ศาสตร์พระราชา
การศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โรงเรียนโพธิ์ทองพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
การเรียนรู้ทางโลกมีความจําเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิต ซึ่ง
ต้นทุนของชีวิตคนเรานั้นต่างกัน แต่การเข้าใจทั้งวิชาการ และ ผู้คน รวมไปถึงการใช้ชีวิตมีความจําเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องปลูก
ฝังกันตั้งแต่เยาว์วัย “การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญ นั้น จะต้องสร้างและเสริมขึ้น จากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้ง
สิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว สิ่งที่จะเพิ่ม
เติมเสริมต่อให้เจริญขึ้นไปอีกนั้น ยากนักที่จะทําได้ จึงควรจะ
เข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว ยัง นายสฤษดิ์ สัตนันท์ ผู้อํานวยการสถานศึกษา
ต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่องไปพร้อมๆกัน ได้” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธี
พระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ ในวั น ที่ ห ลายโรงเรี ย นมุ่ ง เน้ น ไปที่ ก ารพั ฒ นาคุ ณ ภาพการ
กรกฎาคม ๒๕๒๓
ศึกษา มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการ ความเข้มข้นของการ
ศึกษายิ่งพาตัวของนักเรียนห่างจากโลกความเป็นจริงออกไป ทุ ก ที แน่ น อนว่ า เทคโนโลยี มี ส่ ว นสํ า คั ญ อย่ า งยิ่ ง ในการ
แสวงหาความรู้และส่งเสริมการเรียนการสอน แต่ในทางกลับ
กันมิติทางสังคมของนักเรียนค่อยๆลดหายไป จะดีกว่าไหมถ้า
การศึกษานําพาชีวิตชีวา การพัฒนาทักษะที่มากกว่าวิชาการ และ ความลับคือการเรียนรู้ในศาสตร์ของพระราชา
นายธนภัทร วันทาพงษ์ รองผู้อํานวยการ
ศาสตร์พระราชา คําพ่อ พอเพียง
การพัฒนาคนนั้น หากมุ่งพัฒนาเสียแต่วิชาการจนลืมตัวตน และรากเหง้านั้นดูจะเป็นการพัฒนาที่ไม่ถูกทางนัก ดังนั้น
ทางโรงเรียนโพธิ์ทองพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัด ร้อยเอ็ด จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรการเรียน การสอนให้สอด รั บ กั บ บริ บ ทของสั ง คมและน้ อ มนํา คํา สอนของพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในเรื่องของการเรียนรู้ตลอด
ชีวิต มาประยุกต์ใช้ในโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลาเรียนรู้ โดยผสานกับศาสตร์ในด้านต่างๆ ดังนี้
ความเข้าใจต่อการเรียนรู้ในขั้นพื้นฐานนั้น จะเป็นรากฐาน
สําคัญที่จะติดตัวเป็นทักษะชีวิตต่อไป ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยว
ผลผลิต นักเรียนก็เข้าใจเรื่องการเหลือใช้ก็แบ่งปัน ซึ่งสิ่ง เหล่านี้อาจสอนกันได้ในห้องเรียน แต่การนําไปใช้ในชีวิตจริง กลับสร้างความเข้าใจ ทําให้นักเรียนได้เห็นภาพจริงของการ
แบ่งปัน ความสุขของการให้ และ การรับ ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ ถู ก คาดหวั ง ตามหลั ก สู ต รการสอน แต่ ก ารที่ นั ก เรี ย นได้ เพียงพอ แบบพอเพียง แนวคิดเกษตรพอเพียง เป็นแนวคิดที่พระองค์ประทานให้กับ ปวงชนชาวไทย เพื่อการมีอยู่มีกิน ที่ตั้งอยู่บนหลักของการ
ประมาณตน ไม่ เ บี ย ดเบี ย นตนเองและผู้ อื่ น การสอนใน ห้องเรียนจะทําให้นักเรียนเห็นภาพเหล่านี้ไม่ได้เลย หากไม่ได้ ปฏิบัติอย่างจริงจัง และลงมือทําจริง
นักเรียนที่นี่จะได้เรียนรู้การทําเกษตรตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ซึ่งสิ่งที่นักเรียนจะได้รับ นอกจากทักษะการเรียนรู้ตาม
พัฒนาการแล้ว นักเรียนเองยังได้รู้จักทั้งตัวเอง มิติสังคม และ การปรั บ ตั ว ทํา งามร่ ว มกั บ ผู้ อื่ น อี ก ทั้ ง ยั ง ได้ เ รี ย นรู้ ศาสตร์พระราชา ผ่านการทําเกษตรอีกด้วย
สัมผัสถึงความรู้สึกของการให้ และได้ใช้ความรู้จากห้องเรียน มาปฏิบัติจริงนั้น กลับส่งผลถึงความรู้สึกนึกคิดในตัวของผู้ เรียนอีกด้วย
"...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมี ความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความ คิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทําอะไรต้องพอเพียง
หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คน เราก็อยู่เป็นสุข..."
"...ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทําให้มีความสุข ถ้าทําได้ก็สมควรที่ จะทํา สมควรที่จะปฏิบัติ อันนี้ก็หมายความอีกอย่างของเศรษฐกิจ หรือระบบพอเพียง...พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทําอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง..." พระราชดํารัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2541
"เศรษฐกิจพอเพียง...จะทําความเจริญให้แก่ประเทศได้ แต่ ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่
พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทําโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุก คนจะมีความพอใจได้”
พระราชดํารัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องใน โอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2541
การมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและโรงเรียนเป็นจุดที่เชื่อมองค์
ความรู้ ชุมชน สังคม ไว้ด้วยกัน ทําให้การเรียนการสอนอยู่
บนรากฐานของความเป็นจริงของชีวิต และพัฒนาผู้เรียนทั้ง ทักษะวิชาการ และ ทักษะชีวิตไปพร้อมๆกัน นอกจากนี้ พ่อ
ใหญ่ราญยังกล่าวว่า “มันดีแล้วที่เขามีพื้นฐาน มันจะติดตัวเขา ไปไม่ว่าเขาทําอะไร อยู่ที่ไหน เขาก็ดูแลตัวเองได้ และวันหนึ่งเขา ไปเจออะไรใหม่ เขาจะสามารถปรับใช้ให้เข้ากับตัวเขาได้ และ จากการเรียนรู้และสนใจในคําสอนเกษตรพอเพียง ทําให้พ่อ
ใหญ่ราญ เริ่มปลูกพืชเพื่อกินเองในบ้าน เป็นการลดต้นทุน รายจ่ายจากข้างนอก พ่อใหญ่กล่าวว่า “มันก็ดีนะ เรามีเหลือ เราก็แบ่งเขา ทุกวันนี้ซื้อแค่เนื้อ และนํ้ามันพวกนั้น” และพ่อใหญ่
ยังกล่าวว่า เราไม่มีที่เยอะแบบนั้นเราทําตามท่านหมดไม่ได้ เรา ต้องปรับพื้นที่ให้เหมาะสมกับที่ที่เรามี และพ่อใหญ่ยังได้ขยาย การทําเกษตร และความรู้ที่ได้ทดลอง ได้สะสมมาถ่ายทอดให้ กับนักเรียนอีกด้วย
เติบโตไปได้”
ศาสตร์พระราชา
วิชาการ การปฏิบัติต้องเรียนรู้ไปพร้อมกัน
เป็นที่ทราบกันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเข้าพระทัยอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องดนตรี และ อิทธิพล
ของดนตรีที่มีต่อความคิดและจิตใจของมวลมนุษย์ ตลอดจน กระบวนการใช้เสียงดนตรี บทเพลงในการสร้างสรรค์ความ
บันเทิง รวมทั้งปลูกฝังแนวความคิดที่ดีงาม เช่น ความรักชาติ บ้านเมือง ความสามัคคีพร้อมเพรียงให้เกิดขึ้นในสังคมและหมู่
คณะ พร้อมทั้งทรงตระหนักถึงอิทธิพลของดนตรีในทางลบ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชาติบ้านเมืองได้
พระบรมราโชวาทและพระราชดํารัสเกี่ยวกับดนตรีจึงเป็นเสมือน
คติเตือนใจแก่บรรดาเยาวชน นักดนตรี และพสกนิกรทุกหมู่
เหล่า ให้มีความเข้าใจลึกซึ้งเรื่องดนตรีและอิทธิพลที่พึงมีต่อ
สังคม หมู่คณะ และประเทศชาติ นอกเหนือไปจากความบันเทิง
รื่นเริงใจ สารประโยชน์ที่ได้จากเพลงหรือดนตรีโดยทั่วไป รวม ถึงยังสามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพจิตใจของผู้คนได้ อีกด้วย
“...การดนตรีจึงมีความหมายสําคัญสําหรับประเทศชาติ
สําหรับสังคม ถ้าทําดีๆ ก็ทําให้คนเขามีกําลังใจจะปฏิบัติ งานการ ก็เป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งที่ให้ความบันเทิง ทําให้คน ที่กําลังท้อใจมีกําลังใจขึ้นมาได้ คือเร้าใจได้ คนกําลังไป ทางหนึ่งทางที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะดึงกลับมาในทางที่ ถูกต้องได้ ฉะนั้น ดนตรีก็มีความสําคัญอย่างยิ่ง ”
จากการเรี ย นการสอนในโรงเรี ย นที่ ไ ด้ รั บ นโยบายลด
เวลาเรียน เพิ่มการเรียนรู้ได้จัดตั้งชมรมดนตรีและวงโย ธวาธิต ซึ่งดูแลโดยครูเผชิญ สร้อยศิลา โดยที่การ
ฝึกฝนบนความเพียรตามศาสตร์พระราชา กลับสร้าง เพชรเม็ดงามที่เป็นคุณค่าทางจิตใจ และบุคคลคือ จาก เด็กที่เกเรไม่สนใจเรียน คนที่ไม่มีโดดเด่น แต่ดนตรีกลับ เปลี่ ย นชี วิ ต และสร้ า งชี วิ ต ใหม่ ใ นการเรี ย นต่ อ ในระดั บ มหาวิทยาลัย
นายวทัญญู แสงขาว ศิษย์เก่าโรงเรียนโพธิ์ทองพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด เลือกที่จะมาฝึกสอนที่ นี่ซึ่งเป็นเสมือนบ้านและจุดเปลี่ยนของเขา จากการได้ฝึก
ดนตรี ได้ศึกษาทฤษฏีดนตรี และความเอาใจใส่ของผู้สอน
รวมกับความเพียร ตามศาสตร์พระราชา ทําให้ชีวิตเขา เปลี่ยนไป
จากพี่ชมรมสู่ครูผู้สอน ซึ่งวทัญญู กล่าวว่า “ดนตรีเป็น ชีวิตเลยครับ สําหรับผมนะ คือตั้งแต่สมัยเรียนนะครับ ผม บอกได้เลยว่าดนตรีเนี่ยให้ชีวิตสําหรับผมนะ เพราะว่าตอน ผมเรียนผมไม่เก่งสักอันเลยนะครับ โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียน
สายวิทย์คณิตนะครับ แล้วคณิตศาสตร์ ภาษาไทยอังกฤษ
อะไรพวกนี้ ผมอ่อนหมดเลยได้เกรด 1 เกรดตํ่าๆ เลยนะ ครับ แล้วก็นี่แหละเป็นเพราะดนตรีทําให้ผมสามารถจะเรียน ต่อได้ แล้วก็ไปในทางที่ตัวเองฝันได้นะครับ”
ศาสตร์พระราชา การให้การศึกษาคือ การสร้างสรรค์ความรู้
การเรียนที่ไม่ได้จํากัดแค่กรอบการเรียนรู้เพียงตําราดูจะ เป็นสิ่งที่เด็กๆชื่นชอบเอามากๆ เพราะได้ลงมือทําจริง
เห็นผลลัพธ์ และ กระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ การนําวัสดุ
เหลื อ ใช้ ใ นชุ ม ชนมาแปรรู ป กลั บ สร้ า งวิ ธี คิ ด ใหม่ ใ ห้ กั บ ผู้ เรียนและคนในชุมชนถึงคุณค่าของสิ่งรอบตัว
การเรียนรู้ตลอดชีวิต และทักษะที่ได้ทําให้เชื่อเหลือเกินว่า ถึ ง แม้ บ างคนจะไม่ ไ ด้ มี ค วามโดดเด่ น ด้ า นทั ก ษะวิ ช าการ แต่เขากลับโดดเด่นในทักษะที่ถูกพัฒนาขึ้นจากการชี้ทาง ของครูผู้สอน
นอกจากการเรียนรู้ในศาสตร์ด้านต่างๆ ทั้งเกษตรพอ
เพียง ดนตรี ยังมีอีกกิจกรรมสําคัญที่สร้างคุณค่า และ ตั ว ตนให้ กั บ ผู้ เ รี ย นได้ อ ย่ า งไม่ น่ า เชื่ อ นั่ น คื อ การทํา “เฟอร์นิเจอร์จากเศษไม้”
เศษไม้และเครื่องมือช่างกลับสร้างตัวตนและความภูมิใจ แก่ผู้เรียน ผู้เรียนบางคนกล่าวว่า “รู้สึกภูมิใจและดีใจที่ทํา สําเร็จ เพราะไม่คิดว่าจะทําได้ และไม่เคยทําอะไรสําเร็จเลย” การตระหนักถึงคุณค่าแห่งตนเป็นผลลัพธ์ของกิจกรรม ดังกล่าว
แต่ เ หนื อ สิ่ ง อื่ น ใด นี่ จ ะเป็ น อี ก ทั ก ษะที่ จ ะติ ด ตั ว ผู้ เ รี ย น ตลอดไป เพราะเป็นการเรียนรู้ตามศักยภาพและความ สนใจที่ผู้เรียนเป็นผู้เลือกเอง
นายเชิดชาย ชูช่วยสุวรรณ ครูผู้มีประสบการณ์ จากวิทยาลัยชุมชน ซึ่งมีความรู้ในวิชาช่างสู่การ
ถ่ายทอดตามศักยภาพผู้เรียน ด้วยความเชื่อใน การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ครูเชิดชายเล่า ว่า “การเรียนรู้ตลอดชีวิตนะครับต้องบอกก่อน
ว่ า ทุ ก อย่ า งที่ อ ยู่ ร อบตั ว เนี่ ย มั น เป็ น ความรู้ ไ ด้ หมดนะครับมันอยู่ที่ว่าเราจะแสวงหาอะไรนะครับ
แต่ว่าในหน้าที่ของความเป็นครูเนี่ยก็คือต้องเป็น ประกายเขาเห็นว่ามันเป็นความรู้ทั้งนั้น”
ท้ า ยที่ สุ ด แล้ ว การที่ โ รงเรี ย นโพธิ์ ท อง พิ ท ยาคม องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด
ร้อยเอ็ด มุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนตาม หลักศาสตร์พระราชา ภายใต้แนวคิดการ
เรี ย นรู้ ต ลอดชี วิ ต จะส่ ง ผลดี ต่ อ ผู้ เ รี ย น นายสฤษดิ์ สัตนันท์ ผู้อํานวยการสถานศึกษา
โดยตรง เพราะนอกจากความมุ่งมั่นในการ
พั ฒ นาทั ก ษะวิ ช าการแล้ ว ยั ง มุ่ ง เน้ น การ
พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต และสร้ า งเสริ ม ทั ก ษะ ชีวิต ทั้งในเรื่องของความพอเพียง การ
ประมาณตน ความเพี ย ร และการเรี ย นรู้ ตลอดชีวิต ที่สอดแทรกอยู่ในหลักสูตรการ
สอน ซึ่ ง ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งเรื่ อ งของการพรํ่ า สอน แต่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ผู้ เ รี ย นสั ง เคราะห์ ไ ด้ จ าก การเรียนและปฏิบัติ