อภัยซึ่งกันและกัน
อภัยซึ่งกันและกัน วิศรุต จินดารัตน์ พระธรรมปฐมกาล 50:15-21 พูดถึงการที่โยเซฟปลอบโยนให้พี่ชายหายกลัว ถือได้ว่าเป็นหัวใจและเป็นจุดสุดยอดของบันทึกเรื่องราวชีวประวัติของโยเซฟ ชีวิตของเขาเป็นพยานยืนยันแก่เราว่า มีเพียงองค์พระผู้เป็นเจ้าที่สามารถอภัยในความผิดบาปของมนุษย์และทรงรักษารอยแผลแห่งความบาปนั้นให้หายสนิทได้ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของโยเซฟเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าแม้ความคิดการกระทาของมนุษย์จะประสงค์ร้ายเพียงใดก็ตาม แต่องค์พระผู้ เป็นเจ้าจะทรงเปลี่ยน ผลลัพธ์ของการกระทานั้นให้กลายเป็นดีได้ บรรดาพวกพี่ชายต่ างพากันทาร้ายโยเซฟโดยการขายน้องชายคนนี้ให้กับคนอิชมาเอลไปอยู่ในประเทศอียิปต์ และพากัน หลอกพ่อว่าน้องคนนี้ถูกสัตว์ร้ายกัดกิน แต่ไม่ว่ามนุษย์จะมีความคิดชั่วร้ายเพียงใดพระเป็นเจ้าได้เปลี่ยนผลลัพธ์ของการกระทาชั่วให้ เป็นในทางตรงข้าม โดยเฉพาะ ต่อบรรดาผู้ที่รักพระองค์ พระคริสตธรรมคัมภีร์ได้บันทึกเรื่องราวของโยเซฟไว้ค่อนข้างมาก พระธรรมปฐมกาลกว่าสิบสองบทเป็นเรื่องราวของเขา เมื่ออ่านแล้วเราจะเห็ นภาพและ เข้าใจถึงพระสัญญาที่พระเจ้าทรงมีต่ออับราฮัมนั้นสาเร็จแล้ว โยเซฟคือผู้ที่รักษาประวัติของตนไม่ด่างพร้อย (He keeps his record clean) เป็นคนหนุ่มช่างฝันและฝันของเขาก็เป็นจริงเสมอ เป็นคนรูปงาม (physical beauty) แต่ก็ไม่เสียคนเพราะความหล่อของตน (ความหล่อไม่เป็นพิษ) พระธรรมปฐมกาล 39:7-10 “โยเซฟนั้นเป็นคนสวยหน้าตาคมคาย อยู่มาภายหลังภรรยาของนายมองดูโยเซฟด้วยความปฏิสัมพันธ์ และชวนว่า “มานอน กับฉันเถิด” แต่โยเซฟไม่ยอม จึงตอบแก่ภรรยาของนายว่า “คิดดูเถิด เมื่อมีข้าพเจ้า นายก็มิได้หวงสิ่งใดจากข้าพเจ้า ยกเสียแต่ตัวท่านซึ่งเป็นภรรยาของนาย ข้าพเจ้า จะทาความผิดใหญ่หลวงนี้อันเป็นบาปต่อพระเจ้าอย่างไรได้” แม้นางชวนโยเซฟวันแล้ววันเล่า โยเซฟก็ไม่ยอมนอนกับนางหรืออยู่ด้วยกัน” นอกจากนั้นโยเซฟยังไม่ตกหลุมการล่อลวงด้วยความโลภ ความมักได้ พระธรรมปฐมกาล 39:6 “นายมอบของทุกอย่างไว้ในความดูแลของโยเซฟ เมื่อมีโยเซฟแล้วเขาก็มิได้เอาใจใส่สิ่งใดเลย เว้นแต่อาหารที่ท่านรับประทาน” โยเซฟไม่เสียคน แม้มีเกียรติยศชื่อเสียงขึ้นมาโดยไม่คาดฝัน แต่ถ่อมตนไม่หยิ่งลาพอง
พระธรรมปฐมกาล 41:14 “ฟาโรห์จึงรับสั่งให้เรียกโยเซฟมา เขาก็รีบไปเบิกตัวโยเซฟออกมาจากคุกใต้ดิน ครั้นโยเซฟโกนศีรษะผลัดเสื้อผ้าแล้วก็เข้าเฝ้า ฟาโรห์ ฟาโรห์ตรัสแก่โยเซฟว่า เราฝันไป หามีผู้ใดแก้ฝันได้ไม่ เราได้ยิ นว่าเมื่อเจ้าได้ฟังความฝันเจ้าก็แก้ฝันได้ โยเซฟจึงทูลตอบฟาโรห์ว่า การแก้ฝันมิได้อยู่ที่ข้าพระ บาท พระเจ้าต่างหากจะประทานคาตอบอันควรแก่ฟาโรห์” เหนือสิ่งอื่นใด โยเซฟมีความรักของพระเจ้า และเขารู้ว่าการให้อภัยซึ่งกันและกันนั้นเป็นสิ่งที่พระเป็นเจ้าพอพระทัยยิ่ง เมื่ออ่านพระวจนะของพระเจ้าจากพระธรรมปฐมกาล 50:15-21 เราก็จะพบว่า เวลานี้โยเซฟได้ทาพันธกิจที่พระเป็นเจ้าส่งเขามาสาเร็จแล้ว เขาได้ช่วยชนชาติ อียิปต์และอิสราเอลให้รอดพ้นจากการอดอาหาร ประชาชนรอดพ้นวิกฤติที่เลวร้ายนั้น เป็นเวลาที่ยาโคบผู้เป็นบิดาได้เสียชีวิตลงและศพได้ถูกนาไปฝังไว้ในแผ่นดินคา นาอันตามความปรารถนาของท่านแล้ว เวลานี้ทุกคนน่าจะมีชีวิตที่เป็นปกติสุข พวกพี่ก็ประกอบอาชีพคนเลี้ยงแกะตามเดิม ทั้งนี้ก็เพราะความรักความเมตตาที่น้องมี ต่อพี่ที่สืบสายเลือดเดียวกันมา โดยไม่ต้องหวาดกลัว หรือผวาต่อภัยอันตรายใดๆเลย ทุกสิ่งควรจะดาเนินไปอย่างเป็นสุขเพราะสถานการณ์เลวร้ายได้ผ่านไปแล้ว แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ บรรดาพี่ของโยเซฟต่างรู้สึกอึดอัดใจ กระวนกระวายใจ เพราะความคิด การกระทาชั่วของตนนั้นมันตามมาหลอกหลอน แม้วันเวลาจะผ่านมาแล้วถึง 39 ปี แต่ความผิด ความคิดร้ายที่ได้ขายน้ องของตนให้มาตกระกา ลาบากในครั้งนั้นยังติดตามอยู่ในสามัญสานึกเสมอ ถึงน้องจะยกโทษให้แต่เมื่อพ่อผู้ที่น้องคนนี้รักและเคารพเกรงใจได้ตายจากไป ใครจะมา คุ้มกบาลให้ ต้องถูกเอา คืน ถูกล้างแค้นแน่นอน จิตใจสงสัยในการยกโทษของน้องนั้นมันจะจริงสักแค่ไหน ยิ่งเคยมีตัวอย่างแล้วจากอดีตซึ่งพระคริสตธรรมคัมภีร์ได้บันทึกไว้ใน พระธรรมปฐมกาล 27:41 “ฝ่ายเอซาวเกลียดชังยาโคบ เพราะบิดาประสาทพรแก่เขา เอซาวราพึงในใจว่า วันไว้ทุกข์พ่อใกล้เข้ามาแล้ว วันนั้นข้าจะฆ่า ยาโคบน้องชายของข้าเสีย” น่ากลัวประวัติศาสตร์จะซ้ารอยแน่นอน ยิ่งคิด ยิ่งกลัว ยิ่งกลุ้มใจ เมื่อเราศึกษาเรื่องราวของโยเซฟตอนนี้แล้วก็อาจสรุปบทเรียนจากชีวิตของหนุ่มช่างฝันที่พระเป็นเจ้าทรงใช้ให้เป็นแบบอย่างในการให้อภั ยซึ่งกันและกัน โดย แยกเป็น 3 ประการ ดังนี้
ประการแรก : สารภาพด้วยจริงใจ (True repentance) การให้อภัยจะเกิดขึ้นได้ก็ตอ่ เมื่อมีการสารภาพผิดจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อไม่สารภาพก็ไม่มีการยกโทษ เป็นผู้ร้ายปากแข็งศาลไม่ปรานี ระเบียบนมัสการพระเจ้า กาหนดให้มีการสารภาพก่อนจึงมีการอภัยเกิดขึ้น (Pardon will never be granted until sin is confessed) สารภาพด้วยสานึกผิดจากส่วนลึกของจิตใจ สารภาพสิ่ง ที่ได้กระทาลงไปจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ไม่ปกปิดหรือพูดความจริงครึ่งเดียว เหมือนบทเพลง “รู้ก็อย่าให้เห็น เห็นก็อย่าให้จับได้ จับได้ก็อย่ายอมรับ หากจะรับก็ให้ รับครึ่งเดียว” นั่นไม่ใช่การสารภาพด้วยจริงใจ พระธรรมสุภาษิต 28:13 “บุคคลที่ซ่อนการละเมิดของตนจะไม่เจริญ แต่บุคคลที่สารภาพและทิ้งความชั่วเสียจะได้ความกรุณา” การสารภาพจึงไม่ใช่การรับเพียงครึ่งเดียวหรือซ่อนปิดอาพรางไว้ แต่ยอมรับทั้งหมดที่ได้กระทาลงไปโดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้ออ้างใดๆทั้ง สิ้น ยอมรับโดยดุษฎี การสารภาพด้วยจริงใจเป็นการที่เรามีความรู้สึกเกรงกลัวในความผิดที่ได้กระทาลงไป ไม่ใช่ยังหน้าตาระรื่นไม่รู้สึกรู้สม (A terrifying sense of guilt) พระธรรมปฐมกาล 50:17 “...ขอท่านโปรดให้อภัยความผิดและบาปของพวกพี่ชายที่ประทุษร้ายท่าน บัดนี้ขอท่านโปรดให้อภัยความผิดบาปของข้าพเจ้า ทั้งหลายผู้รับใช้ของพระเจ้าบิดาที่ท่านเคารพนับถือ” พวกพี่ชายต่างมีความรู้สึกเกรงกลัวเป็นอย่างมาก เพราะความผิดที่ได้กระทาลงไป พวกเขารู้อย่างแน่นอนว่าสิ่งที่ทาลงไปกับโยเซฟนั้นเป็ นความผิดอย่าง ร้ายแรง ความรู้สึกในตอนนี้คือตายแน่ เพราะความผิดนั้นใหญ่หลวงชัดเจน ไม่อาจซ่อนเร้นหรือแก้ตัวให้รอดพ้นได้ พวกเขาได้สารภาพด้วยจริงใจ ขอการอภัยใน ความผิดบาปที่ได้ทาลงไป เวลานี้รู้สานึกแล้วว่าสิ่งที่ได้ทานั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์จึงเกิดความกลัวเป็นอย่างยิ่ง นอกจากความรู้ สึกเกรงกลัวในความผิดที่ได้ กระทาลงไปแล้ว การสารภาพด้วยจริงใจยังเป็นการยอมรับในสิ่งที่ได้กระทาลงไปว่ามันเป็นความผิดอย่างสิ้นเชิง (An acknowledgement of sin) ขอสารภาพ อย่างหมดเปลือกด้วยจิตใจที่รู้สึกสานึกในความผิดความบาป ขอการยกโทษ ขอโทษที่ได้กระทาผิดต่อท่าน พร้อมกลับตัวกลับใจ เปลี่ยนแปลงควา มคิดการกระทา ใหม่ทั้งหมด พระเจ้าผู้ทรงพระกรุณาคุณตรัสว่า พระธรรมโยเอล 2:12-13 “ถึงกระนั้นก็ดี เจ้าทั้งหลายจงกลับมาหาเราเสียเดี๋ยวนี้ ด้วยความเต็มใจ ด้วยการอดอาหาร ด้วยการร้องไห้ และด้วยการโอด ครวญ จงฉีกใจของเจ้า มิใช่ฉีกเสื้อผ้าของเจ้า จงหันกลับมาหาพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทั้งหลาย เพราะว่าพระองค์ทรงกอปรด้วยพระคุณและทรงพระกรุณา ทรงกริ้วช้า และบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคง และทรงกลับพระทัยไม่ลงโทษ”
พระเป็นเจ้าตรัสแก่ประชากรของพระองค์ให้หันกลับจากความชั่วเดี๋ยวนี้ ให้เลิกพฤติกรรมนั้นโดยเด็ดขาดในขณะที่ยังมีเวลากลับตัวกลับใจใหม่ ซึ่งเวลานั้นก็ กาลังหดสั้นลง และความพินาศคืบคลานเข้ามาใกล้เต็มที ต้องมีการสานึกผิดเกิดขึ้นจากส่วนลึกในจิตใจ (deep remorse) เป็นมาจากภายใน ไม่ใช่ฉีกเสื้อผ้าซึ่งเป็น เพียงการกระทาภายนอก ซึ่งไม่ใช่พระประสงค์ของพระเจ้า พระองค์ประสงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในจิตใจ เกิดสานึกจากภายใน ไม่ใช่การแสดงออกเพื่อให้ ดูดีเท่านั้น พระธรรม 1 ซามูเอล 16:7 “พระเจ้าตรัสกับซามูเอลว่า อย่ามองดูที่รูปร่างภายนอก หรือความสูงแห่งร่างกายของเขา ด้วยเราไม่ยอมรับเขา เพราะพระเจ้า ทอดพระเนตรไม่เหมือนกับที่มนุษย์ดู มนุษย์ดูที่รูปร่างภายนอกแต่พระเจ้าทอดพระเนตรจิตใจ” การสารภาพด้วยจริงใจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงจากภายใน บรรดาพี่ชายต่างสารภาพอย่างหมดเปลือก รู้สึกเสียใจในการกระทาของตนเองจึง ได้ใช้คนไปเรียนโยเซฟขอยกโทษความผิดการกระทาที่ชั่วช้าที่ได้ทาต่อโยเซฟ เวลานี้รู้สึกกลัวในอาชญาที่ได้กระทาลงไป และยอมรับว่ามีความผิดอย่างร้ายแรง ขอ โปรดอภัยในความผิดของข้าพเจ้าทั้งหลายต่อบรรดาผู้ที่รู้สานึกและสารภาพด้วยจริงใจ พระคุณพระเจ้ามีมากเพียงพอสาหรับทุกคนที่เป็นคนผิ ดบาป เพราะพระองค์ ทรงเป็นพระเจ้าที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา พระธรรมมีคาห์ 7:18-19 “ใครเล่าจะเป็นพระเจ้าเสมอเหมือนพระองค์ผู้ทรงยกโทษ และทรงให้อภัยการทรยศแก่คนที่เหลืออยู่อันเป็นมรดกของพระองค์ พระองค์มิได้ทรงถือพระพิโรธเนืองนิตย์ เพราะว่าพระองค์ทรงพอพระทัยในความรักมั่นคง พระองค์ทรงเมตตาเราทั้งหลายอีก พระองค์จะ ทรงเหยียบความผิดของ เราไว้ พระองค์จะทรงเหวี่ยงบาปทั้งหลายของเราลงไปที่ลึกของทะเล” การสารภาพด้วยใจจริงจึงตรงข้ามกับการเล่นลิ้นแก้เกี้ยวไปวันหนึ่งเพื่อเอาตัวรอด แต่เป็นการสยบยอมอย่างแท้จริง บรรดาพี่ชายมาหาโยเซฟและขอการ อภัยตามแบบอย่างที่พ่อได้สอนไว้ เราทุกคนก็เช่ นกันเมื่อเราสารภาพความผิดบาปของเราอย่างจริงใจ เราจึงมีความหวังใจในการให้อภัย ซึ่งพระเป็นเจ้าทรงตรัสไว้ อย่างชัดเจนใน พระธรรม 1 ยอห์น 1:9 “ถ้าเราสารภาพบาปของเรา พระองค์ทรงสัตย์ซื่อและเที่ยงธรรมก็จะทรงโปรดยกบาปของเรา และจะทรงชาระเราให้พ้นจากการ อธรรมทั้งสิ้น”
ประการที่สอง : ทรงเปลี่ยนภัยให้เป็นพร (Troubles turn to blessings) เมื่อสารภาพความผิดบาปอย่างจริงใจ องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งความเมตตาจะทรงเปลี่ยนภัยพิบัตินั้นให้เป็นพร อีกทั้งอุปสรรคที่ ขวางกั้นเราอยู่ให้เป็น อุปกรณ์ที่จะช่วยเราก้าวข้ามไปได้ และจะทรงเปลี่ยนปัญหานั้นให้เป็นปัจจัยที่สนับสนุนการทางานของเรา นี่คือน้าพระทัยที่เปี่ยมด้วยความรักความเมตตาอันหาที่สุด มิได้ พระธรรมปฐมกาล 45:4-8 “โยเซฟจึงบอกพี่ชายว่า เชิญเข้ามาใกล้เราเถิด เขาก็เข้ามาใกล้ แล้วโยเซฟว่า เราคือโยเซฟน้องที่พี่ขายมายังอียิปต์ แต่บั ดนี้อย่า เสียใจไปเลย อย่าโกรธตัวเองที่ขายเรามาที่นี่ เพราะว่าพระเจ้าทรงใช้เราให้มาก่อนหน้าพี่เพื่อจะได้ช่วยชีวิต เพราะมีการกันดารอาหารในแผ่นดินสองปีแล้ว ยัง อีกห้าปีจะไถนาหรือเกี่ยวข้าวไม่ได้เลย พระเจ้าทรงใช้เรามาก่อนพี่เพื่อสงวนคนที่เหลือส่วนหนึ่งบนแผ่นดินไ ว้ให้พี่ และช่วยชีวิตของพี่ไว้ด้วยการช่วยกู้อันใหญ่หลวง ฉะนั้นมิใช่พี่เป็นผู้ให้เรามาที่นี่ แต่พระเจ้าทรงใช้เรามา...” “อย่าเสียใจหรือโกรธตัวเองเลย... พระเจ้าใช้ผมมาก่อนหน้าพี่เพื่อจะได้ช่วยชีวิตทุกคน” แม้บรรดาพี่ชายต่างต้องการกาจัดโยเซฟไปให้พ้นทางโดยการขาย ให้แก่คนอิชมาเอลแล้วถูกพาไปยังอียิปต์ แต่พระเป็นเจ้าก็ทรงใช้การกระทาที่ชั่วช้าของบรรดาพี่ชายเพื่อให้แผนการของพระองค์สาเร็จ “พระเจ้าทรงใช้ผมให้มาก่อนพี่ เพื่อจะได้ช่วยชีวิตของทุกคน” ช่วยอียิปต์ให้รอดตายจากการกันดารอาหาร เป็นการเตรียมชนชาติอิสราเอลให้เป็นกลุ่ มก้อน แผนการของพระเจ้านั้นไม่ได้ถูกเขียนโดยน้ามือมนุษย์ แต่พระองค์คือผู้กาหนด ดังนั้นหากใครสักคนหนึ่งทาในสิ่งที่ชั่วช้าต่อท่าน ระลึ กเสมอว่า เขาก็เป็นเพียง เครื่องมือชิ้นหนึ่งของพระเป็นเจ้าเท่านั้นเอง พระธรรมปฐมกาล 50:20 “พวกพี่ตั้งใจทาร้ายผมก็จริงอยู่ แต่ ฝ่ายพระเจ้าทรงดาริให้เกิดผลดีอย่างที่บังเกิดในเวลานี้แล้ว คือได้ช่วยชีวิตคนเป็นจานวน มาก” คาพูดของโยเซฟสะท้อนให้เราเห็นและเข้าใจถึงแผนการที่ไม่ล้มเหลวขององค์พระผู้เป็นเจ้าตั้งแต่เนรมิตสร้างโลกและมนุษย์ เมื่อพระองค์ทรงเห็นว่า “ดียิ่งนัก” (พระธรรมปฐมกาล 1:4-31) พระองค์ก็ไม่เคยกลับพระทัยแต่ทรงกระทาตามแผนการที่ได้ทรงวางไว้ด้วยน้าพระทัยที่มั่นคงเสมอมา แม้บรรดาพวกพี่จะทาสิ่งที่ชั่วร้าย ถึงขนาดขายน้องให้เป็นทาสในอียิปต์ แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเปลี่ยน “ภัย” ที่เกิดขึ้นให้เป็น “พร” แก่คนทั้งหลาย อดีตที่แสนเจ็บปวด ถูก ใส่ร้ายจากภรรยาโปทิฟาร์ หรือการกันดารอาหารเจ็ดปี พระเจ้าได้ทรงเปลี่ยนประสบการณ์อันเลวร้ายในชีวิตของโยเซฟให้เป็นพรแก่ผู้อื่น พระธรรม 1 โครินธ์ 2:9 “สิ่งที่ตาไม่เห็น หูไม่ได้ยิน และสิ่งที่มนุษย์คิดไม่ถึง คือสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงจัดเตรียมไว้สาหรับคนที่รักพระองค์”
พระวจนะของพระเป็นเจ้าตอนนี้ได้เตือนให้เราระลึกเสมอว่าพระประสงค์ของพระเจ้านั้นอยู่เหนือความชั่วช้าทั้งปวง ไม่ว่ามนุษย์จะคิดร้า ยสักเพียงใด แต่พระ เจ้าจะทรงเปลี่ยนสิ่งชั่วร้ายนั้นให้เป็นสิ่งดี (What Joseph’s brothers meant to be evil, God used for good) สิ่งที่ท้าชวนคือเรามีความอดทนพอที่จะรอให้พระเจ้า เปลี่ยน “ภัย” นัน้ ให้เป็น “พร” หรือไม่ บทเรียนจากชีวิตของโยเซฟที่เราได้รับนอกจากสองประการ คือ ให้เราสารภาพอย่างจริงใจและพระเจ้าจะทรงเปลี่ยนภัยให้เป็น พร ประการสุดท้ายที่เราถอดบทเรียนได้ คือ ประการสุดท้าย : ทรงสอนให้เรารักกัน (Teach us to love others) โยเซฟไม่เพียงยกโทษแก่บรรดาพี่ชายที่ได้ทาในสิ่งที่ชั่วร้ายแก่เขา แต่ยังพูดปลอบโยนพี่ชายให้หายกลัวอีก เป็นการให้ความมั่นใจกับพี่ ชาย (reassure) ว่าพี่ ไม่ต้องกลัวน้องคนนี้จะไม่ทาการแก้แค้นพี่แน่นอน พระธรรมปฐมกาล 50:21 “พี่อย่ากลัวเลย ฉันจะเลี้ยงดูพี่และลูกๆของพี่ด้วย” เมื่อมีการสารภาพอย่างจริงใจ การอภัยจึงเกิดขึ้น พระธรรมมัทธิว 5:23-24 “เหตุฉะนั้นถ้าท่านนาเครื่องบูชามาถึงแท่นบูชาแล้ว และระลึกขึ้นได้ว่าพี่น้องมีเหตุขัดเคืองข้อหนึ่งข้อใดกับท่าน จงวางเครื่องบูชา ไว้ที่หน้าแท่นบูชา กลับไปคืนดีกับพี่น้องผู้นั้นเสียก่อนแล้วจึงค่อยกลับมาถวายเครื่องบูชาของท่าน” พี่น้องที่แตกแยกกันเป็นสาเหตุให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าต้องสะดุดลงเช่นเดียวกัน ทั้งนี้พระวจนะของพระเจ้ากล่าวไว้อย่างชัดเจนใน พระธรรม 1 ยอห์น 4:20 “ถ้าผู้ใดว่าข้าพเจ้ารักพระเจ้า และใจยังเกลียดชังพี่น้องของตน ผู้นั้นก็เป็นคนพูดมุสา เพราะว่าผู้ที่ไม่รักพี่น้องของตนที่แลเห็นแล้ว จะรักพระเจ้าที่ไม่เคยเห็นไม่ได้” ดังนั้นเมื่อพี่น้องทาผิดต่อเรา เราต้องให้อภัยแก่กันและกันเหมือนอย่างที่พระผู้เป็นเจ้าทรงอภัยต่อเรา พระธรรมเอเฟซัส 4:32 “ท่านจงมีเมตตาต่อกัน มีใจเอ็นดูต่อกัน และอภัยโทษให้กัน เหมือนดังที่พระเจ้าได้ทรงโปรดอภัยโทษให้แก่ท่านในพระคริสต์นั้น” การให้อภัยซึ่งกันและกันจึงเป็นการสะท้อนให้คนทั่วไปได้เห็นถึงคุณลักษณะคริสเตียนที่ดี โยเซฟยกโทษแก่บรรดาพี่ชายของเขาได้ฉันใด เราเองก็ควรยกโทษ แก่พี่น้องของเราด้วยฉันนั้น “ขอทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์ เหมือนข้าพระองค์ยกโทษผู้ที่ทาผิดต่อข้าพระองค์นั้น” (พระธรรมมัทธิว 6:12)