WISDOM เรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ

Page 1

1


จัดท�ำโดย

ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 99 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 0-2343-1500 โทรสาร 0-2343-1501 www.thaihealth.or.th, www.thaihealthcenter.org WISH เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ ชุด WISDOM บรรณาธิการ : ทวีศักดิ์ อุชุคตานนท์ สัมภาษณ์และเรียบเรียง : ประพัฒน์ สกุณา ปก, รูปเล่มและภาพประกอบ : ไตรรงค์ ประสิทธิผล พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2555 พิมพ์ที่ : บริษัท แปลนพริ้นท์ติ้ง จ�ำกัด ( มหาชน)

ด�ำเนินการผลิตโดย

ส�ำนักพิมพ์บ้านภายใน

บริษัทบ้านภายใน จ�ำกัด 123/1182 หมู่ 3 ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ / โทรสาร : 0-2750-7384, 08-1402-0103 e-mail : suwanna.chok@gmail.com “ทัศนะความคิดเห็นจากบทสัมภาษณ์ซึ่งปรากฏในหนังสือนี้ ไม่จ�ำเป็นที่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ต้องเห็นด้วยเสมอไป”


ค�ำน�ำ ตลอด  10  ปที ผี่ า่ นมากับความ มุง่ มัน่ ของส� ำ นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การสร้ า ง เสริมสุขภาพ(สสส.) ในการจุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน  เชื่อมประสานภาคีเครือข่าย  เพื่อ ให้ “ทุ ก คนบนผื น แผ่ น ดิ น ไทยมี ขี ด ความ สามารถ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อสุขภาวะ” อย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มา ของการจัดตั้ง  “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ”  ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่ เรียนรู้การสร้างสุขภาวะอย่างครบวงจร  ผ่านการสร้างสรรค์กิจกรรม นิทรรศการ และการบริการข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ เป็นต้น โดย สสส. หวังว่าพื้นที่เรียนรู้สุขภาวะแห่งนี้ จะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ ประชาชนที่เข้ามาเยี่ยมชม  เกิดการเรียนรู้  เปิดประสบการณ์  และ ความตั้งใจที่จะริเริ่มสร้างสุขภาวะและสิ่งดี ๆ ให้แก่สังคมต่อไป “WISH เรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ” เป็นชุดหนังสือ ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะมีความตั้งใจจัดท�ำขึ้น  เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่าน สามารถเข้ามาเรียนรู้มุมมองแนวคิด  ประสบการณ์ชีวิต  ตลอดจน เคล็ดลับการเอาชนะต่ออุปสรรคปัญหาของผู้คนที่น่าสนใจถึง  100 คน  ซึ่งล้วนเป็นบุคคลที่ได้มีส่วนร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่  โดย มีการเรียบเรียงเป็น 4 เล่มตามชื่อหนังสือ คือ W – Wisdom, I – Inspiration, S – Sharing และ H – Health & Happiness ด้วยหวัง ว่าเรื่องราวชีวิตอันมีคุณค่าของท่านทั้งหลายเหล่านี้ จะเป็นตัวอย่าง และบทเรียนที่จุดประกายความหวังและพลังใจให้ผู้อ่านได้ลุกขึ้นมา เปลี่ยนแปลงและสร้างสุขภาวะองค์รวมทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และปัญญา เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของตนเองและสังคมไทย

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.


จาก...บรรณาธิการ ชีวิตของมนุษย์เรา  หลายครั้งอาจมีอุปสรรค  และอาจต้อง พานพบกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ของชีวิตอีกด้วยแต่การก้าวเดินผ่าน ความยากล�ำบากก็เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของคนเรา  หากการ จะเดินต่อไปได้ในสภาวะที่ยากล�ำบากก็คือ การก้าวเดินอย่างมีความ หวัง เรื่ อ งเล่ า แห่ ง ความหวั ง และพลั ง ใจ รวมเรื่ อ งราวของ บุคคลชั้นน�ำในวงการต่างๆ  ที่เราน�ำเสนอมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ การสร้างความสุขให้แก่ประชาชนคนไทย  เพื่อให้คนไทยมีชีวิตอย่าง มีหวังและมีพลัง  แม้ว่า...ในชีวิตจริงที่ประสบ  สังคมของเราก็ยังมี วิกฤตการณ์ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และธรรมชาติที่เป็นภัย พิบัติ ดังนั้นการเรียนรู้บทเรียนจากปัจเจกชนอิสระทั้ง  100  ท่าน จึงอาจเป็นแรงใจที่ส�ำคัญ  และอาจมีใครสักคนหนึ่งที่จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้คุณลุกขึ้นมาท�ำสิ่งที่แตกต่างให้แก่สังคมของ เราด้วย

4


เรื่องราวที่ล้มเหลวของใครบาง คนอาจเป็นบทเรียนสอนใจให้แก่คุณ เรื่ อ งราวแห่ ง ความส� ำ เร็ จ ของ อี ก คนก็ อ าจเป็ น พลั ง ใจให้ คุ ณ มี แ รง อยากสร้างความส�ำเร็จเช่นนี้บ้าง มี ห ลายคนที่ อ ่ า นหนั ง สื อ ชุ ด นี้ แล้วบอกว่า “พอได้อ่านเรื่องราวของคนดี ๆ มากมายเช่นนี้  ท�ำให้รู้สึกมีความหวังต่อ สังคมไทยมากขึ้น” เราก็หวังเช่นกันว่าคุณจะรู้สึก เช่นนี้บ้าง

ทวีศักดิ์ อุชุคตานนท์ บรรณาธิการอ�ำนวยการ โครงการเรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ

5


ส า ร บั ญ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

9

แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

18

ภิกษุณีธัมมนันทา

26

รศ.ประภาภัทร นิยม

34

พระพรพล ปสันโน

40

ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม

48

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

58

ฐิตินาถ ณ พัทลุง

66

สุวรรณา โชคประจักษ์ชัด

74

โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์

82

จิระนันท์ พิตรปรีชา

90

ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์

98

6


ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา

106

ประมวล เพ็งจันทร์

112

วิจักขณ พานิช

124

พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์

130

ปราโมทย์ ไม้กลัด

138

ศ.ดร.สมิทธ ธรรมสโรช

145

ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ

153

อาจารย์ณรงค์ เพชรประเสริฐ

161

อาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบล

166

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์

174

วรัตดา ภัทโรดม

182

หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน

190

ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล

198

7


8


พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต

อยู่อย่างมีสุข ให้คิดถึงผู้อื่นมากกว่าตัวเอง  แล้วหมั่นมองตน  ให้รักตัวเอง อย่างแท้จริง  ให้รู้จักตัวเอง  สิ่งนี้จะช่วยท�ำให้เราอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมี ความสุข พระอาจารย์ไพศาล  วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต  คือพระ นักคิดนักเขียนที่มีผลงานเขียนออกมาอย่างสม�่ำเสมอ  ธรรมะของท่าน ที่สั่งสอนผู้คน จะเน้นหนักเรื่องราวที่เกี่ยวกับสังคมเป็นหลัก  ดังนั้นเมื่อ เกิดปัญหาหรือความขัดแย้งในสังคมครั้งใด  ท่านก็จะถูกสื่อสัมภาษณ์ เพื่อให้แนวคิดในการแก้วิกฤตอยู่เสมอ  สิ่งหนึ่งที่พระอาจารย์เน้นย�้ำ ในทุกการสัมภาษณ์  เมื่อสังคมต้องเผชิญความขัดแย้งก็คือ  การมอง ความขัดแย้งอย่างเป็นกลาง  และต้องท�ำใจ  เพราะความขัดแย้งนั้นเป็น

9


ธรรมดาของโลก และสิ่งส�ำคัญที่สุดที่จะท�ำให้ทุกคนมีความสุขได้ ไม่ ได้อยู่ที่ไหน  มันอยู่ที่ใจตนเอง สงบได้

ท่ามกลางความวุ่นวายของสังคม  เราสามารถหาความสุข

“ที่จริงในบ้านของตัวเองมันก็เป็นที่สงบสุขได้  ในห้องนอน ของเราก็ได้ ถ้าไม่ใช่คนที่อยู่ท่ามกลางผู้คน ห้องนอนก็เป็นที่ที่สงบได้ แต่อาตมาพบว่าหลายคนแม้จะอยู่ในห้องคนเดียวก็ไม่สงบ  เพราะ เดี๋ยวก็มีเสียงโทรทัศน์เข้ามา มีอีเมล์ มีเฟซบุ๊ก มีแบล็กเบอร์รี่ดัง มี เอสเอ็มเอสเข้ามา  มันไม่สงบแม้จะอยู่คนเดียว  เพราะว่าคุณปล่อย ให้ข้อมูลข่าวสารมันหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตจิตใจ  ทางออกที่ดีคือคุณ ควรปิดโทรทัศน์บ้าง ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  ปิดมือถือ  อย่าเปิดตลอด เวลา   บางครั้งมันวุ่นวายมาก  วันเสาร์อาทิตย์ก็ปิดบ้าง  อาตมารู้จัก คนหลายคน  บางทีเขามีอาชีพการงานที่ต้องรับผิดชอบ  เป็นนักข่าว นักหนังสือพิมพ์ เป็นฝรั่ง เย็นวันศุกร์จนถึงเช้าวันอาทิตย์ปิดโทรศัพท์ อยู่กับครอบครัวและตัวเอง  ออกไปจ๊อกกิ้ง  อาตมาคิดว่าเราไม่ต้อง ไปไหนหรอก แค่อยู่บ้าน หาโอกาสที่จะอยู่คนเดียวจริงๆ แล้วปิด เครื่องมือสื่อสารทั้งหลาย  ต่อมาก็หันมามองตน  หันมาดูจิตใจบ้าง ถ้าหากว่าคนเราว้าวุ่นเพราะใจ   ไม่ใช่เพราะสิ่งภายนอก  แม้อยู่คน เดียวในป่าคุณก็จะว้าวุ่น ถ้าใจคุณเตลิดเปิดเปิงไป บางคนอยู่ในป่า อยู่ในห้องคนเดียวบางทีอยู่ไม่ได้  เพราะว่าใจมันว้าวุ่น   ปรุงแต่งไป ต่างๆ แล้วคนเรานี่ชอบหนีตัวเอง ทนอยู่กับตัวเองไม่ได้ ก็เลยหนีไปหา เพื่อน หนีไปคุย ไปเที่ยว ไปเล่นเฟซบุ๊ก เสร็จแล้วก็บ่นว่าไม่มีเวลาให้ กับตัวเอง แต่ครั้นเวลาอยู่คนเดียวจริงๆ ก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าจิตใจมัน

10


ว้าวุ่น   แล้วเราควรท�ำอย่างไร วิธีแก้คือมีสติรู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิด ที่ปรุงแต่ง พอรู้ปุ๊บแล้ววาง ไม่ใช่ห้ามคิด ให้มีสติรู้ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ ค่อยมีเวลากลับมาดูใจของตัวเอง  แม้อยู่คนเดียวก็เจอแต่ความทุกข์ แต่การรู้ทันความคิดแล้ววางได้  แม้ว่ามันจะมีเสียงมากระทบก็ไม่มี ปัญหา แต่มีปัญหาเพราะว่าใจเราไม่ชอบเสียงนั้น ใจเรามีปฏิกิริยา ต่อเสียงที่แทรกเข้ามา แต่ถ้าเรามีสติ เรารู้ว่ามีอะไรแทรกเข้ามา เรา รู้ก็ท�ำใจให้เป็นกลาง เสียงดังก็ท�ำอะไรเราไม่ได้ เพราะฉะนั้นนี่คือสิ่ง ที่ส�ำคัญที่สุดที่ช่วยให้เราไม่ต้องหนีไปไหน  มันต้องเริ่มหาที่หาทางที่ สงบให้ตัวเอง ปิดเครื่องมือสื่อสาร แล้วจากนั้นก็หันมาดูใจ มาเจริญ สมาธิ ภาวนาให้มีสติ” ต้องรู้จักท�ำใจ  เราถึงจะสามารถอยู่กับความขัดแย้งได้อย่าง มีความสุข “เรื่องนี้เป็นเรื่องของการท�ำใจ  มองว่าหนึ่ง  ความขัดแย้งเป็น เรื่องธรรมดา แม้แต่เราบางทีอยู่คนเดียวเราก็ยังขัดแย้งกับตัวเอง จะ ไปเที่ยวที่ไหนดี ก็มีสองสามความเห็นในใจ ต้องมองว่าความขัดแย้ง เป็นเรื่องธรรมดา  มองความขัดแย้งอย่างเข้าใจ  ประการที่สองมอง ว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องที่เป็นความต่างกันเฉพาะบางแง่มุม  บาง ด้าน เวลาคนสองคนขัดแย้งกันไม่ใช่ว่าเขาขัดแย้งกันทุกเรื่อง  เพราะ ขัดแย้งในบางเรื่อง เขาอาจจะเห็นตรงกัน อยู่เก้าสิบห้าอย่าง แต่อาจ จะเห็นต่างกันห้าอย่าง ก็ไม่ควรที่จะทะเลาะ มองกันเป็นศัตรู เราเห็น ต่างกันแค่นั้นท�ำไมเราต้องเป็นศัตรูกับเขา เขาเองก็มีอะไรเหมือนกับ เรา เหมือนกับเขา พูดง่าย ๆ คือก�ำจัดความขัดแย้ง ความเห็นด้วยหรือ ไม่เห็นด้วยในความคิดของเขาเป็นบางเรื่อง มันท�ำให้เราเป็นเพื่อนกับ เขาได้ แม้ว่าจะเห็นไม่ตรงกัน”

11


“ประการที่สามคือ  มองว่าความขัดแย้งมันเป็นเรื่องชั่วคราว ก่ อ นหน้ า นี้ เ ราก็ มี อ ะไรเหมื อ นกั น ตั้ ง หลายอย่ า ง  แต่ วั น นี้ ขั ด แย้ ง กัน  พรุ่งนี้เราอาจจะกลายเป็นเพื่อนร่วมทริป  ร่วมงานที่สอดคล้อง กัน  เพราะฉะนั้นอย่าไปเอาเป็นเอาตายกับความขัดแย้ง   เพราะว่า คนที่เคยท�ำสงครามกัน  อย่างอเมริกากับเวียดนาม  สามสิบปีก่อน รบกันจะเป็นจะตาย  แต่ตอนนี้กอดคอท�ำการค้าไปแล้ว  หลายคนที่ ขึ้นเวทีพันธมิตรก็เคยจับปืนไล่ล่ากัน  คนหนึ่งเป็นทหาร  คนหนึ่งเป็น คอมมิวนิสต์ มองให้มันเป็นของชั่วคราว   อย่าไปยึดมั่นถือมั่นกับมัน มาก  ถ้าเรามองแบบนี้เราจะปล่อยวางได้มากขึ้น เราจะไม่รู้สึกว่ามัน เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย  ขัดแย้งกันด้วยความคิดก็โต้เถียงกัน  แต่ ก็ยังรักกัน ไม่รู้สึกว่าจะเป็นจะตาย ถ้าเราท�ำแบบนี้ เราก็จะไม่ทุกข์ กับความขัดแย้ง  เราก็เห็นเพียงว่าเป็นสิ่งแปลกเข้ามาในชีวิต  แต่ไม่ ได้แปลว่าเราไม่เป็นตัวของตัวเองนะ เราเห็นต่างเราก็พูด ไม่ใช่ว่า เออออกับเธอนะ ไม่กล้าขัดแย้งกับใคร ไม่ใช่แบบนั้น ความขัดแย้ง มันสามารถอยู่บนตัวของตัวเองได้ แต่เราต้องไม่ทุกข์ อาตมาคิดว่า ชีวิตคนเรามันมีหลายแง่มุม  ส่วนที่ขัดแย้งกับใครก็ขัดแย้งบางเรื่อง เราก็อย่าหมกมุ่นกับมัน เช่นมีความขัดแย้งเรื่องการเมือง ถ้าเราไม่ เปิดโทรทัศน์ ไม่ดูเฟซบุ๊ก เราไม่เดือดร้อนอะไร เมื่อเราต้องท�ำงานเรา ก็ท�ำงานของเราไป มีเวลาว่างก็เปิดทีวี ต้องรู้จักจ�ำกัดการรับรู้ อย่า ไปหมกมุ่นกับมันจนกระทั่งไม่เป็นอันท�ำงาน อาตมาคิดว่าถ้าเราอยู่ กับปัจจุบัน เราก็ท�ำงานของเราให้ดี เราจะพบกับความขัดแย้งน้อย ลง ไม่ใช่ไม่รับรู้นะ แต่เรารับรู้เมื่อถึงเวลา แล้วเราก็ใส่ใจในฐานะที่เรา เป็นคนไทย ใส่ใจแต่ไม่ใช่หมกมุ่น ไม่ท�ำให้มันท�ำร้ายจิตใจ จนท�ำร้าย ตัวเอง”

12


ความรั ก ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด ทุ ก ข์ ไม่ใช่ความรักที่แท้จริง ความรักใน ทางพุทธศาสนา คือความรักที่เรียก ว่าเมตตา “รั ก มั น ท� ำ ให้ เ กิ ด ทุ ก ข์   คื อ รักที่หมายถึงการยึดมั่นถือมั่น  เพื่อ สนองตัวเอง  รักเขาเพื่อต้องการให้ เขามาปรนเปรอ หรือเรารักเขาที่เขา สามารถให้ความสุขความสบายกับ เราได้  เพราะฉะนั้นเราก็เลยอยาก ให้เขาเป็นแบบที่เราคิด  มันท�ำให้เกิดทุกข์  มันท�ำให้เกิดการท�ำร้าย กัน แบบนี้ไม่ได้เป็นความรัก เพราะความรักในทางพุทธศาสนา คือมี ความรักที่เรียกว่าเมตตา ความรักที่เป็นการยึดมั่นถือมั่นเพื่อสนองตัว ตนของเรา เราเรียกว่าเสน่หาหรือราคะ  ความรักแบบนี้ท�ำให้เกิดทุกข์ ทั้งผู้ถูกรักและผู้รัก  แต่ว่ามันก็ให้ความสุขในชั่วระยะเวลาหนึ่ง  คือ ในช่วงเวลาที่ทั้งสองคนเออออห่อหมกกัน แต่พอขัดแย้งกันก็เริ่มทุกข์ แล้ว หรือว่าตายจากกันก็ยิ่งทุกข์ใหญ่ แต่ความรักที่เรียกว่าเมตตา ปรารถนาดีโดยที่ไม่ต้องการอะไรจากเขา  มีให้แต่ความปรารถนาดี อาตมาเชื่อว่าทุกวันนี้ที่โลกอยู่ได้เพราะมีความรักแบบนี้มาเจือปน บางทีก็ไปผสมอยู่กับความรักประเภทแรก  คนเราบางทีก็ไม่ได้มีแต่ เสน่หาอย่างเดียว  มันมีเมตตาเข้าไปด้วย  เช่นความรักระหว่างสามี ภรรยา พ่อแม่ลูก เพื่อน มันมีเมตตาเข้าไปผสม มากบ้างน้อยบ้าง ตรง นี้ต่างหาก ที่ท�ำให้โลกอยู่ได้ เพราะมันท�ำให้เกิดการเอื้อเฟื้อเกื้อกูล

13


กั น อย่ า งแท้ จริ ง   ถ้ า ขาดเมตตาธรรมนี่ โ ลกอยู่ไม่ได้เลย  เพราะ พระพุทธเจ้าบอกว่าเมตตาธรรมค�้ำจุนโลก คือถ้าไม่มีเมตตา โลก มันคงพินาศไปแล้ว ทุกศาสนาก็เน้นชูประเด็นความรักแบบนี้  คือ ความรักที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว  ที่ฝรั่งเรียกว่าความรักแบบ ไม่มีเงื่อนไข แต่ว่าตราบใดที่เราปฏิเสธความรักแบบประเภทแรก ไม่ได้ ก็ควรพัฒนาให้มีความรักแบบที่สองเข้ามาเจือปน เข้ามาเป็น ตัวน�ำ จะช่วยท�ำให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข” ปัญญาทางวิทยาศาสตร์และปัญญาทางธรรมนั้นจ�ำเป็นที่ จะต้องอยู่คู่กันไป “วิ ท ยาศาสตร์ เ ป็ น เรื่ อ งของความรู ้   ไม่ ใ ช่ เ ป็ น เรื่ อ งของ คุณค่า  วิทยาศาสตร์ยากที่จะบอกว่าอะไรดีไม่ดี  แต่วิทยาศาสตร์ บอกอะไร  ท�ำไม  อย่างไร  แต่ว่าดีหรือไม่ดีเป็นเรื่องของจริยธรรม เป็นเรื่องของฝ่ายศาสนา  แต่ศาสนาบางทีก็ตัดสินผิด  นี่คือเรื่องที่ หนึ่ง วิทยาศาสตร์คือเรื่องของความรู้ แต่ไม่ใช่เรื่องคุณค่า “สองมันคือเรื่องของการพัฒนาสมองแต่ไม่ใช่เรื่องของ การพัฒนาจิตใจ  เรื่องของการพัฒนาจิตใจเป็นเรื่องของคุณธรรม เป็ น เรื่ อ งของการปฏิ บั ติ ธ รรม  เรื่ อ งของการท�ำความดี  มัน นอก ขอบข่ายของวิทยาศาสตร์  บางทีก็ใช้วิทยาศาสตร์ในการท�ำลาย อย่างเช่นฮิตเลอร์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรมแก๊สชาวยิวตาย ไปหกล้านคน  เราใช้วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างระเบิดนิวเคลียร์  เพื่อ สร้างเทคโนโลยีท�ำลายสิ่งแวดล้อม  วิทยาศาสตร์มันมีขอบเขต จ�ำกัดแต่ส�ำคัญต้องพัฒนาจิตใจ  ถ้าถามว่าวิทยาศาสตร์อย่าง เดียวพอไหม  บอกเลยว่าไม่พอ  ไอน์สไตน์พูดว่ามนุษย์เราต้องการ

14


ทั้ ง วิ ท ยาศาสตร์ แ ละศาสนา  ต้ อ งมี ส องอย่ า งคู ่ กั น   มี ศ าสนาไม่ มี วิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ ศาสนาจะพาไปงมงาย  ถ้ามีวิทยาศาสตร์แต่ขาด ศาสนา  คนก็อาจจะท�ำร้ายด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี  คนเราทุกวันนี้ เอาเข้าจริงๆ นักวิทยาศาสตร์ที่เจริญคือเจริญในรูปของเทคโนโลยี แต่ ความคิดแบบวิทยาศาสตร์มันไม่ได้ซึมไปถึงจิตใจผู้คน  บางทีถึงจะ เจริญ  แต่คนก็ยังงมงาย ไสยศาสตร์ก็ยังเฟื่องฟู เพราะว่าเราไม่ได้คิด แบบวิทยาศาสตร์ เราเชื่อง่าย มีข่าวลืออะไรก็เชื่อ โดยที่ไม่ตั้งค�ำถาม มีวัวหกขา ก็ไปกราบไหว้ โดยที่ไม่ได้มองว่ามันก็เป็นเรื่องผิดปกติทาง ธรรมชาติเท่านั้นเอง แล้วตอนนี้ก็ลือกันใหญ่ว่าจะเกิดภัยพิบัติ แล้ว คนที่ลือก็โหราศาสตร์ นักพยากรณ์ก็มีส่วน ก็ไม่ได้ใช้ความคิดทาง วิทยาศาสตร์มาพูด มาคิด พูดแล้วน่าเชื่อถือไหม เพราะฉะนั้นท�ำให้ คนแตกตื่น คนก็ยังงมงายต่อไป คนก็ยังเห็นแก่ตัวต่อไป คนก็ยังเอา รัดเอาเปรียบกันต่อไป มันก็เลยเกิดความวุ่นวาย” คนเก่งกับคนดี สามารถอยู่คู่กันในคนคนเดียวได้ “ในทางพระพุทธศาสนาพูดถึงปัจจัยหลักๆ  ที่ท�ำให้คนเป็น คนเก่ ง และคนดี   หนึ่ ง   ปั จ จั ย ภายนอกคื อ กั ล ยาณมิ ต ร  รวมถึ ง สิ่ ง แวดล้อม สื่อมวลชน หนังสือ ครูบาอาจารย์ พ่อแม่ เข้าใจง่ายๆ คือ กัลยาณมิตร อันที่สองคือปัจจัยภายใน โยนิโสมนสิการ คือว่าคิดเก่ง ฉลาดคิด คิดถูก คิดเป็น คิดชอบ พูดง่ายๆ คือฉลาดคิด ตรงนี้มันจะ ท�ำให้เกิดปัญญา  เก่งในทางโยนิโสมนสิการ  จะท�ำให้รู้จักคิด  คน เราจะเก่งได้ต้องรู้จักคิด  ไม่ใช่แค่มีข้อมูลเยอะ  ข้อมูลเยอะไม่ส�ำคัญ แม้ว่าคุณมีข้อมูลน้อยแต่ถ้าคุณรู้จักคิดคุณก็จะสามารถฉลาดได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้ต ้อ งท� ำให้เกิ ดกั ลยาณมิ ตรและโยนิโ สมนสิการ มันย้อนกลับไปที่อาตมาพูด  คือมันอยู่ที่การเลี้ยงดู  การศึกษา  ซึ่ง

15


เป็นการศึกษาที่ท�ำให้คนฉลาดคิด แล้วก็คิดเป็น ท�ำให้เขารู้ว่าความ จริงแล้วคนเราถ้าอยากมีความสุขต้องท�ำความดี  ต้องเอื้อเฟื้อเกื้อกูล   ไม่เห็นแก่ตัว เก่งกับดีเกิดขึ้นได้ ถ้ามีสองปัจจัยนี้”

ให้ คิ ด ถึ ง ผู ้ อื่ น มากกว่ า ตั ว เอง  แล้ ว หมั่นมองตน  ให้รักตัวเองอย่างแท้จริง  ให้ รู้จักตัวเอง  สิ่งนี้จะช่วยท�ำให้เราอยู่ในโลก นี้ได้อย่างมีความสุข  พบกับความสงบเย็น ภายใน  แล้วก็อยู่กับผู้อื่นได้อย่างเกื้อกูล เป็นทั้งคนดีและคนมีน�้ำใจ  แล้วก็มีความ สุขในเวลาเดียวกัน

16


17


แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต เรียนรู้ที่จะอยู่อย่างสุข “ถ้าเราถอดถอนทิฐิ ไม่มี สิ่ ง ที่ ถู ก ใจเราเป็ น ของเรา  ไม่ มี กายเรา  ไม่ มี ใ จเรา  แต่ มั น เป็ น ธรรมชาติล้วนๆ ได้เมื่อไหร่ เราจะ กลายเป็ น คนที่ อ ยู ่ ใ นโลกใบนี้   ที่ โลกนี้ไม่มีตัวเรา  มีแต่การกระท�ำ มี แ ต่ ค วามรู ้ สึ ก   เกิ ด ดั บ ฉั บ พลั น อิ ส สรชนเช่ น นี้ จ ะพึ่ ง พาหั ว ใจตั ว เองได้” ธรรมดาของความเปลี่ยนแปลงย่อมน�ำมาซึ่งความทุกข์  ยิ่ง โลกหมุนเร็วมากเท่าไรคนก็ยิ่งทุกข์  โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่ผู้คน ไม่มีเวลาแม้กระทั่งหยุดทบทวนตัวเอง หลายคนเลือกที่จะเสพสุขโดย แลกมาจากผลตอบแทนของการท�ำงาน โดยไม่รู้ทางออกของการแก้ ความทุกข์คืออะไร ‘แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต’ คือมนุษย์คนหนึ่งที่ใน อดีตก็เคยมีทุกข์ แต่เพราะธรรมะขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ท�ำให้ ปัจจุบันนี้ท่านได้กลายเป็นผู้ชี้ทางออกแห่งทุกข์แก่ผู้คนในสังคม เมือง ผ่านสถานที่ที่สงบร่มเย็นอย่างเสถียรธรรมสถาน หนุ่มสาว สมัยใหม่ชอบมีค�ำถามว่า ท�ำอย่างไรจะสุขใจได้ในสังคมปัจจุบัน บท

18


สัมภาษณ์ต่อไปนี้มีข้อคิดดีๆ จากแม่ชีศันสนีย์  เพื่อให้ทุกคนในสังคม และคนรุ่นใหม่สามารถเรียนรู้ที่จะมีความสุขได้จากภายในใจของ ตนเอง ธรรมะสร้างเสถียรธรรมสถาน “เสถียรธรรมสถานไม่ได้เกิดขึ้นมาจากเงินหรือความต้องการ จะท� ำ อะไร  แต่ มั น เกิ ด มาจากความกตั ญ ญูจ ากพระธรรม  เพราะ ธรรมะมันสามารถเปลี่ยนชีวิตของเราได้ และที่ส�ำคัญคือเราสามารถ พ้นทุกข์ได้ด้วยธรรม  เพราะฉะนั้นมันเป็นความกตัญญูที่เราอยากจะ เสนอออกมาเป็นผู้รับใช้  ที่จะใช้ธรรมะเป็นเครื่องมือที่จะท�ำให้เรารู้ เท่าทันชีวิตและปัจจุบันขณะของเรา ธรรมะเป็นหยดน�้ำเล็กๆ ที่ท�ำให้ ชีวิตงอกงามได้” ต้องรู้จักและเข้าใจค�ำว่าทุกข์ “ถ้าเราได้กลิ่นของดอกไม้  เราจะเห็นการท�ำงานของจมูก และกลิ่นที่มากระทบกัน จมูกเป็นอายตนะภายใน กลิ่นเป็นอายตนะ ภายนอก เวลาที่เราหอมเราก็จะรู้สึกเพลิดเพลิน แต่เวลาที่เราเหม็น เราก็รู้สึกไม่เหมือนกัน  เวลาที่เรารู้สึกอึดอัดกับสิ่งที่ไม่เป็นอย่างที่ใจ เราอยากให้เป็น  ถ้าเราไม่ตีอกร�่ำไห้อยู่กับสิ่งที่เป็นดั่งใจเรา  เรารู้ว่า ทั้งหอมและเหม็นเป็นความชอบชังที่เกิดดับอย่างฉับพลันเท่านั้น   ใจ ของเราจะเรียนรู้ต่อไปได้กับทุกเรื่อง  ในกระบวนการของการจัดการ ที่ดี  ปัญญาเป็นกระบวนการของการจัดการการเรียนรู้อย่างมีสติ  เฝ้า สังเกตและเรียนรู้ว่าทั้งชอบทั้งชังหรือสุขทุกข์มันเป็นแค่ปรากฏการณ์ เพียงชั่วครู่ อย่ายึดถือไว้ว่าเป็นเรา ถ้าเราถอดถอนทิฐิ ไม่มีสิ่งที่ถูกใจ เราเป็นของเรา ไม่มีกายเรา ไม่มีใจเรา แต่มันเป็นธรรมชาติล้วนๆ ได้ เมื่อไร เราจะกลายเป็นคนที่อยู่ในโลก ที่โลกนี้ไม่มีตัวเรา มีแต่การ

19


กระท�ำ มีแต่ความรู้สึก เกิดดับฉับพลัน อิสรชนเช่นนี้จะพึ่งพาหัวใจตัว เองได้” มันได้

คนปัจจุบันเบื่อง่าย ไม่ชอบอะไรจ�ำเจ แต่เราสามารถจัดการ

“เราต้องรู้ว่าความเบื่อมาจากไหน  เบื่อมาจากความคิดปรุง แต่ง  เวลาที่เราคิดอะไรแล้วไม่ร่าเริงไม่เบิกบาน  ความเบื่อเกิดจาก ความคิดที่ไม่รู้เท่าทันความเป็นจริง  เราอาจจะแก้ความเบื่อด้วยการ ถ่ายพลังของตัวเอง  การออกก�ำลังกาย  การรู้จักรับประทานอาหาร และการพักผ่อนที่ดี จะท�ำให้เรามีทุนของชีวิตในฝ่ายของกายภาวนา เข้ ม แข็ ง ขึ้ น   และจิ ต ของเราก็ จ ะมี ส ติ อ ารั ก ขาจิ ต ได้ ทุ ก ลมหายใจ ความเบื่อเป็นแบบฝึกหัดที่ท�ำให้เรารู้ว่า  เราต้องเผชิญกับสิ่งที่เราจะ คิดครั้งใหม่ที่คมกว่าเก่า ถ้าเรารู้ว่าคิดอย่างนี้ผลเป็นอย่างนี้ และคิด อย่างไรผลมันถึงจะเปลี่ยน การเข้าไปเห็นถึงลู่ทางของการเกิดขึ้นของ ความเบื่อเป็นปัญญาอย่างหนึ่ง ถ้าเราคิดอะไรซ�้ำๆ ถอนหายใจลึกๆ เราก็ยังไม่สดชื่น  ให้เราถ่ายพลังสักหน่อยก็ได้ เช่น  ออกไปท�ำอะไรให้ กระฉับกระเฉงขึ้นแล้วกลับมาคิดด้วยจิตที่รู้เท่าทันความคิดมากขึ้น ถ้ารู้คิดไม่หลงคิด ความเบื่อก็เป็นเรื่องที่สามารถแก้ได้ง่ายๆ” สุขจากวัตถุนิยม สุขจริงหรือไม่ “นี่เป็นธรรมชาติหนึ่งของคนที่อยู่ในวัฒนธรรมบริโภคนิยม อย่าไปมองว่ามันดีหรือไม่ดี  แต่ถ้าเราบริโภคนิยมจนเราขาดอิสรภาพ เรากลายเป็นมนุษย์ที่ต้องเสพก่อนจึงจะสุข  ที่เสถียรธรรมสถาน การ ท�ำงานคือความสุข  เป็นความสุขเมื่อสร้าง  ไม่ใช่สุขเมื่อเสพ  ในขณะ ที่เราสร้างงาน  เราจะพบว่าความสุขในปัจจุบันขณะท�ำให้เราถึงเป้า

20


หมาย แต่การที่เรารอว่าเสร็จจึงสุขมันก็เหมือนเราท�ำงานในขณะตก นรก  ท�ำงานไปบ่นไป  ตกนรกไป  แต่กว่าจะได้ช่ืนชมความส�ำเร็จก็ เครียดแล้ว  มันก็เป็นธรรมชาติของคนรุ่นใหม่ที่ใจของเขาเปราะบาง เพราะเขารอว่าซื้อเสพจึงสุข   แต่ไม่ได้สุขเมื่อสร้าง  เขาไม่ได้สุขง่าย จากการใช้น้อย เขาทุกข์ง่ายถ้าใช้น้อย แล้วก็คิดว่าสุขมากจากการใช้ มาก เพราะฉะนั้นต้องเห็นใจ แล้วก็ยังคงต้องท�ำงานต่อไป แต่เราควร จะรู้ว่าไม่ว่าโลกจะเป็นอย่างไรใจต้องไม่ทุกข์” จัดการอารมณ์สุขได้ในแต่ละวัน ด้วยลมหายใจ “เมื่อเราฝึกเจริญสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก  เราจะเรียก รวมๆ ว่าเราเล่นเกมลมหายใจ มีลมหายใจแห่งสติ มีสติอารักขาจิต แต่ละวัน เราจะเห็นว่าการเดินทางของชีวิตเวลาที่มีโลกมากระทบ เราจะรู้ถึงสิ่งที่มากระทบ เราจะรู้ทัน ใจตื่น เราจะเห็นเพียงแค่ว่าโลก เป็นแค่ปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง อารมณ์เป็นสิ่งที่มาแล้วไป ในหัวใจของเราไม่สามารถจะจมเจ่าอยู่กับอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด เพราะว่าจิตอารักขาเราอยู่เสมอ เวลาที่เรารู้เท่าทันอารมณ์ และไม่ หลงอารมณ์  เราจะเห็นว่าโลกเป็นเพียงโลกธรรม  มีได้ลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ  มีสรรเสริญมีนินทา  ปรากฏของสภาวะธรรมใดสภาวะ ธรรมหนึ่งมาเพียงแค่เห็นเท่านั้น   ไม่ใช่ให้เราไปคลุกคลี เราจะเห็นว่า เราจะอิสระ อยู่กับโลกที่มากระทบรู้ทัน  ใจตื่น แล้วถ้าเราเจริญอานาปานัสสติอยู่เรื่อยๆ เราจะเห็นว่านิพพานชิมลองนั้น เป็นเรื่องที่ทุกคน สามารถจะสัมผัสได้ด้วยตนเอง”

21


จริงหรือไม่  ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ “รักให้เป็นก็จะไม่เป็นทุกข์  เราต้องภาวนากับความรักของ เรา  ให้รักของเราได้รับการพัฒนาสติปัญญา  เพื่อจะท�ำให้เรารักอย่าง ไม่มีเงื่อนไข  ถ้ารักอย่างยึดติดมันก็จะน�ำมาซึ่งความยึดมั่นถือมั่น  อัน นี้ไม่ใช่รัก  เขาเรียกว่าหลง และคนหนุ่มสาวมักเข้าใจผิดว่าความรัก นั้นจะน�ำไปสู่เซ็กซ์ ที่จริงเซ็กซ์กับความรักมาจากใจเหมือนกัน แต่ ความหลงที่มีอิทธิพลจะน�ำไปสู่ความใคร่  กับสติปัญญาและความ เข้าใจซึ่งจะเป็นพื้นฐานของความรัก  มันจะท�ำให้รักเป็นทุกข์หรือหลง เป็นทุกข์ ความรักเป็นของสวยงาม ถ้าเราเข้าใจที่จะรัก ถ้าเราเริ่ม ต้นความรักด้วยการขาดสติปัญญาเราจะพบว่าความรักนั้นจะน�ำพา ความเจ็บปวดมาสู่เรา เวลาที่เรารักเราต้องฝึกฝนที่จะเข้าใจคนที่เรา รัก แต่ถ้าเราปรารถนาจะให้คนรักท�ำอะไรอย่างที่ใจเราต้องการ  เราก็ อาจจะทุกข์ก็ได้  แต่ถ้าเผื่อเรามีโอกาสที่จะพัฒนาสติปัญญาของเรา

22


แล้วก็เข้าใจคนที่เรารักอย่างลึกซึ้ง   และถ้าเรามองคนที่เรารักอย่าง ลึกซึ้ง  เราจะเข้าใจว่าท�ำไมเขาถึงเป็นอย่างนั้น  เวลาเราฝึกมองคน อย่างนี้  เราจะรู้ว่าความกรุณาของเราที่ออกไปนั้นเป็นมิติที่เป็นผล พวงของความรัก การที่เราให้โอกาสคนที่เรารักได้มีโอกาสปรับเปลี่ยน พฤติกรรมอย่างที่เขารู้ว่าเราให้โอกาสเขาเสมอ เป็นหนทางที่ดีที่ท�ำให้ ความรักของเรายั่งยืน อย่าคิดที่จะรักแค่เพียงรักแล้วท�ำให้คนที่เรารัก เป็นดั่งใจเรา แต่ขอแค่ให้เรามีความสุขที่ได้รัก และพัฒนาชีวิตที่จะ รักอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคนที่เรารักจะท�ำผิดพลาด แต่สิ่งที่ท�ำผิดพลาด นั้นก็จะท�ำให้เรามองหาทางออกที่จะพัฒนาความรักของเราด้วย จง พัฒนาสติปัญญาของเราเพื่อรัก  และจงมีความสุขที่ได้รัก” ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้จากธรรมชาติ “ธรรมชาติสอนให้เราเห็นความไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา เพราะ มีดอกไม้บาน มีดอกไม้ร่วง   มันจะเป็นความสวยงามของธรรมชาติที่ เราสัมผัสได้ แต่ถ้าไม่มีความเปลี่ยนแปลง เราก็อาจจะไม่เห็นความ เปลี่ยนแปลงที่สวยงามของธรรมชาติ  เพราะการเปลี่ยนแปลงมัน เป็นสิ่งที่ธรรมชาติสอนให้เรารู้ว่า  เราควรแกะโซ่ตรวนแห่งความยึด มั่นถือมั่นในทุกๆ การกระท�ำของเราและทุกสิ่งที่เรายึดถืออยู่ และถ้า เราเห็นว่าสิ่งที่เรายึดถือและเชื่อถืออยู่เป็นเหตุแห่งทุกข์  เราก็ควรจะ ออกมา การฝึกหายใจอย่างมีสติจะท�ำให้เราเห็นว่า  การมองสิ่งเหล่า นี้เป็นเรื่องที่เราหลีกออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น จะไม่ผ่าน กระบวนการคิด  แต่จะเป็นการพิจารณาให้เห็นในความเป็นจริงว่า สิ่งต่างๆ  ไม่เที่ยง ทนอยู่ได้ยากแล้วก็จะจบลง ธรรมชาติรอบตัวเรา ก�ำลังสอนให้เห็นถึงความจริงเหล่านั้น แล้วเราจะกลับเข้าสู่ธรรมชาติ ภายในตนของเรา และเราจะเห็นว่าสภาวะจิตภายในตนของเราก็ไม่

23


เที่ยงเช่นกัน ถ้าเราข้ามไปถึงภาวะผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานได้ เราจะเห็นว่า ทุกการกระท�ำนั้นเป็นปรากฏการณ์พิเศษที่ท�ำให้เราละ  ท�ำให้เราจาง คลายจากความยึดมั่นได้ เมื่อเราจางคลายจากความยึดมั่นถือมั่นได้ เราจะพบอิสระที่แท้จริงของชีวิต” “เพราะชีวิตคือการเดินทาง”

24


ถ้ า เราเปรี ย บชี วิ ต คื อ การเดิ น ทาง  การ จราจรของชีวิตที่จะท�ำให้เราเดินทางปลอดภัย ก็ ต ้ อ งอาศั ย วิ นั ย   และวิ นั ย ของชี วิ ต ก็ เ ปรี ย บ เหมือนสติ  ถ้าสติอารักขาใจเราก็สามารถจะ ไปถึงฝั่งฝันที่เราต้องการ  ถ้าเราสร้างวินัยคือ การเคยชินที่ดีงามให้เกิดขึ้น  เราจะรู้ว่าการเดิน ทางของเราจะไม่หยุดและจะราบรื่น

25


ภิกษุณีธัมมนันทา เรียนรู้ปัญญาทางโลก และทางธรรมเพื่อน�ำชีวิต “ปัญญาทางธรรมตัวนี้ จะต้องน�ำเราไปสู่ความสุข  แต่ ต้ อ งเป็ น ความสุ ข ที่ แ ท้ จ ริ ง นะ ไม่ใช่ความสุขจอมปลอม”

จะมี สั ก กี่ ค นที่ คิ ด ว่ า การประสบความส� ำเร็ จ สู ง สุ ด ในชี วิ ต ทางโลกนั้น  ไม่ใช่จุดสูงสุดของชีวิต แต่หญิงผู้มีปัญญาทางโลกระดับ ด็อกเตอร์อย่าง  รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์  กบิลสิงห์  อดีตอาจารย์ประจ�ำ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  หรือปัจจุบัน  ท่านคือภิกษุณีธัมมนันทา  หรือ ‘หลวงแม่’  กลับมองเห็นถึงความ ส�ำคัญของปัญญาทางธรรมมากกว่า เพราะนั่นคือทางออกในการแก้ ปัญหาของชีวิต หลวงแม่มองว่า ปัญญาทางโลกเพียงอย่างเดียวนั้น บางครั้งก็ไม่สามารถแก้ปัญหาในชีวิตได้ ในชีวิตคนเรามันควรจะมีทั้ง ปัญญาทางโลกและทางธรรมประกอบกัน

26


“เราต้องรู้จักสองสิ่งนี้ก่อน  ปัญญาทางโลกก็คือ  ท�ำอย่างไร ให้รวยมากขึ้น ท�ำอย่างไรให้มีชื่อเสียงมากขึ้น อาจเป็นด้วยวิธีการที่ ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม สิ่งที่เรียกว่าปัญญาทางโลกจะสนับสนุน ให้เราไปสู่จุดนั้น ค้าขายเก่ง อาจค้าขายมาผ่านขบวนการการคดโกง ก็ได้  คดโกงเก่ง คนโกงเนียนมาก คนจับไม่ได้นี่เป็นปัญญาทางโลก” “พอเป็นปัญญาทางธรรมแล้ว  ปัญญาทางธรรมตัวนี้จะต้อง น�ำเราไปสู่ความสุข แต่ต้องเป็นความสุขที่แท้จริงนะ ไม่ใช่ความสุข จอมปลอม  น�ำเราไปสู่การละคลายซึ่งความทุกข์  การละคลายซึ่ง ความทุกข์ ฐานของความทุกข์ แก่นของความทุกข์ คือการยึดมั่นถือ มั่นในตัวตน” “เพราะฉะนั้นปัญญาในทางโลกทางธรรมมันจะมาเพื่อจุด ประสงค์ต่างกัน ปัญญาทางโลกจะไปในแนวครอบครอง ‘To Have’ ในขณะที่ปัญญาทางธรรมจะเป็นไปในแนว ‘To Be’ ใช้ค�ำว่าปัญญา เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นทางโลกกับทางธรรม จะมีเป้าหมายต่างกัน” หลวงแม่บอกว่า  แม้เราจะมีปัญญาทางโลกมากแค่ไหน ก็ตาม  แต่ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าเราจะสามารถเข้าใจถึงปัญญา ทางธรรมที่แก้ไขความทุกข์ได้มากกว่าคนอื่น

27


“ไม่มีการันตีเลยว่าคนมีปัญญาทางโลกมากจะเข้าถึงธรรม ได้ง่ายกว่าคนอื่น  เผลอๆ คนที่มีปัญญาทางโลกอาจมีอุปสรรคต่อ การเข้าหาปัญญาทางธรรม  เพราะว่าถ้าหากว่าเขาใช้ปัญญาในเรื่อง การกินการเสพมาก  การที่เขามีการกินมาก  เสพมาก  ใช้มาก  คดโกง มาก  อาจเป็นอุปสรรคต่อการที่จะมองเห็นปัญญาทางธรรม  หรือใน ทางกลับกัน เมื่อเขาเสพเต็มที่แล้ว เขาอาจเห็นว่า ที่สุดแล้วมันไม่ได้ มีอะไร ชีวิตเรามันแสวงหามากกว่านั้น ชีวิตเราแสวงหาสิ่งที่ไปให้พ้น จากการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน  อาจเป็นจุด starting point ให้เขาได้” เพราะฉะนั้ น คนที่ มี ปั ญ ญาทางโลกมากหรือคนเก่ง ต้องมี ความดีประกอบกันด้วย “เก่งและต้องดีไง  มันต้องทั้งเก่งและทั้งดี  แต่แม้กระทั่งค�ำ ว่าดี มันก็ต้องมาให้ค�ำนิยามว่าในค�ำว่าดี เราตั้งใจจะหมายความว่า อย่างไร ดีระดับโลก หรือดีทางธรรม” ดีระดับโลกคือเป็นด็อกเตอร์ดีแล้ว  ดร.ฉัตรสุมาลย์  ดีแล้ว แต่ ดร.ฉัตรสุมาลย์อาจเต็มไปด้วยความทุกข์  เพราะไม่ได้เข้าถึง ปัญญาทางธรรม  แต่พอเราได้เข้ามาปฏิบัติธรรม  ได้เข้ามาลิ้มรส เพียงลิ้มรสนะ  ยังไม่ได้บรรลุธรรมอะไรนะ  เพียงเข้ามาลิ้มรสธรรมะ ของพระพุทธเจ้า  รู้แล้วว่าหนทางนี้เป็นหนทางที่จะท�ำให้ชีวิตของ เรามีความหมายมากขึ้น ชีวิตของเราทิ้งจากตัวตนเล็กๆ ไปสู่ตัวตน ใหญ่ เราไม่ท�ำเฉพาะตัวเราแล้ว  แต่เราจะท�ำเพื่อสังคม เราจะท�ำเพื่อ ประเทศชาติบ้านเมือง  เราจะท�ำเพื่อศาสนา  เราจะท�ำเพื่อสถาบัน กษัตริย์  อย่างนี้เป็นต้น ทิ้งจากตัวตนเล็ก soul เอสตัวเล็กนะ ไปสู่ Soul เอสตัวใหญ่”

28


หลวงแม่ให้ความกระจ่างว่า  การที่เราจะเข้าถึงธรรมนั้นไม่ จ�ำเป็นจะต้องละทิ้งทางโลกเลยทีเดียว  เพราะทุกคนต้องการความสุข เหมือนกัน อยู่ที่ว่าจะประยุกต์ใช้อย่างไร และต้องตัดความยึดติดให้ ได้ “จริงๆ  แล้วความสุขที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ  ไม่ว่า ตัวน้อยๆ ก็ต้องการ วัยรุ่นก็ต้องการ คนแก่ก็ต้องการ แต่หากว่าเราจับ ยึดให้ชัดเจนแล้ว เราจะข้ามพ้นการยึดติดในตัวบุคคล ติดคนโน้นติด คนนี้ ติดพี่คนนั้นคนนี้ ทั้งหมดนี่มันจะผ่านไป แล้วท้ายที่สุดถ้าไม่มีพี่ พี่เหล่านั้นตาย เราต้องตายด้วยไหม” “เรารักคนนี้  เรายึดติดเขามากเลย   แล้วเขาก็ผ่านไป  ลูก จะทุกข์มาก  กินไม่ได้นอนไม่หลับ  แต่หลวงแม่จะรู้ว่า   อ๋อ...มันเป็น เช่นนั้นเอง เข้ามาแล้วก็ผ่านไป ดูลมหายใจของตัวเอง มีลมหายใจ เข้าและลมหายใจออก  ไม่สามารถจะอยู่ได้ด้วยลมหายใจออกอย่าง เดียว ไม่สามารถจะอยู่ได้โดยลมหายใจเข้าอย่างเดียว มันอิงอาศัย กัน ลักษณะอะไรก็ตามที่มันอิงอาศัยกัน เราเอาแน่กับมันไม่ได้ นี่คือ ธรรมะใช่ไหม  ถ้าจับตรงนี้ไม่ได้ก็ทุกข์เยอะนะ  วิ่งไปตามจับเงา  จับ อย่างไรก็ไม่ติดหรอก” “ในท้ายที่สุดแล้วเราก็พบว่าสาระของชีวิตมันต้องก้าวพ้น บุคคล ก ข ค ก้าวพ้นไปสู่สิ่งที่เป็นคุณธรรมที่อยู่เหนือตัวเรา แล้วเรา เข้าสู่หนทางนั้น   ด�ำเนินชีวิตของเราเข้าสู่หนทางนั้นที่เป็นหนทางอัน เกษม ศาสนาพุทธบอกว่าเป็นหนทางอันเกษม”

29


ในสั ง คมทางโลก  หลวงแม่ บอกว่ า เราสามารถเรี ย นรู ้ ธ รรมจาก คนทุ ก ประเภทแล้ ว น� ำ มาปรั บ ใช้ กั บ ชีวิต ไม่จ�ำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จากคน ดีเพียงอย่างเดียว “คนเราทุกคน  ไม่ว่าคนดีคน เลว  มีสิ่งที่ให้เราเรียนรู้  ขงจื๊อบอกว่า ถ้ามีคนสองคนนั่งอยู่ข้างหน้าเรา  เขา ทั้งสองคนเป็นครูเรา คนนี้เขาเก่งเหลือ เกิน เราต้องเรียนรู้ที่จะเก่งเท่าเขา คน นี้ไม่เอาไหนเลย  เราต้องเรียนรู้ที่จะ ไม่เป็นอย่างเขา  เพราะฉะนั้นใครที่อยู่ ข้างหน้าเรา เราจับเป็นครูเราได้หมด” ส�ำหรับวัยรุ่นและคนท�ำงาน ควรหยิบหลักธรรมข้อไหนไปใช้ ชีวิตจึงจะมีความสุข “จริ ง ๆ  แล้ ว ศาสนาพุ ท ธให้ ธ รรมะส� ำ หรั บ ชี วิ ต ประจ� ำ วั น ศาสนาพุทธไม่ได้เป็นปรัชญาลึกซึ้งที่จะอยู่ในบล็อกบล็อกหนึ่ง  ที่ไม่ ได้เกี่ยวเนื่องกับชีวิตเราเลย ตื่นเช้าขึ้นมาเวลาที่เราไปท�ำงานเจ้านาย ก็อยากได้คนท�ำงานที่ร่าเริงแจ่มใส  โดยเฉพาะถ้าลูกเป็นพนักงาน ขาย ถ้าพนักงานขายมีกลิ่นเหล้ากลิ่นบุหรี่โชยมา  หน้าตาหมองมัวนะ จะดูจิตตกเลย”

30


“เพราะฉะนั้นธรรมะที่เราจะใช้ได้เลย  ตื่นขึ้นมาหลวงแม่ สอนลูกทีว่ ดั ว่า  ตนื่ มาให้รสู้ กึ ขอบคุณ  ลกู จะถามว่ารูส้ กึ ขอบคุณอะไร   ขอบคุณที่เรามีวันนี้ไง  ใช่ไหม  เรามักจะทึกทักเอาว่า  เราก็ตื่นทุก วัน  จริงหรือที่ว่าเราจะต้องตื่นทุกวัน  มันมีนะคนที่เขาตายตอนกลาง คืน แต่คงไม่ใช่เราหรอก เราจะพูดอย่างนั้น เข้าข้างตัวเองว่าไม่ใช่ เราหรอก  รู้ได้อย่างไรว่าจะไม่ใช่เรา  ขอให้ดีใจก่อนว่าตื่นขึ้นมานะ ร่างกายเราพร้อม  บางคนตื่นขึ้นมาแต่เป็นอัมพาต   ไม่สามารถจะ ฟังก์ชั่นได้ นิ้วมือนิ้วเท้าไม่สามารถจะฟังก์ชั่นได้ ตื่นขึ้นมาแล้ว...อ้อ อวัยวะเรายังพร้อมมูลนะ  เราควรดีใจ  ดีใจว่าเรายังมีชีวิตอยู่อีกวัน นึง” “การปฏิ บั ติ ธ รรมอย่ า เอาหลายวั น  เอาวั น นี้ ก ่ อ น  อย่ า ไป สัญญากับพระเจ้าที่ไหนว่าจะปฏิบัติไปตลอดชีวิต  ชีวิตของลูกคือ วันนี้จริงๆ เราจะตั้งใจนะ  ว่าใจของเราจะเป็นกุศล ใจ วาจา กายเป็น กุศล นั่นก็คือพูดอะไรออกไปจากปากเราให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเรา เอง ต่อคนฟัง อะไรที่ไม่ดีจ�ำเป็นต้องพูดไหม ไม่ต้องพูดก็ได้ จ�ำเป็น ต้องด่าไหม  พักเอาไว้ก่อนก็ได้  ถ้าเราคิดอย่างนี้แต่ละวัน  อย่าไป คิดถึงธรรมะที่ลึกซึ้ง เอาแค่นี้ก่อนได้ไหม รักษาใจให้เป็นกุศลวาจาให้ สิ่งที่เราท�ำเป็นกุศล เป็นกุศลส�ำหรับตัวเราเอง เป็นกุศลส�ำหรับคนอื่น แม่ก็ท�ำได้ ลูกวัยรุ่นก็ท�ำได้ เด็กตัวน้อยๆ ก็ท�ำได้”

31


“อี ก ค� ำ ถามหนึ่ ง ที่ ค นชอบถามมากเลย  เด็ก เล็ก ๆ จะสอน ธรรมะอะไร  หลวงแม่บอกว่าไม่ต้องอะไรลึกซึ้ง  เอาแค่ให้เขารับผิด ชอบตัวเอง  การรับผิดชอบตัวเองคือการเคารพตัวเองและเคารพผู้อื่น พอเด็กอนุบาลเข้ามานั่งยื่นเท้าให้แม่ถอดรองเท้า ยื่นเท้าให้ยายถอด รองเท้า ใช่ไหม เราต้องปลูกฝังตั้งแต่ตอนนี้เลย ลูกถอดรองเท้านะคะ ลูกถอดรองเท้าให้แม่ด้วย อุ๊ย มือแม่ถือของอยู่ท�ำอย่างไรคะ แม่ยังถือ ของอยู่แม่ยังถอดรองเท้าไม่ได้ หนูถอดรองเท้าให้แม่ได้ไหมคะ มันจะ ท�ำให้เขารู้สึกว่าเราต้องการความช่วยเหลือจากเขานะ  เด็กจะท�ำเป็น เด็กฉลาด แต่เรามักจะท�ำให้เขาหมด  เราไม่สอนขั้นพื้นฐานความรับ ผิดชอบ เล็กๆ เขาก็ท�ำได้”

32


พอเป็ น ปั ญ ญาทางธรรมแล้ ว   ปั ญ ญาทาง ธรรมตัวนี้จะต้องน�ำเราไปสู่ความสุข  แต่ต้องเป็น ความสุขที่แท้จริงนะ ไม่ใช่ความสุขจอมปลอม น�ำ เราไปสู่การละคลายซึ่งความทุกข์ การละคลายซึ่ง ความทุกข์ ฐานของความทุกข์ แก่นของความทุกข์ คือการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน

33


รศ.ประภาภัทร นิยม ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนรุ่งอรุณ “ถ้าเยาวชนแต่ละบุคคล ได้ พั ฒ นาตั ว เองให้ ดี ที่ สุ ด แล้ ว   โลกนี้ก็จะน่าอยู่มาก  ไม่ต้องมีใคร มาคอยตามจั บ ผู ้ ร ้ า ยที่ ไ หน  ถ้ า ทุ ก คนเข้ า ใจอย่ า งนี้ ไ ด้ โ ลกก็ จ ะ สันติสุข  เหมือนที่ท่านพุทธทาส กล่าวไว้ว่า  เยาวชนคือสันติภาพ ของโลก” รศ.ประภาภัทร  นิยม  คืออดีตนักเรียนและครูที่สอนด้านงาน สถาปัตยกรรมมาอย่างยาวนาน  เป็นสถาปนิกที่ได้รับการยอมรับ  จน วันหนึ่งเมื่อมีจุดพลิกผันส�ำคัญในชีวิต  จากสถาปนิกแถวหน้าก็ได้ผัน ตัวเองมาเป็นคนท�ำงานด้านศึกษาทางเลือก  มีเครือข่ายด้านการศึกษา ทางเลือกที่กว้างขวางที่เน้นหลักการศึกษาเชิงบูรณาการ  จนก่อให้เกิด โรงเรียนรุ่งอรุณที่ผู้เรียนกับผู้สอนเรียนรู้ไปพร้อมๆ  กัน  เพราะนอกจาก นักเรียนแล้ว  ครูก็มีส่วนส�ำคัญในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้กับเด็ก และนั่นจึงเป็นที่มาของโครงการจะเปิดการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ เรียกว่า อาศรมศิลป์ ที่จะสอนการเรียนรู้ที่ไม่ได้อยู่แค่กรอบการศึกษา เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเรียนแบบครบวงจร รู้ลึก และได้ประโยชน์ จากการเรียนรู้นั้น โดยความหวังสูงสุดของอาจารย์ประภาภัทร คือการได้ เห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นของคนทุกวัย ที่มีใจอยากจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลก ใบนี้

34


สถาปนิกผู้ออกแบบการเรียนรู้แบบใหม่ให้เด็ก “มี ค นถามเสมอว่ า จากสถาปนิ ก มาเป็ น นั ก การศึ ก ษาได้ อย่างไร สิ่งหนึ่งก็คงมาจากประสบการณ์ตรงของตัวเองที่ได้พบเจอ กับการเลี้ยงลูก เพราะลูกเราเขามีความบกพร่องเรื่องการเรียนรู้ ตอน นั้นการรักษาเด็กที่มีภาวะแบบนี้เป็นเรื่องยาก เราก็มาคิดว่าควรจะท�ำ อย่างไรที่จะท�ำให้เขาสามารถเรียนรู้ได้เหมือนเด็กอื่นๆ ในใจลึกๆ เรา เชื่อว่าเขามีศักยภาพอยู่ในตัวเอง อยู่ที่เราว่าจะสามารถดึงศักยภาพ นั้นออกมาได้อย่างไร จากความเชื่อลึกๆ เราก็เริ่มศึกษามากขึ้น ก็เริ่ม เข้าใจว่า จริงๆ ลูกเราสามารถเรียนรู้ได้นะ เราแค่ต้องหาวิธีที่ถูก เรา จึงใช้วิธีเปิดการเรียนรู้กับเขา เข้าไปอยู่ในโลกของเขา ลองใช้วิธีการ เรียนรู้แบบเขาดู เหมือนเราเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเขา ก็เริ่มสื่อสารกัน ได้มากขึ้น ปรับให้เขาอยู่ในโลกปรกติได้มากขึ้น ตอนไปเข้าโรงเรียน สาธิตจุฬาฯ ครู ป. 1 ก็ช่วยได้มาก เขาช่วยสร้างเรื่องภาษาที่ใช้ในการ สื่อสาร ตลอดจนวิธีการเรียนรู้ต่างๆ นานา เราปรึกษากันตลอดเหมือน ท�ำวิจัยลูก สอนกันไปสักเทอมหนึ่ง จากที่อ่านหนังสือไม่เป็น ไม่รู้วิธีที่ จะเรียนตามปรกติ อยู่ๆ วันหนึ่งเขาก็อ่านหนังสือพิมพ์แบบผู้ใหญ่ได้ และเรียนจนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ นั่นจึงท�ำให้เราเริ่มเชื่อ ในเรื่องมนุษย์มากขึ้น เชื่อว่ามนุษย์มีธรรมชาติอันพิเศษ คือมีความ สามารถที่จะพัฒนาการเรียนรู้ของตัวเอง พัฒนาจากข้างใน ซึ่งมิตินี้ คนไม่ค่อยมอง แต่ว่าเมื่อเราเริ่มใช้วิธีอย่างนี้กับตัวเองและลูก เราเริ่ม รู้ว่าความสามารถของมนุษย์มันพัฒนามาจากภายใน  คนส่วนใหญ่ จะให้ความส�ำคัญกับการสอนเรื่องข้างนอกเป็นตัวตั้ง  แต่ไม่ค่อยรู้ ข้างในตัวเอง ไม่ค่อยรู้ถึงภาวะของการรับรู้ ดังนั้นการจัดการเรื่องราว ต่างๆ เกี่ยวกับการให้ความรู้ก็จะข้ามขั้นตอนนี้ไป”

35


โรงเรียนรุ่งอรุณ  ศักยภาพสร้างได้ผ่านการเรียนรู้จากทั้ง ภายในและภายนอก “สิ่งที่ได้รับระหว่างที่พยายามช่วยให้ลูกมีพัฒนาการดีขึ้น คือ การค้นพบว่า  วิธีการพัฒนาศักยภาพของเด็กนั้นมีหลายแบบ  ขึ้นอยู่ กับตัวผู้เรียนแต่ละคน   ถ้าเราสามารถเข้าใจความต้องการของเด็ก ได้ มันก็จะท�ำให้การเรียนการสอนสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น มันจึงเป็นที่มา ของแนวคิดที่เราอยากทดลองสร้างหลักสูตรแบบใหม่ในรูปแบบของ โรงเรียน โดยที่ให้ผู้เรียนเขาลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตัวเอง วิธีการ เรียนการสอนของครูก็เน้นการคิดสื่อการสอน   ที่จะท�ำให้เด็กได้ท�ำ กิจกรรมที่เกิดการเรียนรู้  โดยเราไม่อิงจากต�ำราเพียงอย่างเดียว  ใน ช่วงแรกที่เปิดการสอน  มีนักเรียนประมาณร้อยกว่าคนเท่านั้น  หลัก การของเราก็คือเราต้องมองเด็กว่าเขาจะไม่ใช่ผู้ถูกสอน  เราต้องมอง เด็กว่าเขาเป็นผู้เรียน  ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราจะอธิบายเรื่องป่า  เรื่อง สัตว์กับเขา ถ้าเราให้เขาดูแต่หนังสือ แล้วบอกให้ฟัง ไม่มีทางที่เขาจะ เข้าใจได้ นอกจากพาเขาไปเจอจริงๆ เรื่องพวกนี้โรงเรียนรุ่งอรุณท�ำอยู่ เป็นประจ�ำ มีการพาเด็กๆ ไปทัศนศึกษาดูสิ่งต่างๆ ที่นอกเหนือจากใน ต�ำรา หรือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้จากต�ำรา เมื่อเขา ได้เห็นเขาจะจดจ�ำไปตลอด เด็กชอบ เพราะชีวิตคนเราจะเรียนรู้ได้ เมื่อเจอสิ่งท้าทาย เด็กเหล่านี้เขาจะซึมซับวิธีการเรียนรู้ด้วยตัวเองไป จนโต พอไปเจออะไร ได้พบอะไร เขาจะได้เรียนรู้และแก้ปัญหาเป็น สุดท้ายเขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถดึงศักยภาพในตัวเองออกมาได้ มากที่สุด ”

36


เรียนรู้

กระบวนการคิดแบบพุทธศาสนาคือหลักยึดส�ำคัญในการ

“โยนิโสมนสิการ คืออะไร ก็คือ วิธีการคิดที่แยบยล คิดอย่าง มีเหตุมีผล คิดอย่างสืบสาว คิดอย่างมีที่มาที่ไป คิดอย่างเข้าสู่ความ จริง คิดอย่างเห็นธาตุแท้ธาตุเทียม เพราะฉะนั้นเราน�ำสิ่งเหล่านี้มาสู่ กระบวนการเรียนรู้ เราแทรกไปกับการเรียนการสอน เมื่อเด็กได้เรื่อง เหล่านี้ พร้อมไปกับพัฒนาศักยภาพของตัวเองแล้ว เขาจะเป็นคนที่ สามารถเข้าใจอะไรได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ในเรื่องธรรมะ เด็กจะสามารถ เข้าใจหลักเรื่องทุกข์และการแก้ความทุกข์ได้ดีกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็ก เขาจะตรงไปตรงมากว่า เขารู้ว่าถ้าไม่คิดจะไม่ทุกข์ คนเรายิ่งทุกข์ก็ เพราะการคิด คิดโน่นนี้ไม่รู้จักปล่อยวาง สุดท้ายก็เป็นทุกข์ เรื่องนี้ ผู้ใหญ่เป็นมากกว่าเด็ก เพราะเด็กเมื่อเขาเข้าใจแล้ว เขาก็จะบอกว่า คิดท�ำไม ถ้าไม่คิดก็ไม่ทุกข์ แต่ผู้ใหญ่มักท�ำไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ทันตัว เองและไม่ซื่อสัตย์กับความรู้สึกตัวเองเท่ากับเด็ก”

37


การเรียนรู้ที่เริ่มจากครูสู่ศิษย์ “นี่คือที่มาของอาศรมศิลป์ที่เราต้องการให้เป็นที่สร้างครูให้ เป็นนักออกแบบ   แต่เป็นการออกแบบในเรื่องการเรียนการสอน   เรา ต้องการผลิตครูและหาวิธีการเรียนการสอนที่ไปให้ถึงจิตวิญญาณ โดยมีจุดแข็งก็คือไม่ว่าจะเรียนอะไร  เราต้องเรียนให้ลึกซึ้ง  ไปให้ถึง คุณค่าแท้ของเรื่องนั้น โดยมีหลักสูตรทางด้านการเรียนการสอนแบบ บูรณาการ แต่ว่าผ่านทางภูมิศาสตร์บ้าง ผ่านทางนวัตกรรมการเรียนรู้ บ้าง หรือไม่ก็ผ่านทางด้านการศึกษาสู่แนวพุทธบ้าง แล้วก็มีทางด้าน ศิลปะ ศิลปะก็เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ได้แทบจะทุกวิชา อย่างศิลปะ กับการคิดค�ำนวณ ดนตรีกับการค�ำนวณ ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน ได้”

38


ผู้ใหญ่ต้องท�ำให้รู้ว่าเยาวชนคือคนส�ำคัญ เพราะเยาวชนนั้น คือความหวังของโลก “ผู้ใหญ่ต้องท�ำให้เยาวชนรับรู้ว่าเขามีก�ำลังของสติปัญญา เป็นอนาคตที่ส�ำคัญของโลก พลังของเยาวชน ถ้าหากใช้ให้ถูก จะ เหมือนกับได้สร้างสิ่งที่ดีที่สุดให้กับโลกใบนี้  เยาวชนมีพลังชีวิตที่ดี จะ ท�ำอะไรก็ท�ำได้ ส�ำเร็จไปหมด แต่ถ้าหากเลยเวลานั้นไปแล้ว มาเริ่ม ตอนแก่ จะท�ำอะไรมันจะช้า มันไม่แจ่มใสเหมือนตอนเป็นเยาวชน เยาวชนท�ำอะไรได้เหมือนผู้ใหญ่ คิดอะไรก็คิดได้เหมือนผู้ใหญ่ เข้าใจ อะไรก็เข้าใจเหมือนผู้ใหญ่ แม้ว่าประสบการณ์มีไม่มากเท่า แต่ก็ขอ ให้เขามีสติปัญญาพอที่จะท�ำความรู้ความเข้าใจได้เสมอกันกับผู้ใหญ่ อย่าไปรอว่า เรื่องอย่างนี้ต้องรอแก่ๆ ซะก่อนค่อยรู้ ไม่ใช่ รีบๆ รู้ไป เลย อย่าให้ชีวิตเราสูญเปล่าไปกับความฟุ้งเฟ้อเกินไป ยังมีของที่เรา ต้องค้นพบ มีค่ามากกว่านั้นอีกมากมาย ที่เราต้องค้นให้พบ เพราะ ฉะนั้นลองมาสนใจในเรื่องที่เป็นเรื่องตัวของเราเอง เป็นชีวิตของเรา เอง  ทั้งร่างกายและจิตใจของเราเอง  ถ้าแต่ละบุคคลได้พัฒนาตัว เองให้ดีที่สุดแล้ว โลกนี้ก็จะน่าอยู่มาก ไม่ต้องมีใครมาคอยตามจับ ผู้ร้ายที่ไหน  ถ้าทุกคนเข้าใจอย่างนี้ได้โลกก็จะสันติสุข  เหมือนที่ท่าน พุทธทาสท่านสอนไว้ว่า เยาวชนคือสันติภาพของโลก”

39


พระพรพล ปสันโน หนุ่มสาว ความสุข และความตาย “ไม่ จ� ำ เป็ น ที่ เ ราจะต้ อ ง ปล่ อ ยให้ ใ จเราช�้ ำ  แล้ ว ค่ อ ยมา ศึกษาศาสนา เราอย่าไปท�ำร้ายตัว เองมากขนาดนั้น มันไม่ดี ศึกษา ก่อนเราดับทุกข์ได้ก่อน  ชีวิตก็จะมี ความสุขได้ก่อน”

ในปัจจุบันมีคนหนุ่มสาวจ�ำนวนไม่น้อยที่สนใจศาสนา  แต่ จะมีสักกี่คนที่ได้สัมผัสค�ำสอนของศาสนาแล้วคิดจะเลือกใช้ชีวิต ที่เหลือบนเส้นทางนี้  มันเป็นการตัดสินใจครั้งส�ำคัญในชีวิต  และ เป็ น การตั ด สิ น ใจซึ่ ง จะน� ำ ชี วิต ไปสู ่ เ ส้ น ทางความสุข สงบที่แท้จ ริง พระพรพล  ปสันโน  จากวัดพระรามเก้า  คือคนหนุ่มซึ่งมีอดีตที่เพียบ พร้อมไปด้วยความรู้ ความรัก และหน้าที่การงานอันมั่นคง แต่เพราะ การบวชทดแทนคุณตามหน้าที่ของลูกผู้ชายครั้งนั้น  ท�ำให้ท่านได้ สัมผัสเส้นทางสายพุทธศาสนาที่มั่นคง   และเป็นสุขยิ่งกว่าทางโลก มากนัก

40


“ไม่เคยคิดว่าจะบวชนานขนาดนี้  ครั้งนั้นที่บวชเป็นการบวช ตามประเพณีคนไทย  อายุครบยี่สิบห้าก็บวชตามหน้าที่  แต่พอเรา ได้ศึกษาและได้อยู่ใกล้กับธรรมะที่ท่านเจ้าคุณ (ท่านปิยโสภณ) แล้ว ก็พระเดชเจ้าคุณหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดพระรามเก้า  มันก็ท�ำให้เรา เปลี่ยนความคิดไปโดยที่เราไม่รู้ตัว   จริงๆ  จะบวชชั่วคราว  คือสาม เดือนในช่วงเข้าพรรษา  สาเหตุท่ีบวชก็ตามที่บอก   หนึ่งก็คือตาม ประเพณี  สองก็คือเหนื่อยมาก ท�ำงานหนัก คิดว่ามันไม่ได้พักเลย ไม่ ไหวแล้ว  ถ้าไม่ได้พักมันน่าจะหาจุดที่เราพักก่อนที่จะเดินทางต่อไป  แล้วถ้าเราได้มาศึกษาด้านธรรมะก็น่าจะเอาสิ่งนี้ไปใช้ในการท�ำงาน  ที่เราจะต้องกลับไปเจอในอนาคตข้างหน้าได้   ก็คิดไว้แค่นั้น แต่ พ อมาบวชแล้ ว   เราพบว่ า ชี วิ ต ในศาสนามั น แตกต่ า ง จากชีวิตฆราวาส มันเป็นความสบายใจ คือชีวิตของพระนี่ไม่ต้องไป หวังเรื่องของผลประโยชน์หรือผลก�ำไร  มันเป็นเรื่องของการแข่งขัน น้อย  เป็นเรื่องของการร่วมมือกันมากกว่า  ตอนที่เราอยู่ในโลกธุรกิจ คนที่เจอก็เป็นคนอีกแบบหนึ่ง เป็นคู่แข่ง เป็นคู่ค้า ความคิดเรื่องผล ประโยชน์มันมีค่อนข้างมาก  แต่พอเรามาบวช  คนที่เราเจอเป็นคนที่ เขาไม่คิดจะแข่งกับเรา  เพราะเขาไม่คิดที่จะเอาผลก�ำไรจากเรา  แต่ ส่วนใหญ่คิดที่จะช่วยและก็มีความรักมีความหวังดีกับเรา  คนที่อยู่ รอบๆ  เราก็เป็นคนอีกแบบหนึ่ง  สถานที่ที่เราไปมันก็เป็นสถานที่อีก แบบหนึ่ง  ความรู้สึกมันแตกต่างค่อนข้างมากนะ   ตอนบวชใหม่ๆ  ก็ ติดตามรับใช้หลวงพ่อกับท่านเจ้าคุณ ไปแต่ที่ดีๆ เจอแต่คนดีๆ ก็พบ แต่สิ่งดีๆ ตั้งแต่ก้าวแรกที่เรามาบวช”

41


ศาสนาช่วยท�ำให้เข้าใจและรู้จักตัวเอง “แต่ ก ่ อ นเราก็ คิ ด แต่ จ ะท� ำ อะไรให้ ตั ว เราเอง  ท� ำ อะไรให้ ครอบครัวเรา   ท�ำอะไรให้ธุรกิจของเรา พอมาบวชเรามาเห็นหลวงพ่อ ท�ำ สิ่งที่ท่านเจ้าคุณท�ำ ท่านไม่ได้ท�ำเพื่อตัวเอง ธรรมะที่ท่านสอนก็ ไม่ได้สอนเพื่อตัวเอง ท่านสอนให้คนอื่นเป็นคนดี มีความสุข การช่วย เหลือคนอื่นให้พ้นทุกข์เป็นงานหลักของท่าน  แล้วท่านก็มีความสุข เรามาอยู่ด้วยก็เลยมีความสุขโดยที่ไม่รู้ตัว  มันก็เลยเปลี่ยนความคิด ว่าการท�ำงานให้คนอื่นมีความสุขมันก็เป็นงานอันยิ่งใหญ่เช่นกัน  แต่ ก่อนเราก็ท�ำให้ตัวเรา อย่างดีก็ครอบครัวเรา ธุรกิจของเรา ก็คิดว่ายิ่ง ใหญ่แล้ว แต่จริงๆ มันมีงานที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นอีก คือการท�ำให้กับคน ที่เราไม่รู้จักเลย ช่วยเหลือให้เขาพ้นทุกข์  ให้เขามีความสุขได้ มันเป็น ความคิดใหม่ที่เกิดขึ้น  ที่เราไม่เคยคิดมาก่อนเลย  แล้วเราได้มาท�ำก็ ถือว่าเป็นบุญเหมือนกัน ซึ่งสมัยที่อยู่ในโลกธุรกิจมันไม่เคยคิดเรื่อง อย่างนี้ มันคิดแค่ว่า บริษัทต้องท�ำ บริษัทต้องได้ มากกว่าจะท�ำให้คน อื่นได้เป็นอันดับแรก” ศาสนาสามารถช่วยคนในโลกวัตถุนิยมให้มีความสุขได้ “หลวงพี่ ว ่ า ไม่ ว ่ า จะเป็ น คนหนุ ่ ม สาว  คนวั ย ไหน  จิ ต ใจก็ ต้องการที่พึ่ง  เหมือนเราต้องการที่จะต้องหาอะไรจับ  หาอะไรเกาะ ไว้  เพราะไม่ว่าจะคนหนุ่มหรือคนสาวหรือเด็กหรือผู้ใหญ่  จิตใจก็ ต้องการที่พึ่ง เช่นเป็นคนหนุ่มคนสาวมันก็มีโอกาสเสียใจ มีโอกาสผิด หวัง ใครไม่มีความผิดหวัง มันเป็นไปไม่ได้ เป็นเด็กถามว่าเสียใจไหม เด็กก็เสียใจ ผู้ใหญ่เสียใจไหม ผู้ใหญ่ก็เสียใจ  แต่คนที่ไปหาศาสนา

42


ตอนอายุเยอะๆ แล้ว เพราะมันเสียใจอย่างมาก เพราะตอนเด็กตอน หนุ่มสาว มันช�้ำแล้วช�้ำอีก เจอแล้วเจออีก เหมือนกับเขาเจ็บปวดมาก แล้ว เขาก็ไม่รู้จะหาทางออกยังไง คือหามาทุกอย่าง แล้วมันหาไม่เจอ

“สุดท้ายคนเหล่านั้นก็เลยมาเจอพระพุทธศาสนาที่จะช่วย เป็นหลักให้เขานั้นพ้นจากความทุกข์ได้ แต่เรามองอีกมุมหนึ่ง ถ้าเรา ไม่ต้องแก่ เรายังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ เราไม่จ�ำเป็นที่จะต้องรอให้เรา ช�้ำก่อน เราถึงจะต้องไปหาศาสนา ถ้าเรารู้จักศาสนาก่อน เรารู้จักวิธี ดับทุกข์ก่อน เราก็ไม่ช�้ำ แล้วเรามีเหตุผลอะไรที่เราจะรอให้ทุกข์ซ�้ำจน ช�้ำ แล้วเราค่อยมาศึกษา ท�ำไมเราไม่ศึกษาตั้งแต่เรายังหนุ่มยังสาว ร่างกายเรายังดี ชีวิตเรายังท�ำอะไรได้อีกเยอะแยะ  ให้เรามีความสุข”

43


“ท�ำไมเราไม่เริ่มก่อน คนที่เริ่มก่อนแสดงว่าเป็นคนที่มีความ ทุกข์น้อย คนที่เริ่มทีหลังมันช�้ำแบบไม่ไหวแล้วค่อยไปเริ่ม ท�ำไมเรา ต้องท�ำร้ายตัวเองซะขนาดนั้น เพราะอย่างนั้นหนุ่มสาวที่หันมาสนใจ ทางศาสนาเดี๋ยวนี้มีเยอะ  เพราะบางคนมองเห็นความส�ำคัญของการ ดับทุกข์ตั้งแต่เขายังเด็ก  บางคนอาจจะเจอทุกข์หนักๆ  ปัญหาของ คนหนุ่มสาวคือเรื่องของความรัก ผิดหวังอกหักหนักๆ ผิดหวังในเรื่อง ความรักหนักๆ โดนหลอกมากๆ ช�้ำซ�้ำแล้วซ�้ำอีก ก็ยังเป็นเหมือน เดิม ก็ยังหลงไปในราคะ  ในโทสะ โมหะ  เหมือนเดิม ชีวิตมันก็ทุกข์ซ�้ำ เดิมๆ เจอ...หาย...เป็น เจอ...หาย...แล้วก็เป็น นี่เห็นไหม ชีวิตที่จะวิ่ง ไปหาความสุขแบบใหม่  มันก็เจอความทุกข์แบบเก่า  ถึงจุดหนึ่งก็เลย เอ...? ท�ำอย่างไรดี มันเข็ด มันกลัว มันไม่อยากที่จะไปทุกข์ซ�้ำแบบ นั้นแล้ว   ก็เลยมาหาศาสนา  แล้วศาสนาก็ท�ำให้เขาพ้นทุกข์ได้  หนุ่ม สาวที่เจอแบบนี้มีอยู่เยอะ  เพราะงั้นก็เลยคิดว่า  เราน่าจะใช้โอกาส พวกนี้บอกเล่าเผยแผ่ไปให้ใครที่ยังเป็นเยาวชน หรือใครที่ยังเป็นหนุ่ม สาวอยู่ว่า  ไม่จ�ำเป็นที่เราจะต้องปล่อยให้ใจเราช�้ำแล้วค่อยมาศึกษา ศาสนา เราอย่าไปท�ำร้ายตัวเองมากขนาดนั้น มันไม่ดี ศึกษาก่อนเรา ดับทุกข์ได้ก่อน ชีวิตก็จะมีความสุขได้ก่อน”

44


หลักธรรมง่ายๆ ที่น�ำใช้ได้ในชีวิตประจ�ำวัน “ศีลนี้เป็นหลัก ถ้าเราไม่มีศีล ก็เหมือนชีวิตไม่มีหลัก ไม่รู้ท�ำ อะไรถูกไม่รู้ท�ำอะไรผิด ก็ท�ำสิ่งที่ผิด ชีวิตมันก็เป็นทุกข์ มันก็ทุกข์ซ�้ำๆ เพราะท�ำผิดซ�้ำๆ เพราะงั้นถ้าเราไม่มีศีล ชีวิตมันจะอยู่ได้ยาก เพราะ มันไม่รู้ว่าควรท�ำอะไรและไม่ควรท�ำอะไร  คนที่มีศีลได้ชีวิตก็จะปกติ ส่วนเรื่องของสมาธิ  ชีวิตคนเราทุกคนต้องการสมาธิ  แต่คนมักไม่ เข้าใจ นึกว่าสมาธิส�ำหรับนักบวช ส�ำหรับคนที่ปฏิบัติธรรมอย่างที่คน สากลโลกเข้าใจผิด ถ้าเราต้องกลับบ้านเหนื่อยๆ เราก็ต้องนอนพักทุก วัน วันไหนเราไม่นอนพักเราไม่ไหว...เราจะตาย  การนอนหลับคือการ ท�ำสมาธิอย่างหนึ่ง  แต่นั่นเป็นสมาธิแบบธรรมชาติ  ซึ่งมันก็เรียกได้ ว่าสามารถที่จะใช้ในการฟื้นฟูพลังมาท�ำงานได้  แต่มันยังไม่สามารถ ที่จะมีสมาธิหรือพลังจิตที่จะต่อสู้กับอารมณ์ร้ายๆ  ของเราได้  เราก็ ต้องท�ำสมาธิเพิ่ม  มันก็นอนแล้วก็ตื่นมาทุกคนแหละ  มันก็เดินกันได้ ทุกคนแหละ  ท�ำงานได้ทุกคน กินข้าวได้ทุกคน แต่คนท�ำไมต่างกัน ต่างกันที่คนที่มีพลังจิต  คนที่ท�ำสมาธิเพิ่มขึ้น  อารมณ์เขาจะต่าง  คน เหมือนกัน ต่างกันที่อารมณ์ คนที่มีสมาธิดี พลังจิตดี เขาจะควบคุม อารมณ์ได้ดี เขาจะเลือกอารมณ์ไหนดี อารมณ์ไหนไม่ดี แต่คนที่ใช้ แบบสมาธิธรรมชาติอย่างเดียวคือการนอน ก็นอนแล้วก็ตื่นมาเหมือน คนอื่น ไปท�ำงานได้ ไปโรงเรียนได้ ไปกินข้าวได้ ไปเที่ยวได้ แต่เวลา อารมณ์ไม่ดีขึ้นมา ท�ำงานไม่ได้ ไปเที่ยวไม่ได้ กินข้าวไม่ได้ ทะเลาะ โวยวาย มีเรื่องมีราวกับคนอื่น เบียดเบียนคนอื่นเบียดเบียนตัวเอง บางทีอาจจะถึงแก่ชีวิต บางทีอาจจะถูกไล่ออกจากงาน เพราะฉะนั้น ตอบค�ำถามได้ชัดเจนเลยว่า ชีวิตเราต้องการสมาธิ ขั้นพื้นฐานคือการ นอนหลับ เป็นสมาธิขั้นพื้นฐาน และสมาธิที่เราฝึกเพิ่มเข้าไปอีก น�ำ

45


มาใช้เวลาอารมณ์ไม่ดี เวลาที่เราต้องคิดอะไรที่จ�ำเป็น เวลาที่เราต้อง ท�ำอะไรที่ยากๆ ถ้าเราไม่มีสมาธิเราก็ท�ำไม่ได้ เพราะอย่างนั้นสมาธิ จะท�ำให้เรานั้นเกิดปัญญา  แล้วเราก็จะตัดสินได้ว่าสิ่งไหนควรท�ำไม่ ควรท�ำ แล้วเราจะท�ำงานได้ดีขึ้น” ชีวิตจะดีขึ้น ถ้าเราเรียนรู้ที่จะอยู่กับความตาย เพราะความ ตายอยู่กับเราทุกวินาที “จริงๆ  ความตายอยู่คู่กับเราตลอด  ศาสนาพุทธสอนให้ไม่ ประมาท  ก็คือศาสนาพุทธสอนว่าเราต้องเข้าใจว่าความตายนั้นเป็น สิ่งที่เป็นธรรมชาติ เกิดแก่เจ็บตาย ถ้าเราใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท เรา ท�ำความดีตลอด ตอนที่เรามีลมหายใจ เราก็ตายไปกับความดี เรา จะกลัวอะไร แต่ถ้าเราอยู่กับสิ่งที่ไม่ดี ใช้ลมหายใจไปท�ำบาป ไป เบียดเบียนเราก็จะตายไป ตอนที่เรายังไม่มีความดีเลย คนก็จะกลัว ตาย  เพราะงั้นถ้าเรามีทุกอย่างพร้อมหมดแล้ว  เราก็พร้อมที่จะเดิน ทาง แต่ถ้า passport ไม่มี visa ก็ไม่มี เงินค่าตั๋วเครื่องบินก็ไม่มี มัน ก็ไม่อยากเดินทาง มันก็กังวล เพราะงั้นถ้าเรามีความพร้อมที่จะเดิน ทางหมดแล้ว วันไหนตาย เราก็ไม่กลัว เราก็จะอยู่กับปัจจุบันอย่าง มีสติมากที่สุด เราพร้อมเดินทางตลอด คือมีบุญอยู่แล้วเราก็ไม่กลัว อะไร เพราะอย่างนั้นช่วงที่เรามีชีวิตอยู่เราก็ต้องเตรียมเสบียงชีวิตไว้”

46


ศีลนี้เป็นหลัก  ถ้าเราไม่มีศีล  ก็เหมือนชีวิต ไม่มีหลัก  ไม่รู้ท�ำอะไรถูกไม่รู้ท�ำอะไรผิด  ก็ท�ำสิ่ง ที่ผิด  ชีวิตมันก็เป็นทุกข์ มันก็ทุกข์ซ�้ำๆ เพราะท�ำ ผิดซ�้ำๆ   ถ้าเราไม่มีศีล  ชีวิตมันจะอยู่ได้ยาก

47


ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เตรียมกายเตรียมใจ   อยู่กับเพื่อนชื่อความตายอย่างสงบ “ผมซ้อมตายทุกคืน  เพราะมี อะไรที่แน่นอนกว่าความตายหรือมี ใครหลุดพ้นได้ไหม? มีใครหนีรอด ได้ไหม?  แล้วมีใครรู้ว่าจะตายเมื่อ ไหร่  พรุ่งนี้เช้าจะตื่นขึ้นมาอีกไหม? เพราะฉะนั้นทุกคืนซ้อมตายไว้  ทุก คืนก่อนนอนจะเจริญสติซ้อมตาย ถ้าพรุ่งนี้ผมไม่ลืมตาตื่นขึ้นมา  วัน นี้ ผ มท� ำแต่ ค วามดี พ อหรื อ ยั ง   ได้ เตรียมพร้อมส�ำหรับความตายพอ หรือยัง” ศาสตราจารย์นายแพทย์อุดมศิลป์  ศรีแสงนาม  คือผู้ใหญ่คน ส�ำคัญในวงการแพทย์ของไทย เป็นครูของแพทย์รุ่นใหม่ๆ และยังเป็น ประธานคณะกรรมการ โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณ หรือเรียกว่าการสร้างจิตตปัญญา โครงการที่อาจารย์บอกว่ามีความ ส� ำ คั ญ มาก  เพราะนี่ คื อ การสร้ า งภาวะทางความสุ ข ที่ เ หนื อ กว่ า สุขภาพทางกาย หากทุกคนสามารถเข้าถึงและเข้าใจสุขภาวะทางจิต วิญญาณได้ ไม่ใช่แค่แต่ตัวผู้ปฏิบัติจะมีความสุขเท่านั้น แต่โลกใบนี้ จะสามารถด�ำรงอยู่อย่างมีความสงบสุข

48


สุขภาวะทางจิตวิญญาณส�ำคัญอย่างไร “คนเรากายกั บ ใจมั น ท� ำ งานสั ม พั น ธ์ กั น อย่ า งลึ ก ซึ้ ง  ยก ตัวอย่างง่ายๆ  คือกายป่วยกายไม่สบาย  เช่น  เราเป็นหวัด  มีผลท�ำให้ จิตใจหดหู่  ในทางตรงกันข้ามถ้าใจไม่สบาย  เช่น  เราเครียด  เราโกรธ ใจเต้นเร็วขึ้น  ความดันเลือดสูงขึ้น  อย่างนี้เป็นต้น  เพราะฉะนั้นกาย กับใจท�ำงานสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง  แต่นั่นก็แค่เป็นอารมณ์กับการ ท�ำงานกับอวัยวะต่างๆ  ในร่างกาย  แต่จิตตปัญญามันเหนือขึ้นไปอีก จิตตปัญญาก็คือส่วนสูงของสมองเรา  ซึ่งท�ำให้เรารู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ ดี  อะไรถูกอะไรผิด  มีความรู้สึกเสียสละอยากช่วยเหลือ  อยากเกื้อกูล คนอื่น เป็นต้น  อันนี้คือจิตตปัญญา  คือปัญญาที่ท�ำให้จิตใจเรานั้น ลอยขึ้นมาเหนือกิเลสตัณหาอุปาทานและความเห็นแก่ตัว  ซึ่งอันนี้ น่าจะมีความส�ำคัญกว่าด้วยซ�้ำไป  เพราะว่าถ้าเอาแค่กายและใจ เท่านั้นก็แค่อยู่รอดคนเดียวเท่านั้น สังคมหรือสิ่งแวดล้อมหรือคนอื่นๆ   เพื่อนร่วมโลกก็อาจจะไม่รอดก็ได้  แต่ถ้ามีจิตตปัญญาแล้วจะเห็นแก่ ตัวน้อยลง  เห็นแก่ส่วนรวมมากขึ้น  จะท�ำให้โลกใบนี้น่าอยู่มาก  ไม่ เฉพาะแต่มนุษย์ด้วยกันเท่านั้น  กับสรรพสัตว์ทั้งหลายและสิ่งมีชีวิต อย่างอื่นด้วย” สุ ข ภาวะทางจิ ต วิ ญ ญาณหรื อ จิ ต ตปั ญ ญาเริ่ ม ต้ น ได้ จ าก ครอบครัว “มีบางส่วนที่เราสามารถสัมผัสได้จัดการเองได้ กับส่วนที่เรา ไม่สามารถจัดการเองได้  เช่นส่วนที่เราไม่สามารถจัดการเองได้คือ  ตั้งแต่เล็กมาส�ำนึกด้านจิตวิญญาณหรือจิตตปัญญาที่เราพูดถึงมัน ไม่ได้  อยู่ดีๆ  จะเกิดขึ้นได้   เอาไม้เท้ากายสิทธิ์มาแตะไหล่แล้วจะเกิด

49


ขึ้นได้ หรือแต่งตั้งมอบหมายให้เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสิ่งที่ต้องเพาะต้อง บ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาด้วยซ�้ำไป  หญิงชายนั้นเมื่อจะอยู่กินเป็น คู่ผัวตัวเมียกันและจะมีลูกสืบสกุล  นอกจากจะค�ำนึงถึงปัจจัยอย่าง อื่นของการใช้ชีวิตคู่แล้ว  ต้องค�ำนึงถึงว่า  มีลูกสืบสกุลนั้นท�ำอย่างไร ถึงจะให้ลูกที่คลอดออกมาเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคต  เพราะ ฉะนั้นการเตรียมการตั้งแต่ทารกในครรภ์  การเลี้ยงดูรวมไปถึงการ กระท�ำในวัยเด็กจะเป็นการปลูกฝังความนึกคิดต่างๆ ขึ้นมา มีคนถามว่าท�ำไมผมถึงมาท�ำงานนี้ ก็เพราะมีปัจจัยที่พ่อกับ แม่ผมเขาปลูกฝังไว้  ปัจจัยอะไรที่ผมนึกออกอย่างแรกคือการ์ตูน ‘ซ�ำเหมาพเนจร’ ผมโตมากับซ�ำเหมาพเนจรนะครับ เพราะว่าคุณพ่อคุณ แม่ซื้อให้อ่าน  เราก็เห็นชีวิตของซ�ำเหมาซึ่งในนั้นนอกจะเป็นการ์ตูน ที่ดูสนุกเส้นสายสวยแล้ว  ยังชี้ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมในสังคม ความเหลื่อมล�้ำต�่ำสูงต่างๆ  คนที่เกิดมายากจนเหมือนซ�ำเหมาพเนจร นั้นก็จะเห็นถึงความทุกข์ยาก  ท�ำให้เราเกิดความรู้สึกว่า  ถ้าเราอยู่ใน สถานะที่สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลคนอื่นได้ก็จะท�ำ นี่คือพื้นฐานตอน เด็ก  เมื่อผมโตแล้ว  รู้ความแล้วผมคิดว่ามีหลายอย่างที่เราสามารถที่ จะพัฒนาจิตตปัญญาของเราให้ดีขึ้นได้  นอกจากการศึกษาเล่าเรียน ตามต�ำราตามหนังสือหรือความรู้ต่างๆ  ผมคิดว่าการพัฒนาให้เกิด ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสิ่งที่เรียกว่านามธรรม  ปรัชญา  ความ รู้สึกถูกผิดชั่วดี  สามัญส�ำนึกในเรื่องต่างๆ  ส�ำนึกต่อสังคม  หรือความ ได้เปรียบเสียเปรียบทั้งหลายทั้งปวงเป็นเรื่องที่เราศึกษาเพิ่มเติมได้ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า  เด็กสมัยนี้ไม่มีโอกาสได้รับการอบรมศึกษา เรื่องนี้ผ่านการอ่านหนังสือ”

50


ทุกยุคทุกสมัยคนจ�ำเป็นต้องมีจิตตปัญญาในการใช้ชีวิต “ไม่ว่ายุคไหนก็จ�ำเป็นทั้งนั้น  ลองหลับตานึกถึงมนุษยชาติไร้ ซึ่งคุณธรรม  ไร้ซึ่งจิตตปัญญาและศีลธรรม  จะอยู่ได้อย่างไร  มันคงไม่ ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน เดรัจฉานต้องกัดกินกันอย่างนี้ตลอดไป ตอน นี้เราก็ใกล้เข้าทุกทีแล้วนะครับ  เพราะฉะนั้นยิ่งมีความจ�ำเป็นมากใน ยุคที่คนไปบูชาหลงใหลในวัตถุ  จนลืมว่ามีส่ิงที่ส�ำคัญกว่า  คนที่หลง ในวัตถุกลายเป็นเรื่องของการทันสมัย  กลายเป็นเรื่องของการโก้เก๋  แต่ไม่รู้ถึงแก่นแท้ว่า  จ�ำเป็นหรือไม่จ�ำเป็นแค่ไหนที่เราต้องมีสิ่งต่างๆ เหล่านั้น มนุ ษ ย์ ป ั จ จุ บั น นี้ ท� ำ ลายล้ า งโลกใบนี้ แ ละท� ำ ลายล้ า ง ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างบ้าคลั่ง  ความมีน�้ำใจเผื่อแผ่ต่อคนมี น้อยลงนับวันก็ยิ่งได้ยินว่าคนแน่นเมืองไปหมด  แต่มีแต่คนเหงา  ใช่ ไหมครับ คนโบราณนี้อยู่กันกระจัดกระจายหมู่บ้านละไม่กี่คน  เขาไม่ เห็นเหงาเหมือนคนปัจจุบันที่บ่นเหงา  มีรถ มีคอนโด มีทีวี มีไอโฟน มี คอมพิวเตอร์  แต่เราเหงา  เพราะเราไม่รู้จักจัดการจิตใจ  มัวหลงใหล ได้ปลื้มกับสิ่งที่ไร้สาระไม่มีแก่นแท้  ชีวิตก็ไม่มีอะไรยึดเหนี่ยว  ไม่มี คุณค่า  สิ่งที่มีค่าส�ำหรับชีวิตเรามากที่สุดก็คือการตระหนักถึงคุณค่า ของตัวเราเอง  คุณค่าในตัวเราเองไม่ได้แปลว่าเรามีเงินในธนาคาร เท่าไร  คุณค่าที่ส�ำคัญคือเรามีคุณค่าต่อโลกใบนี้เท่าไร  ต่อทั้งตัวเรา เอง ทั้งครอบครัวเรา  และต่อเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ”

51


จุดเปลี่ยนครั้งส�ำคัญของคุณหมออุดมศิลป์ “ในอดีตชีวิตผมก็เหมือนคนอื่นๆ  ที่เมื่อก่อนนี้วิ่งหาแต่ความ ส�ำเร็จที่สังคมเขายกย่องนับถือ  ผมท�ำงานหามรุ่งหามค�่ำ  กลางวัน เป็นอาจารย์ท่ีศิริราช  ตอนเย็นท�ำคลินิก  หลังจากคลินิกตอนดึกไป รักษาคนไข้พิเศษตามโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ  แล้วยังดูแลธุรกิจ ของครอบครัวอีก  ตอนนั้นเรานึกว่าเราแน่  ไม่มีวันเป็นอะไรหรอก แล้ววันหนึ่งอยู่ดีๆ  ไปตัดผม  ช่างตัดผมเขาก็ถามว่า  ท�ำไมผมคุณ หมอมันร่วงเป็นวงๆ  อย่างนี้  ผมตกใจ  ถามว่าไหนมาดูหน่อยสิ  เขาก็ เอากระจกมาให้ดู  ปรากฏว่าผมของผมนี่ร่วงเป็นวงๆ  เหมือนเหรียญ สตางค์  เราเป็นหมอเองเราก็รู้ทันทีเลย  อย่างนี้เขาเรียกว่าโรคที่มัน เกิดจากความเครียด  ผมร่วงเหมือนเป็นการปลุกแต่เรายังไม่รู้สึกตัว นะ  จนกระทั่งเป็นโรคหัวใจตีบเพราะว่าเครียดมาก  ก็เลยรู้ว่านี่เราไม่ ไหวจริงๆ แล้วนะ ผมป่วยจนหมดสติตอนนั้น    มันเป็นสัญญาณเตือน ภัย ปลุกเราสะดุ้งจากความไม่รู้และความหลงมัวเมาทั้งหลาย  ว่าเรา ท�ำอะไรกับตัวเอง  ตอนนั้นเพิ่งสี่สิบต้นๆ  ผมไม่เคยคิดมาก่อนว่าเรา

52


จะตายเลยนะ  เพราะรู้สึกว่ามันห่างไกลเหลือเกิน  ไม่เคยพูดถึงความ เจ็บป่วย แต่วันนั้นคิดนะ นี่เพิ่งจะสี่สิบกว่า  นี่จะตายแล้วหรือ พอไป ตรวจแล้วมันเป็นเส้นเลือดตีบจริงๆ  แล้วเราตายไม่ได้  หนึ่งก็เมียยัง สวยอยู่ยังสาวด้วย สองลูกเต้า สามบ้านก็ยังผ่อนไม่หมด มันลืมตา สะดุ้งตื่นขึ้นมาแล้ว...ฉันไม่มีสิทธิแม้แต่จะตาย

หลังจากวันนั้นก็เลยเริ่มต้นที่จะดูแลตัวเองใหม่  รู้จักเริ่มมา เดินวิ่งเพื่อสุขภาพ   กลายเป็นผู้ปลุกคนทั้งประเทศให้วิ่งเพื่อสุขภาพ  แล้วต่อมาเมื่อสุขภาพกายดีขึ้นแต่ใจยังไม่นิ่ง   มีผู้หลักผู้ใหญ่แนะน�ำ ให้ไปปฏิบัติธรรม ก็เลยไปปฏิบัติกรรมฐาน  ตอนนั้นเราเห็นประโยชน์ การฝึกจิต  จากที่ไม่เคยฝึก  มันเหมือนลิงที่อยู่ไม่สุข  ส่ายไปมาตลอด เวลา  แต่ พ อฝึ ก จิ ต ให้ มั น นิ่ ง ๆ  นิ่ ง อยู ่ กั บ ตั ว เรา  อยู ่ กั บ ทุ ก ขณะจิ ต หายใจเข้าออกเลยรู้เลยว่าเมื่อสติอยู่กับตัวเรา   เราก็จะไม่มีประมาท พระพุทธเจ้าสอนไว้ถึง  84,000  พระธรรมขันธ์เลยนะ  ในพระไตรปิฎก ทั้งสี่สิบห้าเล่มที่เป็นภาษาไทยน่ะ  ย่อได้ค�ำเดียวเลยว่า ‘ไม่ประมาท’  แต่ย่อกว่าค�ำว่าไม่ประมาทคือ ‘สติ’ เมื่อมีสติก็ไม่ประมาท ถ้าไม่ ประมาทก็มีสติ เพราะถ้ามีสติซะอย่างก็คือชนะทุกอย่าง   คือรู้เท่าทัน ตัวเองหมดยิ่งฝึกปฏิบัติดีขึ้น   จิตก็จะว่องไวมากขึ้น   ว่องไวในที่นี้คือ ไวที่จะจับความรู้สึก  จิตใจทุกขณะของเราได้   ความประมาทจะลด ลง   และรู้ทันที  อะไรดีอะไรไม่ดี “อีกอันหนึ่งก็คือพระเจ้าอยู่หัวตรัสค�ำว่า ‘พอเพียง’  มันเป็น มัชฌิมาปฏิปทาจริงๆ พระพุทธเจ้าสอนนะครับทางสายกลาง  และ ตั้งแต่นั้นมาผมก็ไม่สุดโต่งเหมือนอย่างเมื่อก่อนแล้ว เดี๋ยวนี้เรารู้ค�ำว่า พอเพียงคืออะไร  พอดีๆ  ในทางสายกลาง  รู้จักเมื่อไหร่จะพอ  เมื่อไหร่ จะหยุด  เพราะฉะนั้นชีวิตยืนตรงๆ มันดีกว่าเดิมเยอะ”

53


ความตายไม่น่ากลัวถ้ารู้จักและเข้าใจ “เพราะคนไม่เข้าใจค�ำว่า ‘ตาย’ พอไม่เข้าใจก็กลัว แต่ถ้าคน เข้าใจก็จะไม่กลัวและจะเตรียมตัวตายทุกวันด้วยซ�้ำ  ผมพูดเรื่องตายใน รายการวิทยุ คนก็ตกใจ เป็นหมอพูดเรื่องตาย ของอย่างนี้ออกวิทยุทุกคืน ได้ไง ผมก็บอก ผมซ้อมตายทุกคืน เพราะมีอะไรที่แน่นอนกว่าความตาย หรือ มีใครหลุดพ้นได้ไหม มีใครหนีรอดได้ไหม แล้วมีใครรู้ว่าจะตายเมื่อ ไหร่  พรุ่งนี้เช้าจะตื่นขึ้นมาอีกไหม เพราะฉะนั้นทุกคืนซ้อมตายไว้ ทุกคืน ก่อนนอนจะเจริญสติ ซ้อมตาย  ถ้าพรุ่งนี้ผมไม่ลืมตาตื่นขึ้นมา  วันนี้ผม ท�ำแต่ความดีพอหรือยัง  ได้เตรียมพร้อมส�ำหรับความตายพอหรือยัง” “พอท�ำอย่างนี้เข้ามันก็พร้อมทุกขณะที่จะตายแล้ว  พระอานนท์ เคยตรัสถามพระพุทธเจ้าเมื่อพระพุทธเจ้าบอกว่าจะเจริญมรณานุสติว่า  เราเจริญสติระลึกถึงความตายเท่าไรถึงจะพอ พระพุทธเจ้าบอกว่าทุกลม หายใจเข้าออกก็ยังน้อยไป” “คนที่ไม่เข้าใจจะคิดว่า  พระพุทธเจ้าให้เราคิดถึงความตายใน ทุกลมหายใจเข้าออกทุกขณะจิต  แล้วมันจะเหลือไปท�ำอะไรอย่างอื่น ต่อล่ะ  แบบนั้นคือการเข้าใจผิด  พระพุทธเจ้าสอนให้เราเจริญสตินึกถึง ความตาย  ไม่ประมาท  เพราะเราเหลือเวลาที่จะท�ำความดีบนโลกนี้อีก ไม่เท่าไรแล้ว  พรุ่งนี้อาจจะตายก็ได้   ฉะนั้นเวลาที่เหลือมีค่ามากที่จะ สะสมไว้ก่อนจะตาย ชีวิตผมเห็นคนตายคนเกิดมาก็เยอะ บางคนตาย ตั้งแต่อายุน้อยๆ อย่างน่าเสียดาย บางคนตายอย่างทุรนทุรายตายอย่าง เสียดายตัวเอง  วันหนึ่งสักหนึ่งชั่วโมงฉันน่าจะได้ท�ำนั่นท�ำนี่  ไม่มีใครที่ เลือกเวลาตายได้ เลือกที่ตายได้ หรือเลือกโรคหรือสาเหตุที่จะตายได้ ทุก คนต้องถึงวันนั้นสักวันหนึ่ง เพราะงั้นต้องซ้อม นักมวยอ่อนซ้อมเกินไป ต้องแพ้แน่นอน ทีมกีฬาถ้าไม่ซ้อมแข่งก็แพ้แน่นอน จะสมบูรณ์ได้ต้อง

54


ซ้อมบ่อยๆ คุณกับผมมีสิทธิ์ตายกี่ครั้งกัน ครั้งเดียวแล้วถ้าคุณไม่ซ้อม ไว้   พอถึงเวลาถ้ามันพลาดแล้วท�ำไง  อยากตายอย่างทุรนทุรายทุเรศ ทุรังไหม เพราะงั้นมีสติเราก็รอด โอกาสที่จะตายอย่างทุเรศทุรังมีน้อย มาก ตายอย่างมีสติตายอย่างไม่คร�่ำครวญ เพราะเราเตรียมตัวตาย” เหตุการณ์เตือนใจและน่าประทับใจเกี่ยวกับการส่งต่อความ สุขและการสร้างคุณค่าต่อโลก “เรื่องที่เกิดขึ้นล่าสุด  คือผมและเพื่อนท�ำรายการวิทยุดนตรี และชีวิต  เป็นเพลงคลาสสิก  คืนวันอาทิตย์สามทุ่มถึงห้าทุ่ม  คืนหนึ่ง มีคนโทร.เข้ามาถามหลังไมค์ว่า  คุณพ่ออายุมากแล้ว  ป่วยหนักอยู่ ไอซียู  ทรมานมาก  จะท�ำอย่างไรให้คุณพ่อทรมานน้อยลง  เขาฟัง รายการผม  อยากจะหาซีดีเพลงอะไรที่คุณพ่อฟังแล้วจะดีขึ้น  ตอน นั้นมีข้อมูลมาแค่นี้นะครับ  ไม่ได้บอกด้วยนะว่าคุณพ่อเป็นอะไร  ผมก็ แนะน�ำไปว่าฟังเพลงคลาสสิกซีเรียสๆ  คงไม่ไหว   น่าจะเป็นเพลงไลท์ มิวสิกที่ฟังเพลิดเพลิน และฟังได้เรื่อยๆ  ให้ผ่อนคลายผมก็แนะน�ำไป แล้วเขาก็ไปซื้อมาฟังตามที่แนะน�ำ   บังเอิญว่าที่ร้านขายแผ่นซีดีฟัง รายการด้วยก็บอก  นี่ใช่ไหมที่คุยกับคุณหมออุดมศิลป์แล้วคุณหมอ แนะน�ำเพลงของวงนี้แผ่นนี้ๆ  เจ้าของร้านก็ไม่คิดสตางค์ให้ไปฟรีๆ เลย  เห็นไหมครับความดีเกิดขึ้น” “แล้วเขาก็เอาไปเปิดให้คุณพ่อฟังหลังจากนั้น  ผู้ฟังท่านนั้นก็ หายไปปีหนึ่ง  จนกระทั่งเมื่อวันอาทิตย์นี้เขาก็กลับมาใหม่  ส่งโน้ตมา ยาวเลยนะครับ  แล้วก็กระเช้าส้มกระเช้าเบ้อเริ่ม  แล้วในโน้ตก็บอก ว่า คุณหมอจ�ำได้ไหม  ปีกว่าๆ ที่มาขอค�ำแนะน�ำเรื่องคุณพ่อ แล้วก็ได้ รับแผ่นซีดีเพลง  แล้วก็ไปเปิดให้คุณพ่อฟัง  คุณหมอรู้ไหมว่าคุณพ่อ อาการดีขึ้นจนตอนนี้กลับไปบ้านแล้ว  มีความสุขมากเลยกับเพลงที่

55


คุณหมอแนะน�ำ  ขอบคุณแล้วฝากส้มมาด้วย  แน่นอนว่าสถานที่ที่เรา บอกเป็นสถานที่จัดรายการเพลง  เราก็ไม่นึกว่าจะสามารถมีผลกระทบ ต่อคนฟังได้มากถึงขนาดนี้  เราก็ปลื้ม  แต่ความปลื้มของผมมันน้อย กว่าเจ้าหน้าที่ในห้องส่ง  เพราะหมอก็เจอคนป่วยคนใกล้ตายคนตาย ทุกวัน  ไอ้เรื่องอย่างนี้ไม่กระทบกระเทือนผมมากเท่าไร  ผมชินแล้ว แต่ เจ้าหน้าที่ในห้องส่ง ช่างอิเล็กทรอนิกส์ เจ้าหน้าที่ประสานงานเขาได้กิน ส้มและบอกว่าชื่นใจมาก  มันนึกไม่ถึงว่าที่เขาอยู่ดึกดื่นวันละตั้งแปด เก้าชั่วโมง  อยู่ยันเที่ยงคืนตีหนึ่งในห้องแคบๆ เขาจะสามารถช่วยชีวิต คนให้มีความสุข” “ผมคิดว่าความดีอยู่ทุกหนทุกแห่ง  จิตตปัญญาที่อยากจะ ท�ำความดีอยากจะช่วยคนอื่นมันมีทั่วไป  อยู่ที่การมีโอกาสที่จะน�ำ ออกมาไหม   อย่างเจ้าหน้าที่เขาท�ำงานทุกวันจ�ำเจ  แต่เมื่อมีเรื่องนี้เกิด ขึ้นมา  คิดดูว่าเขามีความภูมิใจตระหนักถึงคุณค่าของการแค่เป็นช่าง เทคนิคในห้องส่ง  เป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานในห้องส่ง  แต่ก็ท�ำให้ชีวิต เขามีค่าขึ้น  เห็นความส�ำคัญถึงคุณค่าของงานที่เขาท�ำมากขึ้น  นี่แหละ คือจิตตปัญญาของมนุษย์ที่จะมีให้ต่อกันและกัน”

56


สิ่งที่มีค่าส�ำหรับชีวิตเรามากที่สุดก็คือการ ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเราเอง  คุณค่าใน ตัวเราเองไม่ได้แปลว่าเรามีเงินในธนาคาร เท่าไร  คุณค่าที่ส�ำคัญคือเรามีคุณค่าต่อโลก ใบนี้เท่าไร  ต่อทั้งตัวเราเอง ทั้งครอบครัวเรา   และต่อเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ

57


พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

“สติ ป ั ญ ญาอั น มั่ น คง บนโลกที่ไม่แน่นอน”

ท่ า นคื อ พระนั ก พั ฒ นาที่ เ ข้ า ใจวิ ถี ค วามเป็ น ไปในสั ง คม ปัจจุบันเป็นอย่างดี  ธรรมะที่ท่านสอนเข้าถึงได้ง่าย  เหมาะกับคนทุก เพศทุกวัย  และสามารถน�ำไปปรับใช้ได้จริง  จุดเด่นเหล่านี้มาจาก ประสบการณ์ชีวิตในอดีตของท่าน  ที่ใช้เวลาเดินทางค้นหาความสุข สงบจากหลายที่ทั่วโลก  ด้วยมุ่งหวังจะได้พบทางสงบที่แท้จริง  และ พุทธศาสนาคือค�ำตอบของท่าน

58


พระอาจารย์เล่าที่มาของชีวิตว่า ท่านแสวงหาความสงบมา ตั้งแต่วัยหนุ่ม “ตั้งแต่เด็กๆ  นะ คิดเสมอว่า ชีวิตคืออะไร เราอยากจะท�ำ อะไร ถามตัวเองแล้วก็ไม่มีค�ำตอบ หรือว่าเรามองดูคนญี่ปุ่นที่อยู่รอบ ตัว ใครเป็นตัวอย่างของเรา ก็ไม่เห็นว่าอยากจะเป็นเหมือนใคร หรือ ว่าอยากจะท�ำอะไร   นี่เป็นเหตุที่เราต้องหาประสบการณ์  เดินทางต่าง ประเทศ  เดินทางคนเดียวหาประสบการณ์แบบวัยรุ่น   ประหยัดเงิน ที่สุด  แล้วก็ไปหลายประเทศ  เห็นชีวิตของเขาบ้างอะไรบ้าง  เพื่อจะ กระตุ้นหาค�ำตอบว่า  จริงๆ แล้วเราอยากจะท�ำอะไรกันแน่ แล้วในที่สุดเราก็ไปที่อินเดีย  ก็มีการศึกษาธรรมะ  ถือศีล ปฏิบัติธรรมที่อาศรมต่างๆ ในอินเดีย เราก็เริ่มคิดว่า สิ่งแรกที่เราต้อง เริ่มคือจิตใจนี่แหละ  เราเห็นคนต่างชาติหลายคนก็สนใจทางจิต  คน ที่รวยแล้วมีประสบการณ์ทางโลกมากแล้ว  เขาก็เข้ามานั่งสมาธิ  เขา ถือหนังสือญี่ปุ่นนิกายเซนหรือว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่น  เขาก็สนใจทาง จิตใจและวัฒนธรรมต่างๆ  ในเอเชียตะวันออก  อาจารย์เองก็เริ่มอยู่ ในอาศรม ฝึกนั่งสมาธิ เล่นโยคะ หรือว่าอ่านหนังสือธรรมะต่างๆ แล้ว ก็มีประสบการณ์สมาธิดีพอสมควร ตอนนั้นอยากจะอยู่อินเดียตลอด ชีวิต  แต่ว่าต่อวีซ่าไม่ได้  อยู่ได้ปีสองปีเราก็จ�ำเป็นต้องกลับญี่ปุ่น  ก็มี พระชาวฝรั่งเศส  พระไทยแนะน�ำมาที่กรุงเทพ  มาบวชศึกษา แล้วก็ สิ่งที่เราท�ำอยู่ที่อินเดีย เราสามารถท�ำที่เมืองไทยได้ตลอดชีวิต อยู่ที่ อินเดียเราก็ต้องมีค่าใช้จ่าย พักที่ไหน แต่บวชพระที่เมืองไทยเราไม่ ต้องกังวลปัจจัยสี่”

59


วัดแรกที่พระอาจารย์มาจ�ำพรรษาคือวัดเบญจมบพิตร และ นั่นเป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญที่ท�ำให้คิดว่าอยากจะบวชที่เมืองไทยตลอด ไป “มาที่วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพ วัดนี้จะสงเคราะห์คนต่าง ชาติ  มาถึงกรุงเทพตั้งแต่วันแรกก็มุ่งมั่นมาวัดเบญจมบพิตรตั้งแต่นั้น ก็อยู่เป็นสามเณร  อยู่เป็นพระ  ตอนนั้นก็เริ่มสรุปชีวิตตัวเองได้แล้วว่า ชีวิตคือการพัฒนาจิตใจ จิตใจนี่ส�ำคัญ แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ประสูติ ในพระราชวัง  มีความสุขทางโลกค่อนข้างจะเต็มหรือว่าสมบูรณ์  แต่ท่านก็ยังออกบวชมา  เพราะอะไร   เพราะขัดเกลากิเลส  หรือว่า หาความสุข ความสงบ ความสุขทางจิตใจ ในที่สุดก็ตรัสรู้ แล้วก็เป็น ผู้รู้ นี่แหละคือพระนิพพาน หมายถึงที่สุดทางการพัฒนาจิตใจให้มี ความสุขทางใจมากกว่าทางโลก เหมือนพุทธสุภาษิตว่า ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบไม่มี ก็อยู่วัดเบญจมบพิตรสามเดือน ก็ไปวัดป่า บวช พระอยู่ในวัดป่าสายปฏิบัติแบบหลวงปู่ชา ที่วัดหนองป่าพง อยู่ที่นั่น ห้าปี ในช่วงห้าปีนั้นก็เข้าห้องกรรมฐานอยู่ในกุฏิ ก็ปฏิบัติในกุฏิตลอด   ไม่พูด ไม่ได้ออกไปข้างนอก  แล้วก็มีพระคอยจัดอาหารวันละครั้งส่ง มาให้ ฝึกเก็บอารมณ์ ฝึกกรรมฐานอยู่อาสนะตลอดสองปี แล้วออก มาข้างนอกเฉพาะวันปาติโมกข์  ออกไปนั่งฟังปาติโมกข์สิบห้าวันครั้ง หนึ่ง หลังจากนั้นแล้วเราก็ยืนสงบจิต ฝึกกรรมฐาน แล้วก็เข้าใจว่าการ เจริญสติปัฏฐาน 4 ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า  การปฏิบัติมีทางเดียวคือ การต้องเจริญสติปัฏฐาน 4 เท่านั้น วิถีอันนี้ก็พอสัมผัสเข้าใจ ท�ำให้เรา ไม่มีความคิดว่าต้องสึก คิดว่าจะบวชเป็นพระตลอดไป

60


“ทุกข์  คืออัตตาตัวตน  พูดง่ายๆ  ก็อุปาทานยึดมั่น ถือมั่นในร่างกายและจิตใจ อันนี้เป็นทุกข์ ทุกข์นี้เราก็ต้อง ให้เจริญสติ สมาธิ  แล้วก็ให้ศึกษาว่าสิ่งสิ่งนี้เป็นอะไร เมื่อ มีปัญญา วิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้น  จิตใจก็จะโปร่งขึ้น เมื่อ นั้นจิตใจก็จะอิสระไม่เป็นทุกข์  เราก็เข้าใจว่า  เมื่อมีทุกข์เกิด ทุกข์นี้ ชีวิตของมนุษย์พยายามหนีจากทุกข์  การเสื่อมลาภ ยศ  ไม่ ส บายใจท� ำ ให้ คิ ด ฟุ ้ ง ซ่ า น  เพราะพยายามหนี จ าก ทุกข์แล้วก็แสวงหาความสุข แต่ทางไปนิพพานก็ตรงกันข้าม ทุกข์เกิดโน้มเข้ามา เราก็ดูทุกข์ กายก็ดี จิตใจก็ดี ต้องมีสติ มีสมาธิกับทุกข์  จิตหยุดอยู่กับปัจจุบัน เมื่อทุกข์แล้ว ทุกข์นี้ ควรก�ำหนดรู้  ถ้าเราเข้าใจ  ปฏิบัติแล้วจิตใจก็อยู่กับปัจจุบัน เมื่ อ มี ป ั ญ ญาเกิ ด ขึ้ น แล้ ว จิ ต ใจก็ จ ะปล่ อ ยวาง  สงบ  และ สบายใจขึ้น  อันนี้เราก็สอนประชาชนและพระทั่วๆ  ไป  ไม่ สบายใจ หรือว่าขี้เกียจ ขี้น้อยใจ ขี้ฟุ้งซ่าน ขี้อิจฉา ขี้กลัว ขี้ โกรธ ขี้เหนียว ขี้อวด เครียด ซึมเศร้า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นต้องดู นี่คือขยะทางจิตใจ คือสิ่งปฏิกูลทางจิตใจ ไม่สบายใจเกิดขึ้น เพราะมีเหตุการณ์บางอย่างที่เป็นทุกข์ อันนี้ไม่ส�ำคัญ แต่ว่า พระพุทธเจ้าบอกว่า ดูจิตเป็นทุกข์ ถ้าเราเข้าใจมองเห็น ถ้า เราสติเกิดสมาธิปัญญาเกิด แล้วการอุปาทานยึดมั่นถือมั่น ต้องก�ำจัดของเสียออกจากจิตใจ  ของเสียอยู่ที่จิตใจถ้าเรา เข้าใจเพียงเท่านี้ ชีวิตจะสงบ แทนที่จะด่าว่า น้อยใจ อิจฉา กลัว โกรธ สิ่งเหล่านี้จะบั่นทอนจิต  เป็นขยะของเสียในจิตใจ เราก็จัดการ  เมื่อไม่สบายใจ  มีทุกข์เป็นขยะทางจิตใจแล้ว

61


สิ่งที่ต้องระวังคือ มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ทั้งหมดนี้ให้ จัดการที่จิตใจ ไม่สบายใจให้มันจบที่ใจ  นี่เป็นวิธีการรักษา สุขภาพใจที่ดี เป็นหลักๆ ทั่วไปในการสอน” พระอาจารย์บอกว่าสิ่งที่เรียนรู้เหล่านี้   สามารถน�ำ ไปใช้ได้ในทุกเหตุการณ์      แม้เหตุการณ์นั้นจะเลวร้ายมาก ขนาดไหนก็ตาม “เมื่อมีความทุกข์แสนสาหัส  นี่คือโอกาสดีท่ีสุดที่เรา จะปฏิบัติ พระอาจารย์ไปญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม เมื่อปี 2011 มันมีสึนามิ อาจารย์เองก็เดินทางไปญี่ปุ่น อาจารย์มอง เห็นคนญี่ปุ่นที่โน่นดูไม่ได้เศร้าเท่าไร เขาเข้มแข็ง คนที่อยู่ใน ศูนย์พักพิงตอนนี้เขาอยู่อย่างปกติก็มี เมื่อก่อนเพื่อนกันด่า กัน  แต่วันนี้รอดชีวิตแล้วเจอกันเขาก็เข้ามากอดกัน แค่เห็น

62


เพื่อนยังมีชีวิตอยู่มีความสุขแล้ว เมื่อมีคนมาช่วยกันเยอะๆ ก็ มองเห็นความเสียสละก็มีความสุขได้นะ มีสมาธิก็มีความสุข แล้วก็ช่วยเหลือกัน  การเสียสละมีข้าวก็เอาไปให้เพื่อนบ้านกิน ก็มีความสุข ใครมีโรงแรมก็ให้พักฟรี” คือในภาวะปกติมนุษย์ไม่ค่อยมีโอกาสได้แบ่งปันกัน ไม่ค่อยได้มีโอกาสค้นพบว่า  ความสุขที่แท้จริงคืออะไร  ค่อน ข้างจะเห็นแก่ตัว   ในสภาวะปกติทุกคนก็อยากได้  อยากมี อยากเป็น คิดถึงแต่ตัวเอง ในชีวิตก็ใช้เงิน  และเข้าใจว่ามีเงิน มากจะมีความสุข  ญี่ปุ่นก็เหมือนกัน  ก่อนที่จะเกิดสึนามิก็ ต่างคนต่างอยู่ต่อสู้ชีวิตตัวเอง แต่วัฒนธรรมก็เปลี่ยนไป เมื่อ เกิดคลื่นสึนามิขึ้น  ทุกคนก็ไม่มีอะไรติดตัวแล้ว  มันท�ำให้เกิด การแบ่งปันที่ส�ำคัญ  คือเกิดความรู้สึกดีๆ  ความสามัคคีกัน ของชุมชนต่างๆ ก็เกิดขึ้น แล้วคนที่เสียสละต่างๆ ก็มีเยอะ พอ ประสบภัยพิบัติมนุษย์ได้เจอด้านดีๆ  เยอะ  มนุษย์ได้เอาด้าน ที่ดีงามออกมาฟื้นความเป็นมนุษย์ข้ึน  พอเกิดสึนามิ  ทุกคน ก็เอาข้าวของแค่ที่พอใช้  ทุกคนก็เอาไปเท่าที่จ�ำเป็นทุกคนหิว  แต่ทุกคนก็เอาไปเท่าที่จ�ำเป็น  ในภาวะปัจจุบันผู้คนก็ใช้ชีวิต ในโลกทุนนิยม ต่างมุ่งกอบโกย แต่พอเกิดภัยพิบัติมา กลาย เป็นโอกาสให้มนุษย์ได้แสวงหาสิ่งที่ดีมากกว่าโดยมีความทุกข์ บีบคั้น  แล้วก็อะไรที่ส�ำคัญอย่างความสามัคคีกัน  การช่วย เหลือกัน หลายคนก็สัมผัสถึงความดีในความเป็นมนุษย์”

63


ความสูญเสียเป็นสิ่งที่มนุษย์หลีกหนีไม่ได้ แต่พระอาจารย์บอก ว่าเราสามารถท�ำใจยอมรับมันอย่างมีความสุขได้ “กับคนที่สูญเสีย  อาจารย์ก็คิดว่า นี่คือเทวทูต เทวดา มนุษย์ ชีวิตนี้ก็เป็นแบบนี้  คนแก่คนเจ็บคนตาย  ความจริงของชีวิตก็เป็นแบบ นี้ ไม่มีใครหนีพ้นจากสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นทุกข์เพราะสูญเสียก็เป็นความ จริงของชีวิต ทุกข์ที่สุดของชีวิตน่าจะเป็นความตาย ความแก่ ความเจ็บ ความตายก็มีอยู่อย่าประมาท  พระพุทธเจ้าสอนว่า  ให้พิจารณาความ ตายทุกลมหายใจเข้าลมหายใจออก เพื่อให้เข้าใจ เพราะเรามักจะยึดติด ภายนอกเป็นส่วนใหญ่  ทุกข์เพราะยึดมั่นถือมั่น  ในร่างกายหรือทรัพย์ สมบัติ หรือว่าพ่อแม่พี่น้อง พระพุทธเจ้าให้พิจารณาความตาย  ให้คิดว่า ร่างกายนี้เหมือนศพ  เหมือนตายแล้ว  ให้พิจารณาเหมือนแก้วน�้ำ  แก้ว น�้ำมันก็แตกง่าย  ทุกอย่างอนิจจัง  แต่แก้วน�้ำมันมีประโยชน์  ท�ำอะไรให้ เกิดความสุขและประโยชน์  พิจารณาร่างกาย  ไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย ใจเป็นประธาน  พระพุทธเจ้าท่านให้แสวงหาอริยทรัพย์ เช่นว่า ศรัทธาใน กฎแห่งกรรม ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์ก็ดี ก็เป็นความเชื่อ ในความดี รักษาศีล มีหิริโอตตัปปะ คือความละอายแก่บาป การเสียสละ ก็เป็นอริยทรัพย์ การวิปัสสนาก็เป็นอริยทรัพย์ ความรู้ที่สามารถปล่อย วางได้ก็คือปัญญาอานิสงส์ของทานศีลภาวนา  มนุษย์ทุกคนอยากจะมี ปัญญาดีก็ให้ภาวนา สิ่งเหล่านี้ก็จะติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ” เวลาที่ ผู ้ ค นประสบภั ย พิ บั ติ   สู ญ เสี ย ทรั พ ย์ สิ น และเงิ น ทอง มากมาย  แต่เราสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่บนโลกที่ไม่แน่นอนนี้ได้โดยการ หันมาใส่ใจและสนใจกับทรัพย์ภายในมากขึ้น  เราอาจสูญเสียทรัพย์ ภายนอก  แต่เราก็เริ่มเรียนรู้ที่จะบ่มเพาะทรัพย์ภายใน

64


“ทรั พ ย์ ภ ายในคื อ การยอมรั บ ความจริ ง ของชี วิ ต   เรื่ อ ง ทรัพย์สินภายนอก พระอาจารย์ว่ามันเอากลับมาได้  กลับมามากกว่า เก่าก็ได้ เราเกิดมาตัวเปล่าๆ แล้วเราก็สูญเสียทรัพย์ภายนอก ถ้าเรา มองดูประเทศชาติว่ามีประสบการณ์นี้แล้วทั้งประเทศก็ดีกว่าเก่านะ หรือส่วนบุคคลต่างๆ เหมือนกัน ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ไม่นานก็ ดีกว่าเก่า ทรัพย์สมบัติจะเพิ่มขึ้นหรือไม่เพิ่มขึ้นก็ไม่เป็นอะไร ถ้าเรา ศึกษาธรรมแล้วก็จะมีความสุข ก็จะสันโดษ พอใจในสิ่งที่ได้ พอใจใน สิ่งที่มีอยู่”

เราสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่บนโลก ที่ไม่แน่นอนนี้ได้   โดยการหันมาใส่ใจ และสนใจกับทรัพย์ภายในมากขึ้น เรา อาจสูญเสียทรัพย์ภายนอก แต่เราก็ เริ่มเรียนรู้ที่จะบ่มเพาะทรัพย์ภายใน คือการยอมรับความจริงของชีวิต

65


ฐิตินาถ ณ พัทลุง เข็มทิศชีวิตชี้ไปทางไหน ชีวิตก็รอเราอยู่ที่นั่น

ก่อนหน้านี้หลายปี   ฐิตินาถ  ณ  พัทลุง  คือผู้หญิงคนหนึ่งจาก หาดใหญ่ที่ใช้ชีวิตท่ามกลางสังคมทุนนิยมเหมือนอีกหลายชีวิตทั่วไป ที่คิดว่าความเป็นปึกแผ่นของทรัพย์สินที่หามาได้จะไม่มีวันล่มสลาย เธอเรี ย นจบปริ ญ ญาโทด้ า นเศรษฐศาสตร์ ถึ ง สองใบจากประเทศ อังกฤษเมื่ออายุเพียง  20  ปี  และพอแต่งงานเธอก็เริ่มท�ำธุรกิจร้าน เพชร  สามีก็บริหารงานโรงแรมของตน  พร้อมกับมีลูกน้อยวัย  11 เดือน กับแผนการในอนาคตว่าถ้าหาเงินได้ถึงหลักพันล้านก็จะเลิก ท�ำงาน  ทุกสิ่งทุกอย่างท�ำท่าว่าจะไปได้ดี  แต่แล้วก็เหมือนฟ้าผ่า กลางความฝัน  เธอตื่นขึ้นมาในความเป็นจริงพบว่าสามีได้เสียชีวิตไป แล้วพร้อมกับทิ้งหนี้ในการท�ำธุรกิจไว้นับร้อยล้านบาท เธอกลายเป็น แม่ม่ายลูกอ่อนที่มีหนี้สินมหาศาล เวลานั้นเธออายุเพียง 25 ปี

66


ค�ำถามคือ ชีวิตเป็นแบบนี้ได้อย่างไร? เราจะจัดการกับความ เจ็บปวดอย่างไร? “คิดถึงลูกว่าเขาจะโตขึ้นมาอย่างไรโดยที่ไม่มีพ่อ  และต้อง จัดการกับหนี้ทั้งหมด  ตรงนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้น  และพบว่าทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นมานั้นเพื่อส่งเราไปสู่จุดที่ดีที่สุดเสมอ  เพราะว่าท�ำให้เรา ได้ ไ ปปฏิ บั ติ ธ รรม  ก่ อ นเราไปปฏิ บั ติ ธ รรมมี ค นมาเล่ า ว่ า   ในสมั ย พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่  มีคนคนหนึ่งเขาเสียลูกไปแล้วอุ้ม ศพลูกร้องไห้ขอให้คนช่วย พระพุทธเจ้าตรัสว่า ‘ถ้าท่านหาเมล็ดพันธุ์ ผักกาดในหมู่บ้านที่ไม่มีคนตายได้  เราจะช่วยลูกท่าน’  เพียงแค่ค�ำ เดียว ประโยคเดียว ท�ำให้เราเห็นเลยว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของโลกนี้ ไม่ว่าใครก็เคยพบเจอ แต่ก่อนเวลาที่เห็นสามีคนอื่นตาย เราก็จะคิด ว่าท�ำไมเขาถึงเศร้าขนาดนั้น พ่อแม่คนอื่นตาย เราก็รู้สึกว่าไม่มีอะไร แต่เมื่อใดที่มันเป็นคนของเราเอง เราจะรู้สึกเจ็บปวดมาก ตอนนั้น เห็นเลยว่า อ๋อ ใจของมนุษย์มันเป็นแบบนี้เอง เวลาคนอื่นสูญเสียเรา จะรู้สึกว่าไม่เป็นไร เราอาจจะเห็นใจเขาบ้างเล็กน้อย แต่เมื่อใดที่เป็น ของเราสูญเสียเอง มันจะเห็นใจของเรายืดไปข้างหน้า เกาะว่าอันนี้ เป็นของเรา  ต้องอยู่ดีๆ แบบนี้ตลอดไป มันต้องได้แบบนี้ดั่งใจเรา เมื่อ ใดที่มันสูญเสีย เราเหมือนใจจะขาด ตอนนั้นรู้เลยว่ามนุษย์เราเวลามีความทุกข์แล้วหมกมุ่นกับ ตัวเองเกินไป การมีทางออกให้ชีวิตก็คือหยุดหมกมุ่นกับตัวเอง เอาใจ ออกมา มองเห็นความต้องการของคนอื่น ดูแลคนอื่นก่อน ซึ่งเป็นวิธีที่ ง่ายที่สุด”

67


เธอขายทรัพย์สินต่างๆ  หาเงินมาชดใช้หนี้ได้หมดภายใน เวลาแค่สองปี ตั้งสติด้วยการปฏิบัติธรรม และดวงตาเธอก็ได้เห็นใน สิ่งที่ไม่เคยมองเห็นมาก่อนตลอดชีวิต  เธอบอกว่าเวลานั่งสมาธิแล้ว รู้สึกปวดขา  แต่ถ้าลองฝึกใจให้แยกออกจากความเจ็บปวด  ใจเป็น คนดูแล้วความปวดเหมือนเป็นอีกส่วนหนึ่ง วินาทีนั้นใจเราแค่รู้สึกว่า ความปวดอยู่ตรงนั้น ใจอยู่ตรงนี้ ไม่ได้เดือดร้อนอะไร แค่รู้สึกว่าถ้า ความเจ็บปวดที่อยู่บนร่างกายเราแท้ๆ เรายังสามารถดูมันเหมือนเป็น ของคนอื่นได้  ถ้าอย่างนั้นนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หนี้ส่วนหนี้ ใจส่วน ใจ ความเจ็บปวดก็ส่วนความเจ็บปวด พอรู้สึกแบบนั้นแล้วใจก็ไม่ได้ เดือดร้อน “อีกเจ็ดปีหลังจากที่สามีเสียชีวิต  ลูกก็ถามเราว่า  ‘คุณแม่ ครับ   ถ้าเกิดคุณแม่ไม่ต้องคิดว่าท�ำงานเพื่อเงิน   คุณแม่จะท�ำอะไร’   เราก็บอกลูกว่าคุณแม่ก็จะไปอยู่บ้านริมทะเลกับลูก ไปภาวนาทุกวัน ไปบรรยาย ท�ำสิ่งที่คุณแม่รักทุกวันเลย นี่คือสิ่งที่คุณแม่อยากจะท�ำ ลูกก็ถามว่า  ‘แล้วท�ำไมคุณแม่ไม่ท�ำตอนนี้เลยล่ะครับ’  พอตอนนั้นที่ ได้ยินก็เลยตัดสินใจขายธุรกิจทั้งหมด  เพราะว่าในจุดนั้นเรารู้สึกว่า เราไม่ต้องหาเงินเพิ่ม เราไม่ต้องรวยมากแบบมหาเศรษฐี แต่เราแค่รู้ ว่าเงินที่เรามีนั้นเพียงพอส�ำหรับชีวิตเราสองคนแล้ว  เราไม่ต้องวิ่งหา เพื่อที่จะท�ำเงินอีก ก็เริ่มขายธุรกิจทั้งหมด ไปซื้อบ้านที่ริมทะเลกับลูก ตื่นเช้าก็ดูพระอาทิตย์ขึ้น วิ่งเล่นริมชายหาด ส่งลูกไปโรงเรียน แล้ว เราก็นั่งสมาธิ เขียนหนังสือ ก่อนที่จะย้ายออกไปจากเมืองก็คิดว่า  ถ้า เราท�ำได้คนทั้งประเทศก็ท�ำได้ คนอื่นเขาไม่ได้เป็นหนี้เยอะขนาดร้อย ล้านเท่าเราด้วยซ�้ำ เราก็เขียนหนังสือชื่อ ‘เข็มทิศชีวิต’ เพราะคิดว่า อยากจะท�ำอะไรบางอย่าง”

68


จนเป็นที่มาของหนังสือที่ขายดีที่สุดเป็นประวัติการณ์ของ หนังสือในบ้านเรากับ ‘เข็มทิศชีวิต’ ที่ฐิตินาถกลั่นกรองออกมาด้วย หัวใจที่เปี่ยมสติและประสบการณ์ จากตอนนั้นหนังสือที่ไม่มีใครมอง ว่าจะขายได้กลายเป็นเจ้าของยอดขายรวมหนึ่งล้านสามแสนเล่มใน ปัจจุบัน ตอนนั้นเธอคิดว่าต้องเชื่อเสียงในหัวใจของตัวเอง  ถึงแม้ว่า จะมีมืออาชีพในด้านวงการสื่อสิ่งพิมพ์จ�ำนวนมากเตือนเธอว่าอย่า เขียนเลย เรื่องแบบนี้ไม่มีใครสนใจอ่านหรอก อย่าเขียนอะไรที่เป็น หลักการ แต่เธอก็ใช้ความกล้าและความเชื่อมั่นเขียนหลักการ 7 ข้อ ในการที่คนเราจะมีชีวิตอิสระทางการเงินและจิตใจผ่านหนังสือดัง กล่าว เป็นหลักการที่เธอคิดเอง ใช้ชีวิตของตนพิสูจน์แล้วว่ามันได้ผล จริง

69


“สิ่งที่มากกว่านั้นคือ มันเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งที่เราบอกคนว่า คุณต้องเชื่อ  ต้องมั่นใจในตัวของเราเอง  ไม่ว่าตอนนี้คนที่อ่านที่ฟังจะ อยู่ในสถานการณ์ยังไง  เรื่องที่โลกส่งมาให้เรามันจะพอเหมาะพอดี กับฝีมือที่เรามีอยู่ เมื่อใดที่เราได้เรียนรู้ มันจะเกิดการก้าวกระโดดใน ชีวิต สิ่งที่ปรากฏในชีวิตเราทั้งสภาพการเงิน เพื่อนฝูง ชื่อเสียง ความ สุข  ความพึงพอใจในครอบครัว  เป็นเหมือนกับกระจกสะท้อนสิ่งที่เรา รู้สึกข้างใน  ถ้าเราต้องการจะเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายนอก เปลี่ยน งาน เปลี่ยนสถานะทางการเงิน ต้องเปลี่ยนข้างในใจเราก่อน ทันทีที่ เราหมั่นขัดเกลาตนเอง ทันทีที่เราคิดเรื่องดี พูดเรื่องดีท�ำเรื่องดี ทุก อย่างรอบตัวจะเปลี่ยน” จากคนเขียนหนังสือ  ฐิตินาถขยับขึ้นไปเป็นผู้บรรยาย และ พั ฒ นาตั ว เองไปสู ่ ก ารเป็ น ผู ้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นจิ ต ใต้ ส� ำ นึ ก ของโรงพยาบาลปิยะเวท เธอจัดหลักสูตรพัฒนาจิตใต้ส�ำนึกโดยมีผู้ให้ความ สนใจเป็นจ�ำนวนมาก  ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านความทุกข์ สาหัสมาก่อน  เธอมองเห็นคุณค่าอะไรจากการเรียนรู้เรื่องนี้ “จริงๆ  แล้ว  มนุษย์เมื่อเจริญถึงที่สุดจะพบว่าความเจริญ ทางวัตถุมีเท่าไรก็ไม่จบ มนุษย์ก็จะพบว่าข้างในมันโหวงๆ อยู่ เป็น เรื่องที่ต้องเป็นกระแสอยู่แล้วตราบเท่าที่เป็นมนุษย์ กระแสที่ว่าท�ำไม สิ่งภายนอกไม่ได้เติมสิ่งที่อยู่ภายในให้เต็ม เพราะฉะนั้นมนุษย์จะมา ค้นหาว่าอะไรที่เติมให้ใจของเราเต็ม  ทันทีที่เรารู้ว่าอะไรที่เติมใจเรา เต็มได้ ใจเราก็จะอิ่มขึ้นมาเลย ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องปกติมากๆ ที่มนุษย์ ทุกคนจะหันกลับมาพึ่งตัวเอง ท�ำให้ใจอิ่ม ฟู เต็ม มันเหมือนกับว่าเป้า หมายก�ำลังบรรลุแล้วทุกขณะ นี่คืองานที่ตัวเราเองท�ำทั้งในฐานะผู้ เผยแพร่ธรรมะ  และในแง่ของผู้เชี่ยวชาญด้านจิตใต้ส�ำนึกของคน ว่า

70


จะจัดการกับปมของตัวเอง ดูแลให้อภัยพ่อแม่ ให้อภัยตัวเอง มีคน เยอะมากที่ท�ำร้ายตัวเองเพราะเขาไม่ได้ให้อภัยตัวเอง  เด็กมีความ คิดที่จะโทษตัวเองได้ง่ายมาก  พ่อแม่เลิกกันเด็กก็โทษตัวเองแล้วว่า ถ้าฉันน่ารักกว่านี้พ่อแม่อาจจะไม่เลิกกัน แล้วมันก็ท�ำให้เป็นปัญหา ของสังคมมาเรื่อยๆ  แต่มากกว่านั้นก็คือสิ่งที่เราเห็นปรากฏการณ์ใน ประเทศตอนนี้  การที่พ่อแม่จากต่างจังหวัดทิ้งภาคเกษตรกรรมเข้า มาท�ำงานภาคอุตสาหกรรมในโรงงาน  พอแม่ตั้งท้องก็ส่งลูกกลับไป ให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง  เด็กไม่ได้รับการถ่ายทอดทางความคิด ความรัก ความอบอุ่นจากพ่อแม่ จะโตมาแบบไม่รู้ว่าอะไรสวยหรือไม่สวย อะไร ดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิด จนถูกชักน�ำได้ง่ายมาก ปัจจุบันประเทศไทย อ่อนแอมากเพราะว่าเด็กไม่ได้ถูกเลี้ยงมาโดยพ่อแม่ของตัวเอง แล้ว คนส่วนนี้คือประชากรก้อนหลักของประเทศ ลองคิดดูว่าวันหนึ่งคน ส่วนใหญ่เป็นคนที่ไม่รู้ว่าอะไรดีหรือไม่ดี แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับสังคม เราสามารถฝึกกล้ามเนื้อความสุขได้  สมมุติว่าเป็นนักกีฬา เราออกก�ำลังบ่อย กล้ามเนื้อเราก็จะแข็งแรง จิตใจก็เหมือนกัน เราฝึก กล้ามเนื้อความสุข ด้วยการฝึกคิดเรื่องดีๆ ที่มีในชีวิต อย่างเช่นวันนี้ ตื่นเช้ามาจิบกาแฟอร่อยจังเลย มีคนเปิดลิฟต์ให้ คนขับรถหยุดรถเพื่อ ให้เราเดินผ่านไปก่อน ได้ไปกราบพ่อแม่ กอดลูก ความรักของชีวิต ความสุขที่ประสบความส�ำเร็จ คือการรู้จักมองเห็นความสุขที่ไม่ได้ใช้ เงินซื้อ ทุกวันนี้สิ่งที่สอนคนที่มาเรียนเรื่องจิตใต้ส�ำนึกกับเรา ความลับ ก็คือ  คุณมีอะไรที่อยากได้ ต้องเริ่มจากขอบคุณสิ่งที่มีในตอนนี้ก่อน   แล้วก็ซาบซึ้ง  แล้วก็รู้ความลับในโลกว่า  ความสุขที่ไม่ได้ใช้เงินซื้อนั่น แหละคือความสุขที่เป็นหลักของชีวิต เป็นความสุขที่เราต้องขอบคุณ มัน เห็นมันในทุกมิติ ย�้ำจนใจเรามีพลัง พอใจเรามีพลังแล้ว  เราจะไป สร้างอะไรดีๆ ในชีวิตก็ได้”

71


ในสังคมที่เปลี่ยนไปด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร  จิตใจของ คนในหลายครั้งก็ไปอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ คอยสลักตัวตนผ่าน คีย์บอร์ดกันมากกว่าจะมีเวลาได้พูดจากันจริงๆ  จนกระทั่งสังคม ออนไลน์กลายเป็นพื้นที่ที่ผู้คนน�ำมาเป็นสมรภูมิทางการเมือง มีการ โต้แย้งในเรื่องต่างๆ มากมาย จนท�ำให้คนจ�ำนวนไม่น้อยใช้เวลาใน ชีวิตหมดไปกับสังคมสมมุติที่นับวันจะมีบทบาทมากขึ้นทุกที ฐิตินาถ มีมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ “ทุกคนสามารถเข้าไปเก่งในอินเตอร์เน็ตได้ ไม่สร้างผลลัพธ์ ในชีวิตแต่ไปสร้างในอินเตอร์เน็ตที่ไม่มีตัวตน เป็นคนส�ำคัญในนั้นกัน ไปหมด แต่ในชีวิตความเป็นจริงไม่ได้ดูแลลูก ไม่ได้ดูแลครอบครัว เมื่อไหร่ก็ตามที่เราจะต้องออกไปสู้เพื่อโลกหรือท�ำอะไรลงไป  ต้องดู ก่อนว่าเรามีปัญหาส่วนตัวที่ไม่ได้สะสางรึเปล่า  มีคนเยอะมากที่ออก ไปว่าคนโน้นคนนี้ผิด คนนี้ไม่ดี ต้องออกไปท�ำเพื่อแก้ไขโลกนี้ทั้งโลก แต่สิ่งที่ไม่ได้แก้ไขคือลูกไม่มีจะกิน ตัวเองมีปัญหากับเมีย คุยกับพ่อ แม่ไม่รู้เรื่อง ถ้าเราจะไปท�ำหน้าที่ของเราในโลก เราต้องสะสางเรื่อง ส่วนตัวที่บ้านเสียก่อน การเงินต้องดี ครอบครัวเราต้องรักกัน กอดกัน คุยกันทุกวัน ถูกบ้างผิดบ้างต้องให้อภัยกันได้”

72


ปั จ จุ บั น สิ่ ง ที่ ฐิ ติ น าถยั ง คงตั้ ง ใจท� ำ คื อ การท� ำ งานที่ ต นรั ก งานที่มีประโยชน์ต่อโลก  และการเผยแพร่ธรรมะที่เคยช่วยชีวิตเธอ ไว้มาแล้ว  เธอยังมีความสุขกับการท�ำหน้าที่ของตนที่เข็มทิศชีวิตชี้ ทางให้  ในการท�ำงาน ค�ำถามที่เธอต้องตอบแทบทุกวันคือ  เราจะ เปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างไร  เธอบอกว่าการที่เราจะเปลี่ยนชีวิตตัว เองได้ก็คือ อย่างแรกเราต้องเปลี่ยนโฟกัสจากสิ่งที่มีความทุกข์  จาก สิ่งที่เราท�ำไม่ได้มาเป็นสิ่งที่เราท�ำได้  เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราเอา ความสนใจของเราไปไว้ในสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้  เมื่อนั้นเราจะเจ็บ ปวดกับมันและยิ่งท้อถอย  อย่างที่สองคือเปลี่ยนความคิด  เพราะ มนุษย์มีความเชี่ยวชาญในการคิดเรื่องด้านลบ  คิดในสิ่งที่เราแก้ไข ไม่ได้ เราควรฝึกคิดเรื่องที่เรามีความสุข เพราะชีวิตมนุษย์จะมีด้าน ที่ให้พลังและด้านที่หมดพลัง  สมมุติว่าเราปล่อยตัวเองให้คิดด้านที่ หดหู่หมดพลัง เราก็จะคิดทางแก้ไม่ออก แต่ถ้าตอนนี้เราคิดถึงเรื่อง ดีๆ คิดถึงคนที่รักเรา คิดว่าเราจะทิ้งมรดกทางความคิดไว้ให้ลูกของ เราอย่างไร... ใจของเราก็จะมีพลังขึ้นมา

เราสามารถฝึกกล้ามเนื้อความสุขได้ สมมุติว่าเป็นนักกีฬา เราออกก�ำลังบ่อย  กล้ามเนื้อเราก็จะแข็งแรง  จิตใจก็เหมือนกัน

73


สุวรรณา โชคประจักษ์ชัด ครูชีวิตกับค�ำถามที่ถูกต้อง

ค�ำถามส�ำคัญอย่างไรกับ ชีวิต สุวรรณา โชคประจักษ์ชัด ครู ชีวิต (The Coach) ผู้ให้ค�ำปรึกษา และวิ ธี ฝ ึ ก ฝนตนเองในแนวทาง บ้ า นภายใน  ที่ มี ผ ลงานเขี ย นที่ เปี่ยมด้วยคุณค่ามากกว่า 10 เล่ม คื อ ผู ้ ที่ จ ะให้ ค� ำ ตอบเหล่ า นี้ ไ ด้ กระจ่างยิ่งกว่า

‘อิสระที่แท้จริงเกิดจากภายใน’  เป็นสิ่งที่สุวรรณาค้นพบหลัง จากได้เรียนรู้จักตนเองจากการท�ำความเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้ เธอให้ความสนใจกับเรื่องราวภายในตั้งแต่ครั้งยังเล็ก  เธอมีค�ำถาม ที่อาจดูเกินวัยเด็ก  9  ขวบ  ซึ่งอาจเหมือนหลายๆ  คนถ้ายังจ�ำค�ำถาม ตอนนั้นได้ “ค�ำถามตอนนั้นคือชีวิตคืออะไร  ท�ำไมเราเกิดในครอบครัวนี้ ใครเป็นคนก�ำหนดหรือเราเลือกเกิดเองได้  การมีค�ำถามท�ำให้เราตั้ง ข้อสังเกตชีวิตได้มากกว่าคนที่ไม่มีค�ำถาม  เพราะต้องการได้ค�ำตอบ นั่นเอง”

74


พออายุ   13  ขวบเธอพบว่ า วิ ช าที่ น ่ า เรี ย นที่ สุ ด   คื อ วิ ช า แนะแนว  เป็นวิชาที่ไม่สอนให้จ�ำไปสอบแต่สอนให้คิด  เนื่องจาก ตอนนั้ น เรี ย นอยู ่ ห ้ อ งเด็ ก เรี ย นที่ เ อาแต่ แ ข่ ง ขั น   จึ ง เกิ ด ค� ำ ถามว่ า “เราสามารถรั ก และท� ำ อะไรให้ ค นอื่ น โดยไม่ ห วั ง ผลตอบแทนได้ ไหม...” “ส�ำหรับช่วงเปลี่ยนที่ได้เรียนรู้มากที่สุดคือก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ที่ได้ไปทัศนศึกษาที่สวนโมกขพลาราม  ตอนที่สมัครก็คิดว่าได้ เที่ยว ได้นั่งรถไฟ แค่คิดก็มีความสุขแล้ว ปรากฏว่าเขาพาไปปฏิบัติ ธรรมที่สวนโมกข์  ท�ำให้ได้รู้จักท่านอาจารย์พุทธทาส  ต้องตื่นตั้งแต่ ตีสี่เตรียมไปฟังธรรมที่ลานหน้ากุฏิท่าน  ท่านจะเทศน์แต่ไก่โห่ เด็ก นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเตรียมสัปหงกกัน  แต่ส�ำหรับเรา   กลับอยากจะฟัง นั่งจดลงสมุดโน้ต จดทุกอย่างทั้งรู้เรื่องและไม่รู้เป็น เล่มๆ เลย มีโดนๆ เช่น ‘ความทุกข์นี่เป็นเหมือนเพชรในหัวคางคก’ ชอบมากเลย” “การได้ไปสวนโมกข์ครั้งนั้นท�ำให้รู้สึกว่าชีวิตเรานั้นช่างมีค่า มีความหมาย ที่นั่นช่วยตอบค�ำถามชีวิตได้หลายอย่าง” “หลังจากเข้าจุฬาฯ ก็สมัครไปค่ายศิลปะพัฒนาชีวิตเองเลย คราวนี้เดินทางคนเดียว  ยังเด็กๆ  หน้าใสๆ  คนอื่นๆเขามีอายุหมด ผู้ใหญ่หลายคนบอก ท�ำไมหนูโชคดีจัง ได้มาปฏิบัติธรรมตั้งแต่เด็ก เราก็ยิ่งตั้งใจใหญ่ ที่นั่นต้องไม่พูด ซึ่งชอบมากมีความสุข แม้บาง โปรแกรมจะดูเหมือนน่าเบื่อไม่มีอะไร  เช่นก่อนสวดมนต์ทุกวันพระ อาจารย์โพธิ์มาอธิบายให้ฟังว่าธรรมะในบทสวดมนต์ตอนนี้คืออะไร   เราก็ฟังไปอย่างเพลินๆ  โดยที่ไม่รู้ว่าความเพลิดเพลินตรงนั้นมัน

75


เข้าไปกะเทาะ  ค่อยๆ  เข้าไปซึมซาบในใจเรา  จ�ำได้ว่าหลังจากฟัง ก็ สวดมนต์  แล้วก็เกิดปีติเป็นความสุขใจอย่างบอกไม่ถูก รู้สึกถึงความ รักของพระพุทธเจ้าที่ส่งทอดมา  2,500  ปีแล้ว  ความรู้ที่งดงามของ ท่าน  ปัญญาของท่านสามารถท�ำให้เราเข้าใจชีวิตในระดับหนึ่งที่เรา รู้สึกว่ามันเป็นค�ำตอบ  ขณะสวดมนต์นี่น�้ำตาหลั่งไหล  ร้องไห้  แต่ เป็นการร้องไห้ที่มีความสุข  รู้สึกซาบซึ้ง  และหลังจากที่ไปสวนโมกข์ เราก็รู้สึกว่าเราไม่ใช่แค่ต้องการเรียนหนังสืออย่างเดียว  เราอยากให้ ชีวิตของเรามีคุณค่า  มีความหมาย  เหมือนดังที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า ‘ชีวิตที่ดีที่สุดคือสงบเย็นและเป็นประโยชน์’ ” ในช่วงที่อยู่จุฬาฯ  สุวรรณาได้ท�ำกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพราะชอบเรียนรู้ และต้องการท�ำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม “เข้าปีหนึ่งก็สมัครลงเลือกตั้งเป็นหัวหน้าชั้นปีของคณะ การ ไปสวนโมกข์ท�ำให้เรารู้สึกต้องการปลดปล่อยศักยภาพภายในตัว เรา  ไปวัดกลับมาไม่ได้ท�ำให้เราแปลกแยกจากคนอื่นและใฝ่หาแต่ ความสงบ ตรงข้ามกลับรู้สึกอยากท�ำตัวให้เป็นประโยชน์มากขึ้น การ ท�ำกิจกรรมนอกจากท�ำให้ได้รู้จักตัวเองยังท�ำให้เรียนรู้จักเพื่อนๆ  นัก กิจกรรมที่มีอุดมคติที่น่านับถือในความเสียสละและอุทิศตน  แต่ก็มัก พบว่าหลายคนที่พยายามท�ำอะไรให้กับสังคมประเทศ  กลับลืมท�ำ อะไรเพื่อตัวเองและคนในครอบครัว  หรือพวกที่ต่อต้านความรุนแรง และเรียกร้องสันติภาพ  กลับเต็มไปด้วยความรู้สึกที่ร้อนรน หรือต้อง ประณามคนหนึ่งแล้วเชิดชูคนหนึ่ง  บ้างก็ขาดสมดุลชีวิต  บางคน ท�ำงานเพื่อสังคม  แต่ยังสูบบุหรี่ท�ำร้ายตัวเอง  ท�ำให้พ่อแม่ผิดหวัง เพราะเรียนไม่จบสักที มัวแต่ท�ำงานเพื่อสังคม”

76


“เราอยากบอกเขาว่าการปฏิบัติธรรมไม่ได้ท�ำให้เราละเลย สังคม  แต่มันท�ำให้เราท�ำงานเพื่อสังคมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น  ก็ ชวนเพื่อนนักกิจกรรมมาปฏิบัติธรรมที่สวนโมกข์” ที่คิดว่าการจัดคอร์สจ�ำเป็น  เพราะเราได้ประโยชน์จากมัน ก่อน ธรรมะท�ำให้เรารู้จักตัวเอง ได้เข้าใจผู้อื่น ถ้าทุกคนมีสิ่งเหล่านี้ เป็นพื้นฐานมันก็ท�ำอะไรก็ได้ และธรรมะที่เรียนมาไม่ได้แยกชีวิตเรา ว่านี่คือชีวิตปฏิบัติธรรม นี่คือชีวิตประจ�ำวัน เราเรียนรู้ที่ว่าเราจะเอา สิ่งเหล่านี้มาอยู่ในชีวิตประจ�ำวันได้ยังไง” ชีวิตของสุวรรณาค่อยๆ เปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ค�ำถาม ที่เธอตั้งกับตัวเองทุกวัน  เป็นเหมือนเข็มทิศน�ำทางให้ชีวิตเธอมุ่งไปสู่ ความสุขและความส�ำเร็จในรูปแบบที่เธอพอใจ  และน�ำวิธีการของตน มาเป็นแนวทางต้นแบบหรือครูชีวิต  ให้คนอื่นได้ลองเปลี่ยนแปลงตัว เอง เพื่อเปลี่ยนชีวิต “กลุ่มคนที่สนใจที่สุดคือผู้น�ำ  ซึ่งไม่จ�ำเป็นว่าต้องเป็นองค์กร เท่านั้น  แต่หมายถึงครู  พ่อแม่  คนที่ต้องการพัฒนาภาวะผู้น�ำของ ตนเองขึ้นมา โดยใช้เครื่องมือสามอย่าง อันดับแรกคือการตั้งค�ำถาม ที่ถูกต้อง  เพราะประจักษ์ชัดกับตัวเองแล้วว่าการมีค�ำถามที่ถูกต้อง ท�ำให้เราเติบโตและพัฒนาขึ้นมาได้อย่างมาก  เราตื่นมาพร้อมกับ ค�ำถามแล้วชีวิตเราก็ด�ำเนินตามค�ำถามที่เราตั้งไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เราไม่ ตระหนักรู้ หน้าที่ของครูชีวิตคือท�ำให้ศิษย์เห็นค�ำถามที่ซ่อนอยู่ และ เปลี่ยนค�ำถามให้มันถูกต้อง” “สองก็คือจินตภาพที่สร้างสรรค์  จริงๆ  แล้วเราทุกคนมีภาพ ของตัวเองที่ได้รับอิทธิพลจากการเลี้ยงดูของครอบครัว  จากโรงเรียน

77


และสังคมแวดล้อม  บางคนสงสัยว่าท�ำไมเราไม่สามารถเปลี่ยนตัว เองได้ เพราะเรามีภาพเหล่านั้นฝังอยู่ เราไม่รู้ว่าจริงๆ เราสามารถ สร้างภาพใหม่ให้กับตัวเองได้” “เครื่องมือที่สามคือกิจวัตรที่งดงาม  คนเราจะเปลี่ยนได้  เรา จะต้องมีวินัยที่ลงมือท�ำมันจนเป็นกิจวัตร ท�ำน้อยๆ แต่ว่าไม่เลิก แล้ว มันจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่ลึกที่สุดคือการเปลี่ยนจนสามารถ ตอบสนองอย่างเป็นอัตโนมัติ  เหมือนตื่นขึ้นมาเราก็อยากแปรงฟัน เพราะรู้สึกว่าท�ำแบบนี้แล้วมันสดชื่น  หลักของการสร้างกิจวัตรที่ งดงามคือเริ่มท�ำแต่น้อยๆ อย่างมีความสุข แต่ท�ำนานๆ ท�ำไปตลอด ชีวิต แล้วการเปลี่ยนแปลงนั้นจะถาวรได้ เช่น เราอยากมีร่างกายที่ แข็งแรง  เราก็ตั้งค�ำถามกับตัวเองว่า อะไรที่ท�ำให้เราแข็งแรง เราพบ ว่าการเล่นโยคะเป็นสิ่งที่ดีที่ท�ำให้ทั้งร่างกายและจิตใจแข็งแรง เราก็

78


สร้างจินตภาพว่าเราได้ท�ำโยคะอย่างมีความสุขทุกวัน สร้างภาพเช่น นี้ก่อนนอนทุกวัน และก�ำหนดให้การท�ำโยคะเป็นกิจวัตรที่งดงาม โดย เริ่มท�ำวันละแค่ห้านาทีในตอนเช้าอย่างมีความสุขทุกวัน แค่วันละท่า เท่านั้น เราจะพบว่าโยคะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจ�ำวันของเรา ได้ในวันหนึ่งอย่างแน่นอน” “เราจะให้ เ ขาสั ง เกตชี วิ ต ตั ว เองในแต่ ล ะวั น   ว่ า วั น นี้ เ รามี ค�ำถามอะไรในชีวิต  ครูชีวิตจะสอนให้เราเป็นครูของตัวเราเอง  แล้ว เราเรียนรู้จากการสังเกต สังเกตว่าค�ำถามแบบนี้นี่เองที่เป็นตัวปัญหา ในชีวิตของเรา แล้วเราจะเปลี่ยนค�ำถามอย่างนั้นได้อย่างไร เขาก็จะ เริ่มลองเปลี่ยน เราสามารถก� ำ หนดชี วิ ต ตั ว เองได้   โดยถามตั ว เองว่ า เรา ต้องการอะไรในชีวิตแล้วกลับมาทบทวน บางครั้งแค่รู้ว่าเราต้องการ อะไรแค่สองสามอย่างก็เป็นความสุขแล้วนะ   แต่การที่เราไม่ได้ตั้ง ค�ำถามกับตัวเอง ไม่กลับมาดู หรือไม่เข้ามาเห็นปมความทุกข์ของเรา อย่างแท้จริง เราก็ไม่สามารถพัฒนาตัวเราได้” โปรแกรมครูชีวิตนี้จะมีการคลี่คลายปมปัญหาชีวิตด้วยการ สังเกตตัวเอง สังเกตอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และอารมณ์นั้นมีผล ต่อร่างกายและจิตใจของเราอย่างไร “คนปกติ ทั่ ว ไป  ถ้ า เรามี อ ารมณ์ ห นึ่ ง ที่ เ ราไม่ ช อบ  เราจะ เปลี่ยนกิจกรรมทันที ก็เลยไม่สามารถที่จะปลดปล่อย สิ่งนั้นจึงเป็น ปมที่เราแอบซ่อนไว้ โปรแกรมนี้จะเข้ามาท�ำให้เราสังเกตได้ละเอียด ขึ้นว่าอารมณ์เหล่านี้มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปยังไง แล้วเราจะปลด ปล่อยมันได้ยังไง เราจะเข้าใจมันได้ยังไง มันมีที่มายังไง มันต้องการ อาหารแบบไหน”

79


“แต่ ค นเรามี ขั้ น ตอนการเติ บ โต  ค� ำ ถามเดิ ม เมื่ อ เรี ย นรู ้ แล้วก้าวผ่านไป  ก็จะเจอเรื่องใหม่ มีค�ำถามใหม่ๆ ของชีวิต จะ เปลี่ยนแปลงได้ถาวรหรือเปล่า มันขึ้นอยู่กับว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องอะไร ถ้าเรื่องหนึ่งผ่านไปได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าชีวิตเราจะไม่มีปัญหาอีก ต่อไป “มีลูกศิษย์คนหนึ่งเป็นมะเร็ง  ค�ำถามชีวิตเขาก้าวหน้าขึ้น จากเดิมที่ถามว่า ‘ท�ำไมฉันต้องเป็นมะเร็ง?’  เปลี่ยนเป็น ‘ท�ำไมฉันจะ เป็นมะเร็งไม่ได้ล่ะ?’ พอค�ำถามเปลี่ยนไป เขาก็เข้มแข็งขึ้นเลย เขา รับมือได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าชีวิตเขาจะไม่มีปัญหา เพราะสุขภาพ ของมนุษย์มันขึ้นลง เดี๋ยวนี้พอเจอปัญหาสุขภาพ ค�ำถามกลายเป็น ว่า ‘ฉันจะช่วยเหลือคนอื่นเพิ่มขึ้นได้อย่างไร?’ ตอนนี้เธอกลายเป็นครู แล้ว “ค�ำถามเขายังมี  แต่เราเห็นเลยว่าเป็นค�ำถามที่เติบโตขึ้น เขาทุกข์น้อยลง มีความสุขมากขึ้น มีความสุขจนคนร�ำคาญว่าท�ำไม ความสุขของเธอมันง่ายจังเลย ลูกศิษย์ดิฉันบอกว่าแค่รดน�้ำต้นไม้ก็มี ความสุข แค่เห็นดอกไม้ก็มีความสุข แค่สายลมพัดผ่านกายก็เป็นสุข “จริงๆ นะ  ความสุขของมนุษย์เป็นแบบนั้น  ในวันที่คุณเดิน ไม่ได้ คุณพบว่าสองขาช่างมีความหมาย แล้วพอวันหนึ่งที่อยู่ดีๆ คุณ ก็กลับมาเดินได้ น�้ำตาจะไหลพรากเลย ขาของเราช่างมีคุณค่ามาก เหลือเกิน” สุวรรณามองว่าการเข้าใจตัวเองเป็นพื้นฐานส�ำคัญของการ พัฒนาตัวเอง  เมื่อเราเข้าใจตัวเอง  เราจะเข้าใจความต้องการของผู้ อื่นและเมื่อเข้าใจผู้อื่น ทั้งเราและเขาจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข มากขึ้น

80


“มนุษย์มีพื้นฐานในทุกเรื่องเหมือนกันโดยเฉพาะความทุกข์ ความต้องการสูงสุด  ต้องการที่จะมีคุณค่า  ต้องการมีความหมาย ต้องการการยอมรับ  เรื่องพวกนี้เชื่อมโยงตลอดช่วงชีวิตของพวกเรา ยิ่งเราเรียนรู้มันได้เร็วที่สุดก็ยิ่งดี “คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักว่าตัวเองคือใคร  เรานึกว่าเรารู้จัก ตัวเรา แต่จริงๆ แล้วเราไม่ได้รู้จักตัวเรา นั่นคือปัญหา อายุเป็นแค่ เพียงตัวเลข แต่การเรียนรู้ของเรามันหยุดโดยไม่รู้ตัว ท�ำให้เราไม่รู้ว่า เราคือใคร บางคนหยุดตัวเองไว้ที่ยี่สิบแปด  ที่สามสิบห้า หรือเด็กกว่า นี้อีก แล้วก็ไม่ได้เติบโตไปจากนั้นเลย ไม่รู้ว่าจะเติบโตไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าความหมายและคุณค่าของชีวิตอยู่ที่ไหน”

เราสามารถก�ำหนดชีวิตตัวเอง ได้ โ ดยถามตั ว เองว่ า เราต้ อ งการ อะไรในชี วิ ต   บางครั้ ง แค่ รู ้ ว ่ า เรา ต้ อ งการอะไรแค่ ส องสามอย่ า งก็ เป็นความสุขแล้ว

81


โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์

“ผมว่ า คนเราเห็ น ทุ ก ข์ ก็ จะเห็นธรรมนะ พอมันมีความทุกข์ เราก็จะเริ่มกลับไปมองธรรมชาติ จะเห็นธรรมะ จะเห็นความจริง นี่ คือจุดเปลี่ยนส�ำคัญของชีวิต”

ชีวิตคนเราย่อมมีเส้นทางชีวิตที่ผิดพลาดมาในอดีตไม่มากก็ น้อย อยู่ที่วันนี้เราจะสามารถเปลี่ยนความผิดพลาดในอดีตนั้นให้เป็น บทเรียนหรือพลังได้ไหม ส�ำหรับผู้ใหญ่โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ ผู้ใหญ่บ้านหนองกลางดง อ�ำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี อดีตที่ไม่สวยงามนัก  แต่อดีตนั้นกลับเป็นบทเรียนส�ำคัญ  ให้วันนี้ เขาสามารถมีพลังเพื่อช่วยเหลือชุมชนและพัฒนาบ้านเกิดของเขาให้ เข้มแข็งได้  สร้างฐานของระบอบประชาธิปไตยทางตรงที่ไม่จ�ำเป็น ต้องไปเปลี่ยนประเทศหรือโลกทั้งใบ แต่เริ่มต้นจากการเปลี่ยนตัวเอง และชุมชน  และก็น�ำมาซึ่งสังคมที่สงบและร่มเย็น

82


จากบ้านเกิดไป และกลับมาเกิดใหม่ที่เดิม “ผมเป็นครอบครัวแรกที่มาอยู่ที่หมู่บ้านนี้ตั้งแต่ปี 2499 อายุ สิบเจ็ดปีก็ออกจากบ้านไปนาน ออกไปใช้ชีวิตข้างนอก ไปเผชิญโชค ไปท�ำเรื่องทั้งดีทั้งไม่ดีมาหลายเรื่องจนชีวิตวิกฤต  แล้วก็กลับมาอยู่ บ้านอีกครั้งก็อายุเกือบสี่สิบ ตอนนั้นผมคิดขึ้นได้ว่าผมเหลือเวลาไม่เยอะแล้ว  ผมเป็น ผู้ใหญ่บ้านตอนอายุสี่สิบปี ผมมองย้อนหลังชีวิตตัวเองไป ก็ท�ำผิดท�ำ เสียหายมาเยอะ เคยฆ่าคนเคยยิงคน เคยท�ำอะไรที่เบียดเบียนสังคม มาเยอะ เราก็มาคิดว่า เราเหลือเวลายี่สิบปีจากสี่สิบถึงหกสิบ ผมคิด ว่าจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ใช้หนี้แผ่นดิน  ใช้หนี้ในสิ่งที่เราท�ำผิดต่อสังคม เราก�ำหนดวันเริ่มต้นใหม่ได้ทุกวัน ผมเกิดใหม่ตอนอายุสี่สิบปี เกิดใน จิตใจที่บริสุทธิ์ และทุ่มเท” จุดเปลี่ยนสู่การเกิดใหม่ “ผมเคยมีเพื่อนที่ยิงคนมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ท่านก็บวชไม่สึก ในช่วงที่ผมล้มละลายทางเศรษฐกิจ ผมมีที่ดินสองสามร้อยไร่ผมขาย ใช้หนี้หมดเลย แล้วก็ไปหาความสงบที่วัด ก็เห็นคนตายทุกวัน หลวง พ่อท่านเห็นผมเครียดๆ ก็เลยแนะน�ำว่าให้ไปนอนที่โรงเผาศพ ผมก็ ลองดู  คิดว่าผีมันจะมีจริงหรือเปล่า  ก็ขับรถเข้าไปนอนที่โรงทึม  แล้ว เราก็เห็นคนตาย นึกเห็นเวลาคนมางานศพ บางศพเขาก็จะพูดถึงคุณงามความดี บางศพก็มีคนเขาบอกว่าตายซะได้ก็ดี จะได้หมดเวรหมด กรรม เราก็คิดว่าสักวันเราก็ต้องเป็นเหมือนเขา สิ่งที่เหลืออยู่คือคน ที่อยู่ข้างหลังจะพูดถึงเราว่าอะไรเท่านั้นเอง มันก็เลยท�ำให้เราคิดได้ และคิดว่าจะต้องท�ำความดีเมื่อมีโอกาส หลังจากนั้นเมื่อเรามีโอกาส

83


เราก็ท�ำเรื่อยมา ผมว่าคนเราเห็นทุกข์ก็จะเห็นธรรมนะ จะเห็นความ จริง นี่คือจุดเปลี่ยนส�ำคัญของชีวิต” งานเพื่อสังคม เส้นทางในการท�ำดี “ปี  2538  หลังจากกลับมาอยู่บ้านไม่กี่เดือนเขาก็เปิดรับ สมัคร  อบต.  เราก็คิดว่าเป็นเรื่องใหม่ที่เราน่าจะมีส่วนร่วม คนบ้านนี้ เขาไม่รู้จักกันหรอกตอนนั้นว่า อบต.  เป็นอย่างไร  ผมก็เลยไปสมัคร อบต. ที่อ�ำเภอ เป็น อบต. สมัยแรก เป็นอยู่สองปี แล้วผู้ใหญ่บ้านคน เก่าเขาลาออก  เราก็เห็นสภาพปัญหาของหมู่บ้านเราเยอะ  ก็เลยไป สมัครผู้ใหญ่บ้าน เราก็ได้รับความไว้วางใจให้มาเป็นผู้ใหญ่บ้าน ตอน นั้นไม่มีคู่แข่งเลย การที่เรามาทบทวนชีวิตตัวเองว่าตั้งแต่เด็กมาเราก็ รังแกสังคมไว้เยอะ พอชาวบ้านให้ความไว้วางใจเรา เราก็มีส�ำนึกว่า เราก่อร่างสร้างตัวที่นี่มาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ เมื่อมีโอกาสแล้ว เราก็ควร จะเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะท�ำให้ปัญหาในหมู่บ้านเราลดลง การเป็นผู้ใหญ่บ้านมันท�ำให้เราเห็นปัญหาว่าหมู่บ้านเรามัน ไม่น่าอยู่ในหลายเรื่อง เรื่องความอ่อนแอ แบ่งเป็นก๊กเหล่า ปัญหา ความรุนแรง ความขัดแย้ง ปัญหายาเสพติด ปัญหาลักเล็กขโมยน้อย ในหมู่บ้าน เป็นผู้ใหญ่บ้านรับแจ้งของหายทุกวัน  สับปะรดในไร่บ้าง  มะม่วงบนต้นบ้าง คนต้องมาเฝ้าไร่เฝ้าสวนกันเอง เราก็พบว่าปัญหา ทุกอย่างเราแก้คนเดียวไม่ได้  ปัญหามันเกิดจากคนในหมู่บ้านลัก ขโมยกันเอง มีพ่อค้ายาในหมู่บ้าน เด็กก็ติดยา ก็เลยคิดว่าเราจะต้อง ชักชวนคนในหมู่บ้านเรารวมพลังเพื่อผลักดันให้เรื่องไม่ดีเหล่านี้ออก ไป

84


ก็เริ่มมิติใหม่ด้วยการประชุมกันทุกเดือน  ผมก็บอกว่าผม เป็นผู้ใหญ่บ้าน  ผมเป็นผู้น�ำ  ผมพร้อมท�ำงานยี่สิบสี่ชั่วโมง  ถ้ามันจะ ท�ำให้หมู่บ้านเราดีขึ้น แต่ถ้าจะขอความร่วมมือกับพวกเรา ขอเวลา เพียงเดือนละครั้ง  ท�ำได้ไหมกับการมานั่งประชุมกัน  ชาวบ้านเขาก็ บอกว่าก็ดีเหมือนกันนะผู้ใหญ่  บ้านเรามันไม่เคยมีโอกาสมาเจอกัน ถามสารทุกข์สุกดิบกันบ้างก็ดี ก็เลยตกลงกันว่าให้ประชุมกันอาทิตย์ แรกของเดือน ก็ต่อเนื่องมาตลอด การที่เราประชุมกันวันอาทิตย์ก็เป็น วันหยุดพอดี ก็มีโอกาสได้พูดคุยกันครบทุกคน จุ ด แข็ ง ของหมู ่ บ ้ า นเราคื อ เราประชุ ม กั น ทุ ก เดื อ นตั้ ง แต่ ป ี 2539 ประชุมกันทุกเดือนไม่เคยขาดแม้แต่เดือนเดียว   เนื้อหาในการ ประชุมแต่ละเดือน  เราจะเน้นการคุยความจริงกันในหมู่บ้านเรา เรื่อง จริงๆ ในหมู่บ้านเรา ปัญหาที่มีอยู่ ก็เกิดข้อตกลงขึ้นมาในการผลัก ดันเรื่องปัญหายาเสพติด  ปัญหาอิทธิพลต่างๆ  ออกไป  โดยการวาง บ้านอยู่ติดกันให้สังเกตบ้านซ้ายขวา  เราเชื่อว่าบ้านซ้ายบ้านขวารู้ พฤติกรรมกันดีที่สุด ให้ตรวจสอบสองเรื่อง คือลูกใครติดยาภายใน บ้าน หรือบ้านไหนซื้อขายยาเสพติด เรื่องที่สามบ่อนการพนันว่ามันมี อยู่ตรงไหนบ้าง”

85


ใช้ความจริงเข้าถึงปัญหา “ผมเป็นผู้ใหญ่บ้านผมก็พอรู้ว่าเรื่องเหล่านี้มันมีอยู่ วัดใจคน บ้านติดกันว่าเขาจะบอกไหม ในเมื่อเราไปท้าทายอย่างนี้ ชาวบ้าน เขาก็ท้าทายเหมือนกัน เขาก็คิดว่าเราอยากรู้ใช่ไหม เดี๋ยวเขาจะมา บอก แล้วดูซิว่าเราจะมีน�้ำหน้าจัดการกับพวกเหล่านี้ไหม  นั่นคือจุด เริ่มต้นของการมีส่วนร่วม  เราก็จะได้ข้อมูลมาว่าใครติดยาหรือเป็น อย่างไร คนขายเป็นใคร บ่อนมีกี่ที่ พอเรามีข้อมูลที่ชาวบ้านมาบอก เราเป็นผู้น�ำก็อยู่เฉยไม่ได้แล้ว เรื่องพวกนี้มีต่อไปไม่ได้ ขั้นแรกผมก็เอาข้อมูลมาสร้างข้อตกลงว่า  เด็กติดยาที่มีอยู่ ผมมีวิธีการ โดยการจัดตั้งกลุ่มเยาวชนแล้วชวนเขามาร่วม ผมเองก็ จะไปคุยกับพ่อแม่ของเด็กที่ติดยาเพื่อหาทางลดละเลิกในโอกาสต่อ ไป ตอนนั้นตัวการปัญหาใหญ่ภายในหมู่บ้านคือบ่อนการพนัน กับพ่อค้ายาบ้าสองราย เราก็ขอมติในที่ประชุมว่าถ้าชาวบ้านอยากให้ หมู่บ้านเราดีขึ้น บ่อนการพนันกับการค้ายาของพ่อค้ายาสองรายต้อง หมดไป ผมถามว่าใครเห็นด้วยให้ยกมือ ทุกคนยกมือ บ้านที่เปิดบ่อน ก็เข้าประชุมอยู่ด้วย เห็นเขายกมือก็ยกบ้าง ผมก็บอกว่าถ้าทุกคนเห็น ด้วยนี่คือข้อตกลงกันนะ  แล้วบ้านที่เคยเอาข้อมูลมาบอกผมจากนี้ เป็นต้นไป ข้างบ้านท่านเคยค้ายา หรือเปิดบ่อน ท่านต้องดูแลว่ายัง ค้ายาหรือเปิดบ่อนอยู่ไหม  หลังจากมีข้อตกลงแล้ว  บ้านใครที่ยังไม่ เลิกพฤติกรรมเหล่านี้ จะต้องถูกต�ำรวจจับแน่นอน เราบอกว่า  ถ้าใครโดนจับไม่ต้องสืบเลยว่าใครบอกต�ำรวจ ไปจับ เพราะผมจะเป็นคนพาต�ำรวจไปจับเอง แล้วถ้าผมพาไปจับก็

86


อย่ามาโกรธกันนะ โกรธกันไม่ได้เพราะนี่คือข้อตกลง ทุกคนยอมรับ ในข้อตกลงแล้ว  เมื่อมีมติร่วมแล้ว  เราเป็นผู้น�ำก็เอามติร่วมนั้นไปสู่ การท�ำงานจริงๆ  เราจะชี้ให้ชาวบ้านเห็นว่า  ถ้าแก้ปัญหาแล้วมันจะมี สิ่งดีๆ อะไรเกิดขึ้น และถ้ายังไม่แก้จะเป็นอย่างไร ทุกคนจะรับรู้ถึงผล กระทบทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถปราบปรามได้หมด  เพราะหลังจากหยุด ไปนานบ่อนการพนันก็เปิดอยู่  ผมก็พาต�ำรวจไปจับ  ผมเข้าไปจับ นี่ต�ำรวจชอบใจเพราะชาวบ้านไม่วิ่งหนี  เราก็เข้าไปจับแบบไม่ให้ ต�ำรวจปรากฏตัว ผมเดินเข้าไปคนเดียว พวกเล่นการพนันเป็นวงๆ เห็นผู้ใหญ่บ้านเดินไปคนเดียวก็ไม่มีใครวิ่งหนี  เขาก็ยกมือขอโทษ ผู้ใหญ่ครับ ผมเล่นกันแก้เครียด พี่ๆ  น้องๆ เราก็บอกว่าไม่เป็นไร พวก เอ็งนั่งเฉยๆ ไม่ต้องลุกขึ้น เราก็กวักมือเรียกต�ำรวจก็จับได้ทั้งวง” ความเข้มแข็งที่แท้จริงเกิดจากตัวคนและชุมชน “เหล่านี้ท่ีเล่าให้ฟังมันมีคุณค่าตรงที่  เมื่อก่อนชาวบ้านจะ มองปัญหาเป็นเรื่องของทางการไปหมด จริงๆ ชาวบ้านเขาก็ไม่ชอบ หรอก บ้านค้ายา บ้านเปิดบ่อน แต่เขาก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องของเขา ถ้า บอกผู้น�ำแล้วผู้น�ำก็บอกว่าไม่ใช่เรื่องของเรา  ถามเป็นเรื่องของใครก็ เป็นเรื่องของทางราชการ ผมเข้าจับบ่อนสามสี่ครั้ง จนตอนนี้หมู่บ้าน ผมไม่มีบ่อนการพนันเลย เรื่ อ งแนวคิ ด ต่ า งๆ  เหล่ า นี้   บอกตรงๆ  มั น เกิ ด จากตอนที่ ผมเข้าป่าในยุคพลังนักศึกษา  แล้วผมก็ได้ไปเรียนรู้การเมืองภาค ประชาชน เรียนรู้ระบอบสังคมนิยมมาก่อน เราเชื่อว่าพลังประชาชน มันเป็นทางออกในการแก้ปัญหาได้  เราเชื่อว่าถ้าคนคุยกันในระดับ

87


หมู่บ้าน เอาความจริงมาคุยกัน  ปัญหาทุกเรื่องแก้ได้ ปัญหาที่เกิด จากในหมู่บ้าน  ถ้าเราเอาความจริงมาคุยกัน  ผู้น�ำเป็นแกนน�ำน�ำ ความจริงมาคุยกันให้เกิดประเด็นร่วม  ถา้ ความเห็นมันร่วมกันได้แล้ว   ความร่วมมือมันจะเกิดขึ้นได้เอง จริงๆ  ผมไม่เชื่อว่าอ�ำนาจรัฐจะจัดการปัญหาได้ทุกอย่าง มันจึงเป็นสาเหตุในการที่เราจะรวมพลังกันแก้ปัญหากันเองภายใน ชุมชน  ก็พบว่าสิบกว่าปีเราแก้ปัญหาได้มากมายกว่าที่คิด  เพราะ เราสร้างกติการ่วมกันมา  และกติการ่วมสามารถน�ำเราไปสู่การแก้ ปั ญ หาชุ ม ชนได้   พวกนี้ คื อ ประชาธิ ป ไตยทางตรงที่ เ ราไม่ ต ้ อ งแก้ กฎหมายอะไร มันคือการที่เราทุกคนมีความเห็นร่วมกัน มีข้อตกลงกัน มันศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีใครบังคับ เพราะชาวบ้านเขามีส่วนร่วม” ประชาธิปไตยทางตรงที่เข้าถึงได้ “เราเป็นนักประชาธิปไตย  เราก็พยายามหาวิธีการที่ดีที่สุด ในการให้ ค นในชุ ม ชนเป็ น ส่ ว นร่ ว ม  เพราะเราไม่ เ ชื่ อ ว่ า ผู ้ น� ำ ของ ทางการจะเก่งและเข้าใจไปกว่าคนในชุมชนที่อยู่กับปัญหาจริงๆ วิธี การของผมนี่เหมือนป่าล้อมเมือง  คือเราอาจจะไม่สามารถไปเปลี่ยน ความคิดของคนในสภาของชาติได้  แต่ถ้าเราสามารถท�ำหมู่บ้าน โมเดลเล็กๆ แล้วท�ำกันเยอะๆ กระจายออกไป นี่จะเป็นการเรียนรู้ ระบอบประชาธิปไตยทางตรง ที่สุดแล้วเขาจะสามารถเลือกผู้น�ำดีๆ ให้กับชุมชนและประเทศได้ มันคงเป็นระยะทางยาวไกล แต่เป็นจุด เริ่มต้นที่ดีของชุมชน” มีสติรู้ในการท�ำงาน สร้างพลังใจให้เข้มแข็ง

88


เราต้ อ งทบทวนว่ า ค� ำ นิ น ทา ว่ า ร้ า ยนั้ น จริ ง ไหม  ถ้ า จริ ง เราก็ ปรั บ ปรุ ง ตั ว เอง  แล้ ว เราก็ ต ้ อ ง ยอมรั บ   แต่ ถ ้ า เรื่ อ งไหนเป็ น การ นินทาว่าร้ายที่มันไม่จริง แผ่เมตตา ให้เขาไป ถือว่าเขาไม่รู้ เพราะไม่มี ใครจะรู้ใจเราเองเท่าตัวเราเอง

89


จิระนันท์ พิตรปรีชา “เป็นก้อนหินกลางกระแสน�้ำ”

หลายคนรู ้ จั ก ผู ้ ห ญิ ง คนนี้   จากเรื่ อ งราวและการต่ อ สู ้ เ พื่ อ อุ ด มการณ์ ท างการเมื อ งในอดี ต   ความเป็ น ผู ้ ห ญิ ง ไม่ ไ ด้ บั่ น ทอน ความมุ่งมั่นหรือเป็นอุปสรรคกับความเชื่อในชีวิตของเธอแม้แต่น้อย ปัจจุบันจิระนันท์  พิตรปรีชา  ก็ยังคงใช้ความมุ่งมั่นที่มีในใจนั้นท�ำ ประโยชน์ให้สังคมอยู่   โดยน�ำบทเรียนต่างๆ  จากเรื่องราวในอดีต  มา ปรับใช้ให้เหมาะกับปัจจุบัน

90


คนนี้

ถ้าถามถึงค�ำว่าอุดมการณ์  จะมีใครขยายความได้ดีกว่าเธอ

“ค�ำว่าอุดมการณ์มักจะถูกจ�ำกัดแค่เรื่องของการเมือง  เช่น  จะต้องเป็นประชาธิปไตยหรือเป็นเผด็จการหรือสังคมนิยม  แต่จริงๆ อุดมการณ์นี่มันแยกย่อยออกเป็นเรื่องของสังคม  เรื่องของวิธีคิดเรื่อง ของวิถีชีวิตยังได้เลย ไม่ว่าเราจะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม ก็คือหลักใน การด�ำเนินชีวิตและการด�ำรงอยู่ของสังคม ณ ปัจจุบันนั่นเอง “เพราะฉะนั้ น ในเมื่ อ ตี ค วามอย่ า งนี้   เราก็ ส ามารถมี อุดมการณ์ได้โดยเราไม่ต้องไปเล่นการเมือง  ไปสมัคร  ส.ส.  หรือ ก� ำ หนดนโยบายอะไร  อย่ า งในระดั บ ปั จ เจกบุ ค คลนี่ น ะ  ถ้ า เรามี อุดมการณ์  หรือจะเรียกว่าอุดมคติก็ได้ ย่อยๆ  มาหน่อย เช่น เราจะ ไม่เอาเปรียบใคร แค่นี้ก็เป็นหลักการในการด�ำรงชีวิตแล้ว  โดยเฉพาะ คนที่ไม่สามารถจะออกมาต่อสู้ฟาดฟันอะไรได้  เพราะว่าต้องท�ำธุรกิจ ต้องใช้ชีวิตในออฟฟิศนี่นะ  เราแค่มีหลักการว่าเราจะไม่เอาเปรียบ คดโกงนี่มันก็ใช่แล้วไง พอคิดอย่างนี้ปุ๊บ ทุกคนสามารถเป็นคนดีได้ โดยไม่ต้องรอให้สังคมดีแบบค�ำขวัญท้ายรถบรรทุก” และถ้าจะถามว่า ในอดีตใครคือแรงบันดาลใจส�ำคัญในการ ด�ำเนินชีวิต คุณจิระนันท์บอกว่ามีหลายคน “สมัยวัยรุ่น  ส่วนใหญ่จะอ่านหนังสือและได้แรงบันดาลใจจากบุคคลหรือว่านิยายที่อ่าน   เช่น  นิยายของศรีบูรพาก็พูดถึง อุดมการณ์ของคนหนุ่มสาว  ส่วนที่เป็นตัวบุคคลนี่จะมีหลายประเภท เช่น  คนที่มีความสุขกับชีวิตและการงาน  ไม่ว่าเขาจะท�ำอะไรดูมัน ช่างสร้างสรรค์และมีความสุขด้วยตัวเองไปหมด โอ๊ย หลายคน พูดไป

91


เดี๋ยวไม่ยุติธรรม  ในทางความแกร่งกล้าโดยไม่ต้องลุกขึ้นมากระทืบ ใคร อองซานซูจีก็เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะถ้าไม่กล้าและทรหดจริงเธอก็ ไม่อยู่มาได้แบบนั้นหรอก” บทบาทของผู้หญิงในยุคต่อสู้ทางการเมืองเป็นบทบาทที่คุณ จิระนันท์บอกว่าเป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญของบทบาทผู้หญิงกับบ้านเมือง “ถ้าจะพูดถึงบทบาทของผู้หญิง  เหตุการณ์ช่วง 14 ตุลา เป็น จุดเปลี่ยนของผู้หญิงไทยก็ว่าได้   ที่จะกล้าออกมาแสดงทัศนะ หรือ ว่าพลังทางสังคมและการเมือง  ก่อนหน้านั้นก็อาจมีบ้างแต่ก็ไม่เคย ปรากฏแบบเป็นกลุ่มเป็นก้อนขนาดนั้น  พอวันนี้ผ่านไปสามสิบกว่า ปีแล้ว  ผู้หญิงไทยพัฒนาขึ้นมากในแง่การศึกษาเสรีภาพ  ทางเลือก ของชีวิต  อะไรต่างๆ  ถ้าจะวัดกันด้วยสถานภาพ  ก็ก้าวมาไกลพอ สมควร แต่ก็ยังมีจุดที่ต้องวิพากษ์วิจารณ์กันเยอะนะ อย่างเช่น คุณ ได้เสรีภาพแล้วคุณใช้เสรีภาพไปท�ำอะไร  ส่วนใหญ่ผู้หญิงจะตกเป็น เหยื่อของโฆษณาเยอะมาก  พอชีวิตค่อนข้างสบายก็จะไม่สนใจอะไร เลยในโลกนี้ ก็จะดูแลแต่ความงาม”

92


แต่ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  การจะท�ำตามความเชื่อและ กล้าเปลี่ยนชีวิตตัวเอง   สิ่งส�ำคัญคือต้องใช้ใจ “คนเราจะเปลี่ยนชีวิต  อุทิศตัวเองเพื่ออะไรสักอย่างที่เรา เรียกว่าอุดมการณ์  มันก็ต้องใช้ใจพอสมควร  ก็คิดว่าตัดสินใจยาก เหมือนกันตอนที่เข้าป่า  แต่อีกด้านหนึ่งพูดอย่างไม่ฮีโร่เลยก็คือ  มัน ไม่มีทางเลือก ถ้าเราอยากจะสู้ต่อ อยากจะท�ำอะไรให้สังคมดีขึ้น มัน ไม่เหลือทางเลือก  ตั้งแต่ 6 ตุลาแล้วนี่ แต่ทันทีที่เราไปอยู่ในสถานะ อีกแบบหนึ่ง  ไม่ว่าจะกล้าหรือไม่กล้ามันก็ต้องปรับตัว  ต้องเรียนรู้  แล้วก็ท�ำตัวเองให้มีคุณค่าและมีประโยชน์ที่สุด” สิ่งส�ำคัญที่ได้เรียนรู้จากการใช้ชีวิตในป่า  คือความอดทนที่ เป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญ “บางคนที่เสียดายเวลาในชีวิตนะ  เรียนก็ไม่จบเข้าไปแบก ปืนและแบกฟืน ทั้งท�ำนาด้วยและสู้รบด้วย บางคนคิดว่าเสียโอกาส ในชีวิต ก็เลยกลับมาตะเกียกตะกายจะเป็นรัฐมนตรีเป็นอะไรกันใหญ่ ไง แต่เราไม่ได้คิดอย่างนั้น โอ้โห มันเป็นมหาวิทยาลัยชีวิตนะ ท�ำให้ เราได้เรียนรู้  ท�ำให้เราทรหดแข็งแกร่ง ท�ำให้เราใช้บทเรียนซึ่งล้มเหลว และส�ำเร็จกับชีวิตในช่วงถัดมาได้ พูดง่ายๆ  คือไม่หวั่นไหวกับอะไร ง่ายๆ  แล้ว คิดว่าเข้มแข็งและหนักแน่นขึ้น เหมือนคนที่ผ่านการฝึก รด. มา แต่เป็นการฝึกที่ยาวนาน”

93


จัดการกับความทุกข์ในชีวิตอย่างไรถ้ามันผ่านเข้ามา

“ถ้ามันมีความทุกข์ในชีวิตเราก็คิดว่าล้มได้   เราไม่ใช่ฮีโร่ ตลอดกาล แต่อย่าล้มนาน ล้มแล้วต้องคิดถึงการลุกขึ้นอย่างสง่างาม เพราะว่าชีวิตส่วนที่เหลือยังมีอีกเยอะ เราจะท�ำให้มันเป็นอย่างไร ขึ้น อยู่กับเรา ณ จุดนั้น แต่บางคนล้มแล้วไม่ยอมลุกไง” ในฐานะที่ผ่านชีวิตที่หนักๆ  มาแล้ว จิระนันท์จะจัดการสังคม ที่มีการผันผวนด้วยการท�ำตัวเองให้เป็นก้อนหินกลางกระแสน�้ำ

“พยายามท� ำ ตั ว ให้ เ ป็ น ก้ อ นหิ น กลางกระแส   ดี ก ว่ า เป็ น เศษไม้ใบหญ้าที่ลอยไป  เช่น  ในสังคมทุกวันนี้จะสับสนเรื่องข้อมูล ข่าวสาร เราก็ท�ำตัวให้เป็นก้อนหิน หนักแน่น พิจารณาหรือไม่ก็ปิด รับมันไปเลย แต่พวกที่ลอยไปตามกระแสอันบ้าคลั่งจะสะดุ้งสะเทือน หวั่นไหว บ้าจี้ เต้นตามไปหมดเพราะมันไม่นิ่ง ยกตัวอย่างเรื่องความ นิ่ง  คุณดูนักกีฬาก่อนที่เขาจะได้แชมป์  ไม่ว่าเกมอะไรก็ตามจะเป็น นาทีที่นิ่งที่สุดมันถึงจะได้ ส่วนคนที่มัวแต่คิดว่าจะได้หรือเปล่า กอง เชียร์มาหรือยัง มัวแต่ลุ้นเนี่ย ไม่มีทางไม่ส�ำเร็จ เพราะงั้นมันอยู่ตรง นาทีนั้นเองว่าเราจะเลือกท�ำอย่างไร“

94


สุดท้ายที่ส�ำคัญส�ำหรับชีวิตคนเราคือความสุข คุณจิระนันท์ มีเคล็ดลับความสุขที่ท�ำให้ใจยังสาวอยู่เสมอ “พลังไฟในตัวคุณมันอยู่ในใจ  คุณจะกระพือให้มันลุกโชน หรือว่าจะดับมัน  วิธีท�ำให้มันลุกโชนโชติช่วงมีพลังไฟในตัวอยู่เสมอ ก็คือ  เปิดกะโหลกเรียนรู้  แล้วก็พยายามท�ำทุกวันของชีวิตให้มันก้าว ไปข้างหน้า ไม่ใช่ก้าวแบบต�ำแหน่งฐานะอะไรนะ ก็คือเราไม่หยุดนิ่ง เราไม่แช่ขังเป็นน�้ำอุทกภัย  เราเป็นน�้ำที่ไหลไปข้างหน้าอย่างมีจุดมุ่ง หมาย เราก็จะคึกคักตลอดเวลา วิธีท�ำให้มันดับมอดก็คือ คิดว่าข้ารู้ แล้ว ข้าเก่งแล้ว มันจะแย่ลง การคิดว่าคนสมัยนี้มันแย่มาก หรือว่า เพื่อนก็ไม่ดี ลูกก็ไม่ดี กูดีคนเดียว อันนั้นน่ะแช่ขัง แช่ขังด้วยแช่แข็ง ด้วย เป็นมัมมี่โนรีเทิร์น คือเข้าใจนะว่ามันเป็นธรรมชาติวิสัยของคน แต่ละคน  บางคนขี้กังวลขี้กลุ้มจะไปห้ามเขาได้เหรอ มีแต่ความสงสัย หรือว่าจะไปไหนทีต้องคิดถึงแต่ในแง่ลบไว้ก่อน รถจะติดไหม  จะไป ถึงกี่โมง อะไรทุกอย่าง คนชอบกังวลและเสพติดความทุกข์นี่นะมันจะ หมดพลัง เพราะว่าการกัดกร่อนตัวเองด้วยสิ่งเหล่านี้” เห็นเมืองไทยมานาน   มองเมืองไทยแล้วอยากให้เมืองไทย เปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง “อยากจะให้คนไทยไม่ว่าจะในระดับปัจเจกหรือว่าชุมชน เล็กๆ  มองให้เห็นความดีงามและศักยภาพในตัวเอง  ก่อนที่จะไปมอง ความเลวร้าย แล้วงัดมันออกมาใช้ ฝีมือไทยนี่นะ ได้รับการยอมรับ อย่างยิ่งในระดับโลก จิตใจน�้ำใจมันไม่ใช่การสร้างภาพ  มันมาจริงๆ ฉันเคยไปหลงทางอยู่ข้างถนนในต่างประเทศไม่มีใครช่วยสักคน คุย กับใครไม่มีใครคุยด้วยเลย แต่ในประเทศไทยนี่นะ ต้องมีคนเข้ามา

95


ช่วยคุณทันทีที่คุณหกล้มหรือว่าอะไร  อาจารย์ฝรั่งแกนั่งวีลแชร์มา แกก็ว่าถ้าไปประเทศอื่นไม่รู้ว่าแกจะไหวหรือเปล่า  แต่ประเทศไทยนี่ นะภรรยาแกเป็นคนเข็นขึ้นบันได จะต้องมีใครก็ไม่รู้วิ่งเข้ามาทันทีที่ จะต้องยก ยกให้แล้วก็เดินไปเลย ไทยแลนด์ เพราะฉะนั้นถ้าเรามอง เห็นสิ่งที่ดีงามเหล่านี้แล้วงัดมันออกมาใช้  ไอ้พฤติกรรมเลวร้ายทั้ง หลายของพวกเราก็จะลดลง ไอ้เรื่อง บ่น ด่า เรียกร้อง กล่าวโทษ   ซึ่ง มันเป็นกันมากในยุคที่เรามีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่ ต้องรับผิดชอบ  แล้วพลังส่วนที่สามารถเอาไปต่อยอดท�ำอะไรได้เยอะ แยะมันจะโผล่ออกมาสารพัดรูปแบบ  ซึ่งเราจะก้าวไปข้างหน้าด้วย กันได้ก็เพราะพลังเหล่านี้”

96


ในสังคมทุกวันนี้  มันจะสับสนเรื่องข้อมูล ข่าวสาร เราก็ท�ำตัวให้เป็นก้อนหิน หนักแน่น พิจารณาหรือไม่ก็ปิดรับมันไปเลย แต่พวกที่ ลอยไปตามกระแสอันบ้าคลั่ง จะสะดุ้ง สะเทือน หวั่นไหว บ้าจี้ เต้นตามไปหมดเพราะมันไม่นิ่ง

97


ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์

สร้างภูมิคุ้มกันความทุกข์ “ความสุข ของเราไม่ใช่ ว่าเรามีความสุขแล้วเราเห็นแก่ ความสุ ข ของเราคนเดี ย ว  เรา สามารถแบ่งปันความสุขให้คน อื่ น ๆ  ให้ ค นที่รอบข้า งและคนที่ ไกลกว่ามีความสุขด้วย เพราะสุข มันอยู่ที่ใจเรารับรู้”

98

มนุ ษ ย์ ทุ ก คนล้ ว นมอง หาความสุข และท�ำทุกอย่างเพื่อ จะได้มาซึ่งความสุข จนบางครั้ง ลืมเตรียมใจคิดถึงความทุกข์ เมื่อ เรามี ทุ ก ข์ ค วามสุ ข ก็ จ ะหายไป สิ่งที่สามารถเรียกความสุขกลับ มาได้ อี ก ครั้ ง คื อ สติ แ ละปั ญ ญา อาจารย์ปาริชาต สถาปิตานนท์ คื อ คนที่ เ คยผ่ า นทุ ก ข์ ห นั ก จาก การสู ญ เสี ย มาแล้ ว   แต่ ใ นวั น นี้


เธอกลับเป็นคนที่มีความสุขอยู่ในทุกวันของชีวิต  ผ่านมุมมองการ สร้างความสุขที่น่าสนใจ ที่ใครๆ  ก็สามารถท�ำได้ ค�ำแนะน�ำอย่างแรกส�ำหรับการลดทอนความทุกข์ในใจต้อง เริ่มจากตัวเอง “เราต้องถามตัวเองว่าในแต่ละวันเราใช้ชีวิตยังไง  ในแต่ละ วันเราตื่นเราก็ต้องดูแลตัวเอง  เราต้องกินอาหาร  เราต้องมีกิจกรรม ประจ�ำวันจนกระทั่งถึงเรานอน ค�ำถามคือ เรานอนหลับหรือเปล่า ถ้า เรานอนหลับ การนอนหลับมันเหมือนกับเป็นการที่บอกว่า ถ้าวันนี้เรา หลับได้ก็แสดงว่าเราตัดได้ ตัวนี้ก็จะใช้บทเรียนในชีวิตประจ�ำวัน  ถ้า เรานอนหลับได้เราก็ต้องตัดได้ ก่อนนอนหลับเราก็ต้องสวดมนต์แล้ว ก็ตั้งจิตอธิษฐานว่าพรุ่งนี้จะต้องดีกว่า วันนี้จะต้องจบไป พรุ่งนี้จะต้อง ดีกว่าวันนี้ จะใช้ลักษณะแบบนี้ แล้ววันรุ่งขึ้นที่ตื่นขึ้นมา สิ่งแรกที่เรา ท�ำปุ๊บคือส่องกระจก แปรงฟัน ก็ต้องท่องคาถาง่ายๆ  กับตัวเองว่า วัน นี้จะต้องดีกว่าเมื่อวาน อันนี้เป็นเคล็ดง่ายๆ  ที่ตัวเองใช้ เป็นการเติม ก�ำลังใจให้ตัวเอง” นอกจากมองที่ตัวเองแล้ว  เราจ�ำเป็นต้องเข้าใจถึงหลักของ ความทุกข์ และใช้ชีวิตอยู่กับความจริง “เป็นเรื่องบังเอิญ  โชคดีที่ได้เรียนในหลักการของจิตวิทยา การสื่อสารค่ะ เขาบอกว่าครึ่งหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราเป็นความ เชื่อ  อีกครึ่งหนึ่งคือฐานที่เรียกว่าความจริง  เพราะงั้นถ้าเราเชื่อว่ามัน ใช่  แล้วเราพยายามที่จะออกแรง  มันจะมีแรงมากกว่าที่เราไม่เชื่อ อะไรเลย  หรือเราหมดหวังเพราะถ้าเราหมดหวังเราก็จะเจอแต่สิ่งที่

99


หมดหวังนั่นแหละโถมทับเข้ามา เพราะฉะนั้นเราต้องเชื่อว่าชีวิตยังมี หวัง เราต้องเชื่อว่าพรุ่งนี้ต้องดีกว่า เราต้องเชื่อว่าสิ่งที่มันเป็นสิ่งร้าย ในวันวานมันจบไป มันจะต้องมีสิ่งที่ดีขึ้น”

ความเชื่อที่ว่าความทุกข์จริงๆ  มันก็เป็นแรงผลักดัน

“ความทุกข์มันเหมือนกับอะไรที่มันเป็นสิ่งท้าทายเรา  ถ้าเรา ไม่เจอทุกข์เราก็คงไม่เจอสุข หรือไม่ถ้าเราเจอแต่ความสุขเราก็คงไม่รู้ หรอกว่าคนอื่นที่ทุกข์เป็นยังไง  หรือสิ่งที่เรียกว่าสุขน้อยสุขมากมัน เป็นยังไง  แต่เพราะเราเจอทุกข์เราถึงได้สามารถวิเคราะห์ตั้งค�ำถาม กับตนเอง เราถึงได้สามารถเปรียบเทียบได้ว่าอะไรคือสุข อะไรคือสุข กว่าหรืออะไรคือสุขที่แท้จริง ซึ่งพวกนี้มันก็จะผ่านไปตามขั้นตอนของ ชีวิต เช่นบางคนเกิดมาปุ๊บเป็นเด็ก แค่วันเกิดเป่าเค้กเขาก็บอกว่ามี ความสุข บางคนบอกว่าโอ๊ยเป่าเค้กหรือ น่ากลัวจัง เพราะอายุเพิ่ม ขึ้นอีกปีแล้ว  ไม่อยากเห็นไม่อยากรับรู้เลย  อยากให้หน้าตาอยากให้ สังขารอยากให้สภาพร่างกายคงอยู่เหมือนกับวันนี้ บางคนมองว่าเป็น ความวิตกกังวลว่าจะแก่ลงอีก ทุกอย่างมันอยู่ที่ใจ แล้วมันอยู่ที่ว่าเรา มองเรื่องนั้นยังไง แล้วเราเติมเต็มเรื่องราวเหล่านั้นยังไง ให้กลับมาใน การที่จะให้ก�ำลังใจตัวเอง” เมื่อคิดบวกแล้ว อย่าลืมค�ำว่าคิดลบ เพราะมันมีประโยชน์ เช่นกัน “คิดบวกเป็นศัพท์ใหม่ซึ่งดิฉันก็เพิ่งได้ยินเมื่อสองสามปีที่ ผ่านมา ตัวเองก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นคนคิดบวก แต่ก็รู้ว่าคิดยังไง ก็ได้ที่จะท�ำให้เราดีขึ้น  หรือจะให้ก�ำลังใจคนอื่นอย่างไรให้ก้าวเดินไป ข้างหน้าได้อย่างดีขึ้น อย่างมั่นคงขึ้น คิดแค่นั้น ส�ำหรับคิดบวกหรือ

100


positive thinking ส่วนหนึ่งคงจะเป็นการใช้เครื่องหมายบวก เมื่อใช้ เครื่องหมายบวกได้ เครื่องหมายตรงข้ามก็คือเครื่องหมายลบ แต่เรา ยังไม่มีค�ำว่าคิดทวีคูณ   แต่ว่าดิฉันมองว่า  อย่าไปมองว่าการคิดลบ มันตรงข้ามกับคิดบวก เพราะมันอาจเป็นอะไรที่มีประโยชน์ เพราะว่า เรื่องความจ�ำที่ร้ายๆ ที่มันท�ำร้ายจิตใจเรา บางครั้งเราก็ต้องคิดที่จะ ลบสิ่งเหล่านั้นให้ออกไปจากความจ�ำ แต่ถ้าเกิดเรายังคิดเรื่องที่มัน ร้ายๆ  อยู่แล้วเราไม่พยายามลบ ใครเจ๊งคะ เราเจ๊งเพราะว่าเราก็จะ ตกอยู่ในห้วงภวังค์ของความทุกข์ ตกอยู่ในห้วงภวังค์ของความเศร้า ก็ต้องลบเหมือนกับที่เราใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์  ไฟล์มันยังมีวัน เต็ม  แล้วคิดว่าใจเราจะไม่มีวันเต็มบ้างหรือ  ในเรื่องของใจที่เต็มไป ด้วยความทุกข์ เราก็ต้องมีระบบในการช�ำระล้างมันไป” เราสามารถลบเรื่องร้ายๆ  ที่บั่นทอนจิตใจได้ด้วยการสะสม ความสุขและความดีเป็นทุน “เรื่องร้ายบางทีเป็นเรื่องที่มันใกล้ตัวเรามาก  บางทีมันใกล้ คนที่เราผูกพันมาก บางครั้งโอกาสที่จะลืมก็ยาก เพราะฉะนั้นถ้าถาม ว่าท�ำยังไงก็คงจะเหมือนกับที่เขาบอก เอาน�้ำดีมาไล่น�้ำเสีย เพราะ งั้นก็ต้องพยายามที่จะมองชีวิตอีกมุม เก็บเรื่องราวที่ดีๆ  ท�ำกิจกรรม ที่ดีๆ  ใหม่ ให้ตรงนั้นมันเพิ่มพูน  แล้วท้ายที่สุดสิ่งที่มันลบๆ  ก็จะหาย ไป หลายเรื่องอาจลบได้ง่ายเหมือนกับไฟล์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ แต่ หลายเรื่องอาจลบไม่ได้ง่าย งั้นพอมันลบไม่ได้ง่ายเราก็ต้องใช้วิธีการ สะสมเรื่องดีๆ  เพิ่มขึ้น แม้เราไม่สามารถเปลี่ยนได้ทันท่วงที ใช้วิธีการ ที่ท�ำให้น�้ำเสียเจือจางไป เมื่อเวลาผ่านไป เรื่องดีๆ ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ”

101


ธรรมชาติก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบ�ำบัดเราได้

“ธรรมชาติและเรื่องราวจากธรรมชาติมันช่วยเราได้  เพียง แต่เราตั้งค�ำถามหรือเปล่า  แล้วก็หูเราเปิดใจฟังเรื่องราวที่คนอื่นเขา เล่าไหม  เอาตัวอย่างง่ายๆ  ค่ะ  ช่วงเวลาที่คิดว่าสวยที่สุดในแต่ละ วันคือตอนไหน คือตอนเช้าอาบน�้ำเสร็จ เพราะอะไรคะ เพราะเรา รู้สึกถึงการเปลี่ยน จากงัวเงีย แล้วเจอน�้ำ ท�ำให้เรารู้สึกถึงสิ่งใหม่ที่ กระปรี้กระเปร่า  ถ้าเราไม่อาบน�้ำเราก็อาจมีความรู้สึกอีกแบบหนึ่ง อันนี้คือจุดต่างระหว่างความสวยงามกับความทุกข์ ดังนั้นถ้าเกิดตัว เองไปต่างจังหวัดก็จะพยายามตื่นเช้าๆ  มาดูพระอาทิตย์ขึ้น เพื่อเติม ก�ำลังใจให้ชีวิต เพราะว่าจุดที่สวยมากๆ คือฟ้ามันเปลี่ยนสี ความมืด ที่มันดูน่ากลัว เมื่อมันสว่างขึ้นแล้วมันดูสดใส หรือถ้าไม่ชอบตื่นเช้า รอช่วงเย็นสิคะ ช่วงเย็นที่พระอาทิตย์ก�ำลังจะตก เราก็จะเห็นว่าฟ้า เปลี่ยนสี แล้วพอมืด เราก็จะรู้สึกว่ามันมีความสดใสอีกแบบหนึ่ง  มัน

102


ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าน่ากลัวเดี๋ยวสว่างก็มา หรือแม้กระทั่งฝน ตก คุณอยู่ที่ต่างกันคุณก็จะรู้สึกต่างกัน ถ้าฝนตกแล้วคุณอยู่ในเมือง แล้วคุณไม่มีร่ม คุณก็ต้องรอรถ แล้วคุณจะต้องเดินทางไปไหน ใคร ทุกข์ เราทุกข์สุดๆ  เลย แต่ถ้าฝนตกในที่ที่เราก�ำลังพัก เราก�ำลังชื่นชม ธรรมชาติ  การที่ได้ยินเสียงของน�้ำฝนที่ไหลกระทบกับใบไม้ หรือการ ที่ได้ออกไปเดินกับธรรมชาติตอนหลังฝนตกแล้วได้กลิ่นไอดินขึ้นมา นั่นคืออะไร นั่นคือความสุข ทั้งที่ก็ธรรมชาติเหมือนกัน ฝนเหมือนกัน แล้วก็ตัวเราเหมือนกัน สภาวะแวดล้อมและใจเราหรือเปล่า ที่ท�ำให้ ปรุงแต่งแล้วมองข้ามกันไป” เมื่อมีรักก็ต้องมีทุกข์  เราสามารถแก้ปมทุกข์จากความรักได้ ด้วยความรักจากคนรอบตัว “ใครล่ะที่รักเราตั้งแต่เริ่มต้น  ณ  ชีวิตของเราที่เกิดมา คุณพ่อคุณแม่ไม่ใช่หรือ ใครล่ะที่หวังในอนาคตของเรา แล้วเราจะหยุด เขา  หยุดตัวเราเพียงเพื่อแค่คนข้างหน้าที่เขาตัดสินใจที่จะเลือกอีก ทางหนึ่งหรอ ท�ำไมเราไม่มั่นใจในตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง แล้วก้าว เดินออกไปให้รู้ว่าฉันดีกว่าที่คุณคิด ให้เขารู้ว่าพ่อแม่ฉันภูมิใจฉันยิ่ง กว่า  ในขณะที่คุณอาจไม่ได้มีค่าก็ได้”

ความรักท�ำให้คนมีความสุขแต่มันก็ท�ำให้เราทุกข์

“พอมีความสุขแล้วคุณก็อยากได้ดั่งใจ  แต่คุณลืมคิดไปว่า คนที่เรารักเขาก็มีความรัก อยากได้ความสุข อยากได้ดั่งใจเหมือนกัน แต่เราไม่สามารถหาจุดกึ่งกลางหาจุดสมดุลได้  นั่นคือท�ำให้ชีวิตเรามี ปัญหา  แต่ถ้าเราหันหน้าเข้าหากัน   หาจุดกึ่งกลางสมดุลได้  หรือเรา เข้าใจกันว่าเรามีสิ่งที่ไม่เหมือนกันได้  และเราอาจตัดสินใจว่าเราอาจ

103


ไม่ต้องเดินทางสายเดียวกัน แต่เราก็ยังคบกัน  เป็นเพื่อนกันได้ ยังอยู่ บนโลกใบนี้ได้  อยู่ในสังคมนี้ได้” ความเก่งและความดีมันอยู่ที่คนอื่นตัดสิน  เราควรมองที่ จิตใจเรา  ว่าปัจจุบันเรามีความสุขไหม “ท้ายที่สุดมันกลับมาที่ตัวเรา กลับมาที่ใจเรา ว่าเราต้องการ อะไรแน่ในชีวิต ส�ำหรับดิฉัน ดิฉันค่อนข้างชัดเจน ว่าสิ่งที่ส�ำคัญคือ ความสุข บนพื้นฐานของการที่เรียกว่าไม่ว่าเราจะเป็นคนเก่งหรือเรา จะเป็นคนดี แต่ขอให้เรามีความสุข แล้วความสุขของเรามันไม่ได้ไป ก้าวข้ามหรือไปละเมิดความสุขของคนอื่น แล้วความสุขของเราไม่ใช่ ว่าเรามีความสุขแล้วเราเห็นแก่ความสุขของเราคนเดียว เราสามารถ แบ่งปันความสุขให้คนอื่นๆ  ให้คนที่รอบข้างและคนที่อยู่ไกลมีความ สุขด้วย   เพราะสุขมันอยู่ที่ใจเรารับรู้  แต่เก่งมันอยู่ที่คนอื่นประเมิน เรา และทั้งเกณฑ์และกติกาที่เราไปตั้งเอาไว้ ดีก็เหมือนกัน  คนอื่น และตัวเราเป็นคนไปตั้งเอาไว้ว่าดีหรือยัง ดีกว่าแล้วหรือยัง ทั้งสอง อย่างมันเป็นสิ่งที่ ด้านหนึ่งก็เป็นความทะเยอทะยาน ด้านหนึ่งก็เป็น ความท้าทาย  หันมาสู่ตัว  หันมาสู่จิตเรา  ให้เราสามารถท�ำทุกย่าง ก้าวไปแล้วเรามีความสุข  บนพื้นฐานของการที่เรียกว่าไม่ไปก้าวก่าย เบียดเบียนความสุขของคนอื่น  ในขณะเดียวกันเผื่อแผ่ความสุขของ เราให้คนอื่นด้วยแค่นี้โลกก็มีความสุขแล้วค่ะ  ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ก็ตาม”

104


สิ่งที่ส�ำคัญคือความสุข  บนพื้นฐานของ การที่เรียกว่าไม่ว่าเราจะเป็นคนเก่งหรือเราจะ เป็นคนดี แต่ขอให้เรามีความสุข แล้วความสุข ของเรามันไม่ได้ไปก้าวข้ามหรือไปละเมิดความ สุขของคนอื่น  แล้วความสุขของเราไม่ใช่ว่าเรา มีความสุขแล้วเราเห็นแก่ความสุขของเราคน เดียว เราสามารถแบ่งปันความสุขให้คนอื่นๆ

105


ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา วิทยาศาสตร์แห่งความสุขของโลก

“ที่ ผ ่ า นมาเราได้ ส ร้ า ง ยานอวกาศเดินทางไปไกลหลาย ล้านไมล์ ไปลงบนดาวอังคารได้ ส�ำเร็จ ถามว่าผมภูมิใจไหม ไม่ ภูมิใจเลย เพราะมนุษย์เรายังไม่ สามารถเดินทางเข้าไปในจิตใจ ตัวเองได้เลยสักมิลลิเมตร” หลายคนรู้จัก ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา  ในฐานะอดีต นักวิทยาศาสตร์ประจ�ำองค์การนาซ่า  ผู้เคยคิดค้นระบบลงจอดบน ดาวอังคาร ความสามารถทางด้านวิศวกรรมซึ่งสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เหล่านี้ นอกจากจะมาจากความรู้จากการศึกษาด้านวิศวกรรมที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษแล้ว สิ่งส�ำคัญเหนือสิ่งอื่นใดที่ อาจารย์ได้เรียนรู้มาตั้งแต่อายุ  15 ปี คือการท�ำสมาธิ การรู้จักตัวเอง และความคิดทางบวกที่จะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนดี ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญ มากกว่าความเก่ง

106


สมาธิคือความเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญในชีวิต “ผมโตมาในบรรยากาศของการต่อสู้และการรบ  มันท�ำให้ ตัวเองก้าวร้าว  อยากจะสู้อยากจะรบกับคนอื่นเขาด้วย  แต่ว่าเผอิญ คุณพ่อผมช่วยมากทีเดียว คุณพ่อเป็นตัวอย่างมาโดยตลอด คุณพ่อ อยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ  มีการทิ้งระเบิดคุณพ่อก็ไปท�ำงาน  ไม่ หนีงาน  ตอนนั้นคุณพ่อไม่มีรถยนต์ขับก็ขี่จักรยานไปท�ำงานทุกวัน เพราะฉะนั้นก็อยู่อย่างเรียบง่ายและประหยัด  ตอนเด็กๆ  คุณพ่อจะ เล่านิทานให้เราฟังตลอดเวลา เป็นนิทานธรรมะ สอนเรื่องคุณธรรม ปลูกฝังสิ่งดีงามให้ตั้งแต่เด็กๆ ตอนเก้าขวบครอบครัวก็ย้ายไปปารีส เพราะคุณพ่อถูกย้ายให้ไปช่วยงานที่องค์การสหประชาชาติ  ในส่วน ของยูเนสโก ครอบครัวก็ต้องย้ายไปกันทั้งหมด ต้องอยู่ต้องเรียนกับ เด็กๆ ฝรั่งเขาก็ชอบแกล้งเราเพราะเราเป็นเด็กต่างชาติ เราก็สู้ ก็เลย มีเรื่องทะเลาะวิวาทบ่อยๆ  เสร็จแล้วพอคุณพ่อโดนเรียกตัวกลับไปที่ เมืองไทย ผมกับพี่ก็โดนย้ายไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ ตอนนั้นก็ยังติด นิสัยเกเรจากฝรั่งเศส ไปมีเรื่องกับเด็กที่นั่นบ่อยครั้ง สรุปแล้วก็เกเรไป เรื่อยๆ จนอายุสิบห้าปี มาเกิดเหตุการณ์ส�ำคัญที่มหัศจรรย์มาก คือ ผมนอนอยู่ในโรงเรียนกินนอน แล้วก็มีแสงสว่างจ้ามาปลุกผม มีเสียง เรียกชื่อผมเบาๆ สามครั้งว่า “อาจอง...ๆ...ๆ ท�ำไมถึงท�ำอย่างนี้” ผมก็ ไม่ได้สนใจ จนมันเกิดขึ้นสามคืนติด ผมก็เลยนั่งคิดว่ามันเกิดอะไรกับ ผม สุดท้ายผมก็คิดว่านี่อาจจะเพราะผมเป็นเด็กเกเร มันถึงเป็นอย่าง นี้ ผมเลยตั้งใจที่จะเปลี่ยนตัวเอง แต่ไม่รู้จะเปลี่ยนอย่างไร ก็เลยไป ลองปรึกษาบาทหลวง  ท่านก็เลยพาผมไปสวดมนต์ในโบสถ์ แต่มัน ก็เกิดปัญหาขึ้นมาว่า   ผมเกิดข้อสงสัยว่าท�ำไมทุกคนต้องสวดมนต์ เสียงดัง ก็เลยไปถามบาทหลวง ท่านก็ไล่ผมออกมาจากโบสถ์ ผม

107


เสียใจมาก น�้ำตาไหลเลย ก็เลยไปหาอาจารย์ใหญ่ ท่านก็บอกให้ผม ไปสงบสติอารมณ์ในห้องสมุด และที่นี่เองผมก็เลยลองหาหนังสือที่ เกี่ยวกับศาสนาพุทธเพราะคิดว่านี่คือศาสนาของเรา  และต�ำราที่ผม อ่านก็คือวิธีฝึกสมาธิ ผมอ่านและทดลองท�ำ ท�ำได้เดือนหนึ่งผมก็รู้สึก ว่าชีวิตได้พบความสงบ รู้สึกสบายใจ มีความสุข แล้วมันก็เลยเลิก ทะเลาะหรือต่อยกับคนอื่น ใครจะด่าว่าเรา เราก็ไม่รู้สึกอะไร  ก็ยิ้มให้ เขา เพราะว่าจิตใจเราสงบมีสมาธิ ฝึกได้หนึ่งปี จากที่เคยสอบได้ที่ โหล่ ก็สอบได้ทีหนึ่ง เพราะเรามีสมาธิ นี่เป็นบทเรียนในชีวิตของผมว่า เราสามารถเปลี่ยนตัวเองได้ และไม่มีอะไรที่มนุษย์เราท�ำไม่ได้ ถ้าเรา รู้จักจุดประกายในตัวเราด้วยความคิดทางบวก” ความทุ ก ข์ คื อ กุ ญ แจส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ ทุ ก คนสามารถ เปลี่ยนแปลงตัวเองได้ และสามารถท�ำให้คนทั้งเก่งและดีได้ “ผมเชื่อว่าจะมีเหตุการณ์หลายอย่างที่จะท�ำให้ทุกอย่างต้อง เปลี่ยน มนุษย์เราพอมีความทุกข์มากๆ จะรีบแก้ไข รีบเปลี่ยน รีบหนี ความทุกข์ ฉะนั้นมันจะมีเหตุการณ์ที่สร้างปัญหาขึ้นมาให้กับเรา และ ปัญหาเหล่านั้นก็คือบทเรียนที่เราจะได้เรียนรู้ และปรับปรุงตัวเราเอง แก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้น “แต่ประเด็นส�ำคัญคือเราต้องรู้จักตัวเองให้มากขึ้น แล้วเรา จะรู้ว่ามีสิ่งที่ดีมากมายในตัวเราที่ยังไม่เคยใช้  เราใช้สมองไม่ถึงสิบ เปอร์เซ็นต์  เราต้องรู้จักใช้สมองของเราอย่างเต็มที่ แต่เมื่อเราไม่รู้จัก ตัวเอง  เราไม่รู้จักคนอื่น เราจึงเข้ากับคนอื่นไม่ค่อยเป็น เพราะฉะนั้น ทุกอย่างจึงต้องเริ่มจากตัวเรา  การฝึกสมาธิจะช่วยให้รู้จักตัวเอง เพราะเป็นการเข้าไปสู่ใจของตัวเอง ช่วยให้ความจ�ำดีขึ้น การเรียน การศึกษาดีขึ้น”

108


ความส�ำเร็จในอดีตของอาจารย์ถือว่าเป็นงานหนึ่งเท่านั้น สิ่ง ที่ส�ำคัญในปัจจุบันคือการสร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นคนดีให้กับโลก “ที่ผ่านมาเราได้สร้างยานอวกาศเดินทางไปไกลหลายล้าน ไมล์ ไปลงบนดาวอังคารได้ส�ำเร็จ ถามว่าผมภูมิใจไหม ไม่ภูมิใจเลย เพราะมนุษย์เรายังไม่สามารถเดินทางเข้าไปในจิตใจตัวเองได้เลยสัก มิลลิเมตร แล้วเราไปท�ำไมตั้งไกลแสนไกล  เพื่ออะไร มันได้ประโยชน์ กับมนุษย์ไหม มนุษย์เรามีความสงบสุขขึ้นบ้างไหม เมื่อตั้งค�ำถาม อย่างนี้แล้วเห็นว่ามันไม่ได้อะไรเลย  เรามีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ม ากขึ้ น   มี เ ทคโนโลยี ใ หม่ ๆ   แต่ มั น ไม่ ช ่ ว ยให้ จิ ต ใจเรา ก้าวหน้าเลย เราก็ยังมีสงคราม มีความยากล�ำบาก มีความทุกข์อยู่ ดังนั้นผมคิดว่าดีที่สุดคือเราต้องสอนให้คนหันเข้าไปในส่วนลึกของ จิตใจของตนเองให้ได้ เพราะถ้าเราเข้าไปในจิตใจแล้ว เราก็จะค้นพบ ความจริง คุณธรรม และความสงบสุขต่างๆ ดีกว่าที่เราจะหันไปข้าง นอกแล้วเจอแต่วัตถุสิ่งของ แล้วหลงใหล เกิดกิเลสและเกิดปัญหาใน ตนเอง เพราะฉะนั้นเราต้องสอนคนให้รู้จักหันเข้าไปดูจิตใจของตนเอง ลดละกิเลส และรู้จักพอ เราก็จะมีความสุขกันมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ สิ่ง เหล่านี้เราต้องสอนและเริ่มต้นจากเด็กจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด “การมุ่งไปเอาแค่ความรู้อย่างเดียว  แต่ขาดคุณธรรม  มัน อันตราย เพราะจะท�ำให้เห็นแก่ตัว ท�ำอะไรเพื่อตัวเอง ต้องรวย มีงาน ดี  ประสบความส�ำเร็จ แต่สิ่งที่คนเราปรารถนานั้น แท้จริงคือความสุข การมีคุณธรรมสูงจะน�ำไปสู่ความสุข พอใจ ไม่โลภ ความเห็นแก่ตัว การถือตนหายไป และจะกลายเป็นผู้ที่มีประโยชน์ต่อโลก

109


“เป้าหมายของผมคือต้องการสร้างคนดี  เพราะโลกเรามีคน เก่งเยอะอยู่แล้ว  และคนเก่งที่มีอยู่มากมายก็สร้างปัญหาให้กับโลก ของเรามากทีเดียว  ปัญหาของคนเก่งคือเขาไม่ชอบให้ใครเก่งเท่าเขา แล้วเขาจะแข่งขันกันต่อสู้กัน จนถึงขั้นรบราฆ่าฟันกันเพื่อเก่งกว่าคน อื่น แต่โรงเรียนนี้สร้างคนดีก่อน เมื่อดีแล้วเขาก็ช่วยเหลือให้คนอื่น เป็นคนดีและคนเก่งด้วย” ปัญหาบนโลกใบนี้ไม่สามารถแก้ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ ธรรมะ เท่านั้นที่อาจารย์อาจองให้ความส�ำคัญ “เมื่อเรามีสมาธิ  เราพบว่าความจ�ำดีขึ้น  เมื่อความจ�ำดีขึ้น การเรียนก็ดีขึ้น และการฝึกสมาธิท�ำให้จิตใจสงบ และช่วยยกระดับ จิตใจให้ดีขึ้น สภาวะจิตใจที่สงบนิ่ง ทางพุทธเราก็เรียกว่าศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อเรามีศีล มีสมาธิเกิดขึ้น จิตใจมันสงบ ปัญญามันก็เกิด และที่เหลือคือความรัก ความเมตตา คนเราถ้ามีความรัก ความ

110


เมตตา ทุกอย่างก็แก้ได้หมด เราให้อภัยซึ่งกันและกัน เราไม่มองใน แง่ร้าย มีอะไรเราช่วยเหลือเขา เมื่อมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรามี อาหารเหลือเฟือ เรามีอะไรทุกอย่างเหลือเฟือในโลกนี้ เราไม่ต้องแย่ง กันหรอก แต่จะใช้ระบบเศรษฐกิจแบบปัจจุบันไม่ได้ ระบบเศรษฐกิจ ต้องเปลี่ยน  จะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบนายทุนไม่ได้แล้ว  แต่เป็น เศรษฐกิจของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เศรษฐกิจของในหลวง สิ่งเหล่านี้ มันจะต้องเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ”

การมุ่งไปเอาแค่ความรู้อย่างเดียว แต่ขาดคุณธรรม มันอันตราย เพราะจะ ท�ำให้เห็นแก่ตัว ท�ำอะไรเพื่อตัวเอง ต้อง รวย  มีงานดี  ประสบความส�ำเร็จ สิ่งที่ คนเราปรารถนาจริงคือความสุข  การมี คุณธรรมสูงจะน�ำไปสู่ความสุข  พอใจ ไม่โลภ ความเห็นแก่ตัว การถือตนหาย ไป  และจะกลายเป็นผู้ที่มีประโยชน์ต่อ โลก

111


ประมวล เพ็งจันทร์ “เดิ น สู ่ อิ ส รภาพ เดินสู่ความดีงามในตัวคุณ”

ประมวล เพ็งจันทร์ คือชายที่เดินเท้ากว่า 1,500 กิโลเมตร จากเชียงใหม่ถึงเกาะสมุยซึ่งเป็นบ้านเกิด มีค�ำถามว่าเขาท�ำสิ่งนี้เพื่อ อะไร และได้อะไรจากการเดินทางไกล ค�ำตอบที่ได้อาจจะน�ำมาซึ่ง เส้นทางแห่งความเชื่อใหม่ๆ ที่ก�ำลังจะบอกเราให้รู้ว่า มนุษย์นั้นโดย พื้นฐานเป็นคนดี  และเราสามารถอยู่ร่วมกับคนบนโลกนี้อย่างมีความ สุขได้โดยปราศจากอคติ ถ้าย้อนเวลากลับไปในอดีต เด็กชายประมวลตอนเด็กๆ ไม่ ได้แตกต่างจากเด็กคนอื่น จนเมื่อวันที่เขาพบความกลัวที่เป็นเหมือน ความทุกข์เกาะกุมหัวใจเขา

112


“ผมไม่มีอะไรพิเศษกว่าคนอื่น  ก็เหมือนเด็กทั่วๆ  ไป  แต่ต้อง เข้าใจนิดหนึ่งว่าผมเกิดที่เกาะสมุยในสมัยห้าสิบปีที่แล้ว  เกาะสมุย เป็นดินแดนที่บริสุทธิ์มาก  ก็คือไม่มีคนต่างถิ่น  แล้วก็ไม่มีสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกใดๆ  เลย เพราะฉะนั้นภาพที่ผมจ�ำได้ก็คือ  บรรยากาศที่ งดงามของเกาะสมุย ท้องทะเลสวยงาม  ป่ามะพร้าว  เราอยู่กันเฉพาะ ในวงศาคณาญาติ  เพราะฉะนั้นความรู้สึกของผมที่จ�ำได้ก็คือ  เรามี จินตนาการที่งดงามกับชีวิตในวัยเด็ก  ไม่ว่าอะไรดูจะเป็นสิ่งสวยงาม ไปหมด  จ�ำได้ว่าเมื่อมีคนขึ้นไปบนเกาะเพื่อขายยา  เราจะรู้สึกกลัว ไม่ แน่ใจว่าคนเหล่านั้นจะมีอันตรายต่อเราหรือเปล่า  นี่คือสิ่งที่เป็นความ ทรงจ�ำสมัยที่เป็นเด็กนะครับ แต่ ค วามทรงจ� ำ ที่ ดี ง ามอย่ า งหนึ่ ง ก็ คื อ ความทรงจ� ำ ในวั ย เรียน  นึกถึงภาพนะครับว่าโรงเรียนของผมอยู่ในวัด แต่วัดอยู่ริมทะเล เพราะงั้นสนามเล่นของเด็กก็คือสนามวัด ก็คือชายหาดที่อยู่ริมทะเล นึกถึงภาพว่าตอนที่เราเป็นเด็ก  เราไม่จ�ำเป็นต้องมีสตางค์เพื่อไปซื้อ ขนมกินในตอนเที่ยง ถ้าพระมีอะไรเหลือให้เรากิน  เราก็กิน หรือถ้าเรา ซน  วันนั้นน�้ำทะเลแห้ง เราก็วิ่งไปเก็บสาหร่าย ไข่ปลามากินกันอย่าง สนุกสนาน  ตอนนั้นเรารู้สึกเหมือนว่าเราไม่มีอะไรจะกินกัน แต่เรามา รู้ทีหลังนะครับว่านั่นคืออาหารที่ประเสริฐที่สุดส�ำหรับเด็ก เพราะมัน เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก ที่เล่าตรงนี้เพียงเพื่อจะบอกว่า  ผมเติบโตขึ้นมาท่ามกลาง ธรรมชาติที่บริสุทธิ์และงดงาม  เพราะในใจของผมถ้าเราจะกลับไป สู่ความหมายในตอนนั้นก็คือ  มีความบริสุทธิ์และงดงาม  ในความ รู้สึกของผมตอนที่อยากจะกลับไปหาวัยเด็กก็คือ กลับไปหาสภาพที่ สะอาดมีความบริสุทธิ์และงดงาม คือสะอาดบริสุทธิ์ทั้งโลกภายนอก แล้วก็งดงามปรากฏอยู่ในใจของผม นี่เป็นความรู้สึกของวัยเด็กครับ”

113


แต่ความกลัวคือสิ่งที่มาเปลี่ยนชีวิตและการมองโลกวัยเด็ก ของอาจารย์ประมวลโดยสิ้นเชิง “ผมรู้สึกว่าคนที่ถูกฆ่าตายน่ากลัวมาก เป็นความน่ากลัวที่ยัง ฝังใจผมอยู่เลย  ผมยังจ�ำภาพได้ดี  เป็นทางเดินจากบ้านผมที่จะเดิน ไปโรงเรียน  เมื่อเราเดินไปได้สักครึ่งทางก็มีคนจ�ำนวนมากยืนมุงอยู่ หน้าบ้านหลังหนึ่ง เราเป็นเด็กเราก็ไม่รู้ว่าอะไร เราก็เดินไปมุงด้วย ใน วันนั้นผมเห็นภาพที่สะอิดสะเอียน มีผู้ชายคนหนึ่งก็คือหนึ่งในสมาชิก ในชุมชนเราขึ้นไปหาผู้หญิงแล้วไม่ทราบเป็นเพราะเหตุอะไร จึงมีการ ทุบตีกันจนตาย เราไม่รู้ว่าคืออะไร   แต่มารู้ภายหลังว่าเป็นการรอเพื่อ ชันสูตรพลิกศพ พอผมเห็นภาพผู้ชายที่ถูกตี มีเลือดมีอะไรที่แห้งแล้ว ผมสะดุ้งกลัวความรุนแรง   การตายที่เกิดจากการประทุษร้ายฝังใจ ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาผมยอมเดินเพิ่มขึ้นอีกหลายกิโลเพื่อที่จะไม่ ต้องผ่านบ้านหลังนั้น เพราะมีความรู้สึกว่าทันทีที่ผ่านบ้านหลังนั้นผม จะรู้สึกกลัว   มีความทรงจ�ำว่าบ้านหลังนี้เคยมีคนตาย   แล้วภาพคน ตายนั้นน่ากลัวมาก” และความกลัวตรงนี้ก็ยังมาคอยหลอกหลอนเขาในช่วงชีวิต วัยหนุ่ม

114


“ความกลัวนี้มาปรากฏอีกครั้งตอนผมโตเป็นหนุ่ม  แล้วผม ประกอบอาชีพอยู่ในสถานการณ์ที่รุนแรง เพื่อนที่ร่วมอาชีพกับผมถูก ฆ่าตายอย่างน่าสะอิดสะเอียน  ผมกลัวมาก   กลัวจนกระทั่งว่าผมไม่ สามารถจะทนอยู่ในสภาพเดิมได้ นั่นคือเหตุการณ์ที่ผมเผชิญเมื่อผม อายุสิบเจ็ดย่างสิบแปดปี  แล้วผมก็เลยต้องหาวิธีที่จะหลีกหนีความ กลัวนี้  ตอนนั้นมีความรู้แล้ว   ผมคิดที่จะเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา” การบวชท� ำ ให้ อ าจารย์ ป ระมวลต้ อ งต่ อ สู ้ กั บ ตั ว เองหลาย อย่าง สิ่งส�ำคัญอย่างหนึ่งที่เขาต้องการเป็นที่สุดคือการเอาชนะความ กลัว “พอบวชแล้วนี่เป็นสิ่งที่ผมต้องเผชิญกับความยุ่งยากเป็น ที่สุด เพราะในวัดมันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกหนีสิ่งเหล่านี้ได้ แต่ตอน นั้นผมเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนตัวเอง เพราะฉะนั้นเราจึงเรียนรู้ที่จะไม่ ตามกระแสของความกลัว แต่พยายามฟื้นใจให้หลีกพ้นหรือข้ามพ้น ความรู้สึกนี้ให้ได้  ผมเริ่มข้ามพ้นความกลัวมาได้ตามล�ำดับ  จากที่ เคยกลัวคนที่เป็นศพตายไปแล้ว   กลัวสิ่งที่มันเกี่ยวเนื่องกับคนตาย ผมก็ข้ามพ้นไปได้  แต่ลึกๆ  แล้วความกลัวมันก็ยังนอนเนื่องอยู่ในใจ ผม  และจึงเป็นเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้ผมตัดสินใจเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ผมอายุห้าสิบเอ็ดปี  อย่างที่รู้กันอยู่แล้ว  เพราะผมเข้าใจว่าชีวิตผมไม่ ควรจะจบลงด้วยความกลัวที่ยังฝังแน่นอยู่ในใจ  แต่ความกลัวที่เราโต ขึ้นแล้วมันจะมีรายละเอียดที่ลึกอยู่ในใจเรามาเรื่อยๆ  จนกระทั่งเรา ไม่สามารถบอกได้ว่าเรากลัวอะไรเป็นการเฉพาะ” และการเดิ น ทางค้ น หาความหมายของชี วิ ต กว่ า   1,500 กิโลเมตร อาจารย์ประมวลต้องเจอเรื่องราวมากมาย ความกลัวเป็น สิ่งหนึ่งที่อาจารย์เจอ  แต่เหนือสิ่งอื่นใด  ยังมีความสุขบางส่วนอยู่และ ปรากฏตลอดเส้นทางเดิน

115


“สิ่งที่ผมรู้อยู่ในใจ  ตอนที่ผมก�ำหนดก่อนออกจากบ้านคือ  ก้าวออกจากความกลัว  เพราะผมมีความรู้เชิงทฤษฎีอยู่ว่าความกลัว อยู่ในใจผม  ไม่ได้อยู่ในโลกข้างนอก  ถ้าใจผมมีความกลัว  โลกข้าง นอกจึงน่ากลัว   นี่จึงเป็นที่มาให้ผมตัดสินใจที่จะออกจากบ้านโดยที่ ไม่มีสิ่งค�้ำประกันอะไรใดๆ  ในชีวิตผมเลย ผมไม่มีสตางค์ ไม่มีคนรู้จัก และก็ไม่รู้ว่าก้าวต่อไปนี้ผมจะเจอกับอะไร  ซึ่งปกติเมื่อก่อนพอเรารู้ ว่าอะไรไม่มั่นคง  อะไรไม่แน่นอนเราก็จะหลีกหนีสิ่งนั้น  แล้วก็สร้าง ความมั่นคง  สร้างความแน่นอนขึ้นมาทดแทนเสีย  แต่ปัจจุบันที่ผม ผ่านมาได้ก็คือผมคิดว่าผมต้องก้าวออกมาจากความกลัวเสีย  นั่นจึง เป็นที่มาในการก้าวออกเดินทางในการเดินทางพันกว่ากิโลฯ ของผม เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่เป็นสิ่งที่ผมเคยกลัวผมก็จะก้าวไปหาสิ่งนั้น   ผม จะมีความรู้สึกที่ดีมาก  ถ้าไปที่วัดแล้วก็มีเมรุเผาศพแบบโบราณยิ่งดี ใหญ่ เพื่อที่จะได้กราบเรียนพระที่วัดนั้นว่า ผมขออนุญาตที่จะนอน หลังเมรุเผาศพก็ได้ คือผมมีความรู้ทางทฤษฎีอยู่ก่อน  ผมศึกษาทางพระพุทธศาสนา  นั่นคือความกลัว  คือสิ่งปรุงแต่งที่เกิดขึ้นจากใจ  และความ หมายของการปรุงแต่งนั้นคือความหมายที่เก็บสะสมมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะสลายความกลัวให้ได้  เราต้องสลายมูลหรือ อกุศลมูลที่อยู่ในใจให้ได้  ทีนี้อกุศลมูลนี้เราไม่สามารถสะสางด้วย ความคิด   เช่นใครสักคนกลัวผี  ถ้าเขาไปศึกษาทางวิทยาศาสตร์  เขา ก็จะรู้ว่าผีไม่มีจริง  และเชื่อว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ถูกต้องด้วยใน ขณะเดียวกันก็ยังมีความกลัว   เพราะความกลัวเป็นความรู้สึกที่อยู่ ภายใน  เราไม่สามารถช�ำระความกลัวนั้นด้วยความคิดได้  ผมเองมี ความรู้เชิงความคิดที่ละเอียดถี่ถ้วน  รู้ว่าความกลัวนี้มีความหมาย อย่างไร เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมต้องท�ำคือออกมาจากความคิดเพื่อจะ มาอยู่กับความหมายซึ่งมันเป็นปัจจุบัน  ถ้ารู้เท่าทันอารมณ์ที่เป็น

116


ปัจจุบันโดยเฉพาะจิตของเรา ท�ำให้อกุศลมูลคือตัวความโลภ โกรธ หลง เป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดความกลัว ถ้าเราก�ำจัดมันออก ไปเราก็สามารถออกจากความกลัวได้   ตอนที่ผมเดินผมจึงถือหลัก ธรรมทางศาสนาว่าจะก้าวเดินไปทีละก้าวด้วยจิตใจที่ผ่องใสเบิกบาน คือปล่อยให้จิตอยู่กับปัจจุบันที่เป็นธรรมชาติ  การเดินแต่ละก้าว ของผม คือการส�ำรวจว่าเมื่อใดที่ผมปล่อยให้จิตไปคิด เกิดความกลัว เกิดความกังวล ก็จะทบทวนให้เกิดภาวะตรงกันข้าม การเดินแต่ละ ก้าวของผมคือการเรียนรู้ว่าสภาวะอกุศลนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร  และ ท�ำอย่างไรที่จะให้เราละสิ่งนั้นได้  ผมถือหลักพุทธศาสนาว่าสิ่งใด เป็นอกุศลให้ละเสีย  สิ่งใดเป็นกุศลให้เพิ่มพูน  ผมก็ท�ำหน้าที่ภาวนา เพิ่มพูนฝ่ายกุศลให้มากขึ้นในใจ” จากการเดินทาง  อาจารย์ประมวลพบว่าในทุกเส้นทางที่ไป มีเรื่องน่าเรียนรู้มากมาย โดยเฉพาะจิตใจมนุษย์ ที่ในที่สุดแล้วมนุษย์ ทุกคนมีความดีงามอยู่ในใจ และพร้อมจะเป็นมิตรกับทุกคน อยู่ที่ว่า เราจะสามารถทลายก�ำแพงแห่งความไม่เชื่อใจลงได้ไหม “ก่อนเดินทางผมเชื่ออยู่ในใจว่า  มนุษย์เราไม่ได้เกิดมาเพื่อ เบียดเบียนใครเลย  เจตจ�ำนงเราไม่เคยคิดจะประหัตประหารใคร แต่ เนื่องจากสภาวะที่เราสั่งสมปลูกสร้างในใจเรา  ท�ำให้เรารักตัวกลัว ตาย ความรักตัวกลัวตายท�ำให้เราเห็นผู้อื่นเป็นอันตรายต่อเรา เรา จึงปกป้อง ที่เรามีความรู้สึกรังเกียจ ที่ผมบอกผมกลัวงู เพราะในใจ ของผมท�ำให้รู้สึกว่างูนี้เป็นอันตรายกับผม  งูสามารถกัดผม  และผม สามารถจบชีวิตลงได้เพราะงูกัด   ในขณะที่มดและแมลงชนิดอื่นกัด ผม ผมไม่ตาย แต่งูกัดผมตาย ความรู้สึกว่างูกัดตายนี้มันถูกสั่งสม มาตั้งแต่เป็นเด็กและท�ำให้ผมกลัวงู และทันทีที่เรากลัวงูเราสามารถ ประทุษร้ายงูได้โดยที่งูยังไม่ท�ำอันตรายเราเลย  และผมเข้าใจว่าใน กรณีของเพื่อนมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน  เราถูกท�ำให้เกิดความรู้สึกว่า เพื่อนมนุษย์กลุ่มหนึ่งเป็นอันตรายกับเรา  และความรู้สึกเป็นอันตราย กับเราท�ำให้เรารู้สึกได้ถึงความหมายบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็นไปในเชิง เบียดเบียนกัน”

117


“ตอนที่ผมออกจากบ้านไป  มีคนหวั่นกลัวว่าผมจะออกไป เผชิ ญ กั บ ความยุ ่ ง ยากล� ำ บาก   เขาบอกว่ า ก� ำ ลั ง เดิ น ไปเผชิ ญ กั บ อันตราย  และที่ส�ำคัญคือเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น  ผมจึงตั้งหลักของ ผมว่าผมจะไม่เดินไปหาคนรู้จัก  ถ้าจะเดินไปหาคนรู้จักคือเพื่อนมิตร เขาก็ปกป้องผมใช่ไหมครับ  แต่ผมจะเดินไปหาคนแปลกหน้าเพราะ สิ่งที่ผมก�ำลังจะเผชิญก็คือ เผชิญกับคนที่ผมเคยกลัว แต่สิ่งที่ผมพบ ก็คือ  จริงๆ เราต่างคนต่างกลัวซึ่งกันและกัน ผมยังจ�ำภาพได้นะครับ วันหนึ่งเมื่อผมเดินไปหมู่บ้านที่ชนบทแห่งหนึ่ง และในหมู่บ้านชนบท นั้นเมื่อรู้ว่าผมเป็นคนแปลกหน้ามา  เขาก็ให้ผมอยู่ที่วัด  และเขาก็ ไปเรียกประชุมชาวบ้าน   ไปเรียกผู้ใหญ่บ้านมา   ไปเชิญชาวบ้านมา  และที่ส�ำคัญก็คือพอเวลาประมาณสองทุ่มกว่าแล้ว ชาวบ้านยังมากัน ไม่พร้อม ผู้ใหญ่บ้านยังไม่พร้อมที่จะมาประชุม  ที่วัดชาวบ้านมานั่ง อยู่ในวัดเต็ม เพื่อจะรอประชุมว่าจะจัดการกับคนแปลกหน้า  คือผมนี้ อย่างไร ขณะที่ผมนั่งรอว่าเมื่อไหร่เขาจะได้ประชุมกันเพื่อจะได้เอายัง ไงก็เอากัน”

118


“ผมรู้สึกสะเทือนใจเป็นที่สุดเลย  ความสะเทือนใจของผมก็ คือประชาชนเหล่านี้ล้วนแต่เต็มไปด้วยความกลัว  กลัวคนคนหนึ่งคือ ผม  ผมเดินมาเพื่อจะออกจากความกลัว  แต่ผมกลับท�ำให้เกิดความ กลัวขึ้นในใจเขา  เพราะประชาชนในชนบทเล็กๆ นี้  ประมาณยี่สิบถึง สามสิบคนในท่ามกลางความสับสนนี้  ผมไม่รู้เท่าไหร่นะครับ แต่เมื่อ มานั่งประชุมกันแล้ว  คนก็มาก   ผมจ�ำได้เพียงแค่ว่า   เมื่อประมาณ สักสามทุ่ม เมื่อผู้ใหญ่บ้านมาถึง  ก็เลยเริ่มต้นที่จะประชุม  ผมไม่ต้อง ให้ผู้ใหญ่บ้านพูดอะไรมากเลย  ผมยกมือไหว้คนรอบทิศ  เหมือนนัก มวยเลยนะครับ  และก็กล่าวขอโทษทุกๆ   ท่าน ทุกคนที่ผมท�ำให้เกิด เหตุการณ์นี้ขึ้น ผมไม่มีเจตนาที่จะท�ำให้เกิดความหวั่นกลัวในใจของ ใครเลย  ผมเดินออกจากบ้านผมก็หวังว่าจะออกจากความกลัวในใจ ผม  แต่ผมรู้สึกได้ว่าผมผิดที่เอาความกลัวที่มีอยู่ในใจผมไปยัดใส่ใน ใจของท่านแทน  ขอให้โปรดรับรู้ความรู้ส�ำนึกผิดของผม  ผมขอโทษ ทุกท่าน  ปัจจุบันตอนนี้สามทุ่มแล้ว  ท่านควรจะได้นอนหลับพักผ่อน   หรือไม่ก็นอนดูทีวีอยู่ที่บ้าน  แต่วันนี้ท่านต้องมาอยู่ที่วัดเพียงเพื่อจะ ต้องมาประชุมเพื่อตัดสินเรื่องของผม  ผมขอรับผิดทุกประการ  จะ ลงโทษผมอย่างไรก็ได้  ผมเข้าใจว่าค�ำพูดนี้ออกมาจากใจผม  และคง เป็นค�ำพูดที่ออกมาจากใจนี้กระมังครับ  ชาวบ้านก็รู้สึกว่ามีท่าทีที่ดี กับผม  และโดยเฉพาะเมื่อเขามารู้ว่าผมเป็นอดีตอาจารย์ประจ�ำอยู่ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  หลายคนรู้สึกเลยว่าที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้  ลูกเขาหรือญาติเขาคนใดคนหนึ่งเคยไปเรียนหนังสือที่นั่น  ท่าทีที่เป็น ความหวั่นกลัวก็เป็นท่าทีที่ดีขึ้น  บางคนขยับมาถามใกล้ๆ  ว่า ลูกเขา เรียนอยู่คณะนั้น คณะนี้ ผมสอนอยู่คณะไหน”

119


“ผมจะบอกว่าจริงๆ แล้วในใจของมนุษย์แต่ละคนนี้ถูกท�ำให้ มีความหมายของความกลัวอยู่ภายใน  เมื่อเห็นอะไรที่เป็นสิ่งที่ไม่ ปกติเป็นสิ่งที่รู้สึกแปลก  ไม่สามารถหาความหมายที่ชัดเจนได้  ก็จะ เกิดความกลัว  ด้วยความรู้สึกเช่นนี้นะครับ  จึงท�ำให้ผมพยายามที่จะ เรียนรู้  และการเรียนรู้ที่ว่านี้ไม่ได้เรียนรู้เฉพาะความกลัวในใจผมนะ ครับ ผมเรียนรู้แม้กระทั่งว่าถ้าผมเจอเด็ก ผมควรจะมีท่าทีอย่างไร ถ้า ผมเจอผู้หญิงผมควรจะมีท่าทีอย่างไร  ถ้าผมเจอผู้ชายผมจะมีท่าที อย่างไร   เช่นถ้าเดินไปเจอเด็ก  เดินตรงเข้าไป  เราควรจะหยุดแล้ว ก็ดูกิริยาอาการของเด็ก   ถ้าเจอผู้หญิง  ถ้าผู้หญิงเพียงหนึ่งคน  ควร เดินหลีกไปเลย  แต่ถ้าเป็นผู้หญิงสองสามคนขึ้นไป  เดินเข้าไปใกล้ๆ แล้วทักถามทันทีเมื่ออยู่ในระยะใกล้ แต่ถ้าเจอผู้ชายสองคนขึ้นไปไม่ ต้องกลัว  เข้าไปหาได้เลย เพราะผู้ชายสองคนเขาจะไม่กลัวผู้ชายคน เดียว ผู้หญิงสามคนก็จะไม่กลัวผู้ชายคนเดียว แต่เด็กไม่ว่ากี่คน  ถ้า เขาเจอคนแปลกหน้าเขาจะวิ่งหนี นี้คือกิริยาอาการที่ผมเรียนรู้ว่าเรา จะปฏิบัติต่อเด็กยังไง ต่อผู้หญิงอย่างไร ต่อผู้ชายอย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่า นี้นะครับ เป็นสิ่งที่ผมเรียนรู้ว่า ความกลัวมีอยู่ในใจ และที่ส�ำคัญนะ ครับ ที่มหัศจรรย์มากๆ  แม้กระทั่งเด็กที่กลัวเราและพอเจอผมนะครับ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอ�ำนาจหรืออะไรนะครับ เพราะทุกครั้งที่ผมเจอเด็ก ผมจะยืนนิ่งๆ ที่ยืนนิ่งๆ นี้ ผมก็จะตั้งจิตก�ำหนดความหมายบอกว่า

120


ผมก�ำลังจะพยายามข้ามให้พ้นความกลัวที่กัดกินผมมาตั้งแต่วัยเด็ก   ขอให้เยาวชนที่ปรากฏอยู่ต่อหน้าผมนี้อย่าได้หวั่นกลัวผมเลย  ผมมี ความรักความเมตตาเขาเป็นที่สุด  ผมปรารถนาที่จะให้เกิดความรู้สึก ที่ดีขึ้นในใจเขา ด้วยความรู้สึกประมาณนี้นะครับ จึงท�ำให้ผมสามารถ ที่จะคุยกับเด็ก และผมเกิดความรู้สึกที่ดีมาก” อาจารย์บอกว่าสิ่งที่เราสามารถจะน�ำไปใช้ได้จากบทเรียน การเดินทางของอาจารย์ในครั้งนี้คือ  ให้คิดว่าทุกคนคือเพื่อนกันหมด “ความหมายที่ผมอยากจะบอกก็คือ  จริงๆ  แล้วในความเป็น จริงเรามีความยึดโยงเกี่ยวเนื่องกับเพื่อนมนุษย์อย่างไม่จ�ำกัด  นับ จากพ่อแม่ผู้ให้ก�ำเนิดเรา  ต่อมาก็พี่ๆ ต่อมาเรามีน้อง ต่อมาเรามีเพื่อน ต่อมาเรามีคนมากมาย และที่ส�ำคัญที่สุดนะครับ มนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ใน ปัจจุบันในสังคมนี้  ยิ่งถ้าเราท�ำตัวให้โดดเดี่ยวมากเท่าไร เราก็จะยิ่ง มีความกลัวที่มากขึ้นเท่านั้น แต่ทันทีที่เราเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับผู้อื่น มากเท่าใด เราก็จะคลายความหวั่นกลัวมากเท่านั้น เพราะสิ่งที่ผมพอ จะพูดได้ในปัจจุบันนี้นะครับ   ก็คือความเป็นปัจเจกบุคคลที่เราสร้าง ขึ้นมาในตัวเราเอง  มันจึงท�ำให้เรารู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่”

121


“ปัจจุบันเราเต็มไปด้วยสภาวะที่มีคนอื่นอยู่รอบตัวเรา  คนที่ อยู่รอบๆ  ตัวเราเป็นคนอื่นทั้งหมดเลย  ไม่ต่างอะไรกับที่เราขึ้นรถเมล์ แล้วมีคนอื่นทุกๆ  คนอยู่บนรถเมล์คันนั้น  เราไม่รู้ว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นแล้ว คนอื่นๆ  บนรถเมล์นั้นจะปฏิบัติต่อเราเช่นไร   แต่ผมนึกภาพตรงกัน ข้ามเลยครับ  แม้เราจะมีความน่ากลัว  แต่ถ้าเรามีเพื่อนสักคน  ความ น่ากลัวจะลดลง  ความน่ากลัวที่มันลดลง  เพื่อนคือใครครับ   เพื่อนคือ ไม่ใช่คนอื่น  มีความหมายอะไรบางอย่างยึดโยงกับเรา  เพราะฉะนั้น สิ่งที่พูดได้ในสังคมปัจจุบัน  เราต้องพยายามสร้างสังคมที่มีมิตรภาพ และสังคมที่มีมิตรภาพก็จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรามีสภาวะจิตของเราที่ มีเมตตาต่อกันและกัน  และตรงนี้นะครับคือสิ่งที่ผมเรียนรู้  ที่อยากจะ สื่อสารว่าในสังคมถ้าเมื่อใดที่เราท�ำให้เกิดภาวะที่มีความเป็นคนอื่น และคนอื่นเป็นปรปักษ์หรือเป็นอริ สังคมนี้จะน่ากลัว ท�ำอย่างไรก็ได้ ครับที่ท�ำให้ความเป็นคนอื่นลดน้อยลง ความเป็นปรปักษ์หมดไป  และ เราจะมีความรู้สึกที่ดี  เพราะในสังคมที่เราอยู่รอดจะไม่ใช่ญาติไม่ใช่ มิตรก็ได้นะครับ  อย่างเช่นในชนบทสังคมที่ชนบทจริงๆ  นะครับ  เข้าไป แล้วเราจะไม่มีความเป็นคนอื่น  เขาจะเห็นเราเป็นคนแปลกหน้าในช่วง สั้นๆ  แต่เมื่อเราคุยเพียงไม่กี่ค�ำ  เราก็จะเปลี่ยนคนแปลกหน้ามาเป็น คนคุ้นเคยกันได้”

122


ที่สุดแล้วมนุษย์ทุกคนมีความดีงาม อยู่ในใจ และพร้อมจะเป็นมิตรกับทุกคน อยู่ที่ว่าเราจะสามารถทลายก�ำแพงแห่ง ความไม่เชื่อใจลงได้ไหม

123


วิจักขณ พานิช ค้นหาจิตวิญญาณภายในตน “ผมมองภาพอนาคต ในฝั น ไว้ แ บบนี้   สั ง คมไทยจะ เห็นต่างได้  รับฟังได้  จะท�ำให้ เราแยกแยะได้ และเราก็จะอยู่ ร่วมกันได้ เพราะเมื่อเข้าใจตัว เองแล้วก็ควรที่จะเริ่มเข้าใจคน อื่นด้วย”

ความส�ำเร็จ  ชื่อเสียง  และความก้าวหน้าในชีวิตเป็นสิ่งที่ ใครๆ ก็ต้องการ แต่จะมีสักกี่คนที่คิดจะทิ้งสิ่งเหล่านี้กลางคัน เพื่อไป ค้นหาความหมายของชีวิตที่แท้จริง  การไปถึงสิ่งเหล่านั้นอาจไม่ใช่ เส้นทางที่หวือหวาโดดเด่นทางสังคมหรือชื่อเสียงและมีความส�ำเร็จ ทางโลก แต่สิ่งที่ได้กลับเป็นความสงบและสัจธรรมบางอย่างที่ท�ำให้ จิตใจเปี่ยมสุขได้ทุกวัน คุณวิจักขณ พานิช คือคนที่ทิ้งความส�ำเร็จ ทางโลก  ยอมละทิ้งการเป็นคนสมบูรณ์แบบเพื่อมาค้นหาสิ่งที่เขา เรียกว่าการเรียนรู้ที่แท้จริง

124


“ผมเคยเรียนอยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ตอนนั้นเข้ามหาวิทยาลัยโดยที่ยังไม่รู้เลยว่าอยากเป็นอะไร  แต่ตามกระแส สั ง คมไปว่ า คนเรี ย นเก่ ง จะต้ อ งเรี ย นแพทย์ ห รื อ เรี ย นวิ ศ วะ  ตอนนั้ น ผม ทะเลาะกับคุณพ่อหนัก  ท�ำให้มีอคติกับคนที่เป็นแพทย์  เมื่อเอ็นทรานซ์จึง เลือกสอบเข้าเพียงคณะเดียวคือวิศวะ  จุฬาฯ  เพราะผมก็เป็นคนเรียนเก่งคน หนึ่ง สามารถเลือกเข้าคณะอะไรก็ได้ ตอนเราเรียนวิศวะ เรารู้สึกว่าหลายๆ คนที่มาเรียนเพราะที่นี่เป็นแหล่งชุมนุมคนเก่ง  จนผมมาค้นพบว่าเมื่อเรา หยุดวิ่งตามคนอื่นแล้วเราจะเข้าใจตัวเองมากขึ้น  เมื่อผมอยู่กับตัวเองมาก ขึ้นผมค้นพบว่าชอบด้านสังคมศาสตร์  โชคดีมีเพื่อนคนหนึ่งชวนผมไปนั่ง สมาธิที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 7 วัน และ ในช่วงเวลานั้นผมก็พยายามทดสอบดูว่าสมาธิมันจะช่วยอะไรในชีวิตเราได้ เพราะผมไม่ใช่คนที่เชื่ออะไรง่ายๆ แต่พอได้ปฏิบัติไปจนวันที่สี่ ผมเริ่มเข้าถึง ในสิ่งที่เป็นสมาธิจริงๆ จิตใจสงบ และช่วงนั้นผมก็เริ่มคิดทบทวนความโกรธ ที่เรามีต่อพ่อ  และรู้ได้ทันทีว่าต้องไปกราบขอโทษ  และหลังจากนั้น  มันก็ เปลี่ยนชีวิตผมไปเลย” ออกเดินทางสู่เส้นทางใหม่ของชีวิต “ความเปลี่ยนแปลงในใจครั้งนั้นเป็นเหตุให้หลังจากเรียนจบผม ไปบวชที่ ส วนโมกข์ ห นึ่ ง ปี   และชี วิ ต การบวชที่ ส วนโมกข์ เ ป็ น จุ ด เปลี่ ย น ชีวิตครั้งส�ำคัญของผม  เพราะผมได้เรียนรู้หลายอย่างที่นั่น  ทั้งความรู้ด้าน ศาสนารวมถึงด้านจิตใจ  หลังจากนั้นผมก็ไปเรียนต่อปริญญาโทในดาน มานุษยวิทยา  จิตวิทยา  ปรัชญา  และศาสนาที่เมืองโบลเดอร  รัฐโคโรลาโด  สหรัฐอเมริกา  เรียนที่มหาวิทยาลัยนาโรปะนานสามป  ควบคูกับการ

125


ฝกปฏิบัติภาวนาอีกสามปี หลังจากเรียนจบผมก็กลับมาเมืองไทย และเริ่มที่อยากจะลองจัดคอร์สสมาธิสั้นๆ  เป็นกระบวนกรจัดคอร์ส ภาวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตกับคนไทยดูบ้าง “การที่ผมมาจัดคอร์ส  เป้าหมายคืออยากหาเพื่อนปฏิบัติ อยากแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มา  อยากเห็นว่าคนในสังคมไทยมีความ สนใจทางด้านจิตวิญญาณ มีความต้องการอะไรกันแน่ แล้วเรามา ค้นหา เรียนรู้ร่วมกัน มาเป็นเพื่อนกัน สิ่งที่ผมน�ำเสนอคือประสบการณ์ ของผม “ผมคิ ด ว่ า ถ้ า เราไม ม องดู   ไม ใ ส ใ จโลกด  า นใน  ผมว  า มั น ไปไมรอด  เพราะฉะนั้นผมรูสึกวาเรื่องความคาดหวังไมไดเปนเรื่อง สําคัญ  สําหรับผม  แตรูสึกวาเราจะสามารถแบงปนประสบการณดีๆ ที่จะมีความหมายและมีคุณคากับชีวิตของทุกคนถาไดสัมผัส  แมเปน เพียงชวงสั้นๆ  ที่เขามาฝกวันสองวัน  และไดเห็นพื้นที่ดานในของตัว เอง  วาความจริงแลวพื้นที่ของชีวิตสามารถขยายใหญได  เราสามารถ พบศักยภาพตางๆ  ในตัวเราที่เราไมเคยเห็นมากอน  เหมือนเปนชีวิตที่ ใหญกวาความคิด ใหญกวาความคาดหวังหรือแผนในอนาคต ซึ่งพอ เราหันมามีสติกับตัวเองเราจะรูวาความจริงแลวชีวิตเรามีความหมาย กวานั้นมาก” เมื่อเรียนรู้เรื่องสมาธิมันจะได้มากกว่าสมาธิ “สมาธิ ห รื อ ภาวนาคื อ การผ่ อ นคลาย  สร้ า งสมดุ ล ให้ ชี วิ ต เป็นการท�ำให้ตัวเรารู้จักตัวเราเองได้ดีขึ้น  ซึ่งมันก็จะลดอาการทุกข์ ทางร่างกาย และมันก็จะท�ำให้เราสามารถเผชิญปัญหาได้อย่างผ่อน คลายและมีสติ เกิดความกล้าหาญที่จะจัดการสิ่งที่เป็นห่วงหรือกรรม

126


ภายในใจตนเอง เมื่อร่างกายผ่อนคลาย จิตใจผ่อนคลายเราก็จะเกิด ความสุขได้ง่ายขึ้น” เรียนรู้ที่จะท�ำสมาธิง่ายๆ ในชีวิต “เริ่มตนดวยการนั่งขัดสมาธิ เลือกทานั่งที่ทําใหคุณรูสึกผอน คลายมากที่สุด  ทานั่งที่ถูกตองจะแตกตางกันไปในแตละบุคคล เมื่อ เราไดฝกไปสักระยะ รางกายจะเริ่มปรับตัวเขากับรูปแบบการฝก ทา นั่งก็จะเปลี่ยนตามไปดวย  เราจึงควรเริ่มตนดวยการสํารวจทานั่งที่ เหมาะสมกอนการฝกทุกๆ  ครั้ง  หัวใจของทานั่งอยูที่ความรูสึกผอน คลาย ความยืดหยุน และความมั่นคง   เมื่อไดทานั่งที่เหมาะสมกับ ตนเองแลว  เราจึงเริ่มตามความรูสึกของลมหายใจที่เลื่อนไหลคอยๆ  ตามลมหายใจเขาออก  ดวยความมีสติอยูในทุกปจจุบันขณะ จาก  การฝกสติที่ปลายจมูก  คอยๆ  สังเกตถึงพลังแหงการตื่นรูภายในที่ ไหลเวียนอยูในทุกสวนของรางกาย หากสังเกตใหดี เราจะรูวาพลัง แหงการตื่นรูที่วายังรวมถึงพื้นที่วางภายนอกรอบตัวเราอีกดวย  การ คนพบนี้จะนําเราไปสูคําถามที่วา  รางกายที่แทจริงคืออะไรกันแน? ยิ่งเราสามารถผอนคลายรางกายทุกสวนไดมากเทาไร  การตามลม หายใจที่ปลายจมูกก็ดูจะสงผลตอการสรางสัมพันธกับพลังแหงการ ตื่นรูในกายไดมากขึ้นเทานั้น และที่นาแปลกก็คือ ยิ่งเรามีสติอยูที่ ลมหายใจมากเท า ไร  เราก็ ยิ่ง ค น พบจุ ด ที่ แ ข็ง เกร็ง ตามส ว นตา งๆ ที่ ร  อ งเรี ย กให เ ราได ป ล อ ยวางและผ อ นคลาย  นั่ น คื อ ความหมาย ของบมเพาะการมีสติอยูกับเนื้อกับตัว  ขั้นตอนง่ายๆ  คือการฝกอา นา-ปานั ส สติ บ นฐานกาย  ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด กระบวนการการปรั บ สรี ร ะ ของรางกายสูความสมดุลเดิมตามธรรมชาติ  พลังงานที่วาจะคอยๆ   ปรากฏใหเราสัมผัสไดก็ตอ เมื่อความตึงเครียดคอยๆ  ถูกปลดปลอยอ อกไปทีละนอยโดยการฝกอานาปานัสสติเชนนี้จะนําผูฝกไปสูความ

127


ผอนคลายที่ลึกขึ้นจนคุณรูสึกราวกับวาขอบเขตขอจํากัดทางกายภาพ ของรางกายคอยๆอันตรธานไป  จนเหลือเพียงพลังแหงการตื่นรูที่ไหลวน ตามการเขาออกของลมหายใจเพียงเทานั้น” วิธีการส�ำคัญที่เขาเคยเขียนไว้ส�ำหรับคนต้องการฝึกตนและ เปลี่ยนแปลงชีวิตคือกล้าที่จะเจ็บ “ลองมาสรางความสัมพันธ เรียนรูกับความทุกข แบบไมกลัว เจ็บกัน ขอแรก ความทุกขจะถูกสัมผัสไดก็ดวยการดําเนินชีวิตอยาง เปลาเปลือย ดวยหัวใจที่เปราะบาง เปดรับใหโลกเขามาสะกิดใจเรา อยางไมเขินอาย ขอสอง ตนตอแหงทุกข ขมวดเปนปมขึ้นจากเกราะ คุมกันทางความคิดและแรงตานอันเกิดมาจากความขยาดกลัวในการ ไมกลาเขาไปเผชิญความเจ็บนั้นอยางตรงไปตรงมา  ขอสาม ความดับ ทุกข เขาถึงไดดวยการดําเนินชีวิตตามอยางนักรบผูกลา ผูที่เชื่อในความ เปนจริงแหงจักรวาล รวมทุกขรวมสุขกับผูคนอยางหาญกลา เปนชีวิต ธรรมดาๆที่เต็มเปยมไปดวยการเผชิญหนากับความเจ็บปวดแหงชีวิต ตรงไปตรงมาอยางไมตัดสิน ขอสี่ หนทางแหงการดับทุกข ก็คือกลาที่จะ เจ็บ กาวเดินบนเสนทางแหงการสรางความสัมพันธและทําความเขาใจ

128


ความทุกขในทุกแงมุม เรียนรูที่จะสัมผัสโลกที่กวางใหญจากหัวใจ ที่แตกสลายรวมกับผูคนรอบขาง  การภาวนาบนพื้นฐานแหงความ จริงสี่ประการขางตนนี้เปนสิ่งที่มีพลังมากครับ ดูเหมือนการนั่งนิ่งๆ   ไมทําอะไร จะไมไดมีเปาหมายของการเปนกอนหินไมรูสึกรูสากับสิ่ง รอบตัวอีกตอไป  หัวใจที่บอบบางของเราดูจะเตนเปนจังหวะ เลือด สูบฉีดหลอเลี้ยงพลังแหงการตื่นรูในกาย ลมหายใจเขาออกซึมซับ เขาไปปลุกสัญชาตญาณทุกอณูรูขุมขน  พื้นที่วางภายในขยายกวาง   คลี่คลายปมกรรมภายใน  สูศักยภาพและความมั่นใจที่เต็มเปยม แหงการรูจักตนเอง” และสิ่งส�ำคัญในการเรียนรู้มาตลอดหลายปีของชายที่ชื่อ วิจักขณ พานิช ที่นอกจากจะเน้นการรู้จักตนเองแล้ว การมองคนอื่น อย่างเท่าเทียมก็คือสิ่งส�ำคัญที่จะสร้างสรรค์โลกนี้ให้มีความสุข

ความจริ ง แล ว พื้ น ที่ ข องชี วิ ต สามารถ ขยายใหญไ ด  เราสามารถพบศักยภาพตา งๆ   ในตัวเราที่เราไมเคยเห็นมากอน  เหมือนเปน ชีวิตที่ใหญกวาความคิด ใหญกวาความคาด หวังหรือแผนในอนาคต ซึ่งพอเราหันมามีสติ กับตัวเองเราจะรูวาความจริงแลวชีวิตเรามี ความหมาย กวานั้นมาก

129


พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ สร้างพลังใจด้วยปัญญา “เป้ า หมายจริ ง ๆ  ในชี วิ ต มนุ ษ ย์ คื อ อะไร  เราต้ อ งเข้ า ใจการ มีชีวิตเป็นมนุษย์ มันคือโอกาสแห่ง การสร้ า งกรรมดี   ส่ ว นหนึ่ ง ไม่ ใ ช่ โอกาสแต่มันเป็นผลจากที่เราท�ำใน อดีต  มันก็อยู่ที่เราตีโจทย์นี้ออกไหม ถ้าเราตีโจทย์ออกโอกาสมันมีแล้ว เราไม่คว้าเราก็จะเสียโอกาส”

ความส�ำเร็จในชีวิต  คือสิ่งที่ทุกคนบนโลกใบนี้ต้องการก้าว ไปให้ถึง ความส�ำเร็จของแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน บางคน เลือกความร�่ำรวย บางคนมองหาเกียรติยศชื่อเสียง แต่ส�ำหรับแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ความส�ำเร็จต่างๆ เหล่านั้น ไม่ได้ มีความส�ำคัญมากไปกว่าความสุขจากการท�ำประโยชน์ให้กับสังคม งานที่หนักและเครียดในแต่ละวันที่คุณหมอต้องเจอ  ผ่านพ้นไปได้ ด้วยพลังใจ การท�ำงานเป็นระบบ และความคิดเชิงบวก

130


“หลายคนมองว่าความรู้วิทยาศาสตร์มีความส�ำคัญมากกับ งานที่หมอท�ำ  แต่จริงๆ แล้ว หมอว่าไม่ส�ำคัญเท่ากับแก่นที่ถูกเลี้ยงดู คือการคิดเป็นระบบ การคิดเป็นระบบเหมือนกับเป็นหัวใจส�ำคัญของ การใช้ชีวิตของมนุษย์ซึ่งมันจะมีอยู่สามอันเท่านั้นเอง “อย่างแรกคือคิดบวก  ในบางช่วงมนุษย์อาจไม่ต้องคิดบวก มากเท่าไรเพราะว่ามันไม่มีภาวะกดดันเยอะ แต่ในภาวะกดดันเยอะ คิดบวกมันช่วยได้ คิดลบไม่มีประโยชน์เลย  ตรงนี้สอนเราได้หลาย อย่าง  แต่ที่ดีที่สุดก็คือในท่ามกลางสิ่งที่เลวร้ายเราสามารถมองเห็น สิ่งดี “อย่ า งที่ ส อง  ที่ เ ป็ น ส่ ว นของการคิ ด เป็ น ระบบ  ก็ คื อ การ คิดทางขวาง การคิดทางขวางเป็นสิ่งที่วัยรุ่นมองด้านเดียว มองว่า เป็นตัวของตัวเอง ความจริงแล้วมันมีมากกว่านั้น การคิดทางขวาง หมายความว่าไม่ปล่อยให้ตัวเราไหลไปตามกระแสสังคม เราควรจะ หยุดคิด หยุดดูก่อนว่าเราจะตัดสินใจท�ำอะไร มันสมควรไหม ไม่ใช่ ขวางทางคิดนะคะ คือคิดทางขวาง ไม่ได้แปลว่าเราต้องคิดเหมือน กับคนอื่น บ้านเมืองสังคมไม่เปลี่ยนแปลงแน่ถ้าเกิดว่าเราคิดเหมือนๆ  กันหมด “อันสุดท้ายที่คิดว่าส�ำคัญที่สุด  คือการมององค์รวม  ค�ำว่า มององค์รวมแปลได้ว่า  การมองทุกมุมทุกมิติ  จะท�ำให้เกิดความ รอบคอบเก็บรายละเอียดประเด็น แล้วไม่ท�ำให้เกิดความซ�้ำซาก คือ หมอเป็นคนชอบอะไรที่กระชับ  มีประสิทธิภาพไม่เยิ่นเย้อ  การมอง องค์รวมให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพ”

131


ด้วยภาระงานที่หนักและต้องเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง พลัง ใจคือสิ่งส�ำคัญในการท�ำงาน  แต่ที่ส�ำคัญมากกว่าคือการที่รู้ว่าเป้า หมายในการท�ำงานคืออะไร “ในการท�ำงานของเรา  คนทั่วไปมองและเห็นสองค�ำคือ   หนักกับเครียด เอาค�ำว่าหนักก่อน ถ้าคนเราท�ำอะไรแล้วมีความสุข มี ความสนุก อะไรที่ว่ายาก มันก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรง มันเป็นอะไรที่อยู่ที่ ใจเรา แต่ถ้าเราต้องท�ำอะไรที่เราไม่ชอบ ไม่สนุก อะไรมันก็ดูหนักไป หมด เพราะงั้นไอ้ค�ำว่าหนักมันเป็นเรื่องที่เปรียบเทียบ ในส่วนตัวเรา ไม่เคยรู้สึกว่ามันหนักถ้าตราบใดที่มีความรู้สึกสนุกที่ได้ท�ำ มาถึ ง ค� ำ ที่ ส อง  คื อ ความเครี ย ด  ความเครี ย ดของมนุ ษ ย์ ส่วนใหญ่มันก็เป็นน้องๆ  ของความทุกข์  แล้วความทุกข์มันก็เหมือน เดิม  มันคือสิ่งที่เราเอาตัวเราไปเกี่ยวกับคนอื่น  เกี่ยวกับสิ่งของอื่น หมายความว่าถ้าเราท�ำ เราก็อยากให้คนรักเรา ถ้าเราท�ำเราก็อยาก ให้เจ้านายให้สองขั้น  พอเราเอาไปเกี่ยวมันก็จะเกิดการถูลู่ถูกังมัน ก็จะเกิดความเครียด  นั่นคือความทุกข์  พอเราเข้าใจสัจธรรมตรงนี้ มันก็จะท�ำให้เรานิ่ง  เราจะไม่เอาตัวเองไปเกี่ยวกับใคร  เราต้องปลด พันธนาการอันนี้โดยเร็ว ยกตัวอย่างเช่น เหมือนทะเลาะกับต�ำรวจ เหมือนต้องต่อสู้ กับนักการเมือง  เหมือนต้องต่อสู้กับคนโกงคนชั่ว  แต่ถ้าเรารู้สึกว่าเรา มีหน้าที่  ท�ำตัวเราไม่ให้ตกต�่ำแบบเขา  เรามีหน้าที่ท�ำให้สังคมที่เราอยู่ น่าอยู่ขึ้น  คือใครท�ำชั่วเป็นเรื่องของเขา  การที่เราเหมือนเป็นตัวเองก็ เลยเหมือนไปขัดกับเขา  แต่เราไม่เคยเกลียดเขา ความเครียดมันก็ไม่ มา เพราะฉะนั้นมันอยู่ที่วิธีคิด”

132


“ประเด็นส�ำคัญที่สุดก็คือ ว่าเรารู้เป้าหมาย  เป้าหมายของ งานก็คอื อะไร  และเป้าหมายจริงๆ  ในชี วิ ต มนุ ษ ย์ คื อ อะไร  เราต้ อ ง เข้าใจการมีชีวิตเป็นมนุษย์ มันคือ โอกาสแห่งการสร้างกรรมดี  ส่วน หนึ่งไม่ใช่โอกาสแต่มันเป็นผลจาก ที่ เ ราท� ำ ในอดี ต   มั น ก็ อ ยู ่ ที่ เ ราตี โจทย์นี้ออกไหม ถ้าเราตีโจทย์ออก โอกาสมันมีแล้วเราไม่คว้าเราก็จะ เสียโอกาส ถ้าเราเข้าใจว่าโอกาส ในการท�ำความดี ยิ่งมี ยิ่งมาก ยิ่ง ดี มันก็ไม่รู้สึกเหนื่อย” หลักธรรมประจ�ำใจคือสิ่งส�ำคัญส�ำหรับชีวิต  แต่หลักธรรม ของคุณหมอไม่ได้เป็นบทเรียนท่องจ�ำในหนังสือธรรมะ แต่มันมาจาก การเรียนรู้ในชีวิต “หลักธรรมต้องบอกว่ามันไม่เป็นบท  แต่ว่ามันเป็นเหมือน ปฐมบทของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเลยว่า มนุษย์เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม และเป้าหมายที่สูงสุดของชีวิตก็คือควรจะหลุดพ้น ควรจะดับสูญ คือ นิพพาน ดังนั้นการจะไปสู่ทางนั้นให้เร็วที่สุดก็คือ ทุกลมหายใจที่เรา เกิดมาเราก็ต้องสร้างบุญบารมีให้เราไปสู่นิพพาน  ซึ่งแปลว่าเราต้อง สร้างความดีให้มากๆ ซึ่งมันคงไม่ง่ายนะคะ”

133


“เพราะฉะนั้นเวลาเราเข้าใจในเรื่องนี้ เวลาเราท�ำงาน เรา ไม่ต้องคิดถึงหลักธรรมข้อใด  สิ่งนี้มันจะท�ำให้เราเข้าใจได้ว่าตัวเรา เกิดมาเพื่ออะไร  เวลาเราท�ำงานเราก็จะมุ่งเป้าไปให้มันประสบความ ส�ำเร็จตามกฎแห่งธรรม ไม่ใช่เพื่อตัวเราเอง” นอกจากชีวิตการท�ำงานแล้ว  การจะท�ำให้ชีวิตสมบูรณ์ได้ ก็ต้องให้ความส�ำคัญกับครอบครัว  วิธีของคุณหมอคือการท�ำความ เข้าใจซึ่งกันและกัน และมีเวลาให้กันทุกครั้งที่มีโอกาส “งานที่ท�ำมันไม่ได้ยุ่งตลอด  ในบางจังหวะเราก็ให้ความสุข ในครอบครัวได้เต็มที่  แต่ในบางจังหวะเราก็อาศัยพูดความจริงว่ามัน อยู่ในช่วงหนักนะ  เช่นช่วงที่โดนกลั่นแกล้ง  ซึ่งช่วงที่โดนกลั่นแกล้ง นี่โชคดี คือลูกยังเล็กลูกอยู่โรงเรียน ส่วนตัวสามีเขาอาจรับไม่ได้ เรา ก็ต้องจัดการกับตัวเราเอง  ที่ไม่เอาเรื่องราวเหล่านี้ไปให้เขาแบกรับ อย่างภาระงานภาคใต้ เราก็รู้ว่าเขาเครียด  เราก็ต้องอธิบายความจริง ว่าไม่ว่าอยู่ตรงไหน อันตรายมันก็เกิดได้ทั้งนั้น เพราะอย่างนั้นในครอบครัวเรื่องแรกคือความเข้าใจ  เรื่อง ที่สองคือพยายามลดความต้องการของตัวเราเอง  หมายความว่า เมื่อเรามีเวลาให้น้อยตามหน้าที่เรา  เราก็ต้องลดเวลาของเราเองถ้า เป็นไปได้คือจะไม่พยายามเรียกร้องหาเวลาที่เป็นของตัวเรา  เพราะ ว่าเราใช้เวลาไปกับงานหมดแล้ว  เราต้องจัดแบ่ง  เรารู้ว่าเราจะต้อง ทะนุถนอมอะไร เราก็จะต้องรักษาอันนั้นไว้ให้ได้” ค�ำว่าหญิงแกร่งที่คุณหมอได้รับจากสังคมนั้น  ส่วนหนึ่งมา จากแบบอย่างดีๆ ในครอบครัวของคุณหมอ

134


“ความเข้มแข็งในการท�ำงาน ต้นแบบคนแรกน่าจะเป็นคุณแม่ อันนี้เขาเรียกว่าความเข้มแข็งทางความทุกข์ คือคุณแม่จะเป็น คนที่ดูดเอาความกดดันจากการที่คุณพ่อเป็นคนร้อน  บีบบังคับลูก มาก คุณแม่เป็นคนเข้มแข็งมากคือไม่เคยแสดงความทุกข์  แต่เอาตัว มาเป็นเกราะ เราเห็นตัวอย่างคุณแม่ อีกตัวอย่างของความเข้มแข็ง ก็คือคุณแม่ป่วยกายเป็นมะเร็ง  ตราบจนท่านหมดลมหายใจท่านไม่ เคยเป็นภาระกับใครเลย เราก็เห็นต้นแบบความเข้มแข็ง  แต่ว่าความ เข้มแข็งต่อมามันมาเกิดช่วงหลังจากที่คุณแม่เสียไปแล้ว  ก็คือเรา ต้องเรียนรู้จากชีวิตจริง โอกาสที่เปลี่ยน เปลี่ยนมากๆ คือหลังจากที่ไป อินเดีย ก็คือเดิมทีก็ศึกษาศาสนาแต่ว่าไม่ได้เต็มที่มาก ปี 2548 เป็น ปีที่ได้ไปอินเดีย  แล้วพอเราตามรอยพระพุทธเจ้า  เราจะรู้วิธีจัดการ กับความเครียด  จัดการกับศึกหนัก จัดการกับอะไรต่ออะไร ท�ำให้เรา มีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม ท�ำงานโดยมีลักษณะเป็นการปฏิบัติ ธรรม จะไม่เหนื่อยมาก ทั้งๆ ที่คนอื่นมองว่าเราน่าจะเหนื่อยกว่านี้” ท�ำงานเพื่อสังคมมาอย่างยาวนาน  และเห็นความขัดแย้งใน สังคมมามากมาย  สิ่งหนึ่งที่คุณหมอมองว่าปัจจัยที่ต้องแก้ไขเพื่อให้ สังคมลดความขัดแย้งนั้น อยู่ที่ตัวบุคคลเป็นส�ำคัญ “ถ้าเรามองเรื่องปัญหาความขัดแย้งในสังคมตอนนี้  ปัจจัย มั น คงอยู ่ ที่ ค นเป็ น หลั ก   ที นี้ บั ง เอิ ญ ว่ า ความขั ด แย้ ง ของเราที่ เ กิ ด ในสั ง คมตอนนี้ มั น ซ้ อ นกั น เยอะไปหมด  มี ทั้ ง พวกที่ มุ ่ ง หวั ง ผล ประโยชน์  มีทั้งพวกที่ไม่ชอบการใช้อ�ำนาจปฏิวัติ  มีทั้งพวกที่เกลียด พรรคการเมื อ งพรรคหนึ่ ง และเป็ น พวกที่ รั ก อี ก พรรคหนึ่ ง คื อ ทุ ก อย่างมันผสมรวมกันหมดเลย  ถ้าเราจะแก้ความขัดแย้งแบบขณะ

135


นี้  บอกได้เลยว่ายากมาก  เพราะมันเป็นความขัดแย้งที่บูรณาการ   หมายความว่ามันแข็งแรงมากในการขัดแย้งเช่นกัน “เพราะฉะนั้นพอกลับมาถึงตรงนี้  ปัญหาในสังคมตอนนี้บอก ได้เลยว่าถ้าไม่มีธรรมะในใจของทุกๆ  การแก้ปัญหาความขัดแย้ง เป็นไปได้ยาก ถ้าไม่มีธรรมะสติไม่มา สติไม่มาปัญญาก็ไม่มา พอไม่มี สติปัญญาก็จะเป็นอย่างนี้  ก็คือเอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง  อารมณ์ไม่เคย แก้ปัญหาได้  เลยยังไม่มีค�ำตอบว่าปัญหาความขัดแย้งในสังคมจะ เป็นอย่างไร รู้แต่ว่าเราต้องไม่เป็นเช่นนั้น แล้วก็ถ้าเรามีโอกาสปุ๊บเรา ก็จะพยายามสร้างความตระหนัก โดยไม่ได้จับเขาแบ่งสี สร้างความ ตระหนักว่าอย่าเอาตัวไปอยู่ในความขัดแย้ง  แต่ว่าให้เอาตัวออกมา แล้วมองเพื่อจะดูว่าคนเหล่านี้จะผนึกก�ำลังกันได้มากแค่ไหน เพราะ ว่าเมื่อเรามีก�ำลังที่ดีขึ้น...ปัญหาเหล่านี้อาจมีทางออก”

136


มนุ ษ ย์ เ กิ ด มาเพื่ อ ชดใช้ ก รรม และเป้าหมายที่สูงสุดของชีวิตก็คือ ควรจะหลุดพ้น ควรจะดับสูญ คือ นิพพาน  ดังนั้นการจะไปสู่ทางนั้น ให้เร็วที่สุดก็คือ  ทุกลมหายใจที่เรา เกิดมาเราก็ต้องสร้างบุญบารมีให้ เราไปสู่นิพพานซึ่งแปลว่าเราต้อง สร้างความดีให้มากๆ

137


ปราโมทย์ ไม้กลัด ข้าราชการมืออาชีพ

“จงอย่ า ลื ม ว่ า ข้าราชการยุคเก่า  เขา ได้ ส ร้ า งบ้ า นสร้ า ง เมื อ งมาอย่ า งยาก ล�ำบาก คนรุ่นใหม่จึง มี ห น้ า ที่ พั ฒ นาและ ดู แ ล ป ร ะ เ ท ศ นี้ ใ ห ้ เจริญรุ่งเรือง  และสุข สงบร่มเย็น”

อาจารย์ปราโมทย์  ไม้กลัด  อดีตอธิบดีกรมชลประทาน  ได้ พูดประโยคนี้ไว้ระหว่างการสัมภาษณ์  สิ่งที่ข้าราชการมืออาชีพคนนี้ ท�ำไว้ให้กับประเทศนี้มีมากมายเหลือเกิน หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตาจาก ภาพข่าวยามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ท่านเสด็จฯ ออกพื้นที่ ทรงงานตามถิ่นทุรกันดารต่างๆ ตลอด 40 ปีใ

138


ในการท�ำงานฐานะข้าราชการ  อาจารย์มีหลักคิดอยู่สอง อย่างคือ หนึ่ง  ท�ำงานอย่างซื่อสัตย์สมกับเป็นข้าราชการที่รับเงิน ภาษีจากประชาชน  สอง  ท�ำงานให้กับองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวฯ  เพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงให้ทุนไปศึกษาต่อ ทั้งๆ ที่เขาก็เป็นแค่ข้าราชการเล็กๆ  ท�ำงานอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีใครมอง เห็นแต่พระองค์ทรงเห็น ท�ำให้จากเด็กลูกชาวสวนยากจนคนหนึ่ง มี โอกาสท�ำงานยิ่งใหญ่เพื่อคนไทยทั้งชาติ มองย้อนกลับไป สมัยวัยเด็ก ไม่เคยคิดว่าวันหนึ่งจะได้มา ท�ำงานเพื่อคนอื่น เพราะล�ำพังตัวเองก็ยากจนข้นแค้นมากแล้ว พ่อ แม่เป็นชาวสวนธรรมดา   แต่พวกท่านสองคนอยากให้เราเรียนสูงๆ ไม่ต้องมาท�ำสวนให้ล�ำบาก อีกอย่างก็อยากให้เรามีโอกาสเติบโตไป เป็นคนที่สามารถท�ำงานเพื่อคนอื่นได้บ้าง ดังนั้นไม่ว่าจะจนแค่ไหน พ่อแม่ก็สนับสนุนเรื่องการศึกษา แต่มันก็ไม่ง่าย เพราะเราจน บ้านก็ ไกล การจะไปโรงเรียนก็ต้องใช้ความพยายามสูงมาก เดินไปโรงเรียน หลายกิโลเมตรต่อวัน เพื่อนคนอื่นเขาอาจจะมีพ่อแม่ไปส่ง หรือมีรถ คอยรับส่ง บางคนก็มีเงินนั่งรถเมล์ แต่เราต้องเดินเพราะทางบ้านไม่ ค่อยมีตังค์ แต่ตอนนั้นไม่เคยรู้สึกว่ามีความทุกข์หรือล�ำบาก เพราะ เราท�ำจนชิน ตื่นเช้าหน่อย เดินก็เดินไปเรื่อยๆ ท่องหนังสือไป ดูโน่น นี่ไป และเป็นคนที่ตั้งใจเรียนมาก เพราะรู้ว่าครอบครัวจน เราจึงต้อง ท�ำหน้าที่ท�ำตามความตั้งใจของพ่อแม่ให้ดีที่สุด”

139


หลั ง จากเรี ย นจบประถมศึ ก ษาที่ โ รงเรี ย นโรจนนิ มิ ต   ซึ่ ง อยู่ในเขตราษฎร์บูรณะใกล้บ้าน   อาจารย์ก็ย้ายไปเรียนในระดับ มั ธ ยมศึ ก ษาที่ โ รงเรี ย นอ� ำ นวยวิ ท ย์   อ� ำ เภอพระประแดง  จั ง หวั ด สมุ ท รปราการเป็ น เวลาสองปี   แล้ ว จึ ง ไปเข้ า เรี ย นที่ โ รงเรี ย น อ�ำนวยศิลป์ธนบุรี และโรงเรียนอ�ำนวยศิลป์ที่เขตพญาไท ตามล�ำดับ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  8  แล้ว  อาจารย์ปราโมทย์ได้เลือกเข้าเรียน ที่คณะวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยเหตุผล ที่ว่า เมืองไทยมีแม่น�้ำเยอะ และคนที่มีความรู้เรื่องน�้ำมีน้อย ถ้าเลือก เรียนด้านนี้จะเป็นประโยชน์มากต่อประเทศไทย “ต้องบอกคนรุ่นนี้ให้เข้าใจก่อนว่า  ในยุคนั้นเป็นยุคที่คนมี ความรู้มีโอกาสเรียนหนังสือมีส�ำนึกในการสร้างชาติกันมาก  เวลา เลือกเรียนจึงเลือกเรียนในสาขาที่จะสามารถออกมาพัฒนาชาติได้ เงินไม่ใช่สิ่งแรกที่คนรุ่นก่อนนึกถึง  เกียรติและความภาคภูมิใจต่าง หากคือสิ่งส�ำคัญ เลือกเรียนด้านชลประทานก็เพราะเหตุนี้ อีกอย่าง หนึ่งคือว่าที่บ้านเป็นชาวสวน  เห็นความล�ำบากของพ่อแม่เรื่องน�้ำ มาพอสมควร  ดังนั้นถ้าเราเรียนด้านนี้ก็จะมีโอกาสช่วยชาวสวนอีก หลายๆ ครอบครัวให้มีน�้ำในการท�ำการเกษตรได้อย่างเป็นระบบมาก ขึ้น” หลังจากเรียนจบที่คณะวิศวกรรมชลประทาน  มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์  อาจารย์ปราโมทย์ถูกเรียกตัวให้ไปท�ำงานสร้างเขื่อน ในพื้นที่ทุรกันดารที่สุดในตอนนั้น  อย่างอ�ำเภอแก่งกระจาน  จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์  และเป็นคนรุ่นแรกของประเทศไทยที่บุกเบิกการ สร้างเขื่อน

140


“เขื่อนในสมัยก่อนเป็นเขื่อนดิน  สร้างยาก  เครื่องจักรเรา ยังมีไม่มาก คนที่มีความรู้เรื่องนี้ก็มีไม่มาก ดังนั้นการสร้างเขื่อนจึง เป็นงานที่เหนื่อยและยากเย็นแสนสาหัส เราต้องเข้าไปหาพื้นที่ เริ่ม วางแผน จนถึงลงมือขุดลงมือท�ำกันเองทั้งหมด เขื่อนแก่งกระจาน เป็นที่แรกที่เราเข้าไปสร้าง เงินเดือนก็ไม่ได้เยอะนะครับตอนนั้น เป็น ข้าราชการสมัยก่อนมีแค่สวัสดิการรักษาพยาบาล ไม่ได้มีเงินอุดหนุน มากมาย บางคนท�ำงานสร้างเขื่อนกับเราถอดใจไปท�ำงานเอกชนที่ เงินเดือนดีกว่าก็เยอะ แต่เราก็ไม่ได้รู้สึกอยากได้เงินทองอะไร วันๆ ก็ นั่งท�ำงาน อยู่กับป่าอยู่กับคนงาน กลางคืนก็ท�ำสรุปรายงานส่งส่วน กลาง ท�ำอย่างนี้ทุกวัน สมัยนี้คนอาจจะไม่เข้าใจว่าสร้างเขื่อนจะ ยากอะไร แต่ส�ำหรับคนที่เคยสร้างเคยท�ำมาแล้วมันยากมาก เหนื่อย

141


มาก  แต่มันจะมีความสุขเมื่อเราสร้างเสร็จ  เพราะเราจะเห็นความ เปลี่ยนแปลงทันที จากน�้ำที่เคยท่วมก็ไม่ท่วม ชาวนาชาวสวนมีน�้ำใช้ ทั้งปี  เป็นการสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับชุมชนและประเทศ ซึ่ง เป็นหน้าที่ส�ำคัญที่ข้าราชการอย่างเราจ�ำเป็นต้องท�ำให้ดีที่สุด” หลั ง จากสร้ า งเขื่ อ นได้ ห นึ่ ง ปี   ก็ มี ข ่ า วดี เ กิ ด ขึ้ น ในชี วิ ต ข้าราชการ  เพราะอาจารย์ปราโมทย์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ทุน มูลนิธิอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อที่ University of California at Davis สหรัฐอเมริกา ด้านชลประทานเป็นคนที่สองของประเทศ และเป็น นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดลคนที่แปดของประเทศ ตอนนั้นสิ่งแรก ที่อาจารย์จ�ำได้ไม่เคยลืม  คือพระราชด�ำรัสที่ทรงมีระหว่างที่เข้าเฝ้า “ในหลวงท่านตรัสว่า ‘ทุนนี้ให้เปล่า  ไม่ต้องใช้คืน  แต่อยาก ให้ น� ำ ความรู ้ ที่ ไ ด้ ก ลั บ มาพั ฒ นาชาติ ’   ประโยคนี้ ยั ง ดั ง ก้ อ งอยู ่ ใ น ความรู้สึก  ตั้งแต่วันแรกที่เดินทางไปเรียนจนวันที่ตัวเองเกษียณอายุ ราชการ เพราะในหลวงท่านไม่ได้คาดหวังว่าเราต้องท�ำอะไรเพื่อท่าน แต่อยากให้เราท�ำอะไรเพื่อแผ่นดินมากกว่า หลังจากเรียนจบมาก็เลย กลับมาท�ำงานด้านชลประทานในเมืองไทยอย่างเต็มความสามารถ ที่สุด  จนมีโอกาสได้ตามเสด็จในหลวงไปท�ำงานตามพื้นที่ต่างๆ  ที่ ทรงมีโครงการพระราชด�ำริ หรือทรงไปส�ำรวจพื้นที่เพื่อพัฒนาระบบ แหล่งน�้ำ การท�ำงานกับในหลวงเป็นการท�ำงานที่หนัก เพราะพระองค์ ท่านท�ำงานหนักเช่นกัน ทรงเข้าไปในทุกพื้นที่ พอจบการส�ำรวจพื้นที่ ต่างๆ ในแต่ละวัน เราก็ต้องกลับมาท�ำรายงาน ท�ำแผนการปฏิบัติ งานถวายพระองค์ท่านในวันรุ่งขึ้นเลย เพราะเวลาทุกวันมีความหมาย ต่อประชาชนในพื้นที่ ยิ่งโครงการส�ำเร็จได้รวดเร็วนั่นหมายถึงว่าชาว

142


บ้านก็จะมีชีวิตที่ดีมากขึ้น ดังนั้นการท�ำงานกับในหลวงจึงเป็นงานที่ หนัก  เหนื่อย แต่เป็นงานที่ภาคภูมิใจ เป็นบุญวาสนาที่ลูกชาวสวนคน หนึ่งจะมีโอกาสท�ำงานรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน มี อ ยู ่ เ รื่ อ งหนึ่ ง ที่ จ� ำ ได้ ไ ม่ เ คยลื ม   คื อระหว่า งเข้า เฝ้า ถวาย รายงานซึ่งในที่นั้นมีผมและอาจารย์สมิทธ ธรรมสโรช ก่อนจะเริ่มคุย งาน พระองค์ท่านก็ทรงหยิบพระสมเด็จจิตรลดาออกมาสององค์ แล้ว ทรงตรัสว่า ก่อนท�ำงานจะให้พระก่อน มีอยู่สององค์พอดี ตอนนั้นรู้สึก ดีใจมากที่พระองค์ยังทรงนึกถึงเรา เป็นภาพความทรงจ�ำที่ไม่เคยลืม” ท�ำงานเป็นข้าราชการมาหลายสิบปี สิ่งที่อาจารย์ปราโมทย์ เห็นในชีวิตราชการมีมากมายทั้งเรื่องดีและไม่ดี  แต่สิ่งส�ำคัญที่คน ท�ำงานราชการต้องพึงระลึกไว้เสมอ  คือการท�ำงานอย่างเต็มความ สามารถ และนึกถึงคนอื่นก่อนจะนึกถึงตนเอง เพราะเงินทุกบาทที่เรา ได้เป็นค่าตอบแทนเป็นเงินที่มาจากประชาชน “หลายสิ บ ปี ที่ ผ ่ า นมา  มองเห็ น หลายเรื่ อ งของคนท� ำ งาน ราชการ  ถ้าจะย้อนกลับไปสมัยก่อน  คนท�ำงานราชการไม่ได้หวัง เงินทองมากเหมือนปัจจุบัน เกียรติคือสิ่งที่ส�ำคัญสูงสุด คนท�ำงาน ราชการจะมี เ กี ย รติ ไ ด้ ก็ ต ่ อ เมื่ อ ท�ำ งานได้ ดี   เป็ น ที่ ย อมรั บ ของคน ทั่วไป  งานที่ท�ำเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนรวม   นั่นจะน�ำเกียรติมาให้ คนท�ำงาน สมัยก่อนมีคนถามผมว่า ท�ำงานราชการเงินเดือนน้อยจะ พอกินหรือ ส�ำหรับผมแล้วผมพอกิน สิ่งส�ำคัญคือเราต้องรู้จักตนเอง และวางแผนชีวิตให้ชัดเจน เช่นเรามีเงินเดือนหนึ่งหมื่นบาท เราจะใช้ อะไรให้เหมาะสมกับเงินที่มีนี้ และเหลือเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉินบ้าง เงินไม่เคยไม่พอ อยู่ที่ใจเราจะพอหรือไม่ มีเงินเดือนน้อย แต่อยากใช้

143


ของหรูหราฟุ่มเฟือยก็ต้องเป็นหนี้ เมื่อเป็นหนี้ก็ต้องหาเงินใช้หนี้ และ ก็น�ำมาซึ่งการคอร์รัปชั่น อย่างในปัจจุบัน ข้าราชการบางคนอยากจะ เติบโต เป็นใหญ่เป็นโตอย่างรวดเร็ว เรียกว่าอยากมีเกียรติเร็วๆ แต่ เขาลืมไปว่าเกียรตินั้นมาจากผลของการท�ำงาน  ถ้าคุณอยากเติบโต แต่มาสายแล้วกลับเร็ว ท�ำงานเช้าชามเย็นชาม พอถึงฤดูกาลโยกย้าย ก็วิ่งหาคนโน้นทีคนนี้ที ใช้เส้นสาย ถ้าอย่างนี้เรียกว่าไม่มีเกียรติ และ ถ้าคุณอยากรวยด้วย แต่ไม่รู้จักตนเอง ท�ำงานให้ตายก็ไม่รวย ทั้งๆ ที่ ข้าราชการนั้นมีสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้กับชีวิตพอสมควร ส�ำคัญที่สุด คือต้องรู้จักท�ำงานและรู้จักตนเอง เราก็จะมีทั้งเกียรติและความมั่นคง ทางอาชีพ” ก็คือ

คติประจ�ำใจของ อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด ที่ใช้ด�ำเนินชีวิต

ท�ำงานอย่างมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็น คนท�ำงานข้างหน้าหรือข้างหลัง ใช้ชีวิต อย่างมืออาชีพ รู้จักตนเองและบริหาร ชีวิตให้เป็น การท�ำงานคือการปฏิบัติ ธรรม ท�ำงานอย่างมีสมาธิ สติ แม้คุณจะ ไม่มีเวลาเข้าวัด แต่การท�ำงานก็ท�ำให้ คุณมีสมาธิได้ระดับหนึ่งเช่นกัน

144


ศ.ดร.สมิทธ ธรรมสโรช

“ ค ว า ม สุ ข ข อ ง ผ ม คื อ การให้ อ งค์ ค วามรู ้ แ ก่ ประชาชน”

ถ้านึกถึงนักอุตุนิยมวิทยาสักคน  ที่ท�ำงานให้ประเทศชาติ มาอย่างยาวนาน  และยังท�ำงานรับใช้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวฯ คงนึกถึงใครไปไม่ได้นอกจาก ศ.ดร. สมิทธ ธรรมสโรช นัก อุตุนิยมวิทยาผู้เคยด�ำรงต�ำแหน่งอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา  และ  ผู้ อ�ำนวยการศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติ  รวมทั้งเป็นผู้วางระบบการเตือน ภัยพิบัติในเมืองไทยและภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  อาจารย์ สมิทธเล่าว่า การท�ำงานที่ผ่านมาต้องฝ่าฟันมามากมาย แต่ถือว่าคุ้ม ค่า เพราะมันได้ท�ำประโยชน์ให้คนในชาติ ที่ส�ำคัญคือ การเตือนภัย ก่อนที่จะมีคนบาดเจ็บหรือตาย ถือว่าเป็นการสร้างบุญอย่างหนึ่งใน ชีวิตเขา

145


“ชีวิตผมเหมือนโชคชะตาลิขิตให้มาท�ำงานรับใช้แผ่นดิน เพราะพอผมเรียนจบมัธยมและมหาวิทยาลัยที่อเมริกา  ก็ตั้งใจจะ อยู่ท�ำงานและใช้ชีวิตที่นั่นเลย แต่มีอยู่ปีหนึ่งพอดีคุณแม่ป่วย ผมก็ กลับมาเยี่ยมท่าน ก็เลยโดนหมายเกณฑ์ทหาร บังเอิญผมมีญาติเป็น ทหารเรือ  ท�ำงานอยู่กรมอุตุนิยมวิทยา เขาบอกอย่าไปเกณฑ์เลย ผม อายุยี่สิบกว่าแล้ว  ตอนนั้นแก่แล้ว  ไปเกณฑ์ก็ต้องไปฝึกต้องไปอะไร ก็เลยให้มาสมัครเป็นข้าราชการทหาร  เขาก็เอาผมไปฝึกที่ระยอง  ก็ เลยมาเป็นข้าราชการ รับราชการก�ำลังจะติดยศ ก็โดนโอนจากกรม อุตุนิยมวิทยาไปท�ำงานที่ส�ำนักนายกแทน ตอนนั้นจอมพลสฤษดิ์เป็น นายกฯ เป็นช่วงที่มีพายุเข้าที่แหลมตะลุมพุก มีคนเสียชีวิตเยอะ ทาง จอมพลสฤษดิ์ก็บอกว่าควรจะย้ายกรมอุตุไปอยู่ส�ำนักนายกฯ  เพราะ มันใกล้ นายกฯ จะได้สั่งงานสะดวกขึ้น ถ้าให้บอกตรงๆ ผมไม่ได้สนใจด้านนี้ตั้งแต่แรกหรอก พอดี มาที่กรมอุตุวิทยาแล้วข้าราชการที่พอรู้ภาษาอังกฤษมันน้อย  เขาก็ส่ง ผมไปเรียนต่อ ผมก็ได้ทุน ส่งไปฝึกงานที่ญี่ปุ่นบ้าง ที่จีนบ้าง ที่ฮาวาย บ้าง  ผมก็ไปศึกษาแล้วก็อยู่กับเขาสองปี  เพราะเรามีความรู้เรื่อง อุตุนิยมวิทยา  มันเป็นฟิสิกส์อยู่แล้ว กลับมาก็ได้ประชุม พอมีประชุม ทางหน่วยก็หาคนพูดภาษาอังกฤษได้  เขาก็เรียกเราให้ไปประชุม พอ ประชุมแล้วก็รู้จักนักวิทยาศาสตร์ ที่จีน ที่ญี่ปุ่น ที่อเมริกา ก็ได้เป็น คณะกรรมการวางแผนโทรคมนาคมกรมอุตุนิยมวิทยา  ท�ำๆ  ไปก็เริ่ม สนุกกับงาน” นอกจากสนุกแล้ว  อาจารย์สมิทธยังเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า วิชาด้านนี้มีประโยชน์ต่อคนทั้งชาติ เป็นงานที่สามารถช่วยคนได้มาก ทีเดียว

146


“การท� ำ งานที่ ก รมอุ ตุ นิ ย มวิ ท ยาส่ ว นใหญ่   เขาจะมี ก าร ประชุมกันก่อนที่จะออกพยากรณ์ ทุกเช้าอธิบดีก็จะเรียกประชุม ทุก คนก็เสนอความเห็นว่าลักษณะอากาศพรุ่งนี้จะเป็นยังไง จะมีฝนฟ้า คะนอง มีฝนตก มีหนาวมีร้อนยังไง  ทุกคนก็จะออกความเห็น ผม ก็รู้บ้างไม่รู้บ้าง  เพิ่งศึกษาจากประสบการณ์ที่ไปต่างประเทศมา  ก็ เอาหนังสือมาอ่าน ก็พยากรณ์ออกไป ท�ำให้เรามีความรู้เพิ่มขึ้น ได้ ไปเรียนไปอยู่ญี่ปุ่นบ้าง  ไปฝึกงานได้ความรู้เพิ่มขึ้น  ก็เอากลับมาใช้ วิทยาศาสตร์ต�ำราต่างๆ  เอามาศึกษาค้นคว้า ก็มีความรู้สึกว่า งานที่ เราท�ำมันได้ช่วยเหลือชีวิตคน เริ่มสนใจ เริ่มสนุก คิดว่าจะท�ำงานนี้ต่อ ไป

147


“ผมท�ำงานอยู่หลายปีจนรู้จุดอ่อนว่าการพยากรณ์อากาศ มันแม่น ที่ไม่แม่นเพราะเราขาดข้อมูล เราใช้ประสบการณ์เดาเอา เฉยๆ บางครั้งมันก็ผิดพลาด เวลามีพายุใหญ่ๆ  เข้ามาหรือมีอากาศ ที่แปรปรวน กรมอุตุนิยมวิทยาสมัยนั้นเขาจะไม่ประกาศเหมือนเดี๋ยว นี้ ผมเป็นคนแรกที่ไปบอกอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาตอนนั้นว่า อันนี้ ท่านบอกได้เลย อันนี้ฝนจะตกนะ พายุจะเข้าน�้ำจะท่วมภาคอีสานนะ ท่านก็ว่าผม ด่าผมเลยละ ‘เฮ้ย  ลื้อท�ำแบบนี้เดี๋ยวอั๊วะก็โดนด่า’ เพราะ เขาไม่แน่ใจว่ามันจะเกิดขึ้นจริงๆ ผมก็นึกในใจนะ ถ้าวันนึงผมได้เป็น ใหญ่ผมจะต้องบอก มันจะมีผลกระทบต่อประชาชน ผิดหรือถูกเขา จะได้แก้ไข ความเสียหายมันจะได้น้อยลง ผมก็ไม่อยากให้มีคนตาย แบบตะลุมพุก ตอนหลังๆ  ผมได้เป็นอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา  มีพายุ เข้าใหญ่ๆ อย่างพายุเกย์ผมก็บอกล่วงหน้าเลย ขนาดผมไปอยู่ต่าง จังหวัดผมรู้ว่าพายุจะเข้า ผมเดินทางเข้ากรุงเทพ แล้วประกาศออก วิทยุเลย บอกเรือที่ขุดน�้ำมันอยู่ในอ่าวไทยว่าคุณต้องเข้าฝั่งนะ กัปตัน ต้องพาเรือเข้าฝั่งเพราะพายุมันแรงร้อยยี่สิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง แล้ว เป็นไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ ต้องเข้าฝั่ง เขาก็ไม่ยอมไม่เชื่อ เรือเขาก็จมจริงๆ คนตายในเรือเป็นร้อยคน แล้วบริษัทก็โดนฟ้อง โดนญาติพี่น้องของ คนตายที่เป็นอเมริกันฟ้องกลับ” ปัญหาในการท�ำงานส่วนใหญ่ของอาจารย์สมิทธ  เกิดจาก ความเชื่อเดิมๆ ของระบบราชการไทย และความไม่เป็นมืออาชีพของ หน่วยงาน ท�ำให้อาจารย์คิดจะลาออกจากราชการถึงสองครั้ง

148


“ผมเคยยื่ น ใบลาออกกั บ อธิ บ ดี ก รมอุ ตุ นิ ย มวิ ท ยาสอง ครั้ง  เพราะท่านไม่เข้าใจในสิ่งที่ผมท�ำ  ผมซื้อเครื่องมือ  ซื้อเครื่อง คอมพิวเตอร์มาซึ่งจะต้องอยู่ในแอร์ อธิบดีเห็นก็ต่อว่าว่าท�ำไมห้องนี้ มีแอร์  แทนที่จะเอาไปให้ผู้อ�ำนวยการคนอื่นนั่งเย็นๆ ผมก็เลยลาออก เลย เพราะท่านไม่เข้าใจในสิ่งที่ผมคิด แต่ตอนหลังท่านก็เรียกกลับมา ท�ำงาน ซึ่งบางทีบางครั้งเราก็ขัดกัน  บางทีเรามีนโยบายแบบนี้แล้ว ผู้ใหญ่ท�ำแบบนี้โดยไม่ถูกต้อง ผมไม่แคร์เลยนะ อย่างมากที่สุดก็ลา ออกเลย” เพราะเป็ น นั ก วิ ท ยาศาสตร์ แ ละมี โ อกาสศึ ก ษาในต่ า ง ประเทศ ท�ำให้อาจารย์มองเห็นว่าระบบราชการและการศึกษาไทยยัง มีจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงอีกมาก “สังคมไทย  ผู้บริหารของสังคมยังไม่ยุติธรรมเท่าไร  ในต่าง ประเทศเด็กเขาเรียนรู้เขาไม่ได้สอนให้นักเรียนจ�ำนะ  เขาสอนให้ นักเรียนเปิดต�ำราถ้ามีปัญหา เพราะคนเราไม่สามารถจะจ�ำทุกๆ  เรื่อง ได้ ถ้ามีปัญหาขอให้เปิดต�ำราให้ถูกหน้าถูกเล่มเท่านั้นเอง ตอนผม เรียนที่ต่างประเทศ เวลาไปเรียนไปมีปัญหาอะไรก็เปิดต�ำรา เวลา สอบเขาก็สอบไปเรื่อยๆ ไม่ใช่เรียนไปทั้งปีแล้วค่อยสอบ ตกก็จบเลย ทั้งๆ  ที่มีความรู้

149


“อีกเรื่องหนึ่งคือ เด็กนักเรียนเมืองไทยเวลาไปเรียนนี่หอบ หนังสือหนักกว่าตัว  มันไม่มีความหมายเลย  เราควรสอนให้เด็กเรียน ผ่านหัวไปแล้วรู้จักเปิดต�ำราเมื่อติดขัด  อย่างอเมริกาเวลาสอบเขาให้ เอาเครื่องคิดเลข ให้เอาต�ำราเข้าไป ขอให้เราเปิดถูกหน้าตรงหน้าตรง บทเท่านั้นแหละเราก็ตอบได้  ของเราต้องท่องเก่งต้องจ�ำเก่งแต่เราไม่ ได้ใช้บ่อย  พอถึงเวลาก็ลืม  เพราะอย่างนั้นการศึกษาของเขาถึงเจริญ มาก  ส่วนใหญ่คนจีนเวลาไปเรียนอเมริกา  เรียนจบปริญญาเอกกัน เป็นแถว แล้วก็แต่งต�ำราเยอะแยะ แต่ว่าคนไทยเราไม่มีโอกาสอยู่ตรง นั้น” ท�ำงานมาอย่างยาวนาน  ผ่านเรื่องราวทั้งดีร้าย  และต่อสู้ เพื่อรักษาชีวิตคนมามาก อาจารย์สมิทธบอกว่า ทั้งหมดคือสิ่งที่สร้าง ความสุขให้สามารถมีแรงท�ำงานต่อไปได้  แม้ปัจจุบันจะเกษียณอายุ ราชการแล้วก็ตาม “ความสุขของผมคือการให้องค์ความรู้แก่ประชาชน ผมถือว่าผม เกิดมาอาจจะเป็นหนี้ประชาชน  หรือเป็นบาปที่ผมสร้างไว้ตั้งแต่เมื่อ ชาติก่อนก็ไม่รู้  เวลาผมไปบรรยาย  สามสี่ชั่วโมง  บางทีสุขภาพผมไม่ ดี  ยืนๆ  อยู่ล้มไปเลย  เป็นลมไปกะทันหันสามครั้งแล้ว  ถ้าบรรยาย เสร็จผมก็มีความสุข  ผมเคยไปบรรยายที่ภูเก็ตครั้งหนึ่ง  นั่งรถกลับมา กับคนขับ  ผมเห็นเขาขับรถกลับคนเดียวผมก็นั่งมาเป็นเพื่อน รถเกิด คว�่ำ  ผมเกือบตายไปทีหนึ่งแล้ว หัวสมองกระทบกระเทือน  เลือดออก ในสมอง  พอโชคดีเป็นบารมีเป็นบุญ  มีคนที่เข้าไปช่วยเอาชื่อผมออก รายการวิทยุท้องถิ่น  เอาไปออกทีวี องคมนตรีท่านหนึ่งก็มองเห็น ไป กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ท่านก็บัญชา ให้เอาเฮลิคอปเตอร์ไปรับจากชุมพรมาที่ศิริราช  พอหายดี  พระบาท

150


สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ก็พระราชทานแจกันด้วย  ตอนแรกหมอก็ไม่ สนใจหรอก  พอผมได้รับพระราชทานแจกัน  หมอเต็มห้องเลย ก็ได้รับ การดูแลเป็นพิเศษ” ถ้าถามหลักในการท�ำงานเพื่อสังคม  อาจารย์ตอบอย่างมั่นใจ ว่าใช้หลักกฎหมายเป็นหลัก “ผมยึดหลักกฎหมาย ยึดหลักยุติธรรม  ใครท�ำงานอะไรมา ยึดตามแบบฝรั่ง ท�ำงานส�ำเร็จในส่วนนี้ มีผลงานส่วนนี้ มีผลประโยชน์ ส่วนนี้  ก็จบ  แล้วมีการพูดจากันมีการคุยกัน  ไม่ใช่ท�ำงานตัวคนเดียว แต่ผมเป็นคนดุนะ เวลาราชการผมเป็นคนดุ พวกลูกน้องบางคนไม่ ค่อยชอบถ้าไม่รู้จัก ผมดุ เพราะว่าหากลูกน้องผมท�ำงานผิดพลาด ความเสียหายเกิดขึ้น  มีคนตายไปสักคน  จะเป็นความผิดมหาศาล เพราะคนที่ตายไป คุณอย่าไปคิดว่าเขาตายไปคนเดียวนะ ลูกหลาน ภรรยาเขาล�ำบาก ถ้าคุณพยากรณ์ออกมาแล้วคุณไม่ผิด คุณไม่พลาด คุ ณ ก็ รั ก ษาชี วิ ต ไว้ ไ ด้ อี ก เยอะแยะ  เพราะฉะนั้ น เวลาท� ำ งานต้ อ ง ละเอียดถี่ถ้วน  ไม่ใช่คร่าวๆ  คิดว่าจะบอกอะไร   คิดว่าจะท�ำอะไรแล้ว ไม่มีผลกระทบต่อประชาชนนี่ไม่ได้ ผมถือหลักนั้น ถ้าคุณพยากรณ์ ผิดแล้วมันไม่เกิดขึ้นผมจะไม่ว่าคุณเลย คนต�ำหนิผมยอมรับค�ำต�ำหนิ แทนคุณ คุณไม่ต้องรับ เป็นความผิดของผมเอง แต่ถ้าเผื่อคุณท�ำนาย ผิดแล้วคนตายนี่คุณผิด เพราะฉะนั้นเมื่อก่อน ทุกเวลาห้าโมงเช้าผม จะเรียกประชุม เรียกผู้อ�ำนวยการแต่ละกองที่เกี่ยวข้อง แล้วเอาข้อมูล ขึ้นกระดานเลย  อธิบายในข้อมูลของเขา  แล้วผมจะเป็นคนวิจารณ์ที่ เขาอธิบาย  ถูกหรือผิด  แล้วก็จะให้คนอื่นวิจารณ์ด้วย  แต่บางครั้งผม ก็ผิดนะ ผมเคยผิดพลาดหลายครั้งเหมือนกัน ผอ.ที่เชียงใหม่ เขามา กรุงเทพ มาเข้าประชุม ผมถามว่าอากาศเชียงใหม่เป็นอย่างไร ผอ.ก็

151


มาอธิบาย ผมบอกไม่เห็นด้วย  ตามหลักวิทยาศาสตร์มันไม่เป็นอย่าง นี้ แต่ที่จริงผมผิด ผมสู้เขาไม่ได้เพราะอะไร หลักวิทยาศาสตร์อย่าง เดียวสู้ไม่ได้ เพราะเขาอยู่กับพื้นที่  เขารู้หลังภูเขาอยู่ตรงไหน หนาว ร้อนเขารู้ ถ้าลมมาอย่างนี้ยอดเขาจะเป็นอย่างไร เขารู้ดีกว่าเรา มีองค์ ความรู้หลายอย่าง ความรู้ความช�ำนาญพื้นที่เขาดีกว่าเรา ผมผิด  ผม ก็ไปขอโทษเขา เพราะฉะนั้นเวลาผมไปท้องถิ่นผมต้องไปถามหัวหน้า สถานีตรวจอากาศท้องถิ่นว่าเป็นอย่างไร” แรงใจในการท�ำงาน  พลังใจ  ที่ใช้เป็นแรงขับเคลื่อนการท�ำงาน คือสิ่งส�ำคัญ  อาจารย์สมิทธก็มีแรงใจจากพระมหากรุณาธิคุณจาก องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

พระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ท่านเป็นแรงใจส�ำคัญ ส�ำหรับชีวิตผม

152


ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ สถาปนิกแห่งธรรมชาติ “การเรียนรู้ที่ดีที่สุดของ มนุษย์  คือการเรียนรู้ที่จะอยู่กับ ธรรมชาติ”              ศ.ดร.สุนทร  บุญญาธิการ สถาปนิกแถวหน้าของโลก บอก ไว้ เ มื่ อ เราถามถึ ง องค์ ค วามรู ้ ส�ำคัญที่เรียนรู้มาตลอดชีวิตเกี่ยว กับงานด้านสถาปัตยกรรม “ผมได้ ค วามรู ้ แ ค่ บ าง ส่วนจากในห้องเรียน  แต่ความ รู ้ ส ่ ว นใหญ่ ม าจากการสั ง เกต ธรรมชาติ ตอนสมัยผมเด็กๆ ผม ไม่ได้เกิดมาในครอบครัวที่ร�่ำรวย อะไร  ดั ง นั้น เวลาไปเรียนก็ต้อง เดินไปเรียน  ตลอดระยะทางสาม กิ โ ลเมตรที่ เ ดิ น ไปโรงเรี ย น  ผม สั ง เกตทุ ก อย่ า ง  ไม่ ว ่ า จะเป็ น กระแสลมที่พัด มดเดิน ที่สุนัข นอน  รอยเท้ า สั ต ว์   จอมปลวก บางปีที่ฝนตกหนักๆ เราก็สังเกต การไหลของน�้ ำ  ตอนเด็ ก ๆ  ผม

153


เรียนโรงเรียนที่จนมาก ขนาดไม่มีห้องเรียน ก็ต้องมาเรียนตามสนาม บ้าง ทุ่งบ้าง แต่ผมว่ามันก็มีข้อดีตรงที่มันท�ำให้เราเข้าใจความเป็นไป รอบตัวของธรรมชาติ  และเป็นเหมือนเมล็ดพันธุ์ส�ำคัญที่บ่มเพาะให้ เราท�ำงานด้านสถาปัตย์โดยผสมผสานประโยชน์ใช้สอยและการอยู่ ร่วมกับธรรมชาติ”

154


แต่กว่าที่  ดร.สุนทรจะเข้าใจเรื่องนี้อย่างชัดเจน  เขาก็ต้อง เสียเวลาศึกษาในระบบการศึกษาทั้งจากเมืองไทยและต่างประเทศ อยู่นับสิบปี   สิ่งที่ได้จากการเรียนในระบบไม่มีอะไรมากมายกว่าใบ ปริญญา “ตอนผมเรี ย นปริ ญ ญาตรี ที่ ค ณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมเป็นเด็กตั้งใจเรียนคนหนึ่ง แต่ถึงผมจะ ตั้งใจเรียนมากแค่ไหน  ผมก็รู้สึกว่าองค์ความรู้ในการเรียนสถาปัตย์ มันไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย มันไม่มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น ผมก็ยังคงออกแบบบ้าน ออกแบบตึก อย่างที่คนรุ่นก่อนๆ ท�ำ เวลาท�ำงานส่งอาจารย์ก็จะเน้น สวยและตอบโจทย์ลูกค้าอย่างเดียว  เราไม่ได้นึกถึงองค์ประกอบ อื่นเลย   พอเรียนจบออกมาผมก็เป็นแค่สถาปนิกที่ออกแบบบ้าน ได้ตามใจลูกค้าเท่านั้น  เราไม่สามารถสร้างบ้านสร้างตึกที่มีความ กลมกลืนกับธรรมชาติ  และมีฟังก์ชั่นที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลง ของสังคมได้เลย จนผมไปศึ ก ษาต่ อ ปริ ญ ญาโทที่ ส ถาบั น แพรตต์  บรู ก ลิน  นิวยอร์ก  ตอนนั้นเราก็หวังว่าที่นี่จะมีค�ำตอบให้เราในด้านการ ออกแบบ ที่ตอบโจทย์อย่างที่เราตั้งใจ แต่สุดท้ายมันก็ไม่เป็นแบบนั้น เพราะการเรียนที่นั่นก็ยังเน้นการสอนแบบเดิมๆ  อยู่  จนจบปริญญา โท ผมก็ยังไม่เข้าใจเรื่องงานสถาปัตยกรรมอย่างถ่องแท้เลย เรียกว่า ยังไม่ถึงแก่น ตอนนั้นก็กลับมาเมืองไทยหลังจากไม่ได้กลับมาเกือบ เกือบยี่สิบปี  แต่พบว่ารูปแบบของบ้านเราก็ยังท�ำกันแบบเดิมทั้งที่ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ที่ผมมักจะตั้งค�ำถามเสมอก็คือ ทุก คนยอมรับว่ากลางวันร้อนกว่ากลางคืน แต่ท�ำไมกลางคืนเรายังต้อง

155


นอนเปิดแอร์อยู่ เพราะปัจจุบันบรรยากาศในเมืองร้อนมาก สมัยก่อน เมืองเย็น พอกลางคืนอากาศเย็นก็ไหลเข้าไปแทนที่อากาศร้อน เกิด กระแสลม แต่เดี๋ยวนี้เมืองมันร้อนมาก จนตีสามแล้วเมืองยังไม่เย็น อากาศก็เลยนิ่งตลอด  เรานอนไม่สบายแล้วนะครับถ้าไม่เปิดแอร์ สมัยก่อนวัสดุส�ำหรับผนังและโครงสร้างของบ้านเป็นไม้ ก็เย็นเร็ว แต่สมัยนี้เป็นก่ออิฐฉาบปูนหนาตั้งสี่ห้านิ้ว การที่กลางคืนเรายังต้อง นอนเปิดแอร์ทั้งที่อากาศภายนอกเย็นกว่า  ก็แสดงว่ามันต้องมีอะไร ที่ผิดปกติแน่ๆ จนวันหนึ่งผมไปศึกษาต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย มิชิแกน  และได้ไปพบศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง  ท่านได้เปิดโลกการ ออกแบบของผมให้กว้างขึ้น เหมือนกบที่อยู่นอกกะลา และท�ำให้ผม เข้าใจว่าความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของเราต้องขยายขอบเขต

156


ออกไปอีก นอกจากเรื่องความสวย ความงาม และประโยชน์ใช้สอย แล้ว  เราต้องผสมผสานความเข้าใจและความรู้พื้นฐานในเรื่องของ วิศวกรรม  ฟิสิกส์  วิทยาศาสตร์  รวมถึงต้องเข้าใจถึงธรรมชาติอย่าง ลึกซึ้ง  ทุกวันนี้สถาปัตยกรรมของเรายึดติดอยู่กับค�ำว่า คอนเส็ปต์ สไตล์ และแฟชั่น หรือบางทีก็งบประมาณของเจ้าของกิจการมาก เกินไป แต่สิ่งที่ผมได้เรียนรู้คืองานสถาปัตยกรรมเมื่อพัฒนาไปถึงขั้น สุดยอดกลับไม่มีสไตล์ แต่จะเกิดรูปฟอร์มที่ลงตัว ผมยกตัวอย่าง ถ้า เราดูต้นมะม่วง  จะเห็นว่ามันมีพัฒนาการมาเป็นเวลายาวนานมาก เริ่มตั้งแต่เม็ดมะม่วง พัฒนาจนมีใบเลี้ยง แล้วก็เอาใบเลี้ยงดูดน�้ำจน หยั่งรากลึกลงไป  มันพัฒนารูปทรงจนอยู่ได้ด้วยตัวเองในภูมิอากาศ แบบร้อนชื้นอย่างลงตัว  และได้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมที่มัน อยู่มากที่สุด โดยยังคงเอกลักษณ์ในตัวของตัวเอง และให้ผลที่เป็น ประโยชน์แก่คนทั่วไป สถาปัตยกรรมก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเพียง แฟชั่น แต่เป็นรูปธรรมที่จะสนองตอบต่อสภาพดินฟ้าอากาศหรือเป็น ผลลัพธ์ที่ธรรมชาติให้มา อาคารที่ดีควรตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม และสามารถดึงสภาพแวดล้อมมาใช้อย่างสมบูรณ์แบบ  สามารถให้ ประโยชน์แก่คนทั่วไป ผลที่ได้ก็จะดีเหมือนต้นมะม่วงนั่นเอง” ดร.สุนทรกล่าวว่า  ในครั้งนั้นนอกจากจะได้เรียนรู้เรื่องของ การออกแบบที่เข้าถึงแก่นแล้ว  ยังได้ปลดปล่อยอัตตาในจิตใจของ เขาให้หลุดออกไปด้วย “เมื่อเราเข้าถึงแก่นของความรู้ได้อย่างชัดเจน  ความรู้นี้ก็ สอนสัจธรรมให้กับชีวิตเรา อย่างที่บอกว่าฟอร์มที่ลงตัวที่สุดของงาน สถาปัตย์คือไม่มีฟอร์ม ชีวิตก็เช่นกัน ในที่สุดเราก็ไร้ซึ่งการมีอยู่เพื่อ ตัวเอง ถ้าเราไม่มองประโยชน์เพื่อตัวเองเพียงฝ่ายเดียว เราก็สามารถ

157


เป็นศูนย์กลางในการสร้างประโยชน์เพื่อผู้อื่นได้  ทุกวันนี้ผมเลือกที่ จะย่อยความรู้ทั้งหมดที่มี แล้วน�ำมาถ่ายทอดกับคนทุกระดับ ทั้งชาว บ้านธรรมดาๆ จนถึงลูกศิษย์ในมหาวิทยาลัย ผมจะเน้นเรื่องของการ เข้าใจธรรมชาติ รู้จักตัวเอง เข้าใจความต้องการของสิ่งแวดล้อมรอบ ข้าง และน�ำสิ่งเหล่านี้มาปรับใช้กับเทคนิคทางการออกแบบ ที่ส�ำคัญ ต้องไม่เบียดเบียนธรรมชาติจนเสียสมดุล และสามารถใช้ทุกสิ่งอย่าง คุ้มค่ามากที่สุด เวลาผมสร้างหรือออกแบบโครงการสักโครงการ คน ท�ำงานรอบตัวผมก็ได้เรียนรู้ในสิ่งเหล่านี้ไปด้วย”

158


“สิ่ ง ที่ ผ มอยากเห็ น ก่ อ นที่ ผ มจะลาโลกนี้ ไ ป  คื อ ระบบการ ศึกษาของประเทศไทยควรมีการปรับเปลี่ยนให้มีการเรียนรู้ในเชิง สร้างสรรค์  เพราะระบบการเรียนการศึกษาของเราในขณะนี้ไม่ช่วย ให้คนมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  ไม่มีนวัตกรรม  มีแต่ สอนให้ท�ำตามๆ กัน ผิดแล้วผิดเล่า ซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า ผมอยากเห็นงาน วิจัยมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศชาติ  เป็นงานที่เกิดด้วย ภูมิปัญญาไทยโดยคนไทยและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ นอกจาก นี้ผมยังมีโครงการจะไปสร้างโรงเรียนที่เปลี่ยนมิติทางการเรียนใหม่ ให้เด็กได้เรียนรู้และศึกษาอย่างมีเหตุมีผลมากกว่าที่จะท่องปาวๆ  สิ่ง ที่ผมฝันไว้ก็คือ  อยากไปสร้างโรงเรียนให้เด็กทางภาคอีสาน  ผมเคย ไม่มีที่เรียนก็เลยอยากไปสร้างโรงเรียนให้เด็กอยู่สบาย อบอุ่นในหน้า หนาว พอถึงหน้าร้อนก็เย็นสบาย หน้าฝนไม่เปียกฝน ผมเชื่อว่าเมื่อ คุณภาพชีวิตดี  เขาก็เรียนได้เต็มที่  และเราก็สามารถมีบุคลากรที่ดีใน การพัฒนาประเทศ”

159


ผลงานของ  ศ.ดร.สุนทร  บุญญาธิการ  ที่ได้รับการยอมรับ จากทั่วโลก  เช่น  บ้านชีวาทิตย์ คือบ้านในภูมิภาคร้อนชื้น ที่ไม่พึ่งพา ปัจจัยภายนอก การไฟฟ้าอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์สามารถลดการ ใช้พลังงานได้ถึง 15 เท่า น�้ำและก๊าซชีวภาพเป็นระบบการหมุนเวียน จากทรัพยากรธรรมชาติ เก็บน�้ำธรรมชาติทั้งน�้ำฝนและน�้ำค้างมาใช้ ส่วนน�้ำที่ใช้แล้วน�ำมารีไซเคิลใช้ได้จริง  บ้านประหยัดพลังงานนี้ราคา ใกล้เคียงกับบ้านที่มีการใช้สอยปกติ  นอกจากนี้ยังมีศูนย์ราชการ แจ้ ง วั ฒ นะ  ซึ่ ง เป็ น ศู น ย์ ร าชการขนาดใหญ่ ที่ เ ป็ น ระบบประหยั ด พลังงานแบบครบวงจร และสามารถป้องกันแผ่นดินไหวได้ถึง 8 ริกเตอร์สเกล

สิ่งที่ผมอยากเห็น  ก่อนที่ผมจะลาโลกนี้ไป คือ ระบบการศึกษาของประเทศไทยควรมีการปรับ เปลี่ยนให้มีการเรียนรู้ในเชิงสร้างสรรค์ ผมอยากเห็น งานวิจัยมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศชาติ   เป็นงานที่เกิดด้วยภูมิปัญญาไทยโดยคนไทยและ เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ

160


อาจารย์ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อยู่อย่างเป็นสุข กับระบบทุนนิยม “ สิ่ ง ที่ มั น เ กิ ด ขึ้ น เ ป็ น ธรรมชาติ ข องประวั ติ ศ าสตร์   มั น เหมื อ นกั บ เป็ น ธรรมชาติ ข องโลก คุณไม่สามารถห้ามให้ฝนตกหรือ แดดออก  แต่สามารถเรียนรู้ได้ว่า ถ้ า ฝนตกจะท� ำ อย่ า งไร  ถ้ า แดด ออกจะท�ำอย่างไร ถ้าน�้ำท่วมจะท�ำ อย่างไร อย่างนั้นมากกว่า” เพราะปัจจุบันเราอยู่สังคมแห่งทุน  ดังนั้นเราจึงไม่สามารถ หนีค�ำว่าทุนนิยมได้พ้นแต่เราสามารถอยู่กับมันได้อย่างมีความสุข อาจารย์ณรงค์  เพ็ชรประเสริฐ คือนักวิชาการคนส�ำคัญของไทยที่มอง และเรียนรู้ที่จะอยู่กับระบบทุนนิยมด้วยความเข้าใจโดยใช้หลักธรรม และมองทุกอย่างด้วยความจริง  สิ่งหนึ่งที่อาจารย์อยากบอกคนใน สังคมคือเราสามารถอยู่กับระบบนี้ได้อย่างมีความสุข  โดยไม่ต้องเป็น คนมีเงินทองมากมาย แค่เพียงเรารู้เท่าทันเท่านั้น

161


“ในระบบทุนนิยมนั้นเชื่อกันว่าจริยธรรมของทุน  จะเกิดขึ้น ต่อเมื่อมีแรงถ่วง  ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง  ดังนั้นถ้าเราอยาก ให้ทุนนั้นเป็นธรรม  ก็ต้องมีแรงถ่วงที่เป็นธรรม  เปรียบเทียบว่าทุน เป็นแมวที่ชอบกินปลาย่าง  เราไม่สามารถเปลี่ยนนิสัยแมวไม่ให้ชอบ กินปลาย่างได้ มันเป็นแมวมันต้องกินปลาย่าง แต่ถ้าเราไม่ต้องการ ให้แมวกินปลาย่างก็มีสองวิธีคือ หยิบปลาย่างไปไว้ไกลๆ เสีย หรือ เอาไม้เคาะหัวแมวไม่ให้กิน ธรรมชาติของทุนนั้นอยู่กับก�ำไร ถ้าไม่ อยากให้ทุนมีก�ำไรมากเกินควร ก็ต้องมีแรงปะทะกับมัน ซึ่งมีได้หลาย รูปแบบ เช่น กฎเกณฑ์กติกา กฎหมาย มีคนมาประท้วง ต่อต้าน นัก วิชาการเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า Countervailing Power มันเกิดการถ่วงดุล ขึ้นมา ให้ทุนนั้นก้าวหน้าและพัฒนาขึ้น โชคร้ายที่ทุนนิยมสามานย์มันโตไวกว่า  ผมคิดของผมว่า ถ้าเราเลือกไปในทางของทุนนิยม  เราก็ต้องสร้างทุนก้าวหน้าให้เกิด ความขัดแย้งเฉพาะหน้าจะลงเอยอย่างไรผมไม่สนใจ ผมสนใจแต่ว่า เราต้องการเห็นทุนก้าวหน้า และในทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ทุน ก้าวหน้าจะเกิดเพราะมีพลังถ่วง  ถ้าไม่มีผมจะช่วยสร้างมันขึ้นมา”

162


ในสั ง คมปั จ จุ บั น ที่ อ� ำ นาจทุ น นิ ย มน� ำ มาซึ่ ง ความขั ด แย้ ง อาจารย์ณรงค์มองว่าเราไม่สามารถโทษระบบและเงินเพียงอย่าง เดียว แต่เราควรมองว่าจริยธรรมของคนในสังคมเป็นอย่างไร “ปราชญ์ของระบบทุนกล่าวไว้ว่า  ธรรมชาติของทุนนั้นขับ เคลื่อนไปด้วยผลประโยชน์ส่วนตนเสมอ  และถ้ามีโอกาส  จะไม่มี ทุนใดที่ไม่ต้องการแสวงหาประโยชน์สูงสุดให้กับตัวเอง  มนุษย์ทุก คน  ไม่ว่าจะเป็นทุนหรือไม่  มีธรรมชาติว่าปรารถนาผลประโยชน์ สู ง สุ ด ให้ กั บ ตั ว เองเสมอ  ดั ง นั้ น ระบบทุ น นิ ย มเขาไม่ เ ชื่ อ ว่ า ทุ น จะ ท� ำ เพื่ อ ส่ ว นร่ ว ม  เขาเชื่ อ ว่ า ทุ ก คนท� ำ เพื่ อ ตั ว เอง  เพี ย งแต่ ว ่ า การ ท� ำ เพื่ อ ตั ว เองนั้ น มี ผ ลพลอยได้ ต ่ อ สั ง คมด้ ว ยหรื อ เปล่ า เท่ า นั้ น เอง “การกระท�ำเพื่อตัวเองนั้นมีช่องทางหลายๆ อย่างที่ใช้แสวงหา ผลประโยชน์   แต่ บางช่ อ งทางนั้ น เกิ ด ไปท� ำลายผลประโยชน์และ สิ ท ธิ ข องผู ้ อื่ น หรื อ ส่ ว นรวม  โดยทั่ ว ไปคนที่ จ ะมองเห็ น พฤติ ก รรม เหล่านี้มักเป็นคนที่มีความรู้ความเข้าใจ  ติดตามสถานการณ์  ซึ่ง มักอยู่ในคนชั้นกลาง ถามว่าคนรวยไม่รู้เหรอ คนรวยรู้ แต่คนรวยก็ มักมีผลประโยชน์หลายอย่างสอดคล้องกับทุนสามานย์  เลยไม่พูด” อาจารย์มองว่าทุกอย่างเป็นธรรมชาติของความเปลี่ยนแปลง โลก  ถ้ า เรามองอย่ า งเข้ า ใจเราจะไม่ เ ป็ น ทุ ก ข์ กั บ มั น มากมายนั ก “สิ่งที่มันเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติของประวัติศาสตร์  มันเหมือน กับเป็นธรรมชาติของโลก คุณไม่สามารถห้ามให้ฝนตกหรือแดดออก แต่สามารถเรียนรู้ได้ว่าถ้าฝนตกจะท�ำอย่างไร  ถ้าแดดออกจะท�ำ อย่างไร ถ้าน�้ำท่วมจะท�ำอย่างไร อย่างนั้นมากกว่า”

163


ค�ำว่าทุนสามานย์ที่ใครๆ พูดกัน อาจารย์มองว่าเราสามารถ แก้ไขให้ดีขึ้นได้ด้วยพลังของมวลชนโดยเริ่มจากตัวเราเอง “ค� ำ ว่ า   ‘ทุ น สามานย์ ’   ในความหมายของผมคื อ   ระบบ ทุนนิยมหรือกลุ่มทุนที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  ไม่มีฉันทามติอย่างอิสระจากความรู้สึกของคน เป็นทุนที่อยู่กับความไม่โปร่งใส เป็นทุนที่ไม่สมดุล มีอ�ำนาจมากเกินไป เป็นทุนที่แข่งขันอย่างไม่เป็น ธรรม มีอภิสิทธิ์ ค� ำ ว่ า ทุ น สามานย์ จ ริ ง ๆ  แล้ ว มาจากสั ง คมตะวั น ตก  ใน ช่ ว งที่ ก ลุ ่ ม ทุ น แข่ ง ขั น กั น เพื่ อ ช่ ว งชิ ง ความได้ เ ปรี ย บ  มี ก ารใช้ เงิ น เพื่ อ ซื้ อ นายอ� ำ เภอ  ซื้ อ ผู ้ ว ่ า   ซื้ อ ตั ว แทน  ใช้ เ งิ น ไปตั้ ง แก๊ ง ฆ่ า คู ่ แ ข่ ง   ท� ำ ลายสหภาพอะไรสารพั ด   ฝรั่ ง เรี ย กพวกนี้ ว ่ า  Robber Baron หรือขุนนางโจร  ผมมาเรียกในเมืองไทยว่า  ‘ทุนสามานย์’

164


จริ ง ๆ  แล้ ว ในระบบทุ น นิ ย มก็ มี ทั้ ง ทุ น ที่ ดี แ ละไม่ ดี   ทุ น ที่ เ ล็ ก   ทุ น ที่ ใ หญ่   ทุ น ก้ า วหน้ า และทุ น สามานย์   แล้ ว แต่ ว ่ า ทุ น กลุ ่ ม ไหนมี อ� ำ นาจมากกว่ า ใคร  เผอิ ญ ว่ า ช่ ว งที่ ผ ่ า นมา  ทุ น สามานย์ มั น ครองอ� ำ นาจ  มั น ก้ า วหน้ า   มั น พั ฒ นาเร็ ว ไปหน่ อ ย” ในข้อสรุปของอาจารย์ณรงค์  ส�ำหรับวิธีการใช้ชีวิตในระบบ ของทุนนิยมของอนาคตอย่างมีความสุข  ต้องส่งเสริมความสามัคคี ของชุมชนเป็นส�ำคัญ และมันจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้สังคมก้าวไปได้ อย่างแข็งแรงและมีความสุข “ผมวิเคราะห์ว่าระบบทุนนิยมทั่วโลกที่เห็นกันอยู่นี้  มันมี ทุ น สามานย์ แ ละทุ น ก้ า วหน้ า   ในขณะเดี ย วกัน จะมีก ารกระจุก ตัว ของทุน ยิ่งทุนใหญ่มาก มีอ�ำนาจมาก มีการผูกขาด มันจะยิ่งกระจุก ตัว  ซึ่งการกระจุกตัวหรือการครอบง�ำของทุนน�ำไปสู่ความแตกต่าง ทางรายได้  ความแตกต่างทางชนชั้น  ดังนั้นถ้าเราไม่ต้องการเห็น ความแตกต่ า งนั้ น มากเกิ น ไป  ก็ ส ร้ า งพลั ง ถ่ ว งขึ้ น มา  ถ้ า ต้ อ งการ สร้างพลังถ่วงของทุน  ก็ต้องพยายามสร้าง  ‘ทุนมวลชน’  ขึ้นมาเพื่อ ไปถ่วงมันไว้ ถ้าเราต้องการถ่วงพฤติกรรมของนายทุน เราต้องสร้าง พลั ง ถ่ ว งจากประชาชนหรื อ ลู ก จ้ า งขึ้ น มายั น เอาไว้   ทั้ ง การสร้ า ง ทุ น มวลชนและพลั ง ลู ก จ้ า ง  หรื อ พลั ง ผู ้ บ ริ โ ภค  เป็ น กระบวนการ สร้าง Countervailing Power หรือการสร้างพลังถ่วงในระบบทุน”

165


อาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบล ภูมิปัญญาจีนในใจของคนไทย

“ความขยัน กับความมีวินัย เรื่อง นี้ผมว่าลูกหลานจีนทุกคนถูกอบรม สั่งสอนค่อนข้างที่จะเข้มข้น”

ถ้าจะนึกถึงผู้รู้ด้านจีนศึกษาในประเทศไทย  อาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบล  คือคนแรกที่เราต้องนึกถึง อาจารย์บอกว่าคนไทยกับคน จีนนั้นมีวัฒนธรรมผสมผสานกันมาอย่างยาวนาน  และถ้าย้อนไปใน อดีตกาลนับพันปี เรื่องของศาสนาและวิถีของความเป็นตะวันออกนั้น เรามีความสัมพันธ์กันแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกันจนแยกไม่ออก  สิ่ง หนึ่งที่คนไทยและคนจีนมีเหมือนกันคือความกตัญญู  ที่ค�ำสอนนั้นฝัง อยู่ในจิตส�ำนึกของคนไทยและคนจีน  ในวัยเด็กของอาจารย์วรศักดิ์ แม้จะสัมผัสความเป็นไทยน้อยมาก  แต่เมื่อเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ เขาก็พบว่าวิถีความเป็นจีนกับความเป็นไทยนั้นอยู่กันได้อย่างลงตัว อย่างเป็นธรรมชาติ  และนั่นคือแรงบันดาลใจที่ท�ำให้อาจารย์สนใจ เรื่องจีน

166


“ผมอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบจีนเป็นส่วนใหญ่ของชีวิต เรียกได้ ว่าผมสัมผัสกับความเป็นไทยน้อยมาก   ซึ่งผมได้มาสัมผัสกับความ เป็นไทยก็เมื่อมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพแล้ว  จนกระทั่งเพื่อนคนไทย หลายคนแปลกใจว่าท�ำไมสิ่งนั้นผมก็ไม่รู้จัก สิ่งนี้ผมก็ไม่รู้จัก อย่าง เช่น ผมจ�ำได้ว่าอายุยี่สิบห้า ผมเพิ่งรู้จักสะเดาน�้ำปลาหวาน เพื่อนก็ แปลกใจท�ำไมไม่เคยกิน  โดยสรุปคือชีวิตส่วนใหญ่เป็นแบบนั้น  นี่ก็ เป็นจังหวะชีวิตช่วงแรก   ตอนที่สองผมคิดว่ามันมีความส�ำคัญโดยบังเอิญ  ก็คือเป็นช่วง หลังเหตุการณ์  14 ตุลา 2516  แล้วผมก็อยู่ในขบวนการนักศึกษา  ซึ่ง แนวคิดสังคมนิยมก�ำลังได้รับความนิยมอยู่ในเวลานั้น แล้วผมก็เป็น คนหนึ่งที่สนใจลัทธิสังคมนิยมมาก ทีนี้สิ่งที่เราได้รับมันก็อาจจะเป็น เพราะเราได้รับกระแสสังคมนิยมซึ่งในเมืองไทยตอนนั้นจะมีลักษณะ ไปทางซ้ายแบบจีนค่อนข้างสูง  ดังนั้น  หนังสือหนังหาเกี่ยวกับฝ่าย ซ้ายที่ผมได้อ่านในเวลานั้นส่วนใหญ่ก็จะผลิตมาจากจีน โดยเฉพาะ งานนิพนธ์ของเหมาเจ๋อตุง ขณะที่ศึกษาเราก็ต้องศึกษาไปยังบางช่วง บางตอนของประวัติศาสตร์จีน ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศจีนเข้าสู่ยุคสมัย ใหม่  เขาก็จะมีเชิงอรรถอธิบายต่อไปอีกว่าเหตุการณ์นั้นๆ  มีความ เป็นมาอย่างไร  ตรงนี้มันท�ำให้เราได้รับรู้ถึงประวัติศาสตร์การเมือง จีนไปโดยปริยาย  ถ้าจะมองก็คือถ้าผมเป็นซ้าย ผมก็เป็นซ้ายแบบ จีน อะไรที่มันเป็นรัสเซียหรือยุโรปตะวันออกก็จะรู้จักน้อยมากหรือ แทบไม่รู้จักเลย อันนี้ก็เป็นช่วงตอนที่สอง ซึ่งผมก็ไม่รู้นะว่ามันจะมี หรือไม่มีอิทธิพล จนกระทั่งเมื่อราวๆ ปี 2530 ผมได้เข้ามาท�ำงานที่ สถาบันเอเชียศึกษา ท�ำไปได้ระยะหนึ่ง ทางผู้บริหารก็ถามว่าถ้าจะให้ มีประเด็นวิจัยสักประเด็นหนึ่งอยากท�ำอะไร ผมก็ตอบไปว่าอยากท�ำ วิจัยเกี่ยวกับประเทศจีน เพราะว่าผมเองตั้งแต่เล็กๆ ผมก็เรียนภาษา

167


จีนมา แล้วก็มีความรู้เรื่องจีนบ้างนิดๆ หน่อยๆ แล้วก็ตอนที่เป็นซ้าย ก็มีต้นทุนมานิดๆ หน่อยๆ ฉะนั้นตั้งแต่นั้นมา มันเป็นงานเป็นการ ถ้า คิดถึงตอนนี้มันก็ตั้งยี่สิบกว่าปีมาแล้วที่ผมท�ำเรื่องจีน  พอรู้บ้างหรือ มีต้นทุนอยู่บ้าง  ปรากฏว่าความรู้ของผมมันน้อยมาก  ไม่สามารถ ที่จะเอามา กล่าวอ้างว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนได้เลย  แต่จนถึง ปัจจุบันผมก็ได้เรียนรู้ภายใต้งานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องจีนที่ท�ำออก มา  มันก็ท�ำให้รู้ว่ามันมีประเด็นปัญหาและสิ่งที่ควรรู้อีกมากมาย   เพราะฉะนั้น  ถ้าถามผมว่าสิ่งที่ผมตั้งใจจะท�ำต่อไปเกี่ยวกับเรื่องจีน   นี่เป็นปัญหาที่ผมก�ำลังครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา” ภูมิปัญญาเรื่องจีนที่มีในเมืองไทยอยู่ในตัวเราแบบไม่รู้ตัว “ผมคิดว่าจริงๆ  แล้วสังคมไทยได้หยิบยืมเอาภูมิปัญญาของจีน ไปหลายๆ เรื่อง โดยอาจจะรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง ผมอยากจะเริ่มจาก เรื่องที่สามารถสัมผัสได้ง่าย  เห็นเป็นรูปธรรมและอยู่ในชีวิตประจ�ำ วัน ยกตัวอย่างเช่น เรื่องอาหารการกิน เมื่อเราไปศึกษาประวัติศาสตร์ ของสังคมไทย  เราจะพบว่าที่จริงแล้วสังคมไทยแต่เดิมจะไม่ได้รับ ประทานสัตว์จัตุบาทและทวิบาท ผมหมายถึงสัตว์สองเท้าและสี่เท้า ส่วนใหญ่แล้วจะรับประทานปลาและของป่าบางอย่าง มันเป็นค�ำ หนึ่งที่คนไทยคุ้นหู คือ กินข้าวกินปลา แต่เข้าใจว่าอิทธิพลของคนจีน ที่เข้ามา ซึ่งคนจีนเป็นคนที่ช่างกิน ทั้งสัตว์ทวิบาทและจัตุบาท เราจะ เห็นว่ามันเป็นวัฒนธรรมที่ไทยเรารับเข้ามา หลังจากนั้นต่อมาแล้วเรา ก็ยังเห็นตั้งแต่วิธีคิดและการใช้ชีวิตประจ�ำวัน ในเรื่องของหลักธรรม

168


ค�ำสอนในแบบจีน ผมคิดว่าคนไทยก็รับมาโดยไม่รู้ตัว สิ่งที่สัมผัสได้ ง่ายอีกอย่างหนึ่งรองจากเรื่องอาหาร ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของการ รับรู้เรื่องจีนผ่านงานวรรณกรรม   สังคมไทยเป็นสังคมที่ค่อนข้างโชค ดีที่มีการแปลวรรณกรรมและต�ำราประวัติศาสตร์ของจีนเอาไว้ค่อน ข้างเยอะ เวลาจีนเขาบันทึกหรือแต่งขึ้นมา เขาจะแทรกหลักค�ำสอนที่ สะท้อนให้เห็นภาพชีวิตของมนุษย์ที่มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง และที่ ส�ำคัญคนไทยนิยมอ่าน เอาเฉพาะสามก๊กเรื่องเดียว เราก็เห็นแล้วว่า มันมีการตีพิมพ์ตั้งหลายครั้ง และในชีวิตประจ�ำวันของคนไทยจ�ำนวน หนึ่ง ก็มักจะหยิบยกเอาวลี หรือสุภาษิต หรือส�ำนวนโวหารในงาน วรรณกรรมเหล่านี้มาใช้อยู่เรื่อย เรามักจะได้ยิน เช่น ‘ศึกครั้งนี้ใหญ่ หลวงนัก’ หรือเราคิดถึงเพื่อนคนหนึ่ง แล้วเขาโผล่มาพอดี เหมือนกับ วลีที่ว่า ‘คิดถึงโจโฉ โจโฉก็มา’ อะไรอย่างนี้ นอกนั้นก็เป็นหลักค�ำสอน ทั่วๆ ไป ในเรื่องของความกตัญญู หรือความขยันหมั่นเพียร อันนี้ผม คิดว่าเป็นเรื่องที่สองที่เราสามารถสัมผัสได้ง่าย”

169


ปรัชญาขงจื๊อกับพุทธศาสนานั้น ต่างที่มาแต่คล้ายคลึงกัน “หลักค�ำสอนของขงจื๊อนั้น ที่ได้รับการยอมรับมาก เหตุผลส่วน หนึ่งก็เพราะมันเป็นหลักค�ำสอนที่ Realistic มันสอดคล้องกับความ เป็นจริงของสังคมสมัยหนึ่งๆ คุณจะไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจที่จะรับมัน มันไม่ได้สุดโต่ง มันกลางๆ เหมือนกับหลักค�ำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้ า เราลองไปศึ ก ษาหลั ก ค� ำ สอนของพระพุ ท ธเจ้ า สมั ย ที่ ท ่ า นยั ง มี ชีวิตอยู่และเปรียบเทียบกับค�ำสอนของนิกายอื่นๆ ในอินเดีย ในช่วง พุทธกาล  เราจะพบเลยว่าของส�ำนักอื่นๆ  มันจะไปข้างใดข้างหนึ่ง ชัดเจนเลย แต่ว่าของศาสนาพุทธไม่ใช่ คือมีอุเบกขา ไม่ตึงเกินไป ไม่ หย่อนเกินไป ดังนั้น เรื่องความสอดคล้องของสังคม ก็ท�ำให้คนจีนรับ ได้ มันฝังรากลึกมาเป็นเวลานับพันๆ ปี จนถึงเดี๋ยวนี้คนจีนโดยทั่วๆ ไปก็มีวิถีปฏิบัติแบบนี้  ชีวิตเขาก็ใช้แนวคิดของขงจื๊อโดยที่เขาไม่รู้ ตัว ผมยกตัวอย่างเรื่องความกตัญญู ซึ่งจริงๆ เมื่อก่อนความกตัญญู ก็ถูกยกมาเท่าๆ กับหลักข้ออื่นๆ แต่ว่าพอมาสมัยราชวงศ์ชิง ก็มีการ ชูเรื่องความกตัญญูมาอย่างสูงเด่น เราก็เลยสงสัยว่าท�ำไมคนจีนเขา ถึงเน้นเรื่องความกตัญญูจังเลย ผมว่าอันนี้เป็นภูมิปัญญาที่มันมีนัยส�ำคัญแฝงอยู่ แล้วผมคิดว่าคนจีน คนไทย คนไทยเชื้อสายจีน พอมี ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันแล้วก็ซึมซับกันอย่างไม่รู้ตัว อาจารย์ผู้ใหญ่ที่ ผมเคารพนับถือท่านพูดอยู่ประโยคหนึ่ง ผมชอบมากเลย คุณไปชี้ใคร สักคนสิ ว่ามีใครบ้างที่เป็นคนไทยแท้ๆ มันยากมากเลย อย่างน้อยก็ คงมีส่วนผสมของจีนบ้าง”

170


ห ลั ก ค� ำ ส อ น ที่ ดี จ า ก ครอบครั ว คนจี น   ที่ ช ่ ว ยพั ฒ นา ชีวิต “ความขยั น   กั บ ความมี วิ นั ย   เรื่ อ งนี้ ผ มว่ า ลู ก หลานจี น ทุกคนถูกอบรมสั่งสอนค่อนข้าง ที่ จ ะเข้ ม ข้ น   เอาเป็ น ว่ า พอเลิ ก เรี ย นปุ ๊ บ   ผมเห็ น เด็ ก วิ่ ง เล่ น   ก็ อยากจะไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ มัน ต้องมาช่วยพ่อแม่ และพ่อแม่จะ บั ง คั บ ให้ ท�ำ การบ้ า น  แต่ พ อไป โรงเรียน เพื่อนที่มันวิ่งเล่นมันไม่ ส่งการบ้าน แต่เรามีส่ง มันเป็น อย่างนี้ ถามว่าเรามีความสุขไหม เราก็ อ ยากเล่ น มากกว่ า   แต่ สิ่ ง ที่เราได้มาโดยไม่รู้ตัว มารู้ตัวตอนโตแล้วก็คือ เราขยันโดยธรรมชาติ มันกลายเป็นว่าถ้าวันไหนเราไม่ได้ท�ำอะไรมันจะหงุดหงิด  แล้วผม สังเกตนะว่าคนอื่นที่เป็นลูกจีนคล้ายๆ ผม ไม่ว่าจะอาชีพอะไรก็เป็น เหมือนกัน เอาเฉพาะตัวผมนี่แค่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้ ผมมีหนังสือเล่ม โตๆ ออกมาแล้วสามเล่ม ผมก็ไม่ได้รู้สึกว่าผมเหนื่อย หรือขยันนะ ก็ รู้สึกธรรมดา บางทีผมเห็นคนอื่นมีเวลาว่างก็คิดนะ ว่าท�ำไมเขาไม่ท�ำ อะไร แต่ในหลักศาสนาพุทธ ความขยันก็เป็นจริยธรรมข้อหนึ่งนะ”

171


มีค�ำจีน ปรัชญาจีนประจ�ำใจ “มันมีความประทับใจตั้งแต่เด็กนะ แล้วก็บังเอิญบางครั้งในช่วง ชีวิตก็เจออย่างนั้น ภาษาจีนเรียกว่า ‘ว่อ ซีน ฉ่าง กา’ มันคล้ายๆ เป็น ค�ำพังเพยหรือสุภาษิต ที่เป็นเรื่องจริงในประวัติศาสตร์จีน ที่กษัตริย์ ของรัฐหนึ่งถูกกดขี่จากการเป็นเมืองขึ้น  เขาจึงเอาดีหมูมาแขวนไว้ แล้วให้คนจัดที่นอนบนฟาง ปูเสื่อทับ ในห้องอับๆ ส่วนดีหมูก็คือให้ กษัตริย์ลิ้มรสความขมของดีหมู  คือ  ความขมขื่นของความพ่ายแพ้ ซึ่งเป็นความหมายของประโยคนี้  ในท�ำนองที่ว่า  จงอย่าลืมอดีตที่ เคยขมขื่น หรือความพ่ายแพ้ที่เคยเกิดขึ้น แล้วหลังจากนั้นต่อมาใน ที่สุดกษัตริย์พระองค์นั้นก็เอาชนะรัฐที่มาตีได้ส�ำเร็จ  ซึ่งผมคงพูดค�ำ แปลแบบเป๊ะๆ ไม่ได้ แต่มันใช้เตือนตัวผมเสมอว่า เราไม่ได้แน่จริงๆ หรอก ผมว่าผมท�ำงานชิ้นหนึ่งขึ้นมา ผมท�ำมันเต็มที่ ละเอียด แต่ ประสบการณ์หลายสิบปีที่ผ่านมา มันท�ำให้ผมรู้ว่าไม่ว่าเราจะท�ำดีแค่ ไหน เดี๋ยวมันก็มีข้อมูลใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอยู่เป็นประจ�ำ”

172


เราก็ พ ยายามเตื อ นตั ว เองอยู ่ เสมอ ว่าชีวิตนี้มันมีความขมอยู่ จะ ได้ไม่หลงระเริง

173


นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ “หั ว ใจส� ำ คั ญ ของพุ ท ธเน้ น ว่ า เราสามารถพัฒนาจิตของเราให้สูง ขึ้นได้  จิตที่สูงขึ้นได้คือจิตที่มีความ สามารถในการเผชิญความเครียดได้ มากเป็นพิเศษ  เป็นจิตที่ผ่านการท�ำ สมาธิ”

สุขภาพกายกับสุขภาพใจนั้นสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก  ใคร ที่สุขภาพใจดีก็จะเป็นส่วนน�ำส�ำคัญให้สุขภาพกายนั้นดีตามไปด้วย  คุณหมอยงยุทธ  วงศ์ภิรมย์ศานติ์  ผู้ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต  คือ จิตแพทย์ที่ดูแลสุขภาพจิตผู้คนมาอย่างยาวนาน  จากคนที่สนใจ กิจกรรมด้านสังคมในยุคเรียกร้องประชาธิปไตย  มาเป็นหมอที่คอย ดูแลจิตใจคนในภาวะสังคมที่มีความกดดันมากมายทางสังคมและ เศรษฐกิจ  อะไรคือสิ่งส�ำคัญที่จะท�ำให้จิตใจผ่องใสและเป็นสุขได้ ประสบการณ์หลายสิบปีของคุณหมอยงยุทธมีค�ำตอบ

174


เพราะสนใจลึกลงไปในจิตใจคน  การเรียนด้านจิตเวชคือทาง เลือกที่ดีที่สุด “ที่ผมเลือกเรียนทางจิตเวชเพราะมันคือวิชาที่มันสอดคล้อง กับความสนใจของตัวเองที่สุดแล้ว ผมสนใจเรื่องของสังคม เรื่องของ จิตใจมนุษย์  การแพทย์โดยพื้นฐานจะเป็นเรื่องทางกาย  แต่ว่าเรื่อง ทางด้านจิตเวชเป็นเรื่องของการศึกษา  ตั้งแต่ด้านพัฒนาการของ มนุษย์ท�ำไมมนุษย์เราถึงเจ็บป่วย ความเจ็บป่วยแต่ละประเภทเป็นยัง ไงแล้วเรามีวิธีการยังไงที่จะช่วยให้คนหายจากการเจ็บป่วยทางจิตใจ ได้ เราก็เรียนรู้ศาสตร์ที่อธิบายเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของ สมองกับจิตใจแล้วจึงเอามาประกอบกัน  คือไม่ได้ไปยึดในสิ่งเหล่า นั้นมากก็เน้นเรื่องของอิทธิพลทุกด้าน  โดยเน้นอิทธิพลจากการเรียนรู้ จากเรื่องของครอบครัว  จากเรื่องของชีวิตโดยให้ความส�ำคัญกับเรื่อง นี้ค่อนข้างมาก  การให้ความส�ำคัญกับเรื่องนี้มากมันก็มีข้อดีอยู่สอง ประการ  ข้อดีประการแรก  คือมันใช้ได้กับคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เจ็บ ป่วย  เพราะแน่นอนการเจ็บป่วยมันจะมีปัจจัยทางชีวภาพเพิ่มเติม  แต่ว่าส�ำหรับคนทั่วไปแล้วปัจจัยทางด้านเรื่องของการเลี้ยงดู  เรื่อง ของชีวิตในวัยเด็ก เรื่องของประสบการณ์ชีวิตมันมีผลมาก ประโยชน์ อั น ที่ ส องคื อ ท� ำ ให้ เ ราดู แ ลคนที่ ป ่ ว ยรวมทั้ ง ครอบครัวของเขา  โดยไม่มุ่งเน้นการใช้ยาอย่างเดียว  ผมก็จะเป็น จิตแพทย์อยู่ในกลุ่มที่ให้ยาเท่าที่จ�ำเป็น  แล้วก็มุ่งเน้นเรื่องของการ เข้าหาสาเหตุ  แล้วก็ให้เกิดการปรับตัวทางด้านจิตใจและเรื่องของ ครอบครัวมากกว่า  อันนี้ก็เป็นจุดดีที่ท�ำให้เราสามารถที่จะใช้มุมมอง ด้านนี้เข้ามาได้

175


“ที่ จ ริ ง ตอนที่ ผ มมา เรียนจิตแพทย์ผมมีความใฝ่ฝัน ว่าอยากเป็นคนท�ำจิตบ�ำบัด มี ความรู้สึกว่า ถ้าคนเรามันไม่ได้ ถึงขนาดเป็นโรคจิต  แต่ว่ามีปม มีความทุกข์ มีความวิตกกังวล   มี อ ารมณ์ เ ศร้ า   สิ้ น หวั ง   ถ้ า มี กระบวนการที่ดีที่ท�ำให้เขาได้ กลับมาทบทวนตัวเอง แล้วก็มี วิธีการรักษาที่ดี น่าจะท�ำให้เขา กลับมาได้ นี่เป็นความใฝ่ฝัน” ความเมตตารักษาโรคทางใจได้ “ผมยกตัวอย่างความประทับใจที่ผมเคยเห็น  อย่างตอนที่ ผมฝึกเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  จะมีอาจารย์ ท่านหนึ่งซึ่งท่านจะเมตตาผู้ป่วยโรคจิตมาก  สมัยนั้นเรียกว่าเป็นผู้ ป่วยเรื้อรัง  อยู่ในสภาวะที่กลับบ้านไม่ได้แล้ว  แต่ว่าท่านจะดูแลด้วย ความเมตตา  แล้วเราเห็นทันทีเลยว่าปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ป่วย เวลาเจอท่านมันต่างกับจิตแพทย์คนอื่น  ขนาดคนไข้ที่เรารู้สึกว่าหมด สภาพแล้ว  แต่เขากลับมีปฏิกิริยาตอบสนองกับอาจารย์ท่านนั้น

176


หรือกรณีที่สอง  ผมมีอาจารย์ผู้ใหญ่คนหนึ่งซึ่งเวลาผู้ป่วย ของท่านมาลากลับบ้านท่านจะนัดญาติทั้งหมดมาด้วย  แล้วท่านจะ ให้ความส�ำคัญมากเลยกับการดูแลญาติผู้ป่วย  อธิบายว่าญาติเขา เป็นทุกข์ยังไงกับผู้ป่วย ญาติปรับตัวไม่ได้ยังไงกับผู้ป่วย ผู้ป่วยปรับ ตัวไม่ได้ยังไงกับญาติ แล้วเห็นได้ชัดเลยว่าผลการรักษาของอาจารย์ ท่านนี้ ท่านท�ำให้ผู้ป่วยได้กลับบ้านได้มากกว่าหมอคนอื่น  ท�ำให้ผู้ ป่วยปรับตัวดีขึ้น ญาติปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเขาก็กินยาเท่ากัน อันนี้ก็ไม่นับ ถึงงานวิจัยระยะหลังที่มาสนับสนุนเรื่องนี้มากมาย” เพราะสังคมเปลี่ยนไป ท�ำให้เราทุกคนป่วยทางจิตได้ “โดยหลักทางระบาดวิทยา  คนไข้ทางจิตเวชแบ่งเป็นสอง กลุ่ม  มีกลุ่มหนึ่งที่จะค่อนข้างคงที่เพราะมีปัจจัยพื้นฐาน  เช่นด้าน พั น ธุ ก รรม  ซึ่ ง ไปมี ผ ลต่ อ การท� ำ งานทางด้ านสมองที่เกี่ย วข้องกับ จิตใจ  เช่น โรคจิต โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว  หรือแม้กระทั่งโรค สมองเสื่อมอุบัติการณ์พวกนี้นี่ค่อนข้างจะคงที่ แต่มันก็จะมีโรคกลุ่มหนึ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ เช่ น   ถ้ า เกิ ด ว่ า เรามี ภ าวะวิ ก ฤตทางเศรษฐกิ จ อย่ า งนี้   ก็ อ าจจะมี คนที่มีปัญหาทางด้านการปรับตัว  มีอารมณ์เศร้ามากขึ้นเวลาเกิด ปรากฏการณ์ที่เป็นภัยพิบัติที่ทั้งเกิดจากคนท�ำ  เช่น  กรณีเผาเมือง กรณีภาคใต้  หรือภัยพิบัติจากธรรมชาติ  เช่น  สึนามิหรือน�้ำท่วม  จะมี คนที่ได้รับผลกระทบ คนที่ต้องสูญเสียที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ก็อาจจะเกิดบาดแผลทางใจ พวกนี้จะแปรปรวนไปตามสถานการณ์   เพราะฉะนั้นอย่างในกลุ่มหลังก็จะมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นตาม สถานการณ์”

177


ศาสนาและปรัชญาการใช้ชีวิตนั้นมีส่วนช่วยให้คนได้พ้น ทุกข์ “การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความสุขของคนทั่วโลกก็จะมีคล้ายๆ กันคือว่าคนที่มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางศาสนา  จะสามารถปรับตัวและมี ความสุขในสังคมได้มากกว่า  เพราะว่าทุกศาสนาก็จะสอนคนคล้ายๆ กันคือ  ไม่ท�ำความชั่ว  ท�ำความดี  มีความเมตตา  มีความพอใจกับ สิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิต ซึ่งเป็นความเชื่ออยู่แล้ว ในทางด้านความคิดทาง จิ ต วิ ท ยามั น เป็ น ภู มิ คุ ้ ม กั น ส� ำ คั ญ   การที่ ค นเราต้องเจอแรงบีบคั้น ทางเศรษฐกิจ  แรงบีบคั้นจากชีวิตหรือวิกฤตการณ์ต่างๆ  ถ้าคนที่มี หลักยึดทางศาสนาเขาก็จะท�ำใจได้ดีกว่าและให้อภัยคนได้มากกว่า  เพราะฉะนั้นคุณสมบัติพวกนี้จะท�ำให้คนเหล่านี้มีความสุขมากกว่า คนทั่วไปอยู่แล้ว ส� ำ หรั บ ผมเอง  ผมเป็ น ชาวพุ ท ธและเป็ น คนที่ ส นใจใน พุทธธรรมและขณะนี้แม้กระทั่งทั่วโลกหรือในสายจิตวิทยาก็สนใจ จิตวิทยาในพุทธ  ก็คือเราไม่ได้ปิดในเรื่องความเป็นศาสนา  แต่เราน�ำ เอาหลักคิดหลักการหลักปฏิบัติทางพุทธมาใช้ในทางด้านสุขภาพจิต   เราก็พบว่ามันมีประโยชน์มาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักของพุทธ ธรรม  เราจะเห็นว่ามันมีสองสาย  คือเถรวาทกับมหายาน  ซึ่งที่จริงทั้ง สองสายถ้าน�ำมาเชื่อมโยงกันจะเป็นประโยชน์มากเลย เราจะเห็ น ว่ า คนจ� ำ นวนมากที่ อ ยู ่ ใ นนิ ก ายเถรวาทหรื อ มหายานก็เป็นทั้งสองแบบ  พระท่านก็สอนเรื่องการช่วยเหลือคนที่ ทุกข์ยากด้วยเช่นเดียวกัน  ของดาไลลามะหรือปรมาจารย์ท่านอื่นๆ  ผู้ปฏิบัติธรรมก็จะเน้นถึงความช่วยเหลือคนยากคนจน  แต่ที่ส�ำคัญ

178


คือการพัฒนาจิต  ซึ่งตัวนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งมากให้ กับตัวเราเองในด้านความแปรปรวนของชีวิต  ซึ่งสังคมปัจจุบันมันมี ความแปรปรวน  มีสิ่งที่ยั่วยุ  มีสิ่งที่เข้ามารบกวนจิตใจเราเยอะมาก เพราะฉะนั้นหัวใจส�ำคัญของพุทธก็คือเน้นว่าเราสามารถพัฒนาจิต ของเราให้สูงขึ้นได้  จิตที่สูงขึ้นได้คือจิตที่มีความสามารถในการเผชิญ ความเครียดได้มากเป็นพิเศษ  เป็นจิตที่ผ่านการท�ำสมาธิ หลักของสมาธิง่ายๆ  ก็คือ  การท�ำให้ความคิดหยุดอยู่กับสิ่ง ใดสิ่งหนึ่ง  พอความคิดมันหยุด  จิตมันก็จะสงบ  พอจิตมันสงบว่าง จากความคิดทั้งปวง  ก็จะท�ำให้เกิดความผ่อนคลายทางด้านร่างกาย และจิตใจ  ที่จริงหลักการนี้ในทางจิตวิทยาเราถือว่ามันเป็นหลักการ ที่ท�ำให้มนุษย์สามารถพัฒนาจิตให้เผชิญกับความเครียดและแรง กดดันต่างๆ  ได้ดีมาก  อันนี้ถือเป็นการพัฒนาจิตที่ส�ำคัญของสัมมาสมาธิ” นอกจากมีสัมมาสมาธิแล้ว ต้องมีสัมมาสติ “อีกอันหนึ่งที่ส�ำคัญคือสัมมาสติ  คือการที่เราอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด  โดยที่จิตใจไม่วอกแวก  ไม่ต้องสอดแทรกด้วย อารมณ์หรือสิ่งรบกวนใดๆ  พวกนี้ก็จะมีเทคนิคในการฝึกสติให้อยู่กับ สิ่งที่เราท�ำ  พอเราฝึกสติให้ดีขึ้นเราก็จะท�ำงานได้  โดยที่ไม่วอกแวก   มีปัญหาด้านจิตใจน้อยลง  เพราะว่ามันไม่ถูกรบกวนด้วยสิ่งรบกวน ทางด้านจิตใจใดๆ  สติมันยกระดับเราให้รู้ทันปรากฏการณ์ภายใน จิ ต ใจ  เช่ น เวลาเราโกรธเราก็ สั ง เกตว่ า ความโกรธของตนเองเกิ ด ขึ้นระดับไหน  มันก็จะเกิดการพัฒนาปัญญาขึ้นมา  มันเป็นความ สามารถในการปล่อยวาง  ซึ่งพวกนี้มีกระบวนการและวิธีการฝึก  โดย

179


เฉพาะอย่างยิ่งทางสายจิตวิทยาเขาเอาไปใช้กลายเป็นวิธีการบ�ำบัด เป็นวิธีการฝึกจิตมากมาย  อย่างเช่นการฝึกสังเกต สมมุติเราโกรธเรา ก็สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นบนร่างกายของเรา  เช่น หน้ามันร้อน ใจมันเต้น แรงอะไรอย่างนี้  แล้วก็ดูการเกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงไปของมัน เราก็ จะเห็นเองว่ามันจะค่อยๆ  หมดไป”

180


เราจะเห็ น เอง  ว่ า เราสามารถ ปล่ อ ยวางได้ ด ้ ว ยการที่ รู ้ ถึ ง การ เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ดับไป เป็น ปรากฏการณ์ ท างจิ ต ของเรา  เช่น อารมณ์ โ กรธ  แล้ ว เราก็ ส ามารถ พั ฒ นาจิ ต ของเราให้ ขึ้ น ไปเรื่ อ ยๆ คนที่ โ กรธบ่ อ ยขึ้ น ก็ โ กรธน้ อ ยลง   จากโกรธง่ายก็จะโกรธยากขึ้น

181


วรัตดา ภัทโรดม มีสุขได้เมื่อไม่โกรธ “เชื้ อ ของความโกรธมั น ถูกทับถมอยู่ในจิตเป็นล้านๆ  ชาติ คนที่มาท�ำให้เราโกรธไม่ใช่ต้นเหตุ ของความโกรธ  แต่มันแค่พาหะที่ ท�ำให้เราโกรธเท่านั้น  พอพาหะมา สะกิดมันก็เกิดเปรี้ยงขึ้นทันที  มัน ก็ทะเลาะกัน แต่ถ้าเรารู้ธรรมชาติ ของทุ ก อย่ า งแล้ ว มั น ไม่ ใ ช่   และการไปปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐานมั น เป็นการล้างจิต  เมื่อเชื้อของความโมโหมันน้อยลง  เหตุที่จะมีท�ำให้เรา โมโหมันจึงมีผลน้อยมาก” “ท�ำไมประสบความส�ำเร็จทางหน้าที่การงาน  มีเงินใช้มากมาย แล้วท�ำไมยังไม่มีความสุข?”  นี่คือค�ำถามที่คุณเหมียว วรัตดา ภัทโรดม ถามตัวเองในขณะที่ชีวิตประสบความส�ำเร็จที่สุด  มีเงินมากที่สุด  แต่ใน ใจกลับสะสมอารมณ์ขุ่นมัวมากมายโดยไม่รู้ตัว  และอารมณ์เหล่านั้น ท�ำให้เธอค้นพบความจริงว่าความสุขที่เธอได้รับภายนอกนั้น  หาใช่ความ สุขที่แท้จริง แต่มันคือความสุขจอมปลอมที่ก่อให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้น

182


ค�ำถามยอดฮิต มีความส�ำเร็จ มีเงิน ต้องมีสุขไม่ใช่หรือ? “เป็นค�ำถามที่คนถามเยอะมากโดยเฉพาะคนที่ท�ำงาน  ส่วน ใหญ่จะถามว่าประสบความส�ำเร็จในหน้าที่การงานแล้วท�ำไมถึงไม่มี ความสุข ซึ่งมันควรมีความสุขนะ เงินเดือนเป็นแสน เงินเดือนสาม แสนของเราเมื่อประมาณยี่สิบปีก่อนมันเยอะมากเลยนะ  ไปปัจฉิมนิเทศนักศึกษาจบใหม่ เล่าเรื่องนี้ ทุกคนก็คิดว่าเราน่าจะมีความสุข มาก แต่ตัวเองไม่มีความสุขนะ ไม่มีความสุขโดยที่ไม่รู้ตัว ทั้งที่เรามี คุณภาพชีวิตทางกายที่ดี มีเสื้อผ้าดีๆ มีรถดีๆ ได้กินอาหารดีๆ มีอย่าง ที่ทุกคนไขว่คว้ากัน เพราะทุกคนที่ไม่มีก็พยายามให้มีแบบที่เรามี ทั้ง โลกเป็นเหมือนกันหมด  ทุกคนคิดว่าได้สิ่งเหล่านี้มาแล้วจะมีความสุข เราโชคดีที่ได้สิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่อายุน้อย เคยลองคิดเล่นๆ ว่าถ้าตัว เองประสบความส�ำเร็จตอนอายุห้าสิบกว่า มีเงินตอนแก่ เราคงเหลือ เวลาในการกลับตัวน้อยมากเลย  เราโชคดีมากที่เราประสบความ ส�ำเร็จตั้งแต่อายุยี่สิบเก้า  เริ่มเป็นบ้าตั้งแต่ตอนนั้น  เพราะชีวิตมัน ประสบความส�ำเร็จแบบก้าวกระโดด มันไม่ใช่แบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นมันท�ำให้เรากลับตัวและมองตัวเองเห็นถึงความทุกข์ ที่เข้ามาโดยไม่รู้ตัวได้เร็ว  และการที่ระบบทุนนิยมบอกว่าทุกคนต้อง ประสบความส�ำเร็จในหน้าที่การงาน ต้องรวย แล้วเราไปเชื่อเขา แต่ ในสังคมและสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ บอกพอเพียง ท่าน มองทะลุข้ามช็อตไปแล้ว และท่านทรงเห็นว่า ถ้าเดินตามทางทุนนิยม แบบสุดโต่งอย่างที่สังคมเข้าใจนั้น มันไม่มีความสุขหรอก ซึ่งเราจะ เห็นว่า สมัยเราเด็กๆ คนไทยไม่มีหนี้ เพื่อนๆ รอบตัวไม่มีหนี้ คนที่เป็น หนี้คือคนที่ท�ำการค้า ที่เขาไปกู้แบงก์มาแล้วเป็นหนี้ แต่ประชาชน ทั่วไปไม่เป็นหนี้ แล้วเมื่อสักสิบห้าปีที่แล้วในยุควิกฤตเศรษฐกิจ ตื่น

183


เช้าขึ้นมาทุกคนเป็นหนี้หมดเลย มีแต่ข่าวคนเป็นหนี้ฆ่าตัวตาย มีแต่ ข่าวชาวนามาประท้วงให้ปลดหนี้  คือทุกคนมีหนี้หมดเลย  ทุกคนมี บัตรเครดิตที่ผ่อนได้ เมื่อก่อนเราจะมีแต่เงินสด ใช้เท่าที่มี ไม่มีก็ไม่ ใช้ แต่พอมีบัตรเครดิตแล้วเราใช้เงินไม่เป็น ก็จะกู้หนี้ยืมสิน คนที่เริ่ม ท�ำงานมีเงินเดือนห้าพันเจ็ดพันมีหนี้หมดเลย  สาวโรงงานมีหนี้หมด เลย แต่ตอนนั้นเราก็ไม่มีหนี้ แต่ก็ใช่ว่าจะมีความสุข ความทุกข์ ของเราในช่วงนั้นสาเหตุมันเกิดมาจากการที่เราเป็นคนขี้โมโห แต่คน สมัยนี้ นอกจากจะขี้โมโห ความอดทนน้อย ผสมเรื่องหนี้เข้าไป เป็น ความกดดันทางเศรษฐกิจ สังคมไทยเริ่มไม่มั่นคง ทุกอย่างบีบรัด ขนาดเราเองไม่ได้เป็นหนี้ก็ยังเป็นบ้าได้เลย  เงินมันไม่ได้ท�ำให้เรา มีความสุข เราเถียงฝรั่งได้เลยว่าเงินไม่ใช่ทางออกทุกอย่าง การฆ่า ตัวตายในสังคมทุนนิยม  ติดยา  เป็นโรคซึมเศร้าในต่างประเทศ  มี เยอะกว่าบ้านเราหลายเท่า  แต่เมืองไทยตอนนี้ก�ำลังตามเขาไปติดๆ   เพราะฉะนั้นมันไม่ได้ดี เงินท�ำให้สบายแต่เงินมันไม่ได้ท�ำให้มีความ สุข มันเป็นสิ่งที่เราพบเจอกับตัวเอง”

184


อารมณ์โกรธที่สะสมน�ำมาซึ่งความทุกข์ “ตอนนั้นเหมือนจะเป็นบ้า  เครียด  มันจึงไม่มีค�ำตอบให้กับ ตัวเองว่าท�ำไมเราถึงไม่มีความสุข  แต่รู้ว่าสิ่งที่ท�ำให้เราเป็นคนขี้โมโห เหมือนคนบ้า คือเงิน ความส�ำเร็จและชื่อเสียง เมื่อก่อนมีเงินมาก เท่าไรก็ใช้หมด เพราะเป็นผู้หญิง หงุดหงิดอะไรนิดก็ซื้อของบ�ำบัด ตัวเอง ช้อปปิ้งเป็นบ้า ตรงนั้นมันเป็นตัวบ่งชี้อย่างหนึ่ง แต่เราไม่รู้ตัว เรามีอาการครบเลยนะ ต้องเมาทุกวันศุกร์ ใช้เงินเป็นบ้า ไม่มีเงินเก็บ ขี้โมโห ความอดทนน้อย มีเรื่องกับคนได้ง่าย แม้กระทั่งบนถนน มีครบ เลย แต่ไม่รู้ตัวเอง เพราะถ้าคนที่รู้ตัวเอง หรือมีความสุขอยู่แล้ว มันจะ ไม่ใช่คนที่โมโหง่าย เมื่อก่อนเราชอบดื่มเหล้า  ถามว่าท�ำไมตัวเราเองชอบดื่ม เหล้า เพราะเราไม่มีความสุข  วันจันทร์ถึงศุกร์  เราจะซื้อความสุขด้วย การช้อปปิ้ง หรือดื่มไวน์เข้าไป เพราะเมาแล้วมีความสุขไง เพราะ อยากได้ความสุขเราก็ต้องดื่ม ต้องซื้อ เพราะฉะนั้นถ้าแบ่งปัญหา แล้วมองอย่างละเอียด ตอนนั้นเราก็พบว่า เราไม่มีความสุขเราถึง ช้อปปิ้งเป็นบ้าเป็นหลัง เราถึงดื่มหนัก ใช้การซื้อและการดื่มในการ หาความสุข” ฟางเส้นสุดท้ายเผาความโกรธจากใจ “ฟางเส้นสุดท้ายเกิดขึ้นตอนไปซื้อของในห้าง  แล้วเราไป ต่อว่าคนขายนาฬิกา  เพราะเขาเอาแต่คุยกันไม่ฟังเรา  ตอนนั้นบอก เขาว่าขอดูนาฬิกาสีฟ้าหน่อยค่ะ แต่เขาไม่ตอบเราก็นึกว่าเขาไม่ได้ยิน เราก็พูดเสียงดังขึ้นอีก แล้วเขาก็หันมามองเราแล้วคุยต่อ จะถามว่า เขาผิดไหม ตาม job description ก็ถือว่าผิดนะเพราะพนักงานขาย

185


ต้องดูแลลูกค้า ในเมื่ออยากคุยกันต่อ เราก็โวยเลย ‘ถ้าอยากคุยกัน อย่างนี้ท�ำไมไม่อยู่บ้าน ตาบอดหรือไง บอกให้หยิบสีฟ้าท�ำไมหยิบสี เขียว’ ก็พูดว่าเขาด้วยความโมโห นั่นคือฟางเส้นสุดท้าย และเป็นวันที่ กระโดดจากหลังเสือ ว่าไม่เอาแล้วเป็นคนแบบเดิม เพราะเราก็เสียใจ ที่ไปว่าเขา แล้วก็รู้ตัวขึ้นมาว่า ท�ำไมเรื่องแค่นี้ต้องโกรธมากขนาดนี้ ด้วย ถึงเขาจะผิด แต่ท�ำไมเราต้องโกรธขนาดนี้ เสียงดังมากขนาดนี้ ต้องว่าเขาขนาดนี้ เราก็ขอโทษเขา เขาก็ขอโทษเรา แต่จริงๆ แล้ววันนั้นเราหลุดอารมณ์หลายเรื่อง  เหมือนมัน ประดังเข้ามาหลายเรื่อง  พอโมโหก็ไปขับรถจนมีปัญหากับรถตู้  คน ขับรถตู้ก็โมโหลงมาจะชกเรา  เราก็ลงไปสู้กับเขาเหมือนจะฆ่ากันตาย กลางถนน  เหตุที่เกิดวันนั้นท�ำให้เราย้อนกลับมาคิดว่าท�ำไมเราต้อง โมโหแรงขนาดนั้นด้วย แต่เราก็ยังไม่รู้วิธีแก้ ทั้งๆ ที่เราก็เรียนหนังสือ มาเยอะ  เรียนวิชาการมาเยอะ  แต่เรื่องนี้เราไม่เคยเรียนมาเลยว่าจะ จัดการความรู้สึกตัวเองอย่างไร ไม่มีโรงเรียนไหนที่เคยเรียนมาในชีวิต สอนเราเลย มันไม่มี  How to ที่สอนเรื่องนี้ ซึ่งเราคิดว่าเพราะเหตุนี้ มันท�ำให้เราไปไม่เป็นเมื่อเกิดอารมณ์โมโห เกิดความทุกข์ แล้วการที่ เราดื่มหนัก ต้องออกไปปาร์ตี้ เมื่อก่อนเราก็เจอคนแบบเราไปเที่ยวทุก ศุกร์ เราก็คิดว่ามันปกติ แต่จริงๆ มันไม่ปกตินะ มันเป็นค่านิยมที่คิด ว่าเป็นเรื่องปกติ แต่มันไม่เป็นเรื่องปกติของคนที่จะมีความสุขนะ” เมื่อรู้เหตุก็เริ่มหาทางออก “สิ่ ง ที่ เ ราท� ำ ได้ ต อนนั้ น เพื่ อ ดั บ ทุ ก ข์ ท างอารมณ์ ก็ คื อ   ไม่ พยายามออกสื่อ งดงานสังคม ขี้บ่นให้น้อยลง ท�ำงานอย่างมีสติมาก ขึ้น  เตือนตัวเองบ่อยๆ ให้โมโหน้อยลง ไม่ไปเที่ยว ซึ่งมันก็ท�ำให้มีสุข ขึ้นมาได้นิดหน่อย แต่ไอ้นิสัยขี้โมโหที่มีมันก็ยังฝังอยู่ มันไม่มีใครมา

186


ชี้ทางออกว่าควรท�ำอย่างไร แม้ว่าจะฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ก็ ช่วยได้ในระดับอ่อนๆ แต่ถ้าเกิดโมโหหนักๆ ก็ช่วยไม่ได้อีกเหมือนกัน หลุดบ่อย แต่น้อยลง” การต่อสู้ของตัวดีตัวร้ายภายในใจ “มี เ พื่อ นที่ ด� ำ น�้ ำ และไปเที่ ย วด้ ว ยกั น บ่อยๆ  แนะน�ำให้ไป ปฏิบัติธรรม เพื่อขจัดตัวอัตตาซึ่งเป็นตัวร้ายที่สุด เป็นการปฏิบัติธรรม ที่เข้มมาก หนักมาก ยากที่สุดในชีวิตที่ท�ำมา แต่ค้นพบว่าตัวเรานั้น เป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งหมด แต่ด้วยความที่ไม่รู้ตัว เราพบธรรมะ ตอนอายุสามสิบสี่ปี และเราก็พบว่า สามสิบกว่าปีที่ไปให้ข้าวเพื่อให้ สมองกิน คือไปโรงเรียน อ่านหนังสือ ท�ำงาน สมองได้รับการฝึกฝน มาก แต่จิตใจเราไม่เคยได้กินข้าวเลย สามสิบกว่าปี เหมือนในตัวเรา มีตัวดีกับตัวชั่ว ตัวดีไม่ได้กินข้าวสามสิบกว่าปี ไม่ได้ออกก�ำลังเลย ตัว ชั่วกินข้าวทุกวัน ออกก�ำลังทุกวัน เพราะฉะนั้นตัวชั่วมันก็มีอ�ำนาจ มัน อยู่ในตัวเรา มีพลังเยอะกว่า พอเราไปปฏิบัติธรรมให้ข้าวตัวดีกิน เรา ก็เริ่มรู้ว่าไอ้ตัวอัตตานี่เองคือตัวปัญหา ตอนไม่ได้ฝึกเวลาจอดรถไป ประชุมเราก็จะมีที่ที่จอดประจ�ำ เพราะเราจะจ�ำได้ว่าจอดตรงไหน เรา ก็จะจอดที่เดิม แล้ว รปภ. เขารู้ก็จัดที่จอดไว้ให้ แต่เมื่อวันหนึ่งมีคนมา จอดที่ของเรา ไอ้ตัวชั่วของเราเอาเลยนะ ทันทีเลย ใครวะมาจอดรถที่ เรา  ผ่านไปสิบห้านาทีตัวดีมาบอกถึงคิดได้ว่าที่จอดรถมันไม่ใช่ของ เรานะเหมียว “ดังนั้นสองปีของการปฏิบัติธรรมของเรา  ช่วงนั้นจึงเหมือน คนบ้ า ที่ ตั ว ดี กั บ ตั ว ชั่ ว จะทะเลาะกั น โดยตลอด  เราก็ ถ ามครู บ า อาจารย์ว่าเราเป็นอะไร ท่านก็บอกว่าปกติ เวลาเกิดอะไรมากระทบ ใจให้เราเฝ้าสังเกตว่าดูสิใครมันทะเลาะกัน  ก็คือไอ้ตัวดีกับตัวชั่วใน

187


ใจเรานี่เอง แล้วไอ้ตัวชั่วมันก็แข็งแรงกว่าเพราะมันได้ข้าวกินมานาน   ตัวดีเพิ่งได้ข้าวกิน มันถึงช้ากว่าตัวชั่ว ตอนแรกเราก็ตามดูไม่ค่อย ทัน แต่หลังจากสองปี ตัวชั่วไม่ได้คิดอะไรเลย เพราะเราไม่ให้ข้าวกิน   ไม่ให้มันออกก�ำลัง แต่เราก็รีบเอาข้าว เอาวิตามิน ออกก�ำลังให้ตัวดี ภายในใจ จนสุดท้ายมันท�ำให้เราตอนนี้ตัวดีคิดก่อนเสมอ คิดดีไป แล้ว คิดบวกไปก่อน แล้วมันก็จะมีความคิดแวบๆ เข้ามาบ้างว่า นี่ถ้า เป็นเมื่อก่อนเราคงคิดอีกแบบหนึ่ง แต่เดี๋ยวนี้ไม่คิด ก็ถือว่าชนะ  ที่เคย ดื่มไวน์เพราะเครียดไม่มีความสุข พอวันจันทร์ถึงศุกร์ไม่เครียด มัน ก็ไม่มีเหตุผลให้ไปเที่ยว เราไม่ได้ถือศีล แต่เราก็รู้ว่าจะจัดการตัวเอง อย่างไร โดยไม่ต้องบังคับตัวเอง” รู้จักความโกรธ จัดการความโกรธ มีประโยชน์ต่อใจ “ความโกรธมันก็เหมือนเราจุดไฟในใจ  สมมุติว่าเราเป็นคนขี้ โมโห แล้วคนเห็นเราโมโหก็โมโหไปด้วย  มันเหมือนสาดน�้ำมันเบนซิน ใส่กัน คนทะเลาะกันถ้าใครคนหนึ่งขึ้นเสียงใส่อีกคน อีกคนก็ต้อง ตอบโต้โดยอัตโนมัติ สองคนจะสาดไฟ สาดเบนซินใส่กัน นี่คือสังคม เราที่มันจะต้องพบเจอกับเรื่องเหล่านี้อยู่บ่อยๆ  ถ้าจะดับต้องดับที่ตัว คน สื่อก็เป็นสิ่งกระตุ้น  เวลาเราดูทีวีหรืออ่านหนังสือพิมพ์เราจะเศร้า มาก เพราะคิดว่าคนในสังคมชอบอ่านแบบนี้หรือ เราก็เข้าใจนะว่า ทุกอย่างมันคือธุรกิจ ข่าวไหนที่คนไม่อ่านก็ไม่ลง ข่าวฆ่ากันตายนี่ ชอบกันจังเลย ละครนี่น�้ำเน่ามานานแค่ไหนก็ยังเน่าอยู่แค่นั้น ไม่ว่า จะผ่านไปกี่ปีก็ยังเหมือนเดิม นี่คือสังคมที่ก�ำลังลุกเป็นไฟแล้ว ถ้าเรา ไม่หยุด มันก็ไปต่อไม่ได้ ดังนั้นถ้าทุกคนดับไฟในใจตัวเอง ไม่มีอะไร ไหม้แน่นอน อย่างตอนนี้ถ้ามีคนมาชวนทะเลาะเรื่องการเมือง เราก็ ไม่ทะเลาะกับเขานะ ถึงแม้เราจะมีความคิดที่ต่างจากเขา แต่เราเห็น

188


เขาพูด เราก็ฟังเฉยๆ ได้ โดยที่เราไม่โมโห เพราะเราได้ฝึกจิตดีแล้ว ตัว สติกับอุเบกขาเหมือนปีกของนก ครูบาอาจารย์บอกว่า มันต้องเท่ากัน ทั้งขนาดและพลัง ถ้าปีกนกไม่เท่ากัน แรงของปีกไม่เท่ากัน  นกบินไม่ ได้ แต่ถ้าเราฝึกแล้วเราท�ำได้ พระพุทธเจ้าท่านเก่งมาก ท่านค้นพบ ว่า เชื้อของความโกรธมันถูกทับถมอยู่ในจิตเป็นล้านๆ ชาติ คนที่มา ท�ำให้เราโกรธไม่ใช่ต้นเหตุของความโกรธ แต่มันแค่พาหะที่ท�ำให้เรา โกรธเท่านั้น พอพาหะมาสะกิดมันก็เกิดเปรี้ยงขึ้นทันที มันก็ทะเลาะ กัน แต่ถ้าเรารู้ธรรมชาติของทุกอย่างแล้วมันไม่ใช่ และการไปปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานมันเป็นการล้างจิต เมื่อเชื้อของความโมโหมันน้อย ลง  เหตุที่จะมาท�ำให้เราโมโหมันจึงมีผลน้อยมาก  เหมือนห้องที่มี ความมืด ความมืดก็เหมือนความโกรธ ถ้าเราไปเปิดสวิตช์ไฟ ความ สว่างก็เข้ามา ความโกรธก็จะหายไป มันก็แค่นี้เอง แต่เราต้องค่อยๆ ฝึกและรู้จักวิธีที่ถูกต้องว่าควรจะท�ำอย่างไร”

คนที่มาท�ำให้เราโกรธไม่ใช่ต้นเหตุของ ความโกรธ  แต่มันแค่พาหะที่ท�ำให้เราโกรธ เท่านั้น พอพาหะมาสะกิดมันก็เกิดเปรี้ยงขึ้น ทันที มันก็ทะเลาะกัน แต่ถ้าเรารู้ธรรมชาติ ของทุกอย่างแล้วมันไม่ใช่

189


หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน        “หมอใจชาวบ้าน”

ใจเพชร  กล้ า จน  คื อ ชื่ อ ของชายคนหนึ่ ง ที่ น� ำ เสนอ ทางเลือกในการดูแลและรักษา สุขภาพตนเองตามแนวทางวิถี พุทธ  อีกชื่อหนึ่งที่คนต่างรู้จักกัน ดีคือ  ‘หมอเขียว’  จากการเป็น ข้าราชการสายวิชาการทางด้าน สาธารณสุขแบบวิทยาศาสตร์สู่ การค้นพบทางเลือกใหม่ในการ ดู แ ลรั ก ษาสุ ข ภาพแบบพึ่ ง พิ ง ธรรมชาติ และกว่าจะมาถึงวันนี้ เขาได้ผ่านการลองผิดลองถูกมา มากมาย สิ่งส�ำคัญอย่างหนึ่งที่ เป็นหัวใจในการค้นพบของหมอ เขียวคือ  ร่างกายจะดีได้นั้น  ใจ คือเครื่องมือส�ำคัญ

190


เพราะวิธีรักษาแบบเดิมๆ  ไม่ตอบโจทย์กับการรักษาเท่าที่ ควร   หมอเขียวเลยทดลองวิธีรักษาใหม่ๆ ด้วยตนเอง “วิธีการรักษาระบบวิทยาศาสตร์แบบเดิมมันลดปัญหาได้ น้อย  มันรักษาได้อยู่ส่วนหนึ่ง  ไม่ใช่ว่าลดปัญหา  ไม่ว่าจะเป็นแผน ปัจจุบัน แผนไทย แผนทางเลือก แผนพื้นบ้านก็ลดได้ส่วนหนึ่ง เอา ทุกแผนมารวมกันแล้วก็ยังลดปัญหาได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง ไม่ ถึงครึ่ง เมื่อก่อนคนไข้หายแค่สี่สิบเปอร์เซ็นต์ พอท�ำได้แบบนั้นมันก็ เครียด ขนาดเราไปเรียนทุกแผนแล้ว พยายามเอาการแพทย์ทุกแผน มาใช้ ดูแลสุขภาพคนไข้  แต่มันก็ยังท�ำให้หลายสิ่งหลายอย่างดีขึ้น เพียงนิดเดียว แล้วส่วนใหญ่หลายอันก็ท�ำให้แย่ลงด้วยซ�้ำ ตอนนั้นมัน ก็เลยเครียด พอเครียดก็เลยไปปฏิบัติธรรม  ต้องการแค่ว่าคลายใจได้ เท่านั้นเอง   ไม่อยากจะทุกข์  ให้มันปล่อยวางได้  ไม่ได้คิดว่าจะพบ ทางออก  แต่พอเรามาศึกษาค�ำตรัสในพระไตรปิฎก  เราได้ทดลอง ปฏิบัติตาม   แล้วมีครูบาอาจารย์คอยสอน  ปรากฏว่าสภาวะที่เกิด ขึ้นกับองค์ความรู้ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้นั้นท�ำให้เราเข้าใจ เพราะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสเรื่องการดูแลสุขภาพไว้ครบหมดเลย แต่คนไม่ ใส่ใจเท่านั้นเอง คนยังท�ำความเข้าใจได้ไม่ถึง ไม่ถ่องแท้  เมื่อเข้าใจไม่ ถ่องแท้ก็เลยใช้ค�ำตรัสของพระพุทธเจ้านั้นได้ไม่มากพอที่จะถึงขีดลด ทุกข์ได้ หรือดับทุกข์ได้”

191


“แต่พอผมเอามาปฏิบัติอย่างจริงจัง  ปรากฏว่าเราก็เป็นสุข ขึ้น เราลดทุกข์ได้เราก็เป็นสุขขึ้น ในขณะที่เราไปช่วยเหลือประชาชน โรคภัยไข้เจ็บก็ลดน้อยลงอย่างที่เราคาดไม่ถึง  มันลดได้เฉลี่ยที่เจ็ด สิบถึงเก้าสิบเปอร์เซ็นต์  มันดีได้ขนาดนั้น แต่ว่ามันต้องท�ำเอาเอง มัน มีข้อจ�ำกัดอยู่ตรงที่ว่า ต้องท�ำเอาเองนะ ต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ใช้สิ่ง ที่ประหยัดเรียบง่าย   แก่นของแพทย์วิถีธรรมหรือแพทย์วิถีพุทธเป็น แบบนี้” คุณหมอพบว่าแผนวิทยาศาสตร์มันน�ำพาไปสู่ความสุขกาย ได้แค่ชั่วขณะเท่านั้น “แผนวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ยังเป็นวิทยาศาสตร์ชั้นต้น  ไม่ใช่ ว่าไม่มีประโยชน์  แต่มีประโยชน์แค่ชั้นต้น  ยังไปไม่ถึงวิทยาศาสตร์ ชั้นสูงสุด  เพราะปัญญายังไม่ถึงวิทยาศาสตร์ชั้นสูงระดับพุทธศาสตร์  พุทธศาสตร์คือวิทยาศาสตร์ชั้นสูงที่รู้ความจริงทุกอย่างในมหาจักรวาล พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ รู้เพียงบางเรื่องเท่านั้นเอง  แล้วหลายเรื่องยังต้องวิจัยไปอีกเรื่อยๆ  นั่นหมายความว่าเขายังไม่รู้ ยังไม่รู้อีกหลายเรื่อง ยังต้องวิจัย ถ้าเขา รู้เขายังต้องวิจัยต่อท�ำไม  เพราะเขายังไม่รู้หมดเขาถึงต้องวิจัยต่อ พระพุทธเจ้าบอกท่านรู้โลกอย่างแจ่มแจ้งแล้ว  ท่านเลิกแล้ว  เพราะ งั้นศาสตร์ต่างกัน   วิทยาศาสตร์นั้นรู้ความจริงเฉพาะเรื่องบางเรื่อง เท่านั้น   วิทยาศาสตร์ที่เขารู้กันอยู่ทั่วไปเป็นศาสตร์ที่รู้ความจริงบาง เรื่องเท่านั้น  ในขณะที่พุทธศาสตร์เป็นศาสตร์ที่รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง รู้ ครบทุกเรื่องแล้ว  ไปสู่จุดสูงสุดที่รู้ทุกเรื่องแล้ว” หลังจากที่ไปปฏิบัติธรรมกลับมาแล้วคิดได้ว่า  วิทยาศาสตร์ แผนปัจจุบันใช้ได้เพียง 40-50 เปอร์เซ็นต์  นั่นท�ำให้คุณหมอมั่นใจว่า นี่แหละคือทางออก

192


“โดยส่วนตัวแล้วผมมั่นใจนะ  เมื่อได้ทดลองปฏิบัติกับตัวเอง เรามั่นใจว่าอันนี้น่าจะใช่  อันนี้แหละคือค�ำตอบ  แต่เพื่อให้ชัดเจนยิ่ง ขึ้น  เราก็เอาวิชาที่เราเชื่อว่าใช่นี่แหละเกื้อกูลช่วยเหลือผู้อื่น  ผู้อื่นที่ ปฏิบัติก็ใช่มาเรื่อยๆ  ใช่มาเรื่อยๆ  พอคนที่เขาปฏิบัติได้  เขาก็บอกว่า ทุกข์มันลดลงจริงๆ สุขมากขึ้นและมันก็ยั่งยืนขึ้น พอมันจริง  หลายคน จริงๆ  ก็จะมีสภาพสภาวะจิตแบบเดียวกัน  คือเป็นสุขเหมือนกัน  พอ เป็นสุขเหมือนกันเราก็ยิ่งเชื่อ ความเชื่อมั่นมันยิ่งมากขึ้นๆ ความจริง มันใหญ่ขึ้น  มันไม่ใช่ได้แค่เราคนเดียว คนอื่นก็ได้ด้วย” ในฐานะที่อยู่กับคนไข้มาเยอะ  หมอเขียวเริ่มมองเห็นสาเหตุ ของการเกิดโรค  สาเหตุของการเกิดทุกข์  ว่ามันมาจากหลายส่วนใน สังคมประกอบกัน

193


“เกิดจากความไม่รู้จริง  แม้แต่วงการแพทย์ก็ยังรู้ต้นเหตุ ของโรคไม่ ลึ ก ซึ้ ง   เพราะวงการแพทย์ ก็ อ อกมายอมรั บ เองในการ วิ นิ จ ฉั ย ทุ ก โรค  ถ้ า เราไปอ่ า นคุ ณ หมอก็ จ ะบอกว่ า ต้ น เหตุ จ ากนั้ น จากนี้ สุดท้ายก็จะบอกว่าไม่ทราบสาเหตุ ผมยังไม่เห็นโรคไหนเลย ที่คุณหมอบอกว่าทราบสาเหตุอย่างแจ่มแจ้ง  มันจะมีปิดท้ายทุก โรคเลยว่า ไม่ทราบสาเหตุ นั่นหมายความว่าวงการแพทย์เองที่ว่า เป็นวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยที่สุดยังรู้เรื่องโรคไม่แจ่มแจ้ง  เพราะถ้ารู้ โรคอย่างแจ่มแจ้งท�ำไมโรคมากขึ้นล่ะ  ที่โรคมากขึ้นเพราะว่ายังรู้วิธี จัดการกับโรคไม่แจ่มแจ้งนั่นแหละ ถ้ารู้แจ่มแจ้งต้องไม่มากขนาดนี้ นี่ลดได้บางส่วนเท่านั้นเอง   ลดได้ส่วนน้อยด้วย ส่วนเยอะที่ลดไม่ได้ ความจริ ง ในวิ ท ยาศาสตร์ แ ผนปั จ จุ บั น อย่ า งเดี ย วลดได้ แค่ ยี่ สิ บ เปอร์ เ ซ็ น ต์   เท่ า ที่ ผ มทดลองปฏิ บั ติ ม าแล้ ว ก็ ไ ด้ จ ากแผน ไทย  แผนทางเลือก  แผนพื้นบ้านอีก  เพราะแต่ละแผนลงมือท�ำก็ได้ ประมาณยี่สิบเปอร์เซ็นต์  แต่ถ้ารวมทุกแผนเข้ามาเนี่ย  ทีแรกผมยัง คิดว่าได้ประมาณแปดสิบเปอร์เซ็นต์นะ  แต่พอท�ำเข้าจริงๆ  ได้สี่สิบ เปอร์เซ็นต์ ที่ได้สี่สิบเปอร์เซ็นต์เพราะว่า มีองค์ความรู้บางอย่างซ้อน ทับกันอยู่  องค์ความรู้บางอันมันเป็นอันเดียวกัน  อันเดียวกันมันก็ได้ ประสิทธิภาพเท่าเดิม ไม่ได้ต่างกัน มันก็ลดเปอร์เซ็นต์ในการรักษา และมีบางอย่างที่มันเติมเต็มกันและกันอยู่ ขนาดเติมเต็มเรียบร้อยก็ ยังได้ไม่ถึงครึ่ง  ได้แค่สี่สิบเปอร์เซ็นต์” แต่ พ อเราเอาธรรมะและปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง บูรณาการ   ปรากฏว่าไม่มีโรคใดที่ลดไม่ได้  ลดได้ทุกโรค  อยู่ที่จะ ได้มากได้น้อย    แล้วแต่จะปฏิบัติได้   จากการวิจัยของเราในสาขา พั ฒ นบู ร ณาการศาสตร์ นี่ พ บว่ า   คนที่ ป ฏิ บั ติ แ นวนี้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง

194


สามารถลดโรคลงได้เจ็ดสิบถึงเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ใช้วิธีการนี้ ภายในเจ็ดวันในทุกโรค   นี่คือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกเลยนะ ผมว่า สามารถท�ำทุกข์ให้ลดลงได้ภายในเจ็ดวัน” หมอเขียวบอกว่าเขาไม่ได้พยายามชักชวนให้ใครมาเชื่อตาม เขาแค่เสนอแนวทางความเป็นไปได้เท่านั้น “ผมไม่ได้คิดว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ  แต่ผมคิดว่าผมขอ พ้นทุกข์ ยังไงๆ  ผมคิดว่าผมเอาตัวเองให้รอดก่อนดีกว่า เพราะเราก็ เครียดมากกับเรื่องการงาน  เราไปศึกษาการแพทย์ทุกแผนแล้วเราก็ เครียดเราก็ทุกข์ พอเราทุกข์เราก็เจ็บหัวใจ ปวดกระเพาะ ปวดตาม ข้อ กินยาที่ดีที่สุดของโรงพยาบาลก็ยังไม่หาย ท�ำยังไงก็ไม่หาย นี่มัน เอาตัวเองไม่รอดแล้วนะ มันเรียนมากความรู้ท่วมหัว แต่ความทุกข์ก็ ท่วมหัวเหมือนกัน นั่นหมายความว่ามันไม่ใช่ความรู้ที่แก้ปัญหาจริง ของชีวิตเราได้ ผมคิดว่าอย่างน้อยต้องเอาตัวเองรอดก่อน อันดับแรก คือท�ำยังไงให้ใจไม่ทุกข์ก่อน  พอมันรู้สึกทุกข์มาก็ไปปฏิบัติธรรม พอ ปฏิบัติธรรมมาใจก็เป็นสุข ก็รู้จักปล่อยวางได้  พอปล่อยวางได้ก็ท�ำดี มีสุขเป็น” หมอเขียวบอกว่า  ส�ำหรับหลักการดูแลตัวเองนั้น  มีขั้นตอน ไม่ยุ่งยาก ทุกคนสามารถเป็นหมอได้ด้วยตัวเอง “ด้ ว ยวิ ธี ก ารนี้   ต้ อ งเรี ย นก่ อ นว่ า มั น ไม่ ไ ด้ รั ก ษาโรคได้ ทุ ก คน  จริงๆ  แล้วทุกคนสามารถจะดีขึ้นได้โดยวิธีการนี้  แต่จะปฏิบัติได้ มากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง  ถ้าปฏิบัติไม่ได้ก็ประมาณสิบถึงสามสิบ เปอร์เซ็นต์ที่ปฏิบัติไม่ได้นี่มันก็จะไม่ดีขึ้น คนที่ไม่ดีขึ้นมีอยู่สี่กลุ่ม หนึ่งไม่ได้ท�ำ สองท�ำไม่ได้ สามหนักเกินไป มันก็ไม่ได้เหมือนกัน  มัน

195


ไม่มีใครช่วยได้  มันแย่แล้วเสื่อมโทรมมากแล้วก็ช่วยไม่ได้  แต่เราก็ช่วย ส่งวิญญาณได้อยู่นะ เราก็ช่วยส่งวิญญาณให้วางขันธ์ แต่เราก็ไม่อยาก ท�ำแบบนั้นหรอก   ดีขึ้นมันก็ดีกว่าใช่ไหม  และข้อสุดท้ายคือวิบากกรรม แรง   ถ้ามีวิบากกรรมที่ไม่ดีรุนแรงมันจะมีเรื่องขัดขวางไม่ให้ปฏิบัติธรรม ส�ำเร็จ แต่อย่างน้อยเจ็ดสิบถึงเก้าสิบเราก็พอใจที่คนมีความทุกข์ทรมาน ในชีวิตลดน้อยลง   เท่านี้เราก็พอใจแล้ว มาถึงประเด็นที่ว่า   คนจะต้องเรียนรู้อะไร  คนที่จะมาปฏิบัติ ต้องเรียนรู้ต้นเหตุที่แท้จริง  ต้องเรียนรู้กลไกการเกิดการหายของโรคว่า มันมีอะไรบ้าง หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ต้องเรียนรู้ทั้งวัตถุและก็ทางด้านจิต สองด้านคู่กัน  ด้านของวัตถุก็ต้องเรียนรู้ว่า  อะไรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ด้านวัตถุนี่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้ในพระไตรปิฎกสังฆีตรีสูตร  ว่า สมดุลร้อนเย็นจะท�ำให้มีโรคน้อยมีทุกข์น้อย” “ใจไม่ทุกข์ร่างกายมันก็แข็งแรงกว่า  ร่างกายมันก็ไม่ทุกข์  ไม่ ทุกข์เท่าตอนที่เรารักษาแบบปกติทั่วไป  คือร่างกายก็แข็งแรงขึ้น  ทุกข์ น้อย แล้วร่างกายเราดูแลสมดุลดีมันก็ทุกข์น้อย ทีนี้เราก็จะมีแต่ทุกข์ น้อยกับไม่ทุกข์เลย  นานๆ จะทุกข์หนักทีหนึ่ง  ถ้ามันมีวิบากซัดมาก็จะ ทุกข์หนัก  ส่วนใหญ่ถ้าเราคิดว่าเบาสบาย  ยิ่งจิตใจเป็นสุขก็สุขตลอด เวลา”

196


อั น ดั บ แรกคื อ ท� ำ ยั ง ไงให้ ใ จมั น ไม่ ทุ ก ข์ ก ่ อ น  พอมั น รู ้ สึ ก ทุ ก ข์ ม าก็ ไปปฏิบัติธรรม  พอปฏิบัติธรรมมา ใจก็เป็นสุข ก็รู้จักปล่อยวางได้  พอ ปล่อยวางได้ก็ท�ำดีมีสุขเป็น

197


ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล

“ชี วิ ต จะเป็ น สุ ข อย่ า ง สุ น ทรี ย ์ ใ นการเสพสื่ อ ได้   คื อ รั บ สื่ อ อย่ า งมี ส มดุ ล ในด้ า น เนื้อหา  ไม่ควรรับด้านใดเพียง ด้านเดียว”

ในปั จ จุ บั น สื่ อ มี บ ทบาทต่ อ สั ง คมมากมายนั ก   โดยเฉพาะในแง่ การให้ข้อมูลข่าวสาร  แต่บางครั้งการที่เรารับสื่อแบบขาดสติมันก็น�ำมาซึ่ง พิษภัยอย่างที่เราคาดไม่ถึง  ถ้าจะตั้งค�ำถามว่าเราจะเสพสื่ออย่างไรให้มี ความสุข  คนที่จะสามารถตอบค�ำถามนี้ได้ดี  คงต้องเป็นกูรูที่ท�ำงานด้าน สื่อสารมวลชนมายาวนานอย่าง  ดร.สมเกียรติ  อ่อนวิมล  ผู้สร้างสรรค์คน ข่าวคุณภาพเข้าสู่วงการสื่อสารมวลชนไทยมากมายในนาม บริษัท แปซิฟิค อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จ�ำกัด วันนี้ในวัย 64 ปี แม้จะไม่ได้ท�ำงานในวงการ สื่อโดยตรง  แต่ความรู้ที่สั่งสมจากการท�ำงานมายาวนานก็สามารถให้ค�ำ ตอบเราได้ว่า  เราควรจะรับสื่ออย่างไรให้มีความสุขท่ามกลางความขัดแย้ง ของสังคม

198


“ถ้ า ถามว่ า เราจะรั บ ข้ อ มู ล ข่ า วสารอย่ า งไรให้ มี ค วามสุ ข   โดย ไม่ ต ้ อ งวิ่ ง ตามจนมี ค วามทุ ก ข์   ตั้ ง แต่ ยุ ค ปี  2555  ขึ้ น ไปนี่ ล� ำ บาก  เพราะ ว่ า เป็ น ยุ ค ที่ นั ก วิ ช าการสื่ อ บอกว่ า เราต้ อ งสอนตั ว เองให้ รู ้ เ ท่ า ทั น สื่ อ  หรื อ มี ค วามรู ้ เ รื่ อ งสื่ อ  ซึ่ ง ตรงกั บ ศั พ ท์ วิ ช าการที่ เ รี ย กว่ า  Media Literacy  แค่นี้เราก็เหนื่อยแล้ว  เราต้องรู้เท่าทันสื่อ หมายความว่าสื่อเขาจะ ต้องหลอกล่อหลบหลีกไม่ตรงไปตรงมากับเราเสมอ  เราอยู่ในยุคที่สื่อต่างๆ เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือเอียงไปทางเดิมโดยไม่ได้บอกผู้รับสื่อก่อน ถ้าเรา จะรู้เท่าทันเขา เราก็จะต้องตรวจสอบที่มาของสื่อต่างๆ ว่าเขาถูกครอบง�ำด้วย กลุ่ม ห้างร้านใด หรือใครเป็นบริษัทที่ซื้อโฆษณาใหญ่ของบริษัทนี้อยู่ แถม เรายังต้องตรวจสอบบุคคลที่ท�ำสื่อนั้น เช่นนักเขียน นักข่าว ผู้ผลิตรายการ ผู้ ด�ำเนินรายการโทรทัศน์ เราต้องตรวจสอบด้วยว่าตัวเขาเองเป็นพวกใด  เรา ต้องรู้เท่าทันเจ้าของบทความ  เจ้าของเนื้อหานั้นๆ  สิ่งเหล่านี้ท�ำให้คนที่คิด ตรวจสอบได้ความจริง พูดง่ายๆ คือคนรับข้อมูลข่าวสารต้องเหนื่อยมาก ขึ้น เพราะว่าโดยภาพรวมสื่อกระแสหลัก  เราไม่สามารถเชื่อถือว่าเขาอยู่ตรง กลางได้หมด เราไม่สามารถแน่ใจได้ พวกนี้ส่วนใหญ่เขาไม่บอก และเขาก็จะ น�ำเสนอความจริงของเขาเพียงด้านเดียวแก่ผู้รับสื่อ แต่ละฝ่ายก็จะน�ำเสนอ ข่าวสารเป็นลบของกันและกัน ส่วนสื่อกลางๆ อาจจะมีแต่เราต้องตรวจสอบ” อาจารย์ให้ค�ำแนะน�ำว่าสิ่งที่ผู้รับสื่อต้องท�ำส�ำหรับยุคแห่งข้อมูล ข่าวสาร คือการใช้สติและคิดวิเคราะห์ในการเลือกรับสื่อ “ยุคนี้เป็นยุคที่วิกฤตมาก  มากกว่าในยุคที่ผมเติบโตเป็นหนุ่มสาว เพราะว่าในยุคเดิมย้อนหลังไปห้าสิบปี  ตอนนั้นมันเหมือนเราสามารถเชื่อ ถือสื่อโดยอัตโนมัติ ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อได้ว่าเขาท�ำหน้าที่น�ำเสนอทุกอย่างตาม หน้าที่ ตามกรอบจริยธรรมสื่อสารมวลชนโดยแท้ก็คือว่า เสนอข่าวสารรอบ

199


ด้านและวิจารณ์โดยบอกว่าวิจารณ์ไปทางไหนแล้วให้เราตัดสินใจ สื่อที่เราเห็นว่ามีจริยธรรมทางวิชาชีพในอดีตมีมาก  และสื่อเหล่านั้น ก็ยังอยู่ในสังคมปัจจุบันเพียงแต่ผันแปรไปด้วยเหตุผลของตัวเองโดย ไม่บอกเรา ดังนั้นวิธีที่จะท�ำให้มีความสุขในการรับสื่อ ก็จะต้องมีสี่ อย่างที่เราต้องจ�ำไว้คือ ดูว่าสื่อไหนสามารถเสนอข่าวได้รอบด้าน โดยไม่ต้องทุกข์ใจ ว่าเขาเอียงหรือไม่เอียงไปทางไหน ถ้ารู้ว่าเขาเอียงก็อย่าไปติดตามสื่อ นั้น พยายามค้นหาสื่อที่มีรอบด้านในการน�ำเสนอข้อมูลข่าวสาร และ เป็นสื่อที่มีเวทีสาธารณะ  สื่อที่ดีต้องให้ความจริงครบถ้วนรอบด้าน ต้องเรียกว่าให้ครบ 360 องศา ต้องให้ความรู้ในการน�ำเสนอข่าว ไม่ใช่ความคิดเห็น ให้การศึกษา  ให้การคิดวิเคราะห์ให้วิธีถกเถียงฐานข้อมูล และเอามาประมวล  ให้ทฤษฎีและหลักการให้บทเรียนและทางออก ไปสู่ชีวิตที่มีสันติและสงบมากขึ้น สื่อต้องเป็นเวทีให้กับเราด้วย สื่อนั้นต้องไม่พูดข้างเดียว ต้อง ให้คนอื่นที่พูดพาดพิงมานั่งคุยด้วย หรือถ้าเป็นรายการโทรทัศน์ก็ควร ให้ฝ่ายที่ถูกพาดพิงหรือคนที่ไม่เห็นด้วยไปร่วมรายการด้วย  เพราะฉะนั้นต้องมีการน�ำเสนออย่างหลากหลาย และผู้ด�ำเนินรายการต้อง ไม่แสดงความเห็นของตัวเองมากเกินไป ต้องเป็นเวทีที่สามารถหาค�ำ ตอบจากค�ำถามได้ ข้อนี้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย

200


ทุกคนสามารถใช้สี่ข้อนี้เป็นเครื่องมือในการเสพสื่อต่างๆ เพื่อให้ตัวเองไม่ตกเป็นเครื่องมือ หรือสามารถเสพสื่อได้อย่างมีความ สุขและได้ข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น” วิชาชีพ

สื่อปัจจุบันมีมากขึ้นแต่สิ่งที่แตกต่างจากในอดีตคือจริยธรรม

“จริยธรรมวิชาชีพของสื่อตั้งแต่สมัยผมหนุ่มๆ  กับตอนนี้ยัง คงเดิมนะ  แต่ละข้อไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง  มันเป็นมาตรฐานสากล มาหกร้อยเจ็ดร้อยปีแล้ว  แต่จริยธรรมของสื่อสารมวลชนในบ้านเรา ทุกวันนี้เสื่อมถอยลงเป็นอันมาก  โดยเฉพาะสื่อกระแสหลักที่เป็นฟรี ต่างๆ  หรือสื่อกระแสรองที่เป็นเว็บไซต์หรือโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม วิทยุผ่านดาวเทียม  พวกนี้ขาดการศึกษาอบรมในเรื่องจริยธรรมทาง วิชาชีพ มั น อาจจะเกิ ด จากสื่ อ เยอะเหลื อ เกิ น   แต่ มี ค นท� ำ งานมื อ อาชี พ น้ อ ยลง  ก็ เ ลยได้ ค นท� ำ งานที่ ไ ม่ ไ ด้ เ รี ย นมาทางด้ า นวิ ช าชี พ สื่อสารมวลชนโดยตรง พอไม่ได้เรียนมามันก็ขาดจิตวิญญาณสี่ปี ที่ เรียนด้านสื่อสารมวลชนที่ครูพร�่ำสอนมา มันไม่มีแบบนั้นแล้ว ดังนั้น มันก็เป็นหน้าที่ขององค์กรสื่อนั้นที่จะอบรมและปลูกฝังจิตวิญญาณ ให้คนท�ำงานหนุ่มสาวที่ไม่ได้จบมาโดยตรง  ในยุคที่ผมจบจากมหาวิทยาลัยใหม่ๆ แล้วไปท�ำงานที่ The Nation ตอนนั้นจบปริญญา โทมาจากอินเดีย  พอไปสมัครก็ได้งานเลย  แต่พี่ที่เขารับเราเขาไม่ ได้ดูใบปริญญาเราเลย  เรียนอะไรมาก็ไม่ดู  แต่เขาเห็นเราพูดภาษา อังกฤษได้ ท�ำงานวันแรกเขาก็ให้ผมไปสัมภาษณ์ฝรั่งเลย ท�ำงานได้ สองวันผมก็รู้สึกหงุดหงิด เพราะอาชีพนี้ผมไม่เคยท�ำ เราไม่ได้เรียนมา

201


โดยตรง และเขาไม่ได้มีการอบรมเราก่อน วันที่สามผมก็ไม่ไปท�ำงาน เลยเพราะรู้สึกว่าเขาไม่ได้ใส่ใจที่จะปลูกฝังจิตวิญญาณสื่อให้กับเรา นี่เป็นตัวอย่าง สมัยนี้ก็ท�ำกันอย่างนี้ พอท�ำงานได้ก็ให้ท�ำเลย ส่วน วิชาชีพและจริยธรรมก็ไปนั่งคิดเอาเอง หรือไปอ่านในเล่มของบริษัท ที่มีคู่มือจรรยาบรรณวิชาชีพเอาไว้ ทุกที่มีกันทั้งนั้น ที่วิกฤตไปกว่านั้น คือสื่อใหม่ที่ไม่ได้พึ่งกฎหมายใด คือสื่ออิสระ สื่อเถื่อนต่างๆ สื่อพวก นี้เขาก็จะท�ำกันตามใจชอบ  โดยเฉพาะสื่อที่มีเส้นทางทางการเมือง หรือสื่อเลือกข้าง สื่อพวกนี้แฝงไปด้วยนัยยะต่างๆ และอันตราย” บทเรียนชีวิตในการเป็นสื่อสารมวลชนที่จ�ำไม่เคยลืม “เหตุ ก ารณ์ ที่ ผ มยั ง ประทั บ ใจไม่ ลื ม และใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการท� ำ งานสื่ อ สารมวลชนมาตลอดชี วิ ต   เหตุ ก ารณ์ ห นึ่ ง ก็ คื อ เหตุการณ์ที่ผมมีข้อขัดแย้งกับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ตอน ที่ผมส่งคนไปท�ำข่าวแล้วล้วงลึกไปในความเป็นส่วนตัวของท่านช่วง ท่านป่วยอยู่ในโรงพยาบาล  คือเอากล้องซูมเข้าไปในห้องไอซียู  ตรง

202


ที่ถาดอาหาร  ดูว่าท่านกินอะไรบ้าง เพื่อจะได้วิเคราะห์สุขภาพท่าน เพราะท่านป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ผมก็ถูกท่านโกรธ เพราะผม ไปละเมิดความเป็นส่วนตัวของท่าน แต่ผมก็อยากได้ข่าว เพราะทุก คนก็อยากรู้ว่าอาการของท่านเป็นอย่างไร เพราะท่านเข้าโรงพยาบาล เป็นเดือน  พอคนอื่นไม่ท�ำข่าว  ผมก็ยังท�ำอยู่  ยังผลให้ผมต้องลา ออกจากการเป็นผู้จัดการฝ่ายข่าวของช่องเจ็ด  เพราะท่านประท้วง เรื่องราวที่ผมท�ำ  แล้วผมก็เข้าไปขอโทษอาจารย์คึกฤทธิ์  หลังจาก เหตุการณ์นั้นก็เป็นสิ่งส�ำคัญที่ย�้ำเตือนให้ผมไม่ท�ำข่าวในเชิงละเมิด สิทธิส่วนบุคคล ความเป็นอยู่ในเชิงความเป็นส่วนตัวของใคร และ ผมก็ยังยืนยันในเรื่องนี้มาโดยตลอด  แม้ว่าในยามที่ผมมีชื่อเสียงมาก ต�ำรวจเวลาจะแถลงข่าวใหญ่ๆ  เรื่องผู้หญิงหรือเด็กถูกล่อลวงแล้ว ผมไปท�ำข่าว ถ้าผมได้สัมภาษณ์ผู้เสียหายเหล่านั้น ผมก็จะปกปิด ใบหน้า ท�ำมืด เบลอ  หรือท�ำแสงจ้า  เพราะเราได้บทเรียนจากท่าน อาจารย์คึกฤทธิ์ และส่งผลมาโดยตลอด  และมันท�ำให้ตอนที่ผมเป็น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี  2540  ที่ผมมีส่วนช่วยในการผลักดัน ให้มีมาตราว่าด้วยการปกป้องสิทธิและความเป็นอยู่ของบุคคลใน ครอบครัว  เกียรติยศชื่อเสียง” อยู่กับสื่อปัจจุบันอย่างมีความสุข  รับสื่ออย่างฉลาดเลือก และพอเพียง  อาจารย์บอกว่าแม้จะท�ำงานที่ต้องอยู่กับข้อมูลข่าวสาร ก็มีความสุขได้ “ส�ำหรับผม  ผมเลือกรับสื่อหลายที่  ดูจากทีวีดาวเทียมบ้าง รับนิตยสารต่างประเทศ อ่านในเว็บไซต์ และถ้าใครอยากรับสื่ออย่าง มีความสุข ก็อยากให้รับสื่อที่เป็นความรู้ ข่าวหนึ่งวันเช็กครั้งหนึ่งได้ ไม่ต้องตามทุกชั่วโมง พยายามหาสิ่งที่เสพที่แปลกหลากหลาย ที่มี

203


มากกว่าการเมือง ชีวิตจะเป็นสุขอย่างสุนทรีย์ในการเสพสื่อได้ คือรับ สื่ออย่างมีสมดุลในด้านเนื้อหา ไม่ควรรับด้านใดเพียงด้านเดียว อาจ จะไปเสพข่าวบันเทิงบ้าง ดูหนัง อ่านนิยาย ฟังเพลง ดูให้สนุก อ่าน เรื่องไร้สาระบ้างก็ได้  เรื่องมีสาระบ้างเช่นวิทยาศาสตร์  องค์ความรู้ ต่างๆ แต่เสพอย่างพอเพียง อย่าไปทุกข์กับตัวละครที่ทุกข์อยู่ในข่าว  บางทีเขาก็แสดงนะ ท�ำท่าถมึงทึงใส่กันในหน้าจอ  แต่หลังฉากเขาอาจจะไปกอดคอกัน ก็ได้ เอาเป็นว่าเราควรหาความสุขจากข้อมูล  ไม่ใช่หาความทุกข์”

204


หลักการท�ำให้ตัวเองมีความสุขของ ดร. สมเกียรติ

ต้ อ งไม่ คิ ด และยึ ด ติ ด ว่ า เราเป็ น ผู ้ ใ หญ่ หรือเป็นหลักของใคร  เราใช้ชีวิตโดยไม่ผูกโยง กั บ สิ่ ง ใด  เพราะฉะนั้ น เมื่ อ ไม่ ไ ด้ คิ ด ว่ า เราคื อ คนที่จะเป็นตัวแทนของสังคม  เราก็สามารถมี ความสุขกับชีวิตที่อิสระเสรีและสิ่งที่เราสามารถ ท� ำ ประโยชน์ ใ ห้ สั ง คมได้   แม้ ไ ม่ ม ากมายเรา ก็ พ ยายามท� ำ  ผมต้ อ งการเห็ น สั ง คมมี ก าร เปลี่ ย นแปลงที่ ดี แ ละเร็ ว ขึ้ น กว่ า นี้   ผมเชื่ อ ว่ า สั ง คมมั น เปลี่ ย นไปในทางที่ ดี ขึ้ น เสมอตาม ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา  เพราะมนุษย์เรียนรู้จาก อดีต  แต่ถ้าเราไม่เรียนรู้เรื่องราวในอดีตให้ลึกซึ้ง การพัฒนาที่จะเร็วก็จะช้าลง  เพราะฉะนั้นต้อง เป็นหน้าที่สื่อสารมวลชนที่จะต้องให้การศึกษา เรื่องประวัติศาสตร์และระบบการปกครองของ สังคมให้มากขึ้น  โดยใช้ทางเลือกที่สุภาพอ่อน โยนและน�ำเสนออย่างมีวุฒิภาวะ  เพื่อให้สังคม สงบและมีการพัฒนามากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

205


บันทึกท้ายเล่ม ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... .......................................................................................

206


บันทึกท้ายเล่ม ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... .......................................................................................

207


บันทึกท้ายเล่ม ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... ....................................................................................... .......................................................................................

208


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.