ปัตตานียังมีหวัง เรื่อง / ภาพ : ธนาวุฒิ ฤทธิ์ช่วย
พิสูจน์อักษร : บุญธิดา ศิริเรืองกิตติ์
ก่อนลงพื้นที่ทํางานกับ UNDP Thailand
(United Nations Development Programme) ผมค่อนข้างกั งวลกับหลาย ๆ อย่าง แน่นอนว่าเมื่อมองจากสายตาคนนอก ที่ติดตามข่าวสารความไม่สงบ ในพื้นที่สาม
จังหวัดภาคใต้ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน พื้นที่ ทําให้ผมหวาดหวั่นไม่น้อย ด้วยความที่
เสพข่าวจากสื่อกระแสหลักมาตลอด ภาพของ สามจังหวัดภาคใต้ในอุดมคติ ของผมจึงเต็ม ไปด้วยความระแวงและกังวล
พื้นที่ที่ผมและทีมของ UNDP ลงไปทํางานเป็น พื้น ที่ที่ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากความขั ด แย้ ง ทั้ง
สิ้น ดังนั้นเมื่อพูดถึงความเสี่ยงผมย่อมระแวง กว่ า ปรกติ ที ่ ท ํา งาน แต่ ด้ ว ยการประเมิ น
สถานการณ์จากทาง UN ทําให้ความกังวล ค่อนข้างทุเลาลงไปบ้าง
พื้นที่แรกที่ผมได้เดินทางไปคือกลุ่มชาวบ้านที่ ทําประมงเลี้ยงหอยแมลงภู่ ในอําเภอรูสมิแล
จังหวัดปัตตานี หลายคนที่นี่เปิดมุมมองใหม่ที่
ผมมีต่อพื้นที่ความขัดแย้งทางความคิด ถึง แสงสว่างและความหวัง รวมทั้งการพยายาม ช่วยเหลือจากหลายภาคส่วนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อาจารย์ ชินวัฒน์ พิทักษ์สาลี สังกัดแผนกวิชาเทคโนโลยีการประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เริ่มวงสนทนาก่อนลงทะเลปัตตานีด้วยเรือประมง
ขนาดเล็กของบังฮัมหมัด ชีวิตของผู้คนที่ปัตตานี ที่ผมได้สัมผัส นอกจากความจิตใจดีของผู้คนแล้ว
ผมรู้สึกได้อย่างชัดเจนว่า ผู้คนที่นี่เปี่ยมไปด้วย ความหวัง
"ผมแค่หวังว่ามันจะดีขึ้น" หนึ่งในหลายๆประโยคที่ ผมได้พูดคุยจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านการ
พั ฒ น า คุ ณ ภ า พ ชี วิ ต ผู ้ ไ ด้ รั บ ผ ล ก ร ะ ท บ จ า ก
เหตุ ก ารณ์ ค วามขั ด แย้ ง ในภาคใต้ บั ง ฮั ม หมั ด ประธานกลุ ่ ม เลี ้ ย งหอยแมลงภู ่ ที ่ พ ยายามขั บ
เคลื่อนกลุ่มในการเลี้ยงหอยแมลงภู่ธรรมชาติ และ
ต่อสู้กับภัยธรรมชาติที่ไม่อาจควบคุมได้ (ปีที่ผ่าน มาพายุเข้าทะเลปัตตานีทําให้ไม้ไผ่ที่ปักเพื่อเลี้ยง หอยแมลงภู่เสียหายกว่า 90%)
ผมบั น ทึ ก ภาพนี้ข ณะออกเรื อ เพื่อ ไปดู ค วามเสี ย
หายจากการผ่านพ้นไปของพายุ แววตาของบัง
บอกเล่ า ความรู้สึ ก ในนั้น ได้ ดี ผมรู้สึ ก อย่ า งนั้น ขณะที่ช่องว่างของความเงียบขยายตัว บังฮัม
ห มั ด แ ล ะ อ า จ า ร ย์ จ า ก ม ห า วิ ท ย า ลั ย ส ง ข ล า นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กําลังตรวจสภาพ การเจริญเติบโตของหอยแมลงภู่ธรรมชาติ
อาจารย์ชินวัฒน์ พิทักษ์สาลี ตรวจสภาพความสมบูรณ์ของหอยแมลงภู่กับชาวบ้านจากแหล่งเลี้ยงหอยแมลงภู่ตามธรรมชาติ
สภาพของไม้ไผ่แหล่งที่อยู่ของหอยแมลงภู่หลังภัยพิบัติพายุเข้าริมชายฝั่งทะเลปัตตานี
หอยแมลงภู่ธรรมชาติที่เติบโตในริมชายฝั่งปัตตานี
ทะเลปัตตานีมีความสมบูรณ์ด้านทรัพยากรนํ้าค่อนข้าง สูง และมีศักยภาพที่จะเลี้ยงหอยแมลงภู่มาก แต่ปัญหา
หลักของการรวมกลุ่มคือ การเฝ้ามองของหลายกลุ่ม เพื่อ รอวั น ที่ก ลุ่ม ตั้ง ต้ น ประสบความสํา เร็ จ ในการเลี้ย ง หอยแมลงภู่ และปั ญ หาภั ย พิ บั ติ ท างทะเลที่ไ ม่ ส ามารถ ควบคุมได้ ดังนั้นการเลี้ยงหอยแมลงภู่เพื่อเป็นรายได้ เสริมจึงยังอยู่ในกลุ่มที่ค่อนข้างแคบ
องค์ ค วามรู ้ ท างด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ ถู ก ถ่ า ยทอดจาก
อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มาสู่ชาวบ้าน อาจารย์เล่าว่า “ผมทําวิจัยเรื่องหอยแมลง
ภู่ ตอนแรกวิจัยเสร็จว่าจะหยุดแล้ว แต่ชาวบ้านเขาทําต่อ มันมีความหวังเราเลยทําต่อ” การร่วมมือกันของชาว
บ้ า นและกลุ่ม นั ก วิ ช าการและนั ก ศึ ก ษางอกงามในพื้น ที่ รูสมิแล
การพยายามสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงหอยแมลงภู่ และหา
ตลาดยังเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยและชาวบ้านร่วมกันทํา ต่อไปด้วยหวังว่าวันหนึ่งหอยแมลงภู่ปัตตานี จะมีที่ยืนใน ตลาดอาหารทะเลจากภาคใต้ ที่โ ดนตลาดใหญ่ ช่ ว งชิ ง
พื้นที่ การต่อสู้กับธรรมชาติดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่ ของที่นี่ แต่ไม่ได้ทําลายความหวังของผู้คนแม้แต่น้อย อาจารย์สุพัฒน์ คงพ่วง สังกัดแผนกวิชาเทคโนโลยีการประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตรวจสภาพความสมบูรณ์ของหอยแมลงภู่กับชาวบ้าน
ด้วยความเชื่อที่ว่า “วันหนึ่งอะไรคงดีขึ้น”