TDM 24

Page 1

VOLUME 5 ISSUE 24 OCTOBER • DECEMBER 2012

Esthetic Dental Implant • VOLUME 5 • ISSUE 24 • OCTOBER • DECEMBER 2012

40 ปี ทันตแพทย์เชียงใหม่

ทันตแพทย์เพื่อชุมชน

สายลมหวน

ชวนชมสายดอกฟูจิ


• Editor’s Talk

ปี 2556 จะมาถึงเเล้วค่ะ สองปีผ่านไป ว่องไวเหลือเกิน

AD

ขอยืนยันนั่งยันว่า ปีหน้าTDM จะพยายามท�ำหน้าที่เล็กๆ ของเรา ในการเล่าเรื่องราว ชวนท่านคิด ชวนเขียน ชวนรับทราบ สาระที่ เราคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กันต่อไปค่ะ เรามาปะทะสังสรรค์กัน ทางความคิด ให้สมกับชื่อ “ทันตแพทย์ + สมาคม” แย่จัง พื้นที่ กทม. และปริมณฑล มีทันตเเพทย์หนาแน่น เเต่คนแก่ ได้ท�ำฟันเทียมน้อยกว่าเขตชนบท สปสช.จึงเดินหน้าปรับเพิ่มค่าบริการ พร้อมกับเปิดช่องทางให้เกิดการบริการรัฐร่วมเอกชนหรือ Public Private mix มากขึ้น ถ้าไม่อยากให้ฟันเทียมคนแก่อยู่ในมือหมอเถื่อน หมอแท้ ก็ต้องช่วยกันนะคะ คนละสองสามปาก ก็ได้มาตั้งมากแล้ว ยามเมื่อต้องแข่งในเวทีโลกเราก็ต้องร่วมด้วยช่วยกัน หมอฟัน มาเลย์มาดูงานแล้วถาม “รัฐบาลท่านได้ชว่ ยให้ทนั ตแพทย์เอกชนท�ำงาน

ได้ดีขึ้นบ้างไหม ยังไง” อึ้งไปเลย หากเขามีวิธีคิดอวยกันแบบนี้ และ ของเรายังคงนิ่ง เวลาต้องแข่งกันแบบเสรี คงเหมือนนักกีฬาโอลิมปิก แข่งกับนักกีฬาเฟสปิก กฎ กติกา มารยาทจะปรับกันอย่างไรให้รักษา มาตรฐานได้ แต่ไม่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาและการแข่งขัน มันช่างท้าทาย ในปีหน้าเราปรับการส่งเล่มโดยเปลี่ยนไปใช้ซองกระดาษสุด คลาสสิก ลดโลกร้อน ดังที่โชว์ท่านๆ นี่ล่ะค่ะ และเราจะเดินหน้าท�ำ แมกกาซีน บนเวบ เพื่อเพิ่มความเร็วและเปิดโอกาสให้สมาชิกช่วยให้ ความเห็นต่อประเด็นต่างๆ พร้อมทั้งเปิดคอลัมน์ใหม่ในเวบ “สนามเด็ก เล่น” และ “@chairside : I feel good” ให้ท่านสมาชิกร่วมส่งเรื่องสั้น มาแจมได้ พบกันปีใหม่นะคะ

บรรณาธิการ ทพญ. แพร จิตตินันทน์

Contents

56

VOLUME 5 ISSUE 24 OCTOBER-DECEMBER 2012

11 16 20 24 27 28 30 32 40 42 48 50 54 56 62 64 66

โอบามา Complete Denture คืนสู่เหย้าโยธี รากเทียม GI-Pedo View Agenda ประชุมวิชาการ ผังบู๊ท สนามเด็กเล่น Paperbag-ใช้เงินให้หนัก Idea dent-เวชระเบียน 40 ปี มช. สมดุลชีวิต- Waiting time Dental lab-แลบเมืองเหนือ DDS - ดึง-ดูด-เป่า-แชะ! แบบชิลด์ๆ Dental Away - สายลมหวนชวนชมสายดอกฟูจิ กินไปเที่ยวไป Dent adirek - ปลาคาร์พ Dent adirek - เกษตรเพียงพอแบบหมอออร์โธ

64

42

66


เจ้าของ ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ปรึกษา ทพ.อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา ทพ.สุชิต พูลทอง รศ.ดร.ทพ.ประสิทธิ์ ภวสันต์ บรรณาธิการ ทญ.แพร จิตตินันทน์ กองบรรณาธิการ ทพ.ปริญญา อมรเศรษฐชัย ทญ.อภิญญา บุญจ�ำรัส ทพ.สุธี สุขสุเดช ทญ.ดวงตา อิสสระพานิชกิจ ทญ.ธิติมา วิจิตรจรัลรุ่ง ทพ.ไกรสร ทรัพยะโตษก ทพ.กิตติธัช มงคลศิวะ ทญ.เดือน ปัญจปิยะกุล ทพ.สมดุลย์ หมั่นเพียรการ ทญ.หนึ่งฤทัย สมค�ำ นายอนุสรณ์ ศรีค�ำขวัญ ติดต่อโฆษณาที่ คุณ ชิตศักดิ์ สุวรรณโมลี 02-539-4748

ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ 71 ลาดพร้าว 95 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 02-5394748 แฟกซ์ 02-5141100 e-mail: thaidentalnet@gmail.com

เรียนทันตแพทย์ และ สมาชิกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ทีร่ กั ทุกท่าน หนังสือ Thai Dental Magazine ฉบับนี้เป็นฉบับที่ผมต้องขอหยุดภารกิจ ในฐานะ นายกทันตแพทยสมาคมฯ ลงในวาระนี้ (ธันวาคม 2555) เป็นครั้งแรกที่ นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ต้องด�ำรงต�ำแหน่ง 3 ปี ตั้งแต่พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา วาระของนายกมักจะเป็น 1-2 ปีมาโดยตลอด ทั้งนี้เพราะ นายกสมาคม ทุกท่านตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาท�ำงานท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและแรงกดดันของ กิจกรรมต่างๆ มากมาย และภารกิจของนายกก็เป็นเงาตาม อีกทั้งต้องระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความผิดพลาด ขัดแย้ง กับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ บรรดาวิชาชีพ ต่างๆ ด้านสาธารณสุข ดังนัน้ การได้หยุดภารกิจครัง้ นีข้ องกระผมจึงช่วยให้ได้พกั เป็น ผูช้ มบ้าง แต่ผมยืนยันกับท่านสมาชิกและทันตแพทย์ทกุ ท่านว่าผมยังยินดีทำ� งานให้ กับส่วนรวมเสมอ แม้จะไม่ได้รับต�ำแหน่งใดๆ ก็ตาม วารสารฉบับนีต้ อ้ งนับว่าเป็นความริเริม่ ของคณะบรรณาธิการ ทีไ่ ด้เปลีย่ นแปลง ให้เป็น Digital Magazine ด้วยความตัง้ ใจอย่างดี และ มีการวางแผนงานทีร่ อบคอบ ท�ำให้เป็น Digital Magazine ที่สมบูรณ์แบบทั้งเนื้อหาและการเป็น Digital ซึ่ง ท่านผู้อ่าน สามารถ Download ได้จาก www.thaidentalmag.com หรือ www. thaidentalnet.com และท่านสามารถที่จะช่วยกันลดโลกร้อน ลดการใช้กระดาษ โดยการแจ้งการรับวารสารนีท้ างไปรษณียไ์ ด้ ทีเ่ ว็บไซต์ทงั้ สอง ถ้าท่านไม่เคยส่งทีอ่ ยู่ ของท่านทาง อีเมล์ที่ให้ไว้กับสมาคม เวลาที่แจ้งยกเลิก ขอให้ท่านได้แจ้ง หมายเลข สมาชิก (ซึ่งคือหมายเลขใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม) อีเมล์ของท่าน และ หากจะ กรุณาแจ้งที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของท่านไว้ด้วยในการแจ้งคราวเดียวกัน จะ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อให้สมาคมสามารถติดต่อท่านได้กรณีเกิดการส่งข้อมูลให้ ท่านทาง อีเมล์ไม่ได้ เพราะท่านที่ยกเลิกการรับทางไปรษณีย์ และได้ให้อีเมล์ไว้ ใน ฉบับถัดๆ ไป ท่านจะได้รับนิตยสารเร็วกว่าสมาชิกทั่วไป เพราะเมื่อข้อมูลถูกส่งเข้า โรงพิมพ์ นิตยสารนี้จะส่งให้ท่านทางอีเมล์ไปพร้อมกัน ขอชมเชยคณะบรรณาธิการ ที่ได้ใช้ความพยายามอย่างมาก ที่จะท�ำให้ วารสารฉบับนี้น่าอ่านทั้งเนื้อหาและรูป แบบ (ท่านผู้อ่านที่ใช้ Apple iPad เปิดอ่านจะเห็นถึงคุณภาพต่าง ๆ ได้ดี ) การจัด วางรูปหน้า และคุณภาพของภาพเป็นไปอย่างมืออาชีพ นับได้ว่าเป็นผลงานที่ควร ได้รับการชื่นชม และยกระดับนิตยสารของสมาคมวิชาชีพขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ในวาระการเป็นนายกที่สิ้นสุดลงนี้ยังมีเรื่องค้างที่ต้องติดตามอีกมาก โดยเรื่อง ที่ควรต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษคงมีอยู่ 2 เรื่อง เรือ่ งแรก คือการทีจ่ ะเข้าสู่ AEC Asian Economic Community ซึง่ เป็นข้อตกลง จากระดับรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเชียน 10 ประเทศ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2546 ในการ ประชุมทีบ่ าหลี ประเทศอินโดนีเซีย (Bali Concord) ทีต่ อ้ งการให้เปิดเสรีในด้านการค้า การลงทุน และ การเคลือ่ นย้ายแรงงานในหมูป่ ระเทศอาเชียน ซึง่ หากไปถามบรรดา ผูป้ ระกอบวิชาชีพต่างๆ ในแต่ละประเทศ ทุกคนก็ไม่เห็นด้วยและมีความเป็นห่วงใน ความไม่พร้อม ไม่ชัดเจน ในกฎระเบียบต่างๆ รวมไปถึงการได้เปรียบ เสียเปรียบ กันของทุกประเทศ ในทุกวิชาชีพที่เปิดเสรี จากการเจรจากันของวิชาชีพทันตแพทย์ ครัง้ ล่าสุด ผูแ้ ทนวิชาชีพทันตแพทย์จากประเทศอินโดนีเซีย เสนอว่า ภาษากลางของ กลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน (AEC) ควรใช้ภาษา มาเลย์ หรือ ภาษาที่ ใช้กันในกลุ่มประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และ บรูไน ทั้งนี้เพราะประเทศ ที่เอ่ยมาทั้งหมด มีประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของ 580 ล้านคนในกลุ่ม AEC ดังนั้น ควรจะใช้ภาษาของคนหมู่มาก ไม่ควรใช้ภาษาอังกฤษ ฟังดูเหมือนประชาธิปไตย เสียงข้างมากเลย แต่จะท�ำได้มากน้อยแค่ไหนยังไม่เป็นที่ตกลงกัน ขึ้นอยู่กับลีลา ท่าทีของประเทศต่างๆ ทีเ่ ข้าร่วมเจรจา และความเป็นไปได้ ดังนัน้ ต่อไปจะเลือกใคร ไปเป็นกรรมการ ท�ำงานในทันตแพทยสภาต้องพิจารณาให้ดี ต้องเลือกคนที่ไม่ได้ รับอิทธิพลจากหน่วยงานที่สังกัด เพราะมิเช่นนั้น อาจถูกบีบให้รับข้อตกลงของที่ ประชุมคณะกรรมการร่วมสาขาทันตแพทย์ของ AEC เพราะทางรัฐบาลอาจบีบให้ วิชาชีพต้องรับข้อเสนอที่เสียเปรียบกับวิชาชีพ เพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยนกับการได้สิทธิ

ประโยชน์ทางการค้ารายการอืน่ นอกจากนัน้ ยังอาจมีการลักลอบเข้ามา ประกอบวิชาชีพของผู้ที่ไม่ได้เป็นทันตแพทย์ตัวจริงในประเทศเหล่านั้น คือไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นทันตแพทย์แต่ท�ำงานเป็นผู้ช่วย เป็นแลบ หรือ อื่นๆ ในประเทศเหล่านั้นเข้ามาท�ำงานโดยอ้างว่าตนเองเป็นทันตแพทย์ ซึง่ จะต้องมีมาตรการในการคัดกรองคนทีจ่ ะเข้ามาท�ำงานให้เข้มงวดกว่า ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งทันตแพทย์ทุกคนที่ได้รู้เห็น หรือ รับทราบว่ามี คลินกิ หรือ โรงพยาบาลแห่งใดรับเอาคนต่างชาติมาท�ำงาน ก็ควรจะแจ้ง ให้ทันตแพทยสภารับทราบ หรือ จะแจ้งมายังทันตแพทยสมาคมแห่ง ประเทศไทยฯ ก็ได้ ทันตแพทยสมาคมต่อสู้เพื่อให้วิชาชีพของพวกเรา ไม่ได้รับการละเมิดมาตลอดประวัติ 70 กว่าปีของการก่อตั้งสมาคม เรื่องที่สอง คือเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุข ก�ำลังด�ำเนินการผลิต ทันตาภิบาลจ�ำนวน 4,000 คนในเวลา 2 ปีอ้างว่าเพื่อเอาไปท�ำงานตาม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล โดยไม่ฟงั เสียงคัดค้านจากทันตแพทย สมาคมฯ และ ทันตแพทย์ที่ท�ำงานในหลายๆ หน่วยงานของกระทรวง สาธารณสุขเลย เพราะเป็นความไม่พร้อมของทั้งหน่วยผลิตและสถาน ที่ที่จะส่งไปปฏิบัติงาน คือกระทรวงเองมีโรงเรียนทันตาภิบาลอยู่ 7 แห่ง สามารถรับนักศึกษาได้ปลี ะ 300 คน เดิมใช้หลักสูตร 2 ปี ให้ทำ� หัตถการได้ บางอย่าง เมือ่ ต้องการเพิม่ ปริมาณผลิตก็เปิดรับสมัคร ให้เข้ามาเรียนเพียง 1 ปี เพราะไม่มที เี่ รียนทีฝ่ กึ แล้วส่งไปฝึกท�ำงาน (ท�ำหัตถการในคนไข้จริง) ทีเ่ ข้ามารับการรักษากับโรงพยาบาลอ�ำเภอ ทัง้ ๆ ทีโ่ รงพยาบาลอ�ำเภอ มี ภาระงานล้นมือ ล�ำพังให้บริการคนไข้กถ็ กู ต่อว่า เรือ่ งการให้บริการล่าช้า ยังต้องเอายูนิตมาฝึกนักเรียนทันตาภิบาลที่ไม่มีความรู้ใดๆ อีก คิดแล้ว เหมือนการแก้ปญ ั หาแบบลิงแก้แห ยิง่ แก้กย็ งิ่ ยุง่ ถ้าวิธกี ารนีใ้ ช้ได้ผลจริง ในการผลิตบุคลากรที่ต้องออกมาให้การรักษาและท�ำหัตถการในผู้ป่วย จริง ก็คงไม่ต้องมีคณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งต้องเรียนถึง 6 ปี ต้องสอบ คัดเลือกอย่างล�ำบากยากเย็น ต้องมีความรูว้ ทิ ยาศาสตร์พนื้ ฐานการแพทย์ ต้องมีความรูท้ างคลินกิ ก่อนจะได้รบั อนุญาตให้ทำ� งานในคลินกิ ในการเริม่ ขึน้ คลินกิ ของคณะทันตแพทยศาสตร์ ทุกมหาวิทยาลัยต้องมีการควบคุม ดูแลอย่างใกล้ชิด ยากล�ำบากอย่างนี้ยังไม่จบใน 6 ปีตั้งหลายคน แต่นี่ สมัครคนที่อยากท�ำงานคล้ายทันตแพทย์ ไม่ต้องมีความรู้ ไม่ต้องเรียน ฝึกเอาเล็กน้อย ก็มาท�ำงานรักษาคนไข้ ผมว่า เป็นความคิดที่ห่วยสุด ไร้ ความรับผิดชอบ ตั้งแต่รัฐมนตรี และ ปลัด รวมถึงทุกคนที่ปล่อยให้เกิด สิง่ เหล่านีข้ นึ้ การก�ำหนดนโยบายผลิตทันตาภิบาลอย่างเร่งด่วนโดยไม่มี ความพร้อมของหน่วยผลิตและไม่ดแู ลในเรือ่ งคุณภาพ เท่ากับเป็นการไม่ ปกป้องประชาชนทีเ่ ป็นผูบ้ ริโภค เอาเปรียบประชาชนทีม่ ารับการรักษาให้ ได้รบั การรักษาทีต่ ำ�่ กว่ามาตรฐาน อีกทัง้ เป็นการไม่ปฏิบตั ติ ามรัฐธรรมนูญ ที่ก�ำหนดให้รัฐต้องจัดบริการด้านสุขภาพให้ประชาชนอย่างทั่วถึงและมี คุณภาพ ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้เคยท�ำหนังสือคัดค้าน ถึงทั้งรัฐมนตรี และรองปลัดที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่น�ำพา ยังดึงดันกันต่อไป คอยดูความหายนะในวันข้างหน้า ไม่เพียงเท่านั้น ในการประชุมเพี่อหา แนวทางวางแผนก�ำลังคนทางด้านทันตฯ ยังมีนายกสมาคมทันตแพทย์ เอกชน เสนอให้เอาทันตาภิบาลมาช่วยตามคลินิกเอกชน ไม่รู้ว่าแกล้ง ท�ำเป็นไม่รู้ หรือ ต้องการเอาเปรียบทันตแพทย์รุ่นน้องๆ ที่เพิ่งจบ ยังตั้ง ตัวไม่ได้ ยังไม่ได้มีคลินิกเป็นเรื่องเป็นราว ทันตาภิบาลถูกก�ำหนดตาม ประกาศกระทรวงให้ท�ำงานได้เฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐ เท่านั้น และการท�ำงานต้องอยู่ภายใต้ความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทันต กรรมเท่านั้น กฎหมายก็เขียนไว้ชัด ยังจะตะแบงเอาไปใช้ในคลินิก ของพวกตนอีก ผมเชี่อว่าทันตแพทย์ทั่วไปที่เป็นเจ้าของคลินิกคงต้อง

สะดุ้งแน่กับความเห็นของนายกสมาคมทันตแพทย์เอกชน ก็ไม่รู้ว่า สมาคมนี้มีกันกี่มากน้อย แล้วเป็นตัวแทนของทันตแพทย์เอกชนจริง หรือ ของกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม เพราะประเทศไทย ทันตแพทย์ ทุกคนที่อยู่ภาคราชการสามารถปฏิบัติงานเป็นทันตแพทย์เอกชนได้ นอกเวลาราชการ การตั้งกลุ่มขึ้นมาแล้วอ้างชื่อว่าเป็นทันตแพทย์ เอกชน ไปเสนอความเห็นในที่ประชุมอย่างนั้น เป็นการท�ำให้ผู้เข้า ร่วมประชุมเข้าใจผิดว่าเป็นความเห็นของทันตแพทย์เอกชนจริงๆ ผม ไม่เชี่อว่าเป็นความเห็นที่ได้ผ่านความเห็นชอบของคนส่วนใหญ่มา แล้ว ทันตแพทย์ทุกวันนี้มีกว่า 12,000 คน มีมากเพียงพออยู่แล้ว หากคิดสัดส่วนจากประชากร 64 ล้านคน เรามีอัตราส่วน ที่ประมาณ 1 ต่อ 5,000 ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนที่สูงเท่ากับประเทศทางยุโรปบาง ประเทศ ในประเทศไทยบางจังหวัดมีสดั ส่วนทันตแพทย์ตอ่ ประชากร 1 ต่อ 1,800 ด้วยซ�้ำไป ไอ้ที่ชอบอ้างกันว่ายังขาดแคลนนั้น เป็นการ กระจายที่ไม่สมดุลในบางพื้นที่ เพราะการบริหารจัดการ และ การ จัดสรรค่าตอบแทนให้กับทันตแพทย์ที่ไปปฏิบัติงานในพื้นที่เหล่านั้น ไม่ดี ไม่ได้คดิ ถึงอนาคตของลูกหลานของทันตแพทย์ทตี่ อ้ งไปท�ำงาน ในพื้นที่เหล่านั้น เมื่อท�ำงานไประดับหนึ่งก็ต้องย้ายไปอยู่เมืองใหญ่ หรือเข้ากรุงเทพฯ เพราะทุกคนก็รักและเป็นห่วงในอนาคตของคนรุ่น ถัดไปทัง้ นัน้ แม้แต่คนทีท่ ำ� หน้าทีก่ ำ� หนดนโยบายก็ยา้ ยเข้ามาอยูส่ ว่ น กลางกันทั้งนั้น แล้วจะมาอ้างอะไร หรือว่าคนอื่นที่เป็นทันตแพทย์ เหมือนกันแต่ต้องไปท�ำงานรับใช้ในพื้นที่ห่างไกล ส่วนตัวฉันไม่ต้อง ผมเห็นว่าถึงเวลาแล้วทีพ่ วกเราทุกคนต้องช่วยกันรักษาสถานภาพของ วิชาชีพทันตแพทย์ของพวกเรา อย่าปล่อยให้คนเพียงไม่กี่คนมาอ้าง เหตุผลข้างๆ คูๆ เพื่อรับใช้นโยบายที่ก�ำหนดด้วยการเมือง หรือกลุ่ม ผลประโยชน์บางกลุ่ม แล้วมาท�ำลายระบบวิชาชีพทันตแพทย์ที่ ประคับประคองกันมาตัง้ แต่สมัย ท่านอาจารย์หลวงวาจน์ วิทยาวัฒน์ ซึง่ ท่านเองเป็นอาจารย์แพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ ทีไ่ ปเรียนทันตแพทย์ แล้วมาก่อตัง้ วิชาทันตแพทย์ขนึ้ มา ท่านได้ผลักดันให้ทนั ตแพทย์ทจี่ บ ใหม่ได้รับเงินเดือนเท่ากับแพทย์ ตั้งแต่รุ่นแรก ทั้งที่ในเวลานั้นแพทย์ ต้องเป็น Intern 1 ปี ก่อนเข้าบรรจุเป็นแพทย์ แต่ทนั ตแพทย์เข้าบรรจุ เป็นทันตแพทย์ได้เลย และได้รบั เงินเดือนเท่ากัน ผมย�ำ้ อีกครัง้ ว่า ไม่มี ใครมาช่วยเราปกป้องวิชาชีพได้หากพวกเราไม่ช่วยกัน ในตอนท้ายก่อนหมดวาระการเป็นนายกทันตแพทยสมาคม แห่งประเทศไทยฯ ซึง่ เป็นตัวแทนของท่านสมาชิกทันตแพทย์ทวั่ ประเทศ กว่า 8,000 คน ผมขอให้ทา่ นได้ประสบกับความสุข ความ เจริญ พ้นจากภัยธรรมชาติทงั้ หลาย และ อยูเ่ ป็นก�ำลังส�ำคัญให้ กับวิชาชีพทันตแพทย์ ขอให้พวกเราแข็งแกร่งและฝ่าฟันอุปสรรค ไปพร้อมกัน ด้วยแรงสนับสนุนจากท่านสมาชิกและทันตแพทย์ ทุกคน ผมเชื่อเสมอในเรื่องบาป บุญ และ กรรมตามทันท่าน ยุคดิจิตอล กรรมมันเร็วเท่ากับความเร็วของอิเล็กตรอนครับ

ขอแสดงความนับถือ นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


โอบามา

Complete Denture และงานคืนสู่เหย้าชาวโยธี

เรื่อง ทพ. อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ สปสช.

17 ธันวาคม 2555 จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 57 ของประเทศสหรัฐอเมริกา และก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าจะเป็นการ แข่งขันกันระหว่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา ตัวแทนจากพรรค เดโมแครต และนายมิตต์ รอมนีย์ ตัวแทนจากพรรครีพบั ริกนั วันนี้ (1 ตุลาคม 55) แม้ว่า Poll จะชี้ว่าคะแนนของผู้สมัครทั้งสองคนจะ ใกล้เคียงกัน แต่มีแนวโน้มว่าโอบามาเริ่มมีคะแนนทิ้งห่างรอมนีย์ ในรัฐที่ไม่ได้เป็นพื้นที่ของพรรคหนึ่งพรรคใดอย่างชัดเจน (Swing states) แม้วา่ โอบามาได้รบั ค�ำวิจารณ์จากหลายฝ่ายว่าล้มเหลวในการพลิก ฟืน้ เศรษฐกิจทีด่ งิ่ ลงตัง้ แต่เข้าร่วมสงครามอ่าวในสมัยประธานาธิบดีบชุ แต่ หนึ่งในนโยบายส�ำคัญที่ถือเป็นไม้เด็ดของโอบามา คือการออกกฎหมาย สุขภาพที่มีชื่อว่า The Patient Protection and Affordable Care Act (PPACA) หรือรู้จักกันในนาม “โอบามาแคร์”ซึ่งมีเนื้อหาบังคับให้ชาว อเมริกนั ทุกคนต้องซือ้ ประกันสุขภาพ เพราะเชือ่ ว่าจะท�ำให้เกิดประโยชน์ กับอเมริกันชนและลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในระยะยาวลงได้ แม้ว่าสภาจะผ่านกฎหมายและผ่านการรับรองจากศาลสูงแล้ว อเมริกาคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการท�ำความเข้าใจกับอเมริกันชน และจัดการระบบให้ลงตัว แต่ประเทศไทยของเราก้าวหน้ากว่านัน้ ครับ ปัจจุบนั เรามีระบบหลัก ประกันสุขภาพหลักอยู่ 3 ระบบได้แก่ • ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ส�ำหรับผู้มีสิทธิ ข้าราชการและครอบครัวตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การรักษาพยาบาลปี 2521 และต่อมามีการปรับปรุงโดยยกเลิกและมี การประกาศกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลปี 2523 ปัจจุบันมีผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการราว 5 ล้านคน ใช้ งบประมาณทั้งหมดจากเงินภาษี ดูแลโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการ คลัง • ระบบประกันสังคม ส�ำหรับผู้ประกันตน ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2553 และแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2537 ปัจจุบันดูแลผู้ ประกันตนราว 10 ล้านคน เงินกองทุนมาจากองค์ประกอบต่าง ๆ 9 รายการ รายการที่ส�ำคัญคือเงินสมทบจากรัฐบาล นายจ้างและผู้ประกันตนตาม มาตรา 46 ดูแลโดยส�ำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน • ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสิทธิ UC หรือสิทธิ 30 บาท ดูแลประชาชนไทยทีไ่ ม่ได้อยูใ่ น 2 กลุม่ ข้างต้นและ ไม่ได้อยู่ในกฎหมายเฉพาะ เช่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ครูโรงเรียนเอกชน ฯลฯ ตามพระราชบัญญัตหิ ลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 10 • THAI DENTAL MAGAZINE

พ.ศ. 2545 ซึ่งถือเป็นระบบน้องใหม่ที่สุดแต่มีสมาชิกมากที่สุดราว 48 ล้านคน ใช้งบประมาณทัง้ หมดจากเงินภาษีเช่นเดียวกับระบบสวัสดิการ รักษาพยาบาลข้าราชการ ดูแลโดยส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ระบบสุขภาพทั้งสามระบบมีจุดประสงค์เดียวกัน คือจ่ายค่ารักษา พยาบาลให้โรงพยาบาลแทนสมาชิก แต่จะจ่ายให้มากน้อยเท่าใด หรือ จ่ายกรณีใดบ้าง เป็นเรือ่ งของสิทธิประโยชน์ทรี่ ะบุไว้ในกฎหมายของแต่ละ กองทุน ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวเช่น ผู้ป่วยมีฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน มาพบทันตแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ และทันตแพทย์มีความเห็นว่าต้อง รักษารากฟัน หากผู้ป่วยมีสิทธิสวัสดิการข้าราชการสามารถรับบริการ รักษารากฟันได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ส�ำหรับสิทธิ UC และประกัน สังคม ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด เพราะบริการดังกล่าวไม่อยู่ในสิทธิ ประโยชน์ที่กองทุนระบุไว้ หลายท่านคงสงสัยว่า เหตุใดสิทธิประโยชน์ของแต่ละกองทุน จึงไม่เหมือนกัน ค�ำตอบคือ เพราะแต่ละกองทุนมีแหล่งที่มาและจ�ำนวนงบ ประมาณที่ไม่เท่ากัน จึงอาจต้องปรับสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้อง กับงบประมาณและความจ�ำเป็นเร่งด่วน กองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นกองทุนทีด่ แู ลประชาชนจ�ำนวนมาก ทีส่ ดุ ครอบคลุมกว่า 48 ล้านคนในทุกกลุม่ อายุ และให้บริการหลัก 4 ด้าน คือ ส่งเสริม รักษา ป้องกันและฟื้นฟู ควบคู่กันไป ในส่วนทันตกรรม สิทธิ ประโยชน์ในระบบ UC ครอบคลุมในด้านต่าง ๆดังนี้

ด้านการรักษาได้แก่ • การถอนฟัน • การอุดฟัน • การขูดหินปูน • การท�ำฟันเทียมฐานพลาสติก • การใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ • การจัดฟันในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก • การตรวจสุขภาพช่องปาก • การแนะน�ำด้านทันตสุขภาพ • การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ • การเคลือบหลุมร่องฟัน THAI DENTAL MAGAZINE • 11


และในปีงบประมาณ 2554 สปสช. ได้จัดตั้ง “กองทุนทันตกรรม” ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมสภาวะสุขภาพช่องปากในกลุ่มเป้า หมายได้แก่ เด็กปฐมวัย เด็กประถมศึกษา หญิงตั้งครรภ์ เพื่อสร้างเสริม สุขภาพช่องปากและทันตกรรมป้องกันแก่ประชาชน และเพือ่ ให้ผสู้ งู อายุ เข้าถึงบริการฟันเทียมได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ วัตถุประสงค์ข้อหลังสุด มีความส�ำคัญขึ้นเรื่อย ๆนะครับ เพราะจาก การคาดการณ์ของส�ำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2543-2573 พบว่าจะมี ประชากรผู้สูงอายุ (อายุเกิน 60 ปี) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.5 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 15.7 ในปี 2573 นอกจากนี้จากการศึกษาของกรมอนามัย ในปี 2543-2544 พบว่าร้อยละของผู้ที่มีฟันใช้งานไม่น้อยกว่า 20 ซี่ของ ผู้ที่มอี ายุ 60-74 ปี มีเพียงร้อยละ 8.2 มีผสู้ งู อายุทไี่ ม่มฟี นั ในช่องปาก ร้อยละ 3.1 ผู้สูงอายุมีฟันปลอมทั้งปาก ร้อยละ 7.2 จากฐานข้อมูล

ประชากร สปสช. ณ เดือนกรกฎาคม 2555 พบว่ามีผู้มีสิทธิ UC ที่อายุ เกิน 60 ปี จ�ำนวน 7,059,823 คน ดังนั้นเมื่อถึงปี 2573 จะมีผู้สูงอายุที่มี สิทธิ UC ถึง 7,644,084 คน ซึ่งมีความต้องการใส่ฟันปลอมทั้งปากมาก ถึง 787,340 คน ผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าว อาจมีส่วนหนึ่งมีความสามารถ หาฟันปลอมใส่เองได้ แต่จะมีผู้สูงอายุส่วนหนึ่งที่เข้าไม่ถึงบริการใส่ฟัน ปลอม ซึ่งคาดว่าจะมีถึง 218,854 คน สปสช. ให้บริการใส่ฟันปลอมแก่ประชาชนสิทธิ UC มาตั้งแต่ปี 2546 โดยเน้นไปที่ฟันปลอมฐานพลาสติก ได้แก่ Temporary Plate, Single Denture และ Complete Denture ประชาชนสามารถรับบริการ ได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง หากดูข้อมูล 5 ปีงบประมาณ จะพบว่า ประชาชนเข้าถึงบริการใส่ฟันปลอมทุกประเภทมากขึ้นเรื่อยๆ ดังตาราง ที่ 1 และแผนภูมิที่ 1 (หมายเหตุ: ข้อมูลปี 2555 เป็นข้อมูลการให้บริการ จ�ำนวน 10 เดือน)

จะเห็นว่าประชาชนเข้าถึงฟันปลอมทั้งปาก (Complete Denture) มากที่สุดในฟันปลอมทั้ง 4 ประเภท และหากพิจารณาเฉพาะผู้สูงอายุ (อายุ มากกว่า 60 ปีขึ้นไป) ที่ได้รับการใส่ฟันปลอมทั้งปาก จะพบข้อมูลดังปรากฏในตารางที่ 2 และแผนภูมิที่ 2 ภาพรวม

2551

2552

2553

2551

2552

2553

ประเภทฟันปลอม จ�ำนวนชิ้น จ�ำนวนราย จ�ำนวนชิ้น จ�ำนวนราย Single Denture 4,094 3,987 4,003 3,959 Complete Denture 8,965 14,624 14,498 8,829 TP ใส่ฟัน 1-5 ซี่ 9,642 9,554 TP ใส่ฟัน > 5 ซี่ 5,076 5,102 14,718 14,656 -

จ�ำนวนชิ้น 6,709 28,156 17,501 11,628 29,129

จ�ำนวนราย 6,647 27,859 17,316 11,532 28,848

2554 จ�ำนวนชิ้น 7,841 32,132 22,841 21,422 44,263

2555

จ�ำนวนราย จ�ำนวนชิ้น 5,006 7,022 20,164 31,872 15,548 18,156 12,732 13,489 28,283 31,645

ตารางที่ 1 แสดงจ�ำนวนชิ้นฟันปลอมและประชาชนที่ได้รับบริการใส่ฟันปลอมปีงบประมาณ 2551-2555

จ�ำนวนราย 4,557 20,054 12,154 9,345 21,499

ตารางที่ 2 แสดงจ�ำนวนชิ้นฟันปลอมและประชาชนผู้สูงอายุที่ได้รับบริการใส่ฟันปลอมปีงบประมาณ 2551-2555

Single Denture

31,872

30,000

Complete Denture

27,859

TP ใส่ฟัน 1-5 ซี่

25,000

20,054

20,000

15,000

8,829

10,000 5,000

2551

2552

2553

2554

2555

แผนภูมิที่ 1 แสดงจ�ำนวนประชาชนที่ได้รับการใส่ฟันปลอม ปีงบประมาณ 2551-2555 12 • THAI DENTAL MAGAZINE

Complete Denture

20,054

11,766 5,865

2551

2552

2553

2554

2555

แผนภูมิที่ 2 แสดงจ�ำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่ฟันปลอมทั้งปาก ปีงบประมาณ 2551-2555

TP ใส่ฟัน > 5 ซี่

14,498

15,000

23,326

20,000

10,000

Single Denture

26,878

25,000

5,000 35,000

2555

ประเภทฟันปลอม จ�ำนวนชิ้น จ�ำนวนราย จ�ำนวนชิ้น จ�ำนวนราย จ�ำนวนชิ้น จ�ำนวนราย จ�ำนวนชิ้น จ�ำนวนราย จ�ำนวนชิ้น จ�ำนวนราย Single Denture 1,881 1,839 2,302 2,280 4,312 4,283 5,415 4,762 5,006 4,557 Complete Denture 5,952 5,865 11,873 11,766 23,585 23,326 27,103 26,878 20,164 20,054 รวม 7,833 7,704 14,175 14,046 27,897 27,609 32,518 31,640 25,170 24,611

30,000 ภาพรวม

2554

หากพิจารณาเฉพาะฟันปลอมทัง้ ปาก จะเห็นว่าปี 2554 เป็นปีทมี่ ปี ระชาชน มารับบริการมากที่สุดคือ 26,878 คน หรือร้อยละ 0.35 ของประชากรสูงอายุ ที่มีสิทธิ UC ปี 2554 เท่านั้น หรือถ้าค�ำนวณจากจ�ำนวนผู้สูงอายุที่มีความ ต้องการใส่ฟันปลอมทั้งปาก จะพบว่าสามารถใส่ฟันเทียมได้เพียงร้อยละ 3.4 เท่านั้น ข้อมูลทีก่ ล่าวไปแล้วในเบือ้ งต้น เป็นข้อมูลภาพรวมระดับประเทศเท่านัน้ แต่หากพิจารณาผู้สูงอายุรายจังหวัดที่ไม่มีฟันในช่องปาก (ร้อยละ 3.1) ที่เข้า ถึงบริการใส่ฟนั ปลอมทัง้ ปาก จะพบว่าผูส้ งู อายุทมี่ สี ทิ ธิ UC อยูใ่ นจังหวัดพิจติ ร สามารถเข้าถึงบริการใส่ฟันปลอมทั้งปากมากที่สุด หรือร้อยละ 30.71 ของ ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันในช่องปากทั้งหมด อันดับสองคือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 22.55 และอันดับสามคือจังหวัดชัยนาท ร้อยละ 20.89

THAI DENTAL MAGAZINE • 13


ล�ำดับ

จังหวัด

ประชากรผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

พิจิตร ประจวบคีรีขันธ์ ชัยนาท สตูล พิษณุโลก อุทัยธานี อุตรดิตถ์ ยะลา พังงา สิงห์บุรี

86,650 68,529 60,853 31,998 125,537 51,817 75,053 57,122 33,977 40,145

ผู้สูงอายุที่ไม่มี ฟันแท้อยู่ในปาก

2,686 2,124 1,886 992 3,892 1,606 2,327 1,771 1,053 1,244

บริการใส่ฟันปลอม ทั้งปาก

825 479 394 182 711 289 380 284 167 192

ร้อยละผู้สูงอายุที่ได้รับ การใส่ฟันปลอมทั้งปาก

30.71 22.55 20.89 18.35 18.27 17.99 16.33 16.04 15.86 15.43

ตารางที่ 3 แสดง 10 อันดับจังหวัดที่ให้บริการใส่ฟันปลอมทั้งปากให้ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันในช่องปากมากที่สุดปีงบประมาณ 2555

ดูข้อมูลจังหวัดที่ให้บริการทางมากไปแล้ว ลองพิจารณา 10 จังหวัดที่มีสัดส่วนบริการใส่ฟันปลอมทั้งปากน้อยที่สุดตามตารางที่ 4 ล�ำดับ 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77

จังหวัด แม่ฮ่องสอน นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา บึงกาฬ ภูเก็ต อุดรธานี ศรีสะเกษ อ�ำนาจเจริญ ระนอง กรุงเทพฯ

ประชากรผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)

ผู้สูงอายุที่ไม่มี ฟันแท้อยู่ในปาก

30,614 155,257 117,890 44,471 33,125 185,978 193,131 47,576 21,652 898,543

949 4,813 3,655 1,379 1,027 5,765 5,987 1,475 671 27,855

บริการใส่ฟันปลอม ร้อยละผู้สูงอายุที่ได้รับการ ทั้งปาก ใส่ฟันปลอมทั้งปาก

56 282 202 73 52 279 270 61 25 441

5.90 5.86 5.53 5.30 5.06 4.84 4.51 4.14 3.72 1.58

ตารางที่ 4 แสดง 10 อันดับจังหวัดที่ให้บริการใส่ฟันปลอมทั้งปากให้ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันในช่องปากน้อยที่สุดปีงบประมาณ 2555

14 • THAI DENTAL MAGAZINE

ไม่น่าเชื่อนะครับว่า ผู้สูงอายุที่มีสิทธิ UC อยู่ในกรุงเทพมหานคร เมืองฟ้าอมรของประเทศไทย มีอัตราการเข้าถึงบริการใส่ฟันปลอม ทั้งปากต�่ำที่สุดในประเทศไทย

เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น …

กรุงเทพเป็นจังหวัดที่ไม่มีโรงพยาบาลในสังกัดส�ำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุขเลยแม้แต่โรงเดียว มีแต่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่ รองรับบริการตติยภูมิชั้นสูง และไม่มีหน่วยบริการกระจายไปยังชุมชน เล็กน้อย ตามสภาพพื้นที่ของกรุงเทพมหานครที่มีประชาชนกระจายไป ตามซอกเล็ก ซอยน้อย การจราจรที่ว่ากันว่ามีประสิทธิภาพทั้งบนบก ลง เรือ ลอยฟ้า เอาเข้าจริงแล้วเอื้อต่อการเดินทางของผู้สูงอายุหรือไม่ ในปี 2548 กองทันตสาธารณสุข(ชื่อเดิม ปัจจุบันคือส�ำนักทันต สาธารณสุข) กรมอนามัย ร่วมกับส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดโครงการฟันเทียมพระราชทาน รณรงค์ใส่ฟนั ปลอมทั้งปากให้กับผู้สงู อายุทวั่ ประเทศ โดยเชิญชวนคลินกิ เอกชนทัว่ ประเทศเข้าร่วมโครงการ ใน ปีนนั้ สามารถใส่ฟนั ปลอมทัง้ ปากให้ผสู้ งู อายุได้ถงึ 35,529 ราย ทัง้ นีเ้ ป็น ผลงานของคลินิกเอกชนถึง 4,607 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคลินิกเอกชนที่ อยู่ในกรุงเทพมหานคร โครงการฟันเทียมพระราชทานยังคงด�ำเนินการต่อมาอีกหลายปี และภาคเอกชนก็มีส่วนส�ำคัญในการร่วมให้บริการอย่างต่อเนื่อง หลายคนคงนึกภาพออกนะครับว่า ห้องฟันของโรงพยาบาลภาครัฐ สุดแสนจะวุ่นวายแค่ไหน เพียงแค่งานทันตกรรมพื้นฐาน ขูด อุด ถอน ก็ บริโภคเวลาอันแสนจะอบอุน่ ครึง่ เช้าไปหมดแล้ว ช่วงบ่ายก็ตอ้ งสลับปรับ เปลีย่ นหมุนเวียนกับการนัดหมายงานเฉพาะทาง แล้วการใส่ฟนั ปลอมทัง้ ปากให้สามารถใช้งานได้ดี ก็เป็นเรื่องยากถึงยากมาก ผลงานจึงปรากฏ ออกมาอย่างที่เห็นแล้วในตารางข้างต้น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น อาศัยก�ำลังภาครัฐ อย่างเดียวเห็นจะไม่พอเสียแล้วครับ เห็นทีตอ้ งเชิญชวนพีน่ อ้ งภาคเอกชน เข้ามาร่วมให้บริการ เพื่อเพิ่มการเข้าถึง เพิ่มคุณภาพชีวิต เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สปสช. ได้เรียนเชิญตัวแทนทันตแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน สมาคมทันตแพทย์เอกชน มาร่วมหารือแนวทางในการขยายบริการใส่ ฟันปลอมทั้งปากไปยังภาคเอกชน โดยมีตัวอย่างที่ประสบความส�ำเร็จ ของการด�ำเนินงานในจังหวัดสมุทรปราการ โดยคุณหมอชลธิชา และ อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยคุณหมอธรณินทร์ เป็นต้นแบบ และ มีขอ้ เสนอให้ปรับปรุงอัตราการจ่ายเงินชดเชยให้สะท้อนต้นทุนและจูงใจ ให้เกิดบริการ การประชุมทีผ่ า่ นมามีความคืบหน้าไปมาก ปัจจุบนั อยูใ่ นขัน้ ตอนการ ก�ำหนดรายละเอียดและแนวทางการด�ำเนินงานที่ชัดเจน โดยน�ำปัญหา และอุปสรรคที่ผ่านมาเป็นบทเรียน คาดว่าจะสามารถประกาศเชิญชวน และแจ้งต่อสาธารณะได้ภายในต้นปี 2556

“There is no free lunch”หรือ “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ในส�ำนวน ของ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หมายถึง ไม่มอี ะไรได้มาโดยไม่มคี า่ ใช้จา่ ย ฟันปลอมทัง้ ปากทีป่ ระชาชน ได้รับในสิทธิประโยชน์ของ UC ก็เหมือนกันครับ แม้ว่าดูเหมือนจะได้มา โดยไม่เสียค่าใช้จา่ ย แต่ประชาชนนัน่ เองก็เป็นผูเ้ สียภาษีไม่ทางตรง(ภาษี เงินได้) ก็ทางอ้อม(น�้ำมัน มหรสพ สินค้า ฯลฯ) มารวมเป็นงบประมาณ ให้กับ สปสช. และก็คืนกลับไปยังประชาชนร�่ำไป 21 พฤศจิกายน 2555 ห้าโมงเย็น เป็นวันคืนสู่เหย้าครั้งส�ำคัญ อีกครัง้ หนึง่ ของศิษย์เก่าคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นะครับ ปีที่แล้วน�้ำท่วมใหญ่ ไปมาล�ำบาก ประธานจัดงานเขาเลยเลื่อน จัดงานออกไป มาบรรจบครบรอบอีกทีก็วันที่ 21 พ.ย. นี่เอง ครั้งนี้เป็น ครั้งแรกจัดงานห่างกันถึง 2 ปี คิดถึงกันมาก ครั้งนี้จึงมีการเสนอละคร นาฏกรรมเวที เรือ่ ง “วงษ์ทนั ตะ” น�ำแสดงโดยอาจารย์ผใู้ หญ่และอาจารย์ ผู้ใหม่หลายท่าน ศิษย์เก่าทั้งมวลโปรดติดต่อตัวแทนรุ่นของท่านนะครับ พลาดแล้วจะเสียดายมากๆ ประธานจัดงานเขาฝากมาบอกครับ ส่วนเรื่องฟันปลอมทั้งปากภาคเอกชน คืบหน้าประการใด จะ มาเล่าให้ฟังอีกนะครับ.

“กองทุนทันตกรรม” ตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อควบคุมสภาวะสุขภาพช่องปาก ในกลุ่มเป้าหมายได้แก่ เด็กปฐมวัย เด็กประถมศึกษา หญิงตั้งครรภ์ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก และทันตกรรมป้องกันแก่ประชาชน และเพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึง บริการฟันเทียมได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะเป็น การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

THAI DENTAL MAGAZINE • 15


16 • THAI DENTAL MAGAZINE


รากฟันเทียม

ในบริเวณที่ต้องการความสวยงาม

Dental implant in the esthetic zone เรื่อง อาจารย์ ร.ท.ทันตแพทย์ ชัชชัย คุณาวิศรุต ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่า รากฟันเทียมมีบทบาทส�ำคัญอย่างยิ่ง ในการทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยสาเหตุที่ท�ำให้ผู้ป่วยมารับการ รักษาด้วยรากฟันเทียมนอกจากในเรื่องของการใช้งานแล้ว สาเหตุ อีกประการคือเรื่องของความสวยงาม โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความ ต้องการให้ครอบฟัน และเหงือกรอบๆ รากฟันเทียมมีความสวยงาม ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ การบูรณะฟันบนรากฟันเทียมให้มคี วามสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติ นั้นขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. การประเมินผู้ป่วย ได้แก่การประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อความ สวยงาม 2. การวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ได้แก่การเลือกใช้ขนาดของราก เทียมทีเ่ หมาะสม การเลือกจ�ำนวนของรากเทียมทีเ่ หมาะสม และการก�ำหนด ต�ำแหน่งของรากเทียมที่เหมาะสม 3. การฝังรากเทียม ได้แก่การฝังรากเทียมในต�ำแหน่งที่ถูกต้อง การ เสริมกระดูก หรือเนื้อเยื่อเพื่อความสวยงาม และการดูแลหลังการผ่าตัดที่ ถูกต้อง 4. การปรับรูปร่างและสภาพเหงือก ได้แก่การตกแต่งรูปร่างของเหงือก ให้เป็นไปอย่างที่ต้องการโดยอาศัยครอบฟันชั่วคราวบนรากฟันเทียม 5. การบูรณะด้วยครอบฟันบนรากเทียม ได้แก่การเลือกวัสดุท ี่ เหมาะสมส�ำหรับเป็นแกนยึดครอบฟัน (abutment) การเลือกวัสดุที่ใช้ท�ำ ครอบฟัน การตกแต่งรูปร่างของครอบฟัน และการเลือกสีของครอบฟัน 6. การดูแลรักษาสภาพของครอบฟัน และรากฟันเทียมหลังการรักษา การรักษาด้วยรากฟันเทียมให้มคี วามสวยงามใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ นัน้ อาจไม่สามารถท�ำได้กบั ผูป้ ว่ ยทุกราย เนือ่ งจากผูป้ ว่ ยแต่ละรายมีปจั จัย แวดล้อมทีไ่ ม่เหมือนกัน ดังนัน้ การประเมินผูป้ ว่ ยก่อนให้การรักษา จึงมีความ ส�ำคัญเป็นอย่างยิง่ เพราะการประเมินผูป้ ว่ ยทีด่ ี ท�ำให้สามารถวางแผนการ รักษาได้อย่างเหมาะสม ช่วยในการอธิบายแผนการรักษา และคาดการณ์ ผลลัพธ์ทจี่ ะเกิดขึน้ ก่อนให้การรักษากับผูป้ ว่ ยได้อกี ด้วย การประเมินผูป้ ว่ ย และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อความสวยงามควรต้องพิจารณาดังต่อไปนี้ (1)

1. ความคาดหวังของผู้ป่วย

ในปัจจุบันการโฆษณารากฟันเทียมตามสื่อต่างๆ มักใช้รูปฟันและ สภาพเหงือกที่มีลักษณะสวยงาม ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการท�ำรากฟัน เทียมมีราคาค่อนข้างสูง ท�ำให้ผู้ป่วยมีความคาดหวังว่า รากฟันเทียมที่ 20 • THAI DENTAL MAGAZINE

ได้รับการบูรณะแล้วจะต้องสวยงามเหมือนดังในภาพตามสื่อต่างๆ ดัง นั้นทันตแพทย์จะต้องประเมินความคาดหวังของผู้ป่วยให้ดี โดยอาจใช้ รูปภาพของผู้ป่วยประกอบ หรือใช้การท�ำแบบขี้ผึ้งจ�ำลอง (Diagnostic wax-up) เพื่อช่วยในการอธิบายให้คนไข้เห็นถึงข้อจ�ำกัดต่างๆ อาทิเช่น ขนาด และรูปร่างของฟันหลังให้การรักษา เป็นต้น ผู้ป่วยที่มีความคาด หวังสูงในผลของการรักษา ให้จดั ผูป้ ว่ ยกลุม่ นีเ้ ป็นผูป้ ว่ ยทีม่ คี วามเสีย่ งสูง

2. ประวัติการสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่มีผลต่อความส�ำเร็จของรากฟันเทียมทั้งในระยะสั้น และระยะยาว นอกจากนี้ยังมีผลต่อความส�ำเร็จของการเสริมกระดูก หรือเนื้อเยื่อต่างๆ ตลอดจนมีผลต่อสุขภาพของเนื้อเยื่อรอบๆ รากเทียม ในระยะยาวอีกด้วย โดยผู้ป่วยที่สูบบุหรี่อาจมีผลท�ำให้เหงือกรอบๆ ราก เทียมร่น และส่งผลต่อความสวยงามได้ โดยผู้ป่วยที่สูบบุหรี่มากกว่า 10 มวนต่อวัน ให้จัดผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

4. ลักษณะความหนาของเหงือก (Gingival biotype)

สามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทดังนี้ 4.1 ประเภทเหงือกหนา (Thick-gingival biotype) ภาพที่1 เหงือกประเภทนี้มีลักษณะหนา โดยเมื่อสอดเครื่องมือหยั่งร่องลึกปริทันต์ (Periodontal probe) ลงไปในร่องเหงือก จะไม่เห็นเงาของเครื่องมือสะท้อน ขึ้นมาบนเหงือก เหงือกประเภทนี้จะบังสีของโลหะของรากเทียม และส่วน ต่อรากเทียม (abutment ) ที่เป็นไทเทเนียมได้ดี นอกจากนี้เหงือกประเภทนี้ มักไม่ค่อยหดตัวหลังท�ำการผ่าตัด อย่างไรก็ตามลักษณะเหงือกที่หนา มักจะ เป็นแผลเป็นได้ง่ายหลังจากการผ่าตัด รวมทั้งหากต้องท�ำรากเทียมหลายๆ ซี่ ใกล้ๆ กัน เหงือกลักษณะนี้มักจะท�ำให้เกิด interdental papilla ได้ยาก ผู้ป่วย ที่มีเหงือกประเภทนี้จัดอยู่ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต�่ำ

ภาพที่ 3 ลักษณะเหงือกที่เป็น Thin gingival biotype มีลักษณะเหงือกบาง มี ยอด interdental papilla แหลม ในผู้ป่วยรายนี้ฟันซี่ 12 และ 13 หายไป แต่ เนือ่ งจากผู้ป่วยมีความคาดหวังต่อความสวยงามสูง จึงพิจารณาฝังรากเทียมซี่ 13 ค่อนไปทางด้านเพดานเพียงซี่เดียว และ cantilever ซี่ 12 เพื่อป้องกันการ หดตัวของ Interdental papilla ระหว่างซี่ 12 และ 13

ภาพที่ 1 ลักษณะเหงือกทีเ่ ป็น Thick gingival biotype มีลกั ษณะเหงือกทีห่ นา ลักษณะ Interdental papilla ทู่ สังเกตระดับเหงือกระหว่างซี่ 21 และ 22 จะมียอดเหงือกที่สั้น กว่าระหว่างซี่ 11 และ 12 เนือ่ งจากไม่มกี ระดูกด้านประชิดของฟันข้างเคียงมาช่วยพยุง เหงือก คอฟันซี่ 22 มีขนาดใหญ่กว่าซี่ 12 เล็กน้อยเพื่อปิดช่องว่าง

4.2 ประเภทเหงือกปานกลาง (Medium-gingival biotype) ภาพที่2 เหงือกประเภทนี้มีลักษณะหนาคล้ายกับประเภทเหงือกหนา แต่ก็จะมี ลักษณะ Interdental papilla ทีส่ งู กว่าแบบเหงือกหนา ผูป้ ว่ ยทีม่ เี หงือกประเภท นี้จัดอยู่ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลาง

5. รูปร่างของฟันที่ใส่ทดแทน และรูปร่างของฟัน ข้างเคียง

รูปร่างฟันที่มีลักษณะสี่เหลี่ยม (square shape) ลักษณะรูปร่าง ฟันประเภทนี้ จะมี Interdental papilla ที่มีลักษณะทู่ และไม่สูงมาก นัก ดังนั้นในกรณีที่ท�ำรากเทียมแล้ว Interdental papilla หดสั้น หรือ ไม่มี ก็สามารถที่จะท�ำรูปร่างฟันให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อปิดช่องว่างได้ แต่หากฟันผู้ป่วยมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม (triangular shape) หาก ต้องการปิดบริเวณช่องว่างโดยการท�ำให้ฟันมีขนาดใหญ่ขึ้นก็มักท�ำให้ รูปร่างฟันดูมีลักษณะที่ไม่เป็นธรรมชาติได้

6. ภาวะการติดเชื้อในบริเวณที่จะฝังรากเทียม (Infection at the implant site)

3. ความสูงของริมฝีปากในขณะยิ้ม (Height of lip line on smiling)

ผู้ป่วยที่ยิ้มแล้วเห็นฟันหน้าบนและล่างบางส่วนเท่านั้น จัดอยู่ใน กลุ่มผู้ป่วยยิ้มไม่สูง (Low lip line) ผู้ป่วยประเภทนี้จัดอยู่ในผู้ป่วยความ เสี่ยงต�่ำ เนื่องจากริมฝีปากจะช่วยปกปิด บริเวณคอฟัน และขอบเหงือก ซึง่ มักเป็นบริเวณทีม่ ผี ลต่อความสวยงามในขณะยิม้ เป็นอย่างมากผูป้ ว่ ย ที่ยิ้มแล้วเห็นฟันหน้าบนทั้งซี่ แต่เห็นเหงือกบริเวณคอฟันน้อย หรือไม่ เห็นเลย จัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยยิ้มสูงปานกลาง (Medium lip line) ผู้ป่วย ประเภทนี้จัดอยู่ในผู้ป่วยความเสี่ยงปานกลาง เนื่องจากจะมองเห็นฟัน ทั้งซี่ ท�ำให้สามารถเปรียบเทียบสีฟัน ลักษณะความอูมนูนของฟัน และ พื้นผิวฟัน ตลอดจนบริเวณเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟันในขณะที่ยิ้ม ผู้ป่วยที่ยิ้มแล้วเห็นฟันหน้าบนทั้งซี่ และเห็นเหงือกบริเวณฟันหน้าบน ชัดเจน ผู้ป่วยประเภทนี้จัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยยิ้มสูง (High smile line) ผู้ ป่วยประเภทนี้จัดอยู่ในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง เนื่องจากเหงือกรอบๆ ราก เทียมจะถูกเปรียบเทียบกับฟันซี่อื่นๆ สัดส่วนความยาว ต่อความกว้าง ของฟัน จะเห็นชัดเจน

เกิดเหงือกร่น ในบางกรณีจ�ำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพือ่ เสริมความหนาของ เหงือกร่วมด้วย ผูป้ ว่ ยทีม่ เี หงือกประเภทนีจ้ ดั อยูใ่ นผูป้ ว่ ยทีม่ คี วามเสีย่ งสูง

ภาพที่ 2 ลักษณะเหงือกทีเ่ ป็น Medium gingival biotype มีลกั ษณะเหงือกทีห่ นา แต่ ยังมี Interdental papilla ที่มียอดแหลม สังเกตขอบกระดูกบริเวณรากฟันธรรมชาติ ซี่ 11 และซี่ 22 ห่างจากด้านประชิดของฟัน น้อยกว่า 4 มิลลิเมตร ท�ำให้คงความสูง ของ Interdental papilla ไว้ได้

4.3 ประเภทเหงือกบาง (Thin-gingival biotype) ภาพที่3 เหงือกประเภทนี้เมื่อสอดเครื่องมือหยั่งร่องลึกปริทันต์ลงไปในร่องเหงือก จะเห็นเงาของเครื่องมือสะท้อนออกมา เหงือกประเภทนีย้ ังมีลักษณะทีห่ ด ร่น ง่าย และมีลกั ษณะ Interdental papilla แหลม และสูง การท�ำรากฟันเทียมใน ผูป้ ว่ ยทีม่ เี หงือกประเภทนี้ ต้องมีความระมัดระวังอย่างสูง โดยควรฝังรากเทียม ค่อนไปทางด้านใกล้เพดาน เพือ่ ให้มเี หงือกและกระดูกด้านใกล้รมิ ฝีปากทีห่ นา บังสีของโลหะ นอกจากนี้ ควรท�ำครอบฟันชัว่ คราวเพือ่ ตกแต่งรูปร่างของเหงือก ให้มคี วามสวยงาม รูปร่างของครอบฟันต้องมีความเหมาะสม เพือ่ ป้องกันการ

หากบริเวณช่องว่างทีจ่ ะฝังรากฟันเทียม มีการติดเชือ้ แบบเฉียบพลัน (acute infection) หรือสูญเสียฟันไปเนื่องจากภาวะการติดเชื้อเช่น โรค ปริทันต์ มักจะมีการท�ำลายขอบกระดูก (marginal bone loss) ร่วมด้วย ซึ่งท�ำให้การฝังรากเทียมมีความยุ่งยากมากขึ้น ในกรณีที่มีการติดเชื้อชนิดเรื้อรัง (chronic infection) เช่นมีเงา ด�ำรอบปลายรากฟันขนาดเล็ก โดยตรวจไม่พบหนอง มักมีการท�ำลาย กระดูกบริเวณปลายราก แต่หากขอบกระดูกไม่โดนท�ำลายไปด้วย การ ฝังรากเทียมร่วมกับการเสริมกระดูกในกรณีนี้มักได้ผลดี

7. ปริมาณกระดูกของฟันข้างเคียงบริเวณด้าน ประชิด (Proximal bone level of adjacent teeth)

จากการศึกษาของ Tarnow (2) พบว่าหากกระดูกด้านประชิดของ ฟันห่างจากจุดประชิด (contact point) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5, 6 และ 7 มิลลิเมตร จะมี Interdental papilla ระหว่างฟันกับรากฟันเทียมเกือบ 100% , 55% และ 25% ตามล�ำดับ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Kan (3) ที่พบว่าระยะระหว่างยอดเหงือก บริเวณ interdental papilla จนถึง กระดูกของฟันซี่ที่ติดกับรากเทียมมีค่าเฉลี่ยประมาณ 4.5 มิลลิเมตร THAI DENTAL MAGAZINE • 21


ดังนั้นหากผู้ป่วยมีสันกระดูกของฟันข้างเคียงบริเวณด้านประชิด ห่าง จากจุดประชิด (contact point) น้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ผู้ป่วยรายนี้จัด เป็นผูป้ ว่ ยมีความเสีย่ งต�ำ ่ แต่หากสันกระดูกของฟันข้างเคียงบริเวณด้าน ประชิดมีระยะห่างจากจุดประชิดมากกว่า 7 มิลลิเมตร จัดเป็นผู้ป่วยที่มี ความเสี่ยงสูง ภาพที่ 4 และ 5

ภาพที่ 4 ระยะห่างระหว่างขอบกระดูกด้านประชิดของฟันซี่ 21 และ 23 มีระยะ ห่างมากถึง 6 มิลลิเมตร ท�ำให้ไม่มีกระดูกช่วยพยุงเหงือกบริเวณ Interdental papilla เกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟัน

ภาพที่ 5 ระยะห่างระหว่างขอบกระดูกด้านประชิดของฟันซี่ 11 และ 13 มีระยะ ห่าง 4 มิลลิเมตร ท�ำให้มีกระดูกช่วยพยุงเหงือกบริเวณ Interdental papilla

8. สภาพการบูรณะของฟันข้างเคียง (Restorative status of teeth adjacent to the edentulous space)

ในกรณีที่ฟันข้างเคียงช่องว่างได้รับการบูรณะโดยการท�ำครอบฟัน หรือวีเนียร์ การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมอาจท�ำให้เกิดเหงือกร่นตามมา จน ท�ำให้ขอบของครอบฟันขึน้ มาอยูเ่ หนือขอบเหงือก ดังนัน้ อาจต้องพิจารณา ท�ำครอบฟันบนฟันธรรมชาติรว่ มด้วย โดยต้องแจ้งให้ผปู้ ว่ ยทราบก่อนเริม่ การรักษา

9. ลักษณะของช่องว่างไร้ฟัน (Character of the edentulous space)

ช่องว่างที่มีขนาดส�ำหรับใส่ฟันหลายซี่ ย่อมท�ำให้สวยงามได้ยาก กว่าช่องว่างส�ำหรับใส่ฟันซี่เดียว เพราะช่องว่างที่มีขนาดส�ำหรับใส่ฟัน หลายซี่ ไม่มีกระดูกด้านประชิดของฟันข้างเคียง ท�ำให้ Interdental papilla มีลักษณะทู่และสั้น ในบางกรณีอาจต้องใช้เซรามิคสีชมพู (Pink porcelain) ร่วมด้วย (ภาพที่ 6 ) นอกจากนี้การฝังรากเทียมห่างกันน้อย กว่า 3 มิลลิเมตร(4) จะท�ำให้เกิดการท�ำลายของกระดูกระหว่างรากฟัน เทียมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ Interdental papilla หดสั้นลงไปด้วย ดังนั้นใน กรณีที่มีขนาดของช่องว่างจ�ำกัด แต่ต้องใส่ฟัน 2 ซี่ และผู้ป่วยมีความ คาดหวังเรื่องความสวยงามสูง อาจต้องพิจารณาท�ำเป็น cantilever บน รากเทียมซี่เดียว (ภาพที่ 3 ) การท�ำรากเทียม 2 ซีเ่ พือ่ ทดแทนฟันตัดกลางคูห่ น้าทีห่ ายไป สามารถ ท�ำให้สวยงามได้มากกว่า กรณีฟันตัดกลาง และฟันตัดข้างหายไป หรือ กรณีทฟี่ นั ตัดข้างและฟันเขีย้ วหายไป ตัวอย่างเช่น ในกรณีทฟี่ นั ซี่ 11 และ 21 หายไป ทันตแพทย์สามารถใช้การปรับแต่งรูปร่างฟัน ร่วมกับใช้เหงือก ทีห่ นาตัวบริเวณ incisive papilla ช่วยท�ำให้มลี กั ษณะคล้าย interdental papilla ได้ แต่หากฟันซี่ 21 และ 22 หายไป การพยายามปรับแต่งรูปร่าง ฟันเพื่อปิดช่องว่างระหว่างฟันซี่ 21 และ 22 จะท�ำให้ครอบฟันมีขนาด ใหญ่ขึ้น และมีรูปร่างไม่เหมือนกับฟันซี่ 11 และ 12 ท�ำให้เกิดความไม่ สมมาตรได้ (ภาพที่ 1) ในกรณีที่ฟันหน้าบนหายไป 4 ซี่ ในกรณีที่ต้องการความสวยงาม มากมักเลือกใช้รากเทียมเพียงสองตัว โดยหากฝังที่ต�ำแหน่งซี่ 11 และ 21 โดยให้ซี่ 12 และ 22 เป็น Pontic อาจจะท�ำให้ interdental papilla ระหว่างซี่ 11 และ 21 หายไป เนื่องจากรากเทียมที่อยู่ใกล้กันอาจท�ำให้ กระดูกระหว่างรากเทียมละลาย จึงจ�ำเป็นต้องใช้เซรามิคสีชมพูเข้าช่วย (ภาพที่ 6) แต่หากฝังรากเทียมที่ต�ำแหน่งฟันซี่ 12 และ 22 จะท�ำให้คอ ฟันของฟันซี่ 12 และ 22 อยู่ในต�ำแหน่งที่ค่อนมาทางด้านใกล้กลาง ไม่ เหมือนต�ำแหน่งของคอฟันซี่ 12 และ 22 ตามธรรมชาติ ซึง่ ต้องอยูค่ อ่ นไป ทางด้านไกลกลาง เพราะการฝังรากฟันเทียมซี่ 12 และ 22 ให้ได้ตำ� แหน่ง ของคอฟันอยู่ด้านไกลกลางนั้น จะเป็นต�ำแหน่งที่ใกล้รากฟันซี่ 13 และ 23 มากเกิ น ไปจนอาจท� ำ ให้ เ กิ ด อั น ตรายกั บ ฟั น ซี่ 13 และ 23 ได้ (ภาพที่ 7 )

10. ปริมาณของกระดูกและเนื้อเยื่อบริเวณ ช่องว่างไร้ฟัน (Width and height of the hard and soft tissues in the edentulous space)

หากช่องว่างไร้ฟันมีปริมาณความหนาของกระดูกไม่เพียงพอ การ เสริมกระดูกในแนวความกว้าง (Horizontal dimension) ด้วยการใช้ กระดูกเทียม กระดูกสังเคราะห์ หรือกระดูกของผู้ป่วยเอง ร่วมกับการใช้ membrane เป็นวิธีการที่ค่อนข้างได้ผลดี หรือแม้แต่ในกรณีที่มีกระดูก เพียงพอที่จะฝังรากฟันเทียม แต่ต้องเสริมเหงือกเพื่อให้มีความหนาที่ สวยงาม ก็เป็นวิธีการที่มักได้ผลดี ต่างกับกรณีที่ช่องว่างไร้ฟันมีความสูง ของกระดูกที่ไม่เพียงพอ การเสริมความสูงของกระดูกเป็นวิธีการรักษาที่ ท�ำได้ยาก เนื่องจากปริมาณของเนื้อเยื่อที่จะใช้น�ำมาคลุมกระดูกส่วนที่ เสริมขึน้ มามักจะมีไม่เพียงพอ ดังนัน้ การเลือกใช้กระดูกเทียม หรือกระดูก ของผู้ป่วยเอง ก็มักจะได้ผลลัพธ์ด้อยกว่าที่ต้องการ และรูปร่างของฟันที่ ใส่บนรากเทียม ก็จะมีความยาวมากกว่าฟันข้างเคียง การประเมินสภาพต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เป็นการประเมินปัจจัย เสีย่ งต่างๆ ทีม่ ผี ลต่อความสวยงามของฟันทีบ่ รู ณะบนรากฟันเทียม หลังจากประเมินปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวแล้ว จ�ำเป็นต้องมีการพูดคุย กับผู้ป่วยเพื่ออธิบายถึงแผนการรักษา และข้อจ�ำกัดของการรักษา ด้วยรากฟันเทียม ตลอดจนผลข้างเคียงทีอ่ าจเกิดขึน้ ก่อนเริม่ ให้การ

รักษา อย่างไรก็ตามการให้การรักษาด้วยรากฟันเทียมให้สวยงามได้ นั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องอีกมาก อาทิ ต�ำแหน่งในการ ฝังรากฟันเทียม การท�ำครอบฟันชั่วคราว การท�ำครอบฟันถาวร ที่เหมาะสม และการดูแลรักษาหลังใส่ครอบฟันจนเสร็จสิ้นแล้ว ทันตแพทย์ควรท�ำการศึกษาถึงวิธีการต่างๆ เหล่านี้ให้เข้าใจอย่าง ถีถ่ ว้ นก่อนเริม่ การรักษาให้กบั ผูป้ ว่ ย โดยเนือ้ หาทีย่ งั มิได้กล่าวถึงใน บทความนีส้ ามารถศึกษาได้จากหนังสืออ้างอิงประกอบบทความนี้

Reference: 1. Buser D., Belser U., Wismeijer D. ITI Treatment Guide Volume 1: Implant Therapy in the Esthetic Zone. Quintessence Publishing Co, Ltd. 2007. 2. Tarnow DP, Magner AW, Fletcher P. The effect of the distance from the contact point to the crest of bone on the presence or absence of the interproximal dental papilla. J Periodontol, 1992 Dec; 63(12):995-6. 3. Kan JY, Rungcharassaeng K, Umezu K, Kois JC. Dimensions of peri-implant mucosa: An evaluation of maxillary anterior single implants in humans. J Periodontol. 2003 Apr; 74(4): 557-62. 4. Tarnow DP, Cho SC, Wallace SS. The effect of inter-implant distance on the height of inter-implant bone crest. J Periodontol. 2000 Apr; 71(4): 546-9.

ITI Congress South East Asia Bangkok, Thailand May 16 – 17 2013

Achieving Esthetic Success in Implant Dentistry.

ภาพที่ 6 รากเทียมซี่ 11 และ 21 ส�ำหรับใส่ฟันทดแทนซี่ 12-22 สังเกตรากฟัน เทียมที่อยู่ชิดกัน มักไม่มี Interdental papilla ระหว่างซี่ฟัน พิจารณาใช้เซรามิค สีชมพู (Pink porcelain) ช่วยปิดช่องว่าง 22 • THAI DENTAL MAGAZINE

ภาพที่ 7 ฝังรากเทียมซี่ 12 และ 22 ส�ำหรับใส่ฟันทดแทนซี่ 12-22 สังเกต ลักษณะของคอฟันซี่ 12 และ 22 อยู่ค่อนมาทางด้านใกล้กลาง สังเกตต�ำแหน่ง ของรากฟันเทียมซี่ 12 และ 22 อยู่ใกล้กับฟันธรรมชาติซี่ 13 และ 23

Topic Highlights • Esthetic single tooth restorations • Surgical handling of esthetic failures • Tissue level or Bone level implants • Impact of CAD/CAM on prosthetic procedures International Speakers Prof. Dr. Daniel Buser (Switzerland) Prof. Dr. Urs Belser (Switzerland)

Take advantage of early bird registration by signing up prior to January 31, 2013!

www.iti.org/congress-southeastasia THAI DENTAL MAGAZINE • 23


• Global -Pedo view เรื่อง ทญ.อาวีพรรณ โกวิทย์สมบูรณ์

Ionomer

in Minimal Intervention (MI)

ในปัจจุบนั นี้ คงต้องยอมรับว่าการอุดฟันด้วยวิธี extension for prevention นัน้ ไม่เป็นทีน่ ยิ ม เนือ่ งจากกระแสของการเก็บเนือ้ ฟันธรรมชาติไว้ให้มากทีส่ ดุ ดังนัน้ การท�ำ minimal intervention จึงได้เข้ามาอยู่ในกระแสของการบูรณะฟัน ทั้งฟันแท้ และฟัน น�้ำนม การน�ำหลักการ Minimal Intervention มาใช้ในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยหลักการใหญ่ๆอยู่ 3 ข้อด้วยกัน คือ

Identify

การหาต�ำแหน่งของรอยโรครวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของผู้ป่วย ให้ได้ตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดโรค

Prevent

การป้องกันการเกิดโรค โดยการก�ำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆออก พยายามหยุดยั้งการเกิด demineralization และ สนับสนุนให้เกิด การ remineralization ทั้งนี้ รวมถึงการบูรณะรอยผุในระยะเริ่มต้น เพื่อป้องกันการลุกลาม

Restore

โดยใช้วิธีที่ invasive น้อยที่สุด รวมถึงการใช้วัสดุบูรณะที่ เหมาะสม ซึ่งการใช้วิธีการดังกล่าวนี้เพื่อปฏิบัติงานในชีวิตประจ�ำวัน จะเกิดประโยชน์หลายประการ เช่น สุขภาพช่องปากโดยรวมของ ผู้ป่วยจะสะอาดขึ้น ผลการรักษาของทันตแพทย์ดีขึ้น วัสดุบูรณะคง อยู่ได้นานขึ้น และที่ส�ำคัญที่สุด ความสัมพันธ์ระหว่างทันตแพทย์ กับผู้ป่วยเป็นไปในทิศทางที่ดี เข้าใกล้กับค�ำว่า painless dentistry มากขึ้นกว่าการปฏิบัติงานในรูปแบบเดิมๆ ถ้าจะกล่าวถึงวัสดุที่เป็นตัวเลือกหลักของการท�ำ minimal intervention คงจะหนีไม่พ้น glass ionomer cement ที่มีความ สามารถในการปลดปล่อยฟลูออไรด์ ซึ่งนอกจากจะช่วยยับยั้ง รอยผุของซี่ที่ท�ำการบูรณะไม่ให้ลุกลามแล้ว ยังสามารถช่วยส่ง เสริมการเกิด remineralization ของฟันซี่ข้างเคียง ในกรณีที่ผู้ป่วย มีลักษณะรอยผุแบบ class II ในระยะเริ่มต้น ซึ่งนับเป็นคุณสมบัติ ที่ไม่สามารถหาได้ใน composesin หรือ amalgam การเลือกใช้วัสดุ glass ionomer ในการบูรณะฟัน จะต้องมี การเตรียมฝึกผู้ช่วยทันตแพทย์ที่ช่วยอยู่ข้างเก้าอี้ ให้รู้จักการผสม วัสดุให้เหมาะแก่การใช้งาน ได้แก่

24 • THAI DENTAL MAGAZINE

Consistency

ต้องมีความหนืดพอสมควร ไม่เหลวเกินไปจนติดเครื่องมือ ซึ่ง จะส่งผลให้ไม่สามารถ plug วัสดุเข้าไปใน cavity ได้อย่างแนบสนิท ระยะเวลาในการผสมต้องไม่มากจนเกินไป เนื่องจากถ้าความ เงามัน (glossy) ไม่เหลือแล้ว แสดงว่าการยึดติดด้วยปฏิกริ ยิ า acidbase reaction จะไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นได้น้อย ในทัศนะของการท�ำงานทันตกรรมส�ำหรับเด็ก การเลือก glass ionomer มาใช้ในการบูรณะฟัน สามารถใช้ได้ในหลายกรณี ทัง้ class I, class II, class III และจะมีประโยชน์มาก ในกรณีที่ cavity ใหญ่เกินกว่าจะบูรณะด้วย amalgam แต่ผปู้ ว่ ยก็ไม่ให้ความร่วมมือ มากพอรวมถึงอาจมีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี ไม่เหมาะสมที่จะบูรณะ ด้วย composesin ปกติแล้ว ลักษณะดังกล่าวนี้ มักจะจบลงด้วย การท�ำ stainless steel crown แต่ถ้าเราเลือกน�ำหลักการ minimal intervention มาใช้ และเลือกวัสดุ glass ionomer มาบูรณะ จาก ประสบการณ์ของผู้เขียน พบว่า มีความส�ำเร็จภายหลังการรักษาที่ ค่อนข้างสูง และถ้าหากเป็นการบูรณะรอยผุแบบ class II มักจะไม่ ค่อยพบว่าฟันซี่ข้างเคียงเกิดการผุ อย่างไรก็ดี ข้อด้อยหลักๆในการใช้ glass ionomer เพื่อบูรณะ ฟัน นัน่ คือความแข็งแรงของตัววัสดุเอง ทีไ่ ม่สามารถรับแรงบดเคีย้ ว ได้มากเท่า amalgam หรือ composite resin จากปัจจัยดังกล่าวนี้ หากจะเลือก glass ionomer มาใช้ในการบูรณะฟันแบบ permanent restoration การใช้งานจะจ�ำกัดอยูท่ กี่ ารบูรณะฟันน�ำ้ นม หรือฟันแท้

THAI DENTAL MAGAZINE • 25


ในด้านที่ไม่ได้รับแรงเท่านั้น เนื่องจากมักพบการสึกกร่อนภายหลัง การใช้งาน ในกรณีที่ผู้ป่วยมี occlusal load สูงๆ มักจะพบว่าตัว วัสดุมีการสึกเตี้ยไปมากกว่าเนื้อฟันธรรมชาติ ดังนั้น การท�ำ minimal intervention ด้วย glass ionomer ภายใต้การเลือกเคสที่เหมาะสม จึงเป็นทางเลือกใหม่ในการ บูรณะฟัน ที่สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้ค่ะ

Glass ionomer filling

ก�ำหนดการประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 2555 และการประชุมวิชาการครั้งที่ 94 (2/2555) ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ Bangkok Convention Centre ชั้น 22 Centara Grand at CentralWorld กรุงเทพฯ วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2555 ประธาน ศ.คลินิก ทพ. นิติพันธ์ จีระแพทย์ 09.00 – 10.00 Occlusion in everyday practice ผศ.ทญ. ภาณุเพ็ญ สิทธิสมวงศ์ 10.00 – 10.30 พิธีเปิดการประชุม โดย นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ทพ. อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา 10.30 – 12.00 ประวัติศาสตร์ชาติไทย..สอนอะไรเราบ้าง ศาสตราจารย์ ดร. วิษณุ เครืองาม 12.00 – 13.30 พักกลางวัน ประธาน พล.ท.หญิง นวรัตน์ สุนทรวิทย์ 13.30 – 14.30 งานทันตกรรมกับผู้ป่วยโรคเลือดในเด็ก ทญ.นันทนา ศรีอุดมพร, รศ.พญ.นงนุช สิระชัยนันท์ 14.30 – 15.30 งานปริทันต์และผู้ป่วยโรคหัวใจ ผศ.ทพ.ดร. กิตติ ต.รุ่งเรือง 15.30 – 16.30 การประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 2555 และ การแจกรางวัลการประกวดผลงานวิจัยของ Student Clinician Program (Dentsply), Colgate Research Award และ Lion Research Award

การประชุมวิชาการเพื่อฉลองวาระครบรอบ 30 ปี การสถาปนาคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2555

การใช้ Glass ionomer ในการบูรณะฟันแท้

ประธาน ทญ. เรืองรัตน์ โกมลภิส 09.00 – 10.00 เคลื่อนฟันอย่างไรให้ง่าย ปลอดภัย ประหยัด และรวดเร็ว รศ.ทพ.ดร. ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์ 10.00 – 11.00 อัลตร้าโซนิก กับ การรักษาคลองรากฟัน ผศ.ทญ.ดร. เกวลิน ธรรมสิทธิ์บูรณ์ 11.00 – 12.00 Optimizing Esthetics in Anterior Dental Implants: Hard and Soft tissue Re-building in Single to Multiple Adjacent teeth อ.ทพ. นฤทธิ์ ลีพงษ์ 12.00 – 13.30 พักกลางวัน ประธาน ศ.คลินิก ทญ. ผุสดี ยศเนืองนิตย์ 13.30 – 14.30 Metal-free restorations: the current trend and future development อ.ทพ.ดร. ชัยมงคล เปี่ยมพริ้ง 14.30 – 15.30 งานทันตกรรมกับอวัยวะปริทันต์ที่ไม่ควรมองข้าม อ.ทญ. ประพาฬศรี เรืองศรี 15.30 – 16.30 เรื่องที่ทันตแพทย์ควรรู้ในการก้าวสู่สังคมสูงวัย อ.ทญ.ดร. กนกพร ก�ำภู

การใช้ glass ionomer ในการบูรณะฟันน�้ำนม

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ประธาน ทพ. พีรนิธ กันตะบุตร 09.00 – 10.30 ฟัน Trauma… เอาอยู่ รศ.ทญ.ดร. ปัทมา ชัยเลิศวณิชกุล, ผศ.ทญ. อรอุมา อังวราวงศ์,ผศ.ทญ. สุภาพร คงสมบูรณ์ 10.30 – 12.00 Extreme makeover นพ. ชลธิศ สินรัชตานันท์ 12.00 – 13.30 พักกลางวัน ประธาน รศ.ทญ. วัชรี จังศิริวัฒนธ�ำรง 13.30 – 14.30 Mini-implant in orthodontics ผศ.ทพ. สมชัย มโนพัฒนกุล 14.30 – 15.30 ฟันคุด..เด็ดหัวแล้วทิ้งราก อ.ทญ. ปัทมวรรณ มโนสุทธิ, อ.ทพ. สมชาติ เราเจริญพร 15.30 – 16.30 ตีแผ่ขบวนการ Pulpal Revascularization: ฝันเฟื่อง หรือเรื่องจริง อ.ทพ.ดร. ไพโรจน์ หลินศุวนนท์,อ.ทญ.ดร. ธนิดา ศรีสุวรรณ

26 • THAI DENTAL MAGAZINE

THAI DENTAL MAGAZINE • 27


28 • THAI DENTAL MAGAZINE

THAI DENTAL MAGAZINE • 29


สนาม เด็กเล่น

@Chair Side : I feel good พื้นที่อิสระส�ำหรับพี่น้องทันตแพทย์ ที่จะแบ่งปัน ประสบการณ์ขา้ งเก้าอี้ เรือ่ งราวทีส่ ร้างแรงบันดาลใจ บทสนทนากับคนไข้ที่ชอบจนไม่อาจลืม

โอกาสส�ำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ ทุกสถาบัน ในการแบ่งปัน ประสบการณ์ เรื่องราว หรือ กิจกรรมดีๆ เพื่ออวดพี่น้องในวงการทันตแพทย์ไทย และชาวโลกบนดิจิทัลแมกกาซีน เพจใหม่ “สนามเด็กเล่น” ในเวบ www.thaidentalmag.com

ร่วมแชร์ความประทับใจ อารมณ์แบบ ‘feel good’ ที่เกิดขึ้นในการท�ำฟัน ให้พี่น้องผู้อ่านได้ชื่นชม บรรยายเป็นงานเขียนขนาดครึ่งหน้า A4 แล้วส่งมาที่ ThaiDentalMagazine@gmail.com เจ้าของเรื่องราวที่ได้รับการคัดเลือกเผยแพร่ลงใน www.thaidentalmag.com จะได้สิทธิเข้าร่วมงานประชุมวิชาการทันตแพทย สมาคม ปี 2556 โดยไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียน

พื้นที่นี้เปิดส�ำหรับคุณ เล่าเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น โปรเจคที่น่าสนใจ กิจกรรมอลังการ ฯลฯ ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบ งานเขียน ภาพถ่าย animation งานเพลง หรือภาพเคลื่อนไหว ส�ำแดงพลัง ให้ใครๆ ได้รู้ว่า ต้นกล้าทันตแพทย์มีพลังที่จะสร้างสรรค์ และ เปลี่ยนแปลงสังคมได้ ไม่ว่าจะเป็น เพลง rap ของพี่เต้ยที่มียอดฟังการโหลดฟังเป็น หมื่น ภาพวาดของน้องกิฟท์ที่สวยขนาดวางขายออนไลน์ได้ โปรเจคอ่อนหวานที่ตลาดบางหลวง บทสนทนาอันแสนประทับใจ กับคนไข้ทขี่ า้ งเก้าอี้ กระทัง่ งานเขียนใน blog สุดรัก ส่งมาได้เลยที่ ThaiDentalMagazine@gmail.com เราอยากชื่นชมพลังของคุณ เรื่องราวที่น่าสนใจนอกจากจะได้ลงเผยแพร่ใน www.thaidentalmag.com แล้ว ยังจะได้ของรางวัลเป็น Gift voucher ร้านนายอินทร์ มูลค่า 500 บาท อีกด้วย

30 • THAI DENTAL MAGAZINE

THAI DENTAL MAGAZINE • 31


วิธีที่ 3 กองทุนรวมเพื่อ การเกษียณอายุ หรือ RMF กองทุนนีไ้ ม่ตอ้ งคิดมากเกีย่ วกับฐานภาษีวา่ อยูใ่ นระดับใด เพราะเป็นการ ออมระยะยาว และความเสีย่ งจะลดลงตามระยะเวลาทีล่ งทุน ซึง่ กองทุน RMF นีม้ คี วามยืดหยุน่ สูง สามารถสับเปลีย่ นกองทุนได้ ช่วงไหนตลาดหุน้ ไม่ดีก็ไปลงทุนอย่างอื่น แต่ปัญหาคือ คนส่วนใหญ่ไม่ได้ติดตามตลาด หุ้น เมื่อตลาดหุ้นเป็นขาลงก็เปลี่ยนกองทุนไม่ทัน หรือช่วงที่ตลาดหุ้น ขาขึ้นก็สลับกลับมาลงทุนในหุ้นไม่ทัน เป็นต้น ดังนั้นควรจะติดตามข่าว เศรษฐกิจการเงินบ้าง

เรื่อง นายแบงค์

“เงินก็เหมือนกับคน จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมัน ท�ำงานหนัก”

ก่อนทีจ่ ะนอกเรือ่ งไปมากกว่านี้ ขอดึงตัวเองกลับเข้าเรือ่ งก่อน ฉบับ นี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับตุ่มใบที่สอง FFA (Financial Freedom Account) ซึ่งชื่อก็บอกตามตัวว่าเก็บ เอาไว้ให้เกิด Financial Freedom ในอนาคต แต่การเก็บก็สามารถ เพิ่มมูลค่าของมันได้ ด้วยการใช้มันไปท�ำงาน แต่ต้องมั่นใจด้วยว่า ต้องใช้มันท�ำงานที่ไม่มีความเสี่ยงหรือมีก็ได้แต่ความเสี่ยงไม่ควร สูงมากเกินไป เงินในตุ่มนี้คือประมาณ 10% หรืออาจจะถึง 20% ก็ได้ ตามแต่ สัดส่วนที่คุณได้แบ่งไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งถ้าเงินเดือนประมาณ 50,000 บาท เงินในตุ่มนี้จะมีมูลค่าถึง 5,000-10,000 บาท แต่จะใช้เงิน ท�ำงานอะไรได้บ้าง ผมพอมีทางที่ให้เงินท�ำงานและความเสี่ยงไม่ ได้สูงมากจนเกินไป มา share ให้ 5 แนวทางด้วยกัน (ซึ่งในฉบับนี้ ขอน�ำมาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันสัก 3 วิธีก่อน)

วิธีการแรก คือ เงินฝาก ปลอดภาษี สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ก่อนอื่นผมขออธิบายประโยคที่ว่า “เงินก็ เหมือนกับคน จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมันท�ำงานหนัก” กันก่อนสักนิดหนึ่ง ประโยคนี้ผมได้มาจากหนังสือ 2 เล่มเอามารวมกัน เล่มหนึ่ง คือ “ต�ำรา 101” ที่เคยพูดไว้แล้วเมื่อ 2 ตอนก่อน พี่ใบพัดเขาเขียนไว้ว่า “ต้อง ใช้เงินให้ท�ำงานหนักๆ แล้วมันจะตอบแทนเราอย่างคุ้มค่า” ส่วนอีก เล่ม เป็นหนังสือที่ตึงๆ หน่อย ของอาจารย์ประเวศ วะสี เรื่องเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัย: หัวรถจักรทางปัญญา โดยมีส่วนหนึ่งเป็นประเด็นเกี่ยว กับค่านิยมในการท�ำงาน (Work Value) ว่า “ควรให้ค่านิยมว่าการท�ำงาน เป็นของดี เป็นของมีเกียรติ เป็นคุณค่า” ประเทศเยอรมัน ญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา เขาให้ค่านิยมในการท�ำงานที่สูง มาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย อาจจะเป็นไปได้ว่า เรามีสุภาษิตหรือ วัฒนธรรมที่อยากให้ลูกหลานสบาย เช่น “รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา” “ขอให้ ได้เป็นเจ้าคนนายคน” “ขอให้ได้นั่งกินนอนกิน” อาจารย์ประเวศเลยอยากให้ พวกเรามีค่านิยมของการท�ำงานใหม่ว่า “การท�ำงานเป็นสิ่งที่ดี และเป็นการ เพิ่มคุณค่าให้ตนเอง” 32 • THAI DENTAL MAGAZINE

เงินฝากแบบนี้จะเป็นลักษณะของเงินฝากประจ�ำ ที่ต้องฝากติดต่อ กัน ไม่ต�่ำกว่า 24 เดือน โดยจะฝากเป็นจ�ำนวนเงินเท่าๆ กันทุกเดือน และก�ำหนดขั้นต�่ำในการฝาก คือ เดือนละ 1,000 บาท และสูงสุดไม่ เกิน 25,000 บาท ซึ่งสามารถฝากที่ธนาคารอะไรก็ได้ และชื่อเรียกก็ แทบไม่แตกต่างกัน ส�ำหรับเงือ่ นไขของเงินฝากประเภทนีน้ อกจากจะต้องฝากต่อเนือ่ งใน จ�ำนวนเงินเท่าๆ กัน ทุกเดือน เป็นเวลา 24 เดือน (บางแห่งจะมี 18 เดือน หรือ 36 เดือน แต่เงื่อนไขส่วนใหญ่คล้ายกัน) แล้ว ต้องศึกษา เงือ่ นไขอืน่ ๆ เพิม่ เติมด้วย เช่น ถ้าในกรณีทฝี่ ากไม่ตอ่ เนือ่ ง (บางเดือน ลืมฝาก) อาจจะมีเงื่อนไขในการขอคืนภาษีจากเราและคิดดอกเบี้ย เป็นแบบเงินฝากออมทรัพย์ ซึง่ ถ้าน�ำเงินในตุม่ นี้ 5,000 บาท ต่อเดือน ฝากเข้าบัญชีเงินฝากปลอด ภาษี เป็นเวลา 2 ปี ดอกเบี้ยจะประมาณ 3% ก็จะได้ดอกเบี้ยคร่าวๆ ประมาณ 3,600 บาท แบบไม่ต้องจ่ายภาษี

การลงทุนขั้นต�่ำในกองทุน RMF ก�ำหนดให้ปีละ 3% ของเงินได้ หรือ 5,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปี หรือ 5 แสนบาท ซึ่ง การค�ำนวณจะมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเล็กน้อย หากมีการออมผ่าน กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบ�ำเหน็จบ�ำนาญข้าราชการ

วิธีที่ 2 กองทุนรวมหุ้น ระยะยาวหรือที่ รู้จักกันใน ชื่อ LTF

ส�ำหรับกองทุน LTF การจะซือ้ กองทุนเพือ่ หักภาษี ควรพิจารณาฐานภาษี ของเราด้วยว่าอยู่ระดับใด ร่วมกับแนวโน้มของตลาดหุ้น เช่น หากเรามี ฐานภาษีที่ 10% และคาดว่าตลาดหุ้นจะตกลงไป 10% ก็ไม่ควรซื้อเพื่อ หักภาษี แต่ถ้าฐานภาษีสูงกว่า ก็สามารถซื้อลงทุนได้ ซึ่งต้องพึงระลึกไว้ ว่า อย่าลงทุนเกินสิทธิที่จะได้รับการลดหย่อนภาษี เพราะถ้าหากซื้อเกิน สิทธิที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ก็ไม่ได้สง่ ผลอะไรครับ แค่ลดหย่อนภาษี ได้เท่ากับ maximum ที่ก�ำหนด การหักลดหย่อนภาษีเงินได้ สามารถหักได้กองทุนละ 15% ของรายได้ ทั้งปี แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท ซึ่งการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุน LTF ไม่ จ�ำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี อาจจะซื้อปีเว้นปีก็ได้ และจะต้องซื้อก่อน 31 ธ.ค. 2559 เท่านั้นจึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ตามที่รัฐบาล ประกาศ เพราะภายหลังปี พ.ศ. 2559 อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่อง สิทธิการลดหย่อนภาษี แต่ ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีประกาศจากรัฐบาลแต่ อย่างใด ซึ่งก็ถือว่า ใครซื้อ LTF ก่อนเปลี่ยนแปลง จะไม่ได้ส่งผลต่อสิทธิ การลดหย่อนภาษี ส�ำหรับกองทุน LTF นี้ จะต้องรู้ว่ากองทุนนี้จะน�ำเงินของคุณไปลงทุนใน หุ้นเท่าไร เกินครึ่งหรือเต็ม 100% ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน ดังนั้นต้องพิจารณาให้ดีว่าจะสามารถรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มาก น้อยเพียงใด ตัวอย่างการลงทุนใน LTF 1 แสนบาทเพื่อลดหย่อนภาษี แต่เราเสีย ภาษีในอัตรา 20% เราจะได้เงินคืน 2 หมื่นบาทเมื่อครบก�ำหนดไถ่ถอน ในปีที่ 5 และเมื่อน�ำเงินก้อนเดิมที่ได้ทั้งหมดไปลงทุนต่ออีก ท�ำวิธีการนี้ 5 รอบ เราจะได้คืนภาษีรวมแล้วแสนกว่าบาทเลยทีเดียว

สิทธิประโยชน์ของทั้ง LTF และ RMF มี 2 เด้งเกี่ยวกับภาษี คือ 1. เงิน ซื้อหน่วยลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่าย จริงและสูงสุดไม่เกิน 5 แสนบาท และ 2. เงินที่ขายคืนหน่วยลงทุนไม่ ต้องเสียภาษีเงินได้ หากลงทุนใน LTF เต็ม 5 ปี หรือส�ำหรับกองทุน RMF หากผู้ลงทุนทุพพลภาพหรือตาย เงินที่ไถ่ถอนจะได้รับการยกเว้นไม่ต้อง เสียภาษีเงินได้ทั้งจ�ำนวน

ส�ำหรับฉบับนี้ ผมขอเขียนไว้เป็นข้อมูลให้ทา่ นผูอ้ า่ นเพียงเท่านีก้ อ่ น ส่วน อีก 2 วิธีนั้นเจอกันฉบับหน้า และสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ ของ โพสต์ทูเดย์ เรื่อง “ออมให้รวย ด้วยภาษี” การวางแผนที่ดี จะมีโอกาสที่ท�ำให้เราไม่สะเทือนหากเกิดกรณี ฉุกเฉิน การเงินก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นการวางแผนและหาข้อมูล เพิ่มเติม ไม่ว่าจะจากทางไหน ล้วนเป็นเรื่องที่น่าท�ำเป็นอย่าง ยิ่ง ส�ำหรับเงินในแต่ละตุ่มนี้ ซึ่งหากประมาณคร่าวๆ จะมีมูลค่า ประมาณ 60,000-120,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว ใช้เงินท�ำงานให้ หนัก แล้วมูลค่าจะได้เพิ่มขึ้นตาม

THAI DENTAL MAGAZINE • 33


• idea dent

การบันทึกเวชระเบียน

2. Present lllness รายละเอียดของอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น ต�ำแหน่ง บริเวณที่ปวด ลักษณะการปวด อะไรกระตุ้น ระยะเวลา ฯลฯ จ�ำพวกปวดบวมแดงร้อน หรือ อาการส�ำคัญ ต่างๆ ควรบันทึกไว้ เทียบภายหลังการรักษาได้ 3. Clinical Findings รายงานผลการตรวจฟัน/บริเวณที่เป็นอาการส�ำคัญ หรืออาการเจ็บป่วย รวมทัง้ การตรวจฟันผุ วัสดุบรู ณะทีไ่ ม่เหมาะสม, ฟันทีถ่ กู ถอนไป, อวัยวะ ปริทันต์ และปัญหาอื่นๆ ที่พบจากการตรวจใน/นอกช่องปาก ไม่ควรละเลย เพราะฟันทีม่ พี ยาธิสภาพต่างๆ อาจมีผลเกีย่ วกับการ วางแผนการรักษาได้

เรื่อง ซาแมนต้า

สวัสดีค่ะ.... พบกันอีกครั้งนะคะ ใน “IDEA DENT” คราวนี้เป็นเรื่อง ต่อจาก การประเมินคนไข้..นัน่ คือ การบันทึกการตรวจ และการรักษา ของทันตแพทย์ เราควรจะเขียนบันทึกอะไรบ้าง ใจความมีอะไร ที่ไม่ควรลืม .. หลายคนสงสัย.. โอ้โห.. ต้องเขียนเยอะละเอียดยิบ เหมือนตอนเรียนทันตแพทย์เลยเหรอ!!! .. อ๊ะอ๊ะ.. อาจไม่ต้องเขียน ข้อมูลเยอะเพียบขนาดน้านนนน.. แต่อยากให้หลับตานึกภาพการบันทึก เวชระเบียนอย่างไรให้ครบถ้วน กระบวนความ อ่านทีไรนึกภาพออก ใคร อ่านก็รเู้ รือ่ ง ใครท�ำต่อก็เข้าใจ มีเรือ่ งอะไรก็คน้ ง่ายสมบูรณ์ .. แบบไม่ยาก.. เพราะบางครัง้ การรักษาทีเ่ ราคิดว่าดีแล้ว ถูกต้องแล้ว สมบูรณ์แล้ว ก็เกิด ปัญหา แต่ยอ้ นกลับมาดู จะมีอะไรบ้างทีเ่ ป็นตัวบรรยายสิง่ ทีเ่ ราได้ทำ� ไป.. ก็การบันทึกเวชระเบียนยังไงละคะ..และทีส่ ำ� คัญเดีย๋ วนีก้ ารรักษานัน้ ต้อง เป็นไปตามมาตรฐานระดับชาติ ระดับโลก เช่น HA JCI อะไรต่างๆ .. ซึ่ง การบันทึกเวชระเบียนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานการ ท�ำงานของเราอีกด้วยค่ะ .. ลองติดตามดูกันเลยนะคะ ทันตแพทย์ เป็นผู้ซักประวัติ ตรวจวินิจฉัย วางแผนการรักษา ให้การ รักษา และส่งต่อผู้ป่วยตามความเหมาะสม และท�ำการบันทึกข้อมูลเวช ระเบียน ดังนี้ค่ะ 1. Chief Complaint ระบุอาการส�ำคัญของคนไข้ที่มาพบ เช่น ฟันผุ ปวดฟัน เหงือกบวม ฟัน เรียงตัวไม่สวย ฯลฯ ข้อมูลนีเ้ ป็นสิง่ ส�ำคัญทีจ่ ะสือ่ ให้ทราบถึงสิง่ ทีค่ นไข้อยากให้เรารักษา แก้ไข 40 • THAI DENTAL MAGAZINE

4. Radiographic Examination X-ray เป็นสิ่งส�ำคัญที่พลาดไม่ได้.. ไม่ว่าจะเป็นงานศัลยกรรมช่องปาก งานรักษาราก จัดฟัน อุดฟัน ฯลฯ เพราะสิ่งที่เห็นด้วยตาเปล่า อาจมีสิ่งซ้อนเร้นซ่อนอยู่ ซึ่งอาจท�ำให้ งานธรรมดา ไม่ธรรมดาได้ การถ่ายภาพรังสี ปัจจุบัน นิยมใช้ ระบบ digital ทั้ง 2 และ 3 มิติ เพราะ สะดวก คุณภาพความคมชัด เก็บรักษาง่ายและลดสารพิษจาก ระบบน�้ำยาล้างฟิล์ม • การถ่ายภาพรังสี Periapical ให้เขียนระบุซี่ฟันนั้นๆ • การถ่ายภาพรังสี Bitewing (BW) ให้เขียนระบุด้านที่ถ่าย • การถ่ายภาพรังสีวิธีอื่นๆ เช่น OPG Lateral Ceph ฯลฯ ให้ รายงานผลการตรวจจากภาพรังสีของ ฟัน / บริเวณที่เป็นอาการ ส�ำคัญหรือ อาการเจ็บป่วย รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่พบจากภาพรังสี 5. Diagnosis บันทึก การวินิจฉัยโรคของฟัน/บริเวณที่เป็นอาการส�ำคัญ และโรคหรือ ความผิดปกติอื่นๆ ที่ตรวจพบ การให้ค�ำวินิจฉัยโรคให้เป็นไปตามข้อมูล ICD 10 CODE. ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล 6. Treatment plan • วางแผนการรักษาทันตกรรมให้ครบตามทีว่ นิ จิ ฉัยโรคไว้ โดยมีเเนว ทางการเลือกให้กับคนไข้ด้วย • ในกรณี อุดฟัน รักษารากฟัน ถอนฟัน ครอบฟัน ระบุซี่ฟันที่ต้อง รับการรักษา • ในกรณี ใส่ฟัน ระบุต�ำแหน่งฟันหรือ arch หรือประเภทการใส่ฟัน 7. Verification นั่นก็คือส่วนหนึ, ่ง Mark site Time out

ของผู้คนที่ผมได้ พูดคุยด้วย

Verification เป็นกระบวนการยืนยันความถูกต้องทุกครั้งก่อนการรักษาให้แก่

คนไข้ ยิ่งโดยเฉพาะเวลามีการส่งคนไข้ไปยังเเพทย์ท่านอื่นที่รักษาต่อมา เพราะอาจผิดคน ผิดหัตถการผิดต�ำเเหน่งได้ !!!

(กรณีต้องฉีดยาชา ให้ท�ำก่อนการฉีดยาชา ) โดยทันตแพทย์ตอ้ งตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง ตามขัน้ ตอน ดังต่อไปนี้ 1. ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด และ HN. (กรณี รพ.) ของคนไข้ 2. สอบถามคนไข้หรือผูแ้ ทน ถึงหัตถการทีจ่ ะท�ำ และต�ำแหน่งฟันที่ จะท�ำ และต้องได้รบั ค�ำยืนยันจากคนไข้ หรือผูแ้ ทนยืนยันว่าตรงกับบันทึก ของทันตแพทย์ 3. เอกสารส�ำคัญ เช่น การเซ็นยินยอมการรักษา ในหัตถการที่มี ความเสี่ยง ซึง่ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ อธิบายรายละเอียดของการรักษา ผลการรักษา ผลข้างเคียงต่างๆ ให้คนไข้รบั ทราบก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าแพทย์จะ ปฏิเสธความรับผิดชอบต่อคนไข้ได้นะคะ 4. ฟิล์มเอกซเรย์ 5. รากเทียมหรืออุปกรณ์พิเศษอื่นๆ ที่ต้องใช้ Mark site

ระบุต�ำแหน่งฟันในช่องปาก หรือบริเวณที่จะท�ำการรักษาให้ผู้ป่วย รับทราบก่อนการรักษา และระบุต�ำแหน่งฟัน หรือบริเวณที่ท�ำการรักษา ในแบบบันทึกเวชระเบียน Time out

ท�ำการบันทึกในเวชระเบียนเพื่อแสดงการยืนยันขั้นสุดท้ายก่อน เริ่มท�ำหัตถการ เพื่อยืนยันว่าจะให้การรักษาถูกคน ถูกต�ำแหน่ง และถูก หัตถการ ดังนี้ • Patient หมายถึง การรักษาถูกคน • Site หมายถึง การรักษาถูกต�ำแหน่ง • Procedure หมายถึง การรักษาถูกหัตถการ 8 Treatment บันทึกการรักษาทันตกรรมที่ให้ใน Visit นั้น a) Tooth ระบุซี่ฟัน หรือ Quadrant หรือต�ำแหน่งที่ท�ำให้ชัดเจน b) Treatment • บันทึกรายละเอียดการรักษา ผลการตรวจพบหลังการรักษา • กรณีที่มีการใช้ยาชาให้ระบุชนิดยาชา ความเข้มข้นของสารบีบ หลอดเลือด ปริมาณที่ใช้ทุกครั้ง • เมือ่ เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะให้การรักษา บันทึกรายละเอียดของ การเกิดภาวะแทรกซ้อนและการให้การรักษาเพื่อแก้ไขภาวะนั้น • กรณีมกี ารให้ยา ให้บนั ทึกการสัง่ ยา (ชนิดยา / ขนาดยา / จ�ำนวน ยา ) การใช้ยาทุกครั้ง • กรณีทตี่ อ้ งการบันทึกค่าใช้จา่ ยของแผนการรักษาทีแ่ จ้งต่อผูป้ ว่ ย ให้บันทึกไว้ในช่องนี้ • กรณีที่มีการสั่งยา บันทึก ชนิดยา ขนาดยา จ�ำนวนยา ทุกครั้ง • กรณีที่ต้องการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติม ให้บันทึกไว้ในช่องนี้ c) บันทึกค่าใช้จ่ายของการรักษา ใน Visit นั้น เพื่อจะได้เป็นข้อมูล ที่สามารถเช็คราคา ยอดช�ำระ ยอดคงเหลือได้ และเช็คข้อมูลกรณีเบิก หน่วยงานต่างๆ ได้ 9. Reassessment การประเมินซ�้ำหลังให้การรักษา ดังนี้

#Pain score ประเมินความเจ็บปวดท�ำในกรณีต่อไปนี้ • ผู้ป่วยทุกรายที่มีความเจ็บปวดก่อนการรักษา • ผู้ป่วยทุกรายหลังท�ำหัตถการ บันทึก Pain score ลงในเวชระเบียน #Bleeding หลังท�ำหัตถการ ผูป้ ว่ ยทีไ่ ด้รบั การผ่าตัดหรือศัลยกรรมช่องปาก ต้องได้รบั การประเมิน Bleeding หลังท�ำหัตถการทุกครั้ง ว่าปกติหรือไม่ หากไม่ปกติเขียนระบุ อาการที่พบ • หากจ�ำเป็นต้องประเมินภาวะอื่นเพิ่มเติม ให้เขียนรายละเอียด 10. OHI / Post – op care Instruction บันทึกข้อมูลการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในเวชระเบียนทุกครั้ง การให้ ทันตสุขศึกษา ค�ำแนะน�ำการปฏิบัติตัวหลังการรักษา หรือข้อมูลอื่นๆ ที่ จ�ำเป็น กรณีให้ค�ำอธิบายและให้ใบค�ำแนะน�ำ หลังการรักษา เขียนระบุ การรักษา หากมีข้อมูลเพิ่มเติมบันทึกในช่องอื่นๆ 11. Referral • การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ระบุสาขาแพทย์ • การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรักษากับทันตแพทย์เฉพาะทาง ระบุสาขา ทันตแพทย์ และแผนการรักษา 12. Next visit • กรณีนดั หมายต่อเนือ่ ง ระบุแผนการรักษา เวลาในการรักษา ระยะ นัดหมายในครั้งต่อไป ทุกครั้ง • กรณีการรักษาเสร็จสมบูรณ์ ให้เขียนระบุระยะเวลาการ Recall (Recall 3 เดือน , 6 เดือน) 13. Signature ลงชื่อทันตแพทย์ผู้รักษาทุกครั้ง เพื่อจะได้ทราบชื่อเเพทย์ผู้ท�ำการ รักษา หมายเหตุ​ 1. ถ้าเป็นไปได้ควรบันทึก เวลาเข้า – ออกจากห้องตรวจเพือ่ เป็น ข้อมูลอ้างอิงของการรักษา 2. การบันทึกความดันโลหิตและชีพจร (Reassessment) กรณี ที่มีการผ่าตัด / ศัลยกรรมช่องปาก ให้พยาบาลวัดความดันโลหิตและ ชีพจร หลังจากท�ำหัตถการแล้ว 10 – 15 นาที ให้บันทึกค่าที่ได้และ เวลาที่วัด ใน note 3. กรณีคนไข้ไม่มาตามนัด ให้บันทึกในช่อง note ของใบเวช ระเบียนครั้งสุดท้ายที่ผู้ป่วยมา จะได้ติดตามนัดรักษาต่อ เพื่อให้การ รักษาสมบูรณ์ ครบตามแผนที่วางไว้ เช่น รักษาราก จัดฟัน ฯลฯ ที่ต้อง รักษาต่อเนื่อง เป็นอย่างไรบ้างคะ รายละเอียดคงจะไม่มากจนเกินไปนะคะ อย่าง น้อยให้ความส�ำคัญกับการบันทึกเวชระเบียนนะคะ เหมือนบันทึก ประวัตศิ าสตร์การท�ำงานของเรา ถ้าละเอียด...อ่านง่าย เข้าใจดี.. อนาคต ก็จะดีสดใสแน่นอนค่าาาา ... ไว้พบกันฉบับหน้านะคะ. .. สวัสดีค่ะ THAI DENTAL MAGAZINE • 41


พื้นที่การศึกษา ร่มเงาไม้ใหญ่ รอบรั้ววัฒนธรรม

40 ปี ทันตแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง ผศ.ทพ.พิริยะ เชิดสถิรกุล ภาพประกอบ ทญ.สิริพร พัฒนวาณิชชัย และหน่วยโสตทัศนศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ส�ำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จาก... แผนกทันตกรรมในคณะแพทยศาสตร์ สู่... คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จาก... พื้นที่ห้องฟันเล็กๆ ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สู่... พื้นที่ 11 ไร่บนถนนสุเทพ ถนนสายหลักสู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จาก... การผลิตทันตแพทย์เริ่มต้นเพียง 2 คน สู่... การผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ปีละ 110 คน และบัณฑิตศึกษา 100 คน จาก... ปี พ.ศ.2515 แห่งการเริ่มต้น สู่... ปี พ.ศ. 2555 40 ปีแห่งการสถาปนา 42 • THAI DENTAL MAGAZINE

การจัดตัง้ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึง่ ได้รบั การอนุมัติให้จัดตั้งเป็นคณะในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2515 โดยนับเป็น คณะล�ำดับที่ 9 ของร่มแดนช้าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การด�ำเนิน การของ อ.ทพญ.ถาวร อนุมานราชธน คณบดีท่านแรก บนถนนสุเทพฝั่ง ตรงข้ามวัดสวนดอกซึ่งเป็นวัดประจ�ำของเจ้านายฝ่ายเหนือ จวบจนปัจจุบันปี พ.ศ. 2555 แม้พื้นที่บนถนนสุเทพจะมีการ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย แต่พื้นที่ภายในสถาบันแห่งนี้ยังคงเป็น พืน้ ทีส่ เี ขียวทีย่ งั คงความงดงามและส่งเสริมการเรียนการศึกษาเป็นอย่าง ยิง่ ต้นจามจุรใี หญ่สามต้นทีเ่ กาะเกีย่ วกันอยูบ่ ริเวณสนามกลางคณะทันต แพทยศาสตร์ กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใครๆ ล้วนแต่จดจ�ำได้ ด้วยกิ่งก้าน สาขาที่แผ่ให้ความร่มเย็นในพื้นที่กว่า 2000 ตารางเมตร จึงเป็นไม้ใหญ่ ทีส่ ร้างความร่มกายเย็นใจแก่ทกุ คนทีไ่ ด้มาเยือน จนได้รบั รางวัลชนะเลิศ ในการประกวดต้นไม้ใหญ่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ประจ�ำปี 2552 ภายใต้รม่ ไม้ใหญ่ทเี่ ป็นเอกลักษณ์ของสถาบันแห่งนี้ ยังมีขอบเขต ด้านหลังคณะทันตแพทยศาสตร์ที่ปิดล้อมด้วยแนวคันดินโบราณที่บอก ขอบเขตเวียงสวนดอกของอาณาจักรล้านนาในอดีต มีคูน�้ำอยู่ภายนอก ท�ำหน้าทีเ่ ป็นปราการป้องกันการโจมตีของข้าศึก แนวคันดินทีย่ งั มีความ สมบูรณ์อยู่มาก จึงถูกพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม ทั้งเป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงนับได้ ว่าคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแหล่งการศึกษาที่ ล้อมรอบด้วยธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมอย่างแท้จริง จากวันที่ก่อตั้งสถาบันแห่งนี้มาจนถึงปัจจุบันซึ่งมีการบริหารโดย รศ.ทพ.ทองนารถ ค�ำใจ คณบดีท่านที่ 7 ของสถาบันแห่งนี้ การเติบโต ขององค์กรแห่งหนึง่ มาถึงปีที่ 40 นับเป็นเวลาทีย่ าวนาน เมือ่ เปรียบเทียบ กับช่วงชีวิตของคน หลายคนกล่าวว่าในปีที่ 40 ของคนเรานั้น แท้จริง เป็นการเริ่มต้น ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเพื่อแปรเปลี่ยนเป็น ความยั่งยืนต่อไปในอนาคต เฉกเช่น 40 ปีของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่นับเป็นการก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ทศวรรษที่ 5 ที่เปี่ยมไปด้วยพันธกิจต่างๆ มากมาย

ทันตแพทย์เชียงใหม่ ทันตแพทย์เพื่อชุมชน การเรียกร้องของประชาชนชาวเชียงใหม่ท�ำให้เกิดมหาวิทยาลัย แห่งนีบ้ นพืน้ ทีล่ มุ่ น�ำ้ ปิง เชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เช่นเดียวกับคณะ ทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรองรับต่อการ ผลิตทันตแพทย์ส�ำหรับชาวเชียงใหม่และภาคเหนือในขณะนั้น โดยเริ่ม ต้นจากนักศึกษาทันตแพทย์ 2 คน และเพิ่มจ�ำนวนการผลิตจนมีจ�ำนวน รับนักศึกษาเป็น 80 คนต่อปีในเวลาต่อมา ปัจจุบันนอกเหนือการผลิต ทันตแพทย์ขา้ งต้น ยังมีการรับนักศึกษาภายใต้โครงการผลิตทันตแพทย์ เพิม่ เพือ่ ตอบสนองต่อความต้องการทันตแพทย์ในระบบสาธารณสุข ท�ำให้ บัณฑิตทันตแพทย์ที่ส�ำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้มีจ�ำนวนถึง 110 คนในแต่ละปี นับเป็นสถาบันที่มีการผลิตปริมาณทันตแพทย์เพื่อรับใช้ สังคมและประชาชนสูงเป็นอันดับสองของประเทศไทย ด้วยความมุ่งมัน่ ในการพัฒนาศักยภาพของทันตแพทย์ หลักสูตร ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิตฉบับปัจจุบัน ที่ปรับปรุงและเริ่มใช้ในปีการ ศึกษา 2553 นอกเหนือจากเนื้อหาทักษะพื้นฐานทางทันตแพทย์แล้ว ยังเพิ่มเติมความรู้และทักษะที่จ�ำเป็นส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิด ขึ้นในอนาคต เช่น ความรู้ทางทันตกรรมรากเทียม การจัดการในผู้ป่วย สูงอายุ เป็นต้น และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ครบจ�ำนวนทั้งในห้องปฏิบัติ การและคลินกิ เพือ่ พัฒนาทักษะในการปฏิบตั งิ านของบัณฑิตทันตแพทย์

จากวิสัยทัศน์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ที่มุ่งเป็น “สถาบันแห่ง ความเป็นเลิศที่ค�ำนึงถึงชุมชนและสังคม” หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ บัณฑิตแห่งนีจ้ งึ เน้นทีจ่ ะสร้างทันตแพทย์ทเี่ ข้าใจถึงปัญหาและสามารถ แก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของชุมชน เพื่อยกมาตรฐานทางทันตสุขภาพ ให้กับชุมชนห่างไกลให้ดีขึ้น จนได้ชื่อว่าเป็นหลักสูตรที่มีการพัฒนา บัณฑิตทันตแพทย์เพื่อรองรับต่อการปฏิบัติงานในชุมชนที่ดีแห่งหนึ่งใน ประเทศไทย ท�ำให้ปัจจุบันจึงมีทันตแพทย์ที่ผลิตจากร่มแดนช้างแห่งนี้ ยังคงปฏิบตั งิ านในโรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐอยูม่ ากมายทัว่ ประเทศ โดย ไม่จ�ำกัดเฉพาะเขตภาคเหนือเฉกเช่นในอดีต THAI DENTAL MAGAZINE • 43


กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ พื้นที่พัฒนาชีวิต

แนวคิดการเป็นสถาบันแห่งการเรียนรูต้ ลอดเวลา ท�ำให้มหาวิทยาลัย เชียงใหม่สนับสนุนการท�ำกิจกรรมของนักศึกษาทั้งในระดับคณะและ มหาวิทยาลัย ดังจะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเกิด ขึ้นตั้งแต่ย่างก้าวแรกของการเป็นลูกช้าง ลูก ม.ช. ทั้งการต้อนรับน้อง รถไฟ การรับน้องเดินขึ้นดอยเพื่อนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ เพื่อเป็น ศิริมงคลแก่น้องใหม่ที่ได้เข้ามาอยู่ในสถาบันแห่งนี้ คณะทันตแพทยศาสตร์แห่งนีม้ นี โยบายสนับสนุนการจัดกิจกรรม ของนักศึกษา นอกเหนือจากค่ายเปิดการเรียนรูท้ นั ตแพทยศาสตร์ “ Dent Camp “ ทีจ่ ดั ให้กบั เยาวชนทีส่ นใจเข้าศึกษาต่อในคณะทันตแพทยศาสตร์ ยังมีกิจกรรมการให้ความรู้แก่ประชาชน “ ฟันสวย ยิ้มใส ” ที่จัดต่อเนื่อง มากว่า 20 ปี โดยมีหอพักนักศึกษาทันตแพทย์ที่ตั้งอยู่เพียงระยะ 100 เมตรจากพืน้ ทีก่ ารศึกษาเป็นส่วนเอือ้ ต่อการเรียนรูด้ า้ นวิชาการควบคูก่ าร ท�ำกิจกรรม และอยูใ่ นละแวกเดียวกับกลุม่ สาขาวิทยาศาสตร์สขุ ภาพอืน่ ๆ ทัง้ แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เทคนิกการแพทย์ ทัง้ นีป้ ลายปี พ.ศ.2555

44 • THAI DENTAL MAGAZINE

หอพักนักศึกษาทันตแพทย์สูง 4 ชั้นในอดีตจะกลายเป็นหอพักทันสมัย สูง 8 ชั้นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเรียนในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงไม่เป็น เพียงการเรียนรู้ผา่ นต�ำรา แต่ยงั เป็นการเรียนรูผ้ า่ นชีวติ ทีท่ �ำให้ศษิ ย์ของ สถาบันแห่งนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความทรงจ�ำในรั้วสีม่วงของสถาบัน

แหล่งเพิ่มทักษะ พัฒนาความสามารถ

จากการจัดการเรียนการสอนที่มีแต่ระดับปริญญาตรีในอดีต ปัจจุบนั คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มกี ารเปิดหลักสูตร หลังปริญญาหลายหลักสูตรในระดับต่างๆ ที่รองรับต่อทันตแพทย์ที่ ต้องการเพิ่มทักษะทางด้านคลินิก ทั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต ชั้นสูง ปริญญาโท ในสาขาต่างๆ 9 สาขาวิชา โดยนอกจากเปิดสอน หลักสูตรวิชาปกติทวั่ ไปแล้วนัน้ ยังเพิม่ หลักสูตรทีม่ คี วามแปลกใหม่และ ตรงต่อความต้องการของทันตแพทย์ในปัจจุบัน เช่น ทันตกรรมบูรณะซึ่ง ผนวกงานด้านทันตกรรมหัตถการ ทันตกรรมความสวยงาม ครอบฟัน

และสะพานฟันติดแน่นเข้าด้วยกัน รวมถึงหลักสูตรทันตกรรมรากเทียม ซึ่งเป็นหลักสูตรล่าสุดจากความร่วมมือของสาขาต่างๆ โดยมีศูนย์ความ เป็นเลิศด้านทันตกรรมรากเทียมเป็นแหล่งฝึกอบรมแก่ทนั ตแพทย์ทสี่ นใจ ให้มีโอกาสเรียนรู้ฝึกอบรมงานรากเทียมอย่างเป็นระบบทั้งในหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ปริญญาโท และปริญญาเอก ตั้งแต่ปีการ ศึกษา 2556 ที่จะถึงนี้ นับแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ได้จดั ตัง้ หน่วยงานโรงพยาบาลทันตกรรมขึน้ ภายใต้โครงสร้าง ทางกายภาพของโรงพยาบาลที่ประกอบไปด้วยพื้นที่ให้บริการผู้ป่วยที่มี ความซับซ้อน ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ห้องผ่าตัดใหญ่ภายใต้การวางยา สลบ และหอพักฟืน้ ของผูป้ ว่ ย โดยมีอาจารย์แพทย์ ทันตแพทย์ทมี่ คี วาม ช�ำนาญให้การดูแล ปัจจุบันโรงพยาบาลทันตกรรมจึงเป็นสถานที่หนึ่ง ที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาในหลักสูตรวุฒิบัตร เปิดโอกาส ให้ทันตแพทย์ได้เพิ่มทักษะพัฒนาความสามารถได้อย่างเต็มที่ โดยมี หลักสูตรวุฒบิ ตั รทีร่ บั รองโดยราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยที่ ด�ำเนินการอยูใ่ นปัจจุบนั 4 หลักสูตรด้วยกันคือ ทันตกรรมจัดฟัน ปริทนั ต วิทยา ทันตกรรมทั่วไป และ ศัลยศาสตร์และแมกซิลโลเฟเชียล และในทศวรรษที่ 5 ของสถาบันแห่งนี้ การพัฒนาหลักสูตรต่างๆ มีเป้าหมายที่มุ่งสู่ระดับนานาชาติมากขึ้น โดยปัจจุบันนอกเหนือจาก หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ดษุ ฏีบณ ั ฑิตทีม่ ที งั้ หลักสูตรปกติและหลักสูตร นานาชาติแล้ว ในอนาคตจะมีการเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติในระดับ ปริญญาโท สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน ซึง่ จะเป็นการเดินหน้าเพือ่ พัฒนา ทักษะความสามารถของทันตแพทย์และสถาบันเข้าสูค่ วามเป็นสากลต่อไป

มุ่งมั่นบริการ ประสานความรู้วิชาชีพ

จากผู้ป่วยที่เข้ารับบริการผ่านการเรียนการสอนราว 100,000 คน ต่อปี ซึง่ พืน้ ทีบ่ ริการไม่เพียงพอกับความต้องการรับบริการของประชาชน คณะทันตแพทยศาสตร์จงึ ได้เปิดพืน้ ทีค่ ลินกิ ทันตกรรมพิเศษทีใ่ ห้บริการ โดยอาจารย์ทันตแพทย์และทันตแพทย์เฉพาะทางท�ำให้สามารถรองรับ ผู้ป่วยนอกระบบการเรียนการสอนได้อีกราว 55,000 คนต่อปี และมีการ เตรียมสร้างอาคารหลังที่ 9 เพือ่ รองรับต่อการให้บริการตัง้ แต่ปี พ.ศ.2557 ทัง้ ยังเข้าร่วมโครงการฟันเทียมและรากเทียมพระราชทานของมูลนิธทิ นั ต นวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อตอบรับต่อเป้าหมายของสถาบันที่ต้องการให้ บริการที่มีคุณภาพและค�ำนึงถึงชุมชน นอกเหนือการให้บริการรักษา การจัดการศึกษาต่อเนื่องอย่าง เป็นประจ�ำทุกปีเป็นพันธกิจหนึง่ ของสถาบันแห่งนีท้ มี่ งุ่ เน้นเพิม่ พูนความ รู้ให้กับทันตแพทย์และศิษย์เก่ามาโดยตลอด โดยเป็นสถาบันที่มีการ

จัดการศึกษาต่อเนื่องมากว่า 10 ปี มีอัตราการจัดสูงสุดเป็นอันดับสอง ของประเทศ มีทันตแพทย์นับพันคนที่ได้เข้าร่วมการศึกษาต่อเนื่องใน แต่ละปี และในวาระ 40 ปีของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ จึงจัดการศึกษาต่อเนื่องใน 3 เรื่อง ระหว่างวันที่ 3-7 ธันวาคม 2555 นี้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางทันตกรรม ในการเตรียมเข้าสู่ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงส�ำหรับทันตแพทย์ และในอนาคตอันใกล้ทจี่ งั หวัดเชียงใหม่จะเริม่ เปิดให้บริการศูนย์ ประชุมนานาชาติขนาดใหญ่ บนพืน้ ทีห่ ลายร้อยไร่เลียบคลองชลประทาน ท�ำให้ภูมิล�ำเนาแห่งนี้จะเป็นท�ำเลทองแห่งการจัดประชุมนานาชาติ ซึ่ง คณะทันตแพทยศาสตร์เตรียมพร้อมส�ำหรับการเป็นเจ้าภาพในการจัด ประชุมนานาชาติทางทันตแพทยศาสตร์ขนาดใหญ่ เป็นการเปิดทาง เข้าสู่ความเป็นสากลในระดับอาเซียนและระดับโลกต่อไป

ทศวรรษที่ 5 ก้าวย่างสู่สากล จากสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช้างชูคบเพลิงที่ก้าว ย่างไปข้างหน้า สื่อให้เห็นว่าในก้าวย่างของช้างนั้นจะน�ำความเจริญ ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีคบเพลิงซึ่งเป็นความสว่างไสวแห่ง ปัญญาและวิชาการ 4 ทศวรรษทีส่ ถาบันแห่งนีม้ งุ่ มัน่ พัฒนาการเรียนการสอนและการ ให้บริการมาโดยตลอด การก้าวย่างสู่ทศวรรษที่ 5 จึงพร้อมสนับสนุน พัฒนางานวิจัยให้แข็งแกร่งทั้งด้านทันตวัสดุ และชีววิทยาช่องปาก เพื่อสอดรับกับนโยบายของการพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่สู่การเป็น มหาวิทยาลัยแห่งการวิจยั จัดตัง้ ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง ประสาน ความสัมพันธ์ทางด้านวิจัยและวิชาการกับประเทศต่างๆ เปิดโอกาสให้ อาจารย์และนักศึกษาได้แลกเปลีย่ นประสบการณ์ดงู านในมหาวิทยาลัย ในต่างประเทศอาทิเช่น ฮ่องกง จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เยอรมัน แคนาดา เพือ่ มุง่ มัน่ จะพัฒนาหลักสูตรการสอน การวิจยั และเพิม่ ขีดความสามารถ ในการให้บริการสมกับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งภาคเหนือทีก่ า้ วหน้าสูส่ ากล 40 ปีของการก่อตัง้ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงไม่เป็นเพียง 40 ปีแห่งการผลิตบุคลากรทันตแพทย์เพื่อรับใช้สังคม ล้านนา ชาวเชียงใหม่ และชาติไทยเท่านัน้ หากบัณฑิตนัน้ จะต้องมีความ รู้ความสามารถ และสามารถพัฒนาตนเองได้ยั่งยืนตามพุทธสุภาษิต ของมหาวิทยาลัยที่กล่าวไว้ว่า “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” หรือความ หมายว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน และในทศวรรษที่ 5 ของสถาบัน แห่งนี้ จึงเป็นก้าวต่อไปที่พร้อมพัฒนาวิชาชีพและสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยความภาคภูมิใจในเกียรติภูมิของเรา หมอเขี้ยวแห่งมอ.เชิงดอย “ทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”

THAI DENTAL MAGAZINE • 45


ขอเชิญชวนทันตแพทย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการ 3 เรื่อง 3 รส

เนือ่ งในโอกาสครบรอบ 40 ปี

การสถาปนาคณะทันตแพทยศาสตร์

“จัดฟันวาไรตี้” ในวันที่ 3-4 ธันวาคม 2555 เรื่อง

ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง

“ครึ่งทศวรรษ รากเทียมไทย” ในวันที่ 5 ธันวาคม 2555 และ

“Beyond the frontier สู่ความเป็นเลิศอย่างไร้พรมแดน” ในวันที่ 6-7 ธันวาคม 2555 เรื่อง

ณ ศูนย์ประชุม โรงแรม ดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ รายละเอียดติดตามได้ใน www.dent.cmu.ac.th ขอเชิญศิษย์เก่าทันตแพทย์ ม.ช.

ร่วม หอมกลิ่น...ความทรงจ�ำ งาน

Home Coming Day คืนสู่เหย้า หมอเขี้ยว ม.ช. 46 • THAI DENTAL MAGAZINE

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2555 ณ โรงแรม อิมพีเรียล แม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่


• สมดุล

คุณค่า ชีวิต

โลกในช่องปาก ของทันตแพทย์ชาวเรา มักคุ้นชินกับ ค�ำว่า working time และ setting time ของวัสดุแต่ละชนิดที่ก�ำหนดไว้ในข้อบ่งใช้

เรื่อง ทพ.สมดุลย์ ​หมั่นเพียรการ www.facebook.com/iLoveYogaAnatomy,

ขณะพิมพ์ปากด้วยอัลจิเนต

เมื่อตวงส่วนผงให้พอดีกับส่วนเหลว ผสมจนเข้ากันดี โหลด วัสดุนั้นลงในถาดพิมพ์ปาก น�ำไปใส่ในปากผู้ป่วย จนอัลจิเนตแข็ง ตัวได้ที่ คนส่วนใหญ่จะเอาใจไปจดจ่อกับช่วงเวลา prime time ลุ้นระทึกว่ารอยพิมพ์ที่ได้ จะเป็นเช่นไร จนอาจลืม สังเกตไปว่า นับจากระยะท�ำงาน หรือ working time จนถึง setting time นั้นยังมีค�ำว่า ‘waiting time’ คั่นอยู่ ...................

ในช่องปาก

ถ้ารอยพิมพ์ทไี่ ด้สวยงามลอกเลียนรายละเอียดทัง้ หมดในช่อง ปากได้ดีก็เฮไป ตรงกันข้าม หากเกิดมีฟองอากาศ หรือผิดรูปมันไป ก็แค่ปรับสัดส่วนระยะท�ำงานแล้วพิมพ์ใหม่ แต่ ‘โลกนอกช่องปาก’ บางครั้งซับซ้อนจนต้องใช้เวลาเกือบ ทั้งชีวิต เรียนรู้และรอคอยกว่าจะพบสัดส่วนที่ลงตัว

ตอนจบมาท�ำงานใหม่ๆ มีสตู รส�ำเร็จหนึง่ ทีเ่ ป็นเหมือนข้อบ่งชีค้ วามสุขของหมอฟันรุน่

พี่สอนไว้ จนผมจ�ำขึ้นใจ นั่นคือ ต้องประกอบไปด้วยของ 3 อย่าง คือ บ้าน ร้าน รถ ด้วย working time ที่ทุ่มเท เริม่ จากมี ‘รถ’ คันแรกขับหลังจากจบมาท�ำงานไม่ถงึ ปี “ชีวติ สบายขึน้ ..ท่าทางจะจริงดังทีร่ นุ่ พีบ่ อก” ผมแอบคอนเฟิรม์ ในใจ ต่อด้วยการลาออกจากราชการ ร่วมหุน้ กับเพือ่ นเพือ่ เปิด ‘ร้าน’ ท�ำฟัน “กิจการคงพอไปไหว ถ้าสายป่านยาวพอ เห็นผลชัวร์..สู้ต่อ ไปทาเคชิ!” หลายครั้งที่พยายามปลุกใจตัวเองตอนที่บางเดือนกิจการ เริ่มขาดสภาพคล่อง สุดท้ายเริ่มเก็บหอมรอมริบ เพื่อมี ‘บ้าน’ สวยๆ สักหลัง .......... เมื่อ setting time ได้ที่ “บ้าน ร้าน รถ..สูตรผสมลงตัวเป๊ะ!” ผมอุทานกับตัวเอง แต่หลังจากแกะรอยพิมพ์ชีวิตช่วงนั้นออกมาดู กลับพบว่า ช่างเต็มไปด้วยฟองอากาศและรูพรุนจนผิดรูปผิดร่าง ส่วนผสมที่อาจน�ำ ‘ความสบาย’ มาให้ชีวิต แต่ไม่อาจเรียก มันได้เต็มหัวใจว่า ‘ความสุข’ ความส�ำเร็จจากการเปิดกิจการ ต้องแลกมาด้วยการขาด อิสรภาพที่จะไปไหนหรือท�ำอะไรตามใจฝัน เบื้องหลังบ้านเปี่ยมสุข กลับพอกพูนไปด้วยดอกเบี้ยจากภาระหนี้สิน waiting time ที่เฝ้าอดทนรอคอยอยู่หลายปี 48 • THAI DENTAL MAGAZINE

สุดท้าย setting time หรือผลจากการท�ำงานหนักกลับให้ผลไม่ เป็นดังคาด วิกฤติชีวิตช่วงนั้นเอง ที่กลับกลายเป็นโอกาส จัดปรับ working time ทบทวนหาสัดส่วนชีวิต ว่าเราใส่อะไรเกินหรือพร่องไป

จนวันหนึ่งที่คลินิกปิดกิจการ

ผมไม่รู้สึกถึงความล้มเหลว แต่กลับสัมผัสอิสระจากพันธนาการ ของภาระที่ต้องรับผิดชอบ ชีวิตที่ค่อยๆ เปลี่ยนจากวิ่งเร็วเป็นเดินช้า ท�ำให้ผมได้พบสัดส่วน ใหม่จากการฝึก ‘โยคะ’ แรกเริม่ โยคะ ช่วยในการบ�ำบัดเยียวยาอาการปวดล้าทางกาย ซึง่ ไม่อาจเห็นผลทันตาเพียงแค่คลิกหรือเขีย่ แอพพลิเคชันบนหน้าจอ แต่เกิด จากความเพียรหมั่นฝึกฝนอย่างสม�่ำเสมอ ผมรอเวลาอยูห่ ลายปี กว่าต้นทุนความฝันในวัยเยาว์ทอี่ ยากเรียน นิเทศ จะถูกน�ำมาประสานกับความรู้สายแพทย์ จนเป็นรูปแบบการ สอนที่จุดประกายให้คนสนใจโยคะในเชิงกายวิภาคศาสตร์สรีรวิทยา (yoga anatomy) ครัง้ หนึง่ ทีท่ ำ� เวิรค์ ชอป yoga anatomy เพือ่ หาทุนช่วยผูป้ ว่ ยมะเร็ง ระยะสุดท้าย มูลนิธิวัดค�ำประมง จ.สกลนคร โดยไม่รับค่าตอบแทน มีคณ ุ ตาท่านหนึง่ ผมหงอกขาวทัง้ ศีรษะ เข้ามาร่วมฟังด้วย ไม่เพียง ข้อเข่าและร่างกายของท่านจะไม่เอื้อให้ฝึกโยคะ (สักท่า) จนได้แต่นั่งฟัง บนเก้าอี้ แต่ตลอดทั้งงานนั้น คุณตาคอยแต่ยิงค�ำถาม ป่วนอยู่ตลอด “เยอะนะ..” ผมแอบจี๊ดนิดๆ อยู่ในใจ จนช่วงสุดท้ายของงานที่ถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน คุณตาท่านนั้นเดินเข้ามาหาผม ตบบ่าเบาๆ ด้วยความเมตตา บอกกับผมว่า “ผมเป็นอาจารย์แพทย์ ผมดีใจที่คนในวิชาชีพเรา ได้น�ำ ความรู้ไปท�ำประโยชน์ให้กับคนอื่นได้” ความรู้สึกปิติ เต็มตื้นขึ้นมาในใจ จนน�้ำตารื้นขึ้นมาคลอเบ้าโดย ไม่รู้ตัว เอิม่ ..ไม่ใช่แอบดีใจที่ waiting time เรามีมากพอทีจ่ ะไม่เผลอพลัง้ ปากแอบเหน็บคุณตาไประหว่างที่สอนหรอกนะครับ (อิอิ) แต่โยคะท�ำให้ผมตระหนักถึงคุณค่าของวิชาชีพ กับวิชาชีวิต ระหว่างทางแห่งการรอคอย

สัดส่วนในชีวิต

คงไม่ใช่สตู รส�ำเร็จตายตัวแค่ตวงส่วนผงให้พอดีกบั ส่วนเหลวผสม กันจนแข็งตัว เหมือนวัสดุทันตกรรม วิถีโยคะ สอนให้ผมได้เรียนรู้สมดุลชีวิต ของสองสิ่ง คือ ความ เพียร และการละวาง การท�ำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นประจ�ำสม�่ำเสมอต่อเนื่องกันเป็นเวลาที่ นานพอ เราจึงจะเห็นผลและคุณค่าของสิ่งนั้น ช่วง working time ทีเ่ ราใส่ใจ ใส่ความเพียรลงไป พร้อมๆ กับการ ละวาง setting time คือไม่คาดหวังกับผลที่จะเกิดขึ้น อดทนและรอคอย ปล่อยให้หัวใจสัมผัสและเรียนรู้แง่งามของ waiting time ระหว่างทาง จน ’สมดุลใหม่’ ในชีวิตได้ตกผลึกทั้งร่างกายและจิตใจ

THAI DENTAL MAGAZINE • 49


• Dental Lab

เรื่อง ทญ.หนึ่งฤทัย สมค�ำ

เป็นครั้งแรกของผู้เขียนที่ได้มีโอกาส สัมภาษณ์แลบทันตกรรม โจทย์ที่ได้ ครั้งนี้คือ สัมภาษณ์ เฮ็กซา ซีแลม ...แลบใหญ่ที่สุดของเชียงใหม่ และในภาคเหนือ ด้วยเป็นองค์กรที่ใหญ่ มีพนักงานสี่ร้อยกว่าคน ปัจจุบันได้มีการ ขยายสาขาไปจังหวัดเชียงราย และจังหวัดพิษณุโลก สิ่งส�ำคัญคือแลบ ทันตกรรมแห่งนี้สามารถเติบโตมาถึง จุดนี้ได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่ไม่มีทันตแพทย์ ดูแลแลบ ช่วงแรกของการสัมภาษณ์ ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณอนุชา มีเกียรติชัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฮ็กซา ซีแลม จ�ำกัด ผู้ก่อตั้ง บริษัท เฮ็กซา ซีแลม และคุณอภิชัย มีเกียรติชัยกุล ผู้จัดการทั่วไป เวลา เกือบสองชัว่ โมงในการพูดคุยผ่านไปอย่างรวดเร็ว กับการนัง่ จ้องตาทีเ่ ป็น ประกายของคุณอนุชากับความภาคภูมิใจกับ Hexa ceram

Q : ก่อนอื่นอยากทราบที่มาของชื่อ Hexa ceram A : ผมเป็นนักกฎหมาย ที่จบกฎหมายจากประเทศฝรั่งเศส เพื่อนผม

ที่เริ่มก่อตั้งด้วยกันก็เป็นชาวฝรั่งเศส ถ้าดูจากแผนที่จะเห็นว่า แผนที่ ประเทศฝรัง่ เศส มีรปู ร่างคล้ายหกเหลีย่ ม และชาวฝรัง่ เศสเองก็เรียกตัวเอง ว่า Hexagon จึงเป็นที่มาของชื่อ Hexa และCeram ก็คือ ceramic ครับ

Q : อยากให้เล่าประวัติของ Hexa ceram ค่ะ A : บริษัทนี้ผมเริ่มก่อตั้งมา 17 ปีจากพนักงานแค่คนสองคน จากไม่มี

ความรู้อะไรทางด้านทันตกรรม ผมเองลองท�ำดูเพราะขณะที่ผมเรียนกฏ หมายอยู่ที่ฝรั่งเศส มีเพื่อนชาวฝรั่งเศสที่เป็นช่างทันตกรรม เขามีคน 10 คนในฝรั่งเศส เริ่มต้นเอาช่างจากฝรั่งเศสมาท�ำแต่ไปได้ไม่ดีเพราะว่ารูป ร่างอะไรต่าง ๆ ช่างชาวฝรัง่ เศสท�ำออกมาแล้วไม่ตรงกับทีห่ มอในประเทศ เราท�ำ ตอนเริม่ ท�ำใหม่ ๆ ผมก็ปรึกษาอาจารย์ทนั ตแพทย์หลายท่าน บ้าน เราไม่มีโรงเรียน ตอนนั้นมีมหิดลทีเ่ ดียว และไม่มชี ่างทันตกรรม จะว่าไป มีหมอหมืน่ กว่าท่าน แต่มชี า่ งทีจ่ บจากมหิดลแค่ 260 คน ยิง่ ย้อนกลับไป 17 ปี มี ร้อยกว่าคน ผมเลยคิดว่าเทคโนโลยีที่ได้จากยุโรปมาน่าจะเป็น 50 • THAI DENTAL MAGAZINE

เราแข่งกับคนอื่นไม่ได้ เพราะเราไม่มีโรงเรียน ไม่เหมือนจีน จีนท�ำโรงเรียนและพัฒนามาแล้ว 10 กว่าปี เราให้ความส�ำคัญกับ ช่างทันตกรรมไม่มากเท่ากับผู้ช่วย

ประโยชน์ ผมกับช่างฝรั่งเศสและช่างอีก 2-3 คนก็เริ่มท�ำ ผมไปเดินตลาดเอง ตอนแรกเริม่ ต้นยอดทีไ่ ด้กไ็ ม่พอ ประกอบกับตอนนัน้ เจอวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 เราก็เกือบจะเลิกกิจการแล้ว ตอนนัน้ เราได้เปรียบตรงทีค่ า่ เงินบาทลดลง และ ได้ชา่ งทีเ่ ลิกท�ำงานเนือ่ งจากแลบทีก่ รุงเทพเลิกกิจการ กลับมาอยูบ่ า้ นเรา แล้ว ก็เปลี่ยนจากช่างฝรั่งเศสเป็นจากยุโรป ก็มีความรู้หลากหลายขึ้น ก็เดินตลาด ในประเทศไทยใหม่ แล้วก็ได้ Acetal clasp ที่เป็นตะขอสีเหมือนฟันมาเป็น แลบแรกในประเทศไทย หลังจากนั้นงานไทยก็ดีขึ้น พนักงานก็เลยเริ่มจาก 10 เป็น 20 30 40 ตามล�ำดับ แต่ส่วนมากแล้วเป็นพนักงานที่เราต้องมาฝึก เอง มีแค่ 10 กว่าคนที่เราได้จากที่อื่น ผ่านไป 3 ปี เราได้คนจากอังกฤษมา ช่วย ก็สามารถพัฒนางานขึ้นไป ผมก็เริ่มการตลาดไปต่างจังหวัด ตอนนั้นโรง พยาบาลทุกโรงพยาบาลต้องผ่าน ISO เราก็เริม่ ท�ำเลย ตัง้ แต่ปที ี่ 5 ของเรา พอ เราได้ ISO เราก็ได้งานจากโรงพยาบาลมากขึ้น ก็เริ่มรับคนงานต่างประเทศก็ เริ่มดีขึ้น Bangkok Post มาคุยกับเรา เราได้งานจากอเมริกามากขึ้น ฝรั่งเศส ก็มีลูกค้ามากขึ้น และประเทศอื่นๆ ในยุโรปอีก

Q : จุดเริ่มต้นของการเริ่มงานต่างประเทศคือตอนนั้น

เหรอคะ

A : ครับตอนนั้น คือในขณะที่เรามีก�ำลังผลิตได้มากขึ้น ต่างประเทศรู้จักเรา

มากขึน้ จากงานเขียนของ Bangkok Post ผมก็ได้เดินงานต่างประเทศโดยการ ติดต่อทางอีเมล์ เราเริ่มที่อเมริกา และตามมาด้วยเดนมาร์ก จากอเมริกางาน เยอะมาก มากล่องหนึ่งได้คนไข้ ประมาณ 300 เคส ปัจจุบันเรารับงานจาก ยุโรปเป็นส่วนใหญ่ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ เบลเยียม โปรตุเกส ผมว่าเราล�ำบากในเรือ่ งแลบทันตกรรม เราแข่งกับคนอืน่ ไม่ได้เพราะ เราไม่มีโรงเรียน ไม่เหมือนจีน จีนท�ำโรงเรียนและพัฒนามาแล้ว 10 กว่าปี เรา ให้ความส�ำคัญกับช่างทันตกรรมไม่มากเท่ากับผู้ช่วย Hexa ท�ำทุกอย่างอย่างเป็นระบบ พอเป็นระบบมาเรือ่ ยๆ ก็งา่ ยในการจัดการ เราได้เข้าโครงการของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม MDICP (Manufacturing Development to Improve Competitiveness Programme) โดยพัฒนา 5 แผน คือแผนเทคโนโลยี แผนบุคลากร แผนการเงิน และแผนการตลาด ตอนนั้นมีพนักงานร้อยกว่าคน ท�ำโครงการปีครึ่ง ในด้าน IT เราก็เริ่มพัฒนา ซอฟท์แวร์ภายใน เรื่องบัญชีก็มีการปรับปรุง เราขอ มรท.(มาตรฐานแรงงาน ไทย) ซึ่งเป็น requirement ในการส่งงานต่างประเทศ Hexa ได้ มรท.เป็นเจ้า แรกในประเทศ จากนั้นก็ท�ำ ISO14000 ซึ่งสิ่งเหล่านี้ท�ำแล้วได้ประโยชน์กับ กลุ่มลูกค้าต่างประเทศด้วย ท�ำให้เราสู้กับทางจีนได้ในบางกรณี ก็มีการขยับ ขยาย ก็โตมาจนถึงวันนี้มีพนักงานสี่ร้อย รวมเชียงรายและพิษณุโลก งานเรา เยอะมาก บางทีเราก็หลุดในเรือ่ งของคุณภาพ ซึง่ เราก็ระวัง คือจริง ๆ แล้วงาน ของบริษัทเราให้ความส�ำคัญกับงานต่างประเทศ เพราะงานต่างประเทศเรา เยอะกว่างานไทย และมีราคาสูงกว่า จริงๆ ถ้าเราใช้ราคาไทย เราไม่สามารถ พัฒนาหลาย ๆ อย่างแบบนีก้ บั บุคลากรของเราได้ เพราะราคาไทยถูกมาก เช่น TP ราคาประมาณ 130 บาท เป็นเวลา 10 ปีแล้ว ขณะที่ Hexa เพิ่มเงินเดือน ให้พนักงานปีละประมาณ 6-10% ทุกปี และมีการจัดสวัสดิการ เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตของช่างทันตกรรมให้สูงขึ้นตลอดมา ดังนั้นเราถึงต้องให้ความ ส�ำคัญกับงานต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงกว่างานไทย 30-40% ในประเทศเรา จะรับตั้งแต่ นครสวรรค์ พิษณุโลก และ 17 จังหวัดภาคเหนือ เรามีลูกค้าอยู่ 70-80% THAI DENTAL MAGAZINE • 51


Q : อัตราส่วนงานไทยต่องานต่างประเทศของ Hexa

อยู่ที่เท่าไหร่คะ

A : 60:40 ครับ แต่รายได้เป็น 40: 60 งานในไทยจะเป็นงานถอดได้ซะ

เยอะ งานถอดได้ขายให้ตา่ งประเทศราคามากกว่ากันประมาณ 5 เท่า เลย ท�ำให้เราต้องระวังในงานนอกมาก แต่ยงั ไงก็ตามด้วยก�ำลังผลิตของบริษทั เรากับงานทีม่ อี ยูใ่ นปัจจุบนั ไม่มใี คร absorb งานตรงนีไ้ ด้ หมายความว่า จ�ำนวนงานในประเทศไทยทีเ่ ยอะมาก ทีอ่ อกจากโรงพยาบาลและคลินกิ ในภาคเหนือที่มากขนาดนี้ ไม่มีที่ไหนรองรับการผลิตได้ ทีนพี้ อบริษทั เราเติบโตเร็วมาก ก็ทำ� ให้บางส่วนหลวม บางส่วนต้อง พิจารณาปรับปรุง แต่อย่างที่ผมเรียนว่า งานปัจจุบันเยอะขึน้ เรื่อยๆ แล้ว ไม่มแี ลบทันตกรรมทีส่ ามารถผลิตได้ทนั เวลา Hexa ก็ยงั จะมีงานมากขึน้ เรื่อยๆ ก็ต้องผลิตคนเพิ่มขึ้น คอยพัฒนา เราจะคอยพัฒนาเทคโนโลยี มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เครื่อง print wax เครื่อง zircon แม้แต่ตอนนี้ลงเครื่อง ที่จะ print model เราจะเอาเทคโนโลยีพวกนี้มาช่วยคนมากขึ้น เพราะ แม้เราจะมีโรงเรียนก็ผลิตคนไม่ทัน เรามีโรงเรียนของเรา เป็น in house training เรารับนักศึกษาที่จบใหม่ ปวส. ปวช. หรือแม้แต่ปริญญาตรี หรือไม่มีก็ได้ มาเรียนชุดละ 8-10 คน แล้วก็มีช่างชาวยุโรปมาสอบ ซึ่ง เมื่อก่อนอยู่ญี่ปุ่น มีพื้นฐานของความเป็น ASIA เอามาสอน แม้แต่คน ของเรา เราก็ส่งไปเรียนทวิภาคีที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ปัจจุบัน จบ ปวส. แล้ว และขณะนี้เราก�ำลังมีแผนงานปรับปรุงการผลิตใหม่หมด โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทที่มีชื่อเสียงในยุโรปและประเทศญี่ปุ่น เราตั้งเป้าจะเป็นแลบทันตกรรมที่ได้มาตรฐานที่สุดในประเทศ ภายใน ปี พ.ศ. 2556 – 2557

Q : จุดแข็งที่สุดของ Hexa คืออะไร และ จุดอ่อนที่สุด

ของ Hexa คืออะไรคะ

A : จุดแข็งทีส่ ดุ ผมคิดว่าเรือ่ งของระบบการท�ำงาน การเลือกใช้วตั ถุดบิ

ทีด่ ที สี่ ดุ และสามารถสอบทวนกลับได้จริง การมีความสัมพันธ์กบั คูค่ า้ ใน ต่างประเทศ ระบบคือระบบการจัดการภายในทีด่ ที ที่ �ำให้คนอยูก่ บั เรานาน ไม่ใช่อยู่แค่ปีสองปีลาออก เพราะฉะนั้นคนเก่าของเราอยู่กับเรามานาน เพื่อที่จะต่อสานงานและท�ำให้ทีมแข็งแรงมาได้ การที่เราติดต่อกับต่างชาติตลอด ท�ำให้เราเรียนรู้เทคโนโลยีทุกวัน เราเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้เราไม่แพ้ใครในโลกในเรื่องเทคโนโลยี เลย เราเพิง่ ได้รบั รางวัลด้านธรรมาภิบาล CSR และองค์กรต้นแบบ happy work place ของ สสส. สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ Hexa แข็งแรง จุดอ่อนจริงๆ แล้วเรามีองค์ความรู้อยู่ข้างใน แม้ว่าเราจะไม่มี ทันตแพทย์เป็นทีป่ รึกษาก็ตาม ผมเองก็โตระยะหนึง่ ในต่างประเทศก็ไม่มี แลบไหนทีค่ ณ ุ หมอมาเป็นทีป่ รึกษา เรามีชา่ งทีม่ าอยูก่ บั เราทีเ่ ป็น master นี่ เค้าถ่ายทอดให้คนไทย มารุ่นต่อรุ่น มา 10 กว่าปีแล้ว เพียงแต่ในจุด อ่อนจุดหนึ่งถ้าลงไปลึกมากๆ ในส่วนของหลักวิชาการ ช่างของเราจะไม่ ทราบ ในส่วนที่เป็นคนไทย แต่ตอนนี้เรามีอยู่ 4-5 คนที่เป็นชาวต่างชาติ คนพวกนี้รับรู้ได้ ถ้าพูดถึงองค์ความรู้โดยรวมเรามีมากพอ ไม่แพ้ใครใน โลก คือผมมองว่าเราน่าจะไปได้ไกลกว่านี้ ถ้าเราสามารถบวกองค์ความ รู้ได้มากกว่านี้ แล้วช่างของเราสามารถเรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติได้ ซัก 52 • THAI DENTAL MAGAZINE

ประมาณ 100 คน ปัจจุบันเรามีแค่ 40-50 คนเท่านั้นที่เรียน หรือถ้ามี องค์กรที่สามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ให้เราได้ตลอดเวลาถ้าเราท�ำอย่าง นัน้ ได้ แล้วองค์ความรูข้ องพนักงานเรามีสกั ครึง่ หนึง่ งานเราจะไปอีกไกล เมือ่ เทียบกับประเทศอืน่ เพราะเราคนไทยมีความปราณีตเป็นหนึง่ อยูแ่ ล้ว ผมไปทีญ ่ ปี่ นุ่ เขามีโรงเรียน ปัจจุบนั ก็มโี รงเรียนสอน แล้วช่างของเขากว่า จะมาเริม่ ท�ำเขามีความรูม้ าแล้ว แต่ชา่ งของเราไม่ได้เรียนมาก่อน เป็นจุด อ่อนของเรา

Q : อยากฝากอะไรถึงคุณหมอทุกคนบ้างไหมคะ A : เราอยากขอให้คุณหมอให้ความส�ำคัญกับช่างทันตกรรมมากขึ้น การส่งเสริมความรู้ ทะนุถนอมช่างทันตกรรมให้โอกาสให้เขามีชีวิตที่ดี ขึ้นในฐานะที่เป็นผู้ช่วยของคุณหมอ

Q : ประโยคที่ว่า “ให้โอกาสให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้น” คุณอนุชา

หมายความว่า หมอสามารถท�ำให้ช่างทันตกรรมมีชีวิตที่ดีขึ้น ได้อย่างไรคะ

A : คือความสัมพันธ์ระหว่างช่างกับคุณหมอน้อย ก็มีเพียงเรื่องงานถ้าเราให้

ความส�ำคัญกับช่างและให้ความรู้กับช่างทันตกรรม เขาจะมีโอกาสมาช่วยงาน คุณหมอได้มากขึ้น งานแก้ไขก็จะลดลงและอีกส่วนคือเรื่องราคา ที่ในประเทศยัง ต�ำ่ ไปเมือ่ เทียบกับคุณภาพชีวติ ทีค่ นกลุม่ อืน่ ก็โตกันแล้ว ซึง่ มีเงินเดือนสูงขึน้ มานาน แล้ว แต่โดยเฉลี่ยของช่างทันตกรรม น่าจะได้อะไรที่มากขึ้นกว่านี้ ส่วนนี้ผมหมาย ถึง LAB ทันตกรรมขนาดเล็กที่คิดราคาที่ถูก โดยที่ไม่ได้คิดถึงเวลาท�ำงานทั้งหมด ทีเ่ ป็นต้นทุนและไม่สามารถปรับมาตรฐานชีวติ สภาพแวดล้อมในการท�ำงาน รวม ทัง้ ระบบต่างๆ ทีจ่ ะท�ำให้มโี อกาสพัฒนางานทันตกรรมประดิษฐ์ตอ่ ไป แม้จะอยาก ให้ราคาสูงขึ้น แต่ก็มีกลไกตลาดที่มี ณ จุดหนึ่งซึ่งไม่สามารถขยับไปได้มากกว่านี้ เนื่องจากเหตุผลดังกล่าว คุณอภิชัย ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า “ฝากคุณหมอเรื่องช่างทันตกรรม ความรู้ของ ช่างทันตกรรมในประเทศเรา คือ ในต่างประเทศเขาเรียน 5 ปี ท�ำงานคู่ขนานกับ คุณหมอ แต่ของเราไม่ได้เรียน ความรู้นั้นจึงไม่มีเหมือนต่างประเทศ อาจจะต้อง อาศัยคุณหมอมากยิง่ ขึน้ ถ้าหมอจะช่วยช่างได้คอื ช่างทันตกรรมเราต้องการความ รู้จะท�ำอย่างไรให้ช่างทันตกรรมมีความรู้ และเวลาที่ให้ช่างท�ำงาน อยากให้เวลา กับช่างทันตกรรมนานพอที่จะท�ำงาน มีค�ำถามหนึ่งที่ติดใจข้าพเจ้ามาโดยตลอดว่า แลบทันตกรรมแต่ละแลบท�ำ อย่างไรถึงจะป้องกันไม่ให้ชา่ งทันตกรรมในแลบไปเป็นช่างเถือ่ นทีร่ บั ท�ำฟันปลอม ถึงบ้าน เปลีย่ นจากช่างทันตกรรมมาเป็นผูใ้ ห้การรักษาเสียเอง เป็นการเบียดเบียน ผูป้ ว่ ยทีไ่ ม่มคี วามรูใ้ ห้ได้รบั การรักษาทีไ่ ม่ถกู ต้อง เมือ่ สัมภาษณ์เสร็จข้าพเจ้ารูส้ กึ ว่า ค�ำถามนีไ้ ม่จำ� เป็นส�ำหรับ Hexa ceram ด้วยระบบการจัดการทีด่ ี ทีใ่ ห้ทงั้ สวัสดิการ ค่าแรงที่เป็นธรรม การจัดสรรจนเป็นหน่วยงาน Happy work place น่าจะเป็น ค�ำตอบที่ดีที่ช่างทันตกรรมจะสามารถท�ำงานได้อย่างมีความสุขมีรายได้พอที่จะ ไม่ต้องไปเบียดเบียนใครอีกทั้งไม่ต้องท�ำผิดกฏหมาย อีกต่อไป THAI DENTAL MAGAZINE • 53


• DDS 4. การจับกระจกถ่ายภาพ ควรจับทีข่ อบกระจกเท่านัน้ เพือ่ สามารถใช้ กระจกทัง้ 2 ข้างได้ ไม่แนะน�ำการจับบนกระจก เพราะจะเกิดรอยนิว้ มือ หรือคราบแป้งจากถุงมือติดบนกระจก ท�ำให้ไม่สามารถใช้กระจกด้านนัน้ มาใช้ในการถ่ายภาพได้ทนั ที

2. การใช้ retractor ในการถ่าย anterior view แนะน�ำให้ดึง “โหย่งๆ” ออกมาด้านข้าง และดึงมาข้างหน้า เพื่อท�ำให้ริมฝีปากและ แก้มไม่บดบังฟัน เห็น frenum และ vestibule ชัดเจน

การใช้ mouth retractor เรื่อง รศ.ทญ.วนิดา นิมมานนท์ (ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

จากส�ำนวนที่ว่า “หนึ่งภาพแทนร้อยความหมาย” เป็นการแสดง ให้เห็นว่า การแสดงด้วยภาพจัดเป็นสื่อที่ส�ำคัญ มีคุณค่าและมี ความหมาย ดังนั้นภาพถ่ายทางทันตกรรมจึงมีบทบาทมากตั้งแต่ ก่อน ระหว่างและหลังการรักษา รวมถึงการติดตามผล หรือแม้แต่ การส่งต่อผู้ป่วยจากทันตแพทย์หนึ่งไปอีกทันตแพทย์หนึ่ง หรือ ทันตบุคลากรทางการแพทย์ด้วยกัน ภาพถ่ายทางทันตกรรม เป็นเรือ่ งของศาสตร์และศิลป์ ควรมีพนื้ ฐาน เรือ่ งกล้องและการถ่ายภาพเบือ้ งต้น มีความรูใ้ นเรือ่ งการถ่ายภาพภายใน และภายนอกช่องปาก ร่วมกับการได้ประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติใน การถ่ายภาพ ซึง่ เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ยากเกินทีท่ นั ตแพทย์หรือบุคลากรสามารถ ท�ำได้ เพราะการถ่ายภาพมิได้ต้องอาศัยพรสวรรค์ แต่อาศัยใจรักและ สนุกกับงานถ่ายภาพ กล้องถ่ายภาพในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือ ต่างๆ มีระบบการควบคุมเกือบทุกอย่างภายในตัวกล้องเอง เช่น โฟกัส รูรับแสง การควบคุมแฟลช เป็นต้น ดังนั้นการถ่ายภาพทั่วไปจึงอาศัย เพียงให้ผถู้ า่ ยถือกล้องถ่ายภาพนิง่ ๆ และใช้นวิ้ กดปุม่ ชัตเตอร์อย่างมัน่ คง เท่านั้น แต่การถ่ายภาพทางทันตกรรมโดยเฉพาะการถ่ายภาพในช่อง ปาก จ�ำเป็นต้องการความร่วมมือของผู้ป่วยด้วยจึงจะได้ผลงานถ่ายที่ ดี การใช้เครื่องมือรั้งปาก กระจกถ่ายภาพในช่องปาก ต�ำแหน่งของผู้ ถ่ายภาพ และการแบ่งหน้าที่ในขณะถ่ายภาพในคลินิกที่เหมาะสม การ จัดองค์ประกอบของภาพที่มองเห็นจากกล้องและมีเทคนิคที่ดี และการ เลือกกล้องให้เหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงข้อจ�ำกัดของกล้องแต่ละ ยี่ห้อ แต่ละรุ่น สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยร่วมที่ส�ำคัญที่จะท�ำให้การ ถ่ายภาพมีประสิทธิภาพและได้ภาพถ่ายที่ดีมีคุณภาพ DDS ฉบับนี้ ขอเสนอวิธีใช้ mouth retractor หรือที่รั้งปาก และ กระจก(mirror) เพื่อการถ่ายภาพในช่องปากกับเพื่อนๆ ทันตแพทย์ ได้ ใช้ถ่ายภาพในช่องปากทางทันตกรรมแบบ ชิลด์ๆ กัน

2. รูปร่างลักษณะของ mirrors มีให้เลือกหลายแบบดังรูป

3. การเลือกใช้ mirror ในแต่ละต�ำแหน่ง เช่น ใช้ถ่าย occlusal view ฟันบนและฟันล่าง ขึ้นกับขนาดของ ขากรรไกรแต่ละราย ในเด็กหรือผู้ใหญ่

Mouth retractor อาจมีชอื่ เรียก lip retractor หรือ cheek retractor จุดประสงค์ เพือ่ รัง้ แก้มหรือริมฝีปาก ให้พน้ จากฟันและเหงือก ซึง่ Retractor มีหลายรูปแบบ และวัสดุที่ใช้ก็แตกต่างกัน อาจเป็นโลหะ พลาสติกขุ่น พลาสติกใส เป็นแบบคู่ติดกัน คือ ชนิด double ended retractor หรือ เป็นแบบเดี่ยว แยกทีละข้าง คือ ชนิด single ended retractor

หลักการใส่ retractor ส�ำหรับ anterior view มีขั้นตอนดังนี ้

สังเกตการสบฟันใน centric occlusion ของผู้ป่วย และฝึกจน ผู้ป่วยกัดสบตรงต�ำแหน่งเดิมทุกครั้ง ผู้ป่วยบ้วนปาก เพื่อให้ปากชุ่มชื้น ก่อน จากนั้นให้ผู้ป่วยอ้าปากออกเล็กน้อย แล้วสอด retractor ช้อนริม ฝีปากล่างก่อน ลากretractor ขึน้ ช้อนมุมปาก และริมฝีปากบน แล้วสอด retractor อีกข้าง ให้ริมฝีปากอยู่ในร่องของ retractor โดยตลอด ผู้ป่วย ยังคงอ้าปากเล็กน้อยอยู่จากนั้นให้ผู้ป่วยค่อยๆ กัดให้ฟันสบกัน ในช่วง เวลาเดียวกันให้ดึง retractor ออกด้านข้างและดึงมาด้านหน้า

ใช้ถ่ายภาพ closed-up เฉพาะ 1-3 ซี่ โดยประมาณ

3. การช้อนริมฝีปาก ควรเก็บริมฝีปากให้อยู่ในร่องของ retractor ให้หมด ผูป้ ว่ ยจะไม่รสู้ กึ เจ็บเมือ่ เวลาดึงโหย่ง แต่ถา้ เก็บริมฝีปากให้อยูใ่ น ร่อง retractor ไม่หมดดังภาพ ขอบของ retractor จะกดเนื้อเยื่อด้านใน ของริมฝีปาก ท�ำให้ผู้ป่วยเจ็บ ความร่วมมือน้อยลง

4.บางราย เมือ่ ดึง retractor แล้ว อาจมีสว่ นของริมฝีปากด้านหน้า มาบังบริเวณที่ต้องการถ่ายภาพแม้ท�ำการตัดแต่งภาพแล้วพบว่า ยังคง พบริมฝีปากส่วนที่ไม่ต้องการปรากฎอยู่ในภาพข้อเสนอแนะคือ การให้ ผู้ป่วยใช้ มือของตัวเอง ดึงริมฝีปากมาข้างหน้าลงล่าง ให้พ้นจากฟัน

5.การใช้ retractor โลหะ แม้หลังจากการตัดภาพ พบเสมอว่ายัง คงเห็นโลหะบางส่วน ซึ่งอาจเป็นจุด distract ตามมุมภาพได้

เคล็ดไม่ลับส�ำหรับ Anterior view

ใช้ถ่ายบางส่วนเป็น quadrant หรือ sextant ทั้งด้าน buccal หรือ lingual

1. เลือกขนาดของ retractor ให้เหมาะสมกับขนาดของปากของ ผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยเด็กหรือผู้ใหญ่ปากเล็ก แต่เลือก retractor ใหญ่เกินไป ควรเลือกใช้ข้างที่เล็กกว่า

การใช้กระจกถ่ายภาพ

สิ่งที่ควรทราบมีดังนี้ 1. กระจกถ่ายภาพ มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.1 Metal mirrors 1.2 Glass mirrors (มี rhodium coated)

54 • THAI DENTAL MAGAZINE

ฉบับหน้า DDS ขอมาต่อเนื่องกันเมื่อกระจกและ retractor ต้องถูกใช้ร่วมกันจะมีเคล็ดไม่ลับอย่างไรให้พวกเราได้ชิลด์ๆ กัน ห้ามพลาดเด็ดขาด

THAI DENTAL MAGAZINE • 55


• Dental A way

สายลมหวน

ชวนชมสายดอกฟูจิ เรื่อง ทพ.ชวลิต กาญจนโอภาสวงศ์

เรื่อง ทพญ.ธิติมา วิจิตรจรัลรุ่ง ภาพ คมกริช ไพฑูรย์

56 • THAI DENTAL MAGAZINE

การท่องเทีย่ วเป็นเรือ่ งของนานาจิตตัง ต่างคนต่างชอบ บ้างก็ชอบโบราณสถานชมวัดชมวัง ชมกันจนมึนจ�ำวัดจ�ำ โบสถ์ไม่ถูก แม้แต่ชื่อยังจ�ำไม่ได้ บ้างก็ชอบแค่ธรรมชาติ ป่าเขาล�ำเนาไพร บ้างก็ชอบทะเลเป็นชีวิตจิตใจ บางคน บอกว่าวิวฉันไม่สน สนแต่กระเป๋าแบรนด์เนมและช้อปปิ้ง ถ้าไม่มชี อ้ ปแทบหัวใจสลาย ประมาณว่ากลัวว่าจะเสียอันดับ ของประเทศไทยในฐานะแชมป์ชอ้ ปปิง้ ของโลก พวกเราบ้า เป็นเรือ่ งๆ คราวนีบ้ า้ จะชมแต่ดอก ไม่ใช่ดอกเบีย้ แต่เป็น ดอกไม้และสวน ชีวติ ไม่ได้เป็นกสิกรหรือคนท�ำสวน แต่ใจ รักเห็นพาร์คเห็นดอกไม้เป็นเร่เข้าใส่ หัวใจบานเบ่งด้วยดอกไม้ จึงบังเกิดโปรแกรมนีข้ นี้ มาอันที่ จริงควรจะไปตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เกิดเหตุสึนามิที่ฟุคุชิมะเสียก่อน ขยาดจึงล้มโครงการไปเสียก่อน ขืนไปอาจได้ชมดอกไม้แถมรังสี ปีนี้ความกลัวหาย (เพราะมานั่งคิด ชีวิตเกินครึ่งศตวรรษ ยังจะ กลัวอะไรอีก) จึงน�ำโปรแกรมทัวร์ทเี่ ตรียมไว้มาปรับปรุงแล้วเดิน หน้าต่อไป ต้นเดือนพฤษภาคม เริ่มแรกของฤดูใบไม้ผลิ เป็นช่วงที่ เหมาะสุด เพราะดอกไม้ที่ตามหาคือ Wisteria จะบานสุดๆ สวยสุดๆ แต่ยังก่อนอุปสรรคยังมี ช่วงนี้บังเอิญตรงกับวันหยุด ยาวของชาวญี่ปุ่นหรือช่วงโกลเด้นวีคพอดิบพอดี เลยขอหลบ ช่วงนี้เล็กน้อย เอาเป็นว่าเราเดินทางไปถึงญี่ปุ่นในวันสุดท้าย ของโกลเด้นวีค Ashikaga Flower Park เป็นสวนเป้าหมายแรก เพราะ เป็นสวนเก่าแก่ที่มีชื่อของความงามของดอกวิสทีเรีย ดอกไม้ที่ ตามมาดู จริงๆ เราเคยพบเคยเห็นมาหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่ เคยเห็นแบบนี้สวน Ashikaga แห่งเมือง Tochigi นี้มีอายุเก่า แก่มาตั้งแต่ค.ศ.1870 มีพื้นที่สวนราว 1990 ตารางเมตร ต้นไม้ ที่โดดเด่น เป็นหน้าเป็นตาของสวนนี้คือ Wisteria อาจกล่าวได้ ว่า ร้อยทั้งร้อยคนที่เดินทางมาที่สวนนี้ตั้งใจมาชมต้น Wisteria อันที่จริงในสวนนี้ยังมีดอกไม้อื่นๆ ให้ชมอีกมากมาย แล้วแต่ ช่วงเดือนว่าเป็นกุหลาบ ซากุระ หรือ ดอกอาซะเลีย

57 • THAI DENTAL MAGAZINE


ต้น Wisteria นี้จริงๆแล้วเป็นพืชตระกูลถั่ว (Pea family) ลักษณะ เป็นเถาเลื้อย พบได้ทั่วไปตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของอเมริกา จนถึงประเทศ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น ที่มาของชื่อ กล่าวกันว่า นักชีววิทยาที่ชื่อ Thomas Nuttall ตั้งชื่อ Genus Wisteria เพื่อร�ำลึกถึง Dr. Caspar Wistar บ้างก็ว่าสงสัยว่าน่า จะมาจากชื่อเพื่อนสนิทที่ชื่อ Charles Jones Wister หาข้อสรุปไม่ได้ แล้วแต่จะเชื่อ ดอก Wisteria มีหลายพันธ์ุ ตั้งแต่สีขาว สีม่วงอ่อน ม่วงแก่ สีชมพู จนสีเหลือง แต่ที่นิยมปลูกกันมาก คือ Wisteria Floribunda (Japan Wisteria) และ Wisteria Sinensis (Chinese Wisteria) กล่าวกันว่าดอก Wisteria ได้รบั การขนานนามว่า “Most highly romanticized flowering garden plants” แปลกันเอาเองแล้วกัน การเจริญเติบโตของล�ำต้นจะงอกออกและเลื้อยออกโดยหมุนไป ตามเข็มนาฬิกา อันนี้ไม่ได้มั่วเอง ต�ำรามีเขียนไว้วา่ clockwise-twining stems ใบมีสเี ขียวเข้ม ผิวมัน พวงดอกมีความยาวตัง้ แต่ 10-30 เซนติเมตร Wisteria Floribunda (Japanese Wisteria ) มีหลายสี มีชื่อตาม ลักษณะดอกและสี อาทิเช่น Alba, Shiro Noda ลักษณะพวงดอกสีขาว ชาวญี่ปุ่นจะเรียกว่า Snow Showers Carnea, Kuchibeni ดอกสีชมพู Macrobotrys Cascade ดอกสีขาวจนถึงสีชมพูอมม่วง สายดอก ยาวและสง่างาม Violacea Plena ลักษณะดอกสีม่วงและเป็นดอกซ้อน คล้ายดอก กุหลาบ (rosette –shaped) ดอก Wisteria เป็นดอกไม้ที่ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบมากที่สุดชนิดหนึ่ง จนมีปรากฎในภาพพิมพ์โบราณ และยังมีเทศกาลดอก Fuji Musuri หรือ เรียกว่า Wisteria Maiden ต้นที่ส�ำคัญในสวนนี้มีอยู่ 4 ต้น เป็นต้นที่เก่า แก่อายุนับร้อยปี มีขนาดใหญ่ แต่ละต้นได้รับการดูแลและทะนุถนอม ราวกับต้นไม้วิเศษ ดูแลต่อเนื่องอย่างไม่ขาดตอน บางต้นมีอายุถึง 140 ปี ล�ำพังล�ำต้นสีดำ� ใหญ่โต บ่งบอกอายุอานาม เถากิง่ ก้านได้ถกู จัดวางให้

58 • THAI DENTAL MAGAZINE

แผ่ไปบนนัง่ ร้านทีท่ ำ� ด้วยโครงเหล็กและไม้ไผ่ ประกอบกันให้ดกู ลมกลืน และแข็งแรง กิ่งก้านนั้นแผ่กระจายออกไปได้ยาวเป็นรัศมีนับ10 เมตร ช่วงที่บาน คือ ระหว่างกลางเดือนเมษายน จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม สวนนีถ้ กู จัดไว้โดยมีเนินเขารายล้อม ตรงกลางเป็นสระน�ำ้ แบ่งเป็น สัดส่วน โดยมีตวั เอกคือต้น วิสทีเรีย โดยมีตน้ อาซะเลียหรือกุหลาบพันปี ปลูกแซมระหว่างทางเดินซึ่งก็ออกดอกสีสันงดงามเช่นกัน ถ้ามาเร็วกว่า นี้คงมีทิวลิปให้ชม เพราะที่เห็นเป็นดอกทิวลิปที่ก�ำลังโรย ดอกโบตัน๋ (Peony) มีให้เห็นประปรายไม่มากมายจนต้องตืน่ ตาตืน่ ใจ ไฮไลท์ของสวนอีกประการหนึง่ คือ การชมสวนตอนค�ำ่ คืนหรือทีร่ จู้ กั กัน ในนามว่า “light up” ไม่ต้องกลัวว่าจะอดหิว เพราะในสวนมีอาหารคาว หวานให้ซื้อให้ชิมกันหิวได้ดีทีเดียว ระหว่างรอเวลา อาจลองเลือกซื้อหา ของฝาก ขนมต่างๆและผลิตภัณฑ์ที่มีหีบห่อ แบบชนิดที่ต้องอุทานว่า อะไรๆ ก็มีดอกวิสทีเรีย ไปตั้งแต่กระดาษห่อ เนื้อใน จนถึงถุง รสชาติ เป็นประการใด ต้องไปลองซื้อชิมกันเอาเอง

THAI DENTAL MAGAZINE • 59


การเดินทาง เดินทางโดยรถไฟ สาย Tobu Tokyo Terminal จากสถานี Asakusa ลงที่ Tobu Ashikaga Station แล้วเดินประมาณ 20 นาทีถึงสวน สาย JR จากสถานี โตเกียว นั่ง JR Tohoku Shinkansen ลงที่ Oyama (Tochigi) เปลี่ยนรถไฟ โดยต่อสาย JR Ryomo Line ลงที่ สถานี Tomita Station เดินประมาณ 10-20 นาทีถึงสวน พวกเราซือ้ ตัว๋ JR Railpass อยูแ่ ล้ว ประหยัดเงินจึงเลือกวิธที สี่ อง ความซับซ้อนอยู่ที่ตอนต่อรถขบวน JR Ryomo Line ที่สถานี Oyama ขอให้เดินตามนี้เลย คือเมื่อลงออกจากขบวนรถไฟที่สถานี Oyama เลี้ยวซ้ายเดินขึ้นบันได จะเห็นทางออกจากสถานี อย่าออกให้เลี้ยว ไปทางขวามือ (ไปอีกชานชาลาหนึง่ ) ลองมองป้ายทีแ่ สดงขบวนรถไฟ จะเห็นลูกศรสีแดงชี้ทางไปสถานีรถไฟที่จะไปสวน Ashikaga เดินไป ตามลูกศรสีแดง ที่ปรากฎตามพื้นทางเดิน ขึ้นบันไดเลื่อนจะเห็นห้อง โถงอีกห้องหนึ่ง (อีกสถานีหนึ่ง) มองทางซ้ายมือ จะเห็นทางลงไปสู่ สถานีรถสาย JR Ryomo Line จอดอยู่ ที่ขายตั๋วอยู่ข้างๆ ตาราง เดินทางอยู่ที่เสา เมื่อถึงสถานี Tomita Station เดินออกจากสถานี แทบไม่ต้อง ขอแผนที่ เดินตามชาวญี่ปุ่นหมู่มากที่ลงที่สถานีนี้เพราะร้อยทั้งร้อย ไปสู่สวน Ashikaga ทั้งสิ้น เดินตามไปรับรองว่าไม่ผิดทิศแน่ แต่ก็ ต้องดูลักษณะคนที่เป็นนักท่องเที่ยวหน่อย ไม่ใช่เห็นขาวสวยหุ่นดี เดินตามไป ไม่รู้ว่าไปไหน

ad

เดินข้ามถนน (มีเจ้าหน้าที่มาบริการจัดการจราจรอย่างดี) เข้าตรอก เลี้ยวไปเลี้ยวมา เห็นชาวบ้านขายของที่ระลึกและ ผลิตผลธรรมชาติแบบโอทอปข้ามคลองขนาดเล็ก น่าจะเป็นคูน�้ำ มากกว่า มองเห็นอาคารทางเข้าสวนทางขวามือ ซื้อตั๋วเข้าชมได้เลย ราคา 1890 เยน ด้านนอกมีต้นวิสทีเรียแบบขนาดเล็กแต่ดอกจัดเต็ม ยั่วยวนการถ่ายรูป แต่อย่าเสียเวลามาก เพราะของดีอยู่ข้างใน ชื่นชม ถ่ายรูปกับสวนสวยๆ นางแบบแอคชั่นอย่างไม่รู้จัก เหนือ่ ย เดินกันจนเมือ่ ย นัง่ พักจิบกาแฟ หรือซอฟครีมหวานหอม เย็นชื่นใจ รอจนพลบค�่ำ ยามเย็นตะวันจร แสงไฟเริ่มสาดส่อง สวยงามยามแสงสาด Wisteria at night ไม่เสียดายเวลาที่ รอคอย ได้เวลาลาลับกลับโรงแรม นอนหลับฝันดี กับวัน เวลาหนึ่ง ครั้งหนึ่งที่น่าจดจ�ำ ความประทับใจความ งดงามตราตรึงในความทรงจ�ำ พร้อมกับรูปภาพแห่ง ความสุข ที่ยังสามารถถ่ายทอดความสุขให้ผู้ที่ ชมภาพความงามของสวนนี้ทั้งๆ ที่ยังมิได้มา เยือน จนอดร�ำพึงขึ้นมาว่า “สวยจัง ฉัน ต้องหาโอกาสไปชมบ้างแล้ว” 60 • THAI DENTAL MAGAZINE

THAI DENTAL MAGAZINE • 61


• กินไปเที่ยวไป

เรื่อง น้องแป้งกะพี่ตุ๋น ไม่น่าเชื่อว่าเวลาผ่านไปปีนึงเร็วมาก นี้ก็

เดื​ือนพฤศจิกายนแล้ว อีกไม่นานก็จะสิ้นปีเข้า สู่บรรยากาศของการเฉลิมฉลอง วันนี้เลยจะ ขอแนะน�ำห้องอาหารจีน “ลก หว่า ฮิน” ที่ชั้น 2 ของโรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ ห้องอาหาร จีนกลางกรุง ทีจ่ ำ� ลองให้เห็นถึงวิถชี วี ติ ของหมูบ่ า้ น ชาวจีนชนบท ด้านหน้าทางเข้าตกแต่งด้วยสะพาน ทรงจีนเล็กๆ น่ารัก พื้นเป็นหินธรรมชาติ เพดาน ตกแต่งด้วยโคมไฟไม้ไผ่รปู กรงนก บรรยากาศจึง ดูอบอุน่ และเป็นกันเอง เหมาะกับการพาสมาชิก ในครอบครัวทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่มาลิ้มลองอาหาร จีนจานเด็ดทั้งรสชาติดั้งเดิมและร่วมสมัย ที่กา รันตีความอร่อยด้วยรางวัลร้านอาหารจีนยอด เยี่ยมจากนิตยสาร Thailand Tatler ติดต่อกัน 11 ปีซ้อน “เชฟเหลียง” พ่อครัวมือหนึ่งชาวฮ่องกง เป็นผู้รังสรรค์เมนูอาหารจีนกว่า 300 รายการ ทั้งสไตล์ฮ่องกง เสฉวน เซี่ยงไฮ้ และมีการปรับ

62 • THAI DENTAL MAGAZINE

เปลี่ยนเพิ่มเติมรายการอาหารใหม่ๆ เป็นประจ�ำ เพื่อให้ถูกปากนักชิมทั้งหลาย อาหารท่​่ีถือเป็น จานเด็ดของห้องอาหาร ลก หว่า ฮิน คือ เป็ด ปักกิ่งที่หนังเป็ดกรอบแร่บางๆ ห่อในแป้งอุ่นๆ นุ่มๆ ราดซอสรสเลิศ ส่วนเนื้อเป็ดสามารถน�ำไป ทอดกระเทียม ผัดพริก ตามที่เราต้องการได้อีก และอร่อยไม่แพ้กัน แถมช่วงนี้พิเศษราคาเพียง 980 บาทถ้วน เรียกว่าคุม้ ค่าความอร่อย จนอากง กด like อาม่ากด love แน่นอน มาถึงเมนูติ่มซ�ำ ที่เชฟบอกว่า ถ้ามาแล้วไม่สั่ง แสดงว่ายังมาไม่ ถึงห้องอาหาร ลก หว่า ฮิน นั้นก็คือ ก๋วยเตี๋ยว หลอดไส้ปาท่องโก๋และกุ้ง ซึ่งปาท่องโก๋ทอดได้ กรอบ ไม่อมน�้ำมัน สอดไส้กุ้งชิ้นใหญ่ ห่อด้วย แป้งก๋วยเต๋ยวแผ่นบาง เข้ากันได้ดีกับน�้ำซอส รสกลมกล่อม หอมกลิ่นกระเทียมเจียว ไม่เลี่ยน อย่างที่คิด ประทับใจจนต้องจับตะเกียบคีบชิ้นที่ 2 เข้าปากต่อทันที รับรองว่าถูกใจจนอาตี๋อาหม วยขอแช๊ะภาพไปshareแน่นอน นอกจากก๋วยเตี๋ยวหลอดแล้ว ที่นี้ยังมี เมนูตมิ่ ซ�ำอีกกว่า 30รายการให้เลือกรับประทาน อย่างเต็มอิ่ม เช่น ฮะเก๋า ขนมจีบหน้าหอยเชลล์ ซาลาเปาไส้ต่างๆ ซึ่งบอกได้เลยว่า อร่อยแบบ ต้นต�ำรับโดยไม่ต้องบินไปกินไกลถึงฮ่องกงอีก แล้ว และส�ำหรับคนที่ไม่รับประทานหมู ที่นี้มี เมนูติ่มซ�ำท่ีไม่ใช้หมูเป็นส่วนประกอบ กว่า 10 รายการ ให้ได้ enjoy กันได้ทกุ คน และพิเศษสุดๆ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ สามารถเลือกรับประทาน ติ่มซ�ำแบบไม่อั้นได้ ตั้งแต่เวลา 11.30 – 14.30 น. ในราคา 620++บาท ซึ่งรวมถึงซุปประจ�ำวัน ข้าวผัดหรือก๋วยเตีย๋ ว แล้วตบท้ายด้วยขนมหวาน แสนอร่อย งานนี้แฮปปี้กันทั้งครอบครัวแน่นอน

THAI DENTAL MAGAZINE • 63


• Dental Adirek ครับแต่กพ็ อเพียงส�ำหรับเรา ปลาคาร์พมีหลากหลายราคาตัง้ แต่ตวั ไม่กบี่ าทจนถึง หลักล้านเลย ผมจะชอบเลี้ยงตั้งแต่ปลาคาร์พขนาดเล็กเท่านิ้วชี้จนใหญ่เท่าท่อน ขามันผูกพันเหมือนคนในบ้านเลยทีเดียว แต่นักเลี้ยงปลาคาร์พมีหลายแบบบาง คนไม่ชอบรอก็ซื้อตัวใหญ่เลยทีเดียวราคาก็ใหญ่ตาม เรื่องราคานี่ต้องขอบอกเลย ว่าอยูท่ เี่ ราพอใจ ผมเคยเห็นคนทีเ่ ดินซือ้ ปลาคาร์พในฟาร์มใช้เวลาเลือกเท่ากันกะ ผมเลยคือประมาณ 2 ชั่วโมง ซื้อปลาไป 13 ตัว 2 ล้านบาท ส่วนผมเดินตามมัวแต่ ตกใจเลยไม่เสียสักบาท แบบนี้ที่เขาเรียกว่า มีเงินอย่างเดียว ซื้อไม่ได้อะ ต้อง… ด้วย วันนั้นกลับมาบ้านด้วยความ งง งวย ว่าท�ำไมคนบางคนถึงได้จ่ายเงินได้มาก ขนาดนัน้ ในขณะทีเ่ ราเห็นคนไข้บางคนไม่มแี ม้แต่คา่ รักษา 30 บาทเลย เศร้าเนอะ ปลาแฟนซีคาร์พถูกเรียกว่าเป็นอัญมณีแห่งสายน�้ำ ฟังดูเหมือนปลาที่คน เลีย้ งต้องมีเงินพอควรนะ แต่ทปี่ ลาแฟนซีคาร์พถูกเรียกว่าอัญมณีแห่งสายน�ำ้ ก็เป็น เพราะว่า ปลาแฟนซีคาร์พมีหลากหลายสีสนั และมีลวดลายที่สวยงาม เวลามองดู ปลาแฟนซีคาร์พแหวกว่ายในสายน�้ำก็เหมือนกับดูอัญมณี หรือ เหมือนกับดูภาพ วาดงานศิลปะทีส่ วยสดงดงามตามแต่คนดูจะจินตนาการ ส่วนตัวผมว่าปลาแฟนซี คาร์พอยูท่ คี่ วามสามารถของผูเ้ ลีย้ งและการหมัน่ คอยดูแลเอาใจใส่ ก็จะสามารถมี ปลาสวยๆมาครอบครองได้อย่างทีไ่ ม่ตอ้ งเสียเงินเป็นจ�ำนวนมากเพือ่ มีปลาสวยๆใน ครอบครองของเรา หลายๆครัง้ ทีต่ วั ผมเองมีปญ ั หาจากการท�ำงานนอกจากภรรยา ทีแ่ สนดีของเราแล้วก็มเี พือ่ นผูจ้ ริงใจเหล่านีแ้ หละคอยปลอบใจ ทุกๆครัง้ ทีไ่ ด้มานัง่ ข้างๆบ่อปลาแฟนซีคาร์พในสวน ก็จะเห็นเพือ่ นผูแ้ สนดีเหล่านีค้ อยว่ายเวียนมาให้ ก�ำลังใจได้ยนิ เสียงของกระแสน�ำ้ ในบ่อก็จะรูส้ กึ ได้สติและความสงบนิง่ ทุกครัง้ การ ที่เราเพียงได้มองสิ่งรอบๆตัวต้นไม้ในสวน กระแสน�้ำในบ่อปลาและปลาฝูงหนึ่งที่ ว่ายไปมาในน�ำ้ ก็จะท�ำให้หลุดจากปัญหาทีเ่ ราแก้ไม่ตกได้เช่นกัน ปลาแฟนซีคาร์พ

แฟนซีคาร์พ

งานศิลป์ในสายน�้ำ เรื่อง ทันตแพทย์ วีระ อิสระธานันท์

หัวหน้ากลุม่ งานทันตกรรม โรงพยาบาล แม่จนั จังหวัดเชียงราย อาชีพทันตแพทย์เป็นอาชีพทีผ่ มรักและท�ำมาตลอดระยะเวลา เกือบ 20 ปี แต่ถงึ แม้จะเป็นอาชีพทีร่ กั อย่างไร เมือ่ ท�ำเป็นประจ�ำซ�ำ้ ๆ บางทีก็เกิดความเบื่อหน่ายบ้าง ผมเชื่อว่าทุกๆคนก็คงมีความรู้สึกนี้ บ้างไม่มากก็น้อย การหางานอดิเรกอย่างอื่นท�ำ ก็เป็นการลดความ ซ�้ำซากจ�ำเจ ความเบื่อหน่าย ทั้งยังช่วยคลายเครียดได้อีกด้วย ส่วน ตัวผมก็มคี วามชอบในสิง่ ต่างๆมากมาย แต่สงิ่ หนึง่ ทีผ่ มชอบมาตลอด และก็ยงั ชอบจนถึงทุกวันนีค้ อื สิง่ ทีผ่ มจะเล่าสูก่ นั ฟังในบทความนีน้ ะ ครับ ทันตแพทย์คืออาชีพหนึ่งที่ต้องอยู่กับความซ�้ำซากจ�ำเจเช่นกัน ส่วนตัวเคยสงสัยตัวเองหมือนกันว่าอยู่กับปากคนอื่นได้อย่างไรมา ยาวนานถึง 17 ปีแล้ว นี่ขนาดไม่รวมในคณะอีกนะเนี่ย เคยคิดบ้าง ไหมครับ ผมได้คน้ พบค�ำตอบของมันแล้ว คือ ถ้าไม่เป็นทันตแพทย์ก็ ท�ำอะไรไม่เป็นแล้ว555 เข้าเรือ่ งงานอดิเรกส่วนตัวก่อนจะไปกันใหญ่ ครับ งานอดิเรกทีผ่ มรักและชอบมาตัง้ แต่วยั เด็กเลยก็คอื การเลีย้ งสัตว์ น�ำ้ เกือบทุกชนิดเพราะเป็นคนทีช่ อบน�ำ้ เอามากๆครับ ชอบฟังเสียงน�ำ้ ชอบความชุม่ ฉ�ำ่ ของสายน�ำ้ แต่ภรรยาไม่ได้ชอื่ น�ำ้ นะครับ ปลาแฟนซี คาร์พเป็นปลาชนิดหนึง่ ทีผ่ มรักและผูกพันมาก ปลาแฟนซีคาร์พมีตน้ ก�ำเนิดทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ ภาษาญีป่ นุ่ เขาเรียกว่าปลาโค่ย (koi) เป็นปลา ที่มีหลากหลายสายพันธุ์มาก ปัจจุบันปลาแฟนซีคาร์พมีมากกว่า 80 สายพันธุ์ มีสายพันธุ์หลักอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ โคฮากุ (Kohaku)ปลา ที่มีลายแดงบนพื้นขาว ซันเก้ (Taisho Sanshoku) ปลาที่มีแต้มด�ำ บนลายโคฮากุ โชว่า (Showa Sanshoku) ปลาที่มีลายเป็นเส้นด�ำ บนลายโคฮากุ การดูปลาแฟนซีคาร์พเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์มากๆ 64 • THAI DENTAL MAGAZINE

เหมาะกับสายตาละเอียดแบบพวกเรามาก ส่วนประกอบที่ เขาดูกันหลักๆ คือ ดูโครงสร้าง (body) และรูปแบบของสี (pattern) ปลาตัวไหนสวยต้องมีรูปแบบที่ถูกต้องตามต�ำรา และมีโครงสร้างที่ใหญ่ ความหวังของคนที่เลี้ยงปลาคาร์พ คือ อยากได้ปลาที่มีสีสันสวยงามตามต�ำราและโตได้ขนาด ไซส์จัมโบ้คือ 80 เซนติเมตรขึ้นไป สิ่งส�ำคัญที่ต้องมีคือมีบ่อ ปลาที่มีความลึกอยู่ในช่วง 1.20-1.80 เมตร ระบบกรองน�้ำ ที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพน�้ำที่ดีและที่ส�ำคัญปลาต้องมีสาย พันธุ์ที่ดีด้วย ถ้าใครสนใจแนะน�ำว่าให้ไปหาดูตามเวบต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับปลาคาร์พจะได้ความรู้ ส่วนตัวศึกษาหาความรู้ จากหลายเวบ แล้วมาลองผิดลองถูกเอง (มัว่ เอา) ต้องออกตัว นะครับว่าผมไม่ใช่เซียนปลาคาร์พระดับประกวดกะเขานะแต่ เลี้ยงด้วยความรักและผูกพัน ปลาที่บ้านก็ระดับสวยบ้านๆ

หรือปลาโค่ย ของชาวญี่ปุ่นเป็นสัญลักษณ์ของความอดทน ความแข็งแรง และความ มุ่งมั่น เพราะปลาโค่ยสามารถว่ายทวนกระแสน�้ำที่ไหลเชี่ยวจากแม่น�้ำจนถึงยอดเขา สูงๆได้ ดังนั้นชาวญี่ปุ่นจึงมีประเพณีชักธงปลาโค่ยหรือโค่ยโนโบริ(koinobori)ในบ้าน ที่มีบุตรชายเพราะอยากให้บุตรชายมีความมุ่งมั่นทรหดอดทนเหมือนปลาโค่ยนั่นเอง การเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พโดยส่วนตัวแล้วผมว่ามันเป็นแรงขับเคลื่อนและเป็นเครื่อง เตือนสติให้เราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและผลักดันตัวเองไปให้ถึงจุดมุ่งหมาย ทุกครั้งที่ดู ปลาแฟนซีคาร์พว่ายไปมาก็เหมือนกับตัวเราเองที่พยายามตั้งใจท�ำงานด้วยความมุ่ง มั่นไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคที่ผ่านเข้ามา THAI DENTAL MAGAZINE • 65


• Dental Adirek

“จริงๆ แล้วผมก็ใช้เวลาที่ว่างเท่าที่มี นี่แหละครับ ค่อยๆ ท�ำไปเรื่อยๆ ขึ้นชื่อว่างานอดิเรกแล้ว เราสามารถ จัดสรรเวลาว่างมาท�ำเพื่อความสุขใจ ของเราเอง” ท�ำไป ขึ้นชื่อว่างานอดิเรกแล้ว เราสามารถจัดสรรเวลามา ท�ำเพื่อความสุขใจของเราเอง แม้ว่าการท�ำเกษตรเป็นงาน อดิเรก จะเหนื่อยและร้อนกว่านั่งท�ำคนไข้ในห้องแอร์ แต่ ผมก็รู้สึกสุขใจ นอนหลับสบายกว่าวันอื่นๆ ที่ต้องนั่งท�ำ คนไข้จนค�่ำมืด เดี๋ยวนี้ผมท�ำคลินิกเฉพาะวันธรรมดา เท่าทีร่ สู้ กึ ว่าเพียงพอ เสาร์-อาทิตย์กจ็ ะขลุกอยูใ่ นสวน ตอนนี้ผมสนใจเรื่องพลังงานสะอาด ก�ำลังทดลอง ท�ำกังหันเพื่อสูบน�้ำมาใช้เพาะปลูก project ใน อนาคต อยากจะลองผลิตแก๊สชีวมวลจากขี้วัว ท�ำแบบลองผิดลองถูกครับ ค่อยเป็นค่อยไป สนุกดีครับ ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง” ส�ำหรับใครที่สนใจงานอดิเรกแบบนี้

แม้ว่าการท�ำเกษตรเป็นงานอดิเรก จะเหนื่อยและร้อนกว่านั่งท�ำคนไข้ในห้องแอร์ แต่ผมก็รู้สึกสุขใจ นอนหลับสบายกว่าวันอื่นๆ ที่ต้องนั่งท�ำคนไข้จนค�่ำมืด

Dent Adirek ครั้งนี้เรายินดีที่จะแนะน�ำทันตแพทย์ สุมิตร สูอ�ำพัน หรือหมอก้อง หมอจัดฟันประจ�ำโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุ เคราะห์ หมอก้องเป็นคนกรุงเทพฯ จบจุฬา ได้ไปเริม่ ต้นรับราชการ ที่เชียงรายและมีความสุขกับชีวิตคนเจียงฮาย จนบัดนี้ หมอก้องเป็นนักคิด นักฝัน ดังนั้นเมื่อชีวิตชักเข้าที่ หมอก้องก็เดิน ตามความฝันทีจ่ ะมีบา้ นสวนสักหลัง ด้วยการไปหาซือ้ เนินดอยเล็กๆ ขนาด สิบกว่าไร่ ซึง่ ถูกทิง้ ร้างไว้นานหลายปีแล้ว ก็จะมีชาวบ้านเคยมาอาศัยท�ำ 66 • THAI DENTAL MAGAZINE

ไร่เลื่อนลอย ตัดไม้ท�ำฟืน ท�ำให้ผืนดินส่วนใหญ่แห้งแล้ง แต่ที่พิเศษกว่า อย่างอื่นก็คือบนที่ดินนี้มีคอกวัวเก่าๆ ซึ่ง อ้ายพร - คนเลี้ยงวัว มาอาศัย คอกร้างนีเ้ ลีย้ งวัวนานหลายปี “คอกเก่าๆ เหม็นขีว้ วั นีข่ ดั บรรยากาศบ้าน สวนสไตล์รสี อร์ทของหมอจัดฟันมากครับ ผมคงท�ำอะไรไม่ได้นอกจากขอ ให้เขาย้ายวัวออกไป จากนัน้ ก็จา้ งคนมารือ้ คอกทิง้ ไปซะ” แต่แล้วหมอก้อง ก็เปลี่ยนแปลงความคิดไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อสังเกตเห็นว่า ผืนดินทางด้าน หน้าของเนินดอยทีอ่ า้ ยพรใช้เลีย้ งวัวนัน้ แตกต่างกับบริเวณอืน่ ทีแ่ ห้งแล้ง “อ้ายพรเล่าว่า แต่กอ่ นต้องจูงวัวไปกินหญ้าตามทีล่ มุ่ แล้วค่อยต้อนกลับ มานอนในคอก” เมื่อเวลาผ่านไป เมล็ดพันธุ์พืชในขี้วัวก็เริ่มงอก ดินเริ่ม มีความชุ่มชื้น นานวันเข้า ฝูงวัวก็ได้เปลี่ยนผืนดินแห้งแล้งให้กลายเป็น ทุ่งหญ้าเขียวขจีที่ผมตกหลุมรักและก่อเกิดความฝันใหม่บนที่ดินผืนนี้ “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาสิ ของจริง เป็นสิ่งที่ผมได้เข้าใจ อย่างลึกซึ้งเมื่อเกิดเหตุการณ์น�้ำท่วมที่หาดใหญ่ช่วงเทอมสุดท้ายก่อน เรียนจบครับ จะมีเงินมากแค่ไหนก็ช่วยอะไรไม่ได้ถ้าของกินไม่มีขาย ยิ่ง เห็นน�ำ้ ท่วมใหญ่ปที แี่ ล้วยิง่ ท�ำให้ตระหนักว่าเราไม่ควรจะประมาทกับการ ใช้ชีวิตแล้วนะ สุดท้ายก็เลยเกิดเป็นแนวความคิดที่จะใช้เวลาว่างจาก งานมาศึกษาและเริ่มลงมือท�ำ การเกษตร เป็น งานอดิเรก”

การท�ำเกษตรในแบบของผม ขอใช้ค�ำว่า “เกษตรพึ่งพา” ครับ เพราะมันเกิดขึน้ จากการพึง่ พาอาศัยกัน เริม่ ต้นจากฝูงวัวและ ผืนดิน ตามมาด้วยการเรียนรูพ้ งึ่ พากันระหว่างหมอจัดฟันกับคนเลีย้ งวัว คอกวัวที่เก่าช�ำรุดทรุดโทรม มีน�้ำท่วมขัง ท�ำให้เกิดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น และวัวป่วยเป็นโรค เราจึงปรึกษาที่จะท�ำคอกวัวใหม่กัน ผมได้ไอเดียจากการ ท�ำปศุสตั ว์ของฟาร์มไทยเดนมาร์ค นอกจากหมูหลุมแล้ว วัวหลุมก็ทำ� ได้ครับ หลัก การคือใช้ Probiotics เพื่อควบคุมแบคทีเรียที่ไม่พึงประสงค์ เหมือนการป้องกัน ฟันผุโดยใช้เชื้อที่เป็นประโยชน์ แต่ในการท�ำปศุสัตว์หลุมจะใช้เชื้อจากน�้ำหมัก EM น�ำมารดบนฟางหรือแกลบบนพืน้ คอกทีข่ ดุ ลึกลงไปประมาณ 1 ฟุต แค่นกี้ จ็ ะได้คอก วัวทีห่ อมกลิน่ กองฟาง แถมยังได้ปยุ๋ ชัน้ ดีไว้ใช้งาน คอกวัวชีวภาพนีส้ ำ� เร็จออกมาได้ ก็ด้วยความช่วยเหลือจากกัลยาณมิตรที่ ร.พ. และนักเลี้ยงวัวมืออาชีพที่ยินดีรับฟัง ความเห็นของคนกรุงเทพที่ดูเหมือนจะเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่ออย่างผมนี่แหล่ะครับ รู้สึก ภูมิใจในผลงานนี้มากๆ ครับ แทนทีจ่ ะปลูกไม้เศรษฐกิจเพือ่ เอาก�ำไร หมอก้องอยากจะสนุกสนานและเรียน รู้ไปพร้อมกับต้นไม้แต่ละต้นที่ค่อยๆ เจริญเติบโต “ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ตอนนี้ ส่วนหนึ่ง ผมเก็บเมล็ดที่กินเหลือมาเพาะ เช่น ลูกไหน จ�ำปาดะ อะโวคาโด บางอย่างก็ซื้อมา ปลูกครับ จะเน้นพวกไม้ยืนต้นที่กินใบ เช่น ชะมวง ผักเหือด ติ้ว สามารถเด็ดยอดมา กินได้ทั้งปี เป็นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา และไม่ต้องดูแลพิถีพิถันมาก ผมเองก็ไม่ได้มีเวลา มาก ก็ต้องเลือกปลูกในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเรา ช่วงแรกๆ ที่ดินยังไม่สมบูรณ์ดี ผม ต้องส่งหน่วยกล้าตายอย่าง กล้วยลงไปปลูกก่อน เพราะทนแล้ง ประโยชน์ที่ส�ำคัญ ของกล้วยคือช่วยเก็บกักความชุ่มชื้นในดิน สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับกล้าไม้เล็กๆ เมื่อกล้าไม้เติบโตเป็นไม้ใหญ่ กล้วยก็จะชราภาพไป เราก็สามารถขุดเอาหน่อกล้วย ไปปลูกทีอ่ นื่ ต่อ ส่วนกล้วยทีห่ มดอายุแล้วเราก็เอาไปท�ำอาหารสัตว์หรือหมักเป็นปุย๋ EM ต่อได้ นี่แหล่ะครับ เกษตรพึ่งพา ของผม” การท�ำเกษตรกรรมดูเป็นงานที่ค่อนข้างหนักและต้องใช้เวลา เมื่อถามว่าเอา เวลาที่ไหนมาท�ำหมอก้องยิ้มและตอบว่า “ผมใช้เวลาว่างเท่าที่มีแหละครับ ค่อยๆ

แม้จะไม่มีเนื้อที่กว้างๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยากครับ แค่น�ำของ เหลือใช้อย่างขวดน�้ำพลาสติกมาตัดแล้วก็เจาะรูนิดหน่อย เอาส่วนของผักที่กินแล้วมาปลูก เช่น ก้านของโหระพา สาระ แหน่ หรือจะน�ำส่วนขั้วที่ติดใบของหัวไช้เท้า แครอท ที่ต้อง ตัดทิ้งก็ได้ครับ เท่านี้ก็สามารถท�ำเกษตรพอเพียงแบบง่ายๆ ด้วยตัวเองได้ อย่างให้ลองท�ำกันดูครับ แล้วจะรู้ว่าการปลูก ผักทานเองนั้น แม้จะประหยัดเงินได้เพียงไม่กี่บาท แต่ก็ได้ ความสุขใจแบบไม่ต้องไปหาซื้อที่ไหน บางที อาจจะได้งาน อดิเรกชิ้นใหม่ของครอบครัวครับ และในฐานะผู้บริโภค ผม อยากให้พวกเราลองใช้เวลาว่าง เลือกซื้อผักผลไม้ปลอดสาร พิษมาท�ำกับข้าวทานเองที่บ้าน แค่นี้เราก็สามารถเริ่มต้น สิ่งดีๆ ในสังคมเล็กๆ ที่บ้านของเราเองได้แล้วครับ

THAI DENTAL MAGAZINE • 67


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.