TDM 28

Page 1

VOLUME 6 ISSUE 28 OCTOBER • DECEMBER 2013

• VOLUME 6 • ISSUE 28 • OCTOBER • DECEMBER 2013

ศาสตราจารย์ ท่านใหม่กับ...

หัและศิ วใจดนตรี ลปะ AW �� thaidental 28 final.indd 2

. . ไร? จึงพอ

.ดี

เท ่ า

ให้รตัางวั ล วเองบ้าง PaperBag

10/25/56 BE 8:07 AM


สามปีแล้วนะคะที่ Thai Dental Magazine เสนอตัวเป็นสื่อวิชาชีพ เรามีความคิดตั้งต้น ว่าจะเป็นเวที ให้สมาชิกได้รู้จักกัน มากขึ้น เน้ น การสร้ า งศั ก ยภาพในการท� ำ งานของ ทันตแพทย์ ไทย เชื่อมโยงวิชาการโดยปรับ ให้อ่านสบายๆ ถึงคลีนิก คิดเข้าข้างตัวเอง ก็ดูเหมือนเราจะสามารถบรรลุเป้าหมายใน การท�ำงานได้

ทีมงานของเราก็น่ารัก ต่างคนต่างงานยุ่งแต่ก็มุ่ง มั่นช่วยกันท�ำ มีทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่จากหลายที่ท�ำงาน ทั้งรัฐทั้งเอกชน สลับๆ กัน ท�ำงานด้วยรอยยิ้ม เสียง หัวเราะ (อ่อยๆ เมือ่ ถูกทวงงาน) โดยใช้ social network ท� ำ งาน นั ก เขี ย นทุ ก ท่ า นร่ ว มเขี ย นด้ ว ยกุ ศ ลเจตนา พกพาความหวังดีมาให้ผู้อ่าน ท�ำให้เราได้บทความ ที่น่าสนใจ และได้นักท�ำกราฟฟิกฝีมือดีช่วยท�ำให้ หนังสือสวยงาม ปี 2557 ได้เวลาขยายกิจการ วางแผนเปิดคอลัมน์ ใหม่เกี่ยวกับการท�ำงานแบบสหวิชาชีพเพื่อดูแลคนไข้ พิเศษ เพื่อให้เราทราบและสามารถพูดคุยกับคนนอก วิชาชีพได้อย่างสง่าผ่าเผย และเปิดตัวคอลัมน์ AEC เล่าเรื่องเกี่ยวกับระบบบริการทันตกรรมของแต่ละ ประเทศ AEC นอกจากนั้นเราเริ่มเวที “เล่าสู่กันฟัง” ให้ท่านสมาชิกที่มีกิจกรรมวิชาการในหน่วยงานน�ำ เสนอภาพกิจกรรม ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกัน สร้าง กระแสการพัฒนาศักยภาพวิชาชีพอย่างต่อเนื่องค่ะ ทั้ ง นี้ ต ้ อ งขอขอบพระคุ ณ ที่ ป รึ ก ษาจากทั น ตแพทย สมาคม และ บริษัทที่สนับสนุนการพิมพ์ทั้งหลายที่ ท�ำให้เราได้โอกาสท�ำแมกกาซีนนี้กันค่ะ

Contents

VOLUME 6 ISSUE 28 OCTOBER-DECEMBER 2013 02 สารจากนายก 08 ล้างให้หมด Episode 12 ปฏิบัติการ ขาว ใส วิ้ง กิ๊ง เด้ง 14 มุมมองใหม่ของ “คุณภาพในการรักษาทางทันตกรรม” 18 ทันตแพทย์ไทย จ�ำนวนเท่าไรจึงจะพอ 22 คนละไม้ละมือ เมื่อคนไข้ฉายรังสีมาท�ำฟัน 28 ผังบู๊ท 30 Agenda ประชุมวิชาการ 38 ลัดฟ้าอ้าปากฝรั่ง อังกฤษ 44 Paperbag - ให้รางวัลตัวเองบ้าง 46 เรียนรู้ Online ฟรี/จ่าย -มัท วัฒน์ 49 คติธรรม 50 สมดุลชีวิต 56 Dent Dining 59 เล่าสู่กันฟัง รพ.รามา/รพ.บ�ำรุงราษฎ 60 Dent adirek crosstitch 62 Dent Adirek ตุ๊กตาแห่งจินตนาการ 66 Dental Away 72 ดื่มด�่ำความเดิม

56

18

66

50 บรรณาธิการ ทญ. แพร จิตตินันทน์

62

THAI DENTAL MAGAZINE • 1

AW TDM 1-21.indd 1

10/25/56 BE 9:37 AM


• สารจากนายก

เจ้าของ ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ปรึกษา ทพ.อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา ทพ.สุชิต พูลทอง รศ.ดร.ทพ.ประสิทธิ์ ภวสันต์ บรรณาธิการ ทญ.แพร จิตตินันทน์ กองบรรณาธิการ ทพ.ปริญญา อมรเศรษฐชัย ทญ.อภิญญา บุญจ�ำรัส ทพ.สุธี สุขสุเดช ทญ.ดวงตา อิสสระพานิชกิจ ทญ.ธิติมา วิจิตรจรัลรุ่ง ทพ.ไกรสร ทรัพยะโตษก ทพ.กิตติธัช มงคลศิวะ ทญ.เดือน ปัญจปิยะกุล ทพ.สมดุลย์ หมั่นเพียรการ ทญ.อภิสิทธิ์ อารยะเจริญชัย นายอนุสรณ์ ศรีค�ำขวัญ ติดต่อโฆษณาที่ คุณ ชิตศักดิ์ สุวรรณโมลี 02-539-4748

เรื่อง ศาสตราจารย์พิเศษ พลโท พิศาล เทพสิทธา

มีการสัมมนาเวทีรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อการจัดท�ำความตกลงหุ้น ส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (TPP) เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ แสดงความสนใจของไทย ในการเข้าร่วม TPP เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา TPP จะมีความส�ำคัญอย่างยิ่งใน อนาคต จึงขอน�ำเสนอให้ม่านสมาชิกได้รับทราบ

ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ 71 ลาดพร้าว 95 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 02-5394748 แฟกซ์ 02-5141100 e-mail: thaidentalnet@gmail.com 2 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 1-21.indd 2

10/25/56 BE 9:37 AM


ต่อมาใน ค.ศ. 2013 สหรัฐฯ ได้เชิญประเทศต่างๆ เข้ามา ร่วมเป็นสมาชิก TPP อีก 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา มาเลเซีย และเม็กซิโก ท�ำให้สมาชิก TPP มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 12 ประเทศ ในปี ค.ศ. 2013 จึงเรียกว่า TPP 12

สมาชิกประเทศ TPP 12 จึงประกอบด้วย

ข้อมูลเบื้องต้น ไทยและสหรัฐฯ ได้เคยมีความพยายามท�ำข้อตกลง ทางการค้าเสรีกนั มาแล้ว แต่ตอ้ งสะดุดหยุดลงในปี ค.ศ. 2006 ในระหว่างนั้น ประเทศบรูไน สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ และ ชิลี 4 ประเทศ ได้มีข้อตกลงการค้าเสรีร่วมกัน เรียกว่า 4P ต่อมาสหรัฐฯ ได้พยายามเจรจาการค้าเสรีกบั ประเทศ ริมฝั่งแปซิฟิค ท�ำให้เกิดประชาคม APEC (Asian Pacific Economic Community)

1. ออสเตรเลีย 2. บรูไน 3. แคนาดา 4. ชิลี 5. ญี่ปุ่น 6. มาเลเซีย 7. เม็กซิโก 8. นิวซีแลนด์ 9. เปรู 10. สิงคโปร์ 11. เวียดนาม 12. สหรัฐอเมริกา

ประชากร ประชากร ประชากร ประชากร ประชากร ประชากร ประชากร ประชากร ประชากร ประชากร ประชากร ประชากร รวมประชากร

22.8 ล้านคน 0.4 ล้านคน 34.8 ล้านคน 17.4 ล้านคน 127.6 ล้านคน 29.5 ล้านคน 114.9 ล้านคน 4.4 ล้านคน 30.5 ล้านคน 5.4 ล้านคน 90.4 ล้านคน 314.2 ล้านคน 792.2 ล้านคน

ปี ค.ศ. 2008 สหรัฐฯ ได้ร่วมลงนามข้อตกลงการ ค้าเสรี กับกลุ่ม 4P ตามข้อ 2 โดยสหรัฐฯ ได้แสดงบทบาท โดดเด่นเป็นพิเศษ ท�ำให้เกิดข้อตกลงการค้าเสรี ที่เรียกว่า Trans-Pacific Partnership: TPP หรือ TPP 8 โดยได้เชิญ อีก 4 ประเทศมาร่วม ท�ำให้มี 8 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย บรูไน ชิลี นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม โดย มาร่วมลงนามในข้อตกลงดังกล่าว โดยเรียกชื่อว่า TPP 8

THAI DENTAL MAGAZINE • 3

AW TDM 1-21.indd 3

10/25/56 BE 9:37 AM


ท�ำให้เห็นได้ว่า สหรัฐฯ มีบทบาทส�ำคัญทางเศรษฐกิจ และ พัวพันในเอเชียยิ่งขึ้น อาจพิจารณาไปได้ว่า สหรัฐฯ ต้องการลด อิทธิพล และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ต่อประเทศต่างๆ ในเอเชียก็ได้ ประเทศสมาชิก TPP ทั้ง 12 ประเทศ มีผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ หรือ Gross Domestic Products (GDP) รวมกัน ทั้งสิ้น มีมูลค่า 27,558 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถือได้ว่าเป็นมูลค่าที่ สูงมาก ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เชิญชวนนายกรัฐมนตรีไทย ขอให้ ประเทศไทยพิจารณาสมัครเข้าเป็นสมาชิก TPP ในคราวที่มาเยือน ประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ตามที่ได้กล่าวมา แล้วข้างต้น การที่ไทยจะเสนอตัวเข้าเป็นสมาชิก TPP ต้องด�ำเนินการ ตามกระบวนการดังต่อไปนี้ คือ ต้อง 1) แสดงความประสงค์เข้าร่วมกับสมาชิก TPP เดิม 2) เข้าสูก่ ระบวนการเจรจากับสมาชิก TPP เป็นรายประเทศ คือต้องท�ำเป็น Bilateral consultation 3) ยืน่ หนังสือแสดงเจตจ�ำนงและมีความมุง่ มัน่ ในการปฏิบตั ิ ตามข้อก�ำหนดของ TPP 4) เข้ากระบวนการพิจารณาของประเทศสมาชิกดั้งเดิม 5) หากได้รับความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกทุกประเทศ TPP ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก TPP หากไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ทุกประเทศสมาชิก TPP ก็ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก TPP 6) การเจรจากับกลุ่ม หรือของกลุ่ม TPP ถือเป็นความลับ จะเปิดเผยให้ผู้อื่นที่มิใช่สมาชิกทราบไม่ได้

4 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 1-21.indd 4

10/25/56 BE 9:38 AM


ปัจจุบัน ประเทศไทย ได้พัฒนาการของความ ตกลง Trans-Pacific Partnership อยู่ตรงไหน? ตอบได้วา่ อยูร่ ะหว่างการประเมินท่าทีการเจรจาของประเทศสมาชิก TPP ในประเด็นที่น่าสนใจ นั่นก็คือ เข้าสู่กระบวนการเจรจากับสมาชิก TPP เป็นรายประเทศ ซึ่งประเทศที่ส�ำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา

เหตุผลที่ ไทยจ�ำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการเจรจา กับสหรัฐฯ ที่เป็นสมาชิก TPP เนื่องจาก ประเทศไทยได้ลงนามทางการค้าเสรีกับประเทศสมาชิก ของ TPP อื่นๆ ไปเกือบทั้งหมดแล้ว ยกเว้น 4 ประเทศ ต่อไปนี้เท่านั้น คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก และชิลี ดังนั้น ผลกระทบหากไทยเข้าร่วม TPP จึงจะคล้ายกับการที่ไทย ต้องมีข้อตกลงทางการค้าเสรีกับสหรัฐฯ นั่นเอง

การประเมินท่าทีการเจรจากับสหรัฐฯ ในประเด็น ที่น่าสนใจ กลุ่มหัวข้อเจรจา ภายใต้กรอบ Trans-Pacific Partnership ต้องใช้ กลยุทธ์เจรจา “Comprehensive Single Undertaking” นั่นคือ ถ้าการ เจรจาแต่ละข้อยังไม่จบ จะถือว่าการเจรจาไม่เสร็จสิน้ จนกว่าการเจรจา ทุกข้อบทจะจบลง ต่อฉบั​ับหน้า>> THAI DENTAL MAGAZINE • 5

AW TDM 1-21.indd 5

10/25/56 BE 9:38 AM


AD

6 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 1-21.indd 6

10/25/56 BE 9:38 AM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 7

AW TDM 1-21.indd 7

10/25/56 BE 9:38 AM


• Episode 1

เรื่อง อาจารย์ทันตแพทย์หญิง ฐิตารีย์ จิรธัญญาณัฎ และกองบรรณาธิการ

Episode 1 : Sodium hypochlorite : ‘ตัวเดียว’ .. เอาอยู่ ? Sodium hypochlorite (NaOCl) ที่ใช้ล้างคลองรากฟันอยู่นั้น ยัง ‘ใช่’ หรือไม่ , EDTA คืออะไร แล้ว chlorhexidine ที่ใช้บ้วนปาก เอามาล้างคลองรากฟันได้ด้วยหรือ... กอง บก. ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ทันตแพทย์หญิง ฐิตารีย ์ จิรธัญญาณัฎ อาจารย์ประจ�ำภาควิชาทันตกรรมหัตถการและ วิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มา update ทุกเรือ่ งเด่นประเด็นร้อนเกีย่ วกับน�ำ้ ยาล้างคลองรากฟัน ให้ ได้ทราบกัน

8 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 1-21.indd 8

10/25/56 BE 9:38 AM


การล้างคลองรากฟัน ยังจ�ำเป็นอยู่? Q : ในปัจจุบัน มีการใช้ Rotary instruments ในการขยายคลองรากฟัน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการ ก�ำจัด infected dentin ได้ดีมากกว่าเดิม การล้าง คลองรากฟัน ยังจ�ำเป็นอยู่หรือไม่ครับ A : ยังคงจ�ำเป็นค่ะ เพราะคลองรากฟันนั้น ไม่ได้ตรงไปตรง

มาเหมือนหลอดกาแฟ แต่ระบบคลองรากฟัน (root canal system) มีความซับซ้อน มีการแตกแขนงของคลองรากฟันหลักออกเป็นคลอง รากฟันย่อยๆเหมือนรากของต้นไม้ รวมถึงมีการเชื่อมรวมกันของ คลองรากฟันระดับต่างๆท�ำให้เกิดครีบหรือซอกหลืบ นอกจากนี้ยัง มีท่อเนื้อฟันมาเปิดสู่ผนังคลองรากฟันจ�ำนวนมาก ซึ่งเป็นบริเวณที่ เราไม่สามารถใช้ไฟล์ไปท�ำความสะอาดได้ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คงไม่ลมื ว่าโรคของ pulp และ periapical tissue นัน้ มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย เมือ่ เกิดการติดเชือ้ ในระบบคลองรากฟัน จึงเป็นการยากที่จะก�ำจัดเชื้อแบคทีเรีย อีกทั้งสารพิษ (toxin) และ สารที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรีย(bacterial by-products) ดังนั้นน�้ำยาล้างคลองรากฟันจึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งใน การท�ำให้คลองรากฟันสะอาดและปราศจากเชื้อ ซึ่งเป็นขั้นตอนที ่ ผู้ท�ำการรักษาไม่ควรละเลย เพื่อน�ำไปสู่ผลการรักษาที่ส�ำเร็จ

น�้ำยาล้างคลองรากฟัน ตัวไหน ‘ใช่’ ที่สุด Sodium hypochlorite: ‘ตัวเดียว’ เอาอยู่ ? NaOCl ถือว่าเป็น Irrigant of choice แต่ ใช้ได้ทุกกรณี จริงหรือ..

Q : ท�ำไม NaOCl จึงครองความนิยม และใช้ กันแพร่หลายทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก A : NaOCl มีคุณสมบัติที่ดีส�ำหรับใช้ล้างคลองรากฟัน คือ Q : สับสนมาก บางที่เรียก NaOCl ว่า Dakin (1) มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์และไวรัส ได้กว้างและมี บางที่ก็เรียกว่า Clorox ตกลงมันเป็นอย่างไรกันแน่ ประสิทธิภาพสูง แต่อย่างไรก็ตามมีการศึกษาส่วนใหญ่ที่มีแนว A : NaOCl มีหลายความเข้มข้นคือ 5.25%, 2.5%, 1.25% โน้มแสดงให้เห็นว่า E. faecalis สามารถทนต่อฤทธิ์ของ NaOCl ได้ มากกว่าเชือ้ อืน่ ๆ (2) มีคณ ุ สมบัตใิ นการละลายเนือ้ เยือ่ และอินทรีย สาร ซึ่งช่วยละลายเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันที่หลงเหลืออยู่ในคลอง รากฟัน (3) ช่วยหล่อลื่นขณะขยายคลองรากฟันได้ และ (4) มีฤทธิ์ ในการห้ามเลือดและการฟอกสีฟัน

และเจือจางที่สุด คือ 0.5% ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า สารละลาย เดกินส์ (Dakin’s solution) เป็นสารที่ถูกน�ำมาใช้เป็นสารต้านเชื้อ (Antiseptics) เพื่อชะล้างแผลในสมัยสงครามโลกครั้งที่1 ส่วน Clorox เป็นชื่อทางการค้าของ NaOCl ความเข้มข้น 5.25%

THAI DENTAL MAGAZINE • 9

AW TDM 1-21.indd 9

10/25/56 BE 9:38 AM


Q : แล้วความเข้มข้นเท่าไร ที่เหมาะสมที่สุด A :ในเรือ่ งความเข้มข้นทีแ่ นะน�ำให้ใช้ในการล้างคลองรากฟัน ยังคงเป็นทีถ่ กเถียงกันอยู่ ถึงแม้จะมีรายงานว่าประสิทธิภาพในการ ฆ่าเชือ้ และละลายเนือ้ เยือ่ ของ NaOCl จะเพิม่ ตามความเข้มข้นทีส่ งู ขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม Siqueira และคณะ ในปี 2000 ไม่พบความ แตกต่างของประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อของ NaOCl ที่ความเข้ม ข้น 1% 2.5% หรือ 5.25% ส่วนในแง่การละลายเนื้อเยื่อนั้น Okino และคณะ ในปี 2004 พบว่าความเข้มข้น 2.5 % สามารถละลายเนื้อเยื่อได้เท่ากับความ เข้มข้น 5.25% นอกจากนี้ Moorer และคณะ ในปี 1982 พบว่า ความถี่ของการล้างอาจมีความส�ำคัญมากกว่าความเข้มข้นของ NaOCl เนื่องจากคุณสมบัติการละลายเนื้อเยื่อของ NaOCl ขึ้นอยู่ กับปริมาณ free chlorine ที่แตกตัวออกมา ซึ่งการเปลี่ยนน�้ำยา บ่อยๆจะเป็นการเพิ่มปริมาณ free chlorine

Q : NaOCl เวลาสัมผัสกับเนื้อเยื่อ เช่น เหงือก กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก จะแสบร้อน แถม ยังมีกลิ่นฉุน จนแสบจมูก กลัวจะมีปัญหากับคนไข้ เราเปลี่ยนมาใช้น�้ำเกลือล้างคลองรากแทนได้ไหม ครับ A : ข้อดีของน�้ำเกลือ (normal saline) คือ ไม่ระคายเคืองต่อ

เนือ้ เยือ่ ใดๆ รวมทัง้ หาได้งา่ ยราคาถูก แต่มนั มีคณ ุ สมบัตแิ ค่ชะล้าง ไม่ได้มคี ณ ุ สมบัตใิ นการฆ่าเชือ้ หรือละลายเนือ่ เยือ่ โพรงประสาทฟัน แต่อย่างใด อย่าลืมว่าโรคของ pulp และ periapical tissue มีสาเหตุมาจาก แบคทีเรีย ดังนั้นยังจ�ำเป็นต้องใช้น�้ำยาล้างคลองรากที่มีคุณสมบัติ ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียอยู่นั่นเอง

Q : ถ้าอย่างนั้น มีข้อควรระวังหรือข้อแนะน�ำ อย่างไรบ้างครับ A : ข้อควรระวังที่ส�ำคัญ คือ ความเป็นพิษต่อเซลล์และ

ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ดังนั้นต้องระวังการรั่วของน�้ำยาออกไปจาก โพรงฟัน การใส่แผ่นยางกั้นน�้ำลาย (rubber dam) ทุกครั้งขณะ รักษาคลองรากฟัน มีการ seal รอบคอฟันให้ดี ร่วมกับการใช้ high power suction จ่อให้ตดิ ขอบโพรงฟันจะช่วยป้องกันได้ รวมทัง้ ต้อง ระวังไม่ล้างด้วยแรงที่มากเกินไป เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้นำ�้ ยาไหล เกินออกไปนอกปลายรากฟันไประคายเคืองต่อเนื้อเยื่อรอบปลาย รากฟัน ท�ำให้มีอาการปวดหลังการรักษา ข้อต่อมาคือ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการฟอกขาว จึงต้องใส่เข็มให้ แน่นทุกครั้ง ระวังไม่ให้หยดใส่เสื้อผ้า และที่ต้องระวังที่สุด คือ ไม่ ให้กระเด็นใส่ดวงตาผูป้ ว่ ย อาจให้คนไข้สวมแว่น Goggles ป้องกัน หรือตัวทันตแพทย์ก็ควรสวมแว่น หรือใส่ faceshield ป้องกันด้วย เช่นกัน 10 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 1-21.indd 10

นอกจากนี้ NaOCl ยังมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนเครื่องมือที่เป็น carbon steel รวมถึงในผู้ป่วยบางรายอาจมีการแพ้ได้ ดังนั้นจึง ต้องซักประวัติผู้ป่วยให้ดีเสียก่อน แค่เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะช่วย ให้เราใช้ NaOCl ได้อย่างปลอดภัยและให้ผลการรักษาที่ “เป๊ะ” มากขึ้น อย่างไรก็ตาม NaOCl ตัวเดียว อาจ เอาไม่อยู่ แต่จะเป็น เพราะอะไร และจะมีนำ�้ ยาล้างคลองรากฟันทางเลือกใหม่อะไร บ้าง ต้องติดตามต่อฉบับหน้าครับ... 1.Bahrain B and Haapasalo M. Update on endodontic irrigating solutions. Endod Topics. 2012:27:74-102. 2.Liqueurs JF, Rocas IN, Favieri A, Lima KC. Chemomechanical reduction of the bacterial population in the root canal after instrumentation and irrigation with 1% 2.5% and 5.25% sodium hydrochloride. J Endod 2000;26(6):331-4. 3. Domino LA, Siqueira EL, Santos M, Bombana AC. Dissolution of pulp tissue by aqueous solution of chlorhexidine diglucanate and chlorhexidine diglucanate gel. Int Endod J 2004:37:38-41. 4. Moorer WE, Wesselink OR. Factors promoting the tissue dissolving capability of sodium hypochlorite. Int Endod J 1982;15(4):187-96. 5. Gomes BP, Ferraz CC, Vianna ME, Berber VB, Teixeira FB, Souza-Filho FJ. In vitro antimicrobial activity of several concentrations of sodium hypochlorite and chlorhexidine gluconate in the elimination of Enterococcus travails. Int Endod J 2001;34(6):424-8.

FDI Dental Practice Committee: Oral health workforce planning for developed countries. Int Dent J 2005;55:42-44. Dreesch N, Dolea C, Dal Poz MR, Goubarev A, Adams O, Aregawi M, Bergstorm K, Fogstad H, Sheratt D, Linkins J, Schrpbeir R, Fox YM: An approach to estimating human resource requirements to achieve the millinnium development goals. Health Policy Planning 2005;20:267-276. WHO/ FDI Joint Working Group : Health through oral health: Guidelines for planning and monitoring for oral health. London, Quintessence Publishing Company, 1989. Hornby P, Ray D, Shipp P, Hall T: Guidelines for health manpower planning; in. Geneva, 1980.

10/25/56 BE 9:38 AM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 11

AW TDM 1-21.indd 11

10/25/56 BE 9:38 AM


• ปฎิบัติการ ขาว ใส วิ้ง

ความสวยงาม บนใบหน้ามีอวัยวะหลาย อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ฟันมีส่วนส�ำคัญ ที่ท�ำให้ใบหน้าดูดี

เรื่อง รศ.ทพ. ยสวิมล คูผาสุข / ทญ. พุทธชาติ อักษเรศ

โดยจากการส�ำรวจของ American academy of cosmetic dentistry พบว่า รอยยิม้ น่าประทับใจนัน้ มีผล ต่อการเข้าสังคม เป็น สิ่งที่ดึงดูดเพศตรงข้าม มีผลต่อความส�ำเร็จในการประกอบอาชีพ และการคัดเลือกเข้าท�ำงาน ในขณะที่ รอยยิ้มที่ไม่ประทับใจ หรือ มีจุดด่างด�ำ เป็นสัญลักษณ์ของการมีสุขภาพที่ไม่ดี ดังนั้น ผู้คน ส่วนใหญ่จึงให้ความส�ำคัญกับการมีสุขภาพที่ดี และการมีรอยยิ้ม ที่สวยงาม การมีฟนั ขาวสะอาดเป็นสิง่ ส�ำคัญอย่างหนึง่ ทีบ่ ง่ บอกถึงการมี สุขภาพร่างกายจิตใจที่ดี และรอยยิ้มที่น่าประทับใจ ในปัจจุบันพบ ว่าผู้คนที่ไม่พอใจสีฟันเดิมของตนเอง มีเป็นจ�ำนวนมากถึงร้อยละ 11.9 – 53.9 และคนเหล่านี้ปรารถนาจะให้ฟันของตนมีสีขาวเพื่อ สร้างความมั่นใจ และช่วยให้การใช้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ผลของ การส�ำรวจทัศนคติทางด้านความสวยงามทางทันตกรรมจากอาสา สมัคร 250 คน พบว่าภาพลักษณ์ของฟันที่ดี มีความส�ำคัญในผู้ หญิงมากกว่าผู้ชายอย่างมีนัยส�ำคัญ ผลการส�ำรวจประการหนึ่ง ที่น่าสนใจ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างความสวยกับความต้องการ

ที่จะมีฟันขาวมากๆนั้น ลดลงอย่างมีนัยส�ำคัญเมื่ออาสาสมัคร มีอายุมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับผลจากอีกการศึกษาหนึ่ง ที่ท�ำการ ส�ำรวจในอาสาสมัครจ�ำนวน 150 คน โดยการให้อาสาสมัคร ดูรูป ฟันปลอมหน้าบน 4 ซี่ ที่มีรูปร่างเหมือนกัน แต่มีสีที่แตกต่างกัน เมื่อให้อาสาสมัครระบุว่าฟันซี่ใดที่สวยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครที่มีอายุมากขึ้นชอบฟันที่มีสีเข้ม มากกว่าอาสาสมัคร ที่อายุน้อย นอกจากนี้ ในการศึกษาที่ใช้แบบสอบถามเพื่อส�ำรวจ ความพึงพอใจของสีฟันตนเอง พบว่าทั้งผู้สูงอายุ (55-64 ปี) และ ผู้เยาว์ (13-17 ปี) มีความพึงพอใจในสีฟันของตนเองใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 30 ในผู้สูงอายุ และร้อยละ 27 ในผู้เยาว์ ทั้งๆที่ ฟันของ ผู้สูงอายุ มีสีที่เข้มกว่าผู้เยาว์อย่างชัดเจน ดังนั้น จึงอาจเป็นไปได้ ว่า ในแต่ละกลุม่ อายุ และ เพศ อาจมีผลต่อความพึงพอใจของสีฟนั ตนเองที่แตกต่างกัน และ บุคคลนั้นๆอาจต้องการให้ฟันของตนมีสี ที่ขาวขึ้นสอดคล้องกับช่วงอายุของตนเอง มากกว่าต้องการให้ฟัน ตนเองขาวให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยในปัจจุบัน มีวิธีการที่ท�ำให้ฟันขาวได้หลายช่องทาง เช่น

12 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 1-21.indd 12

10/25/56 BE 9:38 AM


การฟอกสีฟนั การท�ำเคลือบฟันหรือครอบฟัน การขูดหินน�ำ้ ลายเพือ่ ก�ำจัดคราบสีและหินน�้ำลาย รวมถึงการใช้ยาสีฟันฟอกสีฟัน โดย การใช้ยาสีฟันฟอกสีฟันนี้ จัดเป็นวิธีที่สะดวก และสามารถท�ำได้ โดยสะดวกภายในบ้านและที่ท�ำงาน แต่ผลที่ได้จากการใช้ยาสีฟัน ประเภทนี้ยังเป็นที่สงสัย และไม่น่าพึงพอใจ ทั้งนี้ เนื่องจากส่วน ประกอบที่ส�ำคัญของยาสีฟัน ที่ท�ำให้ฟันขาวคือ ผงขัด ที่ช่วยก�ำจัด คราบสีออกจากผิวฟันเท่านั้น เนื่องจากการรับรู้สีฟันนั้น เป็นปรากฏการณ์ซับซ้อนและการ วัดสีฟันด้วยการมองนั้น ถูกก�ำหนดด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น แสง ส่วนประกอบอนินทรียข์ องฟัน การมีคราบสีภายนอกและภายในตัว ฟัน ประสบการณ์ของผู้สังเกต และ สีของริมฝีปาก ดังนั้น จึงได้มี การน�ำองค์ความรูท้ างด้านวิทยาศาสตร์ของสี และการรับรูถ้ งึ สีของ วัตถุของสายตามนุษย์ มาพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ในการท�ำให้ฟนั ดูขาวขึน้ เนือ่ งจาก ปรากฏการณ์ของสีทเี่ รามองเห็นนัน้ คือการตอบ สนองทางจิตวิทยาต่อปฏิกิริยาระหว่างพลังงานแสงกับวัตถุ และ ประสบการณ์ของผู้มองแต่ละคน ในทางทฤษฎีแล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ถึงสีของวัตถุนั้น จะ ประกอบด้วยปัจจัยหลักสามประการ คือ 1) แหล่งของแสง 2) การ สะท้อนและการดูดซับแสงของวัตถุ และ 3) การมองของผูส้ งั เกตและ ลักษณะโครงสร้างของวัตถุ โดย แหล่งของแสง หมายถึง พลังงานที่ ถูกปล่อยออกมาหลากหลายคลืน่ ความถีแ่ สงทีม่ องเห็นด้วยตาเปล่า ในขณะที่ การสะท้อนและการดูดซับแสงของวัตถุแต่ละชนิดนั้น จะ เป็นตัวก�ำหนดสี เช่น การทีเ่ ราเห็นวัตถุใดๆมีสแี ดง เกิดขึน้ เนือ่ งจาก วัตถุนนั้ ๆ สามารถสะท้อนคลืน่ แสงสีแดงออกมามากกว่าคลืน่ แสงสี เขียวและสีฟ้า ส่วนการมองของผู้สังเกตเป็นการท�ำงานระหว่างตา และสมองในการรับรู้สี คณะกรรมการสากลของ de I’Eclairage อธิบายว่า การรับรู้สี ของสายตามนุษย์ สามารถอธิบายได้ด้วยช่องว่างสามมิติของสี ซึ่ง ประกอบด้วยแกนหลักสามส่วน คือ L หรือความสว่าง a หรือ แกน สีแดง-เขียว และ b หรือ แกนสีเหลือง-ฟ้า และปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อการ เห็นสีขาวมากที่สุด คือ การเปลี่ยนในแนวแกนเหลือง-ฟ้า โดยพบ ว่าการเปลี่ยนจากสีเหลืองเข้าสู่สีฟ้า จะท�ำให้ตาเราเห็นเป็นสีขาว

ในกรณีของการฟอกสีฟนั ด้วยสารประกอบเปอร์ออกไซด์ ผลการ ศึกษาโดย Gerlach และคณะ ที่ศึกษาการรับรู้สีฟันที่เปลี่ยนแปลง ไปของผูเ้ ข้าร่วมการทดลองหลังจากฟอกสีฟนั 2 สัปดาห์ พบว่าผูเ้ ข้า ร่วมการศึกษารู้สึกว่าฟันขาวขึ้นและพอใจมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจาก สารประกอบเปอร์ออกไซด์ มีผลในการลดความเข้มของสีเหลือง ลง ท�ำให้การรับรู้ในแนวแกนเหลือง-ฟ้าเปลี่ยนแปลงไป แต่ไม่พบ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของความสว่างและแกนสีแดง-เขียว ซึ่งการเอียงจากสีเหลืองมาทางสีฟ้าท�ำให้มองเห็นฟันสีขาวขึ้น แนวคิดเรือ่ งสีนถี้ กู ถ่ายทอดออกเป็นนวัตกรรมใหม่ คือ ยาสีฟนั ที่มีส่วนประกอบของสาร หรือสีที่ให้สีฟ้า ที่สามารถเคลือบติดบน ผิวฟัน การศึกษาโดยน�ำฟันมนุษย์ที่ถอนมาแช่ในบลูโควารีน (blue covarine*) และวัดค่าสีที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยมาตราเทียบสี (colorimeter) พบว่า บลูโควารีนสามารถจะจับและสะสมบนเคลือบฟัน ท�ำให้ฟันมีสีเหลืองน้อยลงและเห็นว่าฟันขาวมากขึ้น และสามารถ จับอยู่บนฟันได้นาน 2-3 ชั่วโมง ในปัจจุบันมียาสีฟันที่ผสมสารบลู โควารีนร่วมกับผงขัดซิลิกา โดยคาดหวังให้ผงขัดซิลิกาช่วยในการ ขจัดคราบสีบนตัวฟัน ร่วมกับการทีส่ ารบลูโควารีนเคลือบบนตัวฟัน เพือ่ ท�ำให้การรับรูส้ ฟี นั ดูขาวขึน้ ซึง่ จัดเป็นทางเลือกและแนวคิดใหม่ ในการท�ำให้ฟันขาวขึ้นที่น่าสนใจ

* covarine เป็นสารสีทใี่ ช้ในวงการเครือ่ งส�ำอาง โดยมีสารประกอบ ของ covarine ที่สามารถให้สีในโทนต่างๆ ตั้งแต่สีด�ำ แดง เหลือง ม่วง ฟ้า และขาว โดยมีองค์ประกอบเป็น iron dioxide and titanium dioxide ในสารละลายน�้ำและกลีเซอรีน Reference : Oral Health in America. A Report of the Surgeon General: Rockville, MD. U.S. Department of Health and Human Services, National Institute of Dental and cariofacial Research, National Institutes of Health 2000;133-152. Alkhatib MN, Holt R, Bedi R. Prevalence of self-assessed tooth discolouration in the United Kingdom. J Dent 2004;32:561-566. Alkhatib MN, Holt R, Bedi R. Age and perception of dental appearance and tooth color. J Gerodontology 2005;22:32-36. Gerlach RW, Barker ML, Sagel PA. Objective and subjective whitening response of two self-directed bleaching systems. Am J Dent 2002;15:7A-15A. Joiner A, Philpotts CJ, Alonso C, et al. A novel optical approach to acheving tooth whitening. J Dent 2008;36:S8-S14. Joiner A. A silica toothpaste containing blue covarine: a new technological breakthrough in whitening. Int Dent J 2009;59:284-8.

THAI DENTAL MAGAZINE • 13

AW TDM 1-21.indd 13

10/25/56 BE 9:38 AM


• มุมมองใหม่

มุมมองใหม่ของ

“คุณภาพในการรักษา ทางทันตกรรม”

เรื่อง ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาพ ทพ. ณัฐวุฒิ แก้วสุธา

โดยทั่วไปเมื่อเรากล่าวถึง คุณภาพในการรักษาทางทันตกรรม เราอาจนึกไปถึงตอนที่เป็นนิสิตทันตแพทย์ เมื่อฝึกปฎิบัติงานในคลินิกก็จะมีอาจารย์ มาตรวจสอบงานรักษาที่ท�ำในแต่ละขั้นตอน ว่า ถูกต้องตามหลักวิชาการหรือไม่ เช่น ถ้าอุดฟันด้วยอะมัลกัม จะต้องกรอฟัน ลึกเท่าไร รองพื้นบริเวณใด อุดแล้วขัดมัน จนไม่มีรอยขนแมว เป็นต้น ดังนั้นถ้าเราให้บริการทันตกรรมต่างๆ ตามที่เราเรียนมา ก็น่าจะมีคุณภาพ ของการรักษา

มีการถกเถียงกันเรื่องของคุณภาพในการรักษาทางทันตกรรม ในแวดวงนานาชาติ สมาคมทันตแพทย์อเมริกา (American Dental Association, ADA) ได้ลงบทความสรุปว่า คุณภาพการรักษา ทางทันตกรรมไม่สามารถวัดได้ มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อน ไม่น่าจะมีดชั นีหรือตัวชีว้ ดั ใดๆ มาวัดได้อย่างเหมาะสม National Quality Measures Clearinghouse ของสหรัฐอเมริกาได้ก�ำหนด ดัชนีประเมินคุณภาพงานบริการสุขภาพต่างๆ รวมทัง้ งานทันตกรรม พบว่ามีเพียง 3 ตัวชีว้ ดั เท่านัน้ ทีร่ ะบุถงึ เรือ่ งคุณภาพในการรักษาทาง ทันตกรรม ได้แก่ 1) การรักษาคลองรากฟันน�้ำนมต้องไม่เกิดพยาธิ สภาพภายใน 6 เดือนหลังการรักษา 2) การเคลือบหลุมร่องฟันต้อง ไม่หลุดออกจนต้องท�ำซ�้ำภายใน 2 ปี และ 3) ฟันที่เคลือบหลุมร่อง ฟันไปแล้วภายใน 2 ปีจะต้องไม่มีการผุอีก จนต้องอุดฟัน ถอนฟัน หรือรักษารากฟัน ทั้งนี้ไม่ได้ก�ำหนดว่าต้องท�ำให้ได้ทั้งหมด แต่ถ้า ทันตแพทย์ใดท�ำได้ใกล้เคียงแสดงว่า มีคุณภาพในการรักษามาก ดัชนีทั้ง 3 ตัวนี้ แสดงถึงความพยายามในการก�ำหนด คุณภาพของ การรักษาทางทันตกรรมที่อิงกับผลลัพธ์เบื้องต้นของการรักษา โดย ไม่ค�ำนึงถึงกระบวนการรักษาในแต่ละขั้นตอนว่าถูกต้องหรือไม่

14 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 1-21.indd 14

10/25/56 BE 9:38 AM


เปลี่ยนมุมมองคุณภาพจาก “รักษาซี่ฟัน” ไปสู่ “การรักษาโรค ฟัน” จากเดิมที่เราจะวัดหรือประเมินคุณภาพจาก กระบวนการ รักษาว่าท�ำได้ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการหรือไม่เพียงใด หรือ ประเมินผลลัพธ์ของการรักษาว่าส�ำเร็จมากน้อยแค่ไหนนั้น ในสห ราชอาณาจักรได้น�ำเสนอมุมมองใหม่ ที่ไม่เน้นทั้งกระบวนการหรือ ผลลัพธ์การรักษาทีใ่ ห้แก่ฟนั แต่ละซี่ แต่ไปเน้นทีก่ ารรักษา “โรคฟัน” (Dental Disease) ให้แก่ผู้ป่วยแทน โดยเรียกระบบนี้ว่า Dental Quality and Outcomes Framework (DQOF)

การรักษาโรคฟันให้แก่ผปู้ ว่ ย หมายถึง จะรักษาโรคฟันให้ผปู้ ว่ ย ทีเ่ ป็นมนุษย์ เป็นคนทัง้ คน ไม่ใช่มองเฉพาะซีฟ่ นั ของผูป้ ว่ ย การมอง แบบนี้จะท�ำให้ทันตแพทย์จะพยายามรักษาโรคฟันที่คนๆ นั้นเป็น ไม่ได้รักษาเฉพาะซี่ฟันที่เป็นโรคเท่านั้น ดังนั้น DQOF จะวัดและประเมินผู้ป่วยเป็นรายบุคคล (ไม่ได้ ประเมินเป็นรายซีฟ่ นั ) ผูป้ ว่ ยแต่ละคนเมือ่ มาพบทันตแพทย์เนือ่ งจาก โรคฟันผุหรือโรคปริทันต์อักเสบ หลังการรักษาผู้ป่วยนั้นจะต้องมี สุขภาพฟันที่ดีขึ้น จะไม่ป่วยเป็นโรคฟันผุหรือโรคปริทันต์อักเสบอีก เมื่อมาพบทันตแพทย์ในครั้งต่อไป ซึ่งระบบนี้จะผูกติดกับการจ่าย ค่าตอบแทนของทันตแพทย์ด้วย เพื่อส่งเสริมให้ทันตแพทย์ให้การ รักษาที่ครบกระบวนการ ถ้าผู้ป่วยกลับมาพบทันตแพทย์ในครั้งต่อ ไปแล้ว ไม่มีฟันผุเกิดขึ้นใหม่ หรือ โรคปริทันต์อักเสบที่เป็นอยู่ดีขึ้น ทันตแพทย์ก็จะได้รับค่าตอบแทน

การรักษาโรคฟันที่ครบกระบวนการ คืออะไร

ปกติในการรักษาโรคฟันจะมีการตรวจวินจิ ฉัยโรคฟันและให้การ รักษาโรคฟันแต่ละซี่ แต่ใน DQOF จะเน้นความส�ำคัญของ การ

ประเมินความเสีย่ งต่อการเกิดโรคฟันผุและ โรคปริทันต์อักเสบ (Patient assessment and Risk screening) ผู้ป่วยจะต้องรู้ว่า ตนเองเสีย่ งต่อการเกิดโรคมากน้อยเพียงใด จากนัน้ จะร่วมกับทันตแพทย์ในการวางแผน การป้องกันโรค (Patient self-care plan) ทันตแพทย์จะให้คำ� แนะน�ำในการป้องกันเฉพาะเจาะจงทีเ่ หมาะกับ ผู้ปว่ ยแต่ละคน และเสนอให้ผ้ปู ่วยเข้าร่วม (Engagement)กับทันต กรรมป้องกันทีจ่ ะให้ ถ้าผูป้ ว่ ยตกลงก็จะให้บริการรักษาและป้องกัน รวมทั้งการนัดมาพบทันตแพทย์เป็นระยะๆ (Recall interval) อย่าง สม�ำ่ เสมอ ทันตแพทย์จะต้องมีทกั ษะในการสือ่ สารให้ผปู้ ว่ ยเข้าใจ และ สื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ตลอดทั้งกระบวนการ นี้เป็น “คุณภาพ” ของการรักษาโรค เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ลดโรคฟันผุ หรือโรคปริทันต์อักเสบที่เกิดขึ้น หรืออย่างน้อยก็คงสภาพเดิมไว้ให้ ได้ ทันตแพทย์ไม่สามารถให้การรักษาโรคฟันเป็นซี่ๆได้อีกต่อไป เพราะระบบประเมินคุณภาพก�ำหนดให้ประเมินโรคฟันผุหรือโรค ปริทนั ต์อกั เสบทีล่ ดลงเมือ่ ผูป้ ว่ ยมาพบทันตแพทย์ตอ่ เนือ่ ง ถ้าผูป้ ว่ ย ไม่มาตามที่นัดก็จะคัดออกจากการประเมิน หากผู้ป่วยจ�ำนวนมาก ไม่มาตามนัดก็จะท�ำให้ผลการประเมินท�ำได้ยากไม่ชัดเจน ดังนั้น ทันตแพทย์จำ� เป็นต้องมีพัฒนาทักษะต่างๆที่จะท�ำให้ผู้ป่วยรู้สึกได้ ว่า ทันตแพทย์ต้องการให้ผู้ป่วยมีสุขภาพฟันดีขึ้น ท�ำให้ผู้ป่วยยินดี ที่จะมาพบทันตแพทย์อย่างต่อเนื่อง THAI DENTAL MAGAZINE • 15

AW TDM 1-21.indd 15

10/25/56 BE 9:38 AM


ตัวอย่างเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพ การรักษาโรคฟัน

โรคฟันผุ จะมีเกณฑ์ในการประเมิน เช่น ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กอายุ น้อยกว่า 5 ปีจะต้องมีอย่างน้อยครึ่งหนึ่งที่ฟันผุลดลงหรือเท่าเดิม แต่ถ้าเป็นกลุ่มเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปและในกลุ่มผู้ใหญ่ จะต้องมีอย่าง น้อยร้อยละ 75 ที่ฟันผุลดลงหรือเท่าเดิมจึงจะผ่านเกณฑ์ กลุม่ ผูป้ ว่ ยทีม่ ารักษาโรคปริทนั ต์อกั เสบต่อเนือ่ งและมา Recall จะต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 75 ทีค่ งสภาพเดิมไว้ได้หรือสภาพเหงือก ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ในครั้งแรกที่มาพบถ้าผู้ป่วยมีเหงือกอักเสบ เมื่อ รักษาเสร็จและนัดมาพบเป็นระยะๆ จะผ่านเกณฑ์เมื่อ ไม่มีเหงือก อักเสบ หรือ อย่างน้อยคงสภาพเหมือนเดิมกับการมาพบในครัง้ แรก คือมีแค่เหงือกอักเสบ แต่ถ้าพบหินน�้ำลายเมื่อไรก็จะไม่ผ่านเกณฑ์ เพราะคุณภาพในการรักษาไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยมีโรคเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ ยังมีเกณฑ์เฉพาะผู้ป่วยที่มีหินน�้ำลายหรือมีกระเป๋าปริทันต์ ที่เมื่อ นัดมาพบต่อเนื่องแล้ว จ�ำนวน sextant ที่มีเลือดออกจะต้องลดลง หรือเท่าเดิม เพื่อเป็นการจูงใจให้ทันตแพทย์พยายามท�ำให้ผู้ป่วย ก�ำจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์ให้ได้ดีขึ้น ถ้ามีจ�ำนวน sextant ที่มีเลือด ออกเพิ่มขึ้น แสดงถึงคุณภาพการรักษาที่ไม่ดีพอ

ผู้ป่วยเป็นผู้ประเมินคุณภาพการรักษา

DQOF จะใช้มุมมองของผู้ป่วยในการประเมินคุณภาพการ รักษาที่ทันตแพทย์ให้ โดยใช้แบบสอบถามให้ผู้ป่วยตอบค�ำถามมี ทั้งหมด 6 ข้อ มีค่าร้อยละที่ผ่านการประเมินคุณภาพที่แตกต่างกัน เช่น การถามผู้ป่วยว่าหลังการรักษาแล้วผู้ป่วยสามารถพูดและรับ ประทานอาหารได้อย่างปกติหรือไม่ ถ้าผู้ป่วยตอบว่าปกติน้อยกว่า ร้อยละ 65 ก็จะไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน หรือถามความพึงพอใจต่อ ความสะอาดของคลินิกและเครื่องมือหรือไม่ ถ้าตอบว่าไม่พอใจ เกินร้อยละ 20 ก็จะไม่ผ่านเช่นกัน ตัวอย่างค�ำถามที่น่าสนใจในเรื่องสิทธิผู้ป่วย เช่น ค�ำถามว่า ท่านพอใจกับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกการรักษาหรือไม่ ซึ่งแสดงว่า ทันตแพทย์จะต้องแจ้งทางเลือกในการรักษาให้กับผู้ ป่วย และให้ผปู้ ว่ ยมีสว่ นร่วมในการตัดสินเลือกวิธกี ารรักษา เป็นต้น

ส่งท้าย

การให้คำ� จ�ำกัดความถึง “คุณภาพในการรักษาทางทันตกรรม” มีได้มากมายหลายหลากมุมมอง ไม่ว่าจะมุมมองการรักษาเฉพาะ ซี่ฟันที่เน้นเรื่องกระบวนการรักษาและผลลัพธ์ความส�ำเร็จของ การรักษาหรือมุมมองการรักษาที่โรคฟันของบุคคล ที่เน้นการรักษา ตลอดกระบวนการ เพื่อท�ำให้บุคคลนั้นๆ ไม่กลับมาเป็นโรคฟัน อีก หรือการใช้มุมมองของผู้ป่วยมาประเมินคุณภาพการรักษาของ ทันตแพทย์ เป็นต้น

อ้Dental างอิQuality ง and Outcomes Framework, Department of Health, UK

Sue Gregory, Dental Contract Reform Program: Dental Quality and Outcomes Framework, Department of Health, UK Voinea-Griffin, A., et al., Pay-for-performance in dentistry: what we know. J Healthc Qual, 2010. 32(1): p. 51-8. 16 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 1-21.indd 16

10/25/56 BE 9:38 AM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 17

AW TDM 1-21.indd 17

10/25/56 BE 9:38 AM


• Hot Issue

เรื่อง นฤมนัส คอวนิช สืบเนื่องจากปัจจุบันก�ำลังจะมีการเปิดโรงเรียนทันตแพทย์อีก 3 แห่ง ที่พะเยา เชียงรายและโคราช เพือ่ ไม่ให้ตกเทรนด์ จึงจะขอเล่าเรือ่ งการคาดประมาณจ�ำนวน ทันตแพทย์ที่เหมาะสมส�ำหรับประเทศไทยตามแนวคิดต่างๆที่มีอยู่ มาให้ท่านผู้ อ่านได้ร่วมท�ำความเข้าใจว่ามีวิธีการในการคิดอย่างไรครับ ก่อนจะลงรายละเอียด ขอน�ำเสนอข้อเท็จจริงเกีย่ วกับจ�ำนวนทันตแพทย์ไทย นะครับ ข้อมูลนี้ได้จากทันตแพทย์โกเมศ วิชชาวุธ ส�ำนักทันตสาธารณสุขครับ

หญิง 7,448 คน (64.2 %) ชาย 4,159 คน (35.8 %)

ท�ำงานภาคเอกชน 5,849 คน (50.4%) ภาครัฐ 5,758 คน (496%) ท�ำงานในกทม. 5,460 คน (47.0%) ในส่วนภูมิภาค 6,147 คน (53.0%) อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากร ทั้งประเทศ 1:5,533 อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากร กรุงเทพมหานคร 1:1,039 อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากร ในภูมิภาคเฉลี่ย 1:9,563 อัตราส่วนต่อประชากรเรียงภาค

เหนือ

อิสาน

กลาง

1:7,628

1:14,247

1:7,805

ตะวันตก

ตะวันออก

ใต้

1:8,367

1:7,958

ทันตแพทย์ไทย ณ เดือนธันวาคม 2556 มี 11,607 คน

1:8,515

เนื่องจากการคาดประมาณจ�ำนวนทันต บุคลากรของประเทศในช่วงห้าปีที่ผ่านมายัง ไม่มีการวางแผนหรือด�ำเนินการร่วมกัน จากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง จึงท�ำให้ยังไม่มี ข้อตกลงที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับจ�ำนวนทันตแพทย์ที่เหมาะสม ในระดับประเทศ ซึ่งจ�ำนวนจะส่งผลกระทบ ต่อเราทุกคนต่อไป ดังนั้นเพื่อให้สมาชิกพอ เข้าใจเรื่องการคามประมาณก�ำลังคน ขอน�ำเสนอวิธีการนะครับ การคาดประมาณ ก�ำลังคน มีวิธีการค�ำนวณหลักๆ ได้ 4 แบบคือ

18 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 1-21.indd 18

10/25/56 BE 9:38 AM


1. วิธี Population Ratio Method

หรือการประมาณการโดยใช้อตั ราส่วนต่อประชากร วิธนี กี้ ำ� หนด จ�ำนวนทันตแพทย์ที่เหมาะสมจากการเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนกับ ประชากรของประเทศ เป็นวิธีที่เข้าใจง่ายแต่อาจไม่สมเหตุผลเท่า ที่ควร เพราะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากเสียจนไม่อาจควบคุมอะไร ได้เลย และไม่สามารถบอกได้ว่าหากมีทันตาภิบาล ทันตานามัย หรือบุคลากรข้างเคียงอื่นๆ เข้ามาอยู่ในระบบด้วยแล้ว จะต้องปรับ อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรให้ลดลงมากน้อยอย่างไรจึงจะ เหมาะสม นอกจากนั้นเอกสารวิชาการด้านก�ำลังคนสาธารณสุขก็ ชี้ว่า การก�ำหนดเป้าหมายก�ำลังคนด้วยอัตราส่วนทันตแพทย์ต่อ ประชากร ไม่เอื้อให้เกิดความยืดหยุ่นในการก�ำหนดนโยบายก�ำลัง คนของประเทศ ปัจจุบันตัวเลขอัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากร ถูกใช้เพื่อเป็นแนวทางกว้างๆ ในการประเมินสถานการณ์ก�ำลังคน ของแต่ละประเทศเท่านั้น

2. วิธี Health Need Method

เป็นการใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยาเพื่อประเมินความต้องการ รับการรักษาพยาบาลโดยวิธีการนี้จะเทียบปริมาณโรคที่มีอยู่ออก มาเป็นเวลาทีต่ อ้ งใช้ในการให้การรักษา แล้วน�ำค่าเวลาทีต่ อ้ งใช้ดงั กล่าวมาเปรียบเทียบอีกครัง้ หนึง่ เป็นจ�ำนวนทันตแพทย์ โดยค�ำนวณ ว่าหากโรคทั้งหมดที่มีต้องใช้เวลารักษา x นาที และทันตแพทย์คน หนึ่งท�ำงานได้ y นาทีต่อปี ดังนั้น ต้องมีทันตแพทย์จ�ำนวนเท่าใดจึง จะเพียงพอรักษาโรคได้ทั้งหมด วิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ตรงไปตรงมา สมเหตุผล และท�ำความเข้าใจได้ง่าย แต่การค�ำนวณจ�ำเป็นต้องมี ข้อมูลประกอบมาก เช่นหากต้องการทราบว่า ณ ปี 2570 ควรต้องมี ทันตแพทย์เป็นจ�ำนวนเท่าใด การค�ำนวณต้องประมาณการจ�ำนวน ฟันผุ ถอน อุด ตลอดจนความต้องการในการรักษาแต่ละประเภท ของ กลุม่ อายุตา่ งๆ ในปีดงั กล่าว เพือ่ หาว่าหากต้องการให้การรักษาโรค ทัง้ หมดจะต้องใช้เวลาในการรักษาเท่าใด และทันตแพทย์คนหนึง่ จะ สามารถให้การรักษาแต่ละรายการเป็นจ�ำนวนกี่ซี่ กี่ราย หรือกี่ครั้ง

THAI DENTAL MAGAZINE • 19

AW TDM 1-21.indd 19

10/25/56 BE 9:39 AM


ต่อปี เมื่อน�ำข้อมูลความต้องการรักษาพยาบาลและข้อมูลความ สามารถในการรักษาของทันตแพทย์มาเปรียบเทียบกัน ก็จะสามารถ ทราบได้ว่าควรต้องมีทันตแพทย์จ�ำนวนเท่าใด จุดอ่อนส�ำคัญของวิธกี ารนีค้ อื ผลการค�ำนวณค่อนข้าง overestimate เพราะไม่มที างทีผ่ ปู้ ว่ ยทุกคนจะมาพบทันตแพทย์ เนือ่ งจาก มีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมาก (เช่น การเดินทาง ค่ารักษา ความเชื่อ ฯลฯ) ในทางตรงกันข้าม บางครัง้ ก็พบว่ามีการรักษาบางประเภททีม่ ี ความต้องการ (demand) เพิม่ ขึน้ เป็นอย่างมากจนเกินความจ�ำเป็น ที่แท้จริง (need) ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีหรือค่านิยมของ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ความต้องการจัดฟันและรากเทียมที่ เพิ่มขึ้นจากทศวรรษที่ผ่านมาอย่างชัดเจน เป็นต้น

3. วิธี Health Demand Method

วิธีน้ีใช้ความต้องการการรักษาที่เป็นความต้องการของผู้ป่วย (demand) ในการคาดประมาณก�ำลังคน วิธีนี้จะใช้คิวรอรอรับการ รักษาพยาบาลประเภทต่างๆ ของสถานพยาบาลเป็นหลักในการ ค�ำนวณ หรืออาจใช้ปริมาณการรับบริการทางการแพทย์ในปีทผี่ า่ น มาเป็นพื้นฐานการคาดประมาณก�ำลังคนในอนาคตก็ได้ บางครั้ง การอ้างอิงปริมาณการรักษาพยาบาลของประเทศอื่น ที่มีลักษณะ ทางเศรษฐกิจสังคมตามที่ก�ำหนดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง จุดอ่อนของวิธีการนี้คือปริมาณการรักษาพยาบาลในปีฐานที่ ใช้ในการค�ำนวณจะเป็นตัวก�ำหนดก�ำลังคนในอนาคต หากปริมาณ การรักษาพยาบาลในปีฐานเกิดความไม่สมดุล หรือไม่เหมาะสมด้วย สาเหตุอย่างใดอย่างหนึง่ ก�ำลังคนทีป่ ระมาณการได้ยอ่ มผิดไปด้วย ตัวอย่างเช่นการส�ำรวจอนามัยและสวัสดิการของส�ำนักงานสถิตแิ ห่ง

ชาติเมื่อปี 2550 พบว่าประชาชนไทยไปใช้บริการทางทันตกรรมใน รอบปีทที่ ำ� การส�ำรวจพียง 8% หากใช้ตวั เลขดังกล่าวในการประมาณ การก�ำลังคนทางทันตกรรม จะพบว่าในปี 2560 ประเทศไทยมีความ ต้องการทันตแพทย์เพียง 4,000-5,000 คนเท่านัน้ อย่างไรก็ดี หากใช้ วิธีการนี้อย่างเหมาะสมจะสามารถช่วยลดจุดอ่อนของการค�ำนวณ ตามวิธีที่ 2 ลงได้

4. วิธี Service Target Method

เป็นการก�ำหนดเป้าหมายหรือเงือ่ นไขในการให้บริการทางการ แพทย์ แล้วจึงแปลงข้อมูลดังกล่าวเป็นจ�ำนวนบุคลากร เช่น อาจ วางเป้าหมายว่า ในปี 2570 เด็กอายุ 5-14 ปีทุกคนต้องได้รบั บริการ sealant แต่กลุม่ เป้าหมายในนีจ้ ะได้รบั การรักษารากฟัน 20% เป็นต้น การก�ำหนดเป้าหมายนี้ จะเป็นแนวทางในการค�ำนวณก�ำลังคนที่ จ�ำเป็นต้องมีในอนาคตต่อไป อีกรูปแบบหนึง่ ทีใ่ ช้กนั บ่อยในการคาด ประมาณบุคลากรตามวิธีนี้ คือการใช้ศักยภาพของสถานพยาบาล เป็นหลัก เช่น ก�ำหนดว่าในโรงพยาบาลขนาดใดต้องมีทันตแพทย์ ทั่วไปจ�ำนวนเท่าใด ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาใด จ�ำนวนเท่าใด หรือบุคลากรสนับสนุนอืน่ ๆ จ�ำนวนเท่าใด เมือ่ ก�ำหนดศักยภาพของ สถานพยาบาลได้ ก็จะสามารถค�ำนวณเป็นภาพรวมออกมาได้วา่ ทัง้ ประเทศต้องมีบุคลากรประเภทใด จ�ำนวนเท่าใด วิธกี ารนีส้ งิ่ ทีส่ ำ� คัญมากคือการก�ำหนดเงือ่ นไขเบือ้ งต้น เช่น เหตุ ใดจึงก�ำหนดให้เด็กอายุ 5-14 ปี ได้รับการรักษารากฟันเพียง 20% หรือเหตุใดจึงก�ำหนดว่าสถานพยาบาลในระดับต่างๆ จะมีจ�ำนวน และศักยภาพเพิ่มขึ้นในปีที่คาดประมาณเป็นจ�ำนวน 120% ของปี ปัจจุบัน เป็นต้น Population Ratio Method

Health Need Method

Health Demand Method

Service Target Method

20 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 1-21.indd 20

10/25/56 BE 9:39 AM


นอกจากนัน้ การคาดประมาณก�ำลังคนในวิชาชีพทันตกรรม ยัง มีธรรมชาติเฉพาะของวิชาชีพนีห้ ลายประการทีค่ วรค�ำนึงถึงร่วมด้วย ซึ่งมีการน�ำเสนอผลการศึกษา ได้แก่ แนวโน้มของทันตแพทย์หญิงมีจ�ำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง เป็นแนวโน้มเหมือนกันทัว่ โลก มีการศึกษาพบว่าทันตแพทย์หญิงมี แนวโน้มจะเลือกท�ำงานทันตกรรมส�ำหรับเด็ก และทันตกรรมป้องกัน มากกว่าทันตแพทย์ชาย แต่จะเลือกท�ำงานทันตกรรมประดิษฐ์ และศัลยศาสตร์ช่องปากน้อยกว่าทันตแพทย์ชาย และเนื่องจาก ทันตแพทย์หญิงมีภารกิจต้องดูแลครอบครัวมากกว่า จึงท�ำให้มีวัน ลางานต่อปี และชั่วโมงท�ำงานต่อวันต�่ำกว่าทันตแพทย์ชาย อาจส่ง ผลให้จำ� นวนเฉลีย่ ของผูป้ ว่ ยทัง้ หมดทีไ่ ด้รบั การรักษาจากทันตแพทย์ ต่อปีจะต�่ำลง ดังนั้นหากทิศทางของจ�ำนวนทันตแพทย์หญิงยังคง เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโรคในช่องปากบางประเภทอาจ ต้องมีการประมาณก�ำลังคนเป็นพิเศษแตกต่างจากโรคอื่นๆ ตัวเลขแสดงปริมาณโรคในช่องปาก ตามที่ปรากฏใน รายงานการส�ำรวจต่างๆ เป็นตัวเลขสะสมของการเกิดโรคในอดีต มาจนถึงปัจจุบัน หากน�ำตัวเลขดังกล่าวเพียงอย่างเดียวมาเป็นพื้น ฐานในการค�ำนวณก�ำลังคน และหากก�ำลังคนจ�ำนวนดังกล่าวนั้น สามารถผลิตออกมาให้การรักษาผูป้ ว่ ยได้จริง จะท�ำให้ในปีถดั จากปี เป้าหมายไม่เหลือรอยโรคในช่องปากของประชาชนให้ทำ� การรักษา อีกเลย ดังนัน้ ในการประมาณการก�ำลังคนในระยะยาว ต้องพิจารณา อัตราการเกิดใหม่ของโรคในแต่ละปีร่วมด้วย ผู้เขียนมีความเห็นว่า ก�ำลังคนเป้าหมายต้องมีจ�ำนวนน้อยกว่ารอยโรคสะสมทั้งหมดใน ระดับหนึ่งแต่ต้องสูงกว่าอัตราการเกิดโรคต่อปี เพื่อให้ปริมาณรอย โรครวมค่อยๆลดลงตามระยะเวลา และเมือ่ ถึงจุดหนึง่ ต้องมีแผนลด ก�ำลังการผลิตลงให้ปริมาณโรคและปริมาณก�ำลังคนอยูใ่ นสภาวะที่ สมดุลกันในระยะยาว การศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในปัจจุบัน ระบุว่ารอย โรคในช่องปากจ�ำนวนหนึ่งไม่ได้มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ ประชาชนแต่อย่างใด จึงท�ำให้ประชาชนในกลุม่ นีม้ แี นวโน้มจะปฏิเสธ การรักษา รวมถึงยังมีหลักฐานเชิงประจักษ์อน่ื ทีช่ วี้ า่ การรักษาโรคใน บางกรณีก็ไม่มีความจ�ำเป็นเสมอไป เช่นมีการศึกษาแนะน�ำว่าผู้ที่ มีฟันในช่องปากถึงฟันกรามน้อยเท่านั้น (shorten dental arch) มี สภาวะต่างๆในช่องปากเทียบเท่ากับผู้ที่ได้รับการใส่ฟันทดแทนจน ครบ อาจต้องพิจารณาว่าจ�ำเป็นต้องคาดประมาณคนเพื่อใส่ฟัน ทดแทนให้ทกุ คนมีฟนั จนถึงฟันกรามซีท่ สี่ องหรือไม่ นอกจากนัน้ ยัง มีขอ้ มูลวิชาการในระยะหลังทีแ่ นะน�ำให้ซอ่ มแซมรอยอุดเก่ามากกว่า การรื้ออุดใหม่ทั้งหมด (repair rather than replace) เป็นต้น

การกระจายของทันตแพทย์ เป็นปัญหาส�ำคัญเกิดขึ้น ในทุกประเทศที่ในเขตเมืองจะมีทันตแพทย์หนาแน่นกว่าในเขต ชนบทเสมอ การคาดประมาณต้องค�ำนึงถึงอัตราการย้ายออกจาก เขตชนบทเข้าสู่เขตเมือง และต้องเตรียมผลิตเพื่อทดแทนการโยก ย้าย และพิจารณามาตรการและปัจจัยทางสังคมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ประกอบ จากข้อสังเกตข้างต้น จึงเป็นสิง่ ทีน่ า่ คิดว่าการจะผลิตทันตแพทย์ เพิม่ ขึน้ หรือไม่ และจะผลิตมากน้อยเพียงใดนัน้ มีความจ�ำเป็นอย่าง ยิ่งที่จะต้องน�ำปัจจัยต่างๆในหลายๆมิติมาพิจารณาร่วมกัน การจะ ตัดสินใจเลือกวิธคี าดประมาณแบบใดนัน้ คงต้องขึน้ กับดุลพินจิ และ สถานการณ์ แต่ทั้งนี้พวกเราก็ทราบกันว่าต่างมีจุดมุ่งหมายอย่าง เดียวกันคือการพัฒนาระบบบริการทันตสาธารณสุขของประเทศ เราให้ดีมากยิ่งขึ้นครับ ท่านผู้อ่านที่สนใจแสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับความเพียงพอของทันตแพทย์ในปัจจุบันเข้าไปแสดงความเห็น ได้ใน facebook ของแมกกาซีน thaidentalmag.com ที่ปุ่มเกาะ กระแส นะครับ Interesting Figures

(ขอขอบพระคุณข้อมูลจากทันตแพทย์โกเมศ วิชชาวุธ และส�ำนักทันตสาธารณสุข)

1. 2. 3. 4. 5.

ทันตแพทย์ไทย ณ เดือนธันวาคม 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 11,607 คน ทันตแพทย์ในภาคเอกชนจ�ำนวน 5,849 คน (50.4%) ทันตแพทย์ภาครัฐ 5,758 คน (496%) ทันตแพทย์ในกรุงเทพมหานคร 5,460 คน (47.0%) ทันตแพทย์ในส่วน ภูมิภาค 6,147 คน (53.0%) ทันตแพทย์หญิง 7,448 คน ( 64.2 %) ทันตแพทย์ชาย 4,159 คน (35.8 %) อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรทั้งประเทศ 1:5,533 อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรในกรุงเทพมหานคร 1:1,039 อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรในภูมิภาคเฉลี่ย 1:9,563 อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรในภาคเหนือ 1:7,628 อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1:14,247 อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรในภาคกลาง 1:7,805 อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรในภาคตะวันตก 1:8,367 อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรในภาคตะวันออก 1:7,958 อัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากรในภาคใต้ 1:8,515 THAI DENTAL MAGAZINE • 21

AW TDM 1-21.indd 21

10/25/56 BE 9:39 AM


AD

22 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 22-39.indd 22

10/23/56 BE 9:02 PM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 23

AW TDM 22-39.indd 23

10/23/56 BE 9:02 PM


• คนละไม้คนละมือ

มะเร็งมาท�ำฟัน

เมื่อคนเป็น เรื่ิอง ทพญ. ออนอง มั่งคั่ง โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี

สถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า จ�ำนวนผูป้ ว่ ยเป็นมะเร็งมี แนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และพบว่ามะเร็งท�ำให้คนไทย เสียชีวติ ปีละประมาณเจ็ดหมืน่ ราย ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ท�ำให้ผปู้ ว่ ยมะเร็งปัจจุบนั สามารถใช้ชวี ติ ได้ยนื ยาวขึน้ ทันตแพทย์ อย่างเราๆ จึงมีโอกาสพบและให้การดูแลคนกลุม่ นีม้ ากขึน้ ไม่วา่ จะเพือ่ เตรียมช่องปากก่อนรับการรักษา เมือ่ เกิดปัญหาในขณะรับ การรักษา รวมทั้งเมื่อหายจากโรคแล้ว ปัจจุบนั ทันตแพทย์ทมี่ นั่ ใจในการดูแลผูป้ ว่ ยมะเร็งโดยเฉพาะ บริเวณศีรษะและคอยังมีจำ� กัด เรามีสว่ นส�ำคัญอย่างมากทีจ่ ะช่วย เหลือผูป้ ว่ ย เนือ่ งจากการรักษามีผลกระทบต่ออวัยวะในช่องปาก โดยตรง ท่านๆ อาจคิดว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จ�ำเป็นต้องได้รับการรักษา จากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ แต่จริงๆ แล้วหลายกรณีทันตแพทย์ ทั่วไปก็สามารถจัดการได้อย่างครบถ้วนค่ะ

ในทางทันตกรรม การดูแลผูป้ ว่ ยมะเร็งจ�ำแนกเป็น 3 ระยะดังนี้ Before Treatment Objectives

During Treatment

After Treatment

• Reduce risk & severity of

• Pain Control

• Monoitoring & Prevention

complication

• Prevent Infection

• Reconstruction

• Prevent & reduce oral pain,

• Maintain hygiene and compliance

• Maintain hygiene

• Assessment

• Oral Assessment

• Oral Assesement

• Formulate Treatment Plan

• Management of Mucositis & • Monitoring & Management of

• Patient Education

Xerostomia

Trismus and Caries

• Oral Hygiene Instruction

• Give support and encouragement

• Restorative Dental Care

• Oral Hygiene Instruction

• Oral Hygiene Instuction

infection that compromise nutrition

To Do

24 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 22-39.indd 24

10/23/56 BE 9:02 PM


ไว้ดี หรือจะถอนดี ปัจจุบันยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนส�ำหรับการ ถอนฟัน ขึน้ กับประสบการณ์และการตัดสินใจของทันตแพทย์ผดู้ แู ล ผูป้ ว่ ย แต่มหี ลักให้นำ� ไปพิจารณาปรับใช้ตามความเหมาะสมแต่ละ รายดังนี้ Criteria for teeth extraction before radiotherapy • All teeth direct associate with tumor • Teeth in high-dose radiation field with questionable prognosis • Retained root

1 ก่อนรักษาโรคมะเร็ง การดูแลทางทันตกรรมในระยะนีม้ จี ดุ ประสงค์หลัก คือ ลดความ เสีย่ งและความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึน้ ในระหว่างการ รักษา ป้องกันและลดภาวะทีอ่ าจท�ำให้ผปู้ ว่ ยไม่สามารถรับการรักษา ได้ครบถ้วน เช่น อาการปวด การติดเชื้อ และภาวะทุพโภชนาการ โดยมีขั้นตอนดังนี้ • ทบทวนประวัตผิ ปู้ ว่ ย เช่น โรคประจ�ำตัวอืน่ ๆ ประวัตกิ ารรักษา ทีผ่ า่ นมา ประเมินสภาวะทางร่างกาย ตรวจผลทางห้องปฏิบตั กิ ารที่ จ�ำเป็น ตรวจฟันและเนือ้ เยือ่ อย่างละเอียด ถ่ายภาพรังสี Panoramic ทุกราย และ Periapical Film เพิ่มบริเวณที่สงสัยว่ามีรอยโรค • สร้างแผนการรักษาทีเ่ หมาะสม โดยพิจารณาจากข้อมูลต่างๆ แบบองค์รวม เช่น ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีใดบ้าง มีการ ฉายแสงด้วยหรือไม่ โรคมะเร็งเองหรือการรักษาครอบคลุมอวัยวะ ใดบ้าง ระยะของโรคและการพยากรณ์โรคเป็นอย่างไร ผู้ป่วยจะอยู่ ได้นานแค่ไหน ถ้าเป้าหมายของการรักษาเป็นแบบประคับประคอง เราก็อาจวางแผนการท�ำฟันเพียงเพือ่ มุง่ เน้นให้ผปู้ ว่ ยไม่มคี วามทุกข์ ทรมานอันเกิดมาจากปัญหาทางทันตกรรมและสามารถรับการรักษา ได้จนครบก็ได้ ผูป้ ่วยอายุเท่าไร สภาวะร่างกายปัจจุบันเป็นอย่างไร สามารถทนต่อการรักษาทีห่ นักได้หรือไม่ ประวัตทิ างทันตกรรมทีผ่ า่ น มาเป็นอย่างไร ผูป้ ว่ ยสามารถดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากได้ หรือไม่ อันนี้ต้องคิดเผื่อด้วยนะคะว่า สภาวะทางร่างกายของผู้ป่วย อาจจะเปลี่ยนแปลงไปหลังรักษา เช่น บางรายที่มีการฉายแสงใกล้ ประสาทตา หลังการรักษาผูป้ ว่ ยอาจตาบอดหรือมองไม่ชดั ท�ำให้ไม่ สามารถดูแลรักษาช่องปากได้ดเี ท่าเดิม ซึง่ ข้อมูลเหล่านีน้ อกจากเรา จะได้มาจากการตรวจร่างกายและตรวจฟันผูป้ ว่ ยแล้ว เราก็ตอ้ งมีการ สือ่ สารประสานงานทีด่ กี บั แพทย์ผรู้ กั ษาและบุคลากรอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง ด้วย ถ้าสงสัยหรือไม่ทราบแผนการรักษามะเร็ง ควรปรึกษาแพทย์ ทีร่ กั ษาผูป้ ว่ ยโดยตรง จากประสบการณ์ทผี่ า่ นมาแพทย์ไม่ดแุ ละให้ ความร่วมมือกับเราเป็นอย่างดีนะคะ จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนที่เราถนัดที่สุดก็คือ ประเมินฟันแต่ละซี่ ว่าจะอยู่ได้นานแค่ไหน สมควรต้องท�ำอะไรกับฟันซี่นั้น จะเก็บฟัน

• Non-opposing teeth and compromised hygiene • Partial eruption • Periodontitis with furcation involvement • Non-restorable caries • Extensive periapical lesion • Implant with poor maintenance

ให้พิจารณาเริ่มท�ำหัตถการที่ท�ำให้เกิดแผล เช่น ถอนฟันและ ตัดแต่งกระดูกก่อนหัตถการอื่น และต้องท�ำโดยระมัดระวังให้มีการ บาดเจ็บน้อยที่สุด ถอนให้เสร็จก่อนฉายรังสีอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนให้ยาเคมีบ�ำบัดอย่างน้อย 5-7 วันส�ำหรับหัตถการอื่นก็ให้ไล่ ท�ำเรียงตามนี้ Periodontal Tx , Root canal Tx , Restore carious teeth , Replace faulty restoration , Remove ortho appliances (หรือปรับเปลี่ยนตามเห็นสมควรค่ะ) • เตรียมผู้ป่วย บอกรายละเอียดเกี่ยวกับสภาวะที่ผู้ป่วยเป็น ชี้แจงและให้ก�ำลังใจ บอกถึงปัญหาและให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความ เสีย่ งในการเกิดผลแทรกซ้อน แนะน�ำวิธกี ารดูแลช่องปากด้วยตนเอง แนะน�ำเรือ่ งโภชนาการ ลดปัจจัยเสีย่ งและพฤติกรรมทีเ่ ป็นอันตราย ต่อช่องปาก ชีแ้ จงแผนการเตรียมช่องปาก เหตุผล และความจ�ำเป็น ควรมีเอกสารให้ผปู้ ว่ ยและญาติ แล้วมีการเรียกกลับมาทบทวนเป็น ระยะ

ค�ำแนะน�ำการดูแลสุขภาพช่องปาก

• แปรงฟัน เช้า และก่อนนอน รวมถึงหลังอาหารทุกมือ้ ใช้แปรง ขนาดเล็ก ขนนุ่ม ยาสีฟันที่มีส่วนผสมฟลูออไรด์ ไม่แต่งกลิ่นมินท์ (เพราะอาจท�ำให้แสบปาก) หรือใช้รสชาติที่ผู้ป่วยรับได้ อาจใช้น�้ำ เกลือแทนได้ ใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง • ถ้าไม่มีฟัน ใช้ผ้าสะอาดชุบน�้ำอุ่นเช็ดให้ทั่ว • บ้วนปากด้วยน�ำ้ ยาบ้วนปากทีไ่ ม่มสี ว่ นผสมของแอลกอฮอล์ เช่น 0.9% Saline ทุก 2-4 ชั่วโมง Sodium bicarbonate solution ทุก 2-4 ชัว่ โมง Fluoride mouthwash วันละครัง้ Aqueous Chlorhexidine Gluconate MW (0.2%,0.12%) วันละสองครัง้ หลัง แปรงฟัน • งดใส่ฟันปลอมขณะฉายแสง • รับประทานอาหารอ่อน หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เปรี้ยว และ หวานมาก THAI DENTAL MAGAZINE • 25

AW TDM 22-39.indd 25

10/23/56 BE 9:02 PM


ในผูป้ ว่ ยทีม่ กี ารพยากรณ์โรคดี ควรได้รบั การเคลือบฟลูออไรด์ ด้วยถาดเฉพาะบุคคล วันละ 1 ครั้ง ด้วย 0.4% Stannous Fluoride gel หรือ 2% Neutral Sodium Fluoride gel เป็นเวลา 10 นาที ส่วน นี้เราสามารถท�ำ Fluoride tray ให้ผู้ป่วยกลับไปท�ำเองที่บ้านวันละ ครั้ง บอกให้เริ่มใช้ตั้งแต่เตรียมช่องปากเสร็จหรือวันมาฉายแสงวัน แรกใช้ไปตลอดชีวิตที่ยังมีฟันอยู่ค่ะ เรื่อง Neutral Fluoride gel จะหาซื้อได้ที่ไหนเพราะคนไข้ ต้อง ใช้ตลอดชีวติ ส�ำหรับทีโ่ รงพยาบาลใช้ 2%NaF ยีห่ อ้ pH7 จากบริษทั น�ำมาแบ่งใส่ syringe 20 ml ให้คนไข้กลับไปใช้ ถ้าหมดแล้วมารับ ได้จนฉายแสงเสร็จ หลังจากนั้นแนะน�ำให้คนไข้ 2 วิธีค่ะ คือ วิธี แรกไปรับต่อทีร่ พ.ใกล้บา้ น (แสดงว่ารพ.ใกล้บา้ นต้องช่วยกันรับมุก หน่อย) และวิธีที่สองหาซื้อ Neutral Fluoride gel เช่น Prevident ® มาให้คนไข้ใช้ หรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ราชวิถผี ลิต Neutral Fluoride ให้คนไข้ใช้เอง

7-14 แล้วเริม่ หายเองใน 2-4 สัปดาห์หลังให้ยาเคมีบำ� บัด ส่วนผูท้ ไี่ ด้ รับการฉายแสงความรุนแรงขึน้ กับปริมาณรังสีทไี่ ด้รบั โดยทัว่ ไปมัก เริม่ เกิดแผลลอกในสัปดาห์ที่ 2 แล้วเป็นนานไปจนหมดการฉายรังสี ในสัปดาห์ที่ 6-8 หลังจากหยุดฉายรังสีจะหายได้เองใน 2-4 สัปดาห์ ภาวะปากแห้ง น�้ำลายน้อย เหนียว ข้น มีความเป็นกรดสูงขึ้น (pH ~ 5.0) เชื้อจุลซีในช่องปากมีการเปลี่ยนแปลง ท�ำให้ฟันผุและ ติดเชื้อราได้ง่าย ปากเป็นแผลง่าย กลืนอาหารล�ำบาก พูดล�ำบาก หิวน�้ำบ่อย มีแผลที่มุมปาก มักพบอาการเมื่อฉายแสงไป 3-4 วัน หรือภายใน 1 สัปดาห์ น�้ำลายจะลดลงประมาณ 50-60% หลังฉาย แสงอาจจะดีขึ้นใน 12-18 เดือน แต่ไม่กลับมาปกติเหมือนเดิม

การดูแลทางทันตกรรม

• ถ้าเป็นไปได้ควรนัดผู้ป่วยมาตรวจฟันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อ สามารถตรวจพบความผิดปกติและแก้ไขได้ทันท่วงที • หลีกเลี่ยงการท�ำหัตถการในช่องปาก โดยเฉพาะการที่ท�ำให้ เกิดแผลในช่องปาก ให้รกั ษาตามอาการและรักษาการติดเชือ้ ในช่อง ปากเท่านั้น • ถ้าจ�ำเป็น การท�ำฟันในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบ�ำบัดควรตรวจ CBC ก่อน ถ้ามีค่า Absolute Neutrophil Count (ANC) มากกว่า 2,000 cell/mm3 และ Platelet Count (PLT) มากกว่า 40,000 / mm3 สามารถท�ำหัตถการทั่วไปที่ไม่ใช่การถอนฟันและหัตถการที่ ท�ำให้เลือดออกได้ตามปกติ โดยแนะน�ำให้นัดมาท�ำ 1 วันก่อนให้ ยาเคมี cycle ต่อไป

ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้ป่วย 2 ระหว่างรักษาโรคมะเร็ง

บทบาทของทันตแพทย์ในช่วงนี้นั้นมีจุดประสงค์เพียงเพื่อลด ความเจ็บปวด ป้องกันการติดเชื้อ รักษาสภาพช่องปากให้ปกติ กระตุ้นให้ผู้ป่วยยังคงปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำอย่างต่อเนื่อง และลด ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะรักษา การรักษามะเร็งโดยการฉายแสงมักใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนทีส่ ำ� คัญได้แก่ ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบและปาก แห้ง

ภาวะเยือ่ บุชอ่ งปากอักเสบ เยือ่ บุชอ่ งปากแดง ลอกเป็นแผล เจ็บปวด แสบร้อน ท�ำให้พูดล�ำบาก กลืนยาก ทานอาหารได้น้อย นอนไม่หลับ ท�ำความสะอาดช่องปากล�ำบาก และเสี่ยงต่อการติด เชื้อ ในผู้ที่ได้รับยาเคมีบ�ำบัดมักเริ่มในวันที่ 3-5 เป็นมากที่สุดวันที่

• แนะน�ำให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ดื่มน�้ำให้เพียงพอ หลีก เลี่ยงอาหารแข็งเหนียว • การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันยังท�ำได้ตามปกติ กรณีผปู้ ว่ ย ได้รบั เคมีบำ� บัดร่วมด้วยให้หลีกเลีย่ งการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน ถ้ามีค่า ANC น้อยกว่า 500 cell/mm3 หรือ PLT น้อยกว่า 20,000 /mm3 ให้ใช้ผ้าก๊อซชุบน�้ำเกลือหรือ Chlorhexidine mouthwash เช็ดแทน • อมบ้วนปากด้วย 0.9% Saline หรือ 0.12% Chlorhexidine Gluconate ทุก 2-4 ชั่วโมง • กรณีมีอาการปากแห้ง อมบ้วนปากด้วย Salt and Baking soda Solution (ผงฟู 1 ช้อนชา + น�้ำ 1 ลิตร + เกลือแกง 1 ช้อน ชา) 4-6 ครั้งต่อวัน อาจใช้น�้ำลายเทียมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มี ส่วนผสมของน�้ำตาลช่วยด้วยได้ • ถ้าผู้ป่วยมีแผลเจ็บปวด ทานอาหารได้ล�ำบาก อาจให้ยาชา เช่น 2% Xylocaine viscous อมและกลืนก่อนทานอาหาร หรือใช้ ยาชาแบบป้าย เช่น Xylocaine gel 4% ทาบริเวณที่เจ็บหรือเป็น แผล • อาจให้ยาอมบ้วนปากต้านการอักเสบ เช่น Difflam® (15% Benzydamine Hydrochloride Mouthwash) อมบ้วนปากครั้งละ 15 ml วันละ 4-8 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ก่อนฉายแสงและระหว่างฉายแสง

26 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 22-39.indd 26

10/23/56 BE 9:02 PM


ไปจนถึงหลังฉายแสง 2-3 สัปดาห์ • ห้ามใช้ยาทาประเภทสเตียรอยด์ • หลีกเลีย่ งการใส่ฟนั ปลอมและสิง่ ระคายเคือง งดสูบบุหรีแ่ ละ ดื่มสุรา

3 หลังรักษาโรคมะเร็ง

เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาครบถ้วนไม่ว่าจากการฉายแสงหรือ ให้ยาเคมีบ�ำบัด ควรนัดผู้ป่วยมาตรวจเป็นระยะ โดย 6 เดือนแรก นัดทุก 4-8 สัปดาห์ หลังจากนั้นทุก 3-6 เดือน ขึ้นกับความสามารถ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย เพื่อประเมินสภาวะอ้าปาก จ�ำกัดและฟันผุ ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้ป่วยหลังการฉายแสง • ทบทวนการดูแลและท�ำความสะอาดช่องปาก ฟัน เหงือก ลิน้ • ผู้ป่วยที่มีฟันการใช้ Topical Fluoride Gel ยังคงต้องท�ำอยู่ ตลอด • หากมีอาการปากแห้ง ให้จิบน�้ำบ่อยๆ หรือใช้น�้ำลายเทียม • หมั่นฝึกอ้าปากอยู่เสมอโดยให้ผู้ป่วยฝึกอ้าปากกว้างๆ เป็น ประจ�ำ หรือใช้เครื่องมือง่ายๆ ช่วย เช่น น�ำไม้ไอสครีมซ้อนกันพัน ด้วยผ้าก๊อซคั่นระหว่างฟันบนและล่างแล้วค่อยๆสอดไส้ตรงกลาง เพิ่มจ�ำนวนเรื่อยๆ แค่พอรู้สึกตึงขากรรไกรท�ำ 3-4 ครั้งต่อวัน เพื่อ ป้องกันขากรรไกรยึดติด

การท�ำฟันในผู้ป่วยหลังฉายแสง

• ในผู้ป่วยที่มีภาวะปากแห้งมักมีฟันผุลุกลาม การอุดฟันควร ใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติ Fluoride release & cariostatic เช่น Light activate glass ionomer มากกว่าการอุดฟันด้วย composite resin เพราะการอุดด้วย composite resin มีโอกาสเกิดการรัว่ ซึมทีข่ อบได้ มากกว่า • การรักษารากฟันในฟันที่ผุทะลุโพรงประสาทฟันสามารถ ท�ำได้ด้วยความระมัดระวังไม่ให้มีการขยายเกินปลายราก • การขูดหินปูนและท�ำความสะอาดฟันสามารถท�ำได้ตาม ปกติ การรักษาโรคเหงือกสามารถท�ำได้ แต่ผลการรักษาไม่ดีนัก ควรป้องกันไม่ให้เกิดดีกว่า และให้หลีกเลี่ยงการท�ำ periodontal surgery • หลีกเลีย่ งการถอนฟันและหัตถการทีท่ ำ� ให้เกิดแผลในช่องปาก เพราะเสี่ยงต่อการเกิด osteoradionecrosis ถ้าจ�ำเป็นควรปรึกษา แพทย์ อาจต้องให้ Hyperbaric Oxygen ก่อน • การท�ำครอบฟันและใส่ฟนั สามารถท�ำได้ แต่ตอ้ งท�ำด้วยความ ระมัดระวังและประเมินว่าผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาได้เป็นอย่างดี

การท�ำฟันในผู้ป่วยหลังให้ยาเคมี

• Recall เมื่อได้รับยาครบและไม่มีอาการแทรกซ้อนแล้ว • หัตถการทั่วไป เช่น ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน ท�ำฟัน ปลอม สามารถท�ำได้ตามปกติ ส่วนการถอนฟันและหัตถการทีท่ ำ� ให้ เลือดออกควรตรวจเลือดเสียก่อน สามารถท�ำได้เมื่อ ANC > 1,000 cell/mm3 และ PLT > 75,000 /mm3 ซึง่ โดยปกติผลเลือดของผูป้ ว่ ย มักกลับมาเป็นปกติใน 1-2 เดือนหลังการให้ยาเคมีแล้วแต่ชนิดของ ยาและการฟื้นตัวของผู้ป่วย • ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาในกลุ่ม Bisphosphonate (เช่น Zometa®) จึงควรมีความระมัดระวังในการท�ำศัลยกรรม โดยสรุปดูเหมือนการดูแลคนไข้มะเร็ง คนไข้ฉายรังสีจะกลาย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราๆ ท่านๆ จะต้องเป็นที่พึ่งให้คนไข้ และเมื่อไล่ เรียงแล้วการดูแลคนไข้กลุ่มนี้ก็ไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงเราๆ ท่านๆ นะคะ ก็ขอเชิญชวนเราท่านเปิดใจขยายทักษะเพื่อดูแลคนไข้กลุ่ม นี้กัน นอกจากจะรักษาแล้วเรายังสามารถสนับสนุนทางด้านสังคม ท�ำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตาม ปกติต่อไป เอกสารอ่านเพิ่มเติม

• Sook-Bin Woo, Nathaniel S. Treister, editors. Management of the Oncologic Patient. Dental Clinic of North America 2008 ; 52 (1) : 1-258 • โรงพยาบาลมะเร็งล�ำปาง; กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแล รักษาทางทันตกรรมส�ำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง, กันยายน 2555 • James Pavlatos, Kathryn Kamish Gilliam. Oral care protocols for patients undergoing cancer therapy. Genecal Dentistry 2008 ; 56 (5) : 464-478 • Sirikarn Sutthavong, Ponchai Jansisyanont, Narisa Boonyopastham. Oral Health Carein Head and Neck Cancer. J Med Assoc Thai 2005; 88 (Suppl 3): S339-53 • Jay Lucas, David Rombach, Joel Goldwein. Effects of Radiotherapy on the Oral Cavity. Abramson Cancer Center of the University of Pennsylvania; Nov 2001. Available from:http://www.oncolink.org/treatment/article.cfm?c=157&id=17 [cited 13 Oct 2013] • Clinical Guidelines : The Oral Management of Oncology Patients Requiring Radiotherapy, Chemotherapy and / or Bone Marrow Transplan tation. The Royal College of Surgeons of England / The British Society for Disability and Oral Health. [update 2012; cited 13 Oct 2013] Available from http://www.bsdh.org. uk/guidelines/BSDH_RCS_Oncol_Radio_BMT_update_2012.pdf • Radiation Therapy and You. National Institute for Health: U.S. Department of Health and Human Services : Publication No. 12-7157 : 2012. Available from http:// www.cancer.gov/cancertopics/coping/radiation-therapy-and-you/radiationttherapy. pdf • Chemotherapy and You. National Institute for Health: U.S. Department of Health and Human Services : Publication No. 11-7156 : 2011. Available from http:// www.cancer.gov/cancertopics/coping/chemotherapy-and-you.pdf ขอขอบคุณ ผศ.ทพญ.ดร.พนารัตน์ ขอดแก้ว ที่ช่วยให้ค�ำแนะน�ำในการ เขียนบทความ และเนือ้ หาหลายส่วนน�ำมาจากการบรรยายของ ทพ.สิทธิชัย ตันติ ภาสวศิน โรงพยาบาลชลบุรี และ นอ.ทพ.ภูริศร์ ชมะนันทน์ โรงพยาบาลสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ ค่ะ

THAI DENTAL MAGAZINE • 27

AW TDM 22-39.indd 27

10/23/56 BE 9:02 PM


AD

28 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 22-39.indd 28

10/23/56 BE 9:02 PM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 29

AW TDM 22-39.indd 29

10/23/56 BE 9:02 PM


30 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 22-39.indd 30

10/23/56 BE 9:02 PM


THAI DENTAL MAGAZINE • 31

AW TDM 22-39.indd 31

10/23/56 BE 9:02 PM


2013 Thailand International Dental Congress “Celebrating Modern Dentistry in the Land of Smile”

November 26-29, 2013

Bangkok Convention Center, Centara Grand at CentralWorld November 26, 2013 Chairperson : Asst. Prof. Dr.Rangsima Sakoolnamarka 09.00-10.30 Advances in Science and Technology of Caries Prevention Prof. Domenick T Zero, USA 10.30-12.00 Longevity of Resin Composite and Dentin Bonding Prof. Daniel CN Chan, USA

November 27, 2013 Chairperson : Assoc. Prof. Dr.Chalermpol Leevailoj 09.00-10.30 Current State of the Art for Zirconia and New Dental Adhesives Prof. Ed McLaren, USA 10.30-12.00 Immediate Placement and Provisionalization in Esthetic Zone Prof. Joseph Kan, USA

Chairperson :

Chairperson :

12.00-13.00

Lunch break

Prof. Dr.Siriporn Timpawat 13.00-14.30 Integration of Current Science and Technology in Endodontics for Predictable Outcomes. Prof. James L Gutmann, USA 14.30-16.00 Can You Adapt to the New Endodontic Twist in Rotary and Reciprocation? Prof. John Olmsted, USA

November 28, 2013 (Thai-speaking programs)

ประธาน ศ.คลินิก ทพ. นิติพันธ์ จีระแพทย์ 09.00-10.00 Material allergy and related oral and skin lesions นพ. สุชัย สุเทพารักษ์ 10.00-11.00 Surface treatment ผศ.ทพ.ดร. นิยม ธ�ำรงค์อนันต์สกุล 11.00-12.00 Nanotechnology in medicine นพ.ดร. อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ 12.00-13.30

Lunch Break

ประธาน รศ.นพ.ทพ.ดร. ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ 13.30-15.00 The day all antibiotics die อ.นพ. พิสนธิ์ จงตระกูล 15.00-16.30 Soft and hard tissues pre-prosthetic management ศ.คลินิก ทพ. เบ็ญจพจน์ ยศเนืองนิตย์ ศ.คลินิก เกียรติคุณ สมเกียรติ อรุณากูร ผศ.ทญ. ฐิติวรรณ บูรณะวิเชษฐกุล

Student Clinician Research Awards and Colgate Research Awards Ceremony

11 หน่วย

The Dental Association of Thailand and The Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University2013 Thailand International Conference on Oral Biology (2013 TICOB) “Stem cells and tissue engineering”

November 28, 2013,

Lotus Suites 1-4, Centara Grand at CentralWorld 32 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 22-39.indd 32

12.00-13.30

Lunch Break

Assoc.Prof. Dr.Siriruk Nakornchai 13.30-14.30 Tooth and Gum and Genetic Diseases Dr. Piranit Kantaputra, Thailand 14.30-15.30 Differential Diagnosis and Management of Orofacial Pain Dr. Kanokporn Bhalang, Thailand 15.30-16.30 Embracing the Future Trends of Orthodontics Dr.Somchai Manopatanakul, Thailand 12 CE Credits November 29, 2013 (Thai-speaking programs) ประธาน ทพ. วีระวัฒน์ สัตยานุรักษ์ 09.00-10.00 Glass-ionomer restorations ผศ.ทญ. วัชราภรณ์ คูผาสุข 10.00-12.00 Restorations of endodontically treated teeth รศ.ทพ. เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์ ผศ.ทพ. โชติรส คูผาสุข ผศ.ทญ.ดร. จีรภัทร จันทรัตน์ 12.00-13.30

Lunch Break

ประธาน รศ.ทญ. วัชราภรณ์ ทัศจันทร์ Research ชนะการประกวด Lion Oral Research Award รศ.ทญ. ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล 14.00-15.30 Treatment of deep dental caries in deciduous teeth รศ.ทญ.ดร. ศิริรักษ์ นครชัย อ.ทญ. ภาพิมล ชมภูอินไหว 15.30-16.30 การประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี และการแจกรางวัลการ ประกวดผลงานวิจัย

Clinical science 09.00-10.00

A new era in periodontal and bone regeneration Professor David Kim, USA 10.00-11.00 Clinical consideration of hard tissue healing Associate Prof.Dr. Pornchai Jansisyanont 11.00-12.00 Clinical consideration of soft tissue healing Dr. Chantrakorn Champaiboon

Lunch Break

Basic science 13.00-14.00

Stem cells in regenerative dental medicine Assistant Professor Hiroshi Egusa, Japan 14.00-15.00 Polycaprolactone scaffold in bone regeneration Professor Dr. Prasit Pavasant 15.00-16.00 Stem cells Update Dr. Shivatra Talchai

6 CE Credits

10/23/56 BE 9:03 PM


วันที่ ............................เดือน ......................................................................พ.ศ. ..........................................

เรียน นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ข้าพเจ้า .............................................................................................................. ต�ำแหน่ง ............................................... ที่อยู่บริษัท/ห้าง/ร้าน (ตัวบรรจง) ......................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... เบอร์โทรศัพท์ที่ท�ำงาน ......................................เบอร์มือถือ ...................................... เบอร์ Fax ……………………………..

มีความประสงค์ลงโฆษณาแจ้งความในหนังสือ “Thai Dental Magazine” ประจ�ำปี พ.ศ. 2557 ลงตลอดทั้งปี จ�ำนวน 4 ฉบับ ลง 2 ฉบับ ฉบับที่ .......................................... ลง 1 ฉบับ ฉบับที่ .......................................... เนื้อที่ที่ต้องการโฆษณา จ�ำนวน .......................................................... หน้า (โปรดดูรายละเอียดหน้า 2)

สไลด์ ..............................................................อัน

เพลต ................................................................ชิ้น

ภาพ ...............................................................ชิ้น

ในแทรก ..........................................................แผ่น

บล็อก .............................................................ชิ้น

ไฟล์.................................................................แผ่น

รวมจ�ำนวนเงิน ......................................................บาท (..................................................................................................)

มีความประสงค์ลงโฆษณาแจ้งความในเวบ “Thai Dental Magazine” ประจ�ำปี พ.ศ. 2557

ใส่ banner ลงหน้าหลัก

ใส่ banner ลงหน้ารอง

ทั้งนี้ข้าพเจ้ารับทราบ และพร้อมจะปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปนี้

1.แจ้งเจตจ�ำนงล่วงหน้าแมกกาซีนตีพิมพ์เป็นเวลา 1 เดือน 2.เงื่อนไขการช�ำระเงิน บริษัทจะช�ำระเงินเมื่องานชิ้นนั้นได้ตีพิมพ์ในแมกกาซีนแล้ว ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะอิงตาม เกณฑ์อัตราค่าลงโฆษณาในแมกกาซีนโดยจะช�ำระเป็นเช็คสั่งจ่าย “ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ” เท่านั้น 3. กรณีที่บริษัทมีความประสงค์ที่นอกเหนือไปจากข้อตกลงนี้ จะต้องโทรประสานบรรณาธิการ ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยประการใดกรุณาติดต่อกลับ คุณชิตศักดิ์ สุวรรณโมลี โทร. 02-5394748 โทรสาร. 02-5141100 E-mail : thaidentalnet@gmail.com

ลงชื่อ .................................................................................................................. (.......................................................................................................) THAI DENTAL MAGAZINE • 33

AW TDM 22-39.indd 33

10/23/56 BE 9:03 PM


อัตราค่าลงโฆษณา/ครั้ง (หนึ่งปีพิมพ์ 4 ครั้ง) ปกหลังด้านนอก ราคา 50,000 บาท ต่อ 1 ฉบับ ปกหน้าด้านใน ราคา 35,000 บาท ต่อ 1 ฉบับ ปกหลังด้านใน ราคา 30,000 บาท ต่อ 1 ฉบับ 4 สี ขนาด A4 ไม่ระบุหน้า ราคา 15,000 บาท ต่อ 1 ฉบับ ทั้งปี ฉบับละ 13,000 บาท ใบแทรกในเล่ม ราคา 30,000 บาท ต่อ 1 ฉบับ (พร้อมด้วยใบแทรก 10,000 ใบ) ครึ่งหน้า 4 สี A4 (ไม่ระบุหน้า) ราคา 10,000 บาท ต่อ 1 ฉบับ คาดหน้าเศษหนึ่งส่วน 4 หน้า A4 ราคา 5,000 บาท ต่อ 1 ฉบับ ท�ำอาร์ตให้บริษัท โดยบริษัทมีรายละเอียดและโลโก้มาให้พร้อม ราคา 3,000 บาท ต่อ หน้า A4 ท�ำ banner ลงโฆษณาในเวบ 2,000 บาท ต่อ banner

เงื่อนเวลาแมกกาซีน เพื่อควบคุมคุณภาพแมกกาซีน ฉบับที่ ส่ง plateโฆษณา ท�ำเล่ม ขั้นตอนไปรษณีย์ ถึงสมาชิก

1

ก่อน 31 ธ.ค. มกราคม ต้น ก.พ. กลาง ก.พ.

2

ก่อน 31 มี.ค. เมษายน ต้น พ.ค. กลาง พ.ค.

3

ก่อน 31 มิ.ย. กรกฎาคม ต้น ส.ค. กลาง พ.ย.

4

ภายใน 30 ก.ย. ตุลาคม ต้น พ.ย. กลาง พ.ย.

ส�ำหรับบริษัทที่ประสงค์ให้สมาคมท�ำโฆษณาให้ ขอให้ส่งราย ละเอียดให้ทีมอาร์ตก่อนก�ำหนดส่ง plate 15 วัน เพื่อให้งานอาร์ตที่ ท�ำได้คุณภาพ ต�ำแหน่งลงในเล่มใช้ระบบ first come first serve บริษัทที่แจ้ง เจตจ�ำนงก่อนและท�ำอาร์ตเสร็จส่งมาก่อนจะได้รับสิทธิ์ในการเลือก ต�ำแหน่งในเล่มทีต่ อ้ งการลงก่อน ว่าต้องการจะลงโฆษณาส่วนต้นเล่ม กลางเล่ม หรือใกล้กับคอลัมน์ที่บริษัทประสงค์ หมายเหตุ - ราคาที่เสนอ/ฉบับ เงื่อนไขการช�ำระเงินภายใน 30 วัน หลังแมกกาซีนถึงผู้รับ นอกจากแมกกาซีนเป็นเล่มแล้ว ยังมีแมกกาซีนฉบับ Online: ซึ่งเป็นที่สนใจของทันตแพทย์รุ่นใหม่ ให้ท่านเลือกสนับสนุน โดย แมกกาซีน online นี้จะมีปุ่มนับจ�ำนวนครั้งที่สมาชิกเข้าชมแต่ละหน้า อย่างละเอียดโดยอัตราการแปะในเวบจะคิดเป็นอัตราต่อปี หน้า Home page -35,000 บาทต่อปี รับเพียง 3 บริษทั และหน้าอืน่ ๆ ราคา 20,000 บาทต่อปี หากท่านสนใจจะลงโฆษณาในเวบสามารถเข้าไปเปิดดูราย ละเอียดที่ www.thaidentalmag.com และหากต้องการรายละเอียด เพิ่มเติมติดต่อกลับ คุณชิตศักดิ์ สุวรรณโมลี โทร. 02-5394748 34 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 22-39.indd 34

10/23/56 BE 9:03 PM


สมาคมศัลยศาสตร์ช่องปาก และแม็กซิลโลเฟเชียลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับมูลนิธิศาสตราจารย์ เชื้อโชติ หังสสูต

ขอเชิญเข้าร่วมประชุมวิชาการ ครั้งที่ 2/2556

Medically Compromised Patients : Practical Guideline Updates 8.15 - 8.45

ลงทะเบียน

8.45 - 10.00

Common Cardiovascular Problems in Dental Patients: Risk and Management โดย น.อ.นพ.กฤษฎา ศาสตรวาหา หัวหน้าหน่วยโรคหัวใจ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

10.00 - 10.15 Coffee Break 10.15 - 10.30 ร�ำลึก 80 ปี ชาตกาล ศ.เชื้อโชติ หังสสูต โดย พ.ต.อ.(ญ) โสภา ทัดศรี ประธานมูลนิธิ ศ.เชือ้ โชติ หังสสูต 10.30 - 11.30

25

พฤศจิกายน 2556

ณ ห้อง Lotus Suite 5 - 7 ชั้น 22 โรงแรม Centara Grand @ Central World

Trigeminal Neuralgia: Management Update โดย รศ.นพ.เอก หังสสูต หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

11.30 - 12.00 Case Presentation and Discussion โดย น.อ.นพ.กฤษฎา ศาสตรวาหา, รศ.นพ.เอก หังสสูต, อ.ทพ.นพ.ดร.ชาญชาย วงศ์ชื่นสุนทร 12.00 - 13.00 Lunch 13.00 - 14.00

Bisphosphonates: Benefits & Risks Balancing โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14.00 - 14.45

BRONJ: Treatment Modality Update โดย อ.ทพ.นพ.ดร.บวร คลองน้อย ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อัตราค่าลงทะเบียน โอนเงิน ภายในวันที่ 15 ต.ค. 2556 1,500 บาท สมาชิกสมาคม ไม่ใช่สมาชิกสมาคม 1,800 บาท 1,200 บาท นิสิต/นักศึกษา ประเภท การลงทะเบียน

โอนเงิน หลังวันที่ 15 ต.ค. 2556 1,800 บาท 2,000 บาท 1,200 บาท

14.45 - 15.00 Coffee Break

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ คุณนภัสชนก นันทเสนีย์ โทร. 02-200-7845 ต่อ 33

15.00 - 15.30

ส่งใบลงทะเบียนและหลักฐานการโอนเงิน ได้ที่ E-Mail : thaiaoms@gmail.com Fax : 02-2007844

Case Presentation and Discussion โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์, อ.ทพ.นพ.ดร.บวร คลองน้อย, อ.ทพ.นพ.ดร.ชาญชาย วงศ์ชื่นสุนทร

THAI DENTAL MAGAZINE • 35

AW TDM 22-39.indd 35

10/23/56 BE 9:03 PM


AD

36 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 22-39.indd 36

10/23/56 BE 9:03 PM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 37

AW TDM 22-39.indd 37

10/23/56 BE 9:03 PM


AD

38 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 22-39.indd 38

10/23/56 BE 9:03 PM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 39

AW TDM 22-39.indd 39

10/23/56 BE 9:03 PM


• Dental Interview จากประสบการณ์ ที่ ผ่ า นมาผมรั กษาแบบหมอเถื่อ นไปเป็น สิบ ราย แอบท�ำบ้าง ขออนุญาตโปรเฟสเซอร์บ้าง ท�ำไมนะเหรอครับ ทีอ่ งั กฤษอยากท�ำฟันกับบริการของรัฐต้องนัดสองถึงสามเดือนครับ แล้วก็ไม่รวมการรักษาทุกประเภทซะด้วย

เรื่อง ทพ.ดร.บวรวุฒิ บูรณวัฒน์

ระบบสุขภาพอันแสนโด่งดังของอังกฤษ หรือ National Health Service, NHS ที่ใครใคร ก็อยากน�ำไปใช้ แม้แต่อเมริกา หรือ ประเทศไทย ถูกก่อตัง้ เมือ่ ปี คศ.1948 จนถึงปัจจุบนั ถือว่าเป็นระบบ บริการสาธารณสุขแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Health System) และเต็มรูปแบบทีม่ ขี นาดใหญ่ทสี่ ดุ ในโลก โดยมีหลักการคือพลเมือง ทุกคนต้องได้รบั การรักษาพยาบาลฟรีและเสมอภาคเท่ากันหมด NHS จึงคลุมรวมไปถึงประชากร กว่า 62 ล้านคน รอบเกาะอังกฤษ เวลส์ สก๊อตแลนด์ และ ไอร์แลนด์เหนือ ให้บริการที่ครอบคลุมตั้งแต่การ ฝากครรภ์ การรักษาโรคทัว่ ไป ทัง้ เรือ้ รังและฉับพลัน การถ่ายเปลีย่ น อวัยวะ แม้กระทั่งการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย

ระบบบริการทันตกรรม ของประเทศอังกฤษ

แน่นอนว่าการให้บริการของ NHS ได้ครอบคลุมงานด้านทันตกรรม เข้าไปด้วยโดยมีความคล้ายคลึงกับของแพทย์ทั่วไป การให้บริการ ปฐมภูมิถูกแยกออกจากทุติยภูมิอย่างชัดเจน ภายใต้การดูแลของ กระทรวงสาธารณสุข โดยผูป้ ว่ ยยังคงต้องช�ำระการรักษาโดยจ�ำแนก ค่าใช้จ่ายออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

หลังจากจบทันตแพทย์ที่เมืองไทยได้ประมาณเกือบสองปี ผม ก็ได้มโี อกาสมาเรียนต่อที่ ลอนดอน ประเทศอังกฤษซึง่ มีความพร้อม และ ให้โอกาสทั้งในการท�ำคลินิก (ปริญญาโท) และ การท�ำวิจัย (ปริญญาเอก) ไปพร้อมๆ กัน ส�ำหรับเรือ่ งทีท่ ำ� วิจยั คงไม่ได้แตกต่าง กันมาก เน้นที่ความอดทน และโชคชะตา โดยคุณครูให้คิดเอง ท�ำ เอง ลองผิดถูก เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ โดยให้ความส�ำคัญกับ การศึกษาด้วยตัวเองและนอกห้องเรียนเป็นหลัก ส่วนประเภทรวม สองโปรแกรมแบบผมต้องจัดเวลาเอาเอง หลบหลีกกันให้ดี ระหว่าง ท�ำการทดลองงานวิจัยและ การลงคลินิก ส�ำหรับการท�ำคนไข้ ต้อง ถือว่าผมโชคดีหลายอย่าง คุณครูช่วยเหลือให้ก�ำลังใจดีมาก เพราะ เห็นเราอยากเรียน อยากรู้ และ อยากท�ำเป็น การท�ำคลินกิ ทีอ่ งั กฤษ สนุกอย่าบอกใคร เพราะว่าเค้ามีระบบสุขภาพพิเศษรองรับไม่เหมือน ที่ไหนในโลก

1. 2. 3.

งานตรวจเบื้องต้น เอกซเรย์ ขูดหินปูน การเคลือบ หลุมร่องฟัน และเคลือบฟลูออไรด์ มีค่าใช้จ่าย 18 ปอนด์ งานอุดฟัน รักษารากฟัน และ ถอนฟัน มีค่าใช้ จ่าย 49 ปอนด์ งานฟันเทียม ครอบฟัน และสะพานฟัน มีค่าใช้จ่าย 214 ปอนด์

เล่าเรื่องระบบบริการ สุขภาพช่องปากของประเทศอังกฤษ

“ถ้าหนูปวดฟันจะท�ำยังไงคะ แวะมาหาพี่ได้มั้ยคะ” เป็นอีก หนึ่งค�ำถามสุดฮิตส�ำหรับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ นักเรียนไทยในอังกฤษ 40 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 40-55.indd 40

10/24/56 BE 5:19 PM


Treatment Fees After an initial consultation (including our 14 point Dental Health Check Assessment) the dentist will discuss in detail with you his assessment of your overall oral health. He will give you advice (where necessary) on any recommended treatments and the various available options. All recommended treatments will be discussed with you in detail and a comprehensive written treatment plan provided, together with a duplicate copy for you to retain. Treatment will only commence when we receive your agreement and understanding of which treatment plan you wish to undertake.

Fees affective from 1st of August 2013 New Patient Consultation (Including our 14 point Dental Health Check Assessment) Children’s check up (according to age) Same-Day Consultation (emergency) Consultation for advanced treatments from Prosthodontics referral Each Small X-Ray Panoral X-Ray (large) Hygienist visit (per visit) Dentist Clean Composite Fillings (white) Crowns Tooth Whitening Out of hours emargency call out:

£52 £21.00 - £28.00 £52 £95 £95

£13.50 £48 from £65 from £68 from £95 from £550 from £390 £95 - £195

แล้วถ้าคุณปวดฟัน จะท�ำอย่างไร?

ข้อแก้ตัวหลักของ NHS คือ ถือเป็น ความรับผิดชอบของผู้ป่วยทุกคนที่ต้อง ลงทะเบียนเข้ากับระบบของ NHS และ ท�ำ การตรวจช่องปากกับทันตแพทย์ของ NHS เป็นประจ�ำอย่างต่อเนือ่ งถึงแม้ไม่มี อาการ หากคนไข้ไม่มาพบทันตแพทย์ที่ ตนเองลงทะเบียนไว้ภายในสองปี จะถูกลบ ชือ่ ออกจากระบบของ NHS โดยอัตโนมัติ จะเห็นได้ว่าในความเป็นจริงแล้วคนไข้ ส่วนใหญ่นนั้ ไม่ได้เข้าพบทันตแพทย์เป็น ประจ�ำ และ ไม่มีสถานะ ขึ้นทะเบียนไว้ ดังนัน้ เมือ่ มีอาการปวดฟันจึงไม่สามารถ เข้ารับการรักษาโดยบริการของ NHS ได้ เนื่องจากไม่มีคิวส�ำหรับผู้ป่วยใหม่ อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรที่โหดร้าย เกินไปทัง้ หมดนะครับ เพราะในทีส่ ดุ เมือ่ คนไข้มีอาการปวด จนทนไม่ได้ ก็ยังมีที่ อ้าแขนรับเสมอคือ A&E (accident and

ส�ำหรับค่าใช้จ่ายนั้น

ดูแล้วจะเห็นได้วา่ มันไม่ได้แพงมากมายไปกว่าค่ารักษาทีเ่ มือ่ งไทย ของเราเท่าไร (1 ปอนด์ ราว 50 บาท) แต่เอาเข้าจริงนะเหรอครับ น้อย คนมากทีจ่ ะได้มโี อกาสเข้าถึงบริการทันตกรรมของ NHS เพราะถึงแม้วา่ จ�ำนวนคลินกิ และจ�ำนวนทันตแพทย์ทเี่ ข้าร่วมโครงการให้บริการของ NHS จะมีจ�ำนวนมากขึ้น แต่ในแต่ละคลินิกมีการแยกคิวในการให้การรักษา คนไข้ส่วนที่เป็น NHS ออกจากกันโดย ยังให้บริการส่วนที่เป็น Private care เป็นหลักอยู่นั่นเอง หากเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการรักษาจะเห็น ว่าราคาค่อนข้างสูง เช่น ขูดหินน�ำ้ ลายโดยทันตแพทย์เริม่ ต้นที่ 68 ปอนด์ หรืออุดฟันเริ่มต้นที่ 95 ปอนด์ ส�ำหรับงานครอบฟัน หรือทันตกรรมเพื่อ ความสวยงามนัน้ ค่าใช้จา่ ยจัดว่าสูงมากจึงมีผปู้ ว่ ยจ�ำนวนไม่นอ้ ยเดินทาง ไปรับการรักษานอกประเทศ เช่นยุโรปตะวันออก หรือแม้แต่ประเทศไทย ที่ค่าใช้จ่ายถูกลงไปกว่า สามถึงสี่เท่าตัว ดังนัน้ จึงเป็นเรือ่ งปกติทเี่ มือ่ โทรไปนัดเพือ่ รับการรักษาค�ำถามแรกคือ คุณต้องการจะเป็นผู้ป่วยประเภทใด NHS หรือว่าเป็น Private practice โดยทั่วไปส�ำหรับคิวผู้ป่วยใหม่ของ NHS นั้นอาจจ�ำเป็นต้องรอ สองถึง สามเดือน หรือในบางแห่งไม่สามารถรับผู้ป่วยใหม่ได้อีก

emergency) for Dental care ทีม่ อี ยูใ่ นโรงพยาบาลประจ�ำเขต และโรงเรียนทันตแพทย์ทวั่ ประเทศ ซึง่ ในกรณีหลังนีห้ ากเห็นว่า ผูป้ ว่ ยสามารถเข้ารับการรักษากับคลินกิ นักศึกษาทันตแพทย์ ได้ ผูป้ ว่ ยจะไม่ตอ้ งเสียค่าใช้จา่ ยในการรักษาแต่อย่างใด แล้ว โรงเรียนทันตแพทย์อยู่ได้อย่างไร อยู่ได้ครับ เพราะได้รับเงิน ทุนสนับสนุนโดยตรงจากกระทรวงสาธารณสุข และยังมีการ จัดตั้งกองทุนเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโดยตรง เพื่อความ คล่องตัวในการเบิกจ่าย เช่น ค่ายา และ ค่าใช้จ่ายในการเดิน ทางของผู้ป่วย เป็นต้น มาถึงตรงนี้ผมจะขออนุญาตยกตัวอย่าง เล่าถึงงานที่ ใกล้ตัวผมที่สุดคืองาน reconstruction ที่ สถาบันทันตกรรม King’s College London หลักๆ คือ งานด้านรากเทียม นะครับ THAI DENTAL MAGAZINE • 41

AW TDM 40-55.indd 41

10/24/56 BE 5:19 PM


1.

ผู้ป่วยที่มีปัญหาอัน เนือ่ งมาจากพัฒนาการทีผ่ ดิ ปกติ ได้แก่ Hypodontia, Oligodontia, Anodontia, Cleft palate, Ectopic teeth รวมไปถึงโครงสร้างของฟัน ทีผ่ ดิ ปกติจนไม่สามารถรักษาได้ ผูป้ ว่ ยทีป่ ระสบอุบตั เิ หตุ (trauma) และไม่สามารถรักษา ได้โดยวิธกี ารปกติ ตลอดจนได้มี ความพยายามในการรักษาคลอง รากฟันแล้ว

2.

3.

ผูป้ ว่ ยทีไ่ ด้รบั การผ่าตัด กระดูกเพื่อรักษามะเร็งบริเวณ ศีรษะและล�ำคอ โดยเฉพาะ Defect ของขากรรไกรขนาดใหญ่ ทีไ่ ม่สามารถรักษาโดยการใช้ฟนั เทียมแบบปกติได้

4.

ผู้ป่วยที่ไม่มีฟันในขา กรรไกรบน หรือ/และล่าง โดยมี วัตถุประสงค์หลักเพือ่ เพิม่ stability และ retention ของฟันเทียม .ผู ้ ป ่ ว ยที่ มี severe gagging โดยเฉพาะในขากรรไกร บนทีผ่ ปู้ ว่ ยไม่สามารถใส่ฟนั เทียม ที่มีฐานคลุมเพดานปากได้

5 ก็อย่างที่ทราบกันว่าเป็นงานที่ค่าใช้จ่ายสูง แต่โชคดีมากส�ำหรับผู้ป่วยคือ มีการจัดตั้งโครงการเฉพาะ ที่เบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนของโรงพยาบาลและคณะทันตแพทยศาสตร์ (Guy’s and St. Thomas Foundation Trust) โดยมี Guideline ในการรักษาผู้ป่วยโดยการใช้รากฟันเทียมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใน กรณีต่อไปนี้

42 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 40-55.indd 42

10/24/56 BE 5:19 PM


นอกจากนีย้ งั รวมไปจนถึงกรณีอนื่ ๆ ทีท่ นั ตแพทย์พจิ ารณาแล้ว ว่าการรักษาโดยรากเทียมสามารถฟื้นฟูสุขภาพช่องปากและการ ท�ำงานของระบบบดเคี้ยว สามารถยื่นค�ำร้องเพื่อขอรับการรักษา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ ส�ำหรับการท�ำงานกับคนไข้กลุ่มนี้การสื่อสาร และการให้ข้อมูลกับผู้ป่วยเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุด ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่ สามารถสื่อสารได้ เช่น ผ่าตัดกล่องเสียง, floor of mouth หรือ ลิ้น เนือ่ งจากเนือ้ ร้ายในช่องปากและล�ำคอ หรือ มีปญ ั หาทางการรับฟัง ในกลุ่มผู้สูงอายุ การให้ผู้ดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ได้มีส่วนร่วมใน การรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม ตลอดจนวิธีการดูแลผู้ป่วย หลังการผ่าตัด เป็นสิ่งส�ำคัญมากที่จะท�ำให้การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ประสบความ ส�ำเร็จ ในทางคลินิกนั้น จริงๆ แล้ว ถึงแม้ว่างานจะค่อนข้างยากและ ใช้เวลานานกว่ากรณีทั่วไป แต่ตัวผู้รับบริการเองมีความกระตือรือ ร้นและสนใจให้ความใส่ใจ ตลอดจนมีความพึงพอใจต่อผลการรักษา ค่อนข้างมาก เนื่องจากได้รับการแก้ไขพยาธิสภาพรุนแรงที่มีอยู่แต่ เดิม ดงั นัน้ ผูป้ ว่ ยกลุม่ นีจ้ งึ เป็นคุณครูทดี่ ที สี่ ดุ ของผมตลอดเวลาทีไ่ ด้ ฝึกปฏิบัติงานระยะเวลา 4 ปีที่ประเทศอังกฤษ หากเปรียบเทียบกับระบบทันตสุขภาพประเทศไทย จะพบว่า ส�ำหรับงานทันตกรรมทั่วไปนั้น ผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงบริการได้ มากกว่า ทั้งการให้บริการที่ไม่ซับซ้อนของภาครัฐบาล และ ในส่วน ของคลินิกเอกชนที่ราคาไม่สูงมากนัก ในประเทศอังกฤษถึงแม้วา่ รายได้เฉลีย่ ของชนชัน้ กลางซึง่ เป็นคน ส่วนใหญ่ของประเทศจะสูงกว่าประเทศไทยมาก (ประมาณ 20,000 ปอนด์/ปี) แต่คา่ ใช้จา่ ยส�ำหรับ อาหาร ทีพ่ กั การเดินทาง โดยเฉพาะ ในเมืองใหญ่อย่างลอนดอน นัน้ สูงมากกว่ากรุงเทพหรือประเทศไทย หลายเท่าตัว การขาดแคลนหรือการเข้าไม่ถงึ ของระบบทันตสุขภาพ ในประเทศอังกฤษเป็นปัญหาเรื้อรังตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน

เรื่องที่พลเมืองอังกฤษให้ความสนใจ และเป็นเรื่องที่พูดถึงในชีวิต ประจ�ำวันเช่นเดียวกับดินฟ้าอากาศเลยทีเดียว ส�ำหรับทางด้านทันตสุขภาพสิง่ หนึง่ ทีเ่ หมือนกันทัง้ ประเทศไทย และอังกฤษจ�ำเป็นต้องได้รับการแก้ไขคือ การให้ความส�ำคัญและ ความใส่ใจต่อสุขภาพช่องปากของตนเองตั้งแต่ต้น โดยเน้นที่การ ส่งเสริมให้การดูแลและป้องกัน มากกว่าที่การรักษาซึ่งเป็นผลลัพธ์ และเป็นปัญหาหลัก เนือ่ งจากไม่เพียงพอทัง้ ในด้านบุคลากรและงบ ประมาณ คราวหน้าผมจะมาเล่าถึงประสบการณ์ที่สวิสเซอร์แลนด์ ว่าเป็นอย่างไร ทัง้ ในความเป็นอยูแ่ ละการท�ำงาน อย่าลืมติดตามกัน ต่อไปนะครับ

ความล้มเหลวและวิกฤตเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปท�ำให้ โรงพยาบาลของ NHS บางแห่งต้องปิดตัวลง ตัวผู้ป่วยส่วนใหญ่มี ความกังวลและเป็นห่วงสถานภาพของ NHS ในอนาคต ที่ผ่านมา การยุบรวมกันของโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยซึ่งมีเงินอุดหนุน ต่างๆ (trusts & grants) ท�ำให้การบริการเป็นไปได้คล่องตัวขึ้น แต่ ก็ส่งผลให้มหาวิทยาลัยเองจ�ำเป็นต้องขึ้นค่าลงทะเบียนสูงขึ้นมาก ท�ำให้นักศึกษากว่า 70% จ�ำเป็นต้องกู้เงินจากรัฐบาล จะเห็นว่า เป็นลูกโซ่ทไี่ ม่สิ้นสุด รัฐบาลอังกฤษพยายามเพิม่ งบช่วยเหลือ NHS และลดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยล่าสุดสภาได้อนุมัติให้ NHS คิดค่าใช้ จ่ายส�ำหรับผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองอังกฤษ ซึ่งแต่เดิมแม้แต่นักท่องเที่ยว ก็สามารถใช้บริการของ NHS ได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ยังคง เป็นที่ต้องจับตากันต่อไปว่าระบบสุขภาพที่เป็นแบบอย่างหลักของ โลกจะมีการเปลีย่ นแปลงไปอย่างไร เรือ่ งระบบบริการสุขภาพนีเ้ ป็น THAI DENTAL MAGAZINE • 43

AW TDM 40-55.indd 43

10/24/56 BE 5:19 PM


AD

44 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 40-55.indd 44

10/24/56 BE 5:19 PM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 45

AW TDM 40-55.indd 45

10/24/56 BE 5:19 PM


• Paper Bag

46 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 40-55.indd 46

10/24/56 BE 5:19 PM


เรื่อง นายแบงก์

ผมลอง search หาว่ามีใครให้รางวัล อะไรกับตัวเองบ้างใน google น่าสนใจดีนะครับ มีหลาย web ที่มี คนตั้งค�ำถามนี้ ทั้ง web พันทิป หรือ แม้แต่กูรูใน google เอง เจอคนให้ รางวัลตัวเองแบบน่ารักๆ หรือแนวๆ หลายอันดีเหมือนกันครับ บางคนไป ตัดสูทแพงๆ หลังจากที่ลดน�้ำหนักได้ ส�ำเร็จ จะได้ให้ความตระหนี่ เตือนตัวเองว่าอย่ากลับไปอ้วนอีก บางคนอาจจะให้รางวัลตัวเองด้วย มื้ออาหารดีๆ หลังจากท�ำงานชิ้นหนึ่ง ส�ำเร็จ บางคนอาจจะซื้อชุดใหม่ เมื่อตัวเองสอบผ่าน แต่บางคนก็แค่ ชมกับตัวเองด้วยค�ำจริงใจๆ ว่า “เจ๋งอะ ท�ำส�ำเร็จด้วย” จริงๆ คนเราให้รางวัลกับตัวเองแตกต่างกันตามความอยากกับ ศักยภาพของตัวเอง ถ้าถามว่าการให้รางวัลกับตัวเอง มีผลดีอย่างไร บ้าง เชื่อว่าทุกคนสามารถตอบค�ำถามนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ ทันตแพทย์ ผมนึกถึงสมัยขึ้นคลินิกตอนเรียน ทุกวันเหมือนกับการ วิง่ มาราธอน (เพราะต้องวิง่ ไปเบิกทัง้ ของทัง้ วัสดุหลายครัง้ ต่อ Visit รวมๆ แล้วไม่รู้กี่กิโลเมตร) ควบคู่ไปกับแบกกระสอบ (ที่นั่งท�ำงาน หลังขดหลังแข็ง) วันละ 3-6 ชั่วโมง (หรือบางทีอาจจะมากกว่านั้น) จนเหมือนรู้สึกว่าไปแบกกระสอบข้าวสารมาทั้งวัน แต่รางวัลที่พวกผมให้กับตัวเอง ในเกือบทุกวันศุกร์หลังเสร็จ คลินิก ก็จะไปหาร้านอาหารที่น่ากิน ที่มี Promotion หรือร้านที่ อยากกิน ไปกินข้าวกัน ร้านไหนอร่อยก็จัดไป ทั้งไทย ญี่ปุ่น อิตาลี ไปหมด รวมถึงอาหารหวานด้วย บางครั้งกินบุฟเฟต์กันจนท้องจะ แตก และนั่นก็เป็นความสุขที่เกิดขึ้นหลังจากการท�ำงานหนักมา ตลอดสัปดาห์

การให้รางวัลตัวเอง มีข้อดีอย่างไรบ้าง ค�ำถามนี้น่าสนใจดี มี คนมาตั้งค�ำถามนี้ไว้ในกูรู google ท่านผู้อ่านล่ะครับ คิดว่าการให้ รางวัลตัวเอง มีขอ้ ดีอย่างไร? ส�ำหรับผม มันเป็นเหมือนการเติมน�ำ้ มัน ให้เครื่องมันท�ำงานต่อไปได้ดี ตัวอย่างข้อดีจากการให้รางวัลตัวเอง คือ เป็นการผ่อนคลาย ความเครียดวิธีหนึ่งจากการท�ำงาน เวลาที่เราท�ำงานโดยเฉพาะ ทันตแพทย์ ที่งานมีความเครียดมาก การตอบแทนตัวเองด้วยหนัง มันส์ๆ สักเรื่อง ก็อาจจะเป็นทางออกหนึ่งของเรื่องเครียดๆ ไปได้ หรืออาจจะไปดูคอนเสิร์ตของศิลปินที่เราชื่นชอบก็เป็นทางเลือกที่ ไม่เลว นอกจากการให้รางวัลจะช่วยในเรื่องการผ่อนคลายแล้ว ยัง เป็นการสร้างแรงจูงใจ หรือรวมไปถึงก�ำลังใจที่จะท�ำงานให้ดีต่อไป เรื่อยๆ ดังนั้นชีวิตท�ำงานของคนเราก็ควรจะให้รางวัลกับตัวเองบ้าง เราเคยคุยกันมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการให้รางวัลกับตัวเอง ซึ่ง ในตุ่มที่ 3 การให้รางวัลนั้นจะเป็นรางวัลชิ้นใหญ่ๆ ผมเลยใช้ค�ำว่า “รางวัลของชีวิต” แต่ส่วนตุ่มที่ 5 นี้ เป็นส่วนที่กันไว้ส�ำหรับใช้เพื่อ ตอบกิเลสของตัวเองบ้าง ไปเที่ยวในไทย ดินเนอร์อาหารดีๆ กับคน ที่คุณรัก หรืออะไรก็ได้ที่อยากจะท�ำ ซึ่งตุ่มนี้จะต่างกับตุ่มที่ 3 ตรง ที่ว่า ตุ่มที่ 3 จะใช้เวลาเก็บหลายเดือนเพื่อที่จะได้ของนั้น แต่ตุ่มนี้ สามารถใช้รายเดือน หรือรายสามเดือนถ้าคุณต้องการอะไรทีพ่ ิเศษ กว่า เงินก้อนนีจ้ ะตกเดือนละประมาณ 5 พันบาทตามทีเ่ คยค�ำนวณ ไว้ที่รายรับ 5 หมื่นบาทต่อเดือน หรือเท่ากับ 10% ของเงินเดือนโดย ประมาณ เงิน 5 พันบาทต่อเดือนในการให้รางวัลตัวเอง ถือว่าพอเหมาะ พอดีสำ� หรับชีวติ การท�ำงาน ทีต่ อ้ งแลกด้วยหยาดเหงือ่ แรงงาน และ ร่างกาย แต่ผมก็ไม่อยากให้การให้รางวัลตัวเอง เป็นกิเลสทีพ่ อกพูน ขึ้นเรื่อยๆ อยากให้ตามใจกิเลสแบบพอดีๆ ไม่ใช่พยายามจ้องจะ หาเงินเพื่อมาตอบโจทย์ความอยากของเราเอง เพราะที่น่าสงสารก็ คือคนไข้ของพวกเรานี่เอง การให้รางวัลตัวเองเป็นเหมือนดาบสองคม เพราะมีทั้ง ด้านดี และด้านที่ไม่ประสงค์ดี ซึ่งถ้าหากมองเอาแต่ได้ ความ อยากก็จะมาครอบง�ำ และเมื่อใดที่ความอยากมีมากกว่าความ สามารถ เมื่อนั้น เราก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่ท�ำนาบนหลังคน THAI DENTAL MAGAZINE • 47

AW TDM 40-55.indd 47

10/24/56 BE 5:19 PM


ของดีและฟรีมีอยู่จริง เรื่อง มัทวัฒน์

MOOC หรือ massive online open course เป็นศัพท์ใหม่ที่ ได้รับความนิยมจนได้รับการบรรจุลง Oxford English Dictionary ไปเมื่อเดือนสิงหาคมปีนี้เอง MOOC คือ บทเรียนออนไลน์ที่เปิดให้ สาธารณชนเรียนได้“ฟรี” ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน เสียเพียงค่าไฟค่า อินเตอร์เน็ตอยู่บ้านก็เรียนกับครูดังๆของมหาวิทยาลัยชั้นน�ำของ โลกได้แค่ปลายนิ้ว ผูเ้ ขียนจะมาแนะน�ำวิธกี ารค้นหาคอร์สเหล่านี้ และยกตัวอย่าง คอร์สต่างๆทีน่ า่ จะเป็นทีส่ นใจของทันตแพทย์ไทย ความรูอ้ ยูแ่ ค่เอือ้ ม แค่นี้ น่าสนใจมากเลยนะคะ ใครไม่อยากเรียนเรือ่ งวิชาชีพ ก็มสี อน ภาษา สอนดนตรี ประวัติศาสตร์ หรือ แม้แต่สอนถักถุงเท้าใช้เอง โดยรูปแบบคอร์สของแต่ละมหาวิทยาลัยจะต่างกันไป บางคอร์ส

เมือ่ เรียนจบจะมีประกาศนียบัตรให้ดว้ ย บางแห่งมีเอกสารประกอบ การสอนเป็นไฟล์ pdf ให้ บางแห่งมีไฟล์เสียงประกอบ บางแห่งมี วีดีโอการสอน เว็บไซต์ที่รวบรวม MOOC ที่น่าเข้าไป browse เล่นได้แก่ openculture.com และ ocwconsortium.org หรือจะพิมพ์ keyword ทีส่ นใจในช่องการค้นหาของ serendipity.utpl.edu.ec ก็จะได้ผลการ ค้นหาเป็น list ของคอร์สต่างๆในรูปแบบหน้าจอทีอ่ า่ นง่ายสบายตา ลองพิมพ์ค�ำว่า “health” พบว่ามี 388 คอร์สให้เลือกกันจนกด อ่านแทบไม่หมด ถ้าพิมพ์ “dentistry” ก็มีคอร์สให้เรียนเหมือนกัน แต่สว่ นมากจะเป็นของระดับปริญญาตรีของ Tufts และ University of Michigan (เช่น implant; geriatric; special care; cariology,

48 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 40-55.indd 48

10/24/56 BE 5:20 PM


restorative science and endodontics; advanced topics in removable prosth; patient communication skills) .ในส่วนของ pdf นัน้ ไม่นา่ อ่าน แต่พวกวีดโี อคลิปจากช่อง UmichDentใน youtube มีให้เลือกหลากหลายเหมือนกันค่ะ นอกจากวิธหี าคอร์สผ่านเว็บไซต์ขา้ งต้นแล้ว เราสามารถเข้าไป ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งที่เราสนใจได้เลย เช่น oyc. yale.edu และ webcast.berkeley.edu ส่วนสองยักษ์ใหญ่ MIT กับ Harvard นั้นได้ร่วมมือกันจัด MOOC โดยมีเว็บไซต์กลางชื่อ edX.org และยังมีบริษัทเพื่อการศึกษาที่ก่อตั้งโดย professors สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ จาก มหาวิทยาลัย Stanford ท�ำงาน ร่วมกันกับมหาวิทยาลัยชื่อดังอีกหลายแห่งรวมเป็น coursera.org อีกด้วย คอร์สต่างๆทีน่ า่ สนใจ เท่าทีไ่ ด้ลองไป browse ดูมีดังต่อไปนี้ค่ะ

ส�ำหรับทันตแพทย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุขนั้น คอร์ส ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ จาก Johns Hopkins และ Harvard มีเยอะมาก เช่น • Case studies in Primary Health Care • Leadership, Regulatory Agencies and Public Health • Integrating Social and Behavioral Theory into Public Health : Mezzo/Micro-Level Theories • Health Behavior Change at the Individual, Household and Community Levels • Training and Learning Programs for Volunteer Community Health Workers • Basic Skills for Public Health Research ส�ำหรับผูท้ ตี่ อ้ งการศึกษาด้านงานบริหารนัน้ มีคอร์ส MBA จากโรงเรียนดังๆ เช่น Wharton และ Warwick ด้วย • The Nuts and Bolts of Business Plans • Management of Services : Concepts, Design, and Delivery, Managing to meet service users’ needs • Personal Finance • Seminar on Health Care Systems Innovation • Approaches to Managing Health Services Organizations • Managing and Volunteering In the Non-Profit Sector • Public-Private Partnerships for Health : Social experiments to integrate ethics and profits

ถ้าใครคิดว่าภาษาอังกฤษเป็นปัญหา ก็ลองเรียนภาษากับ MOOC เลยก็นา่ สนใจนะคะ ถ้าใครคิดว่า MOOC ใช้เวลามากเกินไป แนะน�ำแหล่งความรูท้ ไี่ ม่ตอ้ งใช้เวลามากเช่น “TED talks” “Google talks” “Khan Academy” “Do Lectures” หรือ “WikiHow” ก็มอี ะไร เจ๋งๆ สนุกๆ ให้ดูไม่เบื่อเลยค่ะ กลับจากงานประชุม 7th Asian Conference of Oral Health Promotion to School Children ที่บาหลี ด้วยภาษา อังกฤษงูๆ ปลาๆ ฟังออกมัง่ ไม่ออกมัง่ (ส่วนมากจะเป็นอย่าง หลัง) เลยคิดว่า ควรหาอะไร มากระทุ้งท้าทาย ตัวเอง ที่จะ ข้ามก�ำแพงภาษาต่างด้าวนี้ไปให้ได้..เลยลองค้นหาคอร์ส เรียนออนไลน์ หลายมหาลัย สอนออนไลน์ ได้วุฒิด้วย แต่ แพงไม่ใช่เล่น ระดับป.โท ก็สัก สี่แสนบวกลบ อีกทั้งถ้า มหาลัยดีๆ ต้องส่งงานโหดมหาโหด ไม่เหมาะกับคนใช้ชีวิต ยุง่ ๆ อย่างข้าพเจ้า ถึงมีปญ ั ญาจ่าย แต่เห็นทีอาจไม่มปี ญ ั ญา จบ search จนเจอว่ามีคอร์สออนไลน์ คอร์สยาวประมาณ 4-12 สัปดาห์ โดยประมาณ เขาจะบอกว่า ต้องใช้เวลาต่อ สัปดาห์เท่าไหร่ ก็ตั้งแต่ 2 - 10 ชม เรียนผ่านอ่านเอกสาร ดู clip (บางอัน กลัวฟังไม่ทัน มี subtitle ภาษาอังกฤษให้) ถ้าเรียน ท�ำข้อสอบ ส่งงาน (เขียน) ไป comment ตรวจงาน เพือ่ นฯครบ บางหลักสูตรให้ประกาศนียบัตรด้วย (เท่ พอประ มาณมั้ง ถ้าไม่มีปัญญาไปเรียนเมืองนอก แต่มีใบประกาศ จาก Harvard / Upenn / John Hopkinsฯลฯ) คอร์สฟรีออน ไลน์ เหมาะกับคน อยากรู้บางเรื่อง จริงๆ หรือไม่ก็อยากฝึก ภาษาแบบผม ผมก็เพิง่ ลงเรียนไปสองคอร์ส คงท�ำกิจกรรมไม่ หมด แต่กพ็ ยายามตามเวลาทีม่ ี เป็นคอร์ส primary care กะ เรื่อง การพัฒนาบุคลากร อยู่ตอนนี้ https://www.coursera. org/course/healthforall กับ http://alison.com/courses/ Diploma-in-Human-Resources มีวิชาแปลก เช่น อิยิปต์ ศึกษา ประวัติศาสตร์โลก ท�ำไงจะเปลี่ยนโลก ฯลฯ น่าสนใจ ครับ น่าสนใจ ทันตแพทย์วัฒนา ทองปัสโนว์ โรงพยาบาลด่านซ้าย THAI DENTAL MAGAZINE • 49

AW TDM 40-55.indd 49

10/24/56 BE 5:20 PM


AD

50 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 40-55.indd 50

10/24/56 BE 5:20 PM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 51

AW TDM 40-55.indd 51

10/24/56 BE 5:20 PM


• สมดุล

คุณค่า ชีวิต

มีคนกล่าวว่า..ชีวิตคือการเดินทาง และการเดินทางที่แท้จริง เริ่มต้นเมื่อเดินออกจากพื้นที่ของ ความคุ้นชิน (Comfort zone)

เรื่อง /ภาพ ทพ.สมดุลย์ หมั่นเพียรการ www.facebook.com/iLoveYogaAnatomy

หลายปีที่ผ่านมา หลังจากตัดสินใจลดทอนภาระจากการเป็น เจ้าของคลินิก เหลือแต่งานประจ�ำในต่างจังหวัด พร้อมกับเริ่มต้น วิถใี หม่ดว้ ยใจรักและศรัทธา นัน่ คือ การเป็นครูสอน yoga anatomy ท�ำให้ผมต้องสละความสุขจากความคุ้นชินหลายอย่างในชีวิตไป จากเดิม ตอนใช้ทนุ ผมรับราชการอยูใ่ นกรุงเทพฯ หลังเลิกคลินกิ ตอนเย็น กลับบ้าน มีความสุขอย่างเรียบง่ายจากกับข้าวอร่อยๆ ฝีมอื แม่ ดูทวี สี ามัคคีทชี่ มุ นุมทุกคนในบ้านมารวมกันพร้อมหน้า ใช้เวลา อยู่กับตัวเอง ไม่ต้องปรับตัวและพบเจอคนแปลกหน้ามากนัก แต่ตอนนี้ การเดินทางเคลื่อนที่แทบจะเป็นวิถีหลักในชีวิต ของผม ทุกสัปดาห์ตอ้ งเดินทางไปพัทยา และภูเก็ตทีล่ ะ 2 วัน ในบทบาท ของหมอรักษารากฟัน ส่วนวันทีเ่ หลือก็ยงั เดินสายไปจัดอบรมตามต่าง จังหวัดอยูเ่ นืองๆ อย่างสัปดาห์ทผี่ า่ นมาพอกลับจากท�ำงานทีพ่ ทั ยา รุ่งขึ้นเป็นวิทยากรที่ ราชบุรี วันถัดมาไปภูเก็ต แล้วขึ้นเชียงใหม่ต่อ ตะลอนทัวร์จนโดนคนแซวอยู่บ่อยๆ ว่าเป็น เซเล็บ ทั้งๆ ที่ชีวิต จริง เซ..(จน)เล็บ(ขบ) มากกว่า! บ้านที่เคยเป็นพื้นที่คุ้นชิน จึงเป็นเพียงที่ไว้ transit สัมภาระไป ยังที่หมายใหม่ 52 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 40-55.indd 52

10/24/56 BE 5:20 PM


ขณะที่อาคารผู้โดยสารที่สนามบิน และห้องโดยสารบนเครื่อง กลายเป็นสนามฝึกความคุ้นชินใหม่ในชีวิต .......... สภาวะไม่คุ้นชิน (discomfort) เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ ใหม่ๆ ให้กับผม นับตั้งแต่การจัด ‘สัมภาระ’ ให้อ�ำนวยความสะดวกได้ โดยไม่ ‘สุมภาระ’ จนเป็นอุปสรรคขณะเคลื่อนตัว ปรับนาฬิกาชีวิต กิน หลับ ขับถ่าย ไม่ให้แปรปรวน

แม้สว่ นใหญ่จะใช้เวลาอยูบ่ นเครือ่ งบินจนถึงทีห่ มายจะไม่เกิน หนึ่งชั่วโมงเศษ แต่เวลาระหว่างทางจากที่พักไปยังสนามบิน จาก สนามบินไปยังที่หมาย เวลาที่เผื่อไว้นั่งรอขึ้นเครื่อง รวมๆ แล้วกิน เวลาอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง ไม่นับ extended version เมื่อเครื่องบิน delay เคยมีอยู่ครั้ง หนึ่งที่เครื่องบินเสียเวลาจากสองทุ่ม เป็นตีสามครึ่ง ถึงบ้านเกือบ หกโมงเช้า เวลาระหว่างทาง เบียดโมงยามอันแสนสบายในพืน้ ทีค่ นุ้ ชินเดิม ของเรา ท�ำให้เริ่มเรียนรู้การบริหารจัดการกิจกรรม (ให้) เข้าจังหวะ (กับ)เวลา อาคารผู้โดยสาร ถูกผมรีโนเวตพื้นที่คุ้นชินขึ้นใหม่ เพียงแค่.. ปรับมุมมอง ผมปรับเก้าอี้นั่งรอ ซึ่งนั่งไม่สบาย กลายเป็นเก้าอี้ท�ำงานใช้ เตรียมการสอน หรือเป็นเก้าอี้เลซี่บอย (Lazy boy)ในโฮมเธียเตอร์ ผ่อนพัก โถงกว้างของอาคารเป็นโรงละครแห่งชีวติ ทีม่ นี กั แสดงต่างชาติ ต่างภาษาสะท้อนวัฒนธรรมประจ�ำชาติให้ชมแบบเรียลลิตี้ ในห้องโดยสาร ... เมื่อคนกว่าร้อยคน ต่างที่มาต่างที่ไป แต่มีที่หมายเดียวกัน มา รวมกันอยู่ในพื้นที่ไม่คุ้นชินของตัวเอง ผมเห็นความพยายามของแต่ละคนที่จะฉกชิง comfort จาก

ความรู้สึก discomfort ของที่สูญเสียไป โดยลืมนึกไปว่าบางครั้ง comfort ที่ได้รับนั้น มาจากการยัดเยียด discomfort ของเราไปให้ คนข้างๆ บางคนเอกเขนกถ่างขากว้างจนคนนั่งข้างๆหดตัวลีบหนีบขา แน่น ,เหวี่ยงกระเป๋าเก็บด้านบนโดยลืมนึกไปว่าเป้ที่สะพายยู่ด้าน หลัง ได้กระแทกหัวของคนทีน่ งั่ ริมทางเดินเข้าอย่างจัง, ส่งกลิน่ หรือ เสียงอันไม่พึงปรารถนารุกล�้ำพื้นที่ความสงบของอีกฝ่าย การจัดการความคุ้นชิน ในพื้นที่ไม่คุ้นชินจากคนแปลกหน้า แปลกที่ แปลกทาง เหล่านั้น เป็นบททดสอบที่ท้าทาย ในทุกสัปดาห์ .......... มองออกไปบนท้องฟ้านอกหน้าต่าง ที่ระดับความสูง 36,000 ฟิต เหนือระดับน�้ำทะเล ปีกด้านหนึ่งของชีวิต ถูกขยับขึ้นด้วยความเร่งรีบจากที่หมาย หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ท�ำให้เหนื่อยไม่น้อย แต่ขณะเดียวกัน ปีกอีกด้านหนึ่ง ซึ่งพาเราเคลื่อนไปบนวิถีที่ เราเลือกเดิน กลับเป็นพลังขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่กว่า ไปสู่ที่หมาย..ที่ ไม่คุ้นชิน ปลายทางแต่ละครั้ง เปิดโอกาสให้ผมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ผู้คนนับพัน ได้ท�ำในสิ่งที่รัก และได้เห็นว่า สิ่งที่เราท�ำ ไม่ได้ก่อให้ เกิดประโยชน์แก่ผคู้ นตรงหน้าเท่านัน้ หลายครัง้ ยังส่งต่อไปเติมเต็ม ความสุขให้แก่ผอู้ นื่ เช่น เป็นค่าใช้จา่ ยในการผ่าตัดให้กบั ผูป้ ว่ ยปาก แหว่งเพดานโหว่ จ.น่าน ผ่านกองทุนเติมยิ้มอิ่มใจ ที่ผม และหมอ แอ๋ว ทญ.วิภาวรรณ พึ่งวารี ร่วมกันตั้งขึ้น เมื่อรู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์ นั่นเองที่ท�ำให้เราได้กลับมาเห็น คุณค่าในตัวเอง ทั้งหมดนี้ คือ bonus reward ที่ได้รับจากการเดินทาง โดยไม่ ต้องใช้ไมล์สะสมไปแลกมา .......... สิง่ หนึง่ ทีร่ บั รูไ้ ด้อย่างชัดเจนคือ การเดินทางข้ามเวิง้ ฟ้านัน้ เริม่ ต้นขึ้นนับตั้งแต่เราได้ก้าวออกจากพื้นที่ความคุ้นชิน ปรับร่างกาย ปรับความรู้สึกภายใน ‘จัดการ..พืน้ ทีแ่ คบ ด้วยการจัดใจ..ให้เปิดกว้าง’ ยอมรับความ แตกต่างของผู้คน รับรู้อีกด้านหนึ่งที่อาจยังไม่เคยรู้จักของตัวเอง ตัวตนทีไ่ ม่อาจสะดวกสบายแบบทีเ่ คย แต่กลับสะท้อนให้เห็น อีกด้านหนึ่งที่เราไม่ค่อยเห็น ศักยภาพบางอย่างที่ไม่ใช่การรักษา รากฟัน ก�ำลังค่อยๆหยั่งรากชีวิตอีกด้าน ให้แตกหน่อ งอกงาม .......... ผมเชือ่ ว่า ทุกอย่างในชีวติ ไม่มเี รือ่ งบังเอิญ ธรรมชาติได้จดั สรร ให้เราได้มีประสบการณ์บางอย่างเข้ามาเติมเต็ม วิชาที่ใช้เลี้ยงชีพ และวิชาที่หล่อเลี้ยงชีวิต ล้วนอยู่นอก พื้นทีข่ องความคุ้นชินทั้งสิ้น ซึ่งอาจเป็นทีห่ มายใหม่ทรี่ อคอย การเดินทางที่แท้จริงของเราอยู่ก็เป็นได้

THAI DENTAL MAGAZINE • 53

AW TDM 40-55.indd 53

10/24/56 BE 5:20 PM


AD

54 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 40-55.indd 54

10/24/56 BE 5:20 PM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 55

AW TDM 40-55.indd 55

10/24/56 BE 5:20 PM


• Dent Dining

เรื่อง น้องแป้งกะพี่ตุ๋น

ถ้าเกิดบอกว่าจะพาไปทานอาหารฟิวชัน่ ก็คงจะ ดูธรรมดาไป ไม่ดึงดูดหรือน่าสนใจสักเท่าไร แต่ถ้าบอกว่าจะพาไปทานอาหารที่ผสมผสาน ระหว่างรสชาติความจัดจ้านแบบไทยกับนม เนยสไตล์อิตาเลี่ยนแล้ว คงดูน่าสนในไม่น้อย THE HIDDEN TERRACE คือร้านอาหาร สไตล์คาเฟ่ที่มีทั้ง อาหาร เครื่องดื่ม และเค้ก ไว้บริการในบรรยากาศสบายๆ ชิวๆ ที่พอเดิน เข้าไปในร้านแล้วจะรู้สึกเหมือนเดินเข้าไปใน บ้าน โดยเชฟอาร์ท (เจ้าของร้าน) บอกว่า THE HIDDEN TERRACE เหมือนบ้านทีพ่ อเรากลับ ถึงบ้านแล้วก็จะมีอาหารฝีมือของคนในบ้าน ท�ำไว้ให้รับประทานกัน เพราะฉะนั้นอาหารที่ ร้านทุกๆ เมนูจงึ ถูกคิดและท�ำเสมือนไว้ตอ้ นรับ คนในครอบครัวโดยเฉพาะ

เมนูที่เชฟอาร์ทแนะน�ำวันนี้มี

Grilled Pork Hot & Spicy Salad

พาสต้า น�ำ้ ตกหมูยา่ ง น�ำ้ ตกหมูยา่ งรสชาติจดั ๆ เผ็ดไม่มากกับเส้นพาสต้า Tum Klong

พาสต้าต้มโคล้งปลาสลิดทอดกรอบ พาสต้าผัด กับน�ำ้ ซุปต้มโคล้งทีเ่ คีย่ วจนกายเป็นน�ำ้ ซอสทาน

56 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 56-76.indd 56

10/24/56 BE 8:53 PM


คูป่ ลาสลิดทอดกรอบๆ หอมๆ มันๆ สองจานนีถ้ า้ ใครทานเผ็ดก็จะมีพริกแห้งทอดหอมๆ ไว้ให้ดว้ ย Spinach Quesedilla

เคสซาดิย่าไส้ผักโขมอบชีส แป้งเคสซาดิย่าที่ ประกบผักโขมผัดซอสอบชีสแล้วน�ำไปจี่ ใน กระทะ แป้งกรอบๆ ผักโขมอบชีสเยิม้ ๆ เค็มๆ มันๆ Poached Mazzarella

โพชด์มอสซาเรลล่า ขนมปังกระเทียมทานคูก่ บั ซอสมะเขือเทศที่ตุ๋นกับชีสมอสซาเรลล่า Dark Chocolate Brownie with Ice Cream

ดาร์คช็อคโกแลต70%ในบราวนี่เสริฟร้อนๆ คู่ กับไอศครีมโฮมเมด Smurf’s Ocean Mocktail Cake

สเมิร์ฟเค้ก เค้กสีฟ้าจากน�ำ้เชื่อมที่ท�ำเลียน แบบเหล้าชนิดหนึ่งที่ให้รสเปรี้ยว ในเนื้อครีม มีรสเค็มจากเกลือที่เชฟได้แรงบันดาลใจจาก ค็อกเทลกามิกาเซ่ Pain Perdu Banana Caramel With Ice Cream

เฟรนช์โทส กับกล้วยทอดในซอสคาราเมล เสริฟ พร้อมไอศครีม ถ้าจะไม่พดู ถึงก็คงไม่ได้ เชฟอาร์ทเจ้าของ ร้านเคยถูกเชิญไปรายการเชฟกระทะเหล็ก เพราะ ฉะนัน้ คงไม่ตอ้ งสงสัยเรือ่ งรสชาติอาหารทีก่ ารัน ตีความอร่อยมาแล้วอย่างแน่นอน ร้าน THE HIDDEN TERRACE อยู่ ในซอยพระรามเก้า 43 ซอย19 ร้านเปิด วันอังคารถึงวันอาทิตย์ หยุดวันจันทร์ 11:00น.-22:00น.

THAI DENTAL MAGAZINE • 57

AW TDM 56-76.indd 57

10/24/56 BE 8:54 PM


AD

58 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 56-76.indd 58

10/24/56 BE 8:54 PM


• เล่าสู่กันฟัง

พล.อ.ท. นพ. วิศิษฐ์ ดุสิตนานนท์ รองผู้อ�ำนวยการด้านการแพทย์ และผู้อ�ำนวยการศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา

วิทยากร อ.ทพญ. ศศิรินทร์ เยี่ยมสถาน

ประชุมวิชาการประจ�ำปี

สมาคมความพิการ

ปากแหว่ง เพดานโหว่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

การประชุม Ramathibodi Cleft-craniofacial forum ครัง้ ที่ 3 และ ประชุมวิชาการประจ�ำปี สมาคมความพิการปากแหว่ง เพดาน โหว่ ใบหน้าและศีรษะแห่งประเทศไทย วันที่ 3-4 ตุลาคม 2556 ณ อาคารเรียนและปฏิบตั กิ ารรวมด้านการแพทย์และโรงเรียน พยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นการประชุมวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้และสรุปแนวทาง การรักษาผูป้ ว่ ยปากแหว่งเพดานโหว่ในลักษณะสหสาขาวิชาชีพ อัน ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และนักแก้ไขการพูดผิด ปกติ รวมทัง้ สร้างหลักปฏิบตั มิ าตรฐานส�ำหรับการดูแลผูป้ ว่ ยกลุม่ นี้ ส�ำหรับประเทศไทย ปัจจุบันผลส�ำเร็จในการแก้ไขความวิการบนใบหน้าเป็นที่พึง พอใจ เพราะการท�ำงานเป็นทีมร่วมกับทันตแพทย์สาขาจัดฟันใน การแก้ไขแนวของสันเหงือกและจัดรูปจมูกก่อนการท�ำศัลยกรรม ตกแต่งริมฝีปาก เหลือแต่เสียงพูดทีพ่ บว่ามีปญ ั หาในผูป้ ว่ ยบางราย ซึ่งจ�ำเป็นต้องได้รับการประเมิน วิเคราะห์ปัญหา และแก้ไข ให้เร็ว ที่สุดก่อนที่จะกลายเป็นพฤติกรรมการพูดที่ผิดปกติ ผู้ป่วยที่รักษา เสร็จ ก็จะมีทั้งยิ้มสวยๆ และเสียงใสๆ นอกจากนีแ้ ล้วยังมีการจัดนิทรรศการและกิจกรรมเพือ่ คนทัว่ ไป อีกด้วย

วิทยากร อ.ทพญ. อรุณวรรณ หล�ำอุบล

วิทยากร อ.ทพญ. จารุมา ศักดิ์ดี

วิทยากร อ.ทพ. พฤฒิชัย บุริยเมธากุล

รพ.บ�ำรุงราษฎร์

ได้จัดงานประชุม วิชาการประจ�ำปี 2013

ในหัวข้อ “Dental Health can affect General Health” เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2556 ณ ห้องประชุมชั้น 21 รพ.บ�ำรุงราษฎร์ โดย มี พล.อ.ท. นพ. วิศิษฐ์ ดุสิตนานนท์ รองผู้อ�ำนวยการด้านการ แพทย์ และผู้อ�ำนวยการศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา เป็นผู้กล่าว เปิดประชุมเพื่อให้ความรู้และให้เห็นความส�ำคัญของโรคและ สุขอนามัยในช่องปาก ที่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคทางระบบอื่นๆ โดยผู้เข้าร่วมประชุมเป็น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และ บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล และทันตแพทย์ผู้สนใจ จากภายนอก

THAI DENTAL MAGAZINE • 59

AW TDM 56-76.indd 59

10/24/56 BE 8:54 PM


• Dental Adirek

ศาสตราจารย์ท่านใหม่กับ...

หัวใจดนตรี และศิลปะ

ศาสตราจารย์ทนั ตแพทย์หญิงมาลี อรุณากูร ผูอ้ ำ� นวยการ โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสริ นิ ธร ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก และอาจารย์ประจ�ำภาควิชาทันตกรรมเด็ก มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากจะใช้เวลาในการเขียนหนังสือออกมาเผยแพร่มากมาย หลายเล่ม จนในปีนี้อาจารย์ได้ต�ำแหน่งเป็นศาสตราจารย์(วิชาการ ไม่ใช่คลินกิ ) ทีท่ ำ� ได้ยากยิง่ เป็นทีย่ นิ ดีกนั ทัว่ มหิดลแล้ว อาจารย์กย็ งั สามารถจัดสรรเวลาว่างส�ำหรับงานอดิเรก ได้แก่ การเล่นไวโอลิน และปักครอสสติชอีกด้วย

เริ่มเล่นไวโอลินตั้งแต่เมื่อไหร่คะ

“ตัวเองเป็นคนทีช่ อบดนตรีมาก ตัง้ แต่เด็กชอบฟังดนตรี classic ระหว่างท�ำโจทย์เลข ได้เริ่มเล่นไวโอลินตั้งแต่อายุ 14 ปี เพราะเป็น เครื่องดนตรีที่พอจะหาซื้อได้ในราคาที่ไม่แพงมาก ตอนเตรียมสอบ เข้ามหาวิทยาลัยจึงหยุดเรียนไวโอลินแล้วก็ไม่ได้จบั ไวโอลินเลย พอ แต่งงานก็ได้โอกาสเรียนดนตรีพร้อมกับลูก จึงเริ่มเรียนเปียโน แต่ เรียนไม่ทันลูก เพราะไม่มีเวลาซ้อม และนิ้วมันแข็งไม่พลิ้ว ก็พอจะ เล่นได้บา้ ง จนกระทัง่ ประมาณ 4 ปีทผี่ า่ นมานีจ้ งึ มีโอกาสได้กลับมา เรียนไวโอลินอย่างจริงจังอีกครั้ง”

ท�ำไมถึงชอบไวโอลิน

“ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นค่อนข้างยาก ผู้เล่นต้องมีสมาธิ ตาต้องมองโน้ตเพลง คางหนีบไวโอลิน นิ้วมือซ้ายกดไปบนสาย ตามตัวโน้ตท�ำนองของเพลงแต่ละเพลง หูตอ้ งฟังเสียงทีเ่ ล่นออกมา ต้องไม่เพี้ยน มือขวาลากคันสีขึ้นๆ ลงๆ ยาวสั้น หนักหรือเบา ตาม

ลีลาของเพลง บางครั้งเท้าขวาหรือซ้ายก็จะขยับเพื่อนับจังหวะไม่ ให้พลาด จะเห็นว่าการเล่นไวโอลินต้องใช้อวัยวะหลายส่วน ต้อง ท�ำงานประสานกันจึงจะบรรเลงออกมาเป็นเพลงตามที่ผู้ประพันธ์ ได้แต่งท�ำนองไว้ ความไพเราะเป็นทักษะเฉพาะบุคคลซึ่งได้ฝึกฝน จนช�ำนาญและเข้าใจบทเพลงนั้นอีกทั้งขึ้นกับอารมณ์และสมาธิ ของผูบ้ รรเลง บอกได้วา่ ยาก ซึง่ ตัวเองก็ไม่สามารถเป็นนักสีไวโอลิน ที่เก่งได้ ถามว่าเล่นเพลงได้มากน้อยแค่ไหน เล่นได้เป็นร้อยๆ เพลง แต่ความไพเราะเป็นอีกเรือ่ งหนึง่ ยิง่ อายุมากสมรรถนะไม่เหมือนวัย เยาว์ ก็เลยเล่นเป็นงานอดิเรกที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของ งาน ดนตรีไม่มีพิษภัย แต่สร้างความสุข ความเพลิดเพลินได้เป็น อย่างดี บอกได้เลยค่ะว่ามีความสุขเวลาสีไวโอลิน” “การเรียนดนตรีกค็ วรจะต้องมีการซ้อมเล่นทุกวันจึงจะได้ผล ซึง่ เราก็ได้มาเรียนทีโ่ รงเรียนวีระพันธ์ดรุ ยิ างค์ เรียนสัปดาห์ละ 1 ชัว่ โมง และได้ซ้อมเล่นเป็น Duet กับครูเปียโน คุณครูสุรพล กลันตบุตร ที่ บ้านทุกวันพุธและวันพฤหัสบดี วันละ 2 ชั่วโมง เวลา 4 ทุ่มถึง เที่ยง คืน อะไรจะขนาดนั้น เหตุผลคือ มีความสุขดีค่ะ คลายเครียด ได้ท�ำ ในสิ่งที่ตัวเองชอบ โดยเฉพาะสามี(ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์สมเกียรติ อรุณากูร) มานั่งฟังอยู่ใกล้ๆ บางครั้งเขาก็ หลับ พอทักเขา เขาก็ตอบว่าไม่ได้หลับ ฟังอยู่ เพราะดี เล่นต่อไป... ก็คงจะฟังได้พอประมาณ มิฉะนั้นเขาคงไม่เคลิ้มหลับ”

แล้วการปักครอสสติช

“งานอดิเรกทีช่ อบมากอีกอย่างคือ การปักภาพ Cross-stitched

60 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 56-76.indd 60

10/24/56 BE 8:54 PM


มีความสุขเหมือนกันเมื่อได้ภาพสวยๆ จากฝีมือการปักของเรา น�ำ ไปใส่กรอบแล้วน�ำมาประดับบ้าน มีความสุข... เริ่มปักตอนอยู่ประถมศึกษา 4 ปักบนผ้าตารางของญี่ปุ่น ท�ำ ง่าย พอเข้ามหาวิทยาลัยก็เริม่ ท�ำแบบยากขึน้ หน่อยเป็นหมอนอิงให้ อาจารย์ทเี่ คารพรัก หลังแต่งงาน สามีไปศึกษาต่อที่ Copenhagen กลัวว่าเราจะเหงาจึงซือ้ ชุดภาพปักจากบริษทั EVA ROSENSTAND ส่งมาให้ทำ� แต่คราวนีเ้ ป็นการปักบนผ้าลินนิ สีไหมสามสีส่ บิ สี สนุก มาก ภาพของเขาออกแบบ classic มาก ละเอียด สวยงาม มีชีวิต ชีวา ชอบมาก ทุกวันนี้ยังปักไม่หมด บางภาพชอบมากก็ปักซ�ำ้ รูป เดิม ปักไปแล้วกว่าร้อยภาพ ใช้เวลาหลังเลิกงาน ช่วงเวลารอคนไข้ ช่วงเวลาหลังกล่อมลูกหลับแล้ว ก็นั่งปัก” “การปักภาพ Cross-stitched เป็นงานอดิเรก เป็นการใช้เวลา ว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นการฝึกสมาธิ ท�ำจิตให้สงบ ฝึกความอดทน ความพยายามในการปักจนกระทั่งส�ำเร็จ ประดิษฐ์ภาพสวยงาม ประดับบ้าน และยังสามารถประยุกต์ ท�ำอุปกรณ์ เครือ่ งตกแต่งบ้าน เช่น หมอนอิง ผ้าปูโต๊ะ จานรองแก้ว บางครั้งก็ปักภาพท�ำนาฬิกา และมอบให้เพื่อน ญาติที่เคารพเป็นการมอบความสุขให้กับเขาใน โอกาสพิเศษ แล้วก็ยังเป็นงานฝีมือที่เราตั้งใจท�ำ และเหนือสิ่งอื่น ใดก็คือ ความสุขจากงานที่เราได้สรรค์สร้างจากแบบที่ศิลปินได้คิด ประดิษฐ์ไว้ เราเป็นผู้สานต่อประดิษฐ์ไว้ชื่นชมต่อไป “ ทุกท่านอาจมีงานอดิเรกที่แตกต่างกันออกไป ส�ำหรับ อาจารย์มาลี มีความสุขในศิลปะทั้งในดนตรีและภาพ ครอสสติช ทั้งผ่อนคลาย ทั้งสร้างสรรค์ อาจารย์ยังกล่าวใน ตอนท้ายอีกว่า “อยากมีเวลามากกว่านี้เพื่อจะได้ท�ำหลายสิ่ง หลายอย่างที่อยากจะท�ำ เพราะนั่นคือความสุข”

THAI DENTAL MAGAZINE • 61

AW TDM 56-76.indd 61

10/24/56 BE 8:55 PM


AD

62 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 56-76.indd 62

10/24/56 BE 8:55 PM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 63

AW TDM 56-76.indd 63

10/24/56 BE 8:55 PM


• Dental Adirek

เรื่อง หนูน้องกะปุยนุ่น

ตอนเด็กๆ.. เคยบ้างมัย้ คะทีด่ กู าร์ตนู ในโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือ เทพนิยายแล้วรู้สึกชื่นชอบ มีความฝันที่อยากเล่นด้วย อยากกอด อยากจับตัวจริงๆ เหมือนตัวละครตัวเอกนั้นๆ เป็นเพื่อนเรานอก จอ.. ใช่แล้วค่ะ.. หลายคนฝันอย่างนั้นจริงๆ แล้วก็สามารถท�ำตัว ละครเหล่านั้นมาเป็นตัวตุ๊กตาเล่นได้จริงๆ...Dent Adirek ฉบับนี้ จึงขอแนะน�ำให้รู้จักทันตแพทย์ท่านหนึ่งที่มีจินตนาการในความ ฝัน มาท�ำเป็นตุก๊ ตาแสนน่ารัก น่ากอดทีเ่ ราหลงรักตัง้ แต่แรกพบเลย ค่ะ ... ขอแนะน�ำให้รู้จัก ทพญ. สุนันท์ สิงห์ทอง หรือหมอเบ็ด (ทราบว่าชื่อเต็มๆ คือเอลิซาเบท) ทันตแพทย์สาขาปริทันตวิทยา ประจ�ำโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งหมอ เบ็ดนอกจากใช้เวลาว่างที่มีอยู่อย่างเป็นประโยชน์แล้ว ยังรังสรรค์ ประดิษฐ์งานฝีมือ ตุ๊กตาถักไหมพรม ตกแต่งหน้าตาถ่ายทอดภาพ ฝันแห่งจินตนาการ ที่มีอยู่ออกมาได้อย่างน่ารัก สวยงาม และมี เอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งเราจะมาสัมภาษณ์ถึงแรงบันดาลใจที่ท�ำให้ หมอเบ็ดสนใจในงานประดิษฐ์ตุ๊กตาถักไหมพรมแสนน่ารักน่ากอด นี้ค่ะ

อะไรที่ท�ำให้สนใจในงานฝีมือถักตุ๊กตาคะ

ช่วงประมาณ 3-4ปีก่อนก็น่าจะใช่นะคะคือ เริ่มจากกิจกรรม ถักหมวกถวายพระ จากนั้นก็มีรุ่นน้องซื้อ หนังสือมาหัดถักตุ๊กตาไหมพรม ก็เลย ลองหัดถักบ้าง โดยเริ่มจากถักแจก ถักเล่นบ้าง เชือ่ ไหมคะว่าหัดถักจน หมดทุกแบบทีม่ อี ยูใ่ นหนังสือ ก็เลย เปลี่ยนมาถักตาม character ของ คนทีจ่ ะให้แทน คือถักเป็นของขวัญ... ดังนั้น ตุ๊กตาที่ออกมาในแต่ละแบบ ก็จะเป็นไปตามบุคลิกของคนที่จะให้ ค่ะ ซึ่งก็จะไม่ซ�้ำตามแบบแค่ ในหนังสือ.. (โอ้โห!! ตุ๊กตา แบบที่คิดเองประดิษฐ์เอง แบบนี้ก็ไม่เหมือนใคร เลยนะคะเนี่ย!!!)

อยากให้คุณหมอเบ็ด ช่วยเล่าจุดเริ่มต้นหัดท�ำอย่างไร เรียนที่ ไหนคะ

จริงๆ แล้วจุดเริ่มต้นที่ท�ำให้หัดถักตุ๊กตาไหมพรม น่าจะเริ่ม ตั้งแต่สมัยเด็ก เรียนอยู่ชั้นประถม น่าจะซักประถมปีที่ 4 ได้มั้งคะ จากการที่เห็นคุณแม่ถักผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมโต๊ะด้วย ไหมพรม เลยอยากลองหัดถักดูบ้าง หัดถักอยู่ประมาณ 1 ปี แล้ว ก็เลิกไม่ได้ทำ� จริงจัง แล้วเริม่ กลับมาท�ำจริงจังอีกครัง้ เมือ่ ประมาณ 3-4 ปีทแี่ ล้ว ทีไ่ ด้เริม่ กลับมาถักหมวกไหมพรม ซึง่ ก็ไม่ได้เรียนรูอ้ ะไร มาก แค่อาศัยจากความรู้เดิมที่เคยท�ำมาก่อนนั่นแหละค่ะ

งาน แต่ละชิ้นมี pattern หรือ ออกแบบอย่างไรคะ

งานแต่ละชิ้นที่ท�ำขึ้นไม่ได้มี pattern ตายตัว ตุ๊กตาที่ท�ำขึ้น แต่ละตัวก็จะไม่คอ่ ยซ�ำ้ กัน บางครัง้ ดูจากแบบในหนังสือทัง้ ของไทย และแบบหนังสือถักตุ๊กตาไหมพรมจาก ต่างประเทศบ้าง แต่ระยะ หลังถักตามแบบในหนังสือจนหมดเกือบทุกแบบแล้ว เลยหันมาท�ำ ตุ๊กตาตาม character ของคนที่หมอจะให้แทน แบบใช้จินตนาการ ค่ะ ท�ำให้ pattern ในการถักตุก๊ ตาไหมพรมหลากหลายมากขึน้ และ ก็มีอะไรให้ได้คิดเพิ่มขึ้นมีลูกเล่นในการท�ำเพื่อจะให้ออกมาตาม character ของตุ๊กตาชิ้นนั้นๆ ท�ำให้ผลงานที่ออกมาแต่ละแบบดู น่าสนใจ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น เจ้าชายน้อย Snoopy & friends กระต่ายน้อย เจ้าหญิง ฯลฯ

อุปกรณ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง ซื้อจากที่ไหนคะ

อุปกรณ์สว่ นใหญ่ที่หมอใช้ในการถักตุ๊กตาไหมพรม ก็จะมีเข็ม

64 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 56-76.indd 64

10/24/56 BE 8:55 PM


อยากแนะน�ำคนรุ่นใหม่ที่สนใจอย่างไรบ้างคะ

ส่วนตัวคิดว่าการฝึกท�ำงานตุ๊กตาถักไหมพรม เป็นอะไรที่ช่วย ฝึกเรื่องสมาธินะคะ เพราะในการท�ำต้องอาศัยความตั้งใจ ความ อดทน แล้วผลงานที่ออกมาก็จะท�ำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจ ฝึกการ ท�ำจิตใจให้สงบด้วย ซึง่ งานตุก๊ ตาถักด้วยไหมพรมนี้ สามารถเรียน รูแ้ ละฝึกฝนได้ถงึ แม้วา่ น้องๆ หรือเพือ่ นๆ ทีส่ นใจจะไม่มพี นื้ ฐานของ การถักไหมพรมมาก่อน แต่อาจจะต้องใช้เวลาเวลานานสักหน่อย แต่ว่าจะได้งานซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ�้ำแบบใคร แถมไม่ต้องลงทุน เยอะ ถ้าเกิดจะท�ำเป็นธุรกิจ ก็ทราบมาว่าราคาขายค่อนข้างสูงนะ คะ น่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับคนทีส่ นใจได้เป็นอย่างดี อย่าง ส่วนตัวเอง ตอนแรกๆ ทีเ่ ริม่ หัดถักไหมพรมกับคุณแม่ รูส้ กึ ว่ามันเชย ไม่น่าสนใจ แต่พอได้เปลี่ยนมาถักเป็นตุ๊กตาไหมพรม ที่ท�ำมาจาก จินตนาการของเรา ท�ำให้รู้สึกว่าสนุก มองดูผลงานที่ออกมาแต่ละ ชิ้นด้วยความชื่นชมและภาคภูมิใจค่ะ

ถักโครเชต์ ด้ายไหมพรม สีแล้วแต่ชอบนะคะ ซึ่งถ้าคนที่สนใจจะ เริ่มหัดถัก จะไม่ยุ่งยาก เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ในการท�ำตุ๊กตามีน้อย ชิ้น หาซื้อง่าย สามารถหาซื้อได้ตามร้านที่ขายอุปกรณ์การถักไหม พรมทั่วๆ ไป โดยเฉพาะในปัจจุบันมีคนสนใจท�ำงานประดิษฐ์ด้วย ด้ายไหมพรมค่อนข้างเยอะ จึงท�ำให้หาซื้อได้ง่ายมากขึ้นค่ะ

ผลงานท�ำให้ใครบ้าง เก็บสะสม หรือมอบให้ใครบ้างคะ

ผลงานส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้เก็บสะสมมากนักนะคะ จะท�ำให้ เพื่อนสนิท น้องๆ ตามเทศกาลงานต่างๆ ของขวัญวันเกิด งาน แต่งงาน โอกาสพิเศษต่างๆ ซึง่ แต่ละชิน้ งานอย่างทีบ่ อกไปเบือ้ งต้น นะคะ คือจะเลือกท�ำตาม character ของคนที่จะมอบให้แบบเห็น ปุ๊บรู้ปั๊บว่าใครจะเป็นผู้รับ.. แบบน่ารักจากใจจริงๆ.. หาซื้อที่ไหนก็ ไม่ได้นะเนี่ย!!! แต่ผลงานที่เก็บสะสมไว้ก็จะมี ตุ๊กตา “เจ้าชายน้อย” คือแบบว่าชอบมากกกกกค่ะ....ท�ำมากถึง 10 ตัวเลยนะคะ แจก บ้างเก็บสะสมไว้บ้างน่าจะเหลืออยู่ประมาณ 2 ตัวได้มั้งคะ.. (อยากได้มั่งค่ะ)

ชิ้นไหนหวงที่สุด ชอบสุด ท�ำนานสุด ใช้เวลานานเท่าไรคะ

ก่อนอืน่ ต้องขอบอกก่อนเลยนะคะ ว่าไม่มชี นิ้ ไหนหวงเป็นพิเศษ เพราะ”หวงและก็หลงรัก” งาน”ทุกชิ้น”ที่ท�ำขึ้น เรียกง่าย ๆ ว่าชอบ ทุกชิ้นเลยก็ได้ค่ะ แต่ถ้าจะถามว่าชิ้นไหนท�ำนานที่สุด ก็คงจะเป็น ตุ๊กตา ชื่อว่า “หน่อวา” เป็นตุ๊กตาชาวเขา ...ท�ำเลียนแบบมาจาก การ์ตูน จุดที่ยากที่สุดคงจะเป็นการท�ำตรงส่วนที่เป็นตา เพราะ ต้อง แก้ตงั้ หลายรอบ กว่าจะออกมาสวยถูกใจ ใช้เวลาในการท�ำประมาณ 2 อาทิตย์ เห็นจะได้ค่ะ

เพื่อน ทันตแพทย์ สนใจขอเรียนบ้างได้ไหมคะ จะเปิด โรงเรียนสอนหรือเปล่าเอ่ย

ถ้าเกิดเพื่อนๆ ทันตแพทย์สนใจ ก็ขอแนะน�ำนะคะว่าให้เริ่ม จากการซื้อหนังสือฝึกหัดท�ำตุ๊กตาถักไหมพรมมาเริ่มท�ำก่อนค่ะ เริ่มจากแบบตุ๊กตาง่ายๆ เช่น ตุ๊กตาหมี รูปสัตว์ต่างๆ ก่อน เพราะ ว่ารายละเอียดในหนังสือค่อนข้างละเอียด สามารถอ่านและหัดท�ำ ด้วยตนเองได้กอ่ น แต่ถา้ ติดขัดหรือไม่ได้จริง ๆ สามารถสอบถามได้ นะคะ ยินดีให้ค�ำแนะน�ำ ส่วนเรื่องจะเปิดโรงเรียนสอนท�ำตุ๊กตาถัก ไหมพรมคงไม่เปิดแน่นอนค่ะ

ข่าวว่าจะเปิดร้านหนังสือ+ของกระจุกกระจิกหรือคะ

ค่ะ.. (ยิม้ กว้าง)..มีโครงการนะคะ สนใจจะเปิดร้านหนังสือ และ ก็ของกระจุกกระจิกน่ารัก ๆ อาจจะน�ำตุก๊ ตาถักไหมพรมไปตกแต่งที่ ร้านด้วยนะคะ แต่คิดว่าคงจะไม่ท�ำขายแน่นอนค่ะ เพราะคงรู้สึก เสียดาย แต่ยังไงก็ยินดีและเต็มใจให้ค�ำแนะน�ำ และแลกเปลี่ยน ไอเดียใหม่ๆ ค่ะ และนีก้ ค็ งเป็นอีกมุมสบายๆ ของคุณหมอเบ็ด ซึง่ นอกจาก งานดูแลฟันสวยและเหงือกดีให้กับคนไข้แล้ว ก็ยังมีมุมงาน อดิเรกทีส่ ดุ แสนจะน่าสนใจ แล้วเพือ่ นๆ ละคะ...มีมมุ พักผ่อน ที่น่าสนใจกันบ้างแล้วหรือยัง?? THAI DENTAL MAGAZINE • 65

AW TDM 56-76.indd 65

10/24/56 BE 8:55 PM


AD

66 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 56-76.indd 66

10/24/56 BE 8:55 PM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 67

AW TDM 56-76.indd 67

10/24/56 BE 8:55 PM


• dental away

Sweet Summer

In Switzerland ตอน

ตามรอยคุณชายปวรลิต

ขอเกาะกระแสละครคุณชายตามรอยไปเที่ยวสวิส อันที่จริงจะกล่าวว่าพวกเราเลียนแบบคุณชาย ก็ไม่เชิง เพราะเราเตรียมการก่อนละคร จะออนแอร์ตั้งหลายเดือน ขืนเตรียมการหลัง กระแสคุณชายคงไม่ทัน เริ่มจากได้ตั๋วเครื่องบิน สายการบินสวิสแอร์ในราคาที่โดนใจ อันที่จริงสายการบินไทยก็บินตรงไปสู่สวิส หลายเมืองท่านสามารถเลือกได้เช่นกัน

เรื่อง ทพ. ชวลิต กาญจนโอภาสวงศ์

การท่องเที่ยวเกิดจากเหตุบังเอิญ ประมาณว่าไปเดินเล่นในงาน ประเภทท่องเทีย่ วไทยทีช่ อบจัดทีศ่ นู ย์ประชุมต่างๆ ไปส�ำรวจตลาด เห็น โปรโมชั่นของสายการบินสวิสแอร์ สอบถามได้ราคาที่พอรับได้ เดินผ่าน ไป 5 วินาทีเดินกลับมาจองเลย หลังจากนั้นโทรหาพรรคพวก ให้เวลา คิด 1 คืน ใครโอเคพร้อม โอนเงิน งานนี้ไม่มีค�ำว่ารอหรือรีรอ ต้องตัดสิน ใจเด็ดขาด ผีเข้าผีออกก็ไม่รบั พรุง่ นีย้ อ้ นกลับมาจ่ายเงิน ได้ตวั๋ E-Ticket มากอดให้อนุ่ ใจว่าฉันได้ไปสวิสแน่แล้ว แต่ยังก่อนต้องขอวีซ่าให้ได้กอ่ น มีเวลาประมาณ 3 เดือน เพื่อการวางแผนการเดินทาง การจองโรงแรม และการขอวีซ่า ที่ได้ชื่อว่ามหาโหด การขอวีซ่าเข้าประเทศสวิส ได้ชื่อว่าโหด ต้องเตรียมเอกสารข้อมูล ให้ครบ ใบตอบรับการจองโรงแรมทุกแห่งตามแผนการเดินทาง และต้อง มีรายชื่อของผู้ขอวีซ่าทุกคนปรากฏในเอกสารการจองโรงแรม รูปถ่ายก็ ต้องแป๊ะ อย่าลักไก่เอารูปเก่าเมี่อชาติท่ีแล้วไปยื่น มีหวังต้องโดนไล่ ให้ไปถ่ายใหม่ เสียทั้งเงินทั้งเวลา ราคาแพงด้วย บังเอิญผู้เขียนมีวีซ่า เซนเกนอยูแ่ ล้วไม่ตอ้ งขอ สบายไปได้แต่รอฟังข่าวและหัวเราะอยูท่ ที่ ำ� งาน ได้ข่าวว่าใช้เวลาทั้งวัน สุดท้ายหลังยื่นไปแล้ว สรุปด้วยค�ำพูดของผู้ไป ขอว่า “เราทั้งแก่ทั้งรวยและขี้เหร่ ไม่ให้เรา ก็โง่แล้ว” เรื่องวีซ่าถ้าใครมี schengen visa อยู่แล้วไม่ต้องขอสามารถใช้ได้เลย

68 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 56-76.indd 68

10/24/56 BE 8:55 PM


หลายคนคงเคยมาเที่ยวที่สวิสดินแดนยอดนิยมของนักท่องเที่ยว ไทย อาจเคยมากับทัวร์หรือทัวร์หลายประเทศในยุโรป ประเภท ห้าวัน หกประเทศ โปรแกรมทัวร์สว่ นใหญ่จะแวะเมืองลูเซิรน์ และยอดเขาทิสลิส ซึ่งเป็นเมืองที่สวยและประทับใจ แต่จะไม่ขอกล่าวถึง เราต้องการเจาะ ลึกสวิสภูเขาเมืองแปลกๆ ที่ทัวร์ไม่ค่อยพาไป โดยใช้สวิสพาสเป็นหลัก ในการเดินทาง เพราะการท่องเทีย่ วของสวิสเป็นรายได้หลักของประเทศ ดังนัน้ การเดินทางด้วยรถไฟนัน้ เอือ้ อ�ำนวยต่อการท่องเทีย่ วอย่างมาก อีก ทั้งระบบการฝากกระเป๋า การส่งกระเป๋าเดินทางทุกอย่างเป็นสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกแก่นกั ท่องเทีย่ วเป็นอันมาก สามารถเดินทางไปเทีย่ วได้ดว้ ย ตนเองอย่างสบายใจ ถ้ามีการวางแผนมาดี สามารถเที่ยวแบบไม่ต้อง จ่ายเงินแพงมาก แต่อย่างว่าถ้าประหยัดจนเกินไปแทนที่การท่องเที่ยว จะเป็นการพักผ่อน กลับจะเป็นความเครียด เทีย่ วให้สบายสไตล์คณ ุ ชาย สายลม แสงแดด เมฆหมอกและขุนเขา แต่ไม่เอาฝน ดวงเป็นสิง่ ส�ำคัญ ในการเที่ยวสวิส ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ บ้างคนไปชมยอด Matterhorn 3 ครั้ง ยังไม่เห็นยอดเขาแบบใสๆ เลย พวกเราไปครัง้ แรกเห็นใสแจ๋ว จนคนถาม ว่าถ่ายกับ wallpaper เหรอ เดินทางโดยสายการบินสวิสแอร์ (โฆษณาให้ฟรีๆ) สามารถใช้บริการ ส่งกระเป๋าแบบ Fly Rail (ต้องเสียเงินเพิ่ม) มีประโยชน์ใช้ส่งกระเป๋าเดิน ทางใบโต โดยกระเป๋าใหญ่จะถูกส่งไปยังสถานีรถไฟปลายทางที่เราระบุ หมายความว่าเมื่อเดินทางถึงประเทศสวิส ท่านไม่ต้องมารอรับกระเป๋า

หมดห่วงว่าต้องลากกระเป๋าไปโรงแรมหรือต้องมาเสียเวลาในการส่ง กระเป๋าที่สถานีรถไฟได้เลย สามารถเดินทางไปเที่ยวต่อได้ แล้วไปรับ กระเป๋าที่ปลายทางสถานีรถไฟที่ระบุได้เลย ตัวอย่างเช่น พวกเราเดิน ทางจากกรุงเทพฯ ไปลงซูรกิ ใช้บริการส่งกระเป๋าไปทีเ่ มืองเซอร์แมต โดย พวกเราจัดกระเป๋าเล็กจัดเสือ้ ผ้า 2 ชุด (โดยไม่ตอ้ งโหลดลงเครือ่ ง ถือขึน้ เครื่อง) เมื่อเดินทางถึงซูริก ไม่ต้องรอกระเป๋าใหญ่ ออกเดินทางไปเที่ยว เมือง St. Gallen Appenzell แล้วเดินทางต่อไปนอนพักที่ St. Morritz 2 คืน (ระหว่างทางสามารถฝากกระเป๋าที่ตู้ที่สถานีรถไฟได้) St. Moritz เป็นเมืองสกีรสี อร์ต ทีม่ ชี อื่ เสียงหรูหราระดับโลก ใจกลาง เมืองเต็มไปด้วยร้านค้าหรูหรา ที่มีชื่อแบรนด์เนมระดับโลก ทั้งเสื้อผ้า นาฬิกา กระเป๋า ลักษณะเมืองตัง้ อยูบ่ นเนินเขา ด้านล่างมีทะเลสาบเป็น แหล่งน�้ำและพักผ่อนของชาวเมือง สวยสงบดีที่เดียว ภูเขารอบข้างยอด เขามีหมิ ะปกคลุมเป็นจุดส�ำหรับเล่นสกี ในฤดูหนาวเมืองนีจ้ ะหนาแน่นไป ด้วยนักสกีระดับโลก ยามที่เราไปไม่ใช่หน้าหนาว บรรยากาศดูจะเงียบๆ เหงาๆ แต่พวกเรายังได้รับการต้อนรับด้วยหิมะหลงฤดูที่โปรยปรายใน ยามกลางคืนและยามเช้า แต่พอสายหน่อยหิมะก็ละลายหายไป ด้วย เหตุที่เมืองนี้เป็นต้นทางของรถไฟสายมรดกโลกสาย Glacier Express พวกเราต้องการนั่งรถไฟสายนี้แบบเต็มๆ เส้นทาง (ส่วนมากทัวร์จะพา นั่งแค่บางส่วนของเส้นทาง ส่วนใหญ่เริ่มที่เมือง CHUR) และที่ส�ำคัญ ต้องเลือกนั่งรถไฟขบวนสายไฮโซ แบบหลังคาเปิดโล่ง ต้องจองที่นั่งล่วง THAI DENTAL MAGAZINE • 69

AW TDM 56-76.indd 69

10/24/56 BE 8:55 PM


70 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 56-76.indd 70

10/24/56 BE 8:56 PM


หน้า และเพือ่ เป็นทีส่ ดุ ๆ ก็ตอ้ งกินอาหารกลางวันบนรถไฟขบวนหรูนดี้ ว้ ย อาหารกลางวันต้องจองล่วงหน้า ไม่ใช่ไปตัดสินใจซื้อบนขบวนรถแบบ ข้าวแกงนะครับ ทั้งการจองที่นั่งและอาหารกลางวันต้องจ่ายเงินเพิ่มถึง แม้นจะมีSWISS PASSอยูแ่ ล้ว หากอยากประหยัด สามารถเลือกขบวน รถธรรมดาได้ ไม่เสียเงินเพิ่ม เส้นทางก็เหมือนกันเลย Glacier Express เริม่ ต้นทีเ่ มือง ST. MORITZ วิง่ ไปสุดทางทีเ่ มือง ZERMATT ใช้เวลาทั้งหมด 7 ชั่วโมงครึ่ง ผ่านเมือง CHUR (คูร์) เมือง DISENTIS เมือง ANDERMAT เมือง VISP มาสุดทางทีเ่ มือง ZERMATT เมืองอันเป็นที่ตั้งของยอดเขา MATTERHORN อันเลื่องชื่อ เส้นทางยอด นิยม ข้ามสะพาน 291 แห่ง ลอดอุโมงค์ 91 แห่ง และข้ามช่องเขาที่สูง กว่า 2000 เมตร ถ้าท่านมีเวลาเหลือนับเป็นเส้นทางที่น่านัง่ ชื่นชมความ งามสองข้างทาง และร่วมชื่นชมความมานะ อุตสาหะของมนุษย์ในการ สร้างรถไฟในภูเขาสูงชันสายนี้ จากเมือง St. Moritz พวกเรานัง่ รถไฟสาย Bernina Express เดินทางลงใต้ไปยังพรมแดนอิตาลี ถึงเมือง Tirano เมือง มรดกโลกอีกแห่งของอิตาลี ที่มีวิถีชีวิตไปอีกแบบ บ้านเรือนแปลกตาขึ้น ชมโบสถ์เก่าแก่ ชิมพิซซ่าทีเ่ มืองนี้อร่อยดี ท�ำแบบสดๆ ด้วยวัตถุดบิ แบบ ธรรมชาติสดๆ กรรมวิธีการท�ำแบบโบราณ แต่ให้รสอร่อยเด็ด เดินเล่น ชิลๆ ใช้เวลา1 วัน นอกจากนี้ยังมีเมือง Davos เมืองตากอากาศและเมืองการประชุม ระดับชาติ แต่ที่ประทับใจมาก คือ วิศกรรมรถไฟในการสร้างทางรถไฟ ไต่เขา ไต่ระดับความสูงไปเรื่อยๆ เพลิดเพลินกับวิวข้างทาง ลอดอุโมงค์ ทะลุทะลวงภูเขาเป็นว่าเล่น ออกแบบทางรถไฟเพื่อการลดความเร็วใน การลงเขาหรือค่อยเพิ่มทดความเร็วหรือก�ำลังขึ้นเขา บางเส้นทางราง รถไฟขดวิง่ เป็นก้นหอย สวยงามน่ามองและมีประโยชน์สงู นับเป็นความ ชาญฉลาด ZERMATT เมืองทีต่ งั้ ของยอดเขา MATTERHORN สัญลักษณ์ของส วิส ยอดเขาทีส่ วยทีส่ ดุ ยอดเขาหนึง่ อย่างทีเ่ รียนไว้แล้วแต่ตน้ ว่า การเดิน ทางบางทีต้องอาศัยดวงเป็นองค์ประกอบ เพราะบางคนมาสองสามหน ยังไม่เคยเห็นยอดเขาแบบใสๆ เลย ปรากฏว่าเจ้าหญิงขี้อายไม่ยอมเผย โฉมมาให้เห็น พวกเราไปถึง ZERMATT เวลาเย็นแล้ว รีบไปรับกระเป๋า แยกชุดเสื้อผ้าไว้อีกสองชุด เอาของเก่าใส่กลับกระเป๋าใหญ่ เรียบร้อยส่ง กระเป๋าใหญ่ไปเมืองทีพ่ วกเราจะเดินทางไปพักต่อไปเลย บอกแล้วขีเ้ กียจ ลากกระเป๋าใหญ่ เพราะพวกเราก็ป้าๆ ลุงๆ กันแล้ว เป็นอันว่าคิดถูกที่ส่ง กระเป๋าใหญ่เอากระเป๋าเล็กมา เพราะถึงที่พักที่จองไว้ไม่ไกลจากสถานี รถไฟมากนัก แต่ต้องเดินขึ้นเนินสูงชัน ยังเหนื่อยเล็กๆ ถ้าลากกระเป๋า ใหญ่มาด้วย คงเหนื่อยแบบดูไม่จืด บางท่านอาจคิดในใจท�ำไมไม่จอง โรงแรมใกล้สถานีรถไฟ ด้วยโรงแรมที่ใกล้สถานีจะเป็นแบบโรงแรม แบบมีดาวจึงค่อนข้างแพง พวกเราต้องการประหยัดเอาไปกินไอศกรีม เล่นเลยยอมล�ำบากเลือกที่พักไกลไปอีกหน่อย เงียบดีห้องพักก็สะอาดดี มากๆ ลองเอาโปรแกรมทัวร์มาเรียงดู จะมีน้อยมากที่มาพักที่ เซอร์แมต

AW TDM 56-76.indd 71

สาเหตุเพราะค่าโรงแรมทีน่ จี่ ะแพงกว่าทีอ่ นื่ ดังนัน้ บริษทั ทัวร์มกั เลือกพัก ทีโ่ รงแรมทีเ่ มืองข้างเคียงแล้วเลือกเดินทางมาเทีย่ ว ดังนัน้ ถ้ามากลับทัวร์ โอกาสที่จะเห็นยอดแมทเทอร์ฮอร์นยิ่งน้อยไปใหญ่ ดังนั้นแนะน�ำให้หา โอกาสมาพักที่นี่ 2 คืน เผื่อมีเวลาแก้ตัวปรับโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โอกาส เห็นยอด MATTERHORN แบบใสกระจ่างแจ่มแจ๋ว ส่วนใหญ่อยูช่ ว่ งเช้า ถ้ามาชมตอนบ่ายโอกาสที่จะพบเมฆหมอกมีสูงมาก กล่าวถึงโรงแรม ตอนแรกที่จองโรงแรม จองโรงแรมที่เมืองนี้ก่อนที่อื่นเพราะเรามาถึงวัน เสาร์ อันเป็นวันหยุดกลัวว่าโรงแรมจะเต็ม นักท่องเที่ยวจะมาก และมี ความคิดว่าที่นี่เป็นไฮไลท์ของทริป ขอจองโรงแรมแบบพิเศษมองเห็นวิว ยอด MATTERHORN 2 คืน เจ็ดหมื่นกว่าบาท กลับมาคิดใหม่ตั้งหลัก ใหม่ ขอลดเกรดเป็นยูธโฮเตล 2 คืนแค่ สองหมื่นกว่าบาท เหลือเงินค่า ไอศกรีมตั้งหลายหมื่น ใครรวยก็ไม่ต้องเอาแบบอย่างคนจนนะครับ วางแผนเที่ยวชมยอดเขา MATTERHORN ที่เมือง ZERMATT อย่างไรดี จุดชมวิวที่ควรจะเลือกไปดู ตามล�ำดับดังนี้ ตอนเช้าไปชมที่ Gornergrat เดินทางไป Schwarzsee เพือ่ ชมภาพ MATTERHORN สะท้อนในเงาน�้ำ ขึ้นเคเบิลคาร์ไป MATTERHORN GLACIER PARADISE ไปยอดเขา ROTHORN อันเป็นจุดชมวิว ยอด เขา MATTERHORN ที่สวยที่สุดจุดหนึ่ง ถ้าใครมีเวลาน้อยก็เลือกเอาแค่ หนึง่ หรือสองรายการข้างต้น บางที แค่ชมที่จุดใดจุดหนึ่งแล้วรู้สึกว่าสุดยอด เต็มอิ่ม เพอร์เฟกต์แล้ว ก็ไม่ จ�ำเป็นต้องไปดูที่อื่นๆ นอกจากต้องการถ่ายรูปในมุมที่แปลกตา เพราะ ค่าอะไรต่อมิอะไรมันแพงไม่ใช่ย่อย ไปมากที่ก็ต้องจ่ายมาก การเดิน ทางโดยรถไฟ หรือทางกระเช้าต่างๆ ต้องจ่ายเงินต่างหาก ไม่สามารถใช้ swiss pass ได้ แต่ใช้เป็นส่วนลดได้ ไม่รู้ละเวลาไปซื้อตั๋วอะไรก็ตามยื่น สวิสพาสไปด้วย ถ้ามีส่วนลดเจ้าหน้าที่ใจดีและซื่อสัตย์จะลดให้ทันที มีเวลาไปเที่ยวเมืองระหว่างทาง อาทิเช่น เมือง SAAS FEE ได้ ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งความลับ ของชาวสวิสที่เก็บไว้ชมกันเอง การเดิน ทางรถไฟไปไม่ถึง ต้องนั่งรถเมล์โพสต์บัส ค่าที่พัก อาหารถูกกว่าเมือง เซอร์แมต ยอดเขาเหนือเมือง Saas Fee คือ Mittelalallin โดยมีธาร น�้ำแข็ง Dom และ Allatin อยู่ใกล้ JUNGFRAU AREA เป็นเขตทีต่ งั้ ของยอดเขา Jungfrau (ยุง้ เฟรา) Top of Europe เป็น เขตทีน่ า่ ท่องเทีย่ วอีกเขตหนึง่ มีกจิ กรรมและแหล่งทีค่ วรไปชมหลายแห่ง ยอดเขาสวยๆ หลายแห่งไม่ควรพลาดควรมีเวลาให้กับเขตท่องเที่ยวนี้ ควรมีเวลาให้กับเขตท่องเที่ยวนี้ 3-4 วัน นอกจาก swiss pass แล้ว ควร ซื้อ Jungfraujoch Pass มาจากเมืองไทยเลย (มี swiss pass ลด 50%) ขอสรุปสถานที่ตามความส�ำคัญที่ควรไปเที่ยว ดังนี้ JUNGFRAUJOCH TOP of EUROPE โดยขึน้ จากเมือง GRINDELWALD >> KLEINE SCHEIDEGG >>กลับทางเมื ง LAUTERBRUNNER THAIอDENTAL MAGAZINE • 71

10/24/56 BE 8:56 PM


หรือขึ้นทาง LAUTERBRUNNER >> KLEINE SCHEIDEGG >>กลับทางเมือง GRINDELWALD ขึ้นยอดเขา FIRST โดยขึ้นที่เมือง GRINDELWALD ขึน้ ยอดเขา SCHILTHORN โดยขึน้ ทางเมือง LAUTERBRUNNER >> MURREN>>SCHILTHORN ชม Un panorama 360 องศา ที่ร้าน อาหาร Piz Gloria สถานที่ถ่ายหนัง เจมส์ บอนด์ ชมสวนพฤกษศาสตร์ ที่ SCHYNIGE PLATTE สวนพรรณไม้เมืองหนาวเขตอัลไพน์ (ทีส่ มเด็จ พระพีน่ างเธอได้เคยเสด็จมาทอดพระเนตร) โดยเดินทางมาขึน้ รถไฟขบวน พิเศษที่เมือง WILDERSWIL เมือง WENGEN MANNLICHEN เห็นวิว พาโนรามาของยอด EIGER, MONCH และJUNGFRAU โดยลงที่สถานี Wengen เดิน 5 นาที (รายละเอียดดู www.maennlichen.ch) การเลือกโรงแรมที่พักส�ำหรับเขตนี้ มีทางเลือกมากมาย อาทิเช่น ถ้าต้องการความสะดวกในการเดินทางติดต่อไปเมืองอื่นๆ อาจเลือกพัก ที่เมือง INTERLAKEN ถ้าต้องการเมืองเล็กที่มีวิวสวยก็ต้องเลือกเมือง GRINDELWALD หรือเมือง LAUTERBRUNNER หรือเมืองเล็กๆ อย่าง MURREN หรือ WILDERSWIL ส�ำหรับเมือง MURREN นีแ้ นะน�ำให้มาพัก อย่างน้อย หนึ่งคืน ท่านจะไม่ผิดหวังเลย จากเมืองMURREN สามารถ มองเห็นยอดเขาทั้งสามอันได้แก่ยอดเขา EIGER, MONCH และยอด เขา JUNGFRAU โดยเฉพาะถ้าได้ขนึ้ กระเช้าไปยอดเขา SCHILTHORN เคยเป็นท�ำเลถ่ายหนัง James Bond ตอน On Her Majesty’s Secret Service บนยอดเขานี้มีห้องอาหารมีชื่อว่า PIZ GLORIA สามารถเห็น ยอดเขาทั้งสามได้อย่างงดงาม แบบตื่นตาตื่นใจ เป็นตัวอย่างหมู่บ้าน สวิสแท้ที่น่ารัก สวย สงบเป็นที่สุด วิวสวยสุดๆ ระหว่างทางมีเมืองเล็กๆ ให้แวะพัก แวะดืม่ ด�ำ่ บรรยากาศ สายลม ทุง่ ดอกไม้ ในหุบเขา เมฆหมอก ลอยอ้อยอิ่ง สายฝนโปรยปราย แถมได้รับการต้อนรับด้วยสายรุ้งหลังฝน อันงดงาม นอกจากนี้ยังมีเมืองเล็กที่มีรถไฟรางเดียวขี้นจากเมืองนี้ไป เมือง ALLMENDHUBEL ท่านจะเห็นวิวยอดเขาทั้งสามเหมือนกัน แต่ เป็นแบบ ระยะใกล้ชิด ให้ความรู้สึกแบบตะลึงงันประจันหน้า เหมาะ ส�ำหรับคนชอบเดินป่า ไต่เขาน้อยๆ ยังมีแปลงเพาะปลูกดอกไม้อัลไพน์ กว่า 150 สายพันธุ์ ตามเส้นทางเดินป่า ระหว่างทางพบเมือง WINTEREGG ลองแวะพบว่าร้านอาหารตั้ง อยู่ในท�ำเลวิวที่สวยที่สุดในโลก ขนาดไม่มีความหิวเลย เห็นร้านอาหาร นี้แล้วต้องแวะ สั่งไอศกรีม กาแฟ แถมเค้ก มารับประทานกัน ทั้งเค้ก และกาแฟ อร่อยเป็นที่สุดเหมือนกัน คิดว่าจะแพง ปรากฏว่าทุกคนลง ความเห็นว่าไม่แพงอย่างทีค่ ดิ และทุกคนย�ำ้ เป็นเสียงเดียวว่าอร่อยจริงๆ ผลไม้ประเภทเบอรี่ให้มาอย่างไม่อั้น ด้วยความสดอร่อย วิวสวยจนไม่ อยากจากไปที่จุดอื่น

72 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 56-76.indd 72

10/24/56 BE 8:56 PM


โปรแกรมแบบ DIY

D1. BKK>ZURICH D2. ZURICH>ST GALLEN>APPENZELL>ST. MORITZ D3. ST. MORITZ.>>> BERNINA EXPRESS >> TIRANO> ST. MORITZ D4. ST. MORITZ>>GLACIER EXPRESS >>ZERMATT D5. MATTERHORN AREA > ZERMATT D6. ZERMATT>>INTERLAKEN D7. JUNGFRAU AREA >> INTERLAKEN D8. MURREN D9. MURREN>BERN D10. BERN>SOLOTHURN>NEUCHATEL>BERN D11. BERN>STEIN AM RHEIN>>ZURICH ( Zurich>>BKK) D12. BKK

ท่านสามารถวางแผนปรับให้เหมาะสมกับท่านได้ อยากเที่ยวเมือง ไหนเพิม่ เติม หรือพักทีเ่ ดียว 4-5 คืนเลยก็ทำ� ได้ เพราะการเดินทางสะดวก มาก ทัง้ ตรงต่อเวลา และไม่เสียเวลามาก ชมภูเขามากๆ อาจจะเอียน ลอง มาชมเมืองชมแสงสีในเมืองใหญ่ดูบ้าง ลองช็อปปิ้งสักนิดหนึ่ง การท่อง เที่ยวถ้าขาดช็อปคงขาดสีสัน แต่เอาจริงๆ อาจช็อปไม่ลง เพราะแต่ละ อย่างแพงจับใจ ขนาดน�ำ้ ดืม่ พวกเรายังประหยัดเตรียมขวดกรอกน�ำ้ เปล่า แล้วกรอกน�้ำพุฟรีๆ มาดื่มกิน ยากจนจังเลย แต่ขอบอกไม่มีใครท้องเสีย เลย รสอร่อยดีกว่าที่ขายๆ กันอีกขอบอก การเดินทางท่องเที่ยวในสวิส ต้องมีความยืดหยุ่น ตามสภาวะ อากาศ ถ้าอากาศไม่ดีก็เที่ยวตามเมือง อากาศดีใสๆ รีบขึ้นยอดเขาเลย ต้องติดตามพยากรณ์อากาศวันต่อวัน เพื่อการปรับแผนการท่องเที่ยว ให้สมบูรณ์ที่สุด ฝันว่าถ้าไปสวิสอีกครั้ง อยากไปแบบ Wanden Hiking ตามเส้นทาง อาทิเช่น Schynige Platte >Faulhorn> First (6:10 h ) หรือ Panoramaweg schynige Platte (2:30 h) รอบ Alpengarten หรือจาก Mannlichen>Kleine Scheidegg (1:20h) เป็นต้น โดยเฉพาะ สวนพฤกษศาสตร์อลั ไพน์ทตี่ งั้ ใจจะมาดู แต่เนือ่ งด้วยอากาศปีนมี้ ชี ว่ งฤดู หนาวนานเหลือเกิน อากาศร้อนมาช้า ดอกไม้ดอกไร่เลยเพีย้ นไปหมด ใน ช่วงทีเ่ ดินทางไปถึงสวนนีเ้ ลยยังไม่เปิดก็อย่างทีก่ ล่าวไว้แล้ว การท่องเทีย่ ว ต้องอาศัยดวงเป็นองค์ประกอบ กรณีนี้ถือว่าพลาดไป ไม่เป็นไร โอกาส หน้าไปใหม่ อากาศปีนี้หนาวนานจริงๆ จนชาวสวิสเอยปากกันเป็นเสียง เดียวว่า “ You come with the summer.” พวกคุณน�ำฤดูร้อนมาด้วย สวิสเพิ่งมีแดดในช่วงสองสามวันนี้เอง ก่อนหน้านี้มีแต่ฝนและลมหนาว ไม่มแี สงแดดเลย แสดงว่าพวกเรายังพอมีโชคกับการเดินทาง ไม่อย่างนัน้ ก็คงไม่สามารถถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ สวยๆ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาให้ท่านผู้อ่านชมว่าประเทศสวิสนี้สวยอย่างไร ……….... SWEET SUMMER IN SWISS……………

AW TDM 56-76.indd 73

THAI DENTAL MAGAZINE • 73

10/24/56 BE 8:56 PM


AD

74 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 56-76.indd 74

10/24/56 BE 8:56 PM


AD

THAI DENTAL MAGAZINE • 75

AW TDM 56-76.indd 75

10/24/56 BE 8:56 PM


ดื่มด�่ำความเดิม เรื่อง นายท้ายมล

ไม่ทราบว่า แต่ ง ค น ค ๆ าย ล ่ ห ม ทันตแพทย์น้องให าวทันตฯมหิดล เคยเรียนอยู่ที่ าช เดิมพวกรุ่นพี่ๆ เร าสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ศ ๑ คณะทันตแพทย นกระทั่งวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๑ จ ถนนอังรีดูนังต์ าจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ ีก ได้มีพระราชกฤษฎ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ะ คณะที่ ๒ ขึ้น แล ิดล เป็นนามของมหาวิทยาลัย ห ์ พระราชทานนามม ม ๒๕๑๒ และมีท่าน ศาสตราจารย เมื่อ วันที่ ๒ มีนาค ุกตะนันทน์ เป็นคณบดีคนแรก ย ทันตแพทย์อิศระ

ท่านคณบดี ศาสตราจารย์ทันตแพทย์อิศระ ยุกตะนันทน์ (คนนั่งกลางภาพ ผูกหูกระต่าย) และคณาจารย์ ทางซ้ายมือ ของท่านคณบดี คือ อ.ทพ. โกเมศ สัมฤทธิเวช (แถวนั่ง) ในงานเลี้ยงมุทิตาจิต ศาสตราจารย์ทันตแพทย์สี สิริสิงห ที่ คณะทันตแพทยศาสตร์ ปทุมวัน พ.ศ.๒๕๑๒ ส่วนแถวยืนด้าน หลังใครเป็นใครดูกันเอง ที่แน่ๆ มีนทพ. สินีพรรณ กระสิณ และนทพ.กอบสุข ธีระบุตร อยู่ตรงกลางภาพ

งานรับน้องใหม่ ๒๕๐๙ ในภาพน้องๆ อาจจะจ�ำคนที่สวมแว่นด�ำได้นะครับ นทพ.เบญจพจน์ ยศเนืองนิตย์ ส่วนที่ยืนถัดมาด้านหน้าคือ น้องสุดท้อง นทพ.จีรศักดิ์ นพคุณ

76 • THAI DENTAL MAGAZINE

AW TDM 56-76.indd 76

10/24/56 BE 8:56 PM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.