โอเจ้าแห่งดวงจิตเป็นนิมิตของข้าฯ Be Thou My Vision, O Lord of My Heart
โอเจ้าแห่งดวงจิตเป็นนิมิตของข้าฯ Be Thou My Vision, O Lord of My Heart (เพลงไทยนมัสการ บทที่ 151) วิศรุต จินดารัตน์ เนื้อหา (text) : จากหนังสือเพลงนมัสการของชาวไอริช (Irish Hymn) ผู้แปล (translator) : แมรี่ อี. ไบม์ (Mary E. Byme) ดนตรี (music) : จากทานองเพลงของชาวไอริช (Irish Melody) รูปแบบการใช้คาพยางค์ (metrical pattern) : 10.10.10.10 ชื่อทานอง (tune name) : SLANE พระคัมภีร์อ้างอิง (scripture reference) : พระธรรมสุภาษิต 29:18 “ที่ใดๆที่ไม่มีการเผยธรรม ประชาชนก็ละทิ้งความยับยั้งชั่งใจเสีย แต่คนที่รักษาธรรมบัญญัติจะเป็นสุข” ต้นฉบับของเพลงนมัสการบทนี้ประพันธ์ขึ้นในศตวรรษที่ 8 โดยนักประพันธ์นิรนามชาวไอริช และนามาขับร้องในทานองเพลงพื้นบ้าน ไม่นานนักจึงเป็นที่รู้จัก และนิยมกันอย่างกว้างขวางในกลุ่มคนหนุ่มสาว เพลงนมัสการบทนี้เคยถูกนามาร้องในหลายๆทานองแต่ทานองที่ใช้ร้องในปัจจุบันนี้ประพันธ์โดย นอร์ แมน จอห์นสัน (Norman Johnson) ซึ่งถือว่าเป็นทานองที่ไพเราะที่สุดเมื่อนามาร้องในเวลานมัสการ แม้ว่าเพลงนมัสการบทนี้จะได้รับการเรียบเรียงเสียงประสานหลายครั้งโดยนักดนตรีหลายคน แต่ ออสเบ็ค (Osbeck, K.W.) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าทานองของ เพลงบทนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อนามาขับร้องโดยไม่มีการประสานเสียง (unison) คาว่า “vision” ที่พ ระคริส ตธรรมคัม ภีร์หมายถึง “นิมิ ต” นั้น ในความเข้าใจของคนทั่วไปมั กหมายถึง “วิสัยทัศน์ ” ซึ่ ง เป็นการมองการณ์ไ กล หรือมอง สถานการณ์ในอนาคต เป็นหัวใจของการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ นักประพันธ์นิรนามผู้หนึ่งได้เขียนเกี่ยวกับนิมิต หรือ vision ไว้ว่า “มีนิมิต แต่ไม่มีงานให้ทา เป็นเพียงความฝัน มีงานทา แต่ไม่มีนิมิต ช่างน่าเบื่อ
มีนิมิตและมีงานให้ทา เป็นความหวังของโลก” A vision without a task is a dream. A task without a vision is drudgery. A vision with a task is the hope of the world. บทเพลงนี้เป็นคาภาวนาอธิษฐานที่แสดงให้เรารู้ว่าผู้ประพันธ์คาร้อง (hymn text) ได้ยอมรับเอาองค์พระเยซูคริสตเจ้าเป็นแบบอย่างที่ดี (pattern) ในการ ดาเนินชีวิต พระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษในดวงใจ (hero) และเป็นอุดมการณ์ (ideal) แห่งชีวิตของเขา ในบรรทัดแรกนี้จะสังเกตได้ว่าผู้ประพันธ์มีความซาบซึ้งและถวาย เกียรติแด่พระเจ้าโดยใช้คาต่างๆที่มีความหมายแสดงถึงการถวายคาสรรเสริญแด่พระองค์ เช่นคาว่า “vision” หรือวลีที่ว่า “Lord of my heart” ซึ่งล้วนแสดงความ หมายถึงการยกย่องบูชาและเทิดทูน การที่ผู้ประพันธ์ใช้คาว่า “Be thou my vision” ซึ่งมีความหมายว่า ขอทรงเป็นนิมิตของข้าฯ ทาให้คิดถึงคาพูดอันประกอบด้วยสติปัญญาของกษัตริย์ โซโลมอน (King Solomon) ซึ่งเป็นวลีที่มักถูกยกมากล่าวอ้างบ่อยๆในแทบทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นวงการโฆษณาสินค้า (sale promotion) วงการหาเสียงทางการเมือง (political rallies) หรือแม้แต่ธรรมาสน์ในโบสถ์ (pulpit) ที่นักเทศน์หลายท่านมักหยิบยกมาจากพระคัมภีร์ตอนนี้ พระธรรมสุภาษิต 29:18 “ที่ใดๆที่ไม่มีการเผยธรรม ประชาชนก็จะละทิ้งความยับยั้งชั่งใจเสีย แต่คนที่รักษาธรรมบัญญัติจะเป็นสุข” จากพระวจนะที่ยกมานี้ทาให้เข้าใจว่า “นิมิต” (vision) มาจากพระเจ้า เป็นการเปิดเผยพระประสงค์ของพระองค์ (prophetic revelation) ซึ่งพระเจ้าได้ทรง สาแดงให้ผู้เผยพระวจนะ (prophets) ในยุคนั้นนาไปบอกกล่าวแก่ประชาชน เป็นคาตักเตือน คาสั่งสอนให้มนุษย์ปฏิบัติตาม สังคมใดขาดการเผยธรรมสังคมนั้นก็ วุ่นวาย สับสน ไร้ระเบียบ และจะถึงความพินาศ คาว่า “นิมิต” หรือ “vision” ที่ผู้ประพันธ์เพลงนี้ได้กล่าวยกย่องพระเจ้าด้วยความชื่นชมจึงไม่เป็นเพียงแต่การใช้ภาษาที่สละสลวยเท่านั้นแต่ยังสะท้อนให้เรา เข้าใจถึงสัจธรรมขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ผู้แต่งบทประพันธ์ได้สอดแทรกไว้อย่างผสมกลมกลืน ดังบรรทัดต่อไปนี้ “ทุกสิ่งไร้ราคา ถ้าไม่มีพระองค์” (Nought be all else to me, save that Thou art) หลายครั้งที่เราแอบชื่นชมผู้อื่นเงียบๆโดยที่เราเองจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ความคิดที่อยากเป็น “คนนั้น” คนที่เราแอบชื่นชอบ อยากเลียนแบบ ทั้งที่เราเห็นเขาคน นั้นเพียงผิวเผินภายนอกหาใช่แก่นแท้ตัวตนที่แท้จริงของเขาไม่ โดยเฉพาะดารานักแสดงหรือศิ ลปินต่างๆเพราะความมีชื่อเสียงของเขา หรือความสามารถทางการ
แสดงของเขา หรือความร่ารวย เราก็คิดไปว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นแท้จริงเราจะพบว่าเขาเหล่านั้นไม่ประสบความสาเร็จเสมอไป หลายคนล้มเหลวต่ อการไขว่คว้าหาสันติสุข และความสงบส่วนตัว (personal peace, poise) Ralph Waldo Emerson กล่าวไว้ว่า “Every hero becomes a bore at last” น่าจะหมายความว่า วันนี้เป็นพระเอกที่มีคนชื่นชอบมากแต่แล้วในที่สุดคนก็จะ เบื่อ ความจริงในข้อนี้จะเห็นได้ว่าชีวิตของเราไม่อาจยึดถือบุคคลใดเป็นแบบอย่างที่ถาวรหรือเป็นวีรบุรุษตลอดกาลได้ เว้นไว้แต่องค์ พระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงเป็น แบบอย่างและสมควรแก่การสรรเสริญบูชา ท่านอาจารย์เปาโลได้กล่าวไว้ในจดหมายที่เขียนถึงคริสตจักรในเมืองฟิลิปปีตอนหนึ่ง ดังปรากฏใน พระธรรมฟิลิปปี 3:8 “ที่จริงข้าพเจ้าถือว่าสิ่งสารพัดไร้ประโยชน์เพราะเห็นแก่ความประเสริฐแห่งความรู้ถึงพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า เพราะเหตุพระองค์ข้าพเจ้าจึงได้ยอมสละสิ่งสารพัด และถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเหมือนหยากเยื่อเพื่อข้าพเจ้าจะได้พระคริสต์” พระวจนธรรมที่ยกมานี้แสดงถึงความประเสริฐแห่งความรู้เกี่ยวข้องกับพระเยซูคริสต์ที่ท่านเปาโลได้รับ ซึ่ง ไม่เพียงแต่ท่านจะเกิดปัญญาเท่านั้นแต่ท่านยัง ได้รับประสบการณ์ความรู้ซึ่งเป็นผลมาจากการได้มีส่วนร่วมกับพระองค์ ดังนั้น ท่านเปาโลจึงถือว่าอดีตที่ผ่านมานั้นเป็นสิ่งไร้ค่า (rubbish) เมื่อพบชีวิตในองค์พระ เยซูคริสตเจ้า พระคาของพระเจ้าในตอนนี้จึงน่าจะสนับสนุนบทประพันธ์ (hymn text) ในบรรทัดนี้เป็นอย่างดี กล่าวคือ สารพัดสิ่งไร้ความหมายหากไม่มีพระเจ้า “ทรงดารงในใจ ทุกคืนวันมั่นคง” (Thou my best thought, by day or by night) บทกวีในบรรทัดนี้ Eleanor H. Hull ผู้ประพันธ์คาร้อง (verify) ได้แสดงความสามารถของเธอในเชิงกวีโ ดยการใช้ภาษาทาให้เกิดภาพพจน์ (a figure of speech) เธอพูดถึงพระเจ้าด้วยความยกย่องบูชา คาที่ผู้ประพันธ์เลือกมาใช้แทนในที่นี้จากภาษาอังกฤษ “Thou me best thought” (Metaphor) ซึ่งมีความหมายว่า พระเจ้าทรงเป็นความคิดที่ประเสริฐ เป็นผู้ประทนแผนการที่ดีเลิศและทรงสถิตอยู่ด้วยในทุกเวลาของชีวิต