เพลงนมัสการกับชีวิตและสุขภาพ by (Misty Chorus Faith Mission)

Page 1

เพลงนมัสการกับชีวิตและสุขภาพ


เพลงนมัสการกับชีวิตและสุขภาพ วิศรุต จินดารัตน์ บทเพลงและดนตรีมีคุณประโยชน์อยู่คู่กับวิถีชีวิตของชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่ วไปถึงคุณประโยชน์ ของบทเพลงหรือดนตรี ซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. เป็นวิธีบาบัดรักษาโรค เรียกกันว่าดนตรีบาบัด (music therapy) ใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการรักษาผู้ที่มีอาการผิดปกติทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ช่วย ทาให้ผ่อนคลาย เบี่ยงเบนความสนใจจากสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ช่วยคลายความเจ็บปวดหรือคลายกังวลได้ 2. เป็นสื่อกระตุ้นพัฒนาการของทารกและเด็ก มีหลักฐานงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันถึงอิทธิพลของเสียงเพลงที่มีต่อพัฒนาการและการเจริญของ ทารกในครรภ์ และยังสามารถกล่อมเกลาจิตใจของทารกให้เป็นผู้มีสุนทรียะทางอารมณ์ มีจิตใจอ่อนโยนได้ในเวลาต่อมา เด็กที่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายและรู้สึกถึง จังหวะของดนตรีซึ่งเป็นจังหวะชีวภาพ (biorhythm) ที่มีผลต่อร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา จึงเป็นผู้ที่มีพัฒนาการได้ดีและเร็วกว่าคนอื่น 3. เป็นสื่อในกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (socialization) ซึ่งได้แก่กระบวนการ อบรม สั่งสอน การเรีย นรู้จากประสบการณ์ และการเรียนรู้จาก บุคคลอื่น ภายใต้วัฒนธรรมและประเพณีของสังคม วิธีการหนึ่งที่ผู้ใหญ่นามาใช้ในการถ่ายทอดสิ่งต่างๆให้แก่เด็ก ได้แก่ บทเพลงหรือเสีย งเพลง ดังจะเห็นได้จากบท เพลงกล่อมเด็กของแต่ละท้องถิ่นนั่นเอง เช่น เพลง “จันทร์เจ้าเอย” จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้าขอข้าวขอแกง ขอแหวนทองแดงผูกมือน้องข้า ขอช้างขอม้าให้น้องข้าขี่ ขอเก้าอี้ให้น้องข้านั่ง ขอยายชั่งเลี้ยงน้องข้าเถิด ขอยายเกิดเลี้ยงตัวข้าเอง 4. เป็นสื่อสะท้อนวัฒนธรรม สังคม และค่านิยมที่สังคมนั้นยึดถือปฏิบัติอยู่ เราสามารถเรียนรู้ถึงธรรมชาติห รือวัฒนธรรมของสังคมได้จากบทเพลง ท้องถิ่น ที่เห็นได้ชัดเจนคือเพลงลูกทุ่งไทย ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงวิถีและความเป็นอยู่ของชาวไทยได้เป็นอย่างดี 5. เป็นภาษาหรือเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ ความคิด ความเชื่อ ความต้องการ ความหวัง และความรู้สึ กต่างๆ เพลงสามารถถ่ายทอด ทั้งเนื้อหาสาระและอารมณ์


ประเภทของเพลง 1. เพลงกล่อมเด็ก (lullaby) เป็นบทร้อยกรองสั้นๆที่มีคาคล้องจองกันต่อเนื่องไป มีฉันทลักษณ์ไม่แน่นอน ใช้คาง่ายๆ มีทานองที่ง่ายๆ มักเป็นบทเพลงเบาๆ คาร้องฟังง่าย และร้องให้เข้ากับจังหวะที่สบายๆ ซึ่งมักใช้ประกอบกับการให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวตามจังหวะชวนให้นอนหลับ (rocking the baby) เช่น เพลง “Rock-a-Bye Baby” http://www.youtube.com/watch?v=yVLDi-FFjVo Rock-a-bye baby, in the treetop When the wind blows, the cradle will rock When the bough breaks, the cradle will fall And down will come baby, cradle and all เพลง “นอนไปเถิด” นอนไปเถิดแม่จะกล่อม นวลละม่อมแม่จะไกว ทองคาแม่อย่าร่าไห้ สายสุดใจเจ้าแม่เอย 2. เพลงดรุณบรรเลง (nursery rhyme) เป็นบทเพลงสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้สาหรับเด็กเล็ก เป็นบทประพันธ์ที่มีสัมผัสคล้องจอง มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน หรือตานานที่เล่าขานสืบต่อกันมา อาจมีคติสอนใจหรือปลูกฝังศีลธรรม ง่ายต่อการจดจา เพลงจะเน้นจังหวะทางดนตรีที่สนุกสนาน เด็กมีส่วนร่ วมได้ง่าย เช่น ตบมือ หรือเต้นเข้าจังหวะ เช่น เพลง “The Alphabet Song” http://www.youtube.com/watch?v=eOb9Bs86dMU ABCDEFG HIJKLMNOP QRSTUV W X Y and Z Now I’ve said my A B C’s. Tell me that you think of me. เพลง “Row, Row, Row Your Boat” http://www.youtube.com/watch?v=ldvoJe-8WwU Row, row, row your boat. Gently down the stream. Merrily, merrily, merrily, merrily. Life is but a dream.


Hoe, hoe, hoe your row. Though the summer heat. Merrily do your bit, cheerily stick to it. Raising beans and wheat. Save, save, save the wheat. Meat and sugar, too. Corn and potatoes and rice and tomatoes. Are mighty good for you? เพลง “แมงมุมลาย” http://www.youtube.com/watch?v=jUVf8nkCdsk แมงมุมลายตัวนั้นฉันเห็นมันซมซานเหลือทน วันหนึ่งมันถูกฝนไหลหล่นจากบนหลังคา พระอาทิตย์ส่องแสงฝนแห้งเหือดไปลับตา มันรีบไต่ขึ้นฝาหันหลังมาทาตาลุกวาว เพลง “เป็ดอาบน้าในคลอง” http://www.youtube.com/watch?v=i7o3esRDmAw ก้าบ ก้าบ ก้าบ เป็ดอาบน้าในคลอง ตาก็จ้องแลมองเพราะในคลองมีหอย ปลา ปู ก้าบ ก้าบ ก้าบ เป็ดอาบน้าในคู ตาก็จ้องแลดูเพราะในคูมี หอย ปู ปลา 3. เพลงพื้นบ้าน เพลงชาวบ้าน เพลงพื้นเมือง เพลงลูกทุ่ง (folk song) เป็นเพลงที่กาเนิดขึ้นตามท้องถิ่นนั้นๆ โดยร้องสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน อาศัยการจดจาแบบปากต่อปาก (oral recitation) และร้องโดยไม่มีดนตรีประกอบ (without accompaniment) ผู้ประพันธ์บทเพลงมักเป็นบุคคลนิรนาม เนื้อหาสาระ จะสะท้อนถึงวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นนั้นๆ เราสามารถจิตนาการได้ตามบทเพลง ทาให้เห็นความเชื่อ ค่านิยม ความคิด และวิธีประพฤติปฏิบัติ ในเรื่องต่างๆ เช่น ความรัก ความสัมพันธ์ ความเป็นอยู่และการดารงชีวิตประจาวัน ดังนั้น เพลงพื้นบ้านจึงสืบสานประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เช่น เพลง “รอยไถแปร” http://www.youtube.com/watch?v=BZmuV0D1TZc ทุ่งนาแดนนี้ไม่มีความหมาย เหลือเพียงกลิ่นโคลนสาบควาย เห็นซากคันไถแล้วเศร้า เห็นนาที่ร้างนั้นมีแต่ฟางแทนรวงข้าว เห็นเคียวที่เกี่ยวติดเสา เล่นเอาใจเราสะท้อน ทุ่งนาแดนนี้ข้าเคยไถทา สองมือข้าเคยหว่านดา ฤดูฝนพราหน้าก่อน แต่มาปีนี้ฤดีข้าแสนจะสะท้อน เพราะมาไร้คู่กอดเคียงหมอน ทิ้งให้เรานอนระกา


รอยไถเอยข้าเคยไถหว่าน เดี๋ยวนี้เจ้ามาทิ้งจาก ถากให้เป็นรอยไถช้า เจอรอยไถใหม่ ทิ้งรอยไถเก่าระกา อกใคร ใครบ้างไม่ช้า เมื่อยามเห็นรอยไถแปร ทุ่งนาแดนนี้คงร้างไปอีกนาน ข้าเองก็เหลือจะทาน เพราะมันแสนสุดจะแก้ หมดกาลังใจแล้วเรียมเอ๋ยข้าคงตายแน่ ถ้าไถไปอีกก็กลัวแพ้ เพราะรอยมันแปรเสียแล้วเรียมเอย ทุ่งนาแดนนี้คงร้างไปอีกนาน ข้าเองก็เหลือจะทาน เพราะมันแสนสุดจะแก้ หมดกาลังใจแล้วเรียมเอ๋ยข้าคงตายแน่ ถ้าไถไปอีกก็กลัวแพ้ เพราะรอยมันแปรเสียแล้วเรียมเอย เพลง “Oh, Susanna” http://www.youtube.com/watch?v=x59_Tdw_XTc I come from Alabama with a banjo on my knee I'm going to Louisiana, My true love for to see. It rained all night the day I left The weather it was dry The sun so hot, I froze to death Susannah, don't you cry. ** Oh, Susannah, Oh don't you cry for me For I come from Alabama with a banjo on my knee. แต่เมื่อมีความต้องการด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ผู้คนจึงอพยพออกจากชนบท ทาให้มีกระบวนการเกิดเป็นชุมชนเมือง (urbanization) ดนตรีประเภทนี้จึง หลั่งไหลเข้าสู่โรงงานและเมืองต่างๆ ในช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มีความกลัวว่าการดาเนินชีวิตตามอย่างสังคมยุคใหม่ นั้นจะทาให้ผู้คนละทิ้ง วัฒนธรรมและประเพณีเดิม จึงมีการรณรงค์ให้รักษาเพลงประเภทนี้ไว้ เพลงประเภทนี้จึงได้รับความนิยมขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่ านี่คือ popular song ของ ศตวรรษที่ 20 เช่นเดียวกันกับการเต้นราพื้นเมือง (folk dance) ซึ่งได้พัฒนาตัวของมันเองให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในยุคนี้ เราจึงไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าบทเพลง ประเภทนี้จะพัฒนาไปในรูปแบบใด 4. เพลงสากลนิยม (popular song) หรือเรียกสั้นๆว่า pop song ตามความหมายเดิมคือ การแสดงดนตรีเพื่อผู้ฟังจานวนมาก แต่ความหมายในปัจจุบันคือ ดนตรีที่เป็น non-classical music มีแบบฟอร์มของเพลง (form of songs) มีกลุ่มศิลปินที่เรารู้จักกันดีคือ the Beatles, the Rolling Stones, Abba วงดนตรีเหล่านี้ มักประกอบด้วย นักร้อง (singers) นักกีตาร์ (guitars) มือกลอง (drummers) คีย์บอร์ด (keyboards) กลุ่มผู้ฟังดนตรีประเภทนี้มักเป็นคนหนุ่มสาว เป็นเพลงที่คน


ทั่วไปนิยมฟังหรือร้อง (mass appeal) เพราะมีลีลาทานองที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน สนุกสนาน นิยามของเพลงสากลนิยมกับเพลงคลาสสิก (classical music) โดยที่ เพลงคลาสสิกค่อนข้างจริงจัง (serious) เคร่งครัด เข้าใจยาก ฟังยาก ดนตรี pop music หลายประเภทที่มีอิทธิพลต่อดนตรีในยุคต่อมา ตั้งแต่ jazz และ folk ไปจนถึง rock และ reggae “Imagine” http://www.youtube.com/watch?v=OY0COX0gcyw “Hey Jude” http://www.youtube.com/watch?v=eDdI7GhZSQA “รักคุณเข้าแล้ว” http://www.youtube.com/watch?v=xJmliqeR5AQ http://www.youtube.com/watch?v=dEj4J9VX_XQ http://www.youtube.com/watch?v=HWN3Ovjah2A 5. เพลงนมัสการ (hymns) หมายถึงบทเพลงใดๆที่มีความเหมาะสม สอดคล้อง และตั้งอยู่บนพื้นฐานทางคริสตศาสนศาสตร์ที่ถูกต้อง เพื่อประชากรใช้ร้อง ในการนมัสการพระเจ้าอันเป็นการแสดงออกถึงสรรเสริญพระเจ้าเป็นสาคัญ เพลงนมัสการประกอบด้วยคุณลักษณะที่โดดเด่น 3 ประการ ดังนี้ 5.1 บทเพลงสะท้อนถึงพระวจนะของพระเจ้า เนื่องจากเพลงนมัสการทุกบทแต่งขึ้นโดยมีพระวจนะของพระเจ้าเป็นพื้นฐาน (scripture-based) คือ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคริสตศาสนศาสตร์ การศึ กษาความหมายของเพลงนมัสการช่วยให้เข้าใจในเนื้อหาของบทเพลง เพลงนมัสการจึง มีเนื้อหาสาระของคริสเตียน ศึกษา กล่าวคือ เป็นสื่อสาคัญที่ใช้ถ่ายทอดพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าได้เป็นอย่างดีนอกเหนือจากการเทศนา ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสอนด้านคริสเตียน ศึกษาที่ใช้กันทั่วไป 5.2 บทเพลงแสดงถึงการนาพระวจนะของพระเจ้ามาประยุกต์ใช้ในชีวิต เพลงนมัสการเขียนขึ้นจากประสบการณ์ชีวิตของผู้ประพันธ์ เป็นการสะท้อน ความเชื่อ ความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าที่ผู้ประพันธ์ได้รับด้ว ยตนเอง เพลงนมัสการจึงเป็นดัง คาพยานชีวิต (life testimony) ที่ผู้ประพันธ์ได้ยืนยันผ่านทางบทเพลง ของตนเอง การศึกษาประวัติความเป็นมาของเพลงนมัสการอย่างละเอียดจะทาให้ทราบถึงแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง ตลอดจนประวัติความเป็นม าของบท เพลง ประวัติผู้ประพันธ์ และพระวจนะของพระเจ้าที่ปรากฏอยู่ในรูปของบทเพลง 5.3 บทเพลงมีความเป็นสากลในวิธีการเรียนการสอน (universal teaching method) หมายถึง การเป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เนื่องจาก เพลงนมัสการประกอบด้วยเนื้อร้องที่เป็นสัจธรรมของพระเป็นเจ้าที่ถูกถ่ายทอดโดยผู้ประพันธ์ ซึ่งมีการแต่งขึ้นโดยใช้กลการประพันธ์ (poetic devices) ที่มีรูปแบบ การใช้คาพยางค์ (metrical pattern) และรูปแบบการสัมผัสเสียง (rhyme scheme) ที่เป็นสากลและประกอบด้วยทานองดนตรีที่สามารถเล่นและร้องได้เป็นทานอง เดียวกันทั่วโลก กล่าวคือไม่ว่าเนื้อร้องจะถูกแปลให้เป็นภาษาใดๆก็ตามผู้เล่นดนตรีและผู้ร้องสามารถเล่นและร้องได้เป็นทานองเดียวกันทั่วโลก เพลง


นมัสการจึงเป็นสื่อการเรียนการสอนคริสเตียนศึกษาที่ทั่วโลกสามารถนาไปใช้ได้ ถือได้ว่าเพลงนมัสการเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของความเป็ นเอกภาพในบรรดา คริสตศาสนิกชน จากคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นสามารถกล่าวได้ว่า เพลงนมัสการเป็นได้ทั้งเนื้อหาสาระ (text, content) และเป็นได้ทั้งวิธีการเรียนการสอน (teaching-method) คริสเตียนศึกษา ดังนั้นเพลงนมัสการจึงมีคุณประโยชน์กับวิถีชีวิตของคริสตชนหรือคนทั่วโลกที่ได้มีโอกาสและทาความเข้าใจอย่างถ่ องแท้ใน เนื้อหาและความเป็นมาของบทเพลงนมัสการ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัยความเป็นอมตะของเพลงนมัสการก็ยังคงดารงอยู่ เพราะเพลงแต่ละบทเต็มไปด้วยพลังหนุนใจ เสริมสร้างความหวัง กาลังใจ ความชื่นชมยินดี เปี่ยมด้วยพระพร เป็นบทเพลงที่มีชีวิตชีวาและสร้างสรรค์ แตกต่างกับเพลงสากลนิยมทั่วไปที่อาจมีเนื้อหาทั้งทางบวก และทางลบ โดยที่อาจทาให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้า หม่นหมอง สิ้นหวัง โกรธ หรือเคียดแค้นไปตามอารมณ์เพลง แต่เพลงนมัสการกลับช่วยให้อารมณ์ ที่ไม่พึงปรารถนา ดังกล่าวเหล่านี้หมดสิ้นไป เกิดพลังทางจิตวิญญาณเข้มแข็งขึ้นแทนที่ เกิดความเชื่อและศรัทธาในองค์พระผู้เป็นเจ้าและมองเห็นแนวทางที่จะดาเนินชีวิตอยู่ต่อไป ภายใต้การทรงนาของพระองค์ เพลงนมัสการกับสุขภาพ ปัจจุบันเป็นยุคแห่งการปฏิรูป ซึ่งทุกด้านนั้นล้วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อชีวิตและสุขภาพทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูป เศรษฐกิจ สังคม การจัด ระเบียบสังคม การปฏิรูปศาสนา การปฏิรูประบบสุขภาพ และการปฏิรูประบบสาธารณสุข ปัจจุบันนี้ แนวคิดและการปฏิบัติในเรื่องสุขภาพมีกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (paradigm shift) กล่าวคือ แต่เดิมนั้นเรามักคิดถึงเรื่องของสุขภาพ ว่าเป็นเรื่องของการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น สุขภาพดีคือการไม่มีโรค เมื่อคิดอย่างนี้แล้วการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพจึงมุ่งเน้นที่การรักษาโรค การป้องกันสุขภาพ ก็เป็นเรื่องการป้องกันโรคเท่านั้น แต่ในปัจจุบันความหมายของสุขภาพได้เปลี่ยนไป องค์การอนามัยโลก (World Health Organization / WHO) ได้ให้นิยามใหม่ของคาว่าสุขภาพ หมายถึงภาวะที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ไม่เพียงแต่การปราศจากโรคเท่านั้น กระบวนทัศน์ดังกล่าวทาให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านสาธารณสุขของประเ ทศต่างๆทั่ว โลก ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน มีคณะกรรมการทางานอยู่หลายชุดเกี่ยวกับนโยบายและระบบสุขภาพ มีสานักงานวิจัยระบบสาธารสุข (สวรส.) สานักงานปฏิรูประบบสาธารณสุข (สปรส.) สานักงานป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ คณะทางานเกี่ยวกับพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งได้ กาหนดคานิยามเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของคนไทยขึ้นมาเพื่อให้เป็นแนวทางในการกาหนดนโยบายและการจัดระบบสุขภาพ


สุขภาพ (Health) ตามคานิยามในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติหมายถึงสุขภาวะ 4 มิติด้วยกัน คือ 1. สุขภาวะทางกาย (physical well-being) : ปราศจากโรค ภัย ไข้ เจ็บ สามารถทาหน้าที่ทางร่างกายได้เต็มตามสมรรถนะและศักยภาพแห่งตน 2. สุขภาวะทางอารมณ์ (emotional well-being) : มีความมั่นคงในอารมณ์ สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ปรับตัวได้ 3. สุขภาวะทางสังคม (social well-being) : การมีครอบครัวดี การมีสัมพันธภาพทางสังคมดี มีหน้าที่การงาน มีเศรษฐกิจพอเพียง ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีหลักประกันสุขภาพที่ดีและมั่นคง มีระบบการเมืองที่ดี มีการศึกษาและมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และ พึ่งตนเองได้ 4. สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (spiritual well-being) : มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีคุณค่าในตนเอง ซึ่งเกิดจากการรับรู้ว่าตนเป็น คนดี กระทาแต่ความดี อยู่ในสายพระเนตรของพระเจ้า มีชีวิตที่ติดสนิทกับพระเจ้า เรียกว่า มีความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณ การปฏิรูปใดๆก็ตามล้วนมุ่งสู่การมีสุขภาพที่ดีของประชาชน หากจะพิจารณามิติทั้งสี่อย่างของสุขภาพจะเห็นได้ว่าศาสนามีความสาคัญ ยิ่งต่อสุขภาวะ ทางจิตวิญญาณซึ่งมีผลต่อสุขภาพองค์รวม ด้วยคุณลักษณะและคุณสมบัติของบทเพลงนมัสการ (hymns) ซึ่งมีพระวจนะของพระเจ้าเป็นพื้นฐาน การร้องเพลงนมัสการร่วมกัน การที่ได้อ่านเนื้อเพลงซึ่ง มีคาหนุนใจ มีความหวัง ความชื่นชมยินดี ก่อให้เกิดพลังใจ และเกิดความมั่ นใจในพระสัญญาของพระเจ้า จะช่วยเสริมสร้างชีวิตของเราทุกคนให้ถึงซึ่งความมีสุข ภาวะที่ครบถ้วนทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และความผาสุกทางจิตวิญญาณ จึงหวังว่าบทเพลงนมัสการนั้นจะเปล่งออกมาจากชีวิตจิตวิญญาณของท่านทั้งหลายทุกคน และขอพระเป็นเจ้าประทานพรให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ตลอดไป อาเมน



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.