IPE MSU Book 2017

Page 1

àÃ×èͧàÅ‹Ò´Õæ

IPE @ MSU 2017 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหา คาม




บทบรรณาธิการ


ห้องเรียนที่ให้ผลสัมฤทธิ์ได้ดีที่สุด มิใช่ห้องเรียนสี่เหลี่ยมในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็น โลกภายนอกทั้งใบที่เปรียบเสมือนขุมทรัพย์ของการเรียนรู้ที่ไม่มีสิ้นสุด ความจริงในข้อนี้จะ ท�ำให้ผู้อ่านได้เห็นเรื่องราวที่สะท้อนผ่านการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านในชุมชน เพื่อไปเรียนรู้มนุษย์ เรียนรู้ชีวิต และความเป็นอยู่ของพวกเขา ความยากของงานแต่ละชิ้นในเล่มนี้ คงหนีไม่พ้นความละเอียดอ่อนของแต่ละ ครอบครัวที่พวกเรานิสิตชั้นปีที่ 2 จากภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พยายามบอกเล่าสะท้อนผ่านความเจ็บป่วย ความงาม ความสุข ความทุกข์ และการดิน้ รนเพือ่ มีชวี ติ อยูข่ องครอบครัวทีห่ ลากหลายภายใต้บริบทชุมชนเดียวกัน งานทัง้ หมดนีจ้ ะเกิดขึน้ ไม่ได้หากไม่มโี อกาสเข้าร่วมโครงการ IPE (Interprofessional Education) ซึง่ เป็นการจัดการเรียนการสอนระหว่างวิชาชีพ 5 คณะ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ และคณะวิทยาการสารสนเทศ (นิเทศศาสตร์) ซึง่ โครงการนีม้ งุ่ เน้นให้นสิ ติ จาก 5 คณะได้ลงพืน้ ทีเ่ ยีย่ มบ้านผูป้ ว่ ยในชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึง่ การเยีย่ มบ้านคือรูปแบบหนึง่ ของการ ดูแลผู้ป่วยโดยแพทย์และทีมงานที่เกี่ยวข้อง หลังจากจบโครงการนีท้ ำ� ให้พวกเราเห็นคุณค่าของการท�ำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพ ที่กล่าวมาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และพวกเรายอมรับว่างานสารคดีทุกชิ้นจะส�ำเร็จไม่ได้ หากไม่มีอาจารย์ผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนทั้ง 5 คณะ พี่ๆ อสม. รวมถึงผู้ป่วยทุกคนในชุมชน บูรพาและปัจฉิมทัศน์ อ.เมือง จ.มหาสารคาม อย่างไรก็ตาม การได้ลงพืน้ ทีแ่ ละการเรียบเรียงเป็นตัวอักษรบอกเล่าผ่านงานสารคดี ในครั้งนี้ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากที่จะกล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้เป็นงานเขียน ที่มีคุณค่าเพียงพอ แต่ทั้งนี้คงต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้อ่านในการตีความงานแต่ละชิ้น ถึงข้อดีและข้อด้อย ซึ่งเราขอน้อมรับความผิดพลาดทุกประการ และถือเป็นสิ่งที่มีค่าในการ พัฒนาศักยภาพในการเล่าเรื่องของพวกเราต่อไป บรรณาธิการบริหาร อรสา ศรีดาวเรือง


สารบัญ 8

16

22

“คุณตาทรงศักดิ์”

ชีวิตหลังเกษียณของ “แม่สมพร”

หยาดเหงื่อนี้...เพื่อแม่

ผู้ป่วยหัวใจแข็งแกร่ง

26

34

42

46

ก�ำลังใจที่ดี เริ่มต้นจากครอบครัว

สุขสร้างได้ภายใต้ความดัน

ความดัน ภายใต้ความกดดัน

ก�ำลังใจที่ไม่มีวันหมด

52

62

66

สายใยแห่งรักอันบริสุทธิ์

เบาหวาน..โรคติ ด ต่ อ ทาง พฤติกรรมที่คาดไม่ถึง

อยู่ กับ โรค (เบาหวาน ความดัน ไขมัน ในเลือดสูง)


74

78

84

ชี วิ ต ในวั ย ใกล้ ฝ ั ่ ง ของ “ยาย ประจร”

ตามติดชีวิตของ .. “ยายมีนา”

ก่ อ นจะถึ ง บั้ น ปลายชี วิ ต ที่ แสนสุขของ .. “แม่ทูล”

90

96

102

108

การดูแลเอาใจใส่ .. สร้างความสุขที่ยั่งยืน

ชีวิต...ที่ไร้จุดหมาย

อาการนอนไม่หลับ ในผู้สูงอายุเกิดขึ้นจริงหรือคิด ไปเอง

ก�ำลังใจ...พลังแห่งชีวิต

116

120

126

อาหารของผู้ป่วย .. สิ่งเล็กๆที่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ

“คุณลุงสะท้าน” กับการอยู่ร่วม กันของโรคเก๊า

ผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีความสุขที่สุด


“คุณตาทรงศักดิ์” ผู้ป่วยหัวใจแข็งแกร่ง เรื่องและภาพ : พิมลพรรณ ปุริมศักดิ์


เช้าวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม ฉันออกเดิน ทางไปท�ำงานในโครงการ IPE (Interprofessional Education) หรือ การจัดการเรียนการสอนร่วมระหว่างวิชาชีพ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้ มีโอกาสลงพื้นที่ร่วมกับเพื่อนคณะอื่น ๆ ฉันเดินทางกับเพื่อนจาก คณะแพทย์ฯ อีกหนึ่งคน ถึงแม้เราจะรู้จักกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ เราก็เข้ากันได้ดแี ละเริม่ สนิทกันในเวลาอันรวดเร็ว เป้าหมายการเดิน ทางของพวกเราอยู่ที่ชุมชนบูรพา ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม สิง่ ทีน่ สิ ติ ทุกคนในกลุม่ ต้องรับผิดชอบคือการลงพื้นทีเ่ ยีย่ มบ้านของ ผู้ป่วยที่เราทุกคนก็ไม่รู้มาก่อนว่าเขาเป็นใคร และป่วยเป็นโรคอะไร แต่เราต้องเรียนรูแ้ ละร่วมกันแก้ปญ ั หาในสิง่ ทีเ่ ขาก�ำลังเผชิญอยูไ่ ม่วา่ จะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ หรือสภาพแวดล้อม ฉั น และเพื่ อ นจากต่ า งคณะ ซึ่ ง ประกอบไปด้ ว ยคณะ แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ และคณะวิทยาการสารสนเทศ ภาควิชา นิเทศศาสตร์ที่ฉันก�ำลังศึกษาอยู่ เราเดินทางไปถึงบ้านเลขที่ 627 หมูท่ ี่ 22 ถนนนครสวรรค์ ซึง่ เป็นบ้านของนายทรงศักดิ์ พลวุธ ชาย สูงวัยอายุ 80 ปี ที่นั่งรอต้อนรับพวกเราอยู่ เมื่อไปถึงบ้านของคุณ ตาทรงศักดิ์ เราก็กล่าวทักทายคุณตาและแนะน�ำตัวเองว่ามาจาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมาเพื่อจุดประสงค์อะไร จากนั้นทุก คนก็เริ่มท�ำหน้าที่ของตัวเอง

IPE@MSU2017

-9-


- 10 โรคความดันโลหิตสูง และอัมพาตครึ่งซีก เพือ่ นคณะแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และพยาบาลศาสตร์ ต่างเข้าไปพูดคุยและสอบถามอาการความเจ็บป่วยและสุขภาพของ คุณตา ส่วนเพื่อนสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก็เดินส�ำรวจรอบบ้านและ วัดพืน้ ทีบ่ า้ นเพือ่ เขียนแปลนบ้านและหาจุดทีค่ วรแก้ไขเพือ่ ลดความ เสีย่ งต่ออันตราย ส่วนตัวฉันเองก็เดินเก็บข้อมูลและเก็บภาพบริเวณ ต่าง ๆ ภายในบ้านให้ได้มากที่สุด พวกเราทุกคนต่างกระจายตัวท�ำ หน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมายมาด้วยความตั้งใจ เมื่อได้พูดคุยกับคุณตามาสักระยะหนึ่ง ท�ำให้เรารู้ว่า คุณ ตามีปัญหาร่างกายซีกขวา เนื่องจากเคยเป็นเส้นเลือดในสมองแตก มาก่อนหรืออัมพาตครึ่งซีกนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีโรคประจ�ำตัวคือ โรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย คุณตาทรงศักดิบ์ อกกับพวกเราว่า “ตาป่วยเป็นความดันมา ได้ 20 ปีแล้ว ตัง้ แต่อายุ 60 ปี ทานยาอย่างสม�ำ่ เสมอ ดูแลตัวเองเป็น อย่างดี ถ้าเวลาที่ความดันขึ้นก็จะเครียดบ้าง แต่ก็ไม่ได้เครียดเรื่อง อาการป่วยหรือปัญหาอะไรที่ใหญ่โต จะเครียดแค่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ แล้วก็หายไปเอง ความดันปกติก็จะอยู่ที่ 139-140 ถ้าเวลาความดัน ขึน้ ก็จะประมาณ 150 ส่วนร่างกายซีกขวาทีเ่ ป็นอัมพาตก็ยงั สามารถ ด�ำรงชีวติ ประจ�ำวัน ช่วยเหลือตัวเองและออกก�ำลังกายได้ตามปกติ” คุณตาบอกเล่าถึงอาการป่วยของตนเอง ชีวิตก่อนที่จะเจ็บป่วย คุณตาทรงศักดิย์ งั เล่าเรือ่ งราวชีวติ ก่อนทีจ่ ะเจ็บป่วยให้เรา พวกฟังว่า “เมือ่ ก่อนท�ำอาชีพตัดเย็บเสือ้ ผ้าอยูห่ ลายปี ต่อมาพอเป็น ความดันสูงบ่อยๆ ท�ำให้สภาพร่างกายไม่ไหวจึงต้องเลิกท�ำอาชีพ นี้ไป บวกกับเมื่อตอนที่เปิดร้านเย็บผ้ามีเพื่อนและคนรู้จักเพิ่มมาก ขึ้นก็ท�ำให้ดื่มสุราหนักมาก สุดท้ายก็มาล้มป่วยลงด้วยเส้นเลือดใน สมองแตก จนส่งผลให้ร่างกายเป็นอัมพาตซีกขวา จึงต้องหยุดดื่ม สุราอย่างถาวร” เพื่อนที่เป็นพยาบาลจึงถามต่ออีกว่า ก่อนที่เส้นเลือดใน สมองแตกคุณตามีอาการอย่างไร


- 11 -

ทุกวันนี้ที่เป็นอยู่ ก็ท�ำกิจวัตรได้ปกติ มันเปลือง ตาไม่อยากได้ ตาช่วยเหลือตัวเองได้ เอาเงินเก็บไว้ท�ำอย่างอื่น ดีกว่า ไม่อยากได้อะไรแล้ว ตาแก่แล้ว อยู่แบบนี้ก็สบายดี

IPE@MSU2017

“ตาเริม่ เวียนหัว ลืมตาไม่คอ่ ยขึน้ มือสัน่ พูดจาไม่รเู้ รือ่ ง ท�ำ อะไรก็ไม่รสู้ กึ ตัว ทรมาน ก้าวขาล�ำบากมาก ตอนทีเ่ ป็นแรกๆ ก็ตอ้ ง เข้าโรงพยาบาล จากนัน้ ก็รกั ษาอาการอยูต่ ลอด ประมาณ 7-8 เดือน อาการถึงดีขึ้น” คุณตาเล่าด้วยใบหน้าที่ยิ้มเล็กน้อย ไม่ได้แสดงถึง ความเจ็บปวดกับอาการป่วยที่เกิดขึ้นในตอนนั้นเลย


- 12 -

ครอบครัวและผู้ดูแลคุณตา การใช้ชีวิตในบ้านหลังนี้ ตาบอกกับพวกเราด้วยใบหน้าที่ นิ่งเฉยว่า “ตาอาศัยอยู่กับลูกสาวและหลานสาว ภรรยาเสียชีวิตไป นานแล้ว ส่วนมากก็จะเป็นหลานสาวที่อยู่ด้วยตลอด นอกจากเวลา ที่หลานต้องไปเรียน พ่อกับแม่ของหลานสาวไปท�ำงานอยู่ที่อื่นไม่ ได้อยูด่ ว้ ย แต่กม็ ลี กู สาวอีกคนหนึง่ ทีค่ อยดูแลตาเรือ่ งอาหารการกิน และเรื่องต่างๆ ภายในบ้าน ตามีลูกชายอีก 1 คน เป็นทหารก็จะแวะ มาเยี่ยมบ้างตามโอกาสหรือเวลาว่าง แล้วตาก็มีหลานสาวอีก 1 คน เป็นพยาบาลอยู่ จ.ลพบุรี จะโทรมาหาทุกวัน ถามเรือ่ งยาและอาการ ป่วยเป็นประจ�ำ” ตาทรงศักดิ์ยังเล่าต่ออีกว่า “ในตอนเช้าก็จะตื่นตั้งแต่ตี 4 เพื่อเดินออกก�ำลังกาย นึ่งข้าวและท�ำกิจวัตรประจ�ำวันต่างๆ แต่ใน เรื่องอาหาร ลูกสาวจะเป็นคนท�ำไว้ให้ แล้วเขาค่อยออกไปข้างนอก ตาจะนัง่ เล่นอยูใ่ นบ้าน นอนพักผ่อนบ้าง กลางวันหลานไปเรียนก็ไม่ ค่อยมีเพื่อนคุย” เมื่อคุณตาเล่าจบ เราทุกคนสัมผัสได้ถึงพลังความ คิดถึง แต่เราก็ไม่สามารถรู้ว่าตาก�ำลังคิดถึงใครอยู่ เพราะคุณตาไม่ ได้บอกกับพวกเรา


IPE@MSU2017

- 13 -


- 14 ดูแลตนเองทั้งด้านร่างกายจิตใจ แม้จะป่วยเป็นความดันโลหิตสูงและอัมพาตครึง่ ซีก แต่กไ็ ม่ ได้น้อยเนื้อต�่ำใจหรือเก็บเอาอาการป่วยมาซ�้ำเติมตัวเอง แต่คุณตา ยังใช้ชีวิตอย่างปกติสุข ช่วยเหลือตนเองได้ เขาบอกกับเราว่า “ตา สามารถท�ำทุกอย่างได้เองปกติ ตื่นตั้งแต่ตี 4 มาออกก�ำลังกาย ท�ำ กิจวัตรประจ�ำวัน อาบน�้ำเองได้ไม่ต้องให้ใครอาบให้ หนึ่งวันจะกิน ข้าวแค่ 2 มื้อ คือตอนเช้าจะกินน�้ำข้าวกล้องกับขนมปัง ตอนเย็น จะกินอาหารปกติทั่วไป ส่วนมากก็จะกินพวกปลา ผัก ผลไม้ ไม่ ชอบกินเนื้อ ตอนกลางวันจะกินแค่โอวัลติน ส่วนมากก็จะช่วยเหลือ ตัวเอง ตารู้สึกว่าทุกอย่างถ้าท�ำได้ก็จะท�ำเอง ไม่ต้องให้ใครมาดูแล มากมาย” ตาบอกกับพวกเราด้วยใบหน้าที่ย้ิมแย้ม พวกเรายังถาม ต่ออีกว่า เวลาอยู่บ้านตาท�ำอะไรบ้าง “ตาก็หาอะไรท�ำไปเรือ่ ย แต่กไ็ ม่คอ่ ยมีอะไรให้ทำ� ส่วนมาก จะนอนพักผ่อน มีหลานสาวอยูด่ ว้ ยบ้าง เรือ่ งสภาพจิตใจตาก็ไม่คอ่ ย มีอะไรให้คิด ไม่เครียดเท่าไหร่ เมื่อก่อนอยู่กับภรรยาสองคน พอ ภรรยาเสียชีวิตก็ย้ายมาอยู่บ้านหลังนี้มีลูกสาวกับหลานคอยดูแล” ตาเล่าด้วยใบหน้าที่เปื้อนยิ้ม ฉันเองสัมผัสได้ถึงความคิดถึงต่อใคร สักคนที่คุณตาก็ไม่ได้พูดออกมา อาจจะเป็นภรรยาที่จากไปหรือลูก หลานที่ไปอยู่ต่างถิ่นก็เป็นได้ บั้นปลายชีวิตและการปล่อยวาง เมื่อเพื่อนจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ส�ำรวจบ้าน เสร็จก็พบปัญหาในหลายๆ ด้าน ที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณ ตา ทั้งที่นอนซึ่งเป็นบริเวณที่อับมาก อากาศไม่ถ่ายเท แถมยังเป็น บริเวณที่สุนัขอาศัยอยู่ร่วมกับคุณตาด้วย ที่อยู่อาศัยมีแสงสว่างไม่ เพียงพอ บ้านติดถนนมีเสียงดังรบกวนและมีฝนุ่ มลภาวะมากมาย ที่ เป็นปัญหาใหญ่และอาจส่งผลกระทบต่อคุณตาโดยตรงเลยก็คงเป็น บริเวณห้องน�้ำที่ไม่มีแผ่นกันลื่น ไม่มีราวจับ และเป็นโถส้วมแบบ คอห่าน ซึง่ อาจเกิดอันตรายเป็นอย่างมากด้วยอาการกล้ามเนือ้ อ่อน แรง และอาการอัมพาตครึ่งซีกของคุณตา


พวกเราได้ชแี้ จงปัญหาให้คณ ุ ตาได้ทราบและแนะน�ำวิธกี าร แก้ปัญหาต่างๆ แนะน�ำให้ใช้สิ่งอ�ำนวยความสะดวก แต่คุณตายอม รับแค่เพียงการแก้ปัญหาเรื่องแยกบริเวณของสุนัขกับบริเวณที่คุณ ตาอาศัยอยู่ การจัดระเบียบเฟอร์นิเจอร์และเตียงนอนเท่านั้น ส่วนเรือ่ งสิง่ อ�ำนวยความสะดวกในการท�ำกิจวัตรประจ�ำวัน คุณตากลับปฏิเสธที่จะยอมรับ พร้อมบอกกับเราว่า “ไม่ต้องใช้ก็ได้ เพราะทุกวันนี้ที่เป็นอยู่ก็ท�ำกิจวัตรได้ปกติ มันเปลือง ตาไม่อยาก ได้ ตาช่วยเหลือตัวเองได้ เอาเงินเก็บไว้ท�ำอย่างอื่นดีกว่า ไม่อยาก ได้อะไรแล้ว ตาแก่แล้ว อยูแ่ บบนีก้ ส็ บายดี” คุณตาบอกกับเราพร้อม ส่ายหัวไม่รับข้อเสนอใดๆ ที่พวกเราอยากช่วยเพื่อให้คุณตาสะดวก สบายและปลอดภัยขึ้น ฉันและเพื่อนทุกคนพยายามหาเหตุผลพูดคุยและเสนอ แนวทางต่างๆ เพื่อให้คุณตายอมรับแนวทางการช่วยเหลือนี้ แต่ดู เหมือนว่าจะไม่ได้ผล จนพวกเราต้องยอมรับการตัดสินใจของคุณ ตา หากพวกเรามีกำ� ลังทรัพย์ทมี่ ากพอก็อยากจะช่วยเหลือสิง่ อ�ำนวย ความสะดวกต่างๆนี้ เพือ่ ให้มคี ณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ และอยูก่ บั ลูกหลาน ได้นานๆ รอยยิ้มที่คุณตาส่งมาให้พวกเรา เขาดูมีความสุขมากเวลา ที่เล่าเรื่องต่างๆ ของตัวเองให้พวกเราฟัง ฉันรับรู้ได้ถึงความรู้สึก บางมุมทีค่ ณ ุ ตาอาจจะคิดถึงใครสักคน แต่มนั ดูเหมือนจะไม่ใช่ความ เหงา เขาพยายามใช้ชวี ติ โดยทีไ่ ม่ให้เดือดร้อนหรือเป็นภาระของลูก หลาน ด�ำรงชีวิตไปอย่างมีความสุขด้วยอายุ 80 ปี บั้นปลายชีวิตไม่ ได้ต้องการสิ่งแต่งเติมใด ๆ ด�ำรงชีวิตอยู่กับโรคความดันโลหิตสูง และอัมพาตครึ่งซีกที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ แม้จะเสียคนข้าง กายที่เป็นคู่ชีวิตอย่างภรรยาไป แต่ก็ยังมีลูกหลานคอยเป็นแรงใจ ส�ำคัญ และหัวใจของคุณตาทรงศักดิ์เองที่แข็งแกร่ง ซึ่งฉันไม่ได้พบ บ่อยนักในผู้สูงอายุเช่นคุณตาทรงศักดิ์ผู้นี้ u

IPE@MSU2017

- 15 -


ชีวิตหลังเกษียณของ “แม่สมพร” เรื่องและภาพ : พรนภา เทพสกล


เมื่อแสงอาทิตย์แรกของวันถูกบดบังด้วยเมฆฝนหนาครึ้ม หยาดฝนเม็ดแล้วเม็ดเล่าโปรยลงมาไม่ขาดสาย เวลาผ่านไปเนิน่ นาน จนกระทั่งฝนเริ่มซาลง เหลือไว้เพียงความชื้นในอากาศจางๆ ฉัน ขับรถจักรยานยนต์มาหยุดที่วัดปัจฉิมทัศน์ อ.เมือง จ.มหาสารคาม ท่ามกลางอากาศเย็นในยามเช้า เป็นเหตุให้เพือ่ นเกือบทุกคนต้องใส่ เสื้อแขนยาวเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หลังจากที่ฝนหยุดตกได้สักพักใหญ่ๆ เวลาล่วงเข้าสู่ 9 นาฬิกา แต่อากาศเริ่มจะร้อนอบอ้าว ฉันและเพื่อนเดินเข้าไปใน ซอยเล็กๆ ของชุมชนปัจฉิมทัศน์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลในโครงการ IPE (Interprofessional Education หรือการจัดการเรียนการสอนร่วมระหว่างวิชาชีพ ที่จัดขึ้น โดยมีหลากหลายคณะเข้าร่วมด้วย ทั้งคณะแพทยศาสตร์ คณะ เภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ คณะวิทยาการสารสนเทศ สาขานิเทศศาสตร์ ซึง่ การร่วมมือกันของ เหล่า 5 คณะในครั้งนี้ ก็เพื่อให้เราได้เรียนรู้ความเป็นมนุษย์ เข้าใจ ชุมชนมากขึ้น ฉันตื่นเต้นกับการเรียนรู้ที่รออยู่ข้างหน้านี้ ฉันจะไป เจออะไรบ้างกันนะ ไม่นานนัก พวกเราได้เดินมาหยุดอยู่ที่บ้านหลังหนึ่ง ซึ่งมี บริเวณบ้านเป็นลานกว้าง ข้างบ้านประดับไปด้วยต้นราชพฤกษ์เรียง ราย และมีเรือนหลังเล็ก ๆ ส�ำหรับนั่งเล่นพักผ่อน ฉันกวาดสายตา ไปกระทั่งพบ แม่สมพร หรือนางสมพร กิณเรศ อายุราว 60 ปีเศษ อดีตข้าราชการเกษียณอายุ ผูท้ เี่ ราได้รบั มอบหมายให้มาเรียนรูแ้ ละ เยี่ยมบ้านในครั้งนี้ เธอหันมาทางพวกเราด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม พร้อม กับทักทายด้วยน�้ำเสียงที่เป็นมิตรว่า “ สวัสดีจ้า เข้าไปนั่งในบ้านดีกว่าลูก ” พวกเรายิ้มรับพร้อมกล่าวสวัสดี การสนทนาจึงได้เริ่มขึ้น

IPE@MSU2017

- 17 -


- 18 ชีวิตหลังเกษียณ แม่สมพรเล่าถึงชีวิตหลังเกษียณอายุราชการของตน ว่า ข้าราชการที่มีอายุครบ 60 ปี คงจะเป็นช่วงเวลาที่ชีวิตแปรปรวนไป ไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือเธอ ที่เป็นครูมาหลายสิบปี การเกษียณอายุ ท�ำให้เธอไม่ตอ้ งตืน่ แต่เช้าเพือ่ ไปท�ำงาน ไม่ตอ้ งเตรียมการเรียนการ สอน ไม่ต้องใช้เวลาเกือบทั้งวันกับการสอนหนังสือ ไม่ได้เจอเพื่อน ครูด้วยกัน และไม่ได้พบปะกับนักเรียนเช่นเคย ความเครียดในการ ท�ำงานดูเหมือนจะหายไป แต่สำ� หรับแม่สมพรนัน้ ความเปลีย่ นแปลง นี้ท�ำให้เธอต้องคิดหนัก ว่าเธอจะจัดการกับเรื่องการเงิน และชีวิตที่ ต้องอยู่บ้านแทนการออกไปพบเจอผู้คนเช่นเมื่อก่อนอย่างไรหนอ “ว่างๆ แม่ก็จะไปขายของ ขายขนม กล้วยฉาบ แต่ไม่ ได้ขายเพื่อเอาก�ำไรอะไรมาก ว่างก็ไปท�ำ บางวันก็ปลูกต้นไม้ ท�ำ สวนเล็ ก ๆ ที่ บ ้ า น แต่ พ อท� ำไปเริ่ ม มี อ าการปวดหลั ง ก็ เ ลยงด” แม่สมพรเล่าไปพร้อมกับชี้ไปที่สวนเล็กๆ ตรงหน้าบ้านของเธอ เธอเล่าถึงสุขภาพของเธออีกว่า ช่วงหลังๆ มานี้ เธอมักมี อาการปวดขา ปวดหลัง แม้พักหลังเธอจะไม่ค่อยท�ำงานหนักเพราะ ความเป็นห่วงของลูกสาว จึงได้แต่เลี้ยงหลานอยู่ที่บ้านเท่านั้น ซึ่ง บ้านของแม่สมพรอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อลูกสาวแต่งงานมี ครอบครัวและมีหลานให้เธออุ้ม พร้อมกับที่เธอเกษียณราชการ เธอ จึงรับหน้าที่ดูแลหลานทั้งสามคน คือกอหญ้า ภูผา และไอน�้ำไปโดย ปริยาย “บางวันเลี้ยงหลานเหนื่อยมาก แม่ก็จะแอบไปนอนพัก ที่ เ รื อ นตรงหน้ า บ้ า น แต่ ยั ง ไม่ ทั น หลั บ ตา หลานร้ อ งไห้ ก็ ต ้ อ ง รีบมาดู เหนื่อยมาก เลี้ยงภูผา กอหญ้า และไอน�้ำ บางวันงอแง แม่ ไ ม่ ไ ด้ พั ก เลย” เธอส่ า ยหั ว เบาๆ พร้ อ มกั บ สี ห น้ า ที่ ดู อิ ด โรย


ปัญหาด้านสุขภาพและความเครียด ปัญหาสุขภาพทีน่ า่ เป็นห่วงของแม่สมพร คือโรคกระเพาะ ที่เป็นมานานกว่า 30 ปี และอาการปวดเมื่อยตามร่างกายที่นับวันก็ ยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามวัย เธอเล่าว่า “บางวันแม่ไม่ทานข้าวแต่จะทานโจ๊กแทน ชอบ กินข้าวเหนียว บางครัง้ กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ กินอาหารไม่ตรงเวลา แม่จะมีปญ ั หาการเคีย้ วอาหารไม่คอ่ ยละเอียด เพราะฟันห่าง และใส่ ฟันปลอม” พฤติ ก รรมการทานอาหารแบบนี้ เป็ น สาเหตุ ส� ำ คั ญ ของโรคกระเพาะที่ เ ป็ น อยู ่ และนอกจากนี้ เ ธอยั ง มี อ าการ ภู มิ แ พ้ ก� ำ เริ บ ซึ่ ง เริ่ ม เป็ น ช่ ว งหลั ง เกษี ย ณ คื อ มั ก มี อ าการไอ ทั้ ง วั น ทั้ ง คื น แพ้ อ ากาศครึ้ ม ฟ้ า ครึ้ ม ฝน และแพ้ ฝุ ่ น จากเสื้ อ ผ้ า “แม่เคยผ่าต้อเนื้อที่ตา ผ่าออกเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ตอนนี้ก็ มองเห็นปกติ อ่านหนังสือได้ไม่ต้องใส่แว่นตาเลย” แม่สมพรพูดไป ยิ้มไป เธอยังเล่าถึงเหตุการณ์ปัจจุบันที่เพิ่งเจออีกว่า เมื่อ 4-5 วันที่ แล้ว คือเธอปัสสาวะออกมาเป็นเลือด แต่ไม่มีอาการปวดหรือแสบ ขัดเวลาปัสสาวะ เธอตกใจและกังวลมาก คิดว่าเป็นผลมาจากการ กินยาธาตุน�้ำแดง และตอนนี้ก็ยังไม่ได้ไปตรวจว่าสาเหตุจริงๆ เกิด จากอะไร นอกจากปัญหาเรื่องของสุขภาพกายแล้วก็ยังมีเรื่องของ สุขภาพจิตอีกด้วย เพราะแม่สมพรเป็นคนขี้น้อยใจ เวลามีปัญหาใน ครอบครัวหรือทะเลาะกับลูก เธอจะดุด่า และมักจะพูดกับลูกว่าหาก วันไหนเกิดเจ็บป่วยล้มหมอนนอนเสื่อขึ้นมาก็คงไม่มีอะไรต้องเป็น ห่วง เพราะได้แบ่งมรดก ที่ดิน ไว้ให้ลูกหลานทุกคนเรียบร้อยแล้ว สุดท้ายเธอก็แอบไปร้องไห้คนเดียว ทั้งนี้เธอยังเครียดเรื่องลูกชาย ทีไ่ ปอยูก่ บั แฟนโดยทีย่ งั ไม่ได้แต่งงานกันอย่างถูกต้องตามประเพณี “เวลาแม่มเี รือ่ งให้ทะเลาะกับลูก แม่กจ็ ะยืนเถียงๆ ว่าๆ จน ด่าว่าอะไรไม่ออก พอเถียงไม่ได้ แม่ก็เดินหนีออกไปนอกบ้าน” น�้ำ เสียงของเธอฟังดูแผ่วเบาและแววตาดูเศร้า

IPE@MSU2017

- 19 -


- 20 จิตใจของผู้สูงอายุ ปัญหาดังกล่าวนี้เอง ที่บั่นทอนสุขภาพทั้งทางกายและใจ ของเธอ และเป็นเหตุให้ปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ ตามมา ทั้งนี้แม่ก็ ไม่ได้ละเลยปัญหาเหล่านี้ และตระหนักถึงความส�ำคัญของการดูแล สุขภาพตนเองมากขึน้ ขัน้ แรกเธอเริม่ จากการลดอาหารประเภทเนือ้ สัตว์ และทานพืชผักมากขึ้นเพื่อช่วยฟื้นฟูระบบภายในร่างกายเป็น อันดับแรก “เวลาเจ็บป่วยแม่ก็จะไปหาหมอที่โรงพยาบาล บางครั้งก็ ขับรถมอเตอร์ไซค์ไปเอง แต่ถ้ามีอาการวิงเวียน รู้สึกว่าไม่ไหวก็จะ ให้ลูกพาไป แม่จะทานยาตามที่หมอสั่งตลอด น�้ำอัดลม ของหมัก ดองจะไม่ทาน จะเลือกทานอาหารอ่อนๆ” เธอพูดด้วยน�ำ้ เสียงทีร่ าบ เรียบ และจากใบหน้าที่เศร้าตรมดูเหมือนจะกลับยิ้มแย้มได้อีกครั้ง แม่สมพร ยังเล่าต่ออีกว่า เธออายุมากแล้วและเป็นคนกลัว ตาย ป่วยนิดๆ หน่อยๆ ก็ตอ้ งไปหาหมอทีโ่ รงพยาบาล โดยจะไม่ซอื้ ยามากินเอง ทีส่ ำ� คัญเรือ่ งของอาหาร เธอจะท�ำอาหารรับประทานเอง กับครอบครัว ไม่ค่อยซื้ออาหารถุงพลาสติก เพราะอาหารนอกบ้าน มักจะใส่ผงปรุงรสเยอะและอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนด้านจิตใจนั้น แม้ก่อนหน้านี้เธอจะมีความเครียดจาก อาการน้อยใจคนในครอบครัว แต่พวกเขาก็เป็นก�ำลังใจส�ำคัญของ เธอให้เธอฮึดสู้กับโรคภัยและหันมาดูแลตัวเองมากขึ้น “เวลาไม่สบายใจก็จะสวดมนต์ ไหว้ขอพรคุณพระคุณเจ้า ให้ช่วยคุ้มครอง และก็เอารูปภาพของลูกหลานอัดใส่กรอบตั้งโชว์ ภายในบ้าน เวลาเครียดๆ แล้วมองเห็นทีไรก็ทำ� ให้มกี ำ� ลังใจทีจ่ ะดูแล สุขภาพและอยากมีชวี ติ มากขึน้ ” แม่สมพรเล่าให้ฟงั ขณะทีส่ หี น้าและ แววตาดูมีความสุขมากขึ้น


ผู้สูงอายุมักมองว่าตนเองด้อยค่า ต้องพึ่งพาผู้อื่น ร่างกาย ก็เสื่อมโทรม ไม่สามารถท�ำสิ่งใดได้ดี และเป็นเหตุให้พวกเขาเกิด อาการท้อแท้และขี้น้อยใจได้ง่าย สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย จ�ำเป็นที่ คนในครอบครัวต้องใส่ใจ ท�ำความเข้าใจ และให้กำ� ลังใจผูส้ งู อายุมากขึน้ เมื่อการสนทนาพวกเราสิ้นสุดลง ฉันจึงขอตัวกลับพร้อม ยกมือไหว้แม่สมพร แล้วเดินออกมานั่งตรงหน้าประตู ก้มลงใส่ รองเท้า ภารกิจวันนี้ของฉันจบแล้ว แต่เรื่องราวของแม่สมพรกลับ ท�ำให้ฉนั รับรูถ้ งึ จิตใจของผูส้ งู อายุทตี่ อ้ งการให้ลกู หลานอย่างเราคอย ดูแลเอาใจใส่ ไม่ควรปล่อยปละละเลยจนท�ำให้เกิดความเครียดสะสม เพราะผูส้ งู อายุจะมีความรูส้ กึ ทีอ่ อ่ นไหวมากกว่าคนปกติ หากเขาได้ รับความรักความเอาใจใส่จากสายใยของครอบครัว ฉันมั่นใจว่าผู้สูง อายุและคนป่วยทุกคน จะต้องมีพลังชีวิตในการต่อสู้กับโรคร้ายได้ อย่างแน่นอน u

IPE@MSU2017

- 21 -


หยาดเหงื่อนี้...เพื่อแม่ เรื่องและภาพ : สุธาสินีวรรณ จันทร์เพ็ญ


“อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” ส�ำนวนที่หลายคนคุ้นหูกันดี และเป็นประโยคที่คอยย�้ำเตือนเราว่า ไม่มีใครต้องการเป็นโรคทั้งนั้น แต่เมื่อเวลาที่โรคภัยมาถึง เราจะท�ำ อะไรได้ นอกเสียจากยอมรับมัน และหาทางดูแลรักษาให้หายขาด หรือทุเลาลงเท่าที่จะท�ำได้ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ดังเช่นน้าวิรัตน์ เจริญศิริ ผู้เป็นลูกที่ไม่อยากให้แม่ของเธอเจ็บป่วยจากโรคภัยเช่นกัน ช่ ว งสายของวั น ที่ ท ้ อ งฟ้ า โปร่ ง อากาศแจ่ ม ใส เสี ย ง เครื่องยนต์จากผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาตามถนนในซอยเล็กๆ ริม คลองสมถวิล จ.มหาสารคาม หากเราขับรถผ่านจะพบร้านขายขนม บัวตั้งอยู่ริมข้างทาง และเมื่อมองไปจะเห็นหญิงร่างเล็กคนหนึ่งและ ลูกสาวของเธอก�ำลังช่วยกันท�ำขนมบัวขาย พวกเธอช่วยกันหยอด แป้งลงไปในกระทะทีร่ อ้ นระอุ แป้งทีห่ ยอดไปนัน้ ฟูขนึ้ เป็นรูปร่างขนม บัว จากนัน้ ก็จะพลิกกลับด้านของขนมทีฟ่ แู ละคีบขนมขึน้ มาวางไว้ที่ ตะแกรงเพือ่ เตรียมขาย หญิงผูน้ คี้ อื น้าวิรตั น์ เจริญศิริ แม่คา้ ขายขนม บัว ผู้ซึ่งมีบทบาทส�ำคัญอีกอย่างคือการดูแลคุณยายบุญเติม เจริญ ศิริ แม่ของเธอทีเ่ ป็นผูป้ ว่ ยโรคความดันโลหิต และต้องได้รบั การดูแล ด้วยเพราะอายุที่มากแล้วนั่นเอง น้าวิรัตน์เล่าให้ฉันฟังด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า “เมื่อก่อนคุณ ยายเป็นแม่ค้าขายส้มต�ำไก่ย่างอยู่ตลาดในตัวเมืองมหาสารคาม ในตอนนั้นคุณยายชอบท�ำอาหารและมีสูตรท�ำขนมบัวที่ไม่เหมือน ใคร ขายของเลี้ยงลูก จนกระทั่งลูกแต่งงานงานออกไปมีครอบครัว” และในตอนนี้คุณยายพักอยู่กับน้าวิรัตน์ พร้อมกับคุณตา หลานสาว คนเล็ก หลานชายคนโต และหลานสะใภ้ ส่วนหลานชายคนโตนัน้ จะ สนิทกับคุณยายมากที่สุดเพราะว่าท่านเลี้ยงมาเองตั้งแต่ยังเด็ก

IPE@MSU2017

- 23 -


- 24 อาการป่วยเริม่ มาจากการทีค่ ณ ุ ยายเวียนศีรษะบ่อยและมัก จะหน้ามืดเป็นประจ�ำ เมื่อพาไปตรวจพบว่าเป็นโรคความดัน หมอ จึงให้ยาลดความดันมารับประทาน ท่านป่วยเป็นโรคความดันร่วม สิบกว่าปีแล้ว และในช่วงหนึ่งถึงสองปีให้หลัง ท่านมีอาการหูตึงอีก ด้วย น้าวิรัตน์บอกถึงสาเหตุว่ามาจากพันธุกรรม เพราะแม่ของคุณ ยายเป็นคนนครพนมมีเชื้อสายญวน ซึง่ ครอบครัวเชื้อสายญวนของ เธอนั้นจะมีโรคทางพันธุกรรมคือโรคหูตึง “ทีเ่ ห็นคุณยายเดิมก้มๆ คล้ายคนหลังค่อมนัน้ แท้จริงแล้ว คุณยายท่านไม่ได้หลังค่อม แต่เมื่อสิบปีก่อนท่านไปตลาดตอนเช้า มืดแล้วเกิดอาการเวียนศีรษะหน้ามืดล้มลงท�ำให้แขนหัก ท่านกลัว ว่าหากเดินหลังตรงจะหกล้มอีก” น้าวิรัตน์เล่าให้ฟัง น้าวิรตั น์ได้พาคุณยายไปหาหมอโรคกระดูกโดยเฉพาะ ซึง่ ก่อนที่เธอจะพาคุณยายไป ได้สอบถามข้อมูลจากผู้ที่ไปรักษากับ หมอโรคกระดูก เห็นว่าอาการคล้ายกัน จึงได้พาคุณยายไปรักษา คุณหมอบอกว่าน�ำ้ ในข้อต่อของคุณยายเสือ่ มและประเมินการรักษา ประมาณสามครั้งถึงจะหาย โดยวิธีการรักษาคือให้ยืดหลังและท�ำ กายภาพโดยใช้กระสอบทรายถ่วง คุณยายท�ำตามที่หมอแนะน�ำแต่ รักษาได้เพียงสองครั้งก็ไม่ไปหาหมออีกเลย เพราะท่านบอกว่าหาย ดีแล้ว ไม่ต้องพาไปหาหมอแล้ว น้าวิรัตน์จึงถามย�้ำด้วยความเป็น ห่วงและก็ได้ค�ำตอบเช่นเดิม จึงตรวจสอบอาการเบื้องต้นและถาม คุณยายว่าตรงนี้ปวดไหม ท่านก็ยังยืนยันว่าไม่ปวดเช่นเดิม ส�ำหรับการใช้เวลาร่วมกันส่วนใหญ่จะเป็นตอนเย็นหลังจาก ที่กลับมาจากขายของ ทุกคนจะทานข้าวเย็นพร้อมกับดูโทรทัศน์ไป ด้วยกัน คุณยายมักจะถามหลานทั้งสองของท่านเสมอว่าวันนี้เป็น อย่างไรบ้าง ส่วนเรื่องอาหารการกินระหว่างวัน น้าวิรัตน์จะเตรียม อาหารไว้ในตูก้ บั ข้าว มีผลไม้และนมเปรีย้ วไว้ให้คณ ุ ยายเผือ่ ท่านหิว เสมอ


- 25 -

อาการป่วยของคุณยายที่เป็นอยู่นั้น ดูเหมือนจะไม่ได้ กระทบกับชีวิตท่านมากนัก เพราะท่านใช้ชีวิตได้ไม่แตกต่างจาก เมื่อก่อนที่จะป่วย อย่างไรก็ตาม น้าวิรัตน์ก็ไม่อยากให้คุณยายท่าน ท�ำงานหนักเหมือนที่เคยท�ำมา น้าวิรัตน์ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีเงินทอง มากมาย ไม่ใช่เศรษฐีคนรวยอะไร เป็นคนหาเช้ากินค�่ำ แต่เมื่อแม่ ไม่สบาย เราจะไม่ปล่อยให้แม่อยู่ล�ำพังโดยไม่ได้รับการรักษา เรา จะรักษาและดูแลแม่ตามก�ำลังที่มี เพื่อให้สิ่งที่ดีที่สุดกับท่านเหมือน ที่ท่านเลี้ยงเรามา” u

IPE@MSU2017

เราจะรักษาและดูแลแม่ ตามก�ำลังที่มี เพื่อให้สิ่งที่ ดีที่สุดกับท่านเหมือนที่ ท่านเลี้ยงเรามา



ก� ำ ลั ง ใจที่ ดี เ ริ่ ม ต้ น จากครอบครั ว เรื่องและภาพ : ยุวดี วงษ์สิงห์


- 28 -

ดวงอาทิตย์เริ่มสาดแสงสีทองเปล่งประกายทั่วฟ้าอีกครั้ง หลังจากถูกบดบังด้วยเมฆฝน ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีกับการท�ำงาน ในเช้าวันใหม่ของใครหลายคน แต่ส�ำหรับฉันมันควรเป็นเช้าที่ต้อง นอนพักผ่อนยาวๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์ หากแต่ฉันก็ต้องบังคับตัว เองให้ตนื่ มาท�ำภารกิจส่วนตัวให้เสร็จทันเวลา เพือ่ ไปพบกับเพือ่ นๆ ทีจ่ ดุ นัดหมาย นัน่ คือทีล่ านวัดปัจฉิมทัศน์ อ.เมือง จ.มหาสารคาม ใน เวลา 08.30 น. ฉันกับจ๋อมเริ่มออกเดินทางจากหอพักอย่างไม่รีรอจนไป ถึงที่นัดหมาย แต่กลับพบเจอกับความว่างเปล่าไร้ผู้คน มีแต่ความ เงียบอยู่รอบกาย จ๋อมคือเพื่อนที่อยู่ห้องติดกัน เป็นหญิงสาวน่ารัก จัดฟัน ผมยาวสลวย ฉันเอ่ยกับจ๋อมว่า “เรามาถูกวัดอยู่ใช่ไหม” เธอ ยิม้ รับค�ำถามพร้อมตอบว่า “น่าจะใช่อยูล่ ่ะมัง้ ” ค�ำตอบของเธอท�ำให้ ฉันไม่มนั่ ใจในสถานทีท่ เี่ รายืนอยู่ แต่ไม่นานก็มเี สียงรถจักรยานยนต์ เข้ามาภายในวัด ท�ำให้เรารีบมองหาเจ้าของรถโดยทันที “นั่นไงๆ คนก�ำลังทยอยมากันแล้ว” จ๋อมเอ่ยพร้อมมอง ไปที่รถคันนั้น มันท�ำให้ฉันโล่งอกเพราะกลัวว่ามาผิดวัดเสียแล้ว และในเวลาไม่นานผู้คนก็มาพร้อมหน้ากันจนครบ นิสิตกว่าร้อย ชีวิตในวันนี้ต่างเดินทางเพื่อมาเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ I P E ( Interprofessional Education; IPE) ซึง่ เป็นโครงการทีม่ นี สิ ติ 5 คณะ ทัง้ คณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ และคณะวิทยาการ สารสนเทศ มารวมตัวกันและลงพื้นที่ในชุมชน เพื่อศึกษาปัญหา และเรื่องราวของผู้ป่วย ช่วยแก้ปัญหาตามความสามารถที่พวกเรา มี ซึ่งเราอาจได้รับแง่มุมชีวิตหรือข้อคิดใดเพื่อกลับไปพัฒนาตัวเอง ไม่นานนักพวกเราจึงเริ่มทยอยออกเดินออกจากวัดไปตามหาบ้าน ที่ได้รับมอบหมายในครั้งนี้


บ้านปูนสีขาวสองชั้น ด้านบนเป็นไม้ทาด้วยสีน�้ำตาลเข้ม หลังคาสีนำ�้ เงินทอดยาวลงมาปกคลุมบริเวณรอบบ้าน ฉันดูแผนทีท่ ี่ ถืออยู่ และแล้วพวกเราก็มาถึงที่หมายกันจนได้ ซึ่งอยู่ในซอยเล็กๆ ของชุมชนปัจฉิมทัศน์ บ้านหลังนี้มีคุณยายหนู ดวงจันทร์ทิพย์ อายุ 90 ปี ผู้มีรูปร่างผอม ผิวหนังเหี่ยวย่น เส้นผมสีขาวทั่วทั้งศีรษะ ตา ด้านซ้ายพล่ามัวแทบจะบอดสนิทและหูหนวก ทั้งยังมีนิ้วชี้มือขวาที่ งอผิดรูปและไม่สามารถเดินได้ คุณยายอาศัยอยูก่ บั ลูกสาวคนกลาง คือแม่ไสว ผู้รับหน้าที่ดูแลคุณยายหนู นอกจากนี้ยังมีลูกเขย และ หลานชายร่วมอาศัยอยู่ด้วย “ยายเป็นคนจังหวัดมหาสารคามมีลูก 9 คน ไม่มีใครรับ ราชการ ส่วนใหญ่มีอาชีพท�ำนาและค้าขาย สามีก็เสียชีวิต วันๆ ท�ำ แต่งาน มีลูกหลายคนต้องออกค้าขาย เลี้ยงมาจนโตได้เป็นฝั่งเป็น ฝาทุกคน ลูกแต่ละคนไม่ได้เรียนจบสูงเพราะไม่มีคนช่วยเลี้ยง มี แค่ 2 คนได้เรียนถึง ป.6 คือลูกชายคนเล็ก อีก 7 คน จบแค่ ป.4 เสื้อผ้าก็ต้องใส่ต่อกันมาเป็นรุ่นๆ เวลาท�ำกับข้าวก็ไม่ได้ท�ำเยอะ มี แค่ป่น ไม่มีประเภทผัดกับทอด มีไข่ต้มก็ต้องแบ่งครึ่งกันใครจะอิ่ม หรือไม่อิ่มก็ไม่ว่ากัน เพราะมีให้กินแค่นี้ สมัยก่อนยายท�ำงานหนัก ชอบตัดแบกหามไม้ คนในหมู่บ้านมักจะจ้างวานให้ไปตัดไม้ ยายก็ รับทุกงาน ช่วงหลังๆ มาเริ่มปวดตามร่างกายก็ซื้อยาชุดมากิน มัน ก็ท�ำให้กระดูกพรุน สุดท้ายร่างกายก็ทรุดลงเรื่อยๆ แต่ยายไม่ชอบ ไปหาหมอ อาศัยยาชุดอย่างเดียว” ยายหนูเปิดฉากเล่าถึงชีวิตส่วน ตัว ขณะที่ฉันยังจับมือของเธออยู่ตลอด นั่นยิ่งฉุดให้ฉันคิดถึงยาย ของตัวเองที่จากไปนานแล้ว

IPE@MSU2017

- 29 -


- 30 -

อดีตที่คุณยายประทับใจ ยายหนู เริ่มขยับริมฝีปากและเปร่งเสียงเล็กๆ ให้ดังขึ้น ว่า “สิ่งที่ยายชอบที่สุดคือการค้าขาย ไม่ชอบอยู่เฉยๆ ในสมัยก่อน ไม่มีรถขับต้องหาบของเดินขายเอา ชอบออกหาปูปลา ครั้งหนึ่ง ออกไปหาปลากับเพือ่ นในหนองน�ำ้ ใกล้ๆ หมูบ่ า้ น ก�ำลังกันหาอย่าง สนุกสนานหยอกล้อกันไป ยายจับได้ปลาไหลแต่ตอนนั้นโคลนเข้า ตาเลยต้องหลับตายกขึ้นทั้งกลัวมันหลุดมือ พอจับขึ้นมาให้เพื่อน เพือ่ นตอบกลับว่านัน่ มันงูไม่ใช่ปลาไหล ยายก็โยนออกไปแต่ดนั โยน ติดเพื่อน ท�ำเอาแตกตื่นวิ่งกันให้วุ่นวายเลย (หัวเราะ) แต่เพื่อนรุ่น เดียวกันนี้จากไปหมดแล้วเหลือแค่ยายคนเดียว (หัวเราะ)” ยายหนู ย้อนอดีตให้ฟัง ท�ำให้ฉันกับเพื่อนๆ ที่นั่งอยู่กับแม่ไสว กลั้นเสียง หัวเราะกันไว้ไม่อยู่


ก�ำลังใจอันส�ำคัญ เมื่อเวลาล่วงเลย แสงแดดเริ่มส่องสว่างทั่วอาณาบริเวณ บรรยากาศภายในบ้านเริ่มอบอ้าว หน้าต่างไม่ถูกเปิดระบายอากาศ มีเพียงพัดลมติดบนฝ้าเพดานซึง่ ให้ความเย็นได้ไม่ดพี อ ในขณะทีเ่ รา ก�ำลังสนทนากันอยูท่ ปี่ ระตูหลังบ้าน ได้มเี สียงรถจักรยานยนต์เข้ามา จอดพอดี เขาคือลูกชายคนเล็กของยายหนูซึ่งแวะเวียนมาดูแลแม่ “มันก็ขนึ้ อยูก่ บั ลูกหลาน ถ้าเอาใจใส่กม็ กี ำ� ลังใจ มีความสุข บางครั้งก็มีน้อยใจบ้างที่ไม่ใส่ใจ แต่ลูกชายคนเล็กมักจะขึ้นมาอุ้มลง ไปเล่นข้างล่างด้วยบ่อยๆ คนอืน่ ๆ ก็อยูร่ อบบริเวณบ้าน มีแวะมาหา มาเยี่ยมถามไถ่บ้าง ส่วนคนที่อยู่ไกลก็ไม่ค่อยมา แต่โทร.มาหา ถ้า วีดิโอคอลล์มา ยายมองไม่เห็น แต่ได้ยินเสียงเป็นบางครั้ง ชอบให้ ลูกหลานมานั่งข้างๆ คอยนวดแขนนวดขาให้หรือพูดคุยด้วย ยายก็ จะดีใจมาก” ยายหนูเล่าเรือ่ งก�ำลังใจของเธอให้ฉนั กับเพือ่ นฟังอย่าง ตั้งอกตั้งใจ ฉันหันไปเอ่ยถามแม่ไสว ลูกสาวคนกลางของคุณยายว่า แม่ พูดคุยกับยายบ่อยไหมคะ “โอ๊ย แม่พดู ไม่เก่ง (หัวเราะ) เมือ่ ก่อนแม่คอยนวดให้ยายอยู่ บ่อยๆ แต่เดี๋ยวนี้นั่งกับพื้นไม่ได้แล้ว ปวดหัวเข่า นั่งได้ไม่นาน แต่พี่ สาวคนโตมักจะมาเล่นพูดคุยกับยายประจ�ำ แกจะพูดเก่งเหมือนยาย เลย” แม่ไสวเอ่ยปากตอบค�ำถามฉันทันทีและหันหน้าไปมองยายหนู ที่นั่งอยู่ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มเบิกบาน

IPE@MSU2017

- 31 -


- 32 -

เคล็ดลับสุขภาพจิตและความจ�ำดี “ยายเป็นคนชอบท�ำอะไรด้วยตัวเอง ไม่อยากให้ลูกมา ล�ำบากด้วย กินข้าวกินยาจะจัดการด้วยตัวเอง วันไหนที่ไม่สามารถ ท�ำได้จะเรียกลูกมาท�ำให้ ถึงเวลาเข้าห้องน�ำ้ ยายก็อาบน�ำ้ เองโดยใช้ ขันตัก คล�ำๆ เอา กินปลาจะแกะเอง ไม่ค่อยชอบให้ลูกท�ำให้เพราะ มันไม่อร่อย ยายออกก�ำลังกายทุกวัน ยกแขน ยกขา ตามทีห่ มอให้คำ� แนะน�ำมา เพือ่ เป็นการยืดเส้นยืดสาย ท�ำบ่อยๆ ก็จำ� ได้ เวลามีคนมา เยี่ยมยายมักจะเล่าเรื่องตลก เรื่องในอดีตให้ฟังบ่อยๆซ�้ำๆ” ยายหนู เอ่ยเสียงเล็กๆ ขึ้นพร้อมกับท�ำท่าท่าประกอบยกขา แต่เกิดการผิด พลาดท�ำให้เพื่อนๆ ต้องคอยประคองด้านหลังเอาไว้ เพื่อไม่ให้หลัง ของคุณยายกระทบกับพื้น ฉันกวาดสายตามองไปรอบๆ บริเวณที่ ท่านนั่ง อยู่ข้างๆ ที่นอน มียาน�้ำที่ใช้ในการรักษาจ�ำนวนมากตั้งอยู่ ใกล้กระโถนใส่ปัสสาวะ คุณยายจะนอนใกล้ประตูเสมอท�ำให้ได้กลิ่นไม่พึงประสงค์ จากภายนอก มีอีกอย่างที่ท่านเล่าให้พวกเราฟังคือ ท่านมักจะเปิด ไฟนอนเพราะกลัวความมืดและเมือ่ ใดทีไ่ ม่มแี สงสว่างจะเรียกลูกหรือ หลานชายมาเปิดไฟให้ หนึง่ ประโยคนี้ ท�ำให้ฉนั กับเพือ่ นๆ ต่างหดหู่ และเศร้าใจเป็นอย่างมากเพราะท่านไม่สามารถขจัดความกลัวเมื่อ ไม่มีความสว่างรอบกายได้เลย


- 33 -

ทริ ม หญิ ง สาวผิ ว ขาว ผมยาวสี ด� ำ พู ด จาไพเราะ มี รอยยิ้ ม เป็ น เอกลั ก ษณ์ หนึ่ ง ในเพื่ อ นร่ ว มกลุ ่ ม ของฉั น เอ่ ย ขึ้ น ทั น ที ที่ พ วกเราเดิ น ออกจากบ้ า นยายหนู ว ่ า “สงสารยายจั ง การที่ ม องไม่ เ ห็ น มั น ก็ มื ด อยู ่ แ ล้ ว แต่ ถ ้ า ไม่ มี แ สงไฟมั น เหมื อ น เป็ น การตอกย�้ ำ ยาย” เธอพู ด ด้ ว ยสี ห น้ า แสนเศร้ า และก้ ม หน้ า เดิ น ต่ อ ในขณะนั้ น เพื่ อ นๆ ก็ มี ค วามรู ้ สึ ก ที่ ไ ม่ ต ่ า งจากเธอ การให้ ก� ำ ลั ง ใจผู ้ ป ่ ว ยถื อ เป็ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ที่ ผู ้ ป่ ว ยต้ อ งการ และยั ง เป็ น การเพิ่ ม ความสั ม พั น ธ์ ใ ห้ กั บ คนใน ครอบครั ว ได้ ใ กล้ ชิ ด กั น มากขึ้ น ดั ง นั้ น เราจึ ง ควรใส่ ใ จดู แ ลคน ป่ ว ยเป็ น อย่ า งดี มั น อาจจะเหนื่ อ ยหากเราเป็ น ผู ้ รั บ ภาระ แต่ เ ชื่ อ เ ถิ ด สิ่ ง ใ ด ที่ เ ห นื่ อ ย ด ้ ว ย ค ว า มรั ก มั น ง ดง า มเส มอ u

IPE@MSU2017

ชอบให้ลูกหลานมานั่งข้างๆ คอยนวดแขนนวดขาให้ หรือพูดคุยด้วย ยายก็จะดีใจมาก


สุขสร้างได้ภายใต้ความดัน เรื่องและภาพ : จุฑารัตน์ อเนกทรัพย์สกุล


เช้าวันเสาร์ที่อากาศสดใสในช่วงปลายเดือนมีนาคม ฉัน เข้าร่วมโครงการ IPE หรือ Interprofessional Education ซึ่ง เป็นโครงการที่ได้ท�ำงานร่วมกับเพื่อนๆ 5 คณะ ทั้งแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและ นฤมิตศิลป์ และคณะวิทยาการสารสนเทศ ซึ่งพวกเรานัดเจอกันที่ สนามโรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร อ.เมือง จ.มหาสารคาม จากนั้นพวกเราเดินทางไปยังบ้านของผู้ป่วยตามข้อมูลที่ ได้จากศูนย์บริการสาธารณสุขบูรพา เดินตามแผนที่กันไปเรื่อยๆ จนถึงหัวมุมถนน จึงได้พบกับคุณยายท่านหนึ่ง นั่งอยู่หน้าบ้านด้วย ใบหน้ายิม้ แย้ม สวมชุดผ้าไหมสีเทา ดูเหมือนว่าเพิง่ กลับจากงานบุญ คุณยายเป็นเจ้าของบ้านทีเ่ ราได้รบั มอบหมายให้มาเยีย่ มและเรียนรู้ เรือ่ งปัญหาสุขภาพของเธอ ไม่รอช้า พวกเราเริม่ สอบถามคุณยาย จึง ทราบว่าเธอชื่อ นางอุดมลักษณ์ เสนาวงศ์ อายุ 73 ปี ข้าราชการครู เกษียณ ซึ่งป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในภาวะที่ควบคุมได้ เป็น คนที่อารมณ์ดี และรักการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจอีกด้วย

IPE@MSU2017

- 35 -


- 36 -

คุณยายนักเดินทาง การเดินทางของผูส้ งู อายุในบางครัง้ ก็มขี อ้ จ�ำกัดในหลายๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการเดินทางนั่งนานๆ ไม่ค่อยได้ หรือ คนทีเ่ ป็นความดันโลหิตสูงก็ไม่ควรขึน้ เครือ่ งบิน แต่สงิ่ เหล่านีก้ ไ็ ม่ได้ เป็นปัญหาส�ำหรับคุณเลยแม้แต่น้อย คุณยายยังคงท�ำในสิ่งที่ชอบ พร้อมกับการดูแลตัวเองในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี “ว่างๆคุณยายชอบท�ำอะไรบ้าง” ฉันถามออกมาอย่างสงสัย “ยายเป็นคนชอบเที่ยว เมื่อก่อนไปเที่ยวบ่อย ไปแทบทุก เดือนเลย ยายไปกับเพื่อนๆ ที่เรียนมารุ่นเดียวกัน” คุณยายเล่าและ หยุดครุ่นคิดเสียครู่หนึ่ง ก่อนจะเริ่มเล่าต่อว่า “ยายมีหลายที่ ทีไ่ ปแล้วประทับใจ ยายเป็นคนตลก คุยสนุก นะ เวลาอยูบ่ นรถ ยายก็เล่านิทานก้อม (นิทานตลกหักมุม) และชอบ เล่าเรื่องตลกๆ ให้เพื่อนฟัง” คุณยายเล่าด้วยใบหน้าสดใสพร้อมยิ้ม อ่อนๆ เธอกล่าวต่ออีกว่า “ยายไปมาหลายที่แล้ว ทั้งสุรินทร์ น่าน เชียงราย ถ้าต่าง ประเทศก็ปกั กิง่ พม่า เวียดนาม” คุณยายยังคงเล่าต่อถึงการเดินทาง ร่วมกับกลุม่ เพือ่ น ซึง่ จะมีไลน์กลุม่ เอาไว้คยุ กัน เธอไม่ได้เหมือนผูส้ งู อายุส่วนใหญ่ ที่มักจะรู้สึกว่าตัวเองอายุมากขึ้นแล้วเป็นภาระให้ลูก หลาน หากแต่เธอชอบที่จะใช้ชีวิต ออกไปเที่ยว ชอบที่จะออกไป เจอผู้คน เจอโลกกว้าง เพื่อเปิดหูเปิดตากับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ฉัน และเพื่อนๆ ต่างก็ตื่นเต้นกับสิ่งคุณยายเล่าให้ฟัง ไม่บ่อยนักที่เรา จะได้พบผู้สูงอายุที่มีไลฟ์สไตล์เช่นคุณยายท่านนี้


คุณครูอาชีพที่รัก เคยมีคนบอกฉันว่าคนเป็นครูกต็ อ้ งเป็นไปตลอดชีวติ ตอน แรกฉันก็ไม่เชื่อ จนได้มาฟังเรื่องราวของคุณยายในวันนี้ ถึงได้รู้ว่า ประโยคนั้นมันเป็นเรื่องจริง ว่าคนเป็นครูนั้นจะทุ่มเทให้กับลูกศิษย์ รักและก็เอาใจใส่ลูกศิษย์ไม่ว่าจะเกษียณอายุหรือกาลเวลาจะผ่าน ไปนานแค่ไหนแล้วก็ตาม คุณยายเล่าถึงช่วงเวลาการเป็นครูให้พวกเราฟังว่า “เมื่อ ก่อนเป็นคนเครียดมาก อารมณ์ร้าย แต่เดี๋ยวนี้ไม่เป็นแล้ว ยายเริ่ม สอนมาตัง้ แต่ปี พ.ศ.2505 สอนครัง้ แรกที่ จ.ขอนแก่น แล้วก็ยา้ ยกลับ มาสอนที่ จ.มหาสารคาม ตอนปี พ.ศ.2509 ยายเป็นครูบา้ นนอก สอน ทุกวิชา บางครัง้ ก็เจอทีส่ อนพ่อแล้วก็ยงั ได้สอนลูกอีก บางครอบครัว ก็สอนมาทั้งครอบครัวเลย ตอนสอนยายก็ดุเด็กบ่อยนะ เวลาสอน เป็นคนดุมาก แต่ถ้าไม่ใช่เวลาสอนก็จะใจดี” คุณยายเล่าพลางนึก ไปถึงเรื่องราวเก่าๆ พร้อมรอยยิ้ม เธอยังบอกว่า เด็กๆ จะกลัวเธอมาก เพราะเป็นคนดุ เป็น คนเจ้าระเบียบ แต่ความจริงเป็นคนอารมณ์ดี แต่ดว้ ยภาระหน้าทีจ่ งึ ท�ำให้ต้องเป็นคนเจ้าระเบียบไปโดยปริยาย “เคยตีเด็กไหมคะ” เพื่อนคนหนึ่งถามด้วยความอยากรู้ “เคยสิ ตอนนี้ก็กลับมานั่งคิดนะว่าเสียใจที่เมื่อก่อนตีเด็ก เยอะเกินไป จริงจังกับชีวิตเกินไป บางครั้งโมโหก็มาลงที่เด็ก” คุณ ยายตอบกลับมาด้วยน�้ำเสียงที่จริงจัง และเล่าต่อว่า “ทุกวันนี้เวลา ไปไหนก็ยังเจอลูกศิษย์ เขาก็เข้ามาทักอยู่เลย” คุณยายบอกว่าจ�ำ นักเรียนได้เกือบทุกคน บางครั้งจ�ำไม่ได้ลูกศิษย์ก็เข้ามาทักแล้วก็ พูดคุยกันเหมือนกับเมื่อสมัยก่อนที่คุณยายยังสอนอยู่ ในบางครั้ง ลูกศิษย์มีปัญหาก็ได้เข้ามาปรึกษา ถึงแม้ว่าเขาจะเรียนจบไปหลาย ปีแล้วก็ตาม

IPE@MSU2017

- 37 -


- 38 -

ความสุขในชีวิตหลังเกษียณ แม้คุณยายจะเกษียณอายุราชการมาเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้ว แต่เธอใช้ชีวิตเกษียณอย่างมีความสุขกับการท่องเที่ยวที่เธอ ชอบ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ฉันสงสัยมานานแล้วว่า คนที่เคยไปสอนเด็กทุก วัน เจอเด็กๆ ที่มีเรื่องให้ปวดหัวในทุกวัน เมื่อวันหนึ่งที่จะต้องหยุด ในสิ่งที่ท�ำอยู่ จะเกิดความเหงาบ้างไหม คิดถึงสิ่งที่เคยท�ำบ้างหรือ เปล่านะ “ก็มีเหงาบ้างนะในช่วงที่เกษียณแรกๆ แต่ตอนนี้ไม่เหงา เลย ตอนนีส้ บายมาก เราเริม่ ปล่อยวางทุกอย่าง ไม่คดิ มาก สนใจตัว เองให้มากขึน้ แล้วเราก็จะมีความสุข ตอนเป็นครูนนั้ ทางโรงเรียนจัด ให้ไปเที่ยวในทุกๆ เดือน ไปกับรถตู้บ้าง รถทัวร์น�ำเที่ยวบ้าง ตอนนี้ ว่างก็ได้ไปเทีย่ วกับกลุม่ เพือ่ นเยอะขึน้ มีการนัดเจอกันในกลุม่ เพือ่ น ด้วยกันทุกๆ เดือน” คุณยายตอบไขข้อสงสัยของฉันอย่างกระจ่าง แจ้ง การไปเที่ยวของคุณยายกับกลุ่มเพื่อนนั้นจะวนกันไปใน แต่ละจังหวัด มีการท�ำกิจกรรมสังสรรค์รว่ มกัน ซึง่ คุณยายบอกว่าใน ปลายปีนี้ก็จะไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นกับเพื่อนในกลุ่ม ซึ่งจะเป็นครั้งสุดท้าย แล้ว ที่จะไปต่างประเทศกับกลุ่มเพื่อน เนื่องจากอายุที่มากขึ้น การ เดินทางไปไหนไกลๆ ก็ลำ� บาก และด้วยความทีเ่ ป็นคนชอบไปเทีย่ ว ในทีต่ า่ งๆ อยูแ่ ล้ว ดังนัน้ ความสุขของคุณยายในวัยหลังการเกษียณ ก็คอื การทีไ่ ด้ออกเดินทางไปในทีต่ า่ งได้อย่างอิสระ ฉันฟังแล้วรูส้ กึ ว่า วัยของคุณยายไม่สามารถท�ำอะไรกับความชอบของเธอได้เลย


การดูแลตัวเองในวัยหลังเกษียณ เมือ่ อายุเริม่ มากขึน้ การดูแลตัวเองก็ตอ้ งเพิม่ ขึน้ ไปด้วยเช่น กัน การตรวจร่างกายตัวเองอย่างสม�่ำเสมอท�ำให้รู้ว่าการใช้ชีวิตใน แต่ละวันนั้นจะส่งผลให้เกิดโรคภัยในวันข้างหน้าหรือไม่ “คุณยายตรวจสุขภาพบ่อยไหมคะ” เพื่อนในกลุ่มถามขึ้น “ไม่ค่อยตรวจสุขภาพประจ�ำปี ปกติก็ทานยาแค่ตามโรค ธรรมดา หมอที่ศูนย์บริการสาธารณสุขบูรพาได้มาเยี่ยมและตรวจ ร่างกายตามบ้าน แล้วก็มาวัดความดันปรากฏว่าความดันมันขึ้นสูง ก็เลยไม่ไปหาหมอตรวจอีกเลย” ซึ่งเหตุที่คุณยายไม่ไปหาหมออีก เพราะเธอรู้สึกว่าสุขภาพของเธอไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เสียเท่าใดนัก จึงละเลยการไปหาหมอเพือ่ ตรวจร่างกาย และนัน่ ก็ได้ สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพของเธอไม่น้อยเลย

IPE@MSU2017

- 39 -


- 40 -

ตอนนี้ไม่เหงาเลย ตอนนี้สบายมาก เราเริ่มปล่อยวางทุกอย่าง ไม่คิดมาก สนใจตัวเองให้มากขึ้น แล้วเราก็จะมีความสุข “จากผลตรวจไขมันคุณยายไม่คอ่ ยดีเลยนะคะ” เพือ่ นคณะ แพทย์ฯ ถามขึ้น “รูอ้ ยูว่ า่ อย่างอืน่ ไม่ดแี ต่ไม่ได้สนใจ สนใจแต่ความดัน” คุณ ยายตอบด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแล้วยังบอกว่าเธอชอบทานเค็ม ชอบ ทานมัน ชอบทานผัดผัก รู้ว่าไม่ดี แต่ก็อยู่ที่ใจ ถ้าห้ามได้ก็ดีแต่ติดที่ ห้ามไม่ค่อยได้


“ไม่เคยซื้อยาทานเองเลย ยาชุดก็ไม่ซื้อมาทาน ส่วนมาก ถ้าไม่สบายก็จะไปหาหมอที่คลินิก ใช้วิธีฉีดยาถ้าหายก็ไม่ไปอีก แต่ ถ้าหมอให้ยามาก็จะทานจนหมดแม้ว่าจะหายแล้วก็ตาม” คุณยาย ก็ยังบอกอีกว่าได้ไปหาหมอทุกครั้งตามที่นัด มีการออกก�ำลังกาย เล็กๆ น้อยๆ บ้าง ในทุกวันจะเดินไปเดินมาแล้วแกว่งแขนอยู่หน้า บ้านให้ได้ยี่สิบรอบ ถ้าวันไหนที่ไม่ได้ออกก�ำลังกายก็จะทบไปออก ก�ำลังกายในวันถัดไป คุณยายใช้ชีวิตอย่างเป็นระบบท�ำอะไรเป็น เวลา ซึ่งก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะเป็นการช่วยดูแลสุขภาพของตัวเอง ทัง้ นีท้ งั้ นัน้ พวกเราก็ได้ให้คำ� แนะน�ำไปหลายประการด้วย กัน ทัง้ การไปตรวจสุขภาพประจ�ำปี การควบคุมพฤติกรรมการทาน อาหาร เพราะแม้ตอนนีพ้ ฤติกรรมดังกล่าวจะยังไม่สง่ ผลเสียมากนัก แต่ดว้ ยวัยทีม่ ากขึน้ ความเสีย่ งทีม่ มี ากขึน้ อนาคตอาจท�ำให้เกิดโรค ภัยที่เราไม่คาดคิดตามมาก็เป็นได้ ตลอดเวลาของการพูดคุยคุณยายยิ้มและหัวเราะตลอด เวลา แสดงให้เห็นว่าคุณยายเป็นคนอารมณ์ดีและสุขภาพจิตดีกว่า สังคมผู้สูงอายุในชุมชนเมืองอีกหลายคน ทั้งนี้การดูตัวเองของคุณ ยายและคนรอบข้างเป็นส่วนหนึง่ ทีท่ ำ� ให้คณ ุ ยายมีสขุ ภาพทีด่ ี ไม่ได้ มีโรคร้าย และสิ่งที่ฉันประทับใจอีกหนึ่งเรื่อง คือ ความกล้าหาญใน การใช้ชีวิตของเธอ แม้จะเข้าสู่วัยชราแล้ว แต่เธอกล้าที่จะออกเดิน ทาง กล้าทีจ่ ะออกไปเรียนโลกอยูต่ ลอดเวลา สิง่ นีเ่ องทีท่ ำ� ให้เธอต่าง จากผู้ป่วยทั่วไป และฉันได้แต่เอาใจช่วยให้เธอปรับเปลี่ยนการทาน อาหารและการไปตรวจสุขภาพ เพือ่ ทีเ่ ธอจะได้ทำ� สิง่ ทีเ่ ธอรักคือการ ออกเดินทางไปได้อีกหลายๆที่ u

IPE@MSU2017

- 41 -


ความดัน ภายใต้ความกดดัน เรื่องและภาพ :ชวนินท์ ชิณช่าง


หากได้เข้าไปในซอยแคบๆ ซอยหนึง่ บนถนนฉิมพลีเจริญ อ.เมือง จ.มหาสารคาม เราจะพบกับบ้านหลังสีชมพูตัดกับสีเขียว สองชัน้ ทีอ่ ยูล่ กึ เข้าไปสุดซอย ซึง่ มีเจ้าของบ้านคือแม่สมใจ นิรดา วัย 63 ปี ผู้ป่วยความดัน ที่อาศัยอยู่กับลูกสะใภ้และหลานสาวอีกสอง คน ภายในบริเวณบ้านมีพืชผักสีเขียวที่เธอเป็นคนปลูกขึ้นเองเป็น กิจวัตรประจ�ำวันของเธอ และถึงแม้จะมีโรคประจ�ำตัวอยู่ แต่ก็ไม่ได้ ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อตัวเธอและการใช้ชวี ติ ในแต่ละวันก็ดำ� เนินไป อย่างปกติ แม่สมใจเริม่ ป่วยเป็นโรคความดันเมือ่ อายุ 54 ปี แต่ปจั จุบนั เธอก็ยังดูสุขภาพแข็งแรงดี มีน�้ำหนักส่วนสูงที่ตรงตามมาตรฐาน ดู เผินๆ เธอไม่เหมือนผู้ป่วยเสียด้วยซ�้ำ นั่นเพราะในแต่ละวัน เมื่อ ว่างเว้นจากการเลี้ยงหลาน เธอจะท�ำสวนปลูกพืชผักสวนครัวไว้ ทานเองข้างบ้าน และยังมีเครื่องออกก�ำลังกายที่เธอใช้เป็นประจ�ำ อย่างสม�่ำเสมอ เมื่อตกเย็น บางวันเธอจะออกไปสังสรรค์กับเพื่อน ในละแวกบ้าน แม้เธอจะดื่มเบียร์บ้างในบางครั้ง ซึ่งเสี่ยงต่อโรคของ เธอไม่น้อย แต่เธอก็ดูแลตัวเองอยู่เสมอเพื่อลดความเสี่ยงที่ว่านี้ แม่สมใจเล่าให้ฟังว่า “แม่ก็กินยาที่หมอจ่ายให้ และแม่ก็ ออกก�ำลังกายไปท�ำสวนไปด้วย ไปซื้อยากินเองแบบที่หมอบอก หรือไม่ก็ถามลูกสาวแม่ เพราะแฟนลูกสาวเขาก็เป็นหมอเหมือนกัน มีเรื่องอะไรก็จะถามลูกสาวเพราะเขาให้ค�ำแนะน�ำได้”

IPE@MSU2017

- 43 -


- 44 -

แม่สมใจมักได้รับค�ำแนะน�ำจากลูกสาวที่อยู่ต่างประเทศ เรื่องการซื้อยามารับประทานเอง มากกว่าการไปพบแพทย์ เพราะ เธอไม่ค่อยมีเวลาว่างนัก ลูกสาวแนะน�ำอะไรมาก็ใช้ยาตัวนั้น แม้ แพทย์จะเคยสั่งยา hydrochiorothiazide tablets ซึ่งเป็นยาความ ดันตามหลักการแพทย์ แต่เธอก็ไม่ยอมกิน และเอายาไปแลกไข่กับ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้าน ลูกสาวจึงได้ให้ค�ำแนะน�ำมาว่า “แม่ควรกินยาแบบนี้ดู เพราะที่ต่างประเทศเขาก็ใช้ยาตัวนี้กัน ยาที่แม่กินอยู่คนที่นี่เขาไม่ ใช้” ท�ำให้เธอเชื่อลูกสาวและซื้อยากับอาหารเสริมมากินเองตลอด และไม่ยอมไปพบแพทย์อีก แต่เมื่อมีโครงการ Interprofessional Education หรือ IPE ที่รวมนิสิต 5 คณะ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สถาปัตยกรรม ผังเมืองและนฤมิตร ศิลป์ เเละคณะวิทยาการสารสนเทศ (นิเทศศาสตร์) รวมกลุม่ กันเยีย่ ม บ้านและเข้ามาสอบถามอาการป่วยเพือ่ เรียนรูแ้ ละหาแนวทางแก้ไข ท�ำให้เธอได้รู้ว่า ยาที่ทานอยู่เป็นประจ�ำตามค�ำแนะน�ำของลูกให้ผล ไม่ต่างจากยาของแพทย์มากนัก กลุม่ ของเราจึงได้พดู คุยปรับความเข้าใจกับแม่สมใจว่า ”แม่ ลองไปปรึกษาแพทย์บา้ งนะ ไปตรวจร่างกายตรวจสุขภาพความดัน บ้าง เพราะแม่เชื่อแต่ค�ำของลูกสาวอย่างเดียวไม่ได้” เธอเอ่ยปาก ตกลงว่าจะไปพบแพทย์ตามค�ำแนะน�ำของพวกเรา ซึ่งหลังจากได้ ให้ค�ำแนะน�ำไปแล้ว มันก็อยู่ที่เธอว่าจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือ ไม่


พวกเราท�ำได้เพียงแค่บอกให้แม่สมใจไปตรวจสุขภาพทีโ่ รง พยาบาลบ้าง นั่นเพราะแพทย์ใกล้บ้านสามารถตรวจร่างกายอย่าง ละเอียดและติดตามอาการได้อย่างใกล้ชิด ต่างจากลูกสาวของเธอ ที่รู้เพียงอาการจากค�ำบอกเล่าเท่านั้น แต่ผมก็รู้สึกว่าการที่เธอเชื่อ ลูกสาวซึ่งคอยแนะน�ำเรื่องยาและอาหารเสริม ไม่ได้แปลว่าเธอไม่ เชื่อในตัวแพทย์ในประเทศไทย แต่คงเพราะภาระการเลี้ยงดูหลาน สองคนมากกว่าที่ท�ำให้เธอไม่มีเวลาไปโรงพยาบาลและหาทางออก ที่ง่ายที่สุด นอกเหนือจากพฤติกรรมการซือ้ ยาทานเองของแม่สมใจ ที่ เราได้ให้คำ� แนะน�ำไปนัน้ ถือว่าเธอเป็นผูท้ ดี่ แู ลตัวเองดีในเรือ่ งอาหาร การกิน การออกก�ำลังกาย ใส่ใจกับสุขภาพของตัวเองพอสมควร เธอ ใช้เวลาว่างในทุกๆวันดูแลแปลงผัก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เธอชอบและ ออกก�ำลังกายไปในตัว ส่วนการที่เธอห่างจากการพบแพทย์นั้น แม้ ตอนนี้จะยังไม่ส่งผลต่อสุขภาพของเธอมากนัก แต่พวกเรากังวลถึง โรคทีอ่ าจแทรกซ้อนหรือเกิดขึน้ มาโดยทีเ่ ธอไม่รตู้ วั การมาของพวก เราในครั้งนี้ เราเพียงหวังว่าจะช่วยเปลี่ยนความคิดของเธอได้บ้าง และอาจช่วยลดความเสีย่ งในการเกิดโรคในภายภาคหน้า และอยาก ให้เธอมีสุขภาพที่ดีขึ้นเพียงเท่านั้น u

IPE@MSU2017

- 45 -


ก�ำลังใจที่ไม่มีวันหมด เรื่องและภาพ : ธนวัตร เต้จั้น


ท่ามกลางแสงแดดสว่างจ้า พระอาทิตย์ตรงศีรษะและ อากาศทีร่ อ้ นระอุของเวลาเทีย่ งวัน ผูค้ นทีก่ ำ� ลังใช้รถใช้ถนนหรือเดิน ผ่านไปผ่านมาแถวตลาด ต่างก็หาวิธีดับร้อนด้วยการหาอะไรเย็นๆ รับประทาน อาชีพขายผลไม้แช่เย็นก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สามารถ สร้างรายได้ที่ดีในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวเช่นนี้ นายคมสันต์ วิไลสุข หรือ ลุงสันต์ อายุ 60 ปี อาศัยอยู่บ้าน เลขที่ 19/2 ชุมชนปัจฉิมทัศน์ อ�ำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม เขา ป่วยเป็นโรคอัมพาตครึง่ ซีก แถมยังมีโรคความดัน และโรคเบาหวาน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของเขาเรื่อยมา ลุ ง สั น ต์ มี อ าชี พ ขายผลไม้ ม านานนั บ 10 ปี มี สุ ข ภาพ ร่างกายแข็งแรงดี แต่อยู่มาวันหนึ่งหลังจากไปเที่ยวต่างจังหวัดกับ ครอบครัว ระหว่างเดินทางกลับลุงสันก็มอี าการชาไปทัง้ ร่างกายและ รู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจไม่ออก หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ลุงสันต์เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า “ด้วยความชะล่าใจจึงไม่ได้ ไปหาหมอและได้นอนพักผ่อนอยูท่ บี่ า้ นก่อน เมือ่ ตืน่ มาในตอนเช้าก็ พบว่าตัวเอง ปากเบี้ยว แขนข้างซ้ายขยับไม่ได้ ขาซ้ายไม่มีแรง จึง ได้บอกภรรยาให้พาไปโรงพยาบาล”

IPE@MSU2017

- 47 -


- 48 -

ถ้าไม่มีเรา ลูกสาวจะอยู่อย่างไร กินข้าวที่ไหน ไปเรียนอย่างไร เขาจึงเกิดแรงบันดาลใจ ลุกขึ้นมาสู้กับโรคร้าย คุณหมอทีโ่ รงพยาบาลแจ้งว่า มีอาการแขนซ้ายเป็นอัมพาต ขาซ้ายอ่อนแรง มีโรคเบาหวาน และความดันอีกด้วย สาเหตุเกิดจาก ลุงสันต์เป็นโรคความดันสูงมานานแล้ว แต่ไม่ได้เข้ารับการรักษา เขา ตกใจมากกับสิ่งที่เกิดขึ้น รู้สึกสิ้นหวังในทุกอย่าง จนไม่อยากจะมี ชีวิตอยู่บนโลกนี้อีกต่อไป เมื่อภรรยาและลูกสาวรู้ข่าว พวกเธอยิ้มให้กับเขา และ กล่าวว่า “ไม่เป็นไรนะคุณ เราจะต่อสู้กับโรคนี้ให้ได้ คุณต้องหาย” แต่ลุงสันต์ก็ไม่ฟังและมีแต่บ่นว่าไม่อยากอยู่แล้ว แต่เมื่อ เห็นหน้าลูกสาววัยก�ำลังเรียนของตนนั้น ก็ท�ำให้เปลี่ยนความคิดใน ทันใด ลุงสันต์เล่าว่า “ถ้าไม่มีเรา ลูกสาวจะอยู่อย่างไร กินข้าวที่ไหน ไปเรียนอย่างไร” เขาจึงเกิดแรงบันดาลใจลุกขึ้นมาสู้กับโรคร้าย


IPE@MSU2017

- 49 -


- 50 -

ลุงสันต์เริ่มต้นด้วยการท�ำงานเท่าที่ตนเองจะท�ำได้ เพื่อ เป็นการแบ่งเบาภาระของภรรยา ซึ่งมีอาชีพขายผลไม้ในตลาด เขาได้ช่วยคัดเลือกผลไม้ที่จะขายว่าลูกไหนควรขายในราคาเท่าไร เขาสามารถยกผลไม้น�้ำหนักไม่มากได้ เพราะแขนอีกข้างหนึ่งไม่มี แรง เขาจึงหันมาออกก�ำลังกาย ด้วยการปั่นจักรยานด้วยเครื่องปั่น จักรยาน ฝึกเดินบ่อยๆ โดยเริ่มแรกก็ล้มจนมีแผลตามตัวเต็มไป หมด จึงต้องมีคนคอยพยุงอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อได้รับก�ำลังใจที่ดี จากภรรยาและลูกสาว เขาก็ไม่ย่อท้อ ถึงแม้จะล้มสักกี่ครั้ง ลูกสาว ก็จะคอยให้กำ� ลังใจว่า “ไม่เป็นไรนะพ่อ ครัง้ นีเ้ ริม่ เดินได้ไกลกว่าครัง้ ก่อนแล้ว ลองลุกขึ้นเดินอีกครั้งนะพ่อ” ทุกๆ วันหลังเลิกเรียน ลูกสาวก็จะกลับบ้านเพื่อที่จะพา พ่อหัดเดินวันละนิดวันละหน่อย โดยที่ไม่เคยบ่น ทุกครั้งที่พ่อของ เธอย่อท้อ เธอก็จะยิ้มและคอยให้ก�ำลังใจอยู่เสมอ จนตอนนี้ลุงสันต์ สามารถเดินเองได้โดยใช้ไม้เท้าคู่ใจ ส่วนแขนก็ยกขึ้นยกลงบ่อยๆ เป็นการท�ำกายภาพแบบง่ายๆ เพื่อให้แขนอีกข้างได้ออกแรง และ มีภรรยาช่วยนวดแขนทุกเช้า-เย็น คอยประคองตอนยกแขนขึ้นลง เพราะเขาไม่มีแรงที่จะสามารถยกแขนเองได้ ซึ่งการยกแขนเช่นนี้ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อแขนได้เกิดการตื่นตัวและผ่อนคลาย ลุงสันต์ หมัน่ ท�ำทุกเย็นจนแขนข้างซ้ายแข็งแรงพอทีจ่ ะยกแตงโม สับประรด เพือ่ ไปขายทีร่ า้ นได้


นอกจากนี้ เขายังได้หัดขับรถยนต์ด้วยร่างกายที่ขยับได้ เพียงครึง่ เดียว เริม่ แรกนัน่ ค่อนข้างยาก ต้องให้ภรรยาคอยเข้าเกียร์ ให้เพราะรถเป็นเกียร์ธรรมดา โดยวันแรกเขาได้ขบั รถยนต์ชนประตู บ้านของตัวเองจนต้องซ่อมรถกว่าครึ่งคัน แต่ภรรยาก็ไม่ได้ว่าอะไร เธอยิ้มแล้วพูดว่า “รถน่ะซ่อมได้ คนไม่เป็นอะไรก็ดีแล้ว” ทุกครัง้ ทีเ่ ขาขับรถ ภรรยาก็จะนัง่ ไปด้วย คอยบอกทางและ เข้าเกียร์ให้ ด้วยความพยายามนีท้ ำ� ให้ลงุ สันต์สามารถขับรถยนต์ได้ ในทีส่ ดุ เพือ่ ทีจ่ ะได้นำ� ผลไม้ไปวางขายทีร่ า้ นพร้อมไปรับลูกสาวกลับ จากโรงเรียน ทุกวันในตอนเย็น ลุงสันต์จะหมั่นออกก�ำลังกายและ กินยาตามที่หมอสั่ง เลือกรับประทานเฉพาะอาหารที่มีประโยชน์ต่อ ร่างกาย เพราะเขาคิดว่าสักวันโรคทีเ่ ข้ามารุมเร้าในตอนนีจ้ ะหายไป และกลับมามีชีวิตแบบคนปกติอีกครั้งหนึ่ง การทีล่ งุ สันต์พยายามได้ถงึ ขนาดนี้ นัน่ เพราะก�ำลังใจทีไ่ ม่มี วันหมดจากคนทีร่ กั ทัง้ สองคน และด้วยความพยายาม ท้อแต่ไม่ถอย จึงท�ำให้เขากลับมาใช้ชีวิตได้เกือบปกติดังเช่นทุกวันนี้ u

IPE@MSU2017

- 51 -


สายใยแห่งรักอันบริสุทธิ์ เรื่องและภาพ : อรญา ศิริปะกะ


ท่ามกลางแสงแดดอ่อนๆ ตอนเช้าวันเสาร์ที่ 25 เดือน มีนาคม พ.ศ.2560 ฉันมีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการ จัดการเรียนรู้ร่วมวิชาชีพ (Interprofessional Education หรือ IPE) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีเพื่อนต่างคณะร่วมด้วย ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ และคณะวิทยาการ สารสนเทศ โดยได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ในชุมชนบูรพา อ.เมือง จ.มหาสารคาม ฉันเดินทางมาถึงที่หมาย และได้ไปรวมกลุ่มกับเพื่อนเพื่อ ประชุมกับอาจารย์ประจ�ำโครงการทีส่ นามฟุตบอลโรงเรียนเทศบาล บูรพาพิทยาคาร กลุม่ ฉันได้รบั มอบหายให้ไปเยีย่ มบ้านยายสมหมาย รัตนสมบัติ อายุ 76 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียง อยู่บ้านเลขที่ 39 หมู่ 22 ชุมชนบูรพา หลังจากประชุมเสร็จ ฉันกับเพื่อนในกลุ่มแยกตัว ออกจากกลุ่มอื่น มุ่งหน้าสู่บ้านยายสมหมาย พร้อมกับแพทย์หญิง นคัมยภรณ์ ชูชาติ แพทย์โรงพยาบาลมหาสารคาม หญิงสาวร่างสูง โปร่ง ผิวขาว ผมสีดำ� ดวงตาสวยคม ซึง่ วันนีค้ ณ ุ หมอเป็นคนน�ำทาง พาพวกเราไปยังจุดหมาย

IPE@MSU2017

- 53 -


- 54 ระหว่างทางเป็นถนนซอยแคบๆ รถยนต์ไม่สามารถเข้าไป ได้ ฉันกับเพื่อนในกลุ่มเดินไปเรื่อยๆ จนสิ้นสุดที่บ้านไม้สีน�้ำตาล เก่าๆ มีสภาพทรุดโทรม ฝุ่นหนาเกาะตามพื้นบ้าน สิ่งแวดล้อมเต็ม ไปด้วยความอับชืน้ อากาศไม่บริสทุ ธิ์ แต่ฉนั กับเพือ่ นไม่รอช้า รีบเดิน ตรงเข้าไปในบ้าน ภาพทีเ่ ห็นอยูเ่ บือ้ งหน้า ฉันเจอหญิงชราใบหน้าทีเ่ หีย่ วย่น มีสายสีเหลืองสอดแทรกเข้าไปในโพรงจมูก ผมสีขาว ดวงตาสีนำ�้ ตาล แขนขาเคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องนอนอยู่บนเตียง ร่างกายทุกส่วนไร้ซึ่ง การตอบสนอง มีเพียงอย่างเดียวที่สัมผัสได้คือ สายตาที่คุณยายส่ง มา ท�ำให้ฉนั รูส้ กึ ถึงความทุกข์ทรมาน ฉันสงสารคุณยายเหลือเกินที่ ต้องพบเจอกับสิ่งร้ายๆ เช่นนี้ ฉันเชื่อว่าคนเราเกิดมา คงไม่เจอแต่สิ่งเลวร้ายเสมอไป บางครั้งอาจจะเจอกับสิ่งที่ดีได้เสมอ ดังภาพที่อยู่เบื้องหน้า ขณะที่ ฉันมองหน้าคุณยาย ฉันเจอชายร่างท้วม ผิวสีน�้ำผึ้ง ดวงตากลมโต เขาเป็นบุตรชายของคุณยายสมหมาย นามว่านายพัฒนพงษ์ รัตน สมบัติ หรือลุงอ้อย อายุ 40 ปี สองมือของลุงอ้อยก�ำลังลูบใบหน้า คุณยายอย่างเบามือ แล้วค่อยๆ บรรจงหอมแก้มคนที่ตนรักอย่าง ทะนุถนอม พร้อมกับป้อนอาหารทางสายยางด้วยความช�ำนาญ “ลุงคะ ยายเป็นโรคอะไรคะถึงนอนอยู่เฉยๆ เคลือ่ นไหวไม่ ได้” ฉันไม่รอช้า เปิดฉากถามลุงอ้อยด้วยความสงสัย “แม่ผมเป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบ (STROKE) ซึง่ ก่อน หน้านีเ้ ธอไม่ได้เป็นหนัก มีพกั หลังๆ ทีเ่ ริม่ ทรุดหนักจนร่างกายต้าน ไม่ไหว ท�ำได้แค่นอนนิง่ อยูเ่ ฉยๆ ไร้การตอบสนอง เพราะเกิดจากการ ที่แม่ขาดยาต่อเนื่อง และมีโรคแทรกซ้อนจึงท�ำให้เป็นหนักถึงขนาด นี้” ลุงอ้อยตอบพร้อมเอาสองมือป้อนน�้ำให้คุณยาย หลังจากนั้นฉันก็เดินดูรอบๆ บ้าน พร้อมกับสะพายกล้อง เก็บภาพให้กับเพื่อนในกลุ่มอย่างตั้งใจ ฉันไม่ได้เรียนเกี่ยวการ ประกอบวิชาชีพแพทย์ พยาบาล จึงท�ำให้ฉันเกิดความสงสัยเกี่ยว กับโรคนี้ เพราะสิง่ ทีฉ่ นั สัมผัสกับคุณยายสมหมายวันนี้ เป็นสิง่ ทีเ่ ลว ร้ายส�ำหรับคนหนึ่งคนที่ต้องทุกข์ทรมาน ฉันสัมผัสได้ถึงความรู้สึก นั้นผ่านดวงตาที่มีน�้ำใสๆ ไหลรินออกจากดวงตาอย่างช้าๆ


สิ้นสุดการเก็บข้อมูลจากบ้านที่ได้รับมอบหมาย พวกเรา กล่าวลาลุงอ้อยแล้วเดินทางกลับไปทีส่ นามฟุตบอลโรงเรียนเทศบาล บูรพาพิทยาคารเหมือนเดิม ถึงแม้ฉนั จะเดินออกมาจากบ้านยายแล้ว แต่ฉนั ยังไม่หายสงสัย เกีย่ วกับโรคหลอดเลือดในสมองตีบ จึงตัดสิน ใจเดินไปหาแพทย์หญิงนคัมยภรณ์ ที่ก�ำลังเดินทางกลับพร้อมพวก เรา แล้วถามว่า “หมอคะ โรคหลอดเลือดสมองตีบมันเกิดจากอะไรคะ แล้ว อาการของยายเกิดจากอะไร” ฉันถามด้วยความสงสัย คุณหมอส่ง รอยยิ้มกลับมาพร้อมเล่าว่า “ส�ำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบ ร่างกาย และโครงสร้างของกระดูกอ่อนแรง เคลื่อนไหวไม่ได้ สาเหตุเกิดได้ หลากหลายรูปแบบ อย่างกรณีที่หนูเจอวันนี้คือคุณยายสมหมาย การที่ยายมีอาการหนักขนาดนี้ เกิดจากการที่คนป่วยอยู่ในวัยผู้สูง อายุและมีอาการผิดปกติในสมองหลายจุดที่รุนแรง ท�ำให้แขนและ ขาไม่สามารถเคลือ่ นไหวได้ และทีห่ ลักส�ำคัญ คุณยายขาดการกินยา อย่างต่อเนื่อง จึงท�ำให้อาการไม่ดีขึ้น และอีกทั้งมีโรคแทรกซ้อนอีก

IPE@MSU2017

- 55 -


- 56 เช่น โรคเบาหวาน ความดัน ก็สามารถเป็นปัจจัยทีจ่ ะท�ำให้เป็นโรคนี้ ได้ การดูแลผูป้ ว่ ยในกรณีของคุณยายจะต้องดูแลอย่างใกล้ชดิ เพราะ คนไข้อาจเกิดอาการแทรกซ้อนและเกิดแผลกดทับได้ เนื่องจากผู้ ป่วยช่วยเหลือตังเองไม่ได้ ทั้งนี้ ทีมแพทย์ก็ได้ท�ำการแนะวิธีการ ดูแลรักษาให้กับญาติด้วยวิธีการหลายอย่าง เช่น การอาบน�้ำ การ นวดให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวขึ้น และการรับประทานยาให้ตรงเวลา และต่อเนื่อง” แพทย์หญิงนคัมยภรณ์ ให้ข้อมูล นับเป็นความโชคดีของฉันทีไ่ ด้ความรูเ้ กีย่ วกับโรคนี้ ซึง่ เป็น ช่วงเวลาทีฉ่ นั กับคุณหมอเดินทางมาถึงทีห่ มาย ณ โรงเรียนเทศบาล บูรพาพิทยาคารพอดี ฉันกล่าวขอบคุณแพทย์หญิงผู้ที่ให้ความรู้กับ ฉันและแยกทางกันในที่สุด ถึงแม้การลงพื้นที่จะสิ้นสุดลง แต่ฉันไม่รู้สึกแบบนั้น ภาพ ทีต่ ดิ ตาอยูใ่ นความคิดมันย้อนกลับไปเห็นภาพทีล่ กู ชายดูแลแม่อย่าง ไม่ห่างสายตาแม้แต่น้อยนิด เป็นภาพที่ประทับใจเหลือเกินส�ำหรับ ฉัน มันเป็นภาพทีท่ ำ� ให้ฉนั ต้องย้อนกลับไปบ้านคุณยายอีกครัง้ หนึง่ ในวันต่อมา การใช้ชีวิต เช้าวันต่อมา ฉันเดินทางกลับมาบ้านคุณยายสมหมายอีก ครัง้ ด้วยความขะมักเขม้น สองขาเดินเข้าไปตามซอยแคบๆ เหมือน เคย แต่มันไม่ง่ายที่จะเข้าถึงบ้านเพราะปัญหาเกิดขึ้นเสียก่อน “โฮ่ง โฮ่ง โฮ่ง” เสียงเจ้าตูบสีข่ า ขนสีขาว เพศผู้ เห่าต้อนรับ ฉันอย่างน่ารัก พร้อมกับแยกเขีย้ วชนิดทีอ่ ยากจะเอาฟันแหลมคมฝัง เข้าทีเ่ นือ้ สองขาไม่รอช้า ฉันหันหลังกลับก�ำลังจะก้าวขาทัง้ สองข้าง แต่เป็นโชคดีของฉันทีล่ งุ อ้อยออกมาช่วยได้ทนั เวลา นึกว่าจะต้องได้ ไปนอนบ้านหลังใหญ่นามว่าโรงพยาบาลเสียแล้ว


ฉันเดินตามลุงเข้ามาภายในบ้านพร้อมกับถอนหายใจที่ รอดจากเพือ่ นรักสีข่ า พร้อมนัง่ ลงทีแ่ คร่ภายในบ้านด้วยความเหนือ่ ย ล้า และมองภาพเบือ้ งหน้า ลุงก�ำลังเช็ดตัวและเดินมานัง่ ทีแ่ คร่ขา้ งๆ ฉัน ผ่านไปพักหนึง่ ฉันมองหน้าลุงอ้อยแล้วถามว่า “ลุงอยูบ่ า้ น กับยายสองคนหรอคะ” “ใช่ ตอนนี้ผมอยู่กับแม่สองคน พ่อเสียชีวิตแล้ว ครอบครัว มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน แต่เสียชีวิตไปแล้ว 5 คน ปัจจุบันก็เหลือ น้องชายคนเดียวชื่อพัฒนชัย รัตนสมบัติ ท�ำงานอยู่ที่ตะวันแดง มหาสารคาม มีครอบครัวแล้ว เลยย้ายไปอยูก่ บั ภรรยากับลูก ส่วนผม ยังไม่มคี รอบครัว ทัง้ ชีวติ ก็วนอยูท่ เ่ี ดิม ผมท�ำงานประจ�ำทีบ่ ริษทั ขาย อุปกรณ์ก่อสร้างในมหาสารคาม ไม่ค่อยได้ไปไหนไกลบ้านเท่าไหร่ แต่ตอนนี้ไม่ได้ท�ำอะไรแล้ว ผมลาออกจากงานมาอยู่กับแม่ เพราะ แม่ป่วยหนักต้องมาดูแล ไม่มีคนอยู่บ้านเลย อีกทั้งตอนนี้มีแค่ผม คนเดียวที่อยู่ด้วย” ลุงอ้อยเล่าด้วยใบหน้าที่เรียบนิ่ง “แล้วคุณยายป่วยมานานเท่าไรแล้วคะ” ฉันมองไปที่คุณ ยายด้วยแววตาที่เศร้าใจ “แม่ป่วยได้ประมาณหนึ่งปีกว่าแล้ว แต่ไม่ได้เป็นหนักมาก เหมือนตอนนี้ เพราะแต่ก่อนก็เดินได้ตามปกตินะ แต่มาทรุดหนัก มากเมือ่ ช่วงหกเดือนหลัง ผมเห็นอาการไม่เหมือนเดิมเลยพาไปพบ แพทย์ จึงรู้ว่าเธอไม่กินยาต่อเนื่องและมีโรคความดันโลหิตสูงด้วย เลยท�ำให้เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้จนถึงตอนนี้ ความรู้สึกผมที่เห็น แม่ตกอยู่ในสภาพนี้ ผมสงสารแม่เหลือเกิน แต่ผมช่วยอะไรแม่ไม่ ได้ แต่สิ่งที่ท�ำได้คือดูแลแม่ให้ถึงที่สุดเท่าที่ลูกคนหนึ่งจะท�ำได้ และ ผมบอกแม่เสมอว่าแม่ไม่ต้องกลัวนะ แม่ต้องสู้ เชื่อผม ผมจะไม่ทิ้ง แม่ไปไหน สักวันแม่ต้องหายเป็นปกติ” ลุงอ้อยเล่าพร้อมกับสายตา ที่ดูเศร้าขณะที่มองดูคุณยายที่ก�ำลังหลับอยู่บนเตียง

IPE@MSU2017

- 57 -


- 58 ความรัก ความผูกพัน ความรักของลูกที่บริสุทธิ์ คอยให้ก�ำลังใจแม่ คอยดูแลไม่ ทอดทิ้งไปไหน ฉันเห็นภาพที่ลุงหอมแก้ม ป้อนข้าว ป้อนน�้ำให้กับ แม่ที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ เป็นภาพที่ใครเห็นก็ต้องรู้สึกซาบซึ้ง ฉันมองลุงอ้อยแล้วส่งรอยยิ้มที่สดใส “แม่คอื ทุกสิง่ ทุกอย่างในชีวติ ผม ตัง้ แต่ผมเกิดมา และคอย ให้กำ� ลังใจเวลาผมมีปญ ั หา” ลุงอ้อยพูดขึน้ ขณะทีล่ กุ จากแคร่แล้วเดิน ไปเอาน�้ำให้คุณยายกินเพราะท่านตื่นนอนแล้วในตอนนั้น เขาเล่าต่อว่า “ตั้งแต่เกิดมาแล้วจ�ำความได้ ผมจะเป็นคน ที่สนิทกับแม่มากกว่าพ่อ เพราะสมัยที่เป็นวัยรุ่นผมชอบเที่ยวเตร่ เป็นเด็กที่มีปัญหาหลายๆ ด้าน ทั้งการเรียนก็เรียนไม่จบ ติดยาเสพ

ตอนนี้แม่ป่วยหนัก ต้องดูแลแม่ให้ถึงที่สุด เหมือนที่แม่ดูแลผม ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาบนโลกใบนี้


ติด และเวลาไปเทีย่ วก็หาเรือ่ งทะเลาะวิวาทตลอด จนปัญหาตามมา มากมาย แม่ตอ้ งเป็นคนแก้ไขให้ตลอด พ่อจะไม่คอ่ ยรูเ้ รือ่ งอะไรเกีย่ ว กับผมเท่าแม่ เพราะเธอจะปิดเรือ่ งไว้ไม่ให้พอ่ รู้ กลัวพ่อจะท�ำร้ายผม เวลาผมมีความทุกข์ใจ แม่จะคอยให้ก�ำลังใจมาตลอด หลังจากนั้น ผมคิดว่าจะไม่ทำ� ให้เธอเสียใจอีกแล้ว เลยกลับใจเป็นคนใหม่ หาเงิน เลี้ยงดูแม่จนถึงปัจจุบัน” “ตอนนี้แม่ป่วยหนัก ต้องดูแลแม่ให้ถึงที่สุด เหมือนที่แม่ ดูแลผมตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาบนโลกใบนี้ ถึงแม้จะไม่ได้ท�ำงานมีเงิน เดือนเหมือนแต่กอ่ น แต่ผมคิดว่างานตามหมูบ่ า้ นก็นา่ จะมีทที่ ำ� งาน หาเงินได้โดยทีไ่ ม่ออกไปไกลบ้าน และสามารถกลับมาดูแลแม่ทนี่ อน อยู่บ้านได้เหมือนกัน” ลุงอ้อยเล่าต่อด้วยใบหน้ายิ้มเล็กน้อย ท�ำให้ ฉันรู้สึกว่าเขาพร้อมที่จะสู้เพื่อแม่ที่รักและพร้อมท�ำทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อหาเงินมารักษาได้ ดูแลใส่ใจ สองมือของเขาค่อยๆ ขยับมือบีบนวดบนขาทีเ่ หีย่ วย่น ด้วย แรงที่เบามือเพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับหญิงชราผู้เป็นแม่ด้วย ความตั้งใจ พร้อมกลับบีบนวดวนไปวนมา ลุงอ้อยบอกกับฉันว่า “หลังจากตืน่ นอนตอนเช้า ผมจะเช็ด ตัวอาบน�้ำท�ำความสะอาดร่างกายให้กับแม่และหลังจากนั้นจะป้อน ข้าวพร้อมยาผ่านสายยางทางโพรงจมูก และคอยออกก�ำลังกายให้ เป็นประจ�ำทุกวันเพือ่ ไม่ให้กล้ามเนือ้ เกิดการกดทับและเป็นแผล และ จะคอยนั่งมองพร้อมกับพูดว่า เชื่อผมแม่ต้องหาย พูดทุกวันให้แกมี ก�ำลังสูไ้ ปด้วยกัน” ลุงอ้อยพูดพร้อมส่งสายตาเรียบนิง่ มาทางฉัน และ เล่าต่อว่า

IPE@MSU2017

- 59 -


- 60 -

“การที่เราต้องดูแลแม่ที่เป็นคนป่วยเดินไม่ได้ ผมคิดว่า เราต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะเราต้องคุย ดูอาการตลอดเวลา และ โชคดีที่มีทีมแพทย์เข้ามาแนะน�ำการดูแลในกรณีอาการแบบแม่ ของผมที่นอนอยู่เฉยๆ ซึ่งเวลาพาแม่ไปหาหมอ ทางโรงพยาบาล มหาสารคามจะมีศนู ย์อบรมเกีย่ วการดูแลผูป้ ว่ ยในรูปแบบต่างๆ ผม ก็จะเข้าฟังอบรม”

แม่คือทุกสิ่งทุกอย่าง ในชีวิตผม ตั้งแต่ผมเกิดมา และคอยให้ก�ำลังใจ เวลาผมมีปัญหา


ความหวังที่รอ เราทุกคนทีเ่ กิดมาบนโลกย่อมต้องมีความหวังในชีวติ เช่น เดียวกับลุงอ้อยทีเ่ ชือ่ ว่าสักวันแม่ของเขาจะหายเป็นปกติเหมือนเดิม สายตากลมโตมองดูแม่อย่างห่วงใย ขณะทีม่ อื สองข้างจับบนใบหน้า อันเหี่ยวย่นตามกาลเวลา พร้อมลูบไล้ใบหน้า มีเพียงแววตาที่ได้รับ การตอบรับ “ตราบใดทีแ่ ม่ยงั มีลมหายใจอยู่ ผมมีความหวังทุกวันว่าวัน หนึง่ แม่จะหายจากโรคนี้ มีรา่ งกายทีป่ กติเหมือนเดิม และเชือ่ ว่าการ ที่เราคอยให้ก�ำลังใจอยู่ตลอดเวลานั้นจะท�ำให้แม่มีก�ำลังใจที่จะสู้ไป พร้อมกันอีก ผมต้องขอบคุณโครงการดีๆ จากทางรัฐบาลที่จัดเงิน เดือนให้ผู้พิการและผู้สูงอายุ มันช่วยได้เวลาผมหาเงินมาดูแลแม่ ไม่ทันกับค่าใช้จ่าย เหตุผลนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้ผมเชื่อว่าการที่ มีคนคอยช่วยเหลือจะเป็นก�ำลังใจและท�ำให้มีหวังว่าแม่จะหายจาก โรคหลอดเลือดในสมองตีบ” ลุงอ้อยกล่าวทิ้งท้าย ลูกคือบุตรที่ต้องดูแลบุพการี เพื่อตอบแทนพระคุณที่ท่าน ให้ชีวิตเราได้ลืมตาดูโลก เช่นเดียวกับลุงอ้อยที่ดูแลแม่และท�ำงาน เพื่อหาเงินมารักษาแม่ เพราะเขาเชื่อว่าสักวันแม่จะหายเป็นปกติ u

IPE@MSU2017

- 61 -


เบาหวาน...โรคติดต่อทางพฤติกรรม ที่คาดไม่ถึง เรื่องและภาพ : ณัฐพล มาลาหอม


ในปี 2548 องค์การอนามัยโลกประกาศให้โรคเบาหวานเป็น โรคอันตรายเทียบเท่าโลกเอดส์ เพราะมีผู้ เสียชีวติ จากโรคเบาหวาน ทัว่ โลกถึง 3.2 ล้านคนต่อปี ทัง้ ๆ ทีโ่ รคเบาหวานไม่ใช่โรคติดต่อ และ ไม่ได้เกิดจากเชือ้ ไวรัสชนิดร้ายแรงอันใดทัง้ สิน้ แต่สดุ ท้ายกลับโรคที่ คร่าชีวติ คนมากมาย และเป็นโรคทีค่ นส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงความ ร้ายแรงเท่าที่ควร เช่นเดียวกับนางยุวดี คุภไตสิทธิ์ อายุ 63 ปี ผู้ป่วยโรค เบาหวานและความดันโลหิต เธออาศัยอยู่ในชุมชนปัจฉิมทัศน์ จ.มหาสารคาม แม่ ยุ ว ดี ไ ด้ เ ล่ า ให้ พ วกเราฟั ง ถึ ง อุ ป นิ สั ย การรั บ ประทานอาหารของเธอว่า เมื่อก่อนเธอมักบริโภคของหวาน น�้ำ หวาน น�ำ้ อัดลม ทานข้าวเหนียว ทานแป้ง ไอศกรีม สารพัดอาหารที่ เพิม่ ระดับน�ำ้ ตาลในเลือด และอาหารทีน่ ำ� มาสูก่ ารเกิดโรคเบาหวาน ในปัจจุบัน

IPE@MSU2017

- 63 -


- 64 -

จากพฤติกรรมการกินนีเ่ อง ทีอ่ าจจะท�ำให้คนในครอบครัว ป่วยเป็นเบาหวานก็เป็นได้ เพราะการกินอาหารชนิดเดียวกัน มีค่า ไขมันค่าน�้ำตาลเท่ากัน อาจส่งผลกระทบต่อลูกหลานในครอบครัว เพราะแม้วา่ โรคเบาหวานจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมในบางกรณี แต่ โดยทางอ้อมพฤติกรรมการกินของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยไม่ยั้งคิด ยังส่งผลต่อพฤติกรรมของคนในครอบครัว เช่น ลูกหลาน ดังนั้นโรค เบาหวานก็เหมือนโรคติดต่อทางพฤติกรรมโดยที่เราไม่รู้ตัว แม่ ยุ ว ดี ต ้ อ งกิ น ยาควบคุ ม น�้ ำ ตาลตลอดชี วิ ต รวมทั้ ง ระมั ด ระวั ง ในเรื่ อ งการรั บ ประทานอาหารและจ� ำ เป็ น ต้ อ งได้ รั บ ฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกาย ด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร ในกรณีของคุณแม่นี้เป็นการฉีดยา ด้วยตัวเองเพราะต้องฉีดเองที่บ้านเป็นประจ�ำทุกวัน


- 65 -

IPE@MSU2017

ใครหลายคนมักชะล่าใจต่อโรคภัยที่ยังมาไม่ถึง และกิน อาหารที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค แม้จะรู้ทั้งรู้ก็ตาม นั่นท�ำให้เวลาต่อ มาเมือ่ เกิดโรคภัยขึน้ ก็ทำ� ได้เพียงโทษตนเอง โทษความไม่รู้ และก้ม หน้ารับชะตากรรมของตน และในกรณีโรคเบาหวาน หลายคนคิดว่า โรคนี้ส่งผลกระทบเพียงตนเท่านั้น แต่ในทางกลับกัน โรคนี้ยังส่งผล คนรอบข้างโดยทีเ่ ขาไม่รตู้ ัว เพราะพฤติกรรมการกินของเขาอาจจะ สร้างพฤติกรรมการกินให้กับคนใกล้ชิด ลูก หลาน คนในครอบครัว และนี่คือสาเหตุของการเกิดโรคอีกสาเหตุหนึ่งที่ผู้คนมักมองข้าม u


อยู่ กับ โรค (เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง) เรื่องและภาพ : นฤมล ทับปาน


แปดนาฬิ ก าในเช้ า ของวั น เสาร์ ณ โรงเรี ย นเทศบาล บู ร พาพิ ท ยาคาร อ.เมื อ งมหาสารคาม จ.มหาสารคาม สาย ลมอ่ อ นๆพั ด ใบไม้ สี น�้ ำ ตาลแห้ ง ร่ ว งหล่ น ลงบนพื้ น นั บ เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของการลงพื้ น ที่ เ ยี่ ย มบ้ า นผู ้ ป ่ ว ยกั บ โครงการ IPE หรื อ Interprofessional Education ซึ่งเป็ นกระบวนการเรี ย น รู ้ แ ละการท� ำ งานร่ ว มกั น ระหว่ า ง 5 คณะ ทุ ก คนเป็ น นิ สิ ต ชั้ น ปี 2 จากคณะแพทยศาสตร์ เภสั ช ศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ และคณะวิทยาการ สารสนเทศ ภาควิ ช านิ เ ทศศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม เป้าหมายในการท�ำงานร่วมกันครั้งนี้ นอกจากเพื่อการ ดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยในชุมชน ให้บริการด้วยหัวใจความเป็น มนุษย์แล้ว ยังท�ำให้เราได้รจู้ กั การท�ำงานเป็นทีม ซึง่ นิสติ แต่ละคณะ จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป อย่างนิสิตแพทย์ก็จะประเมินความเป็น อยู่ การด�ำเนินชีวิตกับโรคที่ผู้ป่วยเผชิญ นิสิตเภสัชฯ ก็จะดูแลใน เรื่องของการใช้ยา นิสิตพยาบาลจะรับหน้าที่ตรวจวัดความดันและ สอบถามเรื่องสุขภาพเบื้องต้น นิสิตสถาปัตย์ฯ จะตรวจสอบสภาพ แวดล้อมกับที่อยู่อาศัยที่เสี่ยงต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย และในส่วน ของนิสติ นิเทศศาสตร์นนั้ เราท�ำหน้าทีใ่ นเรือ่ งของการสือ่ สาร สังเกต พฤติกรรมต่างๆ ของผู้ป่วย และท�ำสื่อเพื่อน�ำเสนอ จากนั้นเราก็ จะมาสรุปผลการลงพื้นที่ร่วมกัน พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขต่อไป

IPE@MSU2017

- 67 -


- 68 -

ฉันมาก่อนเวลานัดได้สกั พัก เพือ่ นๆ นิสติ ต่างทยอยมากัน อย่างไม่ขาดสาย เพราะทุกคนตระหนักว่าเวลาเป็นสิ่งส�ำคัญ ไม่มี ใครอยากให้ผอู้ นื่ มารอ และคงไม่มใี ครอยากทีจ่ ะรอผูอ้ นื่ เช่นกัน หลัง จากที่ทุกอย่างเข้าที่เข้าทางแล้ว อาจารย์ได้แนะน�ำพี่ๆ อาสาสมัคร สาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้าน หรือ อสม ที่จะคอยช่วยเหลือให้ข้อมูล เบื้องต้นของผู้ป่วย จากนั้นการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านจึงได้เริ่มต้นขึ้น รู้จักฉันรู้จักเธอ ฉันอยู่กลุ่มที่ 17 ซึ่งมีสมาชิกจากคณะแพทย์ 1 คน เภสัชฯ 2 คน พยาบาลฯ 2 คน และสถาปัตย์ฯ 1 คน เราเดินไปคุยไป จาก โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร ประมาณ 400 เมตร ไม่นานนักก็ ถึงที่หมาย บ้านไม้สองชั้น ด้านบนเป็นไม้ ส่วนด้านล่างเป็นปูน เปิด เป็นร้านขายของช�ำสุดเก๋า เนื่องด้วยเจ้าของบ้านบอกกับเราเองว่า เปิดตามใจคนขาย อยากเปิดเมือ่ ไหร่กเ็ ปิด แล้วแต่สะดวก มีผอู้ าศัย อยู่ด้วยกัน 3 คน คือ ลูกสาว ลูกเขย และหลานชายวัย 7 ขวบ “สวัสดีคะ่ /ครับ” ฉันและเพือ่ นๆ กล่าวทักทายเจ้าของบ้าน อย่างเป็นมิตร และไม่ลืมที่จะซื้อผลไม้ติดไม้ติดมือไปฝากเจ้าของ บ้านด้วย “สวัสดีค่ะ...ลูกๆ” เจ้าของบ้านรับไหว้และส่งยิ้มให้อย่าง อบอุ่น พร้อมรับผลไม้ของฝากจากเราไปเก็บไว้ เธอคือนางราตรี เพชรสังหาร หรือ แม่ราตรี อายุ 60 ปี รูปร่างอวบอั๋น ผิวพรรณดู ผ่องใสเช่นเดียวกันกับสีหน้าท่าทางที่แสดงออก


“พวกหนูขอสอบถามข้อมูล แล้วก็ขอตรวจสุขภาพแม่หน่อย นะคะ” น�้ำมนต์ นิสิตแพทย์ฯ เริ่มเปิดฉากสนทนาระหว่างเรากับแม่ ราตรีอย่างคล่องแคล่ว “ได้เลยค่ะ...” เธอยิ้มรับด้วยความเต็มใจ เราถามไถ่เรื่องสุขภาพของแม่ราตรีต่าง ๆ นานา พบว่า เธอ เป็นโรคเบาหวานกับความดันสูง เป็นตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งได้รับการ รักษาจากการรับประทานยาและค�ำแนะน�ำในการควบคุมอาหารจาก แพทย์มาโดยตลอด ล่าสุดตรวจพบอีกหนึ่งโรค คือคอเลสตอรอลสูง หรือไขมันในเลือดสูงนั่นเอง “แม่มีปัญหาการแพ้ยาบ้างไหมคะ” น�้ำมนต์ถามต่อด้วยทีท่า เหมือนถอดแบบคุณหมอมาไม่มีผิด “ไม่เคยเลยค่ะ” แม่ราตรีตอบด้วยน�้ำเสียงหนักแน่น ครั้นจิ๊กับบอส นิสิตเภสัชฯ ถามถึงเรื่องการใช้ยา แม่ราตรีก็ ตอบกลับมาอย่างทันทีดว้ ยน�ำ้ เสียงหนักแน่นเช่นเคยว่า “ทานยาตาม แพทย์สั่งตลอดค่ะ จะไม่ซื้อยาใช้เอง แต่ก็มีบ้างที่ลืมทาน”

IPE@MSU2017

- 69 -


- 70 ความเสี่ยงอยู่ใกล้แค่เอื้อม “การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” ประโยคติดหูที่หลายคน คงเคยได้ยิน ไม่มีใครอยากจะมีโรคประจ�ำตัว แต่หากเราเป็นอย่าง ไม่ได้ตั้งใจ อย่าปล่อยปละละเลยโรคที่เป็นอยู่ แม้บางโรคยากที่จะ รักษาให้หายขาดได้ แต่อย่างน้อยก็ไม่ควรซ�ำ้ เติมมันด้วยการบริโภค สิ่งที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย ปัญหาสุขภาพของแม่ราตรีมีสองประการหลักๆ ด้วยกัน ทั้งการชอบรับประทานอาหารรสเผ็ดและการดื่มแอลกอฮอล์ใน ปริมาณมาก แม้เธอจะบอกว่าไม่บ่อย แต่ด้วยโรคที่เป็นอยู่ การดื่ม แอลกอฮอล์มโี อกาสเสีย่ งต่อเส้นเลือดในสมองแตก และอาจเสียชีวติ หรือเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต เพราะฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะไปขยาย หลอดเลือด ท�ำให้ความดันโลหิตสูงมากขึ้น เมื่อความดันสูงก็อาจ ท�ำให้เส้นเลือดแตกได้


ส่วนการรับประทานอาหารรสเผ็ด ให้ทั้งคุณและโทษ รส เผ็ดนัน้ ช่วยลดความดันและไขมันในโลหิตได้ แต่ทงั้ นีค้ วรบริโภคแต่ พอดี เพราะอาจน�ำมาซึ่งโรคกรดในกระเพาะอาหาร โรคไต โรคอ้วน สิว และโรคหัวใจได้ (เรียบเรียงข้อมูลจาก www.manager.co.th) แม่ราตรี บอกกับเราอีกว่า จะดื่มแอลกอฮอล์เมื่อมีงานหรือ เวลาเพือ่ นชวนสังสรรค์กนั และตอนนีก้ ล็ ดบ้างแล้ว เนือ่ งด้วยเพือ่ นๆ หลายคนจากไปเพราะการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงสามีของเธอด้วย “แม่ออกก�ำลังกายบ้างไหมคะ” น�้ำมนต์ ถามขึ้นอีกครั้ง “ออกบ้างค่ะ เดินไปเดินมาแถวๆ นี้แหละ” เธอตอบด้วย ใบหน้าเปื้อนยิ้มพร้อมชี้ไปมาว่าตนเคยเดินจริง เพื่อนๆ ในกลุ่มต่างแนะน�ำแม่ราตรีในเรื่องสุขภาพ เช่น ให้ ออกก�ำลังกายมากขึ้น เพราะเธอมีค่า BMI ที่เกินมาตรฐาน หรือ เรียกง่ายๆ ว่าอ้วนนั่นเอง โดยแทค นิสิตพยาบาลฯ ได้อธิบายว่าค่า BMI ก็คือค่าดัชนีมวลกายเปรียบเทียบความสมดุลของร่างกายจาก น�้ำหนักตัวและส่วนสูง หลายค�ำถามเกี่ยวกับสุขภาพจากเพื่อนคณะพยาบาลฯ แพทย์ฯ และเภสัชฯ พุ่งไปที่แม่ราตรีอย่างไม่หยุดหย่อน ฉันนั่งมอง พร้อมกับฟังอย่างใจจดใจจ่อ เธอตอบทุกค�ำถามอย่างสบายๆ ปนไป ด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะเสมอ

IPE@MSU2017

- 71 -


- 72 ทางออกที่ดีที่สุด ฉันแทบจะไปได้ถามอะไรแม่ราตรีเลย แต่จากการนัง่ ฟังการซัก ถามกันไปมาของเพื่อนๆ แล้ว ก็ได้ข้อมูลพอสมควรที่จะน�ำมาเขียน เป็นงานชิน้ นี้ สิง่ ทีฉ่ นั สัมผัสได้จากการร่วมวงสนทนากับแม่ราตรีคอื เธอเป็นคนอารมณ์ดี และดูเผินๆ เหมือนคนไม่มโี รคภัยไข้เจ็บด้วยซ�ำ้ การลงพืน้ ทีเ่ ยีย่ มบ้านจบลงในระยะเวลา 1 ชัว่ โมง ฉันและ เพื่อนบอกลาแม่ราตรี และเดินกลับไปยังโรงเรียนเทศบาลบูรพา พิทยาคาร ท่ามกลางแสงแดดยามใกล้เที่ยงและอากาศอันร้อนระอุ เพื่อสรุปข้อมูลและปัญหาที่พบในวันนี้ ต้า นิสิตสถาปัตย์ฯ ที่เดินดูบ้านได้บอกถึงปัญหาภายในบ้าน แม่ราตรีว่า มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เนื่องจากของใช้ภายในบ้านถูก วางไว้ไม่เป็นสัดส่วน รวมทั้งห้องน�้ำที่เป็นพื้นต่างระดับและลื่น อาจ เกิดอุบัติเหตุได้ ส่วนฉันและเพื่อนคนอื่นสรุปปัญหาที่เห็นว่าส�ำคัญและพอ จะเป็นไปได้ในการแก้ไข โดยมุ่งไปที่การลืมรับประทานยา เราคิด ว่าจะท�ำป้ายเตือนการใช้ยา น�ำไปแปะไว้ตามบริเวณต่างๆ ภายใน บ้านที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และเรื่องการรับประทานอาหาร เผ็ดกับการดื่มแอลกอฮอล์ ท�ำได้เพียงให้ค�ำแนะน�ำ ซึ่งแม่ราตรีเอง ก็เป็น อสม ด้วย เคยไปอบรมและลงชุมชนหลายครั้ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ กับตัวเธอเองว่าจะเอาชนะใจตัวเองได้หรือไม่ ซึง่ เราอยากให้แม่ราตรี ตระหนักถึงเรื่องสุขภาพให้มากกว่านี้ ในส่วนของสภาพแวดล้อม การจัดวางของที่ไม่เป็นสัดส่วน ท�ำให้ทางเดินแคบ แสงสว่างไม่เพียงพอ อากาศถ่ายเทไม่สะดวกนัก รวมถึงห้องน�้ำที่เป็นพื้นต่างระดับและลื่นด้วย ซึ่งอย่างหลังเพื่อนส ถาปัตย์ฯ บอกว่า ควรปรับเทพื้นให้เท่ากัน ย้ายเครื่องซักผ้าออกไป พืน้ ทีซ่ กั ล้างข้างนอก หากท�ำได้พน้ื ทีใ่ นห้องน�ำ้ จะได้กว้างขึน้ และแก้ ปัญหาพื้นลื่นได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ต้องใช้งบประมาณพอสมควรและ ต้องถามความพร้อมของเจ้าของบ้านด้วย


- 73 -

IPE@MSU2017

การท�ำงานร่วมกันครั้งนี้ท�ำให้ฉันได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง ได้พบเจอและพูดคุยกับคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน เรียนรู้การใช้ ชีวติ และทัศนคติของแม่ราตรี การท�ำงานเป็นทีม มุมมองในการมอง ปัญหาของแต่ละวิชาชีพ รวมถึงได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของการ สื่อสาร ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ส�ำคัญอย่างยิ่งต่อวิชาชีพของฉัน สุดท้ายนี้ฉันได้อ่านคู่มือของโครงการ IPE ในเรื่องการ เยี่ยมบ้าน ฉันชอบประโยคหนึ่งที่อาจารย์แพทย์ฯ บอกไว้ว่า “การ เยีย่ มบ้านในครัง้ นี้ เราเป็นผูม้ าเก็บเกีย่ วความรู้ และเจ้าของบ้านคือ ครู ผูท้ จี่ ะมามอบความรูใ้ ห้กบั เรา” ซึง่ ฉันได้มนั จริงๆ ดังทีไ่ ด้กล่าวไว้ ข้างบน ถือเป็นประสบการณ์ทฉ่ี นั คิดว่าอาจจะหาทีไ่ หนไม่ได้อกี แล้ว u


ชีวิตในวัยใกล้ฝั่งของ “ยายประจร” เรื่องและภาพ : นายวรรวรรธ อัครวงค์วัฒนา


IPE@MSU2017

- 75 -

มนุษย์ทุกคน แม้จะต่างเชื้อชาติ ต่างแหล่งก�ำเนิด ต่าง อาหารการกิน แต่สิ่งที่ทุกคนเหมือนกันและต้องเผชิญนั้น คงเป็น ความชราภาพ ที่ถือเป็นสัจธรรมของชีวิตของมนุษย์ และเมื่อล่วง ถึงวัยชราแล้วสิ่งที่ตามมาคือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ส่งผล ต่อมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจไม่มากก็น้อย ทางกาย คือเมื่ออายุเริ่มมากขึ้น การท�ำงานของร่างกายก็ เริ่มเสื่อมสภาพจะท�ำอะไรก็ยากล�ำบาก ทางจิตใจ เมือ่ อายุเริม่ มากขึน้ จิตใจจะเริม่ อ่อนไหวง่าย จึง ท�ำให้ลูกหลานต้องให้การดูแลและให้ความส�ำคัญคนชรา


- 76 ชีวิตที่เรียกว่าครอบครัว ผมและเพื่ อ นได้ ม ายั ง บ้ า นของนางประจร ริ น ทะรึ ก บ้ า นเลขที่ 16 ซอย 35 หมู่ 22 หนึ่งในผู้ป่วยชุมชนบูรพา ที่ที่เรา ได้รับมอบหมายให้มาเยี่ยมบ้านเพื่อศึกษาชีวิตและอาการป่วยของ เธอพร้อมกับหาแนวทางแก้ไขเท่าที่เราสามารถจะท�ำได้ ขณะที่พวกเราได้ซักถามสารทุกข์สุขดิบของยายประจร สีหน้าของเธอก็เริ่มเปลี่ยน สายตาเหม่อลอยคล้ายคนที่ก�ำลังคิดถึง ความหลัง คุณยายเล่าถึงชีวิตครอบครัวเมื่อต้องเลี้ยงดูลูกถึง 6 คน และหากขาดสามีไปคงเป็นเรื่องล�ำบาก ครอบครัวของเธอก็ถือว่า เป็นครอบครัวอบอุ่น สมบูรณ์ด้วยพ่อ แม่ และลูก จะมีปัญหาบ้าง ก็เมื่อลูกคนที่สองซึ่งเป็นคนหัวรั้น มักจะไม่ค่อยเชื่อฟัง และท�ำตรง ข้ามกับสิ่งที่เธอห้ามเสมอ ลูกสาวคนเก่งที่ไม่ทิ้งแม่ คุณยายประจร เล่าถึงอาการป่วยไข้ของเธอว่า “ ยายมี โรคประจ�ำตัวอยู่แล้ว คือป่วยเป็นวัณโรค แต่ก็ใช้ชีวิตตามปกติ เมื่อ หลายปีทผี่ า่ นมาลูกชายคนโตกับภรรยาของเขาได้พายายไปเทีย่ วที่ กรุงเทพฯ เมือ่ ไปเทีย่ วกับลูกชาย ในช่วงทีซ่ อื้ ของก็เผลอสลบไปโดย ไม่รู้ตัว ตื่นมาอีกครั้งก็รู้ว่าอยู่โรงพยาบาลแล้ว ลูกชายบอกกับยาย ว่าเป็นโรคเบาหวาน เรี่ยวแรงเริ่มไม่มี ในตอนที่อยู่โรงพยาบาลก็ได้ แต่ภาวนาให้หายป่วยสักที เมื่ออาการเริ่มดีขึ้นจึงให้ลูกชายพากลับ บ้านที่ จ.มหาสารคาม” ในการกลับบ้านครัง้ นีห้ มอสัง่ ห้ามไม่ให้รบั ประทานของเผ็ด และของหวาน แต่ความดื้อรั้นกลับท�ำให้ยายท�ำตรงกันข้ามโดยการ รับประทานอาหารเผ็ด หลังจากนัน้ ก็รสู้ กึ ปวดแสบปวดร้อนทีท่ อ้ งจน ลูกต้องพาไปหาหมอใกล้บ้าน หมอบอกเป็นโรคล�ำไส้อักเสบจึงต้อง ผ่าตัดเศษอาหารที่ไม่ย่อยออก


- 77 -

ความเป็นอยู่ของยายประจร แม้ว่าจะมีเพื่อนบ้านเข้ามาช่วยเหลือแต่ยายก็มีความรู้สึก เกรงใจเพื่อนบ้าน การอยู่ตามล�ำพังในบ้านนั้นท�ำให้คุณยายเหงา ไม่น้อย เธอมักออกมานั่งหน้าบ้านเพื่อคลายความเหงาและความ อึดอัดจากการอยูบ่ า้ นเฉยๆ เมือ่ คุณยายเห็นพวกเราเหล่านิสติ เข้ามา เยีย่ ม เธอจึงรูส้ กึ ว่าได้เพือ่ นคุยคลายเหงา และเอ็นดูพวกเราเหมือน ลูกหลานของเธอ ความสัมพันธ์ของพวกเรากับคุณยายด�ำเนินไปใน ระเวลาอันสั้น เมื่อการสนทนาสิ้นสุดลง เราจึงลากลับ ทุกคนตกใจ เมื่อได้เห็นคุณยายน�้ำตาไหล จึงช่วยกันปลอบประโลมจนเธอคลาย ความเศร้าไปได้ เหตุการณ์นี้ท�ำให้เราได้ตระหนักถึงหัวใจของผู้สูง อายุที่ป่วยไข้ว่าพวกเขามีอารมณ์ที่อ่อนไหวเพียงใด และต้องได้รับ การดูแลเอาใส่ใจจากคนในครอบครัวมากกว่าปกติ u

IPE@MSU2017

หลังจากคุณยายป่วยเป็นเบาหวาน คนในครอบครัวจึงใส่ใจ สุขภาพของเธอมากขึน้ โดยมี นางบุญเรียง รินทะรึก ลูกสาวคนที่ 6 ของคุณยาย ที่จะคอยท�ำอาหารในช่วงเช้าและเที่ยง แต่หลังจากนั้น เธอต้องไปขายขนมบริเวณโรงเรียนที่อยู่ละแวกบ้าน กลับบ้านอีกก็ จวนจะค�ำ่ ขณะทีเ่ ธอเล่า ผมสัมผัสได้ถงึ แววตาเศร้าจากการปล่อยให้ แม่อยูบ่ า้ นคนเดียวในช่วงทีเ่ ธอไปขายขนม และถึงแม้วา่ จะมีลกู ชาย แต่ลกู ชายก็กลับมาช่วงค�ำ่ ตลอดวันเนือ่ งจากติดเรียนหนังสือ เธอจึง ฝากฝังเพื่อนบ้านให้ช่วยมาสอดส่องดูแลแม่อยู่เสมอ


ตามติดชีวิตของ .. “ยายมีนา” เรื่องและภาพ : ภูริฉัตร ศิริโชคชัย


แสงแรกของวันใหม่สาดส่องไปทัว่ ทุกพืน้ ทีใ่ นชุมชนปัจฉิม ทัศน์ อ.เมือง จ.มหาสารคาม นิสิตชั้นปีที่ 2 จาก 5 คณะ ซึ่งได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ และคณะวิทยาการ สารสนเทศ (ภาควิชานิเทศศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ เข้าร่วมโครงการ Interprofessional Education ; IPE หรือการ จัดการเรียนการสอนร่วมระหว่างวิชาชีพ ซึ่งโครงการนี้มีนิสิตเข้า ร่วมทั้งหมด 324 คน มีการแบ่งกลุ่มให้ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยตาม ชุมชน ทัง้ หมด 50 กลุม่ ในชุมชนบูรพาสามัคคีและชุมชนปัจฉิมทัศน์ จุดเริ่มต้นของยายมีนา เมื่อฉันมาถึงจุดรวมพลของเหล่านิสิตที่เข้าร่วมโครงการ IPE กลุ่มของฉันคือกลุ่มที่ 40 ได้รับมอบหมายไปยังบ้านของคุณ ยายมีนา แสงฉายา อายุ 74 ปี มีโรคประจ�ำตัวคือโรคเบาหวานและ โรคหอบหืด บ้านของยายเป็นร้านขายของช�ำ อยูห่ ลังวัดปัจฉิมทัศน์ มีคนในครอบครัวที่อยู่กับยายมีนา 9 คน คือลูกสาว 3 คน ลูกชาย 3 คน ลูกเขย 1 คน และหลานชาย 2 คน เมื่อถึงบ้านของยายมีนา เราทุกคนต่างได้รับการต้อนรับ เช่นลูกหลานอย่างอบอุ่น เธอได้เปิดฉากเล่าถึงชีวิตของตนว่า “ยาย เป็นคนแม่ฮอ่ งสอน เคยสูบยาเส้นแล้วติด ตอนนัน้ ก็ยงั ไม่ได้เป็นโรค เบาหวาน ยายสูบวันละ 3-5 มวนอยู่เป็นประจ�ำ เมื่อแต่งงานมีสามี ซึ่งเป็นคน จ.มหาสารคาม จึงได้ย้ายมาอยู่กับสามี จากนั้นก็เริ่มเป็น โรคเบาหวานและโรคหอบหืดเพราะมีอายุมากขึน้ พอเป็นโรคนีข้ นึ้ มา คนแถวบ้านจึงแนะน�ำให้ลองกินหมากแทนการสูบยาเส้น เพือ่ ลดการ เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาที่หลัง” คุณยายพูดขณะเคี้ยวหมากปาก แดงไปด้วย เธอได้บอกอีกว่าเป็นโรคเบาหวานกับโรคหอบหืดมา นานกว่า 40 ปีแล้ว

IPE@MSU2017

- 79 -


- 80 -

“ช่วงหลังๆ มานี้มักจะนอนไม่หลับ ลองออกก�ำลังกาย กิน นมก่อนนอนแล้วก็ยงั ไม่ได้ผล ไม่รจู้ ะท�ำยังไงเหมือนกัน เลยปล่อยไว้ เฉยๆ ไม่ไปปรึกษาหมอ” ยายมีนาพูดด้วยสีหน้าจริงจังเมื่อพวกเรา ไต่ถามถึงอาการ ในปัจจุบัน พร้อมทั้งสาธิตวิธีการท�ำหมากให้พวก เราดูอีกด้วย เมื่อคุยกับยายมีนามาได้สักพัก กาญน์ เพื่อนจากคณะ พยาบาลศาสตร์ได้ขอวัดความดันคุณยายมีนา ขณะทีก่ าญน์วดั ความ ดันอยู่นั้น แป้ง เพื่อนจากคณะเภสัชศาสตร์ก็ได้เข้าไปสอบถาม แม่ เยาวภา แสงฉายา ลูกสาวของยายมีนา เกี่ยวกับการดูแลเรื่องยา ที่ยายจะต้องทานเป็นประจ�ำ


แม่ เ ยาวภา เล่ า ว่ า “ยาที่ ย ายจะต้ อ งกิ น มี ค ่ อ นข้ า ง เยอะ จะเป็ น ยาที่ ห มอจากโรงพยาบาลจั ด มาให้ ไม่ มี ก ารไป ซื้ อ ยาชุ ด มารั บ ประทานเอง เวลากิ น ยา แม่ จ ะเป็ น คนจั ด ให้ อ ยู ่ เสมอ แต่ยายก็จะมีปัญหาตรงที่ว่า ยายเป็นคนที่กินอาหารไม่ ตรงเวลา จึงท�ำให้เวลากินยาก็จะคลาดเคลื่อนไปด้วย แม่ก็ไม่รู้ จะท�ำยังไง เพราะยายก็มีอาการนอนไม่หลับและมักจะนอนตอน ประมาณรุ่งสาง แม่ก็เลยปล่อยให้ยายนอนต่อ เนื่องจากอยาก ให้ยายได้นอนเยอะๆ ไม่อยากให้ตื่นมาแล้วอารมณ์ไม่ดี” เธอเล่า พร้อมแทนตนเองว่าแม่ ซึ่งเป็นลักษณะของคนอีสานที่มักเรียก แทนตนว่าแม่เมื่อพูดคุยกับเด็กๆ แม้จะไม่ได้เป็นเครือญาติกัน ทั้งนี้ ยายมีนาไม่ค่อยได้ออกก�ำลังกาย ส่วนมากจะเดิน ไปแค่หน้าบ้านแล้วก็ตอนไปท�ำบุญที่วัดเท่านั้น ส่วนอาหารที่เธอ ทานเป็นประจ�ำจะเป็นอาหารที่ท�ำกินกันเองภายในครอบครัว มี การควบคุมอาหาร ปริมาณของน�้ำตาลในแต่ละมื้ออย่างเคร่งครัด

IPE@MSU2017

- 81 -

การที่น�้ำตาลในเลือดสูง มาเป็นเวลานานนั้นจะท�ำให้เกิด หลอดเลือดแข็งตัวได้ มันมีโอกาสที่จะท�ำลายไต สมอง และหัวใจ


- 82 -

แก้ไขอย่างไรให้เหมาะสม กิ๊บ เพื่อนจากคณะแพทยศาสตร์ ได้เล่าถึงโรคเบาหวาน และโรคหอบหืดว่า “โรคเบาหวานเป็นกลุ่มคนที่มีระดับน�้ำตาล ในเลือดสูง การที่น�้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นเวลานานนั้นจะท�ำให้ เกิดหลอดเลือดแข็งตัวได้ มันมีโอกาสที่จะท�ำลายไต สมอง และ หัวใจ ยายมีนาจะต้องควบคุมอาหาร และใช้ยาตามที่หมอจาก โรงพยาบาลให้มาอยู่เป็นประจ�ำ ส่วนโรคหอบหืดของยายมีนา ไม่ ค ่ อ ยมี อ าการแสดงให้ เ ห็ น เนื่ อ งจากมี ก ารควบคุ ม ปริ ม าณ อาหาร และไม่ได้ท�ำงานหนัก หรือออกก�ำลังกายหนักจนเกินไป จึงท�ำให้เหมือนว่าไม่มีโรคนี้อยู่นั่นเอง” กิ๊บพูดทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้ม จากนั้ น โบว์ เพื่ อ นจากคณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ได้เข้าไปส�ำรวจพื้นที่บ้านของยายมีนา แล้วเล่าเกี่ยวกับโครงสร้างบ้านที่ต้องปรับปรุงว่า “บ้านของยาย เป็นร้านขายของช�ำค่อนข้างที่จะรกนิดหน่อย แต่แค่เฉพาะทาง เข้าหน้าบ้านเท่านั้น ในตัวบ้านสะอาดเป็นระเบียบดี ทางเข้าไป ในตัวบ้านมืดไม่ค่อยมีแสงสว่าง เวลายายจะออกไปเดินข้างนอก อาจจะท�ำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และบริเวณพื้นหน้าบ้านก็ลื่นเสี่ยง ต่อการลื่นล้ม โดยโครงสร้างบ้านที่ยายจะต้องปรับปรุงคือจะต้อง ติ ด หลอดไฟบริ เ วณทางเข้ า บ้ า น หรื อ ท� ำ หน้ า ต่ า งเพิ่ ม เพื่ อ รั บ แสงและระบายอากาศ” โบว์พูดทิ้งท้ายด้วยสีหน้าจริงจัง พร้อม กั บ เดิ น ส� ำ รวจและชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ส่ ว นที่ ต ้ อ งได้ รั บ การซ่ อ มแซม


พวกเราทั้ง 5 คณะได้ระดมความรู้จากศาสตร์ที่ตนเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งด้านสุขภาพ การดูร่างกาย และที่อยู่อาศัย ให้ สอดคล้องกับการใช้ชวี ติ และอาการป่วยของคุณยาย และการมาครัง้ นี้ นอกจากเราจะเป็นผู้ให้แล้ว เรายังได้เป็นผู้รับ รับความเอื้ออาทร รับความเมตตาจากคุณยาย และได้ประสบการณ์ในการมาสัมผัสชีวติ มนุษย์จากการลงพืน้ ทีข่ องโครงการ IPE ครัง้ นี้ และนอกเหนือกว่า นั้น ฉันและเพื่อนได้รู้ว่า ห้องเรียนที่ดีที่สุด คือโลกใบนี้นั่นเอง u

IPE@MSU2017

- 83 -


ก่อนจะถึงบั้นปลายชีวิตที่แสนสุข ของ .. “แม่ทูล” เรื่องและภาพ :อนัสตา สระแก้ว


แดดอ่อนๆ ในยามเช้าของวันเสาร์สุดสัปดาห์ สองล้อ มอเตอร์ไซค์คู่ใจถูกขับเคลื่อนออกไปตามท้องถนนใหญ่ในเมือง จ.มหาสารคาม ซึ่งเป้าหมายในการเร่งรีบเดินทางในวันนี้คือการนัด หมายลงพืน้ ทีก่ บั โครงการ IPE หรือ Interprofessional Education ซึง่ เป็นโครงการทีจ่ ดั การเรียนการสอนนอกห้องเรียนร่วมกันระหว่างสห วิชาชีพ โดยให้นสิ ติ ต่างคณะ ทัง้ คณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสถาปัต ยกรรมศาสตร์ ผั ง เมื องและ นฤมิตศิลป์ และคณะวิทยาการสารสนเทศ มาเรียนรูก้ ารท�ำงานเพือ่ ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยในชุมชน ตามทักษะการเรียนของแต่ละคณะ ฉั น ซึ่ ง มาจากคณะวิ ท ยาการสารสนเทศ ภาควิ ช า นิ เ ทศศาสตร์ ดูเ หมือนจะแตกต่างจากเพื่อนทั้งสี่คณะที่มารวม กัน และถือเป็นปีแรกที่คณะของฉันร่วมโครงการ ฉันจะท�ำอะไรได้ บ้าง จะช่วยเหลือผู้ใดได้บ้าง จะเก็บเกี่ยวสิ่งใดได้บ้าง เป็นความ กังวลเล็กๆ ที่เจือปนด้วยความท้าทายกับการท�ำงานในครั้งนี้ เมือ่ ทุกคนในกลุม่ มาพร้อมกันแล้ว พวกเราจึงเริม่ ออกเดิน ทางไปยังบ้านทีไ่ ด้รบั มอบหมาย นัน่ คือ บ้านเลขที่ 14 หมู่ 22 ถ.มนตรี บ�ำรุง ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม ในซอยเล็กแคบแต่ลึกใช่เล่น สองข้างทางเต็มไปด้วยบ้านเรือนเรียงราย บ้านหลังนีม้ ลี กั ษณะเป็น บ้านไม้ผสมปูน สภาพบ่งบอกถึงการใช้งานมาหลายสิบปีทีเดียว

IPE@MSU2017

- 85 -


- 86 -

เมื่อถึงที่หมาย มันคือบ้านหลังแรกของซอยลึก หน้าบ้าน ถูกบดบังด้วยต้นราชพฤกษ์สูงใหญ่และมีแคร่ขนาดเล็กอยู่ใต้ต้นไม้ มีหญิงชราร่างท่วม ท่าทางแข็งแรง ก�ำลังนัง่ พับผ้าอยูอ่ ย่างตัง้ ใจ เสือ้ คอกระเช้าลายดอกไม้นา่ รักพลิว้ ไหวไปตามการเคลือ่ นไหวของช่วง แขนทีเ่ ธอได้กวักเรียกพวกเรา พร้อมกับกล่าวทักทายด้วยเสียงแหบ ทุ้มว่า “มาๆ คุณหมอ วันนี้จะมาตรวจอะไรกันหรือ” ฉันได้ยินดัง นัน้ ก็ทำ� ได้เพียงแต่อมยิม้ ในใจและคิดอย่างตลกไปว่า วันนีไ้ ด้เป็นคุณ หมอด้วย วันต่อไปถ้ามาเยี่ยมอีกรอบคงได้เป็นพยาบาล เพื่อนในกลุ่มทั้ง 6 คน รวมทั้งฉันต่างกระจายตัวกันท�ำ หน้าที่ของตน นั่นคือการซักถามเรื่องราวของผู้ป่วย ทั้งเรื่องการรับ ประทานยา การพบแพทย์ การดูแลตนเอง การรับประทานอาหาร การตรวจดูสภาพบ้านเพื่อหาจุดแก้ไข และพฤติกรรมการใช้ชีวิตใน แต่ละวัน ฉันนัง่ มองเพือ่ นทีเ่ รียนสายสุขภาพซึง่ ก�ำลังซักถามอาการ ผูป้ ว่ ย แล้วท�ำได้แค่ตงั้ ใจฟังเพือ่ เก็บข้อมูลของผูป้ ว่ ย เก็บเกีย่ วความ รู้ใส่ตัวเอง และนั่นท�ำให้ฉันได้รับรู้เรื่องราวชีวิตของแม่อรุณ เหล่า พิทักษ์ หรือแม่ทูล หญิงชราร่างท้วมท่าทางแข็งแรงวัย 78 ปี ที่ยิ้ม แย้มพูดคุยกับพวกเราด้วยความเป็นมิตร ผ่านไปชัว่ ครูใ่ หญ่แดดเริม่ แรงขึน้ ตามเวลา การไต่ถามของ พวกเราก็เริม่ ใกล้จะสิน้ สุดลง พลันสายตาของฉันก็เหลือบไปเห็นแผล เป็นรอยใหญ่ที่ ข้อศอกซ้ายก็อดทีจ่ ะท�ำให้ฉนั สงสัยและถามแม่ทลู ว่า เพราะเหตุใดจึงมีแผลเป็นเช่นนี้ แม่ทูลจึงเริ่มเล่าเรื่องที่มาของแผล เป็นให้ฉันและเพื่อนๆ ฟัง


ต้นเหตุของแผลเป็นที่มาพร้อมความเศร้า “เสียใจมากตอนนั้น จนไม่รู้จะเริ่มชีวิตต่อไปอย่างไรดี” แม่ ทูลเริ่มเปิดฉากเล่าถึงแผลเป็นขนาดใหญ่ของตนเองว่า บาดแผลที่ เห็นนัน้ เกิดจากการทีเ่ ธอได้เสียลูกชายคนเล็กไปอย่างกะทันหันจาก อุบตั เิ หตุรถยนต์ เมือ่ ครัง้ ทีเ่ ธออายุ 52 ปี มันได้สร้างบาดแผลในจิตใจ อย่างรุนแรง ตามมาด้วยความเครียดจนขาดสติ ท�ำให้เธอตกบันได บ้านจนต้องอยู่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลาหลายเดือนและ เข้าโรงพยาบาลบ่อยครั้ง เมื่อกลับมาอยู่บ้านเธอก็ไม่สามารถอยู่ได้ เพียงล�ำพัง นั่นเป็นเพราะเธอเครียดและไม่มีแรงที่จะท�ำอะไรทั้งนั้น ฉันฟังแม่ทูลเล่าถึงต้นเหตุบาดแผลด้วยความเศร้าใจ แม้ จะรู้ดีว่าฉันมิอาจเข้าใจความรู้สึกสูญเสียของแม่ทูลได้อย่างถ่องแท้ แต่ความเศร้าใจของแม่ทูลจากค�ำบอกเล่าได้ส่งความรู้สึกมาถึงตัว ฉันมากมายเหลือเกิน

IPE@MSU2017

- 87 -


- 88 -

ชีวิตจริงนั้นมีความเศร้า อยู่ตลอดเวลา แต่เราเลือก ได้ว่าจะเสียใจกับมันได้นาน แค่ไหน โรคร้ายที่ตามมาจากความเศร้า แสงแดดเริ่มอ่อนลง พร้อมกับลมโชยอ่อนๆ ฉันและแม่ทูล ยังคงพูดคุยกันต่อเกีย่ วกับชีวติ ของเธอ ดวงตาทีเ่ จือความเศร้าใจยัง คงมีประกายความสดใสจากการมาของพวกเรา เธอยังคงเล่าเรื่อง ราวต่อไป รวมทั้งเรื่องที่เธอเคยเป็นโรคเครียดและโรคมะเร็งล�ำไส้ ในช่วงหนึง่ ของชีวติ ช่วงทีเ่ ธอประสบอุบตั เิ หตุจากการตกบันได นัน่ เพราะในตอนนัน้ ความเสียใจจากการเสียลูกชาย ท�ำให้เธอไม่รจู้ ะเริม่ ใช้ชวี ติ อย่างไรต่อ เธอไม่กนิ และไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานาน นีจ่ งึ เป็นสาเหตุที่ท�ำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ นานา แต่ในตอนนีเ้ ธอผ่านมรสุมเหล่านัน้ มาได้ เพราะพลังใจจาก ลูกชายคนโต คือนายกุศล เหล่าพิทักษ์ หรือลุงสน วัย 46 ปี และ หลานชาย ครอบครัวที่เธอเหลืออยู่คอยดูแลและเยียวยาจิตใจของ เธอเสมอมา ซึ่งลุงสน ได้กล่าวกับพวกเราว่า “อยากให้แม่แข็งแรง และกลับมาอารมณ์ดีได้เหมือนเดิม” “แล้วตอนนั้นผ่านชีวิตที่เลวร้ายมาได้อย่างไรคะ” ฉันถาม แม่ทูลด้วยความใคร่รู้


- 89 -

บั้นปลายชีวิตที่แสนสุขของแม่ทูล แม่ทูล ยังเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ในตอนนี้อีกว่า ทุกๆ วัน ตอนกลางวันและตอนเย็นเหลนและหลานของเธอมักจะมาชวน เธอคุยเล่น หรือบางครั้งจะมีน้องสาวของเธอซึ่งอยู่ในละแวกซอย เดียวกันมาชวนไปทานอาหารและพูดคุยกันตามประสา เมือ่ ลูกชาย ของตนเลิกงานก็จะมารวมตัวกันทีใ่ ต้ตน้ ราชพฤกษ์สงู ใหญ่หน้าบ้าน เพื่อมากินข้าวพร้อมกันเป็นประจ�ำ จึงท�ำให้แม่ทูลไม่รู้สึกเหงาและ อารมณ์ดีอยู่ตลอด หากจะกล่าวถึงชีวิตของมนุษย์ สิ่งที่เราต้องการมากที่สุด นอกเหนือจากปัจจัยสี่ นั่นก็คือความสุขในชีวิต บางคนอาจจะมี ความสุขกับการได้รับประทานอาหารอร่อยๆ บางคนอาจจะมีความ สุขกับการได้ออกไปท่องเที่ยว หรือบางคนอาจจะแค่เพียงได้อยู่กับ ครอบครัว แต่ส�ำหรับแม่ทูล การได้รับความรักและความเอาใจใส่ใน ช่วงบัน้ ปลายชีวติ มันเป็นแรงบันดาลใจในการมีชวี ติ อยูก่ บั ครอบครัว ที่อบอุ่นอย่างมีความสุข u

IPE@MSU2017

แม่ ทู ล ยิ้ ม ให้ ฉั น และลุ ง สน พร้ อ มบอกว่ า อาจจะเป็ น เพราะเธอเริ่มรู้แล้วว่าควรจะท�ำใจให้ได้ ประกอบกับที่ตอนนั้นเธอ มีครอบครัวอันอบอุ่นคอยดูแลและให้ก�ำลังใจ เธอจึงเริ่มหันมาดูแล ร่างกายตนเองอย่างจริงจัง หมั่นกินแต่อาหารที่มีประโยชน์ ออก ก�ำลังกาย กินยาและไปพบแพทย์ให้ตรงเวลามากขึ้น เพราะอย่างนี้ จึงท�ำให้เธอหายจากโรคร้ายได้เร็วขึ้นกว่าปกติ แม่ทูลยังบอกอีกว่า “ชีวติ จริงนัน้ มีความเศร้าอยูต่ ลอดเวลา แต่เราเลือกได้วา่ จะ เสียใจกับมันได้นานแค่ไหน เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเพียงสัจธรรมของโลก”


การดูแลเอาใจใส่ .. สร้างความสุขที่ยั่งยืน เรื่องและภาพ :สหภาพ สุระเสียง


ผู ้ สู ง อายุ นั บ ว่ า เป็ น กลุ ่ ม ที่ มี จ� ำ นวนเพิ่ ม ขึ้ น ในสั ง คม ไทย สิ่งที่ตามมา คือ การที่ผู้สูงอายุถูกละเลยจากคนในครอบครัว บางคนใช้ชีวิตในบั้นปลายที่บ้านพักคนชรา บางคนไม่ได้รับการ เหลียวแลเอาใจใส่จากลูกหลาน หลายคนสนใจงานจนลืมสนใจผู้ เฒ่าในบ้าน หลายคนมองว่าคนแก่เป็นภาระที่ท�ำให้ล�ำบาก หาก แต่ ผมอยากให้ ทุ ก คนลองอ่ า นเรื่ อ งราวต่ อ ไปนี้ แล้ ว คุ ณ อาจ จะได้ เ ห็ น ความส� ำ คั ญ ของการใส่ ใ จคนแก่ ที่ บ ้ า นเหมื อ นกั บ ผม

IPE@MSU2017

- 91 -


- 92 -

นางเสาวลักษณ์ โพพิทูล หรือแม่ตู่ เจ้าของร่างอวบอิ่ม ใบหน้ายิ้มแย้ม ผิวพรรณผ่องใส ผู้เป็นลูกสาวของคุณตาสมบูรณ์ วงศ์โต หรือตาเล็ก ชายชราที่ผ่านร้อนผ่านฝนมากว่า 78 ปี เขา สวมแว่นตาด�ำและมีรอยยิ้มเป็นอาวุธคู่กาย ผมรับรู้มาว่าคุณตามี โรคประจ�ำตัว ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคมักมีอารมณ์ไม่ค่อยแจ่มใสนัก แต่ สิ่งที่ผมสัมผัสได้กลับมีแต่ความเป็นมิตรและแทบมองไม่เห็นถึงโรค ภัยที่ซ่อนอยู่ในตัวคุณตาเลย หลังจากกล่าวทักทายคุณตาและแม่ตู่ แล้ว ทั้งสองเชิญชวนให้พวกเรานั่งบนเก้าอี้ไม้กลางบ้าน ผมจึงเริ่ม ถามแม่ตู่อย่างฉับไว ว่าเธอมีวิธีดูแลคุณตาอย่างไร แม่ตู่เปิดฉากสนทนาด้วยสีหน้าสดใสว่า “คุณตาป่วยเป็น โรคเบาหวาน ความดันและต่อมลูกหมาก ก่อนหน้านี้แม่ก็ไม่ค่อย ได้ดูแลตามากเท่าไหร่หรอก เนื่องจากตาเป็นคนที่แข็งแรง ตาเพิ่ง จะมารู้ตัวเองว่าเป็นป่วยก็ตอนที่ตาเกษียณแล้ว” “พอแม่รู้ว่าตามีโรคประจ�ำตัวสิ่งแรกที่ดูแลคือเรื่องการกิน ยา แม่จะคอยดูวา่ ตาได้ยาอะไรมาแม่กจ็ ะคอยบอก ส่วนเรือ่ งการจัด ยาตาจะเป็นคนจัดการเอง คุณตาเป็นคนสายตาดีแม่จึงไม่ต้องห่วง มาก อีกอย่างทีต่ อ้ งคอยดูแลคือเรือ่ งแผลเพราะตาเป็นเบาหวาน ถ้า มีแผลโอกาสทีจ่ ะลุกลามก็จะสูง เพราะตาเป็นคนชอบไปไร่ไปนา เรา ก็ต้องล้างแผลให้ตลอด บางครั้งตาก็เป็นคนท�ำด้วยตัวเอง” แม่ตู่เล่า ผมนัง่ ฟังเรือ่ งราวอย่างจดจ่อ มือขวาจับดินสอจดทุกอย่าง ทีผ่ า่ นแก้วหู เสียงโมบายสัน่ รับสายลมไม่ขาดสาย ผมตัง้ ค�ำถามเกีย่ ว กับความเหนือ่ ยล้าทีแ่ ม่ตตู่ อ้ งคอยดูแลคุณตามาตลอดเวลาทีต่ าป่วย


IPE@MSU2017

- 93 -

แม่ตู่บอกว่า “ไม่เคยเหนื่อยที่ดูแลตา ตาไม่เคยเป็นภาระ แม่ก็มีโรคประจ�ำตัวของแม่ ตาก็มีโรคประจ�ำตัวของตา แต่ตาก็จะ เป็นการดูแลตัวเองเป็นส่วนมาก โดยตาดูแลตัวเองประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เพราะตาเป็นคนแข็งแรงมาก ทีเ่ หลือก็เป็นหน้าทีข่ องเรา เราก็คอยดูแลตาเวลาที่เจ็บไข้ได้ป่วย ต้องพาไปหาหมอ ต้องพูดให้ ก�ำลังใจ เพื่อไม่ให้ตารู้สึกโดดเดี่ยว”


- 94 แม่ตู่เล่าต่อว่า “ที่แม่มาดูแลตา แม่ก็คิดเสมอว่าเขาคือ บุพการีเรา บางครัง้ อาจจะมีการว่ากันบ้างแต่เราก็วา่ แบบคนแก่ คิด ตลอดว่าต้องตอบแทนบุญคุณที่ดูแลเรามาให้ได้ดิบได้ดีขนาดนี้ ลูก หลานทีอ่ ยูไ่ กลก็จะถามไถ่ถงึ ตาเสมอ บางครัง้ ป่วยไม่สบายก็โทรไป หาน้อง น้องก็จะรู้แล้วก็จะมาดูแลซึ่งเป็นการให้ก�ำลังใจคุณตาว่าไม่ ได้มีแค่แม่คนเดียวที่ดูแล ลูกหลานคนอื่นก็เป็นห่วงตาเสมอ เมื่อตา ได้รับการดูแลดีจากลูกหลาน ตาก็มีสุขภาพดีไม่ว่าจะเป็นทางกาย หรือทางใจ” อีกสิ่งที่มีส่วนส�ำคัญในการมีสุขภาพกายและใจที่ดีนั้น คือ ทัศนคติของผู้ป่วย การรู้จักป้องกันสิ่งที่จะท�ำให้ร่างกายทรุดโทรม รู้ระดับร่างกายว่าสามารถท�ำอะไรได้บ้าง รู้จักการออกก�ำลังกาย หลายอย่างทีก่ ล่าวมานีต้ า่ งมีผลท�ำให้ผสู้ งู อายุสามารถมีชวี ติ ในช่วง บั้นปลายได้อย่างมีความสุข ถึงแม้จะมีโรคภัยเข้ามาเบียดเบียน ตาสมบูรณ์ วงศ์โต หรือตาเล็ก เล่าให้ฟงั ว่า “สมัยก่อนบ้าน ตาเป็นคนท�ำนาท�ำไร่ เลิกเรียนก็ตอ้ งไปช่วยเอาวัวควายเข้าคอก ปิด เทอมก็ออกไปเลี้ยงวัวควาย ตาถูกพ่อกับแม่สอนเสมอว่าอย่าทิ้งนา ทิ้งไร่เหมือนดั่งที่สมเด็จย่าสอนในหลวง รัชกาลที่ 9 ว่าให้เราท�ำตัว ติดดินไว้เสมอ ตาจึงน�ำสิง่ นัน้ มาสอนและบอกลูกหลานในทุกโอกาส” คุณตาเล่าต่อพร้อมด้วยรอยยิ้มว่า “ตาเริ่มป่วยเป็นเบา หวานได้ประมาน 20 กว่าปีย้อนหลัง จ�ำได้ว่าเริ่มป่วยหลังจากที่ เกษียณได้ไม่นาน พอรูว้ า่ ป่วย ตาก็ไปหาหมอตามทีห่ มอนัด ถึงเวลา เจาะเลือดก็ไป ทุกเช้าตาจะออกก�ำลังกายด้วยการตื่นเช้าไปรดน�้ำ ต้นไม้ ปลูกพริก ปลูกกล้วย ปลูกมะเขือตามอัตภาพ ไปได้ประมาน หนึ่งชั่วโมงก็กลับมากินข้าวที่บ้าน บางครั้งก็เก็บพวกที่สามารถกิน ได้กลับมา ตาไม่ปลูกเยอะหรอก ปลูกอย่างละ 5 ต้น ถึงเวลามันก็ จะออกดอกออกผลเอง ปลูกลงไปมันก็สามารถเป็นของกินได้ สอง สามวันก็ได้กนิ กล้วย ก็ได้เก็บพริก ไปๆ มาๆ ก็มขี องกินเต็มไปหมด เราไม่ต้องไปซื้อใคร ได้แบ่งปันพี่น้องด้วย เวลาบุญทานเราก็ได้ อีก ปีสองปีตาก็เข้าเลข 8 แล้ว แต่ตาก็หวังว่าจะอยู่ให้มันถึง 100 ปีนู้น ละ” ตาเล่าพร้อมกับเสียงหัวเราะของเราทั้งคู่


- 95 -

IPE@MSU2017

การได้ออกก�ำลังกาย ได้ทำ� ในสิง่ ทีต่ าอยากท�ำ มันส่งผลให้ ตาเล็กเป็นผู้สูงวัยที่มีสุขภาพจิตและสุขภาพกายดีเกินกว่าคนอายุ 78 ปี มีปัจจัยหลายอย่างมากมายที่จะท�ำให้ผู้สูงอายุในบ้านมี ความสุข แต่ที่ส�ำคัญที่สุดคือการได้รับการดูแลเอาใจใส่ คนเฒ่าคน แก่อาจจะไม่ได้ต้องการหรอกเงินทองมากมาย ไม่ได้ต้องการสร้อย แหวนใดๆ แต่การดูแลเอาใจใส่กนั มากกว่าทีจ่ ะสร้างความสุขทีย่ งั่ ยืน ให้แก่พวกเขา u


ชีวิต...ที่ไร้จุดหมาย เรื่องและภาพ : ศักดิ์สิทธิ์ มุสตาฟา


- 97 -

ความล�ำบากเริ่มมาเยือน บ้านหลังนี้อาศัยกันอยู่เพียงแค่สองคนเท่านั้น คือคุณพ่อ หนุ่ม (นามสมมุติ) วัย 60 ปี กับลูกสาว น้องพลอย (นามสมมุติ) วัย 24 ปี ย้อนไปเมือ่ สามปีกอ่ น พวกเขาอยูก่ นั พร้อมหน้าพร้อมตาพ่อแม่ ลูกใน จ.นครราชสีมา แต่ภรรยาได้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์จนเสีย ชีวิต จึงเหลือเพียงสองคนพ่อลูก และขาดเสาหลักครอบครัวไป เขา จึงตัดสินใจพาลูกสาวย้ายมาอาศัยอยู่ที่ จ.มหาสารคาม บ้านของพี่ สะใภ้พ่อหนุ่มนั่นเอง พ่อหนุ่มติดเหล้าอย่างงอมแงม ต้องดื่มทุกวันในช่วงเย็น เพือ่ สังสรรค์กบั เพือ่ นบ้าน และยังสูบบุหรีจ่ ดั อีกด้วย ขณะทีค่ รอบครัว นีม้ เี พียงเงินรายได้จากสวัสดิการคนชราและคนพิการเดือนละไม่ถงึ 2,000 บาท แต่รายจ่ายนั้นมีมากกว่ารายรับ ทั้งค่าเหล้า บุหรี่ ค่าน�้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร และค่าขนมของลูกสาว ซึง่ เธอได้ปว่ ยเป็นโรคดาวน์ซนิ โดรมแต่กำ� เนิด แต่ถึงกระนั้นพ่อก็ไม่สามารถหางานท�ำได้ เนื่องจาก อายุมากแล้ว รวมถึงต้องดูแลลูกสาวอยู่ตลอดเวลา

IPE@MSU2017

ภาพแรกที่ผมเห็นเมื่อเดินทางมาถึง คือบ้านไม้เก่าๆ ที่มี ใต้ถุนบ้านเตี้ยๆ เต็มไปด้วยขวดเหล้า ขวดเบียร์ ขวดน�้ำพลาสติก เศษไม้ ถุงพลาสติกปลิวว่อน รอบบ้านมีของวางระเกะระกะไม่เป็น ที่เป็นทาง ข้างบนบ้านเป็นห้องเล็กๆ แคบๆ มีเตียงนอนเพียงแค่ 3 ฟุต และมุ้งที่กางกันแมลงไต่ตอม ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรม อีกทั้ง เสื้อผ้าที่กองรวมกันเป็นภูเขา ภายในห้องนอนไม่มีแม้แต่หน้าต่าง หรือช่องระบาย จึงท�ำให้อากาศไม่ถ่ายเท ชวนรู้สึกอึดอัด คับแคบ และที่นี่นี่เอง คือบ้านที่เราได้รับมอบหมายให้มาเยือนในครั้งนี้


- 98 สิ่งที่ท�ำให้พ่อหนุ่มติดเหล้าและบุหรี่นั้น อาจจะมาจากการ สูญเสียภรรยา และความเครียดที่ต้องดูแลบุตรสาวเพียงคนเดียวที่ ป่วยเป็นโรคดาวน์ซนิ โดรม บางครัง้ มันอาจจะเป็นเรือ่ งใหญ่เกินกว่า ที่ชายคนหนึ่งจะรับไหวเมื่อต้องแบกรับปัญหานั้นแต่เพียงผู้เดียว ลูกสาวที่ป่วยเป็นดาวน์ซินโดรม ส�ำหรับน้องพลอยทีป่ ว่ ยเป็นโรคดาวน์ซนิ โดรมนัน้ เป็นโรค ทางพันธุกรรมซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 21 เกิดความ ผิดปกติ ผู้ที่มีอาการดาวน์ซินโดรมจะมีลักษณะทางร่างกายที่ผิด ปกติกว่าคนทั่วไป โดยเกิดมาจะมีรูปร่างลักษณะหน้าตาภายนอกที่ คล้ายกันทั้งหมด คือมีดวงตาทั้ง 2 ข้างที่เฉียงขึ้นเล็กน้อย หัวคิ้วทั้ง 2 ข้างหนา ส่วนของสันจมูกแบน ปากเปิดออก และลิ้นมักจะจุกอยู่ ที่ปาก หูมีขนาดเล็ก และหูมีรอยพับมากกว่า ( อ้างอิงจากhttps:// baby.kapook.com/view95267.html) จากทีผ่ มนัน้ ได้เข้าไปใกล้ชดิ และพูดคุยกับน้องพลอย แรก เริ่มเธอไม่ค่อยจะยิ้มแย้มมากนัก ลักษณะการพูดจะดูห้วนๆ ไม่ชัด ถ้อยชัดค�ำ แต่เพราะการมาของพวกเรา เธอจึงดูรา่ เริงเป็นพิเศษ ชอบ หยอกล้อ ชอบใกล้ชดิ ดูเผินๆเธอก็ดเู หมือนหญิงสาวทัว่ ไปเสียด้วยซ�ำ้ ยาที่บรรเทาได้เพียงกาย “ถึงแม้ว่าลูกสาวจะป่วย แต่ผมก็ยังดูแลลูกไม่ห่าง ทั้งคอย แปรงฟัน อ�ำนวยความสะดวกให้ทุกอย่าง ท�ำแบบนี้เป็นประจ�ำทุก วัน พ่อก็ไม่เคยเบื่อหน่ายนะ ด้วยความที่เหลือกันเพียงแค่สองคน” พ่อหนุ่มพูดขึ้นเมื่อผมซักถามถึงความเป็นอยู่ของพวกเขา ขณะเดียวกันผมเหลือบไปเห็นถังขนาดใหญ่ที่ห้อยอยู่บน คานไม้ใต้หลังคา ท�ำให้เกิดข้อสงสัยว่าในนัน้ มีอะไร ปรากฏว่ามันคือ ยาทีร่ วมกันอยูเ่ กินค่อนถัง ทัง้ ยาพาราเซตามอล แอลกอฮอล์ ยาธาตุ น�ำ้ ขาว ยาทาแผล ส�ำลี วิตามินซี แคปซูล รวมทัง้ กล่องยาทีม่ เี ม็ดยาก ลมคล้ายๆ กัน ต่างกันเพียงสีทปี่ ะปนกันไปหมด ซึง่ ยาหลายตัวหมด อายุไปแล้ว จนไม่สามารถแยกออกได้ว่ายาไหนรักษาอาการอะไร


IPE@MSU2017

- 99 -


- 100 -

ถึงแม้ว่าลูกสาวจะป่วย แต่ผมก็ยังดูแลลูกไม่ห่าง ทั้งคอยแปรงฟัน อ�ำนวย ความสะดวกให้ทุกอย่าง ท�ำแบบนี้เป็นประจ�ำทุกวัน จากการที่พวกเราเหล่านิสิตได้มาร่วมงานกันในโครงการ IPE หรือ Interprofessional Education ซึ่งเป็นโครงการที่รวม สหวิชาชีพทั้งคณะเภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ แพทยศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตรศิลป์ และคณะวิทยาการ สารสนเทศ (นิเทศศาสตร์) ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชม เราจึง ช่วยกันแยกยาที่ใช้ได้กับยาที่หมดอายุออกให้ แต่สุดท้ายพ่อหนุ่ม ก็ดื้อที่จะเอายาที่แยกให้กลับมารวมกันในถังเช่นเดิม และหากเป็น แบบนี้ต่อไป อาจจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพของพ่อและลูกสาวได้ พวกเราจึงแนะน�ำและเกลี้ยกล่อม หากแต่ช่วยเหลืออะไรไม่ได้มาก นัก เพราะพ่อหนุ่มไม่ยอม เราจึงได้เพียงแค่ฝากเพื่อนบ้านของเขา ช่วยดูแลต่อไป คุณป้าเพือ่ นบ้านข้างๆ เล่าให้พวกเราฟังถึงเรือ่ งยาว่า “เมือ่ ป่วยไข้หรือมีอาการขึ้นมาผิดปกติ ก็มักจะกินแต่ยาพาราบรรเทา อาการไป เหตุผลเพราะไม่มีรถเดินทางไปโรงพยาบาลด้วยตนเอง ป้าจะพาไปก็ไม่ยอม และทีส่ ำ� คัญบัตรประจ�ำตัวประชาชนก็หมดอายุ อีกด้วย แต่ป้าก็จะช่วยเหลือเขาอยู่แหละ”


ความโดดเดี่ยวที่ไม่เดียวดาย ถึงกระนั้นไม่ว่าสองพ่อลูกคู่นี้จะเจอปัญหาอะไรก็ตาม ทั้ง อาการติดเหล้าติดบุหรีข่ องพ่อ หรือลูกทีป่ ว่ ยด้วยโรคทีร่ กั ษาไม่หาย แต่ทั้งคู่ก็ยังคงด�ำเนินชีวิตกันเรื่อยมา ทั้งยังมีเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่ คอยเป็นห่วงและช่วยดูแลตามอัตภาพ ไม่ว่าจะเป็นการท�ำอาหาร ให้ทาน ชวนมาสังสรรค์กัน ไปเยี่ยมพูดคุยกัน ซึ่งคนในชุมชนที่เขา อาศัยกันอยู่ต่างก็เห็นใจและสงสารครอบครัวนี้เช่นกัน จึงช่วยเหลือ เท่าที่จะท�ำให้ได้ โดยไม่หวังผลตอบแทน แม้ว่าใบหน้าของพ่อจะดูไม่ค่อยยิ้มแย้มแจ่มใส แต่เมื่อ เขามองมายังลูกสาวของเขา กลับยิ้มออกมา เธอจึงเปรียบเสมือน แรงบันดาลใจให้เขาต่อสู้กับชีวิตต่อไป แม้ครอบครัวของเขาอาจไม่ สมบูรณ์เหมือนกับคนอื่น และถึงเขาจะติดเหล้า ติดบุหรี่ แต่เขาคือ พ่อที่ไม่เคยทอดทิ้งลูกสาว ส�ำหรับผม เขาคือผู้ที่มีหัวใจของความ เป็นพ่ออย่างเต็มเปี่ยมเลย และพวกผมหวังว่า การมาของพวกเรา ในวันนี้ จะช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการด�ำเนินชีวิตของเขาไม่ มากก็น้อย และช่วยให้น้องพ่อหนุ่มน้องพลอยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างที่ควรจะเป็น u

IPE@MSU2017

- 101 -


อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ .. เกิดขึ้นจริงหรือคิดไปเอง เรื่องและภาพ : วิรัลพัชร ชมบุญ


หากพู ด ถึ ง อาการนอนไม่ ห ลั บ หลายคนอาจจะคิ ด ว่ า สามารถเกิดได้กับวัยรุ่นหรือวัยท�ำงานเท่านั้น แต่หารู้ไม่ว่าอาการ นอนไม่หลับนั้นสามารถเกิดได้กับผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน มีผู้สูง อายุ จ� ำ นวนไม่ น ้ อ ยที่ มี อ าการนอนไม่ ห ลั บ คื อ จะรู ้ สึ ก ตื่ น ตลอด เวลา แต่ในความเป็นจริงคือหลับสนิทไปแล้ว เช่นเดียวกับคุณยาย นภาพร สุ พั ฒ นาวรางกุ ร วั ย 60 ปี อาศั ย อยู ่ ที่ บ ้ า นเลข ที่ 41 ถนนฉิ ม พลี เ จริ ญ อ.เมื อ งมหาสารคาม จ.มหาสารคาม เ ป ็ น อี ก หนึ่ ง คนที่ มี อ าการนอนไม่ ห ลั บ ตามที่ ไ ด้ ก ล่ า วมา บ้านของคุณยายนภาพรเป็นบ้าน 2 ชั้น ประกอบกิจการ ค้าขาย ท�ำให้มขี า้ วของจ�ำนวนมากวางตัง้ แต่หน้าบ้านจนสุดหลังบ้าน บ้างก็วางอยูบ่ นชัน้ บ้างก็วางตามพืน้ บ้าน ท�ำให้พนื้ ทีบ่ า้ นมีลกั ษณะ แออัด คุณยายใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่ชั้นล่างมากกว่าชั้นบนของบ้าน เพราะต้องขายของทุกวัน แต่คณ ุ ยายเป็นคนชอบออกก�ำลังกาย ช่วง เวลาประมาณบ่าย 2 โมงก็จะออกไปทีส่ วนสุขภาพ เพือ่ ไปออกก�ำลัง กายกับเพื่อนๆ กิจกรรมที่ท�ำก็คือการเดินเร็ว ส่ ว นการรั บ ประทานอาหารนั้ น คุ ณ ยาย เล่ า ว่ า ชอบ รั บ ประทานผั ก ผลไม้ ไม่ ช อบของหวาน กิ น เค็ ม กิ น เผ็ ด บ้ า ง ตามประสาคนอี ส าน มี โ รคประจ� ำ ตั ว คื อ โรคความดั น และมี อาการนอนไม่ ห ลั บ ที่ ส ่ ง ผลต่ อ เสี ย ต่ อ สุ ข ภาพของตนเรื่ อ ยมา

IPE@MSU2017

- 103 -


- 104 -

ไม่รู้ว่านอนไม่หลับเพราะสาเหตุอะไร ส�ำหรับอาการนอนไม่หลับ คุณยาย ให้ข้อมูลว่า “ปกติจะ เข้านอนเวลาประมาณ 4-5 ทุ่ม และจะตื่นตอน 6 โมงเช้า ที่นอนดึก เพราะว่าดูโทรทัศน์ บางครัง้ ก็เข้านอนตอนเทีย่ งคืนเลยทีเดียว ส่วน อาการนอนไม่หลับของยาย จะมีอาการคือรู้สึกเหมือนตนเองตื่นอยู่ ตลอดเวลา เมื่อตอนเช้ามาก็จะรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอน ซึ่งมีอาการ แบบนี้ค่อนข้างบ่อยจนต้องพึ่งยายนอนหลับเกือบทุกวัน” ส่วนสภาพห้องนอนห้องคุณยายนั้นจะเป็นห้องปิด คือไม่ เปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ ท�ำให้อากาศไม่ถ่ายเท ห้องจะร้อน อยู่ตลอดเวลา และเหตุผลหนึ่งที่อาจจะส่งผลต่อการนอนไม่หลับ คือบ้านของคุณยายติดกับถนนทีม่ รี ถผ่านตลอดเวลานัน่ อาจเป็นอีก สาเหตุที่ท�ำให้เกิด โรคนอนไม่หลับของคุณยายก็เป็นได้ แนวทางแก้ไขคือท�ำจิตใจให้ผ่อนคลาย ยาทีค่ ณ ุ ยายใช้เป็นยาจ�ำพวก Benzodizepine คือเป็นกลุม่ ยาที่ออกฤทธิ์ต่อประสาท จะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับยามีอาการ ง่วงนอน คลายความวิตกกังวล คุณยายเล่าให้ฟงั อีกว่า “ตอนทีไ่ ปหาหมอก็บอกว่านอนไม่ หลับ หมอจึงจัดยาให้ ซึ่งให้ยายรับประทานครั้งละ 2 เม็ด แต่ยาย ต้องกินถึง 3 เม็ดจึงจะนอนหลับ”


ขณะทีค่ วามเห็นของแพทย์ตอ่ อาการนอนไม่หลับ พญ.พร รัตน์ แสงรุ่งเรืองกิจ แพทย์ประจ�ำโรงพยาบาลบ้านฝาง จ.ขอนแก่น ได้ให้ขอ้ มูลว่า “ผูป้ ว่ ยอาจนอนไม่หลับจริงหรืออาจจะเสพติดยานอน หลับ ต้องประเมินการใช้สารอย่างอืน่ ด้วย เช่น แอลกอฮอล์ สารเสพ ติด และประเมินเรื่องความเครียด ภาวะ ซึมเศร้า ความเสี่ยงต่อการ ฆ่าตัวตาย และต้องระวังเรื่องการใช้ยาเกินขนาด” ทั้งนี้ ยาจ�ำพวก Benzodizepine มีผลข้างเคียงที่ส่งผลต่อ ตัวผู้ที่รับประทาน เช่น อาการวิงเวียน ง่วงซึม และที่ส่งผลอันตราย ทีส่ ดุ คือกดการหายใจ จะท�ำให้ผปู้ ว่ ยหายใจตืน้ จนถึงหยุดหายใจ ซึง่ พญ.พรรัตน์ ได้ให้ค�ำแนะน�ำว่า ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ ก็ต้องลองให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคือหลีกเลี่ยงการดื่มชากาแฟ เครื่องดื่มชูก�ำลัง ไม่นอนตอนกลางวัน นอนให้เป็นเวลา ออกก�ำลัง กาย และท�ำกิจกรรมที่ช่วยให้ตนเองผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ สวด มนต์ หรือพบปะพูดคุยกับเพือ่ นวัยเดียวกัน และค่อยๆ ลดขนาดการ รับประทานยานอนหลับจนสามารถนอนหลับได้ด้วยตนเอง จากการที่ฉันและเพื่อนต่างคณะได้รวมกลุ่มกันภายใต้ โครงการ IPE (Interprofessional Education; IPE) ซึ่งเป็นโครงการ ทีจ่ ดั การเรียนการสอนนอกห้องเรียนร่วมระหว่างวิชาชีพ โดยให้นสิ ติ ต่างคณะ ทั้งคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาล ศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ และคณะ วิทยาการสารสนเทศ มาเรียนรู้การท�ำงานเพื่อดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย ในชุมชนตามทักษะการเรียนของแต่ละคณะมาปรับใช้ในการลงพื้น ที่ในครั้งนี้ เราได้ปรึกษากันและพบว่า การนอนไม่หลับของคุณยาย ไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ เลย เพราะการนอนถือเป็นเวลาพักผ่อนที่สำ� คัญ ของมนุษย์ แต่เมือ่ เกิดอาการเช่นนีข้ นึ้ และยังไม่รบี แก้ไขหรือมองข้าม ความร้ายแรงโดยหันไปพึ่งยาของแพทย์อย่างเดียว จะส่งผลต่อการ ใช้ชีวิตของคุณยาย สภาพจิตใจและร่างกายที่ทรุดโทรม

IPE@MSU2017

- 105 -


- 106 -

ผู้ป่วยอาจนอนไม่หลับจริง หรืออาจจะเสพติดยานอนหลับ ต้องประเมินการใช้สารอย่างอื่น ด้วย เช่น แอลกอฮอล์


- 107

IPE@MSU2017

ฉันและเพื่อนเห็นถึง ปัญ หาในข้ อนี้ จึ ง ให้ ค� ำ แนะน� ำ ใน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่ฉันทราบดีว่าการเปลี่ยน พฤติกรรมที่ท�ำมานานนั้นไม่อาจท�ำได้ง่ายๆ ในระยะเวลาอันสั้น จึง ได้เพียงแต่หวังว่า คุณยายนภาพรจะตระหนักถึงปัญหานีข้ องตนและ ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนแก้ไข เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของเธอเอง u


ก�ำลังใจ...พลังแห่งชีวิต เรื่องและภาพ : จีรประภา หนูบุญ


IPE@MSU2017

- 109 -

ในเช้ า อั น เร่ ง รี บ ฉั น เดิ น ไปตลาดใหญ่ ก ลางตั ว เมื อ ง มหาสารคาม สถานที่ ที่ มี ค รบทุ ก อย่ า งทั้ ง ของกิ น ของใช้ ผู ้ ค น พลุกพล่าน บ้านเรือนเรียงราย และเสียงพูดคุยจอแจ ฉันเดินตรงไป ยังร้านผลไม้พร้อมกับซื้อส้มและแอปเปิล เพื่อน�ำไปฝากให้กับคนๆ หนึ่ง คนที่ฉันตั้งใจจะไปพบในวันนี้


- 110 -

จากนั้นฉันก็เดินทางมาถึงที่หมาย ภาพตรงหน้าเป็นบ้าน ปูนชั้นเดียว พื้นที่บริเวณบ้านปกคลุมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ที่แห่งนี้ คือบ้านพักของนายศิลป์ วิโทจิตร หรือตาศิลป์ ชายวัย 79 ปี และ ครอบครัว ชายชราผิวหนังเหี่ยวย่น ผมสีดอกเลา รูปร่างผอมบาง ผู้ เป็นทัง้ หัวหน้าครอบครัวและทีย่ ดึ เหนีย่ วจิตใจของลูกหลาน แต่ทงั้ นี้ ตาศิลป์เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยอายุที่มากแล้ว เขาจึงไม่สามารถ ช่วยเหลือตัวเองได้ดีเช่นเมื่อก่อน หน้าที่ดูแลตาศิลป์จึงตกเป็นของ ลูกชายคนโตไปโดยปริยาย “ด้วยความที่เราเป็นพี่ชายคนโต หน้าที่หลักๆ จึงเป็นของ เรา” ค�ำบอกเล่าจากนายไพบูลย์ วิโทจิตร ชายร่างสันทัด วัย 55 ปี ผู้มีใบหน้าคมคาย ผิวคล�้ำ เต็มไปด้วยริ้วรอยแห่งวัย พ่อไพบูลย์เผย รอยยิ้มด้วยมิตรไมตรีขณะพูดคุยกับพวกเรา และเปิดฉากเล่าต่อว่า เขาเป็นรองประธานชุมชนบูรพาและเป็นกรรมการสถาน ศึกษา โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร จ.มหาสารคาม โดยหน้าที่ นี้ต้องคอยวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน พัฒนาชุมชน และวัด ในเรื่องน�้ำ และดูแลระบบพร้อมแก้ไขปัญหา เมือ่ มีเอกสารส�ำคัญหรือติดต่องาน เทศบาล เขาต้องเป็นคนไปด�ำเนินการ โดยต�ำแหน่งนีเ้ ปรียบเป็นการ แบ่งเบาภาระงานของผู้ใหญ่บ้านนั่นเอง


พ่อไพบูลย์ เล่าอีกว่า อาชีพนี้ไม่มีเงินเดือน ก่อนหน้านี้รับ เหมาก่อสร้าง แต่ธุรกิจประสบปัญหาจึงเลิกกิจการเสีย รายได้ที่มีก็ ไม่แน่ไม่นอน แต่มีรายได้หลักมาจากลูกสาวที่ท�ำธุรกิจส่วนตัว และ คอยส่งเงินมาให้ใช้จ่ายเป็นประจ�ำ ฉันขยับกายเล็กน้อยเพื่อให้ถนัดแก่การฟังมากขึ้น ขณะ ที่พ่อไพบูลย์เล่าต่อว่า เขามีพี่น้อง 5 คน โดยที่บ้านหลังนี้มีคนป่วย ถึงสามคนด้วยกัน คือตาศิลป์ที่เป็นทั้งเบาหวานและความดัน ซึ่งไม่ นานมานี้ได้พบเชื้อวัณโรคและต่อมลูกหมากโต ส่วนยายหลุนผู้เป็น แม่ก็มีปัญหาเรื่องเส้นเอ็นเพราะไม่ค่อยออกก�ำลังกาย กล้ามเนื้อจึง หดตัว น้องสาวจึงเป็นผู้ดูแลแม่ ส่วนน้องชายคนเล็กป่วยเป็นเบา หวาน แต่ยังช่วยเหลือตนเองได้ตามปกติ ทั้งสามคนได้รับการดูแล อย่างใกล้ชิดจากครอบครัว แต่ที่น่าห่วงและอาการหนักที่สุดคือตา ศิลป์ผู้พ่อนั่นเอง

IPE@MSU2017

- 111 -


- 112 วันแรกที่พ่อป่วย พ่อไพบูลย์ เล่าว่า ตาศิลป์ป่วยเป็นเบาหวานอยู่แล้ว กินยา รักษาเบาหวานมา 9-10 ปี จึงพบว่าเริ่มมีอาการแทรกซ้อนเมื่อ 7 เดือนก่อน ตอนแรกปัสสาวะไม่สะดวก แต่พ่อของเขาปล่อยอาการ ทิง้ ไว้โดยไม่ได้รกั ษา ไม่ยอมไปหาหมอ อาการปวดท้องจึงเริม่ รุนแรง ขึ้นทุกวัน กระทั่งเช้าวันหนึ่ง ตาศิลป์มีอาการวิงเวียนศีรษะอีกทั้ง ปัสสาวะไม่ออก 1 วัน เขาเห็นอาการไม่ค่อยดีจึงพาไปหาหมอ “ท�ำไมมาหาหมอช้า หากช้ากว่านี้ กระเพาะปัสสาวะแตก แน่นอน” ประโยคแรกที่หมอเอ่ย บอกให้รู้ถึงอาการของกระเพาะ ปัสสาวะที่พร้อมจะแตกแล้ว เขาเล่าพร้อมมองไปยังพ่อ “ถ้าเฮาบ่ใส่ถงุ มันสิปวดท้อง เยีย่ วบ่ออก พอหมอใส่เข้าไปเยีย่ ว ไหลออกหลายบ่ฮู้โต” ตาศิลป์พูดเสริมขึน้ ติดตลกด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม ไม่มีใครอยากให้เกิด “อาการปวดท้องของพ่อดีขึ้นเราก็สบายใจ” พ่อไพบูลย์เริ่ม เล่าต่อ แม้อาการปวดท้องจะดีขึ้น แต่เขายังกังวลอาการปวดหัว ของพ่อ ด้วยกลัวว่าจะมีโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เขาจึงพาพ่อไปโรง พยาบาลมหาสารคามเพื่อตรวจอย่างละเอียดอีกรอบ และในการไป โรงพยาบาลครัง้ นี้ หมอตรวจพบเชือ้ วัณโรคเยือ่ หุม้ สมองอักเสบ โรค ร้ายที่สร้างความสะเทือนใจให้ทุกคนในครอบครัว ข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า วัณโรคเยื่อหุ้มสมองจะพัฒนาบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุเนื่องจากการ ป้องกันภูมิคุ้มกันลดลง นอกจากนี้ปัจจัยกระตุ้นอาจจะเป็นการบาด เจ็บที่ศีรษะหรือการติดเชื้อร่วมด้วย วัณโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบส่ง ผลให้การท�ำงานระบบประสาทบางส่วนผิดปกติ


เมื่อทราบถึงโรคที่ก�ำลังเผชิญ ตาศิลป์ก็มีอาการซึมเศร้า ซึง่ พ่อไพบูลย์คาดไม่ถงึ ว่าจะเป็นโรคทีร่ นุ แรงขนาดนี้ โดยพ่อของเขา ต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลา 15 วัน ขณะเดียวกัน เขาก็ก�ำชับทุกคนในบ้านให้ท�ำตัวปกติ ยิ้มและร่าเริงอย่างที่ทุกคน เป็นอยู่ เพื่อไม่ให้พ่อรู้สึกไม่สบายใจกว่าเดิม “ถ้าลูกหลานเศร้า จิตใจของพ่อจะย�่ำแย่ อาการป่วยอาจ ทรุดหนักกว่าเดิม” พ่อไพบูลย์กล่าว ก่อนจะเล่าถึงอาการของตาศิลป์ ให้ฟังต่อว่า “ตอนนอนอยูโ่ รงพยาบาลอ้าปากก็ไม่ได้ กินข้าวกินน�ำ้ ผ่าน สายยางท่ออาหาร ตาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย” ทั้งนี้ ตลอดระยะ เวลาที่รักษาตัวอยู่โรงพยาบาล พ่อไพบูลย์เป็นคนนอนเฝ้าอาการ เช็ดตัวช�ำระร่างกาย ดูแลตาศิลป์อย่างใกล้ชดิ เตรียมรับมือกับอาการ โดยท�ำตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด สอบถามข้อมูลจากหมออย่าง ละเอียดว่าวัณโรคต้องรักษาอย่างไรและมีโอกาสหายเป็นปกติหรือ ไม่ อีกทัง้ ศึกษาข้อมูลเพิม่ เติมจากอินเทอร์เน็ตเพือ่ เรียนรูอ้ าการป่วย ของผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรคอย่างลึกซึ้ง นั่นท�ำให้ฉันยิ้มแม้ว่าเรื่องราวที่เขาเล่านั้นไม่ได้เป็นเรื่อง ที่ดีนัก แต่ฉันยิ้มให้กับพลังรักและความกตัญญูของเขาที่มีต่อพ่อ บังเกิดเกล้า

IPE@MSU2017

- 113 -


- 114 -

“ยาหมอดีขนาดไหน คนในบ้านไม่ใส่ใจ อาการป่วยก็ไม่ดีขึ้น” ยาดี

เรือ่ งราวของครอบครัวนีย้ งั คงด�ำเนินไปแม้เวลาจะล่วงเลย มาพอสมควรแล้ว “ผุอื่นเขาเป็น เขาคือเซา” ประโยคที่ตาศิลป์พูดกับพ่อ ไพบูลย์ขณะรักษาตัวในโรงพยาบาล “เฮาอดทนเอา รักษาไป จั้กหน่อยกะเซาแล้วล่ะ เฮาต้อง ใช้เวลา เฮามีโอกาสเซาแน่นอน พ่อบ่ต้องคิดหลาย” พ่อไพบูลย์เล่า ให้ฟงั เมือ่ ครัง้ ทีค่ ยุ กับพ่อของเขาในวันทีต่ าศิลป์เริม่ วิตกกังวลในโรค ร้าย ซึง่ ลูกหลานได้ดแู ลตาศิลป์อย่างใกล้ชดิ ตาอยากกินอะไรก็หาซือ้ มาให้กนิ ไม่เคยให้ตาอยูค่ นเดียว ลูกหลานพร้อมคนในครอบครัวมา เยี่ยมไม่ขาดสาย พ่อไพบูลย์ได้ท�ำหน้าที่ลูกที่ดี คอยอยู่เคียงข้างจับมือเติม พลังให้ตาศิลป์อยูเ่ สมอ ถ่ายทอดความรักความห่วงใยเพือ่ ให้ตาศิลป์ รูว้ า่ ยังมีลกู หลานอยูก่ บั เขา ท�ำให้ตามีกำ� ลังแรงใจสูต้ อ่ ไปเพือ่ กลับไป เป็นรอยยิ้มให้กับครอบครัวอีกครั้ง


ปาฏิหาริย์ “ระยะเวลาที่เฝ้าไข้มีเหนื่อย มีท้อบ้าง แต่ไม่แสดงออกมา ให้พ่อเห็น เพราะหากเราร้องไห้ จิตใจของพ่อจะป่วยไปด้วย” พ่อ ไพบูลย์เล่าด้วยรอยยิ้ม หลังจากตานอนโรงพยาบาลอยู่นาน ได้กิน ยาตามหมอสั่งพร้อมทั้งพักผ่อนเพียงพอ อาการก็ดีขึ้น หมอจึงให้ กลับบ้านได้ และนัดให้ไปตรวจทุกเดือน กลับบ้านมาวันแรกตาจ�ำอะไรไม่ได้ บ้าน สิ่งของทุกอย่าง จ�ำไม่ได้เลย ซึง่ เป็นผลข้างเคียงจากวัณโรคเยือ่ หุม้ สมองท�ำให้ระบบ ประสาทบางส่วนท�ำงานผิดปกติ เกิดปัญหาด้านความคิดและความจ�ำ และลูกหลานคนในครอบครัวช่วยกันท�ำกิจวัตรทุกอย่างให้ปกติ ไม่ นานเท่าที่คาดไว้ ความจ�ำตาศิลป์ก็กลับมา หมอได้ถอดท่อปัสสาวะ ออกให้ ตาปัสสาวะได้ปกติแต่ยงั คงต้องทานต้านวัณโรคและยารักษา อาการเบาหวานอยู่ ซึง่ พ่อไพบูลย์เป็นผูจ้ ดั ยาให้ไม่เคยขาด ให้กนิ ยา ตรงเวลาทุกวัน และดูแลเรื่องอาหารเพื่อควบคุมน�้ำตาล “ยาหมอดีขนาดไหน คนในบ้านไม่ใส่ใจ อาการป่วยก็ไม่ดี ขึ้น” พ่อไพบูลย์พูดทิ้งท้ายพร้อมกับสบตาฉัน การมาในวันนี้ แม้ฉันจะไม่มีความรู้เรื่องศาสตร์ของการ รักษา ยา และการพยาบาล ดังเช่นเพื่อนคนอื่น แต่ฉันกลับได้มุม มองใหม่ เราจะผ่านอุปสรรคนั้นไปได้หรือไม่ หัวใจส�ำคัญคือคนใน ครอบครัวที่คอยอยู่เคียงข้าง ยิ่งหากเราป่วยไข้ สิ่งที่รักษาและเติม พลังให้เราได้ อาจจะไม่ใช่เพราะยาเพียงทั้งหมด แต่มันคือก�ำลังใจ ของครอบครัวต่างหากเล่า u

IPE@MSU2017

- 115 -


อาหารของผู้ป่วย .. สิ่งเล็กๆที่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เรื่องและภาพ : ณัฐวัฒน์ อรรคชัยรัชต์


ในเช้าวันทีม่ ฝี นโปรยปราย พร้อมกับแสงแดดสีทองค่อยๆ โผล่พน้ จากหลังคาบ้านเรือน ผมได้เดินทางเข้าร่วมโครงการIPE หรือ Interprofessional Education ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้และการ ท�ำงานร่วมกันระหว่าง 5 คณะ จากคณะแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ และ คณะวิทยาการสารสนเทศ ภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ผมถูกแบ่งให้อยู่กลุ่มที่ 33 และได้รับมอบหมายให้ลง เยีย่ มบ้านผูป้ ว่ ย ณ ชุมชนปัจฉิมทัศน์ อ.เมือง จ.มหาสารคาม ซึง่ เป็น บ้านของคุณยายวงเดือน อายุ 80 ปี ข้าราชการเกษียณ ผูป้ ว่ ยโรคเบา หวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเริ่มป่วยตั้งแต่อายุได้ประมาน 50 ปี นางวงเดือน สุนทรโรจน์ หรือคุณยายวงเดือน เล่าให้ฟงั ว่า เธอสูญเสียสามีไปด้วยโรคหัวใจเมือ่ เธออายุเพียง 38 ปี ตอนนีอ้ าศัย อยูก่ บั ลูกสาว 1 คน ลูกชาย 1 คน และหลานอีก 1 คน “อาหารแต่ละ มือ้ ก็จะเป็นลูกสาวทีท่ ำ� ให้กนิ เขาท�ำอะไรมาให้กก็ นิ ได้หมด” ซึง่ บ้าน ลูกสาวของคุณยายเปิดเป็นร้านอาหาร คุณยายจึงสะดวกสบายใน เรื่องนี้ ผมได้สอบถามต่อ จึงทราบว่าในบางวันก็จะมีอาหารที่ไม่ เหมาะสมกับผู้ป่วย อย่างเช่น อาหารที่มีรสหวานจนเกินไป หรือ แข็งจนเกินไป เช่น หมูทอดกรอบ เมนูผัดกะเพรา ซึ่งคุณยายก็รับ ประทานทั้งหมดเพราะกลัวว่าลูกสาวจะเสียน�้ำใจ

IPE@MSU2017

- 117 -


- 118 -

ในขณะที่พูดคุยกันคุณยายมีสีหน้าที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ คงเพราะเธอเป็นคนอารมณ์ดี เข้ากับคนอืน่ ได้งา่ ย การสนทนาจึงราบรื่นและสนุกสนาน เราเริ่มถามถึงอาการป่วยของ คุณยายในปัจจุบัน เธอบอกว่า อาการป่วยของเธอก็ไม่ดีขึ้นมากนัก เพราะเมือ่ ก่อนยังคงรับประทานอาหารตามใจตัวเองอยู่ จนช่วงหลัง จึงพยายามงดอาหารจ�ำพวกทีไ่ ม่ควรรับประทาน ท�ำให้อาการป่วยดี ขึ้นตามล�ำดับ ตอนนี้เพื่อนของคุณยายได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว เธอจึงไม่ ค่อยได้ออกไปไหนนัก และอุปนิสัยอีกอย่างของคุณยายคือไม่ค่อย ฟังค�ำแนะน�ำจากแพทย์ อาการของเธอจึงแย่ลงในทุกๆ วัน และตอน นี้ขาของเธอไม่ค่อยจะมีแรงนัก เธอมักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่หน้าทีวี ท�ำให้ไม่รู้จักกับเพื่อนบ้านในช่วงวัยเดียวกันเลย ในขณะที่คุณยายก�ำลังเล่าให้ฟังว่า “ไม่มีเพื่อนและไม่ได้ รู้จักกับเพื่อนบ้านเลย” เธอดูมีสีหน้าเศร้าลงไปเล็กน้อย ท�ำให้ผมรู้ ว่าคุณยายมีความเหงาและโหยหาการพูดคุยจากคนนอกครอบครัว เพราะเรือ่ งบางเรือ่ ง ก็มแี ค่คนวัยเดียวกันเท่านัน้ ถึงจะสามารถเข้าใจ กันได้ดีที่สุด


แต่ยังดีที่มีทั้งลูกสาวลูกชายและหลานที่ต่างคอยให้ก�ำลัง ใจคุณยายเป็นอย่างดี จึงท�ำให้คุณยายคลายความเหงาไปบ้าง หลัง จากฟังเรือ่ งราวชีวติ และอาการป่วยของคุณยายจบลง พวกเราจึงลง ความเห็นและให้ค�ำแนะน�ำคุณยายถึงเรื่องการดูแลสุขภาพ การรับ ประทานอาหารของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความ ดันโลหิตสูง และแนะน�ำลูกสาวของคุณยายถึงการให้ความส�ำคัญใน การปรุงอาหารส�ำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะอาหารที่ไม่ควรให้ผู้ป่วยรับ ประทาน อย่างของหวานและอาหารติดมันทุกประเภท เพราะเป็น เหตุผลหลักที่จะท�ำให้ผู้ป่วยมีอาการไม่ดีขึ้น และสุขภาพร่างกายก็ จะอ่อนแอตามมา ทีส่ ำ� คัญคือการให้กำ� ลังใจกับผูป้ ว่ ย ยิง่ เป็นผูป้ ว่ ยสูงอายุ ยิง่ มีความต้องการความรักจากลูกหลาน และควรมีเวลาพาผู้ป่วยออก ก�ำลังกายบ้างเป็นบางเวลาเพือ่ ไม่ให้เกิดเวลาว่างมากเกินไป และจะ ช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง u

IPE@MSU2017

- 119 -


“คุณลุงสะท้าน” กับการอยู่ร่วมกัน ของโรคเก๊าท์ เรื่องและภาพ : ภัทรพล เศษคึมบง


หากจะให้พูดถึงโรคที่มีผลกระทบต่อกระดูกและมาพร้อม กับความแก่ชราแล้วคงจะหนีไม่พ้นกับโรคที่ทุกคนรู้จักกันดีในนาม ของ “โรคเก๊าท์” ซึง่ จะพบได้งา่ ยในวัยผูส้ งู อายุ หรือกลุม่ คนวัยท�ำงาน และพบได้ทงั้ เพศชายและเพศหญิงทีไ่ ม่มปี ระจ�ำเดือนหลังคลอดแล้ว สาเหตุของการเกิดโรคนีค้ อื หลายคนรูเ้ พียงว่าเกิดจากการกินไก่ ซึง่ ในความจริงแล้วเกิดจากอีกหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น การรับประทาน อาหารที่มีพิวรีน (purine) สูง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล เพราะพิว รีนสามารถเปลีย่ นเป็นกรดยูรกิ ภายในร่างกายได้ หรือแม้กระทัง่ การ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็สามารถเกิดโรคได้เช่นกัน (อ้างอิง: www.medicthai.com/โรคต่างๆ/item/150-โรคเก๊าท์) นายสะท้าน เอี่ยมใส อายุ 68 ปี เกษตรกรผู้ป่วยเป็นโรค เก๊าท์และใช้ชีวิตร่วมกันกับโรคมานานนับ 10 ปี กิจวัตรประจ�ำวัน ในหนึ่งวันของคุณลุง ก่อนที่จะเป็นโรคเก๊าท์คือการท�ำกิจกรรมตาม ประสาชาวเกษตรกรธรรมดา เช่น การปลูกพืช รดน�้ำผัก เลี้ยงวัว ถางหญ้า แบกหามของหนัก เช่น กระสอบข้าว ซึ่งปัจจุบันคุณลุงไม่ สามารถท�ำได้อย่างเดิมเป็นเวลานานๆ ด้วยสภาวะร่างกายที่เสื่อม สภาพตามความชราประกอบกับโรคเก๊าท์ที่ตนเป็นอยู่

IPE@MSU2017

- 121 -


- 122 -

ลุงสะท้าน เล่าถึงอาการการเจ็บป่วยให้ฟงั ว่า “เวลาไม่ปวด มันก็ไม่เป็นอะไร พอเวลาจะปวดก็จะเริม่ ปวดตามหัวเข่า ข้อเท้า หัว ไหล่ เวลาออกไปข้างนอก บางทีกจ็ ะมีอาการปวดบ้าง ไม่ปวดบ้าง ถ้า จะไปเดินออกก�ำลังกาย พอถึงเวลาก็ตอ้ งหยุดทันทีเพราะมันเดินไม่ ได้เลย มันจะปวดมาก หรือเวลาจะเดินเข้าห้องน�ำ้ นีก่ ต็ อ้ งระวัง เพราะ ว่ามันไม่เหมือนเมือ่ ก่อน เราก็ตอ้ งยอมรับในเรือ่ งของสภาพร่างกาย สมัยนี้ต้องมานั่งดูว่าจะเดินไปไหน จะท�ำอะไร ออกก�ำลังกายก็ต้อง ระวัง ต้องคอยดูว่าเราจะท�ำอะไรได้ไหม ท�ำได้มากแค่ไหน ไหวหรือ เปล่า เวลาท�ำกิจวัตรประจ�ำวันที่หนักๆ ก็มีเจ็บเข่าแบบธรรมดา จากที่คุณหมอเคยพูดก็คือหมอนรองกระดูกเรามันเสื่อมแล้ว” คุณ ลุงกล่าวด้วยน�้ำเสียงยอมรับชะตากรรม ส�ำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของคุณลุงสะท้านนั้น ลุงได้ เข้าตรวจสุขภาพอย่างสม�่ำเสมอ พร้อมทั้งรับประทานอาหารตามที่ หมอสั่งอย่างเคร่งครัด “พยายามดูแลตัวเองดีๆ แล้วก็พยายามควบคุมอาหารการ กินของเราด้วย อาหารทีเ่ ขาห้าม เช่น พวกหน่อไม้ เครือ่ งในสัตว์หรือ ว่าอะไรต่างๆ เราต้องระวัง ถ้าเราไปรับประทานอาหารข้างนอก ส่วน มากไม่ค่อยทานหรอกกลัวมันจะไปเจอ ถึงเราจะรู้ว่าเขาไม่ใส่แต่เรา ก็ไม่รู้เพราะว่าเขาเป็นคนท�ำ ก็เลยไม่กล้าออกไปรับประทานอาหาร ข้างนอก ซือ้ มาท�ำกินเองสบายใจกว่า หลีกเลีย่ งการทานอาหารข้าง นอกตลอด ยกเว้นจะกินของผิดเอง เช่น กินยอดผักขี้เหล็กก็เป็น ส่วนกาแฟไม่มีผลข้างเคียงต่อโรคเก๊าท์ แต่เป็นอาหารประเภทต้อง ห้าม ถ้าใครได้เป็นก็ไม่อยากให้กนิ ของทีห่ มอห้าม เช่น ห้ามกินสัตว์ ปีก ยอดผัก หรือของดอง” ลุงสะท้าน เล่าให้ฟัง


นอกจากนีค้ ณ ุ ลุงยังได้มกี ารสรรหาความรูจ้ ากสือ่ โทรทัศน์ จากเพื่อนบ้านอย่างคุณครูประจ�ำโรงเรียน และจากคุณหมอที่มา เยีย่ มบ้านอยูบ่ อ่ ยครัง้ คือการน�ำสมุนไพรมาต้มเป็นน�ำ้ ชา เป็นเครือ่ ง ดื่มรับประทานยามเช้าก่อนออกจากบ้าน ซึ่งเรียกกันว่า“ดาวอินคา” สรรพคุณก็คือช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือดโรคไขข้อ รักษา ความลื่นไหลและความแข็งแรงของเยื่อหุ้มเซลล์ ช่วยควบคุมระดับ น�้ำตาลในเลือด ป้องกันความดันโลหิตสูง ป้องกันการแข็งตัวของ เลือด ฯลฯ (อ้างอิง: www.daoinka.com/ประโยชน์ถวั่ ดาวอินคา.html) คุณลุงได้เล่าให้ฟงั ถึงอาการหลังจากทีร่ บั ประทานสมุนไพร ชนิดนี้ว่า “รู้สึกว่าเวลาถ่ายปัสสาวะท�ำให้ใส สะอาด ไม่มีผลข้าง เคียง ช่วยล้างไตดี สังเกตเห็นได้ว่ามันรู้สึกดีขึ้นด้วยตนเอง รู้สึก ขับถ่ายปัสสาวะบ่อย เมื่อก่อนปัสสาวะสีเข้ม ปัจจุบันนี้ดีขึ้นมาเยอะ มาก ปวดหลัง ปวดเอวไม่ค่อยมี อุ่นกินตอนเช้า ทุกคนในบ้านก็กิน ด้วย พวกคุณครูเอามาขายกัน เคยไม่ได้กินยามาประมาณ 2 เดือน เพราะสมุนไพรตัวนี้ แต่ก็มากินอาหารผิดอีก จนได้กลับมาทานยา อีกเหมือนเดิม ส่วนสมุนไพรก็ทานบ้างไม่ได้ทานบ้าง” ชีวติ ประจ�ำวันของคุณลุงสะท้านในทุกวันนี้ ยังใช้ชวี ติ ปกติ และไม่ได้เดือดร้อนใครเท่าใดนัก และคุณลุงยังได้กล่าวถึงคนที่เป็น โรคเก๊าท์เช่นเดียวกันกับตนว่าอยากให้ฟังท�ำตามที่หมอบอกและ พยายามหมัน่ ดูแลตัวเองอยูเ่ สมอ อะไรทีส่ ามารถห้ามได้กห็ า้ ม หยุด ได้ก็หยุด เพื่อจะได้ไม่เป็นผลเสียต่อร่างกายของตนเอง

IPE@MSU2017

- 123 -


- 124 -


ในด้านการแพทย์นนั้ โรคเก๊าท์เป็นโรคข้ออักเสบทีเ่ กิดจาก ภาวะทีร่ า่ งกายมีกรดยูรกิ สูงมากในเลือด และสะสมมาเป็นระยะเวลา นาน จนกรดยูริกนั้นตกตะกอนอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย อาจ ใช้เวลานานถึง 10 ปี กว่าจะแสดงอาการข้ออักเสบ ปวดแดงร้อนที่ ข้อ ถ้ามีอาการปวดห้ามบีบนวดเด็ดขาด เพราะการบีบนวดจะ ท�ำให้กรดยูรกิ วิง่ เข้ามาในข้อ ท�ำให้เกิดการอักเสบมากขึน้ แต่ควรจะ พักการใช้งานของข้อ ให้นอนพักและประคบเย็นเท่านั้นก็เพียงพอ โดยใช้นำ้� แข็งประคบเมือ่ มีอาการปวดตามข้อเพือ่ ลดอาการปวด หรือ ยกเท้าให้สูง เพื่อช่วยลดอาการบวม สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินยาเพือ่ ควบคุมระดับกรดยูรกิ แต่ผปู้ ว่ ยจะต้องกินยาอย่าง สม�่ำเสมอ ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี เป็นอย่างน้อย และปรับพฤติกรรมการกิน แต่ถ้าหายขาด แล้วยังมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเหมือนเดิมก็จะกลับไปเป็น อีกได้(อ้างอิง: www.medicthai.com/โรคต่างๆ/item/150-โรคเก๊าท์) ไม่วา่ ใครจะเป็นหรือไม่เป็นโรคเก๊าท์กค็ วรหมัน่ ดูแลตัวเอง อย่างสม�่ำเสมอ หรืออย่างน้อยควรหมั่นตรวจสุขภาพประจ�ำปีเพื่อ ที่จะได้หลีกเลี่ยงจากการเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ และควรรับประทาน อาหารทีม่ ปี ระโยชน์และออกก�ำลังกายเป็นประจ�ำอย่างสม�ำ่ เสมอดัง เช่นคุณลุงสะท้านผู้นี้ u

IPE@MSU2017

- 125 -


ผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีความสุขที่สุด เรื่องและภาพ : อรสา ศรีดาวเรือง


ในหลักพุทธศาสนา “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” เป็นสัจธรรมชีวิต สีป่ ระการของมนุษย์ทมี่ อิ าจหลีกเลีย่ งได้ มนุษย์ลว้ นตกอยูใ่ นวังวนที่ ว่านี้ นัน่ ท�ำให้เกิดค�ำถามขึน้ ในใจของฉันมากมาย แล้วเราจะมีความ สุขได้อย่างไร เมื่อสุดท้ายแล้วมนุษย์ต้องเจ็บป่วย แก่เฒ่า และล้ม หายตายจากกันไป แต่อย่างฉันจะไปเข้าใจชีวติ ลึกซึง้ ได้อย่างไรกัน ฉันเพิ่งอายุเพียงยี่สิบปีเท่านั้นเอง ฉันได้พบเจอผู้ที่ทุกข์ระทมกับความเจ็บป่วยมาหลายต่อ หลายครั้ง ครั้งหนึ่งฉันคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน เมื่อคน เจ็บป่วยส่วนใหญ่ล้วนมีวัยล่วงสู่ความชรา ฉันยังเด็กนี่นา มีเวลา อีกเยอะแยะ แต่แล้วความคิดฉันได้เปลีย่ นไปอย่างสิน้ เชิง เมือ่ พีช่ าย ของฉันต้องเผชิญกับโรคไตในวัยเพียง 21 ปี และหลังจากต้องต่อสู้ กับโรคร้ายนีโ้ ดยไม่มที า่ ทีวา่ จะหายขาด พีช่ ายของฉันท�ำได้เพียงแต่ รอการบริจาคไตไปวันๆ จิตใจเริ่มท้อถอยและเกิดความทุกข์ นับแต่ นั้นมา ฉันเห็นความสุขในตัวเขาน้อยเต็มที ฉันตัง้ ค�ำถามขึน้ จากเรือ่ งราวของพีช่ าย ท�ำอย่างไรมนุษย์ ถึงจะมีความสุขได้กบั โรคภัยทีม่ าเยือน บ้างก็ใช้ชวี ติ เพือ่ รอความตาย อย่างสิน้ หวัง หลายคนหันหน้าหนีจากการดูแลตัวเองเลือกทีจ่ ะสนอง กิเลส เพื่ออาหารที่ถูกปาก เพื่อจะได้ไม่ต้องลิ้มรสขมของยา เพื่อใช้ ชีวิตที่เหลือให้เต็มที่

IPE@MSU2017

- 127 -


- 128 -

ชีวิตที่ผ่านมาของลุง จะสูญเปล่าทันที ถ้าลุงเลือกที่จะไม่ดูแลตัวเอง

และไม่นานมานี้เองฉันได้พบกับลุงสมศักดิ์ รักษาพงษ์ วัย 65 ปี หรือที่พวกเราเรียกกันว่าลุงตี๋ จากการลงพื้นที่ในโครงการ Interprofessional Education (IPE) หรือการจัดการเรียนการสอน ร่วมระหว่างวิชาชีพกับเพือ่ นต่างคณะ ทัง้ แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ และฉันจากคณะวิทยาการสารสนเทศ ภาควิชานิเทศศาสตร์ ซึ่งจุด ประสงค์กเ็ พือ่ ให้พวกเราทีม่ าจากคนละศาสตร์วชิ าได้ลงพืน้ ทีเ่ พือ่ มา เห็นชีวติ ของผูป้ ว่ ยจริงๆ และเรียนรูเ้ รือ่ งราวของพวกเขาเพือ่ ช่วยแก้ ปัญหาเท่าที่พวกเราเด็กปี 2 จะท�ำได้ หรืออย่างน้อยพวกเราควรจะ ได้แง่คิดอะไรกลับไปบ้าง และฉันก็ได้ไขข้อสงสัยจากค�ำถามนี้เสียที


โรคภัยในวันที่ชราภาพ “คุณลุงป่วยเป็นโรคอะไรคะ” เพื่อนคนหนึ่งกล่าวถามเพื่อ เริ่มบทสนทนา กับลุงตี๋ “เบาหวาน ลุ ง ป่ ว ยเป็ น เบาหวาน” ลุ ง ตี๋ ต อบด้ ว ยท่ า ที สบายๆ “คุณลุงทานยาอะไรคะ” “เป็นความดันหรือเปล่าคะ” “คุณลุงทานอาหารเสริมอะไรหรือเปล่าคะ” ค�ำถามมากมายถูกยิงไปอย่างไม่มีหยุดหย่อนถึงอาการ ป่วยจากโรคเบาหวานของลุงตี๋ ทั้งในเรื่องของศาสตร์การแพทย์ ยา และการดูแลผูป้ ว่ ย ส่วนเพือ่ นจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ก็เดิน ดูรอบๆ บ้านเพื่อหาจุดบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้ และฉันนั่งฟังพวก เขาอย่างตั้งใจ ลุงตี๋มีรูปร่างเตี้ยและอวบ ผมของลุงท�ำให้ฉันนึกไปถึง ขนของกระต่ายขาวโพลนแซมด�ำเล็กน้อย ดูเข้ากับผิวของเขาที่ ค่อนข้างขาวจากเชื้อสายจีน เมื่อพวกเราไต่ถามกันไปได้สักพัก ทุกคนเริ่มเงียบและหมดค�ำถาม เพราะอาการป่วยไม่ได้ร้ายแรง อย่างที่คิด แปลกกว่านั้น ลุงตี๋ดูไม่เหมือนผู้ป่วยเสียด้วยซ�้ำ เขายัง กระฉับกระเฉง หน้าตาผ่องใส แม้เข้าสู่วัยชราแล้วก็ตาม คุณลุงคือ ผู้ป่วยคนแรกเลยก็ว่าได้ ที่ฉันเห็นถึงความสุขจากดวงตาของเขา มากมายเหลือเกิน

IPE@MSU2017

- 129 -


- 130 -


“ลุงคะ เล่าชีวติ วัยเด็กให้พวกหนูฟงั ได้ไหมคะ” ฉันถามเมือ่ เพื่อนทุกคนเริ่มเงียบ “วัยเด็กหรือ ลุงเรียกวัยนั้นว่าวัยก�ำปั้นทุบดิน” ลุงตี๋ตอบ “ยังไงคะ” ฉันถามต่ออีก “ตอนเด็กลุงท�ำทุกอย่าง งานบ้าน งานสวน แม้แต่งานใน อู่ ตอนเด็กๆ ไปท�ำงานที่อู่รถ สี่ห้าขวบ ลุงต้องลุกขึ้นตีสามตีสี่เพื่อ ช่วยกันโยกเปลี่ยนล้อรถสิบล้อ แล้วดูสิ ลุงตัวเล็กนิดเดียว ฮ่าๆ” ลุง ตี๋พูดเจืออารมณ์ขัน อากาศที่เริ่มร้อนดูเย็นลงทันที่เมื่อพวกเราเห็น คุณลุงผ่อนคลาย ลุงตี๋เริ่มเงียบเหมือนรอคอยค�ำถามจากพวกเราที่ นั่งฟังอย่างใจจดใจจ่อ “เล่าต่อเลยค่ะคุณลุง พวกหนูอยากฟังว่าคุณลุงผ่านอะไร มาบ้าง” ฉันถามเมื่อเพื่อนทุกคนเริ่มเงียบ “แล้วนี่มันเกี่ยวกับโรคของลุงหรือเปล่าเนี่ย เดี๋ยวหาว่าลุง มานั่งโม้นะ” ลุงตี๋พูดด้วยรอยยิ้ม “เกี่ ย วสิ ค ะลุ ง ลุ ง เล่ า ต่ อ เลยค่ ะ ” ฉั น บอกลุ ง ตี๋ พ ร้ อ ม คะยั้นคะยอให้เขาเล่าต่อ “ตอนเด็กถึงตอนโตลุงก็ท�ำงานหนักทุกอย่าง พอเรียนจบ อาชีวะ ลุงก็มาต่อที่ ม.ราชภัฏมหาสารคาม 1 ปีจงึ จบครู และไปสอน เด็กบนดอย ล�ำบากมากเงินเดือนก็น้อย ในตอนนั้นคนขับรถสิบล้อ ที่คุ้นเคยกัน อย่างที่ลุงเล่าให้ฟังในตอนแรกนั่นแหละเมื่อตอนที่ลุง ท�ำงานทีอ่ ู่ เขาแนะน�ำให้ลงุ ไปเป็น รปภ.ทีธ่ นาคารไทยพาณิชย์ และ เพราะลุงจบอาชีวะมา ลุงพิมพ์ดดี เป็น เลยได้เลือ่ นต�ำแหน่งมาท�ำงาน เป็นนายธนาคาร เลื่อนต�ำแหน่งไปเรื่อยๆเพราะลุงเป็นคนสู้งาน ให้ ท�ำอะไรลุงก็ท�ำ อะไรที่ท�ำไม่ได้ก็ฝึกหัดจนท�ำเป็น จนลุงออกมาเปิด กิจการรับเหมาก่อสร้างเอง แต่ตอนนี้เลิกท�ำแล้วนะ” ลุงตี๋เล่าด้วยสายตาของการร�ำลึกความหลังที่ยาวนาน

IPE@MSU2017

- 131 -


- 132 -

“คุณลุงไม่เหมือนคนป่วยเบาหวานเลยนะคะ โรคพวกนี้ กระทบชีวิตของลุงบ้างไหมคะ” ฉันถามอย่างสงสัย “ไม่นะ อย่างมากลุงก็ปวดหัวบ้างจากความดัน ลุงทาน ยาครบทุกมื้อลุงเลี่ยงอาหารที่หมอเขาห้าม อีกอย่างบ้านลุงไม่คอ่ ย เครียดกันด้วย ลูกของลุงก็ทำ� งานมีครอบครัว อีกคนก็เรียนภาษาจีน อยู่ต่างประเทศ” ลุงตี๋ตอบ ฉันเริ่มเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว หลังจากได้พบคุณป้าผู้เป็น ภรรยา เธอดูร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส และต้อนรับพวกเราด้วยน�้ำเสียง ทีเ่ หมือนพูดคุยกับลูกหลานของตัวเอง ครอบครัวทีด่ คี งช่วยส่งเสริม ให้ความทุกข์จากการป่วยไข้เบาบางลงบ้าง แต่แค่นนั้ แน่หรือ ฉันยัง ไม่ทนั จะเอ่ยปากถาม ลุงตีก๋ ไ็ ด้ให้ความกระจ่างต่อความสงสัยทัง้ ปวง “ลุงท�ำงานเหนื่อยมาทั้งชีวิต เมื่อถึงคราวที่โรคภัยถามหา จะให้ลงุ มองข้ามตามใจปากได้ยงั ไง ชีวติ ทีผ่ า่ นมาของลุงจะสูญเปล่า ทันทีถา้ ลุงเลือกทีจ่ ะไม่ดแู ลตัวเอง” และนัน่ แหละ ความสงสัยของฉัน จึงหมดไปหลังจากได้ฟังค�ำตอบของลุงตี๋ ฉันยิ้มให้คุณลุงด้วยความ ชื่นชม จะมีซักกี่คนหนอที่คิดเช่นนี้


หลังจากเราได้รบั รูข้ อ้ มูลทัง้ ทางด้านโรคเบาหวาน ยารักษา การดูแลตัวเอง และด้านความมัน่ คงของบ้านเรือนครบถ้วนแล้ว เรา จึงกล่าวลาคุณลุงและคุณป้า ท้ายที่สุดแล้วฉันและเพื่อนก็ไม่พบปัญหาในเรื่องสุขภาพ ของลุงตี๋เท่าไหร่นัก นั่นเพราะคุณลุงดูแลตัวเองเป็นอย่างดี และมี คุณป้าที่เป็นทั้งภรรยาและพยาบาลประจ�ำตัวคอยดูแลเอาใจใส่ แต่ อย่างที่บอกไว้ข้างต้น อย่างน้อยพวกเราก็ต้องได้อะไรกลับไปบ้าง และฉันรู้สึกถึงหัวใจของลุงตี๋ ผู้เห็นคุณค่าของชีวิตผ่านการพูดคุย เพียงช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมง อะไรท�ำให้คุณลุงมีความสุขกับวันที่มีโรค ภัยได้มากมายขนาดนี้กันนะ นั่นเพราะคุณลุงท�ำงานหนักมาทั้งชีวิตอย่างไรเล่า เพราะ ต้องดิน้ รนด้วยตัวเองมาทัง้ ชีวติ เมือ่ โรคภัยถามหา ลุงจึงต้องดูแลตัว เองให้ดีที่สุด เพื่อไม่ให้ชีวิตที่ผ่านมาสูญเปล่า เพื่อไม่ให้ตนแก่ เจ็บ แล้วตายไปอย่างไร้ความหมาย เพราะชีวิตก็มีเพียงเท่านี้

ใครจะวิ่งหนีความแก่ไปได้ .. ใครจะวิ่งหนีความเจ็บไปได้ .. ใครจะวิ่งหนีความตายไปได้ .. u

IPE@MSU2017

- 133 -


บรรณาธิการบริหาร อรสา ศรีดาวเรือง บรรณธิการศิลปกรรม ชวนินท์ ชิณช่าง ศิลปกรรม ภัทรพล เศษคึมบง วิรัลพัชร ชมบุญ ณัฐวัฒน์ อรรคชันรัชต์ พิสูจน์อักษร สุธาสินีวรรณ จันทร์เพ็ญ จีรประภา หนูบุญ นฤมล ทับปาน จุฑารัตน์ อเนกทรัพย์สกุล




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.