INSPIRATION เรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ

Page 1

1


จัดท�ำโดย

ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 99 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 0-2343-1500 โทรสาร 0-2343-1501 www.thaihealth.or.th, www.thaihealthcenter.org WISH เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ ชุด INSPIRATION บรรณาธิการ : ทวีศักดิ์ อุชุคตานนท์ สัมภาษณ์และเรียบเรียง : จีระวุฒิ เขียวมณี ปก, รูปเล่มและภาพประกอบ : ไตรรงค์ ประสิทธิผล พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2555 พิมพ์ที่ : บริษัท แปลนพริ้นท์ติ้ง จ�ำกัด ( มหาชน)

ด�ำเนินการผลิตโดย

ส�ำนักพิมพ์บ้านภายใน

บริษัทบ้านภายใน จ�ำกัด 123/1182 หมู่ 3 ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ / โทรสาร : 0-2750-7384, 08-1402-0103 e-mail : suwanna.chok@gmail.com “ทัศนะความคิดเห็นจากบทสัมภาษณ์ซึ่งปรากฏในหนังสือนี้ ไม่จ�ำเป็นที่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ต้องเห็นด้วยเสมอไป”

2


ค�ำน�ำ ตลอด  10  ปที ผี่ า่ นมากับความ มุง่ มัน่ ของส� ำ นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การสร้ า ง เสริมสุขภาพ(สสส.) ในการจุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน  เชื่อมประสานภาคีเครือข่าย  เพื่อ ให้ “ทุ ก คนบนผื น แผ่ น ดิ น ไทยมี ขี ด ความ สามารถ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อสุขภาวะ” อย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มา ของการจัดตั้ง  “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ”  ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่ เรียนรู้การสร้างสุขภาวะอย่างครบวงจร  ผ่านการสร้างสรรค์กิจกรรม นิทรรศการ และการบริการข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ เป็นต้น โดย สสส. หวังว่าพื้นที่เรียนรู้สุขภาวะแห่งนี้ จะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ ประชาชนที่เข้ามาเยี่ยมชม  เกิดการเรียนรู้  เปิดประสบการณ์  และ ความตั้งใจที่จะริเริ่มสร้างสุขภาวะและสิ่งดี ๆ ให้แก่สังคมต่อไป “WISH เรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ” เป็นชุดหนังสือ ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะมีความตั้งใจจัดท�ำขึ้น  เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่าน สามารถเข้ามาเรียนรู้มุมมองแนวคิด  ประสบการณ์ชีวิต  ตลอดจน เคล็ดลับการเอาชนะต่ออุปสรรคปัญหาของผู้คนที่น่าสนใจถึง  100 คน ซึ่งล้วนเป็นบุคคลที่ได้มีส่วนร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่  โดย มีการเรียบเรียงเป็น 4 เล่มตามชื่อหนังสือ คือ W – Wisdom, I – Inspiration, S – Sharing และ H – Health & Happiness ด้วยหวัง ว่าเรื่องราวชีวิตอันมีคุณค่าของท่านทั้งหลายเหล่านี้ จะเป็นตัวอย่าง และบทเรียนที่จุดประกายความหวังและพลังใจให้ผู้อ่านได้ลุกขึ้นมา เปลี่ยนแปลงและสร้างสุขภาวะองค์รวมทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และปัญญา เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของตนเองและสังคมไทย

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.

3


จาก...บรรณาธิการ ชีวิตของมนุษย์เรา  หลายครั้งอาจมีอุปสรรค  และอาจต้อง พานพบกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ของชีวิตอีกด้วยแต่การก้าวเดินผ่าน ความยากล�ำบากก็เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของคนเรา  หากการ จะเดินต่อไปได้ในสภาวะที่ยากล�ำบากก็คือ การก้าวเดินอย่างมีความ หวัง เรื่ อ งเล่ า แห่ ง ความหวั ง และพลั ง ใจ รวมเรื่ อ งราวของ บุคคลชั้นน�ำในวงการต่างๆ  ที่เราน�ำเสนอมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ การสร้างความสุขให้แก่ประชาชนคนไทย  เพื่อให้คนไทยมีชีวิตอย่าง มีหวังและมีพลัง  แม้ว่า...ในชีวิตจริงที่ประสบ  สังคมของเราก็ยังมี วิกฤตการณ์ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และธรรมชาติที่เป็นภัย พิบัติ ดังนั้นการเรียนรู้บทเรียนจากปัจเจกชนอิสระทั้ง  100  ท่าน จึงอาจเป็นแรงใจที่ส�ำคัญ  และอาจมีใครสักคนหนึ่งที่จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้คุณลุกขึ้นมาท�ำสิ่งที่แตกต่างให้แก่สังคมของ เราด้วย

4


เรื่องราวที่ล้มเหลวของใครบาง คนอาจเป็นบทเรียนสอนใจให้แก่คุณ เรื่ อ งราวแห่ ง ความส� ำ เร็ จ ของ อี ก คนก็ อ าจเป็ น พลั ง ใจให้ คุ ณ มี แ รง อยากสร้างความส�ำเร็จเช่นนี้บ้าง มี ห ลายคนที่ อ ่ า นหนั ง สื อ ชุ ด นี้ แล้วบอกว่า “พอได้อ่านเรื่องราวของคนดีๆ มากมายเช่นนี้  ท�ำให้รู้สึกมีความหวังต่อ สังคมไทยมากขึ้น” เราก็หวังเช่นกันว่าคุณจะรู้สึก เช่นนี้บ้าง

ทวีศักดิ์ อุชุคตานนท์ บรรณาธิการอ�ำนวยการ โครงการเรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ

5


ส า ร บั ญ นิ้วกลม - สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์

9

วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

20

จเด็จ ก�ำจรเดช

30

ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย

40

ซี - ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์

48

ภาณุมาศ ทองธนากุล

54

ทราย - อินทิรา เจริญปุระ

62

อาทิตย์ อัสสรัตน์

70

ศ.นพ.ประกิต วาธีสาธกกิจ

77

นพ.พีรพล ภัทรนุธาพร

82

วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ

92

ภูพิงค์ พังสอาด

100

เปเล่ - คริสโทเฟอร์ วอชิงตัน

110

6


บุญทวี สิริเวสมาศ

118

นพ.วิชัย โชควิวัฒน

126

ทวีศักดิ์ ศรีทองดี

134

อารันดร์ อาชาพิลาส

142

นรเศรษฐ หมัดคง

150

ธนกร แสงสินธุ์

158

ณัฐวัฒน์ วัฒนาประสิทธิ์

166

สฤณี อาชวานันทกุล

174

อ�ำนาจ รัตนมณี

182

วิลันดา เอี่ยมสอาด

190

นพ.แท้จริง ศิริพานิช

196

ศิริวร แก้วกาญจน์

203

7


8


สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ นิ้วกลม :

นิ้วแห่งแรงบันดาลใจ นิ้วของคนที่มีฝัน นิ้วที่ทุกคนมีอยู่บนสองมือ

ในยุ ค นี้ ค� ำ ว่ า   ‘ความฝั น ’ หรือ ‘แรงบันดาลใจ’ กลายเป็นเรื่อง ส� ำ คั ญ ของผู ้ ค นที่ จ ะต้ อ งค้ น หาให้ พบเพื่ อ ที่ จ ะได้ น� ำ มั น มาหล่ อ เลี้ ย ง จิตใจ  ท่ามกลางสังคมที่มีแต่ความ ไม่แน่นอนปกคลุม การมีเป้าหมายที่ ยิ่งใหญ่ในใจจึงเป็นสิ่งที่ผู้คนจ�ำนวน มากก� ำ ลั ง โหยหา  การมี ค วามฝั น ก็ เ ท่ า กั บ เรามี เ ป้ า หมาย  และพอมี เป้าหมายเราก็ต้องการแรงบันดาล ใจเพื่อ ที่จ ะลุกขึ้นไปท�ำสิ่งเหล่านั้น อย่างกล้าหาญ แต่แล้วเมื่อเผชิญกับ ขั้นตอนสุดท้ายของนักฝันที่ว่าด้วย การลงมือท�ำ  หลายคนก็เลือกที่จะ ประวิงเวลาหรือหันหลังให้กับโอกาส ในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย

9


“เราเชื่อว่าความฝันมันเติมพลังให้มีฝันต่อไป   แต่ถ้าคุณไม่ ท�ำความฝันนั้นให้เป็นจริงสักครั้ง ฝันก็จะเหี่ยวแห้งตายไป แต่พอเรา ลองท�ำให้มันเป็นจริงได้ มันจะส่งผลให้เราท�ำฝันอย่างที่เคยฝันไว้ได้ อีก” นี่ คื อ ถ้ อ ยค� ำ จากคนที่ ขึ้ น ชื่ อ ว่ า เป็ น นั ก เขี ย นที่ ส ร้ า งแรง บันดาลใจให้ผู้คนได้มากที่สุดคนหนึ่งในตอนนี้ สราวุธ  เฮ้งสวัสดิ์  นักเขียนหนุ่มวัย  33  ปี  ที่ผู้อ่านรู้จักกัน อย่างกว้างขวางในนามปากกาว่า  ‘นิ้วกลม’  ชื่อของเขาถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ของนักอ่านรุ่นใหม่  หนังสือของเขาทุกเล่มขายดีจน ต้องพิมพ์ซ�้ำหลายรอบ  นิตยสารรวมถึงส�ำนักพิมพ์จ�ำนวนมากต่าง ต้องการบทความของเขามาประดับผลงาน   ล่าสุดเขาขึ้นสู่หน้าจอ เป็นพิธีกรให้กับรายการ ‘พื้นที่ชีวิต’ และ ‘เป็น อยู่ คือ’ ของทางสถานี โทรทัศน์ไทยพีบีเอส               จากนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ช่วงใกล้จบการศึกษา  สราวุธกับเพื่อนๆ ร่วมกันท�ำหนังสือเล่มเล็กๆ ที่ ชื่อว่า DIM ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้เตะตาบรรณาธิการคนดัง วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ แห่งนิตยสาร a day และน�ำพาเขาไปสู่พื้นที่ ทางตัวหนังสือกับคอลัมน์ E = iq2 ที่ว่าด้วยความคิดสร้างสรรค์ใน รูปแบบความเรียง  โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากนักเขียนรุ่นพี่อย่าง วินทร์ เลียววาริณ และเมื่อเรียนจบมาเขาก็ได้ท�ำงานที่บริษัทโฆษณา ชื่อดังลีโอเบอร์เนทท์ สั่งสมประสบการณ์ของคนโฆษณามาได้พัก ใหญ่ๆ จุดเปลี่ยนส�ำคัญมาถึงเมื่อเขาลาออกเพื่อไปท�ำงานที่อื่น และ ช่วงเวลาที่ว่างอยู่นั้นเองที่เปลี่ยนชีวิตของสราวุธไปโดยสิ้นเชิงในภาย หลัง

10


“ช่วงที่ลาออกมันก็มีช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ไปเริ่มงานที่ใหม่  ก็มี เพื่อนชวนไปเที่ยวญี่ปุ่น เมืองโตเกียว เราอยากไปเที่ยวโตเกียวมาตั้ง นานแล้ว ก็ได้ไปมาเก้าวัน แต่ตอนนั้นก็ไม่เคยไปเที่ยวต่างประเทศ แบบแบ็กแพ็กเกอร์เลย พอได้ไปมันก็ตื่นเต้นไปหมด ญี่ปุ่นมันเป็น เมืองที่มีสีสันอยู่แล้ว  เราเจอเรื่องราวที่รู้สึกว่าประทับใจเยอะมาก  ก็ จดรายละเอียดเอาไว้ พอกลับมาบ้านก็เลยลองเขียนขึ้นมา จึงออกมา เป็นหนังสือ ‘โตเกียวไม่มีขา’ อย่างที่เห็น”

11


“โตเกียวไม่มีขา เขียนขึ้นมาจากการที่เราไม่ได้วางแผนอะไร เท่าไรเลย รู้แต่ว่าตอนที่เราจะไปญี่ปุ่น อยากหาหนังสือมาอ่าน แต่ แทบไม่มีหนังสือเกี่ยวกับญี่ปุ่นเลย  ซึ่งในสมัยนั้นมันไม่มีเยอะแบบ นี้นะ ตอนนั้นก็มีแต่หนังสือแบบ Lonely Planet นอกจากนั้นแล้วก็ มีน้อยมาก  แล้วเราก็รู้สึกว่าเมื่อไปมาแล้วก็น่าจะลองเขียนดู  จะได้ มีหนังสือที่พูดถึงญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น”  และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทาง แบบนิ้วกลม เพราะหลังจากหนังสือได้เดินทางออกไปพบผู้อ่าน เสียง ตอบรับถึงนักเขียนหน้าใหม่คนนี้ก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นกระแส โด่งดัง “เราก็ไม่ได้คิดว่าคนจะชอบมันมากขนาดนี้ แล้วอีกอย่างหนึ่ง ที่ดีใจ คือเสียงที่ตอบกลับมามันไม่ได้บอกว่าแค่ชอบ บางเสียงก็บอก ว่าท�ำให้เขารู้สึกมีความสุข  มันท�ำให้เขามีความกล้าที่จะออกไปท�ำ อย่างที่คิดฝัน ก็เป็นอีกความรู้สึกหนึ่งที่เรารู้สึกว่าดีมาก พอหนังสือ ออกมาแล้วมีคนอ่าน มีคนชอบ มันก็เหมือนเติมน�้ำมันน่ะ ท�ำให้เรา อยากเขียนอีก คราวนี้พอได้ไปเที่ยวอีกก็กลับมาเขียนอีก” หลังจากนั้นสราวุธก็ใช้นิ้วกลมๆ  ของเขา  เขียนหนังสือเชิง ท่องเที่ยวออกมาอีกหลายเล่มอย่าง  ‘กัมพูชาพริบตาเดียว’  ‘เนปาล ประมาณสะดือ’  ‘สมองไหวในฮ่องกง’  ‘นั่งรถไฟไปตู้เย็น’  จนกระทั่ง ความคิดของเขาเริ่มขยับขยายขึ้นไปสู่เรื่องความเรียงในเรื่องอื่นๆ  เช่ น  การบอกเล่ า ถึ ง ชี ว ประวั ติ บุ ค คลในประวั ติ ศ าสตร์ ที่ น ่ า สนใจ อย่าง  ‘บุกคนส�ำคัญ’  การตอบค�ำถามที่แฝงข้อคิดและวิธีมองหาแรง บันดาลใจดีๆ  เช่น  ‘ฝนกล้วยให้เป็นเข็ม’  ‘ปอกกล้วยในมหาสมุทร’ จนมาถึงการมองหาความสุขจากสิ่งรอบตัวอย่าง  ‘อาจารย์ในร้าน คุกกี้’ ‘สิ่งมหัศจรรย์ธรรมดา’  ‘ความสุขโดยสังเกต’  รวมถึงเรื่องความ รักทั้งที่เป็นความสัมพันธ์แบบหนุ่มสาวและความรักในมิติอื่นๆ  ใน

12


‘The soundtrack of my love’ ‘ความรักเท่าที่รู้’ เรียกได้ว่าหนังสือใน นามนิ้วกลมนั้นมีครบทุกรสชาติตามแต่รูปแบบที่เขาคิดขึ้นมาได้ แต่ เนื้อหาหลักที่เขาต้องการจะสื่อสารนั้นล้วนไม่ต่างกันมากนัก นั่นคือ เรื่องของความฝันและการได้ลงมือท�ำมันขึ้นมา “ในวัยหนุ่มก็เหมือนคนหนุ่มทั่วไปนะ  คือเรามีความฝันแล้ว เราลงมือท�ำความฝัน  เราก็รู้สึกอยากจะบอกคนอื่นว่าเวลาที่ความฝัน เป็นจริงนั้นมันดีมากนะ มันมีความสุขมากๆ เมสเสจที่ส่งออกไปก็จะ บอกว่า ถ้าคุณมีความฝัน คุณรีบท�ำมันเถอะ เพราะว่าไม่มีใครบอก ได้ว่ามันมีความสุขขนาดไหน จนกว่าคุณจะได้สัมผัสมันด้วยตัวคุณ เอง หรืออย่างตอนที่เริ่มเขียนหนังสือ ‘กัมพูชาพริบตาเดียว’ ก็อยู่ในวัย ที่ทบทวนตัวเอง เริ่มตั้งค�ำถามกับความสัมพันธ์ว่าจริงๆ  แล้วช่วงเวลา ที่เริ่มต้นท�ำงานเราแสวงหาความส�ำเร็จหรือความยิ่งใหญ่  ตอนนั้นไป กัมพูชาก็เห็นปราสาทหินทั้งหลายที่มันเคยยิ่งใหญ่  แล้วก็กลายเป็น ซากปรักหักพัง  ก็เริ่มคิดถึงตัวเองว่าแท้จริงแล้วความหมายของชีวิต คนเรามันอยู่ที่การสร้างสิ่งยิ่งใหญ่ไว้หรือการอยู่กับคนที่เรารักแล้วก็ ใช้เวลาร่วมกันให้ดีที่สุดกันแน่ ถ้าในมุมมองของตัวเราเองก็อยากจะให้ถามตัวเองอยู่เสมอ ว่าตกลงแล้ว ความหมาย คุณค่า หรือความฝันของเรามันคืออะไร แล้วก็ลงมือท�ำมันซะ  อีกอันหนึ่งก็คือในมุมของคนอื่น  ว่าเราไม่ควร หมกมุ่นอยู่กับตัวเองคนเดียว  ให้มองออกไปถึงคนอื่นด้วยแล้วเรียน รู้จากเขาแล้วก็ยอมรับในความหลากหลาย ซึ่งที่จริงอันนี้เป็นหลักใน การใช้ชีวิตอยู่ทุกวันนี้ของเราเลยนะ  เราเชื่อว่าโลกนี้มันหลากหลาย มากกว่าที่เราคิด  ความสุขของการใช้ชีวิตมันเกิดขึ้นจากสองเรื่อง ใหญ่ๆ เรื่องหนึ่งคือเข้าใจตัวเอง อีกเรื่องคือเข้าใจคนอื่น แต่การที่เรา

13


จะเข้าใจคนอื่นได้เราต้องให้เวลากับเขา แล้วก็เรียนรู้กับเขา เปิดใจให้ กว้างไม่ว่าจะเป็นคนต่างชาติต่างภาษา คนที่ต่างเพศไปจากเรา คน ต่างศาสนา ความคิดที่แตกต่างหรืออะไรก็ตาม เราว่าสิ่งเหล่านี้คือ ความพยายามที่จะบอกว่ามันไม่ได้มีอะไรผิดหรือถูกโดยแท้จริง มันก็ มีนั่นแหละสิ่งที่ผิดหรือถูก แต่คนที่เขาต่างจากเราไม่ได้แปลว่าเขาผิด เสมอ เราควรจะฟังเขาด้วย” สราวุธยังแสดงความเห็นต่อการที่ตัวหนังสือของเขาได้รับ ความนิยมและมีอิทธิพลกับคนอ่านเป็นอย่างสูงไว้ได้อย่างน่าสนใจ “เราคิดว่างานของตัวเองเป็นแค่ส่วนหนึ่งหรือซีกหนึ่ง ถ้าเกิด สังคมเป็นก้อนความคิดหนึ่ง  เราก็คงเป็นเสี้ยวหนึ่งในความคิดนั้น มันคงไม่ได้หมายความว่าคนที่อ่านหนังสือของเราจะคิดเหมือนเรา ไปทั้งหมดทุกคน แต่ว่ามันก็อาจจะมีบางมุมบางส่วนที่มันคิดคล้ายๆ

14


กัน หรือว่ามันสัมผัสความรู้สึกที่คล้ายๆ กันได้ ถามว่าเรารู้สึกยังไงกับ การที่คนอ่านหนังสือของเราเยอะ  เราก็ดีใจเพราะว่าเวลาเราท�ำงาน สร้างสรรค์ออกมาเราก็อยากให้คนเขาเห็นงานเราเยอะอยู่แล้ว  แต่ ก็ไม่ได้คิดว่ามันมีอิทธิพลต่อผู้คนต่อสังคมขนาดนั้น  และก็ยังเชื่อ อย่างที่เชื่อเสมอว่าสังคมใดจะเป็นสังคมที่มีความรู้มีปัญญามันต้อง มีความหลากหลาย  เราก็ยังเชื่อว่านักอ่านที่แท้จริงเขาก็ไม่ได้อ่าน หนังสือของคนคนเดียว ถ้าถามในแง่ของความเป็นนักเขียนขายดี ส่วนหนึ่งเรารู้สึก ว่ากดดันนะ กดดันตัวเอง เพราะเราคิดว่างานเราขายดีมันก็ดีแหละ แต่ว่าส่วนตัวก็รู้สึกอยู่ตลอดว่าเราไม่ได้เจ๋ง  เวลาเราอ่านหนังสือคน อื่นเรารู้ว่า  โห...คนนี้เขียนโคตรดีเลย  หนังสือเล่มนี้เจ๋งว่ะ  เราก็รู้สึก ว่าหนังสือแบบนี้มันควรจะขายดีน่ะ  และมีหนังสือเจ๋งๆ  อีกเยอะ มาก  แล้วสิ่งนี้มันก็จะตรวจสอบตัวเราเองตลอดว่าเราก็ยังไม่ได้เจ๋ง ขนาดนั้นหรอก  ก็ต้องพยายามเช็กมาตรฐานตัวเองแล้วก็พัฒนาตัว เองตลอดว่าต้องเขียนให้ดีนะ  เพราะไม่อยากกลายเป็นเหมือนเพลง ป๊อปบางเพลงว่ามันก็แค่คนชอบเยอะ แต่เพลงไม่เห็นมีคุณภาพ ไม่ อยากเป็นแบบนั้น  เราพยายามพัฒนาตัวเองเท่าที่ท�ำได้  เพื่อที่จะ ไม่ใช่เป็นแค่คนที่ขายดี แต่ต้องท�ำหนังสือให้มันดีด้วย” ขึ้นชื่อว่าเป็นนักเขียนที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นได้ แต่ตัวของเขาเองในวันที่ได้ท�ำความฝันส่วนตัวส�ำเร็จแล้ว ได้ท�ำทุกสิ่ง ได้อย่างที่หวังไว้ แล้วอะไรคือแรงบันดาลใจในเวลานี้ของนิ้วกลม

15


“ตอนนี้แรงบันดาลใจมันก็อาจจะเกิดจากสองส่วน ส่วนหนึ่ง คือถ้าเราท�ำได้แล้วเราจะท�ำมันให้ดีขึ้นได้ยังไงอีก ซึ่งมันก็จะเกิดจาก การที่เราได้เห็นผลงานที่ดีกว่าของเรา อาจจะเป็นอารมณ์ของศิลปิน ความอิจฉา นักสร้างสรรค์ก็คงมีความอิจฉา ถ้าเขาท�ำได้ดีเราก็อยาก ท�ำได้ดีแบบเขานะ เรื่องนั้นก็เป็นแรงผลักดันอันหนึ่ง อีกส่วนก็คือเรา ว่าตัวคนอ่านเองก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนเขียน เพราะยิ่งเรารู้ว่ามี คนอ่านงานเราเยอะเราก็อยากเขียนให้มันดี มากกว่านั้นก็คืออยากส่ง เนื้อหาที่ดีออกไปสู่สายตาเขา ส่งออกไปให้ถึงเขา ก็รู้สึกว่ามันน่าจะ เป็นอย่างนั้น อีกอย่างที่มันเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตก็น่าจะเกิดจากการ ที่เห็นคนที่เราชื่นชม อย่างช่วงน�้ำท่วมที่ไปเจอมา เราเจอหน่วยอาสา กู้ภัยหรือว่าไปเจอคุณป้าที่ท�ำก๋วยเตี๋ยวแจกคน  จริงๆ  แล้วคนพวก นี้ก็เป็นแรงบันดาลใจนะ  เป็นแรงบันดาลใจในแง่ที่ว่างานบางงาน เราน่าจะท�ำนะ โดยที่มันอาจจะไม่ต้องมีค่าจ้างก็ได้ แต่ก็ควรท�ำถ้า มันมีประโยชน์กับคนอื่น พวกคนเหล่านี้ที่ไปเจอก็ยังเป็นแรงบันดาล ใจส�ำคัญอยู่  อีกอย่างก็น่าจะเป็นหนังสือ  เพราะคิดเสมอว่าคนที่ สร้างสรรค์ผลงานเยอะๆ มันจะมีลักษณะจุดติดง่าย ถ้าเป็นไม้ขีดก็ เป็นไม้ขีดที่ดีมาก จุดปุ๊บติดเลย แต่ไม้ขีดที่ดีมันเกิดขึ้นจากการสะสม วัตถุดิบในตัวไว้เยอะ ถ้าเราอ่านหนังสือเยอะพอเราเห็นต้นไม้ต้นหนึ่ง เราก็อาจจะได้แง่มุมบางอย่างไปเขียนได้ ซึ่งทุกวันนี้หนังสือก็ยังเป็น แรงบันดาลใจส�ำคัญในการสะสมวัตถุดิบเพื่อให้มันไปสปาร์กกับ อย่างอื่น”

16


เอกลักษณ์อย่างหนึ่งในตัวหนังสือของนิ้วกลมก็คือการพูดถึง วิธีมองหาความสุข ในโลกที่ทุกคนต่างโหยหาความสุข แล้วเราจะท�ำ ยังไงให้ตัวเองเป็นสุข สราวุธบอกว่าความสุขเกิดขึ้นจากการที่เรารู้ว่า ความทุกข์มันไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป เพราะว่าก่อนอื่นการที่คนเรา จะมีความสุขได้เราต้องเข้าใจก่อนว่าชีวิตที่มีความสุขร้อยเปอร์เซ็นต์ มันเป็นแค่ฝันไม่มีจริง  ถ้าเราเข้าใจอันนี้เราก็จะมีความสุขง่ายขึ้น เพราะเราจะเริ่มรู้แล้วว่าในความสุขหนึ่งมันจะมีความทุกข์ปนมาด้วย “เราได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับความสุขเยอะก็พบว่ามีค�ำตอบ หนึ่งที่นักวิจัยหรือแม้กระทั่งนักคิดตอบตรงกันอยู่ว่า คนเราจะมีความ สุขเมื่อเรามีความสัมพันธ์ที่ดี  ธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์จะรู้สึก หวาดกลัวเมื่อเราต้องโดดเดี่ยว เมื่อเราถูกกันออกจากฝูง เมื่อเรารู้สึก ว่ามีคนไม่ชอบเรา ไม่ปลอดภัย เราจะรู้สึกปลอดภัยเวลาที่เรามีฝูง มี เพื่อนคุยกันแล้วรู้สึกว่าดีว่ะ ซึ่งมันก็เกิดขึ้นนะเวลาที่เจอเพื่อนแล้วคุย กันได้ดี  เจอคนใหม่ๆ  แล้วมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  การให้เวลากับ ความสัมพันธ์ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของความสุข  ถ้าตอบโยงไปถึง สังคมที่เป็นสุข มันก็เกิดจากความสัมพันธ์ที่ดี เพราะฉะนั้นสังคมที่ ยังมีความสัมพันธ์ต่อกันไม่ดี มันก็อาจจะต้องเป็นสังคมที่เป็นทุกข์อยู่ แต่ว่าความสัมพันธ์ที่ดีมันไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน ถ้าเราได้เป็นเพื่อน หรือเป็นแฟนกับใครสักคนย่อมมีช่วงเวลาที่เราไม่เข้าใจกันอยู่แล้ว แต่เราต้องให้เวลากับความไม่เข้าใจนั้นแล้วก็อยู่กับมันให้ได้ อย่าเพิ่ง ตีกันให้หัวแตกเสียก่อน ถ้าเรายังทะเลาะกันแต่ยังฟังกัน ยังอยู่ด้วย กัน   คิดว่าวันหนึ่งเราจะเข้าใจกันมากขึ้น เราอาจจะไม่ได้เข้าใจร้อย

17


เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าเราจะเข้าใจกันมากขึ้นแล้วก็เราจะอยู่กันได้ คิดว่า สังคมที่เป็นสุขมันน่าจะเกิดจากการที่คนเราต้องใช้หูด้วย  สังคมที่ดี มันต้องเป็นสังคมที่คนอยากพูดได้พูด แต่ว่าคนที่ไม่อยากฟังควรจะ ฟังด้วย เพราะว่าสังคมที่ยังปิดปากไม่ให้คนบางคนพูด แล้วก็ยังปิดหู ไม่ฟังใครเลย เราว่าสังคมแบบนั้นน่าจะเป็นสุขยาก เพราะคนทั้งสอง ฝ่าย สามฝ่าย กี่ฝ่ายก็ตามไม่มีทางเข้าใจ ถ้าคุณไม่ได้ใช้ปากและหู อย่างเต็มที่ “อีกเรื่องก็คือเรื่องของความยึดติด พอเราแก่ขึ้นเราก็รู้สึกว่า เรายึดติดกับอะไรน้อยลงจริงๆ นะ ความคาดหวังทั้งกับตัวเองและคน อื่น เราเริ่มรู้สึกกับตัวเองว่ามันไม่ได้อยากได้คนนี้ อยากเป็นเจ้าของ คนนี้ แล้วถ้าไม่ได้ก็ผิดหวังรุนแรง หรือกระทั่งคาดหวังว่าพ่อแม่จะ อยู่กับเราไปตลอด เราเข้าใจธรรมชาติว่ามันต้องเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นเรื่องค่อนข้างธรรมะ เป็นความธรรมดาของชีวิต เสียใจบ้างกับ ความสูญเสีย แต่คิดว่าไม่เสียใจนาน” นั ก สร้ า งแรงบั น ดาลใจก็ ต ้ อ งมี ค นที่ ใ ห้ แ รงบั น ดาลใจอยู ่ เหมื อ นกั น   ส� ำ หรั บ สราวุ ธ แล้ ว เขาไม่ ไ ด้ ห ยิ บ ยกเอานั ก คิ ด หรื อ ผู ้ ยิ่งใหญ่ที่ไหนมาเป็นต้นแบบ แต่เขาเลือกคนที่อยู่ในชีวิตจริงของเขา คนที่หายใจอยู่ไม่ไกลจากตัวเขา  และคนคนนั้นก็คือแรงบันดาลใจ ของเขาในทุกวันนี้ “อาจจะเป็นแฟนเรานะ... อาจจะใช่ เราไม่รู้ว่ามัน เป็นลักษณะของแรงบันดาลใจที่จะสร้างผลงานหรือเปล่า แต่รู้สึกว่า มีคนคนนี้แล้วเรามีพลัง เขาก็ไม่ได้ผลักดันให้เราท�ำอะไร แต่รู้สึกว่า เราไม่ต้องไปหาแรงบันดาลใจจากที่ไหน เราเคยคิดว่าตัวเองมีรูโหว่ที่

18


ไม่เคยเต็ม เป็นคนโหยหา อาจจะโหยหาความรักก็ได้ แต่พอมีแฟนก็ รู้สึกว่าเราไม่ต้องยุ่งกับรูโหว่นี้แล้ว ก็ท�ำงานให้เต็มที่ เรารู้สึกว่าโลกนี้ มีคนเข้าใจเราอยู่คนนึง เรากล้าขึ้น เราจะท�ำอะไรก็ได้ ผิดพลาดก็ได้ ล้มเหลวบ้างก็ได้ เราชอบบอกว่าเขาเป็นเบาะ ไม่ว่าจะตกลงมาจากที่ สูงแค่ไหนก็ตามเรายังปลอดภัย เขายังรองรับเราอยู่ มันก็ท�ำให้มีพลัง แล้วก็ความกล้าที่จะท�ำอะไรมากขึ้น เพราะเรายังมีคนคนนี้อยู่” หลังจากสัมผัสเรื่องราวของสราวุธแล้ว หวังว่าคนที่ก�ำลังคิด จะท�ำอะไรสักอย่างตามความฝัน ตามความเชื่ออันแรงกล้า แต่ยัง ลังเลที่จะลงมือ ก็ขอให้ก้มลงมองนิ้วมือทั้งสองข้างของตัวเอง มองให้ เห็นว่านิ้วเหล่านี้จะเป็นผู้สนับสนุนเราอยู่ตลอดเวลา และเป็นนิ้วที่จะ น�ำพาเราไปสู่ความส�ำเร็จ ถ้าคุณเริ่มเห็นนิ้วของตัวเองเป็นทรงกลมเมื่อไหร่ แสดงว่าคุณพร้อมแล้ว!

19


ห์ ง ิ ส ์ ค ง ร ณ ย ั ช ง น วงศ์ท

นักสร้างความเชื่อของคนหนุ่มสาว เพราะความเชื่อเปลี่ยนโลกใบนี้ได้           เมื่ อ ปี   พ.ศ.2543 ในเดื อ น กันยายน  เหตุการณ์เล็กๆ เกิดขึ้นบน แผงหนังสือ นั่นก็คือมีนิตยสารเล่ม ใหม่โผล่ขึ้นมาท่ามกลางนิตยสารอีก หลายเล่มที่หายไปดั่งวัฏจักรของสื่อ สิ่งพิมพ์ แต่เวลาผ่านล่วงไป 11 ปี แล้ว  นิตยสารเล่มนี้ก็ยังคงยืนหยัด อยู่ได้อย่างสง่างาม   สาเหตุส�ำคัญ ก็น่าจะมาจากนิตยสารดังกล่าวได้ ท้าทายสังคมคนรุ่นใหม่ให้กล้าออก มาใช้ชีวิตในแนวทางของตัวเอง  ใช้ ความคิดสร้างสรรค์กับงานที่ตนท�ำ และมองหาความสุขจากสิ่งรอบตัว ด้วยแนวคิดบวก

20 20


ที่ส�ำคัญคือ  ต้องท�ำทุกสิ่งที่ว่ามาด้วยความเท่อีกด้วย...ใคร บ้างล่ะที่จะไม่อยากมีชีวิตที่ดีและดูเท่ ‘a day’ คือชื่อนิตยสารเท่ๆ เล่มนั้น และวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ก็คือคนเท่ๆ คนนั้นที่สร้างมันขึ้นมากับมือ “นิตยสาร a day ก่อเกิดมาจากแรงบันดาลใจล้วนๆ เกิด จากความมุ่งมั่นทุ่มเทอย่างมหาศาล เกิดจากการท�ำขึ้นมาท่ามกลาง ความไม่เชื่อของผู้คนและความไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่มันกลับประสบ ความส�ำเร็จมีตัวตนทุกวันนี้ ผมก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าผมโคตรภูมิใจกับ มันเลย ชื่อผมยังเป็น ‘โหน่ง a day’ ผมมีนามสกุลว่า a day ทั้งที่ใน ชีวิตผมท�ำหนังสือมาตั้งหลายเล่ม แสดงว่ามันคงมีความหมายหรือมี ความส�ำคัญอะไรบางอย่าง” โหน่ง a day หรือ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ำกัดกล่าว ก่ อ นหน้ า นี้ ว งศ์ ท นงสะสมชั่ ว โมงบิ น ของคนท�ำหนัง สือมา เกือบทศวรรษ ในช่วงปี  พ.ศ.2533-2541 เขาเคยเป็นกองบรรณาธิการ นิตยสาร Hi-Class และ Life & Decor ต่อด้วยบรรณาธิการบทความ นิตยสาร GM จนมาถึงจุดสูงสุดของอาชีพคนท�ำหนังสือกับการเป็น บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Trendy Man  และรองบรรณาธิการ บริหารนิตยสาร IMAGE แต่แล้วเขาก็เกิดก้อนความคิดที่สลัดเท่าไร ก็ไม่ยอมออก  ความคิดที่ว่ามีนิตยสารอยู่เล่มเดียวที่ชีวิตนี้เขาอยาก ท�ำให้มันส�ำเร็จ... และโมเดลในการก่อเกิดของนิตยสาร a day ก็สร้างต�ำนาน ที่วงการสิ่งพิมพ์ในยุคนั้นต้องอ้าปากค้างด้วยความไม่เชื่อว่าจะมีคน

21


อ่านลงทุนซื้อหุ้นของนิตยสาร (ที่พวกเขายังไม่เคยเห็น!) ตามค�ำเชื้อ เชิญของวงศ์ทนงจากจดหมายเชิญชวน เพื่อที่จะให้นิตยสารเล่มนี้ก่อ เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องเฝ้ารอธุรกิจโฆษณามารองรับ และภายในเวลา เพียงสามเดือนเขาก็ได้เงินมาท�ำหนังสือในฝันถึงหนึ่งล้านบาท “ตอน ที่ผมเริ่มท�ำ a day ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากหนักหนาสาหัสและส่งผล ต่อจิตใจ  ยอมรับว่ามีช่วงที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นในตัวเองไปบ้าง อาจจะท�ำให้หวั่นไหวไปบ้าง แต่ที่สุดแล้วผมเหมือนคนที่มีความฝัน รุนแรง และผมก็เชื่อมากๆ ว่ามันต้องเป็นไปได้ ความเชื่อที่ว่ามันไม่ ได้เป็นความเชื่อลอยๆ แต่ผมเชื่อข้อมูลพื้นฐานของความเป็นไปได้ว่า น่าจะประสบความส�ำเร็จ ตอนนั้นผมอาจจะเหนื่อยและท้อไปบ้าง แต่ ผมโคตรสู้ เพราะผมเชื่อว่ามันจะส�ำเร็จ และที่ส�ำคัญผมไม่ได้เชื่อคน เดียว คนที่เริ่มท�ำกับผมสี่ห้าคนเชื่อในทางเดียวกันหมด ฉะนั้นความ เชื่อนี่คือสิ่งส�ำคัญ ถ้าคุณเชื่ออะไรมากๆ และท�ำอย่างถ่องแท้ ผมว่า สิ่งนั้นในที่สุดมันจะเป็นรูปร่างได้ ในสังคมของเราการที่คุณท�ำสิ่งใหม่ขึ้นมานี่  มันเป็นเรื่องยาก อุปสรรคที่ต้องเจอคือความไม่เชื่อของผู้คน ซึ่งมีทั้งคนข้างนอกและ คนใกล้ตัว ความที่คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้หรอก อย่าไปท�ำ ไม่น่าไป เสี่ยงเลย มันเป็นลักษณะนิสัยอย่างนึงของคนไทย ตอนที่ผมท�ำ a day ผมท�ำท่ามกลางความไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ของผู้คน รวมทั้งคน ใกล้ตัวในครอบครัวของผมด้วย  ว่าวิธีการที่ผมจะร่วมชวนคนอ่านมา ลงขันท�ำหนังสือสักเล่มนึงที่เป็นหนังสือในฝัน  มันเป็นไปได้ยาก มัน จึงเป็นเรื่องที่หนักหนาในการท�ำสิ่งที่เราฝันท่ามกลางการขาดความ เชื่อของคนรอบข้าง  แต่ผมว่าที่สุดแล้วสิ่งที่ส�ำคัญก็คือใครจะเชื่อ อะไรก็แล้วแต่ ไม่ส�ำคัญเท่าเราเชื่อว่ามันจะเป็นไปได้ แรงบันดาลใจ

22


ส�ำคัญที่สุดมันอยู่ที่ตัวคนคนนั้นจะต้องรักษาและเชื่อมั่นให้มันน�ำทาง เราไปได้ในที่สุด” ย้อนกลับไปถึงเรื่องแรงบันดาลใจของเขากันสักนิด  เพราะ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่เขาได้ท�ำส�ำเร็จในวันนั้นจะไม่ถือก�ำเนิดได้เลยถ้าไม่มี สิ่งนี้  แต่จะว่าไปแล้วค�ำว่าแรงบันดาลใจนี่ก็เป็นเรื่องที่จับต้องไม่ได้ มันอาจจะโผล่ขึ้นมาในใจวันนี้แล้วก็หายไปอย่างไร้ร่องรอยในวันต่อ ไป วงศ์ทนงท�ำอย่างไรถึงจะค้นพบพลังส�ำคัญ เขาเล่าว่าในวัยเด็ก เขาชอบอ่านชีวประวัติบุคคลส�ำคัญของโลกและพี่น้องตระกูลไรต์ (Wrigth Brothers) ออร์วิลล์ และวิลเบอร์ ไรต์ ที่มุมานะสร้างต้นแบบ เครื่องบินล�ำแรกของโลกได้ส�ำเร็จเมื่อปี พ.ศ.1903 เขาทึ่งในความเป็น มนุษย์ธรรมดาที่ไม่มีปีกของสองพี่น้อง แต่สามารถน�ำความฝันที่ไม่มี ใครกล้าจินตนาการถึง มาลงมือท�ำจนเปลี่ยนโฉมหน้าโลกใบเดิมไป “ชีวิตของพี่น้องคู่นี้  ผมว่าเป็นชีวิตของคนที่เต็มไปด้วยฝัน และเป็นฝันแบบเหลือเชื่อว่าไม่น่าเป็นไปได้ คือความฝันที่ว่าวันหนึ่ง คนจะบินได้เหมือนนก  แล้วพวกเขาก็สร้างอากาศยานขึ้นมา  ตั้งแต่ รุ่นแรกที่ดูง่าย แต่พวกเขาไม่ยอมแพ้ ยังพัฒนามาเรื่อยๆ จนสิ่งที่เขา สร้างไว้ก็คือต้นแบบของเครื่องบินที่พัฒนามาจนทุกวันนี้” “แรงบันดาลใจไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างที่สามารถจับต้องได้ คน ที่ยังไม่เจอก็คงนึกไม่ออก ผมก็คล้ายกันๆ ผมเป็นเด็กไทยที่ไม่ค่อย เห็นสิ่งที่เรียกว่าแรงบันดาลใจ ต้องยอมรับว่าประเทศเราเรื่องที่เกี่ยว กับความคิดสร้างสรรค์  นักบุกเบิกคนที่ให้แรงบันดาลใจหรือไอดอล ค่อนข้างมีน้อย  ก็เลยเป็นเรื่องยากที่เด็กแบบเราจะกลายเป็นเด็กที่ เกิดแรงบันดาลใจขึ้นมา”

23


แต่ในวันนี้วงศ์ทนงน�ำพา a day มาเป็นผู้ให้แรงบันดาลใจ แด่คนหนุ่มสาวจ�ำนวนมากมาตลอดทศวรรษ  จนก่อเกิดกลุ่มคนที่ เป็นผลผลิตของนิตยสารเล็กๆ เล่มหนึ่ง สร้างชุมชนของผู้คนที่รัก  a day ขึ้นมาได้โดยไม่ต้องป่าวประกาศ ปักป้ายเชิญชวน และผู้เป็นต้น แบบของแรงบันดาลใจอย่างเขาก็มีวิธีที่จะบ่มเพาะตัวเองอยู่เสมอ ไม่ ให้พลังสร้างสรรค์เหือดแห้งไปตามกาลเวลา  “บอกตรงๆ  ว่าตอนท�ำ หนังสือไม่ได้นึกว่าจะสร้างสังคมหรือแนวทางอะไร  แค่ผมกับเพื่อน มีแนวทางที่รักในการท�ำหนังสือ และเราก็อยากท�ำหนังสือเล่มหนึ่งที่ เป็นความฝันของเราจริงๆ หนังสือที่เราเชื่อ เราชอบอะไรเราก็เทลงไป เลยในหนังสือเล่มนั้น สิ่งที่โชคดีที่สุดก็คือมีคนจ�ำนวนมากที่ชอบและ เชื่อเหมือนพวกเรา  ท�ำให้ a day ประสบความส�ำเร็จ สามารถสร้าง สังคม ชุมชน สร้างกลุ่มขึ้นมาได้ ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่ผมถือว่าเป็นก�ำไร มากๆ ผมเชื่อเจตนาของพวกเราอยู่เสมอคืออยากท�ำหนังสือที่ให้แรง บันดาลใจ  ให้ความคิดสร้างสรรค์กับผู้คนได้โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ซึ่งเราอยู่ในประเทศที่มีสิ่งเหล่านี้น้อย ก็คือความคิดสร้างสรรค์และ แรงบันดาลใจ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ผมยินดีว่า a day จะมีกลุ่มก้อน ที่เหนียวแน่นขนาดนี้และดูเหมือนจะขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ” “ผมท�ำอย่างเป็นธรรมชาติ  สิ่งที่ผมท�ำไม่ว่าจะเป็นงานหรือ ชีวิตมันกลืนเป็นเนื้อเดียวกันเลย ตัวตนของผมคุณสามารถอ่านจาก หนังสือที่ผมท�ำหรือรายการโทรทัศน์ที่ผมท�ำได้เลย  เพราะผมท�ำมัน ขึ้นมาจากความเชื่อ ความชอบที่แท้จริง ไม่ได้เฟค ไม่ได้ปรุงแต่ง ที่ ส�ำคัญมันเป็นเรื่องธรรมชาติที่ผมชอบคิดอยู่แล้ว ผมให้ความส�ำคัญ กับความคิดสร้างสรรค์ ผมชื่นชอบความเป็น journalist ความรู้กว้างๆ ถ้าคุณถามผมว่าสนใจอะไรบ้าง ผมตอบไม่ถูกเลย เพราะผมสนใจ ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ศิลปะ บันเทิง ผม

24


สนใจสถาปัตยกรรม เทคโนโลยี การ์ตูนก็ชอบ เป็นนักดูหนัง ฟังเพลง เพราะทั้งหมดที่เกิดขึ้นมันเกิดมาจากตัวตนเป็นแบบนี้อยู่แล้ว เพราะ ฉะนั้นการที่คุณเป็นแบบนี้อยู่แล้วมันท�ำให้คุณได้เจอกับตัวเองเสมอ สิ่งที่ผมลงทุนไปเยอะมาก   ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาคือการซื้อความ รู้ ความคิด ผมซื้อหนังสือเยอะมาก ดูหนังเยอะมาก ซื้อเพลง ผมท่อง อินเตอร์เน็ตแบบไม่ใช่คนทั่วไปท�ำ ผมใช้ social network ไม่ใช่แค่ เจ๊าะแจ๊ะกัน  ผมใช้ทุกอย่างอย่างมีจุดมุ่งหมาย  ก็คือการเติมตัวเอง เติมความคิดความอ่าน มุมมองใหม่ๆ อยู่เสมอ ผมมีหลักว่าผมจะไม่ ยอมปล่อยให้ตัวเองแบตหมด ซึ่งถ้าท�ำอย่างนั้นมันจะชาร์จขึ้นมายาก ผมวัดว่าตัวเองดร็อปลงรึเปล่า ไอเดีย ความกระตือรือร้น ความคิด สร้างสรรค์ แรงบันดาลใจหายไปรึเปล่า แล้วถ้าผมเห็นมันลดลงผม จะเติมมันทันที วิธีเติมก็มีหลายอย่าง อย่างที่บอกว่าผมเสพสื่อเยอะ มาก ผมเดินทาง การเดินทางเป็นวิธีเติมตัวเองที่ดีที่สุด ผมพูดคุยกับ ผู้คน มันท�ำให้ผมยังสามารถรักษาระดับความคิดสร้างสรรค์ในตัวได้ พอสมควร” อีกด้านหนึ่งของวงศ์ทนงก็คือการเป็นนักเขียน  แม้เขาจะ ชอบออกตัวว่าไม่ใช่นักเขียน แต่หนังสือหลายเล่มของเขาก็ขายดีจน พิมพ์ซ�้ำแล้วซ�้ำอีก ถ้าให้ยกตัวอย่างหนังสือที่น่าสนใจก็คือ ‘a day story : The Story of The Modern Rebel’ บันทึกว่าด้วยการก�ำเนิด ของนิตยสาร a day และ ‘Bearwish’ หนังสือที่บอกเล่าการเดินทาง ของชายหนุ่มคนหนึ่งกับตุ๊กตาหมีตัวใหญ่ที่แลกเปลี่ยนมิตรภาพและ ความคิดแก่กันมายาวนาน   ใจความของหนังสือคือการบอกกล่าว ผู้คนให้ลองออกมาใช้ชีวิตในแบบที่ใจปรารถนา

25


“ผมเชื่อเรื่องการลองใช้ชีวิต ผมพูดอยู่เสมอว่า ชีวิตมีไว้ให้ เราใช้มัน ไม่ใช่ให้มันใช้เรา ผมเชื่ออย่างนั้นจริงๆ ผมไม่ค่อยชอบชีวิต ที่เป็นแพตเทิร์น  ซึ่งถ้าคุณลองกลับไปพิจารณาดีๆ  จะเกิดค�ำถาม ว่าแพตเทิร์นแบบนี้ใครสร้าง  คนที่จะเรียกว่าประสบความส�ำเร็จใน สังคม ต้องเป็นคนดี เรียนเก่ง ได้ท�ำงานที่เงินเดือนสูงๆ นั้นคือความ ส�ำเร็จของคนคนหนึ่งเหรอ  ผมไม่เชื่อ  ผมคิดว่าสิ่งที่เรียกว่าความ ส�ำเร็จหรือยิ่งกว่านั้นคือความสุข มันมีรูปแบบที่จะไปถึงหลากหลาย มาก ผมไม่เชื่อสิ่งที่สังคมทุนนิยมพยายามบอกให้คนท�ำอย่างนี้ คุณ อาจจะไม่ต้องรวยมากแต่คุณอาจจะมีความสุขมากก็ได้  ในขณะ เดียวกันผมเห็นคนรวยมหาศาลไม่เห็นมีความสุขในชีวิต  ไม่เห็นมี ความสงบเลย  เพราะฉะนั้นสิ่งเดียวที่ผมพยายามพูดก็คือการลอง ผมพยายามบอกเด็กรุ่นใหม่ๆ  คนอายุมากเขาคงไม่ค่อยฟังผม  ผม มักจะบอกให้เด็กรุ่นใหม่ลองใช้ชีวิต คือเรายังไม่รู้หรอกว่าเราเหมาะ

26


กับอะไร เราฟิตพอดีกับอะไร เราควรจะมีวิถีชีวิตแบบไหน เรายังไม่รู้ หรอกถ้าเรายังไม่ได้ลองใช้ ฉะนั้นตอนนี้อายุน้อยๆ มันคงเป็นโอกาสดี มากที่คุณจะลองท�ำโน่นท�ำนี่ ลองพาตัวเองไปที่นี่ ลองใช้ชีวิตในสถาน ที่ที่แปลกออกไปจากการจองจ�ำมาทั้งชีวิต  ผมเชื่อว่ามันจะท�ำให้ คุณได้เห็นรูปแบบที่หลากหลายของการใช้ชีวิต  ที่สุดแล้วผมหวังว่า คุณจะเลือกสักแนวทางที่เหมาะกับชีวิตคุณ  อาจจะเป็นแนวทางใน กระแสหลักก็ได้  ผมไม่ได้บอกให้คุณมีชีวิตเหมือนผม  แต่ควรจะมี ชีวิตในแบบที่ตัวเองเชื่อและชอบ ผมมักจะบอกว่า อย่ายอมอยู่กับ ชีวิตชนิดที่คุณต้องทนอยู่กับมันไปทั้งชีวิต ผมเห็นคนจ�ำนวนมากที่มี ชีวิตแบบต้องทนอยู่ไป ถ้าไล่หาสาเหตุไปก็เพราะเขาไม่กล้าเลือก ถ้า ไล่ย้อนกลับไปอีกว่าท�ำไมเขาไม่กล้าเลือก ก็เพราะว่าเขาไม่กล้าแลก เพราะทุกความเชื่อเราต้องเอาอะไรสักอย่างไปแลกมันมา” ภายใต้บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ำกัดที่เริ่มต้นกับนิตยสาร a day ตอนนี้วงศ์ทนงได้แตกหน่อความคิดออกไปพร้อมกับคนรุ่นใหม่ที่เข้า มาช่วยกันสานต่อจนเกิดเป็นนิตยสารบันเทิงอย่าง ‘Hamburger’ ฟรี แมกกาซีนที่มาแรงกับ ‘a day bulletin’ และส�ำนักพิมพ์ ‘a book’ ที่ สร้างนักเขียนดังๆ อย่าง ‘นิ้วกลม’ มาแล้ว หรือรายการโทรทัศน์ที่ออน แอร์จนประสบความส�ำเร็จอย่าง  ‘The  Idol’  และที่ก�ำลังจะเปิดตัว กับสถานีวิทยุ ‘a day station’ ล่าสุดกับนิตยสารราย 3 เดือนที่ชื่อว่า ‘Do not right thing’ ที่ว่าด้วยเรื่องของ volunteer spirit พลังของจิต อาสา  ซึ่งงานนี้เองที่เชื่อมโยงไปสู่โครงการที่เขาลงมือท�ำทุกขั้นตอน กับ  ‘a day foundation’ มูลนิธิเพื่อสังคมท�ำหน้าที่เป็นแม่งานของ โครงการอาสาต่างๆ คิดโปรเจ็กต์ที่สร้างสรรค์ สนุกและเท่ไปพร้อมกัน เป็นวิธีใหม่ที่เขาจะใช้สื่อสารกับคนรุ่นนี้ที่โตมาพร้อมกับวิกฤตหลาย อย่างในประเทศ แต่หัวใจนั้นก็ยังพร้อมจะออกมาช่วยเหลือผู้คน

27


“ช่วยมนุษย์  ค�ำนี้อาจจะฟังดูย่ิงใหญ่แต่ผมก็คิดแบบนั้น จริงๆ ผมดีไซน์มูลนิธิให้เป็นเอเจนซี่ของงานอาสา แปลง่ายๆ คือที่ ผ่านมาผมมองจุดอ่อนขององค์กรการกุศลในประเทศอย่างหนึ่งว่า ขาดรูปแบบที่น่าสนใจ  รวมไปถึงคนที่ท�ำงานอาสาสมัครเพื่อสังคม ก่ อ นหน้ า นี้ มั น ดู เ ป็ น งานที่ เ หนื่ อ ยหน่ า ย  ต้ อ งเสีย สละมากมาย  ดู หม่นๆ แต่ผมเชื่อว่าวิธีการที่ดีจะสามารถชักจูงโน้มน้าวทุกคนได้  ถ้า ไปดูองค์กรการกุศลของต่างประเทศจะมีรูปแบบวิธีการที่หวือหวาน่า สนใจ การท�ำ a day foundation เป็นความฝันลึกๆ ของผมมานาน แล้ว แต่คนไม่ค่อยรู้ ผมท�ำแล้วรู้สึกมีความสุขมาก “ผมว่ามันเป็นกิจกรรมที่ดีมาก  ซึ่งที่ผ่านมาผมเห็นกระแส หนึ่งแล้วแฮปปี้มากเลยก็คือ volunteer ที่เกิดในสังคมมากมาย โดย เฉพาะในหมู่วัยรุ่น นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ผมนึกขอบคุณวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้น  เพราะต้องยอมรับว่าเวลาปกติความรู้สึกอยากช่วยเหลือ อย่างอาสาสมัครมันเกิดยาก แต่สิ่งเหล่านี้มันจะเกิดขึ้นเมื่อสังคมเกิด วิกฤต  เกิดความล�ำบาก  ฉะนั้นถ้าจะมีข้อดีจากวิกฤตที่ผ่านมาก็คือ ข้อนี้ และผมก็มุ่งหวังให้ a day foundation ท�ำไปได้นานๆ และมีคน มาท�ำต่อจากผมไปได้เรื่อยๆ อย่างน้อยมันก็เป็นองค์กรเล็กๆ ในสังคม ที่ช่วยเยียวยาบ�ำบัดแก้ไขปัญหาได้บ้างก็ยังดี”  ประธานของมูลนิธิ กล่าวด้วยรอยยิ้ม

28


รอยยิ้มที่มีความหมายว่าผู้ชายคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตเหมือนคน ปกติทั่วไปมาตลอด  ในวันหนึ่งวันที่แสนจะธรรมดาแต่เขาลุกขึ้นมา เปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการออกไปท้าทายโชคชะตา ด้วยความเชื่อ ด้วยความหวัง และเขาก็ได้รับสิ่งตอบแทนกลับมา จนถึงวันนี้ที่เขา พร้อมจะตอบแทนสังคมแล้ว นักศึกษามหาวิทยาลัยมักจะถามเขาอยู่เสมอว่า  หนูไม่รู้ว่า ตัวเองชอบอะไร ผมค้นหาตัวเองไม่เจอ ทุกครั้งวงศ์ทนงจะเก็บความ สงสัยไว้ในใจเพราะเขาคิดว่า  การค้นหาตัวเองนั้นง่ายกว่าการค้นหา คนอื่นตั้งเยอะ ถ้าไม่เชื่อลองหาตุ๊กตาสักตัวในบ้านมานั่งข้างๆ และลองพูด คุยกับมันดู เสียงของตุ๊กตาที่ส่งกลับมา  อาจน�ำพาคุณไปสู่ชีวิตที่อยาก ใช้ในวันที่เหลืออยู่

และในวันที่เหลืออยู่ของคุณจะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้

29


จเด็จ ก�ำจรเดช นักเขียนหนุ่มผู้ประสบภัยพิบัติแห่งจิตใจ “ถ้ า ไม่ เ จอเหตุ ก ารณ์ นี้ เ ราก็ คงจะกลายเป็นคนบ้าไปแล้ว” เป็นประโยคที่เปล่งด้วย ด้วยน�้ำเสียงสงบจากปากค�ำของ จเด็จ ก�ำจรเดช นักเขียนหนุ่มผู้ คว้ า รางวัล ซีไรต์ประจ�ำปี พ.ศ.  2554 กั บ หนั ง สื อ รวมเรื่ อ งสั้ น ชุด ‘แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่ง จิ บ กาแฟ’  ที่ ค ณะกรรมการลง คะแนนเสียงอย่างพร้อมเพรียง กั น ว่ า เป็ น งานเขี ย นที่ ส ะท้ อ น ประเด็ น อั น หลากหลายของ มนุษย์ในสังคมไทยร่วมสมัยได้ อย่างน่าติดตาม นักเขียนหนุ่มวัย 36 ปีจากสุราษฎร์ธานีกลายเป็น ที่รู้จักในชั่วข้ามคืน ทั้งที่ก่อนหน้า

30


นั้นเขายังเป็นแค่นักวาดภาพตามชายหาดที่เกาะสมุย  แถมยังเดิน ทางเข้าออกบนโลกของคนวิกลจริตอยู่เลยด้วยซ�้ำ จเด็จคือเด็กที่โตมากับการชอบขีดเขียนเป็นภาพมากกว่าจะ ท่องตัวหนังสือ พอโตขึ้นเขาตัดสินใจเข้าไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม จังหวัดนครศรีธรรมราช แม้จะต้องหางานท�ำไปด้วยเพราะ ค่าใช้จ่ายในการเรียนค่อนข้างสูงสวนทางกับสถานะทางบ้าน แต่เขา ก็ยอมเพื่อที่จะสานความฝันเล็กๆ ในการเป็นนักวาดการ์ตูนไทย แต่ ความเป็นจริงก็โหดร้ายไม่แพ้ผู้ร้ายในการ์ตูน ด้วยค่าตอบแทนที่น้อย มาก ประกอบกับความเหน็ดเหนื่อยของวงการการ์ตูนไทยในยุคนั้นที่ ผลิตอย่างเร่งรีบโดยไม่สามารถต่อยอดเป็นก�ำไรชีวิต “ตอนนั้นวาดการ์ตูนเหมือนท�ำทิ้งไปทุกวัน เรายังจ�ำไม่ได้เลย ว่าวาดเรื่องอะไรไปบ้าง  มันไม่เหมือนการเขียนเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ชิงรางวัล  พิมพ์ออกมาแล้วขายได้ก็พิมพ์ซ�้ำอีก  วงการการ์ตูนไทย (เล่มละ 1-5 บาท) มันไม่ได้มีแนวทางที่เปิดกว้าง กลุ่มคนอ่านก็จะ เป็นคนใช้แรงงานเสียส่วนใหญ่ เรื่องที่เขียนจึงค่อนข้างถูกจ�ำกัด เรา ก็อยากวาดการ์ตูนที่มันได้ข้อคิดอะไรบ้าง แต่โจทย์ที่ได้ก็คือให้เขียน เรื่องผี เรื่องที่เสพง่าย ไม่ต้องคิดมาก และผลตอบแทนที่ได้รับก็อยู่ ล�ำบาก สุดท้ายก็ต้องเลิกแม้จะอยากท�ำอยู่ก็ตาม” จเด็จบอกว่าในหัวของเขายังมีเรื่องราวที่อยากจะถ่ายทอด และวิธีคิดของนักวาดการ์ตูนยังใช้ได้ส�ำหรับการเปลี่ยนศาสตร์มา เป็นนักเขียนเรื่องสั้น

31


“ส่วนตัวผมเขียนบันทึกประจ�ำวัน เจออะไรก็เขียนเอาไว้ มัน เป็นพื้นฐานของการเล่าเรื่อง แต่ส�ำคัญที่ว่าตอนเราบันทึกเราคิดอะไร กับมัน และความคิดนั้นมันก็จะแตกตัว จนน�ำไปสู่การหาวิธีระบาย ออก และคนที่อ่านหนังสือเยอะๆ มันก็ต้องอยากเขียนอะไรสักอย่าง ออกมา เราจึงคิดว่าเขียนเรื่องสั้นแทนการเขียนการ์ตูนดีไหม มันอาจ เป็นทางออกที่ดีส�ำหรับการเล่าเรื่อง  เราจึงเริ่มศึกษาการเขียนเรื่องสั้น

32


สองสิ่งนี้ต่างกันแค่วิธีน�ำเสนอ  อย่างการเขียนเรื่องสั้นเวลา ที่เราจะอธิบายอะไรสักอย่าง เราก็มองอย่างคนวาดรูป คนปกติเวลา มองรูปทรงก็จะเห็นแสงและเงา แต่คนเรียนศิลปะจะมองทุกอย่าง เรา จะมองเห็นแสงสะท้อน เงาหลายชั้นที่ดูมีมิติ มองเห็นสีสันบรรยากาศ ซึ่งเราเอามาใช้ในงานเขียนได้  เราเปลี่ยนจากการวาดมาเป็นการ บรรยายด้วยตัวหนังสือแทน  ตอนที่วาดการ์ตูนเราก็มีสมุดจดบันทึก ไว้ส�ำหรับคิดพล็อตเรื่อง  แม้ว่าจะเลิกวาดไปแล้วแต่กระบวนการคิด แบบนี้ก็ยังอยู่” แต่หนทางของการเป็นนักเขียนอาชีพนั้นไม่เคยง่าย  แม้จะ เขียนเรื่องสั้นออกมาได้ มีบางเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์บ้าง แต่อีกหลาย เรื่องก็ยังไม่ได้มาตรฐาน  ความมั่นใจในการจะเป็นนักเขียนของจเด็จ เริ่มสั่นคลอน และจุดนี้เองที่อาการเจ็บป่วยอย่างไม่รู้สาเหตุก่อตัวขึ้น “ตอนนั้นเราท้อนะ แต่ไม่ได้ท้อเรื่องงานเขียนอย่างเดียว มันมี เรื่องการใช้ชีวิตด้วย เรื่องของอาชีพ เพราะตอนนั้นงานหลักของเราคือ การวาดรูปที่เกาะสมุย รายได้มันก็ดีนะ แต่มันไม่มั่นคง ถ้าวันไหนไม่ ได้ท�ำก็ไม่ได้เงิน มันยังเหมือนงานที่ใช้แรงงานอยู่ เหมือนกับงานราย วัน มันก็มีความเหนื่อย ความไม่มั่นคง และเวลานั้นเราก็มีครอบครัว มีลูก  มีความกังวลเกี่ยวกับอนาคตว่าต่อไปจะสามารถหาเลี้ยงพวก เขาได้หรือเปล่า มันเกิดความเครียดจนต้องเข้าโรงพยาบาล” จเด็จสะท้อนเรื่องนี้ไว้ในเรื่องสั้น  ‘หนุมานเหยียบเมือง’  ว่า ด้วยอาการป่วยของคนที่คิดว่าตัวเองก�ำลังจะเป็นบ้าหรือว่ามีเทพเจ้า ก�ำลังจะมาเข้าทรง

33


“ความเครียดมันท�ำให้ร่างกายป่วยไข้โดยที่เราไม่รู้ตัว บางที รู้สึกเหมือนแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เจ็บตรงนั้นตรงนี้ ปวดเกร็งที่ แขนและขา หมอก็บอกว่าไม่เป็นอะไร เพราะตรวจเลือด ตรวจหัวใจ ตรวจหมดทุกอย่างแล้วก็ไม่เจออะไร  หมอวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นโรค เครียด ไปหาหมอด้วยอาการเดิมหลายครั้ง จนพยาบาลรู้แล้วว่าเรา ไม่ได้เป็นอะไร แค่เครียดมาเท่านั้น มาแค่ได้เจอหมอ ท�ำเป็นว่าก�ำลัง รักษาเราอยู่ เราก็รู้สึกปลอดภัยขึ้น เรารู้ตัวเองนะแต่บังคับอะไรไม่ ได้ ต้องนอนตลอดเวลา พอนั่งแล้วก็รู้สึกว่าโลกมันหมุนโคลงเคลง หมอก็บอกว่าเป็นโรคจิตเภท วิธีการรักษาคือต้องกินยา แล้วเราจะ กลายเป็นคนบ้าจริงๆ หรือเปล่า ยาที่เขาให้เป็นยาคลายเครียด กิน แล้วจะท�ำอะไรช้าลง เขาคงไม่ต้องการให้เราเคลื่อนไหวมาก เพราะ ความเครียดมันท�ำให้หัวใจสูบฉีดเร็ว ซึ่งภาพแบบนั้นก็คือภาพของคน บ้า แต่เราไม่อยากเป็นแบบนั้น ญาติพี่น้องจึงพาเราไปหาร่างทรง เขาคิดว่าเราโดนของหรือ มีองค์มาลงหรือเปล่า ก็เข้าทางพวกร่างทรงอีก เขาบอกว่าอาการแบบ นี้น่าจะมีเทพมาลงนะ จะต้องรับบายศรี ท�ำพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งท�ำให้ เราต้องเลือกว่าเราจะเชื่อหรือไม่เชื่อ  ถ้าเราไม่เชื่อหมอที่บอกว่าเรา เป็นโรคจิตเภท พอร่างทรงบอกว่าเรามีองค์ เราก็ไม่เชื่ออีก  แล้วเราจะ ไปหาสาเหตุมาจากไหน มันก็เกิดความว้าวุ่นต่อ จนเราอาจจะกลาย เป็นบ้าจริงๆ ตกลงจะเป็นเทพหรือจะเป็นคนบ้า ผมขอเป็นเทพดีกว่า (หัวเราะ) ก็แค่นุ่งขาวห่มขาว มีพานธูปเทียนดอกไม้ ไหว้พระทุกวัน เสาร์และวันอังคาร ต้องนั่งสมาธิด้วย เราเชื่อเพราะอยากจะรู้ด้วยว่า เทพมีจริงหรือเปล่า เวลาที่คนบอกว่าตัวเองมีเทพเจ้ามาลงนี่มันเป็น ยังไง ถ้าเทพมีจริงก็อยากให้มาลงที่เรา เราอยากรู้ว่าเวลาตอนที่เทพ

34


มาลงนั้นเราจะจ�ำอะไรได้ไหม เวลาเราคุยกับร่างทรงเราก็พยายามดู ว่าท�ำไมน�้ำเสียงเขาเปลี่ยนไปแบบนี้  มันเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงรึเปล่า อย่างเสียงผู้หญิงเปลี่ยนไปเป็นผู้ชายเลยหรือเปล่า มันก็ยังไม่ใช่แบบ นั้น มันเป็นการดัดเสียง ในทางจิตเภทก็มีค�ำอธิบายอาการของคนเข้า ทรงอยู่เหมือนกัน” แต่ความเชื่อเรื่องนี้ก็ไม่ได้ช่วยให้อาการของเขาหายขาด การนั่งสมาธิช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่เหมือนว่าโชคชะตาต้องการจะ ปลุกจเด็จด้วยวิธีที่แรงกว่าเดิม เหตุการณ์นั้นถูกบันทึกไว้ในฐานะภัย พิบัติที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547

“ตอนนั้นเราย้ายจากเกาะสมุยกลับมาอยู่บ้านกับแม่และพี่ ชายที่นครศรีธรรมราช เพราะเราไม่สบาย งานไม่ได้ท�ำ อนาคตไม่มี ต้องเลี้ยงลูกอยู่กับบ้าน แฟนต้องออกไปท�ำงาน พอกลับมาอยู่บ้าน ช่วงปลายปี (2547) ภาคใต้ก็เจอกับเหตุการณ์คลื่นสึนามิ หลานสาว แท้ๆ ของเราไปท�ำงานที่โรงแรมในเขาหลัก (จังหวัดพังงา) ก่อนหน้า

35


นั้นหลานสาวเพิ่งจะโทรมาบอกว่าจะกลับมาเยี่ยมบ้านช่วงปีใหม่ แต่ ก็กลับมาไม่ได้เพราะติดงาน แล้วพอเกิดเรื่องขึ้น เราก็ติดต่อหลานไม่ ได้อีกเลย ทางบ้านของเราจัดคนไปค้นหา  เดินหาศพที่เกลื่อนกลาด หาไม่เจอก็จัดคนไปเพิ่ม  จัดคนไปเพิ่มอีกก็ยังหาไม่เจอ  หาอยู่เป็น เดือน หมดเงินไปเยอะ ซึ่งเราก็ไปช่วยค้นหา ระหว่างที่ตามหาหลาน สาว เราก็เจอแต่คนตาย ทุกที่มีแต่ศพ ความจริงเราอาจจะเจอศพ แล้วก็ได้ แต่เราจ�ำหลานไม่ได้ คนตายแค่วันเดียวแต่สภาพศพ ณ จุด นั้นก็อาจท�ำให้เราสับสน มันเป็นเรื่องน่าเศร้าที่เห็นคนตายมากขนาด นั้น และความกลัวตายจากตอนที่ไม่สบายก็หวนกลับมา ไม่ได้กลัว เจ็บปวดนะ  แต่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้นหลังจากวันที่ตายไป แล้ว เราจะหันกลับมาดูคนข้างหลังได้ไหม มันสับสน และพอมาเห็น คนตายเยอะๆ จึงคิดได้ว่าความตายมันเกิดขึ้นง่าย เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุก เวลา จู่ๆ เหตุการณ์อย่างสึนามิก็เกิดขึ้น คนทุกระดับก็ตายเหมือนกัน หมด เราจึงคิดว่าความตายไม่ได้น่ากลัวถึงขั้นต้องปฏิเสธมัน ถ้ามัน จะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของเรา  หากปล่อยวางได้มันก็น่าจะมีความ สุขใช่ไหม ถ้าคุณรู้ตัวว่าก�ำลังจะตายภายในหนึ่งวัน ถ้าคุณมัวแต่ กังวลว่าจะตาย เวลาที่เหลือมันก็ไม่มีความสุข อย่าไปคิดถึงตอนตาย เพราะเราท�ำอะไรไม่ได้ มาคิดว่าในหนึ่งวันที่เหลือเราควรจะท�ำอะไรดี กว่า

36


หลั ง จากเหตุ ก ารณ์ นั้ น อาการป่ ว ยของเราก็ ยั ง ไม่ ไ ด้ ห าย ไปเสียทีเดียว  แต่เราไม่ได้กังวลอะไรกับมันแล้ว  บางทีอาจจะเป็น แค่อาการที่ทุกคนก็เป็นกัน สักพักเราก็ปล่อยมันไป มองว่ามันเป็น อาการปกติ ไม่ได้ป่วยไข้อะไร ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตเรา ถ้าเราไม่ได้ไปเจอเหตุการณ์ที่มีคนตายมากขนาดนั้น  เราก็คงจมอยู่ กับความคิดเดิม และก็คงเป็นบ้าไปจริงๆ ถูกจับมัดขังอยู่ในห้อง โดน ฉีดยาทุกวัน” จากภาพมหกรรมแห่งความตาย  การสูญเสีย  การกอบกู้ สภาพจิตใจของตัวเองของชายหนุ่มจึงก่อเกิดแรงบันดาลใจในการ กลับมาเขียนเรื่องสั้นอีกครั้ง  จนน�ำไปสู่หนังสือเล่มแรกในชีวิตพร้อม กับรางวัลใหญ่ในฐานะนักเขียนเพื่อชีวิตที่ไม่ยึดติดกับกรอบเดิม “ผมมองว่าวรรณกรรมเพื่อชีวิตเป็นการแสดงความเห็นอก เห็นใจ  มองสังคมแทนที่จะมองแต่เรื่องตัวเองอย่างเดียว  จะเขียน เรื่องแบบไหนก็ได้ เขียนถึงสังคมไหนก็ได้ แต่ควรสื่อถึงผู้อื่นด้วย ไม่ ได้เขียนถึงแค่มุมมองเฉพาะตน อาจจะเขียนจากความรู้สึกที่เป็นผล กระทบของคนใดคนหนึ่ง แต่ผลกระทบนั้นก็เป็นผลมาจากสังคมรอบ ข้างซึ่งเป็นการพูดถึงสภาพสังคมนั่นเอง  ผมมองว่านี่ก็คือเพื่อชีวิต แต่ไม่ใช่เพื่อชีวิตในแบบที่จะต้องเป็นสังคมนิยม  หรือเล่าเรื่องชนชั้น เท่านั้น” นักเขียนรางวัลซีไรต์ยังกล่าวถึงเรื่องภัยน�้ำท่วมในปีนี้ที่อาจ จะมีความน่ากลัวมากกว่านั้นซ่อนอยู่ “ภัยพิบัติคือเรื่องน�้ำท่วมใช่ไหม  แต่ผมมองว่าหลังจากนั้น

37 37


คือภัยจริงๆ มากกว่า เพราะคนเริ่มกักตุนสินค้า เริ่มเห็นแก่ตัว ถ้าเกิด สถานการณ์วิกฤตว่าน�้ำมันไม่ลดจริงๆ ก็อาจจะเกิดการปล้น การก่อ อาชญากรรม เราถามตัวเองว่าเราจะคิดแบบนั้นเหรอ ซื้อของไปกักตุน ไว้ เอาตัวเรารอด แต่เพื่อนเราหรือคนอื่นก็ต้องกินก็ต้องใช้เหมือนกัน ถ้ามันวิกฤตจริงๆ จนถึงขั้นที่ว่าวาระสุดท้ายของมนุษยชาติ มันก็จะ เข้าสู่ดินแดนที่กฎหมายไม่มีผล ไฟฟ้าไม่มีใช้ เข้าสู่ความหวาดกลัว เข้าสู่ยุคมืดที่ผู้คนเห็นแก่ตัว ผมมองเรื่องของคนที่บริจาคของ ส่วนหนึ่งมันก็ดี แต่ปัญหา ที่ แ ท้ จ ริ ง ไม่ ไ ด้ อ ยู ่ ที่ จ� ำ นวนของบริ จ าคแต่ อ ยู ่ ที่ ก ารช่ ว ยเหลื อ อื่ น ๆ มากกว่า ไม่ว่ากี่ครั้งต่อกี่ครั้งก็ยังเหมือนเดิม เหมือนตอนที่น�้ำท่วม ภาคใต้ ของบริจาคมันเป็นการให้ที่เกินความจ�ำเป็น และก็ไม่ใช่ของ ที่จ�ำเป็นจริงๆ มันเป็นการให้ที่ส�ำเร็จรูป นึกอะไรไม่ออกก็ซื้อของไป บริจาค พอซื้อของไปแจก การจัดการกว่าของจะไปถึงมือคนก็ยุ่งยาก อีก และความช่วยเหลืออื่นๆ ที่จ�ำเป็นก็ไม่มี มันเป็นเรื่องของคนยุค นี้หรือเปล่าที่มองอะไรส�ำเร็จรูปกันไปหมดแล้ว จะช่วยโลกสักหน่อย คุณก็ใช้ถุงผ้า ซึ่งไม่รู้ว่าช่วยโลกได้จริงหรือเปล่า แต่มันเป็นความรู้สึก ที่ว่าเราได้ท�ำแล้ว เราได้ท�ำความดี เป็นยุคของต่อมความดีโต อยาก จะเป็นคนดีกันทั้งนั้น  แต่ไม่รู้จะท�ำอย่างไรนอกจากซื้อของส�ำเร็จรูป คือเราก็ไม่ได้อยากมองเรื่องนี้ในแง่ร้ายเกินไปนะ แต่เราคงไม่อยาก ไปท�ำอะไรแบบนั้น” คลื่นความคิดของนักเขียนหนุ่มยังคงดูสงบ  เหมือนบุคลิก ท่าทางของเขา และนั่นก็ยิ่งก็ท�ำให้เรื่องราวที่ได้ยินจากจเด็จ ก�ำจรเดช เปี่ยมไปด้วยพลังที่พร้อมจะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคม จุดประกาย ความคิดให้คนที่ท้อแท้

และเขาจะท�ำมันด้วยการเขียนหนังสือ

38


ถ้าคุณรู้ตัวว่าก�ำลังจะตายภายในหนึ่งวัน ถ้าคุณมัวแต่กังวลว่าจะตาย เวลาที่เหลือมันก็ไม่มีความสุข อย่าไปคิดถึงตอนตาย เพราะเราท�ำอะไรไม่ได้ มาคิดว่าในหนึ่งวันที่เหลือ เราควรจะท�ำอะไรดีกว่า

39


ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย

“บริหารโอกาสของชีวิต  ท�ำธุรกิจอย่ามุ่งหวังแต่ก�ำไร”

“พวกฝรั่งมักจะถามตัวเองว่า What do you want? What do you want to be?  Who  are  you?  แต่คนไทยไม่ใช่คนแบบนั้น   เราใช้ชีวิตตามโอกาส  คนไทยไม่ใช่คนโตตามกลยุทธ์  แต่จะโตตาม โอกาส โอกาสมาถึงก็ไขว่คว้า” มุมมองแรกอันแหลมคมของหนุ่มใหญ่ที่สะดุดความคิดได้ ชะงัดจาก  ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย  นักวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาด ในเมืองไทยที่เราได้เห็นหน้าค่าตาบ่อยที่สุดคนหนึ่ง  จากรายการ โทรทัศน์ ‘SME ตีแตก’ ของบริษัท  เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ที่ ประชันไอเดียในการท�ำธุรกิจของคนมีฝัน โดยต้องผ่านด่านกรรมการ

40


ถึ ง สามคนกว่ า จะได้ เ งิ น ล้ า นไปท� ำ ทุ น   และธั น ยวั ช ร์ ก็ คื อ หนึ่ ง ใน กรรมการที่โด่งดัง  ด้วยลีลาดุดัน  ถึงลูกถึงคน  จนได้รับฉายาว่าขา โหด แต่นั่นก็เป็นเพียงบทบาทหนึ่งในการท�ำหน้าที่ของเขาบนหน้าจอ โทรทัศน์ ที่การแข่งขันตัดสินกันตรงปลายนิ้วบนรีโมตของผู้ชม ธั น ยวั ช ร์ เ ป็ น อะไรมาแล้ ว หลายอย่ า ง  เขาเป็ น ที่ ป รึ ก ษา ทางการตลาด นักบรรยาย อาจารย์พิเศษทางด้านการตลาด นักจัด รายการวิทยุ Business Connection ทางคลื่นความคิด FM 96.50 เขียนหนังสือขายดีมาแล้วหลายเล่มอย่าง ‘Sigve Way’ หนังสือที่รวม บทสัมภาษณ์ของซิกเว่ เบรคเก้ อดีตซีอีโอของดีแทค เป็นคอลัมนิสต์ มาอย่างยาวนานให้นิตยสาร GM เคยเป็นก�ำลังหลักให้กับนิตยสาร ทางการตลาดอย่าง Thaicoon ในปี  พ.ศ.2542 และเคยเขียนคอลัมน์ ลงในนิตยสาร BrandAge มานานนับสิบปี ไม่ว่าเขาจะไปจับงาน ชิ้นไหน  งานทุกด้านที่เขาท�ำนั้นคือการใช้องค์ความรู้เดียวกันในการ จัดการ “ผมว่าตัวเองเป็นคนเชี่ยวชาญด้านการตลาดผ่านการเป็น สื่อมวลชน  เหมือนนักข่าวต่างประเทศที่คุยกับคนเยอะมากๆ  แล้ว เขียนเกี่ยวกับเรื่อง ‘Corporatization’ เหมือน Malcolm Gladwell เขา เป็นนักข่าวที่นิวยอร์ก ก็เขียนหนังสือชื่อ ‘The Tipping Point (The Tipping Point: How Little Things Can Make a Big Difference)’ เหมือนกับบรรณาธิการนิตยสาร ‘Wired’ คือ Chris Anderson เขียน หนังสือชื่อ ‘The Long Tail (The Long Tail: Why the Future of Business Is Selling Less of More)’ เป็น expert ทางด้าน journalism คือ คุยกับคน แล้วสร้างองค์ความรู้ จัดการกับองค์ความรู้นั้น”

41


“เราให้ค�ำปรึกษามีคนจ้างเราไหม เราเป็นพิธีกรมีคนจ้างเรา ไหม เราเป็นอาจารย์มีคนจ้างเราไหม ตรงนี้ถือว่าเราท�ำธุรกิจ ไม่ใช่ ว่าให้ผมไปขายก๋วยเตี๋ยว ไม่ใช่ให้ผมไปเปิดร้านอาหาร ไม่ใช่ให้ผม ไปขายหมูทอด มันก็ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญเฉพาะของเรา เราเป็นพวก Knowledge Management จริงๆ แล้วการท�ำอะไรก็ตาม อย่าไปท�ำ ตามคนอื่น ท�ำตามคนอื่นก็เป็นที่สอง ฉะนั้นเวลาท�ำอะไร กลยุทธ์คือ ต้องหา Unique ของตัวเอง หา Position ของตัวเอง จุดที่คุณยืนอยู่ แล้วใครก็เข้ามาไม่ได้ ถ้าคุณเข้าไปในจุดของคนอื่น คุณก็เป็นคนที่ สอง ซึ่งมันก็ไม่ควร”

42


“ผมชอบกลยุทธ์มากกว่าการตลาด  ผมมองในเชิงกลยุทธ์ การตลาดมากกว่า การตลาดจ๋าคือ 4P (Product Price Place Promotion) แต่ว่าผมมอง Strategy Marketing มากกว่า ผมมองว่าคุณ จะท�ำยังไงถ้าเกิดเรื่องแบบนี้ อย่างเช่นถ้าน�้ำท่วมคุณจะท�ำยังไง แผน ของคุณจะท�ำยังไง อย่างบริษัทโตชิบาก่อนหน้าน�้ำท่วมเป็นยังไง ตอน น�้ำท่วมเป็นยังไง หลังน�้ำท่วมเป็นยังไง โตชิบาจะแก้ปัญหายังไง หรือ ถ้าคุณเป็นบริษัทฮอนด้า  คุณจะแก้เกมยังไง  ผมจะคิดเชิงแบบนี้ มากกว่า” ธันยวัชร์กล่าวถึงบทบาทของตัวเองในการท�ำงาน ความสนใจในเรื่องการตลาดของธันยวัชร์เริ่มต้นมาจากพี่ ชายที่อายุห่างกันราว 20 ปี พี่ชายของเขาเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ สะสมหนังสือไว้มาก  มรดกทางความคิดจึงสืบทอดมาถึงน้องชาย หนังสือหลากหลายแนว นิยายของพนมเทียน นิยายจีนก�ำลังภายใน อย่างมังกรหยก “จนต่อมาที่บ้านขายหนังสือ ก็รักการอ่านหนังสือ มี ความสนใจ และการได้คุยกับคนเก่งๆ ก็เป็นเหตุผลที่ท�ำให้อยากเป็น ผู้สื่อข่าว เราอยากคุยกับคนเก่งเยอะๆ เพราะผมชอบอ่านหนังสือ ผม ก็รักความรู้ ฉะนั้นความรู้ต้องมาจากคนเก่ง หนังสือมันเป็นความรู้ที่ ต้องผ่านคนอื่นเขียน  แต่ถ้าเกิดเราอยากจะรู้อะไรโดยที่ไม่ต้องผ่าน คนอื่นมา เราต้องไปหาเขาเอง แล้วจะมีอาชีพอะไรที่ท�ำให้เราไปคุย กับเขาเองได้ ก็คืออาชีพสื่อมวลชนในเชิงธุรกิจ ไม่ใช่สื่อมวลชนทั่วไป ให้เป็นนักข่าวอาชญากรรม เราก็ไม่กล้าไปคุยกับต�ำรวจ อาชญากร หรือนักการเมืองเราก็ไม่อยากคุย เราอยากคุยกับนักธุรกิจ เพราะนัก ธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อน เป็นผู้ประกอบการ เป็นคนที่มีไอเดีย มีพลังที่ จะเปลี่ยนสังคม”

43


ในปัจจุบันถ้าพูดถึงกลยุทธ์การตลาดในด้านการสร้างแรง บันดาลใจนั้นมักจะใช้ตัว CEO ในการเข้ามาผลักดันแบรนด์นั้นด้วย ตัวเองอย่างคุณตัน ภาสกรนที กับชาเขียวอิชิตัน และน�้ำดื่มผลไม้ Double Drink ที่ได้รับความนิยมสูง ธันยวัชร์เองก็มีมุมมองต่อเรื่องนี้ “การสร้างแบรนด์ในระยะหลัง ถ้า CEO มีความแตกต่างต้อง ใช้ CEO สร้างแบรนด์ควบคู่ไปกับแบรนด์นั้น ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะว่าถ้า CEO มีปัญหา เช่นเสียชีวิตไปอย่างสตีฟ จ็อบส์ มันก็จะมี ปัญหาตามมา เพราะว่าแบรนด์ผูกติดกับ CEO แต่ในแง่ดีก็คือ CEO เป็นสิ่งที่มีชีวิต เพราะฉะนั้นการ move ท�ำให้แบรนด์มันสดใหม่เช่น สตีฟ จ็อบส์ เป็นคนที่มี Innovation Extreme มาก เป็นคนท�ำอะไร ต้อง Perfectionist มันก็ท�ำให้แบรนด์เป็นไปแบบนั้นด้วย หรือคุณตัน เป็นคนที่ไม่ได้เรียนสูง สร้างเนื้อสร้างตัวมาจากการไม่มีอะไรเลย แล้ว พอรวยก็ท�ำ CSR (Corporate Social Responsibility) ช่วยเหลือพี่ น้องประชาชน ช่วยเหลือสังคม ก็ได้ใจคนไป ในขณะที่คนอื่นสร้างตัว เองขึ้นมาแต่ไม่มีลีลาแบบนี้ มันก็จะรู้สึกว่าคุณไม่ได้ท�ำอะไร เพราะ ฉะนั้น CEO ต้องเป็นผู้น�ำที่สร้างแรงบันดาลใจ Leading by Example ว่าเป็นตัวอย่างที่ดี และ CEO แบบนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อ CEO คนอื่น เช่นคุณตันท�ำเพื่อประชาชน แล้วแบรนด์อื่นไม่ท�ำเหรอ?

44


ธันยวัชร์บอกว่านักธุรกิจที่จะเป็นแรงบันดาลใจได้ นักธุรกิจ คนนั้นจะต้องเป็น Social Entrepreneur หมายความว่าเป็นผู้ประกอบ การที่ไม่ได้ให้ความสนใจกับการสร้างก�ำไรอย่างเดียว ต้องคิดถึงเรื่อง การเปลี่ยนสังคมด้วย ท�ำยังไงที่จะท�ำให้สังคมนี้เข้มแข็ง ให้คนในชาติ สามารถสู้รบปรบมือได้ แม้ธรรมชาติของนักธุรกิจจะต้องคิดในการหา ก�ำไรกับสังคม แต่เมื่อสังคมท�ำให้คุณรวย คุณจะช่วยสังคมกลับคืน อย่างไร ท�ำดีได้โดยไม่ต้องหวั่นเกรงในเรื่องความจริงใจ “ค�ำถามคือ ถ้าท�ำดีแล้วคิดว่าสร้างภาพจะไปกลัวอะไร ถ้า สร้างภาพด้วยการท�ำความดี  ก็ดีกว่าสร้างภาพด้วยการไม่ท�ำอะไร เลย คนที่ไม่ท�ำอะไรเลยก็ไม่เคยผิด ท�ำอะไรสักอย่างมันก็ต้องผิด หรือ คุณจะไม่อยากผิดด้วยการไม่ท�ำอะไรเลย ถ้าถามว่าชีวิตนี้ไม่ท�ำอะไร เลยแล้วจะเกิดมาท�ำไม สังคมไม่ได้ย�่ำแย่เพราะมีคนท�ำดีเยอะนะ แต่ สังคมจะย�่ำแย่เพราะมีคนท�ำชั่วเยอะมากกว่า”  ชายหนุ่มยกตัวอย่าง บิล เกตส์ เจ้าของไมโครซอฟต์ โฮวาร์ด ชูทส์ ผู้สร้างแบรนด์กาแฟ สตาร์บัคส์ กระทั่งมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ซีอีโอหนุ่มผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก ต่าง ก็ทุ่มเงินจ�ำนวนมหาศาลเพื่อช่วยเหลือองค์กรทางสังคม พูดง่ายๆ ว่า ประเทศชาติเป็นแบบนี้ จะรอนักการเมืองมาช่วยประชาชนก็คงไม่ทัน แล้ว คนที่เป็น CEO ต้องลุกขึ้นมาท�ำอะไรสักอย่างด้วยตัวเอง “เพราะว่าธุรกิจสมัยก่อนเห็นผลก�ำไรเยอะ  ท�ำให้คนมอง ว่าการท�ำธุรกิจคือการชอบเอาเปรียบคนอื่น  นักธุรกิจเป็นปีศาจร้าย นักธุรกิจเลยต้องรับผิดชอบต่อสังคม ยกตัวอย่างเช่น บ้านพนักงาน น�้ำท่วม  ญาติพี่น้องก�ำลังแย่  คุณจะให้เขามาท�ำงานทุกวันได้ไหม คุณไม่มีเงินชดเชยหรือช่วยเหลือ แต่กลับไล่เขาออกไปเลย อันนี้ก็คือ ไม่รับผิดชอบต่อพนักงาน   ถามว่าถ้าคุณปล่อยสารพิษออกมาแล้ว

45


คุณไม่มีการชดเชยชาวบ้าน ไม่มีเงินช่วย จะเอาแต่ก�ำไร อันนี้ไม่ได้ เพราะว่าภาคประชาชนจะส�ำคัญมากในอนาคตจากนี้ไป ไม่ใช่ดูแล แต่ Investor คุณต้องดูแล Stakeholder พนักงาน Supplier ชุมชน แม้กระทั่งสื่อมวลชน คุณต้องบาลานซ์สี่ห้าตัวนี้ คุณถึงจะอยู่ได้อย่าง ยั่งยืน อย่างเรื่องคุณตันเป็นแรงบันดาลใจในแง่ท่ีว่าคนไม่ต้องเรียน สูง ไม่ต้องรูปหล่อพ่อรวย ไม่ต้องมีตระกูลใหญ่ ขอให้มุมานะอย่าง ชาญฉลาด รอจังหวะโอกาสมา เมื่อฟ้าปิดจงสุ่มเตรียมความพร้อม รอและเพียรพยายามสะสมองค์ความรู้ สะสมทรัพยากร สะสมปัจจัย บางอย่างให้ส�ำเร็จไว้ พอฟ้าเปิดจะได้ทะยานเป็นมังกรฟ้า” ดู เ หมื อ นว่ า ธั น ยวั ช ร์ ก� ำ ลั ง จะเปิ ด เผยถึ ง เคล็ ด ลั บ ในการ ประสบความส�ำเร็จ “เราจะดูความส�ำเร็จของคนอื่นต้องดูทั้งต้นน�้ำ กลางน�้ำ และ ปลายน�้ำ ไม่ใช่ดูวันที่เขาประสบความส�ำเร็จวันเดียวก็เสร็จ แต่ส่วน อื่นไม่ดู  นี่ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง  และคุณควรพยายามเตรียมความ พร้อม  หาปัจจัยความส�ำเร็จในสิ่งที่คุณประสงค์ในวิชาชีพของคุณ แล้วรอโอกาส การเตรียมความพร้อมนั้นคือการวางแผน เมื่อโอกาส มาถึงจะได้ Execution คนบางคนโอกาสมา แต่ไม่พร้อมโอกาสก็ลอย ไปไกล คนบางคนไม่มีโอกาสเลยแต่มีความพร้อม ก็สร้างโอกาสขึ้น มาเองได้เหมือนคุณตัน”

46


นับจากนาทีนี้ คุณเริ่มจะมองเห็นโอกาสในชีวิตของตัวเองขึ้นมาบ้างไหม แล้วถ้าวันไหนคุณสมหวังกับโอกาสแล้ว อย่าลืมตอบแทน สังคมด้วย   เพราะนี่คือเทรนด์ทางธุรกิจในอนาคตจาก  ธันยวัชร์  ไชยตระกูลชัย “ถ้าคุณท�ำได้ ผมให้แตก!”

ถ้าสร้างภาพด้วยการท�ำความดี ก็ดีกว่า สร้างภาพด้วยการไม่ท�ำอะไรเลย คนที่ไม่ ท�ำอะไรเลยก็ไม่เคยผิด ท�ำอะไรสักอย่าง มันก็ต้องผิด หรือคุณจะไม่อยากผิดด้วย การไม่ท�ำอะไรเลย ถ้าถามว่าชีวิตนี้ไม่ท�ำ อะไรเลยแล้วจะเกิดมาท�ำไม

47 47


ซี - ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาล เจ้าหญิงผู้สร้างปราสาทด้วยตัวเอง

‘เจ้ า หญิ ง แห่ ง วงการ ไอที’  คือฉายาของสาวสวยคนนี้ ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ คนส่ ว นใหญ่ จ ะคิ ด ว่ า เพราะรู ป ร่ า งหน้ า ตาที่ ดี   การถู ก ยกยอว่าเป็นเจ้าหญิงนั้นจึงไม่ใช่ เรื่องแปลก  แต่นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น กั บ วงการบั น เทิ ง   ทว่ า ในวงการ เทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว  ค�ำว่า เจ้าหญิงคงไม่ได้มอบให้ใครง่ายๆ  ถ้าเธอคนนั้นไม่ได้มีความรู้ความ สามารถหรือความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีเลย  แต่สิ่งที่ฉัตรปวีณ์ ลงมือท�ำไปได้ไกลกว่านั้น  ภาพของเธอได้กลายเป็นตัวแทนของสาว สวยยุ ค ใหม่ ที่ ส นใจแสวงหาความรู ้   และเฉลี ย วฉลาดจนเด็ ก สาว หลายคนอยากโตขึ้นมาเพื่อเป็นอย่างเธอ

48


และที่ส�ำคัญคือเจ้าหญิงแบบเธอสร้างปราสาทด้วยสองมือ ของตนเอง ไม่ได้รอเจ้าชายหรือกษัตริย์ที่ไหนมามอบให้ ใบหน้าสวยๆ อาจน�ำพาโอกาสมาเบื้องหน้าก็จริง แต่หนทางต่อไปนั้นเหนื่อยหนัก กว่าที่ผู้หญิงสวยๆ หลายคนจะจินตนาการถึง ฉัตรปวีณ์ หรือที่หน้าจอโทรทัศน์และเว็บไซต์ต่างๆ รู้จักเธอ ในนามว่า ‘น้องซี’ มาหลายปีแล้ว เธอไม่ได้โด่งดังในฐานะดารา แม้ ด้วยหน้าตาของเธอนั้นจะเป็นนางเอกละครได้ไม่ยาก  แถมยังแจ้ง เกิดจากเวทีประกวดมิสไทยแลนด์เวิลด์ แต่ด้วยการศึกษาจากคณะ นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวารสารสนเทศและสื่อ สิ่งพิมพ์ที่บ่มเพาะความสนใจในด้านของการเป็นผู้สื่อข่าว การได้น�ำ เสนอข้อมูลความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เธอหลงใหลมานาน ตอนนี้ถ้าให้นับผลงานของเธอ ทั้งงานพิธีกร พรีเซ็นเตอร์ ผู้ด�ำเนิน รายการข่าว ฯลฯ สิบนิ้วบนมือก็คงไม่พอที่จะใช้นับ เอาเป็นว่าเท่าที่ คนดูจะจดจ�ำเธอได้บ่อยๆ ก็คืองานพิธีกรในรายการ 168 ชั่วโมง และ เป็นผู้ประกาศข่าวในช่วง Weekly C3 ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 รวม ถึงการเปิดเว็บไซต์ของตัวเธอเองเพื่อน�ำเสนอเนื้อหาด้านไอทีที่ไม่ เหมือนใครในชื่อ ceemeagain.com “ซีค้นพบว่าการเรียนสายข่าวมา  กับการท�ำงานพิธีกรมา เรื่อยๆ จนรู้สึกว่าตัวเราเป็นพิธีกรที่ไม่ใช่แบบทั่วๆ  ไป เริ่มรู้สึกว่าตัว เองเป็นมืออาชีพมากขึ้น เพราะเราฝึกจริงจังกับตัวเอง พอพบว่าเรา เป็นพิธีกรสายไอทีได้ จึงเริ่มหาข้อมูลเยอะขึ้น แล้วก็อยากท�ำรายการ ของเราเอง

49


“พิธีกรมันไม่ใช่แค่รู้เรื่องที่เราจะพูด แต่ว่ามันต้องมีบางอย่าง ที่เป็นแนวความคิด เป็นสิ่งที่เราจะต้องบอกคนอยู่เสมอ เหมือนเรื่อง ไอทีบางทีซีรู้สึกว่ามันฟุ่มเฟือยมาก ถ้าซีพูดว่าสินค้าตัวนั้นดีมาก ซีก็ จะได้เงินจากลูกค้า แต่อีกมุมหนึ่งคนดูจะได้อะไร ซียังถือว่างานที่เรา ท�ำยังมีจรรยาบรรณวิชาชีพอยู่พอสมควร นักข่าวสายอาชีพคือ watch dog ที่จะคอยบอกคนว่าของอันนี้ดี อันนี้ไม่ดียังไง เพราะของทุกชิ้น ไม่มีอะไรเพอร์เฟ็กต์ไปทั้งหมด” ตารางงานแต่ละวันของฉัตรปวีณ์ในตอนนี้เชื่อว่าแน่นขนัด ไม่แพ้คิวของนักการเมืองด้วยซ�้ำ ชีวิตปกติในแบบที่สาวสวยคนอื่นได้ ใช้กันจึงแทบไม่เกิดขึ้นกับเธอ แต่เธอก็ไม่ได้เสียดายมันสักนิด “เรา พอใจที่เราเป็นแบบนี้ จะรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ท�ำอะไรมากกว่า เราอยู่ ในแวดวงนี้ซีคิดว่ามันเป็นการใช้ชีวิตที่คุ้มค่ากับตัวเราเอง...” ด้วยงานของเธอจึงเลี่ยงไม่ได้ที่เธอจะต้องน�ำตัวเองเข้าสู่โลก แห่งโซเชียลเน็ตเวิร์ก  เพื่อน�ำข้อมูลและประสบการณ์ในการใช้มา บอกเล่าแก่ผู้ชม  แต่โลกใบใหม่นั้นก็ไม่เคยเพลามือกับตัวตนของผู้ใช้ อยู่แล้ว โดยเฉพาะกับคนที่มีชื่อเสียง แม้จะได้ชื่อว่าเป็นเจ้าหญิงไอที แต่ฉัตรปวีณ์ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้นส�ำหรับเสียงวิจารณ์ในด้านลบ “คนดั ง ในโลกออนไลน์ กั บ คนดั ง ในที วี   มั น คนละเรื่ อ งกั น เลย เพราะคนดังในทีวีไม่จ�ำเป็นว่าเขาต้องเป็นที่นิยมในโลกออนไลน์ แต่ตัวซีอยู่ในโลกออนไลน์ซึ่งมันชัดเจนมาก  มันชัดเจนสุดๆ...บางที ท�ำให้เราคิดว่าไม่ต้องเข้ามาชมอย่างเดียวก็ได้ มาดูคนที่เขาต่อว่าเรา ว่าเป็นเรื่องอะไร  ซึ่งต้องใจกว้างพอสมควร  เราเคยเจอคนที่เป็นนัก วิชาการ เขียนเรื่องที่มีความรู้ให้กับคนเยอะมาก สุดท้ายก็มีคนมาว่า เขาอยู่ดี มันเป็นโลกเสรีของการแสดงความคิดเห็น แต่ว่าสุดท้ายสิ่ง

50


ที่ซีตอบก็คือค�ำพูดเดียวกับที่อาจารย์ของเราเคยบอกว่า  เรียนจบไป แล้วอย่าท�ำตัวเป็นมลภาวะของโลก โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ใน เมื่อสมัยนี้ทุกคนเป็นนักข่าวได้หมด  เจออะไรก็ถ่ายรูปแล้วทวิตให้ ประชาชนชาวโลกได้รู้ มันอาจจะมีผลต่อคนก็ได้ เรื่องเล็กอาจกลาย เป็นเรื่องใหญ่ก็ได้  ท�ำให้รู้สึกว่าคนรับข่าวต้องมีวิจารณญาณ  คน โพสต์ก็ต้องมีความรับผิดชอบ ถ้าวันหนึ่งคุณคิดว่าคุณเป็นบลอกเกอร์ แล้วอยากเป็นนักข่าวที่มีผลต่อผู้คน คุณก็ต้องคิดดีกับผู้คนพอสมควร ติเพื่อก่อย่อมเกิดผล แต่ถ้าไม่ได้ติเพื่อก่อ ซีเชื่อว่าเราก็รับเฉพาะสิ่ง ที่เราคิดว่ามันดี เปิดใจรับแต่อย่าไปซีเรียสอะไรกับมันมาก ถ้าเราไม่ อ่านก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าเราอ่านแล้วหมกมุ่นกับความรู้สึกแย่มากๆ มันหดหู่นะ” ก�ำลังใจจากครอบครัวที่อบอุ่น  จากคุณแม่ที่เป็นยิ่งกว่าผู้ ดูแล และคมความคิดจากการอ่านหนังสือที่ช่วยให้เธอมีพลังก้าวไป ต่อในเป้าหมายที่วางไว้ แม้ tablet ในมือจะมีอยู่หลายเครื่อง แต่เธอก็ ขอวางมันลงเพื่อที่จะสัมผัสกับการอ่านความรู้บนหนังสือจริงๆ “วันที่เราเป็นที่รู้จักหรือมีชื่อเสียง วันที่สปอตไลท์ส่องเข้ามา เป็นวันที่รู้สึกแย่น้อยที่สุด เพราะเราก�ำลังมีความสุข แต่ว่าช่วงเวลา ที่ผ่านมาไม่ได้มีอะไรง่าย การสร้างความน่าเชื่อถือกับคน หรือตอน ที่งานต่างๆ ของเรายังไม่ได้เป็นที่ยอมรับ เหมือนว่าก�ำลังปลูกต้นไม้ แล้วค่อยๆ ดูมันโต ไม่ใช่เร่งปุ๋ยให้โต มันก็อาจจะตายเร็ว ซีโชคดีที่มี คุณแม่ มีครอบครัวคอยผลักดันตลอดเวลาให้พร้อมจะสู้ต่อ นอกจาก เรื่องนี้เวลาที่เราอยู่กับตัวเองเยอะก็คือตอนอ่านหนังสือ ช่วงที่ไม่ได้ อ่านหนังสือที่ให้แรงบันดาลใจเลยมันหดหู่ เหมือนเราไม่มีที่พึ่ง เขาถึง บอกว่าการอ่านหนังสือเหมือนเราคุยกับนักปราชญ์ กว่าหนังสือเล่ม

51


หนึ่งจะออกมาได้มันผ่านกระบวนการคิด เยอะมาก กว่าเขาจะเขียนค�ำพูดสละสลวย กว่าจะเรียบเรียงความคิดออกมาได้ ซีรู้สึก ว่ า ช่ ว งที่ อ ่ า นหนั ง สื อ ความคิ ด ของเราจะ เฉียบคมมาก” ถ้ามีใครสักคนสร้างไทม์แมชชีน บนโลกใบนี้ได้จริง เธอก็ไม่คิดจะย้อนเวลา กลั บ ไปเพื่ อ เป็ น นางเอกละครหลั ง ข่ า ว เพราะเธอเลื อ กแล้ ว ว่ า ทางสายนี้ นั้ น คื อ ความสุขของชีวิต “ใช้เวลาห้าปี กว่าที่เราจะมาเป็น ที่รู้จัก เราต้องอดทนและมีจุดยืน ถามว่า ท�ำไมไม่เป็นนางเอกละครทั้งที่มีโอกาส  คือ หลังจากที่ซีตัดสินใจแล้วว่าจะมาทางสาย พิธีกร พอปักหมุดตัวเองแล้วหลังจากนั้น งานที่มันไม่ใช่ หรืองานที่อาจท�ำลายภาพลักษณ์ในงานที่เรารัก ซึ่งมีแรงจูงใจหลาย อย่างมาก เช่นเรื่องรายได้ แต่ภาพลักษณ์ ในงานของเราถ้าไปแล้วมันไปไม่กลับ เรา ก็ต้องปฏิเสธ เหมือนที่สตีฟ จ็อบส์เคยพูด ไว้ว่าการจะเป็นคนที่ประสบความส�ำเร็จ ไม่ใช่คนที่ท�ำทุกอย่าง แต่เป็นคนที่รู้จักพูด ว่าไม่กับสิ่งที่มันไม่ใช่ความฝันของเรา ซีก็ พยายามท�ำอย่างนั้น”

52


มาถึงตรงนี้คงไม่ต้องบอกว่าต�ำนานของโลกยุคใหม่ที่เพิ่ง เสียชีวิตไปนั้นมีอิทธิพลต่อแรงบันดาลใจของเธอมาก  “เขาเป็นหนึ่ง ในแรงบันดาลใจของซี ไม่ว่าค�ำพูดอะไร ความคิดของเขา เขาเป็นคน ที่ท�ำเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลกจริงๆ  อุปกรณ์ท่ีคนต้องการใช้ไม่ใช่รุ่น ใหม่ไฮเทคที่สุด แต่เป็นอุปกรณ์ที่ท�ำให้ชีวิตของคนเรามีความสุขที่สุด เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นเหตุผลที่คนต่อแถวกันซื้อมือถือเครื่องละสอง หมื่น แพงกว่าเครื่องซักผ้าอีก แต่ท�ำไมคนถึงซื้อ ถึงต้องใช้มันล่ะ” ความฝันของเจ้าหญิงคนนี้ยังคงด�ำเนินต่อไป และถ้าฝันของ เธอจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครได้นั้นเธอขอน้อมรับด้วยค�ำขอบคุณ หากมีเพียงสองสิ่งที่เธออยากจะบอกแก่นักล่าฝันรุ่นใหม่ว่า

หนึ่ง จงอย่าเป็นมลภาวะทางสังคม สอง เป็นตัวของตัวเองนั้นดีที่สุดแล้ว

รายงานความฝันโดย ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์

53


ภาณุมาศ ทองธนากุล การลาออกจากชีวิต เพื่อเริ่มต้นอีกชีวิต

ในชี วิ ต ของคนส่ ว นใหญ่ แล้ ว   อย่ า งน้ อ ยย่ อ มมี สั ก ครั้ ง หนึ่ ง ที่ ไ ด้ ตั ด สิ น ใจ  ‘ลาออก’ จาก สั ง กั ด ในสั ง คมด้ว ยเจตจ�ำนงของ ตนเอง  เช่ น   นั ก ศึ ก ษาลาออก จากมหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ มุ ่ ง หน้ า สู ่ มหาวิทยาลัยชีวิต คนหนุ่มสาวลา ออกจากงานประจ�ำเพื่อหันมาท�ำ ธุรกิจในฝัน หรือคนสูงวัยที่ขอรีไทร์ ตั ว เองจากต� ำแหน่ง การงานที่กิน เวลามาค่อนชีวิต แต่ยังมีการลาออกอีกประเภทหนึ่งที่มีสาเหตุพิเศษไปกว่า นั้น  เพราะเป็นการลาออกเพื่อมาสร้างวงจรชีวิตของตนให้สมดุล หันมาเป็นมิตรกับสุขภาพกายและใจ  และใช้ชีวิตในเส้นทางที่ไม่ ประมาท  เป็ น เส้ น ทางที่ ไ ตร่ ต รองแล้ ว ว่ า คงเสี ย ดายไปตลอดลม หายใจหากไม่ได้ท�ำ นี่คือเรื่องราวอันเป็นที่มาของหนังสือ ‘การลาออก ครั้งสุดท้าย’ ของผู้ชายที่ชื่อ ภาณุมาศ ทองธนากุล ซึ่งเอาวัยหนุ่มของ ตนเป็นเดิมพันในการพิสูจน์

54


“เราเคยมีความฝันหนึ่งก้อน ลองนึกภาพดู ลองจินตนาการ ภาพที่ไม่ว่าคุณจะท�ำงานหรือไม่ก็ตาม  แต่จะมีเงินหมื่นนึงเข้าบัญชี ให้คุณพอที่จะใช้จ่ายไม่ขาดมือในแต่ละเดือน  ถามว่าดีไหม เราเป็น คนใช้เงินประหยัดอยู่แล้ว ถ้าอยู่แต่กับบ้าน-เดือนหนึ่งเงินแค่สองพัน บาทก็อยู่ได้ เราจะได้ไม่ต้องเอาเวลาไปท�ำสิ่งที่ไม่ได้อยากท�ำ อยาก เดินทางก็ได้  เอาเวลาไปเขียนหนังสือที่ตัวเองอยากเขียน  มันเป็น ความฝัน เป็นการเปิดโลกใหม่ด้วยค�ำถามสั้นๆ  ว่าถ้ามีเงินเข้าทุก เดือนโดยไม่ว่าจะท�ำงานหรือไม่ก็ตาม  มันจะเป็นอย่างไร  ส�ำหรับ เรามันคงวิเศษมาก  แล้วเราจะท�ำยังไงให้ไปถึงจุดนั้น  จากการอ่าน หนังสือเกี่ยวกับการลงทุน  ถ้ามีเงินก้อนใหญ่เพียงพอจะไปลงทุนใน การลงทุนที่ปลอดภัย มันจะก่อเกิดความฝันนี้ได้จริง ตอนที่ตัดสินใจ ลาออกครั้งสุดท้าย แม้ตอนนั้นเงินเก็บมีไม่เยอะเท่าเป้าที่ตั้งไว้ แต่ มันมีเพียงพอที่จะน�ำไปลงทุนแล้วมีเงินเข้ามาทุกเดือน ทีนี้แม้สิ่งที่เรา รักมันจะไม่ก่อให้เกิดรายได้อะไรมากมาย และถึงบางช่วงเราจะไม่มี งานท�ำ ยังไงเราจะอยู่ได้ ไม่อดตายแน่” ความคิดแรกเริ่มที่ท้าทาย สูตรความส�ำเร็จของผู้คน  แต่ก็เป็นความสุ่มเสี่ยงอันคุ้มค่าส�ำหรับ ภาณุมาศ จากเด็กชายบุคลิกเรียบร้อย  เติบโตมาในครอบครัวชนชั้น กลางที่ยังต้องท�ำงานหนักเพื่อความอยู่รอด  และครอบครัวทองธนากุลก็พบเจอวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2526 เขาเห็นภาพ ของแม่ที่เป็นเพียงแม่บ้านแต่ต้องออกมาช่วยพ่อท�ำงานข้างนอก ความรู้สึกในตอนนั้นของเด็กชายภาณุมาศจึงเริ่มสัมผัสถึงค�ำถามที่ ใหญ่เกินวัยของตน ว่าอะไรคือความแน่นอนของชีวิต “มันจึงเกิดค�ำ ถามหลายๆ อย่างในเรื่องความไม่แน่นอน บ้านเคยมีฐานะในระดับ

55


หนึ่ง เคยมีบางช่วงที่เกือบรวยด้วยนะ เคยมีของเล่น มีอะไรต่างๆ เข้า มาในชีวิตที่ท�ำให้มีความสุข แต่บางช่วงก็ตกต�่ำมากๆ ชีวิตสวิงมาก” เมื่อเด็กชายกลายเป็นเด็กหนุ่ม ภาณุมาศก็เหมือนวัยรุ่นอีก พันล้านคนในโลกที่อยากได้รับการยอมรับ อยากเป็นที่สนใจจากเพศ ตรงข้าม  ในวัยมัธยมฯ  เขาเริ่มเล่นดนตรีเพื่อหวังเสียงกรี๊ดจากสาวๆ ในมหาวิทยาลัยเขาคบเพื่อนที่ท�ำตัวเท่ๆ ใช้ชีวิตห่ามๆ ในแบบที่เขา คิดว่าสังคมของคนหนุ่มสาวยอมรับ แต่เมื่อได้เรียนหนังสือมากขึ้น ได้ เปิดหูเปิดตากับกิจกรรมทางการศึกษาหลายครั้ง ได้พบเจอนักศึกษา ต่างมหาวิทยาลัยที่พูดคุยกันในเรื่องความรู้ ท�ำให้ชายหนุ่มรู้ว่าโลก วัยรุ่นที่ได้รับการยอมรับนั้นไม่ได้มีแค่ผู้คนที่ดื่มเหล้า  เที่ยวกลางคืน แล้วกลับมาเรียนตอนเช้าได้ทันเวลาเท่านั้น  แต่ยังมีโลกของคนที่รัก ตัวหนังสือและการเดินทางอยู่อีกด้วย  ภาณุมาศเริ่มเห็นภาพของตัว เองชัดขึ้นอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิต “ช่วงนั้นนึกว่ามันมีทางเลือกแค่สองทาง หนึ่งถ้าไม่กลับมา ร้องไห้กับหมอน ว่าท�ำไมวะ ท�ำไมเรามันกระจอก ก็อาจต้องเลือกอีก ทางคือต้องไปกินเหล้าแข่งกับเขา ท�ำตัวเหลวไหลแข่งกับเขา แต่พอ ไปเจอผู้คนในโลกข้างนอก มันจบเลย มันมีทางเลือกที่สาม ผมได้ เจอคนที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักด�ำน�้ำ เรียนเศรษฐศาสตร์เหมือนเรานี่ แหละ  แต่จบแล้วจะไปเป็นครูสอนด�ำน�้ำที่เกาะเต่า เฮ้ย ผู้หญิงได้ยิน เรื่องนี้แล้วสนใจเขาด้วยนะ ท�ำไมเจ๋งจังเลย ผมได้เจอบางคนชอบ อ่านหนังสือ ได้ไปเป็นพิธีกรหน้าห้องแล้วพูดภาษาอังกฤษดีมาก เก่ง จังเลย เราก็เกิดแรงบันดาลใจว่า เฮ้ย...เราไม่จ�ำเป็นต้องเป็นคนที่เคย เป็นก่อนหน้านี้ไปตลอดชีวิต ถ้ามีคนบอกว่าอย่างมึงก็มีชีวิตได้แค่นี้ ก็ อย่าไปเชื่อ”

56


หลั ง จากค้ น หาตั ว เองในเบื้ อ งต้ น ได้ ส� ำเร็ จ ชายหนุ ่ ม ก็ มุ ่ ง ชี วิ ต มาในงานสายนั ก ข่ า ว  เริ่ ม ต้ น จากการเป็ น มดงานรุ ่ น ใหม่ ใ น หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ได้เรียนรู้วิชาเศรษฐกิจ ภาษาอังกฤษ และ การเมืองมาอย่างเข้มข้นจากสนธิ  ลิ้มทองกุล จากนั้นหนึ่งปีเขาก็ ลาออกไปท� ำ งานที่ นิ ต ยสาร BrandAge หนั ง สื อ ชั้ น น� ำ เรื่ อ งธุ ร กิ จ ที่มาแรงมากในยุคนั้น ได้คนเก่งอย่าง ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย  มา ช่ ว ยเคี่ ย วเข็ ญ ฝี มื อ จนเห็ น ผล  และเขาก็ ย ้ ายมาเปิดโลกใหม่ด้า น วรรณกรรมกับ ศุ บุญเลี้ยง  นักเขียนและสมาชิกคนส�ำคัญของวง เฉลียง ก่อนที่เขาจะไปร่วมงานกับนิตยสาร a day หนังสือแห่งแรง บันดาลใจของคนหนุ่มสาวยุคใหม่  ได้เรียนรู้วิธีการแปรความฝันเป็น ตัวหนังสือจากวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์  เรียกได้ว่าชีวิตภาณุมาศนั้น น่าอิจฉามากที่ได้ครูชั้นดีหลายคนในสนามแห่งชีวิตการท�ำงาน  แต่ สุดท้ายชายหนุ่มก็เลือกท�ำในสิ่งที่เขาถนัด นั่นก็คือการลาออก หากครั้งนี้เป็นการลาออกที่ส�ำคัญที่สุด “สิ่งที่มาประกอบการตัดสินใจในครั้งนี้มันคงมีหลายเรื่อง... มีอยู่ครั้งหนึ่งหลังจากออกไปท�ำข่าวตามปกติ เราก็วูบไป ล้มทั้งยืน โดยไม่มีสาเหตุ ช่วงนั้นท�ำงานหนัก นอนดึกและตื่นเช้ามาก รับงาน เยอะ ท�ำบทสัมภาษณ์ เขียนคอลัมน์ เงินได้เยอะมากจริงๆ ช่วงเวลา นั้นเป็นช่วงเก็บเงิน งานพิธีกร งานเสวนา ท�ำงานสารพัด เดือนหนึ่งได้ เงินเยอะมาก แต่พอวูบเข้าโรงพยาบาลโดยไม่มีใครที่บริษัทมาเหลียว แล  เฮ้ย ไม่ได้แล้วว่ะ หาเงินแล้วป่วยแบบนี้  คนล�ำบากก็คือพ่อแม่ ของเรา  คนที่อยู่ในโรงพยาบาลตอนนั้นคือพ่อแม่ เราท�ำเพื่อเขาแต่ เขาต้องมานั่งเฝ้าเราข้างเตียง ค่ารักษาพยาบาลก็แพง คิดไปว่าถ้า เราตายก็จบเลย เรายังมีสิ่งที่อยากท�ำอีกหลายอย่าง ไม่ต้องท�ำงาน

57


เยอะก็ได้ ไม่ต้องท�ำงานที่ไม่อยากท�ำมากก็ได้ เวลาเหลือไม่เยอะ หรอกในชีวิต ควรท�ำสิ่งที่อยากท�ำ แต่ว่าเราไม่ได้เป็นคนแก่เกษียณ ที่หยุดท�ำงานเลย เพียงแต่เราลดค่าตอบแทนตัวเองลง หันไปท�ำงาน ที่ค่าตอบแทนน้อยหน่อยแต่อิ่มเอิบใจมากขึ้น  คุ้มค่ามากขึ้น ไม่ต้อง ท�ำงานที่ให้เงินตั้งหลายหมื่นก็ได้ ไปท�ำงานบางอย่างที่ให้เงินแค่หมื่น เดียวแต่ว่าชุ่มชื่นหัวใจ อาจจะส่งผลดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต  มี เวลาอยู่กับพ่อแม่ ผมอยู่โรงเรียนประจ�ำมาตั้งแต่เด็กๆ ไม่เคยได้เจอ พ่อแม่เหมือนคนอื่น เดือนหนึ่งเจอแค่สองครั้ง ดังนั้นเราท�ำงานอยู่ กับบ้านก็ได้ ท�ำเฉพาะงานที่อยากท�ำ เพราะพ่อแม่อยู่กับเราไม่นาน ท�ำเวลาในแต่ละวันให้มีความหมายดีกว่า ท�ำกิจกรรมเพื่อสังคมก็ได้ ถ้าอยากท�ำ สอนหนังสือเด็กก็สนุกดี ค่าแรงน้อยมากเมื่อเทียบกับ สมัยตอนท�ำงานที่ได้เงินเยอะๆ พอลาออกมาอยู่กับบ้านแล้วเราหาย ป่วยโรคภูมิแพ้เป็นปลิดทิ้งเลย”

58


จากจุ ด เริ่ ม ต้ น นี้ เ องที่ ห ลายคนเมื่ อ ได้ ฟ ั ง แนวทางของ ภาณุ ม าศแล้ ว เกิ ด ความสนใจเป็ น อย่ า งมาก  จนเขาคิ ด ว่ า น่ า จะ รวบรวมกลั่นกรองประสบการณ์ส�ำคัญให้ออกมาเป็นหนังสือสักเล่ม และ  ‘การลาออกครั้งสุดท้าย’  ก็ถือก�ำเนิดขึ้นบนแผงหนังสือที่เต็มไป ด้วยหนังสือปลุกปลอบให้ก�ำลังใจชีวิต หรือหนังสือที่พูดถึงการจัดการ ชีวิตที่มีอยู่มากมาย แต่ ‘การลาออกครั้งสุดท้าย’ ก็แจ้งเกิดอย่าง สง่างามด้วยความแปลกใหม่ของเนื้อหาที่จับต้องได้ และตัวตนของ ภาณุมาศ ทองธนากุล  ก็ถูกค้นพบอีกครั้งจากผู้อ่านที่ต้องการแรง บันดาลใจชั้นดี “หลังจากลาออกบ่อยๆ  เราจะค้นพบว่ามันเป็นวิธีคิดที่ผิด ช่วงแรกมันเหมือนได้อิสรภาพ  ทุกครั้งที่ลาออกเราดีใจทุกครั้งเลย นะ ถึงแม้จะเป็นภาวะความยากล�ำบากในการเขียนจดหมายลาออก ขอลาออกกับหัวหน้าที่รักเราและมีความคาดหวังกับเรา  แต่พอได้ ลาออกแล้วในส่วนลึกเราจะรู้สึกว่าชนะ เป็นอิสระแล้ว  ได้เลือกทาง ชีวิตตัวเองใหม่ เราเพิ่งมาค้นพบว่าความดีใจเล็กๆ เหล่านี้เมื่อเอามา ประกอบกัน ถ้าไม่ระวังให้ดี มันจะกลายเป็นภาพจิ๊กซอว์ของความ ล้มเหลวขนาดใหญ่ เรารู้สึกว่าถ้าต้องชนะอะไรสักอย่างเราอยากชนะชีวิต  เรา เคยสัมภาษณ์นักธุรกิจหรือคนมีชื่อเสียงระดับประเทศ  ระหว่างไป ท�ำงานก็มีภาพฝันว่าอยากเป็นแบบนี้บ้าง  แต่พอหลังจากผ่านการ ลาออกบ่อยๆ ในช่วงระหว่างทบทวนการลาออก การตั้งค�ำถามว่าจะ ชนะชีวิตได้ยังไง เราพบว่ามันไม่ได้มีด้านเดียว บางทีเราเห็นแค่ด้าน ประสบความส�ำเร็จของเขา แล้วมันก็มีตัวอย่างที่ส�ำเร็จในด้านอาชีพ การงาน แต่กลับป่วยหนัก ครอบครัวล�ำบาก ประสบความส�ำเร็จเรื่อง

59


การเงินหากล้มเหลวเรื่องชีวิตครอบครัว มันไม่ได้มีด้านเดียว เราคิด ว่าในช่วงเวลาการลาออกหลายๆ ครั้ง มานั่งสรุปดูก็รู้สึกว่าเหมือนการ ตามหารูปแบบที่มีโอกาสชนะชีวิตได้ในทุกมิติที่ตั้งไว้ ไม่ใช่แค่ส�ำเร็จ เรื่องการงานหรือทุ่มเวลาให้กับการพัฒนาศักยภาพตัวเอง ขัดเกลา ตัวเองให้เป็นคนเก่งขึ้น หาเงินได้เยอะขึ้นแค่นั้น มันไม่ใช่ มันควรจะ เป็นรูปแบบงานที่มีเวลาให้ครอบครัว มันควรจะเป็นคนที่มีศักยภาพ เรื่องการบริหารและจัดการด้านการเงินด้วย “เงินก็มีนิสัย แค่คุณรู้จักมัน คุณเลี้ยงมันให้เชื่องได้ ท�ำให้ มันเติบโตได้ คนอื่นส�ำเร็จแค่ด้านอาชีพ ประสบความส�ำเร็จด้านการ งาน แต่ล้มเหลวด้านการเงิน ด้านสุขภาพ ล้มเหลวทางด้านครอบครัว เพราะเขาไม่รู้นิสัยของสิ่งที่เขาต้องควบคุม  อย่างครอบครัวมันก็มี กติกา มีกฎของมัน คุณฝืนมันไม่ได้ ถ้าคุณไม่เคยใส่ใจ ไม่เคยให้ เกียรติกัน คุณคบกันแล้วนอกใจก็เท่ากับฝ่าฝืนกติกาของมัน จึงมี โอกาสล้มเหลวได้ง่ายๆ เงินก็เหมือนกัน มันไม่มีทางเหลือถ้าคุณหา ได้น้อยกว่าที่ใช้ไป ถ้าคุณไม่เพิ่มขีดจ�ำกัด เพิ่มความสามารถให้ตัว เอง มันก็อยู่ในวังวนนี้ไปเรื่อยๆ” ภาณุมาศชอบเชียร์มวยรอง ก็เหมือนภาพชีวิตของเขาเองที่ เปรียบเสมือนมวยรองมาตลอด ไม่ได้เก่งที่สุด ไม่ได้มีทักษะที่ดีหรือ พรสวรรค์อันฉกาจ แต่สู้ด้วยความขยันและไม่ย่อท้อ ส�ำคัญที่สุดคือ ใจสู้ เขาเสียน�้ำตาตอนที่ สมจิตร จงจอหอ สามารถคว้าเหรียญทอง มวยสากลสมัครเล่นรุ่นฟลายเวทพิกัดไม่เกิน 51 กิโลกรัมมาครอง ได้ ในกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่ประเทศจีน ภาณุมาศบอกว่าที่เสียน�้ำตา เป็นเพราะประวัติของสมจิตรที่ไม่ย่อท้อ  แม้ฝีมืออาจจะด้อยกว่า นักมวยเหรียญทองโอลิมปิกอย่างสมรักษ์ ค�ำสิงห์ หรือมนัส บุญจ�ำนงค์ แต่ความพยายามของเขากับโอกาสครั้งสุดท้ายก็แสดงให้โลก

60


เห็นแล้วว่าถ้าคุณทุ่มเทชีวิตลงไปในสิ่งที่คุณท�ำ  โลกใบนี้ก็ยังมีรางวัล ตอบแทนให้เสมอ “มันมีทางส�ำหรับคนแบบนี้ คุณอาจจะไม่ได้เป็นคนอัจฉริยะ ในวงการวิชาชีพ แต่ถ้าคุณขยันพอ คุณก็อาจจะได้เหรียญไปเช่นกัน ก่อนที่หน้าต่างแห่งโอกาสจะปิด  แต่นั่นแปลว่าคุณต้องแลกหยาด เหงื่อทุกหยดของคุณ เดิมพันด้วยชีวิตของคุณจริงๆ และเราก็ก�ำลังท�ำ ทุกวันนี้ให้เป็นอย่างนั้น” นี่คือการลาออกครั้งสุดท้ายของ ภาณุมาศ ทองธนากุล ท้าทาย

แต่ ชี วิต ของชายหนุ ่ ม คนเดิ ม ก� ำ ลั ง เริ่ม ต้น ขึ้น อีก ครั้ง อย่า ง

“เราเคยนึกว่าถ้ามีเงินมากพอเราก็จะชนะ แต่เราก็จะเจอ โจทย์ ใ หม่ อ ย่ า งเรื่ อ งคุ ณ ค่ า ของตั ว เอง ว่ า ดู ไ ร้ คุ ณ ค่ า เหมื อ นคน เกษียณ ต้องเผชิญหน้ากับเรื่องคุณค่าของตัวเอง พอเจอโจทย์นี้ก็จะ เจอโจทย์ใหม่ขึ้นเป็นล�ำดับไปเรื่อยๆ แต่มันสนุกนะ เรารู้สึกว่าชีวิตมัน ท้าทายให้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ แล้วมันก็กลับมาสู่ประโยคที่เราเคย เจอสมัยวัยรุ่นว่า...” “คุณดีกว่าที่คุณก�ำลังเป็นอยู่ได้เสมอ”

คุณดีกว่าที่คุณก�ำลังเป็นอยู่ ได้เสมอ

61


ทราย - อินทิรา เจริญปุระ “ฟ้าท้าลิขิต  อยากมีชีวิต ก็ต้องพิสูจน์ตัวเอง” ไหม

คุ ณ เชื่ อ เรื่ อ งฟ้ า ลิ ขิ ต

ในแง่ที่ว่าถ้าฟ้าส่งคุณมา เพื่อเป็นอะไรสักอย่าง ต่อให้ทีแรก คุณไม่ชอบ หรือแค่รู้สึกเฉยๆ กับ สิ่ ง นั้ น   แต่ โ ชคชะตาจะเป็ น ฝ่ า ย เข้าหา  และน�ำพาชีวิตที่เหลืออยู่ ของคุ ณ เต้ น ระบ� ำ ไปกั บ สิ่ ง ที่ ค น บนนั้นมอบให้ ที่ส�ำคัญคือตัวคุณ เองก็กลับหลงรักของขวัญชิ้นนี้เข้า อย่ า งหั ว ปั ก หั ว ป� ำ  จนเวลาผ่ า น ไปอี ก ที คุ ณ กั บ สิ่ ง นั้ น หลอมรวม กันเป็นหนึ่งเดียวแล้ว แต่ถึงฟ้าจะ ประทานอะไรลงมา ก็ใช่ว่าคุณจะ ไม่ต้องพิสูจน์ตัวเอง ใช่ว่าคุณจะไม่ ต้องพยายาม ไม่เหน็ดเหนื่อยหรือ ท้อใจในวันล�ำบาก

62


อาชีพนักแสดง กับ อินทิรา เจริญปุระ ก็ผ่านบททดสอบดัง กล่าวมาอย่างหนักหน่วงเช่นกัน อินทิรา เจริญปุระ หรือที่เราคุ้นหูกันกับชื่อ ทราย เจริญปุระ หลายคนรู้ว่าเธอมีคุณพ่อเป็นผู้ก�ำกับฯ และนักแสดงก้องบารมีอย่าง รุจน์ รณภพ (ตอนนี้ท่านเสียชีวิตไปแล้ว) และมี ใหม่ เจริญปุระ เป็น พี่สาวต่างมารดาที่เป็นทั้งนักแสดงและนักร้องชื่อดังระดับต�ำนาน ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น น่าจะเป็นสุภาษิตในการอธิบายถึงสิ่งที่ผู้คนคาด หวังจากเธอได้ดีที่สุดเมื่อราว 20 ปีก่อน แต่ความเป็นจริงในตอนนั้น อินทิราไม่ได้ตั้งใจจะมีอาชีพอยู่ในวงการบันเทิงเหมือนพ่อหรือพี่สาว แม้จะโตและใช้ชีวิตอยู่ตามกองถ่ายหนังหรือละคร  ทว่าเธอก็นึกไม่ ออกสักทีว่าตนเองจะกลายมาเป็นคนที่อยู่หน้ากล้องได้อย่างไร 13 ปี

โลกของอินทิรายังคงหมุนไปในจังหวะเดิม  จนเมื่อเธออายุ

ในปี พ.ศ.2537 ละครเรื่อง ‘ล่า’ ของค่ายเอ็กแซ็กท์ออก อากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 น�ำแสดงโดยดารา สาวที่คร�่ำหวอดในวงการมานานอย่าง สินจัย เปล่งพานิช และนัก แสดงหน้าใหม่ในบทลูกสาวของเธอ  อินทิรา  เจริญปุระ  กับเนื้อหา หนักๆ ที่ว่าด้วยแม่หัวใจสลายที่ตามล้างแค้นกลุ่มชายโฉดที่รุมข่มขืน เธอและลูกสาวจนเสียสติ... เหตุการณ์นี้เองที่เปลี่ยนชีวิตของอินทิรา ไปโดยสิ้นเชิง “วันที่ตัดสินใจลองไปแคสติ้งละครเรื่อง ‘ล่า’ ตอนนั้นพ่อก็ เล่นละครอยู่แล้ว  พ่อบอกว่ามีคนติดต่อให้เราไปเล่นละคร  แต่พ่อ

63


ปฏิเสธไปแล้วนะ  เพราะรู้ว่าทรายคงไม่เล่นหรอก ทรายก็ประหลาดใจ  พ่อก็เล่าว่าเรื่องมันเป็นแบบ นี้  ทางโน้นเขาอยากให้ไปลองแคสติ้ง  ทรายก็ บอกพ่อว่าจะขอลองดู  วันที่ไปแคสติ้งเขาก็ยื่น กระดาษให้แล้วเขาก็เริ่มแสดงสิ่งที่เราอ่าน  เป็น บทที่พ่อแม่ทะเลาะกันแล้วเราจะต้องไปห้าม คือ เราเป็นคนตกใจง่าย แล้วเราก็ร้องไห้ออกมาจริงๆ ทีมงานก็บอกว่าเราเล่นได้ แล้วหลังจากนั้นชีวิตก็ ไม่เคยเหมือนเดิมอีกเลย” ทรายเป็นเด็กอายุสิบสามปีที่มาแบบ... งงมาก ไม่มีความรู้โดยสิ้นเชิง แต่ว่าได้ไกด์ดี ได้ ผู้ชี้ทางที่ดี  จากความไม่รู้ก็กลายเป็นความรู้ว่า จริ ง ๆ  แล้ ว มั น ก็ ส นุ ก นะ  ทรายจึ ง ได้ ท� ำ งานมา เรื่อยๆ  มาจนถึงทุกวันนี้  ทรายไม่รู้เหมือนกันว่า คนที่เป็นนักแสดงคนอื่น เขาสนุกกับอะไรในส่วน ไหนของงาน  แต่ทรายรู้สึกสนุกกับการที่เราไม่ ต้องเป็นตัวเราก็ได้ เราเป็นคนอื่นก็ได้ ซึ่งมันก็แจ๋ว ดี” และเมื่อเริ่มต้นได้สวย  อินทิราก็เดินหน้าต่อไปทั้งในฐานะ นักแสดง ทายาทของผู้ยิ่งใหญ่ในวงการบันเทิง และในฐานะนักเรียน หญิงคนหนึ่งด้วย ซึ่งอย่างหลังกลายเป็นเรื่องที่เธอรับมือยากที่สุด “ตั้งแต่เด็กๆ ทรายก็ไม่ได้มีชีวิตเหมือนเด็กปกติเท่าไหร่อยู่แล้ว เพราะว่าการเรียนโรงเรียนหญิงล้วนมันมีความคาดหวัง เหมือนต้อง ค�ำสาปอะไรบางอย่าง มันไม่สนุกน่ะ ทรายไม่พอดีกับโลกตรงนั้นอยู่

64


แล้ว เราจะไม่เข้าใจโลกที่ทุกคนถามเราทุกวันว่า ตอนนี้พ่อจะเล่น หนังเรื่องอะไร  แล้วเมื่อไหร่เราจะเล่น  ทรายไม่สนุกกับอะไรแบบนี้ ถามว่าโตขึ้นจะเป็นดาราไหม เราก็บอกว่าไม่รู้ ทรายไม่สนุก แต่อยู่ กองถ่ายจะไม่มีใครมาถามอะไรประหลาดๆ แบบนี้ เขาก็จะคุยกัน เรื่องงาน เรื่องชีวิตของเขากันไป ไม่มีใครมาเซ้าซี้อะไรแบบนั้นกับเรา ก็จะรู้สึกสบายใจ ไม่ได้รู้สึกเสียอะไรไป” ทราย  เจริ ญ ปุ ร ะ  ก็ เ หมื อ นดาราที่ เ ป็ น ผลผลิ ต ของวงการ บันเทิงในยุคนั้น ได้ท�ำในสิ่งที่ตนเองก็ไม่แน่ใจว่าชอบจริงไหม ได้ลอง ผิดลองถูกอยู่หลายอย่าง  รวมถึงเธอต้องต่อสู้กับข้อกล่าวหาว่าเธอ เป็นเด็กเส้นอีกด้วย “เคยได้ยินคนพูดว่าเพราะเป็นลูกพ่อเราถึงได้แสดงละคร แหม ถ้าพ่อมีอิทธิพลได้มากขนาดนั้นก็คงจะดีสินะ ทรายก็ไปคุยกับพ่อว่า มีแต่คนพูดแบบนี้มันรู้สึกแย่จัง พ่อก็บอกว่าให้เราแสดงต่อไปเรื่อยๆ ยิ่งเขาพูดแบบนี้ยิ่งต้องเล่นไปเรื่อยๆ เล่นให้มันรู้ไปเลยว่าไม่ใช่ ถ้า เล่นเรื่องเดียวแล้วหายไปเลย ทุกคนก็จะพูดได้ว่าพ่อดันได้เรื่องเดียว แหละ เพราะมันเล่นไม่ได้เรื่อง แต่ถ้าเราเล่นได้เรื่อยๆ ก็พิสูจน์ว่าพ่อ เราไม่ได้มีอิทธิพลต่อมนุษย์มากขนาดนั้น ทางเดียวที่คุณจะพิสูจน์ตัว เองได้ว่าคุณไม่ใช่เด็กเส้น คุณก็ต้องท�ำงานให้ได้เรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ ยากมากในประเทศนี้ เพราะทุกวันนี้ก็ยังมีคนคิดอะไรแบบนี้อยู่เลย ขนาดพ่อทรายเสียไปแล้วด้วยซ�้ำ แต่มันก็น้อยลงเรื่อยๆ มันก็พิสูจน์ ค�ำพูดของพ่อว่าเล่นไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเขาก็จะลืมไปเองว่าในตอนต้นมัน เป็นมายังไง”

65


จนเมื่อปี  พ.ศ.2542  อินทิราเปิดหน้าศักราชใหม่ของวงการ หนังไทยไปพร้อมกับผู้ก�ำกับ นนทรีย์ นิมิบุตร ด้วยภาพยนตร์ไทยที่ ท�ำรายได้มหาศาลอย่าง  ‘นางนาก’  การแสดงที่น้อยแต่ได้มากของ เธอเป็นที่กล่าวขวัญถึง และก็เป็นจุดเปลี่ยนให้เธอหันมาเป็นนักแสดง ภาพยนตร์อย่างเต็มตัว  หนังไทยรวมถึงหนังสากลอีกหลายเรื่องมีชื่อ ของเธอเป็นผู้น�ำแสดง และในปี  พ.ศ.2553 อินทิราก็มาถึงจุดสูงสุด ในอาชีพการแสดงกับบทบาทของหญิงสาวที่ตกอยู่ในวังวนแห่งความ โลภร่วมกับโจรในคราบพระเรื่อง  ‘นาคปรก’  การแสดงในระดับตรึง สายตาคนดูอยู่แทบทุกฉากส่งผลให้อินทิรา  เจริญปุระ  คว้ารางวัล นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ครั้งที่ 20 ไปครอง พร้อมกับอีกหลายรางวัลจากสื่อมวลชนและนักวิจารณ์ที่ลงคะแนน เสียงให้เธออย่างเป็นเอกฉันท์ “พอถึงจุดหนึ่งเราเลือกงานเพราะเราอยากลอง จนถึงตอนนี้ ทรายก็ยังอยากลองอยู่ ประเทศเรามีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจ�ำ ชาติแต่ไม่เคยมีเรื่องเกี่ยวกับพระ นอกจากหนังอย่าง หลวงตา ก็เป็น หนังแบบน่ารักๆ แต่ไม่เคยมีใครพูดประเด็นนี้ (เกี่ยวกับพระ) ขึ้นมา อีก  ถ้ามีหนังเรื่องแรกที่จะพูดถึงพระในมุมที่เป็นมนุษย์ขึ้นมาจริงๆ แล้วเขามาติดต่อให้ทรายเล่น ท�ำไมทรายจะไม่เล่น ตอนนั้นทรายคิด แค่นี้เอง พ่อทรายเคยได้รางวัลจากชมรมวิจารณ์บันเทิง  ตอนแสดง เรื่อง ‘กาเหว่าที่บางเพลง’  พอเรามาเริ่มเล่นหนังก็จะมีชื่อเข้าชิงอยู่ เรื่อยๆ แต่ยังไม่เคยได้ เราก็คิดอยู่เสมอว่าถ้าได้รางวัลนี้สักครั้งก็คงดี นะ เหมือนที่พ่อเคยได้ จะได้มีสองรางวัลคู่กันที่บ้าน ของพ่ออันหนึ่ง

66


ของเราอันหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาทรายไม่เคยได้เล่นหนังกับพ่อเลย ด้วย ความที่กลัวคนว่าเป็นเด็กเส้นจึงท�ำให้เราไม่มีโอกาสตรงนั้น” รางวัลที่ เธอกล่าวถึงก็คือ รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ชมรมวิจารณ์ บันเทิงครั้งที่ 19 จากภาพยนตร์เรื่อง ‘นาคปรก’ ซึ่งเธอก็ท�ำได้ส�ำเร็จใน ที่สุด “ค�ำว่าดาวค้างฟ้าหรือซูเปอร์สตาร์  มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่ กับตัวเราเลย  เราไม่สามารถใช้ชีวิตแบบนี้แล้วเราจะได้เป็นซูเปอร์สตาร์ ทรายก็ไม่ได้คิดว่ามันมีสูตรส�ำเร็จ เราก็เป็นตัวเองไปเรื่อยๆ ดี กว่า เพราะว่ายังไงคนที่ดูงานของเราไม่ได้ชอบทรายเพราะตัวตนของ เรา อย่างเล่นเป็น นางนาก ก็ไม่มีใครเรียกว่าทราย เขาก็เรียกนางนาก เล่นเป็นอะไรคนก็จะเรียกชื่อเราที่เป็นในตัวละคร  สรุปว่าฉันแค่เป็น ตัวละครนั้นให้ได้ก็พอแล้ว มันท�ำให้งานทรายง่ายขึ้นด้วย ไม่ต้องมี คนมารู้จัก มาวุ่นวายอะไรกับตัวทรายเยอะ... ถ้าไม่ต้องสนใจตัวจริง เราก็เล่นเป็นอะไรก็ได้” ล่าสุดอินทิรา เจริญปุระ เพิ่มระดับผลงานของตนเหมือนกับ ที่คุณพ่อของเธอเคยท�ำมาในฐานะผู้ก�ำกับภาพยนตร์  ร่วมกับชาคร ไชยปรีชา ในหนังไทยเรื่อง ‘รักจัดหนัก’ หนังสามตอนที่ว่าด้วยการ รับมือของวัยรุ่นต่อปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ  ในตอนที่เธอ ร่วมก�ำกับการแสดงมีชื่อว่า ‘ทอมแฮ้ง’ พูดถึงเรื่องของทอม  สาวนัก บาสเกตบอลประจ�ำโรงเรียน แต่พลาดไปมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนชาย เพราะความมึนเมาจนตั้งท้องขึ้นมา “ที่เลือกเรื่อง ‘ทอมแฮ้ง’ เพราะทรายเคยเรียนโรงเรียนหญิง ล้วนมาก่อน มันเป็นความขี้สงสัยในอะไรบางอย่าง ถ้าวันหนึ่งคนที่มี บุคลิกทอมมากๆ ที่มีเพื่อนผู้ชายเยอะๆ เหมือนผู้หญิงที่มีเพื่อนเป็น

67


กะเทย เป็นเกย์เยอะ ถ้าวันหนึ่งมันเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้วจะท�ำยังไง คุณเป็นทอมแต่คุณก็ยังเป็นผู้หญิงอยู่ ยังสามารถท้องได้ สรีระยังเป็น ผู้หญิงแม้ว่าใจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ตาม ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ แล้วจะ รับมือยังไง ประเด็นอยู่ตรงนี้ “ อีกด้านหนึ่งที่อินทิราท�ำควบคู่กับการแสดงมานานแล้วนั่น ก็คือการเขียนหนังสือ เริ่มจากการอ่านหนังสือ ขยับมาบอกเล่าเรื่อง ราวของหนั ง สื อ ที่ เ ธอชอบ  จนกลายเป็ น การน� ำ เสนอมุ ม มองที่ น ่ า สนใจของชีวิตผ่านตัวหนังสือ ทุกวันนี้เธอมีหนังสือออกมาหลายเล่ม อย่าง ‘รักคนอ่าน’ ‘ปราสาททราย’ และ ‘ริอ่าน’ “ทรายคลุ้มคลั่งการ อ่านหนังสือ นอกจากพ่อแม่แล้วก็มีหนังสือนี่แหละที่ท�ำให้ทรายเป็น คนแบบนี้ เพราะเราโชคดีเกิดมาในยุคที่ยังไม่มีเซ็นเซอร์ เด็กทุกคน ไม่ต้องอ่านหนังสือเหมือนกันไปหมด ตอนนั้นทรายอยากอ่านอะไรก็ อ่านเลย มันก็ท�ำให้เราสนุก ท�ำให้เราโตกว่าวัย ท�ำให้เราเป็นคนแบบ นี้ ในช่วงแรกๆ ที่ทรายเขียนหนังสือ คนอื่นก็ฮิตเขียนหนังสือกัน เราก็ เป็นแค่อีกหน่วยหนึ่งที่มีอยู่ในวังวนนี้ ด้วยการใช้คาถาของพ่อว่าถ้า คิดว่าเราชอบจริงๆ ต้องอดทนท�ำให้ได้เรื่อยๆ เดี๋ยวคนเขาก็รู้เอง ซึ่ง มันก็จริงทั้งเรื่องการแสดง การเขียนหนังสือ การอ่านมันท�ำให้เราไม่หมุนรอบตัวเองอย่างเดียว ไม่คิดถึง แต่ตัวเอง ทรายอ่าน พันธุ์หมาบ้า (นิยายแต่งโดย ชาติ กอบจิตติ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ปี  พ.ศ.2547) ตั้งแต่ตอนเด็กน่ะ แล้ว มันตื่นเต้นมากว่า (เรื่องราวในนิยาย) มีคนที่สามารถไปอยู่ทะเลเป็น เดือนๆ โดยไม่ท�ำอะไรเลยได้ด้วยเหรอ คนที่ไม่ท�ำอะไรเลย นอนกับ เพื่อนแล้วกินเหล้าไปวันๆ มันน่าตกใจมากนะส�ำหรับเด็กประถมสี่ที่ ได้อ่าน มันท�ำให้ทรายเข้าใจว่าโลกมันไม่ได้มีแค่นี้ ไม่ได้มีแค่การบ้าน ที่ต้องท�ำให้เสร็จ มันมีอะไรสนุกกว่านี้อีกเยอะ ซึ่งเราก็หาอ่านได้จาก หนังสือ”

68


“เรามองชีวิตเป็นวัน  ไม่ได้มอง เป็นปี เราไม่ใช่หมอดู ไม่สามารถคาด การณ์เป็นไตรมาสได้ บางวันชีวิตก็ดี นะ บางวันก็รู้สึกแย่ซะอย่างงั้น มีวันที่ ดีและวันที่แย่  วันที่แย่เราก็ไม่ปล่อยให้ มันแย่นานเกินไป  ในความแย่ก็มีความ ดีอยู่บ้าง  วันที่แย่เราก็ยังเขียนหนังสือ ได้ ก็ไม่เลวนะ ทรายก็ไม่ได้ปลอบใจตัว เอง  ไม่ได้คิดบวกขนาดที่ว่าโลกยังมีด้านที่ดีมากมาย แต่ว่าถ้ามันแย่ แล้วจะให้ท�ำยังไงล่ะ  เพราะเดี๋ยวก็เช้าแล้ว  ทรายไม่เคยรู้สึกว่ามีช่วง เวลาที่แย่จริงๆ ทรายไม่ค่อยใส่ใจกับอะไรแบบนี้นานนัก  เพราะเราไม่ ค่อยปล่อยให้อะไรมามีอิทธิพลกับเรามากขนาดนั้น” ไม่คิดว่าในวันที่แย่ แล้วทุกอย่างจะต้องแย่ไปเสียทั้งหมด นี่อาจเป็นวิถีทางหนึ่งที่เราจะใช้เพื่อพิสูจน์ตัวเองบน โลกใบนี้

การอ่านมันท�ำให้เราไม่หมุน รอบตัวเองอย่างเดียว ไม่คิดถึง แต่ตัวเอง

69


อาทิตย์ อัสสรัตน์ สิ่งมหัศจรรย์ของคนธรรมดา ในงานประกาศรางวั ล ภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 18 ประจ�ำปี พ.ศ.2551 ชายหนุ่มร่างสูงโปร่งสร้างความ ประหลาดใจให้กับสื่อมวลชนใน งานและคนดูผ่านการถ่ายทอด สดทางโทรทั ศ น์   กั บ หนั ง ขนาด ยาวเรื่ อ งแรกในชี วิ ต ของเขา ภาพยนตร์ เ รื่ อ ง  “Wonderful   Town หรื อ   เมื อ งเหงาซ่ อ นรั ก ” ที่ ก วาดรางวั ล ส� ำ คั ญ ทุ ก ชิ้ น ใน งานนี้ ม าครอง  ไม่ ว ่ า จะเป็ น รางวั ล ภาพยนตร์ ย อดเยี่ ย ม  ผู ้ ก�ำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม  บท ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ฯลฯ หนุ่ม ร่ า งสู ง เดิ น ขึ้ น ไปรั บ รางวั ล ด้ ว ย ท่าทีสง่าผ่าเผย  แต่แววตาและ รอยยิ้มนั้นดูเป็นมิตรและอบอุ่น เหมื อ นกั บ ชื่ อ ของเขา ‘อาทิ ต ย์ อัสสรัตน์’

70


รางวัลที่เขาได้รับมา ก็ยังไม่น่าสนใจเท่ากับสิ่งที่เขาลงมือท�ำ อาทิตย์ อัสสรัตน์ เติบโตมาเหมือนเด็กทั่วไป ไม่ได้มีความ สนใจอะไรเป็นพิเศษ ไม่ใช่เด็กเรียนเก่ง งานศิลปะก็ไม่ได้สนใจ อย่าง เดียวที่เขาชอบก็คือการเล่นเทนนิส  จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อเขาได้ไป ศึกษาต่อในระดับไฮสคูลที่เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ความ เล็กและเงียบเชียบของเมืองผลักดันให้เขาต้องออกไปแสวงหาสิ่งที่ น่าสนใจกว่าเดิม เขาตัดสินใจเข้าสมัครเรียนที่ New York University (NYU) เลือกศึกษาด้านประวัติศาสตร์ในระดับปริญญาตรี เพราะเขา คิดว่าประวัติศาสตร์ก็เหมือนการเล่าเรื่อง และงานอดิเรกของเขาที่นั่น ก็คือการเข้าโรงหนัง ซึ่งภาพยนตร์หลากหลายรูปแบบและเนื้อหาได้ สร้างก้อนความคิดขึ้นในมวลสมองของอาทิตย์ ว่าเขาก็อยากจะเป็นนักเล่าเรื่องบ้างเหมือนกัน “ตอนเป็ น เด็ ก ผมก็ ดู ห นั ง ฮ่ อ งกง  ดู ห นั ง อเมริ ก าที่ ฉ ายใน ประเทศไทย  แต่ ว ่ า ตอนอยู ่ นิ ว ยอร์ ก มั น เป็ น ครั้ ง แรกที่ เ ริ่ ม ค้ น หา ภาพยนตร์ที่ไม่ใช่หนังตลาด เป็นภาพยนตร์อินดี้จากยุโรป เป็นหนัง อีกแบบหนึ่งที่สมัยผมเป็นเด็ก ประเทศไทยยังไม่มีมาฉาย แล้วก็เป็น ช่วงจุดประกายให้เราสนใจศิลปะขึ้นมา ตอนเรียนจบก็ค่อนข้างรู้แล้ว ว่าเราสนใจทางนี้ ช่วงนั้นก็เริ่มอยากจะท�ำอะไรที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ ก็เลยท�ำในสิ่งที่เด็กก็ท�ำได้  ไม่มีกล้องถ่ายก็ใช้มือเขียน  เราจึงเริ่ม เขียนบทก่อน”  เมื่อเขาจบปริญญาตรีก็เข้าศึกษาต่อด้านภาพยนตร์ อย่างเต็มตัวที่ University of Southern California (USC) ในรัฐ แคลิฟอร์เนีย  และผลงานที่เขาท�ำเพื่อเป็นวิทยานิพนธ์ก็คือหนังสั้น ที่อาทิตย์กลับมาถ่ายท�ำในบ้านเกิดของเขา  หนังสั้นที่มีชื่อง่ายๆ ว่า

71


‘มอเตอร์ไซค์’  แต่เนื้อหานั้นไม่ง่ายเลย  เพราะได้แรงบันดาลใจมา จากวรรณกรรมอมตะของเมืองไทยอย่าง ‘ฟ้าบ่กั้น’ งานรวมเรื่องสั้น จากการประพันธ์ของลาว ค�ำหอม หรือค�ำสิงห์ ศรีนอก ศิลปินแห่ง ชาติสาขาวรรณศิลป์ ในปี  พ.ศ.2535 “มันเป็นหนังสั้นเรื่องแรกที่เราท�ำในประเทศไทย ก่อนหน้านั้น ต้องเข้าใจว่าผมอยู่อเมริกามาสิบกว่าปี เติบโตมาแบบเด็กอเมริกันน่ะ ไม่ได้เป็นเด็กไทยแล้ว แล้วตอนที่กลับมาประเทศไทยก็ไม่ได้รู้จักใคร ไม่ได้มีทีมงาน ไม่ได้มีคณะภาพยนตร์ที่นี่ ไม่มีเพื่อนที่จะท�ำงานไป ด้วยกัน กลับมาอย่างโดดเดี่ยว แล้วก็ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับประเทศไทย เลย บังเอิญว่าเราได้อ่านหนังสือเรื่อง ฟ้าบ่กั้น ของ ค�ำสิงห์ ศรีนอก แล้วเรารู้สึกว่าเราอยากจะท�ำ เนื้อหามันสนุก แล้วเป็นแรงบันดาลใจ ให้ท�ำเรื่อง ‘มอเตอร์ไซค์’ ขึ้นมา” “หนังสือ ‘ฟ้าบ่กั้น’ มันเข้าใจง่าย มันจับต้องง่าย ตอนนั้นผม เป็นเด็กอเมริกันคนหนึ่งที่พยายามจะเข้าใจประเทศตัวเองให้เร็วที่สุด คือมันเป็นหนังสือที่เข้าใจง่ายมาก มันเกี่ยวกับชีวิตของคนอีสาน มี ประเด็นเรื่องความจน ความติดดิน ชีวิตชาวนา จริงๆ แล้วมันเหมือน เป็นโปสการ์ดของประเทศไทยมากกว่าตัวประเทศไทยจริงๆ  เราเป็น เด็กกรุงเทพฯ  ไม่ได้เป็นเด็กอีสานด้วยซ�้ำ  แต่ว่ามันเป็นอย่างเดียวที่ เราจับต้องได้รวดเร็วว่านี่คือประเทศไทย  ยกตัวอย่างเหมือนว่าเรา อยากจะท�ำหนังฝรั่งเศส   แต่เราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับฝรั่งเศส  เรา ไม่เคยไป เราเป็นเด็กไทย เราไปถึงแล้วจะถ่ายอะไร ก็ต้องถ่าย  หอ ไอเฟล แม่น�้ำเซน เป็นโปสการ์ดของฝรั่งเศส แล้วหนังสือเล่มนี้มันมี ทุกอย่างเลยที่เป็นโปสการ์ดของประเทศไทย ผมก็เลยหยิบเรื่องนี้มา ท�ำ” หนังสั้นของเขาพูดถึงเรื่องของชายชราในชนบท ที่ต้องทราบข่าว

72


ร้ายว่าลูกชายของตนนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว  หนังเรื่องนี้คว้ารางวัลจาก เทศกาลหนังสั้นในต่างแดนมามากมาย  และสิ่งที่อาทิตย์ได้กลับมา จากการท�ำหนังสั้นเรื่องนั้นก็คือมิตรภาพและคนท�ำงานที่ร่วมหัวจม ท้ายกันมาตลอดสิบปี ทีมงานเดียวกับที่ร่วมกันท�ำหนังเรื่องส�ำคัญใน ชีวิตของเขา

Wonderful Town

“ผมกลับมาประเทศไทยในปี 2001 แล้ววันที่ท�ำ Wonderful Town หนังยาวเรื่องแรกก็คือปี 2006 ผ่านไปตั้งห้าปี คล้ายว่าผมก็เก็บ ชั่วโมงบินไปเรื่อยๆ เก็บประสบการณ์ท�ำโน่นนี่เต็มไปหมดเลย แล้ว มาถึงปี 2006 ก็ระดมทุนในมือสักก้อน แล้วก็เขียนบทหนังเรื่องนี้ขึ้น มา” บทภาพยนตร์พูดถึงเหตุการณ์เล็กๆ ที่อ�ำเภอตะกั่วป่า ในจังหวัด พังงา  สถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิอย่างรุนแรง  แต่หลัง จากมหันตภัยร้ายผ่านพ้นไป เมืองก�ำลังจะฟื้นตัว แต่ก็กลับพบว่ายังมี คลื่นความรู้สึกที่รุนแรงกว่าซ่อนตัวอยู่ในใจของผู้คน “ตอนนั้นเหตุการณ์สึนามิเกิดขึ้นในปี 2004 แล้วในปี 2005 ผมได้ไปที่ภูเก็ต  และได้แวะไปที่อ�ำเภอตะกั่วป่า  เพราะว่าผมเคยเห็น ภาพในทีวีตอนเกิดเหตุ มันดูร้ายแรงมาก ผมจึงอยากเข้าไปดู อยาก ไปดูเมืองเพราะไม่เคยไป ไม่เคยไปพังงามาก่อนเลย จ�ำได้ว่าแปลก ใจมากว่าไม่เห็นมีร่องรอยอะไรจากเหตุการณ์เลย ทุกอย่างมันสะอาด เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ตอนที่ผมไปคุยกับคนในเมืองก็รู้สึกได้ว่า จิตใจคนยังไม่หายดี สิ่งของต่างๆ รถ ถนน บ้านเรือน ถ้าเราเอาเงิน ทุ่มใส่แป๊บเดียวก็ท�ำขึ้นมาใหม่ได้ แต่ว่าจิตใจคนมันท�ำอย่างนั้นไม่ ได้ ผ่านไปแค่ปีเดียวจิตใจคนมันไม่ได้ฟื้น แล้วผมก็รู้สึกว่ามีช่องโหว่ ระหว่างสิ่งที่คนรู้สึกกับสิ่งที่เราเห็นด้วยตา และช่องโหว่นี้เองที่ท�ำให้ ผมอยากเขียนบทเรื่องนี้ขึ้นมา”

73


และเมื่อหนังเรื่องนี้ออกฉายก็สร้างปรากฏการณ์ได้อย่าง น่าประหลาดใจ ทั้งในประเทศไทยและในต่างแดน หนังเรื่องนี้ได้รับ เชิญให้เข้าร่วมประกวดในเทศกาลหนังมากมายจนนับไม่ถ้วน ความ ส�ำเร็จของผู้ก�ำกับหน้าใหม่กลายเป็นที่ถูกกล่าวขาน  อาทิตย์ยอมรับ ว่าแม้แต่ตัวเขาเองยังอดแปลกใจไม่ได้ “แปลกใจ อาจเป็นเพราะ Wonderful Town เป็นหนังเรื่อง แรก  ตอนที่เราท�ำหนังเรื่องแรกเราไม่ค่อยมีความมั่นใจ  ทุกคนนั่น แหละท�ำงานชิ้นแรกเราก็ไม่รู้  เราอยู่กับมันเป็นปี  เราก็ไม่รู้ว่าที่เรา ท�ำออกมามันดีหรือไม่ดี มองไม่ออก แล้วจ�ำได้ว่าตอนที่ท�ำหนังเสร็จ เรียบร้อยแล้วไปฉายครั้งแรกที่ประเทศเกาหลีใต้  ในเทศกาลหนัง ปูซาน ผมไม่ได้เข้าไปดูในโรงด้วยซ�้ำ ผมไม่กล้าไปดู จ�ำได้ว่านั่งอยู่ ข้างล่างในร้านดังกิ้นโดนัทและรอให้หนังฉายเสร็จ  ผมไม่กล้าเข้าไป ดูเพราะกลัวคนจะไม่ชอบ  กลัวว่าหนังเสร็จแล้วจะมองหน้ากันไม่ได้ แต่ว่าทางงานบังคับให้ผู้ก�ำกับต้องไปตอบค�ำถามหลังหนังฉายจบ ผม จึงต้องกลับเข้าไปพูดคุย และตอนที่คนดูเดินออกมาจากโรงหนัง เขา

74


ก็บอกว่าชอบ หนังดีมากเลย ผมก็แปลกใจมาก เพราะผมเองก็ไม่รู้ว่า งานที่ท�ำออกมาดีหรือไม่ดี ผมก็จะเห็นแต่สิ่งที่ท�ำผิดพลาดไปในหนัง และที่แปลกใจครั้งที่สอง คือตอนที่หนังได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ แปลก ใจเพราะปกติรางวัลนี้เป็นเวทีของหนังค่าย  แล้วหนังของเราเป็นหนัง อินดี้ หนังนอกกระแสที่ไปแข่งกับหนังค่ายแล้วชนะมาได้ จึงเป็นเรื่องที่ น่าแปลกใจมาก รู้สึกภูมิใจนะที่หนังของเราได้รางวัลสุพรรณหงส์  ก็ภูมิใจมาก เพราะตอนแรกเราคิดว่าไม่มีทางชนะหรอก คิดว่าเขาแค่เชิญเราให้ไป นั่งดูคนอื่นได้รางวัล พอได้รับรางวัลก็รู้สึกภูมิใจ และรู้สึกดีว่าช่องว่าง ระหว่างภาพยนตร์ในกระแสกับนอกกระแสจะเริ่มแคบลง  เพราะมัน ได้การยอมรับ คนท�ำหนังค่ายก็ยอมรับว่าหนังของเราเป็นหนังคุณภาพ ดี และฝั่งของเราก็เข้าใกล้อีกฝั่งมากขึ้น เพราะสุดท้ายแล้วจะเป็นอินดี้ หรือไม่อินดี้มันก็คือภาพยนตร์ มันก็เป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพ มันไม่ควร ไปแบ่งแยกกันขนาดนั้น ผมก็หวังว่าในห้าถึงสิบปีที่จะถึงนี้  ช่องโหว่ระหว่างหนังค่าย กั บ หนั ง อิ ส ระมั น น่ า จะแคบลงจนหายไป  มั น น่ า จะมี ห นั ง ค่ า ยที่ เ ล่ า เรื่ อ งท้ า ทายเท่ า กั บ ฝั ่ ง อิ น ดี้   และฝั ่ ง อิ น ดี้ ก็ น ่ า จะเริ่ ม ท� ำ หนั ง ที่ เ อาใจ ตลาด เอาใจคนดูมากขึ้น มันจะได้คล้ายกับหนังค่ายมากกว่า และเส้น แบ่งระหว่างสองฝั่ง  ก็อยากให้มันเริ่มจางหายไป  ผมอยากให้วงการ ภาพยนตร์มันหลากหลาย คือตอนนี้มันแยกชัดเจนว่าหนังค่ายก็จะเป็น ตลาด หนังผี หนังตลก หนังวัยรุ่น มันก็จะตลาดมาก มันขาดความใหม่ ขาดความท้าทาย  คือคนในค่ายเองก็ยอมรับแต่ก็ยังท�ำกันอยู่อย่างนั้น คนท�ำละครหลังข่าว  เขาก็ยอมรับนะว่ามันน�้ำเน่า  แต่ว่ามันก็ผลิตซ�้ำ กลับมาอยู่เรื่อยๆ ทางฝั่งอินดี้เองก็อินดี้มากเลย หนังดูยากมาก ตัวผม เองก็ผิด เพราะหนังผมมันก็ดูยาก ดูแล้วหลับ ผมอยากแทนที่ความห่าง กันขนาดนั้นด้วยความหลากหลายรูปแบบของเนื้อหา  บางอันก็ดูง่ายๆ บางอันก็ท้าทายสักหน่อย มีเรื่องราวที่อยู่ตรงกลางมากขึ้น”

75


แรงบันดาลใจส�ำคัญอย่างหนึ่งของอาทิตย์ในการมุ่งมั่นที่จะ ท�ำภาพยนตร์ เกิดขึ้นในกองถ่ายหนังของผู้ก�ำกับฯ ต่างชาติคนหนึ่ง ตอน นั้นเขาได้รับอนุญาตให้เข้าไปติดตามการท�ำงานในกองถ่ายอย่างใกล้ ชิด “สมัยเป็นเด็กเรารู้สึกว่าการท�ำหนังมันเหมือนเป็นมายากล   มันเป็นสิ่งที่เราคงจะท�ำมันไม่ได้  แล้วผมเองก็เป็นอย่างนั้นก่อนที่จะ ได้เข้ามาในวงการภาพยนตร์  เราดูหนังแต่ไม่เคยรู้สึกกับมันว่าเป็นสิ่ง ที่เราท�ำได้  เพราะต้องท�ำอะไรอย่างไรก็ไม่รู้  และนั่นเป็นครั้งแรกที่เรา ได้เข้าไปดูการท�ำหนังของฮอลลีวู้ด  เป็นกองใหญ่มหึมา  แล้วรอบตัวผู้ ก�ำกับก็มีคนเป็นกองทัพ แต่สิ่งที่เขาท�ำคือนั่งอยู่บนเก้าอี้แล้วดูมอมิเตอร์ ก�ำกับการแสดงในฉากที่คนสองคนก�ำลังคุยกัน  ถ้าเกิดเราไม่มองคน รอบข้างที่เต็มไปหมดกว่าร้อยคน  สิ่งที่เขาท�ำอยู่ที่นั่น  ผมก็ไม่เห็นว่า มันต่างอะไรไปจากสิ่งที่ผมในท�ำประเทศไทย กองถ่ายเล็กๆ มีคนราว 20 คน หนังไม่ได้ทุนหนาอะไร แต่ก็ต้องนั่งอยู่บนเก้าอี้แล้วดูมอนิเตอร์ ก�ำกับการแสดงคนสองคนที่ก�ำลังคุยกัน มันไม่ต่างอะไรกันเลย จุดนั้น เองที่ท�ำให้ผมมีความมั่นใจขึ้นเยอะมาก  วันนั้นเป็นบทเรียนที่ส�ำคัญ ที่สุดที่ผมได้เรียนรู้” อาทิตย์เล่าด้วยน�้ำเสียงนุ่มนวล มีจังหวะเนิบช้า แต่แฝงไปด้วย พลังที่มุ่งมั่น

เหมือนยามรุง่ สางทีเ่ ราเห็นดวงอาทิตย์กำ� ลังขึน้ จากขอบฟ้า

สุดท้ายแล้วจะเป็นอินดี้หรือไม่อินดี้มันก็ คือภาพยนตร์ มันก็เป็นการเล่าเรื่องด้วย ภาพ มันไม่ควรไปแบ่งแยกกันขนาดนั้น

76


ศ.นพ.ประกิต วาธีสาธกกิจ การเลิ ก บุ ห รี่ อ ยู ่ ที่ ใ จคน แต่ประเทศเป็นผู้ตัดสินใจ

โฆษณาการรณรงค์ เ รื่ อ ง โทษภัยของบุหรี่และยาเส้นชิ้นล่าสุด ที่ฉายทางโทรทัศน์  สร้างความสนุก และเรียกอารมณ์ขันกับผู้ท่ีได้ชมเป็น อย่างดี  กลายเป็นงานโฆษณาที่น่า จะติดตาผู้คนไปอีกนาน แต่ใครจะรู้ บ้างว่าก่อนที่สังคมจะได้รับรู้ว่าบุหรี่ นั้นเป็นสิ่งอันตราย  ก็มีผู้ชายคนหนึ่ง ได้เรียกร้องและต่อสู้กับเรื่องบุหรี่มา ยาวนาน ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต  วาธีสาธกกิจ เลขาธิการ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  จากอดีตนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านโรคปอดที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเล็งเห็นว่าภัยอันตรายจากการ สูบบุหรี่นั้นส�ำคัญมากกว่าการนั่งรอคอยรักษาคนไข้  หากไม่รีบแก้ที่ ต้นเหตุก็อาจจะสายเกินไป เขาใช้เวลากว่า 25 ปีในการสร้างฐานอัน เข้มแข็งของโครงการนี้  โดยเริ่มจากการท�ำโครงการรณรงค์เพื่อการ ไม่สูบบุหรี่เมื่อปี  พ.ศ.2529  โดยมีมูลนิธิหมอชาวบ้านเป็นแกนน�ำ หลัก และได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากนายแพทย์ประเวศ วะสี และ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนในปี  พ.ศ.2539 ได้เปลี่ยนสถานะ เป็นมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่มาจนถึงปัจจุบัน

77


ขึ้นมาก

มาถึงตอนนี้ค่านิยมเรื่องการไม่สูบบุหรี่ก็เปลี่ยนไปในทางที่ดี

“แต่ ก ่ อ นกฎหมายห้ า มสู บ บุ ห รี่ ก็ ยั ง ไม่ มี ใ นที่ ส าธารณะ กฎหมายควบคุ ม การโฆษณาก็ ยั ง ไม่ มี   การรณรงค์ ก็ ไ ม่ มี   ในโรง พยาบาล  แม้แต่ในห้องตรวจโรคหมอก็ยังสูบบุหรี่และตรวจคนไข้ ไปด้วย  ในร้านอาหาร  ห้างสรรพสินค้าก็ยังสูบกัน  เป็นผู้ชายเกือบ เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ จนถึงวันนี้เราจะเห็นว่าค่านิยมมันเปลี่ยนไป เรา มีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะเกือบทุกที่  แม้การบังคับใช้ กฎหมายจะไม่เข้มงวด  ไม่ได้มีใครกวดขันกฎหมายนี้เท่าไหร่  แต่ ประชาชนเองก็ไม่สูบในที่สาธารณะ  โดยเฉพาะในออฟฟิศที่ติดแอร์ ในโรงพยาบาล ในภัตตาคาร เดี๋ยวนี้คนจะไม่สูบบุหรี่กันแล้ว ในเชิง ผลกระทบเรื่องสถิติการสูบบุหรี่ก็พบว่ามันลดลงจากที่ผู้ชายสูบบุหรี่ เกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ ก็เหลือ 40 เปอร์เซ็นต์ ลดลงไปประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์   แล้วก็มีคนเลิกสูบไปเยอะมากขึ้น  จากการส�ำรวจเมื่อ 2 ปีก่อนมีคนที่เลิกสูบบุหรี่ไปแล้ว 6 ล้านกว่าคน แสดงว่าสังคมก็มี ความตื่นตัว ประชาชนมีความรู้เรื่องพิษภัยของการสูบบุหรี่ โดยคน 95 เปอร์เซ็นต์ จะรู้ว่าสูบแล้วเป็นโรคต่างๆ รวมทั้งรู้ว่าคนไม่สูบแต่รับ ควันก็ท�ำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ อันนี้คือสิ่งที่เป็นผลมาจากการรณรงค์ อย่างต่อเนื่อง มีกฎหมายออกมาห้ามสูบในที่สาธารณะ ห้ามโฆษณา การขาย มีการขึ้นภาษียาสูบ 10 ครั้งในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา มีการพิมพ์ ค�ำเตือนบนซองบุหรี่ มีการรณรงค์ผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และสิ่งพิมพ์ มีการตั้งคลินิกให้คนเลิกสูบบุหรี่ มีทั้งการช่วยแนะน�ำให้เลิกสูบบุหรี่ ทางโทรศัพท์  นี่คือภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงไปในช่วง 20 กว่าปี เราที่รณรงค์มา”

78


แม้ โ ครงการจะเดิ น หน้ า ไปได้ ด้วยดี แต่อุปสรรคก็ใช่ว่าจะไม่มี “อุ ป สรรคส� ำ คั ญ อี ก อั น คื อ บุ ห รี่ เป็นยาเสพติด คนที่เสพติด 12 ล้านคน ครึ่งหนึ่งพยายามจะเลิกแต่เลิกไม่ได้ ถ้า เลิกได้บริษัทบุหรี่คงเจ๊งไปแล้ว จากที่เขา รู้ว่าท�ำให้เป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง แต่เรามีคนสูบ 10 กว่าล้านคน 5 ล้านคนพยายามเลิกแต่เลิกไม่ได้ อันนี้เป็นอุปสรรค ส� ำ คั ญ ในการเลิ ก   นั่ น ก็ คื อ อ� ำ นาจการเสพติ ด   อี ก ปั ญ หาคื อ ธุ ร กิ จ พยายามที่จะส่งเสริมการขาย  แล้วรัฐบาลเองก็ใช้ความพยายาม ในการควบคุมยาสูบไม่มากพอ  ก่อนที่จะมีการตั้ง สสส. (ส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) เกือบจะไม่มีงบรณรงค์เลย ในภาคเอกชน ภาครัฐบาลก็มีนิดเดียว อย่างเช่นว่าเรามีคนสูบบุหรี่ 10 ล้านคนแล้วรัฐบาลจัดเงินให้กระทรวงสาธารณสุขปีละ 10 ล้าน บาท เฉลี่ยปีหนึ่งงบรณรงค์ต่อคนเพียง 1 บาทที่จะท�ำให้คนเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็นสารเสพติดที่รุนแรงมาก แม้กระทั่งเรามี สสส.แล้วเงินทุนใน การที่จะมาท�ำเรื่องยาสูบนั้นก็น้อยมาก บุคลากรที่ท�ำงานก็น้อย ใน กระทรวงสาธารณสุขก็มีคนแค่นิดเดียว อันนี้ก็เป็นอุปสรรค” คุณหมอประกิตเล่าว่าตอนนี้งบประมาณรณรงค์เลิกบุหรี่ เฉลี่ยต่อคนของประเทศไทยดีขึ้น  แต่ดีขึ้นเพียงคนละ  2  บาทต่อปี เท่านั้น  ทั้งที่ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้งบในการรณรงค์ต่อปีตก คนละ 360 บาท อีกอุปสรรคที่ท�ำให้การท�ำงานเป็นไปได้ยากก็คือคน ที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อยและยากจน  แล้วก็อาศัยอยู่ใน ชนบท เพราะฉะนั้นเรื่องของการตระหนักในความส�ำคัญของสุขภาพ

79


ก็จะน้อย  แรงจูงใจที่คิดจะเลิกก็น้อยตามไปด้วย  อีกประการหนึ่ง บริการในการเลิกบุหรี่ของบ้านเรายังไม่ได้ผล  ยังไม่ได้มีการท�ำอย่าง เป็นระบบ  ยาอดบุหรี่ก็ยังไม่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของหลักประกัน สุขภาพ  คนที่ติดบุหรี่มากกว่าครึ่งหนึ่งพยายามจะเลิกแต่ก็เลิกไม่ได้ เพราะการช่วยเหลือยังไม่ดีพอ “จริ ง ๆ  สิ่ ง ที่ เ ป็ น ปั ญ หามากที่ สุ ด ของเราอี ก อั น ก็ คื อ การ บังคับใช้กฎหมายหย่อนยาน  กฎหมายห้ามสูบในที่สาธารณะ  และ กฎหมายห้ามโฆษณาส่งเสริมการขาย  การบังคับใช้มันหย่อนยาน มาก  อยากให้กระทรวงสาธารณสุขเข้ามาให้ความส�ำคัญกับเรื่อง นี้  รัฐบาลต้องลงทุนจัดสรรงบประมาณอัตราก�ำลังเกี่ยวกับยาสูบ ให้มากกว่านี้  อีกเรื่องคือการขึ้นภาษียาสูบ  ภาษียาสูบเป็นเรื่องของ กระทรวงการคลังแต่ว่ามีผลสูงสุดที่ท�ำให้คนสูบบุหรี่น้อยลง ยังมีช่อง ทางที่จะให้ขึ้นภาษีได้อีกเยอะโดยเฉพาะยาเส้น ซึ่งที่ผ่านมาแทบไม่ ได้เก็บภาษีเลย  แล้วบ้านเรามีคนสูบยาเส้นถึงครึ่งหนึ่งของคนสูบบุหรี่ ทั้งหมด เพราะฉะนั้นนี่คือเรื่องหลักที่อยากจะผลักดันให้รัฐบาลได้ท�ำ ซึ่งจะท�ำให้คนสูบบุหรี่น้อยลง” ล่าสุดคุณหมอประกิตได้ก้าวสู่ต�ำแหน่งเลขาธิการเครือข่าย กองทุนสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (The International Network of Health Promotion Foundations-INHPF) หรือ สสส.โลก ซึ่งจะน�ำ ไปสู่การเรียนรู้ในการรณรงค์เลิกบุหรี่และความร่วมมือจากประเทศ สมาชิกต่างๆ เช่น ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย ตองกา แคนาดา โคลัมเบีย ฮังการี อินเดีย มองโกเลีย และโอมาน จากความร่วมมือกันตรงนี้คุณหมอประกิตก็มีก�ำลังใจที่จะท�ำงาน ต่อสู้กับควันบุหรี่ต่อไป

80


“การท�ำงานด้านยาสูบ  คนจ�ำนวนมากแม้กระทั่งปัจจุบัน คิดว่าไม่ต้องใช้เงิน ท�ำด้วยมือเปล่าก็ได้ ซึ่งมันยากมาก เพราะมัน มีทั้งอ�ำนาจการเสพติดของยาสูบ  ทั้งธุรกิจเข้ามาส่งเสริมการขาย ฉะนั้นเราต้องมีทุนระดับหนึ่งในการท�ำงาน รัฐบาลออสเตรเลียก็เป็น ประเทศที่จริงจังเรื่องนี้มาก  เป็นผู้น�ำในการควบคุมยาสูบของโลก โดยเฉพาะในเรื่องของกองทุน  อย่างโฆษณาต้านบุหรี่ในบ้านเราได้ ฉายปีละ 6 อาทิตย์ แต่ที่ออสเตรเลียฉายถึงปีละ 40 อาทิตย์  หรืออีก ประเทศที่เราไปศึกษาแบบจากเขามาก็คือประเทศแคนาดา  เขาให้ ความส�ำคัญในการควบคุมยาสูบมาก  กฎหมายที่เราใช้อยู่ในเรื่อง ยาสูบก็แปลมาจากกฎหมายของแคนาดา  สถิติการสูบบุหรี่ของผู้ชาย ในประเทศแคนาดาก็ลดลงมาเหลือแค่ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งเป็น สิ่งที่น่าประทับใจในตัวบุคลากรและรัฐบาลที่ร่วมมือกัน” การเลิกบุหรี่  แน่นอนว่าส�ำคัญที่สุดอยู่ที่ใจคน แต่เมื่อผู้คนยังเป็นประชากรในประเทศ  ผู้บริหารประเทศก็ ต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าอยากจะเห็นท้องฟ้าของพวกเขาอมควันสีเทา มากแค่ไหน ถ้าตัดสินใจได้แล้วแจ้งคุณหมอประกิตให้ทราบด้วย

81


นพ.พีรพล ภัทรนุธาพร

ความสุขที่ท่านเรียกหา...ล้วนอยู่ในใจของท่านเอง

ความสุข

ค� ำ นี้ คื อ สิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คนใช้เวลาทั้งชีวิตในการแสวงหา เพราะอะไรจะเชื้อเชิญให้อยากมี ชีวิตอยู่ต่อไปถ้าคนเราไม่มีความ สุขเป็นแรงจูงใจ แต่ก็เพราะการ ไขว่คว้าความสุขนี้เองที่เป็นต้น ทางของความทุกข์ใจนานัปการ ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสาร พั ฒ นาจนถึ ง ขั้ น ว่ า เราสามารถ รู้จักใครสักคนได้เพียงปลายนิ้ว สัมผัส แต่ความสุขที่เรียกหากลับ กลายเป็นความว่างเปล่าที่ขยาย ตัวขึ้นในจิตใจ ‘ความสุ ข ที่ ท ่ า นเรี ย ก ไม่ ส ามารถติ ด ต่ อ ได้ ใ นขณะ นี้’ เป็นชื่อหนังสือที่เข้าไปส�ำรวจ สภาพสังคมในย่อหน้าข้างต้นได้

82


อย่างดีที่สุด จากผู้เขียนในนามปากกาว่า ‘ผมอยู่ข้างหลังคุณ’ แท้จริง แล้วเขาคือ นพ.พีระพล ภัทรนุธาพร แพทย์หนุ่มด้านจิตเวช และเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่นจากโรงพยาบาลระยอง คุณหมอ เป็นคนอ�ำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เติบโตมาเป็นลูกชายคนเดียวใน ครอบครัวที่ไม่ร�่ำรวยนักแต่ก็ได้รับการเลี้ยงดูอย่างอบอุ่น  จากเด็กที่ โอนเอนไปทางสายศิลป์ ทว่าก็ตัดสินใจเลือกศึกษาด้านแพทยศาสตร์ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีตามค�ำแนะน�ำของคุณพ่อ ทีแรกเขาก็ไม่ได้ เรียนเพราะใจรัก  แต่เมื่อมาเจอสาขาจิตเวชนี้เองความคิดของเขาก็ เปลี่ยนไป “พอมาเรียนสายจิตเวชรู้สึกได้เลยว่าค้นพบแล้ว เป็นสิ่งที่เรา ชอบมันจริงๆ จิตเวชเป็นเรื่องของคน เพราะคนที่มาเจอเราด้วยเรื่อง ใดเรื่องหนึ่ง มาเจอเราด้วยปัญหาหนึ่ง มันต้องไล่ย้อนภาพชีวิตของ เขา หาที่มาที่ไปว่าท�ำไมจึงเกิดเรื่องแบบนี้กับเขา เพราะแต่ละคน ก็ไม่มีทางที่จะมีปัญหาเดียวกัน  เรารู้สึกว่านี่คือสิ่งที่เราสนุกกับการ เรียนรู้ สนุกการได้ท�ำงานตรงนี้” เมื่อได้ท�ำงานอย่างเต็มตัวแล้ว คุณหมอต้องพบเจอกับคนไข้ ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป  อาการเจ็บป่วยทางจิตใจของผู้คนนั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง “ตัวโรคนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก  โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรคอารมณ์แปรปรวน โรควิตกกังวล ไม่ได้เปลี่ยนไป แต่ จุดที่แตกต่างผมมองว่ามันมีความรู้ใหม่ๆ  ที่ท�ำให้เข้าใจโรคมากขึ้น แต่ก่อนเราอาจจะเข้าว่าโรคนี้เกิดจากสาเหตุนี้ แต่เดี๋ยวนี้เราพบเรื่อง

83


ของดีเอ็นเอ เรื่องของกรรมพันธุ์ที่มาเกี่ยวข้อง ท�ำให้การ รักษาโรคนั้นท�ำได้หลากหลายขึ้น แต่ก่อนภาพจ�ำของคนที่ เคยดูหนังเกี่ยวกับคนไข้โรคจิตว่าจะต้องดูบ้า  น่ากลัว ภาพ ของคนไข้ที่น�้ำลายยืด  ตัวแข็ง  ถูกช็อตด้วยไฟฟ้า ชักกระตุก รุนแรง  ซึ่งสมัยนี้ในโรงพยาบาลหลายแห่งถ้าท�ำการรักษา ด้วยไฟฟ้า เขาจะให้คนไข้หลับก่อน ไม่ได้เจ็บปวดทรมาน อะไร ซึ่งมันต่างจากภาพจ�ำสมัยก่อนที่เหมือนโรงพยาบาล จะแกล้งคนไข้ที่ท�ำตัวไม่ดี  เอาตัวไปช็อตไฟฟ้า  ซึ่งความ เป็นจริงแล้วเราไม่สามารถท�ำแบบนั้นได้  เพราะมีระบบ ตรวจสอบ  หรือเรื่องของยาที่ทานแล้วอาจจะส่งผลท�ำให้ตัว แข็ง น�้ำลายไหลนั่นก็เพราะผลข้างเคียงของมันแต่ก็ไม่มาก สมัยนี้มียาที่หลากหลายขึ้น  และโรคหนึ่งก็มียารักษาสิบ กว่าชนิด โอกาสที่จะได้รับผลข้างเคียงจากยาก็น้อยลง” หนังสือ  ‘ความสุขที่ท่านเรียกไม่สามารถติดต่อ ได้ในขณะนี้’  เป็นผลงานที่ท�ำให้คุณหมอมีช่ือเสียงในวง กว้างยิ่งขึ้น  เพราะเนื้อหาด้านในเป็นการพูดถึงจิตวิทยา สังคมกับการใช้ชีวิตอยู่บนโลกที่ขับเคลื่อนไปด้วยโซเชียล เน็ตเวิร์ก  ทั้งเฟซบุ๊ก  ทวิตเตอร์ เว็บไซต์ ฯลฯ คุ ณ หมอมองว่ า ความเครี ย ดจากการเสพ ข่าวสารที่มากเกินไปท�ำให้ผู้คนในยุคนี้ห่าง ไกลความสุข

84


“ความเครียดของคนที่มันเปลี่ยนไปด้วย ทุกวันนี้เราเครียด เรื่องข้อมูลข่าวสารที่มันมาเร็วมาก เมื่อก่อนตอนน�้ำใกล้จะท่วมเรารู้ ข่าวแค่วันสองวันน�้ำก็มาถึงแล้ว เราเครียดระหว่างที่น�้ำท่วม พอน�้ำ ลดความเครียดก็หมดไป  แต่ตอนนี้เราอ่านข่าวสารรู้ว่าน�้ำจะท่วม ในอีกสิบวัน เราอ่านข่าวสารทุกวัน ถ้าเราเล่นเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ คนโพสต์ข่าวเรื่องเดียวกันแต่จ�ำนวน  10-20  คน  พอเรารับข้อมูล ข่าวสารที่มันมากไปมันก็เครียดง่ายขึ้น และเราเสพวนไปเวียนมาทั้ง วัน เหมือนช่วงที่ข่าวการเมืองตึงเครียด วันหนึ่งอาจจะมีข่าวสารอยู่ ข่าวเดียวแต่เล่าผ่านหลายเวอร์ชั่น  หลายคนดู  มากเกินไปมันก็เกิด ความเครียด ความโมโห หรือปัญหาของเด็กวัยรุ่น ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็ ไม่มีปัญหาเรื่องติดเกมรุนแรง  หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวจากการเสพ สื่อ แต่เดี๋ยวนี้รูปแบบมันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว สื่อที่จะเข้าถึงพวกเขา มาพร้อมกับความรุนแรง  หรือเกมสมัยนี้ที่ไม่ใช่เกมมาริโอโหม่งเห็ด แล้ว แต่เป็นเกมออนไลน์ที่จ�ำลองสังคม มันเหมือนจริง มันสามารถมี การซื้อขายของกันในโลกความเป็นจริงได้ สิ่งเหล่านี้ก็น�ำไปสู่ปัญหา ทางจิตของผู้คน ผมมองว่าปัญหาความเครียดของคนก็เหมือนเมื่อสัก  2030 ปีที่แล้ว เครียดเรื่องเงินไม่พอใช้ น�้ำท่วม ปัญหาเรื่องความรัก ครอบครัว แต่รูปแบบทางสังคมที่เปลี่ยนไป ท�ำให้วิธีที่ปัญหาจู่โจมคน เรานั้นก็เปลี่ยนไปด้วย ท�ำไมเรายังไม่มีความสุขทั้งที่ซื้อหนังสือฮาวทู สู่ความสุขมาอ่านตั้งหลายเล่ม ออกไปปฏิบัติธรรมแต่ก็ยังไม่มีความ สุข ผมมองว่าที่ผ่านมามันยังไม่มีเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไม่มีความขัดแย้ง ทางการเมืองที่รุนแรงมากขนาดนี้ บางอย่างมันไม่ใช่แค่ว่าการพัฒนา จิตใจให้อยู่กับตัวเองเท่านั้น  แต่มันต้องเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลง

85


ของโลกด้วยว่าที่มันเปลี่ยนไปนั้นเป็นอย่างไร เช่น เรื่องความขัดแย้ง ทางการเมือง  ที่ประเทศอื่นนั้นก็มี  แต่สิ่งที่ท�ำให้คนสองคนที่คิดไม่ เหมือนกันถึงขั้นต้องฆ่าฟันกัน   เรื่องนี้จิตวิทยามวลชนก็อธิบายได้ หรือโทรศัพท์มือถือ เมื่อก่อน 2-3 ปีถึงจะเปลี่ยนเครื่องใหม่ แต่สมัยนี้ มีไอโฟนรุ่นใหม่ออกมาเราก็ต้องเปลี่ยนแล้ว คือมันมีค�ำอธิบายได้แต่ เราก็ต้องมีชุดข้อมูลเกี่ยวกับจิตวิทยาบ้างเพื่อที่จะได้ตามโลกให้ทัน ข้อมูลข่าวสารจากสื่อเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์นั้นมันไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือเราปรับตัวกับมันได้หรือเปล่า เพราะตอนนี้อาจจะเป็น ช่วงเปลี่ยนผ่าน เรายังไม่ชินกับมัน ไม่รู้กลไกของมัน เพราะคิดว่า เป็นพื้นที่ส่วนตัว  อย่างการโพสต์อะไรบางเรื่องในเฟซบุ๊กของตัวเอง แล้วถูกไล่ออกจากงานหรือถูกน�ำไปรุมด่า  ผมคิดว่าหลายคนที่มี ประสบการณ์ตรงนี้เพิ่มมากขึ้น ก็จะมีสติมากขึ้น การที่เราจะมีความ สุขได้ เราจะต้องเข้าใจธรรมชาติของมันก่อน รู้เท่าทัน มีสติในการเสพ ส่งต่อในระดับที่เหมาะสม  อย่างดูข่าวแล้วเราคิดว่ามันเยอะเกินไป เราก็ควรจะรู้เท่าที่รู้  หรือข่าวน�้ำท่วมเราก็ไม่ต้องเช็กระดับน�้ำขึ้นทุก สองนาทีก็ได้ รู้ในข้อมูลที่เราคิดว่ามันส�ำคัญ ถ้าเราเสพข่าวก็ต้องกลั่น กรองด้วยว่ามันน่าเชื่อรึเปล่า  หรือต้องระวังการคล้อยตามของคนที่ คิดอะไรคล้ายกัน เพราะข่าวสมัยนี้มันมีความเป็น Emotion Journalism ค่อนข้างสูง ดูแล้วเราก็จะมีอารมณ์ร่วมไปกับข่าว ยิ่งดูมากมัน ก็ยิ่งทุกข์ ถ้ารู้สึกว่าเราเสพข่าวจนงานการไม่เดินแล้ว หรืออารมณ์ แปรปรวน ทะเลาะกับคนรอบข้าง เราก็ต้องเอาตัวเองออกจากสื่อ เหล่านี้บ้าง” งานของคุ ณ หมออี ก ด้ า นหนึ่ ง ที่ น ่ า สนใจก็ คื อ การเป็ น บล็อกเกอร์ที่เขียนถึงเรื่องภาพยนตร์ จากเริ่มต้นด้วยความชอบส่วน

86


ตัวจนน�ำไปสู่หนังสือที่ผสานเรื่องภาพยนตร์เข้ากับจิตวิทยาในการ ใช้ชีวิตได้อย่างลงตัวอีกหลายเล่ม เช่น ‘องศาที่ 361’ ‘เมื่อฉันลืมตา แล้วโลกเปลี่ยนไป’ ‘Lifescan มากกว่าที่ตาเห็น’ และที่ถูกใจของคน จ�ำนวนมากก็คือ ‘หนังสือรัก’ และ ‘เจ็บเพราะรัก’ ซึ่งเป็นการพูดถึง ความรักในหลายมุมมอง และความรักนี่เองที่เป็นปัญหาสากลของคน ทุกยุคสมัย

“ด้วยงานของผมเองที่ต้องเจอคนที่มีความทุกข์ ปัญหาที่เจอ บ่อยส�ำหรับคนที่คิดจะฆ่าตัวตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ สาเหตุส่วนใหญ่ ที่เจอนั้นมาจากเรื่องความรัก และความรักมันก็คือความผิดหวังจาก ความรัก ความรักที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ ก็คือเรื่องของคนที่ถูกทิ้ง เจ็บปวด เพราะถูกทิ้ง  เขาไม่เลือกฉัน  แต่ความเป็นจริงมันมีทั้งเรื่องของคนที่ หย่าร้าง เรื่องของคนรักที่เสียชีวิตไป คนนั้นอาจจะเป็นพ่อ แม่ หรือลูก กระทั่งเรื่องของคนที่เป็นแฟนกันและเลิกกันไป คนที่เป็นฝ่ายทิ้งกลับ

87


เป็นคนที่เจ็บปวดยิ่งกว่า มันมีหลายมุมมอง หลายประเภทของความ เจ็บปวดจากความรัก ซึ่งเราทุกคนไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้ หรือว่าเรา เจอคนที่เรารักมากคนหนึ่ง เราอาจจะไม่เลิกกัน เราอาจจะอยู่กับเขา ได้ตลอด แต่สุดท้ายก็ต้องตายจากกันอยู่ดี ดังนั้นเมื่อไหร่ที่มีความรัก มันก็ย่อมมีความเจ็บปวดตามมา เวลาคนเราเลิกกันหรือจบกันด้วยความรู้สึกไม่ดี มันก็จะมี แต่เรื่องเนกาทีฟ เขาแย่อย่างนั้น เขาไม่ดีอย่างนี้ และสิ่งที่จะติดอยู่ กับความรู้สึกของเราไปก็คือความโกรธ ความแค้น ซึ่งมันไม่ใช่ปัญหา ของคนรักเก่าแล้ว เพราะเขาออกจากชีวิตของเราไปแล้ว มีแต่เราที่ ยังอยู่กับความรู้สึกดังกล่าว เราอาจเลือกที่จะจ�ำด้านบวกและปล่อย ด้านลบออกไปได้ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะลบความทรงจ�ำทั้งหมด ทิ้ง  สุดท้ายแล้วเราก็รู้วิธีที่จะเปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้นในความสัมพันธ์ ครั้งต่อไป ชื่อหนังสือ ‘เจ็บเพราะรัก’ หลายคนมองว่าดูเนกาทีฟ แต่ ผมมองว่ามันคือความเป็นจริง และความเจ็บปวดบนความเป็นจริง นั้นเราจะเรียนรู้ยังไงที่จะสามารถก้าวผ่านความเป็นจริงตรงนี้ไปให้ ได้ เราต้องยอมรับก่อนว่าความเจ็บปวดมันเกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้น แล้วเราจะอยู่กับมันอย่างไร คนส่วนใหญ่ที่ทุกข์เพราะความรักนั้นตัว ความรักเองไม่ใช่สาเหตุหลัก แต่ทุกข์เพราะรู้สึกโกรธ โกรธที่เขาทิ้ง ฉันไป โกรธที่เขามองเราไม่มีค่า อิจฉาที่เขาไปมีคนอื่น หรือรู้สึกผิดที่ ตัวเองยังท�ำหน้าที่ของตนไม่ดีพอ ถ้าเราท�ำความรู้จักกับมันมากขึ้น เราจะรู้ว่าความเจ็บปวดจากความรักไม่ใช่สิ่งเลวร้าย  และสุดท้าย ความเจ็บปวดจะท�ำให้เราโตไปอีกขั้นหนึ่ง ไม่ได้เปลี่ยนเราจากหน้า มือเป็นหลังมือ  แต่เปลี่ยนเราไปอีกสเต็ปหนึ่ง  ซึ่งหาอ่านไม่ได้  แต่ ประสบการณ์จะบอกเราเอง”

88


สิ่งที่น่าสนใจคือคนในสังคมไทยปัจจุบันนี้มีปัญหากับการ มีความรักหรือเปล่า  ความเข้าใจเกี่ยวกับความรักเปลี่ยนไปจากแต่ ก่อนแค่ไหน ความสุขกับความรักจะมาพบเจอกันได้อย่างไร “มันอาจจะเป็นโลกที่มีอะไรเยอะขึ้น มีความหลากหลายทาง ความสัมพันธ์ สมัยก่อนมีแต่การนอกใจหรือไม่นอกใจ แต่สมัยนี้มี ค�ำว่ากิ๊ก มีค�ำว่า One Night Stand มีค�ำว่า Friends with Benefits มีความหลากหลายในความสัมพันธ์มากขึ้นตามวัฏจักรของโลกที่ เปลี่ยนไป ผมไม่รู้ว่าอะไรมันผิดหรือถูก แต่เราต้องรู้ว่าเราก�ำลังอยู่ใน ภาวะทางความสัมพันธ์แบบไหน และความสัมพันธ์แบบนี้มันจะน�ำ ไปสู่อะไร เรารับได้หรือเปล่า ภาษิตที่ว่าความรักท�ำให้คนตาบอด นั้น ยังใช้ได้อยู่ มันคือการที่เราตกไปอยู่ในความสัมพันธ์และเราไม่ได้มี สติ เราไม่ได้มองสิ่งรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นความรักที่แท้จริงหรือความ สุขชั่วคราว มันก็น�ำความทุกข์มาสู่เราได้เรื่อยๆ อินเตอร์เน็ตก็มีผล เทคโนโลยีสื่อสารว่องไวขึ้น เรารู้จักคน ง่ายมากขึ้น พบกันเร็วขึ้น เวลาที่จะได้รู้จักกันจริงๆ ก็ลดน้อยลง แต่ ไม่ได้แปลว่ามันผิด  และไม่ได้แปลว่าไม่มีคนที่ท�ำความรู้จักตัวตน กันอย่างลึกซึ้งในทางนี้เลย แต่ต้องระวังความไม่รู้ตัว คิดว่าเรารู้จัก เขาดีแล้ว เราอ่านเฟซบุ๊กเขาทุกวัน เขาทวิตเตอร์ก็พูดแต่เรื่องดีๆ ก็ ตัดสินใจคบกัน ไปมีเพศสัมพันธ์กัน และมารู้อีกวันว่าเขาไม่ได้เป็น แบบที่เราเข้าใจ มันไม่ใช่เรื่องของโลกที่เปลี่ยนไป แต่เป็นตัวเราที่ไม่ เท่าทันกับความสัมพันธ์ของยุคสมัยใหม่  เราเชื่อแต่สิ่งที่เราเห็นจาก เทคโนโลยี เพราะเราอยู่กับมันเรื่อยๆ จนเราคิดว่ามันเป็นเรื่องจริง แต่ มันเป็นแค่ภาพบางส่วนที่เขาน�ำเสนอเพื่อให้เราได้รู้จักเท่านั้น”

89


คุณหมอย�้ำเตือนถึงเรื่องการมีสติในการใช้ชีวิต เพราะตัวเขา เองก็เคยเกือบจะเอาชีวิตไม่รอดมาแล้วจากอุบัติเหตุแม้ตอนนั้นเขา จะแน่ใจว่ามีสติดีพร้อมก็ตาม แต่บางครั้งโชคชะตาก็เป็นตัวบอกว่า ระดับการมีสติของคนเราอาจจะต้องปรับสูงขึ้น “ตอนนั้ น อายุ   25  ปี   ผมขั บ รถจากบ้ า นไปท� ำ งานที่ โ รง พยาบาล จังหวัดระยอง บนถนนมอเตอร์เวย์สาย 3 เป็นถนนสาม เลน เช้าวันจันทร์ผมก็ไปท�ำงานเหมือนกัน ตอนนั้นผมขับอยู่เลนขวา ปกติถ้าใครเคยขับบนถนนเส้นนี้ถ้าไม่สังเกตเราจะไม่รู้ตัวว่าเราขับ รถเร็วแค่ไหน ผมจ�ำได้ว่าก�ำลังฟังเพลงและก็เหลือบดูความเร็วอยู่ที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คิดว่าตัวเองขับเร็วไปแล้ว ผมก็พยายามที่จะ ชะลอความเร็วและย้ายเข้าเลนกลาง ตอนนั้นก็เห็นรถอยู่ข้างหน้าคัน หนึ่ง แต่ก็คิดว่าเบรกทัน ผมก็พยายามแตะเบรก แต่จู่ๆ มันก็ใกล้มาก จนจะชนแล้ว แล้วรถผมก็เสียหลักหมุนจากเลนกลางผ่านไปเลนซ้าย และหมุนออกไปยังถนนข้างทาง รถพลิกไปมาอยู่สามรอบเข้าไปในไร่ สับปะรด กระจกหน้ายับและหลังคาก็ยุบหมด รถไม่มีแอร์แบ็กด้วย พอตอนเดินออกมาจากรถ ผมมองมายังที่นั่งคนขับก่อนเลยว่าเราจะ เห็นร่างตัวเองเหมือนในหนังไหม คือไม่รู้ตัวว่าเราตายแล้วหรือยัง ดู เสร็จก็ต้องรีบออกมา เพราะกลัวรถจะระเบิด ผมก�ำลังงงและช็อกมาก โทรศัพท์กลับไปที่บ้าน ก่อนที่จะโทรผมพยายามรวบรวมสติว่าจะพูด อย่างไรไม่ให้พ่อแม่ตกใจ ผมคิดว่าเลือกค�ำพูดที่ดีแล้วว่า ‘ตอนนี้รถ คว�่ำแต่ปลอดภัยแล้วไม่เป็นอะไร’ ตอนนั้นพ่อผมรับสาย แต่แม่ได้ยิน ที่พ่อคุยกับผมด้วย ผมได้ยินเสียงแม่กรีดร้องขึ้นมาทันที... หลังจากเหตุการณ์นี้มักจะมีคนมาถามผมว่าห้อยพระอะไร หรือบอกว่าเราอยู่ในช่วงเบญจเพส  ผมบอกไปว่าไม่ใช่เลย  สาเหตุ

90


เพราะผมประมาท ที่ผ่านมาผมขับรถเร็ว แต่ตอนนั้นผมคิดว่าถ้าเรา ไม่ง่วง มีสติ บางทีมันก็ไม่เห็นจะมีอะไร เราน่าจะควบคุมรถได้ แต่ เหตุการณ์นี้บอกผมว่าต่อให้เราควบคุมตัวเองได้ แต่เราควบคุมโลก นี้ไม่ได้ เพราะเราก็ท�ำให้รถคันหน้าห่างออกไปอีกนิดไม่ได้ ตอนเกิด อุบัติเหตุแล้วผมลงมาจากรถ  ในใจนึกว่าถ้าพ่อแม่หรือคนรักนั่งมา ด้วย เราคงอยู่ไม่ได้เพราะเราจะรู้สึกผิดมาก หรือเสียงของแม่ที่ร้องขึ้น มาตอนเราโทรกลับไปมันคงจะยาวนานกว่าเดิม” บางทีการแค่มีสติ รู้เท่าทันความเป็นไปของสังคม และ ใช้ชีวิตกับความรักด้วยความเข้าใจ  นั่นก็อาจเป็นความสุขที่ ล้วนอยู่ในตัวเราเองแล้ว ไม่ต้องออกไปแสวงหาที่ไหนเลย

เราอาจเลื อ กที่ จ ะจ� ำ ด้ า นบวกและปล่ อ ยด้ า น ลบออกไปได้   เพราะมั น เป็นไปไม่ได้ที่จะลบความ ทรงจ�ำทั้งหมดทิ้ง

91


วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ ผู้สังเกตการณ์ชีวิตแห่งไซเบอร์สเปซ

คุ ณ จะศรั ท ธาในสิ่ ง ที่ ม องไม่ เห็นได้หรือเปล่า?               ค�ำถามนี้อาจดูใหญ่เกินที่ มนุษย์อย่างพวกเราจะตอบ สังคม ถึ ง ต้ อ งมี ศ าสนา  มี พ ระเจ้ า ไว้ ใ ห้ ยึดเหนี่ยว  แต่ในโลกยุคใหม่  ช่วง เวลาที่ตัวตนของเราห่างไกลจาก ความเชื่อด้วยวิทยาศาสตร์  มนุษย์ ก้ า วพ้ น ดิ น แดนแห่ ง ความกลั ว ภูตผีมาสู่พื้นผิวความอ้างว้างทาง เทคโนโลยีที่ไม่มีอะไรให้เชื่อถือได้ อี ก   แต่ ช ายหนุ่ม คนนี้ไม่คิดแบบ นั้น เขานั่งมองเพดานในห้องนอน ส�ำรวจความเปล่าของชีวิตมานาน จนถึงวันที่ได้รู้จักกับโลกอีกใบใน คอมพิ ว เตอร์   เขาอยู ่ ร ่ ว มกั บ มั น ทดลองมัน  เฝ้าสังเกตการณ์และ เขียนเรื่องราวออกมา  ประหนึ่งผู้

92


คุมขังในเรือนจ�ำที่สังเกตพฤติกรรมนักโทษแห่งความเหงานับล้านคน เพราะสถานที่ที่ผู้ชายคนนี้อยู่ล้วนเต็มไปด้วยอารมณ์ ความรู้สึก ตัว ตนของผู้คนบนโลกคู่ขนานบนสังคมไซเบอร์สเปซ บนโลกออนไลน์ชื่อของเขามีหลากหลาย แต่ในโลกใบนี้เขา คือ วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ “มี ค นถามผมว่ า เขี ย นหนั ง สื อ เกี่ ย วกั บ อะไร  ผมก็ ต อบว่ า เขียนถึงเรื่องวัฒนธรรมร่วมสมัยและเทคโนโลยี  เขาก็บอกว่า  อ๋อ เขียนถึงการใช้งานสมาร์ตโฟนใช่ไหม การใช้งาน 3G ใช่ไหม ผมเอง ก็ไม่สามารถอธิบายเขาได้ มันไม่ใช่เรื่องของการใช้งาน แต่เป็นการ โต้ตอบกับสังคมปัจจุบันว่าผมคิดอะไรอยู่กับเทคโนโลยีที่สร้างความ เปลี่ยนแปลงต่อตัวผม สร้างความเปลี่ยนแปลงกับสังคมรอบข้าง ซึ่ง ไม่ว่าจะตอนนี้หรือเมื่อสิบกว่าปีก่อนมันก็ยังเป็นสิ่งที่อธิบายยากอยู่ดี ว่าผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร  มันเป็นเรื่องของความคิดมากกว่าจะ พูดถึงการใช้งานทางเทคโนโลยี” เมื่อหลายปีก่อนวุฒิชัยเริ่มต้นสายงานในฐานะนักข่าวจาก หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์จนกระทั่งวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 เขาถูกเลย์ออฟออกมาพร้อมเพื่อนร่วมชะตากรรมจ�ำนวนหนึ่ง แต่เวลา 3 ปีกว่าที่ได้เขียน ได้ฝึกประมวลความคิดจนสามารถต่อยอด ผลงานออกมาเป็นหนังสือ ‘ไซเบอร์บีอิ้ง’ เล่ม 1 และ 2 (2543), ‘เรื่อง ของผมผู้ชายไม่เกี่ยว’(2545), ‘ดูหนังคนเดียว’(2546), ‘การเดินทาง ใต้เงาตึก’ และ ‘เมืองใหญ่ในวงเล็บ’ (2548), ‘นี่นั่นโน่น’(2553) และ ล่าสุดกับ ‘สุนทรียะแห่งความเหงา’ (2554) ปัจจุบันเขายังคงเป็นนัก เขียนและคอลัมนิสต์ในนิตยสารผู้ชายที่แข็งแกร่งอย่าง GM

93


“เทคโนโลยีมันเปลี่ยนสเปซ แอนด์ ไทม์รอบตัวเราไปอย่าง รุนแรง การใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในช่วงยุค 2530 ตอน ปลายๆ มันเปลี่ยนโฉมหน้าชีวิตประจ�ำวันของคนในยุคนั้น มันสร้าง สิ่งใหม่ๆ มากมายทั้งการท�ำงานและการใช้ชีวิตประจ�ำวัน ผมสนใจ เพราะเทคโนโลยีนี้มันสร้างพื้นที่และเวลาแบบใหม่ให้กับเราที่เรียก กันว่าไซเบอร์สเปซ เราอยู่ในโลกปัจจุบันนี้มันก็เป็นสเปซหนึ่ง พอเรา เปิดคอมพิวเตอร์ เปิดวินโดวส์ 99 ดับเบิลคลิกที่ไอคอนโทรศัพท์ให้ มัน dial-up กับอินเตอร์เน็ต มันกลายเป็นสเปซใหม่ที่ต่อเรากับพันทิป ดอตคอม ต่อกับโปรแกรม Pirch (โปรแกรมสนทนาในยุคแรกๆ คล้าย msn) เข้าไปในสนุกดอตคอม เข้าไปในยาฮู กลายเป็นสเปซใหม่ที่เกิด ขึ้น”

94


“สเปซที่ เ ราใช้ ชี วิ ต อยู ่ ใ นปั จ จุ บั น กั บ สเปซที่ เ รานั่ ง พิ ม พ์ คอมพิวเตอร์  มันก็จะมีตัวตนของผู้ใช้เพิ่มขึ้น  น่าสนใจว่าตัวตนที่ เรานั่งอยู่ตรงนี้กับตัวตนที่อยู่ในคอมพิวเตอร์  มันเหลื่อมล�้ำ  ขัดแย้ง สอดคล้อง มันเปลี่ยนแปลงกันและกันอย่างอีรุงตุงนังมาก มันเหมือน เป็นอาการช็อกของคนในยุคนั้น  คนอื่นช็อกแต่อาจจะไม่ได้อ่อนไหว กับมันมาก แต่ผมอ่อนไหวกับมัน” งานเขี ย นของวุ ฒิ ชั ย จึ ง พยายามอธิ บ ายกั บ ปรากฏการณ์ เหล่านี้ ว่าตัวตนของเราในโลกไซเบอร์สเปซนั้นต่างจากตัวตนของเรา ในชีวิตจริงมากน้อยแค่ไหน เมื่อเราออนไลน์ตัวเราในชีวิตปกติเปลี่ยน ไปไหม หรือเมื่อเราออฟไลน์กลับมาใช้ชีวิตตามปกติตัวตนของเราบน หน้าจอคอมพ์เปลี่ยนไปอย่างไร ในยุคนั้นประเด็นเหล่านี้เป็นของใหม่ สามารถเขียนเล่าได้ทุกอาทิตย์ จนไม่น่าเชื่อว่าสิบกว่าปีต่อมาค�ำถาม ที่ถูกถามบ่อยก็ยังอยู่เหมือนเดิม

95


“สิ่งนี้เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดและถูกตั้งค�ำถามมาตั้งแต่ สิบกว่าปีก่อน ค�ำถามเดียวกันว่าตัวตนของเราจริงๆ กับตัวตนที่อยู่ หน้าจอนั้นต่างกันหรือเปล่า  สิบกว่าปีต่อมาทุกคนยังถามค�ำถามนี้ เหมือนเดิม สิ่งที่น่าสนใจคือโดยส่วนตัวของผมนั้นไม่ว่าจะตัวตนไหน นั่นก็คือการแสดง เราอยู่ตรงนี้ คุณเห็นผม ผมนั่งอยู่ตรงนี้ นั่นคือ ผมก�ำลังแสดงอยู่ ชีวิตของคนเราคือการแสดง มองเห็นตัวเองผ่าน สายตาของคนอื่น ผมเข้าใจว่าผมเป็นใคร เพราะผมดูปฏิกิริยาที่คุณ มีต่อตัวผม คุณท�ำสีหน้าที่เชื่อถือผมอยู่ ผมจึงรู้ว่าตัวผมยังเป็นคนที่ น่าเชื่อถือ ถ้าคุณหัวเราะเยาะผม ผมก็จะรู้สึกอับอาย ตัวตนของผม จะล่มสลาย ตัวตนของผมทุกขณะจิตคือการแสดงที่สอดคล้องกับทุก สิ่งทุกอย่างรอบตัว ในโลกเทคโนโลยี โลกไซเบอร์สเปซก็เหมือนกัน คนที่เล่นทวิตเตอร์และมีคนฟอลโลว์เยอะๆ  เขาก็ต้องแสดงบทบาท แบบหนึ่ง เพราะเขามีคนติดตามเยอะ ถ้าเขาไปเปิดบัญชีอีกชื่อหนึ่ง ใช้อีกอีเมล์หนึ่ง คุณคิดว่าทวิตเตอร์สองอันนี้เป็นคนคนเดียวกันไหม ผมมองว่าก็เป็นคนละคนนะ  เพราะไม่ว่าในสเปซไหนที่ตัวตนของเรา เข้าไปครอบครอง นั่นคือการแสดงหมดเลย ตัวตนของผมในทวิตเตอร์ ในเฟซบุ๊ก หรือในพันทิปดอตคอมก็ไม่เหมือนกัน ทุกวันนี้มันสนุกตรง ที่เทคโนโลยีได้สร้างสเปซขึ้นมามากมายมหาศาล เพื่อให้เราเข้าไปลง ทะเบียนเพื่อสร้างตัวตน ไม่ต้องเหมือนกันก็ได้ จะเป็นตัวเราหรือไม่ เป็นตัวเราก็ได้ กระทั่งในเฟซบุ๊กบนสเตตัสที่ต่างกันไป ตัวตนของคน ก็ไม่เหมือนกัน สเตตัสที่มีคนมากดไลค์เยอะๆ คุณก็จะยิ่งภูมิใจ ยิ่ง ฮึกเหิม ถ้าสเตตัสไหนที่ไม่มีคนมากดไลค์ ตัวตนของคุณในสเตตัสนั้น ก็จะเหี่ยวแห้งและหายไป... ผมใช้อินเตอร์เน็ตมาสิบกว่าปี ผมรู้ว่าตัว ตนที่ผมใช้มาตลอดในนั้นมันไม่มีอยู่จริง”

96


น่าสนใจว่าถ้าทุกตัวตนของเราคือการแสดง  เราจะเชื่อถือ หรือศรัทธาอะไรในโลกออนไลน์หรือบนโลกนี้ได้อีก? “นี่มันคือค�ำถามของศาสนา ว่าเราจะเชื่ออะไร จะอยู่ต่อ ไปยังไง จะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่ออะไร มันคือค�ำถามเชิงศาสนา เชิง ปรัชญา...ถ้าคุณเชื่อว่าโลกนี้ก�ำลังดิ่งจมลงไปในเหว สังคมล่มสลาย โลกนี้อีกไม่นานก็จะแตก  คุณก็จะกลายเป็นเด็กแว้น  กลายเป็นพวก แอนตี้โซเชียล  พวกอันธพาล  ถ้าเกิดน�้ำท่วมหรือเกิดภัยอะไรขึ้นมา คุณก็จะไปปล้นของชาวบ้าน  ถ้าคุณเชื่อว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กมันเลว ทราม ถ้าคุณเชื่อว่าในอนาคตมนุษยชาติจะตกต�่ำ  คุณก็จะโพสต์แต่ ค�ำด่าทอ เสียดสี ประชดประชัน พอคุณด่าเสร็จก็จะปิดแอ็กเคานต์ หนีไปเปิดอันใหม่เพื่อมาด่าต่อ คุณก็จะเอาข่าวที่ไม่มีอยู่จริงมาสร้าง ความเสื่อมเสียให้กับคนโน้นคนนี้  เสร็จแล้วคุณก็จะปิดแอ็กเคานต์ หนีอีก คุณเป็นคนแบบไหน คุณจะอยู่กันยังไง ถ้าคุณคิดว่าสังคมนี้ ควรจะดีกว่านี้ ถ้าน�้ำท่วมมาอีก บ้านเมืองเกิดภัยพิบัติ คุณจะท�ำยังไง คุณจะเอารถไปจอดบนสะพานลอยไหม คุณก็คงไม่ท�ำ คุณก็จะเอารถ จอดไว้ที่บ้านแต่หาอะไรมาหนุนรถให้สูงขึ้น  แล้วคุณก็จะออกไปเป็น จิตอาสา คุณก็จะช่วยเหลือเพื่อนบ้าน ถ้ามีอาหารเหลือก็จะเอาไป ช่วยหมาแมวที่อดอยาก คุณอยากให้โซเชียลเน็ตเวิร์กมันพัฒนาต่อ ไปไหม คุณอยากให้โลกเรามีแต่สิ่งดีๆ ใช่ไหม คุณก็แชร์แต่สิ่งที่ดี สิ่ง ถูกที่ควร หรือคุณจะตรวจสอบการท�ำงานของรัฐบาล คุณก็ควรตรวจ สอบข้อมูลที่เป็นเท็จในอินเตอร์เน็ตด้วย  ช่วยกันแชร์ช่วยกันท�ำให้ มันดีขึ้น คุณอยากให้โลกเป็นยังไงก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณ ถ้าคุณคิดว่าโลก นี้มันจะจบสิ้นลง คุณจะหาแต่ผลประโยชน์ทุกอย่างอยู่กับตัว คุณจะ ปิดบ้านตั้งกระสอบทรายสูง 5 เมตรขึ้นมาและปั่นไฟใช้ในบ้านเหรอ มันก็ไม่ใช่ คุณก็ต้องเปิดประตูออกมา ถามเพื่อนบ้านว่ายังมีอะไรให้ เราช่วยอีกไหม คุณอยากอยู่ในโลกแบบไหนล่ะ โซเชียลเน็ตเวิร์กเองก็ เหมือนกัน “

97


“ปรากฏการณ์ในการสื่อสารแบบ many to many จากโซเชียลเน็ตเวิร์กได้เปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ของโลกใบนี้ไปแล้วรวมถึงประเทศไทยด้วย  วุฒิชัยบอกว่าการสื่อสาร แบบนี้ไม่ท�ำให้คนเราเฉื่อยชา เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับข่าว ไม่ ได้รอรับฟังข่าวจากรัฐแบบ passive อีกต่อไป เป็นความเสรีทางการ สื่อสารที่อยู่ท่ามกลางข้อมูลอันมหาศาลทั้งเรื่องจริงและเท็จ  “ผม เชื่อว่ามันจะผลักดันสังคมไปในทางที่ดีขึ้น  โดยรวมแล้วในโซเชียล เน็ตเวิร์กมันก็ต้องมีข่าวลือ ความเท็จ ความหยาบคาย แต่ส่วนใหญ่ มันจะเป็นความจริง เป็นสิ่งที่ดี เป็นค�ำพูดที่ไพเราะ โดยส่วนรวมแล้ว สภาพการสื่อสารแบบนี้มันจะค่อยๆ ดีขึ้น” วุฒิชัยยังเสริมประเด็นนี้ ต่อ “ถ้าคุณเป็นอนุรักษนิยมคุณก็จะมองว่ามันท�ำแบบนี้ไม่ได้นะ ปล่อยให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็นกันเฉื่อยแฉะ ปล่อยให้แชร์ภาพ ที่เป็นข่าวลือได้อย่างไร ถ้ามองโลกในแง่ร้าย มนุษย์ทุกคนมีแต่ความ เลวทราม ถ้าปล่อยให้การสื่อสารแบบนี้ด�ำเนินต่อไป สังคมจะต้อง ตกต�่ำลง แต่ถ้าคุณมองแบบเสรีนิยม นี่มันก็คือโอกาสของคนตัวเล็กๆ ที่จะได้แสดงความคิดเห็น ต่อจากนี้เขาจะไม่ได้ดูทีวีแบบ    passive อีกแล้ว เขาสามารถตอบโต้ข่าวสารที่ได้รับกลับไปได้ทันที มันเป็น โอกาสของคนตัวเล็กๆ ของคนชายขอบที่ไม่เคยมีเสียงในสังคม ถ้า คุณมองโลกในแง่ดีนี่มันคือโอกาสที่คนจะได้ท�ำดีต่อกัน เวลาที่มีการ แจ้งข่าวว่าที่นี่ต้องการแรงงานจิตอาสา โซเชียลเน็ตเวิร์กคือแหล่งที่ จะระดมคนมหาศาลเข้าไปช่วยกัน อย่างการระดมคนไปช่วยสุนัขที่ วัดสวนแก้วที่ก�ำลังจะจมน�้ำตายนับพันตัว ชาวเฟซบุ๊กก็เข้าไปกอบกู้ ชีวิตหมาขึ้นมา เพราะสุดท้ายมันก็อยู่ที่อคติและฉันทาคติของคุณว่า จะมองเรื่องนี้แบบไหน ...ผมมองว่าเรารับข่าวสารจากตรงนี้ปลอดภัย กว่าการรับข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ทีวีช่องหนึ่ง หรือรัฐบาล

98


ใดรัฐบาลหนึ่งเท่านั้น เราฟังทั้งฝ่ายรัฐบาล เราก็ต้องฟังฝ่ายค้านด้วย เราก็ต้องอ่านหนังสือพิมพ์อีกฉบับ ดูทีวีอีกช่องเพื่อเช็คข่าว ขณะที่เรา ออนไลน์เฟซบุ๊ก เราแชร์ภาพของอีกฝั่ง เราก็ต้องไปเช็กภาพของอีก ฝั่งหนึ่งด้วย เราได้รับอี-เมล์โจมตีฝั่งโน้น เราก็ต้องเปิดใจที่จะรับข้อมูล จากอีกฝั่งหนึ่งเหมือนกัน นี่คือวิธีการที่จะอยู่รอดในโลกที่การสื่อสาร เป็นแบบ many to many การสื่อสารแบบโซเชียลเน็ตเวิร์กที่เราแชร์ ทุกอย่างแก่กัน” วุฒิชัยยังคงมีความสุขในการเป็นนักสังเกตการณ์บนไซเบอร์ สเปซ เพราะแทนที่จะบ่นอยู่ในใจ เขาก็ได้บ่นออกมาเป็นตัวหนังสือ ผ่านเทคโนโลยี  เขามองโลกอย่างเข้าใจว่าไม่ว่าในโลกนี้หรือโลก ดิจิตอล ก็ย่อมมีฝั่งของความเชื่อที่ผลิตการกระท�ำที่ดีเท่ากับความเชื่อ ที่สร้างสรรค์แต่ความย�่ำแย่ ส�ำคัญตรงที่ทุกคนเลือกได้ว่าจะพาตัวเอง ไปอยู่ฝั่งไหน คุณจะศรัทธาในสิ่งที่มองไม่เห็นได้หรือเปล่า...วุฒิชัย และคุณล้วนมีค�ำตอบอยู่ในใจ

99


ภูพิงค์ พังสอาด

พิ ง  ล� ำ พระเพลิ ง  : เปลี่ ย นความฝั น ให้ เ ป็ น ไฟ เปลี่ยนความขมขื่นให้เป็นฟืน มักจะมีคนบอกว่าคนที่มี อาชีพตลกนั้นตัวจริงมักไม่ตลก เพราะชี วิ ต ของคนตลก ส่ ว นใหญ่ ไ ม่ ค ่ อ ยจะมี เ รื่ อ งให้ ข� ำ นัก  ค่อนไปทางขมขื่นเสียมากกว่า ด้วยว่าต้องต่อสู้ดิ้นรนมามากมาย กว่าจะได้มายืนปล่อยมุขอยู่หน้า เวที  กระทั่งว่าในชีวิตส่วนตัวก็ต้อง พานพบกับเรื่องสะเทือนใจ จุ ด ร่ ว มของคนตลกทั้ ง หลายก็ คื อ ต่ อ ให้ ชี วิ ต มั น แย่ แ ค่ ไหน แต่พวกเขาก็ไม่เคยหมดใจให้ กับอารมณ์ขัน

100


เหมื อ นกั บ ชี วิ ต ของ  ภู พิ ง ค์   พั ง สอาด  หรื อ ชื่ อ ที่ รู ้ จั ก กั น ใน วงการบันเทิงว่า พิง ล�ำพระเพลิง ชายหนุ่มร่างเล็กที่ตอนนี้คือผู้ก�ำกับ ภาพยนตร์ไทยในสไตล์ของตัวเอง  หนังที่หลอมรวมทั้งอารมณ์ขัน ความฝัน ความเศร้า เกลาจนเป็นเนื้อเดียวกันออกมา เช่น ‘โคตรรัก เอ็งเลย’ ‘คนหิ้วหัว’ ‘ฝันโคตรโคตร’ ฯลฯ รวมถึงการเป็นนักแสดงตลก เดี่ยวไมโครโฟน  ศิลปินละครใบ้ข้างถนน  นักเขียนบทละครโทรทัศน์ และบทภาพยนตร์ นั บ จ� ำ นวนไม่ ถ ้ ว น  เรี ย กได้ ว ่ า ถ้ า ใครในวงการ บันเทิงนึกอยากจะท�ำอะไรที่ตลกสุดเหวี่ยง  มีสาระให้ยึดถือ  ก็จะ นึกถึงฉายานี้ก่อนใคร...พิง ล�ำพระเพลิง เขามีต้นทุนชีวิตเหมือนกับใครอีกหลายคนนั่นก็คือชีวิตวัย เด็กที่ยากล�ำบาก พ่อแม่หย่าร้างกัน เมื่อเรียนจบจากวิทยาลัยเพาะช่าง เขากับเพื่อนสนิทในตอนนั้นที่ยังไม่มีใครรู้ว่าวันหนึ่งจะกลายมา เป็นตลกหมายเลขหนึ่งของเมืองไทยอย่าง โน้ส - อุดม แต้พานิช ทั้ง คู่ออกมาเช่าห้องตามหาฝันด้วยกัน ภูพิงค์ไปท�ำงานที่โรงงานท�ำขนม ในแผนกการออกแบบบรรจุภัณฑ์  แต่เหมือนว่าความฝันนั้นจะเริ่ม เล่นตลก  เขาตกงานด้วยสาเหตุที่ไม่สมเหตุสมผล  จากจุดนี้ภูพิงค์ ตัดสินใจย้ายภูมิล�ำเนาชีวิตไปอยู่ที่อ�ำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ใช้ชีวิต ริมทะเลอย่างเสรีเหมือนตัวละครในนิยายเรื่อง  ‘พันธุ์หมาบ้า’  จาก ปลายปากกาของ ชาติ กอบจิตติ นักเขียนชื่อดังที่เขายกย่อง จะมีใครสักกี่คนกันเชียว ที่อ่านหนังสือเล่มหนึ่งแล้วจะตัดสิน ใจใช้ชีวิตตามอย่างตัวละครในนั้น

101


“ตอนนั้นอ่านหนังสือเรื่อง ‘พันธุ์หมาบ้า’ แล้วรู้สึกว่าชีวิตมัน เท่ เป็นชีวิตไม่ต้องนึกถึงวันข้างหน้า ใช้ชีวิตอยู่ริมทะเล ใส่กางเกงเล เสื้อยืด ตุ้มหู เปิดร้านท�ำซิลค์สกรีน... เราได้อ่านหนังสือแล้วเราก็สนุก อยากเป็นแบบนั้นบ้างจังเลย ก็เลยนึกขึ้นได้ว่ามีเพื่อนอยู่ที่สัตหีบ เปิด ร้านรับเขียนป้าย ฝั่งตรงข้ามเป็นทะเลเหมือนในนิยาย เราก็ไปอยู่ที่นั่น ใช้ชีวิตเหมือนในหนังสือเลย นั่งกินเหล้าริมทะเล มีความสุขมาก และ ผมก็ได้เจอผู้หญิงคนหนึ่ง เป็นแม่ค้าขายขนม ผมก็จีบเขาจนติด เขาก็ ชื่นชอบชื่นชมในชีวิตเท่ๆ ของผม สุดท้ายเราก็ได้แต่งงานกัน ชีวิตที่เท่ มันมีความสุขนะ แต่มันอยู่ได้เฉพาะช่วงอายุหนึ่งเท่านั้นนะ ตอนนั้น ผมอายุ 23 – 24 ปี ผมรู้สึกว่ามันเหมาะกับช่วงอายุในตอนนั้น แต่ตอน นี้ 40 ปีแล้วถ้ายังท�ำอย่างนั้นอยู่ก็ไม่ไหวเหมือนกัน ความสุขในช่วง นั้นผมยังกินไม่หมดเลยนะ เหมือนมันยังอยู่ในร่างกาย ในเลือดเนื้อ ในหัวใจ เวลาที่ผมเหนื่อย ผมท้อในการท�ำงาน ผมมักจะเอาความสุข ในช่วงนั้นมาเก็บกินอยู่เรื่อยๆ ก็นึกถึงวันเก่าๆ ที่มันมีความสุข เป็น ความสุขที่เหมาะในช่วงอายุ ความสุขในแต่ละช่วงมันก็เหมาะกับอายุ ในช่วงนั้นมากกว่า ตอนนั้นผมไม่ได้รู้สึกท้อแท้เลยนะได้เงินวันละร้อย สองร้อย หามาได้ก็กินหมดในแต่ละวัน แต่ก็มีความสุขดี” แม้ความสุขราคาประหยัดก็ยังต้องอาศัยทุนรอน  เมื่อรายได้เริ่มจะไม่สัมพันธ์กับค่าใช้จ่าย  ภูพิงค์จึงต้องกลับเข้ามากรุงเทพ ตามค�ำชักชวนของเกลอเก่าอย่าง อุดม แต้พานิช ให้ไปท�ำงานฝ่าย ศิลปกรรมกับนิตยสาร “ไปยาลใหญ่” ซึ่งทีมงานมีคนดังจากวงการ หนังสืออยู่หลายคนทั้ง ประภาส ชลศรานนท์, ชลลดา เตียวสุวรรณ (หรือเพลงดาบแม่น�้ำร้อยสาย)  และคนที่เป็นแรงบันดาลใจในการ เป็นนักเขียนแก่เขามากที่สุดอย่าง  ศุ  บุญเลี้ยง  เพราะเป็นคนที่ให้

102


โอกาสภูพิงค์ได้เขียนเรื่องสั้นและบทความลงในหนังสือซึ่งได้รับเสียง ชื่นชมกลับมาเป็นอย่างสูง จนน�ำไปสู่ก้าวใหญ่ในชีวิต เมื่อเขาตัดสิน ใจออกมาเปิดส�ำนักพิมพ์ของตัวเองในชื่อ ‘พิลาไลย’ เพื่อผลิตหนังสือ อารมณ์ดี อ่านสนุก ตามอย่างที่ใจฝันอีกครั้ง แต่กลายเป็นว่าเขาต้องแบกรับความฝันด้วยราคาแสนแพง กับหนี้สินจ�ำนวน 5 แสนบาท ซึ่งในยุคนั้นถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก เขากับภรรยามองหาทางออกด้วยการไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพนักงานล้างจานตามร้านอาหาร เพื่อเก็บเงินใช้หนี้ “ถึงตอนนี้ ส�ำหรับผมแล้ว เงิน 5 แสนบาทก็ยังเป็นตัวเลขที่เยอะอยู่นะครับ เวลา บอกใครว่าเป็นหนี้ 5 แสน คนก็จะพูดว่าท�ำไมต้องไปดิ้นรนท�ำงาน อย่างนั้นด้วย เพื่อแลกกับเงินแค่ 5 แสนเอง แต่เราพูดถึงเงิน 5 แสน บาทในปี 2533 ซึ่งตอนนั้นมันเยอะนะครับ เวลาผ่านมา 21 ปีแล้ว และสภาวะที่ผมไม่มีงานประจ�ำกับหนี้ 5 แสนบาท มันมืดแปดด้าน ไม่รู้จะเอาเงินมาจากไหน ถ้าไม่ล้างจานใช้หนี้ก็คงต้องปล้นธนาคาร แต่เราเลือกวิถีสุจริตดีกว่า จึงไปล้างจานใช้หนี้ ผมว่าก็เป็นสิ่งที่ดีใน ชีวิตนะ ผมรู้สึกว่าถ้าผมไม่มีหนี้ ผมก็คงไม่ทุรนทุรายไปอเมริกา แล้ว ผมก็คงไม่มีความสุขก้อนนั้นในชีวิต ผมก็คงจะไม่มีประสบการณ์ก้อน นั้น สองปีที่อเมริกามันเป็นประสบการณ์ก้อนใหญ่มาก “ชีวิตที่นั่นมีความสุขดี  เพราะว่าเราก็มีความสุขแบบวันต่อ วันเหมือนเดิม เป็นเด็กเสิร์ฟก็มีความสุขดีนะ ผมไปอยู่ที่นั่นตอนช่วง อายุ 26 ปี ผมว่ามันเหมาะกับช่วงอายุ... เราสามารถยืนล้างจานได้ ทั้งวัน ก็มีความสุข ได้ไปอยู่กับภรรยา ได้เรียนภาษา ได้ฝึกฝนตนเอง เป็นความสุขอีกก้อนที่ใช้จนถึงทุกวันนี้ เป็นประสบการณ์เกี่ยวกับคน

103


ที่สู้ชีวิต ท�ำงานใช้หนี้ ต้องยืนให้ได้ในวันที่ไม่มีใคร มันเป็นความสุข อีกก้อนหนึ่งที่เก็บกินได้ไม่หมด ผมว่าอะไรที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา ถ้าเรา รู้จักเรียนรู้ เข้าใจ และรู้จักใช้มัน มันเก็บกินได้ไม่มีวันหมด” ชายหนุ่ม ร่างเล็กกล่าวย�้ำเรื่องความสุขอย่างภูมิใจ ภูพิงค์และภรรยากลับมาเมืองไทยอีกครั้งหลังจากใช้หนี้ได้ จนหมดแล้ว  เขาเดินหน้าเข้าสู่วงการบันเทิงในฐานะคนเบื้องหลัง อย่างเต็มตัว  เมื่อชีวิตมีการดิ้นรน  โอกาสก็ย่อมมีช่องทางให้พบเห็น เขาได้เริ่มงานเขียนบทละครโทรทัศน์  ละครตลกในแบบที่เขาถนัด และก็ เ หมื อ นพลุ ไ ฟที่ ร อวั น เฉลิ ม ฉลอง  หลั ง จากนั้ น ชื่ อ ของเขาใน วงการบันเทิงว่า พิง ล�ำพระเพลิง ก็ไม่เคยห่างหายไปจากท้องฟ้าอีก เลย

104


“ความฝันกับความหวัง ที่จริงแล้วมันมาคู่กันนะ ผมรู้สึกว่า ชีวิตนี้คงไม่มีอะไรนอกจากความฝัน  สมมุติว่าชีวิตผมไม่มีความฝัน นั่นก็หมดเลยนะ เพราะต้นทุนชีวิตผมไม่มีอะไรเลย เงินเก็บก็ไม่มี พ่อ แม่ก็แยกกันอยู่ หน้าตาก็ไม่หล่อ ร่างกายก็เตี้ย ผมรู้สึกว่าสิ่งเดียวที่มี คือความฝัน มันเป็นพลังงานที่ไม่ต้องการต้นทุน สมมุติถ้าใครก�ำลัง แย่ๆ อยู่ ผมขอให้คุณฝันเลย พอฝันปุ๊บเราก็จะมีต้นทุน ถ้าคุณไม่ฝัน คุณจะไม่เหลืออะไรเลย ส�ำหรับคนที่ไม่มีอะไร ความฝันเป็นพลังงาน เดียวที่ไม่มีต้นทุน แล้วท�ำไมคุณจะไม่ฝัน ผมคิดว่าที่ผมมาถึงวันนี้ได้ ก็เพราะผมมีความฝัน ผมเชื่อมั่น แต่คุณมีความฝันอย่างเดียวไม่พอ นะ คุณต้องมีความจริงอยู่ด้วย ความฝันเป็นพลังงานที่ไม่มีต้นทุน เป็นไฟ แต่เป็นไฟที่เผาผลาญเรา ถ้าเราไม่มีฟืน เราต้องให้ความจริง เป็นฟืน ความฝันเป็นไฟ พอเรามีความจริง เราก็จะมีต้นทุน ไฟฝันมัน ก็จะลุกโชนได้ ถ้าคุณเอาแต่ฝัน ไม่มีความจริง ไฟฝันมันจะเผาตัวคุณ คุณก็จะร้อนรุ่ม ทุรนทุราย ท�ำไมเราไม่ได้ท�ำอย่างที่หวัง ไม่ได้อย่างที่ ฝันสักที สรุปคือให้ความฝันเป็นไฟ ความจริงเป็นฟืน” อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า พระเจ้าไม่ได้สร้างโลก ด้วยการทอยลูกเต๋า หมายความว่าทุกสิ่งล้วนถูกก�ำหนดมาแล้ว เพียง แต่ว่าเรายังไม่ได้ค้นพบมัน  เหมือนชีวิตที่ก�ำลังเริ่มตั้งหลักได้ของ ภูพิงค์กับงานในวงการบันเทิง ทว่าชีวิตหนึ่งที่ก�ำลังสุกสกาวขึ้น แต่อีก ชีวิตหนึ่งกลับหรี่แสงลง หรือนี่คือแผนการของพระเจ้าที่จะทดสอบเขา อีกครั้ง และความเศร้าระดับดวงดาวครั้งนี้ก็ท�ำให้ภูพิงค์แทบจะไม่ เหลือก�ำลังใจ

105


“ช่วงที่แย่สุดคือตอนที่ภรรยาเสียชีวิต มันไม่ได้เกี่ยวกับที่เขา ตาย แต่มันแย่ที่สุดคือเราหมดศรัทธาในตัวเอง ช่วงที่ภรรยาตาย ผม หมดศรัทธาในตัวเอง มันท�ำให้ผมไม่มีความฝัน ไม่มีอะไรเลย...” ภูพิงค์บอกเล่าด้วยน�้ำเสียงปกติ  จากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อปี  พ.ศ. 2542 ผ่านมา 12 ปีแล้ว นี่คือปีที่ 13 ของการใช้ชีวิตอยู่โดยไม่มีคนที่ ฝ่าฟันความทุกข์ยากมาด้วยกัน แต่พวกเขามีสิ่งที่สร้างร่วมกันไว้ สิ่งที่ ส�ำคัญที่สุดในชีวิตของชายหนุ่มวัย 40 กะรัต “ผมรู้สึกว่าตอนนั้นเป็นปีที่แย่มาก แต่พอมองย้อนกลับไปก็ รู้สึกว่ามันไม่ได้แย่ที่ภรรยาผมตาย แต่มันแย่เพราะตัวผมเอง ผมหมด ศรัทธาในตัวเอง... พอเริ่มมีแรง ผมก็หันมาอ่านหนังสือ เจอประโยค ดีๆ เจอสิ่งที่มันดีๆ เราก็ประจุไฟขึ้นมาใหม่ อัดความฝันเข้ามาใหม่ พอความฝันมันเริ่มโคตรแน่นก็ผลักดันให้สมองมีแรง มีความคิด ให้ มีแรงสร้างงานต่อไป สุดท้ายก็อยู่ที่ตัวเราเอง...ช่วงนั้นเราก็ใช้เงินเก่า ไป ใช้เงินจากที่เหลือเก็บซึ่งก็ไม่ได้เยอะแยะ ผมเป็นคนที่ไม่มีเงินเก็บ มากมาย พอแฟนตาย ผมก็ท�ำงานไม่ได้ อยู่อย่างไม่มีเงิน ไม่ท�ำงานปี ถึงสองปี เงินก็เริ่มหมดไป แล้วผมรู้สึกว่ามันแย่แน่ๆ “โชคดีที่ผมมีลูก ผมมองหน้าลูก ถ้าไม่ท�ำงานเงินจะหมด ลูก จะอยู่อย่างไร ก็เลยแปลงความเศร้าเป็นทุน ก็เริ่มหาเงินจากความ เศร้าของตัวเอง” นั่นคือที่มาของหนังไตรภาค ‘โคตรรักเอ็งเลย’ ‘คนหิ้ว หัว’ และ ‘ฝันโคตรโคตร’ อันว่าด้วยการต่อสู้บนความสูญเสีย ซึ่งทุก เรื่องเชื่อมโยงสู่เสี้ยวชีวิตของผู้ก�ำกับการแสดงคนนี้ พิง ล�ำพระเพลิง ถ้าคุณมีความเศร้าในชีวิตของคุณ ก็เอามาแปลงเป็นทุน

106


ไหมล่ะ คุณจะให้ความเศร้ามากัดกินชีวิตคุณอยู่หรือ ไม่เป็นไรถ้าจะ มีใครด่าผมว่าเอาเมียมาหากิน แล้วยังไงล่ะ คุณมีคนตายในชีวิตของ คุณ ถูกต้องไหม ก็เอามาหากินได้ หรือคุณจะนอนกอดเถ้ากระดูกอยู่ แบบนั้น คือผมไม่ได้ว่าคนที่ดูถูกผม ผมรู้สึกว่าถ้าคุณจะเสียเวลามา ดูถูกผม  คุณเอาเวลาไปสร้างสิ่งที่เกิดประโยชน์กับตัวเองดีกว่าไหม ผมรู้สึกแบบนั้น แต่ผมรู้สึกดีนะที่มีคนดูถูกผมบ้าง มันเป็นแรงผลัก ดันให้เดินต่อไป ในวงการมายา  สิ่งที่แย่ยิ่งกว่าการโดนด่าคือการไม่ ถูกพูดถึง  เพราะฉะนั้นผมรู้สึกว่าพูดถึงผมเถอะ  จะด่าหรือชื่นชมก็ได้ ผมเลี้ ย งลู ก ในแบบที่ ผ มเป็ น  เราก็ อ ยู ่ ค อนโดด้ ว ยกั น สอง คนพ่อลูก เขาอยากท�ำไรก็ให้เขาท�ำ อยากเรียนเต้น B-Boy ก็ให้เขา เรียน ผมไม่ได้มองว่าเป็นการเต้นเลอะเทอะ แต่เป็นการออกก�ำลัง กาย เขาอยากเล่นสเก็ตบอร์ด อยากเรียนเปียโน ก็ให้ไปเรียน ผมมอง ว่าเป็นการท�ำสมาธิ สุดท้ายเขาจะรู้ตัวว่าอะไรคือสิ่งที่เขาชอบ ตอน นี้สเก็ตบอร์ดเขาไม่เอาแล้ว เขารู้ว่าไม่สนุก ไม่ชอบ แต่เปียโนยังเล่น อยู่  และผมถือว่าโชคดีมากที่ลูกชอบอ่านหนังสือ  เพราะการที่เด็ก ชอบอ่านหนังสือนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยัดเยียดได้จริงๆ  ผมรู้สึกว่า ผมท�ำให้เขาเห็น อ่านให้เขาเห็น บ้านของผมมีหนังสือเยอะมาก ผม อ่านให้เขาเห็นบ่อยๆ เขาจะซึมซับไปเอง บ้านมีเปียโนผมก็เล่น เขาก็ ซึมซับไปเอง ใช้วิธีท�ำให้ลูกเห็น ผมไม่เคยบอกลูกว่าห้ามสูบบุหรี่ แต่ ผมไม่สูบบุหรี่ เขาก็ไม่สูบ เขาก็มองเห็นว่าพ่อแข็งแรง ออกก�ำลังกาย ทุกเช้า ผมเคยถามเขาว่าอยากเป็นอะไร อยากท�ำอะไร เขาบอกว่า อยากเป็นเหมือนผมนั่นแหละ”

107


“ผมเป็นคนที่มีกิเลสสูงกว่าความจริงหนึ่งคืบเสมอนะ คือผม รู้สึกเหมือนคนที่เขย่งอยู่ตลอดเวลา ผมรู้นะว่าเขย่งมันก็เมื่อยบ้าง มี อะไรให้คว้า ผมต้องคว้าไปตลอด เพราะถ้าไม่ท�ำแรงบันดาลใจใน ชีวิตมันจะไม่เกิด ทุกวันนี้ผมออกก�ำลังกายทุกเช้าเพราะยังไม่อยาก แก่ จะได้มีแรงท�ำโน่นท�ำนี่ต่อไปเรื่อยๆ...เราต้องเตรียมร่างกายของ เราให้พร้อม วันนี้มันมีสิ่งที่เราฝันอยู่เรื่อยๆ เพราะว่าถ้าผมไม่มีฝัน ก็ ไม่รู้จะอยู่ไปท�ำไม มันไม่มีอะไรให้ไขว่คว้า” เขาพูดอยู่บ่อยครั้งเมื่อมีคนถามว่าเขาพยายามท�ำงานหลาย รูปแบบเพื่ออะไร เขาบอกว่านอกจากท�ำเพื่อตัวเขาเองแล้ว เขาก็ อยากท�ำเพื่อคนอื่นด้วย และการที่ใครสักคนจะเป็นแรงบันดาลใจให้ คนอื่นได้ สถานะที่ว่านั่นก็คือไอดอล “เราไม่สามารถประกาศตัวได้ว่า  ณ บัดนี้เราจะเป็นไอดอล แล้วนะ คุณมาเป็นสาวกของผมได้ เราประกาศตัวไม่ได้ เราได้แต่ ก้มหน้าท�ำสิ่งที่เชื่อแล้ววันหนึ่งจะมีคนเดินตามเราเอง  คนที่ชื่นชอบ ชื่นชม ผมพูดอย่างหน้าไม่อายเลยว่าผมอยากเป็นไอดอล อย่างน้อย ก็มีคุณค่าให้ใครบางคนเดินตามไปได้ มีแรงที่จะก้าวต่อไป ผมรู้สึกว่า ดีจังเลย เหมือนที่ พี่จุ้ย-ศุ บุญเลี้ยง เป็นไอดอลของผม โหน่ง-วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ก็เป็นไอดอลของผม เหมือนที่คุณตูน วงบอดี้สแลม (อาทิวราห์ คงมาลัย) เป็นไอดอลของผม ผมรู้สึกว่าเวลาที่เราวิ่งไปสัก สองกิโลเมตรแล้วเราก�ำลังจะหมดแรงวิ่งต่อ พอฟังเพลงของตูน ผม วิ่งต่อได้อีกสองกิโลเมตร ผมรู้สึกว่าพลังงานแบบนี้มีจริง เราวิ่งไปจน เหงื่อโซม จนวิ่งต่อไปไม่ไหวแล้ว แต่พอมีใครมาสปาร์กให้เรา มันก็

108


ไปต่อได้ พลังงานแบบนี้มีอยู่จริง ถ้าเราศรัทธาใครบางคน เขาคนนั้น สามารถเป็นพลังงานให้ตัวเราขับเคลื่อนต่อไปได้” เหมื อ นที่ ภู พิ ง ค์ บ อกเสมอว่ า   เปลี่ ย นความฝั น ให้ เ ป็ น ไฟ

ความฝันเป็นพลังงานที่ไม่มีต้นทุน เป็น ไฟ แต่เป็นไฟที่เผาผลาญเรา ถ้าเราไม่มีฟืน เราต้องให้ความจริงเป็นฟืน ความฝันเป็นไฟ พอเรามีความจริง เราก็จะมีต้นทุน ไฟฝันมัน ก็จะลุกโชนได้

109


เปเล่ - คริสโทเฟอร์ วอชิงตัน

การเดินทางของพลเมืองโลก โชคชะตาไม่มีวันหมดอายุ “สิ่ ง นี้ เ ป็ น สิ่ ง เดี ย วที่ ผ ม ไม่ ไ ด้ เ ลื อ กมั น   แต่ มั น เลื อ กผม ผมพูดแบบนี้คนฟังแล้วอาจจะ คิดว่ามีจริงด้วยหรือ แต่ว่าสิ่งนี้ มันเข้ามาหาผมเอง และผมก็เชื่อ ว่าบางอย่างบนโลกใบนี้ที่เกิดขึ้น กับชีวิตของคนเรา เราไม่ได้เลือก มันนะ  แต่มันเลือกเรา  และเรา ต้องอยู่กับมันได้  เดินไปกับมัน ได้ ผูกมิตรกับมัน รักษามันไว้” สิ่งที่ชายหนุ่มคนนี้ก�ำลัง กล่ า วถึ ง โดยสรุ ป แล้ ว คื อ โชค ชะตา คริ ส โทเฟอร์   วอชิ ง ตั น หนุ ่ ม วั ย สามสิ บ ต้ น ๆ  ลู ก ครึ่ ง อเมริ กั น -ไทย  เขามี ชื่ อ เล่ น ว่ า  ‘คริ ส ’ แต่ ถู ก รู ้ จั ก ในนาม ว่า ‘เปเล่’ จากชื่อที่เพื่อนๆ  เรียก กันในวัยเด็กเมื่อเขาเล่นฟุตบอล และสามารถท�ำประตูได้เหมือน

110


ต�ำนานนักฟุตบอลเชื้อสายบราซิล ชื่อนี้จึงกลายเป็นค�ำน�ำหน้าชื่อจริง ของเขาตั้งแต่นั้นมา ชื่อ ‘เปเล่’ เดินทางมาหาเขาเอง เขาผูกมิตรกับ มัน และรักษามันไว้ ก็เหมือนเรื่องโชคชะตาที่เขาพูดถึง โชคชะตาที่ ว่าด้วยการเป็นนักเดินทางรอบโลกของเขา ชีพจรของนักเดินทางเป็น ฝ่ายก้าวเข้ามาและเปลี่ยนแปลงจังหวะการเต้นหัวใจของชายหนุ่มไป ตลอดกาล เปเล่หรือคริสโทเฟอร์ หัดเดินทางคนเดียวตั้งแต่อายุ 15 ปี จากเด็กหนุ่มที่ระมัดระวังตัว กลัวโลกภายนอก ทว่าประสบการณ์ ก็ท�ำให้เขาเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น และสนใจที่จะสนุกกับภูมิประเทศที่ แตกต่างกันไป

111


“ช่วงวัย 15 –17 ปี เรายังใช้ชีวิตไม่เป็น ก็เที่ยวตามเขาไป เขา ท�ำอะไรเราก็ตามเขาไป อะไรที่เขาว่าเจ๋งเราก็ท�ำ หรือเราชอบอะไร ด้านเดียวเราก็ใช้เวลาไปกับความสนใจนั้น ซึ่งด้านที่ว่ามันมีอะไรน้อย มาก พอโตขึ้นมาเรารู้ว่าน่าเสียดาย ถ้าเราไปตรงนั้นตรงโน้น เราก็ได้ รู้ตั้งแต่ตอนนั้นแล้วว่ามันมีอะไรบ้าง น่าเสียดายที่มัวแต่มองสิ่งนั้นสิ่ง เดียว เสียดายเวลาที่ท�ำให้เราไม่ได้ชอบอะไรอีกตั้งหลายอย่างทั้งที่อยู่ ตรงนั้นแล้ว ถ้าเป็นเรื่องของความน่าเสียดายก็เป็นเรื่องของเวลา ทุน องค์ความรู้ ประสบการณ์ชีวิตที่ได้มาน้อยในวัยนั้น” เปเล่ได้งานท�ำตั้งแต่ยังเรียนไม่จบกับรายการ ‘วีซ่า’ รายการ ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคนั้น โดยท�ำงานร่วมกับ เรย์ แมคโดนัลด์ พิธีกรและนักแสดงหนุ่มลูกครึ่งไทย-อังกฤษชื่อดัง จน กลายมาเป็นคู่หูรู้ใจกันมาตลอดหลายปี หลังจากรายการวีซ่าได้ปิด ตัวไปตามวัฏจักรของเวลา  แต่เปเล่ยังวนเวียนอยู่ในวงการโทรทัศน์ เขาเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับรายการ MTV Embassy ของ MTV Asia ได้ ไปก�ำกับมิวสิกวีดิโอให้กับศิลปินชื่อดังหลายคน เคยเกือบจะเข้าไปอยู่ ในวงการภาพยนตร์ แต่สุดท้ายเขาก็เลือกที่จะแบกกระเป๋า สะพาย กล้องเป็นคนท�ำรายการท่องเที่ยวบนโลกกว้างต่อไป “เมื่อช่วงที่เราท�ำรายการวีซ่ามาได้ 4-5 ปี ผมยังเคยคุยกับเรย์ นะว่าท�ำไมเราโชคดีจัง ได้เดินทางไปต่างประเทศ คนเห็นแล้วก็อิจฉา เรา ท�ำไมเราจึงเป็นคนสองคนในชาตินี้ที่ได้เดินทางบ่อยขนาดนี้ มัน เป็นโชครึเปล่า เราก็รู้ว่าโชคมันมีอายุ มันหมดอายุได้ ไม่อย่างนั้นมัน จะมีโชคดีและโชคร้ายได้ยังไง โชคมันคือสิ่งที่เข้ามาเอง เราไม่ได้เชื้อ เชิญ ไม่ว่าจะโชคดีหรือโชคร้าย แต่ว่าถ้ามันเป็นของขวัญจากพระเจ้า เราต้องดูแลมัน ทะนุถนอมมันจนกว่าวันสุดท้าย เราจะไม่ใช้โชคหรือ

112


ของขวัญอันนี้มากเกินไป ไม่เอาเปรียบมัน เราก็จะมีคติของเราคือท�ำ หน้าที่นักสื่อสารมวลชน ท�ำรายการให้ดี ให้สนุก เชิญชวนคนให้ไป พบปะกับประสบการณ์ชีวิต ถ่ายทอดสิ่งดีๆ ที่เราท�ำได้ “คนอื่นท�ำงาน 100 เปอร์เซ็นต์ ผมต้องท�ำ 200 เปอร์เซ็นต์ คนอื่นกลับบ้านหนึ่งทุ่ม ผมต้องกลับตีหนึ่ง คนอื่นเดิน ผมต้องวิ่ง ผม คิดแบบนี้กับการท�ำงาน ซึ่งมันท�ำให้มาตรฐานในงานของผมสูงมาก ผมเข้มข้นกับงานมาก จนกลายเป็นเบสิกของการท�ำงานมาจนถึงทุก วันนี้” ในวัยเบญจเพสของเปเล่ คุณพ่อของเขาได้จากโลกนี้ไป ทิ้ง ระยะห่างจากคุณแม่ที่ล่วงลับไปก่อนหน้านั้นสิบปี  ในขณะที่อาชีพ ของเขาก�ำลังรุ่งถึงขีดสุด เขาถึงกับหยุดงานทุกอย่างเพื่อทบทวนชีวิต กันใหม่อีกครั้ง “มันเป็นช่วงทางแยกชีวิตอีกครั้งหนึ่งของตัวเอง ตอน อายุ 25 ปีคุณพ่อก็เสียไป ซึ่งคุณแม่เสียไปก่อนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอน เราอายุ 15 ปีเราเหลือตัวคนเดียว เพราะเราลูกคนเดียวแต่ก็ยังมีพ่อ ตอนอายุ 25 ปีรู้ตัวอีกทีตื่นขึ้นมาเราอยู่ตัวคนเดียวแล้วจริงๆ เราไม่ ได้มีต้นทุนชีวิต ผมไม่ได้มีมรดก เพิ่งท�ำงานมา 3-4 ปี เงินเก็บก็ไม่ได้ มีมากขนาดนั้น มันเป็นอะไรที่ต้องมานั่งคิด ผมเริ่มลางาน จากลางาน กลายเป็นหยุดงาน จากหยุดงานกลายเป็นลาออก ผมอยู่เฉยๆ มาครึ่ง ปี ทบทวนว่าจะเอายังไงต่อกับชีวิต เพราะไม่ได้ตั้งตัวว่าวันนี้จะมาถึง ที่ผ่านมาเราใช้ชีวิตในสิ่งที่เรามี มีคนเอาเงินให้เราไปถ่ายรายการ ได้ ไปเที่ยว เราไม่ได้คิดว่าเราต้องเก็บเงินซื้อบ้าน ซื้อรถ มีภรรยา มีลูก เราไม่ได้คิดแบบนั้นเลย พอมาเจอแบบนี้ชีวิตมันตัดฉับ ต้องเริ่มนับ หนึ่งกันใหม่”

113


และทางออกของเขาก็คือการเปิดบริษัท Guerrilla Production เป็นบริษัทที่ท�ำรายการท่องเที่ยวออกป้อนสถานีโทรทัศน์ต่างๆ เปเล่กลับมาท�ำในสิ่งที่เขาถนัด และคราวนี้เขาไม่ได้สู้เพื่อตัวเองเพียง ล�ำพังแล้ว เขามีลูกน้อง พนักงานในออฟฟิศให้ต้องรับผิดชอบ และ รายการไอเดียเจ๋งๆ ก็หลั่งไหลออกมา อย่างเช่น Journey Thailand ลูกครึ่งหลงทาง  สุดเขตเทศกาล  แต่ผลงานก่อนหน้านี้ที่ท�ำให้เปเล่ กลับมาเป็นที่รู้จักอย่างเต็มตัวในฐานะคนท�ำรายการท่องเที่ยวก็คือ ความส�ำเร็จของรายการ “Roaming” เปเล่กลับมาร่วมงานกับเรย์อีกครั้งกับรายการ  “Roaming” เนื้อหาที่ว่าด้วยการเดินทางครึ่งโลกจากกรุงเทพฯ  ไปเมืองลอนดอน ด้วยโจทย์ที่ว่าต้องเดินทางโดยรถไฟเพียงเท่านั้น ทีมงานทั้งสิ้นมีเพียง แค่สองคน เรย์อยู่หน้ากล้องเป็นผู้ด�ำเนินรายการ เปเล่อยู่หลังเลนส์ เป็นทั้งตากล้อง โปรดิวเซอร์ ช่างตัดต่อ เป็นทุกอย่างของรายการ นี้ การเดินทางตลอด 52 วัน ผ่าน 17 ประเทศข้ามทวีปที่ถูกน�ำเสนอ นั้นมีความสดใหม่ไม่เหมือนใคร เมื่อรายการนี้ได้ออกอากาศไปในปี พ.ศ.2551 ก็มีกระแสตอบรับกลับมาเกินความคาดหมาย สร้างแรง บันดาลใจให้กับนักเดินทางรุ่นใหม่เป็นจ�ำนวนมาก จนกระทั่งในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2554 รายการ ‘Roaming’ ได้รับรางวัลกรังปรีซ์ใน งาน ‘Festival Asia TV & Film on Journey Sapporo Hokkaido’ เวที ที่จัดประกวดรายการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชีย ที่จัดขึ้นในฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เรียกได้ว่าสามารถเอาชนะรายการอื่นที่ต้นทุนสูงกว่า โปรดักชั่นยิ่งใหญ่กว่าไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ เป็นบทสรุปที่สวยงามบน มิตรภาพของคนเล็กๆ สองคน

114


“ผมกับเรย์เคยคุยคอนเส็ปต์ก็พูดกันเล่นๆ  เรื่องการนั่งรถไฟ เดินทาง  คุยกันมาตั้งแต่เด็กๆ  สมัยยังท�ำรายการวีซ่าแล้วว่าถ้ามี โอกาสเราจะไปนั่งรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย  ตอนยังเด็กฟังแล้วดูเท่ มาก แต่มายุคนี้วัยคุณลุงคุณป้าเขาก็ไปกันได้ ถ้าแน่จริงต้องนั่งจาก กรุงเทพไปเลยสิ นั่งรถไฟยาวจนไปถึงอังกฤษเลย คุยกันแค่ 5 นาที แล้วไอเดียมันก็ลงล็อกพอดี  ไม่ต้องคิดเยอะ”  เปเล่เล่าถึงที่มาของ รายการชื่อดัง “พวกเรา develop ตัวเองเป็น world citizen ผมเป็นลูกครึ่ง เรย์ก็เป็นลูกครึ่ง แต่เรามีความเป็นครึ่งไทยมากกว่าอีกครึ่งหนึ่ง ความ เป็นอเมริกันของผมมีประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของเรย์ก็มีประมาณสัก 25 เปอร์เซ็นต์ เราเป็นคนไทย แต่มีโอกาสได้เดินทาง พอเดินทางผม เรียกตัวเองว่าเป็นประชากรโลกคนหนึ่ง  เข้าใจความเป็นไปของโลก ใบนี้ เข้าใจความหลากหลายของวิถีชีวิต เราเติบโตเป็น world citizen นี่คือบริบทของผมกับเรย์ เราจึงไม่แปลกแยกเวลาเราไปสู่ที่อื่น เราอยู่เมืองไทยเรามีความเป็นคนไทย แต่ในวงที่เรียกว่าประเทศไทย วัฒนธรรมไทยแล้วเราดูแปลกแยกอยู่อันนั้นก็จริง  เพราะเรื่องของ รูปลักษณ์หน้าตา แต่ความคิดเราไม่ได้แปลกแยกเลย จึงไม่ค่อย มีปัญหาสักเท่าไหร่ และยิ่งเราได้เดินทาง  ได้ develop ตัวเองเป็น world citizen แล้วเราคิดว่าความต่างไม่ใช่ปัญหาของเราเลย อยู่ เมืองไทยยังไง อยู่อเมริกายังไง  เราอยู่ตรงไหนก็ได้ในโลก  ใครจะว่า เราเป็นคนไทยก็ไม่ใช่ อเมริกันก็ไม่ใช่ เราไม่สน เราสนที่ว่าฉันจะอยู่ ที่ไหนก็ได้ในโลกแล้วไม่รู้สึกแปลกแยก”

115


ตลอดการเดินทางหลายหมื่นไมล์ของเปเล่ ผ่านภูมิประเทศ มาแล้วค่อนโลก  แต่เขากลับไม่รู้สึกว่าตนได้คติสอนใจหรือเรื่องราว ทางภูมิปัญญาจากใคร  หรือจากประเทศไหน  แต่มันกลับเกิดขึ้น อย่างเรียบง่ายในวันที่เขาเดินทางอยู่ในป่าที่โรมาเนียกับกลุ่มนักท่อง เที่ยว เขาแบกกล้องวีดิโอเดินตามหลังเรย์  แมคโดนัลด์  เหมือนวิถีที่ คุ้นเคย ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่ ไม่มีดนตรีโหมโรง แต่แล้วเหตุการณ์เล็กๆ ที่ ไม่ธรรมดาก็เกิดขึ้น “ตอนนั้นผมกับเรย์เดินจากจุดหนึ่งไปถึงจุดหนึ่ง  คนอื่นใน กลุ่มก็เดินไปก่อน พวกเราจะห้อยท้ายอยู่แล้วเพราะเราถ่ายวีดิโอไป ด้วย ผมก็กลัวจะไปถึงช้ากว่าคนอื่นๆ ก็บอกให้เรย์รีบไปเร็ว เดี๋ยว ไม่ทัน ตามเขาไปสิ จะได้ไม่ล้ม เรย์ก็พูดสวนกลับมา เป็นการพูดเล่นๆ ด้วยซ�้ำว่า ‘มึงจะไปตามเขาท�ำไมวะ make your own footsteps’ สร้างรอยเท้าของตัวเองสิวะ  ประโยคนี้มันท�ำให้เราคิดได้ว่าเราเป็น

116


ผู้น�ำ เราเป็นคนถ่ายทอดเรื่องราวของการเดินทางมาให้ผู้ชม เขาตาม เรา เขาเห็นเราเป็นหัวแถวอยู่แล้ว และเราผู้เป็นหัวแถวจะไปตามคน อื่นเขาท�ำไม ตรงนี้ก็จะเป็นทัศนคติของเราเลยว่า  ต่อไปนี้เราจะท�ำ อะไรในชีวิตก็ดี หรือหน้าที่การงาน ในการที่จะเอาเนื้อหามาถ่ายทอด กับมวลชนได้ เราจะต้องหาทางของเราเองให้เจอ  และไปให้ถึงที่สุด ชีวิตจะไปเลือกทางเดินตามสูตรที่เห็นจากคนอื่นท�ำไม ถ้าชีวิตนี้เป็น ของเราโดยแท้จริง  เราเลือกท�ำของเราเองแล้วท�ำมันให้ถึง...เท่านั้น เองจากค�ำตอบสั้นๆ ที่อาจตอบโดยไม่ได้คิดด้วยของเรย์ในวันนั้น แต่ มันเป็นอะไรที่เรายึดถือมาจนถึงทุกวันนี้” และทั้งหมดนี้ก็เป็นทัศนคติของพลเมืองโลกที่ชื่อคริสโท  เฟอร์ วอชิงตัน คุณจะเรียกเขาว่าคริส หรือเปเล่ก็ได้ หรือถ้าคุณมีชื่อ ใหม่จะมอบให้เขา สักวันหนึ่งชื่อนั้นจะเดินทางไปหาเขาได้เอง ว่าแต่คุณเชื่อในเรื่องโชคชะตาไหมล่ะ

มึ ง จะไปตามเขาท� ำ ไมวะ ‘Make your own footsteps’...สร้าง รอยเท้าของตัวเองสิวะ

117


บุญทวี สิริเวสมาศ พยากรณ์ด วงชะตาได้  แต่ สุดท้ายเราคือผู้ก�ำหนดชีวิต ตนเอง เดวิดไม่ชอบให้ใครเรียก เขาว่าหมอดูสักเท่าไร หนุ่มร่างสูงใหญ่เชื้อสาย ไทย-อิ ต าเลี ย นคนนี้ เ ป็ น ที่ รู ้ จั ก กันในแวดวงพยากรณ์ดวงชะตา ว่า ‘เดวิด บุญทวี’ แต่ชื่อจริงของ เขาคือ บุญทวี สิริเวสมาศ ผู้ชาย ที่ เ ติ บ โตมากั บ ความชอบเรื่ อ ง ประวัติศาสตร์ และน่าสนใจว่า หัวข้อประวัติศาสตร์ที่เขาชอบนั้น ไปยึดโยงอยู่กับศาสตร์อันเก่าแก่ ของการท�ำนายไพ่ยิปซี เขาบอก ว่าค�ำว่าหมอดูนั้นมักจะถูกมอง แบบเหมารวมไปสั ก หน่ อ ยใน บ้านเรา เรียกเขาว่าเป็นครีเอทีฟ ทางดวงชะตาน่าจะตรงกว่า

118


เพราะเดวิ ด เชื่ อ ว่ า สิ่ ง ที่ ต นท� ำ อยู ่ คื อ การน� ำ เสนองาน สร้างสรรค์ ไม่ใช่ขายเรื่องงมงาย “ผมอาจไม่ใช่เรื่องต้นแบบของความเป็นหมอดู จนวันนี้ผม ก็ไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นหมอดู ยังเป็นแค่ผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้เท่านั้นเอง ถ้า ใครถามผมว่าท�ำอาชีพอะไร  ผมก็จะตอบว่าเป็นครีเอทีฟตลอดชีวิต เป็นครีเอทีฟที่หมายถึงคนชอบคิด  มีมุมมองที่แตกต่างในสิ่งที่ไปจับ พอไปจับเรื่องไพ่ยิปซี  ผมก็เริ่มต้นจากการตั้งค�ำถามว่ามันดูได้ยังไง ซึ่งมันท�ำให้ผมต้องไปค้นคว้าหาความรู้ที่ผมอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนอีก เยอะมาก เป็นจุดเริ่มต้นจากตรงนั้น ไม่ใช่แค่เปิดไพ่ใบนี้แล้วก็ทาย ไป แต่ผมตั้งค�ำถามว่าอะไรมันคือที่มาของภูมิปัญญานี้ ความรู้อัน นี้ เขามีเหตุผลอะไรที่เขาใช้ เทพเจ้าต่างๆ ของทางฝั่งตะวันตก ในไพ่ แต่ละใบท�ำไมถึงวาดภาพออกมาแบบนี้ และกระบวนการท�ำงานใน การท�ำนายทั้งหมดมันท�ำได้ยังไง จนวันนี้ผมก็ยังไม่มีข้อสรุปทั้งหมด แต่ว่ามันก็ท�ำให้เรารู้มากขึ้นเรื่อยๆ  ตรงนี้อาจเป็นจุดที่แตกต่างจาก หมอดูคนอื่น” เดวิ ด เริ่ ม ต้ น มาจากงานสื่ อ สารมวลชน  เขาเป็ น ครี เ อที ฟ รายการโทรทัศน์ด้านสารคดี  ด้วยความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ เหมือนที่ร�่ำเรียนมา  โดยมีไอดอลเป็นคนท�ำสารคดีชื่อดังอย่างคุณ ธีรภาพ โลหิตกุล จากรายการโลกสลับสี ของบริษัท แปซิฟิค อินเตอร์ คอมมิวนิเคชั่น จ�ำกัด เขาเข้าไปขอฝึกงานตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ แม้จะ ไม่ได้เรียนมาทางด้านนิเทศศาสตร์แต่ด้วยพลังของความหลงใหล ในงานที่ชอบเยี่ยงคนหนุ่ม  เขาจึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นพนักงาน ของบริษัททันทีเมื่อเรียนจบ  เก็บประสบการณ์อยู่พักใหญ่เดวิดจึง

119


ออกไปท� ำ บริ ษั ท โปรดั ก ชั่ น เฮาส์ ด ้ า นโฆษณาเพราะสนใจการท� ำ ภาพยนตร์  และเขาก็ได้เป็นหนึ่งในผู้เขียนบทร่วมกับซีรีส์เรื่อง  ‘ปม ไหม’ ภาพยนตร์กึ่งสารคดีว่าด้วยชีวิตของจิม ทอมป์สัน ชาวอเมริกัน ที่เปิดร้านขายผ้าไหมในประเทศไทยจนโด่งดังแต่กลับหายสาบสูญไป พร้อมกับภรรยาในการเดินทางไปมาเลเซีย ระหว่ า งช่ ว งที่ เ ขาท� ำ สารคดี นั้ น ต้ อ งเดิ น ทางไปใน หลายประเทศ  ด้ ว ยความรู ้ ใ น เชิงประวัติศาสตร์ที่แม่นย�ำ  เขา จึ ง รั บ งานไกด์ ทั ว ร์ จ ากค� ำ เชิ ญ ของบริษัททัวร์ไปด้วย  และจุด นี้ เ องที่ เ ขาได้ เ ริ่ ม สนใจไพ่ ยิ ป ซี อย่างจริงจังในปี  พ.ศ. 2536  จน น� ำ ไปสู ่ ก ารเรี ย นรู ้ ด ้ ว ยตั ว เอง ผ่ า นต� ำ นานไพ่ ยิ ป ซี ข องอิ ต าลี สเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี มอลต้า รวมถึ ง การค้ น คว้ า กั บ ผู ้ สั น ทั ด กรณีและต�ำราอีกหลายเล่ม  จน เดวิ ด กลายเป็ น ผู ้ ช� ำ นาญด้ า น ไพ่ ยิ ป ซี ที่ ไ ม่ เ หมื อ นใคร  เขา กลั่ น ประสบการณ์ อ อกมาเป็ น หนังสือ  ‘ไพ่ยิปซีอ่านชีวิต  The Gypsy’ (พ.ศ. 2550) และ ‘ไพ่ ยิปซีกระบี่เดียว’ (พ.ศ. 2551) ที่ ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง

120


“ในเชิงของที่มาที่ไป วิธีคิดของมันว่าท�ำไม จึ ง เกิ ด ศาสตร์ พ วกนี้ ขึ้ น มา เรื่ อ งพวกนี้ เ ป็ น เรื่ อ ง ที่คนส่วนมากโดยเฉพาะในบ้านเราหรือในเมือง นอกไม่ค่อยรู้ คนที่สนใจด้านศาสตร์ พูดง่ายๆ ว่า เป็นหมอดู ประเภทแรกที่เราหาพบได้ตามที่ต่างๆ หมอดูที่รู้ในเชิงประวัติความเป็นมา บางคนอาจจะ รู้แค่งูๆ ปลาๆ มั่วกันไป แต่ผมสนใจว่าอะไรเป็นจุด ก�ำเนิดของความรู้พวกนี้  ไพ่ยิปซีที่ผมค้นคว้านั้น อาศัยความรู้ทางประวัติศาสตร์ กระทั่งความรู้ใน เชิงพุทธศาสนา แล้วก็เรื่องฟิสิกส์ จิตวิทยา ที่แต่ เดิมผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องพวกนี้ พอเรามาสนใจ เรื่องพุทธในเรื่องเกี่ยวกับจิตแล้วมันก็ท�ำให้เกิดการ บูรณาการ มันเชื่อมโยงกันหมดเลย เราจึงสร้างองค์ ความรู้ของเราขึ้นมาได้ “เราต้ อ งแยกให้ ไ ด้ ก ่ อ นว่ า วิ ช าดู ห มอ คล้ายพยากรณ์อากาศ พวกความเชื่อเรื่องแก้เคล็ด สะเดาะเคราะห์ อันนี้มันคนละเรื่องกัน ไม่ได้เกี่ยว กันเลย แต่คนไทยเอามันมาผสมกันเป็นเนื้อเดียว ได้ และสร้างความเข้าใจผิดให้กับคนในสังคมมาก ขึ้น ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อคุณมาดูหมอ ส�ำหรับผมมันก็คือการ มาตรวจร่างกาย  แต่อันนี้คุณมาตรวจจังหวะชีวิตของคุณ โดยการ เปิดไพ่ ผมบอกคุณได้ว่าช่วงนี้จังหวะชีวิตคุณจะดี เรื่องไหนน่าจะมี ปัญหา คุณได้ยินข้อมูลเหล่านี้แล้ว ในไพ่บางทีมันก็จะมีทางออกให้ เห็น ถ้ามันขึ้นมาให้เห็น ว่าในบางจังหวะคุณอาจจะไปทางซ้ายได้นะ แต่ถ้าคุณจะไม่ไปก็ได้ ซึ่งต่างจากเรื่องวิธีแก้เคล็ด ไปสะเดาะเคราะห์

121


ท�ำบุญเก้าวัด การเปลี่ยนชื่อ ท�ำบุญโลงศพ สิ่งเหล่านี้เป็นไสยศาสตร์ หรือศาสตร์แห่งความลับ ศาสตร์แห่งความมึนงงงมงาย “ประเด็ น ของคนไทยคื อ เพราะเราขาดความรู ้   แล้ ว เอา ทั้งหมดมาผสมกันจนเละ ขาดความเข้าใจ ตอนหลังก็จะมีคนต่อต้าน เรื่องพวกนี้ ออกมามองว่าศาสตร์การพยากรณ์ซึ่งเป็นภูมิปัญญาเก่า แก่นั้นเป็นเรื่องของความงมงายทั้งหมด ซึ่งแท้จริงมันไม่เกี่ยว ผมดู หมอให้คุณแล้วบอกว่าช่วงนี้ต้องระวังนะ การเงินคุณอาจจะมีปัญหา ถ้าเป็นหมอดูในแบบงมงายก็จะแนะว่าคุณควรไปไหว้พระเก้าวัด แล้วการเงินคุณจะดีขึ้น อันนี้คืองมงาย แต่ถ้าผมบอกว่าการเงินคุณ มีปัญหา แล้วกลับไปดูว่าคุณจะประหยัดยังไง จะบริหารการเงินส่วน บุคคลของคุณยังไงให้มันดีขึ้นกว่าที่เป็นมา ก็อาจจะแนะน�ำได้ เพราะ คนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมคล้ายกัน คือคล้ายกับอดีตตัวเอง สมมุติคุณ เป็นคนใจร้อน คุณจะเป็นคนใจร้อนทั้งปีทั้งชาติ แม้ว่าคุณจะพยายาม ใจเย็นแล้ว ถ้าคุณเป็นคนเก็บเงินไม่อยู่ ใช้เงินเปลือง โดยส่วนใหญ่ก็ มักจะใช้เงินเปลืองทั้งปีทั้งชาติ  จนกว่าจะเกิดวิกฤตอะไรที่ท�ำให้คุณ รู้ส�ำนึกขึ้นมา ไพ่มันก็คือการอ่านกรรมของคุณนั่นแหละ สะท้อนมัน ออกมา เพราะการเปิดไพ่ส�ำหรับผมมันไม่ได้อ่านอนาคต แต่มันอ่าน ปัจจุบันของคุณตอนนี้ซึ่งโยงไปสู่อนาคต เหมือนคุณไปฉายเอกซเรย์ มันก็คือปัจจุบัน วินาทีที่คุณฉายออกมามันเจอเนื้องอกตรงนี้ มันก็คือ ปัจจุบันของคุณ แต่มันเห็นอนาคตไหม ถ้าคุณไม่รักษาหรือปล่อยทิ้ง ไว้ มันอาจจะกลายเป็นมะเร็งได้ ถึงที่สุดแล้วก็คือการเตือนให้คุณไม่ ประมาท แล้วไพ่ก็อาจจะช่วยมอนิเตอร์ให้คุณเห็นจุดอ่อนจุดแข็งบาง เรื่องในชีวิต”

122


ในบ้านเราตอนนี้หมอดูแนวใหม่ที่ดูดวงด้วยการใช้พลังจิต ก�ำลังเป็นที่ได้รับความนิยม และสร้างเสียงสะท้อนในวงกว้างว่าสังคม ในด้านความเชื่อก�ำลังเดินมาผิดทางหรือเปล่า ประเด็นที่น่าคิดก็คือ ในเมื่อเราอ่านคนจากจิตที่ส่งผ่านมาทางไพ่ได้  และหมอดูที่สามารถ ต่อสายตรงกับจิตได้เลย จะถือว่าเป็นศาสตร์แขนงเดียวกับการใช้ไพ่ ยิปซีไหม เดวิดมีมุมมองที่น่ารับฟังเกี่ยวกับเรื่องนี้ “ผมมีข้อสงสัยนะครับว่าอันนั้นมันจะเป็นจริงรึเปล่า คือต้อง แยกก่อนว่าการสแกนกรรมหรือจิตสัมผัส  โดยตัวปรากฏการณ์มัน อาจจะมีจริง แต่ตัวคนที่เป็นตัวละครหลักในสังคมที่เล่นกับเรื่องพวก นี้จะเป็นในสิ่งที่เขาพูดจริงหรือเปล่า เรื่องนั้นก็มีข้อสงสัยอยู่ สมมุติว่า ผมสแกนกรรมคุณแล้วผมเห็นไปถึงอดีตชาติคุณ ชาติที่แล้วของคุณ ก็อาจจะสัก 30-40 ปีที่แล้ว (จากวันที่คุณเกิด) หมอดูสามารถเห็นได้ ดังนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อวานคุณก็ต้องเห็นได้สิ  คุณสแกนกลับไปได้ เป็นร้อยปี แต่คุณสแกนกลับไปแค่วันเดียวก็น่าจะยิ่งง่ายเลย เหมือน เลขประถมกับสมการขั้นสูง ตรงนี้มันก็ขัดแย้งกันแล้ว หรือจิตสัมผัส ก็เหมือนกัน ก็มีข้อขัดแย้งในเรื่องนี้อยู่เยอะ บ้านเราเป็นบ้านที่เต็ม ไปด้วยมนุษย์มหัศจรรย์ ผมตั้งข้อสังเกตมานานแล้วว่าสังคมไหนมี มนุษย์มหัศจรรย์เยอะสังคมนั้นจะเป็นสังคมที่ไม่ค่อยเจริญ จะมีระดับ การพัฒนาทางสติปัญญาต�่ำมาก แล้วจะอุดมไปด้วยมนุษย์จิตสัมผัส เอ็กซเรย์ สแกนกรรม  ตาทิพย์ ประเทศเรามีเยอะที่สุดในโลกนะครับ... ไพ่ยิปซีมันออกมาแล้วก็เดินไปตามจังหวะ  สิ่งที่ผมอ่านนั้นผมอ่าน จากไพ่ และไพ่มันสะท้อนปัจจุบันของคุณ แล้วอนาคตเป็นเรื่องที่ไม่ แน่นอน มีคนถามผมว่าอนาคตเปลี่ยนแปลงได้ไหม อนาคตเปลี่ยน ได้หมด เพราะมันยังไม่เกิด ส�ำหรับผมคุณจะทายแม่นแค่ไหนมันก็

123


เป็นแค่แนวโน้ม เป็นแค่ความน่าจะเป็น สมมุติท�ำนายว่าคุณต้องแย่ แน่เรื่องเงินๆ ทองๆ แต่พอคุณรับรู้ตรงนี้มันก็เหมือนกับแรงส่ง อย่าง ฟิล์มเอกซเรย์ที่ออกมาว่าเนื้องอกของคุณก่อนนี้มันจะเป็นมะเร็งใน อนาคตได้ แต่คุณไม่ยอมให้มันเป็น คุณก็ไปรักษาผ่าตัด ปรับเปลี่ยน การกินอยู่ พึ่งชีวจิต มันก็มีโอกาสว่าแรงส่งที่จะน�ำไปสู่มะเร็งนั้นอ่อน ลง เพราะปัจจัยหนุนหลังมันเปลี่ยนไปแล้ว ไพ่ก็เหมือนกัน ถ้าสะท้อน ออกมาว่าคุณใช้เงินแบบนี้ ท�ำมาหากินแบบนี้ มีวิถีชีวิตแบบนี้ มัน มีแนวโน้มที่จะส่งคุณไปสู่ความยากจนได้  ซึ่งวิธีการดูหมอหรือการ อ่านไพ่แบบนี้ ผมบอกได้เลยว่าแม้ผมจะเป็นคนที่พูดจาชัดเจนหนัก แน่นในเรื่องนี้มาก เขียนหนังสือมายังไงก็ตาม แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม ว่าจะมีคนมาดูหมอในแนวทางนี้ เพราะว่าสังคมเราเป็นสังคมที่ชอบ ของส�ำเร็จรูป อยากรวยท�ำยังไง คุณไปเติมน�้ำมันตะเกียงนะ แล้วก็ไป เคาะระฆังวัดเดินสามรอบ ไปขอพรหลวงพ่อองค์นั้นองค์นี้ แล้วคุณ จะรวยทันที เราชอบอะไรแบบนี้ แต่เราไม่ชอบการพัฒนาตนเอง ไม่ ชอบการเปลี่ยนนิสัย “มันไม่มีการแก้กรรมหรอก มีแต่แก้พฤติกรรม” เป้าหมายสูงสุดของเดวิดกับไพ่ยิปซีนั้นก็ไม่ได้เหมือนอย่างที่ ใครคิด เขาไม่ได้หวังจะเป็นหมอดูคนดังคับฟ้า  แต่เขาท�ำในสิ่งที่ชอบ และสามารถสร้างประโยชน์ให้คนได้ เขาหวังว่าจะพัฒนาความรู้หรือ ค้นคว้าอะไรในศาสตร์นี้ต่อไปได้อีก จะว่าไปแล้วชายหนุ่มก็เคยลองดูดวงตัวเองเช่นกัน  แต่ต่อ ให้ตัวเขาเองก็ยังไม่เชื่อทั้งหมดว่ามันจะเป็นไปตามนั้น เพราะว่าการ อ่านไพ่ยิปซีก็คือการตีความ เวลาเขาดูดวงตัวเองแล้วถ้าผลออกมา ดีมาก เขาก็รู้สึกว่ามันจะดีได้ขนาดนั้นจริงหรือ และถ้าผลออกมาแย่

124


มาก เขาก็คิดว่ามันจะแย่ขนาดนั้นได้ยังไง ความสงสัยของเขานั้นถูก ผลักดันมาจากอะไร “ไพ่ยิปซีที่สุดแล้วก็เป็นสิ่งประดิษฐ์จากสมองมนุษย์  หรือแม้ กระทั่งเทพเจ้าต่างๆ ก็เป็นสิ่งประดิษฐ์จากสมองมนุษย์ ทุกเรื่องราวที่ เราเห็นกันอยู่ ถ้าไม่นับเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ มันเป็นสิ่งประดิษฐ์ จากมันสมองและการเพียรพยายามของมนุษย์  เพราะฉะนั้นผมอยาก จะบอกว่าจริงๆ  มนุษย์เป็นสิ่งที่ส�ำคัญสูงสุดในเรื่องการจะพัฒนาตัว เอง  ทุกอย่างอยู่ที่ตัวคุณ  อย่างที่พระพุทธเจ้าบอก  ตนเป็นที่พึ่งแห่ง ตน  ไพ่ยิปซีเป็นแค่อุปกรณ์ที่มนุษย์เอามาอ่านจังหวะชีวิต  เหมือนกับ ที่โรงพยาบาลผลิตอุปกรณ์ตรวจร่างกาย  เพื่อจะอ่านจังหวะสุขภาพ ของคุณ  เหมือนกับที่กรมอุตุนิยมวิทยาผลิตอุปกรณ์พยากรณ์อากาศ ตลาดหลักทรัพย์ก็ผลิตอุปกรณ์วิเคราะห์หุ้น  ทุกแวดวงทุกวงจรของ มนุษย์จะมีอุปกรณ์ ภูมิปัญญา เครื่องไม้เครื่องมือ ที่จะเอามาวิเคราะห์ จั ง หวะวงจรของสิ่ ง ที่ ตั ว เองเกี่ ย วข้ อ งด้ ว ย  ชี วิ ต มนุ ษ ย์ ก็ เ หมื อ นกั น มี อุปกรณ์มากมายไม่ใช่มีแค่ไพ่ ส�ำหรับผมแล้วไพ่มันเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ผมรู้สึกว่ามันมีอิสระ มันไม่ยึดติดกับวันเกิด มันไม่ได้สนใจว่าคุณหน้าตาอย่างไร หรือลายมือ ของคุณเป็นยังไง  มันมาจากการกระท�ำของคุณล้วนๆ  มันไม่มีเรื่อง ดวงดาวมาเกี่ยวข้อง คุณท�ำชีวิตคุณมาแบบไหน ไพ่ก็สะท้อนออกมาให้ เห็นแล้วก็บอก” “ถึงที่สุดแล้วชีวิตคุณจะดีหรือไม่ดี ก็อยู่ที่ตัวคุณ” น่าจะเป็นค�ำพยากรณ์ที่แม่นที่สุดแล้ว

มันไม่มีการแก้กรรมหรอก มีแต่แก้พฤติกรรม

125


นพ.วิชัย โชควิวัฒน จากแพทย์อาสาในชนบท   สู่การพัฒนาจริยธรรมของแพทย์   คุณธรรมส�ำคัญที่สุด

ท่ า มกลางความสะดวก สบายของโรงพยาบาลใหญ่ที่มีทุก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งครบครั น ส� ำ หรั บ หมอ ทุกคน แต่เมื่อราว 40 ปีที่แล้ว  นาย แพทย์วิชัย โชควิวัฒน หมอหนุ่มจาก แพทยศาสตร์ศิริราช  มหาวิทยาลัย มหิดล ได้ออกสู่ชนบทในพื้นที่ที่ยังไม่มีแม้แต่หมอสักคนเดียว ในตอน นั้นทั่วประเทศซึ่งมีอยู่ราว 500-600 อ�ำเภอ แต่มีแพทย์ประจ�ำการอยู่แค่ เพียง 200 อ�ำเภอเท่านั้น เห็นชัดเจนว่าชาวบ้านต้องการหมอมากแค่ไหน คุณหมอวิชัยได้ประจ�ำการอยู่ในอ�ำเภอที่ขาดแคลนหมอทั้งใน จังหวัดมหาสารคามและนครปฐมอยู่หลายปี  จนเกิดความคิดขึ้นว่าน่า จะมีการผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  โดยการก่อตั้ง ชมรมแพทย์ชนบท  เขาผลักดันการพัฒนาสาธารณสุขในชนบทอย่าง ต่อเนื่อง จนมีการสร้างโรงพยาบาลในชุมชนทุกอ�ำเภอ และสร้างสถานี อนามัยให้มีในทุกต�ำบลของประเทศไทย  (ซึ่งปัจจุบันคือโรงพยาบาล

126


ส่งเสริมสุขภาพต�ำบล)  ประชาชนใกล้มือหมอมากขึ้นอย่างที่ไม่เคย เกิดขึ้นมาก่อน  จากผลงานนี้เองที่คุณหมอวิชัยถูกยกย่องให้เป็น  ‘พี่ ใหญ่แพทย์ชนบท’  และได้รับรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น  จากคณะ แพทย์ศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี  พ.ศ.2529 “อ�ำเภอแรกที่ผมเข้าไปมีประชากรประมาณ 80,000 คน แล้ว มีอ�ำเภอโดยรอบอีก 3-4 อ�ำเภอ ซึ่งไม่มีโรงพยาบาลและไม่มีแพทย์ เลย เพราะฉะนั้นประชากรที่สามารถรับบริการได้ราว 2 แสนคน แต่มี หมอเพียงคนเดียว งานจึงหนักมาก นอกจากท�ำงานในเวลาปกติแล้ว ผมยังต้องอยู่เวรทุกคืนรวมทั้งวันเสาร์และอาทิตย์ด้วย แล้วทุกคืนจะ มีคนไข้หนักเข้ามาอยู่เป็นประจ�ำ ซึ่งท�ำให้ไม่เคยได้นอนเต็มตาเลยสัก คืนเดียว เป็นงานที่หนักมากในช่วงนั้น ผมประจ�ำการอยู่ประมาณ 3 ปี เศษ แล้วก็ย้ายมาที่อ�ำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ก็ยังเป็นแพทย์ คนเดียวอยู่อีกหลายปีเช่นกัน  ถ้าพูดถึงในแง่ของความเป็นแพทย์ ชนบทแล้วผมก็ได้ผ่านงานหนักมามาก ซึ่งในตอนนั้นอยู่เวรทุกวันแต่ ไม่มีค่าตอบแทน ได้เงินเดือนกับค่าเบี้ยเลี้ยงจ�ำนวนหนึ่งเท่านั้นเอง เป็นงานที่หนักมากแต่ค่าตอบแทนต�่ำ  แต่ว่ามันเป็นงานที่เราเห็นว่า มีคุณค่ามีประโยชน์ แล้วผมก็สนุกกับการท�ำงาน ไม่เพียงแต่การท�ำ หน้าที่ในฐานะเป็นแพทย์หรือผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลเท่านั้น “แต่ว่าสิ่งที่เราได้พยายามท�ำกันก็คือการก่อตั้งชมรมแพทย์ ชนบท เป้าหมายส�ำคัญคือเราท�ำงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนหรือใน อ�ำเภอ ก็ต่างคนต่างท�ำงาน เราจะแก้ปัญหาได้เฉพาะปัญหาในส่วน ของเราเท่านั้น แก้ปัญหาคนไข้แต่ละคนได้ แต่ปัญหาในเชิงโครงสร้าง ของระบบเราแก้ไม่ได้  ถ้าเราแก้เชิงระบบได้เราจะแก้ปัญหาอะไร ได้อีกเยอะ  เพราะฉะนั้นจึงมีการรวมตัวกันเป็นชมรมแพทย์ชนบท แล้วมุ่งแก้ปัญหาเชิงนโยบาย  ผลักดันนโยบายต่างๆ  ให้กระทรวง

127


สาธารณสุข  ให้โรงเรียนแพทย์มามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการ ขาดแคลนแพทย์ชนบทด้วย  หลักง่ายๆ  ก็คือส�ำหรับโรงเรียนแพทย์ นั้นยังผลิตแพทย์ออกมาไม่พร้อมที่จะออกไปท�ำงานอยู่ในชนบท ทั้ง ที่มีความจ�ำเป็นที่ต้องส่งแพทย์ไปอยู่ชนบท  เพราะรัฐบาลมีสัญญา บังคับให้แพทย์ใหม่ต้องออกไปชนบท แต่การผลิตแพทย์ที่ออกมายัง ไม่มีความพร้อมเท่าที่ควร  ฉะนั้นเราก็ผลักดันให้มีการปรับปรุงใน เรื่องหลักสูตรและประสบการณ์  เพื่อที่จะให้เขามีความพร้อมมาก ขึ้น  ส่วนกระทรวงสาธารณสุขเนื่องจากว่ามีหน้าที่โดยตรงที่จะต้อง แก้ไขปัญหาสาธารณสุขในชนบท แต่กระทรวงก็มีแรงไม่พอ เพราะ ฉะนั้นชมรมของเราจึงเข้ามาช่วยผลักดันจนมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย”

128


จากนั้นคุณหมอวิชัยก็กลับเข้ามาท�ำงานบริหารในกระทรวง สาธารณสุขจนได้เป็นเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาในปี   พ.ศ.2543-2545 และด�ำรงต�ำแหน่งอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกในปี  พ.ศ.2545-2550 ปัจจุบันคุณหมอวิชัย เป็นผู้อ�ำนวยการสถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์  คุณ หมอวิชัยเป็นทั้งนักคิด นักเขียน นักบริหาร นักวิชาการ และนักต่อสู้ เพื่อความถูกต้อง  ความเป็นธรรม  จนได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติเพชร สยาม สาขาพัฒนาสังคม ด้านสาธารณสุข ประจ�ำปี พ.ศ.2550 ที่จัด มอบแก่บุคคลที่ท�ำประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ  รวมทั้งเป็น แบบอย่างที่ทรงคุณค่า ซึ่งด�ำเนินการโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ให้เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์ดีที่สุด คนหนึ่งในประเทศไทย หลายคนสงสัยว่าอะไรที่ท�ำให้คุณหมอวิชัยไม่เหน็ดเหนื่อย กับการท�ำงานที่หนักหน่วงมายาวนานหลายสิบปี “คนเราโดยมากมองปรัชญาชีวิตว่าถ้าเป็นเรื่องของการพัก ผ่อนนั้นคือสิ่งที่เป็นคุณค่าของชีวิต เราก็อาจจะเห็นว่าถ้าการท�ำงาน เป็นเรื่องเหนื่อยยาก  แต่ว่าถ้าได้พักผ่อนเป็นเรื่องสบาย  เราต้อง พยายามท�ำงานให้น้อย  ควรพักผ่อนแล้วก็มีความสุขกับสิ่งต่างๆ  ใน ชีวิตให้มาก  แต่แนวทางชีวิตผมมันตรงกันข้าม  ผมถือว่าถ้ายิ่งได้ ท�ำงานที่มีคุณค่ามากเท่าไร ก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น เราสามารถที่ จะพักผ่อนไปในการท�ำงานนี้ได้ ไม่จ�ำเป็นต้องไปพักผ่อนโดยการไป หาเรื่องท�ำให้ตัวเองเหนื่อย ไปเล่นหรือท�ำกิจกรรมอะไรต่างๆ ที่ท�ำให้ เหนื่อย ยกตัวอย่างเช่น เราต้องไปท�ำงานกลางแดด คนส่วนใหญ่จะ รู้สึกว่าท�ำงานกลางแดดมันร้อน มันล�ำบากเหนื่อยยาก แต่ว่าถ้าไปตี

129


กอล์ฟกลางแดดจะรู้สึกว่าไม่เหนื่อย ทั้งที่ตากแดด อาจจะมากกว่า ด้วยซ�้ำ  มันอยู่ที่ทัศนะการมองเห็น  เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมเชื่อว่าเป็น แรงผลักดันภายในของผมที่ให้ท�ำงานมาได้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ก็เพราะผมเห็นว่าถ้าหากเราได้ท�ำสิ่งที่มีคุณค่าแล้ว  เราก็มีความสุข กับมันได้โดยไม่จ�ำเป็นต้องไปหาเรื่องพักผ่อนหย่อนใจ  เราอาจจะ มีเรื่องพักผ่อนบ้างเป็นธรรมดา  แต่ว่าถ้าชั่งน�้ำหนักแล้วเราสามารถ หาความสุข ความเพลิดเพลินได้จากการท�ำงาน” งานของคุณหมอวิชัยในตอนนี้ก็คือการพัฒนางานจริยธรรม การวิจัยในมนุษย์  โดยการก่อตั้งชมรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคตะวันตก (Forum for Ethical Review Committees in Asia and Western Pacific หรือ FERCAP) โดยคุณ หมอวิชัยเป็นประธานคนแรก และเป็นติดต่อกันมายาวนานถึง 9 ปี อะไรที่ท�ำให้คุณหมอสนใจเรื่องนี้  ค�ำตอบก็น่าจะเป็นเพราะประเด็น ในเรื่องคุณธรรมที่เขายึดถือมาตลอดชีวิต “ในการทางแพทย์กับสาธารณสุข การวิจัยที่เกี่ยวกับมนุษย์ ที่วิจัยว่ายาตัวนี้มันจะได้ผลต่อมนุษย์หรือไม่ มันต้องทดลองในมนุษย์ เราจะไปทดลองในสัตว์ อย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลิงชิมแปนซี ซึ่งมี สรีระใกล้เคียงมนุษย์ แต่ว่าเราไปทดลองในลิงจริงๆ มันก็ยังมีความ แตกต่างกับมนุษย์อยู่ไม่น้อย  เพราะฉะนั้นสุดท้ายแล้วก็ต้องทดลอง ในมนุษย์ ซึ่งในอดีตนักทดลองวิทยาศาสตร์มีจ�ำนวนไม่น้อยที่มุ่งจะ แสวงหาความรู้โดยไม่ค�ำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  เอามนุษย์ เป็นเครื่องทดลองในลักษณะละเมิดสิทธิ  ละเมิดศักดิ์ศรี  และอาจ จะเป็นอันตรายต่อตัวมนุษย์ เช่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แพทย์ นาซีเอาเชลยสงครามมาเป็นเหมือนสัตว์ทดลองอย่างโหดร้ายทารุณ

130


อย่างการให้เชลยออกไปอยู่กลางแจ้งที่อุณหภูมิติดลบโดยสภาพ เปลือยกายอยู่ 3 ชั่วโมง แล้วให้กลับเข้ามา เชลยพวกนี้ก็ร่อแร่ใกล้เสีย ชีวิต หรือบางรายก็เสียชีวิตไปเลย แพทย์นาซีเอากลับมาดูว่าคนจะ สามารถฟื้นคืนชีพได้หรือไม่ นี่เป็นการศึกษาวิจัยส�ำหรับทหารกองทัพ นาซีเมื่อไปรบในสถานที่ที่หนาวจัด แล้วไปเจอเหตุการณ์อย่างนี้ว่าจะ สามารถหาวิธีการฟื้นคืนชีพได้อย่างไร  นี่คือการศึกษาหาความรู้แต่ เป็นการหาความรู้บนความทุกข์ยาก ทรมานชีวิตของคนอื่น เป็นเรื่อง ที่ผิดหลักจริยธรรมอย่างร้ายแรง “เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่วางระบบจริยธรรมที่ดีไว้มันก็อาจจะ มีการละเมิดผู้ที่มาเป็นอาสาสมัครเข้าทดลอง งานนี้เป็นงานที่มีความ ส�ำคัญเพราะประเทศไทยเราจะเจริญได้  เราต้องให้ความส�ำคัญกับ การศึกษาวิจัย และการศึกษาวิจัยจะเจริญได้ ก็ต้องเป็นการศึกษาที่ ถูกหลักจริยธรรมสากล  เพราะฉะนั้นเราก็ต้องพยายามที่จะสร้างกฎ เกณฑ์ทางจริยธรรมระบบต่างๆ  ที่จะให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ไม่ใช่ระดับประเทศเท่านั้น” คุณหมอวิชัยท�ำงานหนักมาตลอดชีวิตของตน  แต่ด้วยใจ รักในเรื่องคุณธรรมท�ำให้เขายังมีความสุขในการท�ำงาน  และบุคคล ที่ เ สมื อ นเป็ น ต้ น แบบทางความเชื่ อ ของเขาก็ คื อ อาจารย์ สุ ลั ก ษณ์ ศิ ว รั ก ษ์   ผู ้ ไ ด้ รั บ ฉายาว่ า เป็ น ปั ญ ญาชนสยาม  ซึ่ ง มี ชื่ อ เสี ย งมาก ในการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา  ความสัมพันธ์แบบ กัลยาณมิตรของทั้งคู่ บวกกับการได้เสวนากันอยู่เป็นประจ�ำนั้นสร้าง แรงบันดาลใจให้คุณหมอวิชัยได้เป็นอย่างมาก

131


“เป็นสิ่งที่ถูกจริตของผม  จริตทางปัญญาด้านการวิพากษ์ วิจารณ์ ผมคิดว่าอันนี้มีอิทธิพลต่อตัวผมมาก แล้วอาจารย์สุลักษณ์ ก็เป็นปัญญาชนชั้นแนวหน้า  กล้าวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างกล้าหาญ มาก”

ขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่  เราสามารถ ท�ำงานท�ำประโยชน์ได้ก็ให้ท�ำ  แล้วจงมี ความสุขกับการท�ำงาน  อย่าคิดว่าต้อง ท�ำงานแสวงหาทรัพย์สินแล้วไปหาความ สุ ข จากการพั ก ผ่ อ นท่ อ งเที่ ย ว  อะไรที่ เป็ น ประโยชน์ ที่ ท� ำ ได้ ก็ ท� ำ  เพราะชี วิ ต คนเรามันสั้น สักวันหนึ่งเราก็จะท�ำไม่ได้ ธรรมชาติจะจ�ำกัดเราเองให้เราท�ำไม่ได้ ขณะที่ยังท�ำได้ก็ควรท�ำ ไม่อย่างนั้นจะ เสียใจที่ท�ำไม่ได้แล้วยังอยากท�ำ

132


แน่นอนว่าการท�ำสิ่งที่มีประโยชน์นั้นต้องควบคู่ไปกับการใช้ คุณธรรมด้วย เพราะการมีชีวิตอยู่ได้บนโลกใบนี้ คุณธรรมส�ำคัญที่สุด

133


ทวีศักดิ์ ศรีทองดี “หน้าที่ของศิลปินคือซื่อสัตย์กับตนเอง” ค�ำถามหนึ่งที่น่าสนใจ มาเสมอก็ คื อ ศิ ล ปิ น มี ห น้ า ที่ อะไรบ้าง? ถ้ า ค� ำ ถามนี้ ไ ปอยู ่ ที่ พนักงานบัญชี  ต�ำรวจ  แพทย์ หรือนักกีฬา  ก็คงจะหาค�ำตอบ ได้ง่ายกว่า  แต่พอต้องมาถาม ศิลปินแล้ว ดูจะกลายเป็นเรื่อง ที่ ต อบยากขึ้ น   กระทั่ ง คนถาม เองก็ยังคาดเดาสิ่งที่จะได้ยินไม่ ออก “น่ า จะเป็ น การค้ น หา ความหมายของชีวิตว่าเราเกิด มาท�ำไม”  เจ้าของค�ำตอบนี้ไม่ ได้กล่าวเพื่อตอบค�ำถามข้างต้น เสียทีเดียว  แต่สิ่งที่หลุดมาจาก ความคิดของเขา  ก็เหมาะสมที่ จะเป็นค�ำตอบส�ำหรับศิลปินอีก หลายคน

134


ประโยคที่ว่าหลุดมาจากการสนทนากับ ทวีศักดิ์ ศรีทองดี หรือที่รู้จักกันในแวดวงศิลปะในชื่อ ‘โลเล’ ชายหนุ่มที่บุคลิกดูเรียบ ง่าย  มีรอยยิ้มกว้างประดับใบหน้า  เขาคือศิลปินที่มีความสามารถ หลากหลาย  โด่งดังมาจากการวาดภาพประกอบตามนิตยสารชื่อ ดังหลายเล่ม งานที่สะท้อนถึงตัวตนของผู้คนในยุคสมัย และขยาย ขอบเขตไปสู่การแสวงหาค�ำตอบในเรื่องสังคม  ทั้งด้านประวัติศาสตร์ การเมือง และเรื่องเพศ ผ่านงานจิตรกรรมร่วมสมัย อดีตศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยศิลปากรคนนี้ (เขาเรียนจบทั้งปริญญาตรีและปริญญา โทจากคณะจิตรกรรมฯ)  ยังเป็นอาจารย์สอนศิลปะให้สถาบันศึกษา ชั้นน�ำอีกหลายแห่ง รวมถึงเวลาว่างที่เหลือเขาก็ใช้มันไปในฐานะมือ เบสกับวงดนตรี ‘Happyband’ ที่เขาก่อตั้งขึ้นเอง “เราถนัดที่จะวาดรูป  ถนัดคิดอะไรที่มันเกี่ยวกับจินตนาการ หรือถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาภาพ  เราก็เลือกเรียนที่คณะ จิตรกรรม” ทวีศักดิ์เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวาด และชีวิตที่ เลือกเรียนด้านศิลปะมาตลอด “เราชอบอ่านหนังสือด้วย แต่หนังสือที่ อ่านส่วนใหญ่เป็นเรื่องประวัติศาสตร์หรือข้อเท็จจริง... เราเรียนรู้ทาง ความคิดด้วย เราอ่านหนังสือจิตวิทยา เพราะว่าเราออกมาอยู่ตัวคน เดียว ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ แล้วเราก็ต้องดูแลตัวเอง สมัยนั้นก็มีเด็กที่คิด อะไรไม่ออก เสียคนไปก็มีเยอะ เราเองก็ไม่อยากให้พ่อแม่เสียใจ พอ อ่านเรื่องจิตวิทยาจึงเป็นที่มาของความคิด มันเป็นเรื่องของการสะสม ความคิด  จนกระทั่งเรามั่นใจว่าสิ่งที่เราสนใจมันแข็งแรงพอ...มัน แข็งแรงพอที่จะท�ำให้เรารู้สึกว่าเราจะอยู่กับความคิดนี้ได้นาน”

135


โชคดีส�ำหรับคนมีฝีมือที่ทวีศักดิ์มีงานให้ฝึกฝนมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยเรียน เขาเคยวาดการ์ตูนให้กับหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ได้ ท�ำงานในบริษัทโปรดักชั่นเฮาส์ ถ่ายโฆษณา มิวสิก วิดีโอ จนมาได้ท�ำ ภาพประกอบให้กับนิตยสาร IMAGE (ซึ่งเขาท�ำมาจนถึงทุกวันนี้) ใน ใจของคนหนุ่ม ณ วัยนั้นมีฝันเต็มไปหมด อยากเป็นผู้ก�ำกับภาพยนตร์ นักเขียน นักดนตรี แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นก็คือเขาไปท�ำงานประจ�ำ เป็นผู้จัดการฝ่ายดิสเพลย์สินค้าของห้างสรรพสินค้าเพื่อที่จะหาราย ได้มาช่วยเหลือธุรกิจครอบครัว แต่ช่วงนั้นเขาก็หล่อเลี้ยงชีวิตอีกด้าน ด้วยการขอไปเป็นอาจารย์พิเศษโดยรับค่าจ้างขั้นต�่ำ  เพื่อที่จะได้พบ เจอกับคนที่หลงใหลในด้านศิลปะเหมือนกัน  และในที่สุดเมื่อปลด ล็อกเรื่องค่าใช้จ่ายได้  เขาก็ลาออกจากงานประจ�ำเพื่อมาท�ำงาน สร้างสรรค์อย่างเต็มที่ “เราไม่ได้มองเรื่องนั้นเลย”  ทวีศักดิ์ตอบเมื่อถูกถามถึงเรื่อง การสร้างความมั่นคงในชีวิตเหมือนคนหนุ่มทั่วไป  และตัวเขาอยาก จะค้นหาอะไร? “น่าจะเป็นการค้นหาความหมายในชีวิตว่าเราเกิดมาท�ำไม ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราอยากได้มันต้องพยายาม คือเราก็ไม่รู้ว่าเราอยาก ได้อะไรมากนัก  เรามีแนวคิดในเรื่องเสรีภาพ  เราจะถ่ายทอดออก มายังไง  เหมือนว่าเราอ่านหนังสือมาแล้วเรามีมุมมองอีกอย่างหนึ่ง ต่อสังคม  ต่อเรื่องการเมือง  แต่สิ่งที่เราถ่ายทอดออกมาไม่ได้เป็นใน แบบที่นักวิชาการเสนอ เราใช้ศิลปะเป็นตัวถ่ายทอด คนอื่นอาจจะไม่ เข้าใจ เข้าไม่ถึง แต่ว่าเราเคยเห็นงานศิลปะบางอย่างที่เราเรียนมา มันก็ให้ความส�ำนึกของเราในเรื่องต่างๆ ทางสังคมได้

136


“สิ่งที่เราท�ำมันจะไม่เหมือนกับที่คนอื่นมอง  เรารู้ว่าเราท�ำ อะไรอยู่ ความส�ำเร็จของงานศิลปะส่วนใหญ่อยู่ที่สิ่งที่เราท�ำเสร็จ มัน ไม่ได้อยู่ที่มูลค่าเงิน หรือว่าเสียงชื่นชมของคน มันอาจจะมีผลโดยทาง อ้อม แต่มันไม่ได้มีผลโดยตรงต่อสิ่งที่เราท�ำ ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่าง คนท�ำอาหาร สิ่งที่เขาท�ำก็คือถ้าจะท�ำอาหารให้แตกต่างสักอย่าง ก็ ต้องคิดใช่ไหม คิดก่อนแล้วก็ตั้งสมมุติฐานไว้ว่าจะท�ำ ถ้าท�ำแล้ว ผ่าน การทดลองอะไรก็ตาม จนอาหารเสร็จออกมาแล้ว เราเชื่อว่านั่นคือ ความส�ำเร็จของคนที่ท�ำ และเขารู้สึกว่านี่แหละคือรสชาติที่เขาสร้าง ขึ้นมาเอง เขาอาจจะต้องการให้คนลองชิม เพื่อที่จะฟังว่าคนอื่นรู้สึก ถึงรสชาติแบบไหน แต่เราเชื่อว่าสิ่งที่เขาสร้าง ถ้าเขาท�ำมามากพอ สมควร  ท�ำมาหลายครั้งจนเขารู้ว่าอาหารที่เขาท�ำจะเป็นแบบไหน แล้วใครบ้างที่จะกินแบบนี้ได้ ความส�ำเร็จมันก็อยู่ที่เขาท�ำเสร็จแล้ว... อย่างตัวเราท�ำงานศิลปะ เราไม่ได้ท�ำเพื่อทุกคน เราท�ำเพื่อสิ่งที่เราคิด เพื่ออุดมการณ์ของตัวเรา  เราไม่ได้เลือกท�ำเพื่อที่จะให้คนบางกลุ่ม เสพงานเรา แต่เราก็พอจะรู้ได้ว่างานของเราจะมีคนกลุ่มไหนสนใจ การเมืองก็ไม่ใช่เรื่องที่จะมาสอนในมหาวิทยาลัย  เราต้อง อ่านเอง เราอ่านประวัติศาสตร์ อ่านเรื่องลัทธิ เราจึงไม่เชื่อว่าการเรียน ในมหาวิทยาลัยจะบอกเราได้ทุกอย่าง หรือบอกว่าเราเรียนจิตรกรรม แล้วจะต้องเดินตามสายจิตรกรรม... ความหมายที่เราเล่ามาทั้งหมด ก็คือ ถ้าเราเป็นนักคิดแล้ว อะไรก็ตามที่ศึกษามาก็เป็นเรื่องเทคนิค ทั้งหมดเลย อย่างงานบางชิ้นเราสะท้อนเรื่องดนตรี มันก็มีดนตรีเป็น เครื่องมือ เป็นเทคนิคที่น�ำสิ่งที่เราคิดออกมา เหมือนการเขียนหนังสือ หรือการออกแบบกราฟิกบางอย่างก็สอดแทรกความคิดเราเข้าไป เพราะฉะนั้นช่องทางเหล่านี้เป็นเรื่องเทคนิคหมดเลย  สิ่งส�ำคัญที่สุด อยู่ที่ความคิด”

137


ความคิดแรกๆ ที่ทวีศักดิ์เริ่มต้นสื่อสารก็คือเรื่องราวของโลก ในสมอง โลกแห่งความฝัน เขาเชื่อว่าเพราะความฝันนั่นเองที่ท�ำให้ คนเรามีชีวิตอยู่ต่อไปได้ “บางคนเวลายืนอยู่ในโลก ท�ำงานเจอคน เจอปัญหาอะไรมากมาย เจอความไม่อิสระ คนที่โดนกักขังหรืออยู่ใน คุก แต่สิ่งที่ท�ำให้เขามีชีวิตอยู่รอดได้คือความฝัน เพราะเขามีความ ฝัน มันอาจจะเป็นโลกอีกโลกหนึ่งที่ขนานกับโลกที่เราอยู่ มันไม่ใช่ ศาสนา ไม่ใช่ลัทธิอะไรทั้งสิ้น แต่ว่าทุกคนเป็นได้ อย่าหลงกับความ เป็นอยู่บนโลกจนเกินไป ควรมีมโนภาพอีกมโนภาพหนึ่งไว้ดีกว่า เหมือนเวลาที่เราอ่านหนังสือ ก็เห็นแต่ตัวหนังสือใช่ไหม แต่ภาษาใน นั้นพาเราท่องไปในทะเลทราย เจอพายุทราย มีความหนาวเหน็บ เช้า มาแดดออก มันอาจเรียกว่าจินตนาการก็ได้” นั่นก็น่าจะเป็นหนึ่งใน คอนเส็ปต์ของนิทรรศการงานศิลปะครั้งแรกของเขาเมื่อปี  พ.ศ.2537 ที่ชื่อว่า Dream หลังจากนั้นภาพวาดของเขาก็ขยายเนื้อหาไปสู่เรื่อง การเมือง ความขัดแย้ง สิทธิเสรีภาพ โดยเขาสะท้อนมันออกมาจาก ประวัติศาสตร์โลก สภาพของสังคมในเวลานั้น

138


“เราสนใจเรื่องนี้ เรื่องมนุษย์ เรื่องเสรีภาพ พยายามมองหา เหมือนกันว่าตรงไหนที่มนุษย์จะไปถึงในที่สุด  แม้กระทั่งเรื่องความ ขัดแย้ง ก็มีความคิดอยู่ในนั้นเหมือนกัน” ศิลปินหนุ่มกล่าว กับค�ำถามที่ว่าหน้าที่ของศิลปินควรจะท�ำอะไร ทวีศักดิ์บอก ว่าควรจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้สร้างงานได้ท�ำงานอย่างอิสระ และผู้ชมก็มีอิสระเช่นกันที่จะเลือกเสพ  “ศิลปินควรจะสะท้อนเรื่อง อะไรรึเปล่า หรือว่าศิลปินจะต้องเป็นแบบไหน มันไม่ได้อยู่ที่ตัวศิลปิน จะต้องมารับผิดชอบ ศิลปินรับผิดชอบตัวเอง ซื่อสัตย์ในสิ่งที่ตัวเองท�ำ และท�ำออกมาให้ได้ สุดท้ายถ้างานของเราไม่มีคนสนใจ ก็ไม่เป็นไร ให้คนไปดูอย่างอื่นกันแทน “ถ้ า เราต้ อ งท� ำ งานที่ จ ะหาเงิ น แล้ ว เราคิ ด ถึ ง ผลตอบแทน เสมอ  ก�ำไรที่ว่าอาจจะไม่ใช่เรื่องเงิน  เงินมันไม่สนุก  แต่ถ้าเราท�ำ เพราะว่าความกระตือรือร้นที่เราอยากจะท�ำ  เพราะว่างานมันมีสาระ มันสนุก มันก็ท�ำได้โดยไม่ต้องมีใครมาสั่ง อยู่ที่ตัวเราเองที่จะพบเจอ ทุกอย่างล้วนเป็นสาระกับตัวเราได้หมด” ทุ ก วั น นี้ ผ ลงานของโลเลได้ ถู ก เชิ ญ ไปจั ด แสดงในหลาย ประเทศทั้งเอเชียและยุโรป  ชื่อ  ‘โลเล’  เป็นที่รู้จักกันในแวดวงศิลปะ ร่วมสมัยอย่างกว้างขวาง  แต่เขาก็ยังเป็นเหมือนศิลปินหนุ่มคนเดิมที่ ไม่หลงไปกับเสียงเยินยอ “ถ้าท�ำให้เขาขยันหรือว่าใช้เวลาไปกับความคิดของเขาเอง ได้มันก็ดี” ชายหนุ่มตอบสั้นๆ เมื่อถูกถามว่ารู้สึกอย่างไรถ้ามีคนมา ยกย่องให้เขาเป็นไอดอล

139


“มันอาจจะมีหนังให้เราดู มีตัวอย่างที่ดาราพอดังแล้วก็ท�ำตัว เละเทะ หรือนักดนตรีที่มาถึงจุดพีคที่สุดแล้วฆ่าตัวตาย เรื่องแบบนี้ มีเยอะมากมาย เราชอบอ่านชีวประวัติบุคคล เพราะท�ำให้เรารู้ว่าจุด พีคคืออะไร  นโปเลียนต่อต้านระบบกษัตริย์พอปฏิวัติได้ก็แต่งตั้งตัว เองเป็นเหมือนกับกษัตริย์ที่เขาต่อต้าน  พอตอนหลังก็ต้องพบจุดจบ เหมือนกัน ย้อนกลับมาที่ค�ำถามว่าเราเหลิงไหม เราว่าเป็นเรื่องของ คนอื่น  ถ้าคนที่สนใจเราแล้วมันเป็นประโยชน์  สามารถสร้างแรง บันดาลใจได้อันนั้นก็ดี แต่ถ้าสนใจแล้วแบบประเดี๋ยวประด๋าว แล้ว เราไปเหลิงหรือภูมิใจกับมันมากไปก็ไม่มีประโยชน์หรอก เราว่าหลาย คนที่ท�ำงานศิลปะ เขา concentrate กับงานที่เขาท�ำจริงๆ เขาจะไม่ สนใจเรื่องนี้มากเท่าไร  ยกตัวอย่างว่าเราได้รางวัลประกวดงานศิลปะ ได้เงิน ได้ชื่อเสียงมา แต่ว่าเราก็ต้องกลับไปมองคนรอบข้าง เพื่อนเรา มันจะรู้สึกดีกับเราเหมือนเดิมหรือเปล่าวะ หรือมันคิดว่าเราเป็นคนที่ ล�้ำไปแล้ว เพราะคนที่ล�้ำมักจะไม่ค่อยมีเพื่อน” ทุกวันนี้สิ่งที่ทวีศักดิ์สนใจเป็นพิเศษก็คือเรื่องการเล่นดนตรี และการสร้างบ้าน  เป็นเรื่องใหม่ๆ  ที่ท�ำให้เขาได้เรียนรู้ชีวิตเพิ่มมาก ขึ้น เขาปฏิเสธคนที่จะมาท�ำหนังสือเกี่ยวกับชีวิตของเขา ด้วยสาเหตุ สองประการ อย่างแรกคือเขาเขินอาย อย่างที่สองคือเขายังไม่ตาย เพราะมีแต่คนที่ตายแล้วเท่านั้น ที่โลกจะยอมปิดเทอมใหญ่ให้ เพราะทวีศักดิ์ หรือโลเล ยังคงสนุกกับชีวิต

140


ถ้ า เราต้ อ งท� ำ งานที่ จ ะหาเงิ น แล้ ว เราคิ ด ถึ ง ผลตอบแทนเสมอ ก�ำไรที่ว่าอาจจะไม่ใช่เรื่องเงิน  เงิน มันไม่สนุก  แต่ถ้าเราท�ำเพราะว่า ความกระตือรือร้นที่เราอยากจะท�ำ เพราะว่างานมันมีสาระ มันสนุก มัน ก็ท�ำได้โดยไม่ต้องมีใครมาสั่ง อยู่ที่ ตัวเราเองที่จะพบเจอ ทุกอย่างล้วน เป็นสาระกับตัวเราได้หมด

141


อารันดร์ อาชาพิลาส พลังแห่งความดีเปลี่ยนแปลงโลกได้

ในช่ ว งเวลาที่ ค นหนุ ่ ม สาวออกมาช่วยเหลือสังคมไทย ในช่วงวิกฤตภัยน�้ำท่วม จนก่อ เกิดกระแสของจิตอาสาได้อย่าง น่าประทับใจ หากก่อนหน้านั้น เกื อ บสามปี ก็ ยั ง มี ค นหนุ ่ ม คน หนึ่งที่ก�ำลังซุ่มท�ำในสิ่งที่ไม่แตก ต่างกันมากนัก ในแง่ที่ว่าอยาก จะท�ำให้สังคมที่อาศัยอยู่นั้นดี ขึ้น แต่สิ่งที่เขาท�ำไม่ได้เป็นแค่ งานวั น เดี ย วจบ  หากสามารถ เป็ น รากฐานระยะยาวในการ พลิกฟื้นสังคมไทยได้ในหลาย มิ ติ   กระตุ ้ น ให้ พ ลั ง ของคนรุ ่ น ใหม่ที่ทุ่มเทเพื่อสังคมไปนั้นไม่ สูญหายไปตามวันเวลา

142


ว่าแต่เขาท�ำอะไรกันแน่? “ผมคนเดียวไม่สามารถเปลี่ยนโลกได้ หน้าที่ของผมคือการ ท�ำให้ผู้อื่นรู้สึกอยากเปลี่ยนแปลงโลก” อารันดร์ อาชาพิลาส คือชายหนุ่มวัย 23 ปีเจ้าของประโยค ดังกล่าว ขณะที่ผู้ชายวัยเดียวกันคนอื่นๆ อาจจะยังเพิ่งเรียนจบ ก�ำลัง ค้นหาชีวิตหรือสนุกกับการเที่ยวเตร่ไปตามวัย  แต่อารันดร์ท�ำในสิ่ง ที่ตรงกันข้าม  เขาเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท  ชิล  ชิล  แคปปิตอล จ�ำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งนิตยสารที่เราก�ำลังจะพูดถึงที่ชื่อว่า “BE” นิตยสารที่เขาใช้โมเดลในการท�ำธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) มาบริหารจัดการด้วยจุดประสงค์อันยิ่งใหญ่ “หนังสือที่เปลี่ยนชีวิตผมไปมากที่สุดไม่ใช่หนังสือธรรมะ ปรัชญา ศาสนา แต่คือหนังสือการ์ตูนโดราเอมอน ถ้าลองอ่านโดราเอมอนดีๆ  ผมว่ามันพูดเรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ก่อนมีกระแสโลกร้อน ในการ์ตูนบอกไว้เสมอว่าความอ่อนโยนไม่ใช่ความอ่อนแอ บางครั้ง ความอ่อนโยนท�ำให้คุณมีพรรคพวก  สร้างความสามัคคีได้ เนื้อหามัน ซ่อนอยู่ในนั้น”  อารันดร์เกริ่นน�ำด้วยแรงบันดาลใจส่วนตัวที่ปลูกฝัง เขามาตั้งแต่วัยเด็ก อารันดร์ถือก�ำเนิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  กลับมาใช้ชีวิต วัยเด็กที่เมืองไทย  ก่อนที่จะโตเป็นหนุ่มแล้วไปศึกษาต่อที่  SOAS University of London ประเทศอังกฤษ ระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น เขาท�ำความรู้จักกับกิจกรรมเพื่อสังคมมาโดยตลอด  ผ่านการเป็น กรรมการฝ่าย debate ของสามัคคีสมาคม การจัดทริปสอนหนังสือ

143


และการจัดสัมมนาการศึกษาให้กับนักเรียนไทยในอังกฤษ ฯลฯ โดย ภาพรวมแล้วชีวิตของอารันดร์จัดอยู่ในชนชั้นที่มีโอกาสทางสังคมสูง แต่เขาก็ไม่เลือกเส้นทางสบายๆ  ด้วยการท�ำตัวเป็นนักเรียนนอกกลับ จากอังกฤษแล้วมาเป็นไฮโซฯ  ออกงานสังคมให้นักข่าวถ่ายรูป ทว่า อารันดร์เลือกที่จะท�ำงานเพื่อสังคมจริงๆ ดีกว่า “คนที่มีโอกาสแบบผมอาจจะมีไม่มาก  เพราะโลกเรามัน ไม่เท่าเทียม  ผมเป็นกลุ่มสเปิร์มผู้โชคดี  เพราะฉะนั้นผมอยู่ในจุดที่ ท�ำงานเพื่อสังคมได้แล้วท�ำไมจะไม่ลองท�ำ คนที่มีพื้นฐานในลักษณะ เดียวกับผม เขาก็เข้าไปในโลกการเงิน ไปช่วยธุรกิจที่บ้าน ซึ่งโลกมี คนลักษณะนี้เยอะพอแล้ว แต่คนที่ออกมาท�ำแบบผมนี้มันไม่ค่อยจะ มี ผมยังเด็ก ผมยังสามารถผิดพลาดได้ คนเรามันก็ต้องพลาดสักครั้ง หนึ่งในชีวิต ต้องเคยท�ำอะไรโง่ๆ มาบ้าง” โชคดีที่สิ่งที่เขาท�ำไม่ใช่เรื่องโง่ๆ ตรงกันข้ามว่าอาจเป็นเรื่อง ฉลาดที่สุดที่คนหนุ่มวัยอย่างเขาจะคิดได้  จุดเริ่มต้นคือเมื่อตอนที่ เขายังอยู่ที่ประเทศอังกฤษ อารันดร์ได้เห็นนิตยสารชื่อว่า ‘The Big Issue’ นิตยสารเพื่อสังคมที่ผลิตแล้วให้คนไร้บ้านหรือคนด้อยโอกาส ในสั ง คมน� ำ มารั บ ไปขายเพื่ อ สร้ า งรายได้   สร้ า งอาชี พ ได้ อ ย่ า งมี เกียรติ ส่วนเงินที่ทางผู้ผลิตจะได้รับก็หามาจากการขายโฆษณาแทน โมเดลธุรกิจนี้เองที่ท�ำให้อารันดร์รีบน�ำกลับมาปรับใช้ในเมืองไทย กับการลงทุนเปิดตัวนิตยสาร ‘BE’ เมื่อสองปีที่แล้ว ได้รับเสียงชื่นชม และสนับสนุนเป็นอย่างดีด้วยเนื้อหาที่น�ำเสนอเรื่องราวของผู้คนที่ สร้างสรรค์สิ่งดีๆ สู่สังคม “แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งคือว่าเราในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ในหลวงท่านทรงท�ำอะไรไว้เยอะมาก  สิ่งที่เราท�ำอาจไม่จ�ำเป็นต้อง

144 144


บอกว่าเรารักในหลวง เราน่าจะท�ำอะไรให้ท่านรู้สึกว่าคนไทยสามารถ ลุกขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่ว่าทุกอย่างต้องพึ่งท่าน เพราะในหลวง ทรงท�ำอะไรไว้ให้พวกเราเยอะมากแล้ว...  BE  Magazine  ก็เป็นหนังสือที่ผลิตขึ้นมาเพื่อให้คนที่ตกงานหรือคนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยมารับหนังสือไปขายได้ โดยการมาขายครั้งแรกนั้นไม่ต้องจ่ายเงินอะไรเลย ทาง เราจะอบรมเขาแล้วให้หนังสือไปทดลองขายฟรีก่อน 30 เล่มแรกเพื่อ ให้เขามีเงินต้นทุน หลังจากนั้นเล่มที่ 31 ถ้าเขาจะยังขายหนังสือให้ เราต่อ ก็สามารถซื้อหนังสือจากเราไปขายได้ในราคาที่ถูก วิธีนี้เอ็นดู เขาเอ็นเราก็ไม่ขาด” อารันดร์ไม่ได้ดูแลผู้ขายของเขาแค่การให้หนังสือ เพราะคน เหล่านี้ต้องการเริ่มต้นที่จะออกไปท�ำงานอย่างสดใสขึ้น  เพราะบาง คนอาจมีที่นอนหมอนมุ้งเป็นข้างถนน ชายหนุ่มจึงต้องเปิดออฟฟิศไว้ รับรองพวกเขาตลอดเวลา

145


“ทุกเช้าพวกเขาจะเข้ามาอาบน�้ำแปรงฟัน  เราเปิดออฟฟิศ ต้อนรับตลอด วิธีที่เราจะเพิ่มรายได้ให้เขา ก็คือการลดรายจ่ายของ เขาลง เราใช้พื้นที่ของสื่อมวลชนตรงนี้ระดมของบริจาค รับบริจาค ปัจจัยสี่ เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม สบู่ ของจ�ำเป็นที่ต้องใช้ ในชีวิตประจ�ำวัน คุณบริจาคเข้ามา แทนที่คุณจะให้เขาไปฟรีๆ แต่ผม จะให้เฉพาะคนที่ท�ำงานเท่านั้นนะ  คุณมีสิทธิ์ที่จะซื้อของทั้งข้าวสาร อาหารต่างๆ ในราคาชิ้นละ 1 บาท นี่คือวิธีที่จะลดค่าใช้จ่ายให้เขา เพราะวิธีการให้โดยบริจาคบางครั้งท�ำร้ายผู้รับมากกว่านะ” อารันดร์บอกว่ากลุ่มคนเหล่านี้บางคนก็เป็นเด็กผู้ชายข้าง ถนน เคยค้าประเวณี ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อชีวิตหากพลาดพลั้งติดโรคร้ายมา แลกกับรายได้ต่อครั้งเพียงแค่ 50-200 บาท เขาอยากจะดึงคนเหล่า นี้ให้เข้าสู่วิถีที่ดีกว่า ตื่นเช้ามาแล้วอยากจะไปท�ำงานโดยไม่ต้องอาย พระอาทิตย์ มีอนาคตให้คิดถึง “พวกเขาบางคนคิดถึงอนาคต พอเขาขายหนังสือได้ ท�ำงาน ได้ เก็บเงินได้สัก 8,000 บาท พวกเขาก็จะออกจากวงจรไม่ดีได้เอง เขาสามารถอาบน�้ำ แต่งตัวสุภาพให้ดูดีขึ้นและไปสมัครงานได้ ถ้า พวกเขาไม่เคยท�ำอาชีพอะไรมาเลย  เป็นคนที่อยู่ไม่เป็นหลักเป็น แหล่งมาก่อน  ถามว่าใครจะรับเข้าท�ำงาน?  แต่ถ้าเขาบอกว่าเคย ท�ำงานขายหนังสือ BE Magazine บริษัทนั้นไม่จ�ำเป็นต้องรู้หรอกว่า BE Magazine คืออะไร แต่อย่างน้อยเขาก็มองเด็กคนนี้ว่ามันก็เคย ท�ำงาน “ผมท�ำทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าผมเป็นคนดีอะไรมากมาย  ที่ผมท�ำ เพราะผมอยากจะรู้ว่าคนเราจะไปได้ไกลแค่ไหนถ้าเราสามารถใช้

146


เครื่องมือที่เรามีอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ธุรกิจ แล้วพัฒนาใช้ให้ มันถูกทาง โลกของเราจะเป็นยังไง มันไม่น่าตื่นเต้นบ้างเหรอ ทุกวัน นี้คนอายุยืนขึ้น มีพาราเซตามอลกินได้ในราคาถูก ก็เพราะว่าธุรกิจ พาราเซตามอลเกิดมาด้วยระบบธุรกิจ ซึ่งวิธีคิดนี้มันน่าจะไปได้ แต่ ประเทศไทยจะไปได้แค่ไหน มันน่าสนใจตรงนี้ ทางโครงสร้างสังคม ของเรามีความเหลื่อมล�้ำทางชนชั้นมาก คนรวยก็รวยไปเลย คนจนก็ จนไปเลย แล้วก็เป็นหัวข้อที่นักวิชาการทุกวงพูดกัน แต่ทุกคนไม่พูด กันว่าเมืองไทยมีจุดแข็งอยู่ข้อหนึ่ง ข้อนั้นคือต้นทุนการใช้ชีวิตในเมือง ไทยถือว่าราคาถูกมาก ซึ่งหมายความว่าต้นทุนการพัฒนาชีวิตคนก็ ถูกมากเช่นกัน” เวลามี ค นมาบอกว่ า สิ่ ง ที่ เ ขาท� ำ สร้ า งแรงบั น ดาลใจให้ มากมาย อารันดร์น้อมรับด้วยค�ำขอบคุณ แต่เขาคิดว่าคนที่เสพเรื่อง แรงบันดาลใจก็ควรไปให้ไกลขึ้นกว่าเดิม “คนเราต้องมี inspiration แต่คนเราเสพ inspiration กันพอรึยัง ผมไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งไม่ดี แต่ ผมมองว่าวันนี้สังคมต้องการนักปฏิบัติจริงๆ...” สิ่งที่อารันดร์ท�ำอยู่อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล เพราะ เป็นการลงทุนกับโครงสร้างสังคมแบบใหม่  แต่คนหนุ่มอย่างเขาก็ เต็มใจที่จะรอคอยอย่างไม่รีบร้อน “ให้เวลามันสิ  ในหลวงท่านกว่าจะทรงวิจัยฝนหลวงได้ใช้ เวลาเป็น 10 ปี คุณท�ำแค่ 2-3 ปีแล้วคุณอยากจะเห็นผลมหาศาล คุณ ฝันไปรึเปล่า ให้เวลามันก่อน ค่อยเป็นค่อยไป ทุกอย่างมันมีเวลาของ มันเอง เมื่อคุณจุดติดเมื่อไหร่มันจะเร็วขึ้นเอง ต้องรู้จักให้เวลาให้เป็น อย่าไปคิดว่าคุณท�ำมาแล้ว 1 ปี 1 เดือน แล้วมันไม่ได้ผลอะไรเลย

147


หลายอย่างใช้เวลาเป็น 10 ปี งานศิลปะระดับโลกหลายชิ้นกว่าคน จะเห็นว่ามันมีประโยชน์ มันใช้เวลาตั้งกี่ร้อยปีกว่าจะถูกค้นพบคุณค่า งานวิจัยบางอย่างกว่าคนจะใช้ได้จริง เทคโนโลยีหลายอย่างกว่าจะ พร้อมใช้งาน สิ่งที่เราท�ำไว้อาจจะไม่ได้มีประโยชน์ในรุ่นของเรา แต่ ระบบที่เราสร้างไว้คนรุ่นหน้าอาจจะเห็นอะไรบางอย่างแล้วดึงมาใช้ งานก็ได้ สิ่ ง ที่ ทุ ก คนลื ม ไปก็ คื อ ว่ า   การกระท� ำ ของมนุษย์  อายุข อง มันจะยืนยาวกว่าตัวมนุษย์เสมอ  ทุกคนพูดถึงในหลวงถวายพระพร ทรงพระเจริญ ถ้าอยากให้ท่านอยู่นานๆ ดูผลงานของท่านสิ ต่อยอด ผลงานของท่าน ถ้าอยากให้ในหลวงอยู่เป็นหมื่นปีท่านก็อยู่ได้ อยู่ใน ผลงานของท่าน อยู่ในแนวคิดในการกระท�ำที่ท่านทรงท�ำลงไป” กับค�ำถามที่ว่าอารันดร์อยากจะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ไป อย่างไร แน่นอนว่าเขาอยากเห็นมันดีขึ้น แต่ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง แล้ว ยังมีการเปลี่ยนโลกด้วยวิธีที่ง่ายกว่าเดิม “สิ่ ง แรกหากเราจะเริ่ ม การเปลี่ ย นแปลง  ก็ คื อ การปฏิ บั ติ กับคนรอบข้างของคุณให้ดีขึ้น  แค่นี้โลกของคนรอบข้างตัวคุณก็จะ เปลี่ยนแปลงดีขึ้น  คุณเป็นหัวหน้าปฏิบัติกับลูกน้องดีขึ้น  โลกของ ลูกน้องคุณก็ดีขึ้น คุณเป็นลูกปฏิบัติกับพ่อแม่ดีขึ้น โลกของพ่อแม่คุณ ก็ดีขึ้น เริ่มจากมุมมองง่ายๆ อย่างนั้นดีกว่าไหม เพราะทุกคนมีพลังที่ จะเปลี่ยนแปลง... “ผมอยากให้ทุกคนรู้ถึงพลังตรงนั้น” อาจเรียกพลังนี้ได้ว่าพลังแห่งความดี

148


การกระท� ำ ของมนุ ษ ย์   อายุ ข องมั น จะยื น ยาวกว่ า ตั ว มนุ ษ ย์ เ สมอ  ทุ ก คนพู ด ถึงในหลวง  ถวายพระพรทรงพระเจริญ  ถ้า อยากให้ท่านอยู่นานๆ  ดูผลงานของท่านสิ ต่อยอดผลงานของท่าน ถ้าอยากให้ในหลวง อยู่เป็นหมื่นปีท่านก็อยู่ได้  อยู่ในผลงานของ ท่าน อยู่ในแนวคิดในการกระท�ำที่ท่านทรง ท�ำลงไป

149


นรเศรษฐ หมัดคง คนล้มแต่ไม่ท้อ  ขอแค่หัวใจ มีคุณธรรม คนแบบนี้ถึง จะล้ม อีก กี่ครั้งก็ยังมีเก้าอี้ให้นั่งพักเสมอ นั่งพักร่างกายที่เหนื่อยล้า  ผ่อน คลายโชคชะตาที่อ่อนแรง  แต่ หั ว ใจยั ง คงสู บ ฉี ด ความรั บ ผิ ด ชอบ  คุ ณ ธรรมและความหวั ง ในการใช้ชีวิต  ที่ส�ำคัญที่สุดคือ คนแบบนี้ไม่เคยหนีปัญหา  กล้า เผชิญหน้าในวันที่ชีวิตติดลบ นรเศรษฐ หมัดคง คือ หนึ่งในคนแบบที่กล่าว  จากคน ที่เป็นหนี้หลายล้านบาท  และ มี ลู ก คนเดี ย วที่ ป ่ ว ยด้ ว ยโรคที่ ไม่มีทางรักษาหาย  เขาต้องใช้ ความกล้าระดับไหนกันส�ำหรับ การยืนหยัดต่อไปอย่างมีเกียรติ อย่างมีประโยชน์ต่อสังคม

150


นรเศรษฐเป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรีว่า “ดีเจซี้ด” เพราะเขา เป็นทั้งผู้จัดรายการวิทยุ และดีเจในงานปาร์ตี้ชั้นน�ำ รวมถึงเคยเป็น คนท�ำหนังสือชื่อดังซึ่งมีอิทธิพลต่อคอเพลงมากที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้น เป็นนักเขียน นักวิจารณ์ที่มีความรู้ทางดนตรีสูงเป็นล�ำดับต้นๆ ของ วงการ คนหนุ่มร่างเล็กจากสงขลา  เติบโตมากับชีวิตต่างจังหวัดใน หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งของชาวมุสลิมติดกับทะเลสาบสงขลา จากเด็ก ที่ชอบฟังเพลงลูกทุ่งเป็นชีวิตจิตใจจากวิทยุทรานซิสเตอร์ และเมื่อเขา ย้ายไปเรียนที่อ�ำเภอหาดใหญ่ เขาก็ได้ซึมซับวัฒนธรรมเพลงลูกกรุง ได้เข้าโรงหนัง  และขยับขยายไปสู่การฟังเพลงสากลที่เริ่มหลั่งไหล เข้ามา  พอย่างสู่วัยรุ่นก็เปิดโลกทัศน์ทางดนตรี  ด้วยแนวเพลงเฮฟวีเมทัล ฮาร์ดร็อก และหูของเขาก็ฉายรสนิยมทางดนตรีโดยการได้เป็น ดีเจเปิดแผ่นที่ลานสเก็ตน�้ำแข็งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงนั้น และก็สั่งสมประสบการณ์ตามผับต่างๆ  จนหาดใหญ่นั้นดูจะเล็กเกิน ไปแล้ว  ในที่สุดนรเศรษฐก็ตัดสินใจเข้าสู่กรุงเทพฯ  ด้วยวัยของเด็ก หนุ่ม  เมื่อมาเจอกับชีวิตกลางคืนที่สบตากับพระอาทิตย์น้อยกว่าปกติ อะไรที่เคยหนักแน่นก็กลายเป็นไม่แน่นอน รายได้ที่เข้ามามาก แต่ก็ แทบไม่เหลือเก็บ “ตอนนั้นชีวิตเรียกว่าส�ำมะเลเทเมา  เมื่อก่อนเหล้าไม่เคย แตะเพราะเป็นมุสลิม  พอมาท�ำงานที่นี่แล้วมันยิ่งเละ  ก็คิดว่ากลับ บ้านดีกว่า คิดถึงแม่ เพราะว่าเราไม่มีเงินเก็บ และมาอยู่ในแวดวง ของนักเลง หมายความว่าเราต้องอยู่กับนักเลง  ไม่อย่างนั้นเราอยู่ไม่ รอด จึงตัดสินใจกลับบ้าน แต่ไม่ได้กลับเข้าบ้านเลยทีเดียว เพราะคง โดนต่อว่าแน่ๆ น้าจึงพาไปเรียนที่โรงเรียนศาสนาปอเนาะ อยู่เลยจาก หาดใหญ่ไปนิดหน่อย  ซึ่งที่ปอเนาะนั้นผมเคยไปเรียนกับคุณพ่อคุณ

151


แม่ตั้งแต่เล็กๆ  เพราะว่าทุกวันพฤหัสเขาจะสอนเรื่องศาสนาส�ำหรับ ผู้ใหญ่ แล้วก็จะมีการสอนเด็กด้วย กลับไปที่นั่นทุกคนก็รู้จักเราหมด จึงกลับเข้าไปเรียน นุ่งขาวห่มขาวคล้ายๆ กับนักบวช ที่นั่นจะเรียน สายปรัชญา ไม่ใช่สายเรียนทางโลกปกติ มันเป็นการเรียนรู้จิตใจคน เป็นการฝึกคนให้เป็นคน พอพ่อแม่รู้ข่าวก็พอใจ  พ่อพูดประโยคเดียวว่า  คิดจะเป็น จอมยุทธ์ ก็ต้องมีวรยุทธ์ออกไปท่องยุทธจักร เพราะที่ผ่านมาเราไม่ได้ เรียนแบบเป็นเรื่องเป็นราว เรียนทางโลกแต่ไม่ได้เกี่ยวกับศาสนาเลย ผมเคร่งเรียนอยู่ประมาณสามปีเต็มๆ นั่งสมาธิ มองทุกสิ่งทุกอย่างใน ทางโลก ท�ำจิตใจให้เข้มแข็งกับทุกเรื่อง ถ้าเปรียบกับสายพุทธก็คือ สายวิปัสสนา สายพระป่า ผมเรียนจนรู้สึกว่าตัวเองเจ๋ง เพราะเรียน ที่นั่นห้ามออกมาข้างนอก  มีพ่อแม่เอาอาหารข้าวของไปเยี่ยมทุก อาทิตย์ เพราะทางโรงเรียนห้ามออกไปไหนเลยต้องอยู่แต่ในเขา แล้ว สุดท้ายเราก็ร้อนวิชา ที่จริงเขาเรียนกัน 4-5 ปี เราเรียน 3 ปี ก็ตัดสินใจ ออกมา ออกมาวันแรกอยู่บ้านได้ไม่ถึงชั่วโมง ก็กลับเข้าไปในเมือง ไป เจอพรรคพวก” และนั่นก็เป็นจุดเริ่มของความล�ำบากอีกครั้งเมื่อนรเศรษฐกับเพื่อนฝูงไปรับงานใหญ่ เป็นผู้จัดงานคอนเสิร์ตให้วงศิลปิน ร็อกชื่อดัง แต่เพื่อนเหล่านั้นก็หนีหายไปพร้อมกับเงินที่ได้มาและทิ้ง หนี้สินค่าใช้จ่ายเอาไว้เป็นจ�ำนวนมาก  คราวนี้พ่อของเขาจัดกระเป๋า ให้ลูกชายด้วยตัวเอง  พร้อมกับบอกว่าถึงเวลาที่เขาต้องเผชิญโลก ตามล�ำพังแล้ว

152


“ออกมาจากบ้านก็ขึ้นมากรุงเทพฯ ตอนนั้นรู้สึกว่าตัวเองอยู่ ที่ศูนย์ ไม่มีใคร ในกรุงเทพฯ เราไม่ใช่ somebody เราเป็น nobody เราไม่ได้เป็นดีเจเปิดแผ่นแบบรุ่นพี่คนอื่นๆ  สุดท้ายผมก็มาเช่าห้อง เช่าเล็กๆ อาศัยอยู่กับเพื่อนๆ ที่พอรู้จักกันมา ตัดสินใจว่าจะเริ่มต้น ใหม่ ไม่ไหวแล้ววงการนี้ ขึ้นมากรุงเทพฯ ครั้งนี้  เราจะเริ่มต้นตั้งใจ เรียนหนังสือ เพราะเราช้ากว่าชาวบ้านไปนาน เรามีเงินของคุณแม่ให้ มานิดหน่อย ก็เก็บไว้ไม่ได้ใช้ ไปสมัครเป็นพนักงานเสิร์ฟค่าจ้างเดือน ละ 1,500 บาท คิดว่าเราไม่มีอะไรจะเสีย เราเริ่มด้วยอาชีพสุจริต แล้ว การเป็นพนักงานเสิร์ฟมันไม่ได้เป็นอาชีพน่ารังเกียจอะไร  ต้องเริ่มต้น ด้วยตัวเราเองก่อน เพราะเราท�ำให้พ่อแม่เสียใจมาเยอะแล้ว” ตลอดเวลาที่นรเศรษฐออกมาใช้ชีวิต  สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยห่าง ไปจากกระเป๋าของเขาก็คือหนังสือ วรรณกรรมต่างๆ ท�ำให้ชายหนุ่ม เป็ น คนที่ มี ค วามคิ ด โตกว่ า คนวั ย เดี ย วกั น   เขากลั บ มาศึ ก ษาต่ อ ที่ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง เรียนและท�ำงานไปด้วย แต่ความชอบใน เสียงเพลงก็ยังไม่หนีไปไหน  เขาเริ่มอยากจะสื่อสารกับคนฟังเพลง ในเนื้อหาที่ยังไม่เคยมีหนังสือเล่มไหนพูดถึง  และในปี  พ.ศ. 2538 นิตยสารดนตรีนอกกระแสที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดฉบับหนึ่งที่เมืองไทย เคยมีมา Generation Terrorist หรือที่เรียกกันติดปากว่า GT ได้ถือ ก�ำเนิดขึ้นด้วยสองมือของนรเศรษฐ ในช่วงนั้นเขาแต่งงานกับแฟนสาวที่ให้ความช่วยเหลือและ สนับสนุนความฝันของเขามาโดยตลอด นิตยสาร GT ท�ำท่าจะไปได้ ดีในระยะแรก แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการท�ำนิตยสารนั้นสูง รายได้จาก การขายโฆษณาไม่เพียงพอ  ซึ่งในยุคนั้นโอกาสของสื่อนอกกระแส แทบจะเป็นศูนย์  ส่งผลให้หนี้สินเริ่มพอกพูนทีละน้อย  จนรู้ตัวอีกที

153


ตัวเลขก็อยู่ที่หลักล้านบาทแล้ว และเทวดาตัวน้อยที่เพิ่งจะถือก�ำเนิด ขึ้นมา ลูกชายของเขามีอาการไม่ปกติ เพราะตอนคลอดนั้นเด็กขาด ออกซิเจนที่เข้าไปเลี้ยงสมอง “ท�ำหนังสือมาจนถึงเล่มที่ 45 ในระหว่างนั้นก็ต่อสู้ไปเรื่อย เขียนเอง สัมภาษณ์คนเอง มีคนมาช่วยก็จริงแต่หนี้สินก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พอถึงเวลาที่ลูกคลอดออกมาแล้วมีปัญหา พอลูกคลอดออกมาแบบ นั้นเราก็ช็อก ตอนนั้นผมอายุประมาณ 30 ต้นๆ คิดว่าจะท�ำยังไง ก็ตั้ง ตัวอยู่นานพอสมควร หนี้สินก็เยอะ หนังสือก็พอขายได้ จะตัดใจปิด หนังสือก็ไม่ได้ พอลูกเป็นแบบนี้เราก็พยายามหาทางรักษา ด้วยการ เอาเงินรายได้จากยอดขายหนังสือ ได้มาเท่าไหร่ก็เอาไปใช้รักษาลูก จนมาถึงเล่มที่ 45 เล่มสุดท้าย เราไม่มีเงินจ่ายแล้ว เจ้าของโรงพิมพ์ มาทวงเพราะเช็คเด้ง ก็ไม่มีใครรู้ว่าท�ำไมเราจ่ายเช็คเด้ง สุดท้ายผมก็ ยืนอยู่หน้าคุก นั่นคือช่วงชีวิตที่ตกต�่ำที่สุดแล้ว ต�ำรวจมาจับเราในเย็น วันนั้น ลูกเราก็ยังชักอยู่ตรงหน้า”

154


“พอประกันตัวออกมาได้ ลูกก็ไม่สบายอีก มีอาการชัก ลูกฉีด วัคซีนเข็มแรกแล้วเกิดอาการ เราก็ไปโรงพยาบาลโน่นนี่ไปเรื่อย เด็ก แบบนี้จะชักเกร็งกระตุกเพราะขาดออกซิเจน  เส้นเลือดที่เสียไปตอน คลอดท�ำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้  และเส้นเลือดนั้นเป็น เส้นเลือดใหญ่ที่ควบคุมร่างกายและเก็บความทรงจ�ำทั้งหมด อาการ นี้เรียกว่าสมองลูกแก้วคือสมองไม่มีรอยหยัก รอยหยักคือการบันทึก ความทรงจ�ำ ฉะนั้นเขาจึงไม่สามารถขยับตัวช่วยเหลือตัวเองได้ เรา ไม่รู้ว่าจะท�ำยังไง เวลาเขาชักหรือเกร็งมากๆ ก็ตกใจพาไปหาหมอ แล้วไฟที่บ้านก็ถูกตัด บ้านมืด มืดไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง หนี้สินตอน นั้นก็หลายล้านบาทจนกลายเป็นคดีอาญาไปแล้ว เราก็พูดกับเจ้าหนี้ ตรงๆ ว่าไม่มีเจตนาที่จะหนี ช่วงที่ลูกยังทรุด ผมก็พาลูกไปทั่วเลย ใครบอกว่ามีวิธีรักษา ก็พาไปหมด จนสุดท้ายก็ได้มารักษาที่โรงพยาบาลเด็ก หลังจากที่เรา หมดเงินมาไม่รู้เท่าไร หนี้สินก็ผ่อนให้เขาไปเรื่อยๆ แล้วในช่วงนั้นผม ได้ไปออกรายการทไวไลท์โชว์ของพี่ต๋อย-ไตรภพ  ลิมปพัทธ์  ได้เล่า เรื่องชีวิตตรงนี้ หลังจากที่เทปออกอากาศไป เจ้าหนี้ก็มาขอโทษผม เป็นแถวเลย เพราะไม่เคยรู้สาเหตุมาก่อน ผมบอกไปว่าไม่เคยคิดจะ โกงใคร  แต่ที่ผ่านมาเราจะเอารายละเอียดไปบอกให้ชาวบ้านฟังได้ ยังไง เรื่องปัญหาของเรา เรื่องลูกของเราเอง เราจะไปโทษใคร เกิดมา อย่างนี้ก็ต้องยอมรับ เจ้าหนี้ทั้งหลายก็เรียกเข้าไปคุยใหม่ พาไปคุยที่ ศาลเลยว่าให้เราจ่ายเท่าไรก็ได้ บางคนก็ยกหนี้ให้เลย เขาก็เห็นว่าเรา เป็นคนจริง เราทุ่มเทให้ลูกขนาดนี้ ไม่ได้ทอดทิ้ง เพราะว่าบางคนที่มี ลูกอย่างนี้เขาก็ทิ้งเลยนะ”

155


และอะไรคือสิ่งที่ท�ำให้นรเศรษฐยืนหยัดอยู่ท่ามกลางสาย ธารแห่งความทุกข์มาได้ “เพราะว่าการเป็นมุสลิม เราถูกสอนฝังหัวมาเลยว่า อย่าสิ้น หวังกับความเมตตาของพระเจ้า  ถ้าเราสิ้นหวังเราก็หมด  แต่การที่ พระเจ้าจะให้เราท่านต้องพิจารณาเรา  ถ้าให้หมดเราจะเพลิดเพลิน เราจะหลงกับตรงนั้น เราต้องพิสูจน์ตัวเองให้ผู้คนในสังคม ให้โลกนี้ เห็นว่าเราเป็นคนอย่างไร แล้วที่ส�ำคัญพระเจ้าจะไม่มีวันทอดทิ้ง ถ้า เราไม่ทอดทิ้งพระเจ้า พระเจ้าจะไม่มีวันให้เราหมดหวัง เรารู้อยู่แล้วว่าลูกเราไม่มีวันหาย แต่ว่าเป็นลูกเราแล้วเราก็ ต้องดูแลให้ดีที่สุด ก็อาจจะรู้สึกน้อยใจบ้าง แต่เราพลิกวิธีคิด ใช้หลัก การศาสนาในการด�ำเนินสติ ถ้ามองกลับไปในแง่มุมของศาสนา นี่คือ คนพิเศษที่พระเจ้าให้มา เด็กคนนี้จะไม่มีมลทินใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งที่ เขาท�ำบาป เพราะฉะนั้นถ้าเปรียบเทียบไปก็คือเทวดา หรือมองในแง่ ทางการแพทย์ คนที่เป็นโรคนี้ได้คือหนึ่งในสามล้าน เพราะฉะนั้นเรา ได้คนพิเศษมา ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ แฟนก็ตัดสินใจออกจากงานมาดูแล ลูกอย่างเต็มที่ ผมถือว่าเขาเป็นกองหนุน ลูกเป็นก�ำลังใจ ผมเป็นกอง หน้า...  การเดินไปข้างหน้าถ้าคุณให้อะไรในตัวมาฉุดรั้งมาบั่นทอน ก�ำลังใจ คุณสู้ไม่ชนะหรอก เดินไปไหนไม่ได้ ต้องเอาทุกสิ่งทุกอย่าง ทิ้งไป ผมไปท�ำงานกลับมาตีสี่ เปิดประตูออกมาเห็นลูกลืมตามอง เรา มันสื่อถึงกันได้ เราเล่าอะไรให้ฟัง ตาของเขาจะลุกวาวเหมือนว่า เขารับรู้ เราดูแลลูก เทคแคร์เหมือนกับเด็กปกติ พาไปด้วยทุกที่ ไม่ เคยอับอายใคร ผมมีความรู้สึกว่าภูมิใจด้วยซ�้ำ เราสามารถสร้างแรง บันดาลให้กับคนอื่น  ทุกคนกลัวว่าถ้าเด็กเป็นอย่างนี้ท�ำอะไรก็ไม่ได้ แต่เราท�ำได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นก�ำลังใจมากกว่าจะบั่นทอนให้ท้อ”

156


“เราไม่ เ คยคิ ด ว่ า ลู ก เราเป็ น เด็ ก พิ ก าร  แล้ ว เราสามารถ ละลายความคิดของคนรอบข้าง เพื่อนๆ ทุกคนก็มองหลาน มองน้อง ว่าเป็นเด็กปกติ นี่คือชัยชนะที่เราได้รับ” ทุกวันนี้นรเศรษฐหรือดีเจซี้ด ยังคงเป็นที่ต้องการของผู้คนใน วงการดนตรีเมืองไทย ด้วยความสามารถ การพัฒนาตนเองอย่างไม่ หยุดนิ่ง และขนาดหัวใจที่ใหญ่กว่าตัวนัก เขามีความเป็นอยู่ในชีวิตที่ ดีขึ้น ไม่ร�่ำรวยแต่ก็ไม่ขัดสน และที่ส�ำคัญเขายังท�ำหน้าที่ของพ่อได้ อย่างสมบูรณ์แบบ อย่างยากที่ใครจะจินตนาการถึง เขาเป็นตัวอย่าง ของคนล้มที่ดี เพราะคนล้มที่ดี คนล้มที่มีคุณธรรม คนบนฟ้าจะไม่ปล่อยให้ชอกช�้ำนาน

เราต้องพิสูจน์ตัวเองให้ ผู้คนในสังคม ให้โลกนี้เห็นว่า เราเป็นคนอย่างไร

157


ธนกร แสงสินธุ์

เจ้ า ของร้ า น ก.เอ๋ ย     ก.กาแฟ จากนักข่าวชาวบ้านสู่ ร้านอาหารเล็กๆ เพื่อชุมชน

“หากไม่คิดริเริ่ม  ก็ไม่มี อะไรไปต่อเติมความฝัน”           นี่คือข้อความบนทวิตเตอร์ เมื่อไม่นานมานี้ของ ธนกร แสงสินธุ์ ในวันที่เขาก�ำลังสนุกสนาน กั บ การท� ำ ร้ า นอาหารที่ เ ขารั ก และใช้มากกว่าแรงกายทุ่มเทให้ กับมัน ‘ก.เอ๋ย ก.กาแฟ’ คือชื่อ ของร้านอาหารขนาดย่อมในซอย ปิ่นเกล้า 19 ที่แฝงตัวอยู่ในชุมชน ได้อย่างกลมกลืน  สิ่งที่ธนกรว่า มาก็ จ ริ ง อยู ่   เพราะกฎตายตั ว ของนักฝันผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย  คือ สุดท้ายก็ต้องลงมือท�ำในสิ่งที่ได้ ฝันเอาไว้ ค�ำว่า ‘นักฝัน’ จึงจะมี ความหมายเพียงพอให้พูดถึง แม้ ท�ำไปแล้วจะส�ำเร็จหรือไม่ก็ตาม

158


ธนกร คือชายหนุ่มวัยสามสิบต้นๆ ในมาดหนุ่มเคราดก ร่าง ใหญ่ หน้าตาดูขึงขัง แต่บุคลิกใจดี เป็นกันเองกับทุกคน เมื่อราว สัก 15 ปีที่แล้วชายหนุ่มคนเดียวกันได้พาตัวเองจากบ้านเกิดมาอยู่ กรุงเทพฯ เพื่อมาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  เด็กหนุ่มจากจังหวัดนครปฐมที่ชอบท�ำของเล่นด้วยตัวเอง ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติมาตลอด ชอบช่วยเหลืองานที่ บ้าน เหมือนจะเป็นคนว่านอนสอนง่ายของครอบครัว แต่จุดเปลี่ยน เล็กๆ  ก็มาถึงเมื่อธนกรปฏิเสธการเอ็นทรานซ์  ด้วยเหตุผลว่าเขาไม่ ชอบการแข่งขันทางการศึกษาเพื่อคัดเลือกคนเพียงส่วนหนึ่ง  และ เขายังบอกปัดวิชาทางสายวิทย์ที่เรียนมาด้วยรู้ตัวเองว่าไม่ถนัด  ที แรกเขาคิดอยากจะไปศึกษาด้านการโรงแรมเพื่อจะได้มาท�ำอาชีพ ไกด์ทัวร์เหมือนที่เคยมองภาพอาชีพนี้ว่าจะได้เปิดโลกกว้าง  ได้เจอ ผู้คนมากมาย  แต่โค้งสุดท้ายเขาก็เปลี่ยนใจมาค้นหาตัวเองในวิชา นิเทศศาสตร์ สาขาวารสารศาสตร์แทน เพราะอาชีพนักสื่อสารมวลชน น่าจะได้พบเจอผู้คนและเปิดโลกทัศน์ได้ไม่แพ้อาชีพไกด์ทัวร์ “เด็กสมัยก่อนช่วงปิดเทอมต้องหางานพิเศษท�ำ  เราก็อยาก มีงาน จึงไปหางานท�ำจนได้ไปอยู่ที่บริษัทโปรดักชั่นเฮ้าส์ที่ท�ำในเรื่อง ของการออกแบบเวที การติดตั้งเวที ตรงนั้นก็เป็นจุดเปลี่ยนให้เรารู้ ว่าการท�ำงานจริงๆ เป็นอย่างไร เราไปท�ำงานอยู่กับเขา ได้เงินเดือน เป็นรายชั่วโมง มันก็เกี่ยวกับเรื่องที่เราเรียนด้วย เราเรียนนิเทศศาสตร์ เป็นเรื่องของการสื่อสาร เรื่องการออกแบบความคิด” และหน่อเชื้อ ทางความคิดนี่เองที่เติบใหญ่ขึ้นจนท�ำให้ธนกรกลายเป็นคนที่อยู่เฉย ไม่ได้ เขาตะลุยท�ำกิจกรรมต่างๆ มากมายในช่วงที่ศึกษาอยู่ ด้วย เรี่ยวแรงและความคิดสร้างสรรค์ที่ดูเหมือนจะไม่มีวันหมด

159


“จุ ด เปลี่ ย นที่ ส� ำ คั ญ ก็ คื อ ตอนที่เราเข้าเรียนที่วารสารศาสตร์  แขนงนี้ท�ำให้เรารู้สึกว่าเริ่มได้อะไร เป็นชิ้นเป็นอันเกี่ยวกับการเรียน  ได้ เขียนข่าว  บทความ  สารคดี  ท�ำให้ เรารู ้ ว ่ า อาชี พ สื่ อ มวลชนน่ า สนใจ เพราะว่ า ทุ ก อย่ า งมั น อยู ่ ใ นตั ว เรา เราสามารถสร้ า งสรรค์ อ ะไรก็ ไ ด้ ผ่านการเขียน  เรียนวารสารใช้แค่ กระดาษกั บ ปากกา  ได้ ฝ ึ ก ความ คิด  งานวารสารเป็นงานให้สาระกับ สังคมไม่ได้เน้นบันเทิง ซึ่งทุกวันนี้ วารสารหรือแนวคิดแบบนี้มันก็เป็น แกนที่ ก ลายเป็ น สาระจริ ง ๆ  ของ ประเทศ  งานวารสารอย่างที่เราท�ำ  นักข่าวได้เงินเดือนก็น้อยแต่ว่ามัน เป็นประโยชน์  แต่นิเทศศาสตร์ใน ด้านวงการบันเทิง  การเป็นนักร้อง  นักแสดง  การท�ำงานในวงการบันเทิงจริงๆ  นั้นได้เงินเดือนเยอะกว่า แต่สาระมันส�ำคัญต่อการด�ำรงชีวิต แค่ไหน”

160


4 ปี

และก็เหมือนฉากหนึ่งในหนังนักศึกษา  ที่เวลาผ่านไปแล้ว

ความคิดที่อยากจะท�ำในสิ่งที่เป็นสาระต่อสังคมผลักดันให้ ธนกรเข้าสู่การเป็นนักข่าวที่  www.thaiday.com  ในเครือของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ  ในยุคที่ขึ้นชื่อว่าเป็นโรงงานผลิตนักข่าวและคนท�ำ หนังสือมือดีหลายต่อหลายคน “เราก็จะดูแลเรื่อง lifestyle เรื่องภูมิปัญญา ทุกอย่างที่เป็น Issue ที่น่าสนใจ แต่ไม่ได้เป็น Issue ระดับประเทศ เราจะเลือกท�ำ ข่าวที่เกิดขึ้นในตรอกซอกซอย  ในสถานที่ท่ีไม่มีคนพูดถึงอย่างเช่น ว่าข่าวการจับลิงที่แสมด�ำ  เอาลิงไปขาย  หรือเรื่องที่เด็กในจังหวัด นครพนมเก็ บ ขี้ ค วายแล้ ว เอาไปฝากที่ ธ นาคารขี้ ค วาย (เพื่ อ น� ำ ไป ท�ำเป็นปุ๋ย)  เราก็น�ำเสนอ  ข่าวชุมชนมันเป็นพื้นที่ที่เป็นจุดเปลี่ยน ของความเจริญที่เข้าไปเปลี่ยนแปลง  อย่างเช่นเราเคยท�ำข่าวชุมชน บางขุนนนท์ เมื่อก่อนเป็นแหล่งที่ปลูกทุเรียน แล้วเราก็นั่งนึกว่าฤดูนี้ เป็นหน้าทุเรียน เราก็นั่งรถไปตระเวนหา เราไปถามลุงเจ้าของสวนว่า ยังปลูกทุเรียนอยู่ไหม ลุงก็บอกว่ายังมีต้นอยู่แต่ไม่ออกลูกแล้ว เรา ก็เข้าไปดู ซึ่งเขาก็ไม่รู้ว่าต้นทุเรียนของเขาออกลูกแล้ว หมายความ ว่าสวนมันร้างแต่ทุเรียนยังมีลูกอยู่  มันก็สะท้อนความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นกับชุมชนเพราะความเจริญ คนไม่มาท�ำสวนกันแล้ว แม้แต่ เจ้าของสวนเองก็ไม่รู้ว่าในสวนมีทุเรียน  ถามว่าทุเรียนส�ำคัญไหม ทุเรียนเป็นสัญลักษณ์ของความเปลี่ยนแปลง” ธนกรกล่าวถึงช่วงเวลา และข้อสังเกตในช่วงที่ยังเป็นนักข่าวสายชุมชน

161


แม้ ต ่ อ มาเขาจะได้ ท� ำ งานเป็ น หนึ่ ง ในบรรณาธิ ก ารของ นิตยสาร ‘ต้าเจียห่าว’ เป็นบรรณาธิการนิตยสารวัยรุ่นฉบับหนึ่งใน ยุคบุกเบิก  และเคยเป็นบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์มาแล้ว  แต่ความ คิดความฝันในเรื่องการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนยังคงอยู่  เมื่อถึงจุด ที่ต้องตัดสินใจเลือก  ธนกรจึงขอลาออกเพื่อมาค้นหาตัวเองอีกครั้ง หนึ่ง ระหว่างนั้นเขาก็ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาที่ว่าด้วย ประเทศจีนในระบบเศรษฐกิจโลก  พร้อมกับการเดินทางไปในหลาย ประเทศเหมือนความฝันของเขาในวัยเด็กที่อยากจะออกเดินทาง เหมือนไกด์ทัวร์ แต่ครั้งนี้เขาเขียนหนังสือเพื่อบอกเล่าประสบการณ์ เหล่านั้นออกมา รวมไปถึงการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทางความคิดว่า อยากจะท�ำอะไรต่อไปในชีวิต “เราไปต่างประเทศครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบกว่าๆ เราไปที่ทิเบต อากาศมันก็เบาบาง  ฟ้าเป็นสีฟ้า  แดดหนาว  เรายืนอยู่บนหลังคา วัดโจคัง แล้วถามไกด์ว่าประเทศไทยไปทางไหน เขาก็ชี้ไปยังทิศที่ มีแต่เมฆสุดขอบฟ้า ในแบบเรียนบอกว่าทิเบตเป็นหลังคาโลก เรา จินตนาการว่าจุดที่เรายืนอยู่น่าจะเป็นจุดที่สูงที่สุด  มองกลับไปเห็น คนไทย  คิ ด ว่ า จุ ด นั้ น น่ า จะเป็ น จุ ด เปลี่ ย นว่ า เรามองเห็ น ทิ ศ ทางที่ ประเทศของเราอยู่ เรามองไป แล้วลมก็พัด อากาศน้อย มันก็เหนื่อย ง่าย เราคิดว่ากว่าจะมาสูงถึงตรงนี้ได้ เราต้องใช้ความพยายาม ดังนั้น ท�ำอะไรก็ต้องพยายาม นี่คือจุดเปลี่ยนแรก จุดที่สองก็น่าจะเป็นเรื่อง ที่ว่าเมื่อก่อนนี้เราไม่ค่อยกล้าท�ำอะไร กลัว คิดเยอะ มีข้อแม้กับตัวเอง เยอะ แต่ว่าจุดเปลี่ยนที่ส�ำคัญคือเมื่อวันที่แม่ของเราเสียชีวิต จึงรู้ว่า ชีวิตมันไม่อนิจจัง เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา จะท�ำอะไรก็ต้องรีบ ท�ำ”

162


และนั่นก็เป็นที่มาของร้าน ‘ก.เอ๋ย ก.กาแฟ’ ซึ่งถือก�ำเนิด ขึ้นในปลายปี  พ.ศ.2552  จุดเริ่มมาจากการท�ำร้านที่ขายเครื่องดื่ม อย่างเดียว แล้วก็ต่อยอดออกมาเป็นเมนูอาหารเพียงไม่กี่อย่าง ทว่า เมื่อเสียงตอบรับไปได้ดีก็ขยับขยายจนเป็นร้านอาหารสามชั้นที่ลงตัว ครบเครื่องเรื่องอาหารอร่อย และการตกแต่งที่ไม่เหมือนใคร เหมือน เป็นร้านที่รวมวัฒนธรรมย่อยๆ ของชุมชนเล็กๆ ที่ธนกรเดินทางไปพบ เจอมาตลอดหลายปีทั้งในและนอกประเทศ จนกลั่นกรองออกมาเพื่อ ค�ำนี้ ‘ร้านของชุมชนร่วมสมัย’ ร้ า นที่ เ ป็ น จุ ด นั ด พบของคนเมื อ งในย่ า นชุ ม ชนเล็ ก ๆ  ไม่ ขายเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด  มีแต่บ�ำรุงสติด้วยหนังสือมากมายที่มี ประโยชน์ เป็นทางเลือกอันน้อยนิดในภาวะที่คนกรุงเทพฯ นึกอะไรไม่ ออกในวันหยุดนอกจากผับบาร์และห้างสรรพสินค้า  และเพียงเวลา ไม่นานร้านแห่งนี้ก็โด่งดังผ่านกระแสปากต่อปาก ผ่านการแชร์ข้อมูล กันต่อในโซเชียลเน็ตเวิร์กจนคนจากย่านอื่นเดินทางมาพิสูจน์ด้วย สายตาตนเอง และลงท้ายด้วยสื่อมวลชนจ�ำนวนมากออกมาน�ำเสนอ ร้านนี้ผ่านหน้ากระดาษและรายการโทรทัศน์กันตลอดเวลา “เมื่อก่อนเราเป็นบรรณาธิการทั้งส�ำนักพิมพ์และนิตยสาร ทีนี้พอเรามาท�ำร้าน เราก็แยกการท�ำร้านเป็น section ออกมาเลย เหมือนท�ำนิตยสาร ชั้นหนึ่งเป็นลูกค้าที่ส่วนมากมาไวไปไว เหมือน ข่าวหน้าหนึ่ง เหมือนปกหนังสือ สิ่งที่ลูกค้าเห็นในชั้นนี้จะสะท้อน ความเป็นร้านของเรามากที่สุด ก็เหมือน section แรกของหนังสือ แบ่งเป็นส่วนว่าหน้านี้จะลงเรื่องอะไร เราใช้วิธีเดียวกัน ชั้นสองลูกค้า

163


นั่งนานขึ้นมาสักหน่อย ก็มีมุมนั่งอ่านหนังสือ ส่วนชั้นสามสามารถ นอนได้เลย มีโต๊ะปิงปองให้เล่น มีพื้นที่เป็นส่วนตัว ก็เหมือนกับการ อ่านนิตยสารสักเล่ม อ่านหน้านี้ผ่อนคลาย หน้านี้เป็น feature หน้านี้ เป็น gadget เราก็แบ่งร้านแบบนี้เหมือนกัน อย่างตัวร้านการตกแต่ง ก็สะท้อนความเป็นชุมชน เหมือนที่เราเคยน�ำเสนอผ่านข่าวมาก่อน ในเรื่องของการตกแต่งร้าน  เราไม่ได้ก๊อปปี้มาจากที่ใดที่ หนึ่ง แต่ว่าเราเอามาในสิ่งที่เราคิดว่ามันน่าจะไปกันได้ วัสดุที่มารวม กันแล้วมันกลายเป็นร้านที่แปลกตา มันไม่ใช่อารมณ์แบบเพลินวาน ที่หัวหินเสียทีเดียว ร้านของเรามันผสมผสานจากหลายอย่าง หลาย วัฒนธรรม อย่างวัยของเรามันคาบเกี่ยวระหว่างวัยรุ่นกับผู้ใหญ่ เรา จึงได้อานิสงส์รู้ว่าผู้ใหญ่ที่แก่กว่าเรา 10–20 ปีนั้นคิดอะไร เรารู้ว่า เด็กที่อายุต�่ำกว่าเราคิดอะไร ฉะนั้นร้านเราจึงเป็นบ้านของครอบครัว นักศึกษาจนถึงผู้ใหญ่ เพราะเรารู้ว่าเขาต้องการอะไร ชุมชนของคนที่ เข้ามาในร้าน มันจะสลับสับเปลี่ยนกันไปมา อย่างเช่นเมื่อตอนที่ร้าน ของเราโดนน�้ำท่วม ก็จะมีคนที่เป็นลูกค้า เป็นคนคุ้นเคยประจ�ำร้าน มาช่วยกันท�ำความสะอาด มาช่วยกันตกแต่งร้านใหม่ทั้งหมด” จากนักข่าวสายชาวบ้านสู่การเป็นเจ้าของร้านอาหารชื่อ ดังในย่านชุมชน อะไรคือสิ่งที่เขามองเห็นในความเปลี่ยนแปลงของ ชุมชนสังคมไทยในยุคนี้ “มองเห็นว่าพอมีเงินเข้ามาผู้คนก็ขายที่ดินเดิมแล้วไปอยู่ที่ อื่น พอมีอะไรเข้ามาบ้านทุกบ้านก็พร้อมจะไป ใครให้ 10 ล้านก็ย้าย แล้ว ทุกคนพร้อมจะทิ้ง ไม่มีใครรักชุมชน ทุกคนพร้อมจะย้ายเพราะ

164


มันไม่แน่นอน รอพ่อแม่ตายทุกคนก็พร้อมจะขายบ้านเหมือนกันหมด ลูกก็ไปอยู่คอนโดฯ นี่คือความเปลี่ยนแปลง ไม่มีบ้านอนุรักษ์แล้ว มัน เป็นเพียงสิ่งที่เขาพูดกันซึ่งเราก็เคยพูด  อย่างเรื่องของขลุ่ยว่าดนตรี ชนิดนี้จะหายไปไหม  คนรุ่นพ่อเป่าเก่ง  แต่พอมาถึงรุ่นลูก  ลูกท�ำไม่ เป็นก็ไปท�ำงานอื่น เพราะเขาไม่รู้จะสืบทอดไปท�ำไม” ค�ำถามที่เป็นรูโหว่ขนาดใหญ่ของสังคมข้อนี้ ธนกรคงไม่อาจ จะเสนอทางแก้ไขอะไรได้  แต่เขาเลือกที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าการท�ำ ธุรกิจที่เหมาะสมกับขนาดของความอยาก การท�ำงานที่ไม่ได้ท�ำเพื่อ ให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นฝ่ายเดียว  แต่ท�ำเพื่อให้คนข้างบ้านมีทางเลือกใน คุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วยนั้นมีทางเป็นไปได้  เพียงแต่เราอาจต้อง กลับไปเริ่มกันที่จุดเริ่มต้น เหมือนตอนที่เคยท่องต�ำราภาษาไทยสมัย เด็กๆ ก.เอ๋ย ก.ไก่ แต่ถ้าคุณอยากลองอะไรใหม่ๆ ก็ลองเริ่มต้นที่ ก.เอ๋ย ก.กาแฟ ธนกรรอต้อนรับคุณอยู่ที่นั่น

165


ณัฐวัฒน์ วัฒนาประสิทธิ์ วิกฤตชีวิต  พลิกฟื้นบนสายน�้ำ ในวั น ธรรมดาวั น หนึ่ ง กลางฤดู ฝ นที่ เ หมื อ นจะไม่ มี อะไรผิดปกติในปี  พ.ศ. 2534 ชายหนุ ่ ม คนหนึ่ ง จาก อ�ำเภอบ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรี ที่ ม าเที่ ย วพั ก ผ่ อ นในจั ง หวั ด เชียงรายกับพี่สาว  ชายหนุ่มเป็น ลมลื่ น ล้ ม ในห้ อ งน�้ ำ  ดู เ หมื อ น เป็นเพียงอุบัติเหตุเล็กๆ  แต่มัน ท�ำให้อาการของเขาสาหัสถึงขั้น เป็นอัมพาต ชั่ววินาทีที่ความคิด ของเขายังคงอยู่ แต่ทุกส่วนของร่างกายขยับไม่ได้ วินาทีนั้นช่างยาวนาน เหมือนชาติภพ โชคดีมากที่พี่สาวของเขาส่งชายหนุ่มมาถึงมือหมอได้ทัน เขารอดชีวิตมาได้ แต่ก็ต้องท�ำกายภาพบ�ำบัดอยู่แรมปี “ผมนอนอยู่แบบนั้นมาหกเดือนจนค่อยๆ มีความรู้สึกขึ้นมาทีละ นิด จนรู้สึกทั้งตัว และค่อยๆ ขึ้นมานั่งได้ทีละนิด  กว่าจะยืนได้ใช้เวลาครึ่ง ปี เวลาหกเดือนนั้นในแต่ละวันที่เราอยู่ในห้องศัลยกรรมชาย ซึ่งในห้อง มีคนเยอะประมาณ 20 คน แล้วแทบทุกวันก็มีผู้ป่วยเสียชีวิต มีทั้งหาม เข้าหามออกเป็นเรื่องปกติ  เหมือนผักปลา  เราก็เลยมองชีวิตเปลี่ยนไป เยอะเลยว่าเราก็อาจจะเป็นเหมือนคนเหล่านี้ได้ในทุกนาที”

166


นี่คือจุดเปลี่ยนชีวิตครั้งส�ำคัญของ ณัฐวัฒน์ วัฒนาประสิทธิ์ ประธานชมรมรักษ์ล�ำน�้ำเข็ก และเป็นผู้ก่อตั้งรีสอร์ตสวยๆ ที่เป็นมิตร กับธรรมชาติ เป็นมิตรกับชุมชน ไม่แสวงก�ำไรเกินความพอดีกับ ‘Rain Forest Resort’ ที่จังหวัดพิษณุโลก ชายหนุ่มจากบ้านโป่งที่ไปประสบ อุบัติเหตุที่เชียงราย แล้วสุดท้ายมาปักหลักอยู่ในพิษณุโลกได้อย่างไร ณัฐวัฒน์เล่าว่าเขามาเช่าที่พักราคาถูกริมล�ำน�้ำเข็กที่พิษณุโลกเพื่อ ที่จะหลบมาพักฟื้นร่างกาย  และเป็นท�ำเลที่ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ในช่วงท�ำกายภาพบ�ำบัดเขาเริ่มหัดเดินไปที่น�้ำตกแก่งซองเองทุก วัน และสังเกตเห็นว่าที่ดินผืนที่เดินผ่านนั้นไม่ได้ปลูกสร้างอะไร เมื่อ สอบถามจากคนละแวกนั้นแล้วจึงรู้ว่าเจ้าของที่ดินประกาศขาย เขา ใช้เวลาไม่นานในการตัดสินใจซื้อที่ดินราว 4 ไร่ บนถนนสาย 12 ที่ บริเวณล�ำน�้ำเข็ก อ�ำเภอวังทองแห่งนี้ และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของ ‘Rain Forest Resort’ “มันบริสุทธิ์ เงียบสงบ มีก้อนหิน มีต้นไม้เยอะ ยืนอยู่บนที่ผืน นี้แล้วรู้สึกว่านี่คือบ้านของเรา  เวลานั้นเหมือนคนที่ตายแล้วเกิดใหม่ ดังนั้นผมจะไม่คิดอะไรมาก อยากท�ำอะไรก็ท�ำ เพราะเราไม่รู้ว่าเราจะ อยู่ถึงพรุ่งนี้ไหม จะมีความคิดอย่างนี้อยู่ในหัวแทบจะตลอดเวลา นั่น คือจุดเปลี่ยนของชีวิต แล้วก่อนที่หมอจะให้กลับบ้าน หมอทิ้งประโยค หนึ่งที่เปลี่ยนทั้งชีวิตของผมไปเลย หมอบอกว่าคุณท�ำงานไม่ได้แล้ว นะ คุณต้องหาคนมาดูแลด้วย เราก็เก็บค�ำพูดนั้นไว้ แต่มันเป็นแรง บันดาลใจที่ผลักดันเราว่าจะพิสูจน์ให้ดูว่าเราท�ำอะไรได้บ้าง  ไม่ว่า เพื่อตัวเองหรือเพื่อใครก็ตาม ผมก็มาอยู่ตรงนี้ห้าเดือน ปลูกซุ้มไม้ไผ่ เล็กๆ อยู่คนเดียว กางมุ้งนอน ไม่มีไฟใช้ตะเกียง นั่งคุยกับตัวเองทุก วัน ไปว่ายน�้ำ เดินไปน�้ำตก อยู่คนเดียว ถึงเวลากินข้าวก็ขับรถไปกิน ไม่ติดต่อโลกภายนอกเลย ไม่ดูทีวีและหนังสือพิมพ์ ไม่ต้องการให้ใคร

167


มาดูแล เวลานั้นอยากอยู่คนเดียว และพยายามถามตัวเองว่าเราจะ อยู่ต่อไปอย่างไรโดยที่ไม่เป็นภาระให้กับใคร นอกจากนี้เราต้องพิสูจน์ ตัวเองให้ได้ว่าชีวิตที่เหลืออยู่ต้องใช้อย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์ที่สุด กับตนเองและผู้อื่นด้วย ประโยคเหล่านี้มันก้องอยู่ในหัวทุกวัน” ณั ฐ วั ฒ น์ แ ละพี่ ส าวตั ด สิ น ใจที่ จ ะสานฝั น ด้ ว ยการสร้ า ง รีสอร์ตธรรมชาติริมธารน�้ำเข็ก  เริ่มจากห้องพักเพียงไม่กี่ห้อง  จน ขยับขยายไปมากขึ้นตามความคล่องตัว  รีสอร์ตของเขาผสมผสาน กลมกลืนไปกับธรรมชาติ  แต่ขณะเดียวกันชายหนุ่มก็เริ่มมองไปถึง สภาพแวดล้อมของชุมชนแห่งนี้  เขาเริ่มรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่ง ของที่นี่ และอยากที่จะช่วยท�ำให้ชุมชนที่เขาอาศัยอยู่นั้นดีกว่าที่เป็น อยู่ “ระหว่างนั้นเราก็เริ่มมองชุมชน เริ่มเข้าไปหาพวกเขาว่าขาด อะไร โรงเรียนเขามีอะไร สอนอะไร ต้องการอะไร เราก็เริ่มจากให้ทุน การศึกษาเด็ก แต่ต้องเป็นเด็กที่ดี ไม่เน้นเด็กเรียนเก่ง เพราะเด็กเก่งมี แต่คนชื่นชม มีคนช่วยเหลือเยอะ แต่อาจจะไม่เป็นคนดีก็ได้ แต่เด็กที่ ดี เรียนปานกลาง ส�ำคัญมากกว่าส�ำหรับสังคมเรา ผมไปดูเด็กเหล่านี้ ที่บ้าน พ่อแม่แยกทางกันเยอะมาก แล้วปล่อยลูกไว้กับยาย ยายก็แก่ มาก ต้องมาเลี้ยงหลานอีก 3-4 คน พอเด็กกลับไปบ้านก็ต้องหาบน�้ำ ท�ำกับข้าว ซักผ้า เลี้ยงน้อง คือท�ำทุกอย่างเหมือนเป็นพ่อแม่คนหนึ่ง อาบน�้ำให้ยายด้วยเหมือนในหนังเลย ขณะที่เด็กเรียนดีที่บ้านพ่อแม่ อยู่ครบ มีทีวี เกม คาราโอเกะ มีทุกอย่างให้เด็กเล่น ดังนั้นเด็กย่อม เรียนดีเพราะมีเวลาเต็มที่ที่จะศึกษาเรียนรู้  แต่เราแคร์คนดีมากกว่า คนเก่ง นอกจากนี้เราและเพื่อน ๆ ยังสนับสนุนเครื่องดนตรีไทยให้กับ โรงเรียน  เพื่อให้เด็กได้เล่นดนตรีมากกว่าเล่นเกมหรือติดยาเสพติด และให้เด็กมาเล่นที่รีสอร์ตเพื่อเด็กจะได้แสดงออกด้วย”

168


นั่ น เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ ณั ฐ วั ฒ น์ ไ ด้ ส นั บ สนุ น อนาคตของ ชุมชน  และคนเหล่านี้เองก็จะโตขึ้นมาเป็นก�ำลังส�ำคัญในการรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ หลายปีต่อมาขณะที่เขาท�ำกิจกรรม ‘ล่องแก่ง ล� ำ น�้ ำ เข็ ก ’ ในช่ ว งเดื อ นกรกฎาคม-ตุ ล าคม  ซึ่ ง ได้ รั บ ความนิ ย ม จากนั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ช อบกิ จ กรรมผจญภั ย  ชายหนุ ่ ม ก็ ไ ด้ เ ห็ น ความ เปลี่ยนแปลงของล�ำน�้ำ  จากที่เคยใสบริสุทธิ์  กลับมีมลภาวะเยอะ ขึ้นทุกปี  ค่าออกซิเจนในน�้ำต�่ำลงจนน่าเป็นห่วง  ณัฐวัฒน์จึงได้ก่อ ตั้ง ‘ชมรมรักษ์ล�ำน�้ำเข็ก’ ขึ้นมา โดยเริ่มจากพนักงานในรีสอร์ต จน ก้าวเข้าสู่การชักชวนผู้ประกอบการ ชาวบ้านในชุมชน เด็กในโรงเรียน ละแวกใกล้เคียง มาท�ำกิจกรรมเก็บขยะตามสถานที่ท่องเที่ยว ตาม น�้ ำ ตกต่ า งๆ  รวมถึ ง การให้ ค วามรู ้ แ ละการจั ด อบรมเรื่ อ งการแยก ขยะ จากกิจกรรมเล็กๆ ที่คนในชุมชนตั้งค�ำถามว่าณัฐวัฒน์ท�ำเพราะ ประโยชน์แอบแฝงหรือเปล่า หรือต้องการหาคะแนนเสียงเพื่อลงเล่น การเมืองใช่ไหม ทว่าเวลาและความตั้งใจจริงก็ท�ำให้ชาวบ้านเห็นถึง ความเปลี่ยนแปลงของสายน�้ำ เห็นถึงความเปลี่ยนไปของลูกหลาน ตนว่าพวกเขาก�ำลังท�ำในสิ่งที่มีประโยชน์ และผลประโยชน์กลับสู่ทุก คนในชุมชน  สุดท้ายชาวบ้านก็หันมาเข้าร่วมงานของชมรมฯ  อย่าง ไม่มีเงื่อนไข ‘ล่องแก่งเก็บขยะ’ จึงกลายเป็นกิจกรรมที่ชุมชนล�ำน�้ำเข็ก ได้ร่วมสนุกกัน  และได้ประโยชน์ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและจิตส�ำนึกคน

169


นอกจากนี้ยังมีงานอีกหลายอย่างเพื่อชุมชนที่ณัฐวัฒน์ลงมือ ท�ำ อย่างโครงการธนาคารขยะในโรงเรียน 7 แห่ง เพื่อปลูกส�ำนึก ให้เด็กเห็นคุณค่าของขยะ  โครงการโรงแรมรักโรงเรียนเพื่อสอนให้ นักเรียนปลูกผักปลอดสารพิษ คัดแยกขยะ ฯลฯ โครงการ Rain Forest Farm  ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และเป็นตัวอย่างให้ กับชุมชน ในเรื่องของปศุสัตว์ การท�ำปุ๋ยหมักชีวภาพ การใช้พลังงาน ทดแทน การคัดแยกขยะ การท�ำเกษตรอินทรีย์ และการปลูกป่าแบบ ผสมผสาน เพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลด การใช้สารเคมี รวมไปถึงการท�ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อสร้างรายได้ และเป็นองค์ความรู้ให้แก่คนในชุมชนและผู้ที่สนใจอีกด้วย นับจากวันที่เขาลื่นล้มในห้องน�้ำ  วันที่เขาหวาดกลัวว่าจะ กลับมาเดินไม่ได้เหมือนเดิม  ตอนนี้เขามาไกลจากจุดนั้นมาก  และ เป็นจุดที่น่าภาคภูมิใจ “จากค� ำ พู ด ของหมอที่ บ อกว่ า คุ ณ ท� ำ อะไรไม่ ไ ด้ แ ล้ ว   ดั ง นั้นการที่เราท�ำอะไรได้มันเหมือนเป็นยาที่มาหล่อเลี้ยงจิตใจเราให้ แกร่งขึ้น ท�ำให้เรารู้สึกว่าได้มากกว่าคนอื่น ไม่ใช่แค่ท�ำมาหากินเพื่อ ตัวเอง ไม่ใช่แค่ท�ำรีสอร์ตอย่างเดียว นักเขียน ช่างภาพ นักจัดสวน อาจารย์ ผมก็เคยเป็นมาแล้ว  ผมเป็นคนชอบลองท�ำแล้วก็ไม่กลัวจะ ล้มเหลว ถ้าผิดพลาดก็เรียนรู้จากมัน  มันท้าทายตัวเองตลอดเวลาว่า เราต้องท�ำอะไรเพื่อให้อยู่ได้ เพื่อสร้างสิ่งรอบตัวเราให้อยู่ได้ ถามว่า ผมเป็นคนราชบุรี ผมต้องกลับไปท�ำอะไรที่ราชบุรีไหม ผมไม่ได้คิด อย่างนั้น ผมคิดว่าที่นี่คือบ้านใหม่ที่ผมต้องอยู่ ผมต้องท�ำอะไรกับ สิ่งแวดล้อมและสังคมตรงนี้ เพราะมันคือประเทศไทยเหมือนกัน  ไม่ ได้แบ่งจังหวัด ขณะที่ผมอยู่ตรงนี้ผมก็ไปช่วยที่เมืองปาย เชียงใหม่

170


เพชรบูรณ์ ไปช่วยผู้ประกอบการที่นั่นในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการอยู่ ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน  เพราะผมมองว่าประเทศไทยอยู่ส่วนไหน เราไปช่วยได้หมด ขอให้คุณเห็นว่าเรามีประโยชน์กับตรงนั้นก็พอ อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นแรงบันดาลใจคือในหลวง เราเติบโตมา เราดูทีวีมาตลอดก็จะเห็นพระราชกรณียกิจของพระองค์ทุกวัน เรารู้ว่า ตอนนี้พระองค์ทรงประชวรอยู่ ตั้งแต่ก่อนประชวรผมก็รู้สึกว่าพระองค์ ทรงงานหนักมากแล้ว  ตัวผมเองก็น�ำเรื่องการทรงงานของพระองค์ มาใช้ในชีวิตประจ�ำวันด้วย  ผมจะมีหนังสือทรงงานของในหลวงติด อยู่ในกระเป๋าตลอดเวลา เวลาที่เราคิดไม่ออก เวลาที่เราเครียดจนเรา หาทางออกไม่ได้ เวลาที่ท้อแท้ เราก็จะเปิดต�ำราของพระองค์ซึ่งจะมี ค�ำพูดสั้นๆ แต่ถ้าเราตีความออกแล้วเข้าใจ มันเหมือนธรรมะ...บาง ครั้งที่ท้อแท้ ผมดูรูปในหลวงทรงงาน เข้าป่าลุยน�้ำ พระองค์เป็นถึง พระราชา  จะทรงอยู่อย่างสบายๆ  ก็ได้  ไม่เห็นต้องล�ำบากขนาดนั้น แต่พระองค์ก็ไม่เคยหยุดทรงงาน  แม้เวลาประชวร  ผมก็เห็นพระองค์ เป็นต้นแบบว่าเราก็คือคนไทยคนหนึ่งที่เกิดบนแผ่นดินนี้ เรายังมีแรง มีความสามารถ เรายังสามารถช่วยเหลือแผ่นดินได้ แม้จะเป็นส่วน เล็กๆ” ชายหนุ่มบอกว่าเหตุการณ์ที่พลิกชีวิตของเขานั้นมองย้อน กลับไปแล้ว เขารู้สึกขอบคุณกับเหตุการณ์ร้ายๆ ที่มันเกิดขึ้นกับตัว เขาเอง “ถ้ามองตอนนี้ผมดีใจที่มันเกิดขึ้น  เพราะมันท�ำให้เราคิด อะไรได้เร็วกว่าคนอื่น  ถ้าผมไม่ล้มวันนั้นผมอาจจะท�ำงานแบบนี้แค่ ในระดับหนึ่ง ท�ำจากการที่เห็นพระองค์ทรงงาน แต่ผมยังไม่เห็นสัจจะ ว่าชีวิตคือความไม่แน่นอน  เพราะทุกวันนี้การท�ำงานคือคิดแล้วท�ำ

171


เลย แล้วต้องดูว่าผลเป็นยังไง ถ้าผิดจะแก้ตรงไหน โดยจะมองว่าพรุ่ง นี้ไม่รู้เราจะอยู่ไหม  ถ้าพรุ่งนี้ไม่อยู่แล้วเรามัวแต่ปล่อยให้มันผ่านไป เราก็จะไม่ได้ท�ำในสิ่งที่คิด  เราก็จะไม่ได้สร้างคนที่มาแทนเราได้  ดัง นั้นผมคิดว่ามันเป็นความโชคดีบนความโชคร้าย แม้จะผ่านความเจ็บ ปวด ความเวทนา แต่เรามองว่ามันเป็นการพลิกมุมมองของชีวิต ให้ เราหันไปมองอะไรใกล้ตัวมากขึ้น มีสติ รู้ตัวเอง เห็นคุณค่าของชีวิต และมองชีวิตแบบไม่ประมาท” เสียงแห่งความหวังของประธานชมรมรักษ์ลำ� น�้ำเข็กดูร่มเย็น เหมือนสายน�้ำสะอาดที่ไหลผ่านอยู่ข้างตัวเขา  สายน�้ำที่เขากรอง มลภาวะออกไป  ในขณะเดียวกันมันก็ได้กรองความกลัวในวันวาน ของเขาหลุดออกไปด้วย เหลือไว้แต่ความสดใสของชีวิตที่เปี่ยมด้วยพลังแห่ง ความสุขจากการให้ผู้อื่นตลอดไป

172


แม้จะผ่านความเจ็บปวด  ความเวทนา   แต่ เ รามองว่ า มั น เป็ น การพลิ ก มุ ม มองของ ชีวิต ให้เราหันไปมองอะไรใกล้ตัวมากขึ้น มี สติ รู้ตัวเอง เห็นคุณค่าของชีวิต และมองชีวิต แบบไม่ประมาท

173


สฤณี อาชวานันทกุล แรงบั น ดาลใจจาก เศรษฐศาสตร์   ผู ้ ห ญิ ง ที่ ใ ช้ หัวใจนั้น...กลิ้งโลกได้ ผู้หญิงคนนี้เป็นคนเก่ง คนเก่งมีหลายแบบ แบบ ที่เรียนเก่งหรือท�ำงานเก่งแล้วผู้คน ยกย่ อ งในฝี มื อ   กั บ อี ก แบบหนึ่ ง ว่ า งานที่ ท�ำนั้น สามารถสร้า งแรง บันดาลใจให้กับผู้คนได้ด้วย สฤณี อาชวานันทกุล เป็นผู้หญิงเก่งทั้งสองแบบ! หนังสือที่ชื่อว่า ‘ผู้หญิงกลิ้งโลก’ จากปลายปากกาของสฤณี นั้นได้รับความสนใจจากคนอ่านและสื่อมวลชนอยู่ไม่น้อย  เพราะว่า เป็นการรวบรวมเรื่องราวของ 14 สตรีที่ท�ำงานอย่างอดทนและผล งานของพวกเธอนั้นยิ่งใหญ่ สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลกได้ไม่ แพ้เรื่องราวของผู้ชาย เช่น เมลินดา เกตส์ ภรรยาของ บิล เกตส์ เจ้า พ่อแห่งวงการไอทีที่ร�่ำรวยที่สุดในโลก แทนที่เธอจะนั่งเสวยสุขอย่าง สบายๆ แต่เธอเลือกที่จะผลักดันมูลนิธิ ‘บิลและเมลินดา เกตส์’ เพื่อที่ จะช่วยเหลือคนยากไร้ทั่วโลก และลดทอนปัญหาความเหลื่อมล�้ำทาง

174


สังคมมาอย่างยาวนานด้วยเม็ดเงินส่วนตัวจ�ำนวนมหาศาล เรื่องราว ของ นาดีน กอร์ดิมอร์ นักเขียนหญิงที่อุทิศชีวิตให้กับงานวรรณกรรม ชั้นดีที่สะท้อนปัญหาการเหยียดสีผิวในแอฟริกาใต้  จนได้รับความ สนใจจากทั้งนักอ่านและผู้คนทั่วโลกได้อย่างน่าอัศจรรย์  หรือเรื่อง ของ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรจากเกาะสมุย สาวหัวรั้นที่คิดค้น ยาต้านโรคเอดส์เป็นครั้งแรกในโลก ฯลฯ  ว่ากันตามจริงแล้วชีวิต ของผู้หญิงเหล่านี้เป็นมากกว่าค�ำว่าแรงบันดาลใจ  เพราะพวกเธอ เปลี่ยนแปลงโลกไปในทางที่ดีขึ้นได้ “จุดร่วมก็คือบุคคลที่เราเขียนถึงนั้นต้องยังมีชีวิตอยู่ เป็นคอน เส็ปต์ว่าถ้าเขามีชีวิตอยู่เราก็ติดตามเขาต่อไปได้เรื่อยๆ มันน่าตื่นเต้น ว่าในอนาคตเขาจะไปท�ำอะไรอีก  แล้วเราก็อยากจะน�ำเสนอความ หลากหลาย  เราไม่อยากจะเขียนถึงแต่นักการเมือง  ไม่เขียนถึงแต่ ดารา อยากจะให้เห็นว่าไม่ว่าคุณจะอยู่สาขาอาชีพอะไร คุณสร้างการ เปลี่ยนแปลงได้ด้วยงานที่คุณท�ำ... อย่างน้อยแน่นอนว่ามีผู้หญิงเก่งๆ ตั้งเยอะในโลกที่เขาท�ำงานน่าสนใจและมีความหมาย เพราะถ้าเรายัง เชื่อว่าในสังคมผู้ชายเป็นใหญ่ซึ่งก็คงไม่จริงแล้ว แต่ว่าใครก็ตามโดย เฉพาะผู้หญิงที่คิดว่าเป็นเพศอ่อนแอ มีกรอบอะไรบางอย่างที่ผู้หญิง จะทะลุไปไม่ได้ หรือเชื่อว่ามีงานบางอย่างที่ผู้หญิงท�ำไม่ได้ ถ้าได้อ่าน หนังสือเล่มนี้ก็อาจจะได้ฉุกคิดว่ามันไม่ใช่อย่างนั้นหรอก”  เธอกล่าว ถึงหัวใจของหนังสือที่เธอเขียน สฤณีคือนักวิชาการอิสระและอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์   จากที่ เ คยอยากเป็ น นั ก เรี ย นสายปรั ช ญาและ ดาราศาสตร์  แต่เธอก็เลือกที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้าน เศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย  Harvard  และต่อด้วยปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัย New York เธอใช้เวลาอยู่หลายปี

175


กับงานวาณิชธนกรที่ Deutsche Bank สาขาฮ่องกง เคยเป็นวาณิช ธนกรและรองผู้อ�ำนวยการฝ่ายกลยุทธ์องค์กรที่บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ และก้าวสู่การเป็นกรรมการบริหารของบริษัทที่ปรึกษา ทางการเงินอย่าง Hunters Advisory Ltd. “เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาแรงจูงใจของคน  ดูว่าคนท�ำ อะไรไปเพราะอะไร  เหตุผลในการท�ำแต่ละอย่างคืออะไร...เพราะว่า เราอยากรู้เรื่องแรงจูงใจของคน  คิดว่ามันใกล้เคียงกับปรัชญาในแง่ การศึกษา  แต่ว่ามันมีจุดที่เอาไปประยุกต์ใช้ในโลกจริงได้มากกว่า” สฤณีเล่าถึงความสนใจในวิชาเศรษฐศาสตร์  และความหลงใหลใน การศึกษาสภาพสังคมผลักดันให้เธอตัดสินใจลาออกจากงานทั้งหมด เพื่อหันมาท�ำงานวิจัย และเขียนหนังสืออย่างเต็มเวลา “เศรษฐศาสตร์มันเป็นวิทยาศาสตร์แบบบริสุทธิ์  ชีววิทยา มันก็ไม่ใช่  การกระท�ำของมนุษย์อาจมีกฎธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด  เวลาท�ำอะไรสักอย่างคนอื่นอาจจะบอกว่าไม่เห็นมี เหตุผลเลย แต่เราท�ำเพราะชอบท�ำ ตัวเศรษฐศาสตร์เองก็พยายาม ที่ จ ะค้ น หาท� ำ ความเข้ า ใจกั บ แรงจู ง ใจนั้ น    มั น จึ ง เป็ น วิ ช าที่ เ ป็ น กลางมากในการตัดสิน คือไม่ได้ไปบอกว่าคนนี้ท�ำอย่างนี้ เพราะว่า เขาเป็นคนเลว  หรือว่าเขาเป็นคนรวย  คนจน  แต่ว่าพยายามเข้าใจ สถานการณ์ของคนคนนั้นก่อน เพราะว่าหลักเศรษฐศาสตร์แก่นสาร คือเรื่องของแรงจูงใจ เราท�ำอะไรก็ต้องมีแรงจูงใจ อาจจะเป็นสิ่งที่มี เหตุผลก็ได้ เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองก็ได้ หรือเป็นแค่ความชอบ ส่วนตัว ทั้งหมดนี้มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจที่คุณท�ำ เพราะฉะนั้นเรา จึงชอบความเป็นกลางของวิชาเศรษฐศาสตร์  ที่ไม่ไปตัดสินว่าอะไร ถูกอะไรผิด  แต่เป็นการท�ำความเข้าใจมากกว่า  พอท�ำความเข้าใจ

176


แล้วถ้าเกิดเราสามารถที่จะพูดว่าแรงจูงใจมันมีลักษณะแบบนี้  มันก็ สามารถน�ำมาช่วยก�ำหนดนโยบายหรือน�ำไปแก้ปัญหาต่างๆ  ในชีวิต จริงได้” เมื่ อ แนวทางแน่ ชั ด   สฤณี ข ยายกรอบความคิ ด ของเธอ มาสู่การท�ำบล็อกส่วนตัว ‘คนชายขอบ’  หรือ  ‘Fringer’ ที่รวบรวม บทความ คลิปการบรรยายที่สะท้อนองค์ความรู้ในด้านเศรษฐศาสตร์   รวมถึ ง วิ ช าในแขนงอื่ น ๆ  ได้ อ ย่ า งน่ า ประทั บ ใจ  จนเธอได้ รั บ การ ทาบทามให้มาเป็นนักเขียนและบรรณาธิการให้กับนิตยสารออนไลน์ www.onopen.com รวมถึ ง หนั ง สื อ ที่ เ ธอเขี ย นอี ก หลายเล่ ม   เช่ น  ‘ตกน�้ ำ ไม่ ไหล’ ‘ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์: The World is Round’ ‘วิชาสุดท้าย(ที่ มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน)’  ‘ทุนนิยมมีชีวิต  ธุรกิจมีหัวใจ’  หรือ  ‘นาย ธนาคารเพื่อคนจน’ ที่แปลมาจากหนังสือ ‘Banker to the Poor’ เขียน โดย Muhummad Yunus ฯลฯ งานเขียนหรืองานแปลจ�ำนวนมาก ของเธอสะท้อนให้เห็นแง่มุมที่จะใช้ประโยชน์จากโครงสร้างของโลก ทุนนิยม เป็นการใช้วิชาเศรษฐศาสตร์ที่ท�ำให้ชีวิตของผู้คนดียิ่งขึ้น “อย่างตอนนี้มีเศรษฐศาสตร์แขนงใหม่ๆ  ที่น่าสนใจเยอะ แยะ เช่น เศรษฐศาสตร์ความสุข ศึกษาว่าปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อ ความสุขของคนคืออะไรบ้าง  เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมซึ่งก�ำลังมา แรงมาก  คือการดูว่าพฤติกรรมของคนในชีวิตประจ�ำวันนั้นมันมีเหตุ มีผลแค่ไหน แล้วในสิ่งที่มันไม่มีเหตุมีผลนั้นเป็นเพราะอะไร เราคาด เดาหรือพยากรณ์ได้ไหม เรียกว่าพยายามตีความ พยายามเข้าใจ คน  หรือเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมซึ่งอันนี้ก็เป็นสิ่งที่สังคมต้องการ

177


นั ก เศรษฐศาสตร์ ห ลายคนก็ พยายามคิดเครื่องมือใหม่ๆ ในการ จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม  ที่จริง ก็ มี ม านานแล้ ว แต่ ต อนนี้ พั ฒ นา พรมแดนไปไกลมาก  เป็ น การ ประเมิ น มู ล ค่ า ระบบนิ เ วศน์ เ พื่ อ เอามาคิดเป็นต้นทุนให้ได้” สฤณีมองเห็นถึงแนวทาง ที่ จ ะน� ำ วิ ช าเศรษฐศาสตร์ ม า พัฒนาสังคมไทย โดยสะท้อนผ่าน งานวิจัยที่เธอศึกษา และหนังสือที่เธอเขียน แนวคิดเหล่านี้เองที่ได้รับ การกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง “เรื่องการเงินชุมชนในเมืองไทย สองปีที่ผ่านมาได้ไปท�ำงาน วิจัย ไปดูกลุ่มออมทรัพย์ซึ่งในเมืองไทยก็มีหลายลักษณะมาก กลุ่ม ออมเงินชุมชนของไทยเป็นสัจจะออมทรัพย์  เป็นสหกรณ์  กองทุน หมู่บ้าน อันนี้คือนโยบายซึ่งมันมีหลากหลายมาก งานวิจัยของเรา ก็ได้เข้าไปศึกษาดู ส�ำหรับชาวบ้านบางกลุ่มเรียกได้ว่าพวกเขามีนวัตกรรมที่คิดขึ้นมาเอง เป็นนวัตกรรมเชิงกระบวนการ เช่น ชาวบ้านไม่มี เงินออมเลย มีหนี้สิน ท�ำยังไงเขาจะเปลี่ยนตัวเอง เปลี่ยนชีวิตได้ หนี้ ลดลงมีเงินออมมากขึ้น ตรงนี้เป็นจุดที่น่าสนใจ นวัตกรรมแบบนี้เรา เห็นเยอะแต่ว่าเวลาที่เราไปมองกลุ่มแบบนี้ก็จะมองเห็นในเชิงว่าเป็น เรื่องของชุมชนเข้มแข็ง ผู้น�ำเก่ง ชาวบ้านสามัคคีกัน อะไรต่างๆ ผู้คน ก็จะไม่ได้ภาพว่าโมเดลธุรกิจของเขาคืออะไร เขาอาจจะไม่ได้เรียก ตัวเองว่านักธุรกิจ แต่การที่กิจการของเขาสามารถที่จะอยู่รอดได้และ

178


มีความยั่งยืนทางการเงินด้วย มีเงินสะสมไปขยายกิจการ อันนี้คือ โมเดลธุรกิจ ความสนใจก็คือท�ำอย่างไรถึงจะเข้าใจโมเดลที่ว่านี้และ อธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ด้วย “เศรษฐศาสตร์บอกว่าทุกอย่างไม่มีอะไรเป็นยาวิเศษ ทุกสิ่ง ทุกอย่างในโลกนี้มีต้นทุน เพราะฉะนั้นเวลาจะท�ำอะไรหรือแก้ปัญหา อะไร ก็ต้องดูก่อนว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง ขอบฟ้าของเราคืออะไร เรา จะแก้ปัญหาเรื่องน�้ำมีทางเลือกกี่วิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอะไร แล้ว ก็ค่อยตัดสินใจ  ค�ำถามคือว่าตอนนี้สังคมไทยมีกี่ประเด็นที่เรามอง เห็นอย่างรอบด้าน ที่เราเห็นทางเลือกอย่างรอบด้าน เพราะแต่ละคนก็ อยู่ในโลกของตัวเอง แล้วก็คาดหวังผู้วิเศษหรือยาวิเศษ ทุนนิยมมีชีวิต ธุรกิจมีหัวใจคือการพยายามที่จะดูว่า ปัญหา ต่างๆ ที่ทุนนิยมประสบ ถ้าเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ บริษัทที่ท�ำอะไรแบบ เดิมว่ายังท�ำลายธรรมชาติแล้วไม่ดูแลรักษา  เสร็จแล้วก็เอาสินค้า มาขายแล้วใช้โปรโมชั่น ใช้การตลาดให้คนซื้อของไปเยอะๆ แล้วไม่ สนใจเรื่องขยะ ถ้าเราบอกว่าปัญหามันใหญ่ ต่อไปบริษัทแบบนี้อาจ จะไม่ยั่งยืน บริษัทที่จะยั่งยืนคือบริษัทที่เก่งกว่านั้น แล้วบริษัทที่ว่า มันเป็นแบบไหน หน้าตายังไง ระบบการผลิตใหม่ใช่ไหมที่ควรสนใจ ต้นทางกับปลายทางที่เป็นระบบปิดคือไม่มีของเสียเลย  ดูแลทุกคน ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย แล้วในตอนนี้บริษัทดังกล่าวอยู่ที่ไหนบ้าง อันนี้ คือโจทย์ของหนังสือที่เขียนซึ่งก็มีโมเดลที่น่าสนใจเยอะแยะมากมาย พยายามจะเปลี่ยนวิธีคิดในการท�ำธุรกิจ ถ้านายทุนเปลี่ยนวิธีคิดแล้ว เขาเจ๊งก็ไม่มีประโยชน์ใช่ไหม เพราะธุรกิจต้องขายให้ได้ ต้องอยู่รอด เพราะฉะนั้นมันก็ต้องไปด้วยกัน ถ้าเราบอกว่าธุรกิจเดี๋ยวนี้ต้องรับผิด ชอบ มันต้องมีรูปธรรมให้เห็นว่ารับผิดชอบแล้วมันดียังไง มันต้องใช้ ค�ำว่า win win บริษัทก็ได้  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่นก็ได้ด้วย”

179


แรงบันดาลใจจากบุคคลที่เธอชื่นชมนั้น  มาจากหนังสือเล่ม ล่าสุดที่เธอก�ำลังอ่านอยู่ตอนนี้  Exile on Wall Street: One Analyst’s Fight to Save the Big Banks from Themselves ผลงานจากนัก วิเคราะห์หลักทรัพย์ชื่อ Mike Mayo “ไมค์ มาโย  เป็นนักวิเคราะห์ หน้าที่เขาคือประเมินมูลค่า หุ้นธนาคารว่าน่าซื้อหรือควรขาย เขาเป็นนักวิเคราะห์ที่มีความอิสระ มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เพราะว่ากล้าที่จะออกมาประกาศว่า ถ้า ฐานะทางการเงินของธนาคารมันมีปัญหาหรือไม่ชอบมาพากล การ บริหารไม่ดี เขาก็จะเขียนอย่างชัดเจนว่าแนะน�ำให้นักลงทุนขายหุ้น บอกว่าผู้บริหารปัจจุบันมันไม่ไหวเลย พูดง่ายๆ ว่าธนาคารเองก็ไม่ ค่อยชอบ เรื่องราวของเขาสนุกดี กล้าที่จะยืนหยัดในจุดยืนของตัวเอง หรืออย่างตอนที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจล่าสุดในปี 2010 รัฐบาลอเมริกา กับสภาคองเกรส  ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการมาศึกษาว่าวิกฤตนี้ เกิดจากอะไร คุณไมค์ มาโยก็เป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์คนเดียวที่ เข้าไปให้การ ถือว่าเป็นจุดส�ำคัญมากที่กล้าหาญและเป็นอิสระจริงๆ ซึ่งตอนนี้คนแบบเขาก็หายาก  เพราะในภาคการเงินเต็มไปด้วยผล ประโยชน์ทับซ้อน แล้วปัญหาในเชิงโครงสร้างก็บิดเบือนแรงจูงใจของ นักวิเคราะห์ ท�ำให้จุดยืนของนักวิเคราะห์เปลี่ยนไป”

180


สฤณีก็เป็นนักวิชาการ นักคิด นักเขียนที่มีความเป็นอิสระ มากเช่นเดียวกัน  เพราะเธอก�ำลังท�ำในสิ่งที่กล้าหาญ  สิ่งที่คัดค้าน กระแสสังคมทุนนิยมแบบสุดโต่ง เธอไม่ได้ขวางโลก แต่ก�ำลังน�ำเสนอ ทางเลือกในความเป็นธรรมของโลกทุนนิยมอย่างมั่นคงในแนวทาง ถ้าผู้หญิงในหนังสือที่เธอเขียน เปลี่ยนแปลงโลกนี้ไปได้ไกลจากความ ทุกข์แค่ไหน สฤณีก็ก�ำลังกลิ้งโลกไปในทางนั้นอยู่เช่นกัน

ธุรกิจเดี๋ยวนี้ต้องรับผิดชอบ  มันต้องมี รูปธรรมให้เห็นว่ารับผิดชอบแล้วมันดียังไง มันต้องใช้ค�ำว่า win-win บริษัทก็ได้  ผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียคนอื่นก็ได้ด้วย

181


อ�ำนาจ รัตนมณี เจ้าของสถานีแห่งแรงบันดาลใจ

หลายคนคงได้ ยิ น กั น มานั ก ต่ อ นั ก แล้ ว ส� ำ หรั บ ค� ำ พู ด สวยๆ  ที่ แ ปะป้ า ยไว้ ต ามถนน ของนั ก เดิ น ทาง  ถนนแห่ ง ความ ฝันของคนหนุ่มสาวที่อยากจะใช้ ชีวิตตามมโนภาพอันแรงกล้าของ ตนเอง  แต่ ใ นความเป็ น จริ ง ก็ มี ผู้คนจ�ำนวนไม่น้อยที่ทนเดินต่อไป บนทางที่หัวใจเลือกไม่ไหว เพราะ ในสถานการณ์จริงแล้วบททดสอบ นั้นหนักหนาสาหัสกว่าที่คิด นักฝันหลายคนเวลาสมหวังหรือผิดหวัง  พวกเขาเหล่านั้น ล้วนต้องการผู้รับฟัง  ต้องการสถานที่ที่จะได้นั่งพักและตัดสินใจว่า จะท�ำอย่างไรต่อไป และ ‘ร้านหนังสือเดินทาง’ ที่มีเจ้าของร้านอย่าง อ�ำนาจ รัตนมณี ก็เป็นหนึ่งในสถานีแห่งแรงบันดาลใจที่คนรักหนังสือ คนมีฝันทั้งหลายเลือกที่จะเข้ามาแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัว เพราะ อะไรจะดีไปกว่าการได้พูดคุยกับคนมีฝันเหมือนกันได้อย่างถูกคอ

182


เมื่ อ   11  ปี ที่ แ ล้ ว อ� ำ นาจก็ เ ป็ น หนึ่ ง ในคนหนุ ่ ม สาวเหล่ า นั้น  หนุ่มปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์สาขาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ เขามีฝัน เขาอายุ 25 ปี และเขาลาออกจากการงานอัน มั่ น คงที่ ธ นาคารโลก  (ธนาคารเพื่ อ การบู ร ณะและพัฒ นาระหว่า ง ประเทศ) สาขาประเทศไทย เพื่อที่จะมาเปิดร้านหนังสือเล็กๆ บนถนน พระอาทิตย์ร่วมกับ ปิโยรจน์ งามวิไลกร แฟนสาวที่พร้อมจะร่วมฝัน เคียงข้างกัน “พอเข้าสู่วิถีชีวิตการท�ำงานจริงๆ  มันได้ค้นพบว่ามีค�ำถาม บางอย่างที่เราเริ่มถามตัวเอง...ถามเพราะอะไร ต้องย้อนกลับไปไกล ว่าผมเป็นคนต่างจังหวัด เติบโตและใช้ชีวิตวัยเด็กที่ปักษ์ใต้ จังหวัด สงขลา แต่ว่ามาเรียนที่กรุงเทพฯ พอเริ่มใช้ชีวิตการท�ำงานที่กรุงเทพฯ มันก็มีภาพเปรียบเทียบของสองสังคมอยู่  ระหว่างสังคมต่างจังหวัด กับสังคมกรุงเทพฯ  ในช่วงวัยเรียนเราไม่ต้องดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายเอง เราไม่จ�ำเป็นต้องตื่นเช้าทุกวัน  บางทีรูปแบบวิถีชีวิตในสังคมเมือง เราอาจจะไม่ได้เห็นเงื่อนไขในอีกด้านหนึ่ง  แต่พอเข้าสู่วิถีชีวิตการ ท�ำงาน ผมเช่าอพาร์ตเมนต์อยู่แถวบางพลัด ต้องเดินทางไปท�ำงาน ที่ถนนวิทยุ ตื่นเช้าขึ้นมาต้องนั่งรถเมล์ให้ไปถึงออฟฟิศ 8-9 โมงเช้า กว่าจะกลับบ้านบางทีก็มืดแล้ว ออกจากบ้านก็ยังไม่สว่าง เป็นแบบ นี้ทุกวัน... อันนี้มันเป็นวิถีชีวิตเดียวที่ดีรึเปล่า ท�ำไมตอนที่เราอยู่ต่าง จังหวัดสี่โมงเย็นก็นั่งเล่นที่บ้านได้แล้ว ใช้เวลากับลูกๆ ใช้เวลารอทาน ข้าวเย็นพร้อมหน้าพร้อมตากัน  มันเริ่มมีข้อเปรียบเทียบอะไรแบบนี้ เกิดขึ้นบ่อยในช่วงวัยนั้น...จนกระทั่งวันหนึ่งเราตอบตัวเองว่าถ้าเป็น แบบนี้บ่อยๆ มันคงต้องแก้ไขแล้วล่ะ”

183


ทางแก้ ข องชายหนุ ่ ม ก็ คื อ การทบทวนชี วิ ต ว่ า ชอบอะไร และอยากท� ำ อะไรบ้ า ง  ข้ อ สรุ ป ที่ ไ ด้ ม าก็ คื อ ตั ว เขาเองผู ก พั น กั บ ถนนพระอาทิ ต ย์   ย่ า นบางล� ำ พู ม ายาวนานตั้ ง แต่ เ มื่ อ ตอนเรี ย นที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาท่าพระจันทร์ ถนนเส้นนี้กลางวันก็ เป็นถนนวัฒนธรรม พอพระอาทิตย์ตกก็กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยาม ราตรี และเขาไม่ใช่คนชอบเที่ยวกลางคืน ดังนั้นการเปิดร้านอาหาร ที่เน้นเครื่องดื่มมึนเมาก็ตัดออกไปได้เลย สิ่งที่เขาชอบและผูกพันมา นานก็คือการอ่านหนังสือ เขารู้จักหนังสือดีกว่าอย่างอื่น เมื่อเขาแน่ใจ แล้ว เงินเก็บก้อนส�ำคัญจึงถูกน�ำมาใช้เปิด ‘ร้านหนังสือเดินทาง’ เมื่อ ปี  พ.ศ.2545 ที่ถนนพระอาทิตย์ “คุณโย (ปิโยรจน์ งามวิไลกร) เคยพูดว่าถ้าเราจะเล็ก ก็ควร เล็กแต่ลึก เล็กในแง่ขนาดแต่ว่าลึกในคอนเส็ปต์ ลึกในความรู้สึก พูด ให้ชัดคือการเป็นร้านหนังสือเฉพาะทางอาจจะยังเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมี ในตลาดหนังสือเมืองไทย  ถ้าอย่างนั้นเราท�ำร้านหนังสือที่เกี่ยวกับ การเดินทางดีกว่า จึงเริ่มต้นปีแรกของการเป็นร้านหนังสือเดินทางมา ตั้งแต่ตอนนั้น” อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการท�ำตามความฝันอาจไม่ใช่เรื่อง ยากที่สุด  แต่การอยู่กับฝันนั้นให้ตลอดรอดฝั่งมาได้ต่างหากคือส่วน ส�ำคัญ 11 ปีของร้านหนังสือเดินทาง จากท�ำเลถนนพระอาทิตย์สู่ถนน พระสุเมรุ  ชายหนุ่มจากแดนใต้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ แต่ก็ไม่มีอะไรได้มาโดยง่าย “สรุปได้ค�ำเดียวว่าไม่มีอะไรง่าย แต่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ มันไม่ ง่าย  แต่ถ้าเชื่อว่าเป็นไปได้ มันก็เป็นไปได้ มันเป็นไปได้ในลักษณะ ไหน ตอนนี้ร้านอายุ 11 ปี ผมมองย้อนกลับไปแล้วเห็นภาพชัดเจนขึ้น

184


เรายังคุยกันอยู่เลยว่า 10 ปีแรกมันยากนะ แต่ดูแล้วมันจะง่ายกว่า 10 ปีหลังจากนี้ด้วยซ�้ำไป มันเป็นอย่างนั้น เพราะ 10 ปีแรกมันเป็น ช่วงที่เราไม่รู้เลยว่าจะเจออะไรบ้าง จะต้องท�ำอะไรบ้าง ในแง่หนึ่งมัน เหนื่อยแต่ก็สนุกกับมัน พอมาถึงตอนนี้เราจะรักษาความสนุกกับมัน ยังไงต่อ มันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง”

อ�ำนาจเล่าต่อว่าในช่วงสี่ปีแรกของการท�ำร้านหนังสือ  เขา ต้องเป็นคนเฝ้าร้านและให้แฟนเป็นคนท�ำงานประจ�ำ  เพื่อที่ว่าเดือน ไหนค่าใช้จ่ายของร้านติดลบจะได้มีเงินมาสมทบ  ใครจะรู้ว่าชั้นสอง ของร้านที่ท�ำเป็นชั้นดื่มกาแฟ  พอร้านปิดนั่นก็คือที่นอนของชายหนุ่ม เพื่อเขาจะได้ดูแลร้านได้อย่างเต็มที่ เพราะร้านหนังสือแห่งนี้ต้องเปิด บริการทุกวัน “ถามว่าคนอื่นรู้เบื้องหลังไหม มันก็ไม่จ�ำเป็นต้องบอก แต่ว่านั่นคือสิ่งที่เราต้องฝ่าฟันไปให้ได้ ถามว่าอุปสรรคมันคืออะไร...   ว่ากันตามตรงธุรกิจหนังสือมันเป็นธุรกิจที่เราไม่สามารถสร้างก�ำไรได้ มากในตัวมันเองอยู่แล้ว  เราเปิดร้านขึ้นมาแต่เราไม่ใช่ผู้ผลิตหนังสือ เอง เราไม่ได้ไปซื้อผักบุ้งหรือลูกชิ้นมาปรุงเอง แต่ว่าเราไปรับสิ่งที่เขา

185


ผลิตส�ำเร็จแล้วมาขาย ซึ่งก�ำไรจะได้เท่าไหร่ เขาก็ก�ำหนดมาให้เรา แล้ว เราไม่สามารถขายในราคาได้มากกว่านั้น แต่ว่าต้นทุนของเรา มันไม่ได้มาสนใจว่านี่คือธุรกิจร้านหนังสือ เราจ่ายในต้นทุนที่เท่ากับ ธุรกิจอื่นๆ เท่ากับร้านเหล้า ร้านอาหารที่เขาสามารถสร้างก�ำไรได้ มากกว่า เพราะฉะนั้นโครงสร้างในตัวมันเองก็ขัดแย้งกันอยู่แล้ว มัน จึงท�ำให้เราต้องท�ำงาน 7 วันต่อ 1 สัปดาห์เป็นระยะเวลา 4 ปี ค�ำถาม ที่ตามมาคือนี่เป็นชีวิตที่ดีรึเปล่า  คุณมีกิจการของตัวเองเพื่อที่จะอยู่ ในเงื่อนไขชีวิตอย่างนี้เหรอ มันยากก็ตรงนี้เอง” ได้ใช้ชีวิตอย่างที่ฝัน  แต่ฝันดีก็มีราคาที่ต้องจ่าย  ที่น่าเจ็บ ปวดคือหลายคนก็ทนจ่ายไม่ไหว “มันได้อย่างที่ฝันแต่ว่ามันไม่ใช่ชีวิตที่ฝัน ผมคิดว่าหลายคน เริ่มต้นแล้วอยู่ไม่รอดก็เพราะตรงนี้แหละ แต่ถ้าถามว่าเราอยู่รอดมา ได้ยังไง... บางทีเราต้องย้อนไปว่าในอดีตเราท�ำอะไรส�ำเร็จแล้วบ้าง ลองมองย้อนไปดูสิว่าเมื่อก่อนเราเจอปัญหาอย่างนี้เราฝ่าฟันมาได้ ยังไง ในเมื่อเราเคยฝ่าฟันมาได้ ท�ำไมเราจะท�ำมันอีกครั้งไม่ได้เชียว หรือ เมื่อก่อนเราเคยเจอปัญหาเรารู้สึกว่าไม่มีทางออก แต่สุดท้ายเรา ก็มีทางออกให้มันจนได้ อันนี้ก็เป็นแค่ปัญหาที่ใหญ่กว่าเดิมเล็กน้อย เท่านั้นเอง ลองพยายามอีกหน่อยสิ ผมชอบคิดกับตัวเองว่าเราต้อง พยายามให้ถึงที่สุด หรือบางทีเราคิดว่าที่สุดแล้ว ก็ลองอีกนิดสิ มัน อาจจะมีที่สุดกว่านี้ก็ได้นะ มันจึงน�ำมาสู่ 4 ปีที่อยู่รอดมาได้ อย่างที่ เรียกว่าค้านสายตาผู้ชม เพราะตอนที่ผมเปิดร้านปีแรก หลายคนที่ รู้เงื่อนไข รู้อัตราค่าเช่า รู้สภาพสังคมการอ่านของเมืองไทยจริงๆ มี คนฟันธงมากมายว่ามันอยู่ไม่รอดหรอก  ผมก็รับฟังสิ่งเหล่านั้นเพื่อ มาตรวจสอบ ไม่ได้ยืนอยู่บนพื้นฐานลอยๆ เรารู้ว่าเขามองยังไง แล้ว

186


เขาก็พูดอย่างนั้นด้วยความปรารถนาดีจริงๆ แต่ผมน�ำสิ่งเหล่านั้นมา ท�ำให้ตัวเองพยายามมากขึ้น เอามาเป็นแรงกระตุ้น “ถามว่าคุณนอนกับร้านกาแฟมา  4  ปีได้อย่างไร  บางคืน แมลงสาบไต่ขึ้นหน้า มันคือชีวิตที่คุณต้องการเหรอ บางทีผมรู้สึกว่า ชีวิตที่ดีมันอาจไม่จ�ำเป็นต้องท�ำอย่างนั้นก็ได้ แต่ว่าที่ทนมาได้เพราะ รู้สึกว่าฉันท�ำได้ ผมเชื่อในทัศนคติของการมองโลกในแง่ดี มันท�ำให้ เราพยายาม ถ้าเราปักใจเชื่อตั้งแต่แรกว่าฉันท�ำไม่ได้ เดี๋ยวมันก็คงไป ไม่รอด มันจะน�ำมาสู่ความรู้สึกหรือการไม่พยายามจริงๆ แต่พอเรา มองโลกอีกด้าน พลังมันก็เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ” เส้นแบ่งระหว่างการได้ท�ำงานอย่างที่ฝันกับการหลอกตัว เองไปทุกวันว่าเรายังไหวนั้น บางครั้งกับบางคนมันก็แทบจะเป็นเส้น เดียวกัน บวกลบคูณหารแล้วกลับทุกข์มากกว่าสุข แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ เกิดกับอ�ำนาจ เพราะเขาแน่วแน่และไม่ได้ท�ำงานบนความเพ้อฝัน “ถ้าเกิดท�ำแล้วมันไม่ได้ก่อปัญหาให้การใช้ชีวิตของเราต้อง ติดขัด ผมคิดว่ามันก็ชัดเจนในตัวมันเองว่ามันคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง สิ่ง ที่เราได้จริงจากการท�ำสิ่งเหล่านั้น มันอาจจะดูเพ้อฝันแต่ผมไม่คิดว่า เป็นภาพลวงตา ทุกวันนี้ร้านหนังสือของเราก็ไม่ได้ขาดทุน แต่ว่าก็ไม่ ได้มีก�ำไรเยอะ ถ้าเกิดว่ามันอยู่ในสภาวะต้องหาเงินที่อื่นมาโปะตลอด แล้วเรายังทนอยู่กับมันอีก แปลว่าสิ่งที่คุณท�ำอยู่ตอนนี้มันอาจจะไม่ ตอบโจทย์ด้านธุรกิจแล้ว “ร้ า นหนั ง สื อ ที่ เ ราท� ำตอนแรกเราอาจจะมองแค่ ว ่ า ได้ ท� ำ อะไรสักอย่างที่ฉันชอบ แต่ว่าพอผ่านไปสักระยะหนึ่งผมรู้สึกว่ามันมี คุณค่าบางอย่างเกิดขึ้นในตัวเราเหมือนกัน ไม่ใช่คุณค่าที่ยืนอยู่ลอยๆ

187


ผมรู้สึกว่าถ้าเราสามารถบาลานซ์สองอย่างได้ หนึ่ง มิติในการด�ำรง ชีวิตของเราเอง หมายถึงว่าท�ำร้านแล้วไม่ขาดทุน มีเงินกินข้าวได้ ก็ ถือว่าผ่าน สอง ถ้าท�ำแล้วมันสร้างมูลค่าอย่างอื่นเพิ่มได้ ผมเพิ่งค้น พบค�ำนี้จากลูกค้าเมื่อไม่กี่วันก่อน เขามองว่าร้านหนังสือเป็นธุรกิจ ทางวัฒนธรรม เป็นธุรกิจอีกแบบหนึ่งที่ไม่ได้เอาก�ำไรสูงสุดเป็นที่ตั้ง ขณะเดียวกันมันก็สร้างทุนอีกแบบหนึ่ง ซึ่งธุรกิจหลายอย่างสร้างไม่ ได้ ทุนที่ว่าก็คือความรู้ ผมเชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งส�ำคัญ การที่จะท�ำให้ คนมีความรู้ก็คือการเอาความรู้ไปให้เขานี่แหละ  ร้านหนังสือก็เป็น ธุรกิจลักษณะนั้น  คือการเปิดโอกาสให้คนได้เจอสิ่งที่มีคุณค่าส�ำหรับ เขา มันคือต้นทุนทางสังคมอย่างหนึ่ง คือวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่เรา น่าจะส่งเสริม มันเป็นเรื่องของมูลค่ากับคุณค่า ท�ำธุรกิจแล้วยึดมูลค่า อย่างเดียวก็คงต้องเอาก�ำไรเป็นหลัก ท�ำอะไรก็ได้ที่ให้ก�ำไรสูงสุด แต่ ถ้ายึดคุณค่าบ้างก็ต้องคิดให้มากขึ้น” ชายหนุ่มกล่าวด้วยแววตาของ คนที่แน่ใจแล้วในสิ่งที่เลือก ต่อให้เดิมพันสูงกว่านี้ เขาก็จะยอมเสี่ยง เพราะเขารู้วิธีที่จะเปลี่ยนความเสี่ยงให้เป็นความสุขได้ เหตุการณ์ส�ำคัญที่อ�ำนาจนึกถึงอยู่เสมอในช่วงที่เขาตัดสิน ใจเปิ ด ร้ า นหนั ง สื อ   นั่ น ก็ คื อ เมื่ อ ตอนที่ เ ขาเริ่ ม ท� ำ งานประจ� ำ ใน กรุงเทพฯ  ได้ไม่นาน เพื่อนที่ปักษ์ใต้ส่งการ์ดแต่งงานมาให้ จากนั้นไม่ กี่วันว่าที่เจ้าบ่าวก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต  จากการ์ดแต่งงานกลาย เป็นการ์ดงานศพ  “เขาขับมอเตอร์ไซด์ออกไปซื้อของแล้วก็ถูกรถชน มันจึงน�ำไปสู่ความรู้สึกว่าชีวิตคนมันนิดเดียวเอง สั้นมาก จากชีวิตที่ เคยคิดว่ายาว เอาเข้าจริงมันสามารถพลิกผันได้ตลอดเวลา คุณไม่รู้ ด้วยซ�้ำว่าพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น...  แทนที่เราจะต้องทนกับสิ่งที่เราไม่ ชอบ ท�ำไมเราไม่มาทนกับสิ่งที่เราชอบล่ะ ถ้าสิ่งที่เราชอบมันต้องใช้ เวลานานหน่อยในการเดินไปสู่จุดที่ประสบความส�ำเร็จ  ถ้าคุณเริ่ม ก้าวตอนนี้ 10 ปีของคุณมันก็เร็วกว่า 10 ปีของคนอื่น”

188


“มีหนังสือเล่มหนึ่งบอกว่าคนเราควรจะใช้ชีวิตให้เป็นต�ำนาน ของตัวเอง เราไม่ได้ใช้ชีวิตให้เป็นต�ำนานเพื่อไปคุยให้ใครฟัง แต่ใน ชีวิตของแต่ละคนก็ควรจะภูมิใจในสิ่งที่ท�ำมา ไม่ใช่ผ่านไป 50-60 ปี แล้วมองย้อนกลับไป ฉันไม่ได้รู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ฉันท�ำเลย ท�ำไมตอน นั้นฉันไม่ท�ำอย่างนี้นะ ผมไม่อยากใช้ชีวิตอย่างนั้น เพราะชีวิตมันสั้น” ใช่แล้ว ชีวิตคนนั้นกินเวลาบนโลกแค่วูบเดียว แต่สิ่งที่เราได้ ท�ำลงไปขณะที่ยังมีลมหายใจต่างหากที่จะอยู่ต่อไปได้อีกนาน สิ่งนั้น ไม่จ�ำเป็นต้องยิ่งใหญ่เสมอไป  อาจเป็นสิ่งเล็กๆ  ที่เติมเต็มจิตใจแก่ ผู้คน ให้พวกเขาได้คิด ได้หัวเราะกับตัวเองอย่างมีความสุขแม้ในวันที่ มืดหม่น สิ่งเล็กๆ ที่ว่าอาจเป็นแค่ร้านหนังสือสักแห่งก็ได้

ผมชอบคิ ด กั บ ตั ว เองว่ า เราต้ อ ง พยายามให้ถึงที่สุด  หรือบางทีเราคิดว่าที่สุด แล้ว  ก็ลองอีกนิดสิ  มันอาจจะมีที่สุดกว่านี้ ก็ได้นะ

189


วิลันดา เอี่ยมสอาด

คนตัวเล็กผู้ท�ำงานเคียงข้างนายกรัฐมนตรี

งานประเภทหนึ่งซึ่งอาจ จะเป็นงานที่ใครหลายคนไม่เคย นึกถึง นั่นก็คืองานที่ได้เห็นความ เป็ น ไปของประเทศชาติ ผ ่ า น ผู้น�ำ  การได้มีส่วนร่วมไม่มากก็ น้อยส�ำหรับการสนับสนุนนายก รัฐมนตรีของประเทศไม่ว่าจะเป็น ใครก็ตาม  ให้มีความพร้อมและ ท�ำงานเพื่อประเทศไทยได้อย่าง ไม่ขาดตกอะไรไป งานที่หลาย คนไม่คุ้นหูแต่มีความส�ำคัญมาก ส�ำหรับหน้าตาของประเทศที่จะ ถูกสื่อออกไป วิลันดา เอี่ยมสะอาด สาววัย 30 ปี จากส�ำนักเลขาธิการนายก รัฐมนตรีเป็นส่วนหนึ่งของผู้อยู่เบื้องหลังงานส�ำคัญดังกล่าว  งานในส่วน ของเธอก็คือการประสานงานด้านการต่างประเทศ (ภูมิภาคยุโรป)  ของ นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี อาทิ การเดินทางเยือนต่างประเทศ การประชุมนานาชาติ การเข้าพบของแขกต่างประเทศ การประชุมเพื่อหา ทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

190


เธอจบปริ ญ ญาตรี ค ณะรั ฐ ศาสตร์   ความสัม พัน ธ์ระหว่า ง ประเทศ  จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย   และปริ ญ ญาโทด้ า น MA International Communications จาก University of Leeds ประเทศ อังกฤษ  ความใฝ่ฝันตอนเด็กของเธอก็คือการได้เดินทางไปรอบโลก หากไม่ใช่การเที่ยวเล่นแต่งานที่ท�ำนั้นต้องมีประโยชน์ด้วย  วิลันดา สนใจงานทางด้านการทูตอยู่แล้ว  เธอจึงเลือกเดินมาในเส้นทางที่ ชัดเจน “เคยมีคนบอกเราว่า คนที่เรียนแพทย์ คุณสามารถรักษาคน หนึ่งคนได้ แต่รัฐศาสตร์แม้จะรักษาคนหนึ่งคนไม่ได้ แต่เราดูภาพองค์ รวม มองสังคม มองประเทศไปถึงประชาคมต่างๆ เราจะดูแลบุคคล ในองค์รวมมากกว่า  ถึงแม้ผลงานมันจะช้ากว่าจะเห็นประโยชน์ได้ อาจจะมีอุปสรรคบ้างแต่มันก็สามารถท�ำประโยชน์ให้คนอื่นได้ด้วย ก็ เลยคิดว่ามาทางนี้ดีกว่า” งานส่วนใหญ่ของเธอคือการท�ำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ แล้วมาประมวลวิเคราะห์ ก่อนที่จะเสนอให้ นายกรั ฐ มนตรี พิ จ ารณาอี ก ที ว ่ า จะท� ำ อย่ า งไรต่ อ ไปกั บ เหตุ ก ารณ์ ต่างๆ  “งานของเราจะเป็นงานเกี่ยวกับด้านต่างประเทศ  ที่มีโอกาส ดูแลก็คือภูมิภาคยุโรป ดูแลหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือ ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับยุโรปทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ  หรือประเทศ ต่างๆ รวมถึงภาคเอกชน บริษัทต่างๆ ที่มีสัญชาติอังกฤษหรือยุโรปที่ มีปฏิสัมพันธ์กับท่านนายกฯ เราก็เป็นหน่วยงานกลางที่ประสานงาน สมมุติว่ามีเรื่องนี้เข้ามา  เราก็มาหาข้อมูลว่ามีอะไรเพิ่มเติมอีกไหมที่ ท่านนายกฯ จะต้องรับทราบและใช้ในการพิจารณางานต่อไป”

191


ผลงานเด่นๆ  ของเธอที่ผ่านมา  ก็คือการประสานงานการ เข้าร่วมการประชุมผู้น�ำเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ของนายกรัฐมนตรีนาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ / ประสานงานการ เยือนสหราชอาณาจักรของนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ/ ประสานงานการเข้าเฝ้าหารือข้อราชการของนายกรัฐมนตรี (นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) กับเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก “อาเซมเป็นการประชุมของผู้น�ำยุโรปกับเอเชียรวมกันเป็น เวทีเดียว งานของเราก็มีหน้าที่ในการจัดการประสานงานทั้งหมด ทั้ง จัดทริปที่ต้องเดินทางของท่านนายกฯ  และคณะผู้น�ำที่มาประชุม ที่ พัก โรงแรม  การเดิ น ทาง  อาหาร  เอกสารการประชุม   วาระงาน ทั้งหมดว่าท่านนายกฯ  ต้องท�ำอะไรบ้าง   รวมถึงความร่วมมือจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงการต่างประเทศ ที่เขาจะดูแลโดยเฉพาะ  น�ำข้อมูลมาให้ท่านนายกฯ  ด้วยว่าเรื่อง นี้ประเทศไทยเรามีผลประโยชน์อะไรอย่างไรบ้าง  เราจะสามารถ เจรจาหาความร่วมมือกับประเทศที่อยู่ในยุโรปได้อย่างไร  แล้วก็จัด ก�ำหนดการกับผู้น�ำประเทศต่างๆ ที่เราสามารถเจรจาความร่วมมือต่อ ไปได้ ล่าสุดก็มีโอกาสท�ำวาระให้ท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ปรึกษา ราชการกับเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก ความท้าทายคือเจ้าชาย แอนดรูว์เสด็จมาเป็นพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์แล้วท่านก็เสด็จ มาไม่บ่อยนัก  เราก็ต้องหาโอกาสนี้ท�ำให้การเจรจากับท่านได้รับผล ประโยชน์สูงสุด  เพราะว่าท่านทรงมีบทบาทในด้านการพัฒนาความ ร่วมมือระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรด้วย  แล้วเราก็ได้เป็นส่วน

192


หนึ่งที่มีโอกาสเสนอข้อมูลให้ท่านนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ท่านหยิบยก ไปใช้ในการหารือระหว่างทั้งสองฝ่าย เพราะว่าบทสนทนานี้ไม่ใช่จะมี ผลกระทบแค่สองคน ด้วยทั้งสองท่านเป็นผู้น�ำและมีบทบาทสูง เราก็ อยากให้ช่วงเวลาสั้นๆ นี้ประเทศชาติได้รับผลประโยชน์สูงสุด” งานของวิลันดาจึงแทบจะไม่มีโอกาสให้กับความผิดพลาด แต่การท�ำงานเป็นทีมก็ช่วยให้ทุกอย่างเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบ รื่น ความส�ำคัญของงานนี้ก็คือไม่ว่าจะเป็นใครที่ขึ้นมาด�ำรงต�ำแหน่ง นายกรัฐมนตรีด้วยสถานการณ์ทางการเมืองแบบไหน  จุดยืนของ ส�ำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีก็ต้องชัดเจนในการท�ำหน้าที่สนับสนุน นายกฯ ทุกคนที่ก้าวเข้ามา ไม่มีเลือกข้างเลือกขั้ว “อยู ่ ต รงนี้ เ ราจะใกล้ กั บ การเมื อ งมาก  มี ผู ้ ใ หญ่ บ างท่ า น สอนว่าถ้ามีโอกาสให้ท�ำงาน คุณไม่ได้ท�ำงานเพื่อคนใดคนหนึ่ง คุณ ท�ำงานเพื่อประชาชน  อย่ายึดติดว่าคุณท�ำงานให้ใคร  ดังนั้นโดยที่ ตัวเราเองเป็นข้าราชการประจ�ำ  เรามีโอกาสได้มองนโยบายหรือผล ประโยชน์ต่างๆ ในระยะยาวมากกว่า เราไม่ใช่การเมืองที่เข้ามาแล้ว เปลี่ยนไป  เราก็จะคิดและยึดหลักอันนี้ดีกว่า  ยึดหลักผลประโยชน์ ของประเทศระยะยาว การเมืองมีกระทบบ้าง มีการเปลี่ยนผ่าน พอ เจ้านายเปลี่ยนไปแต่ละท่านก็จะไม่เหมือนกัน  แต่โชคดีว่านโยบาย เกี่ยวกับการต่างประเทศ แต่ละพรรคที่เข้ามาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง นโยบายระหว่างประเทศ  เราก็จะท�ำงานง่ายขึ้น  ไม่ใช่เรื่องอะไรที่ เป็นผลกระทบต่อมวลชนที่เขาจะมาใช้หาเสียงกันได้  เรามองระยะ ยาวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ยังไงก็ตามถึงประเทศจะ เปลี่ยนพรรค มันก็ต้องคงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้น แล้วก็ขยายตัวมากขึ้น”

193


วิ ลั น ดาบอกว่ า งานของเธอ เปรี ย บเสมื อ นฟั น เฟื อ งเล็ ก ๆ  ที่ ช ่ ว ย หมุนประเทศชาติ โดยเธอมีในหลวง เป็ น แบบอย่ า งว่ า เราท� ำ งานเพื่ อ ประชาชน   “ที่ท�ำงานมีรูปในหลวงตั้งอยู่ ถ้าเราเหนื่อยหรือเจออุปสรรค ท้อแท้   เราจะท่องในใจว่าเรามาท�ำงานเพราะ เราเป็ น ข้ า ราชบริ พ ารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เราก็เลยท�ำงาน ได้ ต ่ อ ไป  และถึ ง แม้ จ ะมี อ ะไรมา กระทบจิ ต ใจ  สิ่ ง ที่ เ ราคิ ด ได้ ก็ คื อ เรา ต้ อ งท� ำ งานให้ ดี ที่ สุ ด เท่ า ที่ เ ราท� ำ ได้ เพราะถ้าเราท�ำไม่ดี  เราจะมาเสียใจ ทีหลัง ท่องไว้ว่าเราต้องท�ำให้ดีที่สุด” “ในหลวงเป็ น แรงบั น ดาลใจในการท� ำ งาน  เพราะเท่ า ที่ เห็นตั้งแต่เด็กๆ  ท่านท�ำงานเพื่อประชาชน  ท่านท�ำงานโดยไม่มีผล ประโยชน์อะไรเหมือนนักการเมืองต่างๆ แต่ท่านก็ทรงท�ำ เรามีโอกาส เป็นข้าราชการท�ำงานในระยะยาวเหมือนท่าน เราก็อยากใช้โอกาสนี้ ซึ่งแม้มันจะไม่มีหน้าที่อะไรมากนัก เป็นข้าราชการตัวเล็กๆ แต่อย่าง น้อยเราก็มีสิทธิ์ได้ท�ำ มีโอกาสท�ำเพื่อส่วนร่วม อีกอย่างคือเราโชคดีที่ มีครอบครัวและเพื่อนฝูงที่สนับสนุนตรงนี้ ค่อนข้างเป็นแรงบันดาลใจ ที่ดี”

194


มี อ ยู ่ ค รั้ ง หนึ่ ง ที่ เ ธอได้ มี โ อกาสเข้ า ไปรั บ สายโทรศั พ ท์ ใ น องค์ ก รของรั ฐ บาลแห่ ง หนึ่ ง   ที่ ใ ห้ ป ระชาชนโทรเข้ า มาพู ด คุ ย ว่ า ต้องการอะไรหรืออยากได้อะไรบ้าง  เธอจึงได้สัมผัสถึงความแตกต่าง ทางทัศนคติทางการเมืองของผู้คน  และความต้องการที่จะมีชีวิตที่ดี ขึ้น “รู้สึกว่ามีคนอีกหลายกลุ่มที่ต้องการอะไรที่แตกต่างกับเรา แล้วเรามีโอกาสไหนที่จะท�ำให้เขาได้บ้าง  ความเป็นนโยบายต่าง ประเทศ ชุมชน หรือคนหลายคนอาจจะแตกต่างกัน แต่เราก็อาจจะ ช่วยเขาได้ เช่น เคยคิดว่าของราคาแพง พืชผักราคาแพง การต่าง ประเทศจะมีนโยบายอะไรที่จะช่วยเขาได้บ้าง อย่างเช่นน�ำสินค้าของ เกษตรไทยไปช่วยให้มีตลาดในต่างประเทศมากขึ้น เราก็จะใช้โอกาส ไปท�ำให้ในส่วนนั้น ครั้งหนึ่งตอนรับโทรศัพท์เคยมีคุณลุงโทร.มาบอก ว่า เขาได้เงินเดือนเดือนละ 400 บาท แต่เขาอยู่ได้นะ เราก็ศรัทธาใน ตัวเขา ถ้ามีโอกาสท�ำให้ชีวิตเขาดีขึ้นมันก็น่าจะดี แม้เราจะเป็นเพียง คนตัวเล็กๆ ก็ตาม”

คนตัวเล็กๆ แบบเธอนี่แหละที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมนี้ได้ ขอเพียงแค่ขนาดหัวใจไม่เล็กตามไปด้วยเท่านั้น

เราต้องท�ำงานให้ดีที่สุดเท่าที่เราท�ำได้ เพราะถ้าเราท�ำไม่ดี  เราจะมาเสียใจทีหลัง ท่องไว้ว่าเราต้องท�ำให้ดีที่สุด

195


นพ.แท้จริง ศิริพานิช เมาไม่ ขั บ   ขยั บ สิ ท ธิ ผู ้ ใ ช้ ถ นน เพราะชีวิตคนมีค่าเกินกว่าจะสูญเสีย เวลาที่เราได้ยินเรื่องเมาแล้ว ขับ คนส่วนใหญ่นึกถึงอะไรบ้าง? เรื่ อ งไกลตัว มัน คงไม่เ กิดขึ้น กั บ เราหรอก  หรื อ ถ้ า เกิ ด ขึ้ น มาก็ แ ค่ ดวงไม่ดี ไปท�ำบุญช่วยได้ นั่นเป็นสิ่งที่นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช ได้ยินมา ตลอด 20 ปีในการรณรงค์เรื่องการไม่ดื่มสุราขณะขับรถเพื่อ ลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน แต่ความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ ผู้คนเชื่อนั้นถูกหรือไม่ จ�ำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิตบนท้องถนนที่ลดจ�ำนวนลง กว่า 6,000 คนต่อปี นี่คือเรื่องของดวงใช่ไหม? ย้อนเหตุการณ์ไปเมื่อปี พ.ศ.2535  เมื่อคุณหมอ แท้จริงยังเป็นจักษุแพทย์ท่ีโรงพยาบาลราชวิถี  และเมื่อทาง กระทรวงสาธารณสุขมีโครงการเกีย่ วกับเรือ่ งอุบตั เิ หตุจราจร   เขาก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการท�ำงานนี้และมองเห็นว่ามี เพียงรถจากมูลนิธิต่างๆ ที่ไปรับคนเจ็บตามจุดเกิดอุบัติเหตุ   แต่ โ รงพยาบาลเองกลั บ ไม่ มี ร ถฉุ ก เฉิ น ที่ จ ะไปรั บ ผู ้ บ าด

196


เจ็บเหล่านั้น  เขาจึงก่อตั้งศูนย์นเรนทร  กระทรวงสาธารณสุขขึ้นมา เพื่อเป็นหน่วยกู้ชีพที่จะช่วยปฐมพยาบาลและจัดส่งคนไข้มายังโรง พยาบาลอย่างถูกวิธี  จากที่มีประจ�ำอยู่แค่โรงพยาบาลราชวิถี  ก็ได้รับ ความนิยมไปตามโรงพยาบาลทุกแห่งจนถึงปัจจุบัน “คนที่ เ ราไปรั บ มา  80-90  เปอร์ เ ซ็ น ต์   ส่ ว นใหญ่ เ กิ ด จาก อุบัติเหตุรถชน กรณีเรื่องโรคหัวใจน้อยมากในสมัยนั้น เราก็สังเกตว่า ท�ำไมคนที่ขับรถชนเมามาทั้งนั้น เมาแอ๋กันมาเลย เราจึงมานั่งลองท�ำ สถิติดู ก็พบว่าสาเหตุมาจากอาการเมาทั้งสิ้น อย่างนี้ตายแน่ ถ้าไม่ ตัดสาเหตุ มัวแต่ไปรับคนเจ็บมันไม่มีทางจบ เหมือนโรคเอดส์ที่ผู้คน ไม่ป้องกัน ไม่ใส่ถุงยาง ปล่อยให้ตนเองเป็นเอดส์กันมากมาย หมอก็ รักษาไม่ไหว มันจึงต้องป้องกันที่สาเหตุ แล้วอุบัติเหตุท�ำไมเราถึงไม่ ป้องกันด้วยล่ะ” นั่นจึงเริ่มเป็นที่มาของโครงการรณรงค์ ‘คนรุ่นใหม่ ดื่มสุรา แล้วไม่ขับรถ’ ซึ่งสังคมไทยในตอนนั้นยังไม่เข้าใจและมองว่าเป็นเรื่อง ไม่จ�ำเป็น อีกทั้งดูจะเกินหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขด้วย “มั น ไม่ เ หมื อ นกั บ โรคไข้ เ ลื อ ดออก  หมอท� ำ ลายแหล่ ง ยุ ง ฉีดยา พ่นควัน ซึ่งเป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณสุข แต่พอมาเรื่อง นี้มันใช่หน้าที่ของหมอรึเปล่า  การไม่ใส่หมวกกันน็อกหรือขับรถเร็ว หมอจะไปจับได้ยังไง  หรือคนกินเหล้าเมามันก็ไม่ใช่เรื่องของหมอ” จากจุดนี้เองคุณหมอแท้จริงจึงไปขอความร่วมมือจากคุณด�ำรง  พุฒตาล  เจ้าของหนังสือคู่สร้างคู่สม  และเป็นพิธีกรที่มีชื่อเสียงมากใน ตอนนั้น นั่นจึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง ‘ชมรมเมาไม่ขับ’ ซึ่งใช้เวลา ในการท�ำงานรณรงค์อยู่หลายปี จนเริ่มก่อตั้งเป็นมูลนิธิ มีคนเข้ามา ท�ำงานในรูปแบบองค์กรอย่างจริงจัง  ไม่ใช่ใช้บริการจิตอาสาเหมือน

197


แต่ก่อน และการก้าวเข้ามาของ สสส. (ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ) ที่เห็นความส�ำคัญของโครงการต่างๆ ที่คุณ หมอแท้จริงน�ำเสนอมา  จนน�ำไปสู่จุดเปลี่ยนส�ำคัญคือการผลักดัน โครงการเหล่านี้ให้เป็นกฎหมาย เช่นการไม่ให้สถานีโทรทัศน์โฆษณา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาที่ก�ำหนด  ไม่ให้ขายสุราในปั๊มน�้ำมัน เปลี่ยนแปลงกฎหมายลงโทษคนเมาแล้วขับ  ก�ำหนดให้มีวันงดเหล้า เข้าพรรษา  การจัดตั้งวันงดดื่มสุราแห่งชาติ  และน�ำไปสู่การผลักดัน ในการตั้งด่านตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ตามท้องถนนของเจ้าหน้าที่ ต�ำรวจจนส�ำเร็จ “เมื่อก่อนไม่มีโครงการ 7 วันอันตราย เราก็ค้นตัวเลขผู้เสีย ชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์นับจากวันที่ 31 ธันวาคมของปี ก็พบว่า มีคนตายในช่วงนี้สูงถึง 700 คน ผมจึงไปคุยกับรัฐบาลในเรื่องการ รณรงค์โครงการ 7 วันอันตราย พยายามรณรงค์ในช่วงวันสงกรานต์ กับวันปีใหม่ มาถึงขณะนี้คนไทยในระดับหนึ่งรู้แล้วว่าถ้าเมาแล้วไม่ ควรขับรถ รู้นะ  แต่ปฏิบัติรึเปล่าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนตอนเรา ไปรณรงค์นั้นชาวบ้านหัวเราะใส่เราเลย  หมอเอาอะไรมาพูด  คนไทย กินเหล้าทั้งบ้านทั้งเมือง...คือคนกินเหล้าก็กินไป คนขับรถก็ขับไป แต่ สองอย่างนี้มันไปด้วยกันไม่ได้ คุณจะกินแล้วไม่ขับรถก็เรื่องของคุณ แต่ท่ีเราเห็นแน่ๆ  ว่าถ้าคุณกินแล้วมาขับรถ  คุณท�ำความเดือดร้อน ให้คนอื่นนะ ตับไต สมอง เส้นเลือด หัวใจของคนกินเหล้าเราไม่เดือด ร้อนเลย เขาจะกินให้ตายก็ไม่เดือดร้อน แต่ถ้ากินแล้วมาขับรถ ไตของ ผม ศีรษะผมอาจจะไม่เหลือเพราะคุณ ตรงนี้คือเหตุผลว่าท�ำไมเรา ต้องมารณรงค์เรื่องนี้ เพราะเขาไม่ได้ท�ำลายแค่สุขภาพตัวเอง”

198


“ส�ำคัญที่สุดส�ำหรับคนไทย  ผมคิดว่าพวกเขายังมีความเชื่อ ว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องของเวรกรรม เป็นเรื่องของดวง หรือโชคชะตา จะ เมาแค่ไหน ดวงดีก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่เมาแล้วดวงไม่ดีก็อาจจะเกิด อุบัติเหตุได้  นี่คือแนวความคิดที่เราได้ยินมา  แต่ที่จริงแล้วมันไม่ใช่ มันมีสาเหตุทั้งนั้น  อย่างที่พระพุทธเจ้าบอก  มันมีเหตุนี้เพราะมันมี สิ่งนี้มา ก็ลองดูสิถ้าคุณขับรถดี ขับรถไม่เร็ว ไม่ดื่มสุรา โอกาสเกิด อุบัติเหตุมันก็จะน้อยลง”

และเหมือนโชคชะตาจะต้องการพิสูจน์คุณหมอแท้จริง เมื่อ  5  ปีที่แล้วขณะที่เขาและภรรยาก�ำลังขับรถยนต์กลับ บ้านของคุณพ่อที่จังหวัดสระบุรี  เป็นเวลายามเย็นของช่วงหลังงาน สงกรานต์ได้ไม่กี่วัน  ทั้งที่ใกล้จะถึงบ้านแล้วแต่จู่ๆ  ก็มีรถเก๋งส่วน บุคคลพุ่งเข้าชนรถของเขาอย่างแรงจนกลิ้งไปกระแทกก�ำแพงบ้าน โชคดีที่เขาแค่กระดูกแขนหัก  แต่โชคดีกว่าที่ภรรยาบาดเจ็บไม่มาก รถที่ก่อเหตุขับหนีไปแล้วเครื่องยนต์เสียอยู่ไม่ไกล เขาเดินไปเพื่อที่จะ เจรจา และเขาแทบช็อกเมื่อได้เห็นกับตาตนเองว่าผู้ขับที่เดินออกมา จากรถนั้นมีอาการเมาสุราอย่างหนัก

199


ผู้ริเริ่มโครงการเมาไม่ขับกลับถูกคนเมาขับรถชนเสียเอง ถ้า ไม่ใช่มุขตลกร้ายจากพระเจ้า  ก็คงเป็นบททดสอบครั้งใหญ่ส�ำหรับ คุณหมอแท้จริง ความโกรธที่ตนและครอบครัวบาดเจ็บหรือทรัพย์สิน เสียหาย เทียบไม่ได้กับความรู้สึกว่าคนที่เมาแล้วขับรถยังมีอยู่อีกมาก นัก และตัวของคุณหมอเองก็ตกอยู่ในต�ำแหน่งของผู้ใช้ท้องถนนที่ถูก ลิดรอนสิทธิจากคนเมา จนน�ำไปสู่การก่อตั้งเครือข่าย ‘เหยื่อเมาแล้ว ขับ’  เพื่อให้พวกเขาได้รับสิทธิที่พึงจะได้จากอุบัติเหตุที่เขาเองไม่ได้ เป็นผู้ก่อ และคุณหมอแท้จริงก็ก้าวขึ้นสู่การเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ “ผมท�ำเรื่องสิทธิความปลอดภัยบนท้องถนน คนที่ตายไม่ได้ รับการเหลียวแลช่วยเหลือและการรักษาพยาบาล  จนมาถึงตอนนี้ ท�ำเรื่องเมาไม่ขับ  ก็ช่วยคนในเรื่องของสิทธิที่เขาพึงจะได้ที่จะไม่โดน คนเมาขับรถชน แต่คนไทยไม่ได้นึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของสิทธิ ถาม ว่าท�ำไมไม่นึก ก็เพราะคิดว่าเป็นเรื่องของดวงซวย ในเรื่องอย่างนี้ใน ประเทศที่เขาเจริญแล้วหรือที่รัฐบาลเอาใจใส่ในชีวิตและทรัพย์สิน ของผู ้ ค น  เขาถื อ ว่ า ชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น หรื อ ความปลอดภั ย ในชี วิ ต เป็นสิทธิเบื้องต้นที่ประชาชนต้องได้รับ  ก็เหมือนคุณเดินอยู่ดีๆ  แล้ว มีคนมาตีหัว  อย่างนี้ต�ำรวจต้องจัดการเลย  แม้กระทั่งในกรุงเทพฯ ขึ้นสะพานลอยแล้วกลัวโดนจี้ก็ยังมีกล้องแทบทุกสะพานลอยคอย สอดส่อง เพราะสิทธิในชีวิตนั้นชีวิตส�ำคัญที่สุด” “รัฐบาลต้องมองว่าคนเมาแล้วขับมันเหมือนมลพิษ  คนเมา คนที่ไม่ควรมาขับรถก็ต้องไม่มาขับ  เท่ากับว่าพวกเขาไม่สามารถ

200


ปล่อยมลพิษออกมาไม่ได้  ผมเปรียบเทียบว่าการกระท�ำนี้คือมลพิษ ในสังคมบนท้องถนนของเรา ต้องไม่ปล่อยให้มลพิษทั้งหลายลงมาอยู่ กับเรา... แต่ใครจะไปการันตีคุณได้  ผมรู้ว่าสงกรานต์นี้ผมจะไม่ติด เอดส์ ไม่ติดยาเสพติดแน่นอน ผมดูแลตัวเองได้ แต่คุณอาจตายได้ ไหมในช่วงสงกรานต์นี้บนท้องถนน ใครจะกล้าการันตีให้คุณ เราไม่มี สิทธิที่จะปลอดภัยเหรอ  เราอยู่ในประเทศนี้สิทธิในชีวิตต้องมี  แล้ว รัฐบาลที่เราเลือกมาเขาต้องคุ้มครองเราได้ในระดับหนึ่งนะ ไม่ใช่ว่า ตายปีละหมื่น อย่างนี้ผมถือว่าคุ้มครองยังไม่ดี การที่เราโดนละเมิด สิทธิมีสองทางคือ หนึ่งเขาท�ำตัวเราตรงๆ เช่นตีหัวเรา ฆ่าเรา สองคือ เจ้าหน้าที่ไม่ท�ำหน้าที่ของเขาแล้วท�ำให้เราเสี่ยง  อันนี้ถือว่าละเมิด สิทธิโดยไม่ปฏิบัติตาม  เช่นไปอยู่ในประเทศหนึ่งต�ำรวจแข็งขันใช้ กฎหมายอย่างดีท�ำให้คนเมาไม่กล้าขับรถ อันนี้เขาคุ้มครองเราแล้ว นะ แต่ถ้าไปอีกประเทศหนึ่งเมามาก็ไม่เห็นเป็นไร ต�ำรวจก็ไม่จับ อย่างนี้ถือว่าต�ำรวจไม่ท�ำหน้าที่นะ ถึงจะท�ำบ้างแต่ไม่ท�ำเต็มที่ ท�ำให้ สิทธิในความปลอดภัยในชีวิตของเรามันด้อยลงไป อย่างนี้ถือว่าเป็น สิทธิไหม ถ้าถามคนไทยส่วนใหญ่อาจจะบอกว่าไม่เกี่ยว แต่ส�ำหรับ ผมนั้นคิดว่ามันใช่  เพราะฉะนั้นเมื่อมาเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชน ผมจึงบอกว่าต้องท�ำเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องของสิทธิ ถ้าเราบอก ว่ามันเป็นเรื่องเวรกรรมที่ต้องวัดดวงเอา ถึงจะเมายังไงก็ไม่กลัวหาก ดวงดีเสียอย่าง แต่ผมว่ามันไม่ใช่ ถ้าเป็นเวรกรรมจริงคนไทยต้องรับ กรรมมากที่สุดในโลกเหรอ เป็นคนที่ดวงไม่ดีมากที่สุดในโลกเหรอ ทั้ง ที่เคยพูดกันว่าคนไทยโชคดีจะตาย  แต่พอคิดอย่างนี้ท�ำไมกรรมมัน หนักล่ะ  ตายปีละเป็นหมื่นคน  ซึ่งแปลว่าคนที่จะท�ำให้เรามีสิทธิใน ความปลอดภัยบนท้องถนนนั้นยังท�ำงานไม่เต็มที่”

201


จากคุณหมอที่รักษาดวงตาแก่ผู้คน  มาถึงตอนนี้เขาก็ก�ำลัง รักษาดวงตาของคนในประเทศนี้อยู่ ดวงตาข้างหนึ่งคือจิตส�ำนึกแก่ผู้ดื่มสุราแล้วขับรถ ดวงตาอีก ข้างหนึ่งคือสิทธิที่ผู้ใช้ท้องถนนควรจะได้รับ ถ้าวันไหนดวงตาคู่นี้เปิดขึ้นได้พร้อมกัน เมื่อนั้นเราอาจเห็นคุณหมอแท้จริงได้หยุดพักสายตา ของตนบ้าง

ผมท�ำเรื่องสิทธิความปลอดภัยบนท้องถนน   คนที่ตายไม่ได้รับการเหลียวแลช่วยเหลือและการ รักษาพยาบาล  จนมาถึงตอนนี้ท�ำเรื่องเมาไม่ขับ  ก็ ช่วยคนในเรื่องของสิทธิที่เขาพึงจะได้ที่จะไม่โดน คนเมาขับรถชน แต่คนไทยไม่ได้นึกว่าเรื่องนี้เป็น เรื่องของสิทธิ  ถามว่าท�ำไมไม่นึก  ก็เพราะคิดว่า เป็นเรื่องของดวงซวย  ในเรื่องอย่างนี้ในประเทศ ที่เขาเจริญแล้วหรือที่รัฐบาลเอาใจใส่ในชีวิตและ ทรัพย์สินของผู้คน  เขาถือว่าชีวิตและทรัพย์สินหรือ ความปลอดภัยในชีวิตเป็นสิทธิเบื้องต้นที่ประชาชน ต้องได้รับ นพ.แท้จริง ศิริพานิช

202


ศิริวร แก้วกาญจน์ ผลิตตัวหนังสือเพื่อขับเคลื่อนสังคม “นั ก เขี ย น  คนท� ำ งานศิ ล ปะ  และสื่อมวลชน  นั้นจ�ำเป็นที่จะต้องมี ความรู้มากมายมหาศาล  ใช้ความรู้สึก อย่ า งเดี ย วมั น ก็ ไ ปได้ ไ ม่ ไ กล  เพราะ ฉะนั้นเราต้องเคลื่อนไปกับโลกความ เป็ น จริ ง  ต้ อ งเคลื่ อ นไปกั บ ข่ า วสาร ของโลก ที่ ส� ำ คั ญ คื อ ประวั ติ ศ าสตร์    ประวัติศาสตร์ที่จะสามารถท�ำให้คุณ เข้าใจอนาคตมากขึ้น  เข้าใจปัจจุบัน มากขึ้น” ศิริวร แก้วกาญจน์ คือนักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย และกวีนิพนธ์ ที่เข้าชิงซีไรต์ถึง 6 ครั้ง เรียกได้ว่ามากที่สุดในประเทศไทย และเมื่อ ปี 2550 เขาได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ ซึ่งเป็นรางวัลใหญ่รางวัล หนึ่งของประเทศที่มอบให้คนท�ำงานศิลปะในแขนงต่างๆ  ในอดีตเขาเคยเป็น ศิลปินท�ำงานประติมากรรมมาก่อน แต่เพราะรักในการท�ำงานเขียน และคิด ว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่จะสร้างความสุขให้ตัวเองรวมถึงได้เผยแพร่ความรู้จากงานที่ เขาเขียนให้คนอื่นได้รับรู้ได้ เขาจึงเลือกเดินทางเส้นนี้มาตลอด 20 ปี สิ่งหนึ่ง ที่เขาได้เรียนรู้จากการท�ำงานแขนงนี้คือ คนท�ำงานศิลปะ หรือนักเขียนนั้น จ�ำเป็นที่จะต้องศึกษาความรู้และภูมิปัญญาต่างๆ ให้รอบด้าน เพื่อท�ำให้งาน ที่ตนท�ำนั้นมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อคนอ่าน

203


นักเขียนจ�ำเป็นต้องรู้รอบ และรู้ลึก “นักเขียน  คนท�ำงานศิลปะ และสื่อมวลชน นั้นจ�ำเป็นที่จะ ต้องมีความรู้มากมายมหาศาล ใช้ความรู้สึกอย่างเดียวมันก็ไปได้ไม่ ไกล เพราะฉะนั้นเราต้องเคลื่อนไปกับโลกความเป็นจริง ต้องเคลื่อน ไปกับข่าวสารของโลก ที่ส�ำคัญคือประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ที่ จะสามารถท�ำให้คุณเข้าใจอนาคตมากขึ้น  เข้าใจปัจจุบันมากขึ้น   ตอนประมาณปี 2536 ผมอ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากจน คนรอบข้างคิดว่า ผมจะเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ ผมแค่ต้องการเข้าใจโครงสร้างทางสังคม โครงสร้างการเมืองไทย และต่อมาผมก็ขยายออกไปเป็น Southeast Asia คือนักเขียนมัน ต้องเขียนโลกทั้งโลกแค่เป็นเอเชียมันก็ลีบไป ต้องเข้าใจว่าการอ่าน ประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ภาคพื้นทวีปไหน  โดยตัว มันเองแล้ว  จะเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ส่วนอื่นๆ  ของโลกอย่าง ปฏิเสธไม่ได้  ที่สนุกคือความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่เกาะเกี่ยวมากับ ประวัติศาสตร์  แม้แต่การผลิตสร้างอัตลักษณ์ของรัฐชาติแต่ละรัฐ ชาติก็หนีไม่พ้นเครื่องมือที่ชื่อว่าประวัติศาสตร์ อย่างพวกพงศาวดาร ก็สนุก  หรือบันทึกของนักเดินทางในศตวรรษก่อนๆ  ก็สนุก  อย่าง น้อยเราก็เห็นลักษณะทางกายภาพของโลกในยุคประวัติศาสตร์ได้ จากหนังสือเหล่านั้นและประวัติศาสตร์ก็น�ำผมมาสู่การสนใจเรื่อง ชาติพันธุ์วิทยา มานุษยวิทยา ขณะเดียวกันก็ติดตามความเคลื่อนไหว ของโลกใหม่ๆ ในฐานะนักเขียนคุณไม่มีสิทธิ์ละเลยโลกสมัยใหม่  คุณ ต้องเคลื่อนไปกับการโคจรของโลกและผมก็ได้เรียนรู้ผ่านทางผลงาน ของนักวิชาการรุ่นใหม่จากส�ำนักต่างๆ  เมื่อผมอ่านประวัติศาสตร์   อ่านงานวิชาการที่มันเข้มๆ  หนักๆ  ผมก็จะกลับไปอ่านนิทานส�ำหรับ เด็ ก   นิ ท านพื้ น บ้ า น  นิ ท านของแอนเดอร์ สั น   นิ ท านกริ ม ม์   นิ ท าน

204


เวตาล  นิทานสันสกฤต  นิทานอะไรก็ได้ที่อยู่ใกล้มือเพื่อที่จะถ่วงดุล กันระหว่างโลกของความรู้และโลกของจินตนาการ  เพื่อที่ความคิด ของผมจะไม่แข็งกระด้างเหมือนงานวิชาการ และไม่เบาหวิวเหมือน นิทาน” มี ค� ำ กล่ า วที่ ว ่ า   ‘รู ้ อ ะไรให้ ก ระจ่ า งแต่ อ ย่ า งเดี ย ว  ขอให้ เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล’  ค�ำกล่าวนี้ขัดกับการเป็นทั้งนักเขียน  กวี และคนท�ำงานศิลปะ ของคุณหรือเปล่า “คือมันมองว่าเหมือนสิ่งต่างๆ ที่ผมท�ำ  เช่น เขียนกวี นิยาย เรื่องสั้น ท�ำงานศิลปะ หรือแต่งเพลง มันคืองานหลายอย่าง แต่เอา จริงๆ  แล้วโดยพื้นฐานผมถือว่ามันเป็นอย่างเดียวกัน  แต่เครื่องมือ ที่มารองรับความคิดเรา  เป็นเครื่องมือคนละแบบกัน  อย่างเขียนบท กวีก็ใช้เครื่องมืออีกแบบนึง  เขียนเรื่องสั้น  เขียนนิยายก็มีโครงสร้าง ในการเล่าเรื่องอีกแบบนึง  จริงๆ มันอันเดียวกัน  ซึ่งผมไม่คิดว่ามัน เป็นการแยกส่วน พื้นฐานมันก็คืองานเขียนงานศิลปะ “ นอกจากนักเขียนจะสร้างสรรค์งานเพื่อให้ความรู้แล้ว  นัก เขียนและคนท�ำงานศิลปะสามารถขับเคลื่อนสังคมเพื่อให้เกิดการ พัฒนา และเป็นกระบอกเสียงของประชาชนได้ด้วย “คนเป็นนักเขียนควรตั้งค�ำถามต่อรัฐ  เพราะมันมีเรื่องผล ประโยชน์มาเกี่ยวข้อง เราควรจะคลางแคลงใจไว้ก่อน  ไม่ว่ารัฐบาล ชุดไหนในนามของความเป็นรัฐเราควรจะไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ  เพื่อจะได้ ตั้งค�ำถาม  เพื่อจะได้เช็กแต่ก็ไม่ใช่ความคิดเชิงอคติ  เพราะว่าเราตั้ง ค�ำถามเพื่อให้ได้ค�ำตอบ  แล้วก็เพื่อจะได้มองเห็นชัดว่าประเทศเรา จะเคลื่อนไปอย่างไร  เป็นลักษณะของคนเขียนหนังสือหรือคนที่จะ

205


เป็นนักคิด คนที่ปรารถนาดีต่อ สังคมต่อประเทศ  แต่แน่นอน ก่อนที่คุณจะตั้งค�ำถามคุณต้อง มี ค วามรู ้   ต้ อ งเท่ า ทั น กั บ สิ่ ง ที่ เกิดขึ้น”

นักเขียนควรมีอุดมการณ์  แต่ต้องเป็นอุดมการณ์ของความ ถูกต้องและมองทุกสิ่งอย่างเป็นกลาง “อุ ด มการณ์ นั้น ส� ำ คั ญ   แต่ เ ราควรมองด้ว ยว่า อุดมการณ์ มันถูกแฝงฝังมาด้วยอย่างอื่นหรือเปล่า  มันถูกโน้มน้าวมาด้วยผล ประโยชน์ อ ะไรหรื อ เปล่ า   ซึ่ ง แน่ น อนว่ า โลกทั้ ง โลกมัน สัม พัน ธ์กับ ระบบทุนนิยม เพราะฉะนั้นเราต้องมอง อุดมการณ์มันก็มีอยู่จริง แต่ เราต้องเท่าทันด้วย ถ้าอุดมการณ์ต้องแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ กับอุดมการณ์ หรือว่าความรักใครหรือชิงชังใคร ต้องถอดตัวเองออก มาให้ได้  ทุกวันนี้สังคมถูกท�ำให้แตกกระจายไม่ว่านักเขียนไม่ว่านัก ข่าว ทุกส่วนถูกท�ำให้แตกกระจายด้วยชุดอุดมการณ์ มันน่าแปลก ไหม เพราะเรามีอุดมการณ์ แล้วท�ำให้แตกกันไป หนึ่งเราต้องมาตั้ง ค�ำถามกับอุดมการณ์จริงๆ ซึ่งมันเคลื่อนมาจาก 3 ทศวรรษก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นมันต้องมีอะไรที่บิดๆ  เบี้ยวๆ  สักอย่างหนึ่ง  ทุกคนเรียก

206


ร้องประชาธิปไตย  ทุกคนเรียกร้องอะไรสักอย่างที่เหมือนว่าเป็นเรื่อง ดีๆ  กับประเทศ ผมเข้าใจได้ว่า สงครามทุกครั้งก็เป็นสงครามเรียกร้อง สันติภาพทั้งนั้น  แต่ว่ายังไงโลกก็ยังมีสงครามอยู่  มนุษย์ก็ยังต้องฆ่า กันอยู่ สังคมไทยต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา” อุดมคติในเรื่องต่างๆ  ของแต่ละบุคคลมันมีผลดีและผลเสีย “ทุกคนมีอุดมคติของตนเอง  แต่เราต้องเท่าทันกับโลกที่มัน เคลื่อนตัวไป  ไม่ใช่คุณกอดอุดมคติไว้ชุดเดียวแล้วคุณก็ไม่เคยสนใจ ว่าโลกมันจะเป็นอะไรยังไงเลย เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่านักเขียนทุกคน มีอุดมคติ  แน่นอนว่าอุดมคติมันต้องใช้บวกพ่วงมาด้วยกับปัญญา แน่นอนว่าคุณต้องมีปัญญาด้วย  อุดมคติอย่างเดียวท�ำลายทุกสิ่งให้ วอดวายมาแล้ว เพราะในประวัติศาสตร์บอกเราแล้วว่าอุดมคติอย่าง เดียวบางครั้งก็เป็นสิ่งที่อันตราย  เพราะฉะนั้นกลุ่มนักคิดนักเขียนมี อุดมคติแล้วก็ต้องเท่าทันความเป็นไปของสังคม เป็นกลาง นอกจาก อยู่กลางแล้วต้องให้สติสังคม  ให้สติแล้วเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่มา วางแผ่หรือว่ามาเปิดเผย  มาขยายว่าสังคมมันก�ำลังเป็นแบบนี้นะ แล้วท�ำทุกวิถีทางเพื่อให้สติกับสังคม” ในฐานะเป็นนักเขียนที่ต้องศึกษาหาความรู้โดยตลอด ความ รู้วิทยาการต่างๆ  รวมถึงวิทยาศาสตร์นั้นส�ำคัญต่อการท�ำงาน  แต่ ไม่ส�ำคัญเท่ากับค�ำสอนทางพุทธศาสนาที่เป็นหลักส�ำคัญในทุกๆ ศาสตร์ของการเรียนรู้

207


“วิทยาศาสตร์ก็แค่ศาสตร์ที่มีระบบเหตุผลชุดหนึ่งซึ่งอธิบาย สิ่งต่างๆ  ได้ชัดเจน  และค�ำตอบของวิทยาศาสตร์ไม่ได้หมายถึงว่า เป็นค�ำตอบใหม่ๆ  เสมอไป  บางทีค�ำตอบบางอย่างมีอยู่แล้ว  แต่ วิทยาศาสตร์เพิ่งไปเจอ  เพิ่งไปค้นพบ  เช่นค�ำกล่าวที่ว่าพุทธศาสนา เป็นวิทยาศาสตร์ จริงๆ แล้ววิทยาศาสตร์ต่างหากที่เป็นเสี้ยวหนึ่งของ พุทธศาสนา  ค�ำตอบหลายอย่างพุทธศาสนาอธิบายมาตั้งนานแล้ว แต่วิทยาศาสตร์เพิ่งรู้  พอวิทยาศาสตร์รู้ วิทยาศาสตร์ก็ท�ำตัวกร่าง “มนุ ษ ย์ ใ นซี ก โลกเราติ ด กั บ ดั ก วาทกรรมของยุ โ รปและ อเมริกาอยู่เสมอ  แล้วเราก็รู้สึกภูมิใจว่าศาสนาพุทธเป็นวิทยาศาสตร์   เป็นความเชื่อที่ไม่ล้าหลัง  จริงๆ  แล้ววิทยาศาสตร์ต่างหากที่ล้าหลัง พุทธศาสนา  แต่เพราะการปฏิบัติการของวาทกรรมชุดหนึ่งจึงท�ำให้ ความเข้าใจของเราไขว้เขวไป” ในการท�ำงานหรือการเรียน  ระเบียบวินัยคือสิ่งส�ำคัญที่สุด “แม้ระเบียบวินัยของนักเขียนจะไม่ได้อยู่ในกรอบตายตัว เสมอไป  แต่มันก็มีรูปแบบของระเบียบวินัยที่เราสร้างขึ้น  ถ้าเกิดเรา ไม่มีระเบียบวินัย  เราจะไม่มีงานออกสู่สังคมได้เลย  เพราะฉะนั้น ระเบียบวินัยคือสิ่งจ�ำเป็นในการท�ำงานเพื่อให้ได้เนื้องานตามที่เรา ตั้งใจไว้”

208


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.