005 ทิศทางอปท.ตามรธน.50_อ.วุฒิสาร

Page 1

ทิศทางการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดย รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ที่มา วิชาการ.คอม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มุ่งเน้นสาระสาคัญใน 4 แนวทางหลัก ได้แก่ แนวทางที่หนึ่ง การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ แนวทางที่สอง ได้แก่ ลดการผูกขาด อานาจรัฐ เพิ่มอานาจประชาชน และส่งเสริมการกระจายอานาจ แนวทางที่สาม การทาให้การเมืองมีความโปร่งใส มี คุณธรรม และจริยธรรม และ แนวทางที่สี่ ได้แก่ การทาให้องค์กรตรวจสอบมีอิสระ เข้มแข็ง และทางานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ในส่วนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น และการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นปรากฎอยู่ใน 2 หมวดสาคัญ ได้แก่ หมวดที่ 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการ บริหารแผ่นดิน (มาตรา 78) ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม (มาตรา 80) และ หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น ( มาตรา 281 – 290) โดยในสาระสาคัญที่เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญนั้น สามารถแบ่งได้ออกเป็นสาระสาคัญใน 5 ประการ ได้แ ก่ ประการที่ ห นึ่ ง การขยายอ านาจหน้ า ที่ ข ององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ นให้ มี บ ทบาทที่ ชั ด เจนและ กว้างขวางขึ้น ประการที่สองการทาให้เกิดดุลยภาพระหว่างการกากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความเป็น อิสระ ประการที่สามเป็นการพัฒนาระบบการดาเนินงานและบริหารงานภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประการ ที่สี่การเปิดพื้นที่ให้แก่ประชาชน ชุมชน และภาคประชาสังคมในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ประการที่ห้าการทาให้การเมืองท้องถิ่นมีความโปร่งใส โดยจะกล่าวในรายละเอียด ต่อไป ประการที่หนึ่ง : การขยายอานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีบทบาทที่ชัดเจนและกว้างขวาง ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรา 78 เป็นเครื่องประกันว่ารัฐจะต้องปรับระบบการดาเนินงานและระบบความสัมพันธ์ ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้มีความชัดเจนในเชิงอานาจหน้าที่ อีกทั้งต้องส่งเสริมให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทและอานาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะ ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงระบบการทางานของภาครัฐว่าจะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรมของ เจ้าหน้าที่พร้อมกับการพัฒนาระบบการทางานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทางาน และให้รัฐมุ่งเน้นการทางานตาม หลั กการบริห ารบ้า นเมื องที่ดี ทั้ง นี้ใ นรายละเอี ยดยัง มีก ารก าหนดเพิ่ม เติ ม ว่า รัฐจะต้ องจัด บริ ก ารสาธารณะให้ แ ก่ ประชาชนอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และประชาชนมีส่วนร่วม โดยมุ่งเน้นการให้บริการ สาธารณะที่รวดเร็ว มีคุณภาพ โปร่งใส และเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และเพื่อให้แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ บรรลุตามเป้าหมายที่ได้กาหนดไว้ จึงได้มีการกาหนดรายละเอียดด้านต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดเพื่อเป็นแนวทางในการ


ดาเนินงานแก่หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ กาหนดแนวทางในการดาเนินงานด้านการศาสนา สังคม สาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรมของรัฐ ไว้เป็นต้น นอกจากนี้ในหมวด 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น ยังได้มีการกาหนดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น องค์กรหลักในการจัดบริการสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่ และการบัญญัติไว้อย่าง ชัดเจนนี้เองเป็นหลักประกันว่ารัฐจะต้องส่งเสริม สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลัก โดยให้ การกระจายอานาจเป็นกลไกสาคัญ และเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมจึงได้มีการกาหนดมาตรา 283 อันเป็นการ ระบุว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีห น้าที่ในการดูแลและจัดทาบริการสาธารณะ และมีอิสระในการกาหนดนโยบาย การบริ หาร การจั ดบริก ารสาธารณะ การบริห ารงานบุคคล การเงิน และ การคลัง และมี อานาจหน้า ที่ของตนเอง โดยเฉพาะ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมจะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งในการบริหารงาน ได้โดยอิสระ และสามารถพัฒนาระบบการคลังให้จัดบริการสาธารณะได้โดยครบถ้วน สามารถที่จะจัดตั้ง หรือร่วมกัน จัดตั้งองค์การเพื่อการจัดทาบริการสาธารณะตามอานาจหน้าที่ นอกจากยังมีการบัญญัติถึงการให้มีกฎหมายกระจาย อานาจ ฯ เพื่อกาหนดการแบ่งอานาจหน้าที่และรายได้ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง โดยคานึงถึงการกระจายอานาจเพิ่มขึ้นตามลาดับความสามารถของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ ประการสาคัญเพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนทางรายได้ จึงได้มีการ กาหนดให้มีการจัดทากฎหมายรายได้ท้องถิ่นเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น และเพียงพอสาหรับ การจัดบริการสาธารณะ สุดท้ายในมาตรานี้ได้กล่าวถึงการกาหนดอานาจหน้าที่และการจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกาหนดว่าให้มีคณะกรรมการทาหน้าที่พิจารณาทบทวนทุกระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยในการ พิจารณาต้องคานึงถึงการกระจายอานาจเพิ่มขึ้นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสาคัญ ดังกล่าวแล้วข้างต้นยังได้กาหนดบทบาทเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกาหนดว่ามีอานาจ หน้าที่ในการบารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภู มิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น มีสิทธิในการจัด การศึกษาอบรมและฝึกอาชีพตามความเหมาะสม และความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น รวมถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมใน การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาอบรมและฝึกอาชีพตามความ เหมาะสม ตามความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น อีกทั้งเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐโดยคานึงถึง ความสอดคล้องกับมาตรฐานและระบบการศึกษาของชาติ ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีอานาจหน้าที่ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการ จัดการ การบารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในเขตพื้นที่ การเข้าไปมีส่วน ร่วมในการบารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกเขตพื้นที่ เฉพาะในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการ ดารงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของตน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมใดนอกเขต พื้นที่ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ นั่นถือเป็นการมีส่วนร่วม ของชุมชนท้องถิ่น


และเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการปกครองท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการกระจายอานาจ ยังมีการ กาหนดให้จัดทากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานท้องถิ่นจานวน 2 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายกาหนดแผนและและขั้นตอน การกระจายอานาจ ซึ่งต้องครอบคลุมใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแบ่งอานาจหน้าที่ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น การจัดสรรรายได้ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น และระหว่างองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลของการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น รวมถึงกฎหมายรายได้ท้องถิ่น ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่สาหรับแวดวงการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทย โดยกาหนดว่าให้มีการจัดทากฎหมายรายได้ท้องถิ่นต้องกาหนดอานาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษี และรายได้อื่นของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และต้องทาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ที่เพียงพอกับรายจ่ายตามอานาจหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งยังกาหนดไว้ในรายละเอียดเกี่ยวกับการพิจารณาทบทวนกฎหมายทั้งสองฉบับ ว่าจะต้องมีการพิจารณาทุกทุกระยะเวลาไม่เกินห้าปี เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของการกาหนดอานาจหน้าที่ และ การจัดสรรรายได้ โดยต้องคานึงถึงการกระจายอานาจเพิ่มขึ้นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสาคัญ จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ให้ความสาคัญกับการติดตามและบังคับใช้บทบัญญัติต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญอย่าง เคร่งครัด ดังนั้น เพื่อให้กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานด้านการปกครองท้องถิ่นเกิดขึ้นจริง รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 303 (5) กาหนดว่าต้องดาเนินการจัดทาหรือปรับปรุงกฎหมายกาหนดแผนและขั้ นตอนการกระจายอานาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายรายได้ท้องถิ่น กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมาย เกี่ยวกับข้าราชการท้องถิ่น และกฎหมายอื่น ๆ ภายใน 2 ปีนับจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 และการกาหนดไว้ใน บทเฉพาะกาลเช่นนี้ก็เป็นเครื่องประกันและเป็นตัวเร่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งดาเนินการปรับปรุงแก้ไข จัดทาและพัฒนากฎหมาย ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะทาให้การกระจายอานาจถูกขับเคลื่อน เกิดความคล่องตัวมาก ยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในอดีต ประการที่สอง : ในรัฐธรรมนูญ 2550 ได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการขาดความสมดุล ระหว่างการกากับดูแล และความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นจึงได้มีการกาหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ในการก ากั บ ดู แ ลนั้น ต้ อ งมี ก ารก ากั บ ดูแ ลเท่ า ที่ จาเป็ น มีห ลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก าร และเงื่อ นไขที่ ชั ดเจนสอดคล้ อ งและ เหมาะสมกับรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการจัดทามาตรฐานกลางเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เลือกปฏิบัติได้ รวมไปถึงรูปแบบ วิธีการและความเข้มข้นในการกากับดูแลต้องแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความเข้มแข็งของภาคประชาชน นอกจากนี้ยังมีการบัญญัติเพิ่มเติมในส่วนขององค์กรที่จะทาหน้าที่ในการกากับดูแล โดยได้เพิ่มบทบาทของ ภาคประชาชนในการตรวจสอบการดาเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมาตรา 282 ได้เพิ่มองค์กรที่ทา หน้าที่ในการกากับดูแลใหม่ ได้แก่ “ ประชาชน” และรัฐเองก็ต้องจัดให้มีกลไกการตรวจสอบการดาเนินงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นโดยประชาชน ซึ่งหมายความว่านับจากนี้ไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องดาเนินงานภายใต้ การติดตาม ตรวจสอบ และกากับดูแลจาก 3 องค์กรหลัก ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และประชาชน


ประการที่สาม : เป็นการพัฒนาระบบการดาเนินงานและบริหารงานภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้น และกระแส ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยยึดหลักว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีอิสระในการดาเนินงาน ไม่ว่าจะ เป็นความเป็นอิสระในการกาหนดนโยบาย การบริหารงาน การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงิน และ การคลัง โดยได้มีการกาหนดรูปแบบในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะต้องมีมาตรฐานที่ สอดคล้องกัน และยังกาหนดว่าข้าราชการส่วนท้องถิ่นอาจได้รับการพัฒนาร่วมกัน หรือ สับเปลี่ยนบุคลากรระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้อ งถิ่นด้วยกันได้ รวมทั้งจัดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นทาหน้าที่ในการ บริหารงานบุคคลท้องถิ่น และเพื่ อสร้างระบบคุ้ม ครองคุ ณธรรมและจริยธรรมในการบริ ห ารงานบุคคลท้อ งถิ่น ยั ง กาหนดให้มีองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการส่วนท้องถิ่น การพัฒนาระบบคลังก็เป็นสิ่งที่จาเป็นอย่างยิ่งสาหรับการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น จึงได้มี การเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้พัฒนาระบบคลังท้องถิ่น เพื่อให้สามารถจัดบริการสาธารณะได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ครบถ้วนตามอานาจหน้าที่ และนอกจากการพัฒนาระบบคลังแล้ว ยังเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้ง หรือ ร่วมกันจัดตั้งองค์การเพื่อการจัดทาบริการสาธารณะ หรือที่เรียกว่า “สหการ” ได้อีกด้วย ในรัฐธรรมนูญ 2550 นี้ ได้เปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนทอ้งถิ่นได้มีการพัฒนาระบบโครงสร้างการ บริหารภายใน โดยกาหนดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องประกอบด้วย 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายสภา และ ฝ่ายบริหาร ท้องถิ่น สาหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป และยังเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบ พิเศษมีโครงสร้างการบริหารงาน ที่แตกต่างจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป และการกาหนดในลักษณะนี้ เป็นการสร้างโอกาสให้กับประชาชนในท้องถิ่น และ พื้นที่ที่จะได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว คล่องตัว และสอดคล้องกับ ความเป็น “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ” ซึง่ มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเป็นการเฉพาะ ประการที่สี่ : การเปิดพื้นที่ให้แก่ประชาชน ชุมชน และภาคประชาสังคมในการมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในท้องถิ่น สามารถเข้าชื่อกันเพื่อการใช้สิทธิลงคะแนนเสียง ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือคณะผู้บริหารท้องถิ่นออกจาก ตาแหน่งได้ การเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นก็เช่นเดียวกัน ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งก็สามารถเข้าชื่อกันเพื่อ เสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นได้เช่นกัน ทั้งนี้ลักษณะในการบัญญั ติก็เช่นเดียวกันการบัญญัติในมาตรา 285 คือ การไม่ได้ กาหนดจานวน หรือ สัดส่วนของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญฯ แต่ให้เป็นไปตามที่จะมีการบัญญัติไว้ในกฎหมายต่อไป

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ ฯ ยังได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องจัดให้มีวิธีการเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมาตรา 287 วรรค 1 บัญญัติว่าประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีวิธีการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าวได้ด้วย) ซึ่งการบัญญัติลักษณะนี้เป็นการบังคับ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งก็คือ การมีส่วนร่วมตั้งแต่การกาหนดปัญหา การกาหนดการเลือก การประเมินทางเลือก การบริหารจัดการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การร่วมติดตาม


ประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ ประการสาคัญการบัญญัติในลักษณะนี้จะเป็นการกระตุ้นให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นได้ริเริ่มในการสร้างกลไก ช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในมาตรา 287 วรรค 2 ยัง มีก ารบั ญญั ติถึ งนัย ความสัม พันธ์ กัน ระหว่า งองค์ กรปกครองส่ วนท้ องถิ่น และ ประชาชนในท้องถิ่นเป็นการเฉพาะ กรณีสาหรับการดาเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะมีผลกระทบต่อวิถี ชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่ น ทั้งนี้การบัญญัติเช่นนี้ จะเป็นเครื่องเตือนใจแก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีว่าก่อนที่จะดาเนินการใดๆ แล้ว จะต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งผลดีและผลเสีย อย่างรอบด้าน โดยการศึกษาผลกระทบนี้จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ร่วมกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และหากพบว่าการดาเนินการนั้น ๆ จะก่อให้เกิดผลทางลบ หรือผลเสียหายแก่ประชาชน โดย จะต้องแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้าก่อน และเพื่อป้อ งกันมิให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอ้างเหตุผลว่าได้แจ้ ง ล่วงหน้าให้ประชาชนทราบแล้ว ( แม้ว่าจะมีการแจ้งในระยะเวลาอันกระชั้นชิด ) จึงได้มีการบัญญัติไว้อย่างรัดกุมโดย บัญญัติว่า “... เป็นเวลาอันสมควร” ซึ่งก็หมายความว่าอย่างน้อยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลา พอสมควรแล้วแต่กรณีไป และในวรรคเดียวกันยังกาหนดว่าในบางกรณีหากสมควร หรือ หากองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นได้รับการร้องขอจากประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรืออาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการดาเนินการนั้น ๆ ก่อนที่จะมีการดาเนินโครงการจริง แต่อย่างไรก็ตามบนเงื่อนไขเช่นนี้ยังคงต้องให้มีกฎหมายบัญญัติไว้ในรายละเอียดก่อน มาตรา 287 วรรค 3 ยังกาหนดไว้ถึงหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะต้องมีหน้าที่ในการรายงาน ผลการดาเนินการต่าง ๆ ต่อประชาชนทุกปี ไม่ว่าจะเป็นรายงานผลการจัดทางบประมาณ การใช้จ่ายงบประมาณ และ ผลการดาเนินงาน ทั้งนี้แม้ว่าจะเป็นการสร้างภาระให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จะใช้แสดงถึงความโปร่งใสในการดาเนินงาน และการรายงานผลการดาเนินการนี้ก็เป็นเครื่องมือ ในการประชาสัมพันธ์ผลการดาเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการดาเนินงานของคณะ ผู้บริหาร ผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งเหล่านี้เองในทางกลับกันจะยิ่งทาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถทางานได้ ง่าย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสาหรับประชาชนเองก็ไม่ต้องคอยร้องขอ หรือ สอบถามอยู่บ่อย ๆ เพราะนับ จากนี้ไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ต้องรายงานให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง และสม่าเสมอ

ประการที่ห้า : การทาให้การเมืองท้องถิ่นมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม โดยในมาตรา 284 วรรค 10 กาหนดว่า “ให้นาบทบัญญัติมาตรา 265 มาตรา 266 มาตรา 267 และ มาตรา 268 มาใช้บังคับกับสมาชิกสภา ท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ด้วยโดยอนุโลม ” ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายมาตราของ มาตรา 265 – 268 แล้ว จะพบว่าเป็นบทบัญญัติในส่วนที่ 2 การกระทาที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ในมาตรา 265 กล่าวถึง การห้ามให้ผู้บริหารท้องถิ่น หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นรับ หรือ แทรกแซง หรือ ก้าว ก่ายการเข้ารับสัมปทาน หรือ เข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ทั้งทางตรงหรือ ทางอ้ อ ม ห้ า มมิ ใ ห้ รั บ เงิ น หรื อ ประโยชน์ ใ ด ๆ จากหน่ ว ยราชการ หน่ ว ยงานของรั ฐ หรื อ รั ฐวิ สาหกิ จ เป็ น พิ เ ศษ


นอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติการบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจการงานตามปกติ รวมทั้งห้ามมิให้เป็นหุ้นส่วน หรือ ผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่ดาเนินกิจการเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน หรือ เข้าเป็นคู่สัญญากับห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทดังกล่าว ซึ่งการกาหนดในบทบัญญัตินี้เองจะช่วยให้การเมืองท้องถิ่นมีความ โปร่งใส เพราะได้เสมือนหนึ่งปิดช่องทางที่จะก่อให้การเอื้ออานวยกันระหว่างผู้บริหารท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นกับคู่สัญญาที่จะเกิดขึ้นทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง และการกาหนดเช่นนี้เองจะทาให้ผู้บริหาร คณะผู้บริหารท้องถิ่น และ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นสามารถดาเนิ นงานได้ อย่างเต็มศักยภาพ อาทิ ในกรณีของการต่อรองราคา และการตรวจรับงานก็จะสามารถทาได้อย่างเต็มที่ทั้งนี้โดยมี ผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสาคัญ นอกจากนี้ แล้ ว การน าความในบทบั ญญั ติม าตรา 266 มาใช้กั บคณะผู้บ ริห ารท้อ งถิ่ น ผู้บ ริห ารท้อ งถิ่ น ข้าราชการส่วนท้องถิ่นยังทาให้การเมืองท้องถิ่นมีคุณธรรม และจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยห้ามให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวใช้ ตาแหน่ง หรือสถานะเข้าไปก้าวก่าย หรือแทรกแซงเพื่อผลประโยชน์แห่งตน ผู้อื่น หรือพรรคการเมืองทั้งทางตรงและ ทางอ้อม อาทิ ห้ามแทรกแซง ก้าวก่ายเรื่องการปฏิบัติราชการ หรือการดาเนินงานในหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หรือห้ามแทรกแซง ก้าวก่ายเรื่องการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตาแหน่ง เลื่อน เงินเดือน หรือ การพ้นจากตาแหน่งของข้าราชการ พนักงาน หรือ ลูกจ้างของหน่วยราชการ เป็นต้น ทั้งนี้บทบัญญัติใน มาตราดังกล่าวก่อให้เกิดการดาเนินงาน และการบริหารงานที่มีคุณธรรม จริยธรรม และประการสาคัญเป็นการป้องกันมิ ให้เกิดการแทรกแซงระบบการพิจารณาและการดาเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง และเป็ น เครื่ อ งประกั น ว่ า บุ ค คลต่ า ง ๆ ไม่ ว่ า จะเป็ น ข้ า ราชการ พนั ก งานของรั ฐ ลู ก จ้ า งหน่ ว ยงานราชการ หรื อ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นต้องได้รับการพิทักษ์และความคุ้มครองภายใต้ “ ระบบคุณธรรม” นอกจากความเปลี่ยนแปลงในสาระสาคัญของการปกครองท้องถิ่นดังกล่าวมาแล้วข้างต้น พบว่า ยังมีความ พยายามในการปรับเปลี่ยนสภาวการณ์ที่อยู่แวดล้อ มและเป็นปัจจัยสาคัญในการบริหาร และการพัฒนาท้องถิ่นให้เอื้อ ต่อการพัฒนาการปกครองท้องถิ่น โดยในหมวด 13 เรื่อง จริยธรรมของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของ รัฐ ซึ่งหมวดนี้เป็นหมวดที่ถูกกาหนดขึ้นใหม่ และกาหนดว่าจะต้องมีการจัดทามาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ ดารง ตาแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท เพื่อเป็นการสร้างบรรทัดฐานในด้านจริยธรรม ให้แก่กลุ่มบุคคล บุคคลดังกล่าวเหล่านั้น การกาหนดบทบัญญัติในหมวดนี้เป็นการเสริมสร้างกรอบประพฤติ ปฏิบัติที่คุณธรรมและจริยธรรมให้แก่ นักการเมืองท้องถิ่น และข้าราชการท้องถิ่นและเป็นเสมือนหนึ่งสิ่งที่ผู้บริหารท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการ ส่วนท้องถิ่นต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะหากไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมและคุณธรรมแล้วอาจจะเป็นเหตุ ไปสู่การถอดถอนจากตาแหน่งได้ การบัญญัติในลักษณะดัง กล่าวจะมีผลต่อการปฏิบัติงานและการบริหารงานของ ผู้บริหารท้องถิ่น คณะผู้บริหาร และ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นและจะทาให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ปฏิบัติงานภายใต้กรอบ จริยธรรม คุณธรรม และมุ่งเน้นคุณภาพ ประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นสาคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถือเป็นการเสริมกาลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่า จะเป็น “กาลังทรัพย์” “กาลังคน” และ “กาลังทางปัญญา” และที่สาคัญได้เพิ่มอานาจในการตัดสินใจทางการบริหารงาน


ท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สาคัญอันจะก่อให้เกิดกระบวนการในการพัฒนาท้องถิ่น ผ่านกระบวนการ ทางานร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน และการปกครองท้องถิ่นก็จะเป็นรากฐานที่สาคัญ ของการพัฒนาประชาธิปไตยต่อไป


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.