แนวทางการดำเนินงาน
โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คณะกรรมการอำนวยการจัดงาน ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
(นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) นายกรัฐมนตรี
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอำนวยการจัดงาน ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ผู้จัดพิมพ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่ปรึกษา ๑. นายปรีชา กันธิยะ อธิบดีกรมการศาสนา ๒. นายจรูญ นราคร รองอธิบดีกรมการศาสนา ๓. นายปรารพ เหล่าวานิช ที่ปรึกษากรมการศาสนา ๔. นายพิสิฐ เจริญสุข ที่ปรึกษากรมการศาสนา ๕. นายปัญญา สละทองตรง ที่ปรึกษากรมการศาสนา ๖. นายสุเทพ เกษมพรมณี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ๗. นายพิสิทธิ์ นิรัตติวงศกรณ์ เลขานุการกรมการศาสนา ๘. นางสาวภัคสุจิ์ภรณ์ จิปิภพ ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ รวบรวม/เรียบเรียง ๑. นางสาวพิไล จิรไกรศิริ นักวิชาการศาสนาเชี่ยวชาญ ๒. นางศรีนวล ลัภกิตโร นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ ๓. นางสาวพัชราพร ช่วยทอง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ คณะทำงาน ๑. นายสำรวย นักการเรียน นักวิชาการศาสนาชำนาญการ ๒. นางละออ แก้วสุวรรณ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ ๓. นางวันดี จันทร์ประดิษฐ์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ ๔. นายชนะกิจ คชชี นักวิชาการศาสนาชำนาญการ ๕. นายธนพล พรมสุวงษ์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ ๖. นางสาวภคภรณ์ อมรรัตน์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ ๗. นายประภาส แก้วสวรรค์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ ๘. นายยอดชาย แสงศิริ นักวิชาการศาสนา สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๑๖
คำนำ
เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา ประจำปี ๒๕๕๕ นี้จะเป็นอภิลักขิตกาลที่องค์สมเด็จ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ครบ ๒๖๐๐ ปี บริบูรณ์ ประกอบกับองค์การ สหประชาชาติได้ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลโลก และประเทศไทยยังได้รับการ ยอมรับจากทั่วโลกให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ในวาระสำคัญนี้ รัฐบาลโดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ได้ประกาศให้ปี ๒๕๕๕ เป็นปีแห่งการฉลอง พุทธยันตี และเป็นเจ้าภาพในการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุ ท ธเจ้ า ทั้ ง ในส่ ว นกลางและส่ ว นภู มิ ภ าคทั่ ว ประเทศ โดยมี ร องนายกรั ฐ มนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) เป็นประธานกรรมการ อำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้นำเสนอ โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ต่อคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งที่ประชุมโดยกระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ โครงการดั ง กล่ า ว และรั บ ที่ จ ะดำเนิ น การโครงการดั ง กล่ า ว โดยจะ ขอความอนุเคราะห์เมตตาจากพระคุณเจ้า เจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาสวัด กับทั้งจะมีการประสานงานกับสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติและสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ โดยได้มอบหมายให้
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพื่ อ ใช้ เ ป็ น บรรทั ด ฐานในการปรั บ เปลี่ ย นชุ ม ชนตามความเหมาะสมของท้ อ งถิ่ น โดยยึ ด
ผลประโยชน์และการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลักที่จะช่วยขับเคลื่อนโครงการนี้ให้บรรลุผล ตามความมุ่งหวังของรัฐบาล กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวทางฉบับนี้จะเป็น ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจน ผู้เกี่ยวข้องทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอและระดับท้องถิ่นทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง และ ที่สุดนี้ ขอขอบพระคุณรัฐบาล โดยการนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และรองนายกรั ฐ มนตรี (นายยงยุ ท ธ วิ ชั ย ดิ ษ ฐ) ที่ มี ส่ ว นสนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด โครงการนี้ ทั่ ว ประเทศ ทั้ ง นี้ โครงการนี้ จ ะสำเร็ จ ได้ นั้ น จำเป็ น ต้ อ งอาศั ย ความร่ ว มมื อ ร่ ว มแรงจาก ผู้ว่าราชการจังหวัด นายก อบจ. นายอำเภอ นายกเทศมนตรี นายก อบต. และผู้เป็นหลักชัย ที่สำคัญที่สุดในโครงการนี้ คือ พระคุณเจ้าทุกรูป ที่ให้ความอนุเคราะห์เมตตาและมีส่วน อย่างสำคัญต่อโครงการนี้ กรมการศาสนาจึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งไว้ ณ โอกาสนี้ (นายปรีชา กันธิยะ) อธิบดีกรมการศาสนา ผู้ช่วยเลขานุการกรรมการอำนวยการ จัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
สารบัญ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินงาน หน่วยงานที่มีส่วนร่วม สถานที่ดำเนินงาน กิจกรรมที่ดำเนินการ วิธีดำเนินงาน ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการในระดับจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ๒. จัดประชุมระดมความคิดเห็นและจัดทำข้อตกลง ๓. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่นเข้าร่วมกิจกรรม ๔. ดำเนินการตามข้อตกลงของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ๕. รวบรวมองค์ความรู้จากการปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา งบประมาณ ผลสัมฤทธิ์ ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ การประเมินผล ผลที่คาดว่าจะได้รับ ภาคผนวก - ตัวอย่างข้อตกลง - ตัวอย่างแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ - ตัวอย่างแผ่นโปสเตอร์ - แผนภูมิแนวทางการดำเนินงาน - ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรมที่อาจกำหนดไว้ในข้อตกลง - คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๖๐/๒๕๕๕ - ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่ควรดำเนินการทั่วประเทศ - แบบรายงานการรวบรวมองค์ความรู้ของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น - กิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาฉลองพุทธชยันตีประจำปี ๒๕๕๕
หน้า ๑ ๓ ๓ ๔ ๔ ๔ ๕ ๗ ๗ ๘ ๘ ๘ ๙ ๙ ๙ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๒๑ ๒๘ ๓๐
โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
หลักการและเหตุผล
เนื่องจากในเทศกาลวันวิสาขบูชา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้จะเป็นอภิลักขิตกาลที ่
องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ครบ ๒๖๐๐ ปี บริบูรณ์ ซึ่งเป็นวาระ สำคัญที่พระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นยืนหยัดมาอย่างยาวนานถึง ๒๖๐๐ ปี ประกอบกับองค์การ สหประชาชาติได้ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติหรือวันสำคัญ ของโลกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ในวาระสำคัญเช่นนี้ ได้นำความปีติมาสู่พุทธศาสนิกชนทั่วโลก โดยประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่างกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองถวายเป็น พุทธบูชาในวาระนี้อย่างยิ่งใหญ่ เรียกว่า “งานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า” ซึ่งคำว่า “พุทธชยันตี” มีความหมายว่าเป็นการตรัสรูแ้ ละการบังเกิดขึ้นของ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ทั้ ง นี้ ร ากศั พ ท์ “ชยั น ตี ” มาจากคำว่ า “ชย” คื อ ชั ย ชนะ อั น มี
ความหมาย คื อ ชั ย ชนะของพระพุ ท ธเจ้ า ที่ มี ต่ อ หมู่ ม ารและกิ เ ลสทั้ ง ปวงและเป็ น ผลให้ พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลก ในส่วนของประเทศไทยซึ่งทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก รัฐบาลโดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) จึงได้ประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีแห่งการฉลองพุทธยันตี และเป็นเจ้าภาพในการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งในส่วนกลางและทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยได้มีคำสั่ง
สำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๖๐/๒๕๕๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลอง พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งมี รองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) เป็นประธานกรรมการอำนวยการ ซึ่งได้กำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานฉลอง พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยงาน ๓ ด้าน คือ ด้านปฏิบัติบูชา ให้กรมการศาสนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็น หน่วยงานหลัก ด้านวิชาการ ให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และด้านกิจกรรมเกี่ยว กับศิลปวัฒนธรรม ให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อส่ง เสริมการศึกษา การปฏิบัติ การเผยแผ่และสืบสานพระพุทธศาสนา โดยให้มีการบูรณาการ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อสนองตอบต่อนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว กรมการศาสนา กระทรวง วัฒนธรรม จึงได้จัดทำโครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา เพื่อเฉลิม ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเฉลิมพระเกียรติเนื่องใน โอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา ซึ่งเป็นอภิมหามงคลสมัยที่ยิ่งใหญ่ สำหรับคนไทยทั้งแผ่นดินที่จะได้ปฏิบัติบูชา น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสนี้ กรมการศาสนาได้นำเสนอโครงการดังกล่าว ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ จัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) เป็นประธาน ณ ห้องประชุม ๕๐๑ ชั้น ๕ ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล จากผลการประชุมดังกล่าวปรากฏว่าได้มีหน่วยงานต่าง ๆ นำเสนอของบประมาณใน การจัดกิจกรรมเป็นจำนวนเงินที่สูง แต่เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาด้านอุทกภัยซึ่ง รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณงบกลางสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็นในการฟื้นฟู เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือร่วมใจและเป็นการสนับสนุนจากหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชนและประชาชน ในการจัดกิจกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการมีส่วนร่วม ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ได้เห็นชอบในหลักการที่จะดำเนินการโดยใช้ งบประมาณของส่วนราชการนั้น ๆ โดยเฉพาะรองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย รั ฐ มนตรี ป ระจำสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี (นายนิ วั ฒ น์ ธ ำรง บุ ญ ทรงไพศาล) ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่ง ประเทศไทย นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย และนายกสมาคม องค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ได้เห็นคุณค่าของโครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ
๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา จึงได้เห็นชอบมอบหมายให้จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ได้แก่ อบจ. เทศบาล และ อบต. ผู้มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และเป็ น ผู้ น ำที่ ป ระชาชนให้ ค วามเคารพ เชื่ อ ถื อ และศรั ท ธาสู ง สุ ด ตลอดจนเป็ น ผู้ มี ศั ก ยภาพ มี ค วามรู้ มี ค วามสามารถ และเข้ า ใจในวิ ถี ชี วิ ต ของชาวพุ ท ธเป็ น อย่ า งดี ยิ่ ง เป็นผู้รับไปดำเนินการ ๑ จังหวัด ๑ พุทธบูชา ๑ อำเภอ ๑ พุทธบูชา และ ๑ ท้องถิ่น ๑ พุทธบูชา โดยให้ขอความเมตตาอนุเคราะห์จากพระคุณเจ้า เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ตลอดจนให้ประสานความร่วมมือกับกรมการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัด อันเป็นการรวมพลังทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับท้องถิ่น ร่วมกันส่ง เสริมให้มีการปฏิบัติบูชาเพื่อประโยชน์สุขแก่คนในทุกชุมชน นอกจากนี้ที่ประชุมได้มอบ หมายให้ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการ
๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนโครงการ ดังกล่าว ทั่วประเทศ
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมรำลึกถึงพระบรมศาสดาพระผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระคุณ อันประเสริฐ ๓ ประการ คือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ โดยปฏิบัติบูชาเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ครบ ๒๖๐๐ ปี ๒. เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชิ นี น าถ ทรงเจริ ญ พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ ๓. เพื่อให้ประชาชนแสดงความจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหา มงคลวั น คล้ า ยวั น พระราชสมภพ สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ๔. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปสู่การ ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องใน โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญ พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา และสมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร
ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา ๕. เพื่อแสดงให้ชาวพุทธทั่วโลกได้เห็นว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา โลก ที่ทุกจังหวัด ทุกอำเภอ และทุกชุมชนท้องถิ่น มีพระพุทธศาสนาที่เข้มแข็งและอยู่ใน วิถีชีวิตของคนไทยทั่วทั้งแผ่นดิน ๖. เพื่อรวบรวมองค์ความรู้อันหลากหลาย “มหัศจรรย์วิถีไทยวิถีพุทธ” ที่เกิดจาก การนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาไปปฏิบัติเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาของจังหวัด/ อำเภอ/ท้องถิ่น โดยองค์ความรู้เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเป็นแบบอย่างในการ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของสังคมในวงกว้าง
เป้าหมาย
๑. พุทธศาสนิกชนในกรุงเทพมหานคร จังหวัด/อบจ. ๗๖ จังหวัด ๙๒๗ อำเภอ ๑,๒๔๑ เทศบาล ๖,๖๘๕ อบต. ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาตามวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นและปฏิบัติบูชาเพื่อเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้าทั่วประเทศ ๒. ประชาชนมีการระดมความคิดเกี่ยวกับการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ ปฏิบัติในชีวิต ตามความต้องการของคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น หรือนำมาใช้เพื่อแก้ไข ปัญหาของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ทำให้ชุมชนดีขึ้น เกิดเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อวิถีชีวิต และเกิดเป็น ๑ จังหวัด ๑ พุทธบูชา ๑ อำเภอ ๑ พุทธบูชา และ ๑ ท้องถิ่น ๑ พุทธบูชา เพื่ อ น้ อ มถวายเป็ น พุ ท ธบู ช าในโอกาสฉลองพุ ท ธชยั น ตี ๒๖๐๐ ปี แห่ ง การตรั ส รู้ ข อง พระพุทธเจ้า แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ระยะเวลาดำเนินงาน
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ - วันมาฆบูชา พ.ศ. ๒๕๕๖
หน่วยงานที่มีส่วนร่วม
๑. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ๒. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ๓. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ๔. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๕. หน่วยงานระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ๖. หน่วยงานระดับอำเภอ โดยนายอำเภอ ๗. หน่วยงานระดับท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด • เทศบาล โดยนายกเทศมนตรี • องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ๘. คณะสงฆ์ โดยเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาสวัด ๙. พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ๑๐. ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ๑๑. องค์กรเครือข่ายทางพระพุทธศาสนาในพื้นที่ อาทิ พุทธสมาคมจังหวัด ฯลฯ ๑๒. หน่วยงานภาครัฐ อาทิ สถานศึกษา ๑๓. หน่วยงานภาคเอกชน ๑๔. หน่วยงานภาคประชาสังคม
สถานที่ดำเนินงาน
๑. ส่ ว นกลาง มณฑลพิ ธี ท้ อ งสนามหลวง วั ด ต่ า ง ๆ สถานที่ ที่ ก ำหนด กรุงเทพมหานคร ๒. ส่วนภูมิภาค มอบหมายให้จังหวัด ๗๖ จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการจัดโครงการพร้อมกับส่วนกลาง โดยสถานที่ ประกอบด้วย ๑) ระดับจังหวัด จัดกิจกรรมถวายพุทธบูชาระดับจังหวัด ณ บริเวณหน้าศาลา กลางจังหวัดหรือสถานที่ที่เหมาะสม หรือวัดสำคัญประจำจังหวัด ๒) ระดั บ อำเภอ จั ด กิ จ กรรมถวายพุ ท ธบู ช าระดั บ อำเภอ ณ บริ เ วณหน้ า ที่ ว่าการอำเภอหรือสถานที่ที่เหมาะสม หรือวัดสำคัญประจำอำเภอ ๓) ระดับท้องถิ่น แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดกิจกรรมถวายพุทธบูชา ระดับท้องถิ่น ณ บริเวณศูนย์กลางของชุมชนหรือสถานที่ที่เหมาะสม หรือวัดสำคัญของชุมชน แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
กิจกรรมที่ดำเนินการ
รัฐบาลเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ในส่วนกลาง เป็นการเริ่มต้นของ การจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะดำเนินการพร้อมกัน
ทั่ ว ประเทศ โดยกระทรวงมหาดไทยได้ มี ห นั ง สื อ ที่ มท.๐๓๑๐.๓/ว ๑๕๗๖ ลงวั น ที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕ เรื่องการฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) ในฐานะ ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า ได้โปรดมีบัญชาให้จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดกิจกรรม “๑ จังหวัด ๑ พุทธบูชา ๑ อำเภอ ๑ พุทธบูชา ๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑ พุทธบูชา” เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในโอกาสสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยดำเนินการ ดังนี้ • ให้ จั ง หวั ด ร่ ว มกั บ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด จั ด กิ จ กรรมถวายพุ ท ธบู ช าระดั บ จังหวัด • ให้ อ ำเภอร่ ว มกั บ ส่ ว นราชการ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ภาคเอกชนและ พุทธศาสนิกชนในพื้นที่อำเภอจัดกิจกรรมถวายพุทธบูชาระดับอำเภอ • ให้ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ทุ ก แห่ ง ร่ ว มกั บ วั ด ส่ ว นราชการ สถานศึ ก ษา ภาคเอกชนและพุทธศาสนิกชนจัดกิจกรรมในพื้นที่ให้เป็นไปตามสภาพสังคม วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น • ในการดำเนินงานในทุกระดับให้ขอคำแนะนำจากเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะตำบลในพื้นที่ นอกจากนี้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้มีหนังสือ ที่ มท ๐๘๐๑.๒/ว ๑๐๖๒ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ เรื่องการฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า เพื่อขอความร่วมมือจังหวัดประสานแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขต พื้ น ที่ ส นั บ สนุ น การจั ด กิ จ กรรมดั ง กล่ า ว โดยดำเนิ น การตามศั ก ยภาพความพร้ อ มและ สถานการณ์คลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้การจัดโครงการดังกล่าว ให้ดำเนินการตามความเหมาะสมกับบริบทในชุมชน นั้น ๆ โดยเน้นให้คนในชุมชน หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน มีส่วนร่วม รวมทั้งเน้นผล ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งการจัดโครงการ/กิจกรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชานั้นอาจ ต้องสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชุมชนด้วย ดังตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริม พระพุทธศาสนา ในภาคผนวก สำหรับการจัดกิจกรรม ๑ จังหวัด ๑ พุทธบูชา ๑ อำเภอ ๑ พุทธบูชา ๑ ท้องถิ่น ๑ พุทธบูชา เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจความหมายของคำว่า “พุทธบูชา” และเพื่อให้ง่ายต่อ การนำไปดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว จึงขอนำเสนอความหมายไว้ ดังนี้
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
พุทธบูชา หมายถึง การบูชาพระพุทธเจ้า, เครื่องบูชาพระพุทธเจ้า ซึ่งในโครงการนี้ หมายความถึง การบูชาพระพุทธเจ้าที่เป็นทั้งอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา อามิสบูชา คือ การบูชาด้วยสิ่งของ เงินทอง ดอกไม้ ของหอม เช่น การทำบุญ ตักบาตร ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวบ้าน กับการสักการบูชา คือ การทำความเคารพและให้การ เคารพ อาจเป็ น การจั ด กิ จ กรรมทางพระพุ ท ธศาสนาในพื้ น ที่ ใ ห้ เ ป็ น ไปตามสภาพสั ง คม วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อถวายเป็นพุทธ บูชาทั้งในระดับจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ปฏิบัติบูชา คือ การบูชาด้วยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีการเข้าถึงไตรสรณคมน์ รักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีลอุโบสถ การสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา การศึกษาพระธรรมวินัย เป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยความเต็มใจ มีการ ประพฤติดีปฏิบัติชอบ กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ ปฏิบัติบูชานั้นถือว่าเป็นการ บูชาที่สูงสุด ไม่มีอะไรที่จะเสมอเท่าปฏิบัติบูชาอีกแล้ว หลักการปฏิบัติบูชามีหลักพิจารณา อย่างง่าย คือ ผู้ที่จะปฏิบัติบูชาจะต้องรู้ก่อนว่าจะนำคำสอนข้อใดมาปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้วจะ ส่งผลอย่างไรกับตน เมื่อรู้แล้วจึงลงมือปฏิบัติอย่างตั้งใจ การปฏิบัติตามคำสอนอย่างตั้งใจนี้ เรียกว่า “ปฏิบัติบูชา” เมื่อได้ผลจากการปฏิบัติแล้วก็ให้รวบรวมและประกาศโดยทั่วกันว่าสิ่งที่ ตนได้ ม าจากหลั ก คำสอนในพระพุ ท ธศาสนานั้ น คื อ อะไร จากนั้ น จึ ง นำองค์ ค วามรู้ ที่ ไ ด้ ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รับทราบ เพื่อนำไปปฏิบัติบ้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ปฏิบัติบูชาเป็นการบูชาที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง เพราะเป็นการรักษาพระพุทธ ศาสนาให้ดำรงอยู่ไว้ได้ ส่วนอามิสบูชา คือ การบูชาด้วยสิ่งของ แม้จะเป็นบุญกุศล แต่ก็ไม่ยิ่ง ใหญ่เท่ากับปฏิบัติบูชา เพราะไม่สามารถรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ เนื่องจากผู้ปฏิบัติไม่รู้ สารธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แท้จริง แต่ถือปฏิบัติทำตามกันไป ในที่สุดพระพุทธศาสนา ก็จะเสื่อมถอยลงและอาจสูญสิ้นไปได้ สรุป ความหมายของคำว่า “พุทธบูชา” ในโครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา คือ เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยอามิสบูชา ตามวัฒนธรรม ประเพณีของแต่ละ ท้องถิ่น ตลอดจนหมายรวมถึงการปฏิบัติบูชาของคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น โดยให้ความ สำคัญกับการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติดีปฏิบัติ ชอบตามความต้องการของคนในชุมชน เพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข หรือนำมาแก้ ปัญหาชีวิต แก้ปัญหาของชุมชน โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อธรรมะที่จะนำมา ปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา หรือเพื่อทำให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามความเหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ เมื่อปฏิบัติตามคำสอนแล้ว ย่อมได้รับผลเกิดเป็นภูมิปัญญา ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการปฏิบัติ ซึ่งทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ทุกท้องถิ่น สามารถ รวบรวมองค์ความรู้ที่มีค่าเหล่านี้และเผยแพร่ให้สาธารณชนหรือเด็กเยาวชนรุ่นหลังได้นำ ไปเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
วิธีดำเนินงาน
โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้ อ งถิ่ น : ๑ พุ ท ธบู ช า ฉลองพุ ท ธชยั น ตี
๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความมุ่งหวังของรัฐบาลที่ จะสร้ า งเสริ ม สั ง คมชุ ม ชนให้ เ ข้ ม แข็ ง เป็ น อยู่ ส บาย ภายใต้ ค วามร่ ว มมื อ ร่ ว มใจและแรง สนั บ สนุ น จากผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด นายอำเภอ นายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด นายก เทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตลอดจนประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งได้ให้ความ สำคัญกับการปฏิบัติบูชา อันเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนคนไทยทั่วทั้งแผ่นดิน อย่างยั่งยืน การดำเนินการโครงการฯ เพื่อให้เกิด ๑ จังหวัด ๑ พุทธบูชา ๑ อำเภอ ๑ พุทธบูชา ๑ ท้องถิ่น ๑ พุทธบูชา เพื่อฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อาจจะดำเนินการตามความเหมาะสมกับสภาพสังคม วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นหรือตาม ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา สิ่งสำคัญ คือ ประชาชนจะต้อง พร้อมใจกันนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนหรือเพื่อ เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตแก่ชุมชนของตน โดยยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งและเปิด โอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินการตั้งแต่กระบวนการคิดริเริ่ม วางแผน ดำเนินการ และ ติดตามผลที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็น ๑ พุทธบูชา และที่สำคัญ ที่จะขาดไม่ได้ในทุกกิจกรรมคือ ต้องอาราธนาพระคุณเจ้าในระดับต่าง ๆ มาเป็นหลักชัยใน การดำเนินการในทุกระดับทุกกิจกรรม กลไกสำหรับการบริหารโครงการของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น อาจดำเนินการ ดังนี้ ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการในระดับจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น โครงการนี้เป็นโครงการที่ จั ง หวั ด /อำเภอ/ท้ อ งถิ่ น เป็ น เจ้ า ของโครงการ การดำเนิ น งานอาจต้ อ งมี ก ารแต่ ง ตั้ ง คณะ กรรมการดำเนินการที่มีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนโครงการฯ ในแต่ละระดับ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าว ซึ่งอาจประกอบด้วย คณะ กรรมการชุดต่าง ๆ ดังนี้ • คณะกรรมการดำเนิ น การระดั บ จั ง หวั ด อาจประกอบด้ ว ย ผู้ ว่ า ราชการ จังหวัด เจ้าคณะจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด พุทธสมาคมจังหวัด ยุวพุทธิกสมาคมจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานภาคเอกชน ฯลฯ • คณะกรรมการดำเนิ น การระดั บ อำเภอ อาจประกอบด้ ว ย นายอำเภอ เจ้าคณะอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าหน่วยงาน ภาคเอกชน ฯลฯ • คณะกรรมการดำเนินการระดับท้องถิ่น อาจประกอบด้วย นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาสวัด หัวหน้าส่วนราชการระดับท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าหน่วยงานภาคเอกชน ฯลฯ แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
๒. จัดประชุมระดมความคิดเห็นและจัดทำข้อตกลง มีการจัดประชุมเพื่อสื่อสาร ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการนี้และกระตุ้นจิตสํานึกให้คนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรม เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน เนื่องจากการแก้ปัญหาของชุมชนไม่อาจที่จะดำเนินการไปได้ หากปราศจากการร่วมมือร่วมใจ จากคนในชุมชน ซึ่งจำเป็นต้องมีการพิจารณาชุมชนในภาพรวมทั้งหมด เพื่อค้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง และปัญหาของชุมชนที่ต้องการแก้ไข และอาจนำมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและ ความต้องการของพื้นที่ จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์และกำหนดกิจกรรมโดยใช้หลักธรรมคำสอน ของพระพุทธศาสนา และนำมากำหนดเป็นข้อตกลงของคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ที่จะปฏิบัติร่วมกัน (ตามตัวอย่างข้อตกลงและตัวอย่างโครงการ/กิจกรรมในภาคผนวก) เป็น ๑ จังหวัด ๑ พุทธบูชา ๑ อำเภอ ๑ พุทธบูชา และ ๑ ท้องถิ่น ๑ พุทธบูชา เพื่อน้อม ถวายเป็ น พุ ท ธบูชาฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แ ห่ ง การตรั ส รู้ ข องพระพุ ท ธเจ้ า ข้ อ ตกลง ของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ที่คนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ช่วยกันร่างกันขึ้นมานี้จะเป็นตัว กำกับการปฏิบัติตนของคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ให้อยู่ภายใต้กฎกติกาเดียวกัน เป็นการ ส่งเสริม สนับสนุนให้คนมีคุณธรรม และปกป้องคนดีให้ได้ทำความดีเพื่อประโยชน์ของสังคม อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความคิดเห็นและความร่วมมือของคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น เป็นสำคัญ โดยทุกคนอาจต้องเคารพและปฏิบัติตามข้อบัญญัติในข้อตกลงของจังหวัด/อำเภอ/ ท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้จังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งอาจมีการติดประกาศข้อตกลงร่วมไว้ในศาลาประชาคมหรือสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางการ จัดกิจกรรมของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่นชุมชน เพื่อให้คนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่นชุมชนรับ ทราบและนำไปปฏิบัติเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาโดยทั่วกัน ๓. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น เข้าร่วมกิจกรรม ๑ จังหวัด ๑ พุทธบูชา ๑ อำเภอ ๑ พุทธบูชา ๑ ท้องถิ่น ๑ พุทธบูชา ซึ่งเป็นการดำเนินการตามข้อ ตกลงซึ่งเป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า โดยอาจใช้สื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ มาร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นทั้งอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา ตามความเหมาะสม หรือตามสภาพของวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจัดทำแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาดใหญ่ (CUT OUT) ติดตั้ง ณ สถานที่ที่เป็นศูนย์กลางชุมชนและอาจจัดทำแผ่นไวนิล ขนาดพอสมควรปิดประกาศตามรั้วของสถานที่ที่จัดกิจกรรมหรือสถานที่ที่ชุมชนเห็นว่าเหมาะสม ตามตัวอย่างในภาคผนวก ๔. ดำเนินการตามข้อตกลงของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ที่ได้กำหนดไว้ โดยอาจจะมี การแบ่งหน้าที่กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมปฏิบัติบูชาเพื่อร่วมฉลองพุทธชยันตี ตามที่ได้บันทึกไว้ในข้อตกลงของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น รวมทั้งอาจจะมีการเชิญชวนกระตุ้น คนในชุมชนให้มาเข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติบูชาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาของชุมชนและสนองตาม ความต้องการของคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น หรือบางกิจกรรมอาจให้คณะกรรมการระดับ แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
จังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น เป็นผู้นำในการปฏิบัติบูชาตามข้อตกลง ตลอดจนอาจคอยให้กำลังใจให้ คำปรึกษาข้อเสนอแนะแก่คนในชุมชนที่จัดกิจกรรมฯ เพื่อให้คนในพื้นที่สามารถดำรงชีวิตอย่าง มีความสุขทั้งจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ๕. รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่ง เกิดจากการนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนาไปใช้แก้ปัญหาของชุมชนหรือการนำหลักธรรม ของพระพุทธศาสนาไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น สังคมชุมชนได้รับการ พัฒนาดีขึ้น จนเกิดการยอมรับในวิถีชีวิตนั้น ๆ ว่ามีประโยชน์ต่อชุมชนนั้น ๆ จังหวัด/อำเภอ/ ท้องถิ่น อาจจะจัดประชุมเพื่อระดมความคิดร่วมกับคนในพื้นที่ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่เป็น ประโยชน์เหล่านี้ไว้ จากนั้นอาจมอบหมายให้จังหวัดเป็นผู้รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากระดับ จังหวัด/อำเภอและท้องถิ่น รวมเป็นเล่ม เพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่ไปยังหน่วยงาน/ชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งส่งให้กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อให้ชุมชนอื่นได้รับรู้และนำไปเป็นกรณี ศึกษาเรียนรู้ต่อไป เพราะเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่มีคุณค่าต่อเด็ก และเยาวชนที่จะนำไปศึกษา เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต โดยมีหลักธรรมทางพระพุทธ ศาสนาเป็นผู้นำทางที่ถูกต้องตลอดไป การสรุปเป็นองค์ความรู้ของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น อาจดำเนินการ ดังนี้ ๑) สรุปเป็นองค์ความรู้เฉพาะประเด็นสำคัญ เน้นเฉพาะกิจกรรมปฏิบัติบูชาที่ สำคัญ และสามารถนำผลจากการนำข้อธรรมะไปปฏิบัติเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาไปใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาชุมชนคุณธรรมให้ประสบความสำเร็จในอนาคต (Best Practice) โดยให้จังหวัด/ อำเภอ/ท้องถิ่นจัดประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้เหล่านี้ หลังจากที่ได้มีการจัดกิจกรรม ปฏิบัติบูชาตามข้อตกลงของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่นตลอดปี ๒๕๕๕ เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ดังแบบรายงานการรวบรวมองค์ความรู้ ของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่นในภาคผนวก ๒) สรุ ป เป็ น องค์ ค วามรู้ ทั้ ง โครงการ โดยเริ่ ม ตั้ ง แต่ ค วามเป็ น มาของโครงการ กระบวนการดำเนินงาน และผลลัพธ์เมื่อสิ้ น สุ ด โครงการ ซึ่ ง หากจั ง หวั ด /อำเภอ/ท้ อ งถิ่ น ต้องการก็อาจดำเนินการสรุปเป็นองค์ความรู้ทั้งโครงการได้ แล้วแต่ความสมัครใจของจังหวัด/ อำเภอ/ท้องถิ่น
งบประมาณ
ใช้งบประมาณจากจังหวัด/อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผลสัมฤทธิ์
ผลผลิต : ร้อยละ ๗๕ ของพุทธศาสนิกชนได้เข้าร่วมงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ผลลัพธ์ : พุทธศาสนิกชนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่นที่เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติบูชาใน จังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น สามารถนำหลักธรรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
10
ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ ที่
ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ
๑. ๒. ๓.
ความพร้อมของจังหวัด/อำเภอ/ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น การประชาสัมพันธ์เชิญชวน และความสนใจของพุทธ ศาสนิกชนในจังหวัด/อำเภอ/ ท้องถิ่นในการเข้าร่วม กิจกรรมฯ
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน - การบริหารโครงการบรรลุ เป้าหมายของจังหวัด/อำเภอ/ ท้องถิ่น - กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยงานทุกภาคส่วนของ จังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่นให้การ สนับสนุนส่งเสริมในการจัด กิจกรรมฯ จำนวนของพุทธศาสนิกชน ในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ
เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ ทุกจังหวัดทุกอำเภอทุกองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ ดำเนินการบรรลุเป้าหมาย ทุกภาคส่วนในระดับจังหวัด/ อำเภอ/ท้องถิ่น เข้าร่วมจัด กิจกรรมฯ ร้อยละ ๗๕ ของพุทธ ศาสนิกชนได้เข้าร่วมกิจกรรม โดยพร้อมเพรียงกัน
การประเมินผล ที่ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ประเมินผล ๑. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการ จากการรายงานผลการดำเนิน แบบรายงานการรวบรวม ปฏิบัติบูชาของพุทธศาสนิกชน งานของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิน่ องค์ความรู้ ทั่วประเทศ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ประชาชนชาวไทย ได้ปฏิบัติบูชาและปฏิบัติศาสนกิจ น้อมเกล้าฯ ถวายพระราช กุศล และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วั น ที่ ๑๒ สิ ง หาคม ๒๕๕๕ และ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้าย วันพระราชสมภพ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ๒. ประชาชนได้ ร่ ว มปฏิ บั ติ บู ช าฉลองพุ ท ธชยั น ตี ๒๖๐๐ ปี แ ห่ ง การตรั ส รู้ ข อง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ๓. ประชาชนชาวไทยได้แนวคิดในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ได้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย ได้บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา น้อมนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ใน ชีวิตประจำวัน เกิดความสุขสงบอย่างแท้จริง ๔. พุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งแผ่นดินเกิดความภาคภูมิใจในฐานะที่ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ที่ทุกจังหวัด อำเภอและท้องถิ่นมีพระพุทธศาสนาที่เข้มแข็ง และอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทย แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ภาคผนวก
12
ตัวอย่าง ข้อตกลงของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น (ชุมชน) โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา
ข้อตกลงของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น นับเป็นสัญญาประชาคมที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ของคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น เป็นการแสดงเจตจำนงของคนในชุมชนอันแน่วแน่ที่จะร่วม กันพัฒนาคนในชุมชนให้มีคุณธรรม โดยทำความดีถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งข้อตกลงดังกล่าว ไม่ จ ำกั ด ข้ อ ไม่ จ ำกั ด กิ จ กรรมแล้ ว แต่ ค วามต้ อ งการของคนในชุ ม ชนนั้ น ๆ ทั้ ง นี ้
เพื่อประโยชน์ของชุมชนและเพื่อต้องการถวายเป็นพุทธบูชาฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่ง การตรั ส รู้ ข องพระพุ ท ธเจ้ า เป็ น พิ เ ศษ ซึ่ ง อาจสรุ ป เป็ น องค์ ค วามรู้ ที่ เ ป็ น วิ ถี ไ ทยวิ ถี พุ ท ธ อันมหัศจรรย์ที่จะนำไปใช้ในการสร้างความสุขและแก้ไขปัญหาให้กับคนในพื้นที่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไป ตัวอย่าง ประกาศข้อตกลง ของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น (อบต.)...........................ประจำปี ๒๕๕๕
คนในชุมชน จำนวน..............คน ได้พร้อมใจกันจัดทำข้อตกลงนี้เพื่อฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และสัญญาว่าจะปฏิบัติตามประกาศข้อตกลงนี้เพื่อถวาย เป็นพุทธบูชา ดังนี้ กิจกรรมวิถีไทยวิถีพุทธที่ประชาชนคิดขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ๑. จะจัดทำโครงการเก็บออมทรัพย์ทุกครัวเรือนปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ๒. จะจัดทำโครงการรักษาศีลข้อ ๕ เลิกเหล้าทุกครัวเรือนตลอดเทศกาลเข้าพรรษา ๓. จะจัดทำโครงการเลิกเล่นการพนันตลอดเทศกาลเข้าพรรษา ๔. จะจัดทำโครงการค่ายคุณธรรมเยาวชนห่างไกลยาเสพติด ๕. จะจัดทำโครงการพูดโกหก (ผิดศีลข้อ ๔) ถูกปรับนำเงินเข้ากองทุนชุมชน ๖. ....................................................................... ประกาศ ณ วันที่..................................๒๕๕๕ ลงชื่อ................................................... (.................................................) ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการ.......................................................
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
สอบถามรายละเอียดได้ที่กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ
ตัวอย่างแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์
13
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ตัวอย่างแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์
14
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
15
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
16
แผนภูมิ แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า หน่วยงานที ่มีส่วนร่วม
• กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย • กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม • สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ • หน่วยงานระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการ จังหวัด • หน่วยงานระดับอำเภอ โดยนายอำเภอ • หน่วยงานระดับท้องถิ่น องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น • องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด • เทศบาล โดยนายกเทศมนตรี • องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล • คณะสงฆ์ โดยเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะ อำเภอ เจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาสวัด • พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ • ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์ • องค์กรเครือข่ายทางพระพุทธศาสนาใน พื้นที่ อาทิ พุทธสมาคมจังหวัด ฯลฯ • หน่วยงานภาครัฐ อาทิ สถานศึกษา • หน่วยงานภาคเอกชน • หน่วยงานภาคประชาสังคม
วิธีดำเนินงาน
๑. แต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ๒. จัดประชุมระดมความคิดเห็นและจัดทำข้อตกลง ๓. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่นเข้าร่วม กิจกรรม ๔. ดำเนินงานตามข้อตกลงของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ๕. รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติบูชาตามหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา
๑ จังหวัด ๑ พุทธบูชา ๑ อำเภอ ๑ พุทธบูชา ๑ ท้องถิ่น ๑ พุทธบูชา (อามิสบูชาและปฏิบัติบูชาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา)
องค์ความรู้หลากหลายที่ได้จากการปฏิบัติ ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
17
ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรมที่อาจกำหนดไว้ในข้อตกลง
ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรมที่อาจกำหนดไว้ในข้อตกลง ๑ จังหวัด ๑ พุทธบูชา ๑ อำเภอ ๑ พุทธบูชา ๑ ท้องถิ่น ๑ พุทธบูชา เพื่อฉลองพุทธชยันตี เป็นกิจกรรมปฏิบัติบูชา ที่ได้จากการระดมความคิดเห็นรับฟังปัญหา และข้อเสนอแนะข้อธรรมะที่ควรปฏิบัติและข้อ ธรรมะที่จะใช้ในการแก้ปัญหาของคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มใหม่ที่เกิด จากประชาชนเองที่ จ ะดำเนิ น การปฏิ บั ติ บู ช าในแต่ ล ะพื้ น ที่ ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ ชุ ม ชนของตนเอง สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง รู้เท่าทันและไม่ตกเป็นทาสของกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้ชุมชนดีขึ้น ปราศจากปัญหาอาชญากรรม ซึ่งกิจกรรมปฏิบัติบูชาที่ประชาชนเป็นผู้คิด ริเริ่มนี้ อาจเป็นโครงการ/กิจกรรมตามตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม ดังนี้ ๑) โครงการรักษาเบญจศีลทุกวันพระ ตลอดปี ๒๕๕๕ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชิ นี น าถ เนื่ อ งในโอกาสมหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา
๘๐ พรรษา และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา ๒) โครงการนุ่ ง ขาวห่ ม ขาวปฏิ บั ติ ธ รรมในทุ ก วั น พระถวายเป็ น พุ ท ธบู ช าตลอดปี ๒๕๕๕ ๓) โครงการจัดตั้งโรงทาน /โรงธรรม ในทุกวันอาทิตย์ถวายเป็นพุทธบูชา ๔) โครงการจัดตั้งชมรมธรรมะอาสาตามรอยพระพุทธบาท ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าประจำชุมชน เพื่อรวมกลุ่มจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ พัฒนาชุมชนในทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง ด้วยจิตใจที่อ่อนโยน อดทน มุ่งมั่นในการทำหน้าที่ อย่างไม่ท้อถอย โดยไม่หวังผลตอบแทน เช่น ร่วมกันทำความสะอาดโบสถ์ วิหาร ศาลา การเปรียญ บริเวณวัด เป็นต้น จัดภัตตาหารถวายพระภิกษุสามเณรในวันอาทิตย์ ๕) โครงการจัดกิจกรรมลด ละ เลิก อบายมุข เพื่อให้เป็นหมู่บ้านปลอดอบายมุข ๖) โครงการจัดธรรมยาตรา ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ประชาชนในชุมชนไปร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาตลอดเส้นทางธรรมยาตรา โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่ง ซึ่งคนในชุมชนอาจมี โครงการ/กิจกรรมที่ดีอื่น ๆ มาดำเนินการก็ได้เนื่องจากคนในชุมชนเป็นผู้ดำรงอยู่ตามวิถีไทย วิถีพุทธที่ดีงามอยู่แล้ว ซึ่งอาจได้รับการสั่งสมสืบทอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาจาก บรรพบุรุษ จึงมีพื้นฐานทางความคิดที่เกี่ยวกับการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปสู่การ แก้ปัญหาชุมชนได้อย่างมหัศจรรย์ โดยในแต่ละโครงการ/กิจกรรมอาจระบุอย่างชัดเจนว่าใคร จะต้องไปทำอะไร ทำที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และอาจจะมีการติดตามความคืบหน้าของผลการ ดำเนินการเพื่อให้โครงการบรรลุผลตามที่จังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่นมุ่งหวังเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
18
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
19
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
20
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
21
ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่ควรดำเนินการทั่วประเทศ
เนื่องจากในปี ๒๕๕๕ นับเป็นปีที่สำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนาที่รัฐบาลได้รับเป็นเจ้าภาพ จั ด งานฉลองพุ ท ธชยั น ตี ๒๖๐๐ ปี แ ห่ ง การตรั ส รู้ ข องพระพุ ท ธเจ้ า ซึ่ ง ทุ ก ภาคส่ ว นของ สังคมจะมีการจัดงานฉลองในโอกาสดังกล่าวอย่างยิ่งใหญ่และพร้อมกันทั่วประเทศ โดยเฉพาะ ในภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดงานครั้งนี้มาก ที่สุด ทั้งนี้ เพื่อเป็นสิริมงคลสำหรับชีวิตและเป็นการสร้างพื้นฐานทางจิตใจจากการเรียนรู้ใน หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนาในด้านอื่น ๆ ในวิถีชีวิตได้เป็นอย่างดี สำหรับกิจกรรมปฏิบัติบูชาที่เป็นวิถีชีวิตของชาวไทย ที่ประชาชนสามารถน้อมนำไปปฏิบัติหรือ เข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาพร้อมกันทั่วประเทศนั้นมีกิจกรรมเป็นจำนวนมาก แต่จะ ขอนำมาเสนอไว้เป็นเพียงตัวอย่างบางกิจกรรมเท่านั้น ดังนี้ ๑. การจัดสวดมนต์ข้ามราตรี การสวดมนต์ไหว้พระเป็นกิจวัตรสำคัญประการหนึ่งที่ เป็นอุบายฝึกจิตและฝึกสมาธิภาวนาได้เป็นอย่างดี เพราะในขณะสวดมนต์ จิตของผู้สวดจะต้อง จดจ่ออยู่ที่บทสวดจึงจะสวดได้อย่างถูกต้อง จิตไม่ฟุ้งซ่าน ผู้สวดมนต์จะได้รับอานิสงส์ต่าง ๆ เช่น ตัดความกังวล คลายเครียด ปล่อยวางความคิดอย่างอื่นได้ จิตสงบ มีสติ ระลึกถึง พระพุ ท ธคุ ณ และคำสั่ ง สอนของพระพุ ท ธองค์ และเมื่ อ สวดเป็ น ประจำจะทำให้ จิ ต มั่ น คง นอกจากได้รับอานิสงส์จากการบำเพ็ญบุญโดยส่วนตัวแล้วยังเกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา อันเป็นการช่วยกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สืบทอดประเพณีที่ดีงามและจรรโลงสืบต่ออายุ พระพุทธศาสนา การสวดมนต์ข้ามราตรี เป็นกิจกรรมหนึ่งที่กรมการศาสนา กระทรวง วัฒนธรรม จะได้จัดขึ้น ในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๕ ก่อนวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ คือ ดำเนินการก่อนวันวิสาขบูชา เป็นการสวดมนต์ข้ามคืนจนถึงรุ่งเช้าวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ เพื่อต้อนรับวันครบพุทธศตวรรษที่ ๒๖ อันเป็นการสร้างชีวิตใหม่ที่เป็นมงคล ซึ่งทางจังหวัด/ อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำไปจัดในพื้นที่ได้ ๒. การเข้าวัดปฏิบัติธรรมทุกวันพระ เป็นประเพณีนิยมของพุทธบริษัทที่ได้ปฏิบัติ สืบเนื่องกันมาแล้วตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยถือว่า การฟังพระธรรมเทศนาตามกาลที่กำหนดไว้ เป็นประจำย่อมก่อให้เกิดสติปัญญาและสิริมงคลแก่ผู้ฟัง อย่างน้อยได้รับประโยชน์จากการ ฟังธรรมหรือธัมมัสสวนานิสงส์อยู่เสมอ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้กำหนดฟังธรรมเดือนหนึ่งทั้งข้างขึ้น ข้างแรม รวม ๔ วัน ได้แก่ วันขึ้น ๘ และ ๑๕ ค่ำ วันแรม ๘ และ ๑๕ หรือ ๑๔ ค่ำ (หากตรง กับเดือนขาดจะเป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ) ทั้ง ๔ วันถือกันว่าเป็นวันกำหนดประชุมฟังธรรมซึ่งจะ เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง โดยในวันพระ พุทธศาสนิกชนจะไปวัดเพื่อไปทำบุญตักบาตร แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
22
สมาทานศีล (รับศีล) และฟังพระธรรมเทศนาที่วัด ตลอดจนจะละเว้นการประพฤติกิจกรรมที่ เป็นบาปต่าง ๆ และปกติจะนิยมรักษาอุโบสถศีล ซึ่งกิจกรรมนี้ทุกชุมชนท้องถิ่นสามารถจัด กิจกรรมนี้โดยเชิญชวนคนในชุมชนให้ความสำคัญกับวันพระและมาปฏิบัติบูชาร่วมกันทั้ง ชุมชนเพื่อร่วมฉลองพุทธชยันตี ๓. การแสดงตนเป็ น พุ ท ธมามกะ เป็ น พิ ธี ก รรมในพระพุ ท ธศาสนา และเป็ น ประเพณีที่นับถือและปฏิบัติกันตลอดมา มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อเป็นการส่งเสริมความเลื่อม ใสในพระพุทธศาสนา อันจะเป็นทางโน้มน้าวจูงใจให้เข้าใจซาบซึ้งในศีลธรรมจรรยายิ่ง ๆ ขึ้น อั น เป็ น ผลดี แ ก่ ห มู่ ค ณะและประเทศชาติ ซึ่ ง เป็ น พิ ธี ก รรมที่ พุ ท ธศาสนิ ก ชนพึ ง ปฏิ บั ติ เ พื่ อ ปฏิญาณตนว่า ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา เป็นการเตือนตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา ที่ ค วรได้ ยึ ด หลั ก ธรรมของพระพุ ท ธศาสนาเป็ น หลั ก ปฏิ บั ติ ใ นการดำรงชี วิ ต ให้ ถู ก ต้ อ ง การปฏิญาณตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะครั้งเดียว อาจทำซ้ำ ๆ ตามกำลังแห่งศรัทธาและความเลื่อมใสก็ได้ สามารถกระทำซ้ำบ่อย ๆ ได้ไม่จำกัดครั้งเพราะ เป็นการแสดงความมั่นคงในการนับถือพระพุทธศาสนา โดยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นประเพณีนิยม แสดงตนเป็นพุทธมามกะขึ้นสืบต่อกันมา ซึ่งในปัจจุบัน ความนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ของชาวไทยพุทธก็ยังคงอยู่ ในโอกาสฉลองพุทธชยันตี ในปี ๒๕๕๕ จึงควรมีการส่งเสริมให้ ทุกสถานศึกษาจัดพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะทั่วทั้งจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น เพื่อให้เด็กและ เยาวชนสืบความเป็นชาวพุทธตามบรรพบุรุษ และได้รำลึกอยู่เสมอว่าตนเป็นพุทธศาสนิกชน อันเป็นการปลูกฝังนิสัยให้เด็กและเยาวชนมั่นคงในพระพุทธศาสนาและยึดมั่นในหลักธรรม คำสอนทางพระพุทธศาสนาโดยนำไปปฏิบัติในวิถีชีวิต ๔. การประดั บ ธงสั ญ ลั ก ษณ์ พุ ท ธชยั น ตี ฯ ที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ก ารฉลองในโอกาส ที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า จะตรั ส รู้ ค รบ ๒๖๐๐ ปี ในปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๕ โดยให้ ทุ ก จั ง หวั ด
ทุกอำเภอ ทุก อบจ. ทุกเทศบาล และทุก อบต. ติดธงสัญลักษณ์พุทธชยันตี ณ สถานที่ตั้ง ของหน่วยงานดังกล่าว ๕. การจัดสาธยายพระไตรปิฎก (ฉบับภาษาบาลี) พระไตรปิฎก เป็นตำรา หรือ คัมภีร์สูงสุดของพระพุทธศาสนา เป็นที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ ไม่ให้กระจัดกระจาย พระไตรปิฎกประกอบด้วย ๑. วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัย หรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี ๒. สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่ว ๆ ไป และ ๓. อภิธัมมปิฎก ว่าด้วย ธรรมะล้วน ๆ หรือธรรมะที่สำคัญ พระไตรปิฎกจึงเปรียบเสมือนเป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง สามารถที่ จ ะสอนให้ รู้ ว่ า อะไรเป็ น กุ ศ ล อะไรเป็ น อกุ ศ ล เมื่ อ รู้ อ ย่ า งนี้ แ ล้ ว ก็ ส อนให้ น ำเอา หลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติอันเป็นทางที่มีความสำเร็จในชีวิตนำทางไปเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน นอกจากนี้พระไตรปิฎกยังเปรียบเหมือนเป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง พ่อแม่ไม่ได้หวังค่าตอบแทนจากลูก พระไตรปิฎกก็เป็นคัมภีร์ที่สอนให้รู้ทุกอย่างที่ยังไม่เคยรู้ นำทางให้เข้าถึงความเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ ที่สามารถดำเนินชีวิตอันทำให้ถึงจุดหมายปลายทาง คือ พระนิพพาน แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
23
บุคคลที่ได้สาธยายพระไตรปิฎก และได้ฟังธรรม ย่อมได้รับอานิสงส์มาก จึงเป็น โอกาสอันดีสำหรับพุทธศาสนิกชน จะได้รวมพลังชาวพุทธ อ่านพระไตรปิฎกทั้งชุด โดยจัดให้ มีคณะอุบาสก อุบาสิกา เป็นต้นเสียง ในการสาธยายพระไตรปิฎก ตลอด ๒๔ ชั่วโมง แม้ การเปล่งเสียงอ่านพระไตรปิฎก ก็ถือว่าเป็นบุญกุศล อันเป็นภาวนากุศลอันยิ่งใหญ่ เพื่อเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา และยังเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว นอกจากนี้การสาธยายพระไตรปิฎก ยังเป็นการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า จากหลักฐานขั้นปฐมภูมิ ทำให้จิตใจเป็นสมาธิ เกิดความสงบ สามารถนำความรู้ที่ได้จาก พระไตรปิฎกไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและชุมชน ดังนั้นการจัดสาธยายพระไตรปิฎก จึงเป็นกิจกรรมทางศาสนาที่จังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่นชุมชน ควรจัดให้มีขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้พุทธ ศาสนิกชนได้มีโอกาสอ่านพระไตรปิฎกในรูปแบบของภาษาบาลี ได้เผยแผ่หลักธรรมคำสอนที่ ถูกต้องของพระพุทธเจ้า เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา และยังเป็นการส่งเสริมให้พุทธ ศาสนิกชนได้ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแพร่หลาย ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวันได้ ๖. การจัดธรรมทัศนาจรนมัสการพระพุทธรูป พระธาตุเจดีย์ ที่สำคัญตามวัดต่าง ๆ ตามโบราณประเพณี ข องผู้ ค นที่ นั บ ถื อ พระพุ ท ธศาสนาเป็ น สรณะ มี ค วามเชื่ อ ว่ า การที่ ไ ด้ สักการะนมัสการพระพุทธรูป พระบรมธาตุหรือพระธาตุเจดีย์ย่อมได้อานิสงส์มากได้บุญมาก เป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว พร้อมทั้งบุคคลอันเป็นที่เคารพสักการะแห่งตน อันเป็นสิ่งที่ ทำให้การดำเนินชีวิตมีความเจริญราบรื่นและรุ่งเรือง ซึ่งการสักการบูชาพระพุทธรูป พระบรม ธาตุหรือพระธาตุเจดีย์ในแต่ละท้องถิ่นจะมีการกำหนดวันเวลาให้เป็นไปตามประเพณีของท้อง ถิ่นนั้น ๆ ด้วยมีความเชื่อว่า พระพุทธรูป พระบรมธาตุ หรือพระธาตุเจดีย์เป็นปูชนียสถานที่ สำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่กระจายวิมุตติธรรมเกื้อหนุนให้บ้านเมืองสุขสมบูรณ์
อยู่รอดปลอดภัยจากภัยนานาประการ ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมพิธีสักการบูชาได้รับบุญกุศล มีอานิสงส์ ดับทุกข์กังวลร้อนรุ่มกลุ้มใจต่าง ๆ ทำให้เกิดความปีติ มีความสุขกายสุขใจ สามารถแผ่บุญ กุศลให้แก่ผู้ที่ตนเคารพนับถือ ทั้งบรรพบุรุษ ญาติมิตร สรรพสัตว์ทั้งปวงได้ บางครั้งก็จะ บังเกิดปรากฏการณ์ดี ๆ เช่น ปรากฏการณ์พระบรมธาตุหรือพระธาตุเรืองแสง กระจาย ฉัพพรรณรังสีและวิมุตติธรรมให้ผู้สักการบูชาและบุคคลที่เคารพนับถือได้เห็นเป็นปรากฏการณ์ อันเป็นมหามงคล ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจจัดกิจกรรมธรรมทัศนาจร เพื่อไป กราบไหว้บูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัด และนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ โดยอาจจัดให้มี พิ ธี ส มโภชตามประเพณี ข องท้ อ งถิ่ น ร่ ว มฉลองพุ ท ธชยั น ตี ๒๖๐๐ ปี แห่ ง การตรั ส รู้ ข อง พระพุทธเจ้า ทั้งนี้จะจัดกิจกรรมเจริญพระพุทธมนต์และปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ด้วยก็ได้ แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
24
๗. การจัดเทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมา แต่โบราณ เป็นมหากุศลที่เตือนบุคคลให้น้อมรำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือความดีที่ยิ่งยวด
อันมีการสละความเห็นแก่ตัว เพื่อผลประโยชน์สูงอันไพศาลของมวลมนุษยชาติเป็นสำคัญ ส่วนมากจัดให้มีในวัด เป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกตินิยมให้มี หลั ง ฤดู ท อดกฐิ น ผ่ า นไปแล้ ว จนตลอดฤดู ห นาว นิ ย มจั ด เป็ น งานสองวั น คื อ วั น เทศน์ เวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์วันหนึ่ง และวันเทศน์จตุราริยสัจกถา ท้ายเวสสันดรชาดกอีกวันหนึ่ง วันแรกเริ่มงานด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระตามจำนวนที่เห็นสมควร แล้ว เริ่มเทศน์เวสสันดรชาดก ตามแบบเทศน์ต่อกันไปจนสุด ๑๓ กัณฑ์ ถึงเวลากลางคืน บางแห่ง จัดปีพาทย์ประโคมระหว่างกัณฑ์หนึ่ง ๆ ตลอดทั้ง ๑๓ กัณฑ์ด้วย วันรุ่งขึ้น ทำบุญเลี้ยงพระ อีกแล้วมีเทศน์จตุราริยสัจกถาในระหว่างเพล จบแล้วเลี้ยงพระเพลเป็นอันเสร็จพิธี ในการ เทศน์ทุกกัณฑ์จะมีผู้เป็นเจ้าภาพจัดกัณฑ์เทศน์ถวาย เมื่อพระที่ตนรับเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์ ขึ้นเทศน์เจ้าภาพจะจุดเทียนบูชาคาถา เมื่อจบกัณฑ์จะตีฆ้องเป็นสัญญาณ การเทศน์เวสสันดรชาดก
มีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ คือ กัณฑ์ทศพร ๑๙ คาถา กัณฑ์หิมพานต์ ๑๓๔ คาถา กัณฑ์ทาน กัณฑ์ ๒๐๙ คาถา กัณฑ์วนปเวศน์ ๕๗ คาถา กัณฑ์ชูชก ๗๙ คาถา กัณฑ์จุลพน ๗๕ คาถา กัณฑ์มหาพน ๘๐ คาถา กัณฑ์กุมาร ๑๐๑ คาถา กัณฑ์มัทรี ๙๐ คาถา กัณฑ์สักกบรรพ ๔๓ คาถา กัณฑ์มหาราช ๖๙ คาถา กัณฑ์ฉกษัตริย์ ๓๖ คาถา กัณฑ์นครกัณฑ์ ๔๘ คาถา ๘. การจัดไหว้พระ ๙ วัด เป็นการตระเวนไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดที่มีชื่อเสียง หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ๙ แห่งในจังหวัดต่าง ๆ ผู้ไปไหว้พระต้องการเดินทางไปไหว้พระไป ทำบุญตามวัดต่าง ๆ ตามกำลังศรัทธา ซึ่งจะมีการบริจาคทุนทรัพย์ในการทำนุบำรุงรักษา พัฒนาวัด เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา จากคติที่ว่า “การเริ่มต้นที่ดี คือส่วนหนึ่งของความ สำเร็จ” กรมการศาสนาได้จัดกิจกรรม “ไหว้พระ ๙ วัด” เป็นกิจกรรมที่ให้ประชาชนและ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่สนใจได้เดินทางไปท่องเที่ยวสักการะสถานที่อันเป็นมงคล เพื่อ การเริ่มต้นอย่างมีความสุขสงบทางใจ ตามคติความเชื่อของไทย อีกทั้งยังเป็นการเรียนรู้ถึง คุณค่าของโบราณสถานที่สำคัญของวัดนั้น ๆ ซึ่งจะมีการออกสำรวจเส้นทาง และติดต่อ ประสานงานกับวัดต่าง ๆ ซึ่งอาจคัดเลือกจากวัดที่สำคัญ เป็นวัดประจำรัชกาล หรือเป็นวัด ที่เป็นที่รู้จักศรัทธาของประชาชนทั่วไป ซึ่งอาจรวมถึงวัดที่ต้องการทุนทรัพย์ในการพัฒนาหรือ ปฏิสังขรณ์ ซึ่งจะทำให้ประชาชนผู้ไปไหว้พระ ได้มีโอกาสทำบุญได้อย่างเต็มที่ การประสานงาน กับวัดก่อน ก็เพื่อเตรียมความพร้อมของวัด และเป็นการอำนวยความสะดวกสบายให้กับ ประชาชนผู้ไปไหว้พระ ซึ่งปรากฏว่าได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดียิ่งจากวัดต่าง ๆ นอกจากนี้ กรมการศาสนาได้จัดทำเอกสารคู่มือกิจกรรม “ไหว้พระ ๙ วัด” ไว้ให้บริการแก่ประชาชนที่ จะไปไหว้พระด้วย ซึ่งกิจกรรมนี้ จังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่นสามารถนำไปดำเนินการในพื้นที่ของ ตนได้ โดยคัดเลือกวัดที่มีความพร้อม มีเอกลักษณ์ มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน จัดเส้นทางให้สามารถเดินทางไป-กลับภายในวันเดียวได้ หรืออาจจัดเป็นเวลา ๒-๓ วันแล้วแต่ เส้นทางที่จะไปไหว้พระในจังหวัดนั้น ๆ แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
25
๙. การสวดนพเคราะห์เสริมสิริมงคลประจำวันเกิด “พิธีสวดนพเคราะห์สะเดาะ เคราะห์เสริมชะตาชีวิต เสริมบารมี” มักจะจัดให้มีขึ้นตามวัดใหญ่ ๆ ทั่ว ๆ ไปเป็นประจำทุกปี โดยมีคติความเชื่อว่า การขอพรเทวดาพระเคราะห์ ซึ่งสถิตในดวงชะตาให้มาช่วยปัดเป่าทุกข์ภัย บันดาลให้เกิดสวัสดิมงคล มีความสุขสมบูรณ์เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ายิ่งขึ้น ปราศจากอุปสรรค หายนะภยันตรายทั้งปวง โดยในพิธีจะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัดมาเป็นประธาน มณฑลพิธี พร้อมบัตรพลีและเทวรูปเทวดานพเคราะห์ทั้ง ๙ สังเวยสักการพลี ประกาศสังเวย บูชาเทวดานพเคราะห์ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา มนต์พระปริตร ทำบุญอุทิศแด่เทวดา ประจำวันเกิด เทวดาประจำราศีทั้ง ๙ องค์ อันได้แก่ เทวดาพระอาทิตย์ เทวดาพระจันทร์ เทวดาพระอั ง คาร เทวดาพระพุ ธ เทวดาพระพฤหั ส บดี เทวดาพระศุ ก ร์ เทวดา พระเสาร์ เทวดาพระราหู และเทวดาพระเกตุ เพื่อเสริมบุญราศี สร้างบุญเป็นกำลังให้เทวดา คุ้มครองรักษาดวงชะตาตลอดปี ผู้ที่มาร่วมพิธีจะได้รับการประพรหมน้ำพระพุทธมนต์และรับ น้ำพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ไปประพรมบ้านเรือนที่พักอาศัยเพื่อความเป็นสิริมงคล ๑๐. การสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ คือ การบรรยายถึง คุณงามความดี บรรยายถึงสิ่งสำคัญของพระรัตนตรัย เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดจากการที่ทำให้มีศีล สมาธิ และก่อให้เกิดปัญญา พุทธศาสนาแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะใหญ่ คือ ประการแรก หลัก ธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตามหลักศาสนธรรม ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลหมายถึง ความปกติ คนที่ประพฤติผิดศีลเป็นคนผิดปกติ สมาธิเป็นการมุ่งมั่นทำอย่างใดอย่างหนึ่งจน เกิดปัญญา ประการที่ ๒ ศาสนพิธี เป็นพิธีกรรมต่าง ๆ ที่น้อมนำผู้คนเข้าสู่หลักศาสนธรรม เพราะฉะนั้นแต่ละสังคมจะมีศาสนพิธีที่แตกต่างกัน แต่จุดหมายเดียวกันคือ ต้องการให้คนเข้า ถึงศาสนธรรม และประการที่ ๓ ศาสนวัตถุ คือวิหาร โบสถ์ เป็นต้น เมื่อรวมความแล้ว หลัก ของศาสนาก็คือ หลักของศาสนธรรม ศาสนพิธี และศาสนวัตถุ ซึ่งในการจัดกิจกรรมสวด สรรเสริญพระรัตนตรัยในทำนองสรภัญญะ คือ การน้อมนำให้มีสมาธิ ศีล และก่อให้เกิดปัญญา การสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน เด็กและ เยาวชนของชาติ ได้สวดมนต์ทำนองสรภัญญะ ถูกต้องตามหลักศาสนพิธี ส่งเสริมลักษณะ นิสัยอ่อนโยน โอบอ้อมอารี มีจิตใจยึดมั่นอยู่ในหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา และนำ หลักธรรมคำสอนไปปรับใช้กับการใช้ชีวิตประจำวัน พัฒนาจิตใจก่อนที่จะนำไปสู่การพัฒนา ร่ า งกาย และสติ ปั ญ ญา เป็ น การพั ฒ นาจากภายในสู่ ภ ายนอก ก่ อ ให้ เ กิ ด การกระทำที่ ดี น้อมนำเอาสิ่งที่ดี ๆ ไปขยายความให้กับบุคคลอื่น ๆ ทำให้เกิดความสงบสุข การสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ อาจจัดให้มีการแข่งขันโดย เชิญชวนนักเรียน นักศึกษามาร่วมแข่งขัน สำหรับบทสวดที่ใช้ในการแข่งขัน ได้แก่ บทบูชา พระรัตนตรัย บทนมัสการ บทสวดชัยสิทธิคาถา และบทสวดสังฆคุณ ๑๑. การเข้าปฏิบัติธรรมที่วัด ในทุกวันนี้มีผู้คนสนใจในเรื่องของการปฏิบัติธรรมเป็น อย่างมาก ตามที่หลวงพ่อพุทธทาสกล่าวเสมอว่าศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ และท่านก็ แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
26
สอนเสมอว่า อย่าเห็นแก่ตัว การปฏิบัติธรรมจะเป็นการนำความเย็นแห่งพระธรรม นำผลแห่ง การปฏิบัติธรรมนั้นมาบ่มเพาะในจิตใจ การปฏิบัติธรรมมีการกล่าวถึงมากมายหลายด้าน บางครั้งก็จะเข้าใจว่าจะต้องนั่งในอาการที่สงบ สำรวมและจะต้องมีสถานที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะ การปฏิบัติธรรมเป็นการนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ ถูกต้องในสิ่งทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริง ฝึกจิตให้ปล่อยวางทุกเรื่อง มุ่งชำระจิตใจ ให้มีสมาธิ มีสติปัญญา ในการแก้ไขทั้งปัญหาการงานและชีวิต ได้รับความรู้ทางหลักธรรมคำสั่งสอนของ พระพุทธศาสนาได้ดียิ่งขึ้น รู้หลักการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน สละกิเลสให้หลุดพ้นจากใจแล้ว เพิ่มฉันทะ คือความรัก ความพอใจ วิริยะก็คือความเพียรพยายาม ตั้งใจอย่างเต็มที่ จิตตะคือ เอาใจใส่จดจ่ออยู่ตลอดเวลา วิมังสาคือ ใคร่ครวญพิจารณาเพื่อให้รู้ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง หาก ได้ฝึกฝนปฏิบัติธรรมแล้วก็จะพร้อมอยู่ได้ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา ทั้งยามหลับและยามตื่น การปฏิบัติธรรม จึงเป็นการมุ่งเน้นการ “สร้างบุญ” โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการพัฒนาตนเอง หรือฝึกฝนตนเองให้เข้มแข็ง มีความอดทน และมีสติสมาธิที่แน่วแน่ เพื่ อ ให้ ส ามารถ ลด ละ เลิ ก ในสิ่ ง ที่ เ ป็ น อกุ ศ ล “ถ้ า ท่ า นตั้ ง ใจปฏิ บั ติ ธ รรมโดยกิ น น้ อ ย นอนน้อย พูดน้อย ทำความเพียรให้มากแล้ว ไม่สนใจใครทั้งหมด ตัดความกังวลให้หมด ท่านจะไม่ขาดทุน” การเข้าวัดปฏิบัติธรรม มีหลักสูตรตามที่ผู้จัดต้องการหลายหลักสูตร เช่น หลักสูตร ๓ วัน ๗ วัน หลักสูตรอบรมปฏิบัติธรรมเป็นหมู่คณะ ซึ่งแล้วแต่ความต้องการ ของหน่วยงานนั้น ๆ โดยจะฝึกปฏิบัติแยกกับผู้ปฏิบัติทั่ว ๆ ไป และเมื่อครบกำหนดระยะเวลา แล้ว ผู้เข้ารับการฝึกปฏิบัติจะได้รับประกาศนียบัตรจากทางวัดมอบให้ด้วย ส่วนขั้นตอนการ ปฏิบัติ เมื่อผู้ปฏิบัติมาพร้อมกันตามเวลาในการปฏิบัติ ณ สถานที่ปฏิบัติแล้ว ประธานจะจุด เทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย นำสวดมนต์ กราบพระประธานแล้ว จึงเริ่มปฏิบัติธรรม โดยการ เดินจงกรมก่อน ๓๐ นาที แล้วเปลี่ยนอิริยาบถ เข้ามานั่งกรรมฐาน ๓๐ นาที สลับกันไปจน ครบเวลาปฏิบัติที่กำหนด ส่วนเวลาในการปฏิบัติ ๓๐ นาทีที่กำหนดนี้ ผู้ปฏิบัติอาจปรับ
ให้มากหรือน้อยกว่า ๓๐ นาที ตามความเหมาะสมของสภาวะอารมณ์ ก่อนถึงเวลาพักทุกช่วง ผู้ปฏิบัติธรรมควรอยู่ในอิริยาบถของการนั่งกรรมฐาน ทั้งนี้เพราะเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติในแต่ละ ช่วง จะได้แผ่เมตตาต่อไปได้ โดยไม่เสียสมาธิจิต เมื่อแผ่เมตตา (สัพเพ สัตตา...) เสร็จแล้ว นั่งพับเพียบประนมมือ เพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญในการปฏิบัติธรรมแก่มารดา บิดา ญาติพี่น้อง เทวดา เปรต และสรรพสัตว์ทั้งหลาย (อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ....) จากนั้นลุกขึ้นนั่งคุกเข่า สวดมนต์ บู ช าพระรั ต นตรั ย (อรหั ง สั ม มาสั ม พุ ท โธ ภควา....) กราบพระประธาน ผู้ปฏิบัติต้องระลึกเสมอว่า เป็นการมาปฏิบัติเพื่อยกระดับจิตใจ ขัดเกลากิเลสตัณหาให้เบาบางลง มิใช่มาเพื่อหาความสุข ในการอยู่ดี กินดี จึงต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษต่อความไม่สะดวก และสิ่งที่กระทบกระทั่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องทดสอบความอดทนและคุณธรรมของ ผู้ ป ฏิ บั ติ ว่ า มี อ ยู่ ม ากน้ อ ยเพี ย งใด เมื่ อ ผู้ ป ฏิ บั ติ ธ รรมได้ ป ฏิ บั ติ ค รบตามหลั ก สู ต รแล้ ว เจ้าหน้าที่ผู้จัดจะได้จัดเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อทำพิธีลาศีล และขอขมาพระรัตนตรัย
ให้ผู้ปฏิบัติธรรมที่จะลาศีล พร้อมกัน ณ ที่นัดหมาย สวดมนต์ทำพิธีลาศีลตามที่วัดกำหนด แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
27
๑๒. การรณรงค์ให้นักเรียนไหว้พระสวดมนต์ก่อนนอนทุกวัน โดย อบจ./อบต. ร่วมกับสำนักงานเขตการศึกษาภายในจังหวัดดำเนินการ ขอความร่วมมือไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งโรงเรียนประจำมีการพักค้างของนักเรียน หรือโรงเรียนปกติ กำหนดให้นักเรียนที่เป็นพุทธ ศาสนิกชน แสดงตนเป็นพุทธมามกะทั้งโรงเรียน และให้เริ่มสวดมนต์ก่อนนอนตั้งแต่วัน
วิสาขบูชา ปี ๒๕๕๕ เป็นต้นไป การสวดมนต์ เป็นการทำให้จิตมีสมาธิอยู่กับบทสวดมนต์ และมีพระพุทธรูปอยู่เบื้องหน้า (หากสวดมนต์ต่อหน้าพระพุทธรูป) นอกจากนี้ยังได้อานิสงส์ จากพระพุทธคุณของพระคาถาต่าง ๆ ที่อ่านหรือเปล่งวาจาออกไป และพระคาถาต่าง ๆ ล้วน เป็นถ้อยคำมงคล ทำให้เกิดสิริมงคลกับผู้เปล่งวาจาและผู้ที่ได้ยิน คนโบราณเชื่อกันว่าหมู่ เทวดาชอบฟังธรรมะและเสียงสวดมนต์ และจะอวยพรอันเป็นมงคลแก่ผู้เปล่งวาจานั้น ๆ การ สวดมนต์นั้นก่อนสวดควรทำจิตใจให้สงบ จิตใจต้องนิ่ง และเปล่งเสียงอย่างปกติ ไม่ต้องเร่ง พูดรัวจนตนเองยังฟังไม่รู้เรื่อง อย่างนี้เรียกว่าสวดแบบขอไปที ถ้าจะเร็วก็ขอให้เร็วพอประมาณ ให้ตนเองสามารถแยกคำได้ในใจ แต่ไม่จำเป็นต้องสวดช้าจนเกินไป ควรกำหนดให้พอเหมาะ เป็นดีที่สุด สำหรับรายละเอียดในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ ข้างต้น ผู้สนใจ สามารถ ขอคำปรึกษาหรือขอขั้นตอนวิธีการดำเนินงานได้จากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
ทั่วประเทศ หรือดูได้จากเว็บไซต์ของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม http://www.dra.go.th
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
28
แบบรายงานการรวบรวมองค์ความรู้ของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น “มหัศจรรย์ วิถีไทย วิถีพุทธ” (จากโครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี)
๑. ข้อมูลทั่วไปของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น(ชุมชน) • จังหวัด………….............................................................................….………............... • อำเภอ.......................................................................................................................... • อบจ. ........................................................................................................................... • เทศบาล........................................................................................................................ • อบต. ...........................................บ้าน......................หมู่ที่.............ตำบล..................... • จำนวนครัวเรือน...........ครัวเรือน มีประชากร ชาย.......คน หญิง.......คน รวม ........คน ๒. หลักการเหตุผลของโครงการ/กิจกรรม............................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. ๓. วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม.................................................................................. .............................................................................................................................................. ๔. เป้าหมายที่ดำเนินการ คือ............................................................................................... .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. ๕. ผลสำเร็จของการดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรมในข้อตกลง • ดำเนิ น การตามเสี ย งส่ ว นใหญ่ ที่ ร่ ว มประชุ ม ระดมความคิ ด เห็ น จึ ง ทำให้ โ ครงการ/ กิจกรรม (ชื่อโครงการ/กิจกรรม)..............................เกิดประโยชน์แก่ประชาชนใน จังหวัด.............................อำเภอ..................................ตำบล.............................. หมู่บ้าน..................................... • สิ่งที่ทำให้เกิดผลสำเร็จจากการปฏิบัติและเป็นองค์ความรู้ที่ค้นพบ คือ นำหลักธรรมที่ว่า ................................................................................................................................... มาใช้แล้วได้ผลมากทำให้ชุมชนดีขึ้น คือ...................................................................... ................................................................................................................................... • ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน คือ………………………………............ ................................................................................................................................... • ประเมินความพึงพอใจของคนในชุมชนที่ร่วมกิจกรรม (จากการสังเกต)........................ ................................................................................................................................... แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕
ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
29
แผนผังการรวบรวมองค์ความรู้ตามข้อตกลงของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ข้อตกลง
ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ สิ่งที่ทำให้เกิดผลสำเร็จและเป็นองค์ความรู้ที่ค้นพบ ความพึงพอใจ/การเกิดประโยชน์
๑. จะจัดทำโครงการเข้า คนหนุ่มสาวมีสมาธิ มีสติเกิดการ วัดปฏิบัติธรรมทุกวัน เปลี่ยนแปลงทำให้ไม่ลุ่มหลง วัตถุนิยม แต่กลับดำรงชีวิตตาม อาทิตย์ เศรษฐกิจพอเพียง
ทุกคนมีความพึงพอใจมาก
๖. ข้อเสนอแนะ ……………………………………...………...………………...………...………………...………. ……………………………………...………...………………...………...………………...………. ……………………………………...………...………………...………...………………...………. ๗. ภาพถ่ายของโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา คำอธิบายใต้ภาพ (ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร)........................................................ ลงชื่อ.............................................................. (.............................................................) ตำแหน่ง....................................................................... ผู้รวบรวมองค์ความรู้ที่พบจากการปฏิบัติบูชา วัน เดือน ปี.................................................. แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
30
กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาฉลองพุทธชยันตี ประจำปี ๒๕๕๕ วันเวลา กิจกรรมที่จัด ๒๒ พฤษภาคม- อุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ
สถานที่จัด
๗๖ จังหวัด ๙ มิถุนายน ๑๙๙ รูป ๒๕๕๕ ๒๙ พฤษภาคม- - พิธีพระราชทานรางวัล - สนามหลวง ๔ มิถุนายน เสาเสมาธรรมจักร - วัดยานนาวา ๒๕๕๕ แก่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ - วัดสระเกศ พระพุทธศาสนา - นิทรรศการเฉลิม พระเกียรติฯ - นิทรรศการแดนพุทธภูมิ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล - บรรยายธรรมท่องแดน พุทธภูมิ โดยพระธรรมทูต สายอินเดีย - นมัสการพระพุทธรูป จากอินเดีย - ประกวดการสวดโอ้เอ้ วิหารราย - สวดมนต์ข้ามราตรี - สวดนพเคราะห์เสริมสิริ มงคลประจำวันเกิด - ประกวดการสวดมนต์หมู่ สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ - ประกวดบรรยายธรรม - ประกวดวาดภาพธรรมะ - การแสดงตนเป็น พุทธมามกะ - การร้องเพลงธรรมะ - ปิงโกธรรมะ
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ผู้รับผิดชอบ - ๗๖ จังหวัด - ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธ ศาสนาแห่งประเทศไทย - กรมการศาสนา - สำนักงานบริหารการศึกษา วันอาทิตย์แห่งประเทศไทย - ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธ ศาสนาแห่งประเทศไทย
31
วันเวลา กิจกรรมที่จัด - ลอยประทีปพระพุทธรูป ๒๙ พฤษภาคม- ๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ๓๐ พฤษภาคม- ๓ มิถุนายน ๒๕๕๕ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕
ศักดิ์สิทธิ์ ๙ ประเทศ - ไหว้พระ ๙ วัด ๙ รัชกาล - ไหว้พระพุทธรูปสำคัญ ๔ ภาค - นิทรรศการและสาธยาย พระไตรปิฎก - ธรรมยาตราสมาธิ - เวทีสะท้อนธรรม แต่งกายชุดขาว ถือศีล ทำสมาธิ ทำจิตให้ผ่องใส - ขบวนอัญเชิญพระบรม สารีริกธาตุ - ขบวนรถบุปผชาติ ธรรมยาตรา-สมาธิ - ทำบุญตักบาตร - ฟังพระธรรมเทศนา - ปฏิบัติธรรม - รักษาศีล - สาธิตการจัดโต๊ะหมู่บูชา - สวดนพเคราะห์ - สวดมนต์ข้ามราตรี - เวียนเทียน ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของ
สถานที่จัด ๗๖ จังหวัด สนามหลวง สนามหลวง - พุทธมณฑล - สนามหลวง - ๗๖ จังหวัด
ผู้รับผิดชอบ ๗๖ จังหวัด - ภาคเหนือ ๑๗ จังหวัด - ภาคกลาง ๒๑ จังหวัด - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๐ จังหวัด - ภาคใต้ ๑๗ จังหวัด สถาบันการศึกษาทุกแห่ง - กรมการศาสนา โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด - สำนักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
32
วันเวลา กิจกรรมที่จัด พระพุทธเจ้า พร้อมกัน
สถานที่จัด
ทั่วประเทศ ๔ มิถุนายน ตั้งองค์ผ้าป่ามหากุศล ๗๖ จังหวัด ๒๕๕๕ พุทธชยันตีจังหวัดละ ๑ แห่ง ๒๙ พฤษภาคม โครงการ - บริเวณศาลากลางจังหวัด ๒๕๕๕- ๑ จังหวัด ๑ พุทธบูชา - ที่ว่าการอำเภอ วันมาฆบูชา ๑ อำเภอ ๑ พุทธบูชา - วัดเจ้าคณะจังหวัด ๒๕๕๖ ๑ ท้องถิ่น ๑ พุทธบูชา - วัดเจ้าคณะอำเภอ - กิจกรรมปฏิบัติบูชาที่เป็น - วัดเจ้าคณะตำบล วิถีชีวิตของคนในจังหวัด/ - วัดสำคัญในจังหวัด อำเภอ/ท้องถิ่น - วัดสำคัญในอำเภอ - กิจกรรมวิถีไทยวิถีพุทธ - วัดสำคัญในชุมชน สร้างความสุข/แก้ปัญหา - บริเวณศูนย์กลางของชุมชน ชุมชนที่คิดริเริ่มจากคนใน หรือสถานที่ที่เหมาะสม ชุมชน
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ผู้รับผิดชอบ - กองทัพบก - กองทัพเรือ - กองทัพอากาศ - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ - กระทรวงมหาดไทย - จังหวัดทุกจังหวัด - ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธ ศาสนาแห่งประเทศไทย - จังหวัด/อบจ. ๗๖ จังหวัด - อำเภอ ๙๒๗ อำเภอ - เทศบาล ๑,๒๔๑ เทศบาล - อบต. ๖,๖๘๕ อบต. โดยความร่วมมือของ - วัดทั่วประเทศ - สถานศึกษา - องค์กรภาคเอกชน ในพื้นที่
(นางสุกุมล คุณปลื้ม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
มหัศจรรย์วิถีไทย วิถีพุทธ ๑ จังหวัด ๑ พุทธบูชา ๑ อำเภอ ๑ พุทธบูชา ๑ ท้องถิ่น ๑ พุทธบูชา สร้างสุข-เป็นอยู่สบายทั่วไทย
1.60x3.00 m.