แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

Page 1


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และ ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม www.dra.go.th

ห้ามซื้อ-ขาย


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ISBN : 974-87948-7-3 ผู้จัดพิมพ์ สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ปีที่พิมพ์ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จำนวนพิมพ์ ๑๕,๐๐๐ เล่ม ที่ปรึกษา ๑. นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา ๒. นายจรูญ นราคร รองอธิบดีกรมการศาสนา ๓. นายพิสิทธิ์ นิรัตติวงศกรณ์ ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ ๔. นางสาวภัคสุจิ์ภรณ์ จิปิภพ เลขานุการกรมการศาสนา ผู้ประสานงาน ๑. นายสุเทพ เกษมพรมณี นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ ๒. นางศรีนวล ลัภกิตโร นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ ๓. นายชวลิต ศิริภิรมย์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ ๔. นางละออ ปานพิมพ์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ ๕. นางสาวดวงสมร พันธุ์วิเชียร นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ ๖. นางสาวผกาพรรณ แสนนรินทร์ นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ ๗. นายสุทิน ยางก้อน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านศาสนา ออกแบบปก/รูปเล่ม นายยงยุทธ สังคนาคินทร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนุม หกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ๗๙ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทร าร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑ นายโชคดี ออ ุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา พ.ศ. ๒๕๕๔


คำนำ

กรมการศาสนา กระทรวงวั ฒ นธรรม ได้ น ้ อ มนำหลั ก ธรรม คำสอนทางพระพุ ท ธศาสนา จั ด พิ ม พ์ เ ผยแพร่ ใ นโอกาสวั น สำคั ญ

ทางพระพุทธศาสนามาโดยลำดับและในโอกาสที่วันมาฆบูชาได้เวียนมา บรรจบอีกวาระหนึ่งในวันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ นี้ กรมการศาสนา ประสงค์ที่จะจัดพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแพร่ในโอกาสดังกล่าวอีก กรมการศาสนาเห็นว่า ธรรมบรรยายของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เรื่อง แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และ เรื่องลักษณะ แห่งพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ที ่ ช าวพุ ท ธ ควรนำไปศึกษาและประพฤติปฏิ บ ั ต ิ ใ นชี ว ิ ต ประจำวั น

ให้ ก ว้ า งขวางมากยิ ่ ง ขึ ้ น จึ ง ได้ ข ออนุ ญ าตจั ด พิ ม พ์ ธ รรมบรรยาย ดังกล่าวทั้ง ๒ เรื่อง รวมไว้ในเล่มเดียวกัน ซึ่งพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้มีเมตตาอนุญาตให้กรมการศาสนาจัดพิมพ์เผยแพร่ ได้ตามความประสงค์ กรมการศาสนาขอกราบขอบพระคุ ณ พระพรหมคุ ณ าภรณ์

(ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นอย่างยิ่งไว้ ณ โอกาสนี้ และหวังว่าหนังสือเล่มนี ้

จะอำนวยประโยชน์ แ ก่ ส าธุ ช นอย่ า งแพร่ ห ลาย เกิ ด ประโยชน์ ส ุ ข

แก่ตนเอง สังคมและประเทศชาติสืบไป (นายสด แดงเอียด) อธิบดีกรมการศาสนา



(ก)

อนุโมทนา

กรมการศาสนา ประสงค์จะจัดพิมพ์หนังสือเผยแผ่หลักธรรม ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลมาฆบูชา ประจำปี ๒๕๕๔ ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ในการนี้ นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา ในนามของ กรมการศาสนา ปรารภว่า หนังสือ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา มีสาระเหมาะสมที่จะเผยแพร่ใน โอกาสสำคัญดังกล่าว จึงได้แจ้งบุญเจตนาที่จะจัดพิมพ์หนังสือทั้งสอง เรื่องนั้นในลักษณะรวมเล่ม เพื่อแจกมอบให้เป็นเครื่องเจริญธรรม เจริญปัญญาของประชาชนกว้างขวางออกไป การบำเพ็ญธรรมทานนี้ เป็นกุศลวิธีในการสร้างเสริมประโยชน์ สุขที่แท้จริงและยั่งยืนแก่ชีวิตและสังคม สามารถอำนวยผลให้ลุถึง จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นการให้ที่ประเสริฐ เลิศกว่าทานทั้งปวง จึงเป็นกุศลจริยาอันสมแก่ วาระแห่งวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ขออนุ โ มทนากรมการศาสนาที ่ ไ ด้ บ ำเพ็ ญ บุ ญ กิ ร ิ ย าแห่ ง ธรรมทาน โดยหวังให้เกิดประโยชน์สุขที่เป็นแก่นสารแก่ประชาชน ขอให้งานกุศลในการเผยแผ่ธรรมนี้สัมฤทธิ์ผลสมหมาย นำให้ประเทศ ชาติร่มเย็นพัฒนา และให้ประชาชนเป็นสุขเกษมศานต์ ยั่งยืนนาน สืบไป พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ๑ มกราคม ๒๕๕๔



สารบัญ

หน้า คำปรารภ........................................................................................ (ก) แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา.......................................... ๑ เกริ่นนำ........................................................................................... ๑ ๑ หัวใจพุทธศาสนา............................................................. ๒ หัวใจพุทธศาสนาคืออะไร ว่ากันไปหลายอย่าง ถูกทั้งนั้น อันไหนก็ได้......................................................... ๒ แต่ต้องระวัง อันไหนก็ได้ จะทำให้พุทธศาสนาง่อนแง่น ชาวพุทธต้องมีหลักที่แน่ชัด ให้ปฏิบัติเด็ดแน่วเป็นหนึ่งเดียว ๕ ว่ากันไป กี่หลักกี่หัวใจในที่สุดก็หลักใหญ่เดียวกัน........................ ๘ ถึงจะเล่าเรียนจบหลัก ถ้าไม่รู้จักหน้าที่ต่ออริยสัจ ก็ปฏิบัติไม่ถูก และไม่มีทางบรรลุธรรม............................... ๑๓ อริยสัจ คือ ธรรมที่นำเสนอเป็นระบบปฏิบัติการ ให้มนุษย์บริหารประโยชน์จากความจริงของธรรมชาติ...... ๑๖ อย่าเขลาตามคนขาดความรู้ ว่าพุทธศาสนามองโลกแง่ร้าย หลักพุทธสอนว่า ทุกข์เราต้องมองเห็น แต่สุขเราต้องให้มีให้เป็น.................................................... ๒๑ ๒ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา........................................... ๒๖ ความจริงมีอยู่ตามธรรมดา พระพุทธเจ้ามีปัญญา ก็มาค้นพบและเปิดเผย.................. ๒๗ เมื่อคนไม่รู้ทันความจริงของธรรม เขาก็นำทุกข์ในธรรมชาติมาสร้างให้เป็นทุกข์ของตัวเอง.... ๓๐


สารบัญ (ต่อ)

หน้า เมื่อมีปัญญารู้ความจริง ก็เลิกพึ่งพิงตัณหา หันมาอยู่ด้วยปัญญา ที่เอาประโยชน์ได้จากธรรม............. ๓๔ ธรรมชาติของมนุษย์นั้นพิเศษในแง่ดี คือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่ศึกษาให้มีปัญญาได้................................ ๓๖ บนฐานแห่งธรรมชาติมนุษย์ผู้เป็นสัตว์ต้องศึกษา พระพุทธเจ้าทรงตั้งหลักพระรัตนตรัยขึ้นมา....................... ๔๐ ความจริงแห่งธรรมดาของโลกและชีวิต ที่ต้องรู้ให้ทันและวางท่าทีให้ถูก......................................... ๔๔ จะพัฒนาศักยภาพของคนให้มีชีวิตแห่งปัญญา ก็ต้องรู้จักธรรมชาติของชีวิตซึ่งจะทำหน้าที่ศึกษา............. ๔๘ ๓ แก่นธรรมเพื่อชีวิต.......................................................... ๕๒ การดำเนินชีวิตทั้งสามด้าน เป็นปัจจัยเกื้อหนุนกันในการศึกษา.................................... ๕๒ บนฐานแห่งหลักความสัมพันธ์ของชีวิตสามด้าน ทรงตั้งหลักไตรสิกขาให้มนุษย์พัฒนาอย่างบูรณาการ...... ๕๕ เมื่อพัฒนาด้วยไตรสิกขา ชีวิตก็เป็นอริยมรรคา เพราะชีวิตที่ดี คือชีวิตที่ศึกษา........................................... ๕๙ จุดเริ่มของการศึกษา มีช่องทางที่ชีวิตเตรียมไว้ให้ แต่ต้องใช้เป็น จึงจะเกิดการพัฒนา................................... ๖๑ เมื่อคนเริ่มศึกษา การพัฒนาก็เริ่มทันที ความต้องการอย่างใหม่ก็มี ความสุขอย่างใหม่ก็มา.......... ๖๕


สารบัญ (ต่อ)

หน้า การพัฒนามนุษย์มีแหล่งใหญ่อยู่ในมโนกรรม จุดสำคัญนี้ถ้าพลาดไป ก็คือช่องทางใหญ่ให้หายนะเข้ามา ๖๙ การพัฒนาคน พัฒนาสังคม ไม่มีทางได้ผลจริง ถ้าทอดทิ้งฐานของการพัฒนา คือมโนกรรม...................... ๗๒ ตราบใดยังไม่ถึงจุดหมาย ยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องศึกษา ความหมายของธรรมที่ปฏิบัติ จึงวัดด้วยไตรสิกขา............ ๗๕ สมาธิเตรียมจิตพร้อมให้ปัญญาทำงานเดินหน้า ฉันใด สันโดษก็เตรียมตัวพร้อมให้มุ่งเพียร ไม่พะวักพะวน ฉันนั้น ๗๘ ถ้าคนไทยตั้งอยู่ในหลักสี่ จะไม่ตกหลุมวิกฤติ ถึงแม้ถลำไป ก็จะถอนตัวขึ้นสู่วิวัฒน์ได้โดยพลัน.............. ๘๐ แก่นแท้ของพุทธธรรม คือความหลุดพ้นพึ่งตนได้ ในสังคมของกัลยาณมิตร ผู้มีชีวิตที่เกื้อกูลกัน................... ๘๖ ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา......................................... ๙๐ ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘........................................................... ๙๑ ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๗........................................................... ๙๒ มองกว้าง ๆ กับวิเคราะห์เนื้อใน.................................................... ๙๓ ลักษณะที่ ๑: คำสอนเป็นกลาง ปฏิบัติสายกลาง.................... ๙๕ ลักษณะที่ ๒: มีหลักการเป็นสากล........................................... ๑๐๒ ลักษณะที่ ๓: ถือสำคัญทั้งสาระและรูปแบบ........................... ๑๐๕ ลักษณะที่ ๔: เป็นกรรมวาท กิริยวาท วิริยวาท....................... ๑๑๑ ลักษณะที่ ๕: เป็นวิภัชชวาท.................................................... ๑๑๖


สารบัญ (ต่อ)

หน้า ลักษณะที่ ๖: มุ่งอิสรภาพ........................................................ ๑๒๐ ลักษณะที่ ๗: เป็นศาสนาแห่งปัญญา..................................... ๑๒๓ ลักษณะที่ ๘: สอนหลักอนัตตา................................................ ๑๒๙ ลักษณะที่ ๙: มองตามเหตุปัจจัย............................................ ๑๓๒ ลักษณะที่ ๑๐: เชื่อว่ามนุษย์ประเสริฐ ด้วยการฝึกฝนพัฒนา... ๑๓๔ ลักษณะที่ ๑๑: เป็นศาสนาแห่งการศึกษา................................. ๑๓๙ ลักษณะที่ ๑๒: ให้ความสำคัญทั้งแก่ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก........................................... ๑๔๓ ลักษณะที่ ๑๓: ให้ตื่นตัวอยู่ด้วยความไม่ประมาท..................... ๑๔๖ ลักษณะที่ ๑๔: เห็นทุกข์ แต่เป็นสุข หรือ ทุกข์เพื่อเห็น แต่สุขเพื่อเป็น..................................................... ๑๔๗ ลักษณะที่ ๑๕: มุ่งประโยชน์สุขเพื่อมวลชน............................... ๑๕๐ สรุป............................................................................................... ๑๕๑


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา*

เกริ่นนำ

ขอเจริญพร ท่านอธิบดี ท่านรองอธิบดีและท่านผู้บริหารระดับสูง ของกรมการศาสนา ทุกท่าน

อาตมามี ค วามคุ ้ น เคยอยู ่ บ ้ า งกั บ กรมการศาสนา เพราะมี งานการเกี ่ ย วข้ อ งกั น อยู ่ แต่ ร ะยะหลั ง นี ้ อ อกจะห่ า ง ๆ ไปหน่ อ ย เมื่อมีการประชุม ก็ไม่ค่อยได้มา เพราะเรื่องที่อยู่ไกลไปหน่อยบ้าง เรื่องสุขภาพบ้าง เรื่องการงานใกล้ตัวบ้าง วั น นี ้ นั บ ว่ า เป็ น โอกาสดี ท ี ่ ไ ด้ ม าที ่ ก รมฯ อี ก ครั ้ ง หนึ ่ ง และ ได้พบกับผู้บริหารระดับสูงเกือบจะครบถ้วน แต่เริ่มต้นก็มีเหตุต้อง ขออภัยนิดหน่อย ที่ว่ารถติดทำให้มาช้าไป ตลอดกระทั่งว่าไม่ได้เตรียม อุปกรณ์เครื่องช่วยในการที่จะศึกษาเรื่องราวเป็นต้น ขอให้ถือว่า เป็นการมาคุยกัน หัวข้อที่ตั้งให้พูดวันนี้ว่า “แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา” เป็น เรื่องสำคัญมาก และสำหรับพระพุทธศาสนาถือเป็นเรื่องที่ยากมากด้วย พิจารณาง่าย ๆ แค่เรื่องคัมภีร์ก่อน “พระไตรปิฎก” เป็นคัมภีร์ชั้นต้น หรือชั้นที่หนึ่งของพระพุทธ ศาสนา ที่ถือว่าบรรจุพุทธพจน์ เพียงแค่คัมภีร์ชั้นหนึ่งนี้ก็มากมาย ตั้ง ๔๕ เล่ม หรือที่พูดกันว่า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เราจะจับแก่น ได้อย่างไร แก่นแท้อยู่ตรงไหน และความคิดความเห็นเกี่ยวกับเรื่องตัว แก่นแท้นั้นจะตรงกันหรือไม่ *บรรยายแก่ผู้บริหารระดับสูงของกรมการศาสนา ที่กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ เดิมมีชื่อเรื่องว่า “แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา”


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

๑ หัวใจพุทธศาสนา

หัวใจพุทธศาสนาคืออะไร ว่ากันไปหลายอย่าง ถูกทั้งนั้น อันไหนก็ได้

พอดี เ มื ่ อ วานเป็ น วั น มาฆบู ช า ก็ ช วนให้ น ึ ก ถึ ง คำสอนของ พระพุทธเจ้าในวันมาฆบูชา เพราะว่าวันมาฆบูชานั้น ชาวพุทธจำกัน มาว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการที่เรียกกันว่า “หัวใจ พระพุ ท ธศาสนา” ซึ ่ ง เป็ น คำไทยที ่ เ ราพู ด กั น ง่ า ย ๆ ถ้ า พู ด เป็ น ภาษาบาลีก็คือ “โอวาทปาฏิโมกข์” เมื่อพูดถึงคำว่า “แก่น” ก็ใกล้กับคำว่า “หัวใจ” และเราได้พูด ถึ ง หั ว ใจพระพุ ท ธศาสนากั น มาเมื ่ อ วาน จึ ง ขอนำมาทบทวนกั น

นิดหน่อย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะจับเอาคำสอนที่เรายึดถือกันว่า เป็นหัวใจพระพุทธศาสนามาว่าเป็นแก่นแท้ในที่นี้ แต่เรียกว่าเอามา เป็นอารัมภบท เพราะไหน ๆ เมื่อวานนี้เป็นวันที่เราได้ฟังเรื่องหัวใจ พระพุทธศาสนามาแล้ว ก็เอามาทบทวนกันดู หลักที่เราถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ก็คือคำไทยที่สรุป พุทธพจน์ง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า “เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์” ภาษาพระ หรือภาษาบาลีว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ แปลให้เต็มเลยว่า “การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้ เพี ย บพร้ อ ม การชำระจิ ต ของตนให้ บ ริ ส ุ ท ธิ ์ ผ ่ อ งใส นี ้ เ ป็ น คำสอน ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

คำลงท้ายว่า “นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย” ทำให้ เราคิดว่านี่แหละเป็นคำสรุป แสดงว่าเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา อยู่ที่นี่ เราก็เลยเรียกว่า “หัวใจ” นี่ว่าตามเรื่องวันมาฆบูชา เอามาเป็น จุดเริ่มต้น แต่กระนั้นชาวพุทธผู้ได้ยินได้ฟังพระสอนมามาก ๆ บางทีก ็

ได้ยินพระอาจารย์หรือพระเถระผู้ใหญ่บางท่านพูดถึงหลักการอื่นว่า อันโน้นสิ อันนี้สิ เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เมื่อได้ฟังอย่างนั้นบางที โยมก็ชักงง จึงขอยกเอาเรื่องนี้มาพูดเสียในตอนปรารภนี้ ว่าอะไรกันแน่ ที่เรียกว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา บางท่ า นบอกว่ า “อริ ย สั จ สี่ ” เป็ น หั ว ใจพระพุ ท ธศาสนา เพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวมอยู่ในอริยสัจสี่ เมื ่ อ พระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส รู ้ แ ล้ ว เสด็ จ ไปแสดงปฐมเทศนา พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร พระองค์ตรัสพุทธพจน์ตอนหนึ่งมี ความว่ า ตราบใดที ่ เ รายั ง ไม่ ม ี (จตู ส ุ อริ ย สจฺ เ จสุ ติ ป ริ ว ฏฺ ฏ ํ

ทวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ) ญาณทัศนะที่มีปริวัฏ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจสี่ เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า ได้ตรัสรู้ ต่อเมื่อเรามีญาณทัศนะนั้น จึงปฏิญาณได้ว่าตรัสรู้ หมายความว่า ตรัสรู้อริยสัจสี่ครบ ๓ ด้าน คือทั้งรู้ว่าคืออะไร แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่ออริยสัจแต่ละอย่างนั้นคืออะไร และรู้ว่าได้ทำหน้าที่ ต่ออริยสัจนั้นแล้ว เวียนไปในทุกข้อ เรียกว่า ๓ ปริวัฏ อธิบายว่า รู้ในอริยสัจสี่แต่ละอย่าง เริ่มตั้งแต่รู้ว่าทุกข์คืออะไร รู้ว่าเราจะต้องทำอะไรต่อทุกข์ แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่อทุกข์นั้นเราได้ทำแล้ว และต่อไปในข้อสมุทัย นิโรธ มรรค ก็เช่นเดียวกัน


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ถ้ายังไม่รู้อริยสัจด้วยญาณทัศนะครบทั้ง ๓ ในแต่ละอย่าง (รวมทั้งหมดเป็น ๑๒ เรียกว่ามีอาการ ๑๒) ก็ยังไม่สามารถปฏิญาณ ว่าได้ตรัสรู้ เป็นสัมมาสัมพุทธะ ต่อเมื่อได้ตรัสรู้อริยสัจ โดยมีญาณในอริยสัจแต่ละข้อครบทั้ง ๓ รวมเป็น ๑๒ จึงปฏิญาณได้ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ พุทธพจน์นี้มาในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จึงทำให้กำหนด เอาว่านี่แหละคือตัวหลักใหญ่ที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ท่านที่ สวดธรรมจักรได้คงนึกบาลีออกว่า ยาวกีวญฺจ เม ภิกฺขเว อิเมสุ

จตูสุ อริยสจฺเจสุ รั ช กาลที ่ ๖ ทรงมี ง านพระราชนิ พ นธ์ เ ล่ ม หนึ ่ ง ชื ่ อ ว่ า “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร” ซึ่งก็ทรงจับเอาที่จุดนี้คือ อริยสัจสี่ เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่ และการตรัสรู้อริยสัจสี่ ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า อริยสัจสี่จึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา บางท่านไปจับเอาที่พระไตรปิฎกอีกตอนหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้า ตรัสไว้กะทัดรัดมาก ว่า “ปุพฺเพจาหํ ภิกฺขเว เอตรหิ จ ทุกฺขญฺเจว ปญฺญาเปมิ ทุกฺขสฺส จ นิโรธํ” ภิกษุทั้งหลาย ทั้งในกาลก่อนแลบัดนี้ เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น ถ้ า จั บ ตรงนี ้ ก ็ แ สดงว่ า ที ่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ทรงสอนทั ้ ง หมดนั ้ น

หลักการของพระพุทธศาสนาก็มีเท่านี้ คือ ทุกข์และความดับทุกข์ ท่ า นพุ ท ธทาสกล่ า วถึ ง หลั ก อี ก ข้ อ หนึ ่ ง ให้ ถ ื อ ว่ า เป็ น หั ว ใจ พระพุทธศาสนา คือ “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย” แปลว่า “ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น”


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

คำว่า “นาลํ” แปลว่าไม่ควร หรือไม่อาจ ไม่สามารถ คำว่า

“ไม่ควร” ในที่นี้ หมายความว่า เราไม่อาจไปยึดมั่นมันได้ เพราะมันจะ ไม่เป็นไปตามใจเราแน่นอน เมื่อมันไม่อาจจะยึดมั่น เราก็ไม่ควรจะ ยึดมั่นมัน อันนี้ท่านก็ว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เมื่อได้ฟังอย่างนี้ ก็ทำให้เรามาสงสัยกันว่าจะเอาหลักไหนดี เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ก็เลยขอให้ความเห็นว่าอันไหนก็ได้

แต่ต้องระวัง อันไหนก็ได้ จะทำให้พุทธศาสนาง่อนแง่น ชาวพุทธต้องมีหลักที่แน่ชัด ให้ปฏิบัติเด็ดแน่วเป็นหนึ่งเดียว

แต่การพูดว่า “อันไหนก็ได้” นี่ ก็ไม่ดีเหมือนกัน เพราะทำให้ ชาวพุทธเหมือนว่าไม่มีอะไรลงตัวแน่นอน แล้วก็เลยกลายเป็นคนที่เอา อย่างไรก็ได้ โงนเงนง่อนแง่น หรือแกว่งไปแกว่งมา เหมือนไม่มีหลัก ก็จะกลายเป็นไม่ได้เรื่อง เราต้องชัดเจนว่า ที่ ว่ า อั น ไหนก็ ไ ด้ นั้ น ทั้งหมดคืออันเดียวกัน ทำไมจึงว่าเป็นอันเดียวกัน เพราะว่าการพูดถึงหลักคำสอน เหล่านี้นั้น เป็นการพูดโดยจับแง่จับมุมต่าง ๆ กันของคำสอน ซึ่งที่จริง ทั้งหมดอยู่ในระบบเดียวกัน โยงถึงกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะจับที่จุดไหน ก็โยงถึงกันได้ทั้งนั้น ขอชี้แจงอย่าง ง่าย ๆ ถ้าเราพูดว่าหัวใจพระพุทธศาสนาคือ “เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้ ผ่องใส” ก็จะเห็นว่า หัวใจที่ว่านี้เป็นหลักในเชิงปฏิบัติทั้งนั้น คือเป็น เรื่องของการดำเนินชีวิตว่า เราจะไม่ทำชั่ว ทำดี และทำใจให้ผ่องใส ทีนี้ลองหันไปดูหลักอริยสัจสี่ ซึ่งมีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จะเห็นว่าข้อที่ ๔ คือ “มรรค” เป็นข้อปฏิบัติ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ถ้าพูดว่ามรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และสัมมาสมาธิ เป็นข้อสุดท้าย องค์ทั้ง ๘ นี้ มีตั้ง ๘ ข้อ ก็จำยาก จึงย่อง่าย ๆ เหลือ ๓ เท่านั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ชาวพุทธจำกันแม่นว่า มรรคมีองค์ ๘ จำให้ง่ายก็สรุปเหลือ

๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลนั้นอธิบายง่าย ๆ ว่า “เว้นชั่ว” สมาธิ ก็คือ “ทำความดี ให้ถึงพร้อม” เพราะความดีแท้จริงที่สุดก็เป็นคุณสมบัติคือคุณธรรม ต่าง ๆ อยู่ในจิตใจ ซึ่งจะต้องบำเพ็ญขึ้นมาให้พร้อม แล้วสุดท้าย ปัญญา ก็ได้แก่ “ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์” เพราะการที่จิตจะบริสุทธิ์ หมดจดสิ้นเชิง ก็ต้องหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ด้วยปัญญา ฉะนั้น เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์นี้ ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั ่ น เอง “เว้ น ชั่ ว ” เป็ น ศี ล “ทำดี ” เป็ น สมาธิ “ชำระจิ ต ใจให้ บริสุทธิ์” เป็นปัญญา พอแยกแยะอย่างนี้ก็เห็นแล้วว่า อ๋อ เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้ บริสุทธิ์ ที่ว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนานั้น ก็อยู่ในมรรคนี่เอง เป็น อริยสัจ ข้อที่ ๔ คือข้อสุดท้าย ตกลงว่ า หลั ก หั ว ใจพระพุ ท ธศาสนาในวั น มาฆบู ช านี ้ เ ป็ น ส่วนหนึ่งในอริยสัจ คือเป็นอริยสัจข้อสุดท้าย ได้แก่มรรค ซึ่งเป็นภาค ปฏิบัติ อริยสัจจึงกว้างกว่าและครอบคลุมหลักหัวใจพระพุทธศาสนา ในวันมาฆบูชา ทุกข์ คือตัวปัญหา เป็นสิ่งที่เราไม่เอา แต่เราก็ยังไม่ต้องปฏิบัติ เราต้องรู้ให้ชัดว่าอะไรเป็นปัญหาที่เราจะต้องพ้นไป สมุ ทั ย คื อ ตั ว เหตุ แ ห่ ง ทุ ก ข์ ซึ ่ ง ต้ อ งสื บ สาวให้ รู ้ ต ามหลั ก

ความจริงที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยว่า อ๋อ ทุกข์เกิดจากเหตุ และเหตุนั้น คืออะไร เหตุนั้นเรารู้ว่าจะต้องกำจัด แต่เราก็ยังไม่ได้ทำอะไร


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

จากนั้นเราก็รู้ด้วยว่าเมื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์ได้ เราจะเข้าถึง

จุดหมายคือ นิโรธ แต่ทั้งหมดนี้จะสำเร็จได้ก็ด้วยการลงมือทำในข้อสุดท้าย คือ มรรค ฉะนั้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ สามอย่างนี้เราเข้าใจว่ามันคืออะไร และเราจะต้องทำอะไรต่อมัน แต่เราปฏิบัติมันไม่ได้ สิ่งที่จะปฏิบัติได้ คือข้อที่ ๔ ได้แก่มรรค เมื่อเราปฏิบัติตามมรรค เราก็กำจัดสมุทัย...แก้เหตุแห่งทุกข์ได้ เราก็ พ ้ น จากทุ ก ข์ . ..หมดปั ญ หา และเราก็ บ รรลุ นิ โ รธ...เข้ า ถึ ง จุดหมายได้ เพราะฉะนั้นด้วยมรรคข้อเดียวนี้ สามารถทำให้สำเร็จงาน สำหรับ ๓ ข้อแรกทั้งหมด เป็นอันว่า สิ่งที่เราต้องปฏิบัติมีอยู่ข้อเดียวคือข้อ ๔ แต่เราต้องรู้ ๓ ข้อต้นด้วย ถึงตอนนี้ ก็หันกลับไปดูหลัก เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ จะเห็ น ว่ า เป็ น หลั ก การในภาคปฏิ บ ั ต ิ ท ั ้ ง หมดของพระพุ ท ธศาสนา ซึ ่ ง อยู่ ใ นมรรค คื อ ข้ อ ที่ ๔ ของอริ ย สั จ เพราะมรรคเป็ น ฝ่ า ย ลงมือทำลงมือปฏิบัติ ส่ ว นในแง่ ข องหลั ก ความจริ ง ตามสภาวะว่ า เป็ น อย่ า งไร จุดหมายคืออย่างไร ก็อยู่ในข้อ ๑-๒-๓ ของอริยสัจ เพราะฉะนั้น อริยสัจกว้างกว่าและครอบคลุม คือครอบคลุม หลักเว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ด้วย ถ้าเราต้องการจะพูดเฉพาะในเชิงปฏิบัติ ในภาคลงมือทำ หรือ ในการดำเนินชีวิต เราก็พูดในแง่เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ เอาแค่นี้ ว่าหัวใจพระพุทธศาสนาอยู่ตรงนี้ ปฏิบัติเท่านี้ก็ครบหมด เพราะเป็น ของที่ให้ลงมือทำ ปฏิบัติได้ทันที


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ถ้าพูดถึงอริยสัจก็กว้างขวางและต้องทำความเข้าใจกันมาก สำหรับชาวพุทธทั่วไป เริ่มต้นก็ให้เห็นก่อนว่าจะปฏิบัติอะไร แต่ เ มื ่ อ ปฏิ บ ั ต ิ ไ ปถึ ง ระดั บ หนึ ่ ง ก็ จ ะเกิ ด ความจำเป็ น ต้ อ งรู ้

หลักการ หรือหลักความจริงทั่วไปด้วย มิฉะนั้นการปฏิบัติก็ไปไม่ตลอด ถึงตอนนั้นก็ต้องรู้หลักอริยสัจสี่ แต่เบื้องต้นนี้พอพูดขึ้นมาก็ให้เริ่ม ปฏิบัติได้เลย เป็นอันว่า เริ่มต้น เราบอกว่า...เอานะ เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้ บริ สุ ท ธิ์ ก็ เ ข้ า ใจง่ า ย ทำได้ เ ลย สะดวก ก็ เ อาอั น นี ้ ม าเป็ น หั ว ใจ พระพุทธศาสนา แล้วจากหลักปฏิบัตินี้เราก็ก้าวไปสู่หลักการที่ใหญ่ ขึ้นไป คือ ก้าวไปสู่หลักอริยสัจ ซึ่งเป็นหลักที่ครอบคลุม สมบูรณ์ ไปเลย พู ด อย่ า งนี ้ ก ็ เ หมื อ นกั บ บอกว่ า หลั ก เว้ น ชั่ ว ทำดี ทำใจ

ให้ผ่องใส นี้ เป็นหัวใจพระพุทธศาสนาภาคบทนำ หรือเป็นบทนำ ที่เปิดเข้าสู่หัวใจพระพุทธศาสนา อย่าลืมว่าได้หลักแน่ชัดแล้วนะ เริ่มด้วย “เว้นชั่ว ทำดี ทำใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องใส” นี่แหละเอาเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาไว้ก่อน แล้วก้าวต่อไปให้ครบอริยสัจทั้ง ๔ ให้ได้ จึงจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริง และสมบูรณ์

ว่ากันไป กี่หลักกี่หัวใจ ในที่สุดก็หลักใหญ่เดียวกัน

ที น ี ้ ล องเที ย บหลั ก อื ่ น อี ก เมื ่ อ กี ้ บ อกว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส ไว้

“ทั้งในกาลก่อนและบัดนี้ เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์ เท่านั้น” อันนี้ก็เป็นการพูดถึงอริยสัจสี่นั่นเอง คืออริยสัจ ๔ แบบสั้น ที่สุด ย่อเป็น ๒ คู่ คือ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ทุกข์ และสมุทัย เหตุแห่งทุกข์ อันนี้ ๑ คู่ นิโรธ ความดับทุกข์ และมรรค ทางให้ถึงความดับทุกข์ ก็ ๑ คู่ รวมแล้วมี ๒ คู่ เพราะฉะนั้น เวลาพูดสั้น ๆ ก็บอกว่า เรื่องทุกข์ (พร้อมทั้งเหตุ ของมั น อยู ่ ใ นวงเล็ บ ละไว้ ใ นฐานเข้ า ใจ) อย่ า งหนึ ่ ง แล้ ว ก็ เ รื่ อ ง

ความดับทุกข์ (พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) อย่างหนึ่ง ตกลงพูดง่าย ๆ อริยสัจสี่ ก็ย่อเป็น ๒ ฉะนั้น ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทั้งในกาลก่อนและบัดนี้เราบัญญัติ แต่ทุกข์และความดับทุกข์ ก็อันเดียวกัน คืออริยสัจสี่นั่นเอง ไม่ได้ ไปไหน ยั ง มี อ ี ก ...เมื ่ อ กี ้ ล ื ม พู ด ไป คื อ เมื ่ อ พระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส รู ้ แ ล้ ว

ตอนจะออกประกาศพระพุ ท ธศาสนา พระองค์ ไ ด้ ท รงพระดำริ ซึ่งมีความตอนนี้ในพระไตรปิฎกบอกว่า “อธิคโต โข มยายํ ธมฺโม” ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ ทุรนุโพโธ เป็นของที่รู้ตามได้ยาก กล่าวคือ หนึ่ง...อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท สอง...นิพพาน แล้วพระองค์ก็ตรัสเล่าต่อไปว่า พระองค์ทรงดำริว่า หมู่สัตว์

ทั้งหลาย มัวหลงระเริงกันอยู่ในสิ่งที่ล่อให้ติด ยากที่จะเข้าใจหลักการ ทั้ง ๒ นี้ จึงน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ทรงสั่งสอน ถ้าดูตรงนี้ก็จะเห็นชัดตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ธรรมที่เรา

ได้ บ รรลุ คื อ อิ ทั ป ปั จ จยตาปฏิ จ จสมุ ป บาท และนิ พ พาน”

ถ้าจับตรงนี้ ก็บอกได้ว่านี่ก็หัวใจพระพุทธศาสนาเหมือนกัน แต่ถ้าเราโยงดู ก็บอกได้ว่าสาระไม่ไปไหน ที่แท้ก็อันเดียวกันนั่น แหละ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท คืออะไร คือหลักความจริง ของธรรมชาติ ในแง่ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่าความทุกข์


10

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

คือจับที่ตัวกฎธรรมชาติแห่งความเป็นไปของการที่มีทุกข์ มีปัญหา ต่าง ๆ เกิดขึ้น ฉะนั้น อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ก็เป็นเรื่องของทุกข์และ สมุทัย แต่แทนที่จะจับที่ปรากฏการณ์คือทุกข์ ก็ไปจับที่กระบวนการ ของกฎธรรมชาติ เริ่มที่ข้อสมุทัย ดูเหตุปัจจัยที่เป็นไปจนปรากฏทุกข์ เป็นผลขึ้น จึงรวมทั้งข้อทุกข์และสมุทัย ดังจะเห็นได้ว่า เวลาตรัสปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าทรงสรุป ว่า “เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ” แปลว่า “สมุ ท ั ย คื อ การเกิ ด ขึ ้ น พร้ อ มแห่ ง ทุ ก ข์ จึ ง มี ด ้ ว ยประการฉะนี ้ ” หมายความว่า จากความเป็นไปตามกระบวนการของกฎธรรมชาตินี้ จึงเกิดมีทุกข์ขึ้น เพราะฉะนั้น ข้อว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ก็คือตรัส เรื่องทุกข์และสมุทัย จากนั้นอีกอย่างหนึ่งที่ตรัสไว้ คือ นิพพาน ซึ่งก็คือข้อนิโรธ ซึ่งเราจะต้องบรรลุถึงด้วยการปฏิบัติตามมรรค การที่จะบรรลุนิพพาน ที่เป็นจุดหมาย ก็เรียกร้องหรือเป็นเงื่อนไขอยู่ในตัวให้ต้องปฏิบัต ิ

ตามมรรค ดังนั้น การตรัสถึงนิพพาน คือข้อนิโรธ ก็โยงเอามรรค เข้ามา พ่วงไว้ด้วย พูดให้ลึกลงไป ข้อแรก อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ก็คือ สังขตธรรม พร้อมทั้งกระบวนความเป็นไปของมันทั้งหมด ส่วนข้อหลัง นิพพาน ก็คือ อสังขตธรรม ที่พ้นไปจากสังขตธรรมนั้น ในพุทธพจน์นี้ จับที่ตัวความจริงของกฎธรรมชาติกับสภาวธรรม สุ ด ยอดที ่ ต ้ อ งการ จึ ง เอา อิ ทั ป ปั จ จยตา ที ่ เ รี ย กกั น ง่ า ย ๆ ว่ า กฎปฏิจจสมุปบาท กับเรื่องนิพพาน มาเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

11

แต่ ส องอย่ า งนี ้ เวลาขยายออกมา ก็ เ ป็ น อริ ย สั จ นั ่ น เอง เพราะฉะนั้นก็จึงไม่ไปไหน ที่แท้ก็อันเดียวกัน อริ ย สั จ นั ้ น เป็ น วิ ธ ี พู ด หรื อ วิ ธ ี แ สดงกฎธรรมชาติ ใ นแง่ ท ี ่ ม า เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ซึ่งมนุษย์จะนำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต หรือแก้ปัญหาชีวิตของตน พระพุทธเจ้าตรัสวางไว้ในรูปที่ใช้การได้ เรียกว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แต่ ต ั ว ความจริ ง ในกฎธรรมชาติ ก็ ค ื อ อิ ทั ป ปั จ จยตา

ปฏิจจสมุปบาท และสภาวะที่เป็นจุดหมาย คือ นิพพาน ก็มีเท่านี้ เพราะฉะนั้นจึงบอกว่าไม่ไปไหน ส่วนอีกหลักหนึ่งคือ “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย” แปลว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น คือ เราไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นไว้ได้ อันนี้ก็เป็นการสรุปหัวใจของการปฏิบัติ ที่โยงไปหาตัวความจริง ของธรรมชาติ หรื อ สภาวธรรมว่ า สิ ่ ง ทั ้ ง หลายหรื อ ปรากฏการณ์ ทั้งหลายทั้งปวง หรือสิ่งที่แวดล้อมชีวิตของเรา หรืออะไรก็ตามที่เรา เกี่ยวข้องนี้ มันไม่ได้อยู่ใต้อำนาจความปรารถนาของเรา แต่มันเป็นไป ตามกฎธรรมชาติ เป็นไปตามเหตุปัจจัย หรือมีอยู่ดำรงอยู่ตามสภาวะ ของมัน เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถยึดมั่นถือมั่นมันได้ เราจะต้อง วางใจปฏิบัติต่อมันให้ถูก หลักนี้เป็นการโยงธรรมดาธรรมชาติหรือความเป็นจริงของสิ่ง ทั้งหลาย มาสู่ท่าทีปฏิบัติของมนุษย์ต่อสิ่งเหล่านั้น ซึ่งรวมสาระสำคัญ ว่า...เราต้องรู้ทันว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่เป็นไปตามใจปรารถนาของเรานะ มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เราจะไปยึดมั่นถือมั่นตามใจของเรา ไม่ได้ แต่ต้องปฏิบัติด้วยปัญญา คือด้วยความรู้เท่าทันและให้ตรงตาม เหตุปัจจัย


12

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เพราะฉะนั้น หลักนี้ก็เป็นแง่มุมหนึ่งของการประมวลวิธีปฏิบัติ ทั้งหมดต่อสิ่งทั้งหลาย ซึ่งก็เป็นพุทธพจน์เหมือนกัน เรื่องมีอยู่ว่า พระสาวก (พระมหาโมคคัลลานะ) ทูลถามพระองค์ ว่า “สังขิตเตนะ” ด้วยวิธีการอย่างย่นย่อ ทำอย่างไรภิกษุจะเป็นผู้ที่ หลุดพ้นแล้วโดยความสิ้นไปแห่งตัณหา หมายความว่า โดยย่อทำ อย่างไรภิกษุจะเป็นผู้บรรลุนิพพาน พระพุทธเจ้าก็ตรัสพุทธพจน์นี้ขึ้นมาว่า ภิกษุได้สดับหลักการ ที่ว่า “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย” (องฺ.สตฺตก. ๒๓/๕๘/๙๐) ธรรมทั้งปวง ไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นได้ เพราะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อรู้เข้าใจความจริงของมัน ก็จะไม่ยึดติดถือมั่นสิ่งใดในโลก จึงไม่ร่านรนเร่าร้อน ก็จะสงบเย็นนิพพาน รู้ว่าธรรมทั้งปวงไม่อาจยึดมั่นได้ ก็คือรู้สภาวะของมันที่เป็น ทุกข์ ความยึดมั่นที่จะต้องละนั้นคือสมุทัย ปัญญาที่ทำให้ละความ ยึดมั่นนั้นเสียได้ก็เป็นมรรค เมื่อละความยึดมั่นได้ก็สงบเย็น นิพพาน คือข้อนิโรธ หลักนี้นับว่าเป็นจุดยอดของการปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายในขั้นที่ ถึงปัญญาเลย ซึ่งให้รู้เท่าทันความจริงว่าสิ่งทั้งหลายมันเป็นของมัน ตามสภาวะของธรรมชาติ เช่ น เป็ น ไปตามเหตุ ป ั จ จั ย ของมั น เอง เราจะเอาความยึดมั่นถือมั่นของเราไปกำหนดมันไม่ได้ ตกลงว่ า เท่ า ที ่ ม ี ก ารกล่ า วถึ ง หั ว ใจพระพุ ท ธศาสนากั น

หลายแบบหลายแนวนั ้ น ทั ้ ง หมดก็ เ ป็ น อั น เดี ย วกั น ซึ ่ ง ในที ่ ส ุ ด

หลักใหญ่ที่ครอบคลุม ก็คืออริยสัจสี่นี่แหละ ไม่ไปไหน ที่พูดมาในตอนนี้ทั้งหมด ก็เป็นการแยกแยะและเชื่อมโยงให้เห็น ชัดลงไปว่า หลักหัวใจพระพุทธศาสนา ที่พูดกันหลายอย่างนั้น ที่จริง

ก็อันเดียวกัน ต่างกันโดยวิธีพูดเท่านั้น และขอย้ำว่า


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

13

อย่ามัวพูดว่าอย่างนั้นก็ได้อย่างนี้ก็ได้ ขอให้จับหลักลงไปให้ชัด และปฏิบัติให้มั่นให้เด็ดเดี่ยวแน่ลงไป อย่างที่ว่าแล้วข้างต้น

ถึงจะเล่าเรียนจบหลัก ถ้าไม่รู้จักหน้าที่ต่ออริยสัจ ก็ปฏิบัติไม่ถูก และไม่มีทางบรรลุธรรม

เมื่อพูดถึงอริยสัจสี่ ก็เลยจะต้องพูดถึงหน้าที่ต่ออริยสัจด้วย เมื่อกี้นี้ได้พูดไปแล้วว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าพระองค์ยังไม่ทรงรู้ เข้าใจอริยสัจสี่โดยมีญาณทัศนะครบทั้ง ๓ อย่างในอริยสัจสี่แต่ละข้อ ซึ่งเมื่อรวมแล้ว ๓ คูณ ๔ เป็น ๑๒ ก็จะไม่ปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้แล้ว ดังนั้น เราจะรู้อริยสัจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้หน้าที่ต่ออริยสัจ และปฏิบัติหน้าที่ต่ออริยสัจให้สำเร็จด้วย การเรียนอริยสัจโดยไม่รู้ หน้าที่ต่ออริยสัจอาจจะทำให้เข้าใจสับสน พระพุทธเจ้าตรัสกิจหรือหน้าที่ต่ออริยสัจสี่ไว้ครบถ้วนแล้วแต่ละ อย่าง ๆ ๑. หน้าที่ต่อทุกข์ คือ ปริญญา แปลว่า กำหนดรู้ รู้เท่าทัน จับตัวมันให้ได้ ๒. หน้าที่ต่อสมุทัย คือ ปหานะ แปลว่า ละ หรือกำจัด ๓. หน้าที่ต่อนิโรธ เรียกว่า สัจฉิกิริยา แปลว่า ทำให้แจ้ง คือ บรรลุถึงนั่นเอง ๔. หน้าที่ต่อมรรค เรียกว่า ภาวนา แปลว่า บำเพ็ญ ก็คือ ปฏิบัติ ลงมือทำ ทำให้เกิด ทำให้มีขึ้น ๑) ทุกข์...เรามีหน้าที่ต่อมันอย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ทุกขัง ปริญเญยยัง” ทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องรู้เท่าทัน ภาษาพระแปลกันว่า “กำหนดรู้” ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้


14

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

“ปริ ญ เญยยั ง ” นี ่ เ ป็ น คุ ณ ศั พ ท์ ถ้ า ใช้ เ ป็ น คำนามก็ เ ป็ น “ปริญญา” ที่เราเอามาใช้เป็นชื่อของการสำเร็จการศึกษา ทุกข์...เรามีหน้าที่รู้จักมัน รู้ทันมัน เรียกว่า “ปริญญา” ทุกข์นั้น เป็นตัวปัญหา เป็นปรากฏการณ์ ท่านเปรียบเหมือนกับ “โรค” ในทางร่างกายของเรานี่ เมื่อเรามีโรค เราก็จะแก้ไขบำบัดหรือ กำจัดโรค แต่พอเอาเข้าจริง เรากำจัดโรคไม่ได้ แต่เราต้องเรียนรู้จักโรค เหมือนหมอจะแก้ไขโรค ต้องกำหนดรู้ให้ได้ว่าเป็นโรคอะไร เป็นที่ไหน ตรงไหน เพราะฉะนั้น นอกจากต้องรู้โรคแล้ว ต้องรู้ร่างกายซึ่งเป็นที่ตั้ง ของโรคด้วย ทำนองเดี ย วกั น ในข้ อ ทุ ก ข์ น ี ้ จึ ง ไม่ ใ ช่ เ รี ย นเฉพาะปั ญ หา แต่เรียนชีวิตซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปัญหาด้วย หมายความว่า ทุกข์คือปัญหา เกิดที่ไหน มันเกิดที่ชีวิตหรือเกิดในโลก เราก็ต้องรู้จักโลก รู้จักชีวิต เหมือนกับแพทย์จะแก้ไขโรค เวลาเรียนเริ่มที่อะไร ก็ต้องไปเรียน ตั้งแต่ anatomy (กายวิภาค) ต้องไปเรียน physiology (สรีรวิทยา) แทนที่จะเริ่มเรียนที่โรค ก็ไปเรียนที่ร่างกายซึ่งเป็นที่ตั้งของโรค เช่นเดียวกับเราจะแก้ไขทุกข์ เราต้องเรียนรู้เข้าใจชีวิต ตลอดถึง โลกที่เราเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ซึ่งในที่สุดปัญหาเกิดที่ชีวิต ถ้าเราไม่เข้าใจ ชีวิต เราก็แก้โรคของมัน คือปัญหาหรือทุกข์ไม่ได้ เรื่องนี้ก็ทำนอง เดียวกัน ดังนั้น ในข้อทุกข์นี้ความหมายจึงคลุมทั้งตัวปัญหาและสิ่งซึ่ง เป็นที่ตั้งแห่งปัญหา โดยเฉพาะชีวิตมนุษย์นี่เราจะต้องเข้าใจ คือ ปริญญามัน


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

15

ทุกข์ ก็คือความผันแปรบีบคั้นกระทบกระเแทก ซึ่งเกิดเป็น ปัญหาแก่ชีวิต เหมือนกับโรค ก็คือความแปรปรวนวิปริตผิดปกติ ของร่างกาย เช่นอวัยวะบางส่วนถูกบีบคั้นบ่อนเบียนกระทบกระแทก เสียดแทง ตลอดจนทำงานไม่ปกติ เมื่อเรียนรู้จักร่างกายและระบบการทำงานของมันแล้วก็กำหนด รู้โรคที่จะบำบัดแก้ไขได้ นี่ก็เช่นเดียวกัน การจะกำหนดรู้ทุกข์ ก็ต้อง รู้จักชีวิตและดูที่ชีวิต (นามรูป/ขันธ์ ๕) นี่แหละ ๒) พอรู้ โ รคว่ า เป็ น โรคอะไร จั บ ได้ แ ล้ ว ก็ ต ้ อ งสื บ สาวหา สาเหตุ ข องโรค สมุ ท ั ย ได้ แ ก่ ต ั ว เชื ้ อ โรคที ่ เ ราจะต้ อ งกำจั ด หรื อ ความบกพร่องทำงานผิดปกติของร่างกายที่จะต้องปรับแก้ เวลาแก้ไขบำบัดโรคนี่ เราไม่ได้แก้ไม่ได้กำจัดตัวโรคนะ เช่น เราไม่ ไ ด้ ข จั ด ความปวดหั ว เราต้ อ งขจั ด สาเหตุ ข องความปวดหั ว ถ้าไม่อย่างนั้นเราจะแก้ได้แต่อาการ ยาจำนวนมากได้แค่ระงับอาการ ใช่ไหม เช่นระงับอาการปวดหัว ตราบใดที่เรายังไม่ได้กำจัดเหตุของการปวดหัว เราก็แก้โรค ปวดหัวไม่สำเร็จ ฉะนั้น ในข้อที่หนึ่งนี้เราจึงเรียนรู้จักทุกข์ เหมือนกับแพทย์ที่ วินิจฉัยโรคให้ได้ ต่อจากนั้นก็สืบสาวหาตัวสาเหตุของโรค ซึ่งอาจจะ เป็นเชื้อโรค หรือความบกพร่องของอวัยวะ ไม่ใช่เชื้อโรคอย่างเดียว บางทีการเป็นโรคนั้น เกิดจากการกระทบกระทั่งกับสิ่งแวดล้อม ความบกพร่องของอวัยวะ หรือการทำงานวิปริต หรือความแปรปรวน ต่าง ๆ ซึ่งจะต้องจับให้ได้ เพราะเมื่อมีโรคก็ต้องมีสมุฏฐาน หรือ สมุทัย


16

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

สมุทัยนี้แหละเป็นตัวที่ต้องแก้ไขหรือกำจัด หน้าที่ต่อสมุทัย เรียกว่า “ปหานะ” ๓) ต่อไป เมื่อจะกำจัดโรค เราต้องมีเป้าหมายว่าเราจะเอาอะไร และจะทำได้แค่ไหน จุดหมายอะไรที่เราต้องการ กำหนดให้ได้ อันนี้ เรียกว่านิโรธ...รู้ว่าเราต้องการอะไร และรู้ความเป็นไปได้ในการแก้ไข คนที่ไม่มีความชัดเจนว่าเราต้องการอะไร มีความเป็นไปได้ อย่างไร ก็จะทำอะไรไม่สำเร็จ แพทย์ก็ต้องวางเป้าหมายในการรักษาเหมือนกันว่า มันเป็นไป ได้แค่ไหน เราจะเอาอะไรเป็นจุดหมายในการรักษานี้ แล้วก็ทำไปให้ได้ ให้บรรลุจุดหมายนั้น เรียกว่า “สัจฉิกิริยา” แปลว่า ทำให้ประจักษ์ แจ้ง ทำให้เป็นจริงขึ้นมา คือ ทำให้สำเร็จ หรือบรรลุถึง ๔) พอวางเป้าหมายเสร็จ ก็มาถึงขั้นลงมือปฏิบัติ จะผ่าตัด ให้ยา และให้คนไข้ปฏิบัติตัวบริหารร่างกายอย่างไร วิธีรักษาทั้งหมดมาอยู่ในข้อ ๔ คือ มรรค เป็นขั้นที่ต้องลงมือ ทำ เรียกว่า “ภาวนา” ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ มีรายละเอียดมากมาย เพราะฉะนั้น อริยสัจ ๔ จึงเป็นวิธีการวิทยาศาสตร์ จะใช้ใน การสอนก็ได้ ในการรักษาโรคก็ได้ แพทย์ก็ใช้วิธีการนี้

อริยสัจ คือ ธรรมที่นำเสนอเป็นระบบปฏิบัติการ ให้มนุษย์บริหารประโยชน์จากความจริงของธรรมชาติ

ที ่ จ ริ ง สภาวะตามธรรมชาติ น ั ้ น ในที ่ ส ุ ด ก็ ค ื อ กระบวนการ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท และภาวะเหนือกระบวนการนั้นคือ นิพพาน เท่านั้นเอง


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

17

แต่พระพุทธเจ้าทรงนำมาแสดงเป็นอริยสัจ เพื่อให้เห็นขั้นตอน ในการปฏิบัติของมนุษย์ และเป็นวิธีสอนด้วย คือเป็นวิธีสอนที่จะให้ คนเข้าใจได้ง่าย และเกิดผลในเชิงการปฏิบัติที่เร้าใจให้ทำตาม และ ทำได้เป็นขั้นตอนชัดเจน อริยสัจนั้น แท้จริงเป็นหลักของเหตุและผล ธรรมดาเราพูดถึง เหตุก่อน แล้วจึงพูดถึงผลใช่ไหม แต่ให้สังเกตว่าพระพุทธเจ้ากลับทรง ยกผลขึ้นแสดงก่อน แล้วแสดงเหตุทีหลัง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทุกข์ คือปรากฏการณ์ซึ่งเป็นผล และ สมุทัย เป็นเหตุของ ทุกข์นั้น...นี่ผลกับเหตุ ๑ คู่แล้ว นิโรธ คือจุดหมายที่ต้องการ จัดเป็นผล แล้วก็ มรรค คือ

วิธีปฏิบัติให้บรรลุจุดหมายนั้น จัดเป็นเหตุ...นี่ก็ผลกับเหตุอีก ๑ คู่ รวมเป็นผลกับเหตุ ๒ คู่ นี่เป็นข้อที่น่าสังเกต เป็นการพลิกกลับกันกับความรู้สึกทั่วไป ซึ่งมองไปที่เหตุก่อนผล ตามปกติพระพุทธเจ้าก็ตรัสเหตุก่อนผล แต่ในกรณีนี้กลับแสดง ผลก่อนเหตุ เพราะอะไร...เพราะเป็นเรื่องของวิธีสอน ซึ่งต้องเริ่มด้วย สิ่งที่มองเห็นอยู่ และต้องเริ่มที่ปัญหาก่อน เรื่องอะไร จู่ ๆ ก็พูดถึงเหตุของปัญหาโดยไม่ได้พูดถึงปัญหา เป็นหลักของการสอนและการชี้แจงอธิบายว่า ต้องเริ่มที่ปัญหา โดยชี้ ปัญหาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทำความเข้าใจปัญหา แล้วจึงค้นหา สาเหตุ เสร็จแล้วก็ชี้ถึงจุดมุ่งหมาย หรือสิ่งที่ต้องการ แล้วก็บอกวิธี ปฏิบัติที่จะให้เข้าถึงจุดหมาย


18

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

วิธีสอนอย่างนี้เป็นที่เร้าใจด้วย พอพูดถึงปัญหา โดยเฉพาะ ปัญหาของตัวเอง หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกระทบถึงตัว คนก็สนใจ อยากจะรู้ อยากจะแก้ไขปัญหานั้น แล้วจึงสืบสาวว่า ปัญหานี้เกิดจาก เหตุอะไร เมื ่ อ อยากกำจั ด เหตุ แ ล้ ว พอพู ด ถึ ง จุ ด หมายว่ า ดี อ ย่ า งไร คนก็อยากจะไปถึงจุดหมายนั้น แล้วจึงบอกวิธีปฏิบัติ ถ้าเราไปบอกวิธีปฏิบัติก่อน วิธีปฏิบัติอาจจะยากมาก คนก็จะ ท้อใจ ไม่อยากไป ไม่อยากทำ แต่ถ้าชี้จุดหมายแล้วพูดให้เห็นว่ามันดีอย่างไร ใจเขาจะใฝ่ ปรารถนา ยิ่งเห็นว่าดีเท่าไร ประเสริฐเท่าไร เขายิ่งอยากไป เขาก็ พร้อมและเต็มใจที่จะทำ พอถึงตอนที่เขาพร้อมแล้วนี้ เราจึงค่อยบอกวิธีปฏิบัติ ไม่ต้อง กลัวหรอก ตอนนี้เขาสนใจ ตั้งใจเต็มที่แล้ว เขายินดีพร้อมที่จะทำสุด แรงของเขา ฉะนั้น หลักอริยสัจนี้จึงเป็นวิธีสอนด้วย พร้อมทั้งเป็นวิธีการ แก้ปัญหา และวิธีปฏิบัติการในงานต่าง ๆ วิธีสอนที่ได้ผลดีจะใช้

หลักการนี้ แม้แต่พวกที่จะปลุกระดมก็พลอยเอาไปใช้ได้ด้วย ทำไมจึงว่าในการปลุกระดมก็ต้องใช้วิธีนี้จึงจะได้ผล ก็เพราะ ว่าการปลุกระดมนี้ แม้แต่ที่ไม่สุจริต เขามุ่งแต่จะให้สำเร็จ ก็เอาวิธีนี้

ไปใช้ เพราะเป็นวิธีที่ได้ผล คืออย่างนี้ ตอนต้นต้องพูดชี้ปัญหาก่อน...“เวลานี้มันแย่ มีปัญหาทั้งนั้น

มี ค วามยากจน มี ค วามเดื อ ดร้ อ น อะไร ๆ ก็ ไ ม่ ด ี มั น เลวร้ า ย อย่างนั้น ๆ”


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

19

ถ้าจะปลุกระดม ก็ต้องชี้เรื่องที่ไม่ดี ให้เห็นออกมาชัด ๆ ว่า

เยอะแยะไปหมด ร้ายแรงอย่างไร ต้องชี้ทุกข์ให้ชัดก่อนว่าน่าเกลียด น่ากลัวร้ายแรงจนคนไม่พอใจมาก อยากจะแก้ไข พอชี้ทุกข์หรือปัญหาชัดว่าอะไรไม่ดีอย่างไร จะต้องแก้ไขแล้ว ทีนี้ก็ชี้สาเหตุ ว่านี่ตัวการ เจ้าตัวนี้แหละ ตัวร้ายอยู่นี่ เป็นเหตุให้เกิด ปัญหาเหล่านี้ มันอยู่ที่นั่น ถึงตอนนี้คนก็ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ใจก็เกิด พลัง เกิดความตื่นเต้น เกิดเรี่ยวแรงกำลังขึ้นมา ว่าจะต้องจัดการกำจัด มันละนะ เราเห็นตัวการแล้ว พอคนกระหายอยากจะจัดการแล้ว ก็ชี้เป้าหมาย อย่างกับสมัยหนึ่งที่เขาปลุกระดมกัน บอกว่า “โน่น ฟ้าสีทอง ผ่องอำไพ” หรืออะไรก็แล้วแต่ สิ่งดีงามจะต้องเป็นอย่างนี้ บรรยาย ให้เห็นว่าดีเหลือเกิน เลิศเหลือเกิน ชี้ให้เห็นเลิศเลอเท่าไรยิ่งดี จุดหมายนั้นต้องชี้ให้เด่นว่าดีที่สุด ดีอย่างโน้นอย่างนี้ จนกระทั่ง คนอยากไปเหลือเกิน ยิ่งคนอยากไปสู่จุดหมายนั้นเท่าไร ก็จะยิ่ง เกลียดชังเจ้าตัวการนั้น และอยากกำจัดมันมากเท่านั้น คนไม่ชอบสภาพนั้นอยู่แล้ว เพราะถูกชี้ว่าเป็นปัญหา พอชี้ ต้นเหตุให้เห็นตัวการร้ายที่ต้องกำจัดให้ได้ ใจคนก็พุ่งเป้าไป พอพร้อม อย่างนี้แล้ว ชี้จุดหมายที่ดีที่ต้องการเสร็จแล้ว ทีนี้ก็พร้อมเต็มที่เลย พอบอกวิธีปฏิบัติว่า “ต้องทำอย่างนี้ ๆๆๆ” ตอนนี้วิธีปฏิบัติ ถึงจะยากก็ไม่กลัวแล้ว เอาเลย ไม่ว่าจะยากอย่างไร ก็เอาทั้งนั้น ระดมกำลังทำเต็มที่...มรรคมาได้เลย


20

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

รวมความว่า อริยสัจเป็นหลักที่เชื่อม ระหว่างความจริงของ ธรรมชาติ กับปฏิบัติการของมนุษย์ ถ้ า เอาความจริ ง ของธรรมชาติ แ ท้ ๆ ก็ ค ื อ อิ ทั ป ปั จ จยตา

ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน ซึ่งเป็นแก่นแท้ในแง่ของความจริง

ตามธรรมชาติล้วน ๆ แต่ถ้าพูดตามความจริงล้วน ๆ แท้ ๆ อย่างนั้นจะยากมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำเสนอในรูปของหลักอริยสัจ ๔ เมื่อดูเหตุการณ์ตามลำดับ ก็จะเห็นชัดว่า ๑. หลังตรัสรู้ ก่อนจะเสด็จออกเดินทางสั่งสอน พระพุทธเจ้า ทรงพระดำริว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจ-

สมุปบาท และนิพพานนั้น ยากที่ใครจะรู้ตามได้ จึงน้อมพระทัย จะไม่ทรงสอน (วินย.๔/๗/๘) และ ๒. ต่อมาเมื่อทรงเริ่มสอน คือทรงแสดงธรรมครั้งแรก (เรียกว่า ปฐม-เทศนา) พระองค์ตรัสว่าตรัสรู้อริยสัจ ๔ โดยทรงทำกิจหรือหน้าที่ ต่ออริยสัจ ๔ นั้น ครบบริบูรณ์แล้ว (วินย.๔/๑๓/๑๘) อาตมาปรารภเรื่องเกี่ยวกับ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา

มั ว แต่ พู ด คำปรารภเสี ย นาน ก็ เ พี ย งเพื ่ อ ให้ เ ห็ น ว่ า เรื ่ อ งหั ว ใจ พระพุทธศาสนานั้น จะพูดอย่างไรก็ได้ ในบรรดาหลักการที่พระเถระ ทั ้ ง หลายท่ า นได้ น ำมาบอกกั บ พุ ท ธศาสนิ ก ชน เช่ น หลั ก โอวาท ปาฏิโมกข์ ในวันมาฆบูชาเมื่อวาน ทุกหลักเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ที ่ น ำมากล่ า วในแง่ ม ุ ม ต่ า ง ๆ กั น แต่ ต ้ อ งโยงถึ ง กั น ให้ ไ ด้ และ ต้องให้เป็นหลักที่ชัดเจน และปฏิบัติให้จริงจัง ไม่ใช่มองพร่า ๆ ว่า อะไรก็ได้


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

21

อย่าเขลาตามคนขาดความรู้ ว่าพุทธศาสนามองโลกแง่ร้าย หลักพุทธสอนว่า ทุกข์เราต้องมองเห็น แต่สุขเราต้องให้มีให้เป็น

พู ด ถึ ง ตรงนี ้ ก็ ข อแทรกอี ก นิ ด เป็ น ข้ อ สั ง เกตว่ า พอมองที ่

หลักอริยสัจก็เห็นว่า พระพุทธศาสนาเริ่มต้นด้วยทุกข์ บางทีคนภายนอก หรือแม้แต่คนภายในนี่เอง มองว่าพระพุทธ ศาสนาสอนแต่เรื่องทุกข์ อะไรก็เป็นทุกข์ ชีวิตก็เป็นทุกข์ ฝรั่งบางทีก็ว่าพระพุทธศาสนาเป็น pessimism คือมองโลก ในแง่ร้าย ไปอ่านดูเถอะ พวก encyclopaedia และหนังสือตำรับตำรา ฝรั่ง จำนวนมากหรือส่วนมาก พอพูดถึงพระพุทธศาสนา ก็เริ่มด้วยว่า พระพุทธศาสนามองว่าชีวิตเป็นทุกข์ บอกว่า life หรือ existence เป็น suffering อะไรทำนองนี้ ซึ่งชวนให้เกิดความเข้าใจผิด ตรงนี้ชาวพุทธเองจะต้องชัดเจน ก่อนจะชี้แจงเรื่องนี้ ขอตั้งข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า คนพวกที ่ ไ ม่ ไ ด้ เ รี ย นพระพุ ท ธศาสนาในแง่ ข องตำรั บ ตำรา หรื อ ทฤษฎี ถ้ า อยู ่ ๆ เขาเข้ า มาเมื อ งไทย อาจจะได้ ภ าพของ พระพุทธศาสนาที่มีความประทับใจในทางตรงกันข้ามกับพวกที่อ่าน หนังสือ พวกที่อ่านหนังสืออาจเข้าใจว่า พระพุทธศาสนานี่สอนอะไร ต่ออะไรให้มองชีวิตเป็นทุกข์ ไม่สบายเลย แต่พวกที่ไม่ได้อ่านหนังสือ อยู่ ๆ เข้ามาเมืองไทย เพียงแต่รู้ว่า เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ พอมาเห็นคนเมืองไทยยิ้มแย้มแจ่มใส อย่างที่ เรียกว่าเป็น the land of smile สยามเมืองยิ้ม เลยรู้สึกว่าเมืองไทย เป็นสุข


22

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เคยมีฝรั่งหนุ่มสาวไปหาอาตมาที่วัด ไม่รู้จักกัน ไม่รู้ว่าใคร แนะนำไป ถามเขาว่ามาทำไม เขาบอกว่าเขาอยากรู้เรื่องพระพุทธศาสนา ก่อนมาไม่ได้สนใจ แต่มาแล้ว ตอนเช้ายืนที่หน้าต่าง มองลงไป เห็นคนไทยหน้าตายิ้ม แย้มแจ่มใส ดูคนไทยมีความสุขดี พระพุทธศาสนาสอนอะไรทำให้ คนไทยมีความสุข บางรายถึงขนาดบอกว่า เขาไปเที่ยวตามบ้านนอก ไปเห็นแม้แต่ งานศพ สนุกสนานกันจัง เมืองฝรั่งไม่เป็นอย่างนี้เลย เวลามีงานศพ ฝรั่งหน้าตาเคร่งเครียดเหลือเกิน จิตใจไม่สบายเลย แต่เมืองไทยสนุก แม้แต่งานศพก็ไม่ทุกข์ เขาอยากรู้ว่าพุทธศาสนาสอนอะไร นี่เป็นความประทับใจอีกแบบหนึ่ง สำหรับคนที่มาเห็นภาพ เชิงปฏิบัติในชีวิตความเป็นอยู่ว่าชาวพุทธมีความสุข ตรงกันข้ามกับ เมืองฝรั่งที่มีแต่หน้าตาเคร่งเครียด ยิ้มยาก มีความทุกข์มาก เป็น โรคจิตมาก จะโยงอย่ า งไรให้ ส ุ ข กั บ ทุ ก ข์ ร วมอยู ่ ใ นภาพของพุ ท ธศาสนา อันเดียวกัน ถ้าเราจับหลักได้ถูกจะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ คำตอบอยู่ที่หลักกิจในอริยสัจ หรือหน้าที่ต่ออริยสัจ ที่พูด

ไปแล้ว พระพุทธศาสนาสอนอริยสัจสี่ เริ่มด้วยทุกข์ หน้าที่ต่อทุกข์คือปริญญา คือต้องรู้ทันมัน เราไม่มีหน้าที่ เป็นทุกข์ เพราะปัญหาเป็นสิ่งที่เราต้องรู้เข้าใจ ถ้าเราจับจุดปัญหา ไม่ได้ เราก็แก้ปัญหาไม่ได้ ไม่เฉพาะตัวปัญหาเท่านั้น เราจะต้องรู้ เข้าใจสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัญหา สิ่งที่รองรับหรือเป็นที่ตั้งของปัญหา คือ รู้เท่าทันชีวิตสังขารและรู้เท่าทันโลก


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

23

อันนี้เป็นเรื่องของการรู้ หน้าที่ต่อทุกข์มีอย่างเดียวคือปริญญา พูดง่าย ๆ ทุกข์นี้สำหรับปัญญารู้...จบแค่นี้ ถ้าใครเอาทุกข์มาเข้าตัว ใครทำตัวให้เป็นทุกข์ แสดงว่าปฏิบัติ ผิ ด หลั ก ไม่ ม ี ท ี ่ ไ หนพระพุ ท ธเจ้ า สอนให้ ค นเป็ น ทุ ก ข์ สอนแต่ ใ ห้ รู ้ เท่าทันทุกข์ เพื่อจะแก้ไขได้ มรรคต่างหาก ที่เรามีหน้าที่ปฏิบัติลงมือ ทำให้มีให้เป็น สุขตรงข้ามกับทุกข์ สุขอยู่ในอริยสัจข้อไหน สุขอยู่ในข้อนิโรธ คือในข้อจุดหมาย แต่เราไม่นิยมใช้คำว่าสุข เพราะสุขนี้จะเป็นสัมพัทธ์ ตลอด เป็น relative เพราะตราบใดที่มีสุข ก็หมายความว่ายังมีทุกข์

ปนอยู่ คือยังไม่พ้นทุกข์ ยังไม่ชัดว่าทุกข์หมดหรือยัง แต่ ถ ้ า เมื ่ อ ไรทุ ก ข์ ไ ม่ ม ี เ หลื อ อั น นี ้ จ ะพู ด ว่ า สุ ข หรื อ อย่ า งไร ก็แล้วแต่ ถ้าพูดว่าสุขก็หมายถึงสุขสมบูรณ์เลย ไม่มีทุกข์เหลืออยู่ พุทธศาสนายอมรับมาตรฐานตัดสินต่อเมื่อไร้ทุกข์หรือไม่มีทุกข์ เหลือเลย จุดหมายของพุทธศาสนาคือไม่มีทุกข์เหลือเลย นิโรธนั้นที่แท้ไม่ได้แปลแค่ดับทุกข์ ขอให้สังเกตว่า “นิโรธ” นั้น แปลว่า การไม่เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะดับทุกข์แสดงว่าเรามีทุกข์

จึงต้องดับมัน พอเราปฏิบัติไปถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา ก็ถึงภาวะ ไร้ทุกข์ ไม่มีทุกข์เหลือ ไม่มีการเกิดขึ้นแห่งทุกข์อีกต่อไปเลย ส่วนในระหว่างปฏิบัติ ระหว่างที่เป็นสัมพัทธ์ ทุกข์จะน้อยลง และจะมีสุขมากขึ้น ฉะนั้น สุขจึงจัดอยู่ในฝ่ายนิโรธ ในฝ่ายจุดหมาย กิจหรือหน้าที่ต่อนิโรธ คือ สัจฉิกิริยา แปลว่า ทำให้ประจักษ์แจ้ง คือ ทำให้ประจักษ์แก่ตัวหรือบรรลุถึง สุขจึงเป็นภาวะที่เรามีเพิ่มขึ้น ๆ


24

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

หมายความว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่เรารู้ทัน แล้วก็หาทางแก้ เราจะก้าว ไปสู ่ จ ุ ด หมาย คือมีสุขเพิ่มขึ้นเรื่อย ทุกข์น้อ ยลงเรื ่ อ ย จนกระทั ่ ง หมดทุกข์ เป็นสุขที่แท้ คือ “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข ระหว่างปฏิบัติเราก็ห่างทุกข์และมีสุขมากขึ้นเรื่อย ฉะนั้น ในชีวิตจริง คือภาคปฏิบัติ ชาวพุทธจึงต้องมีสุขมากขึ้น และทุกข์น้อยลงไปเรื่อย ๆ นี่คือการที่เราดูพุทธศาสนาในเชิงปฏิบัติ ซึ่งเป็นชีวิตจริง ฝรั่งจึงเห็นชาวพุทธมีความสุขยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ถ้าไปอ่านหนังสือเป็นเชิงทฤษฎี ที่คนเขียนจับหลักไม่ชัด

พอเริ่มด้วยทุกข์ก่อน ก็มองพุทธศาสนาเป็นทุกข์ไป ที ่ จ ริ ง นั ้ น ทั ้ ง หลั ก การและภาคปฏิ บ ั ต ิ ข องพระพุ ท ธศาสนา สอดคล้องเป็นอันเดียวกัน พุทธศาสนิกชนต้องจับหลักเรื่องกิจหรือหน้าที่ต่ออริยสัจนี้ให้ได้ ว่า... ๑. ทุกข์ เรามีหน้าที่ ปริญญา รู้ทัน ศึกษาให้เข้าใจว่ามันอยู่ ที่ไหน มันเป็นอย่างไร จับตัวมันให้ชัด เพื่อให้พร้อมที่จะแก้ไข ๒. สมุทัย ตัวสาเหตุของทุกข์นั้น เราจึงมีหน้าที่ ปหานะ กำจัด แก้ไข ๓. นิโรธ เรามีหน้าที่ สัจฉิกิริยา บรรลุจุดหมายที่บำราศทุกข์ เป็นสุขมากขึ้น ๆ ๔. มรรค ข้อนี้เท่านั้นที่เรามีหน้าที่ ภาวนา ปฏิบัติลงมือทำ สรุปความว่า พระพุทธศาสนาสอนเรื่องทุกข์ไว้สำหรับปัญญารู้ แต่สอนเรื่องสุขสำหรับให้เรามีชีวิตเป็นจริงอย่างนั้น พูดอย่างสั้นว่า พุทธศาสนาสอนให้รู้ทันทุกข์ และให้อยู่ เป็นสุข


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

25

หรือให้สั้นกว่านั้นอีกว่า พุทธศาสนาสอนให้เห็นทุกข์ แต่ให้ เป็นสุข คือ ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น เพราะฉะนั ้ น จะต้ อ งมองพระพุ ท ธศาสนาว่ า เป็ น ศาสนา แห่งความสุข ไม่ใช่ศาสนาแห่งความทุกข์ ฝรั่งจับจุดไม่ถูก ก็เข้าใจ ผิดพลาด ขอผ่านไป ทั้งหมดนี้ตั้งเป็นข้อสังเกต เป็นอารัมภบท


26

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

๒ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา

ทีนี้ ก็มาถึงตัว แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ก็เอาที่พูดเป็น อารัมภบทนั่นแหละมาครอบคลุม คือ สาระอยู่ในเรื่องที่พูดไปแล้ว นั่นเอง เพราะได้พูดแล้วว่า อริยสัจสี่ครอบคลุมหลักการของพระพุทธ ศาสนาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ✿ หลัก “เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์” ✿ หลัก “ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” ✿ หลัก “เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์” หรือ ✿ หลัก “อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท กับนิพพาน” ทุกหลักรวมอยู่ในหลัก อริยสัจสี่ ทั้งนั้น เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแล้ว ก็เท่ากับจับจุด ได้ว่าจะต้องเจาะลงไปหาแก่นในนั้น ขอย้ำว่า “อริยสัจ” คือหลักที่โยงความจริงในธรรมชาติมาสู ่

การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เพราะลำพังกฎธรรมชาติเอง มันมีอยู่ตาม ธรรมดา ถ้าเราไม่รู้วิธีปฏิบัติ ไม่รู้จุดที่จะเริ่มต้น ไม่รู้ลำดับ เราก็สับสน พระพุทธเจ้าทรงต้องการให้เราได้ประโยชน์จากกฎธรรมชาติ โดยสะดวก จึงนำมาจัดรูปตั้งแบบ วางระบบไว้ให้เรียกว่า “อริยสัจสี่” พระพุทธเจ้าทรงจัดวางอริยสัจสี่นั้น โดยทำลำดับให้เห็นชัดเจน เป็นได้ทั้งวิธีสอน ทั้งวิธีแก้ปัญหา และวิธีที่จะลงมือทำการต่าง ๆ เมื่อ ทำตามหลักอริยสัจสี่ ความจริงของธรรมดาที่ยาก ก็เลยง่ายไปหมด


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ความจริงมีอยู่ตามธรรมดา พระพุทธเจ้ามีปัญญา ก็มาค้นพบและเปิดเผย

27

ต่อไปนี้เมื่อจะดู “แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา” ก็ต้องดูที่ หลั ก ความจริ ง อี ก เริ ่ ม ด้ ว ยข้ อ แรกมองว่ า พระพุ ท ธศาสนามี ท ่ า ที หรือทัศนะต่อความจริงอย่างไร คือมองดูโลก มองดูธรรมชาติและ ชี ว ิ ต อย่ า งไร พู ด สั ้ น ๆ ว่ า พระพุ ท ธศาสนามองความจริ ง ของ สิ่งทั้งหลายอย่างไร จุดเริ่มต้นนี้ชัดอยู่แล้วในพุทธพจน์ ที่พระสวดอยู่เสมอในงาน อุทิศกุศลว่า “อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิ ต า ว สา ธาตุ . ..” มี เ นื ้ อ ความว่ า “ตถาคต คื อ พระพุทธเจ้า จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ความจริงก็คงอยู่เป็น

กฎธรรมดา เป็นความแน่นอนของธรรมชาติ ว่าดังนี้ ๆ” นี่คือการมองความจริงตามแบบของพระพุทธศาสนาพุทธพจน์นี้ เป็นหลักพื้นฐาน เราควรจะเริ่มต้นด้วยหลักนี้ นั่นก็คือพระพุทธศาสนา มองสิ่งทั้งหลายเป็นเรื่องของธรรมชาติและกฎธรรมชาติ เป็นความจริง ที่เป็นอยู่อย่างนั้นตามธรรมดาของมัน ไม่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของ พระพุทธเจ้า ในพุ ท ธพจน์ น ี ้ เ อง พระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส ต่ อ ไปว่ า “ตถาคตมารู ้

ความจริง ค้นพบความจริงนี้แล้ว จึงบอกกล่าว เปิดเผย แสดง ชี้แจง ทำให้เข้าใจง่าย ว่าดังนี้ ๆ” พุ ท ธพจน์ ต อนนี ้ บ อกฐานะของพระศาสดาว่ า ฐานะของ พระพุทธเจ้า คือผู้ค้นพบความจริง แล้วนำความจริงนั้นมาเปิดเผย แสดงให้ปรากฏ


28

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าไม่ใช่เป็นผู้บัญญัติหรือเป็นผู้สร้างผู้บันดาลอะไรขึ้น มาจากความไม่ ม ี พระองค์ เ พี ย งแต่ แ สดงความจริ ง ที ่ ม ี อ ยู ่ การที ่ พระองค์บำเพ็ญบารมีทั้งหลาย ก็เพื่อมาตรัสรู้เข้าถึงความจริงอันนี้ที่มี อยู่ตามธรรมดา ความจริ ง นี ้ ม ี อ ยู ่ ต ามธรรมดาตลอดเวลา ไม่ ม ี ใ ครเสกสรรค์ บันดาล (ไม่มีผู้สร้าง เพราะถ้ามีผู้สร้าง ก็ต้องมีผู้ที่สร้างผู้สร้างนั้น

ถ้าผู้สร้างมีได้เอง ก็แน่นอนเลยว่า สภาวธรรมก็มีอยู่ได้โดยไม่ต้อง มีผู้สร้าง) มันไม่อยู่ใต้อำนาจบังคับบัญชาของใคร ไม่มีใครบิดผัน เปลี่ยนแปลงมันได้ ผู้ใดมีปัญญาจึงจะรู้เข้าใจและใช้ประโยชน์มันได้ ปัญหาอยู่ที่ว่า เราไม่มีปัญญาที่จะรู้ เมื่อเราไม่รู้ความจริงที ่

เรียกว่ากฎธรรมชาตินี้ เราก็ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายไม่ถูกต้อง เพราะสิ่ง ทั้งหลายเป็นไปตามความจริงของมัน เมื่อเราไม่รู้ความจริงของมัน เราก็ปฏิบัติต่อมันไม่ถูก จึงเกิดปัญหาแก่ตัวเราเอง เพราะฉะนั้น การรู้ความจริงของธรรมชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างยิ่ง เมื่อเรารู้แล้ว เราก็จะปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้อง เหมือนกับในทางวิทยาศาสตร์ฝ่ายวัตถุ ที่ค้นพบความจริงคือ กฎธรรมชาติ บ างอย่ า งหรื อ บางส่ ว น เมื ่ อ ค้ น พบแล้ ว ก็ น ำเอากฎ ธรรมชาติส่วนนั้นมาใช้ทำอะไรต่าง ๆ ได้ เช่น การสร้างสิ่งประดิษฐ์ ต่าง ๆ ตั้งแต่เรือกลไฟ รถยนต์ รถไฟ เรือบิน ตลอดจนคอมพิวเตอร์ได้ ก็มาจากการรู้ความจริงของกฎธรรมชาติทั้งนั้น เมื่อรู้แล้วก็จัดการ มันได้ เอามันมาใช้ประโยชน์ได้ ถ้าไม่รู้ ก็ตัน ติดขัด มีแต่เกิดปัญหา เรื่องนี้ก็ทำนองเดียวกับวิทยาศาสตร์ แต่วิทยาศาสตร์เอาแค่ ความจริงของโลกวัตถุ ส่วนพระพุทธศาสนามองความจริงของโลกและ ชีวิตทั้งหมด


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

29

รวมความว่า พระพุทธศาสนามองความจริงของสิ่งทั้งหลายว่า เป็ น เรื ่ อ งของธรรมชาติที่มีอยู่และเป็นไปตามธรรมดาของมั น แล้ ว พระพุทธเจ้ามาค้นพบ แล้วก็ทรงทำให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยมีวิธีจัดรูปร่าง ระบบแบบแผนให้เรียนรู้ได้สะดวก และวางเป็นกฎเกณฑ์ต่าง ๆ นี ่ ก ็ ค ื อ การจั บ เอาหลั ก การของความจริ ง นั ่ น เอง มาจั ด เป็ น ระบบขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของเรา ทีนี้ ความจริงของสิ่งทั้งหลาย หรือกฎธรรมชาติที่ว่านั้นเป็น อย่างไร ก็มีตัวอย่างเช่นว่า สิ่งทั้งหลายเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เป็นทุกขัง คงอยู่ใน สภาพเดิมไม่ได้ และเป็นอนัตตา ไม่เป็นตัวเป็นตนของใคร ที่จะไปสั่ง บังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ เราจะไปยึดถือครอบครองมันจริง ไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน หรือดำรงอยู่ตามสภาวะ ของมัน สิ่งทั้งหลายที่เรายึดถือเป็นตัวตนในบัดนี้ ก็คือภาพปรากฏของ เหตุปัจจัยที่เป็นไปตามกระบวนการของมัน เมื่อเหตุปัจจัยมาสัมพันธ์กัน เป็นกระบวนการ ก็แสดงผลเป็นปรากฏการณ์ที่เราเรียกเป็นตัวเป็นตน แต่แท้จริงแล้วตัวตนอย่างนั้นไม่มี มีแต่เพียงภาพปรากฏชั่วคราว ส่วนตัวจริงที่อยู่เบื้องหลัง ก็คือกระบวนการแห่งความสัมพันธ์กัน ของสิ่งทั้งหลายที่คืบเคลื่อนไปเรื่อย ๆ เมื่อเหตุปัจจัยเหล่านี้สัมพันธ์กัน แล้วคืบเคลื่อนต่อไป ภาพตัวตนที่ปรากฏนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นตัวตนที่แท้ ที่ยั่งยืนตายตัว ที่จะยึดถือครอบครองบังคับ บัญชาอะไร ๆ ได้ จึงไม่มี (คำว่า “อัตตา” ก็คือตัวตนที่เที่ยงแท้ยั่งยืน ตายตัวตลอดไป)


30

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

มัน (อัตตา) ไม่มี เพราะมีแต่ภาพรวมของปรากฏการณ์ที่เกิด จากความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลายในกระบวนการของมัน เรียกว่าเป็น เพียงสภาวธรรม ไม่เป็นตัวตนของใคร ถ้าเข้าใจเช่นนี้แล้วก็จะเห็นว่า อ๋อ... อะไรก็ตามที่ปรากฏเป็นตัว เป็นตน ก็คือสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ชั่วคราว หรือสิ่งที่ดำรงอยู่ตาม สภาวะของมันเท่านั้น ซึ่งเราจะต้องรู้ทัน ถ้าจะรู้ความจริงของปรากฏการณ์เราต้องสืบสาวดูกระบวนการ ของเหตุปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง แล้วเราจะเห็นความจริงและไม่ยึดติดอยู่ กับตัวอัตตานี้ นี้คือความเป็นจริงของกฎธรรมชาติ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสอน เรื่อง “ไตรลักษณ์” ขึ้นไว้เป็นหลักที่เด่นว่า… สิ่งทั้งหลายนี้ อนิจฺจํ ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ดับหาย มีความ เปลี ่ ย นแปลง ทุ กฺ ขํ คงอยู ่ ใ นสภาพเดิ ม ไม่ ไ ด้ อยู ่ ใ นภาวะขั ด แย้ ง

ถ้าคนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความอยาก มันก็ฝืนความปรารถนา แล้วก็ อนตฺตา ไม่เป็นตัวตนของใครได้ ใครจะยึดถือครอบครองสั่งบังคับ

ไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน หรือดำรงอยู่ตามสภาวะ ของมัน

เมื่อคนไม่รู้ทันความจริงของธรรม เขาก็นำทุกข์ในธรรมชาติมาสร้างให้เป็นทุกข์ของตัวเอง

สำหรับ ทุกฺขํ ในไตรลักษณ์นี้ เรามักไปมองคำว่าทุกข์เป็นความ เจ็บปวดเสีย ที่จริงทุกข์เป็นสภาพตามธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย หรือ เป็นสภาวะตามธรรมชาติ คืออาการที่สิ่งทั้งหลายไม่สามารถคงอยู่ใน สภาพเดิม


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

31

บางที แ ปลว่ า stress หรื อ conflict คื อ ภาวะที ่ ม ั น มี ก าร เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกิดดับบีบคั้น ขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา แล้วทุกข์ก็เป็นภาพรวมที่เกิดจากความ สัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านั้น สิ่งทั้งหลายเป็นองค์รวม ที่เกิดจากองค์ประกอบต่าง ๆ มา ประชุมกัน เมื่อองค์ประกอบแต่ละอย่างเกิดขึ้นดับไป เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา องค์รวมนั้นจึงไม่สามารถคงสภาพเดิมอยู่ได้ เพราะเมื่อ องค์ประกอบแต่ละอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป ก็จะเกิดการขัดแย้งกัน เป็นความกดดันภายใน แล้วก็จะต้องคงอยู่ไม่ได้ สภาพที ่ ข ั ด แย้ ง ฝื น กดดั น คงอยู ่ ไ ม่ ไ ด้ ท ั ้ ง หมดนี ้ เรี ย กว่ า “ทุ ก ข์ ” ซึ่งเป็นสภาวะธรรมชาติในสิ่งทั้งหลาย เมื่อเราใช้ศัพท์นี้ กับภาวะในใจคน ก็จะมีความหมายว่าเป็นภาวะที่จิตถูกกดดันบีบคั้น ก็คืออันเดียวกัน จะเห็นว่าทุกข์ที่มีอยู่ในธรรมชาติในสิ่งทั้งหลายนี้ก็มีความหมาย หนึ่ง คล้าย ๆ กับทุกข์ในใจของเรา ทุกข์ในใจของเราก็คือภาวะที่ถูก บีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง ไม่สบาย ทนไม่ไหว ทีนี้ในสิ่งทั้งหลาย ทุกข์ก็คือ ภาวะที่จะต้องผันแปรเปลี่ยนแปลงไป เกิดความขัดแย้ง กดดัน ทนอยู่ ไม่ได้ ส่วน อนตฺตา ก็อย่างที่พูดไปแล้วว่า คือดำรงอยู่หรือเป็นไปตาม สภาวะของมันอย่างนั้น ๆ ซึ่งใครจะไปยึดถือยึดครองเป็นตัวเป็น ของตั ว อย่ า งใดไม่ ไ ด้ จ ริ ง ถ้ า เป็ น สั ง ขาร ก็ เ ป็ น เพี ย งภาพรวมของ ปรากฏการณ์แห่งกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง มิใช่เป็นตัวตน ที่ยั่งยืนมั่นคงอยู่อย่างนั้นตลอดไป


32

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เรื ่ อ งนี ้ ก ็ ท ำนองเดี ย วกั บ กฎทางวิ ท ยาศาสตร์ ซึ ่ ง มี อ ยู ่ ต าม ธรรมดาในธรรมชาติ ไม่ ว ่ า ใครจะรู ้ ห รื อ ไม่ ใครมี ป ั ญ ญาสามารถ ก็ค้นพบแล้วก็เอามาบอกกัน เรื ่ อ ง อนิ จฺ จํ ทุ กฺ ขํ อนตฺ ต า นี ้ พ ระพุ ท ธเจ้ า ก็ ต รั ส ว่ า เป็ น ความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาของมัน ไม่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าจะเกิด หรือไม่เกิด พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มาค้นพบ เปิดเผย อธิบาย วางเป็น ระบบไว้ ตรงนี้แหละที่มาโยงเข้ากับอริยสัจ คือ เมื่อสิ่งทั้งหลายทั้งโลก รวมทั้งชีวิตของคนเรานี้ เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่ง ๆ มันก็เป็นไปตาม กฎธรรมชาตินี้ ที่ว่ามีความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงทุกเวลา มีความ กดดันขัดแย้งภายใน คงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้ และเป็นไปตามเหตุปัจจัย ปรากฏรูปลักษณ์ไปต่าง ๆ ยักย้ายไปตามเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กันนั้น อย่างร่างกายของเรานี้ก็เปลี่ยนไป ตอนเป็นเด็กหน้าตาอย่างหนึ่ง อายุมากขึ้นมาก็เปลี่ยนไปอีกอย่างหนึ่ง เมื่อสิ่งทั้งหลายเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ตามธรรมดาของมัน อย่างนี้ ก็มีคำถามว่า มนุษย์จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับมันอย่างไร คือ

จะปฏิบัติหรือสัมพันธ์กับธรรมชาติ กับโลก กับชีวิต ที่เป็นไปตาม กฎธรรมชาตินั้นอย่างไร มนุษย์อาจจะสัมพันธ์กับมันด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน อวิชชา คือภาวะที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่รู้ทันความจริงของ สิ่งนั้น ๆ ตัณหา คือความอยากความปรารถนาต่อสิ่งต่าง ๆ โดยไม่รู้ทัน ความจริงของมัน


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

33

อุปาทาน คือการเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ให้เป็นอย่างที่ตัวต้องการ เอาความปรารถนาของตนเป็นตัวกำหนด ถ้ า มนุ ษ ย์ เ ข้ า ไปสั ม พั น ธ์ ก ั บ สิ ่ ง ทั ้ ง หลาย หรื อ พู ด ง่ า ย ๆ ว่ า สัมพันธ์กับโลกและชีวิต ด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ก็จะเกิดปัญหา ขึ ้ น กั บ ชี ว ิ ต ของตั ว เองทั น ที ทุ ก ข์ ท ี ่ เ ป็ น สภาพอยู ่ ใ นธรรมชาติ ต าม ธรรมดาของมัน คือเป็นความขัดแย้ง คงอยู่ไม่ได้ ในสิ่งที่จะต้อง เปลี่ยนแปลงคืบเคลื่อนนั้น ก็จะเกิดเป็นสภาวะที่กดดัน ขัดแย้งขึ้น

ในจิ ต ใจของมนุ ษ ย์ ตอนนี ้ ทุ ก ข์ ใ นธรรมชาติ ท ี ่ ม ี อ ยู ่ ต ามธรรมดา กลายมาเป็น “ทุกข์” ปรุงแต่งในใจของเรา ที่จริงมันเป็นทุกข์อยู่ตามธรรมดาในธรรมชาติ แต่เมื่อเราไป สัมพันธ์ปฏิบัติต่อมันไม่ถูก จึงเกิดเป็นทุกข์ในใจของเราขึ้นมา และ เมื่อสืบค้นดู ก็จะรู้ว่า อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นตัวกำหนดความ สัมพันธ์ของเราในกรณีนี้ ตัวนี้แหละที่ท่านว่าเป็น “สมุทัย” คือเหตุ แห่งทุกข์ ตอนนี้สมุทัยมาแล้ว สมุทัยนี้ ถ้าตรัสแค่บทบาทหน้าโรง ก็เอาตัณหาเป็นตัวแสดง แต่ถ้าตรัสแบบเต็มโรง จะทรงยกเอาอวิชชาเป็นตัวกำกับหลังโรง ขอให้ ดูเวลาตรัสว่า อะไรคือสมุทัย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ ตรัสว่า สมุทัยได้แก่ตัณหา คืออธิบายง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า “สิ่งทั้งหลายมันไม่เป็นไปตามใจอยากของคุณหรอก เมื่อคุณ สัมพันธ์กับมันด้วยความอยาก คุณก็ต้องเป็นทุกข์เอง” แต่ เ บื ้ อ งหลั ง ตั ณ หา คื อ ความอยาก หรื อ ความตามใจตั ว นี ้ ตัวการที่แท้ก็คือความไม่รู้เท่าทันความจริง ซึ่งเป็นเงื่อนไขเปิดช่อง ให้ ป ั จ จั ย ต่ า ง ๆ เข้ า มาหนุ น กั น ในการที ่ จ ะให้ ป ั ญ หานั ้ น เกิ ด ขึ ้ น เพราะฉะนั้น


34

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

แบบที่ ๒ จึ ง ตรั ส แบบกระบวนการที ่ เ ริ ่ ม ต้ น จากอวิ ช ชาว่ า อวิ ช ชาเป็ น ปั จ จั ย พื ้ น ฐานของปั ญ หาหรื อ ทุ ก ข์ สมุ ท ั ย ที ่ แ ท้ จ ริ ง

เป็นกระบวนธรรม (ธรรมปวัตติ) ตามกฎปฏิจจสมุปบาทว่า อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา...ซึ่งประมวลว่าทั้งหมดนี้คือสมุทัยแห่งทุกข์ ตอนนี้จะเห็นได้ว่า กฎธรรมชาติมาสัมพันธ์กับมนุษย์แล้ว ตอนแรก พู ด เริ ่ ม จากกฎธรรมชาติ ก ่ อ นว่ า ความจริ ง ของ ธรรมชาติ มันมีอยู่ตามธรรมดาของมัน สิ่งทั้งหลายดำเนินไปตาม กฎธรรมชาตินั้น เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ตอนนี้ มาถึงคน คือในการที่คนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น ถ้าเกี่ยวข้องโดยมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นตัวกำหนด ก็จะเกิด ปัญหา มีทุกข์ขึ้นมา อั น นี ้ ค ื อ อริ ย สั จ ข้ อ ที ่ ๑ และข้ อ ที ่ ๒ คื อ การสั ม พั น ธ์ ก ั บ

สิ่งทั้งหลายซึ่งมีศักยภาพที่จะให้เกิดทุกข์ ด้วยอวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน ซึ่งเป็นสมุทัยคือตัวเหตุ แล้วก็เกิดทุกข์ในตัวคนขึ้นมา คือก้าวจากทุกข์ ในสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มาเป็นทุกข์ในใจของเรา นี่คือวิธีพูดแบบย้อนกลับโดยเอากฎธรรมชาติเป็นจุดเริ่มต้น โดยเริ ่ ม ที ่ สมุ ทั ย คื อ มนุ ษ ย์ ไ ปสั ม พั น ธ์ ก ั บ สิ ่ ง ทั ้ ง หลายไม่ ถู ก ต้ อ ง โดยสัมพันธ์ด้วยอวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน ก็เกิดเป็น ทุกข์ ขึ้นมา

เมื่อมีปัญญารู้ความจริง ก็เลิกพึ่งพิงตัณหา หันมาอยู่ด้วยปัญญา ที่เอาประโยชน์ได้จากธรรม

ในทางตรงข้าม ถ้าเรารู้ทันความจริงของโลกและชีวิต แล้ว เปลี่ยนวิธีสัมพันธ์เสียใหม่ เราไม่สัมพันธ์ด้วยอวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน แต่เปลี่ยนจากอวิชชาเป็นวิชา และสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายด้วยปัญญา สมุทัยก็หายไป กลายเป็นนิโรธ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

35

พออวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน หายไปปั๊บ สมุทัยหายไป ทุกข์ก็ หายไปด้วย กลายเป็นนิโรธดับทุกข์หมด หรือทุกข์ไม่เกิดขึ้นเลย ดังนั้น วิธีแก้ไขก็คือการพัฒนามนุษย์ให้มีปัญญา จนกระทั่ง หมดอวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน เพราะฉะนั้นจึงต้องทำให้เกิดวิชา เพื่อให้ สามารถดำรงชี ว ิ ต โดยอาศั ย ตั ณ หาน้ อ ยลงตามลำดั บ จนกระทั ่ ง อวิชชาหมดไป เมื่อหมดอวิชชาแล้ว ก็คือนิโรธ ไม่มีทุกข์เกิดขึ้นอีก จากกฎธรรมชาติ โ ยงมาถึ ง อริ ย สั จ เข้ า ใจว่ า ชั ด พอสมควร ถ้าไม่ชัดกรุณาถามด้วย ย้อนอีกทีหนึ่งว่า กฎธรรมชาติมีอยู่เป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย ที่เกิดดับ เปลี่ยนแปลงไป คงสภาพเดิมไม่ได้ เป็นปรากฏการณ์ที่ ปรากฏภาพออกมาตามเหตุปัจจัยของมัน เป็นไปตามธรรมดาอย่างนี้ เมื่อมนุษย์อยู่ในโลก ก็ต้องไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น ถ้าเราสัมพันธ์ไม่ถูก คือใช้อวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน ก็เกิดปัญหาทันที คือเกิดเป็นทุกข์ขึ้นมา เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เรามีความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ให้ใช้ปัญญาที่จะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้น ด้วยความรู้เข้าใจ จนกระทั่ง ไม่ต้องอาศัยอวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน เมื่อเราพัฒนาปัญญาจนถึงที่สุด เราก็จะพ้นจากอวิชชา-ตัณหาอุปาทาน เราก็เป็นอิสระ ก็คือถึง นิโรธ แต่ในการที่จะมีปัญญา จนหมดอวิชชา-ตัณหา-อุปาทานนั้น มนุษย์ก็ต้องพัฒนาตัวเอง ซึ่งก็คือมรรคนั่นเอง มรรค ก็ ค ื อ กระบวนวิ ธ ี พ ั ฒ นามนุ ษ ย์ ไ ปสู ่ ก ารมี ป ั ญ ญา จนกระทั่งไม่ต้องอาศัยอวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน ในการดำเนินชีวิต

แต่เป็นอยู่ด้วยปัญญา


36

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

พอถึงตรงนี้ก็จบเรื่องของอริยสัจ เพราะฉะนั้นจึงพูดได้ว่า พระพุทธศาสนาสอนเรื่องธรรมชาติกับ การที่มนุษย์ไปสัมพันธ์กับธรรมชาติ เท่านั้นเอง พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ๑. ความจริงของธรรมชาติ หรือกฎธรรมชาติ ๒. การรู้เข้าใจความจริงนั้น แล้วนำมาใช้ประโยชน์ แต่เป็น ประโยชน์ของตัวชีวิตเอง ที่จะให้ชีวิตของเราหมดปัญหาอย่างแท้จริง พูดอีกอย่างหนึ่งว่า พุทธศาสนามีเท่านี้ คือ ๑. ความจริงของธรรมชาติ หรือกฎธรรมชาติ ซึ่งเราต้องเรียนรู้ และใช้ประโยชน์โดยปฏิบัติให้ถูกต้อง ๒. มนุษย์เป็นผู้เรียนรู้เข้าใจความจริงนี้ และใช้ประโยชน์จาก ความรู้นั้น เราจึงต้องศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ด้วย

ธรรมชาติของมนุษย์นั้นพิเศษในแง่ดี คือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่ศึกษาให้มีปัญญาได้

ตอนนี ้ พู ด กั น มาถึ ง มนุ ษ ย์ ว่ า เมื ่ อ มนุ ษ ย์ จ ะต้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ต ่ อ กฎธรรมชาติ เราก็ต้องรู้จักธรรมชาติของมนุษย์ด้วยว่าเป็นอย่างไร เช่นให้รู้ว่าธรรมชาติของมนุษย์นี้สามารถมีปัญญาที่จะหมดอวิชชา เป็ น ไปได้ ห รื อ ไม่ ท ี ่ ม นุ ษ ย์ จ ะอยู ่ ไ ด้ โดยไม่ ต ้ อ งพึ ่ ง พาอาศั ย อวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน ถ้าเป็นไปไม่ได้ การแก้ปัญหาก็เป็นไปไม่ได้ ถ้ามนุษย์ไม่สามารถพัฒนาให้มีปัญญา เราก็ต้องอยู่กับอวิชชาตัณหา-อุปาทาน ตลอดไป และต้องยอมรับว่าจะต้องเป็นทุกข์ตลอดไป ด้ ว ย ฉะนั ้ น เราจึ ง มาศึ ก ษาธรรมชาติ ข องมนุ ษ ย์ คื อ นอกจากรู ้ ธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย ทั้งโลก ทั้งระบบ ก็มารู้ธรรมชาติของตัว มนุษย์เองด้วย


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

37

คราวนี้ก็มาพูดถึงธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งต้องพูดเป็น ๒ ระดับ ระดับที่ ๑ มนุษย์ก็เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของระบบธรรมชาติ ทั ้ ง หมด ย้ ำ ว่ า เป็ น ธรรมชาติ เ พี ย งส่ ว นหนึ ่ ง เท่ า นั ้ น เพราะฉะนั ้ น

ชี วิ ต ของมนุ ษ ย์ จึ ง ต้ อ งเป็ น ไปตามกฎธรรมชาติ เช่ น เดี ย วกั บ ธรรมชาติอย่างอื่น ๆ ถ้ า เราแยกเป็ น โลกและชี ว ิ ต ชี ว ิ ต ของเราก็ เ ป็ น ไปตาม กฎธรรมชาติใหญ่ อันเดียวกันกับกฎธรรมชาติที่ครอบงำโลกทั้งโลกอยู่ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องเปลี่ยนแปลงไป คงอยู่ในสภาพเดิม ไม่ได้ และปรากฏรูปขึ้นมาตามกระบวนการของเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์ กันนั้น นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ด้านหนึ่งที่เป็นชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของ ธรรมชาติ ระดับที่ ๒ ธรรมชาติพิเศษที่เป็นส่วนเฉพาะของมนุษย์ ตรงนี้ แหละเป็ น จุ ด สำคั ญ ที ่ จ ะก้ า วไปสู ่ ข ั ้ น ที ่ จ ะตอบได้ ว ่ า จะสามารถ แก้ปัญหาข้างต้นได้หรือไม่ คือ มนุษย์สามารถมีปัญญา ที่จะมีชีวิต โดยไม่ต้องพึ่งพาอวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน ได้หรือไม่ ธรรมชาติ ข องมนุ ษ ย์ ต รงนี้ ถื อ เป็ น ฐานของพระพุ ท ธ ศาสนาเลยทีเดียว ธรรมชาติส่วนพิเศษของมนุษย์ คือเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ ตรงนี้สำคัญ มาก ถ้าพูดอย่างภาษาสมัยใหม่ก็ใช้คำว่า “เป็นสัตว์ที่พัฒนาได้” ไม่ ใ ช่ จ มอยู ่ ก ั บ ที ่ แต่ เ ปลี ่ ย นแปลงได้ ใ นเชิ ง คุ ณ ภาพ หรื อ เรี ย กว่ า เป็นสัตว์พิเศษก็ได้ พิ เ ศษคื อ แปลกจากสัตว์ชนิดอื่น คือสั ต ว์ ช นิ ด อื ่ น ไม่ เ หมื อ น มนุษย์ สัตว์มนุษย์นี้แปลกจากสัตว์อื่น แปลกหรือพิเศษอย่างไร พิเศษ ในแง่ที่ว่าสัตว์อื่นฝึกไม่ได้หรือฝึกแทบไม่ได้ แต่มนุษย์นี้ฝึกได้


38

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

คำว่า “ฝึก” นี้พูดอย่างสมัยใหม่ได้แก่คำว่า เรียนรู้และพัฒนา พูดตามคำหลักแท้ ๆ คือ ศึกษา หรือสิกขา พูดรวม ๆ กันไปว่า เรียนรู้ ฝึกหัดพัฒนา หรือเรียนรู้ฝึกศึกษาพัฒนา พูดสั้น ๆ ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ และต้องฝึก สั ต ว์ อ ื ่ น แทบไม่ ต ้ อ งฝึ ก เพราะมั น อยู ่ ไ ด้ ด ้ ว ยสั ญ ชาตญาณ พอเกิดมาปั๊บ เรียนรู้จากพ่อแม่นิดหน่อย เดี๋ยวเดียวมันก็อยู่รอดได้ อย่างลูกวัวคลอดออกมา ๒-๓ นาทีลุกขึ้นเดินได้ ไปกับแม่แล้ว ห่านออกจากไข่เช้าวันนั้น พอสายหน่อยวิ่งตามแม่มันลงไปในสระเลย วิ่งได้ ว่ายน้ำได้ หากินตามพ่อตามแม่มันเลย แต่มันอยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณ เรียนรู้ได้นิดเดียว แค่พอกิน อาหารเป็นต้น แต่ต่อจากนั้นมันฝึกไม่ได้ เรียนรู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น มั น จึ ง อยู ่ ด ้ ว ยสั ญ ชาตญาณตลอดชี ว ิ ต เกิ ด มาอย่ า งไรก็ ต ายไป อย่างนั้น แต่มนุษย์นี้ต้องฝึก ต้องเรียนรู้ ถ้าไม่ฝึก ไม่เรียนรู้ ก็อยู่ไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงจะอยู่ดี แม้แต่รอดก็อยู่ไม่ได้ มนุษย์จึงต้องอยู่กับพ่อแม่ อยู่กับพี่เลี้ยงเป็นเวลานับสิบปี พอออกมาดูโลก มนุษย์ทำอะไรไม่ได้เลย ต้องเรียนรู้ทุกอย่าง กินก็ต้องเรียนรู้ ต้องฝึกต้องหัด นั่ง นอน ขับถ่าย เดิน พูด ต้องฝึกต้อง เรียนรู้ทั้งหมด นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ เป็นสัตว์ที่ต้องหัดต้องฝึกไป ทุกอย่าง มองในแง่นี้เหมือนเป็นสัตว์ที่ด้อย แต่เมื่อมองในแง่บวก คือเรียนรู้ได้ ฝึกได้ ตอนนี้เป็นแง่เด่น คือ พอฝึก เริ่มเรียนรู้ คราวนี้มนุษย์ก็เดินหน้า มีปัญญาเพิ่มพูนขึ้น พูดได้ สื่อสารได้ มีความคิดสร้างสรรค์ ประดิษฐ์อะไร ๆ ได้


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

39

มนุษย์สามารถพัฒนาโลกแห่งวัตถุ เกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ มี ความเจริญทั้งในทางนามธรรม และทางวัตถุธรรม มีศิลปวิทยาการ เกิ ด เป็ น วั ฒ นธรรม อารยธรรม จนกระทั ่ ง เกิ ด เป็ น โลกของมนุ ษ ย์ ซ้อนขึ้นมาท่ามกลางโลกของธรรมชาติ สัตว์อื่นทั้งหลาย มีหรือไม่ที่สามารถสร้างโลกของมันต่างหาก จากโลกของธรรมชาติ...ไม่มี มันเกิดมาด้วยสัญชาตญาณอย่างไร ก็ตายไปด้วยสัญชาตญาณอย่างนั้น หมุนเวียนกันต่อไป แต่มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษ คือต้องฝึก ต้องเรียนรู้ และเรียนรู้ได้ ฝึกได้ พระพุทธศาสนาจับความจริงของธรรมชาติข้อนี้เป็นหลักสำคัญ ที่สุด จึงให้กำลังใจกับมนุษย์ว่า มนุษย์ที่ฝึกแล้วนั้น เลิศประเสริฐ

จนกระทั่งแม้แต่เทวดาและพรหมก็น้อมนมัสการ ดังคาถาว่า มนุสฺสภูตํ สมฺพุทฺธํ อตฺตทนฺตํ สมาหิตํ เทวาปิ นํ นมสฺสนฺติ ... ... ... ... แปลว่ า “พระพุท ธเจ้า ทั ้งที่เ ป็น มนุ ษ ย์ น ี ่ แ หละ แต่ ท รงฝึ ก พระองค์ แ ล้ ว มี พ ระหฤทั ย ที ่ อ บรมมาอย่ า งดี แม้ เ ทพทั ้ ง หลาย ก็น้อมนมัสการ” คาถานี ้ เ ป็ น การเตื อ นมนุ ษ ย์ แ ละให้ ก ำลั ง ใจว่ า ความดี เ ลิ ศ ประเสริฐของมนุษย์นั้น อยู่ที่การเรียนรู้ฝึกศึกษาพัฒนาตนขึ้นไป มนุษย์จะเอาดีไม่ได้ถ้าไม่มีการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน เพราะฉะนั้น เราจึงพูดเต็มว่า “มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐด้วยการฝึก” เราจะไม่ พูดทิ้งช่องว่างว่ามนุษย์เป็นสั ต ว์ ป ระเสริ ฐ ซึ ่ ง เป็ น การพูดที่ขาดตกบกพร่อง


40

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เราพูดได้แค่ว่า มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษ หมายความว่าเป็นสัตว์ ที่แปลกจากสัตว์อื่น “พิเศษ” แปลว่าแปลกพวก ไม่ได้หมายความว่า ดีหรือร้าย แต่ “ประเสริ ฐ ” นี ่ ค ื อ ดี ซึ ่ ง มี ห ลั ก ความจริ ง ว่ า มนุ ษ ย์ ไ ม่ ไ ด้ ประเสริฐเองลอย ๆ ต้องประเสริฐด้วยการฝึก ถ้าไม่ฝึกแล้วจะด้อยกว่า สัตว์ดิรัจฉาน จะต่ำทรามยิ่งกว่า หรือไม่ก็ทำอะไรไม่เป็นเลย แม้จะอยู่ รอดก็ไม่ได้ ฉะนั้นความประเสริฐเลิศของมนุษย์จึงอยู่ที่การฝึกฝนพัฒนาตน และอันนี้เป็นความเลิศประเสริฐที่สัตว์ทั้งหลายอื่นไม่มี สัตว์อื่นอย่างดี ก็ฝึกได้บ้างเล็กน้อย เช่น ช้าง ม้า เป็นต้น และมันฝึกตัวเองไม่ได้ ต้องให้มนุษย์ฝึก ๑. ต้องให้มนุษย์ฝึกให้ ๒. แม้มนุษย์จะฝึกให้ ก็ฝึกได้ในขอบเขตจำกัด เรียนรู้ได้ไม่มาก แต่มนุษย์ฝึกตัวเองได้ และฝึกได้แทบไม่มีที่สิ้นสุด

บนฐานแห่งธรรมชาติมนุษย์ผู้เป็นสัตว์ต้องศึกษา พระพุทธเจ้าทรงตั้งหลักพระรัตนตรัยขึ้นมา

หลั ก พระพุ ท ธศาสนาตรงนี ้ ส ำคั ญ ที ่ ส ุ ด เพราะมนุ ษ ย์ ฝ ึ ก ได้ ฝึกตนเองได้ และเมื่อฝึกแล้วประเสริฐสุด การที่ยกพระรัตนตรัย

ขึ้นมาตั้งเป็นหลัก ก็เพราะความจริงข้อนี้ คือ ก) พระพุทธเจ้าทรงเป็นต้นแบบ โดยเป็นสรณะ คือเป็นเครื่อง เตื อ นใจให้ ร ะลึ ก ว่ า อั น ตั ว เรานี ้ ก ็ เ ป็ น มนุ ษ ย์ ผู ้ ห นึ ่ ง พระพุ ท ธเจ้ า

เมื่อก่อนที่จะทรงฝึกพระองค์ก็เป็นมนุษย์อย่างพวกเรานี้ เราจึงมี ศักยภาพที่จะฝึกให้ประเสริฐอย่างพระพุทธเจ้าได้


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

41

พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ประเสริฐเลิศสูงสุด ได้ตรัสรู้สัจธรรม มี พ ระคุ ณ สมบั ต ิ ส มบู ร ณ์ ท ุ ก ประการ การที ่ ท รงมี พ ระคุ ณ สู ง เลิ ศ อย่างนั้นได้ ก็เพราะได้ทรงฝึกพระองค์ ดังที่เรียกว่าทรงบำเพ็ญบารมี มากมายจนเต็มบริบูรณ์ เราจึงตั้ง “พุทธะ” ขึ้นมาเป็นแม่แบบว่า ดูสิ มนุษย์ผู้ฝึกดี

ถึงที่สุดแล้ว พัฒนาดีแล้ว จะมีปัญญารู้สัจธรรม บริสุทธิ์หลุดพ้น

เป็นอิสระ อยู่เหนือโลกธรรม มีความสุข มีชีวิตที่ดีงาม มีคุณธรรม ความดีงามที่สมบูรณ์ เป็นที่พึ่งของชาวโลก เลิศประเสริฐขนาดนี้ พอระลึกอย่างนี้ก็เกิดศรัทธาที่เรียกว่า ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งก็มีความหมายต่อไปอีกว่า เชื่อในปัญญาที่ทำให้มนุษย์กลายเป็นพุทธะ เพราะฉะนั้น การที่ถือเอา พระพุทธเจ้าเป็นสรณะนั้น ความหมายอยู่ที่นี่ คือ ๑. ทำให้ เ กิ ด ศรั ท ธาที ่ โ ยงตั ว เราเข้ า ไปหาพระพุ ท ธเจ้ า ว่ า

จากความเป็ น มนุ ษ ย์ อ ย่ า งเรานี ้ พระองค์ ไ ด้ บ ำเพ็ ญ บารมี ฝ ึ ก ฝน พระองค์จนเป็นพระพุทธเจ้า เราก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน ถ้าเราฝึกตน จริงจังให้ถึงที่สุด เราก็จะเป็นอย่างพระองค์ได้ ทำให้เราเกิดความ มั่นใจว่าเรามีศักยภาพที่จะฝึกให้เป็นอย่างพระพุทธเจ้าได้ ๒. เตือนใจให้ระลึกถึงหน้าที่ของตนเองว่า เราเป็นมนุษย์ ซึ่งจะ ดี เ ลิ ศ ประเสริ ฐ ได้ ด้วยการฝึกฝนพัฒนาตน การฝึ ก ฝนพั ฒ นาตน เป็นหน้าที่แห่งชีวิตของเราหรือของชีวิตที่ดี เราจะต้องฝึกศึกษาพัฒนา ตนอยู่เสมอ ๓. ให้เกิดกำลังใจว่า การฝึกฝนพัฒนาตนนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรง ทำมาจนสำเร็จผลสมบูรณ์แล้วเป็นตัวอย่าง พระองค์ทำได้ แสดงว่า เราก็ ส ามารถทำได้ แม้ ว ่ า การฝึ ก ศึ ก ษานั ้ น บางครั ้ ง จะยากมาก


42

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

อาจทำให้เราชักจะย่อท้อ แต่เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่าพระองค์ เคยประสบความยากลำบากมากกว่าเรานักหนา พระองค์ก็ก้าวฝ่า ผ่านลุล่วงไปได้ เราก็จะเกิดกำลังใจที่จะฝึกตนต่อไป ๔. ได้วิธีลัดจากประสบการณ์ของพระองค์ พระพุทธเจ้าทรง ปฏิบัติมา ลำบากยากเย็นอย่างยิ่ง ต้องลองผิดลองถูก บำเพ็ญบารมี กว่าจะเป็นพุทธะได้เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วก็ทรงประมวลประสบการณ์ ของพระองค์มาวางเป็นหลักเป็นลำดับสอนเราให้เข้าใจง่ายขึ้น เท่ากับ บอกวิธีลัดให้เราสำเร็จรูป จากประสบการณ์ของพระองค์ ซึ่งเราเอามา ใช้ได้ทันที ไม่ต้องยากลำบากอย่างพระองค์ การระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะได้ประโยชน์ถึง ๔ ประการ อย่างนี้ เราจึงตั้งพระพุทธเจ้าเป็นองค์แรกของรัตนตรัย เป็นสรณะ ข้อที่ ๑ ข) เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นแม่แบบแล้ว ก็คิดจะฝึกศึกษา พัฒนาตน ทีนี้การที่จะพัฒนาตัวเองได้ ก็ต้องรู้หลักรู้ความจริงของ กฎธรรมชาติคือธรรมะ และต้องปฏิบัติตามธรรมนั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงเป็นจุดเริ่มที่นำเราเข้าไปสู่ธรรมะ พูดง่าย ๆ ว่า จากพุทธะโยงไปหา “ธรรมะ” ซึ่งก็คือตัวความจริงของ ธรรมชาติที่มนุษย์จะต้องรู้และนำมาใช้ปฏิบัติ ค) อย่างไรก็ตาม การที่จะรู้ธรรมและปฏิบัติตามธรรมให้เป็น อย่างพระพุทธเจ้านั้น มนุษย์โดยทั่วไปไม่ได้ฝึกตนมามากมายถึงขั้นที่ จะรู้และทำได้เองอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็ไม่จำเป็นต้องฝึก ถึงขนาดนั้น เพราะเรามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงรู้ธรรมรู้ทางและ บอกวิธีให้แล้ว เราก็ไปฟังคำสอนจากพระองค์และปฏิบัติตามโดยถือ เอาพระองค์เป็นแบบอย่าง


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

43

แต่ถ้าเราอยู่ห่างไกลพระพุทธเจ้า หรือพระองค์ปรินิพพานแล้ว เราก็เล่าเรียนสดับฟังคำสอนของพระองค์ จากพระสงฆ์ที่ได้รักษา สืบต่อคำสอนของพระองค์มาถึงพวกเรา แม้ จ ะได้ ส ดั บ ฟั ง คำสอนของพระพุ ท ธเจ้ า ที ่ พ ระสงฆ์ ร ั ก ษา สืบทอดไว้ให้แล้ว แต่มนุษย์ทั่วไปจะปฏิบัติธรรมฝึกตนให้ก้าวหน้า

โดยลำพังตัวเองได้ยาก มนุษย์โดยทั่วไปนั้น ต้องอาศัยบุคคลและ สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ช่วยเกื้อหนุน โดยเฉพาะสิ่งที่เกื้อหนุนได้ดีที่สุด ก็คือชุมชนที่จัดตั้งไว้อย่างดี ที่เรียกว่า “สังฆะ” ในชุมชนแห่งสังฆะนั้น นอกจากมีท่านที่ได้ฟังได้รู้ได้ฝึกปฏิบัติ ธรรมมาก่อน เช่น ครู อาจารย์ ที่จะเป็นกัลยาณมิตรช่วยแนะนำ ฝึกสอนเราแล้ว ระบบความเป็นอยู่ วิถีชีวิต การสัมพันธ์กับเพื่อน ร่วมชุมชน การจัดสรรสิ่งแวดล้อม และบรรยากาศของชุมชนนั้นเอง ทุกอย่างจะเอื้อช่วยเกื้อหนุนให้เราฝึกตนก้าวไปในการรู้และปฏิบัติ ธรรมได้อย่างดีที่สุด ชุ ม ชนแห่ ง สั ง ฆะนี ้ นอกจากเราจะได้ อ าศั ย ช่ ว ยให้ ต ั ว เรา ก้าวหน้าไปในการรู้และทำตามธรรมโดยมีกัลยาณมิตรเกื้อหนุนแล้ว เราเองเมื่อก้าวหน้าไป เป็นกัลยาณมิตรเกื้อหนุนผู้อื่นด้วย และสังฆะ ก็เป็นแหล่งที่จะดำรงรักษาระบบและวิถีชีวิตที่ดีงามผาสุกไว้ให้แก่โลก อนึ่ง มนุษย์ถึงจะมีศักยภาพที่จะเป็นอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้า แต่ระหว่างปฏิบัติ เราก็จะมีพัฒนาการในระดับต่าง ๆ ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็เป็นพุทธะได้ทันที มนุษย์ทั้งหลายที่ปฏิบัติตามธรรมโดยมีพัฒนาการในระดับ

ต่าง ๆ นั้น ก็รวมกันเป็นชุมชนที่ดีงาม ประเสริฐ คือสังฆะนี้ ซึ่งถ้าเรียก ตามภาษาปัจจุบันก็คือ สังคมอุดมคติ


44

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

มนุษย์เราทุกคนควรจะมีส่วนได้อาศัยและร่วมสร้างชุมชนนี ้

ขึ้นมาให้ได้ ด้วยการฝึกศึกษาพัฒนาตัวเองของแต่ละคนขึ้นไป สุดยอดของมนุษย์คือ พุทธะ แก่นแท้ของธรรมชาติคือ ธรรมะ อุดมคติของสังคมคือ สังฆะ เพราะฉะนั ้ น หลั ก พระรั ต นตรั ย ก็ ค ื อ หลั ก อุ ด มคติ ที ่ เ ป็ น

จุดหมาย เป็นอุดมการณ์ เป็นหลักการสำหรับชาวพุทธ ซึ่งจะต้อง ยึดถือว่า ๑. เตือนใจเราให้ระลึกถึงศักยภาพของตัวเอง และให้ปฏิบัติ หน้าที่ในการพัฒนาตนเองให้เป็นอย่างพุทธะ ๒. เตือนใจให้ระลึกว่า การที่จะพัฒนาตนให้สำเร็จนั้น ต้องรู้ เข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักความจริงของกฎธรรมชาติ คือ ธรรมะ ๓. เตือนใจให้ระลึกว่า เราแต่ละคนจะร่วมอาศัยและร่วมสร้าง สั ง คมอุ ด มคติ ด้ ว ยการมี / เป็ น กั ล ยาณมิ ต รและเจริ ญ งอกงามขึ ้ น ในชุมชนแห่งอารยชนหรืออริยบุคคล ที่เรียกว่า สังฆะ นี่คือหลักพระรัตนตรัย จะเห็นว่าทั้ง ๓ หลักโยงถึงกันหมด

ความจริงแห่งธรรมดาของโลกและชีวิต ที่ต้องรู้ให้ทันและวางท่าทีให้ถูก

ขอย้ อ นกลั บ มาที ่ ธ รรมชาติ ข องมนุ ษ ย์ ซ ึ ่ ง เป็ น สั ต ว์ ท ี ่ ฝ ึ ก ได้

พั ฒ นาได้ จะเป็ น นิ ว ตั น ก็ ไ ด้ เป็ น ไอน์ ส ไตน์ ก ็ ไ ด้ หรื อ จะเป็ น กวี ที่เก่งกาจ เป็นนักการศึกษา ฯลฯ เป็นได้หมด จนกระทั่งประเสริฐสุด เป็นพุทธะก็ได้


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

45

เมื ่ อ มนุ ษ ย์ ป ระเสริ ฐ ด้ ว ยการเรี ย นรู ้ ฝ ึ ก ฝนพั ฒ นาตนอย่ า งนี ้

ก็เป็นอันว่าโยงกันแล้ว คือ ธรรมชาติของมนุษย์ที่ว่าฝึกฝนพัฒนา ได้นั้น ก็สอดคล้องกับความเป็นจริงของกฎธรรมชาติ นี ่ ค ื อ ย้ อ นกลั บ มาหาความจริ ง ข้ อ แรกของธรรมชาติ อ ี ก คื อ

การที่มนุษย์ผู้ฝึกตนได้ จะพัฒนาตนสำเร็จ จะต้องรู้เข้าใจความจริง ของกฎธรรมชาติและปฏิบัติให้ถูกตามกฎนั้น เช่น ปฏิบัติตามกฎ แห่งเหตุปัจจัย เป็นต้น ในบรรดากฎธรรมชาติทั้งหลาย กฎใหญ่ก็คือความเป็นไปตาม เหตุปัจจัย ซึ่งเป็นอย่างหนึ่งในหลักใหญ่ที่สุดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ๒ หลัก คือ ๑. หลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ๒. เบื้องหลังความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือกฎธรรมชาติ แห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย อันได้แก่ อิทัปปัจจยตา ฉะนั ้ น ต่ อ จากไตรลั ก ษณ์ พระพุ ท ธเจ้ า จึ ง ทรงสอนเรื ่ อ ง ปฏิจจสมุปบาท หรือที่เรียกเต็มว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท คือ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย ถ้าเราเข้าถึงกระบวนการของเหตุปัจจัย หลักการต่าง ๆ ก็โยง ถึงกันแจ่มแจ้งหมด และเข้าสู่การปฏิบัติในการที่จะฝึกตนได้ แต่ถ้ารู้แค่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรายังทำอะไรไม่ได้ ได้แค่รู้ทัน ว่าสิ่งทั้งหลายเกิดดับ เปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง ไม่คงที่ คงอยู่ในสภาพ เดิมไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็ได้แค่รู้ และวางใจ แต่ยังทำไม่ได้ แต่พอรู้ว่า อ้อ...กฎแห่งเหตุปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือ อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นอย่างนี้ ๆ ตอนนี้ก็เอามาใช้

ลงมือทำได้ คือเอามาใช้ในการฝึกฝนพัฒนาตนของมนุษย์ ซึ่งเป็น


46

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

การเชื่อมระหว่างธรรมชาติพิเศษของมนุษย์ กับธรรมชาติสามัญ ของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง หันมาดูการนำกฎธรรมชาติมาใช้ในชีวิตของมนุษย์ พระพุทธศาสนามองชีวิตของมนุษย์ว่าเกิดจากองค์ประกอบ ต่าง ๆ มาประชุมกัน โดยสัมพันธ์กันเป็นระบบ และเป็นกระบวนการ เราจะเข้าใจมันก็ต้องแยกดูองค์ประกอบ ฉะนั้น ตอนแรกเราก็แยกชีวิต ออกก่อน วิธีแยกง่าย ๆ ขั้นต้นที่สุดก็คือแยกองค์ประกอบ เหมือนอย่าง เราเอารถมาคันหนึ่ง ก็แยกว่ารถคันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง สำหรับมนุษย์ การแยกอย่างง่ายที่สุด คือแยกเป็น ๒ ได้แก่

รูปธรรม กับนามธรรม หรือ กาย กับใจ เมื่อแยกละเอียดลงไปอีก ด้านรูปธรรม หรือร่างกาย ประกอบ ด้วยธาตุต่าง ๆ มาประชุมกันเข้า มีมหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ และในแต่ละอย่างก็แยกย่อยออกไปอีก ส่วนในทางนามธรรม หรือทางใจ ก็แยกออกไปอีกเป็น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากนั้น เวทนาก็แยกย่อยออกไปเป็นเวทนา ๓ เวทนา ๕ หรือ เวทนา ๖ สัญญาก็แยกย่อยออกไป เป็นสัญญา ๖ สังขารก็แยกย่อยออกไปต่าง ๆ เช่น เป็นสัญเจตนา ๖ เป็น เจตสิก ๕๐ วิญญาณก็แยกออกไปเป็น ๖ เป็น ๘๙ หรือเป็น ๑๒๑ เป็นต้น แยกออกไป ๆ ซึ่งเป็นการจำแนกแยกแยะในระบบ ขันธ์ ๕


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

47

อย่างนี้เป็นระบบแยกซอย เป็นการศึกษาธรรมชาติของชีวิต มนุษย์ เหมือนนักวิทยาศาสตร์แยกแยะองค์ประกอบด้านรูปธรรม แต่ในที่นี้เอาง่าย ๆ แยกแค่ ๒ เป็นกายกับใจ เพราะถ้าแยกมากจะ ยากยุ่ง เอาไว้ไปศึกษารายละเอียดทีหลัง อย่างไรก็ตาม ชีวิตมนุษย์ไม่ได้อยู่นิ่งเฉย ไม่ใช่ของตาย ชีวิต ต้องเคลื่อนไหว ดังที่เรียกว่าดำเนินชีวิต แม้แต่รถยนต์ซึ่งไม่มีชีวิตก็มี การเคลื่อนไหว เมื่อแยกองค์ประกอบของมันออกดูแล้ว จากนั้นก็ ศึกษาตอนมันวิ่งแล่น ว่ามันทำงานอย่างไร โดยศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบย่อยขณะทำงาน ชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน เมื่อแยกส่วนออกดูองค์ประกอบ ตอนอยู่นิ่งเฉยแล้ว ก็ต้องศึกษาขณะที่มันดำเนินไป หรือขณะทำงาน ด้วย การแยก ๒ แบบนี้ไม่เหมือนกัน แต่ก่อนจะถึงแบบที่ ๒ ก็ต้อง ศึกษาแบบที่ ๑ ก่อน เหมือ นแพทย์ศึกษาชีวิตด้านกาย ต้องศึกษา anatomy คื อ กายวิ ภ าคแยกองค์ ป ระกอบให้ เ ห็ น อวั ย วะต่ า ง ๆ ว่ า มี อ ะไรบ้ า ง เป็นอย่างไรแล้วก็ศึกษา physiology คือสรีรวิทยา ให้รู้ว่าอวัยวะต่าง ๆ ทำงานอย่ า งไรและสั ม พั น ธ์ ก ั น อย่ า งไรทั ้ ง เป็ น กระบวนการและ เป็นระบบ ในทางธรรมก็เริ่มด้วยแยกองค์ประกอบที่อยู่นิ่ง ๆ เป็นกาย กั บ ใจ ต่ อ จากนั ้ น ก็ แ ยกให้ เ ห็ น การทำงานเป็ น กระบวนการว่ า องค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยแก่กันอย่างไร การแยกองค์ประกอบแบบหลังนี้ จะเห็นได้ในหลัก ปฏิจจ-

สมุปบาท ซึ่งมีองค์ประกอบ ๑๒ ส่วน เป็นปัจจัยแก่กันหมุนเวียนไป เป็นวงจร


48

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

จะพัฒนาศักยภาพของคนให้มีชีวิตแห่งปัญญา ก็ต้องรู้จักธรรมชาติของชีวิตซึ่งจะทำหน้าที่ศึกษา

อย่างไรก็ตาม ระบบการทำงานของชีวิตมนุษย์มีความพิเศษ ต่างออกไปจากระบบการทำงานของรถยนต์เป็นต้น กล่าวคือ วัตถุ ต่าง ๆ เช่นรถยนต์เป็นต้น แม้จะเคลื่อนไหวได้ แต่ก็ไม่มีชีวิต ไม่มี เจตจำนงหรือเจตนา มันจะเคลื่อนไหวไปไหน ก็ต้องมีคนมาขับขี่บังคับ ลำพังตัวมัน องค์ประกอบทั้งหลายทั้งระบบก็ทำงานเคลื่อนไหวอยู่ อย่างนั้น ๆ เท่าเดิม แต่ระบบการทำงานของชีวิตมนุษย์ไม่ได้วนอยู่ในวงจรเท่าเดิม อย่างนั้น มนุษย์มีเจตจำนงหรือมีเจตนา และมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ปัญญาเป็นต้น ทำให้การเคลื่อนไหวของชีวิตมนุษย์มีการปรับตัว ปรับปรุงพัฒนาระบบการทำงานของตัวมันเอง และจัดการกับสิ่งอื่น ภายนอกได้ด้วย การทำงานขององค์ ป ระกอบทั ้ ง หลายของชี ว ิ ต มนุ ษ ย์ ที ่ ม ี ลักษณะพิเศษอย่างนี้ เรียกง่าย ๆ ว่า เป็น ระบบการเป็นอยู่ หรือ การดำเนินชีวิต ซึ่งเราก็จะต้องศึกษาให้เห็นองค์ประกอบต่าง ๆ ของมัน และการที่องค์ประกอบเหล่านั้นทำงานสัมพันธ์กันในการที่มัน จะเป็นอยู่ เจริญงอกงาม พัฒนาไป และจัดการกับสิ่งอื่น ๆ ภายนอก ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ชีวิตมนุษย์ ที่เป็นอยู่หรือดำเนินไปทั้งระบบนี้แยกองค์ประกอบ ได้ ๓ ส่วนใหญ่ คือ ๑. การเคลื่อนไหวติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งปรากฏออกมาทางกาย


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

49

วาจา จะใช้คำตามภาษาสมัยใหม่ว่า “พฤติกรรม” ก็มีความหมาย แคบเกินไป ขอแต่งเป็นคำใหม่ว่า พฤติสัมพันธ์ ๒. เบื ้ อ งหลั ง การติ ด ต่ อ สั ม พั น ธ์ แ ละพฤติ ก รรมที ่ แ สดงออก ก็มีกระบวนการทำงานของจิตใจ เริ่มตั้งแต่เจตจำนง (ความตั้งใจ) เพราะการติดต่อสัมพันธ์และพฤติกรรมที่แสดงออกมาทุกอย่างของ มนุษย์ เกิดจากเจตนา คือมีความตั้งใจ จงใจ นอกจากนี้ยังมีแรงจูงใจเป็นตัวกำหนดอีกชั้นหนึ่งว่าจะตั้งใจ อย่างไร แรงจูงใจนี้มีทั้งฝ่ายชั่ว และฝ่ายดี เช่น ความรัก ความโกรธ ความอยากรู้ ความลุ่มหลง ความเคารพ ความริษยา เป็นต้น แล้วก็มีความสุข หรือความทุกข์อยู่ในใจอีก ซึ่งเป็นตัวกำหนด หรือชักจูงความตั้งใจนั้น เช่นว่า เพราะอยากได้สุข จึงเคลื่อนไหว ทำพฤติกรรมแบบนี้ เพราะอยากหนีทุกข์ จึงเคลื่อนไหวทำพฤติกรรม แบบนี้ เพราะฉะนั้น การติดต่อสัมพันธ์และพฤติกรรมจึงไม่ได้เกิดขึ้นมา ลอย ๆ แต่มีปัจจัยขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง คือกระบวนการของจิตใจ (หลายอย่างที่ปัจจุบันมักเรียกเพี้ยนไปว่า “อารมณ์”) เป็นด้านที่ ๒ ในกระบวนการทำงานของชีวิต เรียกสั้น ๆ ว่า จิตใจ ๓. ในการเคลื่อนไหวติดต่อสัมพันธ์ทำพฤติกรรมนั้น คนต้องมี ความรู้ รู้เท่าไรก็ตั้งใจเคลื่อนไหวทำพฤติกรรมได้เท่านั้น ถ้าไม่รู้เลย ความตั้งใจทำพฤติกรรมก็ส่งเดชเรื่อยเปื่อย พอมีความรู้บ้าง ก็ตั้งใจ เคลื่อนไหวทำพฤติกรรมได้ผลขึ้นบ้าง ถ้ารู้มากขึ้น การตั้งใจเคลื่อนไหว ทำพฤติกรรมก็จะซับซ้อนและจะได้ผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น ความรู้จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก ซึ่งทำให้เราตั้ง เจตจำนงได้แค่ไหนว่าจะเอาอย่างไร แล้วก็เคลื่อนไหวทำพฤติกรรม


50

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ออกไปตามนั้น เพราะฉะนั้น แดนรู้จึงเป็นแดนใหญ่ด้านหนึ่งของชีวิต ได้แก่ ปัญญา ถ้าเราพัฒนาปัญญา เราก็จะขยายมิติและขอบเขต ทั้งของด้าน จิตใจ และของด้านพฤติกรรมออกไปทั้งหมด พฤติกรรมของมนุษย์ที่พัฒนาออกมาเป็นกลุ่มเป็นหมู่รวม ๆ กัน เป็นวัฒนธรรมและอารยธรรมนั้น ก็เกิดจากเจตจำนงตามอำนาจของ แรงจูงใจ เช่นความปรารถนาที่จะเอาชนะธรรมชาติ ทำให้อารยธรรม ตะวันตกเจริญมาอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ นี่คือเจตจำนงซึ่งอยู่ใน ด้านจิตใจ แต่เจตจำนงนั้นเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขของความรู้ เขามีความรู้ ความเข้าใจอะไรอย่างไร ก็มีความเชื่อ ยึดถือ และคิดไปได้อย่างนั้น แค่นั้น แล้วก็ตั้งเจตจำนงต่าง ๆ ที่จะทำพฤติกรรมภายในขอบเขต เท่านั้น เพราะฉะนั้น แดนปัญญาคือความรู้จึงยิ่งใหญ่มาก ลั ก ษณะสำคั ญ ของกระบวนการดำเนิ น ชี ว ิ ต ของมนุ ษ ย์ คื อ

การพัฒนาศักยภาพในการที่จะดำเนินชีวิตให้สามารถอยู่รอดและ อยู่ได้อย่างดีงามมีความสุขยิ่งขึ้น หรือพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสัตว์

ที่ประเสริฐยิ่งขึ้น จนถึงความเป็นพุทธะในที่สุด ตกลงว่า ชีวิตของมนุษย์ ที่เป็นกระบวนการเคลื่อนไหวดำเนิน ไปท่ามกลางสิ่งแวดล้อมนี้ แยกเป็น ๓ ด้าน คือ ๑. พฤติสัมพันธ์ ๒. จิตใจ ๓. ปัญญา นี ่ ค ื อ การแยกองค์ ป ระกอบของชี ว ิ ต อี ก แบบหนึ ่ ง ตามหลั ก พระพุทธศาสนา


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

51

เรามักจะติดอยู่แค่การแยกแบบกายกับใจ ซึ่งเป็นการแยกเพื่อ ความรู้เข้าใจ แต่เอามาใช้ปฏิบัติได้น้อย ถ้าเราจะนำพระพุทธศาสนามาใช้ในระดับปฏิบัติการ ในการทำ กิจการต่าง ๆ โดยเฉพาะในการพัฒนามนุษย์ และในการพัฒนาสังคม จะต้องก้าวมาถึงการแยกในระดับกระบวนการดำเนินชีวิต คือแยกเป็น ๓ ด้าน หรือ ๓ แดน อย่างนี้ ถึงตอนนี้เราได้ครบแล้ว เหมือนที่บอกเมื่อกี้ ในตัวอย่างเรื่อง รถยนต์ ซึ่งมีการแยกแยะ ๒ ระดับ คือแยกตอนจอดอยู่นิ่ง ๆ ให้เห็นว่า มี อ งค์ ป ระกอบอะไรบ้ า ง และแยกตอนทำงานคื อ วิ ่ ง แล่ น ไปว่ า

มั น ทำงานอย่ า งไร แต่ ใ นเรื ่ อ งชี ว ิ ต มนุ ษ ย์ เราแยกส่ ว นหรื อ แยก องค์ประกอบ ๓ ระดับ คือ ๑. แยกองค์ ป ระกอบ ตามสภาพหรื อ ในภาวะอยู ่ น ิ ่ ง เฉย (เช่น แยกเป็นรูป+นาม, กาย+ใจ, ขันธ์ ๕) ๒. แยกให้เห็นระบบการทำงานขององค์ประกอบต่าง ๆ ใน กระบวนการหรือวงจรความสัมพันธ์ (เช่น แยกแบบปฏิจจสมุปบาท) ๓. แยกให้ เ ห็ น ระบบและกระบวนการดำเนิ น ชี วิ ต

ที่องค์ประกอบ ๓ ด้านมาร่วมกันขับเคลื่อนชีวิตให้เป็นอยู่ได้ดียิ่งขึ้น ๆ ไปสู่จุดหมายที่จะเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ (แยกเป็น ๓ ด้าน หรือ ๓ แดน คือ ด้านสัมพันธ์ภายนอก ด้านจิตใจ และด้านปัญญา) เมื่อได้ความเข้าใจเป็นพื้นฐานแล้ว ก็ขอจบเรื่องธรรมชาติของ มนุษย์ เท่าที่พอจะใช้แค่นี้ก่อน


52

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

๓ แก่นธรรมเพื่อชีวิต

การดำเนินชีวิตทั้งสามด้าน เป็นปัจจัยเกื้อหนุนกันในการศึกษา

เมื่อรู้ธรรมชาติของสิ่งทั้งหลายและธรรมชาติของมนุษย์แล้ว

ก็เอาความรู้ในความจริงของธรรมชาตินั้นมาใช้ประโยชน์ สาระของพระพุ ท ธศาสนาอยู ่ ต รงนี ้ คื อ การนำเอาความรู ้ ในธรรมชาติและกฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ สนองจุดหมายที่เรา ต้องการ คือการพัฒนามนุษย์ เพราะได้บอกแล้วว่า มนุษย์พัฒนาได้ จนสามารถเป็นอยู่โดยไม่ต้องพึ่งพาอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ในเมื่อกระบวนการของชีวิตที่เคลื่อนไหวไปนั้นแยกเป็น ๓ ด้าน คือ พฤติสัมพันธ์ (ที่เรียกโดยอนุโลมว่าพฤติกรรม) จิตใจ และ ปัญญา เราก็พัฒนาชีวิตทั้ง ๓ ด้านนี้ขึ้นไป ให้ทำอะไรต่ออะไรได้ สำเร็จตามต้องการ จนมีชีวิตที่สมบูรณ์ โดยพัฒนาพฤติกรรมขึ้นไป พัฒนาจิตใจขึ้นไป โดยเฉพาะข้อสำคัญที่สุดต้องพัฒนาปัญญาขึ้นไป เพราะในที่สุด ทุกอย่างจะอยู่ในขอบเขตของปัญญา อย่างที่ว่า

รู้เท่าใด ทำได้เท่านั้น แต่ในทางกลับกัน คนก็พัฒนาปัญญาไม่ได้ ถ้าไม่มีการสื่อ สัมพันธ์ การทำพฤติกรรม และการทำงานของจิตใจมาเกื้อหนุน มีหลักการอยู่ว่า องค์ประกอบทั้ง ๓ ด้านแห่งกระบวนการ ดำเนินชีวิตของมนุษย์ ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

53

แม้ว่าจุดยอดจะอยู่ที่การพัฒนาปัญญา ก็จริง แต่ปัญญานั้น จะเกิดขึ้นมาลอย ๆ ไม่ได้ ต้องอาศัยจิตใจ พร้อมด้วยพฤติกรรม การเคลื่อนไหวและการใช้อินทรีย์สัมพันธ์ ปัญญาอาศัยพฤติสัมพันธ์ (อินทรียสัมพันธ์ และพฤติกรรม) เช่น อย่างง่าย ๆ เราจะได้ความรู้ เราต้องอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเรา สื่อความรู้จากโลกภายนอกเข้ามา เราต้องเคลื่อนไหวเช่นเดิน ไปหาข้อมูล ต้องใช้มือหยิบ ฉวย ค้น แยก เลือก เก็บข้อมูลเป็นต้น ต้องใช้วาจา เช่น รู้จักสอบถาม รู้จักปรึกษา รู้จักพูด เริ่มตั้งแต่รู้จัก

ตั ้ ง คำถาม ถ้ า ไม่ รู ้ จ ั ก ตั ้ ง คำถาม ถามไม่ เ ป็ น พู ด กั บ เขาไม่ รู ้ เ รื ่ อ ง เขาก็ไม่รู้ว่าถามอะไร หรือถ้าถามด้วยคำพูดไม่ดี เขาก็เกลียดเอา ไม่ร่วมมือ ไม่อยากตอบ เพราะฉะนั้นจึงต้องพัฒนาพฤติกรรมให้รู้จักพูด รู้จักตั้งคำถาม ให้ชัดเจน รู้จักพูดให้น่าฟัง ใช้ถ้อยคำสละสลวย พัฒนาพฤติกรรม ให้สัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์อย่างได้ผลดี ให้เขามีไมตรี ให้เขาชื่นชม ให้เขาเต็มใจที่จะร่วมมือ เป็นต้น พร้อมกันนั้นอีกด้านหนึ่ง ปัญญาก็ต้องอาศัยจิตใจ เช่น จิตใจ ต้องเข้มแข็งอดทน มีความเพียรพยายาม แน่วแน่มั่นคง มีสติ มีสมาธิ ถ้าใจเกียจคร้าน ระย่อ ท้อถอย ไม่สู้ พอเจอปัญหาก็ถอย ความคิด

ก็ ไ ม่ ก ้ า ว ปั ญ ญาก็ ไ ม่ พ ั ฒ นา แต่ ถ ้ า ใจสู ้ เข้ ม แข็ ง เดิ น หน้ า ต่ อ ไป ก็สามารถพัฒนาปัญญาได้ หรือถ้าไม่มีสมาธิ ใจฟุ้งซ่าน ก็คิดอะไร สับสนไม่ชัดเจน จึงต้องให้ใจมีสมาธิด้วย ดังนี้เป็นต้น สภาพจิตใจ จึงเกื้อหนุนต่อการพัฒนาของปัญญา จิ ต ใจเป็ น ฐานของพฤติ ก รรม อย่ า งที ่ พู ด แล้ ว ว่ า การ เคลื่อนไหวทำพฤติกรรมของคนเรา เกิดจากความตั้งใจ เราต้องมี


54

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เจตนา ซึ่งประกอบด้วยแรงจูงใจ ถ้าเรามีแรงจูงใจและความตั้งใจที่ดี พฤติกรรมที่ออกไปก็จะดี จิตใจก็ต้องอาศัยพฤติกรรม เพราะพฤติกรรมเป็นเครื่องมือ สนองความต้ อ งการของจิ ต ใจ จิ ต ใจอยากได้ โ น่ น ได้ น ี ่ อยากเห็ น

อยากดู อยากฟัง หรือเกลียดชัง อยากหนี อยากทำลาย อยากไปให้ พ้ น จากสิ ่ ง นั ้ น สิ ่ ง นี ้ เป็ น ต้ น ก็ อ าศั ย พฤติ ก รรม ต้ อ งสำเร็ จ ด้ ว ย พฤติกรรมทั้งนั้น ปัญญาเป็นตัวชี้นำ บอกทาง ให้แสงสว่าง กำกับ ควบคุม ดูแล จัดปรับ แก้ไข ขยายขอบเขต พัฒนา และทำหน้าที่ปลดปล่อย ช่วยให้ เกิดอิสรภาพ ทั้งแก่พฤติกรรม และแก่จิตใจ ปั ญ ญาชี้ น ำพฤติ ก รรม ควบคุ ม กำกั บ ขยายขอบเขต และปลดปล่อยพฤติกรรม อย่างที่พูดไปแล้วว่า พฤติกรรมจะทำอะไร ได้แค่ไหน ก็ได้แค่เท่าที่มีปัญญารู้เท่าใด ถ้าไม่รู้เลย ก็ติดขัด ตัน ถ้ารู้ เข้าใจ พฤติกรรมก็เดินหน้าได้ต่อไป ยิ่งรู้เข้าใจมองเห็นกว้างไกลลึกซึ้ง พฤติกรรมก็ยิ่งกว้างขวางซับซ้อนและทำได้ผลมากขึ้น ๆ ปัญญาบอกทางแก่จิตใจ รวมทั้งชี้นำ กำกับ จัดปรับ แก้ไข ขยายขอบเขต ตลอดจนปลดปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ อย่างที่พูด

ไปแล้ว เช่น พอเจออะไร ถ้าไม่รู้เรื่อง ก็ติดขัดอัดอั้นตันทันที ทำอะไร ไม่ ถู ก เกิ ด ทุ ก ข์ เ ป็ น ปั ญ หา แต่ พ อปั ญ ญามา รู ้ ว ่ า สิ ่ ง นั ้ น คื อ อะไร เป็นอย่างไร จะปฏิบัติต่อมันอย่างไร เราจะเอามันมาใช้ทำอะไรได้ ก็โล่งโปร่งสบายใจ หมดปัญหา ไม่บีบคั้นติดขัดคับข้อง ใจก็โล่งไป เพราะฉะนั ้ น ปั ญ ญามาก็ ท ำให้ จ ิ ต ใจเป็ น อิ ส ระ มี ค วามสุ ข โล่งโปร่ง แก้ปัญหาได้ เรียกว่าเป็นตัวปลดปล่อย คือ liberate จิตใจ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

55

เพราะฉะนั้น ชีวิตทั้ง ๓ ด้าน ของมนุษย์ คือ พฤติกรรม จิตใจ ปัญญา จึงคืบเคลื่อนไปด้วยกันเป็นระบบแห่งกระบวนการ ที่อาศัยซึ่งกันและกัน มนุษย์จึงต้องพัฒนาไปด้วยกันพร้อมทั้ง ๓ อย่าง

บนฐานแห่งหลักความสัมพันธ์ของชีวิตสามด้าน ทรงตั้งหลักไตรสิกขาให้มนุษย์พัฒนาอย่างบูรณาการ

เมื่อรู้เข้าใจหลักความสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กันของชีวิต ๓ ด้าน นั ้ น แล้ ว ก็ น ำหลั ก นั ้ น มาใช้ ใ นการพั ฒ นาชี ว ิ ต เริ ่ ม ตั ้ ง แต่ พั ฒ นา พฤติกรรมให้ดีขึ้น โดยฝึกด้วยความตั้งใจ และมีความเข้าใจ ให้เกิด พฤติกรรมที่ดีงามเกื้อกูลขึ้นมาติดตัวหรือประจำตัว เรียกว่า ศีล โดยทั่วไป ในการฝึกให้เกิดศีลเราจะใช้ “วินัย” เพราะว่าวินัย นั้นเป็นตัวกำหนดรูปแบบ วินัยก็คือการจัดตั้ง วางระบบ กำหนด ระเบียบแบบแผนในสังคมมนุษย์ ถ้าเราไม่มีระบบระเบียบแบบแผน พฤติกรรมของมนุษย์จะวุ่นวายมาก เราจึงใช้วินัยเป็นตัวกำหนดหรือ จัดระบบพฤติกรรม เมื่อพฤติกรรมของคนเป็นไปตามวินัยที่จัดตั้งวางกำหนดไว้

ก็เรียกว่าศีล เวลานี้สับสนกันมาก ระหว่างคำว่า “วินัย” กับ “ศีล” จนกระทั่ง บางทีก็ใช้เป็นอันเดียวกัน หรือไม่ก็แยกห่างกันไปคนละเรื่องเลย ขออธิบายว่า วินัย คือการจัดตั้งวางระบบระเบียบแบบแผน รวมทั้งตัวลายลักษณ์อักษรที่เป็นข้อกำหนดว่า เราจัดวางระเบียบ แบบแผนกำหนดพฤติกรรมกันไว้อย่างไร ส่วนคุณสมบัติของคนที่ตั้งอยู่ในวินัยนั้น เรียกว่า ศีล ก็แค่นี้เอง


56

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

วินัย นั้นอยู่ข้างนอก วินัยเป็นเครื่องมือฝึกคนให้มีพฤติกรรม ที ่ ถู ก ต้ อ งเหมาะสม เป็ น ตั ว หนั ง สื อ บ้ า ง เป็ น ภาวะแห่ ง ความเป็ น ระเบี ย บบ้ า ง เป็ น ระบบแบบแผนที ่ ก ำหนดการฝึ ก บ้ า ง ตลอดจน เป็นการปกครองคือจัดการดูแลควบคุมคนให้ปฏิบัติหรือฝึกตนตาม ระบบระเบียบที่จัดตั้งไว้นั้น เมื่อคนปฏิบัติตาม จนความเป็นระเบียบกลายเป็นคุณสมบัต ิ

ในตัวเขาแล้ว การที่เขาปฏิบัติตามวินัยนั้น เราเรียกว่า ศีล เพราะฉะนั้น คำว่า “มีวินัย” ที่ใช้กันในสมัยนี้ ก็คือศีลนั่นเอง เรื่องนี้ยังมีข้อที่ควรทราบอีกมาก แต่เวลาไม่พอ จะต้องขอผ่าน ไปก่อน พูดคร่าว ๆ ว่า การฝึกพฤติกรรมและการติดต่อสัมพันธ์กับโลก ภายนอกของมนุ ษ ย์ ใ ห้ เ ป็ น ไปในทางที ่ ด ี ง ามเกื ้ อ กู ล จนเกิ ด เป็ น คุณสมบัติขึ้นในตัวของเขา เรียกสั้น ๆ ว่า “ศีล” คือการมีพฤติกรรม และการสื่อสารสัมพันธ์ที่พึงปรารถนา เรียกเต็มว่า “อธิศีลสิกขา” เป็นอันว่า ศีล ก็คือกระบวนการฝึกพฤติกรรมและการติดต่อ สัมพันธ์ของมนุษย์ กับสิ่งแวดล้อมหรือโลกภายนอก การพั ฒ นาด้ า นจิ ต ใจ มี ค ุ ณ สมบั ต ิ ม ากมายที ่ พ ึ ง ต้ อ งการ เช่น เมตตา กรุณา ศรัทธา กตัญญูกตเวที ความเคารพ ความเพียร ความเข้มแข็ง อดทน ความมีสติ ความมีสมาธิ ความร่าเริง เบิกบาน ผ่องใส ความสุข ฯลฯ เรียกว่า “อธิจิตตสิกขา” แต่ บ างที เ รี ย กชื ่ อ ให้ ส ั ้ น และง่ า ยเข้ า โดยเอาสมาธิ ซึ ่ ง เป็ น คุณสมบัติที่เป็นแกนสำคัญมาเป็นตัวแทน จึงเรียกการพัฒนาด้านจิต ทั้งหมดว่า สมาธิ คำที่นิยมพูดกันในปัจจุบันว่า “การพัฒนาทางอารมณ์” ก็เป็น คำพูดเพี้ยนไป ซึ่งมีความหมายรวมอยู่ใน การพัฒนาด้านจิตใจ

ที่กำลังอธิบายอยู่นี้


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

57

ทำไมจึงว่า สมาธิ เป็นคุณสมบัติแกน ถึงกับเป็นตัวแทนที่ใช้ เรียกชื่อการพัฒนาด้านจิตทั้งหมด? ตอบว่า ในการพัฒนาจิตของคนนี้ มีคุณสมบัติสำคัญที่สุด อยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าขาดไปเสีย คุณสมบัติอย่างอื่นก็จะตั้งอยู่ไม่ได้ และการพัฒนาด้านจิตใจก็จะดำเนินไปไม่ได้ เหมือนกับว่าเรามีของมากมาย เราจะจัดเก็บตั้งมันไว้ หรือเรา จะทำงานกับมัน หรือจะให้ของเหล่านั้นเจริญงอกงามขึ้นไป หรืออะไร ก็แล้วแต่ มีสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง คือฐานที่ตั้งหรือที่รองรับที่มั่นคง เช่นจะวางของบนโต๊ะ โต๊ะก็ต้องมั่น ถ้าโต๊ะสั่นไหว ของอาจจะ ล้มหรือหล่นหายไปเลย หรือจะทำงานกับของเหล่านั้น ก็ไม่สะดวก หรือไม่สำเร็จ แต่ถ้าโต๊ะที่ตั้งที่วางหรือที่รองรับนั้นมั่นคงไม่หวั่นไหว ของนั้นก็ตั้งอยู่ จะจัดจะทำอะไรกับมัน หรือจะให้เกิดการเคลื่อนไหว งอกงามเจริญขึ้น ก็ทำได้ ในทางจิตใจก็เหมือนกัน คุณสมบัติที่เป็นแกนในการพัฒนา จิตใจ ก็คือภาวะที่จิตอยู่ตัวได้ที่ ซึ่งช่วยให้คุณสมบัติอื่น ๆ ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามได้ ตลอดจนช่วยให้ปัญญาทำงานได้ดี คุณสมบัติตัวแกนนี้เรียกว่า สมาธิ แปลว่าจิตตั้งมั่น คือจิต อยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการ ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิ มันก็ไม่อยู่กับ สิ่งที่ต้องการ หรืออยู่กับสิ่งที่ต้องการไม่ได้ตามต้องการ เช่นอยู่กับ หนังสือ อยู่กับงานไม่ได้เลย เดี๋ยวไป ๆ สมาธิ น ี ่ แ หละเป็ น ตั ว แทนของกระบวนการพั ฒ นาจิ ต เพราะฉะนั้น จึงเอาคำว่า “สมาธิ” มาเรียกแทนการพัฒนาคุณสมบัติ ด้านจิตทั้งหมด นี่เรียกว่าเป็นวิธีเรียกแบบตัวแทน แต่ตัวแทนนี้เป็น ตัวแกนด้วย


58

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ส่วนการพัฒนาปัญญา เรียกชื่อเต็มว่า “อธิปัญญาสิกขา” แต่นิยมเรียกง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า ปัญญา คือกระบวนการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เป็นอันว่า การพัฒนามนุษย์ก็อยู่ที่ ๓ ด้าน หรือ ๓ แดนนี้

ซึ่งดำเนินไปด้วยกันอย่างเกื้อหนุนแก่กันเป็นระบบแห่งบูรณาการ การฝึกฝนพัฒนามนุษย์ เริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ต่าง ๆ นี้ ศัพท์บาลี เรียกว่า สิกขา ฉะนั้นการฝึก ๓ ด้านที่พูดมาแล้วจึงเป็นสิกขา ๓ ด้าน คำว่า ๓ นั้นภาษาบาลีคือ “ติ” ถ้าเป็นสันสกฤตก็คือ “ไตร” ฉะนั้น จึงเป็น ไตรสิกขา ไตรสิกขาก็แยกเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ดังกล่าวแล้ว ซึ่งก็คือ กระบวนการพัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญาเพื่อให้ ชีวิตมนุษย์ดำเนินไปสู่ความสมบูรณ์ คือภาวะที่เป็นผู้มีวิชาแล้ว มีชีวิต เป็นอยู่ด้วยปัญญา ไม่ต้องมีชีวิตอยู่โดยพึ่งพาอาศัยอวิชชา ตัณหา อุ ป าทาน และไม่ ต กอยู ่ ใ ต้ อ ำนาจครอบงำของมั น อี ก ต่ อ ไป ก็ ค ื อ พ้นทุกข์ โดยกำจัดสมุทัยได้ บรรลุจุดหมาย คือ นิโรธ เพราะปฏิบัติ ตามมรรคได้ครบถ้วน จะเห็นว่า อริยสัจสี่มาครบหมดเลยทีเดียว เรื ่ อ งไตรสิ ก ขา คื อ การที ่ จ ะพั ฒ นาพฤติ ก รรม จิ ต ใจ และ ปัญญานั้น มีรายละเอียดมาก ดังนั้น เพื่อให้สะดวกในการปฏิบัติ ท่ า นจึ ง จำแนกออกไปเป็นข้อปฏิบัติย่อย ทีล ะหมวดที ล ะประเภท ซึ ่ ง มี ม ากมาย คื อ ข้ อ ปฏิ บ ั ต ิ แ ละคุ ณ สมบั ต ิ ท ั ้ ง หลายที ่ ก ล่ า วไว้ ใ น พระพุทธศาสนา


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เมื่อพัฒนาด้วยไตรสิกขา ชีวิตก็เป็นอริยมรรคา เพราะชีวิตที่ดี คือชีวิตที่ศึกษา

59

ชีวิตต้องเป็นอยู่ดำเนินไปตลอดเวลาการที่ชีวิตเป็นอยู่ดำเนินไป ก็คือการที่ต้องเคลื่อนไหวพบประสบการณ์ใหม่ ๆ เจอสถานการณ์

ใหม่ ๆ ซึ ่ ง จะต้ องรู้จักต้องเข้าใจ ต้องปฏิบั ต ิ ห รื อ จั ด การอย่ า งใด อย่างหนึ่ง หรือหาทางแก้ไขปัญหาให้ผ่านรอดหรือลุล่วงไป ทั้งหมดนี้ เรียกสั้น ๆ ก็คือสิกขา หรือการศึกษา เพราะฉะนั้น การที่ชีวิตจะเป็นอยู่ได้ ก็ต้องศึกษาหรือสิกขา ตลอดเวลา พูดสั้น ๆ ว่า ชีวิตคือการศึกษา หรือชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มี สิกขา หมายความว่ามีการเรียนรู้ หรือมีการฝึกฝนพัฒนาไปด้วย พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การดำเนินชีวิตที่ดี จะเป็นชีวิตแห่งสิกขา ไปในตัว เราเคยได้ยินว่า ฝรั่งบางพวกว่าชีวิตคือการต่อสู้ บ้างก็ว่าชีวิต เป็ น ความฝั น แต่ ถ ้ า พู ด ตามหลั ก พระพุ ท ธศาสนา “ชี วิ ต คื อ

การศึกษา” ถ้าใช้ภาษาฝรั่งก็ต้องพูดว่า To live is to learn. หรือ Life is learning. ตรงนี้เป็นการประสานระหว่างการพัฒนามนุษย์หรือการเรียนรู้ ฝึกฝนพัฒนามนุษย์ ที่เรียกว่าสิกขา/ศึกษา กับการดำเนินชีวิตที่ดีของ มนุษย์ที่เรียกว่ามรรค ให้เป็นอันเดียวกัน คือ การดำเนินชีวิตชนิดที่มี การศึกษาพัฒนาชีวิตไปด้วยในตัว จึงจะเป็นชีวิตที่ดี ศีล สมาธิ ปัญญา คือการพัฒนาพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา หรื อ การศึ ก ษา ๓ ด้ า นที ่ พู ด ไปแล้ ว เมื ่ อ ขยายออกเป็ น ข้ อ ปฏิ บ ั ต ิ

ก็มาเป็นมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง


60

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ในทำนองเดียวกัน มรรคมีองค์ ๘ เมื่อสรุปก็เป็น ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ฉะนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ อย่างของไตรสิกขา กับมรรค มีองค์ ๘ ประการ จึงตรงกัน กล่าวคือ ด้านศีล กระจายออกเป็นสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และ สัมมาอาชีวะ นี่คือการใช้กายและวาจาให้ถูกต้องดีงาม ทั้งในการ กระทำทั่วไป ในการสื่อสารสัมพันธ์ และในการเลี้ยงชีพ ให้ถูกต้อง ด้านจิตใจ มีมากมาย แต่ตัวนำสำคัญมี ๓ คือ ต้องมีความ เพียรพยายาม เดินไปข้างหน้า เรียกว่า สัมมาวายามะ ต้องมีสติเป็น ตัวคอยจับคอยกำหนดให้ทำงานได้ และเป็นตัวเตือนให้ไม่เผลอพลาด และไม่ปล่อยโอกาสให้เสียไป เรียกว่า สัมมาสติ กับทั้งต้องมีสมาธิให้ จิตแน่วแน่ มีความสงบ ดำเนินไปอย่างมั่นคง เรียกว่า สัมมาสมาธิ ด้ า นปั ญ ญา แยกเป็ น ๒ คื อ สั ม มาทิ ฏ ฐิ มี ค วามเห็ น ความเข้าใจถูกต้อง และสัมมาสังกัปปะ ดำริถูกต้อง คือ วางแนวทาง ความคิดที่จะนำชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง พอเริ่มกระบวนการโดยมีความรู้เข้าใจที่ทำให้วางแนวความคิด ถูกต้อง ทั้งเจตจำนง ความเพียรพยายาม และสติที่กำกับ เป็นต้น มาสนองแนวความคิดนี้ พฤติกรรมก็มาสนองเจตจำนงและความเพียร พยายามนั ้ น จึ ง ดำเนิ น ชี ว ิ ต ไปด้ ว ยการเรี ย นรู ้ แ ละปฏิ บ ั ต ิ ต ่ อ ประสบการณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้องได้ผลดี ไตรสิกขา ก็มาประสานกับมรรค ไตรสิกขา ก็คือการพัฒนามนุษย์ให้ดำเนินชีวิตดีงามถูกต้อง ทำให้มีวิถีชีวิตที่เป็นมรรค


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

61

ส่วนมรรค ซึ่งแปลว่าทาง คือทางดำเนินชีวิต หรือวิถีชีวิต ที่ถูกต้องดีงามของมนุษย์ ก็ต้องเป็นวิถีชีวิตแห่งการเรียนรู้ฝึกฝน พัฒนาตน คือสิกขา มรรคกับสิกขา จึงประสานเป็นอันเดียวกัน เมื่อมองในแง่ อริยสัจสี่ ก็เป็น อริยมรรค คือเป็นวิถีชีวิตอันประเสริฐ เมื่อเป็นมรรค ก็ดำเนินก้าวหน้าไปสู่จุดหมาย โดยกำจัดสมุทัย ให้หมดไปเรื่อย ๆ ช่วยให้เรามีชีวิตที่พึ่งพาอวิชชา ตัณหา อุปาทาน น้อยลงไป ๆ ไม่อยู่ใต้อำนาจครอบงำของมัน พร้อมกับที่เราจะมี ปัญญาเพิ่มขึ้น และดำเนินชีวิตด้วยปัญญามากขึ้น ทุกข์ก็จะน้อย ลงไป สุ ข จะมากขึ ้ น ตามลำดั บ จนกระทั ่ ง ในที ่ ส ุ ด พอสมุ ท ั ย หมด ทุกข์ก็หมด ก็บรรลุจุดหมายเป็นนิโรธโดยสมบูรณ์

จุดเริ่มของการศึกษา มีช่องทางที่ชีวิตเตรียมไว้ให้ แต่ต้องใช้เป็น จึงจะเกิดการพัฒนา

เรื่องไม่จบเท่านี้ เมื่อแยกแยะออกไป ก็ถึงองค์ประกอบที่เรา ต้องการสุดยอดคือ ปัญญา อย่ า งที ่ ก ล่าวแล้วว่า มนุษย์จะตั้งจิตจำนงในใจ และจะทำ พฤติกรรมได้แค่ไหน ก็อยู่ในขอบเขตของปัญญา และปัญญาเป็นตัว แก้ปัญหาที่แท้จริง แต่ ป ั ญ ญาจะเกิ ด ขึ ้ น มาได้ อ ย่ า งไร เราก็ ต ้ อ งรู ้ ก ระบวนการ พัฒนาของปัญญา การที่จะเข้าใจเรื่องนี้ ก็ต้องย้อนกลับไปพูดเรื่อง ธรรมชาติของมนุษย์ใหม่อีก หั น มาดู ท ี ่ ต ั ว มนุ ษ ย์ เ องว่ า มนุ ษ ย์ เ รี ย นรู้ ไ ด้ อ ย่ า งไร และ พร้อมกันนั้น มนุษย์สัมพันธ์กับโลกและสิ่งแวดล้อมอย่างไร ก็ต้อง ดูที่เครื่องมือสื่อสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมี ๒ ประเภทคือ


62

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

๑. มนุษย์สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยสิ่งที่เรียกว่า อินทรีย์ หรือ อายตนะ ๖ อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อินทรีย์เหล่านี้เป็นทาง หรือเป็นประตูที่เข้ามาของความรู้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เรียกว่าการรับรู้ เพราะฉะนั้น อินทรีย์พวกนี้ทั้งหมดเรียกว่า ทวาร ๖ ซึ่งแปลว่า ประตู หรือช่องทาง การที่เรียกว่าอายตนะ ก็เพราะเป็นแดนต่อระหว่างชีวิตของเรา กับโลก และที่เรียกว่าอินทรีย์ เพราะทำงานเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตัว เช่น ตาเป็นอินทรีย์ในการเห็น หูเป็นอินทรีย์ในการฟัง เป็นต้น และ ชื่อว่าทวาร ในแง่เป็นประตู หรือเป็นช่องทางเชื่อมต่อระหว่างชีวิตกับ โลก เป็นช่องทางเข้ามาของข้อมูลต่าง ๆ เป็นทางสัมพันธ์ซึ่งมี ๖ อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๒. เราติ ด ต่ อ สั ม พั น ธ์ ก ั บ โลกภายนอก ด้ ว ยพฤติ ก รรมที ่ แสดงออกทางประตู หรือทวาร ๓ คือ กาย วาจา ใจ เราสั ม พั น ธ์ ก ั บ โลกภายนอก โดยเคลื ่ อ นไหวจั บ โน่ น จั บ นี ่ ด้วยกาย ติดต่อสัมพันธ์สื่อสารกับโลกมนุษย์ภายนอก โดยพูดจาบอก แจ้งไถ่ถามชี้แจง ด้วยวาจา และมีเจตจำนง ตั้งเจตนา คิดการต่าง ๆ ด้วยใจ สรุปว่า การเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในโลกทั้งหมด มีช่องทางติดต่อ คือทวาร ๒ ชุด คือ ๑. ทวาร ประเภทช่องทางที่จะรู้ ๖ ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (เรียกเต็มว่า ผัสสทวาร ๖ = ช่องทางรับรู้)


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

63

๒. ทวาร ประเภทช่องทางที่จะทำ ๓ ทาง คือ กาย วาจา ใจ (เรียกเต็มว่า กรรมทวาร ๓ = ช่องทางทำการ) การเกี่ยวข้องกับโลกหรือสิ่งแวดล้อมในด้านการกระทำนี้เรียกว่า กรรม ซึ่งแยกเป็น การกระทำทางกายเรียกว่า กายกรรม การกระทำ ทางวาจาเรียกว่า วจีกรรม การกระทำทางใจเรียกว่า มโนกรรม เมื่อจับหลักนี้ได้ เราก็เข้าสู่กระบวนการพัฒนามนุษย์ที่จะต้อง อาศัยประตู หรือทวาร ทั้ง ๙ (๖+๓) นี้ เริ่มด้วยทวารชุด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เรียกว่าอินทรีย์ หรือ อายตนะ ๖ นั้น เราใช้มันเพื่ออะไร มันทำหน้าที่อะไร ถ้าเราไม่รู้หน้าที่หรือการทำงานของมัน เราก็ใช้มันสะเปะสะปะ เรื่อยเปื่อย คือใช้ไม่เป็น ไม่มีประสิทธิภาพ เราก็ไม่พัฒนา แต่ถ้าเรารู้ เข้าใจ และใช้มันให้ถูกต้อง เราก็จะพัฒนาได้อย่างดี พูดแบบง่าย ๆ ว่าโดยสรุป หน้าที่ของอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แยกได้ ๒ อย่าง คือ ๑. หน้าที่รู้ คือ รับรู้ข้อมูลข่าวสาร เช่น ตาดู รู้ว่าเป็นอะไร ว่าเป็นนาฬิกา เป็นกล้องถ่ายรูป เป็นดอกไม้ ใบไม้สีเขียว สีแดง สีเหลือง รูปร่างยาวสั้นใหญ่เล็ก หูได้ยินเสียงว่า ดัง เบา เป็นถ้อยคำ สื่อสารว่าอย่างไร เป็นต้น ทำให้ได้ data และ information ๒. หน้ า ที่ รู้ สึ ก หรื อ รั บ ความรู ้ ส ึ ก คื อ พร้ อ มกั บ รั บ รู ้ ข ้ อ มู ล

เราก็มีความรู้สึกด้วย บางทีตัวเด่นกลับเป็นความรู้สึก เช่น เห็นแล้ว รู ้ ส ึ ก สบายหรื อ ไม่ ส บาย ถู ก ตาไม่ ถู ก ตา สวยหรื อ น่ า เกลี ย ด ถู ก หู

ไม่ถูกหู เสียงนุ่มนวลไพเราะหรือดังแสบแก้วหูรำคาญ เป็นต้น จะเห็ น ว่ า อินทรีย์ หรืออายตนะ หรือ ทวาร ๖ นี ้ ท ำหน้ า ที ่ ๒ อย่างพร้อมกัน ทั้งรับรู้ข้อมูลด้วย และรับความรู้สึกด้วย พร้อมกัน


64

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

การรับด้านรู้ข้อมูล เรียกว่า ด้านศึกษา การรับด้านความรู้สึก เรียกว่า ด้านเสพ เป็นอันว่า อายตนะทำหน้าที่ ๒ อย่างคือ ศึกษา กับ เสพ ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น ถ้าจะให้มนุษย์พัฒนา มนุษย์จะต้องใช้อินทรีย์เพื่อรู้หรือศึกษา ให้มาก ส่วนมนุษย์ที่ไม่พัฒนา จะใช้อินทรีย์เพื่อเสพเป็นส่วนใหญ่ บางทีแทบไม่ใช้เพื่อการศึกษาเลย เอาแต่หาเสพสิ่งชอบใจไม่ชอบใจ ถูกหู ถูกตา เอาสวยงาม สนุกสนานบันเทิงเข้าว่า กุ ญ แจสำคั ญ ที ่ จ ะตั ด สิ น ว่ า มนุ ษ ย์ จ ะให้ ช ี ว ิ ต ของตั ว เองเป็ น อย่างไร จะพัฒนาหรือไม่ จะช่วยให้โลกหรือสังคมไปทางไหน ก็อยู่ที่ การใช้อินทรีย์นี้แหละ คนที่ไม่พัฒนาก็จะใช้อินทรีย์เพื่อเสพสนองความรู้สึก อยู่กับ ความรู้สึกสบายไม่สบาย สุขทุกข์ ชอบใจไม่ชอบใจ แล้วก็วนเวียน อยู่นั่น สุขทุกข์ของเขาอยู่ที่ความชอบใจไม่ชอบใจ เจอสิ่งชอบใจ ก็เป็นสุข เจอสิ่งไม่ชอบใจก็เป็นทุกข์ แล้วก็หาทางหนีสิ่งที่ไม่ชอบใจ หาแต่สิ่งชอบใจ วนเวียนอยู่แค่นี้ แต่ถ้าใช้อินทรีย์เพื่อศึกษาสนองความต้องการรู้ ก็จะใช้ตา หู เป็นต้นไปในทางการเรียนรู้ และจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ ปัญญาจะเกิด จะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร แล้วต่อไปก็จะถึงจุดแยก คนที่อยู่กับการใช้อินทรีย์เพื่อเสพความรู้สึก ความสุขของเขาก็ จำกัดอยู่กับสิ่งที่ชอบใจแต่คนที่ใช้อินทรีย์เพื่อศึกษาจะพัฒนาความสุข ให้ขยายขอบเขตกว้างขวางออกไปพร้อมกับแรงจูงใจที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เมื่อคนเริ่มศึกษา การพัฒนาก็เริ่มทันที ความต้องการอย่างใหม่ก็มี ความสุขอย่างใหม่ก็มา

65

ตอนนี้พึงทราบว่ามีแรงจูงใจ ๒ แบบ แรงจูงใจแบบที่ ๑ คือแรงจูงใจในการเสพ เรียกว่าตัณหา ซึ่งมา กับเรื่องของความรู้สึก แรงจูงใจแบบที่ ๒ คือแรงจูงใจในการศึกษา (และสร้างสรรค์) เรียกว่า ฉันทะ ซึ่งมากับเรื่องของความรู้ ตัณหาเป็นความต้องการประเภทความรู้สึก คือมีปฏิกิริยาสนอง ตอบต่อสิ่งที่ชอบใจ-ไม่ชอบใจ ถ้าชอบใจสิ่งใดก็จะเกิดกามตัณหา ปรารถนาจะได้ เ สพสิ ่ ง นั ้ น อี ก และมากขึ ้ น ยิ ่ ง ขึ ้ น ไป เกิ ด ภวตั ณ หา

อยากคงอยู ่ เ ป็ น อยู ่ ใ นภาวะหรื อ สถานะที ่ จ ะได้ ส ิ ่ ง ที ่ ป รารถนานั ้ น ตลอดไป ถ้าไม่ชอบใจก็จะเกิด วิภวตัณหา อยากจะหนี อยากจะ หลบหาย อยากจะทำลาย คนที่เป็นนักเสพจึงวนเวียนอยู่กับแรงจูงใจ ที่เรียกว่า ตัณหา แต่พอใช้อินทรีย์เพื่อศึกษา ก็เกิดการเรียนรู้ พอได้ความรู้มาก็จะ เกิดความอยากรู้ยิ่งขึ้นไปว่าอะไรเป็นอะไร พอได้สนองความอยากรู้ ก็เกิดความสุข จากการสนองความต้องการในการรู้ ความสุขจะพัฒนาขึ้น ตอนนี้จะมีความสุขจากการสนองความใฝ่รู้ ยิ่งกว่านั้น พอรู้ว่าอะไรเป็นอะไร เขาจะเริ่มแยกได้ว่า เออ...สิ่งนี้ มันอยู่ในภาวะที่ควรจะเป็นไหม ปัญญาที่รู้ที่แยกได้ จะทำให้เกิด ความอยากหรือความต้องการคืบเคลื่อนก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง คืออยากให้ สิ่งนั้น ๆ อยู่ในภาวะที่มันควรจะเป็น ซึ่งเป็นธรรมดาของการศึกษา


66

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ที่จะเป็นอย่างนั้นเอง เพราะความรู้ทำให้เราแยกหรือจำแนกได้ เราเห็น โต๊ ะ ตั ว นี ้ ส มบู ร ณ์ เ รี ย บร้ อ ย เราก็ พ อใจ พอเห็ น ตั ว นั ้ น ไม่ ส มบู ร ณ์ บกพร่อง เราก็อยากให้มันสมบูรณ์ เมื่อความรู้แยกแยะให้แล้ว ก็จะเกิดความต้องการหรือเกิด ความอยากชนิดใหม่ คืออยากให้มันอยู่ในภาวะที่ควรจะเป็น ซึ่งเรียก สั้น ๆ ว่าอยากให้มันดี ถ้ามันยังไม่ดีก็อยากให้มันดี แล้วก็ก้าวไปสู่ การอยากทำให้มันดี และก้าวไปสู่พฤติกรรมในการกระทำเพื่อให้มันดี ตอนนี้แหละพฤติกรรมในการกระทำ (เพื่อให้มันดี) ก็เกิดขึ้น พอทำให้ดีได้ ก็เกิดความสุข เพราะความสุขเกิดจากการสนอง ความต้องการ เมื่อเราพัฒนาความต้องการอย่างใหม่ขึ้นได้ ความสุข ก็พัฒนาไปด้วย ถ้าเราไม่พัฒนาความต้องการ ความสุขของเราก็จำกัดอยู่กับ การเสพ คือต้องการสิ่งชอบใจและไม่ต้องการสิ่งไม่ชอบใจ แล้วก็ วนเวียนอยู่กับตัณหา พอเราพัฒนาในด้านความรู้ เราใช้อายตนะในเชิงศึกษาเรียนรู้ ก็เกิดความอยากรู้ ซึ่งเป็นความต้องการใหม่ เมื่อหาความรู้เพื่อสนอง ความต้องการที่จะรู้ ก็ได้ความสุขจากการเรียนรู้ เมื ่ อ ต้ อ งการให้ ม ั น ดี อยากให้ ม ั น ดี และได้ ท ำเพื ่ อ สนอง ความต้องการที่อยากให้มันดีนั้นได้ ก็เกิดความสุขจากการทำให้มันดี การกระทำก็กลายเป็นความสุข หรือการสร้างสรรค์เป็นความสุข คนก็ได้ความสุขจากการสร้างสรรค์ เพราะฉะนั้น มนุษย์จึงพัฒนาด้วยการศึกษา คือ พัฒนาชีวิต ของตน โดยพัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ พัฒนาปัญญา ซึ่งรวมทั้ง พัฒนาความสุขด้วย


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

67

ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ คือ การพัฒนาความสุข ซึ่งเกิดจาก

การสนองความต้องการใหม่ ที่เรียกว่า ใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่ทำให้ดี หรือ ความอยากรู้และอยากทำให้มันดี ซึ่งทางพระเรียกว่า ฉันทะ เป็นแรง จูงใจชนิดใหม่ ซึ่งถ้าไม่มีการศึกษา ก็จะไม่มีแรงจูงใจชนิดนี้ ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงให้เราลดตัณหา พยายามทำตัณหา ให้น้อยลง คืออาศัยมันและขึ้นต่อมันให้น้อยลง พร้อมกับพัฒนาและ ใช้ฉันทะให้มากขึ้น แต่ เ รามั ก จะพู ด กั น ด้ า นเดี ย ว บอกให้ ล ดละตั ณ หา ทำให้

เกิดความเข้าใจผิดว่าความอยากความต้องการต้องลดละให้หมด กลายเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง พระพุ ท ธศาสนาแยกไว้ว่า ความอยาก มี ๒ ประเภท คื อ

ความอยากที่เป็นกุศล กับ ความอยากที่เป็นอกุศล ๑. ความอยากที่เป็นอกุศลเรียกว่า ตัณหา ความอยากแบบนี้ ถ้าเราตกเป็นทาสของมันแล้ว จะไม่พัฒนา ได้แต่จมอยู่กับความสุข และความทุกข์จากความชอบใจและไม่ชอบใจ ๒. ความอยากที่เป็นกุศลเรียกว่า ฉันทะ ถ้าเราพัฒนาปัญญา ความปรารถนาที่เป็นแรงจูงใจชนิดใหม่ก็จะเกิดขึ้น ซึ่งทำให้เราได้ ความสุขชนิดใหม่ และจะนำเราก้าวหน้าไปในการพัฒนาชีวิต พอเกิดฉันทะ พระพุทธเจ้าตรัสว่า นี้คือ แสงเงินแสงทองของ ชีวิตที่ดีงาม เป็นรุ่งอรุณของการศึกษา ถ้าเด็กคนไหนเกิดฉันทะ เกิดความใฝ่รู้ เกิดความใฝ่ดี เกิดความ ใฝ่จะทำให้ดี หรือเกิดความใฝ่สร้างสรรค์ขึ้นมาแล้ว มั่นใจได้เลยว่า

เด็กคนนั้นจะพัฒนาแน่ ๆ เพราะแสงเงินแสงทองมาแล้ว เราจึงเรียก มันว่ารุ่งอรุณของการศึกษา


68

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เพราะฉะนั ้ น ต้ อ งให้ ค นเกิ ด ความอยากที่ เ รี ย กว่ า ฉั น ทะ และเลิกละความเข้าใจผิดที่บอกว่าความอยากเป็นตัณหาหมด ซึ่งทำให้เลยเถิดไป กลายเป็นว่าอยากอะไรไม่ได้ ต้องละ ต้องลด ต้องกำจัดหมด ถ้าจะปฏิบัติให้ถูก ต้องไม่มัวลดละความอยาก แต่ต้องเปลี่ยน ความอยากที่เป็นอกุศล มาเป็นความอยากที่เป็นกุศลคือฉันทะนี้ ให้ได้ ชีวิตก็จะดี ชาติประเทศก็จะพัฒนา ใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่สร้างสรรค์ หรือใฝ่รู้-ใฝ่ดี-ใฝ่ทำให้มันดี นี่คือกุญแจดอกแรกที่จะไขเข้าไปสู่ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ต้องเข้าใจระบบ ถ้าไม่เข้าใจระบบของพระพุทธศาสนาอย่าง เป็นภาพรวมแล้ว เราจะไม่มีวันเข้าใจพระพุทธศาสนาที่แท้จริงเลย ได้พยายามพูดให้เห็นตัวแท้ของพระพุทธศาสนาคือการเข้าถึง ความจริงของธรรมชาติ และนำความรู้ในความจริงของธรรมชาตินั้น มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชีวิตของมนุษย์ ให้เป็นชีวิตที่ดีงาม และ มีสังคมที่อยู่ในสันติสุข เริ่มแรก พอเกิดมา เราก็มีอินทรีย์ที่เป็นเครื่องมือในการดำเนิน ชีวิต ซึ่งใช้ติดต่อสื่อสารกับสิ่งแวดล้อมหรือโลกภายนอก ตอนนี้แหละ การดำเนินชีวิตที่ถูกหรือผิด ก็เริ่มทันที จากที่พูดมานี้ ก็เป็นอันว่า ช่องทางติดต่อสื่อสารกับโลกโดยทาง อายตนะ หรืออินทรีย์ ๖ ที่เป็นทั้งแดนศึกษาและแดนเสพนี้ ในการ พัฒนาคน เราต้องใช้มันเพื่อการศึกษาให้มากขึ้น ให้เกิดความใฝ่รู้-

ใฝ่ดี-ใฝ่ทำให้ดี พูดสั้น ๆ ก็คือ ใฝ่ศึกษาและใฝ่สร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ก็คือใฝ่ศึกษา ใฝ่ดี-ใฝ่ทำให้มันดี ก็คือใฝ่สร้างสรรค์


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

การพัฒนามนุษย์มีแหล่งใหญ่อยู่ในมโนกรรม จุดสำคัญนี้ถ้าพลาดไป ก็คือช่องทางใหญ่ให้หายนะเข้ามา

69

ได้พูดแล้วว่า มี ทวาร คือช่องทางอีกประเภทหนึ่ง คือช่องทาง ของการกระทำ ได้แก่การแสดงออกทางกายวาจาใจ เมื ่ อ เกิ ด มี ป ั ญ ญา และมี เ จตจำนงที ่ ด ี ม ากขึ ้ น เราก็ พ ั ฒ นา การกระทำของเราทั้ง ๓ ทางนั้นให้ดียิ่งขึ้น คือ มโนกรรม ความคิดของเราก็ดีขึ้น วจีกรรม การพูดของเราก็ดีขึ้น กายกรรม การกระทำทางกายของเราก็ดีขึ้น กรรม ๓ ทางนี้ก็เป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์ที่ครบวงจร จำไว้อย่างหนึ่งว่า พระพุทธศาสนาถือว่า มโนกรรมสำคัญ ที่สุด คนทั่วไปมักเห็นว่ากายกรรมสำคัญที่สุด เพราะถึงขั้นลงมือ

ลงไม้ เอาอาวุธไปฟันไปฆ่าเขาได้ แต่ ขอให้พิจารณาดูหลักที่พระพุทธเจ้า ตรัส ไว้ว ่า “กมฺ มุ น า

วตฺตตี โลโก” โลก (สังคมมนุษย์) เป็นไปตามกรรมนั้น เงื่อนไขนี ้

มาจากมโนกรรมเป็นสำคัญ โลกนี้ทั้งโลก ไม่ใช่ถูกขับเคลื่อนด้วยกายกรรมเป็นใหญ่ แต่มัน มาจากมโนกรรม กระบวนการรู้สึกนึกคิดเชื่อถือในใจของคนนี่แหละ เป็นปัจจัยสำคัญ เจตจำนงแรงจูงใจมาจากไหน ก็มาจากแนวความคิด มาจาก ความเชื่อ มาจากความยึดถือในค่านิยมหลักการอุดมการณ์เป็นต้น ตรงนี้แหละสำคัญที่สุด


70

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เมื่อมีความเชื่อ มีแนวคิด มีการยึดถืออุดมการณ์ หรือแม้เพียง ค่านิยม ซึ่งทางพระใช้ศัพท์เดียวง่าย ๆ ว่า “ทิฏฐิ” ถ้าทิฏฐิเป็น อย่ า งไรแล้ ว แรงจูงใจเป็นต้นจะมาสนอง แล้ ว ต่ อ ไปกระบวนการ ของกรรมก็ดำเนินไป โดยแสดงออกมาทางกายวาจา ซึ่งเป็นไปตาม ที่เชื่อหรือยึดถือนั้น ยกตัวอย่างเช่นว่า ถ้ามนุษย์เชื่อหรือยึดถือหรือมีแนวความคิด ว่า มนุษย์จะประสบความสำเร็จ ชีวิตของเราจะสุขสมบูรณ์ ต่อเมื่อ

มีวัตถุพรั่งพร้อม หรือมีเศรษฐกิจมั่งคั่งที่สุด ถ้ามีความเชื่อหรือมี แนวความคิดแบบนี้ กระแสวัฒนธรรมอารยธรรมจะไปตามทั้งหมด สังคมจะเดินไปตามนี้ ด้วยอิทธิพลของความเชื่อนี้ มนุษย์จะมุ่งทำการทุกอย่างเพื่อ สร้างความพรั่งพร้อมทางวัตถุ กระแสวัตถุนิยมจะรุนแรงขึ้น จนกระทั่ง กลายเป็นบริโภคนิยม สั ง คมบริ โ ภคนิ ย ม ก็ ค ื อ สั ง คมซึ ่ ง มี ฐ านความคิ ด ที ่ เ ชื่ อ ว่ า มนุษย์จะมีความสุขสมบูรณ์เมื่อวัตถุมีเสพพรั่งพร้อม กระแสวัฒนธรรมอารยธรรมปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นบริโภคนิยม เช่นนี้ เพราะมีทิฏฐิ ที่เป็นฐานความคิดหรือความเชื่อ ซึ่งสืบมาจาก ตะวันตก ที่ได้สร้างสรรค์ความเจริญทางวัตถุขึ้นมา โดยเฉพาะที่เด่น ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แล้วเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มารั บ ใช้ ส นองอุ ต สาหกรรม ทำการผลิ ต ให้ เ กิ ด ความเจริ ญ ทาง เศรษฐกิจ ตัวการสำคัญในกระบวนการนี้คืออุตสาหกรรม ซึ่งเดิมทีฝรั่ง มุ่งระดมกำลังทำการผลิตเพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลน (scarcity) แต่พออยู่ในวิถีชีวิตของการผลิตสร้างวัตถุไปนาน ๆ และจิตใจครุ่นคิด


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

71

มุ่งหมายที่จะมีความพรั่งพร้อมทางวัตถุ ไป ๆ มา ๆ โดยไม่ต้องรู้ตัว ฝรั่งทั่ว ๆ ไปก็กลายเป็นวัตถุนิยม หรือมีแนวคิดทิฏฐิวัตถุนิยมเป็น กระแสหลัก กลายเป็นแนวคิดทิฏฐิว่า คนจะมีความสุขมากที่สุด เมื่อมีวัตถุ เสพบริโภคมากมายพรั่งพร้อมที่สุด แล้วก็เปิดทางแก่ลัทธิบริโภคนิยม ความเป็นไปทั้งหมดนี้มีจุดเริ่มที่โยงกับฐานความคิดใหญ่ คือ ความมุ่งหมายที่จะพิชิตธรรมชาติ Encyclopaedia Britannica เขียนไว้ในหัวข้อ “History of Science” บอกว่า เมื่อถอยหลังไปพันปีก่อนโน้น ตะวันตกล้าหลัง ตะวันออกในด้านการปฏิบัติจัดการกับธรรมชาติ คือด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แต่ด้วยความมุ่งหมายที่จะเอาชนะธรรมชาติ จึงทำให้ ตะวันตกสามารถล้ำหน้าตะวันออกไปได้ในด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีนั้น มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า A Green History of the World เขี ย นโดย Clive Ponting ได้ พ ยายามขบคิ ด ในเรื ่ อ งการแก้ ป ั ญ หา ธรรมชาติแวดล้อมเสีย หนังสือนั้นได้วิเคราะห์แนวคิดของตะวันตก ให้เห็นว่า อารยธรรมที่ทำให้ธรรมชาติแวดล้อมเสียนี่เป็นมาอย่างไร มี บ ทหนึ ่ ง เขาได้ ส ื บ สาวความคิ ด ของชาวตะวั น ตก ตั ้ ง แต่ Socrates, Plato, Aristotle จนมาถึงนักจิตวิทยาอย่าง Freud รัฐบุรุษ อย่าง Francis Bacon นักปรัชญาผู้นำที่เป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ สมัยใหม่ด้วยอย่าง René Descartes ตลอดจนนักคิดฝ่ายสังคมนิยม คอมมิ ว นิ ส ต์ ท ั ้ ง หมด ล้ ว นมี ว าทะที ่ พู ด ถึ ง ความใฝ่ ฝ ั น หรื อ ความ กระหายที่จะพิชิตธรรมชาติ


72

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

นักประวัติศาสตร์โซเวียตคนหนึ่งถึงกับเขียนไว้ว่า ต่อไปเมื่อ มนุษย์เจริญด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธรรมชาติจะเป็นเหมือน ขี้ผึ้งอันอ่อนเหลวในกำมือที่เราจะปั้นให้เป็นอย่างไรก็ได้ Descartes ก็พูดไว้แรงมาก Plato, Aristotle ก็พูดแนวนี้ทั้งนั้น นี ่ ค ื อ จุ ด มุ ่ ง หมายที ่ น ำทางความคิ ด ความเชื ่ อ ของตะวั น ตก มาตลอดเวลา ๒ พันกว่าปี คือความเชื่อและมุ่งหมายใฝ่ฝันว่า เมื่อไร มนุษย์พิชิตธรรมชาติได้สำเร็จ โลกมนุษย์จะพรั่งพร้อมสุขสมบูรณ์

เป็นโลกที่เป็นสวรรค์บนดิน ด้วยความเชื่อนี้แหละ จึงทำให้มนุษย์ชาวตะวันตกได้เพียร พยายามแสวงหาความรู้ในความเร้นลับของธรรมชาติ แล้วพัฒนา วิทยาศาสตร์และพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมา มโนกรรม คื อ แนวคิ ด ความเชื่ อ ที่ ว่ า นี้ อยู่ เ บื้ อ งหลั ง อารยธรรมปัจจุบันทั้งหมด นี่คือตัวอย่างความหมาย ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่ามโนกรรมสำคัญ ที่สุด

การพัฒนาคน พัฒนาสังคม ไม่มีทางได้ผลจริง ถ้าทอดทิ้งฐานของการพัฒนา คือมโนกรรม

เป็นอันว่า อารยธรรมปัจจุบันที่มีตะวันตกเป็นตัวแทนนี้ เจริญ มาด้วยแนวคิดพื้นฐานคือความมุ่งหมายพิชิตธรรมชาติ แล้วปัจจุบันนี้ ตะวันตกก็กลับมาติเตียนแนวคิดนี้ พร้อมทั้งติเตียนบรรพบุรุษของ ตนเอง ดั ง เช่ น หนั ง สื อ เล่ ม ที ่ ก ล่ า วถึ ง เมื ่ อ กี ้ ได้ ต ิ เ ตี ย นบรรพบุ ร ุ ษ

ชาวตะวั น ตกเต็ ม ที ่ ว่ า ล้ ว นแต่ เ ชื ่ อ ผิ ด ถื อ ผิ ด คิ ด เห็ น ผิ ด พลาดไป


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

73

มุ ่ ง หมายแต่ จ ะเอาชนะธรรมชาติ จึงทำให้เกิ ด ปั ญ หาสิ ่ ง แวดล้ อ ม ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด ตามแนวคิดทิฏฐิของตะวันตกนั้น มนุษย์มองธรรมชาติเป็นศัตรู จึง พยายามเอาชนะมัน แล้วก็จัดการกับมัน ตามชอบใจ โดยไม่ ม ี

ความรับผิดชอบ อย่าง Al Gore รองประธานาธิบดีอเมริกา ซึ่งเป็นนักสิ่งแวดล้อม คือ environmentalist ด้วย ได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Earth in the Balance โลกในภาวะดุลยภาพ แกบอกว่า เรายอมรับว่า ตะวันตกมีแนวคิดที่ทำให้อารยธรรมของเรานี้ไม่มีความรับผิดชอบ ต่อธรรมชาติ คิดจะทำอะไรกับธรรมชาติตามชอบใจ ความสำนึ ก ผิ ด และความผิ ด หวั ง ต่ อ แนวคิ ด ทิ ฐ ิ ท ี ่ จ ะพิ ช ิ ต ธรรมชาติของตะวันตกนี้ ได้เป็นเหตุให้ฝรั่งหาทางแก้ไข รวมทั้งการ หันมาสำรวจและแสวงหาแนวคิดตะวันออก และแม้แต่ความคิดของ ชนอินเดียนแดง เวลานี ้ อินเดียนแดงที่เคยถูกเหยียดหยามกลั บ ได้ ร ั บ ความ ชื่นชม ฝรั่งอเมริกันหลายคน เช่น Al Gore นั้นแหละ ได้ยกวาทะของ Seattle หัวหน้าเผ่าอินเดียนแดง ซึ่งเอาชื่อมาตั้งเป็นชื่อเมือง Seattle ในอเมริกา ขึ้นมาเอ่ยอ้าง ตามเรื่องว่า เมื่อครั้งประธานาธิบดี Franklin Pierce ติดต่อขอซื้อ ที่ดินของอินเดียนแดง หัวหน้าเผ่าคนนี้ได้มีหนังสือตอบประธานาธิบดี ไปว่า “อะไรกัน ผืนฟ้าและแผ่นดิน ท่านจะเอามาซื้อขายได้อย่างไร

นี่เป็นความคิดที่แปลกประหลาด”


74

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ตอนนี ้ คนอเมริ ก ั น ยุ ค ปั จ จุ บ ั น หั น มายกย่ อ งสรรเสริ ญ ว่ า อินเดียนแดงมีความคิดที่ถูกต้อง นี ่ แ หละ...ความคิ ด พิ ช ิ ต ธรรมชาติ เ ป็ น เบื ้ อ งหลั ง อารยธรรม ปั จ จุ บ ั น ซึ ่ ง เฟื ่ อ งฟู เ ต็ ม ที ่ ใ นยุ ค อุ ต สาหกรรม ที ่ ม นุ ษ ย์ เ อาความรู ้ วิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์อุปกรณ์เทคโนโลยี แล้วก็พัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อความเจริญทางเศรษฐกิจ ด้วยความมุ่งหมายที่จะสร้างวัตถุให้

พรั่งพร้อม ตามความเชื่อว่า “มีเสพบริโภคมากที่สุด จะเป็นสุขที่สุด” แนวคิดทิฐิความเชื่อที่เป็นมโนกรรมนี้ เป็นอิทธิพลสำคัญที่สุด

ที่จะเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตและสังคม ถ้าคนในสังคมไทยมีความเชื่อว่า ผลสำเร็ จ จะเกิ ดขึ้นจากการดลบันดาลของอำนาจเหนื อ ธรรมชาติ ถ้าคนไทยเชื่ออย่างนี้ สังคมไทยจะเป็นอย่างไร ขอให้พิจารณาแล้ว ขณะนี้เป็นหรือเปล่า สังคมไทย จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ได้ตกอยู่ใต้แนวคิด ความเชื่อว่า ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจดลบันดาลของสิ่งที่ นอกเหนือธรรมชาติ นี่คือจุดที่เราจะต้องแก้ปัญหาสังคมไทยถึงขั้น มโนกรรม เหมื อ นกั บ ที ่ฝ รั่ ง ขณะนี ้ ก ำลั ง หาทางแก้ ป ั ญ หาการพั ฒ นาที ่

ไม่ยั่งยืน ต้องลงไปถึงขั้นรากฐานความคิด ถึงขั้นต้องแก้ความเชื่อ ในการพิชิตธรรมชาติ ที่ถือว่า มนุษย์จะมีความสำเร็จและสุขสมบูรณ์ ต่อเมื่อมีอำนาจจัดการกับธรรมชาติได้ตามต้องการ แนวคิดทิฐิสองอย่างนี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาที่สุดโต่ง ไปคนละด้าน


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

75

แต่จุดที่เป็นตัวแท้ของปัญหาก็อยู่ที่ปมเดียวกัน คือมันบ่งชี้ว่า มโนกรรมสำคัญที่สุด และที่ว่าโลกนี้เป็นไปตามกรรม ก็คือเป็นไปตาม มโนกรรมอย่างที่ว่านั่นแหละ

ตราบใดยังไม่ถึงจุดหมาย ยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องศึกษา ความหมายของธรรมที่ปฏิบัติ จึงวัดด้วยไตรสิกขา

อีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะพูดไว้ คือเกณฑ์วินิจฉัยความหมายของ หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ว่าปฏิบัติอย่างไรถูกอย่างไรผิด เวลาศึกษาหลักธรรมต่าง ๆ เรามักเน้นเรื่องความหมายกัน แค่ว่า ธรรมข้อนี้คืออะไรมีความหมายว่าอย่างไรแต่การให้ความหมาย เท่านั้นยังไม่พอ ต้องมีเกณฑ์ที่สัมพันธ์กับระบบทั้งหมดได้ ธรรมทั้งหมดสัมพันธ์ส่งผลต่อกันเป็นกระบวนการ และอยู่ใน ระบบเดี ย วกั น อย่ า งที ่ พู ด ถึ ง ไตรสิ ก ขา ก็ เ ป็ น ระบบในตั ว ของมั น แล้วระบบของไตรสิกขานั้นก็ยังไปเป็นส่วนย่อยที่รวมอยู่ในระบบใหญ่ ของอริยสัจ ที่คลุมระบบใหญ่ของธรรมชาติทั้งหมดอีกชั้นหนึ่ง คือว่า ด้วยกฎธรรมชาติที่ครอบคลุมทั้งความเป็นจริงของธรรมชาติทั่วไป และโยงมาถึงชีวิตมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งด้วย เกณฑ์ที่จะใช้ตรวจสอบนี้ ต้องให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงใน ระบบ เกณฑ์หนึ่งก็คือไตรสิกขาเองนั่นแหละ เนื่องจากว่าคุณสมบัติ และข้ อ ปฏิ บ ั ต ิ ห รื อ หลั ก ธรรมทุ ก อย่ า งก็ อ ยู ่ ใ นกระบวนการปฏิ บ ั ต ิ

ที่เรียกว่าไตรสิกขาทั้งหมด ไม่เกินจากนี้ไปได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น มันจะ ต้องมีส่วนร่วมส่งผลอยู่ในกระบวนการของไตรสิกขา ไตรสิ ก ขา คืออย่างไร คือกระบวนการศึ ก ษาฝึ ก ฝนพั ฒ นา มนุษย์ กระบวนการนี้มีข้อปฏิบัติย่อย ๆ ที่ส่งผลต่อทอดกันคืบหน้าไป เรื่อยจนกว่าจะถึงจุดหมาย ถ้าไม่ถึงจุดหมายก็ต้องไม่หยุด


76

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เพราะฉะนั้น ก็เท่ากับมีเกณฑ์ที่บอกว่า ข้อปฏิบัติหรือหลักธรรม ทุกข้อ เราจะต้องชัดว่ามันส่งผลให้มีการก้าวหน้าไปในกระบวนการ ของไตรสิ ก ขาอย่างไร คือจะต้องทำให้เราเดิ น หน้ า และส่ ง ผลต่ อ ให้ข้ออื่นรับช่วงไป จนถึงจุดหมายสุดท้ายนั้น รวมความว่า ธรรมะต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบในกระบวนการ ไตรสิกขานี้ ต้องมีลักษณะ ๒ อย่าง คือ ๑. ทำให้คืบเคลื่อนหรือก้าวหน้าไป ๒. ส่งผลต่อข้ออื่น ยกตัวอย่าง เช่น ในการปฏิบัติ สมาธิ เราได้ความหมายของ สมาธิไว้แต่ต้นว่า จิตตั้งมั่น สงบ แน่วแน่ พอจิตตั้งมั่นสงบแน่วแน่ได้ตามความหมายแล้ว เราก็พอใจ นึกว่าถูกแล้ว แต่ยังหรอก ลองเอาเกณฑ์มาตรฐานมาวัดว่า ถูกตาม หลักไตรสิกขาหรือไม่ พอวัดด้วยเกณฑ์นี้ เราก็จะมองเห็นต่อไปอีกว่า อ้อ ถ้าปฏิบัติ สมาธิ ถู ก จะไม่ใช่หยุดอยู่แค่นั้น คือไม่ติดอยู ่ แค่ ส มาธิ แต่ ส มาธิ

ต้องช่วยให้เราก้าวต่อไป แล้วก็ดูว่าสมาธิส่งผลต่อปัญญาอย่างไร ถ้าไม่ส่งผลต่อก็แสดงว่าพลาด สมาธินั้นมีผลดีหลายอย่าง มีทั้งผลโดยตรงและผลข้างเคียง เช่น ทำให้จิตใจสงบ สบาย มีความสุข ทำให้จิตใสมองเห็นอะไร ชัดเจน และทำให้เกิดกำลัง ทำให้มุ่งแน่วไปอย่างแรง เหมือนกระแส น้ำที่ไหลลงมาจากภูเขาวิ่งไปทางเดียว มีกำลังแรงมาก เจออะไรก็พัด พาไปได้ สรุปว่า จิตสมาธิมีคุณสมบัติ หนึ่ง...มีพลัง สอง...สงบสบาย มีความสุข สาม...ใส มองเห็นอะไร ๆ ชัดเจน


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

77

เมื่อได้คุณสมบัติเหล่านี้ เราก็เอามาใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พอสงบสุขสบาย ก็อาจจะเอามาใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน เวลามีความทุกข์ก็มานั่งสมาธิให้จิตใจสงบ เพลินสบาย หายทุกข์ ซึ่งก็ได้ประโยชน์อย่างหนึ่ง แต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไตรสิกขา ถ้าใช้ประโยชน์เพียงแค่นี้ก็กลายเป็นหยุด ไม่ก้าวต่อไป อาจจะ เขวออกเป็นมิจฉาสมาธิ ได้แค่เป็นสิ่งกล่อม เหมือนยากล่อมประสาท เป็นต้น เอาแค่สบาย ไม่ต้องคิดต้องทำอะไร มีทุกข์ก็เข้ามาหลบ ซึ่งมีทางพลาดได้มาก วิสุทธิมรรคบอกว่า สมาธินั้นเข้าพวกกันได้กับความขี้เกียจ (สมาธิสฺส โกสชฺชปกฺขตฺตา) เพราะว่ามันสงบสบาย ก็โน้มเอียงไปทาง เกียจคร้าน เฉื่อยชา ไม่อยากทำอะไร กลายเป็นตกหลุมความประมาท นั่นก็คือเริ่มเขว ฉะนั้นการใช้ประโยชน์จากสมาธิจะต้องระวัง ถ้าใช้ ไม่เป็นก็เกิดโทษได้ สังคมไทยบางทีศึกษาธรรมะไม่ตลอดกระบวนการ และไม่มี หลักในการวินิจฉัย คนไทยไม่น้อยเอาสมาธิมาใช้แค่หาความสุขสงบ สบาย ซึ่งก็ใช้ได้ในระดับหนึ่ง ท่านไม่ได้ปฏิเสธ จะเอามาใช้เป็น

เครื่องพักผ่อนจิตใจหรือแก้ปัญหาความทุกข์ก็ได้ อย่างน้อยทำให้ นอนหลับได้ ทำให้มีจิตใจสดชื่นขึ้น แต่ต้องมองต่อไปว่า ประโยชน์ยังไม่จบแค่นั้น สมาธิช่วยให้เรา มีความเข้มแข็งพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปด้วย จึงต้องมองต่อไปอีกว่า จะมีองค์ธรรมอะไรมารับผลจากสมาธิ เพื ่ อ จะก้ า วต่ อ ไป ก็ จ ะเห็ น หลั ก ในไตรสิ ก ขาว่ า จะต้ อ งส่ ง ผลต่ อ

ให้ปัญญามารับช่วงทำงานเดินหน้าต่อไป


78

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ประโยชน์ที่สำคัญของสมาธิ คือทำให้จิตเป็น “กัมมนีย์” แปลว่า ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่งาน คือใช้เป็นที่ทำงานซึ่งปัญญา จะทำหน้าที่ได้ดี เช่น มองเห็นชัด สำรวจตรวจสอบได้เป็นลำดับ พิ จ ารณาได้ ล ึ ก ซึ ้ ง วิ เ คราะห์ ว ิ จ ั ย ได้ ล ะเอี ย ด จนเข้ า ถึ ง ความจริ ง

แจ่มแจ้ง สมาธิที่ทำให้คนหยุดศึกษา แสดงว่าเป็นสมาธิที่ใช้ผิด

สมาธิเตรียมจิตพร้อมให้ปัญญาทำงานเดินหน้า ฉันใด สันโดษก็เตรียมตัวพร้อมให้มุ่งเพียร ไม่พะวักพะวน ฉันนั้น

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ สันโดษ ซึ่งทำให้พอใจในวัตถุเสพบริโภค ของตน มีเท่าไรก็ยินดีเท่านั้น หลายคนบอกว่ า สั น โดษแล้ ว จะได้ ม ี ค วามสุ ข ก็ ถู ก ต้ อ ง แต่ผิดด้วย ถ้าใครตอบว่าสันโดษเพื่อสุขก็ผิดแน่ ๆ พุทธศาสนาไม่ได้ สอนอย่างนั้นแค่นั้น ความสุ ข เป็ น ผลพลอยได้ ข องสั น โดษ พอสั น โดษก็ ส ุ ข ทั น ที มันเป็นผลพลอยได้ตามมาเอง แต่ยังไม่ใช่วัตถุประสงค์ ผลที่ต้องการ ไม่ได้อยู่ที่นี่ ผลที่ต้องการจากสันโดษคืออะไร เราสันโดษแล้วจะได้อะไรขึ้นมา ที่จะเป็นความคืบหน้า และช่วยให้ก้าวต่อไปในไตรสิกขา พอสันโดษในวัตถุ เราก็สุขกับวัตถุที่มีอยู่หรือได้มาแล้ว สุขง่าย ด้วยวัตถุน้อย มีวัตถุแค่นี้ก็สุขแล้ว ตรงข้ามกับตอนที่ไม่สันโดษนี่ เราไม่สุขสักที ความสุขของเรา ไปอยู่กับวัตถุที่ยังไม่ได้ เราจึงกระวนกระวายโลดแล่นหาวัตถุเสพ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

79

เวลาของเราก็ใช้หมดไปกับการโลดแล่นหาสิ่งเสพเพื่อบำรุง บำเรอตัวเอง แรงงานก็ใช้หมดไปกับเรื่องนี้ ความคิดก็ครุ่นวุ่นวาย กับการที่จะไปหาสิ่งเสพ ว่าทำอย่างไรจะได้อันนั้นอันนี้มา ความไม่สันโดษจึงทำลายเวลา สิ้นเปลืองแรงงาน และ

สิ้นเปลืองความคิดที่จะใช้ในการสร้างสรรค์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงให้สันโดษ เพื่อจะได้สุขกับวัตถุได้ง่าย พอสุขกับวัตถุได้ง่ายแล้ว เราไม่ใช่อยู่เฉย ๆ งานการหน้าที่ของเรา มีอยู่แล้ว ตอนนี้เวลาแรงงานและความคิด เราออมไว้ได้ เราก็เอาเวลา เรี่ยวแรงความคิดนั้นไปทุ่มเทให้กับการทำกิจหน้าที่ งานการกิจหน้าที่ นั้นก็เดินหน้าก้าวไปได้ดี สรุ ป ว่ า สั น โดษเพื ่ อ เตรี ย มพร้ อ ม สั น โดษเป็ น ธรรมะ

ขั้นเตรียมพร้อม คือให้พร้อมที่จะก้าวต่อไป ธรรมะนี่ มีทั้งขั้นเตรียมตัวให้พร้อม และขั้นก้าวเดิน สันโดษเป็นธรรมะประเภทเตรียมตัวให้พร้อม พอเราพร้อมแล้ว เราไม่พะรุงพะรัง ไม่มัวกังวล ไม่มัวพะวักพะวนกับการหาสิ่งเสพบำรุง บำเรอตัวเอง ทีนี้จะทำงานการสร้างสรรค์อะไร ก็ไปมุ่งหน้าแน่วดิ่ง ไปเลย พระพุทธเจ้าไม่ตรัสสันโดษไว้โดดเดี่ยว หรือลอย ๆ แต่ตรัสไว้ กับ การทำหน้ า ที่และความเพียรในการทำหน้ า ที ่ น ั ้ น เช่ น สำหรั บ พระสงฆ์ ทรงสอนให้สันโดษในจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เสร็จแล้ว

ก็ให้ยินดีในการละอกุศล และพัฒนากุศล ทรงสอนให้ไม่สันโดษในการ พัฒนากุศลนั้น พูดสั้น ๆ ว่า ให้สันโดษในวัตถุเสพบริโภค แต่ให้ไม่สันโดษ ในกุศลธรรมทั้งหลาย


80

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ถ้ า เป็ น กุ ศ ลธรรม สิ ่ ง ที ่ ด ี ง าม การสร้ า งสรรค์ ค ุ ณ ความดี ท ี ่ ประเสริฐ พระองค์ทรงสอนไม่ให้สันโดษ พระพุทธองค์เองก็ไม่สันโดษ และเพียรไม่ระย่อ หลักการนี้มีทั้ง ในพระสูตรและอภิธรรม ถ้าสอนสันโดษ ต้องสอนความไม่สันโดษด้วยพร้อมกัน และ ต้องรู้ว่าให้สันโดษในอะไร ไม่สันโดษในอะไร คือ ๑. ให้สันโดษในวัตถุเสพ ที่จะบำรุงบำเรอตนเอง หาความสุข ส่วนตัว ๒. ให้ไม่สันโดษในกุศลธรรม ในการทำความดีงาม ในการ ทำการสร้างสรรค์ สันโดษกับไม่สันโดษจึงไปด้วยกันได้อย่างดี สันโดษมาหนุน ความไม่สันโดษ ช่วยให้เราก้าวต่อไปในไตรสิกขา ให้สามารถ ทำกรรมที่ดียิ่งขึ้น ในการที่จะพัฒนาชีวิตและสังคม นี่เป็นตัวอย่างของเกณฑ์วินิจฉัย

ถ้าคนไทยตั้งอยู่ในหลักสี่ จะไม่ตกหลุมวิกฤติ ถึงแม้ถลำไป ก็จะถอนตัวขึ้นสู่วิวัฒน์ได้โดยพลัน

หลักธรรม ๔ ประการต่อไปนี้ เป็นหลักการใหญ่ขั้นพื้นฐานของ พระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสย้ำอยู่เสมอ แต่ตามปกติตรัสไว้ เป็นอิสระจากกัน เพราะมีนัยโยงถึงกัน หรือครอบคลุมกัน ในที่นี้ขอยก มาย้ำไว้ในที่เดียวกัน ถือว่าเป็นแก่นแท้ที่ปฏิบัติได้ทันที และเหมาะกับ สถานการณ์ปัจจุบันของสังคมไทย จึงขอนำมากล่าวปิดท้ายเท่าที่เวลา จะพอมี


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

81

หลักสำคัญเหล่านี้จะต้องใช้ในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในการแก้ วิ ก ฤติ ข องสั ง คมไทย และสร้ า งสรรค์ ป ระเทศชาติ ต ่ อ ไปข้ า งหน้ า

คนไทยจะต้องอยู่กับหลักการ ๔ อย่างต่อไปนี้ให้ได้ คือ ๑. หลักการกระทำ คือ มุ่งทำการให้สำเร็จด้วยความเพียร พยายาม โดยเฉพาะความเพียรของตนเอง หลักนี้เรียกว่า หลักกรรม และความเพียร พระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส ว่ า เราเป็ น กรรมวาที เราเป็ น วิ ร ิ ย วาที พระองค์ไม่ได้ตรัสอย่างเดียว แต่ตรัสคู่กันว่า กรรมวาที และวิริยวาที

“เราเป็นผู้กล่าวหลักการกระทำ เราเป็นผู้กล่าวหลักความเพียร” คนจะทำต้องมีความเพียร ถ้าไม่มีความเพียร ก็ก้าวไปใน การทำไม่ได้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งกรรมและวิริยะ ให้หวังผล สำเร็จจากการกระทำด้วยเรี่ยวแรงกำลังของตน ไม่มัวหวังผลจาก การอ้อนวอนนอนรอผลดลบันดาล จากลาภลอย จากการรวยทางลัด การทุจริต การเสี่ยงโชค การพนัน เป็นต้น สรุปว่า ต้องถือหลักการกระทำให้สำเร็จด้วยความเพียร ขอยกพุทธพจน์มาย้ำไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายแม้ที่ได้มีแล้ว

ในอดีตกาล...พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายแม้ที่จักมีในอนาคตกาล... แม้ เ ราเองผู ้ เ ป็ น อรหั น ตสั ม มาสั ม พุ ท ธะในบั ด นี ้ ก็ เ ป็ น กรรมวาท

(ตรัสหลักกรรม) เป็นกิริยวาท (ตรัสหลักการที่จะต้องทำ) เป็นวิริยวาท (ตรัสหลักความเพียร) (องฺ.ติก. ๒๐/๕๗๗/๓๖๙)


82

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

๒. หลักการศึกษาพัฒนาตน คือ ต้องถือเป็นหน้าที่โดยมี จิตสำนึกที่จะฝึกตนให้ก้าวหน้าต่อไปในการทำกุศลกรรมต่าง ๆ ที่จะ ให้ชีวิตและสังคมดีงามยิ่งขึ้นนี่เรียกว่า หลักไตรสิกขา ตามหลักเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ที่พูดแล้วแต่ต้นว่า มนุษย์ เป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการฝึก ดังนั้น ในการที่จะก้าวไปสู่ความดีงาม ความประเสริฐสมบูรณ์นั้น ชีวิตต้องพัฒนาด้วยไตรสิกขาเพื่อก้าวไป ข้างหน้า ชี ว ิ ต จะต้ อ งดี ข ึ ้ น ต้ อ งเรี ย นรู ้ ต้ อ งฝึ ก ฝน ต้ อ งศึ ก ษา ต้องพัฒนาเสมอไป จะต้องไม่มัวหยุดอยู่กับที่ ขอยกคาถาพุทธพจน์แห่งหนึ่งมาไว้เตือนใจว่า เพราะฉะนั้นแล เป็นคนอยู่ในโลกนี้ พึงศึกษา (ตามหลักไตร สิกขา) เถิด สิ่งใดก็ตามที่พึงรู้ได้ในโลกว่าเป็นสิ่งผิดร้ายไม่ดี ไม่พึง ประพฤติผิดร้ายไม่ดีเพราะเห็นแก่สิ่งนั้น ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ชีวิตนั้นน้อยนัก (ขุ.สุ. ๒๕/๔๐๙/๔๘๕) พร้อมทั้งพุทธภาษิตว่า ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกแล้วเป็นผู้ประเสริฐ (ขุ.ธ. ๒๕/๓๓/๕๗) ๓. หลักไม่ประมาท ในการที่จะทำอะไร ๆ ด้วยความเพียร และในการที่จะพัฒนาตนนั้น จะต้องไม่ประมาท ต้องมองเห็นตระหนักในความสำคัญของกาลเวลาและความ เปลี่ยนแปลงว่า ในขณะที่เราดำเนินชีวิตอยู่นี้ สิ่งทั้งหลายรอบตัวเรา และชีวิตของเรา ล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

83

ตลอดเวลา เราจะมัวนิ่งนอนใจอยู่ไม่ได้ มีอะไรที่ควรจะทำ ต้องรีบทำ ต้องเร่งขวนขวายไม่ประมาท ไม่นอนใจ ไม่ผัดเพี้ยน หลักไม่ประมาทนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เหมือนกับรอย

เท้าช้าง ที่ครอบคลุมธรรมะของพระองค์ไว้หมดแล้วก็เป็นปัจฉิมวาจา ของพระองค์ก่อนปรินิพพานด้วย จึงถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง ในความไม่ประมาทนี้ แม้แต่สังคมก็จะหยุดนิ่งไม่ได้ เพราะ สังคมมีแนวโน้มว่า เมื่อไรมีความสำเร็จเมื่อไรเจริญดีมีความพรั่งพร้อม เมื่อไรมีความสุขสบาย คนจะเริ่มเฉื่อยลงและเริ่มอ่อนแรง แล้วก็เริ่ม มัวเมา ประมาท สังคมมักจะเป็นอย่างนั้น คือ พอสบาย ก็ประมาท หันไป ฟุ้งเฟ้อมัวเมาหลงระเริง ติดในความสุขสบาย เพลิดเพลิน สำเริงสำราญ ลุ่มหลงในการบันเทิง ไม่เร่งรัดขวนขวายทำกิจหน้าที่ผัดเพี้ยน เฉื่อยชา เพราะฉะนั้น ผู้บริหารสังคมจะต้องคอยกระตุ้นเตือนปลุกเร้า ประชาชน ให้ไม่ประมาทมัวเมาทุกเวลา เครื่องพิสูจน์การพัฒนามนุษย์อย่างหนึ่งคือ ทั้งที่สุขสบาย

ก็ไม่ประมาท ถ้าใครทำได้สำเร็จอย่างนี้เมื่อไร ก็มีคุณสมบัติที่จะเป็น พระอรหันต์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเดียวที่จะไม่ประมาทเลยเป็น อันขาด คือพระอรหันต์ นอกจากนั ้ น แม้ แ ต่ พ ระโสดาบั น พระสกทาคามี และ พระอนาคามี ก็ยังประมาทได้ คือพอประสบความสำเร็จไปเท่านี้ ก็ พ อใจว่ า เราได้ ก ้ า วหน้ า มามี ค วามดี เ ยอะแล้ ว นะ ก็ ช ั ก เฉื ่ อ ย พอเฉื่อยลง พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเธอประมาทแล้ว


84

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ในพระพุ ท ธศาสนานี ้ ท่ า นไม่ ใ ห้ ห ยุ ด ในการสร้ า งสรรค์

กุศลธรรม ตราบใดยังไม่ถึงจุดหมาย ก็ต้องก้าวไปในไตรสิกขาโดยไม่ ประมาท ต้องก้าวต่อไป ๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ ต ้ อ งพู ด ถึ ง ความเสื ่ อ มถอยจากกุ ศ ลธรรมทั ้ ง หลาย เรายกย่ อ ง สรรเสริญอย่างเดียวแต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย (องฺ.ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑) พุทธพจน์นี้แสดงหลักเดียวกัน คือความไม่ประมาท ๔. หลักพึ่งตนได้ ซึ ่ ง ทำให้ ม ี อิ ส รภาพ การพึ ่ ง ตนก็ ค ื อ ต้ อ งทำให้ แ ก่ ต ั ว เรา ด้วยตนเอง จึงต้องพัฒนาตัวเอง คือ เราพัฒนาตนเองเพื่อให้ทำได้ ด้วยตนเอง เมื่อเราทำได้ด้วยตนเอง เราก็พึ่งตนได้ ถ้าเราทำไม่ได้

เราก็ยังพึ่งตนเองไม่ได้ เราต้องพยายามพึ่งตนให้ได้ แต่ เราจะทำได้ด้วยตนเอง และ พึ่งตนได้ เราต้องทำตนให้พึ่งตนได้ โดยฝึกตนขึ้นไปให้ทำได้

ทำเป็น พระพุ ท ธเจ้ า ทรงเน้ น “การทำตนให้ พึ่ ง ตนได้ ” หรื อ “ทำตนให้เป็นที่พึ่งได้” มากกว่าเน้นการพึ่งตน ถ้าพูดว่าให้พึ่งตน แต่เขาไม่มีความสามารถที่จะพึ่งตน แล้ว เขาจะพึ่งตนได้อย่างไร ก็ได้แต่ซัดกันว่า นี่เธอยากจน เธอก็พึ่งตนสิว่า อย่างนั้น มันจะพึ่งตนอย่างไร ในเมื่อไม่มีความสามารถที่จะพึ่งตนนั้น เพราะฉะนั้น อย่าพูดแค่พึ่งตน ซึ่งเป็นเพียงคำเตือนเริ่มต้น แต่ ต ้ อ งก้ า วต่ อ ไปสู ่ ก ารฝึ ก ฝนปฏิ บ ั ต ิ ซ ึ ่ ง เป็ น คำสอนที ่ แ ท้ ว ่ า “จงพยายามพึ่งตน ด้วยการทำตนให้เป็นที่พึ่งได้”


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

85

แล้วทำอย่างไรจะให้ตนเป็นที่พึ่งได้ ก็ต้องฝึก ต้องศึกษา พัฒนาตน พอพัฒนาตนก็เข้าไตรสิกขา ซึ่งทำให้ตนเองมีคุณสมบัติดี มากขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น สามารถทำกรรมต่าง ๆ ที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อมีความสามารถทำการทั้งหลายได้ดียิ่งขึ้น ก็พึ่งตนเองได้ พอพึ่งตนเองได้ ก็ไม่ต้องพึ่งคนอื่นก็เป็นอิสระ กลายเป็นว่าสามารถ เป็นที่พึ่งของคนอื่น ฉะนั ้ น การปฏิ บ ั ต ิ ใ นไตรสิ ก ขาคื อ การพั ฒ นาตน และ การพัฒนาตนก็ทำให้พึ่งตนเองได้ และการพึ่งตนเองได้กับความอิสระ ก็เป็นอันเดียวกัน ความเป็นอิสระนี้ มิใช่เฉพาะการไม่ต้องคอยพึ่งพาขึ้นต่อ คนอื่นเท่านั้น แต่หมายถึงการไม่ต้องพึ่งพาขึ้นต่อวัตถุมากเกินไปด้วย ดังนั้น อิสรภาพที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง จึงหมายถึงการมี ความสามารถที่จะมีความสุขในตัวเองได้มากขึ้น โดยพึ่งพาขึ้นต่อ วัตถุเสพบริโภคน้อยลง คือเป็นคนที่สุขได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเอาชีวิตไปขึ้น

ต่อวัตถุ ไม่ต้องเอาความสุขไปฝากไว้กับสิ่งเสพบริโภค ซึ่งจะทำให้ลด การแย่งชิงเบียดเบียนกันในสังคม พร้อมกันนั้น เมื่อได้พัฒนาตนเอง ให้มีความสามารถมากขึ้น ทั ้ ง ในการที ่ จ ะมี ค วามสุ ข ที่ เ ป็ น อิ ส ระ และในการที ่ จ ะทำการ สร้างสรรค์ต่าง ๆ ก็จะทำให้ทั้งชีวิตของตัวเองก็ดีขึ้น และสามารถ เกื้อกูลแก่ผู้อื่นหรือแก่สังคมได้มากขึ้น พร้อมไปในคราวเดียวกัน ขอยกพุทธภาษิตมาย้ำเตือนอีกว่า


86

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ตนแลเป็ น ที ่ พ ึ ่ ง ของตน โดยแท้ จ ริ ง คนอื ่ น ใครเล่ า จะเป็ น ที่พึ่งได้ มีตนที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละ คือได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก (ขุ.ธ. ๒๕/๒๒/๓๖) หลั ก ๔ นี้ สั ม พั น ธ์ เ ป็ น อั น เดี ย วกั น แต่ แ ยกในเชิ ง ปฏิ บ ั ต ิ

ให้ใช้ได้เหมาะสมและได้ผลจริงจัง การปฏิบัติจากทุกหลักจะมาบรรจบ ประสานเป็นอันเดียวกัน ขอทวนอีกครั้งว่า หลัก ๔ ประการนี้ต้องย้ำอย่างที่สุด เพราะ เป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนา และเหมาะสมยิ่งกับยุคปัจจุบัน ๑. ทำการให้สำเร็จด้วยความเพียรพยายาม ๒. เรียนรู้ฝึกศึกษาพัฒนาตน ให้ชีวิตและสังคมก้าวหน้าไป สู่ความดีเลิศประเสริฐยิ่งขึ้น ๓. มีความไม่ประมาท กระตือรือร้น ขวนขวายสร้างสรรค์ สิ่งที่ดีงาม ไม่ปล่อยเวลาให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ๔. พึ่งตนได้ มีอิสรภาพ พร้อมที่จะเผื่อแผ่ความสุข เป็นที่ พึ่งแก่ผู้อื่นได้ มีสี่ข้อนี้พอแล้ว ประเทศไทยพัฒนาได้แน่

แก่นแท้ของพุทธธรรม คือความหลุดพ้นพึ่งตนได้ ในสังคมของกัลยาณมิตร ผู้มีชีวิตที่เกื้อกูลกัน

ขอจบด้ ว ยคำสรุ ป ตามหั ว ข้ อ ที ่ ต ั ้ ง ไว้ ใ ห้ ว ่ า “แก่ น แท้ ข อง

พระพุทธศาสนา” นั้น มีอยู่ในพระสูตรหนึ่งชื่อว่า มหาสาโรปมสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องแก่นของพระพุทธศาสนาไว้ มีใจความตาม พระสูตรนี้ว่า


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

87

ชีวิตที่ประเสริฐ (พรหมจริยะ) คือตัวพระพุทธศาสนานี้ เปรียบได้ กับต้นไม้ ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ คือ ลาภสักการะ เหมือนกิ่งใบ ศีล เหมือนสะเก็ดไม้ สมาธิ เหมือนเปลือกไม้ ปัญญา เหมือนกับกระพี้ไม้ วิมุตติ เป็นแก่น ตรงนี้แหละมาถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คือความหลุดพ้น เป็นอิสระ เข้ากับหลักที่พูดสุดท้ายว่า จะต้องพัฒนาตนให้พึ่งตนเองได้ และเป็นอิสระ จนกระทั่งในที่สุดเป็นอิสระทางจิตใจและปัญญา เราพึ่งคนอื่น เช่นพึ่งพระพุทธเจ้า ก็เพื่อทำตัวเราให้พึ่งตนเองได้ พระพุทธเจ้าช่วยให้เราพึ่งตนเองได้นั่นเอง จุดหมายก็คือพึ่งตนเองได้ เป็นอิสระ เพราะฉะนั้น หลักพุทธศาสนาจึงมาถึ ง แก่ น แท้ ท ี ่ สู ง สุ ด คื อ วิมุตติ ความหลุดพ้น เป็นอิสระ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ก็จบลง ตรงนี้เอง ตอนแรกเป็นอิสระทางพฤติกรรม ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมที่เป็น อิสระทางสังคม ทำอะไร ๆ พูดอะไร ๆ ได้โดยไม่ถูกบังคับครอบงำ ข่มเหง แต่พร้อมกันนั้นก็ต้องเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากจิตใจที่เป็นอิสระ จากกิเลส จึงจะเป็นอิสระจากการเบียดเบียนกันแท้จริง อิสรภาพที่แท้จึงไม่ใช่เป็นพฤติกรรม แต่เป็นภาวะทางจิตใจ และปัญญา และอิสรภาพที่สมบูรณ์คืออิสรภาพทางปัญญา ในด้านพฤติกรรมนั้น ท่านไม่สอนให้เป็นอิสระแบบแยกต่างหาก จากกัน หรือต่างคนต่างอยู่ แต่พฤติกรรมนั้นท่านมุ่งให้พึ่งพาอาศัย


88

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ซึ่งกันและกัน ให้เกื้อหนุนกันด้วยวัตถุและเรี่ยวแรงกำลังเป็นต้น โดยรู้ เท่าทันว่าวัตถุทรัพย์สินภายนอก รวมทั้งลาภสักการะทั้งหลาย เราต้อง อาศัย แต่มันเป็นเพียงปัจจัยเกื้อหนุน เหมือนเป็นกิ่งใบ ไม่ใช่เป็น ตัวแก่นสาร ในด้านพฤติกรรมเกี่ยวกับชีวิตภายนอกนี้ ให้เราเป็นที่พึ่งแก่

คนอื่นได้ พร้อมกับเราต้องพึ่งคนอื่นด้วย ให้สังคมเป็นสังคมที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นกัลยาณมิตร ของกั น และกั น โดยแต่ ล ะคนก็ ม ี อ ะไรให้ ค นอื ่ น ได้ พ ึ ่ ง บ้ า ง ต่ า งก็

เกื้อหนุนกัน ให้สังคมอยู่ผาสุก และให้แต่ละคนมีโอกาสพัฒนายิ่งขึ้น ไปในไตรสิกขา เพื่อให้แต่ละคนมีอิสรภาพที่พึ่งตนได้แท้จริงในทาง จิตใจและทางปัญญา อย่างนี้จึงจะเป็นสังคมที่ดี ขอให้ดูวินัยของพระ คือชีวิตในสังฆะตามพุทธบัญญัติ จะเห็น ชัดว่าเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงจัดวางเป็นแบบไว้ คือสังคมสงฆ์เป็นสังคม ตัวอย่างแห่งการที่แต่ละคนพยายามพัฒนาตนให้มีอิสรภาพทางจิตใจ และปัญญา โดยที่ชีวิตทางด้านพฤติกรรมนั้นพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลซึ่งกัน และกัน เป็นการเกื้อหนุนกันให้ก้าวไป ไม่ใช่ช่วยให้เขาไม่ต้องทำแล้ว คอยรอรับความช่วยเหลือ คนที ่ ม ี อ ิ ส รภาพทางจิ ต ใจและทางปั ญ ญาเท่ า นั ้ น จึ ง จะ สร้างสรรค์สังคมอย่างนี้ และอยู่กันด้วยดีในสังคมอย่างนี้ได้ เรื่อง แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา พูดมาถึง “แก่นธรรม เพื่อชีวิต” แล้ว ก็ขอจบไว้เพียงนี้ก่อน


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

89

แม้ว่าที่จริง ยังมีหัวข้อที่ควรพูดอีก ๒ เรื่อง หรือ ๒ บท คือ แก่นธรรมเพื่อสังคม กับ แก่นธรรมเพื่อโลก แต่จำเป็นต้องยุติ เพราะความยาวที่เกินเวลา ขออนุโมทนาท่านอธิบดี ท่านรองอธิบดี ท่านผู้อำนวยการ และท่านผู้บริหารระดับสูงของกรมการศาสนาขอความเจริญ ผาสุกจงมีแด่ทุกท่าน


90

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา*

ขออำนวยพร ท่านอาจารย์ผู้เป็นประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก และท่านสาธุชนผู้สนใจใฝ่ธรรม ทุกท่าน

วันนี้ รายการแสดงธรรม จะเป็นธรรมกถาหรือปาฐกถาก็ตาม ได้กำหนดชื่อไว้ว่า “ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา” ความจริง ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนานี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง จะสามัญ คือเป็นเรื่องของสิ่งที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว อยู่ ๆ เราก็มา พิจารณากันว่า สิ่งที่เรารู้จักดีอยู่แล้ว ซึ่งรู้จักกันดีมาก รู้จักตั้งแต่เกิด กันมานี้ มีลักษณะเป็นอย่างไร เหมือนอย่างคนที่คุ้นเคยกันดี รู้จักตัว กันอย่างใกล้ชิด แล้วอยู่มาวันหนึ่ง ก็มาถามว่า คนที่เรารู้จักดีนั้น

มีรูปร่างเป็นอย่างไร คล้าย ๆ อย่างนั้น มันน่าจะเป็นเรื่องธรรมดา เหลือเกิน แต่ทีนี้ วันนี้การประชุมมีลักษณะพิเศษ คือเป็นเรื่องของท่านที่มี ความรู้อยู่แล้ว เพราะบอกว่าเป็นการประชุมทางวิชาการ เพราะฉะนั้น วันนี้อาตมภาพจะพูดในเชิงวิชาการหน่อย คล้าย ๆ กับว่ามาพูดกัน

ในฐานะผู้ที่มีความรู้อยู่แล้ว ก็จะรวบรัดตัดความ

*ปาฐกถาธรรม ณ สำนักงานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๒ (การพิมพ์ครั้งที่ ๑๐ ณ ๕ มกราคม ๒๕๔๗ เป็นครั้งแรกที่ปรับขนาดจาก ๑๖ หน้ายก เป็น ๑๖ หน้ายกพิเศษ)


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

91

โดยเฉพาะเวลาก็ ค ่ อ นข้ า งจำกั ด จึ ง จะพู ด ในแบบสิ ่ ง ละอั น พันละน้อย เพราะว่า เมื่อเราพรรณนาถึงลักษณะของสิ่งที่เรารู้จัก อย่ า งใดอย่ า งหนึ ่ ง นั ้ น ก็ อ าจจะมี ล ั ก ษณะหลายอย่ า ง จะพู ด ถึ ง ลั ก ษณะแต่ ล ะอย่ า งได้ ก ็ ค งไม่ ม าก และท่ า นยั ง ได้ บ อกไว้ ด ้ ว ยว่ า

เมื่อจบปาฐกถาแล้ว ก็จะให้มีเวลาตอบคำถาม ในเรื่องนี้อาตมภาพก็ขอโอกาสไว้ก่อน ถ้าเกิดว่าเวลาไม่พอ จริง ๆ ก็อาจจะต้องขออภัยว่าเป็นการพูดให้ฟังฝ่ายเดียวไปเลย

ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘

พอพูดถึงลักษณะของพระพุทธศาสนา ซึ่งดังได้บอกเมื่อกี้ว่า เป็นสิ่งที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว หรือไม่ว่าจะรู้จักดีหรือไม่ดีก็ตาม แต่เรา ถื อ ว่ า เรารู ้ จ ั ก ดี อ ยู ่ แ ล้ ว นี ้ ก็ ม ี ห ลั ก ธรรมอยู ่ ห มวดหนึ ่ ง ที ่ พู ด กั น ว่ า เป็ น ลั ก ษณะของพระพุ ท ธศาสนา อยู ่ ใ นหนั ง สื อ เบื ้ อ งต้ น แม้ แ ต่ นวโกวาท แบบเรียนนักธรรมตรี ซึ่งเป็นหนังสือเรียนชั้นแรกของพระ ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ที่เป็นพระนวกะ หลักธรรมหมวดนั้น ท่านเรียกว่า ลักษณะตัดสินธรรมวินัย

๘ ประการ พระพุทธศาสนานั้น มีชื่ออย่างหนึ่งว่า พระธรรมวินัย ถ้าจะ พูดกันแบบรวบรัด ก็อาจจะเอาหลักนี้มาพูดบอกว่า ลักษณะของ พระพุทธศาสนา ก็คือ ลักษณะตัดสินพระธรรมวินัย ๘ ประการนี้เอง ถ้าอย่างนี้ปาฐกถาก็จบได้ในเวลาเพียง ๒-๓ นาทีเท่านั้นเอง ลักษณะตัดสินธรรมวินัยนี้ เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าเอง ได้ตรัสไว้แก่ พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีอยู่ ๘ ประการด้วยกัน

ท่านบอกว่า หลักที่ใช้ตัดสินว่า ธรรมหรือคำสอนอันใด เป็นคำสอน


92

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ก็คือให้ดูว่า ธรรมที่เขายกมาอ้างหรือกล่าว หรือประพฤติปฏิบัตินั้น เป็นไปตามลักษณะ ๘ ประการต่อไปนี้หรือไม่ คือ ธรรมเหล่าใด ๑. เป็นไปเพื่อ วิราคะ คือ ความคลายหายติด (สำนวนเก่าว่า คลายกำหนัด) ๒. เป็ น ไปเพื ่ อ วิ ส ั ง โยค เพื ่ อ ความคลาย การหลุ ด จาก ความทุกข์ ไม่ประกอบด้วยความทุกข์ ๓. เป็นไปเพื่อ อปจยะ ความไม่พอกพูนกิเลส ๔. เป็นไปเพื่อ อัปปิจฉตา ความมักน้อย ๕. เป็นไปเพื่อ สันตุฏฐี ความสันโดษ ๖. เป็นไปเพื่อ ปวิเวก ความสงัด ๗. เป็นไปเพื่อ วิริยารัมภะ การระดมความเพียร ๘. เป็นไปเพื่อ สุภรตา ความเลี้ยงง่าย ถ้าไม่เป็นไปตามหลัก ๘ ประการนี้ ก็ถือว่าไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุสาสน์ ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ถ้าเป็นไปตามหลักนี้ เข้ากันได้กับความที่กล่าวมา ๘ ประการ ก็เป็นธรรมเป็นวินัยเป็น

คำสอนของพระพุทธเจ้า

ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๗

ยังมีหลักธรรมคล้าย ๆ กันนี้ อีกหมวดหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้า ตรั ส ไว้ แ ก่ พ ระอุ บ าลี ซึ ่ ง เป็ น พระเถระผู ้ ใ หญ่ ที ่ ไ ด้ ร ั บ ยกย่ อ งเป็ น เอตทัคคะมีความเป็นเลิศทางพระวินัย หรือเป็นพระวินัยธร ก็เรียกชื่อ ทำนองเดียวกันว่าเป็นลักษณะตัดสินธรรมวินัย แต่มี ๗ ประการ และ กล่าวความทำนองเดียวกันว่า


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

93

ธรรมเหล่าใด ๑. เป็นไปเพื่อ เอกันตนิพพิทา ความหน่ายสิ้นเชิง ๒. เป็นไปเพื่อ วิราคะ การคลายความยึดติด ๓. เป็นไปเพื่อ นิโรธ ความดับทุกข์ ๔. เป็นไปเพื่อ อุปสมะ ความเข้าไปสงบระงับ ๕. เป็นไปเพื่อ อภิญญา ความรู้ยิ่งเฉพาะ ๖. เป็นไปเพื่อ สัมโพธะ ความตรัสรู้ ๗. เป็นไปเพื่อ นิพพาน รวม ๗ ประการ ถ้าเข้ากับหลักนี้ ก็เรียกว่าเป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่เข้ากับหลักนี้ ก็ไม่ใช่ ถ้าเอาหลักที่ว่าสองหมวดนี้มาตอบ ก็สามารถจบปาฐกถาครั้งนี้ ได้อย่างรวดเร็ว

มองกว้าง ๆ กับวิเคราะห์เนื้อใน

อย่างไรก็ตาม ยังมีแง่ที่ควรพิจารณา คือหลักที่ว่ามาทั้งสอง หมวดนี ้ อาจจะพู ด ได้ ว ่ า เป็ น ลั ก ษณะชั ้ น ใน หรื อ เป็ น เนื ้ อ ในของ พระพุทธศาสนา สำหรับวินิจฉัยว่าเป็นคำสอนที่แท้จริงที่ควรจะนำไป ใช้หรือไม่ แต่ยังมีลักษณะชั้นนอก หรือลักษณะทั่ว ๆ ไป ที่เราควรจะ พูดถึงอีก ถ้าจะอุปมาก็คงเหมือนกับว่า เราสงสัยเกี่ยวกับเรื่องคน คือ เราไปได้ชิ้นเนื้อมาชิ้นหนึ่ง หรือพบเลือดสองสามหยด แล้วจะวินิจฉัยว่า เป็นเนื้อหนังของคนหรือไม่ เป็นรอยเลือดของคนหรือไม่ เราอาจจะนำ ไปตรวจสอบวิเคราะห์ดูเซลล์ ดูองค์ประกอบ ดูอะไรต่าง ๆ แล้วก็บอก ได้ว่า เออ! อันนี้เป็นเนื้อหนังของคน เป็นหยดเลือดของคน หรือว่าไม่ใช่ แต่เป็นของสัตว์อื่น อันนั้นเป็นการวิเคราะห์ชั้นในละเอียดขึ้นไปอีก


94

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

แต่ถ้าเราไม่ไปถึงขั้นนั้น ก็เอาเพียงว่า นำคนคนหนึ่งมา ให้ยืน ห่างจากเราสักสิบเมตรก็ได้ เทียบกันกับสัตว์อื่นเช่นช้างหรือม้าเป็นต้น แล้วก็พรรณนาลักษณะว่า คนนั้นต่างจากม้า ต่างจากช้างอย่างไร หรือมีลักษณะเฉพาะตัวอย่างไร ในชั้นนี้ ก็จะมีการบรรยายไปได้อีก ระดับหนึ่ง อาจจะเปรียบเทียบอีกอย่างหนึ่ง เหมือนกับดูตัวยาสมุนไพร อย่างหนึ่งใน ๒ ระดับ คือ ชั้นใน ดูลักษณะการออกฤทธิ์ของยาว่า

กินเข้าไปแล้วจะมีอาการของความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมาและก้าว ต่อไปอย่างนั้น ๆ และชั้นนอก ดูว่าใบ กิ่ง ดอก เปลือก มีรูปร่างสีสัน อย่างไร เป็นต้น ที่พูดถึงลักษณะของพระพุทธศาสนาในวันนี้ เราจะพูดกันถึง ลักษณะทั่วไป คล้าย ๆ กับที่เอาคนมายืนห่างจากเราสักสิบเมตร แล้วก็บรรยายลักษณะ ไม่เข้าไปถึงเนื้อในทีเดียว เป็นการทำความ เข้าใจกันในขั้นต้น ทีนี้ ลักษณะของพระพุทธศาสนาที่มองแบบทั่ว ๆ ไปนี้ ก็มี มากมายหลายประการ พูดกันได้แทบจะไม่รู้จักจบ คือจะแยกออกไป เป็น ๑๐ ข้อ ๒๐ ข้อ ก็คงพูดไปได้เรื่อย ๆ เพราะฉะนั้น เวลามีเท่าไร ก็พูดกันไปได้เท่านั้น นอกจากนั้น ดังที่ได้บอกแต่ต้นแล้วว่า ลักษณะของพระพุทธ ศาสนานั้น เป็นลักษณะของสิ่งที่ถือว่าเรารู้กันดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น เรื่องที่อาตมภาพจะยกขึ้นมาพูดก็เป็นเรื่องธรรมดา ที่ท่านรู้อยู่แล้ว เท่ากับว่าเอาเรื่องที่รู้กันอยู่แล้วนั่นเอง มาทบทวนกับท่านอีกครั้งหนึ่ง ทีนี้จะขอพูดไปเป็นข้อ ๆ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

95

ลักษณะที่ ๑

คำสอนเป็นกลาง ปฏิบัติสายกลาง

ลักษณะที่ ๑ ของพระพุทธศาสนา เมื่อพูดอย่างทั่ว ๆ ไป ก็คือ ลักษณะที่เป็นสายกลาง ลักษณะนี้พอพูดขึ้นมาทุกท่านก็นึกออก อ๋อ! ใช่สิ พระพุทธศาสนานั้น สอนเรื่องทางสายกลาง ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า มนุษย์เรานั้นมักมีความโน้มเอียง ที่จะไปสุดโต่ง ความสุดโต่งมีอยู่สองอย่าง คือ สุดโต่งในทางความคิด อย่างหนึ่ง และสุดโต่งในทางการปฏิบัติอย่างหนึ่ง มนุษย์มักจะหันไปหาความสุดโต่งในการปฏิบัติ เช่น สมัยหนึ่ง คนทั้งหลายพากันเพลิดเพลินมัวเมา ในการหาความสุขทางเนื้อหนัง ให้ ค วามสำคั ญ แก่ ก ารบำรุ ง บำเรอร่ า งกายมาก และในยุ ค นั ้ น คน ก็ไม่เห็นความสำคัญของจิตใจเลย ซึ่งทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า

เป็น กามสุขัลลิกานุโยค แต่ พ อเปลี ่ ย นไปอี ก ยุ ค สมั ย หนึ ่ ง คนบางพวกก็ ม ี ค วามรู ้ ส ึ ก

เบื่อหน่าย รังเกียจความสุขทางร่างกายทางเนื้อหนัง แล้วก็เอียงไปทาง ด้านจิตใจอย่างเต็มที่ บางทีถึงกับทรมานร่างกาย ยอมสละความสุข ทางร่างกายโดยสิ้นเชิง เพื่อจะประสบผลสำเร็จในทางจิตใจ แล้วก็ กลายเป็นการเสพติดทางจิตไปอีก พวกนี้อาจจะถึงกับทำการทรมาน ร่างกาย บำเพ็ญทุกรกิริยา อย่างที่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค เรื่องนี้เราจะเห็นตัวอย่างแม้แต่ในสังคมปัจจุบัน คือในยุคเดียว สมั ย เดี ย วก็ อ าจจะมี ค วามสุ ด โต่ ง ทั ้ ง สองอย่ า งนี ้ แยกกั น ออกไป เป็นคนละขั้ว นี้เป็นการเอียงสุดในด้านปฏิบัติ


96

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนานั้นถือว่า การเอียงสุดทั้งทางร่างกาย เห็นแก่ ร่างกาย บำรุงบำเรอร่างกายอย่างเดียว ก็ไม่ถูกต้อง การเสพติด ทางจิตใจ ไม่เห็นความสำคัญของร่างกายเลยโดยสิ้นเชิง จนกลาย เป็นการทรมานร่างกายไป ก็ไม่ถูกต้องเหมือนกัน พระพุทธศาสนาจึงวางข้อปฏิบัติ ที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา แปลว่าทางสายกลาง หรือข้อปฏิบัติที่เป็นสายกลาง คือ ความพอดี

นี้ก็เป็นแง่หนึ่ง อีกด้านหนึ่งคือ การสุดโต่งทางความคิด ซึ่งคนทั่วไปมักจะมี ความโน้มเอียงที่จะเป็นเช่นนั้น เช่น อย่างง่าย ๆ ก็คือ เรื่องวัตถุกับจิต ว่าอะไรมีจริง พวกหนึ่งจะเอียงสุดว่าวัตถุเท่านั้นมีจริง อีกพวกหนึ่ง

ก็เอียงสุดว่าจิตเท่านั้นมีจริง จนกระทั่งในปรัชญาตะวันตกได้มีการ บัญญัติกันว่า เป็นพวกวัตถุนิยม กับพวกจิตนิยม แต่ ใ นพระพุ ท ธศาสนานั ้ น เราจะเห็ น ว่ า ท่ า นไม่ ไ ด้ บ ั ญ ญั ต ิ อย่างนั้น คือมิใช่เป็นจิตนิยมหรือเป็นวัตถุนิยมไปสุดทางแต่อย่างเดียว แต่ในพระพุทธศาสนามีทั้งนามและรูป ซึ่งเรียกรวมเข้าด้วยกันเป็น คำเดียวว่า นามรูป ท่ า นเห็ น ความสำคั ญ ของทั ้ ง จิ ต และทั ้ ง วั ต ถุ ท่ า นว่ า มี ท ั ้ ง สองอย่าง แต่มีอย่างอิงอาศัยเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกตัวอย่างหนึ่ง คนพวกหนึ่งมีความเห็นว่า สิ่งทั้งหลายเที่ยงแท้ มีอัตตาที่คงอยู่ตลอดไป กลายเป็นทิฏฐิที่เรียกว่า สัสตทิฏฐิ ส่วนอีก พวกหนึ่ง ก็มีความเห็นเอียงไปสุดทางตรงข้าม บอกว่าอย่างนั้นไม่ใช่ ทุกอย่างขาดสูญหมด คนเราเกิดมาเป็นเพียงประชุมธาตุสี่ ตายแล้ว ก็ขาดสูญไป พวกนี้ก็เป็น อุจเฉททิฏฐิ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

97

บางพวกบัญญัติว่าทุกสิ่งมีทั้งนั้น อีกพวกหนึ่งว่าไม่มีอะไร มีจริงเลย พวกที่ว่ามีทั้งหมด เรียกว่า สัพพัตถิกทิฏฐิ พวกที่ว่าไม่มี อะไรสักอย่างก็เป็น นัตถิกทิฏฐิ นี้เป็นตัวอย่าง คนเรานี้มีความโน้มเอียง ที่จะคิดเห็นเอียงสุด หรือไปสุดโต่ง ในแนวความคิดเกี่ยวกับสัจธรรมอย่างที่กล่าวมานี้ แต่พระพุทธศาสนา สอนว่า ความจริงหรือสัจธรรมนี้ มิใช่จะเป็นไปตามความโน้มเอียง แห่ ง ความพอใจของมนุ ษ ย์ ที ่ ม องอะไรไปสุ ด ทางโน้ น สุ ด ทางนี ้ ความจริงนั้นเป็นกลาง ๆ หรือว่าให้ถูกก็คือต้องสอนต้องพูดให้พอดีกับ ความจริง เพราะฉะนั ้ น การสอนความจริ ง แต่ พ อดี ๆ ให้ ต รงตาม ความจริงนั้น หรือสอนให้พอดีกับความจริง ก็เลยกลายเป็นคำสอน ที่เป็นกลาง พระพุทธศาสนาสอนความเป็นกลางในทางปฏิบัติ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ส่วนในแง่ของความจริง หรือทัศนะเกี่ยวกับสัจธรรม ก็เป็นกลางอีกเหมือนกัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นกลาง ๆ เรียกว่ามัชเฌนธรรมเทศนา หรือ มัชเฌนเทศนา ตกลงว่า ในพระพุทธศาสนานี้ ไม่ว่าจะในแง่ของการปฏิบัติ หรือในแง่ของความคิดเกี่ยวกับสัจธรรมก็ตาม เป็นสายกลางทั้งหมด คื อ เป็ น มั ช ฌิ ม าปฏิ ป ทาอย่ า งหนึ ่ ง และเป็ น มั ช เฌนธรรมเทศนา อย่างหนึ่ง หลักนี้อาจเปรียบกับการยิงลูกศร ลูกศรที่ยิงไปไม่ถูกเป้าก็จะ อยู่ข้าง ๆ ข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง คือมันไม่พอดี ไม่ตรงกลาง ส่วนลูกที่ยิง ตรงกับจุดเป้าพอดีนั้น ก็เป็นอันกลาง จึงเรียกว่าสายกลาง สายกลาง ก็คือพอดี ตรงความจริงที่จะให้เข้าถึงจุดหมาย และเท่ากันพอดีกับ ความจริงที่เป็นสัจธรรม


98

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

พระพุ ท ธเจ้ า นั ้ น ก่ อ นตรั ส รู ้ ได้ ท รงไปศึ ก ษาในสำนั ก

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสัจธรรม และทดลองข้อปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อจะให้ เข้ า ถึ ง จุ ด หมาย พระองค์ ใ ช้ เ วลาไปในการทดลองนี ้ น านถึ ง ๖ ปี

แล้วก็ได้เห็นว่า ที่ปฏิบัติกันอยู่นั้นมักจะไปเอียงสุดเสียทั้งสิ้น ในที ่ ส ุ ด พระองค์ จ ึ ง ทรงค้ น พบทางสายกลางขึ ้ น มา เป็ น มั ช ฌิ ม าปฏิ ป ทา และทรงแสดงหลั ก ธรรมที ่ เ ป็ น กลาง คื อ มัชเฌนธรรมเทศนา มั ช ฌิ ม าปฏิ ป ทา ได้ แ ก่ มรรคมี อ งค์ ๘ ซึ ่ ง เป็ น ข้ อ ปฏิ บ ั ต ิ

กลาง ๆ ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ไม่เอียงออกไปข้างโน้น ไม่เอียง ออกไปข้างนี้ พอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความมีชีวิตที่ดีงาม ส่ ว นมั ช เฌนธรรมเทศนา ก็ ไ ด้ แ ก่ หลั ก ธรรมที ่ เ รี ย กว่ า ปฏิจจสมุปบาท หรือเรียกเต็มว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท

ซึ่งเป็นหลักธรรมที่แสดงความจริงเป็นกลาง ๆ ตามเหตุปัจจัย หรือ เป็นกลางอยู่ตามสภาวะของมัน ไม่เอาใจใคร ไม่ขึ้นกับใคร ไม่เป็นไป ตามความปรารถนาของใคร ๆ แต่พอดีกับความเป็นจริงที่ว่า สิ่งทั้ง หลายนั้นอิงอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นไปตามเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยทำให้ ผลเกิดขึ้น ผลจะเป็นอย่างไรก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้น สิ่งทั้งหลาย มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มิใช่ดำรงอยู่โดยลำพังตัวมันเอง อย่างนี้ เป็นต้น เรียกว่าเป็นหลักสายกลาง เป็นอันว่า หลักพระพุทธศาสนานั้น เป็นสายกลางทั้งในทาง ปฏิบัติ และในทางความคิด มีมัชฌิมาปฏิปทา และมัชเฌนธรรม เทศนา


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

99

อี ก อย่ า งหนึ ่ ง สายกลางนั ้ น มี ค วามหมายว่ า พอดี น ั ่ น เอง ตรงกั บ ที ่ เ รานิ ย มใช้ ก ั น ในปั จ จุ บ ั น ว่ า ดุ ล ยภาพ หรื อ สมดุ ล ใน พระพุทธศาสนานั้น ข้อปฏิบัติต่าง ๆ มักจะมีลักษณะอย่างนี้ คือ

มีความพอดีหรือความสมดุล ระบบที่กล่าวถึงเมื่อกี้ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติทั้งหมดในพระพุทธศาสนา เราเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ข้อปฏิบัติที่พอดี ก็เป็น ลักษณะที่มีดุลยภาพหรือสมดุลอย่างหนึ่ง แต่เป็นความพอดีของระบบ ทั้งหมด หรือความพอดีในองค์รวม ที น ี ้ ใ นการปฏิ บ ั ต ิ แ ม้ แ ต่ ท ี ่ เ ป็ น รายละเอี ย ดปลี ก ย่ อ ยลงมา ก็มีความสมดุลหรือดุลยภาพนี้อยู่เรื่อยเหมือนกัน เช่น ในการที่จะ เข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา เราจะต้องปฏิบัติหลักธรรมย่อย ๆ หลายอย่าง หลักธรรมหรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ เหล่านี้ จะต้องกลมกลืน พอดีกัน จึงจะได้ผลสำเร็จ ถ้าข้อปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น ไม่สมดุลกัน ไม่ พ อดี ก ั น ก็ จ ะเกิ ด ความขั ด แย้ ง หรื อ ความบกพร่ อ ง ความขาด ความเกิน ความเขวออกนอกทาง แล้วก็จะปฏิบัติไม่สำเร็จ เรื่องที่ท่านเน้นบ่อย ๆ ก็คือ อินทรีย์ ๕ ซึ่งสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม จะมีการเน้นว่าต้องมีสมตา สมตา ก็ ค ื อ สมดุ ล หรื อ ความพอดี ก ั น ระหว่ า งองค์ ป ระกอบ ที่เรียกว่าอินทรีย์ทั้ง ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ธรรม ๕ อย่างนี้ต้องมีสมตา มีความสมดุลพอดีกัน ศรัทธาต้องพอดีกับปัญญา ถ้าศรัทธาแรงไปก็เชื่อง่าย งมงาย ปัญญามากไป ไม่มีศรัทธามาช่วยดุลให้ ก็อาจจะเป็นคนที่รู้จับจด หรือไม่ก็ขี้สงสัยคิดฟุ้งไปหมด เห็นอะไรก็ชิงปฏิเสธเสียก่อน ไม่รู้จัก จับอะไรให้ลึกลงไป


100

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ระหว่างวิริยะกับสมาธิ ถ้าวิริยะคือความเพียรมากไปสมาธิน้อย ก็จะกลายเป็นเครียด พลุ่งพล่าน หรือฟุ้งซ่าน ถ้าความเพียรน้อย สมาธิมาก เพลินสบาย ก็ติดในสมาธิ อาจจะทำให้เกียจคร้านไปก็ได้ เพราะฉะนั้น จึงต้องมีความพอดี ระหว่างวิริยะกับสมาธิ และ มีความพอดีระหว่างศรัทธากับปัญญา โดยมีสติเป็นเครื่องควบคุม อย่างนี้เรียกว่าสมตา ข้ อ ปฏิ บ ั ต ิ ต ่ า ง ๆ ในพระพุ ท ธศาสนา จะต้ อ งมี ส มตาคื อ

ความสมดุ ล อั น นี ้ ซึ ่ ง เป็ น ความพอดี ช นิ ด หนึ ่ ง และอย่ า งนี ้ ก ็ เ ป็ น สายกลางชนิดหนึ่งเหมือนกัน ซึ่งเป็นความประสานสอดคล้องกัน ระหว่างข้อปฏิบัติปลีกย่อยต่าง ๆ ที่มาประชุมกันร่วมกันทำงาน ทีนี้ แม้แต่ข้อปฏิบัติแต่ละอย่าง ก็จะต้องมีความพอดีเหมือนกัน คือมีความพอดีในการปฏิบัติแต่ละอย่าง ๆ เช่น จะรับประทานอาหาร ก็ต้องมีความรู้จักประมาณ รู้จักพอดีในอาหาร ถ้ารับประทานอาหาร ไม่พอดีก็เกิดโทษแก่ร่างกาย แทนที่จะได้สุขภาพ แทนที่จะได้กำลัง

ก็อาจจะเสียสุขภาพ และอาจจะทอนกำลังทำให้อ่อนแอลงไป หรือ เกิดโรค เพราะฉะนั้น ท่านจึงสอนให้มีความรู้จักประมาณในการ บริโภค เรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา ตัวความรู้จักประมาณ หรือรู้จักพอดีที่เป็นหลักกลาง ๆ เรียกว่า มัตตัญญุตา คือความรู้จักประมาณ หรือรู้จักพอดีในการปฏิบัติต่าง ๆ โดยทั่วไป จะเห็นว่า หลักพระพุทธศาสนาในทุกระดับมีเรื่องของความ พอดี หรือความเป็นสายกลางนี้


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

101

ฉะนั้น ความเป็นสายกลาง คือ ความพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย และที่จะให้ตรงกับความจริง ไม่ให้ไปสุดโต่ง เอียงสุด ซึ่งจะพลาด จากตั ว ความจริ ง ไปนั ้ น จึ ง เป็ น ลั ก ษณะทั ่ ว ไปอย่ า งหนึ ่ ง ของ พระพุทธศาสนา


102

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ลักษณะที่ ๒

มีหลักการเป็นสากล

ลักษณะที่ ๒ ที่ควรจะยกมาพูดในที่นี้ ก็คือเรื่องของความเป็น สากล พระพุทธศาสนามีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง คือความเป็นสากล เป็นสากลทั้งความคิด และการปฏิบัติ เหมือนอย่างที่เป็นสายกลาง ทั้งความคิด และการปฏิบัติ ในแง่ ค วามคิ ด ในที ่ น ี ้ หมายถึ ง เรื ่ อ งสั จ ธรรม หรื อ คำสอน เกี่ยวกับสัจธรรม พระพุทธศาสนาสอนความจริงเป็นกลาง ๆ ไม่ขึ้นต่อ บุคคล กลุ่ม เหล่า พรรคพวก แม้แต่ตัวพระพุทธศาสนาเอง ตั ว อย่ า งเช่ น ท่ า นสอนว่ า การฆ่ า สั ต ว์ เ ป็ น บาป การทำ ปาณาติปาต เริ่มแต่ฆ่าคนเป็นต้นไปเป็นบาป ก็สอนเป็นกลาง ๆ ว่า ไม่ ว ่ า ฆ่ า คนไหนก็ ต ามก็ เ ป็ น บาปทั ้ ง นั ้ น ไม่ ไ ด้ จ ำกั ด ว่ า นั บ ถื อ ศาสนาไหน ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งกลุ่มแบ่งประเภทว่า ถ้านับถือ ศาสนาอื่น เป็นพวกของมารร้าย แล้วก็ฆ่าได้ไม่บาป แต่ถ้าเป็นพวก ชาวพุทธด้วยกัน ฆ่าไม่ได้เป็นบาป อย่างนี้ไม่มี อีกตัวอย่างหนึ่ง มองกว้างออกไปอีก ก็คือ พระพุทธศาสนา สอนหลักความจริงที่เป็นสากล พระพุทธศาสนาสอนว่าความจริงเป็น สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดา คือธรรมดาของสิ่งทั้งหลายเป็นอย่างนั้นเอง เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นกฎธรรมชาติ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

103

ธรรมดาของสิ่งทั้งหลายนั้น ก็เช่นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อใครทำเหตุปัจจัยอย่างไร ผลก็เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยนั้น คนไหน คนพวกไหน คนที่ไหนทำดี ก็ไปสวรรค์ คนไหน คนพวกไหน คนที่ไหน ทำชั่ว ก็ไปนรก ไม่มีการแบ่งแยกว่าต้องเป็นคนพวกนี้มาทำอย่างนี้ จึ ง ไปสวรรค์ ไ ด้ คนพวกนั ้ น ถึ ง ทำอย่ า งนั ้ น ก็ ต ้ อ งไปนรก ฯลฯ คื อ

กฎเกณฑ์กติกาเป็นธรรมดาเป็นสากล ท่านสอนความจริงเป็นสากลเป็นกลาง ๆ อันนี้เป็นลักษณะ ที่ชัดเจน คือการสอนความจริงเป็นกลาง ๆ และสอนอย่างเป็นกลาง คื อ สั จ ธรรมเป็ น ความจริ ง อย่ า งไรก็ ต ้ อ งเป็ น ความจริ ง อย่ า งนั ้ น

ไม่สามารถแบ่งเป็นพวกเป็นประเภทเป็นหมู่เป็นเหล่าได้ ในทางปฏิบัติก็เหมือนกัน เช่น สอนให้คนมีเมตตากรุณาอย่าง เป็นสากล เมื่อสอนว่าการทำปาณาติบาตเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นโทษ เพราะมี ค วามจริ ง อั น เป็ น สากลว่ า สั ต ว์ ท ั ้ ง หลายรั ก สุ ข เกลี ย ดทุ ก ข์

ด้วยกันทั้งหมดแล้ว ก็สอนให้เผื่อแผ่เมตตากรุณาแก่สัตว์ทั้งหลาย ทั่วกันหมด ชาวพุทธจะต้องมีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ ตั้งต้นแต่มนุษย์ ก็ต้องมีเมตตากรุณาต่อมนุษย์ทุกคนเหมือนกัน ไม่ได้มีการแบ่งพรรค แบ่งพวกแบ่งเหล่า แบ่งชาติชั้น แบ่งศาสนา และในแง่สัตวโลกด้วยกัน ก็ให้เผื่อแผ่ความเมตตากรุณานี้แก่สัตว์ทุกประเภท ไม่ใช่เฉพาะมนุษย์ ด้วยกันเท่านั้น อันนี้ก็เป็นเรื่องของความเป็นสากลอย่างหนึ่ง นอกจากนั้น พระพุทธศาสนาแสดงธรรมเหล่านี้เป็นกลาง ๆ ไม่บังคับให้ทำ และไม่ขู่ด้วยการลงโทษ ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่ บังคับใคร สอนให้รู้ว่า ความจริงเป็นอย่างนั้น เมื่อกระทำแล้วเกิดผลดี


104

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

หรือผลเสีย ก็เป็นไปตามธรรมดาของมันเอง เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถ พิจารณาด้วยสติปัญญาของตนเอง ความเป็ น สากลนี ้ ว่ า ที ่ จ ริ ง ก็ เ ป็ น สายกลางอย่ า งหนึ ่ ง คื อ สอนเป็นกลาง ๆ ตามความเป็นจริง


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

105

ลักษณะที่ ๓

ถือสำคัญทั้งสาระและรูปแบบ

ลั ก ษณะที ่ ๓ พระพุ ท ธศาสนาประกอบด้ ว ยองค์ ๒ อย่ า ง ที่สมพอดีกัน คือประกอบด้วยธรรมกับวินัย หลั ก ธรรมกับวินัยนี้ ได้บอกแต่ต้นแล้ ว ว่ า เป็ น ชื ่ อ หนึ ่ ง ของ พระพุทธศาสนา บางครั้งเราเรียกพระพุทธศาสนาว่า ธรรมวินัย

ซึ่งต้องมีทั้งสองอย่างจึงจะเป็นพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์ ถ้ามี อย่างเดียว ก็ยังไม่ครบ ในโลกปัจจุบันนี้ หรือในโลกที่ผ่านมาก็ตาม มักจะมีการถกเถียง กั น อยู ่ เ สมอว่ า บุ ค คลกั บ ระบบ อย่ า งไหนสำคั ญ กว่ า กั น บางคน บอกว่าบุคคลสำคัญ ระบบไม่สำคัญ บางคนบอกว่าระบบสิสำคัญ บุคคลไม่สำคัญ ระบบเป็นอย่างไร คนก็เป็นไปตามนั้น คนพวกหนึ่งบอกว่า ปัจเจกชนสำคัญ สังคมเกิดจากปัจเจกชน สังคมจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ปัจเจกชน ถ้าทำปัจเจกชนให้ดี สังคมก็ดี ไปเอง อีกพวกหนึ่งบอกว่า สังคมสิสำคัญ ปัจเจกชนถูกหล่อหลอม โดยสังคม ทำสังคมให้ดีแล้วปัจเจกชนก็ดีไปตาม ในแง่สาระกับรูปแบบ พวกหนึ่งบอกว่าสาระสำคัญ รูปแบบ ไม่ ส ำคั ญ หรอก เนื ้ อ หาสำคั ญ กว่ า รู ป แบบเป็ น เพี ย งเปลื อ กนอก บางพวกบอกว่ารูปแบบสิสำคัญ รูปแบบเป็นเครื่องกำหนดเนื้อหา เถียงกันอยู่นี่ไม่รู้จักจบ ในการฝึกการปฏิบัติก็เหมือนกัน พวกหนึ่งบอกว่าด้านในจิตใจ สำคัญ ต้องฝึกจิตใจ ฝึกจิตใจได้แล้วทุกอย่างก็ดีไปเอง ร่างกาย


106

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ภายนอกไม่สำคัญ อีกพวกหนึ่งบอกว่า สำคัญที่วัตถุภายนอก เพราะ จิ ต ใจเป็ น สิ ่ ง ที ่ อ าศั ย วั ต ถุ เกิ ด จากวั ต ถุ ถ้ า ทำภายนอกดี สภาพ แวดล้อมวัตถุดี มีความเจริญทางวัตถุพรั่งพร้อม เศรษฐกิจดีแล้ว จิตใจ ก็ดีเอง คนจำนวนมากเถียงกัน แม้แต่ในเรื่องสมัครใจกับบังคับ ว่า อย่างไหนดี พวกหนึ่งบอกว่าต้องสมัครใจหมดทุกอย่าง ต้องเป็นไป ตามเสรีภาพ สมัครใจจึงจะถูกต้อง อีกพวกหนึ่งว่าไม่ได้หรอก คนเรานี้ กิเลสมันมาก ต้องบังคับมัน บังคับแล้วจึงจะได้ผล นี้ก็เป็นเรื่องของการเอียงสุดอย่างหนึ่งเหมือนกัน มนุษย์มักจะ โน้มเอียงไปในทางเอียงสุด หรือสุดโต่งไปข้างหนึ่ง แต่ พ ระพุ ท ธศาสนาไม่ เ อี ย งสุ ด ไปข้ า งไหน เพราะยอมรั บ ความสำคัญของแต่ละเรื่องแต่ละอย่าง ตามความเป็นจริงของมัน หรือ ตามคุณค่าที่มันมีอยู่ โดยมองตามเป็นจริง หรือตามที่มันเป็นและพอดี กับที่มันเป็น ว่าสิ่งทั้งหลายแต่ละอย่างมีความสำคัญตามส่วนของมัน อันนี้จะเรียกว่าเป็นความเป็นกลาง หรือความเป็นสายกลาง อีกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนาก็ได้ ในเรื ่ อ งสาระกั บ รู ป แบบเป็ น ต้ น ที ่ ว ่ า มานี ้ พระพุ ท ธเจ้ า

ทรงบัญญัติหลักคำสอนของพระองค์ ให้มีองค์ประกอบทั้งสองอย่าง คือ ธรรมกับวินัย คุมทั้งคู่เลย ธรรม เป็นหลักความจริง ซึ่งมีอยู่ตามธรรมดาของมัน และ เป็นสิ่งที่บุคคลจะเข้าถึงได้ ธรรมนั้นสังคมไม่สามารถมีปัญญารู้ได้ บุคคลแต่ละคนเท่านั้นที่จะมีปัญญารู้แจ้งเข้าถึงสัจธรรม แต่ ใ นเวลาเดี ย วกั น พระพุ ท ธศาสนาก็ ม ี อ ี ก ด้ า นหนึ ่ ง คื อ

หลักเกณฑ์ที่เรียกว่าวินัย


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

107

วินัย เป็นการจัดตั้งและจัดการเป็นรูปแบบ เป็นระบบ เป็นกติกา เป็นกฎเกณฑ์ เป็นสิ่งที่มนุษย์บัญญัติหรือกำหนดวางขึ้น เป็นเรื่อง ของการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่เน้นทางวัตถุ และเป็นเรื่อง ของสังคม บัญญัติขึ้นเพื่อจัดสรรสังคมให้ดำรงอยู่ด้วยดีในภาวะที่จะ เกื ้ อ กู ล ต่ อ ชี ว ิ ต ของบุ ค คลทั ้ ง หลาย ที ่ ม าอยู ่ ร วมกั น เป็ น สั ง คมนั ้ น

ให้บุคคลเหล่านั้นมีชีวิตอยู่กับธรรมได้อย่างดีที่สุด และได้ประโยชน์ มากที่สุดจากธรรม จะเห็นว่า ธรรมและวินัยสองอย่างนี้ก็มาสัมพันธ์กัน พระพุทธ ศาสนาให้ความสำคัญทั้งแก่ธรรมและวินัย พูดเป็นภาษาปัจจุบันว่า ให้ความสำคัญทั้งแก่บุคคลและระบบ ให้ความสำคัญทั้งแก่ปัจเจกชนและสังคม ให้ความสำคัญทั้งแก่สาระ และรูปแบบ ให้ความสำคัญทั้งแก่การปฏิบัติทางด้านในจิตใจ และ การปฏิบัติด้านนอกที่เน้นวัตถุ กาย วาจา และให้มีทั้งการสมัครใจและ การบังคับ (หมายถึงการฝึกด้วยกฎกติกา) อย่างมีสมดุล พอดี ที่จะ เกื้อกูลหนุนกันให้เกิดผลดีที่มุ่งหมาย นี ้ ค ื อ ลั ก ษณะของพระพุ ท ธศาสนาอย่ า งหนึ ่ ง ที ่ เ ข้ า กั บ

ข้อแรกด้วย แต่แยกให้เห็นเป็นพิเศษต่างหาก จะเห็นว่า ในพระพุทธศาสนานี้ ท่านให้ ธรรม เป็นเรื่องของ การสมัครใจ เราแต่ละคนเกี่ยวข้องกับธรรมด้วยสติปัญญาของตนเอง จะต้องรู้เข้าใจเห็นแจ้งสัจธรรมด้วยปัญญาของตนเอง เฉพาะบุคคล แต่ในเวลาเดียวกันนั้น ก็มี วินัย เป็นเรื่องของสังคม เป็นเรื่อง ของรูปแบบ เป็นเรื่องของการปฏิบัติด้านกายวาจา เป็นแบบแผนที่ บังคับแก่ทุกคนเสมอกัน สำหรับให้เป็นเครื่องตะล่อมและหล่อหลอม เป็นเครื่องสร้างสภาพแวดล้อมที่จะชักจูงบุคคลเข้าหาธรรม และเป็น


108

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เครื่องสร้างสภาพชีวิตและสภาพสังคมที่เอื้อต่อการที่จะนำธรรมมาใช้ ปฏิบัติ หรือเอาธรรมมาใช้ประโยชน์ ตลอดจนการที่จะเจริญงอกงาม ยิ่งขึ้นไปในธรรม และเข้าถึงธรรม ธรรมและวินัย สองอย่างนี้ ถ้าจัดให้พอดีก็จะได้ความสมดุล เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ประสานสัมพันธ์กัน ธรรมเป็ น ฐานรองรั บ และเป็ น ที ่ อ ิ ง อาศั ย ของวิ น ั ย วิ น ั ย คื อ

กฎเกณฑ์ข้อบังคับแบบแผนของสังคม เป็นการจัดตั้ง ถ้าไม่อิงธรรม ก็ เ หลวไหลใช้ ไ ม่ ไ ด้ ถ้ า ไม่ ต ั ้ ง อยู ่ บ นฐานของธรรมก็ ก ลายเป็ น การ ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น วินัยต้องอิงอยู่บนฐานของธรรม อีกด้านหนึ่ง เรามีวินัยเพื่ออะไร ก็เพื่อให้คนเราแต่ละคนนี้ ได้มี สภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลในการที่จะเข้าถึงธรรม ธรรมจึงเป็นจุดหมาย ของวินัยด้วย วินัยนั้นอิงอาศัยธรรม แล้วก็เป็นไปเพื่อให้คนเข้าถึง จุดหมายคือธรรมนั่นเอง วินัย เป็นเปลือกนอก ช่วยห่อหุ้มเนื้อในคือ ธรรม ไว้ ถ้าไม่มี เปลือกนอกห่อหุ้มไว้ ต่อไปไม่นานเนื้อในก็จะหายสูญ หรือลบเลือนไป เพราะฉะนั้น เราจึงต้องเห็นความสำคัญของทั้งเปลือกนอกและเนื้อใน ถ้ามะม่วงไม่มีเปลือก หรือมะพร้าวไม่มีกะลา มันจะอยู่ได้ไหม เราอาจจะบอกว่ากะลาไม่สำคัญ เพราะกินไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีกะลา เราก็ไม่ได้กินเนื้อและน้ำมะพร้าว ในทางกลับกัน ถ้ามีแต่เปลือกมะม่วงและกะลามะพร้าว ไม่มี เนื้อมะม่วง ไม่มีเนื้อและน้ำมะพร้าว ก็ไม่รู้จะมีเปลือกมะม่วง และ กะลามะพร้าวไว้ทำไม เปลือกและกะลานั้นก็อาจจะกลายเป็นขยะ ไม่มีประโยชน์อะไร


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

109

ถ้ากะลาจะมีประโยชน์อะไรต่อไปโดยไม่มีเนื้อมะพร้าว ก็ไม่ใช่ มีประโยชน์ในฐานะกะลามะพร้าว แต่อาจจะกลายเป็นกระบวยตักน้ำ เป็นภาชนะใส่ข้าวกิน หรือเป็นเครื่องมือขอทาน เป็นต้น คือ กลายเป็น ของอย่างอื่นไป เพราะฉะนั้น เราจึงต้องเห็นความสำคัญของทั้งกะลา และ เห็นความสำคัญของเนื้อมะพร้าว พระพุทธศาสนานั้นมีทั้งธรรมและวินัย และจากหลักธรรมและ วินัยนี้ก็จึงมีสงฆ์ ซึ่งแบ่งเป็นสมมติสงฆ์ และอริยสงฆ์ ผู้เข้าถึงเนื้อในคือธรรมแล้วก็เป็น อริยสงฆ์ แต่ถ้าอยู่แค่ชั้นนอก อยู่แค่วินัย ก็เป็นสมมติสงฆ์ แต่สมมติสงฆ์นั้นตั้งขึ้นเพื่ออะไร ก็เพื่อความมุ่งหมายให้ม ี

สภาพแวดล้ อ มที ่ เ หมาะสมและเกื ้ อ กู ล ในการที ่ บ ุ ค คลทั ้ ง หลาย จะปฏิบัติธรรม เพื่อจะได้ร่วมเป็นอริยสงฆ์ และสมมติสงฆ์นี้แหละ จะรั ก ษาพระธรรมวิ น ั ย ไว้ เป็ น ผู ้ ท ี ่ ค อยเผยแพร่ ป ระกาศธรรมไว้

เพื่อจะให้มีคนได้มาเข้าร่วมเป็นอริยสงฆ์ได้ต่อ ๆ นาน ๆ เรื่อย ๆ ไป เพราะฉะนั้น สมมติสงฆ์ก็มีความสำคัญ แต่อริยสงฆ์ก็มีความสำคัญ ถ้าไม่มีอริยสงฆ์จะมีสมมติสงฆ์ ไว้ทำไม ก็ไม่มีความหมาย เพราะสิ่งที่ให้ความหมายแก่สมมติสงฆ์

ก็ ค ื อ ความเป็ น อริ ย สงฆ์ แต่ ส ิ ่ ง ที ่ เ อื ้ อ ต่ อ การเกิ ด มี แ ละคงอยู ่ ข อง อริยสงฆ์ ก็คือสมมติสงฆ์ สิ่งที่ให้ความหมายแก่วินัยก็คือธรรม แต่สิ่งที่จะรักษาธรรมไว้

ก็คือวินัย เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงมีส่วนประกอบทั้งสองอย่าง ธรรมกั บ วิ นั ย อิ ง อาศั ย และประสานสั ม พั น ธ์ ก ั น และรวม เข้าด้วยกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว ดังที่ท่านเรียกเป็นคำศัพท์คำเดียว


110

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เป็นเอกพจน์ว่า ธรรมวินัย เมื่อรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงเป็น พระพุทธศาสนา คล้ายกับที่นามและรูป ประกอบกันเข้าเป็นชีวิต นามและรูป อิงอาศัยและประสานสัมพันธ์กัน และรวมเข้าด้วยกันเป็นอันหนึ่ง

อันเดียว ดังที่ท่านเรียกเป็นคำศัพท์คำเดียวเป็นเอกพจน์ว่า นามรูป เมื่อรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจึงเป็นชีวิต ถ้าขาดอย่างหนึ่งอย่างใด ก็เป็นชีวิตไม่ได้ สำหรับพระสงฆ์นั้น เราจะเห็นว่ามีธรรมและวินัยควบคู่กันอยู่ แต่สำหรับฝ่ายคฤหัสถ์ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ ควรจะต้อง มี ก ารเตื อ นกั น ว่ า เราอาจจะมี ก ารเน้ น เอี ย งสุ ด ไปข้ า งใดข้ า งหนึ ่ ง มากเกินไป บางที เ รามานึ ก กั น แต่ ใ นแง่ ธ รรม จนกระทั ่ ง สั ง คมพุ ท ธไทย ไม่มีวินัยเป็นของตนเอง ชาวพุทธไทยไม่รู้จักว่าอะไรเป็นวินัยของตน ถ้าเป็นอย่างนั้น สังคมพุทธจะดำรงอยู่ได้อย่างไรในระยะยาว และ ถ้าสังคมรักษารูปแบบอยู่ไม่ได้ ต่อไปเนื้อในคือธรรมก็จะอยู่ไม่ได้ เช่นเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน พระสงฆ์ถ้ามีแต่วินัยรักษารูปแบบไว้ แต่

ไม่อาศัยวินัยนั้นช่วยให้รู้เข้าใจและก้าวไปในธรรม ก็จะไม่สามารถเป็น พระสงฆ์ที่แท้จริง ปั จ จุ บ ั น นี ้ เ ป็ น ที ่ น ่ า สงสั ย ว่ า การให้ ค วามสำคั ญ อย่ า งพอดี ระหว่างองค์ประกอบสองอย่างนี้ ในพุทธศาสนายังเป็นไปด้วยดีหรือไม่ ขอฝากไว้พิจารณาด้วย


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

111

ลักษณะที่ ๔

เป็นกรรมวาท กิริยวาท วิริยวาท

ลั ก ษณะที ่ ๔ พระพุ ท ธศาสนานั ้ น มี ช ื ่ อ อย่ า งหนึ ่ ง ว่ า เป็ น

กัมมวาท หรือกรรมวาที พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านใช้คำว่า ทั้งหลาย คือไม่เฉพาะพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น แต่ทุกองค์ทั้งหมด ไม่ ว ่ า จะเป็ น พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตก็ต าม ในอนาคตก็ ต าม แม้องค์ที่อยู่ในยุคปัจจุบันก็ตาม ล้วนเป็นกรรมวาทะ เป็นกิริยวาทะ และเป็นวิริยวาทะ หรือเป็นกรรมวาที และกิริยวาที (เวลาใช้วาที

ท่านมีแค่สอง คือ กรรมวาทีและกิริยวาที แต่เมื่อเป็นวาทะมีสาม คือ เป็นกรรมวาทะ กิริยวาทะ และวิริยวาทะ) หมายความว่ า พระพุ ท ธศาสนานั ้ น สอนหลั ก กรรม สอนว่ า

การกระทำมีจริง เป็นกรรมวาทะ สอนว่าทำแล้วเป็นอันทำ เป็น กิริยวาทะ สอนว่าความเพียรพยายามมีผลจริง ให้ทำการด้วยความ เพี ย รพยายาม เป็ น วิ ริ ย วาทะ ให้ ค วามสำคั ญ แก่ ค วามเพี ย ร เป็นศาสนาแห่งการกระทำ เป็นศาสนาแห่งการเพียรพยายาม ไม่ใช่ ศาสนาแห่งการหยุดนิ่งเฉยหรือเฉื่อยชาเกียจคร้าน ลักษณะของหลักกรรมนี้ เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา เพราะกรรม เป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนา จะต้องมีการเน้นอยู่เสมอ หลั ก การของศาสนานั ้ น ก็ เ หมื อ นกั บ หลั ก การปฏิ บ ั ต ิ ท ั ่ ว ไป ในหมู่มนุษย์ เมื่อเผยแพร่ไปในหมู่มนุษย์วงกว้าง ซึ่งมีระดับสติปัญญา ต่างกัน มีความเอาใจใส่ต่างกัน มีพื้นเพภูมิหลังต่าง ๆ กัน นาน ๆ เข้า


112

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ก็มีการคลาดเคลื่อนเลือนลางไปได้ จึงจะต้องมีการทำความเข้าใจกัน อยู่อย่างสม่ำเสมอ เฉพาะอย่ า งยิ ่ ง สำหรั บ พระพุ ท ธศาสนา ซึ ่ ง เป็ น ศาสนาที ่ ไม่บังคับความเชื่อ ไม่เอาศรัทธาเป็นใหญ่ ให้เสรีภาพทางปัญญา หลักคำสอนและหลักการปฏิบัติต้องขึ้นต่อการศึกษา ถ้าการศึกษา หย่อนลงไป พระพุทธศาสนาก็เลือนลางและเพี้ยนได้ง่าย เรื ่ อ งกรรมนี ้ ก ็ เ ป็ น ตั ว อย่ า งสำคั ญ เมื ่ อ เผยแพร่ ไ ปในหมู ่ ช น จำนวนมากเข้า ก็มีอาการที่เรียกว่าเกิดความคลาดเคลื่อน มีการเฉไฉ ไขว้เขวไป ทั้งในการปฏิบัติ และความเข้าใจ หลักกรรมในพระพุทธศาสนานี้ ท่านสอนไว้เพื่ออะไร ที่เห็นชัด

ก็คือ เพื่อไม่ให้แบ่งคนโดยชาติกำเนิด แต่ให้แบ่งด้วยการกระทำ ความประพฤติ นี่เป็นประการแรก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ

พฺราหฺมโณ คนไม่ใช่ต่ำทรามเพราะชาติกำเนิด แต่จะเป็นคนต่ำทราม ก็เพราะกรรมคือการกระทำ คนมิใช่จะเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด แต่เป็นพราหมณ์ คือผู้บริสุทธิ์ เป็นคนดีคนประเสริฐ ก็เพราะกรรม คือการกระทำ (ทางกาย วาจา และความคิด) ตามหลักการนี้ พระพุทธศาสนายึดเอาการกระทำหรือความ ประพฤติ มาเป็นเครื่องจำแนกมนุษย์ ในแง่ของความประเสริฐ หรือ ความเลวทราม ไม่ให้แบ่งแยกโดยชาติกำเนิด ความมุ่งหมายในการเข้าใจหลักกรรม ประการที่สอง ที่ท่านเน้น ก็คือ การรับผิดชอบต่อตนเอง คนเรานั้นมักจะซัดทอดสิ่งภายนอก ซัดทอดปัจจัยภายนอก ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง เวลามองหาความผิด ต้องมอง ไปที่ผู้อื่นก่อน มองที่สิ่งภายนอกก่อน


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

113

แม้ แ ต่ เ ดิ น เตะกระโถน ก็ ต ้ อ งบอกว่ า ใครเอากระโถนมาวาง ซุ่มซ่าม ไม่ว่าตนเดินซุ่มซ่าม เพราะฉะนั้น จึงเป็นลักษณะของคน ที่ชอบซัดทอดปัจจัยภายนอก แต่พระพุทธศาสนาสอนให้รับผิดชอบการกระทำของตนเอง ให้มีการสำรวจตนเองเป็นเบื้องแรกก่อน ประการต่อไป ท่านสอนหลักกรรมเพื่อให้รู้จักพึ่งตนเองไม่ฝาก โชคชะตาไว้ ก ั บ ปั จ จั ย ภายนอก ไม่ ใ ห้ ห วั ง ผลจากการอ้ อ นวอน นอนคอยโชคให้ ห วั ง ผลจากการกระทำ ท่ า นจึ ง สอนเรื ่ อ งกรรม คู ่ ก ั บ ความเพี ย ร เหมื อ นอย่ า งหลั ก ที ่ ย กมาให้ ดู ต ั ้ ง แต่ ต ้ น ที ่ ว ่ า พระพุทธศาสนาเป็นกรรมวาที และเป็นวิริยวาที หลักกรรมในพระพุทธศาสนาสอนว่า ความสำเร็จเกิดขึ้นจาก การกระทำตามทางของเหตุและผล คือผลจะเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย เท่าที่เรามีเรี่ยวแรงเพียรพยายามทำได้ อนึ ่ ง หลั ก กรรมของเรานี ้ ต้ อ งแยกให้ ด ี จ ากลั ท ธิ ๓ ลั ท ธิ

ในพระไตรปิฎกท่านกล่าวไว้หลายแห่งเกี่ยวกับลัทธิที่ผิด ซึ่งต้องถือว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะเมื่อพูดไปไม่ชัดเจนพอ ก็อาจจะทำให้เกิด ความเข้าใจผิด ลัทธิที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ว่าผิดหลักกรรม มีอยู่ ๓ ลัทธิ ลั ท ธิ ท ี ่ ๑ คื อ ปุ พ เพกตวาท ลั ท ธิ ก รรมเก่ า เอาแล้ ว

พุทธศาสนิกชนได้ฟัง ชักยุ่งแล้ว ลัทธิที่ ๒ คือ อิศวรนิรมิตวาท ลัทธิที่ถือว่าพระผู้เป็นเจ้า เนรมิต หรือเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่บันดาล ลั ท ธิ ท ี ่ ๓ คื อ อเหตุ ว าท ลั ท ธิ ท ี ่ ถ ื อ ว่ า ความเป็ น ไปต่ า ง ๆ ไม่มีเหตุปัจจัย แล้วแต่โชคชะตา


114

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

๓ ลั ท ธิ น ี ้ พ ระพุ ท ธศาสนาถื อ ว่ า ไม่ ท ำให้ ค นมี ค วามเพี ย ร พยายามในการที่จะทำ เพราะถ้าทุกสิ่งทุกอย่างที่คนเราได้รับ หรือสุข และทุกข์ทั้งหลายที่เราได้ประสบ เป็นเพราะกรรมเก่าบันดาลแล้ว เราก็ต้องนอนรอแต่กรรมเก่า เพราะจะทำอะไรไปก็ไม่ได้ผล จะแก้ไข อะไรไปก็ไม่มีประโยชน์ ในทำนองเดี ย วกั น ถ้ า เชื ่ อ ว่ า เป็ น เพราะอิ ศ วร คื อ เทพเจ้ า

ผู้ยิ่งใหญ่บันดาล ก็อ้อนวอนเอาสิ ไม่ต้องทำอะไร แม้แต่ถ้าถือว่าไม่มีเหตุปัจจัย มันบังเอิญเป็นไปเองแล้วแต่ โชคชะตา เราก็ทำอะไรไม่มีผลเหมือนกัน เพราะต้องแล้วแต่โชคชะตา ผลที่สุด สามหลักสามลัทธินี้ ไม่ทำให้คนมีการกระทำ ไม่ทำให้ คนมี ฉ ั น ทะ หรื อ มี ค วามเพี ย รพยายามในการกระทำเหตุ ต ่ า ง ๆ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นลัทธิที่ผิด โดยเฉพาะลัทธิที่หนึ่ง คือ ปุพเพกตวาท ลัทธิกรรมเก่านั้น เป็นลัทธิของนิครนถ์ มีพระสูตรหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้ไว้ยาวหน่อย คือ

เทวทหสูตร ในพระไตรปิฎกเล่ม ๑๔ พูดถึงเรื่องกรรมเก่า ซึ่งเป็นลัทธิ ของนิครนถ์ พุทธศาสนาก็สอนเรื่องกรรมเหมือนกัน แต่มีทั้งกรรมเก่ากรรม ปั จ จุ บ ั น และกรรมที ่ จ ะทำต่ อ ไปในอนาคต กั บ ทั ้ ง ถื อ ว่ า กรรมนั ้ น

เป็นเพียงกระบวนการแห่งเหตุผลที่เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์

เป็นส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์แห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย กระบวนการแห่งปัจจัยนั้นสืบเนื่องดำเนินอยู่เสมอตลอดเวลา โดยเป็นไปตามปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง ไม่ใช่ว่าเป็นไปเพราะ กรรมเก่าอย่างเดียว


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

115

เพราะฉะนั ้ น จะต้ อ งระวั ง ให้ ด ี ต้ อ งแยกหลั ก กรรมของ พระพุทธศาสนาออกจากลัทธิกรรมเก่าให้ได้ นอกจากลัทธิกรรมเก่า แล้ ว ก็ ต ้ อ งระวั ง ไม่ ใ ห้ ไ ปตกไปติ ด ในอิ ศ วรนิ ร มิ ต วาท และ อเหตุอปัจจัยวาทด้วย ที่พูดมานี้โดยสาระสำคัญก็มุ่งให้เห็นว่า พระพุทธศาสนานั้น เป็น “กรรมวาท” แต่หลักกรรมของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไรนั้น ในฐานะที ่ เ ป็ น พุ ท ธศาสนิ ก ชน เมื ่ อ กรรมเป็ น หลั ก ธรรมสำคั ญ ใน พระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนก็จะต้องระวังตั้งใจคอยศึกษาให้ แม่นยำชัดเจนอยู่เสมอ เพื่อให้รู้ว่าหลักกรรมในพระพุทธศาสนานั้น อย่างไรแน่ อย่าให้ไขว้เขวผิดไปนับถือเอาลัทธิกรรมเก่าของนิครนถ์เข้า เดี๋ยวเราจะกลายเป็นนิครนถ์ไปโดยไม่รู้ตัว ทั้ง ๆ ที่รูปแบบของเรา ยังเป็นพุทธ แต่เนื้อตัวที่แท้ของเราอาจจะกลายเป็นนิครนถ์ไปก็ได้


116

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ลักษณะที่ ๕ เป็นวิภัชชวาท

ลักษณะที่ ๕ พระพุทธศาสนาเป็น “วิภัชชวาท” ดังที่ได้เป็น

คำสำคั ญ ในการสังคายนาครั้งที่ ๓ ซึ่งพระโมคคั ล ลี บ ุ ต รติ ส เถระ เป็นประธาน ครั้งนั้นพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้อุปถัมภ์

การสังคายนา เรียกว่าเอกอัครศาสนูปถัมภก พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรติสเถระว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมี วาทะอย่ า งไร สอนอย่ า งไร พระโมคคั ล ลี บ ุ ต รติ ส เถระทู ล ตอบว่ า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็น วิภัชชวาที วิภัชชวาทเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นวิภัชชวาที หรือเป็นวิภัชชวาทะนั้น วิภัชชวาท คื อ อะไร คื อ การแสดงความจริ ง หรื อ การสอนโดยแยกแยะจำแนก หมายความว่า ไม่มองความจริงเพียงด้านเดียว แต่มองความจริงแบบ แยกแยะจำแนกครบทุกแง่ด้าน ไม่ดิ่งไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หลักการ แสดงความจริงด้วยวิธีจำแนกแยกแยะอย่างนั้น เรียกว่า วิภัชชวาท เป็นความโน้มเอียงของมนุษย์ ที่จะมองอะไรข้างเดียวด้านเดียว พอเจออะไรอย่างหนึ่ง เพียงได้เห็นด้านเดียว ก็เหมาสรุปว่า นั่นคือ

สิ่งนั้น ความจริงคืออย่างนั้น แต่ความจริงที่แท้ของสิ่งทั้งหลายมี หลายด้าน จึงต้องมองให้ครบทุกแง่ทุกด้าน พระพุ ท ธศาสนา มี ล ั ก ษณะจำแนกแยกแยะ ดั ง ที ่ เ รี ย กว่ า วิภัชชวาท คำว่า “วิภัชช” แปลว่า จำแนกแยกแยะ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

117

การจำแนกแยกแยะที่สำคัญ คือในด้านความจริง เช่น เมื่อพูด ถึงชีวิตคน ท่านจำแนกออกไปเป็นขันธ์ ๕ โดยแยกออกเป็นรูปธรรม และนามธรรมก่อน แล้วแยกนามธรรมออกไปอีกเป็น ๔ ขันธ์ แม้แต่ ๔ ขันธ์นั้น แต่ละขันธ์ยังแยกแยะจำแนกย่อยออกไปอีก คือแยกแยะ ความจริงให้เห็นทุกแง่ทุกด้าน ไม่ตีคลุมไปอย่างเดียว ต่างจากคน จำนวนมากที่มีลักษณะตีขลุม และจับเอาแง่เดียวไปเหมาคลุมเป็น ทั้งหมด ทำให้มีการผูกขาดความจริงโดยง่าย แม้ แ ต่ ใ นการตอบคำถามบางประเภท ก็ ต ้ อ งมี ล ั ก ษณะของ การจำแนกแยกแยะ ไม่ตอบตีขลุมลงไปอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น

มีผู้มาทูลถามพระพุทธเจ้าว่า คฤหัสถ์คือชาวบ้านนั้น เป็นผู้ที่จะยังข้อ ปฏิบัติที่เป็นกุศลให้สำเร็จ แต่บรรพชิตไม่สามารถทำอย่างนั้นได้

ใช่หรือไม่ นี ่ ถ ้ า ตอบแบบลงความเห็ น ข้ า งเดี ย ว ที ่ เ รี ย กว่ า เอกั ง สวาท

ก็ต้องตอบดิ่งไปข้างหนึ่ง โดยต้องปฏิเสธ หรือว่ารับ ถ้ายอมรับก็บอก ว่าใช่แล้ว คฤหัสถ์เท่านั้นทำสำเร็จ บรรพชิตไม่สำเร็จ ถ้าปฏิเสธก็บอก ว่าไม่ใช่ คฤหัสถ์ไม่สำเร็จ บรรพชิตจึงจะสำเร็จ แต่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสอย่างนั้น พระพุทธเจ้าตรัสแบบวิภัชชวาท ทรงชี้แจงว่าพระองค์ไม่ตรัสเอียงไปข้างเดียวอย่างนั้น พระองค์ตรัสว่า คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ถ้ามีสัมมาปฏิบัติแล้ว ก็ทำกุศลธรรม ให้สำเร็จทั้งสิ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม ถ้ามี มิจฉาปฏิบัติ คือปฏิบัติผิดแล้ว ก็ทำกุศลธรรมให้สำเร็จไม่ได้ด้วยกัน

ทั้งสองฝ่าย ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าวิภัชชวาท อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่นมีคนมากราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า วาจา ที่ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น พระองค์ตรัสไหม ถ้าเป็นเรา เราจะตอบ


118

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ว่าอย่างไร ถ้าเขามาถามว่า คำพูดที่คนอื่นไม่ชอบใจ ไม่เป็นที่รัก ของเขา ท่านพูดไหม ท่านจะตอบว่าอย่างไร ถ้าตอบว่าพูดหรือตอบว่า

ไม่พูด ก็เรียกว่าตอบดิ่งไปข้างเดียว แต่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสอย่างนั้น พระองค์ตรัสว่า ในข้อนี้เราไม่ ตอบดิ่งไปข้างเดียว แล้วพระองค์ก็ตรัสแยกแยะให้ฟังว่า วาจาใดไม่จริง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ถูกใจผู้ฟัง พระองค์ไม่ตรัส วาจาใดเป็นคำจริง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ถูกใจผู้ฟัง พระองค์

ไม่ตรัส วาจาใดเป็นคำจริง เป็นประโยชน์ ไม่ถูกใจผู้ฟัง พระองค์เลือก กาลที่จะตรัส วาจาใดไม่จริง ไม่เป็นประโยชน์ ถูกใจผู้ฟัง พระองค์ไม่ตรัส วาจาใดจริง ไม่เป็นประโยชน์ ถูกใจผู้ฟัง พระองค์ก็ไม่ตรัส วาจาใดเป็นคำจริง เป็นประโยชน์ ถูกใจผู้ฟัง พระองค์เลือก

กาลที่จะตรัส เขาถามเพียงคำถามเดียว พระองค์ตรัสแยก ๖ อย่าง ขอให้ พิจารณาดู อย่างนี้เรียกว่าวิภัชชวาท นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงถึงลักษณะท่าทีของการสนองตอบ หรือ ปฏิกิริยาต่อสิ่งทั้งหลายแบบชาวพุทธ ซึ่งมีการมองอย่างวิเคราะห์และ แยกแยะจำแนกแจกแจง เพื่อให้เห็นความจริงครบทุกแง่ด้าน อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ในการแยกประเภทคฤหัสถ์ พระพุทธเจ้า ตรั ส กามโภคี ๑๐ ประเภท แสดงหลั ก การวิ น ิ จ ฉั ย คฤหั ส ถ์ โ ดย การแสวงหาทรั พ ย์ โดยการใช้ จ ่ า ยทรั พ ย์ และโดยท่ า ที ข องจิ ต ใจ ต่อทรัพย์เป็นต้น แล้วแยกประเภทคฤหัสถ์ไปตามหลักการเหล่านี้


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

119

หลักการต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้มาก เพราะ ฉะนั้นเราจะเห็นว่า ธรรมในพระพุทธศาสนามีลักษณะพิเศษที่มักจะมี เป็นข้อ ๆ โดยรวมเป็นชุด ๆ ดังที่จัดเป็นหมวดธรรมต่าง ๆ เช่น

หมวดสอง หมวดสาม หมวดสี่ หมวดห้า หมวดหก ฯลฯ พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักจำแนกธรรม จึงได้รับการเฉลิมพระนาม อย่างหนึ่งว่า ภควา ภควานั้น แปลได้สองอย่าง คือ แปลว่าผู้มีโชคก็ได้ แปลว่า ผู้จำแนกแจกธรรมก็ได้ นี้เป็นลักษณะที่เรียกว่าวิภัชชวาท คือเป็นนักวิเคราะห์ จำแนก แจกธรรม หรือแยกแยะให้เห็นครบแง่ด้านของความจริง


120

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ลักษณะที่ ๖ มุ่งอิสรภาพ

ลั ก ษณะที ่ ๖ พระพุ ท ธศาสนา มี “วิ มุ ต ติ ” หรื อ ความมี อิสรภาพเป็นจุดหมายสำคัญ และไม่ใช่เป็นเพียงจุดหมายเท่านั้น แต่มี อิสรภาพเป็นหลักการสำคัญทั่วไปทีเดียว ในทางธรรมท่านใช้คำว่า วิมุตติรส กับ วิมุตติสาระ สำหรั บ วิ ม ุ ต ติ ร สนั ้ น พระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส เป็ น คำอุ ป มาว่ า มหาสมุ ท รแม้ จ ะกว้ า งใหญ่ เ พี ย งใดก็ ต าม แต่ น ้ ำ ในมหาสมุ ท รที ่ มากมายทั ้ ง หมดนั ้ น มี ร สเดี ย ว คื อ รสเค็ ม ฉั น ใด ธรรมวิ น ั ย ของ พระองค์ที่สอนไว้มากมาย ทั้งหมดก็มีรสเดียวคือวิมุตติรส ได้แก่ ความหลุดพ้นจากทุกข์และปวงกิเลส ฉันนั้น ภาษาสมัยใหม่เรียกความหลุดพ้นว่า อิสรภาพ เดี๋ยวนี้เราไม่ใช้ คำว่าวิมุตติ เราติดคำว่าอิสรภาพ แต่ที่จริงเราใช้คำว่า อิสรภาพ ในความหมายของวิมุตตินั่นเอง เวลาแปลเป็ น ภาษาอั ง กฤษจะเห็ น ชั ด ฝรั ่ ง แปลวิ ม ุ ต ติ ว ่ า freedom เราแปลอิสรภาพ ก็ว่า freedom ตรงกัน แต่ในภาษาไทย คนไทยแทนที่จะใช้คำว่าวิมุตติ กลับไปใช้คำว่าอิสรภาพ ที ่ จ ริ ง ในภาษาบาลี เ ดิ ม อิ ส รภาพไม่ ไ ด้ แ ปลว่ า freedom อิสรภาพนั้นแปลว่าความเป็นใหญ่ ตรงกับ sovereignty หรือแม้แต่ domination หรือ dominion คือความมีอำนาจเหนือหรือเป็นใหญ่แต่เรา ใช้อิสรภาพในความหมายของ freedom เพราะฉะนั้น อิสรภาพที่ใช้กัน ในภาษาไทยจึงไปตรงกับคำว่าวิมุตติ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

121

พระพุทธศาสนานั้น มีลักษณะของความหลุดพ้น หรือความเป็น อิสระอยู่โดยตลอด จุดหมายของพระพุทธศาสนา ก็ได้แก่วิมุตติ พระพุทธเจ้าตรัสอีกแห่งหนึ่งว่า วิมุตฺติสารา สพฺเพ ธมฺมา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมีวิมุตติเป็นสาระ คือมีวิมุตติเป็นแก่นสาร ซึ่งก็มี ความหมายอันเดียวกัน รวมความว่า ลักษณะนี้บอกให้ทราบว่า พระพุทธศาสนาถือเอา วิมุตติหรืออิสรภาพนี้ เป็นจุดหมาย เป็นหลักการสำคัญ และให้ความ สำคัญแก่อิสรภาพทุกขั้นตอน ไม่เฉพาะในขั้นสุดท้ายที่ว่าต้องการให้ คนเข้าถึงความหลุดพ้นเท่านั้น แต่มีลักษณะของการไม่ยึดติดถือมั่น ไม่มีอุปาทานในสิ่งต่าง ๆ อยู่โดยตลอด จะเห็นว่า หลักการของพระพุทธศาสนานี้บางครั้งก็สรุปด้วย คำว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย คือให้รู้เข้าใจความจริงถึงขั้น ที่ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นไม่อาจเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้ ไม่อาจ-ไม่น่า-ไม่ควรยึดติดถือมั่น เพราะอะไร เพราะว่าสิ่ง

ทั้งหลายนั้นไม่ได้เป็นไปตามความปรารถนา หรือตามความยึดมั่นของ เรา แต่มันเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยของมัน ถึงเราจะไปยึดมั่น ก็ไม่มีผลอะไรต่อตัวความจริง มีแต่จะกระทบกระเทือนต่อตัวเราเอง ทำให้เราแย่เอง คือ เดือดร้อนเป็นทุกข์ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องคือ เราจะต้องรู้ความจริงของเหตุปัจจัย แล้วไปทำที่เหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น เราจะต้องรู้เท่าทันความจริงว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไป ตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของเรา การเข้าไปยึดมั่น ถือมั่น ไม่เป็นประโยชน์ และเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แล้วก็ไม่ทำให้มีผล เป็นจริงขึ้นมาได้


122

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาจึงสอนให้เรามีอิสรภาพ โดยฝึกตนให้รู้จักที่จะ ไม่ยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย จนกระทั่งเมื่อรู้ความจริง รู้เท่าทัน

ชัดแจ้งทั่วตลอดแล้ว ก็จะมีจิตหลุดพ้นเป็นอิสระ แม้แต่ในขั้นต้น ๆ สำหรับการปฏิบัติที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นวิมุตติ ก็จะมีลักษณะของการไม่ยึดติดอยู่เสมอ เช่น พระพุทธศาสนาไม่ให้ ความสำคัญสูงสุดแก่ศรัทธา การบรรลุจุดหมายของพระพุทธศาสนา หรือการเข้าถึงอิสรภาพ ไม่ขึ้นต่อศรัทธาหรือความเชื่อ แต่จะหลุดพ้น ได้เพราะรู้เห็นแจ้งด้วยตนเอง อันนี้เป็นลักษณะของการไม่ยึดติด เริ่มตั้งแต่ไม่ให้ยึดติดในบุคคล แต่ให้รู้จักพึ่งพาบุคคลในทาง ที่ถูกต้อง เอาเขาเป็นสื่อในการที่จะนำเราให้เข้าไปหาสัจธรรมด้วยการ เป็นกัลยาณมิตร หลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องพระวักกลิ ซึ่งบวชเข้ามาแล้วก็พอใจ ในพระรูปพระโฉมของพระพุทธเจ้ามาก ชอบติดตามพระองค์ไปใน ที่ต่าง ๆ เรื่อยไป พระพุทธเจ้าทรงคอยมองดู และทรงรอให้อินทรีย์ของพระวักกลิ แก่กล้า จนถึงคราวหนึ่งก็ได้ตรัสว่า “ดูก่อนวักกลิ เธอจะตามดู ทำไมร่างกายที่เปื่อยเน่าได้นี้” แล้วก็ตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น เห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม” คือ ให้ย้ายความสนใจ และ ความติดใจ ออกจากตัวบุคคล ไปหาตัวธรรมหรือสัจธรรม อันนี้เป็นลักษณะของการที่ไม่ให้ติด ไม่ให้ยึด ในสิ่งทั้งหลาย แม้แต่ในระดับของการปฏิบัติขั้นต้น ๆ จนถึงขั้นสุดท้ายก็ให้มีอิสรภาพ โดยสมบูรณ์ เรื่องนี้ขอผ่านไปก่อน พูดกันเพียงพอได้เค้าความ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

123

ลักษณะที่ ๗

เป็นศาสนาแห่งปัญญา

ลักษณะที่ ๗ พระพุทธศาสนาถือปัญญาเป็นยอดธรรม หรือ เป็นธรรมแกนกลาง ดังพุทธพจน์ว่า ปญฺญุตฺตรา สพฺเพ ธมฺมา ธรรม ทั้งหลายทั้งปวงมีปัญญาเป็นยอดยิ่ง พระพุทธศาสนาถือว่าปัญญาเป็นธรรมสูงสุด เป็นตัวตัดสิน ขั้นสุดท้ายในการที่จะเข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา แม้แต่ พระนามที่เรียกว่าพระพุทธเจ้า คือ “พุทธะ” ก็หมายถึงตรัสรู้ด้วย ปัญญา หรือมีปัญญาตรัสรู้ธรรม อย่างที่ได้บอกเมื่อกี้นี้ว่า พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาแห่งศรัทธา แต่เป็นศาสนาแห่งปัญญา ซึ่งบางทีก็เป็นจุดอ่อน และหลายคนก็ถือว่า เป็นจุดอ่อนของพระพุทธศาสนา เพราะเหตุที่ให้อิสรภาพทางปัญญา แก่คนมาก เมื่อไม่มีการศึกษากันจริงจัง ก็ทำให้ชาวพุทธเป็นคนที ่

ไม่ค่อยเอาเรื่องเอาราว ดูง่าย ๆ ในด้านข้อปฏิบัติ ในหมู่ชาวพุทธในเมืองไทยปัจจุบันนี้ จับไม่ค่อยได้ว่า ชาวพุทธถือข้อปฏิบัติอะไรกันบ้าง จะเอาอะไรเป็น เครื่องกำหนดว่าเป็นชาวพุทธ จะมองเป็นรูปธรรมก็หาไม่เห็น เพราะ ไปเอาแต่ปัญญา แล้วแต่ใครมีปัญญาพิจารณาจะเลือกปฏิบัติเท่าไหน ก็ได้ตามสมัครใจ เรื่องนี้ต่างจากในศาสนาอื่น ซึ่งส่วนมากเป็นศาสนาแห่งศรัทธา เขาจะบังคับกันเลย ห้ามสงสัย ไม่ต้องถาม ฉันบอกอย่างนี้ เธอทำไปก็ แล้วกัน เขามีแบบแผนที่กำหนดไว้ชัดเจน และมีข้อปฏิบัติที่ตายตัวว่า ถ้าเป็นศาสนิกของศาสนานั้นจะต้องเชื่อและต้องปฏิบัติอย่างนั้น ๆ


124

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

อย่างไรก็ตาม ว่าที่จริง พระพุทธเจ้าได้ตรัสวางแบบแผนไว้ให้ แล้ว คือให้เรามีหลัก ๒ อย่าง ได้แก่ ธรรมวินัย อย่างที่ได้พูดไว้ใน ข้อที่ ๓ ว่า พระพุทธศาสนาประกอบด้วยธรรมกับวินัย ถ้าปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนากันอย่างแท้จริง ชาวพุทธ ก็จะไม่เป็นคนเลื่อนลอย แต่จะมีแบบแผนเป็นของตนเอง แต่เรามอง ข้ามเรื่องวินัยไปเสีย จึงขาดลักษณะอันนี้ เพราะ มัวเที่ยวหาธรรม แต่ไม่นำพาเรื่องวินัย ส่วนที่มีหลักว่าปัญญาเป็นสำคัญนั้น ก็เพราะว่า ปัญญาเป็นตัว ตัดสินในการเข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา มนุ ษ ย์ เ รานี ้ ม ี ป ระสบการณ์ ใ นเรื ่ อ งศาสนากั น มาเป็ น เวลา ยาวนาน มีนักคิดมากมายเกิดขึ้น แล้วก็ค้นคว้าหาหลักความจริง มาสอนมนุ ษ ย์ เกิดเป็นลัทธิศาสนาต่าง ๆ มากมาย ซึ ่ ง อาจแยก ประเภทได้ดังนี้ ศาสนาประเภทหนึ่ง ย้ำเรื่อง ศรัทธา เขาบอกว่า ให้ฝากชีวิต มอบจิตมอบใจไว้ในองค์เทพสูงสุด แล้วทำตามคำสั่งสอนไป ไม่ต้อง สงสัยอะไรทั้งสิ้น อย่างนี้เป็นศาสนาที่ใช้ศรัทธาเป็นเครื่องตัดสิน ศรัทธาเท่านั้นจะให้ท่านเข้าถึงจุดหมายของศาสนา ศาสนาประเภทที่สอง คือพวกที่ถือ ศีลวัตร เป็นตัวตัดสิน พวกนี ้ จ ะถื อ ระเบี ย บแบบแผนกฎเกณฑ์ ท ี ่ ว างไว้ ใ ห้ แล้ ว ประพฤติ ปฏิบัติตามนั้น ถือว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นเข้าถึงจุดหมายของศาสนาด้วย ศีลวัตร ดังมีคำในคัมภีร์เรียกว่า สีเลน สุทฺธิ แปลว่า การ บริสุทธ์ด้วย ศีล คือเพียงว่ายึดถือศีล ข้อบังคับ ระเบียบ กฎเกณฑ์อย่างเดียว เท่านั้นให้เคร่งครัดเข้มงวด เมื่อปฏิบัติไปตามนั้นได้จริงแล้ว ก็จะหลุด พ้ น ถึ ง จุ ด หมายของศาสนาได้ เ อง อั น นี ้ พ ระพุ ท ธศาสนาเรี ย กว่ า สีลัพพตปรามาส ก็เป็นหลักการของศาสนาประเภทหนึ่ง


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

125

ศาสนาประเภทที่สาม ได้แก่พวกที่ยึดเอา สมาธิ เป็นตัว ตัดสิน คือบำเพ็ญข้อปฏิบัติทางจิตใจ ให้จิตดื่มด่ำ จนกระทั่งในขั้น สุดท้าย จิตจะเข้ารวมกลืนหายกลายเป็นหนึ่งเดียวกับภาวะสูงสุด ซึ่ง อาจจะเป็นเทพสูงสุดหรือเป็นปรมาตมันอะไรก็ตาม ศาสนาประเภทนี้ มีอยู่ไม่น้อย เป็นศาสนาขั้นที่ประณีตมาก รวมแล้วก็มี ๓ ประเภทด้วยกัน คือ ๑. พวกปลงศรัทธา มอบจิตฝากใจให้ไปเลย ๒. พวกถือศีลวัตร ตัดสินด้วยความเคร่งครัดเข้มงวด ๓. พวกถือสมาธิ มุ่งให้จิตดื่มด่ำเข้ารวมกับภาวะสูงสุด แต่ พ ระพุ ท ธศาสนา ไม่ ไ ด้ ถ ื อ อย่ า งนั ้ น พระพุ ท ธศาสนาให้ ความสำคัญทั้งแก่ศรัทธา ทั้งแก่ศีลวัตร และแก่สมาธิ ถือว่าเป็นปัจจัย ที่ขาดไม่ได้ ในการเข้าถึงจุดหมาย แต่ไม่ใช่ตัวตัดสิน อันนี้เป็นข้อที่ควรต้องระวัง ไม่ใช่ว่า พระพุทธศาสนาจะไม่ให้ ความสำคัญแก่สิ่งเหล่านั้น ทั้งศรัทธา ศีลวัตร และสมาธิ เป็นบาท เป็นฐาน และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ สำหรับศรัทธานั้น พระพุทธเจ้ายังเคยตรัสว่า สทฺธาย ตรติ โอฆํ แปลว่าบุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ข้ามโอฆะอะไรข้าม โอฆสงสารก็คือข้ามวัฏฏสงสาร หมายความว่าพ้นจากการเวียนว่ายใน ความทุกข์ แสดงว่าพระพุทธเจ้ายอมรับว่าเราจะพ้นทุกข์ได้ด้วยศรัทธา นี่ถ้ามองเผิน ๆ เราก็บอกว่า เอาแค่ศรัทธาก็พอ ในกรณีของศีล ก็สามารถอ้างคำบาลีอีกแห่งหนึ่ง เวลาพระ ให้ศีลจบท่านก็สรุปทุกครั้งว่า สีเลน สุคตึ ยนฺติ สีเลน โภคสมฺปทา

สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ บอกว่า บุคคลย่อมไปนิพพาน คือ นิพฺพุตึ ด้วย ศีล อ้าว! ถึงนิพพานได้ด้วยศีลแล้วนี่ ก็แสดงว่า ยอมรับว่าศีลทำให้ไป นิพพานได้ พอแล้ว


126

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

สำหรับสมาธิก็มีตัวอย่างคำสอนมากมาย ที่จะยกมาอ้าง ถ้าจะ อ้างกันแบบง่าย ๆ ว่าสมาธิก็พอที่จะถึงนิพพาน ก็สามารถยกตัวอย่าง นิพพานขั้นต้น ๆ อย่างที่เรียกว่า นิโรธ ในนิโรธ ๕ มีวิกขัมภนนิโรธเป็นข้อแรก ได้ฌานสมาบัติก็ถือว่า ถึ ง วิ ก ขั ม ภนนิ โ รธ หรื อ ในพระไตรปิ ฎ ก ที ่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส เรื ่ อ ง ตทังคนิพพาน และทิฏฐธัมมนิพพาน พระพุทธเจ้ายังตรัสว่า ปฐมฌาน ก็ ต าม ทุ ต ิ ย ฌานก็ ต าม จนกระทั ่ ง ถึ ง เนวสั ญ ญานาสั ญ ญายตนะ ซึ่งเป็นสมาธิในระดับประณีต สูงขึ้นไปโดยลำดับนี้ แต่ละอย่างเป็น นิพพานได้โดยปริยาย พระองค์ตรัสไว้อย่างนั้น แต่ยังไม่ใช่ตัวแท้

ตัวจริง พระพุ ท ธศาสนาให้ ค วามสำคั ญ แก่ ห ลั ก ธรรมเหล่ า นั ้ น แต่ พระองค์ ย ้ ำ ว่ า ปั ญ ญานี ่ แ หละเป็ น ตั ว ตั ด สิ น ศรั ท ธาก็ เ พื ่ อ ปั ญ ญา ศีลวัตรก็เพื่อประคับประคองจนกระทั่งเกิดปัญญา โดยเฉพาะศีลวัตร นั้นช่วยให้เกิดสมาธิ สมาธิก็ต้องนำไปสู่ปัญญา ถ้าไม่อย่างนั้น ก็เป็น เพียงสมาธิที่นำไปสู่ภาวะดื่มด่ำทางจิตเท่านั้น เป็นเรื่องของสมถะ ไม่ถึงนิพพาน ตกลงว่า จะต้องให้ถึงขั้นสูงสุดคือปัญญา มีอุปมาเหมือนอย่าง จะตัดต้นไม้ เราต้องมีอะไรบ้าง ขอให้คิดดู ๑. เราจะต้องโน้มจิตใจโน้มตัวเข้าไปหาการตัดต้นไม้นั้นใจเอา ด้วยกับการที่จะตัดต้นไม้ แล้วมุ่งเข้าไปที่ต้นไม้ ๒. ต้องมีที่เหยียบยัน ถ้าตัวเราไม่มีที่ยัน ไม่มีที่ยืนตั้งตัวไว้

เราก็ทำอะไรไม่ได้ ๓. ต้องมีกำลัง ในการที่จะยกมีดขวานขึ้นตัด ๔. ต้องมีมีดขวานที่คม หรืออุปกรณ์ที่ใช้ตัดได้


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

127

ในอุปมานี้ การหันหน้ามุ่งเข้าไปหาสิ่งนั้น ก็คือ ศรัทธา พื้นดิน ที่เหยียบยันก็ตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เสมอว่า ศีล เปรียบเหมือน พื้นดินเป็นที่เหยียบยัน ทำให้เราทำงานการได้ ประการที่ ๓ เรี่ยวแรง กำลังของเราในการหยิบยกมีดขวานขึ้นมาตัด นั่นก็คือ สมาธิ แล้ว สุดท้ายตัวมีด หรือขวานที่คมนั้นก็คือ ปัญญา ตัวที่ตัด ที่ทำให้ขาดทำให้หลุด ทำให้สำเร็จกิจ คืออะไร คือมีด หรือขวาน มีดขวานนั้นเป็นตัวตัด ทำให้งานสำเร็จบรรลุจุดหมายแต่ถ้า เราไม่มีสามอย่างแรก ทั้งที่มีมีดมีขวานเราก็ตัดไม่ได้ เพราะฉะนั้น สามอย่างแรกก็ขาดไม่ได้ แต่ตัวตัดสินคืออันที่สี่ ได้แก่ตัวปัญญา พระพุทธศาสนาสอนว่า ปัญญาเป็นตัวตัดสิน จึงถือว่าปัญญา เป็นคุณธรรมสำคัญ เป็นเอก ปัญญาในขั้นสูงสุดคือ ปัญญาในขั้น

ที่จะทำงานรู้เท่าทันสัจธรรม ที่จะตัดสังโยชน์เครื่องผูกมัดตัวไว้กับ

วั ฏ ฏสงสาร ไว้ ก ั บ ความทุ ก ข์ ได้ แ ก่ ป ั ญ ญาที ่ ม ี ช ื ่ อ เรี ย กเฉพาะว่ า วิปัสสนา วิปัสสนาก็คือปัญญานั่นแหละ แต่เป็นปัญญาในระดับหนึ่ง ประเภทหนึ่ง ทำหน้าที่อย่างหนึ่ง ซึ่งเราเรียกชื่อเฉพาะว่าเป็นวิปัสสนา วิปัสสนานี้เป็นข้อปฏิบัติจำเพาะในพระพุทธศาสนาเพราะฉะนั้น จึงบอกว่า ปัญญา โดยเฉพาะที่เรียกชื่อว่า วิปัสสนานี้ เป็นลักษณะ พิเศษของพระพุทธศาสนา มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา ปั ญ ญานี ้ เ ป็ น แกนกลางที ่ ร ้ อ ยประสานอยู ่ ใ นหลั ก พระพุ ท ธ ศาสนา ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในที่ต่าง ๆ อย่างเช่นหลักการทั่วไปที่ตรัส ไว้ในคาถาว่า พหุํ เว สรณํ ยนฺติ ปพฺพตานิ วนานิ จ เป็นต้น คาถานี้มีใจความว่าคนทั้งหลายถูกภัยคือความกลัวคุกคามแล้ว ย่อมยึดถือสิ่งทั้งหลายมากมายเป็นสรณะ เช่นยึดเอาเจ้าป่าเจ้าเขา


128

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ต้ น ไม้ ศ ั ก ดิ ์ ส ิ ท ธิ ์ เป็ น ที ่ พ ึ ่ ง แต่ ส ิ ่ ง เหล่ า นั ้ น ไม่ ใ ช่ ส รณะอั น เกษม คนยึดเอาสิ่งเหล่านั้นเป็นสรณะแล้ว ไม่สามารถพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ส่วนผู้ใดถึงพระรัตนตรัยยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะแล้ว มองเห็นอริยสัจจ์ ๔ คือพิจารณาด้วยปัญญารู้เข้าใจ สัจธรรม รู้จักทุกข์ รู้ตัวปัญหา รู้เหตุของปัญหา รู้จักจุดหมายของ ตนเองที่เป็นความดับทุกข์แล้ว ปฏิบัติตามมรรคาที่ถูกต้อง ซึ่งเป็น

ทางสายกลาง ดับทุกข์ได้ อันนั้นจึงจะเป็นสรณะที่แท้จริง อันเกษม เรื่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือสรณะ ๓ นี้มีความหมาย อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องทำความเข้าใจกันต่อไปให้ชัดเจน อย่างน้อย จะต้องเข้าใจว่าการยึดถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ จะนำไปสู่การมอง เห็นอริยสัจจ์ ๔ อย่างไร แต่ในที่นี้ต้องการพูดแค่ให้เห็นว่าท่านเน้นความสำคัญของ ปัญญา และปัญญาโดยเฉพาะขั้นที่ทำลายกิเลส คือ วิปัสสนา


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

129

ลักษณะที่ ๘

สอนหลักอนัตตา

ลักษณะที่ ๘ พระพุทธศาสนาประกาศหลักสำคัญเกี่ยวกับ ความจริงของสิ่งทั้งหลาย หรือของสภาวธรรมต่าง ๆ เรียกว่าหลัก อนัตตา หลักอนัตตานี้เป็นหลักที่ใหม่ ไม่เคยมีผู้ค้นพบมาก่อนความ ยึดติดในอัตตาหรือตัวตน เป็นสิ่งที่ฝังลึกแนบแน่นในจิตใจมนุษย์ เป็นอย่างมาก มนุษย์จะรักษา หวงแหนความรู้สึกผูกพันในอัตตานี้ไว้ อย่างเหนียวแน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้แต่เมื่อหันมาค้นคว้าสัจธรรมในทางศาสนา เขาก็จะต้อง เพียรพยายามที่จะรักษาอัตตานี้ไว้ให้ได้ เพราะฉะนั้น นักคิดทั้งหลาย จึงพัฒนาภาพอัตตาที่ยึดไว้นั้นให้ประณีตยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ จะเห็นว่า ในศาสนาต่าง ๆ มีแต่คำสอนที่ให้พยายามเข้าหา อัตตา เข้าถึงอัตตา ปรากฏว่ามีศาสนาเดียวคือพระพุทธศาสนาเท่านั้น ที่สอนหลักอนัตตา ที่ประกาศว่าในที่สุดแล้วสิ่งทั้งหลายไม่ใช่อัตตา ไม่สามารถยึดถือเป็นอัตตาได้ พระอรรถกถาจารย์บอกว่า ศาสดาต่าง ๆ ในหลายศาสนารู้หลัก อนิจจังแล้ว รู้หลักทุกขังแล้ว เพราะฉะนั้น หลักอนิจจัง และทุกขังจึงมี ในศาสนาอื่นที่มีความก้าวหน้าในทางสติปัญญาด้วย แต่ไม่มีศาสนา ใดอื่นที่ประกาศหลักอนัตตา ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงเป็นหลัก

คำสอนเดียว ที่ทวนกระแส ย้อนทางของจิตใจ สลายความยึดติด หวงแหนของมนุษย์


130

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

การที่จะมองเห็นสภาวะที่เป็นอนัตตานี้ บ่งบอกถึงการที่ต้องมี ปัญญา คือการมีปัญญารู้เท่าทันคติธรรมดา เห็นแจ้งความจริงของสิ่ง ทั้งหลายที่ดำรงอยู่และเป็นไปตามธรรมดาของมัน อันมีอยู่ตามสภาวะ ไม่มีใครที่จะไปเป็นเจ้าของสั่งบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้ไม่ว่า จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม แม้กระทั่งนิพพาน ที่เห็นได้ง่ายก็คือ สิ่งทั้งหลายทั่ว ๆ ไป ที่เรียกว่าสังขาร หรือ

เอาคำคุ้น ๆ คือขันธ์ ๕ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นไปตามธรรมดาของมัน คือ

มันไม่เป็นไปตามใจชอบหรือตามใจอยากของใคร แต่มันเป็นไปตาม เหตุปัจจัย ในขันธ์ ๕ นั้น ไม่มีตัวคงที่ ที่เป็นตัวบันดาลเป็นตัวบังคับสิ่ง ทั้งหลายให้เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มันประกอบขึ้นจากปัจจัย ย่อย ๆ มาประมวลกันเข้า และปัจจัยต่าง ๆ แต่ละอย่างนั้น อาศัย สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แล้วก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ในความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันนั้นไม่มีสิ่งโดยลำพังตัวของมันเอง ไม่มีใครหรืออะไรจะเป็นเจ้าของครอบครองหรือสั่งบังคับบัญชามันได้ นี้คือหลักความจริงที่เรียกว่าอนัตตา ในระดับของสังขารทั่วไป การไม่ยึดติดในอัตตา จะไปสัมพันธ์กับหลักที่ไม่ให้ยึดติดถือมั่น ด้วยความปรารถนาของตัวตน แต่ให้รู้เท่าทันว่า สิ่งทั้งหลายนั้น เราจะ ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามความปรารถนาไม่ได้ คือเราจะเอาความ ปรารถนาของตัวตนนี้ ไปบังคับสิ่งทั้งหลายให้เป็นไปตามที่เราต้องการ ไม่ได้ เพราะว่าสิ่งทั้งหลายดำรงอยู่และเป็นไปตามธรรมดาของมัน คือ ดำรงอยู่ตามสภาวะอย่างนั้น ๆ หรือไม่ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้เหตุปัจจัยของมัน แล้วไปทำไปแก้ที่เหตุปัจจัย


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

131

อนัตตานี้จะโยงไปหาหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาในข้อ ต่อไปด้วย พึงสังเกตว่า ในพระพุทธศาสนา ท่านสอนเรื่องการทำลายความ เห็นผิดเกี่ยวกับอัตตานี้มากมาย จะเป็นพระโสดาบัน ก็ต้องทำลาย สักกายทิฏฐิ คือความเห็นว่าเป็นตัวของตนได้ ต้องถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความตามเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนได้ ต้องถอนอัตตวาทุปาทานคือ การยึดมั่นในความถือตัวตนได้ อั น นี ้ แ สดงว่ า หลั ก อนั ต ตามี ค วามสำคั ญ เป็ น อย่ า งมากเป็ น

หลักการที่จะนำให้เข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา ผู้ที่จะเข้าถึง จุดหมายของพระพุทธศาสนา จะต้องมีปัญญาถึงขั้นเห็นความเป็น อนัตตานี้


132

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ลักษณะที่ ๙

มองตามเหตุปัจจัย

ลักษณะที่ ๙ พระพุทธศาสนามีลักษณะข้อต่อไปที่คล้ายกับ หลักอนัตตา คือการมีทัศนคติที่มองสิ่งทั้งหลายตามความสัมพันธ์

แห่งเหตุปัจจัย ได้พูดแล้วว่า หลักอนัตตานั้น ในระดับของสังขตธรรม โยงมา หาหลักความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ซึ่งบ่งชี้ว่า สิ่งทั้งหลายไม่มีอยู่ โดยลำพังตน แต่อิงอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นไปตามเหตุปัจจัย คล้าย ๆ กั บ หลั ก สั ม พั ท ธภาพ (relativity) ในพระพุ ท ธศาสนาหลั ก นี ้ ก็ ค ื อ

อิทัปปัจจยตา ที่นิยมเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ความสัมพันธ์หรือความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนี้ เป็นหลักสำคัญ ของวิปัสสนาด้วย การปฏิบัติให้ปัญญาเห็นแจ้งเกิดเป็นวิปัสสนานั้น จะทำให้มองเห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนี้และหลักปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตานี้ ก็เป็นภูมิธรรมของวิปัสสนา เรียกว่าวิปัสสนาภูมิ อย่างหนึ่ง ธรรมทั ้ ง หลายนั ้ น สั ม พั น ธ์ ซ ึ ่ ง กั น และกั น เช่ น ขั น ธ์ ๕ เมื ่ อ วิเคราะห์แยกแยะองค์ประกอบออกไป ก็ทำให้เห็นความเป็นไปตาม เหตุปัจจัย และรู้ว่า ขันธ์ ๕ นั้นก็เป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตานี้เอง หลักความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยนี้แหละ เป็นหลักที่ แสดงลั ก ษณะสำคั ญ อย่ า งหนึ ่ ง ของพระพุ ท ธศาสนา ถึ ง ขั ้ น ที ่ พระพุ ท ธเจ้ า เคยตรั ส ว่ า การเห็ น ปฏิ จ จสมุ ป บาทนั ้ น แหละคื อ การเห็นธรรม ตามพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้น เห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท”


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

133

อย่างน้อยชาวพุทธจะต้องมีทัศนคติ ที่มองสิ่งทั้งหลายตามเหตุ ปัจจัย แม้แต่เรื่องกรรม ก็สอนให้เรามีทัศนคติหรือท่าทีนี้ กรรมนั ้ น ก็ ค ื อ หลั ก ของความเป็ น ไปตามเหตุ ป ั จ จั ย ในแง่ ท ี ่

เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ การกระทำของมนุษย์ ก็เป็นไปตาม กฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลเหมือนกัน คือกระทำเหตุอย่างนี้ เมื่อปัจจัยพรั่งพร้อม ก็เกิดผลอย่างนี้ แต่จำกัดเฉพาะในแง่การกระทำ ของมนุษย์ เรียกว่าหลักกรรม หรือกรรมนิยาม ถ้าเป็นหลักเหตุปัจจัยทั่วไป เรียกว่า ธรรมนิยาม หลักเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทก็ตาม เรื่องไตรลักษณ์ก็ตาม พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า เป็นธรรมนิยาม คือเป็นกฎเกณฑ์แห่งธรรม โดยเฉพาะความเป็นไป ตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยนั้นเอง


134

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ลักษณะที่ ๑๐

เชื่อว่ามนุษย์ประเสริฐด้วยการฝึกฝนพัฒนา

ลักษณะที่ ๑๐ พระพุทธศาสนามีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งคือ ยืนยันในศักยภาพสูงสุดของมนุษย์ “ศักยภาพ” เป็นศัพท์สมัยใหม่ ที่ยืมมาใช้ เดิมนั้นเราพูดว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ พระพุทธศาสนายอมรับความสำคัญของมนุษย์ว่ามีภาวะเป็น สัตว์ที่ฝึกได้ และฝึกได้จนถึงขั้นเป็นสัตว์ประเสริฐ มองอีกแง่หนึ่ง ก็ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก และจะประเสริฐ สุดได้ด้วยการฝึก มนุษย์จึงมีศักยภาพสูงสุดในการฝึก ซึ่งหมายถึง

การพัฒนาตน ถ้ามนุษย์ไม่พัฒนาตน หรือไม่ฝึกตนแล้วก็จะเป็นสัตว์ที่ต่ำทราม ที่สุด มนุษย์แพ้สัตว์ดิรัจฉานในด้านสัญชาตญาณ สัตว์ดิรัจฉาน ทั้งหลายส่วนมาก พอเกิดมาก็ดำรงชีวิตได้ด้วยสัญชาตญาณ มันอยู่ กับพ่อแม่นิดเดียว ก็รู้จักเป็นอยู่ รู้จักหากิน ดำรงชีวิตได้เลย ส่วนมนุษย์นั้นไม่ได้เรื่อง ทำไม่ได้สักอย่าง ถ้าปล่อยก็แทบจะ ตายทันที ต้องเอาใจใส่เลี้ยงดู ฝึกสอน จึงอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ นับว่าตรงกันข้าม แต่มนุษย์มีศักยภาพที่พัฒนาตนได้ เมื่อพัฒนาแล้วก็เป็นสัตว์ ที่ประเสริฐสุด สัตว์อื่นนั้นพัฒนาได้ อย่างเก่งแค่เป็นละครสัตว์ หรือ เอามาให้มนุษย์ใช้งาน เป็นได้สองอย่าง


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

135

แต่ว่าที่จริง ถึงเป็นละครสัตว์ก็คือให้มนุษย์เอามาใช้งานนั่น แหละ ได้อย่างดีก็ให้มนุษย์ใช้งาน เอามาเป็นลิงขึ้นต้นมะพร้าวบ้าง เอามาเป็นช้างลากซุงบ้าง เป็นม้าลากรถ หรือขี่เดินทางไกลบ้าง เป็นสุนัขตำรวจบ้าง ฯลฯ และที่ฝึกให้ทำอย่างนั้นได้ ก็ต้องอาศัย มนุษย์ฝึกให้ แต่มนุษย์นั้นฝึกตนเองได้ และฝึกแล้วประเสริฐสุด ดังพุทธพจน์ ว่า ทนฺโต เสฏฺโ มนุสฺเสสุ ผู้ที่ฝึกแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ มนุษย์ และ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเส ผู้ที่ถึง พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือฝึกดีแล้วนี้ ประเสริฐสุดทั้งในหมู่เทพ และบรรดามนุษย์ คือ ไม่เฉพาะระหว่างมนุษย์เท่านั้น แม้แต่กับเทพ ทั้งหลาย มนุษย์ที่ฝึกดีแล้วก็ยังสูงกว่า อีกแห่งหนึ่งที่น่าจดจำมากว่า มนุสฺสภูตํ สมฺพุทฺธํ อตฺตทนฺตํ สมาหิตํ...เทวาปิ นมสฺสนฺติ บอกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งที่เป็น มนุษย์นี้ แต่ฝึกพระองค์ดีแล้ว แม้เทพทั้งหลายก็น้อมนมัสการ มีคาถาพุทธภาษิตมากมายที่ตรัสย้ำว่า บุคคลที่ฝึกตนดีแล้ว พัฒนาศักยภาพดีแล้ว แม้แต่เทวดาและพรหมก็เคารพบูชา พระพุทธเจ้าได้ทรงทำกิจสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การประกาศ อิสรภาพให้แก่มนุษย์ ในสมัยพุทธกาลนั้น มนุษย์พากันฝากชีวิตจิตใจ มอบชะตา กรรมของตนให้แก่เทพทั้งหลาย ถือว่าเทพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้บันดาล ชะตากรรมของมนุษย์ มนุษย์มีหน้าที่บวงสรวงอ้อนวอน ทำการสังเวย ต่าง ๆ ขอร้องเทพเจ้าให้ยกเว้นปลดเปลื้อง ให้พ้นจากโทษเคราะห์ ต่าง ๆ และขอให้อำนวยลาภผล ประทานรางวัลสิ่งที่ต้องการ จนถึงกับ มีการบูชายัญ เอามนุษย์เอาสัตว์มาฆ่าบูชาเทพเจ้า


136

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

พอพระพุทธเจ้าประสูติ พระองค์ก็ทรงประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์ ทันที ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เชฏฺโ หมสฺมิ

โลกสฺส เสฏฺโ หมสฺมิ โลกสฺส เราเป็นพี่ใหญ่เป็นผู้ประเสริฐเป็น

ผู้เลิศแห่งโลก นี่คือวาจาประกาศอิสรภาพของมนุษย์ ที่พระพุทธเจ้าประกาศ แทนมนุษย์ทั้งหลาย บอกให้รู้ว่า ต่อไปนี้มนุษย์มีอิสรภาพแล้ว เราเป็น สัตว์ที่ฝึกได้ พัฒนาได้ ไม่ต้องฝากชะตากรรมไว้กับเทพเจ้า ไม่ต้องบวง สรวงอ้อนวอนรอให้เทวดาโปรดปราน ถ้าเราฝึกตนเอง แม้แต่เทวฤทธิ์ มนุษย์ก็มีได้ มนุษย์ที่ฝึกแล้ว มีมนุษยฤทธิ์ที่ประเสริฐ เหนือกว่าเทวฤทธิ์ เพราะฉะนั้น อย่าได้ ประมาทศักยภาพของตนเอง มนุษย์นั้นมีความโน้มเอียงอย่างหนึ่ง คือ คอยจะประมาทใน ศักยภาพของตนเอง จึงมัวหวังพึ่งปัจจัยภายนอก พระพุทธเจ้าทรงนำทางไว้แล้วให้เรานับถือตนเอง แต่อย่าหยิ่ง ลำพอง อย่านึกว่าเราเป็นมนุษย์ประเสริฐแล้ว แต่ต้องระลึกที่จะฝึกฝน ต้องพัฒนาตนอยู่เสมอ การที่ถือว่าตนเองเป็นสัตว์ที่จะต้องฝึกฝน พัฒนา จะทำให้เราเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน พระพุทธเจ้าสอนให้เรา ทุกคนอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะเราเป็นสัตว์ที่จะต้องฝึกต้องพัฒนา แต่ในเวลาเดียวกันนั้น พร้อมกับความอ่อนน้อมถ่อมตน ก็จะมี ความมั่นใจในตนเองด้วยว่า เรามีศักยภาพที่พัฒนาได้ นี้คือหลักของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ได้ประทานไว้แล้ว อันเป็นไปตามสัจธรรม เราจะต้องยึดหลักการนี้ไว้เป็นสำคัญ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

137

พระพุทธศาสนาสอนว่า มนุษย์พอเริ่มต้นเป็นชาวพุทธ ก็ต้องมี โพธิ สั ท ธา (เรี ยกเต็ มว่ า ตถาคตโพธิส ัท ธา) เชื ่ อ ในปั ญ ญาตรั ส รู ้ ของพระตถาคต คือเชื่อในปัญญาที่ทำให้มนุษย์กลายเป็นพระพุทธเจ้า เราก็ต้องพัฒนาปัญญาของเราสิ ถ้าเราพัฒนาปัญญาแล้ว เราก็เป็นพระพุทธเจ้าได้ ถ้าเป็นพระพุทธเจ้าก่อนคนอื่น แล้วบำเพ็ญพุทธกิจประกาศ พระศาสนาด้วย ก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ถ้าเป็นพระพุทธเจ้าด้วยปัญญาค้นพบธรรมด้วยตนเองแต่ไม่ ประกาศธรรมทั่วไป ก็เป็นพระปัจเจกพุทธะ ถ้ า เป็ น พระพุ ท ธเจ้ า ตามอย่ า งพระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ก็ เ ป็ น อนุพุทธะ แม้แต่ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้าที่ตัดกิเลสได้สิ้นเชิง แต่มีความรู้ดี ท่านยังยกย่องให้เป็นสุตพุทธะ เราทุก คนสามารถเป็นพุทธะได้ แต่ขั้นแรกจะต้องมี ตถาคต โพธิสัทธา เชื่อในปัญญาตรัสรู้ที่ทำให้มนุษย์กลายเป็นพุทธะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่านี้เป็นศรัทธาเบื้องแรกที่ชาวพุทธจะต้องมี เพราะฉะนั้น ชาวพุทธจะต้องเริ่มต้นด้วยการเชื่อในศักยภาพของ มนุษย์ที่พัฒนาได้ สาระสำคั ญ ของศั ก ยภาพก็ ค ื อ ปั ญ ญา ดั ง ที ่ ว ่ า มี ป ั ญ ญาซึ ่ ง สามารถพัฒนา จนกระทั่งตรัสรู้เป็นพุทธะได้ ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐ ที่แม้แต่ทวยเทพและประดามนุษย์ทั้งหลายต้องบูชา เป็น สตฺ ถ า

เทวมนุสฺสานํ คือพระพุทธเจ้านั้น ทั้งที่เป็นมนุษย์ แต่ทรงเป็นศาสดา ทั้งของหมู่มนุษย์ และของเหล่าเทวดา


138

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ชาวพุทธทั้งหลายจะต้องจำหลักการนี้ไว้ และระลึกตระหนักว่า มนุษย์อย่าดูถูกตนเอง ต้องมั่นใจในตนเอง ต้องนับถือตนเองอย่างมี ความอ่อนน้อมถ่อมตน อันนี้คือลักษณะของพระพุทธศาสนาที่ว่า เชื่อในศักยภาพ สูงสุดของมนุษย์ผู้เป็นสัตว์ที่ฝึกได้


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

139

ลักษณะที่ ๑๑

เป็นศาสนาแห่งการศึกษา

ลักษณะที่ ๑๑ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการศึกษาที่นำ เอาการศึกษาเข้ามาเป็นสาระสำคัญ เป็นเนื้อแท้ของการดำเนินชีวิต และทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นการศึกษา หลักการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาทั้งหมดนั้น เรียกว่าอะไร เรียกว่า มรรค มรรค แปลว่าอะไร มรรคแปลว่าทาง ทางคือทางอะไร คือ ทางดำเนินชีวิต ซึ่งไม่ใช่ทางเดินที่เป็นรูปธรรมอย่างถนนเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสเรียกมรรคนี้อย่างหนึ่งว่าเป็น พฺรหฺมจริย หรือ พรหมจริยะ บางทีเราใช้คำว่าพรหมจรรย์ “พรหมจริย = จริย (คือ จริยธรรม) + พรหม (อันประเสริฐ)” มรรค หรือทางดำเนินชีวิตนี้เป็น พรหมจริยะ คือ เป็นจริยธรรมอันประเสริฐ จริ ย ธรรม แปลว่ า อะไร จริ ย มาจาก จร ซึ ่ ง แปลว่ า เดิ น

เช่น จราจร = เดินไปเดินมา พเนจร = เดินไปในป่า จรไปโน้นจรไป นี่เรียกว่า เดินทาง เพราะฉะนั้น จร ก็คือเดินทาง “จริย” แปลว่าการเดินทาง การเดินทางที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ เดิ น ทางที ่ เ ป็ น ถนน เป็ น ต้ น แต่ ถ ้ า เดิ น ทางที ่ เ ป็ น นามธรรม ก็ ค ื อ

เดินทางชีวิต จริย ก็คือการเดินทางชีวิต หรือการดำเนินชีวิต เพราะฉะนั้นจริยธรรมก็คือหลักการดำเนินชีวิต พรหม แปลว่า

ที่ประเสริฐ รวมกันเป็น พรหมจริย คือหลักการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ


140

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ซึ่งได้แก่มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น มีสัมมาสมาธิเป็นปริโยสาน ที น ี ้ สั ม มาทิ ฏ ฐิ สั ม มาสั ง กั ป ปะ จั ด เป็ น พวกหนึ ่ ง เรี ย กว่ า ปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเป็นประเภทหนึ่ง เรียกว่า ศีล แล้วก็สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเป็นหมวดหนึ่ง เรียกว่า สมาธิ เป็นอันว่า มรรคมีองค์ ๘ ประการนี้จัดเป็นประเภทได้สาม เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเรียกชื่ออย่างหนึ่งว่า ไตรสิกขา สิกขา นั้นแปลว่าศึกษา สิกฺขา เป็นบาลี สันสกฤตเป็น ศิกฺษา เป็นไทยว่า ศึกษา สิกขา หรือ ศึกษา เป็นคำ ๆ เดียวกัน ฉะนั้น หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา จึงเรียกชื่ออย่างหนึ่งว่าการศึกษา การศึกษา นี้มีองค์ประกอบ ๓ ส่วน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งก็คือการประมวลองค์ประกอบของมรรคมีองค์ ๘ ตกลงว่า การดำเนินชีวิต หรือหลักการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ ก็เป็นอันเดียวกับการศึกษา พูดง่าย ๆ ว่า ชีวิตที่ดีงาม คือ ชีวิต

แห่งการศึกษา เป็ น อั น ว่ า การศึ ก ษา ก็ ค ื อ การฝึ ก ฝนให้ ม ี ก ารดำเนิ น ชี ว ิ ต ที่ถูกต้อง ได้แก่ไตรสิกขา และไตรสิกขา ก็คือการฝึกให้เรามีการ ดำเนินชีวิตตามมรรค คือให้เรามีพรหมจริยะ พร้อมกันนั้น การที่เรา ฝึกตนให้ดำเนินในพรหมจริยะหรือดำเนินตามมรรค ก็คือเราบำเพ็ญ ไตรสิกขา


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

141

เพราะฉะนั้น การฝึกฝนพัฒนาตนในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ก็คือการศึกษา และการศึกษาก็คือการฝึกตนให้ดำเนินในทางชีวิต ที่ถูกต้อง มรรคก็เป็นสิกขา สิกขาก็เป็นมรรค สิกขาก็คือการฝึกฝนพัฒนาตนให้ดำเนินตามมรรค การฝึกตน ให้ดำเนินตามมรรคก็คือสิกขา มรรค คือ วิถีชีวิตอันประเสริฐ ถ้าจะแปลให้สมสมัย ก็คือ

การดำเนิ น ชี ว ิ ต ที ่ ด ี ง าม ดั ง นั ้ น สิ ก ขา หรื อ การศึ ก ษา จึ ง แปลว่ า

การพัฒนาตนในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม เพราะฉะนั้น การดำเนินชีวิต ตามหลักพระพุทธศาสนา ก็ต้องดำเนินให้ถูกต้อง โดยปฏิบัติตามหลัก ไตรสิกขา การศึกษาจึงเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิตทั้งหมด และ การดำเนินชีวิตทั้งหมดของเราก็อยู่ในเรื่องของการศึกษา การศึกษาตลอดชีวิต จึงมีในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ไหนแต่ไร มาแล้ว ถ้าพูดให้กระชับก็ว่า ชีวิตคือการศึกษา ตราบใดที่ยังไม่เป็น อเสขะ คือยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็ต้อง ดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง โดยปฏิบัติตามไตรสิกขาเพื่อฝึกตนให้ดำเนิน ชีวิตตามมรรค ดังได้กล่าวมานี้ เพราะฉะนั้น ลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา ก็คือเป็น ศาสนาแห่งการศึกษาดังได้กล่าวมา อนึ่ง ลักษณะที่ ๑๑ นี้ โยงกับลักษณะที่ ๑๐ ด้วย กล่าวคือ สิกขาหรือการศึกษา แปลว่า การฝึกฝนพัฒนา และการฝึกฝนพัฒนา ตนนั้น อิงอาศัยความเชื่อที่ว่า มนุษย์มีศักยภาพที่พัฒนาได้ หรือว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐได้ด้วยการฝึกฝนพัฒนา


142

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เมื่อฝึกฝนพัฒนาด้วยไตรสิกขา ให้ชีวิตดำเนินตามวิถีแห่งมรรค ในที ่ ส ุ ด ก็ จ ะบรรลุ จ ุ ด หมายแห่ ง ชี ว ิ ต ที ่ ด ี ง าม เป็ น สั ต ว์ ป ระเสริ ฐ

มีคุณสมบัติบริบูรณ์ มีทั้งปัญญาที่หยั่งรู้สัจธรรม เป็นอิสระ ดำเนิน ชีวิตด้วยสันติสุข และน้อมชีวิตของตนออกไปด้วยกรุณาเพื่อประโยชน์ สุขและอิสรภาพของเพื่อนร่วมโลก


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

143

ลักษณะที่ ๑๒

ให้ความสำคัญ ทั้งแก่ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก

ลักษณะที่ ๑๒ พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญ ทั้งแก่ปัจจัย ภายใน และปัจจัยภายนอก ลักษณะนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา เป็นหลัก ที่เนื่องกันกับการศึกษานั้น ในการพัฒนาตน และในการดำเนินชีวิตของคนนั้น พระพุทธ ศาสนาเน้นหนักในหลักการที่คล้ายกับหลักข้างต้น ที่ให้มีดุลยภาพ คือ ความสมดุลหรือความพอดี โดยให้ความสำคัญทั้งแก่ธรรมและแก่วินัย ในที่นี้ ก็เช่นเดียวกัน พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญทั้งแก่ปัจจัย ภายใน และปัจจัยภายนอก ในการฝึกคนขั้นก่อนมรรค คือในขั้นต้น ที่จะนำเข้าสู่มรรค กล่าวคือ ในการที่จะมีสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นองค์แรกของมรรค มีปัจจัย ๒ ประการ ที่จะช่วยให้คนมีสัมมาทิฏฐิ คือ ๑. ปรโตโฆสะ แปลว่า อิทธิพลหรือเสียงจากภายนอก ๒. โยนิ โ สมนสิ ก าร แปลว่ า การทำในใจโดยแยบคาย การพิจารณาโดยแยบคาย รู้จักคิด คิดเป็น นี้เป็นปัจจัย ๒ อย่างที่ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นองค์ประกอบ เริ่มแรกของมรรค และเป็นจุดเริ่มของการศึกษาที่ถูกต้อง พระพุทธ ศาสนาให้ ค วามสำคัญแก่ปั จจัยทั้งภายในและภายนอก ไม่ ด ิ ่ ง ไป ข้างเดียว


144

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

เรามักมีการโต้เถียงกันในเรื่องนี้ว่า สภาพแวดล้อมสำคัญ หรือ ตัวบุคคลสำคัญ ภายในหรือภายนอกสำคัญ แต่การเถียงกันในเรื่องนี้ ไม่รู้จักสิ้นสุด เพราะจะเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขัดหลักความจริง เป็นไปไม่ได้ พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญทั้ง ๒ อย่าง อนึ ่ ง พระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส ถึ ง ธรรมที ่ เ ป็ น บุ พ นิ ม ิ ต หรื อ รุ ่ ง อรุ ณ ของการดำเนินตามอริยมรรค มี ๗ ประการ ใน ๗ ประการนี้ทรงเน้น ๒ อย่างที่สำคัญมาก ซึ่งเป็นปัจจัยภายในอย่างหนึ่ง ปัจจัยภายนอก อย่างหนึ่ง ปั จ จั ย ภายนอก ก็ ค ื อ การมี ป รโตโฆสะที ่ ด ี ได้ แ ก่ การมี กัลยาณมิตร มีมิตรที่ดี มีครูอาจารย์ที่ดี มีพ่อแม่ที่ดี ซึ่งให้ความรู ้

ที่ถูกต้อง เป็นตัวอย่างที่ดี มีแหล่งความรู้ มีสื่อมวลชนที่ให้สติปัญญา เป็นสื่อสารซึ่งให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนในการเจริญสมาธิ ก็มีครูอาจารย์สอนกรรมฐานซึ่งเป็น ผู้รู้หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง เป็นผู้รู้จักนิสัยใจคอของผู้ปฏิบัติ มีอุบาย ในการที่จะแนะนำ นี้เรียกว่ามีปัจจัยภายนอกที่ดี นอกจากปัจจัยภายนอกแล้ว ก็ต้องมีปัจจัยภายในด้วย คือ ในส่วนของตัวเองก็ต้องมีโยนิโสมนสิการ รู้จักคิด คิดเป็น ถ้าคิด

ไม่เป็น ไม่รู้จักคิด ก็ไม่สามารถเอาสิ่งที่กัลยาณมิตรแนะนำไปใช้ ประโยชน์ ถึงจะได้รับฟังคำแนะนำสั่งสอน ก็ไม่รู้จักนำไปใช้ประโยชน์ เพราะไม่มีโยนิโสมนสิการ พระพุ ท ธเจ้ า ไม่ ไ ด้ อ าศั ย กั ล ยาณมิ ต ร แต่ ม ี โ ยนิ โ สมนสิ ก าร ก็สามารถเข้าถึงสัจธรรมได้ แต่นั่นเป็นความสามารถพิเศษ ว่าโดยทั่วไป ต้องเน้นความสำคัญทั้งปัจจัยภายในและปัจจัย ภายนอก ปัจจัยภายนอกก็คือ ต้องมีกัลยาณมิตร ปัจจัยภายในก็มี โยนิโสมนสิการ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

145

อีกประการหนึ่ง ว่าโดยความสัมพันธ์กับหลักที่ได้เน้นมาแล้ว วิ น ั ย เป็ น การสร้ า งสภาพแวดล้ อ มให้ เ รามี ก ั ล ยาณมิ ต ร คื อ ว่ า โดย วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นแง่ น ี ้ วิ น ั ย นั ้ น ต้ อ งการสร้ า งสภาพแวดล้ อ มให้ ม ี กัลยาณมิตร ที่จะมาช่วยเป็นผู้ชักจูงเราให้เข้าหาธรรมได้ ส่วนโยนิโสมนสิการนั้น เป็นตัวเจาะให้เข้าถึงเนื้อแท้คือธรรม เลยทีเดียว เป็นอันว่า วินัยจัดสภาพแวดล้อมให้มีกัลยาณมิตร และเมื่อมี โยนิโสมนสิการก็เข้าถึงธรรมได้เลย หลักการสำคัญในเรื่องนี้ก็คือ ลักษณะที่ให้ความสำคัญทั้งแก่ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ไม่ใช่เน้นดิ่งอยู่ข้างเดียว


146

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ลักษณะที่ ๑๓

ให้ตื่นตัวอยู่ด้วยความไม่ประมาท

ลักษณะที่ ๑๓ ธรรมที่ให้ชีวิตชีวาแก่การปฏิบัติทั้งหมด ถือเป็น ตัวกระตุ้นให้มีการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ก็คือ อัปปมาทธรรม หรือความไม่ประมาท อัปปมาทธรรมนี้ พระพุทธเจ้าทรงเน้นย้ำไว้มาก ถึงกับตรัสเป็น ปัจฉิมวาจา คือพระดำรัสสุดท้ายก่อนจะปรินิพพาน ซึ่งถ้าพูดเป็น ภาษาชาวบ้านก็เรียกว่าคำสั่งเสีย คำสั ่ ง เสี ย ของพระพุ ท ธเจ้ า แก่ พ ุ ท ธศาสนิ ก ชนคื อ อะไร คื อ

ความไม่ประมาท พระองค์ตรัสว่า วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺ ป าเทถ สั ง ขารทั ้ ง หลาย มี ค วามเสื ่ อ มสลายไปเป็ น ธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม หลักธรรมในคัมภีร์ทั้งหมด ถ้าไม่มีใครนำเอามาใช้ประโยชน์

ก็เหมือนกับหลับหรือนอนตายอยู่ ธรรมเหล่านั้น จะมีประโยชน์เกิดมี ชีวิตชีวาขึ้นได้ ก็เพราะมีอัปปมาทธรรม เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึง ตรัสอัปปมาทธรรมเป็นธรรมที่ครอบคลุมธรรมอื่นๆ ดุจรอยเท้าช้าง และตรัสเป็นปัจฉิมวาจาด้วย พระพุ ท ธศาสนาสอนให้ เ ราเป็ น คนไม่ ป ระมาท ไม่ ผ ั ด เพี ้ ย น ไม่ละเลย ไม่นิ่งเฉย ไม่เฉื่อยชา แต่ให้มีความกระตือรือร้นเร่งรัดตน ในการบำเพ็ญกิจหน้าที่ และโดยเฉพาะคือให้มีสติระลึกรู้ตื่นตัวเท่าทัน แล้วรีบหลีกละป้องกันกำจัดแก้ไขเหตุแห่งความเสื่อม และเร่งส่งเสริม สร้างสรรค์เหตุแห่งความเจริญงอกงาม อันนี้ก็เป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องเน้นต้องย้ำไว้


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

147

ลักษณะที่ ๑๔

เห็นทุกข์ แต่เป็นสุข หรือ ทุกข์เพื่อเห็น แต่สุขเพื่อเป็น

ลั ก ษณะที ่ ๑๔ พระพุ ท ธศาสนาสอนให้ ม องเห็ น ความทุ ก ข์

แต่ให้ปฏิบัติด้วยความสุข หลักการของพระพุทธศาสนานั้น ชัดเจนว่าท่านมุ่งสอนให้รู้จัก โลกและชีวิตตามความเป็นจริงว่า เกิดจากองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่ง ล้วนแต่ ไม่เที่ยง คือไม่คงที่ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ๆ สืบเนื่องไปเรื่อย ๆ คงอยู่ ใ นสภาพเดิ ม ไม่ ไ ด้ คื อ ถู ก ปั จ จั ย ต่ า ง ๆ ที ่ ข ั ด แย้ ง บี บ คั ้ น

ให้แปรปรวนไปตลอดเวลา และไม่ใช่ตัวตน คือเป็นไปตามเหตุปัจจัย โดยไม่มีตัวตนที่เป็นเจ้าของ หรือผู้ที่จะบงการให้เป็นไปตามความ ปรารถนา เรียกตามแบบว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ รวมว่าไตรลักษณ์ คำเด่นที่สะดุดความรู้สึกของคนจำนวนมาก คือคำว่า ทุกขัง ซึ่งแปลง่าย ๆ ว่าเป็นทุกข์ คำว่า “ทุกข์” นี้ นอกจากเป็นหลักหนึ่งในไตรลักษณ์นี้แล้ว

ยังปรากฏในหลักธรรมที่สำคัญยิ่ง ซึ่งเป็นหัวใจหรือหลักการใหญ่ของ พระพุทธศาสนา คือเป็นข้อแรกใน อริยสัจจ์ ๔ หลายคนมองเห็นหลักธรรมเหล่านี้แล้ว ไม่ได้ศึกษาให้ลึกซึ้ง

ลงไป ก็เกิดความรู้สึกว่า พระพุทธศาสนามองโลกในแง่ร้าย เห็นโลก และชีวิตเป็นทุกข์


148

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

แต่เมื่อมองดูหลักการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา กลับมองเห็น แต่การดำเนินก้าวหน้าไปด้วยความสุข สู่จุดหมายที่เป็นบรมสุข ตั้งต้นแต่หลักทั่วไปของการปฏิบัติ พระพุทธศาสนาก็ถือว่า ความสุ ข สามารถเข้ า ถึ ง ได้ ด ้ ว ยความสุ ข คื อ คนสามารถบรรลุ ถ ึ ง ความสุขด้วยวิธีปฏิบัติที่เป็นสุข อันต่างจากลัทธิศาสนาบางพวก ที่ถือว่า ความสุขจะบรรลุถึงได้ด้วยความทุกข์ เครื่องทดสอบความถูกต้องอย่างหนึ่ง ของการปฏิบัติธรรม ก็คือ การได้ความสุขที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัตินั้น ไม่เฉพาะในฌานต่าง ๆ เท่านั้น ที่มีความสุขเป็นองค์ประกอบ สำคัญ ในการปฏิบัติทั่วไป ตัวตัดสินความถูกต้องก็มีความสุขเป็น องค์ธรรมสำคัญ ที่จะต้องเกิดขึ้นด้วย กล่าวคือ ในกระบวนการปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้ผลก้าวหน้าไปสู่ จุดหมายนั้น ท่านจะกล่าวอยู่เสมอถึงองค์ธรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดตามกัน มาเป็ น ชุ ด ได้ แ ก่ เกิ ด ความแช่ ม ชื ่ น เบิ ก บาน (ปราโมทย์ ) แล้ ว ก็ เอิบอิ่มใจ (ปีติ) จากนั้นกายใจก็ผ่อนคลาย (ปัสสัทธิ) ความสุขก็เกิด ตามมา (สุข) แล้วจิตก็ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว (สมาธิ) ต่อแต่นั้นก็สามารถ เกิดญาณทัสนะ ตลอดไปจนถึงวิมุตติ คือความหลุดพ้นในที่สุด พระเจ้ า ปเสนทิ โ กศลเคยกราบทู ล พระพุ ท ธเจ้ า แสดงความ เลื่อมใสในพระรัตนตรัยว่า พระองค์เสด็จไปในที่ต่าง ๆ เห็นนักบวช บางพวกซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัว สะพรั่งด้วยเส้นเอ็น ไม่ชวนตาให้อยากมอง แต่พระภิกษุทั้งหลาย ในพระพุทธศาสนานี้ สดชื่น ร่าเริง มีใจเบิกบาน มีอากัปกิริยาน่ายินดี มีอินทรีย์เอิบอิ่ม ไม่วุ่นวาย มีลักษณะของความสงบจิตมั่นใจ


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

149

ข้อความสองตอนข้างต้นดูคล้ายขัดกัน เป็นทำนองว่า ทฤษฎีว่า ทุกข์ แต่ปฏิบัติเป็นสุข แต่ความจริงไม่ขัดกันเลย หากสอดคล้องกันดี และเสริมกันด้วยซ้ำ พูดตามหลัก อริยสัจจ์ว่า มองอริยสัจจ์ ข้อ ๑ เห็นทุกข์ ทำตาม อริยสัจจ์ ข้อ ๔ เป็นสุข พระพุทธศาสนามิใช่มองโลกและชีวิตในแง่ร้าย แต่มองโลกและ ชีวิตตามความเป็นจริง เมื่อความทุกข์มีอยู่จริง พระพุทธศาสนาก็สอน ให้เผชิญหน้าความทุกข์นั้น ไม่เลี่ยงหนี แต่ให้มองดูทุกข์นั้นด้วยความรู้ เท่าทัน และด้วยความรู้เท่าทันความทุกข์นั้นเอง จึงทำให้มีจิตใจ ปลอดโปร่งเป็นอิสระด้วยปัญญา ไม่ถูกทุกข์บีบคั้น เข้าทำนองว่า “รู้ว่าชีวิตเป็นทุกข์ แต่มีชีวิตเป็นสุข” หรือ ถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่านั้น ก็ว่า “รู้เท่าทันความทุกข์ จึงมีความสุข ที่สมบูรณ์”


150

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ลักษณะที่ ๑๕

มุ่งประโยชน์สุขเพื่อมวลชน

ลักษณะที่ ๑๕ ประการสุดท้าย ลักษณะของพระพุทธศาสนา ที่จะขอกล่าวในที่นี้ก็คือ เป็นศาสนาที่เน้น พหุชนหิตายะ พหุชน-

สุขายะ คือ ความมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สุขของพหูชน พระพุทธเจ้าตรัสหลักนี้เป็นประจำ เมื่อเริ่มประกาศพระศาสนา พระองค์ ท รงส่ ง พระสาวกออกประกาศพระศาสนาด้ ว ยคำว่ า จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล

แก่พหูชน เพื่อความสุขแก่พหูชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก ต่อมาหลังจากนั้นก็ตรัสหลักธรรมมากมายโดยเน้นหลักการ ข้อนี้ แม้แต่ในการแนะนำให้ทำสังคายนาก็ย้ำว่า เพื่อจะให้พรหมจรรย์ คือพระศาสนานี้ ดำรงอยู่มั่นคงยั่งยืน เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และ ความสุขแก่พหูชน คือชนจำนวนมาก ที่เราเรียกกันเดี๋ยวนี้ว่ามวลชน นั่นเอง ในทางตรงข้ า ม พระเถระที ่ ม ี ม ิ จ ฉาทิ ฏ ฐิ ก ็ เ ป็ น ไปเพื ่ อ ไม่ ใ ช่ ประโยชน์ ไม่ใช่ความสุขเพื่อความทุกข์แก่ชนจำนวนมากส่วนพระเถระ ที่มีสัมมาทิฏฐิ ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน อะไรทำนองนี้ หลักธรรมต่าง ๆ อย่างนี้ตรัสไว้มากมาย ในที่นี้เพียงยกมาเป็น ตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาเน้นย้ำมากในเรื่องการปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สุขของพหูชน


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

สรุป

151

ได้ยกเอาหลักธรรมต่าง ๆ มาแสดงให้เห็นลักษณะสำคัญของ พระพุทธศาสนา ในที่นี้ ๑๕ ลักษณะ ที่จริงยังมีมากกว่านี้ แต่เพียง เท่านี้ก็เลยเวลาไปมากแล้ว ข้อที่จะขอกล่าวเน้นในตอนสุดท้ายก็คือ ลักษณะต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ เราถือกันว่าเป็นลักษณะที่ดีแต่ข้อ สำคัญ ชาวพุทธอย่ามัวเมาว่า เรามีพระพุทธศาสนาซึ่งมีลักษณะที่ดี เสร็จแล้ว เพราะมัวเมาว่าพระพุทธศาสนามีลักษณะดี ก็เลยได้แต่ ชื่นชม แล้วไม่นำเอามาประพฤติปฏิบัติ เมื่อไม่เอามาประพฤติปฏิบัติ ก็ไม่เป็นประโยชน์อะไร ได้แต่ ชื่นชมหลงมัวเมาไปอย่างนั้นเอง ว่าศาสนาของเราดีอย่างนี้ มีลักษณะ ที่ดีอย่างนั้น ก็ไม่เกิดประโยชน์แก่ชีวิตที่แท้จริง เพราะฉะนั้น จะต้องนำเอามาประพฤติปฏิบัติ และข้อสำคัญ

ก็คือการปฏิบัติให้ครบทุกแง่ด้าน เพราะการปฏิบัติที่คลาดเคลื่อน ผิ ด เพี ้ ย นไปนั ้ น สาเหตุ อ ย่ า งหนึ ่ ง ก็ เ กิ ด จากการประพฤติ ป ฏิ บ ั ต ิ

ไม่ครบถ้วน ไม่ครบถ้วนอย่างไร ขอให้ดูหลักอนิจจังเป็นตัวอย่าง หลักอนิจจังนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนภาพการปฏิบัติธรรม ของชาวพุทธไทย ว่าเข้าใจอนิจจัง คือความไม่เที่ยงนั้นแค่ไหนอย่างไร ชาวพุทธเวลามีเหตุพลัดพราก แม้แต่ของพลัดตกจากมือ ก็จะ อุทานว่า “อนิจจัง ไม่เที่ยง” แล้วเราก็รู้เท่าทันธรรมดาว่า เออ สังขาร ทั้งหลายมีการเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เป็นสิ่งไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ ย่อ มดั บ ไปเป็ น ธรรมดา แล้วเราก็ปลงใจได้ ปลงตก ก็ ม ี ค วามสุ ข


152

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

สบายใจ ไม่มีความโศกเศร้า เข้าลักษณะคำบาลีที่พระท่านเอามา พิจารณาผ้าบังสุกุลว่า “อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข” บอกว่ า สั ง ขารทั ้ ง หลายไม่ เ ที ่ ย งหนอ มี ค วามเกิ ด ขึ ้ น แล้ ว เสื่อมสลายไป เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความสงบวาง แห่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้น เป็นสุข ปลงอย่ า งนี ้ แ ล้ ว เราก็ ส บายใจ ชาวพุ ท ธเรา โดยเฉพาะใน เมืองไทยนี้ มีชื่อเสียงว่าได้ประโยชน์จากหลักอนิจจังนี้มาก ทำให้เป็น คนมีจิตใจสบาย ไม่ค่อยมีความทุกข์ แต่พร้อมกันนั้น มีหลักหนึ่งที่เราไม่ค่อยปฏิบัติ ก็คือ โอวาท ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม” ความหมายของอนิจจังในแง่หลังนี้ไม่ค่อยใช้กันเลย คือใช้แต่ ตอนปลงตกให้สบายใจ แต่ตอนที่พระพุทธเจ้าเตือนไม่เอามาใช้ทั้ง ๆ ที่เป็นปัจฉิมวาจาซึ่งสำคัญอย่างยิ่ง นี่แหละคือหลักความไม่ประมาท พระพุทธเจ้าตรัสอนิจจังไม่เที่ยงนั้นโยงกับหลักความไม่ประมาท ให้เราไม่ประมาท ไม่ใช่มัวแต่นั่งนอนสบาย เพราะฉะนั้น ถ้ามัวเอาแต่ วูปสโม สุโข แล้ว สบายอย่างเดียว นอนแอ้งแม้ง ก็เรียกว่า ปฏิบัติ ธรรมไม่ครบถ้วน


แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

153

พวกเราในเมืองไทยนี้ อาตมภาพสังเกตว่าใช้ อนิจจัง ตามหลัก วูปสโม สุโข นี้มาก คือเอามาใช้ปลงให้มีความสุขสบายใจ แต่ในแง่ อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ คืออนิจจังที่จะให้ไม่ประมาทนั้น ไม่ค่อย ใช้เลย ตกลงว่า จะต้องใช้ให้ครบ ถ้าปฏิบัติตามหลักอนิจจัง ต้องได้ทั้ง วูปสโม สุโข มีความสุขใจด้วย แล้วต้อง อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมด้วย ต้องเร่งรัดกระตือรือร้น ในการ บำเพ็ญกิจหน้าที่ของตนเองเป็นต้น แล้วลักษณะของพระพุทธศาสนาที่อาตมภาพกล่าวมาก็จะเกิด ประโยชน์ มีชีวิตชีวาขึ้นมาอย่างแท้จริง ด้วยหลักความไม่ประมาท ที่เป็นปัจฉิมวาจาของพระพุทธเจ้านั้นเอง อาตมภาพได้กล่าวมาในเรื่อง ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนาก็ นับว่าเกินเวลาไปแล้ว ขออนุโมทนาท่านสาธุชนทุกท่านที่มีความสนใจ ใฝ่ธรรม ขอกุศลเจตนาของท่านทั้งหลายที่มีความตั้งใจดี เริ่มแต่มีศรัทธา ในพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ จงเป็นปัจจัยนำ ท่านไปสู่ความเข้าใจในหลักธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อนำมาใช้ปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย เป็นเครื่องอวยชัยให้พรแก่ท่าน ทั้งหลาย ขออานุภาพคุณพระรัตนตรัยนั้น แลกุศลเจตนาอันเป็นบุญ กุศลในจิตของท่าน จงเป็นปัจจัยอันมีกำลังอภิบาลรักษาให้ทุกท่าน พรั่งพร้อมด้วยจตุรพิธพรชัย มีกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา


154

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา

ในการที่จะเล่าเรียนธรรม ปฏิบัติธรรม และในการที่จะแนะนำสั่งสอน ซึ่งกันและกัน ให้เข้าถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้ความ ร่มเย็นเป็นสุขแผ่กระจายไปในสังคม และให้ทุกคนได้รับประโยชน์ มี ค วามงอกงามในพระธรรมคำสั ่ ง สอนของพระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า โดยทั่วกัน ตลอดกาลนาน เทอญ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.