ไขการออม รายได้ และ สิ่งแวดล้อมพร้อมกัน ด้วยการน�ำขยะรีไซเคิล มาเป็นตัวขับเคลื่อนในการสร้างกองทุน สร้าง แหล่งงาน และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นให้กับชุมชน

85


SECatalog 86

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Vegetable for Giving “นะโม นำ�มนต์ ฟาร์ม” ปลูกผักปลูกสังคม

กระแสการแข่งขันทางธุรกิจก่อให้เกิดการ พัฒนารูปแบบเพื่อเอาชนะกัน ซ�ำไปวนมา ไม่รู้จบ ธุรกิจที่มองแต่ตัวเอง เบียดเบียน คนอื่นจนแทบมิด ค่าตอบแทนคือตัวเงิน มีสักกี่คนที่เข้าใจค�ำว่าพอ พลิกชีวิตตัวเอง สู่ธุรกิจอีกรูปแบบที่ไม่มีการแข่งขัน แต่มี การแบ่งปันและการให้ ซึง่ สิง่ ตอบกลับ ไม่ใช่ เพียงตัวเลขทีล่ งท้ายว่าบาท แต่คอื คุณภาพ สังคม แน่นอนหลายคนท�ำเช่นนั้นและไม่รู้ ตัวเองว่าก�ำลังท�ำกิจการเพื่อสังคม นะโม น�้ำมนต์ ฟาร์ม แหล่งปลูกผักแบบ ไฮโดรโปนิกส์ปลอดสารพิษ ที่มีแนวคิดเพียง แค่เป็นฟาร์มส�ำหรับเพาะปลูกเพื่อครอบครัว ด้วยผักคุณภาพสูงจึงอยากจะให้ผู้อื่นมีโอกาส รับประทานเช่นเดียวกัน ทั้งยังเป็นสถานที่ ศึกษาดูงานของหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ เข้า มาเรี ย นรู ้ ก ระบวนการผลิต และรู ป แบบการ จัดการเกษตรที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม แม้เพิ่งจะเริ่มต้นกิจการฟาร์มผักปลอด สารพิษได้เพียงปีแรก แต่คุณอุไร เพ็ชรรัตน์ ผูเ้ คยผ่านการท�ำธุรกิจเพือ่ ตัวเองมาแล้ว เมือ่ ถึง

จุดอิม่ ตัวทีเ่ งินไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทกุ อย่าง จึงมีจดุ มุง่ หมายเปลีย่ นเป็นกิจการเกีย่ วข้องกับ สุขภาพ ท�ำฟาร์มผักปลอดสารพิษ ที่ครอบครัว ชอบรั บ ประทานผั ก เป็ น ทุ น เดิ ม และทราบ ปัญหาราคาผลผลิตที่ไม่เป็นธรรมต่อเกษตรกร ก็เลยเปิดร้านเวจจี้ เวจจี้ เพื่อกระจายสินค้าที่ มีคุณภาพสู่ผู้รักสุขภาพเองจน ได้รับความ เชื่อมั่นจากผู้บริโภคในเวลารวดเร็ว ส่งผลให้ ธุรกิจเกิดใหม่ของเธออยู่ได้อย่างยั่งยืน ท�ำให้ อยากคืนก�ำไรสู่สังคม

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : นะโม น้ำมนต์ ฟาร์ม ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณอ�ำนาจ ค�ำศิรวิ ชั รา และคุณอุไร เพ็ชรรัตน์ ที่อยู่ : เลขที่ 70 ถนนพระสุเมรุ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0 2282 5770, 08 9921 2839 โทรสาร : 0 2282 5774 E-mail : urai_nini_p@hotmail.com

โครงการพันธุ์จิ๋ว ใจกว้าง คือสิ่งที่นะโม น�้ำมนต์ ฟาร์ม ได้ถ่ายทอดสู่สังคม มุ่งหวัง ว่าอยากจะให้คนไทยได้กินผักดีๆ โดยเฉพาะ เด็กๆ ส่วนการด�ำเนินกิจกรรมส่งเสริมเยาวชน เรี ย นรู ้ ก ารปลู ก ผั ก แบบไฮโดรโปนิ ก ส์ นั้ น มี โรงเรียนวัดท้องไทร และโรงเรียนบ้านห้วยกรด จ.นครปฐม เป็นโครงการน�ำร่อง เพื่อปลูกฝัง การท�ำเกษตรกรรมปลอดสารพิษ ถ่ายทอด ความรู้ด้วยการฝึกอบรม การสร้างโรงเรือนสู่ การลงมือเพาะปลูกจริง ทั้งยังรับซื้อผลผลิต ในระบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่งกับฟาร์ม โรงเรียน

87


SECatalog 88

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

89

ยังสามารถน�ำผักปรุงเป็นเมนูอาหารกลางวัน และแบ่งขายเพื่อสร้างรายได้ นอกจากนี้นะโม น�ำ้ มนต์ ฟาร์ม ได้เข้าไป สนับสนุนบ้านต้นรักษ์ ที่เป็นกิจการเพื่อสังคม เช่นเดียวกัน สนับสนุนให้เยาวชนที่ได้รับผล กระทบจากยาเสพติดหันมาท�ำเกษตรปลูกข้าว อินทรีย์ เป็นเกราะป้องกันภัยจากอบายมุข พร้อมกับรับซื้อผลผลิตของบ้านต้นรักษ์เพื่อมา จัดจ�ำหน่ายอีกด้วย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ถ้าหากการท�ำความดีเพื่อสังคมเป็นสิ่งที่เสพ ติดได้ นะโม น�้ำมนต์ ฟาร์ม คงอยู่ในภาวะนั้น เมื่อเข้าใจถึงค�ำว่าพอแล้ว ก็น�ำไปสู่การให้และ แบ่งปันแก่ผู้อื่น จนกลายเป็นการให้ที่มีแต่เพิ่ม มากขึ้น

1. ร้านเวจจี้ เวจจี้ แหล่งกระจายผลผลิตจาก สวนนะโม น�ำ้ มนต์ ฟาร์ม จัดจ�ำหน่ายเมนูสลัดผัก วางขายผักสดปลอดสารพิษ อาทิ กรีนโอ๊ก เรดโอ๊ก กรีนคอรัล และบัตเตอร์เฮด และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ น�้ำดื่มสมุนไพร เช่น น�้ำอัญชัน น�้ำตะไคร้ และน�้ำมะนาว ตั้งอยู่ถนนพระสุเมรุ ห่างจากแยก บางล�ำพูเพียงเล็กน้อย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 08 9921 2839 2. ร้านพันธุจ์ วิ๋ ใจกว้าง ร้านจ�ำหน่ายผลผลิตทาง การเกษตรจาก นะโม น�้ ำ มนต์ ฟาร์ ม และ รวบรวมสินค้าจากโครงการบ้านต้นรักษ์ พืชผล ทางการเกษตรจากกิจการอื่นๆ ในเครือข่าย เกษตรอินทรีย์ ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลต�ำรวจ ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พร้อมเปิดบริการเดือนกรกฎาคมศกนี้

คนปลูกใส่ใจ คนกินปลอดภัย ก�ำไรน�ำกลับไป พัฒนาสังคม

1. เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร้ดิน ผลิตอาหาร ปลอดภัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ค� ำนึงถึง คุณภาพที่ผู้บริโภคได้รับ เสมือนปลูกผักให้ลูก ตัวเองทาน 2. เป็นสถานที่ศึกษาดูงานภายในโครงการสวน จิ ต รลดา โดยสมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานทุนทรัพย์ ส�ำหรับประเทศโลกที่สามมาดูการด�ำเนินกิจการ

Product & Service สินค้าและบริการ

SIA ผลกระทบทางสังคม

เป็นกิจการที่สามารถสร้างรายได้ที่มากขึ้นแก่ เกษตรกรอินทรีย์ที่ปกติมักถูกเอาเปรียบด้าน ราคาจากพ่อค้นคนกลาง และช่วยเพิ่มรายได้ ให้ เ กษตรกรผ่ า นทางการจั ด หาช่ อ งทางการ จัดจ�ำหน่ายที่มากขึ้น และการรับซื้อในระยะยาว ผ่านระบบคอนแทร็กฟาร์มมิง่ การท�ำแปลงสาธิต ร่วมกับโรงเรียนต่างๆ เป็นแหล่งความรู้และการ ปลูกฝังทัศนคติการบริโภคแบบอินทรีย์ให้กับ เยาวชนอีกด้วย


SECatalog 90

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

91

Fair Trade

“คนขายผัก” แปลงผักรักสังคม กระแสการใส่ใจแหล่งเพาะปลูก สู ่ ก ารเป็ น สั ง คมแห่ ง ความ ปลอดภั ย จากสารพิ ษ เริ่ ม ขยั บ เข้ า ใกล้ ทุ ก แปลงปลู ก และโต๊ ะ อาหารทุ ก ขณะ แต่ สิ่ ง ที่ เ ป็ น ขวากหนามคือกลไกตลาด ที่ท�ำ ให้อดคิดไม่ได้วา่ จะกินของดีตอ้ ง ยอมจ่ายแพง จะท�ำของดีต้องได้ ราคางาม ท�ำให้แนวความคิดทั้ง สองไม่ ค ่ อ ยมี ใ ครกล้ า กระโดด ข้ามเพดานราคา จนเมื่อแนวคิด กิจการเพือ่ สังคมเข้ามามีบทบาท ก็ มี ค วามคิ ด ใหม่ ๆ ที่ ท ลาย อุปสรรค ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : ศูนย์รวบรวมผลิตภัณฑ์เกษตร ปลอดภัยจากสารพิษ เขตทวีวัฒนา ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณณัฏฐพล ของสิรวิ ฒ ั นกุล ที่อยู่ : เลขที่ 65 หมู่ 6 ซอยสนามกีฬาพานิช ราชด�ำเนิน ถนนพุทธมณฑลสาย 2 เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ : 08 1278 5577 E-mail : ho10700@hotmail.com Website : www.konkaypuk.com

กลุม่ วิสาหกิจชุมชนผูป้ ลูกผักปลอดภัยจาก สารพิษ เขตทวีวัฒนา เป็นศูนย์กลางในการ รวบรวมพืชผลทางการเกษตร ผักปลอดภัย ของกลุ่ม เพื่อควบคุมคุณภาพ ประกันราคา และรายได้ ก่อให้เกิดการซื้อขายที่เป็นธรรม ไม่ต้องนั่งลุ้นกลไกตลาด อีกทั้งยังเป็นสถานที่ น�ำองค์ความรูใ้ หม่ เทคโนโลยี พืชผลมาส่งเสริม ให้แก่เกษตรกร ผูบ้ ริโภคก็ได้รบั ประทานพืชผล ที่พึงพอใจและปลอดภัย อันน�ำไปสู่ชีวิตเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น การเข้ามาของเกษตรกรหน้าใหม่ คุณณัฏฐพล ของสิริวัฒนกุล แกนน�ำกลุ่มฯ ที่สนใจอาชีพ ปลูกผัก เนือ่ งจากมองว่าคือวัตถุดบิ หลักบนโต๊ะ

อาหารที่อยู่คู่ครัวไทยมาช้านาน ด้วยความที่ เป็นคนรุ่นใหม่มีความใฝ่รู้ใฝ่ทดลองและเป็น หนึ่งในแกนน�ำ เขามองว่าการอยู่ชานกรุงนั้น มี ศั ก ยภาพในการกระจายพื ช สวนครั ว ที่ ส ด สะอาดถึงมือผู้บริโภคได้รวดเร็ว ภายใต้ตรา สัญลักษณ์เขตทวีวฒั นา และแบรนด์คนขายผัก เขาเข้าไปขอความช่วยเหลือให้ช่วยตรวจสอบ คุณภาพและรับรองผลผลิตของศูนย์รับรอง มีถงุ บรรจุภณั ฑ์เดียวกัน สร้างความเชือ่ ถือและ น่าจูงใจในการซื้อ โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกผัก ปลอดภัยจากสารพิษ เขตทวีวัฒนา ได้รับทุน สนับสนุน กระทัง่ น�ำมาต่อยอดเพือ่ การสนับสนุน

เกษตรกรและเข้ากองทุน เพื่อให้ชาวสวนกู้ยืม และคืนเป็นผลผลิตต่อไปได้ ผลที่เกิดจากแนวความคิด เกษตรกรได้การ รับประกันราคาผักทั้งปีดีกว่าราคากลไกตลาด ได้เงินสดใช้ทันที โดยมีการพูดคุยเพื่อก�ำหนด ราคาร่วมกัน ไม่ถูกจนอยู่ไม่ได้ ไม่แพงจนขาย ไม่ได้ เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างแปลงผัก ส่ ว นผู ้ บ ริ โ ภคมี ผั ก ปลอดภั ย ที่ มี ค วามมั่ น ใจ จากการรับรองของหน่วยงานภาครัฐในราคา ย่อมเยารับประทานตลอดทั้งปี ทั้งยังมีความ สดใหม่ อันน�ำพาไปสู่ระบบคนปลูกและคนกิน ที่สอดประสานกันบนความยั่งยืน


SECatalog 92

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. เป็ น ศู น ย์ ก ารรวบรวมพื ช ผลจั ด จ� ำ หน่ า ย ในราคาที่ เ ป็ น ธรรม ประกั น ราคาและรายได้ ยกระดับพื้นฐานอาชีพของเกษตรกรรายย่อย ในท้องถิ่น สามารถอยู่ในสังคมอย่างมีเกียรติ และมีวิถีชีวิตอยู่บนความพอเพียง 2. แปลงทดลองเพาะปลู ก พื ช ผล เทคโนโลยี การเพาะปลูก ปรับปรุ ง และพั ฒ นาศั ก ยภาพ เพื่อน�ำองค์ความรู้มาถ่ายทอดให้เกษตรกร 3. กองทุนกู้ยืมเพื่อเกษตรกร ลงทุนเพื่อพัฒนา ศักยภาพของตนเอง และทยอยน�ำผลผลิตคืน ทุนกู้ยืม

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ศูนย์รวบรวมผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย จากสารพิษ มีผักปลอดภัยกว่า 30 ชนิด ได้แก่ ผั ก คะน้ า เห็ ด หอม ผั ก กวางตุ ้ ง ดอกฮ่ อ งกง ผักกวางตุง้ ใบ ผักบุง้ จีน คะน้าไทย กวางตุง้ ไต้หวัน กวางตุง้ ฮ่องเฮา ขึน้ ฉ่าย ผักกาดหอม ถัว่ ฝักยาว วอเตอร์เครส ต�ำลึงหวาน เป็นต้น จัดจ�ำหน่ายใน ราคาเริ่มต้น 10 ขึ้นไป 2. มี ตั ว แทนจ� ำ หน่ า ย ได้ แ ก่ ตลาดสี เ ขี ย ว ถนนพุทธมณฑลสาย 4 โรงพยาบาลกรุงธน โรงพยาบาลนครธน และเจเจมาร์ท

SIA ผลกระทบทางสังคม

เกษตรกรมีรายได้ที่มากขึ้นและมีรายได้ที่มั่นคง โดยไม่ตอ้ งกังวลถึงปัญหาพืชผลทางการเกษตร ที่มีราคาผันผวน เมื่อเกิดเครือข่ายขึ้น ผลลัพธ์ คือ การประกันราคาที่ผู้ปลูกและผู้ซื้อรู้แน่นอน ผู้บริโภคเองก็จะได้รับประทานผักที่ปลอดภัย อย่างแท้จริงและมีการรับรองที่ได้มาตรฐานจาก องค์กรที่เชื่อถือได้ในราคาย่อมเยา

รวมกลุ่มประกันราคา น�ำพาผักปลอดภัย สู่ก�ำไรทั้งคนกินและ คนปลูก

93


SECatalog 94

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

95

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : เรนโบว์ ฟาร์ม ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณตะวัน ห่างสูงเนิน ที่อยู่ : เลขที่ 253/2 หมู่ 3 ต�ำบลขี้เหล็ก อ�ำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180 โทรศัพท์ : 0 5330 1553, 08 4043 6515 E-mail : ogf_net@hotmail.com

Organic Rice “เรนโบว์ ฟาร์ม” เพาะพันธุ์อินทรีย์

ธุรกิจเกษตรอินทรีย์ถือเป็นแนวทางหนึ่งที่สอดคล้องกับหลักการกิจการเพื่อสังคม เนื่องด้วยเป็น แหล่งพลังงานในระบบการเกษตรที่พึ่งพิงธรรมชาติ มุ่งสู่การสร้างความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

เรนโบว์ ฟาร์ ม จ.เชี ย งใหม่ เป็ น ศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูก ข้าวอินทรีย์ ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ แก่ เ กษตรกรในเครื อ ข่ า ย รวบรวมผลผลิ ต น�ำมาแปรรูปและจัดจ�ำหน่าย ประกันรายได้ ให้กบั สมาชิก เป้าหมายส�ำคัญคือความปลอดภัย ของผู้ปลูกและผู้บริโภค รายได้ยังน�ำกลับมา เป็นทุนวิจัยต่อไป เพื่อความกินดีอยู่ดีที่ยั่งยืน ของคนไทย เมื่อ 15 ปีที่แล้ว คุณตะวัน ห่างสูงเนิน เจ้าของเรนโบว์ ฟาร์ม เริม่ ต้นท�ำกิจการในฐานะ นักวิจัย โดยได้รับทุนวิจัยจากมูลนิธิโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น และส่วนหนึ่งลงทุนควักกระเป๋า ตัวเองซือ้ ทีด่ นิ ซึง่ เป็นพืน้ ทีข่ องฟาร์มในปัจจุบนั ศึกษาเกี่ยวกับระบบเกษตรอินทรีย์ เนื่องจาก เห็นปัญหาจากเกษตรกรที่ใช้สารเคมีที่มีผล กระต่อผู้ปลูกและผู้กิน คุ ณ ค่ า สู ง สุ ด ของการเกษตรอิ น ทรี ย ์ ที่ คุณตะวันยึดถือในการประกอบอาชีพ คือรูปแบบ ทางการเกษตรที่เรียนรู้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ อย่างยั่งยืน เขาได้รับแรงบันดาลใจหลังจากที่ ได้ อ ่ า นพระราชด� ำ รั ส ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ที่พระราชทานเมื่อ 4 ธันวาคม 2517 จึงตั้งสัจจะอธิษฐานว่า จะท�ำฟาร์มเพื่อ ถ่ายทอดความรูใ้ ห้แก่ผอู้ นื่ ต้องการรักษาความ พอมีพอกินไว้ให้ลูกหลาน เพื่อเป็นของขวัญแด่ พระองค์ท่าน

ผลที่ ไ ด้ รั บ นอกเหนื อ จากรายได้ แ ละ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของสมาชิก 310 ราย เกษตรกรมุ ่ ง สู ่ สั ง คมอยู ่ ดี มี สุ ข ไม่ ใ ช่ ต ้ อ งมี เงินเยอะ แต่คือสุขภาวะ สิ่งแวดล้อมได้รับ การฟื้นฟูที่ดี หลังจากที่ต้องแบกรับการใช้สาร เคมี ดินในท้องนากลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ทั้งยังมีโบนัสรักษาสภาพความเป็นอินทรีย์แก่ ชาวนา เพื่อให้ชาวนามีรอยยิ้มที่สดใสเหมือน สายรุ้ง และสิ่งส�ำคัญยิ่งกว่าได้มอบสุขภาวะที่ดี ให้กับผู้บริโภคที่กินผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์จาก เรนโบว์ ฟาร์ม ซึ่งเขาอยากเห็นคนไทยปรับ

เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานข้าวอินทรีย์ เพิ่มมากขึ้น เพราะว่าเหงื่อทุกหยดที่รดผืนนา ข้าวทุกเม็ดจากในแปลงเขาท�ำเพื่อคนไทยด้วย ความจริงใจ มี ค� ำ พู ด ที่ คุ ณ ตะวั น มั ก บอกตั ว เองเสมอว่ า อาหารที่ดีคืออาหารที่ไม่มีสารพิษ ในฐานะ ที่เป็นทั้งนักวิจัยพัฒนา ปรับปรุงพันธุ์ แล้วก็ กลับไปที่ชาวบ้าน เป็นเจ้าขององค์กรธุรกิจ เอกชน ต้องรู้จักค�ำว่าขาดทุนคือก�ำไร เพราะ การขาดทุนเพื่อมอบแก่สังคมคือก�ำไรที่ได้รับ กลับมา


SECatalog 96

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. ศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพ อันน�ำไป สู่การถ่ายทอดความรู้เรื่องข้าวอินทรีย์ ให้กับ เกษตรกรในเครือข่าย 310 ราย ในพืน้ ที่ จ.เชียงใหม่ แพร่ ล�ำปาง เชียงราย แม่ฮ่องสอน และล�ำพูน พร้อมติดตามผลเพื่อรับทราบปัญหาเกี่ยวกับ การเพาะปลูกกลับมาท�ำการวิจัยต่อไป 2. เป็นศูนย์กลางรวบรวมผลผลิตมาแปรรูปและ จ�ำหน่ายข้าวอินทรีย์ 3. โครงการเยาวชนชุมชนแหล่งเรียนรู้อย่าง ยั่งยืน น�ำเยาวชนมาเรียนรู้และลงมือปลูกข้าว อินทรีย์ ปลูกจิตส�ำนึกเพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่า ของข้าวและอาชีพชาวนา

Product & Service สินค้าและบริการ

ข้าวอินทรีย์ เป็น ความปลอดภัย ของคนปลูกเพื่อ ความปลอดภัย ของคนกิน

1. ผลิตภัณฑ์ขา้ วอินทรียจ์ ากเรนโบว์ฟาร์ม อาทิ ข้าวกล้องงอก ข้าวมะลิแดง ข้าวหอมนิล ข้าวหอม มะลิ ข้าวดอย ข้าวหอมเวียงพิงค์ ข้าวหอมแม่ริม ราคาเริ่มต้นกิโลกรัมละ 18 บาท 2. แหล่งจัดจ�ำหน่ายข้าวอินทรีย์ของเรนโบว์ ฟาร์ม ร้านลูกอีสานค้าข้าว 3 สาขา ได้แก่ สาขา กาดรวมโชค สาขาสันผีเสื้อ สาขาตลาดท่าเดื่อ จ.เชียงใหม่ และยังจัดส่งไปขายทีต่ ลาดนัดสีเขียว ที่กระจายทั่วจังหวัดเชียงใหม่กว่า 23 จุด หากสนใจสามารถติดตามสอบถามเพิม่ เติม่ ได้ที่ โทร. 0 5330 1553, 08 4043 6515

SIA ผลกระทบทางสังคม

เป็นกิจการช่วยท�ำให้ชาววนาที่เป็นสมาชิกอยู่ ประมาณ 310 ราย ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจาก รายได้ที่เพิ่มขึ้นเพราะการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ให้ ราคาดีกว่า และสุขภาพที่ดีขึ้นเพราะการหยุดใช้ สารเคมีอันตราย สภาพแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น กิจการส่งเสริมการแบ่งปันองค์ความรู้ด้านการ ปลูกข้าวอินทรีย์ที่มีอยู่ในวงจ�ำกัด เป็นแหล่ง ความรู ้ ต ้ น แบบที่ ช ่ ว ยให้ ผู ้ ที่ ส นใจได้ พั ฒ นา ขยายองค์ความรู้นี้ต่อไป

97


SECatalog 98

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Brand Ama “อาข่า อ่ามา” กาแฟแด่ความหวัง

ในยุคที่คนรุ่นใหม่ฝันอยากมีร้านกาแฟเป็นของตนเอง ตามมุมต่างๆ ในตัวเมืองนับวันยิ่งมีร้านกาแฟ ผุดขึ้น คนส่วนมากมักคิดว่า ถ้าจะดื่มกาแฟรสชาติเยี่ยม ต้องแบรนด์ดังจากนอก ที่กาแฟมาจาก โคลัมเบียบ้าง เอธิโอเปีย กระทั่งเคนยา น้อยนักพูดถึงกาแฟไทย ทั้งที่เมืองไทยเป็นแหล่งปลูกกาแฟ ชั้นเยี่ยมแห่งหนึ่ง แบรนด์กาแฟ อาข่า อ่ามา นับว่าเป็นแหล่ง ศูนย์กลางรวบรวมผลผลิต แปรรูป และเป็น ตัวแทนจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์กาแฟ ทีม่ แี หล่งเพาะ ปลูกอยู่ในหมู่บ้านชาวเขา เผ่าอาข่าซึ่งอยู่บน ดอยสูงบ้านแม่จันใต้ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย และด้วยความมุ่งหวังที่จะไปเพิ่มโอกาสในการ ประกอบอาชี พ ที่ จ ะน� ำ พาชี วิ ต ชาวไร่ ก าแฟ มีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม และไม่โดนพ่อค้า คนกลางกดราคาเมล็ดกาแฟจนแทบไม่เหลือ ท�ำให้ชายหนุ่มลูกหลานชาวเขาที่เติบโตอยู่ใน ไร่กาแฟ และเห็นการเอารัดเอาเปรียบมาอย่าง ยาวนาน โดยที่เขาตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะยุติ

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : กาแฟอาข่า อ่ามา ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณลี อายุ จือปา ที่อยู่ : เลขที่ 9/1 มาตาอพาร์ตเมนต์ ถนนหัสดิเสวี ซอย 3 ต�ำบลช้างเผือก อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 08 6915 8600 E-mail : info@akhaama.com Website : www.akhaama.com www.facebook.com/akhaama

ปัญหานีใ้ ห้ชาวบ้านในหมูบ่ า้ น รวมทัง้ ครอบครัว ของเขาซึ่งในอดีตก็เป็นหนึ่งในชาวไร่กาแฟที่ ถูกเอาเปรียบเช่นกัน ชายหนุ่มที่กล่าวคือ คุณลี อายุ จือปา ที่ เห็นปัญหาเหล่านี้มาตลอด 12 ปี กระทั่งเขา ได้มีโอกาสทางการศึกษาที่ท�ำให้เขาก้าวเข้าสู่ การมีความรู้ และเป็นกระบอกเสียงขนาดใหญ่ ที่จะประกาศก้องให้โลกได้รู้ว่า เมล็ดกาแฟ ที่ดีมาจากที่ไหน เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพได้ มาตรฐานโลกมาจากไหน และคุณค่าเม็ดเงิน ต่อหนึ่งเมล็ดกาแฟที่ชาวไร่กาแฟควรจะได้รับ ให้สมกับค่าเหนื่อยที่พวกเขาฟูมฟักดูแลเมล็ด กาแฟเป็นอย่างดีนั้นควรจะได้รับราคาค่าเมล็ด กาแฟมากเพียงใด กระทัง่ เขากลับมาดูแลและสานต่อไร่กาแฟ ของคุณแม่ของเขาอีกครั้ง ซึ่งเขามาพร้อมกับ นวัตกรรมชุดความรูท้ แี่ ข็งแกร่ง จนสามารถเป็น

ผูก้ ำ� หนดราคาเมล็ดกาแฟและรับซือ้ เมล็ดกาแฟ จากชาวบ้านในบ้านแม่จนั ใต้ได้ทงั้ หมด โดยให้ ราคาสู ง กว่ า ท้ อ งตลาดกาแฟทั่ ว ไปอี ก ด้ ว ย และสามารถขจัดปัญหาพ่อค้าคนกลางกดราคา และเมื่อชาวบ้านได้ราคาขายที่ดี คุณภาพชีวิต ของชาวบ้านก็ดขี นึ้ พร้อมกับทีก่ าแฟ อาข่า อ่ามา ยังน�ำความรูแ้ ละประสบการณ์จากโลกภายนอก เข้าสู่โลกภายในที่มีแต่เมล็ดกาแฟ ปรับปรุง คุณภาพเมล็ดกาแฟอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้เป็น กาแฟเกษตรอินทรีย์ และส่งเข้าประกวดในเวที ระดับโลก กระทั่งได้รับรางวัลให้เป็นหนึ่งใน แบรนด์ระดับโลกอย่างที่ องค์การการค้าอย่าง ยุติธรรมประเทศอังกฤษ ได้มอบเครื่องหมาย รับรองผลิตภัณฑ์ที่ให้ราคายุติธรรมต่อชุมชน เป็นเครื่องการันตีให้กาแฟอาข่า อ่ามาอีกต่อ ทั้งยังได้รับเลือกจากองค์กรกาแฟชนิดพิเศษ แห่งยุโรป เพื่อใช้ในเวทีการชิมกาแฟนานาชาติ

99


SECatalog 100

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

กาแฟในแก้วที่หอมกรุ่น น�ำกลับไป เป็นทุนพัฒนาคนบนดอย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ครัง้ ที่ 9 ประจ�ำปี 2012 ณ กรุงเวียนนา ประเทศ ออสเตรีย ถือว่าประกันคุณภาพได้เป็นอย่างดี ไม่เช่นนัน้ คงไม่ได้รบั การคัดเลือกมา 3 ปีตดิ ต่อ กัน นีค่ อื สิง่ ทีค่ นไทยควรภูมใิ จ ผ่านกิจการเพือ่ สังคมจากชาวเขาในประเทศไทยนั่นเอง และเมื่อเมล็ดกาแฟถูกส่งไปให้ชาวต่าง ชาติ ไ ด้ ลิ้ ม ชิ ม รสกาแฟเกษตรอิ น ทรี ย ์ แ ล้ ว กาแฟอาข่า อ่ามา ยังต้องการให้คนไทยได้มี โอกาสลิ้มชิมรสกาแฟคั่วบดหอมๆ นี้ ท�ำให้ คุณลีตั้งใจเปิดร้านกาแฟเล็กๆ น่ารักๆ ขึ้น กลางตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งท�ำเองทุกขั้นตอน ตั้ ง แต่ ก ารเก็ บ เมล็ ด กาแฟที ล ะผลที่ สุ ก งอม ปอกเปลือก แช่ ล้าง ตากจนแห้งมาคั่ว และ ชงเป็นกาแฟในแก้วทรงสูง จนเสิร์ฟถึงมือคน ดื่มได้ถึงโต๊ะพร้อมกับรอยยิ้ม ปนความรู้สึก ของการได้ช่วยเหลือชาวเขาผู้ปลูกกาแฟดีๆ อย่างแท้จริง สิง่ ส�ำคัญทีค่ ณุ ลีตอ้ งการคือการให้คนอืน่ รับรูว้ า่ นี่คือกาแฟที่มีคุณภาพระดับสากล ที่เป็นสินค้า ของชุมชนในถิ่นห่างไกลของไทย รู้สึกว่าได้มี ส่วนในการพัฒนาชุมชน ความสุขนีไ้ ม่ได้มาจาก ตัวเงิน รอยยิ้ม เสียงขอบคุณ ค�ำอวยพรคือ ก�ำลังใจ ที่ส่งให้หยัดยืนรักษาคุณภาพกาแฟ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนปลูกกาแฟสืบไป

101

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. เป็นศูนย์กลางรวบรวมผลผลิตน�ำมาผ่าน กรรมวิธีแปรรูป และจ�ำหน่ายกาแฟจากชาวเขา พร้ อ มถ่ า ยทอดความรู ้ สู ่ ชุ ม ชนเพื่ อ พั ฒ นา คุณภาพผลิตภัณฑ์ อันน�ำไปสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้น สร้างโอกาสด้านอื่นๆ ในชีวิต 2. สนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม กาแฟระบบอิ น ทรี ย ์ เพือ่ คงสภาพสิง่ แวดล้อม และสุขภาพเกษตรกร ท�ำให้อาชีพมีความยั่งยืน 3. โครงการตามรอยเส้นทางกาแฟสู่แม่จันใต้ ระหว่ า งเดื อ นธั น วาคม-มกราคม ซึ่ ง เป็ น ฤดู การเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยจะพาผู้ดื่มกาแฟไป รู้จักกับผู้ปลูกกาแฟถึงไร่เพราะไม่ใช่แค่การดื่ม กาแฟ แต่ ก าแฟจะเข้ า ไปสู ่ ก ารพั ฒ นาชุ ม ชน พร้อมสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยคนปลูก กับคนบริโภคนั้นได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

Product & Service สินค้าและบริการ

1. จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วบรรจุห่อ ที่มีทั้ง แบบ Full Citi Roast (คั่วอ่อน) Italian Roast (คั่วกลาง) และ Strong Roast (คั่วเข้ม) ราคา เริ่มต้นที่ 250 กรัม ราคา 150 บาท 500 กรัม ราคา 260 บาท และ 1 กก. ราคา 500 บาท 2. ร้ า นกาแฟอาข่ า อ่ า มา บริ ก ารเครื่ อ งดื่ ม กาแฟ และเบเกอรี ราคาเริ่มต้น 40–70 บาท ตั้งอยู่ที่อาคารมาตาอพาร์ตเมนต์ ถนนหัสดิเสวี ซอย 3 จ.เชียงใหม่ เปิดบริการทุกวัน (ยกเว้น วันพุธ) เวลา 08.00-20.00 น. นอกจากนั้ น ยั ง วางจ�ำหน่ายที่ ริมปิงซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านกาแฟ คอมเพลสชั่น ร้านเกษม สอบถามเพิ่มเติมโทร. 08 6915 8600

SIA ผลกระทบทางสังคม

เป็นกิจการที่ช่วยแก้ปัญหาราคาที่ไม่เป็นธรรม ของกาแฟของชุมชน และช่องทางการจัดจ�ำหน่าย สู่ตลาดใน การถูกกดราคา ขาดศักยภาพใน การแข่งขันกับตลาด ด้วยการประกันราคากาแฟ ที่ สู ง กว่ า ตลาด การปลู ก กาแฟอิ น ทรี ย ์ ท� ำ ให้ สุขภาพของผู้ปลูกและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ดี ขึ้ น ซึ่ ง โดยรวมก่ อ ให้ เ กิ ด คุ ณ ภาพชี วิ ต ของ ผู้ปลูกกาแฟที่ดีขึ้น


SECatalog 102

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

103

Good Design ศิรดา โปรดักส์ ผลิตภัณฑ์จาก ภูมิปัญญาไทย

หั ต ถกรรมและชั้ น เชิ ง ในงานศิ ล ป์ ผ นวกกั บ วัตถุดิบจากธรรมชาติที่เหลือใช้จากครัวเรือน คือต้นทุนอันวิเศษของการผลิตผลงานคุณภาพ ที่เกิดจากฝีไม้ลายมือของชาวบ้านเอง ดังนั้น ทุกชิ้นงานที่ขายได้จึงเท่ากับการได้จ�ำหน่าย งานศิลป์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ กับสังคม

บริษัท ศิรดา โปรดักส์ จ�ำกัด จ.ล�ำปาง คือศูนย์กลางส่งเสริมศิลปหัตถกรรมที่น�ำวัสดุ ธรรมชาติมาสอนงานให้กับชาวบ้าน พัฒนา ศักยภาพการออกแบบและคิดค้นวิธีการผลิต รูปแบบใหม่ ด้วยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมถ่ายทอดความรู้และกระจายงานแก่คน ท้องถิน่ ให้ได้มงี านท�ำ มีอาชีพท�ำอยูใ่ นบ้านเกิด ของตนเอง และยังเป็นช่องทางกระจายผลงาน สู่ท้องตลาด บ่อเกิดกิจการเพื่อสังคมของ คุณสมศักดิ์ หงษ์วเิ ศษ ผูก้ อ่ ตัง้ บริษทั ศิรดา โปรดักส์ จ�ำกัด

เกิดจากการได้เห็นวัตถุดิบธรรมชาติในครัว เรือน ไม่ได้ถกู น�ำมาก่อประโยชน์ เขาจึงเริม่ ต้น น�ำกระดาษสาจากปอสาท�ำเป็นบรรจุภัณฑ์ ห่อข้าวแต๋นสินค้าเด่นประจ�ำชุมชน ก่อนจะ ต่อยอดสู่กิจการผลิตบรรจุภัณฑ์เต็มรูปแบบ โดยมีวัตถุดิบจากปอสา กาบกล้วย และบัว เป็นหลัก ต่อมาจึงได้พัฒนาสู่งานออกแบบที่เป็น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม แนวความคิ ด ของคุ ณ สมศักดิค์ อื ต้องการใช้วสั ดุทเี่ กีย่ วข้องในวิถชี วี ติ ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมถึงภูมิปัญญา

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท ศิรดา โปรดักส์ จ�ำกัด ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณสมศักดิ์ หงษ์วเิ ศษ ที่อยู่ : เลขที่ 156 หมู่ 5 ต�ำบลเกาะคา อ�ำเภอเกาะคา จังหวัดล�ำปาง 52130 โทรศัพท์ : 0 5432 8639, 08 1846 8938 E-mail : siradproduct@hotmail.com info@siradaproducts.com Website : www.siradaproducts.com


SECatalog 104

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

เข้ากับงานศิลปหัตถกรรม มีเรื่องราวเชื่อมโยง ผลิตภัณฑ์กับวิถีชุมชน โดยคนในพื้นที่มีส่วน ร่วมในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ซึ่งมีทั้ง เกษตรกรผู้ป้อนวัตถุดิบ ชาวบ้านก็มีฝีมือด้าน หัตถกรรมเป็นทุน พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ที่ไม่พึ่งพาสารพิษท�ำลายสิ่งแวดล้อม มาใช้ ควบคูก่ บั การน�ำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากธรรมชาติ มาออกแบบให้เกิดความสวยงามและคงสภาพ บริษัท ศิรดา โปรดักส์ จ�ำกัด ได้รับการ การันตีจากรางวัลระดับชาติ ทั้งในด้านสินค้า โอทอป รางวัลจากการออกแบบ รางวัลด้าน

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ห่วงใยสิ่งแวดล้อม หากหวังแต่กอบโกยอย่าง เดียวธรรมชาติก็เสื่อมโทรม กิจการก็ขาดความ มัน่ คง ผลทีต่ อบกลับ มีตลาดป้อนงานให้ตลอด และสามารถพูดกับทุกคนว่า ก�ำลังส่งเสริมให้ ชาวบ้านได้มีงานท�ำ เศรษฐกิจดีขึ้น ไม่ต้อง อพยพเข้าเมืองหลวง สินค้าทุกชิ้นเป็นของ ธรรมชาติแท้ๆ ทีไ่ ม่เป็นพิษกับโลกทุกตารางนิว้ นี่คือสิ่งที่ทางบริษัท ศิรดา โปรดักส์ จ�ำกัด สิ่ ง ที่ คุ ณ สมศั ก ดิ์ ยึ ด ถื อ ในการท� ำ งานคื อ ต้องการจ�ำหน่ายออกไป คิดแตกต่างแต่ยั่งยืน เข้าถึงหัวใจชาวบ้านที่มี ความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมประเพณี ทั้งยัง การดูแลสิ่งแวดล้อมจากการผลิต นี่คือเชิง ธุรกิจกับการโปรโมตให้ผคู้ นได้เข้าถึงสินค้าของ ศิรดา โปรดักส์ มากยิง่ ขึน้ แต่หากทางด้านเพือ่ สังคมแล้ว รางวัลใดจะมาการันตีว่า ชาวบ้าน และเกษตรกรในพืน้ ทีไ่ ด้จะมีรายได้และมีแนวคิด ออกแบบอย่างสร้างสรรค์ รางวัลทีว่ า่ น่าจะเป็น รางวัลชีวิตที่ดีให้กับกิจการแห่งนี้อย่างแน่นอน

105

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. พัฒนาศักยภาพ ถ่ายทอดความรู้ ส่งเสริม กระบวนการผลิ ต และแปรรู ป ผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ าก ธรรมชาติ ได้แก่ กระดาษสา บัว และกาบกล้วย ให้กับชาวบ้านในท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นแนวคิดเป็น มิตรสิ่งแวดล้อม 2. เป็ น ศู น ย์ ก ลางการออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ กระจายงาน สร้างอาชีพ สู่ชาวบ้านในท้องถิ่น พร้อมทั้งรับผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจ�ำหน่ายสู่ตลาด ในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรัง่ เศส เบลเยียม เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

Product & Service สินค้าและบริการ

กิจการที่เป็น เพื่อนกับชาว บ้าน เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม เป็น ความยั่งยืนที่ ออกแบบได้

ผลิตภัณฑ์ศิรดา โปรดักส์ มี 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ชุ ด บนโต๊ ะ ท�ำ งาน อาทิ แฟ้ ม สมุ ด บั น ทึ ก กล่องกระดาษจดบันทึก เป็นต้น 2. ชุดบรรจุภัณฑ์ อาทิ กล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์ กล่องของขวัญ เป็นต้น 3. ชุดตกแต่งภายใน อาทิ โคมไฟ เชิงเทียน รูปภาพแขวนผนัง เป็นต้น 4. ชุดบนโต๊ะอาหาร อาทิ ที่รองภาชนะ เมนู อาหาร กล่องทิชชู เป็นต้น โดยทุกชุดผลิตภัณฑ์ จะมีวสั ดุทแี่ ปรรูปจากกระดาษสา บัว และกาบกล้วย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่ มี อ ายุ ก ารใช้ ย าวนานกว่ า ด้ ว ยเทคนิ ค การ แปรรูปแบบฉบับศิรดา โปรดักส์ โดยราคาเริ่ม ต้นที่หลักร้อยบาทขึ้นไป

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากจุดเริ่มต้นที่มองเห็นวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่ น ไม่ ไ ด้ รั บ การใช้ ป ระโยชน์ ต้ อ งการสร้ า ง กิ จ การเพื่ อ ผลิ ต สิ น ค้ า จากของเหล่ า นั้ น และ การมองเห็นศักยภาพของชาวบ้านในท้องถิ่น ที่สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ท�ำลายสิ่ง แวดล้อมที่มีคุณภาพ ด้วยการท�ำงานร่วมกัน และการจัดหาช่องทางการเข้าถึงตลาดให้ทั้งใน และต่างประเทศท�ำให้ชาวบ้านมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น


SECatalog 106

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

107

Giving and Sharing “ปันกัน” แบ่งกันปัน ผันเป็นทุน

“สังคมจะดีได้ ถ้าเราทุกคนช่วยกัน...” ค�ำพูดเท่ๆ ทีใ่ ครก็เอ่ยชักชวนคนอืน่ ได้ มีสกั กีค่ นทีล่ งมือช่วยเหลือ สังคมให้ดไี ด้จริง ไม่ใช่แค่ลมปาก ซึง่ คนเหล่านัน้ สามารถพบเจอได้ในร้านปันกัน และสังคมแห่งการแบ่งปัน มีอยู่จริง

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : ร้านปันกัน ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : มูลนิธยิ วุ พัฒน์ ที่อยู่ : เลขที่ 1 ซอยพรีเมียร์ 2 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ : 0 2301 1096, 08 1903 6639 โทรสาร : 0 2301 1439 E-mail : admin@pankansociety.com suthasinee.s@ybf.premier.co.th Website : www.pankansociety.com www.facebook.com/pankansociety

ร้านปันกัน สังคมแห่งการแบ่งปัน เป็น จุดรวมความร่วมมือจากบุคคลทั่วไป หน่วย งานภาครัฐและเอกชนที่มีจิตสาธารณะให้การ แบ่งปันสิ่งของที่สภาพดี ที่เก็บอยู่เฉยๆ ให้ กลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ เพื่อให้ร้านน�ำไป จัดจ�ำหน่าย แปรเปลี่ยนน�้ำใจเป็นทุนสนับสนุน การศึกษาของเด็กผู้ยากไร้ห่างไกลโอกาส เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ได้ ก ่ อ ตั้ ง มู ล นิ ธิ ยุ ว พั ฒ น์ ที่ มี ภ ารกิ จ หลั ก คื อ มอบทุ น สนั บ สนุ น การศึ ก ษาแก่ เ ยาวชนที่

ขาดแคลนในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศไทย ซึ่ง เล็งเห็นว่าการศึกษาเป็นพื้นฐานส�ำคัญส�ำหรับ สังคม และความเท่าเทียมทางการศึกษาจะ ท�ำให้สังคมแข็งแรงอย่างยั่งยืน แต่แล้ววิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดเมื่อปี 2540 กระเทื อ นต่ อ การขั บ เคลื่ อ นกิ จ กรรมของ มูลนิธยิ วุ พัฒน์ โครงการปันกันจึงผุดขึน้ เริม่ จาก ผูบ้ ริหารและพนักงานน�ำของส่วนตัวมาจ�ำหน่าย กันเองในองค์กร และจ�ำหน่ายที่ศูนย์การค้า เสรี เ ซ็ น เตอร์ ระดมรายได้ เ ข้ า มู ล นิ ธิ ฯ ต่ อ มาจนเกิดเป็น “ร้านปันกัน” พัฒนารูปแบบ เชิงธุรกิจเต็มตัว ไม่ใช่เพียงแค่ของเล่นที่เบื่อ เมื่อไหร่ก็เลิก พร้อมเปิดรับความร่วมมือจาก บุคคลทัว่ ไป หน่วยงานต่างๆ ในการมอบสิง่ ของ เพื่อน�ำมาขายต่อ

ลองหลับตาจินตนาการ นาย ก. มีสิ่งของ สภาพดีแต่ไม่ได้ใช้งาน ทั้งหนังสือ อุปกรณ์ กี ฬ า เสื้ อ ผ้ า เครื่ อ งใช้ ฯลฯ อยู ่ เ ต็ ม บ้ า น จึงคัดแยกและบริจาค สิ่งที่ร้านปันกันเน้นย�้ำ เสมอคือ ต้องเป็นสินค้ามีคณุ ภาพ เกิดประโยชน์ สูงสุด ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่เข้าข่ายห้ามจ�ำหน่าย ท�ำให้ลูกค้าเข้ามาจับจ่ายไม่ขาดสาย ตัวผู้ซื้อ ได้สินค้าที่ตนพึงพอใจ ราคาเบาๆ เงินทุกบาท ที่ออกจากกระเป๋าสตางค์ ทางร้านไม่หักค่า ใช้จา่ ย ทัง้ ยังแสดงรายได้ให้ลกู ค้ารับทราบอย่าง เปิดเผยผ่านกระดานหลังเคาน์เตอร์ภายในร้าน อีกด้วย ส่งผลดีต่อผู้ให้และผู้ซื้อที่แวะเวียนมา ตลอดเวลา 5,523 คือตัวเลขบอกให้ทราบถึงจ�ำนวน ทุนสนับสนุนการศึกษาแก่เยาวชน ตลอดระยะ

เวลาที่ผ่านมา ปันกันถือเป็นฟันเฟืองส�ำคัญที่ ระดมทุนเข้ามูลนิธิยุวพัฒน์ สิ่งหนึ่งที่ปันกันเชื่อมั่นตลอดเวลากว่า 12 ปี คือการได้สร้างจิตส�ำนึกให้คนในสังคมรูจ้ กั วิธใี ช้ ประโยชน์จากการแบ่งปัน และผลจาการแบ่งปัน น�ำไปสู่รากฐานของการพัฒนา การศึกษาของ เด็กไทย เป็นเครื่องมือช่วยน�ำพานักเรียนด้อย โอกาสให้มีชีวิตที่ดีขึ้น เรียกได้ว่า ปันกันคือ โมเดลตัวอย่างของมูลนิธทิ สี่ ามารถสร้างรายได้ อย่างต่อเนือ่ งในการพัฒนา และแก้ปญั หาสังคม อย่างยั่งยืน


SECatalog 108

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

มอบสิ่งของมีค่า เปลี่ยนน�้ำใจ ให้กลายเป็นทุน การศึกษา สร้าง สังคมแห่งแบ่งปัน

1. เป็ น ศู น ย์ ก ลางรั บ ปั น สิ่ ง ของ เพื่ อ น� ำ ไป จ�ำหน่ายในราคาย่อมเยา รายได้ทั้งหมดโดย ไม่หักค่าใช้จ่ายเป็นทุนสนับสนุนการศึกษาแก่ เยาวชนในมูลนิธิยุวพัฒน์ 2. โครงการศิลปะเพื่อการแบ่งปัน การน�ำผลงาน ศิลปะที่มาจากการประกวดศิลปกรรมยุวพัฒน์ โดยมู ล นิ ธิ ยุ ว พั ฒ น์ ร ่ ว มกั บ มหาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร และจากศิลปินจิตใจงดงาม ประมูล และจัดจ�ำหน่ายเพื่อระดมทุนแก่นักเรียนผู้ด้อย โอกาส

Product & Service สินค้าและบริการ

1. สินค้าทั้งใหม่แกะกล่อง ของมือสอง หรือของ ท� ำ มื อ อาทิ หนั ง สื อ นิ ต ยสาร เสื้ อ ผ้ า สิ่ ง ของ เครื่องใช้ เครื่องประดับ อุปกรณ์กีฬา ของช�ำร่วย ของที่ระลึก ฯลฯ ในร้านปันกัน ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ หลักสิบบาทเท่านั้น 2. รถบริการเคลื่อนที่ ช่วยอ�ำนวยความสะดวก และขนย้ายสิง่ ของเครือ่ งใช้ หรือช่วยตอบค�ำถาม ข้อสงสัยต่างๆ เพื่อให้แนวคิดสังคมแห่งการ แบ่งปันให้เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจน โทร. 0 2301 1096, 08 1903 6639 3. ร้านปันกันมี 2 สาขา ได้แก่ สาขาตลาดเสรี มาร์ เ ก็ ต ศู น ย์ ก ารค้ า พาราไดซ์ พาร์ ค ถนน ศรีนครินทร์ โทร. 08 9201 7952 ศูนย์การค้า เดอะไนน์ ถนนพระรามเก้า โทร. 08 1375 7114 นอกจากนัน้ ยังมีปนั กันสัญจร รถบริการเคลือ่ นที่ รับปันสิ่งของ และจำ�หน่ายสินค้าตามหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากการเล็งเห็นถึงปัญหาความเท่าเทียมเรื่อง การศึกษาของเยาวชนที่เป็นรากฐานส�ำคัญใน การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ร้านปันกัน จึ ง สร้ า งพื้ น ที่ รั บ ปั น สิ่ ง ของเหลื อ ใช้ เ พื่ อ น� ำ มา จ� ำ หน่ า ยและหารายได้ เ พื่ อ น� ำ เงิ น เป็ น ทุ น ให้ นักเรียนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาทั่วประเทศ การน�ำของที่ไม่ใช้มาหมุนเวียนแลกเปลี่ยนกัน ช่วยลดปริมาณการบริโภคและปริมาณขยะ

109


Food อาหาร


SECatalog 112

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

The Restaurant and Contraception “Cabbages & Condoms” กะหลำ�ปลีและถุงยาง

ถ้าหากเรารับประทานอาหารอิ่มหน�ำส�ำราญ เรียกพนักงานช�ำระ ค่าความอร่อย แต่ที่มีถุงยางอนามัยมาพร้อมกับบิล คงเป็นเรื่อง แปลกตาประหลาดใจน่าดู

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : Cabbages & Condoms Restaurant ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณมีชยั วีระไวทยะ ชื่อผู้จัดการ / รับผิดชอบโครงการ : คุณนภดล ศรีรัตน์ ที่อยู่ : เลขที่ 8 สุขุมวิท 12 (ซอยสุขใจ) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 0 2229 4610 โทรสาร : 0 2229 4610 E-mail : pda@pda.or.th Website : www.pda.or.th/restaurant

Cabbages & Condoms เป็ น ร้ า น อาหารระดับมาตรฐาน ภายใต้แนวคิดแปลกๆ ที่ต้องการให้ถุงยางเป็นสิ่งที่หาซื้อง่ายพอๆ กับ ซือ้ หัวกะหล�ำ่ ปลี อีกหนึง่ สถานทีเ่ ผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวและป้องกันโรค เอดส์ ภายใต้การก�ำกับดูแลของสมาคมพัฒนา ประชากรและชุมชน เท้าความถึงสมาคมพัฒนาประชากรและ ชุมชน (Population and Communication Development Association : PDA) ริเริ่มโดย คุณมีชัย วีระไวทยะ มีวัตถุประสงค์ในการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านต่างๆ โฟกัสเรื่องการวางแผนครอบครัว ที่อาศัยทุน จากการบริจาค เดินเกมรุกเรื่องการคุมก�ำเนิด

ถุงยางอนามัย สัญลักษณ์เด่นชัดคือ รณรงค์ ใช้ ถุ ง ยางอนามั ย ป้ อ งกั น การตั้ ง ครรภ์ แ ละ โรคติ ด ต่ อ ทางเพศเป็ น เจ้ า แรกๆ ในไทย จนเรียกติดปากว่าถุงยางมีชัย แต่หากจะรอ การสนับสนุนจากคนอื่นอย่างเดียว PDA คงจะ มีรายได้ไม่แน่นอน อาจอยู่ไม่ยืด ไปไม่รอด จึงต้องเกิดการท�ำธุรกิจเพื่อหารายได้สมทบทุน เข้าสู่สมาคมฯ ร้านอาหารชื่อ Cabbages & Condoms จึงเกิดขึ้น และด�ำเนินกิจการแบบ ธุรกิจทั่วไป เริ่มเสิร์ฟอาหารมาตั้งแต่ปี 2519 เพียงแต่ก�ำไรหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด น�ำมา หมุนเวียนกลับไปสู่สมาคมฯ ช่วยส่งเสริมใน งานพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน

113


SECatalog 114

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

115

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. ร้ า นอาหารภายใต้ แ นวความคิ ด แปลกแต่ สร้างสรรค์ พร้อมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการ คุมก�ำเนิดและป้องกันโรคติดต่อ 2. รายได้ จ ากการบริ ก ารกิ จ การสามารถน�ำ กลั บ ไปส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น กิ จ กรรมของ สมาคมพั ฒ นาประชากรและชุ ม ชนได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ

Product & Service สินค้าและบริการ

ร้านอาหาร สร้างแรงกระตุ้น การคุมก�ำเนิด และป้องกันโรค เอดส์ น�ำรายได้ เป็นทุน PDA

1. Cabbages & Condoms Restaurant บริการอาหารและเครื่องดื่ม เลขที่ 8 สุขุมวิท 12 (ซ.สุ ข ใจ) ถ.สุ ขุ ม วิ ท แขวงคลองเตย เขต คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 เปิด 11.00-22.00 น. 2. Cabbages & Condoms Restaurant สามารถใช้บริการตามสาขาต่างๆ อาทิ สาขา สุทธิสาร รัชดาภิเษก Cabbages & Condoms Restaurant สาขาต่างจังหวัด สาขาเชียงราย สาขาเวี ย งป่ า เป้ า สาขานครราชสี ม า สาขา Cabbages & Condoms Resort & Restaurant เขาใหญ่ สาขา Birds & Bees Resort พัทยา ดู ร ายละเอี ย ดได้ ที่ www.cabbagesand condoms.co.th 3. จั ด จำ � หน่ า ยของที่ ร ะลึ ก อาทิ เสื้ อ ที เ ชิ้ ต พวงกุญแจรูปยาง โปสต์การ์ด เป็นต้น

ส�ำหรับร้าน Cabbages & Condoms ซึ่งเป็นร้านอาหารแห่งแรกแห่งเดียวในโลก ทีต่ กแต่งบรรยากาศด้วยถุงยางอนามัย ผังสถิติ จ�ำนวนประชากร ฯลฯ สร้างพลังถึงความใส่ใจ ต่อการคุมก�ำเนิด ภัยร้ายจากโรคติดต่อทางเพศ แต่ออกแบบได้ชนิดไม่เป็นอุปสรรคต่อการกิน ทั้งไกด์บุ๊กที่เกี่ยวกับอาหาร รายการโทรทัศน์ มาขอถ่ายท� ำ สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับกลับบ้าน หลังอิ่มท้องนั้น นอกจากอาหารมื้ออร่อยตาม มาตรฐาน ยังจะได้รับแจกถุงยางอนามัยให้พก ติดมือกลับไปด้วย ภายหลังร้านกะหล�่ำปลีและ ถุงยางสามารถขยายสาขามากขึ้น

ถ้าจะเอ่ยปากท�ำนองว่า ปัจจุบันถุงยางอนามัย แซงหน้าหาซื้อง่ายกว่าหัวกะหล�่ำปลีเสียแล้ว คงไม่ไกลเกินจริงนัก เพราะผลมาจากการ ท�ำงานเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพของ PDA แม้จะ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลก�ำไร แต่การคิด ต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ ใส่ใจสังคมก็ทำ� ให้การ ท�ำงานไม่สะดุด ทั้งยังสร้างความยั่งยืนที่จะมี งบประมาณเพื่อพัฒนาสังคมต่อไป ถือว่าเป็น ต้นแบบที่ดีในการที่องค์กรที่ไม่แสวงหาผล ก�ำไรอื่นๆ จะน�ำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดกิจการ เพื่อสังคมน�ำ้ ดีมากขึ้นในประเทศไทย

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปั ญ หาการคุ ม ก� ำ เนิ ด และโรคติ ด ต่ อ ทาง เพศสัมพันธ์ระบาดหนัก ก่อเกิดสมาคมพัฒนา ประชากรและชุมชนเพื่อสร้างแรงกระตุ้นสังคม ให้ ต ระหนั ก ถึ ง สิ่ ง เหล่ า นี้ แต่ ด ้ ว ยข้ อ จ� ำ กั ด ใน การหาทุน การสร้างแหล่งทุนเองด้วยการเปิด ร้านอาหารเป็นทางออกที่ดี ทั้งยังเป็นช่องทางใน การสื่อสารอีกทางหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่ อ ให้ ผู ้ ค นได้ ห ยุ ด คิ ด และเลื อ กใช้ วิ ธี ก าร ป้องกันโรคเอดส์ และการคุมก�ำเนิดที่ง่ายที่สุด ต่อไป โดยท้ายสุดแล้ว รายได้จะน�ำกลับเข้าสู่ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน เพื่อเข้าไป ช่ ว ยให้ ช าวบ้ า นรู ้ จั ก การวางแผนครอบครั ว ให้ชาวบ้านมีอาชีพ มีแหล่งเงินทุนกู้ยืมประกอบ อาชีพ โดยไม่คดิ ดอกเบีย้ และส่งเสริมให้ชาวบ้าน สามารถบริหารการเงินให้ดียิ่งขึ้นได้


SECatalog 116

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

117

อุดมชัยฟาร์ม

ไข่ไก่ชีวภาพ จากแม่ไก่อารมณ์ดี เรื่ อ งอาหารการกิ น เป็ น เรื่ อ งใหญ่ ส� ำ หรั บ คนเรา เราเลื อ กที่ จ ะกิ น หรื อ ไม่ กิ น อาหารบางประเภท โดยยึดหลักของความที่ชอบหรือไม่ชอบ แต่น้อยคนนักที่เลือกจากจุดเริ่มต้นหรือแหล่งที่มาของอาหาร ชนิดนั้น ท�ำให้เมื่อกินเข้าไปแล้วท้ายสุดเราเจ็บป่วย เกิดโรคภัยไข้เจ็บ และเสียชีวิตไปไม่น้อย จุดนี้นี่เอง ที่ท�ำให้โรงเลี้ยงแม่ไก่อารมณ์ดี ให้ได้มีไข่สีเหลืองนวล ปราศจากสารที่ก่ออันตรายให้กับชีวิตเราเกิด ขึ้นมาในประเทศไทย ในเมื่อแม่ไก่อารมณ์ดี สุขภาพดีจากการกินอาหารดีๆ ไม่มีสารเคมีเร่ง คนกิน ก็พลอยอารมณ์ดี และสุขภาพดีตามไปด้วย

ย้ อ นกลั บ ไปสู่ ยุ ค ก่ อ ตั้ ง ฟาร์ ม เลี้ ย งไก่ คุณอุดม แสงวัฒนกุล หันมาทำ�ฟาร์มเลี้ยงไก่ ไข่ เพราะไม่ ต้ อ งการเบี ย ดเบี ย นชี วิ ต สั ต ว์ เมื่อธุรกิจเติบโตเต็มอิ่ม ธุรกิจเดินทางมาถึง คุณธนเดช แสงวัฒนกุล ทายาทรุ่นที่ 2 ซึ่งมา ประจวบเหมาะกั บ ช่ ว งที่ ไ ข้ ห วั ด นกระบาด อย่างหนัก กิจการเดินช้าถึงขีดสุด เพราะไม่มี ใครกล้ากินไข่หรือเนื้อไก่ พร้อมๆ กับคนใน ครอบครัวล้มป่วยหนัก สาเหตุหลักมาจากการ บริโภคอาหาร พฤติกรรมการบริโภค และการ ใช้ ชี วิ ต ทำ � ให้ จุ ด ประกายการเลี้ ย งไก่ แ บบ ปลอดสารเคมีทุกกระบวนการ ตั้งแต่การลด

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด อุดมชัยฟาร์ม ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณมานพ และ คุณสุธาทิพย์ แสงวัฒนกุล ชื่อผู้จัดการ / รับผิดชอบโครงการ : คุณธนเดช แสงวัฒนกุล ที่อยู่ : เลขที่ 64 หมู่ 12 ถนนพหลโยธิน ต�ำบลพระพุทธบาท อ�ำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 18120 โทรศัพท์ : 0 3626 6429, 0 3626 7429, 08 1319 5690, 08 1704 7505 E-mail : Sutathip_egg@hotmail.com Website : www.facebook.com/pages/ Ploikai-Udomchai-Farm


SECatalog 118

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

119

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. ให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ โดยเฉพาะ เกษตรกรที่จะเลี้ยงแบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อส่ง เสริมให้มีการเลี้ยงไก่แบบอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น 2. จ�ำหน่ายไก่แม่พันธุ์ในราคาทุนให้กับเกษตรกร เพื่อสร้างไข่ไก่เกษตรอินทรีย์ชุดแรก เกษตรกร จะได้มีจุดตั้งต้นที่ดีต่อไป

Product & Service สินค้าและบริการ

ปริมาณการเลี้ยง เลี้ยงแบบไม่แออัดหนาแน่น เพื่อให้แม่ไก่อยู่อย่างสบายตัว สบายใจเป็น อันดับแรก จุดนี้ก็จะไม่ทำ�ให้ไก่เจ็บป่วย เรื่อง ของโรงเรือนระบบเปิดจึงสำ�คัญต่ออารมณ์ของ แม่ไก่ คือ 1 ตารางเมตรต่อ 5 ตัว มีการถ่ายเท อากาศที่ดี สร้างโรงเรือนตามตะวัน เพราะจะ ลดผลกระทบจากความร้อน และก็ปล่อยแม่ไก่ ให้เดินเล่นตอนเย็น เมื่อฟ้ามืดก็ให้แม่ไก่นอน และเมื่อมีแสงสว่างมาแม่ไก่ก็ลุกขึ้นมากินข้าว ท้ า ยสุ ด ก็ จ ะได้ ไ ข่ ส ดๆ จากแม่ไก่อารมณ์ดี เก็บเป็นผลผลิตส่งต่อผู้บริโภค ต่อมาคือ การไม่ใส่ยา ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะ และสารเคมีที่ไม่จำ�เป็น และดูแลเรื่องอาหาร

ให้แม่ไก่ด้วยตัวเอง โดยไม่ซื้ออาหารสัตว์แบบ ต้นทุนถูกๆ แต่เน้นคุณภาพอาหารดี 100% อาหารจึ ง ต้ อ งเป็ น ออร์ แ กนิ ค ที่ ท างอุ ด มชั ย ฟาร์มเป็นคนทำ�อาหารสัตว์เอง อาทิ การใช้ ข้าวโพด ซึ่งสีเหลืองนวลของไข่แดงก็คือสีที่ แม่ไก่กินข้าวโพด และผลผลิตทางการเกษตร อื่นๆ ที่ทางอุดมชัยฟาร์มได้จัดทำ � ขึ้น โดย เฉพาะข้าวโพด ทั้งที่มีการปลูกเอง และมีการ บอกต่อให้เกษตรกรผู้ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ถึงจำ�นวนที่ทางอุดมชัยฟาร์มต้องการ และรับ ซื้อเพื่อนำ�มาทำ�เป็นอาหารสัตว์ อาหารอินทรีย์ ที่ได้จากการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ก็จะไม่มี สารพิษตกค้าง แม่ไก่ก็จะไม่อารมณ์เสีย และ

อย่างน้อยก็นับว่าเป็นการกระจายรายได้ให้แก่ เกษตรกรที่หันมาทำ�เกษตรอินทรีย์ได้อีกทาง นอกจากมุ่งเน้นไปให้ผู้บริโภคได้กินไข่ไก่ที่ สดสะอาด ปราศจากความเครียดและสารพิษ ใดๆ แล้ว ทางอุดมชัยฟาร์มยังมีนโยบายขาย แม่ไก่รุ่นใหญ่ที่ผ่านการฟักไข่มาอย่างโชกโชน ให้ กั บ เกษตรกรละแวกจั ง หวั ด สระบุ รี แ บบ ราคาทุน เพื่อสร้างแม่พันธุ์และได้ไข่รอบแรก เป็นไข่อารมณ์ดีเช่นกัน พร้อมทั้งการให้ความรู้ โดยมีเอกสารให้แก่ผู้ที่สนใจในเรื่องของการ เลี้ยงแม่ไก่แบบเกษตรอินทรีย์ กิจการก็อยู่ได้ สังคมและผู้บริโภคก็อารมณ์ดี

จัดจ�ำหน่ายทั่วประเทศ 1. แบรนด์ “ไข่ไก่ชีวภาพ จากแม่ไก่อารมณ์ดี” วางจ�ำหน่ายที่ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านกรีน สวนเงินมีมา ร้านสวนไผ่ ตลาดสีเขียว สาขา โรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนทอสี โรงเรียนเพลิน พั ฒ นา โรงเรี ย นพลอยภู มิ โรงเรี ย นจิ ต เมธ อาคารรี เ จ้ น ท์ เ ฮ้ า ส์ ตลาดน�้ ำ คลองลั ด มะยม ตลาดนั ด ธนาคารออมสิ น ส� ำ นั ก งานใหญ่ อาหารกลางวั น ในโรงเรี ย นอนุ บ าลสามเสน โรงเรี ย นอนุ บ าลบ้ า นรั ก โรงเรี ย นอนุ บ าล ปัญโญทัย และร้านขายอาหารออร์แกนิคอื่นๆ 2. แบรนด์ “ไข่ไก่ปลอดสารพิษ จากแม่ไก่อารมณ์ด”ี วางจ�ำหน่ายที่ร้านเลมอนฟาร์ม ทุกสาขา 3. แบรนด์ Natural & Premium Food “Organic Eggs” วางจ�ำหน่ายที่วิลล่า มาร์เก็ต ฟู้ดแลนด์ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ฟู้ดฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขาสีลม ชิดลมและ ทองหล่อ และท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต

แม่ไก่อารมณ์สุนทรีย์ ผู้บริโภค สุขภาพดี เกษตรกรรายอื่นมีความรู้ เพิ่มขึ้นเป็นอย่างดี นี่คือสิ่งดีๆ ที่ อุดมชัยฟาร์มมีให้สังคม

SIA ผลกระทบทางสังคม

การเร่ ง เลี้ ย งไก่ แ บบอุ ต สาหกรรมเพื่ อ ให้ ไ ด้ ผลผลิตสูงสุดและต้นทุนต�่ำสุด ท�ำให้ใช้อาหาร ไก่ราคาถูกมีสารปนเปื้อน การเลี้ยงแบบแออัด ท�ำให้ไก่เจ็บป่วยเพราะความเครียด และต้องใช้ ยาปฏิชวี นะหรือสารเร่งต่างๆ ท�ำให้สารเคมีตา่ งๆ กลับมาสู่ผู้บริโภค เกิดความเจ็บป่วย จากระบบ เลี้ยงไก่ของอุดมชัยฟาร์ม ท�ำให้ไข่ไก่ของฟาร์ม ได้รับการตรวจสอบคุณภาพแล้วว่า ไม่มีสาร ปนเปื้อนของสารเคมีและเชื้อโรคอันตราย แม่ไก่ ก็อารมณ์ดีมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ส่งผลให้ ผูบ้ ริโภคได้รบั แต่สงิ่ ดีๆ จากความอารมณ์ดขี อง แม่ไก่ และปลอดภัยจากสารเคมีอนั ตรายอีกด้วย


SECatalog 120

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Veggie Fresh from Farm

“My Home” ผักปลอดสารจากฟาร์มส่วนตัว

เราเคยสังสัยไหมว่า ผักในจานที่อยู่ตรงหน้ามีวิธีการปลูกแบบไหน ใส่ปุ๋ยเคมีหรือเปล่า ฉีดยาหรือไม่ ผ่านกรรมวิธีการใดมาบ้าง ลองคิดดูว่าจะดีสักแค่ไหน ถ้าเราสามารถไว้ใจผักทุกต้นที่ตักเข้าปากว่า ปราศจากสารเคมีแปลกปลอม เหมือนเพิ่งเด็ดจากแปลงผักข้างบ้านที่ปลูกมาเองกับมือ

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

My Home เป็นร้านอาหารสไตล์โฮมเมด เพื่อสุขภาพ ที่นำ�ผักจากฟาร์มภายในบริเวณ ร้าน ปราศจากการใช้สารเคมีฆ่าแมลงมา ประกอบอาหารพร้ อ มทั้ ง จั ด จำ � หน่ า ยผั ก ไฮโดรโปนิ ก ส์ ส ดจากฟาร์ ม ด้ ว ยปั จ จุ บั น ปัญหาของการใช้สารเคมีดูแลพืชผัก ส่งผลให้ เกิดสารตกค้างในร่างกายจนก่อให้เกิดปัญหา สุขภาพได้ในอนาคต คุ ณ วี ร ชั ย เลิ ศ ศรี จ ตุ พ ร เจ้ า ของร้ า น My Home ได้มองเห็นปัญหาของผู้บริโภค

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : ร้านอาหาร My Home ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณวีรชัย เลิศศรีจตุพร ที่อยู่ : เลขที่ 17/4 ซอยโกสุมรวมใจ 23 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ : 0 2981 0200, 08 5123 4458 E-mail : pping9@hotmail.com Website : www.myhomeveg.com

121


SECatalog 122

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ที่ มี ท างเลื อ ก และช่ อ งทางการบริ โ ภคผั ก ที่ ปลอดภัยน้อยลง เพราะอาหารที่รับประทานใน ทุกๆ วัน เราไม่สามารถทราบถึงที่มาที่ไปของ วัตถุดิบในจานได้เลย หรือไม่วัตถุดิบเหล่านั้นก็ จะมาจากผู้ผลิตรายใหญ่รายเดียวกัน จึงทำ�ให้ คุ ณ วี ร ชั ย เกิ ด แนวคิ ด ในการทำ � อาหารที่ ใ ช้ วัตถุดิบจากฟาร์มผักปลูกเอง ดูแลเอง และนำ� มาปรุ ง อาหารให้ รั บ ประทานด้ ว ยตั ว เองทุ ก ขั้นตอน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้ถึงแหล่งที่มาและ มั่นใจได้ในความปลอดภัยของอาหารทุกจาน และเลือกซื้อผักสดจากแปลงกลับบ้านได้ด้วย จากความตั้งใจจุดเล็กๆ ของร้านที่ไม่ ต้องการแสวงหากำ�ไรเป็นที่ตั้ง ทำ�ให้ผู้คนที่ อาศัยในบริเวณชุมชนและเดินทางผ่านไปมา รู้สึกสบายใจกับการเข้ามาใช้เวลาไปกับความ ร่มรื่นสีเขียวของแปลงผัก นอกจากนี้ร้าน My Home ยังได้จัดทำ�เว็บไซต์ของร้านให้เป็นที่ แบ่งปันความรู้ความเข้าใจ รวมถึงให้ข้อมูล เกี่ยวกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แก่ผู้สนใจ พร้อมทั้งมีการออกบูธร่วมกับโครงการหลวง ให้ความรู้แก่ผู้สนใจเพื่อสนับสนุนให้ปลูกผัก รับประทานเองที่บ้านอีกด้วย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

My Home กำ�ลังทำ�ในสิ่งที่เราต่างมองหาจาก ผู้ผลิต คือการแสดงถึงความใส่ใจต่อผู้บริโภค ด้วยการผลิตอาหารจากความจริงใจ ให้ลูกค้า มีสุขภาพกายดีจากอาหารดี และเผื่อแผ่ความรู้ ให้กับสังคมรอบข้างไปพร้อมๆ กัน ส่งผลให้ ผู้บริโภคเข้าใจเรื่องของการเลือกรับประทาน อาหารที่ปลอดสารพิษ และใส่ใจดูแลสุขภาพ มากยิ่งขึ้น

123

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. ร้ า นอาหารที่ มี ฟ าร์ ม ผั ก ส่ ว นตั ว ตั้ ง อยู ่ ใ น บริเวณร้าน ซึ่งน�ำมาประกอบอาหารให้ลูกค้า รับประทาน และสามารถเข้าไปชมและเลือกซื้อ ผักไฮโดรโปรนิกส์สดๆ ปลอดสารจากฟาร์มได้ ด้วยตนเอง 2. เปิดพื้นที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผักปลอดสารพิษ วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ การเลือกซื้อเมล็ด พันธุ์ และสามารถสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ ผักไฮโดรโปนิกส์ได้ผ่านทางเว็บไซต์ของร้าน

Product & Service สินค้าและบริการ

ผักไฮโดรโปนิกส์ เพื่อสุขภาพ สดจากแปลง ใส่ใจทุกขั้นตอน

1. My Home ร้ า นอาหารสไตล์ โ ฮมเมด เพื่อสุขภาพ เปิดบริการตั้งแต่วันจันทร์-เสาร์ เวลา 07.30-19.00 น. รองรับลูกค้าได้ประมาณ 40-50 ท่าน ในบรรยากาศร่มรื่นเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกซือ้ ผักไฮโดรโปนิกส์จากฟาร์ม ได้ด้วยตนเอง พร้อมมีบริการจัดตะกร้าผักสลัด เป็นของฝากในราคาย่อมเยา

SIA ผลกระทบทางสังคม

ปัญหาทีผ่ บู้ ริโภคไม่สามารถเข้าถึงผักไม่ปนเปือ้ น สารฆ่าแมลงต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ และไม่รู้ที่มา ของอาหารทีร่ บั ประทาน ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ในอนาคตของคนในปัจจุบัน ร้าน My Home จึงก�ำเนิดขึ้นเพื่อจ�ำหน่ายอาหารและผักไฮโดรโปนิ ก ส์ ไ ร้ ส ารปนเปื ้ อ นจากฟาร์ ม ที่ ป ลู ก และ ดูแลเองของผู้ผลิต รวมถึงให้ความรู้และข้อมูล แก่ผู้ที่สนใจให้หันมาปลูกผักรับประทานเอง


SECatalog 124

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

125

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : มังคุด คาเฟ่ (by Club Arts) ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณอนุรกั ษ์ แพรโรจน์ ที่อยู่ : เลขที่ 258 อรุณอมรินทร์ 18 ซอยวัดระฆัง แขวงศิรริ าช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : 08 1843 1598, 0 2866 2143 Website : www.clubartsgallery.com

MANGKUD CAFE

by Club Arts ชมงานศิลป์ ชิมอาหารไทย

จะมีสถานที่สักกี่แห่งที่สามารถกระตุ้นประสาทสัมผัสเราได้อย่างครบถ้วนทั้งตาดู หูฟัง มือสัมผัส ลิ้นรับรส สมองคิดตาม เหมือนร้านอาหารนี้ที่ผสมผสานรสชาติผ่านกระบวนการคิดแบบศิลปะพร้อม แสดงงานหลากหลายแขนง ติดชิดริมฝั่งแม่น�ำเจ้าพระยา

มั ง คุ ด คาเฟ่ by Club Arts ร้ า นอา หารไทยฟิวชั่นและแกลเลอรีศิลปะ ณ ริมฝั่ง แม่น�้ำเจ้าพระยา ได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบแต่ ยังคงสไตล์อนุรักษ์ความเป็นไทยเอาไว้อย่าง เหนียวแน่น เพื่อด�ำเนินกิจกรรมและรวมการ แสดงงานศิลปะร่วมสมัยส�ำหรับทุกเพศวัยให้ สามารถเข้าถึงได้ง่าย และยังได้รับความรู้สึก ของการเป็นผู้ให้ เนื่องจากรายได้จากการ บริการอาหาร 10% ในวันศุกร์และเสาร์ ทาง ร้านมอบสมทบทุนกับกองทุนศิลปะเพื่อชุมชน คุณอนุรักษ์ แพรโรจน์ ได้รับพื้นที่ริมฝั่ง แม่น�้ำเจ้าพระยาซึ่งตกทอดมาจาก ครูเล็กภัทราวดี มีชูธน ด้วยเจตนารมณ์ต้องการเปิด เป็นพื้นที่ศิลปะ แบ่งปันงานศิลป์แขนงต่างๆ สู่ชุมชน และสร้างสังคมคนรุ่นใหม่ที่ใจรักงาน สร้างสรรค์ ตัวร้านจึงดูคล้ายสตูดิโอลอฟต์

สูงโปร่ง เปรียบเหมือนโกดังเก็บงานศิลปะ ภายในบ้าน โดยมีคอนเซ็ปต์ของอาหารในร้าน เป็นการเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ผ่านอาหาร โบราณในวัง รวมทั้งมีการจ�ำหน่ายภาพถ่าย และน�ำรายได้จากการจ�ำหน่ายภาพนั้น น�ำไป บริจาคให้กับมูลนิธิเพื่อสังคมต่างๆ นอกเหนื อ จากภาพถ่ า ยแล้ ว เรื่ อ งราว ความใส่ใจในศิลปะยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ทาง ร้านมีการถ่ายทอดกระบวนการคิดทางศิลปะ ลงไปบนการจัดแต่งอาหาร ท�ำให้เราได้ชิมรส เรียนรู้ และชมงานศิลปะ การแสดงต่างๆ อาทิ การแสดงดนตรี การฉายหนังสั้น การแสดง ศิลปะร่วมสมัย ไปพร้อมๆ กัน การแสดงงานศิลปะที่ร้านมังคุด คาเฟ่ by Club Arts เปิดให้ชมฟรีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกหลากหลาย

เช่น โครงการดูหนังริมน�ำ้ โดยมูลนิธิหนังไทย การแสดงละครร่วมสมัย หรือการแสดงดนตรี สด ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดเวลา เพื่อไม่ ให้จำ� เจและท�ำให้ผู้ชมเกิดความสนใจจนกลาย มาเป็นผู้ชมงานศิลปะขาประจ�ำตัวจริง สิ่งส�ำคัญของการเข้ามารับประทานอาหารที่ ร้านคือ การได้ลิ้มรสทั้งรสชาติอาหาร และ รสชาติของศิลปะ ที่ทางร้านมีความประสงค์ ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการชมศิลปะ และยังได้รับศิลปะ ของการให้ ย้อนกลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง


SECatalog 126

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

127

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ร้านอาหาร ไทยฟิวชั่น ผสานพื้นที่ เรียนรู้งานศิลป์ สนับสนุนกิจกรรม ศิลปะเพื่อสังคม

1. มังคุด คาเฟ่ ร้านอาหารไทยสไตล์ฟวิ ชัน่ ผสม ผสานเรื่ อ งราวและกระบวนการคิ ด ทางศิ ล ปะ ลงบนจานอาหาร 2. Club Arts แกลเลอรี จั ด แสดงงานศิ ล ปะ หลากหลายแขนง ทั้ ง จิ ต รกรรม การแสดง นาฏศิลป์ และภาพยนตร์ สับเปลี่ยนหมุนเวียน กันไปทุกเดือน

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ร้านมังคุด คาเฟ่ ร้านอาหารไทยสไตล์ฟิวชั่น และแกลเลอรีแสดงงานศิลปะ เปิดบริการทุกวัน (เว้นวันจันทร์) เวลา 10.30-23.00 น. วันศุกร์เสาร์ เปิดเวลา 10.30-24.00 น. ส่วนแกลเลอรี เปิดให้เข้าชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีการฉาย หนังสั้นทุกวันศุกร์ ในโครงการดูหนังริมน�ำ้ โดย มูลนิธิหนังไทย ทุกวันเสาร์มีการแสดงดนตรี นาฏศิลป์ ไทยร่วมสมัย โดยคณะโกมลกูณฑ์ และ ในวันเสาร์-อาทิตย์มีการแสดงสดหลากหลาย แนวจากโรงเรียนดนตรี นิวฟรอนเทียร์

SIA ผลกระทบทางสังคม

แม้ภทั ราวดีเธียเตอร์ ซึง่ เคยเป็นแหล่งการเรียนรู้ และการแสดงศิลปะประเภทนาฏกรรมทีส่ ำ� คัญจะ ต้องปิดตัวลงไป แต่โครงการและงานเพื่อสังคม ด้านศิลปะยังคงถูกสืบสานต่อโดยมังคุด คาเฟ่ ที่สนับสนุนกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ศิลปะหลาก หลายแขนงให้กับคนภายในสังคม


SECatalog 128

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

129

Organic Food Good Heath “Be Organic” อิ่มอร่อย ต้านโรค ในแต่ละวัน ชีวิตคนเมืองอย่างเราต้องเผชิญกับมลพิษมากมาย ที่ไม่ใช่เพียงแค่ควันพิษจากท่อไอเสีย รถยนต์บนท้องถนนเท่านั้น แต่ขยับเข้ามาใกล้ตัวชนิดอยู่บนจานอาหารบนโต๊ะในบ้าน จนเราแทบมอง ไม่รู้เลยว่าทุกช้อนที่ตักเข้าปาก ได้ตักสารพิษนานาชนิดเข้าสู่ร่างกายของเราเข้าไปแล้วกี่ชนิด และมี ปริมาณมากหรือน้อยเท่าไหร่

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อกิจการ : ร้าน Be Organic by Lemon Farm ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : บริษทั Be Organic by Lemon Farm ชื่อผู้จัดการ / ผู้รับผิดชอบโครงการ : คุณสุวรรณา หลั่งน�ำ้สังข์ ที่อยู่ : The Portico (ตรงข้ามโรงเรียน มาร์แตเดอี) ซ.หลังสวน จากสถานีรถไฟฟ้า BTS ชิดลม ทางออกที่ 4 เข้าซอยมาประมาณ 300 เมตร โทรศัพท์ : 0 2652 1975 E-mail : suwanna@lamonfarm.com Website : www.lemonfarm.com www.facebook.com/lemonfarmfan

อาหารปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อชีวิต เหตุผลส�ำคัญของ Be Organic ร้านอาหาร ออร์ แ กนิ ค เพื่ อ คนรั ก สุ ข ภาพแบบครบวงจร ที่น�ำวัตถุดิบส่งตรงจากฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ในเครือข่ายของเลมอนฟาร์ม ผู้บุกเบิกอาหาร ออร์แกนิคในไทยกว่า 13 ปี จากการมองเห็นว่า คนไทยเจ็บป่วยโดยมีสาเหตุเนือ่ งมาจากอาหาร มากเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรค มะเร็ง เบาหวาน และโรคภูมิแพ้ ดังนั้นข้าว ทุกจานอาหารทุกอย่างจึงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญของ สุขภาพและความสุข ร้าน Be Organic เชือ่ ว่าแนวทางสุขภาพดี มาจากการรับประทานอาหารทีม่ าจากธรรมชาติ อาหารที่ ส ะอาดปราศจากสารเคมี อั น ตราย เป็นอาหารเกษตรอินทรีย์ออร์แกนิคที่เชื่อใน แนวทางสุขภาพดีด้วยอาหารธรรมชาติ ได้วาง

หลั ก เกณฑ์ ก ารพั ฒ นาอาหารให้ มี พ ลั ง ชี วิ ต และคุณค่าสูงสุด ด้วยการน�ำหลักการปรุงแบบ แมคโครไบโอติกส์ (Macrobiotics) เป็นแนว ทางการด� ำ เนิ น ธรรมชาติ ที่ มี อ ยู ่ เพื่ อ ให้ ไ ด้ สุ ข ภาพที่ ดี เต็ ม เปี ่ ย มไปด้ ว ยพลั ง แห่ ง ชี วิ ต และพลังชีวิตที่ว่านี้ก็จะท�ำให้เราสามารถต่อสู้ กับกระบวนการอักเสบ กระบวนการเซลล์ที่ กลายเป็นมะเร็งต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นอาหารธรรมชาติในศาสนาพุทธ นิกายเซนเป็นเจ้าแรกของ ไทย ที่ถูกขนานนามว่าเป็นอาหารต้านโรค โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคร้ายที่คุกคามชีวิต ชาวไทยอันดับหนึ่ง เป็นวิธีการปรุงอาหารแบบ ขจัดน�้ำตาลและไขมัน แต่ จ ะให้ แ บบความรู ้ สึ ก ท� ำ นองที่ ว ่ า หวานเป็นลมขมเป็นยา คงท�ำให้การรับประทาน อาหารปลอดสารพิษเป็นเรื่องท�ำใจได้ล�ำบาก

ที่นี่จึงให้ความส�ำคัญในการสร้างสรรค์เมนู อาหารธรรมชาติทเี่ น้นสุขภาพ และมีรสชาติอร่อย ใช้ความหวานมาจากผักเท่านั้น ปัจจุบัน Be Organic เปิดบริการได้เพียงปีเศษๆ มี 2 สาขา เลมอนฟาร์ม สาขาชิดลม และเลมอนฟาร์ม สาขาพาราไดซ์ พาร์ค แต่เริม่ สร้างปรากฏการณ์ ในวงคนรักสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ที่นี่ใส่ใจคือ การน�ำวัตถุดิบที่ดีที่สุดและมี รสชาติอร่อย ถูกปากคนไทย ทั้งยังน�ำผลผลิต จากเกษตรกรที่เป็นเครือข่ายของเลมอนฟาร์ม เพิ่มช่องทางกระจายสินค้าให้คนปลูกที่ห่วงใย คุณภาพ ผลที่ได้รับยังตอบแทนสู่สังคมแบบ องค์รวม นับว่าเป็นแผนการลับๆ อันยิ่งใหญ่ ที่จะสร้างมาตรฐานอาหารปลอดสารเคมี


SECatalog 130

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

อาหารแนวใหม่ ปลอดภัยต่อชีวิต ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อสร้าง สังคมที่สุขกายสบายท้อง

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

เพิ่มเติมแนวทางของอาหาร โดยเฉพาะเมนูอาหาร แมคโครไบโอติ ก ส์ (Macrobiotics) ที่ ถู ก ขนานนามว่าเป็นอาหารต้านโรคภัย โดยเฉพาะ โรคมะเร็ ง ซึ่ ง มี ร ากฐานจากอาหารธรรมชาติ ในศาสนาพุทธ นิกายเซน

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ร้าน Be Organic ร้านอาหารเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษที่ไว้ใจได้ ทั้งคุณภาพและรสชาติ มีเมนูอาหาร อาทิ ชุดอาหารกลางวันแมคโคร ไบโอติกส์ สลัดผักสดอินทรีย์ ซุปธัญพืชอินทรีย์ กับขนมปังโฮมเมด เป็นต้น มี 2 สาขาคือ เลมอน ฟาร์ม สาขาชิดลม โครงการ The Portico ถนน หลังสวน เปิดบริการเวลา 10.00- 21.00 น. และเลมอนฟาร์ม สาขาพาราไดรซ์พาร์ค ชั้น G ถนนศรีนครินทร์ เปิดบริการเวลา 11.00-20.30 น. โทร. 0 2787 1322

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาคนไทยเจ็บป่วยโดยมีสาเหตุมาจาก อาหาร ไม่ ว ่ า จะโรคมะเร็ ง เบาหวาน และโรค หลอดเลือด การก�ำเนิด Be Organic ร้านอาหาร ทางเลือกเพื่อสุขภาพ จึงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญในการ สร้างสุขภาพและความสุขของการรับประทาน อาหารที่ไว้ใจได้

131


SECatalog 132

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

The Rice Rise “เป็นสุข” ข้าวสร้างสุขให้ชาวนา ประเทศไทยถือเป็นชาติมหาอ�ำนาจในการเพาะปลูกข้าวส่งออกอันดับต้นๆ ของโลกมาช้านาน แต่ด้วย ระบบอุตสาหกรรมคล้ายแบบสายพานผลิต เร่งผลผลิตให้เร็วให้เยอะ นาเคมี เครื่องทุ่นแรงราคาแพง เป็นที่น่าแปลกใจว่าส่งผลให้ชาวนามีชีวิตคุณภาพต�่ำลงเรื่อยๆ ทั้งหนี้สินและสุขภาพ ทั้งยังมักพบค�ำ ค่อนขอดทีว่ า่ ข้าวดีๆ ส่งออกไปให้ชาวต่างชาติได้รบั ประทาน แต่ในจานข้าวของคนปลูกเองกลับกินข้าวทีเ่ หลือ

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

เป็นสุข ร้านค้าสีเขียวทีเ่ ริม่ จาการมองเห็น ปั ญ หาเหล่ า นั้ น โดยนายแพทย์ ก ้ อ งเกี ย รติ เกษเพ็ชร์ ผู้ก่อตั้งบริษัท สุขสาธารณะ จ�ำกัด เกิดแรงบันดาลใจเมื่อครั้งลงพื้นที่ช่วยเหลือ ผูป้ ระสบภัยน�ำ้ ท่วมทีภ่ าคอีสาน ซึง่ ส่วนใหญ่ คือ ชาวนา แต่ครั้นจะช่วยในเรื่องของเงินทุน หรือ ให้เมล็ดพันธุ์ไปช่วยเหลือ คงไม่ใช่คำ� ตอบใน ระยะยาว อีกทัง้ ยังมองไปถึงเรือ่ งของโภชนาการ และสารอาหารที่มีประโยชน์ในข้าว เห็นถึง ปัญหาที่จะตามมาในเรื่องของการรับประทาน ข้าวแบบนาเคมี รวมทั้งสายพันธุ์ของเมล็ดข้าว ทีจ่ ะให้คณุ ค่าและประโยชน์ทแี่ ตกต่างกัน ส่งผล ให้เป็นสุขจึงลองลงมือเรียนรู้เรื่องของเกษตรอินทรีย์ และเผยแพร่ความรู้ พร้อมชักชวนชาวนา

ให้หนั มาปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ เปลีย่ นวิถี หันหลังให้กับการใช้สารเคมีในแปลงนา พร้อม ชีแ้ จงถึงเรือ่ งของการลดต้นทุน เพราะไม่ตอ้ งใช้ ปุ๋ยเคมี เป็นวัฏจักรต่อเนื่อง ไม่ต้องเสี่ยงเรื่อง ปัญหาสุขภาพจากละอองสารเคมีที่ฉีดพ่นใน ท้องนา และยังท�ำให้ดินไม่มีปัญหาสารเคมี ตกค้ า ง สิ่ ง แวดล้ อ มและระบบนิ เ วศก็ ดี ขึ้ น เหมือนเดิม ทั้งยังท�ำให้ผู้บริโภคได้รับประทาน ข้าวที่ปลอดจากสารเคมี นับว่าเป็นผลดีต่อ สุขภาพของผูบ้ ริโภคในประเทศ และยังสามารถ กระจายผลผลิตที่ดีๆ สู่ต่างประเทศได้อีกด้วย และเมื่อยืนบนหลักคิดที่ดีต่อผู้อื่น เป็นสุข มีการจับมือกับเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์ (GIN) ที่ให้ความส� ำคัญกับ

133

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : เป็นสุข ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : นายแพทย์กอ้ งเกียรติ เกษเพ็ชร์ ชือ่ ผูจ้ ดั การ / รับผิดชอบโครงการ : คุณพิชญ์สนิ ี อินต๊ะนอน ที่อยู่ : เลขที่ 98 ซอยสุขุมวิท 23 (ประสานมิตร) ถนนสุขมุ วิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 0 2261 6900, 09 0607 0300 โทรสาร : 0 2261 6900 E-mail : pitchsinee7@gmail.com Website : www.pensook.in.th www.facebook.com/pensook


SECatalog 134

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

เกษตรอินทรีย์ ซึ่งถือว่าเป็นคนพันธุ์เดียวกัน ยิ่งเป็นประตูสู่การเข้าถึงเกษตรกรรมในการ ส่งเสริมทางเทคโนโลยีการเกษตรต่างๆ แลก เปลี่ยนองค์ความรู้ ทั้งยังเป็นแหล่งวัตถุดิบ ชั้นเลิศที่จะน�ำข้าวมาสู่ผู้บริโภคทั่วไป นอกจากนี้เป็นสุขยังได้สร้างความสุขให้ กับชาวนาในเครือข่ายทุกราย ได้ท�ำสัญญา การซื้อขายภายใต้ราคาเป็นธรรม (Fair Trade) ซึ่งจุดนี้จะเป็นการสร้างอาชีพ และรายได้ที่ มั่นคงให้กับชาวนาเกษตรอินทรีย์ ทั้งยังเป็น ส่วนหนึ่งที่ท�ำให้ชาวนามีก�ำลังใจที่จะปลูกข้าว ดีๆ ให้ผู้บริโภคได้รับประทานมากขึ้น ทั้งนี้ร้านเป็นสุขยังเป็นพื้นที่จัดจ�ำหน่าย ข้าวอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ทีใ่ ส่ใจในเรือ่ งปลอดสารเคมีทงั้ กระบวนการ โดย ในระยะทางเพียงปีแรกของเป็นสุข สิ่งที่แสดง ให้เห็นคือ เป็นสุขตั้งแต่คนปลูก ชีวิตไม่ต้อง รับสารเคมี ต้นทุนผลผลิตลดลง ไม่ก่อหนี้เพิ่ม และเป็นสุขถึงผู้บริโภค มีเส้นทางในการเข้าถึง

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

135

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ข้าวคุณภาพที่ดีมาถึงจานบนโต๊ะอาหาร ทั้งยัง อุดหนุนเกษตรกรที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับ นาไร้เคมี พลิกชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่า นั่นคือ สิ่งที่เขาบอกกับคนซื้อข้าวทุกครั้ง เท่านีย้ งั ไม่หมดเรือ่ งราวของเป็นสุข ในส่วน อีกฝัง่ หนึง่ ทีน่ า่ สนใจก็คอื เมือ่ หักลบกลบต้นทุน แล้ว รายได้ส่วนหนึ่งก็น�ำมาหมุนล้อรถออก ตรวจสุขภาพชาวนาเกษตรอินทรีย์ในเครือข่าย โดยยึดหลักที่ว่า หากเป็นสุขมีผลก�ำไร ผู้อื่น ก็ต้องได้รับประโยชน์จากผลก�ำไรนั้นด้วย

1. ก� ำ ไรบางส่ ว นของเป็ น สุ ข นั้ น ถู ก แบ่ ง ปั น เพื่อสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสที่เข้าไม่ถึงบริการ สาธารณสุขและเครือข่ายชาวนาเกษตรอินทรีย์ ในด้านสุขภาพ 2. เกษตรกรในเครือข่ ายเป็นสุขทุกรายจะได้ รับสัญญาและราคาในแบบที่เป็นธรรม (Fair Trade)

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ร้านเป็นสุข จัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลอดสาร เคมี ได้แก่ ข้าวหอมนิลอินทรีย์ ข้าวกล้องสินเหล็ก ข้าวกล้องสังข์หยด กก.ละ 95 บาท (มีบริการ สีขา้ วสดด้วยเครือ่ งสีขา้ วกล้อง) ชาใบข้าว กล่องละ 185 บาท ธัญพืชอบอุ่นชงดื่ม ห่อละ 225 บาท จมูกข้าวกล้องหอมมะลิอบกรอบ 55 บาท เป็นต้น โดยมีทั้งหมด 3 สาขาคือ สาขาซอยสุขุมวิท 23 (ประสานมิตร) สาขาโรงพยาบาลชลดา บางบัวทอง และสาขาคลินิคเป็นสุข จ.ภูเก็ต บริการส่งฟรี เมื่ อ สั่ ง 20 กก. ขึ้ น ไป สอบถามเพิ่ ม เติ ม ที่ โทร. 0 2261 6900 หรื อ สั่ ง ซื้ อ ผ่ า น www. facebook.com/pensook

แม้เป็นสุขจะเป็นพลังเล็กๆ ที่ช่วยขับเคลื่อน สังคมสีเขียว แต่ก็เป็นพลังที่ส�ำคัญ ที่ท�ำให้เรา เชื่อว่า เมื่อเราสร้างจุดเล็กๆ หลายจุดในสังคม แล้วลากเส้นโยงให้ถึงกัน ตั้งแต่ผู้ปลูก ผู้รับประทาน และสิง่ แวดล้อม เชือ่ ว่าในไม่ชา้ สังคม สีเขียวจะเติบโตขยายวงกว้าง สร้างเศรษฐกิจ และสร้างสุขภาพทีด่ อี ย่างมัง่ คงไปพร้อมๆ กัน

SIA ผลกระทบทางสังคม

ข้าวทุกเม็ด ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์ มั่นคง สร้างเสริมสุขภาพดีถ้วนหน้า สุขทั้งชาวนาถึงผู้บริโภค

ภายใต้ปัญหาการปลูกข้าวแบบอุตสาหกรรม เร่งผลิต นาเคมี ส่งผลให้ชาวนายากจนเพราะ ปั ญ หาพ่ อ ค้ า คนกลางที่ ใ ห้ ร าคาซื้ อ ขายที่ ไ ม่ เป็นธรรม สุขภาพของชาวนายังเสื่อมโทรมลง เพราะการสัมผัสสารเคมีโดยตรงจากการเพาะ ปลูก เป็นสุขได้รวบรวมรับซื้อข้าวจากนาเกษตร อิ น ทรี ย ์ ซึ่ ง นั บ ว่ า เป็ น ช่ อ งทางหนึ่ ง ให้ ช าวนา ผู้ปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ ได้จ�ำหน่ายข้าว คุ ณ ภาพในราคาเป็ น ธรรม มี ก ารรั บ ประกั น ราคา ไม่ โ ดนกดราคา พร้ อ มทั้ ง ส่ ง เสริ ม ให้ ชาวนาหันมาปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ และข้าว พันธุ์ทางเลือกที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ช่วยให้ ชาวนาลดรายจ่ายในเรื่องสารเคมี ขจัดปัญหา เรื่องสุขภาพของชาวนา ท�ำให้เครือข่ายชาวนา มีช่องทางการจ�ำหน่ายข้าวเกษตรอินทรีย์มากขึ้น สุขภาพดีขึ้น


SECatalog 136

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Friends’ Cafe เบเกอรี่โฮมเมด

จากใจคนพิการ คนปกติ ห รื อ คนพิ ก ารก็ มี สิ ท ธิ ใ นการ ด�ำเนินชีวิตอย่างมีความสุขบนโลกใบนี้ เท่าเทียมกัน แต่โอกาสบางอย่างในสังคม ก็ยังเลือกมอบให้กับคนปกติมากกว่า อยู่ดี ยังมีอีกสถานที่หนึ่งเปิดโอกาสให้ ได้มีพื้นที่ชีวิตแห่งความเท่าเทียมกันใน สังคม ให้คนพิการได้ใช้ความสามารถ ฝึกอาชีพมีรายได้ด้วยตัวเองอย่างภาคภูมิใจ

Friends’ Cafe คือร้านเบเกอรีโ่ ฮมเมดสูตร แคนาเดียน ในโครงการร้านเบเกอรีแ่ ละเครือ่ งดื่ม โดยศูนย์จัดหางานคนพิการพระมหาไถ่ พัทยา จัดท�ำโดยคนพิการ ตัง้ อยูท่ จี่ งั หวัดชลบุรี โดยมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่อยากให้คนพิการได้มี พืน้ ทีฝ่ กึ อบรมเพิม่ ทักษะอาชีพและชีวติ และให้ มีโอกาสได้เป็นเจ้าของกิจการเบเกอรี่หรือร้าน กาแฟของตนเองในอนาคต นอกจากเปิดการ ฝึกอบรมท�ำขนมแล้วยังเปิดอบรมด้านงานฝีมอื อีกด้วย แต่ เ ดิ ม ที่ แ ห่ ง นี้ เ ป็ น โรงเรี ย นฝึ ก อาชี พ พระมหาไถ่ส�ำหรับคนพิการ ต่อมาได้รับการ สนับสนุนด้านทุนทรัพย์ จ ากองค์ ก ารจั ง หวั ด

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อกิจการ : Friends’ Cafe ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : มูลนิธิพระมหาไถ่ เพื่อการพัฒนาคนพิการ ชื่อผู้จัดการ : คุณมานพ เอี่ยมสะอาด ที่อยู่ : ศูนย์จัดหางานคนพิการพระมหาไถ่ พัทยา เลขที่ 440 หมู่ 9 ถนนสุขุมวิท กม.145 ต�ำบลหนองปรือ อ�ำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20260 โทรศัพท์ : 0 3871 6247-9 ต่อ 8144, 08 5087 6062 โทรสาร : 0 3871 6542 E-mail : samran52@gmail.com Website : www.mahatai.com

137


SECatalog 138

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ชลบุรีและเมืองพัทยา Friends’ Cafe จึงถูก ก่อตั้งเป็นทั้งโรงเรียนและร้านเบเกอรี่ที่ผู้พิการ สามารถติดต่อเข้าฝึกอบรมอาชีพ เป็นอีกหนึ่ง ช่องทางที่ช่วยให้ผู้พิการมีกิจกรรมทางสังคม และสร้างรายได้ด้วยตัวเอง ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ของที่นี่มีการคัดเลือก วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ไม่ผสมสี และไม่ใส่วัตถุ กันเสีย ทุกชิน้ สดใหม่ และราคาย่อมเยา ทุกคน สามารถรับประทานได้จนต้องแนะน�ำกันปาก ต่อปาก โดยปัจจุบัน Friends’ Cafe เริ่มเป็นที่ รูจ้ กั และสามารถหารายได้ดแู ลจุนเจือพนักงาน ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยงบประมาณ จากมูลนิธิพระมหาไถ่ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม ที่ทาง Friends’ Cafe จัดขึ้นเพื่อหารายได้ เช่น การออกบูธเพือ่ จ�ำหน่ายสินค้าตามโอกาสต่างๆ ส� ำ หรั บ ในอนาคตข้ า งหน้ า ศู น ย์ ร วมน�้ ำ ใจ ผู้พิการแห่งนี้ มีเป้าหมายว่าจะขยายสาขา ร้าน Friends’ Cafe โดยมูลนิธิพระมหาไถ่ เพื่อการพัฒนาคนพิการเพิ่มขึ้น จึงเป็นเสมือน ตัวอย่างของมิตรภาพเพื่อนมนุษย์ที่หวังจะให้ เกิดกลุ่มคนที่จะลุกขึ้นมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยกันมากยิ่งขึ้นกว่านี้ในวันข้างหน้า

139

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. ร้าน Friends’ Cafe จ�ำหน่ายเบเกอรี่และ ผลิตภัณฑ์งานฝีมือที่จัดท�ำโดยผู้พิการในราคา ย่อมเยา 2. เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมสร้างอาชีพแก่ ผู้พิการ โดยมีทั้งการถ่ายทอดความรู้ด้านการ ท�ำเบเกอรี่และงานฝีมือ

Product & Service สินค้าและบริการ

ร้าน Friends’ Cafe จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่จัด ท�ำโดยผู้พิการ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วน จ�ำหน่ายเบเกอรี่ และส่วนผลิตภัณฑ์งานฝีมือ จากผู้พิการ ส�ำหรับเมนูเบเกอรี่นั้นมีจ�ำหน่าย ทั้งประเภทเค้ก ขนมปัง คุกกี้ ฝอยทอง บราวนี่ เค้กส้ม โดนัท บัตเตอร์เค้ก พร้อมรับสั่งท�ำใน โอกาสพิเศษต่างๆ

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาในการหางานเพื่อประกอบอาชีพของ ผู้พิการ ท�ำให้มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อคนพิการ จัดตั้ง Friends’ Cafe ขึ้น โดยได้สนับสนุน การสร้ า งอาชี พ ให้ กั บ ผู ้ พิ ก าร ให้ ส ามารถหา รายได้ด้วยตัวเองได้ และยังเป็นศูนย์กลางการ ฝึกอาชีพทักษะในการท�ำเบเกอรี่และงานฝีมือ อีกด้วย

ร้านขนมจากผูพ ้ กิ าร หอมหวานจากใจ อิ่มทั้งผู้ให้ อร่อยทั้งผู้รับ


SECatalog 140

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Healthy Bento “ครัวใส่ใจ” อาหารปิ่นโตเพื่อสุขภาพ

หลายคนยังจ�ำความรู้สึกของอาหารปิ่นโตเถา คอนโดน้อยๆ ที่แบ่งข้าวและกับไว้ชั้นละอย่าง ให้เรา ฝากท้องและอวดเพื่อนในช่วงพักกลางวันกันได้ แต่นอกจากความรู้สึกที่ว่าเรายังได้สุขภาพดีแถมมา ในแพ็กเกจ ซึง่ คงจะดีไม่นอ้ ยถ้าเราได้ยอ้ นมองและหันมาใส่ใจในเรือ่ งอาหาร และดูแลสุขภาพกันมากกว่าเดิม

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : ครัวใส่ใจ ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณชรินา ง่วนส�ำอางค์ ที่อยู่ : ซอยวิภาวดี 22 (ทางที่ลัดไปเชื่อมต่อ กับลาดพร้าว 8) ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ : 0 2938 8534, 08 7915 3440 E-mail : saijai.healthyfood@gmail.com Website : www.saijaihealthyfood.com www.facebook.com/Saijai-Healthy-

ครัวใส่ใจ ร้านอาหารทางเลือก ใช้วัตถุดิบ ปลอดสารพิษ พร้อมมีบริการอาหารปิ่นโตส่ง ถึงที่ทำ�งาน เกิดขึ้นจากการตระหนักถึงปัญหา ของคนเมือง ที่มักไม่มีเวลาพิถีพิถันเรื่องการ รับประทานอาหาร เพราะต้องเจอภารกิจรีบเร่ง ในทุกๆ วัน บวกกับสภาพแวดล้อมไม่เอือ้ อำ�นวย การหาอาหารสุขภาพและปลอดสารพิษจึงกลาย เป็นเรื่องของความยุ่งยาก และพึ่งพาอาหาร สำ�เร็จรูปกันจนเป็นเรื่องปกติ ด้วยประสบการณ์ส่วนตัวของ คุณชรินา ง่วนสำ�อางค์ ที่คนใกล้ตัวเจ็บไข้กับเนื้องอกที่ ด้านนอกลำ�ไส้เล็ก เนื่องจากความไม่ใส่ใจใน เรื่องอาหารการกินและสุขภาพ ทำ�ให้เธอกลับ ลำ � หั น มาสนใจในเรื่ อ งอาหารปลอดสารพิ ษ อย่างเต็มตัว ด้วยการทำ�แปลงผักสวนครัวด้วย วิถีอินทรีย์ไว้รับประทานเอง และทำ�ปิ่นโตจาก บ้านให้สามีและตัวเธอเองนำ�ไปรับประทาน ที่ท�ำ งานทุกวัน และจุดนี้ท�ำ ให้เธอกลับมาคิดถึง

141


SECatalog 142

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

อาหารปิน่ โต ปรุงใจ ใส่วตั ถุดบิ ปลอดสารพิษ 100% พร้อมส่งต่อ อาหารสมอง ในเรือ่ งการปลูกผัก กินเอง คนรอบข้าง ซึ่งกำ�ลังดำ�เนินชีวิตอยู่ในสังคมรีบ เร่ง และปล่อยปละละเลยสุขภาพของตนเองอยู่ ได้รับประทานอาหารที่ไร้สารพิษ 100% กลายมาเป็นอาหารใส่ใจทุกขั้นตอนของ การปรุง เลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่ แต่ยัง คงมีเมนูปลา สำ�หรับคนไม่ทานมังสวิรัติ ใน ส่วนของผักส่วนหนึ่งมาจากแปลงผักปลูกเอง แปลงเห็ดเพาะเอง แต่เพื่อความหลากหลายจึง มีผักบางส่วนส่งตรงมาจากแปลงผักอินทรีย์ ตามจังหวัดต่างๆ มั่นใจได้ว่าปลอดสารพิษ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และเน้นพืชผักตามฤดูกาลใน

143

1. ร้านครัวใส่ใจ จ�ำหน่ายอาหารเพือ่ สุขภาพ โดย ใช้วัตถุดิบปลอดสารพิษจากแปลงผักเกษตรอินทรีย์ 2. เผยแพร่ความรู้และสนับสนุนการท�ำเกษตรอิ น ทรี ย ์ แ ก่ ค นเมื อ ง ให้ ส ามารถท� ำ แปลงผั ก สวนครัวไว้รับประทานเองได้

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ร้านครัวใส่ใจ จ�ำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ มีบริการจัดอาหารชุด (ปิ่นโต) ส่งนอกสถานที่ ทั้งมื้อกลางวันและเย็น โดยอาหารปิ่นโต 1 ชุด สามารถเลือกสั่งได้ 2 อย่าง ส่งพร้อมข้าวซ้อมมือหุงสุกใหม่ เริ่มต้นที่ราคา 130-150 บาท และ ฟรีในเขตลาดพร้าวและถนนวิภาวดี หากอยู่ นอกเขตจะคิดค่าส่ง โดยค�ำนวณจากระยะทาง สามารถดูรายละเอียดเพิม่ เติมเกีย่ วกับเมนูอาหาร และวิธสี งั่ ได้ที่ www.saijaihealthyfood.com 2. รับท�ำเมนูสขุ ภาพส�ำหรับจัดเลีย้ ง (Catering) รวมไปถึงของว่างจัดชุด (Snack Box)

แต่ละท้องถิ่น เป็นการกระจายรายได้ไปในตัว ทั้ ง ยั ง ใส่ ใ จลงไปถึ ง เรื่ อ งของภาชนะที่ ใ ช้ ใ ส่ กับข้าวคือ กล่องชานอ้อย แทนถุงพลาสติก หรือกล่องโฟมอีกด้วย นอกจากบริการอาหารสุขภาพแล้ว ครัว ใส่ ใ จยั ง มี ก ารจั ด กิ จ กรรมบ้ า นเรี ย นรู้ ใ ส่ ใ จ อบรมการทำ�เกษตรปลอดสารพิษ ให้เด็กเมือง ได้ใกล้ชิดธรรมชาติ และสร้างความเข้าใจใน เรื่องอาหาร เป็นกิจกรรมครอบครัวสร้างความ ใกล้ชิดและใช้เวลาร่วมกันอีกด้วย ทั้งยังมีส่วน ในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านการทำ�เกษตร

อินทรีย์ โดยให้ปลูกผักสวนครัวเล็กๆ ที่บ้าน สำ�หรับนำ�มาปรุงเป็นอาหารปลอดสารพิษด้วย มือเรา เจตนารมณ์ต้องการเผื่อแผ่สุขภาพดีให้กับคน เมืองด้วยกัน ทำ�ให้ครัวใส่ใจตั้งใจทำ�อาหาร เสมือนปรุงจากครัวบ้าน และพิถีพิถันทุกขั้น ตอน เป็นทางเลือกหนึ่งของคนรักสุขภาพแต่มี เวลาจำ�กัดได้เป็นอย่างดี ลองให้เวลามื้อเที่ยง ดีๆ สักนิด กับบรรยากาศปาร์ตี้ปิ่นโตก็ดูจะ น่ารักไม่หยอก

SIA ผลกระทบทางสังคม

ครั ว ใส่ ใ จเป็ น ทางเลื อ กในการบริ โ ภคอาหาร เพื่อสุขภาพ ปลอดสารพิษ โดยเน้นใช้วัตถุดิบ ที่มาจากกระบวนการเกษตรอินทรีย์ (Organic) จากแหล่งที่น่าเชื่อถือจากทั่วประเทศ มีการปลูก ผักแบบเกษตรอินทรีย์ไว้ในบริเวณร้าน เพือ่ เปิด สอนการเรียนรูก้ จิ กรรมการเกษตร เช่น การท�ำนา จ�ำลอง


Education การเรียนรู้และการศึกษา


SECatalog 146

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

147

THAI HANDI CLUB สร้างรอยยิ้ม ในความเงียบงัน

ภาษามือนั้นเป็นภาษาที่มีสเน่ห์ เพราะนอกจากจะเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างผู้พิการแล้ว ยังเป็น ภาษาที่คนปกติอย่างเราก็เรียนได้ และสามารถสื่อสารกันได้อย่างเป็นสากล

Thai Handi Club หรือ “คลับของคน ท�ำมือ” ถูกจัดตั้งเกิดขึ้นมาเพื่อยืนยันในความ สามารถและสร้างโอกาสให้กับกลุ่มผู้พิการ ทางการได้ยนิ ทีใ่ ช้เพียงภาษามือในการสือ่ สาร พูดคุยกัน แต่คนเหล่านีม้ คี วามรูค้ วามสามารถ เฉพาะทาง ทั้งด้านศิลปะ หัตถกรรม และงาน ฝีมือต่างๆ ไม่น้อยไปกว่าเด็กปกติ คุณโสภี ฉวีวรรณ ผู้ก่อตั้ง ได้รับความ ร่วมมือจาก คุณครูจันทร์ธดี จันทรเสน แห่ง โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ ในการจัดตั้ง

ชมรมนี้ เพื่อเป็นการรวมตัวของเด็กพิการที่มี ความสามารถ โดยชมรมจะมีการจัดกิจกรรม ต่างๆ รวมถึงจัดการเรียนการสอนในสายสามัญ ส�ำหรับเด็กพิการที่อยากเข้าเรียนต่อในระดับ มหาวิทยาลัย หรือในขณะที่เด็กบางคนยังไม่รู้ ว่าอยากเรียนอะไร ไปทางไหน ทางชมรมจะมี การฝึกอาชีพให้กบั เด็กๆ เช่น งานบอลลูนอาร์ต งานหนัง งานเจลเทียน ซึ่งล้วนเป็นงานศิลป์ และงานด้านหัตถกรรมที่สามารถสร้างรายได้

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : Thai Handi Club ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณโสภี ฉวีวรรณ ที่อยู่ : เลขที่ 29 ซอยเจริญนคร 26 ถนนเจริญนคร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 โทรศัพท์ : 08 9145 4295 E-mail : nadt@nadt.or.th


SECatalog 148

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

นอกจากนี้เด็กๆ ซึ่งเป็นสมาชิกในชมรม ยังได้รบั การสนับสนุนให้ออกไปถ่ายทอดความรู้ ผ่านภาษามือ และงานฝีมือที่ตนเองถนัดตาม งานต่างๆ โดยที่เด็กทุกคนจะได้รับการปลูกฝัง ว่าพวกเขาไม่ได้เป็นผูพ้ กิ ารทีใ่ ช้ความน่าสงสาร เรียกคนให้มาซื้อของ และจะไม่มีการตั้งกล่อง บริจาคใดๆ เพื่อให้เด็กได้ใช้ความสามารถที่มี อยูอ่ ย่างเต็มที่ และมีการปลูกฝังให้เด็กอยูเ่ สมอ ว่าเราต้องท�ำงาน เราถึงจะได้เงิน

ทางชมรมมีการเปิดคอร์สสอนงานฝีมือให้กับ คนปกติและคนพิการ ซึง่ สอนโดยสมาชิกชมรม Thai Handi Club ซึ่งเป็นผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งมีหลากหลายคอร์สให้เลือกเรียน คุณโสภี มองว่าการสอนให้ผู้พิการสามารถหารายได้ ได้ดว้ ยตัวเองนัน้ ดีกว่า เพราะพวกเขาจะสามารถ น�ำความรู้นี้ไปเลี้ยงชีพได้ตลอดชีวิต

149

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

Thai Handi Club หรือ คลับของคนท�ำมือ เพื่อ ช่วยเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้พิการ ทางการได้ยิน

Product & Service สินค้าและบริการ

1. Thai Handi Club จัดคอร์สเปิดสอนงาน ฝีมือโดยผู้พิการทางการได้ยินให้แก่คนทั่วไป สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของ ผู้ว่าจ้าง โดยต้องมีจ�ำนวนผู้เข้าอบรมประมาณ 30-40 คน เริ่มตั้งแต่การสอนภาษามือให้เด็กๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร และมีการสอนท�ำบอลลูน อาร์ต เทียนเจล พับผ้าขนหนู โดยราคาค่าสอน นั้นขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน

SIA ผลกระทบทางสังคม

Thai Handi Club ได้ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้พิการ ได้ มี ค วามรู ้ แ ละฝึ ก อาชี พ เพื่ อ การท� ำ งานใน อนาคต และสร้ า งรายได้ ใ ห้ ผู ้ พิ ก ารจากการ ถ่ายทอดความรูผ้ า่ นภาษามือและความถนัดด้าน ต่างๆ รวมไปถึงการสร้างความเข้าใจและยอมรับ ให้คนปกติรู้ถึงความต่างทางร่างกายแต่ไม่ด้อย ความสามารถของผู้พิการ

คลับของคนท�ำมือ เสริมสร้างโอกาส และสร้างอาชีพให้ผพ ู้ กิ ารทางการได้ยนิ


SECatalog 150

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : มูลนิธิกองทุนไทย ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณไพบูลย์ วัฒนศิรธิ รรม ชือ่ ผูจ้ ดั การ / ผูร้ บั ผิดชอบโครงการ : คุณกรรชิต สุขใจมิตร (ผู้อ�ำนวยการมูลนิธิกองทุนไทย) ที่อยู่ : เลขที่ 2044/23 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ : 0 2314 4112-3, 0 2318 3959 โทรสาร : 0 2718 1850 E-mail : dsc@tff.or.th Website : www.tff.or.th

มูลนิธิกองทุนไทย กองทุนเพื่อคนรากหญ้า

กลุ่มประชากรรากหญ้าจัดเป็นพลังส�ำคัญและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศไทย หากจะพัฒนาประเทศ หนทางทีด่ นี า่ จะเริม่ ต้นจากการให้ความส�ำคัญต่อการพัฒนาตัง้ แต่ระดับรากหญ้าทีเ่ ป็นฐานของประเทศ ไทย ให้พวกเขาสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม

เมื่อมองลงไปถึงระดับรากฐาน จะพบว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เกิดสถานการณ์ปัญหาองค์กร ทุนเพือ่ สนับสนุนการพัฒนาต่างประเทศได้ยา้ ย ไปสู่ภูมิภาคอื่น ท�ำให้องค์กรพัฒนาเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ตา่ งๆ ในประเทศ ไทย โดยเฉพาะองค์กรขนาดเล็กระดับรากหญ้า ที่ท�ำงานเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชน ซึง่ เป็นฐานรากทีส่ ำ� คัญของสังคมไทยต้องปิดตัว ลงไปเป็นจ�ำนวนมากเพราะขาดแหล่งทุนสนับสนุน นี่เป็นประเด็นหลักที่ท�ำให้ คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม มีความคิดว่าไทยควรมีองค์กร สนับสนุนเพื่อการพัฒนาสังคมเป็นของตัวเอง จึงได้ก่อตั้ง “มูลนิธิกองทุนไทย” ขึ้นมา กว่า 20 ปีมาแล้วที่มูลนิธิกองทุนไทยได้ จัดตั้งขึ้น มูลนิธิฯ ก็ยังท�ำงานเพื่อเป็นส่วนใน การสนับสนุนการท�ำงานขององค์กรในภาค ประชาสังคม โดยเฉพาะองค์กรระดับรากหญ้า เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและพึ่งพาตัวเองได้ อย่างยั่งยืน ยังคงท�ำหน้าที่ประสานกับบุคคล องค์กรในทุกภาคส่วนของสังคม เพือ่ น�ำสิง่ ทีไ่ ด้ ไปกระจายการสนับสนุนให้กับองค์กรพัฒนา ระดับรากหญ้า เช่น กลุม่ เด็ก เยาวชน หรือคนใน ชุมชนต่างๆ ทัว่ ประเทศ เพือ่ สร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ชมุ ชนอย่างยัง่ ยืน มีสงิ่ แวดล้อม และคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเท่าเทียม การท�ำงานของมูลนิธิกองทุนไทยนั้นจะ มีอยู่หลายส่วน เพื่อให้แต่ละส่วนได้เข้าไป ท� ำ งานได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ อาทิ ฝ่ า ย พัฒนาศักยภาพ ฝ่ายระดมทุนที่สร้างโครงการ ขึ้ น มาจ� ำ นวนมาก เพื่ อ จั ด อบรมหลั ก สู ต ร ต่ า งๆ รวมทั้ ง ฝ่ า ยส่ ง เสริ ม เทคโนโลยี เ พื่ อ การสื่ อ สาร เพื่ อ รองรั บ ความต้ อ งการทาง เทคโนโลยี ส ารสนเทศขององค์ ก รเพื่ อ การ

151


SECatalog 152

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

พัฒนาเอกชนในประเทศไทย จัดท�ำพัฒนา ระบบฐานข้อมูลให้กับองค์กรต่างๆ รวมทั้ง การสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรพั ฒ นา เอกชนได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่ หลายและถูกต้อง ทั้งยังมีฝ่ายการให้เพื่อสังคม เพื่อท�ำการรณรงค์วัฒนธรรมการให้ยังคงอยู่ ต่อไปในสังคมไทย โดยจะมาท�ำหน้าที่ในการ ร่วมหนุนการให้เพื่อสังคม เพิ่มจ�ำนวนขึ้นและ ยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งถือว่าเป็นการท�ำงานที่ ครอบคลุม เพื่อพัฒนารากฐานของสังคมไทย อย่างแท้จริง แม้คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ กองทุนไทยจะจากไปแล้ว แต่ปณิธานของท่าน ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อหล่อเลี้ยงชุมชนและ สังคมให้เข้มแข็งจะยังคงสืบสานต่อไป แต่นี่ อาจจะไม่ใช่เพียงแค่หน้าที่ของมูลนิธิกองทุน ไทยเท่ า นั้ น แต่ ห มายรวมถึ ง การที่ ทุ ก คน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และหยิบยื่นการให้ เพื่อสังคม เพราะท้ายสุดแล้ว สิ่งดีๆ ก็จะย้อน กลับมาสู่ผู้ให้ทุกคน

153

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

สนับสนุนแหล่งทุนสูอ่ งค์กรระดับ รากหญ้า เพือ่ น�ำกลับไปพัฒนา ชุมชนให้แข็งแรง

จัดท�ำโครงการ “แม่โขง ICT แคมป์” ซึ่งเป็นโครงการ จัดอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับองค์กรในลุ่มแม่น�้ำ โขง 5 ประเทศ ต่อยอดการพัฒนาระดับรากหญ้าสู่ระดับ ต่างประเทศ ซึ่งจะจัดต่อเนื่องในทุกๆ 2 ปี ในส่วนของ ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ให้บริการการฝึกอบรม NGO และองค์กรพัฒนา ต่ า งๆ ของเอกชนในราคามิ ต รภาพ หลั ก สู ต รการ อบรมมีหลากหลาย เช่น หลักสูตรการเขียนโครงการ หลักสูตรการระดมทุนเบื้องต้น หลักสูตรเทคโนโลยี สารสนเทศ 2. บริการรับจัดประชุมระหว่างประเทศให้กับองค์กร ไม่แสวงหาก�ำไรจากต่างประเทศที่ต้องการจัดสัมมนา หรือเวิร์กช็อปต่างๆ ในประเทศไทย ทางมูลนิธิจะช่วย ประสานงานให้ทุกอย่าง 3. สามารถร่วมบริจาคได้ที่ ชื่อบัญชี มูลนิธิกองทุนไทย บั ญ ชี อ อมทรั พ ย์ ธนาคารไทยพาณิ ช ย์ สาขาถนน เพชรบุรีตัดใหม่ เลขที่บัญชี 043-2-47734-4 โอนเงิน แล้วส่งแฟกซ์ใบน�ำฝากธนาคาร พร้อมเขียนชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ ส่งไปที่แฟกซ์ 0 2718 1850 หรือสอบถาม เพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 2314 4112-3 ต่อ 505

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาที่องค์กรขนาดเล็กระดับรากหญ้าขาดแหล่ง เงิ น ทุ น มู ล นิ ธิ ก องทุนไทย จึงได้เข้ามามี บทบาทเป็น เสมือนแหล่งเงินทุนรายย่อย ที่สนับสนุนองค์กรระดับ รากหญ้า พร้อมทัง้ จัดท�ำระบบการให้ดว้ ยการพัฒนาคน จึงจะช่วยให้องค์กรระดับรากหญ้าได้มีแหล่งทุนส�ำหรับ การท� ำ งานที่ ง ่ า ยขึ้ น ต่ อ การพั ฒ นาคนในพื้ น ที่ ต ่ อ ไป และสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน


SECatalog 154

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการ จัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เวทีการจัดการความรู้ของสังคมไทย

สังคมจะเกิดความรัก สามัคคี และสามารถพัฒนาศักยภาพของคนได้นั้นต้องเกิดจากความรู้ และจะดี มากยิ่งขึ้น หากคนในสังคมที่มีหน้าที่ และมีความรู้แตกต่างกันไป มาแลกเปลี่ยนความรู้ และทักษะต่างๆ ให้แก่กันและกัน ซึ่งมีวิธีที่จะท�ำให้บุคคลเหล่านี้มาเจอกันได้นั่นก็คือ การมีหน่วยงานเปิดเวทีกลาง

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการ ความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่อยู่ : เลขที่ 1168 ซอยพหลโยธิน 22 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0 2511 5758, 0 2511 5992, 08 2102 5810 โทรสาร : 0 2511 5759 Website : www.kmi.or.th

สถาบั น ส่ ง เสริ ม การจั ด การความรู ้ เ พื่ อ สังคม (สคส.) เดิมเป็นโครงการที่จัดตั้งโดย การสนับสนุนจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ท� ำงานด้าน การจัดการความรู้ที่สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ ได้ ทั้ ง ในการท� ำ งาน และการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ทั้งยังท�ำหน้าที่ในการเชื่อมร้อยเครือข่าย การ จัดการความรู้ทั้งที่มีอยู่เดิม และที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยใช้เป็นช่องทางแลก เปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างกว้างขวาง เป็นการเสริม สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ และน�ำสังคมไทย ไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ได้ในที่สุด การเสริมสร้างองค์ความรู้ของสคส. นั้นมี หลากหลายลักษณะ ทั้งการประชุมขนาดเล็ก อย่างเวทีภาคีองค์กรจัดการความรูท้ อ้ งถิน่ ไปจน ถึงงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ที่จัดเป็นประจ�ำทุกปี โดยเวทีความรู้ต่างๆ นั้นได้สร้างบุคคลากรและวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกิดขึ้นมากมาย รวมตัวกันเป็นชุมชนนักปฏิบัติที่มีความสนใจ ในเรือ่ งความรูท้ แี่ ตกต่างกันออกไป เช่น ชุมชน นักปฏิบัติของเครือข่ายมหาวิทยาลัย ชุมชน นั ก ปฏิ บั ติ ก ารดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยเบาหวาน ชุ ม ชน นักปฏิบัติภาคีราชการ ชุมชนนักปฏิบัติด้าน การศึกษา และชุมชนนักปฏิบตั อิ นื่ ๆ อีกมากมาย บนเครื อ ข่ า ยอิ น เตอร์ เ น็ ต ผ่ า น www.goto know.org การส่งเสริมให้สงั คมไทยพัฒนาไปสูส่ งั คม แห่งการเรียนรู้นั้น ถือว่าเป็นเป้าหมายที่ส�ำคัญ ของสคส. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ส่งเสริมให้มีการ สร้างความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร เพือ่ เป็นการกระตุน้ ให้ผทู้ ที่ �ำงานได้มกี ารสือ่ สาร

155


SECatalog 156

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

157

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม พูดจา ปรึกษาหารือกัน แลกเปลีย่ นทักษะต่างๆ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีของ ผูค้ นทีเ่ ข้าร่วมในเวทีทที่ าง สคส.ได้จดั กิจกรรมขึน้ ทัง้ ยังเกิดเครือข่ายทีม่ กี ารเรียนรูไ้ ปพร้อมๆ กัน ทีผ่ า่ นมา สคส.เปิดกว้างให้กบั ผูท้ รี่ บั ผิดชอบ ด้านการเรียนรู้ที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ได้มีโอกาส เข้ามามีส่วนร่วมในการเปิดเวทีการจัดการ ความรู้ โดยสคส.หวังเป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้น การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการ ท�ำงาน เพือ่ ให้เกิดประโยชน์สงู สุด นอกจากเป็น เวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้แล้ว สคส.ยังท�ำ หน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการจัดการ ความรู้ให้หน่วยงานอื่นๆ ปัจจุบัน สคส.ได้เปลี่ยนเป็นองค์กรอิสระ โดย ใช้ชื่อว่า “มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการ ความรู้เพื่อสังคม (สคส.)” เพื่อการส่งเสริม การใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ และพัฒนา เครือข่ายการจัดการความรูท้ งั้ ในภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ด้วยการท�ำงานในบทบาท “ที่ ป รึ ก ษาเพื่ อ พั ฒ นาการเปลี่ ย นแปลง” (Change Management Consultant) ซึง่ เป็น กิจการเพื่อสังคมที่กระตุ้นให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ ศักยภาพ ภูมิปัญญา และความรู้อย่างเต็มที่ เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย มีการพัฒนา วัฒนธรรมการเรียนรู้ เพือ่ การอยูร่ ว่ มกันในสังคม อย่างมีความสุข

พลังทีม่ าจาก ความตัง้ ใจดี ของผูท้ อี่ ยาก เห็นสังคมไทย เป็นสังคมแห่งการ เรียนรู้

มูลนิธสิ คส. เป็นองค์กรกลางในการรวบรวมบุคคลากร และวิทยากรด้านการเรียนรู้เกิดเป็นชุมชน หรือสังคม แห่งการเรียนรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แก่กัน และกันอย่างไม่รู้จบ

Product & Service สินค้าและบริการ

1. รับด�ำเนินงานในฐานะที่ปรึกษา เพื่อพัฒนาการ เปลี่ยนแปลง 2. หนังสือสื่อการเรียนรู้ต่างๆ และชุด CD บรรยาย และสัมมนาชุดการจัดการความรู้ สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 0 2511 5758 3. เปิดรับบริจาคจากบุคคล และองค์กรทีส่ นับสนุนการ ท�ำงานเพื่อสังคม เพื่อสร้างวิทยากรกระบวนการ และ ทีป่ รึกษารุน่ ใหม่ให้เกิดขึน้ ในทุกภาคส่วนของสังคมไทย เป็นทุนจัดกิจกรรมเพื่อสังคม หรือสนับสนุนค่าใช้จ่าย (บางส่วนหรือทั้งหมด) ให้แก่ผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรม หรือเข้าร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ในกรณีทขี่ าดแคลนทุนทรัพย์ และเป็นทุนในการบริหาร ภาคีเครือข่าย และให้การสนับสนุนกิจกรรมของเครือข่ายในเรื่องที่เกี่ยวข้อง สามารถบริจาคได้ที่ มูลนิธิ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม บัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขายูเนี่ยน มอลล์ ลาดพร้าว เลขบัญชี 763-2-13124-5

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาในเรื่องของการพัฒนาความรู้ของผู้คน สู่ตัวกลางในการจัดเวทีเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้เข้าถึง ความรู้ต่างๆ มากขึ้น ได้มีการแลกเปลี่ยนทักษะต่างๆ มากมาย ซึ่งจะน�ำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากการที่ มีมูลนิธิสคส. ท�ำให้มีศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยน ความรู้ และมีที่ปรึกษาในเรื่องของการจัดการความรู้ มากขึ้ น ส่ ง ผลให้ ผู ้ ค นเกิ ด การรวมตั ว กลายเป็ น เครือข่ายมอบความรู้ให้ซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ที่ดี ในอนาคต


SECatalog 158

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Green System “เครือข่ายวิถีเกษตรกรรมยั่งยืน” สามัคคีเป็นอินทรีย์

หากจะพูดว่าเกษตรกรรมอินทรีย์คือผู้ก่อการดีในสังคมคงไม่เกิน ความจริงนัก เมื่อก่อนอาจจะเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยในเมืองไทย แต่ ทุกวันนี้พื้นที่เกษตรปลอดภัยกระจายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ นานวันเข้า คนที่รักตัวกลัวอันตรายต่างวิ่งเข้ามาในเขตกรีนโซน

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : เครือข่ายวิถีเกษตรกรรมยั่งยืน มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณสุพจน์ ทิพย์มนต์ ที่อยู่ : เลขที่ 57/4 หมู่ 3 ต�ำบลสันป่ายาง อ�ำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 50330 โทรศัพท์ : 08 1030 0253

เครื อ ข่ า ยวิ ถี เ กษตรกรรมยั่ ง ยื น มู ล นิ ธิ ศึกษาพัฒนาชนบท จ.เชียงใหม่ ศูนย์กลาง การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ในการทำ � เกษตรระบบอิ น ทรี ย์ กั บ เกษตรกร หน่วยงานรัฐ องค์กรท้องถิ่น เพื่อการแก้ปัญหา ความเป็นอยู่ จัดการผลกระทบด้านสิง่ แวดล้อม ทีเ่ กิดจากการใช้สารเคมีในเกษตรกรรม รวมถึง ส่งเสริมและประสานความร่วมมือของสมาชิก ในเครือข่าย เพือ่ ดำ�รงชีพบนฐานทรัพยากรและ การพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อ 20 ปีที่แล้วจากปัญหาการใช้สารเคมี ในเกษตรกรรมทำ �ให้สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน เสื่อมโทรม กระทบต่อแหล่งทำ�กินและเกิดโรค ระบาด คุณสุพจน์ ทิพย์มนต์ จึงเป็นแกนนำ�

159

รวมกลุม่ เกษตรกร ทำ�เกษตรอินทรียห์ นั หลังให้ กับสารเคมีทุกรูปแบบ สิ่งที่เป็นแนวคิดของเขา คือทำ�อย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด ร่างกายของเรา สมบูรณ์ที่สุด ไม่ท�ำ ลายสิ่งแวดล้อม หาความรู้ มารองรับและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ชาวบ้าน ขยายต่อไป ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเทคโนโลยี ที่เหมาะสม สวนเกษตรอินทรีย์ขนาดเล็กใน ระบบอินทรีย์ ส่งเสริมการปลูกพืชผักหมุนเวียน ทำ � ปุ๋ ย หมั ก ทำ � ปศุ สั ต ว์ ผ สมผสานเพื่ อ การ แปรรูปเป็นอาหาร ไม่พึ่งพาสารเคมี ลดต้นทุน มีอาหารสำ�หรับคน สัตว์ และพืชตามธรรมชาติ ชนิดไม่มีอด เน้นกินในครอบครัว เหลือกินจึง ขายสร้างรายได้


SECatalog 160

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ตลอดระยะเวลาการดำ�เนินกิจกรรมของ เครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิพัฒนา ชนบท วัดป่าดาราภิรมย์ มอบสัตว์ให้เกษตรกร ไปเลี้ยงดู ภายใต้ข้อกำ�หนดห้ามขายห้ามฆ่า นำ�ลูกส่งต่อสมาชิกคนอื่นนำ�ไปเลี้ยง มีกองทุน ให้เกษตรกรกู้ยืมไร้ดอกเบี้ย เพื่อนำ�ไปพัฒนา ศักยภาพ เครือข่ายฯ ยังต่อยอดเรื่องการทำ� ฟางอัดก้อน ลงทุนซื้อเครื่องอัดฟางหมุนเวียน ให้สมาชิก โดยต้องนำ�ส่วนหนึ่งคืนเครือข่าย เป็นกองกลางกลับเข้ากองทุน เมื่อไม่ใช้เคมี ทำ�ลายศัตรูพชื และสัตว์ เกษตรอินทรียค์ นื สมดุล สูร่ ะบบนิเวศ ชาวบ้านมีความมัน่ คงในการยังชีพ ร่างกายได้รบั การเยียวยาจากสิง่ แวดล้อมทีด่ ขี นึ้ สมาชิกมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้น ผลิตผลที่

สมาชิกเครือข่ายนำ�ไปจำ�หน่ายมีความปลอดภัย ต่ อ ผู้ บ ริ โ ภค ได้ รั บ การรั บ รองจากองค์ ก ร มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ จากจุ ด เริ่ ม ต้ น จนถึ ง ปั จ จุ บั น เครื อ ข่ า ยวิ ถี เกษตรกรรมยั่งยืนมีคุณภาพทั้งในส่วนที่เป็น โครงการต่างๆ และปริมาณเกษตรกรทีเ่ ข้าร่วม มากกว่า 200 ราย ครอบคลุมพื้นที่ในอำ�เภอ แม่แตง อำ�เภอพร้าว อำ�เภอสันกำ�แพง อำ�เภอ สะเมิง อำ�เภอแม่ริม ผลลัพธ์คือการกระจาย ความรูอ้ นิ ทรียล์ ดสารเคมีเป็นวงกว้างขึน้ นับเป็น ผลผลิตเครือข่ายที่สร้างวิถีเกษตรกรรมอย่าง ยั่งยืน

161

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ฟืน้ ฟูสงิ่ แวดล้อมด้วยวิถอี นิ ทรีย์ สร้างแหล่งอาหารปลอดสารเคมีทยี่ งั่ ยืน

1. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ด้านเกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกร หน่วยงานรัฐ องค์กรท้องถิ่น และภาคเอกชน 2. เป็นช่องทางในการสร้างตลาดรองรับการ กระจายผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ แปรรูปจากปศุสัตว์ โดยสมาชิกเครือข่ายจะสลับ ผลัดกันจ�ำหน่ายสินค้าในโครงการตลาดสีเขียว ที่หมุนเวียนทั่วจังหวัดเชียงใหม่

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ผลผลิตจากการเลี้ยงปศุสัตว์น�ำไปแปรรูป อาทิ เลีย้ งเป็ดเพือ่ แปรรูปไข่ เป็นไข่เค็ม ท�ำหนังวัว หนังควายเพื่อแปรรูป เช่น หนังเส้น หนังปอง แคบหมู และการท�ำแหนมพื้นเมืองภาคเหนือ (จิ้นส้ม) เป็นต้น 2. ผลผลิ ต จากเกษตรอิ น ทรี ย ์ ข้ า วอิ น ทรี ย ์ พืชผักสวนครัวตามฤดูกาล พืชสวน อาทิ มะม่วง ล�ำไย ลิ้นจี่ เป็นต้น 3. ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่เกิดจากการด�ำเนิน กิจกรรมของเครือข่ายฯ อาทิ มูลวัวมูลควาย ฟางอัดก้อน เป็นต้น

SIA ผลกระทบทางสังคม

การเผยแพร่และสนับสนุนการท�ำเกษตรอินทรีย์ แก่เกษตรกรมากว่า 20 ปีต่อสมาชิกจ� ำนวน 210 ราย ท�ำให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีขึ้นจาก การไม่ใช้สารเคมีอันตราย และสิ่งแวดล้อมใน ชุมชนดีขึ้น กองทุนให้เกษตรกรกู้ยืมไร้ดอกเบี้ย และสวัสดิการเครื่องมือการเกษตรกองกลาง ท� ำ ให้ เ กษตรกรมี โ อกาสเข้ า ถึ ง แหล่ ง ทุ น และ เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการขยายการท�ำเกษตรได้ตอ่ ไป


SECatalog 162

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Green Food Good Farm “ฟาร์มแห่งศตวรรษที่ 21” วิถีอินทรีย์แห่งอนาคต

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : มูลนิธิศูนย์ฝึกอบรม เกษตรกรรมและอาชีพ ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : ดร.มิซาบุโร ทานิกจุ ิ ผูด้ แู ลกิจการ : คุณขนิษฐา อคะทสึคะ ที่อยู่ : เลขที่ 172 หมู่ 8 ต�ำบลหงส์หิน อ�ำเภอจุน จังหวัดพะเยา 56130 โทรศัพท์ : 08 9954 8861 E-mail : kh_anitta@live.com

ทราบกันโดยทั่วว่า ประเทศไทย เป็นครัวของโลก คงจะดีไม่น้อย หากอาหารในจานบนโต๊ ะ จะมี ความปลอดภั ย กว่ า ที่ เ ป็ น อยู ่ แม้ปัจจุบันกระแสเกษตรอินทรีย์ ทีป่ ระกันความมัน่ ใจไร้ปลอดสาร พิษจะมาแรง แต่มีเรื่องค่อนขอด น่าน้อยใจ ผลิตผลอินทรีย์ปลูก เพือ่ ส่งให้ฝรัง่ กิน ก็อดสงสัยไม่ได้ ว่าแล้วเมือ่ ไรคนไทยจะมีคณ ุ ภาพ ทางอาหาร เมื่อไรเกษตรกรไทย จะหั น หลั ง ให้ เ คมี ค� ำ ตอบอยู ่ ระหว่างเดินทาง แต่ใช่ว่าไม่มีใคร ครุ่นคิด

มู ล นิ ธิ ศู น ย์ ฝ ึ ก อบรมเกษตรกรรมและ อาชีพ จ.พะเยา เป็นศูนย์ในการทดลองและ ศึกษาการเกษตรไร่นาสวนผสมระบบอินทรีย์ เพื่ อ สั่ ง สมองค์ ค วามรู ้ แ ละประสบการณ์ ถ่ายทอดให้กับเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมถึงเป้าหมายส�ำคัญคือเยาวชน ที่มีใจรักอาชีพการเกษตร ทั้งยังอาชีพเสริม อื่นๆ เพื่อความยั่งยืนในการประกอบอาชีพ เพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ เพื่อความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น

ศตวรรษที่ 21 ควรเป็ น เกษตรอิ น ทรี ย ์ และอาหารปลอดภัยเพื่อสิ่งแวดล้อม ข้อความ ข้างต้นคือความใฝ่ฝนั ของ ดร.มิซาบุโร ทานิกจุ ิ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นเกษตรอิ น ทรี ย ์ ช าวญี่ ปุ ่ น ผู้หอบความรู้จากแผ่นดินเกิดมายังผืนแผ่นดิน ไทย ก่อตั้งมูลนิธิศูนย์ฝึกอบรมเกษตรกรรม และอาชี พ หรื อ ฟาร์ ม แห่ ง ศตวรรษที่ 21 (21st Century Farm) ทีร่ ะดมทุนความช่วยเหลือ ของภรรยาตนเองที่ญี่ปุ่นบวกกับควักกระเป๋า ตัวเอง จนผ่านเวลากว่า 25 ปี ที่ลงแรงทดลอง

163

เกษตรไร่นาสวนผสมระบบอินทรีย์ มาเผยแพร่ ให้เกษตรกรหน่วยงานรัฐและเอกชน ทั้งยัง รวบรวมผลผลิตในฟาร์มและจากเกษตรกร ออกจัดจ�ำหน่าย รายได้ที่กลับมาก็มิได้ไปไหน น�ำมาต่อยอดกิจการในฟาร์ม เป็นทุนสนับสนุน กิจกรรมศูนย์ฯ ที่รับนักเรียน นักศึกษาทั้งชาว ไทยและญี่ปุ่นมาเรียนรู้อาชีพเกษตรกรที่ฟาร์ม แบบฟรีๆ จวบจนวาระสุดท้ายชีวิตของท่านทานิกุจิ เมือ่ ปี 2554 ไม้ผลัดต่อไปจึงถูกส่งต่อ คุณขนิษฐา


SECatalog 164

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

165

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. ศูนย์วจิ ยั และทดลองด้านเกษตรระบบอินทรีย์ 2. ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้เกษตรอินทรีย์ ให้กับเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงเยาวชน 3. เป็นศูนย์กลางของการรับซื้อ และจ�ำหน่าย ผลผลิตทางการเกษตร 4. ท�ำโครงการสอนเกษตรและอาชีพ การแปรรูป ผลิตภัณฑ์เหลือใช้จากการเกษตรแก่นักเรียน โรงเรียนบ้านพวงพะยอม ต�ำบลหงษ์หนิ อ�ำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดยท�ำการเรียนการสอนทุกบ่าย วันศุกร์

Product & Service สินค้าและบริการ

อคะทสึคะ ผู้ช่วยที่ร่วมงานในฟาร์มตั้งแต่เริ่ม ไม่เพียงแค่เกษตรกรรมงานหลักของศูนย์ฯ ที่อยู่ในความดูแลเท่านั้นสังคมสงเคราะห์คือ สิ่งที่ให้ความส�ำคัญอีกด้าน กองทุนการศึกษา เพื่อเด็กยากจนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก เชื้อเอชไอวีที่ด�ำเนินการมาอย่างต่อเนื่องหลาย สิบปี รวมทัง้ ศูนย์เรียนรูส้ ขุ ภาพวิถไี ทยทีถ่ า่ ยทอด การแปรรูปสมุนไพร ส่งเสริมอาชีพด้านสุขภาพ ตามภูมิปัญญาไทย พื้นที่จ�ำหน่ายและบริการ ทีส่ ร้างโอกาสหารายได้แก่ชาวบ้าน เพราะถือว่า ก�ำไรคือการได้บริการสังคม

หากวันนี้คืออนาคตของวันวานที่ท่านทานิกุจิ ไม่มีโอกาสได้เห็นภาพความฝันของตน ผล ของความทุ่มเทแรงกายและใจ แปรเปลี่ยน กระแสอาหารปลอดภัยกับอาชีพเกษตรอินทรีย์ ค่ อ ยงอกในสั ง คมไทย มี ก ลุ ่ ม คนที่ ส านต่ อ เจตนารมณ์ให้ศตวรรษที่ 21 เกษตรอินทรีย์ และอาหารปลอดภั ย เพื่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มอย่ า ง ยั่งยืนสืบไป

1. จ� ำ หน่ า ยผลิ ต ผลการเกษตรตามฤดู ก าล อาทิ เผือกญีป่ นุ่ กก.ละ 30-40 บาท มันเทศญีป่ นุ่ กก.ละ 20 บาท ส่งขายในตลาดกรุงเทพฯ ส่วน หน้าฟาร์มจ�ำหน่ายข้าว แตงกวา มะเขือ มะละกอ ขิง ล�ำไย กระท้อน เป็นต้น 2. ศู น ย์ เ รี ย นรู ้ สุ ข ภาพวิ ถี ไ ทย แหล่ ง บริ ก าร ด้ า นสุ ข ภาพวิ ถี ไ ทย อาทิ นวดแผนโบราณ อบสมุนไพร นวดสมุนไพร จัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ แปรรูปจากสมุนไพรราคากันเอง อาทิ น�้ำมันนวด สบู่ แชมพูมะกรูด เป็นต้น

SIA ผลกระทบทางสังคม

เกษตรอินทรียแ์ ละ อาหารปลอดภัย เพือ่ สิง่ แวดล้อม

กิจการที่เป็นศูนย์วิจัยและทดลองด้านเกษตร ระบบอินทรีย์ ซึ่งมีส่วนช่วยเผยแพร่ความรู้และ วิ ท ยาการด้ า นออร์ แ กนิ ค จากประเทศญี่ ปุ ่ น นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของการรับซื้อ และ จ�ำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ท�ำให้สนิ ค้าของ ชาวบ้านสามารถมีโอกาสในการเข้าถึงตลาดได้ มากขึน้ เกษตรกรเองมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ เพราะ รายได้มากขึ้น และลดอันตรายต่อสุขภาพจาก การเลิกใช้สารเคมีในการเกษตร


SECatalog 166

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : Math Game Center ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณธณ จันทร์อมั พร ที่อยู่ : ศูนย์เล่นเกมคณิตศาสตร์ เลขที่ 33 ถนนสุคนธสวัสดิ์ ลาดพร้าว 71 เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ : 08 1732 1572 E-mail : MGC@mathgamecenter.com Website : www.mathgamecenter.com www.facebook.com/MathGameCenter. mgc

Playing and Learning “Math Game Center” เรียนเล่นเป็นเลข

จับปูใส่กระด้งว่ายากแล้ว จะจับเด็กมานั่งท่องสูตรคูณว่ายากกว่า ผู้ใหญ่หลายคนคงนึกถึงอารมณ์นั้น ได้เป็นอย่างดี คณิตศาสตร์ง่ายนิดเดียว นอกนั้นยากหมดเลย แต่จะท�ำอย่างไรได้ในเมื่อเป็นวิชาหลักที่ จ�ำเป็นต่อชีวิต แล้วจะมีวิธีการไหนไหมท�ำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุกได้

167

Math Game Center ศูนย์เรียนรู้จาก กิจกรรมการเล่นเกมคณิตศาสตร์มีแนวคิดจาก ความสนุกก่อเกิดความรู้ได้ ซึ่งเด็กสามารถ สร้างความรักและรู้ด้านคณิตศาสตร์ผ่านการ เล่นเกม เป็นการเรียนรู้แบบกระตุ้นให้คิดให้ ท�ำ ง่ายต่อความเข้าใจ การเรียนผ่านการเล่น นั้ น จะพั ฒ นาทั้ ง สติ ป ั ญ ญาและอารมณ์ ไ ป พร้อมๆ กัน จากปัญหาว่า เด็กคิดว่าคณิตศาสตร์เป็น วิชาทีย่ ากและน่าเบือ่ ท�ำให้ คุณธณ จันทร์อมั พร ผู้ก่อตั้ง Math Game Center รู้สึกว่าต้อง มีอะไรทีใ่ หม่ เลยปรับการเรียนการสอนเรือ่ ยมา พืน้ ฐานส่วนตัวเป็นคนชอบเกม ของเล่นทุกอย่าง มีประโยชน์แต่ต้องมีการแนะน�ำในการเล่น ควบคูไ่ ปด้วย เริม่ เอาเกมมาเป็นตัวกลางท�ำจาก กระดาษท�ำมือ น�ำไปขายบนเว็บไซต์และได้ รับการตอบรับดี จึงตัดสินใจท�ำเต็มรูปแบบ เขียนเป็นหลักสูตรการสอนด้วยเกม และเปิด เป็นโรงเรียนทางเลือก ศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการเล่นเกม จ�ำกัดผู้เรียนในชั้น เพียง 5-6 คน


SECatalog 168

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

เล่นเกมอย่างสร้างสรรค์ สร้างเสริม การเรียนรู้ สูก่ ารน�ำไปใช้ชวี ติ ประจ�ำวัน

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

จุดเด่นของ Math Game Center เป็นการ เรียนผ่านการเล่นเกมทักษะ ฝึกการแก้ปัญหา และสอดแทรกการรู้แพ้ชนะ การอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นอย่างมีกติกา มารยาท โดยใช้พื้นฐาน คณิตศาสตร์ที่จ�ำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ความสนุกสนานท�ำให้จ�ำบทเรียนได้แม่นย�ำขึ้น เด็กเริม่ นิง่ ไม่เบือ่ หน่าย และสนใจมากขึน้ ทัง้ ยัง ปลูกฝังความทรงจ�ำที่ดีเกี่ยวกับโรงเรียน ท�ำให้ เด็กรักเรียนเพิม่ ขึน้ อุปกรณ์สว่ นใหญ่ทปี่ ระดิษฐ์ เองมีขายเฉพาะที่นี่แห่งเดียว นอกจากนั้นยัง เพิ่มเติมวิชาสอน อาทิ วิชาวิทยาศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีการท�ำเกมคณิตศาสตร์ น�ำไปถ่ายทอดความรู้ให้ครูสอนคณิตศาสตร์ ในโรงเรี ย น รวมทั้ ง พยายามส่ ง เสริ ม ให้ โรงเรียนพัฒนาเกมคณิตศาสตร์ไว้ใช้ประกอบ การเรี ย นการสอน เพื่ อ เป็ น ประโยชน์ ต ่ อ นักเรียนในระยะยาว กิจกรรมการเล่นแบบ Math Game Center ท�ำให้เด็กเข้าใจว่า น�ำคณิตศาสตร์ ไปใช้ได้ อย่างไร ผลทีอ่ อกมาจะเห็นถึงความเปลีย่ นแปลง ไปในทางที่ดีของเด็ก เด็กไม่เครียด ไม่กดดัน เพราะสิ่งที่เน้นย�้ำชัดเจนคือ ไม่ได้มีเพื่อหวัง สอบแข่งขัน แต่ตอ้ งน�ำไปใช้ในชีวติ ประจ�ำวันได้ นั่นคือการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. การเรี ย นผ่ า นการเล่ น นั้ น จะพั ฒ นาทั้ ง สติ ปัญญาและอารมณ์ ไปพร้อมกัน รวมถึงการ รู้จักแพ้ชนะ การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีกติกา มารยาท กระตุ้นให้คิดให้ท�ำ ให้ผลเป็นรูปธรรม เห็นผลง่าย 2. เปิดสอนสอนคณิตศาสตร์แบบสนุกสนาน แก่ครูและอาจารย์แบบฟรีๆ เพื่อถ่ายทอดองค์ ความรู้และพัฒนาการเรียนการสอนทางเลือก ให้แพร่หลาย

Product & Service สินค้าและบริการ

1. สอนเรี ย นผ่ า นการเล่ น คอร์ ส เปิ ด เทอม เดือนละ 2,000 บาท คอร์สปิดเทอม สัปดาห์ละ 2,500 บาท และติวสอบเรียน 40 ครั้ง ครั้งละ 2 ชม. 2,500 บาท รวมค่าเอกสาร อุปกรณ์ และ อาหารว่าง จ�ำกัดผู้เรียนรอบละ 6 คน มี 2 สาขา สาขาลาดพร้าว 71 ส�ำหรับเตรียมอนุบาล-มัธยม และสาขาสายไหม (ซอยเพิ่มสิน 28) ส�ำหรับ เตรียมอนุบาล-อนุบาล

2. Math Camp at School ค่ายคณิตศาสตร์ บริ ก ารจั ด กิ จ กรรมนอกสถานที่ ใ นโรงเรี ย น มี 5 แบบ แบบ 2 ชม. ราคาเริ่มต้นที่ 6,000 บาท สอบถามเพิ่มเติม โทร. 08 1732 1572 3. เปิดรับคุณครู อาจารย์ อบรมการสอนคณิตศาสตร์แบบสนุกสนาน แบบรายบุคคลหรือกลุม่ คณะ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-15.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดและ นัดหมายล่วงหน้า โทร. 08 1732 1572 4. จ�ำหน่ายเกมการศึกษา Math Game Board เป็นสือ่ การสอนทัง้ วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ฝึ ก ความคิ ด แบบตรรกะ การค�ำนวณ และทักษะอืน่ ๆ มีหลายรูปแบบ อาทิ ลูกข่างสายรุ้ง ฝึกการใช้ข้อมือและกล้ามเนื้อ มัดเล็ก บิงโกเบสิก ฝึกการคิดเลขในใจและการ วางแผน เป็ น ต้ น ดู ร ายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ www.mathgamecenter.com โทร. 08 1732 1572 หรือสามารถซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5. จ�ำหน่ายเกมส�ำหรับครอบครัว สร้างความ

169

สัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว เป็นเกมที่เล่นได้ทั้ง ครอบครัว และยังเป็นภาพประดับฝาผนัง กรอบ ท�ำมาจากผ้าลายไทย 6. บริ ก ารให้ เ ช่ า เกมกระดาน เกมจาก Toy ‘R’US แบบรายวัน รายอาทิตย์ หรือรายเดือน อาทิ เกมกบกลั บ ตึ ก เกมสร้ า งตึ ก เกมรั ม มี่ ฯลฯ อัตราค่าบริการ สมาชิก 100 บาท ค่า มัดจ�ำเกมละ 500 บาท ที่ร้านสาขาลาดพร้าว 71

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ท�ำให้เด็กๆ คิดว่าเป็นเรื่องยากและเบื่อหน่าย การคิดค้นวิธีการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ของ Math Game Center ด้วยการน�ำเอาเกมเป็น ตัวหลอกล่อให้เด็กสนุกสนานควบคู่ไปกับการ สอดแทรกสาระประโยชน์ ทั้ ง การคิ ด ตรรกะ การพัฒนาอารมณ์ สติปัญญา และคุณธรรม ไปพร้อมกัน


Distribution การขนส่ง


SECatalog 172

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

A better world delivered จัดส่งด้วยจักรยาน

บริการเพื่อสิ่งแวดล้อม

หากจักรยานจะกูโ้ ลกได้ คุณว่าเราควร จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้คน หันมาปัน่ จักรยานหรือเปล่า ก็เพือ่ ลด การสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมไป พร้อมๆ กับการได้รบั สุขภาพทีแ่ ข็งแรง หากคุณยังท�ำไม่ได้ดว้ ยตัวเอง มีบริการ ดีๆ ที่เกี่ยวข้องกับจักรยาน เพื่อเป็น จุ ด เริ่ ม ต้ น ให้ คุ ณ ได้ รู ้ จั ก การใช้ ประโยชน์จากจักรยานอย่างกิจการ ส่งเอกสารจากการปั่นจักรยาน Bikexenger เป็นแนวคิดของกลุ่มจามจุรีสแควร์ ซึ่ ง เป็ น กลุ่ ม รั ก จั ก รยาน ที่ นำ � โดย คุ ณ นนลนี ย์ อึ้งวิวัฒน์กุล หลังจากที่พวกเขาเลิกงาน จะมารวมตัว กันปั่นจักรยาน โดยมีจุดเริ่มต้นที่ลานจามจุรีสแควร์ ระหว่างการจัดส่งเอกสารหรือสินค้า โดยจะปั่นด้วย ความเร็วเฉลี่ย 25-30 กิโลเมตร/ชั่วโมง หากรถติดจะ มีความคล่องตัวสูงกว่ามอเตอร์ไซค์ เพราะสามารถ

ลัดเลาะเข้าออกซอยต่างๆ ได้ง่ายกว่า นี่คือ จุดเด่นของความเป็นจักรยาน ที่แม้กระทั่ง มหานครนิ ว ยอร์ ก ยั ง มี อ าชี พ นี้ เ กิ ด ขึ้ น เป็ น ประเทศแรก เพราะความคล่องตัวนั่นเอง สำ � หรั บ การบริ ก ารจั ด ส่ ง เอกสารและ สิ่งของนั้น จะมีการกำ�หนดน้ำ�หนักไม่เกิน 30 กิโลกรัม ในระยะทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร กิโลเมตรแรกคิด 50 บาท ต่อไปกิโลเมตรละ 15 บาท เริ่มต้นกิโลเมตรที่ 0 ที่ลานจามจุรี สแควร์ ทั้งยังเสริมการบริการเพิ่มเติมระหว่าง การรับส่งสินค้า ด้วยการรับประกันความเสียหาย ของพัสดุหรือสินค้าที่จัดส่งอีกด้วย ทำ�ให้ Bikexenger น่าจับตามองในฐานะ กิจการที่ช่วยกู้สิ่งแวดล้อมด้วยการปั่นจักรยาน ส่งเอกสารไปพร้อมๆ การรณรงค์ให้คนทั่วไป เกิดการรับรู้ว่า สามารถปั่นจักรยานไปทำ�งาน หรื อ ใช้ ใ นชี วิ ต ประจำ � วั น ได้ เช่ น การปั่ น จักรยานออกไปซื้อของ นอกจากจะเป็นการ ประหยัดพลังงาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ การใส่ใจสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังได้ออกกำ�ลังเพื่อ

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : Bikexenger ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณนนลนีย์ อึง้ วิวฒ ั น์กลุ ชือ่ ผูร้ บั ผิดชอบโครงการ : คุณมนตรี ฉันทะยิง่ ยง ที่อยู่ : เลขที่ 73/26 ซอยวัดราชสิงขร ถนนเจริญกรุง เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 08 6994 1301 E-mail : bikexenger@gmail.com Website : www.facebook.com/BikeXenger

173


SECatalog 174

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

175

สุขภาพของตัวเองไปในตัว ทั้งยังเรียกได้ว่า Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม สามารถเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่ม น� ำ รู ป แบบการออกก� ำ ลั ง กาย ด้ ว ยการปั ่ น รยานมาต่อยอด เป็นกิจการให้บริก ารรับ คนรักการปั่นจักรยานหลังเวลาทำ�งานอีกทาง ส่จักงเอกสาร นับเป็นไอเดียดีที่พ่วงผลพลอยได้ ทั้งการได้ออกก�ำลังกาย และการลดมลพิษทาง

คณะทำ�งานของ Bikexenger เล็กๆ กำ�ลัง สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์สิ่งที่ยิ่งใหญ่ มีการพัฒนาคุณภาพ ในเรื่องของการจัดส่งเอกสารและสินค้าอย่าง Product & Service สินค้าและบริการ ต่อเนือ่ ง โอกาสของคนทำ�งานเพือ่ สังคม มาพร้อม 1. บริการขนส่งเอกสาร แบบแพ็กเกจรายเดือน เริ่มต้นที่ระยะทาง 1-3 กิโลเมตร 22 ครั้ง/เดือน กับความมั่นใจจากลูกค้าทุกคน

ให้ผคู้ นตืน่ ตัว กลับไปใช้จกั รยาน เพือ่ ลดการสร้าง มลพิษให้ สิง่ แวดล้อม

ราคา 1,100 บาท ระยะทาง 20 กิ โ ลเมตร 22 ครั้ ง /เดื อ น ราคา 6,600 บาท กิ โ ลเมตร ถัดไปคิดค่าบริการ 15 บาท/กิโลเมตร 2. บริการขนส่งเอกสาร แบบรายวัน ระยะทาง 1-3 กิโลเมตร ราคา 50 บาท กิโลเมตรถัดไปคิด ค่าบริการ 15 บาท/กิโลเมตร โดยนับจุดเริ่มต้น ที่ท�ำการคืออาคารจามจุรีสแควร์ สามย่าน และ อาจมีค่าบริการเพิ่มเติมส�ำหรับพัสดุที่มีน�้ำหนัก หรือรูปร่างพิเศษ สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ โทร.08 6994 1301, 08 9177 5570

SIA ผลกระทบทางสังคม

ปัญหามลภาวะเป็นพิษซึ่งเกิดจากการใช้รถยนต์ หรือมอเตอร์ ไซค์ในการส่งพัสดุในย่านใจกลาง เมื อ ง จึ ง เกิ ด แนวคิ ด ในการขนส่ ง พั ส ดุ ด ้ ว ย จักรยาน เป็นการช่วยรณรงค์ ให้สังคมตื่นตัว และเห็ น ประโยชน์ ข องการใช้ จั ก รยานในชี วิ ต ประจ� ำ วั น มากยิ่ ง ขึ้ น นอกจากนี้ ยั ง ส่ ง ผลถึ ง สุขภาพที่ดีจากการได้ปั่นจักรยานอีกทาง


Mediaสื่อ


SECatalog 178

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

179

BE MAGAZINE ต้นแบบกิจการสื่อเพื่อสังคม เมื่ อ คนเร่ ร ่ อ น คนด้ อ ยโอกาส ในสังคมไทย ทวีจ�ำนวนมากขึ้น อั น เนื่ อ งมาจากความไม่ พ ร้ อ ม ทางด้านคุณภาพชีวติ หรือปัจจัย เรือ่ งฐานะยากจน หลายคนตีตรา ว่าพวกเขาคือตัวปัญหาของสังคม แต่แท้ที่จริงแล้ว เพียงแค่พวก เขาไม่มีโอกาสในการท�ำงาน ไม่มี โอกาสที่จะเปล่งเสียงเล็กๆ ของ เขา ไม่มีโอกาสที่จะได้รับความ อบอุ่น และแม้กระทั่งความเข้าใจ จุดนีน้ เี่ องทีท่ ำ� ให้ BE MAGAZINE ลุกขึ้นมาเปิดนิตยสารเพื่อสังคม ฉบับแรกของประเทศไทย เพื่อมา ช่ ว ยเหลื อ กลุ ่ ม คนเหล่ า นี้ ใ ห้ มี โอกาสยืนในสังคม

BE MAGAZINE ก่อก�ำเนิดขึน้ มาท่ามกลาง ความสับสนของสังคมที่ว่า เราจะช่วยเหลือ คนในสั ง คมได้ อ ย่ างไร ซึ่ ง นิ ต ยสารหั ว นี้ ไ ด้ ช่วยเหลือและมอบโอกาสให้กับผู้ด้อยโอกาส ด้วยการมอบนิตยสารให้ไปทดลองจ�ำหน่าย ชุดแรก 30 เล่ม พร้อมยูนิฟอร์มและกระเป๋า BE MAGAZINE โดยไม่มีคา่ ใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และน�ำไปจ�ำหน่ายในราคาเล่มละ 45 บาท เมื่ อ ผู ้ ด ้ อ ยโอกาสสามารถขายจนหมดทั้ ง 30 เล่ม ผู้ด้อยโอกาสจะมีเงินที่เป็นทุนตั้งต้น 1,350 บาท และเมื่อต้องการขายนิตยสารต่อ ก็สามารถมาซื้อนิตยสารได้อีกในราคาเล่มละ 25 บาท ซึ่งเป็นส่วนที่นิตยสารจะน�ำกลับไป

ผลิตนิตยสารเพิ่ม เพื่อให้เพียงพอต่อความ ต้องการขายของผู้ด้อยโอกาสคนอื่นๆ ต่อไป ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา นิตยสาร หัวเล็กใจใหญ่ฉบับนี้ได้ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ให้ได้เป็นผูม้ โี อกาสในสังคมมากขึน้ มีทกั ษะการ ขายของ สามารถน�ำไปปรับใช้ในกิจการเล็กๆ ของตัวเองได้ หลายคนยังคงเป็นผู้จ�ำหน่าย นิตยสารเพราะเห็นช่องทางของการสร้างอาชีพ และการมีรายได้ทมี่ ากขึน้ มีคณุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ และมีเงินเก็บมากขึ้น สามารถดูแลตัวเองและ ครอบครัวได้มากขึน้ ในขณะทีอ่ กี จ�ำนวนไม่นอ้ ย ได้พฒั นาตัวเอง ก้าวไปสูก่ ารเป็นพนักงานประจ�ำ ให้กับองค์กรอื่นที่มีความมั่นคงในชีวิต

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท ชิล ชิล แคปปิตัล จ�ำกัด (BE MAGAZINE) ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณอารันดร์ อาชาพิลาส ที่อยู่ : เลขที่ 2 ซอยอินทามระ 35 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวง/เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2691 9868-9 โทรสาร : 0 2691 9870 E-mail : bemagazine9@gmail.com Website : www.think-be.com


SECatalog 180

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

181

ความคิดสร้างสรรค์+ปัญหาสังคม = นวัตกรรมช่วยเหลือสังคมจาก BE MAGAZINE ในภาคธุรกิจ BE MAGAZINE สามารถอยู่ได้ Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม ด้ ว ยแนวคิ ด ของการด� ำ เนิ น งานในรู ป แบบ 1. การลดค่าใช้จา่ ยของผูด้ อ้ ยโอกาส ด้วยโครงดบาทเดียว ให้ผู้ด้อยโอกาสที่เป็น นิตยสารสะท้อนปัญหาสังคม ผ่านการน�ำเสนอ การตลาดนั ผูข้ าย BE MAGAZINE มาซือ้ สินค้าอุปโภคบริโภค ที่น่าสนใจ รวมทั้งเนื้อหาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ได้ในราคาถูก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจ�ำวัน ทัง้ ยังสามารถน�ำไปใช้ในชีวติ ประจ�ำวันได้อย่าง 2. การเพิม่ ช่องทางจัดจ�ำหน่าย สร้างรายได้เพิม่ แท้จริง รวมทั้งการรับการสนับสนุนจากองค์กร ด้วยโครงการ One by One โครงการทีใ่ ห้ผดู้ อ้ ย ำ BE MAGAZINE ไปจ�ำหน่ายตามบริษทั ภาครัฐและเอกชน ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถ โอกาสน� ต่างๆ หรือตามอาคารต่างๆ ทุกๆ เดือน ด�ำเนินได้ และสร้างนวัตกรรมการช่วยเหลือ 3. การรู้จักออมเงินเพื่ออนาคต ด้วยโครงการ ผู้ด้อยโอกาส และสะท้อนปัญหาสังคมต่อไป Micro Finance หรือสัจจะสะสมทรัพย์ ทีผ่ ดู้ อ้ ย โอกาส สามารถน�ำเงินที่จ�ำหน่ายได้มาฝากไว้กับ ในอนาคต

และศุกร์ตั้งแต่เวลา 17.00-19.00 น. 3. สามารถส่งของบริจาค อาทิ ข้าวสาร อาหารแห้ง ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น เพื่อให้ผู้ด้อย โอกาสที่เป็นผู้จ�ำหน่าย BE MAGAZINE ได้ซื้อ ในราคาบาทเดียว ส�ำหรับช่วยลดรายจ่ายในชีวติ ประจ�ำวันของพวกเขา 4. สามารถบริจาคเงินเข้าโครงการ Be Give Be Good เพื่อท�ำกิจกรรมภาคปฏิบัติที่จะเกิด ขึน้ ทุกๆ ครึง่ ปีหลังได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขา โลตัส สุทธิสาร ชื่อบัญชี Be Give Be Good โดยอารันดร์ อาชาพิลาส เลขที่บัญชี 690-201943-8 ทาง BE MAGAZINE จัดท�ำเป็นบัญชีรายรับ 5. Content Creation : รับผลิตสือ่ สิง่ พิมพ์ทมี่ ี อย่างง่าย เพือ่ ให้ผดู้ อ้ ยโอกาสได้มเี งินในอนาคต คุณภาพ โทร. 0 2691 9868-9 ต่อ 14,15 เผื่ อ กรณี ฉุ ก เฉิ น หรื อ ส� ำ หรั บ อนาคตในการ SIA ผลกระทบทางสังคม เป็นต้นทุนเริ่มต้นท�ำอาชีพของตัวเองต่อไป จากปัญหาเรื่องของการว่างงาน และการขาด Product & Service สินค้าและบริการ โอกาสในการสร้างอาชีพให้ผู้ด้อยโอกาส ท�ำให้ 1. สมัครสมาชิกรายปี 12 ฉบับ 630 บาท 390 บาท BE MAGAZINE ได้ ส ร้ า งรู ป แบบนิ ต ยสาร คือค่านิตยสารบวกค่าจัดส่ง ส่วนอีก 240 บาท เพือ่ สังคมขึน้ ซึง่ ผลกระทบของกิจการเพือ่ สังคม จะมอบให้มูลนิธิฯ ที่ผู้สมัครเลือก ซึ่งมีกว่า 15 ต่อสังคมนัน่ คือ การทีผ่ ดู้ อ้ ยโอกาส ได้รบั โอกาส มูลนิธิ สมัครสมาชิกและอ่านรายละเอียดเพิม่ เติม ในการสร้างอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพ ที่ ดี ขึ้ น มี แ นวคิ ด การพึ่ ง พาตั ว เอง และมี ก าร ได้ที่ www.think-be.com 2. สามารถซื้อนิตยสารได้กับผู้ด้อยโอกาสตาม วางแผนชีวิตอนาคตต่อไปได้ จุดต่างๆ อาทิ BTS พหลโยธิน MRT ห้วยขวาง MRT พระราม 9 BTS ศาลาแดง MRT ศูนย์ประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ MRT ลุมพินี เป็นต้น ทุกวันพุธ


SECatalog 182

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Free Happier Together

“Freehap” แอพปันมิตรภาพ

ต้องยอมรับว่ากระแสโซเชียลเน็ตเวิรก์ มีบทบาทต่อการใช้ชวี ติ ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ กลุม่ คนเมือง กับคนรุ่นใหม่ มักมีค�ำพูดที่ว่า เวลาเดินสวนกัน ผู้คนเพ่งความสนใจไปที่หน้าจอโทรศัพท์ ใช้เวลากับ โซเชียลเน็ตเวิร์กจนก�ำลังบั่นทอนความสัมพันธ์บนโลกแห่งความเป็นจริงหรือเปล่า แต่ก็มีการชี้แง่ดีที่ว่า ท�ำให้รักษาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนที่อยู่ห่างไกล

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : Freehap ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณนที จารยะพันธุ์ ที่อยู่ : เลขที่ 392/2 ซอยจรเจริญ ถนนริมคลองประปา เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 โทรศัพท์ : 08 4770 8889 E-mail : admin@freehap.com Website : www.freehap.com, www.facebook.com/Freehap

เป็นสิ่งที่ คุณนที จารยะพันธุ์ เข้าใจดีจาก ประสบการณ์ค่ายอาสาพัฒนาชนบทครั้งเป็น นิสิตจุฬาฯ ได้เห็นความสุขที่มาจากเงินและ ไม่ได้มาจากเงิน บวกกับงานวิจัยของริชาร์ด เรยาด ที่ว่าคนรวยขึ้นหลายเท่าตัวแต่ความสุข ไม่เพิม่ ขึน้ เป็นแรงบันดาลใจอยากท�ำเครือ่ งมือ บันทึกความรู้สึกของคน เช่น ป่วยแต่ยังยิ้มได้ เพราะมีกำ� ลังใจดี อยากแชร์ประสบการณ์ และ หากเขาต้องท�ำธุรกิจขึน้ มาสักอย่าง ก็ตอ้ งมีสว่ น ช่วยเพิม่ ความสุขให้กบั โลกได้ จึงหยิบยกแง่ดๆี ในโซเชียลเน็ตเวิร์กมาใช้ในโลกความจริง นั่นคือ Freehap แอพพลิเคชั่นที่ตอบรับ การใช้พื้นที่ Social Networking ในการแบ่ง ปันความสุขของคนในสังคม พื้นที่ที่เปิดให้ ใครก็ตามเข้ามาใช้อัพเดตความสุขของตนเอง และติ ด ตามอารมณ์ ค วามรู ้ สึ ก ของเพื่ อ นๆ เพื่อเริ่มแบ่งปันสร้างความสุขให้คนรอบข้าง ผ่านสมาร์ทโฟนและ Facebook จุดเด่นคือ การน�ำเสนอเรื่องของมิตรภาพส่งความรู้สึก ของคนบนสั ง คมออนไลน์ มี ไ อคอนรู ป โลก แสดงแทนสีหน้าบอกอารมณ์ผู้ใช้ สื่อความ หมายว่าถ้าอยากให้โลกยิ้มได้ก็ต้องเริ่มจาก ทุกๆ คนก่อน ทั้งยังมีระบบช่วยเหลือสังคม Bangkok Thailand ต้องการเลือดกรุ๊ปนี้อย่าง เร่งด่วน เกิดภัยพิบัติ ต้องการอาสาสมัคร เป็นต้น ต้องการเป็นระบบที่พาความช่วยเหลือ ไปหาผู้คนเชื่อมโลกออนไลน์และออฟไลน์ อีกทั้งต้องการสร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชนให้สามารถน�ำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ เช่น เหตุใดคนกรุงเทพฯ ถึงมีความทุกข์เยอะ

183


SECatalog 184

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รถติด เรียนหนัก งานเยอะ ฯลฯ นักวิจยั ก็จะมา ขอใช้ ข ้ อ มู ล เพื่ อ ประกอบงานวิ จั ย ความสุ ข เป็นโอกาสทีจ่ ะน�ำไปสูก่ ารแก้ปญั หา ผลพลอยได้ คือสามารถสร้างรายได้เข้า Freehap จากคลัง ข้อมูลทางอารมณ์ Freehap สามารถทยานสู่แอพพลิเคชั่น ที่มีผู้ใช้จ�ำนวนมากใน App Store และใน Google Play Market ที่สามารถไต่ขึ้นอันดับ ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังชนะการประกวดแผน ธุ ร กิ จ เพื่ อ สั ง คมระดั บ โลก Global Social

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

185

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

Venture Competition (GSVC) ระดับภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

1. เครื่องมือบันทึกความความรู้สึกที่ส่งผ่านทาง Social Media สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคน ในสังคมบนโลกออนไลน์ 2. เป็นแหล่งเก็บข้อมูลทางอารมณ์เพื่อประกอบ เป็นข้อมูลวิจยั อันน�ำไปสูแ่ นวทางการแก้ไขปัญหา ต่างๆ ในประเทศ

บางครั้งกิจการเพื่อสังคมก็ไม่จ�ำเป็นต้องทุ่ม พลังเงินจ�ำนวนมหาศาล แต่อาศัยพลังความ คิดสร้างสรรค์ต่างหากเป็นสิ่งที่ช่วยในการขับ เคลื่อนกิจการ อย่างเช่ นคุณนทีที่ได้คิดค้น นวัตกรรมเพื่อสังคมเชื่อมโลกออนไลน์กับโลก ความจริง เป็นตัวกลางสื่อผ่านความรู้สึกต่างๆ ให้คนได้รับรู้

Product & Service สินค้าและบริการ

แอพพลิเคชัน่ ส่งความรูส้ กึ บนสังคม ออนไลน์ การเชือ่ มต่อความสุขระหว่าง โลกออนไลน์กบั โลกความจริง

1. Freehap เป็นฟรีแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์ สมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการแบบ Android และ iOS อาทิ บน iPhone ที่ มี ก ารท� ำ งานแสดง สถานะความรู ้ สึ ก ผ่ า นรู ป แบบไอคอนน่ า รั ก ๆ ส�ำหรับใช้งานตามสถานการณ์ รูป สถานที่ และ สามารถส่งต่อใน Facebook ได้ มีระบบการดูแล เพื่อนได้ โดยเราอาจจะกด Like Comment หรือโทรหาเพื่อนจากในแอพพลิเคชั่นได้ทันที สามารถเพิ่มเพื่อนสนิท 8 คน ท�ำให้เราเลือก ดูแลคนพิเศษได้ ทั้งยังเป็นที่แบ่งปันเรื่องความ ช่ ว ยเหลื อ ต่ า งๆ เมื่ อ มี ใ ครต้ อ งการขอความ ช่วยเหลือ นอกจากนั้นยังแสดงดัชนีความสุข ในแต่ละวันว่าวันนี้เราและประเทศไทยมีความสุข เท่าไร

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากการมองเห็นถึงปัญหาทรัพย์สินบางประเภท ที่ไม่สามารถตีมูลค่าได้ อาทิ มิตรภาพ น�้ำใจ จิตศรัทธาค่อยๆ เลือนหายไปในสังคม ท�ำให้ความ สุ ข ถดถอยลงไปเรื่ อ ยๆ การปรากฏตั ว ของ Freehap บนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก สื่อสังคมที่ มี ผู ้ ค นใช้ เ ป็ น ช่ อ งทางในการติ ด ต่ อ กั น อย่ า ง กว้างขวาง โดยต้องการน�ำความสุขของมนุษย์ กลับมาให้คนมีมิตรภาพต่อกันและกัน


SECatalog 186

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : กลุ่มละครมะขามป้อม ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : มูลนิธิสื่อชาวบ้าน ชื่อผู้จัดการ / รับผิดชอบโครงการ : คุณประดิษฐ ประสาททอง คุณฉัตรวรุณ เล้าแสงชัยวัฒน์ และคุณพฤหัส พหลกุลบุตร ที่อยู่ : เลขที่ 222-224 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2616 2274 โทรสาร : 0 2616 2275 E-mail : makhampom3@gmail.com Website : www.makhampom.net

ความไม่ เ ป็ น ธรรมทางสั ง คม การศึกษา เศรษฐกิจและการเมือง ผลกระทบจากความยากจน สถานพิ นิ จ เด็ ก และเยาวชน โสเภณี และผูอ้ พยพชาวกะเหรีย่ ง ตามพรมแดนไทย-พม่า ภัยพิบตั ิ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ สิ่งที่ปรากฏอยู่ ทั่ ว ไปในสั ง คมไทยที่ เ หมื อ น หนทางเป็นหลุมเป็นบ่อ เดินเหิน ไปทางไหนมีอันต้องสะดุดหกล้ม

The Performance to Change

“กลุ่มละครมะขามป้อม” ละครเร่ สังคมเท่

จากจุดปัญหาจุดเล็กๆ ลุกลามเป็นปัญหา ใหญ่เบื้องต้น ท�ำให้ กลุ่มละครมะขามป้อม ถือก�ำเนิดขึ้น เพื่อใช้ละครเร่เป็นเครื่องมือใน การท�ำงานเพื่อสื่อสารประเด็นทางสังคมและ พัฒนาวัฒนธรรมชุมชน ในฐานะสือ่ กลางเล็กๆ ที่มุ่งสะท้อนปัญหาชาวบ้านออกสู่สังคมในวง กว้าง ด�ำเนินกิจกรรมตลอดมาจวบถึงปัจจุบัน ผ่านการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น มะขามป้อมเติบโตจากช่วงทีส่ งั คมบอบช�ำ้ จากวิกฤตการณ์ทางการเมือง เป็นห้วงเวลาของ การฟื้นฟูสังคม ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ มูลนิธิสื่อชาวบ้าน สะท้อนปัญหาชาวบ้านผ่าน การแสดงละครให้สงั คมวงกว้างได้รบั รู้ ดึงชุมชน

เข้ามามีสว่ นร่วมในการพัฒนา วัฒนธรรมชุมชน อย่างยั่งยืนผ่านลิเก ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน การแสดงให้เยาวชน ปลูกจิตส�ำนึก ในรูปแบบ การแสดงที่หลากหลาย ทั้งละครเร่ ละครเด็ก ละครหุ่น ละครนิทาน ส�ำหรับกลุ่มละครมะขามป้อม พวกเขา ท�ำงานอยู่บนความรักในละคร ยืนหยัดเคียง ข้างชาวบ้าน น�ำความรู้ด้านการแสดง สิ่งที่เขา ถนัดออกมาพัฒนาศักยภาพ ในฐานะนักแสดง และผู้สนับสนุนในการท�ำละครภายในชุมชน และเป็นหนทางเชื่อมต่อระหว่างสังคมเมือง และสังคมชนบท ส่งต่อเรื่องราวต่างๆ ความ ทุกข์ยาก ความเป็นไปในชุมชน ให้สงั คมได้รบั รู้

187


SECatalog 188

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ตั้งแต่มะขามป้อมได้ปรากฏตัวตน ก็ได้มี ความสัมพันธ์กบั สังคมมาโดยตลอดในช่วงสิบปี ทีผ่ า่ นมา การสร้างเครือข่ายมีเพิม่ ขึน้ ทัง้ ภายใน ประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อท�ำให้งานมี ความเข้มแข็งขึน้ มีผลกระทบเป็นวงกว้าง และ สามารถด�ำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนือ่ งเรือ่ ยมา

3. โครงการวัยมันส์เท่าทันสือ่ เพือ่ สร้างการรับรู้ และตระหนักถึงการรับสื่อในปัจจุบันของเยาวชน ในเครือคาทอลิค 4. โครงการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง พัฒนา ศักยภาพเยาวชนอายุระหว่าง 18-25 ปี และ องค์กรในพื้นที่ ทุกภาคทั่วไทย ที่มีความสนใจ เรื่องการแสดงมาเรียนรู้กระบวนการท�ำละคร หยิบยกประเด็นสะท้อนและรณรงค์ในแต่ละพืน้ ที่ โดยจะมีการคัดเลือกกลุ่มละครเพื่อร่วมแสดง เทศกาลภูมิภาคและระดับชาติ 5. หมู่บ้านมะขามป้อม อ�ำเภอเชียงดาว จังหวัด เชียงใหม่ ศูนย์เรียนรูว้ ถิ กี ารด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวัน ของศิลปินลิเกที่ต้องท�ำนา ปลูกข้าว และเล่นลิเก เป็นฐานปฏิบัติการในการสานต่อเป้าหมายเรื่อง งานละครชุมชน จัดฝึกอบรมและสัมมนา ซึ่งมี โรงละครหุ่น สามารถจุผู้ชมได้จ�ำนวน 150 ที่นั่ง เรือนพักรับรอง และจัดพื้นที่บางส่วนส� ำหรับ แปลงเกษตรอินทรีย์บริโภคเอง

ตลอดระยะเวลากว่า 31 ปี ต้นมะขามป้อม เติบโตอย่างมั่นคง ออกดอกออกผลสู่สังคม หนแล้ ว หนเล่ า คุ ณ ค่ า ที่ ม อบให้ คื อ สาระ ประโยชน์ที่เอาไปใช้ในชีวิตได้ เป็นยาพัฒนา คุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชน ส�ำคัญยิ่ง คือ ผลผลิตที่เป็นกลุ่มคน สร้างเด็กธรรมดาๆ ออกไปพัฒนาสังคมคนแล้วคนเล่า และนั่น เป็นความยั่งยืนที่ต้นไม้แห่งปัญญาต้นนี้หยั่ง รากลึกลงในแผ่นดิน

SIA ผลกระทบทางสังคม

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ละครน�ำ้ ดี สะท้อนเงาปัญหา พัฒนาคน สร้างสรรค์สงั คม

189

1. ถ่ า ยทอดประเด็ น ปั ญ หาด้ า นสั ง คมและ สิ่ ง แวดล้ อ มผ่ า นการแสดง ท� ำ ให้ เ ข้ า ถึ ง คน จ�ำนวนมากได้ง่าย จุดประกายให้ผู้รับชมหันมา ใส่ใจปัญหาสังคมที่แทรกอยู่รอบตัว 2. เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนสร้างสรรค์สื่อของ ตนเองและประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เชื่อมโยง เครื อ ข่ า ยของชุ ม ชนแต่ ล ะส่ ว นของสั ง คมเข้ า ด้วยกันด้วยสื่อละคร 3. ปลูกฝังจิตสาธารณะกับคนรุ่นใหม่ ในฐานะ อาสาสมัครอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า 31 ปี สามารถสร้างนักพัฒนาชุมชนและเอ็นจีโอ ชั้นแนวหน้าของประเทศ เป็นจุดยึดโยงเครือข่าย อาสาสมั ค รขนาดใหญ่ ที่ ไ ด้ รั บ ความเชื่ อ ถื อ อย่างสูง 4. ฝึกสอนและถ่ายทอดความรู้ด้านการแสดง ให้แก่เยาวชน จนมีการจัดตั้งกลุ่มละครเยาวชน

อิสระหลายกลุ่มทั่วประเทศ ท�ำให้เยาวชนได้ใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และมีบทบาทในการ เสริมสร้างความสามัคคีและพัฒนาชุมชนของตน 5. ประสบความส�ำเร็จในการใช้ละครเป็นเครื่องมือ หนุนเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่น และพัฒนา ศักยภาพมนุษย์ รวมถึงในด้านของมนุษยธรรม

Product & Service สินค้าและบริการ

1. ผลิตละครในรูปแบบการแสดงที่หลากหลาย ทั้ ง ละครเร่ ละครเด็ ก ละครหุ ่ น ละครนิ ท าน แสดงตามสถานที่ ต ่ า งๆ เพื่ อ สะท้ อ นประเด็ น ทางสังคม 2. ผลิตละครชุมชนทีส่ ะท้อนประเด็นปัญหาต่างๆ โดยไปคลุกคลีทำ� กิจกรรม หรือผลิตผลงานต่างๆ โดยดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นจนออก มาเป็นผลงานที่สมบูรณ์

จากประเด็นปัญหาพื้นฐานในสังคม ไม่ว่าจะเป็น ความไม่ เ ป็ น ธรรมทางสั ง คม เศรษฐกิ จ และ การเมือง น�ำมาสูก่ ารใช้ละครเป็นสือ่ กลางในการ สะท้อนประเด็นปัญหาสังคมดังกล่าว ส่งผลให้ คนในสังคมได้เรียนรู้ ได้มีการฉุกคิดทั้งเด็กและ ผูใ้ หญ่ ซึง่ ท้ายสุดปัญหาจะได้รบั การแก้ไขหรือไม่ นัน้ วันนีเ้ ยาวชนทีผ่ า่ นการเรียนรูจ้ ากละครเร่แล้ว อย่างน้อยพวกเขาจะมีโอกาสเติบโตเป็นผูใ้ หญ่ที่ ดีและมีจติ สาธารณะ ท�ำประโยชน์เพือ่ สังคมต่อไป


SECatalog 190

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

สำ�นักพิมพ์มูลนิธิเด็ก ตัวหนังสือนี้เพื่อน้อง

สมัยเด็กๆ ทุกคนคงผ่านการเรียนรู้ การสอนเรื่องต่างๆ จากการอ่านนิทาน หรือสื่อส�ำหรับเด็ก ที่คุณพ่อ คุณแม่ หรือคุณครูต่างพากันเลือกซื้อมาให้อ่านหรืออ่านให้ฟัง ตอนนั้นที่ยอมอ่านเพราะ มีรูปวาดน่ารัก สีสันสดใส และเมื่อโตขึ้นกลับไปอ่ านนิทานเล่มเดิมนั้นอีกครั้ง จึงคิดไปถึงผู้จัดท�ำ คิดถึงจุดประสงค์หลักที่แท้จริงของผู้จัดท�ำนิทานส�ำหรับเด็กว่า เติบโตขึ้นมาเพราะอะไร แล้วต้องการ เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรจากสังคมที่มีเด็กเป็นต้นกล้าของแรงขับเคลื่อนประเทศในอนาคต

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

191

ส� ำ นั ก พิ ม พ์ มู ล นิ ธิ เ ด็ ก แผนกหนึ่ ง ของ มูลนิธิเด็กที่เป็นร่มคันใหญ่ คอยดูแลเด็กๆ ยากไร้ การขาดสารอาหารของเด็ก สิทธิเด็ก และศิลปวัฒนธรรมในสังคมไทย รวมทัง้ ค้นคว้า วิจัยเรื่องของระบบการศึกษาทางเลือก ซึ่งการ จัดตัง้ ส�ำนักพิมพ์มลู นิธเิ ด็กขึน้ มา ด้วยเหตุผลที่ ว่าเมือ่ มูลนิธเิ ด็กท�ำงานด้านการช่วยเหลือเด็กแล้ว จะต้องท�ำงานทางด้านความคิดกับสังคมด้วย โดยการพยายามที่จะผลิตหนังสือที่เป็นแนวคิด และวิธกี ารจัดการศึกษาทางเลือกทีแ่ ตกต่างกับ วิธีคิดในสังคมไทย เพื่อให้ตัวหนังสือได้ออกไป สร้างความคิดใหม่ให้กบั คนในสังคม ซึง่ หนังสือ ชุดนี้ได้ออกสู่สายตาประชาชนพร้อมๆ กับ แนวคิดโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนทางเลือกต้นแบบและเป็นอีก หน่วยงานหนึง่ ทีน่ า่ สนใจของมูลนิธเิ ด็ก นีค่ อื สิง่ ที่ทาง คุณทศสิริ พูลนวล บรรณาธิการส�ำนัก พิมพ์มูลนิธิเด็กได้อธิบายถึงผลพวงของการ ท�ำงานในด้านหนังสือสมัยแรกๆ ของส�ำนักพิมพ์

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : ส�ำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : มูลนิธเิ ด็ก ชือ่ ผูด้ แู ลโครงการ : คุณทศสิริ พูลนวล (บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์มลู นิธเิ ด็ก) ที่อยู่ : เลขที่ 460 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 67 แขวง/เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : 0 2881 1734-5 โทรสาร : 0 2424 6280 E-mail : marketing_ffc@hotmail.com Website : www.ffc.or.th


SECatalog 192

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

งานหลักของส�ำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก คือ การผลิตหนังสือสะท้อนปัญหาสังคม ซึ่งทาง ส�ำนักพิมพ์ถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ของการแก้ไขปัญหาเด็กและสังคม ให้เกิดการ พัฒนาการที่ดีขึ้น โดยเริ่มต้นจากการเกิดเป็น หนังสือทางด้านการศึกษาและจิตวิทยา หรือ โครงการสรรพสาส์น ผลิตหนังสือวิชาการ อาทิ หนังสือจิตวิทยา การศึกษา ปรัชญาและความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กทุกด้าน โดยเฉพาะหนังสือที่ เจาะประเด็นเรื่องปัญหาเด็ก ที่เสมือนกระจก ให้ผู้ใหญ่เข้าใจเด็กได้มากขึ้น ท้ายสุดเด็กจะ สามารถเข้าถึงผูใ้ หญ่ได้มากขึน้ เพือ่ ลดช่องว่าง ระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก และป้องกันการเกิด ปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาอันเนื่องมาจากการที่ เด็กไม่สามารถคลี่คลายปัญหาเองได้ สุดท้าย ก็กลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้น ต่ อ มาจึ ง มี ห นั ง สื อ นิ ท านส� ำ หรั บ เด็ ก เพื่อส่งเสริมจินตนาการเด็ก ให้เด็กรู้จักคิด และไม่บังคับฝืนใจเด็กให้เป็นแบบที่ผู้ใหญ่ ต้องการ แต่ให้เด็กเป็นเด็กที่มีการเรียนรู้อย่าง เป็นธรรมชาติ เพื่อให้เด็กรู้ว่าการเป็นคนดี ดี อย่างไร และนี่คือแนวคิดในการผลิตหนังสือ ทั้งหมดที่ทางส�ำนักพิมพ์มูลนิธิเด็กได้มีความ ตั้งใจถ่ายทอดงาน เรื่องราว และปัญหา เพื่อให้ สามารถเข้าถึงผู้ใหญ่และเด็กได้มากขึ้น

เพราะการสือ่ สารผ่านการผลิตหนังสือ เป็นหนึง่ ช่องทางทีส่ ร้างการรับรูใ้ ห้เกิด ขึน้ ในสังคมได้อย่างจริงจัง

ส�ำหรับในเชิงกิจการส�ำนักพิมพ์นนั้ การจัดพิมพ์ จะเป็ น ทุ น ที่ ไ ด้ ม าจากมู ล นิ ธิ เ ด็ ก และเมื่ อ จ�ำหน่ ายได้ รายได้จะกลับเข้ าสู่มูลนิธิเด็ก เหมือนเดิม 100% เพือ่ น�ำกลับไปสูก่ ารช่วยเหลือ เด็กในด้านต่างๆ ต่อไป

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. การจัดประกวดนิทาน เพือ่ ส่งเสริมให้มนี กั เขียน นิทานแนวจินตนาการส�ำหรับเด็กอย่างต่อเนื่อง กระทั่งน�ำนิทานที่ได้รับรางวัลมาจัดท�ำเป็นละคร ท�ำเป็นดนตรี ให้เด็กๆ ในมูลนิธิเป็นผู้แสดง และ เปิดให้เด็กและครอบครัวเข้าชมโดยไม่เสียค่า ใช้จ่ายใดๆ 2. จัดตัง้ กลุม่ การ์ตนู ซึง่ ก่อตัง้ เป็นสถาบันการ์ตนู ไทย ท�ำงานด้านวิชาการ เพื่อสร้างเครือข่าย นักการ์ตูนสีขาว ให้เป็นนักการ์ตูนที่พยายามจะ ท�ำงานทีด่ สี ำ� หรับเด็กและเยาวชน และจัดพิมพ์เป็น หนังสือการ์ตูนเพื่อการจ�ำหน่าย 3. ค่ายศิลปะเด็ก และงานสัมมนาและฝึกอบรม ด้านการพัฒนาเด็กด้วยศิลปะ ซึ่งเป็นสายงาน ด้านศิลปวัฒนธรรมให้เด็กๆ 4. จัดส่งหนังสือที่ดีของส�ำนักพิมพ์ไปยังโรงเรียน ในชนบทห่างไกลและเด็กป่วยในโรงพยาบาล

Product & Service สินค้าและบริการ

1. จ�ำหน่ายหนังสือนิทานเด็ก ความรู้เรื่องเด็ก พจนานุกรม หนังสือจิตวิทยาและการเลีย้ งดูเด็ก การ์ตูนสร้างสรรค์สังคม การ์ตูนความรู้รอบตัว วรรณกรรมและวรรณกรรมเยาวชน วิชาการ การ์ตนู การศึกษาและแนวคิด 2. จ�ำหน่ายของช�ำร่วย อาทิ สมุดโน๊ต การ์ดต่างๆ

SIA ผลกระทบทางสังคม

การท� ำ หนั ง สื อ ที่ เ กี่ ย วกั บ เด็ ก มั ก จะมี เ นื้ อ หาที่ เป็นเรื่องตามกระแสหลักเพื่อการขายได้ในเชิง พาณิชย์เป็นหลัก แต่เนื้อหาเชิงทางเลือกหรือ องค์ความรู้เฉพาะทางด้านของเด็กกลับไม่ได้ รั บ ความสนใจในการเผยแพร่ เ ท่ า ที่ ค วร ทาง ส� ำ นั ก พิ ม พ์ จึ ง ต้ อ งเร่ ง ผลั ก ดั น หนั ง สื อ กลุ ่ ม นี้ ไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด โดยการ สร้างเครือข่ายการท�ำงานร่วมกันของหน่วยงาน ที่ ท� ำ งานขั บ เคลื่ อ นเรื่ อ งเด็ ก ส่ ง ผลให้ ผู ้ ใ หญ่ เกิดการรับรู้ และได้เกิดการสะท้อนเรื่องราวเชิง สังคมผ่านการอ่าน รวมทั้งเสมือนเป็นการมอง เห็นปัญหาเชิงสังคมในเรื่องของเด็กร่วมกันกับ มูลนิธิเด็กมากขึ้น

193


SECatalog 194

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

195

Health Me “สำ�นักพิมพ์หมอชาวบ้าน” ยาสามัญประจำ�ชั้นหนังสือ ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อกิจการ : ส�ำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.นพ.สันต์ หัตถีรตั น์, ศ.นพ.เสม พริง้ พวงแก้ว และนพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ชือ่ ผูด้ แู ลโครงการ : คุณเสกสรร เรืองมนัสสุทธิ์ ที่อยู่ : เลขที่ 36/6 ซอยประดิพัทธ์ 10 ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2618 4710 โทรสาร : 0 2271 1806 Website : http://publishing.doctor.or.th

จากการบริการด้านสาธารณสุข ของไทยที่ เ ดิ น ทางไปไม่ ทั่ ว ถึ ง สภาพโรงพยาบาลรัฐทีเ่ นืองแน่น ไปด้วยผูป้ ว่ ยจ�ำนวนมาก บ้างต้อง ออกจากบ้านที่ห่างไกลตั้งแต่เช้า มืดเพือ่ รอรับการรักษา โดยเฉพาะ ต่างจังหวัด ถิน่ ทุรกันดารห่างไกล โรงพยาบาล ทัง้ ยังมีความรูเ้ กีย่ วกับ การรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยที่ ผิดๆ จากป่วยน้อยก็ป่วยมาก

ย้อนกลับไป 33 ปีที่แล้ว ภาพที่ปรากฏ ตามข้อความข้างต้นเป็นสิง่ ทีก่ ลุม่ แพทย์น�ำโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์, ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว และ นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ รวมตัวกันเป็นหมอชาวบ้าน เพื่ อ เผยแพร่ ค วามรู ้ สุ ข ภาพเบื้ อ งต้ น ให้ กั บ

ประชาชนในเรื่องของการพึ่งพาและช่วยเหลือ ตัวเองและคนในครอบครัว รวมทั้งปลุกกระแส รณรงค์การเสริมสร้างสุขภาพในเรื่องต่างๆ มากมาย ทั้งยังมีการส่งเสริมผลักดันให้เกิด องค์ ก รอิ ส ระด้ า นสุ ข ภาพ ให้ ค วามรู ้ ก ารมี พฤติกรรมอนามัยที่ถูกต้อง จึงกลายมาเป็น

มูลนิธิหมอชาวบ้านในที่สุด แต่ทั้งนี้มีข้อจ�ำกัด ในการหาทุนสนับสนุน ซึ่งต้องพึ่งพารายได้ จากเงินส่วนตัวของผู้ก่อตั้งและรับบริจาค จึงมี ส�ำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน ท�ำหน้าที่จัดพิมพ์ และเผยแพร่นิตยสารหมอชาวบ้าน ด�ำเนินงาน โดยไม่ได้มุ่งหวังก� ำไรทางการค้า แต่เพียง ต้องการน�ำเสนอเนื้อหาสาระที่จ�ำเป็นในการ ด�ำรงชีวิต ความรู้ในเรื่องของการดูแลสุขภาพ พลานามัย การออกก�ำลังกาย สิ่งแวดล้อมและ สังคม ทีท่ กุ คนในครอบครัวสามารถน�ำไปใช้ได้ ในชีวิตประจ�ำวัน โดยมีคณะท�ำงานมาช่วยกัน ด�ำเนินงาน ซึ่งได้มีการร่วมมือกับบุคลากรทาง การแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มาร่วมเป็นกองบรรณาธิการ และเขียนบทความ เสนอในนิตยสารหมอชาวบ้าน โดยไม่คิดค่า ตอบแทนใดๆ ส�ำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน มีหนังสือเพื่อ ส่งเสริมการสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ พ็อกเก็ตบุ๊ก วารสารคลินิก ต� ำ ราวิ ช าการ ที่ เ ป็ น ตั ว เสริ ม รายได้ ใ ห้ กั บ ส�ำนักพิมพ์ในการด� ำเนินกิจการ ทั้งยังเป็น หนังสือที่มีคุณค่าและคุณภาพ ก่อประโยชน์ แก่สังคม ทั้งนี้ในส่วนที่เป็นนิตยสารตีกลับ


SECatalog 196

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ส�ำนักพิมพ์หมอชาวบ้านจะน�ำไปมอบให้โรงพยาบาล เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือผู้มาใช้ บริการในโรงพยาบาลได้อ่าน รวมทั้งบริจาคให้ แก่เรือนจ�ำต่างๆ เพื่อเป็นการดูแลตัวเองให้มี สุขภาวะที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นตัวกลางในการเผยแพร่ กระจายนิตยสารหมอชาวบ้านจากผู้บริจาคไป ยังห้องสมุดโรงเรียนต่างๆ ในชนบท โดยเฉพาะ โครงการผู้อุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ บริจาคเงินเพื่อ ซื้อหนังสือสุขภาพส�ำหรับโรงเรียนในชนบท และชุมชนที่ขาดแคลน โดยร่วมกับส�ำนักงาน บรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทกั ษ์ สภากาชาด ไทย เป็นผู้รับหนังสือไปมอบให้เด็กห่างไกล รวมทัง้ โครงการทอดผ้าป่าหนังสือ เพือ่ ถวายให้ แด่พระภิกษุ สามเณรตามวัดในชนบท เพื่อ กระจายองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพให้เข้าถึง ทุกกลุ่มคนของสังคมอย่างแท้จริง

สือ่ สร้างความรู้ ส่งเสริมความเข้าใจ สูก่ ารรักษาตนเอง

ส�ำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน และมูลนิธหิ มอชาวบ้าน ถือเป็นยาสามัญประจ�ำสังคม ให้ประชาชน ทุกคนเป็นหมอรักษาตนเองในเบือ้ งต้น ส่งผลให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเกีย่ วกับสุขภาพ ได้อย่างทัว่ ถึงและหลากหลาย สร้างแรงกระตุน้ ให้สังคมมีสุขภาวะที่ดี

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

การประชาสัมพันธ์เรื่องราวของการดูแลสุขภาพ ในหลายๆ ช่องทาง อาทิ ผ่านเครือข่ายต่างๆ มากมาย เพื่ อ เพิ่ ม พื้ น ที่ ใ ห้ ผู ้ ค นได้ รั บ ข้ อ มู ล ข่าวสารได้อย่างเต็มที่และกระจายออกไปให้ได้ มากที่สุด

Product & Service สินค้าและบริการ

1. นิตยสารหมอชาวบ้าน นิตยสารรายเดือน ส�ำหรับประชาชนทั่วไป น� ำเสนอเนื้อหาสาระที่ จ�ำเป็นในการด�ำรงชีวิต ให้ความรู้ในเรื่องการ ดู แ ลสุ ข ภาพพลานามั ย การออกก� ำ ลั ง กาย สิ่งแวดล้อม และสังคม จัดพิมพ์และเผยแพร่สู่ ปีที่ 34 ราคา 50 บาท 2. วารสารคลินิก วารสารทางการแพทย์ราย เดือน จัดส่งให้กับแพทย์ บุคลากรสาธารณสุข

ทีเ่ ป็นสมาชิกเท่านัน้ จัดพิมพ์และเผยแพร่มานาน กว่า 25 ปี ราคา 80 บาท 3. หนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ก เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ ครอบคลุมทั้งสุขภาพกายและใจ สังคม และปัญญา 4. รับจัดหาหนังสือวิชาการ อาทิ ต�ำราวิชาการ ทางการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยแพทย์ชั้นน�ำ ของประเทศไทยและไม่ ส ามารถหาซื้ อ ได้ ใ น ท้องตลาด โปรดแจ้งรายละเอียด ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง สถาบัน กับฝ่ายการตลาด คุณประวิทย์ คุณเสกสรร โทร. 0 2618 4710 ต่อ 23, 25 5. บริการท�ำหนังสือต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานเกษี ย ณอายุ ฯลฯ และรั บ จั ด ท� ำ หนั ง สื อ วิชาการ

SIA ผลกระทบทางสังคม

197

จากปั ญ หาการบริ ก ารด้ า นสาธารณสุ ข ของ ประเทศไทยที่ไม่ทั่วถึง ก่อให้เกิดทัศนคติและ ความเข้าใจที่ผิดของประชาชนต่อการดูแลรักษา สุขภาพตัวเอง การก่อตั้งนิตยสารหมอชาวบ้าน และส�ำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน ได้ช่วยเป็นสื่อที่ สร้างความรู้ก่อความเข้าใจในการดูแลและรักษา สุขภาพเบื้องต้นของตัวเองและคนในครอบครัว ทั้งยังรณรงค์สร้างแรงกระตุ้นสังคมเกี่ยวกับ สุขภาวะ ส่งผลให้ผู้คนหันมาดูแลสุขภาพตัวเอง มากขึน้ โดยมีชดุ ความรูแ้ ละค�ำแนะน�ำจากหนังสือ หรือนิตยสารหมอชาวบ้าน เป็นแนวทางในการ ดูแลตัวเองต่อไป


SECatalog 198

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : Agency DO-Good (BEGIN DO GOOD 24/7) ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : อ.พิชยั ภูส่ มั พันธ์ ที่อยู่ : เลขที่ 1064/40 ซอยพหลโยธิน 18/2 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 08 3912 7299, 0 2272 0693 โทรสาร : 0 2272 0693 E-mail : founder@begindogood.org Website : www.begindogood.org

BEGIN DO GOOD 24/7 ผลิตสื่อเพื่อสังคม

งานโฆษณาในปัจจุบันแข่งขันกันออกสู่สายตาผู้คน โดยมีจุดมุ่งหมายคือ การรับรู้ในสิ่งที่ต้องการ สื่อสารออกไปท้ายสุดเพื่อการซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ ในขณะเดียวกัน “โฆษณาสีขาว” ก็เป็นหนึ่งใน ช่องทางการสื่อสารและการรับรู้ แต่จุดมุ่งหวังของการท�ำงานโฆษณานั้นกลับต่างออกไป เป็นเพชร เม็ดงามเม็ดหนึง่ ทีป่ ระดับไว้ในวงการโฆษณา โดยเฉพาะการก่อให้เกิดคนท�ำงานโฆษณา เครือข่ายคนคิดดี

จากเหตุ ผ ลของการมี โ ฆษณาที่ ไ ม่ พึ ง ประสงค์ เ กิ ด ขึ้ น ท� ำ ให้ อ.พิ ชั ย ภู ่ สั ม พั น ธ์ อาจารย์ หั ว หน้ า ภาควิ ช าการโฆษณา มหาวิทยาลัยรังสิต เกิดแรงกระตุ้นอยากน�ำ ความรู้ด้านโฆษณาที่มีอยู่ไปช่วยเหลือสังคม อี ก ทั้ ง ยั ง มองว่ า วงการโฆษณาควรจะมี ก าร ปรับเปลี่ยนข้อความในโฆษณาอย่างเร่งด่วน หากน�ำเสนอสิ่งดีๆ ให้กับสังคม ผู้บริโภคสื่อ ก็ จ ะได้ รั บ สิ่ ง เหล่ า นั้ น ไปด้ ว ย และยิ่ ง มี ก าร สื่ อ สารในสิ่ ง ดี ๆ ออกสู ่ ส ายตาผู ้ ค นได้ ม าก เท่าไหร่ ก็จะสามารถเป็นแรงหนึ่งที่ช่วยเปลี่ยน วิถีการด�ำเนินชีวิตของผู้คนได้

199


SECatalog 200

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ความส�ำเร็จไม่ใช่แค่วดั จากการผลิต สารสร้างก�ำไรให้ลกู ค้า แต่วดั จากสาร ทีผ่ ลิตแล้วว่า สามารถช่วยลดปัญหา ของสังคมได้มากน้อยแค่ไหน

201

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. จัดคอร์สสัมมนา สร้างความเข้าใจถึงการเริ่มต้น ท�ำความดีให้แก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม ได้แบบง่ายๆ 2. โครงการสร้างร้านหนังสือเพื่อสังคมในชุมชน แออัดของกรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์ให้คน ในชุมชนมีงานท�ำ และมีรายได้จากการดูแลร้าน ประกอบกับชักจูงคนนอกชุมชนเข้าไปท�ำงานด้วย เพราะเชื่อว่าเมื่อคนจากภายนอกเข้าไปสัมผัส วิถีชีวิตของคนในชุมชนแล้ว จะเกิดการแบ่งปัน สิ่งดีๆ ซึ่งกันและกัน

Product & Service สินค้าและบริการ

และแล้ว BEGIN DO GOOD 24/7 ก็เกิดขึน้ โดย อ.พิชัย ใช้เวลาว่างจากการสอนที่มหาวิทยาลัยก่อตั้งโครงการนี้ขึ้น ใช้ทุนส่วนตัว และอุปกรณ์การท�ำงานที่มีอยู่แล้วในบ้านผลิต งานโฆษณา ออกไปรับงานจากลูกค้าด้วยตัวเอง และเมื่อได้งานมาก็จะจ้างทีมงานที่มีคุณภาพ และเข้าใจในเรื่องของกิจการเพื่อสังคมเข้ามา ช่วยผลิต ซึ่งจะเป็นการขอความร่วมมือจาก บุคคลที่มีความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตสื่อ ที่เป็นที่รู้จัก หรือนักศึกษาในชั้นเรียนเข้ามา ช่วยงานได้ แต่จะแจ้งล่วงหน้าก่อนว่า เป็นงาน เพือ่ สังคมทีท่ ำ� ด้วย “ใจ” มากกว่ามูลค่าของราคา

ลูกค้าส่วนใหญ่คือมูลนิธิและองค์กรเพื่อ สังคม ส่วนค่าตอบแทนนั้นไม่ได้มีอัตราตายตัว เนื่องจากข้อจ�ำกัดของลูกค้าที่มีเงินทุนไม่มาก ส่วนมากจะก� ำหนดงบประมาณที่หลักหมื่น ซึ่งถือว่าน้อยมากส�ำหรับการผลิตสื่อโฆษณา แต่เพราะผู้คนที่มาร่วมงานมีความเข้าใจใน กิจการเพื่อสังคมและรับรู้แล้วว่าสิ่งที่ท�ำคือ งานเพือ่ การกุศล ท�ำให้ BEGIN DO GOOD 24/7 สามารถผลิตสื่อให้กับลูกค้าในงบประมาณ ที่จำ� กัดได้ BEGIN DO GOOD 24/7 เป็นชือ่ เล่น โดยมี ชื่อจริง Agency DO-Good หมายถึง ตัวแทน โฆษณาที่คิดและผลิตแต่ผลงานดีๆ โดยน� ำ เสนอผ่านข้อความและเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ต่ อ สั ง คม สื่ อ โฆษณาในที่ นี้ ไ ม่ ไ ด้ จ� ำ กั ด อยู ่ แค่เพียงในทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ และงานอีเว้นท์ เท่านัน้ แต่ยงั รวมถึงการจัดงานในพืน้ ทีท่ ลี่ กู ค้า ก�ำหนด

ณ เวลานี้ BEGIN DO GOOD24/7 คิด และท�ำงานอย่างสร้างสรรค์ตลอดเวลา เพือ่ ทีจ่ ะ ผลิตสารที่ดีให้กับลูกค้า ที่จะจุดประกายให้กับ กลุม่ เป้าหมายให้มจี ติ ส�ำนึกเพือ่ สังคมมากยิง่ ขึน้ องค์กรใดทีอ่ ยากจะสือ่ สารสิง่ ดีๆ เป็นการท�ำงาน ให้อย่างสุดความสามารถ ภายใต้เงื่อนไขเดียว คือ ต้องเป็นสารที่ดีต่อสังคมเท่านั้น ไม่ใช่ เพี ย งแค่ ก ลุ ่ ม เป้ า หมายที่ จ ะปรั บ เปลี่ ย นวิ ถี การด�ำเนินชีวิตที่ดีต่อโลกมากยิ่งขึ้น สิ่งส�ำคัญที่ทางองค์กรนี้ต้องการคือ ความหวัง ว่ า ลู ก ค้ า ที่ ม าให้ ผ ลิ ต สื่ อ เพื่ อ สั ง คมนั้ น ก็ จ ะ ด�ำเนินธุรกิจ และท�ำงานในแนวทางที่ห่วงใยต่อ สังคม สิ่งแวดล้อม เพือ่ นมนุษย์ สัตว์ และชุมชน มากยิง่ ขึน้ ไปพร้อมๆ กัน

1. รับผลิตสื่อเพื่อสังคม ได้แก่ CSR Movie/ Media ผลิตรายการทีวี ภาพยนตร์สั้น คลิป วิดีโอ Presentation ที่มีเนื้อหาทางสังคมเป็น หลัก 2. จัดกิจกรรมรณรงค์ เพื่อให้สื่อที่เผยแพร่ ออกไปเกิดผลกระทบต่อสังคมเป็นวงกว้างและ เกิดการน�ำไปปฏิบัติจริง

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากการที่ผู้คนได้รับโฆษณาแบบทุนนิยมมาก จนเกิ น ไป ผลกระทบที่ ต ามมาคื อ พฤติ ก รรม ทัศนคติ และการด�ำเนินชีวิตของผู้คน และเพื่อ ให้คนในสังคมได้ลดทอนจากกระแสโฆษณาไม่ เป็นมิตร BEGIN DO GOOD 24/7 จึงต้องใช้ ความรู้ความสามารถทางสายงานสื่อโฆษณา มาผลิ ต สื่ อ เพื่ อ สั ง คมให้ กั บ องค์ ก รที่ คิ ด ดี ต ่ อ สังคมแต่ทุนน้อย ให้สามารถสื่อสารในสิ่งดีๆ ได้ ม ากขึ้ น เพื่ อ เป็ น การสร้ า งผลกระทบต่ อ การรับรู้ของผู้คน ที่จะท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การด�ำเนินชีวิต พฤติกรรม และทัศคติของผู้คน ได้อย่างแท้จริง


SECatalog 202

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

เคียงบ่า เคียงไหล่ เคียงข้าง ผู้พิการ คืนสู่สังคม

ความพิการไม่ใช่อปุ สรรคใหญ่ไป กว่าใจของตัวเอง ทีจ่ ะกล้าก้าวข้าม ผ่ า นจุ ด ที่ เ หมื อ นจะวิ ก ฤตสุ ด ๆ ให้กลายเป็นโอกาสแบบสุดๆ ได้ หรือเปล่า เพราะนั่นคือ สิ่งที่ต้อง เลือกเอง แน่นอนว่า เลือกที่จะไม่ พิการไม่ได้ แต่เลือกที่จะใช้ชีวิต อย่างมีความสุขและมีคุณค่าใน ตัวเองได้ ทั้งยังเลือกที่จะท�ำเพื่อ ผู้พิการด้วยกัน หรือคนอื่นๆ ใน สังคมได้อีกเช่นกัน

203

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท เคียงบ่า เคียงไหล่ จ�ำกัด ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณภาณุมาศ สุขอัมพร ที่อยู่ : เลขที่ 8/31 ซอยสวนสยาม 9 แยก 3 ถนนเสรีไทย เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ : 08 9199 9500, 08 5071 1071 โทรสาร : 0 2517 2629 E-mail : panamas.nok2@gmail.com Website : www.facebook.com/KBKLTV

ความพิการของคนในสังคมไม่ได้เป็นปัญหา แต่มกั เกิดปัญหา เพราะผูพ้ กิ ารหลายคนทีไ่ ม่ได้ รับโอกาสในการแสดงความสามารถทีม่ ี ไม่ได้มี พื้นที่ในการประกาศตัวตน ส่งผลให้อดีตดารา ภาพยนตร์ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จน พิการอย่าง คุณภาณุมาศ สุขอัมพร เจ้าของ บริษัท เคียงบ่า เคียงไหล่ จ�ำกัด ซึ่งรับผลิต และด�ำเนินรายการวิทยุ และรายการโทรทัศน์ พร้อมทั้งให้ค�ำปรึกษาในเรื่องของผู้พิการนั้นมี ความตัง้ ใจทีท่ ำ� สือ่ โทรทัศน์เพือ่ ให้คนทัว่ ไปมอง ผู้พิการในระดับสายตาเดียวกัน และเน้นย�ำ้ ให้ ผู้คนในสังคมเข้าใจและยอมรับผู้พิการมากขึ้น ผ่านทางรายการเคียงบ่า เคียงไหล่ ซึ่งเป็น รายการที่น�ำเสนอเรื่องราวของเนื้อหาให้ค่ากับ ความพิการ ในด้านความหมายของการเป็น มนุษย์คนหนึ่งที่มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เท่าเทียมและเหมือนกับคนอื่นๆ ในสังคม รายการเคียงบ่า เคียงไหล่ มีจดุ ประสงค์เพือ่ เผยแพร่และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและศักดิ์ศรี

ของผู้พิการ ผ่านเรื่องเล่าจากชีวิตของผู้พิการ มาเปรียบเปรย นอกจากจะท�ำให้ผพู้ กิ ารได้เกิด แรงจู ง ใจและแรงบั น ดาลใจ ทั้ ง ที่ เ ห็ น เป็ น แบบอย่ า งและมี แ นวทางเพื่ อ น� ำ ไปพั ฒ นา ศักยภาพของตนเอง ท�ำให้สามารถก้าวข้ามผ่าน ความพิการของตัวเองได้ สู่การด� ำเนินชีวิต อย่างมีคณุ ค่า ทัง้ ยังจะน�ำพาความฮึกเหิม การสู้ ชีวิต หรือท�ำดี อย่างที่ผู้พิการเหล่านั้นได้ท�ำให้ ทุกคนได้เห็น รวมทั้งช่วยในเรื่องของการปรับ ทัศนคติของคนทั่วไป ให้ได้ตระหนักถึงการ หยิบยืน่ โอกาสและพืน้ ทีใ่ ห้กบั ผูพ้ กิ าร ในการอยู่ ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

เมื่อรายการ เคียงบ่า เคียงไหล่ ได้ออกอากาศ ไปนั้ น นั่ น หมายถึ ง เป็ น การช่ ว ยสนั บ สนุ น ให้ผู้พิการมีรายได้ สามารถช่วยเหลือตัวเอง และครอบครัว และเป็นการเปิดโอกาสให้หน่วย งานที่ เ กี่ ย วกั บ ผู ้ พิ ก าร มู ล นิ ธิ ภาครั ฐ หรื อ ภาคเอกชน รวมทั้งองค์กรสาธารณประโยชน์ ต่างๆ ได้เห็น ได้รบั รูส้ กู่ ารสนับสนุนหรือให้การ ช่วยเหลือต่อไป


SECatalog 204

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

205

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ให้ความรู้ด้านสื่อและสิทธิแก่ผู้พิการ ผู้สูงวัย และสตรีมีครรภ์ รวมทั้งมีการส่งเสริมให้ภาครัฐ ผลักดันเรื่องขบวนรถไฟพิเศษส�ำหรับผู้พิการ ที่ต้องใช้วีลแชร์อย่างต่อเนื่อง

Product & Service สินค้าและบริการ

1. รายการเคียงบ่า เคียงไหล่ ออกอากาศทุก วันพุธ เวลา 16.35-17.00 น. ทางช่อง NBT ติดต่อรายการได้ที่ โทร. 08 3829 8850, 08 9199 9500 2. บริษัท เคียงบ่า เคียงไหล่ จ�ำกัด ให้คำ� ปรึกษา รับจ้างบริหารงาน ด้านการผลิตและรับจ้างผลิต ด� ำ เนิ น รายการทางวิ ท ยุ โทรทั ศ น์ สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2994 4117

SIA ผลกระทบทางสังคม

พืน้ ทีส่ อื่ โทรทัศน์ โอกาสของการรับรู้ และเพิม่ คุณค่า เพือ่ ผูพ ้ กิ าร

จากปัญหาความไม่เสมอภาคทางสังคมระหว่าง ผู้พิการกับคนปกติ และการตัดโอกาสในการ ท� ำ งานของผู ้ พิ ก าร ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ในสั ง คมไทย อย่างต่อเนื่อง และเมื่อผู้พิการต้องการโอกาส ในการศึ ก ษา ทางด้ า นอาชี พ การงาน และสิ่ ง อ�ำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตและเดินทาง บ้าง รายการเคียงบ่าเคียงไหล่จงึ เกิดขึน้ เพือ่ เป็น พื้นที่ให้เรื่องราวของผู้พิการได้ออกสู่สายตา สาธารณชน เผยแพร่ แ ละแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง คุ ณ ค่ า และศั ก ดิ์ ศ รี ข องผู ้ พิ ก าร เพื่ อ ให้ ค น ในสังคมได้รับรู้ ปรับทัศนคติใหม่ๆ ต่อผู้พิการ และเกิดการสนับสนุนต่อไป


SECatalog 206

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : My Social Motion ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณอาชว์ วงศ์จนิ ดาเวศย์ ทีอ่ ยู่ : เลขที่ 25-25/1 ซอยศาลาแดง แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ : 08 9200 9595 E-mail : info@mysocialmotion.org Website : www.mysocialmotion.org

My Social Motion

พื้นที่ออนไลน์ของการทำ�ดี

เวลาที่ประเทศไทยเกิดวิกฤต เราเห็นภาพของการช่วยเหลืออย่างแข็งขัน ท�ำให้เราเห็นคนไทยยังรักกัน ดีอยู่ และเมื่อวิกฤติผ่านพ้น หลายคนจึงรวมตัวท�ำโครงการอื่นๆ เพื่อให้สังคมของเราน่าอยู่มากขึ้น เพื่อสร้างบ้านเมืองให้เป็นหนึ่งเดียว และเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นคนละเล็กละน้อย จากคน 1 คน หรือ 1 องค์กร หากทุกคนออกมาช่วยกันผลักดัน สร้างสรรค์สังคม ในอนาคตสังคมของเราก็จะ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

ไม่ต่างจาก My Social Motion ศูนย์กลาง รวบรวมทุกเรื่องราวที่จะท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมทีด่ ใี ห้เกิดขึน้ ได้จริง น�ำโดย คุณอาชว์ วงศ์จินดาเวศย์ หนุ่มรุ่นใหม่หัวใจเพื่อสังคม ที่มองเห็นเรื่องราวปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม จากติ ด ตามข่ า วสารท� ำ ให้ คุ ณ อาชว์ คิ ด ว่ า ถ้าสังคมไทยยังมีแต่ปัญหา แล้วอนาคตมันจะ เป็นอย่างไร ในเมื่อทุกคนอยากจะมีชีวิตอยู่ใน สังคมทีด่ ี ทุกคนเองก็ตอ้ งรูจ้ กั เริม่ ท�ำสังคมวันนี้ ให้ดี ซึ่งคนส่วนมากมักวางเฉย แต่คุณอาชว์ ลุกขึ้นแล้วลงมือท�ำ สิง่ ทีท่ าง My Social Motion ได้เลือกลงมือ ท�ำคือการดึงคนออกมาให้มีส่วนร่วมในการ เปลีย่ นแปลงสังคมมากกว่าทีจ่ ะให้ผคู้ นเพียงแค่ มีส่วนร่วมผ่านคนอื่น โดยเฉพาะเรื่องของการ บริ จ าคเงิ น ช่ ว ยเหลื อ องค์ ก รการกุ ศ ลต่ า งๆ สังเกตได้จากจะให้เงินไปเยอะเท่าไร ปัญหาทาง ด้านสังคมก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหา ไม่ได้ถูกแก้ให้หมดไป ท�ำให้คุณอาชว์คิดว่าวิธี ที่ดีที่สุดที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้จริง และท�ำให้ปญั หาสังคมและสิง่ แวดล้อมบางอย่าง มันหมดไปได้นนั้ คือ การให้คนเหล่านัน้ มาลงมือ ท�ำเอง แต่จะท�ำอย่างไรให้ผู้คนสามารถลงมือ ปฏิบัติเองได้ คุณอาชว์จึงเห็นช่องทางของ

207


SECatalog 208

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

การสื่อสารหลัก นั่นก็คือ โซเชียลเน็ตเวิร์ก ส�ำหรับการท�ำความดี เพราะว่าในปัจจุบันคน ส่วนใหญ่จะอยู่ในโลกออนไลน์ จึงท�ำให้ My Social Motion เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้ามาแล้ว เห็นเรื่องของการท�ำดีหลากหลาย ไม่ว่าจะ เรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ หรืออย่างน้อยก็เป็น เว็บไซต์ที่ช่วยจุดประกายให้กับคนที่เข้ามาดู อยากจะออกไปท�ำความดีบ้าง

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

My Social Motion ได้เปิดตัวด้วย “IDEA CUBES” หรื อ โครงการรณรงค์ แ ละสื่ อ สาร สาธารณะร่วมสร้างสังคมจิตอาสา ทีไ่ ด้คดั เลือก 100 ไอเดียท�ำดีจากบุคคลหลากหลายวงการ สร้างสรรค์ผา่ นกล่องลูกบาศก์ยกั ษ์ 100 ผลงาน ไปจั ด แสดงในสถานที่ ต ่ า งๆ ทั่ ว กรุ ง เทพฯ ผ่านนิทรรศการชื่อ “นิทรรศการไอเดียทั่วกรุง” จากศิลปินชือ่ ดังหลายๆ ท่าน ทีร่ ว่ มแชร์ไอเดีย

ผ่านไอเดียคิวบ์ส และไอเดียส่วนใหญ่ที่ผ่าน การคัดเลือกนั้น ก็ได้จากการที่ผู้ชมเข้ามาแชร์ ไอเดียที่ www.mysocialmotion.org นั่นเอง และนี่คือ My Social Motion จากคนตัวเล็กแต่ ใจใหญ่ ตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม โดยให้ มีชีวิตอยู่ในสังคมที่ดี ที่เห็นการร่วมมือการ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง

209

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ศูนย์กลางความเป็นโซเชียลเน็ตเวิรก์ ส�ำหรับการท�ำความดี และมีความ ตัง้ มัน่ ทีจ่ ะเห็นสังคมเปลีย่ นแปลง

ท� ำ โครงการดี ๆ ที่ เ ปลี่ ย นจากการบริ จ าคเงิ น เป็นการประมูลสินค้าและบริการ แต่เปลี่ยนจาก การซื้อขายที่เป็นธุรกิจ ให้เจ้าของกิจการบริจาค สินค้าและบริการเหล่านี้ ให้เราน�ำมาประมูล แล้ว เงินที่ได้มาก็น�ำไปบริจาคให้องค์กรการกุศลต่อไป เท่ากับว่าทั้งเจ้าของกิจการและลูกค้าต่างก็ได้ ท�ำบุญโดยมี My Social Motion เป็นสื่อกลาง ซึ่งทั้งหมดจะยังคงผ่านระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ก

Product & Service สินค้าและบริการ

1. จัดท�ำเว็บไซต์เพื่อสนับสนุนให้คนท�ำดีได้งา่ ย สะดวก และสนุกมากขึ้น 2. สามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นได้ในเว็บไซต์ www.mysocialmotion.org เพื่อเป็นการ เริ่มต้นปฏิบัติ บริษัทจะท้าให้คนที่เข้ามาเสนอ ไอเดียใหม่นั้น เลือก 1 ไอเดียในเว็บไซต์น�ำไป ปฏิบัติเป็นระยะเวลา 1 อาทิตย์ 3. เปิดรับอาสาสมัครร่วมช่วยงาน อาทิ การตลาด ประชาสัมพันธ์ การวิจัย ภาพยนตร์หรือการ ถ่ายภาพ การแปล การออกแบบกราฟิก

SIA ผลกระทบทางสังคม

My Social Motion เป็นศูนย์กลางแบ่งปัน ประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของ กลุ ่ ม คนที่ อ ยากจะท� ำ ดี ผ่ า นโครงการ Idea Cubes ที่น�ำเสนอ 100 ไอเดียที่น่าสนใจไปยัง สาธารณชน โดยผ่ า นการร่ ว มมื อ จากศิ ล ปิ น กว่า 100 คนที่มาช่วยน�ำเสนอ และกระตุ้นให้ คนในสังคมตื่นตัวท�ำประโยชน์ต่อสังคม และน�ำ ไปสู่สังคมที่ร่วมแรงร่วมใจในฐานะอาสาสมัคร


SECatalog 210

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ป่าใหญ่ครีเอชั่น

สื่อจากป่าใหญ่ ที่ใส่ใจคนเล็กๆ

หากมีใครสักคนเคยพูดขึน้ ว่า “สือ่ ทีด่ นี นั้ จะน�ำพาสังคมไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงในทางบวกได้” เมือ่ 20 ปีกอ่ น บริษัทป่าใหญ่ครีเอชั่น คงเป็นต้นกล้าเล็กๆ ที่กล้าหาญเปลี่ยนแปลง พร้อมก้าวออกมาผลิตรายการ โทรทัศน์ดีๆ โดยหันหลังให้กับระบบทุนนิยมที่ครอบง�ำพื้นที่หน้าจอ ณ ช่วงเวลานั้น

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท ป่าใหญ่ครีเอชั่น จ�ำกัด ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณยุพา เพ็ชรฤทธิ์ คุณนิรมล เมธีสวุ กุล และคุณสุรยิ นต์ จองลีพนั ธ์ ที่อยู่ : เลขที่ 34 ซอยประเสริฐมนูกิจ 5 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ : 0 2570 1120-3 โทรสาร : 0 2570 1120 E-mail : payaicreation@yahoo.com Website : www.payai.com

"เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า" คืออีก หนึ่งประโยคที่ก่อให้เกิดการตั้งบริษัทผลิตสื่อ เพือ่ เยาวชนเล็กๆ ขึน้ และน่าจะเชือ่ ได้วา่ ผูใ้ หญ่ ในวันนี้เกือบทุกคนน่าจะรู้จักรายการเด็กที่เมื่อ เปิดชมแล้วย่อมสัมผัสได้ถงึ ไออุน่ แห่งธรรมชาติ อย่าง "รายการทุ่งแสงตะวัน" อย่างแน่นอน และคงจะไม่เกินจริงหากจะบอกว่ารายการนี้ ผ่านร้อนหนาว เปลี่ยนผ่านจากวัยเยาว์สู่วัย ผู้ใหญ่เต็มตัว ด้วยระยะออกอากาศที่นับจนถึง ปัจจุบันยาวนานกว่า 20 ปี หากย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น เมื่อปีพ.ศ. 2534 เพื่อนสนิทในแวดวงสื่อสารมวลชน 3 คน คือ คุณยุพา เพ็ชรฤทธิ์ คุณนิรมล เมธีสุวกุล และคุณสุรยิ นต์ จองลีพนั ธ์ ได้จบั มือกันออกมา เปิดบริษัทท�ำสื่อเล็กๆ ที่เขาและเธอทั้งสาม ลงความเห็นตรงกันว่า จะสามารถท�ำงานได้ใน แบบฉบับของตัวเอง นัน่ คือการหยิบยกประเด็น และเรื่องราวที่มีคุณค่าทางสังคม ซึ่งมักถูก

211


SECatalog 212

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

213

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

สือ่ หัวใจบริสทุ ธิ์ เพือ่ เยาวชน ตัวน้อย ชุมชน และสิง่ แวดล้อม

ละเลยจากสื่อกระแสหลัก โดยมาน� ำเสนอสู่ สาธารณชนในวงกว้างผ่านรายการทีอ่ อกอากาศ ยามเช้าชื่อน่ารักว่า "ทุ่งแสงตะวัน" ซึ่งถือเป็น รายการสารคดีเพื่อเยาวชน แรกๆ มุ่งน�ำเสนอ เรื่องชุมชน สิ่งแวดล้อม หรือเด็กที่ขาดโอกาส ทางสังคม แต่ยังสามารถคงความเพลิดเพลิน อิ่มใจให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างดีด้วยการเล่าเรื่อง ที่สนุกสนานน่าติดตาม มีข้อมูลเจาะลึกที่เกิด จากการลงไปคลุกคลีกับชุมชนและชาวบ้าน จริงๆ รวมทั้งผู้ด�ำเนินรายการที่เป็นกันเองและ เข้าถึงวิถีชีวิตของชาวบ้าน ปัจจัยทั้งหมดนี้เอง

ทีท่ ำ� ให้รายการของป่าใหญ่ครีเอชัน่ มีเอกลักษณ์ เฉพาะยากที่ใครจะเลียนแบบได้ ทัง้ นีบ้ ริษทั ป่าใหญ่ครีเอชัน่ ได้พสิ จู น์ตนเอง บนเส้นทางแห่งสังเวียนสื่อคุณภาพ โดยได้รับ รางวัลดีเด่นจากสถาบันต่างๆ หลายแห่งทั้งใน และต่างประเทศ เวลาผ่านไป แม้วา่ ปัจจุบนั ชือ่ เสียงของบริษทั จะ เป็นทีย่ อมรับในแวดวงผูผ้ ลิตสือ่ สารคดี แต่ดว้ ย ผู้ก่อตั้งล้วนยึดมั่นในความพอเพียง ค่อยเป็น ค่อยไป ซึ่งในแต่ละปีบริษัทป่าใหญ่ครีเอชั่น

ได้ตัดสินใจรับผลิตงานที่ไม่เกินก�ำลังความ สามารถของตน เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ พนักงานมีความสุข ซึ่งถือเป็นสมดุลแห่งการ ท�ำงานที่หาได้ยาก ท่ามกลางกระแสทุนนิยม เช่นปัจจุบัน และนี่เองที่ท�ำให้ป่าใหญ่ครีเอชั่น ถือเป็นอีกหนึ่งกิจการเพื่อสังคมที่น่าจับตามอง ที่สุดรายหนึ่งในวงการสื่อสารคดีเพื่อเยาวชน

1. เป็นสื่อที่พร้อมสร้างสรรค์ผลงาน ทั้งรายการ โทรทั ศ น์ และสื่ อ มั ล ติ มี เ ดี ย ครบวงจรให้ แ ก่ องค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจ และนี่จะเป็นอีก ช่ อ งทางที่ ต ่ อ ยอดสนั บ สนุ น ให้ บ ริ ษั ท สื่ อ น�้ำ ดี แห่งนี้ยืนหยัดอยู่ได้ภายใต้การแข่งขันที่สูงใน ปัจจุบัน 2. ต่อยอดสือ่ เพือ่ เยาวชน ให้มสี อื่ เพือ่ เกษตรกรรม ส�ำหรับการน�ำเสนอให้คนในประเทศไทย ได้รับรู้ ถึงความส�ำคัญของเกษตรกรและเกษตรกรรม เพื่อยกระดับเกษตรกรไทยที่มีรายได้น้อยอีกทาง

Product & Service สินค้าและบริการ

1. รายการทุ่งแสงตะวัน เป็นรายการส�ำหรับ เด็กและเยาวชนที่มีชื่อเสียงและยืนหยัดในสังคม ไทยมายาวนานกว่า 20 ปี จุดเด่นของรายการนี้ อยู่ที่มุมมองการถ่ายทอดชีวิตและวัฒนธรรม ผ่านเรื่องราวของเด็กๆ ในภูมิภาคต่างๆ ของ ประเทศอย่างอบอุ่นและเป็นธรรมชาติ ใต้แสง แห่งตะวัน เด็กๆ เรียนรู้และสัมผัสโลก โดยมี ผู้ใหญ่ ครอบครัว ชุมชน และธรรมชาติเป็นครู สั ม ผั ส โลกแห่ ง การเรี ย นรู ้ ข องวั ย ใส ที่ เ ต็ ม ไป ด้วยความสนุกสนาน ร่าเริง และรื่นรมย์ (ออกอากาศทางไทยที วี สี ช ่ อ ง 3 ทุ ก วั น เสาร์ เวลา 06.25-06.50 น.) 2. รายการสานรัก คนเก่งหัวใจแกร่ง รายการที่ สะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ของเยาวชนผู้ไม่ยอม แพ้ต่อโชคชะตา น�ำเสนอการเกื้อหนุนจากภาค สั ง คม ที่ ส ร้ า งโอกาสให้ ค นเหล่ า นั้ น สามารถ ด�ำเนินชีวิตต่อไปได้ (ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ทุกวันจันทร์ เวลา 14.55-15.20 น.) 3. รายการพันแสงรุ้ง สารคดีที่สร้างความเข้าใจ ทางภาษา วัฒนธรรม และประเพณีอันแตกต่าง พร้อมน�ำเสนอความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(ออกอากาศทางช่องไทยพีบีเอส ทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.05-16.30 น.) 4. รายการบันทึกลุยทุ่ง แนวคิดของเกษตรกรที่ มีวัฒนธรรมที่ยั่งยืน มีฐานคิดแบบพึ่งพาตนเอง อยู่แบบพอเพียง เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการ เกษตร เล่าเรื่องโดยผ่านมุมมองของคนรุ่นใหม่ ที่เดินทางเข้าไปเรียนรู้ชุมชนเกษตรกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ (ออกอากาศทางช่อง NBT ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 21.25-21.30 น. )

SIA ผลกระทบทางสังคม

ป่าใหญ่ครีเอชั่น ได้ผลิตรายการที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคม ไม่มีพิษมีภัยต่อผู้ชม ให้ความรู้สึก ในแง่บวก มีการน�ำเสนอเนื้อหาที่ท�ำให้สังคม

ตระหนักถึงคนบางกลุ่มที่ปกติไม่ได้ถูกค�ำนึงถึง เช่น กลุ่มชุมชน กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เกษตรกร หรื อเด็ก ๆ และวัยรุ่นในชนบท หรือในเมืองที่ ท�ำประโยชน์ในด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการรับรู้ ในสังคมมากขึ้น เยาวชนหรือกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ที่ถูกถ่ายทอดผ่านรายการได้รับการช่วยเหลือ มากขึ้น อย่างน้อยรายการที่ผลิตออกไปก็เป็น พื้นที่ให้คนอื่นๆ ในสังคมที่มีโอกาสสูง ได้เห็น และช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาสบ้าง


SECatalog 214

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Shot Film Hot Issue “Fuse” หนังสั้นระยะยาว

รักในวัยรุ่น ขอทานในเมืองใหญ่ ช้างเร่ร่อน แรงงานเด็ก ยาเสพติด พนันฟุตบอล ฯลฯ ปัญหาต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งเมื่อก่อนหากอัดอั้นก็เพียงแค่บ่นระบายพึมพ�ำกับตัวเองหรือไม่ก็คนใกล้ชิด ปัจจุบัน มีการสื่อสารออกมาในรูปแบบแปลกใหม่ หนังสั้น คลิปวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหวประกอบเพลง สะท้อน ความรู้สึกของตัวเองเข้าไป หากแต่จะท�ำเช่นไรให้ก่อเกิดแรงกระเพื่อมต่อสังคม ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ ยาระบายประจ�ำตัว

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : Fuse ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณสุภาพ หริมเทพาธิป ที่อยู่ : เลขที่ 47/51 ซอยโชคชัย 4 ถนนลาดพร้าว แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ : 08 3845 5557, 0 2931 5152 E-mail : fuse.bioscope@gmail.com Website : www.fuse.in.th www.facebook.com/FuseNewMediaClub

จากความสนใจของ Fuse เว็บไซต์สื่อ สร้างสรรค์ ที่มองเห็นวงจ�ำกัดของผู้ผลิตภาพยนตร์สั้น มีเป้าหมายเฉพาะกลุ่มนัก ศึ ก ษา ภาพยนตร์ในรั้วมหาวิทยาลัย บวกกับข้อจ�ำกัด ของการเผยแพร่สสู่ าธารณะ การก่อตัง้ ฟิว้ ท�ำให้ เกิดช่องทางในการกระจายความรู้เกี่ยวกับ

กระบวนการผลิตภาพยนตร์ให้กว้างมากขึ้น รวบรวมผลงานด้วยการเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ ทั้งยังชักชวนให้ผู้คนสนใจน�ำเสนอเรื่องราวที่ เป็นปัญหาเพื่อก่อให้เกิดการตระหนักถึงสังคม ในรูปแบบต่างๆ ที่อยู่รอบตัว Fuse ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบ นิตยสารรายเดือน เข้าสูเ่ ว็บไซต์ www.fuse.in.th รวบรวมเคล็ ด ลั บ การท� ำ สื่ อ ด้ ว ยตนเอง ความเคลื่ อ นไหวของวงการคนท� ำ สื่ อ ทั้ ง ใน ประเทศไทยและต่างประเทศ การท�ำสื่อภาค สังคม บทสัมภาษณ์ และบทความที่สร้างแรง บันดาลใจให้กับคนท�ำสื่อมากมาย โดยมี คุณสุภาพ หริมเทพาธิป เจ้าของ บริษัท ไบโอสโคป จ�ำกัด และผู้ผลิตนิตยสาร ภาพยนตร์ เ ชิ ง สาระ Bioscope ที่ ม องว่ า โลกออนไลน์ เ ข้ า ถึ ง องค์ ค วามรู ้ ไ ด้ ง ่ า ยขึ้ น เทคโนโลยีถกู ลง รวมทัง้ บริษทั ออกไปเดิน จ�ำกัด โปรดักส์ชั่นเฮ้าส์ที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อรองรับการ

215


SECatalog 216

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

217

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ภาพยนตร์สนั้ เพือ่ สาธารณะ ทุนสร้างไม่สงู ก�ำไรสังคมสูง

1. น�ำเสนอเนื้อหาความเป็นไปในโลกของภาพ เคลื่อนไหวว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ดึงคนที่สนใจ เข้ามาท�ำกิจกรรม ท�ำหนังเพื่อสร้างความเข้าใจ ในเรื่องบางเรื่อง รวบรวมเรื่องราวเพื่อน�ำเสนอ สร้างความเข้าใจ กระตุน้ ให้ประชาชนหรือภาครัฐ เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อประเด็นปัญหา 2. สนั บ สนุ น การท� ำ งานของคนรุ ่ น ใหม่ ใ ห้ ไ ด้ เรียนรู้การผลิตภาพยนตร์สั้น มีโอกาสเรียนรู้ ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยผ่านทาง ภาพยนตร์สั้นจากคนในวงการหนังสั้น 3. เปิดมุมมองและจินตนาการใหม่ๆ ให้ผู้ชม ร่วมสร้างสังคมที่ดีด้วยการเผยแพร่สนับสนุน ภาพยนตร์ ที่ มี ป ระเด็ น เพื่ อ สั ง คม เรี ย นรู ้ แ ละ ศึ ก ษาเทคโนโลยี ข องการท� ำ หนั ง การปรั บ ใช้ เครื่องมือใกล้ตัวในการผลิตภาพยนตร์

Product & Service สินค้าและบริการ

ท� ำ กิ จ กรรมทางสั ง คมให้ เ กิ ด ประโยชน์ จ าก กระแสทีเ่ กิดขึน้ มีการเรียนรู้ ทดลอง และปรับปรุง พั ฒ นาเทคนิ ค การท� ำ หนั ง และสอดแทรก ประเด็นทางสังคมเข้าไปในเนื้อหาที่มีความ บันเทิง ตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องรักจัดหนัก ผสมผสานระหว่างกลุ่มเยาวชนที่สนใจในการ ท� ำหนังสั้นกับกลุ่มคนท�ำ งานในอาชีพ เพื่อ สะท้อนปัญหาสังคม ออกแบบกระบวนการ ท�ำงานในการน�ำหนังสู่สังคม ให้สังคมมองเห็น และสนับสนุนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน ด้านที่ดี ให้เยาวชนเติบโตจากการท�ำหนังได้มี พื้นที่ให้อยู่ในเวทีเดียวกับหนังอุตสาหกรรม

โดยได้มี Fuse มาเป็นตัวเดินทางให้กับทาง ร่มใหญ่ทั้ง 2 บริษัท เพื่อก้าวไปสู่การเป็นพื้นที่ สังคมของคนท�ำหนัง และมีเป้าหมายที่จะเป็น สื่อเพื่อรับใช้สังคม ส�ำหรับเมืองไทย หนังสั้นไม่มีพื้นที่เหมือนหนัง ธุรกิจทั่วไป แต่ค่อยๆ เติบโต ซึ่งยังคงต้องการ การสนับสนุนที่มากพอเพียง สิ่งที่ Fuse ท�ำ คื อ การก� ำ ลั ง สร้ า งชุ ม ชนของคนท�ำ หนั ง สั้ น พัฒนาศักยภาพ น�ำปัญหาเป็นวัตถุดิบในการ น�ำเสนอสู่การขับเคลื่อนสังคมต่อไป

1. เว็บไซต์ www.fuse.in.th 2. โครงการ Fuse Camp ความร่วมมือระหว่า​ง อุทยานการเรียนรู้ TKpark และฟิ้ว ที่ต้องการ เปิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงผลงาน ภาพเคลื่อนไหวทุกชนิด อาทิ หนังสั้น มิวสิก วิ ดี โ อ สารคดี โมชั่ น กราฟิ ก จั ด ขึ้ น ทุ ก เดื อ น ที่อุทยานการเรียนรู้ TKpark สามารถติดตาม ความเคลื่ อ นไหวของกิ จ กรรมครั้ ง ต่ อ ไปได้ ที่ www.fuse.in.th

SIA ผลกระทบทางสังคม

วงจ�ำกัดของผู้ผลิตภาพยนตร์สั้น มีเป้าหมาย เฉพาะกลุ่ม บวกกับข้อจ�ำกัดของการเผยแพร่ สู่สาธารณะ การก่อตั้งเว็บไซต์ Fuse ท�ำให้เกิด ช่องทางในการกระจายความรู้เกี่ยวกับกระบวน การผลิตภาพยนตร์ ให้กว้างมากขึ้น รวบรวม ผลงานด้วยการเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ ทั้งยัง ชั ก ชวนให้ ผู ้ ค นสนใจน� ำ เสนอเรื่ อ งราวที่ เ ป็ น ปัญหา เพื่อก่อให้เกิดการตระหนักถึงภัยต่างๆ ที่แฝงอยู่รอบตัว


SECatalog 218

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

219

Mini Me Studio ผลิตสื่อสังคมเคลื่อนไหวได้

การเปิดโอกาสให้เยาวชนมีพื้นที่ในการแสดงออกเป็นเรื่องส�ำคัญส�ำหรับการพัฒนาสังคม ซึ่งนอกจาก โอกาสที่ควรมอบให้เขาแล้ว ควรจะมีตัวกลางในการให้ทุน ให้ความรู้ โดยการใช้สื่อและกิจกรรม เสมือนเป็นพี่เลี้ยงน� ำทางให้พวกเขาเหล่านี้เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดและคุณภาพที่ดี พร้อมๆ กับการมีแนวคิดดีๆ คืนสู่สังคม

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : Mini Me Studio ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณนภสร ลิม้ ไชยาวัฒน์ และ คุณกิตติพฒ ั น์ กนกนาค ที่อยู่ : เลขที่ 175/6 ชั้น 3 ถนนพระปิ่นเกล้า แขวงบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : 08 1659 9120 E-mail : studiominime@gmail.com Website : www.minimestudio.in.th www.youtube.com/minimestudio www.facebook.com/minimefanpage

Mini Me Studio สื่ อ เพื่ อ สั ง คม โดย คุณนภสร ลิ้มไชยาวัฒน์ และคุณกิตติพัฒน์ กนกนาค ต่างเห็นตรงกันว่า สือ่ ต่างๆ ยังเข้าถึง องค์กรต่างๆ เช่น NGO องค์กรเกี่ยวกับการ กุศล หรือกิจการเพือ่ สังคมได้นอ้ ยมาก จึงตัง้ ใจ ผลิตสื่อด้วยความคิดสร้างสรรค์ สื่อสารอย่าง เป็นมิตร และเข้าถึงใจของผู้ชมได้ง่าย โดยมี ความตั้งใจที่มุ่งเน้นการ Workshop สื่อภาพ เคลื่อนไหวให้กับคนในพื้นที่ต่างๆ ที่ประสบ ปัญหาและไม่มีสื่อในการแสดงตัวตน ด้วยพื้นฐานที่เคยท�ำงานด้านสื่อของทั้ง 2 ท่าน และความสนใจต่อสื่อเพื่อสังคมที่คน ส่วนใหญ่ยากต่อความเข้าใจ น�ำมาย่อยและ

น�ำเสนอให้เข้าใจง่ายๆ ผ่านแนวคิดหลักของ สตูดิโอ คือ “สดใส สร้างสรรค์ สร้างความ ประทับใจ” ด้วยการใช้สื่อภาพเคลื่อนไหว เช่น หนังสัน้ รายการ สารคดี รวมถึงการแต่งเพลงให้ ตลอดจนสือ่ สิง่ พิมพ์ทกุ รูปแบบ ด้วยจุดประสงค์ หลักคือ การสร้างแรงบันดาลใจต่อผู้คน นอกจากนี้ทาง Mini Me Studio ยังมี โครงการ “เด็ก...ทีไ่ หน” เน้นการอบรมสร้างสือ่ ให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้น มี โ อกาสแสดงพลั ง และเรื่ อ งราวของตนเอง ปัจจุบัน Mini Me Studio ได้ผลิต รายการ SE Talk ของส�ำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อ สังคมแห่งชาติ (สกส.) รายการขนาดสั้นเพื่อ ประชาสัมพันธ์กิจการเพื่อสังคม เพื่อออนไลน์ บนเว็บไซต์ของสกส. รวมทัง้ เขียนบทแอนิเมชัน่ Zoovivor การ์ตูนส�ำหรับเด็กเล็กที่เน้นให้เกิด การเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ สร้างเสริม


SECatalog 220

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ผูผ้ ลิตสือ่ เล็กๆ แต่หวั ใจใหญ่ ทีม่ พ ี ลัง ของการเป็นกิจการเพือ่ สังคม อย่างเต็มพลัง

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ประสบการณ์ และก่อเกิดความรักความผูกพัน ในครอบครัว รวมทัง้ ผูผ้ ลิตรายการแรงข้ามชาติ ออกอากาศทางไทยพีบีเอส ซึ่งทั้งหมดคือการ ที่กิจการเพื่อสังคมเน้นสื่อภาพเคลื่อนไหวใน ทุกๆ ด้าน งานผลิตสื่อของทาง Mini Me Studio มีต่อเนื่อง เพราะ Mini Me Studioใส่ใจใน ทุกรายละเอียดของการท�ำงาน ที่ท้ายสุดแล้ว สิง่ ทีท่ ำ� ก็คอื การสะท้อนปัญหาและการช่วยเหลือ ในภาคส่วนของสื่ออย่างหนึ่ง โดยมีความหวัง ว่าผู้คนในสังคมจะได้ตระหนักรู้ถึงปัญหาและ เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้มากขึ้น เรียกได้ว่า Mini Me Studio เป็นผู้ผลิตสื่อเพื่อ สังคม ทีน่ อกจากจะมีจดุ มุง่ หมายในการผลิตสือ่ น�ำ้ ดีแล้ว ยังเป็นสือ่ เพือ่ สังคมทีไ่ ด้สอนและอบรม การท�ำสื่อสร้างสรรค์ ให้เด็กๆ เพื่อให้สังคม ได้มีสื่อคนรุ่นใหม่ หัวใจเพื่อสังคมเกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง และเพื่อผลิตสื่อรุ่นใหม่ให้มีมากขึ้น และมีคุณภาพที่ดีออกสู่สังคม

221

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

มีเทคนิคการผลิตสื่อส�ำหรับการสอนเยาวชน ให้เป็นผู้ผลิตสื่อรุ่นเยาว์ในการสร้างสรรค์สังคม ต่อไปภายใต้ชื่อโครงการ “เด็ก...ที่ไหน”

Product & Service สินค้าและบริการ

1. รับผลิตภาพเคลือ่ นไหว เช่น วิดโี อพรีเซนเทชัน่ คลิ ป โฆษณา หนั ง สั้ น สารคดี ฯลฯ ท�ำ คลิ ป รายการ หรื อ บทการ์ ตู น ที่ มี จุ ด ตั้ ง ในเชิ ง บวก และจัดทีมเวิร์กช็อปขนาดเล็กในการผลิตภาพ เคลื่อนไหว สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 08 1659 9120 2. ติดตามความเคลือ่ นไหว Mini Me Studio ได้ท่ี www.facebook.com/minimefanpage

SIA ผลกระทบทางสังคม

ในสังคมไทย สื่อต่างๆ ยังเข้าถึงองค์กรต่างๆ เช่น NGO องค์กรเกี่ยวกับการกุศล หรือกิจการ เพื่อสังคมได้น้อยมาก ทาง Mini Me Studio จึงตัง้ ใจทีจ่ ะเป็นหนึง่ ในผูผ้ ลิตสือ่ ต่างๆ โดยเฉพาะ สื่อเคลื่อนไหวให้องค์กรนั้นๆ เพื่อให้ได้เผยแพร่ หัวใจส�ำคัญขององค์กรให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น ได้ประชาสัมพันธ์ให้กิจการเพื่อสังคมที่มาให้ท�ำ สื่อได้มากขึ้น ส่งผลให้องค์กรนั้นเสมือนได้มี ที่พึ่งในการท�ำประชาสัมพันธ์สิ่งดีๆ เพื่อสังคม และเพื่อต่อยอดสู่ผู้คนทั่วไปได้มากขึ้น


SECatalog 222

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

223

The Garden Truth Vision “สวนเงินมีมา”

สวนผสมผสานกิจการเพื่อสังคม

มือใครยาวสาวได้สาวเอา ปลาตัวใหญ่กินปลาตัวเล็ก ธุรกิจมุ่งหวังก�ำไรสูงสุดเจียดเงินส่วนน้อยนิด คืนสังคมเพื่อหวังผล ฯลฯ เหล่านี้คือภาพชินตาในสังคมบริโภคนิยม ท่ามกลางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม แข่งขันเพื่อความส�ำเร็จ เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม แบบนี้ความน่าอยู่ลดลงแค่ไหน

สวนเงินมีมา มีดีที่ความตั้งใจและพลัง สร้างสรรค์ จากจุดเริ่มต้นของคุณวัลลภา แวน วิลเลีย่ นส์วาร์ด ทีเ่ กิดความสงสัยว่า ท�ำไมธุรกิจ ทางเลือกจึงไม่มีใครสนใจ บวกกับการเห็นถึง พิษภัยสังคมบริโภคนิยมทีเ่ บียดเบียนสิง่ แวดล้อม และเกิดความไม่เป็นธรรมในเรื่องต่างๆ ด้วยความตั้งใจที่อยากสร้างความสมดุล ของโลกของธุ ร กิ จ ที่ มุ ่ ง แสวงหาผลก� ำ ไรกั บ โลกของคนที่ท�ำงานขับเคลื่อนสังคม แต่ไม่มี ความมั่นคงทางธุรกิจให้มาพบกัน มีจุดยืนที่ มัน่ คงมองเห็นว่า มูลนิธิ สหกรณ์ องค์กรการกุศล จุดอ่อนอยู่ที่การขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน

ต้องพึ่งพาแหล่งน�้ำเลี้ยงจากทุนภายนอก แต่ก็ เมินการท�ำองค์กรธุรกิจแบบละเลยสังคมมุ่ง เน้นก�ำไรสูงสุด จึงเป็นแรงบันดาลใจที่ได้รับ การสนับสนุนจากพันธมิตรที่ประกอบไปด้วย ผู้ถือหุ้นทั้งจากองค์กรด้านสังคมและนักธุรกิจ ทีใ่ ส่ใจในปัญหาสังคม ชุมชน สิง่ แวดล้อม และ ศักยภาพด้านในของมนุษย์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ผลิตภัณฑ์เพื่อสังคมอันหลากหลาย สวนเงินมีมา มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของ ผู ้ ผ ลิ ต และผู ้ บ ริ โ ภค ด้ ว ยตระหนั ก ถึ ง พลั ง อันสร้างสรรค์ของผู้บริโภค รวมทั้งจิตส�ำนึก ที่ ตื่ น ขึ้ น มารั บ ผิ ด ชอบร่ ว มกั บ ผู ้ ผ ลิ ต ในด้ า น

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท สวนมีเงินมา จ�ำกัด ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณวัลลภา แวน วิลเลี่ยนส์วาร์ด ที่อยู่ : เลขที่ 77, 79 ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิตร เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0 2622 0955, 0 2622 0966 โทรสาร : 0 2622 3228 E-mail : wallapa.van@gmail.com Website : www.suan-spirit.com www.thaigreenmarket.com


SECatalog 224

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม ชุมชน และ สุขภาพ ให้เป็นการตลาดสีเขียว หรือการตลาด ทางสังคม ที่รณรงค์ให้เกิดความตระหนักถึง ความส�ำคัญของรูปแบบทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการตลาด รวมทัง้ การตัดสินใจของผูบ้ ริโภค ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อสิ่งใด ซื้ออย่างไร ซื้อกับใคร แล้วใครคือผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ล้วนเป็นสิ่งที่ ต้องค�ำนึงถึงเสมอ เพราะพลังผูผ้ ลิตและผูบ้ ริโภค สามารถมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของ สังคมได้ โดยเริ่มจากรับดูแลกิจการต่อจากร้าน

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

หนังสือชื่อว่า ศึกษิต เมื่อปี 2544 จ�ำหน่าย หนังสือดีๆ ทีเ่ ป็นอาหารสมองให้กบั ผูค้ น โดยยัง คงเน้นในเรือ่ งความส�ำคัญของการใส่ใจในเรือ่ ง ปัญหาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และศักยภาพ ของมนุษย์ ทั้งยังคงเห็นความส�ำคัญของการ ได้รับความรู้จากการอ่าน จึงเกิดส�ำนักพิมพ์ สวนเงินมีมา ผลิตหนังสือทางเลือก อุดมไปด้วย มุมมองใหม่สู่ผู้อ่าน นอกจากเป็นร้านหนังสือน่าอ่านและน่านัง่ แล้ว ภายในร้านสวนเงินมีมายังมีโซนจ�ำหน่าย สินค้าทางเลือก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เกษตร-

อินทรีย์จากแหล่งต่างๆ ที่น�ำมาฝากขายและ มีการคัดเลือก เพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงหัวใจ ของการใช้สินค้าออร์แกนิค และเพื่อเพิ่มช่อง ทางตลาดให้แก่ผู้ประกอบการสินค้าออร์แกนิค ทั้งกลุ่มชุมชนและกลุ่มองค์กรที่เชื่อถือได้มา จ�ำหน่ายอีกทาง และที่ขาดไม่ได้ก็คือ อาหารที่ สวนเงินมีมา ใส่ใจเป็นพิเศษ มีเมนูอาหารว่าง เพื่อสุขภาพที่ปรุงด้วยผลผลิตอินทรีย์ไว้คอย บริการ แถมด้วยงานผลิตภัณฑ์ท�ำมือผ้าฝ้าย ทอมือย้อมสีธรรมชาติ และสินค้าทิเบตให้เลือก ซื้อหากันอย่างจุใจ

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ตลอดระยะเวลา 11 ปีของสวนเงินมีมาเป็น เสียงหนึ่งที่ย�้ำแนวคิดธุรกิจน�้ำดี ก่อนกระแส กิจการเพือ่ สังคมจะเข้ามาในเมืองไทยเสียด้วยซ�ำ้ ความกล้าที่จะพุ่งออกจากวงจรบริโภคนิยม มุ่งเน้นท�ำกิจการ ท�ำกิจกรรม เชื่อมโยงคนเล็ก คนน้อยเพือ่ สร้างสิง่ ใหม่ๆ ทางเลือกหลากหลาย ที่ยั่งยืน

Product & Service สินค้าและบริการ

ธุรกิจทางเลือก ตัวเองอยูไ่ ด้ สังคมอยูร่ อด

225

1. งานด้ า นกิ จ กรรมเวที ก ารอบรมและการ ประชุ ม ออกแบบและจั ด งานเพื่ อ จุ ด ประกาย ความคิดทางสังคม อาทิ งานกรีนแฟร์ ประชุม นานาชาติเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติ 2. มีทักษะด้านการสื่อสารที่ดี โดยเฉพาะด้าน การตลาดเพื่อสังคม สามารถท�ำงานด้านการ เชื่อมโยงผู้บริโภคและผู้ผลิต 3. เป็นศูนย์รวบรวมและจัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ อินทรีย์ ปลอดสารเคมี จากแหล่งผลิตทั้งในและ นอกประเทศที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ด้วยราคาที่เป็นธรรม อีกทั้งยัง เป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้คน ในสังคม 1. ส�ำนักพิมพ์สวนเงินมีมา ผลิตหนังสือทางเลือก เป็นห้องครัวปรุงปัญญา สร้างความรู้และแรง บันดาลใจ ด้วยการเลือกสรรวัตถุดบิ ทีม่ ปี ระโยชน์ อาทิ หนังสือแนวปรัชญา วิทยาศาสตร์ใหม่ ธุรกิจ ในมุมมองใหม่ วรรณกรรมเขียนและแปล รวมทัง้ วารสารตลาดสีเขียว ทั้งยังใส่ใจในกระบวนการ ผลิตทีห่ ว่ งใยต่อสิง่ แวดล้อม ปัจจุบนั พิมพ์หนังสือ ออกมามากกว่า 160 เล่ม 2. ร้านสวนเงินมีมา ถนนเฟือ่ งนคร จ�ำหน่ายสินค้า ที่ ดู แ ลตั้ ง แต่ ศี ร ษะจรดหั ว ใจ มุ ม อาหารสมอง แหล่ ง รวมหนั ง สื อ คุ ณ ภาพจากส� ำ นั ก พิ ม พ์ สวนเงินมีมา และส�ำนักพิมพ์ที่รักการท�ำหนังสือ มากกว่าธุรกิจ มุมอาหารใจและจิตวิญญาณ หั ต กรรมพื้ น บ้ า นและเครื่ อ งศาสนพิ ธี อาทิ ผ้าฝ้ายทอมือบ้านปางไฮ จังหวัดน่าน น�้ำผึ้งป่า บริสทุ ธิ์ ธูปสมุนไพรจากประเทศภูฏาน มุมอาหาร เมนูอาหารปรุงจากพืชผักและเครือ่ งปรุงอินทรีย์ ปลอดเคมี เช่น สลัดผักปลอดสารพิษ แซนด์วิช บรูสเชตต้า ชา กาแฟ และเครื่องดื่มสมุนไพร เปิดบริการวันจันทร์-เสาร์ เวลา 08.00-18.00 น. สอบถามเพิม่ เติม โทร. 0 2622 0955, 0 2622 0966 3. กิจกรรมเยีย่ มชมฟาร์ม เครือข่ายร้านสีเขียว และตลาดสีเขียว 4. งานกรีนแฟร์ มหกรรมรวบรวมผู้ประกอบ กิจการสีเขียว เกษตรอินทรีย์ และรีไซเคิล มาจัด จ�ำหน่ายผลผลิต ผลิตภัณฑ์แปรรูป สินค้าอุปโภค และบริโภค 5. ผูกปิน่ โต ด้วยสินค้าออร์แกนิคทีร่ า้ นสวนเงิน มีมา สามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านสวนเงิน มีมาล่วงหน้า (ปิดรอบทุกสัปดาห์) อาทิ นม เนย โยเกิร์ต ไข่ไก่ ขนมปัง ข้าวสาร เป็นต้น เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้อิ่มอร่อย ประหยัด แถมได้สุขภาพที่ดี จากสินค้าออร์แกนิคในทุกๆ วัน

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากการเห็นพิษภัยและผลเสียของการที่สังคม ไทยเป็ น บริ โ ภคนิ ย ม เบี ย ดบั ง ธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม การ เปิดตัวสวนเงินมีมาสู่ธุรกิจทางเลือก ที่จัดสรร เรื่องการท� ำธุรกิจและการตลาดเพื่อสังคมให้ ถูกที่ถูกทางได้ โดยชูประเด็นทางสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และศักยภาพของผู้คน ให้เกิดการ

รับรู้และตระหนักถึง พร้อมทั้งขยายเครือข่าย สีเขียว เปิดตลาดให้เกษตรกรอินทรีย์ได้มโี อกาส จ�ำหน่ายผลผลิตในเครือข่ายตลาดสีเขียว และเพือ่ ให้ ผู ้ บ ริ โ ภคสามารถมี ท างเลื อ กในการเข้ า ถึ ง อาหารที่มาจากแหล่งผลิตดีๆ เช่นกัน


SECatalog 226

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ผี เ สื้ อ มองเห็ น สิ่ ง เหล่ า นั้ น เนื่องจากการพิมพ์หนังสือสมัยก่อนจะพิมพ์ ด้วยกระดาษปรู๊ฟราคาถูก แต่ด้วยคุณผกาวดี อุ ต ตโมทย์ และคุ ณ มกุ ฏ อรฤดี ผู ้ ก ่ อ ตั้ ง ที่ แรกเริม่ ตัง้ ชือ่ ส�ำนักพิมพ์วา่ ดอกไม้ พิมพ์หนังสือ เรื่อง “ผีเสื้อและดอกไม้” เป็นเล่มแรก มีความ ตั้งใจจริงที่อยากท�ำหนังสือคุณภาพดี ราคาถูก จึงตัดสินใจพิมพ์หนังสือครั้งแรกด้วยกระดาษ ปอนด์ ไม่ฟอกสี ที่ถนอมสายตา และเข้าเล่ม ด้วยวิธีการเข้าเล่มแบบเย็บกี่ (ร้อยเส้นด้าย) และไสกาว สิ่งที่ได้คือหนังสือที่แข็งแรงและ

High Fly

“สำ�นักพิมพ์ผีเสื้อ” สื่อที่ดูแล สุขภาพ เสริมสร้างสติปัญญา กระดาษปอนด์ที่ฟอกสีแต่น้อย มีคุณสมบัติดูดซับแสงดี ปริม าณการสะท้อนแสงน้อย เพื่อมิให้ เกิดผลร้ายต่อสายตาของผู้อ่านเป็นต้อกระจก กระดาษมีฝุ่นมีผลต่อภูมิแพ้ น้ำหมึกอาจก่อมะเร็ง คนท�ำหนังสือสูดดมกาวจนเป็นมะเร็งปอด เหล่านี้ล้วนเป็นภัยที่ซ่อนอยู่หลังปกหนังสือในมือของท่าน หนังสืออาจจะเป็นอาหารสมองแต่อาจเป็นภัยต่อสุขภาพ

มั่นคงโดยไม่หลุดเป็นแผ่นๆ ตลอดระยะเวลา ยาวนานไม่ต�่ำกว่า 50 ปี ที่ข้างในหนังสือมี เนื้อหาครบถ้วน ภาษาไม่ผิดเพี้ยน เพราะสิ่งที่ ยึดถือคือไม่ได้ท�ำหนังสือที่เป็นสินค้า หากแต่ เป็นขุมแห่งสติปัญญา และยังตระหนักถึงภัย ที่มากับหนังสือ ก่อให้เกิดผลร้ายต่อร่างกาย และสุขภาพของคนอ่าน ทุกหน้าในเล่มซ่อน นานาสารพัดโรค รวมทั้งคนผลิตหนังสือที่ต้อง ท�ำงานแข่งกับเวลา เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ แต่สงิ่ ทีท่ างส�ำนักพิมพ์ผเี สือ้ ให้ความส�ำคัญ มาเป็นอันดับต้นๆ คือเรื่องของการฟื้นฟูภาษา

227

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณผกาวดี อุตตโมทย์ ชื่อผู้จัดการ / ผู้รับผิดชอบโครงการ : คุณมกุฏ อรฤดี ที่อยู่ : เลขที่ 5/4 ถนนสุขุมวิท ซอย 24 กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 0 2663 4660-2 โทรสาร : 0 2261 3863 E-mail : bflybook@bflybook.com Website : www.bflybook.com


SECatalog 228

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

229

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. ก่อตั้ง “โรงเรียนวิชาหนังสือ” ร่วมกับคณะ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิด โครงการอบรมหลักสูตรวิชาหนังสือ อบรมวิชา บรรณาธิการต้นฉบับ วิชาหนังสือ และวิชาคิด และเขียนวรรณกรรมเยาวชน อันเป็นแหล่งผลิต คนท� ำ หนั ง สื อ ที่ มี คุ ณ ภาพของวงการหนั ง สื อ เมืองไทย 2. เปิดบรรจุหลักสูตรวิชาหนังสือ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิ ช าสารสนเทศศึ ก ษา ม.บู ร พา พร้อมร่วมสอนนักศึกษา 3. โครงการระบบหนังสือหมุนเวียน เพื่อมุ่งสู่ เป้าหมายที่จะสร้างสังคมที่สงบสุข และส่งเสริม การอ่านในสังคมไทยให้ดียิ่งขึ้นทั้งเชิงคุณภาพ และปริมาณ

ปลุกคุณค่า วรรณกรรมท้องถิน่ ให้เป็นตัวอักษร และพลิก ประวัตศิ าสตร์ ให้มชี วี ติ อีกครัง้

Product & Service สินค้าและบริการ ท้องถิ่น อาทิ ภาษาเขียนท้องถิ่นต่างๆ พร้อม จัดท�ำข้อมูลในเรื่องของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วรรณกรรมท้องถิน่ ทีก่ �ำลังจะหายไปให้ออกมา เป็นหนังสือแบบร่วมสมัย เพื่อเป็นการปลุก เรื่องราวที่ทรงคุณค่าขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งทุกคน สามารถหาซือ้ อ่านได้งา่ ย และเพือ่ ให้หนังสือดีๆ ออกสู่สายตาผู้คนและเยาวชนตามชุมชนได้ มากขึ้น ทางส�ำนักพิมพ์ยงั มีโครงการระบบห้องสมุด หมุนเวียน ซึ่งปัจจุบันมีโครงการต้นแบบคือ โครงการระบบหนั ง สื อ หมุ น เวี ย นในมั ส ยิ ด อ�ำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีทั้งหมด 8 แห่ง จะแบ่งเป็น 2 วง วงละ 4 แห่ง ในทุกๆ 3 เดือน จะมีกิจกรรมหมุนเวียนหนังสือ 1 ครั้ง เมื่อครบปีมัสยิดทุกแห่งจะได้อ่านหนังสือครบ หนึ่ ง กองใหญ่ นอกจากจะมี ก ารหมุ น เวี ย น แลกเปลี่ยนหนังสือ ยังประกอบด้วยกิจกรรม หลายอย่าง อาทิ การประกวดบันทึกการอ่าน

ประกวดลายมือสวย วาดรูปสวย ผู้อ่านมาก อ่านเก่ง พร้อมทัง้ มีของขวัญของรางวัล เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จะท�ำให้ชุมชนรับทราบและ กระตือรือร้นทีจ่ ะอ่านหนังสือ รวมทัง้ คนในชุมชน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะได้มีความรักและความ สามัคคีมากยิ่งขึ้น โดยทางส�ำนักพิมพ์มีความ ตั้งใจที่จะท�ำระบบห้องสมุดหมุนเวียนนี้ให้เกิด ขึ้นทุกมัสยิดทั่วประเทศ “หนั ง สื อ ของผี เ สื้ อ มิ ไ ด้ ผ ลิ ต แต่ ท� ำ ด้ ว ยใจ” “คนไทยทุกคนมีโอกาสได้อ่านหนังสืออย่าง เท่าเทียมกัน” สองประโยคทีป่ รากฏตรงส่วนล่าง ในหน้าเว็บไซต์ของส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อคือสิ่งที่ ยึดมัน่ ในการสร้างสรรค์ และเป็นขุมพลังปัญญา ของหนอนหนังสือ

1. ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ ผลิตหนังสือ กวีนิพนธ์ นวนิ ย าย วรรณกรรม วรรณกรรมเยาวชน ศาสนาและปรั ช ญา สารคดี ทั่ ว ไป สั่ ง ซื้ อ จาก ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อโดยตรง โทร. 0 2663 4660-2 หรือร้านหนังสือชั้นน�ำทั่วไป 2. โรงเรียนวิชาหนังสือ ติดต่อได้ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. สมัครสมาชิกส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ โดยตรงได้ที่ ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ โทร. 0 2663 4660-2

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาคุณภาพในกระบวนการผลิตหนังสือ ทีส่ ง่ ผลต่ออายุไขของหนังสือ สุขภาพของผูผ้ ลิต หนังสือ และความปลอดภัยของผูอ้ า่ น ส�ำนักพิมพ์ ผี เ สื้ อ ได้ ต ระหนั ก ถึ ง เรื่ อ งราวเหล่ า นั้ น อย่ า งดี จึงตั้งใจที่จะพัฒนาประสิทธิภาพอันน�ำมาซึ่งการ เปลี่ ย นแปลงวงการหนั ง สื อ ให้ ไ ด้ มี ม าตรฐาน ไม่ใช่เฉพาะแค่ตวั หนังสือในเล่มเท่านัน้ แต่ยงั รวม ทัง้ ความตัง้ ใจทีจ่ ะส่งเสริมการอ่านให้เข้าถึงทุกคน อย่างแท้จริง โดยเฉพาะโครงการระบบห้องสมุด หมุนเวียน ทีท่ ำ� ให้ทกุ คนทีไ่ ด้มโี อกาสแวะเวียนไป ใช้บริการ ได้รับความรู้จากการอ่านเพิ่มมากขึ้น และยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดใน ชุมชนอีกทาง


SECatalog 230

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

นิตยสารสารคดี กิจการสื่อสะท้อนสังคม

หากกล่าวถึงนิตยสารสารคดี น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก โดยเฉพาะบุคคลที่ชื่นชอบสนใจใคร่รู้เรื่องราว ในสังคมไทย และเรื่องอื่นๆ แบบเจาะลึก ที่สามารถเต็มอิ่มไปกับทุกอณูของเนื้อหาและชื่นชมไปกับ ภาพถ่ายทีส่ วยงามชัดเจน ไปพร้อมๆ กับการได้รบั รูแ้ ละช่วยเป็นหนึง่ ในแรงกระเพือ่ มของสังคมเกีย่ วกับ ผู้คนในด้านต่างๆ ให้มากขึ้น

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท วิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (นิตยสารสารคดี) ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด ชื่อผู้จัดการ / ผู้รับผิดชอบโครงการ : คุณสุวพร ทองธิว (บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา), คุณสุวัฒน์ อัศวไชยชาญ (บรรณาธิการบริหาร) ที่อยู่ : เลขที่ 28, 30 ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0 2281 6110, 0 2281 6240-2 ต่อ 105 โทรสาร : 0 2282 7003 E-mail : sarakadee@samart.co.th Website : www.sarakadee.com

จากการท�ำธุรกิจเมืองโบราณ และวารสาร เมื อ งโบราณที่ ผ ลิ ต ออกมาโดยไม่ แ สวงหา ผลก�ำไร ตั้งแต่สมัยคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ สู่คุณ สุวพร ทองธิว ที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะ จั ด ท� ำ นิ ต ยสารที่ มี เ นื้ อ หาเรื่ อ งราวเป็ น เรื่ อ ง ร่ ว มสมั ย เน้ น การให้ ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ เมื อ ง ไทยโดยตรง เพราะนิตยสารส่วนใหญ่ในสมัย ร่วม 20 กว่าปีมานั้นจะเป็นเรื่องของนิยาย บันเทิง วรรณกรรม แต่ขาดคนที่จะน�ำเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มาท�ำเป็นเนื้อหาที่ เข้มข้น ท�ำให้นิตยสารสารคดีตกลงปลงใจที่จะ ให้ก�ำเนิดนิตยสารที่สามารถเผยแพร่เรื่องราว ของสังคมไทย ชีวิตคน รวมทั้งงานทางด้าน วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย งานค้นคว้าวิจยั ส�ำรวจ พืช ส�ำรวจสัตว์ต่างๆ ซึ่งเป็นเนื้อหาเชิงความรู้ ล้วนๆ ให้ออกสู่สังคมอย่างเต็มรูปแบบ นิตยสารสารคดีที่ผ่านการกร�ำศึกมาอย่าง ยาวนานกว่า 27 ปี ให้ความรู้แก่ผ้คู นไปคนแล้ว คนเล่า ในเชิงกิจการเพือ่ สังคม นิตยสารสารคดี ท�ำให้เห็นว่าทีมงานไม่ว่าจะเป็นนักเขียนหรือ ช่างภาพ จะต้องลงไปคลุกคลีกบั คนอืน่ ในสังคม ไปเรียนรู้องค์ประกอบในหลายๆ อย่างของ สังคม เช่น เรียนรู้ว่าคนตาบอดเป็นอย่างไร คนพิการเป็นอย่างไร คนคุกเป็นอย่างไร เป็นต้น ทั้งหมดจะถูกถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ และภาพถ่ายที่สะท้อนมุมมองต่างๆ ของเมือง ไทยได้เป็นอย่างดี และมีข้อมูลเชิงลึกที่อ้างอิง เป็นเหตุเป็นผลได้อย่างชัดเจน

231


SECatalog 232

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ในส่ ว นของความเป็ น กิ จ การนิ ต ยสาร สารคดี ไ ม่ ไ ด้ อ ยู ่ ด ้ ว ยการขายโฆษณาเพี ย ง อย่างเดียว ซึ่งเห็นได้จากหน้าโฆษณาจะมีไม่ มาก สิ่งส�ำคัญที่ท�ำให้นิตยสารหัวใจไทยเล่มนี้ สามารถด�ำเนินกิจการและผลิตนิตยสารดีๆ ออกมาให้ผู้คนได้อ่านอย่างต่อเนื่องคือ การที่ ผู้อ่านอุดหนุนนิตยสารสารคดีอย่างต่อเนื่อง ท้ายสุด ไม่เพียงแต่กจิ การจะอยูไ่ ด้ และมีสภาพ คล่องหมุนเวียนได้เท่านั้น แต่ทีมงานทุกคนยัง มีความภูมิใจที่ได้ท�ำในสิ่งที่รัก และยังได้ท�ำให้ ผูอ้ า่ นสามารถน�ำไปใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน เนือ้ หา สามารถประเทืองปัญญา ได้รับความรู้และได้ เพิ่มเติมความคิดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

การเป็นสื่อที่ไปคลุกคลีกับปัญหาและประเด็น ทางสั ง คม จึ ง เปิ ด โอกาสให้ เ ยาวชนได้ สั ม ผั ส เรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจ นับเป็นสื่อแห่งการ เรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนในสังคม

Product & Service สินค้าและบริการ

1. สมั ค รสมาชิ ก รายปี 1,250 บาท สนใจ สามารถดาวน์โหลดเอกสารการสมัครสมาชิก ได้ที่ www.sarakadee.com 2. พ็อกเก็ตบุ๊ก จากร้านริมขอบฟ้า ร้านหนังสือ ในเครื อ วิ ริ ย ะธุ ร กิ จ โทร. 0 2622 3510-1 และร้านหนังสือชั้นน�ำทั่วไป

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากภาวะที่เมืองไทยในสมัยเมื่อ 20 กว่าปีก่อน ยังไม่มีนิตยสารเชิงสารคดีแบบเจาะลึกถึงสังคม และเรื่องราวต่างๆ ของเมืองไทย ท�ำให้นิตยสาร สารคดี เ กิ ด ขึ้ น มาเพื่ อ เปิ ด มุ ม มองเรื่ อ งราว ของสังคมและเรื่องความรู้ต่างๆ ให้คนไทยได้ มีนิตยสารน�้ำดี เนื้อหาเข้มข้น เพื่อสร้างความ ตระหนักถึงสังคม กระทั่งวันนี้ที่นิตยสารสารคดี ได้ ด� ำ เนิ น กิ จ การมาอย่ า งยาวนาน ผู ้ ค นได้ ประเทืองปัญญามากขึ้น ได้รับความรู้มากขึ้น และได้มองเห็นเรือ่ งราวของสังคมผ่านตัวหนังสือ และภาพถ่ายอย่างต่อเนื่อง

233


SECatalog 234

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

235

GREEN LIVING นิตยสารสีเขียว รักษ์โลก

เรื่องราวของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เรื่องของโลกร้อน เป็นกระแสตื่นตัวกันอยู่พักใหญ่ มีการรณรงค์ ให้รักษ์โลกต่างๆ นานา ทั้งที่ผู้คนจดจ�ำและเพียงแค่รับรู้แล้วจากไป เพราะคนเราเข้าใจเรื่องราวและรับรู้ อย่างลึกซึ้งถึงการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญของโลกไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่หรือเปล่า หรือเพราะการรณรงค์ ที่ว่านั้นเชิญชวนให้ผู้คนรักษ์โลกชนิดยากเป็นพิเศษ หรือเป็นสิ่งที่แลดูไกลตัวเกินไปหรือเปล่า ค�ำถามนี้ มีค�ำตอบ โดยนิตยสารสีเขียว GREEN LIVING

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บริษัท สินธุ ครีเอชั่น จ�ำกัด (นิตยสาร GREEN LIVING) ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณวริตา สินธุยนต์ ที่อยู่ : เลขที่ 12/1 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 72 แขวง/เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : 0 2880 0187-9, 08 5559 8598 E-mail : info@green-lv.com Website : www.faecbook.com/ greenlivingfreemagazine www.facebook.com/GLsociety

คุ ณ วริ ต า สิ น ธุ ย นต์ ผู ้ ก ่ อ ตั้ ง นิ ต ยสาร GREEN LIVING น�ำแนวคิดที่จะท�ำนิตยสาร มาจากการจุดประกายเรื่องเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ตัว โดยเริ่มจากการที่คุณวริตาได้เปิดบริษัท สินธุ ครี เ อชั่ น จ�ำกั ด เป็ น บริ ษั ท กราฟิ ก เฮ้ า ส์ รั บ ออกแบบและจัดท�ำสือ่ สิง่ พิมพ์ตา่ งๆ ในช่วงนัน้ มี ง านหลั ก คื อ ท� ำ วารสารธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้อม ของส�ำนักนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ท�ำมากว่า 5 ปี และเมื่อมีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์บุคคลในเรื่อง ของภาวะโลกร้อน และได้รับข้อมูลเชิงลึกมา ส่งผลให้คุณวริตาคิดว่าจะต้องเริ่มต้นท�ำอะไร สักอย่างเพื่อแบ่งเบาภาวะโลกด้วยตัวเองให้ได้ จากการที่จะต้องเริ่มต้นช่วยลดโลกร้อน เพียงคนเดียว ท�ำไมไม่ใช้สื่อเป็นกระบอกเสียง บอกเล่า เชิญชวนคนมาช่วยกันลดโลกร้อน จึงจุดประกายการท�ำสื่อสิ่งพิมพ์ที่ตนเองถนัด อย่างนิตยสาร GREEN LIVING ซึ่งมีแนวคิดว่า

Do a little thing. Make a better world. ท�ำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างต่อเนื่องในแบบของ ตัวเอง เพื่อสร้างโลกให้น่าอยู่ โดยเน้นการ ใช้ชีวิตแบบรอยเท้าคาร์บอนเป็นศูนย์ (Zero Carbon Lifestyle) ให้ความส� ำคัญกับการ ลงมื อ ท� ำ โดยตั้ ง ใจที่ จ ะท� ำ นิ ต ยสารสี เ ขี ย ว แจกฟรีฉบับนี้ให้ผู้คนหมู่มากได้มีโอกาสอ่าน และรับรู้ แต่จะท�ำอย่างไรให้คนไทยอยากอ่าน เพิ่มมากขึ้น คุณวริตาจึงมุ่งเน้นไปที่การผลิต นิตยสารที่ให้ภาพถ่ายสวยงามไว้ดึงดูดสายตา คนอ่านเป็นอันดับแรก โดยดึงเนือ้ หาทีเ่ ป็นหัวใจ มาโปรยหัว ท�ำกราฟิกให้สวยงาม เพียงแค่ผอู้ า่ น เปิดผ่านๆ รับรองว่าสะดุด และได้บางอย่างจาก นิตยสารเป็นแน่ จุดประสงค์ที่ให้ผู้อ่านสามารถช่วยโลก ได้หลักๆ คือ ทุกอย่างเริม่ ต้นได้ทตี่ วั เอง ไม่ตอ้ ง รอให้ใครเริ่มท�ำ แต่เราเริ่มท�ำด้วยตัวเองได้ รับผิดชอบสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ทั้งนี้เนื่องจาก

ค่าเฉลี่ยของคนไทยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 5.3-5.5 ตันต่อปีต่อคน การเริ่มที่จะ ลงมือท�ำในสิง่ เล็กๆ น้อยๆ ด้วยการปรับเปลีย่ น พฤติกรรมของเรา เช่น แยกขยะ งดใช้ถุง พลาสติก กินข้าวให้หมดจาน บริหารจัดการ อาหารในตู้เย็นให้หมดเกลี้ยง การไม่รีดเสื้อผ้า พฤติกรรมเหล่านีจ้ ะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในระดับหนึ่ง ส่วนที่เหลือเรา สามารถชดเชยได้ด้วยการปลูกต้นไม้ ทั้งนี้ การจะชดเชยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตัน จะต้องปลูกต้นไม้ประมาณ 1 ไร่ อย่าเพิ่งโอด ครวญไปว่าไม่มีที่พอจะปลูก ยังมีหน่วยงาน ราชการทีม่ พี นื้ ทีใ่ ห้เราปลูกได้ เช่น ศูนย์อนุรกั ษ์ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง่ ซึง่ เน้นการปลูก ป่าชายเลนที่เป็นแหล่งอาหาร อนุบาลสัตว์ ช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่ง ลดความรุนแรง จากสึนามิ แถมท้ายด้วยสามารถดูดซับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีกว่าป่าบกประมาณ


SECatalog 236

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

237

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

การเป็นสื่อที่ไปคลุกคลีกับปัญหาและประเด็น ทางสั ง คม จึ ง เปิ ด โอกาสให้ เ ยาวชนได้ สั ม ผั ส เรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจ นับเป็นสื่อแห่งการ เรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนในสังคม

Product & Service สินค้าและบริการ

4 เท่า ดังนั้น GREEN LIVING จึงเน้นกิจกรรม การปลูกป่าชายเลน ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ และสร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ไปด้ ว ย อย่ า งโครงการ ป่ากลับมา ปลากลับบ้าน เป็นต้น ปัจจุบัน GREEN LIVING ได้จัดท�ำนิตยสารเป็น 2 ภาษา คือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ออกสู่ สายตาผู้คนทุกๆ 2 เดือน พร้อมการปล่อยฟรี ดาวน์โหลด และอ่านออนไลน์ เพราะ GREEN LIVING มองโลกเป็นโลกทัง้ ใบ และทุกสิง่ ทุกอย่าง มีสว่ นสัมพันธ์กนั จึงหวังเป็นอย่างยิง่ ว่านิตยสาร GREEN LIVING จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจ และผลักดันให้ผู้คนลงมือท�ำในแบบของตนเอง ได้สำ� เร็จ พร้อมกับยืดอายุโลกให้นา่ อยูไ่ ปจนถึง รุ่นลูกรุ่นหลานของเราต่อไป

1. นิตยสาร GREEN LIVING สามารถหาอ่าน ได้ที่ซีเอ็ด 400 สาขาทั่วประเทศ ร้านชลาชล ร้าน ประดับยนต์ 64 สาขา หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ Eco-Shop มูลนิธิบ้านอารีย์ 2. จ�ำหน่ายเสื้อยืด ราคา 390 บาท สามารถ หาซื้อได้ที่มูลนิธิบ้านอารีย์ ร้าน imply Living สยามซอย 4 (The Little Space) ทุกวันอังคารพุธ ทีอ่ าคารอมรินทร์ ชัน้ 22 หน้าส�ำนักงาน DMG และงานแสดงสินค้าต่างๆ เช่น GreenMarket โดยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 0 2880 0187-9 3. รายการวิทยุ “รายการหยิบมาเล่า เอามาฝาก เพื่ อ โลกน่ า อยู่” ทุกวันอังคาร เวลา 09.1010.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz AM 1161 GHz ดาวเที ย ม R31 วิ ท ยุ เ พื่ อ การศึกษาเครือข่ายทัว่ ประเทศ และ www.moe radiothai.net ออกอากาศซ�ำ้ ทาง FM 92 MHz ในเวลา 22.00-22.50 น. 4. กิจกรรมเพือ่ สร้างจิตส�ำนึกและพัฒนามนุษย์ เช่น โครงการป่ากลับมา ปลากลับบ้าน

SIA ผลกระทบทางสังคม

การผลิตนิตยสารแจกฟรีเพือ่ สร้างแรงบันดาลใจ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้แก่คนเมือง และพยายามให้ คนไทยหันมาอ่านหนังสือ โดยท�ำนิตยสารที่มี ภาพสวยงาม น่าอ่าน รวมทั้งใช้ค�ำที่มีพลังเพื่อ ดึงดูด ทั้งยังมีการจัดกิจกรรมและสื่อประเภท อื่นๆ เพื่อรณรงค์ให้คนเมืองตระหนักถึงความ ส�ำคัญของสิ่งแวดล้อม


SECatalog 238

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

สำ�นักพิมพ์ธรรมสภา

แนวคิดเผยแพร่ธรรมกว่า 60 ปี

ในทุกสังคมจะต้องเจอกับเรื่องราวร้ายดีต่างๆ นานาในชีวิต หนทางของการบรรเทาความทุกข์ น่าจะ เป็นการที่ให้ธรรมะเยียวยาจิตใจ และเพื่อเป็นการเข้าถึงค�ำสอนและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้ มากขึ้น นอกจากจะต้องเข้าวัดเข้าวาแล้ว สื่อธรรมะก็น่าจะเป็นหนทางเริ่มต้นที่ดีให้ได้ โดยเฉพาะหนังสือ ธรรมะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่จะท�ำหน้าที่เผยแพร่หนังสือธรรมะดีๆ ให้ออกสู่สายตาผู้คนมากขึ้น

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : ส�ำนักพิมพ์ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณบันลือ สุขธรรม, คุณสุทธิรักษ์ สุขธรรม ชื่อผู้จัดการ / รับผิดชอบโครงการ : คุณรัสนันทน์ พรชื่น ที่อยู่ : เลขที่ 1/4-5 ถนนบรมราชชนนี 119 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ : 0 2888 7940, 0 2441 1535, 0 2441 1588 โทรสาร : 0 2441 1983 E-mail : thammasapa@yahoo.com Website : www.thammasapa.com

ส�ำนักพิมพ์ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม ก่อตัง้ ขึน้ โดยมีปณิธานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ตามเจตนาของท่านเจ้าคุณพระสุธรรมเมธี (คุณบันลือ สุขธรรม) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งธรรมสภา แห่ ง แรกในประเทศไทยตั้ ง แต่ ส มั ย จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี และได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้า ร�ำไพพรรณี พระบรมราชินใี นรัชกาลที่ 7 ทรงปิด ทองลู ก นิ มิ ต เอก และต่ อ มามี คุ ณ สุ ท ธิ รั ก ษ์ สุขธรรม เป็นผู้จัดตั้งอาคารธรรมสภาที่วัด ธรรมาธิปไตย จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเผยแพร่ พระพุทธศาสนา และมีการก่อตั้งส�ำนักพิมพ์ ธรรมสภาเมื่อปี 2530 เป็นต้นมา หั ว ใจส� ำ คั ญ คื อ การเผยแพร่ พ ระพุ ท ธศาสนา ส�ำนักพิมพ์จงึ เกิดขึน้ เพือ่ ให้ผคู้ นสามารถ

239

อ่านและเก็บเรือ่ งราวของพระพุทธศาสนาไว้กบั ตัวเอง โดยนอกเหนือจากการผลิตหนังสือธรรมะ เพื่อการจัดจ�ำหน่ายแล้ว ต่อมายังมีการปรับ รูปแบบการน�ำเสนอ พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และกระดาษเพื่อให้เป็นที่น่าสนใจและเป็นที่ ต้องการของผู้คนได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถ เข้าถึงได้ในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย จัดจ�ำหน่าย ในราคาไม่แพง แต่เน้นคุณภาพ ท�ำให้สามารถ กระจายหนังสือธรรมะให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น รวมทั้ ง ทางส� ำ นั ก พิ ม พ์ ยั ง รั บ พิ ม พ์ ห นั ง สื อ ที่ ระลึกในงานต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานที่ทาง ส�ำนักพิมพ์นั้นเป็นผู้พิมพ์บริจาคให้ นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อ ให้เข้าถึงแก่นของธรรมะ โดยผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรม ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น อาทิ กิจกรรม


SECatalog 240

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

241

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ค�ำสอนของพระพุทธเจ้าจะยังคงอยูใ่ นหนังสือ เรือ่ งราวของธรรมะจักถูกตัง้ มัน่ ไว้เป็นตัวอักษร เพียงเพือ่ ให้ผคู้ นได้เข้าใจถึงหลักทีแ่ ท้จริงของธรรมะ

1. โครงการจัดตั้งศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ถวายวัด กระจายสู่ทั่วประเทศ เพื่อให้ธรรมะ สามารถเข้าถึงใจผู้คนได้อย่างกว้างขวางมาก ยิ่งขึ้น 2. จัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ธรรมะในรูปแบบ ต่างๆ อาทิ การบรรยายธรรม การปฏิบัติธรรม โดยการเชิญพระอาจารย์ทมี่ คี วามรูค้ วามสามารถ มาเป็นผู้บรรยายธรรม 3. จัดตัง้ กองทุนคลังธรรมทาน ส�ำหรับการแจก หนังสือธรรมะ ในลักษณะตูธ้ รรมะทีบ่ รรจุหนังสือ และสื่อธรรมทาน ตามสถานที่ต่างๆ ที่เข้าร่วม กับกองทุน เพื่อเผยแพร่ธรรมะให้เข้าถึงพุทธศาสนิกชนให้มากขึ้น

Product & Service สินค้าและบริการ

1. หนั ง สื อ ธรรมะ ติ ด ต่ อ สั่ ง ซื้ อ หนั ง สื อ ได้ ที่ โทร. 0 2441 1535 ต่อ 34 2. รับผลิตพิมพ์หนังสืออนุสรณ์ งานแจกเป็น ธรรมทาน ติดต่อโทร. 0 2441 1981, 08 9210 5133 3. ศู น ย์ ห นั ง สื อ พระพุ ท ธศาสนาธรรมสภา สอบถามเรื่องตู้และหนังสือพระไตรปิฎก โทร. 0 2441 1535 ต่อ 12 4. สมัครสมาชิกหนังสือ ได้ที่ โทร. 0 2441 1535 ต่อ 13 5. กิจกรรมและโครงการธรรมะต่างๆ สามารถ ติดตามได้ที่ www.thammasapa.com

SIA ผลกระทบทางสังคม วันเด็ก ซึ่งทางส�ำนักพิมพ์ได้จัดต่อเนื่องมา กว่า 15 ปีแล้ว กิจกรรมพบรัก พบธรรม ที่เน้น ไปในเรื่ อ งของการบรรยายธรรม โดยการ นิมนต์พระเถระมาบรรยายให้ฟงั ในหัวข้อต่างๆ โครงการอยู่กันด้วยความรัก เป็นโครงการที่มี จุดเริ่มต้นจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศไทย ปี 2547 ซึ่งเป็นโครงการรวบรวมเครื่องอุปโภค บริ โ ภคส� ำ หรั บ การช่ ว ยเหลื อ ผู ้ เ ดื อ ดร้ อ น ยามเกิดภัยพิบัติ และจัดเป็นโครงการต่อเนื่อง เรื่อยมา โครงการเรียนรู้ชีวิตธรรมในหนึ่งวัน

ไปเช้าเย็นกลับ เป็นต้น กิจกรรมต่างๆ ที่ได้เสริมเข้ามาในส�ำนัก พิมพ์ เป็นสิง่ ทีจ่ ะช่วยให้ผคู้ นได้เข้ามามีบทบาท ของการเป็นผู้ให้มากขึ้นไปพร้อมๆ กับการ ซึมซับเรือ่ งราวของธรรมะ อย่างทีท่ างส�ำนักพิมพ์ มีจุดประสงค์ที่ต้องการเผยแพร่ตั้งแต่แรกเริ่ม นอกจากตั ว อาคารส� ำ นั ก งานที่ เ ป็ น ทั้ ง โรงพิมพ์ หน้าร้านจ�ำหน่ายหนังสือ และฝ่าย ผลิตแล้ว ยังมีในส่วนของเรือนทาน ด้านหน้า ส�ำนักงาน ซึง่ จะจัดอาหารให้มารับประทานกัน

โดยไม่เสียค่าใช้จา่ ยทุกๆ วันพระ ตัง้ แต่ชว่ งเช้า ถึงบ่าย ที่กล่าวมาในเบื้องต้นนั้น กิจการส�ำนักพิมพ์ เหมือนเป็นฝ่ายให้ แต่กิจการเพื่อสังคมก็ยังคง ต้องมีรายได้ ซึ่งรายได้นั้นมาจากผลประกอบ การน�ำมาหมุนเวียน รายได้บางส่วนก็น�ำไป เป็นการจัดกิจกรรมหมุนเวียนต่อไป

คนทั่วไปในทุกเพศทุกวัยพบว่าธรรมะและหลัก ธรรมค�ำสอนตามพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่เข้าใจ ยากและเข้าถึงยาก รวมไปถึงการรับฟังธรรม และการปฏิบัติธรรม ส�ำนักพิมพ์ธรรมสภาจึง ผลิ ต หนั ง สื อ ธรรมะให้ มี รู ป ลั ก ษณ์ แ ละเนื้ อ หา น่าสนใจเหมาะกับบุคคลทุกเพศทุกวัย และจัด จ�ำหน่ายในราคาย่อมเยามาตั้งแต่ พ.ศ.2530 จนท�ำให้หนังสือธรรมะหลายๆ เล่มกลายเป็น หนั ง สื อ ยอดนิ ย มติ ด อั น ดั บ นอกจากนี้ ยั ง มี การจัดกิจกรรม ผลิตสื่อหลากหลายรูปแบบ เพื่อเผยแพร่ธรรมะและการปฏิบัติธรรมอย่าง ต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้เข้าถึง พระธรรมค�ำสอนและข้อคิดในทางพุทธศาสนา


SECatalog 242

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

243

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : Why Not ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณธวัชชัย แสงธรรมชัย ที่อยู่ : เลขที่ 9/1 ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 08 1553 8981 E-mail : au.thawachai@gmail.com

เวลาทีใ่ ครสักคนจะลงมือช่วยเหลือ สังคม สิ่งส�ำคัญคือการที่เราน�ำ ความรู้ความสามารถที่ตัวเองมี ออกมาใช้ และน�ำไปสู่การช่วยใน แบบฉบับทีต่ วั เองถนัด แน่นอนว่า เงินเป็นปัจจัยในการช่วยเหลือ แต่เงินไม่ได้ท�ำหน้าที่ในการช่วย มากไปกว่าความสามารถที่เรามี แล้วส่งต่อให้สงั คม เพือ่ ประโยชน์ สุขของสังคม

Why Not ผลิตสื่อโฆษณาสร้างสรรค์สังคม

คุณธวัชชัย แสงธรรมชัย ผูก้ อ่ ตัง้ Why Not จึงมีความคิดที่จะใช้ประสบการณ์ที่มีมาอย่าง ยาวนานตัง้ บริษทั Advertisement and Media Agency รับผลิตและปรึกษางานด้านความคิด สร้างสรรค์ขนึ้ มาอย่างจริงจัง โดยการใช้ความรู้ ความสามารถด้ า นการสื่ อ สารที่ มี บ วกกั บ ความคิดสร้างสรรค์ และงานเพือ่ สังคม แล้วน�ำ ไปคูณผลกระทบของสังคมทีม่ อี ยูแ่ ล้ว ก่อให้เกิด กระแสที่เพิ่มมากขึ้น โดยที่ต้องใช้กระบวนการ ทางความคิดจะเท่ากับผลดีต่อสังคม คุณธวัชชัยได้เล็งเห็นว่า พลังของสือ่ โฆษณา นั้นมีผลต่อการขับเคลื่อนสังคม โดยเฉพาะใน ระบบทุนนิยมอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ โดยเริ่ม

จากการเป็นทีป่ รึกษา ท�ำวิดโี อ สิง่ พิมพ์ เว็บไซต์ งานอีเว้นท์ต่างๆ ทุกอย่างที่เป็นเครื่องมือทาง การสื่อสาร ที่ไม่ปิดกั้นตัวเองว่าต้องท�ำเฉพาะ ด้านใดด้านหนึ่ง มีการคิดพัฒนางานให้กับ ลูกค้าจากโจทย์เดิมภายใต้งบประมาณที่จำ� กัด พร้อมเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ หาสิ่งที่ลงตัว ที่สุดน�ำมาเสนอแก่ลูกค้าที่ไม่มีเงินมากมาย ในการผลิตสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อที่ต้องการ เป็นกระบอกเสียงให้กับสังคม แน่นอนว่าภายใต้งบประมาณที่จ�ำกัดคือ ต้นทุนต�่ำกว่าเดิม แต่หัวใจส�ำคัญของ Why Not คือการสร้างผลกระทบให้ได้มากกว่าเดิม มีคนพูดถึงมากกว่าเดิม หรือสามารถท�ำให้

ปัญหาของสังคมในเรื่องที่สื่อสารออกไปนั้นถูก สะสางได้ดีกว่าเดิม และที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ โฆษณา UnLtd Thailand เปิดพื้นที่ให้คนที่มีฝีมือได้มีโอกาสท�ำงานเพื่อ สังคม หรือคนที่ท�ำงานเพื่อสังคมอยู่แล้วได้มี โอกาสร่วมงานกับมืออาชีพและได้ชิ้นงานที่ดี กลับไป โดยที่ Why Not เป็นตัวกลางดึงคน เข้ามาร่วมกัน ผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม ให้มีแรงมากพอที่จะท�ำให้เกิดการเปลี่ยนอะไร บางอย่างในสังคม


SECatalog 244

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

การสือ่ สาร + ความคิดสร้างสรรค์ X ผลกระทบสังคม = กิจการผลิตสือ่ เพือ่ สังคม

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

245

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

ช่ อ งทางการเพิ่ ม คุ ณ ภาพของชิ้ น งาน สู ่ ก าร สนับสนุนสื่อเพื่อสังคม โดยการสร้างโครงสร้าง ระบบการจัดการ ดึงคนหน้าใหม่เข้ามาร่วมงาน และขยายสายงานระหว่างคนท�ำงานมืออาชีพ ด้านการสื่อสาร และคนท�ำงานภาคสังคม

Product & Service สินค้าและบริการ

1. รับผลิตสื่อโฆษณา พร้อมให้ค�ำปรึกษาแก่ ลูกค้า หรือกิจการเพื่อสังคมที่สนใจ จัดท�ำสื่อ เพือ่ ประชาสัมพันธ์องค์กร สอบถามเพิม่ เติมได้ที่ โทร. 08 1553 8981

SIA ผลกระทบทางสังคม

การโฆษณาที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์สูง และ มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมัก จะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ซึ่งกิจการเพื่อสังคม ทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ ท�ำให้ขาดโอกาสใน การสื่อสาร Why Not จึงรับผลิตสื่อโฆษณา วางแผนประชาสัมพันธ์ ให้กิจการเพื่อสังคมที่ มีงบประมาณที่จ�ำกัด โดยมีคุณภาพของงาน และความคิ ด สร้ า งสรรค์ เ ที ย บเท่ า กั บ บริ ษั ท เอเจนซีโ่ ฆษณาชัน้ น�ำ ในราคาทีก่ จิ การเพือ่ สังคม สามารถจ่ายได้


SECatalog 246

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Creative Change “อะเฮด เวย์” สื่อเพื่อสังคม ปัจจุบนั คนรุน่ ใหม่มคี วามคิดทีอ่ ยากจะเป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง เป็นสิง่ ทีส่ ร้างสรรค์ขนึ้ จากความถนัดและเป็นงานทีร่ กั สร้างรายได้ที่ น่าพึงพอใจ พออยู่รอดไม่ต้องถึงขั้นกินแกลบ ยืนในสังคมได้โดยไม่ อายใคร ทัง้ สิง่ ทีท่ ำ� ไม่เพียงเพือ่ ปากท้อง พอประคองอาชีพได้เท่านัน้ หากยังสามารถเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น นั่นคือความฝันที่ใครๆ ก็ อยากพบเมื่อลืมตา

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อกิจการ : บริษัท อะเฮด เวย์ จ�ำกัด ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณชัยวัฒน์ เพชรทับ คุณทิฆมั พร ภูพนั นา และคุณเกรียงไกร กลิน่ ศรีสขุ ที่อยู่ : เลขที่ 8 ซอย 73 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ : 0 2931 1444 E-mail : aheadway@gmail.com Website : www.facebook.com/pages/ AHEAD-WAY-Co-Ltd

อะเฮด เวย์ กลุ่มผลิตสื่อเล็กๆ ที่สานฝัน ของตัวเองให้เกิดขึ้นจริง เพื่อผลิตสื่อที่สร้างสรรค์ให้แก่สังคม น�ำเสนอประเด็น ตั้งค�ำถาม ท�ำให้สังคมได้มองเห็นประเด็นและจุดระเบิด ความสนใจเพื่อน� ำไปสู่ความร่วมมือช่วยให้ สังคมดีขึ้น เป็นแนวทางให้คนรุ่นใหม่เป็นผู้ ประกอบการเพื่อสังคม การรวมตัวของ คุณชัยวัฒน์ เพชรทับ คุณทิฆมั พร ภูพนั นา และคุณเกรียงไกร กลิน่ ศรีสขุ สามประสานผู้ก่อตั้งอะเฮด เวย์ ที่เคยท�ำงาน เบื้องหลังเกี่ยวกับด้านสื่อสารมวลชน ที่เคย ท�ำตามใจสปอนเซอร์มากกว่าท�ำในสิง่ ทีต่ อ้ งการ จะเสนอสูส่ ายตาสังคม เพือ่ แลกกับประสบการณ์ การท�ำงาน แม้จะรูส้ กึ ว่าสิง่ ทีท่ �ำอยูไ่ ม่ใช่คำ� ตอบ ของชีวิต และเมื่อถึงจุดที่พร้อม ปีกสองข้าง ของทั้งสามแข็งแรงพอที่จะกางสู่การท�ำสื่อเพื่อ สังคม

247

สิ่ ง ที่ ยึ ด เป็ น แนวคิ ด ในการท� ำ รายการ ของเขาคือเริ่มจากการมองเห็นปัญหาสังคม มาเป็นอันดับแรก น�ำสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในสังคมบวกกับ พลังความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มความน่าสนใจ เข้าไป เน้นการสื่อสารที่เข้าใจง่าย ให้ความ บันเทิงเชิงสาระสู่รายการโทรทัศน์เข้าไปสร้าง การเรียนรู้ ท�ำให้คนเข้าใจประเด็นในสังคม จุ ด ประกายให้ เ กิ ด มุ ม มองใหม่ ๆ ในสั ง คม เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ไม่มากก็น้อย “บ้านดอนดินดี” รายการที่มุ่งน�ำเสนอ เรื่องพื้นๆ นั่นคือพื้นดิน ต้องการเผยแพร่เรื่อง ปัญหาที่ดินให้ทุกคนรับรู้ มองเห็นปัญหาผ่าน จอโทรทัศน์สู่การสร้างความเข้าใจ และมองหา ทางออกร่วมกัน อยู่ระหว่างรอออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส


SECatalog 248

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

249

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

มองเห็นปัญหา สูส่ อื่ สร้างสรรค์ เพือ่ สรรค์สร้าง สังคม เมื่ อ ผู ้ ช มได้ รั บ รู ้ ใ นสิ่ ง ที่ สื่ อ สารออกไปแล้ ว สามารถหยิบยกน�ำมาต่อยอดความคิด อะเฮด เวย์คดิ ว่าได้ท�ำหน้าทีเ่ ป็นตัวกลางในการสือ่ สาร ให้ได้รู้ถึงสถานการณ์ที่ปรากฏ สร้างแรงจูงใจ อันน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เขาถือว่า คือสิ่งที่ประสบความส�ำเร็จ เป็นเชื้อเพลิงที่จะ ขับเคลื่อนผลงานสร้างสรรค์ให้สังคมต่อไป

ผลิ ต สื่ อ สร้ า งสรรค์ ที่ น� ำ เสนอประเด็ น ปั ญ หา ของสังคม พร้อมตั้งค�ำถาม ท�ำให้สังคมได้มอง เห็นประเด็น และน�ำไปสู่ทางออกให้สังคมดีขึ้น

Product & Service สินค้าและบริการ

1. รายการบ้านดอนดินดี รายการทีน่ ำ� เสนอเรือ่ งราวเกี่ยวกับชุมชน พูดถึงปัญหาที่ดิน การอยู่ ร่ ว มกั น ในสั ง คม อาหารการกิ น การปรั บ ตั ว ในการเปลี่ ย นแปลงทางภัยธรรมชาติ และสิ่ง แวดล้ อ ม ที่ จ ะท� ำ ให้ ผู ้ ช มได้ เ ข้ า ใจปั ญ หาของ สังคม ได้ความรู้ในปัญหาเรื่องการใช้ที่ดินใน ประเทศไทย สร้ า งความเข้ า ใจในปั ญ หา และ มองหาทางออกร่ ว มกั น ก� ำ หนดออกอากาศ ทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ในเดือนตุลาคม 2555 เป็นต้นไป

SIA ผลกระทบทางสังคม

เป็นกิจการที่ข่วยแก้ปัญหาของสื่อที่ท�ำเพื่อเงิน เป็นหลัก และต้องตอบสนองความต้องการของ สปอนเซอร์มากกว่าการน�ำเสนอเนื้อหาสาระที่มี คุณภาพต่อผู้ชม อะเฮด เวย์จึงน�ำเสนอรายการ โทรทัศน์ที่น�ำเสนอปัญหาในสังคมเพิ่มมากขึ้น และเป็นสือ่ ทีไ่ ปกระตุน้ ให้ผคู้ นตืน่ ตัว มีการปรับตัว ในการเปลีย่ นแปลงทางภัยธรรมชาติ สิง่ แวดล้อม และเข้าใจปัญหาของสังคมมากขึ้น


Tourism ท่องเที่ยว


SECatalog 252

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Bike & Travel ปั่นท่องโลก

คงจะดีไม่นอ้ ย หากกลุม่ คนชอบท่องเทีย่ วจัดทริปน�ำเทีย่ วแบบปัน่ จักรยาน เข้าสูส่ ถานทีท่ อ่ งเทีย่ วท้องถิน่ เพือ่ ไปชมความงดงามของชีวติ ผูค้ น ผ่านศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีทดี่ งี ามในท้องถิน่ ไปพร้อมๆ กับ การได้เต็มอิ่มกับธรรมชาติไปตลอดการเดินทาง ทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้รักสิ่งแวดล้อม ไม่มีมลพิษ ไปในตัว แถมสุขภาพก็ยังดีอีกด้วย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Bike and Travel เป็นกิจการเล็กๆ ที่มี ความตั้งใจที่แสนยิ่งใหญ่ ที่จะให้ผู้คนหันมา ปั่นจักรยานให้มากขึ้นกว่าเดิม และกว่า 10 ปี ที่คุณธานินทร์ ฤตวิรุฬห์ ผู้ก่อตั้งกิจการเล็กๆ แห่ ง นี้ เปิ ด ให้ บ ริ ก ารน�ำ เที่ ย วด้ ว ยจั ก รยาน ให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการท่องเที่ยวด้วย จักรยาน อย่างน้อยก็เพื่อให้ผู้คนได้เข้าใจการ ปั่นจักรยาน ที่สามารถลดการใช้พลังงาน และ เพื่อสุขภาพที่ดี โดยส่ ว นตั ว คุ ณ ธานิ น ทร์ เ ป็ น คนที่ ช อบ เดินทางด้วยจักรยาน และออกส�ำรวจเส้นทาง เพื่ อ เขี ย นหนั ง สื อ ให้ กั บ การท่ อ งเที่ ย วแห่ ง ประเทศไทย ก็เลยมีความคิดที่จะตั้งชมรม เพื่ อ ส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมให้ กั บ สมาชิ ก ที่ รั ก การ ขี่จักรยานขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า ชมรมจักรยาน เพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย เพื่อรวมกลุ่มผู้ที่ รักการขี่จักรยานเพื่อการท่องเที่ยว และมีการ พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกลุ่มคน หลากหลายอายุและอาชีพ เป็นการเสริมสร้าง สุขภาพทั้งกายและใจจากการท่องเที่ยวและ ปั ่ น จั ก รยาน มี ส ่ ว นช่ ว ยลดการใช้ พ ลั ง งาน เชือ้ เพลิงทีน่ บั วันราคาสูงขึน้ เรือ่ ยๆ และทีส่ ำ� คัญ คือ การส่งเสริมการท่องเทีย่ ว และกระจายรายได้ ไปสู่ท้องถิ่น เมื่อการเดินทางท่องเที่ยวไปถึง นัน่ หมายถึงการมีรายได้ในท้องถิน่ นัน้ ๆ จากการ บริการและการซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากกลุ่ม แม่บา้ น หรือสินค้าโอทอปในต�ำบลนัน้ ๆ นัน่ เอง นอกจากนี้ Bike and Travel ยังต่อยอด การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและกระจายรายได้ เป็นโครงการการกุศลในรูปแบบต่างๆ อาทิ โครงการการกุศลที่ร่วมกับกลุ่ม British Heart Foundation ซึ่งเป็นกองทุนเกี่ยวกับโรคหัวใจ และ NSPCC หรือมูลนิธิช่วยเหลือเด็กของ ประเทศอังกฤษ จัดโครงการทริปทรู หมายเลข 9 ซึ่งเป็นโครงการที่ท�ำเพื่อในหลวง โดยการจัด

ข้อมูลพื้นฐาน

253

ชื่อกิจการ : บริษัท Bike and Travel จ�ำกัด ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณธานินทร์ ฤตวิรฬ ุ ห์ ที่อยู่ : เลขที่ 802/756 ริเวอร์ปาร์ค หมู่ 12 ต�ำบลคูคต อ�ำเภอล�ำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทรศัพท์ : 0 2990 0274, 08 1686 1239 โทรสาร : 0 2990 0900 E-mail : tctc@explorertime.com Website : www.explorertime.com


SECatalog 254

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ทริ ป 9 วั น และน�ำ สิ่ ง ของไปบริ จ าคให้ กั บ โรงเรี ย นตะเข็ บ ชายแดน พร้ อ มกั บ การวั ด สมรรถภาพของผู้ปั่นจักรยาน จนเป็นที่มาของ ชื่อทริปตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง บางทริปของ Bike and Travel นั้นจะเป็น การท่ อ งเที่ ย วที่ ส ่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ สุขภาพและการเรียนรู้ เช่น ปั่นจักรยาน... ชมเมืองโบราณ...เก็บเรื่องราวแต่หนหลัง... ณ ริมฝั่งล�ำน�้ำยม โดยใช้เส้นทางจากเมือง แม่ม่ายถึงราชธานีแห่งแรกของชาติไทยอย่าง อาณาจักรสุโขทัย เป็นต้น และยังมีกิจกรรม เล็กๆ สอดแทรกอยูใ่ นทริปการเดินทาง เพือ่ เป็น ส่วนหนึ่งของการบอกเล่าเรื่องราวดีๆ เช่น ชวนเพื่อนเลิกดื่มเบียร์ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของ

255

คุณธานินทร์ และบอกต่อผ่านเว็บบอร์ด www. thaimtb.com ทีเ่ ป็นเว็บบอร์ดแจ้งก�ำหนดทริป การเดินทางต่างๆ ของทาง Bike and Travel และธุรกิจท่องเที่ยวอื่นๆ

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

หั ว ใจหลั ก ของกิ จ การเพื่ อ สุ ข ภาพมวลรวม ของคนไทย โดยการส่งเสริมการท่องเที่ยว และสุขภาพ รวมทั้งให้ผู้คนสนใจในการปั่น จักรยานมากขึ้น หากมองเป็นจุดเชื่อมโยงก็คือ มองได้ว่า Bike and Travel เดินทาง สุขภาพ ส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระจายรายได้สู่ ท้องถิ่น

Product & Service สินค้าและบริการ

ชวนคนมาปัน่ จักรยาน ส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริมการท่องเทีย่ ว และเพิม่ เศรษฐกิจระดับท้องถิน่

น� ำ พลั ง เครื อ ข่ า ยนั ก ปั ่ น จั ก รยาน มาจั ด ทริ ป ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างงาน สร้างรายได้ให้ กับชุมชน ทั้งยังปลูกฝังการรักสิ่งแวดล้อมและ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้แก่นักท่องเที่ยว

1. รั บ จั ด ทั ว ร์ ท ่ อ งเที่ ย ว โดยใช้ จั ก รยานเป็ น พาหนะหลัก โดยรับจัดทัวร์ทั้งในรูปแบบของ บริษัทเอง หรือร่วมกับองค์กรอื่นๆ 2. จ�ำหน่ายรถจักรยาน และอุปกรณ์จักรยาน คุณภาพในราคาที่เหมาะสม สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ โทร. 0 2990 0274, 08 1686 1239

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากความชื่ น ชอบการเดิ น ทางด้ ว ยจั ก รยาน แล้วเห็นว่ายังได้สุขภาพที่ดีกลับคืนมา ส่งผลให้ Bike and Travel ตัง้ ใจทีจ่ ะส่งเสริมให้ผคู้ นหันมา เดินทางด้วยจักรยานมากขึน้ และเมือ่ ประเทศไทย มีเศรษฐกิจหลักคือการท่องเทีย่ ว ก็ตอ้ งส่งเสริม การท่องเทีย่ วในประเทศให้มากขึน้ เพือ่ กระเพือ่ ม เศรษฐกิจตัง้ แต่ระดับท้องถิน่ สูร่ ะดับชาติ และจาก การทีท่ าง Bike and Travel ได้จดั ทริปท่องเทีย่ ว ด้วยการปั่นจักรยาน ส่งผลให้มีผู้ร่วมเดินทาง ด้วยจักรยานมากขึน้ และจะเป็นการบอกต่อเพือ่ ขยายสิ่งดีๆ ต่อไป


SECatalog 256

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

The Golden Home Stay

“โฮมสเตย์บ้านท่าขันทอง” ขุมทองของชุมชน

เมือ่ ชุมชนหนึง่ ทีอ่ ยูแ่ สนไกลถึงอ�ำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย หมูบ่ า้ นทีต่ ดิ กับแม่นำ้ โขงกัน้ ไว้กับประเทศลาว หมู่บ้านแสนไกลที่มีผู้ใหญ่ เห็นความส�ำคัญของของชาวบ้านในหมู่บ้าน จะท�ำอย่างไรให้บ้านไกลโพ้นนี้ช่วยให้ชาวบ้าน ในหมูบ่ า้ นมีชอ่ งทางของการเพิม่ รายได้นอกจาก การท�ำอาชีพหลัก กระทัง่ คิดว่าบ้านท่าขันทองนี้ ก็มีดีในเชิงท่องเที่ยว ทั้งยังเป็นหมู่บ้านที่มีวิถี ชีวิตที่ดี อยู่กันอย่างพอเพียงของจริง ไม่อิง กระแส กระทัง่ ขยับขยายกลายมาเป็นโฮมสเตย์ และเรื่องอื่นๆ ที่ดีตามมา พร้อมรอยยิ้มและ รายได้ที่มากขึ้น โฮมสเตย์บ้านท่าขันทอง จ.เชียงราย เป็น ท้ อ งถิ่ น มี ศั ก ยภาพการในการสร้ า งหมู ่ บ ้ า น เศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข ความเข้มแข็ง ของชุมชน สุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์ การเรียนรู้ให้กับผู้สนใจทั้งหน่วยงานภาครัฐ

และเอกชน แต่ตอ้ งติดขัดเรือ่ งทีพ่ กั ด้วยวิสยั ทัศน์ ของผู้น�ำที่มองเห็นรูปแบบการท� ำโฮมสเตย์ ซึ่งจะน�ำมาสู่การเปลี่ยนแปลงชุมชนสู่สิ่งที่ดีขึ้น อย่างน้อยเรื่องรายได้เสริมของชาวบ้านก็เป็น จุดตั้งต้น

ระยะเวลาตัง้ ตัวทีม่ คี ณุ เศรษฐศักดิ์ พรหมมา เป็นโต้โผรวบรวมแกนน�ำชาวบ้านสร้างความ เข้าใจตรงกันในจุดยืนการพัฒนาที่มีเข็มทิศ ต้องรักษาวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม ความสะอาดเป็นส�ำคัญ ควบคู่กับชีวิตความ

257

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อกิจการ : โฮมสเตย์บ้านท่าขันทอง ชื่อเจ้าของ / ผู้ก่อตั้ง : คุณเศรษฐศักดิ์ พรหมมา คุณเสถียร บุญปก และคุณส�ำเนียง อินทรพรหมมา ผูร้ บั ผิดชอบโครงการ : คุณเศรษฐศักดิ์ พรหมมา ทีอ่ ยู่ : เลขที่ 32 หมู่ 3 บ้านท่าขันทอง ต�ำบลบ้านแซว อ�ำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 57150 โทรศัพท์ : 08 6194 2647 E-mail : fm101.50@hotmail.com Website : www.takuntong.com

เป็ น อยู ่ ที่ ช าวบ้ า นยึ ด เกษตรกรรมเป็ น หลั ก วางเงื่อนไขว่าโฮมสเตย์ต้องมีพืชผักสวนครัว น�ำมาให้แขกและตัวเองบริโภค เหลือก็ปันกัน กินแลกกันใช้ แน่นอนว่าหากไม่มีนักท่องเที่ยว ชาวบ้านก็มีอยู่มีกินตามปกติ หากมีคณะผู้มา เยือนก็ต้อนรับเสมือนญาติสนิทมาเยี่ยมบ้าน และด้วยบรรยากาศหมู่บ้านที่มีการวาง ผังเมืองเป็นตารางหมากรุกเลียบริมโขง บ้าน เรือนส่วนใหญ่ไร้รั้วกั้น มีความมั่นคงในชีวิต ที่ดี ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย บวกกั บ จุ ด เด่ น ของชุ ม ชนชาวอี ส านและคน พื้นเมืองอยู่ร่วมกันด้วยความเกื้อกูล ชาวบ้าน รักและภูมิใจในวัฒนธรรมที่หลากหลายของ ชุมชน ท่ามกลางวิวสวยน�้ำใจใส ส่งผ่านความ รู้สึกถึงผู้มาเยือน สร้างความความประทับใจ จนต้องแวะเวียนมาเยือนครั้งแล้วครั้งเล่า


SECatalog 258

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

หมูบ่ า้ นเศรษฐกิจ พอเพียงอยูเ่ ย็น เป็นสุข ก�ำไรไม่ใช่ ตัวเงิน การท่องเที่ยวเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการ พัฒนา ฟื้นฟูเรื่องราวของหมู่บ้าน อาทิ การทอ ผ้า การเลี้ยงจิ้งหรีด เกษตรผสมผสานอินทรีย์ การแสดงหมอล� ำ ถ้ า ไม่ มี ก ารส่ ง เสริ ม การ ท่องเที่ยวก็ไม่มีแรงกระตุ้น ชาวบ้านมีความ สนุกสนาน มีความสุขที่ได้น�ำเสนอ ส่งเสริม ให้ชาวบ้านรักและภูมิใจในวัฒนธรรมที่หลาก หลายของแต่ละชุมชน สืบสานไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และซึมซับ และส�ำคัญคือคนรุ่น ต่อไปได้เห็นประโยชน์จากการพัฒนาในทาง สร้างสรรค์นี่คือความยั่งยืน

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

3. กิจกรรมปั่นจักรยานเที่ยวชมบรรยากาศ รอบหมู่บ้าน อัตราค่าบริการเช่าคันละ 20 บาท 4. กิจกรรมการเก็บไก หรือสาหร่ายน�ำ้ แม่นำ�้ โขง ช่วงประมาณเดือนมีนาคน-เมษายน เพื่อน�ำมา ประกอบอาหารรับประทานร่วมกับชาวบ้าน 5. มีการท�ำพิธบี ายศรีสขู่ วัญหมู่ ให้แก่นกั ท่องเทีย่ ว ซึง่ เป็นพิธเี รียกขวัญอันศักดิส์ ทิ ธิข์ องภาค อีสาน ด้วยการมัดแขน ผูกข้อมือจากพ่ออุย๊ และ แม่อุ๊ย 6. สินค้าเด่นประจ�ำชุมชน ชาสมุนไพรเจียวกู่หลาน เก็บจากธรรมชาติบริเวณลุ่มแม่น�้ำโขง สะอาดปลอดภัยจากสารเคมี มีตัวยาธรรมชาติ Product & Service สินค้าและบริการ และกลิ่นหอม ราคากล่องละ 150 บาท 1. บ้านพักโฮมสเตย์บ้านท่าขันทองมีทั้งหมด หากสนใจการศึกษากิจกรรมและโฮมสเตย์ ติดต่อ 20 หลัง สามารถรองรับได้ 100 คน คิดอัตรา เพิ่มเติมได้ที่ คุณเศรษฐศักดิ์ พรหมมา โทร. ค่ า บริ ก ารห้ อ งพั ก 1 คื น รวมอาหาร 2 มื้ อ 08 6194 2647 (เช้า-เย็น) ราคา 300 บาท/คน 2. น� ำ ชมกิ จ กรรมทางการเกษตรของชุ ม ชน SIA ผลกระทบทางสังคม โดยมีคนของชุมชนเป็นผูน้ ำ� เทีย่ วศูนย์การเรียนรู้ โฮมสเตย์บา้ นท่าขันทองมีการจัดการทีด่ ี มีความ เกษตรพอเพียง นั่งรถอีต๊อกดูการท�ำข้าวกล้อง เข้าใจสภาพแวดล้อมของชุมชนจริง น�ำไปสู่การ อินทรีย์ การเลี้ยงจิ้งหรีด และการทอผ้าบ้านท่า ฟื้นฟูวัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้น ขันทอง โดยมีค่าด�ำเนินกิจกรรม ค่าวิทยากร ความสามัคคี และสร้างเศรษฐกิจในชุมชน ท�ำให้ ศึกษาดูงานกลุม่ อาชีพ 500 บาท มัคคุเทศก์ คนละ คนในชุมชนมีรายได้เพิม่ ขึน้ และมีการวางเงือ่ นไข 100 บาท/วัน และค่าบริการรถอีตอ๊ ก 250 บาท/คัน ทีน่ กั ท่องเทีย่ วจะต้องบริโภคผลิตภัณฑ์ของชุมชน สามารถโดยสารได้ 10 คน เช่น ผักและผลิตภัณฑ์การเกษตร 1. ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น กิ จ กรรมหมู ่ บ ้ า น เศรษฐกิจพอเพียงอยูเ่ ย็นเป็นสุข และกลุม่ อาชีพ ของชุมชนที่มีกลุ่มบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามาเรียนรูแ้ ละแลกเปลีย่ นประสบการณ์ ส่งผล ให้มีการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น 2. ก่อให้เกิดจิตส�ำนึกรักชุมชน กระตุ้นให้เกิด ความร่วมมือของคนในชุมชน อันน� ำพามาซึ่ง ความภูมใิ จในวัฒนธรรม ความเข้มแข็งของชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง สุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี และการท่องเที่ยวที่มีวิถีเป็นของตัวเอง

259


SECatalog 260

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

261

Change for Life “แหลมสิงห์โฮมสเตย์” ลงเรือเดียวกัน

ธุรกิจท่องเที่ยวที่เกี่ยวแขนชาวบ้านในพื้นที่ให้มีส่วนร่วม คงเป็นภาพน่ารักที่ทำ� ให้ธุรกิจท่องเที่ยวได้ รับความสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะนอกจากนักท่องเที่ยวจะได้รับบรรยากาศดีจากการพักผ่อนแล้ว เงินที่ จ่ายไปนักท่องเที่ยวยังได้รับรู้ว่า ส่วนหนึ่งชาวบ้านในพื้นที่ก็จะได้รับส่วนนี้เช่นกัน ส่วนใหญ่จะมาใน รูปแบบโฮมสเตย์

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อกิจการ : โบ๊ทเฮ้าส์ แหลมสิงห์โฮมสเตย์ ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณทัณฑิกา พ่วงพี ที่อยู่ : เลขที่ 99/3 หมู่ 1 บ้านแหลมสิงห์ ต�ำบลบางกะไชย อ�ำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี 22120 โทรศัพท์ : 08 6666 5423, 08 6565 5423 E-mail : info@laemsing.in.th Website : www.laemsingthouse.pg.in.th www.laemsing.in.th www.facebook.com/laemsing.boathouse

โฮมสเตย์ทวี่ า่ นัน้ ก็คอื โบ๊ทเฮ้าส์ แหลมสิงห์ โฮมสเตย์ จ.จันทบุรี ที่เล็งเห็นความส�ำคัญของ ชาวบ้านมาเป็นอันดับหนึง่ ซึง่ จากแรกเริม่ เดิมที ที่แห่งนี้เป็นอู่ต่อเรือที่ต้องการอ�ำนวยความ สะดวกให้กบั ชาวประมงในชุมชนไม่ตอ้ งไปซ่อม เรือไกลๆ แต่ระยะหลังต้นทุนในการท�ำประมง พืน้ บ้านสูงขึน้ ท�ำให้ชาวบ้านประสบปัญหาทาง การเงิน บ้างก็ทิ้งสมอจอดเรือลอยอ้อยอิ่งตาม คลื่นตามลม บ้างก็พอกัดฟันออกทะเลตาม ยถากรรม เมือ่ เห็นภาพเป็นเช่นนัน้ คุณทัณฑิกา พ่วงพี จึงชักชวนเพื่อนฝูงชาวกรุงมาเที่ยวบ้านเกิด

เช่าเรือชาวบ้าน มีการจัดโปรแกรมท่องเที่ยว ด�ำน�้ำ ตกหมึก ท�ำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่ม มีก�ำลังใจประกอบอาชีพ แต่ถ้าจะให้พัฒนา ชุมชนจริงๆ เกิดประโยชน์ระยะยาว ก็ต้องมี ที่พัก เล็งเห็นรูปแบบโฮมสเตย์ น�ำที่อยู่อาศัย มาปรับปรุงเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ชักชวนให้ กลุ่มแม่บ้านท�ำอาหารมาบริการนักท่องเที่ยว คนสูงอายุมาช่วยงานในโฮมสเตย์ ล้างจาน ท�ำความสะอาด ส่วนเด็กๆ มาเสิร์ฟอาหาร ดูแลนักท่องเที่ยว สร้างงานสร้างเงินแก่คน แหลมสิงห์ โดยตัวนักท่องเที่ยวกลุ่มโฮมสเตย์ เองก็ มี ต ้ น ทุ น ในเรื่ อ งของการมี อั ธ ยาศั ย ที่ ดี

มีมิตรไมตรี เจตนามาเพื่อพักผ่อนและร่วม กิจกรรมกับชุมชนอยู่แล้ว ก็จะเห็นภาพแขก เข้าครัวเป็นลูกมือช่วยท�ำกับข้าว การมีสว่ นร่วม และความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและคนต่างถิน่ จนกลายมาเป็นแหลมสิงห์โฮมสเตย์อย่างใน ปัจจุบัน นอกจากนั้นบริเวณชุมชนยังอยู่ติดปาก แม่ น�้ ำ จั น มี ท รั พ ยากรทางธรรมชาติ น�้ ำ จื ด และน�้ ำ เค็ ม ท� ำ ให้ มี กิ จ กรรมที่ ห ลายหลาก ไม่วา่ จะเป็น ชมวิถชี าวประมงพืน้ บ้าน พายเรือ คายั ค ตกปลา ตกหมึ ก ด� ำ น�้ ำ ดู ป ะการั ง ล่องเรือชมแม่น�้ำจันดูป่าโกงกาง โบราณสถาน


SECatalog 262

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

263

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

โฮมสเตย์ชายฝัง่ กระจายรายได้ ชุมชนชายทะเล ฟืน้ ชีพประมง พืน้ บ้าน ป้อมไพรีพินาศ เจดีย์อิสรภาพ สถานที่ส�ำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นและประเทศ ทัง้ นีโ้ บ๊ทเฮ้าส์ แหลมสิงห์โฮมสเตย์ ส่งเสริม ให้ชาวบ้านและเด็กนักเรียนอบรมมัคคุเทศก์ ท้องถิ่นกับทางราชการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ให้สามารถน�ำเที่ยวในชุมชนได้ และมีโครงการ พาชาวบ้านท�ำปะการังเทียม จนได้การรับรอง มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยจากส�ำนักงานพัฒนา การท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประจ�ำปี 2552 ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 2 จาก ทั่วประเทศ สิง่ ทีเ่ น้นย�ำ้ ในการประกอบกิจการของโบ๊ทเฮ้าส์ แหลมสิงห์ โฮมสเตย์ คือคงความเป็นอยู่ที่ เรี ย บง่ า ยของชาวบ้ า น เอารายได้ เ ป็ น ตั ว ขับเคลื่อนให้ชาวบ้านเกิดความใส่ใจสภาพ แวดล้อม เป็นการพัฒนาโดยปริยาย เพราะหาก ไปท�ำลายก็ไม่มีนกั ท่องเทีย่ ว เป็นการเชือ่ มโยง ระหว่างคนบนบกกับคนเรือที่เกิดเป็นรูปเป็นร่าง และก�ำลังแล่นฉิว

1. ผู้ให้บริการโฮมสเตย์สามารถมีรายได้เสริม จากอาชีพหลัก สร้างอาชีพ กระจายรายได้ด้าน การท่องเที่ยวให้แก่ชาวบ้านในชุมชน 2. ก่อเกิดความสัมพันธ์ทดี่ รี ว่ มกันระหว่างคนใน ชุมชนกันเอง และคนในชุมชนกับนักท่องเที่ยว ต่างถิ่น 3. การท่องเที่ยวในรูปแบบโฮมสเตย์ส่งผลให้มี การเผยแพร่ชอื่ เสียงของหมูบ่ า้ น ท�ำให้เกิดความ หวงแหนและภาคภูมใิ จในท้องถิน่ ของตน รวมถึง อนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน

Product & Service สินค้าและบริการ

1. มีห้องพักขนาดใหญ่ 4 ห้อง รองรับได้ 2030 คน มีห้องประชุมในการจัดสัมมนาจ�ำนวน 1 ห้อง และลานกิจกรรมกลางแจ้ง 2. เน้ น กิ จ กรรมทางน�้ ำ อาทิ พายเรื อ คายั ค เช่าเรือตกปลา ตกหมึก นั่งเรือเที่ยวเกาะ ด�ำน�้ำ ดู ป ะการั ง ที่ เ กาะนมสาว วนอุ ท ยานแห่ ง ชาติ เขาแหลมสิ ง ห์ ชมทั ศ นี ย ภาพหาดอ่ า วยาง หาดอ่าวกระทิง ล่องเรือชมแม่น�้ำจัน ดูปา่ โกงกาง หิง่ ห้อย อูต่ อ่ เรือพระเจ้าตาก น�ำเทีย่ วมัคคุเทศก์ ท้องถิ่น ชมวิถีชาวประมงพื้นบ้าน ชมอู่ต่อเรือ ภูมิปัญญาช่างไทย 3. ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ตึ ก แดง ฐานบัญชาการของฝรั่งเศสในอดีต ประภาคาร เเหลมสิงห์ โบราณสถาน ป้อมไพรีพินาศ เจดีย์ อิสรภาพ 4. สินค้าประจ�ำท้องถิ่น อาหารทะเลสด อาหาร แปรรูปต่างๆ อาทิ ลูกชิน้ โอทอป กุง้ กะปิ ปลาเค็ม น�ำเที่ยวชมสวนผลไม้

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาต้นทุนในการท�ำประมงพื้นบ้านสูงขึ้น ท�ำให้ชาวบ้านประสบปัญหาทางการเงิน ชาวบ้าน มีรายได้น้อยลง โบ๊ทเฮ้าส์ แหลมสิงห์โฮมสเตย์ มี ส ่ ว นร่ ว มในการช่ ว ยชาวบ้ า นพั ฒ นาแหล่ ง ท่องเที่ยวชุมชน อันน�ำมาสู่การสร้างอาชีพและ รายได้ ทัง้ ยังกระจายงานและเงินสูค่ นในทุกๆ วัย ตั้งแต่เด็กไปสู่ผู้สูงอายุที่มีความรับผิดชอบใน ด้านต่างๆ กันให้มีส่วนร่วมในการท�ำโฮมสเตย์ ท�ำให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


SECatalog 264

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

265

Happiness Village “หาดสองแควโฮมสเตย์” บ้านสร้างสุข

ไม่ปฏิเสธว่าเริม่ แรก หาดสองแควโฮมสเตย์ตงั้ ใจท�ำโฮมสเตย์ขนึ้ มาเพือ่ รองรับคณะดูงาน แต่แล้วความคิด ที่มองย้อนกลับไปยังคนในหมู่บ้านของตัวเองก็เกิดขึ้น ซึ่งเล็งเห็นว่าหากคนในหมู่บ้านที่มีความพร้อม ที่จะท�ำบ้านตัวเองให้เป็นโฮมสเตย์ ก็น่าจะเป็นการพัฒนาคนและเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาส ให้ชาวบ้านได้ลุกขึ้นมามีงานเสริมในเชิงท่องเที่ยวอีก จากที่คิดเพื่อคนอื่นไกลๆ กลายมาเป็นคิดที่จะท�ำ เพื่อคนใกล้ตัวอย่างจริงจัง

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : หาดสองแควโฮมสเตย์ ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณสนิท ดีเพ็ชร์ ที่อยู่ : เลขที่ 52 หมู่ 1 ต�ำบลหาดสองแคว อ�ำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ 53140 โทรศัพท์ : 08 4505 4672

หาดสองแควโฮมสเตย์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เสมื อ นกองหนุ น หลั ก ในการศึ ก ษาและแลก เปลี่ยนประสบการณ์กิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาวะ และอาชี พ ของชุ ม ชน เป็ น สถานที่ แ ห่ ง การ พักผ่อนร่างกายและจิตใจ ฟอกพลังคิด บ�ำรุง แรงบันดาลใจแก่ผู้มาศึกษาเยี่ยมชมงานทั้ง หน่วยงานรัฐ เอกชน และนักท่องเทีย่ ว อันน�ำมา สู่แรงกระตุ้นเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ วัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสร้างอาชีพและเพิ่ม รายได้แก่ชาวชุมชน น�ำพาความผาสุข ประทับ รอยยื้มเปื้อนหน้าชนิดเช็ดไม่ออกลบไม่หาย หั ว ใจส� ำ คั ญ ในการขั บ เคลื่ อ นกิ จ การ สายธารสังคม คุณสนิท ดีเพ็ชร์ แกนน�ำกลุ่ม

โฮมสเตย์ ริเริม่ จากแนวคิดเรือ่ งสภาพธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมดี สร้างสุขภาวะชุมชนแข็งแรง ซึ่งองค์กรท้องถิ่นพร้อมชาวบ้านจับมือสร้างสรรค์สังคม จนเป็นสิ่งที่โด่ดเด่นของต�ำบล หาดสองแควและเป็นต�ำบลสุขภาวะของสสส. อันเป็นจุดดึงความสนใจของคนภายนอกเข้ามา แวะเวียน และมีโฮมสเตย์เป็นสถานที่รับรอง ชั้นเยี่ยม เดิมทีชาวบ้านมีอาชีพหลักคือเกษตรกรรม และประมง สามารถพึ่งพาตัวเองได้ แม้ใน ยามไม่มีผู้เข้าพัก หากมีผู้มาเยือนทุกคนมี ความพร้อมทีจ่ ะกางแขนดูแลต้อนรับแบบกินอิม่ นอนอิ่ม อบอุ่นเหมือนญาติสนิท สิ่งที่ถือเป็น กฎเหล็กในชุมชนคือ ห้ามทิง้ ขยะ ทีน่ ไี่ ม่มถี งั ขยะ วางระเกะระกะในที่สาธารณะ แต่โฮมสเตย์ และครัวเรือนทุกหลังจะมีการจัดการขยะด้วย ตัวเอง เพราะระหว่างชาวบ้านกับสิ่งแวดล้อม คือมิตรแท้ ต่างฝ่ายต่างดูแลเกื้อกูลกัน

และด้วยบรรยากาศริมแม่น�้ำเป็นจุดบรรจบ ระหว่างคลองตรอนกับแม่น�้ำน่าน เกิดปรากฏการณ์แม่นำ�้ 2 สี รวมไปถึงการมีส่วนร่วมของ คนในชุมชน หวงแหนประเพณี วัฒนธรรม และ สิ่ ง แวดล้ อ ม สามารถผ่ า นเกณฑ์ ม าตรฐาน โฮมสเตย์ไทย 10 มาตรฐานด้วยคะแนนอันดับ 1 ของประเทศในปี 2552 ส่งผลให้กลุ่มศึกษา ดูงานและนักท่องเที่ยวมุ่งหน้าเข้ามาพักและ เรียนรูก้ ารจัดการชัน้ เซียน ตลอดจนวิถชี วี ติ ของ คนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านที่นี่ไม่ต้องการท�ำธุรกิจเชิงท่องเที่ยว เพือ่ หวังก�ำไรสูงสุด แต่เน้นการมีสว่ นร่วมของคน ในชุมชนให้ช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม และสิง่ แวดล้อม มีสว่ นร่วมในการจัดการกิจกรรม ท่องเทีย่ ว สิง่ แวดล้อม รักษาวัฒนธรรม ภูมปิ ญั ญา ท้องถิน่ เกิดเศรษฐกิจชุมชน พร้อมด�ำรงวิถชี วี ติ ดั้งเดิมให้เดินเคียงข้างกันอย่างยั่งยืน


SECatalog 266

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

267

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

สิง่ แวดล้อมดี สุขภาพแข็งแรง เกิดแหล่งเรียนรูส้ งู่ าน และรายได้เพิม่ เพือ่ ชุมชน

1. เป็นสถานที่รองรับกลุ่มบุคคลที่เข้ามาศึกษา เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างสุขภาวะในชุมชน 2. ส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของคนในชุมชนให้เกิด แรงกระตุน้ เพือ่ ทีจ่ ะอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม ประเพณี วัฒนธรรม เป็นฐานในการกระจายอาชีพและ รายได้ของท้องถิ่น

Product & Service สินค้าและบริการ

1. บ้านพักโฮมสเตย์จ�ำนวน 20 หลัง รองรับ สูงสุด 200 คน อัตราที่พักพร้อมอาหารคนละ 350 บาท/คืน 2. ชมศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ อ นุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ ม ประจ�ำหมู่บ้าน และกิจกรรมโครงการหมู่บ้าน ปลอดขยะ ที่ส่งผลให้ได้รับคัดเลือกให้เป็นต�ำบล สุขภาวะจาก สสส. ค่าวิทยากร 300 บาท 3. ชุดการแสดงต้อนรับจากกลุ่มชาวบ้านและ นักเรียน โดยเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นทุนสนับสนุน กลุ่ม 1,000 บาท 4. ชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัฒนธรรม สถานที่ เก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้โบราณตั้งแต่สมัย บรรพบุรุษอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหาดสอง แคว กลุ่มอาชีพหัตถกรรม กลุ่มแปรรูปอาหาร

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาเรือ่ งความสะอาด ทัง้ ในรัว้ บ้านและพืน้ ที่ สาธารณะ น�ำไปสูส่ ขุ ภาวะทีไ่ ม่สมบูรณ์ ก่อเกิดแรง ผลักดันให้คนชุมชนระดมพลังพลิกฟืน้ คืนสุขภาพ และสิง่ แวดล้อมทีด่ ี จนเป็นชุมชนตัวอย่างส�ำหรับ การศึกษาเรือ่ งการจัดการสิง่ แวดล้อมเพือ่ สุขภาวะ ที่ดี ให้นักท่องเที่ยวได้มาเรียนรู้และสัมผัสจาก การมาเป็นผูพ ้ กั ทีโ่ ฮมสเตย์ ด้วยการวางมาตรฐาน ทางสุ ข ภาวะและสิ่ ง แวดล้ อ มที่ ดี ใ นการพั ฒ นา โฮมสเตย์ นอกจากชุมชนจะมีรายได้เพิม่ ขึน้ แล้วยัง สามารถควบคุมคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน


SECatalog 268

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : ไม้เค็ดโฮมสเตย์ ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณจ�ำนง ด้วงพิมพ์ คุณพรทิพย์ ด้วงพิมพ์ และคุณศุภกิจ ด้วงพิมพ์ ที่อยู่ : เลขที่ 27/2 หมู่ 2 ต�ำบลไม้เค็ด อ�ำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี 25230 โทรศัพท์ : 08 1454 4148, 08 1458 9531 โทรสาร : 0 3745 4148 E-mail : maikedhomestay@thaimail.com Website : http://tat8.com/thai/pj/a_ maiked.htm, www.facebook.com/ maikedhomestay

The Orchard Growth “ไม้เค็ดโฮมสเตย์” บ้านและสวน

การท�ำไร่ ท�ำสวน เป็นอาชีพหลักของไทย หลายคนอาจจะไม่เคยได้มีโอกาสสัมผัสถึงวิถีชีวิตแบบนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถหาได้จากความเป็นชนบท รวมทั้งกลุ่มโฮมสเตย์ที่เปิดบ้านรอรับการเดินทางมา สัมผัสถึงถิ่นที่สวยงาม และการมีกิจการโฮมสเตย์เป็นสิ่งที่ทุกคนในชุมชนนั้นๆ ต้องการที่จะสร้างความ ตระหนักและความผูกพันในแผ่นดินและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กันอีกทาง

ไม้ เ ค็ ด โฮมสเตย์ จ.ปราจี น บุ รี แหล่ ง ท่องเที่ยวและเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวสวน ผลไม้ ศูนย์รวมวัฒนธรรม ประเพณี และ กิจกรรมท้องถิ่นตามฤดูกาลของชุมชน แลก เปลี่ยนประสบการณ์และเรื่องราวองค์ความรู้ ต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยว ผู้ที่สนใจทั้งหน่วย งานองค์กรภาครัฐและเอกชน อันน�ำมาสู่การ พัฒนาของท้องถิ่น จุดเริม่ ต้นจากคุณจ�ำนง-พรทิพย์ ด้วงพิมพ์ ผู้ริเริ่มไม้เค็ดโฮมสเตย์ ได้ไปเห็นราคาผลิตผล ทางการเกษตรที่ไม่เป็นธรรม รวมตัวกันจาก

269


SECatalog 270

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

เกษตรกรชาวสวนจั ด ตั้ ง กลุ ่ ม เป็ น โฮมสเตย์ เปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวให้คนภายนอกได้ เข้ามาสัมผัสวิถีชนบทของชาวสวนผลไม้ ที่ท�ำ สวนผลไม้แบบผสมผสาน แล้วก็เลือกซือ้ ผลผลิต ทางการเกษตรถึงทีส่ วน และท�ำอย่างไรทีจ่ ะท�ำ ให้คนภายนอกใช้เวลาในสวนนานทีส่ ดุ สิง่ ทีค่ ดิ ว่าง่ายที่สุดคือโฮมสเตย์ เป็นธุรกิจสามารถพึ่ง ตนเอง ลงทุนไม่มาก ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้ว น�ำมาปรับปรุงและพัฒนา

ชาวสวนสามัคคี ร่วมมือสร้าง กิจการโฮมสเตย์ และยุตกิ ารกด ราคาผลผลิต ทีไ่ ม่เป็นธรรม

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

เสน่ห์ของการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์คือ การได้ พู ด คุ ย และแลกเปลี่ ย นประสบการณ์ เรื่องราวระหว่างกัน เกิดมิตรภาพและความ สัมพันธ์ของชาวสวนและชาวเมืองให้ได้มคี วาม ใกล้ชิดกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ชาวสวนสามารถมี รายได้เพิ่มมากขึ้นทั้งจากอาชีพหลักและอาชีพ เสริม การรวมกลุ่มกันพึ่งพาธรรมชาติให้มาก ทีส่ ดุ โดยใช้ปยุ๋ ชีวภาพ ลดต้นทุนการผลิต ได้ดแู ล สภาพแวดล้อม ดูแลชีวิต

สิ่งที่เป็นหลักยึดของไม้เค็ดโฮมสเตย์ คือหลัก เศรษฐกิจพอเพียง ที่มีหัวใจมีอยู่ 3 ห่วงคือ พอประมาณ มีเหตุมีผลในสิ่งที่ท�ำ และมีภูมิ คุม้ กัน ท�ำโฮมสเตย์เป็นอาชีพเสริม ผลไม้ไว้กนิ ไว้ใช้ เหลือก็ขายอีก 2 เงื่อนไขคือความรู้และ คุณธรรม มีความรู้ต้องน�ำไปเผยแพร่ชาวบ้าน ไม่เอาเปรียบนักท่องเที่ยว นั่นคือความยั่งยืน ของการท�ำกิจการทุกอย่าง

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ ช าวสวนมี โ อกาส ในการประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริมเพื่อ สร้างรายได้ให้กับครอบครัว 2. เป็นแหล่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการ เกษตร สามารถน�ำองค์ความรูแ้ ละประสบการณ์ ไปพัฒนาต่อยอดต่อไป 3. สร้ า งชื่ อ เสี ย งให้ ชุ ม ชนเป็ น ที่ รู ้ จั ก ของคน ภายนอกมากขึ้น

Product & Service สินค้าและบริการ

1. บริการที่พักโฮมสเตย์ ค่าที่พักพร้อมอาหาร เช้า คืนละ 200 บาท/คน อาหารกลางวันมื้อละ 100 บาท อาหารเย็นมื้อละ 150 บาท พักแรม และรับประทานอาหารแบบชาวสวนด้วยอาหาร พื้นบ้าน ขนมพื้นเมือง มีจ�ำนวน 20 หลัง 2. เดินชมและศึกษาความรู้ ไ ม้ผลชนิดต่างๆ พั น ธุ ์ ไ ม้ วั ฒ นธรรม ความเป็ น อยู ่ ข องชุ ม ชน การสาธิตขยายพันธุ์ ไม้ เลือกซื้อผลผลิตทาง การเกษตรตามฤดูกาล 3. บริการจักรยานชมสวนผลไม้ ให้เช่าคันละ 50 บาท

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่เป็น ธรรม และรายได้ที่ไม่สม�่ำเสมอของเกษตรกร ท�ำให้เกิดการรวมตัวเป็นกลุม่ โฮมสเตย์ เพือ่ เปิด เป็นแหล่งท่องเที่ยว ดึงนักท่องเที่ยวจากตลาดสู่ สวนผลไม้ ท�ำให้เกิดความใกล้ชิดระหว่างผู้ผลิต กับผู้บริโภค และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

271


SECatalog 272

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

บ้เปิดาบ้นดงโฮมสเตย์ านเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียง หากคนกรุ ง ต้ อ งการสั ม ผั ส วิ ถี ชี วิ ต ของความเป็นไทยในชนบท คงจะต้อง ไปยังสถานที่ที่มีวัฒนธรรมพื้นบ้าน และมีวถิ ชี วี ติ แบบพอเพียง โดยเฉพาะ การได้พกั ผ่อนทีโ่ ฮมสเตย์จริงๆ ทีเ่ ป็น บ้านของชาวบ้านเอง มีการต้อนรับ เสมือนเป็นญาติ ที่สามารถพูดคุย และแลกเปลี่ยนเรื่องราวระหว่างโลก ภายนอกกั บ โลกภายในที่ ไ ม่ รี บ เร่ ง ไม่ต้องใช้เงินมากเท่าไหร่ อย่างน้อย คนกรุงจะได้ย้อนมองตัวเอง และคน ชนบทจะได้เปิดโลกที่กว้างออกไป

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อกิจการ : บ้านดงโฮมสเตย์ ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : กลุม่ บ้านดงกระทงยาม ชือ่ ผูด้ แู ลโครงการ : คุณเทิดศักดิ ์ แนวจันทร์ (ประธานกลุ่ม) ที่อยู่ : หมู่บ้านบ้านดงกระทงยาม ต�ำบลดงกระทงยาม อ�ำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุร ี 25140 โทรศัพท์ : 08 3586 5005

บ้านดงโฮมสเตย์ เป็นอีกหนึ่งโฮมสเตย์ที่ ตัง้ ขึน้ เพือ่ ให้ชาวบ้านในหมูบ่ า้ นได้มสี ว่ นร่วมใน การพัฒนาหมู่บ้าน และเพื่อให้หมู่บ้านเข้มแข็ง โดยที่สามารถอยู่ได้อย่างไม่ต้องพึ่งพาปัจจัย ภายนอกมากเท่าไหร่นัก ทั้งยังเป็นการสร้าง รายได้เสริมให้กับชาวบ้าน นอกเหนือจากการ ท�ำงานหลักคืออาชีพท�ำไร่ ท�ำนาและเกษตรกร อย่างน้อยก็เป็นหนทางทีจ่ ะช่วยให้คณุ ภาพชีวติ ของครอบครัวดีขึ้นอย่างไม่ล�ำบาก คุณเทิดศักดิ์ แนวจันทร์ และกลุม่ ชาวบ้าน บ้านดงกระทงยาม จึงท�ำบ้านของตัวเองให้กลาย เป็นโฮมสเตย์เปิดรับกิจการนี้ เพือ่ ให้ทกุ คนได้มี รายได้เสริม และไม่เพียงแต่การเปิดบ้านเท่านัน้

273


SECatalog 274

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

มนต์เสน่ห์ท้องถิ่น วิถีพอเพียง สร้างชุมชน ให้เข้มแข็ง แต่ยงั มีการเสริมรายได้อกี ต่อด้วยการท�ำตะกร้อ ตะแกรงที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ในไทย โดยการคิ ด ค้ น รูปแบบใหม่ๆ ให้กลายเป็นสินค้าที่เปิดตลาด ได้ ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวได้ชมขั้นตอนการท�ำ และสามารถซื้อสินค้าติดไม้ติดมือกลับบ้านได้ รวมทั้ ง ไม่ ทิ้ ง วิ ถี เ ดิ ม ๆ ที่ เ ป็ น มาตั้ ง แต่ อ ดี ต คือเรื่องของความพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ ในรูปแบบต่างๆ เพราะแต่ละบ้านก็จะมีการ ท�ำเกษตรอินทรีย์เพื่อไว้กินไว้ใช้ในบ้านอยู่แล้ว ไม่ต้องเสียเงินออกไปซื้อข้างนอก จึงส่งเสริม ให้เป็นฐานการเรียนรู้ไปในตัว ก็เป็นอีกหนึ่ง กิจกรรมทีท่ �ำให้ชาวบ้านมีทกั ษะของการพูดคุย และก็ ยั ง สนั บ สนุ น ให้ ช าวบ้ า นได้ มี ก ารแลก เปลี่ยนความรู้ ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้แก่กัน ส่งให้ชาวบ้านที่นี่มีไมตรีจิตที่ดี สุขภาพใจและ กายแข็งแรง

ส่วนในเชิงสานต่อวัฒนธรรมและประเพณี ท้องถิน่ ก็คอื การนุง่ ซิน่ ห่มสไบในแบบวัฒนธรรม ไทยพวน ซึ่งจะพบเห็นได้มากในช่วงเทศกาล ส�ำคัญทางศาสนา อาทิ วันมาฆบูชาก็จะมี ประเพณี บุ ญ ข้ า วหลาม ที่ จ ะท� ำ กั น ทุ ก บ้ า น วันสารทพวนก็จะมีประเพณีกวนกระยาสารท ของทุกบ้าน ซึ่งเป็นวิถีเดิมของชาวบ้านนั่นเอง ชาวบ้านทีน่ ยี่ งั คงรอต้อนรับทุกคนทีส่ นใจเข้ามา สั ม ผั ส วิ ถี ชี วิ ต อย่ า งพอเพี ย ง ประเพณี แ ละ วัฒนธรรมที่น่าสนใจ พร้อมที่จะพาไปเที่ยวเชิง อนุ รั ก ษ์ และศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ข องชาว ปราจีนบุรี เพื่อท�ำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าชาวบ้านจะรวยทางวัตถุ ชาวบ้านที่นี่รวยรอยยิ้ม น�้ำใจและไมตรีจิตที่ดี ต่อทุกคนมากกว่า

การส่งเสริมให้บ้านของทุกคนเป็นแหล่งเรียนรู้ ทางด้านเกษตรอินทรีย์ โดยส่งเสริมให้แต่ละบ้าน เน้นเกษตรอินทรีย์ที่โดดเด่น ที่ตัวเองถนัด เช่น ถนัดเรื่องข้าว ก็เป็นฐานการเรียนรู้ข้าว มีบ่อ เลี้ยงกบก็น�ำเสนอเรื่องของการเลี้ยงกบ เป็นต้น เพือ่ เพิม่ มูลค่าของการท่องเทีย่ ว และให้นกั ท่องเทีย่ วได้ซบึ ซับวิถแี ห่งความพอเพียงอย่างแท้จริง

Product & Service สินค้าและบริการ

1. โฮมสเตย์ ค่าเข้าพัก 250-350 บาท/คน/คืน 2. บริการน�ำเทีย่ วในสถานทีต่ า่ งๆ อาทิ แหล่งทีม่ า ประวัติศาสตร์ของชาวปราจีนบุรีที่โบราณสถาน หลุมเมือง โบราณสถานอนุสรณ์ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ 5 และโบราณสถานพานหินสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น 3. บริการชมการแสดงวัฒนธรรม อาทิ การร้องร�ำ ร�ำตะกร้อตะแกรง 4. จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของคนในหมู่บ้าน โดยเฉพาะสินค้าโอทอปอย่าง ตะกร้อ ตะแกรง ที่ใหญ่ที่สุด

SIA ผลกระทบทางสังคม

การจัดตัง้ โฮมสเตย์ของบ้านดงโฮมสเตย์ ช่วยให้ เกิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณีที่ ดีงาม เสริมสร้างอาชีพเสริมให้เพิ่มรายได้แก่ คนในชุมชน และมีการแลกเปลี่ยน และถ่ายทอด วิชาความรู้ท้องถิ่น และวิถีชีวิตพอเพียงแก่ผู้ที่ มาเยี่ยมเยียน

275


SECatalog 276

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

“Birds & Bees” รีสอร์ทนำ�ดีเพื่อสังคม

ถ้าหากจะเอ่ยถึงพัทยาคงหลับตาและนึกภาพตาม เมืองสวรรค์ชายทะเลของเหล่านักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ท�ำให้ใครต่อใครต่างฝันใฝ่ฝันและหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศทางธรรมชาติ ก็มีสถานที่ทางเลือกอันหลากหลายให้ผู้มาเยือน

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

277

Birds & Bees พัทยา เป็นสถานที่พัก ตากอากาศที่อยู่ในเมืองชายทะเลชื่อดังก้อง โลก ถูกออกแบบและตกแต่งในบรรยากาศ ป่าดงดิบเขตร้อนริมหาดหูกวาง หาดที่มีความ สวยงาม สงบเงียบเหมาะแก่การหลบหนีความ วุ่นวายของนักท่องเที่ยว และยังมีระบบการ จัดการที่ห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม ความโดดเด่นของรีสอร์ทแห่งนี้ สร้างขึน้ มา ให้เป็นกิจการเพื่อสังคม น�ำก�ำไรหลักหักค่าใช้ จ่ายทั้งหมดน�ำมาหมุนเวียนกลับไปสู่ สมาคม พัฒนาประชากรและชุมชน (Population and Community Development Association: PDA) องค์กรการกุศลที่มี คุณมีชัย วีระไวทยะ เป็นผู้ริเริ่ม ท�ำหน้าที่เผยแพร่และให้ความรู้ ความเข้ า ใจเรื่ อ งสุ ข ภาพและการวางแผน ครอบครัว การใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกัน โรคเอดส์มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2517 แต่หากจะรอ

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อกิจการ : Birds & Bees ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณมีชยั วีระไวทยะ ชื่อผู้ดูแลโครงการ : คุณณัฐ พยับวิภาพงศ์ ทีอ่ ยู่ : เลขที่ 366/1 หมู่ 12 ถนนพระต�ำหนัก 4 ต�ำบลหนองปรือ อ�ำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20260 โทรศัพท์ : 0 3825 0035, 08 3120 9010 โทรสาร : 0 3825 0034 E-mail : cabconpattaya@pda.or.th Website : www.cabbagesandcondoms. co.th


SECatalog 278

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

แบมือขอเงินลงขันจากคนอื่นอย่างเดียว PDA จะมีรายได้ไม่แน่นอน อาจอยู่ไม่ยืด ขณะเดี ย วกั น ผู ้ เ ข้ า พั ก จะได้ ดื่ ม ด�่ ำ กั บ การบริการที่ได้มาตรฐานท่ามกลางบรรยากาศ ชั้นเลิศ นอกจากจะได้ประสบการณ์พิเศษและ โอกาสในการพักผ่อนแล้ว เงินในกระเป๋าสตางค์ ที่ต้องแลกเป็นค่าความสุขยังถูกส่งต่อสังคม น�ำไปสนับสนุนเด็กที่ด้อยโอกาสในโรงเรียน มัธยมมีชัยพัฒนาที่จังหวัดบุรีรัมย์ และยังมี โรงเรียนอยู่ในรีสอร์ทแห่งนี้เพิ่มเติมอีกด้วย เพื่อการพัฒนาเด็กในชนบทให้มีโอกาสเท่ากับ เด็กในเมือง พัฒนาเด็กรุน่ ใหม่ให้สามารถคิดเป็น คิดนอกกรอบที่สามารถช่วยเหลือสังคมและ มีจิตอาสาได้อีกต่อ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าเทอม แต่ต้องแลกด้วยการท�ำกิจกรรมเพื่อสังคม 400 ชั่วโมง ปลูกต้นไม้ 400 ต้น ทั้งตัวนักเรียนเอง และผู้ปกครองด้วย สิ่งที่ทางสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ลงแรงปัน้ Birds & Bees นับเป็นการหาทางออก ขององค์กรการกุศล มีข้อจ�ำกัดทางกฎหมาย ไม่สามารถแสวงหาก�ำไรได้เหมือนองค์กรธุรกิจ ทัว่ ไป คือก่อตั้งธุรกิจน�้ำดีมจี ิตใจงามเพือ่ สังคม ขึน้ ขจัดเรือ่ งการขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนมา ขับเคลื่อนกิจกรรมต่อไปได้อย่างยั่งยืน

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

279

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

รายได้จากค่าทีพ ่ กั คืนกลับพัฒนา สังคม สร้างการ เรียนรูใ้ ห้เยาวชน

1. รายได้ รี ส อร์ ทน� ำ ไปส่ งเสริ ม และสนั บสนุน งานพัฒนาสังคมของสมาคมพัฒนาประชากร และชุมชน เช่น โครงการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ในการสร้างอาชีพ โครงการฝึกอบรมเพื่อเพิ่ม ความเท่าเทียมทางเพศให้กับผู้หญิงในชุมชน โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในชนบท เป็นต้น 2. แหล่งศึกษาดูงาน ช่วยเผยแพร่ความรู้เรื่อง การวางแผนครอบครัวและการป้องกันโรคเอดส์

Product & Service สินค้าและบริการ

1. บริการที่พัก 54 ห้อง รองรับการจัดประชุม หรื อ สั ม มนาด้ ว ยการอ� ำ นวยความสะดวกที่ ครบครัน ห้องประชุมของทางรีสอร์ทสามารถ รองรับคนได้มากถึง 50 คน 2. มี ร ้ า นอาหาร Cabbages & Condoms เปิดบริการอาหารและเครือ่ งดืม่ พร้อมเป็นสถานที่ ที่ให้ความรู้การวางแผนครอบครัวและป้องกัน โรคเอดส์ 3. มินิฟาร์ม แปลงปลูกผักสวนเกษตรอินทรีย์ ที่มีสายรุ้งพาดผ่านยามรดน�้ำในเวลา 08.0009.00 น. และ 14.30-17.00 น.

SIA ผลกระทบทางสังคม

การน� ำ รายได้ จ ากการท� ำ กิ จ การรี ส อร์ ท ที่ มี คุณภาพแก่นกั ท่องเทีย่ วไปสนับสนุนการด�ำเนิน งานของโรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา จ.บุรีรัมย์ เพือ่ ให้การท�ำงานในส่วนของการช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะการศึกษาของเด็กที่ด้อยโอกาสใน ชนบท ให้ ส ามารถเข้ า ถึ ง ระบบการศึ ก ษาที่ มี คุณภาพเทียบเท่ากับเด็กในเมือง


SECatalog 280

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

281

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : บ้านกลางทุ่ง ออร์แกนิคโฮม ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณสาคร ประเสริฐกุล และคุณทิพวัน ประเสริฐกุล ชื่อผู้ดูแลโครงการ : คุณทิพวัน ประเสริฐกุล ที่อยู่ : เลขที่ 106 หมู่ 6 ต�ำบลหนองขาว อ�ำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี 71110 โทรศัพท์ : 08 9919 9093 E-mail : banklanktung@gmail.com Website : www.panoramatown.com/ organichome

The Organic Home “บ้านกลางทุ่ง ออร์แกนิคโฮม” บ้านเล็กกลางทุ่ง

ชีวิตที่มีความสุขสงบ เรียบง่าย ไม่เร่งรีบ มีบ้านพักท่ามกลางทุ่งในชนบท มีความสุขกับชีวิตที่เป็น ธรรมชาติ ปลูกพืชผักปลอดสารพิษรับประทานเอง ช่วยเหลือคนอื่น ชุมชน และสังคม ตามก�ำลังที่พอมี อยู่แบบพอเพียง และหากมีญาติสนิทมาเยี่ยมบ้างก็พอจะมีที่ทางต้อนรับ นี่คงเป็นความฝันของใคร หลายคนที่อยากจะมีบั้นปลายชีวิตแบบสุขกายสบายใจแบบนี้บ้าง

บ้านกลางทุ่ง ออร์แกนิคโฮม คือสถานที่ ในความฝันบนโลกความจริงของ คุณทิพวัน ประเสริ ฐ กุ ล อดี ต ข้ า ราชการครู ที่ ม องจาก สุขภาพของตนและสามีเป็นทีต่ งั้ มีโรคประจ�ำตัว ทัง้ คู่ จึงลาออกจากราชการมาสร้างพืน้ ทีส่ เี ขียว ปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้รบั ประทาน เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ได้อากาศที่สดชื่น ต่อมาเจ้าอาวาสวัดหนองขาวซึง่ เป็นนักคิด นักพัฒนา เล็งเห็นว่าเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรม ระดั บ ชาติ ค วรมี ก ารท� ำ โฮมสเตย์ เ พื่ อ เป็ น ที่ รู้จักในวงกว้าง สามารถต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวต่างชาติ จึงชักชวนคุณทิพวัน มาร่วมโครงการ เนือ่ งจากชาวบ้านมีปญั หาเรือ่ ง ภาษาต่างประเทศที่จะไว้พูดต้อนรับแขกบ้าน

แขกเมือง ท�ำให้คณุ ทิพวันรับทีจ่ ะท�ำ เพราะด้วย จิตวิญญาณของความเป็นครูที่มีอยู่อย่างเต็ม เปีย่ ม บวกพร้อมกับมีใจรักในการบริการ และมี ความพร้อมที่จะดูแลคนอื่น สู่การเปิดบ้าน ต้อนรับแขกผูม้ าเยือน ซึง่ กลายมาเป็นจุดก�ำเนิด โฮมสเตย์อีกต่อหนึ่ง โดยการด�ำเนินกิจการของบ้านกลางทุ่งฯ นั้นจะเน้นไปในเรื่องของการไม่พึ่งพาสารเคมี ทัง้ กระบวนการผลิต ซึง่ จะใช้ผลิตผลของตัวเอง ท� ำ กั บ ข้ า วให้ ค นในครอบครั ว และผู ้ ม าพั ก ผลประโยชน์นอกจากได้กนิ ผักสดๆ ไร้สารเคมี แล้ว ยังเป็นการดูแลสุขภาพร่างกาย ทั้งยังช่วย บรรเทาปัญหาสิง่ แวดล้อมได้อกี ทาง นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารต่ อ ยอดน� ำ ความคิ ด แลกเปลี่ ย นกั บ


SECatalog 282

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ชาวชุมชนที่ประกอบอาชีพหลากหลาย ก่อเกิด การกระจายรายได้ที่มาจากการพานักเที่ยว เยี่ยมชมตามแหล่งอาชีพต่างๆ ในหมู่บ้าน ด้วยความบังเอิญจากการคุยกับนักท่องเที่ ย วว่ า ชุ ม ชนที่ นี่ ยังมีปัญหาเรื่องของการ ขาดแคลนหนังสือ ท�ำให้มีลูกค้ากลับมาอีก โดยไม่ลมื ทีจ่ ะน�ำหนังสือมาร่วมบริจาค และทาง บ้านกลางทุ่งฯ ยังมีการจัดกิจกรรมบริจาค หนังสือให้แก่ห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุด ประชาชน ส่งเสริมเรื่องรายได้แล้วยังส่งเสริม เรื่องการศึกษาอีกทาง นอกจากนี้หนังสือ Thainess Live & Learn the Thai Way of Life ประจ�ำปี 2549 ให้รางวัล บ้านกลางทุ่ง ออร์แกนิคโฮมเป็น 1 ใน 30 อันดับทีพ่ กั เน้นความเป็นไทยจากการท่องเทีย่ ว แห่งประเทศไทย เพื่อแนะน�ำการบริการให้แก่ อาคันตุกะต่างแดน แม้เป้าหมายหลักของคุณทิพวันจะเน้นการสร้าง กิจการเพื่อสังคมแบบพออยู่ พอกิน และพอมี ก�ำลังเหลือก็น�ำไปช่วยคนอื่น บวกด้วยหัวใจที่ ยังคงความเป็นครูผู้ให้ ในเมื่อมีความรู้ ครูย่อม จะถ่ายทอด และมองถึงผูอ้ นื่ สุดท้ายยังต้องท�ำ ประโยชน์ให้สังคมที่อาศัยอยู่ให้ดีขึ้น

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

283

สร้างเพือ่ อยู่ อยูเ่ พือ่ ตัวเอง และ เพือ่ มอบสูผ่ อู้ นื่

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. ชุมชนเป็นทีร่ จู้ กั มีชอื่ เสียง อันน�ำไปสูก่ ารสร้าง รายได้ให้กับชาวชุมชน 2. แหล่งเรียนรูเ้ กีย่ วกับวัฒนธรรมชุมชน ซึง่ เป็น สิ่งที่นักท่องเที่ยวจะได้รับคุณค่าด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ ธรรมชาติ เศรษฐกิจ นอกจากการ เที่ยวธรรมดายังได้ความรู้ ข้อคิด ไปปรับใช้ใน ชีวิต 3. ศูนย์ศลิ ปะบ้านกลางทุง่ มีโครงการสอนศิลปะ ช่วงปิดภาคเรียนแก่เด็กๆ ในชุมชนเพื่อสร้าง ส�ำนึกรักบ้านเกิดของตัวเอง

เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) โดยมีห้องพักทั้งหมด 4 ห้อง ห้องเดี่ยวหรือคู่ 3 ห้อง และห้องพักรวม 4 คน 1 ห้อง ใช้เครือ่ งนอนทีเ่ ป็นผ้าฝ้ายออร์แกนิค ไม่ผ่านการฟอกหรือย้อม สามารถรองรับสูงสุด 10 คน 2. หากมาเป็นหมู่คณะเกิน 4 คนขึ้นไป มีบริการ พิเศษ น�ำเที่ยวด้วยรถอีแต๋น ชมสวนป่า 26 ไร่ ใช้เวลาประมาณครึ่งวัน นอกจากนั้นยังสามารถ ชมหมู่บ้ านวัฒนธรรมหนองขาว ดูการทอผ้า ท�ำสวนตาล ฯลฯ และซื้อสินค้าชุมชนในหมู่บ้าน อาทิ โอทอปผ้าขาวม้าร้อยสี ผ้าบาติก พลอย Product & Service สินค้าและบริการ และนิล เป็นต้น 1. บริการที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์ ราคาคนละ 3. ศูนย์ศิลปะบ้านกลางทุ่ง สอนท�ำผ้าบาติก 800 บาท/คืน (รวมอาหาร 2 มื้อที่ประกอบด้วย วาดภาพ เพ้นต์แก้วให้กับนักท่องเที่ยว ค่าเรียน พืชผักออร์แกนิค ปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพ ท่านละ 200 บาท

4. สอนท�ำน�้ำหมักชีวภาพ ส�ำหรับใช้ไล่ศัตรูพืช แจกให้ส�ำหรับคนที่ต้องการ พร้อมให้ค�ำแนะน�ำ ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปัญหาสุขภาพและคุณภาพการใช้ชีวิตที่ พึ่ ง พาเคมี ภั ณ ฑ์ อั น ส่ ง ผลให้ ร ่ า งกายและ สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง การท�ำเกษตรอินทรีย์ โดยใช้วถิ ธี รรมชาติทบี่ า้ นกลางทุง่ ออร์แกนิคโฮม น�ำไปสู่ก ารสร้างสรรค์รูปแบบชีวิตไร้ส ารพิษ ฟื้นฟูร่างกาย บ�ำบัดจิตใจ โฮมสเตย์ที่ยังผล สู ่ ชุ ม ชนในด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มและการกระจาย รายได้สู่ชาวบ้านในชุมชนเดียวกัน


SECatalog 284

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

“C&C Khao Yai Resort”

ที่พัก รักโลก

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : C & C Khao Yai Resort ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณมีชยั วีระไวทยะ ที่อยู่ : เลขที่ 98 หมู่ 6 ต�ำบลพญาเย็น อ�ำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30320 โทรศัพท์ : 0 3634 6219-20, 0 3622 7065, 08 1994 9004 โทรสาร : 0 3622 7066 E-mail : cabbagesandcondomshotels@ gmail.com, ccsaptai@gmail.com Website : www.cabbagesand condomshotels.com

คงจะดีไม่น้อยหากการพักผ่อนของเราคือ การได้ช่วยสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม และยังได้รับความสุข จากการบริการที่ดี และการได้ตระหนักถึงเรื่องของการอนุรักษ์สัตว์ป่า ป่าไม้ รวมทั้งความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของการคุมก�ำเนิดและโรคเอดส์ได้อย่างไม่เคอะเขิน

C & C Khao Yai Resort จั ง หวั ด นครราชสีมา เป็นทั้งสถานที่พักตากอากาศ ทีต่ งั้ อยูบ่ า้ นซับใต้ อ�ำเภอปากช่อง หมูบ่ า้ นเล็กๆ ที่เรียกชื่อตามแหล่งน�้ำซับ ต้นธารที่ไหลลงสู่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง ลาดชันทอดยาวตามหุบเขาติดกับแนวอุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่โอบล้อม เดิมทีเป็นศูนย์พฒั นา ชนบทผสมผสานส่งเสริมอาชีพให้กับชาวบ้าน เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ไม่ให้ไปตัดไม้ท�ำลายป่า ล่าสัตว์ปา่ ส่งเสริมให้คนในชุมชนประกอบอาชีพ เกษตรกรรม และส่งเสริมเรือ่ งสิง่ แวดล้อม ทีจ่ ดั ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ ด� ำ เนิ น งานพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของประชาชนและพัฒนาชุม ชนเชิ งอนุรัก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ต�ำบลพญาเย็นและบริเวณใกล้เคียงติดแนว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้

การก�ำกับดูแลของสมาคมพัฒนาประชากรและ ชุมชน หรือ PDA ต่อมาจึงได้จดั ตัง้ C & C Khao Yai Resort และร้านอาหารขึ้นเพื่อจัดหาทุนสนับสนุนการ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต และพั ฒ นาชุ ม ชนอย่ า ง ยัง่ ยืน กระจายไปยังจังหวัดทีม่ สี ถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว ทีส่ วยงาม และมีชมุ ชนทีย่ งั คงต้องได้รบั ความรู้ ในเรื่องของสุขอนามัย โดยเฉพาะเรื่องของการ คุมก�ำเนิดและการติดเชื้อ HIV ส�ำหรับ C & C Khao Yai Resort มีการ ให้ความรู้เรื่องของการคุมก�ำเนิดและโรคเอดส์ โดยการจัดสัมมนาที่รีสอร์ท โดยให้ชาวบ้านใน บริเวณใกล้เคียงหรือชาวบ้านในจังหวัดใกล้ เคียงได้รวมตัวกันเพื่อมาสัมมนารับความรู้ ในเรื่องดังกล่าว เพื่อป้องกันการก�ำเนิดที่มาก เกิ น ขี ด ความสามารถในการดู แ ลและการมี

285


SECatalog 286

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ดืม่ ด�ำมนต์เสน่หแ์ ห่งขุนเขา ทีไ่ ด้ประโยชน์ ทัง้ ตัวเราและชุมชนรอบข้าง คุณภาพชีวิตที่ดี และยังเพื่อแนะน�ำแนวทาง ของการใช้ ถุ ง ยางเพื่ อ ป้ อ งกั น โรคเอดส์ นอกจากนี้ยังเปิดให้ความรู้เรื่องของการปลูก ผักเกษตรอินทรีย์ ต่อยอดส่งเสริมการสร้าง รายได้ให้กับตนเองและครอบครัวอีกทาง นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวที่ เลือกมาพักที่ C & C Khao Yai Resort นั้น บริ โ ภคผลผลิ ต ทางการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ จึงมีการปลูกผักในแปลงเกษตรอินทรีย์ แล้วน�ำกลับไปท�ำเป็นอาหาร ให้นกั ท่องเทีย่ วได้ ลิ้มรสอาหารดีๆ จากแปลงผักดีๆ อีกทั้งยังมี การรณรงค์เรื่องของการใช้ถุงยางอนามัยอย่าง ต่อเนื่องให้กับนักท่องเที่ยว โดยการจัดหนังสือ

ดีๆ จากคุณมีชัย วีระไวทยะ ให้อ่านได้ถึงใน ห้องพักทุกห้อง ทั้งยังมีกิจกรรมส่งเสริมจิตใจ โดยการตักบาตรตอนเช้าที่บริเวณหน้ารีสอร์ท หรือจะนั่งวิปัสสนาในรีสอร์ทก็มีสถานที่เตรียม ไว้ให้ และมีกจิ กรรมเชิงอนุรกั ษ์ปา่ ไม้และสัตว์ปา่ เตรียมให้นักท่องเที่ยวได้สงบจิตสงบใจ นับว่าเป็นการมาเที่ยวพักผ่อนที่คุ้มค่า ด้วยสภาพอากาศแวดล้อมไปด้วยธรรมชาติที่ สมบูรณ์อันดึงดูดให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ เข้ามาพักผ่อนจ�ำนวนมาก และสิ่งที่ผู้เข้าพัก ในรีสอร์ทแห่งนี้จะได้รับ นอกจากการบริการ ที่แสนสบายแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของการช่วย สนับสนุนกิจการเพื่อสังคมดีๆ เข้าสู่สมาคม

พัฒนาประชากรและชุมชม และยังได้รบั ความรู้ ในเรื่องของการใช้ถุงยางอนามัย เรื่องการคุม ก�ำเนิด และเรือ่ งโรคเอดส์ รวมทัง้ มีกจิ กรรมเพือ่ สุขภาพใจและสิง่ แวดล้อมไปในตัว ครบสูตรของ การท่องเที่ยว รวมทั้งในท้ายที่สุดชาวบ้านใน ละแวกใกล้เคียงก็ยังได้รัประโยชน์จากการมี C & C Khao Yai Resort เช่นกัน ในทุกกิจการเพื่อสังคมที่คุณมีชัย วีระไวทยะ จัดท�ำขึ้นนั้นทั้งหมดก็เพื่อการช่วยเหลือผู้คน ในสังคม และมอบสิง่ ดีๆ ให้กบั ผูใ้ ช้บริการหรือ ผู้บริโภคทุกคน เพื่อหวังว่าทุกคนจะมีคุณภาพ ชีวิตและมีสุขภาพที่ดีขึ้นจากนี้และตลอดไป

287

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. รณรงค์การอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า 2. สอดแทรกความรู้เรื่องของการคุมก�ำเนิดและ การติดเชือ้ HIV ให้กบั ชาวบ้านทีย่ งั ไม่ได้รบั ความรู้ ในส่วนนี้ และขยายผลต่อให้นักท่องเที่ยวได้มี ความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น

Product & Service สินค้าและบริการ

1. บริ ก ารห้ อ งพั ก ในรู ป แบบต่ า งๆ ห้ อ งพั ก Standard ราคา 2,100 บาท ห้องพัก Deluxe ราคา 2,400 บาท ห้องพัก Suite ราคา 4,100 บาท ห้องพัก VIP Suite ราคา 7,000 บาท ห้องพัก VIP Suite with Jacuzzi ราคา 8,200 บาท นอกจากนี้ยังมีเต็นท์และลานกางเต็นท์ รวมทั้ง คนอ�ำนวยความสะดวก เหมาะส�ำหรับจัดกิจกรรม ทุกรูปแบบ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www. cabbagesandcondomshotels.com 2. บริการร้านอาหาร Cabbages & Condoms 3. มีจัดกิจกรรมเสริม อาทิ สถานที่จัดประชุม สั ม มนา เดิ น ป่ า ขึ้ น อุ ท ยานแห่ ง ชาติ เ ขาใหญ่ ในแถบดงพญาเย็น เยี่ยมชมบรรยายภายใน รีสอร์ท ชมนก แปลงผัก เห็ดปลอดสารพิษ และ พักผ่อนตามอัธยาศัย เป็นต้น 4. ใกล้แ หล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติบริเวณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และสถานที่ท่องเที่ยว บริเวณอ�ำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และ อ�ำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

SIA ผลกระทบทางสังคม

รายได้ของ C & C Khao Yai Resort น�ำไป พัฒนาสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนในด้าน การวางแผนครอบครัว ท�ำให้ประเทศไทยลดการ มี บุ ต รจากครอบครั ว ละ 5-8 คนเหลื อ เพี ย ง 2 คนภายในระยะเวลา 37 ปี ช่ ว ยลดปั ญ หา ความยากจน และการสร้างศูนย์ชุมชนให้ความรู้ ชาวบ้านเรือ่ งสิง่ แวดล้อม หยุดท�ำลายป่า ส่งเสริม อาชีพ รวมถึงการให้เงินทุนกู้ยืมประกอบอาชีพ โดยไม่คิดดอกเบี้ยท�ำให้ชาวบ้านมีโอกาสในการ สร้างอาชีพ


SECatalog 288

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Change to Enough “ชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท” หัวใจพอเพียง

พืน้ ทีบ่ ริเวณใดทีม่ ที ะเลใส ชายหาดสวยงาม มีปะการัง มักถูกพัฒนาอย่างเร่งรัดและฉาบฉวยให้กลายเป็น แหล่งท่องเทีย่ วแบบไม่คำ� นึงถึงความเสียหายทีอ่ าจเกิดขึน้ ต่อสภาพแวดล้อมในบริเวณนัน้ สิง่ ทีน่ า่ เป็นห่วง ไม่ตัดขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มองเป็นเพียงแค่แขนขาสร้างงานให้เงินไปวันๆ อย่างนั้นคงไม่ ยั่งยืน

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อกิจการ : ชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณอัจฉรา รักษ์พนั ธุ์ ชือ่ ผูจ้ ดั การ / ผูร้ บั ผิดชอบโครงการ : คุณวริสร รักษ์พนั ธุ์ ที่อยู่ : เลขที่ 69 หมู่ 8 ต�ำบลสะพลี อ�ำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 86230 ส�ำนักงานกรุงเทพ : บริษัท ชุมพร คาบาน่า จ�ำกัด เลขที่ 446/4 ชั้น 2 อาคารปาร์ค อเวนิว สุขุมวิท 71 แขวงพระโขนง เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 0 7756 0245-7, 08 9724 9319, 08 1970 3779, 0 2391 6859 (ส�ำนักงานกรุงเทพฯ) โทรสาร : 0 7756 0245 , 0 2391 6860 (ส�ำนักงานกรุงเทพฯ) E-mail : info@cabana.co.th Website : www.cabana.co.th

ชุมพร คาบาน่า รีสอร์ทและศูนย์ด�ำน�้ำ จังหวัดชุมพร เป็นรีสอร์ทที่ฟังผิวเผินก็คงไม่ แตกต่างไปจากสถานที่พักตากอากาศริมทะเล ทัว่ ไป มีสงิ่ อ�ำนวยความสะดวกครบวงจรทัง้ ทีพ่ กั ระดับมาตรฐาน ร้านอาหาร แถมมีศูนย์ดำ� น�้ำ แต่ไม่ใช่อย่างนั้น ที่นี่เป็นรีสอร์ทแห่งแรกๆ ที่มี สวนเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ด้ ว ยการน้ อ มน�ำ เอาแนวทางเศรษฐกิ จ พอเพียงมาปรับใช้ภายในชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท บนหาดทุง่ วัวแล่น โดยเริม่ ต้นที่ คุณวริสร รักษ์พนั ธุ์ ซึง่ มีรปู แบบทีเ่ กิดขึน้ ในดินแดนชุมพร คาบาน่า คือการจ�ำลองว่าเป็นประเทศที่ต้องลดการน�ำ

และพึ่งพาภายนอกให้มากที่สุด หันมาพึ่งพิง ตัวเอง พลิกฟื้นผืนดิน มุ่งท�ำเกษตรผสมผสาน เกษตรแบบอินทรีย์ ผลที่ก่อขึ้นตามหลังคือ มี อ าหารที่ ป ลอดภั ย เอาไว้ ใ ช้ รั บ ประทานใน ครอบครัวและรีสอร์ท ทั้งยังแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวของเครื่องใช้ภายในรีสอร์ท ตั้งแต่ การปลูกข้าว ปลูกผักไร้สารเคมี ในส่วนนี้ยังมี การรับซื้อข้าวและพืชผักจากเกษตรกรผู้ปลูก ข้าวแบบเกษตรอินทรีย์มาไว้รับแขกในรีสอร์ท อย่างน้อยก็เป็นแรงจูงใจที่จะช่วยให้เกษตรกร ในละแวกนั้นหันมาปลูกข้าวและพืชผักเกษตรอิ น ทรี ย ์ เ พิ่ ม มากขึ้ น รวมทั้ ง การส่ ง เสริ ม ให้

289


SECatalog 290

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

น้อมน�ำปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรอินทรีย์ สูช่ วี ติ ทีด่ กี ว่า อย่างมัน่ คง

พนั ก งานในรี ส อร์ ท เรี ย นรู ้ แ ละลงมื อ สร้ า ง ผลผลิตทางการเกษตรแบบอินทรีย์ เพื่อสร้าง รายได้เพิ่ม นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการบ�ำบัดน�้ำเสีย การท�ำปุ๋ยหมัก การเลี้ยงไก่ ตลอดจนการผลิต สบู่เหลว แชมพู น�้ำยาล้างรถ ท�ำแก๊สหุงต้ม จากอาหารบูด ท�ำน�้ำมันไบโอดีเซลไว้ใช้เอง โดยที่แทบไม่ต้องลงทุนไปกับสิ่งของจ� ำเป็น ต่อการด�ำรงชีวิต และเป็นสิ่งของที่ต้องน�ำมา บริการลูกค้า เพราะแทบทุกอย่างสามารถ ผลิตเองได้จากพื้นที่ในรีสอร์ทและแปลงเกษตร อินทรีย์ ส่วนบริเวณอาคารที่พักซึ่งรายรอบไป ด้วยสระน้อยใหญ่ ดูเผินๆ คล้ายสวนน�้ำ แต่ แท้จริงแล้วคือบ่อบ� ำบัดน�้ำเสียของรีสอร์ทที่ ปลูกพืชน�้ำชนิดต่างๆ ไว้ช่วยในการบ�ำบัดดูแล สิ่งแวดล้อมโดยธรรมชาติ ทีน่ ยี่ งั เป็นศูนย์กสิกรรมธรรมชาติให้ศกึ ษา ดูงานของผูท้ สี่ นใจ ท�ำวิจยั ชาวบ้าน และพนักงาน ในเรือ่ งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในภาคสังคม ยังร่วมกับกลุม่ ต่างๆ เคลือ่ นไหวจัดกิจกรรมดูแล ธรรมชาติ และเชื่อมโยงไปสู่ชุมชนรอบรีสอร์ท จนเกิดเครือข่ายชุมชนที่หันมาดูแลสิ่งแวดล้อม อย่างจริงจัง “พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส” คงเป็นค�ำกล่าวที่ ชุมพร คาบาน่า กล้ายืดอกพูดได้เต็มปากเต็มค�ำ และไม่ได้ทำ� แบบเอาเท่สร้างกระแส แต่ลงมือท�ำ จริง จนเกิดผลกลับมาที่จับต้องได้ สร้างความ ยั่งยืนให้กับธุรกิจของตัวเองและสู่ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมครบวงจร

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม Product & Service สินค้าและบริการ 1. ทางรีสอร์ทสนับสนุนให้พนักงานเลี้ยงไก่แบบ เกษตรอินทรีย์ ไข่ที่ผลิตได้จะน�ำมาใช้ในรีสอร์ท ส่วนที่ไม่พอจึงซื้อเพิ่ม เป็นการลดค่าใช้จ่ายและ ช่วยให้พนักงานมีรายได้เสริม 2. การรับซือ้ พืชผักจ�ำนวนมากจากชุมชุนโดยรอบ ซึ่ ง ล้ ว นแล้ ว แต่ เ ป็ น ครอบครั ว เครื อ ญาติ ข อง พนักงานเพือ่ ไม่ให้เงินทองรัว่ ไหล นอกจากนีท้ าง รีสอร์ทยังรับซื้อข้าวปลอดสารเคมีจากชาวบ้าน ในละแวกใกล้เคียงด้วย เพื่อสนับสนุนการท� ำ การเกษตรด้วยวิธีธรรมชาติ 3. จั ด ตั้ ง บริ ษั ท จ� ำ ลองขึ้ น ภายในรี ส อร์ ท ชื่ อ “บริษัท อุ้มชู ไม่จ�ำกัด” โครงการที่สร้างความ ร่วมมือระหว่างเจ้าของกิจการซึง่ เป็นลูกจ้างถาวร ของบริษัทกับพนักงาน เป็นการท�ำงานร่วมกัน ในอาชีพที่พนักงานถนัด เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ พนักงาน

1. บริการที่พักแบบโรงแรม 110 ห้อง และที่พัก แบบบังกะโล 18 หลัง 2. บริ ก ารกิ จ กรรมท่ อ งเที่ ย วทางทะเลที่ เ น้ น การอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม เช่น โรงเรียนสอนด�ำน�ำ้ บริการน�ำเที่ยวชมปะการัง ตกหมึก เป็นต้น 3. กิจกรรม Play and Lern เพลิดเพลินไปกับ การลงมือปฏิบัติและเรียนรู้กับกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ภายในศูนย์ 4. กิจกรรมด�ำน�้ำ

SIA ผลกระทบทางสังคม

เป็นกิจการที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และเป็น ต้ น แบบในการศึ ก ษาด้ า นเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง โดยภายในรีสอร์ทมีการท�ำเกษตรผสมผสาน แบบอินทรีย์ ผลิตอาหารทีป่ ลอดภัยใช้รบั ประทาน แก่ลกู ค้าและคนในรีสอร์ท และมีการใช้ทรัพยากร อย่างคุม้ ค่า เช่น การท�ำแก๊สหุงต้มจากอาหารบูด การพัฒนาน�้ำมันไบโอดีเซล และอื่นๆ

291


SECatalog 292

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

The Northeastern Style Singer Village “โฮมสเตย์เบิ่งวัฒนธรรม หมอลำ�บ้านปลาค้าว” หมอลำ�ลำ�ค่า

เป็นที่ร้กู ันดีในหมูช่ าวบ้านว่า ถ้าหากจะไปชมการแสดงหมอล�ำต้องเผื่อใจและระวังตัวเองเอาไว้ระดับหนึ่ง ภาพชินตาที่มักเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทเป็นประจ�ำ สร้างความวุ่นวายเสมอๆ จนต้องคิดหนักหากจะ จัดแสดงแต่ละที ผสมโรงกับกระแสโลกทีก่ ลุม่ คนรุน่ ใหม่มองเป็นเรือ่ งเฉยไปเสียแล้ว นอกจากไม่เสพและ ยังไม่สนใจ ท�ำให้ศิลปวัฒนธรรมไทยต้องโบกมือจากสังคมไปก็ไม่น้อย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อกิจการ : โฮมสเตย์เบิ่งวัฒนธรรมหมอล�ำ บ้านปลาค้าว ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณเหรียญชัย โพธารินทร์ ที่อยู่ : เลขที่ 77 หมู่ 10 บ้านปลาค้าว ต�ำบลปลาค้าว อ�ำเภอเมือง จังหวัดอ�ำนาจเจริญ 37000 โทรศัพท์ : 08 1878 7833 โทรสาร : 0 4554 3109 E-mail : homestayplakaow@hotmail.com Website : www.homestayplakaow.com

ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก คณะหมอล�ำบ้าน ปลาค้าวก็ประสบปัญหาเรื่องการทะเลาะวิวาท ระหว่างผูช้ มเป็นประจ�ำ จากทีว่ งหมอล�ำได้หมุน เวียนไปแสดงตามสถานทีต่ า่ งๆ ปัญหามากมาย จึงตามมา ท้ายสุดท�ำให้ไม่ค่อยมีผู้ใดกล้าที่จะ ว่าจ้าง ท�ำให้หมอล�ำตกงาน และมีจำ� นวนลดลง แต่เพือ่ ป้องกันการแก้ไขเรือ่ งทะเลาะวิวาท จากที่ ออกแสดงตามสถานที่ต่างๆ เปลี่ยนเป็นหัน กลับมาแสดงหมอล�ำอยูก่ บั ที่ เพือ่ ลดการกระทบ กระทั่งที่จะเกิดขึ้น

293

แต่จะท�ำอย่างไรเพื่อดึงความสนใจของคน ให้หันมาดูหมอล�ำมากยิ่งขึ้น ท�ำให้คุณเหรียญชัย โพธารินทร์ มองที่ชุมชนที่เป็นพื้นเพอยู่ เพราะมี ความน่าสนใจในเรื่องของความเก่าแก่ของ ชุมชน จึงเกิดความคิดดีๆ ที่จะจับสองอย่างมา รวมกัน เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว แล้วเชิญคน เข้ามาดูในหมู่บ้านให้ได้สัมผัสหมอล�ำในยามที่ วางไมค์ลงจากเวที มีวิถีชีวิตแบบปกติ จนกลาย มาเป็นโฮมสเตย์เบิ่งวัฒนธรรมหมอล�ำบ้าน ปลาค้าว จังหวัดอ�ำนาจเจริญ


SECatalog 294

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

295

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. อนุรักษ์วัฒนธรรมหมอล�ำและวิถีชีวิตของ ชาวบ้านปลาค้าว 2. สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ท�ำให้คนใน ชุมชนไม่ต้องออกไปหางานท�ำในเมืองหลวง และ ละทิ้งศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณ 3. สามารถพั ฒ นาพื้ น ที่ แ ละปรั บ ให้ ก ลายเป็ น แหล่งท่องเทีย่ วโดยไม่สง่ ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม โดยรอบของหมู่บ้าน และไม่ส่งผลกระทบต่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีดงั้ เดิมของคนในท้องถิน่

Product & Service สินค้าและบริการ

หลังจากเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ท� ำให้ หมอล�ำเริม่ กลับมาฟืน้ คืนชีพกันอีกครัง้ หมอล�ำ ที่เคยเลิกก็ทยอยรวมตัวเพื่อคอยแสดงให้กับ ผูม้ าเยือน ปัจจุบนั มีเด็กและเยาวชนในหมูบ่ า้ น หันมาฝึกหมอล�ำ ไม่ต้องไปเที่ยวเตร่ มีทุนเป็น การศึกษา อีกทัง้ ยังได้ซมึ ซับคุณธรรมจริยธรรม ผ่านกลอนล�ำ ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์และ เผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมที่สืบสานกันมา จากบรรพบุรุษ โฮมสเตย์ที่นี่ผ่านการรับรองมาตรฐาน โฮมสเตย์ไทย ที่ส�ำคัญได้รางวัลพระราชทาน หมู ่ บ ้ า นเศรฐกิ จ พอเพี ย ง "อยู ่ เ ย็ น เป็ น สุ ข " ปี 2553 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รางวัลอันทรงเกียรติยิ่ง ของชุมชน

และจากการที่มีรายการโทรทัศน์เข้ามา ถ่ายท�ำมากขึน้ ท�ำให้มจี ำ� นวนนักท่องเทีย่ วเพิม่ ขึน้ ผลดีกเ็ กิดกับชุมชน น�ำไปสูก่ ารพัฒนาเรือ่ ง ความสะอาด ปรับปรุงภูมทิ ศั น์และสาธารณูปโภค พื้นฐาน ไฟฟ้า น�้ำประปา เส้นทางคมนาคม รายได้ ส ่ ว นหนึ่ ง ของโฮมสเตย์ น� ำ มาเป็ น งบ ปรับปรุงสาธารณประโยชน์ นอกจากนี้กลุ่ม อาชีพอื่นๆ ในชุมชนก็มีรายได้อีกด้วย การพัฒนาสู่แหล่งท่องเที่ยวโฮมสเตย์เป็นหนึ่ง ในการแก้ปัญหา อันน�ำไปสู่การฟื้นฟูหมอล�ำที่ แต่เดิมมีชอื่ เสียงอยูแ่ ล้วให้ดยี งิ่ ขึน้ แถมยังสร้าง แหล่งรายได้อื่นๆ ในชุมชน และเป็นจิตส�ำนึก ร่วมที่ดีในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของ บรรพบุรุษสืบไป

1. บริการบ้านพักรูปแบบโฮมสเตย์ 40 หลัง อัตราค่าพักแบ่งเป็น 2 แบบ เหมาจ่าย 2-5 คน 6-10 คน 11-20 คน 21-30 คน 31-39 คน คนละ 800, 700, 600, 500, 450 บาท/คืน ตามล�ำดับ เหมาจ่าย 40 คนขึ้นไป คนละ 400 บาท/คืน และแบบพักค้างคืนอย่างเดียวไม่คิด ค่าบริการอืน่ ๆ คนละ 200 บาท/คืน อาหารมือ้ ละ 70 บาท ติดต่อสอบถาม โทร. 08 1878 7833 2. การแสดงหมอล�ำ 1,500-2,500 บาท (หากมา พักแบบเหมาจ่าย 40 คนขึ้นไปไม่คิดค่าแสดง) 3. น�ำท่องเทีย่ ววิถชี วี ติ ชุมชน ชมสถานทีฝ่ กึ ซ้อม หมอล�ำ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวิหารญวน 4. สินค้าที่น่าสนใจในท้องถิ่น อาทิ ผลิตภัณฑ์ จักสานจากไม้ไผ่ แจกัน เปลระนาด เก้าอี้

หมอล�ำ ทรัพย์สนิ ทางภูมปิ ญ ั ญา มรดกชุมชน สร้างคนสร้างรายได้

SIA ผลกระทบทางสังคม

จากปั ญ หาการได้ รั บ ความนิ ย มที่ ล ดลงของ วัฒนธรรมท้องถิน่ อย่างคณะหมอล�ำบ้านปลาค้าว ที่ ค ่ อ ยๆ หายไป กิ จ การโฮมสเตย์ ส ามารถ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้ศิลปิน มีรายได้และมีโอกาสในการแสดง สร้างรายได้ เพิ่มขึ้นให้กับชุมชน เยาวชนในหมู่บ้านก็สนใจ ฝึกหมอล�ำ สามารถสร้างรายได้ โดยไม่ตอ้ งย้าย ถิ่นฐานไปหางานที่อื่น


SECatalog 296

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

High Quality “โฮมสเตย์บ้านแม่กำ�ปอง” คุณภาพชุมชนระฟ้า

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

297

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : โฮมสเตย์บ้านแม่กำ� ปอง ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณพรหมมินทร์ พวงมาลา ที่อยู่ : เลขที่ 78/1 หมู่ 3 ต�ำบลห้วยแก้ว อ�ำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ 50130 โทรศัพท์ : 08 5675 4598 Website : www.mae-kampong.com

น่าสังเกตว่ากระแสการท่องเที่ยว ไปถึงสถานที่ใด สถานที่แห่งนั้น มักถูกท�ำลาย มนต์เสน่ห์ค่อยๆ จางและหายไป ส่งผลต่อความนิยม ทีเ่ สือ่ มถอยลง และเป็นจุดจบของ แหล่งท่องเทีย่ วนัน้ น่าเสียดายที่ ผลกระทบดังกล่าวมีให้เห็นเป็น บทเรียนมากมาย แต่ก็ก่อให้เกิด แนวคิดเทีย่ วไปอนุรกั ษ์ไป รวมถึง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืนเพื่อสังคม โฮมสเตย์บ้านแม่ก�ำปอง จังหวัดเชียงใหม่ จากการเล็งเห็นถึงปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ของสังคม ที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาสูง ห่างไกล จากตัวเมือง ท�ำให้ขาดแคลนสาธารณูปโภค เส้นทางคมนาคม และการสื่อสาร จึงมีแนว ความคิดเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นเพื่อตอบ สนองต่อความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ให้ กั บ คนในชุ ม ชน เพื่ อ ให้ ค นในชุ ม ชนมี คุณภาพชีวิตที่ดี

คุณพรหมมินทร์ พวงมาลา ผูใ้ หญ่บา้ นเป็น แกนน�ำชาวบ้านริเริ่มพัฒนาหมู่บ้านเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และโฮมสเตย์ แต่สิ่งที่ เขาเสนอไม่ใช่รีบเร่งลุกขึ้นมาท�ำแบบเร่งด่วน ตรงกั น ข้ า มผู ้ ใ หญ่ บ ้ า นให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ กระบวนการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจกับ คนในชุมชน วางแผนพัฒนาปรับปรุงสถานที่ และอบรมความรูด้ า้ นอย่างมีขนั้ ตอนด้วยความ รอบคอบ โดยใช้เวลาถึง 4 ปีจึงเปิดหมู่บ้าน ต้อนรับนักท่องเทีย่ วอย่างเป็นทางการเมือ่ ปลาย ปี 2543 กาลเวลาล่วงผ่าน 12 ปี การท่องเที่ยวเอื้อ ต่อสังคมในชุมชนเรื่องของการพัฒนาตั้งแต่ โครงสร้างพืน้ ฐาน เหล่านีล้ ว้ นเป็นผลจากชุมชน ประกอบกิ จ การโฮมสเตย์ ค วบคู ่ ไ ปกั บ การ

อนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรป่ า ไม้ สิ่ ง แวดล้ อ มและ สวัสดิการสังคม เหนือสิ่งอื่นใดชุมชนได้มีทุน ในการประกอบอาชีพที่สังคมรับประโยชน์จาก การท่องเทีย่ ว เดิมอาชีพหลักมีเพียงเก็บใบเมีย่ ง กาแฟ สู่การพัฒนาศักยภาพแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก่อตั้งเครือข่ายน�ำเอาสิ่งที่มีมาก่อ ให้เกิดประโยชน์ เพิ่มอาชีพสร้างรายได้ จนน�ำ พาให้ได้รางวัลพระราชทานหมู่บ้านเศรฐกิจ พอเพียง "อยู่เย็น เป็นสุข" ปี 2553 จากสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รางวัลอันทรงเกียรติยงิ่ ของชุมชน และปีเดียวกัน ยังได้รับรางวัล พาตา โกลด์ อวอร์ด สาขาด้าน วัฒนธรรมการตลาด จากสมาคมส่งเสริมการ ท่ อ งเที่ ย วภู มิ ภ าคเอเชี ย แปซิ ฟ ิ ก ซึ่ ง ถื อ เป็ น รางวัลระดับโลก

ด้วยทิวทัศน์ทรี่ ายล้อมด้วยภูเขา ท�ำเลทีต่ งั้ อยูท่ า่ มกลางหุบเขา มีอากาศเฉลีย่ ทัง้ ปีประมาณ 25 องศาเซลเซี ย ส มี ธ ารน�้ำไหลผ่ า นกลาง หมู่บ้านราวกับเสียงดนตรีประกอบ ส่งผลให้มี นักท่องเที่ยวขึ้นไปสัมผัสมากขึ้นทุกปี สิง่ ทีช่ าวบ้านร่วมแรงร่วมใจกัน ได้นำ� พาหมูบ่ า้ น ไปสูเ่ ป้าหมาย ถือว่าประสบความส�ำเร็จไประดับ หนึ่ง สามารถท�ำให้เป็นหมู่บ้านเรื่องของการ ท่องเที่ยวได้ ดูแลรักษาทรัพยากร เรื่องของวิถี ชีวิตการเป็นอยู่ วัฒนธรรม ด้วยความเชื่อว่า การอนุรักษ์น�ำมาซึ่งรายได้และความเป็นอยู่ที่ ดีขึ้น


SECatalog 298

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

การอนุรกั ษ์ น�ำมาซึง่ รายได้ และความเป็นอยู่ ทีด่ ขี นึ้

2. ชมวิถีชีวิตของชุมชน เช่น การท�ำเมี่ยง (ชา) การท�ำสมุนไพร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ชมเส้นทางธรรมชาติ การเดินป่าทั้งเส้นทางระยะ ใกล้และไกล ระหว่างทางก็ชมสวนเมี่ยง (ไร่ชา) เดินขึน้ ถึงดอยม่อนล้าน ความสูง 1,700 เมตรจาก ระดับน�้ำทะเล บริการมัคคุเทศก์น�ำเที่ยวในราคา 200 บาท/วัน 3. กิจกรรมทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม คือ การท�ำบายศรีสู่ขวัญ การแสดงฟ้อน การแสดง ดนตรีพื้นเมือง กิจกรรมบายศรีสู่ขวัญชุดใหญ่ ราคา 1,500 บาท ชุดเล็ก 1,000 บาท กิจกรรม การแสดงอื่นๆ 1,000 บาท 4. ผลิตภัณฑ์กาแฟ ปริมาณ 500 กรัม ห่อละ 400 บาท และปริมาณ 100 กรัม ราคา 100 บาท 5. ผลิตภัณฑ์ชา ราคาถุงละ 50 บาท ผลิตภัณฑ์ Product & Service สินค้าและบริการ แปรรูปจากชา หมอนใบชา มีให้เลือกหลากหลาย 1. มีโฮมสเตย์จำ� นวน 23 หลัง รองรับนักท่องเทีย่ ว ขนาด ราคาเริ่มต้น 20 บาท ได้ 100 คน อัตราค่าบริการพร้อมอาหาร 1 วัน 6. Flight of the Gibbon กิจกรรมการท่องเทีย่ ว 1 คืน คนละ 350 บาท 2 วัน 1 คืน คนละ 550 บาท โรยตัวบนต้นไม้สงู เพือ่ ชมทัศนียภาพในป่าชุมชน 3 วัน 2 คืน คนละ 900 บาท แม่ก�ำปอง ที่ได้รับการอนุญาตจากประชาคม 1. โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค เส้นทาง คมนาคมได้รับการพัฒนาและปรับปรุงดีขึ้น 2. ก่อเกิดแหล่งทุนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การประกอบอาชี พ ให้ กั บ ชาวบ้ า น ได้ พั ฒ นา ศักยภาพอาชีพหลักและมีอาชีพเสริมเพิม่ รายได้ น�ำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3. กระตุ ้ น ให้ ค นในชุ ม ชนได้ ต ระหนั ก ถึ ง เรื่ อ ง สิง่ แวดล้อมและวัฒนธรรมชุมชน น�ำไปสูก่ ารฟืน้ ฟู และอนุรักษ์ 4. พั ฒ นาศั ก ยภาพ ถ่ า ยทอดความรู ้ ใ นการ บริ ก ารจั ด การแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เ วศอย่ า ง เป็นระบบให้กับกลุ่มคณะศึกษาดูงาน เพื่อน�ำ กลับไปเป็นต้นแบบพัฒนาชุมชนของตนต่อไป

299

หมูบ่ า้ นให้เปิดกิจกรรมขึน้ ผลลัพธ์คอื สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับคนในชุมชน และส่งเสริมการ ท่องเทีย่ วให้แก่หมูบ่ า้ นมากยิง่ ขึน้ อัตราค่าบริการ เริ่มต้นที่ 2,399 บาท โทร. 0 5301 0660-3

SIA ผลกระทบทางสังคม

ชาวบ้ า นมี ร ายได้ เ พิ่ ม ขึ้ น จากการท� ำ กิ จ การ โฮมสเตย์ และรายได้ทเี่ พิม่ นัน้ ช่วยในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม สาธารณูปโภค และการสื่อสารของชุมชน การท�ำกิจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ช่วยรักษาวัฒนธรรมอันดีและ สิง่ แวดล้อมตามธรรมชาติภายในชุมชนให้อยูต่ อ่ ไปได้อย่างยั่งยืน


SECatalog 300

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

Small Village Big Idea “โฮมสเตย์บ้านสามขา” วิถีความสุขของ มนุษย์สองมือสองขาที่ยั่งยืน

หากมีสถานที่แห่งหนึ่งในเมืองไทย มีท�ำเลอยู่เชิงเขา แต่อากาศไม่หนาวพอจะมีแม่คะนิ้ง ไกลจากทะเล เกือบพันกิโลเมตร ไม่มแี ม่นำ� สายใหญ่ไหลผ่าน ไม่มตี ลาดน�ำ สถานทีแ่ ห่งนัน้ กลับมีผคู้ นต้องการเดินทาง ไปอยู่ไม่ขาดสาย คิดว่าสิ่งใดคือมือกวักเรียกคนเข้าสู่ชุมชนกัน

ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อกิจการ : โฮมสเตย์บ้านสามขา ชือ่ เจ้าของ / ผูก้ อ่ ตัง้ : คุณบุญเรือง เฒ่าค�ำ ที่อยู่ : เลขที่ 150 หมู่ 6 ต�ำบลหัวเสือ อ�ำเภอแม่ทะ จังหวัดล�ำปาง 52150 โทรศัพท์ : 08 1179 4771 E-mail : bansamkha_village@ hotmail.com Website : www.bansamkha.com www.facebook.com/baansamkha.village

โฮมสเตย์ บ ้ า นสามขา จั ง หวั ด ล� ำ ปาง เป็ น หมู ่ บ ้ า นที่ มี ค ณะศึ ก ษาดู ง าน นั ก เรี ย น นักศึกษา เข้ามาศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรื่องของระบบเศรษฐกิจ สังคม และการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมี โฮมสเตย์และลองสเตย์เพื่อรองรับ ในรูปแบบ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หากจะน�ำความรู้ กลับไปพัฒนาศักยภาพตัวเอง ต้องเรียนรู้กัน หลายวัน นั่นคือเหตุผลที่อาคันตุกะต้องพัก โฮมสเตย์ในหมู่บ้าน คุณบุญเรือง เฒ่าค�ำ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 ต�ำบลหัวเสือ อ�ำเภอแม่ทะ มองเห็นปัญหาว่า

การพัฒนาการท่องเที่ยวเพียงแค่วัตถุนั้นไม่ใช่ ความยั่งยืน บ้านสามขามีระบบการท�ำงาน ทีด่ เี ป็นทุนเดิม จึงพัฒนาศักยภาพท่องเทีย่ วทีม่ ี แผนรับมือชัดเจน ถ่ายงานสู่เยาวชน การท่องเที่ยวน�ำเสนอชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่น สัมผัส และเรียนรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก�ำหนด เส้นทางเพือ่ ไม่ให้กระทบต่อป่าต้นน�ำ้ สะท้อนวิถี ชีวิตการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างคนกับป่า และ สร้างความเข้าใจระเบียบแก่ผู้ที่มาเยือนเคารพ ต่อวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน สิ่ ง ส� ำ คั ญ คื อ การคั ด กรองและจ� ำ กั ด จ�ำนวนนักท่องเที่ยวเพียง 2-3 คณะต่อเดือน มีระบบคิวหมุนเวียนโฮมสเตย์และวิทยากร เพราะต่างก็มอี าชีพหลัก ผลทีต่ ามมาคือจ�ำนวน นักท่องเที่ยวเหมาะสมกับศักยภาพของชุมชน ชาวบ้ า นมี ร ายได้ เ พิ่ ม ขึ้ น และจั ด สรรรายได้ ผ่านกองทุนต่างๆ เพื่อสาธารณะประโยชน์ เกิดรายได้กับกลุ่มต่างๆ อาทิ กลุ่มไม้แกะสลัก กลุ่มทอผ้า กลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น

301


SECatalog 302

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

303

Social Innovation นวัตกรรมทางสังคม

1. เป็ น สถานที่ ร องรั บ และสนั บ สนุ น กิ จ กรรม แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ก ระบวนการจั ด การระบบ เศรษฐกิ จ สั ง คม และการจั ด การทรั พ ยากร สิ่งแวดล้อมของชุมชน 2. ระบบการจั ด การรั บ มื อ กั บ การท่ อ งเที่ ย ว ส่งผลให้นกั ท่องเทีย่ วเหมาะสมกับศักยภาพของ ชุมชน ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดรายได้กับ กลุ่มต่างๆ ในชุมชน และคงวิถีชีวิตของชาวบ้าน

Product & Service สินค้าและบริการ

1. อัตราค่าพักโฮมสเตย์ คนละ 120 บาท/คืน มีสมาชิก 11 หลัง รองรับได้จำ� นวน 50-60 คน 2. ค่าอาหารหัวละ 70 บาท/มื้อ โดยร่วมรับประทานอาหารกับเจ้าบ้านโฮมสเตย์ 3. บ้านสามขาเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ ในการจัดการบริหารชุมชนให้ศึกษามากมาย อาทิ การแก้ไขปัญหาหนีส้ นิ การท�ำฝายชะลอน�้ำ โครงการธนาคารสมอง กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เป็นต้น มีค่าใช้จ่ายส�ำหรับวิทยากร 1,500 บาท หากเป็ น กิ จ กรรมภาคปฏิ บั ติ ทุ ก คณะต้ อ งได้ ลงมือท�ำจริง ตัวอย่างเช่น สร้างฝายชะลอน�ำ้ ซึ่ง เป็นกิจกรรมเอกของชุมชน 4. ของดีสามขา ผลิตภัณฑ์จากกลุม่ อาชีพต่างๆ ในชุมชน ได้แก่ กล้วยตากต้นน�้ำ รสชาติหอม หวาน มัน อร่อย ผ้าย้อมสีธรรมชาติ ผ้าฝ้าย ย้อมมือจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิน่ ม้าแกะสลัก ขนาดเล็ก งานฝีมือที่น่าสะสม เป็นต้น สนใจ ผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 09 0109 5584

SIA ผลกระทบทางสังคม

การเข้าถึงแก่นแท้ของโฮมสเตย์ที่เป็นกิจการ เพื่อสังคม ผลที่ได้รับกลับมาคือ ชาวบ้านยังคง วิถีชีวิตแบบปกติ ไม่ฟุ่มเฟือยเพื่อพัฒนาความ สวยหรู มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น ส่วนแขกที่มาพัก ก็ได้รับความสะดวกสบายตามศักยภาพชุมชน ความประทับใจจากวิถชี วี ติ เฉพาะถิน่ ภาพรวม ในหมู่บ้านไม่ได้พัฒนาความเจริญด้านวัตถุจน ท�ำลายความเป็นชุมชน และนั่นเองคือคุณภาพ ชีวิตอย่างยั่งยืนที่น่าสัมผัส

โฮมสเตย์ชาวบ้าน เพือ่ สนับสนุน การถ่ายทอดความรูช้ มุ ชน สูค่ ณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ กี ว่า

จากปั ญ หาการพั ฒ นาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วแบบ ฉาบฉวย เป็นผลให้ความเจริญเข้าสู่ชุมชนอย่าง รวดเร็วจนชาวบ้านรับมือไม่ทัน สิ่งเหล่านั้นได้ สร้างความตระหนัก ท�ำให้กจิ การได้ศกึ ษารูปแบบ การจัดการและพัฒนาการท่องเทีย่ วให้เหมาะกับ วิถชี วี ติ วัฒนธรรมประเพณี และสิง่ แวดล้อมของ ชุมชน ผลที่เกิดตามคือ ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น เสริมควบคู่ความเข้าใจ รักในท้องถิ่นของตัวเอง มากขึ้น การคัดกรองและจ�ำกัดจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วเพียง 2-3 คณะต่อเดือนท�ำให้ชมุ ชนไม่เจริญ เติบโตอย่างควบคุมไม่ได้ การจัดสรรรายได้ ผ่านกองทุนต่างๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ ท�ำให้ ทุกคนได้ผลประโยชน์และคุณภาพทีด่ ขี นึ้ ร่วมกัน


SECatalog 304

SECatalog

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

ภาคผนวก

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

1. บริษัท รักลูก กรุ๊ป จ�ำกัด ผู้ก่อตั้ง : สุภาวดี หาญเมธี ที่อยู่ : เลขที่ 932 ถนนประชาชื่น แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 โทรศัพท์ : 0 2913 7555, 0 2831 8400 Website : www.raklukegroup.com

8. บริษัท ซูพรีม รีนิวเอเบิล เอ็นเนอร์ยี่ จ�ำกัด ผู้ก่อตั้ง : ยุทธนา ไสไทย ที่อยู่ : เลขที่ 141 ซอยสิรินธร 7 ถนนสิรินธร แขวงบางบ�ำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : 0 2435 2297, 0 2886 6070 Website : www.thai-greenenergy.com

2. Greenlattes ผู้ก่อตั้ง : อุดมสุข ไชยสิทธิ์ โทรศัพท์ : 08 6792 8448 E-Mail : dk.omm@greenlattes.com Website : www.greenlattes.com

9. บริษัท โอเพ่นดรีม จ�ำกัด ผู้ก่อตั้ง : ปฎิพัทธ์ สุส�ำเภา และพัชราภรณ์ ปันสุวรรณ ที่อยู่ : เลขที่ 299/92 ทาวน์โฮม อารียา แมนดารี นา ถนนสุทธิสาร แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ : 0 2274 8534 E-Mail : info@opendream.co.th Website : www.opendream.co.th

3. Simply Living Magazine ผู้ก่อตั้ง : สุนีรัตน์ ไม้ทิม ทีอ่ ยู่ : เลขที่ 739/27 หมูบ่ า้ นพิบลู ย์สขุ ซอยลาดพร้าว 48 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ : 0 2939 8606 E-Mail : buia@windowslive.com Website : www.simplylivingmag.com 4. เมืองโบราณ ผู้ก่อตั้ง : เล็ก และประไพ วิริยะพันธุ์ ผู้ดูแลกิจการ : อติชาติ ถวิลไพร ที่อยู่ : เลขที่ 296/1 หมู่ 7 ถนนสุขุมวิท ต�ำบลบางปูใหม่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 1028 โทรศัพท์ : 0 2709 1644-8 E-Mail : info@ancientsiam.com Website : www.ancientcity.com

10. โรงเรียนอนันตรักษ์การบริบาล ผู้ก่อตั้ง : พรระวี สีเหลืองสวัสดิ์ ที่อยู่ : เลขที่ 160/71-72 ถนนชมสินธุ์ ต�ำบลหัวหิน อ�ำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110 โทรศัพท์ : 0 3253 1166, 0 3251 4100 E-Mail : pornrawee@hotmail.com Website : www.anantarak.com 11. พิพิธภัณฑ์บ้านจ่าทวี ผู้ก่อตั้ง : จ่าสิบเอก ดร.ทวี บูรณเขตต์ ที่อยู่ : เลขที่ 26/138 ถนนวิสุทธิกษัตริย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ : 0 5521 2749, 0 5530 1668

15. โรงเรียนชาวนาและมูลนิธิขา้ วขวัญ ผู้อ�ำนวยการมูลนิธิ : เดชา ศิริภัทร ที่อยู่ : เลขที่ 13/1 หมู่3 ถนนเทศบาลท่าเสด็จ 1 ซอย 6 ต�ำบลสระแก้ว อ�ำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72230 โทรศัพท์ : 0 3559 7193 E-Mail : khao-kwan@hotmail.com Website : www.khaokwan.org

22. โรงเรียนรุ่งอรุณ ผู้ก่อตั้ง : รศ.ประภาภัทร นิยม ที่อยู่ : เลขที่ 391 ซอยอนามัยงามเจริญ 25 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : 0 2870 7521-4 E-Mail : info@roong-aroon.ac.th Website : www.roong-aroon.ac.th

16. สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม (อาศรมพลังงาน) ผู้ก่อตั้ง : สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่อยู่ : 135/4 หมู่ 4 ถนนธนะรัชต์ ต�ำบลหมูสี อ�ำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ : 0 4429 7621, 08 1660 0377, 08 1689 5045 E-Mail : se@ata.or.th Website : www.ata.or.th

23. โรงเรียนทอสี ผู้ก่อตั้ง : บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์ ที่อยู่ : เลขที่ 1023/46 ซอยปรีดีพนมยงค์ 41 ถนนสุขุมวิท 71 แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 0 2713 0260-1 E-Mail : info@thawsischool.com Website : www.thawsischool.com

17. กลุ่มสัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาวงจรชีวิต ครูชบ ยอดแก้ว ผู้ก่อตั้ง : ครูชบ ยอดแก้ว ที่อยู่ : เลขที่ 40 ถนนริมทางรถไฟนอก ต�ำบลน�้ำขาว อ�ำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 90130 โทรศัพท์ : 08 1128 2933

24. วันเดอร์เวิร์ล โปรดัคส์ ผู้ก่อตั้ง : สุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง ที่อยู่ : เลขที่ 172 หมู่ 4 ซอยวัดไพร่ฟ้า ถนนกรุงเทพ-ปทุมธานี ต�ำบลบางเดื่อ อ�ำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ : 0 2978 3300 E-Mail : info@wonderworldtoy.com Website : www.wonderworldtoy.com

18. กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม โดยพระสุบิน ปณีโต ผู้ก่อตั้ง : พระอาจารย์สุบิน ปณีโต ที่อยู่ : วัดไผ่ล้อม ถนนหลักเมือง ต�ำบลบางพระ อ�ำเภอเมือง จังหวัดตราด 23000 โทรศัพท์ : 0 3953 0510

25. บริษัท กล่องวิเศษ จ�ำกัด ผู้ก่อตั้ง : “ชมรมผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่ม” โดยบริษัท เต็ตตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จ�ำกัด และบริษัท เอสไอจี คอมบิบล็อก จ�ำกัด ที่อยู่ : เลขที่ 45 ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (ซอย 28) แยก 3-1 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ : 0 2751 8166-108 E-Mail : kawisara@klongwises.com Website : www.klongwises.com

5. บริษัท ร่วมทุนชนบท จ�ำกัด ผู้ดูแลกิจการ : พรรษา ทาเจริญศักดิ์ ที่อยู่ : เลขที่ 2044/23 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ : 0 2318 3958 Website : www.rcp.in.th

12. ส�ำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง ผู้รับผิดชอบดูแล : ฐิติมา คุณติรานนท์ ที่อยู่ : เลขที่ 8/23 ซอยบ้านช่างหล่อ ถนนพรานนก เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : 0 2866 1557 Website : www.komol.com

6. บริษัท ทีวีบูรพา จ�ำกัด ผู้ก่อตั้ง : สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ที่อยู่ : เลขที่ 246/8 ซอยโยธินพัฒนา แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ : 0 2518 6122 Website : www.tvburabha.com

13. โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ผู้ก่อตั้ง : มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ที่อยู่ : เลขที่ 1875/1 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 0 2252 7114 E-Mail : contact@doitung.org Website : www.doitung.org

20. โรงแรมบ้านท้องทราย ผู้ก่อตั้ง : อากร ฮุนตระกูล ทีอ่ ยู่ : เลขที่ 84 หมู่ 5 ต�ำบลบ่อผุด อ�ำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษร์ธานี 84320 โทรศัพท์ : 0 2381 8774-6 E-Mail : info@tongsaibay.co.th Website : www.tongsaibay.co.th

26. คลับ ครีเอทีฟ ผู้ก่อตั้ง : รัตติกร วุฒิกร ที่อยู่ : เลขที่ 61/69 ซอยลาดพร้าว 31 แยก 2-1 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0 2513 9417 E-Mail : club_cdesign@yahoo.com Website : www.club-creative.com

14. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ผู้ก่อตั้ง : เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ที่อยู่ : เลขที่ 32/7 หมู่ 12 ถนนปราจีนอนุสรณ์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี 25000 โทรศัพท์ : 0 3721 2716, 0 3721 1088 ต่อ 2171, 2172 E-Mail : information_center@abhaiherb.com Website : www.abhaibhubejhr.com

21. ร้านบ้านนาวิลิต ผู้ก่อตั้ง : วิลิต เตชะไพบูลย์ ที่อยู่ : เลขที่ 183 อาคารรีเจ้นท์ เฮ้าส์ ชั้น 1 ถนนราชด�ำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 0 2651 9779, 08 9481 8976 E-Mail : unnavilit@gmail.com Website : www.baannavilit.com

27. วงษ์พาณิชย์ ผู้ก่อตั้ง : ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ที่อยู่ : เลขที่ 19/9 หมู่ 3 ถนนพิษณุโลก-บางกระทุ่ม ต�ำบลท่าทอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ : 0 5528 4494, 0 5532 1555 E-Mail : wongpanit@gmail.com Website : www.wongpanit.com

7. บริษัท สยามบ้านดิน จ�ำกัด ผู้ก่อตั้ง : อาศรมวงศ์สนิท มูลนิธิเสฐียรโกเศศนาคะประทีป และไพริน พงษ์สุระ ที่อยู่ : เลขที่ 98 หมู่ 11 ต�ำบลบางปลากด อ�ำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120 โทรศัพท์ : 08 1715 6850, 0 3733 2221 E-Mail : baandin@siambaandin.com Website : www.siambaandin.com

19. กลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะ ผู้ก่อตั้ง : อัมพร ด้วงปาน ที่อยู่ : เลขที่ 15/1 หมู่ 3 บ้านชายนา อ�ำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 90130 โทรศัพท์ : 08 9976 9425

28. บริษทั เอส เอส ซี โซลูชนั่ จ�ำกัด (SSC Solutions Co.,Ltd.) ผู้ก่อตั้ง : ไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ที่อยู่ : เลขที่ 333 อาคารเล้าเป้งง้วน 1 ชั้น 27 ซอยเฉ่งพ่วง ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0 2618 8638-9 E-Mail : info@sscs.co.th Website : www.sscs.co.th 29. ร้านอีบ้านนอก : Ebannok Handicraft Project ผู้ก่อตั้ง : มูลนิธิกระจกเงา บริหารจัดการ : สมบัติ บุญงามอนงค์ ที่อยู่ : เลขที่ 106 หมู่ 1 บ้านห้วยขม ต�ำบลแม่ยาว อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100 โทรศัพท์ : 0 5373 7616 E-Mail : sales@ebannok.themirrorfoundation.org Website : www.ebannok.themirrorfoundation.org 30. บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จ�ำกัด ผู้ก่อตั้ง : ชาวดอยช้างโดยตระกูล “พิสัยเลิศ” บริหารจัดการ : วิชา พรหมยงค์ ส�ำนักงานใหญ่ : เลขที่ 787 หมู่ที่ 3 ต�ำบลวาวี อ�ำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 57180 โทรศัพท์ : 0 5360 5988-9 กรุงเทพมหานคร (สาขาที่2) : เลขที่ 39/545 ถนนลาดพร้าว-วังหิน แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ : 0 2539 6240, 0 2539 6246 E-Mail : teerasak@doichaangcoffee.net Website : www.doichaangcoffee.co.th 31. โฮมสเตย์บ้านหาดผาขน ผู้ก่อตั้ง : เสวียน สองสีขวา ที่อยู่ : เลขที่ 32 หมู่ 3 ต�ำบลเมืองจัง อ�ำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน 55000 โทรศัพท์ : 08 5183 4975 32. โฮมสเตย์บ้านหนองขาว ผู้ก่อตั้ง : มนู อ�ำนวย ประธานการท่องเที่ยวหมู่บ้าน วัฒนธรรมหนองขาว ที่อยู่ : เลขที่ 3/13 อ�ำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71110 โทรศัพท์ : 0 3458 6003 33. โฮมสเตย์บ้านบางพลับ ผู้ก่อตั้ง : สมทรง แสงตะวัน และทรงยศ แสงตะวัน ที่อยู่ : เลขที่ 9/3 หมู่ 4 ต�ำบลบางพรม อ�ำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 75120 โทรศัพท์ : 0 3476 1985, 08 1274 4433 34. โฮมสเตย์หมู่บ้านเบญจรงค์บา้ นกลาง ผู้ก่อตั้ง : อุไร แตงเอี่ยม, ประภาศรี พงษ์เมธา

305

ทีอ่ ยู่ : เลขที่ 32/1 หมู่ 1 ถนนท่าเสาพัฒนา ต�ำบลดอนไก่ดี อ�ำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130 โทรศัพท์ : 0 3447 3408, 08 1861 4626 35. โฮมสเตย์บ้านทรงไทยปลายโพงพาง ผู้ก่อตั้ง : ธวัช บุญพัด ที่อยู่ : เลขที่ 253 บ้านโคกเกตุ หมู่ 7 ต�ำบลปลาย โพงพาง อ�ำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 75110 โทรศัพท์ : 0 3475 3919, 08 1403 7907, 08 9988 1754 Website : plypongpang.blogspot.com 36. โฮมสเตย์มุสลิมบ้านม่วงกลวง ระนอง บุคคลติดต่อ : วิลาวัลย์ เสบสบาย เลขาชมรมอนุรักษ์ และเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ จังหวัดระนอง ที่อยู่ : เลขที่ 288/1 ถนนเรืองราษฏร์ ต�ำบลเขานิเวศ อ�ำเภอเมือง จังหวัดระนอง 85000 โทรศัพท์ : 08 9287 0471 E-Mail : jojobansamnak@hotmail.com 37. โฮมสเตย์หมู่บ้านคลองเรือ บุคคลติดต่อ : มานิตย์ โมฬี และสิทธิศกั ดิ์ แก้วรักษา (ครูชกิ ) ที่อยู่ : หมู่ที่ 9 ต�ำบลปากทรง อ�ำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร 86180 โทรศัพท์ : 08 7884 5267 E-Mail : info@klongrua.com Website : www.klongrua.com 38. โฮมสเตย์ในบางคลองร้อยสาย ผู้ก่อตั้ง : พานุ ช�ำนาญเมือง ประธานชมรมส่งเสริม การท่องเที่ยวคลองร้อยสายน�้ำตาปี ที่อยู่ : เลขที่ 49 หมู่ 5 ต�ำบลบางชนะ อ�ำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000 โทรศัพท์ : 0 7720 5323, 08 6267 6695 39. โฮมสเตย์ลุงเกล้า จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ก่อตั้ง : ลุงเกล้า ที่อยู่ : เลขที่ 1 หมู่ 8 ต�ำบลบ้านปรก อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม 75000 โทรศัพท์ : 0 3471 8239, 08 7754 5878 40. นิตยสาร WAY ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการบริหาร : อธิคม คุณาวุฒิ ที่อยู่ : เลขที่ 137 (1139/14) ซอยลาดพร้าว 101 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ : 0 2736 9918 E-Mail : waymagazine@yahoo.com Website : www.waymagazine.wordpress.com 41. ส�ำนักพิมพ์โอ้ มาย ก็อด (Oh my God Publishing) ผูก้ อ่ ตัง้ และบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : อัฐพงศ์ เพลินพฤกษา ที่อยู่ : เลขที่ 111/214 หมู่บ้านบัวทอง ซอย 13/22 ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ต�ำบลบางรักพัฒนา


SECatalog 306

รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย

อ�ำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 โทรศัพท์ : 0 2925 2308, 0 2925 0952 E-Mail : ohmygod.books@gmail.com Website : www.ohmygodbooks.com 42. ส�ำนักพิมพ์ Openbooks ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ที่อยู่ : เลขที่ 286 ถนนพิชัย แขวงถนนนครชัยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ : 0 2669 5145-6 E-Mail : pinyopen@yahoo.com Website : www.onopen.com 43. พิพิธภัณฑ์ชุมชนชาวเกาะลันตา ที่อยู่ : ที่ว่าการอ�ำเภอเกาะลันตา (หลังเก่า) ชุมชนศรีรายา หมู่ 2 ต�ำบลเกาะลันตาใหญ่ อ�ำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ 81150 โทรศัพท์ : 0 7528 1985, 0 7569 7069 E-Mail : lantaprofect@gmail.com 44. บ้านพิพิธภัณฑ์ อเนก นาวิกมูล ผู้ก่อตั้งและบริหารจัดการ : อเนก และวรรณา นาวิกมูล ที่อยู่ : เลขที่ 170/17 หมู่ที่ 17 ซอยคลองโพ 2 ถนนศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ : 08 9200 2803 (คุณอเนก), 08 9666 2008 (คุณวรรณา) Website : www.houseofmuseums.siam.edu 45. แก่งกระจานริเวอร์ไซด์รีสอร์ท : รีสอร์ทผนวกค่ายลูกเสือเพื่อสิ่งแวดล้อม บุคคลติดต่อ : เลิศจัณฑา สีเหลืองสวัสดิ์ ที่อยู่ : เลขที่ 323/3 หมู่ 1 ต�ำบลท่ายาง อ�ำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 76130 รีสอร์ท : เลขที่ 550 หมู่ 1 ต�ำบลแก่งกระจาน อ�ำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 76130 โทรศัพท์ : 0 3246 1244, 08 6669 4644, 08 1587 2382 E-Mail : krsc_petch@yahoo.com Website : www.kaengkrachan.net 46. วังดุม เมาเทนท์แคมป์ (ศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทนเพื่อการศึกษา) ผู้ก่อตั้งและบริหารจัดการ : สมชัย บุญเสริมวิชา กรรมการผู้จัดการ ที่อยู่ : เลขที่ 634/2 ซอยรามค�ำแหง 39 (เทพลีลา 1) แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ : 0 2530 9099 ต่อ 100, 103, 511 ที่ตั้งโครงการ : เลขที่ 28 หมู่ 8 ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี 71110 โทรศัพท์ : 0 3454 7105 E-Mail : monwarach@gti.co.th Website : www.wangdummountaincamp.com

47. กลุ่มผู้ปลูกผักปลอดสารพิษ ต�ำบลไทยสามัคคี อ�ำเภอวังน�้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา บุคคลติดต่อและบริหารจัดการ : ไกร ชมน้อย ประธานกลุม่ ที่อยู่ : เลขที่ 111 หมู่ 2 บ้านสุขสมบูรณ์ ต�ำบลไทยสามัคคี อ�ำเภอวังน�ำ้ เขียว จังหวัดนครราชสีมา 30370 โทรศัพท์ : 08 1274 6961, 08 6259 5755 หรือ 08 1955 9461 48. สยามกรีนฟาร์ม ส�ำนักงาน : เลขที่ 99/158 หมู่ 8 ถนนกรุงเทพฯ– ปทุมธานี ต�ำบลบางคูวดั อ�ำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ : 0 2961 3157-8 E-Mail : siamgreenfarm@hotmail.com Website : www.siamgreenfarm.com 49. บริษัท ไทยออแกนนิกฟู้ด จ�ำกัด ผู้ก่อตั้ง : กานต์ ฤทธิ์ขจร ส�ำนักงาน ราชบุรี : เลขที่ 130 หมู่ 1 ถนนเพชรเกษม ต�ำบลวังเย็น อ�ำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี 70120 โทรศัพท์ : 0 3238 9521, 08 1899 5289, ส�ำนักงาน กรุงเทพฯ : เลขที่ 976/17 ซอยโรงพยาบาล พระรามเก้า แขวงห้วยขวาง เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10320 โทรศัพท์ : 0 2641 5366-70 Website : www.thaiorganicfood.com 50. โรงเรียน พ่อ แม่ ลูก ประธานเครือข่ายโรงเรียน พ่อ แม่ ลูก จังหวัด นครสวรรค์ : อังคณา มาศรังสรรค์ ที่อยู่ : เลขที่ 53/275 ถนนสวรรค์วิถี อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000 โทรศัพท์ : 0 5631 3600 E-Mail : smartsmileschool@yahoo.com Website : www.smartsmile-school.com 51. Cubic Creative PlayCube ผู้ก่อตั้ง : ณัช ภู่วรวรรณ ที่อยู่ : เลขที่ 99/36 ซอย 44 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 08 3159 0777 E-Mail : contact@cubiccreative.org Website : www.cubiccreative.org 52. Chivalry Silk ผู้ก่อตั้งและบริหารจัดการ : เทพรัตน์ ตันติกัลยาภรณ์ ที่อยู่ : เลขที่ 114 TUBI Business Center Dome Administration Building มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต จังหวัดปทุมธานี 12121 โทรศัพท์ : 08 9663 3639 E-Mail : export@chivalrysilk.com Website : www.chivalrysilk.com

53. บริษัท โคโคบอร์ด จ�ำกัด ผู้ก่อตั้ง : อรพินท์ สินอมนเวช ที่อยู่ : เลขที่ 190/2 หมู่ 4 ต�ำบลสระแหง อ�ำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี 12140 โทรศัพท์ : 0 2976 2448 E-Mail : orapin@kokoboard.com Website : www.kokoboard.com 54. เครือข่ายบ้านดิน ผู้ก่อตั้ง : อาศรมวงศ์สนิท มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ที่อยู่ : ตู้ ปณ.1 อ�ำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120 โทรศัพท์ : 0 3733 2296 E-Mail : baandin.org@gmail.com Website : www.baandin.org 55. สู้เพื่อลูก ผู้ก่อตั้ง : วีรนุช สุวัฒน์วงศ์ชัย ที่อยู่ : เลขที่ 67 หมู่บ้านนวธานี ถนนเสรีไทย เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ : 08 1836 3807 E-Mail : wearesupermom@gmail.com Website : www.supermomthailand.com 56. ปลาจะเพียร บริหารจัดการ : ธนภณ เศรษฐบุตร ทีอ่ ยู่ : โครงการ Good little Space สยามสแควร์ ซอย 6 ถนนพระราม 1 กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 08 1452 7495 E-Mail : plajapian@gmail.com info@ plajapian.org Website : www.plajapian.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.