ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า by (Misty Chorus Faith Mission)

Page 1

ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า (Congregational Singing)


ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า (Congregational Singing) วิศรุต จินดารัตน์ หลังจากที่ได้ร่วมนมัสการพระเจ้าตามคริสตจักรต่างๆมาเป็นเวลาพอสมควร สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือการ ร้องเพลงทั้งที่เรียกว่า “เพลงสั้น ” ซึ่งเป็นการเตรียมใจประชากรของพระเจ้าเข้าสู่การนมัสการ หรือ เพลง นมัสการที่ใช้เป็นประจานั้น พบว่ามีผู้ร้องเพลงเพียงไม่กี่คนที่เหลือดูเหมือนนั่งสงบนิ่งอยู่ แม้จานวนประชากร ที่มานมัสการจะมากมายเพียงใดแต่ดูเหมือนว่ามีคนอยู่เพียงไม่กี่กลุ่มที่ร้องเพลงและร้องไม่ค่อยเต็มเสียงนัก ขาดชีวิตชีวา (the singing lackluster) ทั้งที่บทเพลงและดนตรีนั้นอยู่คู่กับการนมัสการมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการร้องเพลงนั้นน่าจะเกิดขึ้นก่อนการทรงสร้างมนุษย์เสียอีก เห็นได้จากกรณีบรรดาทูตของพระเป็น เจ้าได้ร้องเพลงด้วยความชื่นชมยินดีในระหว่างหกวันแห่งการทรงสร้าง พระธรรมโยบ 38:4-7 “เจ้าอยู่ที่ไหน เมื่อเราวางรากฐานของแผ่นดินโลก บอกมาเลย ถ้าเจ้ามีความ เข้าใจ ผู้ใดได้กาหนดขนาดให้โลก แน่นอนละ เจ้าต้องรู้ซี หรือผู้ใดขึงเชือกวัดบนนั้น รากฐานของโลกจมไปอยู่ บนอะไร ผู้ใดวางศิลาเอกของมัน เมื่อเหล่าดาวรุ่งแซ่ซ้องสรรเสริญ และบรรดาบุตรพระเจ้าโห่ร้องด้วยความ ชื่นบาน” เหตุที่ประชากรที่มานมัสการโดยส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะร้องเพลง พวกเขาคงให้ความร่วมมือในการเปิด หนังสือเพลงแล้วก้มหน้าก้มตาดูเนื้อร้อง หรือหากเป็นเพลงที่คณะอนุชนเป็นผู้นาก็ดูเหมือนจะมีช่องว่างห่าง ออกไปอีก เพราะบรรดานักร้องและนักดนตรีและเสียงร้องของผู้นาต่างไม่มีใครยอมใคร เมื่อกลองตีดังบรรดา กีตาร์และคนร้องต่างถูกกระตุ้นให้ใช้ความดังแข่งกัน ผลที่ตามมาคือบรรดาผู้ที่มานมัสการต่างเป็นผู้ฟังที่ดีคือ นิ่งเงียบอยู่ ที่เป็นดังนี้ก็น่าจะมาสาเหตุต่างๆดังต่อไปนี้ 1. ผู้นาเลือกบทเพลงที่ไม่มีใครรู้จัก เป็นเพลงที่ไม่คุ้นหู ลีลาทานองไม่น่าร้อง ขาดความเชื่อมโยงในแต่ ละวรรคแต่ละท่อนร้องตามยากเพราะทานองที่กระโดดขึ้นลง ดังนั้นพวกเขาจึงนั่งเฉยปล่อยบรรดาผู้นาร้อง เพลงเองเหมือนกาลังแสดงคอนเสิร์ต 2. จานวนผู้ที่อยู่ในสถานนมัสการมีน้อยเกินไป เช่นห้องประชุมหรืออาคารที่ความจุถึงหนึ่งพันคนแต่มี ผู้มานมัสการเพียงเจ็ดสิบหรือแปดสิบคน ทาให้เสียงร้องไม่หนักแน่น ฟังแล้วหลวม ประชากรจึงหมดอารมณ์ใน การร้อง 3. ผู้น าขาดบุคลิกในการน า ยืนแข็งทื่อเหมือนเสาไฟฟ้า ขาดการจูงใจผู้มานมัสการให้ร่ว มร้องไป ด้วยกัน 4. ใช้เพลงที่ค่อนข้างใหม่มานาเสนอ ทาให้ผู้ที่มานมัสการต้องพยายามจดจา แต่ขณะเดียวกันผู้นาก็ สอนไม่เป็นจึงเปลี่ยนเพลงหรือขึ้นเพลงต่อไปอย่างรวดเร็วทาให้สมาชิกร้องตามไม่ทัน เกิดความเบื่อหน่าย จึง นั่งเฉยอยู่


5. ความเคยชินกับการดูคอนเสิร์ต มีการถ่ายทอดการแสดงดนตรีและร้องเพลงผ่านสื่อทางโทรทัศน์ อย่างมากมาย ภาพของนักร้องนักดนตรีที่ออกมาสร้างความบันเทิงแก่ผู้ชมนั้นฝังลึกในจิตใจของผู้ชม เมื่อมา นมัสการและเห็นบรรดาผู้นาเพลงก็เผลอคิดไปว่ากาลังนั่งชมการแสดงอยู่ 6. เมื่อผู้มาร่วมนมัสการมองขึ้นไปบนเวทีก็พบว่าผู้เทศนา ผู้นาประชากร และศิษยาภิบาล ไม่ร้อง เพลง ทุกคนลืมระลึกถึงพระคุณของพระเป็นเจ้า พระองค์สมควรแก่การสรรเสริญ การร้องเพลงเป็นการ แสดงออกซึ่งการสรรเสริญพระเจ้าด้วยสานึกในพระคุณของพระองค์ พระธรรมสดุดี 150:6 “จงให้ทุกสิ่งที่หายใจได้สรรเสริญพระเจ้าเถิด” สิ่งที่กาลังเกิดขึ้นในหลายคริสตจักรก็คือการไม่ให้ความสาคัญกับการร้องเพลงแต่เน้ นไปที่การเล่น ดนตรีมากกว่า เสียงร้องเพลงสรรเสริญจึงเปล่งออกมาเพียงครึ่งเดียวเหมือนไร้ชีวิตชีวา ในความเป็นจริงแม้มีผู้ มานมัสการไม่มากแต่หากทุกคนจะร้องเพลงออกมาจากชีวิตจิตใจจากจิตวิญญาณก็เป็นการถวายพระเกียรติแด่ พระเจ้าอย่างสุดกาลังความสามารถ เพื่อให้ประชากรของพระเจ้าได้กลับมาร้องเพลงสรรเสริญพระองค์อย่างแท้จริงอีกครั้งหนึ่ง การพลิก ฟื้นดนตรีการร้องเพลงในการนมัสการจึงเป็นสิ่งที่ควรลงมือทาเสียตั้งแต่วันนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับบรรดา สมาชิกที่มาร่วมนมัสการให้ตระหนักถึงพันธะที่ตนเองรับผิดชอบคือการร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระ เจ้า และสร้างความมั่นใจในการร้องเพลงถวายพระองค์ด้วยชีวิตจิตใจของตน (to ensure congregational singing) การสร้ า งความตระหนั ก แก่ม วลสมาชิก จึ งควรเริ่ มวางรากฐานโดยสอนให้ รู้ ถึง ความเป็ น มาและ ความหมายของเพลงนมัส การบทนั้ น ว่ามี ที่มาอย่างไร แรงบั นดาลใจของผู้ ประพันธ์เ กิดจากสิ่ ง ใด อีกทั้ ง ความหมายของบทประพันธ์เป็นอย่างไร ผู้ประพันธ์ใช้พระวจนะของพระเจ้าข้อใดเป็นพื้นฐานและได้สอดใส่สัจ ธรรมของคริสเตียนเพื่อเป็นแนวทางดาเนินชีวิตของเราอย่างไร เมื่อสมาชิกเข้าใจในความหมายและที่มาของ บทเพลงจะทาให้เกิดความรู้สึกกระตือรือร้นในการร้องสรรเสริญพระเจ้าร่วมกัน ความสาคัญของการร้องเพลง นมัสการมีดังต่อไปนี้ 1. บทเพลงนมัสการมีพระวจนะของพระเจ้าเป็นพื้นฐานในการประพันธ์ (Bible-based) เมื่อร้องเพลง นมัสการทาให้ได้รับพระวจนะของพระเจ้าเข้าไปในชีวิต ยิ่งจดจาบทเพลงนมัสการได้ก็เท่ากับว่ามีพระวจนะที่ พกพาติดตัวไปกับเราทุกหนแห่ง (portable scriptures) ตัวอย่างจากเพลงไทยนมัสการบทที่ 179 ข้อ 2 และ 3 ที่นามาจากพระธรรมอิสยาห์บทที่ 41:10 และ 43:2 แทบทุกตัวอักษร


พระคัมภีร์ “อย่ากลัวเลย เพราะเราอยู่กับเจ้า อย่าขยาด เพราะเราเป็นพระเจ้าของเจ้า เราจะหนุนกาลังเจ้า เออ เราจะช่วยเจ้า เออ เราจะชูเจ้าด้วยมือขวาอันมีชัยของเรา” (พระธรรมอิสยาห์ 41:10)

เพลงนมัสการ อย่ากลัวสิ่งใดเลย เราอยู่ด้วยกับพวกเจ้า เพราะเราเป็นพระเจ้า ผู้เลี้ยงดูและโปรดปราน จะช่วยให้มีแรง และเข้มแข็งอดทนนาน ประคองดวงวิญญาณด้วยความรักและฤทธี (ไทยนมัสการบทที1่ 79 ข้อ 2)

เมื่อเจ้าลุยข้ามน้าเราจะอยู่กับเจ้า เมือ่ ข้ามแม่น้า น้าจะไม่ท่วมเจ้า เมื่อเจ้าลุยไฟ เจ้าจะไม่ไหม้ และเปลวเพลิงจะไม่เผาผลาญเจ้า (พระธรรมอิสยาห์ 43:2)

เมื่อเราบอกให้เจ้าเดินทางข้ามแม่น้าไป สายน้าเชี่ยวเพียงใดจะไม่ทาให้เหนื่อยอ่อน เพราะเมื่อเราไปด้วย ความลาบากกลับเป็นพร บันดาลความกังวลและทุกข์ร้อนให้มลาย (ไทยนมัสการบทที่ 179 ข้อ 3)

2. บทเพลงนมั ส การมี ก ฎเกณฑ์ แ ละหลั ก การด าเนิ น ชี วิ ต ที่ ต้ อ งน าไปประพฤติ ป ฏิ บั ติ (Biblical principle) ผู้ประพันธ์ได้นาพระวจนะของพระเจ้ามาเป็นพื้นฐานในการเขียน ฉะนั้นบทเพลงนั้นจึงมีจุดยืน ทางศาสนศาสตร์ที่มาจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ ท่านอัครทูตเปาโลได้กาชับให้คริสตจักรในเมืองฟิลิปปีร้อง เพลงนมัสการถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า พระธรรมเอเฟซัส 5:19 “จงปราศรัยกันด้วยเพลงสดุดี เพลงนมัสการ และเพลงฝ่ายจิตวิญญาณ คือ ร้องเพลงและสดุดีจากใจของพวกท่านถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า” การร้องเพลงนมัสการยังเป็นการแสดงความขอบพระคุณต่อพระเป็นเจ้าจากใจของเรา อีกทั้งเป็นการ สอนและเตือนสติซึ่งกันและกันด้วยบทเพลง พระธรรมโคโลสี 3:16 “จงให้พระวจนะของพระคริสต์อยู่ในพวกท่านอย่างบริบูรณ์ จงสั่งสอนและ เตื อ นสติ ด้ ว ยด้ ว ยปั ญ ญาทั้ ง สิ้ น จงร้ อ งเพลงสดุ ดี เพลงนมั ส การ และเพลงฝ่ า ยจิ ต วิ ญ ญาณด้ ว ยการ ขอบพระคุณพระเจ้าในใจของท่าน” เมื่อเข้าใจความสาคัญของการร้องเพลงนมัสการแล้วในฐานะประชากรของพระเจ้าที่มานมัส การ พระองค์ควรจะร้องเพลงสรรเสริญด้วยทัศนคติอย่างไร ประการแรก : ร้องเพลงนมัสการด้วยความเข้าใจ เมื่อเข้าใจในความหมายของบทเพลงที่มีเนื้อหาแสดงถึงการสรรเสริญพระเจ้ า อีกทั้งยังมีคาสอนที่เรา สามารถนาไปประพฤติปฏิบัติได้ การร้องเพลงนมัสการของบรรดาสมาชิกจึงจะเป็นเสียงร้องที่มาจากความรู้สึก ซาบซึ้งและเข้าถึงสัจธรรมของบทเพลงนั้นอย่างถ่องแท้ เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น พระธรรม 1 โครินธ์ 14:15 “...ข้าพเจ้าจะอธิษฐานด้วยจิตวิ ญญาณและด้วยความคิด และจะร้อง เพลงด้วยจิตวิญญาณและด้วยความคิด”


ประการที่สอง : ร้องเพลงนมัสการด้วยหัวใจ บทเพลงประกอบด้วยท่วงทานองและเนื้อร้อง อีกทั้งมีที่มาและแรงบันดาลใจของผู้ประพันธ์ในการ เขียนขึ้น ดังนั้นเมื่อทาความเข้าใจในภาษาที่ประพันธ์ไว้อีกทั้งรู้สึกถึง อารมณ์และความหมายคริสตชนจึงควร ร้องเพลงด้วยความรู้สึกที่แท้จริงจากใจไม่ใช่ร้องแบบขอไปทีหรือสักแต่ว่าร้อง แต่เป็นการร้องด้วยใจจริงเห็น คุณค่าของบทเพลงนั้นๆ ใส่อารมณ์ความรู้สึกลงไปในการร้องของท่าน เป็นเสียงร้องที่มาจากใจ พระธรรมเอเฟซัส 5:19 “จงปราศรัยกันด้วยเพลงสดุดี เพลงนมัสการ และเพลงฝ่ายจิตวิญญาณ คือ ร้องเพลงและสดุดีจากใจของพวกท่านถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า” ประการที่สาม : ร้องเพลงนมัสการด้วยเต็มพลังเสียง การร้องเพลงที่ถูกต้องคือการเปล่งเสียงออกมาเต็มเสียง ไม่ร้องอู้อี้อยู่ในลาคอฟังแทบไม่เป็นเสียง แต่ ร้องด้วยเสียงที่มีพลัง เปล่งเสียงจากท้องผ่านลาคอให้เสียงกลมน่าฟัง และเปิดปากกว้าง พระธรรมสดุ ดี 51:15 “ข้าแต่องค์เจ้านาย ขอทรงเบิกริ มฝีปากของข้า พระองค์ และปากข้า พระองค์จะประกาศการสรรเสริญพระองค์” ถ้าไม่เปิดปากกว้างก็จะไม่เกิดเสียงดัง คือเสียงอยู่ในลาคอ หากเป็นการสอนหรื อเตือนสติคนที่ฟังอยู่ ย่อมจะไม่ได้ยินสิ่งที่ตนเองพูด พระธรรมโคโลสี 3:16 “จงให้พระวาทะของพระคริสต์ดารงอยู่ในตัวท่านอย่างบริบูรณ์ จงสั่งสอนและ เตื อ นสติ ด้ ว ยด้ ว ยปั ญ ญาทั้ ง สิ้ น จงร้ อ งเพลงสดุ ดี เพลงนมั ส การ และเพลงฝ่ า ยจิ ต วิ ญ ญาณด้ ว ยการ ขอบพระคุณพระเจ้าในใจของท่าน” การร้องเพลงนมัสการด้วยความเข้าใจด้วยหัวใจและด้วยเต็มพลังเสียงจะทาให้การนมัสการนั้นเป็นที่ ถวายพระเกียรติยศแด่พระเป็นเจ้าในที่สูงสุด ประชากรของพระเจ้า จงร้องเพลงสรรเสริญพระองค์เถิด



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.