Full report wrg 2015

Page 1

รายงาน โครงการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ World Robot Games ๒๐๑๕

ระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

สานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


คานา ตามที่สานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้ขออนุมัติเดินทางไปขออนุญาตให้ข้าราชการ นักเรียน และผู้ เกี่ ยวข้ องเดิ นทางไปร่ วมการแข่ งขั นหุ่ นยนต์ World Robot Games ๒๐๑๕ ระหว่ างวั นที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นั้น บัดนี้ การแข่งขันหุ่นยนต์ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว สานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้สรุปรายงานผล การศึกษาดูงาน เพื่อประโยชน์ในการสรุปผลและเผยแพร่กิจกรรมการดาเนินโครงการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ให้ ค รู นั ก เรี ย นที่ ส นใจ ได้ เรี ย นรู้ แ ละไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ก ารพั ฒ นากิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ และเทคโนโลยีด้วยหุ่นยนต์ต่อไป กลุ่มโครงการพิเศษ สานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘


สารบัญ หน้า ส่วนที่ ๑ บทนา และข้อมูลทั่วไป ความเป็นมา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ผลการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ส่วนที่ ๒ ประโยชน์ที่ได้รับ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แบบบันทึกประสบการณ์ ภาคผนวก ประมวลภาพกิจกรรม

๑ ๒

๓ ๑๑


ส่วนที่ ๑ บทนาและข้อมูลทั่วไป ตามที่สานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้ขออนุมัติเดินทางไปขออนุญาตให้ข้าราชการ นักเรียน และผู้ เกี่ ยวข้ องเดิ นทางไปร่ วมการแข่ งขั นหุ่ นยนต์ World Robot Games ๒๐๑๕ ระหว่ างวั นที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นั้น บัดนี้ การแข่งขันหุ่นยนต์ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว สานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้สรุปรายงานผล การศึกษาดูงาน ดังนี้ ความเป็นมา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็น พื้นฐานที่ ส าคัญ ที่สุ ดต่อการพั ฒ นาประเทศให้ เจริญ ก้าวหน้ า ในทุก ๆ ด้าน เช่น การศึกษา เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม เป็นต้น ประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ ความสาคัญต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งปลูกฝังให้ประชากรของชาติ เห็น ความสาคัญและมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนับตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งบุคลากรที่มีส่วนสาคัญในการ พัฒนาเยาวชนของชาติให้มีความใฝ่รู้ก็คือครูผู้สอนซึ่งต้องมีการพัฒนา ฝึกทักษะความคิดริเริ่มเพื่อนาไปต่อยอด ให้กับเยาวชนของชาติได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาเห็นว่า กิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สนับสนุนส่งเสริมและกระตุ้นให้ครูและนักเรียนได้ฝึกการใช้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลต่อชีวิตประจาวันได้เป็นอย่างดี โดยนักเรียนได้พัฒนา ศักยภาพของตนเองค้นพบวิธีแก้ปัญหาจากการคิดเอง ทาเองและแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะ (Coaching) และรู้จักตัวตนของตนเองได้มากยิ่งขึ้น ผ่านเกมการแข่งขันและจาลองสถานการณ์ สานักพัฒนา นวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ดาเนินการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้ง ที่ ๖๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี นั้น โดยมีโรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศในรายการแข่งขันหุ่นยนต์จานวน ๔ รายการ และคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้า แข่งขันหุ่นยนต์ World Robot Games ๒๐๑๕ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อเป็นเวทีที่เปิดโอกาส ให้นั กเรียนได้แสดงความสามารถในการสร้างสรรค์หุ่ นยนต์ นาไปแก้ปัญ หาตามโจทย์ห รือสถานการณ์ ตาม บทบาทสมมุติที่ตั้งขึ้น ซึ่งนั กเรีย นจะสามารถเชื่อมโยงความรู้ในสาระวิช าต่างๆ มาใช้ในการออกแบบวาง แผนการท างานของหุ่ น ยนต์ โดยใช้อุ ป กรณ์ เครื่อ งมื อ ที่ มี ได้ อ ย่างหลากหลาย และส่ งเสริม การใช้ ทั ก ษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผ ลงาน แก้ปัญ หาและนามาใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจาวันต่อไป รายการแข่ งขัน หุ่ น ยนต์ World Robot Games ก่ อ ตั้ งขึ้ น จากกลุ่ ม ประเทศภาคี ร่ว มก่ อตั้ ง ๔ ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ไทย และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ อจั ด กิจ กรรมการแข่งขัน หุ่ น ยนต์ ที่ ไม่ได้มุ่ งหมายเพี ยงการส่ งเสริมการเรียนรู้แ ละฝึ ก ฝน วิท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพียงเท่านั้น และยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ จากทุก ประเทศไม่จากัดอายุ ให้ มีโอกาสเรีย นรู้จ ากหุ่ นยนต์ ร่วมกันอย่างสนุกสนาน ผู้ เข้าร่วมแข่งขันประกอบด้ว ย นักเรียน ครู โคช นักวิจัย และพ่อแม่ ผู้ปกครอง ทั่วโลก ซึ่งในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ นี้ หัวข้อหลักของการแข่งขัน คือการรักษาสิ่งแวดล้อม ภายใต้หัวข้อ “Save Our Rivers” ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลกรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐ


อินโดนีเซียให้ความสาคัญ รายการแข่งขันจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑-๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ ศูนย์การค้ามอลล์ออฟ อินโดนีเซีย (Mall of Indonesia) กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อส่งเสริมครูและนักเรียนในการพัฒนาทักษะความคิดริเริ่มในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใน การพัฒนาและควบคุมหุ่นยนต์ ๒. เพื่ อ ให้ ครู และนั ก เรี ย นที่มี ความสนใจทางด้านวิท ยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยีได้มี โอกาสเข้าร่ว ม กิจกรรมการอบรมและแข่งขันหุ่นยนต์ และเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ในระดับนานาชาติ ๓ . เพื่ อคั ด เลื อก โรงเรี ย น ตั วแท น จ าน วน ๔ ที ม ไป ร่ ว ม แข่ ง ขั น หุ่ น ยน ต์ World Robot Games ๒๐๑๕ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป้าหมาย โรงเรีย นตั วแทนจ านวน ๔ ที มซึ่งได้ รับ รางวัล ชนะเลิ ศในงานแข่งขัน หุ่ น ยนต์ งานศิล ปหั ตถกรรม นั ก เรี ย นระดั บ ชาติ ครั้ งที่ ๖๔ ปี การศึก ษา ๒๕๕๗ ไปร่ว มแข่ งขั น หุ่ น ยนต์ World Robot Games ๒๐๑๕ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย คณะศึ ก ษาดู งานประกอบด้ ว ยหั ว หน้ าคณะจากส านั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอุดมศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะครูและนักเรียน ดังนี้ ๑. นางพนิดา วิชัยดิษฐ ผู้แทน สพฐ. ผู้อานวยการกลุ่มโครงการพิเศษสนก. ๒. นายปฏิภาณ สาเนียง ผู้ให้คาปรึกษาแก่ทีมแข่งขัน นักวิชาการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ๓. นายวรณัฐ หมีทอง ผู้ประสานงานควบคุมทีมและการแข่งขัน ครู โรงเรียนหนองบัว สพม. เขต ๔๒ จ.นครสวรรค์ ๔. นางสาวปิยะรัตน์ กึงฮะกิจ ผู้ประสานงานควบคุมทีมและการแข่งขัน ครู โรงเรียนสตรีอ่างทอง สพม. เขต ๕ จ.อ่างทอง ๕. นางสาวณัฎฐิกา หลอดแก้ว ผู้ประสานงานควบคุมทีมและการแข่งขัน ครู โรงเรียนบางปลาม้า "สูงสุมารผดุงวิทย์" สพม. เขต ๙จ.สุพรรณบุรี ๖. นายพรชัย ถาวรนาน ผู้ประสานงานควบคุมทีม การแข่งขัน นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สนก. และสรุปรายงานผล คณะนักเรียนและครูที่ปรึกษา จานวน ๑๖ คน ๑. โรงเรียนอนุบาลหนองใหญ่ สพป.ชลบุรี เขต ๑ ๑. เด็กชายกันตพงศ์ ด้วงสุวรรณ ๒. เด็กชายณัฐพล แก้วหนุนเมือง ๓. เด็กชายวิศรุต สงวนรัตน์ ๔. นายดาวูด หวังแจ่ม

นักเรียน นักเรียน นักเรียน ครูที่ปรึกษา


๒. โรงเรียนบ้านนาตงสหราษฏร์อุทิศ สพป.สกลนคร เขต ๑ ๑. เด็กชายสหรัฐ คาสี นักเรียน ๒. เด็กชายพนมพร บลลา นักเรียน ๓. เด็กชายจีรยุทธอินธิโคตร นักเรียน ๔. นายวิทยา เมฆวัน ครูที่ปรึกษา ๓. โรงเรียนเวียงมอกวิทยา สพม. เขต ๓๕ จ.ลาปาง ๑. เด็กชายธรณินทร์ สายปิ๋ว นักเรียน ๒. เด็กชายศุภกร กันทะวงศ์ นักเรียน ๓. เด็กชายรักษิต เผือกสิงห์ นักเรียน ๔. นางสาวพิมพา ทิงิ้วงาม ครูที่ปรึกษา ๔. โรงเรียนหนองบัว สพม. เขต ๔๒ จ.นครสวรรค์ ๑. นายพงศธรณ์ ปรางค์ทอง นักเรียน ๒. นายสุรศักดิ์ มั่นอิ่ม นักเรียน ๓. นานวีรวัฒน์ แขค้างพลู นักเรียน ๔. นายเทเวศร์ ม่วงพลับ ครูที่ปรึกษา ผลการแข่งขัน การแข่งขันหุ่นยนต์ World Robot Games ๒๐๑๕ ระหว่างวันที่ ๑ – ๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ มี ประเทศที่ส่งนักเรียนเข้าแข่งขัน จากสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซียและ ไทย รวมทั้งสิ้น ๒๐๐ ทีม นักเรียนไทยได้รางวัลจากการแข่งขันจานวน ๕ รางวัล จากที่ส่งเข้าแข่งขัน ดังนี้ ๑. โรงเรียนนาตงสหราษฏร์อุทิศ สพป.สกลนคร เขต ๑ ได้รับรางวัล ชนะเลิศ เหรียญทอง รายการแข่งขันหุ่นยนต์ซูโม่ประเภทบังคับด้วยมือ (Sumo Robot) ๒. โรงเรียนเวียงมอก สพม.เขต ๓๕ จังหวัดลาปาง ได้รับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง และ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ เหรียญเงิน ในรายการแข่งขันหุ่นยนต์ดาน้า ๓. โรงเรียนหนองบัว สพม. เขต ๔๒ จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ เหรียญเงิน ในรายการแข่งขันโครงงานหุ่นยนต์นวัตกรรม (Innovation Robot) ๔. โรงเรี ยนอนุ บาลหนองใหญ่ สพป.ชลบุ รี เขต ๑ ได้ รั บรางวัลรองชนะเลิ ศอันดั บ ๒ เหรียญทองแดง ในรายการแข่งขันหุ่นยนต์เดินตามเส้น (Beam Line Tracing)


ส่วนที่ ๒ ประโยชน์ที่ได้รับ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากการแข่ งขั น หุ่ น ยนต์ น านาชาติ รายการ World Robot Games ๒๐๑๕ ณ สาธารณรั ฐ อินโดนี เซีย เด็กไทยได้แสดงความสามารถ ได้แก่การออกแบบและประกอบหุ่นยนต์สามารถทาภารกิจได้อย่าง รวดเร็วตามที่กติกากาหนด โดยเกิดจากการออกแบบโครงสร้างหุ่ นยนต์ตามหลั กการทางวิทยาศาสตร์ ทาให้ หุ่นยนต์มีโครงสร้าง แข็งแรง มั่นคง แสดงให้เห็นถึงความสามารถของเด็กไทยในการบูรณาการความรู้วิชาการมา ประกอบการสร้างหุ่นยนต์ ในขณะเดียวกันครูก็จะได้เรียนรู้วิธีการนาหุ่นยนต์มาใช้เป็นเครื่องมือการจัดการเรียนรู้ ครูแต่ละคนอาจจะใช้แตกต่างกัน ดังนี้ ๑) เป็นสื่อการสอนให้นักเรียนได้ฝึกคิดสร้างสรรค์ประกอบเป็นหุ่นยนต์ หรือใช้เป็นตัวอย่างสื่อ การสอน ให้นักเรียนฝึกพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ในการวางแผนให้หุ่นยนต์ทางานและเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขเมื่อหุ่นยนต์ไม่ทางานตามแผนที่วางไว้ ๒) เป็นการพัฒนาการสอนแบบองค์รวมในการสร้างสรรค์หุ่นยนต์ นาไปแก้ปัญหาตามโจทย์หรือ สถานการณ์ ตามบทบาทสมมุติที่ ตั้งขึ้น ซึ่ งนั กเรียนจะสามารถเชื่อมโยงความรู้ในสาระวิชาต่างๆ มาใช้ในการ ออกแบบวางแผนการทางานของหุ่นยนต์ โดยใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่มีได้อย่างหลากหลาย ๓) เป็ นเครื่องมือในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เพื่อให้นักเรียนได้ เรียนรู้การทางานเป็ นทีม ทางานร่วมกับผู้ อื่น สามารถสร้างชิ้นงานด้วยตนเองมีการแบ่งปันและยอมรับความ คิดเห็นซึ่งกันและกันภายในทีม มีการทดลองทาและแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน และที่สาคัญคือ นักเรียนได้ฝึกคิด อย่างเป็นระบบ รู้จักช่างสังเกต และเก็บรวบรวมข้อมูลและเลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือให้เหมาะสม ซึ่งเป็นการ ฝึกคิดวิเคราะห์ อย่ างมีเหตุผล การเรียนรู้หุ่ นยนต์จึงเป็นการส่ งเสริมอัจฉริยะด้านเทคโนโลยีและยกระดับการ พัฒนาศักยภาพของนักเรียนไทยสู่ระดับสากล บันทึกประสบการณ์การเดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ โดยเก็บข้อมูลโดยแบบบันทึกปลายเปิดแจกให้กับทีมหุ่นยนต์ที่เข้าร่วมการแข่งขัน ดังนี้ โรงเรียนเวียงมอกวิทยา สพม.เขต ๓๕ จังหวัดลาปาง

นางสาวพิมพา ทิงิ้วงาม ครูโรงเรียนเวียงมอกวิทยา สพม.เขต ๓๕ จังหวัดลาปาง ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ได้รับความภาคภูมิใจที่ได้เป็นทีมหนึ่งของประเทศไทยที่สามารถคว้ารางวัลมาได้ ซึ่งไม่คาดคิดว่า จะได้ ได้เห็ นลักษณะการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ และที่สาคัญได้เห็นนักเรียนมีความสุขและมี ประสบการณ์ที่ดี ซึ่งเหมือนกับฝันที่เป็นจริงของครูและนักเรียน เพราะ สพฐ. ให้โอกาส จึงทาให้พวกเรามี วันนี้


การนาความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ /งาน การใช้กระบวนการในเรื่งอของการน าหุ่นยนต์ โดยให้นักเรียนได้ฝึกการวางแผน การฝึกทักษะ กระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ การสืบค้นข้อมูลโดยมีการจัดกิจกรรมสอดแทรกในการเรียนการสอน นอกจากนี้นักเรียนที่เป็นแกนนาที่มาในครั้งนี้ไปขยายผลความรู้ และประสบการณ์ต่าง ๆ ให้กับคนอื่น ๆ ได้ ความประทับใจ ประทับใจที มงานของ สพฐ. ที่ ดูแลเอาใจใส่และช่วยเหลื อนักเรียน และครูดี มาก มีความเป็ น กันเอง ทาให้รู้สึกสบายใจ และมีความสุขในการมาครั้งนี้มาก ประทับใจการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของครูและนักเรียนที่มาด้วยกันและทีมประเทศไทยทุกคน รวมทั้งลูกศิษย์ของตัวเองที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เมื่อหุ่นยนต์เกิดปัญหา ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม อยากให้ มี การจั ดกิจกรรมการแข่งขันหุ่ นยนต์ของ สพฐ. ทุกปี เพราะเป็ นการเปิ ดโอกาให้ กั บ นักเรียนที่อยู่ในชนบทได้รับสิ่งที่ดีเหมือนกับการแข่งขันในครั้งนี้ การจัดการแข่งขันแต่ละรายการอยากให้มีการแยกรุ่น เช่น หุ่นยนต์ดาน้า และหุ่นยนต์ซูโม่บังคับ มือ

เด็กชายรักษิต เผือกสิงห์ นักเรียน โรงเรียนเวียงมอกวิทยา สพม.เขต ๓๕ จังหวัดลาปาง ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ จากการที่ได้มาต่างประเทศ ผมดีใจสุด ๆ ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดในชีวิตของผมเลย สิ่งที่ ได้รับคือการมีมิตรภาพที่ดีต่อประเทศอื่น ๆ การนาความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ /งาน การคิดวิเคราะห์ และการแก้โจทย์ต่าง ๆ ทาให้แก้โจทย์ในการเรียนได้ เอาความรู้ไปปรับหุ่นยนต์หรือทาหุ่นยนต์ในชมรม ความรู้ที่ทีมหุ่นยนต์ได้มาก็สามารถใช้ปรับเป็นความรู้ในวิชาเรียนได้ เช่น การต่อแผงวงจร ได้รู้ถึงประวัติศาสตร์ของประเทศอินโดนีเซีย และอีกมากมาย เช่น สัตว์ต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย ความประทับใจ พื้นที่เกาะ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีหมู่เกาะมากกว่า ๒,๕๐๐ เกาะ ประทับใจในวัฒนธรรมของชาว อินโดนีเซีย อาหารก็อร่อย อร่อยสุดก็คือผลไม้ ขนม แต่อย่างอื่นนี้ก็พอใช้ได้ ประทับใจวิทยากรที่ดูแลและ เอาใจใส่พวกเรา ให้คาปรึกษามากมาย สายการบินไทยที่ให้ความสะดวกสบายต่อพวกเรา ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม อยากให้มีการแข่งขันแบบบังคับมือ ในการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ อยากให้เพื่อน ๆ มา เที่ยวด้วยกัน จะได้สนุกขึ้นอีก


เด็กชายศุกกร กันทะวงศ์ นักเรียน โรงเรียนเวียงมอกวิทยา สพม.เขต ๓๕ จังหวัด ลาปาง ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ได้รับประสบการณ์จากการเดินทางไปต่างประเท ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของต่างชาตินานาชาติ ได้มี เพื่อนที่อยู่ในไทยและต่างชาติ ได้รู้จักหุ่นยนต์หลายชนิดทั้งอัตโนมัติและบังคับมือ การนาความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ /งาน นาไปสอนน้อง ๆ เพื่อน ๆ ที่โรงเรียนว่าการแข่งขันหุ่นยนต์เป็นไงบ้าง นาไปจัดเป็นนิทรรศการที่ โรงเรียน และการหาทางประยุกต์จากสิ่งเดิมเป็นสิ่งใหม่ เพื่อให้มาใช้ในชีวิตประจาวัน ความประทับใจ ประทับใจในการเดินทาง เครื่องบิน คณะวิทยากร โรงแรมที่พัก วิทยากรใจดีทุกคน ดูแลน้องๆ และพวกผมกันเป็นอย่างดี มีปัญหาอะไรก็มาช่วยแก้ตลอด และคุณครูแต่ละคนก็ช่วยกันดูแลเด็ก ๆ เป็น อย่างดี ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม อยากให้มีการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์แบบนี้ขึ้นอีกตลอดไป

เด็กชายธรณินทร์ สายปิ๋ว นักเรียน โรงเรียนเวียงมอกวิทยา สพม.เขต ๓๕ จังหวัดลาปาง ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ความรู้และสิ่งที่ได้รับของผมคือได้รับประสบการณ์การเดินทางไปต่างประเทศ แล้วยังได้เรียนรู้ วัฒนธรรมของต่างชาติต่างภาษา และยังได้เพื่อนใหม่ ๆ ที่เป็นชาวต่างชาติ การนาความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ /งาน นาไปสอนพวกน้องๆ ที่โรงเรียนและพัฒนาหุ่นยนต์ ที่คิดว่าจะทาเป็นหุ่นยนต์ใช้ในชีวิตประจาวัน ได้ แล้วต่อยอดให้เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถทางานแทนคนได้ ความประทับใจ วิทยากรในดีทุกคนและยังดูแลน้อง ๆ และพวกผมเป็นอย่างดีมากครับ เวลาที่มีปัญหาอะไรก็มา ช่วยแก้ไขตลอด คุณครูแต่ละท่านก็ช่วยดูแลและให้คาปรึกษามาตลอด และผมยังประทับใจ สายการบินที่ เขายังมีการพูดถึงเราที่ได้ไปแข่งในต่างประเทศ ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม อยากให้ มีการแข่งขันหุ่ นยนต์ แบบนี้ ทุ กปี และมี วิทยากรใจดี แบบนี้ ทุ กครั้ งที่ มาแข่งในแต่ละ ประเทศ แล้วผมอยากให้มีทีมหุ่นยนต์ไปแข่งขันมากกว่านี้



ภาคผนวก ประมวลภาพการศึกษาดูงาน


การแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติรายการ Word Robot Games 2015 ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2558 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐ อินโดนีเซีย

ทีมหุ่นยนต์ สพฐ. ได้รับรางวัล 2 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดง

การแข่งขันหุน่ ยนต์นานาชาติ World Robot Games 2015 ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2558 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย


การแข่งขันหุ่นยนต์ซูโม่ SUMO ROBOT การแข่งขันหุ่นยนต์ซูโม่ ซึ่งมีลักษณะ คล้ายการแข่งขันซูโม่ของมนุษย์ โดยแต่ละทีมใช้หุ่นยนต์ทีมละ 1 ตัว มีหน้าที่ผลักดันให้หุ่นยนต์ของฝ่ายตรงข้ามตกนอกสนาม

การแข่งขันหุน่ ยนต์นานาชาติ World Robot Games 2015 ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2558 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย


การแข่งขันหุ่นยนต์ด้าน้า UNDERWATER ROBOT การแข่งขันหุ่นยนต์ด้าน้า เป็น การแข่งขันหุ่นยนต์แบบบังคับมือ แต่ เป็นการบังคับหุ่นยนต์ใต้น้า ผู้เข้า แข่งขันจะต้องออกแบบหุ่นยนต์ให้ สามารถเคลื่อนที่บนผิวน้าได้และ สามารถด้าลงใต้น้าไปหยิบวัตถุคือ ลูกแก้วไปวางที่พืนที่ที่ก้าหนดให้ ทีมที่ วางวัตถุได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะการ แข่งขัน

การแข่งขันหุน่ ยนต์นานาชาติ World Robot Games 2015 ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2558 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย


โครงงานหุ่นยนต์นวัตกรรม INNOVATION ROBOT การแข่งขันการสร้างนวัตกรรมหุ่นยนต์ เป็นการแข่งขันการ สร้างนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์หรือโครงงานหุ่นยนต์ ในหัวข้อ "การ รักษาแม่น้า" ไม่จา้ กัดรูปแบบวิธีการ จะเป็นโครงงานแบบบังคับมือ หรือแบบอัตโนมัติก็ได้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องคิดค้นออกแบบหุ่นยนต์ เพื่อให้สามารถท้าความสะอาด หรือแม้กระทั่งการรีไซเคิลของเสีย ต่างๆที่เป็นสาเหตุของมลพิษในแม่น้า มีข้อแม้อย่างเดียวโครงงาน จะต้องมีการใช้แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุม เท่านัน

การแข่งขันหุน่ ยนต์นานาชาติ World Robot Games 2015 ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2558 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย


การแข่งขันหุ่นยนต์เดินตามเส้น BEAM LINE TRACING การแข่งขันหุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามเส้น เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้วงจร อิเล็กทรอนิกส์พืนฐานในการควบคุมการท้างาน โดยไม่มี ไมโครคอนโทรลเลอร์ ไม่มีการเขียนโปรแกรม หรือเป็น Nonprogrammable robot kit แบบหนึ่ง ทีมที่ใช้เวลาได้น้อยที่สดุ จะ เป็นผู้ชนะการแข่งขัน

การแข่งขันหุน่ ยนต์นานาชาติ World Robot Games 2015 ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2558 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.