รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม www.dra.go.th
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓ ผู้จัดพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนพิมพ์ ISBN
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๔ ๓,๐๐๐ เล่ม 978-616-543-114-9
ที่ปรึกษา ๑. นายสด แดงเอียด ๒. นายจรูญ นราคร ๓. นายสุเทพ เกษมพรมณี ๔. นายพิสิทธิ์ นิรัตติวงศกรณ์ ๕. นางสาวภัคสุจิ์ภรณ์ จิปิภพ
อธิบดีกรมการศาสนา รองอธิบดีกรมการศาสนา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ เลขานุการกรมการศาสนา
รวบรวมเรียบเรียง ๑. นางศิริกาญจนา อิศรางกูร ณ อยุธยา ๒. นายชุมพล อนุกานนท์ ๓. นางธิติกาญจน์ ธนศรีสุนีย ์ ๔. นายสมคิด ไพบูลย์ ๕. นางสุพัตรา หะยีอับดุลรอมาน
นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ
ตรวจต้นฉบับและพิสูจน์อักษร ๑. นางศิริกาญจนา อิศรางกูร ณ อยุธยา ๒. นายชุมพล อนุกานนท์ ๓. นายสำรวย นักการเรียน ๔. นายพีระพล อาแว
นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ
ออกแบบปกและรูปเล่ม นายยงยุทธ สังคนาคินทร์
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
คำนำ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พสกนิกรชาวไทยต่างปลื้มปีติชื่นชมโสมนัส และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ล้ น เกล้ า ล้ น กระหม่ อ ม ที่ ท รงมี คุ ณู ป การแก่ พ สกนิ ก รชาวไทยและประเทศชาติ อ ย่ า งใหญ่ ห ลวง ด้วยทรงดำรงพระองค์อยู่ในราชธรรมจริยา ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่นทุกศาสนา ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ พสกนิกร ทั่วหล้าจึงร่มเย็นเป็นสุขสถาพร กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีภารกิจหลักในการดำเนินงานให้ความอุปถัมภ์ คุ้มครองกิจการด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นที่ทางราชการรับรอง ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนา ความรู้คู่คุณธรรม สร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนทุกศาสนา ได้พิจารณาเห็นว่า พลังทาง ศาสนาเป็นพลังสำคัญในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ และความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนิกชน ต่างศาสนา ดังนั้นในโอกาสวันอันเป็นมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี และในวันจันทร์ที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรมการศาสนา ได้ จั ด ให้ มี ก ารประชุ ม รวมพลั ง ทางศาสนาเสริ ม สร้ า งความสมานฉั น ท์ เฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ศาสนิกชน ชาวไทยทุ ก หมู่ เ หล่ า ทุ ก ศาสนา ได้ แ สดงออกถึ ง ความจงรั ก ภั ก ดี แ ละกตั ญ ญู ก ตเวทิ ต าคุ ณ ต่อองค์พระผู้มีพระคุณ และส่งเสริมสนับสนุนให้ศาสนิกชนทุกศาสนาได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการสร้ า งสรรค์ สั ง คมไทยให้ เ ป็ น สั ง คมที่ มี คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม มี ค วามรั ก ความสามั ค คี อีกทั้งเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนาในการอยู่ร่วมกัน
กรมการศาสนาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดงานในมิติของศาสนาที่องค์การศาสนาร่วมมือ ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ จะแสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายของศาสนา วัฒนธรรม และจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความรัก ความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนศาสนาต่าง ๆ ซึ่งท้ายที่สุด จะทำให้สังคมไทยเกิดสันติสุขอย่างยั่งยืน ในการประชุมครั้งนี้ได้จัดทำหนังสือ “รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” โดยรวบรวมรายละเอียดการดำเนินงาน การจั ด กิ จ กรรมของกรมการศาสนากั บ องค์ ก ารศาสนาเพื่ อ เผยแพร่ แ ละเป็ น แนวทางในการนำ หลักธรรมคำสอนทางศาสนามาบูรณาการ เป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคมสืบไป (นายสด แดงเอียด) อธิบดีกรมการศาสนา
สารบัญ
คำนำ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การประชุม “รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” คำกล่าวเปิดงาน โดย นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม คำกล่าวรายงาน โดย นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา การบรรยายพิเศษเรื่อง ศาสนาสร้างพลังความรัก ความสามัคคี โดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การแสดงของนักเรียนโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระบรมราชูปถัมภ์ การเล่าประสบการณ์การเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ โดยตัวแทนเยาวชนทั้ง ๕ ศาสนา การแสดงของเยาวชนจากค่ายเยาวชนสมานฉันท์ การเสวนาเรื่อง ศาสนาสร้างพลังความรัก ความสามัคคี ในมิติของแต่ละศาสนา โดย ผู้แทนองค์การศาสนา ๕ ศาสนา ดำเนินการเสวนาโดย นายพิสิฐ เจริญสุข ผู้แทนศาสนาพุทธ พระปัญญานันทมุนี ผู้แทนศาสนาอิสลาม นายประสาน ศรีเจริญ ผู้แทนศาสนาคริสต์ บาทหลวงชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ผู้แทนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นายสถิตย์ กุมาร ผู้แทนศาสนาซิกข์ นายมานิต สัจจมิตร สรุปผลการประชุม และปิดประชุมงานรวมพลังทางศาสนาฯ โดย นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตารางสรุปผลการประเมิน
หน้า ๑ ๗ ๘ ๙ ๑๑ ๓๔ ๓๕ ๓๖ ๓๗ ๓๙ ๔๒ ๔๕ ๔๗ ๕๐ ๖๘ ๗๑ ๗๙
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
กรมการศาสนาร่ ว มกั บ องค์ ก ารศาสนาพุ ท ธ ศาสนาอิ ส ลาม ศาสนาคริ ส ต์ ศาสนา พราหมณ์ - ฮิ น ดู และศาสนาซิ ก ข์ จั ด งาน “รวมพลั ง ทางศาสนาเสริ ม สร้ า งความสมานฉั น ท์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ โรงละครแห่งชาติ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๑,๐๖๗ รูป/คน การจั ด กิ จ กรรมดั ง กล่ า วเป็ น การจั ด กิ จ กรรมเพื่ อ ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้ ศ าสนิ ก ชนทุ ก ศาสนา ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ การฉายวีดิทัศน์ “เย็นศิระเพราะพระบริบาล” การบรรยายเรื่อง ศาสนาสร้างพลังความรัก ความสามัคคี โดยพระธรรม โกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การแสดงของ เยาวชนที่ผ่านการเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ของกรมการศาสนา (เหตุเกิดที่ค่ายเยาวชนสมานฉันท์) การเสวนาสร้างพลังความรัก ความสามัคคี ในมิติศาสนา โดยผู้แทนองค์การศาสนา ๕ ศาสนา ในโอกาสนี้ กรมการศาสนาได้รับเกียรติจาก นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม การประชุมดังกล่าวได้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ การจัดงานรวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ โดยได้สอบถามความคิดเห็นผู้เข้าร่วม กิจกรรม โดยการสุ่มตัวอย่างจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๕๐๐ คน และได้วิเคราะห์ประมวล ความคิดเห็นได้ ดังนี้ ผู้เข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ที่เป็นประชากรกลุ่มตัวอย่าง ในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๐ มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๐ รองลงมาคื อ มี อ ายุ ร ะหว่ า ง ๔๑-๖๐ ปี โดยจบการศึ ก ษาในระดั บ ปริ ญ ญาตรี ร้ อ ยละ ๔๓.๕ และนับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐ รองลงมาคือ นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ ๓๗.๐ ศาสนาซิกข์ ร้อยละ ๑๒.๐ ศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๙.๐ และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๒.๐ ตามลำดับ
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาฯ เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเนื้อหา
ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พบว่า ผู้ เข้ า ร่ ว มงานรวมพลั ง ทางศาสนามี ค วามเข้ า ใจเนื้ อ หาจากการเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมระดั บ มากที่ สุ ด จัดลำดับความเข้าใจเป็น ๓ อันดับ คือ อันดับที่ ๑ การชมวีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ “เย็นศิระเพราะพระบริบาล” มีความเข้าใจ เนื้ อ หาระดั บ มากที่ สุ ด (คิ ด เป็ น ค่ า เฉลี่ ย ๔.๓๓) เนื่ อ งจากเนื้ อ หาในวี ดิ ทั ศ น์ แ สดงถึ ง พระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มาเป็ น แนวทางในการดำเนิ น ชี วิ ต ส่ ง ผลให้ ท รงเป็ น แบบอย่ า งในการครองตนตามหลั ก ธรรม ทางศาสนา อีกทั้งพระองค์ยังทรงใช้หลักเมตตาธรรม “บำบัดทุกข์บำรุงสุขในการช่วยเหลือพสกนิกร ของพระองค์ ” ส่ ง ผลให้ พ สกนิ ก รอยู่ ร่ ว มกั น ด้ ว ยความสงบสุ ข ร่ ม เย็ น ด้ ว ย “เย็ น ศิ ร ะเพราะ พระบริบาล” อันดับที่ ๒ คือ การชมนิทรรศการพระราชกรณียกิจสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีความเข้าใจในเนื้อหาระดับมากที่สุด (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๓๑) เนื่องจากเนื้อหานิทรรศการจัดแสดงถึง พระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงทำคุณประโยชน์แก่พสกนิกร และประเทศชาติอย่างเอนกอนันต์และเป็นรูปธรรม อันดับที่ ๓ การเข้าร่วมกิจกรรมถวายสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ และการร้องเพลง สรรเสริ ญ พระบารมี / เพลงสดุ ดี ม หาราชา เพื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชินีนาถ มีความเข้าใจเนื้อหาระดับมาก (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๑๙) เนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่ ป วงชนชาวไทยพึ ง ระลึ ก เสมอว่ า เป็ น กิ จ กรรมที่ แ สดงถึ ง ความจงรั ก ภั ก ดี แ ละเฉลิ ม พระเกี ย รติ ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ความคิ ด เห็ น ของผู้ เข้ า ร่ ว มงานต่ อ การเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมที่ แ สดงถึ ง ความสามั ค คี
ความสมานฉันท์ พบว่า ผู้เข้าร่วมงานเข้าใจเนื้อหาสาระที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมระดับมากที่สุด-มาก โดยจัดอันดับความเข้าใจเนื้อหาของผู้เข้างานเป็น ๕ อันดับ คือ อันดับที่ ๑ การบรรยาย “ศาสนาสร้างพลังความรัก ความสามัคคี” ของพระธรรมโกศาจารย์ (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๖๖) เนื่องจากเนื้อหาที่พระธรรมโกศาจารย์บรรยายมีความชัดเจน เข้าใจง่าย และสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้จริง เช่น วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง แบบองค์รวม ต้องใช้กระบวนการ ๔ กระบวนงาน คือ
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
๑) การระดมสมองแก้ ไขปั ญ หา โดยอาศั ย ความร่ ว มมื อ จากสถาบั น ศาสนา สถาบั น การเมือง ภาคเอกชน และภาคประชาชน ๒) การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่เหมาะสม ๓) รวมพลังความรัก ความสามัคคีแก้ปัญหา ๔) เชื่อมั่นศรัทธาในการรวมกันแก้ปัญหา หรือการสร้างธรรมทานเพื่อลดและแก้ไขปัญหา เป็นต้น อันดับที่ ๒ การชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๓๐) เนื่องจากข้อความบรรยายมีความกระชับ เข้าใจง่าย แสดงถึงพระอัจฉริยภาพ ของพระองค์ ด้านการทำนุบำรุงส่งเสริมงานด้านศาสนาอย่างชัดเจน อั น ดั บ ที่ ๓ สรุ ป ผลการประชุ ม ของอธิ บ ดี ก รมการศาสนา (คิ ด เป็ น ค่ า เฉลี่ ย ๓.๙๗) เนื่องจากการสรุปประเด็นสำคัญของเนื้อหาการประชุมมีความกระชับ ชัดเจน และเข้าใจง่าย อันดับที่ ๔ การเสวนา/การแสดง “เหตุเกิดที่ค่ายเยาวชน” (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๓.๙๖) เนื่ อ งจากผู้ เ สวนามี ก ารใช้ ถ้ อ ยคำ/ภาษาที่ เข้ า ใจง่ า ย พร้ อ มทั้ ง มี ก ารยกกรณี ศึ ก ษามาประกอบ การเสวนา สำหรับการแสดงของเยาวชนแสดงถึงการยอมรับความแตกต่างหลากหลาย การแสดง ความรัก ความสามัคคีของคนในสังคมได้เป็นอย่างดี อันดับที่ ๕ การเสวนาทางศาสนา “ศาสนาสร้างพลังความรัก ความสามัคคี ในมิติของแต่ละ ศาสนา” ของผู้แทนศาสนา ๕ ศาสนา ผู้เข้าร่วมงานมีความเข้าใจเนื้อหาสาระในภาพรวมระดับมาก (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๓.๗๐) เนื่องจากผู้เสวนามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักการสร้างความรัก ความสามัคคี ระหว่ า งกั น พร้ อ มทั้ ง มี ก ารนำหลั ก ธรรมคำสอนทางศาสนามาประกอบในการเสวนา ทำให้
ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจ/ได้เรียนรู้หลักคำสอนของเพื่อนต่างศาสนา และสามารถนำความรู้ ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ ได้รับจากการเข้าร่วม กิจกรรม ๑. ได้ รั บ ทราบมุ ม มองและหลั ก ธรรมจากผู้ แ ทนแต่ ล ะศาสนาและสามารถนำไปเป็ น แนวทางการดำเนินชีวิต รวมทั้งเสริมสร้างความสามัคคีแก่คนในสังคม ๒. ทำให้ได้รับทราบว่าความสมานฉันท์สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าศาสนานั้นจะแตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือความรัก เอื้ออาทร นำมาซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ๓. ได้รับทราบถึงปัญหาของสังคมไทย และวิธีการนำศาสนามาเป็นหลักชัยในการแก้ไข ปัญหา ๔. ทำให้มีความเข้าใจหลักธรรมคำสั่งสอนของทั้ง ๕ ศาสนา ลึกซึ้งมากขึ้น ๕. ทำให้รู้มุมมองและทัศนคติที่แตกต่างกันของแต่ละศาสนา ๖. ได้ รับข้อคิดที่ดีจากผู้แทนศาสนาและทำให้ เ ห็ น ภาพความสมานฉั น ท์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จาก ทุกศาสนา ๗. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้นำศาสนาและศาสนิกชนที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้ได้เรียนรู้ความเหมือนและแตกต่างเกี่ยวกับหลักธรรม/ข้อห้ามทางศาสนา เพื่อนำความรู้ไปปรับใช้ ให้เหมาะสม ๘. ทำให้เกิดความรู้รักสามัคคี ความรักชาติ เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ๙. ทำให้เข้าใจว่าการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมไทย ต้องรู้สามัคคี และให้อภัยซึ่งกันและกัน โดยยึดหลักความเชื่อของแต่ละศาสนา การนำความรู้จากการเข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ ไปขยายผล ๑. ร่วมสร้างความรัก ความสามัคคีให้กับชุมชน โดยเริ่มที่ครอบครัว ชุมชน และสังคม ๒. สร้างเครือข่ายทางศาสนา ร่วมส่งเสริมความสมานฉันท์ในชุมชนท้องถิ่น ๓. ข ยายเครื อ ข่ า ยส่ ง เสริ ม ความสมานฉั น ท์ โดยถ่ า ยทอดแนวคิ ด /หลั ก ปฏิ บั ติ สู่ เ ด็ ก และเยาวชน ๔. เตือนตัวเองให้เห็นความสำคัญของความรัก ความสามัคคี และนำไปแบ่งปันให้คน ในครอบครัวและเพื่อนบ้าน ๕. นำเสนอรูปแบบการส่งเสริมความสมานฉันท์ให้กับหน่วยงานราชการในท้องถิ่นเพื่อให้ ท้องถิ่นนำไปขยายผลในพื้นที่
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
๖. ส่งเสริมให้เยาวชนเป็นแกนนำสร้างความสมานฉันท์ เผยแพร่หลักการความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่าง ๗. นำหลักคิด/หลักธรรมไปปรับใช้กับตนเองและขยายผลไปยังบุคคลรอบข้าง การนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาฯ ไปสร้างความสงบสุขแก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม ๑. สร้างความสามัคคีระหว่างศาสนา สร้างความสามัคคีในกลุ่มบุคคล และลดความขัดแย้ง ๒. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางศาสนามากขึ้น เช่น การจัดค่ายศาสนา เผยแพร่หลักคำสอน ทางศาสนาผ่านสื่อที่หลากหลาย ๓. การเข้าถึงแก่นของศาสนาที่ตนเองเชื่อจะสร้างความสงบสุขได้ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ๔. เรี ย นรู้ แ ละเข้ า ใจความแตกต่ า งของแต่ ล ะศาสนา อยู่ ร่ ว มกั น ดั ว ยความเข้ า ใจและ ช่วยเหลือผู้อื่นตามคำสอนของแต่ละศาสนา ๕. เผยแพร่หลักการเสริมสร้างความสมานฉันท์แก่บุคคลรอบข้าง สังคมจะได้ไม่แตกแยก หรือทะเลาะวิวาทกัน ๖. ยอมรับ เข้าใจ และเป็นคนกลางประสานประโยชน์ส่วนรวมในความแตกต่างทางศาสนา ๗. ยึดหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือและเรียนรู้หลักธรรมของศาสนาอื่นเพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความสันติ ๘. เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นโดยไม่แยกศาสนา ทำให้เราเห็นสิ่งดีในเพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน หากทุกคนในชาติคิดได้เช่นนี้จะทำให้สังคมไทยอยู่อย่างเป็นสุข ๙. ร่ ว มกั บ องค์ ก รศาสนาในท้ อ งถิ่ น ให้ ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจในงานศาสนสั ม พั น ธ์ เ พื่ อ
ความสมานฉันท์ ๑๐. ใช้หลักคำสอนของศาสนาในการแก้ปัญหาและสอนแนะผู้อื่นที่พบปัญหาหรือเดือดร้อน รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
การประชุม “รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” วันจันทร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
“ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในนาม ศาสนิกชนศาสนาต่าง ๆ ขอประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิม พระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่มาประชุมพร้อมกันในมงคลเขตสถานที่นี้ ล้วนมีจิตโสมนัส ปรารถนาถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงพระคุณ
อันประเสริฐ พระองค์ทรงเป็นพระมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย มีพระราชหฤทัยกอปรด้วยพระเมตตา กรุณาอยู่เนืองนิตย์ ด้วยมีพระราชประสงค์จำนงหมายให้ประชาชนชาวไทยทั้งหลายมีความเจริญ ร่มเย็นเป็นสุขทั่วหน้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายล้วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชิ นี น าถ ในวาระอั น เป็ น มิ่ ง มหามงคลนี้ ขอพระราชทานพระราชโอกาสน้ อ มเกล้ า
น้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคล ขออำนาจแห่งคุณงามความดีที่ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ ก ระทำไว้ จงดลบั น ดาลให้ ใ ต้ ฝ่ า ละอองธุ ลี พ ระบาททรงพระเกษมสำราญ ทรงพระชนมายุ
ยิ่งยืนนาน ปราศจากโรคาพยาธิอุปัทวันตรายทั้งปวง พระเกียรติคุณแผ่ไพศาลไปทั่วทุกทิศานุทิศ สถิตเป็นมิ่งขวัญของปวงพสกนิกรชาวไทยตราบจิรัฐิติกาล ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ”
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีและ ได้เปิดกรวยถวายราชสักการะพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และกล่าวคำถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ต่อจากนั้น นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ประธานในพิธีได้กล่าวเปิดงานประชุมรวมพลังทาง ศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ดังนี้ “กราบนมัสการ พระเถรานุเถระที่เคารพอย่างสูง กราบเรียนท่านผู้แทนองค์การศาสนาที่เคารพอย่างสูง ท่านรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ท่านอธิบดีกรมการศาสนา ท่านผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ผมรู้สึกเป็นเกียรติ และมีความยินดี ที่ไ ด้ ม าเป็ น ประธานในพิธีเปิดงานรวมพลัง ทางศาสนาเสริ ม สร้ า งความสมานฉั น ท์ เฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชินีนาถในวันนี้ สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีน้ำพระราชหฤทัย เมตตาห่วงใยในทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์ ดั ง เห็ น ได้ จ ากพระราชกรณี ย กิ จ ต่ า ง ๆ ทั้งในคราวที่ทรงตามเสด็จพระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ฯ และพบเห็ น ประชาชนที่ ม าเฝ้ า รั บ เสด็ จ ฯ ก็ รั บ สั่ ง สอบถามประชาชนเหล่ า นั้ น
ด้วยพระเมตตา หรือจากโครงการในพระราชดำริ ซึ่งทุกโครงการล้วนมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น น้ำพระราชหฤทัยที่แสดงออกนั้นแสดงให้เห็นว่าทรงเข้าพระทัยในหลักธรรม ทางศาสนา และทรงบำเพ็ญบารมีตามหลักธรรมนั้น ๆ องค์การศาสนาต่าง ๆ ได้ประจักษ์แจ้งในน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงยึดมั่นในศาสนา จึงได้
ร่วมกันกับกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จัดงานรวมพลังทางศาสนา ยกย่องเชิดชูพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ว่าเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา ทรงเป็นผู้ให้ ผู้อนุเคราะห์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ประชาชน ทรงปลูกฝังความรักจากการเป็นผู้ให้ หากเรา น้อมนำพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญมาประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ให้มีความรัก ความเมตตา ต่อกัน มีความปรารถนาดีต่อกัน จะทำกิจการใดก็พิจารณาก่อนว่า การกระทำนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อการอนุเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่บุคคลอื่น สังคมนั้นก็เป็น สังคมที่สันติสุขที่ยั่งยืน หลักธรรมทางศาสนาเป็นแนวทางให้เกิดสันติสุขในสังคม คือสมเด็จพระนางเจ้า
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระแม่ของแผ่นดิน ผู้ทรงเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติธรรม เช่ น นี้ แ ล้ ว เราก็ ค วรจะร่ ว มกั น เผยแผ่ ทั้ ง หลั ก ธรรมทางศาสนาและพระเกี ย รติ คุ ณ ของพระองค์
ให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนในทุกสังคม การจัดประชุมเสวนาทางวิชาการ ในการรวมพลังทางศาสนา เสริมสร้างความสมานฉันท์ในครั้งนี้ จะเป็นการเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี กระผมจึงขอชื่นชม กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่ได้จัดให้มีงานลักษณะเช่นนี้ขึ้น สุดท้ายกระผมขอให้การประชุมครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จตามที่ทุกฝ่ายมุ่งหวังทุกประการ และขอเปิ ด การประชุ ม รวมพลั ง ทางศาสนาเสริ ม สร้ า งความสมานฉั น ท์ เฉลิ ม พระเกี ย รติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ บัดนี้” นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา ได้กล่าวรายงานความเป็นมาต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานในพิธี ความว่า นมัสการ พระคุณเจ้า ที่เคารพอย่างสูงทุกรูป เรียนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ) ที่เคารพอย่างสูง ผม นายสด แดงเอี ย ด อธิ บ ดี กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในนาม ของผู้เข้าประชุม ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การ ศาสนา ทั้ ง ๕ ศาสนา คื อ ศาสนาพุ ท ธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ฮิ น ดู และศาสนาซิ ก ข์ และผู้ มี เ กี ย รติ
ในที่ ป ระชุ ม ทั้ ง หมด ขอขอบพระคุ ณ
ท่ า นรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงวั ฒ นธรรม เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ ไ ด้ ใ ห้ เ กี ย รติ ม าเป็ น ประธาน ในพิธีเปิดการประชุม “รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” กระผมขอกราบเรียนความเป็นมาของการจัดประชุมครั้งนี้ โดยสังเขป ดังนี้ กรมการศาสนา กระทรวงวั ฒ นธรรม มี ภ ารกิ จ และหน้ า ที่ ใ นการทำนุ บ ำรุ ง ส่ ง เสริ ม ให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา และศาสนาอื่น ๆ ที่ทางราชการให้การรับรอง ตลอดจนส่งเสริมพัฒนา ความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมความเข้าใจอันดี สร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนทุกศาสนา รวมทั้ ง การส่ ง เสริ ม ให้ ป ระชาชนนำหลั ก ธรรมคำสอนทางศาสนาที่ ต นนั บ ถื อ ไปประพฤติ ป ฏิ บั ติ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดีมีคุณธรรม โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การเครือข่ายทางศาสนา คือ องค์การศาสนาพุทธ องค์การศาสนาอิสลาม องค์การศาสนาคริสต์ องค์การศาสนาพราหมณ์-ฮินดู รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
และองค์การศาสนาซิกข์ เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งต่างเห็นพ้องกันว่าหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้นที่เป็น
หลักปฏิบัติให้คนตั้งอยู่ในคุณธรรมจริยธรรม หรือศีลธรรม มีเมตตา มีความรัก ความสามัคคีต่อกัน เป็นการสร้างสังคมให้เกิดสันติสุขได้อย่างยั่งยืน มั่นคง ถาวรตลอดไป สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ทรงอุปถัมภ์บำรุงกิจการศาสนาทุกศาสนาอย่างเอนกอนันต์ ยังความปลื้มปิติโสมนัสแก่ศาสนิกชนทุกศาสนาอย่างหาที่เปรียบมิได้ พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างของ ผู้ศึกษาธรรม ประพฤติธรรม และปฏิบัติธรรมตามหลักศาสนาโดยแท้จริงอย่างสง่างามมาโดยตลอด โดยบริ บู ร ณ์ บริ สุ ท ธิ์ ค รบถ้ ว น เพื่ อ เป็ น การเฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระองค์ ท่ า น พระแม่ ข องแผ่ น ดิ น กรมการศาสนาร่วมกับองค์การศาสนาทั้ง ๕ จึงได้พร้อมใจกันถือเอาวาระอภิรักขิตมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคมของทุกปี จัดงานรวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และส่งเสริม
ให้ศาสนิกชนยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม และความรัก ความสามัคคี และสร้างความสมานฉันท์ ระหว่างศาสนิกชนศาสนาต่าง ๆ อย่างทั่วถ้วน ในปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๓ นี้ ได้ ก ำหนดจั ด ขึ้ น ในวั น จั น ทร์ ที่ ๑๖ สิ ง หาคม ๒๕๕๓ ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย ๑. การจั ด ฉายวี ดิ ทั ศ น์ เ ฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ เรื่อง “เย็นศิระเพราะพระบริบาล” ๒. การบรรยายพิเศษเรื่อง “ศาสนาสร้างพลังความรัก ความสามัคคี” โดยพระเดชพระคุณ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๓. การเล่าประสบการณ์ของเยาวชนทั้ง ๕ ศาสนา ที่ได้เคยเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ซึ่ ง กรมการศาสนาได้ จั ด ขึ้ น และการแสดงละครที่ แ สดงออกถึ ง ความสมานฉั น ท์ ข องเยาวชน ทุกศาสนาในชาติ ๔. การเสวนาของผู้แทนองค์การศาสนา ในเรื่อง “การสร้างพลังความรัก ความสามัคคี ในมิติของแต่ละศาสนา” ๕. การจั ด นิ ท รรศการเฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ ที่แสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ อยู่ภายนอกห้องประชุม บัดนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมทุกฝ่ายได้มาพร้อมกัน ณ สถานที่สำคัญแห่งนี้ และท่านรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวเปิดการประชุมรวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 10
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ต่อจากนั้นได้ดำเนินรายการตามกำหนดการ คือ การบรรยายพิเศษเรื่อง ศาสนาสร้างพลัง ความรัก ความสามัคคี โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การบรรยายพิเศษเรื่อง ศาสนาสร้างพลังความรัก ความสามัคคี โดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เจริญพรท่านผู้มีเกียรติ เพื่อนสหธรรมมิกและเพื่อนศาสนิกทุกท่าน ในวันนี้เราได้มาด้วยความพร้อมเพรียงกัน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระแม่เจ้าของปวงชนชาวไทยทั้งปวง ด้วยการแสดงสดุดีและแสดง สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ต้องแสดงออกให้ปรากฏไม่แต่เพียงวาจา การกระทำก็ต้องแสดงออก ทางพระพุ ท ธศาสนาเรียกว่าปฏิบัติบูชา น้อมเอาพระกระแสพระราชเสาวนี ย์ ม าน้ อ มนำปฏิ บั ต ิ
โดยเฉพาะการห่วงใยประเทศชาติของเราในขณะนี้ เพื่อให้ความสมัครสมานสามัคคีกลับคืนมา ในทุกภูมิภาคของประเทศ การที่เราจะทำความดีถวายเป็นพระราชกุศล ก็ไม่มีอะไรมีค่าเท่ากับในขณะนี้ ก็ คื อ ความซื่ อ สั ต ย์ ข องท่ า น แก้ ไขปั ญ หาวิ ก ฤติิ ข องชาติ ใ ห้ ไ ด้ รวมพลั ง ศาสนาสร้ า งความรั ก ความสามัคคี ในปัจจุบันนี้เราก็ยอมรับว่าสังคมไทยอยู่ในช่วงวิกฤติิก็คือเราเผชิญปัญหาที่เป็นสำนึกในชาติ
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
11
เมื่อเกิดวิกฤติิขึ้นมาแล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อออกจากวิกฤติ ฉะนั้นเป็นประเด็นที่อยากจะพูดในขณะนี้ เพื่อให้เห็นว่าประเทศของเราอยู่ช่วงของวิกฤติิ วิกฤติิที่เราผ่านพ้นมาในขณะนี้คือวิกฤติเศรษฐกิจ โลกก็กำลังพ้นจากวิกฤติิตรงนั้น แต่วิกฤติิทางการเมืองกำลังคุกรุ่นอยู่ เราจะมีส่วนร่วม ส่วนช่วย อย่างไรที่ทำให้บ้านเมืองเราพ้นวิกฤติิทางการเมือง เวลาเดินทางไปต่างประเทศในช่วงนี้ เพื่อนชาวต่างประเทศก็จะถามว่า เป็นอย่างไรเมืองไทย จะกลั บ มาตี กั น อี ก ไหม เขาบอกว่ า ท่ า นช่ ว ยหน่ อ ย เราจะมาสวดมนต์ กั น อย่ า งเดี ย วก็ ค งไม่ ทั น จะอาศัยโอกาสที่จะรอดพ้นจากวิกฤติิโดยตัวมันเอง โดยไม่ทำอะไร ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็จะมาพูดกันว่า
วิกฤติิที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย เพราะไม่รู้ว่าจะออกไปทางไหนในเวลาที่เจ็บไข้
ป่วยหนักอยู่ใน ICU อาการวิกฤติิตรงนี้เรียกว่าหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นตายเท่ากัน ประเทศไทยก็อยู่ระหว่าง หัวเลี้ยวหัวต่อคือมีวิกฤติิ เราจะสามารถเปลี่ยนวิกฤติิให้เป็นโอกาส เปลี่ยนพินาศให้เป็นพัฒนา เปลี่ยนปัญหาให้เป็นบทเรียนได้หรือไม่ นี่แหละที่กำลังท้าทายพวกเราทุกคน เปลี่ยนวิกฤติิให้เป็นโอกาส ในการก้าวต่อไปอย่างมั่นคง พินาศที่มันเกิดขึ้นก็ต้องสร้างใหม่ ปัญหาที่มีอยู่ก็ท้าทายปัญญาของเรา เป็นบทเรียนของเราว่าจะไม่ทำมันอีก ฉะนั้นถ้าเราไม่ทำอะไรเลย วิกฤติิ ๑ ก็จะนำไปสู่วิกฤติิ ๒ วิกฤติิ ๓ และก็เป็นวัฏจักรแห่งความทุกข์ในสังคม วัฏจักรคือวงจรอุบาทว์ วงจรอุบาทว์ก็คือลูกโซ่
ของเหตุการณ์ซึ่งนำไปสู่ความวิบัติ ซึ่งแต่ละเหตุการณ์ต่างเพิ่มพลังให้กันและกัน เขาด่าเราทีหนึ่ง เราตีเขากลับเขาก็เอามีดแทงเราฟันเรา เราก็ยิงเขาตาย ลูกน้องเขาก็มาฆ่าเรา มันก็วนเวียนอยู่อย่างนี้ เรียกว่าเป็นวัฏจักรแห่งทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่ากิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม กรรมก็ให้เกิด วิบากคือผล ผลก็ไปเพิ่มกิเลส กิเลสก็ให้ทำกรรม กรรมก็ทำให้เกิดวิบาก ก็วนอยู่อย่างนี้ กิเลสคือ ความโกรธ ความเกลียดชัง ทำให้เกิดกรรมคือการกระทำเป็นความรุนแรง ความรุนแรงทำให้เกิด ความเสียหาย เสียชีวิต ทรัพย์สิน ฝ่ายที่สูญเสียก็เกิดกิเลสคือความโกรธแค้น จองเวร จองเวรก็แก้แค้น แก้แค้นก็ลงมือ กระทำ เกิดกรรม กรรมก็เกิดวิบาก วนกันอยู่อย่างนี้ แล้วเมื่อไรมันจะจบ เราจะตัดวงจรอุบาทว์ ได้อย่างไร เราจะไม่ให้เกิดวงจรที่เป็นวัฏจักรของความทุกข์ในสังคมได้อย่างไร ในทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า อักโกจฉิ มัง อะวะธิ มัง ซึ่งแปลว่า ชนเหล่าใดผูกใจเจ็บว่ามันด่าเรา มันทุบตีเรา มันชนะเรา มันขโมยของของเรา มันฆ่าเรา มันเผาบ้านเผาเมืองเรา เวรของพวกเขาไม่มีวันระงับได้ ถ้าอยู่ในวงจรของการจองเวรอย่างนี้ สังคมไทยเหมือนอยู่บนระเบิดเวลา เราจะไม่พูดกันก็ไม่ได้
12
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
จะอยู่ไปวัน ๆ หนึ่งสังคมไทยก็จะเหมือนเก้าอี้ตัวนี้ เก้าอี้ตัวนี้ตั้งอยู่หน้าองค์การสหประชาชาติ กรุงเจนีวา มันมี ๓ ขา ๓ ขานี่นั่งไม่ได้แล้ว แสดงว่าเกิดความไม่มั่นคง สังคมไทยเวลานี้เหมือนเก้าอี้ ๓ ขา หรือเปล่า เรามีอันจะตัดขาใดขาหนึ่งออกไป บอกว่าไม่มีความจำเป็นต่อบ้านเมืองหรือเปล่า ถ้าเราจะสร้างบ้านเมืองให้เกิดความมั่นคงควรแก่การอยู่ของทุกผู้ทุกคน เก้าอี้ต้องมีให้ครบ ๔ ขาฉันใด คนทุกเชื้อชาติศาสนาเผ่าพันธุ์ในบ้านเมืองเราก็มีความสำคัญอย่างนั้น มันจะอยู่กันอย่างสันติสุข เป็นพลังแห่งความรัก ความสามัคคี ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติได้ ฉะนั้นตอนนี้เขาพูดกันเรื่อง โลกร้อน โลกร้อนคือร้อนภายนอก อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น หิมะละลายที่ขั้วโลก น้ำทะเลสูงขึ้นก็จะมา ท่วมกรุงเทพฯ แต่ภาวะโลกร้อนอย่างนั้นยังไม่รีบด่วนเท่ากับโลกร้อนคือสังคมไทยร้อนด้วยกิเลส ตัณหา ความเกลียดชัง พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า โก นุ หาโส กิมานันโท นิจจัง ปัชชลิเต สติ โลกกำลัง ลุกเป็นไฟอยู่ ยังจะร่าเริงบันเทิงใจอะไรกันหนอ ยังจะหลับหูหลับตา ไม่รู้ร้อนรู้หนาวและไม่ออกมา ช่วยกันคนละไม้คนละมือได้อย่างไร พวกเราชาวไทยไม่ว่าจะชาติศาสนาใด จะต้องตระหนักถึงปัญหา และออกมาช่วยกันแก้ปัญหา กรมการศาสนาได้ประสานให้พวกเรามาอยู่ที่นี่ ช่วยกันคิดช่วยกันทำ แล้วท่านมองเรื่องนี้อย่างไร ปัญหาเมืองไทยที่พูดซึ่งท้าทายพวกเรามันไม่รุนแรงแล้วก็ดับไปเอง ถ้าท่านคิดอย่างนั้น โลกทัศน์แบบสุขทัศนนิยม มองโลกในแง่ดี เดี๋ยวปัญหาก็หายไปเอง หลับ ๆ ตื่น ๆ อยู่ มันก็สงบได้ หรือท่านเป็นพวกมองโลกในแง่ร้าย ทุกขทัศนนิยม หมดหวังแล้วประเทศนี้ ไปอยู่ที่อื่น ดีกว่า ส่งเงินออกนอกดีกว่า อย่ามาลงทุนเลยประเทศไทย อยู่ไม่ได้แล้ว ไปอยู่เขมร อยู่ลาวท่าจะ เจริญกว่า หรือท่านจะพูดความจริงกันเป็นสัจจนิยม เอาความจริงมาพูดกันแล้วไม่ต้องมาขวาง แล้ ว มาช่ ว ยกั น แก้ ปั ญ หา ท่ า นจะมี ท่ า ที ต่ อ ปั ญ หาสั ง คมไทยอย่ า งไหน ถ้ า ท่ า นมี ท่ า ที แ บบที่ ๑ ไม่ยอมรับว่าสังคมไทยมีปัญหา ท่านจะเหมือนกับนกกระจอกเทศ นกกระจอกเทศว่ากันว่าเป็น ตำนานนั้ น หนี ปั ญ หาด้ ว ยการเอาหั ว ซุ ก ในทราย เวลาฝู ง ช้ า งแตกตื่ น วิ่ ง มาแผ่ น ดิ น สะเทื อ น นกกระจอกเทศตกใจกลั ว รี บ หลบภั ย ด้ ว ยการเอาหั ว ซุ ก ไปใต้ ท ราย แล้ ว ก็ บ อกว่ า ปลอดภั ย แล้ ว ช้างมาเป็นโขลง มันจะรอดไปได้อย่างไร ฉะนั้นหลายคนบอกว่าไม่มีปัญหา สังคมไทยก็จะเหมือน นกกระจอกเทศตัวนี้หรือเปล่า และถ้าเราพูดถึงปัญหามากเกินไป ก็จะมองโลกในแง่ร้ายหรือเปล่า บางคนก็บอกว่าพระพุทธศาสนาสอนให้มองโลกในแง่ร้าย อะไรก็ทุกข์ ในอริยสัจ ๔ เพื่อนศาสนิกชน คงทราบ ทุกข์คือปัญหา และมีสมุทัยคือสาเหตุของปัญหา นิโรธคือเป้าหมายที่ดับปัญหาได้นั่นเป็นอย่างไร และมรรคคือวิธีการทำอย่างไร
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
13
คนไปพูดถึงพระพุทธศาสนาไปพูดถึงอริยสัจ เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ อะไร ๆ ก็ทุกข์ บอกว่าพระพุทธศาสนามองโลกในแง่ร้าย อันที่จริงนั้นพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้ มองโลกในแง่ร้าย หรือในแง่ดีอย่างเดียว ถ้าท่านมองอริยสัจข้อที่ ๑ ข้อที่ ๒ มีทุกข์ มีเหตุแห่งทุกข์ และจบแค่นั้น มองไม่เห็นทางออก แก้ไขปัญหาเลย นี่ท่านมองโลกในแง่ร้าย แต่ถ้าท่านคิดแต่ว่าไม่มี ปัญหา มองแต่ข้อที่ ๓ ดับปัญหาได้แล้ว แก้ได้แล้ว ตอนนี้สังคมไทยสงบแล้ว มันไม่มีปัญหาทั้งสิ้น มีปัญหาอะไรก็แก้ได้หมด เทวดาฟ้าดินช่วย ท่านก็มองโลกในแง่ดี เพราะมองแต่อริยสัจข้อที่ ๓ ข้อที่ ๔ ที่ถูกต้องคือ ดูให้ครบทั้ง ๔ ข้อ สังคมไทยมีปัญหา ปัญหาเป็นปริญญายะคือต้องรู้ทัน รู้ทันปัญหา สมุทัยคือมีสาเหตุอะไร เราวิเคราะห์ เหมือนบางคนเจ็บปวดไม่ไปหาหมอ กลัวหมอจะวินิจฉัยว่า เป็นโรคร้ายแรง พอไปจริง ๆ ป่วยหนัก ญาติพาไประยะสุดท้ายแล้ว เพราะฉะนั้นเจ็บปวด มีความทุกข์ ท่านต้องกล้าเผชิญยอมรับ ว่ามันมีปัญหา หมอเขาจะได้ดูสาเหตุมาจากอะไร สมุทัย วินิจฉัยโรคได้ สังคมไทยตอนนี้มีปัญหา มาจากสาเหตุอะไรบ้าง วิเคราะห์กัน แล้วเราตัดปัญหาได้หรือไม่ เรามีความหวังไหม ตัดปัญหานี่ สัจฉิกรณะ ถ้ามีความเป็นไปได้เราต้องไปให้ถึงด้วยกัน แก้ให้ได้ทำอย่างไรเรียกว่า มรรควิธี วิธีการ วิธีการภาวนาเรียกว่าลงทุนต่ำ ทำร่วมกัน เพราะฉะนั้นในทางพระพุทธศาสนา ท่านต้องกำหนดรู้ถึง ปัญหา ตระหนักถึงปัญหาแล้วช่วยกันแก้ปัญหา แต่ทุกวันนี้เราอาจจะกลายเป็นกบต้มก็เป็นได้ คือ ไม่รู้ปัญหา อยู่ไปมีความสุข ไม่ได้วิเคราะห์อะไร เขาบอกว่ากบนี่นะเป็นเรื่องเล่านะ ถ้าเราต้มน้ำให้ร้อน เอากบเป็น ๆ ใส่ลงไป กบไม่ตาย มันจะสปริงตัวกระโดดออกมา ในขณะที่เราทำวิธีใหม่ เอาหม้อไฟฟ้า เสียบไฟเข้าแล้วน้ำอุ่นนิดหนึ่ง เอากบเป็น ๆ ใส่ลงไปกบมันก็นอนลอยคออุ่นสบายเหมือนกับสปา เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ๆ กว่ากบจะรู้ตัว มันร้อนจนกระทั่งหมดแรงที่จะกระโดด กบตายในน้ำเย็น ๆ นี่แหละ แต่ถ้าน้ำร้อนไม่ตาย ภาษิตไทยจึงบอกว่า น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย คนไทยแต่โบราณ สอนอย่างนี้ น้ำร้อนกบเป็น น้ำเย็นกบตาย สังคมมีปัญหาแล้วเราก็ตระหนักรู้ถึงปัญหา ช่วยกัน
แก้ปัญหา แล้วเราก็จะฉลาดขึ้น เข้มแข็งขึ้น น้ำร้อนทำให้ปลาเป็นแต่ถ้าน้ำเย็น ๆ มีความสุขปลาตาย นอนสบายทำให้ถูกจับเป็นอาหารง่าย ๆ มันไม่ดิ้นรนกระเสือกกระสน ถ้าคนไทยเป็นประเภทน้ำเย็น ปลาตาย น้ำเย็นกบตายก็จะแก้ปัญหากันไม่ได้ ฉะนั้นเราก็มาพูดปัญหากันตรง ๆ ว่าจะแก้ปัญหา อย่างไร แล้วแก้อย่างไร ท่านทั้งหลาย ต้องยอมรับกันอย่างหนึ่งว่า มันจนปัญญาเหมือนกันนะ รัฐบาลก็อับจน จะแก้อย่างไรล่ะท่าน ตั้งคณะกรรมการมากี่ชุดแล้ว ก็มีความหวังการแก้ปัญหาจาก
14
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
คณะกรรมการ อาศัยฝ่ายไหนล่ะ มาช่วยแก้ปัญหา ฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายความมั่นคง หรือฝ่ายไหน ไม่ว่าในภาคใต้ หรือส่วนกลาง ฝ่ายศาสนา หรือตอนนี้มันอับจนหนทางแล้ว โบราณเขาบอกว่า ยากอะไร ไม่เท่าปฏิสังขรณ์ จริงหรือไม่ เวลาตึกเก่า ๆ ยิ่งเป็นตึกที่กรมศิลปากรเขาอนุรักษ์ นี่ยาก ต้องตรงสเปคทุกอย่าง สร้างใหม่มันง่ายกว่าซ่อม สังคมไทยก็เหมือนกัน สร้างใหม่มันง่ายกว่าซ่อม ตอนที่มันพังทลายนะท่าน ตอนที่มันแตกเป็นเสี่ยง ๆ ทำให้คนมันคืนดีกันยาก แต่เอาคนใหม่ ๆ มาแนะนำให้รู้จักกัน มาคบกัน รักกันนี่มันง่าย วันนี้ที่เรามาพูดว่าให้สังคมไทยมีสามัคคี รักกันตอนที่ เพิ่งเจอกันนี่ง่าย แต่แตกกันแล้ว เกลียดกันแล้ว มันยาก แม้กระทั่งสามีภรรยาก็ตาม แตกกันไป คนละทางมันยาก สังคมไทยเรานี่ต้องปฏิสังขรณ์โดยด่วน และก็ต้องเสร็จ ยากอะไรไม่เท่าปฏิสังขรณ์ ถอนอะไรไม่เท่ากับถอนมานะ คือความยึดมั่นในทิฐิ ตัวฉัน ของฉัน พวกฉัน ศาสนาฉัน รักอะไร ไม่เท่ากับรักกามคุณ บุญอะไร ไม่เท่าบุญบรรพชาหรือปฏิบัติเคร่งครัด ศีลอดหรืออะไรของท่าน หาอะไรก็ไม่เท่ากับหาตน เวลาจะมองว่าใครผิดพลาด หาว่าใครผิด นี่มันง่าย ชี้นิ้วไปที่คนอื่น ระบุเลย ว่าใครเป็นต้นเหตุ แต่ไม่รู้อยู่คนเดียวคือว่าตัวเราก็มีส่วนนะ เพราะฉะนั้นนิ้วสามนิ้วที่ชี้กลับมาที่เรา เราไม่รู้ เรารู้แต่ไปโทษคนอื่น หาความผิดในตัวเอง ไม่พบ หาอะไรไม่เท่ากับหาตน ยากเหลือเกิน จนอะไรไม่เท่ากับจนปัญญา จนเงินเหรอ ยังหาใหม่ได้เลยถ้าเรามีปัญญา มีเงินก็รักษาไม่ได้ถ้าไม่มี ปัญญา แต่ถ้าหากว่าครอบครัวไหนการศึกษาก็ไม่ดี โง่ โง่นำไปสู่ความจน จนไม่มีจะกินก็นำไปสู่ความเจ็บ เป็นวัฏจักรความทุกข์ของสังคมไทย โง่ จน เจ็บ ฉะนั้นถ้าเราจะตัดวัฏจักรตัดตรงไหน ตัดที่ความโง่ ให้การศึกษา เอามนุษย์เป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้วยการให้การศึกษา พอพัฒนาคนแล้วเขาก็ไป พัฒนาจิต อยู่ดีกินดี โง่ จน เจ็บ ก็จะหายไป ฉะนั้นพอจนปัญญาแล้วปัญหาต่าง ๆ มันเกิดตลอดเวลา ทีนี้มาถึงวิกฤติิในบ้านเมืองเรา เราจนปัญญาแล้วทำยังไง หันหน้าไปหาใคร แก้ไม่ได้ แก้ไม่ได้เพราะเราไปคิดวิธีแก้โดยใช้ปัญญาของคนใดคนหนึ่ง เราไปฝากความหวังไว้กับรัฐบาล ฝ่ายการเมืองก็แก้ปัญหา ฝ่ายรัฐบาลก็แก้ปัญหา อย่าโดดสภาจนสภาล่ม ตัวเขาเองยังไม่สามัคคีกัน แล้วจะไปแก้ปัญหาอย่างไร คนเขาว่ากันอย่างนั้น บางฝ่ายก็ไปพูดถึงฝ่ายการเมือง ตำรวจ ทหาร ฝ่ายความมั่นคงก็ว่ากันไป การศึกษาว่าโลภ แม้กระทั่งพระนั่งหลับตาภาวนา เข้าฌานนานตั้งเดือน ไม่เขยื้อนเคลื่อนกายา ถือศีลกินวาตาเป็นผาสุก ทุกคืนวัน ท่านจำวัตรก็ต้องมาว่ากับพวกเราศาสนานี่ ตกลงใครจะช่วย ปัญหาซับซ้อน มันไม่ได้มาจากเรื่องเดียวกัน มันหลายเรื่อง มันเป็นวงจรแห่งวัฏจักร มันมาจากหลายสาเหตุ หลายกลุ่ม
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
15
เพราะฉะนั้นวิธีการแก้ปัญหาต้องใช้เหตุในปัจจุบันนี้ ถ้าจนปัญญาทำยังไง เวลาจนปัญญา เราระดมสมอง รวมหัวกัน สุ่มหัวกันคิด ไม่ว่าศาสนา การเมือง เอกชนต่าง ๆ การแก้ปัญหาอย่างนี้ สหประชาชาติเรียกว่า Collective approach แก้ปัญหาแบบองค์รวม อย่าไปให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง รับผิดชอบ อีกฝ่ายต้องออกมาช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ทุกฝ่ายที่พูดมานั่นแหละ เราศาสนาก็ต้องเข้ามา มีส่ ว นร่ ว ม ช่ ว ยกันจับ ช่วยกันแบก ช่วยกันหาม เพื่ อ รั ก ษาสั ง คมไทยของเราเอาไว้ ถวายเป็ น พระราชกุศล สร้างสันติสุขถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทีนี้ ถ้าหากว่า แต่ละฝ่าย ๆ การเมืองเราก็บอกให้การเมืองรับผิดชอบ ฝ่ายอำนาจรับผิดชอบ ฝ่ายความมั่นคง อะไรต่าง ๆ ในที่สุดแก้ตรงนี้ไปติดตรงนี้ แก้ตรงนั้นไปติดตรงนั้น ต่อให้ตั้งคณะกรรมการมากี่คณะ ก็ทำไม่ได้ ถ้าไม่ร่วมมือกันขยับ นิ้วทั้ง ๕ ต้องสามัคคีกันทุกภาคส่วน และศาสนาก็อย่าเกี่ยงกันนะ พุทธเป็นเสียงข้างมาก เพราะฉะนั้นพุทธนั่นแหละออกหน้า เรามีศาสนิกอยู่ด้วยกัน ช่วยกัน รับผิดชอบกัน มันก็เหมือนกับนิ้ว ถ้าวันไหนนิ้วมันทะเลาะกัน นิ้วโป้งแย่งจะเป็นใหญ่ หรือนิ้วอื่นผลักภาระให้นิ้วโป้ง นิ้วโป้งแก้ปัญหาไปเลยนะ เวลาเก่งที่สุด เวลาเราชมใคร เรายกนิ้วไหนให้ล่ะ นิ้วโป้ง เวลาแปะโป้งตามกฎหมาย ฉะนั้นนิ้วโป้งต้องรับผิดชอบ เป็นหัวหน้าแก้ปัญหาไม่ได้ นิ้วโป้งก็บอก ไม่ได้หรอก ผมไม่แก้หรอกเพราะว่าเวลาออกคำสั่งผมไม่มี อำนาจ ผมเก่งแต่ผมไม่มีอำนาจ ได้แต่เทศน์อย่างเดียว แต่อำนาจไปอยู่โน้น ฝ่ายชี้นิ้ว นิ้วชี้ โยนไปให้ นิ้วชี้แก้ปัญหา นิ้วชี้สั่งสิ เพราะเอ็งไม่สั่งมันถึงได้มีเรื่อง นิ้วชี้ก็บอกว่า เอาเขาจริงนะ มันไม่ถูกนะ นิ้วชี้นี่ไม่ได้ยิ่งใหญ่สูงส่ง เพราะว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า ต้องเอาสูงสุดสิ และนิ้วทั้ง ๕ นิ้วไหนสูงสุดก็ต้อง รับผิดชอบ ไม่ใช่นิ้วชี้เลย นิ้วกลางยาวที่สุด โยนปัญหาไปให้นิ้วกลางอีกแล้ว นิ้วกลางบอกว่าถึงจะสูง แต่ มั น ไม่ กุ ม หั ว ใจคน ไม่ ไ ด้ รั บ การรั ก เคารพบู ช า สิ่ ง ที่ เ ป็ น หั ว ใจต่ า งหากที่ กุ ม จิ ต ใจไว้ ไ ด้ สงสั ย พวกศาสนานี่ต้องรับผิดชอบ งั้นโยนไปให้ศาสนาเลย หาว่าในนิ้วทั้ง ๕ นิ้วไหนเป็นหัวใจ สำคัญที่สุด ไม่ใช่ ๓ นิ้วที่กล่าวมา เรารู้ได้อย่างไรว่านิ้วไหนเป็นหัวใจ ก็เวลาที่คนหนุ่มคนสาวเขาถูกใจกัน สวมแหวนหมั้นแต่งงานกัน เขาสวมนิ้วไหนล่ะ เขาสวมนิ้วนาง เพราะฉะนั้นนิ้วนางนี่แทนหัวใจ นิ้วนางต้องออกมาแก้ปัญหาของชาติ ใครที่กุมความเชื่อศรัทธาจิตใจก็มา นิ้วนางก็บอกว่า เอาเข้าจริง หัวใจมันนิดเดียว มันทำงานคนเดียวไม่ได้ มันต้องร้อยเรียงเป็นหนึ่ง ต้องไปชวนกันมาเยอะ ๆ ในทั้งหมดที่กล่าวมานิ้วไหนพวกมากที่สุด ไม่ยิ่งใหญ่แต่ว่าพวกเยอะ เป็นพวกม็อบ พวกอะไรนี่ เวลาคนเขาคบกันเขาเอานิ้วไหนเกี่ยวกันล่ะ นิ้วก้อย งั้นนิ้วก้อยต้องรับผิดชอบปัญหาสังคม พวกที่สร้างม็อบ สร้างอะไรต่าง ๆ ยุ่งล่ะสิ ลองคิดดูถ้าเกี่ยงกันอย่างนี้ และแต่ละนิ้วก็ไม่รับผิดชอบเลย
16
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ปัญหาสังคมจะแก้กันยังไง พลังความสามัคคีจะอยู่ได้อย่างไร เพราะแต่ละนิ้วมันเกี่ยงกัน ขึ้ น มา นิ้ ว ไหนจะจั บ อาหารใส่ ป าก นิ้ ว โป้ ง เก่ ง ก็ จั บ อาหารใส่ ป ากสิ ร่ า งกายคื อ ประเทศชาติ ก็อ่อนเพลียผอมแห้งแรงน้อย ในที่สุดก็จะมีอันเป็นไป ศัตรูมาจู่โจม เอานิ้วชี้ไปสู้เหรอ นิ้วโป้ง อย่างเดียวเหรอ นิ้วทั้ง ๕ ต้องรวมพลังกัน ถ้าหากไม่รวมพลังกันคนก็มาระรานเรา ทำร้ายเราได้ การป้องกันสังคมป้องกันประเทศชาติ นิ้วทั้ง ๕ มีบทบาทในการแก้ปัญหา ปัจจุบันนี้ก็เหมือนกัน ในเรื่อง พลังสามัคคี สามัคคีคือพลัง นิ้วทั้ง ๕ ต้องรวมกันจึงเกิดพลังแล้ว ถ้านิ้วทั้ง ๕ ทะเลาะกันมันจะ รวมกันได้เหรอ เพราะฉะนั้นนิ้วทั้ง ๕ ต้องรวมกันด้วยความรัก มันเป็นพลังแห่งความรัก ทำให้เกิด พลังสามัคคี เวลาที่นิ้วมันทะเลาะกันเขาเรียกว่าแตกกัน ผีบ้านมันทะเลาะกัน หนีออกไปจากบ้าน ผีป่า มันก็เข้ามา ศัตรูก็จู่โจมเข้ามา เพราะฉะนั้นเราต้องมีความรัก ความสามัคคี ถามว่าตอนนี้สังคมไทย ยับไปครึ่งคัน เราจะอยู่กันแบบตัวใครตัวมัน หรืออยู่อย่างมีความหวัง ความหวังคือยังไง ความหวังคือ ศรัทธา ถ้าในปัจจุบันเชื่อมั่นในตัวเราเอง เชื่อมั่นในคนไทยด้วยกันว่าจะแก้ปัญหาได้ ปรากฏว่าตอนนี้ คนไทยบอกจนปั ญ ญาแล้ ว แก้ ปั ญ หาไม่ ไ ด้ ทะเลาะกั น แล้ ว เราเองยั ง ไม่ ศ รั ท ธาในตั ว เรา ในพวกเดี ย วกั น เลย แล้วต่างก็ชี้นิ้วใส่กัน แล้ว ก็ ไ ปคิ ด ว่ า ที่ พู ด มาจะรวมพลั ง ได้ จะแก้ ปั ญ หาได้ หมดศรัทธาเสียแล้วจะเหลืออะไรในสังคม ถามว่า ส่วนไหนในสังคมที่สร้างศรัทธาได้ดีที่สุด ศาสนา ศาสนาอยู่บนฐานแห่งศรัทธา ไม่มีศรัทธาหรือความเชื่อแล้วท่านจะเป็นศาสนาได้อย่างไร เอาคำนิยามสิ คำนิยามศาสนาขาดศรัทธา ได้ ไ หม พระพุ ท ธศาสนาก็ ไ ด้ เป็ น ชาวพุ ท ธ เป็ น ศาสนาต้ อ งทำอย่ า งไร มาแสดงศรั ท ธาต่ อ พระรัตนตรัย พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ขอถึง พระธรรมเป็นสรณะ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ นี่คือศรัทธา ในพระพุทธศาสนา มี ศ รั ท ธาในพระรั ต นตรั ย พระพุ ท ธ พระธรรม พระสงฆ์ ศาสนาพราหมณ์ - ฮิ น ดู เป็ น ตรี มู ร ติ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ทั้ง ๓ องค์ หรือองค์ใดองค์หนึ่ง องค์หนึ่ง ก็หมายถึง ๓ ท่านต้องมี ศรัทธาจึงจะเป็นพราหมณ์หรือฮินดู ในศาสนาคริสต์ท่านต้องมีศรัทธาในตรีเอกภาพ (Trinity) พระบิดา พระบุตร พระจิต ถ้าไม่มีศรัทธาแล้วจะเป็นคริสต์ได้อย่างไร ในศาสนาอิสลามก็ต้องมี ศรัทธาในพระอัลเลาะห์ ศรัทธาในอัลกุรอานว่าเป็นพระพุทธวจนะของพระอัลเลาะห์ ไม่ใช่มนุษย์ เขียนขึ้น ศรัทธาใน Prophet ในศาสดาพยากรณ์ ศาสนานี่แหละสร้างศรัทธาแต่ประยุกต์ศรัทธา ตรงนั้นเป็นศรัทธาในสังคมไทย
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
17
สังคมไทยมีอะไรดี ๆ แล้วเราก็มาช่วยกันพูดช่วยกันชี้ อย่าทำให้คนขาดความเชื่อมั่น ขาดศรัทธาในสังคม คนพาลจะสั่งจากความเชื่อทั่ว ๆ ไป ศรัทธา มี concern เอาใจใส่ มี commitment ถ้าท่านบอกศรัทธาในพระเจ้าแต่ทำตัวตรงข้ามกับคำสอนของพระเจ้า นี่หรือศรัทธา ถ้าท่านบอก ศรัทธาในพระรัตนตรัย ในพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่า ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามลักทรัพย์ แต่ฆ่าสัตว์ ลั ก ทรั พ ย์ ท่ า นจะเป็ น ชาวพุ ท ธที่ มี ศ รั ท ธาได้ อ ย่ า งไร เพราะฉะนั้ น ศรั ท ธานำไปสู่ ก ารปฏิ บั ติ พลังศรัทธานี่แหละทำให้เราเชื่อมั่นและก้าวพ้นปัญหาไปได้ ศาสนาสอนว่า สัทธายะ ตรติ โอฆัง จะก้าวพ้นห้วงน้ำมหาสมุทรได้ก็ด้วยศรัทธา ในมหาชนก ที่ เ ป็ น พระนิ พ นธ์ ข องสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว พระมหาชนกมาจากนิ ท านชาดกพระพุ ท ธศาสนา ว่า ยน้ ำ เข้ า หาฝั่ ง ๗ วัน ๗ คืน ถ้ามหาชนกไม่ เชื่ อ ว่ า ตนเองจะพ้ น จากภั ย ได้ จ ากการจมน้ ำ ตาย จะว่ายน้ำไหม ไม่ว่าย เทวดาไปเห็นเข้าถามมหาชนก “ท่านทำอะไรอยู่” พระมหาชนกบอกว่า “เรือแตก ว่ายน้ำมา ๗ วัน ๗ คืนแล้ว” “แล้วจะไปไหน” “จะไปชมพูทวีป” เทวดาบอก “ท่านอย่าไปเลย ต่อให้อีก ๗ วัน ๗ คืน ก็ไม่ถึงฝั่ง เหนื่อยเปล่า ๆ จมน้ำตาย ไม่ดีกว่าหรือจะได้ไม่เหนื่อย” พระมหาชนกตอบว่า “ใครก็ตามที่คิดอย่างที่ท่านพูด ว่ายก็ตาย ไม่ว่ายก็ตาย เพราะฉะนั้น อย่าว่ายเลย มันตายอยู่ดี เลยไม่ว่าย ตายหมดแล้ว เพื่อน ๆ ข้าพเจ้าตายหมดแล้วเพราะหมดหวัง แต่ข้าพเจ้าดีกว่า ว่ายก็ตาย ไม่ว่ายก็ตาย แต่ตราบใดที่มีลมหายใจอยู่ จะไม่หยุดบำเพ็ญเพียร ของมนุษย์ วายะ เมเถวะ ปุริโส เกิดเป็นคนต้องพยายามร่ำไป เพราะฉะนั้นจักต้องว่ายน้ำต่อไป” ในศาสนาคริสต์มีพระเจ้า ยังมีคำว่า leap of faith กระโจนไปด้วยศรัทธา เมื่อพระเจ้า
สั่งให้ทำก็ต้องทำ แล้วถ้าท่านไม่เชื่อในพระเจ้า เชื่อในเรื่องของแพะรับบาป เวลาพระเจ้าสั่งให้ตัดคอลูก ถ้าไม่เชื่อไปตัดคอสิ เมื่อพระเจ้าบอกโดดเลยอย่ากลัว leap of faith เราจะก้าวข้ามอุปสรรค แห่งปัญหาของชาติด้วยการก้าวกระโดดบนความเชื่อมั่น คนไทยด้วยกัน ถ้าไม่เชื่อมั่นคนไทยด้วยกัน แล้วเราจะไปเชื่อใคร
18
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ท่านสังเกตไหม สหประชาชาติไม่เข้ามายุ่งกับประเทศไทยเพราะอะไร เราทะเลาะกัน เถียงกัน ใครบอกสหประชาชาติเข้ามาช่วยหน่อย สหประชาชาติเขามองเราตลอดเวลา ผู้ใหญ่ สหประชาชาติที่กรุงเทพ พูดกับอาตมาว่าสหประชาชาติเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทย คนไทย มีคนเก่งเยอะ มีระบบสังคมที่เข้มแข็ง และมีสถาบันชาติ ศาสนาที่เข้มแข็ง ช่วยกันแก้ไขปัญหาได้ สหประชาชาติไม่เข้ามาแทรกแซง เขาดูอยู่ อย่าว่าแต่ไม่เข้ามาแทรกแซงเลย ในอดีตเมื่อประเทศไหน ทะเลาะกัน สหประชาชาติอาศัยประเทศไทยเป็นแหล่งเปลี่ยน เราทำมาแล้ว ติมอร์ตะวันออก ทะเลาะกัน ทหารไทยนี่แหละไปเป็นหัวหน้ากองกำลังรักษาสันติภาพ ตอนนี้ไทยมีปัญหาจะเชิญ ติมอร์มาช่วย มันขายหน้า เราเก่ง แต่เราไม่เชื่อกันเอง สหประชาชาติเชื่อมั่นว่าเรามีศักยภาพ เพียงแต่ว่าเราจะต้องเชื่อมั่นกันเอง และช่วยกัน
แค่ไหน เพียงไร ปัญหาที่รบกันในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ถ้าเกิดขึ้นในประเทศอื่น ท่านไม่ต้อง กลับมาแล้วประเทศนี้ พังทลายแล้ว นี่เราค่อย ๆ กลับคืนกันมา ค่อย ๆ ปรองดองสมานฉันท์กัน มันยังมีความหวังและอย่าประมาทและปล่อยไปตามบุญตามกรรม มิฉะนั้นมันก็จะพังทลายอีก ท่านมีศรัทธาหรือไม่ ศรัทธาในศาสนาเป็นศูนย์รวมใจ ทำให้เกิดพลังสามัคคี อันนี้ไม่ต้องพูดกัน ถ้ า ไม่ มี ศ รั ท ธาในศาสนาซึ่ ง เป็ น รากฐานแห่ ง จริ ย ธรรมแล้ ว มั น ก็ ไ ม่ เ กิ ด คุ ณ งามความดี ใ นสั ง คม ถ้ า ไม่ ก ลั ว บาปกลั ว กรรม ไม่ มี ศ รั ท ธาในกฎแห่ ง กรรมใครจะทำความดี ไม่ มี ศ รั ท ธาในพระเจ้ า ในบัญญัติ ๑๐ ประการ แล้วใครจะเชื่อ เพราะฉะนั้นตัวศรัทธาในศาสนาทำให้รวมเป็นพลังและ ไม่ทะเลาะกัน ความหวังนี่ เกิดเป็นคนควรหวังอย่ายั้งหยุด มิรู้สุดความหวังตั้งมั่นหมาย หวังไว้เถิดหวังยั่งยืนมิคืนคลาย ปราชญ์ทั้งหลายสมหวังเพราะตั้งใจ
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
19
ศาสนาสร้ า งสั น ติ ภ าพได้ แ น่ น อน เราต้ อ งมี ค วามเชื่ อ ในพลั ง แห่ ง ศาสนาไม่ ใช่ เ ป็ น การ ประชุมกันรวมการเฉพาะกิจ ปีหนึ่งมาทีหนึ่งแล้วก็ไม่ทำอะไร ในที่สุดศาสนาจะสร้างสันติภาพ สร้างความสามัคคีในประเทศไทยได้อย่างไร แยกย้ายกันไปก็ไปช่วยกันพูด ไปช่วยกันแสดงออก ช่วยกัน เปลี่ยนจิตใจของคนที่มีความจองเวรต่อกัน และจะเกิดภัยขึ้นมา ในสังคมไทย ถ้าเราไม่เชื่อในศักยภาพ ในความสามารถของพวกเรากันเอง ถามว่าพลังศาสนาจะช่วยสังคมไทยได้อย่างไร เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในบ้านเมือง มันมีขั้นตอนที่จะจัดการอยู่ ๔ ขั้นตอน แล้วถามว่า ตอนนี้ประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนไหน ขั้นแรกที่สุด ป้องกันไม่ให้ทะเลาะกัน ขั้นตอนนี้สายไปแล้ว เสียเลือดเนื้อไปแล้ว ป้องกันไม่ได้แล้ว ขั้นที่สอง ขณะที่กำลังเกิดเรื่องออกไปห้ามทัพแก้ปัญหา ตอนนี้ ถือว่าอยู่ในขั้นนั้น ขัดแย้งกัน ยังมีไฟสุมขอน มีระเบิดภูเขาไฟใต้น้ำ ฉะนั้นยังไม่สายไปในขั้น ที่สอง ความขัดแย้งยังไม่ได้ลุกลามไป ยังอยู่ใน Control ควบคุมความเสียหายอย่าให้มันลุกลาม ทั้งใน ภาคการเมืองในส่วนกลาง ทั้งในเขตภาคใต้ ๓ จังหวัดชายแดน อย่าให้ความขัดแย้งการเมืองที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ แย่งอำนาจกันกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันพิศวาส แย่งอำนาจกันเป็นใหญ่ ไปเป็นความขัดแย้งในทางศาสนา อิสลามกับพุทธ ชาวพุทธกับมุสลิมต้องไปขัดแย้งกันเพราะศาสนา ต้องหันมาจำกัดความเสียหายว่า เรื่องที่เกิดเพราะแย่งอำนาจกันทางการเมือง แต่เราผู้นำทางศาสนา ไม่ต้องการให้เอาศาสนาเป็นเครื่องมือในการสร้างความรุนแรง ความขัดแย้ง นี่เขาเรียกว่า ป้องกันใน ขั้นที่ ๑ ไม่ให้มันลุกลาม แล้วช่วยกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้ได้ ขั้นที่ ๓ ตอนนี้มันถึงขั้นทะเลาะ กันไปแล้วสูญเสียแล้ว เอายังไง ก็นำไปสู่ Reconciliation สามัคคี ปรองดองสมานฉันท์ หันหน้าคืนดีกัน ถามว่าใครทำหน้าที่นี้เรื่องอะไร ชาวบ้านมีแต่ยุให้ตีกัน หนังสือพิมพ์สื่อทั้งหลายมีแต่สัมภาษณ์ ให้ฝ่ายนี้ด่าฝ่ายนั้น ใครล่ะที่จะพูดเรื่องลืมและอภัยกันได้อย่างดีถ้าไม่ใช่ผู้นำทางศาสนา หรือนักบวช หรือศาสนิกที่มีความเคร่งครัด เพราะว่าศาสนานี่แหละที่สอนเรื่องความรักและอภัย ถ้าเราไม่พูดกัน เรื่ อ งนี้ ใ ห้ ม ากขึ้ น คนก็ จ ะ ไม่อภัยกัน และก็จะพิฆาต เข่นฆ่ากันต่อไป จะเกิดวงจร วั ฏ จั ก ร แ ห่ ง ค ว า ม ทุ ก ข์ วงจรอุบาทว์หมุนไปเรื่อย ๆ ฉะนั้นพวกเราตอนนี้ต้องทำ หน้าที่ ขั้นที่ ๓ สวดมนต์ให้กับ ผู้ สู ญ เสี ย ประณามผู้ ที่ ใช้ ความรุนแรงว่า ศาสนาเรา ไม่ เ ห็ น ด้ ว ย ไม่ ว่ า จะเป็ น 20
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ศาสนิกของเราหรือฝ่ายไหน ไม่ใช่ไปถือหางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งว่าคุณทำถูกแล้ว ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ขั้นที่ ๓ จะนำไปสู่ขั้นที่ ๔ ก็คือสันติภาพที่ถาวร ประเทศเรายังไม่มีขั้นที่ ๔ เราหวังว่า เมื่อเรา ประนีประนอมปรองดองกันได้แล้วจะนำไปสู่สันติภาพที่ถาวร ถามว่าในขั้นที่ ๓ ที่เราจะทำกันนี่ จะทำอย่างไร ผู้นำทางศาสนาได้คุยกันในตอนที่เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๓ หลังจากเกิดความขัดแย้งรอบที่ ๑ ที่ราชดำเนิน ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไปเชิญผู้นำศาสนา เอาศาสนาที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งโดยเฉพาะที่จะมีพลังอยู่ ๓ ศาสนา ก็คือ อิสลาม คริสต์ และก็ พุทธ อิสลาม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ก็ไปติดต่อผู้รักษาการจุฬาราชมนตรี ในขณะนั้นคือ ท่านศาสตราจารย์อิมรอม ศาสนาคริสต์ได้ผู้นำเบอร์สอง คือท่านมุขนายกเกรียงศักดิ์ ศาสนาพุทธ ไปหาเจ้าประคุณผู้รักษาการพระสังฆราช คือสมเด็จพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จ พระสั ง ฆราช เจ้ า ประคุ ณ ก็ ม อบหมายให้ อ าตมาในฐานะเลขานุ ก ารคณะผู้ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ส มเด็ จ พระสังฆราชไปบนเวทีนี้ และก็ถ่ายทอดวิทยุโทรทัศน์ มาพูดกันช่วยกันเตือนสติสังคมไทย ถามว่ า เราทำหน้ า ที่ อ ะไรบนเวที แ ห่ ง นั้ น ท่ า นศาสตราจารย์ อิ ม รอม ท่ า นมุ ข นายก เกรียงศักดิ์ ได้แสดงทัศนะของศาสนาคริสต์ที่มีต่อสถานการณ์บ้านเมืองอย่างน่าสนใจ สื่อต่าง ๆ ก็นำไปเผยแพร่เอาไปขยาย อย่างน้อยก็ลดความรุนแรงได้ชั่วขณะหนึ่ง กว่าจะเกิดความขัดแย้งนี่ก็ ผ่านไปเดือนเศษ ๆ เพราะว่าเขาให้เราแค่ครั้งเดียว ถ้าเทศน์หลาย ๆ ครั้งอาจจะดีกว่านี้ ปรากฏว่า เทศน์แค่ครั้งเดียว ส่วนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เราไปพูดกันที่รัฐสภา ท่านพระราชครูวามเทพมุนี เราไปพูดกันเรื่องพราหมณ์กับพุทธที่รัฐสภา ก็พยายามที่จะเผยแพร่แนวความคิดอะไรต่าง ๆ ในเรื่อง สันติภาพของสังคมไทย ในสิ่งที่เราพูดกันในทางพุทธศาสนาเรียกว่าธรรมทาน สัพพะทานัง ธัมมะ ทานัง ชินาติ การให้ธรรมะ คือคำสอนทางศาสนาเป็นทาน มันชนะการให้ทั้งปวง ทะเลาะกันแล้ว ท่านเอาของไปแจก มันยังไม่หายโกรธ ฆ่ากันตายแล้วเอาเงินไปจ่ายช่วยอะไรได้ แต่ท่านพูดธรรมะสิ ทำให้คนเลิกเกลียดชังกันสิ แล้วเกิดอภัยทานมันสุดยอดของประเทศไทยตอนนี้ ถามว่าใครจะให้ อภัยทานกันได้ถ้าไม่ใช่ศาสนาทั้งหลาย ศาสนาต้องออกมาช่วยกันให้ธรรมทาน เพราะแต่ละศาสนา มีธรรมะกันทั้งสิ้น ธรรมทานของท่านมันยอดยิ่งกว่าเงินทองอีกตอนนี้ เอาเงินไปให้มันก็ทะเลาะกัน เอาของ ไปให้มันก็ซื้อกันไม่ได้ แต่ให้ธรรมะแล้วมันจะลืมและให้อภัยกัน นี่แหละคือสิ่งที่เป็นหน้าที่ของพวกเรา และธรรมทานไม่ต้องเสียไรเลย เรามีอยู่แล้วในศาสนาของเรา พุทธ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู ซิกข์ เรา มีอยู่แล้ว ท่านช่วยกันพูดเตือนสติสังคมไทยในตอนนี้ ออกวิทยุ โทรทัศน์กันให้มาก ๆ ไม่มีก็ช่วยกัน ขยายต่อ ไปพูดกันต่อ อย่างพุทธกับพราหมณ์ธรรมดาที่เรามาพูดกันคืออะไร ตอนนี้ พุทธพจน์ใน ศาสนาพุทธบอกว่า ไม่ว่าในกาลไหน ๆ เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร เอสะ ธัมโม สะนันตะโน ธรรมนี่เป็นของเก่า เวลาที่ลงท้ายในพุทธพจน์ ว่าเอสะ ธัมโม สะนันตะโน รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
21
นี่แปลว่าไม่ได้มีอยู่แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา มีในศาสนาอื่นด้วย ที่เรียกว่าเวรย่อมไม่ระงับ ด้วยการจองเวรเราเรียกว่าสะนันตนะธรรม หาได้ในศาสนาพราหมณ์ ศาสนาซิกข์ ในศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้ทั้งนั้น และตรงนี้ที่พูดหมายถึงมีในทุกศาสนา รวมถึงศาสนาพราหมณ์-ฮินดูด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องการไม่จองเวร เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ทุกศาสนามีอยู่แล้ว ทั้งพุทธ พราหมณ์ ในศาสนาคริสต์ พระเยซูตรัสเทศนาบนภูเขาว่าอย่างไร ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน ก็จงหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย นี่ไม่ใช่การไม่จองเวรกันหรือในศาสนาคริสต์ มหาตมะคานธีที่นำต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดีย เอาศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ หรือ
ทั้งสองศาสนาไปปฏิบัติ อหิงสา ปรโม ธัมโม อหิงสา การไม่เบียดเบียนกัน นี่เป็นบรมธรรมนะ แล้วท่าน ก็ใช้หลัก Nonviolence คือหลักอหิงสาชนะอังกฤษ ชนะอังกฤษด้วยอะไร ไม่ใช่ด้วยพลังอาวุธ พลั ง ของมหาตมะคานธี ที่ น ำคนอิ น เดี ย สู้ กั บ อั ง กฤษ ใช้ พ ลั ง ของความรั ก มหาตมะคานธี พ าคน จำนวนมากเอาน้ำทะเลมาทำเกลือ เพราะรัฐบาลอินเดียที่อังกฤษปกครองเก็บภาษีเกลือ ไม่มีเกลือ ไม่เสียภาษีล่ะ น้ำทะเลเรามี เราจะเอาน้ำทะเลไปทำเกลือ ก็เดินเป็นแถวเป็นขบวนไปเพื่อเอาน้ำทะเล มาทำเกลื อ ฝ่ า ยอั ง กฤษก็ ใ ห้ ต ำรวจมายื น ถื อ กระบอง ถ้ า ใครเดิ น ไปที่ ช ายทะเลจะตี หั ว ให้ แ ตก มหาตมะคานธีไปเป็นคนแรกเลย อหิงสาไม่เบียดเบียน เขาก็โดนตีหัวเลือดอาบ แต่ละคนก็เดินให้ตีหัว ตี ม าก ๆ นี่ ส งสารเลยนะ ไม่ อ ยากตี แ ล้ ว มาให้ ตี หั ว ทำไม โง่ เ หรอ แต่ ม หาตมะคานธี บ อกว่ า ตรงนี่แหละเป็นประเด็นสำคัญ คือศรัทธาในศาสนา ใจมนุษย์ไม่ได้ทำด้วยหินนะ ไม่ได้ใจหิน ลึก ๆ ทุกคนจะมีคุณธรรม ความดีในใจ มีมโนธรรมสำนึก ในศาสนาที่มีพระเจ้าเรียกมโนธรรม ก็คือสิ่งที่ พระเจ้าได้ประทานมาใส่ในจิตใจ เป็นคุณธรรมความดีที่ทำให้มนุษย์ ต่างจากสัตว์เดรัจฉานใน พระพุทธศาสนาเรียกว่าหิริโอตัปปะ มีความละอายชั่ว กลัวบาป คุณมีความละอายใจไหมตีหัวเขาอยู่ได้ ในที่สุดการที่เรายอมเจ็บ ทำให้ ฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงละอายแก่ใจ เกิดกรุณาคือความสงสาร เลิกทำ อั ง กฤษสงสารอิ น เดี ย ในที่ สุ ด และก็ เ ป็ น พวกเดี ย วกั น คื อ ให้ เอกราชแก่อินเดีย แต่ถ้าเอาพลัง แ ห่ ง ค ว า ม เ ก ลี ย ด ชั ง ไ ป ใ ส่ ผู้มีอำนาจ ถือปืนที่ไหนมันจะ ยอมท่าน ไปด่าเขา ไปทำร้ายเขา ไปเผาเขา มหาตมะคานธี บอกว่ า เราไม่ ใช้ วิ ธี อ ย่ า งนั้ น 22
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ยอมเจ็บปวด ความเจ็บปวดในตัวเรา นี่แหละมันจะไปกระตุ้นกรุณา คือความสงสารในใจของคนอื่น เด็กถ้าหิวโหยขึ้นมา ผู้ใหญ่ทนได้เหรอ ในที่สุดก็ให้อาหาร ฉันใด ผู้มีอำนาจในที่นี้คืออังกฤษ สงสาร เกิดกรุณาขึ้นมาเพราะการไม่ใช้ความรุนแรงของมหาตมะคานธี นี่เรียกว่าสัตยเคราะห์ยึดมั่นในสัจจะ ของมหาตมะคานธี เกิดอวิหิงสา คือ ความไม่รุนแรง คือสิ่งที่คนเอาไปเลียนแบบไม่ว่าจะฟิลิปปินส์ หรือลูเธอร์คิงจูเนียร์ในสหรัฐอเมริกาในเรื่องสีผิว เมืองไทยก็ต้องทำอย่างนี้ คือเอาความกรุณาจากผู้มีอำนาจทั้งหลายออกมาช่วย มาดูแล อย่ า ไปเกิ ด ความรุ น แรงกั น พวกเราช่ ว ยกั น พู ด อย่ า งนี้ ด้ ว ย อิ ส ลามเป็ น ศาสนาแห่ ง สั น ติ ภ าพ ไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรง เวลาเจอกันเขาทักทายว่าอัสสลามุอลัยกุม ซึ่งแปลว่า peace on you ขอสันติสุขจงมีแด่ท่าน เมื่อทุกศาสนาหวังสันติภาพโดยไม่อาศัยความรุนแรงแล้ว ถามว่าสันติเป็นเป้า ของทุกศาสนา เราจะทำให้เกิดความเป็นจริงในสังคม ในบ้านเมืองได้อย่างไร พระพุทธศาสนาสอนว่า นัตถิ สันติ ปะรัง สุขขัง สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบเป็นไม่มี โอมสันติ โอมสันติ ขอให้มีความสุขสงบ ในบ้านเมือง ถ้าไม่มีความขัดแย้งเพราะท่านอาจจะใช้อำนาจข่มไว้ก็ได้ เราจะต้ อ งสร้ า งข้ อ ที่ ๒ สั น ติ ภ าพจึ ง จะยั่ ง ยื น คื อ สภาวะที่ มี ค วามรั ก ความสามั ค คี มีเสรีภาพ มีความยุติธรรม บังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันทุกคน อย่างนี้จะไม่เป็นชนวนให้เกิด ความขัดแย้งในข้อที่ ๑ ข้อที่ ๒ เป็นคำนิยามสันติภาพในเชิงบวกว่า เมื่อใดมีความรัก ความสามัคคีกัน เมื่อนั้นก็มีสันติภาพ เรามีเสรีภาพไม่กดขี่กัน มีความยุติธรรมเมื่อนั้นก็มีสันติภาพ สันติที่มีความรัก ความสามัคคี มีความยุติธรรม มีเสรีภาพ จะนำไปสู่ข้อที่ ๑ คือไม่มีความขัดแย้ง ไม่ทะเลาะ และก็ไม่มี สงคราม ฉะนั้นเราจะทำให้เกิดข้อที่ ๒ โดยเฉพาะศาสนาทั้งหลายทำให้เกิดข้อที่ ๒ คือมีความรัก ความสามั ค คี ซึ่ ง เป็ น หั ว ข้ อ ที่ เราตั้ ง ในวั น นี้ พลั ง ความรั ก ความสามั ค คี แล้ ว จะเป็ น ฐานแห่ ง ความยั่งยืน ซึ่งทัศนะนี้ตรงกับยูเนสโก ในธรรมนูญของยูเนสโก ตอนอารัมภบทเขาบอกว่าอย่างไร เขาบอกว่าบทนำแห่งธรรมนูญ ของยูเนสโก เนื่องจากสงครามหรือความขัดแย้งมันเริ่มที่ใจของมนุษย์ ดังนั้นปราการแห่งสันติภาพ จึงต้องสร้างที่ใจของมนุษย์ ถ้าท่านอยากจะเห็นสันติภาพ เริ่มต้นที่ไหน ที่ใจ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับใจ ในเรื่องการฝึกจิตทำให้จิตสุขสงบ ไม่ทำชั่ว ทำดี มีความรัก ส่วนไหนของสังคมสร้างขึ้นมา ก็ศาสนานี่แหละ ศาสนากล่ อ มเกลาจิ ต ใจ ให้ ค นเป็ น คนดี เพราะฉะนั้ น เป็ น หน้ า ที่ ข องศาสนาทุ ก ศาสนาร่ ว มกั น ศาสนาต้องพัฒนาจิตใจให้คนรักสามัคคีต่อกัน ความสุขของคนไทยอยู่ที่ความสามัคคี ถ้าเรามีความ พร้อมเพรียงของหมู่คณะ สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะคนไทยทำให้เกิด ความสุข และคนไทยก็จะกลับไปยิ้มกันได้อีกครั้งหนึ่ง เราเคยเป็น Land of smile เป็นแดนแห่ง สยามเมืองยิ้ม ตอนนี้เป็นสยามแยกเขี้ยว ไปดูยักษ์วัดโพธิ์มากเกินไป เพราะฉะนั้นตอนนี้ฝึกยิ้มกันเถอะ แล้วทำยังไงจะให้คนยิ้ม มันก็เริ่มจากใจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยสอนคนไทยไว้ใน รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
23
พระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔ เรื่องรู้รักสามัคคี ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทมา ดังนี้ “คนไทยเราที่รักษาเอกราชอธิปไตยไว้ได้ ก็โดยอาศัยการที่รู้จักความสามัคคี และรู้จัก
ทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายให้ประสานส่งเสริมกัน รู้รักความสามัคคีเพราะว่า คนไทยรู้รักสามัคคีถึงอยู่ได้ จนถึงทุกวันนี้ ถ้าไม่รู้รักสามัคคี อยู่ไม่ได้... ทุกคนถือว่าตนเป็นคนไทย มีอะไรเกิดขึ้นก็ตามทุกคนรู้ว่า ต้องมีความสามัคคี “รู้” ก็คือ “ทราบ” ทราบความหมายของสามัคคี “รัก” ก็คือ “นิยม” นิยม ความสามัคคี เพราะเหตุใดคนไทยจึง “รู้รักสามัคคี” ก็เพราะคนไทยนี่ฉลาด ไม่ใช่ไม่ฉลาด คนไทยนี่ฉลาด รู้ว่าถ้าหากเมืองไทยไม่ใช้ความสามัคคี ไม่เห็นอกเห็นใจกัน ไม่ใช้อะไรที่จะพอรับกันได้ พอที่จะใช้ได้ ก็ ค งจะไม่ ไ ด้ ท ำอะไร หมายความว่ า ทำมาหากิ น ก็ ไ ม่ ไ ด้ ท ำมาหากิ น เพราะว่ า ไม่ มี อุ ป กรณ์ ไม่มีความสงบ จะต้อง “รู้รักสามัคคี” หมายความว่า รู้จักการอะลุ่มอล่วยกัน” พระบรมราโชวาทบอกว่า ที่รู้จักความสามัคคี และรู้จักทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายให้มันสาน ส่งเสริมกัน ความจริงเขียนไว้ว่า รู้รักความสามัคคี เดิมเขียนว่ารู้รักสามัคคี เวลาในหลวงตรัสว่า รู้รั ก สามั ค คี คนก็เข้าใจผิด พระองค์อธิบายต่ อ ไป คำว่ า รู้ รั ก สามั ค คี แ ปลว่ า อะไร รู้ ก็ คื อ ทราบ ทราบความหมายของสามัคคี เรามาพูดกันเรื่องพลังสามัคคี เรารู้เรื่องสามัคคีคืออะไร ในหลวงถาม ต้องรู้ว่าสามัคคีคืออะไร นี่คือรู้สามัคคี รักสามัคคีคืออะไร คือนิยม นิยมความสามัคคี เพราะฉะนั้น รู้รักสามัคคี จึงหมายถึง รู้ว่าสามัคคีคืออะไร รักสามัคคี คือรู้ว่าสามัคคีคืออะไร ก็นิยมอยากให้เกิด ความสามัคคีขึ้นในบ้านเมือง ฉะนั้นพระองค์จึงอธิบายว่า เพราะเหตุใด คนไทยจึงรู้รักสามัคคี เพราะคนไทยรู้ว่าหากเมืองไทยไม่ใช้ความสามัคคี ไม่เห็นอกเห็นใจกัน ไม่มีวันที่จะมีชีวิตรอดได้ บ้านเมือง พังพินาศไปแล้ว ไม่ว่าศาสนาไหน จะมีที่อยู่ได้อย่างไร เป็นสุขอยู่อย่างไร ประเทศไทยที่อยู่ได้
มาทุกวันนี้ ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสว่า เพราะคนไทยรู้รักสามัคคี รู้ว่าสามัคคีคืออะไร และก็นิยม สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น ชาติบ้านเมืองนี้ที่เรามีศาสนาต่าง ๆ อยู่ร่วมกันมาอย่างสันติมาทุกวันนี้ เพราะอะไร เพราะประเทศไทย รู้รักสามัคคี ในหลวงตรัสว่าถ้าหากคนไทยไม่ใช้ความสามัคคี เราอยู่ ด้วยกันไม่ได้ ไม่ว่าพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู เมื่อรู้รักสามัคคีจึงได้มีวันนี้ที่เราอยู่ร่วมกัน อย่างสมานฉันท์ สมเด็ จ กรมพระยาดำรงราชานุ ภ าพได้ แ สดงปาฐกถาไว้ ตอนหนึ่ ง ได้ พู ด ถึ ง ลั ก ษณะ ของสังคมไทย ท่านศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศไทย อยู่มาได้ถึง ๗๐๐ ปี เพราะอะไร ทั้ง ๆ ที่เรา เกือบจะเสียเมืองไป อย่างโดนเผากรุงศรีอยุธยาและก็รักษาเอกราชไว้ได้ จนบัดนี้ เพราะอะไร กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวิเคราะห์คุณธรรมของคนไทย ไว้ ๓ ประการ ที่ทำให้รักษาชาติบ้านเมือง และเราต้องทำให้ คุณธรรมทั้ง ๓ ข้อนี้อยู่ต่อไป
24
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
๑. ความรักอิสรภาพ Love of dependence แม้จะสูญเสียอิสรภาพในบางครั้ง ก็ต่อสู ้
จนได้อิสรภาพมา นี่เป็นคุณธรรมข้อที่ ๑ ของคนไทย ๒. ความปราศจากวิหิงสา Tolerance ก็คือไม่เบียดเบียนกัน ๓. ค วามฉลาดในการประสานประโยชน์ Power of absorption ประนี ป ระนอม ประสานประโยชน์ คนไทยแต่อดีตรักอิสรภาพ ไม่เบียดเบียนกันและประสานประโยชน์ คำว่าไม่เบียดเบียนกัน คื อ ทนต่ อ ความแตกต่ า ง เราเป็ น ชาวพุ ท ธอยู่ ใ นดิ น แดนแห่ ง นี้ เห็ น คนที่ ม าจากต่ า งประเทศ อย่ า งเฉกอะหมั ดเดินทางมาจากเปอร์เชียในสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระนเรศวรมหาราช มาอยู่ ท ี่
กรุงศรีอยุธยา เผยแผ่ศาสนาอิสลาม พระนเรศวรก็ต้อนรับ ต่อมาก็เจริญรุ่งเรืองในราชการเป็นพระยา เป็นเจ้าพระยา สายหนึ่งของตระกูลเฉกอะหมัดเป็นจุฬาราชมนตรีอยู่ต่อเนื่องมาหลายสมัย เราไม่มี การกีดกัน เราทนต่อความแตกต่างทางศาสนา เมื่อโปรตุเกสเข้ามา เอาศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ แม้แต่ฝรั่งเศสเข้ามาส่งสาส์นมาถึง พระนารายณ์มหาราชว่าให้เปลี่ยนศาสนาเถอะ เปลี่ยนจากพุทธเป็นคริสต์ พระนารายณ์ก็ไม่ได้ รังเกียจ แต่ก็ไม่ถึงกับเปลี่ยน พระนารายณ์ตอบกับทูตบอกว่า เรานับถือศาสนาพุทธตามบรรพบุรุษ บรรพบุรุษของไทยนับถือพุทธศาสนามานานแล้ว ถ้าพระองค์คือพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ประสงค์จะให้ เปลี่ยนศาสนา พระนารายณ์ไม่ได้ใช้คำพูดรุนแรง พระนารายณ์ตรัสตอบทูตว่า ในศาสนาคริสต์
มีพระเจ้าเป็นผู้ดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ ใช่ไหม เมื่อพระผู้เป็นเจ้าของท่านประสงค์จะให้ข้าพเจ้า คือ พระนารายณ์เปลี่ยนศาสนาเป็นคริสต์เมื่อไรค่อยเปลี่ยน ตอนนี้พระเจ้ายังไม่ได้ดลใจก็ขอนับถือ พระพุทธศาสนาไปก่อน นี่คือการตอบของสมเด็จพระนารายณ์ เพราะฉะนั้นแทนที่จะใช้ความรุนแรง ก็อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ในศาสนาอิสลามก็จะมีข้อความคล้าย ๆ อย่างนี้อยู่ มีข้อความตอนหนึ่ง ในอัลกุรอานบอกว่า “ถ้าพระอัลเลาะห์ประสงค์จะให้โลกทั้งโลกนี้นับถือศาสนาเดียว คือศาสนา อิสลาม พระอัลเลาะห์ก็จะทรงสร้างโลกสร้างมนุษย์ให้นับถืออิสลามมาตั้งแต่เกิด” เพราะพระเจ้า สร้างโลก แต่เมื่อมนุษย์เกิดมาต่างศาสนาแสดงว่า พระเจ้าสร้างให้คนนับถือคนละศาสนา เมื่อนับถือ คนละศาสนาแสดงว่าพระเจ้าใจกว้าง พระเจ้าหรือพระอัลเลาะห์ต้องการพิสูจน์อำนาจในการเผยแผ่ ศาสนาของคนรุ่ น หลั ง ว่ า จะให้ ค นนั บ ถื อ ศาสนาอิ ส ลามได้ ห รื อ ไม่ นี่ คื อ หลั ก ใหญ่ เพราะฉะนั้ น
เมื่ อ พระเจ้ า ยั ง ไม่ ด ลใจเราก็ นั บ ถื อ ศาสนาต่ า งกั น มั น ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งมาใช้ ค วามรุ น แรงให้ เ ป็ น
ศาสนาเดียวกัน ศาสนาอื่นก็ไม่รุนแรง พุทธก็ไม่รุนแรง มันก็เป็นข้อที่ ๒ เราอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่มี ความเบียดเบียนกันแล้ว
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
25
ข้ อ ที่ ๓ ฉลาดในการประสานประโยชน์ ขอให้ สั ง เกตว่ า ชาวพุ ท ธซึ่ ง เป็ น คนส่ ว นใหญ่
ต้อนรับชาวต่างชาติ ต่างศาสนา มาเป็นคนไทยด้วยกัน ไม่ได้รังเกียจเดียดฉันท์ว่าเป็นข้าวนอกนา ตามข้อวิเคราะห์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แล้วสังเกตไหมว่า คนชาวพุทธร่วมฉลอง กับเพื่อนศาสนิกอื่นไปหมดเลยนะ วันคริสต์มาส ก็ร่วมกับเขาไปด้วย ชาวพุทธส่งการ์ด เวลาส่งบัตร ปีใหม่มี Merry Christmas and Happy New Year ด้วย ส่งกันอย่างนี้ Merry Christmas ทั้งที่ เป็นชาวไทย ก็ไม่มีใครว่าอะไร ฉลองคริสต์มาสกัน พอจีนมาเป็นมหายาน ฉลองตรุษจีนกับเขาไปอีก มีสงกรานต์ก็ร่วมกับเขาไป เหลืออย่างเดียวที่ยังไม่ร่วมฉลอง ก็คือศีลอดของอิสลาม มันอดยากนะ คนไทย รอมฏอนนี่ ถ้าอนุญาตให้ทำได้สงสัยคนไทยร่วมฉลองกันอีก ฉะนั้นในลักษณะอย่างนี้ คือ ฉลาดในการประสานประโยชน์ เอาสิ่งที่ดีงามมาร่วมกัน เอาพลังแห่งความสามัคคี แม้กระทั่ง เทคโนโลยี เรายั ง เอามาทำ ญี่ ปุ่ น ผลิ ต ฝรั่ ง สร้ า งมา คนไทยแก้ ไ ด้ ห มด มาปรั บ ประยุ ก ต์ เ ป็ น รถอีแต๋นบ้าง ตุ๊กตุ๊กบ้าง วิ่งแล้วก็อย่างนั้นแหละ ทำไปตามประสาของเรา ฉะนั้นปฏิญญายูเนสโก จึงสอนให้เราให้มีความรัก ความสามัคคีกัน และตรงนี้แหละที่อาจจะกล่าวได้ว่า ปฏิญญายูเนสโก เมื่อปี ๒๕๓๘ ที่พูดถึงอวิหิงสาว่าด้วยหลักการแห่งขันติธรรม Tolerance อดทนต่อความแตกต่าง ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้วิเคราะห์ไว้ ในข้อที่ ๒ ทำให้คนไทยมีขันติธรรมสูง อดทนกันได้ ขอกันกินมากกว่านี้ไม่เป็นไร ยูเนสโกได้อธิบายว่า Tolerance หรือขันติธรรม คือการเคารพความแตกต่าง ยอมรับ ความแตกต่าง นับถือสิ่งที่แตกต่าง แต่งตัวไม่เหมือนกันเราก็อยู่ร่วมกันได้ ห่มผ้าคนละอย่าง เราไม่ รังเกียจเดียดฉันท์กัน สวดมนต์คนละแบบ แต่งตัวคนละอย่าง รับประทานอาหารคนละประเภท ไม่รังเกียจเดียดฉันท์กันเราเรียกว่า Tolerance อันนี้ยูเนสโกได้สอนให้ทั่วโลกถือปฏิบัติ ปรากฏว่า ขันติธรรมมีอยู่ในทุกศาสนาโดยเฉพาะในพุทธศาสนา ประโยคแรกที่พระพุทธเจ้าตรัสเลยในโอวาท ปาติโมกข์ เวลาจัดงานมาฆบูชา วันเพ็ญเดือน ๓ ฉลองในโอกาสที่พระพุทธเจ้าประกาศวิธีการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา หลังจากตรัสรู้ได้ ๙ เดือน ประชุมพระอรหันต์รุ่นแรก ๑,๒๕๐ รูป แล้วส่งไป ประกาศพระศาสนาโดยประกาศเป็นนโยบายที่เราเรียกว่าโอวาทปาติโมกข์ แปลว่าคำสอนที่เป็น ประธาน เป็นเสาหลัก ประโยคแรกเลยที่พระพุทธเจ้าสอนในโอวาทปาติโมกข์ประกาศ ขันตี ปรมัง
26
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ตะโป ตีติกขา ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง ไปที่ไหนต้องมีความอดทนอย่าไป กระทบกระทั่งกันเวลาเผยแผ่พระพุทธศาสนา แล้วบอกต่อไปว่าอนูปวาโท เวลาไปเทศน์ไปสอน อย่าไปว่าร้ายใครนะ อย่าไปโจมตีใครนะ อนูปะ ฆาโต อย่าไปทำร้ายใคร ถ้าเขาไม่นับถือก็อย่าไปฆ่า มีครั้งหนึ่ง พระรูปหนึ่งชื่อพระปุณณะ จะไปเผยแผ่ศาสนาที่เมืองสุนาปรันตะ ไปทูลลาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็สัมภาษณ์ก่อน “ท่านปุณณะรู้ไหมว่าชาวบ้านที่เมืองสุนาปรันตะดุร้าย ส่งพระไปกี่รูปก็อยู่ไม่ได้ โดนทำร้าย ไล่กลับหมด แล้วถ้าเกิดเธอไปที่นั่น ถ้าชาวบ้านที่เมืองสุนาปรันตะเขาด่าเธอ เธอจะว่าอย่างไร ด่าตอบไหม” พระพุทธเจ้าสัมภาษณ์ พระปุณณะตอบว่า “ข้าพระองค์ก็แผ่เมตตามองแง่ดี คิดว่าเขาด่าก็ดีกว่าเขาเอาก้อนอิฐ ปาหัว” “แล้วถ้าเขาเอาก้อนอิฐปาหัว” “ก็ดีกว่าเอาไม้มาตี” “ถ้าเขามาไม้มาตีเธอล่ะ” “เอาไม้มาตีก็ดีกว่าเอามีดมาฟัน” ยังคิดได้อีกนะ “ถ้าเขาเอามีดฟันเธอล่ะ” “ฟันให้บาดเจ็บก็ดีกว่าฟันให้ตาย” “แล้วถ้าเขาฟันเธอตาย ฆ่าเธอตายล่ะ” “ถ้าเขาฟันเราตายก็ดีแล้ว เราได้ไม่ต้องฆ่าตัวตาย ถือว่าเขาสงเคราะห์” พระพุทธเจ้าบอกว่าไปได้ สอบสัมภาษณ์กันขนาดนี้นะในพุทธศาสนา ไม่เรียกว่าขันติธรรม แล้วจะเรียกว่าอะไร พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งขันติธรรม แต่ว่าตอนนี้เราเทศน์กันน้อยไปหน่อยมั้ง ลูกศิษย์พระพุทธเจ้าก็เลยไม่ค่อยขันติ ขันแตกกันซะเยอะ เขาตีเรา เราฟันมันตายเลย มันเกินคำสั่ง พระพุทธเจ้าไปหน่อย
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
27
ในขันติธรรมเรื่องความรัก ท่านลองไปดูเราเรียกว่า แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร สุภาษิตไทยว่า ยอมแพ้ให้ใคร เราเป็นพระในใจของคน ๆ นั้น ไม่ใช่ว่าเป็นพระแล้วต้องแพ้นะ แต่หมายถึงว่า
คนธรรมดานี่แหละ ถ้าเรายอมแพ้ให้ใคร ก็เหมือนกับพระ คือคนใจดี แต่ถ้าเราเอาชนะใครร่ำไปนะ เราเป็นมาร มารแปลว่าเป็นผู้ขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำความดี เป็นซาตาน เราอยากจะเป็นพระของกัน และกั น ไหม เป็ น คนดี ข องกั น และกั น ไหม เราต้ อ งยอมแพ้ กั น บ้ า ง ถอยกั น คนละก้ า ว อภั ย กั น ในศาสนาพุทธสอนว่ายังไง อักโกเธนะ ชิเนโกธัง ชนะการโกรธด้วยการไม่โกรธตอบ อสาธุง สาธุนา ชิเน ชนะความชั่วด้วยความดี ชนะการตระหนี่ด้วยการให้ ชนะคนที่พูดเหลาะแหละด้วยการพูดคำสัจ มันยังมีคำสอนอะไรที่ทำให้คนให้อภัยกันและก็รักกันมากกว่านี้อีกหรือ และไม่ได้มีเฉพาะในศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูก็มีอย่างที่พูดมาแล้ว ที่น่าสนใจคือเทศนาบนภูเขาของพระเยซู ตอนหนึ่ง ที่พูด บอกว่า ท่านได้ฟังมาแล้วว่า “จงรักเพื่อนบ้านของท่าน นี่คำพูดพระเยซูนะ ท่านเคยได้ยินเขาพูดกัน ใช่ไหม จงรักเพื่อนบ้านของท่าน Agabe คือความรัก จงรักเพื่อบ้านของท่านแต่เกลียดศัตรูของท่าน เคยได้ยินใช่ไหม ให้รักเพื่อนบ้าน แต่เกลียดชังศัตรู พระเยซูพูดต่อไปว่า แต่เราขอบอกท่านทั้งหลาย “Love your enemy จงรักศัตรูของท่าน” และก็สวดมนต์เพื่อคนที่เป็นศัตรูเหล่านั้น ซึ่งทำร้ายท่าน นั่นแหละท่านก็จะไปเป็นบุตรของพระเจ้าอยู่ในสวรรค์ นี่ไม่ใช่เป็นเรื่องของขันติธรรมเรื่องความรัก หรอกหรือ เราต้องเอาไปช่วยกันพูด เทศน์ สอนกันให้มากขึ้น Agabe เรื่องความรักในศาสนาคริสต์ มีคนถามพระเยซูว่า ซึ่งศาสนาอิสลามก็เชื่อในบัญญัติ ๑๐ ประการ เหมือนกัน เพราะเป็นศาสนาใน สายเอกเทวนิยมเหมือนกัน มาจากพระผู้เป็นเจ้า เริ่มต้นมาจากอาดัมกับอีฟเหมือนกัน มีคนไปถาม พระเยซูว่าในบัญญัติ ๑๐ ประการ ถ้าลดลงให้เหลือ ๑ ข้อ คืออะไร ความรัก Agabe รักพระเจ้า รักเพื่อนมนุษย์ ทุกศาสนาสอนว่าอย่างไร “จงปฏิบัติต่อผู้อื่น อย่างที่ท่านอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน” อย่าปฏิบัติต่อผู้อื่นในสิ่งที่ท่านก็ไม่อยากให้เขาทำกับท่าน เพราะฉะนั้นตรงนี้แหละที่เราต้องมาพูด
กันมาก ๆ สุภาษิตไทยว่า “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ทุกศาสนาสอนเหมือนกันหมด เมื่อทุกศาสนา สอนอย่างนี้ เราก็จะต้องมีน้ำใจต่อกัน ชาวพุทธจะต้องมีน้ำใจต่อศาสนิกแม้กระทั่งคนไทยด้วยกัน
28
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ท่ า นสั ง เกตไหม น้ ำ นั้ น มี ลั ก ษณะ ๔ ประการ ประการที่ ๑ น้ ำ รวมตั ว กั น เป็ น นิ จ มันไม่แตกแยกกัน น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ปิง วัง ยม น่าน มันรวมกันเป็นเจ้าพระยาแล้วมันแยกกันไหม มันมารวมกันแล้วมันไม่บอกว่านี่ปิง นี่วัง นี่ยม น่านนะ มันรวมกันตลอดเวลา เพราะฉะนั้นคนไทย แต่ โ บราณเวลาแต่ ง งานเขาจึ ง หลั่ ง น้ ำ สั ง ข์ หลั่ ง น้ ำ สั ง ข์ ไ ม่ ใช่ ใ ห้ มื อ เปี ย กเล่ น ๆ เขามี ค าถาด้ ว ย เสกคาถาเวลาหลั่งน้ำสังข์ “อิทัง อุทะกัง วิยะ สะมัคคา อะภินนา โหถะ ขอเธอทั้งสองจงปรองดองไม่แตกแยกกันเหมือนกับน้ำนี้เถิด” สมั ย นี้ ไ ม่ ค่ อ ยเสกคาถา สถิ ติ ห ย่ า ร้ า งมั น จึ ง เยอะ ต่ อ ไปเสกคาถาบ้ า งนะ รวมตั ว กั น ด้วยเมตตา ท่านสังเกตไหมน้ำในแม่น้ำ เอามือกรีด เอามีดฟัน เอาขวานผ่า มันแยกกันแป๊บเดียว มันกลับคืนดีกันอย่างเดิม คนไทยกันถ้าเมตตา เมตตาคืออะไร Agabe คือความรัก ถ้าท่านมีความรักเป็นคนไทยด้วยกัน ทะเลาะกัน ลิ้นกับฟันกระทบกันแยกกันแป๊บเดียวขอให้คืนดีอย่างเดิม เราเป็นลูกพระเจ้าอยู่หัว
องค์เดียวกันไม่ว่าศาสนาใด เชื้อชาติใด นี่คือรวมตัวกันด้วยเมตตา ชุ่มเย็นด้วยกรุณา สังเกตไหม น้ำช่วย ดับร้อนผ่อนเย็น เวลาร้อนขึ้นมาเราโดดตูม มันเย็นใช่ไหม คนมีความทุกข์หันหน้าไปหาใครล่ะ ไปเจอ เพื่อน ๆ ก็ปลอบ ปลอบแล้วเป็นไง สบายใจ เราเรียกเพื่อนแท้ว่าอะไร ภาษิตว่า A friend indeed is a friendly เพื่อนแท้คือเพื่อนที่ช่วยกันในยามยาก ตอนนี้สังคมไทยมีปัญหา ต่างชาติที่เห็นใจเรา ก็มาช่วยปลอบใจ ช่วยให้กำลังใจ ช่วยให้ความหวัง ไม่ใช่มาซ้ำเติม มาเผาบ้านเรา อย่างนั้นไม่เรียกว่า เพื่อนแท้ ชุ่มเย็นด้วยกรุณา ถามว่าท่านจะให้ความชุ่มเย็นคนอื่นได้ยังไง ท่านต้องมีความกรุณา มีความสงสาร ในพุทธศาสนาจะวิเคราะห์ละเอียดเลยนะ ไม่ใช่รักอย่างเดียวนะ รักในเวลาที่เขาน่ารัก เด็กหน้าตาน่ารักเดินมานี่ท่านเมตตารักเขา แต่ถ้าเด็กล้มลงปากแตก มันไม่ใช่เวลาที่จะรักนะ ต้องไป อุ้มเขา สงสารเขา เราเรียกว่ากรุณา กรุณาในพระพุทธศาสนาเรียกว่าพรหมวิหาร พรหม ๔ หน้า พรหม ๔ หน้าไม่ได้หมายถึงพระพรหมอย่างเดียวนะ หมายถึงธรรมะ ๔ อย่าง ถ้าเด็กน่ารักเราใช้
หน้านี้ พอเด็กล้มลงปากแตกเราใช้อีกหน้าหนึ่ง กรุณาคือความสงสาร เราเห็นคนไทยเจ็บปวด เข่นฆ่า เราทนอยู่ได้อย่างไร เราต้องไปช่วยห้ามสิ ช่วยกันพูด ช่วยกันเตือน อย่าไปปล่อยให้เขาทำร้ายกัน ตอนนี้จะไปใช้อุเบกขาไม่ได้นะ มันมี ๔ หน้า กรุณาต้องมาก่อนอย่าไปวางเฉย
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
29
ข้อที่ ๓ มุทิตา แปลว่าพลอยยินดี พลอยยินดีคือ ให้กำลังใจ น้ำจะมีลักษณะอย่างหนึ่ง มั น ทำให้ เ อิ บ อาบ เรี ย กว่ า ผ่ อ ง อย่ า งเช่ น คนไหนมี น้ ำ มี น วลเข้ า ท่ า ผอมแห้ ง ไม่ มี น้ ำ มี น วล เพราะฉะนั้นน้ำทำให้เอิบอาบ ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าความเป็นพลัง ท่านชมใครเวลาเขาทำดีเขาจะมีพลัง กระตือรือร้น ฝ่ายไหนทำดีท่านให้กำลังใจเขา ไม่ใช่ด่ากันตลอด สนับสนุนส่งเสริมกันบ้าง ชมกันบ้าง คนนี้ช่วยแก้ปัญหาได้นะ ช่วยสร้างสันติภาพได้นะ ไม่ใช่พอจะริเริ่มขึ้นมาก็งั้น ๆ แหละ ไม่ได้เรื่อง ไปพูดอย่างนั้นได้ยังไง ชมกันเอง ให้กำลังใจกันเอง เราเรียกว่าเอิบอาบ น้ำจะมีลักษณะเอิบอาบใช่ไหม ก็คือมุทิตา แปลว่าพลอยยินดีให้กำลังใจกันตอนนี้สังคมไทยต้องการกำลังใจ ข้อสุดท้ายน้ำมีความยุติธรรม อุเบกขา ท่านสังเกตไหมว่า น้ำใครไปอาบ ไปดื่ม ชุ่มเย็นหมด ไม่บอกว่าพุทธอาบเย็นนะ คริสต์อาบร้อนนะ ไม่ใช่ คริสต์ พุทธ คนจน คนไพร่ อาบแล้วเย็นหมด ให้ความชุ่มเย็นได้เท่าเทียมกันฉันใด คนเวลาที่จะช่วยเหลือกันก็ดี ไม่เลือกชาติ ไม่เลือกศาสนา เป็นคนไทยด้วยกัน อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าอยู่หัวองค์เดียวกัน เราเป็นปึกแผ่นรวมกัน เป็ น หนึ่ ง มี ค วามยุ ติ ธ รรม ปฏิ บั ติ ต่ อ กั น อย่ า งเท่ า เที ย มกั น ในทุ ก เรื่ อ งอย่ า งนี้ เรี ย กว่ า ยุ ติ ธ รรม ความยุติธรรมคือไม่เอียงด้วยนะ คนโบราณเวลาสร้างบ้าน เขาวัดระนาบของพื้นโดยการเอาน้ำใส่ สายยาง อาตมาตอนเป็นเด็กก็ไปดูว่าทำไมเขาต้องเอาน้ำใส่สายยาง อ๋อ ! ระดับน้ำในสายยางมันจะ เท่ากันหมดบนพื้นผิวโลก มันไม่ใช่ว่าถ้าโลกเอียงแล้วน้ำมันจะเอียง มันจะเท่ากันตลอด เพราะฉะนั้น เขาไม่ต้องเอาเส้นวัดเลย เพราะพื้นมันเอียง สร้างให้มันตามผิวน้ำสองจุดที่น้ำมันอยู่ปลายสาย น้ำใน สายยางเดียวกันมันจะเท่ากันหมด คนปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมกันด้วยอุเบกขา แปลว่าอย่าลำเอียง เพราะรัก เพราะชัง เพราะหลง เพราะกลัว ไม่ใช่ ถ้าพวกเราลำเอียงเพราะรัก คนนี้ลงโทษแรง ชัง ไม่ใช่ ฉันทา อคติ ความลำเอียงต้องไม่มี ในสังคมไทย เราต้องพัฒนาให้เกิดน้ำใจ ก็คือรวมตัวกัน ด้วยความรัก คือเมตตา ชุ่มเย็นด้วยกรุณา เอิบอาบ ซึมซาบด้วยมุทิตา ความยินดีให้กำลังใจกัน มีความยุติธรรม ปฏิบัติกันด้วยความไม่ลำเอียง คืออุเบกขา แม่น้ำเจ้าพระยามีลักษณะทั้ง ๔ ฉันใด คนไทยก็ต้องมีลักษณะทั้ง ๔ ประการ ฉันนั้น เพราะฉะนั้นตรงนี้แหละ เมื่อท่านมีน้ำใจแล้วก็จะเป็น พวกเดียวกัน เคยถามคนสวิตเซอร์แลนด์ ว่าทำไมประเทศสวิตเซอร์แลนด์จึงรักษาความเป็นกลางไว้ได้ ฮิตเลอร์ก็ไม่บุกในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทางภาคเหนือเป็นฮิตเลอร์ เยอรมัน ภาคใต้เป็นมุโสลินี อิตาลี มุโสลินีก็ไม่ยึด ไปถามคนสวิตเซอร์แลนด์บอกจะมายึดได้ยังไง เพราะพวกเดียวกันทั้งนั้น พอเยอรมัน จะบุก คนสวิตเซอร์แลนด์บอกเราพี่น้องกัน พออิตาลีจะบุก ก็บอกเราพี่น้องกัน ถ้าพี่น้องกันจะบุกกัน
30
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ทำไม เหมื อ นคนไทยกั บ คนลาวพี่ น้ อ งกั น คนไทยกั บ คนกั ม พู ช าพี่ น้ อ งกั น คนไทยกั บ มาเลเซี ย พี่น้องกัน แล้วจะมาทะเลาะกันทำไม ชาวมุสลิมด้วยกันจะมาทะเลาะกันทำไม ชาวพุทธด้วยกันจะมา ทะเลาะกันทำไม สวิตเซอร์แลนด์เขาทำอย่างนี้ได้ เขาทำด้วยอะไรล่ะท่าน เขาทำด้วยภาษา เขาใช้ ภาษาเป็นสื่อ ถ้าใครไปสวิตเซอร์แลนด์จะเห็นได้ทุกวันนี้ ในภาคเหนือของสวิตเซอร์แลนด์แถวซูริค เขาจะมีป้ายบอกทางเป็น ๓ ภาษา ไปดูป้ายบอกทางที่สวิตเซอร์แลนด์ ภาคเหนือใช้ภาษาเยอรมัน แถวซูริคคนทางภาคเหนือของสวิตเซอร์แลนด์พูดภาษาเยอรมัน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ออกมาทาง ฝรั่งเศส ทางเจนีวา พูดภาษาฝรั่งเศส ป้ายถนนเป็นภาษาฝรั่งเศส พอไปภาคใต้แถวติชิโน่ พูดภาษา อิตาลี เพราะฉะนั้นท่านยังไม่ต้องแปลกใจเลยทำไมสวิตเซอร์แลนด์เป็นกลางได้ พอเยอรมันจะบุก ชาวสวิตเซอร์แลนด์ที่พูดภาษาเยอรมัน ภาคเหนือบอกกับคนเยอรมัน บอกเราพวกเดียวกัน ภาคใต้ คนสวิสพูดภาษาอิตาลี ก็บอกกับมุโสลินีว่าเราเป็นพวกเดียวกันอยู่แล้ว มาบุกทำไม ฝรั่งเศสจะบุกเหรอ พูดภาษาฝรั่งเศส ก็ไม่บุกกันอีก เข้าใจกัน รู้กันแล้ว มันเป็นพวกเดียวกัน ขออย่างหนึ่งได้ไหม พูดภาษาเดียวกัน คนไทยในภาคใต้ก็ต้องรู้ภาษายาวี ในฐานะเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย สงฆ์ บอกพระสงฆ์ เ ลยอยู่ ภ าคใต้ ต้ อ งพู ด ภาษายาวี ตอนนี้ แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมจะส่งพระจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปเรียนศาสนา เปรียบเทียบ ทางเอกอัครราชทูตไทยก็ดี มหาวิทยาลัย Al-AZHAR ที่อียิปต์ก็ดี ส่งสารมาแล้ว ขอนิมนต์ พระและก็ฆราวาสของมหาจุฬาฯ ไปเรียนศาสนาอิสลาม เอามาสอนเรื่องศาสนาเปรียบเทียบ มีหนังสือ จากกระทรวงการต่างประเทศมานิมนต์เลย ก็จะส่งไป พระในภาคใต้ก็ต้องรู้ภาษายาวี คนภาคใต้ ๓ จังหวัด ก็ต้องเรียนภาษาไทย เคยถามแกรนด์อิหม่ามที่พบกัน ตอนที่ท่านมาเยี่ยมประเทศไทยว่า ผิดไหมถ้าเรียนภาษาไทย ท่านบอกว่าไม่ผิด เพราะพระนบี มะหะหมัดได้บอกชาวมุสลิมว่า “จงไป แม้จนถึงประเทศจีนเพื่อไปเรียนวิทยาการกับประเทศจีน” แล้วถ้าไปจีนแล้วไม่เรียนภาษาจีนได้ยังไง ใครเป็นคนสอน เพราะฉะนั้นเราจะเรียนวิทยาการในภาคใต้ก็ต้องเรียนภาษาไทย ดูทีวีไทยด้วย และเข้าใจวัฒนธรรมที่ต่างกัน เหมือนผู้พูดก็ต้องพยายามรู้ศาสนาของพวกท่าน ท่านก็พยายามศึกษา พุทธศาสนา มันไม่มีข้อห้าม เราไม่ได้เปลี่ยนศาสนา แต่รู้ฐานะเป็นวัฒนธรรม เรียกว่าศาสนาของเพื่อน อยู่ร่วมกันอย่างสันติ เหมือนคนสวิตเซอร์แลนด์ พูดเยอรมันก็รู้วัฒนธรรมเยอรมัน เยอรมันก็ไม่บุก รู้ภาษาอิตาลี อิตาลีก็ไม่บุก สวิตเซอร์แลนด์จึงอยู่ได้มาถึงทุกวันนี้ ทั้งที่เป็นประเทศเล็ก ๆ ประเทศไทย ควรจะต้องเป็นอย่างนั้น เราจะได้มีความใจกว้างในเรื่องของการอยู่ร่วมกัน
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
31
ฉะนั้นสุดท้ายที่อยากจะพูดก็คือ อย่าแต่คิดอย่างเดียวว่าเราจะต้องรักกัน ดีกัน ให้แสดง น้ำใจด้วย พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เรานั่งแผ่เมตตาอย่างเดียวนะ แต่สอนให้แสดงออก ถ้าท่านรักใคร ท่านไม่ได้รักแต่ใจอย่างเดียว ภาวนา รักเขา แผ่เมตตาให้เขา แต่ท่านไม่ไปช่วยเขาในยามยาก เขาก็ไม่รู้ว่าท่านรัก เพราะในทางพระพุทธศาสนาสอนให้แสดงออก ให้แสดงความมีน้ำใจให้เขา เสียสละ บริจาค เรียกว่าให้ทานโอบอ้อมอารีแสดงออกเลย เขาตกทุกข์ได้ยากช่วยเหลือเขา ทานนี่มี ๒ อย่าง อามิสทานคือให้สิ่งของ ธรรมทานคือให้ธรรมะ รวมถึงอภัยทาน ให้อภัย กันด้วย ลืมแล้วให้อภัยกันคือ ข้อที่ ๑ ให้สิ่งของและให้อภัยกัน คนไทยต้องทำกันมาก ๆ ข้อที่ ๒ เราสมานแผลในใจด้วยการพูดภาษาไพเราะต่อกัน อย่าไปซ้ำเติมกัน อย่าไปด่ากัน ตอนนี้สังคมไทยมีแต่คำส่อเสียด คำหยาบ ว่าร้ายกันอยู่ ไม่มีปิยวาจา เราต้องพูดจากันด้วยดี จะได้มีความสมานฉันท์ ความปรองดอง เพราะฉะนั้นสื่อต้องทำหน้าที่ในการให้ปิยวาจา วจีไพเราะ แพร่หลายในสังคมไทย ข้อที่ ๓ อัตถจริยา สงเคราะห์ประชาชน เวลาเขาเดือดร้อนเราก็ไปช่วยเหลือเขา บ้านเมือง ถูกไฟไหม้ เราก็ไปสงเคราะห์เขา นี่คืออัตถจริยา ข้ามศาสนาได้ มีครั้งหนึ่งหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ท่านมรณภาพแล้ว แจกทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน เด็กนักเรียนก็เข้าแถว มารับทุน จนมาถึงเด็กผู้ชายคนหนึ่ง เมื่อจะรับทุนถามหลวงพ่อว่า “หลวงพ่อครับผมเป็นมุสลิมรับทุนจากพระได้หรือเปล่า” ถามในที่ประชุม ที่กำลังเข้าแถวอยู่ หลวงพ่อท่านก็งง แต่ท่านก็ไวมาก ท่านถามกลับ “ไอ้หนูเอ็งเป็นคนไทยหรือเปล่า” “เป็นครับ” หลวงพ่อก็ตอบ “รับได้ ทุนนี้แจกคนไทย” นี่ก็คืออัตถจริยา และก็ได้ทราบว่าใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีงานต่าง ๆ วัดก็ให้ทางสุเหร่า ยืมของ ทางนี้ก็มายืมของทางนั้น พึ่งพาอาศัยกัน สงเคราะห์ประชาชน ข้อที่ ๔ สมานัตตตา วางตนพอเหมาะในฐานะเพื่อนศาสนิก ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าใคร ไม่มีใครกดใคร เหนือใคร อยู่ร่วมกันอย่างสันติสมานฉันท์ สมานะ ก็คือสมานฉันท์นะแหละ สมานัตตตา ก็คืออยู่ด้วยกันอย่างสมานฉันท์ ปรองดองกัน บ้านเมืองก็จะมีความสุข เริ่มจากข้อที่ ๑ ก่อน ให้อภัยกัน เมื่อให้อภัยแล้วก็จะทำให้สังคมไทยมีความสุข ดังคำกลอนที่ว่า เราสร้างความรัก ความสามัคคีอภัยทาน ถ้าไม่มีการให้อภัยจิต และไม่คิดที่จะลืมซึ่งความหลัง จะหาสามัคคียาก ลำบากจัง ความผิดพลั้งย่อมมีทั่วทุกตัวคน
32
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
เรียนรู้ที่จะรักสามัคคีด้วยกันให้อภัยกันในความผิดพลาดในความรุนแรงที่เกิดขึ้น หันหน้า เข้าหากัน และปฏิบัติต่อกันด้วยการโอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ประชาชน วางตนสมานฉันท์ ก็จะนำสันติสุข สู่สังคมไทยด้วยการรู้รักสามัคคี ความรัก ความสามัคคี ที่เราสร้างในสังคมจะเป็น พรอันประเสริฐที่เราถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขอพวกเราพร้อมใจกันถวายพระพรด้วยการทำความดีร่วมกัน และเริ่มจาก พวกเราและจุดนี้เป็นต้นไป ก็จะเป็นการถวายพระพรอันยิ่งใหญ่แด่พระองค์ท่านด้วยการปฏิบัติบูชา ก็ขออนุโมทนาทุกท่านที่ได้ร่วมกันทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลในวันนี้
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
33
การแสดงของนักเรียนโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระบรมราชูปถัมภ์ จากนั้นได้มีการแสดงของนักเรียนโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระบรมราชูปถัมภ์
การแสดงชุด “คู่พระบารมี” การแสดงชุด “ระบำเผ่าไทย” การแสดงชุด “สามัคคีแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง”
34
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
การเล่าประสบการณ์การเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ในช่วงบ่ายเป็นการเล่าประสบการณ์และการแสดงของเยาวชนทั้ง ๕ ศาสนา ที่เคยเข้าค่าย เยาวชนสมานฉันท์ของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ที่จัด ณ อุทยานการเรียนรู้ วิทยาลัย นวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา จังหวัดชลบุรี ดำเนินรายการโดย อาจารย์สุเทพ เลาะลาเมาะ เยาวชนได้เล่าประสบการณ์จากการเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ดังนี้ ๑. ทุ ก ศาสนา สามารถอยู่ ร่ ว มกั น ได้ อย่ า งมี ค วามสุ ข แม้ จ ะไม่ รู้ จั ก กั น และต่ า ง ศาสนากัน ถ้าทุกคนมี ค วามรั ก ความเสี ย สละ มีความจริงใจต่อกัน รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน จากการไปเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์นั้น ทุ ก คนช่ ว ยกั น ทำภารกิ จ ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมาย ด้ ว ยความสามั ค คี เป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น จนภารกิจนั้นสำเร็จ แม้ ภ ารกิ จ นั้ น จะยากมาก ซึ่งถ้าหากทุกคนในประเทศไทยมีความสามัคคีกันเช่นนี้ จะนำไปสู่สันติภาพของสังคมไทยอย่างยั่งยืน ๒. ได้เพื่อน ได้มิตรภาพ ได้รอยยิ้มให้กันและกัน ๓. ได้รับความรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้ ๔. ศ าสนาทุ ก ศาสนาสอนให้ ค นช่ ว ยเหลื อ เอื้ อ เฟื้ อ เผื่ อ แผ่ กั น และไม่ ไ ด้ ส อนให้ ข าด ความสามัคคี
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
35
ท้ายที่สุดเยาวชนทั้ง ๕ ศาสนา ได้ฝากว่าแผ่นดินไทยจะอยู่อย่างสงบสุขได้ถ้าทุกคน “รวมความคิด รวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่ง รวมให้ถึง อุดมการณ์ สมานฉันท์ รวมความรัก ถักเสริม เติมผูกพันธ์ ร่วมสร้างฝัน สันติภาพ สู่สังคม” “เอาศาสนา เป็นหลักการ นำชีวิต เอาความคิด เป็นเครื่องช่วย อำนวยผล สร้างสมานฉันท์ ให้เกิดขึ้น ในตัวตน นี่แหละคน มีคุณค่า ราคางาม” การแสดงของเยาวชนจากค่ายเยาวชนสมานฉันท์ เป็นการให้เยาวชนที่เข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ได้จับกลุ่มทำกิจกรรม โดยการนำเสนอ ความคิดสร้างสรรค์และแสดงออกด้วยกิจกรรมการแสดง ทำให้เยาวชนที่มาจากต่างศาสนาเกิด ความรัก ความสามัคคี และเห็นความสำคัญของการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างทางศาสนา
36
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
การเสวนาเรื่อง ศาสนาสร้างพลังความรัก ความสามัคคี ในมิติของแต่ละศาสนา โดย ผู้แทนองค์การศาสนา ๕ ศาสนา ดำเนินการเสวนาโดย นายพิสิฐ เจริญสุข
การเสวนาในช่ ว งบ่ า ย ผู้ แ ทนศาสนาพุ ท ธได้ รั บ ความเมตตาจากพระเดชพระคุ ณ พระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม ผู้แทนศาสนาอิสลาม นายประสาน ศรีเจริญ ผู้ แ ทนศาสนาคริ ส ต์ บาทหลวงชู ศั ก ดิ์ สิ ริ สุ ท ธิ์ ผู้ แ ทนศาสนาพราหมณ์ - ฮิ น ดู นายสถิ ต ย์ กุ ม าร และผู้แทนศาสนาซิกข์ นายมานิต สัจจมิตร นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) พระคุณเจ้าที่เคารพ ท่านอธิบดีกรมการศาสนา ท่านผู้นำทางศาสนา และท่านผู้มีเกียรติ ท่านศาสนิกชนทุกท่าน
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
37
เป็ น อี ก วาระหนึ่ ง ที่ เราได้ ม ารวมพลั ง ทางด้ า นศาสนาเพื่ อ สร้ า งความสมานฉั น ท์ โดย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ผมได้รับเกียรติจากท่านอธิบดีกรมการศาสนา ให้มาทำหน้าที่ เป็ น ผู้ ด ำเนิ น การเสวนา การเสวนาวั น นี้ ป ระกอบด้ ว ยผู้ แ ทนทั้ ง ๕ ศาสนา สำหรั บ ผู้ แ ทนทาง ศาสนาพุทธ คือ พระเดชพระคุณพระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม ท่านที่สอง ผู้แทน ทางศาสนาอิสลาม คือ อาจารย์ประสาน ศรีเจริญ ผู้แทนทางศาสนาคริสต์ ท่านบาทหลวงชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ผู้แทนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อาจารย์สถิตย์ กุมาร ท่านสุดท้าย ผู้แทนศาสนาซิกข์ อาจารย์มานิต สัจจมิตร ประเทศไทยเราโชคดีที่มีศาสนาถึง ๕ ศาสนา เพราะศาสนาเป็นพลังสำคัญ ในการแก้ปัญหา ถ้าศาสนานั้นจะเป็นพลังเหมือนมนุษย์ที่มีพลัง ก็จะเป็นมนุษย์ที่มีกำลังถึง ๕ คน เพราะฉะนั้นปัญหาของประเทศไทยของแผ่นดินไทย ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่ขนาดไหน คน ๕ คน ผมเชื่อว่า แบกได้ เคลื่อนได้ โยกย้ายได้หมด ฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในสังคมไทยนั้นมันไม่ได้ อยู่ที่ว่าเราจะแก้ไขปัญหานั้นไม่ได้ เราแก้ปัญหาได้ เพียงแต่ว่าเราจะแก้ปัญหานั้นโดยวิธีการอย่างไร แน่นอนครับ ศาสนาเป็นคุณธรรมที่สำคัญสำหรับมนุษย์ คำว่ามนุษยชาติหรือธรรมชาติ เป็นอย่างเดียวกันก็คือว่ามนุษย์ถ้าไม่พัฒนาก็เติบโตมาอย่างธรรมชาติ แต่ถ้าได้มีการพัฒนา มนุษย์ ก็จะกลายมาเป็นผู้ที่มีคุณธรรม อย่างเช่น ดินในท้องไร่ท้องนาเป็นธรรมชาติ แต่คนที่เขาฉลาดขุดเอา ไปปั้นเป็นถ้วยโถโอชาม ทำเป็นเครื่องลายคราม ดินนั้นก็พัฒนาจากดินตามธรรมชาติราคาไม่กี่บาท ก็ ส ามารถจะไปขายเป็ น ถ้ ว ยโถโอชามใบละหลายพั น บาทได้ มนุ ษ ย์ เราก็ เช่ น เดี ย วกั น ถ้ า ได้ รั บ
การพัฒนาที่ถูกต้อง โดยอาศัยหลักศาสนาแล้ว จากมนุษย์ธรรมดา ๆ ก็กลายเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า
ในสังคม เพราะฉะนั้นสังคมเรามีปัญหา เราจะต้องอาศัยการแก้ปัญหาร่วมกัน วันนี้กรมการศาสนา ต้องขอกราบขอบพระคุณผู้แทนทั้ง ๕ ศาสนา ซึ่งรับอาราธนาและรับเชิญมาร่วมเสวนาจุดประกาย ในวันนี้ เบื้องต้นผมจะขออนุญาตให้ผู้แทนทั้ง ๕ ศาสนา ได้สะท้อนแนวความคิดแต่ละศาสนาว่า หลั ก คำสอนเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งความรั ก ความสมานฉั น ท์ นั้ น มี ห ลั ก การสำคั ญ อย่ า งไร เบื้ อ งต้ น จะขอ อาราธนาพระเดชพระคุณพระปัญญานันทมุนี ในฐานะผู้แทนศาสนาพุทธ ได้นำเสนอแนวความคิด ในเรื่องของศาสนาพุทธเรื่องความรักสามัคคีของคนในชาติ
38
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
พระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม (ผู้แทนศาสนาพุทธ) ขออำนวยพรท่านผู้ดำเนินรายการและผู้ร่วมเสวนาทุกท่าน รวมถึงพระคุณเจ้าและก็ศาสนิกทุกศาสนา ด้วยความรัก ด้วยความเคารพ วันนี้ภูมิใจที่เราประเทศไทยได้มีอะไรที่ก่อให้เกิด ความสวยงาม ดูการแต่งตัวจะเห็นเลยว่าประเทศไทยมั่งมี ศรี สุ ข เสื้ อ ก็ ห ลากสี คนอยู่ ร่ ว มกั น ก็ จ ะสามารถมองได้ หลายมิติ นี่คือความสวยงามของประเทศไทย หลาย ๆ ศาสนาถื อ ว่ า เป็ น ความสวยงาม ดอกไม้ ที่ อ ยู่ บ นโต๊ ะ ตรงหน้าเวทีนี่นะ ถ้าเอาสีแดงมาไว้อย่างเดียว คงไม่อยาก จะดูหรอก สีเหลืองอย่างเดียว ก็ไม่น่าดูเลย มีสีต่าง ๆ หลากสี มันน่าดู ทำให้เราเป็นอยู่แบบร่วมกับคนทั้งโลกได้อย่าง สนิทใจ เราไปไหนอยู่ที่ไหน ก็เลยไม่แปลก พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาในโลกไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อ แปลกแยกโลก แต่เกิดมาเพื่อสร้างสรรค์โลกนี้ให้น่าอยู่และน่ารัก พระพุทธเจ้าเกิดมาในโลกพระองค์ เกิดมาด้วยเงื่อนไขอะไร สิ่งที่น่าสนใจที่สุดก็คือพระองค์เกิดมาพร้อมเงื่อนไขอะไร สิ่งที่พระองค์ได้ทำ ให้เกิดคือ ได้เห็นถึงโลกเจ็บปวดทุกข์ทรมานมากกว่าที่เราพบเจอนะ ถ้าดูจริง ๆ แล้วโลกที่เต็มไปด้วย เทวทูต นี่เราจะสนุกอะไรกันนัก จะเพลินอะไรกันนัก พระองค์เห็นเทวทูต ๔ ประการ แล้วรู้สึกว่า ต้องช่วยโลกแล้ว เทวทูต ๔ ประการ คือ เรื่องความแก่ เรื่องความเจ็บ เรื่องความตาย และก็เห็นว่า สมณะน่าจะเป็นทางออกที่ดี การเกิดขึ้นของพระองค์ ก็เกิดขึ้นเพื่อต้องการที่จะช่วยให้โลกใบนี้พ้นจาก ความแก่ ความเจ็บ ความตาย แล้วก็ต้องหาทางออกคือสมณะ ความหมายตรงนี้ก็หมายความว่า คนที่เกิด แก่ เจ็บ และตาย เป็นทุกข์ เป็นความทุกข์ของคนที่เกิดขึ้นมาบนโลก พระองค์ตรัสไว้ว่า ปิยะโต ชายะเต โสโก ความโศกย่อมเกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก เราทั้งหลายในโลกเนี่ยเรากำลังรัก แต่เราจะรักคนในโลกกันอย่างไรละ แต่ถ้ารักในความหมายของคำว่าไปผูกพัน มัวเมาแล้วจะเกิด ปัญหา พระองค์ได้ตรัสไว้ถึงขนาดว่า ความเศร้าโศก น้ำตาที่นองหน้าเพราะการพลัดพรากจากคนที่รัก น้ำในมหาสมุทรยังน้อยกว่าน้ำตาของคนที่หลั่งนองเพราะความรัก
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
39
ขอให้เข้าใจความหมายของความรักแบบนี้ว่ารักเพราะการพลัดพรากมันรักแบบทุกข์ ทรมาน พระองค์เห็นความทุกข์ของคนในลักษณะดังกล่าว จึงหวังจะช่วยคนทั้งโลก ช่วยอย่างไร ให้เขาพ้นจาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย พระองค์ทรงเสียสละ เชื่อว่าไม่มีใครในโลกใบนี้ กล้ า ที่ จ ะเสี ย สละอย่างที่พระพุทธเจ้าเสียสละ เป็ น ลู ก กษั ต ริ ย์ ห ากทรงอยู่ เ ป็ น ฆราวาสอี ก ไม่ กี่ ปี ก็ครองราชย์แล้ว สิ่งที่พระองค์มีอยู่ในกำมือทุกคนแสวงหากันจะเป็นจะตาย แต่พระองค์ยอมเสียสละ เสียสละเพื่อที่จะไปค้นหาแนวทางมาช่วยมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อน การแสดงออก ของพระองค์ตรงนี้ เป็นการแสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี ไม่ได้ผูกพัน แต่ต้องการช่วย รักที่ช่วย ไม่ มี ปั ญ หา แต่ รั ก ที่ ผู ก พั น นั้ น มี ปั ญ หา พระองค์ ก็ ห วั ง ที่ จ ะช่ ว ยโลก ในที่ สุ ด ก็ อ อกบวช ไปอยู ่
อย่างสามัญ ไปอยู่อย่างผู้ที่มีชีวิตเรียบง่าย แล้วก็เน้นประหยัด หวังประโยชน์สูงสุดคือช่วยเพื่อนมนุษย์ ให้พ้นจากความทุกข์ การกระทำของพระองค์ตรงนี้ทำให้โลกใบนี้ได้อาศัยพระองค์เป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิต ก่อให้เกิดความรัก เกิดความสามัคคี ถ้าโลกยังใช้วิธีการเหลื่อมล้ำอย่างไม่มีทาง ที่จะยอมหลีกหรือยอมปลดปล่อย โลกใบนี้อาจจะร้อนมากกว่านี้ พระองค์จึงได้ไปพบแนวทางว่า ทุกคนควรอยู่กันด้วยความรัก ที่เป็นความรักแบบอมตะ หรือรักแห่งความดี พระองค์ จึ ง วางหลั ก หรื อ กฎง่ า ย ๆ ไว้ ๓ ข้ อ ซึ่ ง เราชาวพุ ท ธก็ รู้ กั น อยู่ คื อ ข้ อ ที่ ๑ เราร่วมมือกัน เพื่อที่จะขจัดความชั่ว ความไม่ดี เรียกกันในนามศาสนาว่า กิเลสบ้าง ซาตานบ้าง evil บ้าง ภาวะชั่วบ้าง ถือว่าสิ่งเหล่านี้เราอย่าเอาชีวิตไปรับใช้ อย่าเดินตามเลย ภาษาบาลีเรียกว่า สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง คือชีวิตที่เกิดมานี้พระองค์พบว่า เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วต้องหยุดสิ่งนี้ให้ได้โลกใบนี้ จะพบกับความร่มเย็นเป็นสุข ข้อที่ ๒ เราต้องมุ่งมั่น ชีวิตคนเราเหลือกันคนหนึ่งไม่เกินร้อยปี อายุขัยของคนไม่เกินร้อยปี พระองค์ตรัสสอนเราว่า กุสะลัสสูปสัมปทา สิ่งที่ดีงามในชีวิตเรา เราได้ทำอะไรที่สนองคุณต่อแผ่นดิน สนองคุณแก่เพื่อนบ้าน สนองคุณแก่พ่อแม่ บางคนเกิดมา พ่อแม่มีแต่ความลำบาก มีแต่ความทุกข์ยาก ตั้ ง แต่ เ กิ ด จนกระทั่ ง โต พ่ อ แม่ ไ ม่ เ คยพบเลยว่ า เกิ ด ลู ก มา เสี่ ย งเป็ น ตายแล้ ว ได้ ป ระโยชน์ อ ะไร พระองค์ก็ตรัสสอนเราว่า สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง กุสะลัสสูปะสัมปทา คือทำสิ่งดีไว้บ้างเหอะ นั่งอยู่ตรงนี้ก็นั่งให้ดี ๆ ขึ้นรถเมล์ก็ขึ้นให้มันดี ๆ ไปอยู่ตรงไหนขอให้เป็นคนที่เขาอยากต้อนรับ พระองค์สอนให้เราเป็นคนที่ไปอยู่ตรงไหน ไม่เป็นภาระใคร อยู่ในบ้านในเมืองในแผ่นดิน ก็จะมีแต่ คำว่าโอ๊ยคนนั้นเกิดมา รู้สึกว่าประทับใจในการมีชีวิตและได้เจอคนนั้น ประการสุดท้าย เมื่อเราได้ละสิ่งที่เรียกว่ากิเลสตัณหาเป็นเรื่องของภาวะชั่วแล้ว เราก็ต้อง มาทำความดี ทีนี้เราทำความดีบางทีเราทำไม่หมด เราไปทำความดีตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง แล้วขณะที่ทำ บางทีคนพอใจแล้วก็มีนะ ไม่พอใจก็มี เหมือนวันนี้ที่เรามาประชุมกัน คนพอใจก็มี คนไม่พอใจก็มี
40
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ขนาดไปนั่งทานอาหารเขาเลี้ยงนะ นินทาเขาก็มี ไม่นินทาก็มี ก็ไม่มีทางอื่นนอกจาก สจิตตะปริโยทะปนัง คือยกจิตของตนให้สูง ปรับจิตของตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมตรงนั้น วันนี้เขาทำอาหารไม่อร่อย โชคดี ปลอดภัย ที่รู้จักช่วยลดความอ้วนให้ โชคดีวันนี้ไม่ต้องไปลดน้ำหนักที่ไหนอีก เราหาสิ่งที่ถูกต้อง ยกจิตเราให้สูงขึ้น ถ้าใครอยู่กันบนโลกใบนี้ด้วยกิจกรรม ๓ ข้อนี้ ก็จะพบว่าตนเองก็มีสุข คนรอบข้างก็มีสุข ไปที่ไหนก็พบแต่คำว่ามีความสุข ก็คือ สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง กุสะลัสสูปสัมปทา สจิตตะปริโย ทะปนัง เอตังพุทธานัง สาสะนัง ทำ ๓ อย่างนี้แหละเป็นการช่วยเกื้อกูลโลกใบนี้ให้อยู่กันอย่าง ร่มเย็นเป็นสุข ส่วนวิธีการที่จริงก็ไม่ได้ยากเลย พระองค์ตรัสวิธีการไว้เพียงแค่ให้เรามาฝึกตนเองกัน ประการแรกว่า อนูปวาโท หยุดการพูดการจาอะไรที่มันไปทำให้ตนเองและคนอื่นเดือดร้อน อย่าพูด กระทบกระเทียบ อย่าพูดเอาแต่ได้ ขอให้พูดด้วยความรู้สึกว่าเมื่อเขาพูดมาแล้วเราฟังไม่สบายใจ ก็อย่าไปพูดกับคนอื่น เอาคำนั้นไปพูดกับคนอื่นให้ไม่สบายใจ อนูปฆาโต อย่าทำสิ่งที่ชั่วร้าย เขารักชีวิต อย่าไปทำลายชีวิตกัน ไม่มีความสุขหรอกคนที่ไปทำลายชีวิตคนอื่น เราก็อย่าไปทำลายชีวิต ประการต่ อ มา ปาติ โ มกเข จะ สั ง วะโร จงรั ก ษาตั ว ให้ อ ยู่ ใ นกรอบในระเบี ย บในวิ นั ย อยู่ที่ไหนก็เคารพกติกา ณ ที่นั้น ใช้ชีวิตอย่างผู้ที่มีแบบ แล้วเราก็จะพบว่าถ้าเราทำตัวเป็นแบบ ก็คือ เราเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ของคำว่า ปาติโมกเข จะ สังวะโร มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง ก็คือการกินการอยู่ อย่าอยู่เพื่อกิน อย่าอยู่เพียงว่าเราจะกินเพียงอย่างเดียว ไม่ห่วงถึงอนาคต บ้านเมืองเราเป็นอย่างไร ก็ช่างมัน ธรรมชาติหมดไปก็ช่างมัน เราต้องทำตัวเองให้รู้จักพอดี พอประมาณ สุดท้ายก็คือเราต้องยกระดับจิต จิตใจของเราที่ยกให้อยู่ด้วยอาการที่สงบ ยกจิตใจให้สูงขึ้น นั้นคือหน้าที่ของเราชาวพุทธ หรือชาวโลกที่จะอยู่ร่วมกันแบบผู้หวัง การมีลมหายใจให้มันโล่งอก สบายอก สบายใจ ในวันนี้มาเห็นภาพศาสนิกชนแล้วรู้สึกสบายใจ พี่น้องชาวพุทธเดินไปตรงไหน ก็รู้สึกว่า มีแต่ความเบิกบานสบายใจ พี่น้องชาวคริสต์เดินไปตรงไหนก็รู้สึกสดชื่นสบายใจ พี่น้อง ชาวมุสลิมเดินไปตรงไหนก็รู้สึกสบายใจนะ ตอนแรกก็รู้สึกว่าช่วงเวลานี้คนมุสลิมถือศีลอดพี่น้องจะมา กันได้หรือเปล่า ก็เห็นเดินกันคล่องดีและไม่มีใครเป็นลมกันซักคนเลย นับว่าใช้ได้ นี่เราอยู่กันแบบ มีความสุข พี่น้องชาวซิกข์ก็มากันสบาย พี่น้องชาวคริสต์ พี่น้องชาวฮินดู มาร่วมกันในเหตุการณ์ตรงนี้ ทำให้รู้สึกว่า นี่คือดินแดนแห่งประเทศไทย ที่เรารักเราสามัคคี เรามีความดีร่วมกัน เราจะพูดในสิ่งที่ เราจำเป็นต้องพูด เราจะทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เรามีกติกาในการดำเนินชีวิต เราจะอยู่กันอย่าง ผู้อาศัย ความสงบเป็นที่ตั้ง เราจะหวังที่จะให้จิตของเราอยู่และไม่ระแวงกันนั้น
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
41
เราอยู่กันอย่าง ผู้ที่ไม่ระแวงดีกว่าอยู่ด้วยความระแวง แล้วก็สิ้นลมเพราะระแวง ขอให้ ช่วยสรรค์สร้างประเทศชาติของเรา จงอยู่ด้วยจิตที่ไม่ระแวง หันไปเจอใครก็เหมือนพี่ หันไปอีกที
ก็เหมือนน้อง เหมือนพี่เหมือนน้องที่เราปรองดองอยู่ด้วยกัน ด้วยความรัก ความสามัคคี ทำความดี เป็นรางวัลที่เราอยู่ร่วมกัน อาตมาก็ขอนำเอาหลักการในทางพุทธศาสนาว่ามีหลักการวิธีการ เราปฏิบัติ กันอย่างนี้ ก็ขอโอกาสแก่ทุกศาสนาจะได้นำวิธีการหลักการ เพื่อจะได้เข้าใจว่านี่คือการอยู่ร่วมอย่าง ผู้มีศาสนา เจริญพร นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) ขอบพระคุ ณ อย่ า งยิ่ ง ครั บ ที่ พ ระเดชพระคุ ณ ท่ า น ได้ ส ะท้ อ นความคิ ด ของหลั ก การ พระพุทธศาสนาว่า พระบรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น อุบัติตรัสรู้ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความ เดือดร้อนของมวลมนุษยชาติ เพื่อให้โลกนี้มีสันติสุข เพราะฉะนั้นก็แน่นอนครับว่า พระองค์นั้นไม่ได้เจาะจง ไปว่าคน ๆ นั้น จะมีชาติ ศาสนา มีชาติตระกูลเป็นอย่างไร ก็คือทั่วไปหมดทุกผู้คนทุกหมู่เหล่า อันนี้ ก็เป็นหลักการของศาสนาพุทธที่บอกว่า สัพเพสัตตา ไม่เจาะจงใครคนใดคนหนึ่ง สัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวง หมายรวมตลอดถึงทุกคน อยากจะกราบเรียนอาจารย์ประสานครับว่า ในศาสนาอิสลามที่มองเรื่อง มนุษยชาติในหลักการของศาสนาให้มีความรัก ความสามัคคีต่อกันอย่างไร ขอเรียนเชิญอาจารย์ครับ นายประสาน ศรีเจริญ (ผู้แทนศาสนาอิสลาม) ขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน ขอคารวะพระคุณเจ้า ท่านวิทยากร ท่านพิธีกรและผู้มีเกียรติในศาสนาต่าง ๆ ผมดี ใ จนะครั บ ที่ ไ ด้ มี โ อกาสมาพบกั บ พี่ น้ อ ง ศาสนิกชน วันนี้พระคุณเจ้าเริ่มต้นด้วยสีต่าง ๆ ผมไม่สบายใจ เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยสี ตกใจ แต่ ส บายใจตรงที่ ท่ า นมาพู ด ถึ ง เรื่ อ ง ความหลากหลาย ความสวยงาม ที่มันเกิดขึ้นในสังคมเรา ในทั ศ นะของอิ ส ลาม ถ้ า เรามองภาพกว้ า ง ๆ ก่อนจะถึงตรงนั้นเรามาพูดถึงคำว่า สามัคคี วันนี้เรามาพูดถึง
คำว่าสามัคคีก่อน พลังสามัคคีที่มาจากศาสนา ความสามัคคี คือการรวมกัน คือการรวมกับคนอื่นเพื่อปฏิบัติกิจกรรมหนึ่ง ๆ ให้แล้วเสร็จโดยพร้อมเพรียงกัน ถ้าหากเราจะดูคำนิยามตรงนี้ ดูง่าย ๆ แต่ทำไมมันไม่ได้เกิดขึ้นสักทีบนโลกใบนี้ มันเกิด เฉพาะกลุ่ม เกิดประเดี๋ยวประด๋าว แล้วก็เกิดแบบไม่ยั่งยืน 42
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
อันนี้สำคัญ ความจริง เรื่องของความสามัคคี ไม่ใช่ไม่เคยมี มันมี มีแล้วก็หาย มันมีแล้ว มันก็ไป เพราะว่าเรื่องของความสามัคคีนั้น เราต้องทำความเข้าใจในกลุ่มบุคคลก่อน บุคคลที่จะมาสร้างความรัก ความสามัคคีนั้นจะต้องมีความเข้าใจ เพราะการทำอะไรที่มันพร้อมกัน สามัคคีในทางชั่วก็มีนะ สามัคคี ในความดีก็มาก สามัคคีในทางชั่วก็คือว่า พร้อมใจกันจะโกงจะกินบ้านเมือง บางกระทรวงนี่ตั้งแต่ ปลัดไปจนถึงเด็ก ๆ เลยนะครับ มีความสามัคคีกันมาก ๆ เรื่องจะโกงชาติบ้านเมือง เห็นไหมครับ เป็ น ความสามั ค คี เ หมื อ นกั น ถามก็ ไ ม่ บ อก ตอบก็ ค ำตอบเดี ย วกั น หมด อั น นี้ ก็ มี ข่ า วกั น มา แต่สามัคคีในทางดีก็เยอะ ในการที่จะทำให้ในหลวงของเราสบายใจ ก็ทำกันเยอะ เห็นไหมครับ มีการจัดกิจกรรมนั่น มีการจัดกิจกรรมนี่ ก็เป็นการสามัคคีในทางดี แต่จะให้เกิดความสามัคคีกันได้ ต้องรู้จัก ต้องมีความเข้าใจว่าสามัคคีนำไปสู่ผลสำเร็จ อย่างไร ยิ่งศาสนาต่าง ๆ หรือศาสนิกเราต้องมาทำความเข้าใจซึ่งกันและกันว่า อะไรมันสามัคคีกันได้ บางทีไม่เข้าใจนะ บางทีคนจัดกิจกรรมนี่ บอกต้องรวมพลังกัน รวมอะไรกัน เอาศาสนาพุทธมารวม กับศาสนาอิสลาม เอาศาสนาซิกข์ ศาสนาคริสต์มารวมกัน ในส่วนซึ่งที่มันรวมกันไม่ได้ น้ำกับน้ำมัน มันรวมกันไม่ได้อยู่แล้ว อย่างพิธีกรรมทางศาสนามันรวมกันไม่ได้ ยังไงก็รวมกันไม่ได้ เราต้องเข้าใจ ซึ่งกันและกันก่อน แล้วเราจะรวมกันได้ ถ้าเราไม่เข้าใจมันรวมกันไม่ได้ อันนี้คือสิ่งสำคัญที่สุด บางที่ เจตนาดี แต่ว่าไม่ทราบ ไม่รู้ และไม่ถามด้วยนะ สำคัญที่สุด ไม่รู้และก็ไม่ถามด้วย ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่ บางทีเราก็พลาดในประเด็นเหล่านี้เหมือนกัน แล้วก็ไปคิดเอาเองว่า คนนั้นเขาไม่ร่วมมือ คนนี้เขาไม่ ร่วมมือ แต่ความจริงแล้วมันไม่ถูกต้องในมิติของศาสนา ถ้าเรามองถึงความรัก อย่าลืมว่าความรักของศาสนาอิสลามไม่ใช่ความรักเพื่อเรา ถ้าเรารัก เพื่อเราเมื่อไหร่ ก็จะไม่เกิดความสามัคคี มันต้องรักเพื่อคนอื่นรักเพื่อพระเจ้า มันถึงเป็นความรัก บริสุทธิ์ ถ้ารักแล้วเพื่อเรา มันก็เพื่อผลประโยชน์แห่งเรานี่แหละครับ มันไม่มีทางที่จะเกิดความ สามัคคีได้ เพราะถ้าหากเรารักตัวเราอย่างเดียว แสดงว่าเราไม่ชอบคนอื่น หรือว่าเราอาจจะทำอะไร กับคนอื่นไม่เต็มที่ เพราะเรามาห่วงว่าเราจะเสียประโยชน์ตัวเราเอง สังคมเราเวลานี้ ยุ่งอยู่กับอะไร ก็ยุ่งอยู่กับความรักเพื่อเรา รักเพื่อครอบครัวเรา รักเพื่อ ตระกูลเรา แต่ไม่ได้รักเพื่อคนอื่น มันจึงทำให้ความรักมันไม่เกิดประโยชน์ ผมอยากจะเรียนต่อท่าน ผู้เคารพว่า ศาสนามองคนทั้งโลกถือว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน ต้องมองตรงนั้นก่อนเพราะอัลลอฮ์ ตะอาลา บอกว่า ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานตรัสว่า ยา อัยยูฮันนัส บอกกับมนุษย์นะครับไม่ได้บอก กับผู้ศรัทธา บอกกับมนุษย์ว่า อินนาคอลัคนา กุมมิกะ อินุซ่า เราได้สร้างมนุษย์ทั้งหลายมาจากหญิงหนึ่ง ชายหนึ่ง จากอาดัม ฮาวา ทุกคนนี่นะ ถือว่ามาจากตระกูลเดียวกัน นี่ศาสนาอิสลามมองอย่างนั้น แล้วศาสนาก็ไม่ต้องการให้มนุษย์นั้นเป็นมุสลิมทั้งหมด เพราะในพระคัมภีร์อัลกุรอานก็บอกเลยว่า วาเลาชา อาร็อบบูกา ลาชาอันนา ซาอุมวาตาวะชิดะห์ วาลายาซาลุมุกุตารีฟีน ขออภัย ที่ต้องเอ่ย รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
43
พระคัมภีร์แต่แปลได้ความว่า หากว่าพระเจ้าของเจ้านั้นประสงค์ที่จะให้มนุษย์ทั้งหลาย วาลายาซาลุมุกุตาร์ฟีน ได้เป็นศาสนาเดียวกันทั้งหมด แต่พระองค์ไม่ทำอย่างนั้น พระองค์ให้ความแตกต่าง มันเกิดขึ้น จนทุกวันนี้ก็จะมีศาสนาต่าง ๆ นั่นแปลว่า เรื่องของศาสนาเป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล ที่เขาจะนับถืออย่างไร ลาอิกร่อฟิดดีน ศาสนาไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำนั่น ทำนี่ อันนี้คือเจตนาว่า อิสลามต้องมองแบบนี้ก่อน แล้วก็ส่งศาสดามาทำไมครับ ประการสำคัญที่สุด วามาอัรซันนา วอินลาเราะห์ มาตาอินลา อาลามีน อัลเลาะฮ์ทรงตรัสกับพระศาสดาโมฮัมหมัดว่า เราไม่ได้ส่งเจ้ามานอกจากจะให้ความผาสุก แก่โลกทั้งผอง ก็แปลว่ามาให้สงบ ไม่ใช่มาเพื่อที่จะให้เกิดความเดือดร้อน ดังนั้นก็มีวิธีการทั้งหลาย กรรมวิธีในการที่พระศาสดาที่มาปฏิบัติต่อศาสนิกชนนี่นะครับ ซึ่งก็มีมากมาย แต่ผมเกริ่นตรงนี้ไว้ก่อน สรุปให้ฟังว่า ๑) อิสลามมองมนุษย์ทั้งหลายเป็นครอบครัวเดียวกัน ๒) เจตนารมณ์ของการแต่งตั้ง พระโมฮัมหมัดมาบนโลกนี้ก็เพื่อสร้างความผาสุก นี่คือหลักการ ดังนั้นถ้าหากเราไปเห็นใครก็ตามที่ทำผิด เราอย่าเหมาว่าเป็นเรื่องของศาสนา เราอย่าเหมา ว่าเรื่องของศาสนาให้ทำแบบนี้ มันเป็นเรื่องของบุคคล ไม่ว่าคนนั้นจะนับถือศาสนาใด ย่อมชั่วได้ ย่ อ มดี ไ ด้ มี ไ ด้ ทุ ก ศาสนานั้ น แหละครั บ ไม่ ใช่ ศ าสนาอิ ส ลามอย่ า งเดี ย ว ไม่ ใช่ มุ ส ลิ ม อย่ า งเดี ย ว ทุกศาสนา แต่เราต้องแยกแยะให้เข้าใจว่านี่คือศาสนา นี่คือบุคคลที่นับถือศาสนา เขาอาจจะไม่เข้าใจ หรืออาจจะตามอารมณ์ หรือว่าถูกซาตานมารร้ายหลอกลวง อะไรก็แล้วแต่ อย่าไปเหมารวมว่านี่คือ ศาสนาใช้ให้ทำไม่ดี ให้ทำร้ายต่อคนอื่น นะครับ ขอขอบพระคุณครับ นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) ขอบคุณครับ ชัดเจนมากเลยครับว่าศาสนาอิสลามนั้นมนุษยโลกนี้เป็นครอบครัวเดียวกัน เพราะฉะนั้นเวลาไปเจอคนทำไม่ดีก็อย่าไปเหมาเรื่องศาสนา เพราะว่าศาสนานั้นสร้างคนให้เป็นคนดี มนุษย์เรานั้นมีชั่ว มีดี มีต่ำ มีสูง มีดำ มีขาว รวมความแล้ว ศาสนาอิสลามมองคนทั้งโลกเป็น ครอบครัวเดียวกัน คนที่อยู่ในครอบครัวเดียวกันคงไม่ต้องการให้คนใดคนหนึ่งในครอบครัวตกระกำ ลำบาก อันนี้ก็ชัดเจนนะครับ ผมไปที่ท่านบาทหลวงชูศักดิ์นะครับ ศาสนาคริสต์ ก็มีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว คนที่ นั บ ถื อ ศาสนาคริ ส ต์ เ นี่ ย ครึ่ ง ค่ อ นโลกเลยที เ ดี ย ว เพราะฉะนั้ น ในเรื่ อ งของศาสนาคริ ส ต์ ไ ด้ ส อน ความรักมนุษย์ ให้มนุษย์ได้สมานฉันท์กัน ในหลักการของศาสนา อยากจะกราบเรียนท่านในเบื้องต้นนี้ ได้นำข้อคิดเพื่อเสนอในที่ประชุมแห่งนี้ได้รับทราบแนวความคิดดังกล่าว ขอกราบเรียนเชิญ ครับ
44
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
บาทหลวงชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ (ผู้แทนศาสนาคริสต์) นมัสการพระคุณเจ้าทุกรูป ท่านผู้ดำเนินการเสวนา ท่านผู้ร่วมเสวนาทุกท่าน ท่านอธิบดีกรมการศาสนา และพี่น้องศาสนิกชนที่เคารพนับถือทุกท่านครับ วันนี้เรามาทำบุญร่วมกัน พยายามที่จะช่วยให้ ประเทศของเรามีความสุขโดยการมีสมานฉันท์ กว่าจะ มาพู ด ตรงนี้ เดิ น ทางมาไกลครั บ ผมขั บ รถมาจาก นครราชสีมา เพื่อที่จะพูดเดี๋ยวเดียว แล้วขับรถกลับอีก เดินทางมาไกลมากครับ ไหน ๆ ก็มีโอกาสได้ขึ้นมาแล้ว ก็ไ ด้ มี โ อกาสได้ ดูเยาวชนเขาเป็นวัยใสพูดแล้ว พวกเรา ปรบมื อ กั น เพี ย บ พวกเราอายุ ม ากกว่ า พู ด ไปพู ด มา ชักเครียดนะครับ ก็ไม่อยากจะให้บรรยากาศเป็นอย่างนั้น แท้จริงแล้วเราก็เป็นผู้ที่ทำงานร่วมกันในด้าน ศาสนสั ม พั น ธ์ ห รื อ ว่ า ในแง่ ข องสมานฉั น ท์ พ บกั น หลายเวที ค รั บ เริ่ ม ต้ น จากพระปั ญ ญานั น ทมุ นี วัดปัญญานันทาราม ได้ร่วมงานศาสนสัมพันธ์กันมาหลายปีทีเดียวครับ และก็ทุกท่านก็ทำงานกัน อย่างนี้ แต่ว่า ในช่วงแรกเราขอแบ่งปันในสิ่งที่เป็นเนื้อหาหลัก หลังจากรอบแรกไปแล้วก็จะเป็นเรื่องของ ประสบการณ์และแนวความคิดในการที่จะปรึกษาหารือกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้สังคมของเรานั้น มีสันติสุขมากยิ่งขึ้น ผมขออนุญาตนำเสนอในสิ่งที่เป็นพื้นฐานจากพระคัมภีร์ในทัศนะของชาวคริสต์เลยนะครับ มี ๓ ประเด็น ประเด็นแรก ทำไมเราต้องมีความสามัคคี รักใคร่ กลมเกลียวกับผู้อื่น เพราะว่าคนอื่นนั้น ไม่เหมือนกับเรา แท้ที่จริงแล้วพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นผู้สร้างธรรมชาติ มนุษย์
ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และธรรมชาติก็คือความแตกต่างหลากหลาย นี่แหละครับ ที่พระคุณเจ้าพูดเริ่มต้นที่คำว่าสี ดอกไม้หลากสี คนที่นั่งร่วมเสวนาด้วยกัน ก็ ห ลากสี ถ้ า คิ ด ว่ า แตกต่ า งจะเครี ย ด ท่ า นก็ จ ะเครี ย ด แต่ ท่ า นคิ ด ว่ า นี่ คื อ ธรรมชาติ และคื อ ความสวยงาม ท่านก็จะเห็นว่านี่คือความสวยงาม และก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ เราไม่สามารถที่จะทำให้ คนอื่น ๆ คิดเหมือนกับเรา ใส่เสื้อเหมือนกับเรา ทุกอย่างเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเรายอมรับว่า
นี่คือธรรมชาติจริง ๆ แล้วนี่คือความสวยงาม การที่เราเห็นคนอื่นไม่เหมือนกับเรา การที่เห็นคนอื่น เขามีความเชื่อ เขาปฏิบัติศาสนกิจไม่เหมือนกับเรา ก็ไม่ต้องไปเครียด แต่เห็นว่านี่คือความดีงาม
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
45
เพราะว่านี่เป็นผลงานสวยงามที่สุดที่พระเจ้าสร้างพวกเรามาให้แตกต่างหลากหลายกัน และก็จะอยู่ อย่างนี้ไปจนสิ้นโลกครับ เพราะฉะนั้นความแตกต่างนี้เป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าความแตกต่างนั้นก็ยังมีอีกมุมมองหนึ่ง เราแตกต่างกันแต่ว่าเป็นหนึ่งเดียวกันได้ เหมือนดอกไม้ที่หลากหลายสีก็เป็นหนึ่งแจกัน เหมือนนิ้วมือหลาย ๆ นิ้ว แต่ว่าเป็นมือเดียวกัน นี่จึงเป็นเหตุที่ทำให้เราจะต้องคิดถึงคนอื่น ๆ เราเป็นมนุษย์ในครอบครัวเดียวกัน เมื่อสักครู่นี้ ท่านผู้แทนจากศาสนาอิสลาม อาจารย์ประสาน ศรีเจริญ ก็ได้กล่าวแล้วว่า มนุษย์เป็นครอบครัวเดียวกันเพราะว่า พระเป็นเจ้าเป็นพระบิดา เป็นผู้สร้างเรามา และสร้างเรามา ให้ต่างกัน และสร้างเรามาให้นับถือศาสนาต่างกันด้วย การที่มีศาสนาต่างกันไม่ใช่เป็นความเลวร้าย ของมนุษยชาติ แต่ก็เป็นความดีงามและเราก็มีส่วนที่จะสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในครอบครัวเดียวกัน เรามีสายเลือด สายสัมพันธ์ที่จะเป็นหนึ่งเดียวกัน นอกนั้นเราก็จะมีสายสัมพันธ์ในสังคม เรายังมี สายสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นคนไทยด้วยกัน เราจะต้องรักกัน และช่วยเหลือกันในสังคม และในฐานะ ที่เราเป็นมนุษยชาติ โลกนี้เราจะต้องช่วยเหลือกัน ถ้าสมมุติว่าเราไปต่างดาว แล้วเราไปเจอคน ๆ หนึ่ง ที่ต่างดาว เราคงจะดีใจสุดขีด โอ้! เราพบมนุษย์อีกคนที่เหมือนเรา ใช่ไหมครับ ในความแตกต่างเราก็มี ความเป็นหนึ่งเดียวและมีความสัมพันธ์จะมากน้อยก็แล้วแต่ ๆ ในฐานะที่คนอื่นเขาไม่ได้นับถือ ศาสนาเดียวกับเรา เขาก็เป็นคนดีเป็นศรัทธาชน เขาเป็นคนไทยเหมือนกับเรา เขาเป็นพลโลก เหมือนกับเรา นี่จึงเป็นครอบครัวเดียวกันที่จะเราต้องเอาใจใส่ และต้องดูแลซึ่งกันและกัน ประเด็ น ที่ ๓ คำสอนหลั ก ของศาสนาคริ ส ต์ บ อกว่ า ทำไมจะต้ อ งรั ก ความรั ก นั้ น คื อ
รักพระเจ้าสุดจิต สุดใจ สุดวิญญาณของท่าน และท่านจะต้องรักผู้อื่นเหมือนรักตนเอง รักพระเจ้า ตัวชี้วัดก็คือท่านจะต้องไปปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ แล้วก็มีคนมาถามพระเยซูเจ้าว่า แล้วเพื่อนมนุษย์
คือใคร พระเยซูเจ้าก็ให้คำเปรียบเทียบ ว่ามีคน ๆ หนึ่งเดินทางไปแล้วถูกโจรปล้นถูกขโมยสิ่งของไป อาการปางตาย มีสมณะคนหนึ่งเดินผ่านมาและก็เดินข้ามไปอีกฟากหนึ่งทำมองไม่เห็น มีเลวีคนหนึ่ง เดินผ่านมาแล้วก็เดินผ่านไป ทำเหมือนมองไม่เห็น แต่สุดท้ายชาวซามาเรียได้เดินผ่านมาแล้วก็ช่วย ทำไมพระเยซูเจ้าเอาชาวซามาเรียเป็นพระเอก ทำไมไม่เอาชาวยิวมาเป็นพระเอก ก็เพื่อจะบอกว่า นั่นแหละคือคนดี แล้วเขาก็ตอบว่าคนที่ได้ช่วยคนที่บาดเจ็บนั่นแหละคือเพื่อนมนุษย์ แล้วพระเยซูเจ้า ก็สั่งว่าจงกลับไปทำแบบนี้เถิด สรุปว่าเพื่อนมนุษย์คือใคร ก็คือทุกคนครับ เพื่อนมนุษย์ชาวคริสต์ ไม่ได้เป็นแค่ชาวคริสต์เท่านั้น จะต้องเป็นมนุษย์ทุกคน นี่เราทุกคนจึงเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน เราจะต้องมีความสัมพันธ์และต้องช่วยเหลือกัน นี่เป็นพื้นฐานของคำสอนที่รวมเอามนุษย์ ทุกคนไว้ในหัวใจ ในความคิด ในความเอื้ออาทรของเรา นี่จึงนำเสนอพี่น้องทุกท่านในโอกาสนี้ครับว่า นี่คือ รักแบบศาสนาคริสต์
46
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) กราบขอบพระคุณท่านบาทหลวงชูศักดิ์ที่ได้สะท้อนถึงแนวความคิดว่าความรักของพระเจ้า นั้นมีต่อมวลมนุษยชาตินั้นมากมายขนาดไหน ขอไปที่อาจารย์สถิตย์ กุมาร นะครับ ในเรื่องของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พูดถึงเรื่องความรัก ของทางศาสนาที่มีต่อมวลมนุษยชาติไว้อย่างไรบ้าง ขอเรียนเชิญครับ นายสถิตย์ กุมาร (ผู้แทนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู) นมัสการท่านเจ้าคุณ และแขกผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน ศาสนาฮิ น ดู เ ป็ น ศาสนาที่ เ ก่ า แก่ ที่ สุ ด ในโลก มี ผู้ นั บ ถื อ นั บ พั น ล้ า นคน เป็ น ศาสนาที่ มี ผู้ นั บ ถื อ มากเป็ น อันดับสามของโลก เป็นศาสนาที่เชื่อว่าคนและสัตว์ตายไป แล้วจะต้องเกิดใหม่ เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว แต่ พ ระองค์ จ ะปรากฏในรู ป ต่ า ง ๆ มากมาย เชื่ อ ในกฎ แห่ ง กรรม คื อ ทุ ก อย่ า งที่ เราทำไว้ เราจะต้ อ งรั บ ผลของ การกระทำนั้ น เชื่ อ ในวิ ถี แ ห่ ง ความถู ก ต้ อ ง เชื่ อ ว่ า ทุ ก คน ปรารถนาความหลุดพ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด ศาสนาฮิ นดู เ ป็น วิถี ชี วิต ที่ผู้ นั บถื อ จะต้ อ งปฏิ บั ติ ภายใต้ที่ว่า การกระทำทุกอย่าง มีกฎธรรมชาติควบคุมอยู่ ศาสนาฮินดูมีประเพณีและความเชื่อเป็นของตนเองรวมทั้งมี ระบบจริยธรรมที่สูงส่ง มีพิธีกรรมที่มากมาย มีปรัชญาและ เรื่องราวที่เกี่ยวกับเทพเป็นของตนเอง เมื่อเราบอกว่าพระเจ้าอันสูงสุดมีแค่องค์เดียวแต่พระองค์ปรากฏในรูปต่าง ๆ มากมาย ก็ ห มายความว่ า สั จ ธรรมอั น สู ง สุ ด แทรกซึ ม อยู่ ทุ ก หนทุ ก แห่ ง ทั้ ง อยู่ ใ นตั ว มนุ ษ ย์ แ ละสิ่ ง ที่ มี ชี วิ ต ดังนั้นเราจะไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน หลักอหิงสานั้นคือ การไม่ทำลายหรือทำร้ายสิ่งที่มีชีวิตนั่นเอง ศาสนาฮินดูเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าสิงสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง เมื่อการทำร้ายซึ่งกันและกันไม่เกิดขึ้น ความสามัคคีมันก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
47
ฤา ษีท่านสอนว่า ในเมล็ดพืชเมล็ดหนึ่ง มีต้นไม้อันมหึมาแอบแฝงอยู่ในเมล็ดพืชนั้น เราจะ รู้เรื่องนี้ก็ต่อเมื่อเรามีผู้สอนและนำมาประพฤติปฏิบัติ ดังนั้นเมื่อเราเอาเมล็ดนั้น เข้าไปปลูกในพื้นดิน
จนกระทั่งกลายเป็นต้นไม้เล็กต้นหนึ่ง เมื่อเรามาดูต้นไม้เล็ก ๆ ต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าส่วนต้นขึ้นไป ด้านบน ส่วนรากอยู่ข้างล่าง เราทุกคนก็รู้เรื่องนี้ แต่ว่าส่วนต้นที่ขึ้นไปอยู่ข้างบนนั้นจะพยายามบอกว่า ฉันต้องการแสงสว่าง ฉันต้องการลม ฉันต้องการฝนเพื่อที่จะอยู่รอด แต่รากและต้นไม้ทั้งต้นก็รู้ว่า
ถ้าไม่มีฝน ไม่มีลม รากก็คงอยู่ได้ไม่นาน ถ้าเรามาพิจารณาดู ความคิดทั้งสองแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ก็อยู่ร่วมกันโดยอาศัยซึ่งกันและกัน ถึงแม้พฤติกรรมจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ก็สามารถ อยู่ร่วมกันได้ เมื่อใดสังคมเข้าใจเรื่องนี้ความสามัคคีก็จะเกิดขึ้น ที่จริงแล้วในคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนี้มีมากมาย ขอผมเข้าเรื่องศาสนาพราหมณ์ฮินดู กับความสมานฉันท์ที่ทางศาสนาได้สอนไว้ ศาสนาฮินดูให้ความเคารพต่อศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ ทุกองค์ทุกศาสนาและให้ความเคารพต่อคำสอนของศาสดาเหล่านั้น โดยถือว่าสัจธรรมซึ่งมีมาแต่ ดั้งเดิม แต่ได้ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกาลเวลา ศาสนาฮินดูได้เสนอแนวทางหลายประการในการรวม เป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า ศาสนาทุกศาสนาแท้จริงก็คือแนวทางไปสู่พระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน
แต่ใช้เส้นทางที่แตกต่างกัน คำสอนดังกล่าวปรากฏอยู่ในคัมภีร์ฤคเวทว่า “เอกกัง สัท วิปฺราหะ พหูธา วทนฺติ เอกัม สัท วิปราหะ พะหุธา วะทันติ” คือความจริงแท้มีเพียงหนึ่งเดียว แต่ผู้รู้เรียกความจริงแท้นั้นด้วยหลายชื่อ ทั้งนี้เนื่องจากว่าศาสนาฮินดูเชื่อว่า สัจธรรมสูงสุดแทรกซึมอยู่ทุกหนทุกแห่งและอยู่ในตัวมนุษย์และ สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ศาสนาฮินดูสอนให้มีขันติธรรมทางศาสนา และสอนให้คนทั้งโลกมีความเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกัน การมีขันติธรรมทางศาสนาเป็นคำสอนหลักของศาสนาฮินดูที่สืบทอดมาแต่ดึกดำบรรพ์ จนถึงปัจจุบัน มีคำหนึ่งในภาษาอังกฤษบอกว่า Sacredness of the individual หมายความว่า ในแต่ละคนมีแก่นแท้คือพระเป็นเจ้าอยู่ในคนแต่ละคน ไม่ว่า นับถือศาสนาใด อยู่ในพื้นที่ภูมิศาสตร์ใด มีสีผิวใด หรือมีความเชื่อทางศาสนาใด เพราะฉะนั้นการที่ตีกัน ฆ่ากัน หรือฟันกัน ศาสนาฮินดูจะไม่มี ท่านจะเห็นว่าชาวฮินดูจะเจอกัน ทะเลาะกัน หรือเถียงกัน แต่ไม่มีตีกัน เพราะว่าเขาอาจจะเป็น นักเลงทางปัญญา นอกเหนือจากนั้นศาสนาฮินดู ก็ได้สอนว่าคือคำว่า วะสุไธวะ กุฎมพะกัม ที่เขียนไว้ ประมาณ ๘,๐๐๐ ปีที่แล้วนั้น ในคัมภีร์พระเวทว่า โลกทั้งโลกก็คือเป็นครอบครัวเดียวกัน พูดง่าย ๆ ว่า คนที่ อ ยู่ ร่ ว มกั น ในโลกนี้ ไม่ ว่ า จะนั บ ถื อ ศาสนาใด อยู่ มุ ม ไหน หน้ า ตาเป็ น อย่ า งไร ผิ ว สี อ ะไร แต่ใต้สีผิวนั้น สีเลือดของทุกคนก็แดงทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเราทุกคนก็คืออยู่ในครอบครัวเดียวกัน
ทั้งนั้น ครอบครัวที่พระผู้เป็นเจ้าได้สร้างมา ดังนั้นความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้ 48
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
มีผู้หญิงคนหนึ่งเขามีปัญหาอยู่ตลอดเวลาที่บ้าน และก็บอกว่าบ้านฉัน มีแต่ตีกัน ทะเลาะกัน ไม่มีความสามัคคี อยู่ร่วมกันไม่ได้ ก็เลยไปหาพระขอให้ท่านช่วยหน่อย ท่านก็เลยไปบอกพระ บอกพระท่านช่วยทีเถอะ บ้านฉันมีแต่ปัญหาตีกันทั้งวันทั้งคืน ไม่มีใครเชื่อกันสักคนหนึ่ง พระท่านก็บอก ว่าเหตุการณ์พวกนี้ที่เกิดขึ้นก็เพราะเธอต้องการให้ทุกอย่างมันเกิดขึ้นตามที่เธอต้องการ ให้มันเกิดขึ้น ในวิธีของเธอที่ต้องการให้มันเกิด ท่านพูดต่อไปว่า สุนัขสิบตัวนั่งอยู่และเล่นด้วยกันได้โดยไม่ม ี
ปัญหา แต่เมื่อเราโยนข้าวเข้าไป มันก็เริ่มกัดกัน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ข้าว ปัญหาอยู่ที่ความเห็นแก่ตัว ดั ง นั้ น ตราบใดที่ เรายั ง รู้ การที่ เราเอาความเห็ น แก่ ตั ว ของเราออกมา รู้ รั ก เพื่ อ นฝู ง หรื อ บุ ค คล ที่ ใ กล้ เ คี ย งเรา เราก็ ส ามารถที่ จ ะมี ค วามสามั ค คี ไ ด้ ที่ จ ริ ง แล้ ว หลั ก ของศาสนาพราหมณ์ - ฮิ น ดู มีมากมาย แต่ถ้าผมจะพูดไปด้วยก็คงใช้เวลานานพอสมควร ขอบคุณครับ นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) ขอกราบขอบพระคุณท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน ผมคิดว่าท่านฟังมา ๔ ศาสนาแล้ว ในการสะท้อนความคิดของเรื่องความรัก ความเมตตาจากศาสดาที่มีต่อมวลมนุษยชาติจะเหมือนกันหมด ก็คือ มวลมนุษยชาตินั้น เป็นผู้ที่ควรอนุเคราะห์ เป็นผู้ที่ควรให้ความรัก ความเมตตาอย่างเสมอ เหมื อ นกั น โดยไม่ มี ค วามรั ง เกี ย จเดี ย ดฉั น ท์ เพราะฉะนั้ น คนที่ มี ศ าสนาและก็ ใช้ ศ าสนาให้ เ ป็ น ใช้ศาสนาให้ถูก จะนำพลังของศาสนานั้นไปสู่การสร้างสรรค์ แต่ถ้าใช้หลักศาสนาไม่ถูกหรือใช้ศาสนา ไม่เป็น ก็จะก่อให้เกิดปัญหา มีคำพูดหนึ่งว่า คนเคร่งศาสนากับคนคลั่งศาสนานั้นคนละอย่างกัน ถ้าคนเคร่งศาสนา เขาก็จะปฏิบัติศาสนกิจเพื่อหลักการของศาสนา และช่วยมนุษยชาติ จะทำให้เกิดสันติสุขขึ้นในสังคม แต่คนที่คลั่งศาสนาบางทีไม่เข้าใจในศาสนาหรอกครับ คลั่งไปและก็ไปยึดถือสะเปะสะปะ ในที่สุด ก็เกิดปัญหาการขัดแย้ง เหมือนอาจารย์ประสาน ได้กรุณาให้ข้อคิดว่า ถ้าไปเห็นใครทำไม่ดีก็ไม่ได้เป็น เรื่องของศาสนาหรือศาสดาแต่ประการใด เป็นเรื่องของกิเลส ตัณหา ราคะ เฉพาะตัว ถ้าเราเข้าใจ อย่างนี้แล้ว เราจะเข้าใจศาสนาของแต่ละศาสนานั้นเป็นความบริสุทธิ์เป็นความสะอาด อีกศาสนาหนึ่งก็คือศาสนาซิกข์ ขอเรียนเชิญผู้แทนศาสนาซิกข์ได้สะท้อนแนวคำสอน ของศาสนาซิกข์ต่อมวลมนุษยชาติเรื่องของความรัก ความสามัคคีนั้นเป็นอย่างไร ขอเรียนเชิญครับผม รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
49
นายมานิต สัจจมิตร (ผู้แทนศาสนาซิกข์) กราบนมั ส การพระคุ ณ เจ้ า ท่ า นผู้ แ ทนศาสนาทุ ก ศาสนา ท่านอธิบดีกรมการศาสนา และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมรู้ สึ ก ว่ า โชคดี ม ากที่ ทุ ก ครั้ ง ผมมา สั ม มนา อภิ ป ราย หรื อ ร่ ว มอภิ ป ราย ผมจะได้ รั บ โอกาสเป็ น คน สุดท้าย และด้วยเหตุผลอันนี้ผมก็โชคดี ตรงที่ว่า ผมได้รับ
คำแนะนำจากผู้นำศาสนา ผู้รอบรู้ต่าง ๆ ทำให้ผมนำเอามา ประยุกต์ เข้าได้ ขอขอบพระคุณท่านตัวแทนทุกศาสนาที่ให้ ข้อมูลผมมาก มนุ ษ ย์ ทุ ก คนเกิ ด มาล้ ว นแต่ นั บ ถื อ ศาสนา และ การร่ ว มฟั ง บรรยายทุ ก ครั้ ง ผมก็ จ ะได้ รั บ บทสรุ ป อั น เป็ น อมตะอย่ า งหนึ่ ง ว่ า ศาสนาทุ ก ศาสนาสอนให้ ค นเป็ น คนดี ศาสนาทุ ก ศาสนาสอนให้ เราเป็ น คนดี แต่ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คน มีความเป็นมนุษย์เป็นสัญชาตญาณอยู่แล้ว ศาสนาไม่ได้ช่วยอะไรเรามากนอกจากเป็นเครื่องกระตุ้น ให้ความเป็นมนุษย์ออกมาเท่านั้น เสมือนหนึ่งกับปฏิกิริยาเคมี ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้ความเป็นมนุษย์ ออกมา ศาสนาซิกข์บอกว่า ขอให้ทุกท่านเป็นมนุษย์ที่ดี แต่การที่เราทุกคนจะเป็นคนดีได้นั้น เราจะต้อง ยึดมั่นอยู่ในหลักแห่งความเป็นจริง ซึ่งศาสนาพุทธเราเรียกว่า หลักสัจธรรม พระศาสดากล่าวไว้ว่า หากท่านต้องการพบกับความสุขจงหันหน้าเจ้าเข้าหาความจริง เสมือนหนึ่งเจ้าหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ เมื่อท่านหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ แน่นอน เงาจะทอดอยู่ด้านหลังท่าน พระศาสดาบอกว่าเงา จะทอดอยู่ด้านหลังนั้น เสมือนหนึ่งกับความสุขที่จะตามหลังเจ้า เสมือนหนึ่งกับเงาที่ตามหลังเจ้า ถ้าท่านหันหน้าเข้าหาความจริง แต่ในมุมกลับหากท่านหันหลังให้ความจริง ไม่ยอมรับความจริง
หรื อ เมิ น ความจริงหรือไม่ตั้งมั่นอยู่ในหลักสัจธรรม ความสุ ข ของท่ า นจะปรากฏอยู่ ข้ า งหน้ า เจ้ า เหมือนโลกมายา แต่เจ้าจะไม่มีวันสัมผัสมันได้ เหมือนเจ้าหันหลังให้ดวงอาทิตย์ เงาจะปรากฏอยู่ เบื้องหน้าแต่ท่านจะไม่มีวันสัมผัสเงานั้นได้ นี่คือ ปรัชญาของพระศาสดา คุรุนานัก พระศาสดา องค์ปฐมบรมพระศาสดาแห่งศาสนาซิกข์ให้ตั้งมั่นอยู่ในหลักสัจธรรม วันนี้มาจำแนกเรื่องสัจธรรม พระศาสดาขยายความต่อไปว่าสัจธรรมหรือความจริงที่สุดยอด แห่งสัจธรรมและเป็นเลิศล้ำแห่งสัจธรรมแห่งความจริงก็คือ ความรัก ความรักจะนำมาซึ่งมิตรภาพ จะก่อให้เกิดความสามัคคี จะก่อให้เกิดซึ่งพลังอันสูงสุด และเมื่อนั้นเจ้าจะพบกับความสุขชั่วนิรันดร์ เสมือนหนึ่งเจ้าได้พบกับพระผู้เป็นเจ้า พระศาสดาให้ความสัมพันธ์กับความรักเสมือนหนึ่งเท่าที่ พบกับพระผู้เป็นเจ้า 50
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
เรามาจำแนกเรื่อง ความรักกันดีกว่า ความรักแบ่งออกเป็นหลายอย่าง รักบิดามารดา รักคู่ครองคู่สมรส รักบุตร รักหลาน รักพี่น้อง รักครอบครัว รักทรัพย์สิน และอีกต่าง ๆ แต่พระศาสดา กล่าวไว้ว่า ความรักต่าง ๆ เหล่านั้นล้วนเป็นอยู่ในสันดานของมนุษย์อยู่แล้ว เป็นสัญชาตญาณของ มนุษย์อยู่แล้วไม่ได้มีอะไรพิเศษไปกว่านั้นเลย พระศาสดาบอกว่า ความรักที่อยู่เหนือสุดยอดแห่ง ความรักคือรักเพื่อนมนุษย์ ให้ท่านรักเพื่อนมนุษย์ของท่าน เพราะว่าพระศาสดากล่าววัจนะไว้ว่า มนุษย์คือมวลมิตร หาใช่ศัตรู หาใช่ผู้แปลกหน้า ด้วยพระวัจนะศาสดาอันนี้เองที่ว่า มนุษย์เป็นมวลมิตร เมื่อใดก็ตามที่ท่านเห็นมนุษย์ของเราเป็นมิตรแล้ว เมื่อนั้นปฏิกิริยาของความเป็นเพื่อน ปฏิกิริยาของ ความชอบพอกันก็จะเกิดขึ้นทันที ความเข้าใจกันก็จะเกิดขึ้น ความเห็นอกเห็นใจกันก็จะมีขึ้น อันเป็น บ่อเกิดของความสามัคคี ความสมานฉันท์อันเป็นที่ปรารถนาของสังคม ไม่ใช่ของประเทศไทย แต่เป็น ของมวลมนุษยชาติทั้งหมดในโลกนี้ ความรักของเพื่อนมนุษย์ ความรักของมนุษยชาติไม่มีพรมแดน ไม่มีเครื่องกีดขวาง โดยเฉพาะศาสนาไม่ได้เคยเป็นเครื่องกีดขวางของความรักเพื่อนมนุษย์เลย ไม่ว่าเป็นศาสนาใดก็ตาม พระศาสดาได้กล่าวเอาไว้ชัดเจนในคัมภีร์ คุรุครันถ์ซาฮิบพระศาสดานิรันดร์กาลแห่ง ศาสนาซิกข์ว่า ถ้าท่านเป็นชาวพุทธ ขอให้ท่านเป็นชาวพุทธที่ดี ถ้าท่านเป็นฮินดู ขอให้เป็นฮินดูที่ดี ถ้าท่านเป็นคริสต์ขอให้ท่านเป็นคริสต์ที่ดี ถ้าท่านเป็นมุสลิมขอให้ท่านเป็นมุสลิมที่ดี แต่ที่สำคัญขอให้ ท่านเป็นมนุษย์ที่ดีที่เปี่ยมไปด้วยความรักที่ตั้งมั่นอยู่ในสัจธรรม อยู่ในจริยธรรมตามความเชื่อของ ศาสนาของท่าน ท่านไม่ต้องไปยึดถือศาสนาอื่น นับถือยึดมั่นในศาสนาของท่านที่นับถืออยู่ แต่การยึดมั่น ในศาสนาของตนนั้นให้ตั้งมั่นอยู่บนหลักของสัจธรรมและความเท่าเทียมกัน เมื่อใดที่ท่านตั้งมั่น อยู่ บ นหลั ก ธรรมทั้ ง สองประการนี้ แ ล้ ว แน่ น อนความรั ก จะบั ง เกิ ด และเมื่ อ ความรั ก บั ง เกิ ด มิต รภาพจะบั ง เกิด และเมื่อมิตรภาพบังเกิดแน่ น อนความสามั ค คี ความสมานฉั น ท์ ก็ จ ะบั ง เกิ ด
เสมือนหนึ่งเงาที่ตามท่านมา ท่านไม่ต้องไปขวนขวายหามัน ปัญหาที่ว่าประเทศไทยเราเจอว่ามีปัญหาการแตกแยกกัน ผมว่าปัญหาของประเทศไทย เป็นปัญหาเล็กน้อยมาก เมื่อเทียบกับอาณาประเทศที่เราเห็นปัญหามีกันมา โดยที่รากของปัญหา ของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นหยั่งลึกมาก ของเราเพิ่งเกิดเอง เป็นเหมือนกับสะเก็ดไม่ได้มีแผลลึก ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งใช้ ก ารเย็ บ เพี ย งแต่ ใ ช้ ก ารประสานด้ ว ยยาธรรมดา และยาที่ ผ มพู ด วั น นี้
และท่านผู้อภิปรายทุกท่านที่พูดวันนี้ก็คือความรัก วันนี้ผมจึงขอร่วมอาราธนาให้ทุกคน รักกันไว้เถิด เราเกิดเป็นไทย ขอขอบพระคุณมากครับ รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
51
นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) ครับท่านผู้มีเกียรติที่เคารพครับ ได้ฟังทั้ง ๕ ศาสนาแล้ว ทราบได้ทันทีว่ามนุษย์ที่อยู่ใน โลกนี้ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้านหรือนานาประเทศทั่วโลกเสมือนหนึ่งครอบครัว เดียวกัน ที่จริงโลกนี้ก็ไม่ได้ใหญ่โตมโหฬารอะไรมากนัก ในแผ่นดินนี้ ๑๐ ส่วน เป็นน้ำสัก ๗ ส่วน เป็นแผ่นดินจริง ๆ แค่ ๓ ส่วน มนุษย์จึงเกาะกลุ่มกันอยู่ในแผ่นดิน ๓ ส่วนนี้ ก็ไม่ได้มากมาย ๖-๗ พันล้านคน เราอยู่กันอย่างยาวนานมาอย่างนี้ ที่พระศาสดามองมาเป็นครอบครัวเดียวกัน ผมอยากจะกราบเรียนว่าถ้าเป็นครอบครัวเดียวกัน เป็นเรือลำเดียวกัน ภัยที่มันเกิดขึ้นกับครอบครัวนั้น กับเรือลำนั้น เวลามันเกิดขึ้นและมันจะทำอันตรายคนในครอบครัว ภัยนั้นไม่ได้มาเลือกว่าคนนั้นเป็น ศาสนานั้น คนนี้เป็นศาสนานี้ ยกตัวอย่างไฟไหม้บ้าน ไม่ได้เลือกเผาไหม้เฉพาะคริสต์ เฉพาะพุทธ หรือเฉพาะอิสลาม เผาทุกคนถ้าทุกคนไม่ได้หาทางช่วยกันดับไฟหรือหาทางหนีทีไล่ออกจากที่นั้นไป ไม่แก้ไขปัญหามันก็จะไหม้ทุกศาสนาในนี้ไม่ให้เหลือเลย หรือเรือลำนั้นเวลาน้ำมันรั่วเข้ามามันจะอัปปาง ลงในมหาสมุทร ไม่ได้เลือกหรอกว่าคนนั้นเป็นคริสต์ คนนั้นเป็นอิสลาม คนนั้นเป็นพุทธ จะฆ่าทุกคน ที่อยู่ในเรือ นี่คือภัยร่วมกัน ฉะนั้นมวลมนุษยชาติเรามีภัยร่วมกันอยู่มากมายหลายประการคงเจียระไน ไม่หมด ภัยต่าง ๆ เหล่านี้เองที่ภาครัฐก็ดี หรือส่วนต่าง ๆ ก็ดีต้องการความสามัคคีของคนในชาติ แล้วพลังแห่งความสามัคคีนั้น จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างชาติสร้างแผ่นดิน จริ ง ๆ ถ้ า พู ด เรื่ อ งของพลั ง มั น เกิ ด จากได้ ห ลายทางนะครั บ พลั ง ทางด้ า นเศรษฐกิ จ พลังทหาร พลังทางสังคม พลังทางการเมือง เป็นพลังทั้งหมด ถ้าจะเอาพลังทางทหาร เอาทหารมา ครูบังคับบอกให้เรารักกัน สมานฉันท์กัน ท่านลองคิดดูว่าทำได้หรือไม่ ไม่น่าจะสำเร็จนะครับ หรือ เอาเศรษฐกิจมาบังคับ ถ้าคนไม่รักกันปล่อยให้ยากจน ถ้าคนรักกันปล่อยให้ร่ำรวย อย่างนี้ก็คงจะไม่ใช่ เพราะพลังเหล่านั้นแอบแฝงไปด้วยอำนาจแต่เชื่อว่ามีพลังหนึ่งที่ไม่แอบแฝงอะไรเลย เป็นพลัง ที่ บ ริ สุ ท ธิ์ ข าวสะอาดนั่ น ก็ คื อ พลั ง ของศาสนา และพลั ง ที่ บ ริ สุ ท ธิ์ ข าวสะอาดนี้ เ ปรี ย บเสมื อ นน้ ำ เอาไปดื่มกิน เอาไปทำอะไรก็ได้ถ้าน้ำนั้นสะอาด บริสุทธิ์จริง ๆ สามารถเอาไปทำประโยชน์ได้ สารพัดประโยชน์ ดังนั้นวันนี้กรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรม โดยท่านอธิบดีกรมการศาสนา ท่านสด แดงเอียด อยากจะเห็นพลังของศาสนาเป็นตัวนำทัพ เป็นตัวจรรโลงของสังคม ว่าทำอย่างไร สั ง คมเราจะเกิ ด พลั ง ทางศาสนาช่ ว ยแก้ ปั ญ หาของชาติ บ้ า นเมื อ งได้ ทุ ก วั น นี้ เราก็ ท ราบว่ า สิ่งที่ประเทศไทยเราขาดคือความรัก ความสามัคคี ดังนั้นต่อไปนี้อยากจะฟังความคิดความเห็นของผู้นำทางศาสนาหรือผู้แทนทางศาสนา ท่านลองชี้เป็นรูปธรรมสิว่า ถ้าจะใช้พลังศาสนา ทำอย่างไรถึงจะเกิดผล นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 52
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ที่ผ่านมาก็ไม่ได้ว่าไม่เกิดผล แต่คล้าย ๆ กับว่ามันยังไม่เพียงพอ ว่ากันว่าการให้ความรัก ความสามัคคี นั้นให้กันได้อย่างง่าย ๆ ด้วยการยิ้มให้กัน ด้วยการให้อภัย ให้ทาน เมตตาต่อกัน เกื้อกูลกัน ต่อไปนี้ ก็จะไม่เรียงลำดับตามศาสนาพี่ ๆ น้อง ๆ ตามศาสนาใหญ่ เล็ก จะขอคละเคล้ากันไป และสามารถที่จะเสนอแนวความคิดร่วมกัน เป็นการถกประเด็นปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหานี้ เกิดเป็นรูปธรรม ท่านที่รับฟังอยู่ข้างล่างก็สามารถที่จะนำไปต่อกับ ความคิดเดิมได้ และสามารถที่จะทำให้เกิดเป็นรูปธรรมได้อย่างจริงจัง ขอมาที่ อ าจารย์ ป ระสาน ก่อนนะครับ อาจารย์มองว่าการทุจริต คอรั ป ชั่ น เป็ น เรื่ อ งของความเลวร้ า ย แต่ ผ มก็ ไ ม่ อ ยากให้ ม องไปว่ า ทั้ ง กระทรวง ทบวง กรม จะเป็นอย่างนั้น เพราะว่ า ในดี มี เ สี ย ในเสี ย มี ดี ขยะ ก็สามารถเอาไปทำประโยชน์ได้ สิ่งที่ เราคิ ด ว่ า เป็ น ประโยชน์ ใ นที่ สุ ด มั น ก็ กลายมาเป็นขยะ เพราะฉะนั้นก็อยาก ให้มองในมุมที่ความหลากหลายนะครับ แต่ อ ยากให้ อ าจารย์ ไ ด้ ส ะท้ อ นแนวความคิ ด ว่ า ถ้ า เราจะสร้ า งความสมานฉั น ท์ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คม โดยอาศัยหลักศาสนาจริง ๆ อะไรน่าจะเป็นรูปธรรมเร็วที่สุดนะครับ ขอเรียนเชิญอาจารย์นะครับ นายประสาน ศรีเจริญ (ผู้แทนศาสนาอิสลาม) ขอบพระคุณครับท่านพิธีกร ที่ผมเริ่มต้นมาไม่ได้มองไปข้างล่าง มอง ๆ ไม่เห็นใครเลย เห็นมัว ๆ แต่ข้างล่างมองขึ้นมารู้สึกชัดเจนมาก ขออภัยด้วย จริง ๆ เรื่องที่เรามาพูดกันในแนวของ ศาสนา ความจริงการปฏิบัติถ้าเราจะเอาศาสนานำหน้า เอาศาสนาเป็นตัวประสานมันสามารถ ที่จะทำได้เลย ถ้าเราเอาศาสนามาคุยกัน มันคุยง่าย เพราะว่าสังเกตไหมครับว่าในประเทศไทย ตั้งแต่บรรพบุรุษเรื่อยมาไม่เคยมีปัญหาระหว่างศาสนาเลย ท่านลองพิจารณาดู แต่ถ้าเรื่องอย่างอื่น เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการเมืองอะไรมันจะมีปัญหา แต่ว่าเรื่องศาสนาจะไม่มีเลย
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
53
ส่วนเรื่องของการมีแนวความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกัน มันเป็นเรื่องของบุคคล แต่ว่าสังเกต ไหมครับว่าเราจะอยู่นั่งร่วมกัน ทำงานร่วมกัน บ้านอยู่ใกล้เคียงกันทำนองนี้ ผมจึงบอกว่า เรื่องของ ศาสนาระหว่างบุคคลหรือระหว่างศาสนาจะไม่มีปัญหากัน แต่ว่าจะทำอย่างไรที่จะเอาประโยชน์จาก การที่ ไ ม่ เ กิ ด ปั ญ หาให้ เ กิ ด พลั ง ตรงนี้ มั น มี ค วามสำคั ญ อย่ า งที่ ไ ด้ เรี ย นไปแล้ ว ว่ า เรื่ อ งของทุ จ ริ ต เรื่องของความไม่ดีงามมันอะลุ่มอล่วยกันไม่ได้ เพราะศาสนาบอกไว้เลยว่าถ้าหากว่าเห็นสิ่งที่ไม่ดี สมมุตินะครับว่าศาสดากล่าวอย่างนี้เลย ใครก็ตามที่เห็นสิ่งไม่ดีงาม เช่น การทุจริต การลักขโมย การคดโกงต่าง ๆ นั้น คือถ้ามีอำนาจก็ใช้อำนาจจัดการ แต่ถ้าหากว่าไม่มีอำนาจ ก็ใช้วาจาหรือ
การพูดว่ากล่าวตักเตือน ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องใช้ทางใจ ขอพรต่อพระเจ้าเพราะบางทีคนนี่มีอำนาจมาก เราไม่สามารถที่จะไปแสดงอะไรได้ เดี๋ยวก็ตายเปล่า ๆ อย่างนี้เป็นต้น เพราะศาสนายังบอกว่า ถ้าอย่างนั้นขอพรจากพระเจ้าให้พระเจ้าได้เปลี่ยนใจเขา นี่แสดงให้เห็นว่าเราใช้ศาสนาเต็มบทบาท นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) ตรงนี้ มี ค นเปรี ย บเปรย เหมือนกันนะครับว่า การทุจริตต่าง ๆ นี่ ไม่ว่าดิน หิน ทราย ถูกทุจริตไปหมด มี เรื่ อ งเล่ า สั้ น ๆ ว่ า ระหว่ า งนรกกั บ สวรรค์ จ ะทำสะพานไปหากั น ตกลง ที่จะทำกันคนละครึ่งทาง และก็กำหนด เวลาภายใน ๑๕ วั น ให้ ท ำให้ เ สร็ จ ปรากฏว่าผ่านไป ๕ วัน นรกทำเสร็จก่อน สวรรค์ยังไม่ได้เริ่มอะไรเลย ๑๐ วันแล้ว สวรรค์ก็ยังไม่ได้เริ่ม คนที่เป็นกรรมการ จะไปตรวจรับของก็ตกใจว่าสวรรค์ยังไม่เริ่มเลย ไปถามก็ได้ความว่าพวกวิศวกรต่าง ๆ อยู่ที่นรกหมด ทำไม่ได้จริง ๆ ว่า ข้างบนไม่มีวิศวกรครับ ขาดหิน ทราย ไปอยู่ในนรกหมดครับ
54
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
นายประสาน ศรีเจริญ (ผู้แทนศาสนาอิสลาม) ครับ เราไปมองว่าพลังของศาสนานี่เป็นพลังเล็ก ๆ แต่จริง ๆ แล้วนี่พลังเล็ก ๆ แต่มันมี
ทุกคนนะ ทุกคนมีศาสนาหมด เพียงแต่ว่าจะแสดงออกมาโดยพฤติกรรมการร่วมมือกันนี่ โดยทาง พฤติกรรมจะแสดงได้เมื่อไหร่ เวลานี้เราจ้องกันอยู่นะ เกี่ยงกันอยู่นะ เวลานี้ก็เกี่ยงกันอยู่ว่าใคร จะเป็นคนเริ่มต้น ผมอยากจะบอกอย่างนี้ว่าพลังของศาสนาเป็นพลังบริสุทธิ์อย่างที่ท่านพิธีกรได้พูด ไว้แล้ว แต่ว่าพลังศาสนายังไม่ค่อยมีบทบาท พูดกันตรง ๆ ในสังคมเรานี่ยังไม่ค่อยมีบทบาทในการ แสดงพลังของศาสนาให้ประจักษ์ชัด ไม่ว่าทางสื่อก็ดี ทางการศึกษาก็ดี ไม่ว่าทางสังคมใดก็ตาม มักจะ ไม่ค่อยนำเอาพลังบริสุทธิ์ออกมาแสดง เรื่องพลังความสามัคคี เราควรทำอย่างไรให้เกิดเป็นรูปธรรม เกิดขึ้นจริง ๆ ผมพูดตรง ๆ ว่ากรมการศาสนาควรเป็นหัวเรือใหญ่ แต่ว่าไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่มีอำนาจทั้งหลาย คือ อย่าลืมว่าการสนับสนุนเรื่องศาสนานี่มันคือการลดงบประมาณเรื่องทุจริต การสนับสนุนองค์กร ศาสนา มันคือการที่ไม่ต้องไปใช้จ่ายเกี่ยวกับเรื่องของการติดตามผู้ร้าย เกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง อะไรต่าง ๆ นานามันใช้งบประมาณตรงนั้นเยอะ ถ้าหากว่าเราทุ่มเทตรงนี้กับองค์กรศาสนากับ บุคลากรศาสนาแล้วก็สิ่งเหล่านั้นมันจะหายไปเอง นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) อาจารย์กำลังจะบอกว่า ถ้าเราเน้นเรื่องคุณธรรมทางศาสนาจริง ๆ คนไม่ดีคงไม่มี นายประสาน ศรีเจริญ (ผู้แทนศาสนาอิสลาม) ถูกต้องครับ อันนี้สำคัญที่สุดแต่มันไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นได้วัน สองวัน ตราบใด ที่ผู้ใหญ่ได้มีนโยบายชัดเจนในเรื่องของศาสนา ผมว่าในยุคนั้นมันจะเป็นยุคที่อบายมุขจะลดลง นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) พระคุณเจ้าล่ะครับ มองในเรื่องนี้อย่างไร พระปัญญานันทมุนี (ผู้แทนศาสนาพุทธ) เจริญพร เป็นปัญหาที่ทุกท่านที่นั่งอยู่ตรงนี้ก็คงคิดไม่ต่างกันกับผู้นั่งฟังหรอก เพราะว่า มาถึงวันนี้ สังคมกำลังเดือดร้อน สังคมกำลังขาดความรัก ความสามัคคี ถามว่าเกิดเหตุที่ใคร ไม่ใช่
ตัวศาสนาหรอกไปทำอย่างที่อาจารย์ประสานว่า ตัวศาสนายังอยู่ ให้คนทั้งหลายอยู่กันให้ความรัก ความสามัคคี รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
55
แต่ ว่ า สิ่ ง ที่ มั น มารบกวน ไม่ ใ ห้ ศ าสนาแสดงออก ก็ คื อ ผู้ ที่ ต้องยอมรับว่าหลงใหลเพลิดเพลิน ถ้ า พู ด ตามภาษาง่ า ยก็ คื อ หลงใหล ในเรื่องของวัตถุนิยม หลงใหลในเรื่อง ความเพลินกับความสะดวกสบาย จึ ง ทำให้ ศ าสนาไม่ ไ ด้ มี โ อกาส แสดงพลัง จะชวนทำอะไรก็เหมือนว่า ศาสนาไปขัดขวาง ตอนนี้พี่น้องมุสลิมเขาไม่ทานอาหารทั้งวัน เขาถือว่าเป็นการเสียเศรษฐกิจ บอกว่านี่ทำให้ เสียเศรษฐกิจ ทั้ง ๆ ที่วันนี้ช่วยให้บ้านเมือง ช่วยโลกใบนี้ให้มีอาหารอยู่กับโลกอีกนาน เขาต้องการว่า เศรษฐกิจสะพัด คำว่าสะพัดของเขาก็คืออย่าให้อยู่กับเราเลยนั่นคือสะพัด นั้นศาสนาจึงยังไม่ได้แสดง บทบาท ลองซิว่าถ้าแสดงบทบาทตามหลักศาสนากันจริง ๆ ความสามัคคีจะเกิดขึ้นขนาดไหน พี่น้อง ทุกศาสนาที่เราประพฤติ ปฏิบัติกันอยู่ นั่งกันอยู่ในนี้ พลังสามัคคีขนาดไหน ในนี้คนอยู่กันหลายร้อยคน ไม่มีเรื่องชั่ว ๆ ปรากฏเลยแม้แต่นิดเดียว แต่ว่าเรื่องดีก็ไม่ได้ปรากฏทางโทรทัศน์สักช่อง ไม่มาปรากฏ ตรงนี้ ไม่มีโอกาสได้แสดงพลังหรอก เราพูดไว้ ขังไว้ในห้องประชุมนี้แหละ เขาขังไว้เรียบร้อยแล้ว ดีที่ท่านอธิบดีสด ได้พยายามทำโน้นทำนี่ แต่ก็ไปไหนไม่ได้ ขังอยู่ในห้องประชุมนี้แหละ นั้นพลังศาสนา จึงยังไม่มีโอกาสขยายตัว ความสามัคคียังไม่ได้ขยายตัว ถ้าพลังความสามัคคีของศาสนาขยายตัว หมายความว่า เราจะต้องยอมรับโลกใบนี้หรือสังคมเราจะร่มเย็นเป็นสุข ใน ๕ เรื่องที่เราจะเห็น
ต่อไปนี้ว่านี่คือพลังศาสนาไม่ได้แสดงออก ประการที่ ๑ ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นในผืนแผ่นดินโลก ศาสนาไม่เคยสอนให้คนโหดร้าย ทุกศาสนาที่นั่งฟังกันแล้วเป็นครอบครัวเดียวกัน อยู่กันด้วยความรัก ความสามัคคีและอยู่อย่างนี้จริง ๆ อยู่กันด้วยความรู้สึกว่าเรามีเพื่อน มีพี่ มีน้อง แต่ทำไม ณ วันนี้ความโหดร้ายมันเกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้น จากพลั ง ของศาสนา แต่ เ กิ ด ขึ้ น จากพลั ง ที่ เขาพยายามขุ ด พยายามคุ้ ย ว่ า ต้ อ งการให้ เ ศรษฐกิ จ ดี การเมืองดี สังคมดี ในที่สุดพลังศาสนาไม่รู้อยู่ตรงไหน เดี๋ยวนี้ไม่มีใครพูดเรื่องพลังศาสนา เรื่องของ คำว่าศาสนา เขาพูดแต่ว่าเศรษฐกิจ สังคม การเมือง พลังศาสนาหมดโอกาส พูดถึงศาสนาก็เหมือน กับว่าเป็นตัวขวางเศรษฐกิจ เมื่อศาสนาไม่มีพลังในสังคมเราจึงพบว่าคนโหดร้ายกันมากขึ้น
56
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ประการที่ ๒ เรากำลังร่วมกันรับผิดชอบ เพื่อป้องกันทรัพย์สิน ป้องกันชีวิต เราไม่รู้จะพึ่ง ใครแล้ว ก็เลยทำรั้วบ้านยิ่งกว่าคุกบางขวาง ลาดยาว แต่ละบ้านนี่โอ้โห วันก่อนไปบ้านหนึ่ง ไม่อยาก ออกชื่ อ หรอก แต่ เ ป็ น ระดั บ ลู ก อธิ บ ดี ต ำรวจ เห็ น กำแพงสู ง เท่ า ๆ กั บ เสาไฟฟ้ า ที่ เข้ า ไปสู่ บ้ า น ทำไมถึงเป็นลูกอธิบดีตำรวจต้องทำกำแพงสูงขนาดนี้ นี่แสดงว่าเรากำลังตกอยู่ในอำนาจของการไม่มี พลังศาสนา จึงทำให้คนตกอยู่ในฐานะที่ทำเรื่องต่าง ๆ มาป้องกัน มือไว ใจเร็ว ท่านลองดูซิ วันนี ้
ใครกลัว ไม่กลัวก็ไม่ทราบแล้ว ถ้าช่วยรักษาพลังศาสนาไว้ จะพบว่าเราจะช่วยคุ้มครองปกป้องกัน แต่เดี๋ยวนี้ถ้าเราดูอีกทีหนึ่ง คนกำลังตกอยู่ในฐานะวิกฤติหนัก ก็คือไม่เคารพต่อความเป็น เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ เห็นเพื่อนมนุษย์ในเพศตรงข้ามเหมือนกับเป็นของบำบัดความรู้สึกบางครั้ง
บางคราวเท่านั้นเอง จึงพบสถานที่ต่าง ๆ ที่เราเรียกว่าสถานสงเคราะห์ เด็กบางคนไม่มีโอกาสใช้นางสาวเลย ไม่มีโอกาสใช้นางสาว จากเด็กหญิงเป็นนางเลย นี่คือความโหดร้ายที่มันเกิดขึ้นเพราะไม่มีพลังศาสนา เท่านั้นไม่พอ คนกำลังตกอยู่ในเงื่อนไขของคำว่าใครที่สามารถทำสิ่งที่ตัวเองอยากจะทำ แล้วก็ทำได้ ดังใจ ถือว่าเป็นการประสบความสำเร็จ ประการสุดท้าย สิ่งผลิตมาแล้วทำลายสุขภาพคนนี่จะระบาดมากขึ้น สิ่งใดที่พลังศาสนา เคยขอร้องเคยห้ามเคยตักเคยเตือนว่าอย่าฆ่ากันก็ฆ่า กลายเป็นว่าอยากรักกันก็รัก อย่าประพฤติผิด ในลูกเมียกันก็รู้สึกว่าไม่ค่อยจะมีใครเคารพแล้ว อย่าไปพูดในคำหยาบ คำเพ้อเจ้อ คำส่อเสียด ก็รู้สึกว่าไม่มีใครทำตาม แล้วก็ไปดูเรื่องของสิ่งผลิตสิ่งที่มอมเมาให้คนหลงอยู่ในความชั่วร้ายนั้น สามัคคีอย่างอาจารย์ประสานว่านี่ก็น่าคิดนะสามัคคีกันเป็นกรมเลยนะ สามัคคีต่อไป สามัคคีทั้งประเทศ แต่อย่างน้อยก็คือยกศาสนาไว้หน่อยก็ดี นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) ถ้าอย่างนี้กระผมคิดว่า เรื่องของการสร้างความรัก ความสามัคคี จริง ๆ แล้วมันต้องเริ่ม
ที่ ตั ว เราก่ อ น ใช่ ไ หมครั บ ต้ อ งเริ่ ม ที่ ตั ว เราก่ อ นว่ า ถ้ า เราไม่ แ สดงออกที่ ตั ว เรา เราจะรอคนอื่ น
แสดงออกคงช้าไป มีคนให้ข้อคิดนะครับว่าความรักในทางศาสนากับความรักที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาเริ่ม ต้นต่างกัน ความรักที่เริ่มที่ศาสนา เริ่มต้นที่ใจเรา โดยอาศัยหลักของศาสนา หลักของพระศาสดานั้น เริ่มที่ใจเรา แต่ความรักอย่างอื่นไปอาศัยที่วัตถุภายนอก
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
57
ผมพูดแบบนี้ท่านผู้ฟังอาจจะไม่ชัด เหมือนคนที่รักชอบพอกัน ถ้าความรักมันไม่เกิดที่ตัวเรา ต่อให้คนนั้นเปลี่ยนไปอย่างไร เราก็ยังมีความรักเหมือนเดิม ๓ วัน ๗ วัน ต่อไปข้างหน้าก็ยังมี ความรักเหมือนเดิม แต่ถ้าเริ่มต้นที่ตัวคนนั้น ตัวคนนี้ ถ้าทำตัวน่ารักเราจึงรัก ถ้าวันหนึ่งวันใดทำตัว ไม่น่ารัก เราก็จะไม่รักแล้วรักแบบนี้ไม่ยั่งยืน เพราะว่าไปเริ่มต้นที่ตัวคนอื่น เหมือนกับอาจารย์ประสาน ได้กรุณาพูดเมื่อสักครู่นี้ว่าถ้าเพื่อตัวเราเองเมื่อไหร่ ความรักนั้นจะไม่ยั่งยืน เปราะบาง และไม่จีรัง ยั่ ง ยื น เท่ า ใด นั้ น ผมคิ ด ว่ า พระคุ ณ เจ้ า เสนอแนวความคิ ด ตรงนี้ ท่ า นที่ ฟั ง ดู แ ล้ ว นี่ ผ มว่ า นำไปใช้
ได้ทันที นิมนต์ต่อครับ พระปัญญานันทมุนี (ผู้แทนศาสนาพุทธ) แต่ เ พราะเราเริ่มต้นที่เราแล้วช่วยทำให้ เราเริ่ ม ต้ น ได้ ทั น ที ปั ญ หาปั จ จุ บั น เริ่ ม ต้ น ไม่ ไ ด้
เพราะไม่มีระบบเริ่มต้น ใครไปทำในสิ่งที่ไม่ดี แต่การเริ่มต้นที่ ๕ ศาสนาที่มาอยู่ตรงนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ จะทำอย่างไรสิ่งที่เราพูดเป็นชั่วโมงนี้จะได้ออกไปปรากฏในหัวใจคน แต่บางสิ่ง ที่ทำเพื่อคนคนเดียวแต่ย่ำยีคนทั้งชาติ ความชั่วร้ายที่ย่ำยีคนทั้งชาติอย่างนี้ หลักศาสนาต้องมีผล ทุกท่านที่กล่าวมาแล้วว่าสามัคคีขอให้ท่านเข้าใจกันให้ชัดว่า สามัคคีไม่ได้ หมายความว่าต้องมารวมหัวกันแล้วสามัคคี ถ้าสามัคคีจากการรวมหัวคือการมั่วสุม เมื่อไรมีการ ดื่มเหล้ามั่วสุม มีการพนันมั่วสุม เล่นการพนันมั่วสุม ไปคอรัปชั่นเป็นกระทรวงอย่างนี้เรียกว่ามั่วสุม ไม่ใช่สามัคคี สามัคคีเราทำในแต่ละบ้านแต่ละเรือนไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งจนตำรวจไม่มีโอกาส จะไปทำไร จนในที่สุดบ้านเมืองนี้สงบร่มเย็น ทำอย่างไรเราสามัคคีพร้อมใจกันได้ไหมที่จะทำชีวิต
ของเราทุกคน มามีศัตรูร่วมกัน ศาสนา พระเรียกว่ากิเลส ศาสนาอื่นว่าเป็นภาวะชั่วก็ได้ ซาตานก็ได้ ขอให้ภาวะที่เรียกว่าสามัคคีมาร่วมใจกัน เชื่อว่าทุกศาสนาสามารถรับรู้ได้ว่าถ้าสิ่งนี้เขาไปอยู่ในใจ มันก็จะทำให้เกิดความชั่วร้าย เราต้องสู้กัน ศัตรูของเราคือกิเลส คือ evil ศัตรูของเราคือซาตาน จะอยู่ตรงไหนมุมใดของแผ่นดินนี้ หรือโลกนี้ เชื่อว่าความสามัคคีของเราต้องต่อสู้กับสิ่งนั้นไปได้ แล้วจะเกิดความรักกัน ต่อไปนี้ เราไปตรงไหนก็มีแต่ผู้มีศาสนา คือผู้มีความรักพระเจ้า ผู้มีความรักศาสดา จึงไม่มี ความน่าระแวง เราน่าจะมาระแวงคนที่ไม่รักษาศาสดา ไม่รักษาพระเจ้า และทำตัวเองไม่รักนั้น รักนี่ คน ๆ นี้ต้องระวังเพราะความรักเขาไม่มีมาตรฐาน ไม่รู้ว่ารักอะไรกันแน่ ๆ ความรักต้องอย่างที่ พระพุทธเจ้าแสดงให้เห็นว่า รักของพระองค์นั้น ไม่ใช่รักที่เจือด้วยอคติ คือรักราหุลอย่างไร รักองคุลีมาล อย่างนั้น รักช้างนาฬาคีรีอย่างนั้น รักนายขมังธนู อย่างนั้น
58
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ดูพระพุทธรูปเถอะว่ารอยพระบาทเสมอกัน นิ้วทั้ง ๕ นิ้ว เสมอกัน ทำไมถ้าเกิดกับคนจริง ๆ ดูไม่ได้เพราะนิ้วเสมอกัน แต่ถ้าดูความหมายของความรักที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ ที่พวกเราได้ ประพฤติปฏิบัติว่า ต่อนี้ไปอย่าเอาวรรณะมาเป็นตัวกำหนด อย่าเอาผิวพรรณมาเป็นตัวแยกกัน อย่าเอาเรื่องศาสนามาขัดแย้งความรู้สึก ขอให้เท้าเดินไปไหนก็เดินไปเสมอเหมือนกันว่า ทุกคนเป็น เพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตายนะ ไม่มีคำว่าเรื่องอื่น ฉะนั้นใครเห็นรอยพระบาทขอให้รู้ว่าพระองค์สอนว่า ไปตรงไหนขอให้ไปอย่างผู้ที่เสมอเหมือนว่า เขาคือเรา เราคือเขา และเรารักรักสุขเกลียดทุกข์อย่างไร คนอื่ น ก็ รั ก สุ ข เกลี ย ดทุ ก ข์ ฉั น นั้ น เราจึ ง ไม่ มี ห น้ า ที่ ไ ปเพิ่ ม โทษ เพิ่ ม ทุ ก ข์ ใ ห้ กั บ ใคร ขอให้ ทุ ก คน มีความรู้สึกว่า เรามานั่งตรงนี้ ก็เพื่อเพิ่มความอิ่มอกอิ่มใจ แม้จะขยายที่ไหนไม่ได้ ก็ขอให้ขยายที่เรา แล้วช่วยกันสร้างสามัคคีเป็นศัตรูคู่อาฆาตกับกิเลสตัณหาอุปาทาน แล้วเรามาอยู่ด้วยความเป็นเพื่อน ร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายกัน นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) ก็ชัดเจนนะครับ ท่านผู้เกียรติที่เคารพครับ ความรักของศาสนานั้นมีแต่ให้ ศาสดานั้น
ไม่เคยตั้งกองทุน ไม่เคยที่จะเรียกร้องกองทุนจากศาสนิกชนไม่ว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พระองค์อุบัติขึ้นมา ในโลกนั้นมีแต่ให้ ถ้าทุกคนเรามีแต่ให้ คือไม่เอา ผมว่าสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้เหลือเฟือ ยกตัวอย่างในห้อง ประชุมนี้ ถ้าเกิดถืออาหารมา ๕ กล่องก็ไม่หมด เพราะไม่มีใครเอาสักคนเดียว แต่ว่าทุกคนมีแต่ให้ ถ้าทุกคนเอา ๑,๐๐๐ กว่าคน หรือ ๗๐๐-๘๐๐ คน ถือมาสัก ๕๐๐ กล่อง ก็ไม่พอ ฉะนั้นถ้ามนุษย์เรา รู้จักเพียงพอ รู้จักให้ แบ่งปัน รู้จักให้อภัย แบ่งปันกับคนอื่น ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีในโลกนี้เพียงพอกับ การเลี้ยงมนุษย์ ปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
59
ในเรื่องการจะแสดงความรัก ความสามัคคีทำอย่างไรถึงจะเกิดขึ้น และเรื่องที่พระคุณเจ้า และท่านอาจารย์ประสานได้พูดแล้วว่า พลังของศาสนานั้นมีแน่ แต่สังคมยังไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของ พลังศาสนา พอจับเรื่องศาสนาทีไรกระทรวง ทบวง กรม ขอให้ส่งผู้แทนไป ก็ไม่อยากจะส่งผู้แทน มาถือว่าเป็นเรื่องของกรมการศาสนา แม้เรื่องงบประมาณกรมการศาสนาก็ได้รับงบไม่กี่ร้อยล้านบาท มาดำเนินงาน/โครงการกับคนทั้งประเทศ ๖๓ ล้านคน ถ้าจะเอาเงินนี้มาพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม คนในสั ง คมตกไม่ กี่ บ าทต่ อ คน ตรงกั น ข้ า ม งบประมาณของบางกรมได้ รั บ ๖-๗ พั น ล้ า นบาท เพราะฉะนั้นก็ไม่ลืมว่าการเห็นความสำคัญของเรื่องศาสนา การเห็นความสำคัญของเรื่องพลังศีลธรรม ยังมีปัญหาต่อผู้คนในสังคม อยากจะขอให้ท่านบาทหลวงได้กรุณาให้ข้อคิดเห็นว่าจะทำอย่างไร คนจะได้เห็นความสำคัญของศาสนา กราบเรียนเชิญครับ บาทหลวงชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ (ผู้แทนศาสนาคริสต์) เมื่อเช้าพระธรรมโกศาจารย์ได้นำเสนอว่าประเทศมีปัญหา โลกมีปัญหา ไม่ใช่ปัญหา ธรรมดา อยู่ในขั้นวิกฤติและเราก็อยากเป็นคนคิดเป็นคนทำแก้ปัญหาของโลก แก้ปัญหาของประเทศเรา ศาสนามาช่วยกันรวมพลัง ผมก็ไม่อยากจะโยนความผิดไปให้ใคร เราต้องยอมรับสภาพว่าวันนี้ศาสนา ก็ มี ปั ญ หา ศาสนาเองกำลั ง อ่ อ นด้ อ ย กำลั ง อ่ อ นล้ า ไม่ ส ามารถเป็ น หลั ก ให้ กั บ คนในสั ง คมต่ อ ไป เพราะฉะนั้นคนก็เลยไม่เห็นความสำคัญ วิธีที่จะกอบกู้วิกฤติก็หมายความว่าเราจำเป็นต้องเอาศาสนา ขึ้นมาปฏิบัติ มาฟื้นฟูกันใหม่ให้ทุกศาสนานี้มีกำลังเข้มแข็งขึ้นต้องช่วยกัน ถ้าทำอย่างนี้แล้วจะเป็นพลัง เป็นความหวัง มิฉะนั้นแล้วเราก็จะพ่ายแพ้กับกระแสวัตถุนิยมที่พาเยาวชนของเราออกนอกจากวัด ออกนอกโบสถ์ ออกนอกมัสยิด ไปสุมหัวกันทำสิ่งที่ไม่ดี เรามักจะเข้าใจศาสนาของเรา แต่เราไม่เคยเข้าใจศาสนาของเพื่อน เห็นว่าเพื่อนไม่กินหมู
ก็ถามแต่ว่าตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายเราไม่กินหมู เรื่องง่าย ๆ เท่านี้ทำไมไม่เข้าใจ มีเพื่อนบ้านมุสลิม ไม่เข้าใจ ทำไมเขาไม่แต่งตัวเหมือนกับเรา ทำไมเขาไม่นุ่งสั้นเหมือนกับเรา ไม่เข้าใจเท่านี้ ถ้ า เกิ ด เข้ า ใจข้ า มพ้ น จากขอบเขตศาสนา ของตนเอง ไปเข้ า ใจศาสนาของเพื่ อ น ด้วยใจบริสุทธิ์ ด้วยความเคารพ ถ้าท่านคิด แบบนี้ ไ ด้ ป ระเทศไทยก็ เ ห็ น แสงสว่ า ง เพราะศาสนาจะรวมพลังเป็นศาสนสัมพันธ์ เป็ น ความสมานฉั น ท์ ที่ มี ค วามบริ สุ ท ธิ์ ใจ นี่เป็นสิ่งที่เป็นมิติใหม่ ฝากไว้ด้วยครับ 60
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
แต่เดิมเราเข้าใจปฏิบัติแต่ศาสนาของตนเอง บัดนี้โลกเข้าสู่ยุคใหม่เป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นพลังของโลกวัตถุ ที่มีพลังมากกว่าศาสนา ถ้าศาสนาไม่มารวมพลัง ไม่มาช่วยกัน เราก็ไม่มีทาง กอบกู้วิกฤติ และศาสนาเองก็จะลอยตามกระแสของวัตถุนิยม ไม่ว่าจะเป็นพระ จะเป็นผู้นำศาสนา เราก็จะบริโภคสื่อต่าง ๆ สิ่งที่โฆษณายัดเยียดให้เรา เราก็จะไปตามกระแสโลก สิ่งที่จะเป็นมิติใหม่ที่เราจะต้องมาช่วยกัน ณ บัดนี้ ทำให้ศาสนาทุกศาสนาเข้มแข็งขึ้น แล้วก็ออกไปเข้าใจศาสนาอื่น มาจูงมือกันทำอย่างไรให้ศาสนามีพลัง อย่ามัวคิดว่าทำกิจกรรมเล็ก ๆ บางที่เราไม่ต้องใช้งบประมาณมาก การที่เราออกจากบ้าน หันไปทางซ้ายเพื่อนบ้านติดกัน หันไปทางขวา เพื่อนบ้านก็ติดกัน แต่นับถือศาสนาไม่เหมือนกับเรา เราเคยเข้าใจเขาไหม ในที่ทำงานมีกี่ศาสนา ไม่มี องค์การไหนหรอกครับที่มีศาสนาเดียว อยู่ท่ามกลางอย่างนี้แต่ไม่เข้าใจ เปิดใจถามเขาว่าคุณเป็นใคร ทำไมคุณปฏิบัติอย่างนี้ มีวิถีชีวิตไม่เหมือนเรา กรมการศาสนาไม่ต้องใช้เงินมากหรอกครับ รัฐบาล ไม่ให้สตางค์ท่านก็ทำงานได้ พวกเราทุกคนพร้อมที่จะสนับสนุนขอให้มีความจริงใจ ขอให้มีความร่วมมือ แล้วเราจะยืนหยัดกับสังคมว่า ศาสนานั้นเป็นทางออกของสังคม เพราะว่าวิกฤติของประเทศไทย เป็ น วิ ก ฤติ ข องคุ ณ ธรรม ถ้ า เราสามารถกอบกู้ ต รงนี้ ไ ด้ ป ระเทศไทยก็ ส ามารถฝ่ า วิ ก ฤติ ต รงนี้ ไ ด้ อันนี้ก็เป็นความหวัง
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
61
นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) ครับ ตามที่ท่านบาทหลวงชูศักดิ์ว่าเป็นวิกฤติของสังคม เราเป็นคนธรรมดาสามัญทั่วไป ไม่คิดก็อาจมองไม่เห็นเป็นภัยใกล้ตัวและมีความรุนแรง แต่ถ้าเราไม่แก้ไขในวันนี้ สายไปก็ไม่สามารถ แก้ไขได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่เห็นคุณค่าของศาสนา คนเราเมื่อทิ้งศาสนาแล้วก็ไม่มีพลังอะไร ที่ จ ะมากอบกู้ เพราะมนุ ษ ย์ แ ปลโดยศั พ ท์ แ ล้ ว แปลว่ า ผู้ มี จิ ต ใจสู ง ถ้ า คนเราจิ ต ใจไม่ สู ง ก็ จ ะหา ความเป็นมนุษย์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นศาสนาจะต้องพัฒนาให้คนเป็นมนุษย์ อย่างที่กระผมเรียนไว้แล้ว ว่ามนุษย์นั้นเกิดจากคนธรรมดา แต่เพราะอาศัยธรรมะทางศาสนารังสรรค์เขาจึงกลายเป็นมนุษย์ ที่มีความสมบูรณ์ในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ก็เป็นศาสนาที่เก่าแก่ ก็ขอให้ท่านสถิตย์ กุมาร ให้ความรู้เพิ่มเติม ในคุณธรรมจริยธรรมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นายสถิตย์ กุมาร (ผู้แทนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู) ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีเรื่องวรรณะ แบ่งหน้าที่ของคนในสังคม สังคมเป็นไปได้ด้วยดี ถ้าต่างคนต่างมีหน้าที่ของตัวเอง นี้คือหลักที่ถูกต้องที่แบ่งคนตามหน้าที่ ขอยกตัวอย่าง ถ้าเราเปรียบ พราหมณ์เป็นศีรษะ กษัตริย์คือมือ พ่อค้าวาณิชคือท้อง และจัณฑาลท่านเป็นส่วนของเท้า เมื่อคน เอาไม้มาทำลายศีรษะ มือสองมือก็จะยกขึ้นเพื่อป้องกันศีรษะ หมายความว่า ถ้าผู้ใดทำลายพราหมณ์ กษั ต ริ ย์ จ ะช่ ว ยทั น ที แต่ ถ้ า เราเดิ น บนถนนแล้ ว โดนหนามตำที่ เ ท้ า น้ ำ ตาเราจะไหลออกมา ก็หมายความว่าถ้าคนที่อยู่ในอีกวรรณะในสังคมเจ็บปวด คนที่จะทุกข์ที่สุดก็คือพราหมณ์ เมื่ อ สั ก ครู่ ที่ ท่ า นบาทหลวงพู ด เรามี ก ำลั ง ใจอยู่ แ ล้ ว ที่ จ ะช่ ว ยให้ ทุ ก อย่ า งไปด้ ว ยดี ผมเห็นด้วยแต่ว่า ถ้าคนยังไม่ทราบว่างบประมาณด้านศาสนานี่แค่ ๐.๑๗ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ยังไม่ถึงเปอร์เซ็นต์ของดัชนีมวลรวมการบริโภค การทำกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่เงินจะต้องใช้อยู่แล้ว อีกอย่างเกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของศาสนา ทุกวันนี้สหประชาชาติ ก็ให้ความสำคัญ เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งศาสนามากขึ้ น ทุ ก วั น หลายคนที่ นั่ ง อยู่ นี่ ก็ ไ ด้ ไ ปประชุ ม ต่ า งประเทศเกี่ ย วกั บ เรื่ อ ง Interfaith dialogue แล้วก็มีคำว่าทุกท่านต้องมานั่งคุยกัน คือทุกท่านต้องมานั่งปรึกษาและศึกษา
62
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
สำหรับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ผมให้ตัวอย่างไปเกี่ยวกับต้นไม้เมื่อสักครู่นี้ ก็ขอกลับมา ที่ต้นไม้ต้นนั้นคือ ความคิดทั้งสองฝั่งคือต้นก็ดีรากก็ดีที่ขัดแย้งกันโดยปริยาย คนหนึ่งต้องการลงไป ในดินต้องการไปในที่สกปรก อีกคนต้องการเห็นแสงสว่างต้องการขึ้นไปข้างบน ความคิดของทั้งคู่นี่ มันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้วก็พึ่งพาซึ่งกันและกัน ดังนั้นเมื่อไรสังคม เข้ า ใจเกี่ ย วกั บ ต้ น ไม้ ที่ ย กตั ว อย่ า งไปนี้ ผมคิ ด ว่ า ความสามั ค คี ก็ จ ะเกิ ด ขึ้ น ได้ นอกเหนื อ จากนี้ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูสรุปคำเดียวง่าย ๆ ว่าไม่มีอะไรทำให้เราบริสุทธิ์ได้เท่ากับปัญญา คือเราต้อง ให้การศึกษากับบุคคล ให้เขาเข้าใจ เหมือนกับที่ท่านบาทหลวงพูดว่า แบ่งเขา แบ่งเรา เราต้องศึกษา ไม่มีสิ่งใดจะทำให้เราบริสุทธิ์ได้ดีเท่ากับปัญญา คือความรู้อันแท้จริง ขอให้ความคิดอันสูงส่งจงมา จากทุกด้าน จงแสวงหาความรู้ทางธรรมและนำมาประพฤติปฏิบัติจริงจัง ปัญญาจะเกิดขึ้น จากนั้น จงเผยแพร่ปัญญานั้นอย่างไม่คิดถึงผลตอบแทน ปัญญาอันแท้จริง การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน การรับใช้สังคมและการทำงานโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นหลักธรรมนำชีวิตของชาวฮินดู นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกท่านทำอย่างไร เราจะทำอย่างไรที่จะกะเทาะก้อนหินให้เป็น เพชรพลอยให้ได้ เพราะเราต้องเชื่อว่าคนส่วนใหญ่นั้นจะให้ความสำคัญของการนับถือศาสนา เมื่อคน ไม่เห็นความสำคัญ ไม่ศรัทธา ก็ไม่สามารถนำพลังของศาสนาไปแก้ไขปัญหาสังคมได้ นี่เป็นภาระ ที่เราท่านทั้งหลายต้องช่วยกัน และพระคุณเจ้าบอกว่าในที่นี้ไม่มีสื่อทีวีมาและสะท้อนว่าสื่อหนังสือพิมพ์ ก็เป็นสื่อตาย แต่สื่อเป็น ๆ คือทุกท่านที่นั่งอยู่ในที่นี้ เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมท่านสามารถ ที่จะเอาแนวประกายแนวความคิดนี้ไปจุดประกายต่อในที่ต่าง ๆ เราเชื่อว่าการสานต่อความรักนั้น จะยิ่งง่ายกว่า เป็นความหวังของการประชุมสัมมนาวันนี้ ทางศาสนาซิกข์ อาจารย์มานิต ก็สะท้อนความคิดเป็นรูปธรรมว่าสังคมไทยมี ๕ ศาสนา สามารถแบ่งเบาช่วยเหลือภาระประเทศไทยได้ทั้ง ๕ ศาสนา แล้วอะไรคืออุปสรรคปัญหาทำให้พลัง ศาสนาไม่บังเกิด
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
63
นายมานิต สัจจมิตร (ผู้แทนศาสนาซิกข์) ท่านบอกว่าศาสนาเสื่อม แต่ผมเห็นว่าศาสนาทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู ซิกข์ สื บ ต่ อ กั น มาหลายพั น ปี ศาสนาต่ า ง ๆ เหล่ า นั้ น ล้ ว นยั ง คงมี อ ยู่ ดั ง เดิ ม และยั ง มี อ ยู่ ต่ อ ไป ตั้ ง แต่ สั ง คมนิ ย มล่ ม สลาย คอมมิ ว นิ ส ต์ ล่ ม สลาย ทุ น นิ ย มที่ ว่ า ดี นั ก อเมริ กั น ก็ ท ำท่ า จะเป๋ ความเปลี่ยนแปลงจากการแลกเปลี่ยนสินค้ากัน มีการเปลี่ยนแล้วก็เปลี่ยนอีก ศาสนายั ง ยึ ด มั่ น ในพระคั ม ภี ร์ เ ก่ า แก่ แสดงว่ า ศาสนาจริ ง ๆ สิ่ ง ที่ ท ำให้ เราไม่ เชื่ อ มั่ น เพราะศรัทธา สิ่งที่เสื่อมไม่ใช่ศาสนาเสื่อม แต่เป็นศรัทธาที่เสื่อม ผมเชื่อว่าเมื่อใดที่เราสามารถ นำศรัทธากลับมา เมื่อนั้นศาสนาก็จะกลับมายิ่งใหญ่ อย่างที่ท่านพระคุณเจ้าได้กล่าวมาสักครู่ เรามี ศัตรูร่วมกัน ผมขอนำเอาตอนหนึ่งในพระคัมภีร์คุรุคันซาฮิบ “ศัตรูห้าข้าคนเดียว จะยืนหยัดได้อย่างไร มันล้อมมันปล้นฆ่า จะป่าวก้อง ร้องทุกข์ใคร มัจจุราชไม่ย่างกราย เพียงเอ่ยนามตามพระองค์” หมายถึงว่าให้ปฏิบัติตามที่พระองค์ได้ตรัสสอน ศัตรู ๕ ที่พระองค์ได้ตรัสไว้คือ กาม โกรธ โลภ โมหะ และอหั ง การ์ ซึ่ ง อยู่ คู่ กั บ มนุ ษ ยชาติ ทุ ก ศาสนาไม่ ว่ า ศาสนาใดก็ ต าม เมื่ อ ผู้ ใ ดก็ ต าม ที่มากด้วย ทั้ง ๕ ตัวนี้แล้ว มันผู้นั้นจะได้เคราะห์กรรมชั่วนิรันดร์ นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) ข้อคิดสั้น ๆ ก็คือความโกรธนั้นเอง ปกติถ้าเราจะหนีเสือ หนีน้ำท่วม เราย้ายถิ่นฐานได้ เราหนีภัยพิบัติ หนีไปอีกที่หนึ่ง แต่หนีความชั่วของตนเองมันหนีไม่พ้น เพราะย้ายไปไหนก็ตามไปด้วย นอนด้วย หลับด้วย กินด้วย เดินด้วย ตรงนี้หรือเปล่าที่ท่านมอง
64
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
นายมานิต สัจจมิตร (ผู้แทนศาสนาซิกข์) พระเจ้าหรือซาตานทั้งสองนี้อยู่ในใจ เราจะทำอย่างไรที่จะอบรมหรือจะใช้วิธีการศาสนา คือมัชฌิมาปฏิปทา คือการเดินสายกลาง ถามว่าผมแม้จะอยู่ในฐานะผู้นำศาสนาซิกข์ ผมมีความโลภไหม มีครับ แต่เป็น โลภแบบมี Control พระศาสดาบอกว่า “ทั้งชีวีเก็บออมหอมรอมริบ ดีดลูกคิดมีเงินนับหมื่นแสน ยามลาโลกไร้แม้สตางค์แดง จะตะแบงโลภไปทำไมเอย” ท่านต้องทำมาหากิน แต่ทำมาหากินเกินกำลัง หรือเกินจากความชอบธรรม แต่ทำมา หากินแบบดูทั้งครอบครัว ดูทั้งสังคม จึงเป็นการทำงานบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงท่าน ผมจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งเรื่องการกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ สิ่งนี้สำคัญมาก มีคนให้ความเห็น ว่าความกตัญญูกตเวทีคือทุนรอนที่สำคัญในจิตใจ ในศาสนาซิกข์การกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่คือ ผู้เชื่อฟังพ่อแม่ การแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านด้วยการเชื่อในกระแสพระราชดำรัสของ พระองค์ท่าน และปฏิบัติตามพระราชดำรัสที่พระองค์ท่านให้กับพวกเรา เมื่อนั้นความสงบสุขก็จะ เกิดขึ้น นายพิสิฐ เจริญสุข (ผู้ดำเนินรายการ) วั น นี้ เราจั ด ประชุ ม เพื่ อ เทิ ด พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ ก็ ถื อ ว่ า เราแสดงความรั ก แสดงความกตัญญูต่อพระองค์ท่าน ความรักของศาสนานั้น ผมลองเปรียบเทียบกับคนที่วิ่งไปข้างหน้า สมมุติไว้เท่ากันว่า ภายใน ๕ นาที เขาวิ่งไปถึงจุดหมายแล้วได้เหรียญทอง กับคนที่จะวิ่งเพื่อช่วยชีวิตคนที่รักของตัวเอง ทุกคนวิ่งไปข้างหน้า คนที่ต้องการได้เหรียญทองก็ต้องวิ่งไปให้ทันเวลาเพื่อให้ได้เหรียญทอง อีกคน วิ่งให้ทันเวลาภายในกำหนดเพื่อจะช่วยคนที่รักของตัวเอง นี่วิ่งไม่ต้องการเอาอะไร แต่วิ่งเพื่อจะให้ ท่านลองเปรียบดูสิว่าจิตใจของเราขณะนี้ เราให้อะไรแก่ใคร เราเป็นคนประเภทไหน เราเป็นคนวิ่งไป เพื่อช่วยเหลือ หรือว่าเพื่อหวังประโยชน์ตอบแทน ใจเราเท่านั้นที่บอกว่าวัตถุประสงค์อย่างไร เราได้ ฟั ง แนวคิ ด ของผู้ น ำศาสนาแล้ ว ท่ า นไหนมี ไรจะแบ่ ง ปั น ไหมครั บ ก็ คิ ด ว่ า คงไม่ มี อยากสรุปว่า กำลังนี่ถ้าจะมีในตัวมนุษย์ก็จะมีกำลัง ๓ ประการ คือ
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
65
๑. กำลังกาย อันเกิดจากความเข้มแข็งของร่างกาย ๒. คือพลังความรู้ อันเกิดจากการศึกษาเรียนรู้ ๓. คือพลังความดีอันเกิดจากการปฏิบัติ พลังกายนั้นแน่นอนหาได้จากโปรตีน หาได้จากการออกกำลังกาย หาได้จากการรักษา สุขภาพร่างกายของเราให้แข็งแรง ส่วนพลังความรู้นั้น เราก็สามารถศึกษาเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัด และ พลังแห่งความรู้นั้นควรจะเป็นพลังศาสนาก่อน ส่วนพลังความรู้อื่นนั้นคงจะเป็นพลังต่อไป ส่วนพลัง ความดีนั้นเป็นพลังสุดท้ายที่ทุกคนจะต้องมี ในพลัง ๓ ประการนี้ สังคมเราใช้ไม่ครบ คนบางคนใช้แค่พลังกาย ไม่ใช้พลังความรู้และ พลังความดี จะเห็นได้ว่า เวลาขัดแย้งกัน เวลามีปัญหากันเราใช้กำลังกายในการแก้ปัญหา ไม่สามารถ แก้ปัญหาได้ด้วยวิธีอื่น อย่างสามีภรรยาจบปริญญาด้วยกันทั้งคู่ ฝึกการปฏิบัติสมาธิมากันก็มาก แต่เวลามีปัญหากันใช้กำลังกาย ในที่สุดก็มีแพ้มีชนะด้วยกำลังกาย แต่แก้ปัญหาไม่ได้ ถ้าท่านคิดสักนิด ว่าเราก็มีความรู้ ไม่ใช่กำลังกายแต่ใช้ความรู้ปรึกษาหารือกัน ก็จะเกิดการแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าใช้กำลังที่ ๓ คือความดี แก้ไขปัญหาของสังคม แก้ปัญหาความขัดแย้ง ก็จะทำให้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นก็จะถูกแก้ไขโดยยั่งยืน สังคมเราเช่นเดียวกันเวลามีปัญหาอะไรเรามักจะใช้ความรุนแรงเสมอ หนึ่งการใช้กำลังกายเข้าไปแก้ปัญหา ส่วนพลังแห่งความรู้ พลังแห่งความดีอันเกิดจากการปฏิบัติหรือ ทางศาสนานั้น เราทิ้งเป็นพลัง พลังอันดับที่สอง หรือที่สาม ดังนั้นปัญหาในสังคมไทยก็ยังไม่หมดสิ้นไป ถ้าหากว่า เราใช้กำลังไม่ถูกทาง
66
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ก็ขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอธิบดีกรมการศาสนา ท่านรอง อธิบดีกรมการศาสนา ท่านนั่งฟังตลอดไม่ได้ไปไหน เพื่อที่จะฟังสะท้อนปัญหาของทางผู้นำศาสนา ว่ามีอะไร และมีแนวทางแก้ไขอย่างไร ผมคิดว่าเวลาได้มาถึงความเหมาะสมและขอบคุณท่านผู้แทน ศาสนา พระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทารามที่มาร่วมอภิปรายในวันนี้ ท่านที่ ๒ ก็คือ ท่านประสาน ศรีเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิของจุฬาราชมนตรี ท่านที่สำคัญคือท่านบาทหลวงชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ท่ า นบอกว่ า ท่ า นขั บ รถมาจากจั ง หวั ด นครราชสี ม า เสร็ จ งานนี้ ท่ า นต้ อ งจะต้ อ งเดิ น ทางกลั บ ก็เหน็ดเหนื่อยพอสมควร ขอบพระคุณอย่างยิ่งเลยครับ อีกท่านหนึ่งก็คือ ท่านอาจารย์สถิตย์ กุมาร ที่ท่านเมตตากรมการศาสนามาร่วมสะท้อนความคิดเห็นของศาสนาพราหมณ์ และท่านสุดท้ายคือ อาจารย์ ม านิ ต สั จ จมิ ต ร ผู้ แ ทนศรี คุ รุ สิ ง ห์ ส ภา ที่ ม าร่ ว มสะท้ อ นปั ญ หาของสั ง คมประเทศชาติ ที่ เ ป็ น ปั ญ หาของแผ่ น ดิ น ว่ า เมื่ อ มี ปั ญ หาแล้ ว เราจะใช้ พ ลั ง ศาสนาสร้ า งความรั ก ความสามั ค คี ได้อย่างไร ผม พิสิฐ เจริญสุข ผู้ดำเนินการเสวนาภายในวันนี้ ก็ขอขอบพระคุณทุกท่านและขอ ยุติการเสวนาแต่เพียงเท่านี้ครับ
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
67
สรุปผลการประชุม และปิดประชุม งานรวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดย นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา
กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพอย่างสูง ท่านผู้นำ ท่านผู้แทนองค์การศาสนาทุกศาสนา ท่านศาสนิกชนทั้งหลาย ท่านผู้มีเกียรติ ที่ได้มาร่วมงานรวมพลังเฉลิมพระเกียรติที่สำคัญยิ่งในวันนี้ ท่านทั้งหลายจะเห็นว่างานรวมพลังเสริมสร้างความสมานฉันท์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระแม่ของแผ่นดิน ที่ผมได้พูดมาแต่ต้น เป็นงานสำคัญเพราะว่าศาสนิกทั้งหลาย แม้ เรามาได้ ไ ม่ ห มดทั้ ง แผ่ น ดิ น แต่ ทุ ก ท่ า นที่ ไ ด้ ม า ก็ล้วนแต่เป็นผู้แทนของกลุ่มอื่น ๆ ท่านเป็นพวกเดียวกัน ทั้งหมด ทั้งประเทศ ท่ า นได้ ช มวี ดิ ทั ศ น์ ย่ อ ๆ เรื่ อ ง เย็ น ศิ ร ะ เพราะพระบริบาล ท่านได้ร่วมในพิธีเปิดงานรวมพลัง ทางศาสนาเสริ ม สร้ า งความสมานฉั น ท์ ท่ า นได้ ฟั ง ปาฐกถาเรื่อง ศาสนาสร้างความรัก ความสามัคคี ในช่วงบ่าย ท่านได้เห็นเยาวชนตัวแทนจากค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ที่กรมการศาสนาได้จัดมาแล้ว และเยาวชนได้มาแสดง ๒ ประการ ประการแรก แสดงทัศนะของเยาวชนต่อ เรื่องราวคุณธรรม ความดีของมนุษย์ ที่เยาวชนเข้าใจ ประการที่ ๒ ได้แสดงเชิงละครที่มีชีวิตจริงของผู้คน ทุกศาสนาในแผ่นดินนี้ หลังจากนั้นท่านได้ฟังผู้แทนองค์การศาสนา ซึ่งผมคิดว่าเป็นผู้ที่มีอายุอานามแล้ว ได้ ม าแสดงทั ศ นะของแต่ละศาสนาที่สร้ างความรั ก ความสามั ค คี ที่ จ ะร่ ว มเป็ น พลั ง ผมเรี ย นว่ า ผมคงไม่สรุป เพียงแต่ผมจะให้เจ้าหน้าที่ของกรมการศาสนาได้รวบรวมทุกถ้อยคำของท่านถอดออกมา ดังที่ท่านได้รับในครั้งนี้จากการประชุมรวมพลังที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยอีกเช่นเคย
68
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
แต่ผมอยากสรุปในส่วนตัวว่า หลังจากที่ได้รับฟัง ได้ชม ได้เห็น ได้ประจักษ์ ตามสติปัญญา อันน้อยนิดที่ผมมี ตั้งแต่เช้าจนถึงบัดนี้ว่า เรื่องการรวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ เฉลิมพระเกียรตินี้ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกศาสนิกในแผ่นดินจะต้องรู้พลังความสมานฉันท์ หลายท่านแจกแจงชัดเจนถึงความรัก ความสามัคคี เพราะฉะนั้นผมเรียนว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่ผม อยากสรุปในเชิงรวบรัดตัดยอด ศาสนิกผู้มั่นคงในศาสนา ศาสนิกผู้ปฏิบัติเพื่อความดีงาม และเป็นการ เฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะต้องมี ต้องทำ สิ่งต่อไปนี้ในชีวิต ๓-๔ ประการ คือ ประการที่ ๑ ศาสนิ ก ทุ ก คน ทุ ก เพศ ทุ ก วั ย ต้ อ งรู้ ธ รรมะของแต่ ล ะศาสนาของท่ า น ให้ชัดเจน อย่างถูกต้อง อย่าบิดเบือน อย่าให้ใครมาบิดเบือนได้ ต้องรู้ธรรมะของศาสนาตามหลัก ศาสนาที่เราเคารพนับถืออย่างชัดเจน ประการที่ ๒ ศาสนิกทุกคน ต้องมีความรัก ท่านต้องรักมนุษย์ รักตัวเองด้วย แต่ต้องรัก มนุษย์คนอื่นให้มากกว่า เพราะการที่รักมนุษย์อื่นมากกว่าแน่นอน เราต้องรักตัวเองอยู่แล้ว ประการที่ ๓ ท่านจะต้องมีความเข้าใจ และบูชาความจริง เพราะว่าความจริงเป็นสิ่งที่ ถูกต้องของทุกศาสนา ผู้ใดไม่พูดความจริง ไม่ฟังความจริง ไม่สรรเสริญยกย่องความจริง ผู้นั้น
เป็นผู้ไร้ซึ่งศาสนธรรม เพราะฉะนั้นเราต้องบูชาความจริง มีความเข้าใจในความจริงใจต่อกันและกัน ประการที่ ๔ ทุกท่านทุกคนจะต้องมีความมุ่งมั่น ขยันอดทนที่จะทำแต่ความดี เพราะว่า ความดีเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์ ฉะนั้นจงมุ่งมั่น ขยันอดทนทำแต่สิ่งที่ดี การที่ท่าน มุ่งมั่นขยันอดทนทำแต่สิ่งที่ดีหรือทำความดี เท่ากับท่านเป็นผู้ที่มีหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพระศาสนา ของท่าน บรรดาศาสดาของทุกศาสนาล้วนแล้วแต่มุ่งทำความดีให้เกิดขึ้นกับโลกกับมวลมนุษยชาติ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมของมวลมนุษยชาติทั้งหลายด้วย ฉะนั้นถ้าหากว่าการดำเนินการที่พวกเราทั้งหลาย ได้ร่วมกันรวมพลังในวันนี้ แม้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะมั่นคงสถาพรยั่งยืน แต่ขอให้การรวมพลังในวันนี้ เป็ น ต้ น แบบ เป็ นตัวอย่างที่ให้ คนทั้งหลายทุก เพศวั ย ทุ ก ผู้ที่ นั บ ถื อ ศาสนาได้ ดู แ ล้ ว ได้ เ ห็ น แล้ ว สามารถนำไปเป็นแบบเป็นอย่างได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อยังประโยชน์ให้เกิดคุณงามความดีในจิตใจของ ผู้คน
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
69
ผมคงไม่มีอะไรที่จะสรุปมากไปกว่านี้ ด้วยท่านทั้งหลายที่อยู่ในที่ประชุมนี้ ล้วนแต่มีปัญญา เลิศประเสริฐศรีอยู่ถ้วนทั่วแล้ว ผมขอโอกาสทุกท่านในนามของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นกำลังใจ ที่ได้มาร่วมกัน กรมการศาสนาวันนี้เป็นแกนในการจัดงาน แต่ท่านเป็นผู้ให้ความร่วมมือ ซึ่งห่อหุ้มแกนให้ดูมีพลังมากขึ้น การทำงานในลักษณะนี้ ผมขอเรียกร้อง เชิญชวน และสัญญาท่านทั้งหลายด้วยความเคารพว่าจำเป็นจะต้องทำ ประเทศที่จะหาความดี ประเทศที่จะหาความรัก ฉะนั้นไม่มีทางไหนในโลกนี้ที่จะทำความดี หรือความพรากเพียรให้เกิดขึ้น นอกจากต้องอาศัยหลักธรรมทางศาสนาที่ท่านทั้งหลายนับถือศรัทธา เชื่อมั่นและปฏิบัติ ฉะนั้น กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ก็คงจะขอโอกาสท่านทั้งหลายทำงานที่จะส่งเสริมสนับสนุน เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมความดีให้กับทุกคนในชาติ ทุกเพศทุกวัย บั ด นี้ ได้ เ วลาเหมาะสมพอสมควรแก่ เ วลาแล้ ว กระผมขออนุ ญ าตพระคุ ณ เจ้ า ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ทำหน้าที่เป็นประธานปิดงานรวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระแม่ของแผ่นดิน ผู้ทรงพระคุณ อันประเสริฐยิ่ง ณ บัดนี้ ขอขอบพระคุณครับ 70
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
การจัดนิทรรศการ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
71
72
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
73
74
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
75
76
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
77
78
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ตารางสรุปผลการประเมิน การจัดงาน “รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” วันจันทร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ โรงละครแห่งชาติ ถนนราชินี เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตารางที่ ๑ แสดงร้อยละสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ ๑ สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ เพศ v ชาย ๕๒.๐ v หญิง ๓๘.๐ v ไม่ตอบ ๑๐.๐ อายุ v ต่ำกว่า ๒๐ ปี ๒.๐ v ระหว่าง ๒๑-๔๐ ๑๓.๐ v ระหว่าง ๔๑-๖๐ ๓๑.๐ v ๖๐ ปีขึ้นไป ๕๔.๐ ระดับการศึกษา v ประถม ๒.๐ v มัธยมศึกษา ๕.๕ v ปวช./ปวส. ๑๑.๐ v ปริญญาตรี ๔๓.๕ v สูงกว่าปริญญาตรี ๓๓.๐ v ไม่ตอบ ๕.๐ การนับถือศาสนา v พุทธ ๔๐.๐ v อิสลาม ๙.๐ v คริสต์ ๓๗.๐ v พราหมณ์-ฮินดู ๒.๐ v ซิกข์ ๑๒.๐ รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
79
จากตารางที่ ๑ พบว่า ผู้เข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาฯ ที่เป็นประชากรกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๐ โดยมีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๐ รองลงมาคือ มีอายุระหว่าง ๔๑-๖๐ ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ ๔๓.๕ และนับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐ รองลงมาคือ นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ ๓๗.๐ ศาสนาซิกข์ ร้อยละ ๑๒.๐ ศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๙.๐ และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๒.๐ ตามลำดับ ตารางที่ ๒ ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาฯ เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ
เนื้ อ หาที่ ไ ด้ รั บ จากการร่ ว มกิ จ กรรมเฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์
พระบรมราชินีนาถ รายการกิจกรรม ๑. การเข้าร่วมกิจกรรมการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๑.๑ การถวายสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๑.๒ การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี/ เพลงสดุดีมหาราชา ๒. การชมวีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ “เย็นศิระเพราะพระบริบาล ๓. การชมนิทรรศการพระราชกรณียกิจ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
80
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
x
ค่าสถิต ิ ระดับ ความ ลำดับที ่ Std. ร้อยละ คิดเห็น deviation
๔.๑๙
๐.๘๓
๘๗.๔
มากที่สุด
๓
๔.๓๗ ๔.๐๐ ๔.๓๓
๐.๕๙
๘๗.๔
มากที่สุด
๐.๙๘
๘๐.๐๐
มาก
๐.๗๖
๘๖.๖
มากที่สุด
๑
๔.๓๑
๐.๖๔
๘๖.๒
มากที่สุด
๒
จากตารางที่ ๒ ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาฯ เกี่ยวกับความรู้ ความเข้ า ใจเนื้ อ หาที่ ไ ด้ รั บ จากการร่ ว มกิ จ กรรมเฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์
พระบรมราชินีนาถ โดยพบว่า ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจเนื้อหาจากการเข้าร่วมกิจกรรมระดับ มากที่สุด จัดลำดับความเข้าใจเป็น ๓ อันดับ คือ อันดับที่ ๑ การชมวีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ “เย็นศิระเพราะพระบริบาล” มีความเข้าใจเนื้อหาระดับมากที่สุด (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๓๓) เนื่องจาก เนื้อหาในวีดิทัศน์แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงนำ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตส่งผลให้ทรงเป็นแบบอย่างในการ ครองตนตามหลักธรรมทางศาสนา อีกทั้งพระองค์ยังทรงใช้หลักเมตตาธรรม “บำบัดทุกข์บำรุงสุข
ในการช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์” ส่งผลให้พสกนิกรอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุขร่มเย็นด้วย “เย็นศิระเพราะพระบริบาล” อันดับที่ ๒ คือ การชมนิทรรศการพระราชกรณียกิจสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีความเข้าใจในเนื้อหาระดับมากที่สุด (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๓๑) เนื่องจาก เนื้อหานิทรรศการจัดแสดงถึงพระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้ทรง ทำคุ ณ ประโยชน์ แ ก่ พ สกนิ ก รและประเทศชาติ อ ย่ า งอเนกอนั น ต์ อ ย่ า งเป็ น รู ป ธรรม อั น ดั บ ที่ ๓
การเข้าร่วมกิจกรรมถวายสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ และการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี/
เพลงสดุดีมหาราชา เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีความเข้าใจ เนื้อหาระดับมาก (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๑๙) เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ปวงชนชาวไทยพึงระลึกเสมอว่า เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
81
ตารางที่ ๓ ความรู้ ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ กิ จ กรรมที่ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความสามั ค คี และ
ความสมานฉันท์ รายการกิจกรรม ๑. การบรรยายเรื่อง “ศาสนาสร้างพลังความรัก ความสามัคคี” โดยพระธรรมโกศาจารย์ ๒. การเสวนา/การแสดง “เหตุเกิดที่ค่ายเยาวชน” ๓. นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๔. การเสวนาทางศาสนา “ศาสนาสร้างพลัง ความรัก สามัคคี ในมิติของแต่ละศาสนา” โดยผู้แทนศาสนา ๕ ศาสนา ๔.๑ พระปัญญานันทมุนี ผู้แทนศาสนาพุทธ ๔.๒ นายประสาน ศรีเจริญ ผู้แทนศาสนาอิสลาม ๔.๓ มุขนายกชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ผู้แทนศาสนาคริสต์ ๔.๔ นายสถิตย์ กุมาร ผู้แทนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๔.๕ นายมานิต สัจจมิตร ผู้แทนศาสนาซิกข์ ๕. อธิบดีกรมการศาสนาสรุปผลการประชุม
82
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
x
ค่าสถิติ ระดับ ความ ลำดับที่ Std. ร้อยละ คิดเห็น deviation
๔.๖๖
๐.๔๗
๙๓.๒
มากที่สุด
๑
๓.๙๖ ๔.๓๐
๑.๑๙ ๐.๕๖
๗๙.๒ ๘๕.๙
มาก มากที่สุด
๔ ๒
๓.๗๐
๑.๔๘
๗๔.๐๘
มาก
๕
๔.๒๓ ๔.๑๔ ๓.๘๗ ๔.๑๓
๐.๗
๘๔.๖
มากที่สุด
๐.๗๓
๘๒.๗
มากที่สุด
๑.๐๗
๗๗.๔
มาก
๐.๗๓
๘๒.๖
มากที่สุด
๒.๑๖
๒.๒๘
๔๓.๑
ปานกลาง
๓.๙๗
๑.๗๖
๗๙.๔
มาก
๓
จากตารางที่ ๓ ความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาฯ ต่อการ
เข้าร่วมกิจกรรมที่แสดงถึงความสามัคคี และความสมานฉันท์ พบว่า ผู้เข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนา เข้าใจเนื้อหาสาระที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมระดับมากที่สุด-มาก โดยจัดอันดับความเข้าใจเนื้อหา ของผู้เข้าร่วมงานเป็น ๕ อันดับ คือ อันดับที่ ๑ การบรรยายเรื่อง “ศาสนาสร้างพลังความรัก ความสามัคคี” โดยพระธรรมโกศาจารย์ (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๖๖) เนื่องจากเนื้อหาที่พระธรรมโกศาจารย์ บรรยายมีความจัดเจน เข้าใจง่าย และสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้จริง เช่น วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งแบบองค์รวมต้องใช้ประบวนการ ๔ กระบวนงาน คือ ๑) การระดม สมองแก้ไขปัญหา โดยอาศัยความร่วมมือจากสถาบันศาสนา สถาบันการเมือง ภาคเอกชน และภาค ประชาชน ๒) การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่เหมาะสม ๓) รวมพลังความรัก ความสามัคคีแก้ปัญหา ๔) เชื่อมั่นศรัทธาในการรวมกันแก้ปัญหา หรือการสร้างธรรมทานเพื่อลดและแก้ไขปัญหา เป็นต้น อั น ดั บ ที่ ๒ การชมนิ ท รรศการเทิ ด พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๓๐) เนื่องจากข้อความบรรยายมีความกระชับ เข้าใจง่าย แสดงถึงพระอัฉริยภาพ ของพระองค์ด้านการทำนุบำรุงส่งเสริมงานด้านศาสนาอย่างชัดเจน อันดับที่ ๓ สรุปผลการประชุมของ อธิบดีกรมการศาสนา (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๓.๙๗) เนื่องจากการสรุปประเด็นสำคัญของเนื้อหาการประชุม มีความกระชับ ชัดเจน และเข้าใจง่าย อันดับที่ ๔ การเสวนา/การแสดง “เหตุเกิดที่ค่ายเยาวชน” (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๓.๙๖) เนื่องจากผู้เสวนามีการใช้ถ้อยคำ/ภาษาที่เข้าใจง่ายพร้อมทั้งมีการยก กรณีศึกษามาประกอบการเสวนา สำหรับการแสดงของเยาวชนแสดงถึงการยอมรับความแตกต่าง หลากหลาย การแสดงความรัก ความสามัคคีของคนในสังคมได้เป็นอย่างดี อันดับที่ ๕ การเสวนา ทางศาสนา “ศาสนาสร้างพลังความรัก ความสามัคคี ในมิติของแต่ละศาสนา” โดยผู้แทนศาสนา ๕ ศาสนา ผู้เข้าร่วมงานรวมพลังมีความเข้าใจเนื้อหาสาระในภาพรวมระดับมาก (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๓.๗๐) เนื่องจากผู้เสวนามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักการสร้างความรัก ความสามัคคีระหว่างกัน พร้อมทั้ง มีการนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาประกอบในการเสวนาทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจ /ได้เรียนรู้หลักคำสอนของเพื่อนต่างศาสนาและสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ ซึ่งสามารถจำแนกระดับความเข้าใจเนื้อหาสาระเป็นรายบุคคล ได้ดังนี้ พระปัญญานันทมุนี ผู้แทน ศาสนาพุทธ (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๒๓) นายประสาน ศรีเจริญ ผู้แทนศาสนาอิสลาม (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๑๔) นายสถิตย์ กุมาร (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๑๓) มุขนายกชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ผู้แทนศาสนาคริสต์ (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๓.๘๗) และนายมานิต สัจจมิตร ผู้แทนศาสนาซิกข์ (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๒.๑๖) ตามลำดับ
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
83
ตารางที่ ๔ ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาฯ เกี่ยวกับกระบวนการจัด
กิจกรรม กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ๑. กระบวนการประสานงานในการเข้าร่วมประชุมฯ ของผู้จัด ๒. ความสะดวกในการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมฯ ๓. วิทยากรผู้บรรยายให้ความรู้ ๔. การดำเนินรายการของผู้ดำเนินรายการ ระหว่างประชุมเสวนา ๕. การมีโอกาสซักถาม แสดงความคิดเห็น และร่วมกิจกรรม ๖. การใช้สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการประชุมฯ ๗. เอกสารประกอบการประชุมฯ ๘. เวลาที่ใช้ในการประชุมฯ ๙. สถานที่จัดการประชุมฯ
84
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
x
ค่าสถิติ ระดับ ความ ลำดับที่ Std. ร้อยละ คิดเห็น deviation
๒.๕๐
๐.๖๙
๘๓.๓๓ มากที่สุด
๕
๒.๗๖ ๒.๙๕ ๒.๗๓
๐.๔๓ ๐.๒๓ ๐.๕๓
๙๒.๐๐ มากที่สุด ๙๘.๑๗ มากทีส่ ุด ๙๒.๕๐ มากทีส่ ุด
๓ ๑ ๔
๑.๓๔
๑.๐๒
๔๔.๖๗ ปานกลาง
๙
๒.๒๗ ๒.๓๐ ๒.๔๓ ๒.๘๗
๐.๘๘ ๐.๗๘ ๐.๙๘ ๐.๔๗
๗๕.๖๕ มาก ๗๖.๕๐ มาก ๘๑.๐๐ มากที่สุด ๙๕.๖๗ มากที่สดุ
๘ ๗ ๖ ๒
จากตารางที่ ๔ ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาฯ เกี่ยวกับกระบวนการ จัดกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมประชุมพึงพอใจกระบวนการจัดกิจกรรมระดับมากที่สุด-ปานกลาง จัดอันดับความพึงพอใจระดับมากที่สุด ๕ อันดับแรก คือ อันดับที่ ๑ วิทยากรผู้บรรยายให้ความรู้ (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๒.๙๕) อันดับที่ ๒ สถานที่จัดการประชุม (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๒.๘๗) อันดับที่ ๓ ความสะดวกการเดินทางเข้าร่วมประชุมฯ (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๒.๗๖) อันดับที่ ๔ การดำเนินรายการ ของผู้ดำเนินรายการระหว่างประชุมเสวนา (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๒.๗๓) อันดับที่ ๕ กระบวนการ ประสานงานในการเข้าประชุมฯ ของผู้จัด (คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๒.๕๐) นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมประชุม พึงพอใจการใช้สื่อและอุปกรณ์ที่ประกอบการประชุมฯ ระดับมาก และพึงพอใจการเปิดโอกาสให้
ผู้ เข้ า ร่ ว มประชุ ม ซั ก ถามระดั บ ปานกลาง โดยผู้ เข้ า ร่ ว มประชุ ม ได้ ใ ห้ ค วามคิ ด เห็ น เพิ่ ม เติ ม ว่ า ผู้ จั ด กิ จ กรรมควรเปิ ด ให้ ผู้ เข้ า ร่ ว มประชุ ม แสดงความคิ ด เห็ น เพิ่ ม มากขึ้ น เพื่ อ ให้ ไ ด้ ข้ อ คิ ด เห็ น ที่ ม ี
ความหลากหลายและนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
85
ตารางที่ ๕ ระดับคะแนนการบริหารจัดการโครงการ ระดับคะแนน ร้อยละ ๑๐ คะแนน ๙.๕ ๙ คะแนน ๓๒.๙ ๘ คะแนน ๒๓.๓ ต่ำกว่า ๗ คะแนน ๓๔.๓ จากตารางที่ ๕ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้คะแนนความพึงพอใจการบริหารจัดการ โครงการต่ำกว่า ๗ คะแนน ร้อยละ ๓๔.๓ รองลงมา ๙ คะแนน ร้อยละ ๓๒.๙ และ ๘ คะแนน ร้อยละ ๒๓.๓ ตามลำดับ
86
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับจากการเข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาฯ ๑. ไ ด้ รั บ ทราบมุ ม มองและหลั ก ธรรมจากผู้ แ ทนแต่ ล ะศาสนาและสามารถนำไปเป็ น แนวทางการดำเนินชีวิตรวมทั้งเสริมสร้างความสามัคคีแก่คนในสังคม ๒. ทำให้ได้รับทราบว่าความสมานฉันท์สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าศาสนานั้นจะแตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือความรัก เอื้ออาทร นำมาซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ๓. ได้รับทราบถึงปัญหาของสังคมไทย และวิธีการนำศาสนามาเป็นหลักชัยในการแก้ไข ปัญหา ๔. ทำให้มีความเข้าใจหลักธรรมคำสั่งสอนของทั้ง ๕ ศาสนา ลึกซึ้งมากขึ้น ๕. ทำให้รู้มุมมองและทัศนคติที่แตกต่างกันของแต่ละศาสนา ๖. ไ ด้ รับข้อคิดที่ดีจากผู้แทนศาสนาและทำให้ เ ห็ น ภาพความสมานฉั น ท์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จาก ทุกศาสนา ๗. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้นำศาสนา และศาสนิกชนที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้ได้เรียนรู้ความเหมือนและแตกต่างเกี่ยวกับหลักธรรม/ข้อห้ามทางศาสนา เพื่อนำความรู้ไป ปรับใช้ให้เหมาะสม ๘. ท ำเกิ ด ความรู้ รั ก สามั ค คี ความรั ก ชาติ เทิ ด ทู น สถาบั น ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ๙. ทำให้เข้าใจว่าการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมไทย ต้องรู้สามัคคี และให้อภัยซึ่งกันและกัน โดยยึดหลักความเชื่อของแต่ละศาสนา
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
87
การนำความรู้จากการเข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาฯ ไปขยายผล ๑. ร่วมสร้างความรัก ความสามัคคีให้กับชุมชนโดยเริ่มที่ครอบครัว ชุมชน และสังคม ๒. สร้างเครือข่ายทางศาสนาร่วมส่งเสริมความสมานฉันท์ในชุมชนท้องถิ่น ๓. ขยายเครือข่ายส่งเสริมความสมานฉันท์โดยถ่ายทอดแนวคิด/หลักปฏิบัติสู่เด็กและ เยาวชน ๔. เ ตื อ นตั ว เองให้ เ ห็ น ความสำคั ญ ของความรั ก ความสามั ค คี และนำไปแบ่ ง ปั น ให้ คนในครอบครัวและเพื่อนบ้าน ๕. นำเสนอรูปแบบการส่งเสริมความสมานฉันท์ให้กับหน่วยงานราชการในท้องถิ่นเพื่อให้ ท้องถิ่นนำไปขยายผลในพื้นที่ ๖. ส่งเสริมให้เยาวชนเป็นแกนนำสร้างความสมานฉันท์เผยแพร่หลักการความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่าง ๗. นำหลักคิด/หลักธรรมไปปรับใช้กับตนเองและขยายผลไปยังบุคคลรอบข้าง
88
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
การนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนาฯ ไปสร้างความสงบสุขแก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม ๑. ความสามัคคีระหว่างศาสนา สร้างความสามัคคีในกลุ่มบุคคล และลดความขัดแย้ง ๒. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางศาสนามากขึ้น เช่น การจัดค่ายศาสนา เผยแพร่หลักคำสอน ทางศาสนาผ่านสื่อที่หลากหลาย ๓. การเข้าถึงแก่นของศาสนาที่ตนเองเชื่อจะสร้างความสงบสุขได้ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ๔. เรี ย นรู้ แ ละเข้ า ใจความแตกต่ า งของแต่ ล ะศาสนา อยู่ ร่ ว มกั น ดั ว ยความเข้ า ใจและ ช่วยเหลือผู้อื่นตามคำสอนของแต่ละศาสนา ๕. เผยแพร่หลักการเสริมสร้างความสมานฉันท์แก่บุคคลรอบข้าง สังคมจะได้ไม่แตกแยก หรือทะเลาะวิวาทกัน ๖. ยอมรับ เข้าใจ และเป็นคนกลางประสานประโยชน์ส่วนรวมในความแตกต่างทางศาสนา ๗. ยึดหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือและเรียนรู้หลักธรรมของศาสนาอื่นเพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความสันติ ๘. เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นโดยไม่แยกศาสนา ทำให้เราเห็นสิ่งดีในเพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน หากทุกคนในชาติคิดได้เช่นนี้จะทำให้สังคมไทยอยู่อย่างเป็นสุข สงบยิ่งกว่านี้ แล้วสิ่งดีอื่น ๆ จะตามมา ๙. ร่ ว มกั บ องค์ ก รศาสนาในท้ อ งถิ่ น ให้ ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจในงานศาสนสั ม พั น ธ์
เพื่อความสมานฉันท์ ๑๐. ใช้ ห ลั ก คำสอนของศาสนาในการแก้ ปั ญ หา และสอนแนะผู้ อื่ น ที่ พ บปั ญ หาหรื อ เดือดร้อน
รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๓
89
พิมพ์ที่
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ๗๙ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑ นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา
www.dra.go.th