ปุจฉา - วิสัชนา เมษายน 2560
ปล่อยวางกับปล่อยวางตัวเรา ผู้ถาม : ปล่อยวางกับ ปล่อยวางตัวเรา ต่างกัน อย่างไรครับ
หลวงตา : เอาตัวเราไปปล่อยวางเพื่อให้เรา สบายใจ อย่างนี้ ยึดถือ ปล่อยวางตัวเรา คือ ไม่ ปรารถนาที่จะเอาอะไร แม้แต่ความสุข ความสงบ แม้ท้ายสุดต้องวางความปรารถนาแม้แต่ความ อยากบรรลุนิพพาน
ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2560
ผู้ถาม : นมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ มีเพื่อนตอนนี้อยู่ที่
สักแต่ว่ารู้ด้วยความปล่อยวาง
ญี่ปุ่น ติดตามฟังธรรมะหลวงตาผ่าน YouTube เค้า ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเลยขออนุญาตส่งการบ้านให้เค้า
และขอคำแนะนำการปฏิบัติได้ไหมคะ แรก ๆ เค้าไล่ ดับความคิดฟุ้งซ่าน แต่พอรู้ตัวว่ามาผิดเลยเลิก แล้ว ที่นี้ก็มาเลิกคิดถึงอดีต อนาคต กลายเป็นบางทีมัน เลยว่างไม่คิดอะไรเลย บางครั้งใจมันว่างเอง คือเป็น แบบไม่ไปตั้งใจให้ว่างนะ มันเหมือนกับส่งจิตออก นอกแบบไปที่ว่างๆ แล้วซักประเดี๋ยวเหมือนกับเกิด อาการแบบรู้เท่าทันว่าว่างอยู่ที่ว่าง ก็เลยสงสัยว่าอัน นี้มันมาถูกทางไหมเจ้าคะ หลวงตา : ให้สังเกตุให้ดี ๆ ในความรู้สึกว่าง มีตัว เราคิดนึกตรึกตรองอยู่ในใจคนเดียวตลอดเวลา ก็ให้ แค่รู้ หรือสักแต่ว่ารู้ตัวเรา ซึ่งแท้ที่จริงเป็นจิตหรือ วิญญาณขันธ์ที่ไปรู้อะไรในขณะปัจจุบันต้องเอามา คิดตรองตรองอยู่ในใจตลอดเวลา จะดับเขาก็ไม่ได้
เพียงแค่สักแต่ว่ารู้ หรือ แค่รู้ หรือสิ้นผู้เสวย (สิ้นผู้ยึดถือ) ทั้งความว่างและจิตผู้รู้ที่คิดตรึกตรองปรุง แต่งทุกขณะจิตปัจจุบัน หรือปล่อยวางทั้งอารมณ์ที่ถูกรู้ (รวมทั้งความว่าง และความคิดปรุงแต่ง) และปล่อย วางทั้งผู้รู้ ตอนที่เกิดความรู้สึกว่างเนี่ยเหมือนไม่รู้ตัว แต่จะมารู้ตัวหรือเหมือนนึกขึ้นได้ว่าว่างอยู่นะ
ผู้ถาม : แล้วอย่างนี้ถ้าเกิดรู้สึกว่างแบบนี้ก็ปล่อยไป ไม่ต้องหยุด หรือไปอะไรกับเขาใช่ไหมเจ้าคะ เหมือน กับเวลามีลมพัดผ่านแล้วรู้สึกหนาวแล้วไม่ได้คิดอะไร ต่อ แล้วก็ผ่านไป
หลวงตา : ให้สักแต่ว่ารู้ด้วยความปล่อยวางความคิด ความปรุงแต่ง ความสงสัยในทุกขณะจิตปัจจุบันเสีย และไม่ให้ค่า ให้ความสำคัญกับความว่าง หรือความ ไม่ว่าง เพราะมันจะเป็นการยึดถือ ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2560
อ่านใจให้ขาดเรื่องความว่าง ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาค่ะ หนูขอเรียนถาม เรื่อง ความว่าง ถ้าจิตเราว่างแล้วเรารู้ว่างแล้วเราก็ วาง----> อันนี้เราจะไม่ติดในความว่างใช่ไหม คะ แต่ถ้าเราเอาสังขารไปปรุง เช่น ว่างเออมันสงบดี ว่างแล้วมันดีคือแบบนี้เราหลงไปกับความว่างใช่ ไหมคะ หลวงตา : อ่านใจให้ขาด โดยเห็นว่าความว่างเปล่า จากสังขารหรือกริยาอาการ เป็นเพียงธรรมชาติฝ่าย ที่ไม่อาจปรุงแต่งได้ เป็นวิสังขาร หรือ เป็นอสังขต ธาตุ หรือเปล่าละ หรือแอบยึดถือความว่าง แค่สัก แต่ว่ารู้ ไม่ยึดถืออะไรเลย ไม่เอาอะไรเลยแม้แต่ ความว่าง หักธงหรือเป้าหมายใด ๆ แม้แต่ความว่าง และนิพพานที่ปราถนาในใจเสียทั้งหมดในปัจจุบัน ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2560
ใจเป็นเพียงแค่รู้ ผู้ถาม : รู้แล้วเห็นแล้วยังทำใจไม่ได้มีวิธีไหมคะ หลวงตา : ทุกขณะจิตปัจจุบันที่มีความรู้สึกที่ว่า ... เรา ... รู้ เรา ... เห็น เรา ... ยังทำใจไม่ได้ แม้แต่ เรา ... ทำใจได้แล้ว หรือมีความคิด ความรู้สึกว่า เรา ... หรือ ตัวเรา ... ก็ให้มีสติ ปัญญาสอนใจตนเอง ทุกขณะจิตที่มีความคิด ความรู้สึกเหล่านี้ว่า ... ความคิด ความรู้สึกในขณะนั้นเป็นจิตปรุงแต่ง หรือ เป็นอาการ ของจิต หรือ เป็นอาการของขันธ์ห้า หรือเป็นเพียง พลังงานที่เกิดดับ ไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่มีตัวตนของเราอยู่ในขันธ์ห้า ไม่มีตัวตนของเราจริงๆ ตัวตนของเราไม่มี ... ไม่มีจริง ๆๆๆๆ ... คงมีแต่ใจ หรือจิตเดิมแท้ หรือ วิญญาณ ดั้งเดิมแท้ ๆ ที่มีแต่ความรู้ แต่ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง ไม่มีที่อยู่ ไม่อาจมีกริยาอาการใดได้เลย
ให้อยู่กับรู้ที่ไม่อาจคิดได้ ไม่อาจมีความรู้สึกได้ ไม่อาจมีอารมณ์ได้ ให้เป็นใจนั้น เป็นความว่างเปล่า จากตัวตน ว่างเปล่าจากความคิด ว่างเปล่าจากความ รู้สึก ว่างเปล่าจากอารมณ์ อย่าหลงไปเป็นคิด หรืออย่า หลงไปเอาผู้คิด ผู้รู้สึก ผู้มีอารมณ์ ว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือ เป็นต้วตนของเรา อย่างนี้มันจะเป็น "อวิชชา" เรื่อย ไป ต้องเป็นใจหรือจิตเดิมแท้ หรือวิญญาณดั้งเดิมแท้ ๆ ที่มาเกิด แล้วเมื่อร่างกายจิตใจที่ปรุงแต่งเป็นความ รู้สึกนึกคิดหรืออารมณ์ดับไป จะได้เป็นใจที่ไม่มีตัวตน หายตัวไปกับความว่างของธรรมชาติ อย่าลืมนะ ! ทุกขณะจิตที่คิดหรือรู้สึกว่าเป็นตัวเรา หรือเป็น เรา เรา เรา ๆๆๆๆๆ ... ให้เตือนทันทีว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ตัวตนของเราไม่มี หรือเราไม่มีตัว ตน เป็นเพียงวิญญาณ หรือใจหรือจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นแต่ รู้ที่เป็นความว่างเปล่าจากตัวตน ว่างเปล่าจากความคิด ว่างเปล่าจากความรู้สึก
แต่ทำไม่ตอนนี้จึงเอาผู้กำลังคิด ผู้กำลังรู้สึก เป็นเรา เป็นตัวเราเสียเล่า ทำไมเราจึงคิดได้ ทำไม เราจึงมีความรู้สึกได้เสียเล่า คงมีแต่เพียงวิญญาณ หรือใจหรือจิตเดิมแท้ ๆ ที่มาเกิดเป็นความว่างเปล่า จากตัวตน ว่างเปล่าจากความรู้สึก ว่างเปล่าจาก อารมณ์ ได้แต่รู้เพียงอย่างเดียว หรือแค่รู้ แค่รู้ แค่รู้ หรือ รู้ไม่คิด คิดไม่ใช่รู้ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง "ความรู้สึกว่าง" เป็นสุขเวทนาในขันธ์ห้า ไม่ใช่ใจที่ว่างจากตัวตน ว่างจากความคิดปรุงแต่ง ว่างจากอารมณ์ แม้แต่ใจก็ไม่มีตัวใจด้วย ถ้ารู้สึก ว่าง โล่ง โปร่ง เบา สบาย นิ่ง เฉย ล้วนแต่เป็น เวทนาขันธ์ ให้ปล่อยวางความสนใจ ให้ค่า ให้ ความสำคัญอาการเหล่านั้นไปเสีย เพราะจะเป็นการ ยึดถือเวทนาหรือยึดถือขันธ์ห้า
วิธีปล่อยวาง ทุกขณะจิตปัจจุบันที่มีความรู้สึก ว่าง โล่ง โปร่ง เบา สบาย ก็ให้ถามตัวเองว่าอาการเหล่านั้น เขารู้ตัวเขาเอง ได้หรือไม่ หรือว่าใครเป็นผู้รู้ว่าเราว่าง โล่ง โปร่ง เบา สบาย หรือมีอาการตรงกันข้าม ก็จะได้รับคำตอบว่าเรา เป็นผู้รู้อาการเหล่านั้น ก็ให้สังเกตที่ตัวเราผู้รู้ ก็จะเห็น หรือพบว่า ไม่ได้มีแต่ความรู้สึกว่าง โล่ง โปร่ง เบา สบาย หรือมีอาการตรงกันข้ามเพียงอย่างเดียว แต่มีตัว เราคิดตรึกตรองเหมือนพูดอยู่กับตัวเองตลอดเวลา เช่น พูดกับตัวเองว่า เราว่างจริง ๆ เอ! มันถูกหรือเปล่า เรา จะทำอย่างไรต่อไปอีก ... เป็นต้น ก็ให้แค่สักแต่ว่ารู้ ว่าเห็นตัวเราที่คิดตรึก ตรอง และทุกขณะจิตปัจจุบัน ตัวเรารู้อะไรจะต้องคิด ตรึกตรองอยู่ในใจตลอดเวลา ขอย้ำว่าตลอดเวลา จะ ดับเขาก็ไม่ได้ ทำได้เพียงแค่สิ้นผู้เสวยเขาตลอดเวลา เท่านั้น ก็จะพบใจที่เป็นเพียงแค่รู้ ที่เป็นความว่างเปล่า ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง ไม่มีการกระเพื่อม ไม่มีกริยา อาการใด ส่วนความคิด ความรู้สึก หรืออารมณ์ต่าง ๆ เกิดดับในใจที่ไม่ปรากฏอะไรนั้น
พระอริยะเจ้าทั้งหมดอยู่กับรู้ ซึ่งเป็นวิญญาณ หรือใจหรือจิตเดิมแท้ ๆ ที่สิ้นอวิชชานั้น เป็น วิญญาณหรือใจหรือจิตที่บริสุทธิ์ ว่างไพศาลไม่มี ขอบเขตเป็นหนึ่งเดียวกับความว่างของธรรมชาติ หรือจักรวาล เป็นมหาสุญญตา หรือจักรวาลเดิม
ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2560
ละผู้รู้ที่สร้างขึ้นมา ผู้ถาม : นมัสการค่ะ หลวงตา เพื่อนที่ญี่ปุ่นเค้านำคำ สอนหลวงตาไปปฏิบัติแล้วมีคำถามเพิ่มเติมมา จะขอ รบกวนหลวงตาอีกทีนะเจ้าคะ ฟังจากยูทูปไปแล้วไป ปฏิบัติ แล้วกลับมาฟังใหม่อันเดิมเข้าใจมากขึ้น คือ พอฟังปุ๊ปอ๋อปั๊ป ใช่เลย ๆ อันนี้คือเข้าจากใจจริง ๆ ใช่ไหม เพราะก่อนหน้านี้เหมือนต้องผ่านการคิดนึก ก่อนถึงจะเข้าใจ เข้าใจที่ว่าคือที่หลวงตาอธิบายว่าเวลาจิต แสดงอาการอะไรออกมา แล้วเราไม่ไปแสดงอาการ ตอบสนองมัน ไม่ไปปรุงมันต่อให้เหม่อเผลอเพลิน คิด ต่อไปไกล แล้วมันก็จะหายไปเอง
ตอนนี้เข้าใจแล้วว่าขันธ์ห้าที่แสดงอาการนั้น มันจะแสดงอาการไปตามธรรมชาติของมัน ที่ตัวเอง เริ่มเห็นชัดแล้วคือ ตอนโกรธ คือรู้ตัวว่าโกรธแต่เราจะ ไม่คิดปรุงต่อ เหมือนกับในหัวมีเสียงว่าเดี๋ยวมันก็ผ่าน ไป ถ้าไม่ได้ยุ่งกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น ก็เห็นมันดับไป และที่เข้าใจเพิ่มขึ้นมากคือ รู้ตัวเองแล้วว่าตัว เองไปสร้างผู้รู้ขึ้นมา จากพยายามไปเพ่งจิตว่ามันจะ คิดอะไร พอจิตคิดอะไรก็จะมีเสียงในหัวว่านี่กำลังคิด นี่อยู่น ะเลยไม่ปล่อยให้จิตแสดงอาการไปตาม ธรรมชาติ 100% คือยังไปตามดูอยู่โดยผ่านผู้รู้ที่เรา สร้างมันขึ้นมา แล้วไปยึดกับตัวที่เราสร้างมา ที่นี้อยาก จะเรียนถามว่า กรณีนี้ควรจะปฏิบัติในแนวทางไหนต่อ เพื่อละตัวที่เราสร้างมา
หลวงตา : เห็นชัดเจนถูกต้องแล้ว เพียรให้มากเข้านะ
ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560
อธิษฐานน้อมธรรมเข้าสู่ใจ ให้ใจเป็นธรรม ผู้ถาม : เรียนถามหลวงตา การหยุดคิด = การมี ความรู้สึกตัวกับสิ่งที่ทำอยู่แต่มีระยะห่างใช่ไหมค่ะ ไม่จมไปกับสิ่งที่ทำอยู่อีกใช่ไหมคะ
หลวงตา : ให้ผู้ถามตั้งใจอ่านหนังสือจบซะที และ เข้าไปดาวโหลดไฟล์เสียงธรรมะของหลวงตาใน www.luangtanarongsak.com อธิษฐานน้อมนำ เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เข้าสู่ใจ ให้ธรรม เป็นใจ ใจเป็นธรรมในปัจจุบันนี้ด้วยเทอญ แล้ว ตั้งใจฟังอย่างพินิจพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ ถ้า ยังไม่เข้าใจให้ถามมาใหม่นะ
ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2560
ถ้าถึงใจ ตามที่เข้าใจ ... ก็พ้นทุกข์ นิพพาน ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาค่ะ หนูขอโอกาสส่ง การบ้านสรุปความรู้ความเข้าใจจากการที่ได้ฟัง ธรรมะ และอ่านหนังสือของหลวงตา เมื่อใดที่สามารถ "รู้" ทุกคิด ทุกความรู้สึกที่ เกิดขึ้นในใจได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ได้ตั้งใจ จับจ้องหรือเพ่งมอง แต่รู้เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และ ดับไปของทุกคิด ทุกอาการโดยไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่ดิ้นรน ไม่ผลักไส ไม่อยากได้ อยากเป็น ไม่อยาก เอา อยากเอา เมื่อนั้น "รู้" นั้นก็จะบริสุทธิ์ กลายเป็นรู้ ที่ว่างเปล่า หรือเรียกว่า “ธาตุรู้" "ใจ" เมื่อใดที่พบ "ใจ" เมื่อนั้นก็พบ "ธรรม" ที่ สำคัญคือเมื่อพบ "ธาตุรู้" แล้วให้วาง ไม่อาจยึดหรือ แบกไว้ได้อีก เพราะ "ธาตุรู้" นั้นว่างเปล่า ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง เป็นอสรีระ เมื่อใดที่ปล่อยวางกาย ปล่อยวางจิต ปล่อยวางผู้รู้ ปล่อยวางนิพพานได้แล้ว ธาตุรู้จะแยกเป็นอิสระออกจากกายและจิต
เมื่อตายไปธาตุทุกธาตุก็จะกลับไปเป็นหนึ่งเดียว กับธรรมชาติ ดินกลับสู่ดิน น้ำกลับสู่น้ำ ลมกลับสู่ลม ไฟ กลับสู่ไฟ ธาตุรู้ที่เป็นอิสระก็กลับคืนสู่ธรรมชาติ การ พิจารณาอสุภกรรมฐาน เพื่อให้เห็นความไม่เที่ยงของ กาย และขณะเดียวกันที่พิจารณาก็จะเห็นความคิดแทรก เข้ามาเป็นระยะ ๆ ให้รู้และปล่อยวางความคิดที่เกิดขึ้น กลับมาตั้งมั่นอยู่กับการพิจารณาอสุภต่อไป ผลของการ พิจารณานี้ก็ทำให้จิตเรียนรู้ว่าความคิดเหล่านั้นก็ไม่ใช่ ของที่เที่ยง ไม่อาจยึดถือใด ๆ ได้ สุดท้ายเมื่อพิจารณา ไปจะสามารถปลงปล่อยวางได้ทั้งกายและจิต กราบ ขอบพระคุณเจ้าค่ะ ขอหลวงตาพิจารณาค่ะ ผิดถูก ประการใดขอความเมตตาหลวงตาช่วยชี้แนะด้วยค่ะ หลวงตา : ถ้าถึงใจตามที่เข้าใจนี้ก็พ้นทุกข์ นิพพาน ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2560
ให้ปล่อยวางความหลงยึดถือผู้รู้ ว่าเป็นเรา หรือตัวเราเป็นผู้รู้ ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ ไปอินเดีย กลับมา เกิดอาการบ้านหมุนเจ้าค่ะ ตอนนี้อาการดี ขึ้น แต่ต้องระวัง หลวงตาสบายดีนะเจ้าคะ หลวงตา : อาการบ้านหมุน เกิดจากยึดถือผู้รู้เป็น ตัวเรา เข้าไปเพ่งรู้อารมณ์ที่ถูกรู้ ให้ปล่อยวาง ความหลงยึดถือผู้รู้ว่าเป็นเรา หรือเป็นตัวเราเป็นผู้ รู้เสีย อาการบ้านหมุนก็จะหายและพ้นทุกข์ด้วย ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2560
ใจ (วิสังขาร) ไม่สามารถ ปรากฏกริยาอาการใด ๆ ผู้ถาม : วันนี้รู้สึกใจเบิกบาน โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่อย่าง น้อย ก็เห็นถึงความบังคับไม่ได้ของมัน บางวันก็หงุดหงิด เหนื่อยหน่าย แต่วันนี้ก็เบิกบาน สดใส สงบเย็น วันที่ หงุดหงิดเหนื่อยหน่าย เมื่อพยายามจะดิ้นให้หลุด รู้เลยว่า กลับยิ่งดิ้นไม่ออก และแย่กว่าเดิม ยิ่งพยายามไม่สนใจ กลับกลายเป็นยิ่งสนใจ หลวงตา : ทุกขณะจิตปัจจุบัน อย่าส่งจิตออกนอกไปสนใจ อารมณ์ที่ถูกรู้ ให้รู้แจ้งออกมาจากใจ (วิสังขาร) ที่ไม่ สามารถปรากฏกิริยาอาการใด ๆ ว่า ความรู้สึกว่า "เรา ... " เช่น เราดีใจ เราเสียใจ เราพอใจ เราไม่พอใจ เรา สดใส เบิกบาน เราเศร้าหมอง หดหู่ เบื่อ เซ็ง กลุ้ม เราสงบ เย็น เราหงุดหงิดเหนื่อหน่าย เรารู้ เราเห็น เราเข้าใจ เรารู้ แจ้ง เรามีปัญญาโพลงขึ้นมา เรายังติดอะไรอยู่ เราจะต้อง พยายามให้หลุด เรายังไม่พ้นทุกข์ เราพ้นทุกข์ เรา ... หรือ ตัวเรา ... หรือของเรา ทุกขณะจิตปัจจุบัน เป็นเพียงสังขาร ปรุงแต่ง ว่างจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2560
สังขารปรุงแต่ง ดับหมด ผู้ถาม : กราบขอโอกาสหลวงตาคับ ตามที่หลวงตาได้ ชี้แนะให้ไปอ่านเรื่องธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์ (หลวงปู่ เทสก์) ผมได้อ่านแล้วมีข้อสงสัย ขอโอกาสเรียนถามคับ ในระหว่างภาวนา เราจะสังเกตได้อย่างไรบ้างคับว่า ณ ขณะปัจจุบันนั้น เป็น "ธัมมวิจยะ" หรือว่าหลงเป็น "สังขาร ขันธ์ ที่ปรุงแต่งในธรรม" และถ้า "ญาณะ" ในวิปัสสนู ปกิเลส เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการปรุงแต่งในธรรม จะมีหลัก ในการโยนิโสมนสิการ & มีแนวทางในการปฏิบัติอย่างไร หากเราอยู่ห่างไกลครูบาอาจารย์คับ หลวงตา : ไม้ตาย ให้ถามตัวเองอยู่เสมอว่า ถ้าถึงแก่ ความตายตอนนี้ กริยาอาการหรือพฤติแห่งจิตที่ปรุงแต่ง อยู่ขณะนี้ดับหมดหรือไม่ ถ้าดับหมด แสดงว่าเป็นสังขาร ปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้ปล่อยวาง หมดทันที แม้แต่ความรู้สึกว่าตัวเราเป็นอะไรอยู่หรือจะ เป็นอะไร ก็ต้องต้องดับเหมือนกัน เพราะเป็นสังขารปรุง แต่ง จึงปล่อยวางหมดทันที จะได้ดับสนิทไม่เหลือตัวเรา อยู่อีกเลย
ผู้ถาม : กราบครับหลวงตา สรุปว่า ... ทุก ๆ อย่างที่ ถูกรู้ถูกเห็นได้ ... รวบไปถึงความรู้สึก ที่ รู้สึกว่าตัวเรา เห็นอะไรอยู่ ล้วนยึดถือไม่ได้สักอย่างเดียว เป็นเช่นนี้ ใช่ไหมครับหลวงตา หลวงตา : สาธุ แม่นแล้ว ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2560
ถ้าไม่ยึดถือ ... ก็ไม่ต้องปล่อยวาง ผู้ถาม : "รูป" ก็คือร่างกาย "จิต" ก็คือวิญญาณขันธ์ "เจตสิก" ก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร แล้ว "นิพพาน" ก็ คือ ความสิ้นหลงยึดถือใน รูป จิต เจตสิก ว่าเป็นตัวเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา คือ สิ้นยึดถือในขันธ์ห้า และสิ้น ยึดถือใจหรือจิตดั้งเดิมแท้ ๆ หรือธาตุรู้อีกทีหนึ่ง จึงจะ เป็นนิพพาน ขอกราบนมัสการถามหลวงตาครับ คือ เมื่อเรา ไม่หลงยึดถือในขันธ์ห้าแล้ว ไม่เป็นสังขารในฝ่ายปรุง แต่งแล้ว คือ ไม่ยึดถือขันธ์ห้าแล้ว ก็จะเห็นจิตเดิมแท้ ไม่มีตัวเราแล้ว ทำไมไม่เป็นนิพพานโดยอัตโนมัติครับ (ที่หลวงตาบอกว่าต้องปล่อยวางความไม่ปรุงแต่งอีกที หนึ่ง เป็นเหมือน 2 ขั้นตอน) ที่สงสัยคือ ในเมื่อถึงตอนนี้แล้ว (เราไม่ยึดขันธ์ห้า หมดแล้ว) เรายังเหลือความปรุงแต่งไปยึดตัวไม่ปรุง แต่งได้อีกหรือครับ เราถึงต้องมาปล่อยวางตัวไม่ปรุง แต่งอีกทีหนึ่ง ?
หรือว่าจริง ๆ แล้ว "ความยึดถือ" ตัวนี้ (ที่พ้น จากขันธ์ห้าแล้ว) สูงกว่าความปรุงแต่งธรรมดา แต่ เป็น "อวิชชา" ที่เอาไปยึดความไม่ปรุงแต่งเอาไว้อีก ที คือ แม้ไม่เป็นขันธ์ห้าแล้ว แต่ยังเป็นจิตเดิมแท้อยู่ เลยต้องปล่อยจิตเดิมแท้อีกครั้ง จึงไม่เป็นอะไรเลย ด้วยความเบาปัญญา ผมกราบเท้าหลวงตาด้วยความ เคารพอย่างสูงครับ
หลวงตา : หากไม่ให้ค่า ให้ความสำคัญสิ่งใด ก็ ไม่มีสิ่งนั้นอยู่ในใจ ใจก็ว่างเปล่า แต่ถ้าให้ค่า ให้ ความสำคัญสิ่งใด สิ่งนั้นก็มาอยู่ในใจ ทำให้ใจไม่ ว่าง เป็นทุกข์ ถ้าเห็นว่าขันธ์ห้าก็เป็นธรรมชาติ ใจ หรือจิตเดิมแท้ก็เป็นธรรมชาติ ไม่มีคุณค่าที่แตกต่าง กันในใจ ก็ไม่มีอะไรที่ยึดถือหรือปล่อยวาง ใจก็คง เป็นความว่างเปล่า ปราศจากทุกข์ แต่หากจิตเดิมแท้ หรือใจมีคุณค่าหรือมีความหมายต่อใจ ก็จะทำให้ ใจไม่ว่างเปล่าจากทุกข์ ดังนั้น ถ้าไม่ยึดถือก็ไม่ต้อง ปล่อยวาง เพราะไม่มีอะไรอยู่ในใจ แม้แต่นิพพาน ถ้ามีค่าต่อใจ ใจก็ไม่ว่างเปล่าจากทุกข์ หากไม่เอา อะไรมามีค่าในใจ ใจก็จะว่างเปล่า
ผู้ถาม : โอ้ว ดีมาก ๆ ครับหลวงตา อย่างนี้ก็ไม่ ต้องพูดว่าจะต้องปล่อยวางหรือไม่ปล่อยวาง ใช่ ไหมครับ เพราะไม่ยึดถือ เลยไม่ต้องวาง เมื่อเราไม่ ถือขันธ์ห้าแล้ว มันจะเป็นอะไรก็ไม่ต้องไปถือมัน จะ จิตเดิมแท้ ไม่แท้ ก็ช่างมันหรือเปล่าครับ หลวงตา : สุขกับทุกข์ก็เป็นเวทนาเหมือนกัน แต่ถ้า เห็นว่าสุขกับทุกข์มีค่าที่แตกต่างกัน แล้วรักสุข เกลียดทุกข์ ใจก็จะไม่ว่างเปล่า ดังนั้นอยู่ที่ใจที่ให้ ค่า จึงทำให้ธรรมชาติของใจที่ว่างเปล่าหายไป เช่น ทองคำหรือเพชร ไม่มีค่าสำหรับผู้ที่ไม่ยึดถือ เขา จึงไม่ทุกข์ เช่น ทองคำหรือเพชรไม่มีค่าแก่หมาแมว มันจึงไม่ทุกข์กับสิ่งนี้ และมันไม่มีค่าต่อคนบางคนที่ ไม่ยึดถือมัน ทองคำและเพชรจึงไม่เข้ามาอยู่ในใจ ให้เขาเป็นทุกข์ ผู้ถาม : มันเหมือนเข้าใจครับ แต่ไม่รู้ว่าจริง ๆ จะ วางจิตเดิมแท้ได้จริงหรือเปล่าครับ แต่ผมจะจดจำ คำสอนของหลวงตาไว้ก่อนครับ
หลวงตา : จิตเดิมแท้กับขันธ์ห้า ก็เหมือนกัน ไม่มีค่าที่แตกต่างกัน เพราะมันต่างก็เป็น ธรรมชาติ มันจึงไม่ทำให้ใจเป็นทุกข์ หาก เกลียดขันธ์ห้า รักใจหรืออยากได้จิตเดิมแท้ ใจ ย่อมไม่ว่างเปล่าจากทุกข์ ผู้ถาม : โอ้โห เปรียบเทียบแบบนี้ ตรงนี้ผม ขนลุกเลยครับ ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2560
หลงยึดความว่าง ผู้ถาม : กราบนมัสการเจ้าค่ะหลวงตา โยมขอกราบ ความเมตตาจากหลวงตาช่วยชี้แนะธรรมกับโยม เจ้าค่ะ โยมก็เพิ่งได้มาฟังธรรมหลวงตาก็ไม่นานมา ประมาณ 2 เดือน แต่การเดินจิตโยมก็ปฏิบัติมาจนมา ฟังหลวงตา ต่อยอดกันได้เจ้าค่ะ และอาการที่เป็นอยู่ โยมมีความพร้อมเรื่องศีลและเดินตามมรรค จะนาน หรือว่าไม่นานก็เพราะการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเจ้าค่ะ อาการที่เป็นอยู่ก็เห็นว่ามันอยู่กับปรกติ ปัจจุบัน รู้ เห็นในการทำงาน ฉวย หยิบจับ โยมมีความรู้สึกใน ปัจจุบันตามคำสอนของหลวงตา และมีอาการว่าง คือ จิตเค้าฉลาดเค้ารู้แล้วว่า ความคิดทำให้เกิดทุกข์ ก็ เลยไม่คิด ทำอะไรก็ทำไป แต่จะไม่คิดล้ำไปข้างหน้า หรือย้อนกลับไปข้างหลัง อยู่กับปัจจุบันเจ้าค่ะ
และโยมก็ยังฟังธรรมจากหลวงตาทุกวัน ฟัง ในกลุ่มด้วยและฟังทางยูทูป ก็เทียบเคียงอาการ โยม ก็ว่าใช่ ว่างจริง ไม่ไปทำว่าง แต่โยมว่า กราบหลวง ตาดีกว่า อย่าด่วนสรุป หลวงตา : หลงยึดความว่างอยู่ ให้เห็นตัวเราคิดตรึก ตรอง ปรุงแต่ง วิตก วิจาร เหมือนพูดปรึกษากับตัวเอง อยู่ในความว่าง แล้วปล่อยวางแต่ตัวเอง โดยไม่ สนใจความว่างเลย ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2560
สติตั้งที่ใจ รู้ที่ใจ ละที่ใจ ปล่อยวางที่ใจ (ตลอดเวลา) ผู้ถาม : กราบรบกวนเรียนถามครับหลวงตา มีโยม ฟังธรรมหลวงตาแล้วเข้าใจว่า การปล่อยหมดตามที่ หลวงตาสอนนั้น ต้องให้กิเลสหมดก่อนแล้วค่อย ปล่อยหมดได้ แต่ผมเข้าใจว่า ความหมายที่หลวงตา สอนให้ปล่อยนั้น ปล่อยได้ในทันทีที่เข้าใจแล้วไม่ คิดจะยึดจะเอาอะไร ไม่ข้องเกี่ยวว่าปัจจุบันกิเลส มากหรือน้อยอยู่ ปล่อยในปัจจุบันทันที ไม่มีการรอ ไปปล่อยในอนาคต ปล่อยปุ๊บก็เบาปั๊บ เมื่อไม่มีผู้ ยึดถือ กิเลสก็ไม่ต้องพูดถึง อะไรประมาณนี้ ผม เข้าใจคลาดเคลื่อนไหมครับหลวงตา กราบครับ
หลวงตา : ปล่อยวางคือปล่อยวางผู้รู้ (จิตหรือ วิญญาณขันธ์) และปล่อยวางเจตสิก (เวทนา สัญญา สังขาร) ตลอดเวลา หรือปล่อยวางทั้งธรรมารมณ์ที่ถูก รู้ และปล่อยวางผู้รู้ตลอดเวลา ก็เท่ากับปล่อยวางหรือ ละอุปาทานขันธ์ห้า ตลอดเวลา ไม่ใช่รอให้สิ้นกิเลส แล้วจึงปล่อยวาง ถ้าไม่มีสติตั้งที่ใจ รู้ที่ใจ ละที่ใจ ปล่อยวางที่ใจ คือปล่อยวางตัวเราผู้รู้ตลอดเวลา มัน จะหลงส่งจิตออกนอกไปสนใจแต่รูป เสียง กลิ่น รส โผสฐัพพะ และธรรมารมณ์ (เวทนา สัญญา สังขาร) ที่ ถูกรู้ มันจะเป็นกิเลสตลอดเวลา ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2560
ปล่อยวางตัวเราผู้รู้ ผู้คิดตลอดเวลา ผู้ถาม : หลวงตา ถ้าเราปล่อยวางตัวเราผู้รู้ได้ตลอด เวลาจริง ๆ ได้แล้ว กิเลสตัณหาซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์ก็ หมดไป ก็พ้นทุกข์ ใช่ไหมครับหลวงตา หลวงตา : ถูกต้องแล้ว ถ้าปล่อยวางตัวเราผู้รู้ ผู้คิด ตลอดเวลา โดยเห็นว่าไม่ว่าจะปรุงแต่งเป็นตัวเรา อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นเพียงสังขารปรุงแต่ง ไม่ใช่เรา ตัวเรา ตัวตนของเรา หรือมีตัวตนของเราในธรรมชาติ ที่ปรุงแต่งจริง ๆ ผู้ถาม : อันนี้ก็ถือเป็นการปล่อยทั้งยวงแล้ว กิเลส ตัณหาก็ไม่มีไปเอง หมดเหตุแห่งทุกข์ ก็ไม่มีทุกข์ ... ที่ สำคัญคือต้องไม่หลง กราบครับหลวงตา ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2560
ผู้เพ่งความคิดคือจิตปรุงแต่ง ผู้ถาม : จากการปฏิบัติตามคำสอนของหลวงตาของ ข้าพเจ้า ทำให้ได้รู้ว่าตัวเรามีความคิดตลอดเวลา เพราะขันธ์ห้าถูกกระทบและรับรู้ตลอดเวลา และความ คิดนั้นจะส่งให้เกิดอารมณ์ทั้งดีและไม่ดีตามปัจจัย ที่มากระทบ เวลาตามไม่ทันแล้วยึดเอาอารมณ์และ ความคิดนั้นเป็นตัวเรา ก็จะเกิดความรู้สึกจมอยู่กับ ความคิดและอารมณ์นั้น แต่พอมีสติรู้ตัวแค่รับรู้ความ คิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ยึดว่าเป็นตัวเรา แค่ดู เฉย ๆ จะเกิดอะไรก็เกิดไป พบว่าอารมณ์ยังมีอยู่ ความคิดยังมีอยู่แต่ไม่มีคนรับ และข้าพเจ้าพบว่าถ้า ไปเพ่งความคิดมาก ๆ จะเกิดอาการตื้อ ๆ ไม่เห็น ความคิด ต้องรับรู้อย่างธรรมชาติจริง ๆ หลวงตา : ให้เห็นว่าผู้เพ่งความคิดก็เป็นความคิด หรือจิตปรุงแต่ง อย่าหลงยึดถือว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นตัวตนของเรา ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2560