พลังแห่งเสียงดนตรี by (Misty Chorus Faith Mission)

Page 1

Page 1 of 8

พลังแห่งเสียงดนตรี The Power of Music


Page 2 of 8

พลังแห่งเสียงดนตรี วิศรุต จินดารัตน์ วันอาทิตย์ ที่ 14 กรกฎาคม 2013 ณ คริสตจักรที่ 2 ไทยผดุงธรรม (ป่าผึ้ง) อิกอร์ สตราวินสกี้ (Igor Stravinsky) นักดนตรีที่มีช่ือเสียงแห่งศตวรรษที่ 20 พูดถึงดนตรีว่ามีองค์ประกอบที่สาคัญสอง อย่างคือ เสียง และ เวลา เสียงหมายถึงระดับสูงหรือต่า เสียงสูงและเสียงต่า เสียงเบาและเสียงดัง ส่วนเวลาหมายถึงจังหวะเร็วหรือ ช้า ค่าของโน้ตสั้นหรือยาว ทั้งเสียงและเวลาล้วนผูกพันกับชีวิตของคนตัง้ แต่แรกเกิดจนถึงวาระสุดท้ายที่หลุมฝังศพ มนุษย์ใช้เสียงดนตรีเป็นสื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาเพื่อสะท้อนภาพของสังคมในยุคนั้นๆ ทั้งเนื้อร้องและทานองของบท เพลงที่ประพันธ์จะสื่อให้ผู้ฟังรับรู้ถึงอารมณ์ ความรู้สึกสุข เศร้า เหงา หรือรัก ลองนึกย้อนดูว่าในอดีตนั้นท่านเคยใช้บทเพลงใดบอก ความในใจแก่คนที่คุณรักที่ทั้งสองคนรับรู้ว่านี่คือเพลงของเรา นอกจากนั้น บทเพลงและดนตรียังเป็นสื่อในการแสดงความคิดเห็น ด้วยหรือคัดค้านแนวคิดทาง การเมือง สามารถปลุกระดมมวลชนที่มีแนวคิดเดียวกันให้รวมกลุ่มกันเพื่อต่อต้านสงครามดังตัวอย่าง ของพลังแห่งเสียงดนตรีในยุค 1960 อีกทัง้ บทเพลงและดนตรียังส่งผลต่อการโฆษณาสินค้าที่ทาให้ภาพลักษณ์ผลิต ภัณฑ์นั้นน่าซื้อมา ใช้ ทัง้ นี้ก็เพราะพลังแห่งเสียงดนตรีนั้นสามารถโน้มน้าวอารมณ์ความรู้สกึ ของผู้ฟังให้คล้อยตาม การประชาสัมพันธ์นั้นได้ การฟังดนตรีที่ดีส่งผลต่อการทางานของสมองทาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ หรือทาให้เกิดความสงบ สามารถกระตุ้น ร่างกายสร้างภูมิตา้ นทานโรค เกิดความกระตือรือร้นในการทางาน เราอาจชอบดนตรีประเภทเดียวกันหรือต่างกัน บางคนชอบลูกทุ่ง ลูกกรุง เพลงสากลนิยม หรือ gospel หรือเพลงนมัสการ ดนตรีทุกประเภทล้วนส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของคน ทาให้ผู้ฟังรู้สึ กมีความสุขเพราะพลังเสียงของดนตรีประเภทนั้น ๆ ยิ่งกว่านั้นเมื่อเรายอมให้พระเป็นเจ้าสถิตอยู่ด้วยในชีวิตของเรา พระคริสตธรรมคัมภีร์บอกว่า พระองค์จะทรงปีติยินดีเพราะเรา และร้องเพลงด้วยเสียงดัง พระธรรมเศฟันยาห์ 3:17 “พระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้าอยู่ท่ามกลางเจ้า เป็นนักรบผู้ทรงช่วยให้รอด พระองค์จะทรงเปรม ปรีด์เิ พราะเจ้าด้วยความยินดี และทรงสงบในความรักของพระองค์ พระองค์จะทรงร่าเริงเพราะเจ้า ด้วยการร้องเพลงเสียงดัง ” (He will sing and be joyful over you) หากเราปรารถนาความสุข ให้เราเข้ามาหาพระองค์ผู้ทรงเป็นแหล่งแห่งความสุข และเป็นบ่อเกิดพลังแห่งเสียงดนตรีอย่าง แท้จริง ดนตรีและบทเพลงเป็นสื่อที่มีพลังทะลุทะลวงอารมณ์ความรู้สกึ เข้าถึงจิตใจของมนุษย์ได้ดีย่ิง วงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ตระหนักในความจริงข้อนี้ เพราะเพลงนั้นประกอบด้วยเนื้อร้องที่สอดคล้องกับทานองอย่างลงตัว เมื่อผู้ฟังได้ยินก็จะ “ติดหู” จาได้ และประทับใจ ทาให้ผู้คนจดจาสินค้าชนิดนั้นได้ มีเพลงโฆษณาสินค้าที่เราคุ้นเคยมากมาย เช่นเดียวกับเพลงนมัสการที่ประพันธ์ข้ึนบน ฐานสัจธรรมจากพระวจนะของพระเป็นเจ้า เมื่อนามาขับร้องด้วยลีลาทานองที่สอดคล้องกันอย่างลงตัวก็จะเป็นพลัง ในการดาเนิน ชีวติ แม้เราไม่สามารถจดจาพระวจนะของพระเจ้า ได้หลายบทหลายข้อ แต่บทเพลงและดนตรีจะเป็นสื่อนาพระกิตติคุณของพระเจ้า มาถึงผู้ร้องผู้ฟังได้ เป็น “พระวจนะที่พกพาติดตัว” ไปทุกหนแห่ง นี่คือผลที่เกิดขึ้นจากพลังแห่งเสียงดนตรี ที่น่าจะได้รับการ เปิดเผยพอสังเขปสามประการดังต่อไปนี้

ประการแรก : เสียงดนตรีมพ ี ลังปลุกใจ บทเพลงและดนตรีมีพลังปลุกจิตสานึกให้คนเกิดความรักความสามัคคี มีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน เป็นส่วน ของกันและกัน เช่นเพลงประจาสถาบัน เพลงเชียร์กีฬา เพลงประจาท้องถิ่น หรือเพลงชาติ


Page 3 of 8

เครื่องดนตรีเป็นเสมือนอาวุธชนิดหนึ่งโดยเฉพาะเครื่องเป่าทองเหลือง (trumpet) และกลอง (drums) เมื่อเล่นแล้วเสียงเป่า และเสียงตีจะส่งสัญญาณให้กองทหารรับรู้ว่า ให้รวมกาลังพล ให้ทาการรบ ให้รุก ให้ถอย หรือพัก นอกจากนั้นเสียงดนตรียังมีพลัง ปลุกใจให้เกิดความฮึกเหิมในการทาสงคราม กระตุ้นให้เกิดความคึกคัก มีจิตใจพร้อม ที่จะเผชิญกับการต่อสู้ ดังตัวอย่างจาก สงครามที่เมืองเยรีโค พระธรรมโยชูวา 6:16,20 “ในครั้งที่เจ็ด เมื่อปุโรหิตเป่าเขาแกะโยชูวาบอกแก่ประชาชนว่า จงโห่ร้องขึ้นเถิด เพราะพระ เจ้าทรงมอบเมืองให้แก่ท่านแล้ว เหตุฉะนั้นประชาชนก็โห่ร้อง และแตรก็เป่า พอประชาชนได้ยนิ เสียงเขาแกะ เขาก็โห่ร้องดัง และ กําแพงก็พังราบลง...” พลังแห่งเสียงดนตรีปลุกใจประชาชนให้มใี จกล้า ชนชาติอิสราเอลเมื่อได้ยินก็มุ่งไปข้างหน้า เข้ายึดเมือง ศาสนาจารย์ วิลเลียม เพียร์สัน (Rev. William Pierson Merill) เป็นศิษยาภิบาลตามคริสตจักรต่างๆรวมเวลาในการรับใช้ 48 ปี ทาให้ทราบถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของสมาชิกโดยรวม โดยเฉพาะด้านการครองชีพจนทาให้ ความ เข้มแข็งฝ่ายจิตวิญญาณอ่อนแอลงทุกวัน ในฐานะศิษยาภิบาลจึงต้องคิดหาวิธีปลุกความเข้มแข็งด้านความเชื่อแก่สมาชิกให้รีบลุกขึ้น ร่วมแรงร่วมใจผนึกกาลัง ความคิด สติปัญญา กาลังความสามารถเข้าด้วย ให้เลิกใส่ใจกับ “งานเล็กน้อยนานา” เลิกการทะเลาะเบาะ แว้ง แต่ให้ทุ่มเทกับสิ่งที่สาคัญที่สุด สิ่งนั้นคือ การทาพันธกิจของพระเจ้า รับเอากางเขนของพระองค์และเดินตามรอยพระบาทพระ เยซู บทเพลง “ลุกขึ้นคนของพระเจ้า ” (ไทยนมัสการบทที่ 243) เป็นผลงานการประพันธ์ของศิษยาภิบาลที่ปลุกใจให้บรรดา สมาชิกเกิดความกระตือรือร้น เข้มแข็ง และมีความจงรักภักดีดังทหารที่มีต่อพระราชา เป็นบทเพลงที่มุ่งสร้างความปรองดองความ เป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน โดยมีองค์พระเยซูคริสต์เป็นจอมทัพเพื่อพันธกิจของพระเจ้าจะสาเร็จและนามาซึ่งความเป็นพี่น้องกันในพระ เจ้า เมื่อร้องเพลงนมัสการบทนี้ร่วมกันน่าจะเป็นพยานยืนยันได้อย่างชัดเจนถึงเสียงดนตรีนั้นมีพลังปลุกใจเราทุกคน ประการที่สอง : เสียงดนตรีมีพลังปลดปล่อย ดนตรีมีพลังยิ่งใหญ่สามารถปลุกเร้าจิตใจให้เกิดความฮึกเหิม ความกล้าหาญหรือต่อต้านความอยุติธรรมดังได้กล่าวมาแล้ว ยังสามารถปลดปล่อยความรู้สึกของคนที่ถูกบีบบังคับ ถูกกดขี่ ให้ได้รับเสรีภาพทางจิตใจ แม้ความเป็นจริงเขาจะอยู่ในสภาพ ถูกคุมขังหรือตกเป็นทาสของผู้มีอานาจ แต่พลังแห่งเสียงดนตรีก็สามารถถอด โซ่ตรวนที่กักขังและนาสู่ความเป็นเสรีชนทางด้าน จิตใจได้ คริสตศักราช 1860 เมื่อชาวแอฟริกันถูกซื้อขายนามาเป็นทาส ถูกบีบบังคับให้ ใช้แรงงานทาเกษตรกรรมที่ฟาร์มคนผิวขาว ชาวอเมริกัน พวกเขาถูกกีดกันไม่ให้ได้รับสิทธิหลายอย่างที่มนุษย์ควรจะได้รับ ถูกเหยียดสีผิว ถูกบังคับให้ทางานหนั ก มีสภาพความ เป็นอยูย่ ากไร้ พวกเขามักรวมตัวกันร้องเพลง เล่นดนตรี และเต้นรา เพื่อผ่อนคลายความรู้สกึ ที่ถูกเก็บกด บทเพลงของพวกเขาที่เรารูจ้ ักคือ Negro Spirituals มีเนื้อหามาจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ เป็นเพลงที่ถ่ายทอดความจริงของ ชีวติ ทาสที่ถูกบีบบังคับ ถูกกดขี่ ซึ่งเขาต้องการได้รับการปลดปล่อย บทเพลงในยุคสมัยแรกจึงมีนัยที่แสดงถึงการหลบหนี เพื่อมุ่งสู่ แดนดิ น แห่ ง เสรี ภ าพ เป็ น บทเพลงที่ ท าสคริ ส เตี ย นผิ ว สี จ ะเข้ า ใจความหมายได้ แม้ เ นื้ อ เพลงจะใช้ค าพื้ น ๆ ง่ า ยๆ แต่ ส ะท้ อ น ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างพระเป็นเจ้ากับพวกเขา เราเห็ นได้จากบทเพลงที่พูดถึงคาว่า “home” (บ้าน) ในบทเพลง Do Lord ที่มี เนื้อเพลงว่า “I’ve got a home in glory land, that outshines the sun” (Let’s sing together p.446) “บ้าน” หมายถึงสถานที่ที่ทุกคน ได้รับอิสรภาพและความปลอดภัย ยิ่งกว่านั้น “บ้าน” ยังกินความหมายรวมถึ ง “สวรรค์” ที่บรรดาทาสที่ถูกข่มเหงในโลกนี้จะได้รับ การปลดปล่อย สภาพที่ถูกบังคับให้เป็นทาส การหลบหนีให้พ้น มุ่งสู่แผ่นดินแห่งเสรีภาพเช่นเดียวกับพวกอิสราเอลในสมัยพันธสัญญาเดิม นั้น เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาประพันธ์บทเพลงที่พูดถึงพาหนะที่จะพาพวกเขาไป คือ รถม้า หรือไม่ก็ รถไฟ ดังที่ปรากฏในบท เพลง “Swing low, sweet chariot, coming for to carry me home” (Let’s sing together p.78) ในความเป็นจริงบรรดาทาสจะไม่มี


Page 4 of 8

สิทธิ์เข้าไปนมัสการ ในโบสถ์ แต่พวกเขาก็ได้ร้องเพลงแห่งเสรีภาพเหล่านี้นอกโบสถ์ หรือตามไร่ปศุสัตว์ที่พวกเขาถูกบังคับให้ใช้ แรงงาน ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นจากน้ามือของมนุษย์ วันหนึ่งความเป็นธรรมจะต้องเกิดขึ้น บทเพลง “There is a balm” (Let’s sing together p.304) แม้แต่งขึ้นมาโดยอ้างอิงพระวจนะของพระเป็นเจ้าในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมที่พูดถึงพิมเสนในกิเลอาดที่ไม่ สามารถใช้เป็นยารักษาความเจ็บป่วยของคนชั่วได้ พระธรรมเยเรมีย์ 46:11 “ธิดาพรมจารีแห่งอียปิ ต์เอ๋ย จงขึ้นไปที่กิเลอาดและไปเอาพิมเสน เจ้าได้ใช้ยาเป็นอันมากแล้วและ ก็ไร้ผล สําหรับเจ้านั้นรักษาไม่หาย” แต่องค์พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแพทย์ผู้ประเสริฐทรงรักษาบรรดาคนเหล่านั้นที่ เข้ามาหาพระองค์ ทรงรักษาความเจ็บป่วย ด้านร่างกาย และจิตใจที่ชอกช้าโดยไม่เลือกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์อย่างเท่าเทียมกัน พระธรรมมัทธิว 11:28 “บรรดาผู้ทํางานเหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาหาเรา และเราจะให้ท่านทั้งหลาย หาย เหนื่อย เป็นสุข” บทเพลงและดนตรีมีพลังปลดปล่อยจากความรู้สึกที่เจ็บปวด ถูกกดขี่สู่ความเป็นเสรีชน พลังของดนตรีทาลายแม้เครื่อง พันธนาการที่จองจาให้หลุดออก ตัวอย่างที่เกิดขึ้นที่คุกฟิลปิ ปี พระธรรมกิจการของอัครทูต 16:25-26 “ประมาณเที่ยงคืน เปาโลกับสิลาสก็อธิษฐานและร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า นักโทษทั้งหลายในคุกก็ฟังอยู่ ในทันใดนั้น เกิดแผ่นดินไหวใหญ่จนรากคุกสะเทือนสะท้าน และประตูคุกเปิดหมดทุกบาน เครื่องจา จองก็หลุดจากเขาสิน้ ทุกคน” นักโทษที่ถูกจับกุมคุมขังมักรู้สกึ หดหู่ หมดหวัง เศร้าใจ ยิ่งสภาพแวดล้อมที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมก็ย่งิ อยู่ในสภาวะจายอม ปล่อยให้สถานการณ์ต่างๆมีอิทธิพล เหนืออารมณ์ความรู้สึก แต่เปาโลกับสิลาสแตกต่างจากคนอื่นๆ ท่านทั้งสองร้องเพลงไม่ใช่ เพลงเศร้าหรือ blue ที่สยบยอมต่อสภาพแวดล้อม แต่ท่านร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า อธิษฐานต่อพระเจ้า เอาชนะสถานการณ์ เลวร้ายนั้นโดยใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือ เมื่อทั้งสองร้องเพลงสรรเสริญทาให้นักโทษทั้งหลายที่อยูใ่ นคุกต้องฟัง พลังแห่งเสียงดนตรีนามา ซึ่งการอัศจรรย์ โซ่ตรวนที่พันธนาการพวกเขาหลุดออก ดนตรีมีพลังปลดปล่อยร่างกายและจิตวิญญาณที่ถูกจองจาให้ได้รับเสรีภาพ เครื่องจองจานัน้ กักขังมนุษย์ได้เฉพาะร่างกาย แต่ดนตรีทาให้จิตใจเขามีเสรีภาพ ศาสนาจารย์ จอร์จ แมทธีสัน (Rev. George Matheson) เป็นผู้ที่มีปัญหาด้านสายตาตัง้ แต่เด็ก เขามองเห็นภาพต่างๆได้เพียง บางส่วน เมื่ออายุย่างเข้า 15-17 ปี ตาทั้งสองข้างก็เริ่มพร่ามัวเกือบมองไม่เห็น แต่พระเป็นเจ้าทรงทดแทนท่านให้มีสติปัญญา เฉลียวฉลาด เรียนรู้ศาสตร์สาขาต่างๆได้มากมาย เช่น ปรัชญา วรรณคดี และตรรกศาสตร์ จนสาเร็จการศึกษาด้วยคะแนนเกียรติ นิยมในวัยเพียง 18 ปี เท่านัน้ แม้ปัญหาทางสายตาจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนแต่ก็ไม่ทาให้เขาห่างเหินจากพระเป็นเจ้า ตรงข้าม กลับ ยิ่งทาให้เขาติดสนิทกับพระองค์ย่งิ ขึน้ จนตัดสินใจถวายตัวรับใช้พระเจ้า ตลอดเวลากว่า 18 ปี ในการเป็นศิษยาภิบาล ต้องเทศนาโดยอาศัยความจาเพราะมองเกือบไม่เห็น ทาให้ลืมเนื้อหาคาเทศน์ บ้างแต่ก็ยังรับใช้อย่างเต็มกาลังความสามารถ เป็นศิษยาภิบาลที่เอาใจใส่เยี่ยมเยียนอย่างสม่าเสมอจนเป็นที่รักใคร่ ของบรรดา สมาชิก นอกจากพันธกิจการรับใช้ในคริสตจักรแล้วท่านยังได้ใช้ของประทานด้านการประพันธ์เพลงนมัสการที่มีเนื้อหาบ่งบอกถึง คุณลักษณะที่โดดเด่นของคริสตชน เป็นบทเพลงที่แสดงถึงความจริงสองอย่างที่ดูเหมือนว่าขัดแย้งกันแต่แฝงไว้ด้วยสัจธรรมของพระ เป็นเจ้า อันแสดงถึ งแก่นแท้ของความเป็นคริสเตียน บทเพลง “ให้ข้าฯเป็น เช่นเชลย” (ไทยนมัสการ บทที่ 138) ซึ่งมีเนื้อความว่า “ให้ขา้ ฯเป็นเช่นเชลย แล้วข้าฯ จะได้เป็นไท” (การเป็นเชลยย่อมหมายถึงการตกเป็นทาสที่ไร้อิสรภาพ) หรือ มือทั้งสองข้างจะมีพลัง ขึน้ มาได้เมื่อถูกมัดไว้ดว้ ยกัน หรือความเมื่อยล้าจะหายไปเมื่อเริ่มรับใช้ผู้อ่ืน เหล่านี้คือความจริงที่ตรงข้ามกันอย่างที่สุด ใครจะคิดว่า การเป็นเชลยจะทาให้ได้รับความเป็นไท หรือการวางอาวุธของตนจะทาให้เป็นผู้ชนะ ในความเชื่อของ คริสตชนแล้ว สิ่งนี้คือสัจ ธรรมที่เป็นจริงที่สุด แม้ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ แต่เป็นความจริงอย่างที่สุด คือเป็น Paradoxical truth


Page 5 of 8

บทเพลงนับเป็นการสะท้อนความคิดของผู้ประพันธ์ที่จงรักภักดีต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า แม้มีความพิการทางสายตาซึ่งเป็น เสมือนพันธนาการต่อชีวิตของเขา แต่สิ่งนี้หาได้ทาให้เขาหมดอิสรภาพในการรับใช้พระเป็นเจ้า ไม่ การยอมเป็นเชลยขององค์พระผู้ เป็นเจ้า ยอมทําตามน้ําพระทัยพระองค์ทําให้ผู้ประพันธ์ได้รับการปลดปล่อย และเป็นอิสระอย่างแท้จริง เช่น เดีย วกั บเซาโล (Soul) ผู้ยึดมั่น ในตนเองด้ วยถือว่าได้ทาตามพระบั ญญัติของพระเจ้ าอย่างเคร่งครัด จึง ข่ม เหงและ ประหัตประหารผู้อ่นื โดยเข้าใจไปเองว่านี่คือ น้าพระทัยของพระเป็นเจ้า เขาได้ประกาศตนเป็นปฏิปักษ์ต่อคริสเตียนอย่างชัดเจน โดยการประหัตประหารผู้อ่ืนทั้งในและนอกกรุงเยรูซาเล็ม แต่แล้วเมื่อองค์พระเยซูคริสตเจ้าได้สาแดงพระองค์แก่เขาบนถนนสู่เมือง ดามัสกัสชีวิตของเขาจึงได้รับการปลดปล่ อยจากการตกเป็นทาสของความคิดที่ผิดอย่างน่าอัศจรรย์ จากเซาโลเป็นเปาโลผู้ยอม จานนต่อพระเป็นเจ้า พระธรรมเอเฟซัส 3:1 “เพราะเหตุน้ขี า้ พเจ้าเปาโลผู้ท่ถี ูกจาจองเพราะเห็นแก่พระเยซูคริสต์ เพื่อท่านซึ่งเป็นคนต่างชาติ” บทเพลง “ให้ขา้ ฯเป็นเช่นเชลย” (ไทยนมัสการ บทที่ 138) จึงเป็นดังคาพยานชีวิตของผู้ประพันธ์ที่แสดงให้เห็นว่าเสียงดนตรี นัน้ มีพลังปลดปล่อยจากการเป็นทาสให้ได้รับอิสรภาพและความเป็นไท ประการที่สาม : เสียงดนตรีมีพลังเปลี่ยนแปลง บทเพลงและดนตรีมีคุณประโยชน์อยู่คกู่ ับวิถีชีวิตของคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชือ้ ชาติภาษา ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปถึงพลังแห่งเสียงดนตรีนั้นนามาสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกล่อมเกลาทางสังคม ซึ่งผู้ใหญ่ นามาใช้ในการถ่ายทอดค่านิยม ความเชื่อ การประพฤติ โดยเห็นได้จากเพลงลูกทุ่งของแต่ละท้องถิ่นที่ปลูกฝังให้ ผู้ฟังมีสานึกรักถิ่น ฐานบ้านเกิด ได้เรียนรู้ภายใต้กรอบของวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม หรือการใช้ดนตรีเพื่อเป็นวิธีบาบัดรักษาโรคที่เราเรียกว่า “ดนตรีบาบัด” (Music therapy) ช่วยทาให้ผู้ฟังเกิดการผ่อนคลาย เบี่ยงเบนความสนใจจากสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ พระคริสตธรรมคัมภีร์พูดถึงกษัตริย์ซาอูลที่ถูกวิญญาณชั่วทรมาน แต่เมื่อดาวิด ดีดพิณถวายเสียงดนตรีจะเป็นพลังเยียวยา รั ก ษาบาดแผลในจิ ต ใจของซาอู ล ขั บไล่ ค วามทุ ก ข์ เศร้ า หมองให้ ห ายไป เสี ย งดนตรีจ ากฝี มือ การดี ด พิ ณ ของดาวิ ด มี พ ลั ง เปลี่ยนแปลงเสริมสร้างจิตวิญญาณให้ชุ่มชื่นและหายเป็นปลิดทิ้ง พระธรรม 1 ซามูเอล 16:23 “อยู่มาเมื่อวิญญาณชั่วจากพระเจ้ามาสิงซาอูลเมื่อไร ดาวิดก็หยิบพิณใช้มือดีดถวายซาอูล ก็ทรงชุ่มชื่นขึ้นและหายดี และวิญญาณชั่วก็พรากจากพระองค์ไป” คิบลิง (Kipling) นักเขียนชาวอังกฤษ (ค.ศ. 1865-1936) ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) ในปี ค.ศ. 1907 กล่าวว่า “East is East and West is West and never the twain shall meet” หมายความว่า “ตะวันออกก็คือตะวันออก ตะวันตกก็คือตะวันตก ไม่มวี ันที่ ทั้งสองจะมาพบกันได้ จะเข้ากันได้ จะเชื่อมกันได้ ” แต่ในบทเพลง “เชื่อในพระคริสต์รักกันสนิท” (ไทยนมัสการ บทที่ 209) นั้นกลับ แสดง “ภาวะแย้ง” (Antithesis) ต่อคากล่าวของคิบลิง (ภาวะแย้งคือกลการประพันธ์ที่ใช้คาหรือข้อความที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือแตกต่างกันมาเทียบกันเพื่อให้ความหมายคมชัดขึน้ ) ในขณะที่บทประพันธ์หนึ่งเน้นย้าให้เห็นถึงตะวันออกก็คือตะวันออกและตะวัน ตกก็คือตะวันตก เป็นกาแพงเชื้อชาติและสีผิว ที่ไม่อาจเข้ากันได้ แต่เพลงนมัสการบทนี้ช้ีชัดลงไปว่า “ในองค์พระเยซูคริส ต์นั้นไม่มีตะวันออกหรือตะวันตก ไม่มีเหนือไม่มีใต้ ” ข่าวประเสริฐขององค์พระเยซูคริสต์ที่สัมผัสจิตใจของชนทุกชาติภาษาจะทลายกาแพงเชื้อชาติ สีผิว ภาษา พระประสงค์ของพระเป็น เจ้าให้เราทุกคนรักกัน ไม่ประสงค์ให้สร้างกาแพงต่อกัน แต่ให้เป็นครอบครัวเดียวกันในพระองค์ มีเรื่องเล่าที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเหตุบังเอิญที่เกิดขึ้นกับเรือสองลาที่จอด ทอดสมออยู่ใกล้กัน บนเรือลาหนึ่งนั้นบรรทุกชาวญี่ปุ่นเป็นจานวนมากที่ถูกส่งกลับประเทศ ส่วนอีกลาหนึ่งมีชาวอเมริกันจานวน เท่าๆกันที่ต้องกลับภูมิลาเนาเช่นกัน เมื่อทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน ด้วยว่าเป็นศัตรูทาสงครามกันอยู่จึงจ้องหน้ากันด้วยความอาฆาต เคียดแค้น เวลาผ่านไปหนึ่งวันเหตุการณ์เริ่มตึงเครียดขึ้นเป็นลาดับ ทันใดนั้นเองก็มีเสียงใครคนหนึ่งเริ่มต้นร้องเพลง “In Christ there


Page 6 of 8

is no East or West” เสียงเพลงค่อยๆดังขึน้ เป็นการร่วมร้องเพลงนมัสการบทนี้ร่วมกันระหว่างชนชาติที่เป็นคู่อริและกาลังทาสงคราม กันอยู่ แสดงให้เห็นว่า ในองค์พระเยซูคริสตเจ้านั้นไม่มตี ะวันออกหรือตะวันตก (ไม่มชี าวญี่ปุ่นหรือชาวอเมริกันนั่นเอง) เสียงดนตรีมีพลังเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่เคยบาดหมางจองล้างจองผลาญซึ่งกันและกันเป็นความรัก ความเข้าใจ ความเอื้ออาทร ยอมรับในความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติและภาษา อีกทั้งเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นคน ของผู้อ่นื ดนตรีที่ดมี พี ลังปลุกใจ หลอมรวมสมาชิกในคริสตจักรให้มีความรักใคร่กลมเกลียว มีความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกันในการทา พันธกิจที่ได้รับมอบหมายให้สาเร็จ ดนตรีที่มีพลังปลดปล่อยให้ผู้ร้องและผู้ฟังได้รับความเป็นไท เป็นอิสระหลุดพ้นจากพันธนาการ ของชีวิต และดนตรีที่ดมี พี ลังเปลี่ยนแปลงความเศร้าหมอง หมดหวัง เป็นความชื่นชมยินดีและมีความหวัง ในทางตรงข้าม ดนตรีที่ไม่มคี ุณค่าจึงมีพลังทาลายสูง สามารถสื่อถึงความก้าวร้าว ความรุนแรง ดนตรีในแนว Heavy Metal ที่แม้ไม่สามารถจับใจความของเพลงได้แต่กลับส่งผลด้านลบ มีพลังยั่วยุให้ใช้ยาเสพติดและความรุนแรง พระธรรมอพยพ 32:17-19 “เมื่อโยชูวาได้ยินเสียงประชาชนอื้ออึง อยู่ เขาจึงเรียนโมเสสว่า มีเสียงสงครามในค่าย แต่ โมเสสตอบว่า นั่นไม่ใช่เสียงร้องของผู้ชนะ และไม่ใช่เสียงร้องของผู้แพ้ แต่เป็นเสียงร้องเพลงกันที่เราได้ยิน พอโมเสสเข้ามาใกล้ค่าย ได้เห็นรูปโคและคนเต้นรา โทสะของโมเสสก็เดือดพลุ่งขึ้น ท่านโยนแผ่นศิลาในมือทิง้ แตกเสียที่เชิงภูเขานั่นเอง” โยชูวาเรียกเสียงร้องเพลงที่ได้ยินว่า “เสียงอื้ออึง” (noise) ไม่ใช่เสียงดนตรีที่ควรจะเป็น แต่เป็นเสียงดนตรีของซาตานไม่ต่าง ไปจากพวกอันธพาลที่สุมกันบริเวณ เชิงสะพานตัง้ วงเหล้า ตะโกนโหวกเหวกคล้ายคาราโอเกะข้างถนน เมื่อบทเพลงและดนตรีอยูใ่ นมือของซาตานสิ่งที่ตามมาย่อมเป็นความชั่วร้ายอย่างหลีกไม่พน้ เป็นพลังทาลาย พระธรรมมาระโก 6:22-23 “เมื่อบุตรีของเฮโรเดียสเข้ามาเต้นรํา ทําให้กษัตริย์เฮโรดและแขกทั้ งปวงชอบใจ กษัตริย์ จึงตรัสกับหญิงสาวนั้นว่า เธอจะขอสิ่งใดก็จะให้สิ่งนั้น และกษัตริย์ทรงปฏิญาณตัวไว้ว่า เธอจะขอสิ่งใดๆ เราจะให้สิ่งนั้น จนถึง กึ่งราชสมบัต”ิ การเต้นราของหญิงสาวประกอบดนตรีที่มีจังหวะยั่วยุ เย้ายวนให้เฮโรดเกิดความหลงใหลถึงกับลั่นวาจาว่าเธอจะขอสิ่งใดก็ จะได้ดังใจปรารถนา หญิงสาวจึงปรึกษากับแม่วา่ จะขอสิ่งใดดี พระธรรมมาระโก 6:25 “ในทันใดนั้นหญิงสาวก็รบี เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ทูลว่า หม่อมฉันขอศีรษะยอห์นผู้ให้รับบัพติศมา ใส่ ถาดมาให้หม่อมฉันเดี๋ยวนี้เพคะ” ทาชั่วก็เพราะยอมให้ดนตรีและบทเพลงของซาตานมาครอบครอง คงเคยได้ยินเพลงที่มีเนื้อหาว่า “คิด คิดแล้วแค้นสุดขีด” หรือ “ฆ่ามันให้ตาย” นี่คือบทเพลงและดนตรีที่ตอกลิ่มความขัดแย้งและความรุนแรงใช่หรือไม่ บางคนคิดว่าตนเองเล่นดนตรีไม่เป็น หากจะเริ่มต้นเรียนวันนี้ก็อาจสายไป แต่แท้จริงแล้วร่างกายของมนุษย์เป็น เครื่อง ดนตรีที่พิเศษที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลก แม้มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องดนตรีได้มากมายหลากหลายชนิด สามารถสังเคราะห์ เสียงและเลียนแบบเสียงที่เป็นเครื่องดนตรีอ่ืนๆได้ ที่เรารู้จักคือ Synthesizer แต่ก็ไม่อาจลอกเลียนเสียงร้องเพลงของคนได้ ในขณะที่ เราสามารถร้องเพลงคือเปล่งเสียงออกมาเป็นคาร้องและมีทานองได้ สามารถฮัมเพลงก็ได้ ผิวปากก็ได้ ที่ง่ายที่สุดคือตบมือ สร้าง จังหวะซึ่งทุกคนทาได้เหมือนชนชาติอิสราเอลตบมือโห่ร้องแสดงความชื่นชมยินดีเพื่อถวายพระเกียรติแด่พระเป็นเจ้า พระธรรมสดุดี 47:1-2 “ดูก่อนชนชาติทั้งหลาย จงตบมือ จงโห่ร้องถวายพระเจ้าด้วยเสียงไชโย เพราะพระเจ้าองค์ผู้ สูงสุดเป็นที่น่าคร้ามกลัว ทรงเป็นมหาราชเหนือแผ่นดินโลกทัง้ สิน้ มือของเราเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่สร้างจังหวะได้ เช่นเดียวกับเครื่องดนตรี ชิ้นแรกที่ทารกได้ยินเมื่อเขายังอยู่ในครรภ์ คือเสียงหัวใจของคุณแม่ที่เต้นเป็นจังหวะชีวภาพ (bio rhythm) เป็นจังหวะชีวิต เมื่อหัวใจคุณแม่เต้นช้าลงทาให้ลูกน้อยสงบและรู้สึก ปลอดภัย บทสรุป


Page 7 of 8

ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราเป็นเหมือนเครื่องดนตรีที่ไม่ได้รับการ ปรับเสียงหรือจูนเสียง เกิดความเพี้ยน (dissonance) ไม่กลมกลืน ไม่ประสานกัน พลังของเสียงดนตรีสามารถปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายและจิตใจให้เกิดสมดุล ทาให้ระบบ ต่างๆกลับมาทางานอย่างสอดประสานกัน เกิดสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ที่ร้องเพลงได้ เ ข า ยั ง มี ชีวติ อยู่ ผู้ที่มีชีวิตอยู่ ทาพันธกิจของพระเป็นเจ้าได้ ผู้อาวุโสที่ร้องเพลงได้ ท่านกาลังทาพันธบริการของพระเจ้า คริสตจักรที่ร้องเพลงได้ คือคริสตจักรที่สบื ทอดพันธกิจการสร้างสาวกของ องค์พระเยซูคริสต์ ให้เราทุกคนใช้พลังแห่งเสียงดนตรีเพื่อถวายพระเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า เป็นดนตรีที่มาจากชีวิตของเราทุ กคน อย่าให้ เสียงร้องและบทเพลงขาดหายไปจากชีวติ ของเรา เหมือนคาสัญญาของผู้เขียนนิรนามที่ปรากฏใน พระธรรมสดุดี 104:35 “ข้ามีชวี ติ อยูต่ ราบใด ข้าจะร้องเพลงถวายพระเจ้า ขณะข้ายังเป็นอยู่ ข้าจะร้องเพลงสดุดีถวาย พระเจ้าของข้า”


Page 8 of 8


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.