แนวทางการดำเนินงาน โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงาบประมาณ ๒๕๕๔

Page 1


แนวทางการดำเนินงาน โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม www.dra.go.th


แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ผู้จัดพิมพ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ จำนวนพิมพ์ ๕,๐๐๐ เล่ม ISBN 978-974-9536-91-9 ที่ปรึกษา ๑. นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา ๒. นายจรูญ นราคร รองอธิบดีกรมการศาสนา ๓. นายพิสิทธิ์ นิรัตติวงศกรณ์ ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ ๔. นางสาวภัคสุจิ์ภรณ์ จิปิภพ เลขานุการกรมการศาสนา รวบรวม/เรียบเรียง/งานวิชาการ ๑. นางสาวพิไล จิรไกรศิริ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ๒. นางศรีนวล ลัภกิตโร นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ ๓. นางสาววิภารัตน์ กอพยัคฆินทร์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ คณะทำงาน ๑. นายสำรวย นักการเรียน ๒. นางสาวอมรา ไหมพิมพ์ ๓. นายชนะกิจ คชชี ๔. นางสาวภคภรณ์ อมรรัตน์ ๕. นายธนพล พรมสุวงษ์ ๖. นายยอดชาย แสงศิริ ๗. นายผดุงศักดิ์ กะรัตน์ ๘. นายณรงค์ยุทธ ยิ้มนอก ๙. นางสาวสุพิน มาไกล ๑๐. นางเอกสิทธิ์ คล้ายแดง ๑๑. นายบัณฑิต คีรีรมย์ ๑๒. นางสาวนภัสวรรณ เกตุสร้อย ๑๓. นางสาวนันทิยา อายุวัฒนะ ๑๔. นายอนันต์ตชาติ สุทธการ

นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านศาสนา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านศาสนา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านศาสนา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านศาสนา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านศาสนา เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โทร. ๐๒ ๔๒๒ ๘๘๑๖


คำนำ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุน การดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญาอย่างต่อเนื่อง เพราะได้พิจารณา เห็นว่า ปัจจุบันสังคมไทยห่างไกลจากศาสนา การพัฒนาประเทศส่วนใหญ่ เน้นการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ ขาดการพัฒนาจิตใจที่ต้องพัฒนาควบคู่ ไปด้วย การจัดโครงการลานบุญ ลานปัญญา เพื่อให้ศาสนามีบทบาทต่อการพัฒนา สังคม ซึ่งเป็นการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง โดยมุ่งเน้นเปิดพื้นที่ ของศาสนสถาน ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข สืบค้นและ รวบรวมองค์ความรู้จากผู้รู้ ในชุมชน และฟื้นฟูวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ดีงามของไทย ที่มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้คืนกลับมาสู่สังคมไทย ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ กรมการศาสนา ได้จัดพิมพ์หนังสือ “แนวทาง

การดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญา” ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วย แนวคิด วิธีดำเนินการ ตัวอย่างกิจกรรมและข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็น เพื่อเป็น แนวทางในการปฏิบ้ติงานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และผู้เกี่ยวข้องทั้งใน ระดับจังหวัดและระดับชุมชน รวมทั้งศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา ทั่วประเทศ ซึ่งจะได้ ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุผล ตามเป้าหมาย และประโยชน์ต่อประชาชนให้มากที่สุด กรมการศาสนา หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า แนวทางการดำเนิ น งาน โครงการลานบุญ ลานปัญญา เล่มนี้ จักเป็นประโยชน์ ในการดำเนินงานสำหรับ ผู้ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี (นายสด แดงเอียด) อธิบดีกรมการศาสนา



สารบัญ บทที่ ๑ บทที่ ๒ บทที่ ๓

หน้า

บทนำ ๑ ความเป็นมา ๑ นายกรัฐมนตรีกับการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ ในชุมชน “ลานบุญ ลานปัญญา” ๒ นโยบายกระทรวงวัฒนธรรม ๓ ประโยชน์และคุณค่าที่ ได้รับ ๖ สาระสำคัญของโครงการลานบุญ ลานปัญญา ๘ ความสำคัญของโครงการ ๘ วัตถุประสงค์ ๑๑ เป้าหมาย ๑๒ แนวคิดในการดำเนินงาน ๑๒ ๑. การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ ๑๒ ๒. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ๑๓ ๓. การใช้ทุนทางสังคม ๑๔ การดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญา ๑๖ ๑. การเตรียมความพร้อมในการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา ๑๘ ๑.๑ การเตรียมการจัดทำโครงการในศาสนสถาน ๑๘ ๑.๒ การสร้างโครงการ/กิจกรรม ๒๐ ๒. แนวทางการดำเนินงาน ๒๒ ขั้นตอนที่ ๑ การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาโครงการ ๒๒ ขั้นตอนที่ ๒ การจัดทำแนวทางการดำเนินงาน ๒๔ ๒.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัด ๒๔ ๒.๒ การคัดเลือกศาสนสถานฯ ๒๖ ๒.๓ การประกาศรายชื่อศาสนสถานฯ ๒๙ ๒.๔ กระบวนการปลุกจิตสำนึกคนในชุมชน ๓๐ ๒.๕ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการฯ ประจำศาสนสถาน ๓๐ ๒.๖ การแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาลานบุญ ลานปัญญา ๓๓ ขั้นตอนที่ ๓ การดำเนินการของศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการ ๓๔ ๓.๑ การจัดทำแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ๓๔


สารบัญ

หน้า

๓.๒ การจัดทำข้อตกลงของชุมชน ๓.๓ แนวคิด ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรมของศาสนสถาน ๓.๔ การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ๓.๕ การบันทึกผลของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ ขั้นตอนที่ ๔ การติดตามประเมินผลโครงการ ๔.๑ การติดตามประเมินผลในระดับศาสนสถาน ๔.๒ การติดตามประเมินผลในระดับจังหวัด ๔.๓ การกำกับติดตามการดำเนินโครงการลานบุญ ลานปัญญา แผนภูมิโ่ครงสร้างการบริหารงานโครงการลานบุญ ลานปัญญา บทที่ ๔ บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บทบาทหน้าที่ของศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการฯ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารโครงการฯ จังหวัด บทบาทหน้าที่ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด บทบาทหน้าที่ของกรมการศาสนา บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานองค์กรในทุกภาคส่วนของชุมชน ภาคผนวก แบบลานบุญฯ ๑ แบบแสดงความจำนงของศาสนสถานฯ แบบลานบุญฯ ๒ แบบตรวจสอบความพร้อมของศาสนสถานฯ แบบลานบุญฯ ๓ แบบรายงานผลและนำเสนอรายชื่อศาสนสถานฯ แบบลานบุญฯ ๔ แผนปฏิบัติการของศาสนสถานฯ แบบลานบุญฯ ๕ ข้อตกลงของชุมชนฯ แบบลานบุญฯ ๖ แบบรายงานผลการดำเนินงานฯ แบบลานบุญฯ ๗ แบบรายงานผลการบริหารโครงการลานบุญฯ จังหวัด แบบลานบุญฯ ๘ แบบบันทึกธนาคารความดีฯ แบบลานบุญฯ ๙ แบบประเมินความพึงพอใจและความรู้ทางศาสนาฯ แบบลานบุญฯ ๑๐ แบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย แบบลานบุญฯ ๑๑ แบบทะเบียนคุมเงินการใช้จ่ายโครงการลานบุญฯ บัญชีจำนวนศาสนสถานฯ

๓๗ ๔๑ ๕๖ ๖๖ ๖๖ ๖๗ ๖๗ ๖๗ ๗๐ ๗๑ ๗๒ ๗๕ ๗๗ ๘๐ ๘๑ ๘๕ ๘๖ ๘๘ ๙๐ ๙๒ ๙๕ ๙๖ ๑๐๑ ๑๐๕ ๑๐๖ ๑๑๕ ๑๑๖ ๑๑๗


บทที่ ๑ บทนำ ความเป็นมา สืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมโลกทุกภูมิภาคประสบปัญหา เศรษฐกิจตกต่ำเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทย ได้รับผลกระทบในครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ รัฐบาลได้กำหนดให้มีแผนฟื้นฟู เศรษฐกิจระยะที่ ๒ (Stimulus Package 2) หรือเอสพี ๒ ระยะเวลา ๓ ปี (๒๕๕๓-๒๕๕๕) ๗ แผนงาน ซึ่งเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางปัญญา ที่จะเป็น “อนาคต” ของสังคมไทย โดยคาดว่า

การลงทุนทั้งหมดจะสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัว ช่วยสร้างงานใหม่และพัฒนา และช่วยกระจายการลงทุนด้านบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานไปสู่ต่างจังหวัดและ ชนบท พลิกฟื้นและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น จากแผนงานดังกล่าว กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน ๖๑๒.๕๙๕ ล้านบาท ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ สาขาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ทั้งหมด ๗ โครงการ โดยกรมการศาสนาได้รับมอบหมายให้จัดทำโครงการลานบุญ ลานปัญญา ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดโครงการนั้น และได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ ปี ๒๕๕๓ เป็ น เงิ น จำนวน ๗๕ ล้ า นบาท โครงการทั้ ง ๗ โครงการของ กระทรวงวัฒนธรรมจึงเป็นโครงการลงทุนที่จะจุดประกายความหวัง สร้างงาน และสร้างรายได้ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


นายกรัฐมนตรีกับการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน “ลานบุญ ลานปัญญา” โครงการลานบุญ ลานปัญญา เกิดขึ้นจากการดำริของ ฯพณฯ นายก รัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” โดยในช่วงที่ ๒ ของรายการ ได้ม ี

การอาราธนาพระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี) จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม มาร่ ว มรายการ เนื่ อ งจากเป็ น ช่ ว งสั ป ดาห์ ส่ ง เสริ ม พระพุ ท ธศาสนาเนื่ อ งใน เทศกาลวันมาฆบูชา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการดังกล่าว ว่า “...รัฐบาลมีนโยบายสำคัญคือการสร้างพื้นที่ดี เอาน้ำดีไล่น้ำเสีย ในส่วนของ ศาสนาเอง ก็มีความสำคัญมาก ถ้าจะพูดว่ารัฐบาลกำลังสร้างเครื่องมือเปิดพื้นที่ ต่าง ๆ แต่ตัวเนื้อหาสาระที่จะใส่เข้าไป ก็คือในเรื่องของหลักธรรมคำสอนหรือ ศาสนาต่าง ๆ ที่ประชาชนเคารพนับถือ ซึ่งตรงนี้ต้องหาวิธีการที่จะสื่อสาร เข้าถึงคนสมัยใหม่ ในยุคสมัยใหม่ ให้ ได้ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ท้าทาย ทั้งในเรื่องของ การผลิตสื่อ ในเรื่องการกระตุ้นให้เด็กอ่านหนังสือและสนใจกว้างขวางมากขึ้น ความจริงในระยะหลังก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น คนรุ่นใหม่จำนวนมาก สนใจและใส่ ใจ ในเรื่องของหลักธรรมคำสอน จริยธรรม คุณธรรม มากขึ้น ในส่วนของการทำ พื้นที่สร้างสรรค์ กำลังให้ดูอีกโครงการหนึ่ง ยังไม่ ได้ตั้งชื่อ แต่เอาคร่าว ๆ ว่า “ลานบุญ ลานปัญญา” เพราะรัฐบาลมีความคิดว่าต่อไปการกระตุ้นเศรษฐกิจ คือการไปทำโครงการขนาดเล็ก ๆ ในชุมชนต่าง ๆ ก็คิดว่าสถาบันศาสนา ถ้าพุทธศาสนาก็คือวัด ถ้าศาสนาอื่นก็จะมีศาสนสถานที่สำคัญอื่น ไปปรับปรุง สถานที่เหล่านั้นให้กลับมาเป็นศูนย์กลางในการระดมชุมชน ทำไมเราจะต้อง ไปทำทุกอย่างก็ ไปห้องประชุม หอประชุม เรากลับมาที่วัดได้ ไหม จะปรับปรุง

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


เป็นลานสำหรับใช้เวลาในเสาร์-อาทิตย์ พ่อแม่ลูกหลาน พระคุณเจ้าหรือผู้นำ ทางศาสนา มาใช้จัดทำกิจกรรม และไม่จำเป็นจะต้องเป็นกิจกรรมในเรื่อง ของศาสนาอย่างเดียว เราก็แทรกเรื่องอื่น ๆ เข้าไป ซึ่งทำให้ประชาชน หันกลับเข้ามาตรงนี้มากขึ้น อันนี้ก็เป็นตัวอย่างสิ่งที่จะทำต่อไป...”

นโยบายกระทรวงวัฒนธรรม โครงการลานบุ ญ ลานปั ญ ญา เป็ น ความมุ่ ง มั่ น ของกระทรวง วัฒนธรรมที่จะพลิกฟื้นวิถี ไทยวิถีธรรมในอดีตให้คืนกลับมาสู่สังคมไทย จาก ความภาคภูมิใจในมรดกภูมิปัญญาไทย ที่ โดดเด่นเป็นที่ชื่นชมของชาวต่างชาติ และเป็ น ที่ ย อมรั บ ของนานาอารยประเทศ จนเป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ว่ า คนไทยมี อัธยาศัยที่ดีงาม สืบเนื่องจากคนไทยมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจโดยมี การนำหลั ก ธรรมคำสอนของศาสนามาปรั บ ใช้ ใ นวิ ถี ชี วิ ต ได้ อ ย่ า งเหมาะสม ทำให้คนไทยเป็นเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ ให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิด ดำรงวิถีชีวิต อย่ า งเรี ย บง่ า ยและเป็ น สุ ข คนในชุ ม ชนพึ่ ง พาช่ ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล แบ่ ง ปั น กั น

รักเคารพนับถือมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นดุจเครือญาติ รู้จักเก็บออม ไม่ โลภและไม่ทำลายธรรมชาติจึงอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เป็นการใช้ภูมิปัญญา ในการนำเอาหลักธรรมของศาสนามาประยุกต์ ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่าง กลมกลืน และสามารถดำเนินกุศโลบายสร้างความสมดุลให้กับคน สังคม และ ธรรมชาติให้อยู่ร่วมกันอย่างสมดุลสืบทอดเป็นมรดกประจำชาติไทยมายาวนาน แต่ปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์ สังคมไทยห่างไกลจากศาสนา การพัฒนา ประเทศส่วนใหญ่ เน้นการแข่งขันด้านเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว ขาดการพัฒนา จิตใจควบคู่ ไปด้วย ความรู้สมัยใหม่ ได้หลั่งไหลเข้ามาในชุมชนมากมาย รวมทั้ง ทุนนิยมที่มีแต่การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทำให้วิถีชีวิต ดั้ ง เดิ ม ที่ ดี ง ามในอดี ต อั น เป็ น มรดกภู มิ ปั ญ ญาของบรรพบุ รุ ษ ที่ ไ ด้ สั่ ง สมมา

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ยาวนานกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทย ทั้ง ๆ ที่เป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติขาด และแสวงหาอยู่ตลอดเวลา การพลิกฟื้นวิถีชีวิตที่ดีงามในอดีตให้หวนคืนมา จึงมีคุณค่าต่อชุมชนไทย และย่อมมีคุณค่าเพิ่มขึ้นหากสามารถปรับเปลี่ยนสังคมไทย ไปสู่วิถี ใหม่ ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ด้วยการผสมผสานต่อยอดกับองค์ความรู้ สมัยใหม่ จนชุมชนทั่วประเทศ มีความเข้มแข็งมั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้ บนพื้นฐานของจิตใจที่มีคุณธรรมและการรู้จักใช้ปัญญา ค้นหาความรู้ที่เป็น ภู มิ ปั ญ ญาดั้ ง เดิ ม ของชุ ม ชน ตลอดจนรู้ เ ท่ า ทั น ต่ อ อิ ท ธิ พ ลจากการครอบงำ ของทุนนิยม ไม่หลงลืม ยึดติดจนกระทั่งตกเป็นเหยื่อสิ่งเหล่านี้ โดยร่วมมือกัน สร้างสรรค์สังคมไทยให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสู่วิถีความเป็นเอกลักษณ์ ไทย และสามารถเป็ น สมาชิ ก ของสั ง คมโลกได้ อ ย่ า งสง่ า งามและมี ศั ก ดิ์ ศ รี ด้วยโครงการลานบุญ ลานปัญญา เพื่อให้ศาสนามีบทบาทต่อการแก้ ไขและ เยียวยาสังคมบริโภคนิยม ซึ่งเป็นการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง โครงการลานบุญ ลานปัญญาเป็นโครงการที่เน้นเปิดพื้นที่ของศาสน สถานทุกศาสนา ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เป็น “ศูนย์กลางของชุมชน” ให้คน ในชุมชนร่วมจัดทำโครงการขนาดเล็ก/กิจกรรมโดยใช้พื้นที่ของศาสนสถานเป็น ฐานปฏิ บั ติ ก าร เป็ น ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ แ ละถ่ า ยทอดภู มิ ปั ญ ญาเพื่ อ เสริ ม สร้ า ง ปัญญาให้กับคนในชุมชน (ลานปัญญา) และให้คนในชุมชนร่วมกันทำกิจกรรม ทางศาสนาสร้างความดี (ลานบุญ) ในโอกาสต่าง ๆ เป็นการพัฒนาชุมชนให้เข้ม แข็งด้วยกิจกรรมเพื่อชุมชนจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนนั้น ๆ เพื่อเสริม สร้างคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมที่ประกอบด้วยปัญญา และความดี กับทั้งดำรงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและวัฒนธรรมท้อง ถิ่นให้คงอยู่ตลอดไป เพื่อให้ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข แก้ ไขปัญหาชุมชนอยู่ร้อน

นอนทุ ก ข์ ใ ห้ ห มดไปจากชุ ม ชน ภายใต้ แ ผนปฏิ บั ติ ก ารไทยเข้ ม แข็ ง ตาม นโยบายของรัฐบาล

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


การบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญา กรมการศาสนาได้มีการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการบริหารโครงการจากเดิม ที่เน้นการเสนอแนะและ ชี้ น ำประชาชนเป็ น หลั ก ซึ่ ง ในบางครั้ ง ไม่ ส ามารถสนองความต้ อ งการของ ประชาชนในชุมชนได้ มาเป็นการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาโดย ประชาชนเอง กล่าวคือแตกต่างจากโครงการในอดีต ด้วยการเน้นตอบสนอง ความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ มีการสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชน ในชุ น ชน เป็ น ผู้ คิ ด ริ เ ริ่ ม โครงการจากความต้ อ งการของชุ ม ชน รวมทั้ ง ได้บริหารโครงการและดำเนินการโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนภายใต้การกำกับ ดูแลโดยประชาชนเอง กล่าวโดยสรุปคือ โครงการลานบุญ ลานปัญญาเป็นนโยบายสำคัญ ของรั ฐ บาล ที่ มุ่ ง มั่ น จะพลิ ก ฟื้ น บทบาทของศาสนสถาน ให้ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลาง การจัดกิจกรรมของชุมชนดังเช่นในอดีต ให้มีการใช้ศาสนสถานเพิ่มมากขึ้น โดยมีคนในพื้นที่ชุมชนเป็นเจ้าของโครงการลานบุญ ลานปัญญา หน่วยงาน ภายนอกในจังหวัดและกรมการศาสนาเป็นเพียงหน่วยสนับสนุนและติดตาม ประเมิ น ผล การบริ ห ารโครงการทุ ก กระบวนการ โดยคนในชุ ม ชนร่ ว มกั น

รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนของตนเอง โดยมีคณะกรรมการ

บริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัดที่มีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด เป็นเลขานุการ ทำหน้าที่กำกับดูแล เร่งรัดติดตาม และมีคณะกรรมการ

ดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถานร่วมกับคนในชุมชน

เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ มีกรมการศาสนาเป็นผู้ ให้คำปรึกษาและกำกับ ติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนให้ทุกภูมิภาคของประเทศ หันมาใช้พื้นที่ ของศาสนสถาน เป็นลานบุญ ลานปัญญาของชุมชน ให้คนในชุมชนได้พัฒนา จิตใจมี โอกาสใกล้ชิดศาสนา พร้อมไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ การอนุรักษ์ สื บ ทอด มรดกภู มิ ปั ญ ญาดั้ ง เดิ ม ที่ มี คุ ณ ค่ า ของไทยให้ ด ำรงอยู่ แ ละถ่ า ยทอด สู่เยาวชนในชุมชน อันจะส่งผลให้ ได้รับความสุขอย่างครบวงจรของชีวิต และ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ส่งผลโดยอ้อมต่อการกระตุ้นและยกระดับเศรษฐกิจของชุมชน ให้พึ่งพาตนเอง และตั้ ง อยู่ บ นฐานของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เป็ น การกระจายให้ ค รอบคลุ ม ทั่วประเทศภายใต้ โครงการลานบุญ ลานปัญญา จากความเป็นมาและความสำคัญดังกล่าว ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ โครงการลานบุญ ลานปัญญา จึงได้รับงบประมาณแผ่นดิน ในวงเงิน ๕๐ ล้านบาท ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยศาสนสถานกลับมาเป็นศูนย์กลางของประชาชน ศาสนิกชนทุกเพศทุกวัยเกิดการปรับความรู้สึกและพฤติกรรม เปลี่ยนค่านิยม จากทุนนิยมมาเป็นจิตนิยม เกิดจิตอาสา ดำรงชีวิตภายใต้หลักธรรมทางศาสนา ตามวิถีพอเพียงอย่างยั่งยืน ประชาชนในชุมชนเกิดความผูกพันทางด้านจิตใจ มี บ รรยากาศในการทำงานร่ ว มกั น อย่ า งราบรื่ น มี ค วามสามั ค คี รู้ สึ ก ร่ ว ม รับผิดชอบต่อกิจกรรมที่ดำเนินงานด้วยความเต็มใจ และพร้อมที่จะดำเนินการ โครงการอย่างต่อเนื่อง และทำให้ทุนทางสังคมที่มีอยู่มากมายสามารถนำมาใช้ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด และมี ค วามคุ้ ม ค่ า อาทิ ศาสนสถาน ศาสนบุ ค คล ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพในชุมชน ภูมิปัญญา ไทย และมรดกทางวัฒนธรรมไทยอันทรงคุณค่า เกิดเป็นพลังในการพัฒนา ความเข้มแข็งของชุมชน

ประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับ ๑. ประชาชนในชุ ม ชนสามารถใช้ ศ าสนสถานเป็ น พื้ น ที่ เ รี ย นรู้ สร้างสรรค์ปัญญาให้รู้เท่าทันในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ถาโถมเข้าสู่ประเทศไทย ๒. ประชาชนในชุมชนสามารถใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางในการ ระดมคนในชุมชนมาร่วมคิดร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อสร้างปัญญา สร้างมูลค่าเพิ่มทางสังคมและเศรษฐกิจ เป็นการ กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชน

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๓. ประชาชนในชุ ม ชนได้รั บ การพั ฒ นาให้ มี ศั ก ยภาพทางปั ญ ญา เพิ่มขึ้น พร้อมไปกับการพัฒนาด้านจิตใจให้เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติ ๔. ประชาชนในชุมชนผนึกกำลังร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อพัฒนา ชุมชนของตนเองและอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทรและแบ่งปัน ดำรงชีวิตอย่างมี ความสุขภายใต้วิถีชีวิตดั้งเดิมที่ดีงามของไทย ๕. ประชาชนในชุมชนสามารถใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางในการ สืบค้นหามรดกภูมิปัญญาไทยซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ดั้งเดิม เป็นองค์ ความรู้ที่มีคุณค่าซึ่งอยู่ ในตัวของผู้สูงอายุในชุมชน ให้มีการถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่น ใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อธำรงรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทยและต่อยอดให้เกิด มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ๖. ประชาชนในชุ ม ชนสามารถใช้ ศ าสนสถาน เป็ น สภาลานบุ ญ

ลานปั ญ ญา เป็ น ศู น ย์ ร วมแลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น เพื่ อ ร่ ว มกั น แก้ ไขปั ญ หา ทุนนิยมและบริโภคนิยมที่เกินพอดี ๗. ประชาชนในชุ ม ชนสามารถใช้ ศ าสนสถาน เป็ น สภาลานบุ ญ ลานปัญญา ร่วมกันระดมสมองเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตดั้งเดิมซึ่งเป็นวิถีไทยในท้องถิ่น ให้คืนกลับสู่ชุมชนของตน ๘. โครงการลานบุญ ลานปัญญาเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิ จ ชุ ม ชนเพื่ อ พั ฒ นาประเทศ ด้ ว ยทุ น ทางวั ฒ นธรรมที่ เ ป็ น ฐานราก ที่เข้มแข็งของไทย

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


บทที่ ๒ สาระสำคัญของโครงการลานบุญ ลานปัญญา ความสำคัญของโครงการ การพั ฒ นาประเทศจากอดี ต กระทั่ ง ปั จ จุ บั น ปรากฏให้ เ ห็ นเป็ น ที่ ประจั ก ษ์ ว่ า มุ่ ง เน้ น พั ฒ นาเศรษฐกิ จ เพี ย งต้ อ งการสร้ า งความเข้ ม แข็ ง ทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับประเทศ โดยพัฒนาสร้างความเจริญทางวัตถุและ สิ่งอำนวยความสะดวกสบายแก่ประชาชนเป็นหลัก ซึ่งผลของการพัฒนาได้ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนและสังคมไทยที่เป็นสังคมสงบสุขร่มเย็นไม่หลงใหล ในวัตถุนิยมและบริโภคนิยม กลายเป็นสังคมที่ขาดระเบียบวินัย มีการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น แตกแยก ขาดความสามัคคี ฟุ่มเฟือย ห่างไกลศีลธรรม เป็นเหตุให้ สถาบันครอบครัวและสังคมล่มสลาย เด็กและเยาวชนขาดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เหล่านี้เป็นบริบทสังคมที่ ได้มาจากการพัฒนา คือ ความเติบโตทางเศรษฐกิจ

การเงินและรายได้ประชาชาติ ที่ต้องแลกกับการสูญสิ้นอัตลักษณ์ของสังคมไทย ไปอย่างไม่มีทางหวนกลับคืน ทั้ง ๆ ที่ทิศทางการพัฒนาก็มิได้เป็นไปอย่างยั่งยืน และไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในทุก ๆ ด้าน ประกอบ กั บ การมุ่ ง เน้ น ให้ ค วามสำคั ญ เฉพาะสื่ อ และเทคโนโลยี เพื่ อ ต้ อ งการความ ก้าวหน้าที่ทันโลกปัจจุบันในทุกรูปแบบ การมุ่งสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ ของประเทศเป็นหลักนั้น เป็นการพัฒนาประเทศที่ขาดความสมดุล ที่ละเลย การพัฒนาด้านจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีควบคู่กันไปในการเสริมสร้างและ รักษาดุลยภาพพฤติกรรมและวิถีการดำรงชีวิตของคนในสังคมด้วย “ค่านิยม คุ ณ ธรรม มี จ ริ ย ธรรมอย่ า งมั่ น คงและยั่ ง ยื น ” ดั ง เช่ น สั ง คมไทยในอดี ต

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ที่ เ น้ น การพั ฒ นาจิ ต ใจเพื่ อ เสริ ม สร้ า งคุ ณ ธรรมและจริ ย ธรรม ได้ เ ปลี่ ย นไป เป็ น การส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด พฤติ ก รรมและค่ า นิ ย ม “สั ง คมบริ โ ภคนิ ย มและ วั ต ถุ นิ ย ม” ซึ่ ง ส่ ง ผลกระทบต่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของคนในชาติ เป็ น เหตุ แ ละ ต้ น กำเนิ ด ของปั ญ หาในสั ง คมปั จ จุ บั น จำเป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะต้ อ งพิ จ ารณา ดำเนินการแก้ ไขและเยียวยาอย่างเร่งด่วนในการปรับเปลี่ยนบริบทการพัฒนา ประเทศจากการมุ่งเน้นแข่งขันด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ให้มีการพัฒนา ที่ มุ่ ง เน้ น การพั ฒ นาจิ ต ใจควบคู่ กั น ไปอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยอาศั ย มิ ติ ศ าสนา นำศี ล ธรรมกลั บ คื น สู่ สั ง คมเพื่ อ ปรั บ เปลี่ ย นและสร้ า งค่ า นิ ย มคุ ณ ธรรมและ จริ ย ธรรม อั น เป็ น ค่ า นิ ย มที่ ดี ง ามของสั ง คมไทยในอดี ต ที่ เ กื้ อ กู ล กั น ระหว่ า ง บ้าน วัด โรงเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์นำหลักธรรมทางศาสนาไปสู่การปฏิบัติ ในชีวิตประจำวัน เกิดภูมิคุ้มกันทางสังคมที่ดี ทำให้คนในสังคมไทยยึดมั่นใน คุณธรรมจริยธรรม ควรจะต้องยึดถือเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนามุ่งเน้น จิตใจคน ให้มีการพัฒนาคุณธรรมนำความรู้ ควบคู่กับการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อ สร้างปัญญาให้แก่คนทุกกลุ่มทุกวัย การพัฒนาด้วยกระบวนการดังกล่าวแล้ว จะเป็นการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตลอดไป จากความพยายามของหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชนและรัฐบาล ทุกยุคทุกสมัยได้กำหนดนโยบายผลักดันโครงการต่าง ๆ เพื่อปรับสภาพวิถีชีวิต ของประชาชน ให้ มี ค วามเป็ น อยู่ ที่ ดี ต ามหลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยไปใช้ ใน การสร้างกิจกรรม แต่สิ่งที่ ได้ดำเนินการไปแล้วน่าจะยังไม่สามารถบรรลุผล สำเร็จ ทั้งนี้ เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมเหล่า นั้นต่างก็มุ่งเน้นเสนอแนะและชี้นำให้ประชาชนนำไปใช้กับกระบวนการบริหาร จัดการที่ดีเพื่อการเกษตรกรรมตามวิถีพอเพียง โดยวิธีดังกล่าวปรากฏเป็น ที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าประโยชน์ที่ ได้รับและผลสำเร็จที่เกิดขึ้นมีอยู่ ในเฉพาะกลุ่ม ของประชาชนมีที่ดินเป็นของตนเองหรือสามารถหาที่ดินทำมาหากินได้เท่านั้น แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


และก็ เ ป็ น เพี ย งประชาชนส่ ว นน้ อ ยของประเทศแต่ ป ระชาชนส่ ว นใหญ่ ข อง ประเทศไม่มีที่ดินทำกินก็ ไม่สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ ใช้ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติได้แต่อย่างใด การชี้แนะและสร้าง กิจกรรมหรือโครงการตัวอย่างนำร่องของหน่วยงานภาครัฐที่จัดทำขึ้น จึงไม่ ได้ ตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่เหล่านี้ที่ ไม่สามารถเรียนรู้และ จะเข้าใจนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นรูปธรรม เหตุมาจากการ ขาดองค์ประกอบหลักของประชาชนที่จะนำไปใช้ คือ ไม่มีที่ดินทำกินมาใช้ทำ กิจกรรม โดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำรง ชีวิตประจำวันของประชาชน รัฐและหน่วยงานภาครัฐจะต้องทำความเข้าใจใน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ถ่องแท้ แล้วจึงนำไปขยายผลในการสนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชนมีวิธีคิด วิธีการสืบค้นภูมิรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิธรรม และสิ่ ง แวดล้ อ มที่ มี อ ยู่ น ำไปสู่ ก ารปฏิ บั ติ ใ นแต่ ล ะชุ ม ชนด้ ว ยวิ ถี พ อเพี ย ง อย่างยั่งยืน ดังนั้น การที่ภาครัฐได้ ให้ความสำคัญและต้องการพลิกฟื้นนำคุณค่า ของวัดหรือศาสนสถานสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยนโยบายที่จะทำพื้นที่จัดกิจกรรม “ลานบุญ ลานปัญญา” โดยปรับสภาพศาสนสถานปัจจุบันให้เป็นศูนย์กลาง ระดมคนในชุมชนสร้างกิจกรรมสร้างสรรค์ของชุมชน โดยชุมชนและเพื่อชุมชน อาศัยวิกฤติเศรษฐกิจและสังคมโลกที่ทุกภูมิภาคประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศไทยอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ซึ่งรัฐบาลได้ พยายามคิดค้นแสวงหาแนวทางแก้ ไขให้ประเทศผ่านพ้นสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ครั้งนี้ ด้วยวิธีการกระจายเม็ดเงินลงทุนโครงการต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้ทุกภาคของสังคมมีส่วน ช่วยสร้างสรรค์คิดค้นและแสวงหาต้นทุนที่มีอยู่แล้วนำมาปรับและพัฒนาสร้าง มูลค่าเพิ่ม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นและ สามารถฟื้นตัวได้ ในระยะเวลาอันสั้น

10

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


โครงการ “ลานบุญ ลานปัญญา” เป็นโครงการขนาดเล็กในชุมชน ต่าง ๆ ดำเนินการด้วยการเปิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค ของประเทศให้กลับมาเป็น “ศูนย์กลางของชุมชน” เพื่อระดมประชาชนในแต่ละ ชุมชนหันกลับมาใช้พื้นที่ของศาสนสถานให้เป็นแหล่งเรียนรู้เสริมสร้างปัญญา และทำกิจกรรมทางศาสนาสร้างความดี (ลานบุญ) ในโอกาสต่าง ๆ จะได้ส่งผล กระทบในเชิงบวกต่อชุมชนในเรื่องของคนในชุมชนร่วมกันทำความดี เสริมสร้าง ชุมชนเข้มแข็งด้วยกิจกรรมเพื่อชุมชน ที่มุ่งเน้นจัดกิจกรรมในมิติทางศาสนาและ วัฒนธรรม โดยใช้ศาสนสถาน เป็นฐานปฏิบัติการศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอด ภู มิ ปั ญ ญาที่ ส ำคั ญ ของคนในชุ ม ชน เป็ น ศู น ย์ ก ลางในการจั ด กิ จ กรรมและ ศู น ย์ ก ลางสนั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม ให้ น ำภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น จั ด กิ จ กรรมเกิ ด ผลิ ต ผล จำหน่ายเป็นรายได้สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ชุมชน เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนใน สังคมชุมชนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมที่ประกอบด้วยปัญญาและความดี เพื่อความ เข้มแข็งของชุมชนด้วยการมีความสามัคคี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลกัน จากการมีส่วน ร่วมของคนในชุมชนนั้น ๆ อย่างแท้จริง สนองนโยบายการพัฒนายกระดับปรับ วิถีชีวิตของคนในชุมชนให้เข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างรู้เท่า และรู้ทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์สืบทอด ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นให้ดำรงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทยด้วย วั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น ให้ ค งอยู่ ต ลอดไปภายใต้ แ ผนปฏิ บั ติ ก ารไทยเข้ ม แข็ ง ตาม นโยบายของรัฐบาล

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเปิดพื้นที่ศาสนสถานจัดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ในการเรียนรู้ เสริมสร้างความรอบรู้ (ปัญญา) ให้แก่คนในสังคมและชุมชนได้สร้างมูลค่าเพิ่ม ทางสังคมพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพ

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

11


๒. เพื่ อ จั ด พื้ น ที่ ศ าสนสถานให้ ส มาชิ ก ของชุ ม ชนมี ส่ ว นร่ ว มคิ ด ร่วมทำกิจกรรมสร้างสรรค์สนับสนุนและส่งเสริมการทำความดี (บุญ) สร้าง ทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีคุณธรรม ๓. เพื่อใช้พื้นที่ศาสนสถานส่งเสริมให้สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมทำ กิจกรรมจากองค์ความรู้ เป็นผลิตผลสำหรับใช้และจำหน่ายสร้างมูลค่าเพิ่ม

แก่ ชุ ม ชนด้ า นเศรษฐกิ จ สร้ า งชุ ม ชนเข้ ม แข็ ง ภายใต้ ป รั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพียง ๔. เพื่ อ ให้ ชุ ม ชนอยู่ เ ย็ น เป็ น สุ ข โดยมี ล านบุ ญ ลานปั ญ ญาของ ศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

เป้าหมาย จำนวนศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการฯ ๗๕ จังหวัด รวม ๔๐๐ แห่ง ทั่วประเทศ ประกอบด้วยศาสนสถานทุกศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ ตามบัญชีจำนวนศาสนสถาน ในแต่ละศาสนาตามสัดส่วนของศาสนิกชนในศาสนานั้น ๆ ✤ ร้อยละของประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ต่อการจัดกิจกรรม (๗๐%) ✤ ร้อยละของประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ หลักธรรมทางศาสนา (๗๐%)

แนวคิดในการดำเนินงาน

๑. การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์

“ใช้ ศ าสนสถานเป็ น ศู น ย์ ก ลางระดมคนในชุ ม ชน ทำกิ จ กรรม สร้ า งความสามั ค คี อ ย่ า งคุ้ ม ค่ า ภายใต้ ห ลั ก ธรรมทางศาสนา ปรั บ สภาพ

การดำรงชีวิตด้วยวิถีพอเพียงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน”

12

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


โครงการ “ลานบุ ญ ลานปั ญ ญา” สร้ า งพื้ น ที่ ส ร้ า งสรรค์ เ ป็ น ศูนย์กลางระดมคนในชุมชนสร้างสังคมเข้มแข็ง โดยปรับบทบาทศาสนสถาน ใช้เป็นฐานปฏิบัติการภายใต้การนำของผู้นำศาสนาและคนในชุมชนร่วมกัน

ทำกิจกรรมตามประเพณีของศาสนาตนเอง และท้องถิ่น สร้างความสมัคร สมานสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคม สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ความดี (บุ ญ ) จากกิ จ กรรม ลานบุ ญ เพื่ อ สร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม ด้ ว ยการใช้ พื้ น ที่ ศาสนสถานอย่ า งคุ้ ม ค่ า ใช้ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางสะสมองค์ ค วามรู้ (ปั ญ ญา) และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำไปพัฒนาเพิ่มศักยภาพคนในชุมชนให้เป็นทรัพยากรบุคคล ที่มีคุณภาพ ในการคิดกิจกรรมสร้างสรรค์จากความรู้และภูมิปัญญาเกิดเป็น ผลิ ต ผลสำหรั บ ใช้ ป ระโยชน์ ใ นชุ ม ชนและจำหน่ า ยเป็ น รายได้ เ พิ่ ม มู ล ค่ า จาก ลานปัญญา สร้างรายได้ ให้แก่คนในชุมชนในการเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน เกิดเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างมั่นคงด้วยโครงการ “ลานบุญ ลานปัญญา”

๒. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน “ลานบุญ ลานปัญญา” เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ของทุกคนในชุมชน โดยการเปิดโอกาสให้องค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะ องค์กร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และประชาชนในชุ ม ชนมี ส่ ว นร่ ว มในการดำเนิ น งาน โครงการผ่านเวทีประชาคมในศาสนสถานของทุกศาสนา ซึ่งเป็นศูนย์กลาง ของชุมชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ดีงามของไทยในอดีต ซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรม ที่มีศาสนาเป็นรากฐานสำคัญ ให้คนในชุมชนร่วมดำเนินการด้วยความสมัครใจ ตั้งแต่การคิดริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ ๆ เพื่อชุมชน การร่วมตัดสินใจ วางแผน ปฏิบัติและรับผิดชอบโครงการ รวมทั้งสนับสนุนให้การดำเนินงาน โครงการเกิ ด ผลประโยชน์ สู ง สุ ด ต่ อ ชุ ม ชน โดยเน้ น ให้ ป ระชาชนในชุ ม ชน เกิดความผูกพันทางด้านจิตใจ มีบรรยากาศในการทำงานร่วมกันอย่าง

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

13


ราบรื่น มีความรู้สึกที่จะร่วมรับผิดชอบต่อกิจกรรมที่ดำเนินไปด้วยความเต็มใจ

และพร้อมที่จะดำเนินการโครงการอย่างต่อเนื่องตลอดไป โดยให้ ป ระชาชนในชุ ม ชนร่ ว มค้ น หาปั ญ หา สาเหตุ ข องปั ญ หา และแนวทางแก้ ไขของชุมชน ร่วมตัดสินใจกำหนดความต้องการ จัดลำดับ ความสำคัญ วางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ แนวทางการดำเนินงาน การใช้ ท รั พ ยากรในท้ อ งถิ่ น ตลอดจนร่ ว มดำเนิ น งานตามโครงการและ ติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารโครงการ ลานบุญ ลานปัญญาในระดับจังหวัดและกรมการศาสนา

๓. การใช้ทุนทางสังคม โครงการลานบุญ ลานปัญญา เป็นโครงการที่เน้นการใช้ทุน ทางสังคมที่มีอยู่ ในสังคมมากมาย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความคุ้มค่า อาทิ ศาสนสถาน ศาสนบุ ค คล ผู้ น ำศาสนา ผู้ น ำชุ ม ชน ปราชญ์ ช าวบ้ า น ทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพในชุมชน ภูมิปัญญาไทย มรดกทางวัฒนธรรมไทย อันทรงคุณค่า เช่น ดนตรีไทย หัตถกรรมไทย ผ้าไหมไทย รำไทย อาหารไทย ศิลปกรรมไทย สถาปัตยกรรมไทย และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมไทยที่เป็น มรดกโลก สิ่งเหล่านี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่มีการถ่ายทอดจาก บรรพชนสู่สังคมยุคปัจจุบัน ที่คนในชุมชนควรจะร่วมกันสืบสานให้ดำรงคงอยู่ คู่ชาติไทย โดยมารวมตัวกัน ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของวัฒนธรรมที่ดีงาม ของสั ง คมไทย บนความไว้ เ นื้ อ เชื่ อ ใจ ความเอื้ อ อาทรต่ อ กั น ความผู ก พั น การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน จนเกิดเป็นพลังในชุมชน ที่จะร่วมกันพัฒนาชุมชน จากทุนทางสังคมเหล่านี้ ให้เข้มแข็งและมีความสงบร่มเย็น โดยมีศาสนสถาน เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดไป

14

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


แนวทางการดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ลานบุญ ลานปัญญา :

ชุมชนคุณธรรม ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข

เป้าหมาย :

ดำเนินการจัดกิจกรรมลานบุญ ลานปัญญา ในศาสนสถานทุกศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และ ศาสนาซิกข์ จำนวน ๗๕ จังหวัด รวม ๔๐๐ ศาสนสถานทั่วประเทศ

วัตถุประสงค์ :

เพื่ อ พลิ ก ฟื้ น บทบาทของศาสนสถานทุ ก ศาสนาให้ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลาง การจั ด กิ จ กรรมของชุ ม ชนดั ง เช่ น ในอดี ต โดยใช้ ทุ น ทางสั ง คมที่ มี อ ยู่ ผ่ า น กระบวนการมี ส่ ว นร่ ว มของคนในชุ ม ชน ให้ ค นในชุ ม ชนร่ ว มกั น คิ ด ร่ ว มกั น จัดกิจกรรมเพื่อ (๑) สร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม (๒) ส่งเสริมเศรษฐกิจ เชิงสร้างสรรค์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และ (๓) พลิกฟื้นวิถีชีวิตชุมชนที่ดีงาม ในอดีตให้กลับคืนมา เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งและอยู่เย็นเป็นสุข

การดำเนินการ :

คณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา ประจำ ศาสนสถาน จัดทำแผนปฏิบัติการประจำศาสนสถาน ประกอบด้วย รายชื่อ กิจกรรม วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมกำหนดระยะเวลาการจัดกิจกรรม จำนวน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และงบประมาณ เสนอสภาลานบุญ ลานปัญญา ประจำ ศาสนสถาน พิ จ ารณาให้ ค วามเห็ น ชอบเพื่ อ นำเสนอคณะกรรมการบริ ห าร โครงการลานบุญ ลานปัญญา ประจำจังหวัด พิจารณาอนุมัติ

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

15


แนวคิดการดำเนินงาน : ๑. การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ ใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางระดมคนในชุมชน ทำกิจกรรมสร้าง ความสามัคคีภายใต้หลักธรรมทางศาสนา ปรับสภาพการดำรงชีวิตด้วยวิถ ี

พอเพียงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ๒. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ประชาชนในชุมชนเกิดความผูกพันทางด้านจิตใจ มีบรรยากาศ ในการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น มีความรู้สึกร่วมรับผิดชอบต่อกิจกรรมที่ ดำเนินงานด้วยความเต็มใจและพร้อมที่จะดำเนินการโครงการอย่างต่อเนื่อง ตลอดไป ๓. การใช้ทุนทางสังคม เน้นการใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ ในสังคมมากมาย ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด และมีความคุ้มค่า อาทิ ศาสนสถาน ศาสนบุคคล ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพในชุมชน ภูมิปัญญาไทย มรดก ทางวัฒนธรรมไทยอันทรงคุณค่า โดยมารวมตัวกัน ร่วมคิด ร่วมทำ จนเกิดเป็น พลังในชุมชน ที่จะร่วมกันพัฒนาชุมชนจากทุนทางสังคมเหล่านี้ ให้เข้มแข็งและ มีความสงบร่มเย็น

ผู้รับผิดชอบ : ชุ ม ชนและศาสนสถาน ร่ ว มกั น รั บ ผิ ด ชอบการจั ด กิ จ กรรม โดย มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบหลักเป็นรายกิจกรรม เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมให้ เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำศาสนสถาน โดยมีคณะกรรมการระดับจังหวัด และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป็นผู้ ให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด

งบประมาณ :

กรมการศาสนาได้จัดสรรงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนให้จังหวัด เพื่อดำเนินการจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมลานบุญ ลานปัญญา ให้แก่ศาสนสถาน

16

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ผลสำเร็จ : ๑. ศาสนสถานกลับมาเป็นศูนย์กลางของประชาชน ศาสนิกชน ทุกเพศทุกวัยเกิดการปรับความรู้สึกและพฤติกรรม เปลี่ยนค่านิยมจากทุนนิยม มาเป็นจิตนิยม เกิดจิตอาสา ดำรงชีวิตภายใต้หลักธรรมทางศาสนา ตามวิถี พอเพียงอย่างยั่งยืน ๒. ประชาชนในชุมชนเกิดความผูกพันทางด้านจิตใจ มีบรรยากาศ ในการทำงานร่ ว มกั น อย่ า งราบรื่ น มี ค วามสามั ค คี รู้ สึ ก ร่ ว มรั บ ผิ ด ชอบ ต่อกิจกรรมที่ดำเนินงานด้วยความเต็มใจ และพร้อมที่จะดำเนินการโครงการ อย่างต่อเนื่อง ๓. ทุนทางสังคมที่มีอยู่มากมายสามารถนำมาใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความคุ้มค่า อาทิ ศาสนสถาน ศาสนบุคคล ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพในชุมชน ภูมิปัญญาไทย และมรดกทางวัฒนธรรม ไทยอันทรงคุณค่า เกิดเป็นพลังในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน

สรุปลานบุญ ลานปัญญา เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมในศาสนสถาน โดยคนในชุมชนทุก ศาสนา ทุกเพศ ทุกวัย ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรม ร่วมดูแลชุมชน ทำให้เกิด กระบวนการตามธรรมชาติ ที่ ท ำให้ ค นในชุ ม ชนมี ค วามใกล้ ชิ ด สมั ค รสมาน สามัคคี และเกื้อกูลกัน อันเป็นการรื้อฟื้นรากฐานที่ดีที่มีอยู่ ในสังคมไทยแต่เดิม ให้กลับคืนมา ความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในชุมชน จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่าง ยิ่ ง ต่ อ ความสำเร็ จ ในการจั ด กิ จ กรรมลานบุ ญ ลานปั ญ ญา การสร้ า งชุ ม ชน อยู่เย็นเป็นสุข และสังคมสงบร่มเย็น

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

17


บทที่ ๓ การดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญา ๑. การเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ โครงการลานบุญ ลานปัญญา โครงการ “ลานบุญ ลานปัญญา” เป็นโครงการที่อาศัยทุนทรัพยากร ที่มีอยู่ ในสังคมชุมชน นำมาใช้ ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน สังคม และประเทศ ชาติโดยรวม จึงต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยมีแนวทาง ในการเตรียมการดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญา ดังนี้ ๑.๑ การเตรียมการจัดทำโครงการในศาสนสถาน โดยที่ ในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีศาสนสถานเป็นศูนย์กลาง ดำเนิ น พิ ธี ท างศาสนาและวิ ถี ก ารดำเนิ น ชี วิ ต ของคนในชุ ม ชนดั้ ง เดิ ม ในอดี ต แต่จากการเปลี่ยนแปลงไปของสังคมโลกทำให้วิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชน เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อศาสนสถาน สังคมและชุมชน อย่างรุนแรง กิจกรรมและพิธีกรรมที่เคยปฏิบัติโดยศาสนสถานเป็นศูนย์กลาง ลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนและศาสนสถาน กับชุมชนเกิด ช่ อ งว่ า งเพิ่ ม มากขึ้ น ขาดการเกื้ อ กู ล กั น เลี ย นแบบวั ฒ นธรรมต่ า งถิ่ น จาก ภายนอก วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในสังคมไทยดั้งเดิมที่ดีงามถูกทำลาย อย่างสิ้นเชิงจากการถูกกลืนทางวัฒนธรรม

18

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ดั ง นั้ น การที่ จ ะให้ ชุ ม ชนมี ส่ ว นร่ ว มในการจั ด ทำโครงการ/ กิจกรรมสร้างสรรค์ขึ้นนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับสังคมไทยปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องมีขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อ

ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ภายในชุมชน และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในศาสนสถานทุก จั ง หวั ด ทั่ ว ประเทศ ซึ่ ง กิ จ กรรมสร้ า งสรรค์ ที่ แ ต่ ล ะชุ ม ชนควรต้ อ งพิ จ ารณา มีดังนี้ ๑.๑.๑ ปรับกระบวนการ วิธีการคิดและการบริหารจัดการ ของชุมชนผู้มีส่วนได้เสียในการร่วมทำโครงการ/กิจกรรม สนับสนุนส่งเสริม ชุมชนให้มีส่วน “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์” จัดกิจกรรมต่อเนื่องที่ หลากหลายและสอดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของคนในชุ ม ชน เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประสิทธิภาพของงาน ประสิทธิผลด้านปัญญา (ความรู้) และบุญ (ความดี) ที่คนในชุมชนจะได้รับ ๑.๑.๒ ปรั บ บริ บ ทชุ ม ชน การสร้ า งโครงการ/กิ จ กรรม สร้ า งสรรค์ ซึ่ ง ภายในชุ ม ชนประกอบด้ ว ย บ้ า น ศาสนสถาน สถานศึ ก ษา หน่ ว ยงานและองค์ ก รภาครั ฐ /เอกชนในชุ ม ชน เป็ น องค์ ป ระกอบ ดั ง นั้ น เพื่อให้การจัดกิจกรรมตอบสนองความต้องการของสังคมชุมชนในเชิงรุก มุ่งเน้น ให้ครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกันอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดเป็น ครอบครัวเข้มแข็งและอบอุ่นขึ้นในสังคม ๑.๑.๓. ปรับวิธีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ระดมความคิด ในการนำทรัพยากรของชุมชนมาใช้อย่างรู้คุณค่าและสร้างประโยชน์แก่ชุมชน โดยมีศาสนสถานเป็นศูนย์กลางระดมคนร่วมทำกิจกรรมที่ ไม่ขัดต่อหลักธรรม คำสอนทางศาสนา สร้างโอกาสให้คนในชุมชนได้ ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างเข้าใจ และเข้าถึงหลักธรรมทางศาสนาผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ นำไปปรับใช้ ในชีวิต ประจำวัน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเข้มแข็งทางจิตใจและมีความร่มเย็น เป็นสุข ด้วยมิติทางศาสนาภายใต้วิกฤติสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

19


๑.๑.๔ เน้นการใช้ภูมิปัญญาชุมชน ซึ่งเป็นมรดกทางปัญญา ที่สืบทอดและมีอยู่ ในชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบการดำรงชีวิต โดยนำมาปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์ สร้างรายได้ ให้แก่ชุมชนเป็นชุมชนเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึด “ทางสายกลาง” ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ สร้างความปรองดองอยู่ร่วมกันด้วยความมีวินัย รับผิดชอบ อดทน อดออม มานะ ประกอบสัมมาอาชีพ เพื่อชุมชนดำรงอยู่ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง ของโลกอย่างมั่นคงและยั่งยืนถาวร ๑.๑.๕ เน้ น การใช้ ท รั พ ยากรบุ ค คลในชุ ม ชน ที่มีค่าของ ชุมชนนั้น ๆ ซึ่งเป็นทุนทางสังคมเดิม นำมาสร้างประโยชน์ ให้กับสังคม พัฒนา สังคมชุมชนให้เข้มแข็งภายใต้วิกฤติสังคมโลกปัจจุบัน ร่วมจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยมี ศ าสนบุ ค คลในศาสนสถาน เป็ น ศู น ย์ ก ลางสร้ า งความร่ ว มมื อ ระหว่ า ง บุคลากรเครือข่ายในชุมชนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม สร้างสรรค์ที่สอดประสานกันทั้งระบบด้วยพลังชุมชนสร้างบุคลากรมีคุณภาพ เพื่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ๑.๒. การสร้างโครงการ/กิจกรรม ๑.๒.๑ การสร้างโครงการ/กิจกรรมสร้างสรรค์ จะต้อง สร้างขึ้นภายใต้กรอบแนวคิดของโครงการ “ลานบุญ ลานปัญญา” ต้องเป็น โครงการ/กิจกรรมที่เป็นไปตามกรอบแนวคิด คือ ❖ สมาชิกของชุมชนต้องมีส่วนร่วมคิด ร่วมสร้างโครงการ/ กิจกรรม (ร่วมคิด) ❖ โครงการทุ ก โครงการต้ อ งไม่ ขั ด หลั ก ธรรมคำสอนทาง ศาสนา ❖ สมาชิกของชุมชนต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการทำโครงการ ทุกโครงการ (ร่วมทำ)

20

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ต้องจัดทำแผนปฏิบัติการของศาสนสถานและมีการกำกับ ติดตามและรายงานผลของโครงการที่ชัดเจน โดยสมาชิก ของชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดปี (ร่วมบริหาร) ❖ สมาชิกของชุมชนต้องรับผิดชอบในการจัดทำแผนและ กำกับการใช้จ่ายเงินอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ (ร่วม ตรวจสอบ) ❖ โครงการที่ทำผู้ ได้รับประโยชน์ต้องเป็นสมาชิกของชุมชน และเป็นของชุมชนเท่านั้น (ร่วมรับประโยชน์) ๑.๒.๒ การสร้างความเข้าใจ บทบาทของศาสนสถานและ ชุมชนที่ต้องเกื้อกูลกันด้วยกระบวนการใช้สื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ๑.๒.๓ การสร้างชุมชนสัมพันธ์ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ชุมชนเพื่อการพัฒนา โดยใช้ศาสนสถานเป็นฐานปฏิบัติ สนับสนุนส่งเสริมคนใน ชุมชนมีปฏิสัมพันธ์บนพื้นฐานสังคมประชาธิปไตย ระบบคณะกรรมการอำนวย การ/คณะกรรมการบริ ห าร/คณะทำงานโครงการ/กิ จ กรรม สมาชิ ก ของ ชุมชนร่วมคิดร่วมกันเสนอแนวทางและร่วมบริหารจัดการโครงการสร้างสรรค์ ต่าง ๆ ด้วยมิติทางศาสนา มีการสื่อสารสองทาง สร้างโอกาสให้คนในชุมชน ได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมชุมชนภายใต้ปฏิบัติการชุมชนสัมพันธ์ ๑.๒.๔ การสร้างสังคมจิตอาสา ปลุกจิตสำนึกคนในชุมชน ให้รักท้องถิ่นและมีความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ โดยศาสนสถานเป็นศูนย์กลาง สื บ ค้ น องค์ ค วามรู้ ประวั ติ ค วามเป็ น มาของบุ ค คล ชุ ม ชนและมรดกทาง ภูมิปัญญาและทางวัฒนธรรมท้องถิ่น จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการ ทำงานแบบมีส่วนร่วมเป็นทีม บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีและรับประโยชน์ ร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิรู้ ภูมิธรรม ที่หลากหลายของคน ในท้องถิ่นสู่อนุชนอย่างมีจุดมุ่งเน้นสร้างคนรุ่นใหม่ ให้มีสำนึกจิตอาสาในการ รักษาสืบทอดมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนให้ยั่งยืน ❖

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

21


๑.๒.๕ การสร้ า งพลั ง ชุ ม ชนพลิ ก ฟื้ น ค่ า นิ ย ม โดยให้ ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและค่านิยม เพราะชุมชนกับ ศาสนสถานในปัจจุบันยังมีส่วนสัมพันธ์กันบางโอกาส ถ่ายทอดศาสตร์และ ศิลป์แก่ชุมชน ด้านการศึกษาทางโลกและทางธรรมเพื่อการดำรงชีวิตและ อนุ รั ก ษ์ วั ฒ นธรรมประเพณี ท้ อ งถิ่ น พั ฒ นาจิ ต ใจคนในชุ ม ชน สร้ า งคนดี มี คุณธรรม อาศัยศาสนสถานเป็นศูนย์ปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์พลิกฟื้นนำ ค่านิยมคุณธรรมของสังคมไทยในอดีตกลับคืนมา สร้างสังคมเข้มแข็งที่เปี่ยม ด้วยคุณธรรมอย่างยั่งยืนครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

๒. แนวทางการดำเนินงาน ในการดำเนินงานโครงการ “ลานบุญ ลานปัญญา” เป็นโครงการ สำคัญในอันที่จะสร้างให้เกิดสังคมแห่งปัญญา และสังคมคุณธรรม ซึ่งเป็นการ สร้างคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชนคนไทย การดำเนินโครงการนี้จึงมี การประเมินผลอย่างเป็นระบบและรอบคอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ประเทศชาติโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง แนวทางการดำเนินงานโครงการ “ลานบุญ ลานปัญญา” ประกอบ ด้วย ๔ ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาโครงการ ประกอบด้วยผู้แทนจาก ๕ ศาสนา ได้แก่ พระเถระผู้แทนกรรมการ มหาเถรสมาคม ผู้แทนจุฬาราชมนตรี (ผู้แทนศาสนาอิสลาม) ผู้แทนศาสนาคริสต์ ประธานพราหมณ์ พ ระราชครู (ผู้ แ ทนศาสนาพราหมณ์ - ฮิ น ดู ) และผู้ แ ทน ศาสนาซิ ก ข์ เป็ น การจั ด ทำโครงการ/กิ จ กรรมที่ เ ป็ น วิ ถี ชี วิ ต ดั้ ง เดิ ม ของ คนไทยที่ผูกพันอยู่กับศาสนา ผู้แทนของศาสนาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู ้

ความเชี่ ย วชาญในหลั ก ศาสนานั้ น ๆ และเป็ น ผู้ ที่ เ ป็ น ที่ ย อมรั บ นั บ ถื อ ของ ศาสนิ ก ชนของศาสนานั้ น ๆ และคนในพื้ น ที่ การแต่ ง ตั้ ง ให้ ผู้ แ ทนศาสนา

22

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ในระดับองค์กรและในระดับพื้นที่เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ จึงมีความจำเป็นเพื่อ ให้ โครงการนี้มีความมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป โดยผู้แทนศาสนาทั้ง ๕ ศาสนา จะมี บ ทบาทในการเป็ น ที่ ป รึ ก ษา กลั่ น กรองความเหมาะสมของโครงการ/ กิจกรรม กับทั้งกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา ให้แก่ศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา โดยมีการวางกรอบ เกี่ยวกับสาระสำคัญต่าง ๆ ดังนี้ ❖ ความสำคั ญ ของศาสนาที่ ศ าสนิ ก ชนต้ อ งคำนึ ง ถึ ง และนำไป ประพฤติปฏิบัติในชุมชน ❖ ความสำคัญของศาสนสถานของตนในชุมชน ที่สามารถใช้เป็น

พื้ น ที่ ส ร้ า งสรรค์ เป็ น ศู น ย์ ก ลางระดมคนในชุ ม ชน ร่ ว มทำ โครงการ/กิจกรรมจากความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิม สร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน สร้างความสามัคคีภายใต้หลักธรรม ทางศาสนา ฟื้นฟูวิถีชีวิตพอเพียงจากลานบุญ ลานปัญญา ❖ ความสำคั ญ ของศาสนบุ ค คลในชุ ม ชน ที่ เ ป็ น ทรั พ ยากรบุ ค คล ที่มีศักยภาพสามารถเป็นผู้นำในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทาง ศาสนา การพัฒนาจิตใจสู่คนในชุมชน ❖ โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาของตนที่คนในชุมชน ควรนำไปดำเนินการเพื่อสืบทอดสู่อนุชนรุ่นใหม่ ❖ โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมของศาสนาที่ควรได้มี การเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ สืบทอดสู่อนุชนรุ่นใหม่ ❖ โครงการ/กิจกรรมที่เป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ดีงามของคนในชุมชน ❖ โครงการ/กิ จกรรมสร้ างสรรค์ ท างศาสนาที่ เหมาะสมกั บวั ย ต่า ง ๆ ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความสุข และมีปฏิสัมพันธ์บนพื้นฐาน สังคมประชาธิปไตย แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

23


ขั้นตอนที่ ๒ การจัดทำแนวทางการดำเนินงาน กรมการศาสนาได้จัดทำกรอบแนวทางสำหรับจังหวัดเพื่อใช้ ในการ ดำเนินการโครงการนี้ ให้บรรลุผลตามเป้าหมายของรัฐบาล โดยมีเนื้อหาสาระ เรียงตามลำดับขั้นตอนของการดำเนินงาน ดังนี้ ๒.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญา จั ง หวั ด ให้ ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด เป็ น ผู้ แ ต่ ง ตั้ ง เพื่ อ บริ ห ารโครงการลานบุ ญ ลานปัญญา โดยมี โครงสร้างประกอบด้วย เจ้าคณะจังหวัด (มหานิกายและ ธรรมยุติกนิกาย) และผู้นำองค์การศาสนาทุกศาสนา ในจังหวัดเป็นที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ มีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในจังหวัดไม่เกิน ๓ คน (ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด, นายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด, พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด) และผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้นำตามธรรมชาติ/ปราชญ์ท้องถิ่น) ไม่เกิน ๕ คน ร่วมเป็นกรรมการ และ มีวัฒนธรรมจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีนักวิชาการวัฒนธรรม ที่ ได้รับมอบหมายจำนวน ๒ คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ ในการ คั ด เลื อ กศาสนสถานที่ จ ะเข้ า ร่ ว มโครงการฯ และหน้ า ที่ อื่ น ๆ รายละเอี ย ด ดังตัวอย่างโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ ดังนี้ ตัวอย่างโครงสร้าง ประกอบด้วย ๑.๑ เจ้าคณะจังหวัด ที่ปรึกษา ๑.๒ ผู้นำองค์การศาสนาทุกศาสนาในจังหวัด ที่ปรึกษา ๑.๓ ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานกรรมการ ๑.๔ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัด กรรมการ ไม่เกิน ๓ คน ๑.๕ ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน ๕ คน กรรมการ ๑.๖ วัฒนธรรมจังหวัด กรรมการ และเลขานุการ

24

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๑.๗ นักวิชาการวัฒนธรรมที่ ได้รับ มอบหมาย จำนวน ๒ คน

กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่ ๑. ดำเนิ น การคั ด เลื อ กศาสนสถานที่ จ ะเข้ า ร่ ว มโครงการ ลานบุญ ลานปัญญาของจังหวัดตามบัญชีจำนวนศาสนสถาน โดยประสานงาน และประชุมหารือกับผู้นำศาสนสถานและผู้นำชุมชนเพื่อประเมินความพร้อม ๒. ให้ความเห็นชอบและอนุมัติแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน และโครงการของศาสนสถานเพื่ อ ให้ ศ าสนสถานนำไปดำเนิ น การตามแผน ปฏิบัติการดังกล่าว ๓. ให้ ค ำปรึ ก ษาแนะนำเกี่ ย วกั บ การดำเนิ น งานโครงการ ลานบุญ ลานปัญญาของศาสนสถานภายในจังหวัด ๔. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป็นหน่วยเบิกจ่ายงบประมาณ กำกับดูแลการเบิกจ่ายงบประมาณของศาสนสถานให้เป็นไปตามระเบียบของ ทางราชการโดยเคร่งครัด ตลอดจนเก็บเอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายให้

ครบถ้วนเพื่อการตรวจสอบ ๕. สนับสนุนและอำนวยการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญา ในจังหวัดให้เกิดการพัฒนาและบรรลุเป้าหมาย ๖. กำกับติดตามการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา ของศาสนสถานภายในจังหวัดและร่วมแก้ ไขปัญหาตามสถานการณ์ ให้ทันท่วงที ๗. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือ การปฏิบัติงานตามที่เห็นสมควร ๘. มีอำนาจสั่งการให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภายในจังหวัด เอื้ออำนวยและสนับสนุนการดำเนินการของศาสนสถานในโครงการลานบุญ

ลานปัญญา เพื่อให้บังเกิดผล แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

25


๙. รายงานสรุปผลการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา ของศาสนสถานภายในจังหวัดเป็นรายไตรมาส และรายปี รวมทั้งประมวล สรุปผลเป็นภาพรวมรายงานตามแบบลานบุญฯ ๗ ส่งกรมการศาสนา ๑๐. ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ ได้รับมอบหมายจาก กระทรวงวัฒนธรรม ๒.๒ การคั ด เลื อ กศาสนสถานตามหลั ก เกณฑ์ ก ารคั ด เลื อ ก

ในการคัดเลือกศาสนสถานที่จะเข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา ในแต่ละ จั ง หวั ด ให้ เ ป็ น อำนาจหน้ า ที่ ข องคณะกรรมการบริ ห ารโครงการลานบุ ญ ลานปัญญาจังหวัด ซึ่งจะมีการประชุมเพื่อนำเสนอรายชื่อศาสนสถาน จากนั้น มอบหมายให้เลขานุการฯ หรือกรรมการฯ ไปประสานงานกับผู้นำศาสนสถาน และผู้นำชุมชน ตลอดจนสมาชิก อบต. กำนันผู้ ใหญ่บ้าน ผู้ที่เป็นที่เคารพนับถือ เพื่อร่วมประชุมประเมินความพร้อมของชุมชน รวมทั้งความต้องการของชุมชน ที่จะดำเนินการในโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคนในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดไป โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกหรือขอเสนอ ศาสนสถานที่จะเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งมีส่วนร่วมในทุกโครงการและต้อง ได้รับความร่วมมือจากผู้นำศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา โดยมีแนวทางการคัดเลือกศาสนสถาน ดังนี้ ๒.๒.๑ อำนาจหน้ า ที่ ใ นการคั ด เลื อ กศาสนสถานที่ ร่ ว ม

โครงการฯ เป็ น อำนาจหน้ า ที่ ข องคณะกรรมการบริ ห ารโครงการลานบุ ญ

ลานปั ญ ญาจั ง หวั ด ที่ ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด แต่ ง ตั้ ง โดยคณะกรรมการฯ ต้ อ งพิ จ ารณาและประเมิ น ความพร้ อ มของชุ ม ชน/คนในชุ ม ชนที่ จ ะเข้ า ร่ ว ม โครงการนี้ พิ จ ารณาถึ ง ศั ก ยภาพและการยอมรั บ ของผู้ น ำตามธรรมชาติ

บทบาทของศาสนสถานที่มีต่อชุมชน ความร่วมมือของผู้นำศาสนสถาน รวมทั้ง

ความต้ อ งการ ความพร้ อ มเพรี ย ง และความหนาแน่ น ของชุ ม ชนที่ จ ะ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคนในชุมชนได้อย่างต่อเนื่องตลอดไป

26

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๒.๒.๒ เกณฑ์การคัดเลือกศาสนสถาน ให้มีจำนวนศาสนสถาน ที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา โดยให้แต่ละจังหวัด คัดเลือกตาม จำนวนของศาสนสถานในแต่ละศาสนาที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ตามบัญชีจำนวน ศาสนสถานของกรมการศาสนา ซึ่งได้กำหนดตามความเหมาะสมกับจำนวน ศาสนิกชนของแต่ละศาสนา ภายในจังหวัดนั้น ๆ โดยมีข้อพิจารณาในการ คัดเลือกศาสนสถาน รวม ๖ ประการ คือ ๑. บริ เ วณศาสนสถานมี พื้ น ที่ ก ว้ า งขวางเพี ย งพอ สามารถที่จะรองรับประชาชนในชุมชนมาใช้บริการในการจัดกิจกรรม ๒. ผู้ น ำศาสนสถานมี ค วามเข้ า ใจยิ น ดี เ ข้ า ร่ ว ม โครงการ รวมทั้งยินยอมอนุญาตให้ ใช้ศาสนสถานจัดกิจกรรมด้วยความเต็มใจ ๓. ต้ อ งเป็ น ศาสนสถานที่ ส ามารถจั ด กิ จ กรรมได้ อย่างต่อเนื่องตลอดปี ๔. มีสมาชิกในชุมชนเมืองที่หนาแน่น โดยมีจำนวน สมาชิกมากพอที่จะจัดกิจกรรมร่วมกัน ๕. ประชาชนในชุมชนมีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ กับศาสนสถานดำเนินโครงการลานบุญ ลานปัญญา ๖. มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งในการทำงานร่วมกับศาสน สถาน และชุมชน ๒.๒.๓ วิธีการคัดเลือกศาสนสถานโดยชุมชน คณะกรรมการ บริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัด เป็นผู้คัดเลือกศาสนสถานที่จะ เข้าร่วมโครงการฯ ร่วมกับคนในชุมชนในพื้นที่ ให้คณะกรรมการบริหารโครงการ ลานบุญ ลานปัญญาจังหวัดดำเนินการ ดังนี้ ๒.๒.๓.๑ คณะกรรมการบริ ห ารโครงการลานบุ ญ ลานปัญญาจังหวัด จัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ จังหวัดครั้งที่ ๑

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

27


เพื่อชี้แจงความเป็นมาของโครงการลานบุญ ลานปัญญา หลักเกณฑ์ ในการ คัดเลือก ให้คณะกรรมการฯ ทราบและให้คณะกรรมการฯ มี โอกาสนำเสนอ รายชื่ อ ศาสนสถานที่ เ ห็ น สมควรจะเข้ า ร่ ว มโครงการลานบุ ญ ลานปั ญ ญา จากนั้นควรมอบหมายให้เลขานุการคณะกรรมการฯ หรือกรรมการฯ ไปประสานงาน และประชุมหารือกับผู้นำศาสนสถาน ผู้นำชุมชน ผู้ที่คนในชุมชนเคารพนับถือ สมาชิก อบต. กำนัน ผู้ ใหญ่บ้าน ผู้นำตามธรรมชาติ เพื่อประเมินความพร้อม ความต้องการของศาสนสถานและคนในชุมชนที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ๒.๒.๓.๒ ให้ ศ าสนสถานที่ ร่ ว มประชุ ม หารื อ และ ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ กรอกรายละเอียดเพื่อแสดงความจำนงที่จะ เข้าร่วมโครงการฯ ตามแบบลานบุญฯ ๑ ในเบื้องต้นนี้ ๒.๒.๓.๓ คณะกรรมการบริ ห ารโครงการลานบุ ญ ลานปัญญาจังหวัดจัดประชุม ครั้งที่ ๒ เพื่อคัดเลือกศาสนสถานที่จะเข้าร่วม โครงการลานบุญฯ โดยรวบรวมจำนวนศาสนสถานที่สนใจและได้ลงนามแสดง ความจำนงที่จะเข้าร่วมโครงการฯ จากแบบแสดงความจำนงของศาสนสถาน และตรวจสอบ ข้อมูล วิเคราะห์ชุมชนว่าศาสนสถานใดควรได้รับการพิจารณา คัดเลือกเข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญาตามเกณฑ์การคัดเลือก รวมทั้ง กลั่นกรองรายชื่อศาสนสถานที่จะเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อประเมินความเป็นไป ได้ แ ละความต่ อ เนื่ อ งของโครงการฯ ตามแบบตรวจสอบความพร้ อ มของ ศาสนสถานที่ร่วมโครงการฯ แบบลานบุญฯ ๒ ซึ่งในแบบตรวจสอบความพร้อม ของศาสนสถานเป้ า หมาย ได้ แ บ่ ง ออกเป็ น ๒ ด้ า น คื อ ด้ า นความพร้ อ ม ของศาสนสถาน/ผู้ น ำศาสนสถาน และด้ า นความพร้ อ มของคนในชุ ม ชน โดยเน้นศาสนสถานเป้าหมายซึ่งเป็นที่ยอมรับเชื่อถือศรัทธาของคนในชุมชน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเองเป็นสำคัญ

28

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๒.๒.๓.๔ คณะกรรมการบริ ห ารโครงการลานบุ ญ ลานปัญญาจังหวัด จะต้องมีการประชุมลงฉันทมติ คัดเลือกศาสนสถานที่จะ เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา ซึ่งศาสนสถานนั้น ควรเป็นศาสนสถาน ที่ ชุ ม ชน บุ ค คลทุ ก ฝ่ า ยเลื่ อ มใส ศรั ท ธา พร้ อ มที่ จ ะร่ ว มจั ด กิ จ กรรมและ ดำเนินการให้ศาสนสถานนั้น ๆ เป็นศูนย์กลางจิตใจของคนในชุมชนอย่างแท้จริง โดยให้มีการจดบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการฯ จังหวัด ๒.๒.๓.๕ คณะกรรมการบริ ห ารโครงการลานบุ ญ ลานปัญญาจังหวัด รายงานผลการคัดเลือกศาสนสถานให้กรมการศาสนาทราบ ตามแบบรายงานผลการคัดเลือกศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการฯ แบบลานบุญฯ ๓ เพื่อกรมการศาสนานำไปประกาศรายชื่อศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามในประกาศ ๒.๒.๓.๖ จังหวัดจัดทำรายละเอียดทะเบียนข้อมูล ศาสนสถาน โดยให้ ร ะบุ ร ายชื่ อ ศาสนสถานทุ ก ศาสนาที่ เ ข้ า ร่ ว มโครงการฯ ประวัติของศาสนสถาน สิ่งสำคัญในศาสนสถาน กิจกรรมที่ดำเนินการ สถานที่ ตั้ง จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในปัจจุบัน จำนวนสมาชิกในชุมชนที่จะ เข้าร่วมบริหารโครงการฯ จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ ชื่อผู้นำศาสนสถานนั้น ๆ พร้อมภาพถ่ายศาสนสถานประกอบ ศาสนสถานละ ๓ ภาพ ส่งกรมการศาสนา ๒.๒.๓.๗ จำนวนเป้าหมายและจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ในศาสนสถาน จำนวนศาสนสถาน จำนวน ๔๐๐ แห่งทั่วประเทศ ๒.๓ การประกาศรายชื่อศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการฯ ของ กรมการศาสนา หลังจากที่จังหวัดรายงานผลการคัดเลือกศาสนสถานมาที่ กรมการศาสนาแล้ ว กรมการศาสนาจะมี ก ารประกาศรายชื่ อ ศาสนสถาน ทุกศาสนาที่เข้าร่วมโครงการฯ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

29


๒.๔ กระบวนการปลุ ก จิ ต สำนึ ก คนในชุ ม ชน เป็ น หน้ า ที่ ข อง จังหวัดและคณะกรรมการบริหารโครงการฯ จังหวัด ที่จะไปกระตุ้นจิตสำนึก

ของคนในชุ ม ชนเป้ า หมาย ให้ ม ามี ส่ ว นร่ ว มในการดำเนิ น การเสนอรายชื่ อ คณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน และ คั ด เลื อ กประธาน รองประธานสภาลานบุ ญ ลานปั ญ ญา และร่ ว มจั ด ทำ แผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถานของตนเอง และร่ ว มดำเนิ น การตามแผน ดังกล่าวให้บรรลุผลตามโครงการลานบุญ ลานปัญญาของรัฐบาล เพื่อประโยชน์ สุขของคนในชุมชนเอง เป็นการสร้างพลังมวลชน ให้มาร่วมกันสร้างชุมชน ของตนเองให้อยู่เย็นเป็นสุข แก้ปัญหาอยู่ร้อนนอนทุกข์ให้หมดไปจากชุมชน โดยมาร่ ว มดำเนิ น การในทุ ก กระบวนการ เริ่ ม ตั้ ง แต่ ก ารวางแผนร่ ว มกั น การศึกษาวิเคราะห์ปัญหา กำหนดโครงการ/กิจกรรม ดำเนินการโครงการ/ กิ จ กรรมตามแผนฯ ตรวจติ ด ตามประเมิ น ผล และร่ ว มรั บ ประโยชน์ จ าก โครงการ/กิจกรรมในแผนฯ ซึ่งจะต้องมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการมี ส่ ว นร่ ว มของคนในชุ ม ชนซึ่ ง เป็ น กระบวนการที่ เ ป็ น ปั จ จั ย ที่ จ ะทำให้ แ ผน ปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน ได้ รั บ การลงมื อ ปฏิ บั ติ อ ย่ า งจริ ง จั ง และยั่ ง ยื น ตลอดไป ๒.๕ การแต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการดำเนิ น การโครงการลานบุ ญ

ลานปัญญาประจำศาสนสถาน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งโดยประสานงาน กั บ ผู้ น ำศาสนสถานและผู้ น ำชุ ม ชนตามธรรมชาติ ผู้ น ำหน่ ว ยงานระดั บ

ชุมชน (อบต. กำนัน ผู้ ใหญ่บ้าน) ตลอดจนคนในชุมชนเป้าหมาย เป็นผู้นำเสนอ รายชื่อคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ศาสนสถานที่ ได้รับการคัดเลือกทุกศาสนสถาน จะมีคณะกรรมการดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน ๑ คณะ เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ภายใต้ศาสนสถานนั้น ๆ และ กำหนดแผนปฏิบัติการของศาสนสถานตามโครงการดังกล่าวตลอดปี (๗ เดือน) โดยร่วมศึกษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชุมชน ร่วมคิดกิจกรรมที่สอดคล้องและ

30

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


สร้างสรรค์ เพื่อให้ศาสนสถานเป็นสถานที่ก่อเกิดปัญญา และเป็นแหล่งจัด กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของชุมชน ให้เกิดเป็นชุมชนคุณธรรมและ ชุมชนแห่งปัญญา จากความรักความศรัทธาในศาสนสถานแห่งนั้น ๆ โครงสร้างของคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา

ประจำศาสนสถาน ประกอบด้วย นายอำเภอที่ศาสนสถานนั้นตั้งอยู่ และ ผู้นำองค์การศาสนาทุกศาสนาในพื้นที่ เป็นที่ปรึกษา โดยมีผู้นำศาสนสถาน เป็นประธานกรรมการ และหัวหน้าหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในตำบล/หมู่บ้าน ไม่เกิน ๙ คน (ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ/ตำบล, ผู้บริหารองค์กรปกครอง ส่ ว นท้ อ งถิ่ น , ผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาที่ ศ าสนสถานตั้ ง อยู่ , กำนั น /ผู้ ใ หญ่ บ้ า น, อาสาสมัครสาธารณสุข, นักจัดรายการวิทยุชุมชน, พัฒนาการตำบล) และ ผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน ๙ รูป/คน (เป็นคนในชุมชนที่เป็นผู้นำตามธรรมชาติ เช่น ข้าราชการที่เกษียณ/คนที่ชาวบ้านนับถือ/ผู้นำเด็ก/ผู้นำเอกชนภาคธุรกิจ ฯลฯ ซึ่งจะเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมโครงการลานบุญฯ ในชุมชนได้) ร่วมเป็น กรรมการ โดยมี นั ก วิ ช าการวั ฒ นธรรมที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายเป็ น กรรมการและ เลขานุการ คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการ ดำเนินการโครงการลาน บุญลานปัญญาประจำศาสนสถาน อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ ง จั ด ทำแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถานตามแบบลานบุ ญ ฯ ๔ เสนอ สภาลานบุ ญ ลานปั ญ ญาก่ อ นนำเสนอจั ง หวั ด เพื่ อ ให้ ค วามเห็ น ชอบและ อนุมัติแผนงานและโครงการของศาสนสถาน จากนั้นให้จังหวัดรวบรวมส่ง กรมการศาสนา โดยคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา ประจำศาสนสถาน จะต้ อ งดำเนิ น การตามแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน ให้บรรลุเป้าหมาย ตรวจติดตามการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา ของศาสนสถานที่รับผิดชอบ และร่วมแก้ ไขปัญหาตามสถานการณ์ รวมทั้ง รายงานสรุปผลการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาของศาสนสถานที่ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

31


รับผิดชอบ เป็นรายไตรมาส รวมทั้งประมวลสรุปผลในภาพรวมรายปีเสนอ จั ง หวั ด ตามแบบลานบุ ญ ๖ รายละเอี ย ดโครงสร้ า งและอำนาจหน้ า ที่ ดังตัวอย่าง ดังนี้ ตัวอย่างโครงสร้าง ประกอบด้วย ๑.๑ นายอำเภอ ที่ศาสนสถานนั้นตั้งอยู่ ที่ปรึกษา ๑.๒ ผู้นำองค์การศาสนาทุกศาสนาในพื้นที่ ที่ปรึกษา ๑.๓ ผู้นำศาสนสถาน ประธานกรรมการ ๑.๔ หัวหน้าหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในตำบล/ หมู่บ้านไม่เกิน ๙ คน กรรมการ ๑.๕ ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน ๙ รูป/คน กรรมการ ๑.๖ นักวิชาการวัฒนธรรมที่ ได้รับมอบหมาย กรรมการและ เลขานุการ อำนาจหน้าที่ ๑. ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการโครงการ ลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อดำเนิน งานโครงการลานบุญ ลานปัญญาของศาสนสถาน ๒. จัดทำแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ตามแบบลานบุญฯ ๔ ภายใต้ โครงการลานบุญ ลานปัญญา เสนอจังหวัดอนุมัติ ๓. ดำเนิ น การหรื อ มอบหมายให้ ค นในชุ ม ชนที่ อ าสาเป็ น ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถานในโครงการ ลานบุญ ลานปัญญาที่รับผิดชอบให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด ๔. ตรวจติดตามการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา ของศาสนสถานที่รับผิดชอบ และร่วมแก้ ไขปัญหาตามสถานการณ์ ๕. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนในชุมชนมาร่วมโครงการอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งจัดเสวนาเปิดสภาลานบุญ ลานปัญญาร่วมแก้ปัญหาให้ชุมชน

32

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๖. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานตามที่เห็น สมควร ๗. มีอำนาจเรียกส่วนราชการในชุมชน มาสอบถามในเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับโครงการลานบุญ ลานปัญญาของศาสนสถานที่รับผิดชอบ ๘. รายงานสรุปผลการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา ของศาสนสถานที่รับผิดชอบ เป็นรายสัปดาห์รายเดือน รายไตรมาส รวมทั้ง ประมวลสรุปผลในภาพรวมรายปีเสนอจังหวัด ตามแบบลานบุญฯ ๖ ๒.๖ การแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาลานบุญ ลานปัญญา โดยให้จังหวัดประสานงานกับผู้นำศาสนสถานและผู้นำชุมชนตามธรรมชาติ ผู้นำ หน่วยงานระดับท้องถิ่น (อบต. กำนัน ผู้ ใหญ่บ้าน) ตลอดจนคนในชุมชนเป้าหมาย คั ด เลื อ กประธานและรองประธานสภาลานบุ ญ ลานปั ญ ญา จากผู้ น ำตาม ธรรมชาติ / ผู้ น ำชุ ม ชนที่ ค นในชุ ม ชนเคารพนั บ ถื อ มากที่ สุ ด เป็ น ประธานสภา ลานบุญ ลานปัญญา (๑ คน) และรองประธาน (๒ คน) เสนอรายชื่อประธาน และรองประธานสภาลานบุญ ลานปัญญา ในคราวเดียวกับการเสนอรายชื่อ คณะกรรมการดำเนิ น การโครงการลานบุ ญ ลานปั ญ ญาประจำศาสนสถาน ซึ่ ง จะทำหน้ า ที่ ใ นการเป็ น ประธานสภาลานบุ ญ ลานปั ญ ญาในเวที ป ระชาคม ในการเสวนาทุ ก กิ จ กรรมของชุ ม ชน และมี นั ก วิ ช าการวั ฒ นธรรมจั ง หวั ด เป็นเลขานุการ โดยนำเสนอให้จังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง ประธานสภาลานบุญ ลานปัญญา มีอำนาจหน้าที่ ในการร่วม พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน เป็นประธานและ กำกับดูแลการจัดประชุมเสวนาในกิจกรรมต่างๆ ในเวทีประชาคมที่คนในชุมชน เป็นผู้จัดขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นของคนในชุมชนในการร่วมแก้ปัญหาชุมชน และสร้างสรรค์องค์ความรู้ ในเรื่องต่าง ๆ ของชุมชน เพื่อให้เป็นความคิดเห็น ของสภาลานบุญ ลานปัญญา

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

33


ขั้นตอนที่ ๓ การดำเนินการของศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการ ๓.๑ การจัดทำแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน หลังจากได้มีกระบวนการปลุกจิตสำนึกคนในชุมชนให้หันมา ร่วมมือร่วมใจพัฒนาชุมชน และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการ ลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถานแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การจัดทำแผน ปฏิบัติการของศาสนสถานตามแบบลานบุญฯ ๔ เป็นแผนการจัดโครงการ/กิจกรรม ของชุมชน โดยกำหนดโครงการ/กิจกรรมให้หลากหลาย สามารถตอบสนอง ความต้องการของทุกกลุ่มอายุในชุมชน และควรเป็นโครงการ/กิจกรรมที่มี ความต่อเนื่องยั่งยืน โดยเน้นส่งเสริมการจัดโครงการ/กิจกรรมให้บรรลุผล ตามโครงการฯ กระตุ้นความรู้สึกของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญของการทำ ความดีเพื่อชุมชน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ดีงามของไทย เกิดความตระหนักรู้ ใน คุณธรรม จริยธรรม เข้าใจหลักธรรมคำสอนของศาสนามากขึ้น ทั้งนี้ต้องไม่เน้น

การจัดซื้อครุภัณฑ์หรือพัสดุ รวมทั้งให้จัดทำ “ข้อตกลง” ของชุมชนตาม แบบลานบุ ญ ฯ ๕ และให้ น ำเสนอแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน ต่ อ สภา ลานบุ ญ ลานปั ญ ญาก่ อ นนำเสนอคณะกรรมการบริ ห ารโครงการลานบุ ญ ลานปั ญ ญาจั ง หวั ด ให้ ค วามเห็ น ชอบและอนุ มั ติ แ ผนงาน/โครงการของ ศาสนสถานนั้ น ๆ และให้ จั ง หวั ด รายงานแผนดั ง กล่ า วให้ ก รมการศาสนา รับทราบ เพื่อกำหนดกรอบในการติดตามประเมินผลในภาพรวมทั้งประเทศ เป้ า หมายของการทำแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน คื อ การให้สมาชิกในชุมชนได้ “มี โอกาส” เข้ามา “ร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์” ตามความต้องการของชุมชน ซึ่งแต่ละชุมชนย่อมแตกต่าง กันเพราะแต่ละแห่งก็มีความพร้อม ความต้องการพัฒนาชุมชน หรือปัญหาใน ชุมชนที่แตกต่างกัน เช่น บางแห่งมีปัญหาลูกหลานติดยาเสพติดมาก เด็กติด

34

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


เกม คนในชุมชนติดการบริโ ภควัตถุนิยม ไม่ปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอน ทางศาสนา เป็นต้น ดังนั้นคนในชุมชนต้องช่วยกันหาสาเหตุ และหาทางแก้ ไข กันเอง ทั้งนี้การทำแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน จึงเป็นการทำให้ชุมชนเกิด การเรียนรู้ และแสวงหาแนวทางการแก้ ไขปัญหาของชุมชนเองอย่างมีทิศทาง และเป้าหมายที่ชัดเจน การจัดทำแผนปฏิบัติการของศาสนสถานนั้น คณะกรรมการ ดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถานในแต่ละชุมชน จะเป็นผู้ดำเนินการตามขั้นตอนในการจัดทำแผนงาน/โครงการ ซึ่งสามารถนำ ไปประยุกต์ ใช้ ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ดังนี้ ๑. แสวงหาข้ อ มู ล ความต้ อ งการและปั ญ หาของชุ ม ชน เพื่อค้นหาความต้องการและปัญหาของชุมชนที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ โดยอาศัยกระบวนการวางแผนแบบใหม่ ดังนั้นการเก็บข้อมูลความต้องการ และปัญหาดังกล่าวจึงเป็นกระบวนการที่ชุมชนต้องดำเนินการเอง ๒. กระตุ้ น สำนึ ก ร่ ว มและการแลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ร่ ว มกั น ชุมชนใด มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สูง ความร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อที่จะ แก้ ไขปัญหาต่าง ๆ ก็จะมีมากเช่นกัน ดังนั้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลจะเป็นกระบวนการที่เป็นปัจจัยที่จะทำให้แผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ได้รับการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ๓. การวางแผน วิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมของชุมชน โดย คิดวางแผนดำเนินกิจกรรมของชุมชนร่วมกัน จากฐานทุนเดิมหรือศักยภาพ ของชุมชนซึ่งจะเป็นเรื่องง่ายที่จะเริ่มต้นลงมือทำ โดยคนในหมู่บ้านจะต้องระดม ความคิด ค้นหากิจกรรมที่เน้นในการส่งเสริมคุณธรรม พิจารณาความเป็นไปได้ และลงมือร่วมกันดำเนินการ ภายใต้ศักยภาพของชุมชน อาจปรับวิธีการให้มุ่ง

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

35


ตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายในระดับชุมชนพื้นที่แบบแคบ ๆ เจาะจง ซึ่งการทำแผน ไม่ควรมีเป้าหมายกว้างจนเกินไปและหวังพึ่งพาคนอื่น เนื่องจากความพร้อม ของคนในชุ ม ชนในด้ า นความร่ ว มมื อ ร่ ว มใจกั น ที่ เ ริ่ ม จากสิ่ ง ที่ ท ำได้ เ องก่ อ น จะทำให้ชุมชนประสบผลสำเร็จและสามารถดำเนินการกิจกรรมไปได้อย่างต่อเนื่อง เพื่ อ พั ฒ นาชุ ม ชนตนเองตลอดไป เพราะเมื่ อ มี “แผนปฏิ บั ติ ก ารของ

ศาสนสถานที่ชัดเจน” จะทำให้ทุกคนในชุมชนรู้ทิศทางของการพัฒนาชุมชน ของตนเอง ตามความมุ่งหวังของชุมชนเอง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย ทั้ ง ในส่ ว นของชุ ม ชนเองและหน่ ว ยงานจากภายนอกที่ ชุ ม ชนต้ อ งประสาน ความร่วมมือด้วย ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดทำแผนปฏิบัติการของ ศาสนสถาน คือทำให้ชุมชนได้มีเอกสาร จากการรวบรวมข้อมูลเฉพาะเรื่อง รวมทั้ ง ปั ญ หา ความต้ อ งการ และแนวทางการพั ฒ นาของแต่ ล ะชุ ม ชน ทำให้มีเครื่องมือในการพัฒนา และติดตามโครงการต่าง ๆ ทั้งในส่วนที่ชุมชน ดำเนินการเองและที่ต้องการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายในจังหวัด ๔. กระบวนการจั ด ทำแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน แบบมีส่วนร่วม คณะกรรมการดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำ ศาสนสถานในแต่ ล ะชุ ม ชน สามารถดำเนิ น การเพื่ อ ให้ แ ผนปฏิ บั ติ ก ารของ ศาสนสถาน บรรลุผลสำเร็จ ดังนี ้ ๔.๑ เตรี ย มที ม งาน โดยเฟ้ น หาบุ ค ลากรที่ มี ทั ก ษะ ความชำนาญ ในการจัดทำแผน ร่วมเป็นคณะทำงาน กำหนดบุคลากรอาสา สมัครในชุมชน เพื่อเป็นแกนนำในการลงไปจัดเก็บข้อมูล ความต้องการของ คนในชุมชน ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ทิศทางอนาคตของชุมชนนั้น ๆ ๔.๒ วิเคราะห์พื้นที่เป้าหมายเชิงคุณภาพ อาจเน้นพื้นที่ ชุมชนที่มีปัญหา เป็นชุมชนในเขตเมือง ที่หลงใหลในวัฒนธรรมตะวันตก และ บริโภคนิยม หรือชุมชนที่มีความพร้อมของคนในชุมชนเป็นตัวตั้ง รวบรวมข้อมูล ในแต่ละพื้นที่ชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ ในเรื่องของทุนทางสังคม

36

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ความต้ อ งการ ปั ญ หาของชุ ม ชน เพื่ อ จั ด ทำกิ จ กรรมให้ ส อดคล้ อ งกั บ ความ ต้องการและการแก้ปัญหานั้น ๆ ของชุมชน ๔.๓ ร่ ว มกั น กำหนดเป้ า หมายหลั ก ค้ น หาหรื อ มองหา เป้ า หมายของชุ ม ชนเพื่ อ สร้ า งให้ เ ป็ น “ชุ ม ชนศี ล ธรรม” หรื อ “ชุ ม ชน

คุณธรรม” ซึ่งจะทำกิจกรรมที่เน้นในการส่งเสริมคุณธรรม จากฐานทุนเดิมตาม ศักยภาพของชุมชนเป็นเป้าหมายหลัก ร่วมกันจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการของ ศาสนสถาน ทำให้ทุกคนในชุมชนรู้ทิศทางของการพัฒนาตนเอง เป็นแผนงาน ในภาพรวมของชุ ม ชนในแต่ ล ะชุ ม ชน ซึ่ ง จั ง หวั ด หนึ่ ง ๆ จะมี ศ าสนสถาน จำนวนที่กำหนดไว้ที่จะดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมตามโครงการลานบุญ ลานปั ญ ญา ซึ่ ง จะมี ก ารกำหนดโครงการ/กิ จ กรรมย่ อ ยเพื่ อ พั ฒ นาชุ ม ชน เป็นโครงการ/กิจกรรม ที่คนในชุมชนมีความต้องการ ซึ่งในรายละเอียดของ โครงการ/กิ จ กรรมย่ อ ยในชุ ม ชน เป็ น การเขี ย นโครงการโดยให้ มี ก ารระบุ วั ต ถุ ป ระสงค์ เป้ า หมายที่ ชั ด เจน งบประมาณที่ ใ ช้ วั น เวลาที่ ด ำเนิ น การ ผู้รับผิดชอบโครงการ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการหรือกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามประเมินผล ๔.๔ นำเสนอแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน ให้ ส ภา ลานบุญ ลานปัญญาพิจารณาก่อนเสนอให้คณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัดให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการได้ ๔.๕ รายงานแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน ให้ ก รม การศาสนารับทราบเพื่อกำหนดกรอบในการติดตามประเมินผลในภาพรวม ทั้งประเทศ ๓.๒ การจัดทำข้อตกลงของชุมชน การพัฒนาชุมชนไม่อาจที่จะดำเนินการไปได้ หากปราศจาก การร่วมมือร่วมใจจากคนในชุมชน ซึ่งจำเป็นต้องมีการมองชุมชนในภาพรวม ทั้งหมด เพื่อค้นหาจุดอ่อน และจุดแข็งของชุมชน สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้าง ศักยภาพของชุมชน การที่จะสร้างสิ่งเหล่านี้ ได้จะต้องพิจารณาถึงเรื่องของ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

37


วิถีวัฒนธรรมของชุมชนด้วย ซึ่งไม่ ใช่สิ่งใหม่หากแต่เป็นวิถีชีวิตภายในชุมชนใน อดีตที่สามารถดำรงอยู่ ได้ท่ามกลางความสมานฉันท์ระหว่าง บ้าน วัด และ โรงเรียน ถ้อยทีถ้อยอาศัย เปรียบเสมือนข้อตกลงการอยู่ร่วมกันที่แฝงอยู่ ใน จารีตและหลักศาสนา เป็นวิถีปฎิบัติของคนในชุมชน แต่ปัจจุบันภาพดังกล่าวไม่ ปรากฏในชุมชน ทุกวันนี้ชุมชนอยู่ ในวิถีทุนนิยม การย้อนเวลากลับไปค้นหาสิ่ง ดีๆ ที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างมา ที่เป็นรากเหง้าแห่งการอยู่ร่วมกันของชุมชนจึงมี ความจำเป็ น ถ้ า หากยั ง ไม่ มี ก ารฟื้ น ฟู วิ ถี ชี วิ ต ดั้ ง เดิ ม ขึ้ น มาใหม่ ส ร้ า ง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับชุมชน คือสร้างความสัมพันธ์ ใหม่ระหว่างผู้คนกับ ชุมชนที่ ไม่ ใช่บุคคลที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน แต่บุคคลต้องขึ้นกับสังคมชุมชน ซึ่งจะเป็นการลุกขึ้นมาเพื่อที่จะหาทางออกของภาคประชาชน ว่าสังคมชุมชน ที่เป็นปัจเจกนั้น ทำไม่ ได้อีกต่อไป ชุมชนก็จะไม่มีวันได้รับการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคนของชุมชนเอง ชุมชนจะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิบุคคลกับ สิทธิชุมชนใหม่ ที่มีกติกากำกับในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ จึงจะแก้ ไขปัญหา ได้ นอกจากนี้ ในการอยู่ร่วมกันในชุมชน จำเป็นจะต้องมีกฎ กติกา ข้อตกลง บางอย่างร่วมกัน โดยมีการแลกเปลี่ยน ระดมความเห็นกันทั้งชุมชน เพื่อร่วม กันร่างข้อตกลงของชุมชนขึ้น เพื่อเสนอต่อสมาชิกในชุมชน เป็นเหมือนกติกา ของชุมชน ที่เมื่อคนในชุมชนได้ร่วมใจกันร่างแล้ว คนในชุมชนจะต้องปฏิบัติตน อยู่ภายใต้กฎกติกาเดียวกัน โดยมีข้อตกลงของชุมชนที่ชุมชนช่วยกันร่างกันขึ้น มาเป็นตัวกำกับ ข้อตกลงของชุมชนเป็น กฎ กติกา หรือเจตนารมณ์ที่ชุมชน ช่วยกันสรรค์สร้างขึ้นมาเพื่อเอื้ออำนวยให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปอย่างสงบสันติ แนวคิ ด การดำเนิ น การจั ด ทำข้ อ ตกลงของชุ ม ชน ซึ่ ง เป็ น

กติกาที่คนในชุมชนจะร่วมกันร่างขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการดูแลจัดการชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต ทรัพย์สิน และจัดการทรัพยากรธรรมชาติของ ชุมชนให้ยั่งยืน ซึ่งชุมชนควรจัดทำกติกาที่ชัดเจนของชุมชน จากที่เ มื่อก่อน คนในชุมชนอยู่อย่างกระจัดกระจาย ให้เริ่มทำความเข้าใจกับปัญหาของชุมชน

38

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


และให้ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมจัดการดูแลชุมชนร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้อยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข ไม่แก่งแย่ง เอารัดเอาเปรียบ ร่วมมือกันทำและช่วยเหลือกัน สามารถอยู่ ได้จากผลิตผลที่มีอยู่ ในชุมชน ช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชน ร่วมสร้างชุมชน จากความรัก ความเข้าใจ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พัฒนามรดกทางธรรมชาติ และมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โดยอาศัยพื้นฐาน ทางจริยธรรม คุณธรรม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนเป็น ชุมชนแห่งความสุข การผลักดันให้คนในชุมชนทุกคนเห็นว่า ข้อตกลงของชุมชน มีประโยชน์แก่ตนเองครอบครัว และชุมชน จนส่งผลให้ทุกคนในชุมชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางพัฒนาคุณธรรมด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการ ต่าง ๆ เช่น การรับฟังความคิดเห็น การประชาพิจารณ์ เพื่อให้การดำเนิน กิจกรรมภายใต้การทำงาน เป็นแบบการบูรณาการทางความคิด มีข้อตกลงของ ชุมชน เป็นกฎ กติกาที่ทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมคุณธรรมแก่คนในชุมชน

สนับสนุนและปกป้องคนดี ให้ ได้ทำความดีเพื่อประโยชน์สังคมอย่างต่อเนื่อง

มี ก ารกำหนดทิ ศ ทางการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของคนในชุ ม ชนให้ มี คุ ณ ธรรม อย่างชัดเจน โดยคำนึงถึงความคิดเห็นและความร่วมมือของชุมชนเป็นสำคัญ โดยทุ ก คนในชุ ม ชนจะต้ อ งเคารพและปฏิ บั ติ ต ามข้ อ บั ญ ญั ติ ใ นข้ อ ตกลง ของชุ ม ชน ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ ชุ ม ชนดำรงอยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งมี ค วามสุ ข ตามข้ อ ตกลง ร่วมกันของชุมชน รายละเอียดปรากฏตามแบบลานบุญฯ ๕ (ภาคผนวก) ข้อตกลงของชุมชน เป็นแผนที่ของชีวิต ที่ทุกคนในชุมชน จะต้องดำเนินการ เป็นเสมือนข้อตกลงร่วมกันระหว่างคนในชุมชน กับชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน การที่ชุมชนได้มีการจัดทำข้อตกลงขึ้น ย่อมเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบทั้งในการร่วม คิดวางแผน ร่วมตัดสินใจและร่วมปฏิบัติตาม

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

39


คุณค่าของข้อตกลงของชุมชนเป็นการสนับสนุนการกระจาย อำนาจส่งเสริมให้ชุมชน มีบทบาทและได้รับผลประโยชน์มากขึ้น ชุมชนได้รับ ความร่วมมือ การยอมรับ การสนับสนุนจากคนในชุมชนมากขึ้น คุณภาพชีวิต ของคนในชุมชนจะถูกยกระดับให้สูงขึ้น มีมาตรฐานยิ่งขึ้น นำไปสู่การอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข ประโยชน์ของข้อตกลงของชุมชน ๑. ชุ ม ชนมี แ ผนพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ให้ มี คุ ณ ธรรมที่ ชั ด เจน มีการกำกับและ ควบคุมความประพฤติของคนในชุมชนที่เป็นมาตรฐาน และเป็น ที่ยอมรับของคนในชุมชน ๒. สร้างความศรัทธาและเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่น เพราะ เป็นชุมชนที่มีคุณธรรมมีความรับผิดชอบต่อชุมชนร่วมกัน ๓. เป็นที่ยอมรับและชื่นชมของชุมชนอื่นเกิดการดำเนินรอย ตาม อั น จะส่ ง ผลให้ ป ระเทศชาติ มี ค วามเจริ ญ รุ่ ง เรื อ งจากความมี คุ ณ ธรรม ของบุคคล ๔. เป็ น การพั ฒ นาเพื่ อ สร้ า งชุ ม ชนที่ ส มดุ ล และยั่ ง ยื น ที่ มี การพัฒนากระบวนการประชาธิปไตยอย่างเข้มข้น ให้ทุกส่วนของสังคมได้ พัฒนาสติปัญญาและคุณธรรมตามเป้าหมายและศักยภาพของตน ๕. เป็นกฎกติกาของชุมชนที่มีการบริหารจัดการแบบมีส่วน ร่วม ส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการและปกครอง ตนเองให้มีจิตสำนึกในการพัฒนาชุมชน ซึ่งจะช่วยแก้ ไขปัญหาความขัดแย้ง และส่งเสริมบทบาทการเข้าร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ๖. ส่งผลให้การพัฒนาทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม ที่เป็นของชุมชน แบบองค์รวม และสามารถขยายกิจการไปสู่รูปแบบต่าง ๆ เพิ่มความมั่งคั่งโดยอ้อมให้แก่ชุมชนในระยะยาว

40

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๗. ข้อตกลงของชุมชน เป็นแบบแผน ประเพณี หลักปฏิบัติ ในการอยู่ร่วมกัน อย่างชอบธรรมของชุมชน เพื่อป้องกันมิให้บุคคลภายนอกมา ทำลายการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนได้ ๓.๓ แนวคิด ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรมของศาสนสถาน โครงการ/กิจกรรมของศาสนสถาน เป็นโครงการ/กิจกรรมที่ ชุมชนเลือกและดำเนินการโดยชุมชนและเพื่อชุมชนเอง ซึ่งเป็นโครงการ/กิจกรรม ที่ชุมชนเห็นประโยชน์และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของศาสนสถานอย่างสร้างสรรค์ และสามารถจัดโครงการ/กิจกรรมได้ต่อเนื่องตลอดปี โดยมีกรอบโครงการ/กิจกรรม คื อ เป็ น โครงการ/กิ จ กรรมที่ ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การดำรงชี วิ ต ตามหลั ก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องคุณธรรม ๔ ประการ ซึ่งเป็นที่ตั้งของความรักความสามัคคี ตามหลัก

คำสอนของศาสนา ที่สามารถโน้มน้าวหรือจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และความคิดทัศนคติของคนในชุมชนให้ดำเนินชีวิตตามพระราชดำรัส เพื่อ พัฒนาคนในชุมชนให้มีชีวิตที่ดีงามตามวิถีไทย โดยเฉพาะการจัดโครงการ/ กิจกรรมจากคนหลายวัยมาร่วมเรียนรู้รับรู้ ในคุณค่าของประสบการณ์ ความ เชี่ยวชาญจากคนสูงวัยในชุมชน กรอบแนวคิดการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมของศาสนสถาน ๑. โครงการ/กิ จ กรรมที่ ส่ ง เสริ ม การแก้ ไ ขปั ญ หาของชุ ม ชน การแก้ปัญหาของชุมชนไม่อาจที่จะใช้มาตรการทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว เพราะคงจะแก้ ไขได้เฉพาะปัญหาพื้นผิวและ ใช้ ได้ผลเพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น การแก้ ไขในระดั บ ลึ ก และยั่ ง ยื น คงต้ อ งใช้ ค วามมุ่ ง มั่ น ของผู้ น ำศาสนสถาน ผู้นำชุมชน การยอมรับและให้ โอกาสของคนในชุมชน ดังนั้น การแก้ปัญหาของ ชุมชนที่ยั่งยืน คนในชุมชนควรปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนาและให้ความ ร่วมมือกัน เมื่อชุมชนเป็นเจ้าของปัญหาจึงต้องร่วมกันแก้ ไขปัญหาของชุมชน โดยเฉพาะปัญหาเร่งด่วน เช่น ปัญหาเด็ก ผู้สูงอายุ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

41


ขยะ ฯลฯ ซึ่ ง จะต้ อ งมี ก ารพู ด คุ ย กั น ถึ ง ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในปั จ จุ บั น ทบทวน วิธีปฏิบัติเพื่อแก้ ไขปัญหาที่ผ่านมา ถึงจุดอ่อนจุดแข็ง จากนั้นร่วมแสวงหา วิธีการต่าง ๆ จากหลักคำสอนของศาสนา วิธีการที่ประสบผลสำเร็จจากชุมชน อื่น ๆ หรือใช้แนวทางของรัฐ นำมาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับชุมชนของตน กำหนด เป็นโครงการ/กิจกรรม บรรจุไว้ ในแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ๒. โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนไทย มีทุนทางวัฒนธรรม เป็นองค์ความรู้ ความสามารถและทักษะต่างๆ ที่ ใช้ ในการ ดำเนินชีวิต เป็นสิ่งดีงามที่คนในอดีตคิด ทำขึ้น แสดงออก และสืบทอดด้วย การปฏิบัติ ซึ่งมีความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ ประกอบด้วย วัตถุสิ่งของ ภูมิปัญญา ที่สะท้อนออกมาเป็น ความเชื่อ ค่านิยม มีผลต่อวิถีชีวิตจิตใจของ คนในชุมชน เป็นเครื่องผดุงศีลธรรม เป็นตัวยึดโยงคนในชุมชน ให้ตระหนักถึง รากเหง้ า ของตนเองและอยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งสั น ติ สุ ข ทุ น ทางวั ฒ นธรรมที่ เ ป็ น

ภู มิ ปั ญ ญามี ม ากมาย แต่ ยั ง ขาดการนำมาพั ฒ นา ต่ อ ยอดและใช้ ป ระโยชน์ เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างจริงจัง ส่งผลให้ ภูมิปัญญาหลายเรื่องสูญหาย การพัฒนาความรู้จากภูมิปัญญาในเชิงพาณิชย์

มีน้อย การผลิตสินค้าและบริการจากภูมิปัญญาของชุมชน เน้นสร้างรายได้

มากกว่าการรักษาคุณค่าและสร้างรากฐานทางวัฒนธรรม โครงการลานบุญ ลานปัญญา จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งเสริมให้คนในชุมชนหันกลับมาให้ความสนใจ กับทุนทางวัฒนธรรม โดยภายหลังจากที่ชุมชนสามารถแก้ ไขปัญหาของคน ในชุมชนให้หมดไปจากชุมชนแล้ว คนในชุมชนจะมีความพร้อมมากขึ้น จิตใจ แจ่มใส มีเวลาที่จะคิดสร้างสรรค์ต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรม ที่เป็นมรดก ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นการใช้สติปัญญา ทักษะความชำนาญ และความ สามารถพิเศษ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ให้เกิดความแตกต่างหลากหลาย สามารถนำ ไปพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการ แต่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ไม่เพียงการสร้าง ตลาดให้ แ ก่ สิ น ค้ า และบริ ก ารเชิ ง สร้ า งสรรค์ เ ท่ า นั้ น แต่ จุ ด มุ่ ง หมายสำคั ญ

42

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


คื อ การให้ ก ารเรี ย นรู้ แ ก่ ค นในชุ ม ชน กล่ อ มเกลาให้ ค นในชุ ม ชนมี ค วามคิ ด สร้างสรรค์มากขึ้น เมื่อได้เรียนรู้แล้วจะเกิดการสร้างสรรค์ต่อไป ซึ่งขึ้นอยู่กับ วิถีแห่งการสร้างสรรค์ของแต่ละคนซึ่งสลับ ซับซ้อนและมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ “วัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีของไทย” ก็เป็นส่วนหนึ่งของการ สร้างสรรค์ ซึ่งจะรวมอยู่ ในมรดกทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์จึง เป็นการใช้ความรู้ จากการสั่งสมความรู้ของชุมชน ที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทาง วัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีงามของไทย ครอบคลุมถึงการสืบทอดทางมรดก และวัฒนธรรม ศิลปะ และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ ซึ่งสามารถนำไปใช้ ประโยชน์ ในการสร้างความมั่งคั่งและสร้างงานให้เกิดขึ้นได้ โดยที่สามารถสั่งสม และส่งผ่านจากรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่ ให้ชุมชนไทยเป็นชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งคนใน ชุมชนสามารถคิดโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของ บรรพบุรุษ โดยจัดทำเป็นโครงการในลักษณะต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ

เชิงสร้างสรรค์ อาจเป็นโครงการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ สู่เด็กเยาวชนรุ่นใหม่ ซึ่งสามารถนำโครงการเหล่านี้ ไปบรรจุไว้ ในแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ๓. โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมการพลิกฟื้นวิถีชีวิตดั้งเดิมของ ชุมชนที่มีรากฐานมาจากศาสนาและเป็นทุนทางวัฒนธรรมให้คืนกลับมา ปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยม บริโ ภคนิยม ที่มีค่านิยมที่ผิด ๆ ให้ความ สำคัญกับความมีฐานะทางเศรษฐกิจมากกว่าคุณธรรม มีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ในสังคม เกิดช่องว่างระหว่างวัย สถาบันครอบครัวล่มสลาย มีการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกัน เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ไม่คำนึงถึงสังคม และประเทศชาติ ซึ่งแตกต่างจากสังคมไทยในอดีต ที่มีค่านิยมของสังคมที่ แสดงออกทางจารีตประเพณีที่ดีงาม เป็นสังคมเครือญาติ เสมือนเป็นครอบครัว เดียวกันทั้งชุมชน มีความเอื้ออาทร ห่วงใยในทุกข์สุขซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือ เกื้ อ กู ล กั น ดุ จ ญาติ มิ ต ร มี ชี วิ ต ที่ อ ยู่ อ ย่ า งเรี ย บง่ า ย พอเพี ย ง เป็ น มิ ต รกั บ

สิ่งแวดล้อม ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนทางศาสนา จารีตประเพณี ที่ดีงาม มีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งเป็นสังคมที่มีแต่ความเป็นมิตรแท้ มีน้ำใจ ไมตรีจิต แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

43


ที่ดีต่อกัน ที่สังคมประเทศอื่นไม่มี เป็นวิถีชุมชนที่มีรากฐานมาจากศาสนาและ ความรู้ภูมิปัญญา สิ่งเหล่านี้เป็นวิถีชีวิตที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยแห่ง ความเจริญงอกงามและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับทุนต่างๆ ของประเทศ ซึ่ง วิถีชีวิตที่ดีงามในอดีตเหล่านี้ ได้สูญหายไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องส่ง เสริมให้วิถีชีวิตที่ดีงามเหล่านี้ ให้หวนคืนกลับสู่สังคมไทย และให้คนในชุมชน ตระหนักรู้ ในโทษภัยของทุนนิยมและรู้เท่าทันกระแสโลก พร้อมไปกับการเรียนรู้ ในรากเหง้าที่ดีงามของตนและรู้จักระมัดระวังการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง เพื่อให้ คนในชุ ม ชนสามารถดำรงอยู่ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข ที่ แ ท้ จ ริ ง เพื่ อ ให้ ต่ า งชาติ ไ ด้

ประทับใจในความจริงใจของคนไทย ไม่เพียงแค่รอยยิ้มเท่านั้น หากแต่เป็นความ เป็ น ไทยที่ ฝั ง อยู่ ใ นจิ ต ใจของคนไทยทุ ก คนที่ มี ค วามจริ ง ใจ มี น้ ำ ใจที่ ดี ต่ อ มวลมนุษย์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ไทยที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัส กับวิถีชีวิตที่ดีงามของไทย ซึ่งการส่งเสริมฟื้นฟูวิถีชีวิตที่ดีงามเหล่านี้ คนใน ชุมชนอาจจัดทำเป็นโครงการต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของชุมชนนั้น ๆ และ นำบรรจุไว้ ในแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน โดยมีตัวอย่างโครงการ/กิจกรรมของศาสนสถานที่มีความมุ่งหมายที่ หลากหลาย ดังนี้ ๑. โครงการส่งเสริมและสร้างเสริมให้คนในชุมชนมีความ เข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และน้อมนำพระราชดำรัสในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องคุณธรรม ๔ ประการ ซึ่งเป็นที่ตั้งของความรักความ สามัคคีไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน มีตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม ดังนี้ ✿ โครงการอบรมสร้ า งแกนนำอาสาเพื่ อ ขั บ เคลื่ อ น ตามกรอบกิจกรรมของโครงการลานบุญ ลานปัญญา ของศาสนสถานต่าง ๆ ✿ โครงการเข้าค่ายสร้างเยาวชนจิตอาสาร่วมบำเพ็ญ

ประโยชน์พัฒนาชุมชนในทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง

44

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


โครงการเรียนรู้วิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ✿ โครงการประกอบพิ ธี ถ วายสั ต ย์ ป ฏิ ญ าณน้ อ มนำ คุณธรรม ๔ ประการไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ๒. โครงการส่ ง เสริ ม และเสริ ม สร้ า งให้ ค นในชุ ม ชน

มี คุ ณ ธรรมสร้ า งสั ง คมคุ ณ ธรรม ให้ ค นในชุ ม ชนยึ ด มั่ น ในหลั ก คำสอน ทางศาสนาและดำเนิ น ชี วิ ต อยู่ ใ นกรอบของศี ล ธรรมคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม อันดีงามสามารถอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข บนพื้นฐานของความรักความมุ่งดี ปรารถนาดีต่อกัน มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีศาสนสถานเป็น ศูนย์รวมลานแห่งความดี มีตัวอย่างโครงการ ดังนี้ ✿ โครงการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในช่วงเช้าของ วั น ธรรมสวนะหรื อ วั น สำคั ญ ทางศาสนาเชิ ญ ชวน ประชาชนในชุมชนรวมทั้งเด็กนักเรียนในโรงเรียน มาร่วมกันสวดมนต์ ทำวัตรเช้า ฟังเทศน์ เจริญจิต ภาวนา ✿ โครงการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันวิสาขบูชา ✿ โครงการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันอาสาฬหบูชา ✿ โครงการจั ด กิ จ กรรมงานส่ ง เสริ ม ประเพณี ก าร แห่เทียนพรรษาถวายวัด ✿ โครงการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันเข้าพรรษา ✿ โครงการงานบุ ญ สรงน้ ำ พระพุ ท ธรู ป หรื อ สรงน้ ำ พระบรมสารีริกธาตุเชิญชวนคนในชุมชนมาร่วมงาน และอาจจั ด ให้ มี ต ลาดนั ด ภู มิ ปั ญ ญา มี ก ารซื้ อ ขาย ผลิตภัณฑ์ของชุมชนและต่างชุมชน ✿ โครงการจัดงานบุญประจำปีของศาสนสถาน ✿

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

45


46

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการงานเทศน์มหาชาติ โครงการจั ด งานบุ ญ ซำฮะ/งานไหว้ ส าพระธาตุ /

งานแห่ ผ้ า ห่ ม พระธาตุ งานประเพณี ขึ้ น พระธาตุ เดือน ๙/งานประเพณีสารทพวนหรือทำบุญห่อข้าว มี ก ารนำข้ า วทิ พ ย์ ไ ปถวายพระที่ วั ด /งานประเพณี ตั ก บาตรขนมครก ซึ่ ง งานบุ ญ ต่ า ง ๆ เหล่ า นี้ ให้

จัดงานโดยให้คำนึงถึงวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนและ รั ก ษาอนุ รั ก ษ์ ป ระเพณี พื้ น บ้ า นไว้ แ ละให้ เ รี ย นรู้ ถึ ง หลักธรรมคำสอนของศาสนาและนำมาปฏิบัติ โครงการงานตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ โครงการประเพณีตานก๋วยสลากเป็นประเพณีทาง พระพุทธศาสนาประจำท้องถิ่นของชาวล้านนาและ ปฏิบัติสืบต่อกันมา ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมสร้าง ความสมานฉันท์และความกตัญญูให้คนในครอบครัว และชุมชนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีการถวายสลากภัตรแด่พระภิกษุสงฆ์ โครงการทำบุญวันสารทไทย เป็นการทำบุญกลาง ปีของไทยตรงกับวันสิ้นเดือน ๑๐ หรือวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เชิญชวนเยาวชนไปร่วมทำบุญตามประเพณี โครงการงานทอดผ้าป่าแถว/งานบุญกฐิน ผ้าป่า โดย ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมดำรงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม ให้คงอยู่ โครงการสร้ า งสั ง คมจิ ต อาสา ปลุ ก จิ ต สำนึ ก คนใน ชุมชนโดยเฉพาะเด็กเยาวชนให้รักท้องถิ่นและมีความ ภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ เน้นสร้างคนรุ่นใหม่ ให้มีจิต

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


อาสาในการรักษาสืบทอดมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น ของชุมชนให้ยั่งยืน โครงการพัฒนาจิตใจคนในชุมชน สร้างคนดีมีคุณธรรม อาทิ การจั ด โครงการตอบปั ญ หาธรรมะสำหรั บ

เด็ ก เยาวชน สร้ า งสั ง คมเข้ ม แข็ ง ที่ เ ปี่ ย มด้ ว ย คุณธรรมอย่างยั่งยืนครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โครงการพลิกฟื้นค่านิยมคุณธรรมของสังคมไทยใน อดีตให้คืนกลับสู่สังคมไทยโดยจัดเสวนาในสภาชุมชน เพื่อค้นหาค่านิยมของท้องถิ่นที่ดีงามมาเผยแพร่ ให้ คนในชุมชนได้มีความภูมิใจในวิถีดั้งเดิมของตนที่ดีงาม โครงการครอบครั ว คุ ณ ธรรมเข้ า วั ด ปฏิ บั ติ ธ รรม ในทุกวันหยุด โครงการเปิ ด สภาลานบุ ญ ลานปั ญ ญาร่ ว มเสวนา เพื่อใช้ศาสนธรรมแก้ปัญหาเยาวชนที่หลงผิด เช่น เสพยาเสพติด ติดเกม ติดการพนันฟุตบอล ยกพวก ตีกัน โครงการวั น อาทิ ต ย์ เ ป็ น วั น ครอบครั ว อบอุ่ น เข้ า ศาสนสถานร่วมประกอบพิธีทางศาสนาร่วมกันทั้งพ่อ แม่ ลูก โครงการลานบุญทำบุญตักบาตร สวดมนต์ เจริญจิต ภาวนา ฟังพระธรรมเทศนา ในวันสำคัญทางศาสนา และวันสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ วันสำคัญ ของชาติ และวันสำคัญของประเพณีท้องถิ่น และ ในเทศกาลพิเศษเข้าวัดฟังเทศน์มหาชาติจากนักเทศน์ ผู้มีชื่อเสียง แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

47


48

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการเปิ ด สภาลานบุ ญ ลานปั ญ ญาร่ ว มเสวนา ใช้ ห ลั ก ธรรมทางศาสนากำหนดเป็ น กรอบในการ ดำเนิ น ชี วิ ต ของคนในชุ ม ชน เพื่ อ สานสั ม พั น ธ์ ค น ในชุมชนให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โครงการจัดค่ายเยาวชนส่งเสริมคุณธรรมชุมชน โครงการเปิ ด พื้ น ที่ แ หล่ ง เรี ย นรู้ ใ นศาสนสถานเป็ น ลานปัญญาถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นอาวุโส สู่เด็กรุ่นเยาว์ โครงการใช้ ห ลั ก ศาสนาแก้ ปั ญ หาชุ ม ชน เช่ น ให้ ทุ ก คนปฏิ ญ าณตนเป็ น พุ ท ธมามกะรั ก ษาศี ล ๕ แก้ปัญหาคนติดสุราในชุมชน ฯลฯ โครงการเปิ ด สภาลานบุ ญ ฯ ร่ ว มเสวนา จั ด ทำ กรอบแนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมให้คนในท้องถิ่น ร่ ว มรั ก ษา ศาสนา ศิ ล ปะ วั ฒ นธรรม และจารี ต ประเพณี ท้ อ งถิ่ น เพื่ อ ให้ เ กิ ด สำนึ ก ร่ ว มของคนใน ท้องถิ่นในการดูแลรักษาศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณีของตน โครงการรณรงค์ ท างหอกระจายข่ า วของชุ ม ชน เพื่อเผยแพร่ สืบสาน อนุรักษ์ และพัฒนา องค์ความรู ้

ทางศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น ให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ก่อประโยชน์ ให้กับท้องถิ่น ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก โครงการจัดบรรยายธรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โครงการจั ด เป็ น คลิ นิ ก สุ ข ภาพจิ ต ณ ศาสนสถาน โดยมีพระสงฆ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ ให้คำปรึกษาใน ปัญหาชีวิต

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


✿ ✿ ✿ ✿

โครงการสอนการสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ โครงการสนทนาธรรมผ่อนคลายความเครียดให้กับ

หญิงตั้งครรภ์ โครงการแข่งขันตอบปัญหาศีลธรรมทุกสัปดาห์ ในวัด โครงการส่งเสริมให้นักเรียนทั้งโรงเรียนได้เข้าวัดสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนาทุกวันธรรมสวนะหรือทุกวันศุกร์ โครงการจัดเทศน์ ในทุกเย็นวันเสาร์สำหรับพนักงาน ในโรงงาน โครงการของชาวมุสลิมในบางชุมชนร่วมกันนำข้าว ถั่ว งา น้ำตาล เครื่องเทศ และผลไม้บางชนิดมากวน เป็นอาหารซึ่งเรียกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น เช่น ข้าว อาชู ร อ, ซู ร อ, ซู ฆ อ หรื อ บู โ บร์ เป็ น การรำลึ ก เหตุ ก ารณ์ ใ นตำนาน และสะท้ อ นถึ ง ความสามั ค คี ในชุมชน โครงการจั ด งาน “เมาลิ ด ” เพื่ อ เฉลิ ม ฉลองและ รำลึ ก ถึ ง นบี มุ ฮั ม มั ด ด้ ว ยการเล่ า ชี ว ประวั ติ ท่ า น อ่านบทร้อยกรองสรรเสริญและขอพรจากท่าน พร้อมทั้ง

มีการจัดเลี้ยงอาหารแก่คนในชุมชน มีการบริจาค ทรัพย์สิน เสื้อผ้า ให้แก่คนยากจน หรือให้ทุนการ ศึกษาแก่เด็กกำพร้า โครงการประกอบพิธีละมาดทุกวันศุกร์ โครงการอ่านคุตะบะห์ทุกวันศุกร์ โครงการวันตรุษอีดิลฟิตริ โครงการวันตรุษอีดิลอัฎฮา โครงการนมัสการพระเจ้าทุกวันอาทิตย์ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

49


✿ โครงการในพิธีต่าง ๆ ในการนมัสการพระเจ้า ✿ โครงการในพิธีบูชาขอบพระคุณ (มิสซา) ✿ โครงการในวันสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์ ✿ โครงการในวันพระวิญญาณบริสุทธิ์ ๓. โครงการส่งเสริมสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์โดยให้ เกิดการถ่ายทอดเรียนรู้ภูมิปัญญาในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่นเป็นการสร้างเศรษฐกิจ เชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีและความเอื้ออาทร ความมีน้ำใจ แบ่งปันความรู้ โดยอาจจะให้มีการถ่ายทอดวิชาที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นทุน ทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ ในท้องถิ่น โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ ในชุมชนที่มีองค์ความรู้ และประสบการณ์อันมีค่ามากมาย ดังตัวอย่างโครงการ ดังนี้ ✿ โครงการจัดลานบุญ ลานปัญญา เป็นการจัดให้มีพื้นที่ ใน ศาสนสถานให้เป็นลานแห่งความรู้เพื่อสร้างปัญญา และเรี ย นเชิ ญ ให้ ค นเฒ่ า คนแก่ ใ นชุ ม ชนมาร่ ว ม สนทนาพูดคุย ถ่ายทอด วิชาความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิตของคนไทย ในอดีตให้แก่เด็กเยาวชนในวัยต่าง ๆ มาร่วมเรียนรู้ และจดจำไปดำเนินการเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้คงอยู่เป็นสมบัติของชุมชนตลอดไป ซึ่งองค์ความรู้ ในชุมชนต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น บางชุมชนมีความเชี่ยวชาญทางหัตถกรรม บางชุมชน เชี่ ย วชาญในการแกะสลั ก ไม้ ทอผ้ า จั ด ดอกไม้ ร้อยดอกไม้ ทำอาหาร เล่นดนตรี ศิลปะการแสดง พื้นบ้าน ✿ โครงการถ่ า ยทอดภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น /หั ต ถกรรม/ ศิลปกรรมและศิลปะการแสดงประจำถิ่น สู่เยาวชน และผู้สนใจ

50

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


✿ ✿ ✿

โครงการผู้ เ ฒ่ า สอนการตั ด ตุ ง และสอดแทรก หลักธรรมทางศาสนา โครงการผู้เฒ่าสอนธรรมะ เล่านิทานธรรมะให้เด็กฟัง

ในวันหยุด โครงการผู้ เ ฒ่ า สอนเทคนิ ค พิ เ ศษการทอผ้ า / การย้อมผ้าให้ติดทน โครงการผู้สูงวัยถ่ายทอดประสบการณ์ ในการครองชีวิต

ที่มีความสุขให้กลุ่มหนุ่มสาว ได้นำไปปรับใช้ ในชีวิต โครงการฝึ ก อาชี พ จากภู มิ ปั ญ ญาไทย เช่ น ยา แผนโบราณ นวดแผนโบราณ โครงการสอนทำอาหารไทย/ขนมไทยในศาสนสถาน โครงการฟังดนตรีไทยเสนาะโสตในศาสนสถาน โครงการสอนแกะสลักไม้ ในศาสนสถาน โครงการจารึ ก ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น เป็ น กิ จ กรรมที่ มี การจารึกความรู้ภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่ ไว้ ใน สมุดบันทึกรวบรวมไว้ ในศาสนสถาน เพื่อเป็นธรรม ทานให้แก่อนุชนรุ่นหลัง โครงการตลาดนัดผลิตภัณฑ์จากลานบุญ ลานปัญญา เปิ ด โอกาสให้ ป ระชาชนในชุ ม ชนใกล้ เ คี ย งได้ ม า ซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเองในชุมชน ด้ ว ยราคาย่ อ มเยา ไม่ ค้ า กำไรเกิ น ควร เนื่ อ งจาก มี ต้ น ทุ น ต่ ำ ไม่ มี ค่ า ขนส่ ง ไม่ มี ค นกลาง ส่ ง ผลให้ เศรษฐกิจชุมชนหมุนเวียนสามารถดำรงอยู่ ได้ภายใต้ เศรษฐกิจพอเพียงและมีความสุข

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

51


โครงการผู้เฒ่าสอนซอ/ดนตรีพื้นบ้าน ในศาสนสถาน ✿ โครงการตลาดนัดภูมิปัญญา ในงานบุญประจำปีของ ศาสนสถานหรื อ งานประเพณี ข องชุ ม ชน ซึ่ ง เป็ น

วิ ถี ชี วิ ต ดั้ ง เดิ ม ของคนในชุ ม ชนให้ น ำผลิ ต ภั ณ ฑ์ ในครัวเรือนของตนในชุมชน และให้ศาสนสถานที่ จั ด งานนำผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากต่ า งชุ ม ชน ซึ่ ง อาจเป็ น ผลิตภัณฑ์ ใหม่ที่ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมมาเผยแพร่ และซื้อขายกันในราคาพิเศษ เช่น อาหาร แปรรูป ต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์จากหัตถกรรมท้องถิ่น ๔. โครงการส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารจั ด กิ จ กรรมที่ เ ป็ น ไปตาม ธรรมชาติซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนไทยที่ดีงาม ฟื้นฟูวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน การจัดงานประเพณีต่าง ๆ ควรมีการดำเนินการตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน มีการร่วมกันค้นหาประเพณีดั้งเดิมที่เป็นมรดกวัฒนธรรมถิ่นที่ดีงามและฟื้นฟูขึ้น มา รวมทั้งควรให้งานประเพณีนั้นๆเน้นให้ความสำคัญกับคำสอนของศาสนา โดยให้ กิ จ กรรมที่ จั ด ในงานประเพณี มี ก ารส่ ง เสริ ม ให้ ค นในชุ ม ชนมี คุ ณ ธรรม ดังเช่นสังคมของบรรพชนไทยในอดีตซึ่งสามารถนำมาเป็นแบบอย่างที่ดี ให้กับ คนในชุมชน มีตัวอย่างโครงการ ดังนี้ ✿ โครงการงานบุ ญ ในงานมงคลและงานอวมงคล ต่าง ๆ ที่ชาวบ้านมาร่วมงานกันมากและเป็นวิถีชีวิต

ดั้ ง เดิ ม เช่ น งานโกนจุ ก งานบวช งานสวด พระอภิธรรมศพ ✿ โครงการงานบุญผะเหวดเน้นส่งเสริมคุณธรรม ✿ โครงการสอนมารยาทไทยในศาสนสถาน ✿ โครงการจัดงานปีใหม่ตามวิถีพุทธ

52

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


✿ ✿ ✿ ✿ ✿

✿ ✿ ✿ ✿ ✿

โครงการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อในท้องถิ่น อาจเชิ ญ ชวนทุ ก คนมาร่ ว มงาน โดยอาจจั ด ให้ พระสงฆ์ ห รื อ ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ม าเผยแพร่ ห ลั ก ธรรม ทางศาสนาเป็นการสอดแทรกคุณธรรมไว้ ในวิถีชีวิต ตามสมควร ประมาณ ๕-๑๐ นาที โครงการเปิ ด สภาชุ ม ชนร่ ว มเสวนากำหนดกรอบ แนวทางในการแก้ปัญหาชุมชน เช่น ให้ความช่วยเหลือ

แก่ผู้เจ็บป่วยในชุมชนยามวิกาล โครงการสร้ า งความสั ม พั น ธ์ ดุ จ เครื อ ญาติ ใ ห้ มี ก าร ลงแรงในกิจกรรมของท้องถิ่น และร่วมจัดอาหาร มาถวายพระและรับประทานอาหารร่วมกันกระชับ ความสัมพันธ์ โครงการงานประเพณีตรุษไทย โครงการงานประเพณีนมัสการหลวงพ่อ โครงการงานประเพณีบุญข้าวจี่ โครงการงานประเพณีปอยส่างลอง โครงการงานอาซูรอสัมพันธ์ โครงการจัดงานบุญระลึกในวันจักรีเพื่ออุทิศถวาย เป็นพระราชกุศล โครงการงานประเพณีสลุงหลวง ก๋องใหญ่ ปี๋ ใหม่เมือง โครงการงานประเพณีทำบุญกลางบ้าน โครงการงานประเพณีวันสงกรานต์ โครงการงานผู้สูงอายุแห่งชาติ โครงการงานประเพณีวันกตัญญู โครงการงานประเพณี เ ทศกาลไหว้ พ ระธาตุ / งาน สรงน้ำพระบรมธาตุ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

53


โครงการงานบุญประจำปี/งานบุญกลางบ้าน ✿ โครงการงานประเพณี ก่ อ เจดี ย์ ท รายและปิ ด ทอง หลวงพ่อ ✿ โครงการงานประเพณีชักพระ ✿ โครงการงานประเพณีแห่ดอกไม้ฉลองสงกรานต์ ✿ โครงการงานประเพณีก่อพระทราย ✿ โครงการงานประเพณี ในเทศกาลคุณธรรมจริยธรรม ตามรอยพระโพธิสัตว์เนื่องในวันวิสาขบูชา ✿ โครงการงานบุ ญ วั น วิ ส าขบู ช า/งานประเพณี

กวนข้าวทิพย์ ✿ โครงการจั ด งานวั น เฉลิ ม พระชนมพรรษาสมเด็ จ

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ✿ โครงการงานวันเยาวชนไทย (๒๐ กันยายน) ๕. โครงการส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การเรี ย นรู้ จ ากคนหลายวั ย

โดยเป็ น การส่ ง เสริ ม ให้ ค นต่ า งวั ย ได้ ม าร่ ว มกิ จ กรรมที่ มี ค วามสนใจเดี ย วกั น

ในศาสนสถาน ได้มาอยู่ ใกล้ชิดกัน เกิดความผูกพันซึ่งกันและกันวัยที่ต่างกัน ย่อมทำให้คนมีระบบความคิด ความเชื่อ รสนิยม และท่าทีที่แตกต่างกัน แต่ถ้ามี การจัดกิจกรรมให้คนต่างวัยได้มาเปิดใจให้กว้าง ยอมรับความแตกต่าง และให้ โอกาสซึ่ ง กั น และกั น โดยไม่ มี เ งื่ อ นไขของความต่ า งในทุ ก มิ ติ ม าเกี่ ย วข้ อ ง จะทำให้ช่องว่างระหว่างวัยหมดไปได้ และทุก ๆ ช่องว่างก็ปิดสนิท เหลือแต่ ความแนบแน่นของใจกับใจ เหลือแต่ความเชื่อมั่นและนับถือ ในท่าทีแห่งเมตตา จิตของกันและกัน กลายเป็นความรักความผูกพันที่คนหลายวัยพร้อมที่จะมี

จิตอาสาดำเนินงานร่วมกับคนต่างวัย ได้ โดยไม่มีช่องว่างระหว่างวัย มีตัวอย่าง โครงการ ดังนี้

54

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


✿ โครงการรวมพลคนต่างวัยหัวใจใฝ่เรียนรู ้ ✿ โครงการปู่สอนหลานเล่นดนตรีไทย ✿ โครงการยายสอนหลานแกะสลักผลไม้ ✿ โครงการแม่สอนลูกเรียนภาษาอังกฤษ ✿ โครงการรวมพลังคนสูงวัยเพื่อลูกหลานชาวชุมชน ✿ โครงการสร้างสรรค์วาดภาพธรรมะโดยคนต่างวัย ✿ โครงการสนทนาธรรมโดยคนต่างวัย ๖. โครงการส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารสื บ ค้ น ทุ น ทางวั ฒ นธรรม มีการสนทนาร่วมสืบค้นองค์ความรู้ ประวัติความเป็นมาของบุคคล ชุมชนและ มรดกทางภู มิ ปั ญ ญาและทางวั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น มี ก ารแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ถ่ายทอดภูมิรู้ ภูมิธรรม ที่หลากหลายของผู้เฒ่าผู้แก่ ในท้องถิ่นสู่อนุชนรุ่นใหม่ ทำให้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีค่าไม่สูญหายไปจากท้องถิ่น และสามารถต่อยอดทุน ทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ๗. โครงการส่ ง เสริ ม การสร้ า งชุ ม ชนสั ม พั น ธ์ แ ละรั ก ษ์

สิ่ ง แวดล้ อ ม ส่ ง เสริ ม คนในชุ ม ชนมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ที่ ดี ต่ อ กั น บนพื้ น ฐานสั ง คม ประชาธิปไตย สมาชิกของชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและศาสนสถาน โดย ร่วมคิด ร่วมเสนอ ร่วมบริหาร ร่วมจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ ด้วยมิติทาง ศาสนา มีตัวอย่างโครงการ ดังนี้ ✿ โครงการอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ศาสนสถาน เป็นผู้นำในการสร้างเยาวชนอาสาเพื่อช่วยกันดูแล แม่น้ำลำคลองให้สะอาด ฯลฯ ✿ โครงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อศาสนา ในวันอาทิตย์ ในศาสนสถานต่าง ๆ ตามจิตอาสา โดยมีการแบ่ง หน้าที่กัน บางคนก็กวาดพื้น ถูพื้นทำความสะอาด เสนาสนะ บางคนทำอาหารมาเลี้ยงกัน หมุนเวียน แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

55


ผลัดกันมาร่วมบูรณะศาสนสถานให้มีความสะอาด ร่มรื่น และสงบ ✿ โครงการรักษ์ศาสนสถาน โดยการทำความสะอาด อาคารศาสนสถานและบริ เ วณโดยรอบ พั ฒ นา ภูมิทัศน์ของบริเวณอาคารศาสนสถานให้ดูร่มรื่น สงบ สะอาดและสว่างเป็นอุทยานรักษ์ธรรมชาติ ✿ โครงการเก็บและคัดแยกขยะในชุมชนรอบศาสนสถาน ให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ ใหม่ ✿ โครงการร่วมแรงรักษาแหล่งน้ำในชุมชนให้ปราศจาก มลพิษ เป็นแหล่งน้ำสะอาด ✿ โครงการร่ ว มรั ก ษาแม่ น้ ำ ลำคลองของชุ ม ชนให้ ใสสะอาด ✿ โครงการร่ ว มรั ก ษ์ ต้ น ไม้ ยื น ต้ น ของชุ ม ชนและของ ศาสนสถานเพื่อให้มีอากาศบริสุทธิ์เป็นปอดของชุมชน ๓.๔ การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ๓.๔.๑ การจัดประชุม ในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ของศาสนสถาน คณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำ ศาสนสถาน จะต้องมีการประชุมอย่างน้อยละเดือน ๑ ครั้ง ซึ่งกรมการศาสนา ได้กำหนดแนวทางการจัดประชุมของคณะกรรมการฯ ประจำศาสนสถาน พอสังเขป ดังนี้ ในการจัดประชุมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและบรรลุผลตาม วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม จำเป็นต้องมีการวางแผนก่อนการประชุม เพื่อให้กระบวนการระหว่างการประชุมราบรื่น และควรมีการติดตามผลการ ดำเนินงานภายหลังการประชุม ซึ่งถือว่าสำคัญมาก

56

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


การดำเนิ น งานของคณะกรรมการฯ ประจำศาสนสถาน จะประสบผลสำเร็ จ ตามเป้ า หมายได้ นั้ น จำเป็ น ต้ อ งมี ก ารประชุ มอย่ า งน้ อ ย เดื อ นละ ๑ ครั้ ง โดยมี จ ำนวนกรรมการเข้ า ร่ ว มประชุ ม อย่ า งน้ อ ยกึ่ ง หนึ่ ง ของจำนวนคณะกรรมการฯ ทั้งหมดเพื่อให้ครบองค์ประชุมและร่วมกำหนด ทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานหรือคนในชุมชนที่รับผิดชอบ ในแต่ละโครงการจะได้นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง โดยผู้ที่ทำหน้าที่เลขานุการ ในการประชุมจะต้องเตรียมสิ่งต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เช่น มีการจัดทำแผนการ ประชุ ม ล่ ว งหน้ า มี ก ารกำหนดระเบี ย บวาระการประชุ ม ที่ ชั ด เจน มี ก าร ประสานงานกับประธานคณะกรรมการฯ ประจำศาสนสถาน แจ้งกรรมการ หรื อ ผู้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม ทราบล่ ว งหน้ า พร้ อ มส่ ง ระเบี ย บวาระการประชุ ม และบั น ทึ ก การประชุ ม ครั้ ง ที่ แ ล้ ว เพื่ อ ให้ ก รรมการหรื อ ผู้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม

ได้ ศึ ก ษาล่ ว งหน้ า และเตรี ย มตั ว อย่ า งน้ อ ยควรแจ้ ง ก่ อ นวั น ประชุ ม เตรี ย ม เอกสารการประชุมตามวาระการประชุม จดบันทึกการประชุมอย่างละเอียด เพื่อความรอบคอบครบถ้วนของเนื้อหาสาระ สรุปสาระประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในที่ประชุมและติดตามผลการดำเนินงานของแต่ละประเด็นเพื่อสรุปผลรายงาน คณะกรรมการฯ ประจำศาสนสถาน ในการประชุมครั้งต่อไป รวมทั้งรายงานผล การดำเนินการในแต่ละโครงการต่อคณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ

ลานปัญญาประจำศาสนสถาน ตัวอย่างการจัดกิจกรรมลานบุญ ลานปัญญา : ศาสนาพุทธ

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

57


เข้าวัดปฏิบัติธรรมวันอาทิตย์ ความเป็นมาและความสำคัญ สังคมไทยในอดีตมีพระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญ เป็นหนึ่งในสามสถาบันหลักของชาติ ที่ทำหน้าที่กล่อมเกลาจิตใจของคนในชาติ มาช้ า นานแล้ ว ทำให้ ค นไทยสามารถอยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งมี ค วามสุ ข นั บ ตั้ ง แต่ บรรพชน และวัดยังมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในอดีต ที่เห็นได้เด่นชัด คือ การไปวัดในวันธรรมสวนะ เพื่อไปทำบุญ ตักบาตร สมาทานศีล ฟังพระธรรม เทศนา บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญจิตภาวนา วิถีชีวิตดั้งเดิมนี้ ได้ยึดถือปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ ให้ความ สำคั ญ จึ ง ได้ จั ด โครงการเข้ า วั ด ปฏิ บั ติ ธ รรมวั น ธรรมสวนะ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง จนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงไป ทางราชการได้กำหนด ให้ วั น เสาร์ แ ละวั น อาทิ ต ย์ เ ป็ น วั น หยุ ด ราชการ ซึ่ ง เป็ น ไปตามสากลนิ ย ม เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งไม่มี โอกาสได้ ไปวัดในวันธรรมสวนะ เพื่อไปปฏิบัติศาสนกิจตามพุทธบัญญัติที่ควรปฏิบัติ กรมการศาสนา ได้ตระหนักถึงความต้องการของพุทธศาสนิกชน ที่ต้องการเข้าวัดปฏิบัติธรรมในวันอาทิตย์ จึงได้มอบหมายให้กรมการศาสนา ดำเนินการจัด “โครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันอาทิตย์ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ และเพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนที่ยึดมั่นใน สถาบั น ชาติ ศาสนาและพระมหากษั ต ริ ย์ ได้ ไปวั ด ในวั น อาทิ ต ย์ ประกอบ ศาสนกิจ รักษาศีล เจริญจิตภาวนา ละความชั่ว กระทำความดี ทำจิตให้ผ่องใส เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชกุศล และเพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และ ประชาชนได้ เรียนรู้หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา และนำไปปฏิบัติ

58

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ให้เกิดความสงบสุขทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ อันเป็น การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป

วั ตถุประสงค์

๑. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เรียนรู้และเจริญรอยตามพระยุคลบาท เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เนื่ อ งในโอกาสพระราชพิ ธ ี

มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๒. เพื่ อ ให้ พุ ท ธศาสนิ ก ชนได้ แ สดงตนเป็ น พุ ท ธมามกะ ใกล้ ชิ ด

พระรัตนตรัย น้อมนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ ในชีวิตประจำวัน

ให้เกิดประโยชน์สุขต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ ๓. เพื่อให้สถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ธำรงอยู่อย่าง มั่นคงสืบไป

การเตรียมเปิดวัดวันอาทิตย์ ๑. ความพร้อมของวัด การที่จะให้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา เป็นศูนย์ รวมจิตใจของคนในชุมชน วัดที่เข้าร่วมโครงการฯ ควรมีองค์ประกอบ คือ มีบริเวณกว้างขวางที่สามารถรองรับคนเข้าวัดวันอาทิตย์เพื่อจัดกิจกรรมทาง ศาสนา บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญจิตภาวนา ไม่มีสิ่งรบกวนต่างๆ มีความสงบ ร่ ม รื่ น มี ค วามสะอาด มี ค วามงามตามธรรมชาติ มี ค วามเป็ น ระเบี ย บ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่เหมาะสมกับสภาพ เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจ ของพระสงฆ์และพุทธบริษัทร่วมกันในวันอาทิตย์ ๒. ความพร้อมของบุคลากร ผู้มีบทบาทที่สำคัญที่จะทำให้ โครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันอาทิตย์

ประสบผลสำเร็จ คือ พระภิกษุสงฆ์ ผู้เป็นศาสนทายาทสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนมากที่ ได้รับการศึกษาจากภาคการศึกษาสงฆ์ พระคุณเจ้า เหล่ า นี้ มี ภู มิ ธ รรม และภู มิ รู้ ทั้ ง ทางธรรมและทางโลกอย่ า งเชี่ ย วชาญ และ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

59


พร้อมที่จะใช้ภูมิธรรม และภูมิรู้เหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกอยู่แล้ว การไปกราบนมัสการพระคุณเจ้าให้เป็นผู้เผยแผ่พุทธธรรมที่ถูกต้องดีงามแก่ พุทธศาสนิกชนที่ ไปวัดจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ในปัจจุบัน สรุปคือ ควรมี พ ระภิ ก ษุ ส งฆ์ ที่ มี ค วามพร้ อ มทางศั ก ยภาพเหล่ า นี้ อ ยู่ ป ระจำวั ด มาก เพียงพอ ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ ให้การอบรม เทศนาธรรมแก่พุทธบริษัทที่เข้าวัด ซึ่งจะสามารถโน้มน้าวใจให้ประชาชนได้นำหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติในชีวิต เพื่อสร้างความสงบสุขและความเจริญให้แก่ตนเองและชุมชน นอกจากนี้ ควรมีบุคลากรภายในวัด เป็นบุคคลอาสาสมัครที่จะ ร่วมจัดกิจกรรมภายในวัด ผู้มีจิตอาสาที่จะช่วยดำเนินการจัดกิจกรรมภายในวัด เชื่ อ ว่ า ในสั ง คมไทยยั ง มี ผู้ มี จิ ต ศรั ท ธาที่ จ ะรั บ ใช้ พ ระพุ ท ธศาสนาอยู่ ม ากมาย เช่นกันที่พร้อมให้การช่วยเหลือวัดในทุกเรื่อง โดยเป็นอาสาสมัคร ที่อุทิศทั้ง กำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เพียงเพื่อที่จะได้ชื่อ ว่า เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นการบูชาพระพุทธองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา และสืบอายุพระพุทธศาสนา สมตามพุทธประสงค์ที่ทรงให้ช่วยกันศึกษาและ ปฏิบัติตามพระธรรมที่ ได้ทรงสั่งสอน ๓. ความพร้อมของกิจกรรมที่จัดเพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนเข้า วัดวันอาทิตย์ ๓.๑ กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นกิจกรรมหลัก การจัดกิจกรรม ให้มีกิจกรรมที่หลากหลายสำหรับรองรับ พุทธศาสนิกชนเข้าวัดวันอาทิตย์ และสามารถจัดได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี โดย เน้นกิจกรรมการบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญจิตภาวนา และกิจกรรมที่เรียบง่าย สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย โดยรณรงค์ส่งเสริมให้องค์กรเครือข่ายผู้นำ ชุมชนเชิญชวนคนในชุมชนพาครอบครัวมาเข้าวัดร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ ก. การทำบุญตักบาตรในตอนเช้าทุกวันอาทิตย์ ข. การสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น

60

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ค. การสมาทานศีล เจริญจิตภาวนา นั่งสมาธิ ง. การฟังพระธรรมเทศนา จ. การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในวัดตามศักยภาพและความ พร้อมของวัด - จัดกิจกรรมลด ละ เลิก อบายมุข เพื่อให้เป็น

หมู่บ้านปลอดอบายมุข - จัดกิจกรรมสนทนาธรรมต่างวัย แก้ปัญหาเยาวชน - จั ด บรรยายธรรมในเรื่ อ งต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ

ชีวิตให้เหมาะสมตามบริบท - เปิดเสียงธรรมตามสาย ให้คนในชุมชนได้ฟังใน ทุกวันอาทิตย์ ฉ. จัดมุมสื่อธรรมของวัด โดยหามุมสงบของวัดมุมใดมุม หนึ่งจัดเป็นมุมสื่อธรรม มีหนังสือธรรมะ ซีดีธรรมะ บทสวดมนต์ บทเทศนา ธรรมของพระนักเทศน์ผู้มีชื่อเสียง เอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหลักธรรม คำสอน ไว้บริการพุทธศาสนิกชนที่สนใจ ๓.๒ กิจกรรมเสริมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ก. กิจกรรมที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ สร้างสรรค์วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามและเป็นประโยชน์ต่อชุมชน ข. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ร่วมกันทำความสะอาด โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาสนสถาน บริเวณวัด เป็นต้น การจัดภัตตาหารถวายพระภิกษุสามเณรในวันอาทิตย์ ค. กิจกรรมต่างๆ ที่มีความต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ ตลอดปี เช่น การบูรณะซ่อมแซมอาคาร เสนาสนะ สิ่งก่อสร้างภายในวัด การเรียนธรรมศึกษา

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

61


๔. ความพร้อมของเครือข่าย การสร้างเครือข่ายให้มีความพร้อม โดยการเชิญชวนหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน ในพื้นที่ รวมทั้งพุทธอาสา ให้มาร่วมปรึกษาหารือ ร่วมวางแผนดำเนินการโดยให้มีการกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของ โครงการที่จะดำเนินการ เพื่อความเป็นเอกภาพเดียวกันในแต่ละชุมชน และมี การทำงานสอดคล้องประสานเชื่อมโยงกันเป็นระบบ มีการระดมสมอง รวมพลัง คนและทรัพยากรร่วมกัน ร่วมจัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันอาทิตย์ ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการฯ ๑. ประชาชนชาวไทย ได้เรียนรู้และเจริญรอยตามพระยุคลบาท เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เนื่ อ งในโอกาสพระราชพิ ธ ี

มหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธั น วาคม ๒๕๕๔ ร่ ว มแสดง ความจงรักภักดี ด้วยการประกอบคุณงามความดีน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ๒. ประชาชนชาวไทยได้แนวคิดในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ได้ ใกล้ ชิดพระรัตนตรัย ได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ บำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา น้อมนำ หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ ในชีวิตประจำวัน ทำให้จิตสงบ มีสติ ปัญญา เหตุผล เคารพในสิทธิและความคิดเห็น ลดความขัดแย้งและ แตกแยก มีความสามัคคี อันจะเป็นพลังสร้างชาติให้เจริญมั่นคงอย่างยั่งยืน ๓. เด็ก เยาวชน ได้ ใกล้ชิดกับวัดและพระศาสนา ได้รับการขัดเกลา จิตใจ จากการเรียนรู้พุทธธรรมในภาคปฏิบัติ เกิดศรัทธา มีสมาธิและปัญญา ได้ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ทำให้ห่างไกลจากสิ่งยั่วยุ ๔. พุทธศาสนิกชนได้ทำหน้าที่สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ปฏิบัติ ศาสนกิจตามวิถีพุทธ เกิดการเรียนรู้และเข้าถึงในแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา โดยการปฏิบัติ นำสู่ชีวิตที่มีความสุขสงบอย่างแท้จริง

62

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมฟังธรรมวันพระ, อบรมพระกัมมัฏฐานประชาชนทั่วไป, บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน, อุปสมบท หมู่เฉลิมพระเกียรติ, บวชศีลจาริณี, ค่ายคุณธรรมจริยธรรม, โครงการผู้เฒ่า

เล่านิทานให้เด็กฟัง, กิจกรรมสอน ละอ่อนทำบายศรี ตัดจ่อ ตัดตุง ทำกระทง, การทำบุ ญ สลากภั ติ ต ร, โครงการปลู ก ต้ น ไม้ เ พื่ อ สุ ข ภาพ, การถ่ า ยทอด ศิลปะมวยไทย, การทำขนมพื้นบ้าน ฯลฯ ตัวอย่างการจัดกิจกรรมลานบุญ ลานปัญญา : ศาสนาอิสลาม การอบรมครู ธ รรมจริ ย ธรรมในมั ส ยิ ด , พิ ธี ล ะหมาดทุ ก วั น ศุ ก ร์ , อั ล กุ ร อานเยาวชนเบื้ อ งต้ น , โครงการฟั ง กุ ต บะห์ ใ นวั น ศุ ก ร์ , โครงการ เมาลิ ด นบี , โครงการใจสงบด้ ว ยสาระธรรม, การสอนภาษาอาหรั บ ให้ แ ก่ เยาวชน, โครงการครอบครัวสร้างสุข,การทำบุญกุโบร์ ไข่เน่า, โครงการทำบุญ ประจำปีเดือนระยับ, อบรมหลักการครองเรือน ก่อนแต่งงาน, อบรมคุณธรรม ป้องกันยาเสพติด, กิจกรรมฝึกสอนติเกฮูลูแก่นักเรียน ฯลฯ ตัวอย่างการจัดกิจกรรมลานบุญ ลานปัญญา : ศาสนาคริสต์ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

63


โรงเรี ย นศาสนาทุ ก วั น อาทิ ต ย์ , พิ ธี มิ ส ซาบู ช าทุ ก วั น ศุ ก ร์ แ ละ วั น อาทิ ต ย์ , ร่ ว มอธิ ษ ฐานประจำสั ป ดาห์ ใ นคื น วั น ศุ ก ร์ , คริ ส เตี ย นศึ ก ษา พระคัมภีร์, อธิษฐานอวยพรบ้านเมือง, ส่งเสริมคุณธรรมเด็ก, รักการอ่าน คัมภีร์ ไบเบิ้ล, โครงการอบรมกลุ่มคริสตชนพื้นฐาน, โครงการใช้หลักศาสนา แก้ปัญหาชุมชน, สอนน้องเล่นดนตรี ฯลฯ ตัวอย่างการจัดกิจกรรมลานบุญ ลานปัญญา : ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู กิจกรรมในพิธีการบวงสรวงพระพิฆเนศ, การบวงสรวงของพระแม่ นางรัศมี, พิธีบูชาในช่วงเวลา เช้า-เย็น ฯลฯ ตัวอย่างกิจกรรมลานบุญ ลานปัญญา : ซิกข์ สวดมนต์บูชาประจำทุกวันตั้งแต่ ๐๔.๐๐ น.- ๑๐.๐๐ น., สวดมนต์ ใหญ่ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น., เลี้ยงอาหารในโรงทาน ทุกวันหลังจากเสร็จพิธี

64

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๓.๔.๒ การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน (แผนกิจกรรมของชุมชน) คณะกรรมการดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญา ประจำศาสนสถาน ควรดำเนินการดังนี้ ๑) คณะกรรมการดำเนิ น งานโครงการลานบุ ญ ลานปั ญ ญาประจำศาสนสถาน ในแต่ ล ะศาสนสถาน ดำเนิ น การตามแผน ปฏิบัติการของศาสนสถาน (แผนกิจกรรมของชุมชน) โดยในแต่ละโครงการ ให้กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ งบประมาณ ระยะเวลาดำเนินการ และ ผู้รับผิดชอบในแต่ละโครงการ ๒) ทำความเข้าใจแผนที่วางไว้ ให้ชัดเจน โดยต้อง อธิบายแผนให้ผู้ปฏิบัติทุกระดับได้รู้และเข้าใจตรงกันอย่างทั่วถึงทั้งชุมชน ๓) ลงมือดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน (แผนกิจกรรมของชุมชน) ที่ ได้กำหนดไว้ โดยทุกโครงการควรมีคนในชุมชนเป็น ผู้รับผิดชอบในแต่ละโครงการ และมีการเชิญชวนคนในชุมชนเข้าร่วมโครงการ ตามความต้องการและสนใจ ๔) คณะกรรมการดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญา ประจำศาสนสถาน ในแต่ละศาสนสถาน และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการ ต่าง ๆ ต้องตรวจสอบดูแลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน (แผนกิจกรรมของชุมชน) ทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เป็นไปตามแผนและ เพื่อให้กำลังใจกับผู้ปฏิบัติงานในชุมชน ทั้งยังเป็นการแสดงถึงความเอาใจใส่ ดูแลของผู้รับผิดชอบโครงการ ๕) สรุปผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของ ศาสนสถาน (แผนกิจกรรมของชุมชน) ทุกโครงการ และรายงานผลตามแบบ รายงานลานบุญฯ ๖ ให้คณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญา จั ง หวั ด รั บ ทราบเป็ น รายไตรมาสและรายปี ให้ จั ง หวั ด รวบรวมรายงาน กรมการศาสนาทราบตามแบบลานบุญฯ ๗ เป็นรายไตรมาส/รายปีเพื่อนำ รายงานรัฐบาลต่อไป แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

65


๓.๕ การบันทึกผลของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของ ศาสนสถาน (แผนกิ จ กรรมของชุ ม ชน) ให้ น ำผลการดำเนิ น การในแต่ ล ะ ศาสนสถาน ซึ่ ง เป็ น ความดี ที่ แ ต่ ล ะบุ ค คลในชุ ม ชนได้ เ สี ย สละเพื่ อ ส่ ว นรวม ให้คณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน เก็บรวบรวม “ความดี” นั้นไว้ โดยจัดทำเป็นบันทึก “ธนาคารความดีของ ชุมชน” เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับอนุชนรุ่นหลังที่จะได้เรียนรู้และมีการ สืบทอดการกระทำความดีนั้นให้ต่อเนื่องสืบไป รวมทั้งจดบันทึกและรวบรวม “วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนที่ดีงามและแฝงไปด้วยคุณธรรม” ที่แตกต่างกันไว้ เพื่อให้อนุชนได้ดำเนินรอยตามบรรพบุรุษ ตามแบบลานบุญฯ ๘ ขั้นตอนที่ ๔ การติดตามประเมินผลโครงการ การติดตามประเมินผลโครงการลานบุญ ลานปัญญา มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้จังหวัดและศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการได้ติดตามผลการดำเนินงาน อย่ า งใกล้ ชิ ด ให้ บ รรลุ ผ ลสำเร็ จ ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละเป้ า หมายของแผน/ โครงการ/กิจกรรม ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า ประหยัดทรัพย์สินของทางราชการและปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ระบบ วิธีการ และหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานที่กำหนด รวมทั้ง ผลลัพธ์หรือผลกระทบที่เกิดขึ้นมาจากการดำเนินงานของชุมชน ตลอดจน เพื่อให้ข้อสังเกต ข้อคิดเห็น และหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ ไข การ ดำเนินงานตามแผนงบประมาณ/โครงการ/กิจกรรม ของศาสนสถาน ให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และบรรลุผลสัมฤทธิ์ของโครงการลานบุญ ลานปัญญาตามเป้าหมายที่กำหนดโดยกรมการศาสนาได้จัดทำแบบติดตามและ รายงานผล ดังนี้

66

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๔.๑ การติดตามประเมินผลในระดับศาสนสถาน ให้คณะกรรมการ ดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน รายงานให้คณะ กรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัดรับทราบ ตามแบบติดตาม และรายงานผล แบบลานบุญฯ ๖ เป็นแบบรายงานผลความก้าวหน้าของ การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน (แผนกิจกรรมของชุมชน) ซึ่งได้เน้นรายงานผลในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยให้เทียบผลการดำเนินการ จริ ง กั บ เป้ า หมายในแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน รวมทั้ ง ให้ ร ะบุ ปั ญ หา อุปสรรคในการดำเนินงาน ปัจจัยเอื้อที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ และความ ต้องการการสนับสนุนจากจังหวัด ๔.๒ การติ ด ตามประเมิ น ผลในระดั บ จั ง หวั ด กรมการศาสนา ได้จัดทำ แผนการดำเนินงานของจังหวัด ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน ของจั ง หวั ด เพื่ อ กำกั บ ดู แ ลเร่ ง รั ด ให้ มี ก ารดำเนิ น การตามแผนปฏิ บั ติ ก าร ของศาสนสถาน (แผนกิ จ กรรมของชุ ม ชน) รวมทั้ ง การใช้ จ่ า ยงบประมาณ ให้ถูกต้องตามระเบียบ และให้มีการเทียบผลกับแผนที่กำหนดไว้ ในแผนปฏิบัติ การของศาสนสถานนั้น ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการปรับแผน และ ให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์ก่อนสิ้นสุดโครงการ และกรมการศาสนา ได้จัดทำแบบติดตามและรายงานผลในระดับจังหวัด แบบลานบุญฯ ๗ ซึ่ง

คณะกรรมการบริ ห ารโครงการฯ จั ง หวั ด จะต้ อ งรายงานผลในภาพรวม ให้ ก รมการศาสนารั บ ทราบเพื่ อ รายงานต่ อ สำนั ก บริ ห ารหนี้ ส าธารณะ คณะอนุ ก รรมการติ ด ตามเร่ ง รั ด การดำเนิ น โครงการลานบุ ญ ลานปั ญ ญา กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ๔.๓ การกำกับติดตามการดำเนินโครงการลานบุญ ลานปัญญา เพื่ อ ให้ ก ารดำเนิ น งานเป็ น ไปอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและเกิ ด ประสิทธิผล จึงมีแนวทางการกำกับติดตามประเมินผลและเฝ้าระวังอย่างเป็น ระบบดังนี้ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

67


68

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

๑. กรอบการดำเนินงานตาม ๑. ศาสนสถาน ๔๐๐ แห่ง แผนปฏิบัติการของศาสน ๒. ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม สถาน ในแต่ละศาสนสถาน ตลอดปี ๒. เป้าหมายของโครงการ ๓.ร้อยละของประชาชนที่เข้า ร่วมกิจกรรมมีความรู้ความ ลานบุญ ลานปัญญา เข้าใจหลักธรรมทางศาสนา ๓. ประเด็นอื่นตามที่ภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกำหนด (๗๐%) ๔. ร้อยละของประชาชนที่เข้า ร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ต่อการจัดกิจกรรม (๗๐%) ๕. การใช้จ่ายงบประมาณเป็น ไปตามแผนปฏิบัติงานและ แผนการใช้จ่ายงบประมาณ ไม่น้อยกว่า ๘๐%

เครื่องมือ

ระยะเวลา

๑. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจาก ๑. แบบรายงานของ ๑. รายสัปดาห์ สำนักบริหารหนี้ ๒. รายเดือน กลุ่มเป้าหมาย ๒. รายงานของสำนักงาน สาธารณะ/ ๓. รายไตรมาส กรมบัญชีกลาง/ ๔. รายปี วัฒนธรรมจังหวัด ๗๕ จังหวัด สำนักงบประมาณ ๓. รายงานข้อมูลผ่าน ๒. แบบติดตามและ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประเมินผลของ ศาสนสถาน ๓. แบบติดตามและ รายงานผลของคณะ กรรมการบริหาร โครงการฯ จังหวัด ๔. แบบรายงาน on line ของกรมการศาสนา

ประเด็นในการกำกับติดตาม วิธีการเก็บรวบรวม เป้าหมาย ประเมินผลและรายงาน ข้อมูลและการรายงาน


๔.๓.๑ ระบบการกำกั บ ติ ด ตามประเมิ น ผล และการ รายงานผลการดำเนินงานใน ๒ ลักษณะ คือ โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการลงพื้ น ที่ จ ากหลายหน่ ว ยงานทั้ ง จากสำนั ก บริ ห ารหนี้ ส าธารณะ คณะอนุ ก รรมการติ ด ตามเร่ ง รั ด การดำเนิ น โครงการลานบุ ญ ลานปั ญ ญา กระทรวงวัฒนธรรม และคณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญา จังหวัด คณะกรรมการดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน เป็นต้น โดยกรอบในการกำกับติดตามและประเมินผลมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๔.๓.๒. ระบบเฝ้าระวัง เป็นระบบที่คณะกรรมการบริหาร โครงการลานบุ ญ ลานปั ญ ญาจั ง หวั ด จะต้ อ งเฝ้ า ระวั ง การดำเนิ น การของ ศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา โดยนำผลการรายงานของ คณะกรรมการดำเนิ น โครงการลานบุ ญ ลานปั ญ ญาประจำศาสนสถาน มาประมวลเพื่ อ แสดงความก้ า วหน้ า ของการดำเนิ น งานของศาสนสถาน เทียบกับแผน/เกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในศาสนสถานนั้น ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาและให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันเหตุการณ์และ มีประสิทธิภาพ

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

69


แผนภูมิโครงสร้าง (Organization Chart) การบริหารงานโครงการลานบุญ ลานปัญญา กรมการศาสนา

- คณะอนุกรรมการเร่งรัดติดตามการดำเนินโครงการฯ - คณะทำงานโครงการลานบุญ ลานปัญญา - ศูนย์ประสานงานโครงการลานบุญ ลานปัญญาของกรมฯ

คณะที่ปรึกษา ๕ ศาสนา

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ๗๕ จังหวัด

- คณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน/ วัฒนธรรมจังหวัดเป็นเลขานุการ - ศูนย์ประสานงานโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัด

คณะกรรมการดำเนินการโครงการ

ลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน

โดยมีผู้นำศาสนสถานเป็นประธาน เจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป็นเลขานุการ

ผู้นำศาสนสถาน

สภาลานบุญ ลานปัญญา

ผู้นำชุมชนเป็นประธาน ๑ คน และรองประธาน ๒ คน เจ้าหน้าที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป็นลขานุการ

สภาลานบุญ ลานปัญญา

เวทีประชาคม เสวนากำหนดทิศทางและแก้ปัญหาชุมชน

- ผู้นำธรรมชาติ/คนในชุมชน

- ผู้รับผิดชอบโครงการต่าง ๆ ในแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ชุมชนคุณธรรม ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข

70

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


บทที่ ๔ บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการในโครงการลานบุญ ลานปัญญา เป็นการดำเนินการ ที่เป็นระบบเปิดที่ ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ที่ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) เปิดเผย โปร่งใส เท่าเทียมกัน เป็นประชาธิปไตย และเน้นประชาชนเป็น ศูนย์กลาง โดยให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชนมี โอกาสได้เข้ามา ร่วมรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอและแก้ ไขปัญหา ร่วมคิดแนวทาง ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาชุมชน ในฐานะหุ้นส่วนของการพัฒนาชุมชน ซึ่งย่อมส่งผลให้การขับเคลื่อนโครงการ ลานบุญ ลานปัญญา ประสบผลสำเร็จ บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาชุมชน และเป็นการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน การที่ ทุ ก ภาคส่ ว นในชุ ม ชนเข้ า มามี ส่ ว นร่ ว ม เป็ น กระบวนการ เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคีอื่น ๆ ในชุมชน เช่น ธุรกิจเอกชน คนในชุ ม ชน และองค์ ก รต่ า ง ๆ ให้ มี โ อกาสเข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการคิ ด ตั ด สิ น ใจ เพราะจะเป็ น การพั ฒ นาชุ ม ชนที่ ท รงพลั ง และยั่ ง ยื น ในสั ง คม ประชาธิ ป ไตย ที่ เ กิ ด จากการร่ ว มแรงร่ ว มใจในการดำเนิ น การในฐานะเป็ น เจ้าของโครงการร่วมกัน และร่วมรับประโยชน์ทั้งชุมชน ซึ่งทุกภาคส่วนต่าง ก็มีบทบาทหน้าที่ต่อการขับเคลื่อนโครงการลานบุญ ลานปัญญา ดังนี้ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

71


บทบาทหน้าที่ของศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการฯ (คณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน) ๑. จัดประชุมหารือพิจารณาความพร้อมและความต้องการของ ศาสนสถานที่จะเข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา โดยมีผู้นำศาสนสถาน ร่ ว มกั บ ผู้ น ำชุ ม ชน ตามธรรมชาติ แ ละผู้ น ำหน่ ว ยงานในพื้ น ที่ คนในชุ ม ชน ร่วมพิจารณาถึงความพร้อม และศักยภาพของศาสนสถานและคนในชุมชน ที่จะ เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา โดยมีวัฒนธรรมจังหวัดหรือกรรมการ บริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัดที่ ได้รับมอบหมายเป็นผู้ประสานงาน ๒. ผู้นำศาสนสถานที่ชุมชนมีความต้องการจะร่วมโครงการฯ เป็น ผู้ลงนามในแบบแสดงความจำนงของศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา แบบลานบุญฯ ๑ ๓. ผู้นำศาสนสถาน และคนในชุมชนพิจารณา รายชื่อคณะกรรมการ ดำเนินการโครงการลานบุญฯ ประจำศาสนสถาน และรายชื่อประธานและ รองประธานสภาลานบุญ ลานปัญญา โดยคัดเลือกจากผู้นำตามธรรมชาติ/

ผู้ น ำชุ ม ชนที่ ค นในชุ ม ชนเคารพนั บ ถื อ มากที่ สุ ด ๑ คน เป็ น ประธาน และ รองประธานสภาลานบุญ ลานปัญญา ๒ คน นำเสนอจังหวัดแต่งตั้ง เพื่อทำ หน้าที่เป็นประธานสภาลานบุญ ลานปัญญาในทุกกิจกรรมที่มีการเปิดเวทีเสวนา ๔. เสนอรายชื่อคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา ประจำศาสนสถาน และรายชื่อประธานและรองประธานสภาลานบุญ ลานปัญญา ต่อจังหวัดเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง ๕. จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญฯ ประจำ ศาสนสถานเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการของศาสนสถานตามแบบลานบุญฯ ๔ และจัดทำ “ข้อตกลงชุมชน” ตามแบบลานบุญฯ ๕ เพื่อเป็นกฎกติกากลาง สำหรับให้คนในชุมชนปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

72

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๖. นำแผนปฏิบัติการของศาสนสถานและ “ข้อตกลงของชุมชน” เสนอเข้ า สู่ ส ภาลานบุ ญ ลานปั ญ ญาให้ ค วามเห็ น ชอบ ก่ อ นนำเสนอต่ อ

คณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญฯ จังหวัดให้ความเห็นชอบและอนุมัต ิ

แผนงาน/โครงการ ให้ศาสนสถานนำไปดำเนินการ ๗. ศาสนสถานจะต้องมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้จัดทำ บัญชีรายรับ-รายจ่าย รายวัน ตามแบบลานบุญฯ ๑๐ และจัดทำทะเบียนคุมเงิน การใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการ ตามแบบลานบุญฯ ๑๑ ๘. ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถานอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อติดตาม ดูแล การดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญาของศาสนสถาน ให้เป็นไปตามแผน ปฏิบัติการของศาสนสถาน ๙. ดำเนิ น การตามแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถานในโครงการ ลานบุญ ลานปัญญาที่รับผิดชอบให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ๑๐. แต่ ง ตั้ ง คณะทำงานเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ การปฏิ บั ติ ง านตามที่ เ ห็ น สมควร ๑๑. ให้ ก ารสนั บ สนุ น ประธานสภาลานบุ ญ ลานปั ญ ญาในการ จัดเสวนาในสภาลานบุญ ลานปัญญาเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาของชุมชน และแก้ ไขปัญหาของชุมชน ๑๒. มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายโครงการลานบุญ ลานปัญญา ของศาสนสถานอย่างถูกต้องและเป็นระบบ ตามคำแนะนำของจังหวัดตามแบบ ลานบุญฯ ๑๐ และจัดทำบัญชีทะเบียนคุมเงินการใช้จ่ายงบประมาณตามแผน ปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน ตามแบบลานบุ ญ ฯ ๑๑ ซึ่ ง ศาสนสถานจะต้ อ ง มอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย รายวัน

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

73


๑๓. จัดบุคลากรคนในชุมชนให้เพียงพอในการทำหน้าที่ดูแลความ เรียบร้อยของโครงการ ดูแลความสะอาดรอบบริเวณ ห้องน้ำ ห้องสุขา และสิ่ง อำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนปรับสภาพสถานที่ที่จะใช้จัดกิจกรรมเท่าที่ จำเป็น ๑๔. จัดทำป้ายตารางกิจกรรมและป้ายเชิญชวนประชาชนรอบชุมชน มาร่วมงานต่างๆ ติดประกาศให้ประชาชนเห็นได้อย่างชัดเจน ๑๕. จัดทำป้ายโครงการลานบุญ ลานปัญญาของแต่ละชุมชน ติดตั้ง ที่หน้าศาสนสถานนั้นๆ ๑๖. มีการดำเนินการร่วมกับพระภิกษุ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน จัด โครงการต่าง ๆ ในศาสนสถานตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน อย่างต่อ เนื่องตลอดปี ๑๗. มีการประสานงานเชิญชวนคนในชุมชน เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมของศาสนสถานต่างๆ ให้ดำเนินการไปได้ด้วย ความเรียบร้อย เช่น ร่วมสนับสนุนอาหาร น้ำดื่ม และการบริการต่าง ๆ เป็นต้น ๑๘. มี ก ารประชาสั ม พั น ธ์ ก ารจั ด โครงการในรู ป แบบต่ า ง ๆ เพื่ อ เผยแพร่ โครงการของศาสนสถานต่อสาธารณชน ๑๙. ตรวจติดตามการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาของ ศาสนสถานที่รับผิดชอบ และร่วมแก้ ไขปัญหาตามสถานการณ์ ๒๐. รายงานสรุปผลการดำเนินการโครงการในแผนปฏิบัติการของ ศาสนสถานที่รับผิดชอบ เป็นรายไตรมาส รวมทั้งประมวลสรุปผลในภาพรวม รายปีเสนอจังหวัด ตามแบบติดตามและรายงานผลของกรมการศาสนาแบบ ลานบุญฯ ๖ ๒๑. ศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการฯ เก็บรวบรวมจำนวนประชาชน ที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญาทุกโครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติการ ของศาสนสถาน รวมจำนวนประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมต่อเดือน

74

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๒๒. ศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการฯ ประเมินผลลัพธ์เชิงคุณภาพ จากประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม ตามแบบประเมินความพึงพอใจและ ความรู้ความเข้าใจหลักธรรมทางศาสนาแบบลานบุญฯ ๙ โดยคำแนะนำของ จังหวัด ๒๓. ศาสนสถานที่ เ ข้ า ร่ ว มโครงการฯ เก็ บ รวบรวมและจดบั น ทึ ก “ธนาคารความดี” ของชุมชนตามแบบลานบุญ ๘ เพื่อบันทึกความดีของคนใน ชุมชนที่มีความเสียสละต่อส่วนรวม

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร โครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัด ๑. คณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัด ประชุมพิจารณาศาสนสถานที่ควรได้รับการคัดเลือกครั้งที่ ๑ โดยให้กรรมการ ร่วมเสนอรายชื่อศาสนสถาน ๒. คณะกรรมการฯ มอบหมายให้เลขานุการหรือกรรมการ ใน คณะกรรมการฯ จังหวัด ไปประชุมหารือกับผู้นำศาสนสถานและผู้นำชุมชน ในศาสนสถานที่ผ่านการพิจารณารอบแรก และหากศาสนสถานใดมีความพร้อม และยินดีเข้าร่วมโครงการฯ ให้ผู้นำศาสนสถานลงนามในแบบแสดงความจำนง เข้าร่วมโครงการฯ ตามแบบลานบุญฯ ๑ ๓. คณะกรรมการฯ จัดประชุมคัดเลือกศาสนสถานที่จะเข้าร่วม โครงการฯ ครั้ ง ที่ ๒ เพื่ อ ลงมติ คั ด เลื อ กศาสนสถาน ตามบั ญ ชี จ ำนวน ศาสนสถานที่กรมการศาสนากำหนด โดยพิจารณาแบบแสดงความจำนงของ ศาสนสถานตามแบบลานบุญฯ ๑ และตรวจสอบความพร้อมของศาสนสถาน เป้าหมายตามข้อมูล ตามแบบลานบุญฯ ๒

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

75


๔. คณะกรรมการฯ รายงานผลการคัดเลือกศาสนสถานตามแบบ ลานบุ ญ ๓ ให้ ก รมการศาสนาประกาศ พร้ อ มแนบรายงานการประชุ ม คณะกรรมการฯ ๕. คณะกรรมการฯ กำกับ ดูแลคณะกรรมการดำเนินการโครงการ ลานบุ ญ ลานปั ญ ญาประจำศาสนสถานในการจั ด ทำแผนปฏิ บั ติ ก ารของ ศาสนสถาน และการจัดทำ “ข้อตกลงของชุมชน” ๖. คณะกรรมการฯ รวบรวมกลั่นกรองให้ความเห็นชอบและอนุมัติ แผนปฏิบัติการของศาสนสถานและนำส่งกรมการศาสนา ๗. คณะกรรมการฯ กำกับดูแลเรื่องทั่ว ๆ ไป ในการบริหารจัดการ โครงการลานบุญ ลานปัญญาของจังหวัด ๘. คณะกรรมการฯ กำกั บ ดู แ ลและดำเนิ น การร่ ว มกั บ ผู้ น ำ ศาสนสถานและคนในชุมชน ตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน (แผนกิจกรรม ของชุ ม ชน) อย่ า งใกล้ ชิ ด เพื่ อ ให้ ค ำปรึ ก ษา เสนอแนะในเรื่ อ งการใช้ จ่ า ย งบประมาณเพื่อความถูกต้อง ๙. คณะกรรมการฯ กำกับดูแลและให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการ ดำเนินการโครงการฯ ประจำศาสนสถาน ในการจัดโครงการของศาสนสถาน ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถานนั้นๆ และให้สามารถดำเนินการ อย่างต่อเนื่องตลอดไปและร่วมแก้ ไขปัญหาตามสถานการณ์ ให้ทันท่วงที ๑๐. คณะกรรมการฯ ติ ด ตามประเมิ น ผลและรวบรวมผลการ ดำเนินงานในแผนปฏิบัติการของศาสนสถานภายในจังหวัด และมอบหมาย ให้ ส ำนั ก งานวั ฒ นธรรมจั ง หวั ด รายงานผลเป็ น รายไตรมาสและรายปี ให้กรมการศาสนาทราบ ตามแบบติดตามและรายงานผลระดับจังหวัดของ กรมการศาสนา ตามแบบลานบุญฯ ๗

76

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


บทบาทหน้าที่ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ขอความร่วมมือสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป็นศูนย์กลางบริหาร จัดการโครงการลานบุญ ลานปัญญาของจังหวัดตามจำนวนที่กำหนด โดยมี บทบาทหน้าที่ ดังนี้ ๑. ประสานงานกั บ ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด เพื่ อ ดำเนิ น การแต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการ จั ง หวั ด เป็ น ประธานและมี วั ฒ นธรรมจั ง หวั ด เป็ น เลขานุ ก าร และให้ จั ด ตั้ ง ศูนย์ประสานงานโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัด โดยมีวัฒนธรรมจังหวัด เป็นหัวหน้าศูนย์และมีเจ้าหน้าที่วัฒนธรรมจังหวัด ๑ คน เป็นผู้ประสานงาน ในภาพรวมของโครงการฯ ๒. เป็นเลขานุการและจัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ เพื่อพิจารณาศาสนสถานที่ควรได้การรับการคัดเลือกครั้งที่ ๑ โดยให้กรรมการ ร่วมเสนอรายชื่อศาสนสถาน ๓. ในฐานะเลขานุการในคณะกรรมการฯ ทำหน้าที่ประสานงาน และหารือกับผู้นำศาสนสถานและผู้นำชุมชนในศาสนสถานที่ผ่านการพิจารณา รอบแรก และหากศาสนสถานใดมี ค วามพร้ อ มและยิ น ดี เ ข้ า ร่ ว มโครงการฯ ให้ผู้นำศาสนสถานลงนามในแบบแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการฯ ตามแบบ ลานบุญฯ ๑ ๔. เป็นเลขานุการในการประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อคัดเลือก ศาสนสถานที่ จ ะเข้ า ร่ ว มโครงการฯ ตามบั ญ ชี ที่ ก รมการศาสนากำหนด โดยพิจารณาแบบแสดงความจำนงของศาสนสถานตามแบบลานบุญฯ ๑ และ ตรวจสอบความพร้อมของศาสนสถานเป้าหมายตามข้อมูลตามแบบลานบุญฯ ๒ ๕. ให้จังหวัดรายงานผลการคัดเลือกศาสนสถานตามแบบลานบุญ ๓ ให้กรมการศาสนาประกาศรายชื่อศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมแนบ รายงานการประชุมคณะกรรมการฯ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

77


๖. จั ง หวั ด จั ด ทำรายละเอี ย ดทะเบี ย นข้ อ มู ล ศาสนสถาน และ รายชื่อผู้นำศาสนสถานส่งกรมการศาสนา ๗. จังหวัดดำเนินการตามกระบวนการปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชน เข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มจั ด ตั้ ง ประธานและรองประธานสภาชุ ม ชน และร่ ว มเสนอ รายชื่อคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญฯ ประจำศาสนสถาน และ ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการของศาสนสถานและข้อตกลงของชุมชนเพื่อความ ยั่งยืนของโครงการฯ ๘. ประสานงานกั บ ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด เพื่ อ ดำเนิ น การแต่ ง ตั้ ง

คณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน ศาสนสถานละ ๑ คณะ และประธานและรองประธานสภาลานบุญ ลานปัญญา เพื่อให้การดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ๙. กำกั บ ดู แ ลและร่ ว มกั บ คณะกรรมการดำเนิ น การโครงการ ลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน จัดทำแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน จัดทำ “ข้อตกลงของชุมชน” ประจำศาสนสถานนั้นๆ ๑๐. ในฐานะเลขานุการในคณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปั ญ ญาจั ง หวั ด รวบรวมแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน นำเสนอ คณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัด ให้ความเห็นชอบ และอนุมัติให้ศาสนสถานนำไปดำเนินการตามแผนฯ และนำส่งกรมการศาสนา ๑๑. ให้จังหวัดจัดทำแผนตรวจติดตามโครงการลานบุญ ลานปัญญา ของจังหวัด และแผนการควบคุมการใช้จ่ายเงินของจังหวัดและศาสนสถาน ๑๒. ให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป็นหน่วยเบิกจ่ายงบประมาณ เป็ น ค่ า ดำเนิ น การบริ ห ารโครงการลานบุ ญ ลานปั ญ ญา เป็ น ค่ า จั ด ประชุ ม ผู้เกี่ยวข้องและคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับจังหวัด เพื่อคัดเลือก ศาสนสถานและติดตามความก้าวหน้าของโครงการลานบุญ ลานปัญญาในระดับ จังหวัด เป็นค่าประชาสัมพันธ์ขับเคลื่อนโครงการฯ ค่าพาหนะเดินทางสำหรับ

78

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


เจ้าหน้าที่ ไปติดตามความก้าวหน้าของโครงการฯ และเป็นค่าจัดทำเอกสารสรุป ผลการดำเนินงานและรายงานผลเป็นรายไตรมาส/รายปี และอีกส่วนหนึ่ง เป็นงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนให้ศาสนสถาน เพื่อให้ศาสนสถานที่เข้าร่วม โครงการลานบุญ ลานปัญญานำไปดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมตามแผน ปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน โดยให้ จั ง หวั ด กำกั บ ติ ด ตามการใช้ ง บประมาณ ให้ถูกต้องตามระเบียบของกระทรวงการคลังพร้อมเก็บหลักฐานไว้ที่จังหวัดและ กำกับดูแลตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการของ ศาสนสถานและเป้าหมายของโครงการให้ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ ๑๓. ให้จังหวัดเป็นศูนย์กลางอำนวยการบริหารจัดการศาสนสถานที่ เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญาภายในจังหวัด และกำกับดูแลเรื่องทั่ว ๆ ไป ในการบริหารจัดการโครงการลานบุญ ลานปัญญาในภาพรวมของทั้งจังหวัด ๑๔. ให้จังหวัดกำกับดูแลและร่วมดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของ ศาสนสถาน (แผนกิจกรรมของชุมชน) อย่างใกล้ชิดโดยร่วมกับผู้นำศาสนสถาน และคนในชุมชน เพื่อให้คำปรึกษา เสนอแนะในเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อความถูกต้อง ๑๕. ให้จังหวัดมอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด คอยดูแลให้ความช่วยเหลือแก่ศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา อย่างใกล้ชิด ๑๖. ให้จังหวัดในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการฯ จั ง หวั ด กำกั บ ดู แ ลและให้ ค ำปรึ ก ษาแก่ ค ณะกรรมการดำเนิ น การโครงการฯ ประจำศาสนสถาน ในการจัดทำโครงการของศาสนสถานให้เป็นไปตามแผน ปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถานนั้ น ๆ และให้ ส ามารถดำเนิ น การอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ตลอดไปและร่วมแก้ ไขปัญหาตามสถานการณ์ ให้ทันท่วงที ๑๗. ให้เจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดที่รับผิดชอบในแต่ละ ศาสนสถาน ทำหน้าที่จัดการประชุมหรือเข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการดำเนิน การโครงการฯ ประจำศาสนสถาน และดูแลร่วมกับประธานและรองประธาน แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

79


สภาลานบุญ ลานปัญญาในเวทีประชาคม ในฐานะเป็นเลขานุการคณะกรรมการ ดังกล่าว ๑๘. ให้จังหวัดติดตามประเมินผลและรวบรวมผลการดำเนินงานตาม แผนปฏิบัติการของศาสนสถานภายในจังหวัด รายงานเป็นรายไตรมาสและ รายปี ให้กรมการศาสนาทราบตามแบบติดตามและรายงานผลระดับจังหวัดของ กรมการศาสนา ตามแบบลานบุญฯ ๗ ๑๙. ให้จังหวัดตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) เป็นการตรวจสอบที่เน้นผลของการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างดำเนินการ หรื อ ที่ แ ล้ ว เสร็ จ ว่ า เป็ น ไปตามวั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละเป้ า หมายที่ ก ำหนดไว้ ใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม รวมทั้งความมีประสิทธิภาพและสมประโยชน์ โดยให้ความสำคัญกับผลงานที่เกิดขึ้นทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ และการใช้ ทรัพยากร ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด ๒๐. ให้จังหวัดร่วมกับศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการฯ เก็บรวบรวม จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญาทุกโครงการ/กิจกรรม ในแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถานทุ ก แห่ ง ภายในจั ง หวั ด ให้ ได้ จ ำนวนตาม เป้าหมาย ๒๑. ให้ จั ง หวั ด ร่ ว มกั บ ศาสนสถานที่ เ ข้ า ร่ ว มโครงการฯ ประเมิ น ผลลัพธ์เชิงคุณภาพจากประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมตามแบบประเมิน ความพึงพอใจและความรู้ความเข้าใจหลักธรรมทางศาสนาแบบลานบุญฯ ๙ ๒๒. ให้ จั ง หวั ด ให้ ค ำแนะนำแก่ ศ าสนสถานที่ เ ข้ า ร่ ว มโครงการฯ ในการจัดเก็บรวบรวมและจดบันทึก “ธนาคารความดี” ของชุมชนตามแบบ ลานบุญฯ ๘ เพื่อบันทึกความดีของคนในชุมชนที่มีความเสียสละต่อส่วนรวม

บทบาทหน้าที่ของกรมการศาสนา ๑. จัดตั้งคณะที่ปรึกษา ๕ ศาสนา ๒. จัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงานโครงการลานบุญ ลานปัญญา และแบบรายงานต่าง ๆ

80

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๓. จัดประชุมชี้แจงโครงการลานบุญ ลานปัญญาให้แก่สำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัด ๗๕ จังหวัด ๔. ประกาศรายชื่อศาสนสถานที่ ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ลานบุญ ลานปัญญา ๕. จัดทำหนังสือทะเบียนรายชื่อศาสนสถาน พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับ ศาสนสถานที่ร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา ๖. จัดประชุมผู้นำศาสนสถานทั่วประเทศ ๗. ดำเนิ น การประชาสั ม พั น ธ์ โ ครงการลานบุ ญ ลานปั ญ ญา หลากหลายรูปแบบ ๘. รวบรวมแผนปฏิบัติการของศาสนสถานทั่วประเทศ ๙. จั ด ทำแผนติ ด ตามการดำเนิ น งานของศาสนสถานตามแผน ปฏิบัติการของศาสนสถานในภาพรวม ๑๐. กำกั บ ติ ด ตามจั ง หวั ด และศาสนสถานให้ ด ำเนิ น การตามแผน ปฏิบัติการของศาสนสถาน และประมวลผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายเงิน ภาพรวมทุกจังหวัด ๑๑. รายงานผลรายไตรมาส/ปี ต่อสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจ

และสั ง คมแห่ ง ชาติ / กรมบั ญ ชี ก ลาง/สำนั ก บริ ห ารหนี้ ส าธารณะ/สำนั ก งบประมาณ โดยผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโครงการตามแผนปฏิบัติการ ไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ พร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือและจัดทำเอกสารส่งสำนักงบประมาณ

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานองค์กรในทุกภาคส่วนของชุมชน การดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา ตามแผนปฏิบัติการ ของศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากจะมีคณะกรรมการดำเนินการ โครงการลานบุญฯ ประจำศาสนสถานที่จะเป็นผู้นำในการดำเนินการแล้ว ยังมี ความจำเป็นที่จะต้องให้ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินการตามบทบาท

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

81


หน้าที่ของตนในฐานะที่เป็นเจ้าของชุมชน เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มีการธำรงรักษาสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ มีการพลิกฟื้น

วิถีชีวิตดั้งเดิมของไทยที่ดีงามให้คืนกลับมาสู่ชุมชน ให้คนในชุมชนมีความรัก สามัคคี ยึดมั่นในคุณธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยมีองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐในตำบล/หมู่บ้าน (เกษตรตำบล, อาสาสมัคร สาธารณสุข, พัฒนาการตำบล, กำนัน, ผู้ ใหญ่บ้าน ฯลฯ) หน่วยงานภาคเอกชน องค์กรมูลนิธิต่าง ๆ ให้ความร่วมมือกับศาสนสถานในการดำเนินการโครงการ/ กิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคองค์กรท้องถิ่นและ ภาคประชาสังคมในพื้นที่ ด้วยการนำโครงการ/กิจกรรมนั้นๆ บรรจุลงหรือ แทรกอยู่ ในแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน และให้มีการดำเนินงาน โครงการ/ กิจกรรมนั้นๆ ภายใต้คณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญฯ ประจำศาสนสถาน อั น เป็ น การบู ร ณาการการทำงานร่ ว มกั น ทั้ ง ชุ ม ชนให้ ค นในชุ ม ชนมี ส่ ว นร่ ว ม เป็นเจ้าของร่วมกัน โดยหน่วยงานองค์กรในทุกภาคส่วนของชุมชนมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ ๑. ให้ทุกภาคส่วนในชุมชนทั้งภาครัฐและภาคประชาชนมีส่วนร่วม ในการจัดทำแผนปฏิบัติการของศาสนสถานโดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ควรบรรจุ โ ครงการ/กิ จ กรรมของหน่ ว ยงานของตนที่ รั บ ผิ ด ชอบลงในแผน ดังกล่าวตามความต้องการของคนในชุมชน และให้หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ดำเนินการโครงการต่าง ๆ ในศาสนสถานภายใต้แผนปฏิบัติการของศาสนสถาน นั้น ๆ ๒. ให้ มี ก ารบู ร ณาการการทำงานร่ ว มกั บ ศาสนสถานที่ เ ข้ า ร่ ว ม โครงการลานบุญ ลานปัญญา โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ๓. ให้ ก ารสนั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม คณะกรรมการดำเนิ น การโครงการ ลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน ในการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมที่ เป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชน

82

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๔. ให้ทุกภาคส่วนในชุมชน ให้การสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมตาม แผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถานให้ ส ำเร็ จ ลุ ล่ ว งตามวั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ ให้ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักในการมีศาสนาเป็นเครื่องชี้นำชุมชน และสั ง คม ฟื้ น ฟู แ ละส่ ง เสริ ม ศิ ล ปวั ฒ นธรรมขนบธรรมเนี ย มประเพณี แ ละ เอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป ๕. ให้ภาคเอกชนให้ความร่วมมือในการสนับสนุนอุดหนุนงบประมาณ ในโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถานให้คนในชุมชนได้รับ การพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๖. ให้ ทุ ก ภาคส่ ว นในชุ ม ชนร่ ว มมื อ ให้ ก ารสนั บ สนุ น โครงการ/ กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน เพื่อพัฒนาจิตใจสร้างสุขภาพจิต ให้คนในชุมชนมีความเข้มแข็ง ยึดมั่นในคุณธรรม นอกเหนือจากการพัฒนาทาง ด้านร่างกายให้แข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อให้มีชีวิต

และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ๗. ให้ ทุ ก ภาคส่ ว นในชุ ม ชน ให้ ก ารสนั บ สนุ น โครงการ/กิ จ กรรม ตามแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน เพื่ อ ให้ ศ าสนสถานเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ให้ประชาชนมีการรวมตัวกันเพื่อการเรียนรู้ พัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดการผลิต การบริการ การหมุนเวียนของเงินและการสร้างงานตาม แนวทาง “เศรษฐกิจพอเพียง” พร้อมไปกับการเรียนรู้ ในหลักธรรมทางศาสนา เพื่ อ ให้ ชุ ม ชนสามารถพึ่ ง ตนเองได้ และดำรงอยู่ อ ย่ า งมั่ น คงถึ ง แม้ จ ะมี ก าร เปลี่ยนแปลงจากภายนอกและภายในชุมชน ๘. ให้ทุกภาคส่วนในชุมชน ให้การสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมตาม แผนปฏิบัติการของศาสนสถาน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน เสริมสร้างและพัฒนาคนในชุมชน ให้มีความรู้ ในการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

83


น่าอยู่ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดิน และจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสียตามหลักสุขาภิบาลอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ ๙. ให้ ทุ ก ภาคส่ ว นในชุ ม ชน ให้ ก ารสนั บ สนุ น โครงการ/กิ จ กรรม ตามแผนปฏิ บั ติ ก ารของศาสนสถาน เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ อ งค์ ก รประชาชน องค์กรเอกชน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

84

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ภาคผนวก


ลานบุญฯ ๑

แบบแสดงความจำนงของศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา

ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ส่วนที่ ๑ การแสดงความจำนงของผู้นำศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการ ๑. ข้าพเจ้า...........................................................ตำแหน่ง..................................................................... ชื่อศาสนสถาน................................................หมู่บ้าน..................หมู่ที่.............ถนน......................... ตำบล/แขวง....................................................อำเภอ/เขต................................................................. จังหวัด............................................................รหัสไปรษณีย์.............................................................. หมายเลขโทรศัพท์................................โทรสาร................................อีเมล........................................ ๒. ขอเข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ.................................................... ๓. รายชื่อสมาชิกในจะเข้าร่วมบริหารโครงการนี้ประกอบด้วย ๓.๑ (นาย/นาง/นางสาว)...............................นามสกุล............................ตำแหน่ง........................ ๓.๒ (นาย/นาง/นางสาว)...............................นามสกุล............................ตำแหน่ง........................ ๓.๓ (นาย/นาง/นางสาว)...............................นามสกุล............................ตำแหน่ง........................ ๓.๔ (นาย/นาง/นางสาว)...............................นามสกุล............................ตำแหน่ง........................ ๓.๕ (นาย/นาง/นางสาว)...............................นามสกุล............................ตำแหน่ง........................ ๔. จำนวนสมาชิกในชุมชนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมมีประมาณ..........................คน ๕. จำนวนสมาชิกรอบชุมชนใกล้เคียงที่จะเข้าร่วมกิจกรรมมีประมาณ..........................คน ๖. ความสามารถและความพร้อมของผู้นำและคนในชุมชน ๖.๑ คนในชุมชนมีความพร้อมและยินดีจะดำเนินการโครงการนี้อย่างต่อเนื่องตลอดไป ๖.๒ ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถทำงานและบริหารโครงการกับทุกกลุ่มในชุมชน ๖.๓ คนในชุมชนสามารถรวมกลุ่มจัดกิจกรรมเพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนให้ยึดมั่นในคำสอนของ ศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรมและมีวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ดีงามและตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ๖.๔ คนในชุมชนผู้รับผิดชอบกิจกรรมสามารถดำเนินการ/ติดตามประเมินผล/รายงานผล ๖.๕ ผู้นำและคนในชุมชนสามารถจัดทำและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ๖.๖ ผู้นำชุมชนสามารถบริหารการเงินและจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ๗. ความพร้อมของผู้นำศาสนสถานและศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา ดังนี้ ๗.๑ ผู้นำศาสนสถานรับทราบเข้าใจในหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการดังกล่าวเป็นอย่างดี ๗.๒ ยินดีรับผิดชอบในการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวเพื่อให้ ได้เป้าหมายตามที่ทาง ราชการกำหนด

86

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๗.๓ ยินดีปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของโครงการลานบุญ ลานปัญญาทุกประการโดยเคร่งครัด ๗.๔ ยินดีที่จะเข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญาโดยไม่มีเงื่อนไข ๗.๕ ยินดีติดตามประเมินผลการดำเนินงานทุกกิจกรรมในแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ๗.๖ ยินดีรายงานผลต่อจังหวัดเป็นรายไตรมาส และสรุปทั้งปี ตามแบบรายงานผลระดับชุมชน ลานบุญฯ ๖ ๗.๗ ยินยอมให้จังหวัดเพิกถอนหรือตัดสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการฯได้ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ

ข้าพเจ้า ขอรับรองว่า ศาสนสถานนี้มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ของ ศาสนสถาน ที่จะเข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา และข้อความดังกล่าวข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ โดยมีความยินดีที่จะเข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน

ลงชื่อ..................................................................... (...................................................................) ตำแหน่ง................................................................ (ผู้นำศาสนสถาน) ลงชื่อ...........................................................พยาน (...................................................................) (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือ.................) ลงชื่อ...........................................................พยาน (...................................................................) (กำนัน/ผู้ ใหญ่บ้านหรือ........................................) วันที่ .........เดือน...........................พ.ศ. ๒๕๕.......

ส่วนที่ ๒ ความเห็นของคณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัด

เห็นสมควรให้เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญาตามที่แสดงความจำนง ไม่เห็นสมควร เนื่องจาก.......................................................................................................... ลงชื่อ............................................................................. (...................................................................) ผู้ว่าราชการจังหวัด..................................... ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัด............. วันที่ .........เดือน..........................พ.ศ. .............. แนวทางการดำเนินงาน โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

87


ลานบุญฯ ๒

แบบตรวจสอบความพร้อมของศาสนสถานที่ร่วมในโครงการลานบุญ ลานปัญญา

ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ แบบตรวจสอบนี้เป็นแบบประเมินความพร้อมของศาสนสถานที่จะเข้าร่วมโครงการลานบุญ

ลานปัญญา แบ่งเป็น ๒ ด้าน มีทั้งหมด ๑๖ ข้อ เพื่อให้จังหวัดได้ ใช้เป็นแนวทางในการประเมิน

ความพร้อมร่วมกับชุมชน เพื่อคัดเลือกศาสนสถานที่เหมาะสมที่สุดที่จะเข้าร่วมโครงการฯ โปรดทำเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ท่านเลือกตามสภาพที่เป็นจริง ตัวชี้วัดความพร้อม ก. ด้านความพร้อมของศาสนสถาน ๑. บริเวณศาสนสถานมีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอสามารถรองรับ ประชาชนในชุมชนมาใช้บริการในการจัดกิจกรรม ๒. เป็นศาสนสถานที่สามารถจัดกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี ๓. เป็นศาสนสถานที่เป็นศูนย์กลางของคนในชุมชน (มีประชาชน โดยรอบจำนวนมาก) ๔. เป็นศาสนสถานที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอและอยู่ ในสภาพ ใช้การได้ดี ๕. ผู้นำศาสนสถานมีความเข้าใจและยินดีเข้าร่วมโครงการและอนุญาต ให้ ใช้ศาสนสถานจัดกิจกรรมด้วยความเต็มใจ ๖. ผู้นำศาสนสถานเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน ๗. ผู้นำศาสนสถานมุ่งมั่นและมีความตั้งใจจริงที่จะเข้าร่วมโครงการ ๘. ผู้นำศาสนสถานมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อทุกองค์กร ๙. ผู้นำศาสนสถานมี วิสัยทัศน์ และภาวะความเป็นผู้นำ

88

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

ระดับการตรวจสอบ ผ่าน ไม่ผ่าน เหตุผล


ตัวชี้วัดความพร้อม

ระดับการตรวจสอบ ผ่าน ไม่ผ่าน เหตุผล

ข. ด้านความพร้อมของชุมชน ๑๐. ผู้นำชุมชนตามธรรมชาติมีความเข้มแข็งสามารถทำงานร่วมกับ

ศาสนสถาน และชุมชน ๑๑. จำนวนสมาชิกในชุมชนมีมากพอที่จะจัดกิจกรรมร่วมกัน ๑๒. คนในชุมชนมีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับศาสนสถาน ๑๓. คนในชุมชนมีจิตสำนึกที่จะร่วมกันพัฒนาชุมชนของตนเองให้ดีขึ้น ๑๔. คนในชุมชนชื่นชอบในโครงการนี้ว่ามีประโยชน์ต่อคนในชุมชน ๑๕. คนในชุมชนยินดีสละเวลาอุทิศตนเพื่อสานต่อโครงการนี้ตลอดไป ๑๖. คนในชุมชนพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อการดำเนินงานในโครงการฯ ผลรวมของคะแนน หมายเหตุ ค่าคะแนน “ผ่าน” สูงกว่า ๗๕% ควรได้รับการคัดเลือกมากที่สุด ค่าคะแนน “ผ่าน” เท่ากับ ๖๐-๗๕% ควรได้รับการคัดเลือกมาก ค่าคะแนน “ผ่าน” เท่ากับ ๕๐-๕๙% ควรได้รับการคัดเลือกน้อย

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

89


ลานบุญฯ ๓

แบบรายงานผลและนำเสนอรายชื่อศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา

ของจังหวัด..........ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ส่วนที่ ๑ การคัดเลือกศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการ ๑. ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งที่.............แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญา จังหวัด............................................ลงวันที.่ .......เดือน.................พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกอบด้วยจำนวน คณะกรรมการ รวม...........คน ๒. ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ จังหวัด ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่.......เดือน.......พ.ศ. ๒๕๕๔ จำนวนผู้เข้าประชุม.........คน เพื่อชี้แจงความเป็นมาของโครงการลานบุญ ลานปัญญาและให้ คณะกรรมการฯ นำเสนอรายชื่อศาสนสถานที่เห็นสมควรเข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา และมอบหมายให้คณะกรรมการฯ ไปประสานงานและประชุมหารือกับผู้นำศาสนสถานและ ผู้ น ำชุ ม ชนเพื่ อ ประเมิ น ความพร้ อ ม รวมทั้ ง ให้ ศ าสนสถานแสดงความจำนงที่ จ ะเข้ า ร่ ว ม โครงการฯ ตามแบบลานบุญฯ ๑ ๓. คณะกรรมการบริหารโครงการฯ จังหวัดได้ ไปประชุมหารือกับผู้นำศาสนสถานและผู้นำชุมชน เพื่อประเมินความพร้อมแล้ว จำนวน.............ศาสนสถาน และมีศาสนสถานที่สนใจและได้ลงนาม แสดงความจำนงที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ตามแบบลานบุญ ๑ จำนวนศาสนสถาน..................แห่ง ๔. ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ จังหวัด ครั้งที่ ๒ เพื่อคัดเลือกศาสนสถานที่จะเข้าร่วม โครงการลานบุญ ลานปัญญา เมื่อวันที่......เดือน.......พ.ศ. ๒๕๕๔ จำนวนผู้เข้าประชุม.........คน โดยได้จัดทำรายงานการประชุมดังแนบ ๕. ผลการคัดเลือกศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการ - ผลการคัดเลือกได้ศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน..............แห่ง พร้อมแนบสำเนาแบบแสดงความจำนงของศาสนสถานตามแบบลานบุญฯ ๑ ของกรมการศาสนา จำนวน..............ฉบับ - เป็นวัด.....................แห่ง มัสยิด..................แห่ง โบสถ์คริสต์................แห่ง ศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู...........แห่ง ศาสนสถานของศาสนาซิกข์...........แห่ง

90

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ส่วนที่ ๒ รายชื่อศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา รายชื่อศาสนสถาน

รายชื่อผู้นำศาสนสถาน

สถานที่ตั้ง

ประวัติศาสนสถานโดยย่อ

.......................... ➢ ชื่อ................................... เลขที่......................... ➢ ประวัติความเป็นมา .......................... ➢ ประวัติผู้นำศาสนสถาน หมู่บ้าน...................... ...................................... .......................... ......................................... หมู่ที่........................... ➢ สิ่งสำคัญในศาสนสถาน ภาพถ่ายจำนวน ......................................... ถนน........................... ...................................... ๓ ภาพ ดังแนบ ......................................... ตำบล........................ ➢ กิจกรรมที่ดำเนินการ ➢ ผลงาน............................. อำเภอ....................... ...................................... ......................................... จังหวัด...................... ➢ จำนวนประชาชนที่เข้า

......................................... รหัสไปรษณีย์............ ร่วมกิจกรรมในปัจจุบัน

.............คน ......................................... โทรศัพท์ .................................. ➢ จำนวนสมาชิกในชุมชน ที่จะร่วมบริหารโครงการ โทรสาร .................................. ลานบุญฯ........คน อีเมล......................... ➢ จำนวนประชาชนที่เข้า

ร่วมกิจกรรมในโครงการ ลานบุญฯ........คน

หมายเหตุ จำนวนศาสนสถานให้เป็นไปตามบัญชีจำนวนศาสนสถานโครงการลานบุญ ลานปัญญา แต่ละจังหวัด ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

ลงชื่อ.............................................................................ผู้รายงาน (...........................................................................) ตำแหน่ง......................................................................... วันที่............เดือน..........................พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงชื่อ.............................................................................ผู้รับรองรายงาน (...........................................................................) ตำแหน่ง วัฒนธรรมจังหวัด......................................... วันที่............เดือน..........................พ.ศ. ๒๕๕๔ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

91


92

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

๑. ชื่อผู้นำศาสนสถาน....................................................................................................................................โทร. ..................................................... ๒. สถานที่ตั้งของศาสนสถาน เลขที่..................................ตำบล..................................อำเภอ....................................จังหวัด................................... ๓. หลักการและเหตุผล................................................................................................................................................................................................. ๔. ความมุ่งหมายของศาสนสถานที่เข้าร่วมโครงการลานบุญ ลานปัญญา ๔.๑ ...................................................................................................................................................................................................................... ๔.๒ ...................................................................................................................................................................................................................... ๔.๓ ...................................................................................................................................................................................................................... ๔.๔ ...................................................................................................................................................................................................................... ๕. จำนวนโครงการที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๔ จำนวน ............................โครงการ มีผู้รับผิดชอบโครงการ รวม.....................คน ๖. จำนวนงบประมาณที่ ใช้ดำเนินการในปี ๒๕๕๔ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น.............................บาท ขอรับการสนับสนุน จำนวน................โครงการ เป็นเงินจำนวน...........................บาท ๗. เป้าหมาย มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ รวมทุกโครงการ กำหนดไว้เดือนละ..............คน ตลอด ๗ เดือน (มีนาคม-กันยายน ๒๕๕๔) จำนวน ............คน ๘. ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมีนาคม-กันยายน ๒๕๕๔ ๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ๙.๑ ...................................................................................................................................................................................................................... ๙.๒ ...................................................................................................................................................................................................................... ๙.๓ ...................................................................................................................................................................................................................... ๙.๔ ...................................................................................................................................................................................................................... ๑๐. รายละเอียดของแผนงานและโครงการที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๔ มีตัวอย่างแผนและโครงการ ดังนี้

แผนปฏิบัติการของศาสนสถาน......................................

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ลานบุญฯ ๔


ตัวอย่างโครงการ ๑. เพื่อให้นักเรียน - ผอ. ทุกวันพระ ที่ ๑ นำนักเรียน ได้ประกอบพิธี โรง ของเดือน โรงเรียนวัด.......... ทางศาสนาได้ เรียน มีนาคม- เข้าวัดปฏิบัติธรรม ไหว้พระสวดมนต์ กันยายน ในวันพระ ฟังเทศน์ ถือศีล ๒๕๕๔ ตลอด ๗ เดือน ปฏิบัติธรรม ๒. เพื่อส่งเสริมให้ นักเรียนนำ หลักธรรมทาง พระศาสนาไป ปรับใช้ ในชีวิต ประจำวัน

แผนส่งเสริมคุณธรรมเด็กและเยาวชน - ๒ ครั้ง ครั้งละ ต่อ เดือน ๗๐๐ ๗ เดือน บาท รวม ๑๔ ครั้ง รวม ครั้งละ ๕๐๐ คน ๑๔ ครั้ง รวม ๑,๐๐๐ คน = ๙,๘๐๐ ต่อเดือน บาท ๗ เดือน ๗,๐๐๐ คน - นักเรียน สามารถนำ หลักธรรม ทางศาสนา ไปปรับใช้ ในชีวิต

เป้าหมาย ผู้รับ ระยะเวลาดำเนินการ ปี ๒๕๕๔ โครงการ วัตถุประสงค์ ระยะเวลา จำนวนคนที่เข้า ผิดชอบ งบประมาณ ที่ดำเนินการ ของโครงการ ดำเนินการ ร่วมโครงการ โครงการ ที่ ใช้ ผลลัพธ์เชิง มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. คุณภาพ ก.ย.

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

แนวทางการดำเนินงาน

93


94

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

ก.ย.

ลงชื่อ.............................................................................ผู้จัดทำแผนฯ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ (...........................................................................) ตำแหน่ง ผู้นำศาสนสถาน............................................ ประธานคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญา ประจำศาสนสถาน......................... วันที่............เดือน..........................พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงชื่อ.............................................................................ผู้อนุมัติให้ดำเนินการตามแผนฯ (...........................................................................) ตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด...................................... ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการลานบุญ ลานปัญญาจังหวัด..................................................... วันที่............เดือน..........................พ.ศ. ๒๕๕๔

โครงการที่ ๒......... ............................... โครงการที่ ๓........ ...............................

เป้าหมาย ผู้รับ ระยะเวลาดำเนิ นการ ปี ๒๕๕๔ โครงการ วัตถุประสงค์ ระยะเวลา จำนวนคนที่เข้า ผิดชอบ งบประมาณ ที่ดำเนินการ ของโครงการ ดำเนินการ ร่วมโครงการ โครงการ ที่ ใช้ ผลลัพธ์เชิง มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. คุณภาพ


ลานบุญฯ ๕

ข้อตกลงของชุมชน คณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน ชื่อศาสนสถาน.................ตำบล............ อำเภอ ...............จังหวัด............. “ข้อตกลงของชุมชน” เป็นส่วนหนี่งของการดำเนินการตามโครงการลานบุญ ลานปัญญา ของศาสนสถาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณธรรมของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นกลไกที่สำคัญ ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาคุณธรรมของชุมชนให้บรรลุผลตามที่ต้องการ โดยมุ่งเน้น

ที่การพัฒนาทั้งกายและจิตใจ ซึ่งรวมถึงค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงค์ ข้อตกลงของชุมชนจึงนับว่าเป็นสัญญาที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างศาสนสถานกับชุมชน อันเป็นการแสดงเจตจำนงของคนในชุมชนที่แน่วแน่ที่จะร่วมกันพัฒนาชุมชนให้มีคุณธรรมและบรรลุ เป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ตัวอย่าง ประกาศข้อตกลงของชุมชน ประจำปี ๒๕๕๔ โครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน…………………………….. คนในชุ ม ชนได้ พ ร้ อ มใจกั น จั ด ทำข้ อ ตกลงของชุ ม ชน และสั ญ ญาว่ า จะปฏิ บั ติ ต ามประกาศ ข้อตกลงของชุมชน ประจำปี ๒๕๕๔ ดังนี้ ๑. จะยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ๒. จะปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนทางศาสนา ๓. จะปฏิบัติตนตามคุณธรรม ๔ ประการ อันเป็นที่ตั้งของความรักความสามัคคี ๔. จะปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๕. จะยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและต่อต้านการทุจริต ๖. จะปฏิ บั ติ ต นตามสิ ท ธิ แ ละหน้ า ที่ ข องการเป็ น พลเมื อ งดี แ ละยึ ด มั่ น ในระบอบประชาธิ ป ไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ๗. จะร่วมเตรียมพร้อมรับสาธารณภัยหรืออุบัติภัยต่างๆ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ๘. จะร่วมธำรงรักษาสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรมไทย ๙. จะมีจิตสำนึกสาธารณะ ร่วมพัฒนา และสร้างสรรค์ความเจริญ ตลอดจนแก้ ไขปัญหาของชุมชน ประกาศ ณ วันที่..................................๒๕๕๔ ลงชื่อ.............................................. (......................................................) ประธานคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน...........................

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

95


ลานบุญฯ ๖

แบบรายงานผลการดำเนินงาน ประจำเดือน...............

ของคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน

แผนปฏิบัติการของศาสนสถาน (แผนกิจกรรมชุมชน) ชื่อศาสนสถาน.....................................ตำบล.................อำเภอ.....................จังหวัด..................... โปรดกรอกข้อความลงในช่องว่างตามผลการดำเนินการจริง ตอนที่ ๑. การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน (แผนกิจกรรมชุมชน) งบประมาณ จำนวนคนเข้าร่วม รายงานความก้าวหน้า งบที่ตั้งในแผน การดำเนินการ งบที่ คนเข้า ไม่ ได้ดำเนินการ หรืองบที่ ได้รับ ตามแผน ผลการดำเนินการ ใช้จ่ายจริง ร่วมจริง เหตุผล จัดสรร

จำนวนโครงการ/ กิจกรรมในแผนปฏิบัติ การของศาสนสถาน

การประชุมคณะกรรม การฯ ประจำศาสนสถาน ประจำเดือน (อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง) ก. โครงการตามแผน ปฏิบัติการของศาสนสถาน โครงการที่......... ชื่อโครงการ/กิจกรรม ......................................... โครงการที่......... ชื่อโครงการ/กิจกรรม .........................................

96

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


งบประมาณ จำนวนคนเข้าร่วม รายงานความก้าวหน้า งบที่ตั้งในแผน การดำเนินการ งบที่ คนเข้า ไม่ ได้ดำเนินการ หรืองบที่ ได้รับ ตามแผน ผลการดำเนินการ ใช้จ่ายจริง ร่วมจริง เหตุผล จัดสรร

โครงการที่......... ชื่อโครงการ/กิจกรรม .........................................

โครงการที่......... ชื่อโครงการ/กิจกรรม ......................................... ข. โครงการพิเศษที่ ไม่มี ในแผนปฏิบัติการ ของศาสนสถาน ชื่อโครงการ/กิจกรรม ......................................... ตอนที่ ๒ ข้อเท็จจริงที่พบและข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของศาสนสถาน ๒.๑ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ๒.๒ ปัจจัยเอื้อที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ๒.๓ สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจากจังหวัด ................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

97


ตอนที่ ๓ การประเมินผลโครงการ/กิจกรรมตามแบบประเมินความพึงพอใจและความรู้ทางศาสนา

ที่ประชาชนได้รับจากการเข้าร่วมโครงการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ก. ประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน (โปรดกรอกตัวเลขรวมที่ ได้จากการประเมินผลจากแบบประเมินความพึงพอใจและความรู้ทาง ศาสนาฯ ในแต่ละโครงการ) ผลการประเมิน ความพึงพอใจ

จำนวนคน ระดับความพึงพอใจ ที่เข้าร่วม โครงการ/ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย กิจกรรม

โครงการที่......... ชื่อโครงการ/กิจกรรม ................................................ โครงการที่......... ชื่อโครงการ/กิจกรรม ................................................ โครงการที่......... ชื่อโครงการ/กิจกรรม ................................................ โครงการที่......... ชื่อโครงการ/กิจกรรม ................................................ รวม คิดเป็นร้อยละ ร้อยละของประชาชน ที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม มีความพึงพอใจต่อโครงการ/ กิจกรรม

98

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

น้อยที่สุด


ข. ประเมินความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทางศาสนาที่ประชาชนได้รับจากการที่เข้าร่วม

โครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน (โปรดกรอกตัวเลขรวมที่ ได้จากการประเมินผลจากแบบประเมินความพึงพอใจและความรู้ทาง ศาสนาฯ ในแต่ละโครงการ) ผลการประเมินความรู ้ ความเข้าใจในหลักธรรม ทางศาสนา

จำนวนคน ระดับความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทางศาสนา ที่เข้าร่วม โครงการ/ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด กิจกรรม

โครงการที่......... ชื่อโครงการ/กิจกรรม ................................................ โครงการที่......... ชื่อโครงการ/กิจกรรม ................................................ โครงการที่......... ชื่อโครงการ/กิจกรรม ................................................ โครงการที่......... ชื่อโครงการ/กิจกรรม ................................................ รวม คิดเป็นร้อยละ ร้อยละของประชาชน ที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจใน หลักธรรมทางศาสนาต่อ โครงการ/กิจกรรม แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

99


ลงชื่อ.............................................................................ผู้รายงาน (...........................................................................) เลขานุการหรือกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน........................... วัน เดือน ปี......................................................... ลงชื่อ.............................................................................ผู้รับรองรายงาน (...........................................................................) ประธานคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน............................. วัน เดือน ปี.........................................................

100

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ลานบุญฯ ๗

แบบรายงานผลการบริหารงานโครงการลานบุญ ลานปัญญาของจังหวัด

กรมการศาสนา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ตอนที่ ๑ รายงานข้อมูลภาพรวมประจำเดือน........................................... จำนวนศาสนสถาน.......แห่ง จำนวนศาสนสถานของศาสนาพุทธ..........แห่ง จำนวนศาสนสถานของศาสนาอิสลาม..........แห่ง จำนวนศาสนสถานของศาสนาคริสต์..........แห่ง จำนวนศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ..........แห่ง จำนวนศาสนสถานของศาสนาซิกข์..........แห่ง จำนวนโครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติการของศาสนสถานทุกแห่งรวม..................โครงการ/กิจกรรม จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ต่อเนื่องตลอดปี........................โครงการ/กิจกรรม จำนวนโครงการ/กิจกรรมตามโอกาส........................โครงการ/กิจกรรม (เสร็จสิ้นภายในครั้งเดียว) จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม.........แห่ง รวมจำนวน...................คน การประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการในภาพรวม ร้อยละ.......... การประเมินความรู้ความเข้าใจหลักธรรมทางศาสนาของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการในภาพรวม ร้อยละ........... การใช้จ่ายของศาสนสถาน หมวดเงินอุดหนุน

โครงการตาม วงเงินงบประมาณ ชื่อศาสนสถาน แผนปฏิบัติการ ผลการเบิกจ่าย ที่ ได้รับจัดสรร ของศาสนสถาน

ความคืบหน้า

๑. ศาสนสถาน ......................... ๒. ศาสนสถาน ......................... ๓. ศาสนสถาน ......................... ๔. ศาสนสถาน .........................

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

101


โครงการตาม วงเงินงบประมาณ ชื่อศาสนสถาน แผนปฏิบัติการ ผลการเบิกจ่าย ที่ ได้รับจัดสรร ของศาสนสถาน

ความคืบหน้า

๕. ศาสนสถาน ......................... ๖. ศาสนสถาน ......................... ๗. ศาสนสถาน ......................... ๘. ศาสนสถาน ......................... ฯลฯ

หมายเหตุ ตามจำนวนศาสนสถานของจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ การใช้จ่ายของจังหวัด หมวดรายจ่ายอื่น

วงเงินงบประมาณ รายการ ผลการเบิกจ่าย ที่ ได้รับจัดสรร

ความคืบหน้า

การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ-กิจกรรมในศาสนสถานได้นำความรู้ที่ ได้รับ ไปผลิตเป็นสินค้า-บริการ คิดเป็นมูลค่า.........................บาท

102

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ตอนที่ ๒ การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน

งบประมาณ

จำนวนคนเข้าร่วม

รายงานความก้าวหน้า

งบที่ตั้ง การดำเนินการ ในแผน งบที่ คนเข้า หรืองบ ตามแผน ใช้จริง ร่วมจริง ที่ ได้รับ จัดสรร

ผลการ ดำเนินการ

ไม่ ได้ดำเนินการ เหตุผล

การจัดประชุมจัดทำ แผนปฏิบัติการของ ศาสนสถาน

ดำเนินการ ไม่ ได้ดำเนินการ ..................แห่ง ..................แห่ง

จำนวนโครงการ/กิจกรรม ในแผนปฏิบัติการของ ศาสนสถานของ เดือน......................๒๕๕๔

รวมโครงการ/ กิจกรรมใน ........แห่ง.......... โครงการ/ กิจกรรม

การประชุมคณะกรรมการฯ ประจำศาสนสถาน ประจำเดือน (อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง)

ดำเนินการ ไม่ ได้ดำเนินการ ..................แห่ง ..................แห่ง

รวมจำนวนคนเข้าร่วม โครงการ/กิจกรรม

.............. ............... คน คน

ศาสนสถานแห่งที่ ๑

ดำเนินการตามแผนประจำ เดือน................................ ศาสนสถานแห่งที่ ๒

ดำเนินการตามแผนประจำ เดือน.................................

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

103


งบประมาณ

จำนวนคนเข้าร่วม

รายงานความก้าวหน้า

งบที่ตั้ง การดำเนินการ ในแผน งบที่ คนเข้า หรืองบ ตามแผน ใช้จริง ร่วมจริง ที่ ได้รับ จัดสรร

ผลการ ดำเนินการ

ไม่ ได้ดำเนินการ เหตุผล

ศาสนสถานแห่งที่..........

ดำเนินการตามแผนประจำ เดือน................................ สิ่งที่ชุมชนต้องการจาก จังหวัด คือ................ ปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ.............................

104

ลงชื่อ.............................................................................ผู้รายงาน (...........................................................................) ตำแหน่ง......................................................................... วัน เดือน ปี.........................................................

ลงชื่อ.............................................................................ผู้รับรองรายงาน (...........................................................................) วัฒนธรรมจังหวัด......................................................................... วัน เดือน ปี.........................................................

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ลานบุญฯ ๘

แบบบันทึกธนาคารความดีของศาสนสถาน โครงการลานบุญ ลานปัญญา กรมการศาสนา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ เป็นการบันทึกผลของการกระทำความดีของคนในชุมชน ที่ ได้ดำเนินการตามโครงการต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ ในแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน หรือการกระทำความดี ใดๆ ที่ ไ ม่ ได้บรรจุอยู่ ในแผน ดังกล่าว ให้คณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน เก็บรวบรวม ผลของการกระทำนั้นๆ ซึ่งเป็นความดีที่แต่ละบุคคลหรือคณะบุคคลในชุมชนได้เสียสละดำเนินการ เพื่ อ ประโยชน์ ข องส่ ว นรวมให้ น ำ “ความดี ” เหล่ า นั้ น จดบั น ทึ ก ไว้ ใ น “ธนาคารความดี ข อง ศาสนสถาน” เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ให้กับอนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ สืบทอด และดำเนินการตาม รอยบรรพบุรุษต่อเนื่องตลอดไป ตามตัวอย่าง ดังนี้

วัน/เวลา

รายการ “ความดี”

หมายเหตุ

วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ ๐๘.๐๐-๐๙.๐๐น.

พระครู......................ได้เทศนาธรรมเรื่อง................. ให้กับเยาวชนโรงเรียน....................จำนวน..........คน ฟัง ณ วัด...............

๑๒.๐๐- ๑๗.๐๐ น.

กำนัน.........................................ได้เป็นผู้นำในการทำ ความสะอาดบริเวณโดยรอบศาสนสถาน.................. โดยมีชาวบ้านจำนวน...............คน เข้าร่วมบำเพ็ญประโยชน์

วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. .................................................................................... ลงชื่อ.............................................................................ผู้จดบันทึก (...........................................................................) ตำแหน่ง......................................................................... วัน เดือน ปี......................................................... ลงชื่อ.............................................................................ผู้ตรวจสอบ (...........................................................................) ตำแหน่ง ผู้นำศาสนสถาน............................................ แนวทางการดำเนินงาน วัน เดือน ปี..................................... โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

105


ลานบุญฯ ๙

แบบประเมินความพึงพอใจและความรู้ทางศาสนาที่ประชาชนได้รับ

จากการเข้าร่วมโครงการ................................................................................... ตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน...........ตำบล........อำเภอ.........จังหวัด..........

ของคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน โปรดทำเครื่อง ✓ ลงในช่องตามความคิดเห็นของท่าน ตอนที่ ๑ สถานภาพทั่วไป ๑. เพศ ❐ ชาย ❐ หญิง ๒. อายุ ❐ ๕ – ๑๘ ปี ❐ ๑๙ – ๓๕ ปี ❐ ๓๖ – ๖๐ ปี ❐ มากกว่า ๖๐ ปี ๓. ระดับการศึกษา ❐ ชั้นประถมปีที่............... ❐ ชั้นมัธยมปีที่............... ❐ อื่น ๆ ................................. ๔. อาชีพ ❐ นักเรียน ❐ นักศึกษา ❐ รับราชการ ❐ พนักงานบริษัท ❐ รับจ้าง ❐ อาชีพอิสระ ❐ อื่น ๆ.................... ตอนที่ ๒ ความพึงพอใจของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ระดับความพึงพอใจ รายการ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๑๐

106

ท่านพึงพอใจกับโครงการนี้เพราะ

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ตอนที่ ๓ ความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทางศาสนาที่ประชาชนได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ/ กิจกรรม ระดับความรู้ความเข้าใจ หลักธรรมทางศาสนา มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕

รู้จักรักษาความซื่อสัตย์ มีความจริงใจต่อ ตนเองและผู้อื่น รู้จักละความชั่ว ความทุจริต และอบายมุข ทั้งปวง รู้จักอดทน มีความขยันสู้งาน ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รู้จักเสียสละ เพื่อสังคมชุมชน

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ ได้ตอบคำถามจนครบถ้วนทุกข้อ วัน เดือน ปี..................................................

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

107


ตัวอย่างหมวดคำถามในตอนที่ ๒-๓ ความพึงพอใจและความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทางศาสนาของ

ประชาชนที่ ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการในแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน

คำชี้แจง ผู้จัดโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถานสามารถเลือกคำถาม ดังตัวอย่างข้างล่างนี้ ให้สอดรับกับโครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสอบถามประชาชน ผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมว่ามีความพึงพอใจเพียงใดและมีความรู้ความเข้าใจใน หลักธรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด โดยโครงการ/กิจกรรมหนึ่งอาจ สอบถามความพึงพอใจของประชาชนที่ร่วมโครงการ/กิจกรรมเพียง ๕-๑๐ ข้อหรือ มากกว่า และอาจสอบถามความรู้เกี่ยวกับหลักคำสอนทางศาสนาที่ประชาชนได้รับ เพียง ๑-๓ ข้อหรือมากกว่าก็ ได้ซึ่งผู้จัดโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของ ศาสนสถานสามารถเลือกคำถามจากหมวดคำถามในตอนที่ ๒ และตอนที่ ๓ ได้ หรือ อาจจะตั้งคำถามใหม่เองเพื่อความเหมาะสมกับโครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้นก็ ได้ ตัวอย่างหมวดคำถามในตอนที่ ๒ ความพึงพอใจของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ก. ความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณค่าของโครงการ/กิจกรรมที่ ได้รับ ๑. โครงการนี้มีคุณค่าต่อท่านในเรื่องการซึมซับหลักธรรมทางศาสนา ๒. โครงการนี้ทำให้ท่านได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ข้อธรรมะและสามารถนำไปใช้ ใน การดำเนินชีวิตประจำวันได้ ๓. โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางศาสนาร่วมกัน ๔. โครงการนี้ทำให้ชุมชนเกิดความรักความสามัคคีร่วมกันพัฒนาชุมชนโดยสภาชุมชน ภายใต้การนำของศาสนสถาน ๕. โครงการนี้สามารถทำให้ชุมชนมีความรักความอบอุ่น อยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อย อาศัยกันส่งผลให้ทุกครอบครัวมีความสุขอย่างแท้จริง ๖. โครงการนี้มีคุณค่าต่อท่านในการได้เรียนรู้มรดกวัฒนธรรมของท้องถิ่นและวิถีชีวิต ที่เป็นรากเหง้าของชุมชน

108

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๗. โครงการนี้ทำให้ ได้ร่วมสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หายไปให้คืนกลับมาเก็บไว้เป็น มรดกทางวัฒนธรรมให้กับลูกหลาน ๘. โครงการนีท้ ำให้ ได้เรียนรู้และต่อยอดภูมิปัญญาให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ๙. โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นในศาสนสถาน ๑๐. โครงการนี้ทำให้ ได้รู้คุณค่าของเอกลักษณ์ความเป็นไทย ๑๑. โครงการนี้ ได้เรียนรู้การดำรงชีวิตด้วยความพอเพียง ๑๒. โครงการนี้ช่วยให้คนในชุมชนมีอาชีพจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาและ สามารถนำไปจำหน่ายทำให้เศรษฐกิจของชุมชนหมุนเวียน ๑๓. โครงการนี้ทำให้ ได้เรียนรู้ถึงพิษภัยของกระแสทุนนิยมที่คนเห็นแก่ตัว ไม่คำนึงถึง ประโยชน์ของประเทศชาติ ๑๔. โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ข. ความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดโครงการ/กิจกรรม ๑๕. โครงการนี้ผู้จัดสามารถดำเนินการได้ตามแผนปฏิบัติการของศาสนสถานเป็นอย่างดี ๑๖. โครงการนี้ผู้จัดให้ โอกาสทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมดำเนินการและร่วมติดตาม ๑๗. โครงการนี้ผู้จัดสามารถจัดได้อย่างเรียบร้อยครบถ้วนทุกขั้นตอน ๑๘. โครงการนี้ผู้จัดสามารถจัดจนบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ๑๙. โครงการนี้ผู้จัดมีความตั้งใจที่จะดำเนินการเพื่อคนในชุมชนอย่างแท้จริง ๒๐. โครงการนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนในชุมชนและควรจัดโครงการนี้ต่อเนื่องตลอดไป ตัวอย่างหมวดคำถามในตอนที่ ๓ ความรู้ ค วามเข้ า ใจในหลั ก ธรรมทางศาสนาที่ ป ระชาชนได้ รั บ จากการเข้ า ร่ ว ม โครงการ/กิจกรรม ๑. พระบรมราโชวาท/พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ➢ คุณธรรม ๔ ประการ อันเป็นที่ตั้งของความรักความสามัคคี ได้แก่ ๑. เมตตาธรรม จะคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

109


๒. สามัคคีธรรม จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กัน เพื่อให้งานที่ทำสำเร็จทั้งแก่ตนเอง แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ ๓. สุ จ ริ ต ธรรม จะประพฤติปฏิบัติตนอยู่ ในความสุจริต ในกฎกติกาและ ในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน ๔. เที่ยงธรรม จะทำความคิดความเห็นของตนให้ถูกต้องเที่ยงตรงและมั่นคง อยู่ ในเหตุผล พระราชดำรั ส พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว พระราชทานแก่ ป ระชาชน ชาวไทยในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในวันศุกร์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ ➢ คุณธรรม ๔ ประการ ได้แก่ ๑. การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์และเป็นธรรม ๒. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ ในความสัจความดีนั้น ๓. การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่า ด้วยเหตุประการใด ๔. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของ ตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง พระราชดำรั ส พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว พระราชทานแก่ ป ระชาชน ชาวไทย ในพระราชพิ ธี บ วงสรวงสมเด็ จ พระบู ร พมหากษั ต ริ ย าธิ ร าชเจ้ า ณ ท้ อ ง สนามหลวง ในวันจันทร์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๕ ➢ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียงประกอบด้วย ๓ ลักษณะ ดังนี ้ ๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ ในระดับพอประมาณ

110

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง นั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึง ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ ๓. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล ๒. หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา มีพระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์หรือตำราทาง พระพุทธศาสนาที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า แบ่งออกเป็น ๓ คัมภีร์ คือ ๑. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยศีลหรือวินัยของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ๒. พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) ว่าด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวก รวมทั้งชาดกต่าง ๆ ๓. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมล้วน ๆ ➢ ศีล ๕ ได้แก่ เว้นจากการฆ่าสัตว์หรือมนุษย์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจาก การประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดปด เว้นจากการดื่มสุราเมรัย และติดยาเสพติด ➢ อิทธิบาท ๔ คุณธรรมให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ได้แก่ ๑. ฉันทะ คือ ความพอใจ ๒. วิริยะ คือ ความพากเพียร ๓. จิตตะ คือ ความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้นไปจากความรู้สึกของตัว ๔. วิ มั ง สา คื อ ความสอดส่ อ งในเหตุ แ ละผลแห่ ง ความสำเร็ จ เกี่ ย วกั บ เรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา ➢ พรหมวิหาร ๔ เป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วย ให้ดำรงชีวิตอยู่ ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ ได้แก่ ๑. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ๒. กรุณา : ความปรารถนาคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ๓. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ๔. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย วางใจเป็นกลาง

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

111


➢ สั ง คหวั ต ถุ ๔ หมายถึ ง หลั ก ธรรมที่ เ ป็ น เครื่ อ งยึ ด เหนี่ ย วน้ ำ ใจของผู้ อื่ น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ ๔ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของ ๆ ตนเพื่อ ประโยชน์แก่บุคคลอื่น ๒. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความ จริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ ๓. อั ต ถจริ ย า คื อ การสงเคราะห์ ทุ ก ชนิ ด หรื อ การประพฤติ ใ นสิ่ ง ที่ เ ป็ น ประโยชน์แก่ผู้อื่น ๔. สมานัตตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้น

เสมอปลาย ➢ สัปปุริสธรรม ๗ ข้อปฏิบัติของคนดีมี ๗ ประการคือ ๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ ๒. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ๕. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาล ๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล ๓. หลั ก คำสอนของศาสนาอิ ส ลาม มี คั ม ภี ร์ อั ล กุ ร อานเป็ น คั ม ภี ร์ ที่ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า ประทานให้แก่มนุษย์ ➢ หลักปฏิบัติ ๕ ประการ ๑. การปฏิญาณตน ยอมรับว่าพระอัลเลาะห์เป็นพระเจ้าองค์เดียว ๒. การละหมาด วันละ ๕ ครั้ง ๓. การถือศีลอด หมายถึง การละหรืองดเว้นบริโภคอาหารในเดือนรอมฎอน

112

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


๔. การบริจาคซะกาต หมายถึง การบริจาคทานหรือบริจาคทรัพย์ที่ ได้มาด้วย ความสุจริตแก่ผู้ที่ควรรับซะกาต ๕. การประกอบพิธีฮัจย์ ที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ๔. หลักคำสอนของศาสนาคริสต์ คัมภีร์ของศาสนาคริสต์ คือ คัมภีร์ ไบเบิล ➢ หลั ก คำสอนเรื่ อ งความรั ก ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ ได้ชื่อว่าเป็นศาสนา แห่งความรัก สอนให้รักพระเจ้า รักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง ➢ หลักคำสอนเรื่องบัญญัติ ๑๐ ประการ ได้แก่ - จงนับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระเยโฮวาห์ - อย่าออกนามพระเจ้าอย่างไม่เหมาะสม - ถือวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ - จงนับถือบิดามารดา - อย่าฆ่าคน - อย่าผิดประเวณี - อย่าลักทรัพย์ - อย่าใส่ความนินทาว่าร้ายผู้อื่น - อย่าคิดมิชอบ - อย่าโลภในสิ่งของผู้อื่น ๕. หลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หลักธรรมข้อควรปฏิบัติ ๑๐ ประการ ๑. หรี ความละอายต่อการทำความชั่ว ๒. สันโตษะ ความสันโดษ ๓. ทาน การให้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ๔. อัสติกยะ มีศรัทธาแนบแน่น ๕. อีศวรปูชนะ ปลูกฝังความภักดีต่อพระเป็นเจ้าด้วยการบูชาและทำสมาธิทุกวัน ๖. สิทธานตศรวณะ ฟังคำสอนจากคัมภีร์ทางศาสนา ๗. มติ พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นโดยพึ่งอาจารย์ (ทางศาสนา) ๘. วรตะ ปฏิบัติพรตทางศาสนาโดยไม่พยายามหลีกเลี่ยง ๙. ชปะ ท่องมนต์เป็นประจำทุกวัน ๑๐. ตปัส บำเพ็ญตบะตามคำแนะนำของอาจารย์ แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

113


หลักธรรมข้อห้าม ๑๐ ประการ ๑. อหิงสา คือ การไม่ทำร้าย ๒. สัตยะ คือ ความสัตย์ ๓. อัสเตยะ คือ การไม่ลักทรัพย์ ๔. พรหมจรยะ คือ พรหมจรรย์ ๕. กษมา คือ ความอดทนอดกลั้น ๖. ธฤติ คือ ความมีจิตใจแน่วแน่มั่นคง ๗. ทยา คือ ความกรุณา ๘. อรชวะ คือ ความซื่อตรง ๙. มิตาหาระ คือ การควบคุมการบริโภคอาหาร ๑๐. เสาจะ คือ ความสะอาดบริสุทธิ์ ๖. หลักคำสอนของศาสนาซิกข์ จะรับหลักคำสอนของพระศาสดา (คุรุ) ทั้ง ๑๐ พระองค์ ตั้งแต่คุรุนานักซึ่งเป็นองค์ปฐมบรมศาสดา จวบถึงพระศาสดาองค์ที่ ๑๐ คุรุโกวินทสิงห์ คำสอนต่ า ง ๆ เหล่ า นี้ ได้ ร วบรวมไว้ ใ นพระมหาคั ม ภี ร์ คุ รุ ค รั น ถ์ ซ าฮิ บ ซึ่ ง เป็ น พระศาสดานิ รั น ดร์ ก าลแห่ ง ศาสนาซิ ก ข์ แ ละเป็ น ที่ นั บ ถื อ ของชาวซิ ก ข์ ทั่ ว โลก คำสอนพื้นฐานของศาสนาซิกข์ คือ ๑. ศรัทธาเชื่อมั่นพระเจ้า (วาเฮ่คุรุ) ซึ่งมีหนึ่งเดียวเป็นเอก ผู้ทรงไว้ซึ่งสัจธรรม อันเป็นอมตะไม่ร่วงโรยไปกับกาลเวลา ไม่ ได้ประสูติหรือถือกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตใดๆ และสถิตมั่นอยู่ทุกหนทุกแห่ง ผู้ ใดที่ยึดถือยึดมั่นจะประสบพบสุขชั่วนิรันดร์ ๒. ประกอบอาชีพสุจริต ไม่เบียดเบียน ไม่คดโกง ไม่ละทิ้งทางโลก ตั้งมั่นอยู่ ใน เพศคฤหัสถ์ แต่รู้จักผสมผสานชีวิตทางโลกและทางธรรมอย่างสมดุล กล่าวคือ รู้จัก ควบคุมศัตรูและกิเลสทางใจ คือ ศัตรูทั้ง ๕ ได้แก่ กาม โกรธ โลภ โมหะ และอหังการ มีความรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคม ควบคู่กันไป ๓. แบ่งปันอย่างเสมอภาค ไม่มีการแบ่งเพศ ไม่ยึดมั่นในวรรณะและชนชั้น ให้เกียรติสตรีและยกย่องเท่าบุรุษเพศ ให้ โอกาสแก่ผู้อื่นโดยไม่ยกตนข่มท่าน แบ่งปันความสุข

ทางโลกและทางธรรมให้ผู้อื่นโดยทั่วหน้า ภายใต้วจนะของพระศาสดาที่ว่า “มนุษย์คือ มวลมิตร หาใช่ศัตรู หาใช่ผู้แปลก”

114

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔


ลานบุญฯ ๑๐

แบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน ชื่อศาสนสถาน...................................ตำบล............ อำเภอ ...............จังหวัด.............

บัญชีรายรับ-รายจ่าย ประจำเดือน........................................... วัน/เดือน/ปี

รายการ

รายรับ

รายจ่าย

ยอดเงินคงเหลือ

ลงชื่อ.............................................................................ผู้จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย (...........................................................................) ตำแหน่ง......................................................................... วัน เดือน ปี......................................................... ลงชื่อ.............................................................................ผู้ตรวจสอบบัญชีรายรับ-รายจ่าย (...........................................................................) ประธานคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน............................. วัน เดือน ปี.........................................................

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

115


ลานบุญฯ ๑๑

แบบทะเบียนคุมเงินการใช้จ่ายโครงการลานบุญ ลานปัญญา ของคณะกรรมการดำเนินการโครงการลานบุญ ลานปัญญาประจำศาสนสถาน ชื่อศาสนสถาน...................................ตำบล............ อำเภอ ...............จังหวัด............. ทะเบียนคุมเงินการใช้จ่าย โครงการ/กิจกรรมที่ ๑ ในแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ประจำปี ๒๕๕๔ วัน/เดือน/ปี

รายการ

ยอดเงิน

เบิกจ่าย

เงินคงเหลือ

รวม

ทะเบียนคุมเงินการใช้จ่าย โครงการ/กิจกรรมที่ ๒ ในแผนปฏิบัติการของศาสนสถาน ประจำปี ๒๕๕๔ วัน/เดือน/ปี

รายการ

รวม

116

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

ยอดเงิน

เบิกจ่าย

เงินคงเหลือ


บัญชีจำนวนศาสนสถานโครงการลานบุญ ลานปัญญา แต่ละจังหวัด ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ จำนวนศาสนสถานของศาสนาต่าง ๆ จำนวน อำเภอ/ ที่ จังหวัด ขนาด ศาสน พราหมณ์ ซิกข์ กิ่ง/เขต สถาน พุทธ อิสลาม คริสต์ ฮินดู ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ ๒๙ ๓๐ ๓๑ ๓๒ ๓๓ ๓๔ ๓๕ ๓๖ ๓๗ ๓๘

กรุงเทพมหานคร กระบี่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นครนายก นครปฐม นครพนม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นนทบุรี นราธิวาส น่าน บุรีรัมย์ ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา พะเยา พังงา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี

๕๐ ๘ ๑๓ ๑๘ ๑๑ ๒๖ ๑๐ ๑๑ ๑๑ ๘ ๑๖ ๘ ๑๘ ๒๔ ๑๐ ๗ ๙ ๔ ๗ ๑๒ ๓๒ ๒๓ ๑๕ ๖ ๑๓ ๑๕ ๒๓ ๗ ๘ ๗ ๑๒ ๑๖ ๙ ๘ ๑๑ ๑๒ ๙ ๘

ใหญ่ เล็ก เล็ก กลาง เล็ก ใหญ่ เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก กลาง เล็ก กลาง ใหญ่ เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก ใหญ่ กลาง เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก กลาง เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก กลาง เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก

๑๒ ๔ ๔ ๘ ๔ ๑๒ ๔ ๔ ๔ ๔ ๘ ๔ ๘ ๑๒ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๑๒ ๘ ๔ ๔ ๔ ๔ ๘ ๔ ๔ ๔ ๔ ๘ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔

๘ ๓ ๔ ๘ ๓ ๑๑ ๔ ๓ ๒ ๔ ๘ ๔ ๗ ๑๑ ๓ ๔ ๓ ๓ ๓ ๓ ๑๑ ๖ ๓ ๓ ๓ ๓ ๗ ๓ ๔ ๔ ๓ ๗ ๔ ๓ ๓ ๔ ๒ ๔

๑ ๑ - - - - - ๑ ๑ - - - - - ๑ - - ๑ ๑ - - ๑ - - ๑ - ๑ ๑ - - ๑ ๑ - ๑ ๑ - ๑ -

๑ - - - ๑ ๑ - - ๑ - - - ๑ ๑ - - ๑ - - ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ - ๑ - - - - - - - - - - ๑ -

๑ - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

๑ - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

117


บัญชีจำนวนศาสนสถานโครงการลานบุญ ลานปัญญา แต่ละจังหวัด ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ จำนวนศาสนสถานของศาสนาต่าง ๆ จำนวน อำเภอ/ ที่ จังหวัด ขนาด ศาสน พราหมณ์ ซิกข์ กิ่ง/เขต สถาน พุทธ อิสลาม คริสต์ ฮินดู

๓๙ ๔๐ ๔๑ ๔๒ ๔๓ ๔๔ ๔๕ ๔๖ ๔๗ ๔๘ ๔๙ ๕๐ ๕๑ ๕๒ ๕๓ ๕๔ ๕๕ ๕๖ ๕๗ ๕๘ ๕๙ ๖๐ ๖๑ ๖๒ ๖๓ ๖๔ ๖๕ ๖๖ ๖๗ ๖๘ ๖๙ ๗๐ ๗๑ ๗๒ ๗๓ ๗๔ ๗๕ ๗๖

- ๑ - - - ๑ ๑ - - - - ๑ - ๑ ๑ - - ๑ ๑ - - - - ๑ - - - ๑ - ๑ ๑ - - ๑ ๑ - - -

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

รวมทั้งหมด ๙๒๗ ๔๐๐ ๓๔๗ ๒๓ ๒๘ หมายเหตุ ปี ๒๕๕๔ ได้พิจารณาคัดเลือกศาสนสถานศาสนาต่าง ๆ เทียบร้อยละเท่ากับปีที่ผ่านมา

118

เพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ อุทัยธานี อุบลราชธานี

๑๑ ๘ ๓ ๑๓ ๗ ๗ ๙ ๘ ๒๐ ๕ ๘ ๑๐ ๑๑ ๑๓ ๘ ๑๔ ๒๒ ๑๘ ๑๖ ๗ ๖ ๓ ๓ ๙ ๑๓ ๖ ๙ ๑๐ ๑๙ ๑๗ ๑๗ ๖ ๗ ๗ ๒๐ ๙ ๘ ๒๕

แนวทางการดำเนินงาน

เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก กลาง เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก กลาง กลาง กลาง เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก เล็ก กลาง กลาง กลาง เล็ก เล็ก เล็ก กลาง เล็ก เล็ก ใหญ่

๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๘ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๘ ๘ ๘ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๘ ๘ ๘ ๔ ๔ ๔ ๘ ๔ ๔ ๑๒

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

๔ ๓ ๓ ๔ ๔ ๓ ๓ ๓ ๘ ๓ ๔ ๓ ๔ ๒ ๓ ๔ ๘ ๗ ๖ ๓ ๔ ๔ ๔ ๓ ๔ ๔ ๔ ๓ ๗ ๗ ๗ ๔ ๔ ๓ ๗ ๔ ๔ ๑๒

- - ๑ - - - - ๑ - ๑ - - - ๑ - - - - ๑ ๑ - - - - - - - - ๑ - - - - - - - - -


แนวทางการดำเนินงาน

โครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

119


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.