thaidental Mag

Page 1

VOLUME 8 ISSUE 33 JANUARY • MARCH 2015

MAGAZINE

“เด็กยุคใหม่

ไปเรียน อะไรกัน THAI DENTAL MAGAZINE • VOLUME 8 ISSUE 33 JANUARY • MARCH 2015

ในหมู่บ้าน”

มข.

SKI

กลางเทือกเขา

Rocky Ski Town

สัมผัสเมืองแห่ง ขุนเขาราชอาณาจักร

ภูฏาน


เจ้าของ ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ปรึกษา ทพ.อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา ทพ.สุชิต พูลทอง ศ.ทพ.ดร.ประสิทธิ์ ภวสันต์ ทญ.ดร.ญาดา ชัยบุตร บรรณาธิการ ทญ.แพร จิตตินันทน์ กองบรรณาธิการ ทพ.ปริญญา อมรเศรษฐชัย ทญ.อภิญญา บุญจำ�รัส ทพ.สุธี สุขสุเดช ทญ.ดวงตา อิสสระพานิชกิจ ทญ.ธิติมา วิจิตรจรัลรุ่ง ทพ.กิตติธัช มงคลศิวะ ทญ.เดือน ปัญจปิยะกุล ทพ.สมดุลย์ หมั่นเพียรการ ทพ.อภิสิทธิ์ อารยะเจริญชัย ทพ.บัญชา เหลืองอร่าม

ติดต่อโฆษณาที่ คุณ ชิตศักดิ์ สุวรรณโมลี 02-539-4748

ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ 71 ลาดพร้าว 95 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 02-5394748 แฟกซ์ 02-5141100 e-mail: thaidentalnet@gmail.com

ส่วนวิชาการของแมกกาซีน จากจุดเริ่มฉบับละเรื่องกลายเป็นฉบับละสองถึง สามเรื่อง เนื้อหาวิชาการที่เราตั้งใจจะน�ำเสนอนั้น เพื่อ Update ความก้าวหน้าให้ สมาชิก เพื่อให้ทราบกระแสการเปลี่ยนแปลง และมีความรู้ประกอบบทสนทนาหาก คนไข้หารือ (คนไข้ยุคใหม่ถามอะไรลึกซึ้ง ตอบไม่ดีเสียฟอร์มค่ะ) เรามิได้ตั้งใจท�ำ แมกกาซีนส่วนวิชาการของเราให้เป็น How to แต่อย่างใด เนื่องจากบางบทความ เราได้มาจากห้องประชุม เนื้อหาตามการน�ำเสนอในห้องประชุม ลักษณะเป็น case คล้าย How to ไปบ้าง โปรดเข้าใจที่มาที่ไปค่ะ ส่วนการแนะน�ำระบบ การน�ำเสนอเกี่ยวกับหน่วยงาน เพื่อให้ทันตแพทย์รู้จัก การท�ำงานของทันตแพทย์ด้วยกันเอง เป็นสมาคมเพื่อทันตแพทย์นั้น เราก็พยายาม น�ำเสนอ “ยานแม่” ได้แก่มหาวิทยาลัย ที่เป็นต้นแบบเป็นเบ้าที่จะผลิตทันตแพทย์สู่ สังคมว่าเขาไปกันถึงไหนแล้ว นอกจากเก่งแล้ว กระบวนการท�ำให้ทันตแพทย์เป็น คนดี เข้าใจสังคมเขาใช้กุศโลบายอย่างไรกัน และเพือ่ ตอบรับกับการเปิดเสรี AEC เราพยายามหาข้อมูลระบบบริการประเทศ ต่างๆ มาให้ทา่ นสมาชิกได้รบั ทราบ ฉบับนีม้ เี รือ่ งระบบบริการของเวียดนาม ประเทศ ที่เปิด ดร.กูเกิ้ลก็หาอ่านไม่ได้ ต้องให้ผู้เขียนใช้สัมพันธไมตรีและความอุตสาหะไป สืบค้นข้อมูล การแนะน�ำ FDI เราได้ ดร.ญาดา ชัยบุตร เขียนบทความส่งมาจาก อเมริกา แนะน�ำวิทยากรให้ท่านก่อน FDI จะออก CV ด้วยความใจดีของผู้เขียนช่วย หาข้อมูลให้อย่างรวดเร็ว ด้วยทันตแพทยสมาคม deliver วิชาการระดับโลกถึงบ้าน เรา ก็อยากให้ลองอ่านสรรพคุณวิทยากรในเบื้องต้นกันนะคะ ทัง้ หมดทัง้ มวลเหล่านักเขียนล้วนท�ำงานกันด้วยความกตัญญูตอ่ วิชาชีพทีท่ �ำให้ เราทุกคนมีที่ยืนในสังคม หวังว่าบทบาทเล็กๆ ของเราจะเป็นก�ำลังใจให้แหล่งผลิต แนะน�ำให้รู้จักกันและกัน เติมวิชาการให้ผู้อ่านได้บ้าง ทราบกิจกรรมสร้าง “คนดี” ของแต่ละมหาวิทยาลัยที่ส�ำคัญไม่น้อยกว่าวิชาการ ตบท้ายด้วยการน�ำเสนอการใช้ ชีวิตของทันตแพทย์ไทย ที่ใช้ชีวิตอย่างมีสไตล์ (Dent Adirek / Dent Dining) และ มีความสุข ปี 2558 นี้เราก็คงมุ่งมั่นท�ำแมกกาซีนให้ท่านกันต่อไป โปรดให้ก�ำลังใจ เราด้วยการติดตามนะคะ บรรณาธิการ ทญ. แพร จิตตินันทน์

CONTENTS VOLUME 8 ISSUE 33 JANUARY - MARCH 2015

06 10 11 12 16 19 20 22 26

28

Gen health -Oxytocin 34 ค�ำถามฝากไว้ให้กรมทันตกรรม 40 ค่านิยมคนไทย 2015 48 CD for implant retained overdenture 52 Endomicrosurgery 58 บทความ อาบน�้ำเน่า 60 ความเจ็บอยู่ที่ใจ 62 FDI promotion ประชุมมาตรฐาน 64 Dental Material เยอรมัน 66 ระบบบริการ ทันตกรรมเวียดนาม 68

เล่าเรื่องทันตกรรมเมืองญี่ปุ่น Cleft palate ภาคเหนือตอนล่าง ท�ำไมต้องลงชุมชน มข SCB challenge project สมดุล คุณค่า ชีวิต Dent Dining เพื่อนปลูกเพื่อนกิน Dent Dining Never ending summer Dent Adirek- SKI คนที่คุณไม่รู้ว่าใคร คนสร้างภาพ Dent away ภูฏาน

THAI DENTAL MAGAZINE • 3


Health Tip

เรื่อง ศ.ทพ.ดร. ประสิทธิ์ ภวสันต์

6 • THAI DENTAL MAGAZINE

มีรายงานที่น่าสนใจ จากวารสาร Journal of Psychiatric Neuroscience and Therapeutics ที่รายงานไว้เมื่อเดือน ตุลาคม 2557 ในรายงานดัง กล่าวได้แสดงหลักฐานว่าการใช้ฮอร์โมน ออกซิโตซิน (oxytocin) หรือฮอร์โมนแห่งความสุข ในอาสาสมัคร สามารถยับยั้งความกลัวที่เกิดขึ้น ในใจของอาสาสมัคร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ต่อมพิตูอิตารี (pituitary gland) และปล่อยออกจากต่อมพิตูอิตารี เข้าสู่กระแสเลือด ออกซิโตซินเป็น peptide hormone ขนาดเล็ก ที่ มีองค์ประกอบเป็นกรดอะมิโน (amino acid) เพียง 9 โมเลกุลต่อ กัน ในบางครั้งจึงถูกเรียกว่า nanopeptide (nano = 9) หน้าที่ ของฮอร์โมนนี้จะกระตุ้นการบีบรัดตัวของมดลูก เพื่อช่วยในการ คลอดบุตร กระตุ้นการท�ำงานของต่อมน�้ำนม ท�ำให้กล้ามเนื้อของ ต่อมน�้ำนม บีบตัวให้หลั่งน�้ำนมออกมา (milk ejection) เพื่อช่วย คุณแม่ในการให้นมลูก รวมทั้งกระตุ้นพฤติกรรมของความเป็นแม่ และความรักความไว้เนือ้ เชือ่ ใจระหว่างกัน นอกจากนี้ ยังท�ำหน้าที่ ช่วยส่งเสริมให้เกิดกระบวนการสืบพันธุด์ ว้ ย และด้วยหน้าทีเ่ หล่านี้ เองฮอร์โมนออกซิโตซิน จึงถูกเรียกว่าเป็น “ฮอร์โมนแห่งความรัก”

ในรายงานดังกล่าว M. Eckstein และคณะผูว้ จิ ยั ได้สร้างสภาวะความ กลัวแบบมีเงื่อนไข หรือที่รู้จักกันในชื่อ Pavlovian conditioned* โดยในการทดลองผูว้ จิ ยั จะให้อาสาสมัครดูภาพถ่ายจ�ำนวนมากแต่ อาสาสมัครจะถูกไฟดูดทุกครัง้ ทีเ่ ห็นภาพบ้าน ซึง่ การสร้างเงือ่ นไขใน ลักษณะนี้ จะสร้างเงื่อนไขให้กลุ่มอาสาสมัครเกิดความกลัว “ภาพ บ้าน” ขึ้น จากนั้นจะแบ่งอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับ ฮอร์โมนออกซิโตซิน (oxytocin) และกลุ่มที่ได้ยาหลอก (placebo) โดยการให้ยา จะท�ำโดยการพ่นเข้าทางจมูก เมื่อกลับมาดูภาพอีก ครั้ง หลังจากได้รับยา พบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับฮอร์โมนออก ซิโตซิน ลดความกลัวต่อภาพบ้านลงอย่างมาก จนถึงระดับที่ไม่มี ความกลัวเลย ในขณะที่กลุ่มซึ่งได้รับยาหลอก ยังคงมีความกลัว ภาพบ้านในระดับเดียวกับระดับก่อนการได้รับยา ผลการทดลองนี้ สนับสนุนบทบาทของฮอร์โมนออกซิโตซิน ในการ บรรเทาความวิตกกังวลของผูป้ ว่ ยและสนับสนุนความเป็นไปได้ใน การน�ำเอาออกซิโตซินมาใช้รักษาผู้ป่วย anxiety disorder ซึ่งเป็น กลุ่มของผู้ป่วยโรควิตกกังวลและมีความหวาดกลัวต่อสิ่งแวดล้อม รอบตัว รวมถึงผูป้ ว่ ยทีม่ คี วามหวาดกลัวต่อสังคม (social phobia) หรือผู้ป่วยออทิสติกในบางประเภทได้ด้วย

หมายเหตุ

*Ivan Pavlov เป็นนักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ทีส่ ร้างทฤษฎีการเรียนรูก้ าร วางเงือ่ นไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิง่ เร้า (Classical conditioned theory) ขึน้ การทดลองทีม่ ชี อื่ เสียงของ Pavlov คือการสร้างเงือ่ นไข ระหว่างเสียงกระดิง่ กับอาหารในสุนขั โดยในการทดลองนัน้ Pavlov จะสัน่ กระดิง่ ทุกครัง้ ทีใ่ ห้อาหารสุนขั และเมือ่ ท�ำการสร้างเงือ่ นไขเช่น นี้เป็นเวลา 7 วัน Pavlov พบว่า ทุกครั้งที่สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งก็ สามารถกระตุ้นให้สุนัขน�้ำลายไหล เนื่องจากคิดว่าจะได้รับอาหาร

ออกซิโตซินคืออะไร

ออกซิโตซิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มของเซลล์ประสาทใน สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) จากนั้นจึงถูกส่งไปยัง

การที่ฮอร์โมนออกซิโตซินจะกระตุ้นให้มารดามีพฤติกรรมในการ เลี้ยงบุตร มีความส�ำคัญต่อการด�ำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ อย่างไร ก็ดี ในผู้ชายก็มีการหลั่งออกซิโตซิน จากไฮโปทาลามัสเหมือนในผู้ หญิงเช่นกัน โดยมีรายงานว่าฮอร์โมนนีม้ บี ทบาท ช่วยในการเคลือ่ น ทีข่ องสเปิรม์ ในโพรงมดลูกเพือ่ ไปผสมกับไข่ และอาจมีหน้าทีเ่ กีย่ ว กับพฤติกรรมทางเพศของผู้ชายด้วย นอกจากนี้ การเพิ่มระดับของฮอร์โมนออกซิโตซินในร่างกาย ยัง สามารถช่วยลดความกังวล ความเครียด รวมทั้งช่วยเพิ่มความ เชื่อมั่นในตัวเอง และช่วยลดความหวาดกลัวต่อสถานการณ์และ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราได้ด้วย ผลการศึกษาเกีย่ วกับผลของออกซิโตซินกับความเครียดนี้ ได้รบั การ ตีพมิ พ์ในวารสาร Nature เมือ่ ปี พ.ศ. 2548 โดยนักวิจยั ที่ University of Zurich ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้สเปรย์ฮอร์โมนนี้ เข้าทาง จมูก (Nasal spray) และพบว่าท�ำให้คนเราเกิดการตอบสนองทาง สังคมที่ดีขึ้นมีความไว้เนื้อเชื่อใจกับผู้คนรอบตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นผล ดีต่อการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม บทบาทในส่วนนี้ เชื่อว่าเกิดจากการที่ ออกซิโตซินในสมอง ออก ฤทธิ์ยับยั้งการท�ำงานของสมองส่วนที่เรียกว่า“amygdala”ซึ่งเป็น ส่วนของสมอง ที่ท�ำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และความหวาด กลัว (fear center)

amygdala

อะมิกดาลา เป็นกลุ่มของเซลล์ประสาทที่อยู่บริเวณด้านหน้าของ hippocampus ในสมองส่วน temporal lobe กลุ่มเซลล์ประสาท นี้ จะท�ำหน้าทีเ่ กีย่ วข้องกับการตอบสนองทางอารมณ์ ความทรงจ�ำ ที่เกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึก (เช่น ความทรงจ�ำเรื่องภาพบ้าน ในกรณีของ Pavlov condition หรือความทรงจ�ำในเหตุการณ์ใน อดีต เช่น ความทรงจ�ำที่เคยถูกสุนัขกัด ซึ่งท�ำให้เกิดความระแวง หรือหวาดกลัวสุนัข เป็นต้น) amygdala ยังท�ำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ ความกลัวและความวิตกกังวล สัญชาตญาณและความก้าวร้าว รวมถึงแรงขับดันทางเพศ (libido) โดยพบว่าขนาดของ amygdala THAI DENTAL MAGAZINE • 7


จะเล็กลง ในสัตว์ที่ถูกตอนหรือในกรณีที่ตัดส่วนของ amygdala ออกไป ก็จะท�ำให้สัตว์ตัวนั้นกลายเป์นสัตว์ที่เชื่อง ขี้ขลาด และ ไม่สู้ (tamed animal) การท�ำงานของ amygdala นอกจากจะเกีย่ วข้องกับความกลัว และ การแสดงสีหน้าทีเ่ กีย่ วกับความกลัวด้วยแล้ว (fearful face) สมอง ส่วนนีย้ งั ท�ำหน้าทีก่ ระตุน้ ให้รา่ งกายพร้อมทีจ่ ะรับมือกับสถานการณ์ ที่ก่อให้เกิดความกลัวนั้น รวมทั้งยังกระตุ้นพฤติกรรมที่ก้าวร้าวต่อ ผู้คนรอบข้างด้วย ซึ่งเป็นกระบวนการในการปกป้องตนเองจาก สถานการณ์ที่อาจเป็นอันตราย การท�ำงานของ amygdala จะเชื่อมโยงกับการท�ำงานของสมอง ส่วน medial prefrontal cortex โดยพบว่าเซลล์ประสาทของ medial prefrontal cortex จะควบคุมการท�ำงานของเซลล์ประสาทใน amygdala และจากรายงานการใช้ออกซิโตซินในการยับยั้งความ กลัวที่เกิดขึ้น ตามที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ก็สันนิษฐานว่า น่าจะเกิด จากการที่ออกซิโตซิน ไปกระตุ้นการท�ำงานของเซลล์ประสาทใน สมองส่วน medial prefrontal cortex ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของเราเป็นสิ่งที่จ�ำเป็น เพื่อที่ เราจะได้ไม่แสดงพฤติกรรมทีไ่ ม่เหมาะสม อันเนือ่ งจากแรงขับของ amygdala ซึง่ แม้วา่ แรงขับนี้ เป็นแรงขับตามธรรมชาติ เพือ่ ช่วยใน การอยู่รอดของปัจเจกนั้นๆ แต่ในมนุษย์ ซึ่งมีพัฒนาการของระบบ amygdala-medial prefrontal cortex interaction ก็ควรจะช่วยให้ เราสามารถควบคุมให้มีพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมจาก แรงขับของ amygdala ได้

ในหนังสือ “The moral molecule” โดย Paul Zak, PhD. ได้น�ำ เสนอวิธีง่ายๆในการเพิ่มระดับของออกซิโตซินในร่างกาย ซึ่งน่าจะ เป็นการเพิม่ ความสุขในชีวติ โดยวิธกี ารต่างๆนอกเหนือจากประเด็น ความสัมพันธ์ชายหญิง เช่น การกอดกันให้มากขึ้น การจับมือกัน ให้มากขึ้นแล้ว Paul Zak ยังน�ำเสนอว่า การดูภาพยนตร์ดราม่า การร้องคาราโอเกะ การเต้นร�ำ การสังสรรค์กับเพื่อนฝูง (โดยเรา ออกสตางค์เลี้ยงเพื่อน) การพูดจากันด้วยถ้อยค�ำที่อ่อนหวาน ก็ สามารถมีส่วนช่วยเพิ่มการหลั่งออกซิโตซินเช่นกัน และเขาตบ ท้ายว่า การเข้าร่วมใน social network เช่นการเล่น Facebook ก็ สามารถช่วยเพิ่มการหลั่งออกซิโตซินด้วยเช่นกัน ทั้งหมดนี้ เป็นความเห็นของ Paul Zak ซึ่งผู้เขียนไม่จ�ำเป็นต้องเห็น ด้วย (ซึ่งผู้เขียนเองก็ยังสงสัยว่า คุณ Zak มโนเองหรือเปล่า) แต่ ความเห็นเหล่านี้ คงถูกใจผู้คนจ�ำนวนมากในปัจจุบัน ที่เป็นสังคม ก้มหน้า และเป็นข้ออ้างในการเล่น facebook มากขึ้นกระมัง “Self-control is a key factor in achieving success. We can’t control everything in life, but we can definitely control ourselves.”Jan Mckingley Hilado

ความโศก ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (ความอยากอย่างนั้นอย่างนี้) ความกลัว ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (เพราะกลัวไม่สมอยาก) ส�ำหรับผู้ที่พ้นแล้วจาก ตัณหา ย่อมไม่มีความโศก ความกลัว จักมีมา แต่ที่ไหนเล่า “ (ธ. ขุ. ๔๓)

ออกซิโตซินกับความสุขในชีวิต

“If you have nothing, then you have everything, because you have the freedom to do anything, without the fear of losing something.” - Jarod Kintz

มีการทดลองทีร่ ายงานในวารสาร Neuroscience เมือ่ ปี พ.ศ. 2553 อีกรายงานหนึ่งที่น่าสนใจ โดยในการศึกษานั้น ได้ท�ำการวัดระดับ ของออกซิโตซินในกระแสเลือดของอาสาสมัคร ก่อนและหลังจากการ ได้รบั ของขวัญทีม่ คี า่ จากคนแปลกหน้า พบว่า ผูท้ มี่ รี ะดับออกซิโต ซินสูง เมือ่ ได้รบั ของขวัญ จะเป็นผูท้ มี่ คี วามสุขกับชีวติ และมีความ พึงพอใจในตัวเองมากกว่าคนทีม่ รี ะดับออกซิโตซินต�ำ่ และทีน่ า่ สนใจ มากขึ้น คือ อาสาสมัครที่แบ่งปันของขวัญที่ได้รับกับผู้คนรอบข้าง เป็นผูท้ มี่ รี ะดับออกซิโตซินสูงกว่า และยังสัมพันธ์กบั บุคลิกภาพของ คนๆนัน้ ทีเ่ ป็นคนทีม่ มี นุษยสัมพันธ์ทดี่ ี มีความไว้วางใจกับผูค้ นรอบ ข้างมากกว่า และมีระดับของ “Happiness” สูงกว่า อย่างไรก็ดี ยัง ไม่ชัดเจนว่า ระหว่าง การเพิ่มขึ้นของออกซิโตซิน กับ ความสุขใน ชีวิต ประเด็นไหนเป็นสาเหตุ และประเด็นไหนเป็นผล

Location of the Amygdala (Shown in Red) Read more at: http://phys.org/news106936688.html#jCp http://www.novabizz.com/NovaAce/Physical/Oxytocin. htm#ixzz3PPALNq2S

ดังกล่าวแล้วว่า ฮอร์โมนออกซิโตซิน จะช่วยส่งเสริมความไว้วางใจ ต่อสังคมและผูค้ นรอบข้าง ดังนัน้ จึงไม่นา่ แปลกใจทีม่ รี ายงานแสดง ว่า หญิงสาวทีม่ รี ะดับของออกซิโตซินสูงในกระแสเลือด จะมีความ พึงพอใจต่อชีวิตและมีความมั่นคงทางอารมณ์มากกว่า (น่าสังเกต ว่า ไม่มีรายงานในผู้ชาย)

8 • THAI DENTAL MAGAZINE


3. บูรณาการ? เรื่อง หมอฟันบ้านนอก

เท่าที่มีบันทึกประวัติศาตร์ไว้ ในวงการทันตสาธารณสุข มีความพยายามทีจ่ ะเสนอให้ตงั้ หน่วยงานของทันตแพทย์ ให้เป็นระดับ “กรม” มาตัง้ แต่ปี พ.ศ.2503 และก็มขี า่ วเรือ่ ง นี้มาเป็นระยะๆ จนในปลายปีพ.ศ. 2557 ได้มีค�ำสั่งของ กระทรวงสาธารณสุข ในการแต่งตัง้ คณะท�ำงานจัดตัง้ กรม ทันตสุขภาพขึน้ มีกรรมการ 29 คนทีต่ อ้ งท�ำเอกสารขอจัด ตัง้ กรมทันตสุขภาพให้คณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบ ราชการกระทรวงสาธารณสุขพิจารณา แต่ในสถานการณ์ และบริบทที่เปลี่ยนไปของสังคมไทยในปัจจุบันนี้ ยังจะมี ความจ�ำเป็นในการจัดตัง้ กรมทันตสุขภาพหรือไม่ พบกับ ค�ำถาม 5 ข้อทีค่ วรจะตอบก่อนการจัดตัง้ กรมทันตสุขภาพ

1. การกระจายอ�ำนาจ? ปัจจุบนั การกระจายอ�ำนาจให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิน่ ในการดูแลสุขภาพของประชาชนมีมากขึน้ เนือ่ งจาก มีความใกล้ชิดกับประชาชน รู้ปัญหาและความต้องการ ของประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลบางส่วน ได้โอนย้ายให้ท้องถิ่นดูแล การท�ำนโยบายสาธารณะเพื่อ สุขภาพในแต่ละพืน้ ทีเ่ ป็นบทบาทโดยตรงของหน่วยงานใน ระดับท้องถิน่ ทีจ่ ะต้องท�ำร่วมกับประชาชน เพือ่ ให้สอดคล้อง กับบริบทของพืน้ ที่ ในอนาคตการบริหารราชการส่วนท้อง ถิ่นจะเติบโตขึ้นและระบบบริหารราชการส่วนกลางควร จะลดขนาดลง ดังนั้นการตั้งกรมทันตสุขภาพจะขัดแย้ง กับแนวคิดการกระจายอ�ำนาจและแนวโน้มการลดขนาด ของระบบบริหารราชการส่วนกลางหรือไม่ อย่างไร?

2. สอดคล้องกับหลักประกันสุขภาพ

ถ้วนหน้า?

ที่ใช้การแบ่งแยกอ�ำนาจระหว่าง ผู้ซื้อบริการ (ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ) และ ผู้ให้บริการ (โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข) ซึง่ เป็นหลักสากล ในการท�ำให้เกิดประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการ ให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน โดยกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการก�ำหนดหลักเกณฑ์ในการให้บริการและ นโยบาย รวมทั้งเป็นผู้ดูแลโรงพยาบาลในสังกัด ดังนั้น บทบาทของกรมทันตสุขภาพในระบบประกันสุขภาพถ้วน หน้าควรจะมีบทบาทอย่างไรบ้างจึงจะสอดคล้องเหมาะ สมกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 10 • THAI DENTAL MAGAZINE

งานทันตสาธารณสุขควรจะมีการบูรณา การการท�ำงานร่วมกับงานสาธารณสุขอืน่ ๆ เป็นการ ท�ำงานแบบสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยซึ่งจะท�ำให้ ผลลัพธ์ในการท�ำงานมีประสิทธิภาพและประชาชน ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ การท�ำงานแบบสหวิชาชีพ จะเกิดขึ้นจริง ณ. หน่วยงานระดับปฎิบัติการเช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับต�ำบล หรือ โรงพยาบาลชุมชน แต่ที่ผ่านมาการออกนโยบาย จากส่วนกลางของกระทรวงสาธารณสุขในแต่ละ กรมกอง นั้นยึดถือเรื่องและประเด็นของหน่วยงาน ตนเองเป็นหลัก หน่วยปฎิบตั งิ านมีความยากล�ำบาก ในการบูรณาการงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ดังนั้นการ มีกรมทันตสุขภาพจะแก้ปัญหาเรื่องการบูรณา การงานทันตสุขภาพกับงานอื่นๆ ได้หรือไม่ และจะ ท�ำอย่างไร

4. สุขภาพช่องปากประชาชน

จะดีขึ้น?

โครงสร้างของกรมทันตสุขภาพที่ประกอบ ด้วย กองนโยบายและยุทธศาสตร์ กองพัฒนาระบบ บริการทันตสุขภาพ สถาบันทันตสุขภาพ ศูนย์ทันต สุขภาพภาค กองพัฒนาเทคโนโลยีทันตสุขภาพ ตามกลุ่มวัย กองพัฒนาเทคโนโลยีทันตสุขภาพชั้น สูง กองพัฒนาการคุ้มครองสิทธิด้านทันตสุขภาพ และส�ำนักงานเลขานุการกรมนั้น เป็นการขยายงาน ด้านต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับทันตสุขภาพ ซึง่ การมีหน่วย งานระดับกองต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้น ควรเป็นภาระกิจ ของกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ และถ้ามีแล้วจะ ท�ำให้สขุ ภาพช่องปากของประชาชนดีขนึ้ จริงหรือไม่ อะไรคือสิง่ ทีจ่ ะท�ำให้มนั่ ใจได้วา่ สุขภาพช่องปากของ ประชาชนจะดีขึ้น

5. เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น

ก่อนการจัดตัง้ กรม?

จากรายชื่อคณะกรรมการจัดตั้งกรมทันต สุขภาพที่มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นคนในหน่วยงานของ กระทรวงสาธารณสุข และระบุหน้าที่ไว้ชัดเจนที่ให้ ท�ำข้อเสนอการจัดตั้งกรมทันตสุขภาพขึ้น จะมีพื้นที่ ส�ำหรับประชาชนและทันตแพทย์ที่มีความคิดเห็น ต่างในการจัดตั้งกรมทันตสุขภาพ ได้น�ำเสนอความ คิดเห็นเพือ่ การจัดตัง้ กรมทันตสุขภาพหรือไม่ และจะ ท�ำอย่างไรให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความ คิดเห็นได้อย่างเสรี


ผลการวิจัย 8 ค่านิยมของคนไทยในปี 2015 ซึ่งจัดท�ำโดย “เอ็นไว โรเซล ไทยแลนด์” ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมผูบ้ ริโภค ส่งสัญญาณมาแต่ไกลว่า สังคมไทยก�ำลังจะก้าวเข้าสู่ “ยุคตัวกูของ กู” และยิ่งนับวันคงหาคนไทยที่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ความสุขส่วนตัวได้ยากเย็นเต็มที ค่านิยมมาแรงจนน่าเป็นห่วงคือ “รวยลัด “RICHFICIENCY” RICH+SUFFICIENCY จะเห็ น ได้ ว ่ า หนั ง สื อ ติ ด อั น ดั บ เบสต์เซลเลอร์ขายดิบขายดีในยุคนี้ จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับเคล็ด ลับการสร้างความมั่งคั่ง และแรงบันดาลใจสู่ความส�ำเร็จ แม้แต่ ในงาน Money Expo ครั้งล่าสุด ผู้เข้าร่วมงานก็มีอายุน้อยลงอย่าง เห็นได้ชดั คนไทยยุคนีย้ งั เปลีย่ นความสนใจจากการลงทุนในธุรกิจ และอยากเป็นเจ้าของกิจการ หันมาศึกษาลงทุนในตลาดหุ้นแทน เพราะเห็นตัวอย่างของนักเล่นหุน้ รุน่ ใหม่ทปี่ ระสบความส�ำเร็จตัง้ แต่ อายุน้อยๆ กระนั้น ความรวยที่คนรุ่นใหม่ใฝ่หาเป็นความรวยแบบ ฉาบฉวยชั่วข้ามคืน ต้องการรวยแบบด่วนๆ แต่ไม่ได้ฝันถึงขนาดมี เงินพันล้าน แค่อยากมีกินมีใช้และท่องเที่ยวลั้ลลา แนวโน้มที่ตาม มาก็คือ ตลาดแรงงานจะเปลี่ยนโฉมหน้าอย่างสิ้นเชิง ในอีก 6 ปี ข้างหน้าจะหาคนท�ำงานเป็นพนักงานประจ�ำได้ยากขึ้น เพราะคน ยุคใหม่นิยมท�ำงานฟรีแลนซ์และพาร์ตไทม์มากกว่า ค่านิยมที่ตอกย�้ำความฉาบฉวยของสังคมไทยคือ “งามภายนอก “EXTHETIC” EXTERNAL+AESTHETIC คนสมัยนี้ไม่เห็นคุณค่า ความงามภายใน แต่ให้ความส�ำคัญกับความงามภายนอก ซึ่งมี ผลต่อความก้าวหน้าด้านอาชีพการงาน และการเป็นที่ยอมรับของ สังคม แนวโน้มนีท้ ำ� ให้ ธุรกิจเสริมความงามต่างๆ เติบโตคึกคัก เช่น เดียวกับแอพพลิเคชัน่ เสริมแต่งรูปภาพที่กลายเป็นอุปกรณ์ขาดไม่ ได้ของคนยุคโซเชียลเน็ตเวิร์ก ก็เพราะถือคติตัวกูของกู คนสมัยนี้จึงมีค่านิยม “ช่วยเหลือตัวเอง (ไม่พึ่งพา)” หรือ “YELP” Help Yourself ปัจจุบันมีเทคโนโลยี มากมายที่ช่วยให้สามารถท�ำกิจกรรมหลายอย่างได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ตอ้ งพึง่ พาคนอืน่ ไม่วา่ จะเป็น ไม้ถา่ ยรูปเซลฟี่ แอพพลิเคชัน่ ค้นหาเส้นทางท่องเที่ยว หรือแม้แต่ google ที่มีค�ำตอบทุกอย่าง

ในโลกรวมไว้ที่เดียว ในเมื่อไม่ต้องพึ่งพิงใครมาก เด็กรุ่นใหม่ จึง มีความแข็งกระด้าง ไม่ยอมโอนอ่อนให้ใครง่ายๆ เมื่อก่อนมีอะไร เด็กอาจปรึกษาพ่อแม่ แต่ทุกวันนี้ยกให้อากู๋เป็นที่หนึ่งในดวงใจ คนสมัยนี้แต่งงานกันน้อยลง แต่อัตราหย่าร้างเพิ่มสูงขึ้น เพราะ มีค่านิยม “ไม่ผูกมัด” “NOBLIGATION” NO+OBLIGATION ผู้คนมีทางเลือกหลากหลายมากขึ้น จึงชอบอะไรที่มาเร็วเคลมเร็ว แม้แต่ในเชิงการตลาด ผู้บริโภคยุคใหม่ก็ไม่ชอบการผูกมัดระยะ ยาวและเบื่อง่าย เพราะมองหาแต่ข้อมูลใหม่ๆ ตลอดเวลา อะไรที่ น�ำเสนอเนื้อหายืดยาดเยิ่นเย้อไม่กระชับ โดยเฉพาะทีวีดิจิตอล ก็ เตรียมม้วนเสื่อกลับบ้านได้เลย ผูบ้ ริโภคยุคใหม่ฉลาดเป็นกรด จึงชืน่ ชอบอะไรที่ “เปิดเผย ชัดเจน อย่าปิดบัง” “SINCLEAR” SINCERE+CLEAR จะเห็นว่าทุกวัน นี้ผู้บริโภคเชื่อรีวิวจากประสบการณ์จริง มากกว่าโฆษณาที่ถูกปรุง แต่งมาแล้ว เรามีนกั สืบพันทิปคอยเสาะแสวงหาความจริงในสังคม และพร้อมร่วมด้วยช่วยกันตีแผ่พวกลวงโลกลวงสังคม โลกทั้งใบถูกหลอมรวมเป็นโลกใบเดียวกันไปแล้ว จนเกิดค่านิยม “วัฒนธรรมเดียวกัน” “BLENDSO” BLENDED+ SOCIETY ปัจจุบันเรามีวัฒนธรรมเดียวกันทั่วโลก เช่น K-Pop ที่โด่งดังมาก หรือกระแส Ice Bucket Challenge ที่แพร่สะพัดจากอเมริกาไป ทั่วทุกมุมโลกอย่างรวดเร็ว ข้อดีของเทรนด์นี้คือ สามารถท�ำการ ตลาดด้วยคอนเซปต์เดียวกันทั้งโลก แต่ก็มีข้อเสียเพราะท�ำให้ขาด เอกลักษณ์ของแต่ละสังคม คิดจะเอาชนะใจผูบ้ ริโภคยุคใหม่ ต้องตีโจทย์ 2 ค่านิยมนีใ้ ห้แตกกระจุย คือ “ซื้อน้อยแต่ได้เยอะ” “EASEMORE” EASY+MORE สินค้า ชิ้นเดียวจะต้องท�ำหน้าที่สารพัดประโยชน์ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ขณะเดียวกัน ก็ตอ้ ง “มาตรฐานสูง” “SUPERGENIC” SUPER+GENIC นอกจากจะแข่งเรือ่ งคุณภาพสินค้าแล้ว สิง่ ทีต่ อ้ ง ค�ำนึงถึง คือบริการน่าพึงพอใจ ที่จะมัดใจพวกเขาให้อยู่หมัด!! THAI DENTAL MAGAZINE • 11


Dent Education

Step by Step

Implant retained Complete Overdenture เรื่อง อ.ทพ.ดร. พิสัยศิษฏ์ ชัยจรีนนท์ ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ถึงแม้ในปัจจุบันเทคโนโลยี วัสดุ และเทคนิค ในการรักษาทางทันตกรรมมีความก้าวหน้าไปมาก แต่ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียฟันยังมีจำ�นวนมากอยู่ ผู้ป่วยเหล่านี้ มีความจำ�เป็นต้องได้รับการรักษาโดยการใส่ฟันเทียม เพื่อการบดเคี้ยว เพื่อความสวยงาม และการออกเสียง 12 • THAI DENTAL MAGAZINE


รายงานผู้ป่วย (Case Report) ผู้ป่วยชายไทยอายุ 70 ปี ภูมิล�ำเนา เชียงใหม่ อาชีพ ค้าขาย มีฟันเทียมเก่าท�ำมาหลายปี อาการส�ำคัญ : ฟันเทียมอันเก่าหลวม ฟันเทียมล่างหลุดเวลาเคีย้ วหรือพูดมีอาการ เจ็บเวลาเคี้ยว

การรักษาโดยการใส่ฟนั เทียมมีหลายชนิดเช่นการใส่ฟนั เทียม บางส่วนแบบติดแน่น (Fixed Partial Denture) ฟันเทียมบางส่วน แบบถอดได้ (Removable Partial Denture) และฟันเทียมทั้งปาก (Complete Denture) แบบถอดได้ เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป การรักษาโดยการใส่ฟันเทียมทั้งปากในผู้ป่วยที่มีการสูญเสียฟัน ทัง้ ปากเป็นการรักษาทีท่ ำ� ให้ผปู้ ว่ ยสามารถใช้บดเคีย้ วอาหารได้ ให้ ความสวยงามและการออกเสียงทีด่ ี แต่ยังมีข้อจ�ำกัดการใช้งานใน หลายอย่างเช่น เมือ่ ผูป้ ว่ ยใช้ไปเป็นเวลานานๆ จะมีการละลายของ กระดูกที่รองรับฟันเทียมนั้นท�ำให้ฟันเทียมมีการขยับ หลวม ท�ำให้ ผู้ป่วยไม่สามารถใช้งานได้ดี การสร้างฟันเทียมทั้งปากที่ดีนั้น ฟัน เทียมจะต้องมีความสมดุลเมื่ออยู่ในช่องปาก โดยฟันเทียมทั้งปาก มีด้านที่ส�ำคัญต่อความสมดุล ความเสถียร และการยึดอยู่ในช่อง ปาก ทัง้ หมด 3 ด้าน คือ ด้านผิวขัดเรียบขัดมัน (Polished surface) ที่สัมผัสกับแก้ม ริมฝีปาก และลิ้น ด้านรอยพิมพ์ (Impression surface) ที่สัมผัสเหงือก และด้านกัดสบ (Occlusal surface) ที่ สัมผัสกับฟันคู่สบ จากที่กล่าวมาได้มีความพยายามในการน�ำเทคนิคต่างๆ มา ประยุกต์ใช้ในการสร้างฟันเทียมทั้งปากเพื่อให้ได้ฟันเทียมที่ดี เหมาะกับการใช้งานในผูป้ ว่ ย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในกรณีทผี่ ปู้ ว่ ยมี การละลายของกระดูกรองรับฟันเทียมไปมาก ฟันเทียมจะสูญเสีย การยึดติด (Retention) การรองรับแรง (Support) และความเสถียร (Stability) การน�ำรากฟันเทียม (Dental Implant) มาใช้เพื่อรองรับ ฟันเทียมทั้งปากเป็นอีกเทคนิคที่นิยมใช้ในปัจจุบันโดยลดปัญหา ของการใส่ฟันเทียมทั้งปากในผู้ป่วยและมีข้อดีหลายประการ เช่น ช่วยในการคงสภาพของกระดูกรอบๆ รากฟันเทียม ช่วยในการรับ แรงทีม่ ากระท�ำต่อฟันเทียมโดยช่วยถ่ายทอดแรงลงสูก่ ระดูก ลดการ บาดเจ็บต่อเนื้อเยื่ออ่อนท�ำให้รูปร่างของขากรรไกรมีความสมดุล เนื่องจากมีการบดเคี้ยวที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเพิ่มการยึด ติดของฟันเทียมโดยการใส่หลักยึด (Attachment) ที่รากฟันเทียม บทความนี้เป็นการน�ำเสนอขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยที่ใส่ฟันเทียม ทั้งปากโดยมีการน�ำรากฟันเทียมมาใช้ในผู้ป่วยที่มีการละลาย ของสันเหงือกและกระดูกรองรับฟันเทียมในขากรรไกรล่าง โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ทันตแพทย์ทั่วไปสามารถน�ำวิธีการรักษาที่น�ำ เสนอไปรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

การตรวจนอกช่องปาก : ไม่พบความผิดปกติของขากรรไกรและใบหน้าใดๆ ใบหน้ามีความ สมมาตรทั้งซ้ายและขวา ผู้ป่วยอ้าปากได้ตามปกติไม่มีอาการของ ข้อต่อขากรรไกร การตรวจในช่องปาก :

ขากรรไกรบน : พบสันเหงือกว่าง พบปุ่มกระดูกกลางเพดานปาก ไม่มีแผล

ขากรรไกรล่าง : เหลือฟันซี่ 35 36 มีสภาวะปริทันต์ โยกระดับ 1 ด้านหน้าพบการละลายของสันเหงือกล่าง ฟันเทียมเก่ามีรอยแตกร้าว ได้รบั การเสริมซีฟ่ นั เทียมเพิม่ เติม มีการ ติดสี ซี่ฟันเทียมสึก หลวมเวลาใช้งาน

THAI DENTAL MAGAZINE • 13


การตรวจภาพถ่ายรังสี :

3.ท�ำการฝังรากฟันเทียมในต�ำแหน่งซี่ 33 43 ตามแนวที่ ก�ำหนด เมื่อฝังรากฟันเทียมเสร็จเสริมฐานฟันเทียมเก่าด้วยวัสดุ เสริมฐานแบบนุ่ม ครบสองอาทิตย์ท�ำการตัดไหมและเสริมฐาน เป็นแบบอะคริลิกแข็ง รอสามเดือนเพื่อให้เกิดการยึดติดระหว่าง รากฟันเทียมกับกระดูกอย่างสมบูรณ์

ซี่ 35 36 พบสภาวะปริทันต์ มีการละลายตัวของกระดูกขากรรไกร ไม่พบพยาธิสภาพใดๆ

ขั้นตอนการรักษา (Procedure) 1. น�ำฟันเทียมอันเก่าของผูป้ ว่ ยมาท�ำการปรับการกัดสบและ 4.ในระหว่างรอการเกิดการยึดติดระหว่างรากฟันเทียมกับ เสริมฐานเพือ่ ให้ผปู้ ว่ ยสามารถน�ำไปใช้ได้ในระหว่างรอฟันเทียมชุด กระดูก ท�ำการสร้างฟันเทียมทัง้ ปากชุดใหม่ให้ได้ความสมดุล ความ ใหม่ ทัง้ นีย้ งั สามารถน�ำฟันเทียมนัน้ มาเป็นแนวในการถ่ายภาพรังสี เสถียร และการยึดอยู่ ตามขั้นตอนการสร้างฟันเทียมทั้งปาก Cone-beam Computed Tomography (CBCT) และแนวการฝัง รากฟันเทียม

2.เลือกขนาดของรากฟันเทียมให้เหมาะสมตามความลึกและ ความกว้างของกระดูกจากภาพถ่ายรังสี โดยในผู้ป่วยท่านนี้ได้น�ำ รากฟันเทียม “ข้าวอร่อย” ซึง่ เป็นโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั โดยมีสว่ นประกอบ 3 ส่วนคือ รากฟัน เทียม หลักยึดตัวผู้ชนิดกลม (Male part attachment: ball type) และหลักยึดตัวเมีย (Female part attachment) ที่มียางวงกลมติด อยู่ด้านใน

5. ถอนฟันล่างที่เหลือ เปิดเหงือกบริเวณรากฟันเทียมเพื่อใส่ ตัวสร้างรูปร่างเหงือกรอบรากฟันเทียม ท�ำการกรอแต่งฟันเทียมไม่ ให้มีการขัดขวางจากตัวสร้างรูปร่างเหงือก จากนั้นท�ำการใส่ฟัน เทียมทัง้ ปากกรอแต่งฟันเทียมและเสริมฐานฟันเทียมด้วยวัสดุฐาน นุ่มบริเวณรอบๆ รากฟันเทียม ให้ผู้ป่วยใช้งานสองอาทิตย์

6. น�ำส่วนหลักยึด (Ball type attachment part) ของรากฟัน เทียมมาลองในช่องปากโดยเลือกความสูงให้มพี นื้ ทีร่ ะหว่างฟันเทียม บนและล่างอย่างเหมาะสม ถ่ายภาพรังสีตรวจสอบความถูกต้อง

14 • THAI DENTAL MAGAZINE


10. นัดผูป้ ว่ ยมาตรวจสอบการใช้งานอย่างสม�ำ่ เสมอ แก้จุดกดซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการใช้

7. น�ำแผ่นกันน�้ำลายที่ได้รับการตัดมาใส่ในหลักยึดเพื่อกันไม่ให้ อะคริลิก ที่เสริมฐานเข้าไปติดในส่วนหลักยึด น�ำส่วนหลักยึดตัวเมีย (female part) ที่จะ ติดใต้ฐานฟันเทียมติดเข้ากับส่วนหลักยึดตัวผู้ (male part) กรอแต่งใต้ฐานฟัน เทียมให้มีพื้นที่ของ อะคริลิกและไม่มีการขัดขวางจากส่วนหลักยึดทั้งสองส่วน

8.ท�ำการเสริมอะคริลิกในปริมาณที่เหมาะสมเสริมใต้ฐานฟันเทียมใน บริเวณที่เตรียมไว้เพื่อยึดให้ส่วนหลักยึดตัวเมียติดเข้ากับฐานฟันเทียม ใส่ใน ปากผู้ป่วยรอจนกระทั่งอะคริลิกแข็งตัว น�ำฟันเทียมออกจากช่องปาก แช่น�้ำ ร้อน จากนั้นท�ำการกรอแต่งส่วนเกิน ขัดเรียบและท�ำการตรวจสอบจุดกดของ ฟันเทียมในช่องปาก

บทวิจารณ์และสรุปผล (Discussions and Conclusions) การรักษาโดยการใช้รากฟันเทียมมาใช้ในผู้ป่วยเพื่อ เสริมการยึดติดของฟันเทียมทั้งปากนี้มีข้อดีคือช่วยเพิ่ม คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยทั้งในแง่ การใช้งาน การ ออกเสียง และบุคลิกภาพ แต่ฟันเทียมทับรากฟันเทียมมี โอกาสทีก่ ารรักษาจะล้มเหลวถ้าตรวจช่องปากไม่เพียงพอ ให้การวินจิ ฉัยผิดและทีส่ ำ� คัญคือขัน้ ตอนการท�ำฟันเทียม ต้องได้ฟนั เทียมทีด่ ี ฟันเทียมจะต้องมีความสมดุลเมือ่ อยูใ่ น ช่องปาก มีความเสถียร และการยึดอยู่ในช่องปากที่ดเี สีย ก่อน นอกจากนัน้ การสูญเสียฟันหลัก (Abutment failure) เป็นปัญหาหนึง่ ทีส่ ามารถเกิดขึน้ ได้เมือ่ ใช้งานโดยเกิดจาก โรคปริทันต์หรืออุบัติเหตุที่เกิดกับฟันหลักนั้นๆ เช่นเดียว กับการแตกหักของฟันเทียมก็เป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้น ได้โดยสาเหตุเกิดจากการสร้างฟันเทียมที่ไม่ดี ส่วนของ ฟันเทียมบริเวณที่ใกล้เคียงกับฟันหลักบาง ความหนาไม่ เพียงพอและที่ส�ำคัญคือการขาดการติดตามการดูแลผู้ ป่วยอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้ฟันเทียมมีการขยับ เกิดจุดหมุน ขึ้นตรงบริเวณฟันหลัก มีแรงมา กระท�ำในระหว่างบด เคี้ยว ท�ำให้เกิดการแตกหักขึ้นได้ อย่างไรก็ตามถ้ามีการ ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องและมีการสร้างฟันเทียม และการวางแผนการรักษาทีด่ ี ปัญหาดังกล่าวจะเกิดน้อย ลง ผูป้ ว่ ยสามารถใช้ฟนั เทียมทัง้ ปากทับรากเทียมได้อย่าง มีประสิทธิภาพที่ดีต่อไป เอกสารอ้างอิง (References)

9. ตรวจสอบการกัดสบให้ได้สมดุลกันทัง้ สองข้างของฟันเทียม ใส่ฟนั และ แนะน�ำการใช้งาน นัดผู้ป่วยมาตรวจสอบการใช้งานอย่างสม�่ำเสมอ

1. Murphy WM. The neutral zone and the polished surfaces of full dentures. Dent Practit. 1996; 16:244-248. 2. Jones PM. The monoplane occlusion for complete denture, J Am Dent Assoc. 1972; 85:94-100. 3. Khamis MM, Zaki HS, Rudy TE. A comparison of the effect of different occlusal forms in mandibular implant overdentures. J Prosthet Dent. 1998; 79:422-429. 4. Jimenez-Lopez V, Lavina PT. Implant-Supported Prostheses: Occlusion, Clinical Cases, and Laboratory Procedures. Chicago, IL: Quintessence; 1995:16-20, 34. 5. van Kampen FM, van der Bilt A, Cune MS, et al. The influence of various attachment types in mandibular implant retained overdentures on maximum bite force and EMG.J Dent Res. 2002; 81:170-173. 6. Feine JS, Carlsson GE, Awad MA, et al. The McGill consensus statement on overdentures. Mandibular two-implant overdentures as first choice standard of care for edentulous patients. Gerodontology. 2002 Jul; 19(1):3-4. THAI DENTAL MAGAZINE • 15


เรื่อง ทญ. ธาราธร สุนทรเกียรติ

จากเทคนิคเดิมทีเ่ รียกว่า Traditional surgery มาเป็น Endodontic microsurgery (EMS) ด้วยการน�ำกล้องจุลทรรศน์ทางทันตกรรม (Dental Operating Microscope) มาขยายดูบริเวณปลายราก ที่ท�ำและใช้เครื่องมือขนาดเล็กๆ ที่ผลิตมาให้เข้าถึงบริเวณปลาย รากได้สะดวกขึน้ ตลอดจนพัฒนาวัสดุอดุ ย้อนปลายรากทีใ่ ห้ความ แนบสนิทและเข้ากันได้ดกี บั เนือ้ เยือ่ ความส�ำเร็จของการรักษาด้วย เทคนิค EMS จึงมีค่าสูงมากกว่า 90% ขึ้นไป

จุดเด่นของ Endodontic microsurgery1-3

1. มีการน�ำกล้องจุลทรรศน์ทางทันตกรรมมาใช้กับงาน EMS ซึ่งนอกจากแสงที่ส่องลงไปเฉพาะต�ำแหน่งแล้วยังมีก�ำลังขยายที่ สามารถปรับได้ 4-26 เท่า ท�ำให้สามารถมองเห็นบริเวณปลายราก ได้ชัดเจนมากขึ้น ท�ำให้ทราบปัญหาบริเวณปลายรากและแก้ไข สาเหตุได้ 2. มีเครื่องมือขนาดเล็ก เช่น หัวกรออัลตราโซนิกส์ส�ำหรับ กรอโพรงปลายรากฟัน (ultrasonic retro-tips) ที่มีมุมต่างๆเข้า ท�ำได้ทั้งรากฟันหน้าและฟันหลัง กระจกส่องปลายรากขนาดเล็ก (micromirror) และพลักเกอร์ขนาดเล็ก (รูปที่ 1)

รูปที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในงาน Endodontic microsurgery 16 • THAI DENTAL MAGAZINE

ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีในงานเอ็นโดดอนติกส์ ที่เริ่มพัฒนาในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา การทำ�ศัลยกรรมปลาย รากฟันมีการเปลี่ยนแปลง ไปอย่างชัดเจน 3. การกรอเปิดช่องกระดูกรอบปลายรากมีขนาดเล็กลง คือมี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-4 มม. ซึ่งเพียงพอที่จะเข้าไป ท�ำงานได้สะดวก สามารถตัดปลายรากได้สมบูรณ์และเข้าไปกรอ เตรียมโพรงปลายรากได้ลึกพอ คือเท่ากับความสูงของปลายหัว อัลตราโซนิกส์ ที่สูง 3 มม. (รูปที่ 4) การเสียกระดูกน้อยจะท�ำให้ กระดูกเกิดการหายที่สมบูรณ์ได้เร็วขึ้นและมีอาการปวดหลังการ รักษาน้อยลง 4. การตัดปลายรากฟัน นิยมใช้ contra angle handpiece ชนิด Impact Air 45° ที่มีหัวขนาดเล็กและไม่มีลมเป่าตรงลงมายัง บริเวณทีท่ ำ� งาน เป็นการป้องกันการดันฟองอากาศเข้าไปสูร่ า่ งกาย (air embolism) ร่วมกับหัวกรอ Lindemann (รูปที่ 1.1) การตัดจะตัง้ ฉากกับแนวแกนของรากฟันหรือมีระนาบใกล้เคียง 0 องศามากทีส่ ดุ ไม่ตัดเป็นมุมเฉียง (รูปที่ 2) ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถตัดได้ครอบคลุม ทั้งหน้าตัดของรากได้ดีกว่า ลดพื้นที่หน้าตัดปลายรากจึงเป็นการ ลดปริมาณท่อเนือ้ ฟันทีเ่ ปิดก็จะช่วยลดการรัว่ ซึมลง และเมือ่ เตรียม โพรงปลายรากก็จะได้ความลึกทีส่ ม�ำ่ เสมอกว่า จากการศึกษาพบว่า การตัดปลายรากออกไปที่ระยะ 1มม. 2 มม. และ 3 มม. จะก�ำจัด แขนงของคลองรากฟัน (apical ramifications) บริเวณปลายราก ออกไปได้ 52%, 78% และ 98% ตามล�ำดับ อย่างไรก็ตามการตัด ปลายรากฟันจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงความยาวของราก และอัตราส่วน ตัวฟันต่อรากฟัน การตัดออกมากไป จะท�ำให้รากสั้นและสูญเสีย ความมั่นคงของฟัน หรือกรณีที่มีเดือยฟันยาวหากตัดปลายราก ออกมากก็จะท�ำให้ได้ความลึกของการเตรียมโพรงปลายรากน้อย ได้ปริมาณวัสดุอุดย้อนปลายรากที่สั้นก็จะไม่เพียงพอต่อการผนึก และปิดกั้นโพรงปลายราก


3 มม. ซึ่งเท่ากับความสูงของปลายหัวกรออัลตราโซนิกส์ที่นิยมใช้ กัน ปัจจุบันมีหัวกรอที่มีความสูง 6 และ 9 มม. ด้วย แต่การเข้าท�ำ ค่อนข้างยาก เหมาะจะใช้ในกรณีที่ช่องกระดูกถูกท�ำลายไปมาก กรณีที่มี isthmus เป็นทางเชื่อมระหว่างคลองราก ก็ให้กรอเตรียม โพรงบริเวณนี้ด้วย

รูปที่ 2 ฟันซี่ 12 เปรียบเทียบการรักษาด้วย Traditional surgery กับ Endodontic microsurgery (ภาพรังสี ติดตามผล 2 ปี)

5. ให้ความส�ำคัญกับการห้ามเลือดในโพรงกระดูก เพื่อ การส�ำรวจบริเวณปลายรากและให้เห็นบริเวณที่จะกรอและอุด โพรงปลายรากอย่างชัดเจน สารที่นิยมใช้ในการห้ามเลือดคือ epinephrine saturated pellet (Epidri®, Racellet®) ที่เป็นส�ำลี ขนาดเล็กมีปริมาณ epinephrine 0.55 มก. หรือใช้สำ� ลีชบุ adrenaline 1 มก./ มล. ที่เจือจางกับน�้ำกลั่น 1:1 (หรืออาจใช้ surgicel ก็ได้) กดลงที่โพรงกระดูกประมาณ 1-3 นาทีจนเลือดหยุดไหล 6. มีการส�ำรวจบริเวณปลายรากที่ตัดทุกครั้งด้วยกระจกส่อง ปลายราก และใช้สเี มธิลนี บลูยอ้ มบริเวณปลายราก ซึง่ จะช่วยให้เห็น รายละเอียดต่างๆบริเวณปลายรากได้ชัดเจนขึ้น สิ่งที่ต้องดู ได้แก่ ปลายรากฟันถูกตัดได้ทงั้ หน้าตัดแล้วหรือไม่ โดยสีเมธิลนี บลูจะย้อม ติดบริเวณเอ็นยึดปริทันต์ให้เห็นเป็นวงสีน�้ำเงินรอบรากฟันท�ำให้ มั่นใจว่าสามารถตัดปลายรากฟันได้ทั้งหน้าตัด และเห็นลักษณะ กายวิภาคที่ซับซ้อนของรากฟัน เช่น isthmus, fins, lateral canals และปัญหาที่เกิดบริเวณปลายราก เช่น missed canal การรั่วซึม ตามขอบวัสดุอุดรากเดิม และรอยแตกร้าวของรากฟัน เป็นต้น

รูปที่ 4 การกรอเตรียมโพรงปลายรากฟัน

8. การอุดโพรงปลายรากฟัน จะท�ำโพรงปลายรากฟันให้สะอาด ไม่มีเศษวัสดุติดตามขอบและแห้งเสียก่อนโดยใช้แท่งกระดาษซับ (paper point) ที่ตัดไว้เป็นชิ้นสั้นๆเข้าไปซับให้แห้ง 9. วัสดุอุดย้อนปลายราก นิยมใช้ Mineral Trioxide Aggregate (MTA) เนื่องจากให้ความแนบสนิทดี การรั่วซึมต�่ำ ให้การ ตอบสนองของเนือ้ เยือ่ ปลายรากทีด่ ี กระตุน้ ให้เกิดการสร้างกระดูก ได้ดแี ละพบการสร้างซีเมนตัมบนวัสดุดว้ ย MTA มีลกั ษณะเป็นผง น�ำมาผสมกับน�้ำกลั่นให้เป็นก้อนข้นๆ (รูปที่ 5) สามารถน�ำไปใส่ที่ โพรงปลายรากด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Micro Apical Placement system (MAP system) (รูปที่ 5) ซึง่ เป็นแคริเออร์ขนาดเล็กทีง่ อเป็น มุมที่ปลายคล้ายอะมัลกัมแคริเออร์ขนาดเล็กก็จะท�ำให้สะดวกขึ้น รูปที่ 5 การน�ำ MTA ไปใส่โพรงปลายรากโดยใช้

รูปที่ 3 รายละเอียดที่แสดงบนหน้าตัดของบริเวณปลายรากฟันที่ตัดแล้ว

7. การกรอเตรียมโพรงปลายรากฟัน ใช้หัวกรออัลตราโซนิกส์ retro-tips (ใช้กับเครื่อง piezoelectric ultrasonic unit) ที่มีมุมโค้ง งอเหมาะสมกับต�ำแหน่งของปลายรากฟันท�ำให้เข้าท�ำได้สะดวก (รูปที่ 1.2) กรอที่บริเวณกลางคลองรากฟันและขนานกับแนวแกน รากฟัน โดยขยับหัวกรอขึน้ ลง ซึง่ ถ้าเดิมเป็นฟันทีม่ กี ตั ทาเพอร์ชาอยู่ กัตทาเพอร์ชาจะหลุดออกมา (รูปที่ 4) กรอให้ได้ความลึกประมาณ THAI DENTAL MAGAZINE • 17


MAP system อาจใช้ Intermediate Restorative Material (IRM) หรือ Super-ethoxy benzoic acid (S -EBA) อุดปลายรากได้ ซึง่ การน�ำวัสดุ เหล่านีไ้ ปอุดปลายรากจะค่อนข้างง่าย โดยหลัง จากผสมให้เข้ากันและแข็งพอที่จะปั้นได้ ให้ น�ำวัสดุมาคลึงเป็นแท่งเล็กๆ ขนาดใกล้เคียง กับโพรงปลายราก แล้วใช้ดา้ นนูนของสปูนตัก ให้ตงั้ ขึน้ มา (รูปที่ 6) น�ำไปใส่ทโี่ พรงปลายราก แล้วใช้พลักเกอร์เล็กๆ กดให้แน่น ท�ำเช่นนี้จน เต็ม ตามด้วยการใช้เบอร์นชิ เชอร์รดี ให้แนบกับ ขอบและเรียบ รอจนวัสดุแข็งตัวก็สามารถขัด ซ�้ำอีกครั้งได้

2. การน�ำวัสดุไปใส่ในโพรงปลาย รากที่เตรียมและท�ำให้แห้งแล้ว

1. ลักษณะการปั้น IRM หรือ S-EBA ให้เป็นแท่งเล็กๆ แล้วใช้สปูนตักขึน้ มา

3. การใช้พลักเกอร์กดวัสดุ รูปที่ 6 การอุดโพรงปลายรากฟัน

4. ปลายรากหลังการอุดเมื่อมองจาก กระจกส่องปลายราก

ผลส�ำเร็จของการท�ำศัลยกรรมแบบ Endodontic microsurgery มีค่าสูงมากกว่า 90% ดังตาราง

ผู้ท�ำการศึกษา

จ�ำนวน ระยะเวลาติดตามผล-ปี วัสดุอุดปลายราก ร้อยละความส�ำเร็จ

Kim และคณะ (2008)4

192 ซี่

2

IRM/EBA/MTA

95.2%

Tsesis และคณะ (2006)5

45 ซี่

1-4

IRM

91.1%

Chong และคณะ (2003)6

108 ซี่

1-2

IRM/MTA

87-92%

Rubinsteinและ Kim (1999)7

91 ราก

1

EBA

96.8%

Rubinstein และ Kim (2002)8

59 ราก

5-7

EBA

91.5%

สรุป

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความรู้ความเข้าใจในระบบ คลองรากฟันที่มีมากขึ้น ท�ำให้การท�ำศัลยกรรมปลายรากฟันด้วยวิธี “Endodontic microsurgery” มีผลส�ำเร็จในการรักษาที่ค่อนข้างสูง จึงควรเป็นทางเลือกหนึง่ ในการวางแผนการรักษาเพือ่ เก็บฟันธรรมชาติ ไว้ให้กับผู้ป่วย รูปที่ 7

รูปที่ 8 รูปที่ 7-8 ฟันซี่ 44 และ12 รับการท�ำศัลยกรรมปลายราก ด้วยเทคนิค Endodontic microsurgery 18 • THAI DENTAL MAGAZINE

เอกสารอ้างอิง :

1. American Association of Endodontists. Contemporary Endodontic Microsurgery: Procedural Advancements and treatment Planning Considerations. Endodontics : Colleagues for Excellence. Fall 2010. 2. Kim S, Kratchman S. Modern Endodontic Surgery Concepts and Practice: A review. J Endod 2006; 32:601-23. 3. Niemczyk SP. Essentials of Endodontic Microsurgery. Dent Clin North Am 2010 ;54:375-399. 4. Kim E, Song JS, Jung IY, Lee SJ, Kim S. Prospective clinical study evaluating endodontic microsurgery outcomes for cases with lesions of endodontic origin compared with cases with lesions of combined periodontal-endodontic origin. J Endod 2008;34:546-51. 5. Tsesis I, Rosen E, Schwartz-Arad D, Fuss Z. Retrospective evaluation of surgical endodontic treatment; traditional versus modern technique. J Endod 2006; 32:412-6. 6. Chong BS, Pitt Ford TR, Hudson MB. A prospective clinical study of Mineral Trioxide aggregate and IRM when used as root-end filling materials in endodontic surgery. Int Endod J 2003;36:520-6. 7. Rubinstein R, Kim S. Short term observation of the results of endodontic surgery with the use of a surgical operation microscope and Super –EBA as root end filling material. J Endod 1999;25: 43-8. 8. Rubinstein R, Kim S. Long term follow-up of cases considered healed 1 year after apical microsurgery. J Endod 2002;28:378-83.


ผู้ชายคนหนึ่ง พอตื่นขึ้นมา เขาก็เปิดถังขยะ เอาขยะมาถูๆ ตัว เท่านั้นยังไม่พอ เขาเดินตรงไปที่ท่อระบายน�้ำ เปิดฝาท่อ แล้วตักเอาน�้ำเน่าในนั้นมาอาบ เสร็จแล้วเขาก็ออกไปท�ำงาน กลางวันเขารู้สึกตัวแห้งๆ ยังไงไม่รู้ ก็เลยหาน�้ำถูพื้นของแม่บ้านมาราดตัวให้ชุ่ม ตกเย็นกลับมาบ้าน พอใกล้จะนอน เขายังเอาน�้ำเน่าที่เหลือเมื่อเช้ามารดตัวอีกครั้ง... ก่อนจะหลับตาลงพร้อมกับความสงสัยทุกคืนว่า “เมื่อไรตัวข้าจะหอมซะทีวะ” ครับ! เป็นใครก็ต้องคิดว่าไอ้หมอนี่ท่าจะบ้า ชายคนที่ผมพูดถึงไม่มีตัวตนจริงๆ หรอกครับ แต่ถ้าผมจะบอกว่าเราหลายคนอาจเผลอ ท�ำพฤติกรรมคล้ายๆ ผู้ชายคนนี้โดยไม่รู้ตัว

ซิก ซิกล่าร์ ปรมาจารย์ด้านความส�ำเร็จระดับโลก พูดเรื่องนี้ไว้ได้ดีมากครับ เขาถามว่า “คุณจะยอมให้ใครก็ไม่รู้ เดินเข้ามาในบ้าน แล้วทิ้งขยะถุงใหญ่ไว้ในห้องนั่งเล่นในบ้านเรามั้ย” แน่นอนว่าไม่มใี ครยอมแล้ว ซิก ซิกล่าร์ ก็ปดิ ท้ายด้วยประโยคเด็ดว่า “ถ้าคุณไม่ยอมให้ใครเอาขยะมาทิ้งในบ้าน แล้วเรื่องอะไรคุณจะยอมให้ใครก็ไม่รู้เอาขยะมา ทิ้งในจิตใจ” อ่านหนังสือดีๆ สักนิดยามเช้า ฟังเพลงปลุกพลังสักหน่อย แล้วก้าวออกจากบ้านพร้อมค�ำถามดีๆ ทีจ่ ะเป็นหางเสือของวันนีว้ า่ “วันนี้จะมีเรื่องอะไรดีๆ เกิดขึ้นกับฉันบ้างนะ” ถึงที่ท�ำงาน อยู่ให้ห่างจากคนที่ชอบจับกลุ่มกันบ่นๆๆ ตั้งใจท�ำงานให้เต็มที่ เพราะเรามาท�ำงาน ไม่ได้มาเล่น กลับบ้านมาหาอะไรเบาๆ ประเทืองปัญญา ปิดท้ายวัน แล้วหลับไปพร้อมกับเรื่องราวดีๆ ในวันนี้ที่เราต้องขอบคุณ อยากมีสุขภาพดีเรายังพิถีพิถันเลือกอาหาร ที่จะเอามาใส่ปาก อยากมีชีวิตที่ดี เราก็ต้องพิถีพิถันเลือกสิ่งที่จะเข้าไปอยู่ในความคิด ของเรา

ลองท�ำดูครับ.. แล้วชีวติ คุณจะเปลีย่ นแบบทีจ่ ำ� ตัวเองในอดีตไม่ได้เลย เราตื่นขึ้นมาพร้อมกับเปิดดูข่าวร้ายๆ ลบๆ ในทีวี เอาล่ะ...เริ่มด้วยค�ำถามนี้เลย นั่งจิบกาแฟหน้าหนังสือพิมพ์ที่พาดข่าวอาชญากรรม ขึ้นรถเปิดวิทยุ คนจัดรายการประโคมข่าวเศรษฐกิจแย่ๆ ให้ฟัง “วันนี้จะมีเรื่องอะไรดีๆ เกิดขึ้นกับฉันบ้างนะ กลางวันเรานั่งนินทาเจ้านายกับเพื่อนร่วมงาน กลับบ้านมา เราก็หลับไปพร้อมกับละครตบตีกัน ที่วันๆ ตัวละครไม่ต้องท�ำงาน คิดแต่เรื่องแย่งสามีชาวบ้าน แล้วเราก็ได้นอนสงสัยว่า “ท�ำไมไม่มีเรื่องดีๆ เกิดขึ้นกับฉันบ้างวะ” ครับ! ก็ไม่รู้สินะ ชีวิตมันจะดีได้ไง ในเมื่อเราเอาแต่ของแย่ๆ พลังงานลบๆ เข้าไปในความคิด จากประสบการณ์ตรงของผม “ชั่วโมงแรก” กับ “ชั่วโมงสุดท้าย” ของวันนั้น เป็นอะไรทีส่ ำ� คัญมาก ชั่วโมงแรกจะเป็นดัง่ หางเสือทีก่ ำ� หนดอารมณ์ ของวันนั้น ชั่วโมงสุดท้ายจะเป็นตัวสรุปเรื่องราวของทั้งวันนั้น ถ้าเราใช้กาแฟปลุกสมอง ถ้าเราใช้อาหารปลุกร่างกาย เราก็ต้องใช้ “เรื่องราวดีๆ” ปลุกพลังใจครับ THAI DENTAL MAGAZINE • 19


เรื่องสั้นจากห้องทำ�ฟันเด็ก

20 • THAI DENTAL MAGAZINE


เรื่อง ทญ.กมลชนก เดียวสุรินทร์

เสียงจากห้องท�ำฟัน ที่คุณแม่พาลูกสาววัย 6 ปี มาพบหมอเพราะฟันน�้ำนมไม่หลุด แต่มีฟันแท้ขึ้นซ้อนแล้ว น้องแพรว : หนูไม่ถอนฟันนะ หนูไม่ถอนฟันนะ เด็กน้อยพูดซ�้ำๆ แม่ : ให้คุณหมอดูก่อน ว่าจะท�ำยังไง หมอ : (หลังจากตรวจดูฟัน) ฟันโยกนิดหน่อยแล้ว เอาอย่างนี้ ... ฟันซี่นคี้ วรจะต้องหลุดโดยเร็ว เพื่อให้ฟันแท้ขยับมาอยู่ในต�ำแหน่ง ที่ถูกต้อง (หมอเริ่มอธิบายหนูน้อย) น้องแพรว : แต่หนูไม่ถอนฟัน (พูดพลางเอามือปิดปาก) หมอ : ค่ะ ไม่ต้องถอน หมอแค่ช่วยให้มันโยกมากขึ้น แล้วให้มัน ไปหลุดเองที่บ้าน ตกลงมั้ย เอาล่ะ เราจะเรียกวิธตี อ่ ไปนีว้ า่ ถอนฟันหรือเรียกว่าโยกฟัน มัน ก็แค่ชื่อเรียกที่คนเราตั้งขึ้นนะจ๊ะ น้องแพรว : ตกลง ไม่ถอน หมอแค่ให้ โยกมันมากขึ้นเท่านั้นนะ หมอ : ได้เลย แต่ก่อนจะให้มันโยกมากขึ้นได้โดยหนูไม่เจ็บ หมอ จะมีเยลลี่กับส�ำลีก้อนเล็ก วางไว้ให้เหงือกซ่าๆ นะ เวลาเหงือกซ่า ฟันโยกก็ไม่เจ็บ ถ้าเหงือกซ่าแล้วบอกหมอนะคะ หมอพูดพร้อมเอาส�ำลีกับเจลลี่ยาชาให้ดู แล้ววางลงที่เหงือก ข้างๆ ฟันซี่นั้น น้องแพรว : ซ่าแล้วค่ะ หมอ : จากนั้น หมอจะพ่นสเปรย์ฟู่ๆ เวลาพ่นสเปรย์เด็กๆ จะบอก ว่า มีลกู โป่งพองๆ แล้วลูกโป่งลูกนีล้ ะ่ จะดันให้ฟนั ลอยพ้นเหงือกแล้ว หลุดไปเองโดยที่หมอไม่ต้องท�ำอะไรอีกเลย แต่ตอนพ่นสเปรย์หนู ต้องหลับตาก่อนนะ เดีย๋ วสเปรย์กระเด็นเข้าตาแล้ว แสบตาแย่เลย น้องแพรว : (หลับตาปี๋) หมอ : หมอนับ 1-10 เป็นสัญญาณนะคะ ครบ 10 ก็ลืมตาได้เลย 1 2 3 ……. 10 ลูกโป่งโตแล้ว ลุกบ้วนน�้ำได้ค่ะ น้องแพรว : (หลังจากบ้วนน�้ำเสร็จ) มีลูกโป่งพองๆ ที่ริมฝีปากหนู หมอ : ก็สเปรย์ลูกโป่งไงล่ะ ตอนนี้ก็คอยลูกโป่งท�ำงาน เดี๋ยวฟันก็ โยกมากขึ้น หลุดเองโดยหนูไม่เจ็บเลยไง เมื่อกี้เจ็บมั้ยล่ะ น้องแพรว : ไม่เจ็บค่ะ แค่พ่นสเปรย์เอง.... ถ้าหมอฉีดยานะ หนู จะร้องให้ลั่นเลย หมอ : ฮื่อ ไม่ต้องฉีดหรอก ก็ฟันโยกแบบนี้ ง่ายๆ ไหนขอดูหน่อย ค่ะ” (แล้วหมอก็ดึงฟันออกไปอย่างง่ายดาย เพราะหนูน้อยชาแล้ว ด้วยยาชาที่ฉีดไปเมื่อครู่นี้) “อ้าว ลูกโป่งดันจนฟันหลุดไปแล้วค่ะ น้องแพรว : ถ้ามีฟันโยกอีก หนูเอาแบบสเปรย์ยาชาอีกนะ หมอ : ค่ะ แม่ : (แอบมากระซิบถาม) คุณหมอ เดี๋ยวนี้มียาชาแบบสเปรย์พ่น ไม่ต้องฉีดแล้วหรือคะ หมอ : มีค่ะ แต่ก็คงต้องฉีดด้วยค่ะ

แม่ : มีเข็ม? หมอ : ค่ะ มีเข็ม แม่ : อ้าว! แล้วลูกไม่เห็นร้องเลย ได้ยนิ บอกว่า ถ้าฉีดยาจะร้องให้ลนั่ หมอ : เพราะลูกคิดว่าหมอแค่พ่นสเปรย์ ก็เลยไม่เจ็บ ความเจ็บ อยู่ที่ใจเราคิดว่าเจ็บ ก็เจ็บไปก่อนแล้ว แต่พอคิดว่าไม่เจ็บ มันก็ ไม่เจ็บค่ะ.... ผู้ใหญ่หลายคนกลัวการฉีดยา คิดว่ามันเจ็บมาก ลูกน่าจะทน ไม่ได้ จริงๆ แล้ว การฉีดยาก็เจ็บในระดับหนึ่งที่คนเราทนได้ น้อย กว่าเจ็บแผลถลอกหกล้ม หรือมีดบาดนิว้ แต่เมือ่ เราคิดว่าการฉีดยา เจ็บ มันก็จะเจ็บตั้งแต่หมอเอาส�ำลีมาแตะบริเวณที่จะฉีดยาแล้ว แต่ถ้าคิดว่าไม่เจ็บ ความรู้สึกที่เกิดก็มีแค่ลูกโป่งพองๆ แก้มอ้วนๆ หนักๆอย่างที่เด็กเข้าใจและรับได้ ในการท�ำฟัน หมอมักจะพูดความจริงกับเด็ก จะบอกว่าจะท�ำ อะไร และท�ำตามที่บอก เพียงแต่บางครั้งอาจบอกไม่หมด หรือใช้ ค�ำพูดทีฟ่ งั แล้วไม่นา่ กลัว โดยเฉพาะการฉีดยาชาและถอนฟัน เด็ก บางคนก็บอกได้ แต่เด็กหลายๆ คนขืนบอกความจริงตรงไปตรงมา ก็คงไม่ได้ทำ� ฟันกันแน่ๆ หมอจะใช้วธิ อี ธิบายแบบนีก้ บั เด็กๆ ก็จะได้ รับความร่วมมืออย่างดีแทบทุกครั้ง (เอาน่า.. หมอแค่บัญญัติศัพท์ ใหม่เอง ใช้ค�ำว่าพ่นสเปรย์ลูกโป่ง แทน ค�ำว่า ฉีดยาชา เหมือนมี ศัพท์ใหม่ๆ ของวัยรุ่นสมัยนี้มาแทนค�ำเดิมๆ น่ะนะ - แก้ตัวไปใน ใจ) สงสัยหมอคงต้องไม่สวดรับศีลข้อมุสาเวลาไปวัดด้วยแล้วนิ มีคณ ุ แม่ทา่ นหนึง่ หลังจากหมอถอนฟันให้ลกู แล้ว เมือ่ ลูกกลับ บ้านไป คุณแม่เฉลยให้ลูกทราบความจริงว่าสเปรย์ของหมอก็คือ เข็มฉีดยา เพราะคิดว่าลูกควรจะรู้ความจริงในเมื่อลูกก็ท�ำได้ด้วย ดีมาแล้ว ปรากฏว่า เมื่อลูกมีฟันน�้ำนมที่ไม่ยอมหลุดและฟันแท้ ขึ้นซ้อนแบบเดิม ให้ต้องมาถอนออกอีก ครั้งที่สองนี้เป็นเรื่องยุ่ง ยากมาก ลูกไม่ยอมให้หมอท�ำ ร้องไห้ตั้งแต่ออกมาจากบ้าน เมื่อ บังคับท�ำ แค่เอาส�ำลีแตะ ลูกก็ร้องลั่นว่า เจ็บ เจ็บ เจ็บ... นั่นเป็นเพราะจิตบอกว่า ฉีดยาต้องเจ็บ ลูกรู้แล้วว่าโดนฉีดยา มีเข็มจิ้ม ไม่ใช่แค่พ่นสเปรย์ ลูกก็เลยเจ็บตั้งแต่ออกจากบ้านเพื่อ มาท�ำฟันแล้ว ความเจ็บอยู่ที่ใจ ไม่ใช่ที่เข็มจริงๆ ค่ะ หมอมดแดง ป.ล. หมอมักจะพูดตรงๆ เรือ่ งฉีดยาและถอนฟัน เมือ่ เด็กอายุ ประมาณ 10 ปี ที่มี maturity ตามวัยแล้วค่ะ ส่วนเด็กเล็กกว่า นั้น ขอบอกแบบนี้ไปก่อน อย่าเพิ่งให้เด็กน้อยต้องรวบรวม ความกล้ามากนักเลยในการถอนฟันนะคะ THAI DENTAL MAGAZINE • 21


ผลพลอยได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

การฟังบรรยายพิเศษ

น�ำเอาองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการรักษา ผู้ป่วยในศตวรรษที่ 21

การเสวนา

แลกเปลี่ยนข่าวสารและยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบ เพื่อการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง

FDI คืออะไร

FDI (The FDI World Dental Federation) หรือ องค์กรสหพันธ์ ทันตกรรมโลก ประกอบไปด้วยสมาคมทันตแพทย์จากทุกทวีป มากกว่า 200 สมาคม และมีสมาชิกทันตแพทย์ทั่วโลกไม่ต�่ำกว่า หนึ่งล้านคน ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งใน สมาชิกขององค์กรสหพันธ์ทันตกรรมโลก สหพันธ์ทันตกรรมโลกมีนโยบายส่งเสริมพัฒนาสุขภาพ ช่อง ปากและงานทางด้านทันตกรรม สร้างเครือข่ายทางวิชาการ เพื่อ การท�ำงานร่วมกันของทันตแพทย์ทั่วโลก รวมถึงส่งเสริมและจัด กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง การประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาแลก เปลีย่ นนวัตกรรมองค์ความรูใ้ หม่ทางด้านทันตกรรมอย่างสม�ำ่ เสมอ นอกจากนี้สหพันธ์ทันตกรรมโลกยังเป็นองค์กรหนึ่งทางทันต กรรมที่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับองค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization)

หัวข้อของการประชุม?

มุง่ เน้นการน�ำเสนอผลงานทางวิชาการ องค์ความรูแ้ ละนวัตกรรม ใหม่สำ� หรับการวางแผนการรักษาผูป้ ว่ ยในศตวรรษที่ 21 ประกอบ ด้วยงานวิชาการทีเ่ กีย่ วข้องกับงานด้านทันตกรรม 4 กลุม่ หลัก ได้แก่ • กลุม่ ทันตกรรมทัว่ ไป (General Dentistry and Oral Health) • กลุ่มทันตกรรมป้องกัน (Preventive Dentistry) ครอบคลุม ถึงงาน Orthodontics Epidemiology และ Public Health

22 • THAI DENTAL MAGAZINE

การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Hand-on)

การฝึกปฏิบัติการเพื่อเพิ่มความช�ำนาญ ในการบูรณาการแผนงานการรักษา

• กลุ่มทันตกรรมบูรณะ (Restorative Dentistry) ครอบคลุม ถึงงาน Periodontics, Endodontics, Pedodontics, Materials, Esthetics และ Prosthetics • กลุ่มทันตกรรมรากเทียม (Implantology) ครอบคลุมถึงงาน Oral Surgery, Oral Medicine, Oral Pathology, Oral Immunology ผลงานทางวิชาการจะถูกน�ำเสนอโดยผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะทางใน สาขานั้นๆ ในรูปแบบต่างๆ เช่น การบรรยายพิเศษ การเสวนาทาง วิชาการ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งจัดขึ้นใน 6 ห้องประชุม พร้อมกัน ทันตแพทย์สามารถเลือกเข้าอบรมในหัวข้อวิชาการทีส่ นใจ ด้วยหัวข้อการประชุมที่มีมากกว่า 50 หัวข้อ ตลอดระยะเวลา 4 วัน ของการประชุม ถือได้วา่ เป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครัง้ ส�ำคัญ ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย


ตัวอย่างรายชื่อทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรพิเศษทางทันตกรรมบดเคี้ยว ทันตกรรมรากเทียมและ ทันตกรรมปริทันต์

ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ Marco Ferrari หัวข้อบรรยาย “Impact of new ceramics and digital workflow on dental practice” ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่งคณบดีคณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย University of Siena ทีเ่ มือง Siena ประเทศอิตาลี เคยด�ำรง ต�ำแหน่งประธานของสมาคมทันตวัสดุศาสตร์ (Academy of Dental Materials) ประธาน ทันตอนุรักษ์สหพันธรัฐยุโรป (European Federation of Conservative Dentistry) ประธานของ IADR-CED มีผลงานทางวิชาการ และบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทันตกรรม ระดับนานาชาติมากกว่า 290 บทความ

ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ Matthias Kern

อาจารย์ทันตแพทย์ Urs Brodbeck

หัวข้อบรรยาย “Esthetic and minimal inva- หัวข้อบรรยาย “White and pink aesthetics. sive anterior tooth replacement revisited” A concept from the practice - for the practice” ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่งหัวหน้าภาควิชา ทันตกรรมประดิษฐ์และวัสดุทนั ตกรรมคณะ จบการศึกษาจากโรงเรียนทันตกรรม ทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Christian-Al- มหาวิทยาลัยซูริกในปี 1983 ประเทศ brechts University ที่เมือง Kiel ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญทางด้านวัสดุ เยอรมนี มีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์ทาง บูรณะ เซรามิกและการฟืน้ ฟูบูรณะทางด้าน ด้านทันตวัสดุและทันตกรรมประดิษฐ์ใน ทันตกรรมประดิษฐ์ทปี่ ระสบความส�ำเร็จเป็น วารสารทางทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง ด�ำรง อย่างดีและมีชอื่ เสียงในยุโรปและเอเชียแปซิฟกิ ต�ำแหน่งกองบรรณาธิการของวารสารทันต มีบทความและงานวิจัยตีพิมพมากมายใน กรรมระดับนานาชาติ อาทิ Journal of วารสารทันตกรรมระดับนานาชาติตีพิมพ์ Adhesive Dentistry, International Journal of Prosthodontics, Journal of Dental Research, Quintessence International

THAI DENTAL MAGAZINE • 23


ตัวอย่างรายชื่อทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรพิเศษทางทันตกรรมบดเคี้ยว ทันตกรรมรากเทียมและ ทันตกรรมปริทันต์

ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ Marcelo Kreiner

ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ Antoine Berbebi

ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ Ira Lamster

หัวข้อบรรยาย “Life-threatening Orofacial Pains and TMD - Early recognition and differential diagnosis ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่งหัวหน้าภาควิชา ช่องปากสรีรวิทยาโรงเรียนทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสาธารณรัฐมอนเตวิเด อุรกุ วัย เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญทางด้านทันตกรรมบดเคีย้ ว มีตำ� ราการเรียนเรือ่ งการนอนกัดฟัน : ทฤษฎี และการปฏิบัติ

หัวข้อบรรยาย “Marginal Bone Stability Around Single Implants Leakage & Micro Movements” ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่งหัวหน้าภาควิชา ศัลยกรรมช่องปากโรงเรียนทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเลบานอน เป็นผู้ก่อตั้งและ ประธานของสมาคมเลบานอนศัลยกรรมช่อง ปาก สมาชิกของสมาคมยุโรปศัลยกรรมช่อง ปาก มีผลงานตีพมิ พ์ไม่ตำ�่ กว่า 60 บทความ และการบรรยายในหัวข้อที่เชี่ยวชาญระดับ นานาชาติไม่ต�่ำกว่า150 ครั้ง

หัวข้อบรรยาย “The Influence of Diabetes Mellitus on Oral Health” คณบดี กิ ต ติ คุ ณ จากมหาวิ ท ยาลั ย Columbia University College of Dental Medicine มีบทความและงานวิจัยตีพิมพ์ มากมายในวารสารทันตกรรมระดับนานาชาติ ไม่ตำ�่ กว่า 190 บทความ รวมทัง้ ต�ำราการเรียน “Improving Oral Health for the Elderly” ตีพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ Springer และต�ำรา การเรียน “Diabetes and Oral Health : An Interprofessional Approach” ตีพิมพ์โดย ส�ำนักพิมพ์ Wiley/Blackwell

“การเดินทางมายังไบเทคบางนานั้น แสนสะดวก นอกจากการเดินทางด้วย รถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานีบางนา ช่องทางออกที่ 1 แล้ว ท่านยังสามารถเดินทาง ด้วยรถยนต์ โดยใช้ทางด่วนบางนา-ตราด หรือ ทางด่วนส�ำโรง ตามแผนที่ข้าง ล่างนี้ ก็ยังได้ (ภาพแผนที่จาก www.tcn-conference.com/การเดินทางมายัง ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค-บางนา.html)

24 • THAI DENTAL MAGAZINE

“ที่พักส�ำหรับผู้เข้าร่วมประชุมรอบๆ ไบเทค หรือตามสายสถานี รถไฟฟ้า มีหลายสิบแห่ง ตั้งแต่ระดับสามดาว ไปยันหกดาว ตั้งแต่ อพาร์ตเมนต์ รีสอร์ท ไปยันโรงแรมหรู ท่านสามารถตรวจสอบได้ที่ www.booking.com, www.fdi2015bangkok.org/accommodation. html หรือ QR code นี้


ตอนยังเป็นเด็กเล็กอยู่ ผมเป็นเด็กที่ เห็นแก่ตัว มีอะไรที่เป็นของดีๆ ผมก็คิดถึง แต่ตัวผมเพียงผู้เดียว ไม่สนใจความรู้สึก ของผู้อื่น ผลปรากฎว่าเพื่อนฝูงห่างหายไป จากผม ทีละคน ทีละคน กับเรื่องนี้แล้ว ผมกลุ้มใจมาก บ่อยครั้งที่ผมตำ�หนิผู้อื่น ลับหลัง!! คืนวันหนึ่ง คุณพ่อท�ำบะหมี่มาสองชาม ชามหนึ่งบนบะหมี่มี ไข่อยู่ใบหนึ่ง ส่วนอีกชามหนึ่ง เมื่อมองดูแล้วไม่มีอะไรเลย คุณพ่อถามผมว่า “ ลูกจะกินชามไหน ?” เวลานั้น ไข่ไก่เป็นสิ่งที่ล�้ำค่ามาก หากไม่ตรงกับวันตรุษจีนหรือวัน เทศกาลแล้ว ยากนักที่จะได้กิน ผมย่อมไม่ละทิ้งโอกาสอันดีนี้ไป ฉะนั้นผมไม่ลังเลเลย ที่จะเลือกชามที่เห็นมีไข่อยู่ด้านบนบะหมี่ แท้จริงแล้ว สิ่งที่ผมได้เลือกมันคือความผิดพลาด ในยามที่ผม ก�ำลังหลงดีใจกินไข่ใบนั้นอยู่ ผมประหลาดใจที่เห็นว่า ในก้นชาม บะหมี่ของคุณพ่อนั้น ซ่อนไข่ไว้สองใบ ผมเสียใจมาก และโกรธ ตัวเองที่ใจร้อนเกินไปรีบเลือกโดยไม่ทันได้คิด คืนวันที่สองคุณพ่อท�ำบะหมี่มาสองชามอีก ยังคงเหมือนเดิม ชามหนึ่งด้านบนเห็นมีไข่ใบหนึ่งวางอยู่ ส่วนอีกชามดูไปแล้วไม่มี อะไร คุณพ่อให้ผมเลือกก่อน ครั้งนี้ผมฉลาดขึ้นแล้ว เลือกชามที่ ด้านบนไม่มีไข่ คุณพ่อได้แต่จ้องมองฉัน ไม่พูดไม่จาสักค�ำ ผมรีบหยิบตะเกียบขึน้ มา เขีย่ บะหมีใ่ ห้แยกออก ผมคิดแต่เพียง ว่า ข้างใต้บะหมี่ต้องซ่อนไว้ด้วยไข่ไก่สองใบ แต่แล้วผมก็ต้องผิด หวังอย่างรุนแรง ก้นชามนอกจากน�้ำซุปแล้ว อะไรก็ไม่มี

ยามนี้ คุณพ่อได้บอกผมว่า “ลูกเอ๋ย...ลูกต้องจ�ำไว้ว่า อย่าเชื่อมั่นในประสบการณ์ที่ผ่าน มาให้มากนัก เพราะว่า ชีวิตบางครั้งก็หลอกลวงเรา ทว่า ลูกอย่า เพิ่งโมโห และไม่ต้องเศร้าใจ ทั้งหมดนี้ ให้ถือว่าเป็นประสบการณ์ ครั้งหนึ่งในชีวิต ซึ่งลูกไม่สามารถเรียนรู้จากหนังสือได้ คืนวันที่สาม คุณพ่อท�ำบะหมี่เช่นเดิมอีกสองชาม ยังคงเป็น ชามหนึ่งด้านบนมีไข่หนึ่งใบ ส่วนอีกชามมองดูแล้วไม่มีอะไรเลย คุณพ่อให้ผมเลือกก่อนเช่นเดิม ครัง้ นีผ้ มจะไม่เลือกอย่างผลีผลาม อีกแล้ว แต่บอกกับคุณพ่อจากใจจริงว่า “คุณพ่อ ท่านเป็นผู้อาวุโส อีกทั้งได้เสียสละให้แก่ผมและ ครอบครัวมากมาย ให้คุณพ่อเลือกก่อนเถอะ” คุณพ่อไม่ได้ปฏิเสธ เลือกชามที่มีไข่อยู่ด้านบนโดยไม่ลังเล ผมเดาว่า อีกชามที่เหลือต้องไม่มีไข่แน่ๆ แต่นอกเหนือการคาด เดา ผมโชคดีมาก ที่ก้นชามมีไข่อยู่ตั้งสองใบ คุณพ่อเงยหน้า ขึ้น ในนัยน์ตาเปี่ยมไปด้วยความรักและเอ็นดู ท่านบอกผมอย่าง ราบเรียบว่า “ลูกเอ๋ย! ลูกต้องจ�ำให้มั่น ยามที่ลูกคิดเพื่อคนอื่นแล้ว ความ โชคดีก็จะเข้ามาหาตัวลูกเอง “ ค�ำพูดของคุณพ่อ ท�ำให้ผมละอายใจยิง่ นัก ตัง้ แต่นนั้ เป็นต้นมา ผมน�ำค�ำสอนนีม้ าเป็นเกณฑ์ในการด�ำรงชีวติ ไม่วา่ ต่อผูค้ นหรือต่อ หน้าทีก่ ารงาน สิง่ แรกทีผ่ มนึกคิดได้กอ่ นอืน่ ใด ก็คอื ผลประโยชน์ที่ ผูอ้ นื่ จะได้รบั ก่อน ตรงตามทีท่ า่ นพ่อได้สอนไว้ ความโชคดีได้ทยอย เข้าหาผม ท�ำให้หน้าที่การงานของผม เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้น ขอบคุณที่มา จาก FW Mail vvv [vxxxoh@gmail.com] THAI DENTAL MAGAZINE • 25


เรื่อง ทันตแพทย์หญิงวิกุล วิสาลเสสถ์ กลุ่มพัฒนาการคุ้มครอง ผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ ส�ำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย wikul.v@anamail.mail.go.th

ขอขอบคุณ: ข้อมูลจาก “การวิจัยด้านทันตวัสดุศาสตร์และคลินิก” ของ รศ.ดร.ทพ.ชลธชา ห้านิรัติศัย

ทันตแพทย์สว่ นใหญ่คงเคยเห็นอักษรย่อ “ISO” ตามด้วยตัวเลข ต่อท้ายสี่ห้าตัวบางคนอ่านว่า “ไอ-โซ่” แต่ผู้รู้ในวงการบอกว่าต้อง อ่าน “ไอ-เอส-โอ” ซึง่ หลายคนทราบดีวา่ เป็นเรือ่ งส�ำคัญของวงการ อุตสาหกรรม แต่วงการทันตแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ Art & Science น่าจะห่างไกลจาก ISO ยิ่งนัก พัฒนาการของงานทันตแพทย์เริม่ จากการรักษาผูป้ ว่ ยด้วยวิธี การและเทคนิคทีเ่ หมาะสมร่วมกับการเลือกใช้วสั ดุทสี่ ามารถน�ำมา ทดแทนส่วนที่สูญเสียไปของฟันได้ ในปัจจุบันมีการพัฒนาทันต วัสดุชนิดใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา เป็นที่ยอมรับว่า วิธกี ารและเทคนิคการบ�ำบัดรักษาทางทันตกรรมนัน้ พัฒนาขึน้ ตาม ชนิดของทันตวัสดุที่ผลิตขึ้นมาใหม่ๆ ส่วนพัฒนาการของทันตวัสดุรวมถึงอุปกรณ์เครือ่ งมือทางทันต กรรม เกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัทผู้ผลิต นักวิชาการแขนง ต่างๆ (ทัง้ เคมี ฟสิ กิ ส์ วัสดุศาสตร์ โลหะวิทยาฯลฯ) และทันตแพทย์ผู้ ใช้ เมือ่ บริษทั จะท�ำการผลิตวัสดุตวั ใหม่ขนึ้ มา จะให้นกั วิชาการทาง ทันตวัสดุทำ� การทดสอบคุณสมบัตติ า่ งๆ ในห้องทดลองก่อนทีจ่ ะให้ ทันตแพทย์นำ� ไปทดลองใช้ในคลินกิ กับผูป้ ว่ ย ปัญหาทีท่ นั ตแพทย์ พบภายหลังการใช้งานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จะเป็นข้อมูล ให้นักวิชาการน�ำไปวิจัยปรับปรุงคุณสมบัติและประสิทธิภาพของ วัสดุนั้นๆ และเป็นข้อมูลย้อนกลับไปบริษัทเพื่อให้ผลิตทันตวัสดุ ที่มีคุณภาพตามที่ทันตแพทย์ต้องการออกมา ท�ำให้การรักษาทาง ทันตกรรมรวดเร็วมีประสิทธิภาพมากขึน้ สง่ ผลดีตอ่ ประชาชนผูร้ บั บริการในที่สุด 26 • THAI DENTAL MAGAZINE

ISO เข้ามาเกี่ยวกับทันตแพทย์อย่างไร

ทันตวัสดุที่ผลิตขึ้นมาในช่วงแรกแม้จะมีการวิจัยตรวจสอบ คุณสมบัติ แต่เนื่องจากวิธีการทดลองที่ต่างกันท�ำให้เกิดความขัด แย้งของผลการทดลองทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ การก�ำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นสากลจึงเกิดขึ้นโดยองค์การ ระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน(International Standard Organization – ISO ) ได้จดั ตัง้ คณะกรรมการวิชาการคณะที่ 106 (Technical Committee 106 - ISO/TC 106 Dentistry) ขึ้นมา ด้วยความร่วมมือกับสมาคมทันตแพทย์นานาชาติ (World Dental Federation – FDI ) ท�ำหน้าที่ก�ำหนดเกณฑ์มาตรฐานสากลของ ผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรม นอกจากการทดสอบทางคุณสมบัติกายภาพและเชิงกลใน ห้องปฏิบัติการแล้ว ISO ยังได้ก�ำหนดวิธีการตรวจสอบความเป็น พิษของวัสดุที่ใช้ในงานทันตกรรม และความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อ ชีวภาพ (Biocompatibility) เพือ่ ประเมินความปลอดภัยการใช้งาน ให้อยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ก่อนที่จะน�ำไปใช้จริงในผู้ป่วย เกณฑ์ มาตรฐานที่ก�ำหนดขึ้นจะบอกถึงรายละเอียดของวิธีการทดสอบ คุณสมบัติ การแปลผลและค่าก�ำหนดขัน้ ต�ำ่ ของคุณสมบัตทิ สี่ ำ� คัญ ของทันตวัสดุแต่ละตัว ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของทันต วัสดุที่จะน�ำออกมาจ�ำหน่ายให้ได้มาตรฐาน


วิธีท�ำงานของคณะกรรมการมาตรฐานระหว่างประเทศ ด้านทันตภัณฑ์ ISO/ TC 106 Dentistry การท�ำงาน ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการ (Sub–Committee - SC) 9 คณะ คือ วัสดุอดุ ฟันและบูรณะฟัน - Filling and restorative materials วัสดุทันตกรรมประดิษฐ์ - Prosthodontic materials ระบบค�ำศัพท์ - Terminology เครื่องมือส�ำหรับงานทันตกรรม - Dental instruments อุปกรณ์ทางทันตกรรม - Dental equipment ผลิตภัณฑ์ดูแลทันตสุขภาพ - Oral care products รากฟันเทียม - Dental implants ระบบการออกแบบและการผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย – Dental CAD/CAM systems การประชุ ม วิ ช าการคณะกรรมการมาตรฐานระหว่ า ง ประเทศด้านทันตภัณฑ์(ISO/TC106 Dentistry) จัดขึ้นเป็น ประจ�ำทุกปี เป็นการประชุมปิดเฉพาะผู้แทนจากประเทศ สมาชิก (P-member) และผู้แทนจากประเทศที่ขอเข้าร่วมประชุม สังเกตการณ์ (O-member) เท่านั้น ปัจจุบันสมาชิก ISO มี 120 ประเทศ ผูเ้ ขียนได้มโี อกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์ประชุม SC7- Oral care products ในปี 2557 ที่นครเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี มี ผู้เข้าประชุมจาก 18 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย เบลเยียม แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ รัสเซีย สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกาและ ประเทศไทย หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักของไทยคือกระทรวง อุตสาหกรรม โดยส�ำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (TISI หรือ สมอ.) ผู้แทนของไทยคือศาสตราจารย์พิเศษ พลโท พิศาล เทพสิทธา, คุณสุภัทรา อดิสร เลขานุการ คณะกรรมการ วิชาการมาตรฐานทันตภัณฑ์ ของ สมอ. และ ผู้เชี่ยวชาญแต่ละ ผลิตภัณฑ์ที่ประเทศไทยเสนอชื่อไปเพื่อร่วมก�ำหนดมาตรฐาน ปี 2558 นี ้ สมอ.โดยการสนับสนุนของทันตแพทยสมาคมแห่ง ประเทศไทยฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับเป็นเจ้าภาพจัดการ ประชุมคณะกรรมการมาตรฐานระหว่างประเทศด้านทันตภัณฑ์ ( ISO/TC106 Dentistry) ที่กรุงเทพมหานคร ช่วงเวลาใกล้เคียง กับการประชุมทันตแพทย์นานาชาติ ( FDI 2015 - Annual World Dental Congress ) ชว่ งเวลานัน้ กรุงเทพมหานครเมืองเทวดาของ พวกเราน่าจะเป็นแหล่งชุมนุมเหล่าเทพด้านทันตแพทยศาสตร์จาก ทัว่ โลกเลยทีเดียว…น่าภูมใิ จ แถมยังได้ชว่ ยส่งเสริมการท่องเทีย่ ว ของประเทศอีกด้วย

ขายและการแนะน�ำของตัวแทนของบริษัทผู้น�ำเข้าเป็นส่วนใหญ่ ทันตภัณฑ์ที่ได้รับสัญลักษณ์ ISO จะช่วยให้ทันตแพทย์เลือก ใช้ได้อย่างมั่นใจ มาตรฐานและวิธีการทดสอบผลิตภัณฑ์ของ ISO ยังเป็นแนวทางส�ำหรับบริษัทผู้ผลิตในการพัฒนาทันตวัสดุ และอุปกรณ์เครือ่ งมือทางทันตกรรม รวมถึงประเมินตรวจสอบเพือ่ ควบคุมคุณสมบัติของทันตภัณฑ์แต่ละประเภทได้อย่างดี สมอ. ได้จดั ท�ำมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ของทันตภัณฑ์ เช่น เก้าอี้ ทันตกรรม โคมไฟส่องปาก เครือ่ งขูดหินน�ำ้ ลาย วัสดุเคลือบร่องฟัน แปรงสีฟัน ยาสีฟัน น�้ำยาบ้วนปาก ฯลฯ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม ในประเทศ โดยอ้างอิงกับ ISO ของทันตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามยัง ไม่มหี น่วยงานใดรับผิดชอบในการประเมินมาตรฐานทันตภัณฑ์ที่ จ�ำหน่ายในประเทศโดยตรง อีกทั้งการวิจัยเกี่ยวกับทันตภัณฑ์ยัง อยู่ในวงจ�ำกัด ปัจจุบันทันตวัสดุจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ อยู่ภาย ใต้การควบคุมของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หาก พบทันตวัสดุที่ซื้อมาด้อยคุณภาพ หรือท�ำให้เกิดผลแทรกซ้อน ไม่พึงประสงค์ ทันตแพทย์ผู้ใช้ควรรวบรวมข้อมูลและรายงาน ต่อกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์ที่ อนุญาตให้น�ำเข้ามาจ�ำหน่ายในประเทศต่อไป โดยส่งข้อมูลไป ที่ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข 11004 หรือ อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th ควรแจ้ง ชื่อ ที่อยู่ หรือเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ นอกจากประโยชน์ในการแจ้งผลการด�ำเนิน การแล้ว กรณีที่ข้อมูลไม่เพียงพอหรือต้องการหลักฐานเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อกับผู้ร้องได้ โดยชื่อ ที่อยู่ ดังกล่าวจะได้ รับการเก็บรักษาเป็นความลับ หรืออาจติดต่อกลุ่มคุ้มครองผู้ บริโภคด้านทันตสุขภาพ ส�ำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เพื่อ ช่วยประสานงานได้เช่นกัน “When dentists share their clinical experience via voluntary reporting of Adverse Events, this cumulative experience becomes powerful data that may help uncover unsafe and failed products.”—“Adverse drug and device reactions in the oral cavity.” JADA 144(9) September 2013.

ประโยชน์ของมาตรฐานสากลด้านทันตภัณฑ์

ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศมีการควบคุมคุณภาพ ทันตภัณฑ์ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งผลให้ทันตภัณฑ์ที่ส่งไป จ�ำหน่ายในประเทศเหล่านัน้ มีการแข่งขันเชิงคุณภาพเกิดขึน้ ส่วน ประเทศไทยซึง่ ทันตภัณฑ์นานาชนิดหลัง่ ไหลเข้าประเทศ และการ เลือกซื้อเลือกใช้โดยทันตแพทย์เป็นไปตามอิทธิพลการโฆษณา THAI DENTAL MAGAZINE • 27


เรื่อง ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฉบับนีม้ ารูจ้ กั ประเทศเพือ่ นบ้านอีกประเทศ ทีไ่ ม่มพี รมแดนติดต่อกับไทย แต่คนไทยเรา รูจ้ กั กันดีวา่ เป็นประเทศทีเ่ หมาะแก่การไป ชอปปิ้ง กระเป๋า รองเท้า ฯลฯ ใครที่มาเที่ยวเวียดนามและได้มีโอกาสคุยกับคนอายุสัก 50-60 ปี จะได้รบั รูถ้ งึ ความโหดร้ายของสงครามเวียดนาม และจะได้เห็นจิต วิญญาณของนักสู้ที่ไม่ท้อถอยของชาวเวียดนาม ผมมีเพื่อนที่เป็น ทันตแพทย์เวียดนามหลายคน เวลาที่ท�ำงานด้วยกัน จะเห็นความ ทุม่ เทหรือความเป็นนักสูข้ องเขาได้ชดั เจน ซึง่ เรือ่ งนีเ้ ราอาจจะต้องรู้ ประวัตศิ าสตร์ความยากล�ำบากและการต่อสูข้ องคนเวียดนามเพือ่ ที่จะเข้าใจความเป็นมาเป็นไป ถ้าย้อนดูประวัติศาสตร์ เวียดนามตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ จีนมานานถึง 1,000 ปีก่อนจะได้ปกครองตนเองในปี พ.ศ.​1481 เวียดนามได้ปกครองตนเองอยู่ 900 กว่าปี จนถึงปี พ.ศ.​2410 ที่ 28 • THAI DENTAL MAGAZINE

เป็นยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก เวียดนามก็ต้องตกเป็น อาณานิคมของฝรั่งเศส ผู้น�ำของเวียดนามโฮจิมินห์ ได้ต่อสู้กับ ฝรั่งเศสจนประกาศอิสรภาพได้ในปี พ.ศ. 2488 แต่อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสไม่ยอมรับการเป็นรัฐบาลอิสระของเวียดนาม จึงใช้วิธีการ ตัง้ รัฐบาลหุน่ เชิดทีเ่ วียดนามใต้ ท�ำให้เกิดความขัดแย้งและการสูร้ บ ขึ้น สงครามที่เรารู้จักกันดีคือ สงครามเดียนเบียนฟู ที่เวียดนามได้ วางแผนการรบอย่างชาญฉลาดจนมีชัยชนะต่อฝรั่งเศสได้ แม้เวียดนามจะชนะการสู้รบแต่ฝรั่งเศสยังคงรับรองอ�ำนาจ ของรัฐบาลเวียดนามใต้อยู่และได้ท�ำข้อตกลงเจนีวาที่ยังคงแบ่ง เวียดนามออกเป็นสองส่วนไว้ก่อนและก�ำหนดให้มีการเลือกตั้ง เพื่อรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวในอนาคต แต่การเลือกตั้งรวม ประเทศไม่เกิดขึ้น เพราะหากเลือกตั้งเกิดขึ้นในขณะนั้นเวียดนาม น่าจะเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ดังนั้นสหรัฐอเมริกาได้ส่งทหารมา สนับสนุนรัฐบาลเวียดนามใต้ เพือ่ ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ “สงคราม เวียดนาม” จึงเกิดขึน้ ระหว่างเวียดนามเหนือและใต้ สหรัฐอเมริกาได้ ร่วมรบกับเวียดนามใต้โดยใช้การรบเต็มรูปแบบ การปูพรมทิง้ ระเบิด การใช้สารเคมีหรือฝนเหลืองอันน่าสะพรึงกลัว แต่ไม่สามารถสูก้ บั


การรบแบบกองโจรของเวียดนามเหนือได้ การสูร้ บด�ำเนินไปถึง 16 ปีในที่สุดกองทัพเวียดนามเหนือได้ชัยชนะ แต่ชาวเวียดนามต้อง สูญเสียชีวิตทหารและประชาชนไปประมาณ 2 ล้านคน ประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามจึงได้ก�ำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.​2518 อาจกล่าวได้ว่าการสร้างชาติและพัฒนาประเทศของเวียดนามจึ ง เริ่มต้นหลังการสิ้นสุดของสงครามมาไม่ถึง 40 ปีเท่านั้น ประเทศเวียดนามยังคงถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศทีมีรายได้ต�่ำ (low-income country) ทีม่ รี ายได้ตอ่ หัวของประชากรน้อย ประชากร ส่วนใหญ่ร้อยละ 75 อยู่ในเขตชนบท เวียดนามมีชายฝั่งทะเลยาว ถึง 3,440 กิโลเมตร เวียดนามแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ เวียดนามเหนือ กลาง และใต้ เมื่อปีที่แล้วตอนที่ผมไปเยือนเวียดนาม ได้มีโอกาส นั่งรถจากฮานอยลงมาที่เมืองเว้ทางตอนกลาง ได้เห็นการก่อสร้าง ขยายความกว้างของถนนเส้นทางหมายเลข 1 ที่เป็นถนนยาวกว่า 2,300 กิโลเมตรที่เชื่อมเวียดนามจากเหนือจรดใต้ ซึ่งถ้าสร้างเสร็จ เมื่อไรก็จะเร่งให้มีการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น เนือ่ งจากเวียดนามเคยอยูภ่ ายใต้อทิ ธิพลของจีน ดังนัน้ ใครทีไ่ ป เวียดนามแล้วไปเยี่ยมเยียนตามวัดและโบราณสถานต่างๆ จะพบ ตัวหนังสือจีน ซึ่งเวียดนามได้ยืมตัวหนังสือมาใช้และปรับเปลี่ยน เสียงให้ตรงกับภาษาเวียดนาม แต่ภาษาเวียดนามปัจจุบันที่ใช้อยู่ เกิดขึ้นจากบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่มาเผยแพร่ศาสนาท่านได้แปล ภาษาพูดของเวียดนามโดยใช้อักษรโรมันแทน โดยมีสัญลักษณ์ที่ คล้ายๆ วรรณยุกต์ทั้งตัวบนและตัวล่าง เติมเข้าในอักษรโรมันเพื่อ การออกเสียงที่ใกล้เคียงภาษาพูด ตัวอักษรนี้ถูกประกาศใช้เป็น ภาษาราชการในช่วงที่เวียดนามตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส คนเวียดนามนับถือศาสนาพุทธประมาณครึง่ หนึง่ ของประชากร เท่านัน้ ใครทีเ่ คยไปพม่าจะเห็นความแตกต่างในเรือ่ งนีช้ ดั เจนมาก ครับ เราจะเห็นคนพม่านั่งสวดมนต์ ท�ำสมาธิในวัด ซึ่งเราจะไม่พบ ภาพนี้ในเวียดนาม ทีป่ พู นื้ ฐานประวัตศิ าสตร์เวียดนามไว้ยาวสักหน่อยเป็นเพราะ ว่า เรื่องนี้จะท�ำให้เรา “เข้าใจ” บริบทของเวียดนามได้มากยิ่งขึ้น ท�ำให้เข้าใจว่าท�ำไมข้อมูลของทันตแพทย์เวียดนามจึงมีไม่ครบถ้วน ท�ำไมจึงมีการส�ำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับชาติเพียงครัง้ เดียว เข้าใจว่าท�ำไมจึงไม่มีองค์กรที่ดูแลจรรยาบรรณของทันตแพทย์ใน เวียดนาม เป็นต้น

ประชากร 45 ล้านคน มีทันตแพทย์ในภาครัฐ 850 คน denturist (มีความหมายเป็น ช่างทันตกรรม) 400 คน และ ทันตาภิบาล 800 คน ซึ่งเมื่อรวมทันตแพทย์ภาคเอกชนไปด้วยแล้ว ในเวียดนามใต้ ทันตแพทย์หนึ่งคนจะดูแลประชากร 43,000 คน โดยแยกเป็นเขต ชนบทที่ทันตแพทย์หนึ่งคนจะดูแลประชากร 178,500 คน ส่วน ในเขตเมืองทันตแพทย์หนึ่งคนดูแลประชากร 13,400 คน หรือมี ความแตกต่างกันถึง 13 เท่า ซึ่งเห็นได้ชัดถึงปัญหาการกระจาย ของทันตแพทย์ในเวียดนาม นอกจากนี้ยังพบว่า 156 อ�ำเภอจาก ทันตแพทย์เวียดนาม 363 อ�ำเภอในเขตนี้ไม่มีทันตแพทย์แม้แต่คนเดียว เวียดนามมีประชากรประมาณ 90 ล้านคนมีมากกว่าไทย เกือบ 30 ล้านคน แต่มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตรซึ่งน้อยกว่า ประเทศไทยเกือบหนึ่งในสาม แสดงว่า เวียดนามมีความหนาแน่น โรงเรียนทันตแพทย์ในเวียดนาม เวียดนามมีโรงเรียนทันตแพทย์ที่เป็นของรัฐบาลรวม 8 แห่ง ของประชากรมากกว่าไทยประมาณสองเท่า ข้อมูลทันตแพทย์ในเวียดนามมีความไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะ ซึ่งจะตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแพทย์และเภสัชศาสตร์ (National มีข้อมูลเฉพาะในภาครัฐเท่านั้น และข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้อ้างอิงจะ University of Medicine and Pharmacy) ประกอบด้วยทางเหนือ มาจากบทความการส�ำรวจสภาวะทันตสุขภาพของเวียดนามใต้ท่ี 4 แห่งที่ Ha Noi, Thai Nguyen, Thai Binh, Hai Phong ที่ราบ ภาคกลาง 2 แห่งที่ Hue และ Tay Nguyen และอีก 2 โรงเรียนทาง รายงานไว้ในปี พ.ศ. 2553 ข้อมูลจากการส�ำรวจในพื้นที่เวียดนามใต้ในปี พ.ศ. 2551 ที่มี ใต้ที่ Ho Chi Minh city, and Can Tho THAI DENTAL MAGAZINE • 29


ในโรงเรียนทันตแพทย์ที่ Hanoi, Ho Chi Minh และ Can Tho จะผลิตทันตแพทย์ได้ปลี ะ 100-180 คน ส่วนโรงเรียนทันตแพทย์ที่ เหลืออีก 5 แห่งจะมีขนาดเล็กกว่า ผลิตทันตแพทย์ได้ปลี ะ 50-70 คน ส�ำหรับความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โรงเรียนทันตแพทย์ใน Hanoi, Ho Chi Minh และ Can Tho จะอยูใ่ นโครงการ Inetnational Dental Collaboration of the Mekong River (IDCMR) ร่วมกับ ประเทศไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ในโครงการ มีการส่งอาจารย์ทนั ตแพทย์และนักศึกษาในโรงเรียนทันตแพทย์ทงั้ สามแห่งมาแลกเปลี่ยนกับคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล อย่างต่อเนื่อง

สุขภาพช่องปากของคนเวียดนาม มีการส�ำรวจสภาวะทันตสุขภาพของเวียดนามในระดับชาติ เมื่อปีพ.ศ.​2544 ซึ่งเป็นข้อมูลที่ค่อนข้างเก่ามาก ไม่มีการส�ำรวจ สภาวะทันตสุขภาพในระดับชาติอีก มีแต่การส�ำรวจในแต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัด ข้อมูลที่นิยมใช้อ้างอิงจะเป็นการส�ำรวจสภาวะทันต สุขภาพในพื้นที่เวียดนามใต้ ที่ท�ำขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2553 ที่อาจจะพอ บอกสุขภาพช่องปากของคนเวียดนามได้ ในปี พ.ศ.​2 544 เด็กอายุ 12 ปีของเวียดนามมีฟันแท้ผุเฉลี่ย 2.05 ซี่ต่อ คน เกือบทั้งหมดไม่ได้รับการรักษา ซึ่งสะท้อนถึงระบบ บริการทันตกรรมทีย่ งั ขาดแคลนในเวียดนาม ข้อมูลในปี พ.ศ. 2553 ที่ส�ำรวจเฉพาะในพื้นที่เวียดนามใต้ให้ผลไม่แตกต่างกันมากนัก เด็กอายุ 12 ปี มีฟันผุเฉลี่ย 1.99 ซี่ต่อคน ฟันที่ได้รับการอุดมีมาก ขึ้นกว่าเดิม แต่ฟันเกือบทั้งหมดก็ยังไม่ได้รับการรักษา เมื่อคิดเป็น ความชุกเด็กร้อยละ 68.5 มีฟันแท้ผุ เมื่อเทียบกับประเทศไทยแล้ว เด็กไทยอายุ 12 ปีมีฟันผุน้อยกว่า มีฟันผุเฉลี่ย 1.3 ซี่ต่อคนและคิด เป็นเด็กร้อยละ 52.3 ที่มีฟันผุ ส�ำหรับผู้ใหญ่อายุ 35-44 ปีที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ มีมาก ถึงร้อยละ 36.4 ที่มีร่องลึกปริทันต์ทั้งระดับลึกและตื้น ถ้าเทียบ กับข้อมูลของประเทศไทยในปีพ.ศ.​2555 ซึ่งพบว่า คนไทยมีโรค ปริทันต์อักเสบเพียงร้อยละ 15.6 เท่านั้น

30 • THAI DENTAL MAGAZINE

คลินิกทันตกรรมในเวียดนาม เมือ่ จบการศึกษาจากโรงเรียนทันตแพทย์แล้ว บัณฑิตทีจ่ บใหม่ สามารถเลือกได้ ว่าจะท�ำงานในภาครัฐหรือภาคเอกชน ถ้าสนใจ ท�ำงานในโรงพยาบาลภาครัฐที่มีชื่อเสียง ทันตแพทย์จบใหม่จะ ต้องท�ำงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน 1 ปี เพื่อที่จะได้รับการบรรจุภาย หลัง แต่ในโรงพยาบาลรัฐที่ขาดแคลนทันตแพทย์จะได้บรรจุทันที ทันตแพทย์ในภาครัฐจะได้เงินเดือนน้อยมาก ทันตแพทย์จบใหม่ที่ ท�ำงานในโรงพยาบาลของรัฐจะได้เงินเดือนประมาณ 6,500 บาท เท่านัน้ ดังนัน้ โดยทัว่ ไปทันตแพทย์ทที่ ำ� งานในโรงพยาบาลของรัฐจะ ท�ำคลินิกเอกชนตอนเย็น คล้ายๆ กับทันตแพทย์รัฐในประเทศไทย โดยจะเริ่มงานประมาณ 4 โมงครึ่งและเลิกงาน 2 ทุ่ม เพื่อนทันตแพทย์ช าวเวียดนามบอกว่า ถ้าเทียบทันตแพทย์ เวียดนามกับไทยแล้ ว ทันตแพทย์ไทยจะมีฐานะและต�ำแหน่งใน สังคมดีกว่าทันตแพทย์ในเวียดนาม คลินิกทันตกรรมเอกชนใน เวียดนาม มักจะเป็นคลินิกเล็กๆ ที่มียูนิตท�ำฟัน 1-2 ตัว เนื่องจาก ว่า ทันตแพทย์ทเี่ ป็นมือปืน (มาช่วยรักษาผูป้ ว่ ยในคลินกิ ให้เจ้าของ คลินิก) จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ค่ารักษาร้อยละ 35 เท่านั้น ซึ่งน้อย กว่าในไทย ที่ได้ 50:50 ซึ่งชัดเจนว่าระบบการแบ่งรายได้ระหว่าง เจ้าของคลินกิ กับทันตแพทย์นนั้ มีผลต่อขนาดของคลินกิ ทันตกรรม ในญี่ปุ่นเองคลินิ ก ทันตกรรมเอกชนก็จะแบ่งรายได้ให้ทันตแพทย์ ร้อยละ 30-35 ซึ่ง ท�ำให้เกิดคลินิกทันตกรรมเล็กๆ อยู่ทุกหนแห่ง ทันตแพทย์ทไี่ ด้สว่ นแบ่งในสัดส่วนทีน่ อ้ ยก็จะหันมาเปิดคลินกิ ของ ตนเองแทน จะมีเฉพาะคลินิกเอกชนในเมืองใหญ่ๆ เช่น Hanoi, Ho Chi Minh, Hai Phong และ Can Tho ที่จะเปิดเป็นคลินิก ขนาดใหญ่ มีทันตแพทย์เฉพาะทางให้บริการ


ค่ารักษาทางทันตกรรมในเวียดนาม ราคาค่าท�ำฟันในคลินกิ ทันตกรรมเอกชนจะมีอตั ราใกล้เคียงกับ โรงพยาบาลรัฐบาล สาเหตุสว่ นหนึง่ เป็นเพราะว่าภาคเอกชนกับรัฐ เป็นคู่แข่งกันในการให้บริการทันตกรรม คลินิกเอกชนไม่สามารถ คิดราคาค่าท�ำฟันให้ สู งกว่าภาครัฐเพราะกลุ่มผู้ป่วยจะเป็นกลุ่ม เดียวกัน แต่จะยกเว้นคลินิกใหญ่ๆในตัวเมือง ที่มุ่งเป้าไปยังผู้ป่วย ที่เป็นคนรวย ราคาค่ารักษาอาจแพงขึ้น 2 เท่า ส่วนราคาค่าท�ำฟัน ส�ำหรับให้นิสิตในมหาวิทยาลัยฝึกปฎิบัติจะมีราคาถูกมาก ขอยกตัวอย่าง อัตราค่าท�ำฟันของคลินกิ เอกชนและโรงพยาบาล รัฐ มาบางรายการ (คิดที่อัตราแลกเปลี่ยน 10 บาทเท่ากับ 7,000 ดอง) ตัวอย่างเช่น ถอนฟันแท้ 150-450 บาท ขูดหินน�ำ้ ลาย 150-300 บาท อุดฟัน 75-300 บาท ฟันเทียมถอดได้ฐานพลาสติก 300-450 บาท ครอบฟันพอร์ซเลนแบบไทเทเนียม 3,000 บาท ครอบฟันแบบ โลหะมีคา่ 10,000 บาท จัดฟัน 30,000 บาทเป็นต้น ซึง่ ราคาต�ำ่ กว่า ในประเทศไทย

Dental Tourism in Vietnam การรับนักท่องเที่ยวมาท�ำฟันในประเทศเวียดนามเริ่มมีความ นิยม มีหลายคลินกิ ทีท่ ำ� เวบไซต์ประชาสัมพันธ์ให้ผปู้ ว่ ยจากประเทศ สหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือออสเตรเลียเข้ามาท�ำฟัน มีบางคลินิกระบุ ชัดว่า ค่ารักษาทางทันตกรรมของเวียดนามถูกกว่าไทยประมาณ ร้อยละ 20 เพื่อดึงดูดให้มาเวียดนามแทนที่จะเป็นประเทศไทย และโฆษณาว่ารักษาโดยทันตแพทย์เวียดนามทีจ่ บเฉพาะทางจาก ต่างประเทศ ซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งที่การท่องเที่ยวท�ำฟันได้รับความ นิยมมากขึ้น เนื่องมาจากสมัยสงครามที่คนเวียดนามอพยพไป อยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในแคลิฟอร์เนีย และออสเตรเลีย ได้สร้างครอบครัวที่ประเทศนั้นๆ จนปัจจุบันที่มีเศรษฐานะดีขึ้นได้ ชักชวนคนในประเทศดังกล่าวกลับเข้ามาท�ำฟันในเวียดนาม

โรงพยาบาลเอกชนมีสัดส่วนน้อยมาก ในเวียดนามสถานบริการส่วนใหญ่เป็นของรัฐ โรงพยาบาล เอกชนมีสัดส่วนน้อยมาก แต่ก�ำลังขยายตัวเพิ่ม จากข้อมูลโรง พยาบาลรัฐในเวียดนามมีอยู่ 1,000 แห่ง มีจ�ำนวนเตียงผู้ป่วย 189,855 เตียง ส่วนภาคเอกชนจะมีโรงพยาบาลเอกชน 108 แห่ง มีจำ� นวนเตียง 6,500 เตียง สัดส่วนเตียงของโรงพยาบาลเอกชนคิด เป็นแค่ร้อยละ 3 ของระบบทัง้ หมด ส่วนในไทย ข้อมูลปี พ.ศ. 2554 โรงพยาบาลเอกชนมีจ�ำนวนเตียงร้อยละ 21 ของระบบทั้งหมดใน เวียดนาม โรงพยาบาลรัฐจะแยกเป็น โรงพยาบาลทั่วไป 11 แห่ง โรงพยาบาลเฉพาะทาง 25 แห่ง โรงพยาบาลจังหวัด 230 แห่ง และโรงพยาบาลอ�ำเภอ 734 แห่ง นอกจากนี้ยังมีสถานีอนามัย หรือ communal health center 10,732 แห่ง THAI DENTAL MAGAZINE • 31


selection ท�ำให้คนทีอ่ ยูใ่ นกองทุนประกันสุขภาพมีแต่ผปู้ ว่ ยเป็น ส่วนใหญ่ และการไปใช้บริการสุขภาพจะมากขึ้น ซึ่งในบางครั้ง การไปใช้บริการอาจไม่จ�ำเป็นเท่าใดนัก ทั้งสองประการนี้ ท�ำให้ กองทุนประกันสุขภาพ ประสบภาวะปัญหาเรื่องการเงิน มีแต่คน ป่วยมาเข้าร่วมและใช้บริการมากเกินความจ�ำเป็น

คนเวียดนามจ่ายเงินดูแลสุขภาพของตนเองเป็นหลัก จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2550 เวียดนามใช้จ่ายในเรื่องสุขภาพ ร้อยละ 7.1 ของ GDP และเกือบทั้งหมดของค่าใช้จ่ายมาจากการ ใช้จ่ายเงินโดยตรงของประชาชน (Out-of-pocket) โดยที่ครึ่งหนึ่ง ของค่าใช้จา่ ยจะจ่ายให้สถานพยาบาล หนึง่ ในสีจ่ า่ ยเป็นค่ายา ส่วน ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของรัฐมีเพียงร้อยละ 8.7 ของค่าใช้จ่ายด้าน สุขภาพทัง้ หมด ซึง่ แสดงถึงว่า ประชาชนเป็นผูร้ บั ผิดชอบหลักในการ ดูแลสุขภาพของตนเอง เมือ่ เปรียบเทียบกับข้อมูลของประเทศไทย ในปี พ.ศ.​2556 ที่ค่าใช้จ่ายในเรื่องสุขภาพของไทยใช้เพียงร้อยละ 3.9 ของ GDP และค่าใช้จ่ายของภาครัฐในเรื่องสุขภาพมีมากถึง ร้อยละ 75

หลักประกันสุขภาพ ยังไม่ครอบคลุม ข้อมูลในปีพ.ศ.​2549 คนเวียดนามกว่าร้อยละ 40 ไม่มีหลัก ประกันสุขภาพใดๆ เจ็บป่วยต้องใช้เงินส่วนตัวในการรักษา ซึ่ง คนส่วนนี้คือ ชาวนาและเจ้าของกิจการส่วนตัว(ที่ไม่มีเงินเดือน ประจ�ำ) ส่วนอีกร้อยละ 60 มีหลักประกันในระบบ Social Health Insurance (SHI) ซึง่ ในระบบ SHI จะมีคนอยูส่ องระบบ คือ 1. ภาค บังคับข้าราชการและผูม้ ีรายได้ประจ�ำทุกคน 2. ภาคสมัครใจทีค่ น ทีส่ มัครใจเข้าร่วม โดยคนทีอ่ ยูท่ งั้ ในภาคบังคับและภาคสมัครใจจะ ต้องจ่ายเงินสมทบตามฐานเงินเดือน ส่วนเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี คนจน ชนกลุ่ มน้อย ทางรัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณให้ เองเพื่อเข้ามาในระบบ SHI ซึ่งจะได้รับสิทธิตามที่ก�ำหนด เช่น ค่า รักษาโรค ค่ายา ค่าฟื้นฟูสภาพ การตรวจคัดกรองโรคบางโรค รวม ทั้งค่าเดินทางมารับการักษาส�ำหรับคนจน เป็นต้น การไม่ได้บงั คับให้ประชาชนทุกคนเข้าในระบบประกันสุขภาพ จะท�ำให้ประชาชนที่สมัครใจเข้าร่วมในหลักประกันสุขภาพจะเป็น คนที่มีโรคประจ�ำตัว อยู่แล้ว เพราะได้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา พยาบาลลง เนือ่ งจากต้องจ่ายเงินค่ารักษาเพียงร้อยละ 5-20 เท่านัน้ ในทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า adverse 32 • THAI DENTAL MAGAZINE

ระบบการจ่ายเงินและการร่วมจ่าย โรงพยาบาลรัฐ เมื่อให้บริการผู้ป่วยแล้ว ก็จะเก็บเงินค่ารักษา จากผูป้ ว่ ย ร้อยละ 5-20 ส่วนทีเ่ หลือจะเรียกเก็บจากกองทุนประกัน สุขภาพ ซึง่ โรงพยาบาลจะได้รบั เงินเต็มจากบริการทีใ่ ห้ ระบบนีเ้ รียก ว่า fee-for-services โรงพยาบาลจะไม่มกี ารขาดทุน ยิง่ บริการมาก ก็ยิ่งจะได้รายได้เข้ า โรงพยาบาลมากขึ้น ซึ่งระบบนี้ต่างกับไทย ที่ สปสช.ใช้เหมาจ่ายรายหั ว ที่แน่นอน โรงพยาบาลจะได้เงินก้อน หนึง่ ไว้จดั บริการตามรายหัวประชาชนทีข่ นึ้ ทะเบียน หากให้บริการ มากโรงพยาบาลจะขาดทุน แต่อย่างไรก็ตามระบบการจ่ายเงินแบบ fee-for-sevices จะเป็ น ระบบที่ไม่สามารถควบคุมงบประมาณ สุขภาพของประเทศได้ ถ้ า โรงพยาบาลทั่วประเทศให้บริการมาก เท่าใด งบประมาณก็จะขยายตัวมากเท่านั้น ซึ่งอาจท�ำให้กองทุน ประกันสุขภาพมีงบประมาณไม่เพียงพอก็เป็นไปได้ ในส่วนที่ผู้ป่วยจะต้องร่วมจ่ายเงิน co-payment ร้อยละ 5-20 ของค่ารักษานั้น ขึ้น กั บว่าเป็นการรักษาแบบใด (ในระบบประกัน สุขภาพถ้วนหน้ าของไทย จะร่วมจ่าย 30 บาท) แต่จะมีเพดาน ก�ำหนดว่า ในการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงจะร่วมจ่ายไม่เกิน 40 เท่า ของเงินเดือน เพื่อป้องกันการล้มละลายจากการรักษาพยาบาล

ส่งท้าย เวียดนามมีความแตกต่างกับไทยในหลายๆ ด้าน ทั้งประวัติ ความเป็นมาของชาติ การพัฒนาประเทศ ระบบของคลินิก ทันตกรรม โรงพยาบาล รวมถึงระบบประกันสุขภาพของประเทศ การได้รู้จักและเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านของเรา จะสร้างให้เกิด ความสัมพันธ์อันดีและน�ำไปสู่ความร่วมมือต่อกันหลายๆ ด้านใน อนาคต ขอขอบคุณ Dr. Thu Nhan อาจารย์ทนั ตแพทย์ชาวเวียดนาม จาก National University of Medicine and Pharmacy, Can Tho นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทีใ่ ห้ขอ้ มูลเพิม่ เติม


ทันโลก

เรื่อง ทญ.ผกามาศ แตงอุทัย ร.พ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา, ทพ.เสถียร สุรวิศาลกุล สสจ.ภูเก็ต จ.ภูเก็ต, ทญ.สุภาณี ไหลภาภรณ์ รพ.อ่าวลึก จ.กระบี่, ทญ.พิชญ์ปภาภัทร เดชปรัตถกร อาจารย์ภาคโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ทันทีที่พวกเราได้ทราบข่าวและเห็นประกาศจาก โรตารีภาค 3330 ว่าสวรรค์เมตตา ฟ้าประทาน โอกาสให้ทันตแพทย์ ทันตาภิบาลได้สมัครเข้ารับ การคัดเลือกเป็นสมาชิกทีมฝึกอบรมอาชีพ (Vocational Training Team หรือ VTT) ด้านทันตสาธารณสุขไปยังโรตารีภาค 2500 ฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น 34 • THAI DENTAL MAGAZINE

เป็นระยะเวลากว่า 16 วันนั้น พวกเรารู้สึกตื่นเต้นตาวาว ใบสมัคร อยูไ่ หนเอามาให้ฉนั กรอกเร็วๆ ... สิน้ สุดการรับสมัคร มีทนั ตแพทย์ ที่มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในเอกสารรับสมัครเข้าร่วมฟาดฟันบน สังเวียนนี้กว่าสิบท่าน การคัดเลือกใช้การสอบข้อเขียนและสอบ สัมภาษณ์ภาษาอังกฤษ ภายใต้ความตื่นเต้นและกดดัน จนล่วง เลยมาถึงช่วงเวลาการประกาศผล ผู้สมัครทุกท่านมายืนเรียงหน้า กระดานต่อหน้าคณะกรรมการเพือ่ เตรียมพร้อมส�ำหรับการก้าวขา ออกมาข้างหน้าทันทีทคี่ ณะกรรมการขานชือ่ ผ่างงง...ชือ่ ชัน้ ชือ่ ชัน้ จริงๆแก สวรรค์ชา่ งเมตตา และในทีส่ ดุ พวกเราก็ได้รบั การคัดเลือก ให้เป็นทีม VTT โดยมีหัวหน้าทีมคือ หมอแนท ทพ.สิทธานนท์ วัง ซ้าย จากสโมสรโรตารีทุ่งคา เป็นผู้น�ำทัพของเราไปในครั้งนี้ 4-5 เดือนก่อนการเดินทาง ทีมทันตแพทย์จากประเทศญีป่ นุ่ ที่ รับหน้าทีด่ แู ลต้อนรับพวกเรา ได้ตดิ ต่อมาเพือ่ สอบถามความต้องการ ของพวกเราที่จะเดินทางไปเรียนรู้งานทันตสาธารณสุขตลอดครึ่ง เดือนทีน่ นั่ สิง่ ทีพ่ วกเราสนใจต่อการเดินทางออกไปเปิดโลกทรรศน์ ในครั้งนี้มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ความสวยงามของคลอง โอตารุ อากาศทีห่ นาวเย็นทางตอนเหนือของประเทศญีป่ นุ่ มนต์ฤดู ใบไม้เปลีย่ นสี แอร๊ยยยยย... แม้กระนัน้ พวกเราก็ตอบทางประเทศ


ญีป่ นุ่ ไปว่า พวกเราสนใจการวางระบบงานทันตสาธารณสุขค่ะ ผม อยากเห็นมุมมองการดูแลทันตสุขภาพในผูป้ ว่ ยเด็กเพือ่ น�ำกลับมา ปรับใช้ครับ ดิฉันสนใจเรื่องการใช้เลเซอร์มากๆเลยค่ะ ส่วนดิฉัน คิดว่าเทคโนโลยีด้านทันตกรรมรวมถึงงานรากเทียมก็ดูน่าค้นคว้า นะคะ คริคริ ก่อนการเดินทาง พวกเราได้รับการเตรียมความพร้อมใน เรื่องภาษา มารยาท วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น แม้ว่าการเดินทางของพวกเราในครั้งนี้ จะมีส่วนคล้ายกับภารกิจ ของน้องเอลลี่และน้องเมญ่าที่ต้องก้าวขึ้นเครื่องบินโดยสารของ บริษัทการบินไทยในฐานะตัวแทนของสยามประเทศ จะต่างก็แค่ พวกเราไม่ได้ไปเพือ่ การประกวดแข่งขัน หากแต่ไปเพือ่ แลกเปลีย่ น แนวคิด การท�ำงานทันตสาธารณสุขเพือ่ น�ำกลับมาพัฒนางานทันต สาธารณสุขและเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศให้ แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และแล้ววันที่ 10 ตุลาคมที่ตั้งตารอก็มาถึง 7 ชั่วโมงแห่งการ เดินทางจากกรุงเทพไปยังฮอกไกโดผ่านไปอย่างรวดเร็ว ทันทีที่ล้อ แตะรันเวย์ทีมทันตแพทย์จากประเทศญี่ปุ่นให้การต้อนรับพวกเรา อย่างน่าประทับใจ การมาดูงานในครัง้ นีท้ ำ� ให้พวกเรารูว้ า่ 80% ของ ทันตแพทย์ทญ ี่ ปี่ นุ่ อยูใ่ นคลินกิ เอกชน กล่าวคือ ทันตแพทย์ในญีป่ นุ่ ทั้งหมดประมาณหนึ่งแสนคน จะท�ำงานอยู่คลินิกเอกชนประมาณ แปดหมืน่ คน แต่กลับไม่ทำ� ให้เกิดความเหลือ่ มล�ำ้ ทางด้านการรักษา ทางทันตกรรมแม้แต่น้อย เนื่องจากประชาชนทุกคนที่นี่จะมีระบบ ประกันสุขภาพโดยสามารถไปรับการรักษาทางทันตกรรมได้ทั้งที่

คลินิกเอกชนและสถานพยาบาลของรัฐ ดังนั้นต่อให้มีทันตแพทย์ เอกชนมากแค่ไหน ประชาชนก็ยังได้รับบริการทางทันตกรรมที่ทั่ว ถึงและเท่าเทียมกัน ภายใต้สิทธิ์ระบบประกันสุขภาพ การขูดหินน�้ำลาย การอุด ฟัน การถอนฟัน งานรักษาคลองรากฟัน งานฟันเทียมถอดได้และ งานครอบฟันชนิดทีใ่ ช้โลหะทีต่ ำ�่ กว่า Pd-based และเป็นครอบฟัน โลหะทัง้ ซี่ (Full metal crown) หรือครอบฟันโลหะเคลือบคอมโพสิต การรักษาดังกล่าวมาทัง้ หมดนีอ้ ยูภ่ ายใต้สทิ ธิร์ ะบบประกันสุขภาพ ซึ่งอัตราค่ารักษาของงานเหล่านี้จะถูกก�ำหนดไว้เป็นมาตรฐานใน ราคาเดียวกันทั้งประเทศ ผู้ป่วยจะเลือกใช้บริการทางทันตกรรมที่ คลินิกไหนก็จ่ายเท่ากัน ประเทศเค้าถึงไม่ต้องมีป้ายไวนิลปลิวขึ้น ปลิวลง ป้ายโปรโมชั่นถ่วงด้วยขวดน�้ำให้รกหน้าร้านกันยังไงล่ะจ๊ะ บุคคลทีอ่ ยูใ่ นสิทธิร์ ะบบประกันสุขภาพ โดยทัว่ ไปแล้วจะเสีย ค่าใช้จา่ ยประมาณ 30% ของค่ารักษาในงานทีค่ รอบคลุมตามทีส่ ทิ ธิ ระบบประกันสุขภาพระบุไว้ แต่จะมีเพียงบุคคลบางกลุ่มเท่านั้นที่ ได้รับการยกเว้นเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 70 ปีขึ้น ไป จะเสียค่าใช้จา่ ยประมาณ 10% ส่วนข้าราชการและคนพิการจะ ได้รบั การยกเว้นค่ารักษาในงานทีค่ รอบคลุมตามสิทธิร์ ะบบประกัน สุขภาพโดยค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือทางรัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายให้แก่ คลินิกหรือโรงพยาบาลเองทั้งหมด ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นประเทศที่ มีสวัสดิการด้านการรักษาทางทันตกรรมที่ดีมากแห่งหนึ่งของโลก อย่างที่เราทราบกันดีว่าประเทศญี่ปุ่นมีค่าครองชีพสูงเป็นอัน ดับต้นๆของเอเชีย เราจึงได้แอบถามเรื่องอัตราค่าบริการทาง THAI DENTAL MAGAZINE • 35


ทันตกรรม กรณีอุดฟันอย่างง่ายราคาเต็มจะอยู่ที่ประมาณ 2,0003,000 บาท ... อุ๊ต่ะ ดังนั้นถ้าใครที่ไม่ได้เป็นคนญี่ปุ่นหรือไม่มีสิทธิ์ ในระบบประกันสุขภาพแล้วอัตราค่าบริการทางทันตกรรมถือว่าสูง มาก อย่าหาว่าเผือกเลยนะเจ้าคะ เงินเดือนช่างแลปทันตกรรมทีอ่ ยู่ ประจ�ำในคลินิกเอกชน เค้าแย้มมาให้ฟังว่าแสนห้า สองแสน ฟัง แล้วก็เอามือทาบอก นอกจากนี้ เวลาเราไปญี่ปุ่นเราจะสังเกตเห็น ว่าคนญี่ปุ่นไม่นิยมจัดฟัน เห็นสาวๆ หลายคนหน้าตาสะสวยเดิน ผ่านไปมา แต่ยิ้มเห็นฟันหน้าแล้วช่างขัดใจ ก็เนื่องมาจากว่าราคา ค่าจัดฟันที่นั่นแพงมาก ต�่ำๆก็ราว 1,000,000 เยนซึ่งเมื่อเทียบเป็น เงินไทยตกประมาณ 300,000 บาทขึ้นไป ส�ำหรับเรื่องการน�ำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในคลินิกทันตกรรม เราได้มีโอกาสไปดูงานที่คลินิกTsugayasu ที่นั่นมีเครื่องมือตรวจ biofilmในช่องปาก โดยทันตแพทย์จะแสดงภาพแบคทีเรียภายใน ช่องปากทางจอดิจิตอล เพื่อให้ผู้ป่วยร้องยี้และหันมาตระหนักถึง การท�ำความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจาก นีเ้ รายังได้สงั เกตว่าเครื่อง laser ยังเป็นทีน่ ิยมในหลายคลินิกซึง่ น�ำ มาใช้เพื่อก�ำจัดโรคฟันผุและตัดแต่งเหงือก มีการใช้ Biogel ร่วม กับ Low level cold laser ในการรักษาโรคปริทันต์เพื่อก�ำจัดเชื้อ แบคทีเรียชนิดAnaerobe เป็นต้น ความแพร่หลายและทัว่ ถึงของเทคโนโลยีทนี่ เี่ ว่อร์ดมี าก แม้ในคลินกิ ขนาดเล็กก็ยังใช้ เครื่องเอกซเรย์ดิจิตอล กล้องถ่ายรูปในช่องปาก 36 • THAI DENTAL MAGAZINE

ขนาดกะทัดรัดทีส่ ามารถเชือ่ มต่อกับจอดิจติ อล เครือ่ งผสมอัลจิเนต อัตโนมัติ เครือ่ งส�ำหรับออกแบบและผลิตชิน้ งานครอบและสะพาน ฟันด้วยระบบCAD/CAM และบางแห่งยังใช้ Ipad ส�ำหรับช่วยบันทึก ข้อมูลการตรวจฟันอีกด้วย ซึ่งหากเปรียบเทียบกับเมืองไทยแล้ว เทคโนโลยีอย่างนีจ้ ะมีเฉพาะคลินกิ และโรงพยาบาลระดับสูงเท่านัน้ จากการสังเกตการณ์การท�ำงานของทันตแพทย์ในประเทศญีป่ นุ่ พบ ว่า ทัง้ ทันตแพทย์และผูช้ ว่ ยทันตแพทย์จะนิยมใส่เสือ้ กาวน์ชนิดแขน สัน้ มากกว่าแขนยาว โดยจะมีอปุ กรณ์ extraoral vacuum aspirator ประจ�ำทุกยูนิตท�ำฟันไว้ส�ำหรับดูดเอา aerosol ที่ฟุ้งกระจาย ส่วน การบันทึก treatment record ยังคงใช้กระดาษเหมือนบ้านเรา ส่วน ระบบการจัดเก็บข้อมูลการตรวจฟัน ภาพเอกซเรย์ ภาพถ่ายในช่อง ปากซึง่ จะถ่ายภาพในช่องปากผูป้ ว่ ยก่อนการรักษาทุกรายและมีคา่ บริการส�ำหรับการถ่ายภาพในช่องปาก ตลอดจนตารางการนัดหมาย ผู้ป่วยจะอยู่ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ทั้งหมด และจะมีการยืนยัน การนัดหมายผ่าน e-mail ก่อนวันนัด ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าโทรศัพท์ ในการโทรยืนยันนัดผูป้ ว่ ย อีกทัง้ ผูป้ ว่ ยทีม่ ารับบริการทางทันตกรรม ที่ประเทศญี่ปุ่นให้ความส�ำคัญกับการนัดหมายและการเลื่อนนัด มาก ผิดกับประเทศก�ำลังพัฒนาบางประเทศที่ขนาดโทรศัพท์ไป ยืนยันนัดผู้ป่วย 1 วันล่วงหน้าก็แล้ว โทรตามผู้ป่วยเมื่อถึงเวลานัด ก็แล้ว ... “อ๋อ พี่ลืมอ่ะคะ เดี๋ยวพี่ค่อยโทรไปนัดใหม่นะคะ” สิ่งที่ประทับใจมากอีกสิ่งหนึ่งจากการไปศึกษาดูงานในครั้ง


นี้ คือ ระบบการจัดเก็บข้อมูลการตรวจฟัน ส่วนใหญ่แล้วจะมีการ บันทึกการตรวจฟันอย่างละเอียดก่อนการรักษา (มาตรฐานเทียบ เท่าสมัยเรียนในมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว) มีการถ่ายภาพในช่อง ปากทั้งก่อนและหลังการรักษา การให้การรักษาที่นี่จะเน้นงาน ทันตกรรมป้องกันเป็นหลัก ดังนั้นในครั้งแรกและทุกครั้งที่นัดมา ตรวจฟัน จะมีการให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ป่วยโดยทันตาภิบาลก่อน การ รักษาทุกครั้ง รวมถึงการถ่ายภาพภายในช่องปากเพื่อเปรียบ เทียบให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยได้ดีขึ้น ด้วย ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการท�ำงานอย่างเป็นระบบ เรา จะสังเกตได้จากระบบการให้บริการแก่ผปู้ ว่ ย จะมีการจัดแบ่งหน้าที่ และการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างชัดเจน กล่าวคือ เมื่อผู้ป่วย เข้ามาในคลินิกจะได้รับการซักประวัติ ให้ทันตสุขศึกษาและตรวจ ฟันโดยทันตาภิบาลก่อน งานรักษาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น อุดฟัน ขูดหินน�้ำลายมักจะให้การรักษาโดยทันตาภิบาล ในกรณีที่งานมี ความซับซ้อนหรือเกินขอบเขตที่ทันตาภิบาลจะสามารถท�ำได้จึง จะส่งต่อให้ทนั ตแพทย์เป็นผูร้ กั ษา ดังนัน้ จะเห็นได้วา่ หลายคลินกิ มี ทันตแพทย์เพียงคนเดียวแต่สามารถให้การบริการผูป้ ว่ ยได้ 5-6 เตียง และส่วนใหญ่การออกแบบคลินกิ ทันตกรรมจะไม่นยิ มท�ำแยกห้อง แต่จะมี partition บาง ๆ กัน้ เอาไว้เท่านัน้ เพือ่ ให้งา่ ยต่อการควบคุม

ดูแลโดยทันตแพทย์ ครัง้ นัน้ พวกเราได้มโี อกาสติดตามดูการท�ำงาน ของทันตแพทย์เฉพาะทางส�ำหรับเด็ก พบว่า สิง่ ที่แตกต่างจากการ รักษาทางทันตกรรมส�ำหรับเด็กในบ้านเรา คือ หากผู้ป่วยเด็กงอแง มาก ทันตแพทย์จะไม่นิยมใช้ papoose board หรือ voice control ใดๆ แต่จะเสนอทางเลือกในการดมยาสลบทีโ่ รงพยาบาลเพือ่ ลดผล แทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการท�ำงาน ส�ำหรับการออกหน่วยเพื่อให้บริการด้านทันตกรรมป้องกัน ตลอดจนการออกหน่วยเพือ่ การรักษาทางทันตกรรมทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ จะไม่จ�ำกัดเฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐเช่นในบ้านเรา คลินิก เอกชนขนาดใหญ่บางแห่งที่นั่นจัดให้มีการออกหน่วยไปตรวจฟัน เยีย่ มบ้าน ท�ำฟันเทียมและแก้ไขฟันเทียม ซึง่ แน่นอนว่ามีคา่ ใช้จา่ ย เพิ่มเติมขึ้นจากค่าบริการทางทันตกรรมที่คลินิก ส�ำหรับผู้ป่วยเด็ก นัน้ ผูป้ กครองทุกคนมีหน้าทีใ่ นการพาลูกมาตรวจฟันและทาฟลูออ ไรด์เมื่อเด็กมีอายุ 1.5 ปี 3 ปีและอยู่ในวัยเรียน(Schoolage) ผู้คนในญี่ปุ่นให้ความส�ำคัญในการเลี้ยงดูเด็กมาก ดังนั้นผู้ ปกครองจึงนิยมเลี้ยงลูกด้วยตัวเองมากกว่าฝากลูกไว้กับสถานรับ เลีย้ งเด็ก คุณแม่ทที่ ำ� งานสามารถลาหยุดเพือ่ เลีย้ งดูบตุ รได้เป็นเวลา 1 ปีโดยยังได้รับเงินเดือนบางส่วน ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล หากบริษทั ใดฝ่าฝืนนโยบายดังกล่าวจะถือว่ามีความผิด บางบริษทั สามารถให้ลางานได้นานถึง 3 ปีจนลูกเริม่ เข้าโรงเรียน ทัง้ นีใ้ นปีที่ 2 และ 3 จะไม่ได้รับเงินเดือน(ทั้งนี้แล้วแต่นโยบายของแต่ละบริษัท) แต่จากการสังเกตผูห้ ญิงญีป่ นุ่ เมือ่ แต่งงานแล้วส่วนใหญ่มกั ลาออก มาเป็นแม่บา้ นและเลีย้ งดูลกู อย่างเต็มตัว ไม่ปล่อยให้ลกู ต้องไปอยู่ ตามสถานรับเลีย้ งเด็ก นีค่ งเป็นค�ำตอบทีส่ ำ� คัญว่าท�ำไมเมือ่ พวกเรา ได้ไปศึกษาดูการตรวจสุขภาพร่างกาย พัฒนาการและการตรวจฟัน เด็กวัย 3 ขวบที่ Asahikawa city hall health center จึงแทบไม่พบ เด็กที่มีฟันผุเลย เด็กๆในประเทศญี่ปุ่นเติบโตขึ้นอย่างมีระเบียบวินัยมาก ขณะที่ คุณแม่มาท�ำฟัน คุณแม่สามารถฝากเด็กเล็กวัย 1-2ขวบ ไว้กับเจ้าหน้าที่ต้อนรับได้ โดยที่เด็กเล็กไม่ส่งเสียงเอะอะโวะวาย แม้แต่น้อย เมื่อเข้าไปดูงานในโรงเรียนประถมศึกษา นักเรียนทุก คนจะได้รับการปลูกฝังเรื่องการจัดเก็บรองเท้าและกระเป๋าอย่าง เป็นระเบียบ ล้างจานหลังจากพักรับประทานอาหารกลางวันและ จัดวางอย่างเรียบร้อย แม้กระทั่งการตรวจฟันเด็ก 3 ขวบ หรือการ ท�ำฟันเด็ก แทบไม่มีเด็กดื้อ ร้องเอาแต่ใจ ถุยน�้ำลายใส่หมอ ข่วน THAI DENTAL MAGAZINE • 37


กัดหยิก หรือดิ้นเลย เอ๊ะ... ชักผิดวิสัยหรือนี่จะเป็นการจัดฉากใน วันที่พวกเราไปดูงาน ถ้าทันตแพทย์จากประเทศญี่ปุ่นได้มีโอกาส มาดูงานทันตแพทย์ส�ำหรับเด็กที่ประเทศไทย คงต้องชื่นชมปน ตะลึงกับความสามารถรอบด้านในการรักษาทางทันตกรรมและ ความอดทนของทันตแพทย์ไทย ต่อการรับมือกับอิทธิปาฏิหาริย์ ระหว่างการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยเด็กไทยอย่างแน่นอน เด็กประถมศึกษาในประเทศญีป่ นุ่ จะได้รบั การบ้วนฟลูออไรด์สปั ดาห์ ละ 1 ครั้ง โดยให้หัวหน้าชั้นเรียนเป็นคนมารับน�้ำยาบ้วนปากฟลู ออไรด์ไปแจกจ่ายต่อให้เพื่อนในชั้นเรียนช่วง 8 โมงเช้าก่อนเข้า ห้องเรียน อมครั้งละ 30 วินาทีและห้ามนักเรียนบ้วนปากหรือทาน อาหารอย่างน้อยครึง่ ชัว่ โมงหลังจากอมฟลูออไรด์ แต่สำ� หรับเด็กเล็ก ครูประจ�ำชัน้ จะเป็นคนเอาน�ำ้ ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ไปแจกจ่ายเอง พวกเรามีโอกาสได้ไปฟังการสอนทันตสุขศึกษาในเด็กประถม โดยทันตแพทย์ด้วย สังเกตเห็นได้ว่าเด็กนักเรียนตั้งใจเรียนมาก นักเรียนทีน่ งั่ หลังห้องไม่มพี ฤติกรรมการพูดคุยหรือเล่นกันระหว่างที่ คุณครูกำ� ลังสอน และในขณะเดียวกันหากมีการซักถามโดยคุณครู นักเรียนทุกคนจะมีสว่ นร่วมยกมือตอบแสดงความคิดเห็นกันอย่างไม่ เขินอาย เนือ้ หาทีส่ อนโดยทันตแพทย์กน็ า่ สนใจมากทีเดียว คุณครู จะไม่สอนตรงๆว่า โรคฟันผุเกิดจากอะไร แต่คณ ุ ครูจะเริม่ สอนจาก สิ่งที่เด็กสนใจ เช่น สัตว์ต่างๆ รูปแบบการสอนจะให้เด็กได้ทาย และใช้ความคิดในการหาเหตุผลด้วยตนเอง ตัวอย่างการให้ความ รูท้ นั ตสุขศึกษาในวันทีเ่ ข้าร่วมสังเกตการณ์ คุณครูนำ� เข้าสูบ่ ทเรียน 38 • THAI DENTAL MAGAZINE

ด้วยอุจจาระสัตว์ 4 แบบ แล้วให้เด็กๆจับคู่ว่าอุจจาระนั้นเป็นของ สัตว์อะไร เด็กๆจะได้ฝึกคิดวิเคราะห์หาเหตุผลก่อนเฉลย จากนั้น จึงโยงมาถึงอาหารว่าสัตว์ชนิดไหน กินอะไร จึงได้ขับถ่ายอุจจาระ ออกมาหน้าตาแบบนี้ เมื่อโยงมาถึงอาหารก็เชื่อมโยงต่อมาถึงฟัน ว่าประเภทอาหารที่แตกต่างกัน รูปร่างฟันจะแตกต่างกันอย่างไร แล้วเชื่อมโยงต่อไปถึงเรื่องจริงในอดีตของลาเฒ่าตัวหนึ่งสมัยยุค สงครามโลกครั้งที่ 2 ทีไ่ ม่มฟี ัน กินอาหารไม่ได้ ผอมและมีชวี ติ ทีน่ า่ สงสาร ทันตแพทย์ได้ท�ำฟันเทียมให้ลาเฒ่าตัวนี้อย่างยากล�ำบาก และสุดท้ายลาเฒ่าได้กลับมาเคี้ยวอาหารและมีสุขภาพดีอีกครั้ง ก่อนจะทิ้งท้ายให้เด็กๆเห็นถึงความส�ำคัญของการดูแลฟันให้ดี เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ล�ำพังการไปอยู่ประเทศญี่ปุ่นเพียงสิบกว่า วันคงไม่สามารถท�ำให้เข้าใจเนื้อหาบรรยายของคุณครูเป็นภาษา ญีป่ นุ่ ในวันนัน้ ได้ ต้องขอขอบคุณคุณจริยา สุวรรณบุศ ทีช่ ว่ ยกรุณา เป็นล่ามให้ พวกเราจึงมีโอกาสได้เรียนรูไ้ ปพร้อมกับเด็กๆในครัง้ นัน้ การเปิดประสบการณ์การเดินทางในครัง้ นีม้ หี ลายสิง่ ทีพ่ วกเรา ประทับใจและสามารถน�ำกลับมาปรับใช้ในระบบงานทันตสาธารณสุข พวกเราขอขอบคุณโรตารีภาค 3330 และโรตารีภาค 2500 ส�ำหรับ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด การเลี้ยงดูปูเสื่อ มิตรภาพและ ความประทับใจที่น่าจดจ�ำตลอด 16 วันที่เมืองฮอกไกโด ประเทศ ญี่ปุ่น “เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการดีๆ แบบนี้คงจะมีอีกเรื่อยๆ ส�ำหรับคนที่ไม่ได้ไปในครั้งนี้ ถ้าครั้งหน้ามีโอกาสดีๆ แบบนี้มาอีก อย่าปล่อยให้หลุดลอยไปนะ เพราะโครงการนี้ดีจริง ฟันธง!!!”


Health Tip

เรื่อง อ.ทญ.ดร.จุฑารัตน์ ฉิมเรือง ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สวัสดีค่ะ พี่น้องสหสาขาเพื่อรอยยิ้มที่สดใส ทุกท่าน ทีมสหสาขาน้องใหม่จากพิษณุโลก ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ ติดตามอ่าน คอลัมน์นี้ที่ผ่านมาตลอด น่ายินดีมากได้ เขียนเล่าเรื่องทีมนเรศวรของเราในฉบับนี้ค่ะ พวกเราร่วมมือร่วมใจกันระหว่างคณะทันตแพทยศาสตร์และคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในนาม “สถานรักษาแก้ไขภาวะ ปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของกะโหลกศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยนเรศวร (Naresuan Cleft & Craniofacial Center: NUCCC)” โดยเป็นเครือข่ายสถานพยาบาลระดับสูงสุดแห่งที่ 8 ของไทยและแห่งแรกในเขตภาคเหนือตอนล่างซึ่งมีอุบัติการณ์เกิด ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่เพิ่มขึ้นทุกปี พบได้ 1 คนใน 700 คนค่ะ พวกเรามีขดี ความสามารถในการตรวจวินจิ ฉัย รักษาแบบสหสาขา วิชาชีพ ผ่าตัดแก้ไขความพิการในทุกรูปแบบ และมีระบบการบันทึก ข้อมูลผูป้ ว่ ยแบบสมบูรณ์ นอกจากนีย้ งั มุง่ เน้นพัฒนานวัตกรรมและ บูรณาการองค์ความรูเ้ กีย่ วกับปากแหว่งเพดานโหว่ เพือ่ เพิม่ โอกาส ให้ผปู้ ว่ ยปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของกะโหลกศีรษะ และใบหน้าได้เข้ารับบริการดูแลรักษาอย่างสหวิทยาการและพัฒนา คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้สามารถอยู่ร่วมในสังคมได้ต่อไปค่ะ

40 • THAI DENTAL MAGAZINE


ผู้ใหญ่ใจดีที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของทีมนเรศวร น�ำทัพโดยท่าน อธิการบดี ศ.ดร.สุจินต์ จินายน และความกรุณายิ่งจาก ศ.พิเศษ ทญ.ดร.วิสาขะ ลิ่มวงศ์ และผศ.ทพ.ไพโรจน์ ศรีอรุณ อดีตคณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ อีกทั้ง รศ.ทพ.ดร.ทศพล ปิยะปัทมินทร์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์และ ผศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ส่วนทีมพี่น้องบุคลากรทางการแพทย์ ประกอบด้วยสหสาขาเฉพาะทางเกี่ยวกับปากแหว่งเพดานโหว่ ตัง้ แต่พนั ธุศาสตร์และเซลล์ตน้ ก�ำเนิด คลินกิ นมแม่ การผ่าตัดแก้ไข ศัลยกรรมตกแต่ง ทันตกรรมส�ำหรับเด็กและจัดฟัน บ�ำบัดความผิด ปกติการได้ยนิ และออกเสียง จิตเวชรวมถึงส่งเสริมคุณภาพชีวติ ของ ครอบครัวผูป้ ว่ ยปากแหว่งเพดานโหว่ พวกเราได้เริม่ ให้บริการดูแล

รักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มาตั้งแต่ปี 2557 และจัดประชุม วิชาการประจ�ำปีครัง้ ที่ 1เพือ่ สร้างเครือข่ายทีมสหสาขาระหว่างโรง พยาบาลในเขตภาคเหนือตอนล่างด้วยกันและได้แลกเปลีย่ นเรียน รูแ้ นวทางการดูแลรักษาปากแหว่งเพดานโหว่ ตลอดจนระบบส่งต่อ การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ร่วมกันค่ะ ส�ำหรับในปีนี้ ครอบครัวปากแหว่งเพดานโหว่มีนัดพบปะกัน ทุกวันจันทร์ในคลินิกปากแหว่งเพดานโหว่แบบครบวงจรของโรง พยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรและโรงพยาบาลทันตกรรม โดยมีทมี สหสาขาวางแผนการรักษาให้ผปู้ ว่ ยแต่ละรายร่วมกันกับผูป้ ว่ ยและ ครอบครัวค่ะ ซึ่งหากคุณหมอที่ส่งต่อผู้ป่วยมาจากโรงพยาบาลอื่น สามารถติดต่อมาเข้าร่วมสัมมนาปากแหว่งเพดานโหว่หรือติดตาม

THAI DENTAL MAGAZINE • 41


ผลการรักษาจากคลินิกปากแหว่งเพดานโหว่ ได้ทุกวันจันทร์ที่ 2 ของเดือน พวกเรายินดีต้อนรับมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันค่ะ ส่วนคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ป่วยที่สนใจมาเข้ารับการรักษาปากแหว่ง เพดานโหว่และความผิดปกติของกระโหลกศีรษะและใบหน้ากับพวก เราทีมนเรศวร ขอความกรุณาคุณพ่อคุณแม่หรือผูป้ ว่ ยน�ำใบส่งตัว เครื่องมือเพื่อจัดสันเหงือกและจมูก

การใส่เครื่องมือเพื่อจัดสันเหงือกและจมูก

จากโรงพยาบาลจังหวัดต้นสังกัดของผู้ป่วย มาส่งถึงโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยนเรศวรและโรงพยาบาลทันตกรรมเพื่อให้ผู้ป่วยได้ รับสิทธิการรักษาอย่างต่อเนื่องและได้ชดเชยค่ารักษาพยาบาล ครอบคลุมทุกรายการซึ่งในปัจจุบันระบบบริการสุขภาพก็ยังคงมี ปัญหาค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายจ�ำเป็นอื่น อันเป็น ภาระให้กับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และครอบครัวในการดูแล รักษาปากแหว่งเพดานโหว่อย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่แรกเกิด โดยเฉพาะ ผู้ประกันตนตามสิทธิประกันสังคม บุตรหลานและหรือข้าราชการ ตามสิทธิราชการผู้ป่วยยากไร้ และ ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองที่ไม่ได้ขึ้น ทะเบียนโครงการยิม้ สวยเสียงใสของส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ(สปสช.) พวกเราตระหนักในปัญหานี้ และพยายามช่วย ดูแลชีแ้ นะผูป้ ว่ ยทุกคนให้ได้รบั การประสานสิทธิและเข้ารับการรักษา ที่เหมาะสม ในปีนี้จึงได้รับการสนับสนุนค่ารักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์จากหน่วยทันตกรรม พระราชทานมหาวิทยาลัยนเรศวรและโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย นเรศวร อีกทั้งมีแนวคิดก่อตั้งกองทุนและคณะกรรมการกองทุน ส�ำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มหาวิทยาลัยนเรศวรขึ้นมา ขออนุญาตประชาสัมพันธ์เชิญชวนทุกท่านร่วมบริจาคสมทบทุน ในกองทุนนี้นะคะ ส�ำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อแจ้งความจ�ำนง บริจาคไว้ล่วงหน้าเพื่อรับทราบข่าวสารกองทุนนี้ต่อไปค่ะ 42 • THAI DENTAL MAGAZINE

ทุกท่านสามารถติดต่อสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอค�ำปรึกษาปาก แหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของ กะโหลกศีรษะและใบหน้ามาได้นะคะ 1.ทางโทรศัพท์ในวันเวลาราชการของคลินก ิ ปากแหว่งเพดาน โหว่ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร 2. ทางเฟซบุก ๊ เพจชือ่ “ศูนย์ปากแหว่งเพดานโหว่มหาวิทยาลัย นเรศวร Naresuan Cleft-Craniofacial Center” 3. ทางเว็บไซต์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร www.med.nu.ac.th ช่วงเมษายนปีนี้ขอให้ทุกท่านหรือผู้สนใจ ติดตามข่าวอัปเดตเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี มหาวิทยาลัย นเรศวรนะคะ แว่วมาว่าเป็นโครงการพิเศษส�ำหรับผูป้ ว่ ยปากแหว่ง เพดานโหว่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ขอขอบคุณผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และผู้อ่านทุกท่านที่ให้ความสนใจอย่างยิ่งกับน้องใหม่ ทีมนี้ รวมทั้งขอบคุณรูปภาพประกอบในบทความนี้ ยินดีพบกันอีก ครั้งใต้ร่มเสลากับพวกเราลูกนเรศวรนะคะ NARESUAN CLEFT CRANIOFACIAL CENTER CLEFT CLINIC ชัน ้ 2 ศัลยกรรมผูป้ ว่ ยนอก อาคารเฉลิมพระเกียรติ พระชนมพรรษา

7 รอบ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ทุกวันจันทร์ที่ 2 ของเดือน 13.00-16.00 น

12

มกราคม 2558

11

9

กุมภาพันธ์ 2558

8

พฤษภาคม 2558

มิถุนายน 2558

14

12 ตุลาคม

กันยายน 2558

2558

9

มีนาคม 2558

13

กรกฎาคม 2558

9

พฤศจิกายน 2558

20

เมษายน 2558

10

สิงหาคม 2558

14

ธันวาคม 2558


Dent Campus

เรื่อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะฉัตร พัชรานุฉัตร ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

งานสุขภาพชุมชน (Community Health) ของคนทำ�งานสายวิทย์สุขภาพ ต้องใช้ความรู้ ทักษะหลากหลาย เพื่อเข้าใจวิถีชีวิต ความซับซ้อน ในวิธีคิดและพฤติกรรมของชาวบ้าน

ถึงแม้เรียนจบไปเป็นบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขหลาย คนไม่ได้ทำ� งานทีเ่ กีย่ วข้องกับชุมชนโดยตรง แต่องค์ความรูพ้ นื้ ฐาน สุดที่ต้องมี คือ ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเมื่อบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้รับบริการจากเรา การเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาสายวิทย์สุขภาพเข้าใจใน เรื่องราวเหล่านี้ดูเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เมื่อคิดถึงความเป็นจริงที่ เด็กเหล่านี้กว่าครึ่งเป็นเด็กที่เกิดและเติบโตในเมือง แวดล้อมไป ด้วยสิง่ อ�ำนวยความสะดวก ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซือ้ อยูใ่ กล้ บ้าน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการหาซื้อแลกมาได้ด้วยเงิน ดูห่างไกล ความล�ำบากต่างๆ จะว่าไปแล้วก็ไม่นา่ มีวธิ ใี ดทีจ่ ะเรียนรูท้ ำ� ความ เข้าใจวิถชี วี ติ ความเป็นอยูข่ องชาวบ้านในชนบทได้อย่างลึกซึง้ เท่า การเข้าไปร่วมใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้านในชุมชนด้วยตัวเอง ช่วงฤดูหนาวของทุกปีนกั ศึกษาในกลุม่ คณะสายวิทยาศาสตร์ สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย จากคณะ แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เทคนิคการแพทย์ และพยาบาลกว่า 600 ชีวิต ต้องเข้าร่วมเรียนรู้ชีวิตของชาวบ้าน และท�ำงานสุขภาพ ชุมชนผ่านการฝึกภาคสนามร่วมด้วย ลักษณะการเรียนรู้ผ่านการ ปฏิบัติจริงโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based Learning) 48 • THAI DENTAL MAGAZINE


เป็นการฝึกนักศึกษาให้ทำ� งานร่วมกัน สร้างบัณฑิตทีม่ คี ณ ุ ภาพ ท�ำงานร่วมกับวิชาชีพอืน่ ได้ มีวสิ ยั ทัศน์ในการช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะในชนบทที่ห่างไกลและด้อยโอกาส นักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชั้นปี 3 ต้อง ลงทะเบียนเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ต่างคณะในวิชาที่เด็กศูนย์ แพทย์เรียกกันสั้นๆ ว่า “คอมเมด-ComMed” และในปีการ ศึกษา 2557 ตัวเลข 32 ปรากฏอยู่บนเสื้อทีมของนักศึกษา ซึ่ง หมายถึงการฝึกภาคสนามร่วมนีด้ ำ� เนินการต่อเนือ่ งมาเป็นปีที่ 32 แล้ว โดยใช้พื้นที่ชนบทระดับหมู่บ้านในอ�ำเภอและจังหวัด ที่เปลี่ยนไปในแต่ละปี เป้าหมายของการฝึกภาคสนามร่วม เพือ่ ให้นกั ศึกษาเรียน รู้วิถีชีวิตชุมชน ค้นหาและวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพชุมชนแบบ องค์รวม เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาโดยอาศัยหลักการพัฒนา ชุมชน และมีความรูค้ วามเข้าใจ เกิดทัศนคติทดี่ ตี อ่ ชุมชนสามารถ ปฏิบัติงานและให้บริการชุมชนได้ ในลักษณะบูรณาการผสม ผสานเนือ้ หาวิชาในศาสตร์ตา่ งๆ ทัง้ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาใน สาขาเดียวกันและต่างสาขาได้

เด็กมากขนาดนั้น แล้วไปเรียนกันอย่างไร

ครูอาจารย์ ในฐานะผู้ออกแบบการเรียนรู้ และดูแลความเป็น อยู่ของนักศึกษา ต้องท�ำงานหนักในการวางแผนบริหารจัดการ ทุกอย่างเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ นักศึกษาจะ ถูกจัดเข้าบ้านพักด้วยวิธีการสุ่มรายชื่อจากทุกคณะกลุ่มบ้านละ 12 คน พักอาศัยใช้ชีวิตในบ้านของชาวบ้านในรูปแบบ โฮมสเตย์ (Homestay) เป็นเวลา 11 วัน 10 คืน ใช้ทรัพยากรร่วมกันและ ท�ำงานเป็นทีม ท�ำอาหารจ่ายตลาด กิน นอน ใช้ชีวิตและท�ำงาน ด้วยกัน กิจกรรมเชิงวิชาการที่พวกเขาต้องท�ำ คือ การเก็บข้อมูล เชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์ปัญหา วินิจฉัยชุมชน ร่างแผน และจัดท�ำโครงการเพือ่ แก้ปญ ั หาส�ำคัญของชุมชน โครงการบริการ วิชาการและชุมชนสัมพันธ์ การศึกษาครอบครัว วิถีชีวิตชุมชนและ การศึกษาเฉพาะเรื่อง กิจกรรมการเรียนรู้มากมาย 11 วันจึงผ่าน ไปอย่างรวดเร็ว งานแต่ละอย่างถูกออกแบบให้นกั ศึกษาเข้าร่วมกลุม่ แบบคละ คณะวิชา เพือ่ กระจายงานให้เกิดการเรียนรู้อย่างทั่วถึง ตั้งแต่กลุ่ม ขนาดเล็ก 3-4 คน กลุ่ม 12 คน, 30 คน ถึงกลุ่มขนาดใหญ่ เรียก ว่าระดับเขต หรือระดับหมู่บ้าน ประมาณ 150 คน นักศึกษาต้อง วางแผนการท�ำงานและใช้ชวี ติ อยูร่ ว่ มกัน โดยค�ำนึงถึงแนวคิดทฤษฎี ที่ปรากฏอยู่ในคู่มือการฝึกภาคสนามร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตัวอย่างเช่น การมีสว่ นร่วมของชุมชน (Community Participation) THAI DENTAL MAGAZINE • 49


การสร้างพลังอ�ำนาจ (Community Empowerment) แนวคิด วัฒนธรรมชุมชน ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ (Structural functional Theory) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองหรือการขัดแย้ง (Political economy theory/ Conflict Theory) การสื่อสารสุขภาพ (Health Communication) การสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) การ บริหารโครงการ (Project Management) เป็นต้น

“ชาวบ้านในชนบทจะดูเป็นมิตรยิ้มแย้มแจ่มใส ยินดีให้ความ ร่วมมือเมือ่ เราไปสัมภาษณ์ ถ้าทุกคนในสังคมเป็นมิตรต่อกันแบบ สังคมในชนบทก็คงดี เทียบกับสังคมในเมืองเวลาเดินผ่านไปมาก็คง ไม่ทักทายกัน ไม่มชี วนกันกินข้าว กินปลา ...อยูช่ นบทดูมคี วามสุข ดี แม้ไม่มีเงินทองมากมาย แต่พอมีพอกินก็พอแล้ว ดูแล้วก็ย้อน ดูตัวเอง ว่าทุกวันนี้เราอยู่แบบพอเพียงหรือยัง ยังไขว่คว้าอะไรที่ เป็นวัตถุนิยมเกินความจ�ำเป็นหรือเปล่า” “คุณยายหูหนวกท่านหนึ่งเล่าให้ฉันฟังว่า เราไม่จ�ำเป็นต้อง ด้วยลักษณะการเรียนรูผ้ า่ นการปฏิบตั จิ ริงโดยใช้ชมุ ชนเป็นฐาน มีทุกอย่างที่คนอื่นมี แต่แค่เราพอใจกับทุกอย่างที่เรามี คุณยาย และลักษณะการใช้ชวี ติ เป็นกลุม่ บ้านทีต่ อ้ งควบคุมดูแลพฤติกรรม ไม่ได้มีบ้านที่ดูโอ่อ่า อลังการ ไม่ได้มีหูที่ใช้การได้เหมือนคนปกติ กันเอง เคารพกฎกติกาการอยูร่ ว่ มกัน ท�ำให้เด็กๆ ได้มโี อกาสเข้าไป ทั่วไป ไม่ได้ถูกดูแลอย่างผู้สูงอายุคนอื่นๆ แต่คุณยายบอกว่า เรียนรู้และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ได้พบเจอและสัมผัสชีวิตจริง ทุกวันนี้ยายมีความสุขดี” ของชาวบ้านผ่านการท�ำงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น การศึกษา “วันนี้ฉันได้รู้ว่า ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมที่ฉันเรียนมาเป็น ครอบครัว ที่ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พูดคุยใกล้ชิด ได้ติดตามชีวิต ประโยชน์มากๆ ฉันได้พบคนไข้จริง ได้ฟังอาการต่างๆ ตามที่ได้ ความเป็นอยู่ รับรู้ความคิด ความรู้สึก และเห็นสภาพแวดล้อมที่ เรียนมา ทราบผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดท�ำให้ปวดและชาทีแ่ ขน อยู่อาศัยจริง เด็กนักศึกษามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เจตคติใน .... ฉันได้รับรู้ความรู้สึกคนไข้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การที่เราจะ เชิงคุณธรรมจริยธรรม เรียนรู้และเข้าใจวิถีชีวิตชุมชน และการอยู่ ซักถามเรื่องราวต่างๆ ควรคิดให้รอบคอบว่าไม่กระทบกระเทือน จิตใจคนไข้” ร่วมกับผู้อื่น ตัวอย่างทีเ่ ด็กนักศึกษาสะท้อนสิง่ ทีเ่ รียนรูผ้ า่ นแบบบันทึกประจ�ำ วัน น่าสนใจหลายประเด็น

ไปเรียนกันแบบนี้ แล้วได้อะไรบ้าง

50 • THAI DENTAL MAGAZINE


ปัญหาฟันของหมอ แต่ปัญหา ปากท้องของชาวบ้าน

บทเรียนหนึง่ ทีน่ กั ศึกษาทันตแพทย์มกั ได้เรียน รูเ้ สมอในทุกปี คือ “ปัญหาฟันเป็นเรือ่ งของหมอ แต่ปัญหาปากท้องของชาวบ้าน” จากกิจกรรม เวทีสาธารณะ - Public Forum คืนข้อมูลกลับ ให้ชาวบ้าน และท�ำกระบวนการชวนคุยชวน คิดหาทางออกของปัญหาชุมชน ด้วยหลักคิด ว่า “ปัญหาของชุมชน แก้ได้โดยชุมชน เพื่อ ชุมชน” ปัญหาแรกๆ ที่ชุมชนต้องการเป็น เรื่องปากท้องเศรษฐกิจในครัวเรือน อาชีพการ งาน สาธารณูปโภค ถนน ไฟฟ้า ประปา การ จัดการขยะ แม้ความต้องการด้านสุขภาพทัว่ ไป ก็เป็นอันดับรองๆ ลงมา และไม่ต้องได้ถามถึง ปัญหาเรือ่ งฟันของชาวบ้านเลย แทบไม่มไี ด้พดู ถึงในเวทีสาธารณะ ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจได้ไม่ยากด้วยวิธีคิดการจัด ความส�ำคัญแบบชาวบ้านที่มีเรื่องอื่นๆ ที่ส�ำคัญมากมายในชีวิต บทเรียนนี้ท�ำให้นักศึกษาผู้ที่ก�ำลังจะก้าวเข้าสู่วิชาชีพทันตแพทย์ ในอนาคต ได้พึงตระหนักระวังต่อการไม่โทษหรือโยนความผิดให้ คนไข้แต่เพียงฝ่ายเดียวเมือ่ เขาไม่สามารถมารับการรักษาตามนัด หมายได้ แต่ควรช่วยเหลือและหาทางเลือกในการรักษาที่เหมาะ สมกับเงื่อนไขชีวิตของเขาให้มากที่สุด

“เราไม่ควรเอาความคิดของเราไปตัดสินคนไข้ หรือคนอื่นๆ เพราะอาจมีเรื่องต่างๆ มากมายเกี่ยวกับคนไข้ที่เรายังไม่รู้” “วันนีม้ พี ธิ กี รรมบายศรีให้ลกู ๆ นักศึกษา และสังสรรค์ปใี หม่ให้ ผูส้ งู อายุในชุมชน ผูส้ งู อายุทา่ นหนึง่ กล่าวว่าผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่ทมี่ าวันนี้ ก็ ขอให้มีความสุขโชคดีทุกคนเด้อ แต่ว่าทุกคนก็คงโชคดีกันหมดที่ รอดมาได้ขนาดนี้ ถ้าโชคไม่ดกี พ็ ากันตายหมดแล้ว … คนในชุมชน สนิทสนมรักใคร่กัน เพราะถ้าไม่รักกันคงไม่เอาเรื่องความตายมา ล้อเล่น คนยิ่งอายุมากจะมีค่าก็เพราะไม่หยุดท�ำความดี ส่วน ตัวผมถ้าแก่ไปแล้วไม่คิดไม่ท�ำอะไรใหม่ ก็คงมีชีวิตเหมือนค่อยๆ เหี่ยวตายไป ไม่ได้มีประโยชน์อะไร เปลืองทรัพยากรโลกของลูกๆ หลานๆ เปล่า” “การมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับเพื่อนในบ้าน ต้องมีการปรับตัว เข้าหากัน ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ควรท�ำตัวกลมกลืนกับชาว บ้าน มีมารยาทในการมาอยู่อาศัย ดูแลบ้านให้สะอาดเรียบร้อย” ตัวอย่างความคิดเหล่านีแ้ สดงให้เห็นว่านักศึกษาได้รบั รูแ้ ละเกิด การเรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ความเป็นอยูข่ องผูค้ นในชุมชนจากประสบการณ์ ตรงและการเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ เกิดกระบวนการคิด สะท้อนเป็นบทเรียนผ่านความรูส้ กึ ความทรงจ�ำ และความประทับ ใจ รับรู้ความยากล�ำบากและการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น

มิตรภาพกับเพื่อนต่างวิชาชีพ และชาวบ้านงอกงามในหมู่บ้าน

ความผูกพันมิตรภาพระหว่างนักศึกษาขณะอยู่ในพื้นที่การ ฝึกถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยการเผชิญความยากล�ำบาก ด้วยกัน ช่วยกันแก้ปัญหา ช่วยดูแลทุกข์สุขของเพื่อน เป็นเพื่อน ท�ำงาน เพื่อนกิน เพื่อนเล่น จนวันท้ายๆ ของการฝึก เด็กหลาย คนบอก “มาวันแรกๆ นับวันนับคืนไม่อยากอยู่ แต่วันสุดท้ายก็ ไม่อยากกลับ มันสนุก ได้เพื่อนกิน เพื่อนท�ำงานที่ผูกพันกันมาก” ภายหลังกลับออกมาจากพื้นที่การฝึก เด็กนักศึกษาในกลุ่มบ้าน หลายๆ บ้านนัดกันกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ของพวกเขา กลับไปเยี่ยม ผู้คนที่พวกเขาสัมภาษณ์ กลับไปเยี่ยมกลุ่มเด็กเยาวชนที่พวกเขา ท�ำงานด้วย และกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ที่ให้ข้อมูลเล่าเรื่องราวต่างๆให้ ฟัง เกิดเป็นมิตรภาพความผูกพันที่งดงามระหว่างนักศึกษา ชาว บ้าน และพ่อแม่ประจ�ำบ้านผู้เอื้อเฟื้อที่พักพิง งานสุขภาพชุมชนในแบบคอมเมด ComMed KKU ที่ถูก ออกแบบให้เป็นวิชาฝึกปฏิบัติการภาคสนามนี้จะยังคงด�ำเนินต่อ ไป เพือ่ ให้เด็กๆ ยุคใหม่ทกี่ �ำลังจะจบออกไปเป็นบุคลากรด้านการ แพทย์ ได้เข้าใจถึงวิธีคิด วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในอีกด้านหนึ่งของ ประชาชนกลุ่มคนที่เรียกได้ว่าเป็น “ผู้รับบริการทางการแพทย์” ที่ มีชีวิตจิตใจ มีอารมณ์ความรู้สึก และเงื่อนไขชีวิตที่ซับซ้อน เกิน กว่าที่ใครจะเอามาตรฐานชีวิตในแบบของตนมาตัดสินได้ THAI DENTAL MAGAZINE • 51


เรื่อง ผศ.ทพ.ดร.อนุพันธ์ สิทธิโชคชัยวุฒิ

1 ใน 20 โครงการสุดท้ายจาก 500 ทีม ทั่วประเทศ ที่ได้รับคัดเลือกเข้าชิงถ้วย พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 3 แสน บาท จากโครงการ “SCB Challenge กล้าใหม่ สร้างสรรค์ชุมชน” สวัสดีครับวันนี้ผมจะขอเล่าเรื่องดีๆ ที่นิสิตทันตแพทย์กลุ่ม หนึ่งจากรั้วมหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขัน โครงงาน “กล้าใหม่...สร้างสรรค์ชุมชน” ชิงถ้วยพระราชทานใน ระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นโครงการที่ธนาคารไทยพาณิชย์จัดขึ้นมุ่ง หวังให้นสิ ติ นักศึกษาน�ำความรูท้ เี่ ป็นทฤษฎีและประสบการณ์จาก การศึกษาในสถาบันการศึกษามาคิดสร้างสรรค์ จัดท�ำเป็นแผนการ ด�ำเนินงานและกิจกรรม เพือ่ ประโยชน์ของคนในชุมชนทีอ่ ยูไ่ ม่ไกล จากสถาบันการศึกษาของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และสามารถบูรณาการการ เรียนรูป้ ระสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการไปประยุกต์ใช้ในชีวติ การท�ำงานจริงของตนเอง ตลอดจนได้มีโอกาสสร้างสัมพันธภาพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างเพื่อนนิสิตนักศึกษา ทั้งจากสถาบันการศึกษาเดียวกันและต่างสถาบันการศึกษา

52 • THAI DENTAL MAGAZINE

ก่อให้เกิดการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพือ่ การท�ำดีรว่ มกันในอนาคต การแข่งขันมีรอบคัดเลือก 3 รอบก่อนจะถึงรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจะ ตัดสินโดยการน�ำเสนอแผนโครงงานและลงมือปฏิบัติจริงที่มุ่ง เน้นการช่วยเหลือชุมชนให้มีการพัฒนาและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างยั่งยืนครับ ผมในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการรู้สึกชื่นชมน้องๆ กลุ่ม นี้ที่ได้พยายามท�ำหลายสิ่งที่ดี และมีประโยชน์จนเป็นที่ยอมรับ ของคณะกรรมการผ่านการแข่งขันเข้ามาถึงในรอบ 20 ทีมสุดท้าย จากทั่วประเทศและได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 75,000 บาท/โครงการ โดยจะเข้าร่วมน�ำเสนอผลการปฏิบัติงานในชุมชน


รอบชิงชนะเลิศประมาณเดือนเมษายนปีนี้ครับ ซึ่งจริงๆ แล้วการที่ น้องๆ กลุม่ นีผ้ า่ นการคัดเลือกมาได้ถงึ รอบที่ 3 ก็เรียกว่าเกินคาดนะ ครับเพราะว่าปกติผมคุมทีมวิจัยเด็กนักเรียน ผมจะท�ำในเชิงเกี่ยว กับห้องปฏิบัติการ และ คลินิกมากกว่านะครับ ปีนี้นั่งคุยกับน้อง และอยากลองเปลีย่ นแนวสร้างนวัตกรรมอะไรสักอย่าง โดยเริม่ จาก น้องๆ ไปค้นคว้าหาข้อมูลว่าจะท�ำนวัตกรรมอะไรดี ประจวบกับผม เองดูแลในภาควิชาปริทนั ตวิทยาทีเ่ จอผูส้ งู อายุเยอะมาก แล้วเราก็ เจอว่าคนไข้ผสู้ งู อายุในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยทีเ่ ราลงไปช่วยดูแล ฟัน รักษาฟัน อุดฟัน รักษาเหงือกบ่อยครัง้ มาก แต่ทกุ ๆ ครัง้ ทีไ่ ปก็ยงั เจอปัญหาในช่องปากอยูเ่ รือ่ ยๆ มันไม่หมดไปสักทีแถมยังดูเหมือน จะเยอะมากขึ้นด้วย เราก็เลยมานั่งคิดว่าประเด็นส�ำคัญน่าจะอยู่ ที่การดูแลตัวเองของคนไข้นะครับ พวกเราเกิดข้อสงสัยในคลินิก ว่าท�ำไมกลุ่มคนไข้วัยรุ่นที่เรารักษาโรคปริทันต์ไปแล้วอัตราการก ลับมาเป็นโรคซ�้ำ หรือรุนแรงขึ้น ลดน้อยลงทั้งยังสามารถกลับไป ดูแลตัวเองที่บ้านได้ค่อนข้างดี ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุนี่กี่ครั้งๆ ก็ ยังเหมือนเดิมนะครับ เราก็เลยมานัง่ ทบทวนว่าเป็นไปได้ไหมว่าในสภาวะแวดล้อมของผู้ สูงอายุ ทัง้ ข้อจ�ำกัดต่างๆ ในการดูแลตัวเอง มันมีมากกว่าวัยรุน่ น้องๆ กลุม่ นีท้ ำ� การบ้านโดยลงไปหาข้อมูลต่างๆ พบว่าสาเหตุหลักหนึง่ ก็ คือผูส้ งู อายุสว่ นใหญ่ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดน้อย ลงนะครับเนือ่ งจากว่าหลายสิง่ หลายอย่างในร่างกายเสือ่ มสภาพไป อย่างการออกแรงของกล้ามเนือ้ หรือบางคนก็อาจจะสัน่ มืออยูน่ งิ่ ๆ ไม่ได้ หรือจับของชิน้ เล็กๆ ไม่ได้ครับ ท�ำให้ประสิทธิภาพของการใช้

น้องๆ ลองดีไซน์แปรงสีฟันออกมา 2-3 แบบ ส่งเข้าประกวด Idea to Product ของภาคเหนือ และได้รางวัลชนะเลิศ ตอนนั้นเราคิดกันแค่ว่าเรามีไอเดีย เราจะสร้างผลิตภัณฑ์ อย่างไร เราไม่ได้คิดถึงเรื่องการตลาดเลยนะครับ เป้าหมายหลัก ของการสร้างผลิตภัณฑ์นี้ของน้องๆ คือการให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพ ในช่องปากที่ดี เข้าถึงอุปกรณ์ท�ำความสะอาดที่ถูกหาซื้อได้ใน ท้องตลาดนะครับ เราก็เลยพยายามให้มันเข้าสู่ในเชิงพาณิชย์ แต่ ปรากฏว่าพอไปแข่งในระดับประเทศคณะกรรมการส่วนใหญ่กจ็ ะมุง่ เป้าไปทีผ่ ลก�ำไรในเชิงธุรกิจทัง้ หลาย นะครับ เช่น จะวางขายทีไ่ หน

แปรงสีฟนั ลดน้อยลง ดังนัน้ การทีค่ นไข้รวู้ ธิ กี ารดูแลสุขภาพฟันและ เหงือกตัวเองให้เหมาะสมกับวัยน่าจะเป็นสิง่ ทีด่ ขี นึ้ น้องๆ มานัง่ ดูกนั ว่า ปัจจัยทีช่ ว่ ยให้สขุ ภาพผูส้ งู อายุดี ดูแลตัวเองได้ อันหนึง่ น่าจะเป็นทีก่ าร แปรงฟันนะครับ คราวนีก้ ารแปรงฟันก็มปี จั จัยเยอะตัง้ แต่วธิ กี ารแปรง ฟันจนถึงลักษณะแปรงสีฟนั ทีใ่ ช้ครับมีการไปทบทวนวรรณกรรมกัน ว่าแปรงสีฟนั แบบไหนทีจ่ ะเหมาะกับคนไข้กลุม่ นีบ้ า้ ง ปรากฏว่าสิง่ ทีเ่ ราค้นคว้ามาได้พบว่าแปรงทีด่ จู ะเหมาะสมกับผูส้ งู อายุมากทีส่ ดุ มันไม่มีขายในท้องตลาด หาซื้อยาก ราคาแพง ตอนนั้นเราสงสัยว่าแปรงสีฟันที่เหมาะกับผู้สูงอายุท�ำไมถึง ไม่มีขายในท้องตลาดนะครับ ซึ่งคิดว่าส่วนหนึ่งอาจจะเพราะกลุ่ม เป้าหมายเน้นเฉพาะเกินไป ท�ำการตลาด และขายยาก ลงทุนอาจ ไม่คมุ้ ค่า อีกทัง้ มีสนิ ค้าทดแทนในท้องตลาดอย่างอืน่ เยอะแยะครับ THAI DENTAL MAGAZINE • 53


จะผลิตอย่างไร ผลิตเท่าไร ต้นทุนเท่าไร ได้ก�ำไรอย่างไร สุดท้าย เราก็รู้สึกว่าไม่ใช่ทางของเราเพราะว่าถ้าเราจะไปท�ำผลิตภัณฑ์นี้ แล้วหวังผลก�ำไรมากมายตรงนัน้ คนไข้หรือผูส้ งุ อายุกจ็ ะเข้าถึงการ แปรงฟันยากขึ้นอีก สุดท้ายเราก็ถอดใจจากรางวัลนี้แล้วกลับมา ตัง้ ต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราให้ชมุ ชนตามเป้าหมายในครัง้ แรกดีกว่าครับ โดยพยายามที่จะท�ำให้มันถูกที่สุด น่าใช้ที่สุด ให้ผู้สูงอายุเข้าถึงแปรงสีฟันนี้ได้มากที่สุดนะครับ ตอนนี้เรา ก็ได้ต้นแบบมาแล้ว พอได้ตน้ แบบมาแล้วปัญหาของเราคือ เราได้แปรงทีเ่ ราคิดกันเอง ว่าดีทสี่ ดุ แล้ว แต่เรายังไม่รวู้ า่ จะเอาเข้าไปให้ชมุ ชนใช้อย่างไร อันนี้ คือสิ่งที่ท้าทาย สิ่งที่น้องๆ คุยกันและร่วมปรึกษากับผมพบว่าการ เข้าไปถึงชุมชน ชุมชนไม่ได้ตระหนัก ไม่ได้รสู้ กึ ถึง ความส�ำคัญและ ประโยชน์ของมันว่าอยูต่ รงไหน แล้วเขาก็จะไม่ใช้มนั มันเหมือนกับ เราไปยัดเยียดให้เค้าใช้ เราก็เลยต้องพยายายามให้ชุมชนเข้ามามี ส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นกับการออกแบบแปรงสีฟันของเรา ให้ผู้ใช้รู้สึก ร่วมเป็นเจ้าของกับเรา โดยท�ำการส�ำรวจร่วมกับชาวบ้าน เราเอา หัวแปรงสีฟัน ขนแปรงสีฟัน ด้ามแปรงสีฟัน ทุกชนิดที่มีขายอยู่ใน ท้องตลาดเอาไปท�ำส�ำรวจกับผู้สูงอายุในชุมชนรอบมหาวิทยาลัย โดยให้เขาเลือกเลยว่าชอบหัวแปรงแบบไหน ขนแปรงแบบไหน ด้ามแปรงขนาดไหนทีจ่ ะจับเหมาะมือ จนเราได้แปรงโมเดลสุดท้าย เป็นโมเดลที่พึงพอใจทั้งในส่วนของผู้ใช้เองคือผู้สูงอายุแล้วก็ตาม หลักวิชาการทีเ่ รามีนะครับ เราก็เลยออกแบบมาได้แล้วตอนนีน้ อ้ ง พยายามจะหาทุนเพือ่ ผลิตแปรงสีฟนั ก็เลยเอาโครงการนีไ้ ปแข่งขัน ในโครงการ “SCB Challenge กล้าใหม่ สร้างสรรค์ชุมชน” ชิงถ้วย พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ครับ และเงินรางวัลอีก 3 แสนบาท ซึ่งเป็นโครงการท�ำงานให้แก่ชุมชน น้องเอาโปรเจคนี้ ไปน�ำเสนอปรากฎว่าจาก 500 ทีมทั่วประเทศน้องๆ ได้เข้ารอบ 20 ทีมสุดท้ายนะครับ และได้รับทุนสนับสนุนโครงงาน 75,000 บาท โดยให้มีเวลาท�ำโครงการ 3 เดือนเพื่อมาน�ำเสนอในรอบสุดท้าย ประมาณเดือนเมษายนครับ อันที่จริงเราไม่ได้มุ่งหวังผลเชิงธุรกิจ ว่าเราจะได้กำ� ไรมากน้อยแค่ไหน แต่เราหวังว่าคนทีใ่ ช้แปรงสีฟนั นี้ จะมีความสุขกับการแปรงฟันทุกครั้งที่ใช้ท�ำความสะอาดช่องปาก นะครับ แปรงฟันแล้วได้ใช้สงิ่ ทีเ่ หมาะกับตัวเองจริงๆ น่าจะส่งผลที่ ดีกับช่องปาก นั่นเป็นสิ่งที่เราอยากให้ชุมชนได้จริงๆ ตอนนี้น้องๆ กลุ่มนี้ก�ำลังลงไปท�ำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับชุมชนมากขึ้นครับ ส่วน เรือ่ งการทดสอบประสิทธิภาพของแปรงชนิดนี้ ตอนนีเ้ ราลงไปตรวจ ฟันผูส้ งู อายุในชุมชนทีเ่ ข้าข่าย และขออาสาสมัครมาร่วมตรวจสอบ

54 • THAI DENTAL MAGAZINE


ประสิทธิภาพแปรงของเรานะ ผมอยากให้สิ่งที่เราท�ำเป็นความ ภูมิใจร่วมกันระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย ได้ท�ำแปรงสีฟัน ที่ใครๆ เห็นแล้วอยากมีไว้ใช้ มีความสุขกับการท�ำความ สะอาช่องปากนะครับ เพราะได้ส่ิงที่เหมาะสมกับตัวเองจริงๆ ผมว่าสิ่งเหล่านี้มันมีค่ามากกว่าก�ำไรที่เราจะได้อีก ตอนนีผ้ มมองว่า พอเริม่ ลงไปท�ำงานกับชุมชนมากขึน้ เริม่ รูส้ กึ ว่าการพัฒนานวัตกรรมอะไรก็ตามถ้าเราอยูใ่ นส่วนมหาวิทยาลัย แล้วเราพัฒนาในลักษณะเรานั่งอยู่ในหอคอยแล้วมองไปว่าสิ่ง นัน้ ดีสงิ่ นีด้ แี ล้วพยายามจะยัดเยียดเข้าไปให้เขา ผมว่ามันอาจจะ ไม่ได้ผลทีด่ ที สี่ ดุ นะครับ ผมว่าการพัฒนาร่วมกันเป็นสิง่ ทีด่ ี ตอน นีส้ งิ่ ทีน่ อ้ งก�ำลังจะท�ำคือพยายามทีจ่ ะท�ำยังไงให้ชมุ ชนรูส้ กึ เป็น เจ้าของร่วมกันกับสิ่งเหล่านี้และก็ภาคภูมิใจนะครับ และก็รู้สึก รักสุขภาพตัวเองไม่ใช่เฉพาะในช่องปากนะครับ การท�ำงานกับ ชุมชนเป็นสิ่งที่ท้าทาย เป็นสิ่งที่ยากแต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราไม่ หยุดท�ำ ผมเชือ่ ว่าทุกหน่วยท�ำงานร่วมกันน่าจะส่งผลทีด่ นี ะครับ ก็อยากให้ก�ำลังใจ สุดท้ายนี้ผมต้องขอบคุณน้องๆ นิสิตในที่ปรึกษาวิจัยกลุ่มนี้ อย่างมาก เพราะระหว่างที่เป็นที่ปรึกษาให้พวกเขาผมก็ได้เรียน รูอ้ ะไรต่างๆ กับเขาด้วยเหมือนกัน หลายอย่างทีเ่ ราคิดว่าเราเคย รู้ก็กลายเป็นว่านิสิตรู้เยอะกว่าเราอีกครับ เราเรียนรู้สิ่งใหม่ไป ด้วยกัน ช่วยกันพัฒนาปรับปรุงต่อไปนะครับ อีกสิ่งหนึ่งผมต้อง ขอขอบคุณชุมชน เราท�ำได้ไม่ส�ำเร็จหรอกถ้าไม่มีชุมชนเข้ามา มีส่วนร่วมครับ อีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องขอบคุณคือเวทีแข่งขันต่างๆ ที่ท�ำให้เด็กเราได้ไปแสดงออกได้ไปแสดงศักยภาพเพราะทุก ครั้งที่เขาไป เขาจะได้ประสบการณ์ ได้ความคิดใหม่ๆ กลับมา พิจารณางานของตัวเองเพือ่ ให้เกิดประโยชน์สงู สุด ถือว่าเป็นทาง ลัดในการพัฒนาอีกทาง เพราะฉะนั้นทุกคนมีส่วนกับผลงานชิ้น นีน้ ะครับอาจจะไม่ได้เป็นผลงานทีด่ ที สี่ ดุ แต่ผมว่าน่าจะเป็น ผลงานหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อชุมชนที่ทันตแพทย์อย่างพวก เราพอจะท�ำได้ครับ

THAI DENTAL MAGAZINE • 55


สมดุล คุณค่า ชีวิต

หนึง่ ในนัน้ คือ เพือ่ นเก่าคนหนึง่ ทีร่ จู้ กั กันมาเกือบ 30 ปี มีความรูส้ กึ หลายอย่างเกิดขึน้ ระหว่างทีร่ บั รูเ้ รือ่ งราวของเขา ผ่านจอภาพผืนใหญ่ในโรงภาพยนตร์ ผมอดไม่ได้ทจี่ ะคิดดังๆ เป็น ถ้อยค�ำกลับไปถึงเขา เพือ่ นเก่า ทีช่ อื่ ... โดราเอมอน .......... ถึง.. ‘เพือ่ นเก่าของฉัน’ นานแล้วนะ ทีเ่ ราไม่ได้พบกัน “ว้าว !” ฉันอดอุทานดังๆ ไม่ได้ ทันทีทเี่ ห็นนายก้าวออกมา จากลิ้นชักโต๊ะเขียนหนังสือ ในห้องนอนของเด็กชายขี้แพ้ ที่ชื่อ โนบิตะ อีกครัง้ คราวนีน้ ายมาในลุคใหม่ ดูทนั สมัยสามมิตดิ จิ ติ อล จนฉันแทบ จ�ำไม่ได้ แต่ไม่วา่ อย่างไร นายก็ยงั เป็นนายเหมือนเดิม ของวิเศษของนายยังคงน่าตืน่ เต้นอยูเ่ สมอ

เรื่อง ทพ. สมดุลย์ หมั่นเพียรการ www.facebook.com/iLoveYogaAnatomy www.wordpress.com/dhamrongdul

วันหยุดยาวช่วงขึ้นปีใหม่ เปิดโอกาสให้ผมได้กลับไปพบ และอยู่ข้างๆ ใครบางคน ที่ห่างและหายไปนาน

58 • THAI DENTAL MAGAZINE


‘คอปเตอร์ไม้ไผ่’ ขยับปีกแห่งจินตนาการของฉันให้โบยบินไป จนเห็นภาพตัวเองล่องลอยอยูก่ ลางอากาศ ถ้าได้ใช้รอ่ นไปท�ำงาน คงเฟีย้ วฟ้าวกว่านัง่ เครือ่ งบินน่าดู หรือ ‘ประตูวเิ ศษ’ ทีน่ า่ จะช่วยให้การเคลือ่ นตัวในวิถชี วี ติ ของ ฉัน ประหยัดเวลาและเรีย่ วแรงลงไปได้มาก ‘ไทม์แมชชีน’ ไม่เพียงพานายและผองเพือ่ นทีค่ นุ้ เคยกลับมา พร้อมเสียงหัวเราะ และรอยยิม้ จนวันหนึง่ ทีม่ นั พานายกลับไปยัง โลกอนาคต ถึงแม้จะท�ำให้ฉนั ต้องเสียน�ำ้ ตาไปบ้าง แต่การจากลา ยังสอนฉันให้มองไปข้างหน้าด้วยมุมทีต่ า่ งออกไป นายรูไ้ หมว่า ช่วงเวลาเดียวกันนี้ มีขา่ วเครือ่ งบินล�ำหนึง่ หาย ไปจากท้องฟ้า ต่อมามีคนพบว่า มันไม่ได้ลงจอดยังจุดหมายปลาย ทางทีต่ งั้ ใจไว้ แต่กลับเป็นกลางมหาสมุทร การจากลาครัง้ นี้ สร้างแรงสัน่ สะเทือนในใจใครหลายคน ไม่ เว้นแม้แต่คนใกล้ตวั ฉัน เพราะมันเป็นสายการบินเดียวกันกับทีฉ่ นั ใช้เดินทางไปท�ำงานทุกสัปดาห์ และท�ำให้ฉนั ได้กลับมาทบทวนว่า เราอยูเ่ คียงกับคนข้างเราอย่างไร บ่อยครัง้ ทีเ่ จออาหารน่ากิน สถานทีน่ า่ เทีย่ ว เรามักชวนคน ข้างๆ ว่า “ไว้ไปด้วยกัน” แต่ในทีส่ ดุ เราได้ ‘ไปด้วยกัน..จริงๆ’ สักกีค่ รัง้ เวลาทีอ่ ยูด่ ว้ ยกัน ท�ำไมปล่อยให้หฟ ู งั ทีย่ งั เสียบค้างในหู หรือสายตาทีไ่ ม่ยอมละจากหน้าจอมือถือ มาแยกให้ไกลกัน

ฉันเชื่อว่าเมื่อออกเดินทาง ทุกคนอยากไปให้ถึงจุดหมาย ปลายทางด้วยกันทัง้ นัน้ ในทีส่ ดุ แล้ว ถ้าตัวของเราไปไม่ถงึ แต่ใจ เราไปถึง.. มันก็คง..ถึง เช่นกัน เกือบลืมบอกไป ตอนทีน่ ายกับโนบิตะ ข้ามมิตเิ วลาเข้าไปช่วย ตัวเขาเองในอนาคตเพือ่ แก้ไขช่วงเวลาส�ำคัญ ในวันก่อนแต่งงาน ภาพตึกรามล�ำ้ สมัย สร้างความตืน่ ตากับฉันมิใช่นอ้ ย แต่กย็ งั ไม่ เท่ากับความตืน่ (ขึน้ ใน)ใจ กับค�ำพูดของนาย ทีบ่ อกกับโนบิตะว่า “เราจะไปเปลีย่ นอนาคตท�ำไม ถ้ารูว้ า่ มันดีอยูแ่ ล้ว” แต่เพราะฉันไม่มีของวิเศษที่สามารถเปลี่ยนอนาคต หรือล่วงรูว้ า่ ยังเหลือเวลากับคนรอบข้างไปอีกนานแค่ไหน ทีท่ ำ� ได้ ก็เพียงแค่ใช้ชว่ งเวลาทีม่ ี ‘อยูข่ า้ งกัน’ กับพวกเขาให้ มากขึน้ การจากลา ไม่ได้เศร้าเสมอไปหรอกนะ เพราะอย่างน้อย การ พลัดพรากยังพัดพาความเข้มแข็ง ให้เราสามารถ Stand… by me คือยืนหยัดให้ได้ดว้ ยตัวเอง แต่นนั่ ไม่ได้หมายความว่า เราต้องยืนอยูโ่ ดยล�ำพัง มิใช่หรือ ยังมีคนที่พร้อมจะอยู่เคียงข้างเรา และรอเรากลับไปอยู่.. ‘ข้างกัน’ เสมอ อยูท่ เี่ ราจะหาเขาเจอหรือไม่ .......... ปล. ขอบคุณที่นายกลับมา .. กลับมาอยู่ข้างกัน Stand by Me

THAI DENTAL MAGAZINE • 59


Dent Dining

จาก “ใครก็ไม่รู้ปลูก ให้ใครก็ไม่รู้กิน” มาเป็น “เพื่อนปลูก ให้ เพื่อนกิน”

เรื่อง อ.ทญ.ดร.มัทนา เกษตระทัต

60 • THAI DENTAL MAGAZINE

โครงการ “เพือ่ นปลูก เพือ่ นกิน” เป็นโครงการทีร่ เิ ริม่ โดยกลุม่ จิตอาสาในเมือง หลวงที่ตั้งค�ำถามกับตัวเองว่า “ถ้าอยากจะช่วยให้ชาวนาเป็นทุกข์น้อย กว่าที่เป็นอยู่ เราท�ำอะไรได้บ้าง? ” คุณ เล็ก กรรณิการ์ รัตนปรีดากุล สถาปนิก บริษัท สเปซไทม์ (น้อง สาวของ ทญ. กุลยา รัตนปรีดากุล) เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงรวบรวมคนที่สนใจ ที่จะตอบค�ำถามเดียวกันได้กลุ่มเล็กๆ ประมาณ 10 คน ผู้เขียนเองก็โชคดีที่ ได้เป็นหนึ่งในนั้น พวกเราเริ่มต้นคุยกันเมื่อต้นปีที่แล้ว (ช่วงวิกฤตโครงการ รับจ�ำน�ำข้าวนั่นเองค่ะ) ประชุมกันหลายรอบ ทบทวนหาทางว่าเราจะสร้าง ชุมชนทีเ่ ข้มแข็ง ดูแลทัง้ คนและสิง่ แวดล้อมไปด้วยกันได้อย่างไรบ้าง ในกลุม่ เราคุยกันมาตลอดว่าเราไม่ได้อยากที่จะท�ำอะไรเป็นระยะสั้น ไม่อยาก ช่วยในเชิงการบริจาคแล้วจบ โชคดีมากทีเ่ รามีโอกาสได้คยุ กับผูเ้ ชีย่ วชาญ ภาคประชาชนหลายท่าน ในทีส่ ดุ พวกเราก็ได้มลู นิธสิ ายใยแผ่นดิน และ และ สหกรณ์ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ จ�ำกัด จังหวัดยโสธร มาเป็นภาคีส�ำคัญให้กับ โครงการ


แนวคิดของเราคือ เราก�ำลังท�ำอะไรที่ไม่ใช่แค่เรื่องของการซื้อ ข้าวโดยตรงจากชาวนา แต่ว่าเราหวังใหญ่พยายามสร้างระบบหรือ โครงสร้างที่ค่อนข้างครบวงจรในการที่จะช่วยท�ำให้ชุมชนของชาวนา เข้มแข็งด้วย พวกเราหวังว่าอีก 3 ปี กลุ่มจิตอาสาจะค่อยๆ โอนงาน ทั้งหมดให้กับทางชุมชน ให้คนในชุมชนด�ำเนินการเองได้ทั้งหมดครบ ทั้งระบบผลิตและ การตลาด แนวคิดของโครงการ “เพื่อนปลูก เพื่อน กิน” โดยหลักๆ แล้วน่าจะสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. “ซีเอสเอ” (Community Supported Agriculture) หรือ เกษตร แบ่งปัน เป็นแนวคิดทีม่ อี ยูแ่ ล้วในหลายประเทศทีใ่ ห้ผบู้ ริโภคสนับสนุน และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ผลิตอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการเป็นสมาชิกซื้อ ข้าวล่วงหน้าจากเกษตรกรเป็นรายปี เปลี่ยนวัฒนธรรมทุนนิยม ซื้อใจ กันด้วยการจ่ายก่อนเพื่อช่วยให้ฝ่ายผู้ผลิตมีทุนที่จะน�ำไปใช้ได้ตั้งแต่ ต้นฤดูการผลิต จะได้ไม่ต้องไปกู้เงินแล้วมารอลุ้นว่าปีนี้ฟ้าฝนและโรค ภัยศัตรูพืชจะเป็นยังไง ถ้าไม่ดีก็เป็นหนี้ไม่รู้จบสิ้น ผู้บริโภคเองก็จะรู้ว่า อาหารที่ตนทานนั้นมาจากไหน มีกรรมวิธีการผลิตอย่างไร 2. “Fair Trade” คือ เป็นธรรมกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค นอกจากเกษตรกรจะได้ราคาดีกว่าราคาตลาดและมีกองทุน “Fair Trade” ให้โรงสีและสหกรณ์เพือ่ น�ำเงินลงทุนในการผลิตแล้ว ราคาข้าว ของโครงการนัน้ ตัง้ อยูบ่ นความคิดทีอ่ ยากให้ขา้ วอินทรีย์ ข้าวปลอดสาร เข้าถึงได้งา่ ยขึน้ ไม่อยากให้เป็นสินค้าราคาสูงจ�ำกัดอยูใ่ นวงแคบ อยาก ให้สินค้าที่ดีต่อสุขภาพอยู่ในราคาที่ไม่แพงเกินไป 3. “เป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อม” เราคิดว่าเกษตรอินทรีย์ ตอบโจทย์ทั้งประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ราคาที่ชาวนาจะขาย ได้ก็ดีกว่า แต่การที่จะเปลี่ยนชาวนาเคมีให้กลายเป็นชาวนาอินทรีย์ นั้นยากมาก แต่โครงการของเราก็สามารถดึงสมาชิกให้หันมาเปลี่ยน วิถีได้หลายร้อยครอบครัว ใครใจกล้าก็จะเปลี่ยนเป็นอินทรีย์เลย ใคร กลัวดินยังไม่ดีเพราะใช้สารเคมีมานานก็จะขอใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์บ้าง กลุ่มหลังนี้คือที่มาของข้าวปลอดสารค่ะ คือไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ไม่ใช้ยา ฆ่าแมลง แต่ยังใช้ปุ๋ยเม็ดอยู่บ้าง ราคาก็เลยถูกกว่าอินทรีย์แท้ๆ ที่เป็น ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด

ข้าวของโครงการ “เพื่อนปลูก เพื่อนกิน” ในปีแรกนี้เป็นข้าวหอมมะลิ แท้ๆ พันธุ์ 105 ที่ธรรมดาจะส่งออกขายต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ข้าว กล้องและข้าวขาวของเราราคาเท่ากัน แต่ข้าวปลอดสารจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท และ ข้าวอินทรีย์กิโลกรัมละ 75 บาท

ข้าวของโครงการปลูกโดยเกษตรกรใน อ�ำเภอมหาชนะชัย และ อ�ำเภอ เลิงนกทา จังหวัดยโสธร สีและแพ็คโดยโรงสีชุมชน มีพี่เลี้ยงให้ความรู้แล้ว ควบคุมคุณภาพจากสหกรณ์เกษตรอินทรียย์ โสธร ภายใต้มลู นิธสิ ายใยแผ่นดิน มีสมาชิกรายปีรุ่นแรกเป็นทันตแพทย์จ�ำนวนไม่น้อยเลยค่ะ ปีที่สองนี้เราจะ เริ่มรับสมัครกันในอีกไม่กี่เดือนนี้ ขอขอบคุณ THAI DENTAL MAGAZI NEเป็นอย่างมากที่ให้พื้นที่เชื่อมต่อโครงการ “เพื่อนปลูก เพื่อนกิน” อยาก เชิญชวน พี่ๆ น้องๆ ในวงการของเราให้ร่วมสนับสนุน หากสนใจให้เข้าไป สมัครหรืออ่านรายละเอียดได้ที่ http://farmerandfriend.org ที่ส�ำคัญ ข้าวเค้าหอมและอร่อยมากจริงๆ ค่ะ THAI DENTAL MAGAZINE • 61


dent dining

Dent Dining ฉบับนี้ อยากแนะนำ�ให้ไปร้าน The Never Ending Summer กันค่ะ

ภาพ bkkmenu

The Never Ending Summer เรือ่ ง อ.ทญ.ดร.มัทนา เกษตระทัต ภาพ bkkmenu, Never Ending Summer

ภาพ bkkmenu

ภาพ bkkmenu 62 • THAI DENTAL MAGAZINE

ไม่ใช่เพราะร้านสวย ถ่ายรูปออกมาแล้วดูดี ไม่ใช่เพราะไปแล้ว จะฮิป จะชิค จะคูล แต่อยากให้ไปเพราะ The Never Ending Summer มีอาหารที่ หาทานที่อื่นยาก เพราะเป็นร้านที่มีทีมงานเบื้องหลังที่ท�ำงานอย่างมือ อาชีพ ท�ำงานด้วยความตั้งใจมากๆ ที่จะสร้างร้านอาหารระดับคุณภาพ สากลให้กบั ผูบ้ ริโภค วัตถุดบิ ทีใ่ ช้ปรุงอาหารมีคณ ุ ภาพมาก แทบทุกส่วน ประกอบรู้แหล่งที่มา และ ที่ส�ำคัญที่อยากให้มาสนับสนุนเพราะร้านนี้ อาหารอร่อย บริการดี นั่งสบาย The Never Ending Summer เป็นโกดังเก่าทีต่ กแต่งใหม่ ร้านโล่ง โปร่ง สว่าง ไม่อกึ ทึกวุน่ วาย เหมาะกับการพูดคุยสนทนา ช่วงเย็นอากาศ ดีๆ ก็นั่งที่ลานไม้ริมน�้ำได้ ร้านนี้เหมาะกับทุกวัย ไม่ว่าจะมาเป็นคู่ มา กับเพื่อนๆ มาเป็นครอบครัว พาผู้ใหญ่มาร�ำลึกถึงเมนู ปลาแห้งแตงโม พาเด็กๆ ให้มารูจ้ กั ดอกไม้กนิ ได้ มาลองไข่พะโล้ หมูสามชัน้ สูตรโบราณ พาชาวต่างชาติมาทานอาหารไทยทีค่ นไทยทานเป็นประจ�ำอย่างสารพัด


ไข่เจียว กับ แกงส้มดอกแค หรือ น�้ำพริกกะปิ ปลาทูย่าง มีแม้กระทั่ง ย�ำปลากระป๋อง ทานอาหารเสร็จก็เดินเล่นทีส่ นามหญ้า ดูดพลังชีวติ จากต้นไม้ตน้ ใหญ่ เลือกซื้อหนังสือดีๆ ได้ที่ร้านก็องดิด (Candide books) แถมทาน ขนมหรือชากาแฟได้ที่ร้านไลบรารี่ด้วย ทั้งหมดนี้อยู่ในบริเวณเดียวกัน รวมเรียกว่า The Jam Factory ถ้าขับรถมาจากเจริญนครก็มาเลี้ยวขวา เข้าคลองสานทีห่ น้ารพ.ตากสินพอดี มีทจี่ อดรถให้สบิ กว่าคัน หรือจะข้าม เรือมาจาก The River City ก็สะดวกค่ะ The Never Ending Summer มีทั้งอาหารไทยท้องถิ่น อาหาร ไทยโบราณ หรือ อาหารไทยแบบทีเ่ ราคุน้ เคยทานกันทีบ่ า้ นอยูเ่ ป็นประจ�ำ (แต่ท�ำเองได้ไม่อร่อยเท่านี้) แบบหลังนี้จะเหมาะกับการพาแขกต่าง ประเทศมาเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารแบบ “authentic” จริงๆ ส่วนเมนูที่ จะมาแนะน�ำวันนีจ้ ะเป็นอาหารทีค่ นไทยน่าจะชอบ ทีพ่ ลาดไม่ได้เลยคือ สายบัวผัดกะปิ สายบัวกรึบๆ รสชาติเข้มข้น หลนประจ�ำวันก็กลมกล่อม ผักสดสะอาด มัสมัน่ เนือ้ น่องลายก็อร่อยมาก อีกเมนูทเี่ หมือนจะธรรมดา มากแต่ไม่ธรรมดาคือ ย�ำวุน้ เส้นกระเทียมโทน รสชาติซมึ เข้าเส้น ตัวเส้น ก็หนึบๆ ขนาดแพ็คกลับไปทานที่บ้านก็ยัง al dente อยู่! หลายคนอาจ ประทับใจกุ้งตัวโต แต่ที่ผู้เขียนชอบมาก คือกุ้งแห้ง ขนาดก�ำลังดี กรอบ อร่อย คุณภาพดีสุดๆ ตอนที่ได้คุยกับคุณแอ้ม นรี บุณยเกียรติ ครั้งแรก คุณแอ้มพูด เองเลยว่า “ร้านเราแพงจริงค่ะ” ราคาอาหารของ The Never Ending Summer อยู่ที่ประมาณร้อยกว่าบาท ถึง สามร้อยกว่าบาท คุณแอ้มเล่า

ภาพ bkkmenu

ให้ฟงั ต่อว่า ทางร้านพิถพี ถิ นั มากในการเลือกวัตถุดบิ ทีม่ คี ณ ุ ภาพเข้าร้าน “จ่ายตลาดเองทุกเช้าจากตลาด อ.ต.ก. เพือ่ วัตถุดบิ ทีม่ คี ณ ุ ภาพสม�ำ่ เสมอ เชือ่ ถือได้ สนับสนุนตลาดในพืน้ ที่ เช่น ตลาดวงเวียนใหญ่ และมีวตั ถุดบิ จากชุมพร มหาชัย และไร่ฝั่งธน ส่งตรงถึงที่ร้านทุกเช้า ไม่ว่าจะเป็น ผัก และผลไม้ หรือ เนื้อสัตว์” นอกจากนี้ The Never Ending Summer ยังสัง่ ซือ้ ข้าวโดยตรงจาก กลุม่ เกษตรกรอินทรียแ์ ละโรงสีชมุ ชนทีย่ โสธรด้วย คุณแอ้มเสริมว่า “เรา จะใช้ขา้ วทีต่ อ้ งปลอดจากสารพิษเท่านัน้ เพราะเราเชือ่ ว่าสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจที่ดี เริ่มมาจากการกินของเรา เราเลือกใช้ข้าวจากกลุ่ม “เพื่อน ปลูก เพื่อนกิน” เพราะ เพื่อนชาวนาของเราตั้งใจ ใส่ใจ ทุ่มเทชีวิตให้กับ การปลูกข้าวและการพัฒนาข้าวอย่างมืออาชีพรวมไปถึงขัน้ ตอนการจัด เก็บและการจัดส่ง มีคุณภาพสูงและปลอดภัยได้มาตรฐาน” ถ้าลองคิดว่าเราไปทานอาหาร food court ในห้างหรู หรือ ร้าน อาหารต่างชาติแถวสุขมุ วิท อาหารจานเดียวจานหนึง่ ก็รอ้ ย-สองร้อยกว่า

ภาพ Never Ending Summer

ภาพ Never Ending Summer

บาทเหมือนกัน (อาหารจานเดียวที่นี่ก็มีให้เลือกหลายเมนู เช่น ข้าวผัด เนื้อเค็ม ข้าวซอย) ถ้าใครคิดว่าไม่คุ้ม ก็แนะน�ำให้สั่งเมนูที่หาทานยาก หน่อย อย่างที่แนะน�ำไปข้างต้น หรือ ม้าฮ่อ ย�ำไข่ต้มตานี น�้ำพริกตะ ลิงปลิง ส�ำหรับเครื่องดื่ม ที่นี่ก็มีเมนูเครื่องดื่มน่าสนใจ น�้ำสมุนไพร น�้ำ ผลไม้ก็แปลกดี เช่น พริกแห้งกับอบเชย หรือ น�้ำขิงกับลิ้นจี่ ธรรมดามา หน่อยก็ น�้ำทับทิมโซดา หรือ อัญชันมะนาว ค็อกเทลก็มี เบียร์ และ ไวน์ ก็มีให้เลือกจากหลายประเทศ ถ้าพาแขกมาหรือมีโอกาสส�ำคัญก�ำลัง หาที่ฉลอง ถ้ามาที่ The Never Ending Summer ก็จะได้บรรยากาศที่ดี คุณภาพอาหารทีเ่ ผลอๆ ดีกว่าไปทานในโรงแรมดังๆ ทีส่ ำ� คัญคือมีเสน่ห์ กว่ามากค่ะ ผูเ้ ขียนประกาศเลยว่ามีสว่ นได้สว่ นเสียกับทางร้าน ไม่ใช่ทาง สินจ้างแต่เป็นความชอบพอทางใจเพราะทางร้านสนับสนุนข้าวอินทรีย์ จากโครงการ “เพื่อนปลูก เพื่อนกิน” อร่อย ไม่อร่อย ดี ไม่ดี อย่างไร ต้องมาตัดสินด้วยตัวเอง สักครั้งค่ะ THAI DENTAL MAGAZINE • 63


Dent Adirek เรื่อง ทพ. รุ่งกิจ หลีหเจริญกุล

ทันตแพทย์กับการก้มหน้าก้มตาทำ�งานหลังแข็ง คงเป็นของคู่กันแน่นอน หลายคนมีกิจกรรมการ พักผ่อนจากการทำ�งาน และในแต่ละคนก็ย่อม แตกต่างกันไปตามความชอบ

หลงคนที่ไหน ท�ำงานที่ไหน จบที่ไหน หมอรุง่ กิจ : เกิดปัตตานีครับ จบทันตะ มหิดลรุน่ 27 แล้วก็ไปเรียนต่อโท Oper ที่ University of North Carolina at Chapel Hill และ Resident Pros ที่ University of Iowa ครับ ตอนนี้ผมท�ำงานเป็นทันตแพทย์ part time ที่โรงพยาบาลและคลินิกเอกชนครับ แล้วก็เป็นอาจารย์พิเศษที่ จุฬาฯ และ มศว ครับ Dent Adirek : ทราบมาว่าคุณหมอเล่นสกีเป็นประจ�ำทุกปี อยาก ทราบว่าคุณหมอเริ่มรู้จัก “สกี” จริงๆได้ยังไงคะ หมอรุ่งกิจ : ย้อนไปปี 2003 เลย ครับ เป็นปีแรกทีไ่ ปเรียนต่อ ฤดูหนาว ปีแรกไม่กลับเมืองไทย แล้วโรงเรียน ก็ปิดเทอมสามสัปดาห์ เพราะเป็น ช่วงหยุดยาว เลยไปหาเพือ่ นสนิท ที่ รูจ้ กั กันตัง้ แต่เด็กๆ เค้าเช่าบ้านกัน อยูท่ เี่ มือง Boulder ในรัฐ Colorado ซึง่ เป็นรัฐทีอ่ ยูก่ ลางเทือกเขา Rocky ซึง่ มี Ski Town มากมาย ทีม่ ชี อื่ เสียง มากที่สุดในอเมริกาก็คือ Vail กับ Aspen ครับ ไปอยู่ที่นั่น 2 สัปดาห์ เลยใช้เวลาช่วงนัน้ ท�ำความรูจ้ กั กับ กีฬาประเภทนี้ครับ Dent Adirek : สกี เล่นยากง่ายแค่ไหนคะ อันตรายหรือเปล่า และ มันเหมาะกับคนแบบไหนคะ หมอรุ่งกิจ : กิจกรรมหรือกีฬาทุกชนิด มีความอันตรายอยู่แล้วถ้าขาด ความระวัง แต่ถ้าเราฝึกฝน รู้จักตัวเอง และท�ำด้วยความระมัดระวัง กีฬาทุกชนิดรวมทั้งสกี ก็เสี่ยงต่ออันตรายน้อยลง แต่ในเรื่องอุบัติเหตุ Dent Adirek :

64 • THAI DENTAL MAGAZINE


ที่เกิด บางครั้งมันก็เป็นเรื่องสุดวิสัย ยิ่งสกีเป็นกีฬาที่ท�ำในต่างประเทศ อุบตั เิ หตุทดี่ เู หมือนเล็กน้อยก็อาจกลายเป็นเรือ่ งยุง่ ยากได้ ทุกครัง้ ทีต่ อ้ ง ไปสกี ก็ควรจะมีการซือ้ ประกันอุบตั เิ หตุเพิม่ เติมครับ อีกทัง้ ก่อนจะไปสัก เดือนก็ต้องฟิตร่างกายอีกนิดหน่อย เพราะเราสกีบนภูเขาสูงที่มีอากาศ เบาบางท�ำให้เหนื่อยง่ายครับ ส�ำหรับคนที่ชอบกีฬากลางแจ้ง สัมผัส ธรรมชาติ และสนุกกับความเร็วและตื่นเต้น ก็จะชอบสกีแน่นอนครับ Dent Adirek : ส�ำหรับผู้ที่สนใจอยากจะเริ่มสกี มีอะไรบ้างที่ควร รู้เกี่ยวกับกีฬาชนิดนี้ค่ะ หมอรุ่งกิจ : ระดับความยากของการ Ski (หรือ Snowboard) นั้นขึ้นอยู่ กับลักษณะของลานสกีทจี่ ะเล่นครับ ไม่วา่ จะเป็นระดับความสูง ความชัน และความกว้างของลานสกี รวมทั้งสภาพลานที่อาจจะมีสิ่งกีดขวางไม่ ว่าจะเป็นก้อนหิน แนวต้นไม้ หรือหน้าผา ลักษณะของผิวหน้าของหิมะ ที่เป็นผิว นิ่ม (powdery) หรือ ผิวแข็งแน่นคล้ายเกล็ดน�้ำแข็ง (icy and hard packed snow) ก็ท�ำให้ยากง่ายต่างกันด้วย การรู้จักและศึกษา ลานสกีก่อนที่เราจะโลดแล่นกับมันจึงส�ำคัญ เพื่อความสนุกสนานและ ปลอดภัยครับ ระดับความยากของลานสกีสามารถแบ่งได้สามระดับ ซึง่ ใช้เป็นตัว ก�ำหนดเส้นทางสกี (Ski Trail) ด้วยครับ 1. ระดับ Green - เป็นระดับง่ายที่สุด เหมาะกับผู้เริ่มฝึกหัด และยัง ไม่เก่งนัก เนือ่ งจากมีความลาดชันเพียงเล็กน้อย ลานมีขนาดกว้างขวาง และผิวหน้าหิมะที่นุ่ม ง่ายต่อการควบคุม 2. ระดับ Blue (Red ในยุโรป) - เป็นระดับยากปานกลาง มีความ ลาดชันมากขึ้น ลานสกีมีความแคบและมีทางคดเคี้ยวมากขึ้น 3. ระดับ Black - เป็นระดับทีม่ คี วามยากทีส่ ดุ เหมาะกับผูท้ มี่ คี วาม ช�ำนาญแล้ว เนื่องจากลักษณะลานสกีมีความลาดชันมาก มีแนวต้นไม้ หรือหน้าผา อีกทั้งลักษณะหน้าผิวของหิมะที่แข็งซึ่งยากต่อการควบคุม

ลานสกีทุกแห่งจะมีแผนที่แสดงเส้นทางสกี (Ski Trail) และลิฟต์ใน ภาพรวมทั้งหมด ท�ำให้เราสามารถเลือกขึ้นลิฟต์ไปได้ถูกตัวว่าเมื่อขึ้นไป แล้วจะสามารถหาเส้นทางสกีลงมาได้ตามระดับความยากทีเ่ หมาะสมกับ เรา หรือเมื่อขึ้นลิฟต์ไปแล้วก็ให้เลือกเล่นสกีตามสัญลักษณ์ (Trail Signs) ทีช่ ใี้ ห้เห็นว่าเส้นทางนีจ้ ะเป็นระดับความยากง่ายเหมาะกับเรา เพราะจะมี ลูกศรหรือป้ายสัญลักษณ์บอกเสมอว่าเส้นทางที่ก�ำลังจะไปต่อจากนี้เป็น ระดับ Green, Blue หรือ Black เป็นต้น อุปกรณ์สกี (ski gear) ทุกชิน้ มีให้เช่า หากคิดว่าไม่ได้สกีเป็นประจ�ำก็ ไม่จำ� เป็นต้องซือ้ มาเป็นเจ้าของเพราะสามารถหาเช่าได้ทวั่ ไป แต่สงิ่ จ�ำเป็น ที่ต้องเตรียมไปคือของใช้ส่วนตัว เช่น 1. เสื้อสกี พวกเสื้อกันหนาวกันลม หรือพวกเสื้อคลุมขนเป็ด (down jacket) ควรเลือกสีเสื้อสกีที่เด่นจดจ�ำง่ายก็จะยิ่งดี เพราะเวลาไปกับกลุ่ม เพื่อนจะได้ตามหากันได้สะดวก เพราะในขณะเล่นสกีเรามักจะปกปิด หน้าตาไว้ทั้งหมดเพราะความหนาว สิ่งที่ท�ำให้เราจ�ำกันได้ในกลุ่มเพื่อน ก็คือสีเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัวที่มีจุดเด่นเฉพาะตัวครับ 2. กางเกงสกี ควรเป็นกางเกงส�ำหรับเล่นสกีโดยเฉพาะ เพราะสามารถ กันลม ความหนาวเย็นและความชืน้ จากหิมะได้ดี อีกทัง้ ยังมีมนี ำ�้ หนักเบา และทนทานต่อการเสียดสี ไม่ขาดง่าย หากมีการหกล้ม การใส่กางเกงชั้น ในขายาว (long john)ไว้ข้างในอีกชั้นก็ยิ่งสามารถท�ำให้เกิดความอบอุ่น ได้มากขึ้นไปอีก 3. ถุงมือสกี ควรเป็นถุงมือทีเ่ ฉพาะส�ำหรับการเล่นสกี เพราะสามารถ ให้ความอบอุ่นและป้องกันอุบัติเหตุได้ดี 4. แว่นตากันแดด มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถึงแม้จะมีอากาศที่ หนาวเย็น แต่ในวันทีฟ่ า้ ปลอดโปร่ง แสงอาทิตย์ทมี่ คี วามแรงอยูแ่ ล้วผนวก กับการสะท้อนของพืน้ ผิวทีข่ าวโพลนของหิมะจะยิง่ ท�ำให้มนั เป็นอันตราย ต่อสายตาได้ 5. หมวกกันน็อค ใช้สวมป้องกันอันตรายทีอ่ าจเกิดขึน้ จากการกระแทก Dent Adirek : ท�ำไมสกี กลายมาเป็นกิจกรรมที่ชื่นชอบ หมอรุ่งกิจ : ผมเป็นคนชอบเล่น Slider และนั่งรถไฟเหาะมาตั้งแต่เด็ก ครับ รูส้ กึ สนุกทุกครัง้ เวลาปล่อยตัวลงไปตามแรง G ของธรรมชาติ มันเป็น ความสนุกและตืน่ เต้นโดยไม่ตอ้ งพยายามท�ำอะไร (ยิม้ ) การสกีจงึ เป็นการ สนุกกับแรง G อีกครั้งที่ดูเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาหน่อย แต่ผมยังไม่กล้าท้าทาย กับแรง G ถึงขั้น Bungy Jump นะครับ (หัวเราะ) Dent Adirek : เขาว่าเป็นกีฬาเศรษฐี ไม่รวยเล่นยาก จริงหรือ เเถว เอเชียบ้านเรา เล่นทีไ่ หนได้ สกีทไี่ หนคุม้ ค่าราคาดี ส�ำหรับคนอยากเริม่ หมอรุ่งกิจ : ไม่จริงเลยครับ มันเพียงแต่ว่าเป็นกิจกรรมที่ต้องท�ำที่ต่าง ประเทศ เลยมีค่าใช้จ่ายเรื่องการเดินทางและที่พักที่ตามมาครับ ใกล้ บ้านเราที่ดีระดับโลกก็มีที่ ฮอกไกโด Niseko Village ครับ เค้าขึ้นชื่อว่ามี หิมะที่นิ่มที่สุดในโลก ดังนั้นล้มไม่เจ็บ (ยิ้ม) หรือถ้าอยากให้ประหยัดอีก หน่อยก็ไปที่เกาหลีได้ครับ Dent Adirek : สกีที่ไหนมาบ้าง ที่ไหนประทับใจที่สุด หมอรุ่งกิจ: สกีอเมริกาเป็นส่วนมาก เพราะคุ้นเคยระบบที่นั่นมากสุด ที่ อื่นก็มี แคนาดาและญี่ปุ่น ถ้าที่ประทับใจที่สุด ณ ตอนนี้คงเป็น Aspen อเมริกาครับ เพราะตอนเป็นนักเรียนเราอยากไป แต่ไปไม่ได้เพราะแพง มากๆ ทีนี้พอเราเริ่มท�ำงานหาเงินได้บ้าง เลยจัดกลุ่มไปเมื่อปีที่แล้วกับ เพื่อนทันตแพทย์ 3 คน เลยได้สัมผัสถึงความ exclusive ของมันเลย วิว สวยมากเหมือนภาพวาด เส้นทางสกีเยอะมากจนเล่นกัน 5 วันยังไม่ซำ�้ เส้น ทางเดิมเลย อีกทั้งสิ่งอ�ำนวยความสะดวกเต็มไปหมดครับ เหมือนกับสกี ลงมาปุ๊บ เดินเข้าร้าน Sushi bar ต่อได้เลยครับ Dent Adirek : ถ้าเปรียบเทียบกีฬาหรือกิจกรรมที่ใกล้เคียงในเมือง ไทย หรือถ้าอยู่เมืองไทย มีเวลาจะท�ำกิจกรรมอะไร หมอรุง่ กิจ : ถ้าตอนนีค้ ดิ ว่าจะไปหัวหินครับ เค้าเพิง่ เปิด Vana Nava เป็น สวนน�้ำขนาดใหญ่ มี slider เยอะมาก ดูน่าสนุกดี คล้ายกับมีลานสกีบน ภูเขาหลายลูก ถ้าเป็นเมื่อก่อนคง Dream World นั่งรถไฟเหาะมั้งครับ THAI DENTAL MAGAZINE • 65


คนที่คุณไม่รู้ว่าใคร

เรื่อง ทพ.อภิสิทธิ์ อารยะเจริญชัย

“ศิลปิน” คือ ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ โดยเครื่องมือที่ใช้สร้างงานศิลปะ ก็คือ “จินตนาการ” ของตัวศิลปินเอง จินตนาการบวกกับความคิดสร้างสรรค์ทำ� ให้ศลิ ปินหญิงชาวเอเชีย บนผ้ากันเปื้อน มาสร้างภาพเหมือน เจย์โจว โดยได้รับแรงบันดาล ผูห้ นึง่ เป็นทีร่ จู้ กั และยอมรับไปทัว่ โลก เธออาศัยจินตนาการในการน�ำ ใจมาจากเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Secret ที่นักร้องคนดังของ สิง่ ต่างๆ ทีพ่ บเห็นได้ทวั่ ไปรอบตัวมาเนรมิตผลงานระดับ “มาสเตอร์ ไต้หวันขับร้องและแสดงน�ำ พีซ” ให้คนทั่วโลกได้ชื่นชม หงหยี่ ศิลปินและสถาปนิกสาวชาวมาเลเซียเชือ้ สายจีน ปัจจุบนั อายุ 28 ปี ทั่วโลกรู้จักเธอในชื่อเล่นว่า Red (เนื่องจากเสียงค�ำว่า Hong แปลว่าสีแดงในภาษาจีนกลาง) เธอจบการศึกษาด้านศิลปะ จากออสเตรเลีย ปัจจุบนั ท�ำงานให้กบั Hassell สตูดโิ อศิลปะชัน้ น�ำ ของโลก (เธอท�ำงานอยูท่ สี่ าขาประเทศจีน) หงหยีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะ ศิลปินผูท้ ี่ “ชอบวาดรูป แต่ไม่ใช้พกู่ นั ” ผลงานของเธอได้รบั การเผย แพร่จากสื่อต่างๆ ทั่วโลก คลิปวิดีโอที่เธอโพสต์ลง youtube และ youku มีผู้คลิกเข้าไปดูนับล้านคน หงหยี่ เริ่มโด่งดังในโลกออนไลน์ตั้งแต่ปี 2012 จากคลิปการ ใช้ความคิดสร้างสรรค์เปลี่ยนสิ่งของรอบตัวในชีวิตประจ�ำวันให้ เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์งานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นการใช้คราบกาแฟ

66 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW 66-67 �������������������� .indd 66

2/17/2558 BE 8:59 AM


เมือ่ เดือนเมษายนทีผ่ า่ นมา หงหยีไ่ ด้ มอบของขวัญแซยิดแก่เฉินหลง ยอดนัก แสดงบู๊ขวัญใจของเธอด้วยการเลือกใช้ ตะเกียบเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ ภาพเหมือนของเขา เนื่องจากตะเกียบ นับเป็นเอกลักษณ์ของชาวจีน และใน ผลงานที่สร้างชื่อให้เธออย่างมาก คือการน�ำดอก คาร์เนชั่นสีขาวจ�ำนวน 2,000 ดอกมาปักบนสีย้อมผ้าสี แดง เมื่อผ่านไป 3 วัน การดูดซึมสีท�ำให้คาร์เนชั่นกลาย เป็นสีแดง กลายเป็นภาพเหมือนของ อองซานซูจี หงหยี่ เลือกใช้ดอกคาร์เนชั่นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความงาม ของซูจี ผูเ้ ป็นดังดอกไม้เหล็กแห่งพม่า และเป็นทีจ่ ดจ�ำจาก การต่อสูเ้ พือ่ เสรีภาพของประชาชนโดยมีดอกไม้ประดับที่ ทรงผมอยูเ่ สมอ เธอใช้เวลานาน 1 เดือนในการทดลองเพือ่ ศึกษาเทคนิคการดูดซับสีของดอกคาร์เนชั่น จนได้ข้อมูล ว่าดอกไม้ใช้เวลาในการดูดซับสีประมาณครึง่ ชัว่ โมง และ ใช้เวลานาน 40 ชั่วโมงในการท�ำให้ดอกไม้ติดสีเข้มสุด

จากการทีผ่ ลงานก่อนหน้าของเธอมักจะเป็นภาพเหมือน ของบุคคลส�ำคัญชาวจีน หรือชาวเอเชีย เธอจึงมีความคิด ที่จะสร้างผลงานที่เป็นชาวตะวันตกบ้าง เธอจึงเฟซบุ๊กไป ถามเพื่อนเพื่อปรึกษาว่าน่าจะท�ำภาพของใคร ในขณะ ที่ก�ำลังเล่นเฟซบุ๊ก ท�ำให้เธอนึกถึง มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก หงหยี่เลือกใช้หนังสือในการสร้างเป็นใบหน้าของชายผู้ ก่อตั้งเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นการตีความหมายของ ค�ำว่า “Facebook” ในแบบของเธอ ผลงานชิน้ นีไ้ ด้จากการ ตัดขอบหนังสือในระดับความลึกต่างๆ กัน โดยใช้หนังสือ Game of Thrones จ�ำนวน 36 เล่ม (เป็นหนังสือทีห่ นาทีส่ ดุ ที่เธอหาได้ในตอนนั้น) ใช้เวลาทั้งสิ้น 7 วันจึงแล้วเสร็จ ที่ เหลือเชื่อคือหนังสือทุกเล่มที่น�ำมาใช้ยังสามารถอ่านได้ เนือ่ งจากเธอตัดเฉพาะขอบ โดยไม่มตี วั หนังสือถูกตัดออก ไปแม้แต่ตัวเดียว

ภาพยนตร์หลายเรื่องที่เฉินหลงแสดง มักจะมีฉากที่เขาใช้ตะเกียบเป็นอาวุธ ในการต่อสูอ้ ยูเ่ สมอ หงหยีใ่ ช้เวลานานนับเดือนในการรวบรวมตะเกียบหลาก หลายขนาดจากสถานที่ต่างๆในชีเจียง และปักกิ่ง รวม 32,000 คู่ น�ำมามัด รวมกัน และน�ำตะเกียบแต่ละมัดมาแขวน จนกลายเป็นใบหน้าของศิลปิน ยอดนักแสดง และผลงานชิน้ ล่าสุดของศิลปินสาวผูน้ ี้ ก็คอื ภาพเหมือนของสามซูเปอร์ สตาร์นักฟุตบอลระดับโลก ได้แก่ คริสเตียโน โรนัลโด, เนย์มาร์ และลิโอเนล เมสซี โดยใช้ลูกฟุตบอลแทนพู่กัน และที่น่าทึ่งคือ เธอใช้เท้าของเธอสร้างผล งานชิ้นนี้ หงหยี่ เลือกทีจ่ ะโพสต์ผลงานในรูปแบบคลิปวิดโี อ เธออยากให้ผชู้ มเข้าใจ ลักษณะการท�ำงานของเธอมากขึน้ เนือ่ งจากแต่เดิมผูช้ มงานศิลปะแทบไม่มี ทางรูเ้ ลยว่าผลงานแต่ละชิน้ ทีส่ ำ� เร็จออกมา ศิลปินต้องใช้กระบวนการอย่างไร ในการสร้างสรรค์การท�ำเช่นนีน้ อกจากจะท�ำให้ผชู้ มรูส้ กึ ใกล้ชดิ กับศิลปิน ยัง เป็นการเพิม่ ช่องทางในการสือ่ สารระหว่างกัน นอกจากจินตนาการเธอจะล�ำ้ เลิศแล้ววิธีที่เธอเลือกสื่อสารกับผู้ชมยังเหมาะกับยุคสมัยอีกด้วย

ติดตามผลงานของเธอได้ที่เว็บไซต์ http://redhongyi.com/ และ www.ohiseered.com รวมทั้ง https:// www.facebook.com/redhongyi และ Instagram @redhongyi ชมคลิปวิดิโอการสร้างสรรค์ผลงานของ เธอได้ทางhttp://www.youtube.com/channel/UCEksT2jSB24zM4GrrTeWQWQ/videos THAI DENTAL MAGAZINE • 67

AW 66-67 �������������������� .indd 67

2/17/2558 BE 8:59 AM


dent away

เรื่อง ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี

ผมมีโอกาสได้มาประชุมที่ประเทศภูฏาน หรือภูฐาน (ประเทศที่ฝรั่งเขาอ่านออกเสียง ว่า พู-ตาน) โดยอาศัยเกาะหลังนกเหล็ก ‘Druk Air’ สายการบินแห่งชาติมาลงจอด สนามบินเมืองพาโร รันเวย์ของสนามบินเป็น ลานบินแคบๆ ที่ตั้งอยู่ในระหว่างช่องเขาที่ กัปตันขับเครื่องบินใหญ่ๆ เขาจะไม่มากัน .... ผมเคยได้ยินมาว่าคนไทยที่อยากไปเที่ยวญี่ปุ่นและเกาหลีส่วน หนึ่งก็เพราะเป็นติ่งดาราและนักร้องเคป๊อปเจป๊อป เช่นกันกับคน ไทยที่ใฝ่ฝันอยากมาเยือนที่นี่ส่วนหนึ่งก็เพราะเป็นติ่งกษัตริย์จิ๊กมี่ วังชุกด้วย ซึง่ ประเทศนีเ้ ขาก็มทิ ำ� ให้ผดิ หวัง พอผูโ้ ดยสารทีล่ งเครือ่ ง บินเหยียบแผ่นดินราชอาณาจักรปั๊บ ก็จะเห็นป้ายกษัตริย์จิ๊กมี่ยืน ต้อนรับทันทีเลยก่อนเข้าอาคารตรวจคนเข้าเมือง ด้วยการประชุมคราวนีจ้ ดั โดยองค์การอนามัยโลกจึงได้รบั การ ต้อนรับแบบวีไอพีพอสมควร มีเจ้าหน้าทีก่ ระทรวงสาธารณสุขของ ภูฏานถือป้ายต้อนรับพร้อมจัดแจงด�ำเนินการเรือ่ งตรวจคนเข้าเมือง ให้เบ็ดเสร็จเลย รวดเร็วมาก ... คราวทีไ่ ปประชุมบังคลาเทศ ได้เคย ติดสอยห้อยตามผูแ้ ทนรัฐมนตรีเข้าห้องวีไอพีเหมือนกัน แต่แขกบัง แกใช้เวลาด�ำเนินการนานมากๆ จนผู้โดยสารอื่นๆ เข้าไปกันหมด แล้ว หรือสงสัยจะอยากกักบริเวณให้เรานัง่ ในห้องต้อนรับวีไอพีนนั้ นานๆ ก็ไม่รู้นะ (ฮา) ออกจากสนามบินพาโรต้องเดินทางโดยรถเข้าเมืองหลวงคือทิม พู (Thimphu) ซึ่งห่างออกไปประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งคนขับรถ 68 • THAI DENTAL MAGAZINE

บอกว่าใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมงแถมรถที่มารับเป็นแบบขับเคลื่อน สี่ลอ้ ด้วย ซึ่งท�ำให้เดาได้ไม่ยากว่าเส้นทางนี้ตอ้ งไต่คดเคีย้ วตามไหล่ เขาชัวร์ .... นัง่ รถชมทิวทัศน์พลางและเก็บภาพข้างทางไปพลางด้วย ด้านหนึ่งของถนนเป็นภูเขา อีกด้านหนึ่งเป็นเหวมีแม่น�้ำไหลอยู่ข้าง ล่างด้วย นั่งตัวโยกซ้าย-ขวาเลี้ยวตามทางถนนลาดยางที่คดเคี้ยว สักพักอาการพะอืดพะอมเหมือนเมารถเริ่มมาทักทายจึงพยายาม เลี่ยงชมวิวผ่านเลนส์กล้อง ไม่ง้ันต้องให้เขาจอดให้อ้วกฝากไว้เป็น ที่ระลึกกับชาวบ้านที่นี่แน่ๆ เมือ่ มาถึงเมืองทิมพูถนนหนทางจะกว้างขึน้ เริม่ มีสเี่ ลน บ้านเรือน ก็ปลูกชิดๆ กันมากขึน้ มองไปทางไหนก็เจอแต่ภเู ขาล้อมรอบ มินา่ ล่ะ จึงไม่สามารถสร้างสนามบินในเมืองทีน่ ไี่ ด้ เมืองหลวงทิมพูตงั้ อยูท่ รี่ าบ เชิงเขา จุดชมวิวส�ำคัญของนักท่องเทีย่ วคือขึน้ ไปบนภูเขาชมเมืองแบบ 360 องศา อาคารบ้านเรือนเขาถูกจงใจสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบ เดียวกัน แม้วา่ จะเป็นอาคารสร้างใหม่กต็ ามเถอะ สงสัยคนทีป่ ระกอบ อาชีพสถาปนิกที่นี่อาจจะไม่ค่อยรุ่งเท่าไร (ฮา) อาจเพราะเราเป็นนักท่องเที่ยว จึงชอบบรรยากาศเมืองนี้มาก


เพราะมองจากมุมไหนของเมืองก็เจอแต่ภเู ขาพร้อมหมอกเมฆเป็น ฉากหลังให้ ต่างจากการถ่ายภาพในกรุงเทพฯที่มีตึกสูงและควัน รถยนต์เป็นฉากประกอบ ได้เดินชื่นชมธรรมชาติพร้อมสูดอากาศ บริสุทธิ์เย็นๆ โล่งจมูกดีจัง .... คนต่างชาติที่มาท�ำงานที่นี่ก็เล่าว่า ตอนแรกๆ ก็โอเคตื่นเต้นดีล่ะนะ แต่พอไม่ถึงสัปดาห์จะบ่นว่าเบื่อ ซะแล้วเพราะเงียบเกิน (อันนี้คงไม่เกีย่ วกับเราเพราะอยู่ไม่กวี่ ันเอง ก่อนจะเบื่อก็แพ็คกระเป๋ากลับบ้านแล้ว) ขอเติมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศนี้อีกหน่อยนะครับ ประ เทศเล็กๆ แห่งนี้มีพื้นที่ขนาดจังหวัดโคราชกับบุรีรัมย์รวมกัน แต่มี ประชากรไม่ถงึ ครึง่ หนึง่ ของคนโคราชเสียอีก (ประมาณ 7 แสนคน) ธงชาติของประเทศก็มีสัญลักษณ์ ‘Druk’ เป็นส�ำคัญ (ซึ่งหมายถึง Dragon หรือมังกรนัน่ เองครับ) หน่วยเงินทีเ่ ขาใช้เรียกเป็น Ngultrum (ออกเสียงคล้ายๆ ว่า นูล-ทรัม หรือ งูล-ทรัม) โดย 1 งูลทรัมมีค่า ประมาณ 50 สตางค์ของไทย เวลาไปซื้อของก็ง่ายๆ จับหาร 2 ก็ เทียบกลับเป็นราคาเงินบาทไทยได้แล้ว .... ราคาสินค้าพื้นเมือง และค่าครองชีพส่วนใหญ่ก็ถูกกว่าประเทศไทยนะ แต่เนื่องจาก

ภูฏานผลิตสินค้าเองได้ไม่มากจึงต้องพึง่ สินค้าต่างชาติกนั ทัง้ อินเดีย และเนปาล โดยสินค้าไทยเราก็ไม่นอ้ ยหน้า จะหาซือ้ มาม่าต้มย�ำกุง้ สินค้าอุปโภคพวกเนสกาแฟ น�ำ้ ตาล แป้งเด็กน่ารัก น�ำเข้าจากไทย ได้ไม่ยากเลยในตลาดเมืองทิมพู .... อาหารของคนที่นี่จะเน้นมีชีส และเห็ดที่ได้ตามป่า รสชาติออกแนวเผ็ด-เค็ม ซึ่งคล้ายกับคนไทย ที่เน้นอาหารรสจัดเช่นกัน (แต่อาหารไทยเรามีทั้งเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม และเผ็ด .. สรุปว่ามีครบทุกรสว่างั้นเถอะ ... ) อาหารพื้นเมือง เกือบทุกอย่างจะมีพริกเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นตามหลังคาจึงถูก ใช้เป็นที่ตากพริกแห้งกัน เดินตามตลาดสดก็เจอผักผลไม้บ้างแต่ ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์เท่าไร ผมมีโอกาสไปทัศนศึกษารอบๆ เมืองทิมพู โดยเขาเริม่ จากการ ขับรถพาขึ้น-ลงเขาตามทางไหล่เขา ให้ “ซึม-ซับ-ซึ้ง” กับความเป็น หุบเขาทิมพูจนเกือบกรึ่มๆ เมารถ ที่หมายส�ำคัญที่เป็น ‘the must’ คือศูนย์อนุรกั ษ์พนั ธุส์ ตั ว์ปา่ มีสตั ว์ประเภทหนึง่ ทีเ่ ขาบอกว่ามีเฉพาะ ในดินแดนภูฏานเท่านั้นแถมใกล้สูญพันธุ์อีกด้วย เป็นลักษณะ ลูกผสมระหว่างตัวทีค่ ล้ายวัวและส่วนหัวทีค่ ล้ายแพะชือ่ ว่า “ทะคิน THAI DENTAL MAGAZINE • 69


(Takin)” เขาเป็นสัตว์ขอี้ ายมาก แม้วา่ จะอยู่ในกรง แต่จะชอบซ่อน ตัวอยูต่ ามพุม่ ไม้ตอ้ งใช้ซมู ถ่ายภาพเอาเอง ตามต�ำนานเขาบอกว่า ทะคินเป็นสัตว์หิมพานต์ที่ฤาษีผู้มากด้วยตะบะบารมีสร้างขึ้นมา (ตามธรรมเนียมสัตว์อะไรทีแ่ ปลกหาพบยากคนไทยเราจะต้องอ้าง พระฤาษีกับป่าหิมพานต์ไว้ก่อน เพราะเขาอธิบายแค่ว่า .... looks like a cross between a cow and a goat. Legend has it that the animal was created by the great Buddhist yogi and it can be found only in Bhutan and nearby areas.) “ภูฏาน” ประเทศที่เน้นดัชนีความสุข เขาริเริ่มความคิดที่วัด การเติบโตการพัฒนาประเทศจากความสุขของประชาชน ขณะที่ ประเทศอืน่ ๆ เขาเน้นวัดทีก่ ารเติบโตทางเศรษฐกิจหรือ GDP - Gross domestic product เพือ่ เปรียบเทียบว่าประเทศไหนใครผลิตสินค้า หรือสร้างรายได้ในประเทศได้มากน้อยกว่ากัน ส่วนภูฏานมาแบบ เท่โดยใช้การวัดความสุขหรือ GNH - Gross national happiness 70 • THAI DENTAL MAGAZINE

ที่จะรวมไปถึงจิตวิญญาณ ร่างกาย สังคมและปัจจัยก�ำหนด รวม ทั้งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติด้วย .... ส�ำหรับโรงเรียนของเยาวชนเขา ก็มีนโยบายโรงเรียนสีเขียว (ที่ไม่ได้หมายถึงการทารั้วและอาคาร ให้มีสีเขียวนะครับ) โดยได้ไปอ่านในข่าวเขาสัมภาษณ์ผู้บริหาร โรงเรียนแห่งหนึ่ง เขาพูดไว้ว่า “โรงเรียนสีเขียวไม่ใช่หมายความถึง แค่สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่มันคือปรัชญาของการใช้ชีวิต นอกจาก การเรียนเลขและวิทย์แล้วเด็กๆ จะได้เรียนรูก้ ารท�ำงานเกษตรและ อนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมไปด้วย การศึกษาไม่ได้มคี วามหมายของการได้ เกรดสูงๆ แต่เราต้องเตรียมเขาให้เป็นคนดีในภายภาคหน้า” ฟังแล้ว นี่มันโรงเรียนในฝันของเด็กๆ เลยนะครับ ไม่ตอ้ งถามเรือ่ งอัตราการเจ็บป่วยและตายว่าเป็นเท่าไรเพือ่ มา แข่งเปรียบเทียบนะครับ เขาขอแค่ให้ผู้คนมีความสุขกับการมีชีวิต อยู่เป็นส�ำคัญ ซึ่งถ้าเดินไปรอบๆ เมืองก็สังเกตเห็นคนที่นี่ไม่น่าจะ มีฐานะทางการเงินเท่าไร เทคโนโลยีก็ไม่ล�้ำสมัย การคมนาคมก็ดู ไม่คอ่ ยสะดวก หน้าตาบ้านๆ ไม่ค่อยแฟชัน่ ห้างสรรพสินค้าให้เดิน


ช้อบปิง้ ก็แทบจะไม่มี แต่สงั เกตจากสีหน้าและดวงตาของชาวเมือง เขาก็ดมู คี วามสุขดีนะ ... ด้วยความเห็นส่วนตัวแล้วความสุขก็คงจะ แปรผกผันกับความอยากและความคาดหวัง แค่เขาท�ำให้คนเขาคิด ว่าตนเองเป็นส่วนหนึง่ ของธรรมชาติและเคารพความเป็นธรรมชาติ ที่ตนเองได้อาศัยเติบโตมา แค่นี้ความสุขของคนเขาก็พุ่งสูงแล้ว ล่ะนะ .... คนภูฏานรุ่นใหม่ๆ ได้ไปเรียนเมืองไทยเยอะ ซึ่งก็ภาวนา ขออย่าให้คนที่จบการศึกษาจากกรุงเทพฯบ้านเรามาเดินแชท มือถือ สวมสายเดีย่ วเดินกรีดกรายไป-มากลางเมืองนีแ้ ล้วกัน ทีต่ อ้ ง เขียนว่า ไป-มา เพราะถนนที่จะเป็น catwalk ให้เดินโชว์ได้มันสั้นๆ เอง (ฮา) .... ก็ต้องให้ก�ำลังใจดินแดนที่บริสุทธิ์นี้มีภูมิต้านทานต่อ กระแสทุนนิยมทีห่ ลัง่ ไหลเข้ามาและให้รกั ษาเอกลักษณ์ของตนเอง ได้นานๆ มันเป็นสิ่งส�ำคัญที่จะรักษาความสุขของคนในชาติ แถม ยังเป็นจุดดึงดูดที่นักท่องเที่ยวใฝ่ฝันอยากจะมาเยือนด้วย ได้ไปไหว้พระพุทธรูปบนเขาทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ของประเทศ (Buddha Point) นักท่องเที่ยวที่นับถือพุทธก็ได้ไปไหว้พระเป็นศิริมงคล และ

แถมท้ายด้วยไปสักการะเจดีย์ขาวที่ Memorial Choeten สถาน ที่ประกอบกิจทางศาสนาของกษัตริย์และราชวงศ์ คนที่มาแสวง บุญที่นี่เดินสวดมนต์เวียนรอบเจดีย์ และเนื่องจากพุทธศาสนาที่นี่ เป็นแบบมหายานคล้ายทางธิเบตจึงมีคนไม่น้อยมาสวดมนต์แบบ นอนราบกราบกับพื้นตามธรรมเนียมปฏิบัติของเขาด้วย .... แม้จะ กลับเข้ามาเดินในตัวเมืองก็จะเห็นสัญลักษณ์ทางศาสนามากมาย แบบนี้เช่นกัน เขาสร้างกระบอกกลมๆ ที่มีสีเหลืองทอง (ที่เขาเดิน สวดมนต์พร้อมเอามือไปปั่นให้มันหมุนๆ นั่นแหละ)กระจายทั่วมุม เมือง ประมาณว่าคุณอยูต่ รงไหนก็สามารถเดินสวดมนต์ได้ทนั ที .... ไม่ว่าใครจะมีทุกข์ตอนไหนก็สามารถท�ำสมาธิสงบจิตใจได้ทันที .... บทสรุปประเทศนี้ก็มีความน่าสนใจส�ำหรับคนที่ต้องการชื่นชม ความเป็นธรรมชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมวิถีชีวิตผู้คน ส่วนใครที่ ชอบช้อบปิ้งหรืออยากเสาะหาอาหารอร่อยๆ ชิม ที่นี่อาจจะไม่ใช่ ค�ำตอบหรอกครับ ... สวัสดี THAI DENTAL MAGAZINE • 71


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.