TDM 17

Page 1

VOLUME 5 ISSUE 17 JANUARY- MARCH 2011

เสี ย วฟั น ทันตแพทย์ช่วยได้

การใช้ฟลูออไรด์ ในประเทศไทย

KYOTO มหานคร แห่งใบไม้เปลี่ยนสี

Digital Xray


เจ้าของ ทันตแพทยสามคมแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษา ทพ.อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา ทพ.วีรวัฒน์ สัตยานุรักษ์ ทพ.สุชิต พูลทอง

2 AD NSK

บรรณาธิการ ทพญ.แพร จิตตินันทน์ กองบรรณาธิการ ทพ.ปริญญา อมรเศรษฐชัย ทพญ.อภิญญา บุญจำ�รัส ทพ.สุธี สุขสุเดช ทพญ.ศุภลัคน์ เลิศมโนรัตน์ ทพญ.เบญจวรรณ อัศวมานะชัย ทพญ.ปิยนุช กรรณสูต ทพ.ไกรสร ทรัพยtโตษก ติอต่อโฆษณาที่ คุณ ชิตศักดิ์ สุวรรณโมลี 02-539-4748

เรียน ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน The Dental Magazine เป็นฉบับที่ปรับปรุง จาก Thai Dental Product ซึ่งเป็นฉบับเดิมที่ทุกท่านคุ้นเคยมาระยะหนึ่ง การปรับเปลี่ยนครั้งนี้ เราได้คณะผู้จัดทำ�และบรรณาธิการที่ เป็นทันตแพทย์รนุ่ ใหม่ มีจติ อาสา มุง่ มัน่ ทำ�สือ่ ทีม่ คี ณ ุ ค่าน่าหยิบอ่านเพิม่ สาระจากเดิม เพือ่ เป็นสือ่ สำ�หรับการส่งข่าวทัง้ ผลิตภัณฑ์จากบริษทั ต่างๆ เติมข่าวหลากหลายในวงการ รวมถึงบทสัมภาษณ์และการแนะนำ�หน่วย งานเพื่อให้เรารู้จักการประกอบวิชาชีพในบริบทที่แตกต่าง ในการแปลงโฉมครั้งนี้ หากท่านมีข้อเสนอแนะ คณะผู้จัดทำ� ยินดีน้อมรับคำ�ติชมที่ thaidentalnet@gmail.com เพื่อพัฒนารูปแบบ ต่อไปในอนาคต หวังจะบรรลุเป้าประสงค์ทจี่ ะทำ�สือ่ ทีม่ คี ณ ุ ค่าและถูกใจ ผู้อ่านในวงการทันตแพทย์เรา อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ 71 ลาดพร้าว 95 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 02-5394748 แฟกซ์ 02-5141100 e-mail: thaidentalnet@gmail.com

3


• Editor’s Talk

ด้วยความเป็นทันตแพทย์นักอ่าน และเป็นแฟนเหนียวแน่นของ The Dental Magazine เลยอยากเพิ่มเนื้อหาในหนังสือ The Dental Magazine ที่เน้นวิชาการ ทั้งเครื่องมือและวัสดุทันตกรรม ขอเติม บทความที่สะท้อนบุคลิกวิชาชีพอิสระ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความพร้อม ความละเมียดละมัยในลีลาชีวิต... มีจิตใจสดใสเปี่ยมด้วย จินตนาการ และรักประเทศชาติไม่น้อยไปกว่า วิชาชีพอื่นๆ คำ�ว่าแมกกาซีนต่อท้าย The Dental Magazine ในฉบับนี้ ขอเสนอความหลากหลาย โดยไม่ทิ้ง จุดแข็งเดิมเพิ่มเติมบทความสนุกสนาน ให้เราให้ท่านได้มีส่วนร่วม ร่วมกันอ่าน ช่วยกันเขียนค่ะ มาติดตามอ่าน และให้กำ�ลังใจเรากันนะคะ

• Contents

57

VOLUM 4 ISSUE 1 JANUARY- MARCH 2011

32

46 ด้วยความเป็นทันตแพทย์นักอ่าน อยากทำ�แมกกาซีน สำ�หรับวิชาชีพ ทีส่ ะท้อนบุคลิกวิชาชีพอิสระทีน่ อกจากด้านวิชาการ และทักษะหัตถการแล้ว เรายังมีความเป็นเอกลักษณ์ มีความ พร้อม ความละเมียดละมัยในลีลาชีวิต... มีจิตใจสดใสเปี่ยมด้วย จินตนาการ และรักประเทศชาติไม่น้อยไปกว่าวิชาชีพอื่นๆ จึงเป็นทีม่ าของแมกกาซีนฉบับนี.้ ..เสนอความหลากหลาย โดยไม่ทิ้งจุดแข็งเดิมของ The Dental Magazine ที่เน้นวิชาการ ทั้ง เครือ่ งมือและวัสดุทนั ตกรรม แต่เพิม่ เติมบทความสนุกสนานให้เรา ให้ท่านได้มีส่วนร่วม ร่วมกันอ่าน ช่วยกันเขียนค่ะ เราเปิดพื้นที่ให้ ท่านได้เข้าร่วมแสดงออกทั้งการถ่ายภาพ เล่าสู่กันฟังเรื่องกิจกรรม ยามว่าง และหากท่านเป็นนักเขียนจะเขียนเรื่องสั้นส่งมาลงให้ อ่านกันก็ส่งกันมาได้นะคะ เชิญติดตามอ่าน และให้กำ�ลังใจเรากัน นะคะ ส่งเรื่องราวและเเนะนำ�เรามาได้ที่ email : thaidentalnet@ gmail.com บรรณาธิการ ทพญ. แพร จิตตินันทน์

4 • THE DENTAL MAGAZINE

THE DENTAL MAGAZINE

10 วิชาการ Digital Xray 22 เสียวฟันทันตแพทย์ช่วยได้ 26 การใช้ฟลูออไรด์ในประเทศไทย 30 กองทุนทันตกรรม 32 60 ปีทันตแพทย์ทหาร 40 งานประชุมวิชาการ 46 KYOTO มหานคร แห่งใบไม้เปลี่ยนสี 52 โอ๊ย...เจ็บ 53 ปรัชญา - ศาสนา 54 กินไปเที่ยวไป 56 Dental Adirek - พู่กันจีน 57 Dental Adirek - Ceramic painting 58 มองโลกผ่านเลนส์ - เปิดตัว

54

56

5


• Digital Xray

การใช้ ภ าพรั ง สี ด จ ิ ต ิ อล เพื่อการวินิจฉัยทางทันตกรรม

ต่างๆ (ดังรูปที่1) ซึ่งเครื่องมือนี้จะเป็นประโยชน์ในการอธิบาย และให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างดี

เรื่อง ทพญ.ดร. ปิยะนุช กรรณสูต

การถ่ายภาพรังสี นับเป็นขั้นตอนสำคัญอันหนึ่งในการตรวจ วิเคราะห์โรคและรักษาทาง ทันตกรรม ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องได้ รับรังสีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการพิจารณาการถ่ายภาพ รังสีทางทันตกรรมของทันตแพทย์และบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง ควรคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย โดยผู้ป่วย ควรได้ รับปริมาณรังสีน้อยที่สุด ปั จ จุ บ ั น มี ก ารพั ฒ นาตั ว รั บ ภาพหลายชนิ ด ที ่ ท ำให้ ปริมาณรังสีขณะถ่ายภาพลดลงแต่ยังคงให้คุณภาพที่ดีต่อการ วินิจฉัย เช่น การถ่ายภาพรังสีโดยใช้ฟิล์ม Kodak Insight ชนิด F speed ผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีลดลงร้อยละ 20 จากฟิล์มชนิด E spee1 และการถ่ายภาพรังสีแบบไม่ใช้ฟิล์ม (Filmless Radiograph) ที่ใช้แผ่นรับภาพดิจิตอล (Digital imaging sensor) แทน จะส่งผลให้ ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีลดลงมากกว่าร้อยละ 502 เมื่อเปรียบเทียบ กับระบบฟิล์ม แผ่นรับภาพในการถ่ายภาพรังสีแบบดิจิตอล 2 มิติ จะประกอบไปด้ ว ยแผ่ น รั บ ภาพชนิ ด Charged Coupling Device(CCD), Complementary Metal Oxide Semiconductors (CMOS) หรือ Photostimulable Storage Phosphors (PSP)

ภาพแสดง เครื่องถ่ายภาพรังสีนอกช่องปาก ระบบดิจิตอล 2 มิติ

10 • THE DENTAL MAGAZINE

ภาพรังสีในช่องปากแบบ 2 มิติที่ได้จากภารถ่ายโดยใช้แผ่นรับภาพในระบบดิจดตอล

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภาพรังสีดิจิตอลได้ รั บ ความสนใจมากขึ ้ น จากทั น ตแพทย์ ท ั ้ ง ใน สหรัฐอเมริกา และยุโรปที่นำมาตรวจวินิจฉัยโรค ในคลิ น ิ ค 3,4 ส่ ว นหนึ ่ ง มี ส าเหตุ จ ากการพั ฒ นา เทคโนโลยี ข องระบบนี ้ จนได้ ภ าพถ่ า ยรั ง สี ท ี ่ ม ี คุณภาพใกล้เคียงหรือเทียบเท่าการถ่ายด้วยการใช้ ฟิล์มแบบเดิม5 ในราคาที่จับต้องได้ รวมถึงระบบ ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย สามารถแก้ไขความผิดพลาดที่ อาจเกิ ด จากขั ้ น ตอนการสร้ า งภาพด้ ว ยการปรั บ ความเข้มและความคมชัดได้ในภายหลังโดยไม่ต้อง ทำการถ่ายภาพซ้ำ ผู้ป่วยก็จะได้รับปริมาณรังสีที่ น้อยลงและลดค่าใช้จ่ายในการใช้และกำจัดสารเคมี ที่จำเป็นต่อการสร้างภาพซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อม นอกจากนี้เครื่องถ่ายภาพรังสีดิจิตอลยังมี หลากหลายการใช้งานที่เป็นประโยชน์ในการแปล ผลภาพรังสี เช่น การขยายภาพ วัดความยาวและ มุมของตำแหน่งที่สนใจหรือการใช้เครื่องมือปรับ แต่งภาพ (Image Enhancement Tool) เป็นรูปแบบ

นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้นแล้ว การจัดเก็บและส่ง ต่อข้อมูลของภาพรังสีดิจิตอลยังสามารถทำผ่านระบบเครือข่าย คอมพิ ว เตอร์ ใ นโรงพยาบาล คลิ น ิ ก หรื อ แม้ แ ต่ ท างจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (E-mails) ได้สะดวกรวดเร็ว ล้วนเป็นปัจจัยเสริม ให้ความนิยมใช้งานภาพภาพรังสีดิจิตอลเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบัน มีการขยายช่องทางรับส่งข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความ จุสูงขึ้น ความเร็วในการเก็บและการแสดงผลข้อมูลจึงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ เป็นผลให้ลดพื้นที่การจัดเก็บและหลีกเลี่ยง การสูญหาย รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยเมื่อต้องการส่ง ต่อได้ นอกจากนี้ข้อมูลภาพยังสามารถรวมไว้ในฐานข้อมูลของ ระบบเวชระเบี ย นทำให้ ก ารติ ด ต่ อ สื ่ อ สารส่ ง ข้ อ มู ล ระหว่ า ง ทันตแพทย์และผู้ป่วยดียิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีดิจิตอล มักมีความพึงพอใจและคิดว่าคุ้มค่าต่อการใช้งาน โดยรายที่ยัง ไม่ตัดสินใจ มักเกิดจากปัญหาเรื่องราคาที่สูงและข้อพิจารณา เรื่องการวางระบบสายคอมพิวเตอร์เครือข่ายในคลินิก6 จากการสำรวจอนุมานได้ว่าภายในปี 2012 มีโอกาสที่ ทันตแพทย์จะใช้ระบบนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 40 3, 7 อย่างไร ก็ตาม การเปลี่ยนแปลงจากระบบฟิล์มที่ใช้กันมานานหลายสิบ

ปี ทั้งมีราคาตั้งต้นที่ไม่แพงและมีประสิทธิภาพต่อการวินิจฉัยเป็น ที่ยอมรับกันทั่วไป หลีกเลี่ยงได้ยากที่จะไม่ตั้งคำถามถึงความคุ้ม ค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคำถามที่อาจแสดงความไม่มั่นใจ กับคุณภาพของภาพรังสีชนิดดิจิตอลต่อการปฏิบัติงาน บทความ นี้จึงนำเสนอแง่มุมสำคัญในเชิงเปรียบเทียบของภาพรังสีทั้งสอง ชนิดเพื่อให้ผู้อ่านใช้ประกอบการพิจารณา การถ่ายภาพรังสีด้วยฟิล์มหรือด้วยระบบดิจิตอลนั้น มี ความแตกต่างกันในเรื่องของ การกำหนดปริมาณรังสีในแต่ละ ตำแหน่งที่จะถ่าย ตัวรับภาพ การส่งต่อข้อมูล การสร้างภาพและ การแสดงผลภาพ สรุปได้ดังตาราง ผู้ใช้ที่ต้องการเปลี่ยนจาก ระบบธรรมดามาเป็นระบบดิจิตอลจำเป็นต้องพิจารณาถึงระบบที่ ให้ความสะดวกสบาย และเหมาะสมกับพื้นที่ที่มีอยู่ในคลินิกเป็น สำคัญ การเปลี่ยนระบบจากการถ่ายด้วยฟิล์มมาเป็นดิจิตอล อาจยังคงใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีเดิมได้ แต่จำเป็นต้องตรวจดูก่อน ว่าเครื่องถ่ายภาพรังสีเ ดิ ม นั ้ น สามารถปรั บ ลดปริ ม าณรั ง สี ใ ห้ เหมาะกับระบบดิจิตอลที่เลือกซื้อได้หรือไม่

11


ปัจจัยการพิจารณาเลือกใช้ ตัวรับภาพในระบบดิจิตอล Digital image sensor

per millimeter : lp / mm และ ความสามารถในการแยกแยะ ระดับความต่างของระดับสีเทา (grey scale) ในภาพรังสี (contrast resolution)

ภาพ เปรียบเทียบ contrast resolution ระหว่าง 1-14 bit (http://www.usa.canon.com/dlc/controller?act=GetArticleAct&articleID=2748)

ภาพ แสดง รูปแบบของแผ่นรับภาพชนิด direct digital radiograph ที่ไร้สาย[1], มีสาย[2] และแผ่นรับภาพชนิด PSP (Photostimulable phosphor) [3]

ปัจจุบันตัวรับภาพในระบบดิจิตอลที่ใช้ในคลินิกทันตกรรม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด 1.Direct digital radiograph หมายถึ ง ภาพรั ง สี ด ิ จ ิ ต อลที ่ แ สดงผลภาพบน คอมพิวเตอร์ทันทีหลังถ่าย แผ่นรับภาพที่ใช้ในภาพรังสีชนิดนี้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 CCD ย่อมาจาก Charge-Coupled Device เมื่อได้รับรังสีเอ็กซ์ Sensor แต่ละพิกเซล เปลี่ยนค่าแสง เป็ น สั ญ ญาณอนาล็ อ กส่ ง เข้ า สู ่ ว งจร เปลี ่ ย นค่ า อนาล็ อ กเป็ น สัญญาณดิจิตอลอีกที ข้อดีของระบบนี้คือ จะมี signal to noise ratio ที่ต่ำ 1.2 CMOS ย่ อ มาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor เมื่อได้รับรังสีเอ็กซ์ Sensor แต่ละพิกเซล จะมีวงจรย่อยๆ ที่สามารถเปลี่ยนค่าแสงที่เข้ามาออกไปเป็น ดิจิตอลทันทีโดยไม่ ต้องผ่านเครื่องแปลงสัญญาณ 12 • THE DENTAL MAGAZINE

2. Indirect digital radiograph

หมายถึง ภาพรังสีดิจิตอลที่ต้องผ่านกระบวนการอ่าน ภาพด้วย Scanner ก่อนที่จะแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แบ่ง ออกได้เป็น 2 ประเภท 2.1 ใช้ภาพรังสีที่ได้จากฟิล์มธรรมดาและสแกนภาพเข้า คอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จากวิธีนี้ จำเป็นต้องอาศัยเวลาและเสีย เวลาในการทำงานหลายขั้นตอน รวมถึงคุณภาพของฟิล์มที่ได้ อาจจะลดถอยลงได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ Scanner ที่ใช้ 2.2 แผ่นรับภาพดิจิตอลที่เรียกว่า PSP (Photostimulable Phosphor) ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาตัวรับภาพชนิดดิจิตอล ก็คือ ความสามารถในการแยก รายละเอียดของวัตถุสองตำแหน่ง ออกจากกัน (spatial resolution) โดยมีหน่วยเรียกเป็น line pairs

ตั ว แปรสำคั ญ ในระบบ ของแผ่ น รั บ ภาพชนิ ด direct digital ทั ้ ง ชนิ ด CCD และ Cmos ที ่ น ำมาตั ด สิ น ค่ า Spatial resolution และ Contrast resolution คือ ขนาดของ pixel และ ความแตกต่างของ ระดับสีเทา (Grey scale) ในแต่ละพิกเซล หรือ ที่เรียกว่า “Bit depth” จากการคำนวณพบว่า พิกเซลบนแผ่นรับภาพที่มีขนาด 20-25 m จะมี ค่า spatial resolution ที่ได้จากการคำนวณ หรือที่ เรียกว่า “theoretical line pair” เท่ากับ 25 lp/mm ซึ่งมีค่า ความละเอียดของภาพใกล้เคียงกับ ฟิล์มถ่ายภาพรังสีชนิดดั้งเดิม ดังตาราง ในขณะที่ค่า contrast resolution จะ แปรผันตามความ แตกต่างของระดับสีเทาใน แต่ละ พิกเซล (bit depth) ดังนั้นความ สามารถในการวินิจฉัยความเปลี่ยนแปลงในภาพรังสีได้แม่นยำขึ้น เมื ่ อ ค่ า bit depth สู ง ขึ ้ น 8 แผ่ น รั บ ภาพชนิ ด CCDและ CMOS สามารถ แสดง ภาพ ที่มีค่า bit depth ตั้งแต่ 8,10,12 และ 169 แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว จะอยู่ที่ 8 bit 6 หรือ มีระดับสีเทา (grey scale) เท่ า กั บ 2 8 หรื อ 256 ลำดั บ สี ซึ ่ ง เพี ย งพอต่ อ การตรวจ วินิจฉัย ฟันผุ10 และรอยโรคปริทันต์11ได้

แผ่นรับภาพที่ใช้กับการถ่ายภาพรังสีภายในช่องปาก

แผ่นรับภาพในระบบ direct digital ในปัจจุบันที่ใช้ใน ช่องปาก จะมีทั้งที่เป็น CCD และ CMOS ที่มีสาย และไร้สาย โดยทั้งสองระบบจะให้ภาพที่ไม่แตกต่างกัน12 ระบบการถ่ายใน ช่องปากชนิด direct digital ประกอบไปด้วยแผ่นรับภาพที่มีการ เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่แสดงผลภาพโดยตรง แผ่นรับภาพชนิด นี้มีข้อเสียคือ จะมีความหนาและแข็งกว่ากลุ่ม indirect ทำให้ใส่

XIOS plus

RVG6100

ภาพ เปรียบเทียบแผ่นรับภาพในระบบ direct digital ชนิด มีสาย

13


ฟิล์มเข้าตำแหน่งได้ยากรวมถึงมีขนาดเล็กกว่าฟิล์มที่เคยใช้ โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ตำแหน่งที่สามารถรับภาพได้บนแผ่นรับภาพทั้งหมด (active area) จะมีขนาดเล็กกว่าตัวของแผ่นรับภาพเอง จึงจำเป็นที่จะ ต้องใช้ผู้ถ่ายที่ชำนาญ มิเช่นนั้นอาจทำให้ต้องมีการถ่ายซ้ำหลายครั้ง และกลับทำให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ผู้ ใช้จำนวนมากเลือกตัวรับภาพชนิดนี้เนื่องจากมีความชัดที่ใกล้เคียงกับ ฟิล์ม (>20 linepair/mm) และสามารถเห็นภาพที่ได้ทันทีหลังจากที่ถ่าย โดยไม่ต้องผ่านเครื่อง scanner เหมือนกับการถ่ายภาพด้วย indirect digital radiograph เมื่อเทียบระหว่างระบบมีสายกับไร้สายจะพบว่า การควบคุม การติดเชื้ออาจมีความยุ่งยากมากขึ้นเมื่อใช้ sensor ชนิดมีสาย ใน ขณะที่ชนิดไร้สาย อาจต้องคำนึงถึงเรื่องราคาของ battery ใน sensor และ การสูญหายที่อาจเกิดขึ้น 6 แผ่นรับภาพในระบบ indirect digital radiograph ที่พูด ถึงโดยทั่วไป จะหมายถึง PSP หรือ เรียกว่า Phosphor Stimulating Plate ซึ่งเป็นแผ่นรับภาพชนิดดิจิตอลที่มีขนาดเท่ากับฟิล์มจึงสามารถ ให้รายละเอียดของภาพได้ครอบคลุมทั้งตัวฟันและปลายรากฟัน แต่ ข้อด้อยของแผ่นภาพชนิดนี้คือ รายละเอียดของภาพซึ่งส่วนใหญ่แผ่น รับภาพที่ใช้ในช่องปากจะมีค่าความละเอียดของภาพน้อยกว่าฟิล์ม (620 lp/mm)11 ขณะที่ในปัจจุบัน จะมีบริษัทที่เริ่มผลิต แผ่นรับภาพที่ให้ราย ละเอียดสูง (>40 lp/mm) แต่ทว่าภาพรังสีในระบบนี้ยังไม่เป็นที่นิยมใน คลินิกทันตกรรมเอกชน เนื่องจากค่าใช้จ่ายการลงทุนเริ่มต้นที่สูงกว่า ภาพรังสีชนิด direct digital และภาพรังสีชนิดนี้จะต้องมี Scanner ร่วม ด้วย ซึ่งราคาเริ่มต้นโดยประมาณจะมากกว่า 450,000 บาท นอกจาก นี้ คลินิกที่มีความถี่ในการถ่ายภาพรังสีค่อนข้างสูง การใช้ภาพรังสี ชนิดนี้จะทำให้เกิดความล่าช้าได้ ถ้ามีแผ่นรับภาพคอยสับเปลี่ยนไม่ เพียงพอ เนื่องจากแผ่นรับภาพชนิดนี้ จะต้องนำมา scan ทุกครั้งก่อน นำมาใช้ใหม่ 2 ถึงแม้ว่าการถ่ายภาพรังสีด้วยระบบนี้จะคล้ายคลึงกับการ ถ่ายด้วยฟิล์มธรรมดา เพราะมีขนาดแผ่นรับภาพใกล้เคียงกับฟิล์ม แต่ ก็ยังพบว่าบางระบบ แผ่นรับภาพจำเป็นต้องใส่ กระดาษป้องกัน (Protective cover) ดังรูปที่ 2 ส่งผลให้มีความหนามากขึ้น ทำให้การ วางฟิล์มต้องอาศัยเทคนิคและอาจต้องทำด้วยความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อลดความไม่สบายของผู้ป่วย แต่กระนั้นแผ่นนี้ก็มีประโยชน์ใน การยืดอายุแผ่นรับภาพโดยสามารถป้องกันรอยจากการกดของเครื่อง มือจับฟิล์มบางชนิด

ภาพแสดงวิธกี ารใส่ แผ่นปกป้อง sensor และ ซอง ป้องกัน น้ำลาย ( รูปส่วนหนึง่ นำมาจาก Instrumentarium Express)

14 • THE DENTAL MAGAZINE

การวางแผ่นรับภาพในช่องปากผู้ป่วยจำเป็นต้อง ระวังในเรื่องการหักหรืองอ เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้น จะคงอยู่ถาวร และปรากฏเป็น รอยบนภาพถ่ายในผู้ป่วยคน อื่นด้วย ดังนั้นแผ่นรับภาพในระบบนี้บางรุ่นจะมีตัวอักษร ปรากฏ (iDot system) ทำให้สามารถสืบกลับได้ว่า รอยบน ภาพรังสีมาจากแผ่นรับภาพชิ้นใด การคัดออกจึงทำได้สะดวก ยิ่งขึ้น นอกจากนี้การวางตำแหน่ง ของตัวอักษรนี้ บนด้าน กัดสบ ทั้งบน และล่างจะทำให้ แทนตำแหน่งของ ตุ่มนูนบน ฟิล์ม (dot)ที่ ใช้ใน ระบบ ฟิล์ม ปกติ

Instrumentarium express

แผ่นรับภาพที่ใช้กับการถ่ายภาพรังสีนอกช่องปาก แผ่นรับภาพที่ใช้ในปัจจุบัน มีทั้งระบบ CCD,CMOS และ PSP โดยรายละเอียดของภาพที่ได้จะใกล้เคียงกับฟิล์ม (> 5 lp/ mm) สิ่งที่ทันตแพทย์จำเป็นต้องพิจารณามากที่สุดในการถ่าย ระบบนี้คือ เวลาที่ใช้ในการสร้างภาพและปริมาณหน่วยความจำที่ ใช้ในการจัดเก็บเนื่องจากภาพเป็นภาพขนาดใหญ่ เช่นกรณีการ เก็บภาพถ่ายกะโหลกศีรษะด้านข้างขนาด 8x10 ที่มีรายละเอียด 10 lp/mm จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 20 MB ดังนั้น ภาพชนิดนี้อาจจะต้องถูกบีบอัดโดยโปรแกรมต่างๆ ซึ่งอาจทำให้ ข้อมูลบางส่วนสูญเสียจากการบีบอัดในอัตราส่วนที่มากเกินไป ในปัจจุบัน ระบบ JPEG 2000 ที่การบีบอัด 10: และ 15:1 ถือเป็น อัตราส่วนที่ยอมรับได้ในการเก็บภาพรังสีโดยไม่สูญเสียคุณสมบัติ ในการวินิจฉัยโรค6 แม้ว่าภาพรังสีที่ได้จากการถ่ายภาพรังสีแบบดิจิตอลใน ปัจจุบันจะมีคุณภาพของภาพไม่ด้อย ไปกว่าภาพที่ได้จากฟิล์ม และสามารถปรับภาพรังสีให้มีความเปรียบต่างที่เหมาะสมได้โดย ใช้ซอฟท์แวร์ แต่ผู้ถ่ายยังควรตระหนักถึงหลักการถ่ายภาพรังสีที่ ถูกต้องด้วย ทั้งการปรับปริมาณ kVp, mA และเวลา ที่เหมาะสม ตลอดจนมุมที่ถูกต้องเพื่อให้ได้ภาพที่ดี ไม่มีการบิดเบี้ยว ภาพที่ดี ที่สุดคือภาพที่ดีตั้งแต่แรกเริ่ม มิใช่การปรับแต่งภาพให้ดูสวยเพียง อย่างเดียว เพราะการปรับแต่งภาพที่มากเกินไปอาจทำให้สูญเสีย ข้อมูลบางส่วนไปได้เช่นกัน

Daylight loading

ภาพแสดง อุปกรณ์ทใ่ี ช้ในการถ่ายภาพรังสีภายในช่องปากชนิด indirect digital ประกอบด้วย [1] เครือ่ งแสกนแผ่นรับภาพ(scanner), แผ่นฟิลม์ , Protective cover และซองกันน้ำลาย, [2] แสดงแผ่นรับภาพ ชนิด iDot system เป็นรหัสทีจ่ ะปรากฏบนแผ่นรับภาพมีประโยชน์ใน การบันทึก จำนวนในการใช้งานของแผ่นนัน้ ๆ รวมถึง สามารถติดตาม ดึง ออกเมือ่ แผ่นรับภาพมีปญ ั หา

Imaging plate cassette

การใช้เพื่อการพยากรณ์โรค

คุณภาพของภาพรังสีที่ได้จากการถ่ายด้วยแผ่นรับ ภาพทั้งสามชนิดนั้นจะไม่เท่ากัน เนื่องจากมีความละเอียด (resolution) ต่างกัน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาส่วนใหญ่พบ ว่ า ไม่ ค ่ อ ยมี ผ ลมากนั ก ทั ้ ง การตรวจหาฟั น ผุ บ ริ เ วณด้ า น ประชิด 13, 14 หรือแม้แต่รอยโรคฟันผุที่เกิดด้านประชิดที่มี ขนาดเล็กบนผิวเคลือบฟัน 15 ระดับของกระดูก 16 และงาน รักษารากฟัน 17 ในขณะที่ประสิทธิภาพของแผ่นรับภาพชนิด ดิจิตอลจะลดลงเมื่อใช้ในการตรวจดูฟันที่รักษารากฟันเมื่อ ต้องอ่านผลกับ file ที่มีขนาดเล็กมากกว่า 15 18

Imaging plate and cover

ภาพแสดง การใช้อปุ กรณ์สำหรับถ่ายภาพรังสีภายนอกช่องปากชนิด indirect digital ประกอบด้วย [1] เครือ่ งแสกนแผ่นรับภาพ (scanner) , [2] แผ่นรับภาพ (Imaging plate), [ 3]Protective cover และ cassette

15


ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของภาพรังสีชนิดดั้งเดิม และ ภาพรังสีชนิดดิจิตอล ปัจจัยในการ พิจารณา ตัวรับภาพ ความละเอียดของ ตัวรับภาพ* อายุการใช้งาน การป้องกันการ ติดเชื้อ การส่งต่อข้อมูล การสร้างภาพ (เวลาที่ใช้ในการ สร้างภาพCCD= CMOS<PSP) การแสดงผลภาพ

ภาพรังสีแบบดั้งเดิม ฟิล์ม ในช่องปาก (Kodak D,E,Fspeed)> 20lp/mm ฟิล์มนอกช่องปาก ร่วมกับสกรีน

5lp/mm ใช้ครั้งเดียว ใส่ซองคลุมป้องกัน

หรือ การปล่อยฟิล์ม จากซอง โดยใช้ “Drop out technique” ผ่านบุคคล ใช้น้ำยาสร้าง ภาพ(Developer), น้ำยาคงสภาพ (Fixer) ร่วมกับห้องมืดหรือ กล่องล้างฟิล์มทำให้ ต้องมีการกำจัดส่วน เหลือของสารเคมี และแผ่นตะกั่ว ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลง

ภาพรังสีดิจิตอล (Digital radiograph) Direct Charge-Coupled Device (CCD) Resolution > 20lp/mm Planmeca :Dixi2, Sirona : Sidexis,Kodak: Rvg6100 Satelec รุ่น X-Mind Pano Ceph D+ =approx 5 lp/mm Orthophos XG5 = 17 lp/mm Pax-500 UG Versa =10.42 lp/mm สามารถใช้ซ้ำได้ แต่ไม่ทราบอายุที่แน่นอน ซองคลุมแผ่นรับภาพ (film barrier) ผ่านระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า “Dicom” (The Digital Imaging and Communications in Medicine)

1. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนการถ่ายภาพรังสี

2. เมื่อถ่ายภาพ ข้อมูลจะผ่านเข้าเครื่อง คอมพิวเตอร์และได้ผลภาพรังสีทันที

เอกสารอ้างอิง

Indirect Complementary Metal Oxide Semiconductor (CMOS) Resolution > 20lp/mm

Instrumentarium SNAP Shot, Sopro รุ่น Sopix2, Planmeca :Prosensor PaX- 500 versa= 10.42 lp/mm

PSP (phosphostimulating plate) Instrumentarium, Pspix >14lp/mm Durr mini = 44lp/ mm Digora PCT=4-6 lp/ mm 50-200 ครั้ง ต่อ แผ่น 8, 9 1.ควรทำในที่แสง สว่างน้อย 2.ผ่านเครื่องสแกน ภาพ (scanner) ก่อนเข้าเครื่อง คอมพิวเตอร์

Physical properties and ease of operation of a wireless intraoral x-ray sensor. Oral surgery, oral medicine, oral pathology, oral radiology, and endodontics 2005 Nov;100(5):603-8. [11] Farman AG, Farman TT. A comparison of 18 different x-ray detectors currently used in dentistry. Oral surgery, oral medicine, oral pathology, oral radiology, and endodontics 2005 Apr;99(4):485-9. [12] Abreu M, Jr., Mol A, Ludlow JB. Performance of RVGui sensor and Kodak Ektaspeed Plus film for proximal caries detection. Oral surgery, oral medicine, oral pathology, oral radiology, and endodontics 2001 Mar;91(3):381-5. [13] Khan EA, Tyndall DA, Ludlow JB, Caplan D. Proximal caries detection: Sirona Sidexis versus Kodak Ektaspeed Plus. General dentistry 2005 Jan-Feb;53(1):43-8. [14] Pontual AA, de Melo DP, de Almeida SM, Boscolo FN, Haiter Neto F. Comparison of digital systems and conventional dental film for the detection of approximal enamel caries. Dento maxillo facial radiology Oct;39(7):431-6. [15] Borg E, Grondahl K, Persson LG, Grondahl HG. Marginal bone level around implants assessed in digital and film radiographs: in vivo study in the dog. Clinical implant dentistry and related research 2000;2(1):10-7. [16] Melius B, Jiang J, Zhu Q. Measurement of the distance between the minor foramen and the anatomic apex by digital and conventional radiography. Journal of endodontics 2002 Feb;28(2):125-6. [17] Lozano A, Forner L, Llena C. In vitro comparison of root-canal measurements with conventional and digital radiology. International endodontic journal 2002 Jun;35(6):542-50.

สามารถปรับ ความเปรียบต่าง (contrast), ความดำขาวของภาพ (Density), การขยายดูใน ตำแหน่งที่สนใจ (magnification), การปรับภาพ กลับรูป จาก positive (สีดำ) เป็นnegative (สีขาว) เป็นต้น, การวัดความยาว และมุมของสิ่งที่สนใจ

*( resolution:lp/mm):Theoritical line pair คำนวณค่าจาก1/pixel (mm) x 2 ข้อมูลได้รับจากบริษัทที่เป็นตัวแทนขายในประเทศไทย 16 • THE DENTAL MAGAZINE

[1] Ludlow JB, Platin E, Mol A. Characteristics of Kodak Insight, an F-speed intraoral film. Oral surgery, oral medicine, oral pathology, oral radiology, and endodontics 2001 Jan;91(1):120-9. [2] Zdesar U, Fortuna T, Valantic B, Skrk D. Is digital better in dental radiography? Radiation protection dosimetry 2008;129(1-3):138-9. [3] Brian JN, Williamson GF. Digital radiography in dentistry: a survey of Indiana dentists. Dento maxillo facial radiology 2007 Jan;36(1):18-23. [4] Constantine Gart BDKZ, iData Research. Global trends in dental imaging: The rise of digital Dental Tribune. Jul 27, 2010 [5] Visser H, Hermann KP, Bredemeier S, Kohler B. [Dose measurements comparing conventional and digital panoramic radiography]. Mund Kiefer Gesichtschir 2000 Jul;4(4):213-6. [6] Parks ET. Digital radiographic imaging: is the dental practice ready? Journal of the American Dental Association (1939) 2008 Apr;139(4):477-81. [7] Brady DT. Digital radiography: a survey of dentists in Hawai’i. Hawaii dental journal 2007 Jul-Aug;38(4):10, 2-3. [8] Ergun S, Guneri P, Ilguy D, Ilguy M, Boyacioglu H. How many times can we use a phosphor plate? A preliminary study. Dento maxillo facial radiology 2009 Jan;38(1):42-7. [9] Bedard A, Davis TD, Angelopoulos C. Storage phosphor plates: how durable are they as a digital dental radiographic system? The journal of contemporary dental practice 2004 May 15;5(2):57-69. [10] Tsuchida R, Araki K, Endo A, Funahashi I, Okano T.

17


• Dental Treatment กับปัญหานี้ โดยในทีน่ จี้ ะแบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 กลุม่ ใหญ่ๆ ตาม กลไกการรักษา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ไปลดการตอบสนองของเส้น ประสาท กับผลิตภัณฑ์ที่ไปอุดปิด dentinal tubule

กลุม่ ที่ 1 ผลิตภัณฑ์ทไี่ ปลดการตอบสนองของเส้นประสาท

Potassium nitrate ใช้ทาบริเวณที่มี dentine exposure โดยจะไป เพิ่มความเข้มข้นของ extracellular potassium ions ช่วยลดความ ไวในการทำ�งานของเส้นประสาท อาการเสียวฟันจึงลดน้อยลงหรือ หายไป ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Sheer DesenZ Desensitizer (CAO Group, Inc)

In-office Products

for Dentine

Hypersensitivity Treatment

เสี ย วฟั น ...ทันตแพทย์ช่วยได้ เรื่อง ผศ.ทพ.ดร.สุชิต พูลทอง / ทพ.ยศกฤต หล่อชัยวัฒนา

เชือ่ ได้เลยครับว่า “เสียวฟัน” คงเป็น chief complaint ของคนไข้ ที่คุณหมอทุกท่านเจอเป็นลำ�ดับต้นๆ ทั้งที่มีอาการแล้วจึงมา หาเรา หรือมีอาการหลังจากรับการรักษาจากเราไป “เสียวฟัน... ทันตแพทย์ชว่ ยได้” จะเป็นคำ�ขวัญให้ทกุ ท่านเตรียมพร้อมรับ สถานการณ์เหล่านี้ได้อย่างอุ่นใจมากขึ้น สาเหตุของอาการเสียวฟันมักเกิดจาก ฟันผุ ฟันแตกบิน่ วัสดุแตกบิน่ การเกิดรอยรั่วตามขอบวัสดุ ฟันร้าว (cracked tooth syndrome) การอักเสบของเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟัน หรือ ภาวะเนื้อฟันไวเกิน (dentine hypersensitivity) ในฐานะทันตแพทย์ สิ่งที่สำ�คัญที่สุด คือ จะต้องหาสาเหตุของอาการเสียวฟันให้ได้ก่อนว่าเกิดจากอะไร กันแน่ จะได้ให้การรักษาที่ถูกต้องและหายขาด ในกรณีของ dentine hypersensitivity นั้น ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ มากมายที่ช่วยกำ�จัดอาการเสียวฟันนี้ได้ ทั้งชนิดที่คนไข้นำ�กลับ ไปใช้เองที่บ้านหรือทันตแพทย์เป็นผู้ใช้ในคลินิก ในบทความนี้จะ เป็นการรวบรวมเฉพาะผลิตภัณฑ์ทใี่ ช้รกั ษาในคลินกิ โดยทันตแพทย์ (in-office) ซึง่ น่าจะช่วยให้ทกุ ท่านมีทางเลือกมากขึน้ ในการจัดการ

22 • THE DENTAL MAGAZINE

กลุ่มที่ 2 ผลิตภัณฑ์ที่ไปอุดปิด dentinal tubules

ในกลุ่มนี้อาจแบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ทำ�ให้เกิดการตก ตะกอนหรือการสะสมของแร่ธาตุ กับกลุม่ ทีเ่ ป็น resin หรือ cement คลุมปิด dentinal tubule

กลุ่มที่ทำ�ให้เกิดการตกตะกอนหรือการสะสมของแร่ธาตุ

Fluoride (sodium fluoride, stannous fluoride) สามารถช่วย ลดอาการเสียวฟันได้ จากการลด dentine permeability โดยการ ตกตะกอนของผลึก calcium fluoride บริเวณผิวฟันหรือภายใน dentinal tubule แต่ผลึกนี้ไม่ได้อยู่อย่างถาวร จะค่อยๆ ละลายไป ในนำ�ลาย ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Gel-Kam Dentin Block (Colgate Oral Pharmaceuticals) Oxalate (Oxalic acid) สามารถรักษาอาการเสียวฟันได้จากการลด dentine permeability เช่นกัน โดยทำ�ให้เกิดการสะสมของผลึก calcium oxalate อุดปิด dentinal tubule, แต่ผลึก calcium oxalate ที่สะสมบนพื้นผิวเนื้อ ฟัน อาจถูกกำ�จัดออกได้จากการแปรงฟัน และนอกจากการอุดปิด แล้ว บางผลิตภัณฑ์ยังมี potassium ions ช่วยลดการตอบสนอง ของเส้นประสาทได้อีกด้วย ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ BisBlock (Bisco, Inc.) D/Sense Crystal (Centrix) MS Coat (Sun Medical) Pain-Free (Parkell) Protect (Sunstar Butler) Super Seal (Phoenix Dental Inc.) VivaSens (Ivoclar Vivadent Inc.)

23


Combination of arginine and calcium carbonate เลียนแบบ วิธีการธรรมชาติที่ทำ�ให้เกิดชั้นของ salivary glycoprotein และ calcium phosphate ปกคลุม dentinal tubule แต่ผลิตภัณฑ์ ประเภทนี้ จ ะทำ � ให้ เ กิ ดชั้ น ที่ ป ระกอบด้ วย arginine, calcium, phosphate และ carbonate ช่วยลด dentine permeability ตัวอย่าง ของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่

Colgate Sensitive Pro-Relief Desensitizing Paste (Colgate-Palmolive) Calcium phosphate preparations เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริม การเกิด remineralization และป้องกันการเกิด demineralization จาก Casein phosphopeptide และ Amorphous calcium phosphate (CPP-ACP) ช่วยเพิม่ การสะสมแร่ธาตุบริเวณผิวเนือ้ ฟัน ลด dentine permeability ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดเป็นเพียงการรักษาที่ ปลายเหตุเท่านัน้ หากต้นเหตุของอาการเสียวฟันยังไม่ได้รบั การ แก้ไข การรักษาที่เราให้ไปก็จะล้มเหลวในที่สุด เช่น หากผู้ป่วย ยังคงแปรงฟันแรงและผิดวิธอี ยู่ วัสดุทเี่ คลือบหรือบูรณะฟัน จะ สึกอย่างรวดเร็วจนต้องทำ�การบูรณะใหม่ หรือเกิดการสึกของ เนือ้ ฟันมากขึน้ เรือ่ ยๆ จนอาการเสียวฟันกลับมา ซ้�ำ ร้ายกว่านัน้ อาจนำ�ไปสู่ปัญหาที่รุนแรงกว่าเดิมก็ได้

GC Tooth Mousse (GC) Calcium hydroxide นอกการการใช้ใส่ในคลองรากระหว่างรักษา รากฟันแล้ว ยังมีการนำ�มาใช้เพื่อรักษาอาการเสียวฟันด้วยเช่นกัน โดยการนำ�ผง calcium hydroxide ผสมนำ�กลั่นจนเป็น paste ทา บริเวณซีฟ่ นั ทีม่ อี าการ ทิง้ ไว้ประมาณ 5 นาที แล้วล้างออก ให้ผปู้ ว่ ย บ้วนนำ�ซำ�อีกครั้ง อาการเสียวฟันจะดีขึ้นจากการตกตะกอนและ การสะสมแร่ธาตุบริเวณผิวฟัน มีการลดลงของขนาดของ dentinal tubule, ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Calcium hydroxide powder, USP (Pulpdent) Fluoride varnish ใช้ทาบริเวณที่มี dentine exposure แต่วัสดุ ประเภทนี้ไม่สามารถยึดติดได้นาน จะมีการสูญเสียหลุดออกจาก ผิวฟันไปตามระยะเวลา ถึงแม้จะมีสารช่วยให้เกิดการยึดติดกับ ผิวฟัน การกำ�จัด smear layer ออกก่อน จะช่วยให้ varnish ยึดติด ได้ดีและนานขึ้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Duraphat (Colgate Oral Pharmaceuticals) Clinpro white varnish with TCP (3M ESPE) Glutaraldehyde ได้รับความนิยมมากพอสมควรในการใช้รักษา อาการเสี ย วฟั น กลไกของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ป ระเภทนี้ ม าจากผลของ glutaraldehyde ต่อ plasma protein ใน dentinal tubule fluid ทำ�ให้ albumin ตกตะกอนเป็นกลไกหลัก และมีการเสริมการอุดตัน จากกระบวนการ polymerization ของ HEMA ที่เป็นองค์ประกอบ ขึ้นจนเกิดการอุดปิด dentinal tubule ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ใน กลุ่มนี้ ได้แก่ 24 • THE DENTAL MAGAZINE

Fuji IX GP (GC) Ketac Fil Plus (3M ESPE) Fuji II LC (GC) Filtek Supreme (3M ESPE) Premisa (Kerr)

Aqua Prep F (Bisco, Inc.) HurriSeal (Beutlich LP, Pharmaceuticals) MicroPrime (Danville Materials) AcquaSeal G (AcquaMed Technologies) Dentin Desensitizer (Pulpdent Corporation) Gluma Desensitizer (Heraeus Kulzer) Systemp Desensitizer (Ivoclar Vivadent Inc.)

กลุ่มที่เป็น resin หรือ cement

Dentine adhesive มีหลายระบบ ทัง้ Total etch, Self etch, ResinGlass ionomer เป็นต้น ขึน้ กับความต้องการในการใช้ ตัวอย่างของ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Scotchbond Multi-Purpose (3M ESPE) SE Bond (Kuraray) Xeno III (Densply) Restorative materials เหมาะสำ�หรับรักษาอาการเสียวฟันที่เกิด จากการสูญเสีย tooth structure ค่อนข้างมาก วัสดุที่นิยมใช้ ได้แก่ Conventional glass ionomer cements, Resin-reinforced glass ionomer cements, Resin composites ทงั้ นี้ ไม่แนะนำ�ให้บรู ณะใน กรณีที่ไม่มีการสูญเสีย tooth structure หรือสูญเสียน้อย เนื่องจาก จะเสี่ยงต่อการเกิด overcontour นำ�ไปสู่ plaque-retentive site และเหงือกอักเสบตามมาได้ ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ในกลุม่ นี้ ได้แก่

ดังนั้นสิ่งสำ�คัญที่สุดอีกประการในการจัดการกับปัญหา เสียวฟัน (รวมถึงปัญหาสุขภาพช่องปากอื่นๆ) จึงเป็นการ สอนการดูแลอนามัยช่องปากอย่างถูกวิธีและเหมาะสม อาจจะยากและเหนื่อยกันสักหน่อย แต่เชื่อว่าความสุข ของทันตแพทย์คือการได้เห็นประชาชนปราศจากปัญหา สุ ข ภาพช่ อ งปากใช่ ไ หมครั บ เห็ น ไหมว่ า เสี ย วฟั น ... ทันตแพทย์ช่วยได้...สวัสดีปีใหม่ครับ References Markowitz K, Bilotto G, Kim S. Decreasing intradental nerve activity in the cat with potassium and divalent cations. Arch Oral Biol. 1991; 36: 1-7. Morris MF, Davis RD, Richardson BW. Clinical efficacy of two dentin desensitizing agents. Am J Dent. 1999; 12(2): 72-6. Orchardson R, Gillam GC. Managing dentin hypersensitivity. J Am Dent Assoc. 2006; 137: 990-8. Gillam DG, Mordan NJ, Sinodinou AD, Tang JY, Knowles JC, Gibson IR. The effects of oxalate-containing products on the exposed dentine surface: an SEM investigation. J Oral Rehabil. 2001; 28: 1037-44. Pereira JC, Segala AD, Gillam DG. Effect of desensitizing agents on the hydraulic conductance of human dentin subjected to different surface pre-treatments: an in vitro study. Dent Mater. 2005; 21(2): 129-38. Hongpakmanoon W, Vongsavan N, Soo-ampon M. Topical application of warm oxalate to exposed human dentine in vivo. J Dent Res. 1999; 78: 300. Imai Y, Akimoto T. A new method of treatment for dentin hypersensitivity by precipitation of calcium phosphate in situ. Dent Mat J. 1990; 9: 167-72. Gandolfi MG, Silvia F, H PD, Gasparotto G, Carlo P. Calcium silicate coating derived from Portland cement as treatment for hypersensitive dentine. J Dent. 2008; 36: 565-78. Green BL, Green ML, McFall WT. Calcium hydroxide and potassium nitrate as desensitizing agents for hypersensitive root surfaces. J Periodontol. 1977; 48: 667-72. Kono Y, Suzuki H, Hirayama S. The effect of calcium hydroxide on dentin hypersensitivity. Jap J Cons Dent. 1996; 39: 189-95. Hack GD, Thompson VP. Occlusion of dentinal tubules with cavity varnishes. Archs Oral Biol. 1994; 39: S149. Qin C, Xu J, Zhang Y. Spectroscopic investigation of the function of aqueous 2-hydroxyethylmethacrylate/ glutaraldehyde solution as a dentin desensitizer. Eur J Oral Sci. 2006; 114: 354-9.

25


• Dental Fluorosis

แนวทางการใช้

ฟลู อ อไรด์ ในประเทศไทย สรุปจากการประชุมวิชาการ เรื่อง รศ.ทพญ.ดร. ศิริรักษ์ นครชัย / รศ.ทพญ. ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล

การใช้ฟลูออไรด์ของทันตแพทย์ในปัจจุบนั จะมุง่ เน้นให้ความ สำ�คัญต่อผลเฉพาะที่ (topical effect) มากกว่าทางระบบ (systemic effect) ซึ่งกลไกหลักของฟลูออไรด์ในการช่วยป้องกัน โรคฟันผุ คือ การส่งเสริมให้มีการคืนกลับแร่ธาตุ (remineralization) และยับยั้งการสูญเสียแร่ธาตุ (demineralization) นอก จากนีฟ ้ ลูออไรด์ยงั ช่วยในการยับยัง้ เมตาบอลิสมของจุลนิ ทรีย์ อีกด้วย แต่ยังไม่มีผลการศึกษาที่ชัดเจนของกลไกนี้ในการลด การเกิดฟันผุ เมื่อมีการใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ จะมีการแพร่กระจายของฟลู ออไรด์ในช่องปากไปยังเนื้อเยื่ออ่อนต่างๆ และอีกส่วนหนึ่งจะแพร่ เข้าไปในนำ�ลาย หลังจากนัน้ จะเข้าไปใน Plaque fluid และ Plaque bacteria ซึง่ จะมีผลยับยัง้ เมตาบอลิสมของแบคทีเรีย และมีการแพร่ จาก Plaque ไปยังพื้นผิวเคลือบฟัน ( Enamel surface ) ซึ่งฟลูออ ไรด์ทบี่ ริเวณนีจ้ ะช่วยยับยัง้ การสูญเสียแร่ธาตุและส่งเสริมให้มกี าร คืนกลับแร่ธาตุ โดยฟลูออไรด์จะต้องอยู่ในรูปแบบของสารละลาย นอกจากนีย้ งั มีการศึกษาพบว่า หากใช้ฟลูออไรด์ทมี่ คี วามเข้ม ข้นสูงจะมี retention ในช่องปากมากกว่าการใช้ฟลูออไรด์ความเข้ม ข้นตำ�กว่า รวมทั้งการบ้วนนำ�น้อยก็จะเพิ่ม retention ไว้ได้มากขึ้น และยังพบอีกว่า หากได้รับฟลูออไรด์ความเข้มข้นไม่สูงมาก แต่ได้ บ่อยๆ (Low concentration high frequency) เช่น คนที่อาศัยอยู่ ในแหล่งนำ�ทีม่ รี ะดับฟลูออไรด์ทเี่ หมาะสม จะพบผิวฟันเป็นลักษณะ Complete remineralization ซึ่งพบได้ไม่บ่อย แต่เมื่อใช้ฟลูออไรด์ ความเข้มข้นสูงแต่ความถี่ในการใช้น้อย (High concentration low freuency) จะพบผิวฟันมีการ remineralization เฉพาะผิวชั้นบน เป็นลักษณะ Surface remineralzation ซึ่งพบได้บ่อย และหาก ใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ชนิดต่างๆ ที่มีความเข้มข้นของฟลูออไรด์สูง ( มากกว่า 100 ppm ) จะมีการสร้างเป็น CaF เก็บไว้บริเวณผิวฟัน เป็น Fluoride reservoir เมือ่ มีการสร้างกรดจน pH บริเวณดังกล่าว ลดตำ�ลง ก็จะมีการปลดปล่อยฟลูออไรด์ออกมาช่วยในการยับยั้ง กระบวนการเกิดฟันผุได้ 26 • THE DENTAL MAGAZINE

หลักฐานต่างๆทางวิชาการยอมรับว่าฟลูออไรด์สามารถช่วย ป้องกันฟันผุได้ แต่ปัญหาที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่กังวลจากการใช้ ฟลูออไรด์คือ ฟันตกกระ (Dental fluorosis) ซึ่งสาเหตุหลักของ ฟันตกกระคือ การบริโภคนำ�ทีม่ ฟี ลูออไรด์สงู การกลืนยาสีฟนั และ การรับประทานฟลูออไรด์เสริมมากเกินไป โดยสาเหตุหลักที่ทำ�ให้ เกิดฟันตกกระในระดับที่รุนแรงคือการบริโภคนำ�ที่มีฟลูออไรด์สูง ส่วนสาเหตุที่เหลือจะทำ�ให้เกิดฟันตกกระได้ในระดับที่ไม่รุนแรง โดยข้อมูลจากสำ�นักทันตสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2549-2550 พบ ฟันตกกระประมาณ 6% ของประเทศ ซึ่งมีนัยทางสาธารณสุขค่อน ข้างน้อย ดังนั้นจากแนวคิดดังกล่าวถึงประสิทธิภาพของฟลูออไรด์ ในการป้องกันโรคฟันผุ รวมทั้ง ปัญหาฟันตกกระในประเทศไทยที่ ไม่มากนัก และโรคฟันผุในประเทศไทยยังอยูใ่ นระดับสูง จึงมีความ พยายามสร้างแนวทางในการใช้ฟลูออไรด์เพื่อให้เป็นไปในทาง เดียวกัน ซึ่งทางฝ่ายวิชาการทันตแพทยสมาคมได้จัดทำ�แนวทาง การใช้ฟลูออไรด์ โดยสามารถติดตามดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของ ทันตแพทยสมาคม http://www.thaidental.net/ โดย การใช้ฟลูออไรด์จะใช้กบั ผูป้ ว่ ยตามความเสีย่ งในการเกิด โรคฟันผุ (caries risk) ของผูป้ ว่ ยโดยมีทงั้ การประเมินในระดับบุคคล และชุมชน โดยการประเมินระดับบุคคลนัน้ จะพิจารณาจาก 3 ส่วน ได้แก่ สภาวะสุขภาพ เช่น โรคประจำ�ตัวต่างๆ การตรวจช่องปาก เช่น การมีแผ่นคราบจุลินทรีย์ รอยโรค ฟันผุ รอยขุ่นขาว ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันฟันผุ ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบ เท่านั้นไม่นำ�มาประเมินความเสี่ยง โดยแบบประเมิ น ดั ง กล่ า วนั้ น มี ทั้ ง ส่ ว นที่ ใ ห้ บุ ค ลาการทาง สาธารณสุขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กุมารแพทย์ ช่วยในการประเมิน ได้สว่ นในการประเมินความเสีย่ งในการเกิดโรคฟันผุระดับชุมชนนัน้ จะดูจากค่า DMFT

ตาราง 1 รูปแบบของฟลูออไรด์ชนิดต่างๆ รูปแบบของFluoride

Self applied

Professional applied Individual Community

Fluoride toothpaste Fluoride mouthrinse Fluoride tablet Fluoride gel Fluoride varnish Water fluoridation Fluoridated milk

27


1.ยาสีฟันผสมฟลูออไรด (Fluoride toothpaste) แนะนําใหใชในทุกชวงอายุและทุกกลุมความเสี่ยง โดยใชตั้งแตฟนซี่แรก ขึ้น โดยประสิทธิภาพในการใชจะมีลักษณะ เปน dose dependent เชน เมื่อเพิ่มความเขมขนทุก 500 ppm จะชวยลดฟนผุเพิ่มขึ้น 6% แตจะคอนขางคงที่เมื่อถึง 1,500 ppm ยาสีฟนผสมฟลูออ ไรดในประเทศไทยที่ใชในเด็กสวนใหญมีปริมาณฟลูออไรด 500 ppm โดยลักษณะการใชดังตาราง 2

ตาราง 2 ข้อแนะนำ�ในการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ อายุ ปริมาณฟลูออไรด์ ฟันขึ้นถึง< 3 ปี 500 ppm 3-6 ปี 500-1000 ppm >6 1000 (+) ppm แนะนำ�ให้ใช้ฟลูออไรด์ตั้งแต่เด็กเล็ก (ฟันขึ้นจนถึงอายุ 3 ปี) เนือ่ งจากพบปัญหาฟันผุในเด็กเล็กค่อนข้างมาก แต่ตอ้ งใช้ในขนาด ที่แนะนำ�และวิธีที่เหมาะสมเนื่องจากมีปริมาณฟลูออไรด์ค่อนข้าง น้อยหากเด็กเผลอกลืนก็จะไม่เกิดอันตราย เด็กอายุ 5-6 ปี หากเด็กสามารถควบคุมการกลืนได้ดีแล้วก็ สามารถใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1000 ppm ได้ แต่ต้องใช้ปริมาณ ตามที่แนะนำ� ส่วนในเด็กที่อายุตำ�กว่า 3 ปี ผู้ปกครองควรแปรงฟัน ให้และเช็ดฟองออกด้วยผ้าชุบนำ�ต้มสุกสำ�หรับเด็กเล็กและผ้าชุบ นำ�ธรรมดาสำ�หรับเด็กโต เด็กอายุ 3-6 ปี ผู้ปกครองควรบีบยาสีฟัน ให้และให้เด็กแปรงเองแต่ต้องแปรงซำ� สำ�หรับเด็กโตอายุมากกว่า 6 ปี หากสามารถควบคุมมือได้ดี เช่น ผูกเชือกรองเท้าเป็นโบได้ก็ น่าจะสามารถแปรงฟันด้วยตนเองได้สะอาด และที่สำ�คัญคือให้ บ้วนนำ�น้อยโดยอาจบ้วนเพียงครั้งเดียว เพื่อให้ฟลูออไรด์คงอยู่ใน ช่องปากได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ปกครองควรติดตามพฤติกรรม การดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอย่างต่อเนือ่ ง เนือ่ งจากเมื่อโตขึน้ เด็กอาจให้ความสำ�คัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากลดลงได้ 2. นำ�ยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ (fluoride mouth rinse) แนะนำ�ให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงสูง ในเด็กอายุ มากกว่า 6 ปี ซึ่งควบคุมการกลืนได้ดีแล้ว โดยจะมี 2 ชนิดคือ Daily

ปริมาณยาสีฟัน แตะแปรงเป็นชั้นบางๆ (smear) ความยาว 5 มม. (pea size) ความยาว 1-2 ซม. (เต็มขนแปรง)

use; NaF 0.05% หาซื้อได้ทั่วไปและชนิด Weekly use; NaF 0.2% ซึ่งต้องมีใบสั่งจากทันตแพทย์และมักใช้ในโรงเรียน โดยผลในการ ลดการเกิดฟันผุของทั้งสองชนิดนั้นไม่ต่างกันมาก และควรเลือกใช้ ชนิดที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมเพื่อลดโอกาสการเกิดพิษ โดย ให้อม 5-10 มล. อย่างน้อย 1 นาที ไม่ควรดื่มนำ�หรือรับประทาน อาหารหลังใช้อย่างน้อย 30 นาที ควรแนะนำ�ให้ใช้ในช่วงเวลาที่ไม่ ต้องรับประทานอะไรเพื่อที่จะให้ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในช่อง ปากขึ้นถึงปริมาณสูงสุดซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาที 3. ฟลูออไรด์เสริม (fluoride supplement) แนะนำ�สำ�หรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคฟันผุสูง โดย ต้องพิจารณาจาก ปริมาณฟลูออไรด์ในนำ�ดื่มและอายุด้วย หาก ไม่ทราบอาจต้องส่งไปตรวจที่คณะทันตแพทยศาสตร์ ส่วนข้อมูล เกี่ยวกับระดับฟลูออไรด์ในนำ�สามารถหาได้จากเว็บไซต์ของกอง ทันตสาธารณสุขหรือของทันตแพทยสมาคม ในเขตกรุงเทพฯ มี ปริมาณฟลูออไรด์ในนำ �ประปาประมาณ 0.12±0.4 ppm และ องค์การอาหารและยา (อย.) มีข้อกำ�หนดให้นำ�ดื่มบรรจุขวดมีฟลู ออไรด์ได้ไม่เกิน 0.7 ppm ซึ่งมากกว่า Optimum fluoride level ของ ประเทศในแถบเอเชีย (0.5 ppm )

ตาราง 3 ข้อแนะนำ�ในการใช้ฟลูออไรด์เสริม อายุ

ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในนำ�ดื่ม (ppm) < 0.3 < 0.3-0.5 < ≥ 0.5 เมื่อฟันขึ้นถึง< 3 ปี 0.25 mg/วัน 0 0 3-6 ปี 0.5 mg/วัน 0.25 mg/วัน 0 > 6-16 ปี 1 mg/วัน 0.5 mg/วัน 0 28 • THE DENTAL MAGAZINE

จะเห็นว่าปริมาณฟลูออไรด์ที่กำ�หนดไว้นั้นจะแตกต่างกับทาง สมาคมทันตกรรมสำ�หรับเด็กแห่งอเมริกา ซึ่งแนวทางที่อธิบายนี้ จะอ้างอิงตาม Optimum fluoride level ของประเทศทางเอเชีย คือ 0.5 ppm หลักการใช้งานคือ ให้อมละลายในปากช้าๆ เพื่อให้สัมผัส ผิวฟันซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการเคี้ยว เนื่องจากจะมีนำ�ลาย หลั่งออกมามากและชะล้างฟลูออไรด์ออกไปรวมถึงทำ�ให้เด็กกลืน ลงไปด้วย โดยไม่ควรใช้พร้อมกับฟลูออไรด์ชนิดอื่นๆ ควรแบ่งการ ใช้เพื ่อให้ม ีระดับฟลูออไรด์ส ูงอยู ่สมำ�เสมอ ไม่ควรดื ่มนำ�หรือ รั บ ประทานอาหารหลั ง ใช้ ฟ ลู อ อไรด์ เ สริ ม อย่ า งน้ อ ย 30 นาที เนื่ อ งจากต้ อ งการให้ ลั ก ษณะการใช้ ฟ ลู อ อไรด์ เ ป็ น แบบ low concentration high frequency ดังที่กล่าวไปในตอนต้นแล้วและ สามารถพิจารณาแบ่ง dose (devided dose) เช่น หากต้องรับ ประทาน 1 mg/วัน ก็สามารถแบ่งรับประทานสองช่วงเวลาครั้งละ 0.5 mg โดยต้องคำ�นึงถึงความสะดวกและความร่วมมือขอทั้งเด็ก และ ผู้ปกครองร่วมด้วย 4. ฟลูออไรด์วานิช (fluoride varnish) และ ฟลูออไรด์เจล (fluoride gel) แนะนำ�ให้ใช้ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคฟันผุในระดับปาน กลางและสูง แต่ก็สามารถใช้ในกลุ่มเสี่ยงตำ�ได้ เช่น ในกรณีที่ เป็นการปรับพฤติกรรมและเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับการทำ�ฟัน โดยใน เด็กอายุตำ�กว่า 3 ปีแนะนำ�ให้ใช้ ฟลูออไรด์วานิช ส่วนในเด็กอายุ มากกว่า 3 ปี อาจใช้ฟลูออไรด์วานิชหรือฟลูออไรด์เจลก็ได้ ขึ้นอยู่ กับความร่วมมือของผู้ป่วย 4.1) ฟลูออไรด์วานิช ซึง่ มีหลายรูปแบบแต่ทนี่ ยิ มใช้กนั มากคือ 5% NaF (2.26% Fluride) 22.6 mg Fluride/ml ซึ่งมีความเข้มข้น ของ ฟลูออไรด์ค่อนข้างสูง แต่เวลาใช้ในผู้ป่วยจะใช้ปริมาณเพียง 0.3-0.5 ml (6.8-11.3 mg Fluride ) ซึ่งมีความเข้มข้นของฟลูออ ไรด์ค่อนข้างน้อย โดยก่อนทาต้องทำ�ความสะอาดฟันให้สะอาด ซึ่ง แนะนำ�ให้ใช้วิธีการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเพื่อเป็นการให้ทันต สุขศึกษาไปในตัว วานิชสามารถทาบริเวณด้านประชิดได้ดี โดยอาจ ใช้แปรงสีฟนั ขนนุม่ ขนาดเล็กแต้มวานิชและทาเข้าไปในบริเวณซอก ฟัน ซึง่ ก็มกี ารศึกษาพบว่าสามารถหยุดการลุกลามของรอยโรคฟันผุ ในบริเวณด้านประชิดได้ โดยหลังทาต้องให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหาร แข็งที่ต้องเคี้ยว 2-4 ชั่วโมง และควรงดแปรงฟันในคืนนั้นเพื่อให้ฟลู ออไรด์วานิชสัมผัสกับผิวฟันได้นานทีส่ ดุ ทัง้ นีอ้ าจอนุโลมได้แล้วแต่ กรณี โดยมีหลักฐานทางวิชาการว่าฟลูออไรด์วานิชสามารถลดการ ลุกลามของฟันผุได้ เนือ่ งจากมี contact time ค่อนข้างนานสามารถ ส่งเสริมให้การคืนกลับแร่ธาตุได้ดี

4.2) ฟลูออไรด์เจล (fluoride gel) รูปแบบที่ใช้ส่วนใหญ่คือ 1.23% APF (12.3 mg Fluride/ml) และ 2% NaF (9.04 mg Fluride/ml) โดยต้องทำ�ความสะอาดฟันก่อน และใช้เวลาเคลือบ 4 นาทีแม้ว่าผลิตภัณฑ์จะแนะนำ�ให้ใช้ 1 นาทีก็ตาม และสิ่งสำ�คัญ คือต้องป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลืนเข้าไป ซึ่งอาจป้องกันโดยจัดท่า นั่งให้เหมาะสม เลือกขนาดของถาดเคลือบให้พอดี และไม่ควรใช้ ปริมาณฟลูออไรด์เกิน 5 ml พยายามใช้ที่ดูดนำ�ลายตลอดเวลา และไม่ให้บ้วนนำ�หลังเคลือบจนกว่าจะครบ 30 นาที เพื่อให้มีการ uptake ของฟลูออไรด์ได้มากที่สุด 5. การเติมฟลูออไรด์ในน้ำ�ดื่ม (water fluoridation) ใน ประเทศไทยเคยใช้ในบางจังหวัด เช่น ฉะเชิงเทรา นครนายกและ ประจวบคีรีขันธ์ แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว อย่างไรก็ตามการเติม ฟลูออไรด์ในนำ�ดื่มนั้นก็มีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุได้ โดย เฉพาะในประเทศที่มีโรคฟันผุสูง จะเติมฟลูออไรด์ 0.5 ppm ซึ่งใน ต่างประเทศก็ได้มีการฟลูออไรด์ในรูปแบบนี้ เช่น ออสเตรเลีย หรือ นิวซีแลนด์ โดยพืน้ ทีจ่ ะทำ�การเติมนัน้ ควรมีความชุกของโรคฟันผุสงู และมีระบบประปาที่ดีได้มาตรฐาน 6. นมผสมฟลูออไรด์ (fluoridated milk) ซึ่งในประเทศไทย ก็ได้มีการใช้แล้ว โดยมีปริมาณฟลูออไรด์ในนม 2.5 ppm หาก ซักประวัติพบว่าเด็กได้รับนมผสมฟลูออไรด์แล้วก็ไม่จำ�เป็นต้องให้ ฟลูออไรด์เสริมอีก การใช้จะต้องมีข้อพิจารณาได้แก่ ความชุกของโรคฟันผุควรอยู่ในระดับปานกลาง-สูง ระดั บ ฟลู อ อไรด์ ใ นนำ � ดื่ ม และการใช้ ย าสี ฟั น ผสม ฟลูออไรด์ในนำ�ดื่มของเด็ก ต้องมีระบบการเฝ้าระวังการได้รับฟลูออไรด์ของเด็กโดย ต้องมีห้องปฏิบัติการในการตรวจเพื่อระวังการได้รับฟลูออไรด์เกิน และเพื่อกำ�กับความร่วมมือของเด็ก ต้องมีระบบการจัดส่งนมที่สมำ�เสมอและรักษาคุณภาพ ของนมได้ดี ในการป้องกันฟันผุนั้นสิ่งสำ�คัญควรคำ�นึงถึงความเสี่ยงใน การเกิดโรคฟันผุเป็นสำ�คัญ (caries risk) เพื่อให้การป้องกันนั้น คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ และควรเน้นให้คำ�แนะนำ�ในการดูแล สุขภาพช่องปากด้วยตนเองที่บ้านให้มีประสิทธิภาพ เมื่อให้ฟลู ออไรด์เสริมในรูปแบบต่างๆ แล้ว หากผู้ป่วยเปลี่ยนหรือลดระดับ ความเสี่ยงลงก็อาจลดการใช้ฟลูออไรด์ลงได้ตามความเหมาะสม ซึ่งทางฝ่ายวิชาการทันตแพทยสมาคมได้จัดทำ�แนวทางการใช้ฟลู ออไรด์ เพื่อให้ทันตแพทย์ในประเทศไทยได้มีแนวทางการใช้ไปใน ทางเดียวกัน โดยทั้งนี้ท่านสามารถติดตามดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่ม เติมได้จากเว็บไซต์ของทันตแพทยสมาคม

29


• กองทุนทันตกรรม

กองทุนทันตกรรม

ทำ�อะไร.. เพื่อใคร...อย่างไร ? เรื่อง หมอเอก

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการจัดระบบหลักประกันสุขภาพที่ดี ประชาชนเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย กลุ่ม ข้าราชการสามารถรับบริการตรวจรักษาได้จากโรงพยาบาลของรัฐ (หรือเอกชนบางกรณี) โดยไม่เสียค่าใช้จา่ ย ซึ่งครอบคลุมถึงบิดา มารดา ภรรยาและบุตร จากโครงการสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กลุ่มลูกจ้าง ภาคเอกชน ก็สามารถรับการตรวจรักษาได้จากโรงพยาบาลหรือคลินิกในกองทุนประกันสังคม ส่วนที่นอก เหนือจาก 2 กลุ่มข้างต้นก็ได้รับบริการตรวจรักษาทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลภาครัฐ และเอกชนที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า .....บริการทันตกรรมก็รวมอยู่ในนั้นด้วย ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ UC (Universal Coverage) เริ่มต้นอย่างเป็นทางการนับแต่สภาได้ ผ่านร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปี 2545 ตามมาด้วยการก่อตั้งสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (สปสช.) เพื่อทำ�หน้าที่จัดสรรงบประมาณให้กับโรงพยาบาล ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ คือ งบประมาณ สำ�หรับผู้ป่วยนอก งบประมาณสำ�หรับผู้ป่วยในและงบการส่งเสริมป้องกันโรค โดยระยะแรกใช้วิธีการจัดสรรให้โรง พยาบาลแบบ “เหมาจ่ายรายหัว” เช่น โรงพยาบาลวังชิ้น ดูแลประชาชนที่มีสิทธิ UC จำ�นวน 48,000 คน งบประมาณ ในการดูแลผูป้ ว่ ยนอกอยูท่ ี่ 600 บาทต่อคน ดังนัน้ โรงพยาบาลวังชิน้ จะได้รบั งบประมาณเพือ่ ไปดูแลประชาชนทีม่ ารับ บริการเป็นผู้ป่วยนอกจำ�นวน 600 X 48,000 เท่ากับ 28.8 ล้านบาท เป็นต้น แน่นอนว่างบประมาณ 28.8 ล้านบาทดังกล่าวนั้น รวมการจัดบริการทันตกรรม เป็นงบประมาณสำ�หรับการจัด ซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ทันตกรรม หรือแม้แต่ค่ายา วัสดุทางการแพทย์ในการรักษาโรคทั่วไปก็รวมอยู่ในงบนี้ ซึ่งบริหารโดย ผู้อำ�นวยการหรือคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล ถ้าหมอฟันอยากจะทำ�โครงการส่งเสริมป้องกันด้านทันตกรรมซึง่ ใช้งบประมาณทีส่ ปสช.จัดสรรให้โรงพยาบาลใน หมวดการส่งเสริมป้องกัน จะต้องทำ�โครงการและเสนอขอความเห็นชอบพร้อมกับโครงการจากฝ่ายอื่นๆ ซึ่งก็ไม่ง่าย เหมือนกันนะครับ กว่าจะได้งบประมาณมาทำ�งานสักก้อน การให้บริการทันตกรรมในทุกวันนี้แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นการให้บริการทันตกรรมที่มีเหตุ มาจากอุบัติเหตุ เช่นขากรรไกรหัก ฟันแตก ฟันหลุด ฯลฯ กลุม่ สองเป็นการแก้ไขความผิดปกติ เช่น จัดฟัน เนือ่ งจากฟันห่าง ยืน่ ยุบ ฯลฯ และกลุม่ ทีส่ ามเป็นการ ให้บริการเพือ่ แก้ไขผลตามของโรคทีเ่ ป็นสาเหตุ เช่น เนื้องอก ถุงน้ำ� โรคเหงือกอักเสบ โรคฟันผุ ฯลฯ ซึ่ง กลุม่ สุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิง่ การรักษาโรคเหงือก อักเสบและโรคฟันผุ ทำ�ให้ทันตแพทย์มีงานล้นมือ มาจนถึงทุกวันนี้ คำ�ถามที่ท้าทายคือ หากสามารถจัดสรรงบ 30 • THE DENTAL MAGAZINE

ประมาณแยกออกให้ชัดเจนและระบุว่าเป็นงบประมาณสำ�หรับการให้บริการและส่งเสริมป้องกันด้านทันต สุขภาพโดยเฉพาะ จะทำ�ให้การแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของประเทศไทยชัดเจน ตรงจุดและคล่องตัวมากยิ่ง ขึ้นหรือไม่ ? อาจจะ ”ไม่” หรืออาจจะ “ใช่” คำ�ตอบมิได้อยู่ในสายลม แต่ต้องแสวงหาร่วมกัน ปีงบประมาณ 2554 สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดตั้ง “กองทุนทันตกรรม” เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการเข้าถึงบริการทันตกรรม และสามารถควบคุมสถานการณ์การเกิดโรคในช่องปากในระยะยาว กลุ่มเป้าหมายหลักได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียนโดยเน้นเด็กชั้น ป.1 จัดบริการทันตกรรม ผสมผสานอย่างสมบูรณ์ ส่วนเด็กชั้นอื่นให้บริการตามความจำ�เป็น และผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) โดยทำ�งาน ประสานกันระหว่างหน่วยบริการประจำ�(CUP) สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติสาขาเขตพื้นที่ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายจากคณะกรรมการพัฒนาและกำ�กับทิศทางการบริหารกองทุน ทันตกรรมของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จุดเด่นของกองทุนคือ การบริหารงบประมาณที่มุ่งเน้นการจัดบริการทันตกรรมเป็นการเฉพาะ ภายใต้ การดำ�เนินงานของคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปากระดับจังหวัด คณะกรรมการประสาน งานสาธารณสุขระดับอำ�เภอ ที่ประกอบด้วยทันตบุคลากร ผู้แทนท้องถิ่นและภาคประชาสังคม จังหวัดและ โรงพยาบาลสามารถจัดทำ�โครงการเพื่อแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่ รวมทั้ง สามารถกำ�หนดเงื่อนไขที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวใจหลักของการดูแลสุขภาพช่องปากไม่ได้อยู่ที่ทันตบุคลากร หากแต่อยู่ที่ประชาชน ดังนั้นจุดเน้นใน ปี 2554 จึงอยู่ที่การสร้างความตระหนัก การรับรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งหากกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กเล็กก็จะเน้น ไปยังผู้ปกครองให้ความสนใจในเรื่องการแปรงฟัน การจัดอาหาร เน้นให้ชุมชนสนใจในเรื่องการจัด สภาพ แวดล้อม การออกนโยบายสาธารณะ ที่เอื้อต่อทันตสุขขภาพ ฯลฯ ความสำ�เร็จหรือความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ภายใต้การผสมผสานกันระหว่างคณะกรรมการ พัฒนาระบบบริการทันตกรรมระดับต่างๆ ภายใต้กองทุนทันตกรรม ซึ่งประกอบด้วยทันตแพทย์หรือทันต บุคลากรเป็นส่วนใหญ่ทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยในปีแรกของการดำ�เนินการได้ให้ความสำ�คัญต่อการ ทำ�ความเข้าใจกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การทดสอบระบบ การหาจุดสมดุลของการดำ�เนินการ เพื่อปรับระบบให้ ลงตัวและเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ทั้งหมดอยู่ในมือของพวกเราแล้วครับ…

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ :http://www.nhso.go.th

31


60

• ทันตแพทย์ทหารบก

ปี....

เกี ย รติ ภ ม ู ท ิ น ั ตแพทย์ ก องทั พ บก 60 ปี บนเส้นทางแห่งเกียรติภูมิ... ทันตแพทย์ทหารบก

ประวั ติ วิ ช าชี พ ทั น ตแพทย์ ใ นประเทศไทยมี ผู้ บั น ทึ ก ไว้ น้อยมากในช่วงปีพ.ศ. 2380 - 2466 ก่อนมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัตกิ ารแพทย์ พ.ศ. 2466 การประกอบอาชีพทาง ทันตกรรม มีทั้งช่างทำ�ฟันและผู้ให้การบำ�บัดรักษาโรคฟันซึ่ง มีทงั้ ชาวต่างชาติทเี่ ข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย และ หมอพื้นบ้านที่รักษาตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะความรู้ใน ด้านการรักษาและงานช่างฟัน ถ่ายทอดต่อกันมาโดยไม่มี การศึกษาอบรมที่เป็นระบบ ปี พ.ศ. 2460 ประเทศไทยได้สง่ ทหารไปช่วยรบในสงครามโลก ครั้งที่ 1 ในทวีปยุโรป ก่อนเดินทางกลับประเทศไทยในปีพ.ศ. 2461 นายทหารเสนารักษ์ของไทยได้เข้ารับการอบรมดูงานด้าน ทันตกรรม และได้นำ�ความรู้ที่ได้รับมาสอนแก่พยาบาล เพื่อช่วย ดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต่อมาใน พ.ศ. 2472 มีการจัดตัง้ โรงเรียนทันตแพทย์ทหารบก ขึ้นในโรงเรียนการแพทย์ทหารบก เพื่อผลิตบุคลากรทันตแพทย์ สำ�หรับการทหาร ซึ่งผลิตได้เพียงรุ่นเดียว ประมาณ 10 คน ก็ล้ม เลิกไป หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 ผลของสงคราม เป็นเหตุให้มีการปรับปรุงกองทัพบกเป็นอย่างมาก สายการแพทย์ ก็ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยพระศัลยเวทยวิศิษฐ (สาย คชเสนี) นายแพทย์ใหญ่ทหารบกขณะนั้นเห็นว่า การรักษา พยาบาล เป็นหัวใจของการแพทย์ทหาร จงึ ได้เจรจาขอนายแพทย์ ทีม่ ชี อื่ เสียงจากโรงพยาบาลศิรริ าช ให้โอนมารับราชการในกองทัพ บก 3 นาย หนึ่งในจำ�นวนนั้นคือ หลวงวาจวิทยาวัฑฒน์ ผู้เป็นทั้ง อายุรแพทย์และทันตแพทย์ ต่อมาท่านได้รับยศเป็นพันเอก ดำ�รง ตำ�แหน่ง ผู้บัญชาการกองเสนารักษ์ มณฑลทหารบก ที่ 1 (เทียบ เท่า ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในเวลาต่อมา) ท่าน เคยขอจัดตั้ง คณะทันตแพทย์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้ง รับราชการใหม่ๆ พ.ศ. 2471 แต่ไม่ประสบผลสำ�เร็จ 32 • THE DENTAL MAGAZINE

ต่อมา เริ่มมีทันตแพทย์ที่สำ�เร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เข้ามารับราชการ ในปีพ.ศ. 2476 นายแพทย์สี สิริสิงห์ จบวิชา ทันตแพทย์จากสหรัฐอเมริกา เข้ารับราชการตำ�แหน่งทันตแพทย์ ใน พ.ศ.2479 และ ร.อ.ภักดี ศรลัมภ์ จบทันตแพทย์จากประเทศ ฟิลิปปินส์ เข้ามารับราชการ ส่งผลให้งานทันตกรรมของทหาร เจริญขึ้น

พันเอกหลวงวาจวิทยาวัฑฒน์ พ.ท. สี สิริสิงห์ พ.ศ.2481 กองทัพบกได้รับอนุมัติให้สร้างตึกทันตกรรมขึ้น ในกอง เสนารักษ์ มณฑลทหารบกที่ 1 ด้วยเงินพระราชทานของพระองค์ เจ้าจุลจักรพงษ์ จำ�นวน 7,000 บาท นับเป็นตึกทันตกรรมหลังแรก ปรากฏว่าราษฎรมีจิตศรัทธาได้ร่วมกันบริจาคเงินซื้อเครื่องมือ ทันตกรรมให้อีกจำ�นวนหนึ่ง พันเอกหลวงวาจวิทยาวัฑฒน์ ได้เสนอโครงการตั้งโรงเรียน ทันตแพทย์ขนึ้ ในกรมแพทย์ทหารบก และได้รบั อนุมตั ใิ ห้ด�ำ เนินการ ได้ เพือ่ ทีจ่ ะได้มแี พทย์เฉพาะทาง เช่นเดียวกับต่างประเทศ และได้ เดินทางไปศึกษาดูงาน การจัดตัง้ โรงเรียนทันตแพทย์ในต่างประเทศ

ตึกทันตกรรมหลังแรก ต่ อ มา จอมพล ป. พิ บู ล สงคราม อธิ ก ารบดี จุ ฬ าลงกรณ มหาวิทยาลัย ได้เปลี่ยนแผนให้ตั้งแผนกทันตแพทยศาสตร์ขึ้นใน จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยแทน เมื่อวันที่16 ม.ค. 2483 และแต่ง ตัง้ พ.อ.หลวงวาจวิทยาวัฑฒน์ เป็นคณบดีแผนกทันตแพทย์ศาสตร์ คนแรก นับได้วา่ วิชาการทันตแพทย์เกิดขึน้ ในประเทศไทยด้วยฝีมอื ของทหารอย่างแท้จริง กองเสนารักษ์ มณฑลทหารบกที่ 1 ยังคงพัฒนางานด้าน ทันตกรรมต่อไป จนสามารถเป็นที่ฝึกงาน ของนิสิตทันตแพทย์ได้ ในวันที่ 15 พ.ค. 2485 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2488) กองเสนารักษ์ เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลทหารบก เพื่อเป็นศูนย์กลางในการ รักษาทหารและพลเรือน รวมทั้งมีแผนกทันตกรรมเกิดขึ้นด้วย โดย มี พ.ต. ภักดี ศรลัมภ์ เป็นหัวหน้าแผนก และ เมือ่ 25 พ.ย.2495 ได้เปลีย่ นชือ่ เป็นโรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า พ.ศ. 2489 ได้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง กิ จ การ แพทย์ของกองทัพบก โดยกิจการทันตกรรมได้ ตั้งแผนกทันตนามัยขึ้นในกรมแพทย์ทหารบก มีหน้าที่ 1. เสนอแนะการป้องกันโรค และบำ�บัด โรคฟันทหารและครอบครัว 2. ควบคุมดูแลกิจการด้านทันตแพทย์ทั่ว กองทัพบก 3. จัด หน่ว ยทัน ตกรรมเคลื่อ นที่เ พื่อ ให้ บริการทันตกรรม ทั้งด้านป้องกันและรักษาแก่ ทหารตาม กรม กอง ต่าง ๆ พ.ศ.2494 มี ก ารแบ่ ง ส่ ว นราชการกรม แพทย์ทหารบก โดยขยายแผนกทันตนามัยเป็น กองทันตแพทย์ กรมแพทย์ทหารบก ซึ่งมีหน้า

ที่ ห ลั ก เป็ น หั ว หน้ า สายวิ ท ยาการ ทั น ตกรรมของกรมแพทย์ ท หารบก ขึ้ น ตรงต่ อ เจ้ า กรมแพทย์ ท หารบก ให้ ข้ อเสนอแนะกำ � กั บ ดู แ ลรายงาน ผลงานด้านทันตกรรมทั่วกองทัพบก ปัจจุบันมีทันตแพทย์รับราชการใน สังกัดกรมแพทย์ทหารบกกระจายอยู่ ทัว่ ประเทศ ในโรงพยาบาลกองทัพบก 37 แห่ง หน่วยตรวจโรค และหน่วย กำ�ลังรบบางแห่งประมาณ 140 นาย ก อ ง ทั น ต ก ร ร ม โ ร ง พ ย า บ า ล พระมงกุ ฎ เกล้ า เป็ น หน่ ว ยงานให้ บริ ก ารทางทั น ตกรรมที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ของกองทั พ บก มี ยู นิ ต ทั น ตกรรม จำ�นวน 56 ยูนิต ให้บริการทางทันตกรรมระดับตติยภูมิ แก่ทหาร และครอบครัว ข้าราชการและประชาชนทั่วไป โดยมีทันตแพทย์ เฉพาะทางทุกสาขาซึง่ สามารถให้การรักษาทีซ่ บั ซ้อน อาทิเช่น การ ผ่าตัดขากรรไกร (Orthognactic Surgery) การทำ�รากฟันเทียม (Implant) การทำ�ฟันภายใต้การดมยาสลบในผูป้ ว่ ยเด็กพิเศษ การ รักษาคลองรากฟันภายใต้กล้องจุลทรรศน์ นอกเหนือจากการให้ บริการทางทันตกรรมระดับปฐมภูมิทั่วไป ปั จ จุ บั น กองทั น ตกรรม โรงพยาบาลพระมงกุ ฎ เกล้ า เป็ น สถาบันหลักของศูนย์การศึกษาต่อเนือ่ งของทันตแพทยสภา มกี าร จัดการเรียนการสอนฝึกปฏิบตั งิ านแก่นสิ ติ นักศึกษาทันตแพทย์ ทัง้ ระดับก่อนและหลังปริญญา ตลอดจนเป็นสถานปฏิบัติงานให้แก่ ทันตแพทย์หลักสูตรวุฒิบัตรหลายสาขา นอกจากนี้ในบทบาท ทันตแพทย์ทหารได้มกี ารปฏิบตั กิ ารตามนโยบายของกองทัพ ตาม

33


รายละเอียดทีจ่ ะกล่าวต่อไป เช่น การออกหน่วยชุมชนบ้านครัวของ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อการเข้าถึงและสร้างความเข้าใจ กับพี่น้องประชาชนตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน บทบาทของทันตแพทย์ทหารบก นอกจากในการดูแลสุขภาพ ช่องปากในหน่วยแล้ว ยังมีภารกิจยามสถานการณ์ที่ไม่ปกติหรือ เกิดภาวะสงคราม ทันตแพทย์ทหารมีบทบาทหน้าที่เช่นเดียว กับแพทย์ทหารในกองทัพ คือ มีภารกิจในการให้การดูแลรักษา ปัญหาสุขภาพช่องปากให้แก่ก�ำ ลังพล โดยทันตแพทย์และนายสิบ ทันตกรรมออกปฏิบัติงานด้วยกัน เพื่อลดจำ�นวนการส่งทหารกลับ มาสู่แนวหลัง ปั จ จุ บั น รู ป แบบการต่ อ สู้ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงไปพอสมควร เช่นกรณีสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็น “สงคราม มวลชน” เป้าหมายสำ�คัญของรัฐบาลและกองทัพ คือ การสร้าง ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เรือ่ งของบริการแพทย์ของทหารจึงเป็นภารกิจทีท่ หารจะได้ให้ความ ช่วยเหลือประชาชน โดยกรมแพทย์ทหารบกได้มสี ว่ นในการจัดชุด แพทย์เคลือ่ นทีอ่ อกให้บริการแก่ประชาชนตัง้ แต่ปี พ.ศ.2548 ออก ปฏิบัติงานในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งประชาชนไม่สะดวกในการเดินทาง ไปรับบริการจากสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลในพื้นที่ นอกจาก นี้ ยังพบว่าสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาสำ�คัญของพี่น้อง ในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ดังนั้น ทันตแพทย์ทหารจึงมีบทบาทที่ดีตลอด 4 ปี ที่ผ่านมา 34 • THE DENTAL MAGAZINE

ปี พ.ศ.2552 มีแนวคิดในการให้บริการ การทำ�ฟันปลอม หรือฟันเทียมให้แก่บรรดาผูน้ �ำ ท้องถิ่น ผู้นำ�ศาสนา ประชาชน โดยใน พ.ศ. 2553-2554 จะมีการขยายจุดบริการทำ�ฟัน เทียมให้ครอบคลุมจังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส บางพื้นที่ที่ยังขาดความพร้อมเรื่อง สถานที่ปฏิบัติงานและอุปกรณ์เครื่องมือทันต กรรม จึงได้มกี ารส่งรถทันตกรรมเคลือ่ นทีล่ งไป ปฏิบัติงานทางทันตกรรมแทนก่อน นอกจากนี้ ยังมีปฏิบัติการทางทหารระดับ ประเทศทีท่ นั ตแพทย์ทหารมีสว่ นร่วม ได้แก่ การ เข้าร่วมปฏิบตั งิ านของทันตแพทย์กองทัพบกใน กองกำ�ลังรักษาสันติภาพ ไทย/ติมอร์ตะวันออก ในภารกิจ United Nations Mission of Support in East Timor หรือ UNMISET ระหว่าง พ.ศ. 2543-2547

นอกจากปฏิบตั กิ ารทีต่ มิ อร์แล้ว ปจั จุบนั ยังมีการจัดชุดแพทย์ เข้าร่วมในกองกำ�ลังรักษาสันติภาพไทย/ดาร์ฟู ประเทศซูดาน โดยมี ทันตแพทย์และนายสิบทันตกรรมเข้าร่วมปฏิบัติงานด้วย ในปี พ.ศ.2554 นี้ ถือเป็นปีแห่งการครบรอบ 60 ปีของกอง ทั น ตแพทย์ กรมแพทย์ ท หารบก ซึ่ ง ยั ง คงปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ด้ า น ทันตกรรม ทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากกองทัพบกและกรมแพทย์ทหารบก ทัง้ ในด้านอำ�นวยการ ได้แก่ การวางแผน กำ�กับดูแลกำ�ลังพลและสิง่ อุปกรณ์ทางทันตกรรม สนับสนุนหน่วยงานทันตกรรมในกองทัพบก ด้านวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาการฝึกอบรม การ จัดทำ�คุณลักษณะสิ่งอุปกรณ์ และการวิจัยทางทันตกรรม และด้าน บริการ ได้แก่ การรักษาทางทันตกรรมและส่งเสริมทันตสุขภาพแก่ กำ�ลังพลของกองทัพ และยังคงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการปฏิบัติ งานในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายดังที่ปรากฏในวิสัย ทัศน์กองทันตแพทย์ กรมแพทย์ทหารบก ที่ว่า “มุ่งสู่การเป็นหน่วยงานด้านทันตกรรมชั้นนำ�ของกองทัพ ทีเ่ ชีย่ วชาญทัง้ ในงานอำ�นวยการ วิชาการ และบริการ โดยเน้น การพัฒนาคุณภาพเป็นสำ�คัญ”

35


งานประชุมวิชาการ “บรรยากาศงานประชุมวิชาการทันตเเพทยสมาคม ณ โรงเเรม เซ็นทาราเเกรนด์ เเอท เซ็นทรัลเวิลด์” วันที่ 15-17 ธันวาคม ที่ผ่านมา”

36 • THE DENTAL MAGAZINE

37


• Dental A way ฤดูกาลแห่งซากุระหรือเทศกาล Hanami (อย่าเข้าใจผิด .. ไม่ใช่เทศกาลข้าวเกรียบรวยเพื่อน) หรือ Cherry Blossom ที่เคย นำ�เสนอไปแล้ว โอกาสนี้ ขอเปลี่ยนบรรยากาศไปชมฤดูใบไม้ร่วง ทำ�สถิติเที่ยวซากุระและใบไม้แดงในปีเดียวกัน การเที่ยวประเทศ ญี่ปุ่นจะสมบรูณ์ไม่ได้เลยหากขาดการเที่ยวอันใดอันหนึ่งไป ฤดู ใบไม้เปลี่ยนสี Autumn color หรือ Fall season ในภาษาญี่ปุ่น คือฤดู Koyo ช่วงนีง้ ามนัก จนบางท่านบอกว่าชอบฤดูนมี้ ากกว่าช่วง ฤดูซากุระเสียอีก คงเป็นเพราะสีสันสดใสหลายเฉดสี ที่สร้างความ งดงามได้อย่างวิเศษ ดงั นัน้ ฉบับนีจ้ งึ ขออาสาพาไปชมฤดูกาลแห่ง ใบไม้เปลี่ยนสี จุดหมายคือ เกียวโต เหตุที่เลือกเมืองหลวงเก่าเกียวโต และ ยกให้เป็นทีส่ ดุ ของ มหานคร.......เมืองแห่งใบไม้แดง โดยไม่ลงั เล ไร้ คู่แข่ง ลองติดตามอ่านและชมภาพสวยๆ แล้วท่านจะเห็นด้วยกับ คำ�กล่าวข้างต้น ( ถ้าไม่เห็นด้วย ก็คงต้องใช้คำ�พูดที่มักใช้ประกาศ ในงานต่างๆ ทีว่ า่ ขาดตกบกพร่องเจ้าภาพขอน้อมรับไว้ทกุ ประการ) เกียวโต (Kyoto) เดิมชื่อ Heian –kyo หมายถึงนครแห่ง สันติภาพและความสงบ สร้างโดยนำ�แบบอย่างจากมหานครฉาง อัน (Chang-an ) ซึง่ เป็นเมืองหลวงเก่าของราชวงศ์ถงั (ปัจจุบนั คือ เมือง ซีอัน ประเทศจีน ) อีกทั้งยังยืมชื่อมาใส่และยังมีความหมาย เดียวกัน ผังเมืองเกียวโตเป็นรูปสี่เหลี่ยมตัดกันเป็นตารางซึ่งล้วน นำ�แบบอย่างจากนครฉางอัน ในอดีตยุคโชกุนเรืองอำ�นาจมีสาม เมืองใหญ่ได้แก่คะมะคุระโชกุนแห่งเมืองคะมะคุระ โทกุกะวะโชกุน แห่งเมืองเอโดะ(เมืองโตเกียวในปัจจุบัน) และมุโรมะฉิโชกุนแห่ง เมืองเกียวโต มีบันทึกไว้ว่าในตอนนั้น เมืองเกียวโตถูกกำ�หนดให้

202 Places To See Before You’re Tired ……..

มหานคร แห่งใบไม้เปลี่ยนสี เรื่อง ทพ. ชวลิต กาญจนโอภาสวศ์

ฤดู ก าลที่ ห มุ น เวี ย นผลั ด เปลี่ ย นกั น แต่ ง แต้ ม สี สั น ธรรมชาติ ร อบตั ว ยังทำ�ให้เราตระหนักถึงความไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นสภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อม และที่สุดคือตัวเรา ซึ่งเปลี่ยนแปลงทั้งสังขารและจิตใจ อยู่ตลอดเวลา เริ่มแรก....แค่จะตั้งชื่อเรื่อง ก็ต้องคิดหนักว่าจะเลือกชื่อไหนดี ...ใบไม้ แดง ใบไม้เหลือง ใบไม้เหลืองแดง แดงเหลือง จนมาจบที่ ใบไม้เปลี่ยนสี (เพราะกลัวว่าจะเชียร์ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง) อันที่จริง ทั้งสีเหลืองสีแดง (ใบไม้ นะครับ ไม่ใช่คน) ล้วนอยู่ร่วมกันอย่างสงบงดงามในธรรมชาติ เมื่อย่างเข้า คิมหันตฤดู...ได้เวลาใบไม้เปลีย่ นสี แสงแดดและนำ�ฝนทีน่ อ้ ยลง ท�ำ ให้ตน้ ไม้ ต่างเตรียมเข้าสู่ฤดูหนาว จากใบไม้สีเขียวจะกลายเป็นสีเหลือง จากเหลือง กลายเป็นสีส้ม และเปลี่ยนเป็นสีแดง ต้นไม้ต้นหนึ่งมีทั้งสีเหลือง ส้มและแดง 46 • THE DENTAL MAGAZINE

เป็นจุดทิ้งระเบิดปรมาณูในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แต่สุดท้าย ก็รอดไปด้วยเหตุผลว่า ประชากรอยู่กันอย่างกระจัดกระจายทำ�ให้ กำ�หนดเป้าหมายยาก ทำ�ให้ทุกวันนี้ เรายังได้เห็นภาพเมืองหลวง เก่าที่เปี่ยมด้วยอารยธรรมและบ้านเรือนแบบโบราณ มีค�ำ กล่าวว่า “ความงามของกรุงเกียวโตไม่จ�ำ เป็นต้องเสแสร้ง เแต่งแต้มจนเกินงาม ผู้คนที่มาเยือนจะพบเสน่ห์เรียบๆ ง่ายๆ ของ เมืองนีไ้ ด้อย่างไม่ยากเย็น โดยต้องให้เวลา คอ่ ยๆ ซึมซับความรูส้ กึ จึงจะเข้าถึงจิตวิญญาณแห่งเกียวโตได้ ” โดยต้องใช้โสตประสาททัง้ ห้า หู ตา จมูก ลิ้นและใจไปสัมผัส หู...ฟังดนตรีเสียงขับขานจาก อดีต ตา...บันทึกภาพอารยธรรมจากอดีต จมูกและลิ้น.....สัมผัส ลิม้ รสอาหารแห่งเมืองหลวงเก่าทีม่ ตี �ำ นานไม่เป็นสองรองใคร การ เดินเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการชมเมือง หากไปกับทัวร์ ส่วนใหญ่จะให้ เวลาแค่ครึง่ วัน ชมวัดทอง วัดน้�ำ ใส ซงึ่ ไม่นา่ จะเพียงพอทีจ่ ะสัมผัส ความเป็นเกียวโตได้ ผู้เขียนมีโอกาสมาเกียวโตแล้ว 4 ครั้ง อยู่ครั้ง ละประมาณ 3-4 คืน ยังรู้สึกว่าเที่ยวไม่ครบ เพราะมีหลากหลายวัด สถานที่ ร้านอาหาร ร้านค้าที่ตั้งใจจะไปแล้ว ยังไม่ได้ไป สรุปว่า... ครั้งเดียวไม่พอสำ�หรับการเยือนเกียวโต 200 กว่าวัดและศาลเจ้าทีต่ งั้ อยูใ่ นเมืองเกียวโต 3 พระราชวัง ที่มีสวนอันสวยงามติดอันดับโลก อีกทั้งพิพิธภัณฑ์ หมู่บ้านแหล่ง อารยธรรมอื่นๆ อาจต้องใช้เวลาแรมเดือนแรมปี จึงจะเข้าถึงจิต วิญญาณแห่งเมืองเกียวโต ข้อดีของเมืองเกียวโตคือ เหมาะจะเป็น จุดแวะพักในการไปเยือนเมืองอื่นๆ เช่น โอซากา นารา โกเบและ วาคายามา มีข้อด้อยเพียงประการเดียว คือ ที่พักแพงกว่าเมืองโอ ซากาที่อยู่ใกล้ๆ กัน

47


ปีค.ศ. 1994 UNESCO ประกาศให้เมือง เก่าเกียวโตเป็นเมืองมรดกโลก อันประกอบ ด้วย Kyoto Buddhist temples 13 แห่ง (Byodo-in, Daigo-ji, Enryaku-ji, Ginkaku-ji, Kinkaku-ji, Kozan-ji, Ninna-ji, Nishi-Hongan-ji, Ryoan-ji, Saiho-ji, Tenryu-ji, To-ji, Kiyomizu-dera Shinto shrines 3 แห่ง (Kamigamo jinja, Shimogamo-jinja, Ujigamo-jinja) Castle 1 แห่ง (Nijo-jo)

เลือกไม่ถกู ว่าจะจัดอันดับอย่างไรดี เป็นอันว่า ของเราไม่มอี นั ดับ พลันนึกถึงตอนไปเทีย่ วรัสเซีย ไกด์เล่า ให้ฟังว่าการตัดสินงานศิลปะของเด็กที่ประเทศรัสเซีย จะไม่มีการตัดสินอันดับหนึ่ง สอง สาม แพ้ ชนะ เพราะ กรรมการให้ความเห็นว่า ผู้ใหญ่มีสิทธิ์อะไรจะไปตัดสิน ความคิดความอ่าน จนิ ตนาการของเด็ก รงั แต่จะบัน่ ทอน จินตนาการอันบริสุทธิ์ของเด็ก ยกให้ผู้อ่านตัดสินใจเอา เองก็แล้วกัน (ด้วยเกรงว่าจะเป็นการบัน่ ทอนจินตนาการ ของทันตแพทย์)

วัด Eikan-do

มีอีกชื่อว่าวัด Zenrin-ji ภายหลังมาเปลี่ยนตามชื่อ พระนักบวชนามว่า Eikan วัดนี้มีชื่อเสียงในการมาชม ใบไม้เปลี่ยนสียามคำ�คืน ที่รู้จักกันในนามว่า light-up เป็นการส่องไฟใต้ต้นเมเปิล หรือต้นไม้อื่นๆ (ในเทศกาล ชมดอกซากุระก็มีให้ชมเช่นกัน) ทำ�ให้เห็นความงาม ของใบไม้ ส่องประกายความงามไปอีกแบบ มีชื่อเสียง ไม่มีชื่อเสียง ก็ลองดูภาพผู้คนที่รอคิวมาเข้าแถวเพื่อชม ใบไม้เปลี่ยนสียามคำ�คืน นับเป็นประสบการณ์ที่ต้อง ลอง แรกๆ แทบถอดใจ แค่เห็นคนรอคิวซื้อตั๋วเข้าชม แต่ ในที่สุดก็อดทนรอ เมื่อเข้าชมก็หายเหนื่อย ไม่ผิดหวัง ได้ บรรยากาศและอารมณ์ไปอีกแบบ ใบไม้เหลืองแดงยาม ต้องแสงไฟ สีสันอันจัดจ้าน เห็นถึง รายละเอียดชวนฝัน ขอเตือนก่อน ว่า...ที่นี่อนุญาตให้ถ่ายรูปและใช้ แฟลชได้ แต่ห้ามใช้ขาตั้งกล้อง .....หลังจากเปิดตัวด้วย lightup ต่อไปจะพาไปดู light-down .... ตามมาเลยครับ

ใบไม้เปลี่ยนสี ....คนอย่าเปลี่ยนใจ ใครตั้งใจจะไปต้องเตรียมการล่วงหน้า (อ่านจบวางแผนได้ เลย) เพราะช่วงฤดูใบไม้ร่วงหรือใบไม้เปลี่ยนสี เมืองเกียวโตมีชื่อ เสียงเป็นเมืองทีท่ กุ คนต้องมาเยือน แม้ชาวยุโรปหรืออเมริกนั ทีค่ นุ้ เคยกับใบไม้เปลี่ยนสีอยู่แล้วก็ตาม วัฒนธรรมบวกกับบรรยากาศ ทำ�ให้เมืองเกียวโตได้เปรียบเมืองอื่น ส่วนช่วงเวลาที่เหมาะสม คงต้องเดาเอา(เพราะเอาอะไรแน่ไม่ได้ในยุคโลกร้อน) ราวกลาง ถึงปลายเดือนพฤจิกายนถึงต้นธันวาคมน่าจะเป็นช่วงที่เหมาะสม ถ้ากำ�หนดเวลาแล้วก็เลือกสถานทีเ่ ทีย่ วจุดชมใบไม้เปลีย่ นสีได้เลย ..สีเหลือง สีแดงรออยู่ และต้องเตรียมใจว่าต้องพบนักท่องเที่ยว มากมายราวมดออกจากรัง เพราะจุดทีพ่ าไปชมเป็นสุดยอดจุดชม ใบไม้แดงที่ติดอันดับต้นๆของญี่ปุ่น 48 • THE DENTAL MAGAZINE

49


ต้ น ไม้ ใ นสวนถู ก ตั ด แต่ ง เป็ น ทรงกลมคล้ า ยลู ก บอล อยู่ ท่ามกลางตะเกียงและเจดีย์ แบบสวนขนาดย่อส่วน ว่ากันว่าใน ฤดูหนาว ด้วยความที่สวนมีการเล่นระดับ ยามเมื่อมีหิมะปกคลุม สวนนี้จะสวยราวเนรมิต เนื่องจากความชื้นที่มีค่อนข้างสูง ต้นไม้ และสวนดูสวยงามเขียวขจี จนกล่าวกันว่า hair moss ของสวนนี้ ...สวยที่สุดในเกียวโต วัดนี้มีพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธ์ เป็นพระโพธิสัตว์ Amitabha เช่นเดียวกัน....สวนนี้ให้ความงาม ความสงบตามแบบฉบับ สวนญี่ปุ่น ใช้เวลาทอดอารมณ์ชมสวนสวย รับพลังบรรยากาศ ฟังเสียงนกร้องเสียงน้ำ�ตกจาก soundless waterfall โดยเดินขึ้น เขาเตี้ยๆ จะพบความแปลกใจว่า เสียงคล้ายน้ำ�ตกจริงๆ เสียง ของน้ำ�ตกนี้ ว่ากันว่าได้แรงบันดาลใจจากเสียงสวดมนต์ของท่าน Shomyo สวนต้นไฮเดรนเยียเบือ้ งหน้าบริเวณหลังวัด หากมาเยือน วัดนี้ในช่วงใบไม้ผลิ รับรองต้องตื่นตาตื่นใจกับความงามยามไฮ เดรนเยียออกดอกบานสะพรัง่ เหนือ่ ยนักก็แวะชิมน้�ำ ชาฟรีแถมห้อง ชมวิวที่งดงาม ความงามของสวนนีม้ กั ถูกถ่ายทอดเป็นปฏิทนิ หรือในหนังสือ ดังๆ สมเป็น “one of the most often-photographed in Japan”

วัด Tofuku-ji สุดยอดวิหารใบเมเปิล สร้างในปีค.ศ. 1236 โดยพระนักบวชนามว่า Enni เป็น หนึง่ ใน ห้าวัดเซนของเมืองเกียวโต ที่รอดพ้นจากถูกเพลิงไหม้ มีซุ้มประตู ทางเข้าวัดเซนทีใ่ หญ่โตและเก่าแก่ทสี่ ดุ ในประเทศญีป่ นุ่ มสี วนสวย สร้างในปีค.ศ.1938 ซงึ่ มีชอื่ เสียงควรค่าแก่การชม การเดินทางแสน ง่าย จากสถานีเกียวโต โดยสารรถไฟสายนาราแค่ป้ายเดียว ลงที่ สถานี Tofukuji ชื่อเดียวกับวัด ออกจากสถานีรถไฟ ไม่ต้องคิดมาก เดินตามผู้คนที่มากมายที่ต่างมุ่งหน้าไปสู่วัดนี้ แทบจะไม่ต้องกาง แผนที่ ไม่ต้องกลัวหลง เดินตามกันไป รับรองถึงวัดแน่นอน หลังจากจ่ายเงินค่าผ่านประตูแล้ว เดินตามคนอื่นไปเรื่อยๆ สองข้างทางมีร้านค้าร้านอาหารเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวตลอด ทาง เมื่อผ่านพ้นประตูวัดบริเวณทางเข้าด้านทิศเหนือของสวน จะ พบสะพานสู่สวรรค์ (Tsuten-kyo, Bridge to heaven) ทอดข้าม ลำ�ธารสายเล็กๆ เงาในนำ�สะท้อนภาพนักท่องเทีย่ วทีแ่ น่นขนัด ภาพ ทีป่ รากฏเหนือลำ�ธารยามใบไม้เปลีย่ นสีคอื ปา่ ทีถ่ กู แต่งแต้มไปด้วย ใบไม้เหลืองแดงแย่งกันอวดสีสัน นี่กระมังที่เป็นเหตุให้การจราจร ติดขัด เพราะทุกคนต่างต้องมนต์ หยุดนิ่งกลางสะพาน บ้างหยุด ชมความงาม บ้างหยุดถ่ายรูป จนเจ้าหน้าทีต่ อ้ งมาไล่ตอ้ นแบบญีป่ นุ่ (แบบสุภาพ โค้งแล้วโค้งอีก) ให้เดินไปเรือ่ ยๆ อย่าหยุดนิง่ เดินช้าไม่ เป็นไรแต่อย่าหยุด ก็วิวมันสวย...ช่วยไม่ได้ แม้การจราจรจะติดขัด แต่ผู้คนต่างยิ้มแย้มเบิกบานด้วยความสุขที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ไม่น่าแปลกใจเลยที่จุดนี้จะมีชื่อเสียงติดอันดับต้นๆ ของการชม ใบไม้แดง เดินตามกันไปเรื่อยๆ... ผ่านสวนหินแบบญี่ปุ่น สวนมอส สีเขียวเข้มถูกจัดแต่งอย่างงดงามราวกับผืนพรมตัดกับสีแดงเหลือง ของใบไม้ที่ร่วงหล่นราวกับใครสะบัดปลายพู่กัน ใบไม้...ยามอยู่ บนต้นก็งดงาม ยามร่วงหล่นก็ยังสรรค์สร้างความงามอีกรูปแบบ เหลือบเห็นหลายคนเก็บใบไม้สีแดงเหลืองที่โรยอยู่โคนต้นไปเป็นที่ ระลึก ความสุขสงบเรียบง่ายกับธรรมชาติที่ไม่ต้องแต่งเติมจนเกิน เหตุ แม้คนจะมากมายราวคลืน่ มนุษย์ แต่แววตาทีเ่ ห็นล้วนเบิกบาน ไปด้วยความสุข ยิ่งสายคนยิ่งแน่น สวนนี้อยู่ใน 1001 gardens to see before you die นาย Mirei Shigemori ตั้งใจออกแบบสวนนี้ ในแบบที่ไม่มีวันล้าสมัย ซึ่งก็สมความตั้งใจของผู้สร้าง 50 • THE DENTAL MAGAZINE

กรุงเกียวโตยังเป็นแหล่งอาหารขึน้ ชือ่ ด้วยความทีม่ อี ดีต เป็นเมืองหลวงเก่าย่อมมีต�ำ นานความยิง่ ใหญ่ดา้ นอาหารการ กินและวัฒนธรรม ขอเพียงท่านได้ให้และใช้เวลาเพลิดเพลิน ไปกับเมืองโบราณแห่งนี้ ค่อยๆ เสพแล้วจะสุข หากกังวลว่า กรุงเกียวโตจะเงียบสงบเกินไป โอซาก้าเมืองที่คึกคักก็อยู่ใกล้ แค่นงั่ รถอึดใจเดียว ข้อสำ�คัญ...เทีย่ วให้สนุกหรือไม่ ทุกอย่าง อยู่ที่ใจ เปิดใจให้กว้าง ชื่นชมกับทุกสีสันของโลก....ไม่เว้นแม้ สีดำ�

Sanzen –in อยู่ในเขต Ohara เมืองชนบทที่เงียบสงบ ห่างจาก กรุงเกียวโตไปทางเหนือเพียง 10 กิโลเมตร หมู่บ้านชนบท เก่าๆ วัดซ่อนตัวอยูใ่ นทางเดินสายแคบๆ สองข้างทางเป็น บ้านเก่าแก่ที่ชาวบ้านประกอบอาชีพค้าขายผลิตผลทาง เกษตรและอาหารรวมทัง้ ของทีร่ ะลึก ชีวติ ทีด่ �ำ เนินไปอย่าง สงบร่มเย็นและเต็มไปด้วยสีเขียวของป่า สวนภายในวัด ประกอบไปด้วยบ่อและบึงน้�ำ ตืน้ ทีเ่ ต็มไปด้วยปลาคาร์พ สร้าง ขึ้นในสมัยเอโดะ โดยท่านอาจารย์ Saicho พระนักบวชรูป แรกที่นำ�ศาสนาพุทธมาเผยแพร่ยังประเทศญี่ปุ่น

51


วนเวี ย น ไม่เพลอ ไม่เพ่ง แค่รู้

• What’s up doc?

โอ๊ย...ย....ย..

ตอน

อาชีพทันตแพทย์อย่างเราๆ ท่านๆ มีคนไข้มาบ่นปวด ฟันกันบ่อยๆ จนเป็นเรื่องปกติ ปวดได้ก็รักษาได้ไม่เห็น ต้องกังวลอะไร แต่เชื่อว่า...พวกเราทุกคนที่ต้องนั่งทำ�งาน หลังขดหลังแข็งอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน คงจะมีอาการปวดโน่น ปวดนี่เป็นประจำ� จะปริปากบ่นกับใครก็ไม่กล้า เดี๋ยวเค้า จะหาว่าเริ่มแก่ ถ้าปวดชั่วคราวก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าปวด บ่อยๆ ปวดมากขึน้ ทุกวันๆ ทานยาแล้วยังเอาไม่อยู่ อย่าง นีค้ งต้องมาดูกนั ว่า สาเหตุทแี่ ท้จริงของอาการปวดมาจาก อะไรกันบ้าง แล้วจะแก้อย่างไรกันดี

แอ่นแอ๊น... เริม่ จากตรวจสภาพทีท่ �ำ งานกันก่อนดีกว่า กา้ ว เข้าไปในคลินิก ลองสังเกตกันหน่อยว่ามีการจัดระเบียบอย่าง เหมาะสมหรือไม่ การวางข้าวของก็ตอ้ งดูวา่ เราสามารถหยิบจับ โดยสะดวก ต้องก้มหรือเงยมากจนเกินไปหรือเปล่า ทุกๆ อย่าง ในการทำ�งานรอบตัว ควรมีการจัดวางให้ได้ตามลักษณะสรีระ ของแต่ละคน ทเี่ รียกกันว่า Ergonomics เวลานัง่ ทำ�งาน... เก้าอี้ เป็นสิ่งสำ�คัญเพราะเราต้องนั่งอยู่ในอิริยาบถเดิมๆ เป็นเวลา นานในแต่ละวัน เก้าอี้จึงต้องออกแบบให้รองรับอย่างเหมาะ สม มีความนุ่มความแข็ง ปรับระดับสูงตำ�ให้พอเหมาะกับตัว เรา ถ้าชำ�รุดก็ต้องเปลี่ยน ไม่ใช่ว่าทนใช้อยู่นั่น ของบางอย่าง ก็ไม่ควรจะขี้เหนียวนะจ๊ะ ที่สำ�คัญสุดๆ...อยู่ที่พฤติกรรมของเราด้วย จะต้องมีการ เปลี่ยนอิริยาบถ ลุก ยืน เดิน ยืดเส้นยืดสายบ้างเป็นระยะๆ ขอ เตือน.... อย่านั่งหลังค่อม ไขว้ขา นั่งแช่ท่าเดิมๆ เป็นชั่วโมงๆ อย่างที่เคยทำ�มา เวลาว่างๆ นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ chat ..chat.. chat..กั บ ใครก็ อ ย่ า มั ว เพลิ น เดี๋ ย วจะปวดหลั ง ปวดกล้ า ม เนื้อ เหมือนที่พบมากมายในหมู่พนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งใช้ คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เลยได้ชอื่ ว่าเป็นอาการของ Office Syndrome การที่เรามีอิริยาบถในการทำ�งานที่ไม่ถูกต้อง ทำ�ให้เกิด อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามมา เจ็บแปล๊บๆ..เจ็บตึงๆ..เป็น สัญญาณเตือนแสนสำ�คัญ... แต่คนส่วนใหญ่มักจะเพิกเฉย ไม่ ใส่ใจ คิดว่ายังอายุนอ้ ยๆ อยู ่ เมือ่ ได้พกั ผ่อนเพียงพอ อาการปวด เมื่อยคลายลง ก็วางใจว่าไม่น่าจะเป็นปัญหา จากนั้นก็กลับไป ใช้ชวี ติ แบบเดิมๆ ต่อ อาการปวดเมือ่ ยก็จะเกิดซ้�ำ ซากอยูอ่ ย่าง

ปวดจัง !!!!

เรื่อง ซาแมนต้า

นั้น สะสมนานวันเข้าก็กลายเป็นอาการปวดเรื้อรังได้ เริ่มจากที่ คอ บ่า ไหล่ ไล่ลามไปที่สะบัก เอว และหลัง บางคนมีอาการปวดศีรษะก็เข้าใจว่าเป็นไมเกรน แต่ จริงๆ แล้วต้นตอของปัญหาอยู่ที่อาการปวดเกร็งของ กล้ามเนื้อ รับประทานยาไมเกรนก็ไม่ได้ผลเพราะแก้ ปัญหาไม่ตรงจุด นอกจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการทำ�งานแล้ว การออกกำ�ลังกายเป็นประจำ�ก็ช่วยได้มากเลยนะ คะ Up and Down….วันละนิด ฟิตวันละหน่อย กล้ า มเนื้ อ จะได้ มี ค วามยื ด หยุ่ น และแข็ ง แรง พยายามพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละ วัน อย่านอนดึก ศึกษาปฏิบัติธรรมบ้างก็ดี จะได้ไม่เครียด หากทำ�ทุกอย่างที่ว่าแล้วยัง ไม่หาย แนะนำ�ว่าควรไปปรึกษาแพทย์แต่ เนิ่นๆ อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรัง ก็จะสามารถ รักษาให้อาการทุเลาหรือดีขึ้นได้ ...สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพกาย และใจที่ดีนะคะ

วนเวียนเวียนวน ชีวิตสับสน บนความมัวเมา รู้ตัวรู้ตน หมดความสับสน พ้นความมัวเมา ไม่เพียร ไม่พัก ไม่หนี ไม่สู้ ไม่อยู่ ไม่ถอย ไม่คอย ไม่ตาม ไม่ทำ�อะไร ...แค่รู้... ดี...แค่รู้ ชั่ว...แค่รู้ สุข...แค่รู้ ทุกข์...แค่รู้ ได้...แค่รู้ เสีย...แค่รู้

พระศาสดากล่าวว่า เมื่อเห็นแจ้งตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำ�หนัด เมื่อจิตคลายกำ�หนัด จึงรู้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้แจ้งตามความเป็นจริง ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่น เมื่อไม่ยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งทั้งปวงแล้ว จึงสิ้นสุดแล้ว เขาผู้นั้นย่อมถึงซึ่งการสิ้นสุดแห่งพรหมจรรย์ กิจที่ควร ได้ทำ�เสร็จแล้ว กิจอื่นยิ่งกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว จากหนังสือสุขง่ายๆ แค่ปลายจมูก และ พระสูตร ภาพ อิกคิว

52 • THE DENTAL MAGAZINE

53


• กินไปเที่ยวไป

ผมเริม่ Starters and Salads ด้วย สลัด เมดิเตอร์เรเนียน ล็อบสเตอร์ (Mediterranean lobster salad) ขอบอกว่า...เป็นจานเรียกนำ�ย่อยที่ประทับใจมากครับ แคเนเดียน ล็อบสเตอร์นนั้ สดและตัวใหญ่มากๆ นำ�สลัดเป็นแบบ vinegratt ผสมกลิน่ hassle nut รสชาติกลมกล่อมและมีกลิ่นหอม ยิ่งเมื่อทานกับผักสดๆที่คัดสรรมาอย่างดี และจัด วางมาอย่างลงตัวในภาชนะที่สวยงาม ขอบอกว่าจานนี้สุดยอดมาก ๆ ครับ

ภาพที่นั่งรับประทานที่ดูเรียบง่ายแต่ทันสมัย ออกแบบได้ดีมาก ๆ

ส่วนเครื่องดื่มที่ผมสั่งมาคือ Tropical tea punch ซึ่งใส่เนื้อลิ้นจี่และประดับด้วยผล เชอรี่ ให้ความหอมหวานชื่นใจมาก ส่วนจานหลักนั้น ผมเลือกมาสองจาน ได้แก่ Pepper crusted chicken breast wrapped parma ham และ Truite “Meuniere”

เรื่อง หมอหมูน้อยนักกิน

สวัสดีต้อนรับศักราชใหม่ของข่าวสารทันตแพทย์ครับพี่น้อง ทั น ตแพทย์ ทุ ก ท่ า น ......ผมหมอหมู น้ อ ยรั บ หน้ า ที่ ม าเขี ย น คอลัมน์ ให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน สำ�หรับในครั้งแรกนี้ผมจะพาทุกท่านมาลองลิ้มชิมรสกันที่ห้องอาหาร เปิดใหม่ ณ โรงแรมใหม่ใจกลางกรุงเทพมหานคร นัน่ คือโรงแรมสยาม เคมปินสกี (Siam Kempinski) โรงแรมนี้เป็นโรงแรมในเครือ Kempinski ที่มีสาขามากมายทั่วโลก สำ�หรับ Siam Kempinski นั้นก็ตั้งอยู่ บริเวณด้านหลังของห้างสยามพารากอนครับ เป็นโรงแรมแบบ low rise ที่มี pool access ด้วย ส่วนหนึ่งของโรงแรมก็ทำ�เป็น service apartment ทชี่ วนมาชมทีน่ กี่ อ่ น อย่าเข้าใจผิดว่าผมหมูนอ้ ยมีเอีย่ วกับ ทางโรงแรมนะครับ ไม่ใช่เลย แต่ตวั เองกับครอบครัวเป็นนักกินอยูแ่ ล้ว และทางโรงแรมก็มี promotion ดีๆ คือ ทานครบจำ�นวนหนึง่ ได้หอ้ งพัก ฟรี ประกอบกับเป็นที่เปิดใหม่ ก็เลยมาลองก่อนเลยครับ ห้องอาหารที่ Siam Kempinski มีหลายห้อง ไม่ว่าจะเป็นห้องอาหาร ไทย สระบัว (Sra Bua) หรือ 1897 bar ที่มีซิการ์และไวน์ชั้นดีให้เลือก มากมาย หรืออยากมาจิบชายามบ่ายที่ T lounge ก็ได้นะครับ แต่ ห้องอาหารที่ผมจะพามาชมวันนี้ คือ ห้องอาหาร Brasserie Europa เป็นห้องอาหารยุโรป แต่ว่าอาหารที่เสิร์ฟก็มีอาหารพวก fusion food อยู่หลายอย่าง บรรยากาศตกแต่งได้หรูหราสมกับโรงแรมระดับห้า ดาวมากๆ เราสามารถเลือกรับประทานในห้องอาหารหรือเลือกออก มานั่งริมสระนำ�ก็ได้ครับ ตัวผมเองไปคำ�แล้วก็เลยไม่อยากออกไป ตากลมที่ริมสระนำ� การออกแบบที่นั่งก็เป็นสไตล์โมเดิร์นที่ทำ�ได้เรียบ แต่หรูหรามาก 54 • THE DENTAL MAGAZINE

Mediterranean lobster salad

Pepper crusted chicken breast wrapped parma ham ทำ�จากเนื้อไก่นำ�เข้าจาก ฝรั่งเศส หมัก15-20 นาทีจนได้ที่ ห่อด้วย พาร์มาแฮมจากอิตาลีแล้วนำ�ไปทอด จนได้ สีด้านนอกที่ออกเกรียมเล็กน้อย หลังจากกั้นเชฟจะนำ�ไปอบจนไก่สุกทั่วถึงกัน เสิร์ฟ อยู่บนข้าวผัด(wine rice) จากแคนาดา ที่มีความกรุบกรอบอยู่ในตัว Truite “ Meuniere ” ทำ�จากปลาเทราซ์ นำ�เข้าจากฝรั่งเศส และปรุงสไตล์ฝรั่งเศส โดยนำ�มาทอดแบบ pan fired ให้ได้สีน้ำ�ตาลอ่อน แล้วนำ�ไปอบต่อจนสุก ราดด้วย butter lemon sauce ตกแต่งด้วยมันฝรั่งและผัก จานนี้ขอบอกว่าเรา ไฮไลท์อยู่ที่การ โชว์การเอาก้างปลาออกหมดทัง้ ตัวภายในไม่เกิน 1 นาทีให้เราได้เห็นกันหน้าโต๊ะ เชฟ บอกว่าปลาต้องร้อนอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการเอาก้างออกจึงต้องรวดเร็วครับ ผมปิดท้ายมื้อค่ำ�แสนอร่อยที่ Brasserie Europa ด้วยของหวานคือ Mousse au chocolate ซึ่งเป็นช็อกโกแลตมูสแท้ เสิร์ฟกับมะกอกดำ�แห้ง และวุ้นแตงโม ประดับ ด้วยแผ่น dark chocolate ของหวานจานนี้เชฟ มีการประดับ จัดวางได้อย่างมีศิลปะ และลงตัวมาก ๆ ครับ ไม่น่าเชื่อว่ารสชาติของช็อกโกแลตมูส และมะกอกดำ�แห้งเข้า กันได้อย่างลงตัว โดยสรุป มื้อค่ำ�ที่นี่สุดแสนประทับใจในรสชาติอาหารและการบริการ บริกรที่นี่ให้ บริการดีและใส่ใจกับรายละเอียดของลูกค้ามาก ผมกลับไปทานอีก เขาก็จำ�ได้ว่าผม เคยลองเมนูอะไรไปแล้วบ้าง เลือกนัง่ คราวทีแ่ ล้วตรงไหน คราวนีอ้ ยากลองเปลีย่ นมุม ไหม ถ้าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทันตแพทย์มีโอกาสก็ลองไปรับประทานดูตามที่ผมแนะนำ� ได้นะครับ โดยเฉพาะรสชาติและสถานที่นั้น ผมให้ห้าดาวจริงๆ ครับ ฉบับหน้า ผมจะลองหาอะไรใหม่ๆ มาให้ทุกท่านได้นำ�ลายสอกันอีกครับ

55


• Dental Adirek

เป็นทันตแพทย์คลินกิ เอกชน และออกหน่วยทันต กรรมพระราชทานเคลื่อนที่ มีงานอดิเรกคือวาดภาพ พู่กันจีน โดยเริ่มวาดภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ซึ่งได้รับ แรงบันดาลใจมาจากการไปดูศลิ ปิน ชือ่ อาจารย์ โอภาส หลิ๋มเอี๋ยว วาดภาพซึ่ง อาจารย์ท่า นนี้เ องได้แ นะนำ� เทคนิค การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการวาดภาพจากภูก่ นั จีน หลังจากนัน้ ก็ได้พฒ ั นาตนเองหัดวาดภาพสิ่งต่าง ๆ ภาพวิว ภาพคน จนได้ไปจัดแสดงในงาน นิทรรศการ ภาพเขียนทั้งใน และต่างประเทศอีกด้วย หมอเพชร มักใช้เวลาว่างช่วงหัวค่ำ�หลังจากเลิก งานในการสร้างสรรค์ภาพเขียนจากพูก่ นั จีน ซึง่ ปัจจุบนั มีภาพเขียนมากกว่า 100 ภาพ หากทันตแพทย์ เพือ่ นๆ ท่านใดสนใจอยากเริ่มวาดภาพพู่กันจีน ก็สามารถมา ปรึกษาหรือเรียนได้โดยตรงกับหมอเพชรที่หน่วยทันต กรรมพระราชทานเคลื่อนที่ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ ม.มหิดล หมอเพชรยินดีสอนให้ฟรีครับ

หมอบอนด์ - ประคัลภ์ มะลิแก้ว งานอดิเรกแสนรักของคุณหมอบอนด์ – ประคัลภ์ มะลิแก้ว เมื่อจบ จุฬา ทำ�งานระยะหนึ่งจนชีวิตลงตัวแล้ว หมอบอนด์ต่อยอดความรักใน การวาดภาพที่มีมาแต่เด็กด้วยงาน Ceramic painting หมอบอนด์เล่า ว่า “การเพ้นท์กระเบือ้ งหรือ ceramic นัน้ คือการวาดลงบน Earthenware, Stoneware หรือ Porcelain ทั้ง Soft porcelain และ Bone china ซึ่งฟัง แล้วก็ใกล้ตัวเราทุกคน ประมาณงาน crown นี่แหละครับ” ขั้นตอนการ วาดภาพลงบนกระเบือ้ งเหมือนกับการทำ�ครอบ โดยสร้างสรรค์จนิ ตนาการ ผ่านปลายพูก่ นั ขนสัตว์ในรูปแบบต่างๆแล้วนำ�ไปเผาที่ 720-800 เซลเซียส วาดแล้วเผา เผาแล้ววาดซำ� ครั้งแล้วครั้งเล่าจนพอใจ หมอบอนด์ว่า “เป็น งานอดิเรกที่เหมาะกับทันตแพทย์ ชิ้นงานไม่ใหญ่ ไม่เลอะเทอะ มือไม้ไม่ เหม็น มีเวลาว่างค่อยๆ บรรจงทำ� ทันตแพทย์เราถนัดอยู่แล้วกับการใช้ เครื่องมือเล็กๆ และวางนิ้วมือเวลาทำ�งาน การสร้างสรรค์ผลงานก็อยู่ใน สมองซีกขวาของเราทุกคน ฟรีสไตล์ครับ” ความสุ ข ในการวาดเกิ ด ทั้ ง ตอนวาดภาพ วาดไปยิ้ ม ไป (ไม่ มี requirement) และการร่วมแบ่งปันชิ้นงานสวยๆ มีความสุขกับคำ�เยินยอ ของผู้คนคอเดียวกัน สำ�หรับท่านที่สนใจงานนี้ ปัจจุบันมีสตูดิโอ 4-5 แห่ง ในกรุงเทพเปิดสอน มีองค์กรระดับนานาชาติให้ร่วมเป็นสมาชิก จัดแสดง ผลงาน เพิ่มพูนวิสัยทัศน์ และพบปะเพื่อนใหม่ด้วย....ครับผม 56 • THE DENTAL MAGAZINE

57


• มองโลกผ่านเลนส์

Doo Dentist Shutter หรือ DDS มาจากคำ�ว่า “ดู(Doo) + ภาพถ่ายของหมอฟัน (Dentist Shutter)” เรื่อง DDS

คือเวทีเชิญชวนหมอฟันทีร่ กั การถ่ายภาพเป็นชิวติ จิตใจได้มาปล่อย ของ ให้เพือ่ น ๆ พีๆ่ น้องๆ ได้ชนื่ ชมผลงาน ภาพถ่ายกันให้โลกได้รวู้ า่ หมอฟันก็ถ่ายรูปเก่งและสวยงามไม่แพ้วิชาชีพอื่น ๆ แม้กระทั่งช่าง ภาพมืออาชีพอาจยังต้องเรียกพี่ (หมอฟัน)… ทำ�ได้ไงเนี่ย? 58 • THE DENTAL MAGAZINE 58 • THE DENTAL MAGAZINE

ปฐมบทเปิดตำ�นานในฉบับแรก ทีมงานจะขอเปิดตัวด้วย ท่านๆ และ ผลงานเหล่านี้ หากพี่น้องท่านใดอ่านแล้วคันไม้คันมือ สนใจ อยาก ร่วมแบ่งปันผลงานสร้างสรรค์ของท่าน สามารถส่งผลงานพร้อม ชื่อ นามสกุล เลข ท. ชื่อภาพ แนวความคิดในการถ่ายภาพนั้น หรือ เทคนิคในการถ่ายภาพ มาได้ท ี่ ทนั ตแพทยสมาคม 71 ลาดพร้าว 95 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 หรือ thaidentalnet@gmail.com โดย วงเล็บหรือตั้งหัวข้ออีเมล์ว่า DDS ได้ครับ เพื่อให้ทันลงในฉบับหน้า ส่งมาก่อน 15 มีนาคม 2554 นะครับ ส่งช้ารอลงรอบต่อไปนะครับ

59


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.