TOP : Annual Report 2009

Page 1


สารบั ญ 002 004 007 018 020 022 025 036 040 043 046 051

060 072 074 078 094 100 113 117 123 124 126 130 135 137 219 220 222

วิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัทฯ ข้อมูลสำคัญทางการเงิน สารจากคณะกรรมการ รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ รายงานของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน รายงานของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ บทสรุปการดำเนินงานของบริษัทฯ ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขันในอนาคต โครงการในอนาคต การดำเนินงานด้านการกลั่นและปิโตรเคมี การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาโครงสร้างองค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคม และระบบการจัดการด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการบริษัทฯ โครงสร้างองค์กรบริษัทฯ ฝ่ายจัดการบริษัทฯ โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ การบริหารความเสี่ยงองค์กร นโยบายการกำกับดูแลกิจการ การควบคุมภายในของบริษัทฯ ข้อมูลทั่วไปของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ ลักษณะการประกอบธุรกิจ โครงสร้างรายได้ คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน รายการระหว่างกัน รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน งบการเงิน ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี ศัพท์เทคนิคและคำนิยาม ค่านิยมองค์กร


วิ สั ยทั ศ น์

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) มุ่งที่จะเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจ

เชิงบูรณาการด้านการกลัน่ น้ำมัน และปิโตรเคมีที่ ต่อเนื่องอย่างครบวงจรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

พั น ธกิ จ

• เป็ น หนึ่ ง ในองค์ ก รชั้ น นำในด้ า นผลการดำเนิ น งานและผลตอบแทน

การลงทุน • ก้าวสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม มุ่งสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ บนพื้นฐานแห่งความเชื่อมั่นระหว่างกัน เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน • มุ่ ง เน้ น หลั ก การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี แ ละยึ ด มั่ น ในความรั บ ผิ ด ชอบ

ต่อสังคม


004

005

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ข้อมูลสำคัญทางการเงิน

ข้อมูลสำคัญทางการเงิน ผลการดำเนินงาน รายได้จากการขาย EBITDA กำไรสุทธิ กำไรต่อหุ้น ฐานะการเงิน สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้น - สุทธิ อัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ย อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ข้อมูลสำคัญในตลาดทุน ราคาปิดของหุ้น ณ วันสิ้นงวด มูลค่าตลาดรวม เงินปันผล อัตราผลตอบแทนเงินปันผล(3) มูลค่าหุ้นตามบัญชี

ล้านบาท ” ” บาท/หุ้น ล้านบาท ” ” เท่า ” ” บาท/หุ้น ล้านบาท บาท/หุ้น ร้อยละ บาท/หุ้น

2552 284,123 21,393 12,062 5.91 137,745 66,058 71,687 10.1 2.7 0.5 42.75 87,211 2.55 (2) 6.3 35.14

2551 399,125 7,949 224 0.11 132,841 69,261 63,580 3.8 1.8 0.7 23.60 48,145 2.75 11.7 31.17

2550 (1) 261,051 28,959 19,118 9.37 136,570 64,733 71,837 16.8 1.9 0.4 86.50 176,462 4.50 5.2 35.21

หมายเหตุ (1) ปี 2550 ปรับปรุงผลกระทบจากการเปลี่ยนนโยบายบัญชี การบันทึกเครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ (2) รวมเงินปันผลระหว่างกาล สำหรับผลประกอบการ 6 เดือนแรกของปี 2552 จำนวน 1.05 บาท/หุ้น ซึ่งจ่ายเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 และคงเหลือเป็น เงินปันผลที่จะจ่ายอีกจำนวน 1.50 บาท/หุ้น โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2553 เพื่ออนุมัติต่อไป (3) คำนวณจากราคาปิดของหุ้น ณ วันสิ้นงวด

ล้านบาท

ล้านบาท

400,000 350,000

400,000 350,000

300,000

300,000

250,000

250,000

200,000

200,000

150,000

150,000

100,000

100,000

50,000 0

50,000 0

ล้านบาท

ล้านบาท

100,000

100,000

80,000

80,000

60,000

60,000

40,000

40,000

20,000

20,000

0

0


007

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 สารจากคณะกรรมการ

สารจากคณะกรรมการ

ในท่ามกลางภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจทีส่ ง่ ผลกระทบอย่างรุนแรงไปทัว่ โลกในปี 2552 ไทยออยล์ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อม ทีจ่ ะฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคเพือ่ การเติบโตอย่างยัง่ ยืนเคียงข้างสังคมไทยในฐานะองค์กรด้านพลังงานทีม่ ปี ระสบการณ์ยาวนานมากว่า 48 ปี ผลการดำเนินงานในปี 2552 ที่ยังคงโดดเด่นของไทยออยล์และบริษัทในเครือ โดยมีรายได้จากการขาย 284,123 ล้านบาทและมีกำไร

สุทธิ 12,062 ล้านบาท เป็นผลจากความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานของพนักงานไทยออยล์และบริษัทในเครืออย่างเต็มกำลังความ สามารถผนวกเข้ากับความมุง่ มัน่ ของฝ่ายจัดการและคณะกรรมการบริษทั ฯ ในการกำหนดทิศทางกลยุทธ์และดำเนินมาตรการต่างๆ ในเชิงรุก เพื่อรับมือกับช่วงเวลาที่ภาวะอุตสาหกรรมโรงกลั่นได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการตกต่ำของเศรษฐกิจโลกขณะที่มีกำลังการผลิตใหม่ ทยอยเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก หนึ่งในโครงการที่ไทยออยล์ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและมีส่วนสนับสนุนผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ก็คือโครงการ Operational Excellence ซึ่งเป็นโครงการที่มีจุดมุ่งหมายในการบูรณาการเป้าหมายการทำงานของทุกหน่วยงานในองค์กรเข้าด้วยกัน เพือ่ ระดมความคิดและเปิดโอกาสให้บุคลากรจากทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงานต่างๆ ร่วมกัน นอกจากนี้ ในปี

ที่ผ่านมา ไทยออยล์ยังได้เริ่มดำเนินการทางการพาณิชย์ของโครงการเชิงกลยุทธ์และดำเนินกิจกรรมที่สำคัญต่างๆ มากมาย อาทิเช่น การ เปิดบริการสถานีจ่ายน้ำมันทางรถแห่งใหม่ที่มีความทันสมัย สะดวก รวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า การผลิตน้ำมัน เบนซินตามมาตรฐาน EURO IV ซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปริมาณสารกำมะถันต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นรายแรกของประเทศ หลังจากได้เริ่มผลิตน้ำมันดีเซลมาตรฐาน EURO IV เป็นรายแรกของประเทศเช่นกันในปี 2551 การรับโอนธุรกิจสารทำละลายใน

ประเทศเวียดนามซึ่งนับเป็นสำนักงานสาขาต่างประเทศแห่งแรกของไทยออยล์ และจะเป็นช่องทางและรากฐานที่สำคัญที่จะสนับสนุนการ

ขยายตลาดไปสูภ่ มู ภิ าคอินโดจีนในอนาคต การเสนอขายหุน้ กูอ้ ายุ 5 ปี จำนวน 12,000 ล้านบาท ให้กบั นักลงทุนซึง่ ประสบความสำเร็จได้รบั การสนับสนุนอย่างล้นหลาม เป็นต้น ในด้านการบริหารจัดการ ไทยออยล์ได้นำหลักการและแนวคิดของการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ โดยนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award) มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และสำหรับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อรองรับแผนกลยุทธ์และการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต ไทยออยล์ยังคงดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องภายใต้แผนงานของระบบ พัฒนาความสามารถและแผนอาชีพรายบุคคลซึ่งบูรณาการเข้ากับระบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นธรรมและเชื่อมโยงกับค่านิยม องค์กร POSITIVE และแผนกลยุทธ์ คณะกรรมการบริษัทฯ มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าด้วยหลักการและแผนงานต่างๆ ที่ไทยออยล์ได้ ดำเนินการอยู่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญให้ไทยออยล์ก้าวเข้าสู่การเป็นองค์กรชั้นนำตามวิสัยทัศน์ที่คณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่าย จัดการได้ร่วมกันกำหนดขึ้น นอกเหนือจากการบริหารจัดการเพื่อเป้าหมายด้านผลการดำเนินงานในระยะสั้นตามที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ไทยออยล์ยังคงไม่หยุดนิ่งที่จะ แสวงหาโอกาสและช่องทางธุรกิจเพื่อการเติบโตในระยะยาวผ่านแผนกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงการพัฒนาโครงการภายใต้แผนกลยุทธ์เหล่านั้น และการขับเคลือ่ นความก้าวหน้าให้เกิดเป็นรูปธรรมผ่านกลไกระบบบริหารจัดการซึง่ กำหนดขึน้ เพือ่ การนี้โดยเฉพาะ ไทยออยล์ตระหนักเป็นอย่างยิง่ ว่านอกเหนือจากการประสบความสำเร็จทางธุรกิจแล้ว การดูแลและเอือ้ ประโยชน์ตอ่ ชุมชน สังคม และสิง่ แวดล้อม ก็มีความสำคัญต่อองค์กรไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสภาพแวดล้อมและสุขอนามัยของชุมชนรอบโรงกลั่น เป็นสิ่งที่ไทยออยล์ยึดถือให้ความสำคัญมาตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจกว่า 48 ปี และจะยังคงมุ่งมั่นสานต่อและริเริ่มโครงการและ กิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ เพื่อเป็นรากฐานในการเติบโตร่วมกันในระยะยาว ในนามของบริษทั ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการบริษทั ฯ ขอขอบคุณ ท่านผูถ้ อื หุน้ ผูร้ ว่ มทุน ลูกค้า คูค่ า้ องค์กรและหน่วยงาน ราชการ สถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ที่ให้การสนับสนุนเครือไทยออยล์ด้วยดีเสมอมา คณะกรรมการบริษัทฯ ขอให้คำมั่นว่าจะ ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและยึดมั่นในหลักคุณธรรมและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อม กับยืนหยัดพัฒนาศักยภาพของเครือไทยออยล์ให้แข็งแกร่ง และมุ่งสู่ความสำเร็จและการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน

นายสมนึก กยาวัฒนกิจ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)


ไม่เพียงเเค่กลั่นน้ำมัน แต่เรากลั่นคุณภาพ

ด้วยการพัฒนาโรงกลั่นที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต การดำเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพด้วยบุคลากรที่มากด้วยประสบการณ์ ความสามารถ และระบบบริหารจัดการในระดับสากล ทัง้ หมดนีเ้ พือ่ ให้นำ้ มันทุกหยดทีผ่ า่ นจากโรงกลัน่ คือการกลั่นคุณภาพด้วยประสบการณ์


ไม่เพียงเเค่มาตรฐาน แต่คือการสร้างรากฐานที่เเข็งเเกร่ง

เรามุ่งสร้างความเป็นเลิศกับทุกสายงาน สร้างระบบบริหารจัดการให้มีมาตรฐานสูงสุด ลดต้นทุนการผลิต เพิม่ คุณค่าผลิตภัณฑ์ พัฒนาองค์กรให้กา้ วสูงขึน้ อีกขัน้ เพือ่ เป็นรากฐานทีแ่ ข็งเเกร่ง


ไม่เพียงเเค่ก้าวหน้าตามกลไก แต่ก้าวไกลด้วยกลยุทธ์

การวางแผนพัฒนาพลังงานทดเเทน การสร้างมูลค่าเพิ่มในกระบวนการผลิต การขยายต่อยอดทางธุรกิจ ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของแผนกลยุทธ์เพือ่ การเติบโตของการดำเนินธุรกิจ


ไม่เพียงเเค่คดิ อย่างมีประสิทธิภาพ แต่คอื การผลักดันให้เกิดประสิทธิผล กลยุทธ์ที่ดีหากไม่มีผู้เข้าใจและไม่นำไปใช้ย่อมสูญเปล่า เราจึงพร้อมสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้บุคลากรสามารถเข้าถึงเเผนงานนั้นๆ และผลักดันองค์กรสู่ความก้าวหน้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


ไม่เพียงเเค่ความมัน่ ใจ แต่คอื ความมัน่ คงทีย่ งั่ ยืน

เรามั่นใจในการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งเเละมั่นคง เพราะเรายึดมั่นในการดำเนินธุรกิจ ตามหลักธรรมมาภิบาล โปร่งใส ใส่ใจต่อสังคมเเละสิ่งเเวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เราเติบโตได้อย่างยั่งยืน


018

019

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ

รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระ จำนวน 4 ท่าน ได้แก่ 1. นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 2. นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา กรรมการตรวจสอบ 3. นายชัยเกษม นิติสิริ กรรมการตรวจสอบ 4. นายอุทิศ ธรรมวาทิน กรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการทัง้ 4 ท่านเป็นผูท้ มี่ คี วามรู้ ความเชีย่ วชาญ และประสบการณ์ในด้านบัญชีการเงิน เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย รวมทัง้ ธุรกิจอุตสาหกรรมด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และพลังงานเป็นอย่างดี ทั้งนี้ นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธานคณะกรรมการ

ตรวจสอบเป็นบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านบัญชีการเงิน และมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการ สอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในรอบปี 2552 คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดการแผนกตรวจสอบระบบงาน ภายใน และผูส้ อบบัญชี รวมทัง้ สิน้ 7 ครัง้ นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้ประชุมร่วมกับผูส้ อบบัญชีโดยไม่มผี บู้ ริหารเข้าร่วม ประชุม 1 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือกันอย่างเป็นอิสระถึงประเด็นสำคัญๆ ในการจัดทำงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลที่เป็น ประโยชน์กับผู้ใช้งบการเงิน รวมถึงรับทราบผลการปฏิบัติงานสอบบัญชี ข้อสังเกตที่ตรวจพบ ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการ ปฏิบัติงานสอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งระบุไว้ในกฎบัตรคณะกรรมการ ตรวจสอบ ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดของ ตลท. ได้แก่ การสอบทานงบการเงิน การสอบทานรายการระหว่างกัน การสอบทาน การบริหารความเสี่ยง และการสอบทานระบบการควบคุมภายใน ผลการสอบทานของคณะกรรมการตรวจสอบมีสาระสำคัญ

สรุปได้ดังนี้ การสอบทานงบการเงิน คณะกรรมการตรวจสอบได้พจิ ารณาสอบทานงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินสำหรับปี 2552 ร่วมกับ ฝ่ายบริหารระดับสูงและผูส้ อบบัญชี ผลการสอบทานพบว่ารายงานทางการเงินของบริษทั ฯ และบริษทั ย่อย ได้จดั ทำขึน้ อย่างถูกต้อง เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป ข้อมูลบัญชีและงบการเงินมีความถูกต้องเชื่อถือได้ มีการเปิดเผยข้อมูลใน รายงานทางการเงินอย่างเพียงพอและครบถ้วน และทันตามเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ ตลท. กำหนด การสอบทานรายการระหว่างกัน คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานการเปิดเผยรายการระหว่างกันของบริษัทฯ กับบริษัทย่อย และบริษัทร่วม ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัทฯ ประจำปี 2552 ผลการสอบทาน พบว่า บริษัทฯ ได้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วน รายการระหว่างกันดังกล่าวเป็นรายการจริงทางการค้า เป็นไปตาม เงื่อนไขธุรกิจการค้าปกติทั่วไปและมีราคาที่ยุติธรรมเหมาะสม โดยบริษัทฯ ได้ถือปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและ มั่นใจว่าบริษัทฯ ได้ดำเนินตามเงื่อนไขทางธุรกิจและหลักเกณฑ์ที่ ตลท. กำหนด การสอบทานการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานแผนงานบริหารความเสี่ยงประจำปี รวมถึงสอบทาน ความคืบหน้าของการบริหารความเสี่ยงทุกไตรมาส เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ ได้บริหารจัดการความเสี่ยงให้ลดลงอยู่ในระดับที่ ยอมรับได้ ผลการสอบทานในปี 2552 พบว่า คณะกรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารได้ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงและ การดำเนินการตามนโยบายบริหารความเสี่ยง มีการประเมินปัจจัยความเสี่ยงและกำหนดแผนงานเพื่อลดระดับความเสี่ยงสำคัญ

ของหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบที่อาจมีต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ว่าจ้างบริษัท

ทีป่ รึกษาอิสระทีม่ ชี อื่ เสียงรายหนึง่ มาตรวจประเมินคุณภาพการบริหารความเสีย่ งอย่างต่อเนือ่ งมาเป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปีนบั ตัง้ แต่ ปี 2550 เป็นต้นมา จากการที่บริษัทฯ ได้ปรับปรุงงานด้านการบริหารความเสี่ยงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตามข้อเสนอแนะของ

ผูต้ รวจประเมินคุณภาพ ทำให้ผลการประเมินคุณภาพการบริหารความเสีย่ งของบริษทั ฯ และบริษทั ในเครืออยู่ในเกณฑ์ทดี่ ขี นี้ ทุกปี การสอบทานระบบการควบคุมภายใน คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษทั ฯ และบริษทั ในเครือในปี 2552 และมีความเห็นว่า บริษทั ฯ ได้ยดึ ถือนโยบายการกำกับดูแลกิจการทีด่ เี ป็นหลักสำคัญในการดำเนินงาน อย่างเคร่งครัด มีผลให้ระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิภาพเพียงพอเหมาะสม ไม่พบรายการผิดปกติทมี่ สี าระสำคัญ ฝ่ายจัดการ มีการเร่งรัดติดตามให้มีการแก้ไขตามรายงานผลการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการปรับปรุงแก้ไขการควบคุมภายใน

ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ในปี 2552 ที่ผ่านมา คณะกรรมการตรวจสอบได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎบัตรการตรวจสอบภายใน เพื่อกำหนดนโยบายและหลักการ ตลอดจนแนวทางในการตรวจสอบระบบงานที่สำคัญของบริษัทฯ นอกจากนีค้ ณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานให้บริษทั ฯ ปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อกำหนด ของ ตลท. และ ก.ล.ต. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงสุด รวมถึงการปฏิบตั ติ อ่ ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียต่อธุรกิจของบริษทั ฯ ด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งนี้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ลงทุนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย คณะกรรมการตรวจสอบได้ให้ความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อขออนุมัติต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2553 เพื่อแต่งตั้ง บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด โดยนายเจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 4068 หรือนายวินิจ ศิลามงคล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 3378 หรือนายไวโรจน์ จินดามณีพิทักษ์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เลขทะเบียน 3565 เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ประจำปี 2553 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ในนามคณะกรรมการตรวจสอบ (นายมนู เลียวไพโรจน์) ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)


020

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 รายงานของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

021

รายงานของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดให้มีคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนตั้งแต่ปี 2548 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้

คณะกรรมการที่มีความเป็นอิสระ ทำหน้าที่พิจารณาหลักเกณฑ์และกระบวนการสรรหาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

ในการดำรงตำแหน่งกรรมการเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาก่อนที่จะนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณา รวมถึงการพิจารณาแต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ลาออกระหว่างปี ด้านการพิจารณาค่าตอบแทน ทำหน้าที่พิจารณากำหนด

ค่าตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับกรรมการของบริษัทฯ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ก่อนนำเสนอให้ที่ประชุม

ผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติเป็นประจำทุกปี และรวมถึงพิจารณาค่าตอบแทนผู้บริหารสูงสุดของบริษัทฯ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม

คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนชุดปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการจำนวน

3 ท่าน โดยส่วนใหญ่เป็นกรรมการอิสระ ได้แก่ 1. นายนนทิกร กาญจนะจิตรา ประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน (อิสระ) 2. นางสาวพวงเพชร สารคุณ กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน (อิสระ) 3. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ในรอบปี 2552 ได้ปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามกฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และมีการจัดประชุมทัง้ สิน้ 4 ครัง้ โดยมี กรรมการเข้าร่วมประชุมฯ อย่างครบถ้วนคิดเป็น 100% ทั้งปี ข้อมูลการเข้าประชุมแสดงในหน้า 89 ซึ่งสาระสำคัญของการ ประชุม มีดังต่อไปนี้ 1. ประเมินผลการปฏิบตั งิ านและพิจารณาการปรับขึน้ เงินเดือนทีเ่ หมาะสมให้แก่กรรมการอำนวยการสำหรับการปฏิบตั งิ านในปี 2551 2. สรรหาบุคคลที่เหมาะสมเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ และที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาแต่งตั้ง ให้เป็นกรรมการแทน กรรมการที่ออกตามวาระ ประจำปี 2552 3. กำหนดค่าตอบแทนกรรมการบริษัทฯ ประจำปี 2552 โดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมกับหน้าที่ ความรับผิดชอบของกรรมการ โดยเชือ่ มโยงค่าตอบแทนกับผลการดำเนินงานโดยรวมของบริษทั ฯ และเทียบเคียงได้กบั บริษทั

จดทะเบียนในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน ซึ่งมีอัตราการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในระดับที่ใกล้เคียงกัน 4. สรรหาและคัดเลือกกรรมการบริษัทฯ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นกรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณา

ค่าตอบแทน และนำเสนอรายชื่อต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลงหลังการ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 5. จัดให้มีการเลือกตั้งประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน โดยที่ประชุมกรรมการสรรหาและพิจารณา

ค่าตอบแทน ครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 ได้มีมติแต่งตั้งนายนนทิกร กาญจนะจิตรา เข้าดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ซึ่งว่างอยู่ 6. พิจารณาสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมทั้งภายใน และภายนอกเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการและกรรมการอำนวยการ

บริษัทฯ ที่จะว่างลงเนื่องจากเกษียณอายุงานในวันที่ 30 กันยายน 2552 และเสนอต่อคณะกรรมการบริษทั ฯ เพื่อพิจารณา อนุมัติแต่งตั้ง

7. พิจารณาและเสนอการปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และความจำเป็นทางธุรกิจ ของบริษัทฯ และบริษัทในเครือยิ่งขึ้น 8. ปฏิบัติหน้าที่ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ที่มอบหมายให้เป็นผู้กำหนดค่าตอบแทน และจัดทำสัญญาจ้างงาน ของประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ 9. สนับสนุนให้บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอรายชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการบริษัทฯ ก่อนการ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2553 10. ประเมินผลการปฏิบัติงานของอดีตกรรมการอำนวยการบริษัทฯ ตามผลการปฏิบัติงานและระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน ปี 2552

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ในนามคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน (นายนนทิกร กาญจนะจิตรา) ประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)


022

023

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 รายงานของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

รายงานของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย 1. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ (อิสระ) 2. นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการกำกับดูแลกิจการ (อิสระ) 3. นายบรรพต หงษ์ทอง กรรมการกำกับดูแลกิจการ (อิสระ) 4. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ กรรมการกำกับดูแลกิจการ บริษัทฯ ได้นำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากล มาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและกำหนดเป็น หนึ่งในพันธกิจ (Mission) ที่บริษัทฯ จะต้องดำเนินการเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์กร เนื่องจากบริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ในการที่จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรและเป็น ประโยชน์ต่อสังคมไทย คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่สนับสนุนคณะกรรมการบริษัทฯ ในการกำหนดนโยบายและแนวทาง การปรับปรุงงานในด้านต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ โดยยึดหลักและแนวทาง การกำกับดูแลกิจการทีด่ ี ซึง่ ได้รบั การยอมรับในระดับสากล และครอบคลุมตัง้ แต่คณะกรรมการบริษทั ฯ ผูบ้ ริหาร ตลอดจนพนักงาน ทุกคน ทัง้ นี้ เพือ่ ให้บรรลุเป้าหมายให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรในการยึดมัน่ ความเป็นธรรม การปฏิบตั ติ อ่ ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทุกฝ่าย อย่างเท่าเทียมกัน การปฏิบตั งิ านเพือ่ ผลประโยชน์ของบริษทั ฯ อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความสุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ในรอบปี 2552 คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการได้มีการประชุมรวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง โดยมีผลการปฏิบัติภารกิจตามบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎบัตรคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ สรุปได้ดังนี้ 1. พิจารณาให้ความเห็นและอนุมัติแผนพัฒนาการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ประจำปี 2553 2. ให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของสำนักงาน

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) 3. พิจารณาให้ความเห็นชอบแบบรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหารตลอดจนหลักเกณฑ์การรายงาน ก่อน

นำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่ออนุมัติและประกาศใช้ 4. ให้คำแนะนำถึงแนวทางการจัดงาน Thaioil Group CG Day และการเป็นเจ้าภาพจัดงาน PTT Group CG Day ของบริษัท ในกลุ่ม ปตท. 5. ให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นเพื่อดำเนินการแก้ไขจุดบกพร่องจากการประเมินการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ 6. พิจารณาและให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ประจำปี 2552 7. ให้คำแนะนำถึงแนวทางในการปรับปรุงการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 ส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับผลการประเมิน

ที่สูงขึ้นจากปี 2551 บริษัทฯ ได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี แบ่งตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์ บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเข้าเยี่ยมชมโรงกลั่นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ในธุรกิจของบริษัทฯ ตลอดจนแนวทางในการดำเนินธุรกิจ จัดประชุมพบนักวิเคราะห์ทุกสิ้นไตรมาสเพื่อรายงานสรุปผลการ ดำเนินงานและเผยแพร่รายงานทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มได้รับทราบข้อมูลอย่างทัดเทียมกัน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการจัดบู้ทนิทรรศการตามโอกาสต่างๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและส่งเสริมความรู้แก่นักลงทุนด้วย

พนักงาน บริษทั ฯ ได้จดั กิจกรรม Thaioil Group CG Day ขึน้ เป็นประจำทุกปี โดยมีจดุ มุง่ หมายเพือ่ ส่งเสริมและกระตุน้ ให้พนักงาน ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการกำกับดูแลกิจการและยึดมั่นในหลักจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ บริษัทฯ ได้นำหลักการ กำกับดูแลกิจการและจริยธรรมบรรจุเข้าเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ ลูกค้า บริษัทฯ ได้ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นประจำทุกปีเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ นอกเหนือ จากการจัดประชุมพบปะลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ในรอบปี 2552 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ อย่างเคร่งครัดและไม่มีกรณีพิพาทกับลูกค้าเลย คูค่ า้ /เจ้าหนี้ ด้วยความยึดมัน่ ในการทีจ่ ะส่งเสริมให้คคู่ า้ ของบริษทั ฯ ทุกรายได้รบั การปฏิบตั อิ ย่างทัดเทียมเสมอภาคกัน ในปีทผี่ า่ นมา บริษัทฯ ได้ดำเนินกิจกรรมหลายกิจกรรมเพื่อสนับสนุนหลักการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานจัดซื้อ

การปรับปรุงเงือ่ นไขกระบวนการจัดซือ้ จัดจ้างให้มคี วามชัดเจน รัดกุม โปร่งใส และเป็นธรรมมากยิง่ ขึน้ นอกจากนี้ บริษทั ฯ ยังได้ จัดให้มีการรายงานฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานที่ครบถ้วนชัดเจนต่อเจ้าหนี้ทุกรายในทุกไตรมาสด้วยความซื่อสัตย์ ชุมชนและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต ของประชาชนมาตลอดระยะเวลา 48 ปี บริษัทฯ ยังได้ดำเนินโครงการที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนและ

สิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมทั้งทางด้านสาธารณสุข การศึกษา การเรียนรู้ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การสร้างศูนย์ สุขภาพและการเรียนรู้ การมอบทุนการศึกษา การเปิดโอกาสให้โรงกลั่นเป็นแหล่งเรียนรู้แก่นิสิต นักศึกษา ผ่านการฝึกงาน

ภาคฤดูร้อน หรือโครงการความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ และการจัดกิจกรรมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสนับสนุน โครงการอนุรักษ์พลังงานผ่านมูลนิธิด้านพลังงานชั้นนำ หน่วยงานราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ใน ด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย มีการสื่อสารถึงพนักงานเกี่ยวกับกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ พนักงานและปลูกฝังจิตสำนึกของพนักงานให้มีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รับผลการประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) อยู่ในเกณฑ์ “ดีเลิศ” ซึ่งพัฒนาจากปี 2551 ซึ่งบริษัทฯ ได้รับคะแนนประเมินในเกณฑ์ “ดีมาก” และสะท้อนให้เห็นถึง พัฒนาการและความมุ่งมั่นของบริษัทฯ และบุคลากรทุกระดับ ในการที่จะพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ และสร้าง ความน่าเชื่อถือให้กับผู้ลงทุนทุกท่านและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริษัทฯ จะยึดถือและดูแลผลประโยชน์ของทุกฝ่ายอย่างทัดเทียมกัน ด้วยจริยธรรมและการดำเนินการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ในนามคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)


บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 บทสรุปการดำเนินงานของบริษัทฯ

025

บทสรุปการดำเนินงานของบริษัทฯ สรุปความสำเร็จในการดำเนินงานในรอบปี 2552 ผลการดำเนินงานโดยรวมที่ดีขึ้นจากโครงสร้างธุรกิจที่ แข็งแกร่ง

ในรอบปี 2552 ผลประกอบการของไทยออยล์และบริษัท

ในเครืออยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจมากเมื่อพิจารณาถึงสภาพ เศรษฐกิจซึ่งอยู่ ในภาวะถดถอยและยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ โดย ไทยออยล์ แ ละบริ ษั ท ในเครื อ รายงานกำไรสุ ท ธิ 12,062

ล้านบาท ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีสาระสำคัญเมื่อเทียบกับกำไร สุทธิ 224 ล้านบาทในปี 2551 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก การบริหารงานเชิงบูรณาการในกลุ่ม ทำให้เกิดความคล่องตัว ในการดำเนินการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลให้กำไร ขั้นต้นจากการกลั่นทรงตัวอยู่ในระดับที่ดี ระดับค่าใช้จ่ายใน การดำเนินงานที่แข่งขันได้ ตลอดจนรายได้เสริมจากธุรกิจ เกี่ยวเนื่อง อาทิ ไฟฟ้า ธุรกิจสารทำละลาย และธุรกิจเรือ ขนส่งน้ำมัน/ปิโตรเคมี ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นคงของโครงสร้าง รายได้ของไทยออยล์และบริษัทในเครือ นอกจากนี้ เครือ

ไทยออยล์ ยังได้เร่งพัฒนาคุณภาพและกระบวนการบริหาร

ความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management: ERM) ภายใต้ ก ารดู แ ลของผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ตลอดจน

คณะกรรมการบริษัทฯ จนทำให้สามารถพัฒนาระดับคุณภาพ การบริหารความเสี่ยงของเครือไทยออยล์จากการประเมิน ขององค์กรภายนอกให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี นอกจากนี้ ไทยออยล์ยังได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาการ กำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี ซึ่ ง ส่ ง ผลให้ ไ ทยออยล์ ไ ด้ รั บ ผลการ ประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการจากสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษทั ไทย (IOD) ประจำปี 2552 อยูใ่ นเกณฑ์ “ดีเลิศ”

การดำเนินการผลิตเต็มที่ภายใต้การบริหารงานเป็นกลุ่ม ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Operational Excellence) เพื่อ รองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก

ไทยออยล์ ได้วางรากฐานในการบูรณาการและเพิ่มความ เชื่อมโยงของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร ผ่านโครงการ Operational Excellence ซึ่งจะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็ น ประจำทุ ก ไตรมาส เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ บุ ค ลากรของเครื อ

ไทยออยล์ ไ ด้ รั บ รู้ ถึ ง ความเคลื่ อ นไหวและแนวโน้ ม ของ อุตสาหกรรมน้ำมัน ปิโตรเคมี และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ทั้งนี้

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดดังกล่าว จะทำให้ ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน

ต่ า งๆ ที่ ร่ ว มกั น ดำเนิ น การให้ ไ ด้ ต ามเป้ า หมายเพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภาพการผลิ ต เพิ่ ม การขาย สร้ า งกำไรส่ ว นเพิ่ ม ตลอดจนลดค่ า ใช้ จ่ า ยการดำเนิ น งานอย่ า งเป็ น ระบบและ เกื้อกูลกัน ซึ่งท้ายสุดก็จะเอื้ออำนวยให้องค์กรสามารถบรรลุ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ได้ ในปี 2552 การกำหนดกลยุทธ์และแผนงานเพื่อรักษาความ สามารถในการแข่งขันและเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนิน งานให้อยู่ ในระดับสูงสุด เพื่อที่จะสามารถตอบสนองภาวะ ตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเสาะหาโอกาสใน การเข้าสู่ตลาดใหม่ได้เร็วกว่าผู้ประกอบการรายอื่นนี้ ส่งผล ให้เครือไทยออยล์สามารถดำเนินการผลิตของกลุ่มได้เต็มที่ โดยมีวตั ถุดบิ ป้อนกระบวนการผลิตรวม 286,000 บาร์เรลต่อวัน หรือ 104 ล้านบาร์เรลต่อปี แม้ว่าอุตสาหกรรมการกลั่นจะได้ รับแรงกดดันจากกำลังการผลิตส่วนเกินในภูมิภาคทำให้ผู้ ประกอบการหลายรายต้ อ งลดระดั บ การดำเนิ น การผลิ ต นอกจากนี้ โครงการธุรกิจทีม่ เี ครือข่ายเชือ่ มโยงระหว่างโรงกลัน่ น้ำมัน โรงงานผลิตสารอะโรเมติกส์ โรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่น พื้นฐาน โรงงานผลิตสารทำละลาย โรงไฟฟ้า ตลอดจนเรือ ขนส่ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ท างทะเล ทำให้ เ กิ ด โครงสร้ า งรายได้ ที่ แข็ ง แกร่ ง และมี ค วามยื ด หยุ่ น เพี ย งพอที่ จ ะรองรั บ ความ ผันผวนของเศรษฐกิจและตลาดโลก โดยในปี 2552 นี้ บริษัท ในเครือไทยออยล์มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่มรวม

ผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน (Gross Integrated Margins: GIM) อยู่ที่ระดับ 6.1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (+42%) และ มี EBITDA ของกลุ่มจำนวน 21,393 ล้านบาท (+169%)

การดำเนิ น กลยุ ท ธ์ ก ารตลาดในเชิ ง รุ ก เพื่ อ รั ก ษาความ พึงพอใจและเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้า เครือไทยออยล์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาขีดความสามารถ ในการคาดการณ์ภาวะตลาดและแนวโน้มอุตสาหกรรม ซึ่งถือ เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมีให้ เกิดประสิทธิผลสูงสุด พร้อมกันนี้ ได้มีการปรับโครงสร้างการ บริหารงานของหน่วยงานวางแผนการจำหน่ายและการผลิต ของกลุ่ม ให้เกิดการบูรณาการและเชื่อมโยงกันในลักษณะ Area Production Unit (APU) ซึง่ สอดคล้องกับการจัดโครงสร้าง หน่วยงานการผลิต ทั้งนี้ เพื่อให้เครือไทยออยล์สามารถปรับ


026

เปลี่ยนแผนการผลิตให้ตอบสนองอย่างทันท่วงทีต่อแผนการ จำหน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ ซึ่ ง ปรั บ เปลี่ ย นตามภาวะตลาดที่ เปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ ซึ่งนับเป็นการเพิ่มศักยภาพและขีด ความสามารถในการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา และแม้ว่า ในปี 2552 จะเป็นปีที่องค์กรทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤติ เศรษฐกิจและการเงินของโลก แต่เครือไทยออยล์เล็งเห็นว่า เป็นช่วงระยะเวลาทีส่ ำคัญทีส่ ามารถรักษาฐานลูกค้าทัง้ ในและ ต่างประเทศ รวมทัง้ การแสวงหาตลาดใหม่ เช่น ประเทศใน กลุ่มอินโดจีน และตะวันออกกลาง เป็นต้น กลยุทธ์สำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้แผนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เชิงรุกประสบความสำเร็จ ได้แก่ การเปิดบริการสถานีจ่าย น้ำมันทางรถแห่งใหม่ (New Lorry Loading) ซึ่งสามารถ รองรับการขนถ่ายผลิตภัณฑ์ไปสู่ลูกค้าได้อย่างคุ้มค่า สะดวก และรวดเร็ว และสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายในการ เปิดตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน โดยจะเห็นได้ว่าเมื่อมีการ เปิดใช้บริการสถานีจ่ายน้ำมันทางรถแห่งใหม่นี้ ส่งผลให้ยอด จำหน่ า ยผลิ ต ภั ณฑ์ ไปยังภูมิภาคอินโดจีนเพิ่มสูงขึ้นเกือบ

ร้อยละ 20 นอกจากนี้ การผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพสูง เป็นรายแรกของประเทศ เช่น น้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน ในมาตรฐาน EURO IV รวมทัง้ การขยายช่องทางการขายเพิม่ เติ ม โดยผ่ า นฐานลู ก ค้ า ที่ ห ลากหลายของธุ ร กิ จ ค้ า ปลี ก

สารทำละลายทั้ ง ในประเทศไทยและสำนั ก งานสาขาใน ประเทศเวียดนาม นับเป็นอีกย่างก้าวของการดำเนินกลยุทธ์ การตลาดในเชิงรุกที่เป็นรูปธรรมของไทยออยล์

โครงการผลิ ต น้ ำ มั น สำเร็ จ รู ป ที่ มี คุ ณ ภาพสู ง ตาม มาตรฐาน EURO IV และธุรกิจการผลิตเอทานอล ซึ่ง รองรั บ นโยบายภาครั ฐ ในการพั ฒ นาเชื้ อ เพลิ ง สะอาด ตลอดจนพลั ง งานทดแทนเพื่ อ ช่ ว ยลดมลพิ ษ และเพิ่ ม คุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมไทย

ภายหลั ง จากที่ เ ครื อ ไทยออยล์ ส ามารถผลิ ต น้ ำ มั น ดี เ ซล มาตรฐาน EURO IV จำหน่ายแก่ลูกค้าและสามารถเพิ่ม สัดส่วนยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในประเทศเป็นผลสำเร็จในปี 2551 สำหรับปี 2552 ไทยออยล์ยังได้พัฒนาและปรับปรุง กระบวนการผลิ ต ทำให้ ส ามารถผลิ ต และจำหน่ า ยน้ ำ มั น เบนซินมาตรฐาน EURO IV ออกสู่ตลาดในเดือนมิถุนายน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 บทสรุปการดำเนินงานของบริษัทฯ

2552 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นโรงกลั่นรายแรกของประเทศไทย ที่สามารถตอบสนองนโยบายด้านพลังงานของภาครัฐก่อน เริม่ บังคับใช้ในปี 2555 ในการผลิตน้ำมันมาตรฐาน EURO IV ดังกล่าว นอกจากจะช่วยสนับสนุนกลยุทธ์การตลาดค้าปลีก ของลูกค้าแล้ว ยังนับเป็นส่วนสำคัญในการลดมลพิษทาง อากาศแก่สังคมไทยอีกด้านหนึ่งด้วย นอกจากนี้ เครือไทยออยล์ยังเล็งเห็นความสำคัญของการ พัฒนาพลังงานทดแทน เช่น เอทานอล โดยมีการวางเป้า หมายทางธุรกิจทีจ่ ะขยายกิจการโดยการร่วมลงทุนในโครงการ ผลิตสารเอทานอลจากน้ำอ้อย และ/หรือ มันสำปะหลัง ซึ่งจะ ช่วยตอบสนองนโยบายแก๊สโซฮอล์ของประเทศ ทัง้ นี้ โครงการ ผลิตเอทานอล 200,000 ลิตรต่อปีของ บจ. แม่สอดพลังงาน สะอาด (บจ. ไทยออยล์ เอทานอล ถือหุน้ อยู่ในสัดส่วนร้อยละ 30) ได้เริม่ ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ตงั้ แต่ ไตรมาสที่ 1/2552

ความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์องค์กร และการขยายงานไปสู่ธุรกิจที่ปรึกษาด้านพลังงาน และ การขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ

เครือไทยออยล์มีวิสัยทัศน์ที่จะมุ่งเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจ เชิงบูรณาการด้านการกลั่น และปิโตรเคมีที่ต่อเนื่องอย่างครบ วงจรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยนอกจากจะมีการขยาย งานและการสร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม ของธุ ร กิ จ ปั จ จุ บั น (Organic Growth & Value Chain Enhancement) แล้ว เครือไทยออยล์ ยังเล็งเห็นความสำคัญของธุรกิจพลังงานทางเลือก และธุรกิจ ทีป่ รึกษาด้านพลังงาน ตลอดจนการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ ในปี ที่ ผ่ า นมาเครื อ ไทยออยล์ ไ ด้ เ ปิ ด ตั ว บจ. ไทยออยล์

เอนเนอร์ยี โซลูชนั่ ส์* ซึง่ ประกอบธุรกิจทีป่ รึกษาด้านพลังงาน โดยเริ่มให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าในเครือ ปตท. และไทยออยล์ รวมทัง้ ลูกค้าอุตสาหกรรมทัว่ ไปทัง้ ในและต่างประเทศ ซึง่ นับ เป็นการก้าวกระโดดที่สำคัญในการไปสู่ธุรกิจใหม่ที่มีมูลค่า เพิม่ สูง โดยใช้ความสามารถหลักของไทยออยล์ทมี่ บี คุ ลากรทีม่ ี ประสบการณ์และมีความเชีย่ วชาญในอุตสาหกรรมมากว่า 48 ปี ของการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมกิจกรรม ยกระดับมาตรฐานการทำงานในอุตสาหกรรมไทยอีกด้วย

หมายเหตุ * เปลี่ยนชื่อจาก บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี จำกัด เป็น “บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด” ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2552

วันที่ 3 ธันวาคม 2552

ในด้านการขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศนั้น ไทยออยล์ ประสบความสำเร็จในการรับโอนกิจการค้าปลีกสารทำละลาย ในประเทศเวียดนามแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2552 ซึ่ง การขยายฐานธุรกิจด้านค้าปลีกสารทำละลายไปยังประเทศ เวียดนาม นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญทีจ่ ะเกือ้ หนุนเครือไทยออยล์ ในการขยายธุรกิจและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของเครือไทยออยล์ ไปสู่ลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ เพื่อเสริมสร้างความ สามารถในการบริการลูกค้าให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น ไทยออยล์ ยังสามารถใช้สถานีจ่ายน้ำมันทางรถแห่งใหม่และธุรกิจการ ขนส่งทางเรือของ บจ. ไทยออยล์มารีน เพื่อตอบสนองด้าน โลจิสติกส์ไปสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศเหล่านี้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

การบริหารทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาองค์กรให้ก้าวสู่ ความเป็น High Performance Organization

นอกเหนือจากการสร้างความสามารถในการแข่งขันและการ ดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจแล้ว ไทยออยล์ตระหนักเป็นอย่างดี ว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ด้วยความพร้อมและความ สามารถของบุคลากร รวมทั้งการพัฒนาระบบงานและการ

จัดองค์กรทีร่ องรับการเจริญเติบโตของธุรกิจด้วย ดังนัน้ ไทยออยล์ จึง ให้ ความใส่ ใจอย่ างมากในการพั ฒนาพนักงานตามสาย อาชี พ การส่ ง เสริ ม ค่ า นิ ย ม POSITIVE การสร้ า งความ ยอมรับในการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาระบบงานและการ บริหารจัดการองค์ความรู้ (KM: Knowledge Management) เพื่อทำให้สามารถดึงศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานให้สามารถ สร้ า งผลงาน รวมไปถึ ง การสร้ า งและพั ฒ นาที ม งานให้ มี ประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน จึงนับว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด

ที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด พนักงานควร ทำงานอย่างเต็มที่ ทำงานอย่างเห็นคุณค่า สร้างมาตรฐานใน การทำงานให้กับตนเอง รักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืน ในปีที่ผ่านมา ไทยออยล์ สามารถพัฒนาระบบการพัฒนา บุคลากรรายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) ต่อเนือ่ งจากการสร้างระบบการบริหารจัดการผลงาน (Performance

Management System: PMS) ที่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจ และวัฒนธรรมองค์กร ในขณะเดียวกันสามารถสร้างบรรยากาศ ในการพัฒนาและบริหารผลงานให้ดีที่สุด ส่งผลให้พนักงาน

027

มี ความหวั ง และผู ก พั น กั บ องค์ กรมากยิ่ ง ขึ้ น ทำให้ อ งค์ กร

มีความพร้อมที่จะจัดหาทรัพยากรบุคคลที่เป็นทั้งคนดีและ

คนเก่ง ซึ่งทำให้สามารถขยายธุรกิจได้ตามเป้าหมายอีกด้วย

การบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Total Quality Management: TQM)

เครือไทยออยล์ ให้ความสำคัญแก่การพัฒนามาตรฐานการ ทำงานและการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อส่งเสริมให้มี การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร โดยผสมผสานคุณภาพการ บริหารที่มุ่งความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขัน รวมทั้ง

มุ่งเน้นให้ทุกหน่วยงานมีการพัฒนากระบวนการที่เชื่อมโยง ภารกิจเชิงกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรจะ มุ่งสู่เป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ในปี 2552 ไทยออยล์ได้ยื่นรายงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) และได้มีการพัฒนาระบบการจัดการแบบบูรณาการ ส่งผลให้ไทยออยล์ได้รบั การรับรอง Integrated Management System จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) แบบ บู ร ณาการทั้ ง โรงกลั่ น โดยเป็ น โรงกลั่ น น้ ำ มั น ในประเทศ

รายแรกที่ได้รับการรับรองดังกล่าว


028

029

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ประมวลเหตุการณ์สำคัญในปี 2552

ประมวลเหตุการณ์สำคัญในปี 2552

เดือนมกราคม • ไทยออยล์ เสนอขายหุ้นกู้อายุ 5 ปี มูลค่า 12,000 ล้านบาท แก่นักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนรายย่อย • บจ. ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) ผ่านการรับรอง มาตรฐาน ISO 14001

เดือนมีนาคม • บมจ. ไทยลู้บเบส รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็น เลิศ (Thailand Quality Class: TQC) รางวัลด้านการ บริ ห ารจั ด การ ซึ่ ง ใช้ เ กณฑ์ การพิ จารณาเดี ย วกั บ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ซึ่งถือเป็นรางวัลระดับมาตรฐานโลก • บจ. ไทยพาราไซลี น ลงนามสั ญ ญาซื้ อ ขายสาร

เบนซีนจำนวนประมาณ 12,000-24,000 ตัน กับ บริษทั The Kuwait Styrene Co. (K.S.C.) ประเทศคูเวต • บจ. ท็อป โซลเว้นท์ ร่วมลงนามหนังสือยืนยันให้การ สนั บ สนุ น “กฎบั ต ร Responsible Care Global Charter” เพื่อแสดงเจตนารมณ์ความรับผิดชอบต่อ สั ง คม ทั้ ง ในการพั ฒ นางานดู แ ลผลิ ต ภั ณ ฑ์ การ พัฒนาอย่างยั่งยืน และการบริหารแบบบูรณาการให้ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ผลิตภัณฑ์สากล

เดือนกุมภาพันธ์ • บจ. ไทยพาราไซลีน ลงนามสัญญาซื้อขาย

สารพาราไซลีนจำนวนประมาณ 80,000 ตัน

กับบริษัท Mitsubishi Corporation ประเทศญี่ปุ่น

เดือนเมษายน • ไทยออยล์ บมจ. ไทยลู้บเบส และ บจ. ผลิตไฟฟ้า อิสระ (ประเทศไทย) รับรางวัล EIA Monitoring Awards 2008 ในฐานะองค์กรที่ปฏิบัติตามมาตรการ ในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมีการ จัดการสภาพแวดล้อมดีเด่น ประจำปี 2551 จาก สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม • บจ. ไทยพาราไซลี น ลงนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลง “โครงการส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ ป ระกอบการอุ ต สาหกรรม

มีความรับผิดชอบต่อสังคม” ประจำปี 2552 ของ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม • บจ. ไทยพาราไซลี น ลงนามสั ญ ญาซื้ อ ขายสาร

เบนซีนจำนวนประมาณ 36,000 ตัน และสารโทลูอีน จำนวน 12,000 ตัน กับบริษัท MITSUI & Co., LTD. ประเทศญี่ปุ่น

เดือนพฤษภาคม • บจ. ไทยออยล์ ม ารี น รั บ มอบเรื อ ไทยออยล์ 11

เรือขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีขนาด 7,000 ตันบรรทุก ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน • เครื อ ไทยออยล์ เทศบาลตำบลแหลมฉบั ง และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ร่วม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการผลิต ไบโอดี เ ซลชุ ม ชน เพื่ อ ลดมลภาวะจากน้ ำ มั น พื ช

เดือนมิถุนายน • ไทยออยล์ ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 มาตรฐาน EURO IV เป็นรายแรกและรายเดียว ของประเทศไทย หรื อ ก่ อ นกำหนดของภาครั ฐ ถึ ง

2 ปีครึ่ง • บจ. ท็อป โซลเว้นท์ ลงนามสัญญาจัดจ้างผู้รับเหมา ขนส่ง เพื่อขนส่งผลิตภัณฑ์โซลเว้นท์ทางบก จำนวน 2 ฉบับ ร่วมกับบริษทั เอส ซี แคริเออร์ จำกัด และ ห้างหุน้ ส่วนจำกัด นันทิญา

ใช้แล้ว รวมทั้งได้มอบเงินสนับสนุนมูลค่า 400,000 บาท เพื่อใช้ในการจัดซื้อเครื่องจักรผลิตไบโอดีเซล (กำลังการผลิต 75-250 ลิตรต่อวัน) • บมจ. ไทยลู้บเบส ประสบความสำเร็จในการพัฒนา สู ต รการผลิ ต ยางมะตอยเกรดใหม่ คื อ Polymer Modified Asphalt และ Bitumen 40-50

เดือนสิงหาคม • ไทยออยล์ และ บจ. ไทยพาราไซลี น รั บ มอบโล่ ประกาศเกียรติคุณโครงการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุ จากการทำงานให้เป็นศูนย์ (Zero Accident Awards) ระดับโล่ทอง ในฐานะสถานประกอบการที่ปราศจาก อุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานต่อเนื่องตั้งแต่ 10 ล้านชั่วโมง การทำงาน และโล่ทองแดง ในฐานะสถานประกอบ การที่ปราศจากอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานต่อเนื่องตั้งแต่ 1,000,0000-2,999,999 ชั่วโมงการทำงาน ตาม ลำดับ • บจ. ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ ลงนามสัญญา ความร่วมมือในการให้บริการทางด้านหลักสูตรการ ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร กับ บมจ. ไออาร์พีซี


030

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ประมวลเหตุการณ์สำคัญในปี 2552

เดือนกันยายน • ไทยออยล์ ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 มาตรฐาน EURO IV เป็นรายแรกของ ประเทศไทย • บจ. ไทยพาราไซลีน รับมอบโล่และเกียรติบัตรรับรองการปฏิบัติตามมาตรฐานความรับผิดชอบ ต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม (CSR - DIW)

เดือนตุลาคม • คุณสุรงค์ บูลกุล เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไทยออยล์ • บจ. ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม “The 5th Asia Pacific V 94.3 A / V 84.3 A User Group Conference Year 2009” ซึง่ เป็นการประชุมภายในกลุม่ ลูกค้าผู้ใช้เครือ่ งผลิตไฟฟ้ากังหันก๊าซ (Gas Turbine) รุน่ V 94.3 A และ V 84.3 A ของ บจ. ซีเมนส์ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก • บจ. ไทยพาราไซลีน ลงนามสัญญาซื้อขายสารพาราไซลีน จำนวนประมาณ 70,000-100,000 ตันต่อปี กับบริษัท Mitsubishi Corporation ประเทศญี่ปุ่น • บจ. ไทยพาราไซลีน รับมอบหนังสือรับรองการปฏิบัติตามมาตรฐานความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจไทย จาก

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ในฐานะองค์กรที่มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนด

ของมาตรฐานแรงงานไทยทุกข้อ ทัง้ ในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพการจ้างงาน ด้านสิทธิและคุม้ ครองแรงงาน

031

เดือนพฤศจิกายน • ไทยออยล์ รับมอบรางวัลคณะกรรมการแห่งปีดีเด่น (Board of the Year Awards) ประจำปี 2551/52 สะท้อนถึง

การดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ที่มีคุณภาพและประสิทธิผลในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น โดย กำกับดูแลการบริหารงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง สามารถสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นได้ในระยะยาว • ไทยออยล์ และ บจ. ท็อป โซลเว้นท์ รับโอนกิจการธุรกิจค้าปลีกสารทำละลายในประเทศเวียดนามจากกลุ่มเชลล์

แล้วเสร็จ โดยบริหารงานผ่าน บจ. ท็อป โซลเว้นท์ ซึ่งถือหุ้นอยู่ใน บจ. ท็อป โซลเว้นท์ เวียดนาม • ไทยออยล์ เป็นโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของประเทศที่ได้รับการรับรองระบบการจัดการแบบบูรณาการ (Integrated Management System: IMS) จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) แบบบูรณาการทั้งโรงกลั่น

เดือนธันวาคม • ไทยออยล์ ได้รับผลการประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

อยู่ในเกณฑ์ “ดีเลิศ” • ไทยออยล์ จัดพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรัตนมงคลสกลประชานาถมุนี พระพุทธรูปประจำบริษัทฯ เพื่อให้เกิดพระพุทธคุณ อย่างเต็มเปี่ยม โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สมเด็จเกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จ

พระสังฆราช โปรดเมตตามาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยเจ้าคณะและพระเถระชั้นผู้ ใหญ่ ให้เกียรติมาร่วมเจริญ พระพุทธมนต์ • บมจ. ไทยลู้บเบส จัดพิธีวางศิลาฤกษ์หน่วยผลิตน้ำมันยางมลพิษต่ำ (Treated Distillate Aromatics Extract: TDAE) หน่วยใหม่ (กำลังการผลิต 6,000 ตันต่อเดือน) เพื่อผลิตน้ำมันยางที่มีสาร Poly Cyclic Aromatics (PCA) เจือปน

ไม่เกินร้อยละ 3 • บจ. ไทยพาราไซลีน ได้รับการรับรองให้เป็นโรงปิโตรเคมีแห่งแรกของประเทศที่ได้รับการรับรองระบบการจัดการ

แบบบู ร ณาการ (Integrated Management System: IMS) จากสถาบั น รั บ รองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.)

แบบบูรณาการทั้งโรงงาน • บจ. ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) ผ่านการรับรองมาตรฐาน มอก. 18001


สรุปภาวะตลาดปี 2552 ภาวะตลาดและเศรษฐกิจโลก ในปี 2552

ปี 2552 โลกต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง เนื่องจากวิกฤติการเงินโลกที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2551 ใน สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลให้สถาบันการเงินต่างๆ ทั่วโลกต้องขาดทุนจำนวนมหาศาล บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งทั่วโลกต้องปิดตัว หรือทำการควบรวมกิจการ การลงทุนของภาคเอกชนก็ต้องหยุดชะงักหรือเลื่อนออกไป ขณะที่ค่าใช้จ่ายและการบริโภคหดตัวลง เนื่องจากรายได้ของผู้บริโภคปรับลดลงและมีการเลิกจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ของนักลงทุนในตลาด และทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์และราคาน้ำมันดิบปรับลดลงอย่างมากในช่วงปลายปี 2551 เชื่อมต่อกับ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา เศรษฐกิจในหลายประเทศเริ่มกลับมาขยายตัวอีกครั้ง หลังจากรัฐบาลทั่วโลกอัดฉีดเงินจำนวน มหาศาลเข้าสู่ระบบการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และธนาคารกลางของแต่ละประเทศก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ ระดับต่ำสุดเป็นประวัตกิ ารณ์ ซึง่ ช่วยให้เกิดการกระตุน้ การลงทุนในประเทศและการใช้จา่ ยของประชาชน บรรเทาความกังวลเกีย่ วกับ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน

ภาวะตลาดน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ในปี 2552

ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วงต้นปี เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันที่ปรับลดลงทั่วโลก ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันคงคลัง ทั่วโลกปรับเพิ่มสูงขึ้นจนทำสถิติสูงสุดในรอบหลายปี ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและความไม่มั่นใจของ

นักลงทุนในตลาด ส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากตลาดน้ำมันและตลาดหุ้นมายังตลาดเงินที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ในไตรมาสที่ 2 ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังตัวเลขเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ของรัฐบาลต่างๆ ส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นและเคลื่อนย้ายเงินเข้ามาลงทุนในตลาดน้ำมันและตลาดหุ้น เนื่องจากมีความ เชื่อว่า ราคาน้ำมันในอนาคตจะปรับเพิ่มสูงขึ้น และสามารถทำกำไรจากการเข้ามาลงทุนในตลาดน้ำมันได้ จะเห็นได้ว่าราคา น้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่เหนือระดับ 70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในช่วงนั้นไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก เนื่องจาก ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ (ปรับลดลง 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันจากปีก่อน) ขณะที่ปริมาณน้ำมัน คงคลังยังคงอยู่ในระดับสูง ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่เคยมีผลกระทบต่อราคาน้ำมัน เช่น ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศผู้ผลิต น้ำมันดิบ ฤดูเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นต้น ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันมากนักในช่วงปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงต้นปีนั้นเกิดจากการเก็งกำไรของนักลงทุน ส่งผลให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับเพิ่มสูงขึ้น เช่นกัน แต่เป็นการปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปได้รับผลกระทบจากปัจจัยพื้นฐาน (อุปสงค์และอุปทานในตลาด) โดยตรง เนื่องจากมีอุปสงค์น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดไม่มากนัก จึงส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างราคา น้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบในปีนี้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปีก่อนมาก

033

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 สรุปภาวะตลาดปี 2552

180

เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

032

ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ปี 2551 และ 2552

150 120 90 60 30 0

น้ำมันอากาศยาน

น้ำมันดีเซล

น้ำมันเบนซิน

น้ำมันดูไบ

น้ำมันเตา

ภาวะตลาดน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยปี 2552

ผลพวงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยในปี 2552 เศรษฐกิจ ไทยหดตัวลงมากถึงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งส่งผลให้การใช้น้ำมันสำเร็จรูปโดยรวมในประเทศชะลอตัวลง โดยเฉพาะ ปริมาณการใช้น้ำมันอากาศยานปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 6 เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศและปัญหา

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวปรับลดลง เช่นเดียวกับปริมาณการใช้น้ำมันเตาที่ปรับลดลง เนื่องจากโรงไฟฟ้าเปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับปี 2551 ปริมาณการใช้น้ำมัน เบนซินและน้ำมันดีเซลได้ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 และร้อยละ 5 ตามลำดับ อันเป็นผลมาจากนโยบายควบคุมราคาของภาครัฐ เนือ่ งจากราคาน้ำมันในตลาดโลกทีป่ รับลดลงมากในช่วงต้นปี ขณะทีก่ า๊ ซปิโตรเลียมเหลวมีปริมาณการใช้เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 7 ส่งผลให้ ต้องมีการนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวเพิ่มขึ้น บาร์เรลต่อวัน

อุปสงค์น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศ ปี 2551 และ 2552

800,000 700,000 600,000 500,000 400,000 300,000 200,000 100,000 0 2551

2552

น้ำมันเตา

น้ำมันดีเซล

น้ำมันอากาศยาน

น้ำมันเบนซิน

กาซหุงตม

ที ่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)

ทางด้านอุปทานน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศ ในปี 2552 โรงกลั่นในประเทศมีปริมาณการกลั่นรวมอยู่ที่ 939,438 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2552) โดยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากปี 2551 เนื่องจาก การขยายกำลังการผลิตของโรงกลั่น บมจ. ปตท. อะโรเมติกส์และการกลัน่ ในช่วงครึง่ แรกของปี 2552 โดยในปี 2552 ไทยออยล์ ยังคงมีสดั ส่วนการกลัน่ เป็นอันดับหนึง่ ของ ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 29 ของปริมาณการกลั่นรวมของทั้งประเทศ


บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 สรุปภาวะตลาดปี 2552

035

สัดส่วนปริมาณการกลั่นของโรงกลั่นภายในประเทศ

29%

ภาวะตลาดตัวทำละลายในปี 2552

ไทยออยล

15% พ�ทีทีเออาร

9% บางจาก

1%

16% สตาร ปโตรเลียม ร�ไฟนนิ�ง

15%

15%

ไออารพ�ซ�

ภาวะตลาดเรือขนส่งน้ำมันใส/ปิโตรเคมีในปี 2552

เอสโซ

อื่นๆ

ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)

รวม 939,438 บาร์เรลต่อวัน

ภาวะตลาดอะโรเมติกส์ปี 2552

ตลาดอะโรเมติกส์ในปี 2552 ค่อนข้างผันผวน เนื่องจากอุปสงค์หดตัวอย่างหนักจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก โดยใน

ไตรมาสที่ 1 ส่วนต่างราคาสารเบนซีนกับวัตถุดบิ ยังคงติดลบ ทำให้โรงอะโรเมติกส์หลายแห่งในภูมภิ าคตัดสินใจลดกำลังการผลิตลง ขณะทีค่ วามต้องการของสารพาราไซลีนกลับเข้ามาในตลาดเร็วกว่าทีค่ าด ส่งผลให้อปุ ทานสารพาราไซลีนเกิดภาวะตึงตัวและผลักดัน ให้ราคาปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจนถึงเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตาม ราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ได้ปรับลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 เนื่องจากมีอุปทานเข้ามาในตลาด เพิ่มเติม หลังโรงอะโรเมติกส์จากประเทศจีน 2 แห่งและจากตะวันออกกลาง 1 แห่งเริ่มเปิดดำเนินการ และสามารถเดินเครื่องได้ เต็มกำลังการผลิต ส่วนในช่วงไตรมาสที่ 4 ราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ก็ปรับขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่มีโรงกลั่นหลายแห่งลดการ ผลิตลง ส่งผลให้วตั ถุดบิ สำหรับโรงอะโรเมติกส์ขาดหายไปด้วย ประกอบกับเกิดภาวะแนฟทาขาดแคลนในตลาด ทำให้ราคาแนฟทา ซึง่ ใช้เป็นวัตถุดบิ ป้อนโรงอะโรเมติกส์ปรับเพิม่ สูงขึน้ และเป็นผลกระทบให้ราคาอะโรเมติกส์ปรับเพิม่ สูงขึน้ ไปด้วยในช่วงปลายปี

ภาวะตลาดน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานในปี 2552

ปี 2552 เป็นปีที่อุตสาหกรรมสารทำละลายได้รับผลกระทบค่อนข้างสูงจากวิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลให้ความต้องการในประเทศปรับ ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ ชิ้นส่วน ยางรถยนต์ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง อุตสาหกรรมสารเคลือบผิว กาว หมึกพิมพ์ อุตสาหกรรมเคมี ประกอบกับผู้ผลิตสินค้าบางรายมีการย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การผลิต ในประเทศเริ่มกระเตื้องขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 เนื่องจากเริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา ในส่วนของอุปทานนั้นพบว่า มีการผลิตสาร ทำละลายในประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้า ขณะที่อุปสงค์ปรับลดลง ทำให้ผู้ผลิตสารทำละลายในประเทศก็จำเป็นจะต้อง ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศ เพื่อช่วยลดปัญหาด้านราคาผลิตภัณฑ์ในประเทศที่เกิดการแข่งขันสูงขึ้น

จากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 ได้ส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานในภูมิภาคชะลอตัวลง อย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาถึงช่วงครึ่งแรกของปี 2552 อย่างไรก็ดี ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวมีส่วนช่วยให้ความต้องการใช้ น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานโดยรวมในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ปรับตัวดีขึ้น โดยความต้องการใช้น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานโดยรวมใน ประเทศได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปี 2551 ส่วนทางด้านอุปทานน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานในปี 2552 ได้ปรับลดลง เนื่องมาจากการที่โรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานในสหรัฐฯ และยุโรปหลายแห่งได้ปิดตัวลงจากความไม่คุ้มทุน เนื่องจากอุปสงค์

ในสหรัฐฯ และยุโรปได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก ส่งผลให้โรงกลั่นทางตะวันตกจำเป็นต้องส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น

พืน้ ฐานมายังทวีปเอเชียทีย่ งั คงมีอปุ สงค์ในระดับสูง แต่ดว้ ยระยะทางการขนส่งทีค่ อ่ นข้างไกล จึงทำให้โรงกลัน่ น้ำมันหล่อลืน่ พืน้ ฐาน ในสหรัฐฯ และยุโรปไม่สามารถแข่งขันกับโรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานในเอเชียได้ จึงเป็นที่มาของการปิดตัวลงของโรงกลั่น น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานในสหรัฐฯ และยุโรป ส่งผลให้ราคาน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 เป็นต้นมา

ราคาค่าระวางเรือขนส่งน้ำมันใส/ปิโตรเคมีในปี 2552 ค่อนข้างผันผวน โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 นั้น ค่าระวางเรือยังไม่ได้รับ

ผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจมากนัก โดยยังมีความต้องการใช้เรือเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากประเทศจีน ซึ่งเป็น ผลมาจากการที่รัฐบาลจีนได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับมีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจำนวนมากเพื่อมาเก็บ เป็นสินค้าคงคลังในช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ จากนั้นค่าระวางเรือขนส่งน้ำมันใส/ปิโตรเคมีเริ่มปรับลดลงตามภาวะการชะลอตัว

ของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลให้ความต้องการใช้เรือขนส่งน้ำมันใส/ปิโตรเคมีปรับลดลงด้วย ประกอบกับมีเรือปิโตรเคมีใหม่ๆ เข้ามาในตลาดเป็นจำนวนมากในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ส่งผลให้ตลาดเรือมีสภาวะอุปทานมากกว่าอุปสงค์ กดดันค่าระวางเรือ ให้ปรับลดลงในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เศรษฐกิจโลกเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ส่งผลให้ความ ต้องการใช้เรือขนส่งน้ำมันใส/ปิโตรเคมีมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

ภาวะตลาดเอทานอลในปี 2552

ในปี 2552 มีโรงงานผลิตเอทานอลในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 17 แห่ง (กำลังการผลิตรวมประมาณ 2.6 ล้านลิตรต่อวัน) ขณะที่มี ปริมาณการใช้น้ำมันแก๊ซโซฮอล์ในประเทศปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 12.2 ล้านลิตรต่อวัน จาก 9.3 ล้านลิตรต่อวันในปี 2551 ซึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 อุปทานเอทานอลเกิดภาวะตึงตัว เนื่องจาก

กากน้ำตาลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลมีราคาสูงและมีปริมาณจำกัด ส่งผลให้ผู้ผลิตเอทานอลมีวัตถุดิบไม่เพียงพอ

ในการผลิ ต เอทานอล ประกอบกั บ โรงงานเอทานอลที่ ใ ช้ มั น สำปะหลั ง เป็ นวั ต ถุ ดิ บ ยั ง อยู่ ใ นช่ ว งเริ่ ม ต้ น ของการผลิ ต จึ ง ยั ง

ไม่สามารถเดินเครื่องได้เต็มกำลังการผลิต ส่งผลให้ราคาเอทานอลในประเทศปรับเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงดังกล่าว

ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าในปี 2552

ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศปรับตัวลดลงนับแต่เศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงปลายปี 2551 ต่อเนื่องมาจนถึงกลางปี 2552 จากนั้น การใช้ไฟฟ้าได้เริ่มปรับสูงขึ้นอีกครั้ง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้ารวมของประเทศในปี 2552 (ช่วงระยะเวลา 11 เดือน) อยู่ที่ 123,761 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งปรับลดลงร้อยละ 0.93 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 โดย บ้านเรือนและที่อยู่อาศัยมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 2.7 ส่วนภาคธุรกิจใช้ ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 2.8 ทางด้านกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในปี 2552 (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม) อยู่ที่ 29,212 เมกกะวัตต์ปรับลดลงร้อยละ 2.3 เมือ่ เทียบกับปีกอ่ น โดยแบ่งออกเป็นการผลิตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร้อยละ 49 ผูผ้ ลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ร้ อ ยละ 42 ผู้ ผ ลิ ต ไฟฟ้ า เอกชนรายย่ อ ย (SPP) ร้ อ ยละ 7 และนำเข้ า จากประเทศเพื่ อ นบ้ า นร้ อ ยละ 2 โดย

ก๊าซธรรมชาติยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ โดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 71 ส่วนเชื้อเพลิงอื่นๆ ได้แก่ ถ่านหินและลิกไนต์ มีสดั ส่วนร้อยละ 20, พลังน้ำ ร้อยละ 5, น้ำมันเตา ร้อยละ 0.5, นำเข้า ร้อยละ 1.5 และแหล่งอืน่ ๆ ร้อยละ 2 ส่วนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (ค่าเอฟที) มีการปรับเพิ่มขึ้น 14.85 สตางค์ต่อหน่วย มาอยู่ที่ 92.55 สตางค์ต่อหน่วย


036

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขันในอนาคต

037

ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขันในอนาคต ภาวะตลาดและเศรษฐกิจโลกในปี 2553

เศรษฐกิจโลกในปี 2553 จะกลับมาขยายตัวอีกครั้งในอัตราร้อยละ 3.9 โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์วา่ เศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วจะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 2.1 ในขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนา นำโดยจีนและอินเดีย

จะเติบโตในอัตราทีเ่ ร็วกว่าทีป่ ระมาณร้อยละ 6 โดยเชือ่ ว่าภาคการเงินทัว่ โลกยังคงมีความเสีย่ งอยู่ เนือ่ งจากภาคธนาคารยังมีภาระ ต้องจัดการกับหนี้เสียอีกจำนวนมาก จึงเห็นว่าการช่วยเหลือของรัฐบาลประเทศต่างๆ ผ่านแผนกระตุ้นเศรษฐกิจยังคงมีความ จำเป็นอยู่ และหากการช่วยเหลือของรัฐบาลต้องหยุดชะงักลงไป จะเป็นความเสี่ยงหลักที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทาง เศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ ตัวเลขอัตราการว่างงานที่สูงมากทั่วโลก ทำให้การใช้จ่ายของประชาชนมีแนวโน้มลดลง ซึ่งส่งผลให้การ ขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยคาดว่าอัตราการว่างงานในประเทศที่พัฒนาแล้วน่าจะอยู่ในระดับสูงไปตลอดปี ในปี 2553 รัฐบาลต่างๆ ทั่วโลก จะต้องเผชิญกับความท้าทายในเรื่องนโยบายเกี่ยวกับการยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยแบ่ง เป็น 2 แนวทาง คือดำเนินแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างแท้จริง โดยแลกกับความเสี่ยงกับการที่หนี้ ของรัฐบาลที่จะปรับเพิ่มขึ้น หรือตัดสินใจชะลอมาตรการการช่วยเหลือภาคธุรกิจสถาบันการเงินและประชาชน โดยผ่านการลด การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ต้องเผชิญความเสี่ยงกับการที่เศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลงอีก และ สถาบันการเงินอาจจะกลับมามีปัญหาอีกครั้ง คาดหมายว่าประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น จีนและอินเดีย น่าจะสามารถดำเนิน นโยบายการเงินแบบตึงตัวได้ก่อนประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากระบบเศรษฐกิจมีปัญหาน้อยกว่า ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่เศรษฐกิจถดถอยรุนแรงกว่า รัฐบาลในประเทศเหล่านั้นน่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนไปได้อีกระยะหนึ่ง เพื่อ ให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังไม่มีปัญหาเรื่องภาวะเงินเฟ้อมากดดันให้ต้องรีบออกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยคาดว่าสหรัฐฯ น่าจะเป็นประเทศสุดท้ายที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (ในช่วงกลางปี 2553) ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินสกุลดอลลาร์ สหรัฐฯ อ่อนค่าในระยะยาว

ภาวะตลาดน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปในปี 2553

คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบในปี 2553 จะยังคงผันผวนเฉลี่ยอยู่ที่ 75-80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับสูงขึ้นจากราคาเฉลี่ย

ในปี 2552 ทีป่ ระมาณ 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากความต้องการใช้นำ้ มันของโลกทีม่ แี นวโน้มปรับตัวสูงขึน้ ตามการฟืน้ ตัว ของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันคงคลังทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูงตลอดปี 2552 เริ่มปรับลดลง โดยการเคลื่อนไหว ของราคาน้ำมันดิบน่าจะยังคงผันผวน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้ อุปสงค์น้ำมันสำเร็จรูป: การใช้น้ำมันของโลกในปี 2553 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ประมาณ การความต้องการใช้น้ำมันของโลกในปี 2553 จะอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 86.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ปรับเพิ่มขึ้น 1.44 ล้านบาร์เรล

ต่อวันจากปี 2552 โดยส่วนใหญ่มาจากประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น จีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ในขณะที่ความต้องการใช้ น้ำมันของสหรัฐฯ และยุโรป แม้ว่าจะกลับมาขยายตัวอีกครั้ง แต่ก็ปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนักและยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าความ ต้องการใช้จะกลับมาสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอีกครั้ง อุปทานน้ำมันดิบและบทบาทของโอเปค: กำลังการผลิตน้ำมันดิบส่วนเกินในตลาดคาดว่าจะยังคงมีอยู่ แต่จะค่อยๆ เข้าสู่ภาวะ สมดุลเมื่อความต้องการใช้น้ำมันของโลกปรับเพิ่มขึ้น โดยโอเปคจะติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะ ปรับเพิ่มเพดานการผลิตอย่างทันท่วงที เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันไม่ให้สูงเกินไปจนทำให้การใช้น้ำมันหดตัวลงอย่างหนัก เหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในปี 2551 คาดว่าโอเปคน่าจะยังคงรักษาเพดานการผลิตที่ระดับ 24.84 ล้านบาร์เรลต่อวันไปจนถึงกลาง

ปีหน้า จนกว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังทั่วโลกเริ่มลดลงกลับเข้าสู่ระดับปกติ

ปริมาณน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปคงคลัง: ปริมาณน้ำมันคงคลังทัว่ โลกปรับตัวสูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ งนับจากปลายปี 2551 โดยเฉพาะ น้ำมันดีเซลคงคลังที่มีอยู่ในระดับที่สูงมากเป็นประวัติการณ์ ทั้งที่เก็บไว้ในถังและเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ โดยปริมาณน้ำมัน คงคลังน่าจะค่อยๆ ปรับลดลง ซึ่งจะเริ่มเห็นชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 หลังจากที่การใช้น้ำมันเริ่มฟื้นตัวตามสภาวะ เศรษฐกิจที่จะปรับตัวดีขึ้น คาดว่าในช่วงกลางปีปริมาณน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังน่าจะลดลงกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ กำลังการผลิตของโรงกลั่นในภูมิภาค: ในปี 2553 กำลังการผลิตน้ำมันของโรงกลั่นน้ำมันในภูมิภาคจะปรับเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้าน บาร์เรลต่อวันหลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นไปแล้วถึง 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2552 ซึ่งกำลังการผลิตส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นมาจากจีน และอินเดีย โดยกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้นจะกดดันให้โรงกลั่นในภูมิภาค รวมทั้งในยุโรปและสหรัฐฯ ที่เป็นโรงกลั่นที่มีค่าใช้จ่าย ดำเนินงานสูง ไม่ทันสมัย และไม่ครบวงจร อาจจะต้องปรับลดการผลิตลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่โรงกลั่นที่ไม่มีกำไรอาจจะต้อง ปิดตัวไปอย่างถาวร ดังที่เริ่มเห็นตัวอย่างบ้างแล้วในสหรัฐฯ ที่มีโรงกลั่นปิดตัวลงจากภาวะขาดทุนสะสมในช่วงปลายปี 2552 อย่างไรก็ตาม คาดว่าสถานการณ์การผลิตของโรงกลั่นในปี 2553 น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2552 หลังจากที่ความต้องการใช้น้ำมัน

ทั่วโลกมีทิศทางสูงขึ้น และอุปทานส่วนเกินน่าจะปรับลดลงจากการลดกำลังการผลิตของโรงกลั่นที่มีผลการดำเนินงานไม่คุ้มทุน การเก็งกำไรของกองทุน และการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน: ในปี 2553 คาดว่านักลงทุนจะยังคงเคลื่อนย้ายเงินลงทุนมายังตลาด น้ำมันเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือจากการอัดฉีดเงินจำนวนมากเข้าสู่ระบบเงินโดยรัฐบาลทั่วโลก ในขณะทีภ่ าคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ยังคงเปราะบาง ทำให้นกั ลงทุนยังไม่กล้านำเงินเข้าไปลงทุนซือ้ สินทรัพย์ถาวร รวมทัง้ นักลงทุนยังคงมีความอ่อนไหวต่อข่าวการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลให้การเคลื่อนย้ายเงินในตลาดเงิน ตลาดหุ้น และ ตลาดน้ำมันมีมากขึ้น นอกจากนี้ ค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2553 มีแนวโน้มอ่อนค่า จะเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้มีการ

ลงทุนในตลาดน้ำมันเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการอ่อนค่าของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้

จะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในปี 2553 มีความผันผวนมากขึ้น โดยเชื่อว่ามาตรการของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการ ป้องกันการเก็งกำไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์จะยังไม่สามารถป้องกันการเก็งกำไรของนักลงทุนได้ สถานการณ์การเมืองภายในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ: ปัญหาโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านกับชาติตะวันตก และเหตุการณ์ความ ไม่สงบภายในประเทศของไนจีเรียน่าจะยังคงดำเนินต่อไปในปี 2553 แต่ผลกระทบต่อราคาน้ำมันนั้นไม่น่าจะมากนัก ในภาวะที่ กำลังการผลิตน้ำมันดิบส่วนเกินในตลาดยังมีอยู่ค่อนข้างมาก คาดว่าปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นน่าจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัว

สูงขึ้นเฉพาะในช่วงสั้นๆ เท่านั้น สภาพภูมิอากาศ: ความต้องการใช้น้ำมันเบนซินจะปรับสูงขึ้นในช่วงฤดูท่องเที่ยวหน้าร้อนของสหรัฐฯ (ปลายเดือนพฤษภาคม เดือนสิงหาคม) ส่วนการใช้น้ำมันดีเซลเพื่อทำความร้อนจะปรับสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว (เดือนธันวาคม - เดือนมีนาคม) ซึ่งปกติจะ เป็นช่วงที่ราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นตามลำดับ ส่วนฤดูกาลเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก (เดือนกรกฎาคม - เดือนพฤศจิกายน) อาจจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวสูงขึน้ ได้ในระยะสัน้ ถ้าพายุเฮอริเคน ส่งผลทำให้การผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในบริเวณอ่าวเม็กซิโกต้องหยุดดำเนินการชัว่ คราวหรือเกิดความเสียหาย อย่างเช่น พายุเฮอริเคนแคทรีน่าในปี 2548

ภาวะตลาดน้ำมันในประเทศปี 2553

เศรษฐกิจไทยในปี 2553 มีแนวโน้มปรับตัวดีขนึ้ ตามการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจโลก โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2553 จะเติบโตร้อยละ 3-4 เมื่อเทียบกับปี 2552 โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะส่งผล ให้การบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศโดยรวมปรับสูงขึ้นด้วย คาดการณ์ว่าการใช้น้ำมันสำเร็จรูปโดยรวมในประเทศในปี 2553 จะปรับเพิม่ ขึน้ ประมาณร้อยละ 2 จากปี 2552 โดยความต้องการใช้นำ้ มันอากาศยานจะปรับตัวสูงขึน้ มาก หลังจากหดตัวมากถึง


038

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขันในอนาคต

ร้อยละ 5 ในปี 2552 ส่วนการใช้กา๊ ซหุงต้มก็คาดว่าน่าจะยังคงขยายตัวเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งจากนโยบายภาครัฐทีย่ งั คงตรึงราคา ก๊าซหุงต้มต่อไป อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงหากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วหรือมากกว่าที่คาดไว้ รวมถึงปัญหาทางการเมืองในประเทศและ ปัญหาจากประเด็นการพิจารณากรณีผลกระทบสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมนิคมมาบตาพุดที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการ ตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชน รวมทั้งธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศด้วย ด้านปริมาณการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวเพิม่ ขึน้ เช่นกันจากการขยายกำลังการผลิตของโรงกลัน่ ในประเทศ ในปี 2552 ทีผ่ า่ นมา ซึง่ จะส่งผลให้การแข่งขันในตลาดภายในประเทศทวีความรุนแรงขึน้ ประกอบกับนโยบายของภาครัฐทีผ่ ลักดัน ให้มีการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอทานอลและไบโอดีเซล

ภาวะตลาดตัวทำละลายในปี 2553

ภาวะตลาดอะโรเมติกส์ในปี 2553

ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ในปี 2553 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าความ ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์น่าจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 5 เทียบจากปีก่อน เนื่องจากผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์เป็น ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าอุปโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ได้แก่ สิ่งทอ บรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะส่งผลให้การผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเหล่านี้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย ส่วนด้านอุปทานของโรงอะโรเมติกส์ในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2553 หลังจากที่มีโรงอะโรเมติกส์ใหม่หลายแห่ง

ทัง้ ในประเทศจีนและภูมภิ าคตะวันออกกลางได้เปิดดำเนินการไปแล้วในปี 2552 อีกทัง้ ยังมีโรงโอเลฟินส์อกี 5 แห่งในภูมภิ าคเอเชีย ซึ่งมีผลิตภัณฑ์พลอยได้เป็นสารอะโรเมติกส์ที่จะเริ่มเปิดดำเนินการในปี 2553 ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอุปทานในตลาดมากขึ้น และเป็น ปัจจัยกดดันราคาอะโรเมติกส์ในปี 2553 และอัตรากำลังการผลิตของโรงอะโรเมติกส์ในภูมิภาคโดยรวมให้ปรับลดลง อย่างไร ก็ตาม ราคาอะโรเมติกส์อาจจะได้รับแรงสนับสนุนและปรับตัวสูงขึ้นได้ หากโรงอะโรเมติกส์ใหม่เลื่อนการเปิดดำเนินการออกไป รวมทัง้ ปัญหาวัตถุดบิ ตัง้ ต้นไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ถ้าโรงกลัน่ น้ำมันยังคงกำลังการผลิตไว้ทรี่ ะดับต่ำ ประกอบกับโรงโอเลฟินส์ ที่ใช้แนฟทาเป็นวัตถุดบิ ตัง้ ต้นลดการผลิตลงเนือ่ งจากไม่สามารถแข่งขันกับโรงโอเลฟินส์ในแถบตะวันออกกลางที่ใช้กา๊ ซธรรมชาติ เป็นวัตถุดิบได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจจะส่งผลให้การผลิตผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ต้องปรับลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาอะโรเมติกส์ ปรับตัวกลับขึ้นมาได้

ภาวะตลาดน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานในปี 2553

คาดว่าในปี 2553 ความต้องการน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานในภูมิภาคจะปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5 จากสภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น และความต้องการใช้ในประเทศจะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ทั้งนี้ การปรับเพิ่มขึ้นของอุปสงค์น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานส่วนใหญ่จะ เป็นการปรับเพิ่มขึ้นของความต้องการน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานกลุ่ม 2 และ 3 เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานกลุ่ม 1 ที่ไทยออยล์ผลิตอยู่นั้น ยังคงมีสัดส่วนการตลาดในภูมิภาคอยู่มากถึงร้อยละ 70 ส่วนด้านอุปทานน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานนั้น คาดว่าจะมีการทยอยปิดโรงงานที่ผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานกลุ่ม 1 ลงไปบ้างใน

ปี 2553 โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐฯ เนื่องจากอุปสงค์ส่วนใหญ่ของน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานกลุ่ม 1 อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดังนั้นการปิดตัวลงของโรงงานที่ค่าใช้จ่ายสูงในยุโรปและสหรัฐฯ จะส่งผลให้ราคาน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน โดยเฉพาะน้ำมันหล่อลื่น พื้นฐานชนิดหนัก มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นด้วย

039

ตลาดตัวทำละลายในปี 2553 มีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากที่ได้ รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2551 โดยความต้องการใช้ตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่างๆ

มีแนวโน้มปรับเพิม่ ขึน้ จากอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนือ่ งทีเ่ ริม่ ฟืน้ ตัว โดยมีการผลิตรถยนต์ ชิน้ ส่วน และยางรถยนต์ ในประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งการผลิตเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศก็มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย ส่วนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม

อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้การใช้ตัวทำละลาย

ในกระบวนการผลิตหรือทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เหล่านี้ปรับสูงขึ้นตามไปด้วย

ภาวะตลาดเรือในปี 2553

ภาวะโดยรวมของตลาดเรือมีแนวโน้มปรับตัวดีขนึ้ ในปี 2553 ซึง่ มีสาเหตุหลักมาจากปริมาณการค้าภายในภูมภิ าคทีข่ ยายตัวสูงขึน้ ทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี โดยเฉพาะความต้องการเรือสำหรับการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ขนาดระวาง บรรทุก 5,000-10,000 ตันบรรทุก (DWT) โดยคาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกและนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีภายในภูมิภาค เอเชียจะปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะจากประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไทย และไต้หวัน นอกจากนั้นปริมาณการส่งออกน้ำมันปาล์ม

ที่เพิ่มมากขึ้นจากมาเลเซียและอินโดนีเซียไปยังจีน ไทย อินเดีย และบังคลาเทศ ตามแนวโน้มการใช้พลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้น มากขึน้ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึง่ ทีช่ ว่ ยสนับสนุนความต้องการใช้เรือภายในภูมภิ าค นอกเหนือจากภาวะการค้าทีป่ รับตัวดีขนึ้ ผลจากการ ประกาศใช้กฎข้อการเดินเรือระหว่างประเทศใหม่ที่เกี่ยวกับการบังคับใช้เรือชนิดเปลือกสองชั้น (Double hull) ก็เป็นอีกปัจจัย

ที่สนับสนุนแนวโน้มภาพตลาดเรือในปี 2553

ภาวะตลาดเอทานอลในปี 2553

ภาวะตึงตัวของเอทานอลจะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลมากขึ้นในปี 2553 จากปริมาณกากน้ำตาลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามผลผลิตอ้อยที่มีการปลูกมากขึ้น อีกทั้งจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตจากโรงงานเอทานอลที่ใช้มันสำปะหลังเป็น วัตถุดิบเพิ่มเข้ามาในตลาด ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดปัญหาอุปทานเอทานอลตึงตัวจากปริมาณกากน้ำตาลไม่เพียงพอลงได้ นอกจากนี้ ความผันผวนของราคาเอทานอลในปี 2553 น่าจะปรับลดลงหลังจากที่โรงงานเอทานอลที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบเหล่านี้เปิด ดำเนินการอย่างเต็มที่ และผลิตเอทานอลป้อนเข้าสู่ตลาดมากขึ้น โดยในปี 2553 คาดว่าจะมีโรงงานผลิตเอทานอลรวมทั้งสิ้น 19 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2552 จำนวน 2 แห่ง มีกำลังการผลิตโดยรวม เท่ากับ 2.875 ล้านลิตรต่อวัน (คิดเป็นสัดส่วนของกำลังการผลิต ที่ผลิตจากกากน้ำตาล: มันสำปะหลัง: น้ำอ้อย = 62: 31: 7) คาดว่าปริมาณการผลิตเอทานอลจะมีเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ในขณะที่ปริมาณการใช้เอทานอลในประเทศของปี 2553 น่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นปริมาณต่อวันอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านลิตร

ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าในปี 2553

ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในประเทศในปี 2553 มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบจากปี 2552 โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้า ในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจจะเริ่มปรับสูงขึ้นอีกครั้งตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น และนโยบายของภาครัฐ

ที่ประกาศตรึงราคาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที ในระดับคงที่ไปจนถึงเดือนสิงหาคม ส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าในปี 2553 คาดว่า จะปรับเพิ่มขึ้น 1,620 เมกกะวัตต์ โดยมาจากโครงการเขื่อนน้ำเทิน 2 สปป.ลาว

920 เมกกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ 700 เมกกะวัตต์


040

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 โครงการในอนาคต

041

โครงการในอนาคต ไทยออยล์วางแผนกลยุทธ์การลงทุนของเครือไทยออยล์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมศักยภาพในการดำเนินธุรกิจให้มีการ เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ตลอดจนเพิ่มเสถียรภาพเพื่อรองรับความผันผวนของอุตสาหกรรมน้ำมัน และปิโตรเคมีในอนาคต โดย มุ่งเน้นการขยายงานด้านการกลั่นน้ำมันที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง การเพิ่มมูลค่าของ ผลิตภัณฑ์ การลงทุนเพิม่ เติมในธุรกิจไฟฟ้าและพลังงานทดแทน เพือ่ ก้าวสูก่ ารเป็นกลุม่ บริษทั พลังงานชัน้ นำในภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ

โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

• โครงการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปตามมาตรฐาน EURO IV ไทยออยล์ได้ริเริ่มโครงการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปมาตรฐาน EURO IV ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อรองรับมาตรฐานใหม่ที่จะมีการ

บังคับใช้ในปี 2555 โดยไทยออยล์สามารถผลิตน้ำมันดีเซลตามมาตรฐาน EURO IV ออกสู่ตลาดได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ก่อนกำหนดถึง 4 ปี นับเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการดูแลสภาวะแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยให้ ไทยออยล์สามารถขยายตลาดน้ำมันดีเซลในประเทศได้มากขึ้น ในส่วนของการผลิตน้ำมันเบนซิน ไทยออยล์สามารถผลิตและจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ตามมาตรฐาน EURO IV ในเดือนมิถุนายนและเดือนกันยายนตามลำดับ และไทยออยล์มีโครงการที่จะสร้างหน่วยลดกำมะถันในองค์ประกอบ

น้ำมันเบนซิน CCG (Catalytic Cracking Gasoline) เพื่อลดปริมาณกำมะถันในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้ตรงตามมาตรฐาน EURO IV ตามกำหนดบังคับใช้ในปี 2555 โดยไทยออยล์ได้เลือกใช้เทคโนโลยี Prime G+ ของบริษัท Axens และมีบริษทั Technip เป็นผูร้ บั เหมาโครงการ เงินลงทุนของโครงการคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,600 ล้านบาท ในขณะนีก้ ำลังอยู่ในช่วง การออกแบบทางวิศวกรรม และจัดซื้ออุปกรณ์สำคัญ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ซึ่งจะทำให้ ไทยออยล์สามารถผลิตและจำหน่ายน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินทุกชนิดได้ตามมาตรฐาน EURO IV ทั้งหมด • โครงการผลิตสาร TDAE ของ บมจ. ไทยลู้บเบส บมจ. ไทยลู้บเบสได้ดำเนินโครงการก่อสร้างหน่วยผลิตสาร TDAE เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์น้ำมันยาง (Extract) ให้เป็น น้ำมันยางมลพิษต่ำ (Treated Distillate Aromatic Extract: TDAE) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารอะโรเมติกส์หนัก (Poly Cyclic Aromatic: PCA) ในปริมาณที่ต่ำกว่าร้อยละ 3 เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางรถยนต์มาตรฐานสูงที่จะมี

ผลบังคับใช้ในกลุ่มประเทศประชาคมยุโรปในปี 2553 ขัน้ ตอนการออกแบบทางวิศวกรรมของโครงการแล้วเสร็จ และกำลังอยูร่ ะหว่างการจัดซือ้ อุปกรณ์ และเริม่ ดำเนินการก่อสร้าง และโครงการผลิตสาร TDAE ดังกล่าว มีมลู ค่าการลงทุน 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะทำให้ บมจ. ไทยลูบ้ เบสสามารถผลิต TDAE เพิม่ ขึน้ เป็น 67,000 ตันต่อปี โดยคาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ และดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในต้นปี 2554 • โครงการขยายกองเรือของ บจ. ไทยออยล์มารีน บจ. ไทยออยล์มารีนมีแผนงานจัดซื้อเรือขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีเพื่อรองรับความต้องการขนส่งผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีของกลุม่ ปตท. ทีเ่ พิม่ สูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ งโดยแบ่งแผนการขยายกองเรือเป็น 2 ระยะ โดยในระยะแรก ไทยออยล์มีแผนจัดซื้อเรือทั้งสิ้น 4 ลำ และได้จัดซื้อเรือและรับมอบแล้วจำนวน 3 ลำ ประกอบด้วยเรือขนส่งผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมีขนาด 7,000 ตันบรรทุก (DWT) จำนวน 2 ลำ และเรือขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมขนาด 30,000 ตันบรรทุก (Medium Range Vessel) จำนวน 1 ลำ ส่วนเรือปิโตรเคมีที่เหลืออีก 1 ลำ กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดซื้อ สำหรับ ระยะที่ 2 นัน้ บจ. ไทยออยล์มารีนมีแผนงานจัดซือ้ เรือขนส่งผลิตภัณฑ์ปโิ ตรเคมีขนาด 7,000 ตันบรรทุก จำนวน 2 ลำ ขนาด 3,000 ตันบรรทุก จำนวน 1 ลำ และเรือขนส่งผลิตภัณฑ์ปโิ ตรเลียมขนาด 40,000 ตันบรรทุก จำนวน 1 ลำ โดยมีกำหนด

ส่งมอบเรือในช่วงปี 2553 - 2555

นอกจากนี้ ภายในปี 2555 บจ. ไทยออยล์มารีนมีแผนการจัดซือ้ เรือขนส่งผลิตภัณฑ์ปโิ ตรเคมีขนาด 7,000 ตันบรรทุก เพือ่ มา ทดแทนเรือเก่าทีจ่ ะหมดอายุการใช้งานอีกจำนวน 2 ลำ ซึง่ จากโครงการขยายกองเรือดังกล่าวข้างต้นทัง้ หมด บจ. ไทยออยล์มารีน ตั้งเป้าที่จะรองรับความต้องการใช้เรือร้อยละ 25 ของธุรกิจในกลุ่ม ปตท. • โครงการ TOP Solvent (Top Solvent Company Limited) ไทยออยล์ได้เริ่มดำเนินธุรกิจผลิตสารทำละลาย (Solvent) และธุรกิจเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายและการตลาดสารทำละลายใน ประเทศไทย ภายหลังจากรับซื้อกิจการมาจาก บจ. เชลล์แห่งประเทศไทย โดยไทยออยล์ได้จัดตั้ง บจ. ท็อป โซลเว้นท์ (TOP Solvent Company Limited) ขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจดังกล่าวตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 รวมทั้งได้มีโครงการประสาน ความร่วมมือ (Synergy) ภายในเครือไทยออยล์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัตถุดิบตลอดจนการใช้ผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ (By - Product) จากการผลิตสารทำละลายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับบริษัทภายในเครือไทยออยล์ นอกจากนี้ ไทยออยล์ได้ เริ่มดำเนินธุรกิจการจัดจำหน่ายสารทำละลายในประเทศเวียดนามในปลายปี 2552 โดยมีคลังสินค้า จุดรับและกระจาย สินค้าตั้งอยู่ในเมือง Go Dau ซึง่ อยู่ใกล้กบั แหล่งอุตสาหกรรมทีอ่ ยูร่ อบเมืองโฮจิมนิ ห์ ซิตี้ ซึง่ ถือเป็นการดำเนินธุรกิจในต่าง ประเทศเป็นครั้งแรก โดยไทยออยล์มองเห็นโอกาสในตลาดประเทศเวียดนามซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตสูง ซึ่งจะทำให้

ไทยออยล์สามารถขยายตลาดสู่ธุรกิจอื่นๆ ที่มีความเชี่ยวชาญต่อไป

โครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษา

• โครงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์สารอะโรเมติกส์ให้มีมูลค่าสูงขึ้นของ บจ. ไทยพาราไซลีน บจ. ไทยพาราไซลีนมีแผนที่จะปรับปรุงหน่วยผลิต Tatoray เดิมให้เป็นหน่วย STDP (Selective Toluene Disproportion Unit) เพื่อเพิ่มคุณค่าสารโทลูอีนที่มีมูลค่าต่ำให้เป็นสารพาราไซลีน และสารเบนซีนซึ่งมีมูลค่าสูง ซึ่งปัจจุบันตลาดยังคงมี ความต้องการสารพาราไซลีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้เป็นการปรับปรุงหน่วยผลิตเดิมทำให้ใช้เงินลงทุนน้อยกว่า การสร้างหน่วยผลิตใหม่ทั้งหมด โดยโครงการดังกล่าวคาดว่าใช้เงินลงทุนประมาณ 45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ • โครงการขยายกำลังการผลิตของหน่วยไฮโดรแครกเกอร์หน่วยที่ 2 ไทยออยล์มีแผนขยายกำลังการผลิตของหน่วยไฮโดรแครกเกอร์หน่วยที่ 2 เพื่อลดการผลิตน้ำมันเตาซึ่งมีมูลค่าต่ำให้เป็น ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เช่น น้ำมันดีเซล และแนฟทา โดยขณะนี้ไทยออยล์กำลังอยู่ระหว่างทำการศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการอย่างละเอียด โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนราว 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ • โครงการประสานความร่วมมือ (Synergy) ท่าเรือและคลังน้ำมันของเครือไทยออยล์ และ ปตท. ศรีราชา ไทยออยล์มีโครงการประสานความร่วมมือ (Synergy) ระหว่างบริษัทในเครือไทยออยล์ และคลังน้ำมันของบริษัท ปตท. ศรีราชา เพื่อปรับปรุงการจัดการด้านท่าเรือ และถังเก็บผลิตภัณฑ์ โดยอาศัยประโยชน์จากพื้นที่ตั้งซึ่งใกล้กัน และสินค้า ประเภทเดียวกัน ทำให้เพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และปิโตรเคมี เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ และความยืดหยุ่นคล่องตัว (Flexibility) รวมถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และการลงทุน ในอนาคตอีกด้วย


042

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 การดำเนินงานด้านการกลั่นและปิโตรเคมี

043

การดำเนินงานด้านการกลั่นและปิโตรเคมี • โครงการด้านพลังงานทดแทน (Alternative Energy) เพื่อสนองตอบนโยบายด้านพลังงานทดแทนของภาครัฐ ไทยออยล์ ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ ในการลงทุนด้าน พลังงานทดแทนชนิดต่างๆ เช่น โครงการโรงไฟฟ้าจากชีวมวล โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลม โดย ในเบื้องต้น ไทยออยล์ลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนต่างๆ ผ่านกองทุนเปิด เอ็มเอฟซี เอนเนอร์จี ฟันด์ ทั้งนี้เพื่อเปิด โอกาสให้ไทยออยล์มีข้อมูลการลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนต่างๆ ในอนาคตอย่างกว้างขวางและครอบคลุม และ

ยังถือเป็นการเริ่มต้นการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนที่มีความเสี่ยงต่ำ และช่วยผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีศักยภาพ

ในประเทศไทยอีกด้วย • การเข้าซื้อและควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition: M&A) ไทยออยล์ได้มองหาโอกาสในการลงทุนต่างๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนภายในประเทศ และ ต่างประเทศ โดยเฉพาะในขณะภาวะเศรษฐกิจซบเซาจะเป็นช่วงที่มีโอกาสในการลงทุนในธุรกิจที่ดี แต่มีมูลค่าตลาดต่ำ หรือ Under Value ได้ ทัง้ นีก้ ารเข้าซือ้ ธุรกิจสารทำละลายจาก บจ. เชลล์แห่งประเทศเวียดนาม ในประเทศเวียดนาม ถือเป็น จุดเริ่มต้นของไทยออยล์ในการขยายตัวสู่ธุรกิจในต่างประเทศ โดยการขยายธุรกิจในรูปของ M&A จะทำให้ไทยออยล์ สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถเลือกลงทุนในกิจการที่มีความสอดคล้องทางกลยุทธ์ เพื่อต่อยอดจากธุรกิจ ปัจจุบัน (Value Enhancement) หรือเพื่อกระจายความเสี่ยงการลงทุนสู่ธุรกิจที่อยู่ในความสนใจ ได้แก่ ธุรกิจเอทานอล ธุรกิจโรงไฟฟ้า และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจปัจจุบันของไทยออยล์

ในสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนต่อเนื่องจากปี 2551 ไทยออยล์และบริษัทในเครือยังสามารถรักษาการผลิต ให้อยู่ในระดับที่สูงได้ นับเป็นความสำเร็จจากความร่วมมือในการวางแผนการผลิตร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดระหว่างไทยออยล์ บมจ. ไทยลู้บเบส และ บจ. ไทยพาราไซลีน ซึ่งเป็นบริษัทที่ไทยออยล์

ถือหุ้นร้อยละ 100 ทั้งสองบริษัท ในปี 2552 นี้ ไทยออยล์สามารถกลั่นน้ำมันดิบและวัตถุดิบอื่นที่กำลังการกลั่นรวม 273,563 บาร์เรล

ต่ อ วั น คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 99.5 ของกำลั ง การกลั่ น สู ง สุ ด ขณะที่ บมจ. ไทยลู้ บ เบสสามารถเดิ น เครื่ อ ง

หน่วยผลิตที่ 246,650 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 93.1 ของกำลังการผลิตสูงสุด ตามความต้องการ

ของตลาดน้ำมันหล่อลื่นซึ่งอยู่ในระดับต่ำในไตรมาสแรก และ บจ. ไทยพาราไซลีนสามารถเดินเครื่อง หน่วยผลิตที่ 762,282 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 84.4 ของกำลังการผลิตสูงสุด ตามแผนการผลิตร่วมกับ ไทยออยล์ ซึ่งให้ประโยชน์สูงสุดแก่เครือไทยออยล์ โดยรวม การดำเนินงานด้านการกลั่น

ในปี 2552 ไทยออยล์ได้ดำเนินการกลั่นน้ำมันดิบและวัตถุดิบอื่นๆ รวมทั้งสิ้นเฉลี่ย 273,563 บาร์เรลต่อวันหรือคิดเป็นร้อยละ 99.5 ของกำลังการกลั่นสูงสุด แม้ว่าอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนต่อเนื่องจากปี 2551 เนื่องจากมีกระบวนการผลิตที่มีความ ยืดหยุ่นในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ สูง ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ดังแสดงในรูปที่ 1 ไทยออยล์สามารถผลิตน้ำมันเบนซินมาตรฐาน EURO IV ได้เป็นรายแรกของประเทศ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 เป็นต้นมา

ไทยออยล์ยังได้เพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออกสู่ต่างประเทศมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของไทยออยล์

ในการดำรงความเป็นผู้นำในด้านการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมที่มีมาตรฐานระดับสากลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการกลั่นให้มีความพร้อมและสามารถแข่งขันได้อยู่เสมอ ไทยออยล์ได้ทำการตรวจสอบ ซ่อมบำรุง และปรับปรุงพัฒนาสมรรถนะของเครื่องจักรอุปกรณ์ของโรงกลั่นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปฏิบัติการด้านการผลิตเพื่อ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมุ่งเน้นด้านต่างๆ ดังนี้ • การเพิ่มประสิทธิภาพและกำลังการผลิตของหน่วยผลิตไฟฟ้า โดยการลดอุณหภูมิของอากาศที่ช่วยในการเผาไหม้ (Combustion air) ก่อนเข้าห้องเผาไหม้ โดยการพ่นละอองน้ำ (Fogging) • การจัดหาน้ำมันดิบชนิดใหม่ๆ (Unconventional crude) ซึ่งให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น เป็นวัตถุดิบให้กับหน่วยกลั่นฯ • การเพิ่มอัตราการผลิตน้ำมันอากาศยาน และน้ำมันดีเซลจากน้ำมันเตา โดยการเพิ่มอุณหภูมิการกลั่นของหน่วยกลั่น

ภายใต้สูญญากาศ • การปรับปรุงระบบการจ่ายน้ำมันอากาศยานทางทุ่นผูกเรือแบบกลุ่ม (Conventional Buoy Mooring) ซึ่งโครงการนี้ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการขายน้ำมันให้กับลูกค้าต่างประเทศได้โดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น • การเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซล โดยการนำผลิตภัณฑ์ส่วนเกินจาก บจ. ศักดิ์ไชยสิทธิ ซึ่งไทยออยล์ถือหุ้นผ่าน บจ. ท็อป โซลเว้นท์ ร้อยละ 80.52 มาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติม • การพัฒนาระบบควบคุมแบบ Online Optimization ในหน่วยกลั่นน้ำมัน ซึ่งเป็นระบบควบคุมการผลิตที่ทันสมัย ช่วยเพิ่ม ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงให้มากขึ้น


044

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 การดำเนินงานด้านการกลั่นและปิโตรเคมี

• การสนับสนุนและร่วมมือพัฒนาระบบควบคุมกระบวนการผลิตขั้นสูง (Advanced Process Control) ในหน่วยผลิต (VDU, PDU, MPU และ SDU) ของ บมจ. ไทยลู้บเบส เพื่อเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงให้มากขึ้น และใช้พลังงานลดลง • การให้ความร่วมมือในการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันหล่อลื่นของ บมจ. ไทยลู้บเบส โดยใช้น้ำมัน Residue จากหน่วยกลั่น น้ำมันดิบที่ 2 ของไทยออยล์เป็นวัตถุดิบในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการวางแผนการผลิตร่วมกันระหว่าง

ไทยออยล์และบริษัทในเครือ

การวัดผลการดำเนินงานด้านการกลั่น

กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปจากน้ำมันดิบและวัตถุดิบอื่นๆ

ADIP

FUEL GAS

ISOM

LPG

045

จากการวัดผลการดำเนินงานด้านการกลั่นในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมชั้นนำกว่า 40 แห่ง ทั่วโลกที่ใช้บริการทางเทคนิค (Technical Service Agreement) จากบริษัท Shell Global Solutions International (SGSi)

โดยใช้ดัชนีวัดผลการดำเนินงานที่สำคัญ (Key Performance Indicators: KPIs) เป็นตัวชี้วัด ประเมินได้ว่าผลการดำเนินงานด้าน การกลั่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ดังแสดงในกราฟรูปที่ 2 ผลการประเมินการดำเนินงานในรอบปี 2551 พบว่าค่าใช้จ่ายดำเนินการของโรงกลั่นที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าเสื่อม ราคา (Operating Cost excluding Fuel & Depreciation) ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง (Annualized Maintenance Cost) ค่าแรง ของพนักงานและผู้รับเหมา (Labor Cost) ดัชนีด้านพลังงาน (Energy Index) ของโรงกลั่น รวมถึงความพร้อมในการกลั่นของ หน่วยกลั่น (Operational Availability) ยังคงอยู่ในระดับที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 ซึ่งนับเป็นผลที่ต่อเนื่องมาจากการที่

โรงกลั่น ได้ทำการตรวจสอบและซ่อมบำรุงตามแผนงาน นอกจากนี้ แนวโน้มอัตราการใช้แรงงานในส่วนงานซ่อมบำรุงลดลง

ส่งผลให้ดัชนีการใช้แรงงานบุคลากรของไทยออยล์ลดลงด้วย

Thaioil Operational Performance Review 2551/2550

HDT-1 HDT-2 HDT-3

PLATFORM CCR-1 CCR-2

Crude CDU-1 CDU-2 CDU-3

PREMIUM

Operating Cost excl. Fuel & Depre., US$/bbl Operational Availability, %

REGULAR KMT

JET

Q4 Q3 Q2 Q1

Loss Index

Annualized Maintenance Cost, US$/EDC

Maintenance Effort

KEROSENE FCCU

Long Residue

HVU-1 HVU-2 HVU-3

HDS-1 HDS-2 HDS-3

HMU-1 HMU-2

TCU

HCU-1 HCU-2

Shell Personnel Index

SRU-1/2 SRU-3/4

รูปที่ 1 แสดงแผนผังของหน่วยผลิต (Flow Diagram) ภายในโรงกลั่นของไทยออยล์

2551 2550

AGO

รูปที่ 2

DIESEL

* Quartile หมายถึงการแบ่งจำนวนของกลุ่มตัวอย่าง (โรงกลั่น) ที่มีการเรียงลำดับ (Ordered Distribution) ออกเป็น 4 ส่วน เท่าๆ กัน ซึ่ง SGSi กำหนดให้ 1st Quartile หมายถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีผลการดำเนินงาน ในระดับที่ดี [Center] 2nd Quartile หมายถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีผลการดำเนินงาน ในระดับค่อนข้างดี 3rd Quartile หมายถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีผลการดำเนินงาน ในระดับค่อนข้างต่ำ 4th Quartile หมายถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีผลการดำเนินงาน ในระดับต่ำ [Outside]

FUEL OIL ADIP

Labour Cost, Mil. US$/NSP

Energy Index

SULPHUR


046

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาโครงสร้างองค์กร

047

การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาโครงสร้างองค์กร การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ท่ามกลางภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในรอบปีที่ผ่านมา ไทยออยล์ยังคงเป็นองค์กรระดับชั้นนำที่สามารถยืนหยัดด้วยความแข็งแกร่ง

ทุกด้าน ซึ่งประเมินได้จากผลการดำเนินงานและโครงการเชิงกลยุทธ์ต่างๆ ที่สะท้อนว่าไทยออยล์ไม่หยุดยั้งที่จะก้าวไปสู่ความ เป็นเลิศในการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย โดยมีพลังขับเคลื่อนสำคัญคือบุคลากรที่มีศักยภาพบน

พื้นฐานระบบการบริหาร “ทุนมนุษย์” เชิงรุกที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร ทำให้เกิดความยืดหยุ่นและทันสมัย

ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร ส่งผลให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิผลสูง (High Performance Organization: HPO) และ สามารถรักษาความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ รวมทั้งสามารถบรรลุเป้าหมายในการที่จะเป็น “องค์กรในใจ” (Workplace of Choice) ของบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ในปี 2552 ไทยออยล์ได้บูรณาการระบบที่เชื่อมโยงการบริหารกลยุทธ์และการบริหารระบบคุณภาพองค์รวม (Strategic Focus Organization: SFO & Total Quality Management: TQM) เข้ากับการสร้างแบรนด์บนจิตสำนึกค่านิยมองค์กร (Brand Management & Corporate Values: POSITIVE) ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้บุคลากรมีจริยธรรม มีความเป็นมืออาชีพ และมี พฤติกรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลยุทธ์ที่วางไว้

ระบบบริหารจัดการผลงาน

ไทยออยล์ได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการผลงาน (Performance Management System: PMS) ที่ผ่านการทดลองใช้งานแล้ว กับผู้บริหารระดับกลางขึ้นไปและประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ มาขยายขอบเขตการใช้งานให้ครอบคลุมพนักงานทุกระดับของ เครือไทยออยล์ โดยเรียกว่าระบบประเมินผลงาน (Performance Appraisal System: PAS) ซึ่งมีหลักการสำคัญที่ว่า คุณสมบัติที่ ใช้ประเมินผลงานจะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดรูปแบบพฤติกรรมของบุคลากรภายในองค์กร โดยใช้ระบบ Balanced Scorecard: BSC & KPI เป็นเครือ่ งมือในการถ่ายทอดกลยุทธ์องค์กรลงมาสูแ่ ผนงานในระดับบุคคล และบูรณาการเข้ากับระบบการ

ประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา (360 Degree Competency Assessment) ที่นำค่านิยมองค์กร POSITIVE มา ดัดแปลงให้อยู่ในรูปของ “สมรรถนะความสามารถ” (Competency) ทีส่ ามารถประเมินผลหรือวัดค่าได้ นอกจากนี้ ไทยออยล์ได้จดั

ให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ Operational Excellence Workshop เป็นประจำทุกๆ ไตรมาส โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ คณะผู้บริหารระดับสูงจะใช้เป็นเวทีในการถ่ายทอดข้อมูลและทิศทางในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้บริหารระดับกลางและพนักงานที่ เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อบูรณาการกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้ผสานเข้ากับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiatives) และการดำเนินการ ให้บังเกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริง

แผนอาชีพและแผนพัฒนารายบุคคล

ไทยออยล์มุ่งเน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วมของบุคลากร โดยการเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนอาชีพและ แผนพัฒนารายบุคคล (Individual Career Plan & Individual Development Plan) ของตนเอง ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคลากรสามารถ เพิม่ พูนความรูแ้ ละทักษะ โดยการหมุนเวียนไปปฏิบตั หิ น้าที่ในตำแหน่งงานต่างๆ ทีเ่ หมาะสม โดยจะได้รบั การฝึกอบรม และเรียนรู้ จากประสบการณ์จริง (On the Job Training: OJT) และโดยการแนะนำจากผูม้ ปี ระสบการณ์หรือหัวหน้างาน (Coaching) เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรจะมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถรองรับธุรกิจในระยะยาวและมีคุณสมบัติพร้อมตามแผนการสืบทอด ตำแหน่ง (Succession Plan) ในอนาคต

การพัฒนาบุคลากรเพื่อสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง

ไทยออยล์ได้ร่วมมือกับ บมจ. ปตท. ในการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบัน และอนาคต โดยได้วา่ จ้างบริษทั ทีป่ รึกษาเพือ่ ทำการศึกษาและจัดทำตัวแบบ (Model) ของตำแหน่งผูบ้ ริหารระดับสูงแต่ละตำแหน่ง ซึ่งประกอบด้วยการจัดทำคุณสมบัติเด่นของตำแหน่งงานนั้นๆ (Success Profiles) ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยขับเคลื่อนทางธุรกิจอื่นๆ

(Business Drivers) เพื่อเป็นกรอบในการประเมินสมรรถนะความสามารถ ประสบการณ์ และคุณลักษณะของบุคลากร เพื่อ พัฒนาและเตรียมความพร้อมของบุคลากรเพือ่ รองรับตำแหน่งงานนัน้ ๆ ในอนาคต นอกจากนี้ ไทยออยล์ยงั พัฒนาผูบ้ ริหารระดับสูง บนพื้นฐานของ “จุดแข็ง” (Strength) ของผู้บริหารแต่ละท่านผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น Mentoring, Executive Personal Coaching อีกด้วย ด้วยประสบการณ์การดำเนินงานกว่า 48 ปี ไทยออยล์มีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจโรงกลั่น จำนวนมาก ซึ่งไทยออยล์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญขององค์ความรู้และประสบการณ์เหล่านั้นเป็นอย่างดี จึงได้นำหลักการบริหาร จัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) มาใช้เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของบุคลากรรุ่นต่อๆ มา โดยมอบหมายให้บุคลากรภายในซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในหัวข้อต่างๆ เป็นอย่างดี เป็นผู้ถ่ายทอดและพัฒนาความรู้ความสามารถ โดยเปิดโอกาสในการเข้าอบรมให้กับพนักงานที่สนใจ และได้บันทึกวีดิทัศน์การ อบรมเพื่อการทบทวนและขยายผลไปยังพนักงานกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

การพัฒนาโครงสร้างองค์กร

ในอดีต โครงสร้างองค์กรของไทยออยล์มีลักษณะแบ่งขอบเขตความรับผิดชอบตามสายงาน (Functional Lines) ซึ่งสนับสนุน

การดำเนินธุรกิจได้ดีมาโดยตลอด แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกธุรกิจปัจจุบัน และเพื่อเป็นการ สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ใหม่และวัฒนธรรมองค์กร ดังนัน้ เมือ่ ต้นปี 2550 ทีผ่ า่ นมา ไทยออยล์ได้วา่ จ้างทีป่ รึกษา เพื่อทบทวน เสนอแนะ และออกแบบโครงสร้างองค์กรในระดับบนขึ้นใหม่ (Macro Structure) บนพื้นฐานของความสามารถที่มี อยูแ่ ละเอือ้ ให้บรรลุซงึ่ กลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม ลักษณะสำคัญของโครงสร้างองค์กรในระดับบนใหม่ คือมีการจัดโครงสร้าง ตามเป้าประสงค์ทางธุรกิจและกระบวนการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นที่การบริการลูกค้าทั้งภายในและภายนอก การตอบสนองความ ต้องการและการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล และส่งเสริมการทำงานเป็นทีมให้เด่นชัดขึ้น แนวทางในการปรับโครงสร้างองค์กรเริ่มจากการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในกลยุทธ์ทางธุรกิจและวัฒนธรรมการทำงานที่ ต้องการของไทยออยล์ ติดตามด้วยการศึกษากระบวนการดำเนินธุรกิจหลัก (core work process) รวมถึงระบบต่างๆ ที่รองรับ และสนับสนุนกระบวนการหลักเหล่านี้ การทำงานร่วมกันของที่ปรึกษากับผู้บริหารของไทยออยล์และการนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ของอุตสาหกรรมน้ำมันนานาชาติเข้ามาร่วมพิจารณาใช้ ทำให้ได้โครงสร้างองค์กรที่ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้ดี และ เหมาะสมสำหรับไทยออยล์ ได้มีการทดสอบกับพนักงานทั้งหลายเพื่อให้แน่ใจว่าใช้งานได้และปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ผลการออกแบบได้ถูกนำมาทดสอบกับผู้บริหารระดับสูงอันเป็นขั้นตอนสำคัญของโครงการ และได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติงาน ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงเมื่อโครงการสิ้นสุดลงเพื่อพิจารณาการนำโครงสร้างองค์กรใหม่มาสู่ภาคปฏิบัติ โครงสร้างองค์กรในระดับบนได้รับการออกแบบโดยให้ความสำคัญกับส่วนประกอบสามส่วนตามที่แสดงในภาพข้างล่างนี้ การบริหารจัดการ เอาใจใส่ผู้ถือหุ้น สร้ า งการเติ บ โตด้ ว ย “ธุรกิจปัจจุบัน” และสร้างความมั่นใจในการ “ธุ ร กิ จ ในอนาคต” รวมทั้งการเติบโตแบบธรรมชาติ บริหารธุรกิจให้มีประสิทธิผล


048

การจัดวางโครงสร้างการบริหารในลักษณะนี้ ช่วยให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารให้ความสำคัญกับความเป็นผู้นำและการดูแลจัดการ เชิงยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ที่สำคัญสำหรับการเติบโตของธุรกิจ ในขณะที่หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Officer: COO) จะ มุ่งเน้นที่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนา และการรวมตัวของหน่วยธุรกิจที่มีอยู่ ไทยออยล์เชื่อว่าโครงสร้างนี้ได้ทำให้เกิดประโยชน์ที่สำคัญต่อไปนี้ • ส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต โดยการจัดโครงสร้างที่สอดคล้อง และตอบสนองวิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ของ

เครือไทยออยล์ ทำให้การปฏิบตั งิ านเป็นไปในแนวทางเดียวกันและมีการควบคุมแผนงานให้มคี วามสอดคล้องกับเป้าหมายรวม • ประสบความสำเร็จในการสร้างพลังร่วม (Synergy) และเสริมสร้างความร่วมมือของเครือไทยออยล์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม • สามารถขยายแนวความคิดของการบริหารงานในรูปแบบ APU ที่ประสบผลสำเร็จที่ไทยออยล์ให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติ การทั้งหมด โดยการรวบรวมการปฏิบัติงาน การกลั่นน้ำมันดิบ (Refinery) การกลั่นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน (Lube Base Production) และการผลิตพาราไซลีน (Paraxylene Production) ให้อยู่ภายใต้การบริหารจัดการเดียวกัน • สามารถผสานบทบาทหน้าที่ด้านการพาณิชย์และด้านปฏิบัติการผลิตของเครือไทยออยล์ให้มีประสิทธิภาพและตอบสนอง ต่อความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น • ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน สามารถปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาโครงสร้างองค์กร


บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ความรับผิดชอบต่อสังคม และระบบการจัดการด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

051

ความรับผิดชอบต่อสังคม และระบบการจัดการด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ปีที่ 49 เราจะก้าวไปด้วยกัน

สิ่งสำคัญที่ไทยออยล์ไม่เคยละเลยมาตลอดระยะเวลาในการดำเนินงาน นั่นคือการใส่ใจดูแลและรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกฝ่ายในสังคม ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงกลั่น และยังคงสานต่อโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของไทยออยล์ ซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะมิติ

ในด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังได้รับการกล่าวถึงอยู่อย่างกว้างขวางในปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่ไทยออยล์ยังได้คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นสังคม ชุมชนรอบโรงกลั่น หรือแม้แต่พนักงานของไทยออยล์ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติทางด้านคุณภาพชีวิต มิ ติ ท างเศรษฐกิ จ หรื อ มิ ติ ท างสั ง คม เพราะตระหนั ก ดี ว่ า “ธุ ร กิ จ ไม่ ส ามารถประสบความสำเร็ จ ได้ ใ นสั ง คมที่ ล้ ม เหลว”

การอยู่ร่วมกันด้วยการช่วยเหลือเกื้อกูล และเติบโตไปด้วยกันจึงเป็นความตั้งใจที่ไทยออยล์ถือปฏิบัติมาตลอดระยะเวลา 48 ปี ในรอบปี 2552 ที่ผ่านมา ไทยออยล์ยังคงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ในทุกๆ ด้าน โครงการเพื่อสังคมต่างๆ ยังคงได้รับการสานต่ออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนา คุณภาพชีวิตของชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ทั้งพื้นที่บริเวณรอบโรงกลั่นและพื้นที่สาธารณูปโภค

ขั้นพื้นฐานที่ภาครัฐเข้าไม่ถึง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบมาตรฐาน การบริหารจัดการต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแสดง

ให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทุกๆ ฝ่าย โดยสามารถแบ่งการดำเนินการได้ดังนี้

1. การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

1 .1 การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ไทยออยล์ มี ความมุ่ ง มั่ น ในการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ อ ย่ า งยั่ ง ยื น เป็ น ระบบ เกิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด

และครบวงจร รวมถึงการป้องกัน ควบคุม แก้ไขปัญหาสิง่ แวดล้อม และการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศทีต่ น้ เหตุ โดยไม่ จำกัดการดูแลเฉพาะแต่เพียงพื้นที่โดยรอบโรงกลั่นเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และการเอาใจใส่ต่อผลิตภัณฑ์และการดำเนินการในทุกระบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยแท้จริง • ตลอดปี 2552 ที่ผ่านมา ผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยรอบมีค่าดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่าง

น่าพอใจ ทั้งนี้ เนื่องจากไทยออยล์ได้ถือปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและครบถ้วน กอปรกับการเฝ้าระวัง

และติดตามตรวจสอบผลกระทบที่จะเกิดกับสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งสถานี ตรวจวัดคุณภาพอากาศและน้ำอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการรับฟัง ความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนักวิชาการ • การออกแบบหน่วยผลิต และหน่วยเสริมการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น การ สร้างหน่วยเปลี่ยนก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นกำมะถัน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ (Sulphur Recovery Unit: SRU) 4 หน่วย การสร้างหน่วยเปลี่ยนไอระเหยน้ำมันให้กลายเป็นน้ำมัน (Vapour Recovery Unit: VRU) เพื่อทำหน้าที่ ควบคุมไอระเหยน้ำมันไม่ให้ระเหยออกสู่บรรยากาศในขณะจ่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นการช่วยควบคุมมลภาวะทาง อากาศและลดการสูญเสียน้ำมัน • การสร้ า งหน่ ว ยบำบั ด น้ ำ ทิ้ ง ก่ อ นระบายออกสู่ ภายนอกที่ มี ร ะบบบำบั ด การปนเปื้ อ นของน้ ำ โดยใช้ เ ทคโนโลยี ที่

ทันสมัย Effluent Treatment Plant with Denitrificator Nitrification Biotreater • การผลิตผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม นอกเหนือจากน้ำมันดีเซลมาตราฐาน EURO IV ไทยออยล์ยงั ได้เริม่ ผลิต

น้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 91 มาตรฐาน EURO IV ซึ่งลดปริมาณกำมะถันในน้ำมันเบนซินถึง 10 เท่า

โดยไทยออยล์เป็นผู้นำในการผลิตและจำหน่ายได้เป็นรายแรกและรายเดียวของประเทศ


052

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ความรับผิดชอบต่อสังคม และระบบการจัดการด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

• การผลิตน้ำมันยางมลพิษต่ำ (Treated Distillate Aromatics Extract: TDAE) ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำมันยาง มลพิษต่ำของประชาคมยุโรปที่ได้รับการยอมรับและการรับรองจากบริษัทผู้ผลิตยางชั้นนำ ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณ การแพร่กระจายสารเจือปน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการสึกหรอของยางรถยนต์ • โครงการที่เน้นการประหยัดพลังงาน ด้วยการนำความร้อนจากไอเสียที่ปล่อยออกจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันก๊าซ กลับมาผลิตไอน้ำ • การกำหนด Green Area หรือบริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้ภายในพื้นที่ของโรงกลั่น คิดเป็นร้อยละ 30 ของพื้นที่ เปรียบเสมือนเป็นแนวรั้วโดยธรรมชาติระหว่างชุมชนและโรงกลั่น • ในอนาคตไทยออยล์ยังคงมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยโครงการ

ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์พลังงานและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เช่น การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ZERO Discharge ที่นำน้ำทิ้งกลับมาผ่านกระบวนการกรองสารปนเปื้อน และนำกลับมาใช้ ใหม่ที่เรียกกันว่า Reverse Osmosis เป็นต้น 1 .2 การดำเนินงานด้านความปลอดภัย จากรากฐานความคิดการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ไทยออยล์จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับ การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน ระบบบริหารจัดการ ตลอดจนมาตรฐานสากลต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001 และ OSHAS-18001 จึงถูกนำมาปรับ

ใช้ในการดำเนินงานเพือ่ ยกระดับการทำงาน และเป็นเครือ่ งรับประกันถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานและทุกภาคส่วน

ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พนักงานที่ถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทีส่ ำคัญ มีระบบการทำงานที่มีคุณภาพ อันจะส่งผลต่อเนื่อง

ไปสู่การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ • ในปี 2552 ที่ผ่านมา ไทยออยล์กำหนดให้มีการรายงานเหตุการณ์ที่มีศักยภาพต่อการสูญเสีย (Potential Incident Report: PIR) โดยไทยออยล์ได้รณรงค์ให้พนักงานและผู้รับเหมารายงาน PIR ซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ส่งผลต่อการบาดเจ็บ ทรัพย์สิน แต่เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นมีศักยภาพที่อาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ ไทยออยล์ได้กำหนดให้จำนวนการรายงาน PIR เป็นตัวชี้นำทางสถิติ (Leading Indicator) ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูล

เชิงรุกในการป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้ ไทยออยล์ยังได้เพิ่มเติมมาตรการ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำอีกหลายมาตรการ เช่น การเฝ้าติดตามและควบคุมให้มีการปฏิบัติตามระบบการบริหาร จัดการความปลอดภัย (Enhanced Safety Management: ESM) อย่างเคร่งครัด ผู้บริหารแสดงความมุ่งมั่น

และให้การสนับสนุนระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยเพื่อลดและป้องกันอุบัติเหตุ การกำหนดให้เรื่องความ ปลอดภัยเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนตามระดับการบังคับบัญชา การจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมความ ปลอดภัย เช่น การประชุมเรือ่ งความปลอดภัยก่อนเริม่ ปฏิบตั งิ าน (Toolbox Talk Meeting) และการเชิญผูบ้ ริหารของ ผู้รับเหมาเข้าร่วมทำการตรวจสอบความปลอดภัยในการทำงาน การจัดโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนแนะนำด้าน

ความปลอดภัย เป็นต้น • การพัฒนาความรูค้ วามสามารถ (Competency Development) ทางด้านความปลอดภัย ไทยออยล์ได้กำหนดแผนงาน พัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านความปลอดภัยของบุคลากรในทุกระดับขององค์กร เช่น แผนงานพัฒนา บุคลากรรายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) การฝึกอบรม (Training Module) การบริหารจัดการ

องค์ความรู้ (Knowledge Management: KM) โครงการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process Improvement for Operational Excellence: PIOE) เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่า บุคลากรของไทยออยล์ มีความรู้ ความสามารถ

053

และทักษะความชำนาญทางด้านความปลอดภัยเพียงพอและเหมาะสมกับประเภทของงาน ตำแหน่งงาน หรือหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย สามารถปฏิบัติงานสำเร็จได้ด้วยความปลอดภัย • การพัฒนาด้านการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับบริษัทในเครือไทยออยล์ (Shared service) ไทยออยล์

ได้พัฒนาด้านการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับเครือไทยออยล์ โดยปรับการจัดองค์กรใหม่เพื่อเพิ่ม

ศักยภาพการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของเครือไทยออยล์ ประกอบด้วย บจ. ไทยพาราไซลีน, บมจ.

ไทยลู้บเบส และ บจ. ไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) ซึ่งอยู่ในเขตประกอบกิจการเดียวกันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และพร้อมจะสนับสนุนงานด้านความปลอดภัยซึ่งกันและกัน มีการหมุนเวียนบุคลากร รวมศูนย์เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ความปลอดภั ย และระงั บ อั ค คี ภั ย รวมกลุ่ ม บุ ค ลากรกลางให้ ก ารสนั บ สนุ น งานด้ า นการซ่ อ มบำรุ ง อุ ป กรณ์

ความปลอดภั ย งานด้ า นการฝึ ก อบรม ประสานงานการจั ด ทำแผนฉุ ก เฉิ น และขยายที ม ดั บ เพลิ ง ส่ ว นกลาง

ซึ่งเป็นการเสริมศักยภาพ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้ทางด้านความปลอดภัยของทุกบริษัทในเครือ

ไทยออยล์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

• การให้การสนับสนุนธุรกิจให้บริการด้านการบริหารจัดการความปลอดภัย และการออกแบบระบบความปลอดภัย ป้องกันและระงับอัคคีภยั ผ่าน บจ. ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชนั่ ส์ (TES) ด้วยประสบการณ์ทสี่ งั่ สมมาเป็นระยะเวลา ยาวนาน บวกกับความรู้ความสามารถของบุคลากร ทำให้ไทยออยล์ให้การสนับสนุนธุรกิจให้บริการด้านการบริหาร จัดการความปลอดภัย และการออกแบบระบบความปลอดภัย ป้องกันและระงับอัคคีภัยผ่าน TES เช่น การตรวจ ประเมินด้านความปลอดภัยและอัคคีภัย (Safety & Fire Assessment) การฝึกอบรมด้านความปลอดภัย (Safety Training) การฝึกอบรมการวางแผนและการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน (Pre-Incident Planning and Incident Command) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) เป็นต้น ซึ่งเป็นการขยายศักยภาพของบุคลากร และช่วยให้เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยระดับวิชาชีพในกลุ่มได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ อันจะเป็นกำลังสำคัญในการ พัฒนากลุ่มวิชาชีพความปลอดภัยต่อไป • การให้ ก ารสนั บ สนุ น หน่ ว ยงานราชการและหน่ ว ยงานภายนอก ไทยออยล์ ไ ด้ รั บ การคั ด เลื อ กให้ ท ำหน้ า ที่ เ ป็ น

ประธานในคณะทำงานเกี่ยวกับแผนฉุกเฉิน Emergency Response ของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งมี วัตถุประสงค์ ในการสนับสนุนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินของกลุ่ม อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี และไทยออยล์ยังเป็นศูนย์รวมทางด้านวิชาการ และเทคโนโลยีการบริหารงาน


054

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ความรับผิดชอบต่อสังคม และระบบการจัดการด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

055

ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย ป้องกันและระงับอัคคีภัย จึงมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถานศึกษาทั้งในและ ต่ า งประเทศขอเข้ า เยี่ ย มชมกิ จ การ และเชิ ญ บุ ค ลากรของไทยออยล์ เ ป็ นวิ ท ยากรบรรยาย ตลอดจนร่ ว มเป็ น

คณะกรรมการร่างข้อกำหนด กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย ป้องกันและ ระงับอัคคีภัยอย่างต่อเนื่อง • จากการให้ความสำคัญและยึดมั่นในการบริหารงานที่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายตามหลัก

ความรับผิดชอบต่อสังคมและการบูรณาการระบบคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย ทำให้ไทยออยล์ได้รับ

มอบโล่ประกาศเกียรติคุณโครงการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ (Zero Accident Awards) ระดับโล่ทอง ในฐานะสถานประกอบการที่ปราศจากอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานต่อเนื่องตั้งแต่ 10,000,000 ชั่วโมง

การทำงาน จากกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลในระดับโล่ทอง รางวัล Zero Accident Awards ถือเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบตาม มาตรฐานการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ด้วยความมุง่ มัน่ และพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อย่างต่อเนื่องทำให้สถิติความปลอดภัย TRCf (Total Reportable Case Frequency) ประจำปี 2552 ต่ำสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

2. ระบบการจัดการแบบบูรณาการและระบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ

ระบบการจัดการแบบบูรณาการและระบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศถือเป็นอีกหนึ่งความพยายามของเครือไทยออยล์

ที่มุ่งพัฒนาการทำงานให้มีมาตรฐานที่เชื่อถือได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นต้นทางของการส่งผ่านผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

แก่ลูกค้า และในปี 2552 ที่ผ่านมา ไทยออยล์ ได้มีการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบการจัดการแบบบูรณาการและระบบ

การบริหารสู่ความเป็นเลิศ ดังนี้ 2.1 ระบบการจั ด การแบบบู ร ณาการ (Integrated Management System: ISO 9001/ISO 14001/TIS 18001) BS OHSAS 18001: 2007 และระบบการจัดการว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ (ISO/IEC 17025) • โรงกลัน่ รายแรกในประเทศไทยที่ได้รบั การรับรองระบบการจัดการแบบบูรณาการครอบคลุมทุกกิจกรรมทัว่ ทัง้ โรงกลัน่ ด้วยความภาคภูมิใจในฐานะที่ไทยออยล์เป็นโรงกลั่นชั้นนำของประเทศ การให้ความสำคัญและธำรงไว้ซึ่งคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม นับเป็นส่วนสำคัญที่อยู่ในสายเลือดของความเป็นไทยออยล์ ตลอด ระยะเวลา 48 ปีที่ไทยออยล์ได้ดำเนินกิจการมา ดังจะเห็นได้ว่า ในปี 2552 นี้ ไทยออยล์เป็นโรงกลั่นรายแรกใน ประเทศไทยที่ได้รับการรับรองระบบการจัดการแบบบูรณาการครอบคลุมทุกกิจกรรมทั่วทั้งโรงกลั่นจากสถาบันรับรอง มาตรฐานไอเอสโอ และในปี 2553 จะมีการนำระบบการจัดการใหม่ๆ มาพัฒนาใช้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ ของไทยออยล์ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนเพื่อความเป็น Strategic Focused Organization • ระบบการจัดการว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ (ISO/IEC 17025) มีการพัฒนาและปรับปรุงระบบ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีโครงการใหม่ที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้ดำเนินการในปี 2551 และต่อเนื่องถึงปี 2552 คือ “TOP Group Laboratory Control System” โดยประโยชน์ของระบบนี้คือ • เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมดูแลเครื่องมืออุปกรณ์ทดสอบให้มีความถูกต้องและแม่นยำ • สร้างระบบและเพิม่ ความสะดวก รวดเร็ว และลดความซ้ำซ้อนของงานข้อมูลและเอกสารของห้องปฏิบตั กิ ารทดสอบ

2.2 ระบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ ไทยออยล์มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมาย

สู่องค์กรที่เป็นเลิศ เป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจเชิงบูรณาการด้านการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีที่ต่อเนื่องอย่าง

ครบวงจรในภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ สามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทุกฝ่าย ไทยออยล์ ได้นำระบบและเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) มาเป็นเครื่องมือ สนับสนุนการบริหารการตรวจประเมินและพัฒนาองค์กร และได้ยื่นรายงานวิธีการ รวมถึงผลการดำเนินงาน

เพื่อขอรับรางวัลคุณภาพแห่งชาติด้วยจุดประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อประเมินขีดความสามารถด้านบริหารจัดการของไทยออยล์ด้วยเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานระดับโลก และ

เปิดโอกาสให้ไทยออยล์ได้พัฒนา ปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก 2. เพื่ อ แบ่ ง ปั น ประสบการณ์ ข องไทยออยล์ แ ก่ อ งค์ กรอื่ น ๆ เพื่ อ ช่ ว ยพั ฒ นาขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น

ของประเทศ


056

3. การดำเนินการทางด้านชุมชนและสังคม

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ความรับผิดชอบต่อสังคม และระบบการจัดการด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

057

ชุมชนและสังคมโดยรอบโรงกลั่นเป็นอีกภาคส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อไทยออยล์ เนื่องจากตระหนักและเชื่อมั่น

บนพื้นฐานแนวคิดของการเติบโตร่วมกัน ไทยออยล์จึงมีการดำเนินโครงการเพื่อสังคมต่างๆ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข ตลอดจนการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี มีทั้งโครงการต่อเนื่องที่ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลายาวนาน เช่น โครงการทางด้านการศึกษา และโครงการใหม่ อันเกิดจากการริเริ่มสร้างสรรค์ร่วมกันของชุมชนและโรงกลั่น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจ การเป็น พันธมิตรที่ดี และความสัมพันธ์ระหว่างโรงกลั่นกับชุมชนที่ดำเนินมาเป็นระยะเวลายาวนาน • โครงการด้านส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน เพราะเล็งเห็นว่าการศึกษาที่ดีคือรากฐานสำคัญในการพัฒนา ในปี 2552 ที่ผ่านมา เครือไทยออยล์ได้ขยายทุนการศึกษา ให้กบั นักเรียน นิสติ นักศึกษา ให้ครอบคลุมโรงเรียนของรัฐในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบัง รวม 22 ชุมชน จากเดิม 126 ทุน

2. ความร่วมมือทางด้านการศึกษากับสถาบันต่างๆ นอกจากนี้ ไทยออยล์ยังได้ร่วมมือกับองค์กรและสถาบันศึกษาต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมและโครงการที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมพัฒนาการศึกษาของเยาวชน รวมถึงเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์จาก กิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้เกิดการคิดอย่างมีเหตุผล อันจะนำไปสู่ความ เข้าใจและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็น เพื่อให้เยาวชนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนต่อไปใน

อนาคต เช่น - โครงการทักษะวิศวกรรมเคมีสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ “ChEPS” - กองทุนการศึกษา บริษัท ไทยออยล์ เพื่อรำลึกถึงศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ ไชยเวช โดยความร่วมมือกับ มูลนิธิวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย - การสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานให้กับชาวบ้านในถิ่นทุรกันดารผ่านการสนับสนุนโครงการค่ายยุววิศวกรบพิธ

เป็น 162 ทุน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และได้ริเริ่ม โครงการความรู้ คู่คุณธรรม สร้างผู้นำเยาวชน ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และเป็นการขยายโอกาส ทางการศึกษาให้กับเยาวชนในพื้นที่ 7 ชุมชนรอบโรงกลั่นที่มีผลการเรียนดี มีความประพฤติดี บำเพ็ญประโยชน์ต่อ ชุมชนและสังคม ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ซึ่งถือว่า

เป็ น สถาบั น การศึ ก ษาในท้ อ งถิ่ น เพื่ อ ให้ เ ยาวชนกลั บ มาพั ฒ นาชุ ม ชนของตนระหว่ า งการศึ ก ษาและหลั ง จากจบ

การศึกษาแล้ว ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนต่อไปในอนาคต โดยไทยออยล์จะสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับ เยาวชนต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษา 1. การมอบทุนการศึกษาและกองทุนสถาบัน • กองทุนสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีฯ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแก่บุคคล โดยไม่จำกัดระดับการศึกษาและสาขาวิชาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ผู้รับพระราชทาน ทุนสามารถนำความรู้และประสบการณ์กลับมาสนองพระมหากรุณาธิคุณ และสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ • ทุน “บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)” ในมูลนิธิอานันทมหิดล

- โครงการค่ายเยาวชนวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ โดยความร่วมมือกับองค์การพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) - โครงการแต่งแต้ม เติมฝัน ตอน “ชวนเพื่อนเล่านิทาน...ช่วยสืบสานภาษาไทย” - โครงการยุวทูตไทยออยล์ เพื่อกระตุ้นและปลูกฝังให้เยาวชนมีสำนึกรักท้องถิ่นที่อยู่และเป็นสื่อกลางในการทำ

ความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการของชุมชนและไทยออยล์

• มิติใหม่ของความร่วมมือ....จากหิ้งสู่ห้างอย่างยั่งยืน เป็นโครงการในความร่วมมือของเครือไทยออยล์กับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อรวม ศักยภาพในการวิจัยของภาคการศึกษา และความสามารถในการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน อันจะนำ ไปสู่การขยายผลให้เกิดนวัตกรรมด้านพลังงานที่สามารถประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจอย่าง แท้จริง ตลอดจนสามารถต่อยอดพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ มุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์และพลังงานทางเลือกสำหรับอนาคต ซึ่งในปีนี้โครงการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดงานวิจัยที่สามารถ

ขยายผลสู่ภาคปฏิบัติได้ทันทีถึง 3 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการ Energy Conservation for Crude Distillation Unit เป็นการนำเทคนิค Pinch Technology และ Optimization มาใช้ในการจัดเรียงและออกแบบพื้นที่ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนของหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 (CDU - 3) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด


058

(2) โครงการ Evaluation of Commercial HDS Catalyst Performance เป็นการสร้างเครื่องปฏิกรณ์จำลองขนาดเล็ก สำหรับทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในกระบวนการกำจัดกำมะถันในน้ำมันดีเซล (Hydrodesulfurization) เพื่อผลิต น้ำมันดีเซลมาตรฐาน EURO IV และ EURO V โดยมีเป้าหมายให้เป็นห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ เป็นที่ยอมรับของบริษัทผู้ผลิตตัวเร่งปฏิกิริยา (3) โครงการ Waste tires to Fuels เป็นงานวิจยั ทีแ่ ปรรูปยางรถยนต์หมดสภาพให้เป็นน้ำมันเชือ้ เพลิงเหลว เพือ่ พัฒนาไปสู่ การผลิตจริงในเชิงพาณิชย์ โดยได้ทำการศึกษาหาวิธีและกระบวนการในการจัดเก็บยางรถยนต์หมดสภาพให้มี ประสิทธิภาพ พร้อมทั้งออกแบบโรงงานต้นแบบสำหรับผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากยางรถยนต์หมดสภาพ รวมถึง ทำการคำนวณข้อมูลต่างๆ ในเชิงเศรษฐศาสตร์ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ของโรงงานต้นแบบ • โครงการด้านสาธารณสุข และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน จากความสำเร็จในโครงการออกหน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ที่มีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ไทยออยล์จึงต่อยอดความต้องการของชุมชนและขยายขอบเขตสู่การสร้างเสริมทักษะความรู้ต่างๆ ให้กับท้องถิ่น

โดยจัดสร้าง “ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน” ขึ้น เพื่อมุ่งเน้นการบริการด้านสาธารณสุข

ขั้นพื้นฐานให้แก่ชุมชน และเป็นแหล่งในการเสริมสร้างองค์ความรู้ของชุมชน ด้วยบริการห้องสมุด การฝึกฝีมืออาชีพ การจัดลานกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กเล็ก โดยมุ่งหวังให้เกิดการสร้างความเข้มแข็ง ให้ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน • โครงการด้านรักษาสิ่งแวดล้อม เครือไทยออยล์ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เทศบาลตำบลแหลมฉบัง และคณะกรรมการ ชุมชนรอบโรงกลั่น ริเริ่ม “โครงการผลิตไบโอดีเซลชุมชนเพื่อลดมลภาวะจากน้ำมันพืชใช้แล้ว” โดยนำเอาน้ำมันพืชที่ ใช้แล้วจากร้านค้า ครัวเรือนในชุมชนมาแปรรูปเป็นไบโอดีเซล เพื่อลดปัญหามลพิษทางน้ำและอากาศ ปัญหาด้าน สุขภาพประชากรจากการบริโภคน้ำมันที่ใช้ซ้ำ และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนแก่นิสิต นักศึกษา และบุคคล ทั่วไปที่สนใจ โดยเครือไทยออยล์เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้วิจัย ค้นคว้าและ

จัดสร้างเครื่องผลิตไบโอดีเซล • โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเตานึ่งเมี่ยง อ. เมืองปาน จ. ลำปาง เครือไทยออยล์ ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเตานึ่งเมี่ยง ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (E for E) โดยการพัฒนาเตานึ่งเมี่ยงประหยัดพลังงานขึ้น เนื่องจากชาวบ้านบ้านป่าเหมี้ยงประกอบอาชีพนึ่งและจำหน่ายใบเมี่ยงมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทั้งเป็นการผลิตเพื่อบริโภค ภายในครัวเรือนและผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าบริโภคพื้นเมืองของภาคเหนือ การนึ่งใบเมี่ยงแบบเดิมนั้นต้องใช้เวลา ประมาณ 90 นาทีต่อปริมาณใบเมี่ยง 25 กิโลกรัม และสิ้นเปลืองฟืน 20-25 กิโลกรัม ในขณะที่เตานึ่งเมี่ยงประหยัด พลังงาน จะสามารถนึ่งใบเมี่ยงได้ในปริมาณเท่ากันภายในเวลา 60 นาที และสิ้นเปลืองฟืนเพียง 7-10 กิโลกรัมเท่านั้น เท่ากับลดการใช้พลังงานลงถึงร้อยละ 60 ซึ่งหมายถึงการลดการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งเป็นต้นทางของทรัพยากรธรรมชาติ ได้มากกว่า 4,800 ต้นต่อปี โดยขณะนี้มีการใช้เตาประหยัดพลังงานแล้ว 83 เตาใน 83 ครัวเรือน ลดการปล่อยก๊าซ

เรือนกระจกรวม 34,800 ตันคาร์บอนด์ไดออกไซด์ต่อปี และไทยออยล์ยังมีแผนการขยายโครงการในหมู่บ้านแห่งใหม่

ในอนาคตอันใกล้นี้

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ความรับผิดชอบต่อสังคม และระบบการจัดการด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

059

ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน

• โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านที่ ต. บ้านเปียน อ. ดอยสะเก็ด จ. เชียงใหม่ เครือไทยออยล์สนับสนุนผ่านมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมซึ่งร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พัฒนาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วขนาด 3 กิโลวัตต์ตามปริมาณความต้องการใช้ ไฟฟ้าของชุมชน ประกอบด้วยการติดตัง้ เครือ่ งกำเนิดไฟฟ้ากังหันน้ำ ระบบควบคุม/ระบบส่งไฟฟ้า และงานปักเสาพาดสายให้แก่บา้ นเปียน ซึ่ ง ตั้ ง อยู่ ใ นพื้ น ที่ ห่ า งไกลเกิ น กว่ า ระบบส่ ง ไฟฟ้ า ของการไฟฟ้ า จะเข้ า ถึ ง เดิ ม ชาวบ้ า นใช้ ไ ฟฟ้ า จากระบบ

ผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 120 วัตต์ แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่ ไม่อำนวยต่อการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์

แสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่ เพราะฝนตกชุก จึงทำให้ชาวบ้านไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องทั้งปี ปัจจุบัน โรงไฟฟ้า เดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว • โรงไฟฟ้าพลังน้ำห้วยปูลิง ต. บ้านหลวง อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหลายหน่วยงาน โดยเครือไทยออยล์ได้ร่วมสนับสนุนและเติมเต็มให้แก่ชีวิตชาวบ้าน โดย การขยายสายส่งไฟฟ้าให้สามารถส่งไฟฟ้าให้ชาวบ้านได้ 2 หมู่บ้าน จำนวน 66 หลังคาเรือน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าเทียม ในปี 2553 ไทยออยล์ยงั คงมีความมุง่ มัน่ ในการดำเนินโครงการเพือ่ สังคม รวมถึงมาตรฐานในการทำงานต่างๆ อย่างเต็ม ความสามารถ ทั้งในรูปแบบของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินนโยบายที่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย หรือการสานต่อโครงการและกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ เพราะตระหนักดีถึงความสำคัญของทุกภาคส่วนที่ล้วน แล้วแต่มีความสัมพันธ์เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน และหวังว่า จะเป็นอีกหนึ่งต้นแบบที่ดีในการดำเนินการด้วยความรับผิด ชอบต่อสังคมผ่านหลักบรรษัทภิบาล เพื่อก้าวขึ้นสู่ปีที่ 49 เคียงคู่กับการเติบโตของสังคมไทย


060

คณะกรรมการบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

นายสมนึก กยาวัฒนกิจ

กรรมการอิสระและประธานกรรมการ อายุ 48 ปี

นายนนทิกร กาญจนะจิตรา

กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

อายุ 54 ปี

ประวัติการศึกษา

• ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • Master of Science in Operation Research Florida Institute of Technology, ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (1) บริษัทมหาชน จำกัด บริษัท จำกัด (2)

- ไม่มี

• ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์เนต เวนเจอร์ จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด

องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (1)

• กรรมการ สภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

- - - -

ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

อายุ 63 ปี

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์

กรรมการและกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

อายุ 58 ปี

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD) - ไม่มี ประวัติการอบรมอื่นๆ

• ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • ปริญญาโท MPA Middle Tennessee State University, ประเทศสหรัฐอเมริกา

2546-2549 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและ

ค่าตอบแทน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2549-2551 ทีป่ รึกษาระบบราชการ

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียน (3)

• กรรมการ บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิงค์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

บริษัทมหาชน จำกัด บริษัทจำกัด องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (4)

• กรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้อำนวยการ กลุ่ม

บริษัท ตงฮั้วคอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน)

กรรมการอิสระและกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

ประวัติการศึกษา

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

2545 กรรมการ บริษทั วิทยุการบินแห่งประเทศไทย 2545-2546 กรรมการ การประปาส่วนภูมิภาค 2545-2551 กรรมการ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำ

ภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) 2548-2549 ทีป่ รึกษาคณะอนุกรรมการการลงทุนและบริหารความเสี่ยง โรงงานยาสูบ 2551 กรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 2552 ประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด

นางสาวพวงเพชร สารคุณ

ประวัติการศึกษา

• ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 102/2551) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP 2546) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Audit Committee Program (ACP 22/2551) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 59/2548) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Financial Statements for Directors (FSD 1/2551) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Role of Chairman Program (RCP 19/2551) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Role of the Compensation Committee

(RCC 6/2551) ประวัติการอบรมอื่นๆ • ประกาศนียบัตรหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประวัติการอบรมอื่นๆ • หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 48 สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 8 สถาบันพระปกเกล้า • หลักสูตรนักบริหารระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รุน่ ที่ 41 • ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 11 • ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน วิทยาลัยการยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (หลักสูตร วตท. รุน่ ที่ 9) • ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (หลักสูตร วตท. รุน่ ที่ 9) ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

061

บริษทั ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 คณะกรรมการบริษทั ฯ

- ไม่มี - ไม่มี

• รองเลขาธิการ ก.พ. • กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น • อาจารย์พิเศษประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคลในส่วนราชการต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

- - - -

ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ประวัติการศึกษา

• ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 43

• หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันจิตวิทยา รุ่นที่ 45 • หลักสูตรนักบริหารระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รุ่นที่ 1/4 • หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่น 27

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

2542-2550 กรรมการและกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2543-2550 รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา 2545-2550 กรรมการและกรรมการตรวจสอบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟู สถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการสภาทีป่ รึกษาแรงงานแห่งชาติ รุน่ ที่ 13 และรุ่นที่ 14 2549-2550 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2549-2551 กรรมการผังเมือง คณะกรรมการผังเมือง 2550-2552 ที่ปรึกษากฎหมาย (ตำแหน่งเทียบเท่ารองเลขาธิการ)

สำนักพระราชวัง

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทมหาชน จำกัด บริษัทจำกัด องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (4)

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

• ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP 26/2547)

ประวัติการอบรมอื่นๆ

• ประกาศนียบัตร Advanced Management Program (AMP 155), Harvard Business School ประเทศสหรัฐอเมริกา • ประกาศนียบัตรหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารชัน้ สูง รุน่ 6 สถาบันพระปกเกล้า • ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน

(หลักสูตร วตท. รุน่ ที่ 3)

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

2544-2546 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2546-2550 กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) - ไม่มี

- ไม่มี - ไม่มี

• กรรมการอำนวยการพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวัง • กรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมการกฤษฎีกา • ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน • กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

• ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมโยธา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาโทบริหารธุรกิจ, Utah State University, ประเทศสหรัฐอเมริกา • ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบณั ฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ • ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ ร่วมเอกชน รุ่นที่ 10

- - - -

ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (5)

• ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั ปตท. จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษทั ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) • รองประธานกรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) • รองประธานกรรมการ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)

บริษัทมหาชน จำกัด (1)

• ประธานกรรมการ บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน)

บริษัทจำกัด (2)

• ประธานกรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด

องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

- ไม่มี - - - -

ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี


062

นายมนู เลียวไพโรจน์

กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ อายุ 66 ปี

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา

กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ อายุ 58 ปี

นายชัยเกษม นิติสิริ

ประวัติการศึกษา

ประวัติการศึกษา

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

• เศรษฐศาสตร์บณั ฑิต (เกียรตินยิ มดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • M.Sc. (Economics.) University of Kentucky, ประเทศสหรัฐอเมริกา • Ph.D. บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • วุฒิบัตร การพัฒนาอุตสาหกรรม ศูนย์อบรมนาโงยา ประเทศญี่ปุ่น • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุน่ ที่ 34 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

• ประกาศนียบัตรหลักสูตร Role of Chairman Program (RCP 3/2544) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 30/2546)

ประวัติการอบรมอื่นๆ

- ไม่มี

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

2547-2548 กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2548-2550 กรรมการ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 2548-2551 กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) 2548-2552 กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (4)

• ประธานกรรมการ บริษัท โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท เชอร์วูดเคมิคอล จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

บริษัทมหาชน จำกัด บริษัทจำกัด (1)

063

บริษทั ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 คณะกรรมการบริษทั ฯ

- ไม่มี

• กรรมการ บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด

องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (2)

• ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน

(องค์การมหาชน) • กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 5 (ด้านกฎหมายการค้าและอุตสาหกรรม)

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ 0.0015 การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ - ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน - ไม่มี ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีย้อนหลัง - ไม่มี

• ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (สาขาวิศวกรรมเครื่องกล)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • ปริญญาโทวิศวกรรมปิโตรเลียม New Mexico Institute of Mining and Technology, ประเทศสหรัฐอเมริกา • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Audit Committee Continuing and Development Program (ACP 24/2551)

ประวัติการอบรมอื่นๆ

• ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (หลักสูตร วตท. รุน่ ที่ 8) • ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 48

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

2546-2548 รองอธิบดี กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ, กระทรวงพลังงาน 2548-2550 กรรมการ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 2548-2551 อธิบดี กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน 2551-2552 รองปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทมหาชน จำกัด บริษัทจำกัด องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (1)

- ไม่มี - ไม่มี - ไม่ม ี

• อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ 0.0006 การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ - ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน - ไม่มี ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง - ไม่มี

กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ อายุ 61 ปี

นายอุทิศ ธรรมวาทิน

กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ

อายุ 61 ปี

ประวัติการศึกษา

ประวัติการศึกษา

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (2)

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (1)

• นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม อันดับ 2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา • LL.M. Columbia University โดยทุนรัฐบาล ตามความต้องการของกรมอัยการ (สำนักงานอัยการสูงสุด) และทุนของมูลนิธิ Starr ประเทศสหรัฐอเมริกา • นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง • ศาสตราจารย์พิเศษ ในสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

• นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • เนติบัณฑิตไทย เนติบัณฑิตยสภา • LL.M. University of California, Berkeley, USA. • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (วปรอ.) รุ่นที่ 399 • NIDA-Wharton Executive Leadership Program, Wharton School, University of Pennsylvania, USA

• ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 8/2544) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 3/2543) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Role of Chairman Program (RCP 16/2550) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Financial Statements for Directors (FSD 5/2552) ประวัติการอบรมอื่นๆ • หลักสูตรนักบริหารระดับสูง สำนักงาน ก.พ. หลักสูตรที่ 1 รุ่นที่ 11 ประวัติการอบรมอื่นๆ • หลักสูตร Customs International Executive Management Program • นักบริหารงานยุติธรรมระดับสูง (อส.) รุ่นที่ 1 (CIEMP) ณ ประเทศออสเตรเลีย • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38 • Mini Master of Management สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ • นักบริหารระดับสูง (ก.พ.) หลักสูตรที่ 1 รุ่นที่ 14 • หลักสูตร EVM (Economic Value Management) สำนักงานคณะกรรมการ • การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง

นโยบายรัฐวิสาหกิจร่วมกับบริษัท สเติร์น สจ๊วต (ประเทศไทย) จำกัด (ปปร. 9) รุ่นที่ 9 • ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน • หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 11 วิทยาลัย

(หลักสูตร วตท. รุ่นที่ 5) การยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม • Cert. in International Procurement, Georgetown University (2524) 2543 2544 2545 2546 2550-2552

อธิบดีอยั การฝ่ายคดีทรัพย์สนิ ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอัยการสูงสุด อธิบดีอัยการฝ่ายปรึกษา รองอัยการสูงสุด อัยการสูงสุด สำนักงานอัยการสูงสุด

• กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) • กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

บริษัทมหาชน จำกัด บริษัทจำกัด องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (6)

- ไม่มี - ไม่ม ี

• อัยการอาวุโส (ประธานคณะทีป่ รึกษาอัยการสูงสุด คณะที่ 2) สำนักงานอัยการสูงสุด • กรรมการและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ • กรรมการกฤษฎีกา • กรรมการ สภามหาวิทยาลัยโยนก • กรรมการสภามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น • กรรมการในคณะกรรมการตำรวจ

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

- - - -

ไม่ม ี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

2545

รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้าน รายได้ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง 2547 อธิบดีกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง 2549-2551 รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้าน รายจ่ายและหนี้สิน สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง 2551-1 ตุลาคม 2552 อธิบดีกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง

• ประธานกรรมการ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำ

ภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน)

บริษัทมหาชน จำกัด (1)

• กรรมการ บริษัท แพน-ราชเทวี กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัทจำกัด องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

- ไม่มี - ไม่มี - - - -

ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี


064

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ อายุ 56 ปี

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์

นายบรรพต หงษ์ทอง

นายปรัชญา ภิญญาวัธน์

อายุ 56 ปี

อายุ 63 ปี

อายุ 58 ปี

กรรมการอิสระและกรรมการกำกับดูแลกิจการ

กรรมการอิสระและกรรมการกำกับดูแลกิจการ

ประวัติการศึกษา

ประวัติการศึกษา

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

ประวัติการอบรมอื่นๆ

ประวัติการอบรมอื่นๆ ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

• ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 104/2551)

- ไม่มี

2545

รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์

(รอง ผบ.พล.ร.2 รอ.) 2546 ผูบ้ ญั ชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.ร.2 รอ.) 2548 รองแม่ทัพภาคที่ 1 (รอง มทภ.1) 2549-2551 แม่ทัพภาคที่ 1 (มทภ. 1) 2551-2552 เสนาธิการทหารบก, กองทัพบก 2552-ปัจจุบนั รองผู้บัญชาการทหารบก, กองทัพบก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

2544-2547 กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) 2547-ปัจจุบนั กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (2)

• กรรมการและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) • กรรมการอิสระ บริษัท อินโดรามาโพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน)

- ไม่มี - ไม่มี

• ประธานสมาคมธนาคารไทย • กรรมการ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท) • กรรมการ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

เหรียญรามมาลา เข็มกล้ากลางสมร ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.) ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.)

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทมหาชน จำกัด บริษัทจำกัด องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ

• หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (วปรอ. รุ่นที่ 16)

บริษัทมหาชน จำกัด บริษัทจำกัด องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (3)

- - - -

ไม่ม ี ไม่ม ี ไม่ม ี ไม่ม ี

- - - -

ไม่ม ี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

- - - -

กรรมการและกรรมการกำกับดูแลกิจการ

• โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12 • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี

• โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • หลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51 • ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทนเนสซี,่ ประเทศสหรัฐอเมริกา • หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 38 ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ • โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 63 บริษัทไทย (IOD) • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน 5020 • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 18/2545)

2533 2542 2545 2548 2551

065

บริษทั ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 คณะกรรมการบริษทั ฯ

ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ประวัติการศึกษา

ประวัติการศึกษา

• ปริญญาตรี (Economics), Northeastern University, ประเทศสหรัฐอเมริกา • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมโยธา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมโยธา) Stanford University,

• ปริญญาโท (Economics Development), Northeastern University, ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหรัฐอเมริกา • ปริ ญญาเอกวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมโยธา) University of Texas at Austin ประเทศสหรัฐอเมริกา ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ • ปริ ญ ญาบั ตรหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน บริษัทไทย (IOD) - ไม่มี วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ประวัติการอบรมอื่นๆ

• ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (หลักสูตร วตท. รุ่นที่ 9)

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

2542 2546 2550 2551-2552

อธิบดี กรมส่งเสริมการส่งออก ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รัฐสภา กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

• ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 14/2545)

ประวัติการอบรมอื่นๆ

• ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (หลักสูตร วตท. รุน่ ที่ 7)

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

2545-2546 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์และพัฒนาองค์กร

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2546-2547 รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่บริหารองค์กร บริษทั ปตท. จำกัด (มหาชน) 2547-2550 รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่กลุม่ ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลัน่

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษทั ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ - ไม่มี 2551-ปัจจุบนั ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย

บริษัทมหาชน จำกัด (1) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) • ที่ปรึกษาคณะกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารสแตนดาร์ด ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน ชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทจำกัด องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (4)

- ไม่มี

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

- - - -

• ที่ปรึกษาคณะกรรมการสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย • กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลอีสาน • ที่ปรึกษาการดำเนินงานของกรมพัฒนาที่ดิน • ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา

ไม่ม ี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (4)

• ประธานเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ ารกลุม่ ธุรกิจปิโตรเลียมขัน้ ปลายและรองกรรมการ ผูจ้ ดั การใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษทั ปตท. จำกัด (มหาชน) • กรรมการ กรรมการกำกับดูแลกิจการ และประธานคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) • กรรมการ กรรมการสรรหา และประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) • กรรมการ กรรมการบริหาร และกรรมการกำกับดูแลกิจการ

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

บริษัทมหาชน จำกัด (2)

• กรรมการ บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน)

บริษัทจำกัด (9)

• ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ โลจิสติกส์ จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด

องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

- - - - -

ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี


066

067

บริษทั ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 คณะกรรมการบริษทั ฯ

นายพิชัย ชุณหวชิร

นายนริศ ชัยสูตร

อายุ 61 ปี

อายุ 55 ปี

กรรมการ

กรรมการ

นายสุรงค์ บูลกุล

ประวัติการศึกษา

ประวัติการศึกษา

กรรมการ เลขานุการคณะกรรมการบริษทั ฯ และประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร (กรรมการทีเ่ ป็นผูบ้ ริหาร) อายุ 54 ปี

นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์

กรรมการ เลขานุการคณะกรรมการบริษัทฯ และกรรมการอำนวยการ

(เกษียณอายุงานเมือ่ วันที่ 30 กันยายน 2552) อายุ 61 ปี

• บัญชีบัณฑิต (การบัญชี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ปริญญาตรีทางเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • MBA. (Business Administration) Indiana University of Pennsylvania, • ปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา • ปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ University of Hawaii, ประเทศสหรัฐอเมริกา • ปริญญาดุษฎีบณั ฑิตกิตติมศักดิท์ างบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการเงิน ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บริษัทไทย (IOD) • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP 32/2548) ร่วมเอกชน (วปรอ.) รุน่ ที่ 13 • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Finance for Non-Finance Director (FND 19/2548) • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขที่ 2918 • ประกาศนี ยบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 82/2549) ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP 49/2549) ประวัติการอบรมอื่นๆ • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 110/2551) • Certificate in Population Studies, University of Hawaii, ประเทศสหรัฐอเมริกา • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ประวัติการอบรมอื่นๆ รุ่นที่ 39 • ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน • ประกาศนียบัตรหลักสูตรผูบ้ ริหารระดับสูงสถาบันวิทยาลัยตลาดทุน (วตท. 4) (หลักสูตร วตท.รุ่นที่ 5)

ประวัติการศึกษา

ประวัติการศึกษา

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

ประวัติการอบรมอื่นๆ

ประวัติการอบรมอื่นๆ ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

2543-2552 2544-2550 2546-2547 2548-2552 2539-2552 2550-2552 2551-2552 2546-2551

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

ประธานกรรมการ บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด รองกรรมการผู้จัดการใหญ่การเงินและบัญชีองค์กร

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษทั ปตท. อะโรเมติกส์และการกลัน่

(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารการเงิน บริษทั ปตท. จำกัด (มหาชน) กรรมการและกรรมการตรวจสอบ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (5)

- - - -

2547-2549 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 2549-2550 ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง 2551-2552 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง 2552-ปัจจุบนั รองปลัดกระทรวงการคลัง ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (1)

• กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

บริษัทมหาชน จำกัด รัฐวิสาหกิจ (1)

ไม่ม ี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

• ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 121/2552) • PMD, Harvard University, U.S.A. • ประกาศนียบัตรหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า • หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ. รุ่น 4919)

2548-2551 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การค้าระหว่างประเทศ

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2551-2552 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษทั ปตท. จำกัด (มหาชน) - ไม่มี

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (1)

ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท เอ็นพีทีซี เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด กรรมการ บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด กรรมการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด กรรมการ บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด กรรมการ บริษัท พีทีที โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด กรรมการ และกรรมการอำนวยการ

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด 2551-2552 กรรมการ บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด

บริษัทจำกัด (8)

บริษัทจำกัด (9)

• ประธานกรรมการ บริษัท PTT International Trading DMCC • ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. ค้าสากล จำกัด • กรรมการ บริษัท ปตท. กรีนเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด • กรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด

องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ - ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ 0.0032 การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ - ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน - ไม่มี ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง - ไม่มี

- ไม่มี

2542-2548 2549-2552

• กรรมการ บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน)

• ประธานสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ • ประธานชมรมศิษย์เก่าอีสเวสเซนเตอร์และฮาวายในประเทศไทย • ประธานคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย • นายกสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ • กรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก • กรรมการแผนกธรรมศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล • กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนทิวไผ่งาม

- - - -

• ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP 1/2547) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 38/2547)

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทมหาชน จำกัด (1)

บริษัทมหาชน จำกัด (1)

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

• ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม อันดับ 2)

สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • M.Sc. in Civil Engineering, University of Texas at Austin, ประเทศสหรัฐอเมริกา • Ph.D. in Civil Engineering, University of Texas at Austin, ประเทศสหรัฐอเมริกา • Program for Management Development, Harvard University,

ประเทศสหรัฐอเมริกา

• รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สังกัด ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจ ปิโตรเคมีขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

• ประธานกรรมการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (8)

• กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทมหาชน จำกัด (1) • กรรมการ บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) บริษัทจำกัด (2) • กรรมการ บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (3) • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ • กรรมการตรวจสอบ มหาวิทยาลัยมหิดล • อุปนายกและประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการบัญชีบริหาร สภาวิชาชีพบัญชี สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

ประวัติการทำงานย้อนหลังในช่วงระยะเวลา 5 ปี

• ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขา Industrial Engineering and Operations Research Syracuse University, ประเทศสหรัฐอเมริกา • ปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ สาขา Operations Research, Cornell University, ประเทศสหรัฐอเมริกา • ปริญญาโทบริหารธุรกิจ, Cornell University, ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ไม่มี

• กรรมการ บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ และกรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด • กรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ โซลเว้นท์ จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท ท็อป โซลเว้นท์ จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด

องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (3)

• กรรมการ The Offshore Technology & Management (OTM), AIT • กรรมการ Council of Trustees, สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย • กรรมการที่ปรึกษาสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ 0.0014 การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ - ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน - ไม่มี ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง - ไม่มี


068

นายนิพัทธ พุกกะณะสุต

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช

นายนิตย์ จันทรมังคละศรี

(ครบวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552)

(ครบวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552)

(ครบวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552)

กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ

กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

อายุ 67 ปี

ประวัติการศึกษา

ประวัติการศึกษา

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

• ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์, University of Hawaii, ประเทศสหรัฐอเมริกา • ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • M.A. (Political Science), University of Hawaii, ประเทศสหรัฐอเมริกา • M.A. in Economics, California State University in Northridge,

ประเทศสหรัฐอเมริกา

• ประกาศนียบัตรหลักสูตรประธานกรรมการบริษัทมหาชน ปี 2548 • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP 66/2550) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP 20/2547) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Audit Committee Continuing and • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Finance for Non-Finance Director Development Program (ACP 24/2551) (FND 13/2547) ประวัติการอบรมอื่นๆ • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Audit Committee Program • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 35 (ACP 14/2549) • หลักสูตรผูบ้ ริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (หลักสูตร วตท. รุน่ ที่ 5) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 71/2549) ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี 2545-2550 รองผู้อำนวยการ สำนักงานระบบการเงินการคลังภาครัฐ ประวัติการอบรมอื่นๆ • ประกาศนียบัตร นักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 12 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 39 2547-2552 กรรมการอิสระ และประธานคณะกรรมการตรวจสอบ

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท ทีซีเจ เอเชีย จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท จีเจ สตีล จำกัด (มหาชน)

บริษัทมหาชน จำกัด บริษัทจำกัด องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (3)

• กรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • ประธานกรรมการ มูลนิธิกองทุนพัฒนาระบบตลาดทุน • ที่ปรึกษากลุ่มยูนิไทยไลน์ จำกัด (มหาชน)

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

2545-2547 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2547-2551 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 2547-2552 กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณา ค่าตอบแทน บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) - ไม่มี

- ไม่มี

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (1)

• กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

- - - -

ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

บริษัทมหาชน จำกัด บริษัทจำกัด องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (2)

• กรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย • กรรมการคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 5

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วย ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ อายุ 56 ปี

อายุ 62 ปี

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (2)

069

บริษทั ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 คณะกรรมการบริษทั ฯ

- ไม่มี - ไม่มี

- - - -

ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ประวัติการศึกษา

• ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมไฟฟ้า) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาโทและเอก สาขา Industrial and Energy Technology Policy and Technology Management จาก Science Policy Research Unit (SPRU) University of Sussex, สหราชอาณาจักร

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

• ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP 19/2547) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP 66/2548) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Finance for Non-Finance Directors (FND 14/2548) • ประกาศนียบัตรหลักสูตร Audit Committee Program (ACP 14/2549)

ประวัติการอบรมอื่นๆ

- ไม่มี

ประวัติการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี

2546-2549 กรรมการ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน 2547-2549 กรรมการ คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2546- 2550 กรรมการและกรรมการสรรหา บริษทั อะโรเมติกส์

(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 2547-2552 กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

ตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทมหาชน จำกัด บริษัทจำกัด (3)

- ไม่มี - ไม่ม ี

• กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ โซลเว้นท์ จำกัด • กรรมการ บริษัท ท็อป โซลเว้นท์ จำกัด • กรรมการ บริษัท เซลเลนเนียม (ประเทศไทย) จำกัด

องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ (2)

• กรรมการกองทุนพลังงาน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน

เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กองทุนร่วมทุนวิสาหกิจ

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ การมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทฯ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการด้วยกัน ประวัติการกระทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปี ย้อนหลัง

- - - -

ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี


37 นางสาวภัทรลดา สง่าแสง 38 นางภาวนา ศุภวิไล 39 นายยุทธนา ภาสุรปัญญา 40 นายวัชระ มัทนพจนารถ 41 นายวิโรจน์ มีนะพันธ์ 42 นางสาวศิริพร มหัจฉริยวงศ์ 43 นายสันติ วาสนสิริ 44 นายสุชาติ มัณยานนท์ 45 นายสุพล เฉลิมเกียรติกุล 46 นายอรรถวุฒิ วิกิตเศรษฐ 47 นางอัจฉรีย์ ตียาภรณ์

รายชื่อ

1 นายสมนึก กยาวัฒนกิจ 2 นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 3 นายมนู เลียวไพโรจน์ (4) 4 นายอุทิศ ธรรมวาทิน (4) 5 นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ 6 นายนริศ ชัยสูตร (4) 7 นายพิชัย ชุณหวชิร 8 นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ 9 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 10 นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา 11 นายชัยเกษม นิติสิริ 12 นางสาวพวงเพชร สารคุณ 13 นายนนทิกร กาญจนะจิตรา 14 นายบรรพต หงษ์ทอง 15 นายสุรงค์ บูลกุล 16 นายสมเกียรติ หัตถโกศล 17 นายชัยวัฒน์ ดำรงค์มงคลกุล 18 นายณรงค์ฤทธิ์ ถาวรวิศิษฐพร 19 นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต 20 นายสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ 21 นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ (16) 22 นายสุพล ทับทิมจรูญ 23 นายอภินันท์ สุภัตรบุตร 24 นายไมตรี เรี่ยวเดชะ 25 นายเทอดชาติ ผดุงรัตน์ 26 นายนิทัศน์ ครองวานิชยกุล 27 นายสมชาย จิรานันตรัตน์ 28 นายกล้าหาญ โตชำนาญวิทย์ (24) 29 นายโกศล พิมทะโนทัย 30 นายดนุ เบญจพลชัย 31 นางสาวดวงพร ธีรภาพไพสิฐ 32 นายบวร วงศ์สินอุดม (25) 33 นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต 34 นางประพิณ ทองเนียม 35 นายพงษ์พันธุ์ อมรวิวัฒน์ 36 นายพรอินทร์ แม้นมาลัย

รายชื่อ

// (27)

// // // // // // // // // //

ไทยออยล์

/ // // // // // // // // // // // // // // // // // // // // //

3 3 (5)

3

3

3

3

3

3

3

3

3

3

3

3

v

ไทยออยล์

บริษัทย่อย

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

/

3 (7)

3

3 (6)

3

3

/

3

3

3

3 (7)

3

3

v

3

/

3

3

v(3)

3

/

3 3 (11)

3 (8)

v

3

/

3 (9)

3 (18) 3 (12)

3

3

บริษัทย่อย

3 (21)

3

3 3 (12)

3 3 (12)

3 (9)

3

3

3

/

3

/

3 (19)

3

3

3 (20)

3

3 (14)

3

3

3

/

3 (22)

3

3

3 (10)

3

3

3

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

3 (23)

3 (15)

3 (13)

3

3

// (26)

/

(2) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2552 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2552 (3) ได้รบั การแต่งตัง้ เป็นประธานกรรมการ บริษทั ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด ในการประชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 1/2552 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 โดยให้มผี ลหลังการประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำปี 2552 เมือ่ วันที่ 21 เมษายน 2552 (4) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 (5) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 โดยมีผลวันที่ 1 ตุลาคม 2552 (6) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 23 เมษายน 2552 (7) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 วันที่ 29 เมษายน 2552 (8) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 21 เมษายน 2552 (9) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2552 วันที่ 3 ธันวาคม 2552 (10) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2552 วันที่ 30 ตุลาคม 2552 (11) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 วันที่ 21 เมษายน 2552 (12) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี จำกัด ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 (13) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 (14) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2552 (15) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 (16) ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 (17) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการและกรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 โดยมีผลวันที่ 1 มิถุนายน 2552 (18) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี จำกัด ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2552 โดยมีผลวันที่ 1 สิงหาคม 2552 (19) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ท็อป โซลเว้นท์ จำกัด ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2552 โดยมีผลหลังจากจดทะเบียนแจ้งกระทรวงพาณิชย์ วันที่ 17 กันยายน 2552 (20) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2552 (21) ได้รบั การแต่งตัง้ เป็นกรรมการ บริษทั ไทยออยล์มารีน จำกัด ในการประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำปี 2552 เมือ่ วันที่ 17 เมษายน 2552 และได้รบั การแต่งตัง้ เป็นกรรมการอำนวยการในการประชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 2/2552 เมือ่ วันที่ 21 เมษายน 2552 โดยมีผลตั้งแต่

วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 (22) ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารของบริษัทฯ และเป็นกรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2552 และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 (23) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2552 (24) ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 (25) ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2549 (26) ได้รับแต่งตั้งเป็นรองกรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี จำกัด เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 (27) ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 * บจ. ท็อป โซลเว้นท์ เป็นบริษัทย่อยของ บจ. ไทยออยล์ โซลเว้นท์ ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 ** บจ. ศักดิ์ไชยสิทธิ เป็นบริษัทย่อยของ บจ.ท็อป โซลเว้นท์ ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 80.52

3

บจ. ไทย บมจ. ไทย บจ. ไทยออยล์ บจ. ผลิต บจ. ไทยออยล์ บจ. ไทยออยล์ บจ. ไทยออยล์ บจ. ท็อป บจ. ศักดิ์ บจ. ไทยออยล์ บจ. ท่อส่ง บจ. พีทีที บจ. แม่สอด พาราไซลีน ลู้บเบส เพาเวอร์ ไฟฟ้าอิสระ มารีน เอนเนอร์ยี โซลเว้นท์ โซลเว้นท์ * ไชยสิทธิ ** เอทานอล ปิโตรเลียม ไอซีที พลังงาน โซลูชั่นส์(1) ไทย โซลูชั่นส์ สะอาด (ประเทศไทย)

3 (2)

บจ. ไทย บมจ. ไทย บจ. ไทยออยล์ บจ. ผลิต บจ. ไทยออยล์ บจ. ไทยออยล์ บจ. ไทยออยล์ บจ. ท็อป บจ. ศักดิ์ บจ. ไทยออยล์ บจ. ท่อส่ง บจ. พีทีที บจ. แม่สอด พาราไซลีน ลู้บเบส เพาเวอร์ ไฟฟ้าอิสระ มารีน เอนเนอร์ยี โซลเว้นท์ โซลเว้นท์ * ไชยสิทธิ ** เอทานอล ปิโตรเลียม ไอซีที พลังงาน โซลูชั่นส์(1) ไทย โซลูชั่นส์ สะอาด (ประเทศไทย)

หมายเหตุ: v = ประธานกรรมการ 3= กรรมการ / = กรรมการอำนวยการ หรือ กรรมการผู้จัดการ หรือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร // = ผู้บริหาร (1) เปลี่ยนชื่อจาก บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี จำกัด เป็น “บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด” ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2552 วันที่ 3 ธันวาคม 2552

ตารางแสดงข้อมูลการดำรงตำแหน่งของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 070 บริษทั ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 คณะกรรมการบริษทั ฯ

071


072

073

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 โครงสร้างองค์กรบริษัทฯ

โครงสร้างองค์กรบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

คณะกรรมการบริษัทฯ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สุรงค์ บูลกุล

คณะกรรมการตรวจสอบ ผู้จัดการแผนกตรวจสอบระบบงานภายใน

ผู้อำนวยการใหญ่ สมเกียรติ หัตถโกศล รองกรรมการอำนวยการ ด้านธุรกิจ สมเกียรติ หัตถโกศล (รักษาการ)

รองกรรมการอำนวยการ ด้านโรงกลั่น ชัยวัฒน์ ดำรงค์มงคลกุล

รองกรรมการอำนวยการ ด้านการเงิน วิรัตน์ เอื้อนฤมิต กรรมการอำนวยการ - TLB กรรมการอำนวยการ - TPX กรรมการอำนวยการ - TM กรรมการอำนวยการ - IPT กรรมการอำนวยการ - TP กรรมการผู้จัดการ - TS กรรมการอำนวยการ - TET

หมายเหตุ 1/3/2006 1/10/2006 3/11/2008 3/11/2008 1/2/2009 1/2/2009 1/5/2009 1/6/2009 1/9/2009

: : : : : : : : : :

ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ ด้านโรงกลั่น ณรงค์ฤทธิ์ ถาวรวิศิษฐพร ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยี บัณฑิต ธรรมประจำจิต

ผู้จัดการ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล โกศล พิมทะโนทัย

ผู้จัดการฝ่ายวางแผน การพาณิชย์องค์กร พงษ์พันธ์ุ อมรวิวัฒน์

ผู้จัดการฝ่ายผลิต ยุทธนา ภาสุรปัญญา

ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาองค์กรและ ปรับปรุงกระบวนการทำงาน สันติ วาสนสิริ

ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุน งานปฏิบัติการ อรรถวุฒิ วิกิตเศรษฐ

ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ และคุณภาพ ณรงค์ฤทธิ์ ถาวรวิศิษฐพร (รักษาการ)

ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ดวงพร ธีรภาพไพสิฐ

ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ประพิณ ทองเนียม

ผู้จัดการฝ่ายการพาณิชย์ อัจฉรีย์ ตียาภรณ์ (รักษาการ)

ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ ภัทรลดา สง่าแสง

ผู้จัดการฝ่ายการคลัง ศิริพร มหัจฉริยวงศ์

ฝ่ายจัดการ สังกัดประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คุณบวร ว. ผู้จัดการฝ่าย (SA-3) ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานที่ PTT คุณกล้าหาญ ต. ผู้จัดการฝ่าย (SA-5) ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานที่ PTT คุณอภินันท์ ส. ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ (SA-1) ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานที่ TLB คุณไมตรี ร. ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ (SA-4) ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานที่ IPT และ 15/12/2008 ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานที่ TP อีกตำแหน่งหนึ่ง คุณสุกฤตย์ ส. ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ (SA-8) ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานที่ PTT คุณภาวนา ศ. ผู้จัดการฝ่าย (SA-9) ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานที่ TE คุณนิทัศน์ ค. ผู้จัดการฝ่าย (SA-7) ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานที่ TM คุณสุพล ท. ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ (SA-2) ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานที่ TPX คุณเทอดชาติ ผ. รักษาการผู้จัดการฝ่าย (SA-6) ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานที่ TS

ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ ด้านบริหารองค์กร สมชัย วงศ์วัฒนศานต์

ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาสินทรัพย์ พรอินทร์ แม้นมาลัย

ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม สุชาติ มัณยานนท์ ผู้จัดการฝ่ายบริหาร คุณภาพองค์กร ดนุ เบญจพลชัย

ผู้จัดการฝ่าย สำนักกรรมการอำนวยการ วิโรจน์ มีนะพันธ์


074

075

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ฝ่ายจัดการบริษัทฯ

076

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ฝ่ายจัดการบริษัทฯ

ฝ่ายจัดการบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

9.

7.

5.

4.

3. 1.

1. นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 2. นายสมเกียรติ หัตถโกศล ผู้อำนวยการใหญ่ รองกรรมการอำนวยการ - ด้านธุรกิจ (รักษาการ) 3. นายชัยวัฒน์ ดำรงค์มงคลกุล รองกรรมการอำนวยการ - ด้านโรงกลั่น 4. นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองกรรมการอำนวยการ - ด้านการเงิน 5. นายณรงค์ฤทธิ์ ถาวรวิศิษฐพร ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ - ด้านโรงกลั่น ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์และคุณภาพ (รักษาการ)

6.

8.

10.

11.

12.

13.

14.

15.

16.

17.

18.

19.

20.

21.

22. 23.

24.

25.

26.

27.

28.

29. 30.

2.

6. นายสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ - ด้านบริหารองค์กร 7. นายสุพล ทับทิมจรูญ ผูช้ ว่ ยกรรมการอำนวยการ - ปฏิบตั หิ น้าทีก่ รรมการอำนวยการ บจ. ไทยพาราไซลีน 8. นายอภินันท์ สุภัตรบุตร ผูช้ ว่ ยกรรมการอำนวยการ - ปฏิบตั หิ น้าทีก่ รรมการอำนวยการ บมจ. ไทยลู้บเบส 9. นายไมตรี เรี่ยวเดชะ ผูช้ ว่ ยกรรมการอำนวยการ - ปฏิบตั หิ น้าทีก่ รรมการอำนวยการ บจ. ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) และ บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์

10. นายโกศล พิมทะโนทัย ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล 11. นางสาวดวงพร ธีรภาพไพสิฐ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ 12. นายดนุ เบญจพลชัย ผู้จัดการฝ่ายบริหารคุณภาพองค์กร 13. นายเทอดชาติ ผดุงรัตน์ รักษาการผูจ้ ดั การฝ่าย - ปฏิบตั หิ น้าทีก่ รรมการผูจ้ ดั การ บจ. ท็อป โซลเว้นท์

14. นายนิทัศน์ ครองวานิชยกุล ผู้จัดการฝ่าย - ปฏิบัติหน้าที่กรรมการอำนวยการ บจ. ไทยออยล์มารีน 15. นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยี 16. นางประพิณ ทองเนียม ผู้จัดการฝ่ายบัญชี 17. นายพงษ์พันธ์ุ อมรวิวัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายวางแผนการพาณิชย์องค์กร 18. นายพรอินทร์ แม้นมาลัย ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาสินทรัพย์ 19. นางสาวภัทรลดา สง่าแสง ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์

20. นางภาวนา ศุภวิไล ผูจ้ ดั การฝ่าย - ปฏิบตั หิ น้าทีร่ องกรรมการอำนวยการ บจ. ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ 21. นายยุทธนา ภาสุรปัญญา ผู้จัดการฝ่ายผลิต 22. นายวัชระ มัทนพจนารถ ผู้จัดการฝ่ายบริหารทั่วไป บจ. ท็อป โซลเว้นท์ 23. นายวิโรจน์ มีนะพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายสำนักกรรมการอำนวยการ 24. นางสาวศิริพร มหัจฉริยวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการคลัง

25. นายสมชาย จิรานันตรัตน์ กรรมการอำนวยการ บจ. ไทยออยล์ เอทานอล 26. นายสันติ วาสนสิริ ผูจ้ ดั การฝ่ายพัฒนาองค์กรและปรับปรุงกระบวนการทำงาน 27. นายสุชาติ มัณยานนท์ ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม 28. นายสุพล เฉลิมเกียรติกุล กรรมการผู้จัดการ บจ. ศักดิ์ไชยสิทธิ 29. นายอรรถวุฒิ วิกิตเศรษฐ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนงานปฏิบัติการ 30. นางสาวอัจฉรีย์ ตียาภรณ์ ผู้จัดการฝ่ายการพาณิชย์ (รักษาการ)


078

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

079

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ โครงสร้างการถือหุ้น หลักทรัพย์ของบริษัทฯ

• หุ้นสามัญ ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล วันที่ 4 กันยายน 2552 บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน จำนวน 20,400,278,730 บาท และทุนชำระแล้วจำนวน 20,400,278,730 บาท เป็นหุ้นสามัญทั้งสิ้น 2,040,027,873 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท • หุ้นกู้ บริษัทฯ ได้มีการออกหุ้นกู้สกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ชนิดไม่มีหลักประกัน (USD Bond) จำนวน 350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อายุ ของหุ้นกู้ 10 ปี ประเภทชำระคืนเงินต้นครั้งเดียว ซึ่งจะครบกำหนดชำระคืนเงินต้นในวันที่ 9 มิถุนายน 2558 และหุ้นกู้

สกุลเงินบาทชนิดไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิ 3 ชุด (Baht Bond) จำนวนรวม 17,750 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนด ไถ่ถอนปี 2556 จำนวน 2,750 ล้านบาท ปี 2555 จำนวน 3,000 ล้านบาทและปี 2557 จำนวน 12,000 ล้านบาท

ฝ่ายจัดการบริษัทฯ

ผู้ถือหุ้น

รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ณ วันที่ 4 กันยายน 2552 โดยนับรวมการถือหุ้นตามมาตรา 258 แห่งพระราชบัญญัติ

หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีดังนี้

รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก (1)

จำนวนหุ้น

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (2) NIPPON OIL CORPORATION STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE. LTD. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR LONDON บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) J.P. MORGAN BANK LUXEMBOURG S.A.4 GOVERNMENT OF SINGAPORE INVESTMENT CORPORATION THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

1,001,647,483 36,137,200 35,532,061 34,169,074 21,780,600 18,000,000 12,000,000 11,943,900 11,040,594 10,411,400 1,192,662,312

รวม

สัดส่วน การถือหุ้น (ร้อยละ)

49.10 1.77 1.74 1.67 1.07 0.88 0.59 0.59 0.54 0.51 58.46

หมายเหตุ: (1) ไม่นับรวมผู้ถือหุ้นบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนของผู้ลงทุน โดยเฉพาะชาวต่างประเทศ ให้สามารถลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนได้โดยไม่ติดเรื่องเพดานการถือครองหลักทรัพย์ของชาวต่างชาติ (Foreign Limit) ซึ่งไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมของบริษัทจดทะเบียน (2) บมจ. ปตท. ในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ มีส่วนในการกำหนดนโยบายการจัดการและการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยผ่านความเห็นชอบของ คณะกรรมการบริษทั ฯ ทัง้ นี้ มีกรรมการทีเ่ ป็นกรรมการ และผูบ้ ริหารของ บมจ. ปตท. จำนวน 5 คน จากจำนวนกรรมการบริษทั ฯ ทัง้ หมด 15 คน ณ สิน้ ปี 2552

นโยบายการจ่ายเงินปันผล

บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิของงบการเงินรวม ภายหลังจากการหักทุนสำรอง ต่างๆ ทุกประเภทตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทฯ และตามกฎหมาย โดยการพิจารณาการจ่ายเงินปันผลขึ้นอยู่กับ กระแสเงินสดของบริษัทฯ และแผนการลงทุนของบริษัทฯ และบริษัทในเครือในแต่ละปี ตามความจำเป็นและความเหมาะสมอื่นๆ ที่คณะกรรมการบริษัทฯ เห็นสมควร โดยจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในแต่ละปี เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินปันผล ระหว่างกาล ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ มีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลได้เป็นครั้งคราว เมื่อเห็นว่า บริษัทฯ มีผลกำไรสมควรจะ ทำเช่นนั้น แล้วให้รายงานการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลดังกล่าวให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป สำหรับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อยของบริษัทฯ คณะกรรมการของบริษัทย่อยจะพิจารณาให้ความเห็นชอบ และ เสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติในแต่ละปีเช่นกัน โดยจะพิจารณาการจ่ายเงินปันผลจากแผนการลงทุนตามความจำเป็นและความ เหมาะสมอื่นๆ เช่น ความเพียงพอของกระแสเงินสดของบริษัทย่อยหลังจากหักเงินสำรองตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว


080

โครงสร้างการจัดการ

โครงสร้างการจัดการของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย • คณะกรรมการบริษัทฯ • คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ที่ช่วยกลั่นกรองเรื่องที่สำคัญซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ จำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ และ 1 คณะ มาจากฝ่ายจัดการบริษัทฯ คือ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง • ฝ่ายจัดการ โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัทฯ

รายชื่อกรรมการที่ครบวาระและออกระหว่างปี 2552 ได้แก่

ตำแหน่ง

วันที่ได้รับแต่งตั้ง

กรรมการอิสระ ประธานกรรมการ 2. นายมนู เลียวไพโรจน์ กรรมการอิสระ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 3. นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ 4. นายชัยเกษม นิติสิริ กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ 5. นายอุทิศ ธรรมวาทิน กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ 6. นายนนทิกร กาญจนะจิตรา กรรมการอิสระ ประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 7. นางสาวพวงเพชร สารคุณ กรรมการอิสระ กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 8. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการ กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 9. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการอิสระ ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ 10. นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการอิสระ กรรมการกำกับดูแลกิจการ 11. นายบรรพต หงษ์ทอง กรรมการอิสระ กรรมการกำกับดูแลกิจการ 12. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ กรรมการ กรรมการกำกับดูแลกิจการ 13. นายพิชัย ชุณหวชิร กรรมการ 14. นายนริศ ชัยสูตร กรรมการ (1) 15. นายสุรงค์ บูลกุล กรรมการ เลขานุการคณะกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

4 เมษายน 2551 3 เมษายน 2552 10 เมษายน 2550 4 เมษายน 2551

1. นายสมนึก

กยาวัฒนกิจ

3. นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช (กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการสรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน) 4. นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ (กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ)

จำนวนหุ้น (หุ้น)

ชื่อ - นามสกุล

31 ธ.ค. 51

1. นายสมนึก กยาวัฒนกิจ 2. นายมนู เลียวไพโรจน์ 3. นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา 4. นายชัยเกษม นิติสิริ 5. นายอุทิศ ธรรมวาทิน 6. นายนนทิกร กาญจนะจิตรา 7. นางสาวพวงเพชร สารคุณ 8. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 9. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 10. นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ 11. นายบรรพต หงษ์ทอง 12. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์

4 เมษายน 2551 10 เมษายน 2550 10 เมษายน 2550 10 เมษายน 2550 1 ตุลาคม 2551

หมายเหตุ: (1) ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6 /2552 วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2552 มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งนายสุรงค์ บูลกุล เข้าดำรง ตำแหน่งกรรมการและประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร (CEO) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 แทนนายวิโรจน์ มาวิจกั ขณ์ กรรมการและกรรมการอำนวยการ

บริษทั ฯ ทีค่ รบกำหนดเกษียณอายุงาน ในวันที่ 30 กันยายน 2552

ครบวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 และไม่ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้าดำรงตำแหน่ง ครบวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 และไม่ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้าดำรงตำแหน่ง ครบวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 และไม่ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้าดำรงตำแหน่ง เกษียณอายุงานเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552

รายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการบริษัทฯ ในปี 2551 และในปี 2552

3 เมษายน 2552 4 เมษายน 2551

3 เมษายน 2552 3 เมษายน 2552 3 เมษายน 2552 1 ตุลาคม 2552 (แทน นายวิโรจน์ มาวิจกั ขณ์)

เหตุผลที่ออก

2. นายนิตย์ จันทรมังคละศรี (กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ)

มีกรรมการ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย • กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร จำนวน 14 คนโดยในจำนวนนี้ประกอบด้วย กรรมการอิสระ จำนวน 10 คน • กรรมการที่เป็นผู้บริหาร จำนวน 1 คน คือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รายชื่อคณะกรรมการบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ประกอบด้วย ชื่อ - นามสกุล

ชื่อ - นามสกุล

1. นายนิพัทธ พุกกะณะสุต (กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ)

คณะกรรมการบริษัทฯ

081

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

13. นายพิชัย 14. นายนริศ 15. นายสุรงค์

ชุณหวชิร ชัยสูตร บูลกุล

31 ธ.ค. 52

- - 12,000 - - - - - - - - 147,500

- 31,000 12,000 - - - - - - - - -

1,000 - -

1,000 - 64,700

จำนวนหุ้น เพิ่ม (ลด) ระหว่างปี

หมายเหตุ

- - - - - - - - - - - (147,500)

เข้าเป็นกรรมการเมื่อปี 2552 ขายหุ้นไปเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 - - - เข้าเป็นกรรมการเมื่อปี 2552


082

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

1. องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ

3. กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ

ข้อบังคับบริษัทฯ กำหนดให้คณะกรรมการของบริษัทฯ จะต้องประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยห้า (5) คน และไม่เกินสิบห้า

(15) คน โดยกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย และกรรมการจะเป็นผู้ถือหุ้น ของบริษัทฯ หรือไม่ก็ได้

2. การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการบริษัทฯ

ข้อบังคับบริษัทฯ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแต่งตั้ง ถอดถอน หรือพ้นจากตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ก ารแต่งตั้งกรรมการ ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งกรรมการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับ (1) หุ้นต่อ (1) เสียง (2) ผูถ้ อื หุน้ แต่ละคนจะใช้คะแนนเสียงทีม่ อี ยูท่ งั้ หมดตาม (1) เลือกตัง้ บุคคลคนเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ แต่จะแบ่ง คะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ (3) บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึง เลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมี ให้ประธานที่ประชุมเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติเห็นชอบให้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อ เข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการล่วงหน้าก่อนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ตามหลักเกณฑ์การสรรหากรรมการของบริษัทฯ ซึ่งปีที่ผ่านมา ไม่มีผู้เสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ รายละเอียดอยู่ในหัวข้อนโยบายการกำกับดูแลกิจการ หน้า 107

การถอดถอนและการพ้นจากตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ

• ในการประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำปีทกุ ครัง้ ให้กรรมการออกจากตำแหน่งจำนวนหนึง่ ในสาม (1/3) ของจำนวนกรรมการใน ขณะนั้น ถ้าจำนวนกรรมการจะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับจำนวนหนึ่งในสาม (1/3) และกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับเลือกให้กลับเข้ามารับตำแหน่งอีกได้ โดยกรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งใน ปีแรกและปีที่สองภายหลังจากจดทะเบียนแปรสภาพบริษัทฯ นั้น ให้ใช้วิธีจับสลากกันว่าผู้ใดจะออก ส่วนปีหลังๆ ต่อไปให้ กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง • นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ ตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะ ต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และ/หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือที่ประชุม

ผู้ถือหุ้นลงมติให้ออก หรือศาลมีคำสั่งให้ออก • กรรมการคนใดจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัทฯ โดยการลาออกนั้นจะมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึง บริษัทฯ ทั้งนี้ กรรมการซึ่งลาออกจะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้ • ในการลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระให้ถอื คะแนนเสียงไม่นอ้ ยกว่าสามในสี่ (3/4) ของ จำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้น ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน • ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้คณะกรรมการเลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดและกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

เข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการคราวถัดไป เว้นแต่วาระของกรรมการผูน้ นั้ จะเหลือน้อยกว่าสอง (2) เดือน โดยบุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนดังกล่าวจะอยู่ในตำแหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนเข้า มาแทน มติของคณะกรรมการจะต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่นอ้ ยกว่าสามในสี่ (3/4) ของจำนวนกรรมการทีย่ งั เหลืออยู่

083

ตามข้อบังคับบริษทั ฯ ได้กำหนดให้กรรมการผูม้ อี ำนาจผูกพันบริษทั ฯ คือ กรรมการสอง (2) คน ลงลายมือชือ่ ร่วมกัน และประทับตรา สำคัญของบริษทั ฯ โดยคณะกรรมการมีอำนาจพิจารณากำหนดและแก้ไขชือ่ กรรมการซึง่ มีอำนาจผูกพันบริษทั ฯ ได้ โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 ได้มีมติกำหนดชื่อและจำนวนกรรมการ

ซึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทฯ คือ นายสมนึก กยาวัฒนกิจ นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ นายมนู เลียวไพโรจน์ และ

นายสุรงค์ บูลกุล กรรมการสองในสี่คนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของบริษัทฯ

4. ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่ในการจัดการบริษัทฯ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของ

บริษัทฯ ตลอดจนมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญของคณะกรรมการ สรุปได้ดังนี้ หน้าที่ตามข้อบังคับบริษัทฯ • จัดการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ และเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น • เลือกกรรมการคนหนึง่ เป็นประธานกรรมการ ในกรณีทคี่ ณะกรรมการบริษทั ฯ พิจารณาเห็นสมควรจะเลือกกรรมการคนหนึง่ หรือ หลายคนเป็นรองประธานกรรมการก็ได้โดยรองประธานกรรมการมีหน้าทีต่ ามข้อบังคับในกิจการซึง่ ประธานกรรมการมอบหมาย • กำหนดการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง และอาจมีการประชุมพิเศษเพิ่มเติมตามความจำเป็น โดยปกติ บริษัทฯ ได้มีนโยบายจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำทุกเดือน เว้นแต่มีเหตุสำคัญและจำเป็นใน การยกเลิกประชุมเท่านั้น ในปี 2552 มีการจัดประชุมรวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง (รายละเอียดการเข้าประชุมของคณะกรรมการบริษัทฯ ประจำปี 2552 หน้า 89) หน้าที่ตามการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ • ทบทวนและให้ความเห็นชอบในการดำเนินงานใดๆ ที่กฎหมายกำหนด • ทบทวนและกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกับฝ่ายจัดการ โดยมุ่งเน้นประโยชน์กับบริษัทฯ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ของบริษัทฯ ด้วยความตั้งใจและความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน • ทบทวนและให้ความเห็นชอบแผนกลยุทธ์และนโยบายทีส่ ำคัญ รวมถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมายทางการเงิน ความเสีย่ ง แผนงาน และ งบประมาณ รวมทั้งกำกับควบคุม ดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินงานตามนโยบาย และแผนที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล • พิจารณาผลการประเมินการปฏิบัติงาน และกำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหารสูงสุด โดยผ่านความเห็นของคณะกรรมการ สรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน • มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการสอบทานระบบบัญชีและการรายงานทางการเงิน รวมทั้งดูแลให้มี กระบวนการในการประเมินความเหมาะสมของการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีรายงานทางการเงินที่น่าเชื่อถือ • มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการสอบทานนโยบายด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Policy) ให้ครอบคลุมทัง้ องค์กร โดยให้ฝา่ ยจัดการเป็นผูป้ ฏิบตั ติ ามนโยบายและรายงานให้ทปี่ ระชุมคณะกรรมการตรวจสอบทราบทุกครัง้ • สอดส่องดูแลและจัดการแก้ ไขปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ กำหนดแนวทางในการทำรายการทีอ่ าจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพือ่ ประโยชน์ของบริษทั ฯ และผูถ้ อื หุน้ โดยรวมเป็นสำคัญ กำหนดขั้นตอนการดำเนินการและการเปิดเผยข้อมูลของรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้ถูกต้องครบถ้วน • กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ และจรรยาบรรณทางธุรกิจเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ความเห็นชอบ นโยบายดังกล่าว โดยบริษัทฯ จะนำเสนอให้มีการทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการและประเมินผลการปฏิบัติตาม นโยบายดังกล่าวปีละ 1 ครั้ง


084

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง

6. พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมถึงพิจารณา

เสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี โดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร และปริมาณงานตรวจสอบ ของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้น รวมถึงประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯ รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 7. สอบทานความถูกต้องและประสิทธิผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับรายงานการเงินและการควบคุมภายใน 8. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบรายงานทางการเงินให้ทัดเทียมกับมาตรฐานบัญชีสากล 9. สอบทานแผนงานตรวจสอบภายในของบริษัทฯ ตามวิธีการและมาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไป 10. พิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมถึงให้คำแนะนำในเรื่องงบประมาณและกำลังพลของแผนก ตรวจสอบระบบงานภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบ ภายใน และ ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของผู้จัดการแผนกตรวจสอบระบบงานภายใน 11. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี ของบริษัทฯ ตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด 12. คณะกรรมการตรวจสอบอาจแสวงหาความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นใดเมื่อเห็นว่าจำเป็นด้วยค่าใช้จ่าย

ของบริษัทฯ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้ การดำเนินการว่าจ้างให้เป็นไปตามระเบียบข้อกำหนด

ของบริษัทฯ 13. ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือ กรรมการตรวจสอบ ต้องเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เพื่อชี้แจงในเรื่องเกี่ยว กับคณะกรรมการตรวจสอบ หรือ การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี 14. พิจารณาทบทวนและปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ 15. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ

เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อกำกับดูแลงาน เฉพาะเรื่องด้วยความรอบคอบและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และ ข้อบังคับของ ก.ล.ต. และ ตลท. สรุปโครงสร้างของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ของบริษัทฯ มีดังต่อไปนี้

1. คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ ตลท. กำหนด เพื่อทำหน้าที่สอบทาน

การดำเนินงานของบริษัทฯ รายการทางการเงิน ระบบการควบคุมภายใน คัดเลือกผู้ตรวจสอบบัญชี รวมทั้งพิจารณาข้อขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ โดยกรรมการตรวจสอบทุกท่านเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทาน ความน่าเชื่อถือของงบการเงิน ประกอบด้วยกรรมการอิสระที่ไม่เป็นผู้บริหารของบริษัทฯ จำนวน 4 คน ดังนี้ ตำแหน่ง

ชื่อ - นามสกุล

1. นายมนู

(1)

เลียวไพโรจน์

2. นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา 3. นายชัยเกษม นิติสิริ 4. นายอุทิศ ธรรมวาทิน(2)

ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ (อิสระ) และมีความเชี่ยวชาญด้านบัญชีและการเงิน กรรมการตรวจสอบ (อิสระ) กรรมการตรวจสอบ (อิสระ) กรรมการตรวจสอบ (อิสระ)

โดยมี นางสาวหัสยา นิพทั ธ์วรนันท์ ผูจ้ ดั การแผนกตรวจสอบระบบงานภายใน ปฏิบตั หิ น้าทีเ่ ลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ หมายเหตุ: (1) แทนนายนิพัทธ พุกกะณะสุต ที่ครบวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 (2) แทนนายนิตย์ จันทรมังคละศรี ที่ครบวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ

1. สอบทานรายงานทางการเงินเพื่อให้มั่นใจว่ามีความถูกต้องและเชื่อถือได้ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ โดยการ ประสานงานกับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี 2. สอบทานให้บริษัทฯ และบริษัทในเครือมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) ระบบการตรวจสอบภายใน และระบบ การบริหารความเสี่ยง ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และอาจเสนอแนะให้มีการสอบทานหรือตรวจสอบรายการใดที่เห็นว่า จำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหาร ความเสี่ยง และรายงานผลการสอบทานเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ 3. สอบทานให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ นโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ 4. สอบทานหลักฐานหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงิน และผลการ ดำเนินงานของบริษัทฯ หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือ การฝ่าฝืนกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ที่อาจมีผล กระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ 5. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลเป็นประโยชน์ สูงสุดต่อบริษัทฯ

ในรอบปีที่ผ่านมา คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้

085

1. สอบทานงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำปี 2552 ร่วมกับฝ่ายบริหาร ผู้จัดการแผนกตรวจสอบระบบงานภายใน และผู้สอบบัญชี เพื่อให้แน่ใจว่าระบบบัญชี และรายงานทางการเงินของบริษัทฯ ถูกต้อง เชื่อถือได้ และเปิดเผยข้อมูล สำคัญครบถ้วน เพียงพอ และทันเวลา เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2. สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในและระบบการตรวจสอบภายในที่ดีเพียงพอ และมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป 3. สอบทานการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ ตลท. หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ 4. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ โดยเฉพาะในกรณีที่มีรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทาง

ผลประโยชน์ เพือ่ ให้มคี วามถูกต้องครบถ้วน โดยในปี 2552 คณะกรรมการตรวจสอบได้พจิ ารณาการเปิดเผยข้อมูลในเรือ่ งการ ย้ายสำนักงานกรุงเทพฯ ไปยังอาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ 5. พิจารณาแผนงานการตรวจสอบประจำปี และสอบทานรายงานผลการตรวจสอบของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ พร้อมทั้ง ให้คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 6. ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของผู้จัดการแผนกตรวจสอบระบบงานภายใน 7. พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมถึงพิจารณาเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี 8. ประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตฯ ของบริษัทฯ โดยไม่มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม เพื่อรับทราบผลการปฏิบัติงาน

สอบบัญชี ข้อสังเกตที่ตรวจพบ ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการปฏิบัติงานสอบบัญชี 9. ทบทวนรายงานการบริหารความเสี่ยงทุกไตรมาส


086

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

10. ทบทวนและปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1/2552

มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2552 11. พิจารณาร่างกฎบัตรการตรวจสอบภายในเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของแผนกตรวจสอบระบบงานภายใน และ เห็นชอบให้บริษัทฯ ประกาศใช้กฎบัตรการตรวจสอบภายใน เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2552

3. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

2. คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการที่ไม่เป็น

ผู้บริหารของบริษัทฯ จำนวน 3 คน โดยกรรมการส่วนใหญ่ต้องเป็นกรรมการอิสระ ดังนี้ ชื่อ - นามสกุล

ตำแหน่ง

1. นายนนทิกร กาญจนะจิตรา 2. นางสาวพวงเพชร สารคุณ

ประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน (อิสระ) กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน (อิสระ)

3. นายประเสริฐ

กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

บุญสัมพันธ์

โดยมีนายสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ-ด้านบริหารองค์กร ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการสรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

หน้าที่ด้านการสรรหา 1. กำหนดวิธีการและหลักเกณฑ์ในการสรรหากรรมการ 2. กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการ โดยคำนึงถึงทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถเฉพาะด้านที่เป็น ประโยชน์ต่อบริษัทฯ การอุทิศเวลา และความพยายามในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ 3. สรรหาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และขอ อนุมัติต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 4. สนับสนุนให้บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอรายชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการบริษัทฯ 5. ทบทวนแผนการสืบทอดตำแหน่งของผู้บริหารสูงสุด พร้อมทั้งรายชื่อผู้ที่อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณา สืบทอดตำแหน่งเป็นประจำทุกปี 6. คั ด เลื อ กกรรมการบริ ษั ท ฯ ที่ มี คุ ณ สมบั ติ เ หมาะสมเป็ น กรรมการในคณะกรรมการชุ ด ย่ อ ยเพื่ อ นำเสนอต่ อ ที่ ป ระชุ ม

คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาแต่งตั้งเมื่อมีตำแหน่งว่างลง หน้าที่ด้านการพิจารณาค่าตอบแทน 1. เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เกี่ยวกับโครงสร้างและองค์ประกอบค่าตอบแทนสำหรับกรรมการเป็นประจำทุกปี 2. เสนอหลักเกณฑ์การพิจารณาค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมกับหน้าทีค่ วามรับผิดชอบของกรรมการ โดยเชือ่ มโยงค่าตอบแทนกับ ผลการดำเนินงานโดยรวมของบริษัทฯ เพื่อให้สามารถจูงใจและรักษากรรมการที่มีความสามารถ มีคุณภาพ และศักยภาพ ทัง้ นี้ ให้คณะกรรมการบริษทั ฯ เป็นผูพ้ จิ ารณาเพือ่ ให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอต่อทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญประจำปีเพือ่ ขออนุมตั ิ 3. ประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้แก่ผู้บริหารสูงสุด ในรอบปี 2552 คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้กล่าวไว้ในรายงานคณะกรรมการสรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน หน้า 20-21

087

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ประกอบด้วยกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารของบริษัทฯ จำนวน

4 คน โดยกรรมการส่วนใหญ่ต้องเป็นกรรมการอิสระ ดังนี้

1. 2. 3. 4.

ชื่อ - นามสกุล

ตำแหน่ง

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ นายบรรพต หงษ์ทอง นายปรัชญา ภิญญาวัธน์

ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ (อิสระ) กรรมการกำกับดูแลกิจการ (อิสระ) กรรมการกำกับดูแลกิจการ (อิสระ) กรรมการกำกับดูแลกิจการ

โดยมี นายวิ โ รจน์ มี น ะพั น ธ์ ผู้ จั ด การฝ่ า ยสำนั ก กรรมการอำนวยการ และเลขานุ การบริ ษั ท ฯ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ ลขานุ การ

คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

1. กำหนดนโยบายการพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นหลัก ปฏิบัติของบริษัทฯ และบริษัทในเครือสืบต่อไป 2. กำหนดนโยบายพร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการประเมินระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการภายในองค์กรด้วยตนเอง รวมทั้ง เข้ารับการตรวจประเมินจากองค์กรภายนอกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับทั่วไปเป็นประจำ 3. กำกั บ ดู แ ลการปฏิ บั ติ ง านของบริ ษั ท ฯ ให้ เ ป็ น ไปตามหลั ก การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี ข องสถาบั น กำกั บ ฯ ได้ แ ก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 4. พิจารณาทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของสากล และข้อเสนอแนะของสถาบันกำกับฯ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. สนับสนุนให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมในการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้เป็นที่เข้าใจของผู้บริหารและพนักงานทุกระดับและให้มี ผลในทางปฏิบัติทั้งในบริษัทฯ และบริษัทในเครือ 6. ให้คำปรึกษาแก่คณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยหน่วยงานกลาง ภายนอกองค์กรไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ทุกๆ 3 ปี 7. พิจารณาและให้ความเห็นชอบแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ รวมทั้งให้ความเห็นชอบผลการ ประเมินฯ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ต่อไป 8. รับผิดชอบต่อการอื่นใดที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย ในรอบปีที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการได้ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ตามที่ได้กล่าวไว้ในรายงานคณะกรรมการกำกับดูแล กิจการ หน้า 22-23

4. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการบริหารความเสีย่ งของเครือไทยออยล์ประกอบด้วยคณะกรรมการขับเคลือ่ นงานบริหารความเสีย่ งและคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยงเฉพาะด้าน โดยมีบทบาทหน้าที่สอดคล้องเชื่อมโยงกันเพื่อให้มั่นใจว่าเครือไทยออยล์มีการบริหารความเสี่ยง

ในทุกๆ กิจกรรมหลักและมีการพิจารณาความเสีย่ งทีเ่ กีย่ วข้องกันและเชีอ่ มโยงกันได้อย่างครบถ้วนของทุกบริษทั ในเครือไทยออยล์


1/1 1/1 1/1 1/1 1/1 6/6

1/1

3/3 1/3 3/3 3/3 4/4 4/4 4/4 6/6 7/7 6/7 5/6 8/8 7/7 6/8 8/8 5/7 8/8 7/8 8/8 5/8 5/8 6/8 8/8 8/8 7/7 2/2

หมายเหตุ: (1) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ ในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 วันที่ 3 เมษายน 2552 และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 29 เมษายน 2552 รวมทั้ง

ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 11 พฤษภาคม 2552 (2) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ ในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 วันที่ 3 เมษายน 2552 และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 29 เมษายน 2552 (3) ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ในการประชุมคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ครั้งที่ 3/2552 วันที่ 25 กันยายน 2552 (4) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ ในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 วันที่ 3 เมษายน 2552 (5) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 6/2552 วันที่ 25 กันยายน 2552 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 (6) ครบวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 วันที่ 3 เมษายน 2552 (7) เกษียณอายุงานเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552

ตำแหน่ง ชื่อ - นามสกุล

การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ในปี 2552

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเฉพาะด้าน (RMC Discipline)

1 นายสมนึก กยาวัฒนกิจ กรรมการอิสระและประธานกรรมการ (1) กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 1 นายมนู เลียวไพโรจน์ 2 นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 3 นายชัยเกษม นิติสิริ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 4 นายอุทิศ ธรรมวาทิน (2) กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 5 นายนนทิกร กาญจนะจิตรา (3) กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 6 นางสาวพวงเพชร สารคุณ กรรมการอิสระและกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 7 นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการและกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 8 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ 9 นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการอิสระและกรรมการกำกับดูแลกิจการ 10 นายบรรพต หงษ์ทอง กรรมการอิสระและกรรมการกำกับดูแลกิจการ 11 นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ กรรมการและกรรมการกำกับดูแลกิจการ 12 นายพิชัย ชุณหวชิร กรรมการ (4) 14 นายนริศ ชัยสูตร กรรมการ 15 นายสุรงค์ บูลกุล (5) กรรมการ เลขานุการคณะกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการที่ครบวาระและออกระหว่างปี 2552 1 นายนิพัทธ พุกกะณะสุต (6) กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ (6) 1 นายนิตย์ จันทรมังคละศรี กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 2 นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช (6) กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน (7) 3 นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ

จำนวน 4 คน ประชุม 7 ครั้ง

ประชุม คณะกรรมการ บริษัทฯ จำนวน 15 คน ประชุม 8 ครั้ง

คณะกรรมการ ตรวจสอบ

บทบาทของคณะกรรมการขับเคลื่อนงานบริหารความเสี่ยงของเครือไทยออยล์ คณะกรรมการขับเคลื่อนงานบริหารความเสี่ยงของเครือไทยออยล์มีบทบาทในการส่งเสริมให้การขับเคลื่อนงานบริหารความเสี่ยง ของเครือไทยออยล์ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิผลและต่อเนื่องครอบคลุมทุกกิจกรรม รวมทั้งสนับสนุนให้การปลูกฝังแนวคิด

ของการบริหารความเสี่ยงเป็นวัฒนธรรมองค์กรสามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ประกอบด้วยกรรมการซึ่งล้วนเป็นผู้บริหารระดับสูงของเครือไทยออยล์ ในปี 2552 คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. ส่งเสริมให้การบริหารความเสี่ยงเชื่อมโยงกันทั้งเครือไทยออยล์ ส่งผลให้ระดับคุณภาพการบริหารความเสี่ยงของเครือ

ไทยออยล์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ตรวจประเมินจากภายนอก 2. พิจารณาความเสี่ยงสำคัญของด้านต่างๆ และส่งเสริมให้มีการปรับปรุงมาตรการในการบริหารความเสี่ยงของด้านต่างๆ และ

ความเสี่ยงระดับองค์กรอย่างต่อเนื่องและสนับสนุนให้มีการใช้เครื่องมือบริหารข้อมูลความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

มีความถูกต้องสามารถเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริหารในเวลาที่เหมาะสม 3. สนับสนุนการเชื่อมโยงการบริหารความเสี่ยงกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานทุกระดับเพื่อให้เกิดเป็น วัฒนธรรมขององค์กร 4. สนับสนุนให้มีการจัดอบรมหลักสูตรการบริหารความเสี่ยง และ Control Self Assessment & Internal Control ให้กับ

พนักงานทุกคนในเครือไทยออยล์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงและการกำหนด มาตรการควบคุม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการบริหารความเสี่ยงอย่างยั่งยืนจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงของเครือไทยออยล์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกกิจกรรมของบริษัท ในเครือไทยออยล์ที่เชื่อมโยงกัน คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ จึงจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเฉพาะด้าน (RMC Discipline) ได้แก่ ด้านสนับสนุนการตลาด ด้านโรงกลั่น ด้านวางแผนกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ ด้านการเงิน และด้านบริหาร องค์กร ซึง่ กรรมการในคณะกรรมการบริหารความเสีย่ งเฉพาะด้าน ประกอบด้วย ฝ่ายจัดการและพนักงานจากส่วนงานทีเ่ กีย่ วข้อง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเฉพาะด้าน (RMC Discipline) มีบทบาทและหน้าที่ดังนี้ 1. พิจารณาความเสี่ยงและมาตรการควบคุมหรือแผนลดความเสี่ยง (Mitigation Plan) ที่ผู้จัดการฝ่ายนำเสนอเพื่อวางแผน และบริหารความเสีย่ งเฉพาะด้าน (Discipline) ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจของเครือไทยออยล์ 2. กรณีที่มีความเสี่ยงลักษณะ Cross Function ประธานของแต่ละกลุ่มบริหารความเสี่ยงจะเป็นผู้ประสานงานกับประธานของ กลุ่มที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปและนำเสนอต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนงานบริหารความเสี่ยง (RMSC) 3. รายงานความเสี่ยงและความคืบหน้าของแผนการดำเนินงานด้านบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนงานบริหาร ความเสี่ยง (RMSC) 4. ทบทวนทะเบียนความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของทั้งกลุ่มที่มีผลกระทบต่อเป้าหมายของการดำเนินธุรกิจของ เครือไทยออยล์ ในรอบปีที่ผ่านมาคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเฉพาะด้านได้ปฏิบัติหน้าที่บริหารความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกันในเครือไทยออยล์ ทั้งหมดและนำเสนอมาตรการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ในปีนี้เครือ ไทยออยล์สามารถทบทวนความเสี่ยงขององค์กรและบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถติดตามผล

การบริหารความเสี่ยงได้ในเวลาที่เหมาะสม

089

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการ และพิจารณา

กำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทน จำนวน 3 คน จำนวน 4 คน ประชุม 4 ครั้ง ประชุม 3 ครั้ง

088


090

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

เลขานุการบริษัทฯ

การเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของบริษัทฯ

เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในหมวดความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ และตามข้อกำหนดของ

พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทฯ ได้จัดให้มีเลขานุการบริษัทฯ เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลและ

ให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารในด้านกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่คณะกรรมการต้องรับทราบและปฏิบัติ รวมถึง การกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ และรับผิดชอบการจัดประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และการประชุมผู้ถือหุ้น ติดตามและประสานงานให้มีการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น อีกทั้งการรักษาเอกสารสำคัญของบริษัทฯ ตามข้อกำหนดทางกฎหมาย โดยได้มอบหมายให้บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายสำนักกรรมการอำนวยการ ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการบริษัทฯ ตามมติ

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 ซึ่งปัจจุบัน คือ นายวิโรจน์ มีนะพันธ์ ประวัติโดยย่อ ดังนี้ ชื่อ-นามสกุล นายวิโรจน์ มีนะพันธ์ วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมเคมี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการทำงาน 2544-2546 ผู้จัดการฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) 2546-2547 ผู้จัดการฝ่ายการเงิน บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) 2548-2549 ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและแผนกลยุทธ์ 2549-2550 ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ 2550-เม.ย.2552 ผูจ้ ดั การฝ่าย - กิจการพิเศษ ได้รบั มอบหมายให้ปฏิบตั หิ น้าทีก่ รรมการอำนวยการ บริษทั ไทยออยล์มารีน จำกัด ปัจจุบัน ผู้จัดการฝ่ายสำนักกรรมการอำนวยการ และเลขานุการบริษัทฯ

การบริหารจัดการ

ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฯ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจตามปกติ ของบริษัทฯ โดยบริหารงานตามแผนและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด ซื่อสัตย์ สุจริต และรักษาผลประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทฯ และผู้ถือหุ้น ไม่ทำการใดที่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ในลักษณะขัดแย้งกับบริษัทฯ และบริษัทย่อยของบริษัทฯ โดยหน้าที่และความรับผิดชอบประกอบด้วย 1. จัดทำและเสนอแผนธุรกิจ 5 ปี/10 ปี ตลอดจนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ แก่คณะกรรมการบริษัทฯ 2. จัดหาข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับกิจกรรมของบริษทั ฯ ให้แก่คณะกรรมการบริษทั ฯ รวมถึงข้อมูลอืน่ ทีค่ ณะกรรมการบริษทั ฯ ต้องการ 3. บริหารงานของบริษัทฯ ตามแผนธุรกิจของบริษัทฯ และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติ 4. จัดโครงสร้างและบริหารจัดการองค์กรตามแนวทางที่คณะกรรมการบริษัทฯ ให้คำแนะนำ 5. ปรับวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทฯ (POSITIVE) เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจและกลยุทธ์ของบริษัทฯ 6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ 7. มอบอำนาจช่วง และ/หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนได้ โดยอยู่ในขอบเขตที่เป็นไปตามระเบียบ

ข้อกำหนด หรือคำสั่งที่คณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือบริษัทฯ ได้กำหนดไว้ 8. จัดทำและเสนอรายงานการดำเนินงานของบริษัทฯ ต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ในเรื่องที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการจัด ทำรายงานเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ ต้องการ

091

ในกรณีที่บริษัทฯ หรือบริษัทย่อยของบริษัทฯ (บริษัทซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุน ชำระแล้วของบริษัทนั้น) มีรายการที่เป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัทฯ ตามหลักเกณฑ์ของตลท. บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามที่ตลท. กำหนดไว้ในเรื่องดังกล่าว โดยขอความเห็นชอบของผู้ถือหุ้นในการ ตกลงเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัทฯ โดยมีคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสาม ในสี่ (3/4) ของจำนวนเสียงทัง้ หมดของผูถ้ อื หุน้ หรือผูร้ บั มอบฉันทะของผูถ้ อื หุน้ ทีม่ าประชุมและมีสทิ ธิออกเสียงลงคะแนน โดยไม่ นับส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย

ค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหาร ค่าตอบแทนกรรมการ

ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2552 ได้กำหนดค่าตอบแทนกรรมการบริษัทฯ และกรรมการชุดย่อยเป็นรายเดือน รวมทั้งการให้เงิน รางวัลพิเศษซึ่งสะท้อนจากผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ดังนี้ องค์ประกอบค่าตอบแทน

ปี 2552

ค่าตอบแทนรายบุคคล ประธานกรรมการ (1) กรรมการ ค่าโบนัสกรรมการทั้งคณะ (2)

บาท/เดือน 75,000 60,000 25 ล้านบาท/ปี

ค่าตอบแทนกรรมการเฉพาะเรื่อง

(ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ) องค์ประกอบค่าตอบแทน

ปี 2552

ค่าตอบแทนรายบุคคล ประธานกรรมการ (1) กรรมการ

บาท/เดือน 31,250 25,000

หมายเหตุ: (1) ประธานกรรมการบริษัทฯ และประธานคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ได้รับค่าตอบแทนสูงกว่ากรรมการในอัตราร้อยละ 25 (2) โบนัสสำหรับกรรมการที่ดำรงตำแหน่งในปี 2552 และกรรมการที่ครบวาระ/ออกระหว่างปี 2552 โดยจัดสรรตามระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของกรรมการ แต่ละคน

สรุปค่าตอบแทนกรรมการบริษัทฯ รวม 19 ราย ซึ่งรวมกรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างปี 2552 ระยะเวลา 12 เดือน สิ้นสุด

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และกรรมการทีค่ รบวาระและออกระหว่างปี 2552 เท่ากับ 14.50 ล้านบาท ซึง่ ประกอบด้วย ค่าตอบแทน รายเดือนสำหรับกรรมการบริษทั ฯ จำนวน 10.99 ล้านบาท และค่าตอบแทนรายเดือนสำหรับกรรมการชุดย่อย จำนวน 3.51 ล้านบาท ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทฯ ในรูปเงินรางวัลพิเศษสำหรับผลการดำเนินงานปี 2551 จำนวน 25 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามมติ

ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 วันที่ 3 เมษายน 2552 โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และจากการที่ กรรมการได้เสียสละและทุม่ เทในการปฏิบตั งิ านให้กบั บริษทั ฯ ตลอดปี 2551 ซึง่ เป็นปีที่ได้รบั ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจทัว่ โลก และภาวะราคาน้ำมันมีความผันผวนสูง


ตำแหน่ง 247,984 300,000 300,000 200,000 96,875 77,500 1,222,359

186,000 186,000 186,000 540,000 10,986,000

คณะกรรมการ ตรวจสอบ

900,000 536,000 720,000 720,000 536,000 720,000 720,000 720,000 720,000 720,000 720,000 720,000 720,000 536,000 180,000

คณะกรรมการ บริษัทฯ

1,015,625

96,875

318,750 300,000 300,000

1,275,000

375,000 300,000 300,000 300,000

- - - - 14,498,984

282,875 263,500 282,875 540,000

900,000 783,984 1,020,000 1,020,000 736,000 1,038,750 1,020,000 1,020,000 1,095,000 1,020,000 1,020,000 1,020,000 720,000 536,000 180,000

ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทฯ ประจำปี 2552 กรรมการเฉพาะเรื่อง คณะกรรมการ คณะกรรมการ ค่าตอบแทนรวม กำกับดูแลกิจการ สรรหาและ พิจารณา

ค่าตอบแทน

440,239.79 440,239.79 440,239.79 843,012.36 25,000,000

1,709,441.74 1,709,441.74 1,709,441.74 1,709,441.74

1,592,356.69 1,606,406.89 1,273,885.35 1,273,885.35 1,273,885.35 1,709,441.74 1,709,441.74 1,709,441.74 430,872.99 1,709,441.74 1,709,441.74

เงินรางวัลพิเศษ(1) สำหรับ ผลประกอบการ ปี 2551

หน่วย : บาท

(2) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ ในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 วันที่ 3 เมษายน 2552 และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 29 เมษายน 2552 รวมทั้งได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ในการ ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 11 พฤษภาคม 2552 (3) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ ในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 วันที่ 3 เมษายน 2552 และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 29 เมษายน 2552 (4) ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ในการประชุมคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ครั้งที่ 3/2552 วันที่ 25 กันยายน 2552 (5) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ ในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 วันที่ 3 เมษายน 2552 (6) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 6/2552 วันที่ 25 กันยายน 2552 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 (7) ครบวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 วันที่ 3 เมษายน 2552 (8) เกษียณอายุงานเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 (9) ครบวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2551 วันที่ 4 เมษายน 2551 (10) ลาออกจากการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ และกรรมการกำกับดูแลกิจการ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551

หมายเหตุ: (1) เงินรางวัลพิเศษ สำหรับผลการดำเนินงานปี 2551 ตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 วันที่ 3 เมษายน 2552 ซึ่งจ่ายในเดือนเมษายน 2552

1 นายสมนึก กยาวัฒนกิจ กรรมการอิสระและประธานกรรมการ 2 นายมนู เลียวไพโรจน์ (2) กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 3 นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 4 นายชัยเกษม นิติสิริ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 5 นายอุทิศ ธรรมวาทิน (3) กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 6 นายนนทิกร กาญจนะจิตรา (4) กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 7 นางสาวพวงเพชร สารคุณ กรรมการอิสระและกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 8 นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการและกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 9 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ 10 นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการอิสระและกรรมการกำกับดูแลกิจการ 11 นายบรรพต หงษ์ทอง กรรมการอิสระและกรรมการกำกับดูแลกิจการ 12 นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ กรรมการและกรรมการกำกับดูแลกิจการ 13 นายพิชัย ชุณหวชิร กรรมการ 14 นายนริศ ชัยสูตร(5) กรรมการ (6) 15 นายสุรงค์ บูลกุล กรรมการ เลขานุการคณะกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการที่ครบวาระและออกระหว่างปี 2552 1 นายนิพัทธ พุกกะณะสุต (7) กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ (7) 2 นายนิตย์ จันทรมังคละศรี กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 3 นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช (7) กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 4 นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ (8) กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ กรรมการที่ครบวาระและออกระหว่างปี 2551 (รับเงินรางวัลพิเศษสำหรับผลการดำเนินงานปี 2551) 1 นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ (9) กรรมการอิสระและประธานกรรมการ (9) 2 นายมนู เลียวไพโรจน์ กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 3 นายพละ สุขเวช (9) กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน 4 นายสุรพล นิติไกรพจน์ (10) กรรมการอิสระและกรรมการกำกับดูแลกิจการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น

ลำดับ รายชื่อ

สรุปรายละเอียดค่าตอบแทนที่กรรมการบริษัทฯ ได้รับเป็นรายบุคคล 092 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

รอบปีบญั ชี สิน้ สุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 รวม 27 ราย เท่ากับ 135.15 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นค่าตอบแทนในรูปเงินเดือน และเบี้ยเลี้ยงจำนวน 93.23 ล้านบาท เงินรางวัลพิเศษจำนวน 21.13 ล้านบาท เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 10.09 ล้านบาท และเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงาน จำนวน 10.70 ล้านบาท หมายเหตุ ค่าตอบแทนของผู้บริหารบริษัทฯ 27 ราย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 - รวม นายนิทัศน์ ครองวานิชยกุล ตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน 2552 นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ ในเดือนมกราคม 2552 นายวิโรจน์ มีนะพันธ์ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม 2552 นางสดุดี สุริยคำ ในเดือนมกราคม 2552 นายชัยวัฒน์ ดำรงค์มงคลกุล ตั้งแต่เดือนกันยายน - ธันวาคม 2552 นางภาวนา ศุภวิไล ในเดือนมกราคม 2552 นายไฟโก วิลเล็ม สโนฟ ตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน 2552 นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน 2552 นายสุรงค์ บูลกุล ตั้งแต่เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2552 - ไม่รวม ผู้บริหารที่ไปปฏิบัติงานในบริษัทอื่นๆ ดังนี้ นายประมินทร์ พันทวีศักดิ์ นายบวร วงศ์สินอุดม นายกล้าหาญ โตชำนาญวิทย์ นายสุพล ทับทิมจรูญ นายอภินันท์ สุภัตรบุตร นายไมตรี เรี่ยวเดชะ

ผู้บริหารบริษัทฯ ที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับอัตราสมทบร้อยละ 15 ของอัตราเงินเดือน ตามระเบียบข้อบังคับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งถือปฏิบัติโดยทั่วไปของบริษัทฯ

ค่าตอบแทนอื่นๆ

093

ค่าตอบแทนรวมของผู้บริหารบริษัทฯ


094

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 การบริหารความเสี่ยงองค์กร

095

การบริหารความเสี่ยงองค์กร ความเป็นมา

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงขององค์กรต่อการดำเนินธุรกิจให้บรรลุ

เป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยสามารถบริหารงานในสภาพแวดล้อมที่มีความผันผวนและส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของ องค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงมีการประกาศนโนบายและโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงเป็นระบบเดียวกันครอบคลุม

ทั้งเครือไทยออยล์ โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนงานบริหารความเสี่ยง (Risk Management Steering Committee: RMSC) เป็นผู้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง รวมถึงติดตามความคืบหน้า และให้ความเห็นชอบความเสี่ยง และมาตรการควบคุม ซึ่งพิจารณาและนำเสนอโดยคณะกรรมการความเสี่ยงเฉพาะด้าน (RMC Discipline) ว่ามีความครอบคลุม เหมาะสม และเพียงพอตามนโยบายความเสี่ยงที่กำหนดไว้ ไทยออยล์จัดให้มียังมีการรายงานความก้าวหน้ากิจกรรมการบริหาร ความเสี่ยงต่อคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ (Audit Committee) เป็นประจำทุกไตรมาสและรายงานต่อคณะกรรมการ

บริษัทฯ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และมีหน่วยงานตรวจสอบภายใน (Internal Audit) เป็นผู้ติดตามและตรวจสอบความก้าวหน้า

ในการดำเนินการตามมาตรการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานต่างๆ ไทยออยล์ ไ ด้ จั ด ให้ มี การประเมิ น ระดั บ คุ ณ ภาพการบริ ห ารความเสี่ ย งของเครื อ ไทยออยล์ โ ดยสถาบั น ประเมิ น ภายนอก

ผู้มีความเชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามเกณฑ์มาตรฐานสากล

ซึ่งผลการประเมินแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านคุณภาพการบริหารจัดการที่มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้จากผลการประเมิน ในปี 2550 ไทยออยล์ได้รับการประเมินร้อยละ 73 ในปี 2551 ไทยออยล์ได้รับการประเมินร้อยละ 87 และในปี 2552 นี้

เครือไทยออยล์ ได้รับการประเมินร้อยละ 87 จากการบริหารความเสี่ยงของไทยออยล์ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้

ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้รับการบริหารจัดการจนสามารถควบคุมได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งสามารถป้องกันผลกระทบในเชิงลบจาก

ปัจจัยเสี่ยงใหม่ที่เกิดขึ้น โดยสามารถสรุปเป็นปัจจัยความเสี่ยงสำคัญ ดังนี้

ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) 1. วิกฤติเศรษฐกิจของโลกและภาวะอุตสาหกรรมตกต่ำ (Global Crisis & Industry Downturn)

จากภาวะวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกาในเดือนกันยายนปี 2551 ที่ขยายตัวจนทำให้เกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกใน

ปลายปี 2551 จนถึงปี 2552 เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อปริมาณความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมรวมถึง

ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในยานพาหนะซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของไทยออยล์ ดังนั้น ไทยออยล์จึงได้วางแผนการตลาด การผลิต และทางเลือกอื่นๆ ทางธุรกิจเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผลกำไรของทั้งกลุ่ม นอกจากนี้ ไทยออยล์ยังมุ่งเน้น ความร่วมมือของทุกบริษัทในเครือ ในการกำหนดแผนปฏิบัติการ และนำผลจากการประชุม Operational Excellence ไปปฏิบัติ เสริมกับโครงการและมาตรการเชิงกลยุทธ์ต่างๆ เช่น การเสาะหาตลาดใหม่ในประเทศกลุ่มอินโดจีน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกสูต่ ลาดก่อนโรงกลัน่ อืน่ เช่น น้ำมันแก๊สโซลีนมาตรฐาน EURO IV และน้ำมันยางมลพิษต่ำ TDAE มาตรการลดค่าใช้จา่ ย

ในการผลิตและการเพิ่มผลกำไรจาก HMR การแสวงหาผลประโยชน์ร่วม (Synergy) ระหว่างกลุ่มโรงกลั่นในประเทศและ

กลุ่ม ปตท. ผ่าน Oil Integration Management (OIM) รวมทั้งการดำเนินกลยุทธ์ ในการลงทุนอย่างระมัดระวัง มุ่งเน้นการเพิ่ม คุณค่าธุรกิจและกระจายความเสี่ยงโดยศึกษาโอกาสลงทุนในธุรกิจใหม่ที่มีความเสี่ยงน้อยและได้ผลตอบแทนดี

2. การเปลี่ยนแปลงนโยบายและการเพิ่มมาตรการ กฎ ระเบียบทางด้านพลังงานของภาครัฐ (Government Policy/ Law & Regulation ) การกำหนดนโยบายของภาครัฐจะมีผลกระทบต่อการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของไทยออยล์และบริษัทในเครือ รวมทั้ง แผนการลงทุน เช่น นโยบายพลังงานทางเลือกต่างๆ นโยบายควบคุมราคาและคุณภาพผลิตภัณฑ์ นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

เป็นต้น เพื่อลดผลกระทบในเรื่องดังกล่าว ไทยออยล์และบริษัทในเครือจึงได้ร่วมมือกับกลุ่มโรงกลั่น ปตท. เพื่อประสานงาน และ จัดเตรียมข้อมูลให้กับหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิดเพื่อประกอบการพิจารณา และมีการจัดเตรียมแผนงานในการรองรับ

ผลกระทบทางด้านต่างๆ เช่น การให้ความสนับสนุนข้อมูลแก่ภาครัฐเพื่อประกอบการพิจารณากฎหมายหรือระเบียบใหม่ๆ

ของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมกับการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของไทยออยล์ ให้มีความรู้ความสามารถรับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ และมีการประสานงานในกลุ่มโรงกลั่นในการวางแผนรองรับผลกระทบในทุกๆ ด้านที่จะเกิดขึ้น

3. การดำเนินการตามกลยุทธ์ไม่เป็นไปตามแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว (Strategic Execution)

ในการนำแผนกลยุทธ์มาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ไทยออยล์เล็งเห็นถึงอุปสรรคต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงที่จะทำให้การปฏิบัติ ไม่ ป ระสบผลสำเร็ จ ตามที่ คาดการณ์ ไ ว้ ไทยออยล์ จึ ง ได้ ก ำหนดให้ มี การประชุ ม คณะกรรมการขั บ เคลื่ อ นการเจริ ญ เติ บ โต

ขององค์กร (Growth Steering Committee) อย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการศึกษาและพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ

รวมทั้งมีการพิจารณาความเพียงพอของทรัพยากรการเงินและบุคลากร มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการ โดยมีหน่วยงาน พั ฒ นาธุ ร กิ จ เป็ น หน่ ว ยงานกลางในการประสานงานกั บ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการและหน่ ว ยงานวางแผนกลยุ ท ธ์ เพื่ อ มุ่ ง เพิ่ ม ประสิทธิภาพในการติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ นอกจากนี้ ไทยออยล์ยงั มีระบบติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน เทียบกับเป้าหมายระดับองค์กรและระดับหน่วยงานเป็นรายเดือนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีหน่วยงานการบริหารความเสี่ยง องค์กรที่ติดตาม ทบทวนและร่วมกับเจ้าของความเสี่ยงของทุกหน่วยงานในการดำเนินการเพิ่มประสิทธิผลและความมั่นใจใน

การปฏิบัติตามแผนและมาตรการบริหารความเสี่ยงของกลยุทธ์องค์กร

4. ความเสี่ยงก่อนและหลังการซื้อกิจการอื่นทำให้ไม่ได้รับผลตอบแทนตามแผน (Merger & Acquisition Risk - Pre & Post Transaction)

ไทยออยล์ได้ดำเนินธุรกิจตามแผนกลยุทธ์ โดยขยายกิจการในธุรกิจใหม่เพื่อกระจายการลงทุนและเพิ่มผลกำไร อย่างไรก็ตาม ไทยออยล์อาจประสบกับปัญหาอุปสรรค และมีความเสี่ยงที่การลงทุนในธุรกิจนั้นๆ ไม่สามารถให้ผลตอบแทนได้ตามเป้าหมาย

ที่กำหนดไว้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางธุรกิจโดยรวม ไทยออยล์ได้พิจารณาลดระดับความเสี่ยงโดยการจัดการ

ด้านบุคลากร แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการที่มีประสบการณ์ด้าน Merger & Acquisition (M&A) รวมทั้งมีหน่วยงานกลางเป็น

ผู้สนับสนุนการศึกษา วิเคราะห์ และติดตามความก้าวหน้า จัดหาคณะที่ปรึกษาทางการเงินและที่ปรึกษาทางกฎหมายที่มีความ เชี่ยวชาญในธุรกิจการเงินและการทำ M&A รวมทั้งมอบหมายบุคลากรจากหน่วยงานพัฒนาธุรกิจและ บจ. ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ สนับสนุนงานด้านธุรกิจและเทคนิค การจัดหาทรัพยากรด้านการเงินและบุคลากรเพื่อรองรับธุรกิจที่ซื้อมา

ความเสี่ยงทางด้านธุรกิจ/ตลาด (Marketing Risk) 1. ความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก (Oil Price Fluctuation & Margin Decrease)

ราคาและตลาดน้ำมันของโลกเป็นตัวแปรสำคัญในการที่ไทยออยล์จะมีรายได้และผลกำไรตามเป้าหมาย ซึ่งหากไทยออยล์ติดตาม การเคลื่อนไหวของราคาและตลาดน้ำมันที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาอย่างใกล้ชิด จะทำให้ไทยออยล์มีข้อมูลเพียงพอในการ คาดการณ์และวางแผนการขายได้เที่ยงตรง และสามารถลดผลกระทบต่อรายได้และกำไรตามแผนที่ตั้งไว้ ไทยออยล์ได้พัฒนา ความสามารถของหน่วยงานวางแผนการพาณิชย์ โดยมีการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ตลาด ราคาน้ำมันในเชิงลึกเพื่อสนับสนุน งานด้านการวางแผนการผลิต/ขาย มีการวางแผนการซื้อวัตถุดิบและการบริหารความเสี่ยงด้านราคา (Oil Hedging) ในเชิงรุก การบริหารสินเชื่อและการบริหารสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ การประชุม Operational Excellence และโครงการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการจัดการไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon Management Review: HMR) เพื่อเพิ่มกำไรขั้นต้นรวมของกลุ่ม (Gross Integrated Margins: GIM) และลดต้นทุน รวมถึงมาตรการใหม่ในการลดต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่ง


096

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 การบริหารความเสี่ยงองค์กร

2. การปรับตัวลดลงของความต้องการใช้น้ำมัน (Domestic Demand Decrease)

ทั้งหมด อาจเสียโอกาสทางธุรกิจและรายได้ ไทยออยล์จึงมีมาตรการในการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยที่เข้มงวด ร่วมมือกับ หน่วยงานราชการในการรับข่าวสารความมั่นคง มีการฝึกซ้อมสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Plan & Practice) ปรับปรุงระบบ ป้องกันเพิ่มเติม เช่น ระบบป้องกันน้ำมันล้นถัง การสร้างและจัดตั้งสถานีดับเพลิงน้ำยาโฟมเพิ่มเติมทั่วบริเวณโรงกลั่น ติดตั้ง อุ ป กรณ์ ต รวจเตื อ นภั ย ต่ า งๆ และดำเนิ น แผนฉุ ก เฉิ น รองรั บ ภั ย พิ บั ติ (Disaster Recovery Plan: DRP) ซึ่ ง ครอบคลุ ม

ด้านการจัดหา การขาย การเงิน ประกันภัย รวมทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ สำหรับหน่วยผลิต ไทยออยล์มีการทำ Preventive Maintenance เพื่อตรวจเช็คและซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน เพิ่มระบบควบคุมความปลอดภัยโดยอุปกรณ์เครื่องมือวัด (Safeguarding System) ประสานงานราชการเพื่ อ ซ้ อ มสถานการณ์ ฉุ ก เฉิ น ประจำปี แ ละทำประกั น ภั ย ชนิ ด Business Interruption เพื่อกรณีที่อาจมีเหตุการณ์ที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงักชั่วคราว

ผลกระทบจากสภาวเศรษฐกิจผันผวนส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องอุปทานหรือความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ไทยออยล์

ได้กำหนดมาตรการมุ่งเน้นการวางแผนการขาย การขยายตลาด รวมทั้งการจัดหาลูกค้ารายใหม่ในภูมิภาคใกล้เคียงที่ไทยออยล์

มีความได้เปรียบ เช่น ตลาดอินโดจีน เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ โดยมีการลงทุนขยายช่องทางการ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น การเปิดใช้บริการสถานีบริการน้ำมันทางรถแห่งใหม่เพื่อเพิ่มความสะดวกและความคล่องตัว ทางการขายผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดให้กับลูกค้า การบริหารสัดส่วนการขายและการผลิตที่เหมาะสมกับสภาวะตลาดในแต่ละช่วง โดยเสาะหาตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพเพื่อรองรับการส่งออกน้ำมันปิโตรเลียม สารอะโรเมติกส์ น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน และ สารทำละลาย ตลอดจนประสานงานกับกลุ่มโรงกลั่นอื่นเพื่อบริหารการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (Surplus Management) เป็นต้น

3. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (Technological Change)

การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสร้างทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคให้หลากหลายมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของ

ไทยออยล์ เช่น ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงปิโตรเลียมลดลง เนื่องจากถูกทดแทนด้วยพลังงานทางเลือกอื่นๆ

ไทยออยล์มีโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ความต้องการใช้น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานกลุ่ม 2 แทนกลุ่ม 1 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ บมจ. ไทยลู้บเบส จัดให้มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีผลกระทบ ต่อการใช้น้ำมันอย่างใกล้ชิดความต้องการของตลาด และกำหนดเป็นกลยุทธ์ขององค์กรในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลง

รวมทั้งการร่วมมือกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT) ศูนย์วิจัยปตท.วังน้อย และสถาบันการศึกษาชั้นนำเพื่อศึกษา วิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

4. ความเสี่ยงจากการจัดหาวัตถุดิบ (Feedstock Interruption)

จากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเทศผู้จำหน่ายน้ำมันดิบต้องควบคุมปริมาณน้ำมันดิบที่มีขายในตลาดเพื่อ พยุงราคาไม่ให้ลดต่ำลงมากเกินไป โดยเฉพาะปริมาณน้ำมันดิบจากแหล่งตะวันออกกลางที่มีคุณสมบัติตรงต่อความต้องการของ กระบวนการผลิตของไทยออยล์และบริษัทในเครือ ประกอบกับความต้องการของโรงกลั่นที่เกิดขึ้นใหม่ในภูมิภาคต่างๆ มีมากขึ้น ทำให้ ไ ทยออยล์ มี ความยากลำบากในการจั ด หาวั ต ถุ ดิ บ ที่ มี คุ ณ ภาพและปริ ม าณตามความต้ อ งการ รวมทั้ ง แผนการผลิ ต

ซึ่งส่งผลกระทบทำให้โรงกลั่นต้องหยุดการผลิตหรือไม่สามารถส่งผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าตามสัญญา ทำให้สูญเสียรายได้และมี

ผลเสียต่อชื่อเสียงขององค์กร ดังนั้น ไทยออยล์จึงได้กำหนดทางเลือกใหม่โดยปรับกระบวนการผลิตให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบ

ที่มีขายในตลาด มีการประสานงานกับ ปตท. ในการจัดหาและวางแผนการจัดหาน้ำมันดิบ และจัดทำสัญญาระยะยาวในปริมาณ

ที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่าปริมาณน้ำมันดิบมีเพียงพอต่อแผนการผลิตที่วางไว้

ความเสี่ยงด้านการผลิต (Operations Risk) 1. ความเสี่ยงจากการที่มีสถานที่ตั้งโรงงานของไทยออยล์และบริษัทในเครืออยู่รวมกันในบริเวณเดียวกัน (Single Site Operation) และการเกิดเหตุขัดข้องจนทำให้โรงงานต้องหยุดการผลิต (Operational Disruption)

การที่โรงกลั่นไทยออยล์และโรงงานของบริษัทในเครือไทยออยล์ตั้งอยู่รวมกันในบริเวณเดียวเป็นข้อดีที่ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่าย ในการรับส่งผลิตภัณฑ์ระหว่างโรงกลั่น การดูแลซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมทั้งลดอัตราการสูญเสีย แต่ในทางตรงข้าม อาจเป็นจุดอ่อนได้หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ เช่น การสร้างสถานการณ์ทางการเมือง การยุยงให้ประท้วงปิดโรงกลั่น หรือเป็น เป้าหมายในการก่อวินาศกรรมสร้างความวุ่นวายทางความมั่นคงของประเทศ อาจทำให้ไทยออยล์จำเป็นต้องหยุดการดำเนินการ

097

ความเสี่ยงด้านบริหารองค์กร (Corporate Risk) 1. ความเสี่ยงจำนวนพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ไม่เพียงพอไม่รองรับต่อการดำเนินธุรกิจ ในปัจจุบันและการขยายตัวในอนาคต (Human Resource Capability)

ไทยออยล์มีฝ่ายบริหารงานบุคคลและฝ่ายพัฒนาองค์กรเป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนางาน Organization Development, Macro Structure และ Knowledge Management ในการพัฒนาพนักงาน มีการส่งเสริม POSITIVE ซึ่งเป็นค่านิยมองค์กร (Corporate Value) รวมทั้งมีการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร เช่น การจัดทำแผนอาชีพและแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Career Plan & Individual Development Plan) การจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) ระบบการบริหาร

จัดการผลงาน (Performance Management System: PMS) บรรจุพนักงานใหม่ที่มีประสบการณ์ ในการทำงาน และ

การหมุนเวียนการทำงานของพนักงานในเครือไทยออยล์ เพื่อเป็นการพัฒนาพนักงาน และสร้างเสริมศักยภาพให้ไทยออยล์ ดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

2. ความเสี่ยงจากกรณีชุมชนยื่นข้อร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการหรือสื่อต่างๆ หรือประท้วงที่มีผลให้ธุรกิจหยุดชะงัก หรือเสียชื่อเสียง (Community/Public Pressure)

ในการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยเฉพาะ

การป้องกันความเสียหายกระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชน เพราะอาจจะเป็นปัจจัยส่งให้ชุมชนร้องเรียน ฟ้องร้องทำให้เสีย

ชื่อเสียงซึ่งอาจมีผลต่อไทยออยล์รุนแรงถึงการถูกสั่งปิด ไทยออยล์จึงเน้นนโยบายชุมชนสัมพันธ์เชิงรุก โดยสร้างสัมพันธภาพที่ดี กับชุมชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันและต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่น โดยการให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาในทุก เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและชุมชน รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนเพื่อเป็นศูนย์กลางพัฒนาความสัมพันธ์และ สื่อสารกับชุมชน แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ไทยออยล์จะปฏิบัติตาม Crisis Communication Management ทั้งการระงับต้นเหตุและการให้ข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องและรวดเร็วเพื่อป้องกันการเกิดข่าวลือ หรือภาพพจน์ในเชิงลบต่อองค์กรอย่างถูกต้อง

ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) 1. ความผันผวนของค่าเงินบาท (Fluctuation in Foreign Exchange Rate)

การเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทต่อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ มีผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน ของบริษัทฯ เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทฯ จากการขายผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป ในประเทศอ้างอิงราคาตลาดโลก

ซึ่งกำหนดราคาขายเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ การเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จึงกระทบต่อรายได้ของบริษัทฯ


098

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 การบริหารความเสี่ยงองค์กร

ในขณะที่ต้นทุนขายส่วนใหญ่ของบริษัทฯ จากการซื้อน้ำมันดิบเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ การเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ สหรัฐฯ จึงกระทบต่อทั้งต้นทุนขายของบริษัทฯ และรายได้ ทำให้ความผันผวนของค่าเงินบาทส่งผลกระทบกำไร (Margin) นอกจากนี้ จากการที่บริษัทฯ มีภาระหนี้คงค้างบางส่วนเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้บริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากความผันผวน ค่าเงินบาทที่มีผลต่อกำไรสุทธิทางบัญชีอันเกิดจากการแปลงภาระหนี้เงินตราต่างประเทศดังกล่าวเป็นเงินบาทด้วย เพื่อลดผลกระทบของความผันผวนค่าเงินบาทในระยะยาว บริษัทฯ ได้จัดโครงสร้างเงินกู้ให้มีสัดส่วนของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (Natural Hedge) เพื่อความเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการบริหารความเสี่ยงลดผลกระทบในระดับการดำเนินงาน บริษัทฯ จัดให้มีบัญชีเงินฝากที่เป็นสกุลต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit) และทำการซื้อ-ขายเงินสกุลต่างประเทศล่วงหน้า (Forward) เพื่อธุรกรรมการค้า และการจ่ายชำระดอกเบี้ย ตลอดจนเงินต้นอย่างเหมาะสม ตามแนวทางการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ

ความสามารถในการจัดหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกของไทยออยล์และบริษัทในเครือ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการซึ่งรวมถึง •  ผลประกอบการ ฐานะทางการเงิน และกระแสเงินสดของไทยออยล์และบริษัทในเครือ •  ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย และของโลก •  ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และปิโตรเคมีในประเทศและภูมิภาค •  ภาวะการระดมเงินทั้งจากตลาดเงินและตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ •  ต้นทุนเงินกู้ จากการประกอบธุรกิจของไทยออยล์และบริษัทในเครือ ที่มุ่งเน้นการสร้างความเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาวและการเป็นบริษัทที่ มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทำให้ไทยออยล์และบริษัทในเครือมีผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง และการติดตามการเปลี่ยนแปลง ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุน จึงมีความเชื่อมั่นว่าไทยออยล์และบริษัทในเครือจะสามารถจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อการ ขยายธุรกิจในอนาคตได้อย่างเพียงพอด้วยต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสม

2. ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย (Fluctuation in Interest Rate)

ไทยออยล์มีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาวซึ่งคิดดอกเบี้ยลอยตัว โดยในกรณี

ที่เป็นการกู้ยืมในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ มีการอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยที่เสนอในตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารในลอนดอน (LIBOR) หรือสิงคโปร์ (SIBOR) และในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินบาท อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำหรืออัตราดอกเบี้ย เงินกู้ลูกค้าชั้นดี (MLR) หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัวชนิด THBFIX ของธนาคารหรืออัตราเฉลี่ยตามที่กำหนดในสัญญาเงินกู้

แต่ละสัญญา ไทยออยล์เชื่อว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างระดับของอัตราดอกเบี้ยในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และกำไรจากการกลั่น โดยทั่วไป

เมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีความเข้มแข็ง ความต้องการของน้ำมันจะสูงขึ้นซึ่งจะทำให้กำไรจากการกลั่นในช่วงเวลาดังกล่าว

สูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยก็มักสูงขึ้นด้วย ดังนั้น ไทยออยล์เชื่อว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ ในการกู้ยืมของไทยออยล์

ในขณะที่กำไรจากการกลั่นมีความผันผวนมากจะทำให้บริษัทฯ มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยมาก อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยอาจลดลงได้จากธุรกรรมบริหารความเสี่ยง (Hedging) ทำสัญญา ป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยกับคู่สัญญาสถาบันการเงิน สำหรับภาระเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยจ่ายของ

เงินกู้ยืมโดยบริษัทฯ และคู่สัญญามีข้อตกลงจ่ายชำระดอกเบี้ยและ/หรือเงินต้นระหว่างกันตามสัญญา ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไข และข้อกำหนดในแต่สัญญา

3. การจัดหาเงินทุนสำหรับการดำเนินการตามแผน (Long Term Financial Leverage)

เนื่องจากไทยออยล์และบริษัทในเครือมีแผนที่จะขยายการดำเนินธุรกิจในอนาคตหลายโครงการ เพื่อให้อัตราการเติบโตของ

ไทยออยล์และบริษัทในเครือเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสร้างมูลค่าให้ธุรกิจในภาพรวม รวมทั้งมีการสรางความสามารถการแขงขัน ในดานตางๆ เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ในทางปฏิบัติ ถึงแม้ว่าไทยออยล์และบริษัทในเครือจะมีการติดตามและ บริหารความเสี่ยงทางธุรกิจอย่างใกล้ชิด แต่การใช้เงินลงทุนดังกล่าวอาจจะคลาดเคลื่อนไปจากแผนที่วางไว้เนื่องจากมีหลาย ปั จ จั ย ที่ น อกเหนื อ การควบคุ ม เช่ น ความผั น ผวนทางเศรษฐกิ จ ของประเทศ รวมทั้ ง ของโลกซึ่ ง ไม่ อ าจคาดการณ์ ไ ด้

การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทานของพลังงาน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และปิโตรเคมี และการจัดหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เป็นต้น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความสำเร็จและต้นทุนโครงการของไทยออยล์และบริษัทในเครือ

099


100

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

101

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ บริษัทฯ ยึดถือแนวปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และคณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด รวมทั้งมุ่งมั่นเพื่อที่จะยกระดับการกำกับดูแลกิจการให้

ทัดเทียมกับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง จากการที่คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของเครือไทยออยล์ ให้ความ

สำคัญต่อการปฏิบัติตามแนวหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาโดยตลอด ส่งผลให้ในปี 2552 บริษัทฯ ได้รับผลคะแนนการตรวจ ประเมินด้านการปฏิบัติตามหลักการกำกับกิจการที่ดี (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2009) จาก สมาคมส่งเสริมสถาบันบริษัทไทย (IOD) ร่วมกับ ก.ล.ต. และ ตลท. ในระดับคะแนนที่ 94 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดในกลุ่ม บริษัท SET 50 อยู่ในเกณฑ์ “ดีเลิศ” รวมถึงการตรวจประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นจาก ก.ล.ต. และสมาคมส่ง เสริมผู้ลงทุนไทย (TIA) ที่บริษัทฯ ได้รับคะแนนการประเมินการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 โดยได้รับคะแนนเต็ม 100 คะแนน และได้รับคะแนนโบนัส 4 ดาว จาก 5 ดาว อยู่ในระดับ “ดีเยี่ยมและสมควรเป็นตัวอย่าง” บริษัทฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้บริษัทฯ เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจเชิงบูรณาการด้านการกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมีที่มีการกำกับดูแลกิจการและการบริหารจัดการที่ดี โดยมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วน

ได้สว่ นเสียทุกกลุม่ โดยรวม มีคณ ุ ธรรม ความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ โดยบริษทั ฯ ได้กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแล กิจการที่ดี เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้ 1. ความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ และการกระทำของตนเอง สามารถชี้แจง และอธิบายการตัดสินใจได้ 2. ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยขีดความสามารถ และประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ 3. การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน มีความเป็นธรรม และอธิบายได้ 4. ความโปร่งใสในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้ และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสแก่ผู้เกี่ยวข้อง 5. การมีวิสัยทัศน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรในระยะยาว 6. การมีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ โดยมีโครงสร้างการบริหารที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ

บริษัทฯ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม บริษทั ฯ ได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการไว้เป็นลายลักษณ์อกั ษรอย่างชัดเจนในคูม่ อื หลักการกำกับดูแลกิจการของบริษทั ฯ (Corporate Governance - CG Manual) กฎบัตรคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ (CG Board Charter) โดยคณะกรรมการ กำกับดูแลกิจการ (คณะกรรมการ CG) ทำหน้าทีส่ นับสนุนคณะกรรมการในการกำหนดนโยบาย CG โดยได้เริม่ ร่างข้อกำหนด CG ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2544 มีการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และ CG Manual ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 2 ซึ่งบริษัทฯ กำลังอยู่ ระหว่างปรับปรุงคูม่ อื CG ฉบับใหม่โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2553 บริษทั ฯ ได้กำหนดให้กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงาน

จะต้องลงนามรับคู่มือเก็บไว้เป็นหลักฐานเพื่อรับทราบ และนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ สำหรับผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนทั่วไปสามารถดาวน์ โหลดข้อมูล CG manual ได้จากเว็บไซต์ของบริษัทฯ (http://www.thaioil.co.th) นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้จัดสื่อการเรียนรู้หลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (CG E-Learning) ใน การปฐมนิเทศพนักงานเข้าใหม่ เพื่อให้สามารถเข้าไปเรียนรู้เรื่องนโยบาย CG ของบริษัทฯ ด้วยตัวเองผ่านระบบ Intranet ภายในบริษัท และเมื่อผ่านการทดสอบหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรรับรอง ในส่วนของกิจกรรมส่งเสริมทางด้าน CG บริษัทฯ จะมีการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้าน CG ภายในบริษัทฯ และเข้าร่วมกิจกรรมงาน PTT Group CG Day ของบริษัทในกลุ่ม ปตท. เป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้พนักงานยึดถือหลักการกำกับดูแลกิจการเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน อันส่งผลให้เกิดเป็นวัฒนธรรมขององค์กร และสนับสนุนให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน ชาวไทยออยล์ทกุ คนตระหนักเสมอว่า การปฏิบตั ติ ามหลักการกำกับดูแลกิจการทีด่ เี ป็นหนึง่ ในพันธกิจองค์กรซึง่ ฝังลึกผ่านค่านิยม องค์กร POSITIVE ตัว I-Integrity ในเรื่องความซื่อสัตย์ที่ประพฤติยึดมั่นในความถูกต้องเป็นธรรม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้

ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทฯ ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน และตั้งเป้าหมายจะเป็น Top CG Rating Company อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย

การปฏิบัติตามการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ในปี 2552 หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น

บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น จึงได้กำหนดนโยบายในการคำนึงถึงสิทธิผู้ถือหุ้น ส่งเสริมการใช้สิทธิ และไม่ละเมิดสิทธิของผู้ถือหุ้น ดังนี้ 1. การจัดประชุมผู้ถือหุ้น • กำหนดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นประจำทุกปี ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีของบริษัทฯ และหากมี ความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณาวาระพิเศษที่อาจเป็นเรื่องที่กระทบหรือเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทฯ สามารถเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้เป็นกรณีไป 2. การส่งหนังสือเชิญประชุมล่วงหน้า • เผยแพร่ข้อมูลหนังสือเชิญประชุม ระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมความเห็นของคณะกรรมการ หนังสือมอบ ฉันทะทุกแบบ ประกอบด้วยแบบ ก แบบ ข และ แบบ ค (สำหรับผู้ถือหุ้นต่างประเทศที่แต่งตั้งคัสโตเดียนในประเทศ ไทย) ตามที่ กระทรวงพาณิ ช ย์ ก ำหนด รวมทั้ ง ข้ อ มู ล ประกอบการพิ จารณาระเบี ย บวาระ ผ่ า นทางเว็ บ ไซต์ ข อง

บริษัทฯ ล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 30 วัน ก่อนที่จะจัดส่งเอกสารเชิญประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้น • จัดทำหนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี โดยระบุสถานที่ วัน เวลา ประชุมให้ชัดเจน พร้อมทั้งรายละเอียด ระเบียบวาระการประชุม ข้อมูลสำคัญและจำเป็นประกอบการพิจารณา ความเห็นคณะกรรมการ รายงานการประชุมครั้ง ที่ผ่านมา รายงานประจำปี หนังสือมอบฉันทะและระบุวิธีการมอบฉันทะให้ชัดเจน และเอกสารประกอบการประชุมอื่นๆ โดยจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น ตามที่ ตลท.กำหนด เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูล ข่าวสารเพื่อการตัดสินใจในการลงมติอย่างเพียงพอ ถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส พร้อมทั้งประกาศลงในหนังสือพิมพ์ทั้ง ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษติดต่อกัน 3 วัน ก่อนวันประชุมอย่างน้อย 3 วัน เพื่อเป็นการบอกกล่าวการเรียก

ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าสำหรับให้ผู้ถือหุ้นเตรียมตัวมาร่วมประชุม • ในกรณีที่มีการเพิ่มวาระการประชุมที่เป็นเรื่องจำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัทฯ จะมีการแจ้งให้

ผู้ถือหุ้นทราบและจะส่งหนังสือนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม รวมทั้งจะเผยแพร่ข้อมูลประกอบวาระการ ประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไว้ในเว็บไซต์​์ก่อนจัดส่งเอกสาร 3. การอำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้น • อำนวยความความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นในวันประชุมอย่างเท่าเทียมกัน โดยจัดเจ้าหน้าที่ต้อนรับและให้ข้อมูลในการตรวจ เอกสารและลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประชุมอย่างเพียงพอ โดยบริษัทฯ จะเปิดให้ผู้ถือหุ้นสามารถรับการลงทะเบียนก่อน เวลาประชุม 2 ชั่วโมง และได้นำระบบบาร์โค้ด (Bar code) มาใช้ในการลงทะเบียนเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการ

ลงทะเบียน นอกจากนี้ ได้จัดให้มีแผนรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ณ วันประชุม เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและรักษาความ ปลอดภัยให้กับผู้ถือหุ้นทุกราย 4. การดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้น • ก่อนเริม่ ประชุมทุกครัง้ ประธานทีป่ ระชุมจะเป็นผูช้ แี้ จงหลักเกณฑ์ทเี่ กีย่ วข้องกับการประชุมทัง้ หมด อาทิเช่น การเปิดประชุม และการออกเสียงลงคะแนน รวมทัง้ วิธกี ารนับคะแนนเสียงของผูถ้ อื หุน้ ทีจ่ ะต้องลงมติในแต่ละวาระตามข้อบังคับของบริษทั ฯ


102

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

• เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถใช้สิทธิในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของตน โดยการซักถาม แสดงความเห็น ให้ ข้อเสนอแนะ และออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ใช้สิทธิร่วมตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อบริษัทฯ เช่น การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเป็นกรรมการอิสระ การอนุมัติผู้สอบบัญชี การจัดสรร เงินปันผล การลดทุนหรือเพิม่ ทุน การกำหนดหรือการแก้ไขข้อบังคับ บริคณห์สนธิ และการอนุมตั ริ ายการพิเศษ เป็นต้น

5. แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการรายงานความขัดแย้งของผลประโยชน์ • บริษัทฯ ได้ระบุการมีส่วนได้เสียของกรรมการไว้ในหนังสือเชิญประชุมฯ และในการประชุมผู้ถือหุ้น หากกรรมการท่านใด มีส่วนได้เสียหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาวาระใด ประธานที่ประชุมจะแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบก่อนการ พิจารณาวาระ โดยกรรมการท่านที่มีส่วนได้เสียนั้นจะไม่ร่วมประชุม และงดออกเสียงในวาระนั้นๆ 6. การดำเนินการหลังการประชุมผู้ถือหุ้น • บริษัทฯ ได้จัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นแจ้งต่อ ตลท. ภายใน 14 วันหลังวันประชุม ตามข้อกำหนดของ ตลท. และ เผยแพร่บนั ทึกรายละเอียดการประชุมอย่างครบถ้วนเหมาะสม ประกอบด้วยการบันทึกรายงานการประชุม การออกเสียง และข้ อ ซั ก ถามของผู้ ถื อ หุ้ น ในแต่ ล ะวาระอย่ า งละเอี ย ด พร้ อ มทั้ ง เผยแพร่ วี ดิ ทั ศ น์ การประชุ ม ให้ ผู้ ถื อ หุ้ น รั บ ทราบ

บนเว็บไซต์บริษัทฯ (http://www.thaioil.co.th)

หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อผู้ถือหุ้นทุกราย โดยได้ปฏิบัติและปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรม เพื่อสร้างความมั่นใจในการลงทุนกับบริษัทฯ โดยได้ดำเนินการดังนี้ • เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิเสนอระเบียบวาระการประชุม และเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ

บริษัทฯ ได้ล่วงหน้าในระยะเวลาที่บริษัทฯ กำหนด (อย่างน้อย 90 วันล่วงหน้า) โดยได้เผยแพร่หลักเกณฑ์การใช้สิทธิดัง กล่าวผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ • เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุมและออกเสียงลงมติแทน กรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วย ตนเองได้ ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้ผู้อื่นหรือกรรมการอิสระของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะแสดงข้อมูลกรรมการอิสระ พร้อมระบุการมีส่วนได้เสียของกรรมการแต่ละท่านอย่างชัดเจน รวมทั้งระบุรายละเอียดเงื่อนไขการมอบฉันทะในการเข้า ร่วมประชุมไว้ในเอกสารเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นอย่างละเอียด • ดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นตามลำดับระเบียบวาระที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุม และมีนโยบายที่จะไม่เพิ่มระเบียบวาระ ในที่ประชุมโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า • จัดสรรเวลาประชุมอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น และ

ตั้งคำถามในที่ประชุม และได้ใช้สิทธิในการแต่งตั้งกรรมการเป็นรายคน ผู้ถือหุ้นสามารถออกเสียงในทุกวาระการประชุม ผ่านบัตรลงคะแนนเสียงที่บริษัทฯ ได้แจกให้ในวันประชุม • กรรมการและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องจะเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อตอบคำถามในที่ประชุม รวมทั้งได้บันทึกประเด็นซักถาม และข้อคิดเห็นที่สำคัญไว้ในรายงานการประชุมเพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบ • เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นลงทะเบียนด้วยระบบบาร์โค้ดล่วงหน้าก่อนการประชุม 2 ชั่วโมง และแม้จะพ้นเวลาลงทะเบียนแล้ว

ก็ยังเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นที่ประสงค์จะร่วมประชุม สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้โดยไม่เสียสิทธิ • บันทึกรายงานการประชุมอย่างถูกต้อง ครบถ้วน โดยเลขานุการบริษัท และภายหลังทำการจัดส่งรายงานต่อ ตลท. และ ก.ล.ต. แล้ว จะทำการเผยแพร่รายงานการประชุมผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ ภายใน 14 วันจากวันประชุมผู้ถือหุ้น

103

• เปิดเผยข้อมูลที่เป็นปัจจุบันผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับทราบข้อมูลข่าวสารสำคัญของบริษัทฯ ที่มีการ เปลี่ยนแปลง รวมถึงสารสนเทศที่บริษัทฯ เปิดเผยตามข้อกำหนดต่างๆ โดยภายหลังจากการเปิดเผยต่อ ตลท. แล้ว จะนำ ข้อมูลเผยแพร่ในเว็บไซต์​์ของบริษัทฯ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ • บริษัทฯ มีมาตรการป้องกันการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายใน ตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในหมวดที่ 4 “การเปิดเผยข้อมูล และความโปร่งใส”

หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

บริษัทฯ ได้มีการดูแลและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามกฎหมายหรือข้อตกลง ที่มีกับบริษัทฯ และได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มไว้อย่างชัดเจนใน “คู่มือหลักการกำกับดูแล กิจการ” เพื่อให้บุคลากรทุกระดับยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ โดยถือเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของทุกคนดังนี้ 1. การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มหลักของบริษัทฯ • ต่อผู้ถือหุ้น บริษัทฯ มุ่งมั่นเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีระบบบัญชี และการเงินที่มีความเชื่อถือได้ สร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงการเจริญเติบโตของบริษัทฯ ในระยะยาว และผลตอบแทนในระดับที่ เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

และเป็นธรรม บริหารงานของบริษัทฯ อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ ไม่ดำเนินการใดๆ

ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อบริษัทฯ ไม่แสวงหาประโยชน์ให้ตนเอง และไม่เปิดเผย

ข้อมูลลับต่อบุคคลภายนอก • ต่อลูกค้า สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์อย่างครบถ้วนและถูกต้องตามความเป็นจริง จัดให้มีช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ ไม่กำหนดเงื่อนไขการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกค้า ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ผูกพันลูกค้า และรักษาความลับ ของลูกค้าอย่างเคร่งครัด • ต่อคู่ค้า คู่แข่งทางการค้า และเจ้าหนี้ คำนึงถึงความเสมอภาค และความซื่อสัตย์ในการดำเนินธุรกิจ และผลประโยชน์ร่วมกันกับคู่ค้า โดยปฏิบัติตามกฎหมาย และกติกาต่างๆ อย่างเคร่งครัด และมีจรรยาบรรณที่ดี ในการแข่งขันทางธุรกิจ บริษัทฯ ยึดถือกติกาการแข่งขัน

ที่เป็นธรรม โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้ - คู่ค้า: ไม่เรียกร้อง ไม่รับ ไม่จ่ายผลประโยชน์ใดๆ ทางการค้ากับคู่ค้าโดยไม่สุจริต และปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่มี ต่อคู่ค้าอย่างเคร่งครัด ในกรณีที่ ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ จะรีบแจ้งให้คู่ค้าทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกัน พิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยหลักแห่งความสมเหตุสมผล - คู่แข่งทางการค้า: ประพฤติปฏิบัติตามกรอบกติกาของการแข่งขันที่เป็นธรรม และไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่ง ทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางเสื่อมเสียโดยปราศจากข้อมูลความจริง - เจ้าหนี้: ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อเจ้าหนี้โดยเคร่งครัด รายงานฐานะทางการเงินของบริษัทฯ แก่เจ้าหนี้ด้วยความ ซื่อสัตย์ และแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้า หากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาเพื่อร่วมกันพิจารณาหา แนวทางแก้ไขปัญหา


104

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

• ต่อพนักงาน พัฒนา เสริมสร้างวัฒนธรรม และบรรยากาศการทำงานที่ดี รวมทั้งการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เพื่อสร้างความมั่นใจ และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่พนักงานในการปฏิบัติงานกับบริษัทฯ ด้วยความมั่นคงในอาชีพ โดยมีแนวปฏิบัติ คือ - ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่พนักงาน - ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน - แต่งตั้งและโยกย้าย ให้รางวัลและลงโทษพนักงาน ด้วยความเสมอภาค สุจริตใจและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถ ความเหมาะสม รวมทั้งผลการปฏิบัติงานของพนักงาน - ให้ความสำคัญต่อการพัฒนา การถ่ายทอดความรู้ให้กบั ของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ โดยให้โอกาสพนักงานอย่างทัว่ ถึง - รับฟังข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากพนักงานทุกระดับอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค - ปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเคร่งครัด - บริหารงานโดยหลีกเลีย่ งการกระทำใดๆ ที่ไม่เป็นธรรม ซึง่ อาจมีผลกระทบต่อความมัน่ คงในหน้าทีก่ ารงานของพนักงาน - ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุภาพ และให้ความเคารพต่อความเป็นปัจเจกชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ - มีช่องทางให้พนักงานแจ้งเรื่องที่ส่อไปในทางผิดทางระเบียบวินัย และกฎหมายได้ • ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความปลอดภัยของสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตประชาชน รวมถึงให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ต่อชนรุ่นหลัง ตลอดจนส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการ พัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบริษัทฯ กำหนดแนวทางปฏิบัติดังนี้ - ในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ บริษัทฯ จะคำนึงถึงทางเลือกที่มีผลกระทบต่อความเสียหายของสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุด - จัดให้มีระบบการร้องทุกข์ในเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชน ดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุ ปรับปรุงแก้ไข และ

แจ้งผลการดำเนินการให้ผู้ร้องทุกข์ทราบในเวลาอันควร - ปลูกฝังจิตสำนึกของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิง่ แวดล้อมให้เกิดขึน้ ในหมูพ่ นักงานทุกระดับอย่างต่อเนือ่ งและจริงจัง - เป็นผู้นำในการส่งเสริมการใช้และการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและชนรุ่นหลัง - ปฏิบัติและให้ความร่วมมือ หรือควบคุมให้มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และกฎระเบียบที่ ออกโดยหน่วยงานที่กำกับดูแล - ให้การสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนและสังคม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการ สนับสนุนการศึกษาแก่เยาวชนและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ - ยึดมัน่ ในระบอบประชาธิปไตย และส่งเสริมให้บคุ ลากรปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นการไปใช้สทิ ธิเลือกตัง้ ตามรัฐธรรมนูญ ทัง้ นี้ บริษทั ฯ ไม่มีนโยบายที่จะให้การสนับสนุนทางการเงิน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใดๆ • ต่อหน่วยราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ ทั้งสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย แรงงาน

การจัดการด้านภาษีอากรและบัญชี ฯลฯ รวมทัง้ ประกาศต่างๆ ของทางราชการทีเ่ กีย่ วข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษทั ฯ โดยพนักงานทุกระดับจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตนเองและไม่ดำเนิน การใดๆ อันเป็นการขัดต่อกฎหมายนั้นๆ อีกทั้งผู้บังคับบัญชาควรจัดให้มีข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้อ้างอิง และคอยติดตามปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ พนักงานและผู้ปฏิบัติงานควรมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลโดยสะดวก บริษัทฯ มุ่ง ปลูกฝังจิตสำนึกของความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ/ข้ อบังคับของบริษัทฯ ให้เกิดขึ้นในหมู่

พนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง และมุ่งมั่นสร้างความสัมพันธ์ที่ดี โดยให้ความร่วมมือกับหน่วยราชการและองค์กรที่ เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูล เพื่อประโยชน์ของประเทศและส่วนรวม

105

2. มาตรการการแจ้งเบาะแส และกลไกคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส บริษัทฯ กำหนดให้ผู้บริหารทุกระดับในองค์กร ดูแลรับผิดชอบและถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะดำเนินการให้พนักงานภายใต้

สายบังคับบัญชาของตนทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามคู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ อย่างจริงจัง ผู้ที่กระทำผิด จริยธรรมที่กำหนดไว้ จะได้รับโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด บริษทั ฯ จึงได้จดั ทำช่องการรับเรือ่ งเกีย่ วกับการกำกับดูแลกิจการทีด่ ี และจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษทั ฯ ไว้สำหรับเปิดรับ ข้อร้องเรียน ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ตลอดจนแจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณ รวมถึง พฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริตหรือประพฤติมิชอบของบุคคลในบริษัทฯ ทั้งจากพนักงานเอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น

ของบริษัทฯ ดังนี้ สำนักกรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส บี ชั้น 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2553 บริษัทฯ มีโครงการจะย้ายไปยังสำนักงานแห่งใหม่ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 cg-coordinate@thaioil.co.th +66-2299-0000 ต่อ 7312-5 +66-2299-0024 CG Manual at http://www.thaioil.co.th ทั้งนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนและบันทึกการสอบสวนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยไม่เปิดเผยชื่อผู้แจ้ง เบาะแส รวมทัง้ ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลการร้องเรียนเป็นความลับ เพือ่ คุม้ ครองผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ กับผูแ้ จ้งข้อร้องเรียน ดังกล่าว หมวดที ่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส 1. การรายงานข้อมูลค่าตอบแทนกรรมการ และการถือหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหาร ข้อมูลค่าตอบแทนกรรมการของกรรมการ และผู้บริหารจะถูกเปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รายงานประจำปี (แบบ 56-2) และในเว็บไซต์ของบริษัทฯ กรรมการ และผู้บริหารมีหน้าที่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ทุกครั้งที่มีการซื้อ ขาย หรือโอนหลักทรัพย์ต่อ ก.ล.ต. ตาม มาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญที่จะส่งเสริมการกำกับดูแลการ ใช้ข้อมูลภายในได้เป็นอย่างดี โดยบริษัทฯ จะจัดส่งจดหมายแจ้งขอความร่วมมือในการงดซื้อ ขาย หรือโอนหลักทรัพย์

ก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนก่อนสิ้นงวดบัญชีในแต่ละไตรมาส นอกจากนี้ กรรมการ และผู้บริหารจะต้องรายงานการ เปลี่ยนแปลงการมีส่วนได้เสียของตนต่อบริษัทฯ เป็นประจำทุกไตรมาส และจะปรับปรุงข้อมูลทุกปี โดยข้อมูลดังกล่าวจะ เก็บไว้ ใช้ภายในบริษัทฯ เท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 2/2552 เรื่องการ

รายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง


106

2. การรายงานข้อมูลสารสนเทศของบริษัทฯ บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยสารสนเทศที่เป็นข้อมูลสำคัญของบริษัทฯ รวมถึงรายงานทางการเงิน ข้อมูลที่ไม่ใช่ ข้อมูลทางการเงิน และสารสนเทศเรื่องอื่นๆ ตามเกณฑ์ที่ ตลท. และ ก.ล.ต. กำหนดอย่างถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน โปร่งใส ด้วยภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย มีการเปิดเผยสารสนเทศที่สำคัญทั้งด้านบวกและด้านลบ และผ่านการพิจารณากลั่น กรองตามขั้นตอนที่กำหนด รวมทั้งรายงานนโยบายและโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล

ประจำปี (แบบ 56-1) รายงานประจำปี (แบบ 56-2) และในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้ถือ หุ้นและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับสารสนเทศอย่างเท่าเทียมกันตามที่กำหนดโดยกฏหมายข้อบังคับของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดทำรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินแสดงควบคู่กับรายงานของผู้สอบบัญชี ในรายงานประจำปี นอกจากนี้ บริษัทฯ มีมาตรการป้องกันการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายใน โดยกำหนดให้พนักงานทุก ระดับของบริษัทฯ ต้องไม่นำข้อมูลภายในอันนำไปสู่การแสวงหาผลประโยชน์ เพื่อตนเองหรือครอบครัว หรือพวกพ้องใน ทางมิชอบ และรักษาข้อมูลและเอกสารที่ไม่พึงเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก เช่น การให้ข้อมูลกิจกรรมการดำเนินงาน หรือ แผนการในอนาคตของบริษัทฯ เป็นต้น พนักงานที่เปิดเผยข้อมูลและข่าวสารที่สำคัญของบริษัทฯ ออกสู่บุคคลภายนอก โดยมิได้รับความเห็นชอบจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จะได้รับพิจารณามาตรการทางวินัยตามระเบียบของบริษัทฯ

และอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอีกด้วย 3. นักลงทุนสัมพันธ์ บริษทั ฯ ได้ให้ความสำคัญอย่างสูงต่อการบริหารความสัมพันธ์กบั นักลงทุน ซึง่ จะมุง่ เน้นถึงความถูกต้อง คุณภาพ ความเพียงพอ เชื่อถือได้ และทันเวลา เพื่อให้นักลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้เกี่ยวข้องได้รับสารสนเทศเท่าเทียมกันอย่างโปร่งใสและทั่วถึง บริษัทฯ จัดให้มีหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์ในเชิงรุก เพื่อให้เป็น ไปตามแนวปฏิบัติขององค์กรสากลชั้นนำ เพื่อส่งเสริมให้ช่องทางในการสื่อสารกับนักลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด รวมทั้ ง เปิ ด โอกาสให้ นั ก ลงทุ น ได้ ซั ก ถาม ตลอดจนรั บ ทราบข้ อ มู ล สารสนเทศของบริ ษั ท ฯ

ผ่านหลากหลายช่องทาง เช่น การจัด Road show และสัมมนากับนักลงทุนและนักวิเคราะห์ทั้งในและต่างประเทศ

การประชุมร่วมกับนักลงทุนและนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ทุกสิ้นไตรมาส รายงานผลการดำเนินงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ให้ คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การทำสรุปผลการดำเนินงานเผยแพร่ใน webcast บน website

ของบริษัทฯ การจัดให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยและนักลงทุนเข้าเยี่ยมชมกิจการและพบปะผู้บริหาร เพื่อความเข้าใจในธุรกิจและ ติดตามความเป็นไปในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ตลอดจนการจัดบูธนิทรรศการส่งเสริมให้ความรู้แก่นักลงทุนในงานที่ ตลท. จัดเป็นประจำทุกปี เช่น งาน SET in the City และ Money Expo ซึ่งผู้ที่สนใจหรือนักลงทุนสามารถสอบถามข้อมูล มายังแผนกนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทฯ โดยติดต่อได้ 3 วิธี ดังนี้ 1) โทรศัพท์สายตรง +66-2299-0124 2) ทางอีเมลล์ ir@thaioil.co.th 3) ทางเว็บไซต์บริษัทฯ หมวดข้อมูลนักลงทุน http://www.thaioil.co.th

หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

1. โครงสร้างคณะกรรมการ • องค์ประกอบและคุณลักษณะของกรรมการ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือก กรรมการและผู้บริหารสูงสุด ในกรณีที่ตำแหน่งว่างลง องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ ต้องมีจำนวนสัดส่วนของ

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

107

กรรมการที่เป็นเป็นอิสระเพียงพอที่จะสามารถตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และการดำเนิน งานของผู้บริหาร ซึ่งต้องประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะและมีจำนวนไม่น้อยกว่า

3 คน ซึ่งปัจจุบันจำนวนกรรมการอิสระของบริษัทฯ มีจำนวนครบถ้วน และเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ปัจจุบัน

คณะกรรมการบริษัทฯ มีจำนวน 15 ท่าน ประกอบด้วยกรรรมการที่เป็นผู้บริหาร จำนวน 1 ท่าน และกรรมการที่ไม่ได้ เป็นผูบ้ ริหาร จำนวน 14 ท่าน สำหรับรายชือ่ คณะกรรมการบริษทั ฯ บทบาทหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

บริษัทฯ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และเลขานุการบริษัท ตามที่ได้กล่าวถึงแล้วในหมวดโครงสร้างการถือหุ้นและการ จัดการ หน้า 78-83 • วิธีสรรหากรรมการ การคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ แทนกรรมการที่ออกตามวาระ กระทำโดยบริษัทฯ เปิด โอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตาม คุณสมบัติที่บริษัทฯ กำหนด เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการบริษัทฯ โดยจะประกาศเชิญชวนในเว็บไซต์ของ

บริษัทฯ ให้ผู้ถือหุ้นเสนอรายชื่อและประวัติบุคคลเข้ามายังบริษัทฯ และคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน จะทำการคัดเลือกและเสนอชื่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยพิจารณาจาก ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถที่ จ ะเป็ น ประโยชน์ ต่ อ บริ ษั ท ฯ เพื่ อ ให้ ค ณะกรรมการบริ ษั ท ฯ ได้ พิ จารณา

เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติเห็นชอบแล้ว บริษัทฯ จะเสนอรายชื่อบุคคลดังกล่าวเพื่อขออนุมัติเลือกตั้งเป็น กรรมการบริษัทฯ ต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยต้องได้รับเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุม และมีสิทธิออกเสียง

ลงคะแนน รวมทั้ ง คั ด เลื อ กกรรมการบริ ษั ท ฯ ที่ มี คุ ณ สมบั ติ เ หมาะสมเป็ น กรรมการในคณะกรรมการเฉพาะเรื่ อ ง

แทนตำแหน่งกรรมการเฉพาะเรื่องที่ว่างลง หลังการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี และนำเสนอรายชื่อต่อที่ประชุม

คณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งต่อไป

• คุณสมบัติกรรมการอิสระ กรรมการอิสระจะต้องมีความเป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกลุ่มของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และผู้บริหารของบริษัทฯ

มีความสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการเงินและทางธุรกิจบริษัทฯ รวมทั้งธุรกิจอื่นอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะแสดงความคิดเห็น อย่างเสรีในการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้ง มีหน้าที่ในการจัดทำรายงานรับรองความเป็นอิสระของตนเมื่อได้รับการแต่งตั้ง และเปิดเผยข้อมูลความเป็นอิสระใน รายงานประจำปีของบริษัทฯ กรรมการอิสระต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ ก.ล.ต. กำหนด ดังนี้ 1) ถือหุ้นไม่เกิน 1 % ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดในบริษัทฯ บริษัทย่อย หรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง 2) ไม่เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ ผู้มีอำนาจ ควบคุมของบริษัทฯ บริษัทย่อย หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องในช่วง 2 ปีก่อน 3) ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายกับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น รายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ บริษัทย่อย หรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง 4) ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ ในช่วง 2 ปีก่อนหน้า ทั้งในด้านการให้บริการทางวิชาชีพ

เช่น ไม่เป็นผู้สอบบัญชี ไม่เป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพที่ให้บริการเกิน 2 ล้านบาท ด้านการค้าและธุรกิจ เช่น ไม่มี ธุรกรรมกับบริษัทฯ ที่เป็นนัยสำคัญ 5) ไม่เป็นตัวแทนของกรรมการ ผู้ถือหุ้น และผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่


108

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

6) ไม่มีลักษณะอื่นที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นเป็นอิสระ 7) สามารถมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินงานในรูปแบบขององค์คณะ 8) ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับบริษัทฯ บริษัทย่อย หรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง ไม่ถือ หุ้นเกิน 1% และเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ ผู้มี อำนาจควบคุมในกิจการดังกล่าว

เพื่อเป็นการส่งเสริมให้กรรมการอิสระได้มีโอกาสประชุมปรึกษาหารือระหว่างกันเองอย่างเป็นอิสระ สำหรับการเสนอแนะ ความคิดเห็น และกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทฯ จึงได้กำหนดให้มีการประชุม กรรมการอิสระอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 2. การกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการ บริษัทฯ มีนโยบายกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารให้อยู่ในระดับที่สามารถจูงใจ และอยู่ใน ระดับที่เทียบเคียงกับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยการพิจารณาจะเชื่อมโยงกับผลงานและความรับผิดชอบของ กรรมการ รวมทั้งผลการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยทุกปีคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนจะเป็นผู้กำหนด

ค่าตอบแทนดังกล่าว นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษทั ฯ เพือ่ ขอความเห็นชอบก่อนนำเสนอทีป่ ระชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ อนุมตั ติ อ่ ไป สำหรับรายละเอียดการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่กรรมการและผู้บริหาร ในปี 2552 ตามที่ได้กล่าวถึงแล้วในหมวดโครงสร้าง การถือหุ้นและการจัดการ หน้า 92-93 3. การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ บริษัทฯ ได้ทำการประเมินคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี ในปี 2552 ได้จัดทำการประเมินใน 3 รูปแบบ คือ 1) แบบประเมินตนเอง 2) แบบประเมินทั้งคณะ และ 3) แบบประเมินรายบุคคล (ประเมินกรรมการท่านอื่น) และได้ ปรับปรุงแบบฟอร์มการประเมินใหม่ให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญเพิ่มเติมในส่วนของนโยบายคณะกรรมการ (Board Policy) โครงสร้างของคณะกรรมการ (Board Composition) การจัดเตรียมและดำเนินการประชุม (Board Meeting) และแนวปฏิบัติ ของคณะกรรมการ (Board Practices) ซึ่งประกอบด้วยเรื่องความพร้อมของคณะกรรมการ การจัดการความเสี่ยงและการ ควบคุมภายใน การดูแลไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การติดตามรายงานทางการเงิน การดำเนินงานการสรรหา การพิจารณาค่าตอบแทน และการประเมินผลงาน โดยจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินผล คิดเป็นร้อยละจากคะแนนเต็มในแต่ละข้อทั้งหมด ดังนี้ มากกว่าร้อยละ 85 = ดีเยี่ยม มากกว่าร้อยละ 75 = ดีมาก มากกว่าร้อยละ 65 = ดี มากกว่าร้อยละ 50 = พอใช้ ต่ำกว่าร้อยละ 50 = ควรปรับปรุง

109

ผลการประเมิน ประจำปี 2552 สรุปได้ดังนี้ ตารางเปรียบเทียบผลการประเมิน

2551

2552 เพิ่ม / (ลด) การปฎิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ (%) (%) (%) 97 97 - แบบที่ 1: ประเมินรายบุคคล (ประเมินตนเอง) 89 97 8 แบบที่ 2: ประเมินทั้งคณะ 97 96 (1) แบบที่ 3: ประเมินรายบุคคล (ประเมินกรรมการท่านอื่น) โดยบริ ษ ท ั ฯ จะใช้ ว ธ ิ ก ี ารจั บ สลากเพื อ ่ สุ ม ่ เลื อ กกรรมการผู ป ้ ระเมิ น และ ผู้ถูกประเมิน สรุปโดยรวมจากการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ประจำปี 2552 พบว่า มีผลการปฏิบัติงานอยู่ใน เกณฑ์ “ดีเยี่ยม” คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยจากการประเมิน ทั้ง 3 แบบ ประมาณ “ร้อยละ 97” บริษัทฯ ได้นำเรียนผลประเมินและข้อคิดเห็นต่างๆ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อร่วมกันสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการให้ดียิ่งขึ้นในปีต่อไป นอกจากนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารยังมี

ส่วนร่วมในการอธิบายถึงความคาดหวังของตนเองที่จะได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการอีกด้วย 4. การประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทฯ จัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารทุกสิ้นปี โดยคณะกรรมการสรรหาและพิจารณา ค่าตอบแทนเป็นผู้ทำการประเมิน และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อขอความเห็นชอบ ทั้งนี้ สรุปผลการประเมินการ ปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารถือเป็นข้อมูลลับเฉพาะบุคคล ไม่สามารถเปิดเผยได้ สำหรับการประเมินผลการ ปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำปี 2552 ได้กำหนดเกณฑ์การประเมินฯ เป็น 3 ส่วน และให้น้ำหนักการ ประเมินในแต่ละระดับในสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยมีคะแนนรวมเท่ากับ 100 คะแนน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การประเมินผลจากดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงาน (Corporate KPI) กำหนดคะแนนไว้ 60 คะแนน ส่วนที่ 2 การประเมินด้านความเป็นผู้นำ (Leadership Competency) กำหนดคะแนนไว้ 30 คะแนน ส่วนที่ 3 การประเมินด้านการบริหารงบประมาณและโครงการต่างๆ (Budget and Project Management) กำหนด

คะแนนไว้ 10 คะแนน ผลการประเมินดังกล่าว จะถูกนำไปพิจารณากำหนดอัตราการปรับขึ้นเงินเดือนของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนำเสนอ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป 5. การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร บริษัทฯ มีการพัฒนาผู้บริหารอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการหมุนเวียนตำแหน่งภายในองค์กร รวมทั้ง เตรียมความพร้อมสำหรับการสืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยจัดให้มีการประเมินศักยภาพผู้บริหารระดับ

ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ (CEP: Currently Estimated Potential) และประเมินผลการปฏิบัติงานโดยใช้ KPI และ Competency Assessment 360 degree ตามระบบ PMS (Performance Management System) ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ส่ง


นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา นายชัยเกษม นิติสิริ นายอุทิศ ธรรมวาทิน นายนนทิกร กาญจนะจิตรา

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ นายบรรพต หงษ์ทอง นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ นายพิชัย ชุณหวชิร นายนริศ ชัยสูตร นายสุรงค์ บูลกุล นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์*

ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ RCP 19/2008 DCP 59/2005 กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการ RCP 3/2001 DCP 30/2003 ตรวจสอบ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ RCP 16/2007 DCP 8/2001 กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ DCP 3/2000 กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการสรรหา DCP 102/2008 และพิจารณาค่าตอบแทน กรรมการอิสระและกรรมการสรรหาและพิจารณา ค่าตอบแทน กรรมการและกรรมการสรรหาและพิจารณา ค่าตอบแทน กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการกำกับ DCP 104/2008 ดูแลกิจการ กรรมการอิสระและกรรมการกำกับดูแลกิจการ DCP 18/2002 กรรมการอิสระและกรรมการกำกับดูแลกิจการ กรรมการและกรรมการกำกับดูแลกิจการ DCP 14/2002 กรรมการ DCP 11/2008 กรรมการ DCP 82/2006 กรรมการและเลขานุการ (ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร) DCP 21/2009 กรรมการและเลขานุการ (กรรมการอำนวยการ) DCP 38/2004

ตำแหน่ง

Directors Certification Program (DCP)

DAP 49/2006 DAP 32/2005 DAP 1/2004

DAP 26/2004

DAP 2003

Directors Accreditation Program (DAP)

FSD 19/2005

RCC 6/2008

Financial Role of Statement Compensation for Directors Committee (FSD) (RCC)

ACP 24/2008 FSD 5/2009 ACP 22/2008 FSD 1/2008

Audit Committee Program (ACP)

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

* เกษียณอายุงานเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552

10 11 12 13 14 15 16

9 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

8 นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์

7 นางสาวพวงเพชร สารคุณ

3 4 5 6

1 นายสมนึก กยาวัฒนกิจ 2 นายมนู เลียวไพโรจน์

กรรมการ

Role of Chairman Program (RCP)

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรมและให้ความรู้ในเรื่องการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ให้กับ กรรมการ กรรมการเฉพาะเรื่อง ผู้บริหาร เลขานุการบริษัท เป็นต้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่าง ต่อเนื่อง และบริษัทฯ ได้จัดทำเอกสารปฐมนิเทศสำหรับกรรมการใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน

รวมถึง การจัดปฐมนิเทศแนะนำลักษณะประกอบธุรกิจและแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้แก่กรรมการใหม่ด้วย โดยกรรมการบริษัทฯ ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ดังแสดงในตาราง

ในหน้า ผู้บริหารระดับผู้ช่วยกรรมการอำนวยการเข้า Executive Pool ของ ปตท. ตามโครงการ GLD (Group Leadership Development) เพื่อรับการประเมินความสามารถ ความพร้อม จุดแข็งจุดอ่อน เป็นรายบุคคล โดยผู้ประเมินอิสระ และมี การจัดทำแผนพัฒนาผู้บริหารเฉพาะบุคคล (IDP: Individual Development Plan) ตามผลที่ได้รับจากการประเมินความ พร้อม อีกทั้งจัดให้มีระบบพี่เลี้ยง (Mentoring Program) เพื่อพัฒนาความพร้อมในการปฏิบัติงานระดับผู้บริหารอาวุโส

หรือตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เมื่อถึงเวลาสรรหาผู้สืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทฯ จะพิจารณา ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการสรรหาและคัดเลือกจากภายนอก หรือผู้บริหารระดับผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ หรือผู้บริหาร

ระดับอาวุโสที่มีความพร้อม เข้าสู่กระบวนการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัทฯ

ตารางสรุปการเข้าอบรมของคณะกรรมการบริษัทฯ ประจำปี 2552

110 111


112

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 การควบคุมภายในของบริษัทฯ

113

การควบคุมภายในของบริษัทฯ 6. การประชุมคณะกรรมการ การประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ จะมีการกำหนดขึ้นเป็นการล่วงหน้าในแต่ละปี เพื่อให้กรรมการสามารถจัดเวลาและเข้า ร่วมประชุมได้ โดยประธานกรรมการเป็นผู้ให้ความเห็นชอบในการบรรจุวาระการประชุม โดยจะปรึกษาหารือกับประธานเจ้า หน้าที่บริหาร ประกอบกับการพิจารณาตามคำขอของกรรมการที่จะบรรจุเรื่องอื่นที่สำคัญเป็นวาระการพิจารณาในการ ประชุมแต่ละครั้ง โดยบริษัทฯ จะจัดส่งเอกสารประกอบการประชุมให้กรรมการพิจารณาล่วงหน้า เพื่อที่จะมีเวลาเพียงพอ ในการศึกษาพิจารณาและตัดสินใจอย่างถูกต้องในเรื่องต่างๆ ข้อบังคับของบริษทั ฯ กำหนดให้คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อย 3 เดือนต่อครัง้ และอาจมีการประชุมพิเศษเพิม่ เติม ตามความจำเป็น ตามแนวปฏิบตั ปิ กติ บริษทั ฯ จะจัดประชุมคณะกรรมการบริษทั ฯ 2 เดือนต่อครัง้ โดยในปี 2552 มีการจัด ประชุมทัง้ หมด 8 ครัง้ และมีการจัดส่งหนังสือเชิญประชุมให้แก่กรรมการเพือ่ พิจารณาก่อนการประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วน เพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัทฯ ซึ่งในการประชุมทุกคราวจะมีการ กำหนดวาระการประชุมทีช่ ดั เจน โดยในการประชุมคณะกรรมการ กรรมการทุกคนสามารถอภิปรายและแสดงความคิดเห็นได้ อย่างเปิดเผย ในปี 2552 มีการประชุมคณะกรรมการบริษทั ฯ และคณะกรรมการเฉพาะเรือ่ ง โดยการเข้าร่วมประชุมของคณะ กรรมการบริษทั ฯ แต่ละครัง้ มีกรรมการเข้าร่วมการประชุมครบองค์ประชุม โดยมีรายละเอียดตามตารางการเข้าร่วมประชุมของ คณะกรรมการบริษทั ฯ และคณะกรรมการเฉพาะเรือ่ ง ประจำปี 2552 รายละเอียดในหัวข้อโครงสร้างและการจัดการ หน้า 89 7. คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คณะกรรมการได้จัดให้มีคณะกรรมการชุดย่อย ต่างๆ เพื่อช่วยศึกษาและกลั่นกรองงานตามความจำเป็น ในปี 2552 คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ประกอบด้วย - คณะกรรมการตรวจสอบ เป็นกรรมการอิสระทั้ง 4 ท่าน มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย คุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบกำหนดไว้ โดยจะปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบและถ่วง ดุลการบริหารกิจการต่างๆ ของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง เป็นธรรม และเป็นไปเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของ

ผู้ถือหุ้นทุกคน สำหรับรายชื่อคณะกรรมการฯ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามที่ได้กล่าวถึงแล้วในหมวด โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ หน้า 84-85 - คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ จำนวน 4 ท่าน (เป็นกรรมการอิสระ 3 ท่าน โดยมีประธานคณะกรรมการกำกับดูแล กิจการเป็นกรรมการอิสระ) สำหรับรายชื่อคณะกรรมการฯ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามที่ได้กล่าวถึงแล้ว ในหมวดโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ หน้า 87 - คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน จำนวน 3 ท่าน (เป็นกรรมการอิสระ 2 ท่าน โดยมีประธานคณะ กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนเป็นกรรมการอิสระ) สำหรับรายชื่อคณะกรรมการฯ บทบาทหน้าที่และ ความรับผิดชอบ ตามที่ได้กล่าวถึงแล้วในหมวดโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ หน้า 86 - กรรมการอิสระ จำนวน 10 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 66.66 ของกรรมการทัง้ คณะ สิน้ สุด ณ ปี 2552 สำหรับรายชือ่ คณะกรรมการฯ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามที่ได้กล่าวถึงแล้วในหมวดโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ หน้า 80-83 - คณะกรรมการขับเคลื่อนงานบริหารความเสี่ยงเครือไทยออยล์ ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ จำนวน

12 ท่าน สำหรับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามที่ ได้กล่าวถึงแล้วในหมวดโครงสร้างการถือหุ้นและ

การจัดการ หน้า 87 - คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเฉพาะด้าน ประกอบด้วยผู้บริหารระดับฝ่ายและพนักงานในส่วนงานที่เกี่ยวข้องตาม สายงาน สำหรับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามที่ ได้กล่าวถึงแล้วในหมวดโครงสร้างการถือหุ้นและ

การจัดการ หน้า 88

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่ดี โดยคณะกรรมการ

บริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบที่เป็นกรรมการอิสระสอบทานการประเมินระบบการควบคุมภายใน โดยมุ่งเน้น ให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสม และมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ทั้งใน

ด้านการใช้ทรัพยากร การดูแลทรัพย์สิน มีระบบบัญชีและรายงานทางการเงินที่มีความถูกต้องเชื่อถือได้ รวมทั้งการปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและการควบคุมภายในของบริษัทฯ ทั้งในระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติงาน โดยกำหนดให้

ทุ ก หน่ ว ยงานยึ ด ถื อ แนวปฏิ บั ติ ที่ ดี ใ นการกำหนดการควบคุ ม ภายในที่ ดี เ พี ย งพอและเหมาะสมสำหรั บ การดำเนิ น งานทุ ก กระบวนการ เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของบริษัทฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์ แผนกตรวจสอบระบบงานภายในมี ห น้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบในการตรวจสอบประเมิ น ความเพี ย งพอและประสิ ท ธิ ผ ล ประสิทธิภาพของระบบควบคุมภายใน ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญทางธุรกิจของเครือไทยออยล์ และรายงานผลการตรวจสอบต่อ คณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง โดยผู้ตรวจสอบได้ยึดถือแนวทางการปฏิบัติงานตามหลักจรรยาบรรณ

ตามที่กำหนดในกฏบัตรการตรวจสอบภายใน และมาตรฐานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน รวมทั้งถือเกณฑ์พิจารณาระดับความ เพียงพอของการควบคุมภายในตามมาตรฐานสากล (The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission: COSO) ดังนี้

1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment)

แนวทางการปฏิบัติงานภายในองค์กร ได้ยึดถือตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการดำเนินการที่สำคัญที่ส่งเสริมกิจกรรม

ด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม ดังนี้ • จัดทำโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับเป้าหมายและลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษทั ฯ และบริษทั ในเครือ ไว้อย่างชัดเจน และเหมาะสมเพื่อรองรับการดำเนินงานในรูปแบบการบริหารเป็นกลุ่ม • มีการประเมินความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงานของพนักงาน และจัดทำแผนพัฒนาและฝึกอบรมพนักงานทุกระดับ (Individual Development Plan: IDP) เพื่อให้พนักงานมีความรู้และทักษะการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ และสามารถ

ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ • กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดทำคู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการ (CG Manual) แจกให้พนักงานทุกคน เพื่อทำความเข้าใจและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด สำหรับพนักงานที่

เข้าใหม่ทุกคนจะได้รับฟังการปฐมนิเทศในเรื่องหลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ และต้องผ่านการทดสอบความเข้าใจ ในด้านการกำกับดูแลกิจการ ผ่านระบบ CG E-Learning ด้วย • กำหนดแนวนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมกิจกรรมค่านิยมหลักที่เรียกโดยย่อว่า “POSITIVE” เพื่อเป็นรากฐานสำคัญ

ในการพัฒนาขีดความสามารถหลักของพนักงานให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนองค์กรบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์

ที่กำหนดไว้ โดยพนักงานในกลุ่มไทยออยล์พร้อมใจผลักดันและสนับสนุนให้ “POSITIVE” เป็นค่านิยมหลัก เพื่อสะท้อนถึง คุณค่าและเอกภาพของความเป็นเครือไทยออยล์ด้วย

2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)

บริษัทฯ ได้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงองค์กรภายใต้กรอบการบริหารความเสี่ยงเดียวกันทั้งเครือไทยออยล์ เพื่อสนับสนุนและ เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงตามนโยบายการบริหารในรูปแบบสายโซ่ธุรกิจ (Business Chain) ในปี 2552 บริษัทฯ สามารถ ปฏิบัติตามแผนบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย การดำเนินการทบทวน ติดตามผลการบริหารความเสี่ยงของทุกหน่วยงาน การปรับปรุงระบบฐานข้อมูล การจัดกิจกรรมส่งเสริมงานบริหารความเสี่ยงและการประเมินระดับคุณภาพงานบริหารความเสี่ยง ของเครือไทยออยล์ รวมทั้งการรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อผู้บริหาร ซึ่งจากการปฏิบัติตามแผนบริหารความเสี่ยง


114

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 การควบคุมภายในของบริษัทฯ

ดังกล่าวสร้างความมั่นใจให้บริษัทฯ ในการบริหารความเสี่ยงให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดให้มี

การประเมินทบทวนความเสี่ยงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ ได้ดำเนินการประเมิน

ความเสี่ยงครบถ้วนในทุกกิจกรรมของเครือไทยออยล์ พร้อมทั้งมีผู้รับผิดชอบและกำหนดมาตรการรองรับอย่างครบถ้วน

ในการติดตามทบทวนผลการบริหารความเสี่ยงของบริษัทในเครืออย่างต่อเนื่อง สำหรับรายละเอียดด้านการบริหารความเสี่ยง ตามที่แสดงไว้ในหัวข้อเรื่อง “การบริหารความเสี่ยงองค์กร”

3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)

บริษัทฯ ได้กำหนดกิจกรรมการควบคุมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินกิจการของบริษัทฯ เป็นไปอย่างมีระบบและ

มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้ • กำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้พนักงานทุกระดับมีความเข้าใจและนำไปวางแผน

การดำเนินงานในทิศทางเดียวกันเพื่อให้ทุกส่วนงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนด • กำหนดขอบเขต อำนาจหน้ า ที่ ตลอดจนความรั บ ผิ ด ชอบของผู้ บ ริ ห าร และผู้ ป ฏิ บั ติ ง านแต่ ล ะระดั บ ไว้ ชั ด เจน

ในระเบียบกรอบอำนาจอนุมัติรายการธุรกิจ (Corporate Authorization Procedures) เพื่อให้มีระบบการควบคุมภายใน

ที่เหมาะสม • แบ่งแยกหน้าที่งานที่สำคัญไว้ชัดเจนเพื่อลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดหรือความเสียหาย • กำหนดนโยบาย ระเบียบวิธีปฏิบัติงาน และจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานในกระบวนการที่สำคัญไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แผนกตรวจสอบระบบงานภายในได้วางแผนการตรวจสอบครอบคลุมกระบวนการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงสำคัญ อันอาจเกิดจาก การกำหนดกิจกรรมการควบคุมที่ไม่เพียงพอและเหมาะสม และหากตรวจพบประเด็นสำคัญต่างๆ จะรายงานให้ผู้บริหารของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน และจะรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการ

ตรวจสอบ ทำให้บริษัทฯ มั่นใจว่าหน่วยงานต่างๆ มีการปฏิบัติงานในเรื่องการควบคุมภายในอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ และมีกิจกรรมควบคุมที่เพียงพอเหมาะสม

4. ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication)

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อระบบสารสนเทศและการสื่อสาร โดยจัดให้มีระบบข้อมูล และช่องทางการสื่อสารทั้งภายในและ ภายนอกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือ ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา เพียงพอต่อการตัดสินใจ ในปี 2552 บริษัทฯ ได้ดำเนินการด้านข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนี้ • จัดทำ Disaster Recovery Plan (DRP) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และป้องกันการหยุดชะงักการดำเนินงานของ หน่วยธุรกิจ โดยดำเนินการจัดทำรายการซอฟแวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความจำเป็นต้องการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงสถานที่ทำงานฉุกเฉินในกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติ ทั้งนี้ เมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น หน่วยงานต่างๆ ของบริษัทฯ สามารถดำเนินงานต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก • ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการสื่อสารให้

พนักงานและลูกจ้างในองค์กรได้รับทราบ และตระหนักถึงการปฏิบัติและบทลงโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • ตระหนักถึงความสำคัญขององค์ความรู้ โดยได้ดำเนินการให้มีบูรณาการองค์ความรู้ที่สำคัญตาม Thaioil Business Activities Model (TBAM) ซึ่งเป็นรากฐานการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในปี 2552 เพื่อสร้างความเติบโตที่ยั่งยืนและเป็น พื้นฐานนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในอนาคต

115

• ในปี 2553 ได้วางแผนปรับปรุงระบบการวางแผนทรัพยากร (Enterprise Resource Planning) จากระบบ SAP 4.7

เดิมเป็น SAP ECC 6.0 เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจ โดยเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน

เพือ่ สนับสนุนการปฏิบตั ติ ามมาตรฐานบัญชี IFRS (International Finance Reporting Standard)

5. การติดตามและประเมินผล (Monitoring & Evaluation)

บริษัทฯ มีการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง โดยได้นำระบบ KPI มาใช้ ในการติดตามผลการบริหารและ

การปฏิบัติงานของพนักงานทุกระดับ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานเป็นไปตามแผนธุรกิจที่กำหนด นอกจากนี้ แผนกตรวจสอบ ระบบงานภายในซึ่งมีอิสระในการตรวจสอบจะดำเนินการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบประจำปี ซึ่งได้จัดทำตามความเสี่ยง สำคัญทางธุรกิจและครอบคลุมกระบวนการปฏิบัติงานสำคัญของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ สอบทานผลการดำเนินงาน

การบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ และรายงานผลต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง

เพื่อพิจารณาว่าการดำเนินการสอบทานรายงานทางการเงินมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ครบถ้วน ถูกต้อง การประเมิน ประสิทธิภาพของการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงได้ดำเนินการอย่างเหมาะสม มีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย

หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ เปิ ด เผยรายการที่ เ กี่ ย วโยงหรื อ รายการที่ มี ความขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ อ ย่ า งโปร่ ง ใส

และสามารถตรวจสอบได้ และรายงานผลการตรวจสอบต่อฝ่ายบริหารและผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อนำไป พิ จารณาปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ขการปฏิ บั ติ ง านให้ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลยิ่ ง ขึ้ น และแผนกตรวจสอบระบบงานภายในจะทำการติ ด ตามผล

ความคืบหน้าในการปรับปรุงแก้ไขงาน และรายงานผลการติดตามต่อคณะกรรมการตรวจสอบทราบ

6. การสอบทานการควบคุมภายใน

คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานระบบการควบคุมภายในปี 2552 แล้วพบว่า ไม่พบประเด็นปัญหาหรือรายการผิดปกติ

ซึ่งโดยภาพรวมสรุปได้ว่า บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผลเหมาะสมเพียงพอ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ

ผูส้ อบบัญชีของบริษทั ฯ ระบบการควบคุมภายในของบริษทั ฯ มีความเพียงพอและเหมาะสมทีจ่ ะสามารถป้องกันหรือลดความเสีย่ ง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้


บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ข้อมูลทั่วไปของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ

117

ข้อมูลทั่วไปของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ ข้อมูลทั่วไปของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ชื่อย่อ TOP เลขทะเบียนบริษัทฯ 0107547000711 ประเภทธุรกิจ ประกอบธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันที่มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อผลิตและจำหน่ายน้ำมัน ปิโตรเลียมสำเร็จรูปป้อนตลาดในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ทัง้ ยังขยายการลงทุนให้ครอบคลุมการผลิตผลิตภัณฑ์ปโิ ตรเคมี น้ำมันหล่อลืน่ พื้นฐาน เอทานอล รวมถึงการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้า ตลอดจนธุรกิจขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีทางเรือ ธุรกิจขนส่ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปทางท่อ และธุรกิจให้คำปรึกษาทางด้านพลังงาน ทุนจดทะเบียน 20,400,278,730 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดจำนวน 2,040,027,873 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท จำนวนพนักงาน 872 คน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552) สถานที่ตั้ง สำนักงานกรุงเทพฯ เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส บี ชั้น 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0 - 2299 - 0000, 0 - 2617 - 8300 โทรสาร : 0 - 2299 - 0024 ประมาณเดือนพฤษภาคม 2553 บริษัทฯ มีโครงการจะย้ายไปยังสำนักงานแห่งใหม่ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โรงกลั่นฯ 42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ : 0 - 3840 - 8500, 0 - 3835 - 9000 โทรสาร : 0 - 3835 - 1554, 0 - 3835 - 1444 เว็บไซต์ http://www.thaioil.co.th แผนกนักลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์ : 0 - 2299 - 0124 E-mail : ir@thaioil.co.th


ชื่อและที่อยู่บริษัท บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส บี ชั้น 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร : 0-2299-0024 บริษัท ท็อป โซลเว้นท์ เวียดนาม จำกัด TOP Solvent (Vietnam) LLC. Go Dau Industrial Zones, Long Thanh District, Dong Nai Province, Vietnam โทรศัพท์ : +84 83827 9030-4 โทรสาร : +84 83827 9035 ธุรกิจผลิตไฟฟ้า บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส บี ชั้น 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร : 0-2299-0024 บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส บี ชั้น 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร : 0-2299-0024

ชื่อและที่อยู่บริษัท ธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส บี ชั้น 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร : 0-2299-0024 ธุรกิจปิโตรเคมี บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด 105/12 หมู่ที่ 2 ถนนสุขุมวิท ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ : 0-3835-1317-9, 0-3835-1878 โทรสาร : 0-3835-1320 บริษัท ไทยออยล์ โซลเว้นท์ จำกัด เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส บี ชั้น 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร : 0-2299-0024 บริษัท ท็อป โซลเว้นท์ จำกัด เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส บี ชั้น 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร : 0-2299-0024 1,200,000,000

0105551116491 จัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์โซลเว้นท์ (สารทำละลาย) และปิโตรเคมี

สามัญ

สามัญ

สามัญ

สามัญ

178,000,000,000 (VND) หรือ 330,000,000

2,810,000,000

1,771,000,000

0105539103296 ดำเนินธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนรายเล็ก (SPP)

0105539126962 ดำเนินธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนรายใหญ่ (IPP)

สามัญ

สามัญ

สามัญ

สามัญ

180,000,000

472043000745 จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โซลเว้นท์และปิโตรเคมี ในประเทศเวียดนาม

(บาท)

ทุนจดทะเบียน ชนิดของหุน้

1,250,000,000

0105551116050 ลงทุนในธุรกิจ ผลิตภัณฑ์โซลเว้นท์ (สารทำละลาย) และปิโตรเคมี

เลขทะเบียน ประเภทธุรกิจ 0105527011880 ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์โซลเว้นท์ (สารทำละลาย) และปิโตรเคมี

2,572,414,160

0105539103288 ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี อะโรมาติกส์ขั้นต้น

(บาท)

ทุนจดทะเบียน ชนิดของหุน้

1,757,890,730

ประเภทธุรกิจ

0107539000090 ผลิตและจำหน่ายน้ำมัน หล่อลื่นพื้นฐาน

เลขทะเบียน

ข้อมูลทั่วไปของบริษัทที่ไทยออยล์ถือหุ้น จำนวนหุ้น

177,100,000

281,000,000

17,800,000

1,800,000

(จำหน่ายแล้ว)

จำนวนหุ้น

120,000,000

125,000,000

257,241,416

175,789,073

(จำหน่ายแล้ว)

10

10

18.5

100

(บาท/หุ้น)

มูลค่าหุ้น

10

10

10

10

(บาท/หุ้น)

มูลค่าหุ้น

24

55

ถือหุ้นผ่าน บจ. ท็อป

โซลเว้นท์ (100%)

ถือหุ้นผ่าน บจ. ท็อป

โซลเว้นท์ (80.52%)

(%)

สัดส่วน การถือหุ้น

ถือหุ้นผ่าน บจ. ไทยออยล์ โซลเว้นท์ (100%)

100

100

100

(%)

สัดส่วน การถือหุ้น

118 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ข้อมูลทั่วไปของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ

119


8,479,000,000

40,000,000

220,000,000

0105534002696 บริการขนส่งน้ำมัน

ทางท่อ

0105550078006 ธุรกิจที่ปรึกษา ด้านพลังงาน

0105551121754 ลงทุนในธุรกิจเอทานอล

(บาท)

สามัญ

สามัญ

สามัญ

สามัญ

ทุนจดทะเบียน ชนิดของหุน้

630,000,000

ประเภทธุรกิจ

0105541047578 ขนส่งน้ำมันปิโตรเลียม

และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ทางเรือ

เลขทะเบียน

22,000,000

4,000,000

84,790,000

63,000,000

(จำหน่ายแล้ว)

จำนวนหุ้น

0105549076496 ให้บริการด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร

เลขทะเบียน ประเภทธุรกิจ 0105549129891 ผลิตเอทานอลจาก น้ำอ้อย

นายทะเบียนหลักทรัพย์ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เลขที่ 62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย กทม. 10110 โทรศัพท์ : 0-2229-2888 (Call center) นายทะเบียนหุ้นกู้และตัวแทนชำระเงิน ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) Head of Marketing & Sales Investor Services เลขที่ 393 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ : 0-2230-6295, 0-2230-5647 โทรสาร : 0-2230-6093 ผู้สอบบัญชี บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด ชั้น 22 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ 195 ถนนสาธรใต้ กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 0-2677-2000 โทรสาร : 0-2677-2222

บุคคลอ้างอิง

ชื่อและที่อยู่บริษัท บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด เลขที่ 191/18 - 25 อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์ ชั้น 26 - 27 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 0-2402-7574 บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด เลขที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0-2537-0200 โทรสาร : 0-2537-1339

จำนวนหุ้น

15,000,000

67,500,000

(จำหน่ายแล้ว)

10

10

(บาท/หุ้น)

มูลค่าหุ้น

10

10

100

10

(บาท/หุ้น)

มูลค่าหุ้น

20

ถือหุ้นผ่าน TET (30%)

(%)

สัดส่วน การถือหุ้น

100

100

9

100

(%)

สัดส่วน การถือหุ้น

อื่นๆ (กรณีการแจ้งใบหุ้นสูญหาย / การเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถือหุ้น

และงานให้บริการผู้ถือหุ้นอื่นๆ) Counter Service ชั้น 1 บริษทั ศูนย์รบั ฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เลขที่ 62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย กทม. 10110 โทรศัพท์ : 0-2229-2888 (Call center) หรือ ส่วนบริการผู้ออกหลักทรัพย์ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 2/7 หมู่ที่ 7 (โครงการนอร์ธปาร์ค) ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. 10210 โทรศัพท์ : 0-2596-9302-10 โทรสาร : 0-2832-4994-6

สามัญ

สามัญ

675,000,000

150,000,000

(บาท)

ทุนจดทะเบียน ชนิดของหุน้

หมายเหตุ * เปลี่ยนชื่อจาก บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี จำกัด เป็น “บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด” ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2552 วันที่ 3 ธันวาคม 2552

ชื่อและที่อยู่บริษัท ธุรกิจขนส่งน้ำมัน บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด เลขที่ 2/84 หมู่ที่ 15 ถนนทางรถไฟสายเก่า

แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ : 0-2331-0080-5 โทรสาร : 0-2331-0086 บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด เลขที่ 2/8 หมู่ 11 ถนนลำลูกกา ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150 โทรศัพท์ : 0-2991-9130-59 โทรสาร : 0-2533-2186 ธุรกิจอื่นๆ บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด* เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส บี ชั้น 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร : 0-2299-0024 บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส บี ชั้น 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร : 0-2299-0024

120 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ข้อมูลทั่วไปของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ

121


123

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ลักษณะการประกอบธุรกิจ บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นและจำหน่ายน้ำมันปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน ปี พ.ศ. 2504 เป็นโรงกลั่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในปัจจุบันมีกำลังการ ผลิ ต น้ ำ มั น ปิ โ ตรเลี ย ม 275,000 บาร์ เ รลต่ อ วั น ซึ่ ง เป็ น ธุ ร กิ จ หลั ก ของบริ ษั ท ฯ นอกจากนี้ บ ริ ษั ท ฯ

ยังประกอบธุรกิจอื่นๆ ในบริษัทย่อย ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจการผลิตสารพาราไซลีน ธุรกิจการผลิตน้ำมัน หล่ อ ลื่ น พื้ น ฐาน ธุ ร กิ จ ผลิ ต ไฟฟ้ า ธุ ร กิ จ ขนส่ ง น้ ำ มั น และผลิ ต ภั ณ ฑ์ ปิ โ ตรเคมี ท างเรื อ และทางท่ อ

ธุรกิจพลังงานทดแทน และธุรกิจสารทำละลาย โครงสร้างธุรกิจของเครือไทยออยล์ ธุรกิจการกลั่นน้ำมัน

ธุรกิจปิโตรเคมีและน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน 100%

บจ. ไทยพาราไซลีน (TPX)

กำลังการกลั่น: 275,000 บาร์เรลต่อวัน

สารอะโรเมติกส์

กำลังการผลิต: พาราไซลีน 489,000 ตัน/ปี มิกซ์ไซลีน

90,000 ตัน/ปี เบนซีน 177,000 ตัน/ปี โทลูอีน 144,000 ตัน/ปี รวม 900,000 ตัน/ปี

แพลทฟอร์เมต 1.8 ล้านตันต่อปี

J-Power 19% ปตท. 26% 55%

100%

บมจ. ไทยออยล์ (TOP)

บมจ. ไทยลู้บเบส (TLB) น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน กำลังการผลิต: น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน 270,000 ตัน/ปี ยางมะตอย

400,000 ตัน/ปี

56% ปตท. 20% ไทยออยล์ 24%

100%

บจ. ไทยออยล์ โซลเว้นท์ ผ่าน บจ. ท็อป โซลเว้นท์

(TS)

80.52%

จัดจำหน่ายสารทำละลาย 100% ในประเทศไทย

บจ. ศักดิ์ไชยสิทธิ (SAKC) กำลังการกลั่น: 100,000 ตัน/ปี

ธุรกิจหลัก

ธุรกิจไฟฟ้า 100%

100%

บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ บจ. ไทยออยล์มารีน บจ. ไทยออยล์ เอทานอล (TP) (TM) (TET) ขายไฟฟ้า เรือขนส่งน้ำมัน/ปิโตรเลียม และไอน้ำให้กลุ่ม กำลังการผลิต: โครงการผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนรายเล็ก โรงไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนร่วม (ก๊าซธรรมชาติ) ไฟฟ้า 118 เมกกะวัตต์ ไอน้ำ 168 ตัน/ชั่วโมง

บจ. ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) (IPT) โครงการผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนรายใหญ่ โรงไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนร่วม (ก๊าซธรรมชาติ) ไฟฟ้า 700 เมกกะวัตต์

61,000 ตันบรรทุก 9%

อื่นๆ 60% ปตท. 31%

30%

กลุ่มมิตรผล 35%

ผาแดง 35%

บจ. ท่อส่งปิโตรเลียมไทย (THAP)

บจ. แม่สอดพลังงานสะอาด (MCE)

ท่อขนส่งปิโตรเลียม กำลังการขนส่ง: 26,000 ล้านลิตร/ปี

ผลิตเอทานอลจากอ้อย กำลังการผลิต: 200,000 ลิตร/วัน

กลุม่ ปตท. 80% 20%

100%

บจ. ไทยออยล์ บจ. พีทที ี ไอซีที โซลูชนั่ ส์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ (PTTICT) (TES)

บจ. ท็อป โซลเว้นท์ เวียดนาม จัดจำหน่ายสารทำละลาย ให้แก่ประเทศเวียดนาม

เสริมสร้างรายได้

ธุรกิจขนส่งและธุรกิจอื่นๆ

เพิ่มความมั่นคง ในรายได้

ดำเนินธุรกิจที่ปรึกษา ด้านพลังงาน

สนับสนุนด้านการตลาดและ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน


124

125

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 โครงสร้างรายได้

โครงสร้างรายได้ บริษัทฯ มีรายได้จากธุรกิจกลั่นน้ำมันเป็นหลัก นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีรายได้จากธุรกิจกลั่นน้ำมัน

หล่อลื่น ธุรกิจปิโตรเคมี ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจขนส่งน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และอื่นๆ โดยมี

รายละเอียดปรากฏตามตารางแสดงรายได้ดังต่อไปนี้ (จำนวนเงิน หน่วย : ล้านบาท)

รอบปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

ก. ขายสุทธิ 1. ธุรกิจกลั่นน้ำมัน 2. ธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน 3. ธุรกิจปิโตรเคมี(4) 4. ธุรกิจผลิตไฟฟ้า 5. ธุรกิจขนส่งน้ำมันและ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี 6. อื่นๆ หัก รายการระหว่างกัน รวม ข. กำไรจากสัญญาแลกเปลี่ยน เงินตรา 1. ธุรกิจกลั่นน้ำมัน ค. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ(2) 1. ธุรกิจกลั่นน้ำมัน 2. ธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน 3. ธุรกิจปิโตรเคมี(4) 4. ธุรกิจผลิตไฟฟ้า 5. ธุรกิจขนส่งน้ำมัน และ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี รวม

2550 % การ ดำเนิน ถือหุ้น ปรั บ ปรุงใหม่(1) การโดย(5) ของบริษัท จำนวนเงิน %

2551(1) จำนวนเงิน

TOP - 253,959 TLB 100 21,582 TPX/ 100/100 33,247 Thaioil Solvent TP/IPT 55/24 12,203 TM 100 731

96 399,735 8 22,213 13 52,606

TES/TET 100/100 - (60,671) 261,051

- - (23) (90,766) 99 399,125

TOP

5 -

14,353 984

2552 %

จำนวนเงิน

99 274,325 6 16,981 13 49,365 4 -

%

95 6 17

14,231 968

5 -

- 25 (23) (71,772) 99 284,123

- (25) 98

-

596

-

-

-

-

-

TOP - TLB 100 TPX/ 100/100 Thaioil Solvent TP/IPT 55/24 TM 100

1,341 (23) 38

- - -

- - -

- - -

1,480 3 17

1 - -

191 (1)

- -

- -

- -

72 3

- -

1,546

-

-

-

1,575

1

(จำนวนเงิน หน่วย : ล้านบาท)

รอบปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 % การ ดำเนิน ถือหุ้น ปรับปรุงใหม่(1) การโดย(5) ของบริษัท จำนวนเงิน %

รายได้อื่น(3)

ง. 1. ธุรกิจกลั่นน้ำมัน 2. ธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน 3. ธุรกิจปิโตรเคมี(4) 4. ธุรกิจผลิตไฟฟ้า 5. ธุรกิจขนส่งน้ำมัน และ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี หัก รายการระหว่างกัน รวม รวมรายได้ (ก - ง)

TOP - TLB 100 TPX/ 100/100 Thaioil Solvent TP/IPT 55/24 TM 100

2551(1) จำนวนเงิน

2552 %

จำนวนเงิน

%

4,819 179 150

2 - -

4,738 159 285

2 - -

8,136 151 329

3 - -

71 4

- -

63 16

- -

41 10

- -

(1) (6,972) 1 1,695 100 287,393

(2) 1 100

(4,597) 626 263,819

(2) (2,986) - 2,275 100 401,400

หมายเหตุ (1) - สภาวิชาชีพบัญชีได้ประกาศใช้มาตรฐานบัญชีฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 โดยกำหนดให้กิจการตัดรายการค่าความนิยมติดลบที่ ได้รับรู้ไว้ก่อนหน้า โดยปรับปรุงกับกำไรสะสมต้นงวด - ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 บริษัทได้เปลี่ยนแปลงการใช้นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ ดังนั้นงบการเงินสำหรับ

ปี 2550 ที่นำมาแสดงเปรียบเทียบจึงได้รับการปรับปรุงใหม่ (2) ปี 2551 ขาดทุนสุทธิจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (3) ได้แก่ ดอกเบี้ยรับ เงินชดเชยภาษีสินค้าส่งออก รายได้จากการให้บริการแก่บริษัทในเครือ ค่าเช่าที่ดิน ค่าบริการใช้ทุ่นผูกเรือน้ำลึก ค่าเช่าถังน้ำมัน

ค่าบริการใช้สถานีจ่ายน้ำมันทางรถ เงินชดเชยดีเซลมาตรฐานยูโร 4 เป็นต้น (4) ธุรกิจปิโตรเคมี ประกอบด้วย ธุรกิจผลิตสารพาราไซลีนและผลิตภัณฑ์สารทำละลาย (5) TOP หมายถึง บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) TLB หมายถึง บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) TPX หมายถึง บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด TP หมายถึง บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด IPT หมายถึง บริษทั ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด ซึง่ บริษทั ฯ ถือหุน้ ทางอ้อม โดย TP ถือหุน้ อยูร่ อ้ ยละ 56 และบริษทั ฯ ถือหุน้ ทางตรงอีกร้อยละ 24 TM หมายถึง บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด Thaioil Solvent หมายถึง บริษัท ไทยออยล์ โซลเว้นท์ จำกัด TES หมายถึง บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด TET หมายถึง บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด


126

127

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน

คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน ในปี 2552 ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกปรับลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยภายหลังเหตุวิกฤติเศรษฐกิจการเงินของโลก ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงในครึ่งหลังของปี 2551 และต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2552 ก่อนที่กลับ มาปรับตัวสูงขึน้ อีกครัง้ ตัง้ แต่ไตรมาสที่ 2/2552 เป็นต้นมา ซึง่ เป็นผลจากการทีต่ วั เลขเศรษฐกิจทัว่ โลกมีแนวโน้มทีด่ ขี นึ้ ภายหลังจาก การอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆ ดังนั้น ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยของปี 2552 จึงอยู่ในระดับ 62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ต่ำกว่าปีก่อน 32 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ราคาปิดของน้ำมันดิบดูไบ ณ สิ้นปี 2552 อยู่ที่ 75.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 23 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่ม (Gross Integrated Margin) ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันในปี 2552 อยู่ที่ 4.3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ลดลง 3.6 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเทียบกับปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันของโลกที่ ลดลง รวมทั้งกำลังการผลิตของภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกในช่วงครึ่งหลัง ของปีส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน และรายงานกำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่มรวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันอยู่ที่ 6.1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.8 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเทียบกับปีก่อน และจากการบริหารงานเชิงบูรณาการใน กลุ่มซึ่งมีสายการผลิตต่อเนื่องไปถึงผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ น้ำมันหล่อลื่น และผลิตภัณฑ์โซลเว้นท์ ทำให้เพิ่มความมั่นคงของ ความสามารถในการทำกำไรของกลุม่ ในภาวะความผันผวนของอุตสาหกรรม ส่งผลให้บริษทั ฯ สามารถรายงานกำไรตามงบการเงิน รวมในปี 2552 จำนวน 12,062 ล้านบาท

ผลการดำเนินงาน – งบการเงินรวม

กำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่มไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน(1) กำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่มรวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน(1) รายได้จากการขาย EBITDA กำไรสุทธิ(2) กำไรสุทธิต่อหุ้น

2552

เหรียญสหรัฐฯ

ต่อบาร์เรล ” ล้านบาท ” ” บาท

4.3 6.1 284,123 21,393 12,062 5.91

2551 เปลี่ยนแปลง

7.9

-3.6

4.3 +1.8 399,125 - 115,002 7,949 +13,444 224 +11,838 0.11 +5.80

หมายเหตุ (1) เป็นกำไรขั้นต้นจากการผลิตรวมของบริษัทฯ บจ. ไทยพาราไซลีน (TPX) และ บมจ. ไทยลู้บเบส (TLB) (2) หากไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน ในปี 2552 จะมีกำไรสุทธิเท่ากับ 5,651 ล้านบาท และในปี 2551 มีกำไรสุทธิ 11,435 ล้านบาท

ในปี 2552 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 284,123 ล้านบาท ลดลง 115,002 ล้านบาทจากปีก่อน ซึ่งเป็น ผลจากราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มจะฟื้นตัวและกำไรขั้นต้นจากการ ผลิตของกลุ่มยังคงอยู่ในระดับดี ทำให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมี EBITDA จำนวน 21,393 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13,444 ล้านบาท จากปีก่อน และมีผลกำไรสุทธิ 12,062 ล้านบาท หรือกำไรต่อหุ้น 5.91 บาท เปรียบเทียบกับกำไรสุทธิในปี 2551 จำนวน 224 ล้านบาท หรือกำไรต่อหุ้น 0.11 บาท

ผลการดำเนินงานแยกรายบริษัท (ล้านบาท)

TOP TPX

รายได้จากการขาย 274,325 45,568 EBITDA 8,663 8,347 ต้นทุนทางการเงิน (1,873) (151) กำไร/(ขาดทุน) FX 1,480 28 ภาษีเงินได้ (1,124) - กำไร/(ขาดทุน)สุทธิ(1) 3,281 7,091

TLB

16,981 1,806 - 4 (432) 1,006

หมายเหตุ (1) กำไรสุทธิรายบริษัท ไม่รวมเงินปันผลรับจากบริษัทย่อย

IPT

10,507 1,353 (104) 71 (247) 570

TP Solvent TM อื่น ๆ

3,730 4,572 968 560 378 242 (6) (59) (74) - (12) 3 (103) (86) (13) 240 157 26

25 5 - - - 5

รวม 2552

284,123 21,393 (2,115) 1,575 (2,005) 12,062

จากปี 2551 +/(-)

%

-115,002 +13,444 -1 +2,473 +2,791 +11,838

-29% +169% -0% +275% +355% +5,285%

ในปี 2552 ราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ลดลงอย่างมากทำให้บริษัทฯ (TOP) มีรายได้จากการขายจำนวน 274,325 ล้านบาท ลดลง 125,410 ล้านบาทจากปีก่อน แต่ TOP มี EBITDA จำนวน 8,663 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,809 ล้านบาทจากปีก่อน และเมื่อรวม

ค่าใช้จ่ายทางการเงิน กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และภาระภาษีเงินได้ ส่งผลให้ TOP มีกำไรสุทธิจำนวน 3,281 ล้านบาท บจ. ไทยพาราไซลีน (TPX) มีรายได้จากการขายเท่ากับ 45,568 ล้านบาท ลดลง 6,878 ล้านบาทจากปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจาก ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดี ราคาวัตถุดิบของ TPX ซึ่งอ้างอิงราคา ULG ก็ปรับลดลงด้วย ในขณะที่การเจริญ เติบโตของเศรษฐกิจเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน ทำให้ส่วนต่างราคาระหว่างผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Product to Feed Margin) เพิ่มขึ้นร้อยละ 56 จากปัจจัยข้างต้นรวมทั้งโครงการขยายงาน TPX ที่แล้วเสร็จในปี 2551 ซึ่งมีกำลังการผลิตสารอะโรเมติกส์ รวมเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ส่งผลให้มี EBITDA ปี 2552 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5,094 ล้านบาท มาอยู่ที่ 8,347 ล้านบาท ดังนั้น TPX มีกำไรสุทธิเท่ากับ 7,091 ล้านบาท เทียบกับ 2,014 ล้านบาทในปีก่อน บมจ. ไทยลู้บเบส (TLB) มีรายได้จากการขาย 16,981 ล้านบาท ลดลง 5,233 ล้านบาท เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลให้ อุปสงค์น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานโดยรวมชะลอตัวลงมากในครึ่งปีแรก ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2551 โดย Product to Feed Margin ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 104 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน อย่างไรก็ดี TLB สามารถจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น

พื้นฐานได้เพิ่มขึ้น 12% และราคายางมะตอยในปี 2552 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2551 มาก เนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของ รัฐบาลทั่วโลกโดยเฉพาะจีน ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางมะตอยปรับสูงขึ้นมาก ทำให้ TLB มี EBITDA เท่ากับ 1,806 ล้านบาท ลดลง 32 ล้านบาทจากปีก่อน และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 1,006 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน บจ. ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) (IPT) มีรายได้จากการขายจำนวน 10,507 ล้านบาท ลดลง 172 ล้านบาท เนื่องจากความ ต้องการไฟฟ้าของ กฟผ. ลดลง ทำให้ กฟผ. มีคำสั่งให้เดินเครื่องเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าในระดับที่ต่ำกว่าปีก่อน และมี EBITDA จำนวน 1,353 ล้านบาท ลดลง 46 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ IPT มีภาระภาษีเงินได้จำนวน 247 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 161 ล้านบาทจากปีก่อน เนื่องจากสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการส่งเสริมการลงทุนสิ้นสุดลงเมื่อเดือนสิงหาคม 2551 ดังนั้น IPT จึงมีกำไรสุทธิ 570 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน


128

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน

บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ (TP) มีรายได้จากการขาย 3,730 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 49 ล้านบาทเมือ่ เทียบกับปีกอ่ น เนือ่ งจากมีการปรับค่า ไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) สูงขึน้ กว่าปีกอ่ น และมี EBITDA จำนวน 560 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 76 ล้านบาท เนือ่ งจากค่าซ่อมบำรุง ลดลง และมีกำไรสุทธิ 240 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 66 ล้านบาทจากปีก่อน บจ. ไทยออยล์มารีน (TM) การเข้าประจำการของเรือไทยออยล์ 9 ปลายปี 2551 และเรือไทยออยล์ 11 กลางปี 2552 ทำให้ TM สามารถคงอัตราการใช้เรือได้อย่างเต็มที่ ที่ 94% โดย TM มีรายได้จากการขายจำนวน 968 ล้านบาท ลดลงเพียง 2% เทียบกับ ปีก่อน ทั้งๆ ที่วิกฤติเศรษฐกิจทำให้ความต้องการในการขนส่งสินค้าลดลงและกดดันให้อัตราค่าระวางในตลาดลดลง อย่างไร ก็ตาม ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวลดลง ทำให้มี EBITDA เพิ่มขึ้น 46 ล้านบาท มาอยู่ที่ 242 ล้านบาท นอกจากนี้ TM มีค่า ใช้จ่ายบำรุงรักษาเรือเพิ่มขึ้นจากการที่เรือไทยออยล์ 10 ซึ่งครบรอบที่ต้องเข้าอู่แห้งในเดือนกรกฎาคม 2552 และภาระภาษีเงิน ได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากได้ใช้ขาดทุนสะสมหมดแล้วในปี 2551 ดังนั้น ในปี 2552 TM มีกำไรสุทธิจำนวน 26 ล้านบาท ลดลง 22 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีก่อน เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 บจ. ท็อป โซลเว้นท์ (TS) ซึ่งถือหุ้นโดย บจ. ไทยออยล์ โซลเว้นท์ ได้จัดตั้งบริษัท ท็อป โซลเว้นท์ เวียดนาม จำกัด เพือ่ ซือ้ สินทรัพย์ธรุ กิจการจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซลเว้นท์ในประเทศเวียดนามจาก Shell Vietnam Limited ซึง่ เป็น ส่วนหนึ่งของการขยายธุรกิจและเพิ่มการบริหารจัดการโรงกลั่นและโรงงานปิโตรเคมีเพื่อเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้น และ ยังถือเป็นการต่อยอดธุรกิจเข้าสูธ่ รุ กิจค้าปลีกในต่างประเทศอีกด้วย กลุม่ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายสารทำละลาย ไทยออยล์ โซลเว้นท์ มีอัตราการผลิตสารทำละลายในปี 2552 ร้อยละ 77 มีรายได้จากการขายสารทำละลายรวม 4,572 ล้านบาท และมี EBITDA รวมจำนวน 378 ล้านบาท เมือ่ รวมค่าใช้จา่ ยในการดำเนินงานและต้นทุนทางการเงิน ไทยออยล์ โซลเว้นท์ มีกำไรสุทธิจำนวน 157 ล้านบาท

ส่วนของผู้ถือหุ้น - สุทธิ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีส่วนของผู้ถือหุ้น - สุทธิรวมทั้งสิ้น 71,687 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 8,107 ล้านบาท จากวันที่ 31 ธันวาคม 2551 สาเหตุหลักจากผลการดำเนินงานที่มีกำไรสุทธิ 12,062 ล้านบาท โดยมีการจ่ายเงินปันผล ในปี 2552 จำนวนรวม 4,334 ล้านบาท

วิเคราะห์ฐานะทางการเงิน - งบการเงินรวม ฐานะทางการเงิน (ล้านบาท)

สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้น - สุทธิ

31 ธ.ค. 52

31 ธ.ค. 51

+/-

137,745 66,058 71,687

132,841 69,261 63,580

+4,904 -3,203 +8,107

สินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษทั ฯ และบริษทั ย่อยมีสนิ ทรัพย์รวมทัง้ สิน้ 137,745 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ จากวันที่ 31 ธันวาคม 2551 จำนวน 4,904 ล้านบาท สาเหตุหลักจากสินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ลดลง อันเป็นผลมาจาก ค่าเสื่อมราคา หนี้สินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 66,058 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2551 จำนวน 3,203 ล้านบาท เนื่องจากเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินลดลง 6,652 ล้านบาท ในขณะที่เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 2,490 ล้านบาท

129

วิเคราะห์กระแสเงินสดและอัตราส่วนทางการเงิน

ในปี 2552 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดต้นงวดจำนวน 8,016 ล้านบาท มีเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานจำนวน 15,336 ล้านบาท ใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 2,466 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินจ่ายลงทุนในธุรกิจจำหน่ายสารทำละลายในประเทศ เวียดนาม สถานีจ่ายน้ำมัน (Lorry Loading) เรือไทยออยล์ 11 และเงินลงทุนชั่วคราว และใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 12,268 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 6,730 ล้านบาท จ่ายชำระคืนเงิน

กู้ยืมระยะยาว 12,135 ล้านบาท ต้นทุนทางการเงิน 2,070 ล้านบาท และจ่ายเงินปันผลรวม 4,334 ล้านบาท ทั้งนี้ ในเดือน กุมภาพันธ์ 2552 บริษัทฯ ได้ออกหุ้นกู้สกุลเงินบาท ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันและนักลงทุน ทั่วไปเป็นครั้งแรก จำนวน 12,000 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี โดยนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนี้เพื่อใช้ในการลงทุน และ/หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียน และ/หรือจ่ายชำระคืนเงินกู้ ซึ่งการเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง และยังช่วยให้บริษัทฯ สามารถบริหารต้นทุนทางการเงินโดยรวมให้อยู่ในระดับต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น บริษัทฯ และบริษัทย่อยจึงมีเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น 602 ล้านบาทและมีเงินสดปลายงวดจำนวน 8,618 ล้านบาท

อัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (เท่า) อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อเงินทุนระยะยาว (%) อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)

ปี 2552

ปี 2551

2.7 10.1 37% 0.6 0.9 0.5

1.8 3.8 40% 0.7 1.1 0.7


130

131

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 รายการระหว่างกัน

รายการระหว่างกัน สำหรับรอบบัญชีปี 2552 บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยมีรายการธุรกิจที่สำคัญกับบริษัทย่อย และบุคคล ที่เกี่ยวข้องกันโดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และ/หรือมีกรรมการร่วมกัน สามารถพิจารณาได้ในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินของบริษัทฯ รายการระหว่างกันได้กำหนดขึ้นโดยใช้ราคาตลาด หรือในราคาที่ตกลง กันตามสัญญาหากไม่มีราคาตลาดรองรับ โดยความสัมพันธ์กับบริษัทต่างๆ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ชื่อบริษัท

ความสัมพันธ์กับบริษัทฯ ณ ปัจจุบัน

บมจ. ปตท.

• เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยถือหุ้นบริษัทฯ อยู่ร้อยละ 49.10 • มีกรรมการร่วมกันคือ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์, นายพิชัย ชุณหวชิร, นายนริศ ชัยสูตร และนายชัยเกษม นิติสิริ

บจ. ไทยพาราไซลีน

• บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 • มีกรรมการร่วมกันคือ นายปรัชญา ภิญญาวัธน์, นายสมนึก กยาวัฒนกิจ และนายสุรงค์ บูลกุล • มีผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน บจ. ไทยพาราไซลีน คือ นายสมเกียรติ หัตถโกศล และนายสุพล ทับทิมจรูญ • บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 • มีกรรมการร่วมกันคือ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์, นายปรัชญา ภิญญาวัธน์, นายพิชัย ชุณหวชิร และนายสุรงค์ บูลกุล • มีผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน บมจ. ไทยลู้บเบส คือ นายสมเกียรติ หัตถโกศล, นายชัยวัฒน์ ดำรงค์มงคลกุล, นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ และนายอภินันท์ สุภัตรบุตร • บมจ. ปตท. ถือหุ้นร้อยละ 26 • บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 54.99 • มีกรรมการร่วมกันคือ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์, นายมนู เลียวไพโรจน์ และนายพิชัย ชุณหวชิร • มีผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ คือ นายยุทธนา ภาสุรปัญญา และนายไมตรี เรี่ยวเดชะ • บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 • มีผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน บจ. ท็อป โซลเว้นท์ คือ นายสมเกียรติ หัตถโกศล, นายชัยวัฒน์ ดำรงค์มงคลกุล และนายเทอดชาติ ผดุงรัตน์

บมจ. ไทยลู้บเบส

บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์

บจ. ท็อป โซลเว้นท์

บจ. ผลิตไฟฟ้าอิสระ

บจ. ศักดิ์ไชยสิทธิ

• บมจ. ปตท. ถือหุ้นร้อยละ 20 • บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 24 • บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ (ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 54.99) ถือหุ้นร้อยละ 56 • มีกรรมการร่วมกันคือ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ และนายสุรงค์ บูลกุล • มีผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน บจ. ผลิตไฟฟ้าอิสระ คือ นายไมตรี เรี่ยวเดชะ, นายชัยวัฒน์ ดำรงค์มงคลกุล และนายสมเกียรติ หัตถโกศล • บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 80.52 • มีผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน บจ. ศักดิ์ไชยสิทธิ คือ นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต, นายสมเกียรติ หัตถโกศล, นายชัยวัฒน์ ดำรงค์มงคลกุล, นายเทอดชาติ ผดุงรัตน์, นายณรงค์ฤทธิ์ ถาวรวิศิษฐพร และนายสมชัย วงศ์วัฒนศานต์

ชื่อบริษัท บมจ. ไออาร์พีซี

ความสัมพันธ์กับบริษัทฯ ณ ปัจจุบัน

• บมจ. ปตท. ถือหุ้นร้อยละ 36.68 • มีกรรมการร่วมกันคือ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์, นายพิชัย ชุณหวชิร และนายปรัชญา ภิญญาวัธน์ บมจ. ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น • บมจ. ปตท. ถือหุ้นร้อยละ 48.65 • มีกรรมการร่วมกัน คือ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ และนายปรัชญา ภิญญาวัธน์ บมจ. บางจากปิโตรเลียม • บมจ. ปตท. ถือหุ้นร้อยละ 28.46 • มีกรรมการร่วมกันคือ นายพิชัย ชุณหวชิร บจ. ปตท. ค้าสากล • บมจ. ปตท. ถือหุ้นร้อยละ 100

รายการระหว่างกันของบริษัทฯ และ/ หรือ บริษัทย่อยกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ รายการระหว่างบริษัทฯ กับ บมจ.ปตท. ชื่อบริษัท บมจ. ปตท.

ลักษณะรายการ

• รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์น้ำมัน: บริษัทฯ ได้ทำสัญญาจัดหาน้ำมันดิบและ รับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป (POCSA) กับ บมจ. ปตท. โดย บมจ. ปตท. และบริษัทฯ ตกลงที่จะซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป ณ ราคาตลาด ตามขั้นตอนการกำหนดปริมาณของผลิตภัณฑ์ ข้อกำหนด และเงื่อนไขตามที่ ระบุไว้ในสัญญา • ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ: บริษัทฯ ได้ทำสัญญา จัดหาน้ำมันดิบและรับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป (POCSA) กับ บมจ. ปตท. โดย บมจ. ปตท. และบริษัทฯ ตกลงที่จะซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป ณ ราคาตลาด ตามขั้นตอนการกำหนดปริมาณของผลิตภัณฑ์ ข้อกำหนด และเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญา • บริษัทฯ ได้ทำสัญญาจัดหาก๊าซธรรมชาติกับ บมจ. ปตท. ระยะเวลา 8 ปี (2549 - 2556) และระยะเวลา 15 ปี (2550-2564) เพื่อจัดหาก๊าซธรรมชาติ สำหรับใช้ในโรงกลั่นของบริษัทฯ ตามปริมาณในสัญญาและราคาตลาดตามปกติ ของธุรกิจ • บริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อขายราคาน้ำมันล่วงหน้ากับ บมจ. ปตท. เป็นครั้งคราวตามปกติธุรกิจของบริษัทฯ ในปี 2552 บริษัทฯ มีผลขาดทุน จากสัญญาแลกเปลี่ยนส่วนต่างราคาน้ำมันสุทธิ • การซื้อขายน้ำมันปิโตรเลียมดิบและวัตถุดิบเพื่อสำรองน้ำมันตามกฎหมาย

มูลค่าในปี 2552 (ล้านบาท)

142,190

123,950

450 1,583


132

133

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 รายการระหว่างกัน

รายการระหว่างบริษัทย่อยของบริษัทฯ กับ บมจ. ปตท. ชื่อบริษัท

ลักษณะรายการ

บจ. ไทยพาราไซลีน

• รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอะโรเมติกส์ให้ บมจ. ปตท. • ค่าใช้จ่ายการจัดซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งเป็นวัตถุดิบมิกซ์ ไซลีนและก๊าซแอลพีจี บมจ. ไทยลู้บเบส • รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานให้ บมจ. ปตท. บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ • บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ ได้ทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับ บมจ. ปตท. ระยะเวลา 25 ปี (2541-2565) ตามปริมาณในสัญญาและราคาตลาด ตามปกติของธุรกิจ บจ. ผลิตไฟฟ้าอิสระ • บจ. ผลิตไฟฟ้าอิสระ ได้ทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับ บมจ. ปตท. ระยะเวลา 25 ปี (2542-2567) ตามปริมาณในสัญญาและราคาตลาด ตามปกติของธุรกิจ

มูลค่าในปี 2552

ลักษณะรายการ

บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ • บริษัทฯ ได้ทำสัญญาให้บริการเดินเครื่องจักรบำรุงรักษา ซ่อมแซม

และให้บริการสนับสนุนอื่น และจัดหาวัตถุดิบ และอะไหล่ รวมไปถึงน้ำมัน เชื้อเพลิงสำรอง ระยะเวลา 24 ปี นับจากวันที่ 1 เมษายน 2541 โดยค่าบริการ เป็นราคาตามต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่มตามปกติธุรกิจ

บมจ. ไออาร์พีซี

• บริษัทฯ ได้ทำสัญญาให้ใช้ประโยชน์ในระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานกับ บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ ระยะเวลา 24 ปีนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2541 โดย บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ จะต้องจ่ายค่าใช้ประโยชน์ในระบบสาธารณูปโภค ทุกๆ เดือนในอัตราร้อยละ 2 ของรายได้รายเดือนของ บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ • บริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและพลังงานไอน้ำกับ บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ ระยะเวลา 25 ปี (2541-2565) ตามปริมาณที่ตกลงไว้ โดยราคาค่าไฟฟ้าและ ค่าพลังงานไอน้ำเป็นไปตามราคาตลาด • รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันให้กับ บมจ. ไออาร์พีซี เป็นครั้งคราวตามปกติธุรกิจของบริษัทฯ • ค่าใช้จ่ายการจัดซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันจาก บมจ. ไออาร์พีซี เป็นครั้งคราว ตามปกติธุรกิจของบริษัทฯ

ลักษณะรายการ

1,056 656 4,076 1,902

บมจ. บางจากปิโตรเลียม • บริษัทฯ เข้าทำสัญญาแลกเปลี่ยนลองเรสสิดิว (Long Residue)

8,371

บจ. ปตท. ค้าสากล

มูลค่าในปี 2552 (ล้านบาท)

7,462

และน้ำมันเตากับ บมจ. บางจากปิโตรเลียม การจ่ายเงินจะหักกลบลบหนี้ ตามราคาที่ระบุในสัญญา

• บริษัทฯ ได้ทำสัญญาเพื่อให้บริการรับวัตถุดิบของ บมจ. บางจากปิโตรเลียม จากทุ่นรับน้ำมันดิบของบริษัทฯ โดยค่าบริการเป็นไปตามราคาตลาดและ เงื่อนไขไม่แตกต่างจากบุคคลอื่น สัญญามีกำหนดระยะเวลา 15 ปี • บริษัทฯ มีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์น้ำมันกับ บจ. ปตท. ค้าสากล

1,786

รายการระหว่างกันของบริษัทย่อยหรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง กับบริษัทย่อยหรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง

รายการระหว่างกันของบริษัทฯ กับบริษัทย่อย (ที่บริษัทฯ ถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 100) หรือบริษัท

ที่เกี่ยวข้อง ชื่อบริษัท

ชื่อบริษัท

(ล้านบาท)

มูลค่าในปี 2552 (ล้านบาท)

ชื่อบริษัท

ชื่อบริษัทที่ทำรายการ ลักษณะรายการ ที่เกี่ยวโยงกัน บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ บจ. ไทยพาราไซลีน • บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ ได้ทำสัญญาซื้อขาย ไฟฟ้าและพลังงานไอน้ำกับ บจ. ไทยพาราไซลีน

1,160

บมจ. ไทยลู้บเบส

บมจ. ไทยลู้บเบส

บมจ. ไออาร์พีซี

1,252 489 302

บจ. ไทยพาราไซลีน

บมจ. ไออาร์พีซี

บจ. ท็อป โซลเว้นท์

บมจ. ไออาร์พีซี

ระยะเวลา 25 ปี สิ้นสุดปี พ.ศ. 2565 เพื่อจำหน่าย ไฟฟ้าและพลังงานไอน้ำโดยราคาเป็นไปตาม ราคาตลาด • บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์ ได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และพลังงานไอน้ำกับ บมจ. ไทยลู้บเบส ระยะเวลา 25 ปี สิ้นสุดปี พ.ศ. 2565 เพื่อจำหน่ายไฟฟ้า และพลังงานไอน้ำ โดยราคาเป็นไปตามราคาตลาด • ขายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานและ ผลิตภัณฑ์พลอยได้ • ซื้อผลิตภัณฑ์พลอยได้ • ขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอะโรเมติกส์ • ซื้อผลิตภัณฑ์โซลเว้นท์

มูลค่าในปี 2552 (ล้านบาท)

1,068

572

789 296 975 464


134

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน

135

รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน ชื่อบริษัท บจ. ศักดิ์ไชยสิทธิ

ชื่อบริษัทที่ทำรายการ ลักษณะรายการ ที่เกี่ยวโยงกัน บมจ. ไออาร์พีซี • บจ. ศักดิ์ไชยสิทธิ ได้ทำสัญญาจำนวน 2 ฉบับ

บมจ. ปตท. อะโรเมติกส์ และการกลั่น

เพื่อซื้อวัตถุดิบกับ บมจ. ไออาร์พีซี ตามปริมาณ ที่ตกลง โดยกำหนดราคาอ้างอิงราคาตลาด สัญญากำหนดระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ 1 เมษายน 2550 และ 30 ตุลาคม 2550 • บจ. ศักดิ์ไชยสิทธิ ได้ทำสัญญาเพื่อซื้อวัตถุดิบ กับ บมจ. ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น ตามปริมาณที่ตกลง โดยกำหนดราคาอ้างอิง ราคาตลาด สัญญากำหนดระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่ 1 มีนาคม 2548 • บจ. ศักดิ์ไชยสิทธิ ได้ทำสัญญาเพื่อซื้อวัตถุดิบ กับ บมจ. ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น ตามปริมาณที่ตกลง โดยกำหนดราคาอ้างอิง ราคาตลาด นับจากวันที่ 1 มีนาคม 2548

มูลค่าในปี 2552 (ล้านบาท)

253

“งบการเงินของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ที่นำมาจัดทำงบการเงินรวม ได้จัดทำ ขึ้ น ตามข้ อ กำหนดพระราชบั ญ ญั ติ บริ ษั ท มหาชน จำกั ด พ.ศ.2535 พระราชบั ญ ญั ติ หลั ก ทรั พ ย์

และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และประกาศกรมทะเบียนการค้า วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544

ออกตามความ ในมาตรา 11 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 โดยปฏิบัติตาม มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี

1,083

คณะกรรมการบริษัทฯ รับผิดชอบต่อรายงานทางการเงินของบริษัท ที่จัดทำขึ้นเพื่อให้มีความมั่นใจว่าได้แสดงฐานะการเงิน

รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสดอย่างเป็นจริงและสมเหตุผล จัดให้มีระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล มีการบันทึกข้อมูล ทางบัญชีที่ถูกต้องครบถ้วนและเพียงพอที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน รวมทั้งป้องกันการทุจริตและการดำเนินการที่ผิดปกติ อย่างมีสาระสำคัญ ในการจัดทำรายงานทางการเงินได้มีการพิจารณาเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสม และถือปฏิบัติโดย สม่ำเสมอและเป็นไปตามมาตรฐานบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป รวมทั้งได้มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน ซึ่งผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็นต่องบการเงินของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และงบการเงินรวม ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ไว้ในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต”

(นายสมนึก กยาวัฒนกิจ) ประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

(นายสุรงค์ บูลกุล) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)


บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

137

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และงบกำไรขาดทุนรวมและงบกำไรขาดทุน เฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ

และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความ

ถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจาก ผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ของบริษัท

ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษทั ย่อย และของเฉพาะบริษทั ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ตรวจสอบโดยผู้สอบ บัญชีอื่น ซึ่งแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขตามรายงานลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อ ให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการ ใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสม ของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจน การประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้

ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะกิจการ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และผลการดำเนินงานรวมและผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงินสดรวมและกระแส เงินสดเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท

ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

(นายเจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 4068 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด กรุงเทพมหานคร 19 กุมภาพันธ์ 2553


138

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบดุล

139

งบดุล

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หน่วย : บาท

สินทรัพย์

สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้า เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการ

ที่เกี่ยวข้องกัน สินค้าคงเหลือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลจ่ายล่วงหน้า ภาษีมูลค่าเพิ่มรอเรียกคืน สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนระยะยาวอื่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

6, 17 8,618,114,654 8,016,204,295 5,675,290,263 3,670,608,211 7, 17 619,978,540 539,101,097 - - 5, 8 20,190,732,812 15,237,033,453 17,583,298,131 12,076,860,511 5 5, 9 5, 10 11 12 7 13, 17 14 15 16

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

- 28,936,590,245 218,313,384 4,667,682,904 1,220,001,142 64,471,413,681 - 202,310,745 1,012,335,174 67,800,702,776 790,156,695 324,957,605 3,142,822,608 73,273,285,603 137,744,699,284

- 20,544,717,417 4,357,671,317 3,844,292,329 2,060,074,377 54,599,094,285 - 229,198,269 915,137,454 72,214,677,647 841,686,729 1,550,131,783 2,490,798,250 78,241,630,132 132,840,724,417

4,007,500,000 24,546,077,830 213,162,875 4,296,684,955 899,707,382 57,221,721,436 8,313,387,002 30,000,000 1,012,335,174 34,375,979,165 235,912,659 319,337,859 2,003,703,103 46,290,654,962 103,512,376,398

3,159,000,000 17,770,008,984 4,354,497,954 3,439,864,661 1,284,220,780 45,755,061,101 8,094,387,002 232,500,000 915,137,454 37,220,563,811 245,304,703 1,527,621,885 2,080,682,105 50,316,196,960 96,071,258,061

หน่วย : บาท

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

หนี้สินหมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการ

ที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน

ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี หุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ภาษีสรรพสามิตค้างจ่าย ภาษีเงินได้ค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน หุ้นกู้ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

17 1,300,000,000 7,951,578,963 1,300,000,000 7,951,578,963 5, 18 18,108,349,029 15,618,028,657 16,992,551,665 14,305,872,938

5,17

-

-

3,165,670,801

-

13, 17

2,144,962,498 - 757,541,010 448,435,776 1,538,362,723 24,297,651,036 10,381,953,489 29,607,517,284 1,329,503,487 441,199,191 41,760,173,451 66,057,824,487

2,168,194,363 2,750,000,000 162,014,885 229,381,692 1,393,983,368 30,273,181,928 18,897,121,663 18,300,175,463 1,420,237,572 370,588,686 38,988,123,384 69,261,305,312

296,350,000 - 757,541,010 - 1,384,294,876 23,896,408,352 5,630,650,000 29,607,517,284 1,302,371,118 597,844,359 37,138,382,761 61,034,791,113

- 2,750,000,000 162,014,885 - 1,117,933,914 26,287,400,700 11,943,480,000 18,300,175,463 1,386,721,116 571,651,627 32,202,028,206 58,489,428,906

17 5, 19 13, 17 17 15

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


140

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบดุล

141

งบกำไรขาดทุน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หน่วย : บาท

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน ทุนที่ออกและชำระแล้ว ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม

ของเงินลงทุน ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน กำไรสะสม จัดสรรแล้ว ทุนสำรองตามกฎหมาย อื่นๆ ยังไม่ได้จัดสรร รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย รวมส่วนของผู้ถือหุ้น รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

หมายเหตุ

20 21

21

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

20,400,278,730 20,400,278,730 20,400,278,730 20,400,278,730 20,400,278,730 20,400,278,730 20,400,278,730 20,400,278,730 2,456,261,491 2,456,261,491 2,456,261,491 2,456,261,491 (19,604,723) (4,575,198) 2,040,027,873 244,500,000 41,671,653,809 66,788,541,982 4,898,332,815 71,686,874,797 137,744,699,284

(10,939,251) - 2,040,027,873 244,500,000 33,791,872,712 58,922,001,555 4,657,417,550 63,579,419,105 132,840,724,417

(19,604,723) - 2,040,027,873 244,500,000 17,356,121,914 42,477,585,285 - 42,477,585,285 103,512,376,398

(10,939,251) - 2,040,027,873 244,500,000 12,451,700,312 37,581,829,155 - 37,581,829,155 96,071,258,061

หน่วย : บาท

หมายเหตุ

รายได้ รายได้จากการขายสินค้า

และการให้บริการ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ รายได้อื่น รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขายสินค้าและต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าตอบแทนผู้บริหาร ขาดทุนจากอนุพันธ์เพื่อ

ประกันความเสี่ยงสุทธิ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ รวมค่าใช้จ่าย ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุน

ในบริษัทร่วม กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงิน และค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้ ต้นทุนทางการเงิน กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้ ค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้ กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี ส่วนของกำไร (ขาดทุน) สำหรับปีที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นของบริษัท ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท)

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

5, 28 284,123,035,628 399,124,764,379 274,324,864,770 399,735,344,114 5, 23 5, 9 5 5, 24 5, 25

1,574,988,023 - 1,480,332,855 - 1,695,248,457 2,274,942,161 8,136,589,193 4,738,438,761 287,393,272,108 401,399,706,540 283,941,786,818 404,473,782,875 269,014,692,068 393,665,390,105 270,382,778,647 400,225,705,565 200,596,508 108,546,692 383,206,730 173,713,522 937,149,274 707,985,559 557,317,514 430,150,308 278,744,922 302,893,521 174,650,213 226,961,506

360,961,300 3,825,340,046 360,961,300 3,825,340,046 - 897,600,421 - 802,476,656 270,792,144,072 399,507,756,344 271,858,914,404 405,684,347,603

12

(26,887,524)

16,574,240,512 5, 26

2,114,723,892

14,459,516,620 27 29

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

2,004,749,154 12,454,767,466 12,061,537,927 393,229,539 12,454,767,466 5.91

(2,035,451)

-

-

1,889,914,745 12,082,872,414 (1,210,564,728) 2,116,400,519 1,872,759,954 1,702,603,891 (226,485,774) 10,210,112,460 (2,913,168,619) (785,838,235) 1,123,934,028 (1,376,855,838) 559,352,461 9,086,178,432 (1,536,312,781) 223,570,235 9,086,178,432 (1,536,312,781) 335,782,226 - - 559,352,461 9,086,178,432 (1,536,312,781) 0.11 4.45 (0.75)


ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำระแล้ว

- 2,456,261,491

- - - 20,400,278,730

30

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำระแล้ว

(19,604,723)

-

- - - -

30

20,400,278,730 2,456,261,491

-

-

-

(8,665,472)

-

(8,665,472)

-

-

-

-

-

-

-

607,647,299

559,352,461

59,234,089

(10,939,251)

(10,939,251)

ยังไม่ได้จัดสรร

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น ของบริษัท

ส่วนของ ผู้ถือหุ้น ส่วนน้อย

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น

-

-

-

(13,240,670)

(4,575,198)

(8,665,472)

(13,240,670)

(4,575,198)

(8,665,472)

393,229,539 12,441,526,796

393,229,539 12,454,767,466

-

-

-

244,500,000 41,671,653,809 66,788,541,982 4,898,332,815 71,686,874,797

- (4,181,756,830) (4,181,756,830) (152,314,274) (4,334,071,104)

- 12,061,537,927 12,048,297,257

- 12,061,537,927 12,061,537,927

-

-

-

244,500,000 33,791,872,712 58,922,001,555 4,657,417,550 63,579,419,105

อื่นๆ

กำไรสะสม

หน่วย : บาท

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

4,657,417,550 63,579,419,105

(188,080,814) (9,367,751,717)

395,016,315

335,782,226

59,234,089

-

-

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบการเงินรวม

(4,575,198) 2,040,027,873

-

(4,575,198)

-

(4,575,198)

(4,575,198)

-

212,630,984

223,570,235

-

(10,939,251)

(10,939,251)

244,500,000 33,791,872,712 58,922,001,555

- 2,040,027,873

223,570,235

223,570,235

-

-

-

- (9,179,670,903) (9,179,670,903)

-

-

-

-

-

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น

4,450,482,049 72,339,523,523

ส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนน้อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

-

-

-

(8,665,472)

-

-

(10,939,251)

ยังไม่ได้จัดสรร

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น ของบริษัท

244,500,000 42,747,973,380 67,889,041,474

อื่นๆ

กำไรสะสม

งบการเงินรวม

ทุนสำรอง ตามกฎหมาย

2,040,027,873

-

-

-

-

-

-

2,040,027,873

ทุนสำรอง ตามกฎหมาย

ผลต่างจาก การแปลง งบการเงิน

(10,939,251)

-

(10,939,251)

-

-

(10,939,251)

การเปลี่ยนแปลง ในมูลค่า ยุติธรรม ของเงินลงทุน

-

-

(10,939,251)

-

การเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรม ของเงินลงทุน

20,400,278,730 2,456,261,491

หมายเหตุ

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง การเปลี่ยนแปลงใน

มูลค่ายุติธรรมที่รับรู้ใน

ส่วนของผู้ถือหุ้น ผลต่างจากการแปลงค่า

งบการเงิน รวมค่าใช้จ่ายของรายการ

ที่รับรู้โดยตรงใน

ส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรสำหรับปี รวมส่วนของรายได้ และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ เงินปันผล ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

ส่วนเกิน มูลค่า หุ้นสามัญ

-

-

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

-

-

-

-

2,456,261,491

ส่วนเกิน มูลค่า หุ้นสามัญ

20,400,278,730

หมายเหตุ

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง การเปลี่ยนแปลงใน

มูลค่ายุติธรรมที่รับรู้ใน

ส่วนของผู้ถือหุ้น รวมค่าใช้จ่ายของรายการ

ที่รับรู้โดยตรงใน

ส่วนของผู้ถือหุ้น การเปลี่ยนแปลงในส่วนของ

ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเนื่องจาก การซื้อหุ้นบริษัทย่อย กำไรสำหรับปี รวมส่วนของรายได้ และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ เงินปันผล ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

หน่วย : บาท

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

142 143


- - 20,400,278,730

30

- -

- - - - - 20,400,278,730

30

2,456,261,491

-

-

-

20,400,278,730

2,456,261,491

ส่วนเกิน มูลค่า หุ้นสามัญ

2,456,261,491

-

-

หมายเหตุ

-

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำระแล้ว

-

-

-

-

(19,604,723)

-

(8,665,472)

-

(8,665,472)

(8,665,472)

(10,939,251)

การเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรม ของเงินลงทุน

12,451,700,312

(9,179,670,903)

(1,536,312,781)

(1,536,312,781)

-

-

23,167,683,996

ยังไม่ได้จัดสรร

37,581,829,155

(9,179,670,903)

(1,547,252,032)

(1,536,312,781)

(10,939,251)

(10,939,251)

48,308,752,090

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น ของบริษัท

2,040,027,873

-

-

-

-

-

2,040,027,873

ทุนสำรอง ตามกฎหมาย

244,500,000

-

-

-

-

-

244,500,000

อื่นๆ

กำไรสะสม

17,356,121,914

(4,181,756,830)

9,086,178,432

9,086,178,432

-

-

12,451,700,312

ยังไม่ได้จัดสรร

42,477,585,285

(4,181,756,830)

9,077,512,960

9,086,178,432

(8,665,472)

(8,665,472)

37,581,829,155

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น ของบริษัท

หน่วย : บาท

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

244,500,000

-

-

-

-

-

244,500,000

อื่นๆ

กำไรสะสม

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

2,040,027,873

-

-

-

-

-

2,040,027,873

ทุนสำรอง ตามกฎหมาย

งบการเงินเฉพาะกิจการ

(10,939,251)

-

(10,939,251)

-

(10,939,251)

(10,939,251)

การเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรม ของเงินลงทุน

งบการเงินเฉพาะกิจการ

หน่วย : บาท

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม

ที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น รวมค่าใช้จ่ายของรายการที่รับรู้โดยตรง

ในส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรสำหรับปี รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ เงินปันผล ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

-

-

2,456,261,491

ส่วนเกิน มูลค่า หุ้นสามัญ

20,400,278,730

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำระแล้ว

หมายเหตุ

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม

ที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น รวมค่าใช้จ่ายของรายการที่รับรู้โดยตรง

ในส่วนของผู้ถือหุ้น ขาดทุนสำหรับปี รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ เงินปันผล ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

144 145


146

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

งบกระแสเงินสด

147

งบกระแสเงินสด หน่วย : บาท

หมายเหตุ

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี รายการปรับปรุง ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงิน ขาดทุน (กำไร) จากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ

ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินปันผลรับ (กำไร) ขาดทุนจากการขายที่ดิน อาคาร

และอุปกรณ์ กำไรจากการขายสินทรัพย์รอการจำหน่าย การรับรู้รายได้ค่าธรรมเนียมการเช่าที่ดิน

และอื่นๆ รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กลับรายการค่าเผื่อขาดทุนจากการด้อยค่า การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า ภาษีสรรพสามิตค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น จ่ายภาษีเงินได้ รับคืนภาษีเงินได้ เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

12,454,767,466

559,352,461

9,086,178,432

(1,536,312,781)

6,552,677,115

6,148,072,074

4,065,839,933

4,006,798,092

26

2,114,723,892

2,116,400,519

1,872,759,954

1,702,603,891

(845,931,177)

1,473,030,765

(683,834,165)

1,312,668,549

12

26,887,524

2,035,451

-

-

11

-

-

(5,804,912,223)

(1,761,387,671)

(23,602,967)

1,435,304

(482,801)

768,410

(60,232,256)

(13,795,304)

-

-

(10,443,950)

(10,393,624)

(102,700,252)

(98,763,672)

27

2,004,749,154

(785,838,235)

1,123,934,028

(1,376,855,838)

-

(779,496,900)

-

(779,496,900)

22,213,594,801

8,710,802,511

9,556,782,906

1,470,022,080

(4,840,424,030)

9,082,265,410

(5,507,178,731)

9,094,194,512

(8,254,306,045)

12,684,729,041

(6,776,068,847)

11,798,876,893

(436,258,551)

(4,006,880,025)

(772,290,476)

(3,668,040,088)

(210,111,352)

(257,592,924)

(163,171,980)

(256,522,827)

2,482,531,862

(10,468,877,402)

2,676,653,575

(11,104,389,932)

595,526,125

(509,434,771)

595,526,125

(509,434,771)

222,828,654

(73,676,081)

325,980,846

(27,539,246)

73,279,129

104,275,343

82,126,689

161,951,985

(861,144,004)

(6,824,405,235)

(208,664,921)

(6,130,119,966)

4,350,000,616

-

4,350,000,000

-

15,335,517,205

8,441,205,867

4,159,695,186

828,998,640

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

หน่วย : บาท

หมายเหตุ

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน รับเงินปันผล (ซื้อ) ขายเงินลงทุนชั่วคราว ซื้อเงินลงทุนระยะยาวอื่น เงินสดจ่ายสำหรับเงินให้กู้ยืมระยะสั้น

แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน รับชำระคืนเงินให้กู้ยืมระยะสั้น

แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดจ่ายจากการลงทุนในบริษัทย่อย เงินสดจ่ายจากการลงทุนในบริษัทร่วม เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินสดจ่ายสำหรับเงินให้กู้ยืมระยะยาว

แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ของพนักงาน ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ขายสินทรัพย์รอการจำหน่าย ซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ธุรกิจ ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมลงทุน

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

-

-

5,804,912,223

1,761,387,671

(80,877,443)

8,027,021

-

-

(105,863,192)

(129,601,876)

(105,863,192)

(129,601,876)

5

-

-

(1,848,500,000)

(2,936,000,000)

5

-

-

1,000,000,000

1,295,000,000

4, 11

-

(639,058,009)

(219,000,000)

(1,250,999,970)

12

-

(86,250,000)

-

(86,250,000)

12

-

-

202,500,000

-

(10,065,996)

(3,169,121)

(10,065,996)

(3,169,121)

(1,353,382,258)

(6,291,491,071)

(673,108,162)

(2,864,282,947)

53,335,170

7,771,536

1,838,656

5,634,374

211,771,561

82,990,504

-

-

(21,179,875)

(650,445,995)

(18,313,783)

(234,845,136)

4

(1,154,082,128)

(1,939,740,763)

-

-

(5,380,545)

-

-

-

(2,465,724,706)

(9,640,967,774)

4,134,399,746

(4,443,127,005)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


148

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

งบกระแสเงินสด

หมายเหตุประกอบงบการเงิน หน่วย : บาท

หมายเหตุ

กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน จ่ายต้นทุนทางการเงิน จ่ายเงินปันผล จ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้น

จากสถาบันการเงิน เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะสั้น

จากสถาบันการเงิน เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะสั้น

จากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน จ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาว

จากสถาบันการเงิน เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาว

จากสถาบันการเงิน เงินสดรับจากการออกหุ้นกู้ เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เพิ่มขึ้นสุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

ณ วันต้นงวด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นงวด รายการที่ไม่ใช่เงินสด เจ้าหนี้จากการซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

(2,069,849,949)

(2,018,188,980)

(1,776,560,126)

(1,639,297,659)

(4,334,071,104)

(9,367,751,717)

(4,181,756,830)

(9,179,670,903)

(6,730,286,724)

-

(6,730,286,724)

-

-

7,601,578,963

-

7,601,578,963

5

-

-

3,165,670,800

-

(12,134,674,363)

(10,320,521,060)

(9,766,480,000)

(6,641,505,000)

1,001,000,000

16,107,845,000

1,000,000,000

13,032,845,000

12,000,000,000

3,000,000,000

12,000,000,000

3,000,000,000

(12,267,882,140)

5,002,962,206

(6,289,412,880)

6,173,950,401

601,910,359

3,803,200,299

2,004,682,052

2,559,822,036

8,016,204,295

4,213,003,996

3,670,608,211

1,110,786,175

6

8,618,114,654

8,016,204,295

5,675,290,263

3,670,608,211

70,479,758

100,702,685

59,048,205

83,400,332

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ คณะกรรมการได้อนุมัติให้ออกงบการเงินนี้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553

1 ข้อมูลทั่วไป

บริษทั ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) “บริษทั ” เป็นนิตบิ คุ คลทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ ในประเทศไทย และมีสำนักงานและโรงกลัน่ ทีจ่ ดทะเบียนดังนี้ สำนักงานใหญ่ : เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส บี ชั้น 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ประเทศไทย สำนักงานศรีราชาและโรงกลั่นน้ำมัน : เลขที่ 42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท กม. 124 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 ประเทศไทย บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2547 บริษัทเป็นบริษัทในกลุ่มของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (“ปตท.”) ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และ ปตท. เป็น

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท โดยมีอัตราส่วนการถือหุ้นร้อยละ 49.1 ของทุนที่ออกและชำระแล้วของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 (31 ธันวาคม 2551: ร้อยละ 49.1) บริษัทดำเนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันและการจำหน่ายน้ำมัน รายละเอียดของบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ ชื่อกิจการ

บริษัทย่อยทางตรง บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด

บริษทั ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชนั่ ส์ จำกัด

(ชื่อเดิม บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี จำกัด) หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

149

ลักษณะธุรกิจ

ประเทศที่

กิจการจัดตั้ง

ผลิตพาราไซลีน ผลิตและจำหน่าย น้ำมันหล่อลื่น

พื้นฐาน ให้บริการขนส่ง ผลิตภัณฑ์น้ำมัน ปิโตรเลียมและ ผลิตภัณฑ์

เคมีเหลว ทางเรือ ผลิตกระแสไฟฟ้า และให้คำปรึกษา ด้านพลังงาน

ไทย ไทย ไทย ไทย

ถือหุ้นร้อยละ 2552

2551

99.99 99.99 99.99 99.99

99.99 99.99 99.99 99.99


150

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน ชื่อกิจการ

บริษัท ไทยออยล์ โซลเว้นท์ จำกัด

บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด

บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด

บริษัทย่อยทางอ้อม บริษัท ท็อปไฟฟ้าอิสระ จำกัด บริษัท ท็อป โซลเว้นท์ จำกัด

บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด

TOP Solvent (Vietnam) LLC.

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ลักษณะธุรกิจ

ประเทศที่

กิจการจัดตั้ง

ลงทุนในธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ โซลเว้นท์และ

ปิโตรเคมี ลงทุนในธุรกิจ

เอทานอล และ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม พลังงานทางเลือก ผลิตกระแสไฟฟ้า และไอน้ำ ผลิตกระแสไฟฟ้า จัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ โซลเว้นท์และ

ปิโตรเคมี ผลิตกระแสไฟฟ้า ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์

โซลเว้นท์และ

ปิโตรเคมี จัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์

โซลเว้นท์และ

ปิโตรเคมี

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย เวียดนาม

ถือหุ้นร้อยละ 2552

2551

99.99 99.99 54.99

99.99 99.99 54.99

- 99.99 80.00* 80.52 100.00

99.99 99.99 80.00* 80.52 100.00

* บริษทั และบริษทั ย่อยแห่งหนึง่ (บริษทั ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด) ถือหุน้ ในบริษทั ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด ในอัตราร้อยละ 24 และร้อยละ 56 ตามลำดับ

2 เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน

151

งบการเงินนี้นำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ของการรายงานเพื่อใช้ในประเทศไทยและจัดทำเป็นภาษาไทย งบการเงินฉบับภาษาอังกฤษ ได้จัดทำขึ้นเพื่อความสะดวกของผู้อ่านงบการเงินที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาไทย งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รวมถึงการตีความและแนวปฏิบัติทางการ บัญชีที่ประกาศใช้โดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ (“สภาวิชาชีพบัญชี”) และจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปของประเทศไทย

บริษัทและบริษัทย่อยในประเทศไทยได้ใช้มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ปรับปรุงใหม่ตลอดจนแนว ปฏิบัติทางการบัญชีที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชีในระหว่างปี 2551 และ 2552 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่ และมี ผลบังคับสำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย และการดำเนินงาน

ที่ยกเลิก แม่บทการบัญชีเพื่อจัดทำและนำเสนองบการเงิน (ปรับปรุง 2550) (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2552) แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการบันทึกบัญชีสิทธิการเช่า (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2552) แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน การใช้มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุงตลอดจนแนวปฏิบัติทางการบัญชีเหล่านี้ไม่มีผล กระทบที่เป็นสาระสำคัญกับงบการเงินรวมหรืองบการเงินเฉพาะกิจการ ในระหว่างปี 2552 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินหลายฉบับ ซึ่ง ยังไม่มีผลบังคับในปัจจุบันและไม่ได้มีการนำมาใช้สำหรับการจัดทำงบการเงินนี้ มาตรฐานการบัญชีที่ออกและปรับปรุงใหม่ที่มี ความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อยในประเทศไทยได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 36 งบการเงินนี้แสดงหน่วยเงินตราเป็นเงินบาท และมีการปัดเศษในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อให้แสดงเป็นหลักพันบาท เว้น แต่ที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นโดยถือหลักเกณฑ์การบันทึกตามราคาทุนเดิม ยกเว้นที่กล่าวไว้ในนโยบายการ บัญชี ในการจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้บริหารต้องใช้การประมาณและ ข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายและการรายงานจำนวนเงินที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างจากที่ประมาณไว้ ประมาณการและข้อสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินจะได้รับการทบทวนอย่างต่อเนื่อง การปรับประมาณการทางบัญชี จะบันทึกในงวดบัญชีที่ประมาณการดังกล่าวได้รับการทบทวนและในงวดอนาคตที่ได้รับผลกระทบ ข้อมูลเกี่ยวกับการประมาณความไม่แน่นอนและข้อสมมติฐานที่สำคัญในการกำหนดนโยบายการบัญชีมีผลกระทบสำคัญต่อการ รับรู้จำนวนเงินในงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยหมายเหตุประกอบงบการเงินต่อไปนี้ หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ  4 การซื้อกิจการ หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ  7 เงินลงทุนอื่น หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 14 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 15 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 31 เครื่องมือทางการเงิน


152

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 3 นโยบายการบัญชีที่สำคัญ

(ก) เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมประกอบด้วย งบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย (รวมกันเรียกว่า “กลุ่มบริษัท”) และส่วนได้เสียของกลุ่ม บริษัทในบริษัทร่วม การรวมธุรกิจ การรวมธุรกิจบันทึกบัญชีโดยวิธีซื้อธุรกิจ ต้นทุนการซื้อธุรกิจบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ส่งมอบ ตราสารทุนที่ ออก และหนี้สินที่เกิดขึ้นจนถึงวันที่มีการแลกเปลี่ยน รวมถึงรายจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อธุรกิจ บริษัทย่อย บริษัทย่อยเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มบริษัท การควบคุมเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มบริษัทมีอำนาจควบคุมทั้งทางตรง หรือทางอ้อมในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของกิจการนั้น เพื่อได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมของ บริษัทย่อย งบการเงินของบริษัทย่อยได้รวมอยู่ในงบการเงินรวม นับแต่วันที่มีการควบคุมจนถึงวันที่การควบคุมสิ้นสุดลง นโยบายการบัญชีของบริษัทย่อยได้ถูกเปลี่ยนตามความจำเป็นเพื่อให้เป็นนโยบายเดียวกันกับของกลุ่มบริษัท บริษัทร่วม บริษัทร่วมเป็นกิจการที่กลุ่มบริษัทมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีอำนาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย ทางการเงินและการดำเนินงานแต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว การมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญถูกสันนิษฐานว่ามี อยู่เมื่อกลุ่มบริษัทมีอํานาจในการออกเสียงในกิจการอื่นตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 50 งบการเงินรวมของกลุ่มบริษัทได้รวม ส่วนแบ่งรายได้ ค่าใช้จ่าย และการเคลื่อนไหวของส่วนของเจ้าของของบริษัทร่วม นับจากวันที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ จนถึงวันที่การมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญสิ้นสุดลง เมื่อผลขาดทุนที่กลุ่มบริษัทได้รับปันส่วนจากบริษัทร่วมมีจำนวนเกินกว่า เงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนจะถูกทอนลงจนเป็นศูนย์และหยุดรับรู้ส่วนผลขาดทุน เว้นแต่กรณีที่กลุ่มบริษัทมีภาระ ผูกพันตามกฎหมายหรืออนุมานหรือยินยอมที่จะชำระภาระผูกพันของบริษัทร่วม การตัดรายการในงบการเงินรวม ยอดคงเหลือและรายการบัญชีระหว่างกิจการในกลุ่ม รวมถึงรายไดหรือค่าใช้จ่ายที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงที่เกิดจากรายการ ระหว่างกิจการในกลุ่มถูกตัดรายการในการจัดทำงบการเงินรวม กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงที่เกิดจากรายการกับบริษัทร่วมถูก ตัดรายการกับเงินลงทุนเท่าที่กลุ่มบริษัทมีส่วนได้เสียในกิจการที่ถูกลงทุนนั้น ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงถูกตัดรายการใน ลักษณะเดียวกับกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่เท่าที่เมื่อไม่มีหลักฐานการด้อยค่าเกิดขึ้น (ข) เงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นตัวเงินและเป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่รายงานแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกในงบกำไรขาดทุน

153

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

สินทรัพย์และหนี้สินที่ไม่เป็นตัวเงินซึ่งเกิดจากรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งบันทึกตามเกณฑ์ราคาทุนเดิม แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ กิจการในต่างประเทศ สินทรัพย์และหนี้สินของกิจการในต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่รายงาน ค่าความนิยมและรายการปรับปรุงมูลค่ายุติธรรมที่เกิดจากการซื้อกิจการในต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตรา แลกเปลี่ยน ณ วันที่รายงาน รายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการในต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยในระหว่างงวด ผลต่ า งจากอั ต ราแลกเปลี่ ย นที่ เ กิ ด จากการแปลงค่ า บั น ทึ ก ไว้ เ ป็ น รายการแยกต่ า งหากในส่ ว นของผู้ ถื อ หุ้ น จนกว่ า มี

การจำหน่ายเงินลงทุนนั้นออกไป ในกรณีของการลงทุนสุทธิในกิจการในต่างประเทศของกลุ่มบริษัท โดยในสาระสำคัญแล้วการลงทุนดังกล่าวมีลักษณะเป็น รายการที่เป็นตัวเงิน ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเกิดจากรายการที่เป็นตัวเงินและรายการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ให้บันทึกไว้เป็นรายการต่างหากในส่วนของผู้ถือหุ้นจนกว่ามีการจำหน่ายเงินลงทุนนั้น (ค) เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ได้ถูกนำมาใช้เพื่อจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลก เปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมจัดหาเงิน และ กิจกรรมลงทุน เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ไม่ได้มีไว้เพื่อค้า อย่างไรก็ตาม ตราสารอนุพันธ์ที่ไม่เข้าเงื่อนไข การกำหนดให้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงถือเป็นรายการเพื่อค้า การป้องกันความเสี่ยงจากรายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่จะมีในอนาคต สัญญาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากรายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่จะมีใน อนาคตจะถูกวัดค่า ณ วันที่รายงานด้วยอัตราแลกเปลี่ยนในวันนั้น ผลต่างจากการวัดค่าจะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราและอัตราดอกเบี้ย สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน ณ วันที่รายงานที่มีการป้องกันความเสี่ยงโดยสัญญาแลกเปลี่ยนแปลงค่าโดยใช้ อัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ในสัญญาแลกเปลี่ยนนั้นๆ ผลต่างจากการแปลงค่าบันทึกในงบกำไรขาดทุน ส่วนผลต่างที่

ได้รับหรือจ่ายตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยบันทึกปรับปรุงกับดอกเบี้ยจ่ายของภาระหนี้สินทางการเงินที่ ได้รับ

การป้องกันความเสี่ยงในงบกำไรขาดทุน สัญญาแลกเปลี่ยนส่วนต่างราคาน้ำมัน ผลต่างระหว่างราคาคงที่ที่กำหนดในสัญญาและราคาตลาดที่เกิดขึ้นจริงบันทึกในงบกำไรขาดทุนเมื่อครบกำหนดสัญญา


154

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

(ง) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย ยอดเงินสด ยอดเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์และกระแสรายวัน และเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารซึ่งจะต้องชำระคืนเมื่อทวงถามถือเป็นส่วนหนึ่งของ กิจกรรมจัดหาเงินในงบกระแสเงินสด (จ) ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นแสดงในราคาตามใบแจ้งหนี้หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประเมินโดยการวิเคราะห์ประวัติการชำระหนี้ และการคาดการณ์เกี่ยวกับการชำระหนี้ในอนาคตของ ลูกค้า ลูกหนี้จะถูกตัดจำหน่ายออกจากบัญชีเมื่อทราบว่าเป็นหนี้สูญ (ฉ) สินค้าคงเหลือ วัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิตและสินค้าสำเร็จรูป สินค้าคงเหลือแสดงในราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ต้นทุนของสินค้าคำนวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ต้นทุนสินค้าประกอบด้วย ต้นทุนสินค้าที่ซื้อ ต้นทุนในการดัดแปลง หรือต้นทุนอื่นเพื่อให้สินค้าอยู่ในสถานที่และสภาพปัจจุบัน ในกรณีของสินค้าสำเร็จรูปและสินค้าระหว่างผลิตที่ผลิตเอง ต้นทุนสินค้ารวมการปันส่วนของค่าโสหุ้ยการผลิตอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงระดับกำลังการผลิตตามปกติ มูลค่าสุทธิที่จะได้รับเป็นการประมาณราคาที่จะขายได้จากการดำเนินธุรกิจปกติหักด้วยค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการขาย น้ำมันปิโตรเลียมดิบ วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป น้ำมันปิโตรเลียมดิบ วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปคำนวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก วัสดุ อะไหล่และของใช้สิ้นเปลือง ต้นทุนของวัสดุ อะไหล่และของใช้สิ้นเปลืองคำนวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ช) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทบันทึกบัญชีโดยใช้วิธีราคาทุน ส่วนการบันทึก บัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมในงบการเงินรวมใช้วิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนอื่น ตราสารหนี้ซึ่งกลุ่มบริษัทตั้งใจและสามารถถือจนกว่าครบกำหนดจัดประเภทเป็นเงินลงทุนที่ถือจนครบกำหนด และแสดงใน ราคาทุนตัดจำหน่ายหักด้วยขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน ผลต่างระหว่างราคาทุนที่ซื้อมากับมูลค่าไถ่ถอนของ ตราสารหนี้จะถูกตัดจ่ายโดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุของตราสารหนี้ที่เหลือ

155

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ตราสารหนี้และตราสารทุนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด นอกเหนือจากที่ถือไว้จนครบกำหนดจัดประเภท เป็นหลักทรัพย์เผื่อขายและแสดงในมูลค่ายุติธรรม กำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ได้บันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น โดยตรง ยกเว้นขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุนและกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจะรับรู้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อมี การจำหน่ายเงินลงทุนจะรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรงเข้าในงบกำไรขาดทุน เงินลงทุนในตราสารทุนซึ่งไม่ใช่หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแสดงในราคาทุนหักขาดทุนจากการด้อยค่า การจำหน่ายเงินลงทุน เมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุน ผลต่างระหว่างจำนวนเงินสุทธิที่ได้รับและมูลค่าตามบัญชีและรวมถึงกำไรหรือขาดทุนจากการ ตีราคาหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นจะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน ในกรณีที่กลุ่มบริษัทจำหน่ายบางส่วนของเงินลงทุนที่ถืออยู่ การคำนวณต้นทุนสำหรับเงินลงทุนที่จำหน่ายไปและเงินลงทุน ที่ยังถืออยู่ใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ซ) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนคำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์อายุการใช้งานโดยประมาณของ สินทรัพย์แต่ละรายการ (ยกเว้นค่าเสื่อมราคาโรงผลิตกระแสไฟฟ้าของบริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งคำนวณโดยวิธี ผันแปรตามหน่วยผลิต) ประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี้

อาคาร ส่วนปรับปรุงสินทรัพย์ที่เช่า โรงกลั่นน้ำมันและอุปกรณ์ (เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2537 บริษัทคิดค่าเสื่อมราคาโรงกลั่นน้ำมันตามอายุการใช้งานโดยประมาณที่เหลืออยู่) โรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานและอุปกรณ์ โรงผลิตพาราไซลีน โรงผลิตกระแสไฟฟ้า ระบบสายส่งไฟฟ้า เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์โรงงาน เรือบรรทุกน้ำมันและผลิตภัณฑ์เคมีเหลว เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง เครื่องใช้สำนักงานและอื่นๆ ยานพาหนะ กลุ่มบริษัทไม่คิดค่าเสื่อมราคาสำหรับที่ดินและสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

10-25 ปี 5-20 ปี 20 ปี 16-20 ปี 10-25 ปี 25 ปี 20 ปี 3-20 ปี 10-25 ปี 5-10 ปี 5 ปี


156

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

(ฌ) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ค่าความนิยม ค่าความนิยมจากการรวมธุรกิจได้แก่ ต้นทุนการได้มาของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ส่วนที่เกินกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ สุทธินั้น ค่าความนิยมวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหักขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าความนิยมได้ถูกทดสอบการด้อยค่าตามที่อธิบายใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 (ญ) ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลลูกค้าแสดงในราคาทุนหักขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าสิทธิและคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ ค่าสิทธิและคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ที่กลุ่มบริษัทซื้อมาและมีอายุการใช้งานจำกัดแสดงในราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสม และขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าตัดจำหน่าย ค่าตัดจำหน่ายบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนคำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจนับจากวันที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแสดงได้ดังนี้ ค่าสิทธิ 10-15 ปี คอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ 5-10 ปี ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากค่าใช้จ่ายนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไป ตามอายุของสัญญาที่เกี่ยวข้อง (ญ) การด้อยค่า ยอดสินทรัพย์ตามบัญชีของกลุ่มบริษัทได้รับการทบทวน ณ ทุกวันที่รายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ในกรณีที่มี ข้อบ่งชี้จะทำการประมาณมูลค่าสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับคืน มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของค่าความนิยมจะถูกประมาณ

ณ ทุกวันที่รายงานหรือเมื่อมีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่ารับรู้เมื่อมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดสูง กว่ามูลค่าที่จะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าบันทึกในงบกำไรขาดทุน เว้นแต่เมื่อมีการกลับรายการ การประเมินมูลค่า ของสินทรัพย์เพิ่มของสินทรัพย์ชิ้นเดียวกันที่เคยรับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้นและมีการด้อยค่าในเวลาต่อมา ในกรณีนี้ให้รับรู้ใน ส่วนของผู้ถือหุ้น

157

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

เมื่อมีการลดลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขาย ซึ่งได้บันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น และมีความชัดเจนว่า สินทรัพย์ดังกล่าวมีการด้อยค่า ยอดขาดทุนซึ่งเคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นจะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยไม่ต้องปรับ กับยอดสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าว ยอดขาดทุนที่บันทึกในงบกำไรขาดทุนเป็นผลต่างระหว่างราคาทุนที่ซื้อกับมูลค่า ยุติธรรมในปัจจุบันของสินทรัพย์หักขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินนั้นๆ ซึ่งเคยรับรู้แล้วในงบกำไรขาดทุน การคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของหลักทรัพย์ของกลุ่มบริษัทที่ถือไว้จนกว่าจะครบกำหนดและลูกหนี้ที่บันทึกโดยวิธีราคาทุนตัด จำหน่ายคำนวณโดยการหามูลค่าปัจจุบนั ของประมาณการกระแสเงินสดทีจ่ ะได้รบั ในอนาคต คิดลดด้วยอัตราดอกเบีย้ ทีแ่ ท้จริง สำหรับลูกหนี้ระยะสั้นไม่มีการคิดลด มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ทางการเงินสำหรับหลักทรัพย์เผื่อขายคำนวณโดยอ้างอิงถึงมูลค่ายุติธรรม มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินหมายถึง มูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์หรือมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์หักต้นทุนในการขายแล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ ประมาณ การกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตจะคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราคิดลดก่อนคำนึงภาษีเงินได้เพื่อให้สะท้อนมูลค่า ที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบัน ซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อสินทรัพย์ สำหรับสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดกระแส เงินสดรับโดยอิสระจากสินทรัพย์อื่นจะพิจารณามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนรวมกับหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดที่ สินทรัพย์นั้นเกี่ยวข้องด้วย การกลับรายการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินจะถูกกลับรายการเมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเพิ่มขึ้นในภายหลังและ

การเพิ่มขึ้นนั้นสัมพันธ์โดยตรงกับขาดทุนจากการด้อยค่าที่เคยรับรู้ สำหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่บันทึกโดยวิธีราคาทุนตัด จำหน่ายและตราสารหนี้ที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย การกลับรายการจะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน ส่วนสินทรัพย์ ทางการเงินที่เป็นตราสารทุนที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย การกลับรายการจะถูกรับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น ขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยมจะไม่มีการปรับปรุงกลับรายการ ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ สินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ ที่เคยรับรู้ในงวดก่อนจะถูกประเมิน ณ ทุกวันที่ที่ออกรายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการหากมีการเปลี่ยนแปลงประมาณการที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการเพียงเท่าที่มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชีภายหลังหักค่า เสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่าย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่ามาก่อน (ฎ) ส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้ ส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้เป็นผลต่างระหว่างจำนวนเงินที่ได้รับจากการขายหุ้นกู้และยอดเงินเมื่อถึงกำหนดชำระบันทึกในงบกำไร ขาดทุนตลอดอายุการกู้ยืมโดยใช้วิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ฏ) หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยแสดงในราคาทุน


158

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 (ฐ) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นแสดงในราคาทุน (ฑ) ผลประโยชน์พนักงาน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน ข้อผูกพันตามกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อมีการจ่ายเงินสมทบ กองทุนเงินบำเหน็จ ข้อผูกพันตามกองทุนเงินบำเหน็จจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนโดยคำนวณตามสูตรผลประโยชน์ที่บริษัทกำหนด ไว้ ณ วันที่ในรายงาน ซึ่งเงินผลประโยชน์นี้จะให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นๆ ครบเกษียณอายุ ทุพพลภาพ ถึงแก่กรรม หรือลาออกจากงาน (ฒ) ประมาณการหนี้สิน ประมาณการหนี้สินจะรับรู้ก็ต่อเมื่อกลุ่มบริษัทมีภาระหนี้สินตามกฎหมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือที่ก่อตัวขึ้นอันเป็นผลมา จากเหตุการณ์ในอดีต และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจะต้องถูกจ่ายไปเพื่อชำระภาระหนี้สิน ดังกล่าว และสามารถประมาณจำนวนภาระหนี้สินได้อย่างน่าเชื่อถือ ถ้าผลกระทบดังกล่าวมีจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ ประมาณการหนี้สินจะพิจารณาจากการคิดลดกระแสเงินสดที่จะจ่ายในอนาคตโดยใช้อัตราคิดลดในตลาดปัจจุบันก่อนคำนึง ภาษีเงินได้ เพื่อให้สะท้อนจำนวนที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบันซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อหนี้สิน

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

(ณ) รายได้ รายได้ที่รับรู้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีขายอื่นๆ และแสดงสุทธิจากส่วนลดการค้า การขายสินค้าและให้บริการ รายได้รับรู้ในงบกำไรขาดทุนเมื่อได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของสินค้าที่มีนัยสำคัญไปให้กับผู้ซื้อ แล้ว และจะไม่รับรู้รายได้ถ้าผู้บริหารยังมีการควบคุมหรือบริหารสินค้าที่ขายไปแล้วนั้นหรือมีความไม่แน่นอนที่มีนัยสำคัญ ในการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ไม่อาจวัดมูลค่าของจำนวนรายได้และต้นทุนที่เกิด ขึ้นได้อย่างน่าเชื่อถือ หรือมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนที่จะต้องรับคืนสินค้า รายได้จากการให้บริการรับรู้เมื่อมีการให้ บริการ รายได้ค่าเช่า รายได้ค่าเช่าจากสินทรัพย์เพื่อการลงทุนรับรู้ในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า ดอกเบี้ยรับและเงินปันผลรับ ดอกเบี้ยรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง เงินปันผลรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนในวันที่กลุ่มบริษัทมีสิทธิได้รับ เงินปันผล ซึ่งตามปกติในกรณีเงินปันผลที่จะได้รับจากหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดจะพิจารณาจากวันที่มีการ ประกาศสิทธิการรับเงินปันผล

159

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

(ด) ค่าใช้จ่าย สัญญาเช่าดำเนินงาน รายจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นจะ

บันทึกในงบกำไรขาดทุนในรอบบัญชีที่มีรายการดังกล่าว ค่าซ่อมแซมและค่าบำรุงรักษา รายจ่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนในงวดที่เกิดรายจ่ายนั้น ส่วนรายจ่ายที่มี ลักษณะเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนได้บันทึกรวมไว้ในบัญชีอาคารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ต้นทุนทางการเงิน ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายในทำนองเดียวกันบันทึกในงบกำไรขาดทุนในงวดที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดขึ้น ยกเว้นในกรณีที่มี การบันทึกเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ อันเป็นผลมาจากการใช้เวลายาวนานในการจัดหา ก่อสร้าง หรือการผลิต สินทรัพย์ดังกล่าวก่อนที่จะนำมาใช้เองหรือเพื่อขาย (ต) ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้จากกำไรหรือขาดทุนสำหรับปีประกอบด้วย ภาษีเงินได้ปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาษีเงินได้ปัจจุบัน ภาษีเงินได้ปัจจุบันได้แก่ ภาษีที่คาดว่าจะจ่ายชำระโดยคำนวณจากกำไรประจำปีที่ต้องเสียภาษี โดยใช้อัตราภาษีที่ประกาศ ใช้หรือที่คาดว่ามีผลบังคับใช้ ณ วันที่รายงาน ตลอดจนการปรับปรุงทางภาษีที่เกี่ยวกับรายการในปีก่อนๆ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีบันทึกโดยคำนวณจากผลแตกต่างชั่วคราวที่เกิดขึ้นระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และ

หนี้สินและจำนวนที่ใช้เพื่อความมุ่งหมายทางภาษี ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะไม่ถูกรับรู้เมื่อเกิดจากผลแตกต่างชั่วคราว

ต่อไปนี้ การรับรู้ค่าความนิยมในครั้งแรก การรับรู้สินทรัพย์หรือหนี้สินในครั้งแรกซึ่งเป็นรายการที่ไม่ใช่การรวมธุรกิจและ รายการนั้นไม่มีผลกระทบต่อกำไรทางบัญชีหรือกำไรทางภาษี และผลแตกต่างที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อยหาก เป็นไปได้ว่าจะไม่มีการกลับรายการในอนาคตอันใกล้ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีวัดมูลค่าโดยใช้อัตราภาษีที่คาดว่าจะใช้กับ ผลแตกต่างชั่วคราวเมื่อมีการกลับรายการโดยอิงกับกฎหมายที่ประกาศใช้หรือที่คาดว่ามีผลบังคับใช้ ณ วันที่รายงาน สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะบันทึกต่อเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่ากำไรเพื่อเสียภาษีในอนาคตจะมี จำนวนเพียงพอกับการใช้ประโยชน์จากผลแตกต่างชั่วคราวดังกล่าว สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะถูกทบทวน ณ ทุกวันที่รายงานและจะถูกปรับลดลงเท่าที่ประโยชน์ทางภาษีจะมีโอกาสถูกใช้จริง


160

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

4 การซื้อกิจการ

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 บริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่ง (TOP Solvent (Vietnam) LLC.) ได้ซื้อสินทรัพย์เพื่อดำเนินธุรกิจ การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซลเว้นท์และปิโตรเคมีในประเทศเวียดนามจากบริษัท Shell Vietnam Limited (“กิจการที่ถูกซื้อ”) โดย สินทรัพย์ของกิจการที่ถูกซื้อ ณ วันที่ซื้อธุรกิจประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้ หน่วย : พันบาท

ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ ค่าความนิยมจากการซื้อธุรกิจ สิ่งตอบแทนในการซื้อที่ได้จ่ายไป

มูลค่าที่รับรู้

108,972 137,567 175,716 422,255 731,827 1,154,082

ปรับปรุงมูลค่ายุติธรรม

- - 57,538 57,538

ยอดตามบัญชี

108,972 137,567 118,178 364,717

เมือ่ วันที่ 1 ธันวาคม 2551 บริษทั ย่อยทางอ้อมแห่งหนึง่ (บริษทั ท็อป โซลเว้นท์ จำกัด) ได้ซอื้ หุน้ ของบริษทั ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด (“กิจการที่ถูกซื้อ”) ในอัตราร้อยละ 80.52 โดยสินทรัพย์สุทธิของกิจการที่ถูกซื้อ ณ วันที่ซื้อธุรกิจประกอบด้วยรายการ

ต่อไปนี้ หน่วย : พันบาท

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์อื่น เจ้าหนี้การค้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น สินทรัพย์และหนี้สินสุทธิที่ระบุได้ หัก ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย สิ่งตอบแทนในการซื้อที่ได้จ่ายไป เงินสดที่ได้รับ กระแสเงินสดจ่ายสุทธิ

161

มูลค่าที่รับรู้

92,140 8,520 55,798 2,975 698,187 11,522 (61,125) (17,585) 790,432 (59,234) 731,198 (92,140) 639,058

ปรับปรุงมูลค่ายุติธรรม

- - - - 486,355 - - - 486,355

ยอดตามบัญชี

92,140 8,520 55,798 2,975 211,832 11,522 (61,125) (17,585) 304,077

ผลการดำเนินงานสำหรับงวดเดือนธันวาคม 2551 ของบริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด มีกำไรสุทธิเป็นจำนวนเงิน 1.5 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 บริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่ง (บริษัท ท็อป โซลเว้นท์ จำกัด) ได้ซื้อสินทรัพย์เพื่อดำเนินธุรกิจการ

จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โซลเว้นท์ในประเทศไทยจากบริษัท Shell Company of Thailand Limited (“กิจการที่ถูกซื้อ”) โดยสินทรัพย์ ของกิจการที่ถูกซื้อ ณ วันที่ซื้อธุรกิจประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้ หน่วย : พันบาท

ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์และหนี้สินสุทธิที่ระบุได้ สิ่งตอบแทนในการซื้อที่ได้จ่ายไป

มูลค่าที่รับรู้

ปรับปรุงมูลค่ายุติธรรม

1,362,494 371,888 205,359 1,939,741 1,939,741

ยอดตามบัญชี

- (9,852) 205,359 195,507

1,362,494 381,740 - 1,744,234

5 รายการที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันได้แก่ บุคคลหรือกิจการต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทและบริษัทโดยการเป็นผู้ถือหุ้น หรือมีผู้ถือหุ้นร่วมกัน หรือมีกรรมการร่วมกัน รายการที่มีขึ้นกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันได้กำหนดขึ้นโดยใช้ราคาตลาด หรือในราคาที่ตกลงกันตามสัญญาหากไม่มีราคาตลาดรองรับ ความสัมพันธ์ที่กลุ่มบริษัทมีกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งมีการควบคุม หรือควบคุมร่วมกันในกลุ่มบริษัท หรือเป็น กิจการที่กลุ่มบริษัทควบคุม หรือควบคุมร่วมกัน หรือเป็นบุคคลหรือกิจการที่มีรายการบัญชีกับกลุ่มบริษัทมีดังนี้ ชื่อกิจการ

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท ไทยออยล์ โซลเว้นท์ จำกัด บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด บริษัท ท็อป โซลเว้นท์ จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด TOP Solvent (Vietnam) LLC.

ประเทศที่ กิจการจัดตั้ง

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย เวียดนาม

ลักษณะความสัมพันธ์

เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นบริษัทย่อยและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อยและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อยและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อยและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อยและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อยและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อยและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อยทางอ้อมและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อยทางอ้อมและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อยทางอ้อมและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อยทางอ้อมและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน


162

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หน่วย : พันบาท

ประเทศที่ กิจการจัดตั้ง

ชื่อกิจการ

บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด บริษัท ปตท. ค้าสากล จำกัด บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์ และการกลั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด

ไทย ไทย สิงคโปร์ ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

ลักษณะความสัมพันธ์

เป็นบริษัทร่วมและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทร่วมทางอ้อมและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อยของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นบริษัทร่วมของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นบริษัทร่วมของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นบริษัทร่วมของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นบริษัทร่วมของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นบริษัทร่วมของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นบริษัทร่วมของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกันและ/หรือมีกรรมการร่วมกัน

นโยบายการกำหนดราคาสำหรับรายการแต่ละประเภทอธิบายได้ดังต่อไปนี้ รายการ

รายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการ

รายได้ค่าเช่า ซื้อสินค้าและสินทรัพย์ ดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย รายได้เงินปันผล รายได้อื่นและค่าใช้จ่ายอื่น ค่าตอบแทนกรรมการ

นโยบายการกำหนดราคา

ราคาตลาดหรือในราคาที่ตกลงกันตามสัญญาหากไม่มีราคาตลาดรองรับ ตามอัตราที่ตกลงกันตามสัญญา ตามสิทธิการได้รับเงินปันผล ราคาตามสัญญา ตามจำนวนที่ได้รับการอนุมัติโดยผู้ถือหุ้นของกลุ่มบริษัท

รายการที่สำคัญกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 สรุปได้ดังนี้ หน่วย : พันบาท

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการ ซื้อน้ำมันปิโตรเลียมดิบและวัตถุดิบ ซื้อขายน้ำมันปิโตรเลียมดิบและวัตถุดิบ

เพื่อสำรองน้ำมันตามกฏหมาย* รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายอื่น

163

งบการเงินรวม 2552

147,393,743 134,987,205 1,582,800 44,845 477,999

2551

216,481,269 235,856,117 11,414,360 28,835 1,858,837

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

142,190,255 123,950,427 1,582,800 44,834 468,426

211,416,432 225,390,860 11,414,360 28,835 1,857,690

บริษัทย่อย รายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการ ซื้อน้ำมันปิโตรเลียมดิบและวัตถุดิบ ซื้อขายน้ำมันปิโตรเลียมดิบและวัตถุดิบ

เพื่อสำรองน้ำมันตามกฏหมาย* ซื้อสินทรัพย์ ดอกเบี้ยรับ รายได้เงินปันผล รายได้ค่าเช่าที่ดิน รายได้อื่น ดอกเบี้ยจ่าย ค่าใช้จ่ายอื่น

บริษัทร่วม ค่าใช้จ่ายอื่น ซื้อสินทรัพย์

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน รายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการ ซื้อน้ำมันปิโตรเลียมดิบและวัตถุดิบ รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายอื่น

ค่าตอบแทนกรรมการ

งบการเงินรวม 2552

- - - - - - - - - - 43,082 8,592 11,650,331 2,577,503 20,424 62,697 90,229

2551

- - - - - - - - - - 46,538 57,995 19,235,832 1,061,419 9,687 42,617 105,962

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

40,082,137 29,648,241 357,440 14,795 139,908 5,804,912 48,395 674,545 19,445 343,403 43,082 8,592 9,737,480 301,960 20,424 62,697 39,499

51,060,890 38,034,098 1,835,076 - 114,304 1,761,388 44,946 726,954 - 144,410 45,473 37,495 16,758,359 253,869 9,687 42,617 63,584

* รายการซื้อขายน้ำมันปิโตรเลียมดิบและวัตถุดิบเพื่อการรักษาระดับสำรองน้ำมันตามที่กฎหมายกำหนดนี้เป็นรายการที่เกิดขึ้นกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

หลายแห่ง และได้ถูกกลับรายการในงบการเงินสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 แล้ว


164

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน ลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

ยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ ลูกหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

บริษัทย่อย บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท ปตท. ค้าสากล จำกัด บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์

และการกลั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

165

งบการเงินรวม 2552

7,655,683 - - - 801 - 124,289 - 548,958 1,432 2,404 8,333,567 - 8,333,567

2551

5,247,751 - - - 812,125 160,131 59,875 158,712 183,821 1,505 - 6,623,920 (266) 6,623,654

หน่วย : พันบาท

งบการเงินรวม 2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

7,403,113 3,242,357 126,065 65,417 - - - - 548,632 - - 11,385,584 - 11,385,584

บริษัทย่อย

10,137 - - - - - - - - - - 15,375 25,512

หน่วย : พันบาท

5,120,859 1,312,460 30,119 58,525 811,423 160,131 48,452 158,712 182,774 - - 7,883,455 - 7,883,455

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท ไทยออยล์ โซลเว้นท์ จำกัด บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด บริษัท ท็อป โซลเว้นท์ จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด

บริษัทร่วม บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด รวม

2551

67,714 - - - - - - - - - - 15,593 83,307

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

9,124 22,780 23,726 3,046 5,788 17,339 162 23,233 404 2,559 79 15,375 123,615

66,830 14,281 7,925 3,134 13,401 449 24 - - 27,757 - 15,593 149,394

เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน หน่วย : พันบาท

บริษัทย่อย บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด บริษัท ไทยออยล์ โซลเว้นท์ จำกัด รวม

งบการเงินรวม 2552

- - -

2551

- - -

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

1,622,500 2,385,000 4,007,500

1,694,000 1,465,000 3,159,000

อัตราดอกเบี้ยในระหว่างปี 2552 และ 2551 มีอัตราเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระยะสั้นตามตลาดเงิน (MMR) แต่ไม่เกินอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ (MLR) ถัวเฉลี่ยของสถาบันการเงิน 5 แห่ง หักด้วยอัตราส่วนลด


166

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

รายการเคลื่อนไหวของเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

มีดังนี้ หน่วย : พันบาท

ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินรวม 2552

- - - -

2551

- - - -

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

3,159,000 1,848,500 (1,000,000) 4,007,500

เจ้าหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

บริษัทย่อย บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์

และการกลั่น จำกัด (มหาชน) รวม

167

1,518,000 2,936,000 (1,295,000) 3,159,000

หน่วย : พันบาท

งบการเงินรวม 2552

10,996,439 - - - - - 55,901 110,720 11,163,060

2551

10,450,064 - - - - 17,461 77,088 17,461 10,562,074

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

9,413,470 2,025,225 166,960 97,294 1,150 - - - 11,704,099

8,492,049 1,202,336 130,994 112,410 - - 36,237 - 9,974,026

เจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

บริษัทย่อย บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทร่วม บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด รวม

หน่วย : พันบาท

งบการเงินรวม 2552

362,181 - - - - - - 24,428 2,748 389,357

2551

7,415 - - - - - - 39,774 4,922 52,111

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

361,501 268 12,519 33,353 9,138 - 5,290 24,428 2,748 449,245

เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัทย่อย บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด รวม

6,898 388 6,450 6,160 - 3,166 887 19,274 4,922 48,145 หน่วย : พันบาท

งบการเงินรวม 2552

- - - -

2551

- - - -

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

1,063,392 2,064,811 37,468 3,165,671

- - - -

อัตราดอกเบี้ยในระหว่างปี 2552 มีอัตราเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระยะสั้นตามตลาดเงิน (MMR) แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ย

เงินกู้ยืมขั้นต่ำ (MLR) ถัวเฉลี่ยของสถาบันการเงิน 5 แห่ง หักด้วยอัตราส่วนลด


168

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

รายการเคลื่อนไหวของเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ หน่วย : พันบาท

ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม

169

งบการเงินรวม 2552

- - -

2551

- - -

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

- 3,165,671 3,165,671

- - -

สัญญาสำคัญที่ทำกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กลุ่มบริษัทมีสัญญาที่สำคัญกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันดังนี้ สัญญาซื้อขายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน บริษัทมีสัญญาซื้อขายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันกับบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง โดยที่ปริมาณการซื้อขายและราคาซื้อขายของวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์น้ำมันจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาเหล่านี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ในสัญญา จนกว่าคู่สัญญาฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งจะยกเลิกสัญญาด้วยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน สัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์น้ำมัน บริษัทมีสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์น้ำมันกับบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง โดยที่ปริมาณการซื้อขายและราคาซื้อขายผลิตภัณฑ์จะเป็นไปตาม ที่กำหนดในสัญญา สัญญาเหล่านี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ในสัญญา จนกว่าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข

ที่กำหนดไว้ สัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ บริษัทมีสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้กับบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง โดยที่ปริมาณการซื้อขายและราคาซื้อขายผลิตภัณฑ์ ผลพลอยได้จะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาฉบับนี้มีระยะเวลา 10 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ในสัญญา จนกว่าคู่สัญญาจะตกลง ยินยอมยกเลิกสัญญาร่วมกัน สัญญาใช้บริการเทคโนโลยีและการสื่อสาร บริษัทมีสัญญาใช้บริการเทคโนโลยีและการสื่อสารกับบริษัทร่วมแห่งหนึ่ง โดยค่าบริการจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาฉบับนี้มีระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ในสัญญา และสามารถต่ออายุสัญญาได้ครั้งละ 5 ปี สัญญาแลกเปลี่ยนส่วนต่างราคาน้ำมัน บริษัทมีสัญญาแลกเปลี่ยนส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบล่วงหน้ากับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง โดยบริษัทหรือ บริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าวมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายส่วนต่างระหว่างราคาคงที่กับราคาลอยตัวสำหรับงวดนั้นๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทมีปริมาณน้ำมันภายใต้สัญญาดังกล่าวเป็นจำนวน 1.81 ล้านบาร์เรล (31 ธันวาคม 2551: 0.45

ล้านบาร์เรล)

สัญญาจัดหาน้ำมันปิโตรเลียมดิบและซื้อน้ำมันสำเร็จรูป บริษัทมีสัญญาจัดหาน้ำมันปิโตรเลียมดิบและซื้อน้ำมันสำเร็จรูปกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง โดย (ก) บริษัทจะขาย ผลิตภัณฑ์น้ำมันปิโตรเลียมซึ่งผลิตจากโรงกลั่น และบริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าวจะเป็นผู้รับซื้อในปริมาณร้อยละ 49.99 ของ จำนวนการกลั่นที่ 270,000 บาร์เรลต่อวัน และ (ข) บริษัทที่เกี่ยวข้องกันจะจัดหาและบริษัทจะรับซื้อน้ำมันปิโตรเลียมดิบ และ/ หรือวัตถุดิบ เพื่อรองรับโรงกลั่นที่การผลิตร้อยละ 49.99 ของจำนวนการกลั่นที่ 270,000 บาร์เรลต่อวัน ระยะเวลาการจ่ายชำระ ค่าน้ำมันปิโตรเลียมดิบเป็นไปตามข้อตกลงที่ตกลงร่วมกัน สัญญาให้บริการรับวัตถุดิบผ่านทุ่นรับน้ำมันดิบ บริษัทมีสัญญากับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง เพื่อให้บริการรับวัตถุดิบจากทุ่นรับน้ำมันดิบ สัญญาฉบับนี้มีระยะเวลา 15 ปี โดยบริษัทจะคิดค่าบริการตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาบริการรับจ้างกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมดิบ บริษัทมีสัญญาบริการรับจ้างกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมดิบกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าวจะเป็น

ผู้จัดหาน้ำมันปิโตรเลียมดิบให้กับบริษัท และบริษัทจะให้บริการรับจ้างกลั่นน้ำมัน ในการนี้ บริษัทจะได้รับชำระหรือจ่ายชำระให้ กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ขึ้นอยู่กับค่าบริการรับจ้างกลั่นน้ำมันสำหรับค่าการกลั่นในส่วนของผลต่างของมูลค่าสินค้าที่ขนออกไป สูงกว่าหรือต่ำกว่ามูลค่าต้นทุนน้ำมันปิโตรเลียมดิบที่หามาในเดือนเดียวกัน รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ และต้นทุนในการจัดหาเงิน

(ถ้ามี) ที่เกิดขึ้นของทั้งสองฝ่าย สัญญาฉบับนี้ไม่ได้ระบุวันที่สิ้นสุดของสัญญา สัญญาแลกเปลี่ยน Long Residue และน้ำมันเตา บริษัทมีสัญญาแลกเปลี่ยน Long Residue และน้ำมันเตากับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง เพื่อนำ Long Residue ของบริษัท

ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น ดั ง กล่ า วเข้ า กระบวนการกลั่ น น้ ำ มั น ของบริ ษั ท โดยบริ ษั ท ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น ดั ง กล่ า วจะรั บ น้ ำ มั น เตาที่ ไ ด้ จาก กระบวนการกลั่นเพื่อขายในตลาด สัญญาฉบับนี้จะสิ้นสุดเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอยกเลิกสัญญาโดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วัน การจ่ายเงินจะหักกลบลบหนี้ตามราคาที่ระบุไว้ในสัญญา สัญญาการใช้บริการขนส่งน้ำมันทางท่อ บริษัทได้ทำสัญญาการใช้บริการขนส่งน้ำมันทางท่อกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง โดยค่าบริการจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน สัญญา สัญญานี้มีระยะเวลา 20 ปี และสามารถต่ออายุสัญญาได้ สัญญาจัดหาก๊าซธรรมชาติ บริษัทและบริษัทย่อยสองแห่งมีสัญญาจัดหาก๊าซธรรมชาติกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว

จะจัดหาก๊าซธรรมชาติให้กับบริษัทและบริษัทย่อยดังกล่าวตามปริมาณและราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาเหล่านี้มีผลบังคับใช้ เป็นเวลา 8 ถึง 25 ปี


170

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

สัญญาชดเชยต้นทุน บริษัทย่อยหลายแห่งมีสัญญาชดเชยต้นทุนกับบริษัท เพื่อชดเชยต้นทุนการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติและเพื่อมีสิทธิในการใช้ ท่อส่งก๊าซดังกล่าว ท่อส่งน้ำ และการใช้ประโยชน์บนที่ดินสำหรับการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าเพื่อเชื่อมโยงระบบของบริษัทย่อยกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาเหล่านั้น บริษัทย่อยดังกล่าวตกลงที่จะชดเชยต้นทุน

การลงทุนที่เกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา สัญญาเหล่านี้มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 25 ปี หรือสิ้นสุดพร้อมกับ สัญญาซื้อไฟฟ้าที่บริษัทย่อยทำไว้กับ กฟผ. แล้วแต่เวลาใดจะถึงก่อน สัญญาซื้อไฟฟ้าและพลังงานไอน้ำ บริษัทย่อยหลายแห่ง (“ผู้ขาย”) มีสัญญาซื้อไฟฟ้าและพลังงานไอน้ำกับบริษัทและบริษัทย่อยสองแห่งเป็นเวลา 20 และ 25 ปี โดยผู้ขายจะขายกระแสไฟฟ้าและพลังงานไอน้ำให้กับบริษัทและบริษัทย่อยดังกล่าวในปริมาณและราคาที่ตกลงกันตามที่ระบุไว้

ในสัญญา สัญญาบริการและจัดหา บริษัทย่อยหลายแห่งมีสัญญาบริการและจัดหากับบริษัท โดยบริษัทจะให้บริการเกี่ยวกับการดำเนินงาน การซ่อมแซมและบำรุง รักษา การบริหาร การควบคุมและการจัดการ การจัดซื้อจัดจ้าง การให้บริการทางด้านการเงิน การบัญชีและทรัพยากรบุคคลแก่ บริษัทย่อย ซึ่งบริษัทย่อยดังกล่าวตกลงที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมตามที่ระบุไว้ในสัญญา สัญญาเหล่านี้มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 3 ปี และ 24 ปี หรือสิ้นสุดพร้อมกับสัญญาเช่าที่ดินที่บริษัทย่อยดังกล่าวทำไว้กับบริษัทแล้วแต่เวลาใดจะถึงก่อน สัญญาเช่าที่ดิน บริษัทย่อยหลายแห่งมีสัญญาเช่าที่ดินกับบริษัท เพื่อเช่า/เช่าช่วงที่ดินบางแห่ง ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2565 โดยมีค่าเช่ารวมต่อปี

เป็นจำนวนเงิน 22 ล้านบาท และจะมีการปรับอัตราค่าเช่าทุก 5 ปี สัญญาซื้อขายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาซื้อขายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันหลายแห่ง โดยที่ปริมาณการซื้อขาย และราคาซื้อขายของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาเหล่านี้มีระยะเวลา 3 ถึง 15 ปี สัญญาให้บริการให้คำแนะนำทางด้านเทคนิค บริ ษั ท ย่ อ ยแห่ ง หนึ่ งมีสัญญาให้บริการให้คำแนะนำด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงาน และปิโตรเคมีกับบริษัทและ

บริษัทย่อยแห่งหนึ่ง โดยค่าบริการจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาเหล่านี้มีระยะเวลา 3 ปี สัญญาเช่าพื้นที่สำนักงาน บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่สำนักงานกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่งและบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่ง โดยค่าเช่าจะเป็น ไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาเหล่านี้ไม่ได้ระบุวันที่สิ้นสุดของสัญญา ดังนั้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาจะ ดำเนินต่อไปจนกระทั่งฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยกเลิกสัญญาด้วยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน

171

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 6 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

หน่วย : พันบาท

เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ และกระแสรายวัน เงินฝากธนาคารประเภทประจำ (ระยะสั้นกว่า 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่ลงทุน) ตั๋วสัญญาใช้เงินสถาบันการเงิน รวม

งบการเงินรวม 2552

1,856 7,329,210 1,236,942 50,107 8,618,115

2551

3,106 5,338,859 1,044,239 1,630,000 8,016,204

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

580 5,674,708 2 - 5,675,290

780 3,669,828 - - 3,670,608

ยอดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้ หน่วย : พันบาท

สกุลเงินบาท สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม 2552

7,883,352 642,934 91,829 8,618,115

2551

7,614,090 402,023 91 8,016,204

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

5,673,037 2,135 118 5,675,290

3,668,362 2,246 - 3,670,608

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทย่อยหลายแห่งได้จำนำเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากกระแสรายวัน และเงินฝากประจำ เป็นจำนวนเงินรวม 1,267 ล้านบาท (2551: 1,682 ล้านบาท) เพื่อเป็นการประกันวงเงินสินเชื่อตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินข้อ 17 โดยบริษัทย่อยดังกล่าวสามารถเบิกถอนเงินฝากเหล่านี้ได้เมื่อต้องการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน สัญญาเงินกู้ที่เกี่ยวข้อง


172

- - บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด

2552

2551

หน่วย : พันบาท

เงินปันผลรับ

- - 779,497 779,497 779,497 779,497 8,479,000 8,479,000 9.19 9.19

เงินลงทุนอื่นทั้งหมดของกลุ่มบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 เป็นสกุลเงินบาท เงินฝากธนาคารประเภทประจำ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้จำนำเงินฝากธนาคารประเภทประจำเป็นจำนวนเงินรวม 455 ล้านบาท (2551: 111 ล้านบาท) เพื่อเป็นการประกันวงเงินสินเชื่อตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 17 โดยบริษัทย่อยดังกล่าว สามารถเบิกถอนเงินฝากดังกล่าวได้เมื่อต้องการ ตราสารทุนที่เป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย ในปี 2550 บริษัทได้เข้าร่วมทำสัญญาการลงทุนในกองทุนเปิด เอ็มเอฟซี เอนเนอร์จี ฟันด์ กับบริษัทหลายแห่ง โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินลงทุนจากผู้ลงทุนสถาบันที่ต้องการลงทุนส่วนใหญ่ในธุรกิจหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ในการนี้ บริษัทผูกพันจองซื้อหน่วยลงทุนจำนวน 40 ล้านหน่วย ในราคาเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 10 บาท หรือคิดเป็นเงินลงทุน 400 ล้านบาท ในระหว่างปี 2552 บริษัทชำระเงินค่าหน่วยลงทุนเพิ่มเป็นจำนวน 10.59 ล้านหน่วย คิดเป็นจำนวนเงินรวม 105.9 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในกองทุนนี้มีจำนวนเงิน 232.8 ล้านบาท (2551: 135.6

ล้านบาท)

ขนส่งน้ำมันทางท่อ

- - - 135,640 779,497 915,137 915,137

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

- - - 232,838 779,497 1,012,335 1,012,335

ประเภทของธุรกิจ

ตราสารทุนที่เป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย ตราสารอื่นที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด รวม

128,256 410,845 539,101 135,640 779,497 915,137 1,454,238

เงินลงทุนระยะยาวอื่น

455,115 164,864 619,979 232,838 779,497 1,012,335 1,632,314

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

งบการเงินรวม/งบการเงินเฉพาะกิจการ สัดส่วนความเป็นเจ้าของ ทุนชำระแล้ว วิธีราคาทุน 2552 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ) 2552 2551 2552 2551

เงินฝากธนาคารประเภทประจำ ตั๋วสัญญาใช้เงินสถาบันการเงิน

งบการเงินรวม 2552

เงินลงทุนชั่วคราว

หน่วย : พันบาท

ตราสารอื่นที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด

7 เงินลงทุนอื่น

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

173

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน


174

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

8 ลูกหนี้การค้า

หน่วย : พันบาท หน่วย : พันบาท

งบการเงินรวม 2552

หมายเหตุ

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการอื่น หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวม (กลับรายการ) หนี้สูญและ

หนี้สงสัยจะสูญสำหรับปี

5

8,333,567 11,857,166 20,190,733 - 20,190,733 (1,290)

2551

6,623,920 8,614,403 15,238,323 (1,290) 15,237,033 -

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

11,385,584 6,197,714 17,583,298 - 17,583,298 -

7,883,455 4,193,406 12,076,861 - 12,076,861 -

การวิเคราะห์อายุลูกหนี้การค้ามีดังนี้ หน่วย : พันบาท

175

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ภายในกำหนดระยะเวลาการรับชำระหนี้ เกินกำหนดระยะเวลาการรับชำระหนี้ น้อยกว่า 3 เดือน มากกว่า 12 เดือน หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

หมายเหตุ

5

งบการเงินรวม 2552

8,331,874 1,693 - 8,333,567 - 8,333,567

2551

6,623,654 - 266 6,623,920 (266) 6,623,654

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

11,385,584 - - 11,385,584 - 11,385,584

7,883,455 - - 7,883,455 - 7,883,455

กิจการอื่น ภายในกำหนดระยะเวลาการรับชำระหนี้ เกินกำหนดระยะเวลาการรับชำระหนี้ น้อยกว่า 3 เดือน 3-6 เดือน 6-12 เดือน มากกว่า 12 เดือน หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ รวม

งบการเงินรวม 2552

11,762,874 6,653 5,437 23,914 58,288 11,857,166 - 11,857,166 20,190,733

2551

8,463,314 90,768 3,231 5,748 51,342 8,614,403 (1,024) 8,613,379 15,237,033

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

6,197,714 - - - - 6,197,714 - 6,197,714 17,583,298

4,107,749 85,657 - - - 4,193,406 - 4,193,406 12,076,861

โดยปกติระยะเวลาการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าของกลุ่มบริษัทมีระยะเวลาตั้งแต่ 15 วัน ถึง 90 วัน ลูกหนี้การค้ากิจการอื่นที่มียอดค้างชำระเกินกว่า 12 เดือน ของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้รวมลูกหนี้การค้ารัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง

เป็นจำนวนเงิน 58.1 ล้านบาท (2551: 45.8 ล้านบาท) ซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทย่อยดังกล่าวอยู่ในระหว่างการ เจรจากับลูกหนี้รัฐวิสาหกิจดังกล่าว และได้รับความเห็นทางกฏหมายว่าบริษัทย่อยจะได้รับชำระเงินจากลูกหนี้รัฐวิสาหกิจ

ดังกล่าวเต็มจำนวน ดังนั้นบริษัทย่อยดังกล่าวจึงไม่ได้บันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับมูลหนี้คงค้างดังกล่าว ยอดลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้ หน่วย : พันบาท

สกุลเงินบาท สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม 2552

15,433,934 4,587,994 168,805 20,190,733

2551

11,487,627 3,749,406 - 15,237,033

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

14,264,147 3,319,151 - 17,583,298

9,156,258 2,920,603 - 12,076,861


176

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

177

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

9 สินค้าคงเหลือ

10 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น หน่วย : พันบาท

น้ำมันปิโตรเลียมดิบและวัตถุดิบ วัสดุ อะไหล่และของใช้สิ้นเปลือง ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป สินค้าระหว่างทาง น้ำมันปิโตรเลียมดิบ วัสดุ อะไหล่และของใช้สิ้นเปลือง หัก ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลงให้เท่ากับ

มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ สุทธิ

งบการเงินรวม 2552

11,324,636 1,178,288 7,222,639 9,452,995 13,309 29,191,867 (255,277) 28,936,590

2551

9,677,533 1,098,346 5,448,945 5,428,595 59,165 21,712,584 (1,167,867) 20,544,717

หน่วย : พันบาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

9,403,067 826,472 5,099,471 9,452,995 13,309 24,795,314 (249,236) 24,546,078

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ลูกหนี้อื่น ลูกหนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่สหกรณ์ออมทรัพย์ของ

พนักงาน ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี อื่นๆ รวม

8,655,709 770,598 3,752,367 5,428,595 51,014 18,658,283 (888,274) 17,770,009

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 สินค้าคงเหลือข้างต้นของกลุ่มบริษัทและบริษัทได้รวมสินค้าคงเหลือที่ต้องสำรองไว้ตามกฎหมายเป็น จำนวนเงิน 7,888 ล้านบาท และ 7,350 ล้านบาท ตามลำดับ (2551: 5,851 ล้านบาท และ 5,507 ล้านบาท ตามลำดับ) ต้นทุนของสินค้าคงเหลือที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายและได้รวมไว้ในบัญชีต้นทุนขายสินค้าสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552

มีจำนวนเงิน 268,214 ล้านบาท (2551: 392,842 ล้านบาท) สำหรับงบการเงินรวม และ 270,383 ล้านบาท (2551: 400,226 ล้านบาท) สำหรับงบการเงินเฉพาะกิจการ ในปี 2552 กลุ่มบริษัทและบริษัทรับรู้การปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับเป็นจำนวนเงิน 255 ล้านบาท และ 249 ล้านบาท ตามลำดับ (2551: 1,168 ล้านบาท และ 888 ล้านบาท ตามลำดับ) และรับรู้การกลับรายการค่าเผื่อมูลค่า สินค้าลดลงให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับเป็นจำนวนเงิน 1,168 ล้านบาท และ 888 ล้านบาท ตามลำดับ (2551: 26 ล้านบาท และ 9 ล้านบาท ตามลำดับ)

งบการเงินรวม 2552

312,174 296,521 295,569 39,030 276,707 1,220,001

2551

405,765 757,042 280,343 37,636 579,288 2,060,074

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

197,984 168,158 295,569 39,030 198,966 899,707

248,875 562,467 280,343 37,636 154,900 1,284,221

11 เงินลงทุนในบริษัทย่อย หน่วย : พันบาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

ณ วันที่ 1 มกราคม ซื้อเงินลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม

8,094,387 219,000 8,313,387

6,843,387 1,251,000 8,094,387


99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 54.99 24.00

บริษัทย่อย บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท ไทยออยล์ โซลเว้นท์ จำกัด บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด รวม

(ร้อยละ)

99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 54.99 24.00

(ร้อยละ)

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ 2552 2551

2,572,414 1,757,891 630,000 40,000 1,250,000 220,000 2,810,000 1,771,000 11,051,305

2552

2,572,414 1,757,891 630,000 40,000 1,250,000 1,000 2,810,000 1,771,000 10,832,305

2551

2,161,193 1,978,726 630,000 40,000 1,250,000 220,000 1,545,500 487,968 8,313,387

2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ ทุนชำระแล้ว วิธีราคาทุน

เงินลงทุนในบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 และเงินปันผลรับสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันเดียวกัน มีดังนี้

2,161,193 1,978,726 630,000 40,000 1,250,000 1,000 1,545,500 487,968 8,094,387

2551

- 1,532,881 - - - - 154,550 73,957 1,761,388

2551

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

4,951,897 676,788 - - - - 154,550 21,677 5,804,912

2552

เงินปันผลรับ

หน่วย : พันบาท

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

178 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

12 เงินลงทุนในบริษัทร่วม

ณ วันที่ 1 มกราคม ส่วนแบ่งขาดทุนสุทธิจากเงินลงทุน

ตามวิธีส่วนได้เสีย ซื้อเงินลงทุน ขายเงินลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม

179

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หน่วย : พันบาท

งบการเงินรวม 2552

229,198 (26,887) - - 202,311

2551

144,984 (2,036) 86,250 - 229,198

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

232,500 - - (202,500) 30,000 146,250 - 86,250 - 232,500


180 -

-

-

232,500 30,000 825,000

-

202,500 - 675,000

-

30,000 30,000 150,000

2551

-

2552 2551 2552

เงินปันผลรับ

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2552 บริษัทได้ขายหุ้นสามัญในบริษัทร่วมแห่งหนึ่ง (บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด) ให้กับบริษัทย่อย แห่งหนึ่ง (บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด) ในอัตราร้อยละ 30 ของทุนที่เรียกชำระแล้ว เป็นจำนวนเงิน 202.5 ล้านบาท

ซึ่งมีผลทำให้บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด เป็นบริษัทร่วมทางอ้อมของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทร่วม ซึ่งกลุ่มบริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วม

ดังกล่าวตามวิธีส่วนได้เสียตามสัดส่วนที่ถือหุ้นโดยกลุ่มบริษัทมีดังนี้

150,000

บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด รวม

ปี 2551 บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด รวม

สินทรัพย์รวม สัดส่วน ความเป็นเจ้าของ

หนี้สินรวม

รายได้รวม

(ร้อยละ)

ปี 2552

- 30.00 -

150,000 20.00 20.00

2552

(ร้อยละ)

2551

(ร้อยละ)

2552

บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด รวม

ทุนชำระแล้ว สัดส่วนความเป็นเจ้าของ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

วิธีราคาทุน

2551

หน่วย : พันบาท

- 232,500

825,000

825,000

232,500

- 229,198 202,311

- 202,500 30.00 30.00

675,000

675,000

202,500

- 182,278 162,285

- 30,000 30,000 150,000 20.00 20.00

150,000

2551

2552

บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด รวม

2552

2551

(ร้อยละ) (ร้อยละ)

2552

2551

วิธีราคาทุน ทุนชำระแล้ว สัดส่วนความเป็นเจ้าของ

งบการเงินรวม

เงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 และเงินปันผลรับสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันเดียวกัน มีดังนี้

- 46,920 40,026

2551 2552 2551 2552

เงินปันผลรับ วิธีส่วนได้เสีย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หน่วย : พันบาท

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

181

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

20 30 20 30

881,824 2,767,497 3,649,321 828,035 2,046,573 2,874,608

681,693 2,226,546 2,908,239 593,435 1,438,979 2,032,414

853,498 340,716 1,194,214 937,913 14,298 952,211

หน่วย : พันบาท

กำไร (ขาดทุน)

(34,469) (66,643) (101,112) 77,449 (58,417) 19,032


ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ได้มาจากการซื้อธุรกิจ ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ผลต่างจากการแปลงค่าในการจัดทำ

งบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ได้มาจากการซื้อธุรกิจ เพิ่มขึ้น โอน - สุทธิ จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 ได้มาจากการซื้อธุรกิจ เพิ่มขึ้น โอน - สุทธิ จำหน่าย ผลต่างจากการแปลงค่าในการจัดทำงบ การเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

ราคาทุน

13 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

-

50,098 -

- 2,390 - -

- - (19) -

ที่ดิน

618,829 56,928 36,656 - 712,413 39,940 - - 752,353

- - - - - - - - -

74,118

- -

-

(4,168)

-

-

-

-

-

-

(4,045)

919,766

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

- (4,168)

-

875,483

-

-

620,097

-

-

(457)

-

-

-

-

610,279

1,985 45,960,854 4,449,430 6,256,154

-

-

236 3,693,365 1,115,100

1,749 42,267,946 3,334,330 5,645,875

-

235 3,599,738

-

1,514 38,672,376 2,458,847 5,025,778

เรือ บรรทุก น้ำมันและ ผลิตภัณฑ์ เคมีเหลว

299,440

181

-

462,766

-

-

969

(3,734)

107,490

4,751

175,716

-

(82,438)

466,723

1,163

-

192,017

441,934

32

(3,630)

248,297

107,155 1,671,115

-

-

9,632

97,523 1,426,416

- (250,667)

9,631

-

87,892 1,043,132

เครือ่ งจักร เครื่องมือ ระบบ และ สายส่ง อุปกรณ์ ไฟฟ้า โรงงาน

573,064

-

(15,688)

22,004

9,763

-

556,985

(33,712)

33,641

22,230

11,954

522,872

รวม 5,086 1,209,411

- (442,332)

-

-

175,716

-

969

- (109,838)

-

38,174 1,002,448 128,217,025

-

(3,914)

5,679 (1,524,052)

2,415 1,304,505 1,322,597

-

33,994 1,221,995 126,827,581

(8,406)

5,059 (21,523,453)

9,137 5,542,981 5,698,745

6,294

21,910 17,197,381 120,361,757

เครื่อง ตกแต่ง ติดตั้ง เครื่องใช้ สินทรัพย์ สำนักงาน ยาน ระหว่าง และอื่นๆ พาหนะ ก่อสร้าง

343,536

-

(57,397)

111,847

289,086

-

85,391

-

203,695

เรือ บรรทุก น้ำมันและ ผลิตภัณฑ์ เคมีเหลว

450,407

-

(13,843)

47,808

416,442

(30,793)

40,090

10,482

396,663

26,157

-

(2,143)

4,353

23,947

(852)

2,880

5,815

16,104

รวม 515,159

32

(77,470)

- 60,019,146

-

-

- 5,880,857

- 54,215,727

- (286,480)

- 5,462,218

-

- 48,524,830

เครื่อง ตกแต่ง ติดตั้ง เครื่องใช้ สินทรัพย์ สำนักงาน ยาน ระหว่าง และอื่นๆ พาหนะ ก่อสร้าง

หน่วย : พันบาท

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

192,637 3,470,418 2,464,447

-

-

-

-

-

192,637 3,185,226 2,078,999

- (396,046)

-

-

- 1,120,203

192,637 2,161,448 1,616,233

งบการเงินรวม

5,365 79,477,058 21,758,674 15,553,311

-

-

-

-

-

5,365 78,561,337 21,758,674 15,553,311

-

570 7,298,289 13,549,196

-

-

4,795 71,193,098 8,209,478 15,553,311

ส่วน ปรับปรุง โรงกลั่น โรงผลิต สินทรัพย์ น้ำมันและ โรงผลิต กระแส อาคาร ที่เช่า อุปกรณ์ พาราไซลีน ไฟฟ้า

2,625,403 1,056,026

-

-

2,625,422 1,053,636

-

- (125,508)

65,874

-

2,575,324 1,113,270

ที่ดิน

ส่วน ปรับปรุง โรงกลั่น โรงผลิต สินทรัพย์ น้ำมันและ โรงผลิต กระแส อาคาร ที่เช่า อุปกรณ์ พาราไซลีน ไฟฟ้า

เครือ่ งจักร เครื่องมือ ระบบ และ สายส่ง อุปกรณ์ ไฟฟ้า โรงงาน

งบการเงินรวม

หน่วย : พันบาท

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

182 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

183


303,673

2,228,227

-

-

-

-

-

-

- (125,508) - 722,334 - 2,060 - 724,394

50,098 - - 2,621,090 - - (19) 2,621,071

847,842

อาคาร

73,037,713

(4,045)

919,766

-

72,121,992

(4,168)

7,034,728

74,118

65,017,314

โรงกลั่นน้ำมัน และอุปกรณ์

-

-

1,142,041

(3,734)

34,164

-

1,111,611

(51)

173,700

-

937,962

-

-

397,176

397,176

รวม

12,017 1,002,448 67,800,703

10,047 1,221,995 72,214,678

-

-

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

298,667

(257)

9,970

4,666

284,288

(27,375)

20,755

25

290,883

16,454

(1,519)

2,664

-

15,309

(6,348)

3,124

8,020

10,513

541,124

-

(968,624)

644,109

865,639

-

(7,106,799)

2,703,912

5,268,526

78,381,464

(9,574)

-

648,775

77,742,263

(37,942)

-

2,836,173

74,944,032

รวม

หน่วย : พันบาท

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง เครื่องใช้

สำนักงาน

สินทรัพย์ และอื่นๆ ยานพาหนะ ระหว่างก่อสร้าง

งบการเงินเฉพาะกิจการ

122,657

140,543

-

-

เครื่อง ตกแต่ง ติดตั้ง เครื่องใช้ สินทรัพย์ สำนักงาน ยาน ระหว่าง และอื่นๆ พาหนะ ก่อสร้าง

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

85,482 1,799,303 2,120,911

เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ โรงงาน

3,380 33,516,204 17,309,244 9,297,157

-

-

เรือ บรรทุก น้ำมันและ ผลิตภัณฑ์ เคมีเหลว

95,114 1,758,810 1,789,913

-

-

เครือ่ งจักร เครื่องมือ ระบบ และ สายส่ง อุปกรณ์ ไฟฟ้า โรงงาน

งบการเงินรวม

3,616 36,293,391 18,424,344 9,907,436

-

-

2,570,992

ที่ดิน

341,223

2,228,246

-

397,176

-

ส่วน ปรับปรุง โรงกลั่น โรงผลิต สินทรัพย์ น้ำมันและ โรงผลิต กระแส อาคาร ที่เช่า อุปกรณ์ พาราไซลีน ไฟฟ้า

397,176

ที่ดิน

ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น โอน - สุทธิ จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น โอน - สุทธิ จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

ราคาทุน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

มูลค่าสุทธิทางบัญชี

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

ค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์

หน่วย : พันบาท

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

184 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

185


186 34,375,979 4,972 51,483

541,124

37,220,564 4,919 58,962

865,639

397,176 - -

-

397,176 - -

-

43,608,309 11,482 247,184

-

(4,610) (316) (208)

-

3,488,396 1,408 22,066

-

40,124,523 10,390 225,326

-

(31,563) - (27,344)

-

3,398,249 650 20,114

-

36,757,837 9,740 232,556

496,992 30,867,771 2,223,895

189,742

525,344 33,330,457 2,223,914

211,329

- - 397,176

-

- - 397,176

-

645,049 42,169,942 -

534,652

(3,629) (457) -

-

62,411 3,378,864 -

23,647

586,267 38,791,535 -

511,005

(51) (4,168) -

-

68,319 3,285,777 -

23,389

517,999 35,509,926 487,616

-

โรงกลั่นน้ำมัน และอุปกรณ์ อาคาร ที่ดิน

-

เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง เครื่องใช้

สำนักงาน

สินทรัพย์ และอื่นๆ ยานพาหนะ ระหว่างก่อสร้าง

ราคาทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวนแล้วแต่ยังคง ใช้งานถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ในงบการเงินรวมมีจำนวนเงิน 1,569 ล้านบาท (2551: 1,478 ล้านบาท) และใน

งบการเงินเฉพาะกิจการมีจำนวนเงิน 1,290 ล้านบาท (2551: 1,214 ล้านบาท) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้จำนองโรงผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ยืมระยะยาวตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินข้อ 17 ราคาตามบัญชีของโรงผลิตกระแสไฟฟ้าดังกล่าว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจำนวนเงิน 6,618 ล้านบาท (2551: 9,873 ล้านบาท)

ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ วันที่ 1 มกราคม 2552 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

14 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

หน่วย : พันบาท

เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ โรงงาน

งบการเงินเฉพาะกิจการ

รวม

หน่วย : พันบาท

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

187

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ได้มาจากการซื้อธุรกิจ เพิ่มขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าตัดจำหน่ายสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ได้มาจากการซื้อธุรกิจ ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

ค่าสิทธิ

งบการเงินรวม คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ซอฟท์แวร์ ลูกค้า

รวม

573,903 - 594,547 1,168,450 2,501 1,170,951

45,862 603 55,899 102,364 18,679 121,043

- 205,359 - 205,359 - 205,359

619,765 205,962 650,446 1,476,173 21,180 1,497,353

556,951 - 38,535 595,486 60,747 656,233

34,467 603 3,930 39,000 11,963 50,963

- - - - - -

591,418 603 42,465 634,486 72,710 707,196

572,964 514,718

63,364 70,080

205,359 205,359

841,687 790,157


188

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน หน่วย : พันบาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ คอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์

ค่าสิทธิ

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าตัดจำหน่ายสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

รวม

573,064 210,889 783,953 2,509 786,462

37,130 23,957 61,087 15,805 76,892

610,194 234,846 845,040 18,314 863,354

556,660 13,469 570,129 22,289 592,418

26,608 2,998 29,606 5,417 35,023

583,268 16,467 599,735 27,706 627,441

213,824 194,044

31,481 41,869

245,305 235,913

สินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีภายหลังจากการนำมาหักกลบกันตามความเหมาะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ได้แสดงรวมไว้ในงบดุล โดยมีรายละเอียดดังนี้ หน่วย : พันบาท

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สุทธิ

งบการเงินรวม 2552

324,958 (1,329,503) (1,004,545)

2551

1,550,132 (1,420,238) 129,894

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

319,338 (1,302,371) (983,033)

รายการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดขึ้นในระหว่างปี 2552 และ 2551 มีดังนี้ หน่วย : พันบาท

15 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

189

1,527,622 (1,386,721) 140,901

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี กองทุนเงินบำเหน็จ ขาดทุนสะสมทางภาษี ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ขาดทุนจากสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงิน

และอัตราดอกเบี้ย อื่นๆ รวม หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ค่าเสื่อมราคา สำรองการประกันความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศและสัญญาซื้อขายเงินตรา ต่างประเทศล่วงหน้า ระบบสายส่งไฟฟ้าโอนให้กฟผ.ตัดบัญชี รวม สุทธิ

งบการเงินรวม บันทึกเป็นรายได้ (รายจ่าย) ใน ณ วันที่ งบกำไรขาดทุน ส่วนของ 1 มกราคม 2552 (หมายเหตุ 27) ผู้ถือหุ้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

99,519 1,261,275 119,153

(3,463) (1,182,865) -

- - -

67,395 2,790 1,550,132

(38,613) (233) (1,225,174)

- - -

96,056 78,410 119,153 28,782 2,557 324,958

(1,367,646)

80,564

-

(1,287,082)

(19,075) (33,517) (1,420,238) 129,894

3,786 6,385 90,735 (1,134,439)

- - - -

(15,289) (27,132) (1,329,503) (1,004,545)


190

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

191

หมายเหตุประกอบงบการเงิน หน่วย : พันบาท

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี กองทุนเงินบำเหน็จ ขาดทุนสะสมทางภาษี ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ขาดทุนจากสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงิน

และอัตราดอกเบี้ย อื่นๆ รวม หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ค่าเสื่อมราคา สำรองการประกันความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศและสัญญาซื้อขายเงินตรา ต่างประเทศล่วงหน้า ระบบสายส่งไฟฟ้าโอนให้กฟผ.ตัดบัญชี รวม สุทธิ

งบการเงินรวม บันทึกเป็นรายได้ (รายจ่าย) ใน ณ วันที่ งบกำไรขาดทุน ส่วนของ 1 มกราคม 2551 (หมายเหตุ 27) ผู้ถือหุ้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

87,044 - 119,153

12,475 1,261,275 -

- - -

99,519 1,261,275 119,153

- 3,240 209,437

67,395 (450) 1,340,695

- - -

67,395 2,790 1,550,132

(1,422,218)

54,572

-

(1,367,646)

- - - -

(19,075) (33,517) (1,420,238) 129,894

(23,175) (39,901) (1,485,294) (1,275,857)

4,100 6,384 65,056 1,405,751

หน่วย : พันบาท

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี กองทุนเงินบำเหน็จ ขาดทุนสะสมทางภาษี ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ขาดทุนจากสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงิน

และอัตราดอกเบี้ย อื่นๆ รวม หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ค่าเสื่อมราคา สำรองการประกันความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศและสัญญาซื้อขายเงินตรา ต่างประเทศล่วงหน้า รวม สุทธิ

งบการเงินเฉพาะกิจการ บันทึกเป็นรายได้ (รายจ่าย) ใน ณ วันที่ งบกำไรขาดทุน ส่วนของ 1 มกราคม 2552 (หมายเหตุ 27) ผู้ถือหุ้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

99,519 1,238,765 119,153

(3,463) (1,165,975) -

- - -

96,056 72,790 119,153

67,395 2,790 1,527,622

(38,613) (233) (1,208,284)

- - -

28,782 2,557 319,338

(1,367,646)

80,564

-

(1,287,082)

(19,075) (1,386,721) 140,901

3,786 84,350 (1,123,934)

- - -

(15,289) (1,302,371) (983,033)


192

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน หน่วย : พันบาท

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี กองทุนเงินบำเหน็จ ขาดทุนสะสมทางภาษี ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ขาดทุนจากสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงิน

และอัตราดอกเบี้ย อื่นๆ รวม หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ค่าเสื่อมราคา สำรองการประกันความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศและสัญญาซื้อขายเงินตรา ต่างประเทศล่วงหน้า รวม สุทธิ

193

16 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

งบการเงินเฉพาะกิจการ

หน่วย : พันบาท

บันทึกเป็นรายได้ (รายจ่าย) ใน ณ วันที่ งบกำไรขาดทุน ส่วนของ 1 มกราคม 2551 (หมายเหตุ 27) ผู้ถือหุ้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

87,044 - 119,153

12,475 1,238,765 -

- - -

99,519 1,238,765 119,153

- 3,240 209,437

67,395 (450) 1,318,185

- - -

67,395 2,790 1,527,622

(1,422,218)

54,572

-

(1,367,646)

(23,175) (1,445,393) (1,235,956)

4,100 58,672 1,376,857

- - -

(19,075) (1,386,721) 140,901

เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่สหกรณ์ออมทรัพย์

ของพนักงาน ค่าความนิยม ระบบสายส่งไฟฟ้าที่โอนให้กฟผ. - สุทธิ ค่าสิทธิในการใช้ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ท่อส่งน้ำ และ การใช้ประโยชน์บนที่ดินรอตัดบัญชี - สุทธิ ค่าธรรมเนียมการเช่าที่ดินและค่าธรรมเนียม

การจดทะเบียนสัญญาเช่าที่ดินรอตัดบัญชี - สุทธิ ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีอื่นๆ - สุทธิ เงินมัดจำและอื่นๆ รวม

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

546,153 735,866 90,441

536,087 - 111,721

546,153 - -

536,087 - -

240,061

257,731

120,120

128,910

548,627 861,819 119,856 3,142,823

591,818 869,436 124,005 2,490,798

548,627 747,542 41,261 2,003,703

591,818 782,662 41,205 2,080,682


194

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

17 หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยแยกแสดงตามระยะเวลาครบกำหนดการจ่ายชำระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ได้ดังนี้ หมายเหตุ

ส่วนที่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ส่วนที่มีหลักประกัน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน หุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกัน ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ส่วนที่ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่มีหลักประกัน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน หุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกัน รวม

195

5

งบการเงินรวม 2552

1,300,000 - 557,389 1,587,573 - 3,444,962 2,026,281 8,355,673 29,607,517 39,989,471 43,434,433

หน่วย : พันบาท

หน่วย : พันบาท

2551

7,951,579 - 841,311 1,326,883 2,750,000 12,869,773 2,648,933 16,248,189 18,300,175 37,197,297 50,067,070

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

1,300,000 3,165,671 - 296,350 - 4,762,021 - 5,630,650 29,607,517 35,238,167 40,000,188

ครบกำหนดภายในหนึ่งปี ครบกำหนดหลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี ครบกำหนดหลังจากห้าปี รวม

7,951,579 - - - 2,750,000 10,701,579 - 11,943,480 18,300,175 30,243,655 40,945,234

งบการเงินรวม 2552

3,444,962 25,006,958 14,982,513 43,434,433

2551

12,869,773 21,035,173 16,162,124 50,067,070

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

4,762,021 20,255,654 14,982,513 40,000,188

10,701,579 14,772,216 15,471,439 40,945,234

หนีส้ นิ ทีม่ ภี าระดอกเบีย้ ส่วนทีม่ หี ลักประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีรายละเอียดของหลักประกัน ซึง่ เป็นสินทรัพย์ดงั นี้ หมายเหตุ

เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝาก

ออมทรัพย์และเงินฝากประจำ เงินลงทุนชัว่ คราวในเงินฝากประจำ

และตั๋ ว สั ญ ญาใช้ เ งิ น โรงผลิตกระแสไฟฟ้า

- ราคาตามบัญชี รวม

งบการเงินรวม 2552

หน่วย : พันบาท

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

6

1,266,851

1,682,060

-

-

7

455,115

110,845

-

-

13

6,617,606 8,339,572

9,873,217 11,666,122

- -

- -

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กลุ่มบริษัทและบริษัทมีวงเงินสินเชื่อระยะยาวซึ่งยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวนเงินรวม 6,902 ล้านบาท และ 6,703 ล้านบาท ตามลำดับ (2551: 1,925 ล้านบาท และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ) ยอดหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้ หน่วย : พันบาท

สกุลเงินบาท สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา รวม

งบการเงินรวม 2552

28,399,360 15,035,073 43,434,433

2551

22,792,550 27,274,520 50,067,070

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

28,277,526 11,722,662 40,000,188

18,378,579 22,566,655 40,945,234


196

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หน่วย : พันบาท

ยอดหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ประกอบด้วย หน่วย : พันบาท

เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน หุ้นกู้ รวม

งบการเงินรวม 2552

1,300,000 - 12,526,916 29,607,517 43,434,433

2551

7,951,579 - 21,065,316 21,050,175 50,067,070

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

1,300,000 3,165,671 5,927,000 29,607,517 40,000,188

7,951,579 - 11,943,480 21,050,175 40,945,234

เงินกู้ยืมระยะยาว

รายละเอียดของเงินกู้ยืมระยะยาวของกลุ่มบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ หน่วย : พันบาท

บริษัท 1) วงเงินกู้ยืมร่วมจำนวน 4,927 ล้านบาท

มีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (THBFIX) 6 เดือน บวกอัตราส่วนเพิ่ม โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2553 2) วงเงินกู้ยืมร่วมจำนวน 1,000 ล้านบาท

มีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (THBFIX) 6 เดือน บวกอัตราส่วนเพิ่ม

โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุก 6 เดือน

เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2553 3) วงเงินกู้ยืมแบบหมุนเวียนจำนวน 200

ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา มีอัตราดอกเบี้ย เท่ากับ LIBOR บวกอัตราส่วนเพิ่ม

และมีกำหนดชำระคืนเงินต้นทั้งจำนวน

เมื่อสิ้นปีที่ 5 นับจากวันที่ในสัญญา โดยใน ระหว่างอายุสัญญา บริษัทมีสิทธิกำหนดเวลา จำนวนเงินกู้ที่เบิก และการชำระคืนเงินกู้ ตลอดจนการเลือกงวดชำระดอกเบี้ย

ได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา

197

งบการเงินรวม 2552

4,927,000

1,000,000

-

2551

4,927,000

-

7,016,480

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

4,927,000

1,000,000

-

4,927,000

-

7,016,480

บริษัทย่อย 1) วงเงินกู้ยืมจำนวน 1,971 ล้านบาท

มีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือน

บวกอัตราส่วนเพิ่ม โดยมีกำหนดชำระคืน

เป็นงวดทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน

มีนาคม 2547 2) วงเงินกู้ยืมจำนวน 200 ล้านบาท

มีอัตราดอกเบี้ยระหว่างร้อยละ 4.00

ถึงร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยมีกำหนดชำระคืน

เป็นงวดทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน

ธันวาคม 2553 3) วงเงินกู้ยืมจำนวน 40 ล้านเหรียญ สหรัฐอเมริกา มีอัตราดอกเบี้ย LIBOR

บวกอัตราส่วนเพิ่ม โดยมีกำหนดชำระคืน

เป็นงวดทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม 2543 4) วงเงินกู้ยืมจำนวน 1,000 ล้านบาท

มีอัตราดอกเบี้ย MLR หักอัตราส่วนลด

โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุก 6 เดือน

เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 5) วงเงินกู้ยืมจำนวน 920 ล้านบาท

มีอัตราดอกเบี้ย MLR หักอัตราส่วนลด

โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุก 6 เดือน

เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 6) วงเงินกู้ยืมจำนวน 371.4 ล้านบาท

มีอัตราดอกเบี้ย MLR หักอัตราส่วนลด

โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุก 6 เดือน

เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 7) วงเงินกู้ยืมจำนวน 308.6 ล้านบาท

มีอัตราดอกเบี้ย MLR หักอัตราส่วนลด

โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นรายเดือน

เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2542 8) วงเงินกู้ยืมจำนวน 144 ล้านเหรียญ สหรัฐอเมริกา มีอัตราดอกเบี้ย LIBOR

บวกอัตราส่วนเพิ่ม โดยมีกำหนดชำระคืน

เป็นงวดทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

-

217,850

-

-

1,000

-

-

-

630,116

757,780

-

-

481,052

552,698

-

-

439,787

505,287

-

-

174,167

200,107

-

-

91,500

113,029

-

-

767,049

1,143,493

-

-


198

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน หน่วย : พันบาท

9) วงเงินกู้ยืมจำนวน 2,625 ล้านบาท

มีอัตราดอกเบี้ย MLR หักอัตราส่วนลด

โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุก 6 เดือน

เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 10) วงเงินกูย้ มื แบบหมุนเวียนจำนวน 1,125 ล้านบาท มีอตั ราดอกเบีย้ เท่ากับ MLR หักอัตราส่วนลด และ มีกำหนดชำระคืนเงินต้นทัง้ จำนวนเมือ่ สิน้ ปีที่ 7 นับจากวันที่ในสัญญา โดยในระหว่างอายุสญั ญา

บริษทั ย่อยมีสทิ ธิกำหนดเวลา จำนวนเงินกูท้ เี่ บิก และการชำระคืนเงินกู้ ตามเงือ่ นไขทีร่ ะบุไว้ในสัญญา 11) วงเงินกู้ยืมจำนวน 9,438 ล้านเยน

มีอัตราดอกเบี้ย LIBOR JPY 3 เดือน

บวกอัตราส่วนเพิ่ม โดยมีกำหนดชำระคืน

เป็นงวดทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน

มกราคม 2552 รวม

199

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

รายละเอียดหุ้นกู้ของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ หน่วย : พันบาท

2,100,000

2,625,000

-

-

-

200,000

-

-

1,915,245 12,526,916

2,806,592 21,065,316

- 5,927,000

- 11,943,480

หุ้นกู้ หักส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้ รวม

29,615,734 (8,217) 29,607,517

2551

21,060,126 (9,951) 21,050,175

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

29,615,734 (8,217) 29,607,517

21,060,126 (9,951) 21,050,175

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทและบริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ย (Cross Currency Swap) กับสาขาในประเทศของสถาบันการเงินต่างประเทศหลายแห่ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและอัตรา

ดอกเบีย้ ของภาระหนีส้ นิ ทางการเงินระยะยาวสกุลเงินบาทและสกุลเงินเยน เป็นจำนวนเงินรวม 3,000 ล้านบาทและ 9,438 ล้านเยน ตามลำดับ (31 ธันวาคม 2551: 3,000 ล้านบาทและ 9,438 ล้านเยน ตามลำดับ) โดยคู่สัญญามีข้อตกลงจะจ่ายชำระดอกเบี้ย และเงินต้นระหว่างกันตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา

18 เจ้าหนี้การค้า

หุ้นกู้

ในปี 2551 บริษัทได้ออกหุ้นกู้อายุ 4 ปี เสนอขายต่อนักลงทุนสถาบันและ/หรือนักลงทุนรายใหญ่เป็นจำนวนเงินรวม 3,000

ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 บาท และมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.74 ต่อปี โดยมีกำหนดจ่ายชำระดอกเบี้ยทุกวันที่

5 มิถุนายน และวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 5 มิถุนายน 2555 ในปี 2552 บริษทั ได้ออกหุน้ กูอ้ ายุ 5 ปี เสนอขายต่อนักลงทุนทัว่ ไปและนักลงทุนสถาบันการเงินเป็นจำนวนเงิน 12,000 ล้านบาท มูลค่าทีต่ ราไว้หนุ้ ละ 1,000 บาท โดยปีที่ 1 และปีที่ 2 มีอตั ราดอกเบีย้ ร้อยละ 4.20 ต่อปี ปีที่ 3 และปีที่ 4 มีอตั ราดอกเบีย้ ร้อยละ 5.30 ต่อปี และปีที่ 5 มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.0 ต่อปี กำหนดจ่ายชำระดอกเบี้ยทุกวันที่ 13 กุมภาพันธ์ วันที่ 13 พฤษภาคม วันที่ 13 สิงหาคม และวันที่ 13 พฤศจิกายน ซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

งบการเงินรวม 2552

หมายเหตุ

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการอื่น รวม

5

งบการเงินรวม 2552

11,163,060 6,945,289 18,108,349

หน่วย : พันบาท

2551

10,562,074 5,055,955 15,618,029

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

11,704,099 5,288,453 16,992,552

9,974,026 4,331,847 14,305,873

ยอดเจ้าหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้ หน่วย : พันบาท

สกุลเงินบาท สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม 2552

12,681,412 5,414,317 12,620 18,108,349

2551

11,359,126 4,258,903 - 15,618,029

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

11,825,671 5,166,881 - 16,992,552

10,075,235 4,230,638 - 14,305,873


200

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

19 หนี้สินหมุนเวียนอื่น หน่วย : พันบาท

งบการเงินรวม 2552

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค้างจ่าย กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงค้างจ่าย เจ้าหนี้อื่น ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย อื่นๆ รวม

215,778 179,554 864,982 40,410 237,639 1,538,363

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

2551

189,953 316,942 409,483 52,010 425,595 1,393,983

132,547 179,554 805,325 - 266,869 1,384,295

100,785 316,942 344,696 - 355,511 1,117,934

20 ทุนเรือนหุ้น

21 ส่วนเกินทุนและสำรอง ส่วนเกินมูลค่าหุ้น

ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 51 ในกรณีที่บริษัทเสนอขายหุ้นสูงกว่ามูลค่าหุ้นที่

จดทะเบียนไว้ บริษัทต้องนำค่าหุ้นส่วนเกินนี้ตั้งเป็นทุนสำรอง (“ส่วนเกินมูลค่าหุ้น”) ส่วนเกินมูลค่าหุ้นนี้จะนำไปจ่ายเป็น เงินปันผลไม่ได้

สำรองตามกฎหมาย

ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 116 บริษัทจะต้องจัดสรรทุนสำรอง (“สำรองตาม กฎหมาย”) อย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปีหลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าสำรองดังกล่าวมีจำนวนไม่ น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน เงินสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

22 ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน หน่วย : พันหุ้น/พันบาท

2552 จำนวนหุ้น

มูลค่าหุ้นต่อหุ้น

(บาท)

ทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 1 มกราคม - หุ้นสามัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ หุ้นที่ออกและชำระแล้ว ณ วันที่ 1 มกราคม - หุ้นสามัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ

201

2551 จำนวนหุ้น

จำนวนเงิน

จำนวนเงิน

10

2,040,028

20,400,279

2,040,028

20,400,279

10

2,040,028

20,400,279

2,040,028

20,400,279

10

2,040,028

20,400,279

2,040,028

20,400,279

10

2,040,028

20,400,279

2,040,028

20,400,279

กลุ่มบริษัทได้นำเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานธุรกิจเป็นรูปแบบหลักในการรายงาน ส่วนงานธุรกิจพิจารณาจาก ระบบการบริหารจัดการและโครงสร้างการรายงานทางการเงินภายในของกลุ่มบริษัทเป็นเกณฑ์ในการกำหนดส่วนงาน ผลได้ (เสีย) สินทรัพย์และหนี้สินตามส่วนงาน รวมรายการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนงานหรือที่สามารถปันส่วนให้กับส่วนงานได้ อย่างสมเหตุสมผล

ส่วนงานธุรกิจ

กลุ่มบริษัทเสนอส่วนงานธุรกิจที่สำคัญ ดังนี้ ส่วนงานที่ 1 ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ส่วนงานที่ 2 ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่น ส่วนงานที่ 3 ธุรกิจปิโตรเคมี ส่วนงานที่ 4 ธุรกิจโรงผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนงานที่ 5 ธุรกิจขนส่งน้ำมันและเคมีภัณฑ์ ส่วนงานที่ 6 ธุรกิจอื่นๆ


กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุน ทางการเงินและค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้ ต้นทุนทางการเงิน กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้ ค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้ กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี ส่วนของกำไร (ขาดทุน)

สำหรับปีที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นของบริษัท ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี

รายได้จากการขายสินค้า

และการให้บริการ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ รายได้อื่น รวมรายได้ ต้นทุนขายสินค้าและ

ต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าตอบแทนผู้บริหาร ขาดทุนจากอนุพันธ์เพื่อ

ประกันความเสี่ยงสุทธิ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ รวมค่าใช้จ่าย ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุน

ในบริษัทร่วม 3

802

-

-

- 1,006

- 9,086 (1,536)

-

1,006

9,086 (1,536)

1,006

9,086 (1,536)

432

1,124 (1,377)

1,438

10,210 (2,913)

-

1,702

1,873

1,438

12,083 (1,211)

-

1,048

-

1,048

1,048

447

1,495

-

1,495

2551

2552

2551

2552

-

โรงกลั่น น้ำมันหล่อลื่น

-

(10)

โรงกลั่นน้ำมัน

-

-

-

19

7,276

28

7,248

7,276

86

7,362

210

7,572

2552

2551

-

52

-

22

68

1,960

-

1,960

1,960

(20)

1,940

231

2,171

ปิโตรเคมี

-

-

-

33

203

119

811

250

561

811

350

1,161

110

1,271

2552

-

23

58

-

-

740

250

490

740

163

903

233

1,136

2551

โรงผลิต กระแสไฟฟ้า

-

-

-

30

59

-

-

8

73

-

26

-

26

26

12

38

74

112

2552

49

-

49

49

1

50

65

115

2551

-

885

-

-

5

57

-

823

1,000

16

-

984

2551

ขนส่งน้ำมัน และเคมีภัณฑ์

-

869

3,825

361

18

157

212

271,858 405,684 15,697 20,877 42,139 50,720 13,073 13,280

227

174

153

58

-

430

557

54

54

174

383

41

-

788

285

72

270,383 400,226 15,472 20,653 41,691 50,459 12,984 13,145

329

- 981

159

17

283,941 404,473 17,135 22,372 49,711 52,891 14,344 14,416

151

- 10

4,738

8,136

3 63

-

1,480

968

2552

ขนส่งน้ำมัน และเคมีภัณฑ์

274,325 399,735 16,981 22,213 49,365 52,606 14,231 14,353

2551

โรงผลิต กระแสไฟฟ้า 2552

2552

ปิโตรเคมี 2551

2551

2552

2552

2551

โรงกลั่น น้ำมันหล่อลื่น

โรงกลั่นน้ำมัน

ข้อมูลเกี่ยวกับผลได้ (เสีย) ตามส่วนงานธุรกิจ

2552

2551

1,695

1,575

2,275

-

-

-

10

(111)

(448)

-

-

7

(63)

(242)

-

361

278

937

201

898

3,825

303

708

109

(27)

(2)

(27)

(2)

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

-

1 (72,864) (91,939) 270,792 399,508

-

-

-

1

-

- (72,315) (91,641) 269,015 393,665

5

-

5

5

-

5

-

5

2552

อื่นๆ

2552

2551

2552

รวม

(152)

(114)

2,115

-

-

2,004

115

85

393 (1) (5,755) (1,701) 12,455

-

(1) (5,870) (1,786) 12,062

(1) (5,755) (1,701) 12,455

-

(1) (5,755) (1,701) 14,459

-

(1) (5,907) (1,815) 16,574

2551

ตัดรายการ ระหว่างกัน

559

335

224

559

(786)

(227)

2,117

1,890

2551

หน่วย : ล้านบาท

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

-

20

-

-

5

3

-

12

2551

- (78,744) (93,752) 287,393 401,400

- (6,972) (2,986)

-

-

-

-

25

2552

รวม

- (71,772) (90,766) 284,123 399,125

2551

ตัดรายการ ระหว่างกัน

-

25

2552

อื่นๆ

หน่วย : ล้านบาท

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

202 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

203


ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินลงทุนในบริษัทร่วม ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์ เจ้าหนี้การค้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินกูย้ มื ระยะยาวจากสถาบันการเงิน หุ้นกู้ หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น รวมหนี้สิน 5,746

4,486

8,859

1,929

33

923 10,373

61,035 58,489

31

27

-

33

1,959

-

31

1,900

-

-

-

-

-

29,608 18,300

2,649

2,027

4,305

2,724

-

-

5,631 11,943

1,021

770

2,944

3,855

323

510

6,903 11,981

2,043

1,662

1,753

-

-

-

1,664

89

2,430

1,610

6

410

3,761

371

569

700

1,388

1,414

16,993 14,306

89 7,874 29,704 25,877 15,160 15,932

69

- - 243 6 2 - - - 8

2,100 1 2,438 50 1,736 - - - 1,786

2,147

3,446 18,797 19,791 10,021 10,409

9,208

4,768

3,130

103,512 96,071

3,571

34,376 37,221

203

-

-

-

24

-

-

-

-

8,327

-

8,343

90

132

2,234

-

2,346

1,923

2,878

1,830

2,269

15,093 15,908

70

94

189

16

111

202

629

1,395

1,889

2,750

24,546 17,770

117

2,690

2,220

2,834

5,220

620

990

17,583 12,077

2552

อื่นๆ

2551

2552

2551

2552

2551

2552

2551

2552

2551

2552

ขนส่งน้ำมัน และเคมีภัณฑ์

โรงผลิต กระแสไฟฟ้า

ปิโตรเคมี

โรงกลั่น น้ำมันหล่อลื่น

โรงกลั่นน้ำมัน

ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงินตามส่วนงานธุรกิจ

2552

2551

2552

รวม 2551

(26)

(26) 28,937 20,545

(160)

(670)

229 (170)

5,271

5,798

(752) 67,801 72,215

202

(221)

-

-

(232)

1,770

1,791

- 29,608 18,300

- 10,382 18,897

6,190 14,655

14 (13,526) (6,556) 66,058 69,261

-

-

-

14 (7,514) (3,364)

- (5,791) (2,960) 18,108 15,618

25 (22,512) (15,376) 137,745 132,841

-

-

- (8,344) (8,098)

25 (7,357) (3,235) 15,343 18,817

-

- (5,955) (3,095) 20,191 15,237

2551

ตัดรายการ ระหว่างกัน

หน่วย : ล้านบาท

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

204 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

ดอกเบี้ยรับ รายได้จากการให้เช่าที่ดิน รายได้ค่าบริการ เงินปันผลรับ กลับรายการค่าเผื่อขาดทุนจากการด้อยค่า

ของเงินลงทุน รายได้เงินชดเชยดีเซลมาตรฐานยูโร 4 อื่นๆ รวม

ค่าที่ปรึกษาและกฎหมาย ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลากร ค่าเสื่อมราคา อื่นๆ รวม

205

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

23 รายได้อื่น หน่วย : พันบาท

งบการเงินรวม 2552

งบการเงินรวม 2552

46,661 337,160 71,027 482,301 937,149

2551

2551

39,139 270,587 52,572 345,688 707,986

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

120,400 9,610 65,262 - 196,709 9,610 38,522 - 199,919 58,005 739,803 5,804,912 204,271 54,555 765,476 1,761,388

- 1,127,773 372,203 1,695,248 779,497 987,070 263,534 2,274,942 - 1,127,773 206,177 8,136,589 779,497 987,070 186,182 4,738,439

ในระหว่ า งปี 2551 บริ ษั ท ได้ ก ลั บ รายการค่ า เผื่ อ การด้ อ ยค่ า ของเงิ น ลงทุ น ในกิ จ การอื่ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น แห่ ง หนึ่ ง (บริ ษั ท

ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด) เป็นจำนวนเงิน 779 ล้านบาท เนื่องจากผลประกอบการของกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าวมีกำไร สุทธิและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าที่จะได้รับคืนสูงกว่ามูลค่าเงินลงทุน

24 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร หน่วย : พันบาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

22,550 229,388 13,606 291,774 557,318 15,882 159,846 13,073 241,349 430,150


206

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

25 ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน

26 ต้นทุนทางการเงิน หน่วย : พันบาท

ผู้บริหาร เงินเดือนและค่าแรง เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสมทบกองทุนเงินบำเหน็จ อื่นๆ พนักงานอื่น เงินเดือนและค่าแรง เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสมทบกองทุนเงินบำเหน็จ อื่นๆ รวม

207

งบการเงินรวม 2552

164,782 14,669 12,575 86,719 278,745 1,409,026 98,938 71,902 226,133 1,805,999 2,084,744

2551

163,358 13,201 26,759 99,576 302,894 1,234,897 92,982 126,904 148,125 1,602,908 1,905,802

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

107,731 10,093 10,704 46,122 174,650 1,091,060 86,366 71,641 203,305 1,452,372 1,627,022

123,673 10,633 24,254 68,402 226,962 952,984 80,831 129,409 127,007 1,290,231 1,517,193

กลุ่มบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานของกลุ่มบริษัทบนพื้นฐานความสมัครใจของพนักงานในการเข้าเป็น สมาชิกของกองทุน โดยพนักงานจ่ายเงินสะสมในอัตราร้อยละ 3 ถึงอัตราร้อยละ 15 ของเงินเดือนทุกเดือน และกลุ่มบริษัทจ่าย สมทบเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 3 ถึงอัตราร้อยละ 15 ของเงินเดือนของพนักงาน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ได้จดทะเบียน เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามข้อกำหนดของกระทรวงการคลัง และจัดการกองทุนโดยผู้จัดการกองทุนที่ได้รับอนุญาตแห่งหนึ่ง บริษัทมีกองทุนเงินบำเหน็จเพื่อจ่ายเป็นผลประโยชน์แก่พนักงานทั้งหมดของบริษัทเมื่อออกจากงานหรือเกษียณอายุ บริษัทจะ จ่ายเงินบำเหน็จนี้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นๆ ครบเกษียณอายุ ทุพพลภาพ ถึงแก่กรรม หรือลาออกจากงาน ด้วยจำนวนซึ่ง คำนวณตามสูตรของผลประโยชน์ที่กำหนดไว้โดยมีสมมติฐานว่าพนักงานทุกคนลาออก ณ วันที่รายงาน

หน่วย : พันบาท

งบการเงินรวม 2552

ดอกเบี้ยจ่ายที่เกี่ยวกับ

สถาบันการเงินและอื่นๆ ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ส่วนที่บันทึกเป็นต้นทุนของ

สินทรัพย์ระหว่างก่อสร้าง สุทธิ

27 ค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้

หมายเหตุ

ภาษีเงินได้ปัจจุบัน สำหรับปีปัจจุบัน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี การเปลี่ยนแปลงของผลต่างชั่วคราว รวม

15

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

2,057,799 56,925 2,114,724

2,138,822 63,393 2,202,215

1,824,803 47,957 1,872,760

1,655,259 47,345 1,702,604

- 2,114,724

(85,814) 2,116,401

- 1,872,760

- 1,702,604

งบการเงินรวม 2552

870,310 1,134,439 2,004,749

หน่วย : พันบาท

2551

619,913 (1,405,751) (785,838)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

- 1,123,934 1,123,934

- (1,376,857) (1,376,857)

การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริง หน่วย : พันบาท

กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้ จำนวนภาษีเงินได้ตามอัตราภาษีเงินได้ การลดภาษีเงินได้ รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี การใช้ขาดทุนทางภาษีที่เดิมไม่ได้บันทึก รวม

งบการเงินรวม 2552

14,459,517 4,337,855 (510,506) (1,535,842) 17,333 (304,091) 2,004,749

2551

(226,486) (67,945) 145,658 (786,717) 16,258 (93,092) (785,838)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

10,210,112 3,063,034 (510,506) (1,440,669) 12,075 - 1,123,934

(2,913,169) (873,951) 145,658 (656,030) 7,466 - (1,376,857)


208

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากรฉบับที่ 387 พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 5 กันยายน 2544 ให้สิทธิทางภาษีแก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิทางภาษีเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับ แต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และยังได้รับสิทธิในการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลแห่ง พระราชกฤษฎีกาตามความในประมวลรัษฎากรฉบับที่ 475 แต่ไม่เกินรอบระยะเวลาบัญชี 2553 ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2553 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากรฉบับที่ 475 พ.ศ. 2551 ให้สิทธิแก่บริษัทที่มี

หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยลดอัตรา

ภาษีเงินได้จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชี ต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลัง 1 มกราคม 2551 บริษัทได้คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรทางภาษีสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ในอัตราร้อยละ 25 อย่างไรก็ตาม บริษัทย่อยยังคงคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรทางภาษีสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันเดียวกันใน

อัตราร้อยละ 30

28 สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติให้บริษัทและบริษัทย่อยในประเทศบางแห่งได้รับสิทธิประโยชน์หลายประการในฐานะผู้ได้ รับการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เกี่ยวกับการผลิตกระแสไฟฟ้า การผลิตผลิตภัณฑ์ จากปิโตรเคมี การให้บริการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีเหลวทางเรือ การให้บริการทุ่นรับน้ำมันดิบ

กลางทะเลและโครงการเขตอุตสาหกรรม ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ (ก) ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (ข) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมเป็นระยะเวลา 7 ถึง

8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น และ (ค) ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 สำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม

มีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่สิ้นสุดสิทธิประโยชน์ตามข้อ (ข) เนื่องจากเป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน บริษัทและบริษัทย่อยดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดตามที่ ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมการลงทุน

209

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

รายได้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสรุปได้ดังนี้

หน่วย : พันบาท

งบการเงินรวม 2552 กิจการที่ได้รับ กิจการที่ไม่ได้รับ การส่งเสริม การส่งเสริม

ขายต่างประเทศ ขายในประเทศ ตัดรายการระหว่างกัน รวมรายได้

13,350,419 26,354,100

39,993,563 278,391,716

รวม

53,343,982 304,745,816 (73,966,762) 284,123,036

2551 กิจการที่ได้รับ กิจการที่ไม่ได้รับ การส่งเสริม การส่งเสริม

10,104,051 46,446,819

54,805,744 378,614,580

รวม

64,909,795 425,061,399 (90,846,430) 399,124,764 หน่วย : พันบาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 กิจการที่ได้รับ กิจการที่ไม่ได้รับ การส่งเสริม การส่งเสริม

ขายต่างประเทศ ขายในประเทศ รวมรายได้

- -

รวม

2551 กิจการที่ได้รับ กิจการที่ไม่ได้รับ การส่งเสริม การส่งเสริม

37,360,861 37,360,861 236,964,004 236,964,004 274,324,865

- -

รวม

50,028,246 50,028,246 349,707,098 349,707,098 399,735,344

29 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน

กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐานสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 คำนวณจากกำไร (ขาดทุน) สำหรับ

ปีที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและจำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้วในระหว่างปี โดยแสดงการคำนวณดังนี้ หน่วย : พันบาท/พันหุ้น

กำไร (ขาดทุน) สำหรับปีที่เป็น

ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้ว กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท)

งบการเงินรวม 2552

12,061,538 2,040,028 5.91

2551

223,570 2,040,028 0.11

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

9,086,178 2,040,028 4.45

(1,536,313) 2,040,028 (0.75)


210

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 30 เงินปันผล

ในการประชุมคณะกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552 คณะกรรมการของบริษัทได้อนุมัติให้บริษัทจัดสรรเงินปันผล ระหว่างกาลสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ในอัตราหุ้นละ 1.05 บาท เป็นจำนวนเงินรวม 2,142 ล้านบาท เงินปันผลระหว่างกาลดังกล่าวได้จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้วในเดือนกันยายน 2552 ในการประชุมสามัญประจำปีของผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้อนุมัติให้บริษัทจัดสรร เงินปันผลสำหรับปี 2551 ในอัตราหุ้นละ 2.75 บาท เป็นจำนวนเงินรวม 5,610 ล้านบาท เงินปันผลสำหรับปีดังกล่าวได้รวม เงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 1.75 บาท ซึ่งบริษัทได้จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้วในเดือนกันยายน 2551 ดังนั้น เงินปันผลที่จะต้องจ่ายเพิ่มอีกจึงเท่ากับอัตราหุ้นละ 1 บาท คิดเป็นจำนวนเงินรวม 2,040 ล้านบาท เงินปันผลที่จะจ่ายอีกใน อัตราหุ้นละ 1 บาท ดังกล่าวได้จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้วในเดือนเมษายน 2552 ในการประชุมคณะกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2551 คณะกรรมการของบริษัทได้อนุมัติให้บริษัทจัดสรรเงินปันผล ระหว่างกาลสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ในอัตราหุ้นละ 1.75 บาท เป็นจำนวนเงินรวม 3,570 ล้านบาท เงินปันผลระหว่างกาลดังกล่าวได้จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้วในเดือนกันยายน 2551 ในการประชุมสามัญประจำปีของผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2551 ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้อนุมัติให้บริษัทจัดสรร เงินปันผลสำหรับปี 2550 ในอัตราหุ้นละ 4.50 บาท เป็นจำนวนเงินรวม 9,180 ล้านบาท เงินปันผลสำหรับปีดังกล่าวได้รวม เงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 1.75 บาท ซึ่งบริษัทได้จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้วในเดือนตุลาคม 2550 ดังนั้น เงินปันผลที่จะต้องจ่ายเพิ่มอีกจึงเท่ากับอัตราหุ้นละ 2.75 บาท คิดเป็นจำนวนเงินรวม 5,610 ล้านบาท เงินปันผลที่จะจ่ายอีกใน อัตราหุ้นละ 2.75 บาท ดังกล่าวได้จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้วในเดือนเมษายน 2551

31 เครื่องมือทางการเงิน

นโยบายการจัดการความเสี่ยงทางด้านการเงิน

กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจตามปกติจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามสัญญาของคู่สัญญา กลุ่มบริษัทไม่มีการถือหรือออกเครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสาร อนุพันธ์เพื่อการเก็งกำไรหรือการค้า การจัดการความเสี่ยงเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจของกลุ่มบริษัท กลุ่มบริษัทมีระบบในการควบคุมให้มีความสมดุลของระดับความ เสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาระหว่างต้นทุนที่เกิดจากความเสี่ยงและต้นทุนของการจัดการความเสี่ยง ฝ่ายบริหารได้มี

การควบคุมกระบวนการการจัดการความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าเกิดความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและ การควบคุมความเสี่ยง

211

หมายเหตุประกอบงบการเงิน ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย

ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยหมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในอนาคตของอัตราดอกเบี้ยในตลาด

ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและกระแสเงินสดของกลุ่มบริษัท ดังนั้นกลุ่มบริษัทจึงได้ทำสัญญาเพื่อป้องกันความเสี่ยงกับ สถาบันการเงินหลายแห่งที่อยู่ในอันดับการลงทุนที่น่าเชื่อถือเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของเงินให้กู้ยืม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 และระยะที่ครบกำหนดรับชำระมีดังนี้

หน่วย : พันบาท

ปี 2552 ไม่หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่สหกรณ์ออมทรัพย์

ของพนักงาน เงินให้กู้ยืมแก่พนักงาน รวม ปี 2551 ไม่หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่สหกรณ์ออมทรัพย์

ของพนักงาน เงินให้กู้ยืมแก่พนักงาน รวม

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง

งบการเงินรวม ภายใน 1 ปี หลังจาก 1 ปี

39,030 808 39,838

546,153 8,152 554,305

585,183 8,960 594,143

MLR หักอัตราส่วนลด 4.25 - 4.75

37,636 771 38,407

536,087 9,608 545,695

573,723 10,379 584,102

(ร้อยละต่อปี)

MLR หักอัตราส่วนลด 3.50 - 4.25

รวม


212

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน หน่วย : พันบาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ

ปี 2552 หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทย่อย

ไม่หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่สหกรณ์ออมทรัพย์

ของพนักงาน รวม ปี 2551 หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทย่อย

ไม่หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่สหกรณ์ออมทรัพย์

ของพนักงาน รวม

213

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

MMR แต่ไม่เกิน MLR ถัวเฉลี่ยของ ธนาคาร 5 แห่ง หักอัตราส่วนลด MLR หักอัตราส่วนลด MMR แต่ไม่เกิน MLR ถัวเฉลี่ยของ ธนาคาร 5 แห่ง หักอัตราส่วนลด MLR หักอัตราส่วนลด

ภายใน 1 ปี

หลังจาก 1 ปี

รวม

4,007,500

-

4,007,500

39,030 4,046,530

546,153 546,153

585,183 4,592,683

3,159,000

-

3,159,000

37,636 3,196,636

536,087 536,087

573,723 3,732,723

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินและหุ้นกู้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 และระยะเวลาที่ครบ กำหนดชำระ ได้เปิดเผยไว้แล้วในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 17

ความเสี่ยงจากเงินตราต่างประเทศ

กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเกิดจากการซื้อวัตถุดิบและเงินกู้ยืมระยะยาวที่เป็นสกุลเงิน ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าบางส่วน เพื่อป้องกันความเสี่ยงของอัตรา แลกเปลี่ยนในระยะสั้นตามความเหมาะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอันเป็นผลมาจากการมี สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศดังนี้ หน่วย : พันบาท

หมายเหตุ

เงินเหรียญสหรัฐอเมริกา เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้อื่น หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่น สกุลอื่นๆ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่น ยอดบัญชีในงบดุลที่มีความเสี่ยง

6 8 17 18 6 8 18

งบการเงินรวม 2552

642,934 4,587,994 23,115 (15,035,073) (5,414,317) (33,919) (15,229,266) 91,829 168,805 (12,620) (24,656) 223,358 (15,005,908)

2551

402,023 3,749,406 467 (27,274,520) (4,258,903) (2,455) (27,383,982) 91 - - (7,147) (7,056) (27,391,038)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

2,135 3,319,151 4,779 (11,722,662) (5,166,881) (19,483) (13,582,961) 118 - - (22,143) (22,025) (13,604,986)

2,246 2,920,603 - (22,566,655) (4,230,638) (1,979) (23,876,423) - - - (7,147) (7,147) (23,883,570)


214

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ

ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อคือ ความเสี่ยงที่ลูกค้าหรือคู่สัญญาไม่สามารถชำระหนี้แก่กลุ่มบริษัทตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้เมื่อครบ กำหนด เนื่องจากกลุ่มบริษัทดำเนินธุรกิจกับลูกค้าที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและไฟฟ้า และกำหนด ให้มีการวางหลักประกันชั้นดีสำหรับลูกค้าอื่นๆ ทำให้กลุ่มบริษัทไม่มีความเสี่ยงที่เป็นสาระสำคัญด้านสินเชื่อกับบริษัทใดบริษัท หนึ่งหรือในกลุ่มของบริษัท

ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง

กลุ่มบริษัทมีการควบคุมความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องโดยการรักษาระดับของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดให้เพียงพอ ต่อการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท และเพื่อทำให้ผลกระทบจากความผันผวนของกระแสเงินสดลดลง

มูลค่ายุติธรรม

มูลค่ายุติธรรมหมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือชำระหนี้สินกัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความ รอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนกัน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระ ในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน กลุ่มบริษัทใช้วิธีการและสมมติฐานดังต่อไปนี้ในการประมาณมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน มูลค่ายุติธรรมของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ระยะสั้นอื่นๆ เป็นมูลค่าที่ใกล้เคียงกับราคา

ที่บันทึกในบัญชี เนื่องจากเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้จะครบกำหนดในระยะเวลาอันสั้น มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารทุนประเภทเผื่อขาย พิจารณาโดยอ้างอิงกับมูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย ลงทุน ณ วันที่ในรายงาน มูลค่ายุติธรรมของเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน และเจ้าหนี้การค้าและอื่นๆ เป็นมูลค่าที่

ใกล้เคียงกับราคาที่บันทึกไว้ในบัญชี เนื่องจากเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้จะครบกำหนดในระยะเวลาอันสั้น มูลค่ายุติธรรมของเงินให้กู้ยืมระยะยาวและเงินกู้ยืมระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งเป็นอัตราท้องตลาดมีราคาตามบัญชี ใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรม มูลค่ายุติธรรมของหนี้สินทางการเงินที่ไม่ใช่ตราสารอนุพันธ์ุ ซึ่งพิจารณาเพื่อวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยในงบการเงิน คำนวณ จากมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตของเงินต้นและดอกเบี้ย และคิดลดโดยใช้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ณ วันที่

ในรายงาน หรือใช้ราคาตลาด ณ วันที่รายงาน ในกรณีที่มีราคาตลาด

215

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

มูลค่ายุติธรรมและมูลค่าตามบัญชีของหุ้นกู้ตามที่ปรากฏในงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ หน่วย : พันบาท

ปี 2552 ไม่หมุนเวียน หุ้นกู้ รวม ปี 2551 หมุนเวียน หุ้นกู้ ไม่หมุนเวียน หุ้นกู้ รวม

งบการเงินรวม มูลค่ายุติธรรม มูลค่าตามบัญชี

งบการเงินเฉพาะกิจการ มูลค่ายุติธรรม มูลค่าตามบัญชี

(30,478,518) (30,478,518)

(29,607,517) (29,607,517)

(30,478,518) (30,478,518)

(29,607,517) (29,607,517)

(2,790,136)

(2,750,000)

(2,790,136)

(2,750,000)

(16,548,965) (19,339,101)

(18,300,175) (21,050,175)

(16,548,965) (19,339,101)

(18,300,175) (21,050,175)

32 ภาระผูกพันกับบุคคลหรือกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน หน่วย : พันบาท

ภาระผูกพันสำหรับรายจ่ายฝ่ายทุน สัญญาก่อสร้างโครงการ รวม ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าดำเนินงาน ที่ไม่สามารถยกเลิกได้ ภายในระยะเวลาหนึ่งปี ภายหลังจากหนึ่งปี แต่ไม่เกินห้าปี ภายหลังจากห้าปี รวม ภาระผูกพันอื่นๆ สัญญารับบริการด้านเทคนิค สัญญารับบริการจัดการสินค้า หนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน สัญญาการสั่งซื้อน้ำมันดิบ รวม

งบการเงินรวม 2552

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

1,054,232 1,054,232

734,607 734,607

683,088 683,088

541,711 541,711

177,867 755,060 1,747,341 2,680,268

175,270 735,252 1,899,269 2,809,791

174,426 751,467 1,743,543 2,669,436

174,426 731,876 1,894,206 2,800,508

364,500 44,689 4,763,961 37,016,854 42,190,004

501,381 70,165 411,852 37,828,584 38,811,982

364,500 - 4,547,015 37,016,854 41,928,369

501,381 - 196,495 37,828,584 38,526,460


216

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 งบการเงิน

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สัญญาบริการซ่อมบำรุงระยะยาว

บริ ษั ท ย่ อ ยแห่ ง หนึ่ ง มี สั ญ ญาจั ด หาและบริ ก ารซ่ อ มบำรุ ง เครื่ อ งผลิ ต กระแสไฟฟ้ า กั บ บริ ษั ท ในประเทศหลายแห่ ง ("ผู้ให้บริการ") โดยผู้ให้บริการจะจัดหาและซ่อมแซมอะไหล่สำหรับการซ่อมบำรุงประจำปี และซ่อมบำรุงตามตารางที่กำหนด

ในการนี้ บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายชำระค่าอะไหล่และค่าบริการซ่อมบำรุงตามราคาที่ระบุไว้ในสัญญา สัญญาเหล่านี้มี ผลบังคับใช้นับจากวันที่ในสัญญาจนถึงเวลาของการซ่อมบำรุงใหญ่ครั้งที่ 2 หรือการซ่อมบำรุงประจำปีครั้งที่ 12

33 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นและสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กลุ่มบริษัทมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นและสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นดังนี้ ก) บริษัทมีสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Swap) กับสาขาในประเทศของสถาบันการเงินต่างประเทศ

หลายแห่ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยของภาระหนี้สินทางการเงินระยะยาวสกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกาและ สกุลเงินบาท เป็นจำนวนเงิน 60 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และ 2,750 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2551: 60 ล้านเหรียญ สหรัฐอเมริกา) โดยคู่สัญญามีข้อตกลงจะจ่ายชำระผลต่างของอัตราดอกเบี้ยตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา ข) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีคดีความจากการถูกประเมินภาษีสรรพสามิตของกรมสรรพสามิต รวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจาก การนำเข้าน้ำมัน Reduced Crude บางเที่ยวเรือ เป็นจำนวนเงินรวม 253.7 ล้านบาท (ศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษา ให้บริษัทย่อยดังกล่าวชนะคดีแล้ว) ซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ค) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีคดีความจากการถูกประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของกรมสรรพากรเกี่ยวกับการบันทึกรายได้สำหรับ

ปี 2542 และ 2543 ที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์ของผลขาดทุนสะสมยกมาทางภาษีในปีถัดมา (ศาลภาษีอากรกลางได้มี

คำพิพากษาให้บริษัทย่อยดังกล่าวชนะคดีแล้ว) ซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ของศาลฎีกา ง) บริษัทมีสัญญาแลกเปลี่ยนส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบล่วงหน้ากับบริษัทต่างประเทศหลายแห่ง (“คู่สัญญา”) โดยบริษัทหรือคู่สัญญาดังกล่าวมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายส่วนต่างระหว่างราคาคงที่กับราคาลอยตัวสำหรับงวดนั้นๆ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทมีปริมาณน้ำมันภายใต้สัญญาดังกล่าวเป็นจำนวน 5.12 ล้านบาร์เรล (31 ธันวาคม

2551: ไม่มี)

34 นโยบายประกันภัย

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กลุ่มบริษัทได้ทำกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสี่ยงทุกประเภทรวมถึงการชดเชยการสูญเสีย

รายได้กับกลุ่มผู้รับประกันและผู้รับประกันต่อ โดยมีวงเงินประกันรวม 6,453 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (2551: 7,113 ล้าน เหรียญสหรัฐอเมริกา) กรมธรรม์ดังกล่าวมีการต่ออายุทุกปีโดยบริษัทย่อยบางแห่งได้โอนสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย ให้กับเจ้าหนี้ตามสัญญาเงินกู้

217

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

35 เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลาที่รายงาน

ในการประชุมคณะกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 คณะกรรมการของบริษัทได้มีมติเห็นชอบให้เสนอที่ประชุม สามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2552 ในอัตราหุ้นละ 2.55 บาท เป็นจำนวนเงินรวม 5,202 ล้านบาท เงินปันผลสำหรับปีดังกล่าวได้รวมเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 1.05 บาท ซึ่งบริษัทได้จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้ว ในเดือนกันยายน 2552 ดังนั้นเงินปันผลที่จะต้องจ่ายเพิ่มอีกจึงเท่ากับอัตราหุ้นละ 1.50 บาท คิดเป็นจำนวนเงินรวม 3,060

ล้านบาท โดยมีกำหนดจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 28 เมษายน 2553 ทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวขึ้นอยู่กับการ อนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 2 เมษายน 2553

36 มาตรฐานการบัญชีที่ยังไม่ได้ใช้

บริษัทและบริษัทย่อยในประเทศไทยยังไม่ได้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ออกและปรับปรุงใหม่ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทและบริษัทย่อยดังกล่าวดังต่อไปนี้ ณ วันที่รายงาน เนื่องจากยังไม่มีการบังคับใช้ มาตรฐานการบัญชีที่ออกและ ปรับปรุงใหม่ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อยดังกล่าวดังต่อไปนี้กำหนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงิน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม ในปีดังต่อไปนี้ มาตรฐานการบัญชี

เรื่อง

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2550) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

ปีที่มีผลบังคับใช้

2554 2554

ขณะนี้ผู้บริหารกำลังพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้มาตรฐานการบัญชีที่ออกและปรับปรุงใหม่ดังกล่าวต่อ

งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ


218

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีปี 2552

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีปี 2552

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

219

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

37 การจัดประเภทรายการใหม่

รายการบัญชีบางรายการในงบการเงินสำหรับปี 2551 ได้จัดประเภทใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการแสดงรายการในงบการเงิน สำหรับปี 2552 ดังนี้

งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

หน่วย : ล้านบาท

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ ก่อนการจัด การจัด หลังการจัด ก่อนการจัด การจัด หลังการจัด ประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่

ลูกหนี้บริษัทย่อย บริษัทร่วมและ

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในบริษัทร่วม เจ้าหนี้บริษัทย่อย บริษัทร่วม

และกิจการที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินหมุนเวียนอื่น

83 1,977 229 - -

(83) 83 (229) - 229

- 2,060 - - 229

149 1,135 8,327 - -

(149) 149 (8,327) 8,094 233

- 1,284 - 8,094 233

52 1,342

(52) 52 -

- 1,394

48 1,070

(48) 48 -

- 1,118

งบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551

หน่วย : ล้านบาท

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ ก่อนการจัด การจัด หลังการจัด ก่อนการจัด การจัด หลังการจัด ประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่

ต้นทุนขายสินค้าและต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าตอบแทนผู้บริหาร

393,772 1,012 - - -

(107) (1,012) 108 708 303 -

393,665 - 108 708 303

400,449 608 - - -

(223) (608) 174 430 227 -

400,226 - 174 430 227

การจั ด ประเภทรายการใหม่ นี้ เ พื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ การจั ด ประเภทรายการตามประกาศกรมพั ฒ นาธุ ร กิ จ การค้ า เรื่ อ ง

กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 30 มกราคม 2552

1. ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี (Audit Fees)

บริษัทฯ บริษัทย่อย และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานกลุ่มบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จ่ายค่าตอบแทนการสอบบัญชี ให้แก่สำนักงานสอบบัญชีทผี่ สู้ อบบัญชีสงั กัดในรอบปีทผี่ า่ นมา จำนวน 5,538,000 บาท (ห้าล้านห้าแสนสามหมืน่ แปดพันบาทถ้วน)

2. ค่าบริการอื่น ๆ (Non-Audit Fees)

บริษัทฯ และบริษัทย่อยจ่ายค่าตอบแทนการตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขของบัตรส่งเสริมการลงทุน ให้แก่สำนักงาน

สอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัดในรอบปีที่ผ่านมา จำนวน 425,000 บาท (สี่แสนสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)


220

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานประจำปี 2552 ศัพท์เทคนิคและคำนิยาม

221

ศัพท์เทคนิคและคำนิยาม นอกจากกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในรายงานประจำปี ให้คำดังต่อไปนี้มีความหมายดังนี้ กฟผ. ก.ล.ต.

หมายความถึง หมายความถึง

ตลท. ไทยออยล์/ บริษัทฯ บจ. เชลล์แห่งประเทศเวียดนาม บจ. ซีเมนส์ บจ. ไทยพาราไซลีน/ TPX บจ. ไทยออยล์ เอทานอล/ TET บจ. ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์/ TES บจ. ไทยออยล์ โซลเว้นท์/ Thaioil Solvent บจ. ไทยออยล์เพาเวอร์/ TP บจ. ไทยออยล์มารีน / TM บจ. ท็อป โซลเว้นท์/ TS บจ. ท่อส่งปิโตรเลียมไทย/ THAPPLINE บจ. ผลิตไฟฟ้าอิสระ/ IPT บจ. แม่สอดพลังงานสะอาด/ MCE บจ. ศักดิ์ไชยสิทธิ/ SAKC บมจ. ไทยลู้บเบส/ TLB บมจ. บางจากปิโตรเลียม บมจ. ปตท. บมจ. ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น บมจ. ไออาร์พีซี มอก. สหรัฐฯ CG COSO

หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง

CSR - DIW

หมายความถึง

DWT EBITDA

หมายความถึง หมายความถึง

EIA

หมายความถึง

GDP

หมายความถึง

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เชลล์แห่งประเทศเวียดนาม จำกัด บริษัท ซีเมนส์ จำกัด บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท ไทยออยล์ โซลเว้นท์ จำกัด บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด บริษัท ท็อป โซลเว้นท์ จำกัด บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) มาตรฐานอุตสาหกรรม สหรัฐอเมริกา Corporate Governance : หลักการกำกับดูแลกิจการ The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread way Commission Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Works Deadweight tons: ตันบรรทุก กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา

และรายจ่ายตัดบัญชี Environmental Impact Assessment: การวิเคราะห์

ผลกระทบสิ่งแวดล้อม อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

GRM KPIs

หมายความถึง หมายความถึง

IDP IPP MPU PDU PMS RMIS

หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง

RMSC

หมายความถึง

SDU SGSi SPP VDU TDAE TQA TRCf

หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง หมายความถึง

Gross Refinery Margin: กำไรจากการกลั่นขั้นต้น Key Performance Indicators: ดัชนีวัดผลการ

ดำเนินงานที่สำคัญ Individual Development Plan: แผนการพัฒนาพนักงาน Independent Power Producer: ผูผ้ ลิตไฟฟ้าอิสระรายใหญ่ Methyl Pyrolidone Unit Propane De - Asphalting Unit Performance Management System Risk Management Information System: ระบบฐาน ข้อมูลความเสี่ยง Risk Management Steering Committee:

คณะกรรมการขับเคลื่อนงานบริหารความเสี่ยงของ

บริษัทฯ และบริษัทในเครือ Solvent Dewaxing Unit Shell Global Solutions International Small Power Producer: ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก Vacuum Distillation Unit Treated Distillate Aromatic Extract Thailand Quality Award Total Reportable Case Frequency




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.