ดนตรีกับการนมัสการในสมัยพันธสัญญาใหม่ by (Misty Chorus Faith Mission)

Page 1

ดนตรีกับการนมัสการในสมัยพันธสัญญาใหม่ (Music and Worship in the New Testament)


ดนตรีกับการนมัสการในสมัยพันธสัญญาใหม่ (Music and Worship in the New Testament) วิศรุต จินดารัตน์ สมั ยพั น ธสั ญ ญาเดิ ม บทบาทดนตรี ในการนมั ส การพระเจ้ านั้ นดู ยิ่ ง ใหญ่ อ ลัง การ เป็น ไปตาม ขั้นตอนของศาสนพิธีอย่างเคร่งครัดถูกต้องตามบทบัญญัติของพระเป็นเจ้า มีคณะนักร้องและคณะนัก ดนตรีที่เล่นเป็นจานวนมาก โดยคัดเลือกจากตระกูลที่กาหนดไว้จากบรรดาคนที่มีฝีมือเพื่อบรรเลงในพระ วิหารให้ เ ป็นที่ถ วายพระเกียรติ ยศแด่พ ระเป็น เจ้ าอย่า งสูง สุด รูปแบบและกฎเกณฑ์ข องดนตรีกับการ นมั ส การในสมั ย พันธสั ญ ญาเดิม จะมี ค วามเหมื อนหรือ แตกต่า งจากสมั ยพั นธสั ญญาใหม่ อย่ างไรนั้ น บทความนี้จะวิเคราะห์สิ่งที่ต้องการศึกษาพอสังเขปดังนี้ พระธรรมยอห์น 4:23 “แต่วาระนั้นใกล้เข้ามาแล้ว และบัดนี้ก็ถึงแล้ว คือเมื่ อ คนที่นมั สการ อย่างแท้จริงจะนมัสการพระบิดาด้วยจิตวิญญาณและความจริง” พระดารัสขององค์พระเยซูคริสต์กล่าวถึง “ผู้ที่นมัสการอย่างแท้จริง” (true worship) จะนมัสการ พระเจ้าพระบิดาด้วยจิตวิญญาณ (in spirit) และด้วยความจริง (and truth) ซึ่งมีความหมายว่าผู้ที่นมัสการ พระเป็นเจ้าอย่างถูกต้องนั้นเขาอาจอยู่ในที่ต่างๆกันทั่วโลกแต่เป็นผู้ที่นมัสการโดยพระวิญญาณของพระ เจ้า ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ท่านอัครทูตเปาโลได้เขียนไว้ใน พระธรรมฟิลิปปี 3:3 “เพราะว่าเราต่างหากที่เป็นพวกเข้าสุหนัต เป็นพวกที่ นมัสการโดยพระ วิญญาณของพระเจ้า องค์พระเยซูคริสต์...” องค์พระเยซูคริสต์ทรงให้ความหมายของ “ผู้ที่นมัสการอย่างแท้จริง” คือผู้ที่มีทัศนคติที่ถูกต้อง การ นมัสการไม่จาเป็นว่าจะต้องยึดสถานที่นมัสการเป็นสิ่งสาคัญที่สุด แต่ เน้นไปที่จิตใจของผู้ที่นมัสการ เป็นสาคัญ ทั้งนี้ก็เพราะพระเจ้าทรงเป็นพระวิญญาณ ผู้ที่ไม่ถูกจากัดด้วยวันเวลาและสถานที่ ทรงสถิตอยู่ ทั่วทุกหนแห่ง (omnipresent) เมื่อนมัสการพระองค์ที่ใดก็ตามพระองค์ทรงประทับอยู่ที่นั่นด้วย ดังนั้นการ นมัสการที่ถูกต้องจึงต้องกระทาด้วยจิตวิญญาณและความจริง พระธรรมยอห์ น 4:24 “พระเจ้ า เป็ น พระวิ ญ ญาณ และคนที่ น มั ส การพระองค์ จ ะต้ อ ง นมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริง” เมื่อองค์พระเยซูคริสต์เสด็จมาในสภาพของพระบุตรจึงทาให้การนมัสการเปลี่ ยนจากที่เคยยึดเอา สถานนมัสการเป็นตัวตั้ง เป็นการนมัสการด้วยทัศนคติที่ถูกต้อง ด้วยความจริงใจของผู้ที่นมัสการ อีก ทั้งใช่ว่าการนมัสการรูปแบบใดจะเป็นที่พอพระทัยพระเป็นเจ้าไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้ย่อมมีเพียงการนมัสการ ที่ถูกต้องเท่านั้นจึงเป็นที่ยอมรับในสายพระเนตรของพระเจ้า ก่อนอื่นควรทาความเข้าใจกับ “การนมัสการที่ แท้จริง” (true worship) คืออะไร


ความหมายของ “การนมัสการที่แท้จริง” ตามที่องค์พระเยซูคริสต์ทรงตรัสสอนนั้น ผู้ที่นมัสการ จะต้องมีทัศนคติ มีท่าทีในการนมัสการด้วยจิตวิญญาณ (in spirit) และด้วยความจริง (and truth) ซึ่ง แตกต่างจากความเชื่อของบรรพชนที่บอกว่าสถานนมัสการพระเจ้าต้องอยู่บนภูเขาลูกนี้เท่านั้น หรือคนยิว อาจบอกว่าต้องที่กรุงเยรูซาเล็มเท่านั้นจึงจะเป็นการนมัสการที่แท้จริง องค์พระเยซูคริสต์ทรงตรัสว่า “วาระ นั้ น ใกล้ เ ข้ า มาแล้ ว และบั ด นี้ ก็ ม าถึ ง แล้ ว ” นั่ น ก็ ห มายความว่ า การที่ จ ะนมั ส การในสถานที่ ใ ดไม่ มี ความสาคัญอีกต่อไป ต่างจากสมัยพันธสัญญาเดิมที่เน้นเรื่องสถานนมัสการ เน้นกฎระเบียบ เน้นสิ่งที่เป็น วั ต ถุ จั บ ต้ อ งได้ เน้ น ความยิ่ ง ใหญ่ ที่ สั ม ผั ส ได้ ด้ ว ยตาสามารถมองเห็ น แต่ ก ารนมั ส การที่ แ ท้ จ ริ ง ตาม ความหมายของพระเยซู ค ริส ต์คื อ การนมั ส การที่ ม าจากจิ ตวิ ญญาณและความจริง ต่ างจากการ นมัสการที่เน้นเพียงด้านกายภาพ เน้นการตอบสนองของเนื้อหนัง ความแตกต่างระหว่างการนมัสการในสมัยพันธสัญญาเดิมกับการนมัสการในสมัยพันธสัญญา ใหม่ ตามที่ปรากฏใน พระธรรมฮีบรู 9:1-14 “แม้พันธสัญญาเดิมนั้น ก็มีกฎในการนมัสการ และมีโลกียศักดิ์สิทธิสถาน เพราว่าได้มีเต็นท์กางขึ้นตกแต่งเสร็จแล้วคือห้องชั้นนอก ซึ่งมีคันประทีป โต๊ะ และขนมปังหน้าพระพักตร์ ห้องนี้เรียกว่า วิสุทธิสถาน มีแท่นทองคาสาหรับเผาเครื่องหอม และมีหีบหุ้มด้วยทองคาทุกด้าน สาหรับ บรรจุพันธสัญญา ภายในหีบนั้น มีโถทองคาใส่มานา และมีไม้เท้าของอาโรนที่ออกดอกตูม และมีศิลาสอง แผ่นจารึกพันธสัญญา และเหนือหีบนั้นมีรูปเครูบแห่งพระสิริ คลุมพระที่นั่งพระกรุณานั้น สิ่งเหล่านี้เราจะ พรรณนาให้ละเอียดในที่นี้ไม่ได้ เมื่อจัดตั้งสิ่งเหล่านี้ไว้อย่างนั้นแล้ว พวกปุโรหิตก็เข้าไปในเต็นท์ห้องชั้นนอก ทุกครั้งที่ปฏิบัติกิจวัตร แต่ในห้องที่สองนั้นมีมหาปุโรหิตผู้เดียวเท่านั้นที่เข้าไปได้ปีละครั้ง และต้องนาเลือด เข้าไปถวายเพื่อตัวเอง และเพื่อความผิดโดยไม่เจตนาของประชาชนด้วย เพราะการปฏิบัติอย่างนี้เอง พระ วิญญาณบริสุทธิ์จึงทรงสาแดงว่า ทางซึ่งจะนาเข้าไปในสถานศักดิ์สิทธิ์นั้นจะยังไม่เปิด ในเมื่อเต็นท์ห้อง ชั้นนอกยังตั้งอยู่ (เต็นท์ห้องชั้นนอกเป็นเครื่องหมายแห่งยุคปัจจุบัน) การถวายของกานัลและเครื่องบูชา ซึ่ง จะกระทากันตามแบบนี้ ไม่ชาระใจสานึกผิดของผู้ถวายนั้น เพราะเป็นเรื่องของกินของดื่ม และพิธีชาระล้าง ต่างๆเท่านั้น เป็นพิธีสาหรับการปฏิบัติทางกายที่ได้บัญญัติไว้ จนกว่าจะถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงใหม่ แต่เมื่อพระคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมหาปุโรหิตแห่งสิ่งประเสริฐซึ่งมาถึงแล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่เต็นท์ อันใหญ่ยิ่งกว่าแต่ก่อน (ที่ไม่ได้สร้างขึ้นด้วยมือ คือไม่ใช่ เต็นท์แห่งโลกนี้) พระองค์เสด็จ เข้าไปในวิสุทธิ สถานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และพระองค์ไม่ได้ทรงนาเลือดแพะและเลือดลูกวัวเข้าไป แต่ทรงนาพระโลหิต ของพระองค์เองเข้าไป และทรงสาเร็จการไถ่บาปชั่วนิรันดร์ เพราะว่าถ้าเลือดแพะและเลือดวัวผู้ และเถ้า ของลูกโคตัวเมียที่ประพรมลงบนคนบาปสามารถชาระมนุษย์ให้บริสุทธิ์ได้ พระโลหิตของพระเยซูคริสต์ ผู้ ได้ทรงถวายพระองค์เองแด่พระเจ้าโดยพระวิญญาณนิรันดร์ ให้เป็นเครื่องบูชาอันปราศจากตาหนิ ก็จะทรง ชาระได้มากยิ่งกว่านั้นสักเพียงใด เพื่อให้จิตใจของคนที่หมกมุ่นในการประพฤติที่นาไปสู่ความตาย หั นไป รับใช้พระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่”


การนมัสการในสมัยพันธสัญญาเดิมจึงประกอบด้วยปัจจัยต่างๆที่เห็นและจับต้องได้ อาทิเช่น มี แท่นบูชา มีเสื้อคลุมของพวกปุโรหิต มีคันประทีป มีแท่นทองคาสาหรับเผาเครื่องหอม มีเครื่องดนตรี มีสัตว์ สาหรับถวายบูชา และอื่นๆอีกมากมายล้วนประจักษ์แก่ตาและจับต้องได้ ซึ่งแตกต่างจากการนมัสการใน สมัยพันธสัญญาใหม่ที่เน้นในเรื่องของจิตวิญญาณมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยของพันธสัญญาเดิม จะ เน้นสถานที่นมัสการว่าต้องเป็นที่กรุงเยรูซาเล็มแต่ในพันธสัญญาใหม่ถือว่าตัวเราทุกคนคือพระวิหารของ พระเจ้า (ไม่เน้นสถานที่) พระธรรม 1 โครินธ์ 3:16 “ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่าท่านเป็นพระวิหารของพระเจ้า และพระ วิญญาณของพระเจ้าสถิตอยู่ในท่าน” พระวิหารนั้นเกิดจากการก่อตัวขึ้นของบรรดาผู้ที่เชื่อในพระองค์รวมตัวกัน พระธรรมเอเฟซัส 2:21-22 “ในพระองค์นั้นทุกส่วนของโครงร่างต่อกันสนิ ท และเจริญขึ้น เป็นวิหารอันบริสุทธิ์ในองค์พระผู้เป็นเจ้า และในพระองค์นั้น ท่านก็กาลังจะถูกก่อขึ้นให้เป็นที่สถิตของ พระเจ้าในฝ่ายพระวิญญาณด้วย” ในสมั ย พันธสั ญ ญาเดิม ปุโรหิตคือคนกลางที่ติดต่อระหว่างมนุษย์กั บพระเจ้ า แต่ในสมั ยพัน ธ สัญญาใหม่ทุกคนเป็นปุโรหิตหลวง พระธรรม 1 เปโตร 2:9 “แต่พวกท่านเป็นพงศ์พันธุ์ที่ทรงเลือกสรรเป็นพวกปุโรหิตหลวง เป็น ชนชาติบริสุทธิ์ เป็นประชากรอันเป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า เพื่อให้พวกท่านประกาศพระเกียรติคุณของ พระองค์ผู้ได้ทรงเรียกพวกท่านให้ออกมาจากความมืด เข้าไปสู่ความสว่างอันมหัศจรรย์ของพระองค์” ร่างกายของเราคือเครื่องบูชาที่มีชีวิตอยู่ พระธรรมโรม 12:1 “ดังนั้น พี่น้องทั้งหลาย โดยเห็นแก่ความเมตตากรุณาของพระเจ้า ข้าพเจ้าจึง วิงวอนท่านทั้งหลายให้ถวายตัวของท่านแด่พระองค์ เพื่อเป็นเครื่องบูชาอันบริสุทธิ์ที่มีชีวิต และเป็น ที่พอพระทัยพระเจ้า ซึ่งเป็นการนมัสการโดยวิญญาณจิตของท่าน” ดนตรีของเราก็คือการสร้างทานองเพลงที่มาจากใจของเราทุกคน (ไม่เน้นเครื่องดนตรีอย่างในสมัย พันธสัญญาเดิม) พระธรรมเอเฟซั ส 5:19 “จงปราศรัย กันด้วยเพลงสดุดี เพลงนมั สการ และเพลงฝ่า ยจิ ต วิญญาณ คือร้องเพลง และสดุดีจากใจของพวกท่านถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า” การนมัสการด้วยจิตวิญญาณจึงหมายถึงการมอบถวายแด่พระเจ้าด้วยความรู้สึกที่แท้จริงมาจาก ใจ เป็นสิ่งที่เน้นย้าในสมัยพันธสัญญาใหม่ซึ่งแตกต่างจากการนมัสการที่เน้นด้านกายภาพ ด้านการดู การ เห็น การสัมผัสภายนอกที่จับต้องได้ในสมัยพันธสัญญาเดิม การนมัสการที่ แท้จริงเป็นการนมัสการที่ถูกต้องคือการที่ผู้นมัสการพระเป็นเจ้ามีทัศนคติต่อการ นมัสการต้องมาจากจิตวิญญาณ ความรู้สึกที่แท้จริงจากใจ และกระทาด้วยความจริง ประเด็นก็คือ การ


นมั ส การด้ ว ยความจริ ง นั้ น เป็ น อย่ า งไร แน่ น อน ค าตอบที่ เ รามั ก ได้ ยิ น ได้ ฟั ง ก็ คื อ การนมั ส การที่ สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า ดังปรากฏใน พระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ 5:32-33 “ฉะนั้นท่านทั้งหลายจงระวังที่จะทาตามที่พระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่านได้ทรงบัญชานั้น อย่าหันไปทางขวาหรือทางซ้ายเลย จงดาเนินตามวิถีทางทั้งสิ้นซึ่งพระ ยาห์เวห์พระเจ้าของท่านได้ทรงบัญชาท่านไว้ เพื่อท่านจะมีชีวิตอยู่และเพื่อจะเป็นการดีต่อท่าน และ ท่านจะมีชีวิตยืนนานอยู่ในแผ่นดินซึ่งท่านจะยึดครองนั้น” องค์พระเยซูคริสต์ทรงยอมรับการนมัสการของชนชาติอิสราเอลเป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะพระเป็นเจ้า ได้เปิดเผยพระองค์แก่พวกเขาตั้งแต่สมัยพันธสัญญาเดิมมาแล้ว ดังนั้นพวกเขาจึงรู้ว่าเขานมัสการถวายแด่ ผู้ใด เขารู้จักพระองค์ผู้ที่เขานมัสการ ดังพระดารัสที่ตรัสกับหญิงชาวสะมาเรียคนนั้น พระธรรมยอห์น 4:22 “สิ่งที่พวกเธอนมัสการนั้นเธอไม่รู้จัก สิ่งที่พวกเรานมัสการนั้นพวก เรารู้จัก เพราะความรอดมาจากพวกยิว” หญิงชาวสะมาเรียไม่รู้จักพระเจ้าที่เธอนมัสการเพราะพระเจ้าไม่ได้เปิดเผยพระองค์เองให้พวก เขารู้อย่างหมดสิ้น ดังนั้น การนมัสการของพวกเขาจึงไม่น่าจะเป็นการนมัสการด้วยความจริง แต่ ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องของการนมัสการที่ถูกหรือผิดแต่เป็นเรื่องของการนมัสการด้วยความจริง (true or real) กับการนมัสการที่เป็นเพียงเงาหรือภาพสะท้อน (shadow) ที่ชี้ไปถึงการนมัสการด้วยความจริง หาก เราย้อนดูจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมก็จะเห็นภาพของการนมัสการที่มีองค์ประกอบ สาคัญๆหลายอย่างที่สื่อให้เราเห็นภาพของการนมัสการที่แท้จริงที่กาลังจะมาถึง ยกตัวอย่างเช่น คาว่า “เต็นท์นัดพบ” (tabernacle) เป็นสถานนมัสการที่ชนชาติอิสราเอลสร้างขึ้นนับตั้งแต่พวกเขาอพยพออก จากแผ่นดินอียิปต์เดินทางเร่ร่อนไปในถิ่นทุรกันดาร เมื่อเขาตั้งค่ายอยู่แห่งใดก็จะเคลื่อนย้ายเต็นท์นัดพบ หรือพลับพลาไว้ตรงกลางเป็นสิ่งที่เตือนให้ระลึกเสมอว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าสถิตกับเขา แต่เมื่อมาถึงยุคพันธ สัญญาใหม่ก็จะเข้าใจได้ว่าคานี้เป็นสัญลักษณ์ชี้ให้เห็นถึงการกระทาดังกล่าวนี้ไม่สามารถชาระสานึกของ ผู้ที่มานมัสการนั้นได้ พระธรรมฮีบรู 9:6-9 “เมื่อจั ดตั้งสิ่งเหล่านี้ไว้อย่างนั้นแล้ว พวกปุโรหิตก็เข้าไปในเต็นท์ห้อง ชั้นนอกทุกครั้งที่ปฏิบัติกิจวัตร แต่ในห้องที่สองนั้นมีมหาปุโรหิตผู้เดียวเท่านั้นที่เข้าไปได้ปีละครั้ง และต้อง นาเลือดเข้าไปถวายเพื่อตัวเอง และเพื่อความผิดโดยไม่เจตนาของประชาชนด้ว ย เพราะการปฏิบัติอย่างนี้ เองพระวิญญาณบริสุทธิ์จึงทรงสาแดงว่า ทางซึ่งจะนาเข้าไปในสถานศักดิ์สิทธิ์นั้นจะยังไม่เปิด ในเมื่อเต็นท์ ชั้นนอกยังตั้งอยู่ (เต็นท์ห้องชั้นนอกเป็นเครื่องหมายแห่งยุคปัจจุบัน) การถวายของกานัลและเครื่องบูชา ซึ่ง จะกระทากันตามแบบนี้ ไม่ชาระใจสานึกผิดของผู้ถวายนั้น” กฎเกณฑ์ต่างๆสาหรับการนมัสการก็เป็นพียงเงาหรือภาพสะท้อนถึงสิ่งที่กาลังจะเกิดขึ้น พระธรรมฮีบรู 9:1 “แม้แต่พันธสัญญาเดิมนั้นก็ยังมีกฎเกณฑ์ต่างๆสาหรับศาสนพิธีและสาหรับ สถานนมัสการในโลก”


เมื่อมาถึงยุคพันธสัญญาใหม่จึงเห็นได้ว่าองค์พระเยซู คริสต์ทรงเป็นเต็นท์นัดพบ เป็นพลับพลา เป็นสถานนมัสการที่แท้จริง พระธรรมฮีบรู 9:11-12,24 “แต่เมื่อพระคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมหาปุโรหิตแห่งสิ่งประเสริฐซึ่งมาถึง แล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่เต็นท์อันใหญ่ยิ่งกว่าแต่ก่อน (ที่ไม่ได้สร้างขึ้นด้วยมือ คือไม่ใช่เต็นท์ แห่งโลก นี้) พระองค์เสด็จเข้าไปในวิสุทธิสถานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และพระองค์ไม่ได้ทรงนาเลือดแพะและเลือด ลูกวัวเข้าไป แต่ทรงนาพระโลหิตของพระองค์เองเข้าไป และทรงสาเร็จการไถ่บาปชั่วนิรันดร์... เพราะว่าพระ คริสต์ไม่ได้เสด็จเข้าในสถานศักดิ์สิทธิ์ซึ่งสร้างขึ้นด้วยมือมนุษย์ อันเป็นแบบจาลองจากของจริง แต่พระองค์ ได้เสด็จไปสวรรค์นั้น เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าเพื่อเราทั้งหลาย” เราจึงเห็นได้ว่าการนมัสการด้วยความจริงนั้นต่างจากการนมัสการที่เป็นเพียงเงาหรือภาพสะท้อน เพราะการนมัสการในสมัยพันธสัญญาเดิมนั้นมุ่งไปยังสิ่งที่จับต้องได้ เห็นด้วยตา แต่ก็เป็นเพียงเงาหรือ ภาพสะท้ อ นของการนมั ส การที่ แ ท้ จ ริ ง ที่ เ กิด ขึ้ น ในสมั ย พัน ธสั ญ ญาใหม่ อั น เป็น การนมั ส การด้ ว ยจิ ต วิญญาณและความจริง ซึ่งเป็นการนมัสการที่แท้จริงตามพระประสงค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ดนตรีกับการนมัสการที่แท้จริงในสมัยพันธสัญญาใหม่มีความเหมือนหรือแตกต่างจากสมัยพันธ สัญญาเดิมอย่างไร การนมัสการในสมัยพันธสัญญาเดิมนั้นทาในสถานนมัสการหรือพระวิหาร มีดนตรีวง ใหญ่ซึ่งประกอบด้วยคณะนักดนตรีและคณะนักร้องเป็นจานวนมาก เครื่องดนตรีประกอบด้วยพิณใหญ่ (big harp) พิณโบราณที่มีแอกขนาบเพื่อขึงสาย (lyre) เขาแกะ (ram’s horn) แตรซึ่งเป็นเครื่องเป่าลมทา จากทองเหลือง (trumpet) เครื่องเคาะจังหวะมีขอบวงกลมมีหนังขึงปิดด้านหนึ่ง บนขอบเจาะเป็นช่องๆใส่ ลูกกระพรวนรอบ (timbrel or tambourine) และฉาบ (cymbal) นับเป็นคณะนักร้องและนักดนตรีที่มี จานวนผู้เล่นและผู้ร้องเพลงหลายร้อยคน ตรงข้ามกับการนมัสการในสมัยพันธสัญญาใหม่ที่พูดถึงการ นมัสการที่มาจากจิตวิญญาณและความจริงเป็นสาคัญ หากเราจะศึกษาถึงบทบาทของดนตรีและการร้อง เพลงในการนมัสการในยุคนี้ก็น่าจะมีรูปแบบดังต่อไปนี้ ประการแรก : การร้องและสร้างทานองของบทเพลงนั้นมาจากใจ ซึ่งแตกต่างจากสมัยพันธ สัญญาเดิมที่การสร้างทานอง (making melody) นั้นอาศัยเครื่องดนตรีในการสร้าง พระธรรมเอเฟซัส 5:19 “จงปราศรัยกันด้วยเพลงสดุดี เพลงนมัสการ และเพลงสรรเสริญ คือ ร้องเพลงสรรเสริญและสดุดีจากใจของท่านถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า” ความแตกต่างระหว่างการนมัสการในสมัยพั นธสัญญาเดิมกับสมัยพันธสัญญาใหม่ โดยเฉพาะ การร้องเพลงนั้นน่าจะเป็นการสร้างทานองของบทเพลงที่อาศัยเครื่องดนตรีเป็นหลัก กับการสร้างทานอง โดยเกิดขึ้นจากความรู้สึกของจิตใจเป็นสาคัญซึ่งสอดคล้องกับ


พระธรรมโคโลสี 3:16 “จงให้พระวาทะของพระคริสต์ดารงอยู่ในตัวท่านอย่างบริ บูรณ์ จงสั่งสอน และเตื อนสติกั นด้ว ยปั ญ ญาทั้ง สิ้ น จงร้องเพลงสดุดี เพลงนมั ส การ และเพลงสรรเสริ ญด้ว ยใจ โมทนาขอบพระคุณพระเจ้า” “ด้วยใจโมทนาขอบพระคุณพระเจ้า ” เป็นการเน้นย้าให้เห็นว่าทานองของบทเพลงนั้นมาจากใจ ของผู้ร้อง ประการที่สอง : การร้องเพลงถวายเสียงสรรเสริญ (vocal) ดนตรีที่ใช้ในการนมัสการสมัยพันธสัญญาใหม่เท่าที่ปรากฏหลักฐานคือการเปล่งเสียงร้องเพลง (singing hymns) ตามที่ปรากฏใน พระธรรมมัทธิว 26:30 “เมื่อร้องเพลงสรรเสริญแล้ว พวกเขาก็พากันออกไปยังภูเขามะกอกเทศ” องค์พระเยซูคริสต์พร้อมกับบรรดาสาวกของพระองค์ได้ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าร่วมกันในพิธี มหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ พระธรรมกิจการของอัครทูต 16:25 “ประมาณเที่ยงคืน เปาโลกับสิลาสก็อธิษฐานและร้อง เพลงสรรเสริญพระเจ้า นักโทษทั้งหลายในคุกก็ฟังอยู่” ทั้งเปาโลกับสิลาสร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าในคุก พระธรรมโรม 15:9 “...เพราะเหตุนี้ข้ าพระองค์ขอสรรเสริญพระองค์ ท่ามกลางประชาชาติ ทั้งหลาย และร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระองค์” พระธรรม 1 โครินธ์ 14:15 “ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าควรจะทาประการใด ข้าพเจ้าจะอธิษฐานด้วยใจ และด้วยความคิด และจะร้องเพลงด้วยใจและด้วยความคิด” คงพอจะสรุปได้ว่าดนตรีกับการนมัสการในสมัยพันธสัญญาใหม่นั้นมีรูปแบบที่เน้นไปที่การร้อง เพลง พระธรรมเอเฟซัส 5:19 “จงปราศรัยกันด้วยเพลงสดุดี เพลงนมัสการ และเพลงฝ่ายจิตวิญญาณ คือร้องเพลงและสดุดีจากใจของพวกท่านถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า” การสร้างทานองของบทเพลงที่มาจากใจไม่ใช่เครื่องดนตรี (made in the heart, not on the harp) เป็นดนตรีที่เน้นไปยังจิตวิญญาณที่ทุกคนร้องร่วมกัน (sung by congregation) เป็นทานองที่ไม่ได้เน้นว่า เราจะร้องดีแค่ไหนแต่ขึ้นอยู่กับว่าเราร้องด้วยความจริงจากใจหรือไม่ กล่าวคือทานองมาจากส่วนลึกของ จิตใจอันเป็นการนมัสการด้วยความจริง เป็นเรื่องค่อนข้างแปลกที่คริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ไม่ปรากฏหลักฐานการใช้ เครื่องดนตรีในการ นมัสการ ทั้งที่ชนชาติอิสราเอลและพวกต่างชาติล้วนคุ้นเคยกับการใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการพระเจ้า แต่เราก็ไม่อาจสรุปหรือฟันธงได้ว่า “การไม่ใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการเป็นการนมัสการด้วย จิตวิญญาณและความจริง”


แม้คริสตจักรในยุค นั้นจะไม่ปรากฏหลักฐานที่แสดงถึงการใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการอย่าง ชัดเจน คงมีเพียงการร้องเพลง การใช้เสียงของมนุษย์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพวกเขายังอยู่ภายใต้อานาจของ โรมัน ต้องหลบซ่อน การจะใช้เครื่องดนตรีคงเป็นเรื่องลาบาก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจาก พระธรรมวิวรณ์ 18:21 “แล้วทูตสวรรค์องค์หนึ่งที่มีฤทธิ์มาก ก็ได้ยกหินก้อนหนึ่งเหมือนหินโม่ ใหญ่ทุ่มลงไปในทะเลแล้วว่า “บาบิโลนมหานครนั้นจะถูกทุ่มลงโดยแรงอย่างนี้แหละ และจะไม่มีใครเห็น นครนั้นอีกต่อไปเลย” ก็จะเห็นได้ว่านี่คือบทลงโทษที่มีต่อชาวบาบิโลนที่พระเจ้าทรงริบเสียงดนตรีคืนจากพวกเขาเพราะ การทาชั่วของเขา



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.