SHARING เรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ

Page 1

1


จัดท�ำโดย

ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 99 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 0-2343-1500 โทรสาร 0-2343-1501 www.thaihealth.or.th, www.thaihealthcenter.org WISH เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ ชุด SHARING บรรณาธิการ : ทวีศักดิ์ อุชุคตานนท์ สัมภาษณ์และเรียบเรียง : ศิริวรรณ สิทธิกา ปก, รูปเล่มและภาพประกอบ : ไตรรงค์ ประสิทธิผล พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน พ.ศ.2555 พิมพ์ที่ : บริษัท แปลนพริ้นท์ติ้ง จ�ำกัด ( มหาชน)

ด�ำเนินการผลิตโดย

ส�ำนักพิมพ์บ้านภายใน

บริษัทบ้านภายใน จ�ำกัด 123/1182 หมู่ 3 ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ / โทรสาร : 0-2750-7384, 08-1402-0103 e-mail : suwanna.chok@gmail.com “ทัศนะความคิดเห็นจากบทสัมภาษณ์ซึ่งปรากฏในหนังสือนี้ ไม่จ�ำเป็นที่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ต้องเห็นด้วยเสมอไป”

2


ค�ำน�ำ ตลอด  10  ปที ผี่ า่ นมากับความ มุง่ มัน่ ของส� ำ นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การสร้ า ง เสริมสุขภาพ(สสส.) ในการจุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน  เชื่อมประสานภาคีเครือข่าย  เพื่อ ให้ “ทุ ก คนบนผื น แผ่ น ดิ น ไทยมี ขี ด ความ สามารถ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อสุขภาวะ” อย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มา ของการจัดตั้ง  “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ”  ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่ เรียนรู้การสร้างสุขภาวะอย่างครบวงจร  ผ่านการสร้างสรรค์กิจกรรม นิทรรศการ และการบริการข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ เป็นต้น โดย สสส. หวังว่าพื้นที่เรียนรู้สุขภาวะแห่งนี้ จะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ ประชาชนที่เข้ามาเยี่ยมชม  เกิดการเรียนรู้  เปิดประสบการณ์  และ ความตั้งใจที่จะริเริ่มสร้างสุขภาวะและสิ่งดี ๆ ให้แก่สังคมต่อไป “WISH เรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ” เป็นชุดหนังสือ ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะมีความตั้งใจจัดท�ำขึ้น  เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่าน สามารถเข้ามาเรียนรู้มุมมองแนวคิด  ประสบการณ์ชีวิต  ตลอดจน เคล็ดลับการเอาชนะต่ออุปสรรคปัญหาของผู้คนที่น่าสนใจถึง  100 คน  ซึ่งล้วนเป็นบุคคลที่ได้มีส่วนร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่  โดย มีการเรียบเรียงเป็น 4 เล่มตามชื่อหนังสือ คือ W – Wisdom, I – Inspiration, S – Sharing และ H – Health & Happiness ด้วยหวัง ว่าเรื่องราวชีวิตอันมีคุณค่าของท่านทั้งหลายเหล่านี้ จะเป็นตัวอย่าง และบทเรียนที่จุดประกายความหวังและพลังใจให้ผู้อ่านได้ลุกขึ้นมา เปลี่ยนแปลงและสร้างสุขภาวะองค์รวมทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และปัญญา เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของตนเองและสังคมไทย

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.


จาก...บรรณาธิการ ชีวิตของมนุษย์เรา  หลายครั้งอาจมีอุปสรรค  และอาจต้อง พานพบกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ของชีวิตอีกด้วยแต่การก้าวเดินผ่าน ความยากล�ำบากก็เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของคนเรา  หากการ จะเดินต่อไปได้ในสภาวะที่ยากล�ำบากก็คือ การก้าวเดินอย่างมีความ หวัง เรื่ อ งเล่ า แห่ ง ความหวั ง และพลั ง ใจ รวมเรื่ อ งราวของ บุคคลชั้นน�ำในวงการต่างๆ  ที่เราน�ำเสนอมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ การสร้างความสุขให้แก่ประชาชนคนไทย  เพื่อให้คนไทยมีชีวิตอย่าง มีหวังและมีพลัง  แม้ว่า...ในชีวิตจริงที่ประสบ  สังคมของเราก็ยังมี วิกฤตการณ์ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และธรรมชาติที่เป็นภัย พิบัติ ดังนั้นการเรียนรู้บทเรียนจากปัจเจกชนอิสระทั้ง  100  ท่าน จึงอาจเป็นแรงใจที่ส�ำคัญ  และอาจมีใครสักคนหนึ่งที่จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้คุณลุกขึ้นมาท�ำสิ่งที่แตกต่างให้แก่สังคมของ เราด้วย

4


เรื่องราวที่ล้มเหลวของใครบาง คนอาจเป็นบทเรียนสอนใจให้แก่คุณ เรื่องราวแห่งความส�ำเร็จของ อี ก คนก็ อ าจเป็ น พลั ง ใจให้ คุ ณ มี แ รง อยากสร้างความส�ำเร็จเช่นนี้บ้าง มี ห ลายคนที่ อ ่ า นหนั ง สื อ ชุ ด นี้ แล้วบอกว่า “พอได้อ่านเรื่องราวของคนดีๆ มากมายเช่นนี้  ท�ำให้รู้สึกมีความหวังต่อ สังคมไทยมากขึ้น” เราก็หวังเช่นกันว่าคุณจะรู้สึก เช่นนี้บ้าง

ทวีศักดิ์ อุชุคตานนท์ บรรณาธิการอ�ำนวยการ โครงการเรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ

5


ส า ร บั ญ ศศิน เฉลิมลาภ

9

ตัน ภาสกรนที

17

สารี อ๋องสมหวัง

25

ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต

32

ดร.ขวัญ หาญทรงกิจพงษ์

40

ประภากร วทานยกุล

49

พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์

57

ปวีณา หงสกุล

65

สุภาวดี หาญเมธี

73

เตือนใจ ดีเทศน์

82

กรณ์ จาติกวณิช

91

นพ.บัญชา พงษ์พานิช

100

กัณวีร์ สืบแสง

106

6


พญ.ดร.เคลียวพันธ์ สูรพันธ์

114

ดวงทิพย์ เอี่ยมรุ่งโรจน์

121

นสพ.ภัทรพล มณีอ่อน

128

มนตรี สินทวิชัย

135

วิภาวี คุณาวิชยานนท์

141

สุพัฒนุช สอนด�ำริห์

149

สุรนุช ธงศิลา

158

เสาวภา ธีระปรีชากุล

168

บรรจง ขยันกิจ

177

ดุสิต เสมาเงิน

185

ฐิตินันท์ ศรีสถิต

194

ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์

202

7


8


ศศิน เฉลิมลาภ คนรักษาป่า สิ บ ปี ม าแล้ ว   ที่ ศ ศิ น เฉลิ ม ลาภ  ขยั บ เข้ า มาร่ ว มงาน กับ  ‘มูลนิธิสืบนาคะเสถียร’  เต็ม ตัว  จากหนึ่งปีแรกที่รับค�ำชวนเป็น กรรมการมูลนิธิฯ  และอีกเก้าปีที่ เหลือกับหน้าที่  ‘เลขาธิการมูลนิธิ สืบนาคะเสถียร’ ท�ำหน้าที่เป็นฟัน เฟื อ งหลั ก ในการขั บ เคลื่ อ นการ ท�ำงานด้านอนุรักษ์  อันเป็นหัวใจ ส�ำคัญของมูลนิธิฯ “จริ ง ๆ  แล้ ว ผมท� ำ งานอนุ รั ก ษ์ ช ่ ว ยภาคประชาชนหรื อ ภาค ประชาสังคมในแง่การเป็นแอ็กทิวิสต์ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว  เรียก ว่าท�ำเป็นงานอดิเรก  การเข้ามาท�ำงานในมูลนิธิฯจริงจังก็เป็นแค่การ เปลี่ยนจากงานที่ท�ำแล้วไม่ได้สตางค์ มาเป็นท�ำงานได้เงินเดือน ซึ่งงาน อนุรักษ์เป็นงานที่ชอบท�ำอยู่แล้ว เมื่อโอกาสเข้ามาเราก็ท�ำ” ก่ อ นหน้ า ที่ จ ะเข้ า ร่ ว มงานกั บ มู ล นิ ธิ ฯ เต็ ม ตั ว   นอกจาก เป็ น นั ก วิ ช าการด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มที่ ขั บ เคลื่ อ นเรื่ อ งสิ ท ธิ ใ นทรั พ ยากร น�้ ำ  แร่   มลพิ ษ จากการท� ำ เหมื อ งแร่   และอี ก หลายกรณี เ กี่ ย วกั บ มลพิษอุตสาหกรรม  ศศินเป็นอาจารย์ประจ�ำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตด้วย  ซึ่งเขายอมรับว่าบางเรื่องที่สอนนักศึกษาก็เป็น สิ่งที่เขาต่อต้านอยู่ในใจ


“เรียกว่าเบื่อก็ได้  ผมสอนหนังสือมาสิบกว่าปี  แล้วผมก็ขี้เกียจ สอน เพราะบางทีมันไม่ได้สอนในเรื่องที่เราอยากสอน ผมสอนวิศวกรรม โยธา สอนเขาท�ำเหมืองแร่ ท�ำเขื่อน ตัดถนนด้วยซ�้ำไป มันขัดแย้ง ถึง แม้ว่าตอนสอนเราจะชี้ให้เห็นผลกระทบไปด้วย  แต่ก็ไม่ได้อะไรเท่าไร เลยคิดว่าออกมาท�ำอย่างนี้ดีกว่า” “โดยส่วนตัวผมชอบคุณสืบอยู่แล้ว  แต่ไม่รู้ว่าท�ำยังไงเราจะ ได้มาท�ำงานให้เขา  ก็พอดีจับพลัดจับผลูมาเป็นกรรมการมูลนิธิฯ  และ เขาต้องการผู้บริหารโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม  เลย ทาบทามเรามา” “โปรเจ็กต์หลักๆ  ของมูล นิธิเป็นการท�ำงานกับชุมชนในป่า เรื่องการจัดการความขัดแย้ง (Conflict Management) ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์ ต่อเนื่องมาสิบปีแล้ว ผมเข้ามาบริหารงานที่ท�ำงานกับชุมชนในป่า ซึ่ง มีอยู่ตอนนี้นับได้ประมาณสามสี่ร้อยแห่ง ในหกจังหวัด สิบเจ็ดอุทยาน กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ปัญหาคือชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ทะเลาะ กัน เราจะหากลไกข้อตกลงทั้งในระดับนโยบายหรือระดับพื้นที่ได้ยังไง ก็สร้างโมเดลในการลดความขัดแย้ง” ความขัดแย้งของเจ้าหน้าที่รัฐ  กับชุมชนที่ใช้ป่าเป็นแหล่งพึ่ง พิงอาศัยเกิดขึ้นมาต่อเนื่องยาวนาน  และนานมากพอที่จะท�ำให้ความ ขัดแย้งนั้นขมวดเกลียวจนกลายเป็นปมที่ยากจะคลาย “รั ฐ ประกาศเขตอนุ รั ก ษ์ ทั บ พื้ น ที่ ท� ำ กิ น ของชุ ม ชน  การย้ า ย คนออกจากผืนป่าเป็นเรื่องใหญ่  ขณะเดียวกันชุมชนเองก็ได้รับความ สนับสนุนจากบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด  ขยายพื้นที่เพาะปลูกมากมาย ชุมชนเองก็รู้สึกอึดอัดขัดข้อง รัฐก็แก้ปัญหานี้ไม่ได้ ป่าก็ถูกรุกไปทุกวัน เราก็ต้องท�ำอะไรสักอย่าง”

10


กลไกที่ มู ล นิ ธิ สื บ ฯ น� ำ มาใช้  คื อ โมเดล ‘JOMPA’ (Joint Management of Protected Area) “เราเรียกย่อๆ  ว่าจอมป่า  เป็นโมเดลของการอะลุ้มอล่วยให้ทั้ง สองฝ่ายอยู่ร่วมกันได้ในป่าตะวันตก  ปัญหาของพวกเขาเป็นเรื่องซับ ซ้อนที่เราต้องเข้าไปสร้างกลไกการอนุรักษ์ร่วมกัน” ศศินสะท้อนเรื่องราวของชุมชนในผืนป่าตะวันตก  คราวที่เขา เข้าไปในช่วงต้นให้ฟังว่า “ป่าเก็บเขาไว้ให้เป็นหมู่บ้านดั้งเดิมเหมือนล้าหลังอยู่สามสิบ ปีโดยเฉพาะเรื่องวิธีคิด  ผมเข้าไปยังไม่มีทีวี  ไม่มีโซลาร์เซลล์อะไรเลย เป็นหมู่บ้านที่จัดตั้งตั้งแต่สมัยคอมมิวนิสต์ เพิ่งวางปืนไม่ถึงสิบปีที่แล้ว นี่เอง เขายังเป็นนักปฏิวัติ และยังไม่ถูกกันกับรัฐเท่าไร ยังไม่ยอมรับการ เข้าไปท�ำโครงการอะไรของใคร จนกระทั่งเราเข้าไปคุยกับเขา อ้างอิงถึง เรื่องราวที่เรารู้ เราท�ำความเข้าใจกับเขา ร้องเพลงปฏิวัติกับเขา จนเขา ไว้วางใจและพูดภาษาเดียวกัน  จนในที่สุดเราก็สามารถท�ำงานกับเขา ได้ เราคิดว่าเราเข้าใจพื้นฐานเขา  เขาไม่ใช่พวกปฏิวัติอย่างเดียว เขาเป็นกะเหรี่ยงที่คนเข้าใจเขาผิดว่าเขาเป็นฤาษี  มีการฆ่าปาดคอกัน แล้วคนก็กลัวเขา  ทั้งที่เขาเป็นลัทธิทางพุทธศาสนา  ที่รอพระศรีอาริย์ รักษาความดีไว้ รักษาชุมชนที่ดี มัดมวยผม นุ่งผ้าซึ่งไม่ใช่กางเกง แต่คน ไทยไปมองเขาว่าเป็นคนประหลาด พวกเขาเป็นชาวบ้านปัญญาชนที่ได้รับการจัดตั้ง  ยึดมั่นในวิถี วัฒนธรรม  แต่ก�ำลังถูกความเปลี่ยนแปลงจากภายนอกค่อยๆ  บีบ และ เขาก็ไม่ไว้วางใจใครเลย  ในอุ้มผางมีหลายหมู่บ้านที่เราเข้าไปจนสามารถ ดึงเขากับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ให้คุยกัน หลังๆ สามารถเดินลาดตระเวนร่วมกัน รักษาขอบเขตร่วมกัน  มีการอนุรักษ์แหล่งพันธุ์ปลาตั้งสามสิบสี่สิบจุด  จน ในที่สุดไปช่วยเหลือเขาในการจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครสุขภาพชุมชน ก็

11 11


เป็นงานของหมอปฏิวัติเก่าทั้งนั้น เราก็ออกมาหาทุนซื้อยาให้เขา แล้วเครือ ข่ายหมอกลับเข้าไปรักษาคนในป่าลึก” “งานอนุรักษ์ของมูลนิธิสืบ  เป็นเรื่องการลดการขัดแย้ง  การลด รายจ่าย  รายจ่ายของคนในป่าคือการเอาสัตว์ป่ามา การขยายพื้นที่ท�ำกิน ไม่ใช่เรื่องการปลูกต้นไม้ หิ้วถุงผ้า ก็แล้วแต่สถานการณ์ว่าเราต้องจัดการ ยังไง” และสิบปีของการท�ำงานในโปรเจ็กต์นี้  ก็ยังผลเป็นที่น่าพอใจ ส�ำหรับคนท�ำงาน “อันแรกคือลดความขัดแย้งก่อน  และมีแนวทางที่จะไปเปลี่ยน ระยะยาว ท�ำเป็นตัวอย่างบ้าง เช่น เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรสวนสี่ ชั้น ที่เขาท�ำๆ กันมูลนิธิสืบฯ ท�ำหมด เราไม่มีสูตรของตัวเอง แต่เราท�ำยังไง ก็ได้ที่จะรักษาป่าไม้ไว้  หรือเปลี่ยนจากไร่ข้าวโพดเป็นต้นไม้หลายๆ  ชนิด แล้วแต่ว่าแต่ละพื้นที่เหมาะกับแบบไหน” “กรณีเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับชาวบ้านในหลายๆ  พื้นที่  แต่เดิมเวลา เข้าหมู่บ้านต้องถือปืน  แต่งเครื่องแบบเข้าไปนี่เข้าไม่ได้  ป่าไม้โดนตีหัว แน่นอน เพราะจะเอาเขาออกจากป่า เขาใช้ทรัพยากรในป่าก็จับเขา แต่ ขณะเดียวกันป่าไม้ก็มีหน้าที่  ถ้าไม่ป้องปราม  ชาวบ้านก็ขยายที่ตลอด เวลา  เพราะความต้องการมันไม่สิ้นสุด ปัญหามันซับซ้อน ไม่ใช่เรื่องถูก ผิด แต่เป็นความขัดแย้งที่ต้องจัดการ ปัจจุบันความสุขเกิดขึ้น ไม่ได้ร้อย เปอร์เซ็นต์ แต่มีแนวทางที่ไปได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด”

12


ปัญหาความขัดแย้งไม่ได้เป็นเรื่อง ใหญ่ส�ำหรับงานอนุรักษ์ในแนวทางของมูลนิธิฯ อีกต่อไปนัก  ในฐานะที่คลุกคลีใกล้ชิด ศศินมองเห็นปัญหาก้อนใหม่ที่เกิดขึ้นหลัง การมาถึงของเทคโนโลยี “เรื่ อ งโลกาภิ วั ต น์   เรื่ อ งข้ า วโพด เรื่องที่สมัยก่อนรัฐบาลเร่งเอาทีวี  เอาโซลาร์ เซลล์ไปให้เขา  โดยที่ไม่ได้เตรียมตัว หลายๆ คนไม่เคยเห็นไฟฟ้าเลย อยู่ๆ ก็เอาทีวีเข้าไป ชาวบ้านเขาดูทีวีช่องเดียวกับเรา  เพราะฉะนั้นเขาก็มีมือถือ  เขาเร่งที่จะ ตัดถนน  ทั้งๆ  ที่พื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางทางระบบนิเวศสูง แต่จะไปโทษว่าคนไม่พอเพียงก็ไม่ได้ อบต. ทุก อบต. ก็หาพื้นที่ที่จะใช้งบ พัฒนา ผมไม่แน่ใจว่าเขาจะพัฒนายังไง แต่เขาก็พยายามสร้างโครงการ ขึ้นมา เกิดมีผลกระทบ พัฒนาน่ะได้ แต่ก็น่าจะมีแนวทางที่เหมาะสมว่า คนในป่าจะอยู่ยังไง ซึ่งต้องไม่ปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานด้วย ต่อไปก็จะเปลี่ยนจากงานคลี่คลายความขัดแย้งมาเป็นส่งเสริม ความเข้าใจ เพราะเราท�ำงานในเจเนอเรชั่นของพ่อแม่ ยังไม่ได้ลงไปหา เยาวชน เยาวชนออกไปเรียนในเมือง กลับมาเขาก็รู้สึกว่าอยู่ป่าไม่ได้แล้ว ต้องเปลี่ยนป่าให้เป็นเมือง เขาไม่รักป่าเหมือนรุ่นเก่า ไม่มีความผูกพัน ใน โรงเรียนครูเขาสอนมาว่าความก้าวหน้าของชีวิตคืออะไร  เราจึงต้องท�ำงาน กับเยาวชนมากขึ้น” นอกจากเป็ น ผู ้ บ ริ ห ารมู ล นิ ธิ ฯ   เขายั ง ท� ำ หน้ า ที่ ค อยทั ก ท้ ว ง โครงการที่จะเกิดผลกระทบต่อผืนป่า  เช่น  การตัดถนนหรือสร้างเขื่อน เพราะหมายถึงการลดพื้นที่ป่าให้เหลือน้อยลงหากโครงการเดินหน้า

13


“ก็ต้องส่งข้อมูลอีกด้านหนึ่ง  เพื่อทักท้วงเรื่องผลกระทบให้ผู้มี อ�ำนาจตัดสินใจ  ค้านการท�ำเหมืองแร่ในป่า ซึ่งถ้ามันเกิดขึ้นในป่าอย่างป่า ตะวันตกซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ผมว่าก็ท�ำกันมาเยอะแล้ว ไปท�ำกัน ที่อื่นเถอะ ในป่ามันไม่ได้อะไรเท่าไหรหรอก ในความคิดผมนะ “ป่าเป็นของคนไทยทุกคน ให้น�้ำ ให้อากาศ ให้อาหารในทางอ้อม ทางตรงก็ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยน�้ำจากป่า เขื่อนสองเขื่อนก็มากพอแล้ว จะ เอาพื้นที่ไปท�ำอะไรอีก ถ้าไปท�ำเหมืองแร่มันก็เป็นประโยชน์กับคนกระจุก เดียว  จะอ้างว่าไปกระตุ้นเศรษฐกิจนี่ไม่จริงหรอก  ถ้าเรารักษาป่าผืนใหญ่ ไว้ มันเป็นประโยชน์กับคนในจ�ำนวนที่มากกว่า  เป็นประโยชน์สาธารณะ” ส�ำหรับคนที่ท�ำงานเพื่อรักษาผืนป่าแล้ว  ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ไม่ใช่เรื่องเดียวที่ต้องจัดการ  หากแต่  ‘พื้นที่ในใจ’ ก็ต้องได้รับการจัดการ ด้วย “สมัยท�ำงานแรกๆ  ผมต้องลดน�้ำหนักสิบกิโลเพราะเดินไม่ไหว พอไปเดินปุ๊บผมจะตาย ผมเดินไม่ได้ แล้วชาวบ้านก็ทิ้งเราลิ่วๆ ผมอายเขา ตอนแรกผมก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ร่างกายเราจิตใจเราต้องพร้อมก่อน เมื่อก่อนผมนอนเปลไม่ค่อยเป็น แต่มาอยู่อย่างนี้ก็ต้องนอนเปล อาบน�้ำ ห้วย ท�ำตัวเหมือนตอนไปเที่ยวแคมปิ้งกับเพื่อนๆ แต่ตอนนี้มันเข้ามาเป็น ชีวิตเรา และต้ อ งจั ด การตั ว เองให้ พ ร้ อ มที่ จ ะเป็ น หรื อ ตาย  เพราะเรา ท�ำงานกับความขัดแย้ง  พลาดมาเราก็โดนยิง  เข้าไปในป่าเราไม่รู้หรอก ว่าจะมีชีวิตรอดกลับมาหรือเปล่า โดนงูกัดก็จบ ตกเหวก็จบ แต่จริงๆ แล้ว โอกาสที่จะตายมันน้อยกว่าโอกาสที่จะรอด บางทีเราเข้าไปในเหมืองแร่ทเี่ ราไม่อยากให้เขาท�ำแต่เขาอยากท�ำ คือมีชุมชนครึ่งหนึ่งอยากท�ำ อีกครึ่งหนึ่งไม่อยากให้ท�ำ แล้วเราก็ไปเป็น

14


คนที่มีอิทธิพลสูงต่อการที่จะท�ำให้มันเกิดหรือไม่เกิดโครงการร้อยล้านพัน ล้านในป่า เราไม่รู้ว่าเราจะไปขัดแย้งกับใคร ไม่รู้ว่าเราจะเสียชีวิตเมื่อไร หรือแม้แต่อุบัติเหตุส่วนตัวก็สูงมาก “ปัญหาใหญ่คือปัญหาภายในนี่ละ  งานของเราเป็นงานที่เรียก ร้องสูง เป็นงานที่ต้องแลกด้วยชีวิต แค่ลูกน้องเรามีเมียคนหนึ่งก็ต้องแก้ ปัญหานี้แล้ว  มีลูกคนหนึ่งนี่เรื่องใหญ่มากเลย  เจ้าหน้าที่คนหนึ่งดูพื้นที่ เก้าสิบชุมชน  ไม่มีใครมาช่วยงาน  เพราะเงินเดือนน้อยเหลือเกิน  เขาต้อง ทิ้งชีวิตเยอะ  คนที่เข้าไปเป็นเจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิสืบฯ นี่แทบ ไม่มีเวลาส่วนตัว ผมยังไม่เท่าไรเพราะยังอยู่ที่มูลนิธิฯ  ด้วย” ส่วนเรื่องเหน็ดหน่ายนั้น  “มีแวบมาทุกช่วง  การท�ำงานแต่ละ พื้นที่ก็ไม่เหมือนกัน  มีทั้งปัจจัยทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เปลี่ยน รัฐมนตรี เปลี่ยนนโยบาย เราท�ำงานเกี่ยวกับคน แล้วหัวหน้าป่าไม้ก็ขยัน เปลี่ยนกันทุกปี งานเราก�ำลังจะไปได้ก็ต้องเริ่มกันใหม่ น่าเบื่อมากเลย แต่ ก็ต้องท�ำ ต้องมีการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย นี่ก็เป็นการจัดการเรื่องความขัด แย้งเหมือนกัน  เรื่องนี้จะคุยกับใคร  จะคุยกับรัฐมนตรี หรืออธิบดี หรือไม่ คุย ก็ต้องรอจังหวะ งานบริหารของผมต้องเขย่าจังหวะที่จะท�ำงาน” แม้จะมีแรงกดดันมาเป็นระยะ  แต่ศศินยืนยันว่ายังปักหลักที่จะ ท�ำหน้าที่เป็น ‘ผู้รักษาป่า’ ต่อไป “เราท�ำงานให้พี่สืบ มองหน้าเขา (เขาทิ้งสายตาไปยังรูปของสืบ นาคะเสถียร ที่ติดอยู่บนผนังตรงข้ามโต๊ะท�ำงาน)  คิดว่าเขาน่าจะอยากให้ ท�ำนะ  เพราะสิ่งที่เราท�ำเป็นปรากฏการณ์หลายอย่าง  ท�ำให้ชุมชนกับเจ้า หน้าที่ป่าไม้เขาดีกัน  มีชุมชนสิบกว่าชุมชนลุกขึ้นมาอนุรักษ์พันธุ์ปลา  มี บ้านสัตว์ป่า มีทางเดินเชื่อมป่า มีกฎกติกา และเราก�ำลังมีแนวป่าชุมชน ตั้งแต่ก�ำแพงเพชรมาถึงสุพรรณบุรีเป็นร้อยกิโล คนที่เคยตัดไม้ก็เปลี่ยนมา เป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง

15


ปรากฏการณ์ต่างๆ  เหล่านี้ปรากฏขึ้นตลอดเวลาที่ท�ำงาน ไม่ซ�้ำ กันในแต่ละเดือน แต่ละปี แต่ละพื้นที่ แล้วมันเป็นเรื่องบวก โมเดลเรื่อง การจัดการความขัดแย้งก�ำลังจะแสดงให้เห็นว่ามีรูปแบบที่ลงตัวและอยู่ ด้วยกันได้ แต่เราต้องท�ำงานตลอดเวลานะ เราทิ้งไม่ได้ จนกว่ามันจะขยับ ไปสู่เชิงนโยบาย และตัวชุมชนเข้าใจมากขึ้น”

ป่ า เป็ น ของคนไทยทุ ก คน  ให้ น�้ ำ  ให้ อากาศ  ให้อาหารในทางอ้อม  ทางตรงก็ผลิต กระแสไฟฟ้าด้วยน�้ำจากป่า  เขื่อนสองเขื่อน ก็มากพอแล้ว  จะเอาพื้นที่ไปท�ำอะไรอีก  ถ้า ไปท� ำ เหมื อ งแร่ มั น ก็ เ ป็ น ประโยชน์ กั บ คน กระจุกเดียว  จะอ้างว่าไปกระตุ้นเศรษฐกิจนี่ ไม่จริงหรอก  ถ้าเรารักษาป่าผืนใหญ่ไว้  มัน เป็ น ประโยชน์ กั บ คนในจ� ำ นวนที่ ม ากกว่ า เป็นประโยชน์สาธารณะ ศศิน เฉลิมลาภ

16


ผู้ไม่ยอมตีบตันหนทาง ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งธรรมดาเลย ที่ ค นคนหนึ่ ง ซึ่ ง มี วุ ฒิ ก ารศึ ก ษา เพียงแค่ มศ.สาม จะกลายเป็น นั ก ธุ ร กิ จ ระดั บ พั น ล้ า นในช่ ว ง ชีวิตที่อายุก้าวเข้าเลขสี่  หากคน คนนั้นจะไม่มีความขยันเป็นที่ตั้ง และไม่ มี ค วามเพี ย รเป็ น ปั จ จั ย สนับสนุน ตัน ภาสกรนที เริ่มหา รายได้ ด ้ ว ยตั ว เองด้ ว ยการเป็ น ลูกจ้างร้านบะหมี่ตั้งแต่วันที่เขา ยั ง เป็ น นั ก เรี ย น  เมื่ อ ตั ด สิ น ใจ ออกจากโรงเรียน  เขาสมัครเป็น พนั ก งานแบกของในราชธานี เมโทร ซึ่งขายฟิล์มสีซากุระ ชีวิต การเป็นลูกจ้างให้ประสบการณ์ ที่ห้องเรียนใดก็ไม่มีสอน เมื่อเก็บ เงินได้ก้อนหนึ่ง เขาตัดสินใจใหม่ อีกครั้งด้วยการออกมาเปิดแผง ขายหนังสือ และนั่นคือจุดเริ่มต้น ในการท�ำธุรกิจของเขา

17


“ผมเป็นเหมือนนักธุรกิจทั่วๆ ไปที่เริ่มจากศูนย์ หรืออาจจะ ติดลบด้วยซ�้ำ  ผมเริ่มจากการเป็นพนักงานทั่วไป  แล้วเริ่มท�ำธุรกิจ ตอนอายุยี่สิบเอ็ด ระหว่างที่ท�ำก็ล้มๆ ลุกๆ หลายครั้ง กระทั่งปี 2540 ผมเป็นหนี้ร้อยล้านด้วยซ�้ำไป” ตันผ่านประสบการณ์เจ้าของธุรกิจมาอย่างโชกโชน จากแผง หนังสือ เขาขยับมาเปิดร้านกาแฟ ร้านกิฟต์ช็อปในจังหวัดชลบุรี ก่อน จะหันมาจับธุรกิจเรียลเอสเตท แต่ผลจากการประกาศลอยตัวค่าเงิน บาทของรัฐบาลในปี 2540 ท�ำให้เขาต้องพบกับค�ำว่าความล้มเหลว ครั้งใหญ่ หากทั้งหมดนั้นไม่ได้ท�ำให้ตันทดท้อที่จะเดินหน้าต่อ เขา เจรจาประนอมหนี้  ขายทรัพย์สินที่มี  และเริ่มต้นธุรกิจครั้งใหม่ด้วย การบุกเบิกสตูดิโอถ่ายภาพแต่งงาน และร้านโออิชิย่านทองหล่อ อัน เป็นจุดเปลี่ยนที่ท�ำให้คนทั้งประเทศรู้จักเขาในนาม ‘ตัน โออิชิ’ “ทั้งชีวิตที่ผมท�ำงานมาทั้งหมด ผมล้มลุกหลายครั้ง เจ๊งหลาย ครั้ง แต่ถ้าย้อนไปคิดดูให้ดีๆ ทุกๆ ครั้งผมได้รับโอกาสตั้งแต่วันแรก ได้ท�ำงาน ได้เลื่อนต�ำแหน่ง ได้ท�ำธุรกิจเล็กๆ แล้วก็เจ๊ง เขาก็ผ่อนผัน หนี้ให้ ให้โอกาส ให้ยืมเงิน มีแต่คนให้ แล้วผมเป็นผู้รับมาตลอด ใน ฐานะที่เป็นผู้รับ ผมรู้คุณค่าในการให้” จากที่เคยเป็นผู้รับ เมื่อวันหนึ่งที่ตันมีโอกาสสลับบทบาทมา สู่ผู้ให้ เขาจึงไม่เคยลังเล จากการให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อนเต็ม ก�ำลังในฐานะคนไทยคนหนึ่ง วันนี้เขาก่อตั้ง ‘มูลนิธิตันปัน’ เพื่อท�ำ ภารกิจที่ตั้งใจอย่างเป็นรูปธรรม “ผมท�ำโออิชิมาสิบสองปี  หกปีก่อนผมขายหุ้นส่วนใหญ่ให้ คนอื่น  แล้วผมก็บริหารให้เขาอีกห้าปี  เทียบกับความฝันของตัวเอง

18


มันเลยไปตั้งนานแล้ว  เพราะตอนเด็กๆ  อายุสิบเจ็ดที่ผมทิ้งเรียนไป ท�ำงาน  เป้าหมายผมคือต้องการเป็นแค่นักธุรกิจ  ความหมายของ นักธุรกิจในวันนั้นคือนักธุรกิจเล็กๆ อาจจะเป็นร้านอาหาร ร้านขาย หนังสือ หรือร้านอะไรก็ได้ แต่ผมท�ำธุรกิจระดับบริษัทมหาชน จบ มศ.สาม น�ำบริษัทเข้ามหาชนได้ มีพนักงานห้าพันคน มันเกินตัว เกิน ความสามารถมาแล้ว ถ้าคิดส่วนตัวไม่คิดถึงคนอื่นเลย  ผมอยากเลิกแล้วเพราะ ผมท�ำงานมาตั้งแต่อายุสิบเจ็ด ถึงห้าสิบสอง มันก็เหนื่อยพอสมควร อยากจะพักผ่อนจริงๆ  ในแง่ของความปลอดภัยหรือความมั่นคงของ ครอบครัวก็เหลือเฟือ เพราะผมไม่ได้เป็นคนที่ใช้เงินเยอะ ไม่ได้ฟู่ฟ่า ถ้าเราไม่ไปเล่นการพนันก็ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่มาคิดอีกทีหนึ่ง  ชีวิตนี้เราติดค้างใครบ้าง  คนแรกเลย ผมคิดว่าผมติดค้างพ่อแม่ พ่อแม่เลี้ยงเราตั้งแต่เด็ก จนวัยรุ่น เรียน หนังสือ แล้วก็ไปท�ำงาน พ่อแม่ล�ำบากมากกว่าเราสิบเท่า วันหนึ่งเรา ฐานะดีขึ้นแล้ว ยังไม่เคยท�ำอะไรให้กับพ่อแม่เลย พ่อแม่ก็เสียแล้ว แล้วก็คิดว่า ที่เรามีวันนี้เพราะอะไร เพราะว่าที่ผ่านมาคน อื่นมีแต่ให้เรา ลูกน้องท�ำงานให้เรา เราเป็นหนี้ใจลูกน้อง เราเป็นหนี้ สังคม และเป็นหนี้ธรรมชาติ จุดนี้ที่ท�ำให้ผมคิดว่า แม้วันนี้ผมจะลา ออกจากโออิชิแล้ว  แต่ผมยังมีแรงอยู่นะ  ผมยังไม่ได้ชดใช้สังคมและ สิ่งแวดล้อมเลย  จึงเป็นที่มาของการตั้งบริษัทอิชิตัน  กับมูลนิธิตันปัน บริษัทนี้เป็นธุรกิจเพื่อภารกิจ หมายถึงว่าจริงๆ ผมไม่อยากท�ำธุรกิจ แล้ว แต่ผมอยากท�ำภารกิจใช้หนี้สังคมและสิ่งแวดล้อม ผมอยากท�ำ คืนบ้างในฐานะที่ผมใช้มาตั้งเยอะ”

19


หากมองในแง่ ง ่ า ย  ตั น บอกว่าเขาสามารถเอาเงินส่วนตัว มาตั้งมูลนิธิฯ เลยก็ย่อมได้  แต่ใน ความเป็นนักธุรกิจ  ท�ำให้เขามอง การณ์ไกลกว่านั้น “สมมติว่าผมเอาเงินสาม ร้อยล้านมาให้มูลนิธิ ไม่กี่ปีก็หมด แล้วนะ  ใช้เงินสามร้อยล้านนี้ไป ฝากธนาคาร  เอาดอกเบี้ยแล้วท�ำ มูลนิธิ มันก็นิดเดียว ไม่พอใช้ ไม่ ได้งอกเงย

20

บ ริ ษั ท อิ ชิ ตั น มี ทุ น จ ด ทะเบียนหกร้อยล้าน ผมลงทุนหก ร้อยล้าน  ถือหุ้นห้าสิบเปอร์เซ็นต์ อีกห้าสิบเปอร์เซ็นต์ให้ลูกน้องทุก คนมาถือหุ้น ส่วนของผมตั้งแต่วัน แรกที่ บ ริ ษั ท มี ก� ำ ไร  ผมยกให้ กั บ มูลนิธิห้าสิบเปอร์เซ็นต์ อีกแปดปี ข้างหน้าในวันที่ผมจะปลดเกษียณ จริงๆ คืออายุหกสิบ ผมจะยกก�ำไร หรือส่วนปันผลที่ผมและภรรยาถือ หุ้นห้าสิบเปอร์เซ็นต์ให้กับมูลนิธิ ไม่ ต�่ ำ กว่ า เก้ า สิ บ เปอร์ เ ซ็ น ต์   ให้ มูลนิธิเอามาใช้กับภารกิจเรื่องสิ่ง แวดล้ อ มและการศึ ก ษา  นี่ เ ป็ น ความตั้งใจที่ผมอยากจะท�ำ”


สิ่งแวดล้อม สังคม และการศึกษา คือสามวัตถุประสงค์หลัก ที่มูลนิธิตันปันต้องการสนับสนุน “ทุกวันนี้สังคมมีปัญหาเพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะ ต่างจังหวัดเข้าไม่ถึงการศึกษา พื้นฐานการศึกษาน้อย เป็นภาระของ รัฐบาลหรือครอบครัวที่จะต้องช่วยเหลือตลอด ใช้เงินกู้  เงินนอกระบบ กู้ธนาคารเพื่อเอาไปช่วย แล้วพอเขาเข้าไม่ถึงการศึกษา ไม่มีความรู้ ก็เข้าไม่ถึงทุน เข้าไม่ถึงโอกาส ก็กลายเป็นปัญหาของครอบครัวและ ปัญหาของประเทศอีก เพราะฉะนั้นผมมองว่าถ้าเราเอาเงินไปช่วยเขา อย่างเดียว ก็เหมือนเราเอาปลาไปให้เขากิน ซึ่งไม่ใช่ เราต้องสอนเขา ตกปลา ส่วนสิ่งแวดล้อมที่ผมคิดว่าต้องใช้หนี้ก็เพราะตั้งแต่เราเกิด มาเราใช้ธรรมชาติทุกวัน เรามีไฟฟ้าใช้ เรามีถนนใช้ เราก็ใช้ แต่เรา ไม่เคยท�ำคืนสักเท่าไร  เราเปิดก๊อกน�้ำมีน�้ำไหล  ใครท�ำมาให้เราล่ะ บรรพบุรุษในอดีตท�ำมาให้เรา เสียสละมาให้เรา เราก็ใช้ธรรมชาติไป ดังนั้นผมถึงอยากกลับมาท�ำตรงนี้ สิ่งที่เรากลับคืนให้กับธรรมชาตินั้น ไม่หมดหรอกครับ ผมคงท�ำได้นิดเดียว คงไม่มากพอจะท�ำให้สองส่วน นี้ดีขึ้น แต่ก็คงดีกว่าไม่ได้ท�ำอะไร” เหตุน�้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ปรากฏข่าวของตัน  ภาสกรนที ใน กระแสหลักอีกครั้ง  เมื่อโรงงานแห่งใหม่ของเขาที่นิคมอุตสาหกรรม โรจนะรับผลกระทบเต็มตัว  ในเวลาเดียวกันกับที่เขาและทีมงานยัง ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยตัวเอง  ภาพของน�้ำใจที่เกิดขึ้นใน วันทุกข์ ยิ่งตอกย�้ำให้เขารู้สึกว่า  ‘การให้’  เป็นสิ่งที่จะจรรโลงสังคมให้ เป็นสุข

21


“คนไทยหลายคนไม่เคยเจอภัยธรรมชาติหนักเท่านี้ ส�ำหรับ ผม ตอนแรกผมเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ตอนหลังผมกลับได้รับความ ช่วยเหลือเสียเอง ภาพที่ผมประทับใจอยู่ถึงตอนนี้คือ วันที่ผมออกจาก โรงงานไปที่โลตัสอยุธยา  เราต้องนั่งเรือออกมาแถวคอสะพานเพื่อ เปลี่ยนรถเพราะเรือผ่านไม่ได้ ผมได้รับอาหารกล่องจากบ้านหลังหนึ่ง ที่เขาก็น�้ำท่วมเหมือนกัน  แต่เขาท่วมแค่เข่าเพราะอยู่ปากซอย และ เขาก�ำลังท�ำอาหารเลี้ยงคนในซอยและคนแถวนั้น นั่นท�ำให้ผมรู้สึกว่าเขาก็น�้ำท่วมนะ  แต่เขาก�ำลังช่วยคนที่ เดือดร้อนกว่า หรือมีปัญหามากกว่า ท�ำให้ผมคิดว่า ถึงแม้โรงงานผม จะน�้ำท่วม แต่ผมก็อยู่เฉยๆ ไม่ได้ ผมเชื่อว่าผมมีศักยภาพดีกว่าเขา อีก  ถ้าเรายังสามารถช่วยเขาได้  เราควรจะยื่นมือเข้าไปช่วย  อย่าง น้อยเขาก็จะได้มีก�ำลังใจที่จะต่อสู้กับปัญหาอีกเยอะแยะมากมายใน อนาคต ผมอาจจะโดนเยอะ แต่ผมเองยังมีชื่อเสียง มีทุน มีเครดิต ยัง กู้เงินเพิ่มใหม่ได้ แต่บางคนเขาหมดตัว เพราะฉะนั้นอย่าไปดูว่าใคร เดือดร้อนเยอะกว่า แต่ควรดูว่าใครเหลือสภาพ หรือมีศักยภาพที่จะ ด�ำเนินชีวิตหรือด�ำเนินธุรกิจต่อ บางคนเขาเสียชีวิต บางคนไม่มีบ้าน อยู่ ไม่มีงานท�ำ คนท�ำสวนทุเรียนเขาต้องใช้เวลาปลูกใหม่อีกห้าปี เจ็ดปี ของเราหกเดือนเปิดใหม่ได้ คือเรายังเบากว่าเขาเยอะเมื่อเทียบ แบบนี้ เราควรจะฮึดขึ้นมาช่วยคนอื่น เป็นสัญลักษณ์เล็กๆ เป็นก�ำลัง ใจเล็กๆ ให้เขารู้สึกไม่ท้อแท้” การผ่านความล้มเหลวมาหลายครั้ง  และลุกขึ้นยืนใหม่ได้ทุก ครั้ง เป็นคุณสมบัติของนักสู้อย่างเขา ตันเล่าว่าพลังใจส�ำคัญที่ท�ำให้ เขาไม่เคยรู้สึกสิ้นหวังเมื่อความล้มเหลวเดินทางมาหา  ไม่ได้มาจาก ภายนอก หากมาจากตัวเขาเอง นั่นคือวิธีคิด

22


“ผมเป็ น คนการศึ ก ษาน้ อ ย  ความรู ้ น ้ อ ย  แต่ ผ มชอบเอา ตัวอย่างรอบตัวเรามาเปรียบเทียบท�ำให้ตัวเองคิดบวก  มันอยู่ที่วิธี มองนะ เหมือนเราขับรถฮอนด้า แล้วเห็นคนข้างหน้าขับรถบีเอ็ม เราก็ รู้สึกว่าเราน้อยใจที่วาสนาเทียบเขาไม่ได้ ถ้าเราขับเบนซ์ มองข้างหน้า เขาขับปอร์เช่ เฟอร์รารี่ คนขับปอร์เช่เฟอร์รารี่ มองไปข้างหน้ายังเห็น คนมีเครื่องบินส่วนตัวอีก ก็อาจจะรู้สึกต�่ำต้อย ท�ำให้เราท้อแท้ แต่ ถ ้ า เราขั บ ฮอนด้ า แล้ ว มองไปข้ า งหลั ง   เพื่ อ นเราขี่ มอเตอร์ไซค์ เขาเนื้อหุ้มเหล็กนะ เรายังเป็นเหล็กหุ้มเนื้ออยู่ แล้วหลัง คนขับมอเตอร์ไซค์ยังมีคนขี่จักรยาน หลังคนขี่จักรยานยังมีคนใช้เท้า เดิน   แล้วหนักกว่านั้นอีกคือหลังคนใช้เท้าเดินยังมีคนพิการไม่มีขา ไม่มีแขน เขายังพยายามเดินอยู่เลย เพราะฉะนั้นเราดีกว่าเขาอยู่แล้ว ผมใช้วิธีนี้ ไม่ว่าจะเจอเหตุอะไรหนักหนา เมื่อน�ำไปเปรียบเทียบแบบ นี้แล้วเรามีก�ำลังใจ   เราไม่ได้เป็นคนที่เจอเรื่องหนักหนาที่สุด   แล้วก็ ท�ำให้ใจเราสู้ ที่ส�ำคัญอย่าหนีปัญหา   อย่าแก้ปัญหาด้วยการสร้างปัญหา ใหญ่กว่าเดิม อย่าหลอกตัวเอง เผชิญหน้ากับความจริง แล้วปัญหาก็ จะผ่านไปได้ ไม่มีปัญหาใดแก้ไขไม่ได้ เป็นหนี้แล้วจะตาย จะเน่าจะ ละลาย ไม่มีครับ มีแต่คุณคิดจนตัวเองละลาย” นอกจากวิธีคิด  แบบอย่างจากคนรอบข้างก็เป็นย่างก้าว ส�ำคัญให้เขาได้เดินตามรอย “ผมขอใช้ค�ำว่า   ‘ความส�ำเร็จไม่ได้หล่นลงมาจากฟ้า’  มี ตัวอย่างเยอะแยะ ผมสนิทกับคุณวัฒน์ ลูกชายคุณวันชัย จิราธิวัฒน์ เราเห็นความส�ำเร็จของตระกูลจิราธิวัฒน์เยอะแยะไปหมด   หกสิบ กว่าปีแล้ว แต่เบื้องหลังนั้นทุกๆ สิบปียี่สิบปีในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เขาล้วนแต่เจอปัญหา เพียงแต่เขาไม่ยอมแพ้

23


ยกตัวอย่างคุณวันชัย  จิราธิวัฒน์  ซึ่งผมสนิทและเรียกพ่อ ด้วย  เจ็ดโมงเช้าเขาตืน่ ขึน้ มาอ่านหนังสือพิมพ์  ประชุมตัง้ แต่แปดโมง   บางทีถึงสองทุ่มสามทุ่ม  อายุเจ็ดสิบแล้วแต่ยังท�ำงานหนัก  บางที ผมรู้สึกว่าผมท�ำงานหนักแล้ว แต่พอเทียบกับท่านแล้วผมรู้สึกว่าเรา ยังท�ำน้อยไป ถ้าเราเปรียบเทียบความขยัน ความประหยัด เรายัง ประหยัดไม่เท่าเขา ขนาดเขามีเงินมากกว่าเราหมื่นเท่า ผมเป็นคนชอบเลียนแบบ   ชอบยึดต้นแบบท�ำให้ตัวเองมี ก�ำลังใจ สมัยก่อนผมท�ำงานในเครือสหพัฒน์ ผมก็มี ดร.เทียม โชค วัฒนาเป็นตัวอย่าง ท�ำให้ผมรู้สึกว่าต้องขยันและมุ่งมั่น ท�ำแบบคน จีน คือขยันและประหยัดเงิน ทุกวันนี้เรื่องท�ำมูลนิธิฯ   บอกตามตรงว่าผมอาจเลียนแบบ เฉินหลง ผมเลียนแบบบิล เกตต์ เลียนแบบวอร์เรน บัฟเฟตต์ แต่ผม เทียบเขาไม่ติดหรอก   เขามอบทรัพย์สินตัวเองเก้าสิบเก้าเปอร์เซ็นต์ ให้มูลนิธิไปหมดเลย เทียบกับเขาแล้วเรายังรู้สึกว่าที่เราท�ำยังน้อยไป เรายังให้น้อยกว่าเขา อนาคตที่คิดเอาไว้ตอนนี้ คืออยากท�ำอะไรก็ตามที่เป็นธุรกิจ ไม่หวังผลก�ำไร ผมท�ำได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเป็นการท�ำเพื่อหวังผลก�ำไร ผมไม่ท�ำ พอแล้ว ขอท�ำอะไรที่ไม่ได้ตังค์บ้าง ก็เป็นความสุขอีกอย่าง หนึ่ง เป็นความสุขร้อยเปอร์เซ็นต์ คือท�ำเพื่อคนอื่นอย่างเดียว แล้วแต่ ว่าชีวิตเราจะเดินไปอีกได้ไกลเท่าไร “ท�ำเท่าที่เรามีแรงท�ำ”

24


สารี อ๋องสมหวัง

สู้เพื่อผู้บริโภค

สมั ย เป็ น นั ก ศึ ก ษา หลายคนเคยท� ำ กิ จ กรรม บางคนอาจถึ ง ขั้ น เป็ น นั ก เคลื่อนไหวตัวยง เพราะเชื่อว่า จะเปลี่ ย นแปลงสั ง คมให้ ถู ก ต้ อ งด้ ว ยไฟของวั ย หนุ ่ ม สาว เมื่อเวลาผ่าน  บางคนอาจล่า ถอย  และจะเหลื อ สั ก กี่ ค นที่ ยึ ด เส้ น ทางนี้เ ป็น ปณิธานใน การท�ำงานเหมือนอย่าง  สารี อ๋องสมหวัง ผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิผู้ บริโภคมานานกว่า 20 ปี ใน บทบาทเลขาธิการมูลนิธิเพื่อ ผู้บริโภค และบรรณาธิการผู้ พิมพ์ผู้โฆษณานิตยสารฉลาด ซื้อ สารีเริ่มชีวิตการท�ำงานด้วยการเป็นพยาบาลประจ�ำแผนก ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังใช้ทุนพยาบาลหมด จึงเบนเข็ม ไปเรียนต่อปริญญาโทด้านพัฒนาชุมชน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่ อ มาเริ่ ม ต้ น ชี วิ ต การต่ อ สู ้ เ พื่ อ ความยุ ติ ธ รรมดั ง ที่ มุ ่ ง มั่ น   ที่ ค ณะ กรรมการประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อสาธารณสุขมูลฐาน (คปอส.) “ชีวิตสมัยเป็นนักศึกษาเราท�ำกิจกรรมมาตลอด ท�ำให้อยาก เห็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  อยากเห็นสังคมที่น่าอยู่  สังคมที่ เป็นธรรม พอเรียนจบก็มาท�ำงานองค์กรด้านสุขภาพ ท�ำให้มองเห็น ปัญหาส่วนหนึ่งที่สามารถคลี่คลายได้  เราสามารถถอนทะเบียนยา ได้ แต่ว่าผู้บริโภคกลับยังมีปัญหาสุขภาพนั้นๆ เพราะชาวบ้านยังใช้

25


ยาที่ถอนทะเบียน  ท�ำให้เราต้องมาคุยกับ  คปอส.ว่าน่าจะท�ำงานเรื่อง คุ้มครองผู้บริโภค” ด้วยยุคสมัยที่กระแสบริโภคนิยมก�ำลังมาแรง  การบริโภคของ ผู้คนมากขึ้น  ปัญหาของผู้บริโภคจึงยิ่งสลับซับซ้อนมากขึ้น  สารีเห็น ว่าการรณรงค์ให้ผู้บริโภคตื่นตัวต่อสิทธิตัวเอง  จะเป็นการติดอาวุธทาง ปัญญาที่ดีกว่า และเสนอให้ คปอส.ซึ่งปัจจุบันรู้จักในอีกชื่อว่า  ‘มูลนิธิ เพื่อผู้บริโภค’ ทดลองท�ำงานคุ้มครองผู้บริโภค 3 งานส�ำคัญ ได้แก่ หนึ่งการจัดท�ำนิตยสารฉลาดซื้อ สอง-รับเรื่องร้องเรียนผ่านสโลแกน ‘ร้อง ทุกข์หนึ่งครั้ง ดีกว่าบ่นพันครั้ง’ และสาม-ขับเคลื่อนด้านนโยบาย “การท�ำงานทั้ง 3 ส่วน มีขั้นตอนไม่เหมือนกัน แต่มีความเชื่อม โยงถึงกัน อย่างการรับเรื่องร้องเรียน เช่น ถ้าคุณถูกละเมิดสิทธิ เดือด ร้อน  และอยากจะใช้สิทธิมากกว่าบ่นอย่างที่เล่ามา ก็ติดต่อมาที่มูลนิธิ เมื่อเรารับเรื่องแล้ว จะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากเรื่องไม่เหลือบ่า กว่าแรงเราจะให้ค�ำแนะน�ำทันที เช่น ให้โทรไปยังบริษัทคู่กรณี ว่าเกิด ปัญหาแบบนี้กับลูกค้า บริษัทมีแนวทางการแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าบริษัท ไม่ท�ำอะไร ทางมูลนิธิจะส่งหนังสืออย่างเป็นทางการไปยังบริษัท หรือ ด�ำเนินการฟ้องร้องต่อไป ตรงนี้อยู่ที่ว่าเรื่องมีความซับซ้อนแค่ไหน ซึ่ง มูลนิธิจะติดตามเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ “เมื่ อ มี เ รื่ อ งร้ อ งเรี ย น  จะส� ำ เร็ จ หรื อ ไม่ ก็ ต าม  เราจะใช้ กระบวนการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค  ท�ำให้ผู้บริโภครู้จักใช้สิทธิของตัวเอง ผ่านนิตยสารฉลาดซื้อหรือสื่อทั่วไป เพราะการเผยแพร่ผ่านสื่อจะท�ำให้ ผู้บริโภคเกิดการเรียนรู้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น  จะจัดการชีวิต อย่างไร  บางกรณีท่ีเราเจอบ่อยๆ  เราก็มาช่วยกันคิดหาทางออกว่าจะ มีการจัดการในเชิงนโยบายอย่างไร เหมือนอย่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสีย หายที่เราก�ำลังท�ำอยู่  ทุกอย่างเกิดจากการท�ำงาน  เกิดขึ้นจากความ ทุกข์ของผู้บริโภคที่เราเห็น

26


เราคิดว่าการท�ำงานเชิงนโยบาย  โดยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของ ปัญหาผู้บริโภค มันส�ำเร็จยาก จริงๆ ไม่ถึงกับว่าต้องมีคนร้อง แต่มัน ต้องมีหลักฐานความเสียหายหรือข้อเท็จจริงของปัญหา  ซึ่งเราคิดว่า นี่เป็นรากฐานส�ำคัญของงานนโยบาย   การรับเรื่องร้องทุกข์หรือว่าผู้ บริโภคจะทุกข์อย่างไร ถือเป็นงานส�ำคัญขององค์กรที่ท�ำงานคุ้มครองผู้ บริโภค” นอกเหนือจาก 3 ส่วนงานหลักส�ำคัญนี้แล้ว ปัจจุบันมูลนิธิฯ ยัง ผลักดันให้เกิดหน่วยงานที่ท�ำงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น เช่น ส่ง เสริมให้มีสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม  โดยเฉพาะ เรื่องที่ด�ำเนินงานมานานกว่า 10 ปี  และยังคงเดินหน้าต่อไป  คือการ ผลักดันให้มีองค์กรอิสระผู้บริโภคมาตรา 61  ตามรัฐธรรมนูญปี  50 (มาตรา  57  ตามรัฐธรรมมูญปี  40)  รวมถึงการผลักดันให้เกิดกองทุน คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข จวบจนวันนี้กว่า  450  คดี  ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคผลักดันและ ด�ำเนินการฟ้องร้อง ซึ่งใช่ว่าจะชนะหมดทุกคดี เพราะแค่คดีแรกของการ ส่งฟ้อง มูลนิธิฯ ก็แพ้คดีเสียแล้ว หากสารีกลับมองว่าเป็นก้าวส�ำคัญ ของมูลนิธิฯ “ตอนนั้นเราร้องเรียนกับส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องที่ไอบีซีรวมกับยูทีวี ก่อให้เกิดการผูกขาดและขึ้นราคา ซึ่งช่อง 9 อสมท.ในฐานะผู้ให้สัมปทานก็ได้  6  เปอร์เซ็นต์ทันที  โดยไม่ต้องหักค่า ใช้จ่าย  เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น  คือเขาได้ประโยชน์  นั่นเป็นคดีแรกของมูล นิธิฯ และเราแพ้คดี ส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งเรื่องไปยังศาล ปกครองบอกว่า ช่อง 9 อสมท.มีสิทธิที่จะอนุมัติให้ขึ้นราคา แต่สิ่งที่เรา ได้มาคือค�ำพิพากษาว่ามูลนิธิฯ เป็นผู้เสียหายแทนผู้บริโภค นั่นถือเป็น จุดสตาร์ตครั้งส�ำคัญของมูลนิธิฯ  เรื่องการฟ้องร้องคดีเพื่อประโยชน์ สาธารณะ”

27


“เพราะการที่เราเป็นผู้เสียหายแทนผู้บริโภค  หมายความว่า เป็นการฟ้องในฐานะผู้เสียหายได้เลย  ไม่ใช่ฟ้องแทนคนอื่นในฐานะที่ เขามอบอ�ำนาจให้ ส�ำหรับเราตรงนี้มีความหมายมาก เพราะสิ่งส�ำคัญ ในการฟ้องคดี  ศาลจะดูว่าเราเป็นผู้เสียหายหรือเปล่าเป็นอันดับแรก ท�ำให้เราสามารถฟ้องคดีการไฟฟ้า และคดี ปตท.ได้” ความพ่ายแพ้ในก้าวแรกไม่ได้ส่งผลต่อก�ำลังใจในการท�ำงาน ของสารีและทุกคนในมูลนิธิฯ  แต่กลับเป็นพลังในการต่อสู้กับความ อยุติธรรมอีกนานาประการ  ไม่ว่าจะเป็นกรณีการหยุดการแปลงสภาพ กฟผ.ในตลาดหลักทรัพย์  กระทั่งกรณีปตท.ในการแบ่งแยกทรัพย์สิน ไป จนถึงกรณีการสร้างอาคารสูงเกินกว่าขนาดตามที่กฎหมายก�ำหนด ของ ถนนในซอยร่วมฤดี ซึ่งคดีนี้มูลนิธิฯ สนับสนุนให้ผู้บริโภคฟ้องคดีเอง “จากคดี เ ล็ ก ๆ  ที่ ผู ้ บ ริ โ ภคใช้ สิ ท ธิ แ ละชนะคดี   ไปจนถึ ง คดี ใหญ่ๆ ที่เราท�ำส�ำเร็จ ท�ำให้เรามีก�ำลังใจในการท�ำงานต่อ การฟ้องคดี ของมูลนิธิฯ น�ำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในหลายๆ เรื่อง เช่นกรณีซอย ร่วมฤดี  ท�ำให้  กทม.และองค์กรระดับจังหวัดจ�ำนวนมากต้องระมัดระวัง ว่าเขาจะท�ำแบบนี้ไม่ได้ ผู้คนจะรู้ว่าเขาต้องใช้สิทธิของตัวเองอย่างไร นี่ เป็นเรื่องดี เราคิดว่าต้องท�ำให้คนรู้จักสิทธิของตัวเอง คนที่ใช้สิทธิไม่ใช่ คนเรื่องมาก  แต่เขาคือคนที่อยากเห็นว่าจะมีการปกป้อง  คุ้มครองกัน อย่างไร และสุดท้ายเขาจะหวงแหนสังคมและชุมชนเขา” หลายร้อยคดีที่ผ่านเข้ามา  หากถามว่ามีเคสไหนที่สารีภูมิใจ เธอบอกว่ามีหลายกรณี  แต่สิ่งที่ส�ำคัญยิ่งกว่าคือมูลนิธิฯ  ได้ช่วยยก ระดับงานคุ้มครองผู้บริโภคในเมืองไทย  จากจุดเริ่มต้นที่ไม่แน่ใจจะ มีใครขอใช้สิทธิไหม แต่กลับมีผู้ร้องทุกข์กับมูลนิธิฯ มากกว่า 10,000 ราย ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อกับเทียบจ�ำนวนคน จ�ำนวนปัญหาของทั้งประเทศ

28


เพราะที่ผ่านมากว่า 30 ปี ตั้งแต่มีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคเมื่อปี พ.ศ. 2522  ขณะนั้นยังไม่มีมูลนิธิฯ  ด้วยซ�้ำ  จนวันนี้ปัญหาผู้บริโภคก็ไม่ได้ น้อยลง หากซับซ้อนมากขึ้น “คุณจะสามารถเห็นข่าวรถตู้พลิกคว�่ำ  ขณะที่ท้ายรถตู้เขียนว่า ผู้โดยสารไม่เกินสิบสี่คน  แต่รถมีสิบแปดคน  เราไม่ได้มีกรมขนส่งทาง บกหรือคนที่รับผิดชอบเรื่องนี้หรือ  หรือข่าวกระเช้าของขวัญปีใหม่หมด อายุ  หรือโฆษณาผ่านเคเบิลทีวี  ซึ่งเกี่ยวข้องกับสามเรื่องส�ำคัญ หนึ่งท�ำให้สวย สอง-ท�ำให้ผอม สาม-ท�ำให้หายจากโรค  สามเรื่องนี้เป็นเรื่อง ที่ท�ำให้ผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อมากมายมหาศาล  โฆษณาเหล่านั้นไม่ เคยขออนุญาต เราเพิ่งท�ำส�ำรวจไปเมื่อปีที่แล้วใน 16 จังหวัดพบว่า 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นโฆษณาผิดกฎหมายพ.ร.บ.อาหารทั้งนั้น สิ่งเหล่านี้เป็น ปัญหาที่ยังอยู่  ถ้าเรานึกถึงผู้บริโภคตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน  ทุก เรื่องเป็นประเด็นต่อผู้บริโภคทั้งนั้น ฉะนั้นความตื่นตัวของผู้บริโภคเป็น สิ่งที่ส�ำคัญมากทีเดียว” กระบวนการส่ ง เสริ ม ให้ ผู ้ บ ริ โ ภคใส่ ใ จศึ ก ษาข้ อ มู ล ก่ อ นซื้ อ สินค้าและตระหนักถึงสิทธิที่พึงมีพึงได้  ถือเป็นงานใหญ่ของสารีและ มูลนิธิฯ  หากแต่กระแสสังคมหลักและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็ เป็นอุปสรรคใหญ่ไม่แพ้กัน

29


“สังคมเรามีระบบที่ไม่สมบูรณ์ ท�ำให้เกิดการต่อรอง เราไม่ ได้ท�ำงานเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการเยียวยาแล้วกลับไปนอนที่บ้าน แต่เราจะท�ำอย่างไรให้พวกเขาเหล่านี้ลุกขึ้นมาช่วยเรา ลุกขึ้นมา สนับสนุนเราเมื่อมีปัญหาของคนอื่น มีปัญหาของสังคม ปัญหาของ สาธารณะ นี่คือเป้าหมายของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “เราไม่อยากให้ผู้บริโภครอให้ใครมาคุ้มครอง  เช่นกันเวลา มูลนิธิฯท�ำงานกับผู้ร้องเรียน เราก็อยากให้คนร้องเข้มแข็ง ท�ำงานมาก ที่สุด เราเป็นเหมือนเพื่อนที่ท�ำให้คุณมั่นใจว่าเดินมาถูกทางแล้ว ขณะ ที่กลุ่มทุนก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สื่อเองก็เชื่อมโยงกับทุนแนบแน่น การเมือง เองก็แนบแน่นกับทุน  และประเทศเรายังมีทิศทางการพัฒนาที่เน้น การบริโภค เน้นว่าเศรษฐกิจต้องมาก่อนคนเสมอ เราคิดว่าสิ่งเหล่านี้ คืออุปสรรค “นั่นยิ่งท�ำให้เราชัดเจนเรื่ององค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค  ซึ่ง เราอยากให้เกิดขึ้น  เพราะเราเชื่อว่าอย่างน้อยองค์กรนี้ไม่ใช่แค่เอ็น จี โ อเหมื อ นอย่ า งมู ล นิ ธิ เ พื่ อ ผู ้ บ ริ โ ภค  แต่ จ ะเป็ น ที่ พ่ึ ง ของผู ้ บ ริ โ ภค ทั้งประเทศได้มากขึ้น เพราะมูลนิธิของเราก็มีข้อจ�ำกัด ไม่สามารถ ท�ำงานได้มากมายมหาศาล แต่ถ้ามีองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค อย่าง น้อยจะมีงบประมาณที่ชัดเจน  ท�ำให้เกิดการช่วยเหลือผู้บริโภคมาก ขึ้น อาจเรียกว่ามาแบ่งเบาภาระของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” แม้เส้นทางการขับเคลื่อนจะเต็มไปด้วยขวากหนามและโขด หินก้อนโต  แต่ใช่ว่าระหว่างทางจะไม่มีการหยุดพัก  เพราะสารีเชื่อ ว่าชีวิตคนเราไม่ได้เป็นเส้นตรง ย่อมมีขึ้นลง ยิ่งคนท�ำงานเพื่อสังคม ต้องมีพลัง มีจินตนาการ เพราะด้วยกฎหมายองค์กรอิสระคุ้มครองผู้ บริโภคที่ผลักดันกันมานาน หากไม่ใช่นักสู้คงถอดใจไปแล้ว แต่ทั้งนี้ ก็ต้องยอมรับเงื่อนไขที่เกิดขึ้นและหันกลับมามองว่ามูลนิธิฯ ยังท�ำไม่ พอ หรือยังท�ำงานกับคนน้อยไป “เหนื่อยก็พัก ไปเที่ยวบ้าง ไปกินของอร่อยๆ บ้าง มันท�ำให้มี ก�ำลังใจที่จะกลับมาต่อสู้ จริงๆ เราเคยถูกขู่ปาระเบิดอยู่ไม่น้อย แต่

30


มันก็ยังไม่เกิดขึ้นจริง  ส่วนหนึ่งที่ท�ำให้เรารู้สึกมีค่ามาก  คือตอนที่ ออฟฟิศโดนไฟไหม้ใหม่ๆ มีผู้หญิงคนหนึ่งโทร.มาหาเรา บอกว่าอยาก จะบริจาคเงินให้มูลนิธิ ปรากฏว่าแกระดมทุนจากญาติพี่น้อง เพื่อน บ้าน ทั้งที่แกไม่เคยรู้จักมูลนิธิมาก่อน แต่อยากจะบริจาคด้วยเหตุผล ว่ามูลนิธิท�ำหน้าที่ช่วยเหลือคนอื่นมามากแล้ว  เมื่อเดือดร้อนก็อยาก ช่วยเหลือมูลนิธิบ้าง” “อีกเรื่องที่เป็นก�ำลังใจให้กับเรา คือคนซื้อสินค้าหมดอายุมา จากห้างสรรพสินค้า  แล้วโทร.มาปรึกษากับเราว่าควรเอาไปคืนไหม คือเราเชื่อว่าถ้าคุณซื้อของมาสี่สิบสี่บาท  โอกาสที่ผู้ซื้อคิดเอาของไป คืน เมื่อบวกลบคูณหาร ค่าน�้ำมันรถ ค่าเสียเวลาแล้ว คงมีจ�ำนวนไม่ กี่เปอร์เซ็นต์ที่คิดจะเอาของไปคืน เราแนะน�ำเขาจนกระทั่งเขาเอาไป คืนและให้ขอค่ารถห้าร้อยบาทด้วย ปรากฏว่าห้างให้ค่ารถเขาห้าร้อย บาท “เราบอกเขาไปว่าเขาไม่ได้มีหน้าที่เอาของหมดอายุมาคืน แต่ ห ้ า งมี ห น้ า ที่ ข ายของไม่ ใ ห้ ห มดอายุ   ซึ่ ง ถ้า คนทุก คนคิดแบบนี้ ของหมดอายุจะไม่มีบนแผงในประเทศไทย  นี่คือสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นให้ มาก  ผู้บริโภคต้องหยุดคิดว่าเดี๋ยวก็มีคนมาช่วยคุ้มครอง  มันไม่ทัน หรอก ฉะนั้นผู้บริโภคต้องรู้ช่องทาง รู้สิทธิเท่าทันด้วยตัวเองให้มาก ขึ้น เราเชื่อว่าสิ่งที่เราท�ำ ก่อให้เกิดผลกระทบในทางสังคม และความ เปลี่ยนแปลง”

ถ้าการเอารัดเอาเปรียบยังมีอยู่ ในสังคม การต่อสู้ของเรายังไม่จบ

31


ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต

“ก่อนเป็นผู้ชนะ ต้องชนะความกลัวในใจตนเองก่อน”

อาจารย์  สถาปนิก นัก ออกแบบ  และนั ก ‘เก็ บ ขยะ’ ที่ เ ปลี่ ย นราคาเป็ น ศู น ย์ ข อง สิ่ ง เหลื อ ใช้  ให้ ก ลายเป็ น งาน สร้างสรรค์ในชื่อ ‘Osisu’

คุณค่าทางผลงานของ  ผศ.ดร.สิงห์  อินทรชูโต  มีค่ามากกว่า ราคาเสนอขาย เพราะสิ่งที่เขาคิดเมื่อหลายปีก่อนได้กลายเป็นแรง บันดาลใจให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่มองเห็นคุณค่าของเศษขยะและน�ำ มันมาเปลี่ยนเป็นชิ้นงานจนกลายเป็นกระแส ‘Green Design’ ดีกรีดอกเตอร์ที่น�ำหน้าชื่อของเขามาจนทุกวันนี้  อาจไม่เกิด ขึ้นหากเขายอมพ่ายให้กับ ‘ความกลัว’ ในจิตใจที่เกิดขึ้น คราวที่ยังเป็น นักศึกษาปริญญาเอกของสถาบัน ‘MIT’ หรือ Massachusetts Institute of Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น มหาวิทยาลัยที่ดีท่ีสุดเป็นอันดับสองของโลก  ในสาขาวิศวกรรมและ เทคโนโลยี จากการจัดอันดับของ Times Higher Education ปี 2011 “ผมไปอเมริกาตั้งแต่อายุสิบห้า ไปเรียนไฮสกูลที่นั่น ตอนไป ครั้งนั้นเราไม่มีความกลัวอะไรเลย  เรายังเป็นเด็ก  คิดแต่ว่าไปแล้วก็ คงสนุก ไม่อยากอยู่เมืองไทย อยากไปท่องโลกกว้าง เตรียมตัวสักสอง

32


อาทิตย์ก็ไปเลย  แล้วก็ลืมว่าภาษาอังกฤษก็พูดไม่เป็น  พอไปถึงรู้สึก ตกใจมากกว่ากลัว เพราะผมรู้ว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนฉลาด ที่ผ่านมา เรียนหนังสือก็ถูๆ ไถๆ ไป “แต่ถึงเวลาที่เรียนจริงๆ ก็เริ่มรู้สึกว่าผมพูดกับคนไม่รู้เรื่อง พอ ภาษาอังกฤษไม่ดี เลยเรียนเฉพาะวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ วิชาพละ ศิลปะ พวกวิชาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์  ภาษาไม่ได้เรียน  นอกเสียจากวิชา ภาษาส�ำหรับนักเรียนต่างชาติ เมืองที่ผมไปอยู่ไม่ได้เป็นเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์ก  ชิคาโก เรา อยู่ในวอชิงตัน เมืองเป็นป่าเขา ไม่มีอะไรท�ำ ไม่มีเพื่อนด้วย ก็เลยตั้งใจ เรียนมาก พอตั้งใจเรียนก็...เอ๊ะ จากที่เรียนไม่ได้ สอบตกจากเมืองไทย ผมก็รู้สึกว่าเราไม่ได้โง่อย่างที่คิดไว้ตอนแรก เราสามารถเรียนได้เกรด A จนตอนหลังมาเป็นติวเตอร์สอนนักเรียนอเมริกัน ชีวิตราบรื่นมาตลอด” หลังจบปริญญาตรี ดอกเตอร์สิงห์ได้ทุนศึกษาต่อปริญญาโทที่ เยอรมนี และกลับมาเป็นสถาปนิกอยู่ที่วอชิงตัน หลังจากท�ำงานได้ราว ห้าถึงหกปี เขามองหาความท้าทายครั้งใหม่ให้กับตัวเอง ด้วยการเรียน ต่อปริญญาเอกที่สถาบันเอ็มไอที  โดยปราศจากความกังวลใดในใจ เพราะในชีวิตที่ผ่านมานั้น ทุกเรื่องราวที่ดูเหมือนจะยาก เขาก็สามารถ ผ่านมันมาได้อย่างง่ายดายตลอด และเชื่อว่าครั้งนี้ก็คงเป็นเช่นเคย “มีแต่คนบอกว่าเอ็มไอทีมีแต่เด็กเก่งๆ ไปเรียน และการได้รับ คัดเลือกเข้าไปเรียนเป็นเรื่องยากมาก  แต่ละปีห้องวิจัยแต่ละห้องจะรับ เด็กใหม่แค่คนสองคน   การเรียนปริญญาเอกของที่นี่เขาต้องมองไปถึง เรื่องที่ว่า คุณจะสร้างนวัตกรรมใหม่ไหม คุณอยู่ในแนวหน้าของโลกหรือ เปล่า ซึ่งผมก็คิดว่าเราจบปริญญาโทมา ปริญญาตรีก็ตั้งหลายใบ ก็น่า จะโอเคนะ และเมื่อได้รับเกียรตินี้มา ได้รับคัดเลือกเข้าไปเรียน ก็รู้สึกว่า เรานี่ไม่ใช่เล่นเลย แต่พอเข้าไปเรียนได้สักพักหนึ่งเท่านั้น โอ้โห เราสู้คน อื่นเขาไม่ได้เลย”

33


“ที่เอ็มไอทีเขาให้เราช่วยตัวเองเยอะมาก อาจารย์ที่ปรึกษาก็มี ความคาดหวังกับคนที่เขารับเข้ามาแต่ละปีสูงมาก  ในห้องพักที่เรานั่ง รวมกันทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เราได้เห็นทุกคนที่เข้ามา ได้เริ่มรู้สึกว่าเราช้ากว่าคนอื่น เราท�ำงานสิบสองชั่วโมง สิบสี่ชั่วโมง สิบ หกชั่วโมง ก็ยังตามเขาไม่ทัน ความมั่นใจที่เคยมีหายไปอย่างรวดเร็ว  กลายเป็นความกังวล ความกลัว จะท�ำยังไงต่อ ตามเท่าไรก็ไม่ทัน เขาพูดอะไรมาก็ไม่ค่อยรู้ เรื่อง บางอย่างกว่าจะรู้เรื่องก็ใช้เวลาหลายคืนหลายวันมาก  ในขณะที่ คนที่นั่งข้างๆ ผมเรียนปริญญาโท เขาท�ำอย่างรวดเร็วมาก การท�ำวิจัยที่นี่  เขาจะให้เราไปคิดมาว่าคุณต้องการท�ำอะไร แล้วเสนอเรื่องไปที่อาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งเป็นโปรเฟสเซอร์ใหญ่  แล้วพอ เราน�ำเรื่องที่จะท�ำวิจัยไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เขาก็ท�ำหน้าผิดหวัง ไม่ ได้ด่าอะไรนะครับ แค่บอก...ไม่ มันยังไม่ใช่แนวหน้าของโลก ถึงเขาจะ หยิบงานเราทิ้งลงถังขยะเบาๆ  เราก็เจ็บปวดมากมายทีเดียว แต่ก็ทนสู้ แต่ ล ะวั นผมแทบไม่ไ ด้นอน  พยายามอ่า น  พยายามท�ำทุก อย่างเท่าที่ท�ำได้  ตอนหลังเกิดเป็นโฟเบีย  ทุกครั้งที่เจออาจารย์ท่าน นี้ ผ มจะกลั ว มาก  สองสามวันก่อ นเจอแทบนอนไม่หลับ  ไม่รู้จะเอา อะไรไปโชว์เขา  เขาเข้าห้องน�้ำผมยังไม่กล้าเข้าห้องน�้ำเลย  ผมกลัว เขา  คิ ด ว่ า เขาต้ อ งมองว่าผมโง่ที่สุด ในโลกเท่าที่เ ขาเคยรับมา  เป็น ชีวิตที่หม่นหมองมากในตอนนั้น  แม้ทุกคนจะมองว่าผมอยู่เอ็มไอที มหาวิ ท ยาลั ย ระดั บ แนวหน้ า ของโลก  มองว่ า เราเป็ น จี เ นี ย ส  เราไป ขอความช่ ว ยเหลื อ เรื่ อ งงานวิ จั ย ในบริ ษั ท ไหนเขาช่ ว ยเราอย่ า งร้ อ ย เปอร์เซ็นต์ ขอความช่วยเหลือจากใคร ทุกคนช่วยเต็มที่ ผมเรียนอยู่ฝั่งเคมบริดจ์  ซึ่งมีแม่น�้ำคั่นอยู่ระหว่างเคมบริดจ์กับ บอสตัน  ทั้งปีทั้งชาติผมไม่เคยเดินข้ามสะพานไปฝั่งบอสตันเลย เพราะ หมกมุ่นอยู่กับการแก้ปัญหาของตัวเอง  ยิ่งคนมองว่าเก่งยิ่งท�ำให้รู้สึก หดหู่  พอได้เริ่มคุยกับคนอื่น  ก็ได้รู้ว่าทุกคนมีความกลัว กังวลว่าจะไม่ สามารถท�ำได้เท่ากับความคาดหวังของค�ำว่า ‘เอ็มไอที’  แต่ผมเป็นหนัก หน่อยเพราะช้ากว่าคนอื่น ท�ำได้น้อยกว่าคนอื่น นี่คือสิ่งที่ท�ำให้ผมมี ความกลัวตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง”

34


ความกลัวที่ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง  อัดแน่นอยู่ในความคิดจน หนาหนักเกินจะรับมือ  ว่าที่ดอกเตอร์หนุ่มในขณะนั้นตัดสินใจละทิ้ง โอกาสในเอ็มไอทีด้วยการลาออก ไม่ใช่เพราะยอมแพ้ หากเป็นการเดิน สู่โอกาสใหม่ “ตอนนั้นมีเพื่อนที่คอยเตือนผมว่า  ทุกคนมันต้องมีจุดดี จุดแข็ง เราก็ต้องไปหาจุดตรงนั้น ตอนที่ผมเริ่มกระบวนการลาออก ไม่ใช่เพราะ ผมยอมแพ้ แต่เพราะผมรู้ว่าผมอยากท�ำอะไร ผมก็คุยกับหลายกลุ่ม วิจัยถึงสิ่งที่ผมอยากท�ำ  จนมีอาจารย์ที่ปรึกษาในอีกกลุ่มวิจัยหนึ่งช้อน ผมกลับเข้าไปในเอ็มไอที “ผมคิดว่าทุกคนมีท่ีที่เหมาะที่ควรของตัวเอง  บางครั้งยังหาไม่ เจอ แล้วเราก็กลัว แล้วสิ่งที่ผมกลัวนี่คือกลัวในเชิงที่จะท�ำให้คนอื่นผิด หวัง กลัวอาจารย์จะผิดหวัง มากกว่าที่ผมกลัวว่าตัวเองจะผิดหวังด้วยซ�้ำ ซึ่งเป็นเรื่องเขลามากที่กลัวว่าจะท�ำให้คนอื่นผิดหวังในสิ่งที่เราท�ำไม่ได้ ความคาดหวังขององค์รวมมันเหมือนหม้อความดัน มันบีบคุณโดยที่เขา ไม่ได้บีบคุณ แต่บีบโดยบรรยากาศของมัน ผมไม่เคยไปขอร้องใครว่ารับผมเถอะ  ผมจะขอย้าย  ไม่ได้ ขอร้องให้เขาเปิดประตูให้เราด้วย  ถ้าเราไปร้องขอให้เขารับผมเถอะ ผม อยู่ไม่ไหวแล้ว ไม่มีใครเขารับคุณแน่นอน สิ่งที่ผมเรียนรู้คือเราไม่ได้ยอม แพ้โดยที่ไม่มีเหตุมีผล เรามีจุดมุ่งมั่น เราไปในที่ที่เราเห็นว่าเป็นที่ที่ใช่”

35


“หลังจากนั้นผมได้กลับเข้าไปอยู่ในเอ็มไอทีอีกรอบหนึ่ง แล้ว เริ่มท�ำวิจัยที่อยากท�ำจริงๆ  และคิดว่ามีประโยชน์ในระยะยาวจริงๆ คือกระบวนการสร้างนวัตกรรมที่ท�ำให้เกิดนวัตกรรมใหม่  ท�ำไมของ ที่ดีๆ ที่เราสร้างขึ้นมาในแล็บส่วนใหญ่แล้วอยู่แต่ในห้องสมุด ไม่ได้ เอาไปใช้งานจริง นี่คือสิ่งที่ผมค้นหาว่าท�ำยังไงที่จะให้ความคิดที่ดีที่ แยบยลไปใช้งานจริงได้ ซึ่งปัจจุบันผมก็ใช้วิธีนั้นอยู่” หลายคนหลีกเลี่ยงความกลัวด้วยการไม่เผชิญหน้า และอีก หลายคนเลือกการเผชิญหน้าเพื่อหาญกล้าเอาชนะความกลัว  แต่ ส�ำหรับดอกเตอร์สิงห์แล้ว ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นไม่ใช่ทางออกของเขา “ผมไม่คิดว่าผมแก้เรื่องความกลัวได้ ความกลัวเป็นเรื่องที่น่า กลัวมาก เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมี แต่ผมรู้ว่าอยู่กับมันยังไงให้มีประโยชน์ ที่สุด ความกลัวไม่ได้มาท�ำให้งานที่ผมท�ำนั้นต้องด้อยไปด้วย “เหมือนผมกลัวความสูงมาก แต่ก็ต้องไปปีนดูตึก ผมเป็นคน ที่ท�ำงานกับคนงานก่อสร้างของ University of Washington อยู่คุม งานก่อสร้างอยู่หลายปีมาก ตั้งแต่เรียนปีสามจนจบปริญญาโท ทุก ครั้งที่ต้องปีนตึกสูงมือผมจะเปียก ผมก็ไม่เคยบอกใคร คนอื่นเขาขึ้น ไปกันได้ แล้วท�ำไมผมถึงจะท�ำไม่ได้ ความกลัวยังอยู่ในหัว แต่ผมก็ ปล่อยมัน อยู่กับมัน ตรวจงานให้เสร็จแล้วก็ลงมา โดยที่ทุกคนไม่ได้ ทราบว่าผมกลัว ผมเคยพยายามไปโดดร่ ม   พยายามไปบิ น เครื่ อ งบิ น เล็ ก ไม่ใช่เพราะผมไม่กลัวนะ  และไม่ใช่เพราะผมอยากจะแก้ให้หายกลัว แต่เพื่อท�ำให้ตัวเองอยู่กับความกลัวให้ได้ ผมว่าถ้าทุกคนอยู่กับความ กลัวได้ เขามีสิทธิ์ที่จะประสบความส�ำเร็จเช่นกัน” สี่ปีในของการเรียนเป็นไปอย่างราบรื่น  กระทั่งในปีที่ห้าซึ่ง เป็นปีสุดท้าย  ความกลัวหวนกลับมาก่อกวนความรู้สึกของเขาอีกครั้ง เมื่อถึงคราว defend งานต่อคณะอาจารย์ที่ปรึกษา  ซึ่งเป็นขั้นตอน สุดท้ายในการเรียน  และ ‘เขา’ คนที่ดอกเตอร์สิงห์กลัวมาตลอด  ได้ เข้ามาร่วมฟังด้วย

36


“งานนั้ น เป็ น   public hearing  ทุ ก คนเข้ า มาฟั ง ได้ อาจารย์ที่ปรึกษาคนเก่าของผมมา นั่งฟังด้วย  ในเวลาที่ผมต้องรู้สึก ภูมิใจที่สุดที่ผมจะเรียนจบ คนจะ เรี ย กผมว่ า ดอกเตอร์   ผมจะต้ อ ง พรีเซนต์งานด้วยตัวเอง แต่พอเจอ หน้าเขาเข่าผมสั่น  นั่นแสดงว่าสี่ ห้าปีที่ผ่านมานั้นความกลัวไม่ได้ หายไปเลย ความคิ ด ที่ ว ่ า เขาคงมอง ว่า ‘กูรับมึงมาได้ยังไง ไอ้โง่นี่’ ยัง อยู่ในใจผมตลอด  ตอนนั้นผมคิด ว่ า ผมคง ‘จบ’ แล้ ว ล่ ะ   แต่ จ ะให้ ท�ำดีกว่านี้ก็ไม่รู้จะท�ำอะไรแล้ว  ก็ ต้องตัดใจว่ายังมีคนอีกเยอะแยะ ที่ดูเราอยู่ อาจารย์ที่ปรึกษาที่ดูแล เราอยู ่ ตั้ ง นานก็ นั่ ง กั น อยู ่ เ ป็ น ตั บ ผมเลยตั้ ง ใจเต็ ม ที่   พรี เ ซนต์ ทุ ก อย่างตามที่ตั้งใจไว้  และมีค�ำถาม

37


มากมายจากการพรีเซนต์เป็นชั่วโมง  แม้ข้างในจะรู้สึกกังวลเพราะมีคนที่ เรากลัวอยู่ในนั้นด้วยก็ตาม “การพรี เ ซนต์ จ บลงสั ก พั ก หนึ่ ง ทุ ก อย่ า งก็ เ งี ย บลง  อาจารย์ ที่ ปรึกษาคนที่ผมกลัวเขามากที่สุดเดินออกมาเป็นคนแรก ผมรู้สึกได้ว่าผม มองเขาด้วยความกังวล” แต่แล้ว...แววกังวลก็เปลี่ยนเป็นรอยยิ้มกว้างของดอกเตอร์ใหม่ หมาดหลังจากนั้นเพียงพริบตา “เขาเดินเข้ามาหาผม แล้วถามว่าผมมีแพลนอะไรในอนาคต ผม บอกว่าผมจบแล้วผมจะกลับไปที่เมืองไทย ไปสอนหนังสือ เขาบอกว่า สนใจจะสอนที่เอ็มไอทีในซัมเมอร์นี้ไหม ณ  ตอนนั้นเป็นจุดที่ผมภูมิใจที่สุดในชีวิต ผมรู้สึกว่าผมจบเอ็ม ไอทีโดยสมบูรณ์   โดยอาจารย์ที่ปรึกษาที่ผมรู้สึกว่าเขาดูแคลนผมมา ตลอดสี่ห้าปีเชิญให้ผมสอนที่เอ็มไอที  ความกลัวทั้งหมดที่สะสมเอาไว้ สี่ห้าปีถูกล้างหายไปหมด   ปัจจุบันนี้เมื่อเจอหน้าเขาผมไม่กลัวเขาแล้ว ผมสามารถเดินเข้าไปคุยกับเขาได้อย่างไม่น่าเชื่อ  นี่คือสิ่งที่ผมมีความ สุขมากในวันนั้น สุขมากกว่าที่จะมีใครมาบอกว่า congratulations ยินดี ด้วยนะที่จบ” เมื่อมองย้อนกลับไปยังวันนั้น  ดอกเตอร์สิงห์ตั้งข้อสังเกตว่า แท้จริงแล้วความกลัวไม่ได้เกิดจากใครที่ไหนเลย  หากเกิดจากตัวเอง ที่ ‘ปรุง’ ขึ้นมา “ผมคิดว่าผมคงบ้าบอไปเองที่คิดว่าเขามองว่าเราโง่หรือไม่ชอบ ขี้หน้าเรา ผมปลุกปั้นความกลัวนั้นในหัวโดยที่เขาอาจไม่คิดอะไรด้วยซ�้ำ เพราะถ้าเขาคิดอะไรเขาคงไม่มานั่งฟังเด็กคนนี้ present final แล้วคงไม่ เดินออกมาเชิญให้ผมสอนต่อที่เอ็มไอที”

38


ทุกคนมันต้องมีจุดดี จุดแข็ง เราก็ต้องไปหาจุดตรงนั้น ผมคิดว่าทุกคนมีที่ที่เหมาะที่ควร ของตัวเอง บางครั้งยังหาไม่เจอ แล้วเราก็กลัว

39


ดร.ขวัญ หาญทรงกิจพงษ์ เปิดพื้นที่ให้กับคนพิเศษ การริเริ่มในสิ่งที่สังคม ยั ง ละเลย  ดู เ หมื อ นจะไม่ ใ ช่ เรื่ อ งยาก   หากวลี นี้ ห ยุ ด อยู ่ แค่ เ พี ย งค� ำ พู ด   แต่ เ มื่ อ ได้ ลงมือท�ำจริง  สิ่งที่ต้องเรียนรู้ คือทั้งหมดล้วนอาศัยเวลาที่ ต้องอดทนรอ             ดร.ขวั ญ  หาญทรงกิ จ พงษ์   นั ก จิ ต วิ ท ยาด้ า นการบ� ำ บั ด เด็กออทิสติก  ดอกเตอร์สาวจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ตระหนักดี ว่าการท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะออทิสซึมในเมืองไทยเป็นเรื่องไม่ ง่ายนัก คนที่มีภาวะออทิสซึม หรือคนที่มีความต้องการพิเศษ ยังถูก มองว่าเป็นคน ‘พิเศษ’  ที่มักถูกกีดกั้นให้อยู่เพียงขอบของสังคมคน ปกติ ความก้ า วหน้ า ของเธอเป็ น ภาพที่ ม องเห็ น ชั ด เจนหากจะ ท�ำงานที่โรงพยาบาลเด็ก ในโอ๊กแลนด์ สหรัฐอเมริกาต่อไป แต่แล้ว วันหนึ่งเธอตัดสินใจละทิ้งโอกาสนั้น หลังได้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร

40


โครงการ International People Project ในประเทศสเปน เธอหวน กลั บ สู ่ เ มื อ งไทย เพื่ อ เปิ ด คลิ นิ ก และก่ อ ตั้ ง ชมรม ‘เมื อ งไทยเข้ า ใจ ออทิสซึม’ (Autism Awareness Thailand) ตามความตั้งใจที่บังเกิด ขึ้นในห้วงเวลาที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับกลุ่มคนที่มีความต้องการพิเศษ เป็นเวลาสองเดือน “ช่วงที่ท�ำงานอยู่ มีค�ำถามเกิดขึ้นกับตัวเองว่าเราท�ำไปเพื่อ อะไร ตอนนั้นขวัญท�ำงานกับเด็กเล็กมากๆ คืออายุ 0-3 ขวบ หลังจาก เขาออกจากที่นี่ไปแล้ว ขวัญไม่รู้เลยว่าเมื่อเขาโตขึ้นเข้าโรงเรียนแล้ว เขาจะเป็นอย่างไร สิ่งที่เราท�ำให้กับเขามีผลมากแค่ไหน เลยอยาก ออกไปดูโลกข้างนอกว่าคนที่มีภาวะออทิสซึมเขาเป็นอย่างไรกันบ้าง เลยสมัครไป โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อให้คนที่มีความต้องการพิเศษอยู่ร่วม ในสังคมได้ และต้องการอาสาสมัครจากประเทศต่างๆ ไปช่วยดีไซน์ โปรแกรม  ตอนแรกที่ ไ ปขวั ญ รู ้ สึ ก ว่ า ตั ว เองเป็ น นั ก บ� ำ บั ด ที่ จ ะไป ช่วยเหลือเขา  โครงการเลือกเราเข้ามาเพราะเราเป็นนักบ�ำบัดที่มี ประสบการณ์ แต่พอได้เข้าไปอยู่ร่วมกับคนกลุ่มนี้แล้ว สิ่งที่เราได้ รับคือมุมมองความเป็นเพื่อนของคนที่อยู่ร่วมกัน แทนที่นักบ�ำบัดจะ เข้าไปชี้ว่า เธอมีข้อไม่ดีตรงนี้ ฉันจะช่วยบ�ำบัดเธอ กลับกลายเป็นว่า เราแค่อยากอยู่ร่วมกัน อยากให้เธอสนุกกับเรา เวลาออกไปข้างนอก เราไม่อยากให้คนมาล้อเลียนเธอ” บ้ า นหลั ง ที่ เ ธอเข้ า ไปอยู ่ ร ่ ว ม  คื อ ศู น ย์ บ� ำ บั ด ที่ มี ผู ้ มี ภ าวะ ออทิสซึมอาศัยอยู่ร่วมกัน  ส่วนใหญ่สามารถดูแลตัวเองได้ดีระดับ หนึ่ง บ้างอาบน�้ำเองได้ เข้าห้องน�้ำเองได้ แต่บางคนก็ต้องการความ ช่วยเหลือ

41


“เมื่อต้องท�ำความรู้จักกับพวกเขา สิ่งแรกที่ยากส�ำหรับขวัญ คือภาษา เพราะขวัญไม่ได้เก่งภาษาสเปน และคนเหล่านี้ก็ใช้ภาษา พูดน้อยอยู่แล้ว จึงกลายเป็นว่าระดับภาษาสเปนเราเท่าเทียมกัน เรา ต้องเรียนรู้ที่จะสื่อสารกันได้ ไม่ใช่แค่ภาษาพูดอย่างเดียว แต่ต้องใช้ ภาษากายด้วย ปรากฏว่าเร็วกว่าที่คิด แค่สองสามชั่วโมงเราก็เริ่มคุย กันรู้เรื่อง เริ่มจับกลุ่มกัน มีคนหนึ่งชื่อฮวน พาโบล อายุสักสี่สิบ และ อยู่บ้านนี้มาตั้งแต่เด็ก เขาพูดไม่ได้เลย แต่ไม่รู้มีอะไรที่เราเชื่อมถึงกัน เราเรียกเขาว่า ‘ฮวนปี้’ ฮวนปี้จะซี้กับขวัญ  เขาเป็นคนที่มีทั้งภาวะออทิสซึมและ ดา วน์ซินโดรมอยู่ในคนเดียว  เขาชอบเรื่องตลก  เวลาเล่าเรื่องอะไร หรือ ท�ำท่าตลกเขาจะข�ำ แล้วเวลาข�ำมากๆ จนถึงจุดหนึ่งเขาจะฟรีซแล้วน็ อกไปเลย แรกๆ เราก็ตกใจ ไปๆ มาๆ ถึงได้รู้ว่ามันเป็นสัญญาณบอก ให้รู้ว่านี่เยอะเกินไปแล้วส�ำหรับเขา ก็ปล่อยให้เขาอยู่นิ่งๆ ก่อน ให้ เวลาเขาสามนาทีก็ได้ ตั้งนาฬิกาทรายเอาไว้ ครบสามนาทีมาเล่นกัน ต่อ

42


“เราต้องท�ำความเข้าใจกับความต้องการของเขา  เพราะเขา มีความต้องการพิเศษ ต้องไม่คิดว่าเขาด้อยกว่าเรา อย่างเราเองก็มี ความต้องการพิเศษบางอย่างเหมือนกัน คนที่มีภาวะออทิสซึมแต่ละ คนมีอาการแตกต่างกันไป บางคนเป็นคนขี้หวง อยู่กับเราแล้วไปอยู่ กับคนอื่นเขาจะงอน   สิ่งส�ำคัญที่ท�ำให้เขามีอารมณ์หรือพฤติกรรม บางอย่าง  มันเกิดจากการที่เขาไม่สามารถสื่อสารความต้องการของ เขาได้” สองเดือนในฐานะอาสาสมัคร ดร.ขวัญได้เรียนรู้ว่า การอยู่ ร่วมกันในสังคมของคนที่มีความต้องการพิเศษกับคนปกติไม่ใช่เรื่อง เป็นไปไม่ได้ “บ้านที่ขวัญไปเป็นอาสาสมัคร  มีคนที่มีความต้องการพิเศษ ประมาณเจ็ดสิบคน เป็นผู้ใหญ่ที่อายุเกินยี่สิบเอ็ดปีไปแล้ว บางคน ก็ไม่ได้มาร่วมกิจกรรมกับเราเพราะต้องไปเรียนตอนเย็น  หรือบาง คนท�ำงานตอนกลางวัน  บางวันขวัญได้ตามไปดูว่าเขาท�ำงานยังไง ทักษะเขาไม่ได้เยอะเลย  แต่เขาสามารถท�ำงานได้ด้วยทักษะเดียว หรืออย่างมากสามทักษะ ได้เงินเดือน แล้วก็อยู่ได้อย่างมีความสุข ในสเปนจะมี โ ควต้ า ว่ า แต่ ล ะบริ ษั ท ควรให้ ง านกั บ คนที่ มี ความต้องการพิเศษกี่เปอร์เซ็นต์  กลุ่มที่ขวัญไปอยู่ด้วยมีคนท�ำงาน โรงแรม ในแผนกแพ็กของใช้ พวกสบู่ แชมพู คนหนึ่งมีกล้ามเนื้อมัด เล็กดี มีความสนใจเรื่องหวีเป็นพิเศษ เขาก็ท�ำหน้าที่เดียวคือเอาหวีใส่ ซอง คนต่อไปเป็นคนนับ นับครบสิบเมื่อไรก็ส่งให้คนต่อไปท�ำหน้าที่ แพ็กใส่กล่อง ซึ่งพวกเขาท�ำเร็วมาก เนื่องจากเป็นทักษะเดียวที่เขาท�ำ มาตลอด อย่างขวัญนี่คงท�ำไม่ได้ แล้วเขาก็พยายามมาสอนให้เราท�ำ ด้วย

43


“อีกช่วงเวลาหนึ่งที่สนุกมากตอนเป็นอาสาสมัคร คือการแบ่ง กลุ่มท�ำกิจกรรมร่วมกัน แล้วแข่งขันกันเหมือนกีฬาสี ทุกทีมมีคนที่มี ความต้องการพิเศษอยู่ แต่เราจะไม่แยกว่าคนนี้มีความต้องการพิเศษ กฎเป็นกฎ ไม่มีอ่อนข้อให้ ทุกคนต้องท�ำตามกฎเดียวกัน มันสอนให้ ขวัญรู้ว่าการอยู่ด้วยกันมันดูยาก แต่พอได้อยู่ด้วยกันจริงๆ แล้วมัน ง่ายมาก เรารู้สึกได้ปกป้องเขา เขาก็ได้ปกป้องเรา ไม่ใช่เราเป็นฝ่าย เหนือกว่าหรือดีกว่าเขา เราแค่แตกต่าง แต่เท่าเทียมกัน ที่ประทับใจมากคือวันก่อนสุดท้าย  เขามีชั่วโมงที่เราจะมา ประมวลความรู้สึกของตัวเองว่าประสบการณ์สองเดือนที่ได้รับเป็นยัง ไงบ้าง มีเล่นเกมสมมติให้เราทุกคนขึ้นเรือไปด้วยกัน มีออทิสซึมคน หนึ่ง มีคนตาบอดคนหนึ่ง มีดาวน์ซินโดรมคนหนึ่ง แล้วเรือก�ำลังจะจม เราจะทิ้งใครก่อน เราเคยเล่นเกมนี้ตอนเด็กๆ มีคนนั้นคนนี้อยู่บนเรือ แล้วเรา ก็คิดว่าจะทิ้งคนโน้นคนนี้ แต่ตอนนี้กลายเป็นว่า เฮ้ย…ไม่ใช่ว่าเรา จะทิ้งใครก็ได้นะ  เขาถามอาสาสมัคร  ปรากฏว่าทุกคนก็ไม่ยอมทิ้ง เพราะแต่ละคนที่เรารู้จักเขากลายมาเป็นคนในครอบครัวเรา และใน ความเป็นจริงถ้ามีคนเป็นออทิสซึมอยู่ในครอบครัวเรา เราก็จะไม่ทิ้ง เขา เรารู้ว่าเขาแต่ละคนมีประโยชน์ยังไงบ้าง ถ้าทุกคนอยู่ร่วมกัน เรือ จะจมเราก็พากันไปรอดถ้าเราช่วยกัน”

44


ในประเทศแถบยุ โ รป  สั ง คมของคนปกติ กั บ คนที่ มี ค วาม ต้องการพิเศษเป็นไปอย่างไม่แบ่งแยก พวกเขาขึ้นรถไฟฟ้าได้เหมือน กัน เรียนห้องเรียนเดียวกัน ท�ำงานตามความสามารถที่มี แต่หากจะ หาภาพของการอยู่ร่วมกันแบบนี้ในสังคมแถบเอเชียดูจะเป็นไปได้ ยาก ดร.ขวัญตระหนักถึงความจริงข้อนี้ เมื่อได้สนทนากับเพื่อนอาสา สมัครชาวฟิลิปปินส์

45


“ขวัญเพิ่งเรียนรู้ว่าประเทศไทยกับประเทศฟิลิปปินส์มีอะไร เหมือนกันมากในเรื่องระดับความเข้าใจคนที่มีความต้องการพิเศษ   เราก�ำลังเริ่มต้น ความต้องการพิเศษ สมาธิสั้น เป็นค�ำคุ้นหูตลอด แต่ เรายังไม่เข้าใจดีพอ  การได้คุยกับเพื่อนคนนี้ท�ำให้ขวัญอยากกลับ เมืองไทย ประเทศอื่นๆ เขาผ่านระดับนี้ไปแล้ว เขาเข้าใจแล้วว่าคนที่ มีความต้องการพิเศษเป็นแบบนี้  มีกฎหมายรองรับที่มั่นคงส�ำหรับ คนที่มีความต้องการพิเศษ มีข้อบังคับว่าต้องเรียนร่วมกัน คนที่อยู่ใน สังคมปกติยอมรับให้คนที่มีความต้องการพิเศษอยู่ร่วมด้วยได้ คือคน ที่มีความต้องการพิเศษถ้าได้รับการฝึกมาดีพอ เขาก็อยู่ร่วมกับสังคม ได้อยู่แล้ว แค่สังคมยอมรับเขาเพียงพอที่จะให้เขาเข้าไปท�ำกิจกรรม แบบที่เขาท�ำได้ ให้คนที่เป็นออทิสซึมอยู่ในคลาสเรียนเดียวกับลูกเขา ได้ และเขาเห็นว่านั่นเป็นเรื่องที่ดีด้วยซ�้ำ แต่ในประเทศของพวกเราท�ำอย่างนี้ไม่ได้นะ  ขวัญถามเขา ว่าถ้ากลับไปฟิลิปปินส์เขาจะไปท�ำอะไร เขาบอกว่ามีโปรเจ็กต์อยู่ใน ใจ อยากท�ำโปรเจ็กต์เกี่ยวกับดาวน์ซินโดรม น้องชายเขาเป็นดาวน์ ซินโดรม เลยอยากท�ำให้คนฟิลิปปินส์เข้าใจว่าคนที่เป็นดาวน์ซินโดรม คืออะไร ขวัญก็นั่งคิดต่อเลยว่า แล้วเราล่ะ จะกลับเมืองไทยดีมั้ย” ดร.ขวั ญ ใช้ เ วลาเพี ย งไม่ น านหลั ง จากนั้ น   เดิ น ทางกลั บ แผ่นดินเกิดเพื่อตอบสิ่งที่อยู่ในใจ “ประสบการณ์ที่เราได้มามันเยอะมาก  และจากการที่คุย กับเพื่อนฟิลิปปินส์เราก็ได้เห็นว่า  ประเทศไทยต้องการสิ่งเหล่านี้ ในอเมริกามีคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านออทิสซึมเยอะอยู่แล้ว  แต่ ประเทศเราไม่ค่อยมีใครเข้าใจเลยว่าออทิสซึมคืออะไร  สมัยยังเรียน

46


อยู่  เวลากลับเมืองไทยได้มีโอกาสคุยกับเพื่อน เขาก็จะถามว่า ออทิสซึมคืออะไร สิ่งที่เกิดขึ้นในใจตอนนั้นคือ อยากจะให้ค�ำถามนี้หมดไป เลยมีความคิดฉุกขึ้นมาว่ากลับเมืองไทยดีมั้ย  ถ้าเรากลับเมืองไทย แล้วท�ำโครงการแบบนี้คงมีประโยชน์มากกว่า สังคมไทยต้องการคนที่ ท�ำเรื่องนี้ มันเหมือนมีประจุไฟที่สปาร์กขึ้นมา สั ง คมไทยมองค� ำ ว่ า ออทิ ส ซึ ม อยู ่ ไ ม่ กี่ เ รื่ อ ง  สมาธิ สั้ น พฤติกรรมรุนแรง ก้าวร้าว ปัญญาอ่อน หรือมีข้อจ�ำกัดทางสติปัญญา ซึ่ ง จริ ง ๆ  ผิ ด หมดเลย  คนที่ มี อ อทิ ส ซึ ม คื อ คนที่ มี ข ้ อ จ� ำ กั ด ทางการ สื่อสาร ข้อจ�ำกัดทางการเข้าสังคม หรือมีความสนใจหรือพฤติกรรมที่ หมกมุ่น ซ�้ำซ้อน ส่วนพฤติกรรมก้าวร้าวมาจากการที่เขาไม่สามารถ สื่อสารได้ เหมือนเวลาเราไปเที่ยวต่างประเทศแล้วเราพูดภาษาเขาไม่ ได้ สื่อสารด้วยท่าทางก็ไม่เข้าใจ เมื่อเขาไม่เข้าใจเรา เราไม่เข้าใจเขา ในที่สุดก็ระเบิดอยู่ดีเพราะเขาก็เครียดเราก็เครียด พฤติกรรมก้าวร้าว ก็มาจากตรงนี้ จริงๆ  แล้วความต้องการพิเศษ  เป็นค�ำที่ตั้งขึ้นมาให้เป็น เหมือนร่มที่ครอบคลุมหลายอย่าง อย่างออทิสซึม สมาธิสั้น มีข้อ จ�ำกัดทางสติปัญญาหรือที่เราใช้ค�ำว่าปัญญาอ่อน  ดาวน์ซินโดรม ทั้งหมดคือมีภาวะทางพัฒนาการที่ไม่เหมือนคนทั่วไป  ถือได้ว่าเป็น ความต้องการพิเศษหมด การบ�ำบัดเด็กที่มีออทิสซึม  เราบ�ำบัดจนถึงเขาพร้อมที่จะเข้า สังคม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือสังคมยังไม่ยอมรับพอ เมื่อเข้ามาอยู่ในสังคม ได้แป๊บหนึ่งก็กระเสือกกระสนมาอยู่ที่เดิม ต้องมาบ�ำบัดเหมือนเดิม” การท�ำงานเป็นนักบ�ำบัด  และก่อตั้งชมรมเมืองไทยเข้าใจ ออทิสซึม  ท�ำให้เธอมองเห็นภาพความเข้าใจค�ำว่า  ‘ออทิสซึม’  ของ สังคมไทยมากขึ้น

47


“ค�ำว่าออทิสซึมเป็นที่คุ้นหูมากขึ้นจากมูลนิธิคุณพุ่ม  ของ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์   ถึงจะไม่รู้ว่าคืออะไรแต่ก็สนใจอยาก ถาม   เป้าหมายของชมรมเราคือให้มีความเข้าใจว่าจะอยู่ร่วมกันยัง ไง คุณครูจะเตรียมพร้อมห้องเรียนส�ำหรับเด็กออทิสซึมให้ไปอยู่ร่วม ได้ ให้เพื่อนๆ อยู่ร่วมกับเขายังไง ส่วนพ่อแม่เราก็สนับสนุนให้พาลูกๆ ออกไปข้างนอก มันเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะท�ำให้คนในสังคมได้ยอมรับ มากขึ้นว่ามีคนกลุ่มนี้ที่ไม่เหมือนเรา อยู่ในโลกใบเดียวกันกับเรา คุณพ่อคุณแม่หลายคนเลือกทีจ่ ะเก็บลูกไว้ทบี่ า้ น  เพราะอาย   เดี๋ยวลูกไปอาละวาดต่อหน้าคนอื่น  หรือเดี๋ยวคนมอง  แต่การที่เขา มอง  อย่างน้อยเขาก็สังเกตเห็นแล้วว่าคนนี้เขาไม่เหมือนเราแต่เขา ก็อยู่ในสังคมเดียวกับเรา  หรือบางทีอาจมีคนถามแบบไม่มีมารยาท แต่นี่เป็นโอกาสดีมากๆ  เลย  ที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ให้ความรู้เขาเกี่ยว กับออทิสซึม เพราะเขามาเจอด้วยตัวเองแล้ว” “เราอยากให้สังคมเข้าไปอยู่ร่วมกับเขา  ก้อนใหญ่เปิด ให้ก้อนเล็กเข้ามาอยู่ได้เป็นก้อนใหญ่กว่า”

48


ประภากร วทานยกุล “สถาปนิกธรรมชาติ”

บนถนนที่ทุกตารางนิ้วปูด้วยคอนกรีต  รอบด้าน ที่ ก ่ อ ขึ้ น ด้ ว ยอาคารสู ง ของห้ า งสรรพสิ น ค้ า ขนาดใหญ่ ห้อมล้อม ‘บ้านสวนสงบ’ ของครอบครัววทานยกุล  ซึ่งมี ประภากร  วทานยกุล  หนึ่งในสมาชิกของครอบครัวอาศัย อยู่ บ้านสวนสงบครึ้มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยแทบทุกตาราง นิ้วที่พันธุ์ไม้จะแทรกขึ้นมาได้  บ้านหลังนี้ของเขาจึงเป็น ที่พักสายตาของผู้คนที่สัญจรผ่าน  และยิ่งกว่านั้นคือเป็น ที่พักพิงของสิ่งมีชีวิตที่เหลือแหล่งอาศัยอยู่น้อยเต็มทีใน เมืองหลวง

49


“ไม่ ไ ด้ เ ป็ น ความพิ เ ศษอะไรในตั ว ผมหรอก  มัน เกิดขึ้น ได้ กับทุกคน แต่โอกาสต่างหากที่ไม่ได้เอื้อให้กับทุกคน ผมมั่นใจว่าถ้า ทุกคนมีโอกาสอย่างผม  หรือได้รับสิ่งที่ปลูกฝังอย่างผม  ทุกคนก็รัก ธรรมชาติ รักต้นไม้ทั้งนั้น” ประภากรตอบค�ำถามที่เราสงสัย ว่าท�ำไม บ้านสวนสงบของเขา จึงยังคงความเป็น ‘ป่าในเมือง’ เอาไว้ได้จนวันนี้ พ่อเป็นบุคคลส�ำคัญ แม่ก็ส�ำคัญ ครอบครัวก็ส�ำคัญ ทุกคน เป็นแรงส่ง ครอบครัวเราเข้าป่าไม่เคยมีอาวุธ เข้าเจ็ดโมงเช้า ออกมา บางทีมืดคาทางเดิน เข้าไปเพื่อไปดูต้นไม้ เก็บกล้าต้นไม้ มีข้าวเหนียว กับเนื้อสวรรค์แห้งๆ น�้ำไปหาในป่า เดินทั้งวัน เหนื่อยก็พัก” แต่เดิมครอบครัวของประภากรอาศัยอยู่ย่านเยาวราช  ก่อน จะย้ายเพื่อหนีภัยสงครามมาอยู่ในย่านบางกะปิ ครั้งที่ยังเต็มไปด้วย ผืนนา ต้นไม้ และล�ำคลอง ธรรมชาติที่ห้อมล้อมรอบตัวเขา คือความทรงจ�ำอันงดงามที่ แฝงอยู่ในแววตายามเอ่ยถึง “สวนสงบนี่คุณพ่อเป็นคนตั้งชื่อ สมัยก่อนมันสงบจริงๆ เสียง รถไม่มี เสียงเรือก็มีแต่เรือแจว นานๆ จะมีเรือเมล์มาที แต่ตอนนี้ไม่ สงบเลย ผมเกิดและโตที่นี่ จ�ำความได้ก็อยู่กับคลองกับบ่อ กับต้นไม้ งูเงี้ยวเขี้ยวขอเต็มไปหมด ตอนนั้นเหมือนสวรรค์เลย เวลาฝนตก กลิ่น นากลิ่นโคลนจะเข้ามา หอมมาก กลิ่นบริสุทธิ์ ไม่มีตึกบัง ยุงไม่มี ไม่ ต้องกางมุ้ง นอนตรงไหนก็นอนไปเถอะ ลมตึงไปหมด ไฟไม่มี ถนน ไม่มี ลาดพร้าวเป็นถนนดิน”

50


“สมั ย ก่ อ นผมใส่ ก างเกงแพรเดิ น ออกมา  เขตบางกะปิ นี่ รู้จักกันหมด นั่งเรือแจวไปดูลิเกวัดศรีบุญเรือง คลองแสนแสบอุดม สมบูรณ์มาก บ้านเราใช้น�้ำคลองนั่นละอาบน�้ำ ล้างตัว ซักผ้า หุงข้าว รดน�้ำต้นไม้  เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่  ใช้น�้ำในคลองแสนแสบร่วมกันหมด ปลาก็เยอะมาก กุ้งก็เยอะ ปลิงก็เยอะ เกาะเราเต็มไปหมด วันที่แสนแสบสิ้นสุด  เป็นวันที่ตื่นขึ้นมาแล้วน�้ำเป็นสีเขียว เริ่มมีฟอง เรือเครื่องวิ่งฟองไม่แตก วันแรกวันเดียวเลย เหมือนปิด สวิตช์ไฟ คือออกซิเจนในน�้ำหมด มันถึงจุดบรรลัยแล้ว ปลาลอยพร้อม กันหมด กุ้งนี่เห็นหนวดไหวๆ นั่นเป็นวันที่แสนแสบล่ม แต่ก่อนหน้า นั้นก็มีสัญญาณมาเรื่อยๆ ในใจที่คิดตอนนั้นคือ...ฉิบหาย  แต่ภาพตรงนั้นผมไม่ได้มอง ว่ามันคือสัญญาณของความเปลี่ยนแปลงที่เลวร้าย  ถ้าวันนี้ผมกลับ ไปอยู่ตรงนั้นผมก็จะทรมานกว่านี้เยอะ  เด็กๆ  เราก็คิดแค่ว่า  คงจะ เล่นน�้ำไม่ได้แล้วล่ะ เพราะถ้าน�้ำเสียก็คงเน่า คิดแค่นั้น” นับแต่คราวนั้น รอบบ้านของประภากรค่อยๆ เปลี่ยนไปอย่าง ไม่มีทางคืนกลับ จะเหลือก็เพียงภายในรั้วบ้านสวนสงบ ที่ยังเก็บเอา ภาพเช่นอดีตนั้นเอาไว้ได้ แต่นั่นหมายความว่า เขาต้องฝ่าคลื่นความ ร้อนจากภายนอกเข้ามาเสียก่อน “เรื่องความเขียวกับต้นไม้นี่ผมโตมาเป็นอย่างนั้น  มันไม่มี ทางเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว ต้นปอ ต้นมะกอกน�้ำ ต้นสะแก ต้นสะเดา ต้นหว้า ต้นอะไรพวกนี้อยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว และมีแต่จะเพิ่ม ที่บ้าน สวนสงบต้นไม้มีแต่เพิ่ม ไม่มีการลด จะลดลงก็เพราะปลวก ปลวก ไม่มีที่ไป มันมีแต่คอนกรีต สิ่งก่อสร้าง ตรงนี้เป็นจุดที่เอื้ออ�ำนวยให้ มันประทังชีวิตอยู่ได้”

51


“ผมไม่เคยโกรธว่างูจะมาเพราะบ้านเราไม่ฆ่าสัตว์  มีปลวก ก็ ป ล่ อ ยไป  ท� ำ ได้ อ ย่ า งเดี ย วคื อ ใช้ ส มุ น ไพรอย่ า งสะเดา  บ้ า นเรา พยายามไม่ใช้เคมีหรือใช้น้อยมาก  ผมจะบอกว่าไม่ใช้เลยก็ไม่ได้ นั่น คือโกหก แต่ธรรมชาติมันเยียวยาตัวมันเอง ใบไม้ก็พยายามให้มัน คลุมดินไว้ เพราะใต้ใบไม้มีความชื้น มีอีกหลายชีวิตอยู่ใต้ใบไม้ที่เรา มองเห็นและไม่เห็น เปิดใบไม้ออกมามีเยอะแยะ ต้นไม้อยากขึ้นตรงไหนก็ขึ้น  มีที่ว่างตรงไหนก็ปลูกเท่านั้นเอง ไม่ได้มีภูมิสถาปนิก  ปลูกต้นไม้นี่ปลูกด้วยใจ  ต้นไม้ก็จะงาม  ถ้าปลูก เอาเท่ เอายิ่งใหญ่ ต้นไม้ไม่งามหรอกครับ” ภายในรั้วมีบ้านสามหลัง  ทุกหลังกรุผนังด้วยกระจก  เพื่อที่ เจ้าของบ้านจะได้มองออกมาแล้วเห็นต้นไม้ได้ ทั้งยังเปิดบ้านต้อนรับ สถาปนิกในอนาคตจากสถาบันต่างๆ  ได้เข้าไปศึกษาเพื่อส่งเสริม แนวคิดที่ว่า งานออกแบบอยู่ร่วมกันได้อย่างดีกับธรรมชาติ “เทคโนโลยี กับ ธรรมชาติ อ ยู ่ ด ้ ว ยกั น ได้ส บาย  ส่ง เสริม กัน ด้วยซ�้ำ กระจกใสท�ำให้ผมอยู่ได้โดยคุ้มแดดคุ้มฝน ปรับอุณหภูมิที่ดี ได้ ถ้าเป็นผนังหุ้มหมดผมก็มองไม่เห็นธรรมชาติสิ  การบ�ำรุงพันธุ์ตั้ง หลายอย่างก็ใช้เทคโนโลยี ใช้กลไกทางเกษตรกรรมเข้ามาช่วย ต้นไม้ งามเพราะอะไร เทคโนโลยีรู้หมด อุณหภูมิแบบนี้เหมาะกับต้นไม้ต้น นี้  การให้ความชื้นเป็นแบบนี้  ให้น�้ำแบบนี้  มันเกื้อกูลกัน  แต่ต้องมี ความเข้าใจ” ในฐานะสถาปนิก และกรรมการผู้จัดการ บริษัทสถาปนิก 49 ประภากรอาศัยความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ  ออกแบบอาคารโดยมี แนวคิดที่ว่า ต้นไม้ในพื้นที่เดิมยังต้องคงอยู่

52


“ชีวิตเราหากินอย่างหนึ่ง แต่ก็อยู่ที่ว่าเราแข็งแกร่งแค่ไหน บางที ห นั ก ๆ เข้ า จะต้ อ งท� ำ ลาย สภาพแวดล้อมผมก็ไม่ท�ำ อย่าง โครงการที่กระบี่ ทับแขกรีสอร์ต ผมบอกเขาว่ า เก็ บ ต้ น ไม้ ไ ว้ เ ถอะ ผมยอมเหนื่อย วางผังที่ยากขึ้นเอา ต้นไม้เข้ามาอยู่ในบ้าน เอาบ้านหลบต้นไม้ เห็นแล้วมีความสุข เป็นรีสอร์ตที่สวยมาก และได้รับค�ำชมเชย ได้รับรางวัล” ส่วนลูกค้าที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของเขานั้น “เขาไม่ได้เจอกับผม หรือผมก็อาจจะไม่เจอกับเขา ผมคิดว่า ถ้าเมื่อไรก็ตามที่บอกว่าตัดต้นไม้ก่อน  ผมก็เลี่ยงที่จะไม่ท�ำ  ไม่ได้มี ปรัชญาอะไร” ในวั น ที่ ต ้ น ไม้ ใ หญ่ ใ นเมื อ งเหลื อ จ� ำ นวนอยู ่ น ้ อ ยเต็ ม ที ประภากรชี้ให้เห็นความจ�ำเป็นของการเรียกคืนจิตส�ำนึกเรื่องต้นไม้ ด้วยตัวอย่างง่ายๆ จากภาพที่เกิดขึ้นในซอยสุขุมวิท 26 ซึ่งเป็นที่ตั้ง ส�ำนักงานของเขา “ลองใช้ถนนในซอยนี้กับไปใช้ซอยอื่นดูสิครับ  เป็นค�ำตอบ ในตัวมันเองอยู่แล้ว สิงสาราสัตว์มีความสุข นั่งประชุมนี่กระรอกวิ่ง เต็มไปหมด อุณหภูมิในกรุงเทพวันนี้เรียกว่าแย่ที่สุดแล้วในกลุ่มเพื่อน บ้านเราทั้งหมด บ้านเราไม่มีต้นไม้ อุณหภูมิก็จะสูงกว่าเขาสองสาม องศา สูงกว่าสิงคโปร์ สูงกว่ามาเลเซีย

53


“ความสวยมันอยู่ตรงที่เราเดินได้ทั้งวัน  ที่แคบบ้างผมก็ไม่ว่า อะไร ขับรถไปใต้ร่มตรงนี้แหละเป็นถนนที่สวย ดีกว่าถนนที่มีรูปปั้น แล้วบอกว่าสวย ตั้งแต่ต้นซอยถึงปลายซอย เราเดินได้ครับ สบายเลย มีเหงื่อบ้าง แต่ไม่ได้ถึงกับชีวิตไม่มีความสุข แต่ถ้าไปเดินกลางแจ้ง สิครับ เดินไม่ได้เลย เกิดอะไรขึ้น เมืองหลวงมันแย่ตรงนี้ การที่แดด ตกกระทบกับผิวที่เป็นคอนกรีต แล้วมันเก็บความร้อนไว้ เวลาเดิน ความร้อนจะขึ้นมาที่น่องเลย ไม่สายหรอกครับ ซอยนี้ท�ำสิบปีถึงเป็นอย่างนี้ ถ้าถนนใน กรุงเทพเป็นแบบนี้หมดนะ ความร้อนก็ไม่เกิด ขับรถก็มีความสบายใจ รถติดก็ดูกระรอกกระแตไป ก็มีความสุขแล้วครับ” “ใบไม้หนึ่งใบมีทั้งออกซิเจน ทั้งอากาศ ทั้งรูพรุน ทั้งน�้ำ สิ่ง เหล่านี้เป็นฉนวนทั้งนั้น กรองความร้อนไว้หมดเลย แดดไม่ลงถึงพื้น แล้วจะเอาความร้อนที่ไหนไปสะสมอย่างในคอนกรีต  ลมพัดมาก็ พัดแต่ลมเย็น แต่ลมที่พัดขึ้นจากคอนกรีตมีแต่ลมร้อนทั้งนั้น สงสัย ไหมครับว่าท�ำไมเมืองไทยปีนี้หนาวอาทิตย์เดียวทั้งที่ควรจะหนาว มากกว่านั้น เพราะน�้ำท่วมตลอด มันไม่มีป่าให้เก็บความเย็น  ฉะนั้น ลมเย็นที่พัดมาจากตะวันออกเฉียงเหนือ  มาเจอลมร้อนที่ขึ้นมาจาก ดิน  ก็หอบเอาลมร้อนทั้งหมดเข้ามาสู่เมือง  หนาวอาทิตย์หนึ่งก็เป็น บุญแล้ว” ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเหตุผลเช่นนี้ท�ำให้คนในเมืองต่างวิ่งออก ไปหาธรรมชาติในต่างจังหวัด  และในทางเดียวกันก็กลับยิ่งไปลด ความเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในผืนป่านั้น “มนุษย์อันตรายกับธรรมชาติมากที่สุด  และยิ่งแย่ที่สุดคือ ความเข้าใจของมนุษย์ ผมคิดว่าต้องช่วยกัน ต้องให้การศึกษา ต้องให้

54


จิตส�ำนึกกับคน เป็นเรื่องส�ำคัญ ถ้าไปเขาใหญ่แล้วไปด้วยความสงบ ไปมีความสุขกับต้นไม้ กีตาร์ไม่ต้องเอาไปหรอก อยากเล่นกีตาร์เล่น ที่บ้าน ไปดูต้นไม้ ไปดูกระรอก ไปดูงู ไปดูทุกอย่างที่มันเคลื่อนไหวใน สิ่งมีชีวิต มันคือความสุขครับ แต่ ถ ้ า ไปแล้ ว มี ม หกรรมดนตรี   มี แ ฟชั่ น มี อ ะไร  ผมว่ า มั น ผิดนะ รับรองว่าไม่ว่าจะอยู่ที่อเมริกา ที่อังกฤษ หรืออยู่ที่ไหน คุณก็ ปฏิบัติอย่างนี้ในอุทยานไม่ได้  ถ้าคุณไม่เข้าใจก็ต้องเอากฎหมายมา คุม แต่ถ้าคุณเข้าใจแล้วกฎหมายก็ไม่มีความหมาย ประเทศที่ศิวิไลซ์ คนต้องมีจิตส�ำนึกได้ด้วยตัวเอง  กฎหมายไม่มีความหมาย  บ้านก็ไม่ ต้องมีรั้ว เชื่อผมสิ มันต้องเริ่มที่ตรงนี้ วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่คือที่ที่สัตว์ป่าจะอยู่ การไปเที่ยว วนอุทยานต้องไปด้วยความเข้าใจ ไปด้วยความสงบ การจัดมหกรรม ดนตรีบนเขาใหญ่ มีไฟยักษ์ฉายเป็นล�ำสามล�ำสี่ล�ำ สัตว์ป่ามันอยู่ไม่ ได้นะครับ มันก็หนีไปแล้วป่าจะเหลืออะไร พยายามเปลี่ยนความคิดตรงนี้เถอะ หน้าหนาวไปเขาใหญ่ เพราะเป็นที่ราบสูงโคราช ไปสัมผัสอากาศหนาวเงียบๆ ไปก่อไฟ ผิง ไฟ นั่งคุยกันได้ แต่อย่าเอาอะไรที่เป็นเทคโนโลยี ที่เป็นสิ่งที่หาได้ใน เมืองไปท�ำในเขาใหญ่เลย มันเป็นป่าที่ใกล้กรุงเทพมากที่สุดแล้ว” สิ่งที่สะเทือนใจประภากร นอกจากมหกรรมดนตรีที่จัดอย่าง ผิดที่ผิดทาง คือการตัดต้นไม้ใหญ่ริมถนนธนรัชต์ เพื่อขยายถนนเป็นสี่ เลนส�ำหรับขึ้นเขาใหญ่

55


“ตัดต้นไม้อายุร้อยกว่าปี ด้วยคิดว่าต้องมีถนนสี่เลน (เขาส่าย หน้าน้อยๆ) ผมบอกให้ว่าเมืองทุกแห่งที่เป็นมรดกโลก ถนนสองเลน ทั้งนั้นครับ จะขับเร็วไปท�ำไม ถ้าจะขับเร็วก็ไปขับในที่ที่มันขับได้ การ ไปอุทยานคือการไปด้วยความสงบ ขับรถไป ชื่นชม ตอนนั้นผมค้าน จนไม่รู้จะค้านยังไง แล้วผมก็ไม่ใช้ถนนเส้นนั้นอีกเลย ไม่อยากเห็น ผมสะเทือนใจ เขาใหญ่ที่ผมเห็นตั้งแต่เด็กมันเปลี่ยนไป  เสียหายหมด  สิ่ง ที่ ก� ำ ลั ง ตามมาคื อ ความเสื่ อ ม  แต่ บ างคนเรี ย กความเจริ ญ   ผมรั ก ประเทศไทย แต่ผมไม่เข้าใจคนจริงๆ เลยว่ายังไงกัน ช่วยกันเถอะครับ รุ่นนี้ รุ่นผม รุ่นคุณ ช่วยกันปลูกต้นไม้ คุณไม่ได้เห็นหรอกในสิ่งที่คุณท�ำ ผมก็ไม่มีทางได้เห็น อีกไม่กี่วันก็ตายแล้ว แต่สิ่งที่มันอยู่ได้คือสิ่งที่เรา ท�ำไว้วันนี้ อีกยี่สิบปีต้นไม้ก็กลับมายิ่งใหญ่อีก”

ปลู ก ไปเถอะครั บ   พุ ท ราหรื อ อะไรที่ ง่ายๆ  กินแล้วบ้วนเมล็ดลงไปเถอะ  ล�ำใย ขนุน อะไรก็ได้โยนลงไปในดิน คุณไม่ได้กิน หรอก เชื่อผม แต่คนอื่นได้กิน  ถึงคนจะไม่ได้ กิน  ชีวิตอื่นก็ได้กิน ประภากร วทานยกุล

56


พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ คนพิการ ไม่พิการ ความพิการที่เห็นได้ด้วย ตา  ไม่อาจตัดสินได้ว่าพวกเขา เหล่ า นั้ น หมดโอกาสความเท่ า เที ย มในการใช้ ชี วิ ต   พญ.วั ช รา ริ้วไพบูลย์  ผู้อ�ำนวยการสถาบัน สร้างเสริมสุขภาพคนพิการ  เชื่อ เช่นนั้นมาตลอด  และความเชื่อนี้ เองที่ผลักให้เธอลาออกจากการ เป็ น แพทย์ ป ระจ� ำ โรงพยาบาล เข้าสู่การท�ำงานที่เน้นเป้าหมาย ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิง วัฒนธรรมที่มีต่อความพิการและ คนพิการ เพื่อสร้างการรับรู้ ความ เข้าใจในคุณค่าและศักดิ์ศรีของ คนพิการมากขึ้น “หลังเรียนจบหมอดิฉันท�ำงานในโรงพยาบาลประจ�ำอ�ำเภอ อยู่หกปี  ตลอดเวลาเราจะเจอสถานการณ์ที่ว่า  เด็กคนนี้เติบโตมา พัฒนาการล่าช้า  เพราะขาดออกซิเจนตอนคลอด  ท�ำให้สมองบาง ส่วนเสียหาย แล้วเกิดเป็นความพิการ ซึ่งเรารักษาความพิการไม่ได้ แล้ว ตอนนั้นเรายังไม่เข้าใจแนวคิดเรื่องความพิการ  เรื่องความ สามารถของคนพิการ  เรายังไม่ค่อยมีกระบวนการท�ำให้คนมีความ สามารถน้อยได้รับการพัฒนาส่วนอื่นทดแทน  เจอคนมีอุบัติเหตุแล้ว ขาขาด เราก็รู้แค่ว่าใส่ขาเทียม หรือต้องนั่งรถเข็นให้คนอื่นเข็นให้ แต่ ชีวิตคนเหล่านี้หมดแล้วซึ่งความหวัง มันเป็นโจทย์ค้างอยู่ในใจเรา”

57


เพื่อคลายโจทย์ที่ยังค้างคา หมอวัชราใช้เวลาต่อจากนั้นเรียน ต่อเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู “เข้ า สู ่ ป ี ที่ ส องที่ ส ามของการเรี ย น  เราก็ ยั ง ท� ำ อะไรไม่ ไ ด้ เพราะเวลายังใช้ไปกับการรักษาให้รอดตาย  บริบทของโรงพยาบาล คื อ เขาเป็ น คนไข้ ที่ น อนอยู ่ บ นเตี ย ง  ยั ง ต้ อ งท� ำ ตามกติ ก าของโรง พยาบาล เขาไม่มีโอกาสที่จะท�ำให้ตัวเองรู้สึกว่าชีวิตนี้เป็นของเขา” หมอวั ช ราได้ เ ข้ า มาท� ำ งานที่ ศู น ย์ สิ ริ น ธรเพื่ อ การฟื ้ น ฟู สมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติหลังเรียนจบเฉพาะทาง  และได้มี โอกาสลงพื้นที่ต่างจังหวัด  เพื่อส�ำรวจแนวทางการท�ำงานกับผู้พิการ จริงๆ “โดยความเข้าใจแล้วสังคมยังคิดต่อคนพิการเหมือนๆ กัน คิดว่าความพิการรักษาไม่หาย ต้องมีคนมาดูแล โรงพยาบาลก็ไม่มี พื้นที่ให้เราท�ำงานเรื่องนี้  แต่ก็ไม่ถึงกับจนแต้มเพราะเรามีองค์กร พั ฒ นาเอกชนท� ำ งานร่ ว มกั น   เขามี โ อกาสได้ แ ลกเปลี่ ย นกั บ ต่ า ง ประเทศ  เห็นรูปแบบที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความพิการเป็นกระบวน การที่เราจะต้องใช้เวลาและเริ่มต้นฟื้นฟูภายในของเขาก่อน  เพื่อให้ เขาขึ้นมาเป็นผู้รับบริการชนิดที่เขาเป็นคนก�ำหนดเอง “บริบทที่โรงพยาบาลเป็นตัวตั้ง มันมีความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจ ของผู้ให้กับผู้รับบริการ ผู้เชี่ยวชาญกับประชาชนอยู่ กระบวนการฟื้นฟู แบบในโรงพยาบาลกับประชาชนก็ต่างกัน  พอเห็นว่าในโรงพยาบาล ท�ำได้ค่อนข้างยาก และไม่ค่อยเห็นผล ดิฉันก็เริ่มรู้สึกว่าเราควรต้อง มีกระบวนการท�ำงานเพื่อเปลี่ยนบริบทของการฟื้นฟู ให้คนพิการเป็น ผู้รับบริการ เขามีสิทธิที่จะแลกเปลี่ยนหรือเลือกได้ เช่น ขาเขาขาดใต้ เข่าหนึ่งข้าง แต่เขาไม่อยากใส่ขาเทียม เพราะมันหนัก มันยุ่งยาก เขา ขอใช้ไม้ค�้ำยันเท่านั้น เราก็ต้องโอเคนะ”

58


“เราก็เลยสร้างเครือข่ายภาคประชาชน คนที่มีลูกพิการ ท�ำ ยังไงให้เขาไม่ใช่แค่เป็นคนพาลูกมาโรงพยาบาล เพราะเขาต้องอยู่กับ ลูกทั้งวัน การเลี้ยงดูยังเป็นหน้าที่ของเขา ความรู้ที่ได้เขาท�ำตัวเป็นผู้ เชี่ยวชาญได้เลย นั่นคือเอากลับไปท�ำกับลูกที่บ้านได้เลย” ไม่เพียงแต่เปลี่ยนบริบทของการฟื้นฟูที่ให้คนพิการเป็นผู้มี สิทธิเลือก แต่ยังรวมถึงการเสริมสร้างสมรรถภาพให้กับคนพิการ ที่ หมอวัชรามองว่า พวกเขามีศักยภาพมากกว่าภาพที่ถูกมอง “เราต้องมองภายใต้รูปร่าง  หรือร่างกายที่เขาเป็นอยู่  มอง สมรรถนะที่จะท�ำให้ชีวิตเขาเดินหน้าไปได้ว่าเขายังมีอยู่หรือเปล่า และสามารถท�ำให้เพิ่มขึ้นได้หรือเปล่า  แต่นี่เราตัดโอกาสเสียตั้งแต่ ความเชื่อแรก  ก็เลยเป็นปัญหาว่าเรียนหนังสือก็ไม่ได้เรียนตามวัย หรือไปเรียนแล้วก็ไม่ได้เรียนเต็มที่  ไม่ได้ดึงความสามารถออกมา เพราะคิดว่าไม่ต้องสอนอะไรมากหรอก เขาไม่ต้องไปท�ำอะไรมาก คน ก็ไม่รับท�ำงาน ไม่อยากมายุ่ง เพราะคิดว่าสังคมไทยช่วยเหลือกันอยู่ แล้ว แต่ว่ามันช่วยได้แค่ไหน ได้แค่เขาอยู่ไปวันๆ แล้วชีวิตเขาจะมี ความหมายได้ยังไง” สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ ก่อตั้งขึ้นในปี 2547 ใน ชื่อเริ่มต้นว่า‘แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ’  โดยความร่วม มื อ กั น ระหว่ า งศู น ย์ สิ ริ น ธรเพื่ อ การฟื ้ น ฟู ส มรรถภาพ  สถาบั น วิ จั ย ระบบสาธารณสุข (สวรส.) และส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) “จุดเริ่มต้นมาจากคนพิการเห็นเราท�ำงานร่วมกับ  สสส. เขา ก็คิดว่าท�ำยังไงพวกเขาจะได้มีโอกาสใช้ทรัพยากรตรงนี้เพื่อมาสร้าง เสริมสุขภาพคนพิการด้วยกัน  เราเข้าไปช่วยในการสื่อสารเพื่อเสนอ โครงการ  แต่การเข้าถึงของ  สสส.  ไม่ใช่แค่เข้าถึงเงินนะ  ต้องได้มี โอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพด้วย”

59


การเข้าไปคลุกคลีกับผู้พิการ  ท�ำให้หมอวัชราพบว่าปัญหา ต่างๆ โยงใยกันจนไม่รู้จะเริ่มคลายที่จุดไหน “สิ่งแรกที่คิดคือเราต้องเข้าถึงตัวเขาเลย  เพราะเขาออกจาก จุดที่เขาอยู่ตรงนั้นไม่ได้ หรือใจเขาเขารู้สึกว่าเขาไม่มีค่าไม่มีความ หมายอะไรแล้ว จุดเริ่มต้นแผนงานนี้จึงเทไปที่ภาคประชาชน ท�ำยังไง ให้เกิดการรวมกลุ่มกัน ท�ำให้เกิดการพูดคุยกัน ดึงความรู้สึกว่าตัวเอง เป็นมนุษย์ที่ชีวิตนี้มีค่าขึ้นมาให้ได้ ท�ำยังไงให้เขาคิดแบบมีความหวัง  มีความฝันในชีวิต แล้วเราค่อยไปเชื่อมกับระบบ “ท�ำตัวบุคคลอย่างเดียวก็ยังไม่ได้  ต้องมีระบบบริการมา เสริม  มีอุปกรณ์ช่วย  มีบริการทางสังคมที่เข้ามาท�ำให้เขามีความ สามารถในการท�ำกิจกรรมต่างๆ  เพิ่มมากขึ้น  และต้องช่วยกันท�ำ สภาพแวดล้อมให้มันเอื้อ  เพราะเขาออกจากบ้านมาในลักษณะที่ แตกต่าง สิ่งแวดล้อมก็ต้องถูกปรับให้สามารถรองรับการออกมาของ เขาด้วย” แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น  จะเกิดประโยชน์กับคนพิการไม่ได้ เลย หากตัวคนพิการยังไม่รู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง  และมีความหวัง ที่จะลุกขึ้นมายืนใหม่  การดึงพลังใจของพวกเขากลับมาจึงเป็นเรื่อง ส�ำคัญ “เราท�ำงานผ่านกลุ่มที่เป็นผู้น�ำหลักกลุ่มแรก  เขาเป็นแกน น�ำหลักของผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราไปหาผู้พิการตามบ้านแล้ว เจอเขา  เราก็มีพลังไม่เพียงพอที่จะถ่ายทอดให้คนที่อยู่ในภาวะนั้น รู้สึกว่าตัวเองยังมีค่า  เพราะเขาจะรู้สึกว่าคุณไม่ได้พิการคุณก็พูดได้ แต่ถ้าคนที่ไปหาเขาเป็นคนพิการเช่นเดียวกันกับเขา  แต่เขาได้เดิน ข้ามออกมาแล้วจากประตูบ้านตัวเอง มาหาเขา แล้วเขาได้คุยกัน มัน ก็สามารถดึงพลังภายในออกมาได้  ว่าสิ่งที่พูดนี้คือโอกาสที่เป็นจริง ส่วนเราท�ำได้แค่ช่วยให้มันเกิดขึ้นจริงได้  ช่วยระดมทรัพยากรให้เขา ท�ำงานได้”

60


แกนน� ำ ที่ ห มอวั ช ราพู ด ถึง คือคนพิการคนหนึ่งที่เคยตกอยู่ ในภาวะพิการขั้นช่วยเหลือตัวเอง ไม่ได้ ไม่สามารถขยับอวัยวะส่วน ไหนได้  เขาจัดเป็นผู้พิการรุนแรง   แต่กลับมาเป็นแกนน�ำผู้พิการ  ที่ น�ำหัวใจของเพื่อนผู้พิการกลับมา ได้ใหม่  ได้กลายเป็นแรงใจของคน พิการด้วยกัน คนที่ท�ำงานร่วมกัน รวมถึงเธอด้วย “โดยส่วนตัวเราก็ว่าเราท�ำงานหนักนะ  แต่หลายๆ  ครั้งจะ มีความรู้สึกว่าของเรานี่ยังน้อย  เวลาที่เราไปในวงการจัดการความ รู้ของเครือข่ายคนพิการ โดยเฉพาะคนพิการรุนแรง เวลาเขาจัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแล้วเราไปนั่งอยู่ในเวทีเขา  เราจะรู้สึกว่า...โห เขานั่งคิดแบบเดียวกับเรานี่แหละ แต่กว่าที่เขาจะมานั่งคิดแบบนี้ได้ ไม่ใช่จะท�ำได้ง่ายๆ นะ  การออกจากบ้านมาประชุมสัมมนากันสอง วันสามวัน ตื่นเช้าขึ้นมากว่าเขาจะมานั่งโต๊ะประชุมกับเราได้ เขาต้อง ผ่านความยากล�ำบาก ลุกจากเตียง อาบน�้ำ แต่งตัว สวนถ่าย เขาก็ ยังมา ยังมีเรื่องเดินทางอีก หรือพอมาแล้วระหว่างนั่งประชุมเขาอาจ ต้องมียกตัว อาจมีไปเอนหลังหน่อยหนึ่ง หรือบางคนสลับออกไปสวน ปัสสาวะแล้วกลับเข้ามา เทียบกันแล้วเราสบายกว่าเยอะเลย ก็ท�ำให้ เรารู้สึกว่าเราได้พลังจากเขา ชี วิ ต บางคนก่ อ นหน้ า นี้ ม าจนวั น นี้ ย ากกว่ า เราอี ก  เขาฝ่ า ความยากล�ำบาก ถูกมองว่าต้อยต�่ำ ไม่มีค่า เราไม่เคยเจอขนาดนั้น เลย ไม่ว่าใครเจอก็จะได้ความรู้สึกเหมือนกันว่าชีวิตเราง่ายจัง  เรื่อง ของเราไม่ใหญ่โตอะไร  กลุ่มครอบครัวที่มีลูกพิการเขาก็มีความยาก

61


ล�ำบากของเขา แต่เขาก็ยังพูดคุยและท�ำอะไรกันได้ และเขาไม่ได้ท�ำ แค่เพื่อครอบครัวตัวเองนะ ท�ำเพื่อเพื่อนด้วย ก็ให้อะไรกับเราเยอะ แล้วท�ำไมเราถึงจะไม่เดินต่อ ท�ำไมเราถึงจะท้อถอย ท�ำไมถึงจะบอก ว่าชีวิตยากล�ำบาก เขาเป็ น พลั ง ใจให้ เ รา  แต่ ค นที่ จ ะได้ ม าผ่ า นและพบเห็ น ประสบการณ์แบบนี้ไม่ค่อยมี  ส่วนใหญ่เขาจะเห็นแต่คนพิการมา เรียกร้อง  คนพิการมาบ่นว่า  สิ่งที่สื่อมักจะออกมาในรูปนี้ นี่ก็เป็น โจทย์ของเราอีกเหมือนกันว่าท�ำยังไงจะมีโอกาสให้คนเหล่านี้พานพบ ประสบการณ์อย่างที่เราพานพบ  เพื่อที่ว่าทัศนะต่างๆ  ในสังคมจะได้ เปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้นเฟสสองปลายๆ มาจนถึงเฟสสาม เราจะค่อยๆ ให้ความส�ำคัญกับกระบวนการสื่อสารสังคมมากขึ้น  ทั้งสื่อกระแส หลักทั้งสื่อทางเลือก เราพยายามเอาภาพใหม่ๆ ที่เป็นบวกให้คนรู้จัก คนพิการในมุมมองที่แตกต่างมาให้คนพบเห็นและประสบมากขึ้น จริ ง ๆ  แล้ ว คนพิ ก ารไม่ ไ ด้ ไ ร้ ค วามสามารถ  คนพิ ก ารไม่ ได้ต�่ำต้อยด้อยค่าหรือเป็นภาระเสียทั้งหมด  แต่คนพิการมีมุมของ ศักยภาพที่คนมองไม่เห็น  เมื่อมองไม่เห็นสังคมก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จากศักยภาพของคนเหล่านั้น  แต่ถ้าเราเห็น  สังคมก็จะได้ประโยชน์ ด้วย  ประโยชน์ขั้นต้นเลยก็คือ  ถ้าคุณรู้ว่าคนตาบอดไม่ได้ทุกข์ยาก หรือไม่ได้ทุกข์ทั้งชีวิต เขามีความสุขมากกว่าเราอีก ถ้าวันหนึ่งมีใคร สูญเสียการมองเห็นไป  เขาจะไม่รู้สึกว่ามันหมดสิ้นแล้ว  คนตาบอด เป็นคนอารมณ์ดีเยอะเลยนะ ชีวิตเขามีความสุข แต่คนไม่เคยเห็นใน อีกมุมหนึ่งของเขา” ตลอดระยะเวลาที่  สสพ.  ท�ำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย  ได้ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับสังคมคนพิการ อันเนื่องมาจาก การเข้าไปเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างเชิงรูปธรรม

62


“เราท�ำจุดเล็กๆ เท่านั้น จุดใหญ่เป็นคนอื่นท�ำ เช่นองค์กรคน พิการ แต่เราเข้าไปสนับสนุนในเชิงจุดยุทธศาสตร์ ในเชิงโครงสร้าง เรามีการเปลี่ยนแปลงเชิงกฎหมายเยอะมาก  กฎหมายใหญ่เลยคือ กฎหมายเกี่ยวกับคนพิการโดยตรง  ที่ พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพ  พ.ศ. 2534 ได้เปลี่ยนมาเป็น พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พิการ 2550 หรือการเข้าไปปรับเพิ่มถ้อยค�ำในรัฐธรรมนูญไทย ที่ให้ ขจัดการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความพิการ  หรือว่าให้มีสวัสดิการ ของรัฐที่พึงจัดหาให้เป็นเรื่องของสิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับคน พิการ เหล่านี้เป็นความเคลื่อนไหวในเชิงโครงสร้างใหญ่  ที่เราพัฒนา ศักยภาพเครือข่ายภาคองค์กร  ภาคประชาชน  องค์กรคนพิการให้ มีความเข้มแข็งขึ้น  จนกระทั่งสามารถเข้าไปอยู่ในกระบวนการร่วม ตัดสินในเชิงนโยบายกับภาครัฐ พอมีโครงสร้างใหญ่ๆ  แบบนั้นเกิดขึ้นแล้ว  สิ่งที่เกิดขึ้นใน สังคมไทยในระบบสุขภาพ เช่น บริการฝึกไม้เท้าขาว ก็เกิดขึ้นเป็น บริการชัดเจน  มีงบประมาณลงมาส�ำหรับคนตาบอด  บริการล่าม ภาษามือ  หรือว่าเป็นเรื่องงานส�ำหรับคนพิการรุนแรง  เราก็มีส่วน สนับสนุนในการท�ำ Model Development เชื่อมโยงไปถึงบริการผู้ ช่วยเหลือส่วนตัวของคนพิการ มีรูปธรรมของการบริการหลายอย่างที่ เกิดขึ้น” การขาดความสมบูรณ์ทางร่างกาย ไม่ได้กลายเป็นอุปสรรค ส�ำหรับคนพิการที่พร้อมจะยืนบนขาตัวเองอีกต่อไป  ความเข้มแข็ง ของพวกเขา  ได้กลายเป็นบทเรียนล�้ำค่าของคนที่ร่างกายสมบูรณ์ พร้อม “คนพิการเป็นนักสู้ เป็นนักสู้ที่เราอายเลยนะ เขามีทั้งความ รู้ กลยุทธ์ และมีทั้งเล่นบทแข็ง บทยืดหยุ่น เป้าหมายชัดเจน ไม่ ได้ท�ำเหลาะแหละ  เส้นทางการพัฒนาของเขายี่สิบปีมานี้  ดิฉันว่า ประเทศไทยไม่น้อยหน้าใครในแง่ของสิทธิและการพิทักษ์สิทธิของคน พิการ ตอนนี้คนพิการก็เริ่มเข้ามามีบทบาททางสังคมมากขึ้นแล้ว”

63


“ขณะเดียวกันคนพิการก็สร้างความประทับใจให้ดิฉันอีก ส่วนหนึ่ง เขาเริ่มขับเคลื่อนประเด็นร่วมของสังคมที่ไม่ใช่แค่คนพิการ เท่านั้น แต่เป็นสังคมโดยรวม ล่าสุดเขาเสนอประเด็นเรื่อง Inclusive Society ในมติสมัชชาปฏิรูป ในสามประเด็นย่อยคือ บ้านเมืองเรา ต้องมีกลไกขจัดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคล  ไม่ใช่แค่คน พิการ แต่รวมถึงเด็ก ผู้หญิง กลุ่มชาติพันธุ์ คนยากจน สองคือกลไก สภาพแวดล้อม ที่มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน มีความสามารถ มีสมรรถนะที่ต่อรองกับคนอื่นได้ สุดท้ายคือการปฏิรูปการคลังด้าน สังคม  ท�ำยังไงจะมีการกระจายทรัพยากรจากภาครัฐมาสู่การสร้าง ความเข้ ม แข็ ง ของสั ง คม  เพื่ อ ให้ ภ าคประชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มในการ พัฒนาประเทศ “แต่ปัญหาคือจะมีคนอคติมั้ยว่านี่เป็นเรื่องที่คนพิการ เสนอ ถ้าไม่ ทุกคนเอามาคิดเอามาใช้ หาทางเอามาขับเคลื่อน ให้เป็นจริงได้ ก็จะเกิดประโยชน์กับทุกคน”

คนพิ ก ารไม่ ไ ด้ ไ ร้ ค วามสามารถ  คน พิการไม่ได้ต�่ำต้อยด้อยค่าหรือเป็นภาระเสีย ทั้งหมด แต่คนพิการมีมุมของศักยภาพที่คน มองไม่เห็น  เมื่อมองไม่เห็นสังคมก็ไม่ได้ใช้ ประโยชน์จากศักยภาพของคนเหล่านั้น  แต่ ถ้าเราเห็น สังคมก็จะได้ประโยชน์ด้วย

64

พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์


ปวีณา หงสกุล “อย่ากลัวคนชั่ว” อดี ต สมาชิ ก สภาผู ้ แ ทน ราษฎรหกสมัย ที่ให้ความส�ำคัญ กับปัญหาเด็กและสตรีมาตั้งแต่ เริ่มต้นท�ำงานสายการเมือง  แม้ ปัจจุบัน ปวีณา หงสกุล จะไม่มี ต� ำ แหน่ ง ทางการเมื อ งใดๆ มา สวม  แต่ เ ธอยั ง คงท� ำ งานเพื่ อ สั ง คมมาต่ อ เนื่ อ งมิ ไ ด้ ข าด  นั่ น แสดงให้ เ ห็ น ว่ า  ‘เนื้ อ แท้ ’  และ หัวใจที่ทุ่มเทของเธอ  ยังคงอยู่ที่ เด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาสทาง สังคมเสมอมา

ก่ อ นจะเดิ น ทางไปยั ง ‘มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและ สตรี’ ย่านธัญบุรี ปวีณายังง่วน อยู่กับแฟ้มคดีที่อยู่ในมือ และใช้

65


เวลาพักใหญ่เพื่อพูดคุยกับทีมงาน  ถึงแรงบันดาลใจที่ขับเคลื่อนให้ เธอยังคงท�ำงานนี้อย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย มาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว เธอเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการท�ำงานเพื่อสังคมให้ฟังว่า “เริ่มตั้งแต่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2531 เป็นครั้ง แรกที่ลงสมัครและได้รับเลือกตั้ง แน่นอนที่สุดเราท�ำด้านนิติบัญญัติ แต่สิ่งที่เราต้องการเข้าไปดูไปเห็นคือเรื่องปัญหาเรื่องเด็กและสตรี  ใน ฐานะที่ตอนนั้นเราเป็นแม่ของลูกเล็กๆ  ด้วย  เมื่อเข้ามาท�ำงานการ เมืองใหม่ๆ  ก็ต้องการจะรู้ว่ารัฐบาลหรือหน่วยงานต่างๆ  ใส่ใจดูแล ประชาชนหรือผู้ด้อยโอกาส ดูแลสังคมเช่นไร ตอนนั้นไปเยี่ยมบ้านเกร็ดตระการ  ซึ่งเป็นบ้านพักของเด็ก และสตรี  เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการ สังคมในขณะนั้น  ปัจจุบันเรียกว่ากระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์  ความรู้สึกของตัวเองที่คิดไว้ คือคงมีผู้หญิงสาวๆ ที่ ถูกกระท�ำ  แล้วน�ำมาบ�ำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจ  พอไปถึงก็เจอเด็กคน หนึ่งนั่งถักนิตติ้ง ในใจคิดว่าคงเป็นลูกของใครในนี้ ดิฉันก็ถามเขาว่า อายุเท่าไรคะ มาท�ำอะไรอยู่ตรงนี้ เขาตอบ ว่าหนูอายุสิบเอ็ดขวบ พ่อเลี้ยงพาหนูไปขายซ่องแล้วต�ำรวจพามาที่นี่ เราได้ฟังก็ช็อก เพราะโลกที่เราอยู่มันเป็นอีกแบบหนึ่ง เกิดมาก็ไม่เคย ทราบว่าสังคมมันเลวร้ายขนาดนี้ ต้องเดินไปแอบซับน�้ำตา แล้วก็กลับ มากอดเขา” การได้กลับไปเยือนบ้านเกร็ดตระการอีกหลายครั้งหลังจาก นั้น  ท�ำให้ปวีณามองเห็นว่าปัญหานี้ควรได้รับการแก้ไข  ในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เธอพยายามยื่นกระทู้อภิปราย แก้ไข และ

66


ยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  และตั้งคณะกรรมการเร่งรัดการปฏิบัติ งานด้านเด็กและสตรีขึ้น ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการรวมตัวกันระหว่าง ภาครัฐ เอกชน ประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชน “ในการท� ำ งานสั ง คมต้ อ งท� ำ ร่ ว มกั น ทั้ ง หมด  ไม่ ใ ช่ ห น้ า ที่ ของใครคนใดคนหนึ่ง  ตรงนั้นเป็นการเริ่มจุดประกายให้ภาครัฐและ เอกชนจับมือกัน” ‘ชุดเฉพาะกิจปวีณา’  ก่อตั้งขึ้นหลังจากนั้นเพื่อรองรับการ ท�ำงานให้คล่องตัวขึ้น กระทั่งปี 2540 เธอด�ำรงต�ำแหน่งรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จึงได้เข้าไปวางนโยบาย ท�ำศูนย์ช่วยเหลือ 24 ชั่วโมงขึ้น และวางเครือข่ายที่สามารถช่วยเหลือ ประชาชน เด็ก  และสตรีได้ทั่วประเทศ ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ “หลั ง จากนั้ น ดิ ฉั น ก็ ไ ปเป็ น รั ฐ มนตรี ป ระจ� ำ ส� ำ นั ก นายก รัฐมนตรี ดูแลการท่องเที่ยว เราก็วางเครือข่ายอีกว่าการท่องเที่ยว สามารถที่จะหารายได้  สร้างงานสร้างอาชีพให้ประชาชนที่อยู่ใน

67


ชนบทได้ ซึ่งเด็กผู้หญิงเหล่านี้บางทีเขาอายุ 12-13 จบ ป.6 ไม่มีเงิน เรียนหนังสือต่อ ก็ไม่รู้จะไปท�ำอะไร” ปวีณาท�ำงานด้านนี้เรื่อยมากระทั่งปี พ.ศ. 2542 หน่วยงาน ราชการและเพื่อนๆ  เห็นพ้องว่าควรก่อตั้งมูลนิธิเพื่อท�ำงานอย่างต่อ เนื่องโดยไม่อิงการเมือง ‘มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี’ จึงเกิด ขึ้นในวันที่ 27 เมษายน 2542 “ระหว่างที่ดิฉันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหกสมัย  ก็ได้ ร่างตัวบทกฎหมาย  ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติป้องกันและปราบ ปรามการค้ า ประเวณี   แก้ ไ ขพระราชบั ญ ญั ติ ส ถานบริ ก าร  และที่ ส�ำคัญคือพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งใช้มาจนถึงทุก วันนี้ และอีกหลายๆ อย่าง ซึ่งก็หมายความว่า การที่เราเข้าไปเป็นชุด เฉพาะกิจ หรือเข้าไปเห็นปัญหา เราก็สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ด้วย ตัวบทกฎหมาย ถ้าสมมติเราไม่รู้อะไรเลย เราไม่รู้ว่าปัญหาสังคมเป็น ยังไง เราก็ไม่สามารถไปแก้ตรงจุด และไม่สามารถแก้ตัวบทกฎหมาย ได้ ยกตัวอย่างเราเข้าไปช่วยเด็กผู้หญิงที่ถูกบังคับให้เต้น อะ โกโก้ โชว์เปลืองผ้า เราสามารถช่วยเด็กผู้หญิงได้หมด แต่พอถาม ต�ำรวจว่าแล้วสถานบริการนี้จะด�ำเนินการยังไง เขาบอกด�ำเนินตาม กฎหมายก็ปรับพันบาท เราได้ยินก็...หา พันบาทเองเหรอ เขาบอกคุณ เป็นสส. คุณก็ไปแก้ไขตัวบทกฎหมายตรงนี้สิ นี่เป็นจุดหนึ่งที่ท�ำให้เรา เห็นช่องว่างต่างๆ ที่ต้องเสนอเข้าไป” มูลนิธิปวีณาฯ  มีผู้ไร้ที่พ่ึงเดินทางไปร้องทุกข์ทุกวัน  ไม่นับ รวมการขอความช่วยเหลือผ่านสายโทรศัพท์ที่มีมากถึง 20-30 สาย ต่อวัน

68


“วันหนึ่งเฉลี่ยแล้วรับเรื่องราวร้องทุกข์ด้วยตัวเองวันละสิบ คน จากทั่วประเทศ เหมือนโรงหมอน่ะค่ะ จะมีคนมานั่งรอเต็มเลย แล้วก็มีโทรศัพท์โทรเข้ามาที่ 1134 ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องราว อย่างมี รายหนึ่งเขาโทรเข้ามาแจ้งว่า  ข้างบ้านมีเด็กผู้หญิงอายุแปดเก้าขวบ โดนพ่อเลี้ยงข่มขืนอยู่ ขณะนี้เลย แล้วเราจะไปได้ยังไง ไกลมาก ก็ ต้องโทรหาผู้ก�ำกับว่ามีคนแจ้งมา บ้านอยู่ซอยนี้ ตรงนี้ ผ่านไปครึ่ง ชั่วโมง ผู้ก�ำกับโทรกลับมาบอกว่าผมจับเรียบร้อยแล้วนะครับ ช่วย เด็กแล้ว เราก็โทรไปกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ให้ดูแลความปลอดภัย เขา แต่บางรายเราต้องไปเอง เช่น  กรณีมีผู้มีอิทธิพลหนุนหลังอยู่ เรา ก็จะเข้าไปสู้คดีเอง กับกรณีที่เป็นเรื่องค้ามนุษย์ ต้องไปเอง เพราะเป็น เรื่องใหญ่ พลาดไม่ได้” ทุ ก เสี ย งที่ ร ้ อ งขอความช่ ว ยเหลื อ เข้ า มา  ไม่ มี ก รณี ไ หนที่ ปวีณาให้ค�ำปฏิเสธ “ชื่อเราคือมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี แต่ในความ เป็นจริงไม่ใช่แค่เด็กและสตรีอย่างเดียว มันก็คือผู้ด้อยโอกาส คนจน หรือคนที่ไม่รู้จะไปทางไหน บางทีเป็นเรื่องถูกฆ่าตาย ถูกฆาตกรรม ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือถูกอิทธิพลมืด ก็เข้ามาที่เราหมด เราเป็นที่พึ่ง  บางครั้งก็เป็นการขอค�ำปรึกษาเรื่องกฎหมาย ว่าจะไปทางไหน  จริงๆ  ตอนแรกเราก็คิดว่าช่วยเหลือเด็กและสตรี อย่างเดียว แต่ตอนหลังพอเรารับเคสเข้ามาก็ เอ๊ะ ชักจะกว้างขึ้นแล้ว นะ แต่ว่าเราก็ไม่สามารถปฏิเสธเขาได้ สมมติเราบอกรับแค่เด็กสตรี เขาก็ไม่รู้จะไปไหน บางคนคิดจะฆ่าตัวตายด้วยซ�้ำ บอกว่าถ้าไม่ช่วย จะฆ่าตัวตายตรงนี้”

69


“มูลนิธิปวีณาก็จะเป็นที่ปรึกษาให้ ประสานหน่วยงานให้ เช่น สมมติเขาต้องการฟ้องร้องหย่าสามี  เพราะสามีท�ำร้ายร่างกาย แล้ว สามีไม่ยอมหย่า เราก็จะประสานให้ไปที่ศาลเยาวชนครอบครัว แล้วก็ ฟ้องหย่าได้ หรือว่าลูกโดนเอาไป โดนสามีเอาไปแล้วกระท�ำไม่ดี เราก็ สามารถเข้าไปช่วยเขาได้” นับร้อยนับพันคดีที่ผ่านมือ  ปวีณาเล่าว่าไม่มีคดีไหนที่เธอ ไม่รู้สึกสะเทือนใจ ความหลากหลายของปัญหาที่ต้องเผชิญ ท�ำให้เธอ ได้เรียนรู้ว่าสังคมนี้ยังมีช่องโหว่รอให้อุดอยู่อีกมาก “การหลอกไปค้าประเวณี ค้ามนุษย์เป็นเรื่องที่หนักเรื่องหนึ่ง เรื่องที่เด็กถูกทารุณกรรมก็เป็นเรื่องหนึ่งที่หนัก และเรารับไม่ได้ หรือ เรื่องที่เด็กถูกข่มขืนก็เป็นเรื่องหนักมากๆ ที่เรารับไม่ได้ ปัจจุบันสถิติ ที่เด็กถูกข่มขืนสูงสุดคืออายุ 8-12 ขวบ เด็กเหล่านี้ไม่มีวุฒิภาวะ พอ ถูกข่มขืนก็ถูกขู่ ถ้าไปบอกใครจะโดนตี โดนฆ่า เด็กก็คิดไม่ออกว่าจะ ต้องท�ำอะไร กระทั่งอาจจะถูกข่มขืนซ�้ำแล้วซ�้ำเล่าจนอายุ 15-16 เขา ถึงมาบอก เพราะเริ่มจะรู้แล้วว่ามีทางออก การช่ ว ยเหลื อ พวกที่ ถู ก หลอกลวงไปค้ า ประเวณี นี่ ย าก ที่สุด เพราะเบื้องหลังเขามีผู้มีอิทธิพลดูแลอยู่ ถ้าเราท�ำไม่ละเอียด ก็สามารถรั่วไหลได้ แล้วเด็กจะไม่ปลอดภัย สมัยก่อนท�ำง่าย บางที จู่โจมเข้าไปได้เลย แต่สมัยนี้ยากมากเพราะพวกนี้มีวิวัฒนาการใหม่ มี ผู ้ ช ายคนหนึ่ ง ไปเที่ ย วผู ้ ห ญิ ง แล้ ว มี ผู ้ ห ญิ ง อายุ   12-13 ร้องไห้ขอให้ช่วย เขาโดนหลอกมา เขาก็เข้ามาบอกที่มูลนิธิฯ ส่วน ใหญ่ผู้ชายที่ดีๆ เขาจะมาบอกเรา เราก็จะกันเขาไว้เป็นพยาน แต่ไม่ เปิดเผยเพราะต้องป้องกันอันตรายให้เขา  ตอนนั้นเราเอาเจ้าหน้าที่ชุด เฉพาะกิจของเราปลอมเข้าไปเป็นคนเที่ยว และติดกล้องวงจรปิดเอา ไว้เพื่อจะดูว่าเป็นจริงหรือเปล่าตามที่เขาได้แจ้งไว้  ถ้าเป็นจริงและมี ผู้หญิงที่ขอความช่วยเหลือจริงๆ  เราก็จะมาวางแผนกันและไปแจ้ง

70


ต�ำรวจ ซึ่งเป็นต�ำรวจกองปราบปรามการค้ามนุษย์ ต้องคุยกับคนที่ไว้ วางใจได้ เพราะถ้าบอกทั่วไปก็อาจหลุดได้เหมือนกัน ทันทีที่จับได้  ทางมูลนิธิต้องรวบตัวเด็กทั้งหมดขึ้นรถให้เร็ว ที่สุด วิธีการละเอียดอ่อนมาก เอาเด็กไปไว้ที่บ้านเกร็ดตระการ ต้อง มีต�ำรวจเข้าสอบปากค�ำ มีนักจิตวิทยา และขยายผลไปสู่การด�ำเนิน คดีตามกระบวนการยุติธรรม  ซึ่งถ้าเขาสู้คดีเราก็มีพยานหลักฐาน แล้วเด็กเหล่านี้เราก็ต้องฟื้นฟูสภาพจิต อยู่ในความดูแลของกระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แล้วก็มูลนิธิด้วย เด็กจะได้ รับการเรียนหนังสือ ซึ่งเราต้องดูแลเขาต่อไป มูลนิธิเรามีบ้านพักเด็กด้วย เพราะบางคนเขาไม่รู้จะไปไหน หรือไปไม่ได้ เช่นเด็กคนหนึ่งพ่อแม่ฝากเด็กไว้กับปู่ย่า แล้วไปท�ำงาน กรีดยางที่จังหวัดอื่น  ปรากฏว่าโดนข้างบ้านข่มขืน  สิบกว่าขวบเองนะ แล้วเด็กท้อง เด็กไม่กล้าบอกเพราะโดนข่มขู่ พ่อแม่เด็กก็โทรมาหาเรา เราบินด่วนไปรับเลย  แล้วกลับมาด�ำเนินการให้ต�ำรวจออกหมายจับ สู้คดีกัน จนตอนนี้เด็กคลอดลูกออกมาแล้ว อยู่กับเรา เรียนหนังสือกับ เรา” ในการท�ำงานที่ต่อเนื่องอยู่หลายปีส�ำหรับแต่ละคดี แน่นอน ว่าความเหนื่อยล้าย่อมมีตามมา แต่ยิ่งได้คลุกคลีอยู่กับปัญหา กลับ ยิ่งท�ำให้ปวีณามีพลังในการท�ำงานต่อโดยไม่ยอมหยุด “คือตัวดิฉันเองก็อุทิศแล้ว เราตั้งใจและเห็นสภาพปัญหามา ตลอดว่าสังคมมันโหดร้ายมาก อย่างน้อยเราก็เป็นประกายเล็กๆ จุด หนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าทุกคนต้องมีส่วนร่วม  ไม่ใช่ว่าปัญหาสังคม เป็นปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องช่วยกัน ประชาชนก็ต้องมี ส่วนร่วม  ทุกวันนี้ดิฉันภูมิใจว่าประชาชนร่วมมือกับมูลนิธิมากเหลือ เกิน โทรศัพท์มาทุกวัน

71


“ความสุขอยู่ท่ีเราได้ช่วยเหลือคน  และเขาได้พ้นทุกข์  เมื่อ เขาพ้นทุกข์เราก็รู้สึกสบายใจ ดิฉันมีความสุขที่จะช่วยเหลือคนที่เขา ตกทุกข์ได้ยาก หรือคนที่เขาไม่รู้จะพึ่งใครแล้ว ก็คิดว่าเราก็เป็นคนคน หนึ่ง ช่วยอะไรได้ก็ช่วย หรือถ้าช่วยไม่ได้เราก็ประสานหน่วยงานต่างๆ ให้เขาช่วย การมีส่วนร่วมในการช่วยสังคม ไม่ใช่ว่าเรายากจนแล้วช่วย สังคมไม่ได้ การช่วยสังคมมันมีหลากหลาย เช่นคนที่เห็นเด็กสตรีหรือ ผู้ด้อยโอกาสไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็สามารถที่จะแจ้งต�ำรวจ หน่วย งานภาครัฐ หรือมูลนิธิต่างๆ หรือมูลนิธิปวีณาก็ได้ นั่นก็ถือว่าเป็นการ ช่วยเหลือสังคมแล้ว ทุ ก วั น นี้ สั ง คมเราต่ า งคนต่ า งอยู ่   เห็ น แก่ ตั ว   ซึ่ ง มั น ไม่ ถู ก เพราะวันหนึ่งปัญหาเหล่านี้มันกลับมาสู่เราได้  ถ้าเรารักลูกเรา  รัก หลานเรา เราต้องรักคนอื่นเขาด้วย สมมติเราไม่ช่วยสังคม ไม่ช่วยเด็ก คนอื่น เขาโดนท�ำร้ายมากๆ วันหนึ่งเขาอาจหนีไป ไปเสพยาเสพติด ไปเป็นอาชญากร มาปล้นบ้านเรา หรือมายิงเราก็ได้ เพราะฉะนั้นเรา ควรช่วยเหลือกัน ไม่ใช่ท�ำเป็นธุระไม่ใช่”

อย่าไปกลัวคนชั่ว คนธรรมดามักกลัวคนชั่ว กลัวเขาจะมาท�ำร้าย บางคนถูกกระท�ำก็ยังไม่ กล้าแจ้งความ หยุดกลัวคนชั่วเสียทีนะคะ คน ชั่วต้องกลัวเรา เราจะต้องช่วยกัน อย่าให้คน ชั่วลอยนวล และคนชั่วต้องได้รับบทลงโทษ ตามกระบวนการยุติธรรม

72

ปวีณา หงสกุล


สุภาวดี หาญเมธี พลังชีวิตของครอบครัวไทย

สุภาวดี หาญเมธี แห่ง อาณาจักร ‘รักลูกกรุ๊ป’ เชื่อเสมอ มาว่าพื้นฐานครอบครัวที่ดี คือ พลังในการสร้างสังคมที่ดี ธุรกิจ สิ่งพิมพ์ที่เริ่มต้นจากการสร้าง การเรียนรู้ในเด็กและครอบครัว ของเธอ จึงไม่ได้หยุดอยู่แค่การ สื่อสารกับพ่อแม่รุ่นใหม่ในเมือง  แต่ขยายไปสู่การสื่อสารกับสังคม   ดังเจตนาที่ตั้งเอาไว้ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ  โดยเฉพาะ  ‘โครงการเสริม สร้างศักยภาพการเรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง’  หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ‘โครงการครอบครัวเข้มแข็ง’  ซึ่งด�ำเนินอยู่ในช่วงเวลาสามปี  ที่แม้ วันนี้โครงการจะจบไปแล้ว  แต่เชื้อไฟของกลุ่มคนท�ำงานยังพร้อมจะ โชนลุกเสมอเมื่อมีแรงสนับสนุน “อาจารย์หมอประเวศ  วะสี  ซึ่งได้ดูแลเกื้อกูลเรื่องความคิด มาเป็นระยะ ได้แนะน�ำว่าน่าจะไปท�ำโครงการในชนบทบ้าง ช่วงแรก เราก็ลังเล เพราะประสบการณ์ยี่สิบปีของเราอยู่ในกลุ่มในเมืองที่รับ สารสมัยใหม่ พอท่านยุเราก็เป็นพวกยุขึ้น ก็เลยคิดโครงการและไป ขอความรู้จากคนท�ำงานด้านชุมชน  และดิฉันเป็นคนสนใจเรื่องการ ท�ำงานในชุมชนในชนบทเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว”

73


“จากประสบการณ์รักลูกเราท�ำเรื่องความรู้พ่อแม่ พ่อแม่มี ความรู้ เลี้ยงลูกได้ดี แต่ความสัมพันธ์พ่อแม่ไม่ดี ลูกกระทบทันที เรา เห็นแล้วว่ามีความรู้ในการเลี้ยงลูกอย่างเดียวไม่พอ  ความเข้าใจหรือ การจัดความสัมพันธ์ที่ดีของพ่อแม่เป็นปัจจัยส�ำคัญมาก” พื้นที่ที่เธอเลือกไปท�ำโครงการในขณะนั้น คือเก้าจังหวัดเก้า สิบชุมชนในทุกภูมิภาค ที่สนใจอยากแก้ปัญหาเรื่องครอบครัว การ ลงไปหาข้อมูลและขอความรู้จากคนท�ำงานด้านชุมชนมาก่อนใช้เวลา นับปี ก่อนลงมือจริง “ในแง่ของคนธุรกิจ ท�ำแล้วต้องส�ำเร็จ ถ้าครั้งแรกแพ้ไม่รบ รบแล้วต้องมั่นใจว่าชนะ  เพราะมันจะเป็นก�ำลังใจให้เราเดินหน้าต่อ ไป  แล้วก็เป็นตัวต้นแบบของความส�ำเร็จที่ท�ำให้คนอื่นคิดว่าแบบนี้ น่าลองต่อ ถ้าเราไปรบแล้วแพ้ ไปมะงุมมะหงาหราอยู่กับปัญหา เรา จะไม่มีทางท�ำให้เรื่องครอบครัวขยายได้เร็ว หลักการที่หนึ่งคือเราจะไม่ท�ำให้ชุมชน  แต่จะให้ชุมชนท�ำ ด้วยตัวเขาเอง  เราเชื่อว่าคนในคือคนที่สร้างการเปลี่ยนแปลง คนนอก คือคนสนับสนุน เปิดโอกาส เพราะฉะนั้นสิ่งที่คนในต้องการคือโอกาส ในการเรียนรู้  โอกาสพบปะ  โอกาสที่จะเอาปัญหามาคุยกันถกกัน โอกาสที่จะได้รับความรู้ใหม่ๆ ที่จะท�ำให้เขามีมุมมองกว้างขึ้น และ โอกาสที่จะได้ลองไปแก้ปัญหาด้วยตัวเอง  กระบวนการที่เราท�ำก็ ชัดเจนว่าเราไม่ได้ท�ำให้ แต่เราไปสร้างแกนน�ำในเก้าสิบชุมชนให้ได้” โครงการครอบครัวเข้มแข็ง  เปิดเวทีให้ชาวบ้านได้มาเล่า ประสบการณ์ปัญหาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัว  ซึ่งแต่ละ ครอบครัวล้วนมีวิธีการจัดการปัญหาที่ต่างกัน  เพื่อให้เห็นตัวอย่าง และร่วมกันคิดเพื่อน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

74


“ครอบครัวเป็นเรื่องวิถีชีวิตที่เราเห็นกับตาอยู่ตลอดเวลา อะไรก็ตามที่เป็นปัญหามันจะเข้ามาเป็นไฟสุมอยู่ในอก ทุกคนอยาก แก้ไข อยากมีทางออก แต่ไม่รู้จะท�ำยังไง จะไปขอความช่วยเหลือจาก ใคร จากญาติพี่น้องก็พอได้บ้างแต่อาจจะไม่ได้มากกว่านี้ บางเรื่องที่ ซับซ้อนก็อาจจะยิ่งยากไปใหญ่ ในการจัดการอบรมเราพูดเรื่องเหล่า นี้เยอะ เรามีตัวอย่าง พอท�ำหลายสิบชุมชนก็จะมีเรื่องเล่าว่าที่โน่นแก้ ปัญหาอย่างนี้ ที่นี่เขาแก้ปัญหาอย่างนั้น ก็ได้ข้อมูลใหม่ๆ เรื่อยๆ ยกตัวอย่างง่ายๆ ท�ำไมเราคุยกับลูกวัยรุ่นไม่ค่อยรู้เรื่อง เราก็ ถามว่าเวลาพูดกับลูกพูดยังไง จ�ำลองแบบซิ ทันทีที่ลูกกลับบ้าน เขา บอก ก็ด่ามันเข้าไป เวลามีมากหรือยังไง พ่อแม่เหนื่อย เขาก็จ�ำลอง สถานการณ์ตัวเขาเอง เราก็มาคิดกันดูว่ามีวิธีใหม่มั้ย เวลามีใครมา ด่าเราเยอะๆ เราอยากแก้ไขมั้ย ลองพูดใหม่ซิ ถ้าลูกกลับบ้านดึกจะ พูดยังไงให้ประทับใจ  ในชุมชนมีตัวอย่างทั้งครอบครัวที่พูดกับลูกดี และพูดไม่ดี เขาก็แลกกัน ในที่สุดเขาไปทดลองท�ำ มีเด็กบางคนพ่อแม่เขาเข้าเวที  พออีกเดือนหนึ่งเรากลับไป เขาตามมาด้วย  บอกอยากมาดูว่าครอบครัวเข้มแข็งเอายาอะไรให้ แม่กิน จากด่าเป็นไฟ พอกลับบ้านดึกแม่เขาพูดดี เขาก็อยากกลับ บ้านเร็วขึ้นเพราะรู้สึกว่าแม่เราเปลี่ยน  บางชุมชนผัวเมียพูดกันกูมึง ตลอด แต่พอเริ่มมีมธุรสวาจา พฤติกรรมก็เปลี่ยน แล้วพอฉันเปลี่ยน เธอก็เปลี่ยน เขาจะเริ่มรู้สึกว่าดี เวลามาเล่าในเวทีเราก็ภูมิใจในความ ส�ำเร็จทีละเรื่องๆ  จนในที่สุดเห็นเลยว่าปัญหาที่มันเกิดขึ้นในระดับพื้น ฐานเริ่มลดลง ความสัมพันธ์ดีขึ้น”

75


ค�ำว่า ‘ครอบครัว’ มีความส�ำคัญต่อการจัดการปัญหาของ ชุมชนอย่างไร สุภาวดียกตัวอย่างให้เห็นจากการลงไปท�ำงานในพื้นที่ ในจังหวัดทางภาคใต้ “มี ชุ ม ชนหนึ่ ง ที่ จั ง หวั ด ตรั ง   เราเอาแผนผั ง เครื อ ญาติ ข อง คุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ไปทดลองใช้กับเขา ปรากฏว่าจาก ชุมชนที่ทะเลาะกันด้วยเหตุเลือกตั้ง อบต. จะฆ่ากันเลยแหละ พอ เราให้เขาสาวว่าในชุมชนเราใครเป็นญาติใครเป็นลูก  ในที่สุดเขาท�ำ แผนผังออกมาเชื่อมเต็มผนัง  เขาบอกเราทั้งหมดมาจากปู่สามคนพี่ น้องที่มาบุกเบิกเมื่อประมาณร้อยปีมาแล้ว  สาวไปเรื่อยก็เป็นเครือ ญาติกันหมดเลย ค�ำถามหนึ่งที่ถูกโยนลงกลางที่ประชุมคือ แล้วเรา มาฆ่ากันท�ำไม ท�ำไมไม่มีวิธีอื่นที่พี่น้องจะคุยกันได้ นี่เป็นตัวอย่างใน ปีแรกที่เราเห็นว่าเครื่องมือนี้มีพลังมาก หรือในอ�ำเภอแจ้ห่ม จังหวัดล�ำปาง เราให้เขาไปช่วยกันคิด มาว่ามีประเพณีอะไรในหมู่บ้านนี้ที่เขาใช้ในการดูแลคนในชุมชน เขา น�ำเสนอว่ามีประเพณีหนึ่งที่หายไป เขาเรียกว่า ‘ตานต้อด’ ภาษาไทย ก็คือท�ำทานแล้วทอดไป  ความหมายคือใครก็ตามที่ล�ำบาก  ชุมชน อยากจะช่วย แต่การจะช่วยโดยยกไปให้เลย คนรับจะไม่มีศักดิ์ศรี ทานแล้วต้องทอดไปเลย ไม่หวังเอาบุญคุณจากเขา แต่ทุกวันนี้เขาบอกมันไม่มีแล้ว  ต่างคนต่างอยู่  ก็ให้เขาไป ส�ำรวจกันว่าในหมู่บ้านมีคนตุ๊ก (คนทุกข์) กี่คน จะช่วยใครก่อน จ�ำได้ ว่าเขาเลือกบ้านพ่อแก้วกับแม่เบี้ยว สองคนนี้ทุกครั้งที่ฝนตกต้องมา นั่งเคียงกัน  เพราะหลังคารั่วไปหมด  บ้านเป็นกระต๊อบ  ก็คุยกันว่าใคร มีกระเบื้องมีไม้ก็เอามาช่วยกัน นัดวันกัน ผู้หญิงมาช่วยกันท�ำกับข้าว

76


ผู้ชายก็มาเป็นสล่า ท�ำกันจนได้บ้านหลังนึง เสร็จในหนึ่งวัน ตั้งชื่อร่วม กัน แล้วก็มาเอเออาร์ (After Action Review-สรุปงาน) เขาก็บอกว่าที่ ผ่านมาพ่อแก้วแม่เบี้ยวเป็นอากาศธาตุ  รู้ว่ามีเขาอยู่ในหมู่บ้าน แต่ ไม่รู้ว่าเขาทุกข์แค่ไหน ล�ำบากแค่ไหน ระทมยังไง พอได้ลงแรงร่วมกัน ก็เป็นความสุข การสร้างชุมชนด้วยประตูของการเรียนรู้เรื่องครอบครัว มัน ไดนามิกกันอยู่ จะบอกว่าสร้างชุมชนก็ได้ เพราะพอท�ำแล้วชุมชนแข็ง แรงจริงๆ แข็งแรงแบบเป็นเนื้อเป็นตัว เป็นความแข็งแรงในเชิงความ สัมพันธ์ เป็นพลังที่เกิดจากความอิ่มอกอิ่มใจ รู้สึกเชื่อมั่นในความ สามัคคีในการช่วยเหลือกัน” จึงเป็นที่น่าเสียดายที่โครงการครอบครัวเข้มแข็งจ�ำเป็นต้อง ยุติบทบาทลงในเวลาต่อมา “ตอนแรกเราได้รับการสนับสนุนจาก สสส. แต่ว่าโดยภารกิจ ของ สสส. แล้วเขาเป็นน�้ำมันหล่อลื่น ไม่ใช่น�้ำมันเบนซินที่ขับเคลื่อน เราก็จ�ำเป็นต้องจบและต่อเรื่องใหม่ เราก็ต้องท�ำอย่างอื่นของเรา แกน น�ำในจังหวัดก็ไปท�ำสไตล์อื่น”

77


แต่ ด ้ ว ยมองเห็ น พลั ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากความเข้ ม แข็ ง ของ ครอบครัวและชุมชน  ท�ำให้สุภาวดีไม่ยุติความคิดการท�ำงานภาค สังคมในประเด็นเดิมไปด้วย “พอไปท�ำครอบครัวเข้มแข็งเรายิ่งรู้สึกมั่นใจมากขึ้นว่าพลัง ครอบครัวคือพลังที่จะแก้ปัญหาของมนุษย์ไปได้ไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบ เปอร์เซ็นต์  เห็นเลยว่ามนุษย์ที่แข็งแรงจากพลังครอบครัวจะเป็นพื้น ฐานเพื่อการไปพัฒนาเรื่องอื่นได้มากยิ่งขึ้น  หรือพัฒนาเรื่องอื่นไป แล้ว แต่ถ้าไม่ได้ท�ำเรื่องครอบครัวมันไม่เต็ม จะไปมีประโยชน์อะไร ถ้าหมู่บ้านคุณเศรษฐกิจดี  หมู่บ้านคุณเป็นหมู่บ้านปลอดสารพิษ เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด แต่ลูกหลานยังเคว้งคว้าง เพราะฉะนั้น ครอบครัวกับชุมชนจะต้องเชื่อมกัน” “ดิฉันมีความมั่นใจอย่างยิ่งว่ายิ่งเราท�ำเรื่องครอบครัวเท่าไร สังคมจะยิ่งมีหลักประกัน ชาติคือหน่วยครอบครัว คือหน่วยชาติของ จริง ไม่ใช่นามธรรมที่ลอยอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ เวลาพูดว่ารักชาติคุณต้อง ไปดูที่มนุษย์เป็นคนๆ และให้มนุษย์นั้นอยู่ในโอบล้อมของครอบครัว อย่างนี้เราจะแข็งแรง”

78


“เราไปท�ำแล้วมันใช่  ทุกคนที่ไปท�ำร่วมกันเชื่อทั้งนั้นเลยว่า ใช่ ที่จะท�ำไม่ได้คือเราอ่อนแอลง เรามีปัจจัยอื่น แต่ถามว่าความคิด เราคลอนแคลนมั้ย ไปถามคนเป็นพันคนที่ร่วมโครงการจะเห็นเลย ว่าทุกคนเชื่อมั่นและอยากเห็นมันเดินต่อ  แล้วก็เสียดายที่ไม่ได้เดิน ต่อ  เสียดายโอกาสของสังคม  คณะท�ำงานทั้งหมดเป็นผู้มีจิตอาสา เต็มร้อยน่าจะได้มีโอกาส และเราก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่านี่เป็นอีก ทางออกหนึ่งของประเทศไทย” ที่ผ่านมา  หากมีการพูดถึงเรื่องครอบครัว  วลีที่มักได้ยินอยู่ จนชินหู คือครอบครัวน่าอยู่ ครอบครัวเป็นสุข ครอบครัวร่มเย็น หรือ ครอบครัวอบอุ่น แต่สุภาวดียืนยันส�ำทับความเชื่อของเธอว่า “ครอบครั ว ต้ อ งเข้ ม แข็ ง   เพราะในความเข้ ม แข็ ง นี้ ค วาม อบอุ่นร่มเย็นจะเกิดขึ้น แต่ถ้าเราจะไปอุ่น ร่มเย็น มันหน่อมแน้ม ค�ำ ว่าเข้มแข็งมันบอกว่าคุณต้องลุกขึ้นมาคิด ถ้าร่มเย็นไม่ต้องคิดอะไร ก็ได้ ชั้นจะกอดเธอก็โอเค อาจจะรู้สึกร่มเย็นแต่ไม่แก้ปัญหา คิดนี่คือคิดรู้จักตัวเอง รู้ว่าตัวเอง ครอบครัวเรา ชุมชนเราเป็น ยังไง และรู้ว่าโลกเป็นยังไง แล้วจะได้จัดความสัมพันธ์ของตัวเราเอง กับโลกให้ดี ถ้าโลกจะเปลี่ยน ไม่เป็นไร เปลี่ยนไปเถอะ เราห้ามโลก ไม่ได้ แต่ถ้าเรารู้จักตัวเอง เราจะรู้ว่าจะยืนอย่างไรให้แข็งแรง และดี กว่านั้นเมื่อเราเกาะมือกัน เราจะไม่ละจากแกนโลก มันจะไปยังไง เรา ห้ามไม่ได้ แต่เราไม่ไปกับเขา เราจะยันเขาไว้ได้ด้วยซ�้ำไปถ้าเราแข็ง แรง” จากความตั้งใจและผลลัพธ์ที่น่าพอใจของโครงการ  ท�ำให้ หน่วยงานในภาครัฐหันมาให้ความส�ำคัญกับกระบวนการสร้างความ

79


เข้มแข็งให้กับครอบครัวในเวลาต่อมา  นั่นแสดงให้เห็นว่าความเชื่อ ของสุภาวดีได้รับการสนับสนุน “กระทรวงพัฒนาสังคม  ส่วนที่ท�ำงานเรื่องครอบครัวก็เริ่ม เห็ น  แกนน�ำ ของเราที่มี อ ยู ่ ไ ด้ รั บ การเชิ ญชวนให้เข้าไปช่วยขยาย งานในบางส่วน  แต่ก็ต้องพูดตรงๆ  ว่าการท�ำงานเรื่องนี้ต้องจัดวาง กระบวนการอย่างดี ไม่ใช่ท�ำแค่เป็นไฟไหม้ฟาง เป็นผักชีที่เราปลูก ตามฤดูกาลในหน้าหนาวไม่ได้ มันไม่มีประโยชน์ เขาเรียนรู้มาเยอะ เขาควรจะได้ไปท�ำงานที่เป็นกระบวนการสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ถามว่าเชื้อไฟยังมีมั้ย ยังมี ทุกคนก็พยายาม ในส่วนของ รักลูกเองหลังจากจบโครงการครอบครัวเข้มแข็ง เราก็ได้โอกาสไปที่ กระทรวงพัฒนาสังคมซึ่งก�ำลังสนใจเรื่องเด็กเล็ก  เราก็เอาหลักคิด  วิธี ท�ำงานทั้งหมดไปท�ำงานกับเขาใน ‘โครงการเล่านิทานอ่านและเล่น กับลูก’ ไปสร้างแกนน�ำจัดกระบวนการ ท�ำคล้ายๆ ครอบครัวเข้มแข็ง แต่โฟกัสไปที่เด็กเล็ก ว่าด้วยเรื่องการอ่าน หรือไปอบรมเรื่องแผน แม่บทชุมชนใน กทม. เพียงแต่ว่าอันนี้เราไม่ได้ไปเกาะติดเป็นโค้ชให้ ชุมชนเหมือนโครงการครอบครัวเข้มแข็ง เมื่อรักลูกก�ำหนดตัวเองเป็นองค์กรที่ท�ำธุรกิจที่จะส่งผลต่อ การพัฒนาสังคม เราก็จะเดินหน้าท�ำเรื่องครอบครัว เพราะเราคิดว่า เรามีความเข้าใจ มีความช�ำนาญ มีบทเรียนว่าเราท�ำได้ และเรามี กัลยาณมิตรที่ท�ำร่วมกันมา ก็พยายามเกาะเกี่ยวเท่าที่เราจะเกาะได้ และเราก็เชื่อว่าเมื่อไรก็ตามที่สังคมพร้อมจะเปิดรับเรื่องครอบครัว” “เราก็มีพลังที่จะผลักดันเรื่องเหล่านี้”

80


พลังครอบครัว  คือพลังที่จะแก้ปัญหาของ มนุษย์ไปได้ไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์  มนุษย์ที่แข็งแรงจากพลังครอบครัว             จะเป็นพื้นฐานเพื่อการไปพัฒนาเรื่องอื่น ได้มากยิ่งขึ้น

81


เตือนใจ ดีเทศน์ “เราต้องอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ”

ภาพ : ชวลิต ชวลิตอังกูร Bliss Studio

เพราะเติบโตมาในย่าน ตลาดพลู ซึ่งเป็นย่านอาศัยของ ผู ้ มี ร ายได้ น ้ อ ยในสั ง คมเมื อ ง ท� ำ ให้ เ ตื อ นใจ  ดี เ ทศน์   ผู ้ ก ่ อ ตั้ ง และที่ ป รึ ก ษามู ล นิ ธิ พั ฒ นา ชุมชนและเขตภูเขา และคณะ กรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ มี ค วามมุ ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจตั้ ง แต่ วั ย เรียนว่า จะน�ำความรู้ที่มีมาเป็น ประโยชน์ต่อการช่วยเหลือคน ระดับล่างสุดของสังคม

หลังเรียนจบจากคณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   เธอเลือกที่จะท�ำงานเป็นบัณฑิตอาสาสมัคร  ในโครงการของ ศ.ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ รับใช้สังคมดังที่เคยท�ำงานอาสาสมัครมาก่อนตั้งแต่ ครั้งยังเป็นนิสิต

82


“ปรัชญาของคณะรัฐศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์ คือบัณฑิตต้อง รับใช้สังคม ก็มีโอกาสได้ไปค่าย ค่ายชนบทสมัยก่อนนี่คือลงชนบท จริงๆ ไปอยู่กับชาวเขาหนึ่งเดือนเต็มๆ เป็นการได้เรียนรู้ชีวิตของคนที่ อยู่กับธรรมชาติ คนซึ่งมีวิถีชีวิตเป็นชุมชนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และ มีวัฒนธรรมประเพณีที่แบ่งปันกัน  มีขนบธรรมเนียมประเพณีแทน กฎหมาย เป็นจารีตประเพณี เป็นส่วนที่งดงามของวัฒนธรรมชาวเขา น�ำสิ่งที่เรียนรู้ไปพูดคุยกับเด็กนักเรียนภาคกลางวัน และพูดกับผู้ใหญ่ ในภาคกลางคืน ให้เขาได้เห็นศักยภาพ เห็นจุดแข็งที่เขามีอยู่ อะไรที่ เ ป็ น ปั ญ หาของเขาก็ น� ำ มาวิ เ คราะห์ ทั้ ง ในเชิ ง กระบวนการทางสังคม  และในด้านวิชาการที่จะไปเสริมให้ชุมชน ชาวเขามีความเข้มแข็ง  มีความภาคภูมิใจในตัวเอง  และท�ำให้คน ภายนอก  ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ  หรือคนไทยที่ไม่ค่อยได้ใกล้ชิด กับชาวเขา ได้เรียนรู้และเข้าใจกันมากขึ้น ก็คิดว่าจะเป็นตัวเชื่อมใน ฐานะที่เป็นคนจากสังคมพื้นราบ เนื่องจากสมัยก่อนการเดินทางยาก มาก บางหมู่บ้านอาจต้องเดินเท้าสองวันสามวัน เป็นบัณฑิตอาสาสมัครอยู่สามปี  เป็นช่วงที่ชีวิตมีคุณค่ามาก เพราะตั้งแต่ตื่นตอนเช้าจนถึงเข้านอน เราได้ท�ำประโยชน์ ได้เรียนรู้ อะไรที่เป็นศักยภาพ เป็นส่วนที่ดีงาม” ความรักในธรรมชาติที่มีอยู่เป็นทุน ท�ำให้เตือนใจตกหลุมรัก ชีวิตบนยอดดอยอย่างง่ายดาย ความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายของชาวเขา กลืนเข้ากับความตัวเธอชนิดที่เรียกได้ว่าเป็นเนื้อเดียวกัน

83


“เป็นชีวิตที่ตรงกับหลักพระพุทธศาสนา เรื่องการรู้จักที่จะกิน อยู่อย่างมีสติคุ้มครองตน รู้ประมาณในการบริโภค ก็เลยชอบชนบท ชนบทของชาวเขาคือชนบทที่อยู่ไกลที่สุด  ซึ่งได้รับผลกระทบจาก การพัฒนาสมัยใหม่น้อยที่สุด มีการพึ่งตนเอง พึ่งพาซึ่งกันและกันใน ชุมชนได้มากที่สุด “นอกจากหลักธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่เน้น ว่ามนุษย์เกิดมาต้องเป็นชีวิตที่เกิดประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย มนุษย์ก็คือสรรพสัตว์ชนิดหนึ่ง และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จย่า ซึ่งทรงให้ความดูแลชาวเขาใน ฐานะที่เป็นพสกนิกรของพระองค์ท่านที่อยู่ในเขตราชอาณาจักร เป็น แรงบันดาลใจของดิฉันตั้งแต่สมัยเรียนจุฬาแล้ว” การได้คลุกคลีกับชาวเขา และความปรารถนาจะเห็นความ เป็นอยู่และวิถีชีวิตที่ยังคงงดงามท่ามกลางการไหลบ่าเข้ามาของการ พัฒนาสมัยใหม่ ท�ำให้เตือนใจยืนเคียงข้างกับพวกเขาเหล่านั้น และ เลือกพ�ำนักอยู่ในจังหวัดเชียงรายเพื่อสานความตั้งใจต่อในเวลาต่อ มา “การพั ฒ นาสมั ย ใหม่ เ ป็ น เรื่ อ งกระตุ ้ น การผลิ ต และการ บริโภค ค�ำขวัญของการพัฒนายุคแรกๆ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่ง ชาติ ก็เน้นเรื่อง  ‘งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข’ เอาเงินมาเป็นตัว ตั้ง แต่ชาวเขาไม่ได้เอาเงินเป็นตัวตั้ง  แม้กระทั่งคนในชนบทสมัยก่อน ก็คือมีข้าวเต็มยุ้ง มีข้าวพอกินทั้งปี มีอาหารพอกิน ธรรมชาติอุดม สมบูรณ์ เดินไปในล�ำห้วยก็มีผักกูด มีกุ้งหอยปูปลา หรือในป่าก็มีหน่อ ไม้ มีเห็ด มีพืชอาหารต่างๆ พึ่งตัวเองได้ในปัจจัยสี่

84


“แต่ ก ารพั ฒ นาสมั ย ใหม่ มี เ งิ น เป็ น ตั ว ตั้ ง ท�ำงานแล้วต้องได้เงิน  เมื่อได้เงินแล้วก็ต้องได้เงิน มากขึ้ น   กลายมาเป็ น ต้ อ งผลิ ต มากขึ้ น เพื่ อ ที่ จ ะมี ก�ำไรมาก พอเอาเรื่องเงินเอาก�ำไรเป็นตัวตั้ง เราก็ มองเพื่อนมนุษย์เป็นแค่แรงงาน เป็นปัจจัยการผลิต ที่ท�ำให้ค่าแรงถูกที่สุด แล้วเอาทรัพยากรที่ธรรมชาติ ให้มา ซึ่งควรจะอยู่ได้เป็นพันปีหมื่นปีแสนปี มาใช้ ในช่วงอายุคนนึง  กลายเป็นว่ามนุษย์เป็นเจ้าของ ธรรมชาติไปแล้ว ประเทศไทยก็เป็นไปตามการพัฒนากระแส หลั ก ของโลก  จากยุ ค ที่ เ ราท� ำ การเกษตรแค่ ใ ช้ แรงงานมนุษย์ ใช้แรงงานสัตว์ ก็เป็นปฏิวัติเขียว มี การใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ เอาใบไถใหญ่ๆ ไปพลิก แม่ธรณี ซึ่งท�ำให้ชีวิตเล็กๆ ต้องเสียหายสูญเสียไป นี่เป็นวิธีคิดที่เปลี่ยนไปกับการพัฒนา ซึ่งชาวเขาเอง ก็ได้รับผลกระทบ ผู้เฒ่าผู้แก่วิเคราะห์ว่า  ถนนเป็นงูตัวใหญ่ ที่เลื้อยเข้ามากลืนกินการพึ่งตัวเองและภูมิปัญญา อันดีงาม แล้วยักษ์ตาไฟก็คือไฟฟ้าที่เข้ามาแทนแสง ตะเกียง งูตัวใหญ่กับยักษ์ตาไฟมากลืนกินวิถีชีวิตที่ พอเพียง ที่มนุษย์ได้อยู่โดยไม่ต้องพึ่งปัจจัยภายนอก

85


พี่น้องบนดอยก็คุ้นชินการพัฒนาสมัยใหม่ ต้องมีรถ มีมอเตอร์ไซค์ มี โรงสีมาแทนครกต�ำข้าว  ซึ่งคนสมัยนี้อาจจะบอกว่าสังคมต้องมีการ เปลี่ยนแปลง เราจะอยู่อย่างป่าหิมพานต์ไม่ได้ การพัฒนาสมัยใหม่ที่เน้นเงิน เน้นก�ำไร เน้นวัตถุเป็นหลัก ท�ำให้มนุษย์ท�ำลายธรรมชาติและเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์มากขึ้นจนเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างที่เป็นอยู่ อุณหภูมิ โลกร้อนขึ้น เกิดภัยพิบัติน�้ำท่วม  พายุ แผ่นดินไหว สึนามิ แต่มนุษย์ก็ ยังไม่คิดปรับตัวที่จะหันมาอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชด�ำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เตือนใจรับว่า ช่วงเวลาที่ท�ำงานมายาวนาน ไม่ได้ท�ำให้การ ท�ำงานในชนบทง่ายขึ้น เมื่อต้องทวนกับกระแสบริโภคนิยมที่ยากจะ ต้านทาน “ยิ่งท�ำงานมาก็ยิ่งเห็นว่ายากมากขึ้น เพราะจิตใจของมนุษย์ ถูกกระตุ้นให้มีกิเลสงอกงามยิ่งขึ้น แทนที่จิตใจจะเจริญงอกงาม เป็น ผู้รู้ทันกิเลส ชนะกิเลส หรือเห็นทุกข์แล้วดับทุกข์ได้ แต่เรากลับกลัว ทุกข์ กลัวความยากล�ำบาก ยึดติดกับความสะดวกสบาย อันนี้เป็นสิ่ง ที่เห็นได้ชัดว่าประเทศของเราและโลกของเรามุ่งไปในการท�ำให้กิเลส เติบโตด้วยสื่อต่างๆ  ซึ่งแทนที่จะเป็นสื่อที่ท�ำให้มนุษย์ฝึกจิตให้ไกล จากกิเลส” กิเลสที่เติบโต  เปลี่ยนให้จิตใจของผู้คนมีความเพียรลดลง และรีบร้อนรวดเร็วกับชีวิต  เพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเข้าอก เข้าใจ การดึงชีวิตให้ช้าลงจึงเป็นเรื่องควรกระท�ำ “เราต้องเริ่มจากตัวเอง  หันกลับมาพัฒนาจิตใจด้านในมาก ขึ้น ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุท่านเน้นว่า เป็นอยู่อย่างต�่ำ คือใช้ทรัพยากร ให้น้อย กินน้อย พูดน้อย ใช้น้อย นอนน้อย แต่พัฒนาจิตให้สูง คือจิต ที่บริสุทธิ์ รู้เท่าทันกิเลส ชนะกิเลสให้ได้ มุ่งพัฒนาจิตให้สูง”

86


นอกจากประเด็ น ท� ำ งานที่ มุ ่ ง ให้ ช าวเขาเห็ น คุ ณ ค่ า ของ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของตนเอง และอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของ โลกอย่างรู้เท่าทัน เตือนใจมุ่งเน้นประเด็นซึ่งเป็นประเด็นร่วมของโลก ที่ว่าด้วยเรื่องของ  ‘สิทธิมนุษยชน’ ซึ่งชุมชนชายขอบภูเขาก็เผชิญกับ ปัญหานี้อยู่เช่นกัน “ถ้ามนุษย์มีจิตเมตตาต่อกัน เราไม่ต้องมีกฎหมายก็ได้ เราจะ ไม่เบียดเบียนข่มเหงกัน  แต่เนื่องจากจิตของมนุษย์มุ่งเพื่อประโยชน์ ตนมากขึ้น มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น การละเมิดสิทธิมนุษยชนของคน อื่นจึงกลายเป็นประเด็นหลักที่ร่วมสมัยของโลกนี้ไป ขอเล่าย้อนไปตอนที่ดิฉันได้รับรางวัลระดับนานาชาติรางวัล แรกของมูลนิธิอโชก้า คือ ‘Ashoka Fellow’ ท�ำให้ได้ไปเห็นงานของ ผู้ที่ท�ำงานด้านสิทธิมนุษยชน  ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมทุกทวีปทั่วโลก ได้เห็นว่าปัญหาที่เกิดกับชุมชน เกิดจาก โครงสร้างทางสังคมที่ไม่เป็นธรรม  ดิฉันจึงขยับมาท�ำงานในระดับ นโยบาย หรือในระดับกฎหมาย” รางวัลคนดีศรีสังคม  รางวัลบุคคลดีเด่นแห่งชาติ  ที่ได้รับใน เวลาต่อมา ท�ำให้เตือนใจได้มี ‘เวที’ ที่จะสื่อสารเรื่องนี้ให้สังคมได้รับรู้ ผ่านสื่อมวลชน และได้มีโอกาสยิ่งขึ้นเมื่อได้ท�ำงานเพื่อสังคมในฐานะ สมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ “เรื่องการเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ เป็นประเด็นที่ได้ท�ำตั้งแต่ ช่วงที่เป็นสมาชิกวุฒิสภา (พ.ศ.2543-2549)  และช่วงที่เป็นสมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (พ.ศ.2549-2551)  ประมาณแปดปีที่อยู่ใน รัฐสภาก็ท�ำเรื่องการแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติ เรื่องการท�ำให้มนุษย์ เรามีตัวตนในทางกฎหมาย   ซึ่งจะเป็นเหตุให้เขาได้รับการคุ้มครอง สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิที่จะมีชีวิตอย่างปลอดภัย สิทธิที่จะได้รับ การศึกษา สิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาล สิทธิที่จะมีอาชีพที่มั่นคง

87


ปลอดภัย  และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ  สิทธิในการก่อตั้งครอบครัว สิทธิในการได้รับการคุ้มครองจากกระบวนการยุติธรรม “ที่ จ ริ ง แล้ ว ประเทศไทยมี น โยบายที่ ดี เ กี่ ย วกั บ เรื่ อ งนี้   แต่ ปัญหาคือการปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นเจ้าของสิทธิซึ่งไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิ อะไร  ขาดความรู้ทางกฎหมาย  ขาดการรวมตัวเป็นเครือข่ายที่จะมี พลังต่อรอง มีศักยภาพในทางกฎหมาย เพราะฉะนั้นงานที่ท�ำอยู่ตอนนี้ และตรงกับแนวคิดนี้ ก็คือ การเป็นคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ซึ่งท่านอาจารย์ประเวศ วะสี เป็นประธาน เน้นว่าการปฏิรูปเป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาวะที่ดีขึ้น ซึ่งต้องเริ่มจากมนุษย์แต่ละคนปฏิรูปตนเอง ใช้หลักการว่า ‘ประชาชน ปฏิรูปประเทศ’ งานของกรรมการสมัชชาปฏิรูปก็คือการเพิ่มศักยภาพ เพิ่ม ความเข้มแข็ง  เพิ่มอ�ำนาจต่อรองให้กับกลุ่มคนที่มีอ�ำนาจต่อรอง น้อย มีศักยภาพน้อย โดยที่เราไม่ต้องไปลดอ�ำนาจของผู้ที่มีอ�ำนาจ อยู่ เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างเชิงอ�ำนาจของสังคม ให้ผู้ที่ด้อยอ�ำนาจ มีอ�ำนาจโดยใช้พลังทางปัญญา พลังข้อมูลทางวิชาการ ที่อาจารย์ ประเวศใช้ค�ำว่า  ‘สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา’  เอาองค์ความรู้เป็นหลัก เอาพลังของจิตใจที่ดีงามมารวมกัน  แล้วท�ำให้ฝ่ายรัฐหรือฝ่ายที่มี อ�ำนาจเชิงแนวดิ่งในอดีต  ให้ความส�ำคัญกับอ�ำนาจในแนวนอนมาก ขึ้น” แม้ปัญหาเหล่านี้จะสั่งสมและทับถมจนเป็นภูเขา แต่เตือนใจเชื่อว่าพลังของประชาชนจะมีอ�ำนาจมากพอที่จะเขยื้อนภูเขาลูกนี้ ได้

88


“เชื่อว่าเป็นไปได้  เหตุที่ดิฉันตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขต ภูเขา เพราะเราท�ำงานคนเดียวไม่ได้ แต่ถ้าท�ำในระบบ เป็นองค์กร เป็นนิติบุคคลที่มีกฎหมายรองรับ  จะท�ำให้ได้ส่งเสริมคนหนุ่มสาวที่ อยากจะท�ำงานเพื่อสังคมได้มาท�ำงานที่ตนรัก ได้เข้ามาท�ำงานเชื่อม ประสานช่องว่างระหว่างชาวเขากับคนไทยพื้นราบ” ตลอดชีวิตการท�ำงาน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชาวเขา คือสิ่งที่คุ้มค่าเหลือเกินกับการทุ่มเท “เราเน้นเรื่องการสร้างผู้น�ำและการท�ำงานร่วมกับเครือข่าย ต่างๆ เกิดการเสนอพระราชบัญญัติสัญชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วย แก้ปัญหาคนไร้สัญชาติ เกิดกฎหมายเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร์ ซึ่ง ท�ำให้คนที่ไม่เคยถูกส�ำรวจมาก่อน ไม่มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐใดรัฐหนึ่ง ในโลก ได้ถูกส�ำรวจและมีชื่อในทะเบียนราษฎร์ หรืออย่างกรณีของเด็กชายหม่อง  ทองดี  กรณีนี้ไม่ใช่เพื่อเด็ก ชายหม่อง  แต่เพื่อเด็กที่มีปัญหาแบบเดียวกับเด็กชายหม่อง  ก็ท�ำให้ เด็กไร้สัญชาติอย่างเด็กชายหม่องเป็นต้นแบบของกรณีปัญหา และมี การแก้เพื่อคนกลุ่มนั้นซึ่งมีเป็นหมืี่นเป็นแสนคน ตอนนี้ มี อี ก นโยบายหนึ่ ง ที่ เ ข้ า มาเกี่ ย วข้ อ งคื อ การเป็ น ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2558 ความเป็นหนึ่งเดียว  การ เคลื่อนย้ายประชากร  เคลื่อนย้ายการลงทุนจะเกิดขึ้น แล้วปัญหาตรง นี้จะมากขึ้นถ้ารัฐไม่ได้เตรียมการ” นั่นหมายความว่า หลังจากนี้งานของเธอในระดับนโยบายยัง มีความเหน็ดเหนื่อยรออยู่ข้างหน้า

89


“ที่ผ่านมาเรื่องท้อนี่มีแน่ แต่ท้อแล้วไม่ถอย ท้อแล้วก็ทบทวนว่า อะไรเป็นเหตุให้เราท้อแล้วเราก็ไปแก้ที่เหตุนั้น  เรื่องที่ท้อตอนนี้คือเรื่อง ระดับโลก ตอนนี้เรามีปัญหาอากาศเปลี่ยน อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น แล้ว เมื่อมีการประชุมระดับโลกเรื่องการแก้ไขปัญหาโลกร้อน ประเทศใหญ่ๆ อย่างอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น จีน อินเดีย ไม่ลงมติในพิธีสารเกียวโต ผู้น�ำ ชาติใหญ่ๆ ที่เป็นผู้สร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นเหตุให้อุณหภูมิโลกร้อน ขึ้น ไม่ได้ตระหนักเลยว่าเพราะโลกพัฒนาไปผิดทิศทาง”

เราจะต้องเปลี่ยนทิศทาง การพัฒนาของทั้งโลกให้อยู่อย่าง อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ กินน้อย ใช้น้อย อยู่อย่างพอเพียง กลับไป สู่ความธรรมดา และเรียบง่ายให้ มากขึ้น เตือนใจ ดีเทศน์

90


กรณ์ จาติกวณิช

“อยากใช้ชีวิตส่วนที่เหลือ ให้กับสังคม”

อดี ต นั ก การเงิ น ที่ ผั น ตั ว มาเป็ น นั ก การเมื อ ง  อดี ต สมาชิ ก พรรคฝ่ายค้าน  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  และปัจจุบัน กับการกลับมาสู่ต�ำแหน่งสมาชิกพรรคฝ่ายค้าน  ผู้มีความเชื่อว่าโลก นี้มีการด�ำรงอยู่ของความดีและความชั่ว  และความเชื่อที่ว่าสิ่งที่เขา ก�ำลังต่อสู้และปกป้องอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ดี คือแรงบันดาลใจส�ำคัญให้เขา ยังท�ำงานการเมืองต่อไป  แม้จะต้องเจอแรงเสียดทานทางการเมือง ลูกแล้วลูกเล่า              หากจะต้องแบ่งชีวิตตัวเองออกเป็นสามช่วง  กรณ์ จาติกวณิช เล่าว่าทุกช่วงล้วนมีอุปสรรคให้ต้องเอาชนะ มีสิ่งที่เขาต้องแข่งขันและ ฟันฝ่าเช่นเดียวกับคนทั่วไป  ‘ต้นทุน’  ทางสังคมที่มีอยู่มากพอ  ไม่ได้ หมายความว่าชีวิตจะง่ายดายราบรื่น

91


“ในจังหวะแรกผมคิดว่าง่ายที่สุดคือย้อนหลังไปเกือบ 25 ปี ตอนนั้นมีคนถามเยอะว่าอายุแค่ 24 ท�ำไมถึงคิดตั้งบริษัทของตัวเอง ซึ่งปกติตามวัฒนธรรมไทย ต้องเป็นคนที่อาวุโสพอสมควร หรืออย่าง น้อยมีประสบการณ์ท�ำงานนานกว่าที่ผมมีอยู่ในตอนนั้น ถึงจะมาเป็น เจ้าของบริษัทหรือกรรมการผู้จัดการได้” หลั ง เรี ย นจบปริ ญ ญาตรี   สาขาปรั ช ญา  การเมื อ ง  และ เศรษฐศาสตร์  จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด  ประเทศอังกฤษ  คุณ กรณ์ท�ำงานด้านการเงิน ในสถาบันการเงิน เอส จี วอร์เบิร์ก ประเทศ อังกฤษ สถาบันที่เขาเรียกได้ว่า “เหมือนได้เรียนปริญญาโทที่นั่น และ เป็นปริญญาโทที่เข้มข้นมาก” “เป็นธนาคารที่มีชื่อเสียงว่ามีความเป็นมืออาชีพสูง วอร์เบิร์ก เป็นชื่อของผู้ก่อตั้ง  เขาเป็นคนยิวที่หนีฮิตเลอร์มาจากเยอรมนี  มา ตั้งรกรากและสร้างสถาบันการเงินขึ้นมาแข่งกับสถาบันดั้งเดิมของ อังกฤษ ซึ่งมีวัฒนธรรมองค์กรแตกต่างจากสถาบันดั้งเดิมทั่วไป คือ

92


ต้องเก่งกว่า ขยันกว่า เด่นกว่า ถึงจะสู้ได้  มาตรฐานการท�ำงานสูงมาก และผมซึมซับวัฒนธรรมด้านนี้มาอย่างมากโดยไม่รู้ตัว หน้าที่ของผม ตอนนั้นคือเอาเงินลูกค้าไปลงทุน  ซึ่งสิ่งที่เขาสอนผมตลอดคือ  อย่า หลงรักสิ่งที่เราลงทุน เพราะเมื่อเราหลงรักมันแล้ว เราจะใช้อารมณ์ แทนเหตุผล ความหมายในทางกลับกันก็คือ ของที่ซื้อมาทุกอย่างต้อง ขายได้” ด้วยเหตุผลส่วนตัว ประกอบกับเหตุการณ์ ‘Black Monday’ ที่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในตลาดการลงทุนเมื่อปี 2530 ท�ำให้ คุณกรณ์ยุติตัวเองจากการเป็นลูกจ้างลงในเวลาสองปีครึ่ง  เมื่อกลับ เมืองไทย  เขามองเห็นช่องทางในการเข้าซื้อกิจการบริษัทหลักทรัพย์ และด้วยระดับการพัฒนาตลาดทุนในประเทศไทยที่ยังล่าช้า  เขาน�ำ นวัตกรรมและประสบการณ์การท�ำงานที่มี  มาสร้างจุดขายให้กับ บริษัทตัวเอง ที่ถูกมองในขณะนั้นว่าอ่อนด้อยประสบการณ์ “บางคนหั ว เราะเยาะใส่ เ ลยว่ า ผมจะมาเป็ น กรรมการ ผู้จัดการตั้งแต่อายุ 24 แต่ผมไม่เคยหยุดคิดว่าผมท�ำไม่ได้ ส่วนหนึ่ง คือความเชื่อมั่นในตัวเอง เชื่อมั่นในสิ่งที่เรียนรู้มา และส่วนหนึ่งอาจ จะเป็นเพราะในวัยนั้นเราไม่ค่อยคิดกลัว และผมเองอาจไม่ตระหนัก ถึงอุปสรรค พูดง่ายๆ คือรู้น้อยเลยไม่กลัว แต่รู้มากอาจจะไม่กล้า ถ้า ผมไม่ตั้งบริษัทตัวเอง  แล้วออกไปอยู่บริษัทใหญ่ๆ  แทนเพื่อสะสม ประสบการณ์ ผมอาจไม่ได้ผันตัวออกมาตั้งบริษัท เพราะอาจติดอยู่ กับระบบ และอาจขาดความกล้าเพราะเราจะเริ่มเปรียบเทียบตัวเอง กับคนที่มีประสบการณ์มากกว่า ดังนั้นความไม่รู้ก็เลยท�ำให้กล้าที่จะ ท�ำ และพอท�ำแล้วมันถอยไม่ได้ เจออุปสรรคก็ต้องแก้”

93


บริษัทหลักทรัพย์ เจเอฟ ธนาคม จ�ำกัด ของผู้ก่อตั้งวัย 24 เติบโตในชนิดที่เขาบอกได้ว่า “การตัดสินใจครั้งนั้นยิ่งกว่าน่าพอใจ ที่ จริงทุกๆ วันเรามีเรื่องให้ต้องตัดสินใจอยู่แล้ว แต่ถ้ามองย้อนกลับไป ในชีวิตหนึ่ง เราจะเห็นว่าชีวิตเราประสบความส�ำเร็จหรือไม่ มันขึ้น กับการตัดสินใจใหญ่ๆ บางชีวิตอาจจะครั้งเดียว แต่ส�ำหรับผมอาจจะ ครั้งหรือสองสามครั้ง ไม่มากกว่านั้น ที่ ป ระสบความส� ำ เร็ จ   ต้ อ งบอกว่ า ส่ ว นหนึ่ ง เป็ น เรื่ อ งของ อัตตา  ผมอยากเป็นเจ้านายตัวเอง  ไม่อยากเป็นลูกน้องใคร  ไม่ได้ คิดเผื่อเลยว่าถ้าล้มเหลวจะเป็นยังไง ตอนท�ำธุรกิจใหม่ๆ ผมจะบอก กับลูกน้องเสมอว่า เป้าหมายของเราไม่ใช่ก�ำไร แต่คือการให้บริการ ลูกค้า ถ้าเราให้บริการลูกค้าดี ก�ำไรจะเป็นสิ่งที่ตามมาเอง ถ้าเรามุ่ง แสวงหาก�ำไร  ในระยะสั้นเราอาจคิดเอาเปรียบลูกค้าเพื่อให้ได้ก�ำไร มากขึ้น  แต่มันจะส่งผลทางลบในระยะยาว  แล้วสุดท้ายบริษัทเรามี ก�ำไรทุกปี ความพึงพอใจที่ลูกค้ามีต่อเราก็มากขึ้นเรื่อยๆ” เช่นเดียวกับแนวคิดของวอร์เบิร์กที่บอกว่า  ‘ของที่ซื้อมาต้อง ขายได้’ เมื่อในวันหนึ่งเขาตัดสินใจขายหุ้นที่ท�ำก�ำไร และหันมาเล่น การเมือง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันครั้งใหม่ “ท้ายที่สุด ถ้าผม ไม่ได้ขายเพื่อท�ำก�ำไร  ทั้งหมดนั้นก็เท่ากับว่าสิ่งที่ผมท�ำมามันสูญ เปล่า เพราะฉะนั้นอย่าไปยึดติดกับมัน” ในวัย 40 ที่เขาละทิ้งงานภาคธุรกิจและลงสมัครเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความคิดซึ่ง ฝังลึกอยู่ในใจ และเผยออกมาในช่วงเวลาที่เหมาะเจาะ

94


“ผมอยู่ในครอบครัวข้าราชการ  ผมไม่เคยคิดท�ำอะไรอย่าง อื่นเลยนอกจากข้าราชการ  ชีวิตผมหันเหไปอยู่ภาคเอกชนมานาน โชคดีว่ากิจการที่ขายสามารถท�ำเงินให้ตัวเองอยู่ได้สบายไปทั้งชีวิต เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้มากมาย และผมก็มีความตั้งใจว่าอยากใช้ชีวิต ส่วนที่เหลือในการท�ำงานให้กับสังคม เรื่องท�ำงานการเมือง  ตอนนั้นผมคิดหนักมาก  ผมหวงเวลา ส่วนตัวที่จะมีต่อครอบครัว ไม่ชอบไปเสนอหน้ากับใคร ชอบใช้ชีวิต สบายๆ ไปตีกอล์ฟ ไปเที่ยว การก้าวย่างเข้ามาสู่ชีวิตการเมือง จะ ท�ำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป สุดท้ายผมก็เอาหลายๆ อย่างมาชั่ง หนึ่งอยากท�ำงานคืนก�ำไรสังคม และผมก็วิเคราะห์ตัวเองว่า เหนืออื่นใด ผมชอบการแข่งขัน ถ้าไม่มีการแข่งขันแล้วผมจะขี้เกียจโดยธรรมชาติ ผมเล่นกีฬาเยอะ แต่จะให้ซ้อมเฉยๆ โดยที่ไม่ได้แข่งกับใคร ผมท�ำไม่ ได้ ต้องมีเป้าหมายชัดเจน ถ้าจะไปท�ำงานการกุศล ผมรู้ว่ามันไม่เวิร์ก เพราะไม่มีแรงบันดาลใจ  ไม่มีแรงกระตุ้น  ผมต้องแข่งกับอะไรหรือ ใครบางอย่าง ผมถึงจะท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเมือง ท้าทายผมในแง่นั้น และกระตุ้นให้ผมต้องขยัน ประเด็ น ที่ ส อง  ผมได้ รั บ การติ ด ต่ อ จากทั้ ง คุ ณ บั ญ ญั ติ บรรทั ด ฐาน  ที่ แ นะน� ำ ให้ ผ มสมั ค รเป็ น สมาชิ ก พรรคประชาธิ ป ั ต ย์ ตั้งแต่แรก และสุดท้ายก็โดยคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งตอนนั้นยังไม่ ได้เป็นหัวหน้าพรรค แต่มีแนวโน้มว่าจะได้เป็น ผมก็มีอารมณ์อยาก ช่วยเพื่อนด้วย ตอนนั้นประชาธิปัตย์อ่อนแอมาก “ผมเองในวันนั้นไม่ได้มีความคิดเห็นที่เป็นศัตรูกับใคร หรือ เป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  เพียงแต่คิดว่าการแข่งขันเป็นสิ่งที่น�ำไปสู่สิ่งที่ ดีที่สุด เวลามีสินค้าแข่งขันกัน คนที่ได้ประโยชน์ที่สุดคือประชาชน

95


สินค้าคุณภาพสูงขึ้น ราคาต�่ำลง เช่นเดียวกัน การเมืองถ้ามีพรรค ใหญ่ อ ยู ่ พ รรคเดี ย ว  ไม่ มี พ รรคไหนแข่ ง กั บ เขาได้ อ ย่ า งจริ ง ๆ จั ง ๆ สุดท้ายแล้วประเทศชาติและประชาชนจะเสียประโยชน์ การผูกขาด เป็นสิ่งที่ท�ำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์ทุกกรณี ผมเลยอยากเข้าไปช่วย ประชาธิปัตย์ ไม่ต้องชนะก็ได้ แต่ให้มีการแข่งขันที่เสมอภาคมากขึ้น ก็น่าจะได้ประโยชน์ แต่ มี แ รงบั น ดาลใจอี ก เรื่ อ งหนึ่ ง ที่ ส� ำ คัญ มากคือเราก็ต้อง ยอมรับความเป็นจริง คุณต้องรู้ตัวตน อย่าหลอกตัวเอง แล้วตัวตน ของผมคือตอนนั้นผมได้รับการปลูกฝังมาด้วยว่า   สิ่งหนึ่งที่ผมควร จะท�ำคือการสร้างชื่อเสียงให้กับวงศ์ตระกูล  เช่นที่ครอบครัวของผม ได้ท�ำมา และผมก็อยากท�ำ อีโก้สูง อัตตามี อยากได้รับการยอมรับ เวลาย้อนกลับไปวิเคราะห์ หลายๆ อย่างในชีวิตผมมีอิทธิพลมาจาก การที่ผมเป็นลูกคนกลาง   ไม่ได้เป็นคนที่เคยขาดความอบอุ่น  แต่มี ความรู้สึกว่าต้องท�ำให้คนยอมรับเราหรืออะไรสักอย่างตลอดเวลา ซึ่ง ไม่ดี ความจริงคนเราไม่ควรต้องไปแคร์คนอื่น แต่ผมก็ต้องยอมรับ ความจริงว่าผมเป็นคนที่แคร์คนอื่นว่าเขาคิดยังไงกับเรา เลยอยากมา ท�ำงานตรงนี้ ไม่ได้หวังสูง ไม่ได้อยากมียศต�ำแหน่ง อยากท�ำงานใน เวทีนี้เท่านั้นเอง ผมตั้งเป้าว่าผมเป็นฝ่ายค้านสักสี่ปี  หลังจากนั้นได้ท�ำงาน เป็นฝ่ายบริหารก็ดี แล้วออกมาอย่างนั้นเป๊ะเลย สี่ปีจากนั้นผมเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  เป็นงานที่ท้าทายซึ่งผมได้เตรียม ตัวมาอย่างดี  เกือบจะเรียกว่าทั้งชีวิตเพราะผมเกิดมาในกระทรวง การคลัง  เรียนก็เรียนมาทางนี้  ช่วงเป็นฝ่ายค้านก็เป็นรัฐมนตรีเงา กระทรวงนี้  ผมสนใจในรายละเอียดเรื่องเศรษฐกิจ  การแก้ปัญหา สังคมด้วยวิชาเศรษฐศาสตร์มาโดยตลอด

96


ผมบอกกับทีมงานเสมอว่า เมื่อมีโอกาสแล้ว อย่าปล่อยมัน ผ่านไป ผมท�างานกันเต็มที่ตลอดช่วงสองปีครึ่ง จะได้ไม่เสียใจว่าเรา มัวเสียเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องเมื่ออยู่ในต�าแหน่ง และไม่ได้ท�าใน สิ่งที่เราอยากท�า” สองปีครึ่งในการด�ารงต�าแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ คลัง คุณกรณ์ได้ตระหนักถึงสัจธรรมบางอย่าง ซึ่งเป็นผลพวงมาจาก สิ่งนอกเหนือการจับต้องได้ ที่เรียกว่า ‘อ�านาจ’ “โบราณบอกว่า คนเราไม่รู้เป็นอะไร เรื่องของอ�านาจ เมื่อมี แล้วไม่มีทางพอ ผมตระหนักในสัจธรรมนี้ แล้วต่อสู้กับตัวเองตลอด ว่าพยายามใช้ชีวิตให้ปกติมากที่สุด เพราะมันจะอยู่กับเราไม่นาน หากเป็นทุกข์จากการไม่ได้อยู่ในต�าแหน่ง เพราะสูญเสียสิ่งที่เคยมี จะ สะท้อนให้เห็นว่าเราโง่ที่สุด ต�าแหน่งรัฐมนตรีบ้านเรานี่ผมว่าเกินไป ทุกคนประเคนทุกอย่างให้ มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างอภิสิทธิ์ชนมากที่สุด ซึ่งระบอบประชาธิปไตยไม่ควรเป็นอย่างนั้น เป็นข้อบกพร่องอย่าง มากในสังคมบ้านเรา”

97


การแพ้เลือกตั้งในปี  2554  เป็นช่วงเวลาที่เขาได้กลับมา ทบทวนตัวเอง ถึงเรื่องราวที่ผ่านมาในชีวิตนักการเมือง “ความผิดหวังมันมีอยู่แล้ว  ค�ำถามที่ว่าท�ำต่อไปเพื่ออะไรก็ มีอยู่ตามธรรมชาติ ทุกเรื่องที่เล่ามา แรงบันดาลใจของผมจะมาจาก ข้างใน แต่ครั้งนี้ผมต้องยอมรับว่าความท้าทายมันมากเกินกว่าที่ผม จะฝ่ามาได้ด้วยตัวเอง ผมใช้ค�ำว่าท�ำใจได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่อยู่ ในระดับที่เพียงพอต่อประสิทธิภาพที่จ�ำเป็นต่อต�ำแหน่งนี้ กระทั่งผม ได้เจอพรรคพวกในพรรค โดยเฉพาะกับคุณอภิสิทธิ์ ซึ่งต้องเข้าใจว่า ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งแพ้เลือกตั้งมา ผมรู้สึกแย่ยังไง เขายิ่งแย่ กว่าผมสิบเท่า  แต่ส�ำหรับเขาถือว่านี่เป็นก้าวปกติธรรมดาก้าวหนึ่ง ในระบอบประชาธิปไตย เราท�ำให้ดีที่สุด ท�ำเต็มที่ แต่สุดท้ายเราไป บังคับจิตใจพี่น้องประชาชนไม่ได้ และมีส่วนหนึ่งซึ่งไม่น้อย 11 ล้านคนเลือกเรามา เราก็ต้อง ท�ำต่อไป เพียงแต่หน้าที่เราเปลี่ยน จากฝ่ายบริหารมาเป็นฝ่ายค้าน ซึ่งในระบอบประชาธิปไตยมีความส�ำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ทุกๆ คน ปรับตัวเข้าสู่บทบาทใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ท่านชวน หลีกภัย เป็นนายก รัฐมนตรีสองสมัย ก็ยังเข้ามาท�ำงานในสภาในฐานะฝ่ายค้านคนหนึ่ง ตามปกติ  คุณบัญญัติ  บรรทัดฐาน  เคยเป็นหัวหน้าพรรค  ก็เข้ามา ท�ำงานในฐานะ สส.ฝ่ายค้านอาวุโสคนหนึ่งอย่างสม�่ำเสมอ หลายๆ  ครั้งผมมองไปที่ผู้แทนระดับท้องถิ่น  ผมตั้งค�ำถาม ในใจตัวเองว่าเขาคิดอะไร เขาได้อะไร สส.ออกไปท�ำงานช่วยชาวบ้าน น�้ำท่วม ตังค์ก็ต้องจ่าย ชาวบ้านด่าอีกว่าท�ำไมมาวันนี้ ไม่มาเมื่อวาน เอาข้าวไปให้ปากซอย ก็โดนว่าท�ำไมไม่เอามาให้ถึงบ้าน เป็นค�ำถาม จริงๆ ว่าส�ำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้ามาท�ำงานการเมืองโดยหวังประโยชน์ ไม่ ได้เข้ามาหากินกับการเมือง เรามาอยู่ตรงนี้ท�ำไม

98


“แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งที่ท�ำให้ผมยังอยู่ตรงนี้ก็คือเรื่อง ของภาระหน้าที่ ผมมองว่าในช่วงชีวิตของเรา เราควรมีส่วนใน การท�ำให้สังคมในช่วงเวลาของเราและโลกของเรามันดีขึ้น แม้ จะเล็กน้อย  ก็ถือว่าเราได้ท�ำหน้าที่ของเราในการยืนอยู่บนโลก ใบนี้แล้ว”

การแข่งขันเป็นสิ่งที่น�ำไปสู่สิ่งที่ดีที่สุด เวลา มีสินค้าแข่งขันกัน คนที่ได้ประโยชน์ที่สุดคือ ประชาชน สินค้าคุณภาพสูงขึ้น ราคาต�่ำลง เช่นเดียวกัน การเมืองถ้ามีพรรคใหญ่อยู่พรรค เดียว ไม่มีพรรคไหนแข่งกับเขาได้อย่างจริงๆ จังๆ สุดท้ายแล้วประเทศชาติและประชาชน จะเสียประโยชน์

99


นพ.บัญชา พงษ์พานิช ในธรรมะมีค�ำตอบ ลานริมสระนาฬิเกร์เงียบสงบ สายลมเอื่ อ ยพั ด แผ่ ว ให้ รั บ รู ้ ถึ ง ความร่มเย็นของอาคารริมสระน�้ำ ม่านไทรพลิ้วสัมผัสผืนน�้ำ  ใกล้กัน คือมะพร้าวนาฬิเกร์ยืนต้นสง่างาม ต้นหนึ่งปลูกโดยหลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ  และอีกต้นพระภาวนา โพธิ คุ ณ   กั บ นายแพทย์ ป ระเวศ วะสี ปลูกไว้เมื่อปี 2553

แม้จะต่างสถานที่  แต่เสียงสวดมนต์เย็นบนชั้นสองของสวน โมกข์ กรุงเทพฯ ก็ชวนให้ใจสงบนิ่ง ราวกับทุกสิ่งรอบตัวล้วนเกิดขึ้นที่ สวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

100


ชายร่ า งสู ง โปร่ ง ในเสื้ อ ผ้ า ฝ้ า ยสี ข าวสะอาดตา  ถื อ ไดอารี่ สีด�ำติดตัวไม่ห่าง  คืออดีตแพทย์ผู้รักษาชีวิตและเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  เขาร้างลาจากวงการ แพทย์มานานกว่า  15  ปี  เพื่ออุทิศตนให้กับพุทธศาสนาและงานจิต อาสาเต็มตัว ปัจจุบันนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช เป็นกรรมการและ เลขาธิการมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส  อินทปัญโญ  รวมถึงเป็น วิทยากรบรรยายธรรมตามสถานที่ต่างๆ ก่อนหน้าที่จะเลือกเดินบนวิถีแห่งพระพุทธองค์  หมอบัญชา ไม่ต่างกับมนุษย์ทุกคน ที่ตั้งค�ำถามกับทุกสิ่งรอบตัว ความซับซ้อนของ ผู้คน จนถึงความสับสนในจิตใจ คนที่ทุ่มเทท�ำความดี กลับไม่ได้ดีดังค�ำ สอนของทุกศาสนา ที่สุดเขาจึงตัดสินใจบวชเพื่อค้นหาค�ำตอบมากมาย ในชีวิต “ผมเกิดมาพ่อก็เขียนในใบสูติบัตรว่านับถือศาสนาพุทธ  แต่ ผมไม่รู้หลักศาสนาพุทธที่แท้จริง  ไปวัดก็เข้าไม่ถึง  เข้าชมรมพุทธที่ มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ก็ไม่เข้าใจ และแนวที่เพื่อนใน ชมรมคุยหรือปฏิบัติกัน มันซึมกะทือเกินไปส�ำหรับผม หรือชาวพุทธคือ คนที่มีความทุกข์ ผิดหวัง อกหัก คนเข้าวัดล้วนมีปัญหา แต่พอผมไป บวชจริงๆ กลับได้ค้นพบว่า พระพุทธศาสนาส�ำคัญยังไง ท�ำไมถึงเป็น ศาสนาประจ�ำชาติของเรา ผมบวชที่สวนโมกข์ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)  เพื่อค้นหาค�ำตอบ ตั้งใจจ�ำวัดแค่หนึ่งเดือน  ถ้าอยู่แล้วไม่เข้าใจผมจะไปจ�ำวัดที่วัดหนอง ป่าพง เพราะก่อนบวชผมอ่านหนังสือธรรมะของท่านพุทธทาส ไม่เข้าใจ เลยสักนิด แต่พอไปจ�ำวัดที่สวนโมกข์ได้ยี่สิบวัน ผมเริ่มเข้าใจธรรมะของ พระพุทธองค์มากขึ้น แล้วผมก็ทึ่งในค�ำสอนของพระพุทธองค์ตั้งแต่นั้น ระหว่างบวชอยู่ที่สวนโมกข์สี่เดือน  ผมคิดแต่เพียงว่า  สึกไป แล้วจะอุทิศตนให้พุทธศาสนา  เพราะค�ำสอนของพระพุทธเจ้าช่วยชีวิต

101


และให้ค�ำตอบที่แท้จริงแก่ชีวิตของเรา  ท�ำให้ผมมีวิสัยทัศน์และก�ำหนด แนวทางในการด�ำเนินชีวิตที่ดี ก่อนผมจะลาสิกขา ท่านพุทธทาสสอน ธรรมะสี่ข้อซึ่งน�ำมาใช้กับชีวิตประจ�ำวัน เพื่อเป็นชีวิตที่รอดได้ มีทุกข์แต่ ทุกข์น้อย ท่านพุทธทาสเปรียบไว้น่ารักมาก เรียกว่า ‘ธรรมะสี่เกลอ’ คือ สติ ปัญญา สัมปชัญญะ และสมาธิ” ธรรมะ 4 เกลอ หรือพุทธวิธีชนะความทุกข์ ต้องเดินเคียงคู่ ไปกับหลักสติปัฏฐาน 4 (กาย เวทนา จิต ธรรม) เพื่อประคับประคอง สหายทั้ง 4 ให้อยู่กับปัจจุบัน และควบคุมด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) เพื่อยึดหลักแห่งความดี  ทั้งหมดนี้คือแนวทางในการแก้ปัญหา ต่างๆ ในชีวิตของหมอบัญชา เช่นเดียวกับหลักอริยสัจ 4 ที่เขาน�ำมาปรับ ใช้ในชีวิตได้อย่างสมดุล “ท่านพุทธทาสเปรียบเทียบให้เห็นชัดกับการผ่าแตงโม  ขั้นที่ หนึ่งต้องหามีดคือสติ  ระลึกรู้ว่าเราก�ำลังท�ำอะไร  เสร็จแล้วเอาสติไป หยิบปัญญา  คือมีดต้องคมและยาวจึงจะเหมาะสม  ระหว่างผ่าต้อง ใส่แรงกดลงไปคือสมาธิ  แล้วจะผ่าแตงโมไม่ให้หมุนกลิ้งก็ต้องใช้มือ ประคองคือการมีศีลก�ำกับ ดังนั้นเราจะท�ำทุกสิ่งต้องออกแรง การฝึก สมาธิคือการฝึกออกก�ำลังของจิต ฝึกไปเรื่อยๆ สักพักจิตจะหนักแน่นขึ้น ดังนั้นเมื่อผมเกิดปัญหา หลักไตรสิกขาและธรรม 4 เกลอช่วยได้ การจะเอาหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา  เราต้อง ย้อนพิจารณาดูว่าธรรมะข้อไหนจะแก้ปัญหานั้นๆ ของเราได้ ก่อนจะถึง ตรงนั้นเราต้องเข้าใจให้ได้ว่า  ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้คืออะไร  ล้นเกล้ารัชกาลที่หก ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือชื่อ ‘พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร’ ว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระธรรม  ตรัสรู้อริยสัจสี่  ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (พระญาณที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า) ท่านพุทธทาสฟันธง เลยว่า สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้คือ ‘อิทัปปัจจยตา’ แปลว่า เพราะสิ่ง นี้จึงมีสิ่งนี้ ด้วยความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆ ทุกอย่างมี เหตุจึงเกิดผล

102


ที่ส�ำคัญต้องเข้าใจธรรมชาติของจิตว่ามีสามสถานะ  คือบวก ลบ และกลาง พอเจอของถูกใจก็เป็นบวก แล้วก็ลุ่มหลงหรือเพลินไป ความเพลินถือเป็นยาพิษอย่างหนึ่ง เพราะทุกสิ่งเป็นโลกธรรม จิตที่ฝึก ยากคือสิ่งที่มากระทบจิตใจแล้วเป็นลบ  หลายคนถือเป็นโอกาสผจญ มาร เพื่อให้จิตใจยังตั้งมั่นในการท�ำความดี ท�ำทุกสิ่งด้วยใจเป็นกลาง รู้ว่าอารมณ์ที่มากระทบนั้นเราไม่ชอบ แต่ใจไม่รู้สึกไม่ชอบไปด้วย สัก แต่รู้ว่าชอบหรือไม่ชอบ  ไม่หลงไปกับอารมณ์นั้น  เหมือนที่พระท่านรู้ ว่า กินก็สักแต่ว่ากิน อย่าไปหลงรส พระบางรูปรู้สึกอร่อย ถึงกับคาย อาหารออกมาก่อน แล้วค่อยกลืนกลับไป เพื่อให้รู้สึกรังเกียจขึ้นมาทันที เป็นการฝึกจิตให้เป็นกลาง ในทุกวันชีวิตเราต้องเผชิญกับคนสองแบบ  คือคนดีและไม่ ดี  ดังนั้นทุกสิ่งที่ต้องเผชิญในชีวิตประจ�ำวัน  ถือเป็นการปฏิบัติธรรม ผมมองการนั่งสมาธิในสถานที่เงียบสงบ  เป็นการหลบจากสิ่งกระตุ้น มากมายในชีวิตจริง หลายคนพอกลับไปท�ำงานจึงทนไม่ได้ ทั้งที่สภาพ แวดล้อมเหล่านั้นคือของจริง การฝึกจิตที่แท้จริง คือการเผชิญกับสิ่ง ต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวันด้วยธรรมะ เพราะโลกแห่งความจริงเราไม่ได้อยู่ เฉยโดยไม่ได้ท�ำอะไรเลย”

103


“แล้วเราจะมีชีวิตอย่างไรให้มีประโยชน์  ท่านพุทธทาสบัญญัติ คติของชาวสวนโมกข์ไว้ว่า สงบ เย็น และเป็นประโยชน์ ในที่นี้ต้องค�ำนึง ถึงประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านไว้อย่างสมดุล  ไม่เห็นแก่ตัวและไม่ ช่วยเหลือผู้อื่นจนเบียดเบียนตัวเอง  ก่อนจะดูแลคนอื่น  เราต้องดูแล ตัวเองด้วยศีล  หมายถึงการดูแลร่างกายให้ดี  สมาธิคือดูแลจิตใจให้ดี ปัญญาคือดูแลความคิดอ่านให้ดีเสียก่อน  จึงจะดูแลผู้อื่นด้วยวิธีแห่ง พุทธศาสนา มิติด้านสุขภาพในวงการแพทย์ก็เช่นกัน  องค์การอนามัยโลก นิยามความหมายของความสุขและการดูแลตัวเองไว้เมื่อประมาณห้า สิบถึงหกสิบปีที่แล้วว่า  สุขภาพดีไม่ได้หมายถึงภาวะที่ปราศจากโรค และความพิการเท่านั้น  แต่หมายถึงสภาวะความเป็นอยู่ที่ดีทางด้าน กาย ใจ ปัญญา และสังคม ประเทศไทยนิยามไว้เมื่อปี 2550 ว่าสุขภาวะ ที่ดี คือภาวะที่สมบูรณ์ทั้งกาย ใจ ปัญญา และสังคม ขณะที่พระพุทธ องค์ทรงบัญญัติเรื่องศีล สมาธิ และปัญญาไว้เมื่อ สองพันหกร้อยปีมา แล้ว ถ้าเราศึกษาอย่างลึกซึ้งจะพบว่าหลักธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์  ผมเพิ่งตั้งค�ำถามนี้ กับท่านดาไลลามะว่า  ‘หลายปีที่พระองค์สนทนากับนักวิทยาศาสตร์ ทั่วโลก พระองค์ค้นพบอะไรบ้าง’ ท่านตอบว่า ‘โลกตะวันตกและนัก วิทยาศาสตร์  เข้มแข็งในเรื่องของศาสตร์ทางกายภาพ  แต่ศาสตร์ทาง จิตยังล้าหลังชาวพุทธอยู่มาก’  จนทุกวันนี้หลักค�ำสอนของพุทธศาสนา เป็นที่สนใจกันมากในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เขาศึกษาอย่างจริงจังจนค้น พบว่า หลักค�ำสอนทางพุทธศาสนานั้นจริงแท้และพิสูจน์ได้” ถึงตรงนี้ หมอบัญชาเปิดหน้าแรกของไดอารี่สีด�ำ เพื่อให้เห็นถึง หลักธรรมที่เขาน�ำมาใช้ทบทวนตัวเองอยู่ทุกวัน นอกจากธรรมะ 4 เกลอ ยังมีธรรมะ 9 ตาของท่านพุทธทาส ที่เขายึดถือเป็นหลักธรรมยามเผชิญ

104


กับอุปสรรคมากมายในชีวิต บนกระดาษสีงาช้าง มีภาพวาดร่างกาย มนุษย์นั่งขัดสมาธิเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า “ผมวาดไว้เป็นแผนภูมิชีวิตของตัวเอง  เขียนเป็นสามเหลี่ยม เพื่อให้ระลึกถึงกาย ใจ และปัญญา ทุกเช้าผมจะนั่งสมาธิเพื่อส�ำรวจใจ ตัวเอง แทนที่จะห่วงกังวลกับการแต่งกาย  หรือรูปลักษณ์  เราดูกระจก แต่ไม่เคยดูใจตัวเอง นอกจากธรรมะสี่เกลอแล้ว ธรรมะเก้าตานี่แหละที่ ช่วยให้เราส�ำรวจใจตัวเองได้อย่างลึกซึ้ง ผมเก็ บ ธรรมะเก้ า ตาไว้ เ ป็ น ธรรมะประจ� ำ ใจ  ชุ ด แรกคื อ ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ใครฝืนความไม่ยั่งยืนก็เป็นทุกข์ เพราะทุกสิ่งย่อมเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย หามีตัวตนไม่ สามตาชุดที่ สองคือ อิทัป-ปัจจยตา (เป็นเหตุเป็นปัจจัยอาศัยกันเกิดขึ้น)  ธัมมัฏฐิต ตา (การตั้งอยู่ตามธรรมดา)  และธัมมนิยามตา (เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ของธรรมดา) เพราะทุกอย่างล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย  ไม่เป็นไปอย่าง อื่น   สุดท้ายจึงเชื่อมโยงกับสามตาชุดที่สาม  คือตถาตา  (ความเป็นเช่น นั้นเอง)   สุญญตา (จิตว่าง) และอตัมมยตา (ความไม่เกี่ยวข้อง) ธรรมะของพระพุทธองค์นั้นลึกซึ้งและละเอียดมาก  หากเรา ศึกษาจริงๆ  ผมเชื่อว่าทุกคนจะค้นพบค�ำตอบในชีวิต  เหมือนที่ผมเชื่อ ว่าทุกชีวิตมีธรรมะอย่างน้อยหนึ่งข้อเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ”

สุขภาพดีไม่ได้หมายถึงภาวะที่ปราศจาก โรคและความพิ ก ารเท่ า นั้ น   แต่ ห มายถึ ง สภาวะความเป็ น อยู ่ ที่ ดี ท างด้ า นกาย  ใจ ปัญญา และสังคม

105


กัณวีร์ สืบแสง ผู้ลี้ภัยกับสิทธิในความเป็นมนุษย์

อดี ต นั ก เรี ย นเตรี ย มทหาร จากโรงเรียนนายร้อย  จปร. ที่เลือก เส้ น ทางชี วิ ต หลั ง จากนั้ น ในการ เรี ย นต่ อ ด้ า นรั ฐ ศาสตร์ ทั้ ง ระดั บ ปริ ญ ญาตรี แ ละปริ ญ ญาโท  และ ท� ำ งานในหน่ ว ยงานด้ า นผู ้ ห นี ภั ย จากสงครามตั้ ง แต่ ยั ง รั บ ราชการ ทหาร  กระทั่งลาออกมาร่วมงานกับ  UNHCR (United  Nations  High Commissioner for Refugees) หรือ ส�ำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่ง สหประชาชาติ  ประจ�ำประเทศไทย

106


ปัจจุบัน กัณวีร์ สืบแสง เดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพฯ กับ แม่ฮ่องสอน  หมุดหมายแรกคือบ้านและส�ำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ ภัยแห่งสหประชาชาติ  ส่วนหมุดหลังที่ปักเป็นที่มั่นมานานกว่าสิบปี คือหน่วยงานผู้ลี้ภัยในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เขาเป็นผู้ช่วยหัวหน้าภาค สนาม UNHCR ดูแลศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยในพื้นที่นั้น “ผมท�ำงานกับผู้ลี้ภัยมาตั้งแต่ปี 2539 ตั้งแต่ยังรับราชการ ทหารที่กองบัญชาการทหารสูงสุด  ซึ่งเป็นชื่อในขณะนั้น  ตอนนั้น ท�ำงานกับผู้ลี้ภัยที่อ�ำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ท�ำงานได้ช่วงหนึ่งก็ไป เรียนต่อปริญญาโท และไปท�ำวิจัยด้านผู้ลี้ภัยที่แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นที่ ที่ผมท�ำงานอยู่ตอนนี้ ก็เป็นสิ่งดี เพราะเป็นการได้กลับไปเจอเพื่อนใน ค่ายพักพิง ที่ยังคงอยู่ตั้งแต่แรก” นิยามความหมายของผู้ลี้ภัยตามกฎหมายระหว่างประเทศ คือบุคคลที่หนีจากการประหัตประหาร  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สงคราม การเมือง หรือกลุ่มคนที่ไม่สามารถด�ำรงชีพอยู่ได้ในประเทศ ที่ ตั ว เองมี สั ญ ชาติ อ ยู ่   และรั ฐ บาลของประเทศนั้ น ๆ  ไม่ ใ ห้ ค วาม คุ้มครอง “ศั พ ท์ ง ่ า ยๆ  คื อ   หนี ค วามตายจากประเทศของเขาไปยั ง ประเทศอื่น งานหลักๆ ของ UNHCR คือการให้ความคุ้มครองระหว่าง ประเทศแก่ผู้ลี้ภัย  ให้การสนับสนุนแก่หน่วยงานที่ท�ำงานร่วมกัน และหาทางแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนให้กับผู้ลี้ภัย  ซึ่งมีสามแนวทาง ในการแก้ปัญหา  คือการตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่เปิดรับ  อย่าง สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น

107


“แนวทางที่สองคือการผสมผสานเข้ากับชุมชนของประเทศ แต่นโยบายของไทยชัดเจนว่าไม่ยอมรับการแก้ปัญหาในแนวทาง นี้ จึงตกไป ส่วนแนวทางที่สามคือ การเสนอให้เดินทางกลับมาตุภูมิ แบบสมั ค รใจ  แต่ วิ ธี ก ารนี้ ยั ง ไม่ เ กิ ด ขึ้ น   ยั ง ต้ อ งมี ก ระบวนการอี ก หลายขั้นกว่าจะไปถึงตรงนั้น เพราะการที่ผู้ลี้ภัยจะกลับได้ ต้องมีการ ประเมินสถานการณ์ในประเทศที่เขาจากมา  ว่าปลอดภัยแล้วจริงๆ เมื่อกลับไปเขาด�ำรงชีวิตได้จริงหรือเปล่า ที่ส�ำคัญคือผู้ลี้ภัยต้องอยาก กลับด้วย  ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดและสามารถช่วยผู้ลี้ภัยได้มากที่สุด” ในเมืองไทยเอง  มีศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยอยู่เก้าแห่งในสี่จังหวัด คือแม่ฮ่องสอนสี่แห่ง ตากสามแห่ง กาญจนบุรีหนึ่งแห่ง และราชบุรี อีกหนึ่งแห่ง ซึ่งล้วนเป็นจังหวัดที่อยู่ติดชายแดน โดยทางราชการเป็น ผู้ก�ำหนดพื้นที่ให้ ส่วนทาง UNHCR มีบทบาทในการเข้าไปให้ความ ช่วยเหลือ สนับสนุน และให้ความคุ้มครองระหว่างประเทศแก่ผู้ลี้ภัย เหตุที่ศูนย์พักพิงดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณตะเข็บชายแดน เนื่อง มาจากมีผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุผลด้าน การเมืองในประเทศพม่า  และความไม่ลงรอยกันระหว่างทหารพม่า กับชนกลุ่มน้อยบริเวณชายแดน  ท�ำให้ชนกลุ่มน้อยผู้ได้รับผลกระทบ หลั่งไหลข้ามแดนมาเขตไทย เพื่อหาพื้นที่สงบสุข และคุ้มครองให้ตัว เองด�ำรงชีวิตอยู่ได้ “เท่าที่พวกเราทราบคือมีความเคลื่อนไหวมานานพอสมควร แล้ว หลักๆ คือในปี 2531 แต่จริงๆ พวกเขามีการหลั่งไหลเดินทาง ข้ามชายแดนมานานแล้ว  ด้วยเรื่องการเมืองการปกครองภายใน ประเทศท�ำให้เขาไม่สามารถด�ำรงชีพอยู่ได้ เลยต้องข้ามมาหาพื้นที่ที่ สงบสุข ที่สามารถคุ้มครองให้ตัวเองอยู่ได้

108


“เขาเป็นคนทั่วๆ  ไป เหมือนพวกเราที่อยู่ในหมู่บ้าน  หรือใน ต�ำบลหนึ่ง  เพียงแต่เขาหนีความตายเข้ามา  นอกจากจะให้ความ คุ้มครอง ทางเราก็ต้องมีการให้การสนับสนุนด้านทักษะ เพราะอยู่มา สิบกว่าปี บางคนสามสิบปี ก็ต้องให้พวกเขาพึ่งพาตัวเองได้ ให้เขาท�ำ เกษตรกรรม ให้เขามีอาชีพสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้ พื้นที่พักพิงก็คือชุมชนหนึ่ง  แต่ข้อแตกต่างคือการพัฒนาโดย ตัวเองเป็นไปค่อนข้างล�ำบาก เนื่องจากมีกฎระเบียบต่างๆ ครอบเขา อยู่ เพราะฉะนั้นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็เหมือนทั่วๆ  ไป  ทั้งเรื่องการ ศึกษา เรื่องเกี่ยวข้องทางด้านกฎหมาย  เรื่องความรุนแรงต่างๆ ยังมี อยู่ เราก็มีองค์กรต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาให้หมดไป แต่จะบอกว่าหมดไปคงเป็นไปล�ำบาก คงแค่พอเบาบางลง ในพื้ น ที่ ข องเราค่ อ นข้ า งดี อ ย่ า งหนึ่ ง คื อ   บริ เ วณชายแดน ไทย-พม่า คนไทยกับคนพม่าเดินทางไปมาหากันมาเป็นร้อยปี เพราะ ฉะนั้นความรู้สึกด้านชาตินิยมค่อนข้างเบาบาง  แต่เรื่องความเป็น อยู่ เรื่องปากท้องยังมีอยู่ กฎที่ใช้อยู่ในพื้นที่เป็นกฎของหมู่บ้านที่ยังมี การประนีประนอมกัน พิจารณาไกล่เกลี่ยในพื้นที่กันเอง แต่ในส่วนที่ เป็นกฎหมายที่เป็นความผิดด้านอาญา มีเพียงหนึ่งกฎหมาย นั่นคือ กฎหมายของประเทศไทย เราไม่สามารถสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ไหนก็ตาม” ความเป็นอยู่ในศูนย์พักพิง เป็นไปเช่นเดียวกับหมู่บ้านเล็กๆ ในแดนห่างไกล ด้วยการมองไปถึงอนาคต และเล็งเห็นว่าการสร้าง คุณค่าในตัวเองของผู้ลี้ภัยเป็นเรื่องส�ำคัญ ในศูนย์ฯ จึงมีการฝึกทักษะ ฝึกอาชีพ ให้แก่พวกเขาเหล่านั้น

109


“เรื่องโครงการต่างๆ  ที่จะเป็นการเตรียมทักษะของผู้ลี้ภัย ก่อนที่เขาจะเดินทางไปอยู่ท่ีไหนก็ตามในอนาคต  ไม่ว่าจะเดินทาง กลับประเทศต้นก�ำเนิด หรือเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ เขาจ�ำเป็นต้อง มีทักษะบางอย่างในการประทังชีพได้เมื่อได้เดินทางไปแล้ว “ทักษะหลักๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเกษตร ตัดผม หรือการท�ำ เทียน ด้วยการเอาวัสดุต่างๆ ในพื้นที่พักพิงใกล้ๆ เข้ามาท�ำ ไม่ว่าจะ เป็นดอกไม้ ใบไม้แห้ง เป็นการสร้างรายได้ให้คนในชุมชนด้วย เพราะ ตามกฎหมายของรัฐบาลไทย พวกเขาต้องอยู่ในค่ายอย่างเดียว ถ้า เราไม่สร้างทักษะให้  เขาก็คงไม่มีทางอื่น “UNHCR ให้การสนับสนุนเรื่องการศึกษาด้วย  โดยเฉพาะ เรื่องเกี่ยวกับการฝึกภาษาไทย เมื่อเขามาอยู่ในประเทศไทยแล้ว ก็ จ�ำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาไทยเพื่อจะได้ติดต่อสื่อสารได้ เพราะฉะนั้นเราจึงมีการจัดงบประมาณส่วนหนึ่งให้กับหน่วยงานที่ เป็นหุ้นส่วนไปพัฒนาเรื่องการเรียนการสอน”

110


เมื่ อ ถามถึ ง ปลายทางที่ ผู ้ ลี้ ภั ย ปรารถนา  จากแนวทางที่ UNHCR เตรียมการไว้ให้นั้น กัณวีร์ให้ความเห็นว่า “ไม่ค่อยมีใครอยากไปไหนหรอกครับ  ส่วนใหญ่เขาอยาก กลับบ้าน เพราะไปอยู่ต่างประเทศก็ต้องเริ่มต้นใหม่ หลายคนเลือกที่ จะกลับบ้าน แต่โอกาสยังไม่เอื้ออ�ำนวย การสู้รบยังมีอยู่ แม้ปัจจุบัน นี้ส ถานการณ์ ทางการเมือ งของพม่ าจะมีแนวโน้ม ในเชิงบวก  แต่ การสู้รบก็ยังมีอยู่ประปราย  และยังมีการข้ามเขตชายแดนเข้ามา ประเทศไทยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศไหนก็ตาม   หรือแม้แต่ตัวเรา เอง มนุษย์ทุกคนล้วนอยากจะมีชีวิตที่ดี อย่างน้อยก็ไม่ถูกลิดรอนสิทธิ ต่างๆ ที่พึงจะมี  อยากมีการด�ำรงชีพที่ดี สามารถรับการศึกษาได้ ได้ ตัดสินใจอะไรต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยไม่ไปกระทบกับสิทธิผู้อื่น ผู้ลี้ภัย ก็อยากได้สิทธิในความเป็นมนุษย์ของพวกเขาเช่นกัน”

ด้วยศักยภาพและความสามารถที่มี  ปฏิเสธไม่ได้ว่า กัณวีร์ มีโอกาสสูงที่จะมีความก้าวหน้าหากเบนอนาคตไปสู่อาชีพอื่น  แต่สิ่ง ที่เผชิญและความอิ่มใจที่ได้รับจากการท�ำงานกับผู้ลี้ภัย  ท�ำให้เขาไม่ คิดจะย้ายตัวเองไปไหน “ถ้าบอกว่าล�ำบาก  ผู้ลี้ภัยในค่ายล�ำบากกว่าผม  เพราะผม ไม่ได้กินนอนที่นั่น  ส�ำนักงานเราอยู่ในเมือง  แต่พอบอกว่าท�ำงาน กับผู้ลี้ภัย  ทุกคนอาจมีมุมมองว่าล�ำบากนะ  แต่ตัวผมเอง...ถามว่า ล�ำบากมั้ย ช่วงต้นก็ล�ำบาก แต่ท�ำงานไปสักสองสามอาทิตย์ ก็ได้เริ่ม เห็นการแก้ไขปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้น

111


“ยกตั ว อย่ า งผมเคยได้ ช ่ ว ยเหลื อ ครอบครั ว หนึ่ ง   เด็ ก ตก เป็นเหยื่อของการถูกข่มขืน  พอเราช่วยเหลือเขาจนเขาได้รับความ ยุติธรรม สิ่งที่ได้รับกลับมาไม่มีอะไร นอกจากรอยยิ้มและค�ำขอบคุณ จากพ่อแม่เขา เขาเข้ามาจับมือแล้วบอกว่า ถ้าไม่ได้เรา พวกเขาคง อยู่ไม่ได้ แค่นี้เองครับ แค่รอยยิ้มของผู้ลี้ภัยก็มีความสุขแล้ว เป็นแรง บันดาลใจให้เราได้แล้ว” ระยะเวลาสิ บ ปี เ ศษกั บ การท� ำ งานด้ า นผู ้ ล้ี ภั ย ในจั ง หวั ด แม่ฮ่องสอน ปลายปี 2554 กัณวีร์ได้มีโอกาสไปปฏิบัติภารกิจในศูนย์ พักพิงผู้ลี้ภัยซูดานใต้ หลังการประกาศอิสรภาพในวันที่ 9 กรกฎาคม 2554 ของซูดาน มีการแยกเขตแดนเป็นซูดานเหนือและซูดานใต้ สิ่งที่ ตามมาหลังจากนั้นคือสถานการณ์สู้รบบริเวณพื้นที่ชายแดนที่ยังไม่มี เส้นเขตแดนที่ชัดเจน กัณวีร์สมัครเข้าทีม Emergency Roaster ของ UNHCR นอกเหนือจากเข้าไปอยู่ในทีมผู้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย  สิ่งที่เขาหวังจะได้ กลับมาคือประสบการณ์ที่อาจน�ำมาใช้ในการท�ำงานกับศูนย์พักพิงผู้ ลี้ภัย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ตนดูแลอยู่ “ที่ซูดานใต้  ผมใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับผู้ลี้ภัย  ได้นอนใน สถานที่เดียวกัน  ได้พูดคุยกับพวกเขาตลอดเวลา  ท�ำให้เราได้ข้อมูล เบื้องต้น หรือ First hand information จากตรงนั้นเลย และสามารถ แก้ปัญหาได้ทันที  แต่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่แม่ฮ่องสอน  การจะได้ข้อมูล เบื้องต้นจากผู้ลี้ภัยเลยเป็นไปได้ยาก  หนึ่งคือเราไม่ได้อยู่ในพื้นที่ พักพิง มีส�ำนักงานอยู่ข้างนอก ข้อมูลต่างๆ จึงไม่ถึงเราโดยตรง หาก มีอะไรที่จะน�ำมาปรับใช้ได้จากประสบการณ์ที่ซูดานใต้ ผมคิดว่าเรื่อง ข้อมูลเบื้องต้นนี่ละ”

112


UNHCR  เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  และได้รับรางวัลโนเบลสองครั้งจากการท�ำงานให้ความช่วยเหลือ ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น จากเดิมที่คิดว่าคงจะใช้เวลาเพียงไม่นานในการ ท�ำงานขององค์กรนี้ กลับยังมีการต่ออายุเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับที่ ยังมีจ�ำนวนผู้ลี้ภัยเพิ่มขึ้นทุกปี จนถึงปีนี้เป็นปีที่ 61 แล้ว และหน่วยงานนี้ยังคงต้องอยู่ต่อ  ตราบเท่าที่ปัญหาความ ขัดแย้งของมนุษย์และสงครามยังคงด�ำเนินไปไม่รู้จบ  ซึ่งแน่นอนว่า นั่นไม่ใช่เป้าหมายขององค์กร ในทางกลับกัน กัณวีร์เผยว่าอยากเห็น หน่วยงานนี้ปิดตัวลงเสียด้วยซ�้ำ “ถ้าค่ายผู้หนีภัยจากการสู้รบหมดไปจากประเทศเมื่อไร หรือ ค่ายผู้ลี้ภัยชาวพม่าที่อยู่ในประเทศไทยหมดไปเมื่อไร  วันนั้นจะเป็น วันที่เรามีเลี้ยงใหญ่เกิดขึ้น” “นั่นคือเราบรรลุผลส�ำเร็จแล้ว”

มนุษย์ทุกคนล้วนอยากจะ มีชีวิตที่ดี อย่างน้อยก็ไม่ถูก ลิดรอนสิทธิต่างๆ ที่พึงจะมี

113


พญ.ดร.เคลียวพันธ์ สูรพันธ์ุ ชีว ิตที่หล่อเลี้ยงด้วยความรัก “เวลาเข้าไปที่บ้าน  พอจอดรถ   เด็กๆ ก็วิ่งกรูมากอด ป้าหมอมา แล้ว  หมอก็มีความสุข เหมือนได้ ไปพักผ่อน  ได้คุยกับเขา  หมอก็มี ความสุขแล้ว  เด็กๆ  คือความสุข ของหมอ” สุ ภ าพสตรี วั ย เกษี ย ณที่ ยั ง คงกระฉั บ กระเฉงในหน้ า ที่ สู ติ นรีแพทย์ประจ�ำโรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์  นอกเหนือจากใจที่รักใน วิชาชีพ เหตุผลหนึ่งในนั้นคือชีวิตของเด็กก�ำพร้าอีกกว่าสี่สิบชีวิตที่เธอ ดูแลอยู่ พญ.ดร.เคลียวพันธ์  สูรพันธุ์  คือเจ้าของบ้านเด็กชัยพฤกษ์ จังหวัดนครนายก บ้านที่ให้ชีวิตใหม่กับเด็กก�ำพร้ามานานกว่ายี่สิบปี มาแล้ว “ก่อนหน้านั้นหมออยู่เยอรมนีมายี่สิบกว่าปี  กลับมาก็มาพบ ปัญหาเด็กโดนทิ้ง มันรู้สึกสะเทือนใจ มีความรู้สึกว่าท�ำไมเขาถึงต้อง ทิ้งลูก ถ้าเราให้โอกาสเด็กๆ เหล่านี้ ให้เขาเติบโตอย่างคนอื่นได้ ถึงมัน จะเป็นงานเล็กน้อย  แต่เท่ากับเราได้ให้ชีวิตเด็กที่ดีขึ้นแก่สังคมไทย ท�ำให้หมออยากมีบ้านเล็กๆ ให้เด็กเหล่านี้เข้ามาอยู่และเติบโตอย่าง มีคุณภาพ และหมอเป็นคนที่คิดอยากท�ำอะไรก็ท�ำ เหมือนกับเห็นคน

114


ตกน�้ำก็อยากช่วยฉุดเขาขึ้นมาจากน�้ำ ไม่ใช่พูดแล้วก็ปล่อยให้ลอยไป น่าสงสาร แต่ไม่ท�ำอะไร แล้วหมอก็เริ่มท�ำเลย” บ้านหลังแรกของเด็กๆ เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2528 ด้วยความร่วม มือของคุณหมอเคลียวพันธ์และสามีกับเพื่อนมิชชันนารี  ที่ร่วมกัน ระดมทุนและน�ำเงินไปเช่าบ้านหนึ่งหลังในย่านชัยพฤกษ์ ซึ่งเป็นที่มา ของมูลนิธิชัยพฤกษ์ด้วย “กว่าเราจะลงเอยจนมีบ้านอยู่ที่นครนายก  เราร่อนเร่อยู่หลาย ครั้ง  บ้านหลังแรกเราเช่าที่ชัยพฤกษ์  หลังจากนั้นหนึ่งปีพอเรามีลูก เยอะขึ้น ลูกสิบกว่าคน พนักงานอีก บ้านก็คับแคบ ต้องย้ายไปอยู่ที่ อื่น บางแห่งเขาก็ไม่อยากต่อสัญญาให้เรา เพราะเด็กร้องไห้ ชาวบ้าน ก็อาจจะร�ำคาญเพราะรบกวนเขา  ในที่สุดเราก็ต้องร่อนเร่ไปเรื่อย เรา ย้ายบ้านทั้งหมดสี่หน จนหนที่ห้าย้ายไปอยู่อ�ำเภอองครักษ์ มาอยู่ที่ นครนายกได้ยี่สิบเอ็ดปีแล้ว

“ก่อนหน้านี้บ้านเราอยู่กรุงเทพ แต่ก็สงสารลูก พอย้ายบ้านที ก็ต้องปรับตัว กว่าเขาจะเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ แล้วถ้าเรายังย้ายบ้าน ตลอด อีกหน่อยวันหนึ่งเขาโตขึ้น เขาจากบ้านไปแล้วเขาจะกลับมา หาเราไม่เจอ เลยอยากมีบ้านที่ถาวรให้เขา

115


“ในที่สุดเรามาได้ที่ของคุณทวดซึ่งเป็นญาติของหมอ  ท่าน เขียนพินัยกรรมไว้ว่าให้รับใช้พระเจ้า เช่น ดูแลเด็กก�ำพร้า แม่หม้าย ไร้ทาง สร้างโบสถ์สร้างโรงเรียน หมอก็เลยขออนุญาตญาติๆ เอาที่ดิน มาใช้ในจุดประสงค์นี้ ญาติก็เห็นด้วย เลยได้ที่ที่องครักษ์มาสร้างบ้าน ตอนนี้มีบ้านอยู่สามหลัง หลังหนึ่งเป็นเด็กผู้หญิง หลังหนึ่งเป็นเด็ก ผู้ชาย อีกหลังหนึ่งเป็นเด็กรับใหม่ที่ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กอ่อน “แต่ ข ณะนี้ เ ราหยุ ด รั บ เด็ ก อ่ อ นมาหลายปี แ ล้ ว   เพราะ เศรษฐกิจไม่ดี  เด็กหนึ่งคนเราต้องเลี้ยงเขายี่สิบกว่าปีกว่าเขาจะจบ มหาวิทยาลัย เงินทุนทุกเดือนที่ได้มาก็มาจากการที่หมอท�ำงาน จาก คนไข้ให้ จากเพื่อนให้ จากต่างประเทศ อยู่กันเดือนต่อเดือน แต่ก็ยัง อยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้ (ยิ้ม)  ฉะนั้นเราก็จะต้องประคองเด็กที่ก�ำลัง เติบโตนี้ไปให้รอดก่อน จึงไม่สามารถจะรับเด็กใหม่ได้” จากเด็กรุ่นแรกที่รับมาจากกรมประชาสงเคราะห์  บ้านหลังนี้มี สมาชิกเพิ่มขึ้นจากการบอกเล่าแบบปากต่อปาก  และกลายเป็นที่พึ่ง ของบรรดาแม่วัยเยาว์  ที่ยังไม่มีความสามารถพอจะเลี้ยงดูเด็กโดย ล�ำพังได้ “เราไม่เคยโฆษณา  มีออกทีวีหรือลงหนังสือพิมพ์บ้าง  ซึ่งเรา ต้องดูว่าแม่เด็กอายุน้อยจริงๆ ไม่มีบ้านให้เขากลับเลย บางคนแม่เขา แต่งงานใหม่ มีปัญหากับพ่อเลี้ยง ก็ไม่สามารถที่จะอุ้มลูกกลับไปที่ บ้านได้ ลูกของแม่อายุสิบสี่สิบห้าจะอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงที่สุด เพราะแม่ เขายังขาดวุฒิภาวะ ไม่สามารถดูแลแม้กระทั่งตัวเองได้ แล้วยังต้อง มาดูแลลูกน้อยอีก  เราจึงคัดกรองเอาเฉพาะเคสที่มีปัญหาจริงๆ  มา ดูแล” ทุกครั้งที่เอ่ยถึงเด็กๆ  น�้ำเสียงของหมอเคลียวพันธ์จะเต็มไป ด้วยความอ่อนโยน เธอเรียกเด็กทุกคนว่า ‘ลูก’ ส่วนลูกๆ นั้นเรียกเธอ ว่า ‘ป้าหมอ’

116


“เพราะเราไม่สามารถจะเป็นแม่จริงๆ ของเขาได้ หมอจะสอน เขาว่าเขามีแม่จริงๆ ตามสูติบัตร ใครจะเรียกว่าแม่ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วน ใหญ่เขาจะเรียกป้า  เวลาไปไหนมาไหนด้วยกันคนเขาก็จะรู้ว่าเขาไม่ ได้อยู่กับแม่  เพราะถ้าอยู่กับแม่แล้วหน้าตาไม่เหมือนกัน  มันจะยิ่ง ท�ำให้สังคมข้างนอกมองเขาแปลกๆ  ถ้าเรียกป้าเขาจะเป็นที่ยอมรับ ของสังคม เขาจะไม่โดนบาดหมางใจมาก หน้าตาเราไม่เหมือนกันอยู่ แล้ว  หมอจะพยายามปกป้องจิตใจเด็กทุกๆ  รูปแบบ  ไม่ให้เขาโดน กระทบกระเทือน ส่วนใหญ่แล้วเราจะสอนให้เขารู้จักให้  รู้จักแบ่งปัน  จะเน้น มากในการให้เขารักคนอื่นเหมือนรักตัวเอง มันส�ำคัญมากๆ เมื่อลูก ไม่อยากให้คนอื่นมาเอาของของลูก  ลูกก็ต้องไม่ไปหยิบของของเขา เมื่อเรารักผู้อื่นเราจะสุภาพต่อเขา  เราจะพูดเพราะ  เราจะมีใจโอบ อ้อมอารีต่อคนอื่น  นอกนั้นก็สอนคุณธรรมต่างๆ  มีหลายคนที่เข้าไป ในบ้านแล้วเล่าให้ฟังว่าเขามีลูกสามคน ตีกันตั้งแต่เช้าจรดค�่ำ แต่ลูก คุณหมอสามสิบสี่สิบคน ผมมาอยู่นี่ทั้งวันไม่เห็นมีใครทะเลาะกันเลย เราจะใช้เสียงเพลงท�ำให้เขามีความสุข เราร้องเพลงกัน เล่น กีฬา เล่นดนตรี ท�ำสวน เรามีกิจกรรมเยอะมาก ไม่มีเวลาให้เขา ทะเลาะกัน เราให้เขาท�ำอะไรร่วมกันเป็นกลุ่มตลอด เวลาแบ่งกลุ่มก็ จะแบ่งเป็นพี่โต พี่กลาง น้องเล็ก พี่โตจะเป็นผู้น�ำ สอนพี่กลางว่าท�ำ ยังไง แล้วน้องเล็กก็ต้องช่วย เช่น ตัดหญ้า ตัดต้นไม้ น้องเล็กก็จะโกย หญ้า พี่โตไถเครื่องตัดหญ้า” บ้านหลังนี้ไม่มีบรรยากาศของความเหงาใดๆ  เข้ามาเคลือบ คลุม ความมีชีวิตชีวาเริ่มขึ้นในยามเช้าตรู่ของทุกวัน “ทุ ก คนมี ห น้ า ที่   ในบ้ า นเราไม่ มี ค นรั บ ใช้ ที่ จ ะมาท� ำ งานให้ เพราะฉะนั้นทุกคนก็ต้องช่วยงานบ้าน ตั้งแต่กวาดบ้าน ตื่นเช้าเก็บ ที่นอน ซักผ้า จัดโต๊ะอาหาร เช็ดโต๊ะอาหาร ใครเวรครัวก็เข้าครัวท�ำ

117


อาหาร แล้วก็ท�ำสวน ทุกคนมีส่วนในการท�ำสวน สมัยก่อนเราเลี้ยงไก่ ตีห้าครึ่งเขาต้องตื่นวิ่งไปเล้าไก่ เก็บไข่ พอเด็กๆ เข้าไปไก่ก็จะวิ่งมา คลอเคลียเหมือนสุนัขเลย เพราะเด็กๆ เป็นคนเก็บผักตบชวาไปเลี้ยง ไก่ด้วยตัวเอง ในตะกร้านี่มีไข่อยู่สองร้อยสามร้อยฟอง เรามีความสุข กับตรงนั้นมาก  แต่มันก็ตายไปในสองอาทิตย์สมัยที่หวัดนกระบาด ตอนนี้เด็กๆ ก็สบายหน่อย ไม่ต้องวิ่งไปเล้าไก่ ตอนเช้าก็เลยลงมาทาน อาหารกันได้สบายๆ คนไหนต้องรดน�้ำต้นไม้ก็ไปรด” เพราะยั ง คงยึ ด หน้ า ที่ ใ นวิ ช าชี พ   ท� ำ ให้ ห มอเคลี ย วพั น ธ์ ไ ม่ สามารถอยู่กับเด็กๆ ได้ทุกวัน แต่เมื่อไรที่มีเวลา บ้านเด็กชัยพฤกษ์จะ ยิ่งสดชื่นเมื่อ ‘ป้าหมอ’ กลับบ้าน “เวลาเข้าไปที่บ้าน พอจอดรถเด็กๆ ก็วิ่งกรูมากอด ป้าหมอ มาแล้ว หมอก็มีความสุข เหมือนได้ไปพักผ่อน ได้คุยกับเขา หมอก็มี ความสุขแล้ว เด็กๆ คือความสุขของหมอ ทุกวันนี้มีเวลาวันเสาร์ อาทิตย์ และวันพุธ ส�ำหรับการได้อยู่กับ เขา แต่หมอถือว่าน้อยไป แล้วแต่งานด้วย เพราะหมอต้องท�ำงาน บาง วันก็ไม่ได้เข้าบ้านตามนั้น แต่อย่างน้อยต้องมีวันอาทิตย์ที่ให้เวลาเขา เยอะที่สุด เมื่ออยู่ด้วยกัน หมอท�ำกับข้าว เด็กทุกคนก็มาช่วยหั่นผัก ล้าง ผัก เราท�ำทุกอย่างด้วยกัน ไม่ว่าในครัว ในสวน ปลูกต้นไม้ ท�ำหมด กิจกรรมเหล่านี้ท�ำให้เขารู้สึกว่าเขาไม่ขาด  เหมือนให้เขามีเป้าหมาย ในแต่ละวัน ถ้าว่างก็ไปเล่นเปียโน เล่นกีฬา จะไม่นั่งเฉยๆ หรือนั่งดูทีวี บ้านเราไม่มีทีวี เด็กบางคนก็อยากดู เพราะได้ฟังจากเพื่อน แต่หมอก็อธิบาย ว่าป้าก็ไม่ได้ดู ก็ให้เขาบอกกับเพื่อนว่า ไหนเล่าให้ฟังหน่อยสิ ฉันไม่มี

118


เวลาดูนะ แต่ฉันได้เรียนเปียโน ได้เรียนภาษาอังกฤษ ได้ท�ำโน่นท�ำนี่ ไม่ต้องคิดว่าการไม่ได้ดูทีวีคือการบั่นทอนอนาคตของลูก แต่การที่ลูก ได้เรียนภาษาอังกฤษ ได้คุยกับคุณน้าอาสาสมัครที่มาสอน นั่นต่าง หากคืออนาคตของลูก  ไม่ใช่ทีวี  โดยเฉพาะละครต่างๆ  ไม่ได้สอนคน ให้ด�ำเนินชีวิตแบบสงบ มีแต่ก้าวร้าว น่าเสียดาย น่าเสียดายมากๆ” นอกจากดูแลทางกายและจิตใจ  เด็กทุกคนในบ้านหลังนี้ได้ รับการศึกษาอย่างทัดเทียมกับเด็กทั่วไป  ด้วยการศึกษาเป็นพื้นฐาน ส�ำคัญในการพัฒนาชีวิตคน “หมอเลี้ยงเขารักเขาเหมือนลูก  ถ้าเขาสอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้   เราจะดู แ ลเขาจนจบมหาวิ ท ยาลั ย   ไม่ ใ ช่ ต ามกฎของกรม ประชาสงเคราะห์ที่ว่าครบอายุสิบแปดแล้วจบ  มูลนิธิฯ ของเราเห็น ความส�ำคัญของการศึกษามากที่สุด  ถ้าหมอเห็นว่าเด็กคนไหนมี ความสามารถที่จะเข้ามหาวิทยาลัยหรือเรียนต่อได้  หมอจะส่งเขา จนถึงที่สุด ก็มีหลายคนแล้วที่จบมหาวิทยาลัย และหางานท�ำได้ หมอภูมิใจกับเด็กทุกคนในบ้านหลังนี้ หมอภูมิใจกับการเจริญ เติบโตที่หมอมองเห็นเขามาตั้งแต่แบเบาะ  บางคนหมอรับแม่เขามา เพราะแม่เขาไม่มีที่อยู่ แล้วพาเขาไปคลอด ดูแลเขาตั้งแต่เล็ก จนเขา โตมาเป็นหนุ่มเป็นสาว เขาท�ำให้หมอภูมิใจทุกคนเลย...เขาแสนจะน่า รัก” กว่ายี่สิบปีของบ้านเด็กชัยพฤกษ์  ไม่มีสิ่งใดเลยที่ป้าหมอของ เด็กๆ จะมองว่าเป็นปัญหา แม้แต่เรื่องเงินทุนที่ต้องรับผิดชอบเองโดย ส่วนใหญ่ เพราะการอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคนั้นเป็นเรื่องยาก “เรามีใจและความแน่วแน่ในสิ่งที่เราจะท�ำให้กับเด็กๆ  และ หมอเชื่อในพระเจ้า  พระเจ้าบอกว่าอย่ากังวล  สิ่งใดที่ดีที่เราท�ำเพื่อ สังคมเพื่อคนอื่น พระเจ้าจะดูแลลูกของพระองค์เอง หมอสอนให้เด็กๆ ขยัน ขณะเดียวกันก็บอกตัวเองว่าอย่าไปกังวล

119


“พลังใจส�ำคัญคงเป็นความรักที่หมออยากให้เขา หมอมีความ รู้สึกสงสารเขา อยากให้โอกาสเขาได้เติบโตอย่างอบอุ่น พอเราท�ำไป แล้ว เรารักเขาแล้ว เราก็ทิ้งเขาไม่ลง มันเป็นเหมือนพลังที่ท�ำให้เรา ต้องท�ำต่อไป ท�ำให้จบ ส่งเขาให้ถึงฝั่ง ไม่ใช่ท�ำครึ่งๆ กลางๆ แล้วถึง วันหนึ่งบอกว่าท�ำไม่ไหว”

ทุกสังคมไม่ว่าจะเมืองนอกหรือเมืองไทย ยังมีคนที่ ด้อยกว่าคนอื่นๆ ยังมีคนที่ยังมีความจ�ำเป็นอยู่ตลอด เวลา ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันส�ำคัญมากๆ มันมี ประโยชน์ส�ำหรับผู้รับ แต่กับผู้ให้ยิ่งมีประโยชน์ใหญ่ ผู้ให้จะมีความสุขและได้บุญได้กุศลมากกว่าผู้รับอีก เพราะฉะนั้นเป็นโอกาสของคนที่มีมากกว่าที่ควรจะให้ ผู้ที่ด้อยกว่า ให้โอกาสเขา ให้เขาได้พัฒนา ให้เขาได้มี ชีวิตที่ดีขึ้น คนที่ให้ก็จะมีความสุข พญ.ดร.เคลียวพันธ์ สูรพันธ์ุ

120


ดวงทิพย์ เอี่ยมรุ่งโรจน์ สมการปันกัน 2-1=3 เป็นสมการที่ล้มล้าง สูตรคณิตศาสตร์โดยสิ้นเชิง ข้อกังขา ในใจคลี่ ค ลายเมื่ อ ได้ ยิ น ค� ำ เฉลย จาก ดวงทิพย์ เอี่ยมรุ่งโรจน์ ประธาน กรรมการบริหารร้านปันกัน  ร้านค้า ที่สร้างสังคมแห่งการแบ่งปันให้เกิด ขึ้น ในรูปแบบของงานกิจกรรมเพื่อ สังคม หรือที่รู้จักกันในแนวคิดด้าน การตลาดว่า  ‘Social Enterprise’ ก่อนที่จะด�ำเนินมาสู่ร้านปันกัน  ซึ่งเปิดรับบริจาคข้าวของ เครื่องใช้ทุกชนิด  ที่ยังคงอยู่ในสภาพใช้งานได้  มาเปลี่ยนเป็นสินค้า หน้าร้าน  ติดป้ายในราคาย่อมเยา  เพื่อน�ำรายได้จากการขายนั้นไป เป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา  ดวงทิพย์เล่า ว่าการท�ำกิจกรรมเพื่อสังคม  เป็นแนวทางหลักของเธอและองค์กร ธุรกิจอยู่แล้ว “เป็นความสนใจส่วนตัวด้วยหนึ่ง  ส่วนที่สองก็คือองค์กรที่ ดิฉันท�ำงานอยู่คือกลุ่มบริษัทพรีเมียร์  มีความเชื่อว่าธุรกิจกับสังคม ต้องไปด้วยกัน”

121


กว่าสามสิบปีที่ท�ำงานอยู่ในองค์กร  ดวงทิพย์มีความรับผิด ชอบในการดูแลธุรกิจเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็ไม่เคยละเลยกิจกรรม เพื่อสังคมซึ่งท�ำควบคู่กันมาโดยตลอด “เรื่องการท�ำกิจกรรมเพื่อสังคมเริ่มมาจากแนวคิดขององค์กร ที่เชื่อว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  เราท�ำธุรกิจ  สิ่งที่เราท�ำก็ต้องดี กับสังคมที่เราอยู่ด้วย  ตอนเริ่มต้นมากลุ่มเรามีความเห็นว่าเรื่องการ ศึกษาและเรื่องเยาวชนเป็นเรื่องใหญ่  และน่าจะเป็นปัญหาที่ส�ำคัญ ของประเทศ ฉะนั้นการสร้างโอกาสเรื่องการศึกษา และสร้างเยาวชน ที่มีคุณภาพ เป็นสิ่งที่เราซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ประกอบการธุรกิจน่าจะมี ส่วนร่วม” กลุ่มบริษัทพรีเมียร์  เริ่มกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยการก่อตั้ง มูลนิธิยุวพัฒน์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 ซึ่งเทน�้ำหนักการท�ำงานไปยังเรื่อง การศึกษาและเยาวชนดังที่ตั้งใจ “จริ ง ๆ  มู ล นิ ธิ ยุ ว พั ฒ น์ เ ป็ น มู ล นิ ธิ ข องประชาชนนะคะ นอกจากเราจะด�ำเนินการด้วยเงินทุนของมูลนิธิ  เราก็ท�ำหน้าที่เป็น เครื่องมือให้กับคนที่อยากจะมอบทุนการศึกษาให้เด็ก  แต่ไม่รู้จะท�ำ อย่างไรด้วย อย่างธนาคารยูบีเอสที่มีงบประมาณส�ำหรับส่งเสริมการ ศึกษาเด็กหนึ่งร้อยคนต่อปี  เราก็ท�ำหน้าที่คัดสรรเด็กเพื่อรับเงินทุน และดูแลเด็กให้จนกระทั่งเรียนจบโดยไม่คิดมูลค่า  เราคิดว่านี่เป็น ภารกิจอย่างหนึ่งของมูลนิธิ” มูลนิธิยุวพัฒน์มีเด็กที่ได้รับการดูแลด้านการศึกษาจนถึง ปัจจุบันนี้เป็นจ�ำนวนกว่าสี่พันคน และด้วยความคิดที่จะท�ำให้มูลนิธิ มีเงินทุนเพื่อท�ำประโยชน์ต่อไปให้มากขึ้น  แนวทางในการท�ำธุรกิจ เพื่อสังคมจึงเป็นจุดก�ำเนิดของร้านปันกัน  ซึ่งมีอยู่สองสาขา  คือที่

122


ตลาดเสรีมาร์เก็ต ศูนย์การค้าพาราไดส์ พาร์ก ศรีนครินทร์ และตลาด เสรีมาร์เก็ต ศูนย์การค้าเดอะไนน์ พระรามเก้า “เราคิ ด ว่ า มู ล นิ ธิ ค วรมี กิ จ กรรมเพื่ อ การระดมทุ น เป็ น ของ ตัวเอง  ในช่วงเริ่มต้นก็มาจากกิจกรรมของพนักงานในส่วนของกลุ่ม บริษัทพรีเมียร์ มูลนิธิกับผู้ที่ให้การสนับสนุนมูลนิธิ เอาของมาปันและ จ�ำหน่าย ต่อมาทางมูลนิธิและคณะกรรมการก็เห็นว่าควรจะท�ำในรูป แบบของโซเชียล เอนเตอร์ไพรส์ ซึ่งน่าจะยั่งยืนและท�ำให้อยู่ได้ด้วย ตัวเอง  แต่จุดประสงค์หลักไม่ใช่การระดมทุนเพื่อทุนการศึกษาเด็ก อย่างเดียว  ผลประโยชน์ที่ตามมาคือจะสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน คนให้ของมามีความสุข คนมาซื้อของก็มีความสุข สมการของปันกันก็คือ สองลบหนึ่งเท่ากับสาม ปกติเวลา บอกว่าสองลบไปหนึ่งมันควรเท่ากับหนึ่ง  แต่ถ้าเป็นสมการปันกัน เรา มีของอยู่สอง เมื่อเราให้ไปหนึ่ง ซึ่งเป็นของที่เรามองดูรอบตัวแล้วไม่ ค่อยได้ใช้ บางทีเราไม่ชอบ แต่เสียดายเพราะซื้อมาแพง ก็เก็บไว้เฉยๆ หรือของขวัญที่มีคนให้มา เราก็ต้องตัดใจให้ไป ด้วยการคิดว่าเราเสีย ไปหนึ่ง แต่จะมีคนที่เขาได้ใช้ และเขาเอาเงินมาให้ด้วย คนซื้อมีความ รู้สึกว่าได้ เราซึ่งเป็นผู้ให้ก็รู้สึกว่าได้ เงินที่ได้มาก็ได้ให้เป็นทุนการ ศึกษาแก่เด็ก เพราะฉะนั้นก็ได้เป็นสาม หรือบางทีมากกว่าสามด้วยซ�้ำ วิ ธี คิ ด ของเราก็ คื อ   การที่ จ ะท� ำ ให้ ยั่ ง ยื น มั น ต้ อ งเอา ประสบการณ์ความรู้ความสามารถในทางธุรกิจเหล่านี้มาช่วย เพราะ ฉะนั้นเรื่องการบริหารดิฉันคิดว่าองค์กรการกุศลบ้านเราที่เก่งๆ ก็เยอะ เคยอ่านเจอในรีเสิร์ช  บอกว่าคนไทยใจบุญ  ท�ำบุญเยอะ  แต่ท�ำไม องค์กรการกุศลบ้านเราไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศมากนัก ตรงนี้ดิฉันคิดว่าเรื่องระบบการบริหารจัดการเป็นเรื่องส�ำคัญ

123


“แต่เดิมร้านปันกันก็ท�ำในรูป แบบแชริตี้ ไม่ใช่โซเชียล เอนเตอร์ไพรส์ ซึ่งก็สนุก มีรายได้พอสมควร แต่พอน�ำ เอารูปแบบทางธุรกิจเข้ามาใช้ เราก็คิด แบบธุ ร กิ จรี เ ทลเลย  ก� ำ หนดเรื่ อ งการ วางเมอร์ชันไดส์ สินค้าประเภทไหนเรา จะบริหารจัดการอย่างไร  รับสินค้ามา แล้วจะคัดแยกยังไง  วางหน้าร้านยังไง ดูแลบริการลูกค้ายังไง  อบรมพนักงาน ยังไง “เมื่ อ ก่ อ นเรารั บ พวกกระเป๋ า รองเท้า เสื้อผ้า ก็เริ่มมีคนมาบอกว่าจะ บริจาคตู้เย็น เราก็ขอเวลาสักหน่อย จนปีที่แล้วเริ่มมีของใหญ่มา ซึ่งมี ตั้งแต่เตียง กลอง เปียโน เครื่องออกก�ำลังกาย ทีวีจอยักษ์ เราจัดงาน ชื่อว่า ‘ปันของใหญ่’ ตรงสนามด้านหลังบริษัท มีของสี่สิบห้าสิบชิ้น ปรากฏว่าสองสามชั่วโมงหมดเกลี้ยงเลย ก็เป็นข้อพิสูจน์ว่าของใหญ่ เราก็รับได้ไม่จ�ำกัดแล้ว (หัวเราะ) ถ้าเป็นของแบรนด์เนม งานศิลปะ ก็ คงต้องมีดิสเพลย์หรือมีวิธีการขายที่แตกต่างไปอีก เป็นระบบเหมือน ธุรกิจทั้งหมด” หากจะมีสิ่งหนึ่งที่ต่างไปจากธุรกิจอื่นๆ นั่นคือรายได้ที่เรียก ว่า  ‘ก�ำไร’  กลายตัวเป็นทุนการศึกษาทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใน การบริหารงานของร้านเลยแม้สักนิด  “ส่วนของรายจ่าย  ยุวพัฒน์น�ำ เงินที่รับบริจาคจากด้านอื่นมาดูแล” “เด็กที่จะได้รับทุนการศึกษา ไม่มีข้อจ�ำกัดว่าพวกเขาต้อง เป็นเด็กที่มีผลการเรียนดีเลิศ  หลักเกณฑ์ที่ต้องการคือเด็กที่ด้อย โอกาส และมีความตั้งใจอยากเรียนหนังสือจริงๆ

124


“เราให้ทางศูนย์การศึกษาของสภาการศึกษาแห่งชาติเป็น คนคัดเลือก โดยเรากระจายให้ครบทุกจังหวัด เวลาส่งทุนการศึกษา ก็จะส่งผ่านไปที่โรงเรียน โดยเปิดบัญชีในนามของเด็กกับครู แล้วเรา จ่ายผ่านให้เงินเด็กเป็นรายเทอม จนกระทั่งเด็กได้เรียนถึงม.หก เวลาเราเห็นเด็กประสบความส�ำเร็จแน่นอนว่าเราดีใจ  แต่ ที่ดีใจที่สุดคือการที่เราได้เห็นคนมาร่วมด้วยกับเรา  เรามีความรู้สึก ว่าสังคมนี้คนยังช่วยเหลือแบ่งปันกันอยู่ เด็กที่เรียนจบไปแล้วก็กลับ มาช่วยน้องต่อ  จนจบปริญญาตรีจบปริญญาโทก็มาส่งน้องเรียนอีก เราได้เห็นว่าคนที่เขาได้รับการช่วยเหลือได้เรียนรู้ว่า  ในชีวิตเขาเขาก็ สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ด้วย” นอกจากมูลนิธิยุวพัฒน์และร้านปันกัน  ดวงทิพย์และกลุ่ม บริษัทพรีเมียร์  ยังผุดโครงการเพื่อสังคมขึ้นมาอีกสองโครงการ  นั่น คือมูลนิธิ Enlive ซึ่งรวมความหมายของค�ำว่า Environment (สิ่ง แวดล้อม) กับ Live (การด�ำรงชีพ) และมูลนิธิคนไทย เพื่อเติมเต็มช่อง ว่างที่ขาดหายไปของสังคม “เอ็นไลฟ์ท�ำเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ  เนื่องจากเราท�ำ ธุ ร กิ จ โรงแรมที่ จั ง หวั ด กระบี่   ได้ เ ห็ น ว่ า สภาพแวดล้ อ มเป็ น ปั จ จั ย ส�ำคัญของคุณภาพชีวิตของเราและของคนที่อยู่ในสังคมนั้นด้วย ถ้า เราไม่สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้ ความสวยงาม คุณภาพชีวิตต่างๆ ที่เราเห็นอยู่ทุกวันก็จะไม่ยั่งยืน เราจัดตั้งมูลนิธิเอนไลฟ์ขึ้นมาก็เพื่อจะ บอกว่า ทุกคนมีหน้าที่ที่จะรักษาดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์กับจังหวัดกระบี่ เราท�ำงานร่วมกับคนท้องที่ กลุ่มข้าราชการ อบจ.ต่างๆ ก็ เข้ามาร่วมกันท�ำกิจกรรมของมูลนิธิ ท�ำมาสักประมาณปีเศษๆ ก็ได้ รับการตอบรับด้วยดี  ตอนนี้ก็ท�ำโครงการที่เรียกว่า  ‘รักกระบี่รักษ์ ธรรมชาติ’ ส่ ว นมู ล นิ ธิ ค นไทย  เริ่ ม มาจากเรามองว่ า เราท� ำ เรื่ อ งเด็ ก เรื่องเยาวชน  เรื่องสิ่งแวดล้อม  แล้วมาคิดว่าเมืองไทยเศรษฐกิจโต

125


ขึ้นนะ  แต่ปัญหาสังคมของเราเยอะมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง ความแตกแยกทางความคิดในเชิงของสังคม  แต่เดิมอาจจะคิดว่ามัน เป็นปัญหาการเมือง  แต่จริงๆ แล้วเป็นปัญหาในเรื่องโครงสร้างของ สังคม เรารวมกลุ่มคนที่เรียกว่ากลุ่มคนไทยขึ้นมา  แล้วเริ่มด้วย กิจกรรม  ‘คนไทยเท่านั้นที่ท�ำให้เมืองไทยน่าอยู่’  ไม่ใช่นักการเมือง ไม่ใช่ข้าราชการ มันคือ ‘พวกเรา’ ที่ท�ำให้เมืองไทยน่าอยู่ เป็นหน้าที่ ของคนไทยทุกๆ คน และมีค�ำขวัญว่า ‘มีน�้ำใจ ให้อภัย รักสงบ’ ช่วง ต้นก็มีการท�ำวิดีโอของพ่อผาย  ท่าน ว.วชิรเมธี กับหนังเรื่องปรองดอง เผยแพร่ออกไป” อะไรคือเหตุผลที่ท�ำให้เธอยังคิดโครงการต่อไปเรื่อยๆ “บอกไม่ถูกเหมือนกัน (หัวเราะ)  มีความรู้สึกเหมือนเป็นหน้าที่ ไม่ใช่คิดว่าต้องท�ำ  เป็นเรื่องธรรมชาติที่เราท�ำ  ท�ำจนกระทั่งเหมือนเป็น ชีวิตประจ�ำวัน ท�ำคละเคล้ากันไปกับธุรกิจ เรามีความรู้สึกว่าสิ่งที่เราท�ำ มันต้องเอื้อกับสังคม ยกตัวอย่างดิฉันเป็นกรรมการที่บริษัทผลิตอาหาร  ภารกิจเรา ก็ต้องผลิตอาหารที่มีคุณภาพ  มีคุณค่าทางอาหารให้กับผู้บริโภค  เป้า หมายไม่ได้อยู่ที่ก�ำไรสูงสุดอย่างเดียว  ซึ่งตรงนี้ถามว่าเป็นกิจกรรมเพื่อ สังคมหรือเปล่า ดิฉันว่าก็ใช่ หรือว่าเราไปเห็นความไม่ถูกต้องในสังคม ไปท�ำโครงการประเภทหนึ่งแล้วมีการทุจริตคอร์รัปชั่น  เราก็จะบอกว่า เรื่องพวกนี้เราไม่สนับสนุน ไม่ส่งเสริม ถึงแม้มันจะสามารถท�ำให้บริษัท ได้ประโยชน์ขึ้นมา แต่เราไม่ท�ำ เราก็มีความสุข ถ้าเอาสิ่งต่างๆ  เหล่านี้ไปอยู่ในชีวิตประจ�ำวันจริงๆ  ทุกคน ท�ำประโยชน์ให้กับสังคมได้ตลอดเวลา  โดยไม่จ�ำเป็นต้องไปแบ่งแยก ว่าอันนี้เป็นกิจกรรมของสังคม  อันนี้เป็นกิจกรรมทางธุรกิจ  ธุรกิจก็ท�ำ ประโยชน์ให้สังคมได้

126


สังคมไทยมีความคิดเรื่องแบ่งปันกันอยู่เยอะนะคะ น้อยครั้ง ที่ดิฉันเสนอเข้าไปแล้วเขาปฏิเสธ  บางทีเขาก็ช่วยตามอัตภาพ  แล้ว แต่ขีดความสามารถ แต่ไม่ค่อยเห็นใครที่จะบอกว่าอย่ามายุ่งกับฉัน เลย ฉันไม่ชอบ บางอย่างเราไปแบ่งแยกมากเกินไปว่าอันนี้เป็นธุรกิจ อันนี้เป็นกิจกรรมเพื่อสังคม บางกรณีอาจจะเผลอไป คิดว่าไม่เป็นไร ท�ำธุรกิจไปก่อนก็แล้วกัน ธุรกิจเราจะได้ดี เดี๋ยวได้ก�ำไรแล้วค่อยไป แบ่งให้สังคม โดยที่ไม่ได้ค�ำนึงว่าสิ่งที่ท�ำไปตรงนั้นจะเผลอไปท�ำร้าย สังคม ถ้ามีโอกาสได้พบกับผู้ประกอบธุรกิจต่างๆ หรือรุ่นน้อง ดิฉัน ก็พยายามไปบอกเล่าว่าอย่าไปแยกกันเลย  เพราะสิ่งต่างๆ  เหล่านี้ สุดท้ายจะเลี้ยวกลับมาหา  ถ้าเราไปยินยอมให้สิ่งที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้น ถึงแม้จะเอาเงินมาท�ำบุญสักแค่ไหน มันก็ไม่ได้ช่วยลูกหลานเรา” “ธุรกิจกับกิจกรรมเพื่อสังคม ท�ำควบคู่กันได้ ดิฉันมั่นใจ”

ทุกคนท�ำประโยชน์ให้กับสังคมได้ ตลอดเวลาโดยไม่จ�ำเป็นต้องไปแบ่งแยก ว่าอันนี้เป็นกิจกรรมของสังคม อันนี้เป็น กิจกรรมทางธุรกิจ ธุรกิจก็ท�ำประโยชน์ให้ สังคมได้

127


นสพ.ภัทรพล มณีอ่อน สัตวแพทย์สัตว์ป่า

นายสั ต วแพทย์ ป ระจ� ำ ส่วนศึกษาและวิจัยอุทยาน ส�ำนัก อุ ท ยานแห่ ง ชาติ   กรมอุ ท ยาน แห่ ง ชาติ สั ต ว์ ป ่ า และพั น ธุ ์ พื ช และที่ ป รึ ก ษาคณะกรรมาธิ ก าร ท รั พ ย า ก ร ธ ร ร ม ช า ติ แ ล ะ สิ่ ง แวดล้ อ ม  วุ ฒิ ส ภา  ที่ เ ลื อ กเรี ย น สั ต วแพทย์ เ พี ย งเพราะอยาก พิสูจน์ความเชื่อที่ว่า  ‘กีฬากับการ เรียนในคณะที่ยาก  ไปด้วยกันไม่ได้จริงหรือ’  หมอล็อต-น.สพ.ภัทรพล มณีอ่อน ท้าทายข้อพิสูจน์นั้นด้วยการท�ำได้ทั้งสองอย่าง  นั่นคือการเป็น นักกีฬาบาสเกตบอลให้กับสโมสรธนาคารกรุงเทพ  และเป็นนักศึกษา สัตวแพทย์ไปด้วย ส่วนเหตุผลที่เขาเลือกเรียนในคณะนี้  นั่นก็เพราะว่า  “คนเจ็บ ป่วยเขาพูดได้  แต่สัตว์มันร้องอย่างเดียว  และได้แต่มองตานอนพะงาบๆ เลยคิดว่ามันน่าจะยากกว่าเป็นหมอรักษาคน” แต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  ทั้งหมดนั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นของนาย สัตวแพทย์  ผู้เป็นที่รู้จักในเวลาต่อมา  ว่าเป็นนายสัตวแพทย์สัตว์ป่าคน

128


เดียวของเมืองไทย  หากในเวลานี้ค�ำเรียกนั้นกลายเป็นเรื่องเก่าไปแล้ว ด้วยสิ่งที่เขาได้ทุ่มเท กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดสัตวแพทย์สัตว์ป่า เพิ่มขึ้นอีก 18 คน ในปีที่สิบของการท�ำงานในผืนป่าของเขา หมอล็อตเริ่มต้นวิชาชีพที่สถาบันวิจัยและบริการสุขภาพช้าง แห่งชาติ ของกรมปศุสัตว์  ในจังหวัดสุรินทร์บ้านเกิด แปดเดือนกับการ ท�ำงานท�ำให้เขามองเห็นต้นเหตุของการบาดเจ็บ  และคุณภาพชีวิตของ ช้าง  รวมถึงควาญช้างที่ควรต้องได้รับการแก้ไข “ผมคิดในใจว่าการรักษาช้างไปวันๆ  เป็นการรักษาที่ปลาย เหตุ   รั ก ษาในระดั บ จุ ล ภาค  เราอยากมี โ อกาสเข้ า ไปแก้ ป ั ญ หาใน ระดับมหภาคบ้าง ท�ำงานได้แปดเดือนก็เหมือนฟ้ามีตา เมื่อทางคณะ กรรมาธิการสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา มีความคิดว่าจะแก้ปัญหาเรื่องช้างเล็ก และช้างป่าในประเทศไทย และอยากได้คนเข้าไปท�ำงาน ตอนนั้ น มี ผู ้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มหลายคนหลายด้ า น มาก และเขาอยากจะเลือกคนที่มีความถนัดเฉพาะด้าน โดยเฉพาะใน เรื่องช้างด้วย ปรากฏว่าความโชคดีมาตกอยู่ที่เรา มีการเชื้อเชิญให้ไป ท�ำงานที่วุฒิสภาโดยเราก็คาดไม่ถึง ผมเองก็บอกเขาว่า ผมเพิ่งท�ำงาน สัตวแพทย์มาแค่แปดเดือน  ไม่มีความรู้อะไรเลย  คิดว่าการท�ำงานใน ระดับนโยบายของสภาสูงคงเป็นเรื่องยากส�ำหรับตัวผม ผู้ใหญ่ก็บอกว่าเขาไม่สนหรอกว่าหมอล็อตจะมีคุณวุฒิหรือ วัยวุฒิมากขนาดไหน ขอแค่หมอล็อตเป็นคนยึดมั่นในวิชาชีพ มีความ รู้ในวิชาชีพ บนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม คุณก็สามารถเริ่ม งานที่ ป ลายหอกได้   ไม่ จ� ำ เป็ น ที่ เ ราต้ อ งเริ่ ม งานที่ ด ้ า มหอกเสมอไป กระบวนการคิดการกลั่นกรองต่างๆ  เขาคิดมาแล้ว  เขาต้องการคนที่มี ความเสียสละ มุ่งมั่น ทุ่มเท มาสานงานต่อ” งานที่รับผิดชอบในฐานะคณะกรรมาธิการในขณะนั้น เป็นเรื่อง ของการติดตาม  ตรวจสอบเรื่องราวร้องทุกข์  และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ

129


ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า ด้วยวิสัยสัตวแพทย์ เมื่อลงพื้นที่เขามัก ถามความเป็นไปของสัตว์ป่าจากคนในพื้นที่อยู่เสมอ “ก็ถามเจ้าหน้าที่  ถามชาวบ้านว่าในพื้นที่มีปัญหาสัตว์ป่าเจ็บ ป่วยบ้างหรือเปล่า เขาบอกมีเยอะเลย และเวลามีสัตว์ป่าบาดเจ็บ เขา ไม่รู้ว่าเขาจะต้องท�ำยังไง ไม่รู้ว่าจะติดต่อหมอที่ไหน ที่ติดต่อไปก็เป็น หมอที่รักษาสัตว์เลี้ยงทั่วไป ไม่ได้มีประสบการณด้านนี้ สัตว์ก็นอนรอวัน ตายต่อหน้าต่อตา บางทีสัตว์ก็มองมาเหมือนขอความช่วยเหลือ” ค�ำบอกเล่าชวนสลด  ท�ำให้หมอล็อตหาแนวทางที่จะเข้าไป ดูแลรักษาสัตว์ป่าที่บาดเจ็บ ที่ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม การกระท�ำ ของมนุษย์ล้วนมีผลต่อชีวิตสัตว์เหล่านั้น “ทางตรงก็เป็นเรื่องการล่า  การฆ่าเพื่อบริโภค  หรือท�ำร้าย โดยตรงจากการโกรธแค้ น หรื อ เรื่ อ งอื่ น ๆ  แต่ ใ นทางอ้ อ มบางครั้ ง ก็ มาจากวิ ถี ก ารด� ำ รงชี วิ ต นี่ แ หละ  อย่ า งเรื่ อ งของสารเคมี จ ากการท� ำ เกษตรกรรม การขับรถโดยประมาท การทิ้งขยะ การทิ้งน�้ำเสียในพื้นที่ ธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อตัวสัตว์ได้ทั้งนั้น” ด้วยวิสัยของสัตว์ป่าที่ไม่คุ้นเคยกับมนุษย์  หากจะพอคุ้นบ้าง ก็มีเพียงการกระท�ำที่เคยได้รับจากน�้ำมือมนุษย์  การให้การรักษาจึง แน่นอนว่า-ไม่ง่าย “ยากมาก  สัตว์ป่านี่ถ้าไม่บาดเจ็บหนักเขาจะไม่โผล่ให้คนเห็น เมื่อไรที่เขาโผล่ให้คนเห็น  มันก็จะปางตายแล้ว  บางครั้งก็ห้าสิบ-ห้าสิบ คือโอกาสรอดน้อยมาก  โดยปกติสัตว์ป่าเวลาบาดเจ็บ  สัญชาตญาณใน การดูแลตัวเองคือหลบหนี  หรือกินพืชในป่าที่เป็นสมุนไพรเพื่อรักษาตัว เอง แต่เมื่อไรที่ไม่ไหวนั่นคือปางตาย ฉะนั้นการที่เราไปรักษานี่บางครั้ง อาจไม่ทันการ บางครั้งอาการอาจจะหนักมาก ฉะนั้นความพร้อมต่างๆ ในการช่วยเหลือจะต้องเต็มที่

130


เวลาเราเข้าไปรักษาเขา  กรณีที่สัตว์มีอาการรุนแรงมากๆ เรา จะไม่เคลื่อนย้ายเขาออกมานอกป่า  เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพ แวดล้อมของสัตว์จะท�ำให้สัตว์เครียด  และท�ำให้อาการบาดเจ็บหรือ อาการป่ ว ยรุ น แรงเพิ่ม ขึ้นได้  ฉะนั้นเราจะใช้พื้นที่ป่า เป็นห้องรักษา พยาบาล เป็นสถานที่ในการดูแล บางกรณีที่แม้อาการไม่หนักมาก  เราก็ต้องเข้าไปช่วย เพราะ ถ้าไม่ช่วยเขาก็จะตาย  แต่ก็มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงเพราะเขาไม่รู้ว่าเรา มาดีหรือมาร้าย  ยิ่งถ้ามีคนมาท�ำอันตรายให้เขาได้รับบาดเจ็บ  หมอก็ คือคนคนหนึ่ง เจ้าหน้าที่ก็คือคนกลุ่มหนึ่ง การเข้าไปช่วยเหลือท�ำให้เขา คิดว่าเราจะไปซ�้ำเขา  เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าไปยิงยาสลบ  เข้าไปหา ช่องทางในการติดตามดูร่องรอย บ่อยครั้งที่หมอหรือเจ้าหน้าที่ถูกสัตว์ ป่ากระทืบ หรือท�ำร้ายเวลาเข้าไปรักษา ผมเองก็เคยโดนช้างเตะ  โดนชน  บางทีเจออุปสรรคในการ ติดตามหาตัวสัตว์ เมื่อเขาบาดเจ็บเขาจะยิ่งหลบหนี ต้องชิงไหวชิงพริบ กัน บางทีโดนกระทิงตลบหลัง วกกลับมาเล่นงานเราด้านหลังก็มี เราก็ จะบอกกับทีมงานทุกคนว่าอย่าไปโกรธสัตว์ป่าที่มาท�ำร้ายเรา อุบัติเหตุ อันตรายที่เกิดขึ้นขอให้มองว่าเป็นความผิดพลาดของตัวเราเอง  เพราะ สัตว์ท�ำไปโดยสัญชาตญาณ  ส่วนตัวเราเองเราคิดได้  ก็น่าจะหาทาง ป้องกันให้รัดกุม ให้รอบคอบปลอดภัยกว่านี้” ในบางกรณีการติดตามตัวสัตว์ใช้เวลานานหลายเดือนจนดูน่า ถอดใจ แต่หมอล็อตกลับไม่เคยรู้สึกเช่นนั้น เมื่อการติดตามไม่เป็นผลใน วันนี้ วันข้างหน้าก็ยังต้องตามต่อ จนกว่าจะพบร่องรอยและให้การรักษา ได้ “บางครั้งช้างตัวหนึ่งเราใช้เวลาสามถึงห้าเดือนกว่าจะตามตัว เจอ ห้าเดือนในการติดตาม สองชั่วโมงในการรักษา เวลาเราเจอตัวสัตว์ เราต้องเป็นนักพยากรณ์ด้วย สภาพตัวสัตว์ที่บาดเจ็บอาจไม่รุนแรงนัก

131


แต่การด�ำรงชีวิตตามธรรมชาติของเขาจะท�ำให้อาการบาดเจ็บรุนแรง มากขึ้นถึงขนาดท�ำให้เสียชีวิตหรือเปล่า  เพราะฉะนั้นเวลาเห็นสัตว์ป่า บาดเจ็บ  เราสามารถนับถอยหลังได้เลยว่าเขาจะมีเวลาอยู่รอดกี่เดือนกี่ ปีกี่วัน  นั่นคือเวลาที่เราจะต้องตามรักษาเขาให้ได้ หาไม่เจอเรายิ่งกังวล เพราะสัตว์หนีไปซ่อน หรือกลับเข้าไปตาย เราต้องรีบหา อย่างน้อยก็ ชันสูตรให้ได้ว่าเป็นอะไรตาย”

การได้ท�ำงานกับสัตว์ป่า ท�ำให้หมอล็อตได้ยิ่งมองเห็นว่า... “ปัญหาสัตว์ป่าบาดเจ็บ  แทบจะพูดได้เต็มๆ  เลยว่าเกิดจาก มนุษย์ทั้งสิ้น ส่วนใหญ่คนไปเอาเปรียบ ไปคุกคามเขา หวังประโยชน์ จากตัวเขา ในเรื่องของอวัยวะที่คิดว่ามีประโยชน์ มีคุณค่า ซึ่งโดยแท้จริง แล้วมันไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากเนื้อปศุสัตว์ที่กินกันทั่วไป สิ่งเหล่านี้ได้ มาอาจจะเป็นความภูมิใจหรือความรู้สึกที่ดีของเขาก็ได้  แต่ส�ำหรับผม สิ่งต่างๆ  ที่ได้มาจากการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นเรื่องน่าอาย เดิมทีเวลาพูดกันเอง  เรามักใช้ค�ำพูดว่าโลกมนุษย์  แต่พอผม ท�ำงานมากขึ้น เข้าไปในป่า ได้เห็นสิ่งต่างๆ เพิ่มมากขึ้น มันบอกกับ เราได้ว่า นี่คือโลกของกระทิง นี่คือโลกของช้าง นี่คือโลกของนก เพราะ ฉะนั้นโลกใบนี้เป็นโลกของสรรพสิ่งมีชีวิต  ไม่ใช่โลกของมนุษย์อย่าง เดียว” หมอล็อตเล่าอย่างไม่เสแสร้งว่า  งานที่เขาท�ำอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่ สิ่งที่รัก เพราะโดยส่วนตัวแล้วเขานิยมใช้ชีวิตแบบคนเมือง แต่ประโยชน์ ที่ชีวิตอื่นจะได้รับจากสิ่งที่เขาท�ำ  ท�ำให้เขายินดีที่จะใช้ชีวิตกลางป่าใน พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีอย่างไม่มีเงื่อนไข

132


“บางครั้งคนเราอาจไม่ต้องเป็นในสิ่งที่เรารัก  อาจไม่ต้องเป็น ในสิ่งที่เราชอบ  แต่เราอาจต้องเป็นในสิ่งที่เราเป็นอะไรแล้วสังคมได้ ประโยชน์มากขึ้น หากผมไปด�ำรงชีวิตในเมือง ผมอาจเป็นเพลย์บอย สังคมอาจไม่ได้ประโยชน์อะไรจากผมเลย ผมอาจเป็นขยะสังคมด้วยซ�้ำ แต่ถ้าผมไปท�ำงานอยู่ในป่า ซึ่งเป็นงานที่เราไม่ได้รัก แต่เป็นงานที่เรา ปรับตัวได้ สังคมได้ประโยชน์มากกว่า เพราะผมมองว่าถ้าสังคมดี ตัว เราก็ดี ถ้าสังคมแย่ ตัวเราก็แย่ ...เท่านั้นเอง” ความคิดเหล่านี้ เกิดขึ้นภายหลังจากที่หมอล็อตได้ท�ำงาน  ได้ เห็นวิถีชีวิตในวัฒนธรรมที่แตกต่าง  การได้คบหาพูดคุยกับคนที่มีความ รู้หลากหลาย  และอีกหนึ่ง ‘ครู’ ที่เขามอบตัวเป็นศิษย์โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ รับรู้ “แต่ละครั้งที่ผมเดินทางไปในพื้นที่ป่าเพื่อรักษาสัตว์  เราจะได้ แง่คิด  ได้มุมมองอะไรใหม่ๆ  อยู่เสมอ  แล้วสิ่งเหล่านั้นก็จะกลั่นกรองมา เป็นกระบวนการทางความคิดโดยตัวของเราเอง และสัตว์ป่าก็สอนอะไร ผมเยอะมาก พ่ อ แม่ ใ ห้ ก� ำ เนิ ด เด็ ก ชายล็ อ ต  แต่ สั ต ว์ ป ่ า ให้ ก� ำ เนิ ด นาย สัตวแพทย์ที่ชื่อล็อต  ทุกสิ่งทุกอย่างในการเป็นหมอล็อตนี่คือสัตว์ป่า สอน  สัตว์ป่าเป็นครูผม  ครูผมแต่ละตัวที่เสียชีวิตไปท�ำให้ผมมุ่งมั่นที่ จะรักษาญาติพี่น้องของครูผมให้อยู่รอดให้ได้  แล้วชีวิตผมมันคือการ Learning by doing เรียนรู้ได้ตลอดไม่มีที่สิ้นสุด” ในปีที่สิบของการท�ำงานนี้  หมอล็อตเล่าถึงความคิดที่อยู่ในใจ และเริ่มต้นท�ำแล้วให้ฟังว่า ต่อไปนี้สัตวแพทย์จะไม่ใช่เพียงผู้รักษา พวก เขาจะท�ำหน้าที่มากกว่านั้น “เรามองว่าโลกนี้เป็นโลกของความหลากหลายทางชีวภาพ   ที่มากกว่าสัตว์ป่าคือพืช  คือสิ่งมีชีวิตพวกแพลงตอน  แบคทีเรียต่างๆ   นานาชนิ ด   เพราะฉะนั้ น บทบาทของสั ต วแพทย์ ก็ ต ้ อ งมองว่ า เรามี

133


บทบาทอะไรบ้างกับโลกอันสวยงามใบนี้  การรักษาสัตว์มันเป็นแค่ บทบาทหนึ่ง  แต่บทบาทของการรักษาโลกใบนี้มันคือบทบาทใหม่ของ สัตวแพทย์ ผมใช้ค�ำว่า Wildlife Veterinarian มาเก้าปี เข้าสู่ปีที่สิบผม จะใช้ค�ำว่า Vet for Planet คือสัตวแพทย์เพื่อโลกใบสวย เราจะท�ำงาน ในการปกป้องเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ  โดยใช้วิชาชีพของเรา เป็นหลัก  และใช้สัตว์ป่าเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ “ในอนาคตอาชีพสัตวแพทย์กับสังคมกับประเทศไทยจ�ำเป็น ต้องมีอย่างมาก  เพราะภารกิจและบทบาทไม่ได้มีแค่การรักษา  แต่เป็น เรื่องของโรคอุบัติใหม่  มีเรื่องของสัตว์ป่า  เรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องของ การรณรงค์ การให้ความรู้ การศึกษาวิจัย ซึ่งถ้ามองในแง่อนุรักษ์สัตว์ ป่า  สัตวแพทย์สัตว์ป่าถือว่าเป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งหรืออาจจะเป็นจิ๊กซอว์ ตัวสุดท้ายก็ได้ในการอนุรักษ์สัตว์ป่า หรืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติใน บ้านเรา” ในฐานะรุ่นพี่ที่แผ้วถางการเป็นสัตวแพทย์สัตว์ป่าคนเดียว มาเก้าปี และมีสัตวแพทย์รุ่นน้องที่ก�ำลังเดินตามรอยทางที่เขาสร้างไว้ บทบาทของคนเป็นพี่จึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจ “ก็ ต ้ อ งวางแนวทางพั ฒ นาศั ก ยภาพของวิ ช าชี พ ให้ ม ากยิ่ ง ขึ้น  ผมพยายามสอนให้น้องทุกคนเหยียบหัวข้ามเราไปให้ได้  โดยเรา สนับสนุนข้อมูลความรู้ประสบการณ์ทุกอย่าง เพราะในท้ายที่สุด การ ท�ำงานของหมอทุกคนคือการท�ำงานของวิชาชีพสัตวแพทย์ไทย  เพื่อ ประเทศไทย” “และเพื่อโลกใบนี้”

โลกใบนี้เป็นโลกของสรรพสิ่งมีชีวิต  ไม่ใช่โลก ของมนุษย์อย่างเดียว

134

น.สพ.ภัทรพล มณีอ่อน


มนตรี สินทวิชัย ‘เพื่อน’ ของเด็กเร่ร่อน “คนเราถ้ า ได้ หั ว เราะ หรือร้องไห้ด้วยกันบ่อยๆ  มันจะ เปิ ด ใจให้ กั น ได้   มองข้ า มเรื่ อ ง ความต่ า งด้ า นฐานะ  ความรู ้ และวัย  บางทีเด็กกับผู้ใหญ่ถ้า ได้หัวเราะด้วยกันจากใจจริงๆ   มันเป็นภาพที่สวยงามนะ  ถ้าจะ ร้องไห้ก็ร้องไห้ด้วยความเห็นใจ ซึ่งกันและกัน” วันแรกที่ครูหนุ่มผู้เปี่ยมอุดมการณ์  ก้าวเข้าไปในกลุ่มของ เด็กเร่ร่อน  พวกเด็กๆ มองเขาเป็นคนจากอีกฟาก พานคิดไปว่าเขา คงไม่ต่างอะไรกับผู้ใหญ่ที่มองเด็กเร่ร่อนเป็นปัญหาสังคม  ขณะที่เขา กลับมองเด็กเร่ร่อนเป็นเสมือนเพื่อนใหม่ที่ควรท�ำความรู้จัก  วันนั้น เขาแนะน�ำตัวเองสั้นๆ ว่า “ผมชื่อยุ่น” ครูยุ่น-มนตรี สินทวิชัย ผู้ก่อตั้งและเลขาธิการมูลนิธิคุ้มครอง เด็ก ยังจ�ำวันแรกที่เขาตัดสินใจเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนได้ ดี ราวกับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันวาน เขายังจ�ำสายตาของผู้คนในละแวก นั้น ที่ดูราวตั้งค�ำถามกับการกระท�ำของเขาและเพื่อนชาวอาสาสมัคร เพราะจะมีผู้ใหญ่สักกี่คนที่เดินเข้าไปหาเด็กเร่ร่อนด้วยรอยยิ้มและ มิตรภาพ โดยปราศจากผลประโยชน์ใดๆ เคลือบแฝง

135


ทว่าความปรารถนาดีเป็นสิ่งที่หัวใจของมนุษย์ทุกคนสัมผัส ได้  เช่นเดียวกับที่ความถี่ของการพบปะมีพลังมากพอที่จะท�ำให้คน แปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนใหม่  ความต่างของวัยเริ่มกลายเป็นข้อดี ครูยุ่นมีประสบการณ์การสอนจากรั้วโรงเรียนลาซาล  บางนา  แต่ แทนที่ครูยุ่นจะเป็นผู้สอนต�ำราในรั้วโรงเรียนให้กับเด็กเร่ร่อน  กลับ เป็นเด็กเร่ร่อนที่สอนครูยุ่นให้รู้จักกับประสบการณ์ล�้ำค่าของชีวิต “มี เ รื่ อ งราวที่ ผ มได้ สั ม ผั ส และรู ้ สึ ก มากมาย  จากการเป็น อาสาสมัครช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน ที่จริงผมสนใจปัญหาสังคมมาตั้งแต่ ยังไม่จบ มศว. (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร) ช่วง แรกที่ได้เป็นครูในระบบ ผมก็ยังหาเวลาตั้งกลุ่มไปเป็นอาสาสมัครกับ เพื่อนๆ เพื่อช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน ผมถอดความเป็นครูไปจนหมด เราเดินเข้าไปหาเด็กๆ ด้วย ความเป็นเพื่อน พูดคุยกับเขาแบบเป็นกันเอง มีกิจกรรมเข้าไปเชื่อม ความสัมพันธ์ ที่ส�ำคัญต้องท�ำให้พวกเขารู้สึกว่า เรายอมรับในความ เป็นตัวตนของพวกเขา แม้จะเป็นเด็กเร่ร่อนก็ตาม เพราะผมต้องการ เรียนรู้จากพวกเขาเหมือนกัน ช่วงแรกเด็กๆ ก็ไม่ยอมรับผมนะ แต่ผมใช้ความเข้าใจคุยกัน พอไปหาเขาหลายๆ ครั้ง มันก็กลายเป็นมิตรภาพ มีความเคารพกัน ในที พวกเขารู้ว่าต้องเคารพผู้ใหญ่โดยค่านิยมทางสังคม แต่ผมไม่ได้ เข้าไปสั่งสอน ผมเข้าไปเรียนรู้ความกล้าหาญ ความดิ้นรนในการเอา ตัวรอด การเยียวยารักษาตัวเองยามเจ็บป่วย ถ้าเด็กยังไม่ได้รับการ ดูแลขั้นพื้นฐาน และการเคารพสิทธิ โตขึ้นมาเขาก็อาจจะเป็นผู้ใหญ่ที่ ไม่เคารพสิทธิของผู้อื่นได้เหมือนกัน”

136


การปรั บ ตั ว เข้ า หาเด็ ก ๆ  อาจไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งยากเท่ า กั บ การ เปลี่ยนแปลงทัศนคติที่สังคมมีต่อเด็กเร่ร่อน  ไม่มีใครอยากถูกมอง เป็นปัญหา เช่นเดียวกับที่เด็กเร่ร่อนไม่อยากถูกปฏิเสธจากสังคม ครู ยุ่นจึงรับหน้าที่ไปค้นหาค�ำตอบจากเด็กๆ  ที่ผู้ใหญ่บางคนไม่แม้แต่ จะเหลียวมองปมบาดแผลร้าวลึกในจิตใจ  ที่ผลักดันให้พวกเขาเลือก ออกไปเผชิญกับอันตรายในการมีชีวิตเร่ร่อน “ช่วงแรกมีอุปสรรคเยอะพอสมควร  คนที่ไม่เข้าใจพวกเราก็ มี  เขาสงสัยว่าพวกเรามาอยู่กับเด็กเร่ร่อนเพื่ออะไร  แต่ผมแค่อยาก ไปช่วยเหลือพวกเขา ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน คนส่วนใหญ่มองว่า การช่วยเหลือต้องมีสิ่งตอบแทนเสมอ แต่พวกเราไม่ได้อะไรเลย แถม ยังต้องเสียเงินค่าเดินทางด้วยซ�้ำ แต่ผมกลับมองว่า  อย่างน้อยเราก็ได้มิตรภาพ  ได้เรียนรู้สิ่ง ใหม่ ได้เรียนรู้ทักษะในการปรับตัวเข้ากับเด็กๆ และได้สัมผัสความ รู้สึกดีๆ ยิ่งได้เรียนรู้จากพวกเขา ยิ่งได้ประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ใน การด�ำเนินชีวิตของผมได้ด้วย “สิ่งที่ผมได้พบจากเด็กเร่ร่อนท�ำให้ผมปรับทัศนคติในการ มองเด็กในห้องเรียน ผมมองเห็นตัวตนของเด็กแต่ละคน ความต่าง ของเด็กทั้งในโรงเรียนและเด็กเร่ร่อน  ลึกๆ  พวกเขามีความถนัด  จุด เด่น ความสนใจ และความรู้สึกเฉพาะตัว จุดนี้มันคล้ายกัน ทั้งหมด ท�ำให้เราเคารพในตัวตนของเด็กแต่ละคนมากขึ้น “การเคารพตัวตนของเด็กเป็นสิ่งไม่ง่ายเลย  แต่มันเป็นเรื่อง ส�ำคัญและละเอียดอ่อน บางมุมผู้ใหญ่เองก็อาจจะมองข้าม เพราะ คิดว่าเด็กๆ น่าจะรู้สึกเหมือนเรา เราอาจเจอเด็กคนหนึ่งเป็นเพื่อนกับ เด็กอีกคน แล้วคิดไปเองว่า สองคนนั้นน่าจะคิดเหมือนกัน นิสัยคล้าย กัน ซึ่งจริงๆ มันไม่ใช่”

137


จากปมปัญหาชีวิตของเด็กเร่ร่อน  ท�ำให้ครูยุ่นพบกับความ จริงอันปวดร้าว  เด็กหลายคนโดนรังแกทั้งจากครอบครัวและสังคม รอบข้าง การละเมิดทางเพศจนถึงการใช้แรงงานเด็ก กลายเป็นภาพ ชินตา  ยิ่งท�ำงานกับเด็กนานขึ้น  ปัญหาเกี่ยวกับเด็กยิ่งเพิ่มความซับ ซ้อน และความหลากหลายของรูปแบบก็เพิ่มขึ้นตามกาลเวลา ทาง เดียวที่จะแก้ปัญหาได้ดีที่สุด คือการจัดตั้งมูลนิธิคุ้มครองเด็ก “หน้าที่ของมูลนิธิ  คือท�ำงานเพื่อเรียกร้องสิทธิให้เด็กตาม กฎหมาย  ขณะเดียวกันการจัดตั้งเป็นมูลนิธิก็เพื่อให้สังคมสามารถ ตรวจสอบได้ และเราเองก็สามารถเข้าไปช่วยเหลือเด็กๆ ก่อนจะถูก รังแก  ก่อนเกิดบาดแผลในใจ  ดีกว่าที่กลายเป็นเด็กเร่ร่อนไปแล้ว ปัญหาจะมีความซับซ้อนและแก้ไขยากขึ้น ที่ผ่านมามูลนิธิช่วยเหลือเด็กได้ระดับหนึ่ง  แต่สามารถน�ำ เสนอประเด็นต่อสาธารณะได้เยอะมาก  เพื่อให้เกิดมุมมองอีกด้าน หนึ่งต่อตัวเด็ก สิ่งหนึ่งที่ผมอยากตั้งค�ำถามกับสังคม คือแทนที่จะใช้ อ�ำนาจเข้าบังคับ เรายอมรับตัวตนและเหตุผลของเด็กดีกว่ามั้ย เช่น ห้ามเด็กออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม ทั้งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ ผมเอง ก็ไม่เห็นด้วย ถ้าจะห้ามเด็กต้องชัดเจนด้านกฎหมาย อย่าลืมว่าเด็กมีหลายกลุ่ม  เรามองแต่เด็กเที่ยวกลางคืน แต่ยังมีเด็กที่ไปเรียนพิเศษ หรือมีธุระต้องกลับหลัง 4 ทุ่ม ผมถามว่า อะไรที่มาจากอ�ำนาจ มันแก้ปัญหาได้จริงหรือ กับเด็กบางคนยิ่งห้าม เหมือนยิ่งยุ เราควรคุ้มครองเด็กมากกว่าไปห้ามปราม โดยไม่ได้ค�ำนึง ถึงเหตุผล ผมมองว่าการคุ้มครองเด็กคือการลงทุนรูปแบบหนึ่ง เป็นการ ลงทุนกับอนาคตของเด็กที่คุ้มค่า  เราต้องมองเรื่องสิทธิที่เด็กควรได้

138


รับตามกฎหมาย เป็นคนละเรื่องกับการท�ำบุญ เช่น เรียนฟรี เป็นสิทธิ ที่เด็กทุกคนในเมืองไทยควรได้รับอย่างเท่าเทียม ผมอยากให้เรามอง เรื่องสิทธิของเด็กเป็นสิ่งที่ควรเคารพ  และเป็นสิ่งที่เด็กควรได้รับ ไม่ใช่ มองเป็นเรื่องของการสงเคราะห์ “นอกจากการสร้ า งความตื่ น ตั ว ให้ สั ง คมหั น มาใส่ ใ จกั บ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็ก  มูลนิธิมีหน้าที่ดูแลเรื่องสวัสดิการและสิทธิ ขั้นพื้นฐานที่เด็กๆ ควรได้รับ ที่ส�ำคัญต้องกระจายสิ่งนั้นให้ทั่วถึง สิ่ง หนึ่งที่ผมภูมิใจตลอดการท�ำงาน คือทัศนคติในการมองเด็กเปลี่ยนไป ในทางที่ดีขึ้น ปัญหาแรงงานเด็ก โสเภณีเด็ก การท�ำร้ายหรือบังคับ ขู่เข็ญดีขึ้นมาก แก๊งลักเด็กลดลง เพราะมีหลายหน่วยงานคอยช่วย เหลืออย่างต่อเนื่อง มีการปราบปรามอย่างจริงจัง อะไรก็ตามที่ปฏิบัติ อย่างต่อเนื่องและสม�่ำเสมอ เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรม ชัดเจน” ทุกวันนี้มูลนิธิคุ้มครองเด็กท�ำหน้าที่มากกว่าการปกป้องสิทธิ ครูยุ่นได้สร้างบ้านหลังที่สองให้กับเด็กขึ้นในจังหวัดสมุทรสงคราม บ้านเกิดของเขาเอง หลายปีที่ผ่านมาความพยายามของเขาได้รับค�ำ ชื่นชมจากเมืองไทยและต่างประเทศ  รางวัลมากมายที่เรียงรายใน มูลนิธิ  ไม่ได้เป็นความสุขที่แท้จริงส�ำหรับเขา  หากเป็นความสุขของ เด็กต่างหาก ที่เป็นก�ำลังใจที่ดีให้เขาตลอดมา

139


“ทุกครั้งที่ช่วยเหลือเด็ก แล้วเห็นเขายิ้มได้ มีโอกาสจะเลือก มีโอกาสจะฝัน  มีความสุขกับชีวิตที่แม้ครั้งหนึ่งจะเคยผ่านเรื่องราว เลวร้ายมาแล้ว เด็กบางคนกลับมาช่วยเหลืองานของมูลนิธิ ผมมอง เป็นภาพที่สวยงามนะ เพราะเขาได้ค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการเจอ เด็ก ทุกคนที่ค้นหาตัวเองเจอผมเห็นแล้วมีความสุขมาก  ผมเห็นความ งอกงามในชีวิตและจิตใจของเขา ถ้ามีโอกาสผมจะบอกคนท�ำงานด้วยกันเสมอว่า  มีเด็กหลาย รุ่นที่ค้นหาตัวเองเจอแล้ว  แต่ยังมีเด็กอีกมากที่ยังค้นหาตัวเองไม่เจอ หน้าที่ของเราคือการช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น  งานอย่างนี้ท�ำได้ทั้งชีวิต และท�ำได้หลายรูปแบบ เราอาจส่งเสริมค่าเล่าเรียนเด็ก หรือแค่คิด ผมก็ถือว่าประสบความส�ำเร็จไปครึ่งหนึ่ง ถ้ามีโอกาสให้ลงมือท�ำเลย   อย่าใช้โอกาสเปลือง  ในมุมหนึ่งผมเชื่อว่าคนไทยมีมิตรภาพและชอบ ช่วยเหลือกันอยู่แล้ว  ถ้าเราประคับประคองกันไว้  พื้นฐานของมนุษย์ ทุกคนก็พร้อมจะลุกขึ้นยืนมากกว่าล้ม แม้เราจะถูกกระท�ำให้อ่อนแอ ยังไง เราก็อยากจะลุกขึ้นยืนด้วยขาของตัวเอง “ผมภูมิใจกับเด็กทุกคนที่เคยช่วยเหลือ แม้ ณ เวลานั้นผมจะ เหนื่อยมาก แต่พอได้เห็นชีวิตที่ดีขึ้นของพวกเขา มันชื่นใจนะ”

ผมไม่เคยมองพวกเขาเป็นเด็กมีปัญหา  อย่างมาก ที่สุดเขาก็แค่ผ่านช่วงเวลาเลวร้ายมา ณ เวลาหนึ่ง วันที่คน ใกล้ชิดกระท�ำต่อเขา แต่มันไม่ได้หมายความว่าเด็กคนนั้น เป็นคนป่วยหรือมีปัญหา คนท�ำเขาต่างหากที่มีปัญหา

140

มนตรี สินทวิชัย


วิภาวี คุณาวิชยานนท์ ดีไซน์รับภัยพิบัติ

“หมดก� ำ ลั ง ใจเป็ น เรื่ อ ง ปกติ  ถ้าจะหมดเมื่อไรก็ปล่อยให้มัน หมดไป หมดได้ก็เพิ่มขึ้นใหม่ได้ ถ้า เราเปิ ด ใจมองสิ่ ง รอบๆ ตั ว   เราจะ เห็นอะไรที่มันจุดประกายให้เราเกิด ก�ำลังใจใหม่” ตั ว แ ท น เ พี ย ง ค น เ ดี ย ว จากเมื อ งไทยที่ ไ ด้ รั บ เชิ ญ ไปร่ ว ม โครงการ ‘Disaster  Management and People : Working Toward the Creation of a Strong Society’ ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิด  และหาแนวทางร่วม กันจัดการกับภัยพิบตั   ิ ระหว่างประเทศญีป่ นุ่ และประเทศต่างๆ  ในเอเชีย   เมื่อเดือนธันวาคม 2554 ย้ อ นกลั บ ไปก่ อ นหน้ า นั้ น ราวหนึ่ ง ปี เ ศษ  ชื่ อ ของ  วี - วิ ภ าวี คุณาวิชยานนท์  เป็นที่รู้จักในฐานะคนท�ำงานรุ่นใหม่ที่ตื่นตัวเรื่องภัย พิบัติ เธอตั้งกลุ่ม ‘Design for Disasters’ ขึ้นเมื่อต้นปี 2553 ร่วมกับนัก ออกแบบอีกหลายคน เพื่อเสนอนวัตกรรมรับมือกับภัยพิบัติที่ท�ำทีว่าจะ เกิดซ�้ำอีกในอนาคต

141


อะไรที่ท�ำให้ผู้หญิงตัวเล็กอย่างเธอคิดการใหญ่ ถึงขั้นเลือก เรียนต่อปริญญาเอก ในสาขา ‘Disaster Management’ ที่สถาบัน AIT (Asian Institute of Technology) เพื่อน�ำข้อมูลมาวางแผน และ เตรียมงานเพื่อรับมือในโครงการที่เธอปั้นขึ้นจากความฝัน และความ กลัว “เรื่องภัยพิบัติเข้ามาในหัวได้ยังไง ต้องบอกว่าเริ่มต้นเลยคือ หลังเหตุการณ์สึนามิ ตอนนั้นวียังเรียนอยู่อเมริกา เห็นข่าวในทีวี คลื่น ใหญ่ๆ พัดเข้ามา แล้วก็เก็บไปฝัน ฝันประมาณสี่สิบกว่าครั้ง บางทีก็ ตายในฝันด้วย จนเป็นความกลัวที่ฝังอยู่ในใจเรา “อ่ า นฟอร์ เ วิ ร ์ ด เมลก็ มี แ ต่ เ รื่ อ งที่ บ อกว่ า กรุ ง เทพจะจมน�้ ำ ถาวร มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ออกมาด้วยว่าจะเป็นอย่างนั้น พอ กลับมาเมืองไทยตอนนั้นเป็นช่วงหน้าฝนพอดี เมฆครึ้มด�ำ แล้วแถว บ้านมีการสร้างตึก  เวลาเขาตอกเสาเข็มพื้นสั่นไปหมด  เราก็กลัว มาก จนคนรอบข้างบอกเป็นโรคจิต (หัวเราะ) แต่ตอนนั้นเรากลัวมาก จริงๆ กลัวจนอยู่ไม่ได้ เลยเดินทาง หวังว่าจะไปเจอที่ที่ท�ำให้เรารู้สึก ปลอดภัย “มีครั้งหนึ่งที่คิดว่าไม่อยู่แล้วกรุงเทพ  วีหนีไปเมืองจีน  ไป บ้ า นเกิ ด อากงที่ อ ยู ่ บ นภู เ ขา  ได้ เ ห็ น ว่ า ความเป็ น อยู ่ ข องอากงซึ่ ง ล�ำบากมากเลยนะ เขานั่งเรือส�ำเภา เสื่อผืนหมอนใบมาอยู่กรุงเทพ จนสร้างเนื้อสร้างตัว ท�ำให้ครอบครัววีสามารถพอมีพอกิน ส่งวีไป เรียนหนังสือเมืองนอกได้ ก็คิดได้ว่าแล้วเราจะกลัวอะไร เราเปลี่ยน ความกลัวตรงนี้ให้เป็นสิ่งดีๆ ดีมั้ย ไม่หนีแล้ว” วิภาวีเผชิญกับความกลัวด้วยการเรียนด้านภัยพิบัติ  เพื่อ ท�ำความรู้จักและหาวิธีอยู่กับมันอย่างมีสติ

142


“สมัยเรียนวีจะมีอาจารย์คนหนึ่งสอนว่า เมื่อไรที่มีความทุกข์ มาเยือน ก็เหมือนมีแขกมาเคาะประตูอยู่หน้าบ้าน แทนที่เราจะปิด ประตู ไม่ฟัง แล้วหนีไป เราเปิดประตูรับเขาเข้ามาดีมั้ย รับแขกแล้ว นั่งคุยกับเขาดีๆ เพื่อที่ว่าเราจะได้ส่งเขากลับไปดีๆ “ตอนอายุยี่สิบต้นๆ วีเคยทุกข์ใจกับเรื่องอะไรสักอย่าง วีไป สถานีรถไฟ ซื้อตั๋วใบหนึ่ง คนขายถามไปไหน เราบอกไปไหนก็ได้ที่มัน ออกเดี๋ยวนี้ แล้ววีซื้อตั๋วแบบที่นั่งได้ทั้งประเทศ ระหว่างทางก็ได้ไปใน ที่ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไปนั่งหลับที่สถานีรถไฟบ้าง แล้วท้ายที่สุดก็กลับ ไปที่เดิม ใช้เวลาสองอาทิตย์ ผ่านไปอีกปีสองปี วีมีเรื่องทุกข์ใจอีก ใช้ วิธีเดิมเลย แต่ครั้งนี้ขึ้นรถไฟไปได้ครึ่งชั่วโมงก็หาทางลง เพราะคิด ว่ามันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร ก็เลยกลับไปที่เดิม ใช้วิธีอยู่กับที่ที่เรา ทุกข์ เผชิญกับมัน “หนึ่งปีที่ไปเรียนที่เอไอที  ห้าวันนี่เจอแต่เรื่องน่ากลัว  วัน หนึ่งน�้ำท่วม วันหนึ่งแผ่นดินไหว อีกวันเป็นสงคราม ระหว่างที่เรียน เขาก็ฉายวิดีโอน�้ำป่า มีคนตายไปต่อหน้าต่อตา ดูแล้วร้องไห้ ที่จริง ก็คล้ายๆ หลักของพระพุทธเจ้านั่นแหละ เมื่อไรที่เรามีทุกข์ เราก็ตั้ง ค�ำถามว่าท�ำไมมีทุกข์ หาเหตุแห่งทุกข์ หาทางดับทุกข์ เหมือนกัน

143


กลัวภัยพิบัติก็ไปเรียนเรื่องภัยพิบัติ ท�ำความรู้จักกับมันมากขึ้น แล้ว หาทางรับมือกับภัยพิบัติอย่างมีสติ แล้วท�ำให้ดีที่สุด การจะท�ำเรื่องใหญ่ในมือของคนเล็กๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย Design for Disasters หรือ D4D มีเรื่องให้เธอต้องหนักใจในช่วงต้น ด้วยก�ำลัง สนับสนุนที่ยังไม่แพร่หลาย แต่ด้วยความเชื่อว่าสิ่งที่ตนท�ำอยู่นั้นเป็น สิ่งที่ดี และเป็นประโยชน์กับคนหมู่มากในวันข้างหน้า วิภาวีจึงยังดื้อ รั้นและท�ำต่อ “มันไม่จ�ำเป็นว่าทุกช่วงเวลาจะต้องมีแต่ดีขึ้นๆ จะต้องมีคน มาช่วยเรา วีว่าเราปล่อยความคิดตรงนี้ไปบ้างก็ได้ ท�ำไปเรื่อยๆ ไม่ว่า สถานการณ์จะเป็นแบบไหน เราก็ท�ำให้มันดีที่สุด “สองปีในการท�ำ D4D เราเห็นความดีงามของสิ่งที่ท�ำ วัดได้ จากคนที่เข้ามาเห็นสิ่งที่เราท�ำ แล้วเขาเข้ามาช่วยด้วยใจที่อยากช่วย จริง สังคมต้องการอะไรอย่างนี้ แต่ที่เป็นปัญหามาตลอดคือเรื่องการ หาทุนมาบริหารจัดการ มีรุ่นพี่หลายคนบอกว่าท้ายที่สุดท�ำโปรเจ็กต์ อะไรต้องมีเงินมาหนุน วีก็เชื่ออย่างนั้น ไม่ได้ค้านอะไรเลย แต่วีก็ยัง ดื้อรั้นอยู่ในใจลึกๆ อยากจะมีศรัทธาอะไรก็ได้โดยไม่ต้องใช้เงินได้มั้ย ต้องมีวิธีสิ ก�ำลังหาทาง และก�ำลังทดลองอยู่” ด้วยความตื่นตัวเรื่องภัยพิบัติเสมอมา  ท�ำให้วิภาวีเตรียม กิจกรรมชุด‘ต้องรอด’มาตั้งแต่กลางปี  2554  ก่อนเหตุน�้ำท่วมใหญ่ ที่ จ ะมาถึ ง ไม่ กี่ เ ดื อ น  เมื่ อ ถึ ง เวลาแสดงงาน   ประเด็ น ของเธอจึ ง ‘เข้าช่วง’  กับสถานการณ์จริงอย่างไม่ตั้งใจ “พอมาประจวบกับน�้ำท่วมใหญ่  ท�ำให้มีคนให้ความสนใจ มากขึ้น ถือว่าเป็นอีกจุดหนึ่งที่ท�ำให้ D4D ไปข้างหน้ามากขึ้น”

144


“งานออกแบบเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ มีการประกวด งานออกแบบ แต่ก็มีค�ำถามเหมือนกันว่างานที่เราจัดขึ้นนั้นฉาบฉวย หรือเปล่า มันเป็นแค่ออบเจ็กต์ วีก็มานั่งคิดกับตัวเองว่าท�ำไม ค�ำตอบ ก็คือเขามีสิทธิ์ที่จะคิดแบบนี้ แต่สิ่งที่วีอยากบอกคือจุดเริ่มต้นของเรา คือการที่เราพยายามสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นว่า การพึ่งตนเองเป็น สิ่งส�ำคัญ จุดหมายหลักของเราคืออยากให้คนได้มีมุมมอง มีวิธีคิด ที่ติดตัว ให้เป็นเครื่องมือในการรับมือด้วยตัวเอง ส่วนออบเจ็กต์เป็น แนวทางในการพาคนไปสู่จุดนั้น” แต่ในค�ำถามที่สร้างความทดท้อ ก็มีสิ่งที่สร้างให้ก�ำลังใจเกิด ด้วยแรงสนับสนุนเล็กๆ ของคนที่เห็นคุณค่า ซึ่งมาพร้อมกับความงาม ของน�้ำใจ “วีได้เห็นน�้ำใจของคนซึ่งมีอยู่เยอะมาก อย่างวันหนึ่งจัดงาน ‘Art for Help’ เพื่อระดมทุนช่วยผู้ประสบภัยที่หอศิลป์ ก็มีโทรศัพท์ จากผู้ชายคนหนึ่งโทร.เข้ามา บอกว่ามาจากเพจในเฟซบุ๊กของ D4D อยากเอาของมาฝากขาย แล้วให้เอาเงินจากการขายทั้งหมดนั้นมอบ ให้กับ D4D หรือผู้ประสบภัยน�้ำท่วม ตอนแรกเราก็ไม่ได้คาดหวังอะไร แต่สุดท้ายเขามาจริงๆ “เขาใส่กางเกงสามส่วน  ขี่มอเตอร์ไซค์มาจากรามอินทรา บอกว่า ‘ผมรอลูกหลับก่อนถึงได้ออกมาได้ ของก็มีอยู่เท่านี้ละครับ แต่ถ้ามันจะช่วยอะไรได้ผมก็อยากช่วย’ “สิ่งที่เขาน�ำมาให้คืองานหัตถกรรมแบบไทยๆ  ที่เขาท�ำขาย อยู่แล้ว  เป็นของที่ระลึกคือแผนที่ประเทศไทยเคลือบขอบทอง  แต่ พอดีช่วงนั้นเป็นช่วงน�้ำท่วม เขาไม่ได้ขายก็เลยเอามาช่วย วีก็เอาไป ตั้งขายที่โต๊ะ แล้วมีชาวต่างชาติมาซื้อ เขาถามว่าขายเท่าไร คราวนี้

145


วีประเมินค่าไม่ถูก จะบอกว่าสองร้อยห้าสิบ ห้าร้อย วีประเมินไม่ได้ จริงๆ เพราะสิ่งที่ได้มามันมากกว่าเงินสองร้อยห้าสิบหรือห้าร้อยบาท วันนั้นสรุปว่าวีไม่ตั้งราคา  แต่เล่าเรื่องราวของของชิ้นนี้ให้ เขาฟังว่าเราได้มาได้ยังไง  แล้วก็บอกเขาว่าเรื่องราคานั้นแล้วแต่จะ ให้ เพราะคนที่ท�ำเขาให้มาด้วยใจ พอฟังจบเขาก็หย่อนเงินลงกล่อง บริจาค สิ่งที่เรารู้สึกประทับใจคือ เขาหย่อนเงินคาซัคสถานลงไปด้วย พร้อมกับราคาที่เขาให้

“ภาพนั้นมันท�ำให้วีเห็นถึงการส่งต่อ  เราเห็นกระบวนการ ทั้งหมด ตั้งแต่มีคนติดต่อมาทางเพจ มีคนเอาของมาส่ง จนเอามา ขายแบบไม่ตั้งราคา แล้วเห็นคนจากอีกซีกโลกหนึ่งที่มาประเทศไทย ได้มันไป วีถ่ายคลิปวิดีโอไว้หมด แล้วจะเอาไปลงในเพจ เพื่อจะบอก ว่านี่เป็นอีกหนึ่งก�ำลังใจที่ท�ำให้ D4D ก้าวต่อไปได้ วีจะเก็บก�ำลังใจ เล็กๆ น้อยๆ พวกนี้เข้ามาตลอด พอเราเผยแพร่ ส่งต่อตรงนี้ ก็จะมีคน เห็นและอยากมีส่วนร่วมในการท�ำสิ่งดีๆ ด้วยกัน” ภัยพิบัติครั้งที่ผ่านมา  ท�ำให้วิภาวีได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง และเธอพบว่าเรื่องน่ายินดีจะมาพร้อมกับเรื่องตรงกันข้ามเสมอ  จะ กล่าวได้ว่านั่นเป็นสัจธรรมหนึ่งของโลกก็คงไม่ผิด

146


“มันเป็นสิ่งที่มาคู่กัน  อย่างเช่นเราเห็นน�้ำใจของคน  แต่ใน ข่าวเราก็ได้เห็นความเห็นแก่ตัวของคน ถ้าเป็นเรื่องการกักตุนอาหาร เราเห็นใจในแง่ที่เขาไม่รู้ความไม่แน่นอน  เพื่อความปลอดภัยเขาก็คง ต้องท�ำอย่างนั้น แต่กับการขึ้นราคาสินค้าทั้งๆ ที่ไม่จ�ำเป็น มันท�ำให้ บ้านเมืองเดือดร้อน เราน่าจะมาแบ่งปันกัน หรือการที่ขโมยขึ้นบ้าน มันเป็นการซ�้ำเติมกัน อย่าฉวยโอกาสแบบนี้มาท�ำร้ายคนที่เดือดร้อน “แต่ในท่ามกลางคนฉวยโอกาส เราก็ได้เห็นคนที่ตั้งใจจริงๆ ซึ่งวีเชื่อว่าความตั้งใจดีที่ท�ำ คงค่อยๆ เปลี่ยนคนที่ตั้งใจไม่ดีได้ในสัก วัน ถ้าจะไปบอกให้เขาเปลี่ยนเลยคงเป็นไปไม่ได้หรอก มันยากมาก ถ้าเรื่องแบบนี้จะท�ำให้คนตั้งใจท�ำดีหมดก�ำลังใจไปบ้างก็เป็นเรื่อง ปกติ ถ้าจะหมดเมื่อไรก็ปล่อยให้มันหมดไป หมดได้ก็เพิ่มขึ้นใหม่ได้ แล้วถ้าเราเปิดใจมองสิ่งรอบๆ  ตัว  เราจะเห็นอะไรที่มันจุดประกายให้ เราเกิดก�ำลังใจใหม่  อาจเป็นค�ำพูดเล็กๆ  รอยยิ้มของคนแปลกหน้า มันช่วยได้หมด “หรืออย่างเรื่องสร้างสรรค์กับท�ำลาย  เราจะเห็นว่าไอเดีย คนไทยบรรเจิดมาก มีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างเสื้อชูชีพ หรือ จักรยานปั่นบนน�้ำ ที่เอาจักรยานวางบนทุ่น มีหางเสือ มีใบพัดแล้วก็ ปั่นบนน�้ำได้ มุมสร้างสรรค์ของคนไทยมีอยู่เยอะ แต่ในทางตรงข้าม เราก็เห็นมุมท�ำลาย เช่น การท�ำลายคันกั้นน�้ำ แต่ตรงนี้ก็เกิดจากการ สื่อสารที่ไม่เข้าใจกันด้วย “ที่เห็นอีกอย่างคือความสามัคคีกับความขัดแย้ง ก็มีหลายๆ คนมาช่วยกันก่อกระสอบทราย  อาสาแพ็กของยังชีพ  แต่เราก็เห็น ความขัดแย้งเกิดขึ้นในโซเชียล  เน็ตเวิร์กด้วย  แต่ท้ายที่สุดวีว่าซ้าย ขวา ตรงกันข้าม มันมีเส้นแบ่งตรงกลางคือความอยู่รอดของคน ชีวิต

147


มนุษย์มันต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด แต่ในความดิ้นรนนั้น ถ้าเรา อยู่อย่างเข้าใจและมีสติ ไม่มีอคติต่อกันและกัน และมีจิตส�ำนึก ก็จะ ท�ำให้การอยู่รอดของเราไม่ท�ำร้ายใคร “วีมองว่าภัยน�้ำท่วมครั้งนี้  เป็นเครื่องเตือนหรือบทเกริ่นน�ำ ของภัยพิบัติในอนาคต ถ้าเราจะมองในแง่ดี น�้ำท่วมครั้งนี้มันก็ท�ำให้ เราตระหนักแล้ว และมีไอเดียมีความคิดหลายๆ อย่างก่อตัวขึ้นจาก เหตุการณ์นี้ ถ้าครั้งต่อไปประเทศไทยจะมีภัยพิบัติเกิดขึ้นอีก วีแน่ใจ ว่าเรามีภูมิคุ้มกันแล้ว และจะรอดไปได้ “ทุกคนต้องเอาตัวรอด   แต่อย่างน้อยก็ไม่ใช่เพื่อส่วนตัว ทั้งหมด ต้องมีส่วนหนึ่งเพื่อส่วนรวมบ้าง สังคมก็จะดี”

ถ้าเราเปิดใจมองสิ่งรอบๆ ตัว เราจะเห็นอะไรที่มันจุดประกายให้ เราเกิดก�ำลังใจใหม่ วิภาวี คุณาวิชยานนท์

148


สุพัฒนุช สอนด�ำริห์

เปลี่ยนความหมายใหม่ ของงานโฆษณา อดีต Account Director จากบริษัทโฆษณา TBWA ที่หัน หลังให้กับตัวเลขสูงหลักของเงิน เดือน  มาสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้ า นการสื่ อ สารการตลาดเพื่ อ สั ง คม  ในองค์ ก รที่ ท� ำ งานเพื่ อ สั ง คมอย่ า งส� ำ นั ก งานกองทุ น สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ‘สสส.’ ตาม ความฝันที่ตั้งเอาไว้

“ไอ๋มีความฝันมาตลอดว่าอยากเป็นนักสื่อสาร แล้วก็มีความ ฝันต่อว่าอยากเป็นนักสื่อสารที่ดีที่ท�ำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม การตัดสินใจจึงไม่นาน เพราะคิดมานานแล้วว่าอยากท�ำงานภาครัฐ แต่จุดที่ยากมากคือการคุยกับที่บ้านและที่ท�ำงาน  ช่วงนั้นเป็นช่วง รุ่งเรืองช่วงหนึ่งของชีวิต ได้ปรับเงินเดือนที่ดีมาก  ได้ปรับต�ำแหน่งที่ ก้าวกระโดดมาก และตอนนั้นไม่มีใครรู้จักเลยว่า สสส.คืออะไร คุณ พ่อคุณแม่ก็จะห่วงว่ามั่นคงมั้ย “ตอนนั้นอายุยี่สิบเจ็ด  ก็คิดว่าท�ำไมเราไม่ลองตั้งแต่ยังอายุ ไม่เยอะมาก ให้โจทย์กับตัวเองสามปี ถ้าเราท�ำอย่างดีที่สุดแล้วมันไป ไม่ได้ เราอาจจะตัดสินใจใหม่”

149


การปรับตัวในการท�ำงานภาครัฐของสุพัฒนุชเป็นไปอย่าง พลิกฝ่ามือ  นอกเหนือไปจากระบบการท�ำงานที่ต่างไป  การอยู่ใน หน่วยงานที่เริ่มต้นด้วยตัวเธอเพียงคนเดียว เป็นโจทย์ใหญ่ให้เธอต้อง รับมือ “ในระหว่างที่ท�ำโฆษณา  เรามีสิ่งที่ตั้งข้อสงสัยมาตลอดว่า งานโฆษณาสามารถสร้างยอดขายได้เยอะมาก แล้วในงานภาครัฐซึ่ง มีโจทย์ที่ดี ถ้าท�ำสื่อที่ดีได้ มันจะเกิดอะไรที่ดีขึ้นกับสังคม เพราะใน ยุคนั้นเราเห็นสื่อที่โดดเด่นอยู่แค่ไม่กี่ชิ้น เช่น รวมพลังหารสอง หรือ ตาวิเศษ พอเกิดค�ำถามนี้ขึ้น มันไม่มีค�ำตอบ คุยกับหลายคนในวงการ สื่อสารโฆษณา ก็ไม่เห็นทางออกว่าจะดีขึ้นได้ยังไง ก็เลยมาลองดู “อุปสรรคมีหลายลักษณะ  อย่างแรกคือในฐานะที่ท�ำงาน เอเจนซี่มา เราจะปรับตัวเราเองให้เข้ากับบริบทของปัจจัยแวดล้อมได้ มากน้อยแค่ไหน  จากที่เรากระตุ้นยอดขายให้คนซื้อสินค้าในบริโภค นิยม  พอมาเจอค�ำถามที่ว่าแล้วเราจะลดการบริโภคนิยมได้ยังไง เรียกได้ว่าหาทฤษฎีไม่เจอเลย ในบทเรียนก็ไม่มีโจทย์นี้มาก่อน เรา ต้องใช้ความพยายามมหาศาลมากในการตั้งโจทย์ให้ถูกวิธี  แล้วมา ปรับวิธีการท�ำงานให้เหมาะสมที่สุดเข้ากับบริบทของงาน  ปัจจัยที่ สองเป็นปัจจัยภายนอก เราเริ่มต้นในช่วงที่ยังไม่มีใครรู้จัก สสส. เลย เพราะฉะนั้นเป็นการท�ำงานที่หนักมากที่จะเดินเข้าไปหาทุกๆ คนแล้ว ชักชวนเขามาร่วมกันท�ำ “สามคืองานด้านนี้เป็นงานที่ใหม่มากในสังคม  เราเรียกมัน ว่าการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม แทบจะไม่มีทฤษฎีศึกษาได้เลยว่า อดีตที่ผ่านมาท�ำยังไงถึงจะประสบความส�ำเร็จในประเทศไทย เพราะ ฉะนั้นจึงเป็นการพัฒนาโจทย์ใหม่ พัฒนาวิธีการแบบใหม่ ออกแบบ กลไกวิ ธี แ บบใหม่ ที่ จ ะท� ำ ให้ แ ตกต่ า งและตอบโจทย์ นี้ ไ ด้   เราไม่

150


สามารถซื้อสื่อแบบระบบปกติได้  เพราะเราอยากเห็นความร่วมมือ ท�ำยังไงที่จะท�ำให้เพื่อนๆ ที่ท�ำงานสื่อเห็นความส�ำคัญและท�ำไปด้วย กัน “เรื่องโจทย์เป็นเรื่องยากที่สุด  เราเจอโจทย์ที่ใหม่และหลาก หลาย เช่น เราท�ำเรื่องสุขภาวะที่ดีด้วยวิถีชีวิตพอเพียง เป็นโจทย์ที่ กว้างมาก เราจะหยิบอะไรขึ้นมา  เราหยิบมาแล้วมันใช่หรือยัง  แล้ว มันจะไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่จริงหรือไม่ “นอกเหนือจากปัจจัยแวดล้อมแล้ว  คือการสร้างบุคลากร ด้านนี้ ช่วงแรกไอ๋ท�ำงานด้านนี้คนเดียวเลยประมาณสองปีกว่า สี่ห้าปี แรกเรามีพนักงานในทีมกันแค่สามคน ซึ่งใหม่กันหมด มันท�ำให้ไอ๋ได้ จับทุกสิ่งทุกอย่างด้วยมือตัวเอง ท�ำให้เราเริ่มต้นในวิธีที่เราเชื่อว่ามัน จะใช่ “พอเราเริ่มมีทีมมันก็ไปได้ดีระดับหนึ่ง แต่ความยากอีกอย่าง คือ สสส.ไม่ได้ตั้งองค์กรนึ้ขึ้นมาเพื่อท�ำงานด้านการสื่อสาร ในขณะที่ กระบวนการและวิธีการของเราท�ำเรื่องการสื่อสารแตกต่างจากระบบ ซึ่งเหนื่อยมากในปีที่สามสี่ห้า  เพราะก�ำลังคนน้อยมาก  ในขณะที่ แคมเปญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และภาคีต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ มาถึงจุดที่เรา ตั้งค�ำถามว่าถ้าเราอยู่ต่อไปเรื่อยๆ แล้วเราจะสามารถสร้างงานได้สัก เท่าไร และตอบโจทย์สังคมได้มากน้อยแค่ไหน “ก็ เ ลยย้ อ นกลั บ มาคุ ย กั บ   สสส. ว่ า  มัน ถึง เวลาแล้ว ที่เ รา จะสร้างคนส�ำหรับงานสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมต่อไป  โชคดีที่ว่า องค์กรเห็นความส�ำคัญ เลยเป็นที่มาที่ท�ำให้เราเกิดทีมพิเศษ ที่เรียก ว่า ‘Social Marketing’  แล้วเราก็หวังว่าหน่วยงานนี้จะเป็นสถาบันที่ ต่อยอดงานด้านโซเชียล มาร์เก็ตติ้ง ให้กับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ หรือ เอกชนที่สนในงานด้านนี้”

151


หากยังสงสัยว่างานสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมที่สุพัฒนุช ท�ำอยู่นั้นมีลักษณะอย่างไร  ขอให้ย้อนนึกถึงแคมเปญรณรงค์ของ สสส. ที่ว่าด้วยเรื่องแอลกอฮอล์อย่าง ‘ให้เหล้าเท่ากับแช่ง’ ‘ดื่มแล้ว ขับ ถูกปรับ ถูกจับคุมประพฤติ’ หรือ ‘เกษตรประณีต’ ที่ด�ำเนินตามวิถี เศรษฐกิจพอเพียง “ช่วงแรกเราเน้นเรื่องหลักก่อน ต้องบอกว่า สสส. ไม่ได้มี ทรัพยากรเยอะถ้าเทียบกับงบภาครัฐและปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น  เรา ต้องเลือกประเด็นที่เป็นประเด็นหลัก คือเรื่องเหล้า บุหรี่ และการออก ก�ำลังกาย ที่เป็นประเด็นนี้ก็ด้วยหลายเหตุผล ดูจากผลวิจัยว่าคนไทย ประสบปัญหาสุขภาวะด้วยเรื่องอะไร  ดูว่าปัจจัยเสี่ยงอะไรที่น�ำไปสู่ สุขภาวะที่ไม่ดี เหล้า บุหรี่ และอุบัติเหตุเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้อัตรา การเสียชีวิตและเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ สูงมากขึ้น ส่วนการออก ก�ำลังกายก็เป็นปัจจัยที่ส�ำคัญในการสร้างเสริมสุขภาวะ เราจึงหยิบสี่ เรื่องนี้มาเป็นประเด็นหลักในการท�ำงานช่วงแรก” ชิ้นงานโฆษณาของ  สสส.เป็นที่รู้จักด้วยสโลแกนสั้นๆ  ที่ กินความลึก ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของการท�ำโฆษณา ด้วยทีมงาน สร้างสรรค์ที่สุพัฒนุชรู้จักอยู่เป็นทุนครั้งยังอยู่ในวงการโฆษณา  และ ด้วยจุดประสงค์ของงานที่ท�ำเพื่อสังคม  การขอความร่วมมือไปยัง เหล่านักคิดจึงเป็นไปอย่างราบรื่น

152


“เราเริ่ ม ที่ ก ารตั้ ง ค� ำ ถามให้ กั บ เอเจนซี่ ว ่ า มั น เป็ น เรื่ อ งที่ ดี อยากร่วมกันสร้างอะไรที่ดีให้กับสังคมไหม เราเลยได้รับความร่วมมือ จากเอเจนซี่โฆษณาชื่อดังเยอะมาก  ตอนนี้เกินยี่สิบเอเจนซี่แล้วโดย ไม่ได้คิดกับเราในลักษณะลูกค้าที่ยึดเรื่องเงินเป็นหลัก “ข้อดีคือไม่ว่าจะโทรไปที่ไหน ทั้งเอเจนซี่ ทั้งมีเดีย แทบจะ ไม่เคยเจอการปฏิเสธเลยในการขอความร่วมมือ ทุกคนพร้อมที่จะเริ่ม ต้นท�ำด้วยกันในทันที  เป็นข้อที่ต้องบอกเลยว่าท�ำงานมาเก้าปีพิสูจน์ ได้ว่าทุกคนมีความอยากท�ำดีอยู่ในตัวอยู่เสมอ และในเรื่องที่ดี ถ้าเรา จับประเด็นให้ถูก  เราสามารถท�ำให้เขาเห็นว่าเขาเข้ามาร่วมได้ยังไง โอกาสในความร่วมมือจะสูง” หลายแคมเปญที่น�ำเสนอออกไป ล้วนได้รับเสียงชื่นชมทั้งใน แง่การพูดถึงและรางวัลจากเวทีประกวดผลงานโฆษณา แต่สิ่งหนึ่งที่ ทีมงานสร้างสรรค์พึงใจยิ่งกว่า คือเสียงสะท้อนจากผู้ที่เห็นประโยชน์ จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เช่น  กระเช้าปลอดเหล้า  ซึ่งได้รับ ความร่วมมือจากห้างร้าน  อันมีผลมาจากแคมเปญให้เหล้าเท่ากับ แช่ง “ทุกแคมเปญที่ท�ำ ทุกสื่อที่ท�ำ ทุกรายการโทรทัศน์ เราอยาก เห็นการเติบโต ถ้าถามว่างานชิ้นไหนชื่นใจที่สุดยังตอบไม่ได้ แต่อาจ จะมีรู้สึกตื่นเต้นกับโจทย์ที่ส่งผลพอสมควร  ตอนที่เราท�ำเรื่องให้เหล้า เท่ากับแช่ง เราวัดจากผลวิจัยและเช็กจากกระแสสังคมด้วย กับเรื่อง ดื่มแล้วขับ ถูกปรับ ถูกจับคุมประพฤติ เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของ สังคมคนดื่มทีเ่ ริ่มตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อชีวิตคนอื่น”

153


“ชิ้นอื่นอย่างเกษตรประณีตนี่เป็นความสุขส่วนตัว  เราหยิบ ประเด็นที่พิสูจน์ได้จริงว่าสังคมจะแก้ปัญหาได้  ถ้าเกษตรกรใช้กลไก ของเกษตรประณีตเป็นฐานในการท�ำเกษตรกรรมโดยไม่พึ่งสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง เพราะมันมีผลพลอยได้ตามมาเยอะมาก ทั้งสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ และเกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปที่มอง หาวิชาชีพอื่น หันมาสนใจเรื่องเกษตรประณีตค่อนข้างเยอะมาก” เก้าปีกับการท�ำงานใน  สสส.  สุพัฒนุชยอมรับกับตัวเองว่า นาน   แต่น่าประหลาดใจที่เธอยังรู้สึกสนุกกับงานนี้ “ไอ๋ รั ก ในวิ ช าชี พ ตั ว เอง  เราเห็ น หมอ  เห็ น ครู ที่ เ ขาท� ำ งาน ด้านสังคมเยอะมาก ไอ๋จึงอยากปั้น และอยากสร้างคุณค่าให้เห็นว่า วิชาชีพนี้มีคุณค่าต่อสังคมมากเลยนะ  อยากจะบอกว่าทุกกลไกของ ทุกวิชาชีพมีความส�ำคัญหมด  ถ้าเราเห็นความส�ำคัญของวิชาชีพนี้ มันจะเป็นพื้นฐานส�ำคัญที่จะท�ำให้ทุกคนในวิชาชีพเห็นว่า  เขาเป็น ส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสังคมอย่างไร “อีกแรงบันดาลใจหนึ่งที่ส�ำคัญคือ  ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในทุก การท�ำงาน ในทุกเส้นทางที่เดินผ่านมา ไม่ว่าเล็กบ้างใหญ่บ้าง เรา จะได้อิ่มเอมกับความสุขเหล่านี้อยู่เสมอๆ ท้อแค่ไหน เวลาเรานึกถึง ความอิ่มเอมที่เราได้รับกลับมาจากผลลัพธ์ที่คนอื่นเขาได้รับ เรารู้สึก ว่ามันดีจังเลย เวลาที่คนบอกว่าชีวิตเขาเปลี่ยนไปเลย “อย่างตอนที่เราท�ำรายการยุทธการพอเพียง  เรื่องเกษตร ประณีต เขาบอกว่าเกษตรประณีตเปลี่ยนชีวิตเขา จากครอบครัวที่ติด เหล้า เป็นหนี้ แล้วก็ไม่มีอาชีพ พอพลิกมาท�ำเกษตรประณีต มีคนมา เยี่ยมเขาเต็มไปหมดเลย ชีวิตเขาเปลี่ยน และเขาไม่สามารถกลับไป

154


เป็นแบบเดิมได้อีกแล้วเพราะตอนนี้เขาเป็นตัวอย่างให้กับสังคม หรือ อย่างตอนท�ำงานช่วงแรกๆ  ไอ๋ท�ำโครงการงดเหล้าเข้าพรรษาปีแรก ท�ำด้วยความหวาดหวั่นมากว่าจะเป็นประโยชน์จริงมั้ย คนเขาจะเลิก เหล้ามั้ย แล้วจะเกิดผลยังไง “แล้วไอ๋ได้รับจดหมายจากคุณป้าคนหนึ่ง  เขียนมาบอกว่า สามีเขาดื่มเหล้าหนักมาก ท�ำร้ายครอบครัวตลอดเวลา และเสียอาชีพ การงานไป เขาอยู่ด้วยความทุกข์มาก แต่พอมีโครงการงดเหล้าเข้า พรรษา สามีเขางดเหล้าเข้าพรรษา แล้วสามีเขาเปลี่ยนไปเลย เขา กลับมาเป็นพ่อที่น่ารักของลูก กลับมาท�ำอาชีพ ไม่ท�ำร้ายครอบครัว แล้ว  เขาไม่รู้จะขอบคุณทีมงานยังไง  เขาขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยทั้งหมด อวยพรให้ทีมงานทุกคนประสบแต่ความสุข โห...เขา มีความสุขแล้วเขานึกถึงเรา เรารู้สึกว่ามันยิ่งใหญ่จัง “สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นเสมอๆ ได้รับฟีดแบ็กที่เป็นจดหมายบ้าง หรือเข้าไปอ่านในกระทู้ในเว็บไซต์ต่างๆ  มีคนเล่าเคสที่เราท�ำเรื่อง พลังบวก เขาบอกว่าโครงการพลังบวกได้ไปจุดประกายเขาให้เริ่มต้น ท�ำ เขาได้เปลี่ยนตัวเองไปเป็นคนที่ให้กับสังคม ก็เป็นเรื่องเล็กๆ ที่เรา คิดไม่ถึงว่าจะไปเปลี่ยนทัศนคติคน  เรารู้สึกว่านี่เป็นแรงบันดาลใจที่ เติมเต็มทุกวันในการท�ำงาน เป็นเหตุผลว่าท�ำเถอะ ไม่มากก็น้อยมัน เป็นประโยชน์”

155


ผลสะท้อนดีๆ  เหล่านี้ถือเป็นรางวัลส�ำหรับความตั้งใจของ สุพัฒนุช  และกลายเป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้เธอก้าวข้ามอุปสรรคที่เข้า มาทดสอบเธออยู่เสมอ “อุปสรรคจะยังอยู่กับเราตลอดชีวิตการท�ำงาน   อุปสรรคจะ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ว่าสิ่งที่แตกต่างคือตัวเราเองที่เติบโต ฉะนั้นพอ เราเติบโต เราจะสามารถจัดการกับอุปสรรคได้ง่ายที่สุด เพราะที่สุด แล้วอุปสรรคภายนอกไม่ส�ำคัญเท่าอุปสรรคภายในใจเราเอง  เวลาที่ เราเติบโตเราจะนิ่งขึ้น เราจะมีสติในการแก้ปัญหามากขึ้น “จริงๆ เมื่อก่อนเป็นคนที่ท้อง่ายนะคะ ทุกครั้งที่ท้อก็ยังแปลก ใจตัวเองเพราะไอ๋เป็นคนไม่ค่อยอดทนเท่าไร เวลาที่เจออุปสรรคต้อง บอกว่าหนักมาก และหนักกว่าตอนอยู่เอกชนเยอะ สิ่งเดียวที่ท�ำให้ ผ่านไปได้คือเราหันกลับมาถามตัวเองว่า เราอยากท�ำอะไร เราก�ำลัง ท�ำไปเพื่ออะไร และสิ่งที่เราท�ำอยู่มันใหญ่กว่าปัญหาที่เราเจอมั้ย มัน เลยจบ “เราเป็นคนเล็กๆ  แต่ถ้าทุกวันที่เราตื่นมาแล้วเราได้คิดใน เรื่องที่ดีต่อสังคม  ไอ๋ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก  เรามองเห็นโจทย์ปัญหา สังคมใหญ่จริงๆ  แล้วมันเพิ่มขึ้นทุกวัน  ปัญหาที่เราเจอมันเล็กมาก แทบจะเป็นเศษเสี้ยวของสิ่งที่เป็นอยู่  ฉะนั้นมันคุ้มมากที่เราจะผ่าน ทุกปัญหาไปเพื่อที่เราจะไปตอบโจทย์ที่ใหญ่ที่สุดที่เราฝันไว้ให้ได้ เลย ไม่มีโจทย์ไหนที่ไอ๋จะอ้างกับตัวเองว่าท�ำไมจะไม่สู้ต่อไป”

156


เรามองเห็ น โจทย์ ป ั ญ หาสั ง คมใหญ่    จริงๆ แล้วมันเพิ่มขึ้นทุกวัน ปัญหาที่เรา เจอมั น เล็ ก มาก  แทบจะเป็ น เศษเสี้ ย ว ของสิ่งที่เป็นอยู่  ฉะนั้นมันคุ้มมากที่เรา จะผ่านทุกปัญหาไปเพื่อที่เราจะไปตอบ โจทย์ที่ใหญ่ที่สุดที่เราฝันไว้ให้ได้

157


สุรนุช ธงศิลา ธุรกิจคือความรับผิดชอบ “แรงบันดาลใจส�ำคัญ ที่ท�ำให้เราอยากท�ำเรื่องโน้น เรื่องนี้คือ  ดิฉันรู้สึกว่าเราอยู่ ในจุ ด ที่ ช ่ ว ยเหลื อ คนอื่ น ได้ เรามีความพร้อม  เรามีเพื่อนๆ พ นั ก ง า น ที่ ค อ ย เ ป ็ น แ ร ง สนั บ สนุ น   ขณะที่ เ ราเดิ น ไป ข้างหน้า ไปท�ำเรื่องโน้นเรื่อง นี้ หันกลับมาเราเห็นพลังที่รอ เราอยู่ข้างหลัง ที่คอยบอกเรา ว่าคุณเดินไป  เราช่วยเต็มที่ เป็นแรงใจที่ท�ำให้เราสามารถ ท�ำงานได้เยอะขนาดนี้” “เอสซีจีไม่ได้เป็นองค์กรที่รวยที่สุด ไม่ได้เป็นองค์กรที่เงินมาก ที่สุด  คนอื่นมีเงินมากกว่าเราเยอะ  แต่ส่ิงอื่นที่อาจจะมีไม่เท่าเราก็ คือเรื่องวัฒนธรรมองค์กรที่สั่งสมให้พนักงานทุกคนท�ำงานเพื่อคนอื่น ท�ำงานเพื่อสังคม ท�ำงานเพื่อคนอื่นในที่นี้หมายถึงการท�ำหน้าที่ให้ดี ที่สุด ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เพราะมันหมายรวมถึงความรับผิดชอบ ต่อผู้ที่เป็นลูกค้าของเรา”

158


สุรนุช ธงศิลา คือกรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ที่หากไม่ บอกเล่าให้ทราบ คนทั่วไปก็อาจไม่รู้ว่าเธอรั้งต�ำแหน่งผู้บริหารมูลนิธิ อยู่ ค่าที่เธอลุยน�้ำ-กร�ำแดดได้เสมอตัวกับทีมงานยามลงพื้นที่ในการ ท�ำงานภาคสังคม  และเป็นผู้ ‘หนุนหลัง’ ขับเคลื่อนการท�ำงานของ มูลนิธิเอสซีจีให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้ง หากจะเอ่ยถึงองค์กรที่ท�ำงานภาคสังคมอย่างจริงจังแล้ว ‘เอส ซีจี’ หรือ ‘เครือซิเมนต์ไทย’ เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่สมควรจะได้รับค�ำชม อย่างไม่มีข้อปฏิเสธ นับตั้งแต่ปี 2506 ที่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จ�ำกัด ก่อตั้งกองทุนขึ้นเพื่อน�ำดอกผลจากการด�ำเนินงานไปท�ำประโยชน์แก่ สังคมส่วนรวม และจดทะเบียนเป็นมูลนิธิซิเมนต์ไทยขึ้นในอีก 4 ปีถัด มา ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นมูลนิธิเอสซีจี ภายหลังการรีแบรนด์องค์กร ที่ปรับเปลี่ยนการท�ำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์สังคมที่เปลี่ยน ไป  แม้ในทางกฎหมายมูลนิธิฯ  จะเป็นองค์กรที่แยกการท�ำงานออก มาต่างหาก แต่ในการท�ำงานก็มักจะดึงเอาคน องค์ความรู้ ทรัพยากร รวมไปถึงนวัตกรรมต่างๆ มาช่วยเหลือสังคม “ส่วนหนึ่งคือองค์ความรู้ที่เรามีอยู่  สามารถดึงเอามารับใช้หรือ ช่วยเหลือคนอื่นได้ด้วย  เราเป็นองค์กรที่เปิดโอกาส  สนับสนุน ผลัก ดัน  ขับเคลื่อนให้พนักงานของบริษัททุกคน  ท�ำประโยชน์เพื่อสังคม ในส่วนมูลนิธิเรามีพนักงานประจ�ำอยู่แค่สิบห้าถึงยี่สิบคน แต่งานที่ เราท�ำมีเยอะมากเลย  และที่ท�ำได้ดีขนาดนี้ก็เพราะมีเพื่อนๆ พนักงาน มาช่วยกัน เอาเวลาพักของตัวเองช่วยท�ำโครงการของมูลนิธิ

159


และทุกปีเรามีโครงการ  ‘ปันโอกาส วาดอนาคต’ ซึ่งเปิดโอกาส ให้พนักงานทั้งเครือเสนอโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเข้ามา คือรวมกลุ่มกันอย่างน้อยสามคนขึ้นไป  แล้วเสนอโครงการอะไรก็ได้ที่ เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ต่อสังคม” เรื่องน่าชื่นใจที่ตามมาของโครงการนี้ คือจ�ำนวนพนักงานที่เข้า ร่วมโครงการมีมากถึงสองพันคนต่อปี  จากพนักงานทั้งหมดที่มีอยู่ กว่าสามหมื่นคน ทั้งที่การท�ำโครงการเหล่านี้ไม่มีค่าตอบแทนใดเป็น มูลค่า “สิ่ ง ที่ ท� ำ ให้ พ วกเขาตื่ น ตั ว   ดิ ฉั น คิ ด ว่ า การสร้ า งวั ฒ นธรรม องค์กรเป็นเรื่องจ�ำเป็นและมีบทบาทส�ำคัญมาก คือเราต้องให้โอกาส เขา  สนับสนุนเขา  เราไม่เป็นอุปสรรคในการท�ำความดีของเขา  ใน หลายที่อาจไม่มีความพร้อม  หรืออาจมองว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับ งาน  แต่เรากลับมองว่าการท�ำเรื่องที่เป็นประโยชน์เพื่อคนอื่น  หรือ ด�ำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์  เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของ พนักงาน พอท�ำนานๆ เข้าก็รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานไปเลย “ดิฉันเชื่อมาตลอดว่าทุกคนอยากท�ำเรื่องดีๆ  และสังเกตว่าพอ ท�ำแล้วก็เสพติดความดี เพราะการท�ำเรื่องดีๆ ให้คนอื่นนี่มันชื่นใจ ทุก คนรู้สึกว่าตัวเองได้ไปช่วยคนอื่น คนที่ได้รับสิ่งที่เราช่วยเหลือเขารู้สึก ดีขึ้น เขามีความสุขขึ้น มันท�ำให้คนให้‘ได้’มากกว่าคนรับซะอีก นั่นคือ เรื่องของจิตใจ”

160


ที่ผ่านมา  มูลนิธิเอสซีจีท�ำโครงการเพื่อสังคม  และโครงการ เพื่อเด็กและเยาวชนมาอย่างยากจะนับได้ถ้วน ส่วนหนึ่งนั้นสุรนุชเชื่อ ว่ามาจากการที่มูลนิธิฯ ยืนอยู่ในจุดที่สามารถรวบรวม ประสานงาน และดึงเอาความรู้และทรัพยากรในองค์กรในเครือเอสซีจี  ไปใช้ได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ “แรงบันดาลใจที่ได้จากการท�ำงานเหล่านี้  พูดตรงไปตรงมา ก็คือเราได้เห็นผู้คนทุกข์ยาก  แต่เรื่องที่เห็นผู้คนที่ต้องการความช่วย เหลือหรือทุกข์ยากไม่ใช่เรื่องใหม่ส�ำหรับคนที่ท�ำงานในวงการนี้  แต่ แรงบันดาลใจส�ำคัญที่ท�ำให้เราอยากท�ำเรื่องโน้นเรื่องนี้ คือดิฉันรู้สึก ว่าเราอยู่ในจุดที่ช่วยเหลือคนอื่นได้  เรามีความพร้อม  เรามีเพื่อนๆ พนักงานที่คอยเป็นแรงสนับสนุน  ขณะที่เราเดินไปข้างหน้า  ไปท�ำ เรื่องโน้นเรื่องนี้ หันกลับมาเราเห็นพลังที่รอเราอยู่ข้างหลัง ที่คอยบอก เราว่าคุณเดินไป เราช่วยเต็มที่ เป็นแรงใจที่ท�ำให้เราสามารถท�ำงาน ได้เยอะขนาดนี้” ไม่ใช่แต่เพียงการหนุนหลังที่ได้รับจากเพื่อนร่วมองค์กร  สิ่ง หนึ่ ง ที่ ท� ำ ให้ สุ ร นุ ช และมู ล นิ ธิ เ อสซี จี  ยื น หยั ด ที่ จ ะสร้ า งสิ่ ง อั น เป็ น ประโยชน์ต่อสังคม  หลายครั้งก็ได้มาจากการร่วมแรงของชุมชนที่ เข้าไปให้การช่วยเหลือ สุรนุชยกตัวอย่างน่าประทับใจ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ ครั้งที่ร่วมเข้าไปกู้สวนส้มทรงคนอง ในจังหวัดนครปฐม ที่จมอยู่ใต้น�้ำ ในเหตุอุทกภัยปี 2554 มาเล่าให้ฟัง

161


“เครื อ ข่ า ยของเราที่ อ ยู ่ ใ นพื้ น ที่   โทรมาขอความร่ ว มมื อ ว่ า สวนส้มที่ทรงคนองกว่าห้าพันไร่จมน�้ำอยู่สามอาทิตย์แล้ว  ถ้าไม่ ช่วยกู้ พันธุ์ส้มโอที่ดีที่สุดในประเทศไทยจะหายไปเลย ถ้ามองในแง่ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ส้มโอในพื้นที่นี้เป็นส้มโอที่มูลค่าเยอะ แปดสิบ เปอร์เซ็นต์ของส้มโอทั้งหมดที่ขายอยู่รวมทั้งส่งออกด้วยเป็นผลผลิต ของที่นี่

“อีกส่วนหนึ่งคือส้มโอในพื้นที่น้ีมีคุณค่าในเชิงภูมิวัฒนธรรม ของท้องถิ่น คือถ้าพูดถึงจังหวัดนครปฐม คนก็จะนึกถึงส้มโอ เพราะ ว่าส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวสวย  มิติของสวนส้มโอที่ทรงคนอง จึงไม่ใช่แค่มิติของสวนส้มที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ   แต่มีมูลค่าทาง จิตใจผู้คนที่เขาท�ำสวนส้มโอมาหลายรุ่น เรื่องนี้เราคิดว่าส�ำคัญ ต้อง เข้าไปช่วย คนถามเหมือนกันว่าท�ำไมต้องเป็นสวนส้มโอ ก่อนอื่นต้อง ยอมรับว่าเขาติดต่อมา  สองคือชาวบ้านรวมตัวกันเพื่อจะลุกขึ้นมา ช่วยเหลือตัวเองก่อน

162


“ที่ผ่านมาไม่ใช่ว่าเขาไม่ป้องกัน แต่ว่ามันหนักเกินกว่าจะท�ำได้ ด้วยล�ำพังตัวเขาเอง พอเขามีการรวมตัวกัน คิดแผนที่จะช่วยเหลือ กันเองก่อนจะขอความช่วยเหลือขอความสนับสนุนจากข้างนอก มันก็ เป็นเรื่องง่ายแล้ว เข้าคอนเส็ปต์เราเลยคือเริ่มจากช่วยตัวเองก่อน “การมีส่วนร่วมหรือความตั้งใจที่เขาอยากจะช่วยเหลือกันด้วย ตัวเองก่อนของชุมชน จะท�ำให้การขับเคลื่อนลื่นไหล ไม่เหมือนกับที่ เรามองไปที่ชุมชนใดชุมชนหนึ่งแล้วบอกว่าอยากท�ำเรื่องนั้นจังอยาก ท�ำเรื่องนี้จัง  พอเราเข้าไปบางทีเขาอาจจะไม่ต้องการ  พอเขาไม่ได้ ต้องการ  ความรู้สึกเป็นเจ้าของ หรื อ การมี ส ่ ว นร่ ว มก็ น ้ อ ยลงไป โครงการก็จะไม่ยั่งยืน แต่ถ้าเกิด จากความต้ อ งการของเขาก่ อ น แล้ ว เราลงไปช่ว ย  หรือดูว ่า เขา ขาดเหลืออะไรแล้วเราสามารถ ไปเติมเต็มเขาได้ โครงการจะไป ได้ไกล ไปได้นาน และยั่งยืน “ที่ประทับใจชุมชนที่สวน ส้มทรงคนอง  คือพอเราเห็นมุม นี้ ก็ได้มีการพูดคุยกัน ตอนแรก เขาขอมาว่ า อยากได้ ผ ้ า ใบสั ก ประมาณสามร้อยเมตร กว้างหนึ่งเมตรแปดสิบ ตอนนั้นก็นึกภาพไม่ ออก รู้สึกว่ามันใหญ่มาก แล้วผ้าใบมีตั้งหลายชนิด หน้าตาเป็นไงก็ ไม่รู้ เราก็ได้ๆ ขอมาคิดก่อน กลับมานั่งคิด แล้วสักครู่ก็โทร.กลับไป

163


บอกว่าถ้าด่วนมากหาซื้อในพื้นที่ได้มั้ย  เดี๋ยวมูลนิธิเอสซีจีดูแลค่าใช้ จ่ายให้  ตอนหลังมารู้ว่าคนที่ติดต่อมาเขาเปิดสปีกเกอร์โฟนให้ชาว บ้านตรงนั้นฟังว่า  เห็นมั้ย  มูลนิธิเอสซีจีเขาพร้อมที่จะช่วยเรา  แล้ว ท�ำไมพวกเราไม่ช่วยกันเองให้รอด  เราก็ภูมิใจว่าในขณะที่เราได้แรง บันดาลใจจากคนอื่นตลอดเวลา  หลายๆ ครั้งเราไม่รู้ตัวเลยว่าเราก็ เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอื่น “หลังจากที่เขาได้ผ้าใบ เราก็โทรกลับไปถามว่าพอมั้ย เขาบอก ว่าจริงๆ แล้วไม่พอหรอก เพราะผ้าใบนั้นเขาจะมาท�ำเป็นผนังกั้นน�้ำที่ ล�ำคลอง ถ้าจะช่วยสวนส้มโอทรงคนองจริงๆ จะต้องช่วยกู้พื้นที่เกือบ ห้าพันไร่ ด้วยการสร้างคันรอบเกาะ ซึ่งเป็นกระเพาะหมูอยู่ตรงแม่น�้ำ ท่าจีน  ต้องท�ำคันกั้นน�้ำหลายกิโล  และใช้ถุงทรายเล็กประมาณสอง แสนห้าหมื่นถุง ซึ่งเยอะมาก แล้วใช้ถุงบิ๊กแบ็กเป็นระยะทางอีกสาม สี่กิโล ก็หลายพันถุง และในเวลานั้นหายากแล้วด้วย เพราะทุกคนก็ใช้ หมด “ดิฉันโทรกลับไปคุยกับพรรคพวกในบริษัทว่ามีทรายเหลือมั้ย ชาวบ้านขอ เขาบอกมีๆ แล้วบิ๊กแบ็กล่ะ จะไปหาที่ไหน ก็โทร.ไปหา นายที่ดูแลธุรกิจซิเมนต์ นายก็บอกมีนะ เอาไปเลย เอาเท่าไร มีอยู่ สองร้อยถุงที่บรรจุแล้ว โอ้โห ขนยังไง เราก็โทร.ไปคุยกับชาวบ้านว่า เดี๋ยวเอสซีจีจะรีบส่งถุงทรายขนาดเล็กไปให้เบื้องต้นก่อนสองหมื่นห้า พันถุง ส่วนบิ๊กแบ็กมีอยู่แล้วสองร้อยจะส่งไปให้ แต่ขอคิดก่อนว่าจะ ส่งยังไงเพราะขนยาก คุยไปคุยมาเขาก็เสนอว่าเป็นถุงเปล่าก็ได้ มัน ขนง่ายกว่า แล้วไปหาทรายในพื้นที่เอา เราก็ได้ไอเดียเลยว่าไม่ต้อง ไปเอาบิ๊กแบ็กสองร้อยถุงนั่นแล้ว  เราโทรไปบริษัทในเครือคือเอสซีจี เคมิคอลส์ เขาถามเอาเท่าไร เราบอกขอพันถุงก่อนแล้วกัน แล้วค�ำว่า ขอเลยของเรานี่ คือเดี๋ยวนี้ได้มั้ย”

164


“คือค�ำว่าขอเลยนี่อาจจะเป็นพรุ่งนี้ก็ได้ แต่เราบอกอายๆ ว่า ชาวบ้านก�ำลังเดือดร้อนมากเลย แล้วส้มโอจมน�้ำมาสามอาทิตย์แล้ว ถ้ากู้ไม่ได้นี่ตายหมด เขาบอกว่าได้เลยครับ เดี๋ยวส่งตอนนี้เลย สิ่งที่ ชาวบ้านตกใจมากคือค�ำว่า ‘เลย’ นี่คือเดี๋ยวนี้เลย ไปจริงๆ ในคืนนั้น เขาส่งรถหกล้อขนถุงบิ๊กแบ็กมาจากระยอง ต้องวิ่งเข้าพระรามสอง แล้วซิกแซกอีกไกลมากเพื่อที่จะมาทะลุเพชรเกษม เข้าไปทางวัดไร่ขิง แล้วไปทรงคนอง ทางปราบเซียนมากเลย “ดิฉันก็ชวนน้องๆ มูลนิธิไปเลย ไปเซอร์เวย์เส้นทาง เพราะถ้า จะเอาเร็วๆ แล้วใช้รถใหญ่ ขับผิดขับถูกคงใช้เวลานาน และสองคือ ไปดูให้เห็นกับตาว่า จริงๆ แล้วเราช่วยอะไรเขาได้มากกว่านี้หรือเปล่า   พอถุงบิ๊กแบ็กไปถึง ชาวบ้านหลับหมดแล้ว เราต้องไปปลุกชาวบ้าน แล้วคนที่มาช่วยเราขนของคือคนที่อยู่ศูนย์อพยพทรงคนอง  เพราะ ชาวบ้านที่อยู่ในสวนกลับบ้านกันไปแล้ว “เราไม่รู้เลยว่าเรื่องที่เราท�ำ หรือที่เพื่อนๆ  บริษัทในเครือช่วย กั น สนั บ สนุ น   ช่ ว ยกั น ท� ำ แบบไม่ ตั้ ง ค� ำ ถาม  ท� ำ เต็ ม ที่   ท� ำ ไปตาม สัญชาตญาณ  ท�ำด้วยความรู้สึกว่าถ้าท�ำแล้วก็อยากให้ส�ำเร็จจริงๆ แล้วมันเป็นพลังขับเคลื่อนให้ชาวบ้านเขารู้สึกว่าเราเอาจริง  เป็น คนนอกแท้ๆ ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ไม่เคยเหยียบเข้าไปในสวน ไม่เคย รู้ว่าสวนส้มอยู่ตรงไหนบนแผนที่ประเทศไทย ยังมาช่วยได้ แล้วท�ำไม เขาจะไม่พยายามเต็มที่”

165


หากมองในอีกมุมหนึ่ง  การต้องลงพื้นที่เองทั้งหมด  อาจไม่มี ความจ�ำเป็นนักส�ำหรับผู้บริหารที่มีทีมในการท�ำงานพร้อม แต่ในมุม ของสุรนุช  เธอเห็นว่าการได้ไปสัมผัสกับความจริงในแต่ละพื้นที่ทุก ครั้ง เป็นสิ่งจ�ำเป็น “การท�ำงานภาคสังคมมันเปลี่ยนหน้างานตลอดเวลา  เปลี่ยน เรื่องตลอดเวลา เพราะฉะนั้นแทบไม่มีสูตรส�ำเร็จตายตัวเลยว่าเรื่องนี้ ต้องช่วยแบบนี้ เรื่องนี้ต้องช่วยแบบนี้ ไม่เหมือนการบริหารงานธุรกิจ หรือการบริหารงานในหมวดอื่นๆ  ซึ่งปัญหาอาจจะอยู่ในเรื่องเดิมๆ เพราะฉะนั้นก็จะมีความรู้เดิมๆ  ที่เข้ามาแก้ไขได้  แต่งานภาคสังคม มันเปลี่ยนเรื่องตลอดเวลา  เปลี่ยนหัวข้อตลอดเวลา  รวมทั้งพื้นที่ด้วย ถ้าคิดว่าจะท�ำงานให้เกิดผลจริงๆ ก็ต้องลงไปจับงานจริงๆ “การบริหารจัดการในที่นี้ไม่ใช่แค่มิติไปท�ำงานในพื้นที่ แต่เป็น มิติในเรื่องการบริหารประสานงาน บริหารคอนเน็กชั่น ที่บางครั้งการ ท�ำงานมันไม่สามารถส�ำเร็จด้วยตัวเราคนเดียว อาจจะต้องได้รับการ ร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ องค์กรอื่นๆ หรือความเชี่ยวชาญจากคน อื่นๆ เข้ามาด้วย เพราะฉะนั้นเรายืนอยู่ในจุดที่น่าจะท�ำตรงนั้นได้ดี การลงไปหน้างานจะท�ำให้เราเห็นว่าควรจะปรับยังไง ควรช่วยเขาแค่ ไหน ควรชวนใครมาช่วยเขาบ้าง ถ้าคุณคิดจะอยู่แต่ในห้อง ดูเอกสาร ที่เขาส่งมาแล้วเซ็นชื่อ  มันก็คงได้  แต่ถ้าหวังผลจะให้เกิดประโยชน์ จริงๆ เกิดความยั่งยืนจริงๆ มันต้องลงพื้นที่”

166


แม้น�้ำที่เคยท่วม จะเหลือทิ้งไว้เพียงร่องรอยของน�้ำใจที่เกิด จากการร่วมแรงของคนภายนอกอย่างเอสซีจี กับคนพื้นที่ที่ประสาน มือกันสุดก�ำลัง แต่การท�ำงานของมูลนิธิฯ ยังไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น “หลายๆ ครั้ ง แทบจะต้ อ งบอกว่ า แปดสิ บ เปอร์ เ ซ็ น ต์ ข อง โครงการทั้งหมดแบ่งเป็นระยะๆ หลายๆ โครงการต้องท�ำต่อเนื่อง แล้ว มาติดตามว่าเป็นยังไง ได้ตามเป้าหมายมั้ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ การช่วยเหลือภัยพิบัตินี่  ถ้าลงไปแล้วมันต้องมองไปถึงว่า  หากคราว หน้าเกิดขึ้นอีก  เขาจะท�ำยังไงเพื่อช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด  พึ่ง พิงองค์กรภายนอกให้น้อยที่สุด  นี่เป็นกระบวนการหรือแนวทางการ ท�ำงานของเราอยู่แล้ว”

ดิฉันเชื่อมาตลอดว่าทุกคนอยากท�ำเรื่องดีๆ และ สังเกตว่าพอท�ำแล้วก็เสพติดความดี เพราะการท�ำ เรื่องดีๆ ให้คนอื่นนี่มันชื่นใจ ทุกคนรู้สึกว่าตัวเองได้ไป ช่วยคนอื่น คนที่ได้รับสิ่งที่เราช่วยเหลือเขารู้สึกดีขึ้น เขามีความสุขขึ้น  มันท�ำให้คนให้ ‘ได้’ มากกว่าคนรับ ซะอีก นั่นคือเรื่องของจิตใจ

167


เสาวภา ธีระปรีชากุล แม่ท�ำด้วยหัวใจ สิ บ เอ็ ด ปี ที่  ‘แม่ น ก’ เสาวภา  ธี ร ะปรี ช ากุ ล   มอบ ความทุ่มเทให้กับ   ‘น้องลูกหิน’ คือความรักอันยิ่งใหญ่ที่แม่คน หนึ่งได้มอบให้กับลูก  ฟังดูอาจ เป็ น เรื่ อ งธรรมดา  เพราะใน ความเป็นแม่แล้ว  ลูกคือของ ขวัญสุดวิเศษที่มีความหมาย กับชีวิต  หากความรักของแม่ นกยิ่ ง ใหญ่ กว่า นั้น   เพราะไม่ เพี ย งแต่ ม อบความรั ก ให้ กั บ ลูกชายเพียงคนเดียว  เธอเผื่อ แผ่ความรักไปยังเด็กทุกคนที่ เกิดมาพร้อมความพิการ  และ แบ่ ง ปั น ความหวั ง ไปยั ง พ่ อ และแม่ท่ีตกอยู่ในฝันร้ายเช่นที่ เธอได้เคยเผชิญ “เราคลอดเขามาด้วยความรักและทะนุถนอม เราคาดหวังว่า เขาจะต้องเป็นคนเก่งเป็นคนดี โตขึ้นน่ารักสดใส แต่ว่าสิ่งที่เราคาด หวังกับสิ่งที่เจอนี่คนละทางกันเลย สิ่งแรกที่แม่นกเห็นความผิดปกติ ของลูกหินคือเขาไม่มีพัฒนาการ  เขาจะก�ำมือและเกร็งตลอดเวลา ร้องไห้เจ็บปวดตัวตลอดเวลา  คุณแม่ก็ไม่รู้ว่าเขาเป็นอะไร  เพราะเพิ่ง มีลูกคนแรกด้วย จนวันที่ 31  ธันวาคม 2543 แม่นกพาลูกหินไปหา หมอด้วยอาการเป็นไข้ธรรมดา ตอนนั้นเขาอายุหกเดือน คุณหมอก็

168


บอกแม่นกว่า ลูกหินเป็นเด็กที่มีความพิการทางสมอง มีหินปูนเกาะ กระจายทั่วไปหมดเลย “สิ่งที่เราคาดหวังว่าจะได้พึ่งเขาตอนโตทลายไปหมดเลย คืน นั้นร้องไห้จนตาบวม ข้างนอกเขาจุดพลุฉลองปีใหม่ เสียงพลุปนเสียง สะอื้นของเรากับลูก เรากอดลูกแน่น ตื่นเช้ามาบอกตัวเองว่าฉันจะ เลิกร้องไห้ เราเป็นแม่ เราต้องช่วยลูกให้ได้” ค� ำ แนะน� ำ ที่ เ ธอได้ รั บ จากแพทย์   หลั ง พาลู ก ตรวจเช็ ก อี ก ครั้ ง เพื่ อ ความแน่ ใ จ  คื อ ค� ำ ตอบที่ บ อกว่ า  ลู ก ชายของเธอจะไม่ มี พัฒนาการ และเสียชีวิตไปในที่สุด พร้อมค�ำแนะน�ำว่าให้ท�ำใจและ มีลูกคนใหม่ หากเธอยืนกรานปฏิเสธ และบอกกับตัวเองว่าจะดูแล ลูกหินให้ดีที่สุด “ชีวิตของคนเป็นแม่ไม่มีอะไรเลวร้ายเท่ากับมีคนมาบอก ว่าลูกคุณแย่ที่สุดในโลก    เรารู้สึกว่าหลังเราติดฝาแล้ว    เราต้องสู้  แพลนอะไรไม่ได้เลย  รู้แต่ว่าท�ำวันนี้กับพรุ่งนี้ให้ดีที่สุด  ที่เหลือคง ค่อยๆ ดีขึ้นเอง ที่ผ่านมาได้จนวันนี้บอกได้เลยว่าไม่ได้เป็นคนเก่ง แต่ ว่าประสบการณ์ชีวิตสอนให้เราเรียนรู้ที่จะรอด แม่นกอยากจะรอดกับ ลูกหิน ก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ การวาดความหวังคือสิ่งที่จะท�ำลาย เราในอนาคต คิดวันต่อวันพอ” ความรู้ในการดูแลลูกพิการ  คือสิ่งที่เสาวภาต้องขวนขวาย การรักษาด้วยการท�ำกายภาพบ�ำบัดที่ท�ำได้เพียงสัปดาห์ละหนึ่งวัน วันละหนึ่งชั่วโมง  ไม่เพียงพอที่จะคลายอาการเกร็งและเจ็บปวดของ ลูกได้ เธอจึงเรียนรู้การท�ำกายภาพบ�ำบัด ด้วยการขอค�ำแนะน�ำจาก มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

169


“มันเจ็บปวดนะที่เห็นคนที่เรารักทรมานต่อหน้าต่อตาแล้ว เราท�ำอะไรไม่ได้ อาทิตย์หนึ่งลูกเกร็งเจ็ดวัน ได้คลายหนึ่งวัน และ แค่ชั่วโมงเดียว  ซึ่งก็ดีขึ้นสักสี่สิบเปอร์เซ็นต์  แสดงว่าสัดส่วนในการ เป็นของเขาเยอะ  ที่เหลือเขาต้องอยู่กับอาการเกร็ง ก็คิดว่ารอนักกายภาพอย่างเดียวไม่ได้แล้ว เราต้องท�ำเอง “มู ล นิ ธิ เ พื่ อ เด็ ก พิ ก ารให้ ค วามรู ้ แ ม่ น กทุ ก ศาสตร์ ที่ แ ม่ น ก อยากเรียนรู้  เราได้ความรู้ชุดใหญ่กลับไปท�ำให้ลูกที่บ้าน  เราก็เห็น พัฒนาการลูกดีขึ้นเรื่อยๆ  อาจไม่ดีทันตา  แต่อย่างน้อยจะเห็นว่า อาการเกร็งเขาคลายมากขึ้นกว่าเดิม ได้เรียนรู้เลยว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่ง ตน และเราก็ต้องไปปรึกษานักเชี่ยวชาญเป็นระยะๆ ด้วย เหมือนว่า เราไปเอาการบ้านแล้วกลับมาท�ำเอง แล้วก็ไปส่งการบ้านอีก เป็นวิถี ทางที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน” นอกจากการท� ำ กายภาพบ� ำ บั ด  เสาวภาเดิ น ทางไปเรี ย น รู ้ ศ าสตร์  ‘โดสะโฮ’ ในประเทศญี่ ปุ ่ น   เพื่ อ น� ำ มาเสริ ม ในการสร้ า ง พัฒนาการของลูกหิน “ศาสตร์โดสะโฮคือการฝึกความเคลื่อนไหวแบบญี่ปุ่นให้แก่ เด็กพิการทางสมอง ซึ่งจะสามารถท�ำให้เด็กนั่งเองได้ ทรงตัวเองได้ แล้วก็ชันคอเองได้ แต่ก่อนที่เขาจะชันคอเองได้เขาต้องผ่านการผ่อน คลาย คุณแม่จะต้องมีทักษะในการพูด มีทักษะในการให้ก�ำลังใจลูก และมีทักษะในการฝึกอย่างปลอดภัยด้วย  เพราะมันจะเป็นเหมือน ดาบสองคม ถ้าเราท�ำผิด เด็กจะบาดเจ็บ แต่ถ้าเราท�ำถูกต้อง เด็กจะ ได้รับประโยชน์จากโดสะโฮ และจะท�ำให้ลูกได้รับความรักจากพ่อแม่ ไปในตัว เพราะศาสตร์โดสะโฮคือการสื่อภาษาความรักผ่านร่างกาย เราจะสัมผัสกันอย่างแผ่วเบา”

170


ศาสตร์ แ ขนงนี้ อ าจไม่ เ ป็ น ที่ รู ้ จั ก แพร่ ห ลายนั ก  นอกจาก มูลนิธิเพื่อเด็กพิการที่เปิดสอนศาสตร์นี้แล้ว ‘โรงเรียนบ้านแม่นก’ ที่ เสาวภาก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ส�ำหรับเด็กพิการ  ก็มีฝึก ศาสตร์นี้ด้วย “การจัดก็ต้องขึ้นอยู่กับยอดเงินบริจาคที่เขาให้มาด้วย เพราะ จัดค่ายครั้งหนึ่งค่าใช้จ่ายเป็นแสน และทุกครั้งที่จัดเราจัดฟรี ไม่เก็บ เงินใครเลย เราขอเงินบริจาคจากคนทั่วไปผ่านเว็บไซต์ด้วย แล้วก็ขอ เงินโครงการจากรัฐบาลด้วย ได้บ้างไม่ได้บ้าง อย่างปีนี้อาจารย์ญี่ปุ่น ก็ยินดีที่จะมาให้   เราก็บอกอาจารย์ไปตามตรงว่าไม่รู้จะได้จัดหรือ เปล่า ต้องระดมทุนก่อน ถ้าได้เราก็จัด เพราะสุดท้ายแล้วความรู้จะ อยู่กับเด็ก กับผู้ใหญ่ ไม่ได้อยู่กับวิทยากรหรืออยู่กับใครเลย” เสาวภาเปิดบ้านตัวเองเป็นโรงเรียนมาได้แปดปีแล้ว  ด้วย ความสนับสนุนจากมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว  มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ มูลนิธิรามาธิบดี หน่วยงานเอกชนอย่างบริษัท อินนิชิเอทีฟ จ�ำกัด รวม ถึงเงินบริจาคจากกลุ่มเพื่อน  ที่เห็นความส�ำคัญและความตั้งใจของ เสาวภา “ทุนเริ่มต้นท�ำให้เราสามารถท�ำโครงการได้เยอะมาก  ไม่ว่า ‘พ่อแม่เก่งหัวใจแกร่ง’ ที่จัดสองครั้ง หรือค่าย‘โดสะโฮ’ที่จัดได้ถึงครั้งที่ สี่ เราช่วยคนได้ห้าหกสิบครอบครัวทุกภาคทั่วประเทศเลย

171


“ตอนที่ เ ปิ ด บ้ า นตั ว เองเป็ น โรงเรี ย น  เนื่ อ งจากว่ า แม่ น ก อยากให้ลูกหินมีโรงเรียน เด็กคนอื่นได้เข้าโรงเรียน ลูกหินก็ต้องได้เข้า โรงเรียนด้วยเหมือนกัน  โรงเรียนอื่นรับลูกหินเข้าไปไม่ได้เพราะเขา เป็นหนัก เราก็ต้องเปิดบ้านเป็นโรงเรียนให้ลูกเอง  เพื่อที่จะได้เรียนรู้ ทักษะหกด้าน ได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง และที่ส�ำคัญที่สุด ความรู้ที่ ได้จากลูกหินเราก็อยากจะกระจายเพื่อให้คนอื่นได้เรียนรู้ด้วย “ตอนนี้ที่บ้านมีเด็กมาประมาณสิบกว่าคน เข้าๆ ออกๆ บาง ครอบครัวเข้ามาพักหนึ่ง  มีความจ�ำเป็นต้องไปอยู่ต่างจังหวัดก็ออก ไป เป็นการวนเวียนเปลี่ยนกันเข้ามา จากสถิติที่ช่วยเหลือตั้งแต่เปิด บ้านเป็นโรงเรียนมาก็ประมาณหกสิบกว่าครอบครัว การเปิดบ้านเป็น โรงเรียนไม่ใช่แค่การรับเด็กจากที่บ้านเท่านั้น  แต่เวลาเรามีวิทยากร ดีๆ จากญี่ปุ่น เราก็เชิญคุณพ่อคุณแม่มารับความรู้ มีความรักและ ความเข้าใจ กลับไปดูแลลูกอย่างถูกต้อง แล้วมาเติมความรู้กันบ่อยๆ เราไม่ต้องการให้เอาเด็กมาฝาก ฝึกให้ดีขึ้น แต่กลับบ้านไปแล้วเด็ก แย่ “แม่นกถือว่าการช่วยเหลือคนให้สามารถยืนและพึ่งตัวเอง ได้เป็นวิธีที่ยั่งยืน เราใช้เงินเยอะแต่คุ้ม หลายรุ่นแล้วนะคะที่ท�ำ ก็บอก เขาว่ากว่าที่เราจะจัดได้เราใช้เงินเยอะ  คุณแม่ไม่ต้องตอบแทนแม่นก ด้วยการให้เงินหรือซื้อของมาให้  แต่ช่วยเอาความรู้ที่ได้ไปท�ำกับลูก อย่างสม�่ำเสมอ เท่านั้นแม่นกก็พอใจแล้ว เพราะว่าเรารู้ว่าถ้าเด็กได้ รับการดูแลอย่างสม�่ำเสมอ เด็กจะดีขึ้น ก็ต้องฝากความหวังให้พ่อแม่ ของเขาท�ำต่อไปเรื่อยๆ” จากโรงเรียนบ้านแม่นก เสาวภาร่วมกับคุณแม่ที่ลูกพิการ ด้วยกัน ท�ำโครงการ ‘Mom Made Toys’ ขึ้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพื่อ

172


ออกแบบและผลิตของเล่นส�ำหรับเด็กพิการ  โดยการสนับสนุนของ บริษัท แปลนทอยส์ จ�ำกัด และบริษัท โลว์ จ�ำกัด และของเล่นส�ำหรับ เด็กพิเศษจากโครงการนี้ ก็ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง จาก โครงการรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจ�ำปี 2554 “ตั้ ง โครงการนี้ ม าเพื่ อ จะช่ ว ยเหลื อ ครอบครั ว ที่ มี ลู ก พิ ก าร ให้ได้รับการส่งเสริมเรื่องการเรียนรู้ผ่านของเล่น  เพราะเด็กๆ  ทุกคน จ�ำเป็นต้องเรียนหนังสือ การเรียนของเด็กทั่วไปคือการเรียนการสอน แต่การเรียนของเด็กพิการมันคือการสอดแทรกเข้าไปด้วยผ่านของ เล่นที่เราคิดเราท�ำกัน “โครงการ Mom Made Toys จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มี ลูกหิน ไม่มีบริษัทที่เราร่วมผลิตกัน ของเล่นที่พวกเราคิดขึ้นมาอยู่บน พื้นฐานที่ว่า  ท�ำยังไงให้เด็กมีพัฒนาการมากที่สุดเท่าที่เขาจะท�ำได้ ท�ำให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในอนาคต เพราะของเล่นหลาย ชิ้นมันคือการเรียนรู้ อย่างเช่นของเล่นของเด็กตาบอด มันคือการสอน หนังสือเป็นอักษรเบรลล์ ของเล่นที่สอนให้เขารู้จักการรอคอย รู้จักการ แบ่งปัน ส่วนของเล่นของเด็กออทิสติกคือการสร้างสมาธิ คือการเรียน รู้ หรือของเล่นของเด็กพิการทางสมอง “เราไม่ได้หวังว่าเด็กมีของเล่นปุ๊บพัฒนาการจะต้องดีเลิศ ขอ ให้เขาดีกว่าเดิม หรือไม่ถอยลงเท่านั้นก็พอใจแล้ว ส่วนจะมากน้อย แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพของสมองของแต่ละคนว่าเขาเสียหาย มากหรือเสียหายน้อย อย่างเช่นลูกหินเขาจะนอนนิ่ง มีของเล่นที่เป็น ปุ่มๆ มาโดนตัวเขา แล้วท�ำให้เขารู้สึกโกรธ ร้องไห้ เราก็ดีใจแล้ว”

173


เมื่อมองย้อนกลับไปในช่วงชีวิตที่ผ่านมา  แม้หน้าที่แม่ของ เธอจะหนักเหนื่อยกว่าคนเป็นแม่ทั่วไป  แต่เสาวภายิ้มรับอย่างเต็ม ภาคภูมิว่า การมีลูกพิการ เป็นเรื่องโชคดีที่สุด “ครอบครั ว ที่ มี ลู ก พิ ก ารทุ ก คนจะต้ อ งผ่ า นความอดทนให้ ได้ อดทนต่อความยากล�ำบากในความพิการของลูก อดทนต่อจิตใจ ของตนเองที่จะสู้กับสังคมให้ได้ คนมีลูกพิการเป็นเรื่องที่สังคมรู้สึกว่า แปลกแยกแตกต่าง แต่แม่นกอยากจะให้สังคมครอบครัวคนพิการได้ เห็นว่า คนมีลูกพิการเป็นอะไรที่โชคดีที่สุด ถ้ามีลูกปกติเราจะไม่ได้ เป็นอย่างนี้เลย เราอาจต้องต่อสู้กับการที่ลูกติดเกม เล่นแชต แต่ตอน นี้เรารู้สึกว่าชีวิตเรามีคุณค่า  เราสามารถให้ความช่วยเหลือกับคนที่ ต้องการความช่วยเหลือได้ตลอดเวลา “แม่นกมีเว็บไซต์  cp-homeschool.com  เขาสามารถโทร. มาปรึกษาแม่นกได้เลยว่า มีลูกพิการแล้วต้องท�ำยังไง เคยมีคนโทร. มาจากนราธิวาส ลูกเป็นหินปูนเกาะสมอง หมอก็เรียนตรงๆ กับเขา เหมือนที่บอกกับแม่นกเลยว่า  อีกหน่อยลูกของคุณก็จะเสียชีวิตเร็ว ปอดติดเชื้อ เสมหะพันคอ เขาโทร.หาแม่นก แม่นกก็เล่าให้ฟังว่าแม่ นกก็เจอแบบนี้ เขาก็รีบถามเลยตอนนี้ลูกหินอายุเท่าไร แม่นกบอก สิบเอ็ดขวบ และแข็งแรง สบายดี

174


“ถ้าเราดูแลไม่ดี จะเป็นอย่างที่คุณหมอบอก แต่ถ้าเราดูแล ดี จะไม่เป็นอย่างที่คุณหมอบอก ก็ขึ้นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ด้วยในการ ดูแลลูกหลังจากนี้ต่อไป แต่ถ้าเราดูแลแบบทั่วไป เด็กก็จะไป แต่ถ้า เราต่อสู้กับโรคก่อน ไม่ให้โรคมารุมเร้า เขาก็จะมีชีวิตที่แข็งแรง และมี ความสุข” แม้วันนี้ลูกหินจะไม่ได้มีพัฒนาการมากถึงขั้นเคลื่อนไหวตัว เองได้ ดีที่สุดก็เพียงชันคอขึ้นได้เอง  แต่เพียงแค่ลูกรับรู้ และสื่อสาร กับเธออย่างเข้าใจ คนเป็นแม่ก็มีความสุข “ถ้าชาติหน้ามีจริง  ลูกหินพิการกว่านี้แม่นกก็ยอม  เพราะ ย้อนคิดดูแล้วชีวิตมันแตกต่างกันมาก เราได้มีโอกาสช่วยเหลือคนอื่น ลูกเราก็ดีขึ้น แล้วเราก็รู้สึกว่าจิตใจเราอ่อนโยนไปเรื่อยๆ บางทีการให้ คนอื่นท้ายที่สุดแล้วมันคือการให้ตัวเองมากกว่า  ท�ำแล้วเรามีความ สุข เห็นเด็กคนอื่นมีความสุขเราก็มีความสุขแล้ว “แรงบันดาลใจที่ดีก็คือตัวลูกนั่นเอง แล้วผลผลิตที่ท�ำให้เรา มีก�ำลังใจมากที่สุดคือรอยยิ้มของลูก  ลูกยิ้มเป็นตอนอายุสามสี่ขวบ ตอนนี้เขาสามารถสื่อสารกับแม่นกได้นะ เขาสามารถยิ้ม โต้ตอบ เวลา หายไปนานเขาก็จะร้องไห้ ซึ่งกว่าจะมาถึงวันนี้ใช้เวลานานเหมือนกัน นานเท่าอายุเขาเลยคือสิบเอ็ดขวบ “แม่นกก็สอนเขาไปเรื่อยๆ  เราได้ให้ลูกแล้ว  เขารับได้ไม่ได้ เป็นเรื่องของลูก เราเป็นแม่เราต้องท�ำหน้าที่ให้สมบูรณ์ แต่การให้ลูก แล้วหวังว่าลูกจะตอบกลับ คิดอย่างนั้นมันจะผิดหวัง เพราะฉะนั้น เราท�ำหน้าที่ของเราอย่างดีที่สุด  เขาจะรับได้มากแค่ไหนก็แล้วแต่ ศักยภาพสมองของเขา “แม่นกคิดแบบนี้”

175


ชี วิ ต ของคนเป็ น แม่ ไ ม่ มี อ ะไรเลว ร้ายเท่ากับมีคนมาบอกว่าลูกคุณแย่ที่สุด ในโลก เรารู้สึกว่าหลังเราติดฝาแล้ว เรา น แม่ ต้อชีงสูวิ ต้ ท�ของคนเป็ ำวันนี้กับพรุ ่งนี้ใไห้ม่ดมีที อี่สะไรเลว ุด ที่เหลือ ร้าคงค่ ยเท่าอกัยๆ บมีคนมาบอกว่ ณแย่ทจี่สนวั ุด น ดีขึ้นเอง าทีลู่ผก่าคุนมาได้ ในโลก เรารูเลยว่ ้สึกว่าาไม่ หลัไงด้เราติ ดฝาแล้ นี้บอกได้ เป็นคนเก่ ง ว เรา แต่ว่า ต้อประสบการณ์ งสู้ ท�ำวันนี้กับชพรุ นี้ให้ดีทเี่สราเรี ุด ทีย่เนรู หลื้ทอี่จะ ีวิต่งสอนให้ คงค่ อ ยๆ  ดี ึ้ น เอง  ที่ ผ ่ า นมาได้ รอด แม่นขกอยากจะรอดกั บลูกหิจนนวัก็ตน้อง นี้บเปลี อกได้ ไม่ได้เป็นคนเก่ง  แต่ว่า ่ยนวิเลยว่ ธีคิดาใหม่ ประสบการณ์ชีวิตสอนให้เราเรียนรู้ที่จะ รอด แม่นกอยากจะรอดกับลูกหิน ก็ต้อง เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ เสาวภา ธีระปรีชากุล

176


บรรจง ขยันกิจ “ความรู้นั้นมีไว้แบ่งปัน”

“ ผ ม รั บ ร า ช ก า ร ผ ม ก็ ท�ำงานให้สังคมส่วนหนึ่ง  ถ้าผม ลาออกผมก็ท�ำงานให้กับสังคมอีก ส่วนหนึ่ง ได้ท�ำงานเหมือนกัน แต่ ถ้ า ลาออกอาจจะท� ำ งานให้ ส ่ ว น รวมที่เดือดร้อนได้มากกว่า  เลย ตัดสินใจลาออก  โดยที่ไม่ได้มีเงิน ทองอะไร”

จากนายช่างเทคนิค กองงานอาคารและสถานที่ มหาวิทยาลัย บูรพา กลายมาเป็นอาจารย์นอกมหาวิทยาลัย  ที่ใช้ความรู้จากการ แสวงหาด้วยตนเอง  มาเป็นบทเรียนบทใหม่ในวันที่เมืองไทยถึงเวลา ที่ ‘ควร’ หันมาท�ำความรู้จักกับ ‘พลังงานทางเลือก’ ให้มากยิ่งขึ้น ลูกศิษย์ของบรรจง ขยันกิจ มีตั้งแต่ชาวบ้าน นักศึกษา อาจารย์ มหาวิทยาลัย ไปจนถึงผู้สนใจจากหน่วยงานธุรกิจ ความตั้งใจของเขา น�ำรางวัลอันน่าภาคภูมิใจมาสู่ชีวิต  นั่นคือปริญญาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ แต่ที่ภูมิใจยิ่งกว่านั้น คือการได้ท�ำหน้าที่ ‘ครู’ ผู้ถ่ายทอดความรู้ในการ สร้างกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานทดแทนโดยไม่หวังค่าตอบแทน

177


ความสนใจเรื่องกังหันลมของบรรจง เริ่มขึ้นในวันหนึ่งที่วัดป่า อัมพวัน จังหวัดชลบุรี กังหันลมขนาดใหญ่ที่ท�ำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า สูบน�้ำ ขึ้นใช้ภายในวัด เป็นนวัตกรรมแบบชาวบ้านที่ดึงดูดให้บรรจงกลับไปที่ นั่นทุกวันเป็นเวลาปีครึ่ง เพื่อศึกษาการท�ำงาน และกลับไปค้นคว้าต่อ ทางต�ำราและอินเตอร์เน็ต “กังหันชิ้นนั้นที่วัดท�ำเอง พระอาจารย์สมศักดิ์ท่านจบวิศวกรรม เครื่องกล มีพระอาจารย์ทวีเป็นช่างไม้ กับลุงเพียรซึ่งเป็นช่างชาวบ้าน ช่วยกันท�ำ แต่ตอนนั้นยังผลิตไฟฟ้าได้นิดเดียว ผมก็เกิดความคิดว่าจะ ช่วยท่านพัฒนาได้ยังไง เลยรับปากกับท่านว่าจะช่วยศึกษาค้นคว้าเพิ่ม เติม “ในอินเตอร์เน็ตมีแต่เว็บไซต์ของฝรั่งทั้งนั้นเลย ของไทยมีบอก แค่ว่ากังหันลมคืออะไร ผมใช้เวลาทั้งวันทั้งคืนนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หกเดือน ทีแรกคิดจะไปอบรมที่เมืองนอก แต่ค่าใช้จ่ายเยอะ ก็เลยลอง ซื้อวัสดุมาท�ำเอง เหลาไม้ ตัดเหล็ก กลึงเหล็ก พันขดลวด ตอนนั้นเงิน เดือนผมหมื่นกว่าบาท แต่ซื้อวัสดุทีห้าหมื่น” จากการลองผิดลองถูกที่ใช้เวลาอยู่นานสามเดือน  ร่วมกับ ภูมิปัญญาในงานช่างของลุงเพียรที่ถ่ายทอดให้  บรรจงน�ำมาประยุกต์ จนได้แบบของกังหันลมที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณที่น่าพอใจ “ได้ไฟฟ้าดีมากเหมือนที่ฝรั่งสอนเลย  ผมลาพักร้อนอาทิตย์ หนึ่ ง ไปนอนดู ผ ลงาน (หั ว เราะ)  เสร็ จ แล้ ว ก็ เ อาความรู ้ นี้ ไ ปสอนใน อินเตอร์เน็ต ว่าพันขดลวดยังไง บิดแม่เหล็กยังไง คนที่เข้าไปดูเว็บไซต์ ฝรั่งไม่เข้าใจก็เข้ามาสอบถามได้ แล้วก็เชิญชวนให้ไปดูของจริงที่วัดป่า อัมพวัน”

178


เมื่อน�ำเผยแพร่ในเว็บไซต์ thaiwindmill.com บ้านของเขาที่ อ�ำเภอพนัสนิคม ก็ได้ท�ำหน้าที่ต้อนรับผู้สนใจและเข้ามาขอความรู้ด้วย ตัวเอง “เมื่อก่อนผมจัดอบรมให้ชาวบ้าน นิสิตนักศึกษา มีหน่วยงาน ราชการ มีนักธุรกิจมาเรียนรู้กับผม ถ้าเป็นชาวบ้านมาผมก็จะสอนแบบ ง่ายๆ พันขดลวดตามที่ผมก�ำหนด เหลาใบพัดตามแบบที่ผมก�ำหนด ท�ำ แบบนี้กลับไปได้ไฟฟ้าใช้แน่นอน บางคนก็กลับไปพัฒนา ไปหาความ ช�ำนาญเพิ่มเติม นักธุรกิจผมยังไม่ตอบตกลงเท่าไร ยังสนุกกับการให้ ความรู้นักศึกษากับชาวบ้าน แล้วมีส่วนหนึ่งที่มาขอซื้อเอาไปใช้ เช่น เขา อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ห่างไกลจากไฟฟ้า ผมก็จะได้รายได้ตรงนี้เอาไปซื้อ วัสดุไว้สอนชาวบ้านอีกที เป็นค่าครองชีพบ้าง เพราะตอนนี้ผมลาออก จากราชการมาห้าหกปีแล้ว “ตอนแรกก็ใจหายเหมือนกัน รับราชการมาสิบหกปี ผมกินเงิน เดือนภาษีราษฎร  ผมรับราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เลย สอนทางอินเตอร์เน็ตเรื่อยมา เพราะเรายังกินเงินเดือนอยู่ ผมอยากคืน ความดีให้กับสังคม คืนภาษีให้กับราษฎร โดยการให้เป็นความรู้ พอมี สื่อโทรทัศน์มาถ่ายท�ำ มาสัมภาษณ์ คนมาหาที่บ้านก็เยอะขึ้น โทรศัพท์ อัตโนมัติร้อยเลขหมายของมหา’ลัยล็อกอยู่สองเดือนเพราะมีคนโทร.เข้า ทุกวัน ผมก็อึดอัด แม้เจ้านายจะไม่ว่าอะไรเพราะมหา’ลัยได้ชื่อเสียง มาก แต่หน้าที่การงานผมต้องโอนให้คนอื่นท�ำแทน “ผมก็มาคิดว่าผมรับราชการผมก็ท�ำงานให้สังคมส่วนหนึ่ง ถ้า ผมลาออกผมก็ท�ำงานให้กับสังคมอีกส่วนหนึ่ง ได้ท�ำงานเหมือนกัน แต่ ถ้าลาออกอาจจะท�ำงานให้ส่วนรวมที่เดือดร้อนได้มากกว่า เลยตัดสินใจ ลาออก โดยที่ไม่ได้มีเงินทองอะไร”

179


กั ง หั น ลมต้ น แบบที่ บ รรจงถ่ า ยทอดความรู ้ ใ ห้ กั บ ผู ้ ส นใจ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในอัตราความเร็วลม 5 เมตร/1 วินาที 100 วัตต์ ความเร็วลม 10 เมตร/1 วินาที 800 วัตต์ จนถึง 1 กิโลวัตต์ ซึ่งหาก ลงทุนท�ำเอง จะเสียค่าใช้จ่ายเพียงห้าถึงหกหมื่นบาท จนถึงสองแสน บาทตามขนาด แต่หากต้องซื้อมาใช้ ต้องเสียค่าใช้จ่ายนับล้านบาท “ผมอยากให้คนไทยรู้จักการปรุงอาหารง่ายๆ กินเอง คือสร้าง พลังงานง่ายๆ  ใช้เองในเบื้องต้น  ถ้าเราสามารถท�ำใช้เองบ้านละหนึ่ง หลัง เราก็ไม่ต้องสร้างเขื่อนเพิ่มเลย คนที่ไม่ประสบความส�ำเร็จคือ คน ไม่กล้าคิด หรือคิดได้แล้วไม่กล้าเสี่ยง ไม่กล้าลงมือท�ำ จะประสบความ ส�ำเร็จได้ยังไง “คนไทยยังขาดส�ำนึกเรื่องการใช้พลังงาน   คนในเมืองกับคน ชนบทใช้ชีวิตต่างกัน ยกตัวอย่างเด็กๆ เด็กในเมืองจะไม่ค่อยมีจิตส�ำนึก เรื่องการใช้พลังงาน  แต่เด็กต่างจังหวัดจะรู้ว่าอันไหนควรเปิดอันไหน ควรปิด เพราะฉะนั้นกังหันลมตัวหนึ่ง หรือโซล่าร์เซลล์ชุดหนึ่ง เพียงพอที่ จะใช้กับสิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่จ�ำเป็นกับชีวิตประจ�ำวัน” ไม่มีครั้งไหนที่การท�ำกังหันลมของเขาจะอยู่ในผลลัพธ์ที่เรียก ได้ว่าล้มเหลว แต่ก็มีครั้งหนึ่งกลายเป็นเหตุการณ์ที่เขาต้องจดจ�ำ “ผมตั้งใจท�ำ  และต้องท�ำดีที่สุด  เวลาเกิดปัญหาผมจะมองว่า มันเป็นการเรียนรู้  เมื่อต้องไปติดตั้งในป่าในเขา  ผมจะแก้ปัญหาหน้า งานหมดเลย เราไม่รู้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราต้องขับรถเข้าไปสิบดอย ยี่สิบดอย ทุกอย่างต้องจบในนั้น ผมต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม

180


“มีครั้งหนึ่งผมเคยไปติดตั้งที่เชียงตุง ติดตั้งเสร็จแล้วเผลอไม่ได้ ล็อกสลิงเส้นหนึ่งเพราะเขาเรียกไปกินข้าวกลางคัน พอยกขึ้นเสาล้มไป ทางคนสิบกว่าคน ผมหัวเข่าทรุดลงพื้น น�้ำตาไหลเลย ไม่รู้ว่าจะเจ็บจะ ตายกี่คน คิดในใจว่าต้องติดคุกที่เชียงตุงแน่นอน โชคดีว่าเป็นพื้นที่ลาด และสลิงเส้นนี้เป็นเส้นสั้น กังหันเลยล้มแบบเฉียงๆ พอเขาบอกไม่มีใคร เจ็บ ผมโล่งเลย ใบพัดแตกไปสองใบ หางเสือคด เสาคด เราเริ่มต้นท�ำ กันใหม่

“พอเอามาประกอบเสร็จ ใบพัดไม่หมุน อากาศคงผิดปกติเลย ไม่มีลม  พอวันจะกลับทุกคนก็ห่อเหี่ยวเพราะมันไม่หมุน  ด้วยความที่ เป็นทางผ่านก็เลยขอแวะเข้าไปดูก่อนกลับ ปรากฏว่าหมุนดีมาก ทุกคน ดีใจกันหมด โล่งอก “การไปติดตั้งกังหันลมท�ำให้ผมได้ไปท่องเที่ยวทั่วประเทศ ได้ ไปในสถานที่ที่สมบูรณ์และเป็นธรรมชาติมาก  ที่ส�ำคัญ  บริษัทผลิต กังหันลมยักษ์ใหญ่ของจีน เชิญผมไปชมการผลิตที่เซี่ยงไฮ้ และขอแค่ ว่าเวลากลับมาเมืองไทย คุณบรรจงช่วยบอกหน่อยว่าคนเอเชียท�ำกังหัน ลมได้แล้ว ขนาดใหญ่ไม่แพ้ของฝรั่ง เพียงแต่อุปกรณ์บางอย่างเรายัง ต้องซื้อฝรั่งอยู่”

181


“เขาเคยบินมาดูโรงงานห้องแถวบ้านผม  ถามว่าผลิตได้กี่ตัว ผมบอกเขาว่าได้ปีละประมาณเจ็ดสิบถึงหนึ่งร้อยตัว  แล้วท�ำกี่คน  ผม บอกท�ำคนเดียว เขางงมากว่าท�ำไมผมท�ำได้เยอะขนาดนั้น” ต้องยอมรับว่าการคิดค้นของบรรจง  สร้างการเปลี่ยนแปลง ด้วยการกระตุ้นให้คนหันมาสนใจพลังงานทางเลือกเพิ่มมากขึ้น “หลังจากที่ผมเอาพลังงานลมเข้ามากระตุ้นในเว็บไซต์และ ตามสื่อต่างๆ มีนิสิตนักศึกษามาเรียนรู้เยอะมาก กระทรวงพลังงาน หรือ การไฟฟ้าก็มาคุยเรื่องนี้กับผมที่บ้าน แล้วอีกสองปีถัดมาก็เกิดโครงการ กังหันลมขึ้นที่ล�ำตะคอง และโครงการกังหันลมที่หัวไทร “ที่จังหวัดเพชรบุรีก็เริ่มมีโครงการติดกังหันลมเป็นต้นแบบตาม หน่วยงานราชการต่างๆ ที่มีคนบอกว่าบ้านเราไม่เหมาะที่จะติดก็พูดไม่ ได้แล้ว เพราะผมติดมาตั้งสี่ร้อยกว่าตัว แต่ข้อเสียของหน่วยราชการคือ ซื้อส�ำเร็จแล้วเอามาตั้ง มีเจ้าหน้าที่คอยบรรยายว่ากังหันลมท�ำหน้าที่ยัง ไง แต่ไม่ยอมสอนบุคลากรให้ผลิตเป็น เป็นการสอนให้ซื้อมาตั้งใช้ ไม่ สอนให้คนท�ำเป็น “แต่ส�ำหรับผมมันกลับกัน  ผมสอนให้คนที่สนใจท�ำเป็น  เลย ขัดใจนักธุรกิจตรงที่เขาชวนไปร่วมลงทุนแล้วเราอิดออดไม่ไป” ผ่านมาหลายปี บรรจงยังยึดมั่นแนวทางเดิมคือถ่ายทอดความ รู้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่ก็ไม่ขัดหากจะมีคนน�ำไปต่อยอดทางธุรกิจ “ถ้าเขาท�ำในราคายุติธรรม ผมก็ดีใจที่คนไทยท�ำได้แล้ว แต่เขา จะขายแพงไม่ได้หรอก  เขาต้องแบ่งเกรดว่าท�ำขายกับคนมีฐานะราคา หนึ่ง ท�ำขายกับคนส่วนใหญ่ราคาหนึ่ง บางคนที่มาซื้อผม ผมจะอธิบาย เลยว่าอุปกรณ์ผมราคาเท่าไร ถ้าซื้อส�ำเร็จผมคิดค่าแรงเท่านี้

182


“ผมอยากสอนให้ทุกคนท�ำเป็น มาร้อยคนสอนร้อยคน มาร้อย ครั้งก็สอนร้อยครั้ง บุคคลเหล่านี้ก็มีสิทธิ์จะไปพัฒนาแข่งขันกัน ถ้าเป็น แค่คนหรือสองคนเขาก็มีสิทธิ์ตั้งราคาได้สูง  แต่ถ้ามีเพิ่มขึ้นเป็นสิบราย สิบห้าราย เขาก็ต้องตั้งราคาที่ดีที่สุด” ในความเป็นจริงความนิยมใช้พลังงานทางเลือกในเมืองไทยยัง ไม่แพร่หลายนักในปัจจุบัน แต่บรรจงมองว่าไม่มีวันสาย หากจะร่วมกัน กระตุ้นให้คนหันมาใช้พลังงานทางเลือก “ที่บ้านเรายังไม่ได้รับความสนใจเพราะคนส่วนใหญ่แปดสิบ เปอร์เซ็นต์อยู่ในเมือง กลับบ้านไปเปิดสวิตช์ก็มีไฟฟ้าใช้ ถ้าเมื่อไรที่สี่ ทุ่มปิดไฟ เขื่อนงดจ่าย หรือเมื่อไรที่พลังงานกระแสหลักขาดแคลน คน ถึงจะหันมาสนใจด้านนี้ สังเกตว่าคนไทยเวลาสุขสบายก็จะลืม แต่เมื่อ เดือดร้อนจะขวนขวาย ถ้าให้ดีผมอยากให้คนไทยศึกษาความรู้ด้านนี้ “ถ้าเยาวชนหรือคนไทยมีความรู้พื้นฐานตรงนี้ เขาก็จะไปสาน ต่อหรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ชิ้นงานใหม่ๆ ผลดีจะตกกับประเทศ และพอความรู้นี้กระจายออกไป  คนที่อยู่ห่างไกลเขาจะมองเห็นแสง สว่างที่ปลายอุโมงค์ เขามีสิทธิ์ที่จะเอาความรู้นี้ไปพัฒนาท้องถิ่นเขา” นอกจากยังคงให้ความรู้เรื่องการผลิตกังหันลม  บรรจงก�ำลัง พัฒนาเครื่องก�ำเนิดพลังงานชิ้นใหม่ๆ  เพื่อให้เป็นทางเลือกในการผลิต พลังงานเพิ่มเติม “ถ้ามีคนไทยสักร้อยคนมีความคิดเหมือนผม  บ้านเมืองจะ พั ฒ นาขึ้ น อี ก ระดั บ หนึ่ ง   ขึ้ น ชื่ อ ว่ า ได้ ใ ห้ ค วามรู ้   ไม่ ว ่ า อย่ า งไรก็ เ กิ ด ประโยชน์”

183


ถ้าเยาวชนหรือคนไทยมีความรู้พื้นฐานตรงนี้ เขา ก็จะไปสานต่อหรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ชิ้น งานใหม่ๆ ผลดีจะตกกับประเทศ และพอความรู้นี้ กระจายออกไป คนที่อยู่ห่างไกลเขาจะมองเห็นแสง สว่างที่ปลายอุโมงค์ เขามีสิทธิ์ที่จะเอาความรู้นี้ไป พัฒนาท้องถิ่นเขา

บรรจง ขยันกิจ

184


“ในมุมมองของผม   เมื่อคุณ เดือดร้อนมากๆ เราช่วยคุณ เสร็จ แล้วคุณต้องดูแลตัวเองด้วย เมื่อ คุณดูแลตัวเองได้ คุณต้องไป ช่วยคนอื่นต่อด้วยซ�้ำ สังคมถึงจะ น่าอยู่”           ภาพความเอื้อเฟื้อของผู้เป็น บิดา-ไสยาสน์ เสมาเงิน ที่หยิบ ยื่นให้กับคนรอบข้างเสมอ ท�ำให้ ดุสิต เสมาเงิน เติบโตขึ้นมาพร้อม กับหัวใจที่ยินดีสละความสุขส่วนตัว เพื่อแลกกับรอยยิ้มที่คืนกลับมา ของผู้เดือดร้อนกว่า          เขาเป็นหนึ่งในทีม  ‘ขบวนการกู้โลก’ ที่ท�ำภารกิจช่วยเหลือคน เดือดร้อนจากเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่  ตั้งแต่เรื่องเบาๆ  อย่างมอบถุง ยังชีพ ว่ายน�้ำไล่จับสุนัขในโรงไฟฟ้าเพื่อน�ำมาดูแลต่อ  ขนย้ายคนไป จนถึงขนย้ายศพท่ามกลางน�้ำท่วมสูง  กระทั่งเป็นหน่วยลาดตระเวน ในนิคมอุตสาหกรรมที่ตกอยู่ในภาวะร้างชั่วคราว เพื่อกดดันขโมยไม่ ให้ก่อเหตุ

185


ทั้งหมดที่เขาท�ำนั้นไม่ใช่ครั้งแรกในภารกิจอาสาสมัคร ย้อน กลับไปคราวเกิดเหตุสึนามิ เมื่อปี พ.ศ.2547 ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่ ดุสิตได้พบว่า ค�ำขอบคุณที่ได้รับเป็นสิ่งตอบแทนซึ่งอิ่มหัวใจมากกว่า ทรัพย์สิน “ผมเป็นคนใช้ชีวิตแบบเอ็กซ์ตรีมมาก เล่นทุกกีฬาที่เสี่ยง อันตราย อย่างขี่จักรยานดาวน์ฮิลล์ ด�ำน�้ำตัวเปล่า ขี่มอเตอร์ไซค์ใหญ่ ใครไม่รู้คงมองว่าเราโง่ แต่เราไม่ได้เสี่ยงโดยที่เราไม่รู้ ผมรู้สึกว่าคน เราเกิดมาหนเดียว ต้องใช้ชีวิตให้คุ้ม ต้องสัมผัสศักยภาพที่มนุษย์จะ ท�ำได้ในทางต่างๆ ให้มากที่สุด และมีความสุขกับมันมาก “แต่เหตุการณ์สึนามิเป็นจุดเริ่มต้นที่ผมรู้สึกว่าเราสุขไม่ได้ ในขณะที่คนอื่นทุกข์ ก็เลยลงไปท�ำงานเป็นอาสาสมัครโดยขอลางาน บอกเขาว่าถ้าไม่ให้ไปจะลาออก เขาก็ให้ไปอาทิตย์หนึ่ง เรารีบเคลียร์ งานภายในเวลาประมาณหนึ่งวัน ส่งต่องานเสร็จก็ไป โดยที่ไม่รู้หรอก ว่าสิ่งที่เราเอ็กซ์ตรีมมาตลอดจะช่วยอะไรได้บ้าง” งานคัดแยก-แบกศพ คือภารกิจที่เขาท�ำในเหตุการณ์ครั้งนั้น เมื่อครบเจ็ดวันตามก�ำหนดที่ลางาน เขาเดินทางกลับมายังสนามบิน ภูเก็ตด้วยรถประจ�ำทางสายหนึ่ง ภาพการไหว้ขอบคุณของคุณป้าที่ พบบนรถคันนั้น ท�ำเอาผู้ชายอย่างเขาถึงกับน�้ำตาไหล “เราอาจมีแบบแผนว่าท่าไหว้ที่สวยเป็นท่าแบบไหน แต่ผม บอกได้เลยว่าภาพของการไหว้ครั้งนั้นสวยมาก  ประกอบกับแววตา ของเขา  ทั้งหมดมันมาจากใจ  อาสาสมัครจะพูดว่าท�ำงานไม่ได้สิ่ง ตอบแทน จริงๆ แล้วไม่ใช่ คุณไม่ได้รับสิ่งตอบแทนเป็นทรัยพ์สิน แต่ เป็นใจ เป็นความรู้สึกที่ได้รับเมื่อเราช่วยคน”

186


เมื่อไม่มีเหตุเภทภัย  ดุสิตใช้ชีวิตเอ็กซ์ตรีมในแบบของเขา แต่เมื่อเกิดเหตุเมื่อไร เขาพร้อมจะวางความสุขส่วนตัวเพื่อไปท�ำงาน อาสาสมัคร เป็นการกลับไปเสพความสุขที่ได้รับในอีกรูปแบบหนึ่ง “หลังๆ น�้ำท่วมใหญ่เยอะมาก อย่างที่บ้านทับควาย โคราช เราก็บอกต่อกับเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊ก รวมเงินกันไปซื้อของบริจาค ผม ไม่ชอบวิธีการส่งของไปแล้วจบ แต่อยากไปลงพื้นที่ด้วยตัวเอง อาจ เป็นเพราะว่าเราอยากได้รับความรู้สึกที่เคยได้รับ  แล้วก็ถ่ายรูปถ่าย วิดีโอมาลงให้เพื่อนดู เขาจะได้รู้ว่าเงินบริจาคของเขาไปไหน เพราะ เขาเลือกเราเป็นเมสเซนเจอร์ส่งความปรารถนาดีไปถึงผู้เดือดร้อน มัน ท�ำให้เราได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ” อุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 ดุสิตและกลุ่มเพื่อนน�ำความช่วย เหลือไปถึงผู้เดือดร้อนตั้งแต่เหตุเริ่มต้นที่ลพบุรี ภาพผู้น�ำท้องถิ่นที่น�ำ เรือบริจาคไปขนข้าวสารหนีน�้ำท่วม แทนที่จะน�ำไปช่วยเหลือคนตาม ที่คนให้ตั้งใจ ท�ำให้ดุสิตเริ่มต้นหาเรือเพื่อเป็นคนเข้าไปช่วยเหลือเสีย เอง เพราะเป็นคน ‘ตั้งใจ’ และ ‘ท�ำจริง’ การสนับสนุนจึงเข้ามาอย่าง ไม่มีข้อกังขา “ก็ คิ ด ว่ า ถ้ า เรามี เ รื อ ของเราเอง  เรื่ อ งแบบนี้ จ ะไม่ เ กิ ด ขึ้ น เพราะถ้ามีใครมาพูดอะไร ผมบอกได้ว่านี่เรือของผม คุณจะใหญ่มา จากไหนผมไม่รู้ แต่นี่เรือของผม ผมจะเลือกช่วยสิ่งที่ส�ำคัญที่สุด นั่น คือชีวิตคน” เพื่อให้เรือมีชื่อเรียก ดุสิตตั้งชื่อเรือว่า  ‘ยานกู้โลก’ และตั้งชื่อ ทีมช่วยเหลือว่า ‘ขบวนการกู้โลก’ ที่เรียกรอยยิ้มให้กับผู้พบเห็น

187


“ขบวนการกู้โลกเป็นกลุ่มเพื่อนสนิท  ตลกโปกฮา  แต่เวลา ท�ำงานในเนื้อหา ในระบบการท�ำงานก็ซีเรียสมาก ตะโกนเหมือนจะ ทะเลาะกัน แต่ก็พยายามไม่ซีเรียสมาก อยากให้มันสนุกไปด้วยแม้จะ เสี่ยงอันตราย “ค�ำว่ากู้โลกคือการช่วยเหลือโลก  ฟังดูยิ่งใหญ่มาก  แต่เรา ต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่เกิดจากสิ่งเล็กๆ  อย่างผมว่ายน�้ำจับหมา คุณบริจาคเงิน อีกคนท�ำข้าวกล่อง หรือแม้แต่เขียนโน้ตให้ก�ำลังใจใน เพจอาสาสมัคร มีรอยยิ้มให้คนท�ำงาน หรือได้รับรอยยิ้มจากผู้ประสบ ภัย ทุกสิ่งที่ท�ำเมื่อรวมกันมันยิ่งใหญ่ ค�ำว่ากู้โลกไม่ได้เกินเลย รวมๆ แล้วมันคือคุณกู้โลกได้ ทุกคนกู้โลกได้ “เอาเรือออกไปท�ำภารกิจได้สองสามวัน เด็กวิ่งตาม กู้โลกมา แล้วๆ (หัวเราะ) พอมีเรือภารกิจเราก็หลากหลายขึ้น อพยพคน อพยพ สัตว์ พาแพทย์อาสาหรือสัตวแพทย์เข้าพื้นที่ แม้กระทั่งลาดตระเวน ร่วมกับทหารและต�ำรวจตอนกลางคืน  เรามีเรือแล้ว  เราต้องตอบ สนองความหวังดีของคนที่สนับสนุนเรา เราต้องใช้ให้คุ้ม” ขบวนการกู้โลกท�ำภารกิจอย่างเต็มก�ำลังในเหตุการณ์น�้ำ ท่วมใหญ่ที่ผ่านมา  หรือถ้าจะพูดให้ถูก  พวกเขาท�ำงานได้มากเกิน ความคาดหมายเสียด้วยซ�้ำ

188


“ตอนแรกไม่ได้ประเมินว่าจะหนักหนา ต่างจังหวัดน�้ำเยอะ จริง แต่คิดว่ามาถึงกรุงเทพก็คงจัดการกับปริมาณน�้ำได้ แต่ภาพที่เห็น มันไม่ใช่ วันที่นิคมนวนครล่ม ราบ 11 ขอความช่วยเหลือมา ซึ่งเรามี ความสัมพันธ์อันดีต่อกันอยู่ “เราลากเรือไปสองล�ำ ไปอยู่นวนครตั้งแต่วันน�้ำแห้ง ตอนนั้น พนังกั้นพังแล้ว น�้ำก็ค่อยๆ มา เรามาสังเกตการณ์ตั้งแต่สี่ทุ่ม จนถึง เจ็ดโมงก็เริ่มอพยพคนแล้ว น�้ำจากสูงแค่เข่ามาจบที่คางผมในเวลาที่ สั้นมาก บนถนนมีทั้งคนเดิน ทั้งคนแบกของ ถ้าเราใช้เรือเครื่องใบพัด อาจบาดไปโดนเขา ก็ต้องใช้วิธีลากโดยที่มีคนยี่สิบคนอยู่บนเรือ วัน นั้นลากไปกลับจนถึงหนึ่งทุ่มได้ แล้วก็ยังมีรายย่อยๆ ต่ออีก สิบเจ็ด ชั่วโมงไม่ได้นอนจนมาถึงเช้าอีกวัน” ภารกิจที่ติดพันต่อเนื่องหลังจากนั้น ไม่ได้ท�ำให้ดุสิตรู้สึกล้า หรืออยากจะหยุดภารกิจ  เขามีแต่วางแผนว่าจะไปที่ไหนต่อ  มีบ้าง ที่ต้องเว้นวรรค  เพราะหากไม่หยุดเลย  นั่นเท่ากับว่าก�ำลังเป็นการ วางแผนที่ผิด “ไม่ได้อยากหยุดเลย  แต่การเป็นอาสาสมัครต้องมีระเบียบ กับตัวเอง  กฎข้อแรกของการกู้ภัย  คือความปลอดภัยของตัวเราเอง สองคือความปลอดภัยของทีมงาน  ความปลอดภัยของผู้ประสบภัย เป็นอันดับสาม  เพราะว่าถ้าคุณไม่ปลอดภัย  คนในทีมไม่ปลอดภัย คุณก็ไปช่วยเหลือคนอื่นไมได้ ซ�้ำร้ายคือคุณจะกลายเป็นภาระ เป็น ผู้ประสบภัยซะเอง ในขณะที่ผู้ช่วยเหลือก็ลดไปหนึ่งคน เพราะฉะนั้น ต้องประมาณตัวเองด้วย” แม้ ทุ ก ครั้ ง ที่ ล งพื้ น ที่   ดุ สิ ต และที ม ช่ ว ยเหลื อ จะน� ำ ความ ปรารถนาดีบรรทุกใส่ล�ำเรือไปให้ แต่ก็มีหลายต่อหลายครั้ง ที่ความ ปรารถนาดีของเขา ได้รับค�ำต�ำหนิ

189 189


“น�้ำท่วมครั้งนี้เราช่วยตั้งแต่ลพบุรี บางปะหัน วไลยอลงกรณ์ นวนคร เมืองเอก จนมาถึงสะพานใหม่ สิ่งที่เราเห็นคือคนแตกต่างกัน คนต่างจังหวัดน่ารัก ที่ลพบุรีน�้ำท่วมสูงสองสามเมตร เขาล�ำบากกว่า เราเยอะ แต่เขาอยู่กันได้ในศูนย์กลางชุมชนคือวัดหรือโรงเรียน เขา พยายามช่วยตัวเองว่าท�ำยังไงให้อยู่รอดได้ “แต่ในกรุงเทพ เราล�ำบากน้อยกว่าเขาเยอะ ชนิดที่บางบ้าน คนลุยน�้ำไปห้าร้อยเมตร น�้ำระดับเอว คุณก็ไปซื้อของในบิ๊กซีได้ แต่ เขาไม่ไป อาสาสมัครต้องเอาของไปให้ ถ้าไม่ให้โดนด่า ก็บั่นทอน เหมือนกัน อาสาสมัครบางส่วนอยากช่วย แต่ช่วยไม่เป็นระบบ วันนี้ จัดรถเข้าไป แต่รถเข้าไปในซอยไม่ไหว แจกหน้าปากซอยนี่แหละ แต่ คนเดือดร้อนจริงๆ คือคนที่อยู่ข้างใน แล้วเราก็จะลืมเขา “ขบวนการกู้โลกพยายามจะฝ่าแนวนี้เข้าไป  ซึ่งเราต้องเจอ อะไรหลายอย่างมาก  อย่างเช่นค�ำถามที่ว่า  ไม่มีของมาแจกเหรอ หลังๆ เราต้องมีทักษะพิเศษ คือซ่อนพรางสิ่งของช่วยเหลือ อย่าให้เขา เห็น แล้วก็บอกเขาว่าไปท�ำภารกิจรับคน ซึ่งมันตลกนะ เราจะไปช่วย คน ท�ำไมเราต้องท�ำอะไรแบบนี้ด้วย “ครั้งหนึ่งไปช่วยชุมชนเพิ่มสิน  ซึ่งมีความช่วยเหลือเข้าไป น้อย อยู่ในซอยพหลโยธิน  52 เอาของเข้าไปให้เสร็จ เรากันของส่วน หนึ่งไว้ให้ชุมชนหลังโรงปุ๋ย ตรงพหลโยธิน 48 พอออกมาก็มีคนตะโกน บอกว่าไม่มีของแจกเหรอ เรามองไปที่คนคนนั้น เป็นผู้ชายร่างกาย แข็งแรง น�้ำสูงแค่หน้าแข้ง แล้วตรงนั้นอยู่ห่างหน้าปากซอยสักสี่ห้า ร้อยเมตร มีเรือวิ่ง มีรถทหารวิ่ง เขาช่วยเหลือตัวเองได้ และที่ที่เขายืน อยู่เป็นร้านขายของช�ำซึ่งเปิดขายแล้วด้วยซ�้ำ มันบอกว่าตอนนี้เรามี ทัศนคติที่ผิด คือคุณไม่ช่วยเหลือตัวเอง น�้ำท่วม น�้ำเข้าบ้านแล้วต้อง มาช่วย”

190


นี่เป็นเรื่องราวรายทางที่เขาต้องประสบอยู่แทบทุกเมื่อเชื่อ วันที่ออกไปท�ำภารกิจอาสาสมัคร  และเป็นภาพที่บั่นทอนทีมงานไม่ น้อย  แต่ต้องหาทางดับเพื่อเดินหน้าต่อไปยังจุดที่วางเป้าความช่วย เหลือเอาไว้ “เราต้องมุ่งมั่นในภารกิจของเรา  ต้องรู้ว่าเราท�ำอะไร  เรา ก�ำลังไปช่วยใคร เมื่อเรามีจุดหมายชัดเจนก็ฝ่าไปได้ อาจจะฟังไป ยิ้ม ให้ แต่ถ้ามีภารกิจแทรกอย่างมีคนป่วยหัวใจวาย เราเปลี่ยนได้ สมมติ ข้างในซอยมีบ้านห้าสิบหลังที่เราเตรียมของไว้ให้  และเขาขาดมาตั้ง นานแล้วเพราะโดนคนข้างหน้าคัดกรองของก่อน เราแบ่งให้คุณก่อน ข้างในเขาก็ไม่พอ “การใจดีต้องมีเหตุผลด้วย  ต้องใจดีเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดี  การ ใจดีมาก ใจดีแบบไม่มีระบบ จะท�ำให้เกิดค่านิยมที่ผิด ในมุมมองของ ผม เมื่อคุณเดือดร้อนมากๆ เราช่วยคุณ เสร็จแล้วคุณต้องดูแลตัวเอง ด้วย เมื่อคุณดูแลตัวเองได้ คุณต้องไปช่วยคนอื่นต่อด้วยซ�้ำ สังคมถึง จะน่าอยู่

191


“ภาพที่เห็นคือการท�ำงานของขบวนการกู้โลกจะลุยมาก แต่ เบื้องหลังของการลุยเรามีการวางแผนที่เป็นขั้นตอน เรามีที่ปรึกษาซึ่ง รู้เรื่องการจัดการภัยพิบัติ รู้เรื่องการกู้ภัย รู้เรื่องระบบ ให้ความรู้กับเรา ช่วยเราวางแผนตลอด “ทุกครั้งเราต้องประสานงานก่อน สมมติมีการต้องการความ ช่วยเหลือตรงจุดนี้ ข้อมูลที่ได้มาจากค�ำบอกยังไม่พอ เราต้องส่งทีม หาข่าวเข้าไปดูว่าจริงหรือเปล่า มีคนกี่คน เขาต้องการอะไร จนเรา มั่นใจว่าพื้นที่นี้ต้องช่วย  แล้วช่วยนี่ช่วยอะไร  ไม่ใช่แค่เอาถุงยังชีพ ไปให้ เฟสความช่วยเหลือมันต่างกัน ช่วงต้นน�้ำท่วมเขาต้องการถุง ยังชีพที่เขาสามารถเปิดกินได้เลยโดยที่ไม่ต้องปรุงและอยู่ได้สองสาม วัน เฟสต่อมาคือคุณเริ่มปรับตัวอยู่กับน�้ำให้ได้ ต้องอยู่ยังไง พื้นที่ส่วน ใหญ่มีไฟ เขาหุงได้ ปรุงอาหารได้ ถุงยังชีพจึงต้องแตกต่างกัน เรา วางแผนตลอด “และเมื่อไปท�ำภารกิจ  เราจะเก็บข้อมูลกลับมาตลอดเพื่อ วางแผน อย่างน้อยถ้าเราไม่ได้ไปที่นี่อีก ใครจะไปปุ๊บเราส่งต่อข้อมูล นี้ให้เขาเลย ใจเป็นทุนที่ดีมากในการท�ำงานอาสาสมัคร แต่เราควร จะท�ำงานให้มีประสิทธิภาพ  ไม่ให้เป็นปัญหาซ�้ำซ้อน  ก็ต้องมีการ วางแผน “อาสาสมัครเป็นโรคติดต่อ หลายคนที่อยู่ในเพจอยากมาเจอ เรา พอมาเจอเรา มาร่วมงานกันสักครั้งก็อยากมาท�ำอีก อาสาสมัคร มีค่าตอบแทนนะครับ ค่าตอบแทนคือความรู้สึกเป็นสุข ความรู้สึกดีที่ เราได้เมื่อเราได้ให้สิ่งที่เรามีกับคนที่ไม่มี นี่เป็นสิ่งเสพติดและเป็นโรค ติดต่อ อยากไปช่วย อยากไปเห็นรอยยิ้มของคุณยายคนนั้น เห็นแวว ตาที่เขารู้สึกว่าเขาไม่โดนทิ้ง มันเป็นความสุขซึ่งอาสาสมัครต้องการ

192


“วันนี้เกิดกลุ่มอาสาสมัครขึ้นมา  ก็ไม่ควรให้มันหายไปเมื่อ ภัยพิบัติหายไป  หากเกิดภัยพิบัติข้ึนอีกในอนาคต  เราก็จะได้พร้อม ขณะเดียวกันก็ต้องท�ำความรู้จักกับกลุ่มอื่นด้วย  มีอะไรจะได้แลก เปลี่ยนประสานงานกันได้เลย  ถ้าเป็นแบบนี้ผมว่าหน่วยงานอาสา สมัครจะเข้มแข็งมาก”

การใจดีต้องมีเหตุผลด้วย ต้องใจดีเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดี การใจดีมาก ใจดีแบบไม่มีระบบ จะท�ำให้เกิดค่านิยมที่ผิด

193


ฐิตินันท์ ศรีสถิต “ทุกสิ่งที่เราท�ำ เปลี่ยนแปลงโลกเสมอ”

การจะเปลี่ยนโลกทั้งใบให้กลับคืนสู่ความสมบูรณ์แบบเช่น อดีต  เป็นเรื่องใหญ่ที่แค่คิดก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลและเกินตัว  แต่ การจะช่วยโลกนี้ให้ดีขึ้นจากภาวะที่เป็นอยู่นั้น  ฐิตินันท์ ศรีสถิต หรือ ที่โลกของนักอ่าน ‘สีเขียว’ รู้จักเธอในชื่อ ‘คิ้วหนา’ นักเขียนสารคดีสิ่ง แวดล้อม เจ้าของผลงาน ‘โลกร้อน ทุกสิ่งที่เราท�ำเปลี่ยนแปลงโลก เสมอ’ เชื่อเหลือเกินว่า ทุกคนช่วยกันได้ นอกจากจะเป็นนักค้นคว้า นักเขียน เธอยังเป็น ‘นักลงมือ’  ที่ปฏิบัติตนเป็นมิตรกับโลกมากที่สุดคนหนึ่ง  โดยเริ่มจากเรื่องง่ายๆ อย่างการลดใช้รถยนต์ส่วนตัว ปลูกผักกินเอง ลดการใช้ถุงพลาสติก เลิกใช้กระดาษทิชชูแล้วพกผ้าเช็ดหน้าแทน  และอีกหลายเรื่องราวที่ เธอได้กลายมาเป็นแบบอย่างของการใช้ชีวิตที่หลายคนเริ่มเห็นดีและ ท�ำตาม

194


“มันอยู่ในชีวิตประจ�ำวันอยู่แล้ว  ไม่ต้องเป็นนักสิ่งแวดล้อม ทุกคนก็ดูแลโลกได้  ตอนนี้เรามีคอลัมน์ประจ�ำในเว็บไซต์ของโลกสี เขียว เป็นเรื่อง ‘คนหมุนโลก’ ซึ่งหยิบเอาตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ของคนที่ ท�ำอะไรเพื่อโลกมาให้ดูว่าเขาท�ำอะไรกันไปแล้วบ้าง  บางส่วนเป็นนัก สิ่งแวดล้อม  และมากกว่าครึ่งไม่ใช่นักสิ่งแวดล้อม  แต่สนใจที่จะท�ำ โดยน�ำเรื่องสิ่งแวดล้อมมาใช้ร่วมกับทักษะในวิชาชีพของเขา  อย่าง นักออกแบบที่ค�ำนึงถึงเรื่องวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เขานึกตั้งแต่ต้นทาง ไปจนถึ ง ปลายทางการก� ำ จั ด   และสามารถออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้ ตั้งแต่ใช้วัสดุรีไซเคิล มีขั้นตอนการผลิตที่ให้ มลพิษน้อยหน่อย  ใช้แพ็กเกจจิ้งน้อยหน่อย   ไม่ต้องห่อซับซ้อนหลาย ชั้น  เพราะแกะออกมาก็ทิ้งอยู่ดี  หรือมีวิธีการก�ำจัดง่ายๆ  ที่ไม่ก่อ มลพิษมาก” ฐิตินันท์สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว ครั้งเรียนปริญญา โท  เธอเลือกเรียนที่คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  สาขา เทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม ด้วยความตั้งใจแรกที่คิดว่าเมื่อจบ มาจะท�ำงานวิจัย แต่ชีวิตของเธอกลับเปลี่ยน เมื่อนิตยสารโลกสีเขียว ประกาศรับสมัครนักเขียนประจ�ำกองบรรณาธิการในขณะนั้น “ตอนเรียนปริญญาโทเราเป็นคนสนใจสิ่งแวดล้อม  แต่ไม่ ได้เป็นเชิงรณรงค์  คิดแค่ว่าสิ่งแวดล้อมเป็นทรัพยากรที่เราจะต้อง ใช้ให้เกิดประโยชน์และเกิดผลกระทบน้อย  แต่พอมาอยู่โลกสีเขียวก็ เริ่มรู้สึกว่าเราต้องดูแลรักษามันในระดับชีวิตประจ�ำวันด้วย ไม่ใช่แค่ จัดการในภาพรวมของประเทศ  หรือในการบริหารจัดการทรัพยากร แต่ละบุคคลก็มีส่วนในการดูแลด้วยได้”

195


การได้คลุกคลีกับข้อมูลเรื่องสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่างๆ ในเชิงปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น  เป็นส่วน หนึ่งที่ท�ำให้เธอเริ่มลงมือเปลี่ยนแปลงตัวเอง “พอเรารู้ เราก็ลงมือท�ำบ้าง เพราะการที่เราจะเขียนบอกให้ คนอื่นท�ำ แต่คนเขียนไม่ท�ำ มันก็ละอายนะ แต่ว่าการปรับพฤติกรรม หรือวิถีชีวิตที่ส่งผลกระทบต่อโลกน้อยๆ  ไม่ได้เริ่มจากการใส่ใจเรื่อง โลกร้อนซะทีเดียว เป็นเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย “ก่อนหน้านั้นเป็นคนติดขับรถส่วนตัว  พอมีรถส่วนตัวนี่แทบ จะเลิกขึ้นขนส่งมวลชนเลย ไปไหนก็ขับรถอย่างเดียว แล้วตอนที่เริ่ม ขับน�้ำมันเบนซิน 95 ลิตรละแปดเก้าบาท เติมเต็มถังก็ห้าร้อย ไม่รู้สึก เดือดร้อน จนกระทั่งเริ่มเรียนโท เมื่อประมาณสักสิบปีที่แล้ว น�้ำมัน เริ่มขึ้นราคาจากไม่ถึงสิบบาทก็ขยับมาใกล้ยี่สิบ  เราไม่ได้มีรายได้ เยอะ ก็ต้องประหยัด” ข้ อ ตกลงใหม่ ข องฐิ ติ นั น ท์ กั บ เพื่ อ นที่ มี บ ้ า นอยู ่ ใ นละแวก เดียวกันเกิดขึ้น ด้วยการผลัดกันขับรถคนละวัน            “เหมือนคาร์แชริ่ง ประหยัดเงิน  ประหยัดน�้ำมันไปครึ่งหนึ่ง แล้ว มีเพื่อนคุยด้วย ไหนๆ ก็ต้องไปทางเดียวกันอยู่แล้ว แถมเวลาสอบ เรายังมีติวกันในรถก่อนขับไปถึงมหาวิทยาลัยได้อีก  ไม่รู้สึกว่าความ สะดวกหายไป  มาเปลี่ยนเยอะขึ้นตอนท�ำงานที่นิตยสารโลกสีเขียว ด้วยรายได้เราไม่ได้เยอะเพราะเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน  คือรายได้ อยู่ได้ แต่ราคาน�้ำมันขยับขึ้น ตอนแรกขับรถอยู่ สักพักรู้สึกไม่ไหว แล้วเพราะเงินไปหมดกับค่าน�้ำมันมากเกินไป  เหมือนโดนบังคับ กลายๆ  ว่าสละรถบ้างเถอะ  ก็เริ่มจากลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวครึ่ง หนึ่งก่อน อาทิตย์หนึ่งเราเปลี่ยนไปใช้เรือด่วนเจ้าพระยาบ้าง หรือขึ้น รถเมล์บ้างแล้วเดินต่ออีกหน่อย ลองดู”

196


เมื่ อ ความสบายหายไป ฐิ ติ นั น ท์ ม องหาสิ่ ง จู ง ใจมาแทนที่ ความเคยชินแบบเดิม กระทั่งการ ใช้ขนส่งมวลชนกลายเป็นเรื่องปกติ มากกว่านั้นคือการได้มาใช้บริการ สาธารณะ  ท�ำให้เธอเห็นแง่มุมใหม่ ของเมือง “ใช้เรือด่วนเจ้าพระยาก็ดี นะ ไม่เบียดคน ลมก็เย็นสบาย ผม เสียทรงนิดหน่อยก็ช่างมัน หรือขึ้น รถเมล์มันก็ท�ำให้เราได้เห็นสองข้าง ทาง ถ้าเราขับรถ เวลารถติดเราก็ ต้องใช้สมาธิในการมองไฟเขียวไฟ แดง เห็นน�้ำมันที่เผาไปเรื่อยๆ แต่รถไม่ขยับเลย ก็เครียดนะ แต่การนั่ง รถเมล์ ถึงรถจะติด เราก็อ่านหนังสือได้ เบียดนักก็ไปนั่งเรือ หรือเลี่ยง ด้วยการกลับบ้านมืดหน่อย “แล้วในรถเมล์มีเรื่องดีๆ  ให้เราเห็น  วันนั้นคนไม่แน่นมาก มีอุบัติเหตุเกิดข้างๆ  รถเมล์  คือมีรถมอเตอร์ไซค์ล้ม  คนขับรถเมล์ก็ ตะโกนบอกน้องนักศึกษาผู้ชายกลุ่มหนึ่งให้ลงไปช่วยหน่อย  เขายัง เลิ่กลั่กกันอยู่  คนขับก็เปิดประตูรถเมล์เลย  เด็กกลุ่มนั้นก็ลงไปช่วย ประคองรถกับคนเจ็บมาไว้ข้างทาง  แล้วก็จะกลับมาขึ้นรถเมล์  แต่ ปรากฏว่าไฟเขียว  พี่คนขับก็ตะโกนบอกว่า  พี่ไปแล้วนะ  ฝากด้วย เด็กกลุ่มนั้นก็อ้าว... แต่ก็เป็นเรื่องข�ำ และเป็นมุมน่ารัก ซึ่งถ้าเราขึ้น รถยนต์เราก็จะไม่เห็นมุมแบบนี้”

197


นอกจากเรื่องจรรโลงอย่างที่เธอเล่า รถเมล์ยังท�ำให้ฐิตินันท์ ได้โอกาสช่วยโลกอีกทางหนึ่ง คราวนี้เป็นการเดินทางพร้อม  ‘ปิ่นโต’ “เป็นเรื่องฟลุก  คือทางที่จะผ่านไปป้ายรถเมล์มีร้านอาหาร ปักษ์ใต้ห้องแถว ซึ่งเราขับรถผ่านมาตั้งนานไม่เคยเห็น เราซื้อไปกิน กับเพื่อนที่ท�ำงาน  ทุกคนเห็นตรงกันว่าอร่อย  ตั้งแต่นั้นกลายเป็นว่า วันไหนที่ขึ้นรถเมล์  เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องซื้อไปให้คนที่ที่ท�ำงาน กินด้วย “ร้านนี้จะมีวิธีการตักแบบใส่ถุงร้อน ใส่ถุงกระดาษ แล้วใส่ ถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ตอนแรกเราก็ยังให้เขาใส่ถุงร้อน แต่ไม่เอาถุง พลาสติก จนตอนหลังขอเขาว่าไม่เอาถุงพลาสติกแล้ว ใช้ปิ่นโตแทน “ที่จริงเรื่องปิ่นโตเริ่มมาจากวงกินข้าวกลางวันที่โลกสีเขียว พวกเราเป็นขาประจ�ำร้านส้มต�ำรถเข็น ตอนแรกซื้อใส่ถุงกัน ไม่ได้ คิดอะไร จนมีอยู่วันหนึ่งเหลือบไปเห็นว่าวงที่เรากินข้าวกันสามสี่คน มีกองถุงร้อนอยู่สี่ห้าใบ มันคือขยะ และอายุการใช้งานของมันสั้น มาก จากรถเข็น ถือขึ้นตึกชั้นสอง เทใส่จาน ไม่เกินสามนาที ก็มีการ ชักชวนกันว่าคราวหน้าถ้าจะซื้อ เอาจานลงไปใส่กันเถอะ หลังจากนั้น สักพักเราก็สังเกตเห็นว่า คนในละแวกนั้นเริ่มถือจานออกมาซื้อส้มต�ำ เหมือนเรา ไม่ได้เยอะมากนะคะ แต่มีสองสามคนที่เริ่มท�ำ เราก็รู้สึกดี ป้าคนขายก็ดีใจที่มันช่วยเขาประหยัดได้ หรือบางทีเรามีถุงพลาสติก หรือหนังยางเราก็เก็บไปให้ป้าใช้ซ�้ำ “ตอนเอาปิ่นโตไปที่ร้านอาหารปักษ์ใต้ ยอมรับว่าไม่กล้า รู้ สึกแปลกๆ  เพราะรอบข้างเราไม่มีใครท�ำ  ความที่เขินก็เอาปิ่นโตใส่ ถุงผ้าอีกทีหนึ่ง  จริงๆ  ไม่ใช่เรื่องน่าอายนะ  แค่รู้สึกว่าเราไม่เหมือน

198


ใคร  พอคนอื่นเขาไม่ท�ำกันเราจะ รู้สึกประหลาด แต่เอาเข้าจริง คน ที่นั่งกินในร้านหรือคนแถวนั้นไม่ ได้สนใจเลยว่ามันเป็นปิ่นโต  คน ขายก็เปิดปิ่นโตแล้วตักอาหารใส่ ให้ตามปกติ ไม่ได้ทักอะไรเลย เป็น เราที่กังวลไปเองว่าคนจะมองว่า ประหลาด หลังจากนั้นเราก็รู้สึกว่า มันเป็นเรื่องธรรมดา  แต่ที่เรารู้สึก ไม่ธรรมดาเพราะเราไม่เคยท�ำ” ‘โลกร้อน  ทุกสิ่งที่เราท�ำเปลี่ยนแปลงโลกเสมอ’  เรียกร้อง ให้คนหันมาให้ความสนใจความเป็นไปของโลก  และกระตุ้นให้เกิด กระแสรักษ์โลกได้ส่วนหนึ่ง หลังน�ำออกเผยแพร่ “โดยภาพรวมของมู ล นิ ธิ โ ลกสี เ ขี ย ว  มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ รณรงค์ให้ความรู้เรื่องโลกร้อนอยู่แล้ว  ตอนที่เรื่องโลกร้อนก�ำลังเป็น ประเด็น  เรามีการท�ำสื่อสิ่งพิมพ์ของมูลนิธิเพื่อให้ความรู้และเชิญชวน ให้คนหันมาดูแลโลก  เราได้รับมอบหมายให้เขียนเล่มแรก  ระหว่าง เขียนเราก็ต้องหาข้อมูลเยอะขึ้น  ได้รู้วิธีการเยอะขึ้นว่าเราจะช่วย เหลืออะไรยังไงได้บ้าง “แต่ในเล่มแรกมันยังเป็นเชิงทฤษฎี  ส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้เรา ท�ำเยอะขึ้นจริงๆ คือหลังจากเขียน ‘โลกใบเขียวของคิ้วหนา’ พี่แตง (นิรมล มูลจินดา) บรรณาธิการเล่มเห็นว่าเราได้ลองท�ำหลายอย่าง แล้ว ก็ควรจะมีภาคปฏิบัติที่เป็นตัวอย่างให้คนดูว่าเราท�ำอะไรได้บ้าง   เอาเราเป็นตัวแทนในการทดลองท�ำ  แล้วท�ำได้จริง  คนอื่นก็น่าจะ ท�ำได้ บางเรื่องเราท�ำมาก่อนอยู่แล้ว แต่บางเรื่องเป็นสิ่งที่ทดลองท�ำ โดยเฉพาะส�ำหรับเป็นข้อมูลในการเขียนเล่มนี้”

199


“อย่างเรื่องที่พูดถึงการกินอาหารที่ผลิตในประเทศ  ตอนนั้น เราอ่านเจอข้อมูลว่า มีชายหญิงแคนาดา ตั้งโปรเจ็กต์ของเขาเองว่า จะกินอาหารที่ผลิตในรัศมีหนึ่งร้อยไมล์จากอพาร์ตเมนต์เขา  ไม่กิน อาหารที่เดินทางไกลขนส่งมาจากนอกประเทศ เนื่องจากว่าของที่ผลิต จากการเดินทางใกล้มันประหยัดเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งพอประหยัดการ ใช้ฟอสซิลก็จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่มีผลกระทบท�ำให้โลก ร้อน แล้วก็เขียนลงบล็อก เราก็มาคิดตั้งโปรเจ็กต์ของตัวเองบ้าง ด้วย การลองงดอาหารน�ำเข้า เอาเฉพาะอาหารที่ผลิตในประเทศ ลองดูสัก หนึ่งเดือนซิจะไหวมั้ย” ดูเป็นเรื่องคาดไม่ถึง  ว่าการกินอาหารที่ผลิตในต่างประเทศ จะส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้อย่างไร  ฐิตินันท์อธิบายให้เห็นภาพว่า “พอเริ่มตั้งโจทย์เราก็มาอ่านที่มาของอาหาร  ขนมขบเคี้ยว ก็พบว่าเรากินของที่ผลิตในต่างประเทศเยอะเหมือนกัน  มาเลเซีย อิ น โดนี เ ซี ย   คุ ก กี้   ช็ อ กโกแลต  เป็ น ของที่ น� ำ เข้ า มา  ไม่ ไ ด้ ผ ลิ ต ใน ประเทศไทย แม้กระทั่งไอติมแท่งสิบบาท น�ำเข้ามาจากจีน มันเดิน ทางไกลมาก เป็นประเด็นที่เราไม่เคยสนใจเลย “โลกร้อนมันเป็นมรดกของคนรุ่นก่อนเรา  สาเหตุหลักคือ เรื่องการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล  พวกถ่านหิน  น�้ำมันปิโตรเลียม มีการใช้เยอะมากหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม  ซึ่งตอนที่เขาปฏิวัติ อุตสาหกรรมเขาไม่รู้หรอกว่าถ้าท�ำแบบนี้แล้วผลจะเป็นยังไง แต่พอ มาถึงรุ่นพวกเรา เราเห็นผลกระทบแล้ว เรารู้แล้วว่าท�ำแบบนั้นจะเกิด อะไรรออยู่ข้างหน้า มันท�ำให้เกิดโลกร้อน

200


“แล้วโลกร้อนก็มีการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว  มีการ คาดการณ์แล้วว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง  บางอย่างก็เกิดขึ้นให้เห็น แล้ว น�้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน�้ำทะเลสูงขึ้น เราเป็นรุ่นที่รู้ปัญหา และรู้วิธีที่ชะลอผลกระทบ  ฉะนั้นก็เป็นความแตกต่างว่าคนรุ่นเรานี่ ล่ะจะต้องท�ำอะไรสักอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลง  เราอาจจะไม่สามารถ หยุดยั้งวิกฤตโลกร้อนได้  แต่เราเชื่อว่าคนรุ่นเราน่าจะชะลอให้วิกฤต มาถึงช้าลงได้ อยากให้ทุกคนรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องส�ำคัญ เป็นเรื่อง ใกล้ตัว แล้วช่วยกันคนละไม้คนละมือ ถ้าทุกคนท�ำ มันก็เปลี่ยนแปลง ได้ แล้วคนรุ่นต่อไปจะได้ไม่มาโทษเราได้ว่า คนรุ่นนี้แหละ รู้ทั้งรู้แต่ไม่ ท�ำอะไร “อยากให้เรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของพลเมือง เหมือนเราอยู่ในชุมชนเราต้องเคารพกฎหมาย  เราต้องเคารพวินัย จราจร แล้วถ้าเราเพิ่มการเคารพโลกเข้าไปด้วย ดูแลเขาดีๆ ก็อยู่ได้”

“เมื่อโลกอยู่ได้ เราก็จะอยู่ได้ ลูกหลานเราในอนาคตเรา

เราอาจจะไม่สามารถหยุดยั้งวิกฤตโลกร้อนได้ แต่เราเชื่อว่าคนรุ่นเราน่าจะชะลอให้วิกฤตมาถึงช้าลง ได้ อยากให้ทุกคนรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องส�ำคัญ เป็น เรื่องใกล้ตัว แล้วช่วยกันคนละไม้คนละมือ   ถ้าทุกคน ท�ำ มันก็เปลี่ยนแปลงได้ แล้วคนรุ่นต่อไปจะได้ไม่มา โทษเราได้ว่า คนรุ่นนี้แหละ รู้ทั้งรู้แต่ไม่ท�ำอะไร

201


ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ “ชีวิตหนึ่งของเราที่เกิดมา   ได้ช่วยชีวิตคนอีกคนหนึ่งก็คุ้มค่าแล้ว” อ ดี ต ผู ้ อ� ำ น ว ย ก า ร สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การ เ ภ สั ช ก ร ร ม ที่ ล า อ อ ก จ า ก ต�ำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2545  เพื่อ ไปช่วยเหลือชาวแอฟริกันตาม สัญญาที่รัฐบาลไทยได้ให้ไว้ใน ที่ ป ระชุ ม องค์ ก ารอนามั ย โลก โดยไม่ รั้ ง รอหรื อ ลั ง เลต่ อ การ ตัดสินใจ “ตอนนั้นรัฐบาลไทยได้ไปให้สัญญากับเขาว่าเราจะท�ำ  แต่ขั้น ตอนช้ามาก ดิฉันเลยคิดว่าเวลาหนึ่งวันของเรามันมีค่ามากส�ำหรับชีวิต คนหลายๆ คนในแอฟริกา  ก็เลยตัดสินใจไปแอฟริกาโดยไม่ได้ลังเล  ไม่ ได้เสียดายอะไรทั้งสิ้น  และไม่ได้เสียใจด้วยที่ตัดสินใจแบบนั้น” สิ บ ปี นั บ ตั้ ง แต่ วั น แรกที่   ดร.กฤษณา  ไกรสิ น ธุ ์   เดิ น ทางถึ ง แอฟริกาเพื่อช่วยสร้างโรงงานผลิตยา  สอนวิธีการผลิตยาต้านไวรัส เอดส์ ยารักษามาลาเรีย ฯลฯ จนถึงวันนี้ศาสตร์การปรุงยาของเธอได้ ช่วยเหลือชีวิตชาวแอฟริกันนับล้าน  รวมถึงเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิต ยาไปยังประเทศอื่นๆ  ทั้งในฐานะอาจารย์ผู้สอน  ให้ค�ำปรึกษา และดูแล การผลิตยาในโรงงานอีกหลายแห่งในต่างประเทศ  โดยไม่ค�ำนึงถึงผล ตอบแทนใด

202


“ทั้งหมดมาจากความเชื่อที่ว่า  ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงยาได้ มันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน  และจากความเชื่อนี้  เมื่อประเทศไทย สามารถผลิตยาต้านเอดส์ได้  และผู้ป่วยเอดส์ทุกคนในประเทศไทยได้ รับยาทั่วถึงกันแล้ว ก็เลยคิดว่าเราน่าจะไปถ่ายทอดให้คนที่ด้อยกว่าเรา หรือคนที่ยังไม่มีความสามารถในการผลิตยา” ในวัย 60 ปี ดร.กฤษณายังคงท�ำงานอย่างทุ่มเทเช่นที่เคยมา เธอยังคงเดินทางไปมาระหว่างประเทศไทยและทวีปแอฟริกา  เพื่อให้ ความช่วยเหลือด้านการผลิตยาแก่ประเทศที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงยา อันมีสาเหตุจากความยากจน และการขาดการศึกษาเป็นส�ำคัญ โดย มองข้ามความล�ำบากด้านการเป็นอยู่ที่ต้องเผชิญในดินแดนแสนไกล “ในชีวิตคนเราก็ต้องเจออะไรหลายๆ  แบบ  ยิ่งเจอก็ยิ่งเป็น ประสบการณ์ชีวิต และความเป็นจริงก็ล�ำบากแค่ชั่วครู่ชั่วยาม แต่คนที่ อยู่ที่นั่นเขายังต้องยากล�ำบากตลอดไป เขาเดือดร้อนมากกว่าเรา ก็ต้อง ช่วยกัน “ตามบ้ า นเราในชนบทที่ ค นจนๆ  อยู ่ เ ราว่ า ล� ำ บากแล้ ว   ที่ แอฟริกาล�ำบากกว่าเป็นร้อยเป็นพันเท่า  เทียบกันไม่ได้เลยสักอย่าง ผู้คนของเขาประสบปัญหามากมาย  ทั้งปัญหาความยากจน  การศึกษา นี่ไม่ต้องพูดถึง ไม่มีอยู่แล้ว แล้วโรคภัยไข้เจ็บอีก รัฐยังไปไม่ถึงสักที่ “ที่เราไปช่วยก็ช่วยได้ไม่กี่ล้านคน  คนทั้งทวีปมีหนึ่งพันล้าน เราเป็นส่วนเล็กๆ เท่านั้นที่ช่วยได้ คนที่นั่นถ้าใครถูกวินิจฉัยว่ามีเชื้อเอช ไอวี ก็เหมือนกับถูกประหารชีวิต เพราะจะถูกแยกออกจากสังคม แต่คน ส่วนใหญ่ก็ไม่ไปตรวจหรอก  เพราะถ้าไปตรวจแล้วเป็นก็ไม่มียาให้เขา กิน เขาก็ไม่รู้จะตรวจท�ำไมเหมือนกัน “ผู้หญิงที่นั่นเหมือนกับเป็นประชาชนชั้นสอง  ผู้ชายจะท�ำยังไง ก็ได้  เพราะฉะนั้นผู้หญิงที่ติดเชื้อมาโดยที่ไม่ได้ตั้งใจมีอยู่มากมาย  เด็ก ก็เหมือนกัน”

203


เริ่มจากการเดินทางไปท�ำงานด้วยตัวคนเดียวในวันแรก ผ่าน มาสิบปีหญิงแกร่งคนนี้ยังคงเดินทางคนเดียวเช่นเดิม “ตอนนี้ ยั ง หนึ่ ง คนเท่ า เดิ ม   มั น ล� ำ บากนะคะในการที่ จ ะไป แอฟริกา เพราะค่าเครื่องบินแพง ความเป็นอยู่ก็ล�ำบาก คนที่ไปก็ต้อง มีร่างกายแข็งแรงด้วย   เพราะตรงนั้นมีโรคภัยไข้เจ็บมากมาย มาลาเรีย อหิวาต์​ไข้เหลือง ไข้กาฬหลังแอ่น มีทุกอย่าง และที่มากที่สุดก็คือต้อง ออกเงินเอง เพราะฉะนั้นก็หาคนจากไทยไปท�ำด้วยยากหน่อย “แต่ต่าง ชาติมีนะคะ มีเด็กเกาหลี เด็กอเมริกันไปช่วยกัน มี หมอชาวแคนาดาด้วย จะมีคนต่างชาติพอสมควร” ความชุ ก ชุ ม ของโรคภั ย   ฟั ง ดู น ่ า กลั ว ส� ำ หรั บ คนที่ ไ ม่ เ คยไป สัมผัส แ ต่ส�ำหรับ ดร.กฤษณา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่กลับให้ เธอได้เรียนรู้ชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่ง “ความน่า กลัวก็มีอยู่ทุกที่ในโลกนี้  ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนา แล้วหรือ ประเทศด้อยพัฒนา ที่นั่นไม่มีความเจริญในทุกด้าน ผู้คนก็ตัว ด�ำๆ ไม่ค่อยสะอาดเท่าไร คนก็เลยกลัวเป็นพิเศษ แต่จริงๆ แล้วอยาก จะให้มองว่าคนตัวด�ำก็ไม่ใช่ใจด�ำ ดิฉันอยู่ที่นั่นสิบปี รู้สึกชอบที่นั่น มี ความผูกพั นและอยากกลับไปอยู่ที่นั่นเสมอ  ความเป็นอยู่ของพวกเขา เรียบง่าย และเราก็ได้เห็นเป็นตัวอย่าง การไปอยู่ที่นั่นเราไม่ได้ไปสอน เขาอย่างเดียว เขาก็สอนเราเหมือนกัน สอนให้เรามีความอดทนเข้มแข็ง และมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และมีความสุขง่าย” แม้ความล�ำ บากจะไม่เป็นอุปสรรค  ถึงกระนั้นก็ยังมีปัญหาให้ เธอได้ตามแก้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน “ทวีปเดียวกันแต่ปัญหาแต่ละประเทศมันไม่เหมือนกัน หรือว่า ในประเทศเดียวกัน  ไปแต่ละครั้งก็มีปัญหาไม่เหมือนกัน  หรือว่าเวลา เขาเปลี่ยนรัฐมนตรี ปัญหาก็เป็นอีกแบบหนึ่ง เลยมีปัญหาอยู่ทุกวัน แต่

204


ไม่ได้คิดว่าตรงนั้นมันเป็นปัญหาที่ท�ำให้เราท�ำงานไม่ได้ เราแก้ปัญหา ไปวันต่อวั น ผ่านมาก็ผ่านไป ปัญหามันเป็นบทเรียน เป็นแบบฝึกหัดให้ เราได้ท�ำไปเรื่อยๆ  ในที่สุดก็ไม่ได้มองเห็นว่ามันเป็นปัญหาอีกต่อไป เรา ท�ำได้ทั้งนั้นแหละ  เพียงแต่ต้องอาศัยเวลาเท่านั้นเอง “แต่เราก็ไม่ ได้มองว่าเราจะไปสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรให้ กับทวีปนั้น ถ้าคิดอย่างนั้นก็ไม่ต้องท�ำอะไร  เพราะว่าเราไม่มีวันที่จะไป เปลี่ยนอะไรไ ด้รวดเร็วด้วยตัวคนเดียว  แล้วใช้งบประมาณของตัวเอง มันท�ำไม่ได้หรอกค่ะ แล้วก็ไม่มีใครช่วยด้วย” ความสุขใจที่ไ ด้รับจากการท�ำงาน  ไม่ใช่รางวัลที่หลายองค์กร มอบให้  แต่คื อความชื่นใจที่ได้รับจากการได้ช่วยชีวิตคนให้พ้นจาก ความทรมาน “เรามีความภูมิใจว่า ชีวิตหนึ่งของเราที่เกิดมา ได้ช่วยชีวิตคน อีกคนหนึ่งก็คุ้มค่าแล้ว ไม่ต้องเป็นคนไทยหรอก คนที่ไหนก็ได้ เพราะ เขาก็เป็นคนเหมือนเรา “แปดปีที่แล้วมีเด็กคนหนึ่งที่เบนิม  ดิฉันเจอเขาตอนอายุหนึ่ง ขวบ  เขาป่วยด้วยโรคมาลาเรียขึ้นสมอง  เขามาที่สถานีอนามัยด้วย อาการตัวร้อนมาก แม่เขาเอาผ้าชุบน�้ำห่อตัวเขาไว้ เด็กก�ำลังจะตายน่ะ เราเพิ่งท�ำยาเสร็จ ก็ให้เด็กใช้ยา ภายในหนึ่งชั่วโมงเด็กคนนี้ฟื้นขึ้นมา นี่แหละที่บอกว่าเป็นความสุขซึ่งอธิบายไม่ได้ คนอื่นอาจจะไม่เข้าใจว่า แค่นี้ก็มีความสุขมากมายพอที่จะแลกกับการไปอยู่กับแอฟริกาเหรอ จริงๆ แล้วมันพอค่ะ สิ่งที่ตัดสินใจหรือที่ท�ำไปทั้งหมด เราเลือกแล้ว และ ไม่เคยเสียใจในสิ่งที่เราเลือกเลย และเราก็มีความสุข “จริงๆ  ดีใจนะคะเวลาจัดกระเป๋าไปแอฟริกา  มันไม่ได้มีความ สุขสบาย คือเราเสียสละ ทั้งก�ำลังกาย ก�ำลังใจ ก�ำลังทรัพย์ แต่ก็คิด ว่าไปปฏิบัติธรรม  ไม่ต้องอาศัยแรงบันดาลใจอะไรมาผลักดัน  มันเป็น รูทีนที่เราท�ำได้อยู่แล้ว  ไม่ได้ล�ำบากยากเย็นอะไร  ไม่ได้ฝืนตัวเองหรือ รู้สึกว่าตัวเองจะไปเจอความทุกข์อีกแล้ว เพราะเราไม่ได้เดือดร้อนอะไร ความรู้ที่พอมีอยู่ก็ถ่ายทอดให้เขา

205


“การแบ่งปันความรู้นี่ส�ำคัญ  สมมติว่าเรารู้คนหนึ่งแล้วเราตาย ไป ความรู้หายไปกับเราเลยนะ แต่ถ้าเราสอนให้อีกคนหนึ่งได้รู้ ถ้าเรา หายไป เขาก็ยังอยู่ แล้วถ้าเราสอนสิบคนก็มีตั้งสิบคนที่ได้ความรู้ การที่ เรารู้ด้วยตัวเองแล้วความรู้นั้นจบลงที่เรา ดิฉันคิดว่าเป็นความเห็นแก่ตัว สิ่งที่เรารู้เราต้องถ่ายทอดให้คนอื่น  และต้องถ่ายทอดสิ่งที่ถูกต้องด้วย ไม่ใช่หวงเอาไว้ ต้องถ่ายทอดให้หมดเท่าที่เราจะท�ำได้” นอกจากแอฟริกาหรือฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย  ที่ดร.กฤษณา เดินทางไปช่วยดูแลด้านการสร้างโรงงานผลิตยาแล้ว เธอยังเป็นคณบดี คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยรังสิต  ซึ่งเป็นการท�ำงานโดยไม่ขอรับ เงินเดือนดังที่แจ้งเจตนาเอาไว้ตั้งแต่ต้น “ท่านอธิการบดี ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ทาบทามมานานแล้วว่า ขอให้มาช่วย ดิฉันก็ชื่นชมที่ท่านมีวิสัยทัศน์ และท�ำเพื่อสังคมมาเยอะ แล้ว ที่ตัดสินใจรับต�ำแหน่งนี้ก็มีวัตถุประสงค์นะคะ คือหนึ่งต้องการฝึก เด็กเภสัชของที่นี่   ให้เป็นเภสัชกรที่ต้องท�ำหน้าที่ให้สังคมอย่างแท้จริง ไม่ใช่ไปแขวนป้ายแล้วก็รับเงิน หรือท�ำอะไรที่ไม่ถูกต้องเพื่อรับเงิน “เรามีหน้าที่ผลิตยา  เราก็ต้องรู้หน้าที่  ต้องส�ำนึกให้ดีว่าเราท�ำ ยาให้คนป่วยได้ใช้  คนปกติกินของอะไรเข้าไปยังไม่ปกติเลย ฉะนั้นเมื่อ เขาเป็นคนไม่ปกติหรือคนป่วย  เขาต้องได้สิ่งที่ดีที่สุด  ได้มาตรฐาน ก็ให้ เภสัชกรส�ำนึกในหน้าที่ของตัวเองว่าเราจะต้องผลิตยาที่มีคุณภาพ แล้ว เราจะต้องควบคุมคุณภาพให้ดีก่อนที่ยาจะออกไปสู่ท้องตลาด “และถ้าสมมติเราต้องไปอยู่ในหน่วยงานที่ต้องตั้งราคายา ประเทศไทยยังยากจนอยู่  เป็นประเทศก�ำลังพัฒนา  การตั้งราคายา ก็ต้องไม่สูงจนเกินไปจนคนไม่สามารถเข้าถึงได้  เพราะวัตถุประสงค์ ของเราคือต้องการให้คนสุขภาพดีใช่มั้ย  ถ้าต้องการอย่างนั้น  คนต้อง สามารถเข้าถึงยาได้  แต่ถ้าเราคิดราคายาแพงๆ  ใครจะเข้าถึงยาได้ นอกจากคนรวย  เพราะฉะนั้นก็ต้องให้เขาส�ำนึกเอาไว้ในบทบาทหน้าที่ ของเภสัชกร

206


“เราต้องภูมิใจในวิชาชีพนี้ เราอยู่เบื้องหลังก็จริง แต่ว่าถ้าเขา ไม่มียาที่เราผลิต เขาก็ไม่สามารถรักษาคนได้เหมือนกัน ถึงแม้ว่าเราไป อยู่ร้านขายยา เราก็ต้องแนะน�ำคนไข้ในทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่จัดยาชุดให้ คนไข้ หรือว่าปล่อยให้เขาซื้อยาตามแฟชั่น หรือว่ายาที่ผิดกฎหมาย ไม่ ควรจะจ่ายก็จ่าย ไม่ควรจะขายก็ขาย จะต้องไม่ท�ำอย่างนั้น  คือขอให้ ทุกคนส�ำนึกในความส�ำคัญของวิชาชีพ  และส�ำนึกในหน้าทีข่ องวิชาชีพ” นอกจากสร้างเบ้าหลอมเภสัชกรรุ่นหลัง ยังมีอีกสองสิ่งที่อยู่ใน เจตนารมณ์ของดร.กฤษณา “ต้องการที่จะสร้างโรงงานเพื่อฝึกอบรมนักศึกษาเภสัชฯ  ให้ เขาได้ลงมือปฏิบัติจริง พอปฏิบัติจริง ผลิตยาจากสมุนไพรจริง มันครบ วงจร เพราะฉะนั้นเวลาเขาจบไปท�ำงาน ก็ไม่ต้องไปฝึกอะไรอีกแล้ว เขา สามารถท�ำได้เลย เสมือนหนึ่งตรงนี้เป็นโรงงานต้นแบบให้เขาได้ฝึก “อีกประการหนึ่งคือต้องการฝึกเภสัชกรจากแอฟริกา ให้เขาได้ รู้เรื่องการผลิต  การควบคุมคุณภาพ  นั่นคือให้เขามาฝึกที่มหาวิทยาลัย รังสิต เพราะว่าโปรเจ็กต์ในแอฟริกา เป็นโปรเจ็กต์ที่ดิฉันจะท�ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะขึ้นเครื่องบินไม่ไหว เพราะเราท�ำของเราเอง ไม่ต้องไปรายงาน ใคร เสร็จเมื่อไรก็เมื่อนั้น”

207


โรงงานผลิตยาที่มหาวิทยาลัยรังสิต  ได้วัตถุดิบซึ่งเป็นสมุนไพร จากสามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้   นอกจากจะเป็ น การเรี ย นรู ้ ข อง นักศึกษา ยังเป็นการสร้างโอกาสทางอาชีพให้กับคนในพื้นที่ “ที่ ส ามจั ง หวั ด ภาคใต้ เ ขามี ป ลู ก อยู ่ แ ล้ ว   มั น อุ ด มสมบู ร ณ์ น�้ำดี ดินก็ดี เราเอาดินไปตรวจ เอาน�้ำไปตรวจก็ไม่มียาฆ่าแมลง ไม่มี โลหะหนัก เหมาะที่จะเอาวัตถุดิบมาปรุงเป็นยา เมื่อไปส�ำรวจก็พบว่ามี สมุนไพรถึงสามสิบแปดรายการที่เอามาปรุงเป็นยาที่ตั้งใจผลิตได้ “แต่เราไม่ได้ให้เขาปลูกใหม่นะคะ เขาปลูกอยู่แล้ว แค่เก็บมา ขายเท่านั้น การไปบอกให้เขาปลูกนี่อันตราย เพราะถ้าเขาปลูกแล้วเรา ไม่ซื้อนี่ก็เหมือนกับท�ำบาปให้เขาอีกชั้นหนึ่ง  นอกเหนือไปจากนั้นคือ สร้างความภาคภูมิใจให้คนสามจังหวัดภาคใต้  ที่เราอาจมองเขาในแง่ ไม่ดี ถ้าเขาท�ำอะไรส่งมาให้เราได้ เขามีความภูมิใจอีกแบบหนึ่งที่ไม่ใช่ แค่เงินอย่างเดียว อย่างน้อยเขาได้มีความรู้สึกว่ามีคนคนหนึ่งแคร์ความ รู้สึกเขา” “อยากช่วยเขา อยากท�ำงานกับเขาจริงจัง”

สิ่งที่เรารู้เราต้องถ่ายทอดให้คนอื่น และต้องถ่ายทอดสิ่งที่ถูกต้องด้วย ไม่ใช่หวง เอาไว้ ต้องถ่ายทอดให้หมดเท่าที่เราจะท�ำได้

208


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.